The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

พระราชวุฒจารย์ (หลวงปู่ดูลย์ อตุโล)

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by ืทีมงานกรุธรรม, 2022-02-09 22:15:46

พระราชวุฒจารย์ (หลวงปู่ดูลย์ อตุโล)

พระราชวุฒจารย์ (หลวงปู่ดูลย์ อตุโล)

Keywords: พระราชวุฒจารย์ (หลวงปู่ดูลย์ อตุโล)

1

พระราชวฒุ จารย์ (หลวงปดู่ ลู ย์ อตุโล)

ส�ำนกั พิมพ์ วนิ พับบลชิ งิ่ จัดทำ� เปน็ มัลตมิ เี ดยี อีบุ๊ค
เพื่อแจกฟรีและส่งเสริมการอา่ นแกเ่ ยาวชน
ในเวบ็ ไซท์ ที-บคุ๊ ส์ (www.t-books.net)
เม่อื วันที่ 14 มี.ค. 2557

ส�ำนักวนิ พับพลชิ ง่ิ
สำ� นักงาน : บริษทั วินเพรส จำ� กดั
ท่ตี ัง้ : 10/151 ซ.เพชรเกษม 83 (แยกสาครเกษม) ต.อ้อมน้อย อ.กระทุ่มแบน

จ.สมทุ รสาคร 74130
โทร. : 0 2420 4124, 08 0304 3897
ช่องทางสือ่ สาร : www.t-books.net
เฟสบุ๊ค : facebook.com/T-books
อเี มล์ : [email protected], [email protected]

2

3

4

สารบญั

หลวงป่ดู ลู ย์ อตโุ ล 7
ธรรมสนทนาของหลวงปดู่ ลู ย์ 19
สรุ นิ ทร์ถนิ่ กำ� เนดิ ของหลวงป ู่ 63
พระราชวฒุ าจารย์ (หลวงปู่ดลู ย์ อตุโล) 317

5

6

หลวงปดู่ ลู ย์ อตโุ ล

2 ตุลาคม 2545 16:17 น.

ชาติกำ� เนดิ และชวี ติ ปฐมวัย

หลวงปู่ถอื ก�ำเนิด ณ บา้ นปราสาท อ�ำเภอเมือง จงั หวดั
สุรนิ ทร์ เมื่อวันท่ี 4 ตลุ าคม 2430 ตรงกบั วันแรม 2 ค�่ำ เดอื น
11 ในรชั กาลพระบาทสมเดจ็ พระจเจา้ อยูห่ ัว ขณะนีพ้ ระยาสุรนิ ทรฯ์
(มว่ ง) ยังเป็นเจา้ เมอื งอยแู่ ต่ไปช่วยราชการอยจู่ ังหวัดอบุ ลราชธานี
เนอ่ื งจากเจ้าเมอื งอุบลฯ และกรมการเมอื งช้นั ผใู้ หญต่ อ้ งไปราชการ
ทัพเพอ่ื ปราบฮอ่
บดิ าของท่านชอ่ื นายแดง มารดาชื่อนางเงนิ นามสกลุ “ดี
มาก” แตเ่ หตทุ ท่ี ่านนามสกลุ ว่า“เกษมสินธ์”ุ นน้ั ทา่ นเลา่ วา่ เม่อื ท่าน
ไปพำ� นักประจ�ำอยู่ทีว่ ัดสดุ ทศั นาราม จังหวดั อุบลราชธานีเป็นเวลา
นาน มีหลานชายคนหนึง่ ชื่อพรอ้ ม ไปอยดู่ ้วย ท่านจงึ ตง้ั นามสกลุ ให้
ว่า “เกษมสินธ์ุ” ตัง้ แตน่ ้นั มาท่านกเ็ ลยใช้นามสกลุ ว่า “เกษมสนิ ธุ์”
ไปดว้ ย
ทา่ นมีพน่ี ้องรว่ มบิดามารดา 5 คนด้วยกนั คอื
คนแรก เป็นหญิง ชื่อ กล้งิ
คนท่ี 2 เป็นชาย ช่ือ ดลู ย์ (คือ ตวั ทา่ น)
คนที่ 3 เปน็ ชาย ชือ่ แดน
คนที่ 4 เปน็ หญิง ช่อื รตั น์
คนท่ี 5 เป็นหญิง ชอ่ื ทอง

7

พ่ีน้องของทา่ นตางพากันด�ำรงชวี ิตไปตามอัตภาพตราบเท่าวยั
ชรา และไดถ้ ึงแกก่ รรมไปกอ่ นทีจ่ ะมี อายุถึง 70 ปที ั้งหมด หลวงปู่
ผู้เดยี วท่คี รองอตั ภาพมาได้ยาวนานถงึ 96 ปี
ชีวติ ของหลวงปู่เม่อื แรกรุน่ เจรญิ วัยน้ันก็ถูกกำ� หนดใหอ้ ยใู่ น
เกฏเกณฑข์ องสังคมสมัยนั้นแมท้ า่ นจะเป็นลกู คนทสี่ อง แต่กเ็ ป็นบุตร
ชายคนโต ดังนั้นท่านจึงตอ้ งมภี ารกิจมากกวา่ เป็นธรรมดา โดยต้อง
ทำ� งานทง้ั ในบา้ นและนอกบ้าน งานในบา้ น เชน่ ตักน้�ำ ต�ำขา้ ว หุง
หาอาหารและเลย้ี งดูนอ้ งๆ ซึ่งมหี ลายคน งานนอกบ้าน เชน่ ชว่ ย
แบง่ เบาภาระของบดิ าในการดูแลบำ� รุงเรอื กสวนไร่นาแลว้ เลีย้ งวัว

เลย้ี งควายชเวี ปติ น็ สตม้นณะ การแสวงหาธรรมและปฏปิ ทา

แมว้ ่าจะอยู่ในสภาพแวดลอ้ มท่ีใครๆ ก็ตอ้ งรู้สึกวา่ น่า
เพลิดเพลนิ และน่าลมุ่ หลงอยา่ งยิ่ง เพราะนอกจากจะอยู่ในวัยก�ำลงั
งามแลว้ ยังเปน็ นักแสดงท่ีมีผนู้ ยิ มชมชอบมากอีกด้วย ถึงกระน้นั
หลวงปู่ก็มไิ ด้หลงไหลในสิ่งเหลา่ นั้นเลย ตรงกนั ข้ามท่านกลบั มี
อปุ นิสัยโนม้ เอียงไปทางเนกขมั มะ คอื อยากออกบวช จงึ พยายามขอ
อนญุ าตจากบดิ ามารดาและท่านผ้มู ีพระคุณท่ีมเี มตตาชบุ เลีย้ ง แต่ก็
ถูกทา่ นเหลา่ นนั้ คัดคา้ นเร่ือยมา โดยเฉพาะฝ่ายบดิ ามารดาไม่อยาก
ให้บวช เน่อื งจากขาดกำ� ลงั ทางบ้าน ไม่มใี ครช่วยเปน็ กำ� ลังสำ� คัญใน
ครอบครวั ท้ังทา่ นกเ็ ปน็ บตุ รชายคนโตดว้ ย
แตใ่ นท่ีสดุ บิดามารดาก็ไม่อาจขัดขวางความตั้งใจจรงิ ของ
ท่านได้ ต้องอนุญาตให้บวชไดต้ ามความปรารถนาท่ีแน่วแนไ่ ม่
คลอนแคลนของทา่ น พรอ้ มกับมีเสยี งสำ� ทับจากบิดาวา่ เม่ือบวชแล้ว
ตอ้ งไมส่ กึ หรอื อยา่ งน้อยต้องอยจู่ นไดเ้ ป็นเจ้าอาวาส ท้งั นเ้ี นือ่ งจาก

8

ปขู่ องท่านเคยบวชและได้เปน็ เจ้าอาวาสมาแลว้ และคงเปน็ เพราะเหตุ
น้ีดว้ ยกระมังท่านจึงมีอุปนิสยั รกั บุญ เกรงกลวั บาป มไิ ด้เพลิดเพลิน
คกึ คะนองไปในวัยหนุ่มเหมอื นบคุ คลอนื่
คร้ันเมอื่ ไดร้ ับอนุญาตจากบิดา มารดาเรยี บร้อยแลว้ อย่างน้ี
ทา่ นจงึ ได้ละฆราวาสวสิ ัยย่างเข้าสคู่ วามเป็นสมณะตงั้ แต่ปีพ.ศ.2452
เม่อื ท่านมอี ายุได้ 22 ปี โดยมีพวกตระกูลเจา้ ของเมอื งทเ่ี คยชบุ เลย้ี ง
ทา่ น เปน็ ผู้จดั แจงในเรือ่ งการบวชใหค้ รบถ้วนทกุ อยา่ ง ท่านได้
บรรพชาอปุ สมบท ณ พทั ธสมี า วัดชมุ พลสุทธาวาสในเมืองสรุ ินทร์
โดยมี พระครูวิมลสลี พรต (ทอง) เปน็ พระอปุ ชั ฌาย์
พระครูบกึ เปน็ พระกรรมวาจาจารย์
พระครฤู ทธิ์ เปน็ พระอนสุ าวนาจารย์
เมอื่ แรกบวช กไ็ ดป้ ฏบิ ตั ิกมั มฏั ฐานกับหลวงปแู่ อกวดั คอโค ซ่งึ
อยชู่ านเมอื งสุรนิ ทร์ วิธกี ารเจรญิ กมั มัฏฐานในสมัยน้นั ก็ไม่มีวิธี
อะไรมากมายนกั วิชาทห่ี ลวงปู่แอกสอนใหส้ มยั นั้น คือ จุดเทยี นข้นึ
มา 5 เลม่ แลว้ นงั่ บรกิ รรมว่า “ขออญั เชญิ ปีติท้งั 5 จงมาหาเรา”
ดังนเ้ี ทา่ นน้ั แต่หลวงปู่ดูลยก์ ็พากเพียรปฏิบตั ิอยา่ งเคร่งครัด ดว้ ย
ความวิรยิ ะอตุ สาหะอย่างแรงกล้า พยายามบริกรรมเร่ือยมาจนครบ
ไตรมาสโดยไม่ลดละ แต่ก็ไม่ปรากฏเหน็ ผลอนั ใดแม้เลก็ นอ้ ยนอกจาก
นย้ี ังได้ฝึกฝนทรมานรา่ งกายเพอื่ เผาผลาญกเิ ลส ด้วยความเข้มงวด
กวดขัน การขบฉนั อาหาร วันก่อนเคยฉนั 7 ค�ำ กล็ ดเหลือ 6 คำ�
แลว้ ลดลงไปอีกตามลำ� ดบั จนกระท่งั รางกายซบู ผอมโซเซ สู้ไม่ไหว จงึ
หนั มาฉันอาหารตามเดิม ระยะนั้นก็ไมป่ รากฏเหน็ ผลอันใดแมเ้ ลก็
น้อย
นอกจากนี้กใ็ ช้เวลาท่เี หลือทอ่ งบ่น เจ็ดต�ำนานบ้าง สบิ สอง
ต�ำนานบ้าง แตไ่ มไ่ ดศ้ ึกษาพระวนิ ัยเลย เรอ่ื งวนิ ยั ทีจ่ ะน�ำมาประพฤติ

9

ปฏบิ ัติขดั เกลา กาย วาจา เพ่อื เปน็ รากฐานของสมาธภิ าวนานน้ั
ทา่ นไม่ทราบ มิหนำ� ซ้ำ� ระหว่างที่อยวู่ ดั ดงั กลา่ ว พระในวดั นน้ั ยงั ใช้
ให้ท่านสร้างเกวยี นและเลี้ยงโคอกี ด้วย ท่านจงึ เกิดความสลดสังเวช
และเบอื่ หนา่ ยเป็นกำ� ลัง แตก่ อ็ ยมู่ าจนกระทัง่ ได้ 6 พรรษา
เมอ่ื ทราบข่าวว่า ทีจ่ ังหวดั อุบลราชธานี มกี ารเรียนการสอน
พระปริยัติธรรม กเ็ กิดความยินดลี น้ พ้นรีบเข้าไปขออนญุ าตทา่ น
พระครวู มิ ลศลี พรต ผู้เปน็ พระอปุ ชั ฌาย์เพ่ือไปศกึ ษา แตก่ ถ็ กู คัดคา้ น
กลับมา ทา่ นมิได้ลดละความพยายามไปขออยู่เรอื่ ยๆ จนกระทงั่ พระ
อุปชั ฌายเ์ ห็นวา่ ท่านมคี วามตัง้ ใจจรงิ จึงอนุญาตใหไ้ ปไดโ้ ดยมีครู
และครูดษิ ฐไ์ ปเปน็ เพ่ือน
เม่ือแรกไปถึงจงั หวดั อบุ ลฯ นัน้ เขาไมอ่ าจรบั ท่านให้พำ� นกั อยู่
ทีว่ ัดธรรมยุตได้ เพราะตา่ งนกิ ายกัน แม้จะอนุมัติใหเ้ ข้าเรียนไดก้ ต็ าม
ดงั นัน้ ท่านจงึ ตอ้ งไปอยู่วดั หลวง ซงึ่ การบณิ ฑบาตเปน็ ไปไดย้ ากเสยี
เหลือเกนิ พอดีหลวงพม่ี นสั ซง่ึ เดนิ ทางไปเรยี นกอ่ น ไดแ้ วะไปเยีย่ ม
ทราบความเขา้ จงึ พาทา่ นไปฝากอย่อู าศัยพร้อมทัง้ ศกึ ษาพระปรยิ ัติ
ธรรมไปด้วยทว่ี ดั สุทศั นาราม แตเ่ นือ่ งจากวัดนี้เป็นวัดฝ่ายสงฆ์ธรรม
ยตุ จึงไม่อาจใหท้ า่ นอยทู่ ว่ี ัดได้ดว้ ยเหตุผลทีน่ ่าฟงั ว่ามิได้รังเกียจ แต่
เกรงจะเกดิ ผลกระทบตอ่ ความเขา้ ใจอันดีระหว่างผู้บรหิ ารการคณะ
สงฆข์ องนกิ ายทง้ั สอง
อย่างไรกด็ ีด้วยเมตตาธรรม ทางวดั สุทศั น์ ไดแ้ สดงความ
เอื้อเฟือ้ ดว้ ยวธิ ีการอันแยบคาย โดยรบั ให้ท่านพำ� นกั อยู่ในฐานะพระ
อาคนั ตุกะผมู้ าเยย่ี มเยือน แตอ่ ย่นู านหนอ่ ยความเป็นอยูข่ องทา่ นจงึ
ค่อยกระเต้อื งข้ึน คือเป็นไปได้สะดวกบา้ ง
ทา่ นพยายามมมุ านะศกึ ษาเลา่ เรยี นพระปรยิ ัติธรรมอย่างเตม็

10

สตกิ �ำลงั จนกระท่ังประสบผลสำ� เรจ็ คอื สามารถสอบไล่ได้
ประกาศนียบตั รนักธรรมชั้นตรี นวกภมู เิ ปน็ รุ่นแรกของจงั หวดั
อุบลราชธานี และยังไดเ้ รยี นบาลีไวยกรณ์ (มูลกจั จายน)์ จนสามารถ
แปลพระธรรมบทได้ นับว่าทา่ นได้บรรลุปณิธานท่ีได้ตงั้ ไวใ้ นการจาก
บา้ นเกิดเมืองนอนไป ศกึ ษาตอ่ ณ ตา่ งแดนแล้ว ทกี่ ล่าวเช่นนี้
เพราะการคมนาคมระหวา่ ง สรุ ินทร์-อบุ ลฯ ในสมยั นนั้ เปน็ ไปโดย
ยากจนนับได้วา่ เป็นต่างแดนจรงิ ๆ
ตอ่ มาทา่ นไดพ้ ยายามอยา่ งยงิ่ ทจ่ี ะญตั ติจากนกิ ายเดมิ มาเป็น
ธรรมยตุ ติกนกิ าย แต่ทางคณะสงฆ์ธรรมยตุ โดยเฉพาะพระธรรม
ปาโมกข์ (ติสฺโส อ้วน) เจา้ คณะมณฑลในขณะนน้ั ซึง่ เปน็ พระเถระ
ชัน้ ผ้ใู หญ่พระนักบริหารผมู้ สี ายตาไกลและจิตใจกว้างขวาง ไดใ้ ห้
ความเห็นวา่ “อยากจะใหท้ ่านศึกษาเล่าเรียนไปก่อนไม่ตอ้ งญตั ติ
เน่อื งจากทางคณะสงฆธ์ รรมยุตมีนโยบายจะให้ทา่ นกลบั ไปพัฒนา
ศึกษาพระปริยตั ธิ รรมทจี่ งั หวัดสุรินทรบ์ า้ นเกดิ ของทา่ น ให้เจรญิ
รงุ่ เรือง เพราะถ้าหากญัตติแล้วเม่อื ทา่ นกลบั ไปสรุ นิ ทรท์ ่านจะตอ้ ง
อยู่โดดเด่ียว เน่ืองจากในสมัยนน้ั ยังไม่มวี ัดฝา่ ยธรรมยตุ ทจี่ งั หวดั
สุรินทรเ์ ลย”
แต่ตามความต้ังใจของทา่ นเองน้ัน มไิ ดม้ คี วามประสงคจ์ ะ
กลับไปสอนพระปริยตั ิธรรมจงึ ได้พยายามขอญัตตติ อ่ ไปอีก
ในกาลตอ่ มา นับวา่ เปน็ โชคของทา่ นก็ว่าได้ ท่านมโี อกาสได้
คนุ้ เคยกับท่านอาจารย์สิงห์ ขนตฺ ยาคโม ทา่ นรบั ราชการครู ท้ังที่ยงั
เป็นพระสงฆอ์ ยู่ในขณะน้ันท่ีวัดสุทัศน์ จงั หวัดอุบลฯ ทา่ นอาจารย์
สงิ หไ์ ด้ชอบอธั ยาศัยไมตรีของหลวงปดู่ ลู ยแ์ ละเหน็ ปฏิปทาในการ
ศกึ ษาเลา่ เรียน พรอ้ มทั้งการประพฤติปฏบิ ัตกิ ิจในพระศาสนาของ
ทา่ น วา่ เปน็ ไปดว้ ยความตัง้ ใจจริง ทา่ นอาจารย์สิงหจ์ งึ ได้ชว่ ยเหลือ

11

ท่านในการขอญัตติ จนกระทง่ั ประสบผลสำ� เร็จ
ดงั นน้ั ใน พ.ศ. 2461 ขณะเมอื่ อายุ 31 ปี ท่านจงึ ได้ญตั ติ
จากนิกายเดมิ มาเป็นพระภิกษุในธรรมยุตตกิ นกิ าย ณ พทั ธสมี าวัดสุ
ทศั นฯ์ จังหวัดอบุ ลราชธานี โดยมพี ระมหารฐั เปน็ พระอปุ ชั ฌาย์
พระศาสนดิลก เจ้าคณะมณฑลอดุ ร เปน็ พระกรรมวาจาจารย์
ถ้าหากจะนบั ระยะเวลาที่ทา่ นไปอยู่ทว่ี ัดสทุ ศั น์ ในฐานะพระ
อาคันตกุ ะ จนกระทง่ั ไดร้ ับเมตตาอนุญาตใหไ้ ด้ญัตตกิ ็เปน็ เวลานาน
ถงึ 4 ปีรวมเวลาทีด่ �ำรงอยู่ในภาวะของนกิ ายเดมิ ก็เป็นเวลานานถงึ
10 ปี
จากการทไี่ ด้ศกึ ษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรมและพจิ ารณาข้อ
ธรรมะเหลา่ นนั้ จนแตกฉานช�่ำชองพอสมควรแลว้ กเ็ ห็นวา่ การเรยี น
ปริยัตธิ รรมอยา่ งเดียวนั้นเป็นแตเ่ พียงการจ�ำหัวขอ้ ธรรมะได้เทา่ นน้ั
สว่ นการปฏิบตั ิใหไ้ ด้ผล และได้รู้รสพระธรรมอย่างซาบซึง้ น้ันเป็นอีก
เรอื่ งหน่งึ ต่างหาก จึงบังเกิดความเบื่อหนา่ ยและทอ้ ถอยในการเรียน
พระปริยตั ธิ รรม และมคี วามสนใจโนม้ เอียงไปในทางปฏบิ ตั ิธรรม
ทางธุดงคก์ มั มฏั ฐานอย่างแนว่ แน่
นับว่าเป็นบญุ ลาภของหลวงปู่ดูลย์ อยา่ งประเสริฐ ทใี่ น
พรรษาน้ันเอง ท่านพระอาจารยม์ ัน่ ภรู ิทตั ตเถระ พระปรมาจารยผ์ ู้
ยงิ่ ใหญฝ่ า่ ยอารญั ญวาสี ไดเ้ ดนิ ทางกลบั จากธดุ งค์กัมมฏั ฐาน มา
พ�ำนกั จ�ำพรรษาอยู่ที่วัดบูรพา จงั หวัดอบุ ลราชธานี ขา่ วที่พระ
อาจารย์ม่ันมาจำ� พรรษา ท่ีวัดบูรพานน้ั เลือ่ งลือไปทกุ ทศิ ทาง ท�ำให้
ภิกษุสามเณร บรรดาศษิ ยแ์ ละประชาชนแตกต่นื ฟ้ืนตัวพากันไปฟัง
พระธรรมเทศนาของพระอาจารย์มนั่

12

หลวงปดู่ ูลยก์ บั อาจารย์สิงห์ 2 สหายก็ไม่เคยล้าหลังเพอ่ื ใน
เรื่องเชน่ นี้พากนั ไปฟงั ธรรมเทศนาของพระอาจารย์มั่นกันเป็นประจำ�
ไม่ขาดแมส้ ักครง้ั เดียว นอกจากไดฟ้ ังธรรมะแปลกๆ ท่สี มบูรณด์ ้วย
อรรถพยัญชนะ มคี วามหมายลกึ ซงึ้ และรัดกมุ กว้างขวาง ยังไดม้ ี
โอกาสเฝา้ สังเกตปฏปิ ทาของท่านพระอาจารยม์ น่ั ทงี่ ดงามนา่
เล่อื มใสทกุ อิริยาบถอกี ดว้ ย ทำ� ให้เกิดความซาบซงึ้ ถึงใจคำ� พดู แต่ละ
ค�ำมวี ินยั แปลกดี ไมเ่ คยได้ยินไดฟ้ ังมาก่อน จงึ เพิม่ ความสนใจใคร่
ประพฤตปิ ฏิบตั ทิ างธุดงค์กัมมฏั ฐานมากยง่ิ ข้นึ ทกุ ทฯี
คร้ันออกพรรษาแล้วท่านอาจารยม์ ั่นไดอ้ อกธดุ งค์อีก ภิกษุ 2
รูป คอื พระอาจารยส์ งิ ห์ ขนตฺ ยาคโม กบั หลวงป่ดู ูลย์ จึงตัดสินใจ
สละทิ้งการสอนการเรียน ออกธุดงคต์ ดิ ตามพระอาจารยม์ ั่นไปทุก
แหง่ จนตลอดฤดกู าลนอกพรรษานนั้
ตามธรรมเนียมธดุ งคก์ มั มัฏฐาน ของพระอาจารย์ม่ัน มีอยวู่ า่
เม่อื ถงึ กาลเข้าพรรษาไมใ่ ห้จำ� พรรษารวมกันมากเกนิ ไป ให้แยกกันไป
จ�ำพรรษาตามสถานที่อนั วเิ วก ไมว่ า่ จะเป็นวดั เปน็ ปา่ เป็นถ�ำ้ เป็น
เขา โคนไม้ ปา่ ชา้ ลอมฟาง เรอื นวา่ ง หรอื อะไรตามอธั ยาศยั ของ
แตล่ ะบคุ คล แต่ละคณะ
เม่อื อกพรรษาแลว้ หากทราบขา่ ววา่ พระอาจารย์ม่นั อยู่ ณ
ท่ใี ดพระสงฆ์กพ็ ากันไปจากทุกทศิ ทุกทางมุ่งไปยงั ณ ทนี่ น้ั เพื่อเรยี น
พระกมั มฏั ฐาน และเล่าแจง้ ถึงผลการประพฤตปิ ฏบิ ัติทีผ่ า่ นมา เม่อื มี
อนั ใดผิดพระอาจารย์จดั ไดช้ ่วยแนะนำ� แก้ไข อันใดถกู ต้องดแี ลว้ ท่าน
จกั ไดแ้ นะน�ำข้อกมั มัฏฐานยิง่ ๆ ขึ้นไป
ดังนั้น เมอ่ื จวนจะถงึ กาลเข้าปุริมพรรษา คือ พรรษาแรก
แห่งการธุดงค์ของท่าน คณะหลวงป่ดู ูลย์ จงึ พากนั แยกจากทา่ นพระ

13

อาจารยม์ ั่น เดนิ ธุดงค์ผา่ นไปทางอำ� เภอทา่ คนั โท จังหวดั กาฬสินธุ์
ครน้ั ถงึ ป่าท่าคันโท ก็สมมติท�ำเปน็ สำ� นักวดั ปา่ เขา้ พรรษาดว้ ยกัน
5 รูป คือ
ท่านพระอาจารย์สงิ ห์
ทา่ นพระอาจารย์บญุ
ท่านพระอาจารย์สีทา
ทา่ นพระอาจารยห์ นู
ทา่ นพระอาจารย์ดูลย์ อตโุ ล (คือ ตัวหลวงปเู่ อง)
ทุกทา่ นปฏบิ ตั ติ ามปรารภความเพยี รอยา่ ง อกุ ฤษฎ์แรงกล้า
ปฏบิ ตั ิตามค�ำอบรมส่งั สอนของทา่ นปรมาจารยอ์ ย่างสดุ ขดี ครงั้ นั้น
บริเวณแห่งนน้ั เป็นสถานทที่ ุรกนั ดาร เกลอ่ื นกล่นไปดว้ ยสตั ว์ปา่ ท่ี
ดรุ ้าย ไข้ปา่ ก็ชกุ ชมุ มาก ยากท่จี ะดำ� รงชีวติ อยูไ่ ด้
ดังน้ันยงั ไม่ทนั ถึงคร่ึงพรรษาก็ปรากฏวา่ อาพาธเปน็ ไขป้ า่ กัน
หมด ยกเวน้ ท่านอาจารย์หนูองคเ์ ดยี ว ตา่ งกไ็ ด้ชว่ ยรับใช้พยาบาลกัน
ตามมตี ามเกิด หยูกยาที่จะน�ำมาเยียวยารกั ษากันก็ไม่มี ความปว่ ยไข้
เล่ากไ็ ม่ยอมลดละ จนกระท่ังองคห์ นึง่ ถงึ แก่มรณภาพลงในกลาง
พรรษานน้ั ตอ่ หน้าตอ่ ตาเพอื่ นสหธรรมกิ อย่างน่าเวทนา
สำ� หรบั หลวงปู่ดูลย์คร้ันได้ส�ำเหนียกรวู้ ่า มฤตยกู ำ� ลังคกุ คาม
อยา่ งแรงทงั้ หยูกยาที่จะน�ำมารักษาพยาบาลกไ็ ม่มี จึงตักเตอื นตนวา่
“ถึงอย่างไร ตัวเราจกั ไม่พน้ เงอ้ื มมือของความตายในพรรษานเ้ี ปน็ แน่
แล้ว เมอื่ เป็นเชน่ นี้ แมน้ เราจักตาย กจ็ งตายในสมาธิภาวนาเถดิ ”
จึงปรารภความเพียรอย่างเอาเปน็ เอาตาย ตง้ั สตใิ หส้ มบูรณ์พยายาม
ด�ำรงจิตใหอ้ ยใู่ นสมาธิอยา่ งมน่ั คงทุกอรยิ าบถ พร้อมท้งั พิจารณา
ความตาย คอื มีมรณสั สติกัมมัฏฐานเปน็ อารมณ์ไปดว้ ยโดยไมย่ ่อทอ้
พร่นั พรึงต่อมรณภัยที่กำ� ลงั คกุ คามจะมาถงึ ตัวในไมช่ า้ นเี้ ลย

14

ณ ป่าท่าคนั โท จังหวดั กาฬสินธ์นุ เี้ อง การปฏบิ ัตทิ างจิตที่
หลวงปู่ดลู ย์พากเพยี รบำ� เพ็ญอยอู่ ย่างไมล่ ดละ ก็ได้บังเกิดผลอย่าง
เต็มภาคภูมิ กลา่ วคอื ขณะท่นี ่ังภาวนาอยู่ตั้งแต่หัวคำ�่ จนดกึ มากนั้น
จติ กค็ ่อยๆ หยั่งลงส่คู วามสงบและใหบ้ งั เกดิ นิมติ ข้นึ มา คือ เปน็
พระพทุ ธรปู ปรากฏข้นึ ทีต่ วั ของท่าน ประหนึง่ วา่ ตวั ของท่านเปน็
พระพุทธรปู องคห์ นง่ึ ท่านพยายามพจิ ารณารปู นิมิตต่อไปอกี แม้
ขณะทอี่ อกจากที่บ�ำเพญ็ สมาธภิ าวนาแล้วและขณะออกเดินไปสู่ละแวก
บ้านป่า เพ่ือบิณฑบาต กเ็ ปน็ ปรากฏอยเู่ ช่นน้นั
วันตอ่ มาอีกก่อนท่รี ปู นิมติ จะหายไป ขณะทเ่ี ดินกลับจาก
บณิ ฑบาต ท่านได้พจิ ารณาดูตนเองกไ็ ด้ปรากฏเหน็ ชดั วา่ เป็นโครง
กระดูกทุกสว่ นสดั วันนั้นจึงเกดิ ความรู้สึกไมอ่ ยากฉนั อาหารจึงอาศยั
ความเอิบอ่ิมใจของสมาธิจติ กระทำ� ความเพยี รต่อไป เชน่ เดนิ จงกรม
บ้าง น่งั สมาธบิ ้างตลอดวันตลอดคืนและแลว้ ในขณะนัน้ เองแสงแหง่
พระธรรมกบ็ ังเกิดข้นึ ปรากฏแก่จติ ของทา่ น
รู้ชดั วา่ อะไรคอื จติ อะไรคือกิเลส จิตปรุงกเิ ลสหรอื กิเลสปรงุ
จติ และเข้าใจสภาพเดิมของจิตทแี่ ทจ้ รงิ ไดจ้ นร้กู เิ ลสสว่ นไหนละได้แล้ว
ส่วนไหนยงั ละไมไ่ ด้ ดงั นี้
1. บ�ำเพญ็ เพียรภาวนาเปน็ ปกติไมข่ าดสาย ไมเ่ คยขาดตก
บกพรอ่ ง กลางคืนจะพกั ผ่อนเพียง 2 ชว่ั โมงเทา่ นน้ั
2. ฉันมอ้ื เดียวตลอดมา เวน้ แต่เมือ่ มีกจิ นิมนตจ์ งึ ฉนั 2 มื้อ
3. มีความเป็นอยงู่ า่ ย เม่อื ขาดไมด่ นิ้ รนแสวงหา เมื่อมีไม่
ส่ังสม เป็นอย่ตู ามมีตามเกิดเจรญิ ด้วยยถาลาภสนั โดษ (คอื สนั โดษ
ไดอ้ ยา่ งไร บริโภคอย่างน้นั )
4. มสี จั จะ พูดอย่างไรต้องท�ำอยา่ งนนั้ มคี วามตง้ั ใจจรงิ จะ
ทำ� อะไรแลว้ ต้องท�ำจนสำ� เร็จ
5. สลั ลหุกวุตติ เปน็ ผู้มคี วามประพฤตเิ บากาย เบาใจ คอื

15

เปน็ ผูค้ ลอ่ งแคลว่ วอ่ งไว เดนิ ตวั ตรงและเร็ว แม้เวลาตน่ื นอนพอรสู้ ึก
ตวั ท่านจะลุกข้ึนทนั ทีเหมอื นคนท่พี ร้อมอยตู่ ลอดเวลา
6. นิยมการทำ� ตัวงา่ ยๆ สบายๆ ไมม่ พี ธิ รี ีตอง มกั ตำ� หนิผู้ที่
เจ้าบทบาท มากเกินควร
7. การปฏสิ นั ถาร ทา่ นปฏิบัติเป็นเยย่ี มตลอดมา
หลวงปู่เปน็ ผมู้ อี ุปนิสยั เยอื กเยน็ พูดน้อย สงบ อยู่เปน็ นิตย์
มวี รรณผ่องใส ทา่ นรกั ความสงบจิตใจใฝใ่ นความวิเวกมาก จะเห็นได้
วา่ ท่านชอบสวดมนต์บท “อรญฺเญ รกุ ขมเู ลวา สญุ ญฺ าคาเรวา
ภิกขฺ โว” มาก

ธรรมโอวาท

ส�ำหรบั หลวงปนู่ ัน้ ทา่ นเล่าวา่ ได้ตริตรองพิจารณาตามหัวข้อ
กมั มัฏฐานวา่ “สพฺเพ สงฺขารา อนจิ จฺ า สพเฺ พ สญญฺ า อนตตฺ า” ที่
ทา่ นพระอาจารย์มั่นให้มา ในเวลาตอ่ มาก็เกดิ ความสว่างไสวในใจชดั
วา่ เมื่อสงั ขารขนั ธด์ ับได้แลว้ ความเปน็ ตัวตนจักมไี มไ่ ด้ เพราะไมไ่ ด้
เขา้ ไปเพื่อปรุงแตง่ คร้ันความปรุงแต่งขาดไป ความทกุ ขจ์ ะเกิดขนึ้
อย่างไร และจบั ใจความอริยสัจจแห่งจติ ไดว้ ่า
1. จติ ท่ีส่งออกนอก เพ่อื รับสนองอารมณ์ท้งั ส้ิน เปน็ สมุทัย
2. ผลอันเกดิ จากจติ ที่สง่ ออกนอกแล้วหวน่ั ไหว เป็นทุกข์
3. จติ เห็นจิตอยา่ งแจ่มแจง้ เปน็ มรรค
4. ผลอันเกดิ จากจติ เหน็ จติ อยา่ งแจ่มแจง้ เป็นนโิ รธ
แลว้ ทา่ นเลา่ วา่ เมอ่ื ทำ� ความเขา้ ใจในอรยิ สจั ทงั้ 4 ไดด้ ังน้ี
แลว้ ก็ไดพ้ ิจารณาท�ำความเข้าใจใน ปฏิจจฺ สมปุ บาท ได้ตลอดท้งั สาย
คตธิ รรม ที่ท่านสอนอยเู่ สมอ คอื
“อย่าสง่ จติ ออกนอก”

16

“จงหยุดคดิ ให้ได้”
“คิดเทา่ ไหร่กไ็ มร่ ู้ ตอ้ งหยดุ คดิ ใหไ้ ดจ้ งึ รู้ แตก่ ต็ อ้ งอาศัยความ
คิด น่ันแหละจึงรู้”
“คนในโลกนตี้ ้องมีส่งิ ที่มี เพ่อื อาศัยส่ิงน้นั เปน็ ผ้ปู ฏิบัติธรรม
ตอ้ งปฏิบตั ถิ งึ สิ่งท่ไี ม่มี และอยู่กับส่งิ ท่ไี มม่ ี”

ปัจฉิมบท

สงั ขารธรรมหนงึ่ อบุ ัตขิ ึ้นเมื่อวันท่ี 4 ตุลาคม พ.ศ. 2430 ณ
บา้ นปราสาท ต�ำบลเฉลียง อำ� เภอเมอื ง จงั หวัดสรุ นิ ทรไ์ ดเ้ จริญ
เตบิ โตและรุง่ เรืองมาโดยล�ำดับตามวัย ไดด้ �ำเนินชีวติ อยา่ งถกู ต้องดี
งามอยู่ภายใตผ้ า้ กาสาวพสั ตรเ์ ป็นเวลานานถงึ 64 พรรษา ท่าน
ประพฤตปิ ฏบิ ัตติ นเปน็ แบบอยา่ งท่ีดีงามของชาวพุทธตลอดเวลา
เป็นเน้อื นาบญุ ของโลก ท่านเปน็ พทุ ธสาวกอย่างแท้จริง ได้บำ� เพญ็
ประโยชน์แกผ่ อู้ นื่ อยา่ งสมบูรณบ์ ริบูรณ์
บัดน้ีสังขารขันธ์น้ันได้ดบั ลงแล้ว ตาม สภาวธรรม เมอื่ 30
ตุลาคม พ.ศ. 2526 แม้วา่ หลวงปูด่ ลุ ยอ์ ตุโล ไดส้ ละทง้ิ รา่ งกายไป
แล้ว แตเ่ มตตาธรรมทท่ี ่านไดป้ ระสาทไว้แก่สานุศษิ ย์ทงั้ หลาย ยัง
เหลอื อยู่ คณุ ธรรมดังกล่าวยงั คงประทับอยู่ในจิตใจของทุกๆ คนไม่
ลืมเลือน

17

18

ธรรมสนทนาของหลวงปดู่ ูลย์

(ทา่ นมอี ายไุ ด้ ๙๐ ปี และไดเ้ ขา้ พกั ทพ่ี ระตำ� หนกั ทรงพรต วดั บวรฯ)

ถาม : พุทโธ เป็นอย่างไร
หลวงปู่ : เวลาภาวนาอยา่ สง่ จิตออกนอก ความรอู้ ะไรทัง้ หลาย
อยา่ ไปยดึ ความรทู้ ีเ่ ราเรยี น กบั ต�ำรา หรือครอู าจารย์ อยา่ เอามา
ยุ่งเลย ใหต้ ัดอารมณ์ ออกให้หมด แล้วเวลาภาวนาไปให้มันรู้ ร้จู าก
จติ ของเราน่แี หละ จติ ของเราสงบ เราจะรูเ้ อง ต้องภาวนาให้มากๆ
เขา้ เวลามันจะเป็น จะเป็นของมนั เอง แลว้ ก็ความรู้อะไรๆ ใหม้ ัน
ออกมาจากจติ ของเรา ความรูท้ ี่ออกจากจติ ท่สี งบนนั่ แหละ เป็น
ความรูท้ ล่ี ึกซึ้งถึงทีส่ ุด ใหม้ ันรู้จากจิตเองน่ันแหละมันดี คือจติ มนั
สงบ ท�ำจิตใหเ้ กดิ อารมณอ์ ันเดยี ว แต่กอ่ นภาวนา ก็อยา่ สง่ จิตออก
นอก ใหจ้ ติ อยใู่ นจิต และก็ให้จติ ภาวนาเอาเองไม่ตอ้ งบริกรรมทาง
ปาก ใหจ้ ิตเป็นผู้บริกรรม พทุ โธ พุทโธ อยูน่ ่นั แหละ เกิดครั้งเดียว
เทา่ น้นั และ พทุ โธ นน่ั แหละจะผดุ ขนึ้ ในจิตของเรา เราจะได้รูจ้ กั วา่
พทุ โธ นน้ั เป็นอย่างไร แลว้ ร้เู อง เทา่ น้นั แหละ ไม่มีอะไรมากมาย
ภาวนาใหม้ ากๆ เข้า ใน อิรยิ าบถ ๔ ยืน เดนิ น่งั นอน อะไรๆ
ท�ำใหห้ มดเลย บรกิ รรม พุทโธ ใหจ้ ิตว่าเอาเอง ว่านานๆ ไป จิต
ของเราติดอยกู่ ับ พุทโธ นนั้ แลว้ ไม่ลำ� บาก มันจะว่าเอาเอง ถ้ามนั
ตดิ กบั พุทโธ แล้วนะ นน่ั แหละ มนั ใกลจ้ ะเปน็ สมาธิแล้ว ถ้าเป็น
สมาธแิ ลว้ เราก็ก�ำหนดสมาธิของเราอย่นู นั่ แหละ เออ..จิตมันเป็น
สมาธิ มันเปน็ อยา่ งนน้ั ๆ แล้วเรากร็ เู้ อง เข้าไปรอู้ ยใู่ นสมาธิน่นั
สมาธสิ งู สดุ อยตู่ รงนนั้ คือ จิตมีอารมณเ์ ดียว จติ ไมฟ่ ุง้ ซา่ น ตวั จรงิ
มันอย่ตู รงนนั้ เรารูอ้ ะไร เรารู้จากจติ ของเราเอง เรารถู้ งึ ความ
บริสุทธิข์ องเราเลย นอกจากนั้นไม่มอี ะไร แต่เราตอ้ งพยายามให้

19

มากๆ เข้า ก่อนจะนอนหรอื ลุกจากทน่ี อน เราตอ้ งทำ� เสียกอ่ น ทำ�
แลว้ กน็ งั่ ใหน้ านๆ เวลามนั จะเป็น มนั จะรเู้ องดอก แตถ่ า้ ยงั ไมเ่ ป็น
บอกเท่าไร มนั กไ็ ม่รู้ ร้จู ากจติ ของเรานะ รถู้ ึงความบรสิ ุทธิข์ องเรา
เลย รูถ้ ึงความเป็นจริง เท่านนั้ เอง.. ไมม่ ีอะไรมากมาย มีเทา่ นนั้ รู้
จากจติ ทีเ่ ป็นสมาธิ ร้ถู ึงความเปน็ จรงิ แล้ว เรากห็ มดความสงสัยใน
พระพุทธศาสนา รูไ้ ม่ถงึ ความเปน็ จริงกไ็ ม่หมดความสงสยั ดอก
ศาสนาเป็นอยา่ งไร เราร้ขู องเราเอง อยา่ ปลอ่ ยให้มันปรงุ แต่งมาก
นัก ขอ้ สำ� คญั ใหร้ จู้ กั จติ ของเราเทา่ นัน้ เอง เพราะวา่ จิตคือ ตัวหลกั
ธรรม นอกจากจิตแลว้ ไม่มหี ลกั ธรรมใดๆ เลย
ถาม : การภาวนาเขา้ ไปเหน็ จิตผูร้ ูน้ ัน้ ท�ำอยา่ งไรครบั
หลวงปู่ : ทำ� ใหม้ ากๆ ทำ� ให้บ่อยๆ
ถาม : เหน็ จิตคร้งั เดียวนี้ ใช้ได้ไหมครบั
หลวงปู่ : เห็นคร้ังเดยี วถ้าชัดเจนแลว้ ไมล่ มื ท�ำใหช้ ำ� นาญ เมื่อเกดิ
ความสงบแลว้ ก็พจิ ารณาความสงบ หดั เข้าหัดออกให้ชำ� นาญ เมอื่
เวลาภาวนา จติ สงบแล้ว พจิ ารณา รวู้ ่าเป็นอยา่ งนี้ๆ เมอื่ ถงึ เวลา
คับขนั สง่ิ ทพ่ี รอ้ มอยแู่ ลว้ มนั กย็ ่อมเปน็ ไปเอง ก็มเี ทา่ นั้นเอง ไมม่ ี
อะไรมากมาย
ถาม : ในเวลาคับขันเกิดจะตายขนึ้ มากะทันหนั และเราเขา้ สมาธิ
ไม่ทัน จะทำ� อย่างไรครับ
หลวงปู่ : นน่ั แหละ ตอ้ งหดั เขา้ ใหช้ �ำนาญ ถ้าช�ำนาญแล้วอะไรมา
ปิดบงั ไมไ่ ด้หรอก
ถาม : หลวงป่คู รับ ความสงบน้ันเราจะทำ� อย่างไรใหม้ ตี ลอดไป
หลวงปู่ : ความสงบ รึ ภาวนานนั่ เอง ภาวนาให้จิตเกิด

20

ถาม : การงดเวน้ จากการท�ำภาวนา จิตเราจะเสอ่ื มไหมครับ
หลวงปู่ : ถา้ หากเรารู้ถึงความเป็นจริงแล้ว ไม่เสอ่ื ม ถา้ ร้ไู มถ่ งึ ความ
เป็นจรงิ มักจะเสื่อม
ถาม : คดิ ๆ ไป ท้ังทค่ี ิดไปเหน็ แต่กลบั ไม่เหน็ อกี
หลวงปู่ : มันจะเหน็ มาจากไหน ไปหาให้มันเหน็ มนั ไม่เคยให้ใคร
เห็นหรอก เลิกหา เลิกคิดของเกา่ ท่เี คยเห็น ท�ำเอาใหม่ ใหเ้ ลกิ อยาก
รูอ้ ยากเห็นของเกา่ ท�ำใหม่อีกมันก็เกิดใหม่อกี อย่าไปยดึ สงิ่ ที่เคย
เปน็ แล้วเกดิ ใหมอ่ กี ทำ� ใหมอ่ กี ดูแตจ่ ิตอย่างเดียว อะไรๆ ออกจาก
จติ อย่างเดยี วเทา่ นั้น
ถาม : ดจู ติ แล้วเหน็ ปรุงแต่งเรือ่ งราวมากมาย ไมช่ นะ จะตามดบั
หลวงปู่ : ตอ้ งล�ำบากไปตามดบั มนั ทำ� ไม ดแู ต่จิตอย่างเดยี วมันกด็ ับ
ไปเอง มันออกไปปรุงแตง่ ขา้ งนอก มนั เกิดจากตน้ ตอทจี่ ิตทง้ั นัน้ หา
แตต่ ้นตอใหพ้ บ ก็จะร้แู จง้ หมด อะไรก็ไปจากนี้ อะไรๆ ก็มารวมอยูท่ ี่
นท้ี ้ังหมด (ท่านพูดพลางเอาหวั แมม่ ือช้ที หี่ นา้ อก) สิง่ ทีไ่ ด้รไู้ ดเ้ หน็
แลว้ อยากรอู้ ยากเห็นอกี น่นั แหละคือตวั กิเลส
ถาม : เมื่อถงึ โลกตุ ตระแลว้ มเี มตตา กรณุ าอะไรไหมครบั
หลวงปู่ : ไม่มหี รอก ความเมตตา กรุณา อยูเ่ หนือส่งิ เหล่านี้
ท้ังหมด เมตตา กรณุ า มทุ ติ า อุเบกขา อยู่ในโลกทัง้ หมด จิตสงู สดุ
หลดุ พน้ อยเู่ หนอื โลกทั้งหมด
ถาม : ไมม่ เี มตตาหรอื ครับ
หลวงปู่ : มีก็ไมว่ า่ ไมม่ กี ็ไม่ว่า เลิกพดู เลิกวา่ เลิกอะไรๆ ทงั้ หมด
มนั เป็นเพียงค�ำพูดแทๆ้ ใหด้ จู ติ อย่างเดียวเท่านั้น ความเปน็ จริงแล้ว
เปน็ แต่เพยี งคำ� พดู สลดั ทกุ ส่ิงทุกอยา่ งซ่ึงเปน็ มายาออกเสีย ตัวผู้ทีร่ ู้
และเขา้ ใจอนั นีแ้ หละคอื ตวั พทุ ธะ หมดภารกจิ หมดทุกอยา่ งทีจ่ ะทำ�

21

อะไรตอ่ ไปอีก พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ รวมลงอยทู่ นี่ ี่ จบอยทู่ ่ี
นี่ ไม่มยี าวต่อไปอกี ไมม่ ีเล็ก...ใหญ่...หญงิ ...ชาย...อยวู่ ่างเปลา่ ไม่มีคำ�
พดู เปลา่ เปล่า บริสทุ ธิ์ (เสียงระฆังวัดบวรฯ ท�ำวตั รเย็นดังข้นึ รบั

ประโยคสุดท้ายของหลวงป่)ู

วันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๒๑

โอ้ โพธพ์ิ ฤกษ์เย็น คุณะเดน่ เกษมสรรพ์
บัดน้ี พระดบั ขนั ธ์ ดจุ ะ โพธิหกั ลาญ
นึกนกึ อนาถนกั สดุ ทจ่ี กั หกั อาลัย
หลดั หลัด ล่วงลับไป คดิ แลว้ โถ โอ้ อาวรณ์
ชนมด์ ับ มิกลบั หลัง คณุ ะยัง ประทบั นาน
ซาบซ้ึง ณ ดวงมาน บรสิ ุทธ์ สงบเยน็

จิตทส่ี ง่ ออกนอก เปน็ สมทุ ยั
ผลอนั เกิดจากจติ ที่ส่งออกนอก เปน็ ทกุ ข์
จิตเห็นจติ อย่างแจม่ แจง้ เป็นมรรค
ผลอนั เกดิ จากจิตเห็นจิต เปน็ นิโรธ

หลวงปู่ฝากไว้

เนอ่ื งดว้ ยแตเ่ ดมิ มี Website “หลวงปู่ฝากไว”้ อยใู่ น inter-
net แลว้ แต่ในปัจจบุ ันไม่สามารถใช้งานได้ ผู้เขียนเลง็ เห็นว่าเปน็
สงิ่ ท่ีน่าถ่ายทอดบนั ทึกไว้ให้กวา้ งขวาง เพอื่ ให้นกั ปฏิบัติตลอดจน
อนชุ นร่นุ หลงั ได้ศกึ ษาค้นควา้ กนั ได้ เพราะขอ้ คดิ ข้อธรรมใน
"หลวงป่ฝู ากไว"้ ของพระอริยเจา้ หลวงปดู่ ลู ย์ อตโุ ล ทบ่ี ันทกึ
ถา่ ยทอดมาโดยพระโพธินนั ทะมุนี (สมศกั ดิ์ ปณฺ ฑโิ ต)น้นั เปน็
ขอ้ คดิ ขอ้ ธรรม ตลอดจนปริศนาธรรมท่สี ้นั กระชับแต่กินความ

22

หมายอนั ลึกซึง้ ซงึ่ ถา้ กระท�ำการโยนิโสมนสิการด้วยความเพียร
แลว้ จะทำ� ใหเ้ ขา้ ใจในสภาวะธรรม ตลอดจนแนวการปฏบิ ัตไิ ด้เป็น
อยา่ งดี สมควรที่จะเผยแผ่แกผ่ ู้ท่สี นใจ จงึ ไดบ้ ันทกึ ตามตน้ ฉบับใน
หนังสอื “อตโุ ล ไมม่ ีใดเทียม” โดยผเู้ ขียนจะทะยอยบนั ทกึ ไปเปน็
ระยะๆ โดยแบง่ เป็นฉบบั ย่อยๆ เพอ่ื ความสะดวกในการเข้าเว็บ
[และมีคำ� อธบิ ายในวงเล็บสีมว่ งท้ายขอ้ ธรรมในบางขอ้ ของท่านโดยผู้
เขียนเอง เพอื่ ใหผ้ ูอ้ า่ นไดเ้ น้นพิจารณา เพอ่ื ให้เห็นสภาวะธรรมบาง
ประการที่ทา่ นไดก้ ล่าวสอนฝากไว]้
( โยนิโสมนสิการ การท�ำในใจโดยแยบคาย, กระทำ� ไว้ในใจโดย
อุบายอนั แยบคาย, การพจิ ารณาโดยแยบคาย คือ พิจารณาเพอ่ื เข้า
ถงึ ความจริงโดยสืบค้นหาเหตผุ ลไปตามลำ� ดบั จนถงึ ต้นเหตุ แยกแยะ
องค์ประกอบจนมองเห็นตัวสภาวะและความสมั พนั ธ์แหง่ เหตปุ ัจจยั
หรือตริตรองใหร้ ู้จกั สิ่งที่ดที ่ชี ัว่ ยงั กศุ ลธรรมใหเ้ กิดขึ้นโดยอบุ ายท่ี
ชอบ ซึ่งจะมใิ หเ้ กดิ อวิชชาและตัณหา, ความร้จู ักคิด, คิดถูกวิธี

ที่มา : พจนานกุ รมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ โดย พระธรรมปฎิ ก(ป.อ.
ปยุตโฺ ต) )

ธรรมะปฏิสนั ถาร

เมือ่ วันท่ี ๑๘ ธนั วาคม พทุ ธศกั ราช ๒๕๒๒ พระบาทสมเดจ็
พระเจ้าอยูห่ วั ฯ พร้อมดว้ ยสมเด็จพระนางเจา้ ฯ พระบรมราชินีนาถ
เสดจ็ เย่ียมหลวงปเู่ ปน็ การส่วนพระองค์ เมื่อท้ังสองพระองค์ทรงถาม
ถึงสขุ ภาพอนามยั และการอยสู่ ำ� ราญแห่งอริยาบถของหลวงปู่ ตลอด
ถึงทรงสนทนาธรรมกบั หลวงปแู่ ลว้
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยหู่ วั ทรงมพี ระราชปุจฉาว่า “หลวง
ปู่ การละกเิ ลสนั้นควรละกิเลสอะไรกอ่ น”ฯ

23

หลวงปถู่ วายวสิ ชั นา “กิเลสท้ังหมดเกิดรวมทจ่ี ิต ใหเ้ พ่งมองดู
ทจี่ ติ อนั ไหนเกิดก่อนใหล้ ะอนั นน้ั ก่อน”

หลวงปู่ไมฝ่ ืนสังขาร

ทุกครง้ั ท่ลี ้นเกลา้ ฯ ทงั้ สองพระองค์เสด็จเย่ยี มหลวงปู่ หลัง
จากเสร็จพระราชกรณียกจิ ในการเยี่ยมแล้ว เมอ่ื จะเสด็จกลบั ทรงมี
พระราชด�ำรสั คำ� สุดท้ายว่า “ขออาราธนาหลวงปูใ่ หด้ �ำรงค์ขนั ธ์อยู่
เกินร้อยปี เพือ่ เป็นท่เี คารพนับถือของปวงชนทว่ั ไป หลวงปูร่ บั ได้
ไหม”ฯ
ทั้งๆ ทพ่ี ระราชด�ำรสั น้เี ป็นสมั มาวจกี รรม ทรงประทานพรแก่
หลวงปู่โดยพระราชอัธยาศัย หลวงปู่กไ็ ม่กล้ารับ และไมอ่ าจฝนื
สังขาร จึงถวายพระพรวา่
“อาตมาภาพรบั ไมไ่ ดห้ รอก แลว้ แตส่ งั ขารจะเปน็ ไปของเขาเอง.”
[แสดงสภาวะธรรมหรอื ธรรมชาตขิ องสงั ขาร แมใ้ นพระอริยเจา้ ]

ปรารภธรรมะเร่ืองอริยสัจสี่

พระเถระฝ่ายกมั มัฎฐานเข้าถวายสกั การะหลวงปู่ในวนั เขา้
พรรษาปี ๒๔๙๙ หลงั ฟังโอวาทและขอ้ ธรรมะอนั ลกึ ซง้ึ ขอ้ อื่นๆ แลว้
หลวงปู่สรปุ ใจความอริยสัจสี่ใหฟ้ งั วา่
จิตทสี่ ง่ ออกนอก เป็นสมุทยั
ผลอนั เกิดจากจิตที่สง่ ออกนอก เป็นทุกข์
จติ เหน็ จิต เป็นมรรค
ผลอันเกิดจากจิตเหน็ จติ เป็นนิโรธ

[ขอ้ ธรรมแสดงหลักธรรมปฏจิ จสมุปบาทและอรยิ สจั ๔]

24

สิ่งทอี่ ยู่เหนือคำ� พดู

อุบาสกผูค้ งแกเ่ รียนผูห้ นง่ึ สนทนากบั หลวงปวู่ ่า “กระผมเชือ่
วา่ แมใ้ นปจั จุบนั พระผู้ปฏบิ ัติถึงขน้ั ไดบ้ รรลุมรรคผลนพิ พานก็คงมอี ยู่
ไม่นอ้ ย เหตใุ ดทา่ นเหลา่ นั้นจงึ ไมแ่ สดงตนใหป้ รากฎ เพื่อใหผ้ สู้ นใจ
ปฏบิ ตั ทิ ราบวา่ ทา่ นได้บรรลุถึงคณุ ธรรมน้ันแลว้ เขาจะไดม้ กี �ำลังใจ
และความหวัง เพ่อื เป็นพลงั เร่งความเพยี รในทางปฏิบตั ใิ หเ้ ต็มท่ี”ฯ
หลวงปู่กล่าวว่า
“ผทู้ ี่เขาตรสั รู้แล้ว เขาไมพ่ ูดว่าเขารู้แล้วซ่ึงอะไร เพราะสิง่ น้นั
มนั อยเู่ หนือค�ำพูดท้ังหมด”

[แสดงปจั จัตตงั ร้ไู ด้เฉพาะตน]

หลวงปูเ่ ตอื นพระผู้ประมาท

ภกิ ษุผู้อยดู่ ว้ ยความประมาทคอยนบั จ�ำนวนศลี ของตนแตใ่ น
ตำ� รา คือมีความพอใจภูมิใจกับจ�ำนวนศลี ทมี่ อี ยใู่ นพระค�ำภรี ์ วา่ ตน
น้ันมีศลี ถงึ ๒๒๗ ขอ้
“สว่ นท่ีตั้งใจปฏิบตั ิให้ไดน้ ั้น จะมสี กั กี่ขอ้ ”

จริง แตไ่ ม่จริง

ผู้ปฏิบตั ิกัมมัฏฐาน ทำ� สมาธภิ าวนา เม่ือปรากฎผลออกมาใน
แบบตา่ งๆ ย่อมเกิดความสงสยั ขึ้นเป็นธรรมดา เช่น เหน็ นิมติ ในรูป
แบบทไี่ มต่ รงกนั บ้าง ปรากฎในอวัยวะของตนเองบ้าง สว่ นมากมาก
ราบเรยี นหลวงปู่เพือ่ ใหช้ ่วยแกไ้ ข หรือแนะอุบายปฏิบตั ติ อ่ ไปอีก มี
จำ� นวนมากทถ่ี ามวา่ ภาวนาแล้วกเ็ หน็ นรก สรรรค์ วิมาน เทวดา

25

หรือไม่กเ็ ปน็ องคพ์ ระพุทธรูปปรากฎอยู่ในตัวเรา ส่ิงที่เห็นเหลา่ นีเ้ ป็น
จริงหรอื ฯ
หลวงปบู่ อกว่า
“ที่เห็นนนั้ เขาเห็นจรงิ แต่ส่ิงทถ่ี ูกเหน็ ไม่จรงิ ”

[หมายเตอื นเรือ่ งนมิ ิต ที่ไปยึดหมาย อนั จะกอ่ ให้เกดิ วิปัสสนูปกิเลสเป็นท่ีสดุ ,
หลวงปู่กล่าวดังน้ีเพราะผู้ท่ีเห็นน้นั เขากเ็ หน็ จรงิ ๆ ตามความรสู้ กึ นกึ คดิ หรอื
สังขารทีเ่ กิดขึน้ ของเขา เพียงแตว่ า่ สิง่ ท่ีเหน็ ตามสงั ขารน้นั ไม่ได้เปน็ จรงิ ตาม
นัน้ ]

แนะวิธลี ะนิมติ

ถามหลวงปู่ต่อมาอีกว่า นมิ ติ ทงั้ หลายแหล่ หลวงปู่บอกยงั
เปน็ ของภายนอกทงั้ หมด จะเอามาทำ� อะไรยังไม่ได้ ถา้ ตดิ อย่ใู นนิมติ
นัน้ กย็ งั อยแู่ คน่ ้ัน ไม่ก้าวตอ่ ไปอีก จะเป็นด้วยเหตุทก่ี ระผมอยใู่ นนิมิต
นีม้ านานหรอื อยา่ งไร จึงหลีกไม่พน้ นัง่ ภาวนาทีไร พอจิตจะรวม
สงบกเ็ ขา้ ถงึ ภาวะนัน้ ทนั ที หลวงปู่โปรดได้แนะน�ำวิธลี ะนมิ ติ ดว้ ยวา่
ทำ� อย่างไรจึงจะไดผ้ ล
หลวงปตู่ อบว่า
เออ นมิ ติ บางอยา่ งมนั กส็ นกุ ดนี า่ เพลดิ เพลนิ อยูห่ รอก แต่ถ้า
ติดอย่แู คน่ ้ันมนั กเ็ สยี เวลาเปลา่ วิธลี ะไดง้ ่ายๆ กค็ ือ อย่าไปดูสิง่ ทีถ่ ูก
เหน็ เหล่านน้ั “ใหด้ ผู เู้ หน็ แลว้ สิง่ ท่ไี มอ่ ยากเหน็ น้ันก็จะหายไปเอง”

[ผู้เห็นหมายถงึ จิตหรือสติ]

เปน็ ของภายนอก

เมื่อวันที่ ๑๐ ธนั วาคม ๒๕๒๔ หลวงป่อู ยู่ในงานประจ�ำปี
วัดธรรมมงคล สุขมุ วทิ กรงุ เทพฯ มีแม่ชพี ราหมณห์ ลายคนจาก

26

วทิ ยาลัยครูพากนั เข้า ไปถาม ท�ำนองรายงานผลของการปฏบิ ัติ
วปิ สั สนาให้หลวงปูฟ่ ังวา่ เขานัง่ วิปสั สนาจิตสงบแลว้ เหน็ องค์
พระพทุ ธรูปในหวั ใจของเขา บางคนวา่ ได้เห็นสวรรค์ เหน็ วมิ านของ
ตนเองบา้ ง บางคนว่าเหน็ พระจฬุ ามณเี จดยี ส์ ถานบ้าง พร้อมทัง้
ภมู ิใจว่าเขาวาสนาดี ท�ำวปิ ัสสนาไดส้ ำ� เรจ็
หลวงป่อู ธบิ ายว่า
“สงิ่ ทป่ี รากฎเหน็ ทงั้ หมดนน้ั ยังเปน็ ของภายนอกทง้ั ส้ินจะนำ�
เอามาเปน็ สาระที่พึ่งอะไรยังไมไ่ ด้หรอก.”

[เป็นเพยี งสงั ขารขนึ้ มา ไมใ่ ชข่ องเที่ยงแท้ที่นำ� พาใหพ้ น้ ทกุ ข์ จึงไม่เปน็ สาระท่ี
ไปยึดหมาย]

หยุดเพื่อรู้

เม่อื เดือนมีนาคม ๒๕๐๗ มพี ระสงฆ์หลายรปู ท้งั ฝ่ายปรยิ ตั ิ
และฝา่ ยปฏิบตั ไิ ดเ้ ข้ากราบหลวงปู่เพ่ือรบั โอวาท และรบั ฟังการ
แนะแนวทางธรรมะทีจ่ ะพากนั ออกเผยแผ่ธรรมทตู ครัง้ แรก หลวงปู่
แนะวิธีอธบิ ายธรรมะข้ันปรมัตถ์ ทัง้ สอนผอู้ ืน่ และเพ่ือปฏิบตั ิตนเอง
ให้เข้าถงึ สัจจธรรมนนั้ ด้วยลงท้ายหลวงปไู่ ดก้ ล่าวปรัชญาธรรมไว้ให้
คดิ ดว้ ยว่า
คดิ เทา่ ไรก็ไม่รู้ ต่อเมอ่ื หยุดไดจ้ งึ รู้ แตต่ อ้ งอาศัยความคิด
น้นั แหละจงึ รู้

[อันหมายถึง คดิ นกึ ปรุงแตง่ เท่าไรกไ็ มร่ จู้ ักนิโรธ-การดบั ทกุ ข์ เม่ือหยดุ คิด
ปรงุ แต่ง อันยงั ให้ไม่เกิดเวทนาอนั เป็นปจั จัยใหเ้ กิดตณั หาและทุกขใ์ นที่สุดนั่น
แหละจึงจักรหู้ รอื พบนโิ รธ แต่ก็ตอ้ งอาศยั การคิด ิจารณาธรรมโดยการโยนโิ ส
มนสกิ ารเสียกอ่ นจงึ จกั เกดิ สมั มาญาณความเขา้ ใจด้วยตนเองในโทษของการ
คิดนึกปรงุ แต่ง]

27

ทัง้ สง่ เสรมิ ทง้ั ท�ำลาย

กาลครั้งน้ัน หลวงปไู่ ด้ใหโ้ อวาทเตือนพระธรรมทูตคร้ังแรกมี
ใจความตอนหนง่ึ ว่าฯ
“ทา่ นทงั้ หลาย การทจ่ี ะออกจาริกไปเพ่ือเผยแผ่ประกาศพระ
ศาสนานัน้ เป็นไดท้ ้งั ส่งเสรมิ ศาสนาและทำ� ลายพระศาสนา ทว่ี า่ เช่น
นเ้ี พราะองคธ์ รรมทูตนั่นแหละตัวสำ� คญั คือ เม่อื ไปแลว้ ประพฤตติ วั
เหมาะสม มีสมณสญั ญาจรยิ าวตั ร งดงามตามสมณวิสัยผูท้ ไ่ี ด้
พบเหน็ หากยงั ไม่เลอ่ื มใส ก็จะเกดิ ความเล่ือมใสขนึ้ ส่วนผทู้ เี่ ล่อื มใส
แลว้ กย็ ่งิ เพ่มิ ความเล่ือมใสมากขนึ้ เขา้ ไปอกี ฯ สว่ นองคท์ มี่ คี วาม
ประพฤติ และวางตวั ตรงกนั ขา้ มน้ี ย่อมทำ� ลายผูท้ ีเ่ ลอ่ื มใสแลว้ ให้
ถอยศรทั ธาลง ส�ำหรับผูท้ ย่ี ังไม่เลื่อมใสเลย ก็ย่งิ ถอยห่างออกไปอีกฯ
จงึ ขอใหท้ ุกทา่ นจงเป็นผพู้ ร้อมไปดว้ ยความรู้ และความประพฤติ ไม่
ประมาท สอนเขาอย่างไร ตนเองตอ้ งท�ำอย่างนน้ั ให้ไดเ้ ป็นตัวอยา่ ง
ดว้ ย”

เมอื่ ถงึ ปรมัตถ์แลว้ ไมต่ อ้ งการ

กอ่ นเข้าพรรษาปี ๒๔๘๖ หลวงพ่อเถาะ ซงึ่ เป็นญาติของ
หลวงปู่ และบวชเม่ือวัยชราแล้ว ได้ออกธุดงคต์ ดิ ตามท่านอาจารยเ์ ท
สก์ ท่านอาจารย์สาม ไปอยู่จังหวัดพังงาหลายปี กลับมาเย่ยี ม
นมสั การหลวงปู่ เพื่อศกึ ษาข้อปฏิบัตทิ างกมั มฎั ฐาน ตอ่ ไปอกี จนเปน็
ท่พี อใจแล้ว หลวงพ่อเถาะพดู ตามประสาความคุน้ เคยวา่ หลวงปู่
สรา้ งโบสถ์ ศาลาได้ใหญ่โตสวยงามอยา่ งนี้ คงได้บุญได้กศุ ลอยา่ ง
ใหญ่โตทีเดียว ฯ


28

หลวงปูก่ ล่าวว่า
“ทีเ่ ราสร้างน่กี ็สรา้ งเพ่ือประโยชนส์ ว่ นรวม ประโยชน์ส�ำหรับ
โลก ส�ำหรับวัดวาศาสนาเท่านั้นแหละ ถา้ พูดถึงเอาบญุ เราจะมาเอา
บญุ อะไรอยา่ งน.้ี ”

[เพราะการดับทกุ ขแ์ หง่ ตน คืออานสิ งส์ ผลของบุญอันสงู สดุ แล้ว]

ทุกข์เพราะอะไร

สภุ าพสตรวี ัยเลยกลางคนผหู้ น่ึงเข้านมัสการหลวงปู่ พรรณา
ถงึ ฐานะของตนวา่ อยูใ่ นฐานะท่ดี ี ไม่เคยขาดแคลนสิ่งใดเลย มา
เสยี ใจกบั ลูกชายท่สี อนไมไ่ ด้ ไมอ่ ยู่ในระเบียบแบบแผนท่ดี ี ตกอยภู่ าย
ใต้อำ� นาจอบายมุขทุกอยา่ ง ท�ำลายทรัพยส์ มบตั แิ ละจิตใจของพ่อแม่
จนเหลอื ที่จะทนได้ ขอความกรุณาหลวงปูใ่ หช้ ว่ ยแนะอุบายบรรเทา
ทุกข์ และแกไ้ ขใหล้ ูกชายพ้นจากอบายมุขน้นั ดว้ ย ฯ
หลวงปกู่ แ็ นะนำ� ส่ังสอนไปตามเร่อื งน้ันๆ ตลอดถึงแนะอบุ ายท�ำใจให้
สงบ รู้จักปล่อยวางใหเ้ ปน็ เมอื่ สุภาพสตรนี ัน้ กลับไปแล้ว หลวงปู่
ปรารภธรรมะใหฟ้ ังว่า
“คนเราสมัยนี้ เขาเปน็ ทุกข์เพราะความคิด.”

อทุ านธรรม

หลวงปยู่ งั กล่าวธรรมกถาต่อมาอกี วา่ สมบตั ิพสั ถานทงั้ หลาย
มันมีประจำ� อยใู่ นโลกมาแลว้ อย่างสมบรู ณ์ ผู้ท่ขี าดปัญญา และไร้
ความสามารถ กไ็ มอ่ าจจะแสวงหาเพ่ือยดึ ครองสมบตั ิเหล่านน้ั ได้
ยอ่ มครองตนอยดู่ ว้ ยความฝดื เคือง และลำ� บากขันธ์ส่วนผทู้ ่มี ปี ญั ญา
ความสามารถ ยอ่ มแสวงหายดึ สมบัตขิ องโลกไว้ไดอ้ ยา่ งมากมาย
อ�ำนวยความสะดวกสบายแกต่ นไดท้ กุ กรณฯี ส่วนพระอรยิ เจา้ ท้งั

29

หลายท่านพยายามด�ำเนนิ ตนเพอ่ื ออกจากสิง่ เหลา่ น้ีทั้งหมด ไปสู่
ภาวะแห่งความไม่มีอะไรเลย เพราะวา่
“ในทางโลก มี สิ่งท่ี มี สว่ นในทางธรรม มี สง่ิ ท่ี ไมม่ ี”

อทุ านธรรมตอ่ มา

เมอ่ื แยกพนั ธะแหง่ ความเกีย่ วเนอ่ื งจิต กับสรรพส่ิงทั้งปวงได้
แล้ว จิตกจ็ ะหมดพนั ธะกบั เรื่องโลก รูป เสียง กล่ิน รส สมั ผสั จะดี
หรือเลว มนั ข้นึ อยกู่ ับจติ ที่ออกไปปรงุ แตง่ ท้งั น้นั แลว้ จติ ทีข่ าด
ปญั ญาย่อมเขา้ ใจผดิ เม่อื เขา้ ใจผิดกห็ ลง ก็หลงอยภู่ ายใตอ้ �ำนาจของ
เครื่องรอ้ ยรดั ทงั้ หลาย ท้งั ทางกาย และทางใจ อนั โทษทัณฑ์ทาง
กายอาจมคี นอ่นื ช่วยปลดปล่อยได้บ้าง ส่วนโทษทางใจ มีกิเลสตณั หา
เป็นเครือ่ งรงึ รัดไว้นั้น ตอ้ งรู้จักปลดปลอ่ ยตนด้วยตนเอง
“พระอรยิ เจ้าทง้ั หลาย ท่านพน้ จากโทษทง้ั สองทางความทกุ ข์
จงึ ครอบงำ� ไม่ได้”

อุทานธรรมขอ้ ตอ่ มา

เม่อื บคุ คลปลงผม หนวด เคราออกหมดแล้ว และได้ครองผ้า
กาสาวพสั ตร์เรียบร้อยแล้ว กน็ บั วา่ เป็นสัญญลกั ษณ์แห่งความเป็น
ภิกษุได้ แตย่ ังเป็นได้แตเ่ พยี งภายนอกเทา่ นัน้ ต่อเมอื่ เขาสามารถ
ปลงส่งิ ทีร่ กรุงรงั ทางใจ อนั ได้แก่อารมณต์ กตํา่ ทางใจไดแ้ ล้ว กช็ ือ่ ว่า
เป็นภษิ ุในภายในไดฯ้
ศีรษะทป่ี ลงผมหมดแลว้ สตั วเ์ ลื้อยคลานเลก็ นอ้ ยเช่นเหา
ยอ่ มอาศยั อยูไ่ ม่ไดฉ้ ันใด จิตทพ่ี น้ จากอารมณ์ ขาดจากการปรงุ แต่ง

30

แล้ว ทกุ ขก์ ็อาศยั อยู่ไม่ไดฉ้ นั นัน้ ผู้มปี กติเป็นอยู่อยา่ งน้ีควรเรยี กได้

วา่ “เปน็ ภกิ ษุแท้” พุทโธเปน็ อย่างไร

หลวงปรู่ บั นมิ นตไ์ ปโปรดญาตโิ ยมทก่ี รงุ เทพฯ เมอ่ื ๓๑
มนี าคม ๒๕๒๑ ในช่วงสนทนาธรรม ญาติโยมสงสัยว่าพุทโธ เปน็
อย่างไร หลวงปไู่ ดเ้ มตตาตอบวา่
เวลาภาวนาอย่าสง่ จิตออกนอก ความรู้อะไรทัง้ หลายท้งั ปวง
อย่าไปยึด ความรทู้ ี่เราเรยี นกบั ตำ� หรับตำ� รา หรอื จากครูบาอาจารย์
อย่าเอามาย่งุ เลย ใหต้ ดั อารมณ์ออกใหห้ มด แล้วก็เวลาภาวนาไปให้
มันรู้ ร้จู ากจติ ของเรานั่นแหละ จิตของเราสงบเราจะรเู้ อง ต้อง
ภาวนาใหม้ ากๆ เขา้ เวลามันจะเป็น จะเปน็ ของมนั เอง ความรู้
อะไรๆ ให้มันออกมาจากจติ ของเรา
ความรทู้ ่อี อกจากจิตท่ีสงบนน่ั แหละเปน็ ความรู้ที่ลึกซึง้ ถึงทีส่ ดุ
ใหม้ ันร้อู อกมาจากจติ น่ันแหละมันดี คอื จิตมนั สงบ
ท�ำจติ ใหเ้ กดิ อารมณ์อนั เดยี ว อย่าสง่ จติ ออกนอก ใหจ้ ติ อยูใ่ น
จติ แลว้ ให้จิตภาวนาเอาเอง ให้จิตเป็นผู้บรกิ รรมพทุ โธ พทุ โธอย่นู นั่
แหละ แล้วพทุ โธ เราจะได้รจู้ กั วา่ พทุ โธ นั้นเปน็ อย่างไร แลว้ ร้เู อง...
เทา่ น้นั แหละ ไม่มอี ะไรมากมาย.

[จติ อย่ใู นจติ หมายถึง จิตอยกู่ ับสต]ิ

อยากไดข้ องดี

เม่ือตน้ เดอื นกนั ยายน ๒๕๒๖ คณะแม่บา้ นมหาดไทย โดยมี
คุณหญงิ จวบ จริ โรจน์ เปน็ หัวหนา้ คณะ ไดน้ ำ� คระแมบ่ า้ นมหาดไทย

31

ไปบ�ำเพ็ญสงั คมสงเคราะห์ทางภาคอสี าน ได้ถือโอกาสแวะมนัสการ
หลวงปู่ เมื่อเวลา ๑๘.๐๐ น.ฯ
หลงั จากกราบมนัสการและถามถึงอาการสุขสบายของหลวงปู่
และรับวัตถุมงคลเป็นท่ีระลึกจากหลวงป่แู ล้ว เห็นวา่ หลวงปไู่ มค่ อ่ ย
สบาย กร็ ีบออกมา แตย่ งั มสี ภุ าพสตรที ่านหน่งึ ถอื โอกาสพิเศษ
กราบหลวงปู่วา่ ดฉิ นั ขอของดจี ากหลวงปูด่ ้วยเถอะเจา้ ค่ะ ฯ
หลวงป่จู ึงเจรญิ พรว่า ของดกี ต็ ้องภาวนาเอาจึงจะได้ เม่ือ
ภาวนาแลว้ ใจกส็ งบ กายวาจากส็ งบ แลว้ กายก็ดี วาจาใจกด็ ี เราก็
อย่ดู มี สี ุขเทา่ นนั้ เอง
ดิฉันมภี าระมาก ไม่มเี วลาจะนัง่ ภาวนา งานราชการเดยี๋ วนี้
รดั ตวั มากเหลือเกนิ มีเวลาทไ่ี หนมาภาวนาได้คะ ฯ
หลวงปจู่ ึงต้องอธบิ ายให้ฟังว่า
“ถา้ มเี วลาส�ำหรบั หายใจ กต็ อ้ งมเี วลาส�ำหรับภาวนา”
ปี ๒๕๒๒ หลวงปไู่ ปพักผอ่ น และเย่ียมอาจารย์สมชายท่วี ัด
เขาสุกมิ จังหวดั จันทบรุ ี ขณะเดยี วกนั ก็มพี ระเถระอาวโุ สรูปหนงึ่ จาก
กรุงเทพฯ คอื พระธรรมวราลังการ วดั บุปผารามเจา้ คณะภาคทาง
ภาคใต้ไปอยฝู่ ึกกัมมฏั ฐานเมอ่ื วยั ชราแล้ว เพราะมีอายอุ อ่ นกว่าหลวง
ปูเ่ พียงปีเดียว ฯ
เมอ่ื ทา่ นทราบวา่ หลวงปเู่ ปน็ พระฝา่ ยกมั มฏั ฐานอยแู่ ลว้ ทา่ นจงึ
สนใจและศกึ ษาถามถงึ ผลของการปฏบิ ตั ิ ทานองสนทนาธรรมกนั เปน็
เวลานาน และกลา่ วถงึ ภาระของทา่ นวา่ มวั แตศ่ กึ ษาและบรหิ าร
งานการคณะสงฆม์ าตลอดวยั ชรา แลว้ กส็ นทนาขอ้ กมั มฏั ฐานกบั หลวง
ปอู่ ยเู่ ปน็ เวลานาน ลงทา้ ยถามหลวงปสู่ น้ั ๆ วา่ ทา่ นยงั มโี กรธอยไู่ หมฯ

32

หลวงป่ตู อบเรว็ ว่า
“มี แต่ไม่เอา”

[ผเู้ ขียน-หมายถงึ มีความโกรธเกดิ ขึ้นในระดับของขนั ธ์๕ธรรมดาในลำ� ดับแรก
แล้วไม่เอาไปคดิ นกึ ปรงุ แตง่ ตอ่ ซ่ึงย่อมไมม่ ีสังขารเกดิ ขึ้นใหม่อกี ดังน้นั เวทนา
ก่็เกิดขึ้นใหมไ่ มไ่ ด้เช่นกนั เมอ่ื ดับเวทนาเสียแล้ว ตณั หาและอุปปาทานความ
เป็นตัวตนของตนจะเกดิ ข้ึนได้อยา่ งไร ความโกรธจะไปอาศัยเหตุเกิดกับส่ิงใด
ได้ จึงตอ้ งดบั ไปอยา่ งรวดเร็ว ไมเ่ กิดอาการ เกิดดับๆๆๆ จนต่อเน่ืองแลเป็น
สายเดียวกนั อนั เปน็ ทุกข]์

รูใ้ ห้พรอ้ ม

ระหวา่ งทีห่ ลวงป่พู กั รักษา ทีโ่ รงพยาบาลจฬุ าฯ ในรอบดึกมี
จ�ำนวนหลายท่านด้วยกนั เขาเหล่าน้นั มคี วามสงสยั และอศั จรรย์ใจ
อยา่ งยิง่ โดยทส่ี ังเกตวา่ บางวนั พอเวลาดกึ สงดั ตหี นง่ึ ผ่านไปแล้ว
ไดย้ นิ หลวงปู่อธิบายธรรมะนานประมาณ ๑๐ กวา่ นาที แล้วสวด
ยถาใหพ้ ร ท�ำเหมือนหนง่ึ มผี ู้มารับฟังอยู่เฉพาะหน้าเปน็ จำ� นวนมาก
ครน้ั จะถามพฤติการทห่ี ลวงปู่ทำ� เชน่ นั้นกไ็ ม่กล้าถาม ต่อเมื่อหลวงปู่
ทำ� เช่นนนั้ หลายๆคร้ัง กท็ นสงสัยต่อไปไมไ่ ด้ จงึ พากันถามหลวงปู่ตา
มลักษณาการน้ันฯ
หลวงปจู่ ึงบอกวา่
“ความสงสัยและคำ� ถามเหล่าน้ี มนั ไมใ่ ชเ่ ป็นแนวทางปฏิบัติ

ธรรม” ประหยัดคำ� พูด

คณะปฏบิ ัตธิ รรมจากจังหวัดบุรีรมั ยห์ ลายท่าน มรี ้อยตำ� รวจ
เอกบุญชยั สุคนธมตั อยั การจังหวดั เป็นหวั หนา้ มากราบหลวงปู่
เพอื่ ฟงั ข้อปฏบิ ตั ธิ รรมแลเรียนถามถึงการปฏิบตั ยิ ่งิ ๆ ข้นึ ไปอกี ซ่ึง
ส่วนมากกเ็ คยปฏิบัตกิ บั ครูบาอาจารยแ์ ต่ละองคม์ าแล้ว และแสดง

33

แนวทางปฏิบัติไม่ค่อยจะตรงกนั เปน็ เหตุให้เกดิ ความสงสัยยง่ิ ขึ้น จึง
ขอกราบเรยี นหลวงปู่โปรดช่วยแนะแนวปฏิบตั ทิ ่ีถกู ต้อง และท�ำได้
ง่ายทส่ี ุด เพราะหาเวลาปฏบิ ัตธิ รรมได้ยาก หากได้วธิ ที ่งี า่ ยๆ แล้วก็
จะเป็นการถูกตอ้ งอยา่ งยง่ิ ฯ
หลวงปบู่ อกว่า
“ให้ดจู ิต ท่จี ิต”

ง่าย แตท่ �ำไดย้ าก

คณะของคุณดวงพร ธารีฉตั ร จากสถานีวทิ ยทุ หารอากาศ
๐๑ บางซ่ือ น�ำโดยคณุ อาคม ทันนเิ ทศ เดนิ ทางไปถวายผ้าปา่ และ
กราบนมสั การครบู าอาจารยต์ ามส�ำนักต่างๆ ทางอสี าน ไดแ้ วะ
กราบมนสั การหลวงปู่ หลังจากถวายผ้าป่า ถวายจตุปัจจยั ไทยทาน
แด่หลวงปู่ และรับวตั ถมุ งคลเป็นท่ีระลกึ จากทา่ นแล้ว ตา่ งคนตา่ งก็
ออกไปตลาดบา้ ง พกั ผ่อนตามอธั ยาศัยบ้าง
มอี ยุก่ ล่มุ หนึ่งประมาณสหี ้าคน เข้าไปกราบหลวงปแู่ นะนำ� วธิ ปี ฏบิ ัติ
งา่ ยๆ เพอ่ื แกไ้ ขความทุกข์ความกลมุ้ ใจ ซึง่ มกั จะเกดิ ข้ึนเปน็ ประจ�ำ
วา่ ควรปฏิบตั ิอย่างไรจงึ ไดผ้ ลเรว็ ท่ีสดุ ฯ

หลวงปูบ่ อกว่า
“อยา่ ส่งจติ ออกนอก.”

[อย่าส่งจติ ออกนอก ไปคิดนกึ ปรงุ แต่งหรือไปเสวยอารมณ(์ รูป เสยี ง กลิ่นฯ.)
ภายนอก หรอื ใหพ้ ิจารณาอย่ใู นกาย(กายานุปสั สนา)
ข้อควรระวัง พจิ ารณาอยู่ในกายหรอื ภายในกาย ไมใ่ ชห่ มายถงึ "จิตสง่ ใน" ท่ี
จิตเป็นสมาธิหรอื ฌาน แลว้ คอยส่องหรือจับสงั เกตแุ ต่กายและจติ ของตนเอง
ว่าดีไมด่ ี สบายหรอื ไม่สบาย อย่างนีเ้ ป็นอันตรายอย่างย่งิ ในภายหลงั ]

34

ทงิ้ เสยี

สภุ าพสตรีท่านหนึง่ เปน็ ชนช้นั ครูบาอาจารย์ เมื่อฟงั ธรรม
ปฏบิ ัตจิ ากหลวงปู่จบแล้ว กอ็ ยากทราบถึงวธิ ไี ว้ทุกขท์ ีถ่ กู ต้องตาม
ธรรมเนียม เขาจงึ พดู ปรารภตอ่ ไปอกี ว่า คนสมยั นีไ้ วท้ กุ ข์กนั ไมค่ อ่ ย
จะถกู ต้องและตรงกนั ทงั้ ๆที่สมัย ร.๖ ทา่ นท�ำไว้เป็นแบบอย่างดีอยู่
แลว้ เชน่ เม่อื มญี าตพิ ีน่ ้องหรอื ญาติผ้ใู หญ่ถงึ แก่กรรมลง ก็ให้ไวท้ กุ ข์
๗ วนั บา้ ง ๕๐ วนั บ้าง ๑๐๐ วนั บา้ ง แต่ปรากฎวา่ คนทกุ วันนท้ี ำ�
อะไรรู้สึกว่าลักล่นั กนั ไมเ่ ปน็ ระเบยี บ ดฉิ ันจึงขอเรยี นถามหลวงป่วู ่า
การไวท้ กุ ขท์ ถ่ี กู ตอ้ ง ควรไว้อย่างไรเจ้าคะฯ
หลวงปู่บอกว่า
“ทกุ ข์ ตอ้ งกำ� หนดรู้ เม่ือรแู้ ล้วใหล้ ะเสยี ไปไว้มันท�ำไม.”

[หลวงปู่สอนกจิ ญาณในอรยิ สจั ๔]

จรงิ ตามความเป็นจรงิ

สภุ าพสตรีชาวจีนผหู้ นง่ึ ถวายสักการะแด่หลวงป่แู ลว้ เขา
กราบเรียนถามว่า ดิฉนั จะต้องไปอย่ทู ่ีอ�ำเภอประโคนชัย จงั หวัดบุรี
รมย์เพอื่ ท�ำมาคา้ ขายอยใู่ กลญ้ าติทางโนน้ ทีนีท้ างญาตๆิ กเ็ สนอแนะ
ว่า ควรจะขายของชนดิ นั้นบ้าง ชนดิ นี้บ้าง ตามแต่เขาจะเหน็ ดีวา่
อะไรขายได้ดี ดฉิ ันยงั มีความกงั วลใจตดั สินใจเอาเองไม่ไดว้ า่ จะเลือก
ขายของอะไร จงึ ให้หลวงป่ชู ว่ ยแนะน�ำด้วยว่า จะใหด้ ฉิ ันขายอะไรจงึ
จะดเี จา้ คะฯ
“ขายอะไรก็ดที ง้ั นนั้ แหละ ถ้ามีคนซอ้ื .”

35

ไม่ได้ต้ังจดุ หมาย

เมอื่ จนั ทร์ ๘ พฤษภาคม ๒๕๒๒ คณะนายทหารประมาณ
๑๐ กวา่ นายเข้านมสั การหลวงปูเ่ ม่อื เวลาค่ําแล้ว กจ็ ะเดนิ ทางต่อเข้า
กรงุ เทพ ฯ ในคณะนายทหารเหลา่ นั้น มียศพลโทสองทา่ น หลัง
สนทนากบั หลวงปู่เป็นเวลาพอสมควร กถ็ อดเอาพระเครอ่ื งจากคอ
ของแตล่ ะท่านรวมใสใ่ นพานถวายให้หลวงปูช่ ว่ ยอธิษฐานแผเ่ มตตา
พลังจติ ให้ ทา่ นกอ็ นุโลมตามประสงค์ แลว้ กม็ อบคืนไป นายพลทา่ น
หนง่ึ ถามว่า ทราบว่ามีเหรยี ญหลวงปู่ออกมาหลายรุน่ แล้ว อยาก
ถามหลวงปู่ว่ามีรนุ่ ไหนดงั บา้ ง ฯ
หลวงป่ตู อบว่า
“ไมม่ ดี งั ”

คนละเรือ่ ง

มชี ายหนมุ่ จากตา่ งจงั หวดั ไกลสามส่ีคนเข้าไปหาหลวงปู่ ขณะ
ทท่ี ่านพักผ่อนอยู่ท่ีมุขศาลาการเปรยี ญ ดูอากัปกิริยาของเขาแล้วคง
คนุ้ เคยกบั พระนกั เลงองคใ์ ดองค์หนึ่งมากอ่ นแลว้ สงั เกตจุ ากการน่ัง
การพูด เขานัง่ ตามสบาย พูดตามถนดั ยง่ิ กวา่ นน้ั เขาคงเข้าใจว่า
หลวงปู่นี้คงสนใจกับเครื่อง รางของขลังอยา่ งดี เขาพูดถึงชอ่ื เกจอิ า
จารย์อ่ืนๆ ว่าใหข้ องดีของวเิ ศษแก่ตนหลายอย่าง ในท่สี ดุ ก็งัดเอา
ของมาอวดกนั เองตอ่ หนา้ หลวงปู่ คนหนึง่ มีหมูเข้ยี วตัน คนหนงึ่ มี
เข้ียวเสอื อีกคนมนี อแรด ต่างคนตา่ งอวดอา้ งว่าของตนดีวเิ ศษอย่าง
น้ันอยา่ งนี้ มีคนหนึ่งเอย่ ปากว่า หลวงปฮู่ ะ อยา่ งไหนแนด่ วี ิเศษกวา่
กนั ฮะ ฯ
หลวงปกู่ อ็ ารมณร์ ่นื เรงิ เป็นพเิ ศษย้ิมๆ แล้วว่า

36

“ไม่มีดี ไมม่ ีวเิ ศษอะไรหรอก เปน็ ของสัตวเ์ ดียรัจฉานเหมือน
กนั .”

[ลว้ นแลว้ แต่เป็นสลี ัพพตปรามาส]

ปรารภธรรมะใหฟ้ งั

คราวหน่ึง หลวงปกู่ ล่าวปรารภธรรมะใหฟ้ ังวา่ เราเคยตั้ง
สัจจะจะอา่ นพระไตรปิฎกจนจบ ในพรรษาท่ี ๒๔๙๕ เพ่ือสำ� รวจดูว่า
จดุ จบของพระพทุ ธศาสนาอยู่ตรงไหน ทีส่ ดุ แห่งสัจจธรรม หรอื ท่สี ุด
ของทกุ ขน์ ั้น อยู่ตรงไหน พระพุทธเจา้ ทรงกลา่ วสรปุ ไว้ว่าอย่างไร
คร้นั อา่ นไป ตรติ รองไปกระทงั่ ถงึ จบ ก็ไมเ่ หน็ ตรงไหนท่ีมีสัมผัสอัน
ลกึ ซ้งึ ถึงจิตของเราให้ตดั สนิ ใจไดว้ ่า น่ีคือทีส่ ้นิ สุดแห่งทุกข์ ที่สดุ แห่ง
มรรคผล หรือท่เี รียกว่านิพพานฯ
มอี ยตู่ อนหนงึ่ คอื ครัง้ นั้นพระสารีบุตรออกจากนโิ รธสมาบตั ิ
ใหม่ๆ พระพุทธเจา้ ตรัสเชงิ สนทนาธรรมวา่ สารีบตุ ร สผี วิ ของเธอ
ผ่องใสย่งิ นัก วรรณะของเธอหมดจดผุดผ่องยง่ิ นัก อะไรเปน็ วหิ าร
ธรรมของเธอ พระสารบี ุตรกราบทลู วา่ “ความวา่ งเปล่าเปน็ วหิ าร
ธรรมของข้าพระองค”์ (สญุ ฺญตา) ฯ
กเ็ หน็ มเี พยี งแคน่ แี้ หละ ทม่ี าสมั ผสั จติ ของเรา.

ปรารภธรรมะให้ฟัง

จบพระไตรปิฎกหมดแล้ว จำ� พระธรรมได้มากมาย พดู เกง่
อธบิ ายได้อยา่ งซาบซึ้ง มีคนเคารพนับถือมาก ท�ำการก่อสร้างวัตถไุ ว้
ได้อยา่ งมากมาย หรอื สามารถอธิบายถงึ อนิจจัง ทุกขงั อนตั ตา ได้
อยา่ งละเอียดแคไ่ หนก็ตาม "ถ้ายังประมาทอยู่ ก็นบั ว่ายังไม่ได้
รสชาตขิ องพระศาสนาแต่ประการใดเลย เพราะสิง่ เหลา่ น้ยี งั เปน็ ของ

37

ภายนอกท้งั น้นั เมื่อพดู ถึงประโยชน์ ก็เปน็ ประโยชน์ภายนอกคือเปน็
ไปเพื่อสงเคราะห์สังคม เพือ่ สงเคราะหผ์ อู้ น่ื เพอื่ สงเคราะห์อนชุ นรนุ่
หลงั หรือเปน็ สญั ญลักษณ์ของศาสนวัตถุ ส่วนประโยชนข์ องตนที่แท้
นน้ั คือ ความพ้นทุกข์ “จะพน้ ทกุ ข์ได้ต่อเมอื่ รู้ จติ หนึ่ง.”

คดิ ไม่ถงึ

ส�ำนกั ปฏบิ ตั ิแหง่ หนึ่ง ซึ่งเป็นสาขาของหลวงปนู่ ี่เอง อยู่ดว้ ย
กนั เฉพาะพระประมาณหา้ หกรปู อยากจะเคร่งครดั เปน็ พเิ ศษ ถึงขั้น
สมาทานไม่พูดจากันตลอดพรรษา คอื ไม่ใหม้ เี สยี งเป็นค�ำพดู ออกมา
จากปากใคร ยกเว้นการสวดมนตท์ ำ� วตั ร หรอื สวดปาตโิ มกขเ์ ท่าน้ัน
คร้ันออกพรรษาแลว้ พากนั ไปกราบหลวงปู่ เลา่ ถงึ การปฏิบัติอยา่ ง
เคร่งของพวกตนวา่ นอกจากปฏิบัติขอ้ วตั รอย่างอ่นื แลว้ สามารถหยดุ
พดู ไดต้ ลอดพรรษาด้วยฯ
หลวงปู่ฟงั ฟังแลว้ ย้มิ หนอ่ ยหน่ึง พดู ว่า
“ดีเหมอื นกนั เมื่อไมพ่ ดู กไ็ ม่มโี ทษทางวาจา แตท่ ีว่ ่าหยุดพูดได้
นนั้ เปน็ ไปไมไ่ ดห้ รอก นอกจากพระอริยบุคคลผูเ้ ขา้ นโิ รธสมาบตั ิชั้น
ละเอียดดบั สญั ญาเวทนาเทา่ นน้ั แหละทไ่ี มพ่ ดู ได้ นอกน้นั พูดทง้ั วันทัง้
คนื ย่งิ พวกที่ต้ังปฏญิ าณวา่ จะไมพ่ ูดน่นั แหละยง่ิ พูดมากกว่าคนอืน่
เพยี งแตไ่ มอ่ อกเสยี งให้คนอ่ืนไดย้ นิ เท่านนั้ .”

อย่าตง้ั ใจไว้ผิด

นอกจากหลวงป่จู ะนำ� ปรชั ญาธรรมที่ออกจากจิตของทา่ นมา
สอนแลว้ โดยทท่ี ่านอ่านพระไตรปิฎกจบมาแลว้ ตรงไหนทีท่ า่ นเห็น
วา่ สำ� คญั และเปน็ การเตือนใจในทางปฏิบัติให้ตรงและลดั ทีส่ ดุ ทา่ นก็
จะยกมากลา่ วเตอื นอยูเ่ สมอ เช่น หลวงปู่ยกพทุ ธพจนต์ อนหนึง่ ท่ี

38

พระพุทธเจ้าตรสั เตือนวา่
“ภกิ ษทุ ้ังหลาย พรหมจรรยน์ ี้ เราประพฤติ มิใชเ่ พ่อื หลอก
ลวงคน มใิ ช่เพอ่ื ให้คนมานิยมนบั ถอื มิใชเ่ พอื่ อานสิ งคล์ าภสกั การะ
และสรรเสริญ มใิ ช่อานิสงคเ์ ป็นเจ้าลทั ธอิ ยา่ งนั้นอยา่ งน้ฯี ทีแ่ ท้
พรหมจรรย์นี้ เราประพฤติ เพอื่ สงั วระ-ความส�ำรวม เพอื่ ปหานะ
-ความละ เพื่อวิราคะ-ความหายกำ� หนดั ยินดี และเพือ่ นิโรธะ-ความ
ดบั ทุกข์ ผ้ปู ฏิบัตแิ ละนกั บวชต้องมุ่งตามแนวทางนี้ นอกจากแนวทาง
นีแ้ ล้วผดิ ท้งั หมด.”

พระพทุ ธพจน์

หลวงปวู่ า่ ตราบใดที่ยงั เป็นปถุ ชุ นอยตู่ ราบน้ันย่อมมที ิฎฐิ
และเม่ือมที ิฎฐิแล้วยากท่จี ะเห็นตรงกนั เมือ่ ไมเ่ หน็ ตรงกนั ก็เป็นเหตุ
ให้โตเ้ ถียงววิ าทกนั อยูร่ ่ําไป ส�ำหรับพระอรยิ เจา้ ผู้เขา้ ถึงธรรมแลว้ ก้
ไม่มีอะไรส�ำหรบั มาโตแ้ ยง้ กบั ใคร ใครมีทฎิ ฐอิ ย่างไร ก็ปล่อยเป็น
เรอื่ งของเขาไป ดังพทุ ธพจนต์ อนหนึ่งทีพ่ ระพุทธเจา้ ตรัสวา่
ภกิ ษุทัง้ หลาย สง่ิ ใดอันบณั ฑติ ทัง้ หลายในโลกกลา่ ววา่ มีอยู่
แมเ้ ราตถาคตกก็ ล่าวส่ิงนัน้ ว่ามอี ยู่ สงิ่ ใดอนั บณั ฑิตทงั้ หลายในโลก
กลา่ ววา่ ไมม่ ี แม้เราตถาคตก็กลา่ วส่ิงนนั้ วา่ ไม่มี ดูกรภกิ ษุทง้ั หลาย
เรายอ่ มไม่โตแ้ ยง้ เถยี งกบั โลก แตโ่ ลกย่อมวิวาทโตเ้ ถยี งกบั เรา

นกั ปฏิบัตลิ ังเล

ปจั จุบนั น้ี ศาสนิกชนผูส้ นใจในการปฏบิ ัติฝา่ ยวปิ ัสสนา มี
ความงงงวยสงสยั อยา่ งย่งิ ในแนวทางปฏิบัติ โดยเฉพาะผ้เู ริ่มต้นสน
ใจเนอ่ื งจากคณาจารยฝ์ ่ายวปิ ัสสนาแนะแนวปฏิบัตไิ มต่ รงกนั ยิ่งไป

39

กวา่ นัน้ แทนที่จะอธิบายใหเ้ ขาเข้าใจโดยความเปน็ ธรรม ก็กลับทำ�
เหมือนไม่อยากจะยอมรับคณาจารยอ์ ื่น สำ� นักอน่ื วา่ เปน็ การถกู ต้อง
หรอื ถงึ ขั้นดูหม่นิ สำ� นกั อืน่ ไปแล้วกเ็ คยมไี มน่ ้อยฯ
ดงั นนั้ เมอ่ื มผี สู้ งสยท�ำนองนมี้ ากแลว้ เรยี นถามหลวงปู่อยู่
บอ่ ยๆ จงึ ไดย้ นิ หลวงปูอ่ ธบิ ายใหฟ้ ังอยู่เสมอๆ ว่า
“การเริ่มต้นปฏิบตั ิวปิ สั สนาภาวนาน้ัน จะเริ่มต้นโดยวธิ ไี หน
กไ็ ด้ เพราะผลมันกเ็ ปน็ อันเดยี ว กันอยแู่ ล้ว ทที่ ่านสอนแนวปฏบิ ัตไิ ว้
หลายแนวน้ันเพราะจริตของคนไมเ่ หมือนกัน จงึ ต้องมีวัตถุ สี แสง
และค�ำส�ำหรับบรกิ รรม เชน่ พุทโธ อรหัง เป็นต้น เพ่ือหาจุดใดจดุ
หน่งึ ใหจ้ ิตรวมอยู่กอ่ น สงบ แลว้ ค�ำบริกรรมเหล่าน้ันก็หลดุ หายไป
เอง แลว้ ก็ถึงรอยเดียวกนั รสเดียวกัน คอื มวี ิมุตติเป็นแก่น มีปญั ญา
เปน็ ยิ่ง.”
หมายเหตุผู้เขียน - หลวงปู่ท่านหมายถงึ การปฏิบตั ทิ ถ่ี ูกตอ้ ง แตแ่ ตก
แขนงออกเปน็ หลายแนวทางการปฏิบัติตามจริตผูป้ ฏบิ ัติ หรือตามสำ�
นักน้นั ๆ มไิ ด้หมายถึงการปฏบิ ัติแบบผิดๆอนั เป็นโทษอยา่ งแน่นอน

อยู่ กอ็ ยู่ให้เหนือ

ผทู้ ่ีเขา้ นมสั การหลวงปู่ทุกคน และทุกครง้ั มักจะพดู เป็นเสียง
เดียวกันวา่ แม้หลวงปู่จะมอี ายุใกลร้ อ้ ยปแี ลว้ กจ็ ริง แต่ดผู ิวพรรณยงั
ผอ่ งใส และสขุ ภาพอนามัยแขง็ แรงดี แมผ้ ้ทู อ่ี ย่ใู กลช้ ดิ ทา่ นตลอดมาก็
ยากทจ่ี ะได้เห็นทา่ นแสดงอาการหมองคลํา้ หรืออดิ โรย หรอื หนา้ นว่ิ
ค้ิวขมวดให้เห็น ท่านมปี รกติสงบเยน็ เบิกบานอยู่เสมอ มอี าพาธ
นอ้ ย มีอารมณ์ดี ไมต่ ื่นเตน้ ตามเหตุการณท์ เี่ กิดขนึ้ ไมเ่ ผลอคล้อย
ตามไปตามค�ำสรรเสริญ หรอื คำ� ต�ำหนติ เิ ตียนฯ

40

มีอย่คู ร้งั หนง่ึ ทา่ มกลางพระเถระฝ่ายวปิ สั สนา สนทนาธรรม
เรอ่ื งการปฏบิ ัติกับหลวงปู่ ถงึ ปรกตจิ ิตทีอ่ ยู่เหนอื ความทกุ ข์ โด
ยลักษณาการอย่างไรฯ
หลวงปู่ว่า
“การไมก่ ังวล การไมย่ ึดถอื นัน่ แหละวิหารธรรมของนัก
ปฏบิ ตั ิ.”

ทำ� จิตให้สงบไดย้ าก

การปฏิบัติภาวนาสมาธินนั้ จะให้ผลเร็วชา้ เทา่ เทียมกันเปน็ ไป
ไมไ่ ด้ บางคนไดผ้ ลเรว็ บางคนก็ชา้ หรือยงั ไม่ไดผ้ ลล้ิมรสแหง่ ความ
สงบเลยก็มี แตก่ ็ไม่ควรทอ้ ถอย ก็ได้ชอ่ื วา่ เปน็ ผ้ปู ระกอบความเพยี ร
ทางใจ ยอ่ มเป็นบญุ กุศลขน้ั สงู ต่อจากการบริจาคทานรักษาศลี เคยมี
ลกู ศษิ ยจ์ �ำนวนมากเรยี นถามหลวงปวู่ า่ อุตสา่ หพ์ ยายามภาวนาสมาธิ
นานมาแลว้ แตจ่ ติ ไม่เคยสงบเลย แสอ่ อกไปขา้ งนอกอยู่เร่อื ย มีวิธี
อ่ืนใดบา้ งทพ่ี อจะปฏิบัตไิ ด้ ฯ
หลวงป่เู คยแนะวธิ ีอกี อยา่ งหนึง่ วา่
“ถงึ จิตจะไมส่ งบกไ็ ม่ควรให้มันออกไปไกล ใช้สติระลึกไปแต่ใน
กายน้ี ดใู หเ้ หน็ อนจิ จัง ทกุ ขัง อนตั ตา อสุภสัญญา หาสาระแก่น
สารไมไ่ ด้ เมอ่ื จิตมองเหน็ ชดั แลว้ จติ กจ็ ะเกิดความสลดสงั เวช เกิด
นพิ พิทา ความหนา่ ย คลายก�ำหนัด ย่อมตดั อปุ าทานขนั ธไ์ ดเ้ ชน่
เดียวกัน.”

หลกั ธรรมแท้

มอี ย่อู ยา่ งหนง่ึ ทีน่ ักปฏบิ ตั ิชอบพดู ถงึ คอื ชอบโจษขานกนั

41

ว่า นง่ั ภาวนาแล้วเหน็ อะไรบา้ ง ปรากฎอะไรออกมาบา้ ง หรอื ไม่กว็ ่า
ตนนง่ั ภาวนามานานแลว้ ไม่เคยเห็นปรากฎอะไรออกมาบ้างเลย หรือ
บางคนกว็ า่ ตนได้เห็นสงิ่ นน้ั ส่งิ นอี้ ยู่เสมอ ทำ� ใหบ้ างคนเขา้ ใจผดิ คิด
วา่ ภาวนาแลว้ ตนจะไดเ้ หน็ สงิ่ ทตี่ ้องการเปน็ ต้น ฯ
หลวงปู่เคยเตอื นว่า การปรารถนาเชน่ นน้ั ผิดท้ังหมด เพราะ
การภาวนานน้ั เพ่ือให้เขา้ ถึงหลกั ธรรมอย่างแทจ้ รงิ
“หลกั ธรรมท่แี ท้จรงิ น้ัน คือ จิต ใหก้ �ำหนดดูจติ ให้เข้าใจจิต
ตวั เองให้ลึกซึ้ง เมอื่ เขา้ ใจจิตตวั เองได้ลึกซึ้งแล้ว นน่ั แหละได้แล้วซง่ึ
หลกั ธรรม.”

มปี รกติไมแ่ วะเกย่ี ว

อยู่รบั ใช้ใกล้ชดิ หลวงปเู่ ป็นเวลานานสามสิบกวา่ ปี จนถึงวาระ
สุดท้ายของทา่ นนนั้ เหน็ วา่ หลวงปมู่ ปี ฏปิ ทา ตรงตอ่ พระธรรมวินยั
ตรงต่อการปฏิบตั ิ เพอื่ พน้ ทุกข์อยา่ งเดียว ไม่แวะเก่ยี วกับวชิ าอาคม
ของศกั สิทธิ์ หรอื สิง่ ชวนสงสยั อะไรเลยแมแ้ ตน่ ้อย เช่น มคี นขอให้
เป่าหัวให้ กถ็ ามว่า เป่าทำ� ไม มคี นขอใหเ้ จิมรถ ก็ถามเขาว่า เจมิ
ท�ำไม มคี นขอใหบ้ อกวนั เดอื นหรือฤกษด์ ี กบ็ อกวา่ วันไหนก็ดีทง้ั นน้ั ฯ
หรือเมื่อท่านเค้ยี วหมาก มีคนขอชานหมากฯ
หลวงปู่ว่า
“เอาไปทำ� ไมของสกปรก.”

ทำ� โดยกรยิ า

บางครัง้ อาตมานึกไมส่ บายใจ เกรงว่าตัวเองจะมีบาป ที่เปน็ ผู้
มีสว่ นท�ำใหห้ ลวงป่ตู ้องแวะเกี่ยวกบั สง่ิ ที่ไมไ่ ดส้ นใจหรือไมถ่ นัดใจครัง้

42

แรก คือ วันนนั้ หลวงป่ไู ปร่วมงานเปิดพิพธิ ภัณฑบ์ รขิ ารทา่ นอาจารย์
มน่ั ทวี่ ัดป่าสุธาวาส สกลนคร มพี ระเถระวิปัสสนามากประชาชนก็
มาก เขาเหล่านน้ั จงึ ถือโอกาสเขา้ หาครบู าอาจารยท์ ้ังหลายเพื่อกราบ
เพ่อื ขอ จงึ มีหลายคนทีม่ าขอให้หลวงปูเ่ ปา่ หวั เมอื่ เห็นท่านเฉยอยู่
จงึ ขอร้องท่านวา่ หลวงปู่เป่าให้เขาให้แล้วๆไป ท่านจึงเป่าให้ ตอ่ มา
เมอ่ื เสยี ไมไ่ ด้ก็เจิมรถใหเ้ ขา ทนออ้ นวอนไม่ไดก้ ใ็ หเ้ ขาท�ำเหรยี ญ และ
เข้าพธิ ีพุทธาภเิ ษกวัตถุมงคล ฯ
แตก่ ็มคี วามสบายใจอยา่ งย่งิ เมอื่ ฟงั คำ� หลวงปู่ว่าฯ
“การกระทำ� ของเราในสง่ิ เหลา่ นเี้ ปน็ เพยี งกรยิ าภายนอกทเ่ี ปน็
ไปในสงั คม หาใชเ่ ปน็ กรยิ าทนี่ ำ� ไปสภู่ พ ภมู ิ หรอื มรรคผลนพิ พานแต่
ประการใดไม.่ ”

ปรารภธรรมะให้ฟัง

ค�ำสอนทั้ง ๘๔๐๐๐ พระธรรมขันธ์น้ัน เปน็ เพียงอุบายให้คน
ทงั้ หลายหันมาดจู ติ น่ันเอง คำ� สอนของพระพุทธองค์มีมากมายก็
เพราะกิเลสมมี ากมาย แตท่ างดับทกุ ข์ได้มีทางเดยี วพระนพิ พาน การ
ทเี่ รามีโอกาสปฏิบตั ธิ รรมทถ่ี ูกทางเช่นนม้ี นี ้อยนกั หากปลอ่ ยโอกาส
ให้ผ่านไปเราจะหมดโอกาสพ้นทุกข์ทนั ในชาตนิ ้ี แล้วจะต้องหลงอย่ใู น
ความเห็นผดิ อีกนานแสนนาน เพือ่ ทีจ่ ะพบธรรมอนั เดยี วกันนี้ ดังนน้ั
เม่อื เราเกิดมาพบพระพุทธศาสนาแลว้ รีบปฏบิ ัติใหพ้ น้ เสยี มิฉน้ันจะ
เสียโอาสอนั ดนี ีไ้ ป เพราะวา่ เมื่อสัจจธรรมถกู ลมื ความมดื มนยอ่ ม
ครอบงำ� ปวงสตั ว์ให้อยู่กองทกุ ขส์ ิ้นกาลนาน.

ปรารภธรรมะใหฟ้ ัง

มใิ ชค่ ร้ังเดยี วเท่าน้นั ทหี่ ลวงปู่เปรยี บเทยี บธรรมะให้ฟงั มอี ยู่

43

อีกคร้งั หนง่ึ หลวงปวู่ ่าปญั ญาภายนอกคือปัญญาสมมติ ไม่ท�ำใหจ้ ติ
แจ้งในพระนพิ พานได้ ต้องอาศัยปญั ญาอริยมรรคจงึ เข้าถึงพระ
นิพพานได้ ความรู้ของนกั วทิ ยาศาสตรเ์ ชน่ ไอสไตน์ มคี วามรูม้ าก
มคี วามสามารถมาก แยกปรมาณทู ี่เล็กทสี่ ุด จนเข้าถึงมิตทิ ี่ ๔ แล้ว
แตไ่ อสไตนไ์ ม่รจู้ ักนพิ พาน จงึ เข้าพระนพิ พานไมไ่ ด้ “จติ ท่แี จ้งใน
อริยมรรคเทา่ น้ันจงึ เป็นไปเพ่อื การตรสั รจู้ ริง ตรัสรู้ย่งิ ตรสั รู้พร้อม
เปน็ ไปเพอ่ื การดับทุกข์ เป็นไปเพ่ือนิพพาน.”

วิธรี ะงบั ดับทุกข์แบบหลวงปู่

ระหวา่ ง พ.ศ. ๒๕๒๐ โลกธรรมฝา่ ยอนฏิ ฐารมณ์ กำ� ลงั
ครอบงำ� ขา้ ราชการชน้ั ผใู้ หญใ่ นกระทรวง มหาดไทยอยา่ งหนัก คอื
เสอ่ื มลาภ เสือ่ มยศ ถกู นนิ ทา และทกุ ข์ แนน่ อน ความทกุ ขโ์ ศกน้ีอัน
นย้ี ่อมปกคลุมถึงบตุ รภรรยาดว้ ย
จึงมอี ยู่วนั หนึ่ง คุณหญิงคณุ นายหลายท่านได้ไปมนสั การ
หลวงปู่ พรรณนาถงึ ทุกข์โศกท่ีก�ำลงั ไดร้ ับ เพื่อให้หลวงปูไ่ ดแ้ นะวิธี
หรอื ชว่ ยเหลืออยา่ งใดอยง่ หน่ึงแล้วแตท่ า่ นจะเมตตาฯ หลวงปู่กลา่ ว
ว่า
“บคุ คลไม่ควรเศร้าโศกอาลยั ถงึ สิง่ นอกกายทั้งหลายทมี่ ันผ่าน
พน้ ไปแล้ว มันหมดไปแล้วเพราะสิ่งเหลา่ น้ันมันได้ท�ำหน้าท่ขี องมนั
อยา่ งถูกตอ้ งโดยสมบรู ณท์ ีส่ ุดแลว้ .”

เม่อื กล่าวถงึ สัจจธรรมแล้ว ยอ่ มลงส่กู ระแสเดยี วกนั

มีท่านผคู้ งแกเ่ รียนหลายท่านชอบถามว่า คำ� กลา่ ว หรอื เทศน์
ของหลวงปู่ดคู ล้ายนกิ ายเซ็น หรือคลา้ ยมาจากสตู รเว่ยหลา่ งเปน็ ต้น

44

อาตมาเรียนถามหลวงปกู่ ็หลายคร้ัง ในท่สี ดุ ท่านกล่าวอยา่ งเป็นก
ลางวา่
สจั จธรรมท้ังหมดมอี ยปู่ ระจำ� โลกอยแู่ ล้ว พระพุทธเจา้ ตรสั รู้
สัจจธรรมนัน้ แลว้ ก็นำ� มาส่งั สอนสตั วโ์ ลก เพราะอธั ยาศัยของสตั ว์ไม่
เหมอื นกัน หยาบบ้าง ประณตี บ้าง พระองคจ์ งึ เปลอื งค�ำสอนไวม้ าก
ถงึ ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขนั ธ์ เมอื่ มนี กั ปราชญ์
ฉลาดสรรหาค�ำพูดใหส้ มบรู ณท์ ส่ี ดุ เพ่ือจะอธิบายสัจจธรรมนั้นนำ�
มาตีแผเ่ ผยแจ้งแก่ผู้มุ่งสจั จธรรมดว้ ยกนั เรายอ่ มตอ้ งอาศัยแนวทาง
ในสจั จธรรมน้ันทต่ี นเองไตร่ตรองเหน็ แลว้ ว่าถูกต้อง และสมบรู ณ์
ทีส่ ุดนำ� เผยแผอ่ อกไปอีก โดยไม่คำ� นึงถึงค�ำพูด หรือไมไ่ ดย้ ดึ ติดใน
อักขระพยญั ชนะตัวใดเลยแมแ้ ต่น้อยนิดเดียว.

ละเอียด

หลวงพอ่ เบธ วดั ปา่ โคกหมอ่ น ไดเ้ ขา้ สนทนา ธรรมถงึ การ
ปฏิบัติทางสมาธภิ าวนา เล่าถึงผลการปฏิบัติขน้ั ต่อๆ ไปวา่ ได้บ�ำเพญ็
สมาธิภาวนามานานใหจ้ ติ เข้าถงึ อัปปนาสมาธไิ ด้เป็นเวลานานๆ ก็ได้
คร้ันถอยจากสมาธอิ อกมา บางทกี ็เกิดความรู้สกึ เอิบอิม่ อยู่เป็นเวลา
นาน บางทีกเ็ กดิ ความสว่างไสว เข้าใจสรรพางคก์ ายได้ครบถ้วน
หรอื มีอะไรต้องปฏิบตั ิตอ่ ไปอีก
หลวงปู่ว่า
“อาศยั พลังอัปปนาสมาธนิ ่ันแหละ มาตรวจสอบจิต แล้ว
ปลอ่ ยวางอารมณ์ทง้ั หมด อยา่ ใหเ้ หลืออยู่.”

45

วา่ ง

ในสมยั ต่อมา หลวงพอ่ เบธ พรอ้ มดว้ ยพระสหธรรมกิ อีกสอง
รูป และมีคฤหสั ถ์หลายคนด้วย เข้านมัสการหลวงปู่ฯ
หลงั จากหลวงปู่ไดแ้ นะนำ� ขอ้ ปฏิบัตแิ ก่ผู้ท่เี ข้ามาใหมแ่ ล้ว หล
วงพอ่ เบธถามถึงขอ้ ปฏิบตั ิท่หี ลวงปู่แนะเม่อื คราวที่แลว้ วา่ การปลอ่ ย
วางอารมณน์ นั้ ทำ� ไดเ้ พยี งชัว่ ครง้ั ชั่วคราว หรอื ชว่ั ขณะหนึ่งเทา่ น้นั
ไม่อาจใหอ้ ยูไ่ ดเ้ ปน็ เวลานานฯ
หลวงปวู่ า่
“แม้ท่วี ่าปล่อยวางอารมณ์ได้ชวั่ ขณะหน่งึ นนั้ ถา้ สงั เกตจุ ติ ไมด่ ี
หรือสติไมส่ มบรู ณเ์ ต็มที่แล้ว ก็อาจเปน็ ไปไดว้ า่ ละจากอารมณ์หยาบ
ไปอย่กู บั อารมณล์ ะเอียดกไ็ ด้ จึงตอ้ งหยุดความคิดทง้ั ปวงเสียแล้ว
ปล่อยจิตใหต้ ง้ั อย่บู นความไม่มอี ะไรเลย.”

[หมายเหตผุ ู้เขยี น - การ"ละจากอารมณห์ ยาบไปอยู่กับอารมณ์ละเอียด" เป็น
สิง่ ทีค่ วรสังวรระวงั อยา่ งมาก เพราะนักปฏบิ ัตจิ ะไปยึดความสงบ ความสบาย
ความสุข อนั เกิดจากการปฏบิ ัติท่ถี ูกต้องแทนอารมณห์ ยาบเดมิ ๆ เพราะความ
เคยชินเดมิ ๆ นน่ั เองทคี่ อยจบั จ้องคอยยึดอยโู่ ดยไม่รู้ตัว, ซง่ึ เป็นการปฏิบตั ิผิด
ไมถ่ กู ทางเช่นกนั , ต้องไม่ยดึ มัน่ ไมห่ มายมั่น ในความสงบความสขุ ความ
สบายอันเกิดขน้ึ จากการปฏิบตั ิท่ีถกู ตอ้ งเพราะละทกุ ขเ์ ปน็ บางสว่ นไดแ้ ลว้
ดว้ ยเช่นกนั , ผเู้ ขยี นมปี ระสบการณ์แบบน้มี าแลว้ จงึ อยากเตือนกันไว้กอ่ น]

ไมค่ อ่ ยแจ่ม

กระผมไดอ้ ่านประวัติการปฏิบัติธรรมของหลวงป่เู มื่อสมยั เดนิ
ธดุ งค์ว่า หลวงปู่เข้าใจเรอ่ื งจิตไดด้ ีวา่ จติ ปรงุ กเิ ลส หรือวา่ กเิ ลสปรุง
จติ ขอ้ น้หี มายความวา่ อย่างไร ฯ

46

หลวงปูอ่ ธิบายว่า
“จิตปรุงกเิ ลส คิอ การท่จี ิตบงั คับใหก้ าย วาจา ใจ กระท�ำสิง่
ภายนอก ให้มี ให้เปน็ ใหเ้ ลว ใหเ้ กดิ วบิ าก แลว้ ยึดติดอยู่วา่ นัน่ เป็น
ตวั น่ันเปน็ ตน ของเรา ของเขา
กิเลสปรุงจิต คือ การท่สี งิ่ ภายนอกเขา้ มา ทำ� ให้จติ เป็นไป
ตามอำ� นาจของมัน แลว้ ยดึ ว่ามตี วั มตี นอยู่ สำ� คญั ผดิ จากความเปน็
จรงิ อยู่รํา่ ไป.”

ความหลงั ยงั ฝงั ใจ

ครัง้ หนงึ่ หลวงปไู่ ปพกั ผอ่ นทีว่ ัดโยธาประสทิ ธิ์ พระเณรจ�ำนวน
มากพากนั มากราบนมสั การหลวงปู่ ฟังโอวาสของหลวงป่แู ลว้ หลวง
ตาพลอยผู้บวชเมอื่ แก่ แต่สำ� รวมดี ไดป้ รารภถงึ ตนเองว่า กระผม
บวชมานานก็พอสมควรแล้ว ยงั ไม่อาจตัดหว่ งอาลยั ในอดตี ไดแ้ ม้
ต้ังใจอยา่ งไรก็ยังเผลอจนได้ ขอทราบอุบายวธิ ีอยา่ งอ่ืนเพ่อื ปฏิบัติ
ตามแนวน้ีต่อไปด้วยครับกระผม ฯ
หลวงปู่ว่า
“อยา่ ใหจ้ ติ แล่นไปสอู่ ารมณภ์ ายนอก ถ้าเผลอ เมอ่ื รู้ตัวให้รบี
ดงึ กลับมา อย่าปลอ่ ยให้มันรูอ้ ารมณ์ดีช่วั สขุ หรอื ทุกข์ ไม่คล้อยตาม
และไม่หักหาญ.”

รูจ้ ากการเรยี นรู้ กบั รู้จากการปฏบิ ตั ิ

ศลี สมาธิ ปญั ญา วมิ ตุ ติ ท่กี ระผมจำ� จากต�ำราและฟงั ครู
สอนนั้น จะตรงกบั เนือ้ หาตามท่ีหลวงปูเ่ ขา้ ใจหรือ ฯ

47

หลวงป่อู ธิบายว่า
“ศีล คอื ปรกตจิ ิตที่อยอู่ ยา่ งปราศจากโทษ เป็นจติ ทมี่ ีเกราะ
กำ� บงั ป้องกันการกระท�ำชั่วทกุ อยา่ ง, สมาธิ ผลสบื เนอื่ งมาจากการ
รักษาศีล คอื จติ ท่ีมีความมัน่ คง มีความสงบเป็นพลงั ทจี่ ะสง่ ต่อไป
อกี , ปญั ญา ผรู้ ู้ คือ จิตท่ีว่างเบาสบาย รแู้ จง้ แทงตลอดตามความ
เปน็ จริงอยา่ งไร ฯ. วิมตุ ติ คือ จติ ท่ีเขา้ ถงึ ความวา่ ง จากความวา่ ง
คอื ละความสบาย เหลอื แตค่ วามไม่มี ไม่เปน็ ไมม่ ีความคดิ (ปรงุ
แต่ง-ผู้เขียน)เหลืออยูเ่ ลย.”

หยดุ ต้องหยดุ ให้เปน็

นักปฏบิ ัติกราบเรียนหลวงปูว่ า่ กระผมพยายามหยดุ คดิ หยุด
นกึ (ปรงุ แตง่ -ผู้เขยี น) ใหไ้ ด้ตามท่ีหลวงปเู่ คยสอน แต่ไมเ่ ป็นผล
ส�ำเรจ็ สักที ซํ้ายงั เกดิ ความอึดอัด แนน่ ใจ สมองมนึ งง แต่กระผมก็
ยงั ศรทั ธาว่าทห่ี ลวงปู่สอนไว้ย่อมไมผ่ ิดพลาดแน่ ขอทราบอบุ ายวธิ ตี ่อ
ไปด้วยฯ
หลวงปบู่ อกว่า
“ก็แสดงถงึ ความผิดพลาดอย่แู ลว้ เพราะบอกใหห้ ยดุ คดิ หยดุ
นึก(ปรุงแต่ง-ผู้เขยี น) ก็กลับไปคดิ (ปรุงแตง่ )ที่จะหยุดคดิ เสียอีกเล่า
แลว้ อาการหยดุ คิด(ปรุงแต่ง)จะอุบัตขิ น้ึ ไดอ้ ยา่ งไร จงก�ำจดั อวชิ ชา
แห่งการหยดุ คดิ หยดุ นกึ (ปรงุ แตง่ )เสียใหส้ นิ้ เลิกล้มความคิดที่จะหยุด
คิดเสียกส็ ิน้ เร่อื ง.”

ผลคล้ายกัน แต่ไมเ่ หมอื นกนั

แรม ๒ คาํ่ เดือน ๑๑ เปน็ วนั คลา้ ยวนั เกิดของหลวงปู่ ซึ่ง
พอดีกบั วนั ออกพรรษาแล้วได้ ๒ วนั ของทกุ ปี สานศุ ษิ ย์ท้ังฝ่ายปริยตั ิ

48

และฝ่ายปฏิบตั กิ น็ ิยมเดินทางไปกราบนมัสการหลวงปู่ เพือ่ ศกึ ษาและ
ไตรถ่ ามขอ้ วัตรปฏิบัติ หรอื รายงานผลของการปฏิบัติตลอดพรรษา
ซ่งึ เปน็ กิจทศี่ ิษของหลวงปกู่ ระทำ� อยู่เช่นน้ีตลอดมา ฯ
หลังจากฟงั หลวงปแู่ นะน�ำขอ้ วตั รปฏบิ ัตอิ ย่างพสิ ดารแลว้
หลวงป่จู บลงดว้ ยคำ� วา่
“การศกึ ษาธรรม ดว้ ยการอ่านการฟงั สิง่ ทไ่ี ด้ก็คอื สญั ญา
(ความจำ� ได้) การศกึ ษาธรรมด้วยการลงมือปฏิบตั ิ สงิ่ ทเี่ ป็นผลของ
การปฏบิ ตั ิ คอื ภูมิธรรม.”

มอี ย่จู ดุ เดียว

ในนามสทั ธิวิหารกิ ของหลวงปู่ มีพระมหาทวสี ขุ สอบเปรียญ
๙ ประโยค ไดเ้ ปน็ องค์แรก ทางวดั บรู พารามจงึ จดั ฉลองพัดประโยค
๙ ถวายฯ

หลงั พระมหาทวีสขุ ถวายสกั การะแก่หลวงปูแ่ ล้ว ทา่ นได้ให้โอ
วาสแบบปรารภธรรมว่า “ผู้ท่ีสามารถสอบเปรยี ญ ๙ ประโยคไดน้ ัน้
ต้องมีความเพียรอยา่ งมาก และมีความฉลาดเพยี งพอ เพราะถือวา่
เป็นการจบหลักสูตรฝา่ ยปริยตั ิ และตอ้ งแตกฉานในพระไตรปฎิ ก
การสนใจทางปรยิ ัตอิ ยา่ งเดยี วพน้ ทกุ ขท์ ุกขไ์ มไ่ ด้ ตอ้ งสนใจปฏิบตั ิ
ทางจติ ตอ่ ไปอีกด้วย.”ฯ
หลวงปกู่ ล่าววา่
“พระธรรมท้ัง ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขนั ธน์ น้ั ออกไปจากจิต
ของพระพุทธเจ้าท้ังหมด ทุกสิ่งทุกอย่างออกจากจติ อยากรู้อะไรคน้
ได้ทีจ่ ติ .”

49

หวังผลไกล

เม่ือมแี ขกหรืออบุ าสกอบุ าสิกาไปกราบนมสั การหลวงปู่ แต่
หลวงปมู่ ีปรกติไมเ่ คยถามถึงเร่อื งอ่ืนไกล มกั ถามว่า ญาตโิ ยมเคย
ภาวนาบ้างไหม? บางคนก็ตอบวา่ เคย บางคนก็ตอบว่าไมเ่ คย ใน
จำ� นวนน้ันมคี นหน่งึ ฉะฉานกว่าใคร เขากล่าววา่ ดฉิ ันเห็นว่าพวกเรา
ไมจ่ ำ� เป็นต้องมาวิปัสสนาอะไรให้มนั ล�ำบากลำ� บนนกั เพราะปีหน่งึ ๆ
ดฉิ นั กฟ็ ังเทศน์มหาชาติจบทงั้ ๑๓ กัณฑ์ ตั้งหลายวดั ทา่ นวา่
อานสิ งสก์ ารฟังเทศน์มหาชาตนิ ี้จะได้ถึงศาสนาพระศรีอาริย์ กจ็ ะพบ
แตค่ วามสุขความสบายอยูแ่ ลว้ (สีลพั พตปรามาส-ผ้เู ขยี น) ต้องมา
ทรมานใหล้ �ำบากทำ� ไม ฯ
“ส่ิงประเสริฐอนั มอี ยู่เฉพาะหน้าแลว้ ไมส่ นใจ กลับไปหวังไกล
ถึงสิง่ ท่เี ปน็ เพยี งการกล่าวถึง เป็นลกั ษณะของคนที่ไม่เอาไหนเลย ก็
ในเม่ือมรรคผลนิพพานในศาสนาสมณโคดมในปัจจุบันนยี้ งั มอี ยูอ่ ย่าง
สมบรู ณ์ กลบั เหลวไหลไม่สนใจ เมื่อถงึ ศาสนาพระศรีอาริย์ กย็ ง่ิ
เหลวไหลมากกว่านีอ้ กี .”

โลกนี้ มันก็มเี ท่าที่เราเคยร้มู าแลว้ น่ันเอง

บางครง้ั ทหี่ ลวงพอ่ สงั เกตเหน็ วา่ ผมู้ าปฏบิ ตั ิ ยงั ลังเลใจ
เสียดายในความสนกุ เพลดิ เพลินแบบโลกล้วน จนไม่อยากจะมา
ปฏบิ ตั ิธรรมฯ
ท่านแนะน�ำชวนคิดให้เหน็ ชัดวา่
“ขอใหท้ า่ นท้ังหลาย จงสำ� รวจดคู วามสุขวา่ ตรงไหนที่ตน
เห็นวา่ มนั สุขทสี่ ดุ ในชีวติ ครั้นสำ� รวจดแู ล้ว มันก็แค่นนั้ แหละ แคท่ ี่

50


Click to View FlipBook Version