The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

ประวัติท่านอาจารย์มั่น โดยหลวงตามหาบัว

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by ืทีมงานกรุธรรม, 2022-02-10 22:10:15

ประวัติท่านอาจารย์มั่น โดยหลวงตามหาบัว

ประวัติท่านอาจารย์มั่น โดยหลวงตามหาบัว

Keywords: ประวัติท่านอาจารย์มั่น โดยหลวงตามหาบัว

ประวัติท่านพระอาจารย์ม่ัน ภูริทัตตเถระ

โดย ท่านอาจารย์พระมหาบัว ญาณสัมปันโน

ISBN 978-616-91136-9-0

พิมพ์คร้ังท่ี ๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๖
จ�ำนวน ๑๐,๐๐๐ เล่ม
พิมพ์ครั้งที่ ๒ มีนาคม ๒๕๕๗
จ�ำนวน ๑๐,๐๐๐ เล่ม

จัดท�ำโดย มูลนิธิพระสงบ มนสฺสนฺโต
เลขท่ี ๕ หมู่ ๓ บ้านหนองแหน ต.หนองกวาง
อ.โพธาราม จ.ราชบุรี

จัดพิมพ์ที่ บริษัทอมรินทร์พริ้นต้ิงแอนด์พับลิชชิ่ง จ�ำกัด (มหาชน)
๓๗๖ ถนนชัยพฤกษ์ (บรมราชชนนี) เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ ๑๐๑๗๐
โทรศัพท์ ๐-๒๔๒๒-๙๐๐๐ โทรสาร ๐-๒๔๓๓-๒๗๔๒

หนังสือเล่มน้ีจัดพิมพ์เพื่อเผยแผ่เป็นธรรมทาน ห้ามคัดลอก ตัดตอน หรือน�ำไปพิมพ์จ�ำหน่าย
หากท่านใดประสงค์จะพิมพ์แจกเป็นธรรมทาน โปรดติดต่อ มูลนิธิพระสงบ มนสฺสนฺโต

www.sa-ngob.com

ค�ำน�ำ

หนังสอื ประวตั ิท่านพระอาจารยม์ น่ั ภูรทิ ตั ตเถระ ปรากฏว่ามีทา่ นผสู้ นใจมาก เป็นท่นี ่า
ภูมิใจ สมกับประเทศไทยเป็นเมืองพระพุทธศาสนาที่ชาวไทยนับถือเป็นชีวิตจิตใจตลอดมา
ทั้งน้ีทราบจากคราวท่ี “ศรีสปั ดาห์” พมิ พเ์ ป็นอนสุ รณ์ในพระราชพิธรี ชั ดาภเิ ษก เพอ่ื แจกเปน็
ธรรมทานจ�ำนวนหลายพันเลม่ ซึง่ ถ้าคดิ เปน็ มูลคา่ กค็ งไมต่ �่ำกว่า ๒ แสนบาท เมือ่ แถลงให้ทราบ
ทาง “ศรีสัปดาห์” เพ่ือแจกทาน กม็ ที า่ นทีส่ นใจมารับเป็นจำ� นวนมาก จนหนังสือไมพ่ อแจก
และหมดไปในเวลาอนั รวดเร็ว ทราบว่าทาง “ศรสี ัปดาห์” ต้องพมิ พเ์ พม่ิ อีกจำ� นวน ๒ พันเลม่
เพ่ือเป็นน�้ำใจแด่ท่านท่ีเป็นสมาชิกแห่ง “ศรีสัปดาห์” แม้เช่นน้ันก็ยังไม่พอแก่ความต้องการ
จำ� เปน็ ตอ้ งขอความเห็นใจท่ี “ศรสี ปั ดาห”์ ไมส่ ามารถปฏบิ ตั ิกบั ทกุ ท่านไดโ้ ดยท่ัวถงึ ดงั น้ี จงึ
ท�ำให้รสู้ ึกวา่ หนังสือประวตั ิทา่ นเลม่ น้เี ป็นที่สนใจแกช่ าวพทุ ธเราอยู่มาก
ด้วยเหตุนี้ ในวาระต่อมาจึงได้คิดรวมศรัทธากันจัดพิมพ์ขึ้นใหม่อีก โดยขอให้ผู้เขียน
ประวตั ทิ ่านเป็นผนู้ �ำในการจดั พมิ พ์ หนังสอื ประวตั ิท่านพระอาจารย์องคส์ �ำคัญนี้จึงได้สำ� เรจ็ เป็น
เล่มขึ้นมาดว้ ยกำ� ลังศรัทธาของท่านทีใ่ จบุญท้ังหลาย แตไ่ ม่สามารถออกนามใหท้ ่ัวถึงไว้ ณ ท่นี ไ่ี ด้
เพราะมากทา่ นด้วยกันท่ีร่วมบริจาค จึงขออภัยทุกท่านด้วยความเสียใจอย่างย่ิง กรุณายึดม่ัน
ตามหลักธรรมว่า “บญุ ยอ่ มเกดิ ที่นำ�้ ใจของทา่ นผเู้ ป็นต้นเหตแุ หง่ ศรัทธาบริจาค ไม่เกิดในทอ่ี ่นื ใด
และใจจะเป็นผรู้ ับผลแหง่ บุญทง้ั หลายที่ตนบ�ำเพ็ญไว้แล้ว” ท่านจะเป็นสขุ ใจตลอดกาล ไม่มอี ะไร
มากวนใจ
หนังสือเล่มน้ีผู้เขียนมีความมุ่งหมายประสงค์ให้ทุกท่านท่ีมีศรัทธาเป็นเจ้าของด้วยกัน
พิมพ์เป็นธรรมทานได้ทกุ โอกาส ไมต่ อ้ งขออนุญาตแตอ่ ย่างใด ส่วนจะพมิ พ์เพื่อจ�ำหนา่ ยจึงขอ
สงวนลิขสิทธ์ิ ดังท่ีเคยปฏิบัติมาทุกเล่มที่ผู้เขียนเป็นต้นฉบับ เพ่ือเทิดทูนพระศาสนาและครู
อาจารย์ตามก�ำลงั ดว้ ยความบริสทุ ธใิ์ จ
ขออำ� นาจคณุ พระศรรี ตั นตรยั และคณุ ทา่ นพระอาจารยม์ นั่ ผเู้ ปน็ เจา้ ของประวตั ิ จงกำ� จดั ภยั
พบิ ตั สิ ารพัดอันตราย อย่าได้มแี ก่ท่านทง้ั หลาย ขอให้มีแตค่ ุณธรรมท่พี งึ ปรารถนาและความสขุ
กายสบายใจ เพราะอ�ำนาจแห่งบุญเป็นท่ีพึ่งพิงอิงแอบแนบเน้ือท่านไปตลอดสาย อย่าได้มีวัน
เส่ือมคลายหายสูญ จงสมบรู ณ์พูนผลไปด้วยสมบตั ิอนั อุดมมงคลนานาประการ ตลอดวนั ย่างเขา้ สู่
พระนิพพานอันเป็นบรมสุขทุกทวั่ หนา้ กนั เทอญ.

สารบัญ 1
2
ประวัติท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ 5
เกิดสุบินนิมิต 10
เกิดสมาธินิมิต 17
พ่อแม่ครูอาจารย์ใหญ่ท่านพระอาจารย์เสาร์ กันตสีโล 19
เที่ยวธุดงค์ถ�้ำสาริกา 24
เวลาท่านพักอยู่ ในถ้�ำนี้มีรู้อะ ไรแปลก ๆ หลายอย่าง 28
ท่านรู้ภาษาสัตว์ 31
เร่ืองของขรัวตา 37
พระสาวกอรหันต์มาแสดงธรรม ให้ฟัง 40
พระศิษย์ของท่านพระอาจารย์ม่ัน 55
ธุดงควัตร 59
เทศน์สอนฆราวาสเลิกนับถือผีหันมานับถือพระไตรสรณาคมน์ 62
ท่านสนใจสั่งสอนพระ – เณรมากเป็นพิเศษ 65
เทศน์สอนเทวดา 67
ท่านเมตตาช่วยชาวบ้านหายจากโรคฝีดาษ 71
อุบายวิธีภาวนา 73
ปฏิปทาอดอยาก 75
พลธรรม ๕ 82
เทศน์สอนฆราวาส ทาน ศีล ภาวนา 87
ข้อวัตรประจ�ำองค์ท่าน โดยเฉพาะ ในมัชฌิมวัย 96
พระธุดงค์หัวดื้อ 100
ท่านพระอาจารย์ม่ันสนทนากับเทวดา 100
ก�ำลังเรายังไม่พอ 106
นิมิตพระแซงหน้าแซงหลัง 114
ท่านข้ึนเชียงใหม่บ�ำเพ็ญความเพียรข้ันแตกหัก 120
ท่านพระอาจารย์มั่นบรรลุธรรมอัศจรรย์ 127
คู่บารมี 132
พระพุทธเจ้าและพระสาวกอรหันต์เสด็จมาอนุ โมทนา 144
ความรู้พิเศษภายในของท่านพระอาจารย์มั่น 153
พุทโธหาย 160
ท่านพระอาจารย์มั่นท�ำประโยชน์มหาศาลแก่ส่วนรวม
เทวดาประเทศเยอรมันมาขอฟังเทศน์ท่าน

ท่านพระอาจารย์ขาวพูดกับช้าง 163
ดุพระพูดคุยแบบไร้สติ 166
จอมปราชญ์ทั้งสองฉลาดมาแต่เป็นฆราวาส 168
ท้าวสักกเทวราชบนสวรรค์มาเยี่ยมท่านเสมอ 171
เทศน์โปรดสองพ่ีน้องสร้างพระเจดีย์ไม่เสร็จแต่ตายก่อน 174
นิมิตพระหนุ่มสององค์รู้ธรรมตามท่าน 178
เทศน์โปรดอนุเคราะห์จ�ำพวกกายทิพย์ 181
ลูกศิษย์กับอาจารย์ โต้นรก – สวรรค์กัน 183
ท่านพิจารณาเห็นถ�้ำด้วยตาทิพย์ 190
พญานาคมิจฉาทิฏฐิ 192
พระอรหันต์มานิพพานท่ีถ้�ำเชียงดาว ๓ องค์ 200
ธรรมโอสถ 204
ท่านมีทั้งหูทิพย์ ตาทิพย์ และปรจิตตวิชา 206
รับอาราธนานิมนต์กลับจังหวัดอุดรธานี 212
พระมหาเถระถามปัญหาท่านพระอาจารย์ม่ัน 218
ตอบปัญหาธรรมแก่ฆราวาส 220
ท่านพระอาจารย์มั่นปลูกต้นโพธิ์ธรรม 231
ในวัยชราท่านพักจ�ำพรรษาวัดหนองผือ 243
ท่านสอนอุบายวิธีฝึกทรมานจิต 247
อุบาสิกาแก่นักภาวนาบ้านหนองผือ 254
ท่านเป็นร่มเงาเมตตาอนุเคราะห์แก่บรรดาศิษย์ 256
ท่านพระอาจารย์มั่นเร่ิมป่วยและเริ่มลาวัฏฏะวนเป็นคร้ังสุดท้าย 272
ท่านเทศน์อัศจรรย์ครั้งสุดท้าย 275
ท่านดับขันธ์นิพพาน ณ วัดสุทธาวาส 277
เหตุการณ์อัศจรรย์วันมรณภาพจนถึงวันถวายฌาปนกิจศพท่าน 287
อัฐิท่านพระอาจารย์มั่นกลายเป็นพระธาตุ 296
พระศิษย์ท่านพระอาจารย์ม่ันรับแขกเทพ ฯ  305
เรื่องคนยังไม่ตายแต่ไปเกิดแล้ว 309
เรื่องรอยพญานาคที่ใต้ถุนกุฎีท่าน 312
เรื่องบุหร่ีหลายเจ้าของ 313
ประสบการณ์การเท่ียวธุดงค์ของท่านพระอาจารย์ชอบ ฐานสโม 316
ท่านพระอาจารย์มั่นเป็นผู้มีประวัติงดงามมาก 326
สุดท้ายแห่งประวัติท่าน 328



ทางจงกรมและกุฏิที่ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ พักอาศัย
(ถ่ายเมื่อ ๓๐ สิงหาคม ๒๕๕๖)

ท่านพระอาจารย์ม่ัน ภูริทัตตเถระ ใช้ศาลานี้แสดงธรรมและประชุมสงฆ์
(ถ่ายเม่ือ ๕ ตุลาคม ๒๕๕๖)

08

อาคารพิพิธภัณฑ์บริขาร ท่านพระอาจารย์ม่ัน ภูริทัตตเถระ
(ถ่ายเมื่อ ๓๐ สิงหาคม ๒๕๕๖)

รูปหล่อและผอบพระธาตุ ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ ภายในอาคารพิพิธภัณฑ์บริขาร

(ถ่ายเมื่อ ๕ ตุลาคม ๒๕๕๖)

1

ประวัติ
ท่านพระอาจารย์ม่ัน ภูริทัตตเถระ

ชีวประวัติและปฏิปทาคือจริยธรรม ของท่านพระอาจารย์ม่ัน ภูริทัตตเถระ
ท่ีทา่ นกำ� ลงั อ่านอยูข่ ณะน้ี ผเู้ ขยี น* ได้พยายามเสาะแสวงหามารวบรวมตามกำ� ลังความสามารถ
จากพระอาจารย์หลายท่านท่ีเคยเป็นศิษย์อยู่ศึกษาอบรมกับท่านมาเป็นยุค ๆ จนถึงวาระสุดท้าย
แตค่ ง ไม่ถูกต้องแมน่ ย�ำตามประสงคเ์ ท่า ไรนัก เพราะทา่ นทจ่ี ดจำ� มาและผ้รู วบรวมคง ไมอ่ าจร้แู ละ
จ�ำ ได้ทุกประ โยค และทุกกาลสถานทท่ี ี่ทา่ นเทย่ี วจาริกบ�ำเพญ็ และแสดง ใหฟ้ ัง ในท่ตี า่ ง ๆ กัน ถ้า
จะรอ ให้จ�ำ ได้หมดทุกแง่ทุกกระทงถึงจะน�ำมาลงก็นับวันจะลบเลือนและหลงลืม ไปหมด คง ไม่มี
หวัง ไดน้ ำ� มาลง ใหท้ า่ นผสู้ น ใจ ไดอ้ ่านพอเป็นคติแกอ่ นุชนรนุ่ หลังอย่างแนน่ อน

ดังนั้นแม้จะเป็นประวัติท่ี ไม่สมบูรณ์ท�ำนองล้มลุกคลุกคลานก็ยังหวังว่าจะเกิดประ โยชน์
อย่บู ้าง การเขียนประวตั แิ ละจริยธรรมของท่านทงั้ ภายนอกทแ่ี สดงออกทางกายวาจาและภาย ใน
ท่ีท่านรู้เห็นเฉพาะ ใจแล้วแสดง ให้ฟังน้ัน จะเขียนเป็นท�ำนองเกจิอาจารย์ที่เขียนประวัติของ
พระสาวกทั้งหลายดังท ี่ไดเ้ ห็น ในตำ� ราซึ่งแสดง ไวต้ า่ ง ๆ กัน เพื่ออนุชนรนุ่ หลงั จะ ได้เห็นร่องรอย
ทธ่ี รรมแสดงผลแกท่ า่ นผสู้ น ใจปฏบิ ตั ติ ามมาเปน็ ยคุ  ๆ จนถงึ สมยั ปจั จบุ นั หาก ไมส่ มควรประการ ใด
แมจ้ ะเปน็ ความจริงดังท่ี ไดย้ ินได้ฟงั มาจากท่าน แตก่ ห็ วังวา่ คง ไดร้ บั อภัยจากท่านผู้อา่ นทั้งหลาย
เนื่องจากเจตนาที่มีต่อท่านผู้สน ใจ ในธรรมอาจ ได้คติข้อคิดบ้าง จึง ได้ตัดสิน ใจเขียนท้ังที่ 
ไม่สะดวก ใจนัก

ท่านพระอาจารย์ม่ัน ภูริทัตตเถระ เป็นอาจารย์ทางวิปัสสนาซึ่งควร ได้รับยกย่อง
สรรเสรญิ อยา่ งยงิ่ จากบรรดาศษิ ยผ์ อู้ ย ู่ใกลช้ ดิ ทา่ น วา่ เปน็ อาจารยว์ ปิ สั สนาชน้ั เยยี่ ม ในสมยั ปจั จบุ นั
จากเน้อื ธรรมทีท่ า่ นแสดงออกซงึ่ เป็นธรรมช้ันสูง ผู้ทอ่ี ยู่ ใกล้ชดิ  ไดม้  ีโอกาสฟงั อย่างถงึ ใจตลอดมา
ท�ำ ให้ปราศจากความสงสัย ในองค์ท่านว่าสมควรต้ังอยู่ ในภูมิธรรมขั้น ใด ท่านมีคนเคารพนับถือ
มาก ทงั้ บรรพชติ และคฤหสั ถ ์ในภาคต่าง ๆ เกอื บทั่วประเทศ ไทย นอกจากน้ันทา่ นยงั มสี านุศิษย์
ทั้งนักบวชและฆราวาส ในประเทศลาวอีกมากมายที่เคารพเลื่อม ใส ในท่านอย่างถึงใจตลอดมา
ทา่ นมีประวัตงิ ดงามมาก ทงั้ เวลาเปน็ คฤหสั ถแ์ ละเวลาทรงเพศเป็นนกั บวชตลอดอวสานสดุ ทา้ ย
ไม่มคี วามด่างพรอ้ ยเลย ซง่ึ เป็นประวัตทิ ี่หา ไดย้ าก ในสมยั ปัจจบุ ัน ความเปน็ ผู้มปี ระวตั อิ ันงดงาม

* ท่านอาจารย์พระมหาบัว ญาณสัมปันโน

2

ตลอดสายนี้ รสู้ ึกจะหายากยิง่ กวา่ หาเพชรหาพลอยเป็น ไหน ๆ 

ท่านก�ำเนิด ในสกุลแก่นแก้ว โดยนายค�ำดว้ งเป็นบิดา นางจนั ทร์เป็นมารดา นบั ถือ
พระพุทธศาสนาประจ�ำสกลุ ตลอดมา เกดิ วันพฤหสั บดี เดอื นย่ี ปีมะแม วนั ท่ี ๒๐ มกราคม
พ.ศ. ๒๔๑๓ ทบี่ ้านค�ำบง ต�ำบล โขงเจยี ม จงั หวดั อบุ ลราชธานี มพี ี่นอ้ งรว่ มทอ้ งกนั ๙ คน
แตเ่ วลาทา่ นมรณภาพปรากฏวา่ ยงั เหลอื เพยี ง ๒ คน ท่านเปน็ คนหวั ปี มรี ่างเล็ก ผิวขาวแดง
มีความเขม้ แขง็ ว่อง ไวประจำ� นสิ ัย มสี ตปิ ัญญาเฉลยี วฉลาดมาแตเ่ ลก็ พออาย ุได้ ๑๕ ปี ได้บรรพชา
เปน็ สามเณรอย ู่ในสำ� นักวดั บา้ นค�ำบง มคี วามสน ใจและรักชอบ ในการศกึ ษาธมั มะ เรยี นสูตร
ต่าง ๆ ใ นสำ� นกั อาจารย์ ได้อยา่ งรวดเร็ว มคี วามประพฤตแิ ละอัธยาศยั เรยี บรอ้ ย ไมเ่ ป็นท่ีหนกั  ใจ
หมู่คณะและครอู าจารยท์ ่ี ใหค้ วามอนุเคราะห์

เม่ือบวช ได้ ๒ ปี ทา่ นจำ� ตอ้ งสกึ ออก ไปตามค�ำขอรอ้ งของบิดาท่มี คี วามจ�ำเปน็ ตอ่ ทา่ น
แมส้ กึ ออก ไปแลว้ ทา่ นกย็ งั มคี วามมน่ั  ใจทจี่ ะบวชอกี เพราะมคี วามรกั  ในเพศนกั บวชมาประจำ� นสิ ยั
เวลาสึกออก ไปเป็นฆราวาสแล้ว ใจท่านยังประหวัดถึงเพศนักบวชมิ ได้หลงลืมและจืดจาง ทั้งยัง
ปัก ใจว่าจะกลับมาบวชอกี  ใน ไมช่ า้ ทง้ั นีอ้ าจจะเป็นเพราะอ�ำนาจศรัทธาที่มกี ำ� ลังแรงกลา้ ประจ�ำ
นสิ ยั มาดง้ั เดมิ กเ็ ป็น ได้

พออาย ุได้ ๒๒ ปี ทา่ นมีศรทั ธาอยากบวชเป็นกำ� ลังจงึ  ได้ลาบดิ ามารดา ทา่ นทงั้ สอง
กอ็ นุญาตตาม ใจ ไม่ขดั ศรัทธาเพราะมีความประสงคจ์ ะ ใหล้ กู ของตนบวชอยแู่ ลว้ พร้อมทงั้ มีศรัทธา
จัดแจงบริขาร ในการบวช ใหล้ ูกอยา่ งสมบูรณ์ ท่าน ไดเ้ ข้าอปุ สมบทเป็นพระภกิ ษุทวี่ ดั เลยี บ  ใน
ตัวเมืองอุบล มที า่ นพระอรยิ กวีเปน็ พระอปุ ชั ฌาย์ ท่านพระครูสที าเปน็ พระกรรมวาจาจารย์
ท่านพระครูประจกั ษอ์ บุ ลคณุ เปน็ พระอนสุ าวนาจารย์ เมอื่ วันท่ี ๑๒ มิถนุ ายน พ.ศ. ๒๔๓๖
พระอุปัชฌายะ ให้นามฉายาวา่ ภูรทิ ัต โต เม่ืออุปสมบทแล้ว ได้มาอยู่ ในส�ำนักวปิ สั สนากบั ท่าน
พระอาจารยเ์ สาร์ กันตสี โล วัดเลียบ เมอื งอบุ ล

เกิดสุบินนิมิต

เมอ่ื ทา่ นเรมิ่ ปฏบิ ตั วิ ปิ สั สนา ใหม ่ ๆ ใ นสำ� นกั พระอาจารยเ์ สาร์ กนั ตส ีโล วดั เลยี บ อบุ ล –
ราชธานี ทา่ นบริกรรมภาวนาดว้ ยบท พทุ  โธ ประจำ� นิสัยทชี่ อบกวา่ บรรดาบทธรรมอนื่  ๆ
ในขัน้ เร่ิมแรกยัง ไม่ปรากฏเป็นความสงบสุขมากเทา่ ท่ีควร ท�ำ ให้มคี วามสงสัย ในปฏิปทาว่าจะถูก
หรอื ผดิ ประการ ใด แตม่  ิไดล้ ดละความเพียรพยายาม ในระยะตอ่ มาผลปรากฏเปน็ ความสงบพอ ให้

3

เยน็ ใจบ้าง ในคืนวนั หนึ่งเกดิ สบุ ินนมิ ติ วา่ ท่านออกเดนิ ทางจากหมบู่ า้ นเข้าสูป่ า่  ใหญอ่ นั รกชฏั
ท่เี ตม็  ไปดว้ ยขวากหนามจนจะหาท่ีดน้ ดั้นผ่านแทบ ไป ไม ่ได้ ท่านพยายามซอกซอน ไปตามปา่ น้นั
จนพน้  ไป ได้ โดยปลอดภยั พอพน้ จากป่า ไปกถ็ ึงทงุ่ กว้างจนสุดสายตา เดินตามท่งุ  ไป โดยลำ� ดบั
 ไมล่ ดละความพยายาม ขณะทเี่ ดนิ ตามทงุ่  ไป ไดพ้ บ ไมต้ น้ หนงึ่ ชอ่ื ตน้ ชาติ ซง่ึ เขาตดั ลม้ ลงขอนจมดนิ
อยเู่ ป็นเวลานานปี เปลอื กและกระพ้ีผุพัง ไปบ้างแล้ว ไม้ตน้ นน้ั รู้สึก ใหญ ่โตมาก ทา่ นเองกป็ ีนข้นึ
และ ไต่ ไปตามขอนชาติทล่ี ม้ นอนอยู่นัน้ พรอ้ มทง้ั พจิ ารณาอยภู่ าย ในและรู้ขึน้ มาว่า  ไมน้ ้จี ะ ไม่มี
การงอกขน้ึ  ได้อกี ซ่ึงเทยี บกบั ชาติของท่านวา่ จะ ไมก่ �ำเริบ ให้เป็นภพ – ชาติสืบต่อ ไปอกี แนน่ อน

ค�ำว่าขอนชาติ ท่านพิจารณาเทียบกับชาติความเกิดของท่านที่เคยเป็นมา ท่ีขอนชาติผุพัง 
ไป ไม่กลับงอกข้ึน ได้อีก เทียบกับชาติของท่านว่าจะมีทางส้ินสุด ในอัตภาพน้ีแน่ถ้า ไม่ลดละความ
พยายามเสีย ท่งุ ทเี่ ว้ิงวา้ งกวา้ งขวางเทยี บกับความ ไมม่ สี น้ิ สดุ แห่งวัฏฏะวนของมวลสัตว์ ขณะท่ี
ก�ำลังยืนพิจารณาอยู่ ปรากฏว่ามีม้าสีขาวตัวหนึ่งรูปร่าง ใหญ่และสูงเดินเข้ามาเทียบท่ีขอนชาติ
นั้น ท่านนกึ อยากจะขีม่ ้าขนึ้ มาในขณะนัน้ เลยปีนข้นึ บนหลงั ม้าตัวแปลกประหลาดนน้ั ขณะน้นั
ปรากฏว่าม้า ได้พาท่านว่ิง ไปอย่างเต็มก�ำลังฝีเท้า ท่านเองก็มิ ได้นึกว่าจะ ไปเพื่อประ โยชน์อะ ไร
ณ ท ่ีใด แตม่ า้ ก็พาทา่ นว่งิ  ไปอย่าง ไมล่ ดละฝีเทา้ โดย ไม่กำ� หนดทศิ ทางและสงิ่ ที่ตนพึงประสงค์ 
ใด ๆ  ในขณะนั้น ระยะทางที่ม้าพาวิ่ง ไปตามทุ่งอันกว้างขวางนั้นรู้สึกว่า ไกลแสน ไกล โดย ไม่อาจ
จะคาด ได้ ขณะท่มี า้ กำ� ลังวงิ่  ไปนั้น ไดแ้ ลเห็นต้ ูใบหนง่ึ ในความรูส้ กึ วา่ เป็นตพู้ ระ ไตรปิฎกซึง่ วิจิตร
ด้วยเงินสขี าวงดงามมาก มา้  ไดพ้ าทา่ นตรงเขา้  ไปส่ตู นู้ น้ั  โดยมิ ได้บังคบั พอถึงต้พู ระ ไตรปฎิ ก ม้า
กห็ ยดุ ท่านกร็ บี ลงจากหลงั มา้ ทนั ทีด้วยความหวังจะเปิดดูต้พู ระ ไตรปฎิ กทตี่ ้งั อย่เู ฉพาะหน้า ส่วน
มา้ ก็ ไดห้ ายตัว ไป ในขณะนัน้  โดยมิ ได้ก�ำหนดว่า ได้หาย ไป ในทศิ ทาง ใด ทา่ น ไดเ้ ดินตรงเข้า ไปหา
ตพู้ ระ ไตรปิฎกทต่ี ้งั อยทู่ ี่สดุ ของทงุ่ อันกวา้ งน้ัน ซงึ่ มองจากนน้ั  ไปเห็นมแี ตป่ ่ารกชัฏท่ีเตม็  ไปด้วย
ขวากหนามต่าง ๆ ไมม่ ชี ่องทางพอจะเดินตอ่  ไปอีก ได้ แต่มิทนั จะ ได้เปดิ ดูตู้พระ ไตรปฎิ กว่ามีอะ ไร
อยู่ขา้ ง ในบ้าง เลยรสู้ ึกตัวตื่นข้ึน

สุบินนิมิตนั้นเป็นเคร่ืองแสดงความมั่น ใจว่า จะมีทางส�ำเร็จตาม ใจหวังอย่างแน่นอน
ไม่เป็นอย่างอ่ืนถ้า ไม่ลดละความเพียรพยายามเสียเท่านั้น จากน้ันท่าน ได้ต้ังหน้าประกอบความ
เพยี รอยา่ งเขม้ แข็ง มีบท พทุ  โธ เป็นค�ำบริกรรมประจำ�  ใจ ในอริ ยิ าบถต่าง ๆ อยา่ งมั่น ใจ สว่ น
ธรรมคือธุดงควัตรท่ีท่านศึกษาเป็นประจ�ำด้วยความรักสงวนอย่างย่ิงตลอดมานับแต่เร่ิมอุปสมบท
จนถึงวันสุดท้ายปลายแดนแหง่ ชีวิต ไดแ้ ก่ ถอื ผา้ บังสกุ ลุ เปน็ วัตร ไมร่ บั คหปตจิ ีวรทเี่ ขาถวายด้วย
มือ ๑ บิณฑบาตเปน็ วัตรประจำ� วัน ไม่ลดละ เวน้ เฉพาะวันที ่ไมฉ่ นั เลยก ็ไม่ ไป ๑ ไมร่ บั อาหาร

4

ที่ตามส่งทีหลัง คือรับเฉพาะท ี่ไดม้ า ในบาตร ๑ ฉันม้อื เดยี ว คือฉนั วนั ละหน ไมม่ อี าหารวา่ ง ใด ๆ
ทเี่ ป็นอามสิ เขา้ มาปะปน ในวันนั้น ๆ  ๑ ฉนั  ในบาตร คอื มีภาชนะ ใบเดยี วเป็นวตั ร ๑ อยู ่ในป่า
เปน็ วัตร คือเทีย่ วอย่ตู ามรม่  ไม้บ้าง ในป่าธรรมดา ในภูเขาบา้ ง หุบเขาบา้ ง ในถ�้ำ ในเงื้อมผา
บา้ ง ๑ ถือผ้า ไตรจวี รเปน็ วัตรคือมผี า้ ๓ ผนื ได้แก่ สงั ฆาฏิ จีวร สบง (เว้นผ้าอาบนำ้� ฝน
ซง่ึ จำ� เปน็ ตอ้ งม ีในสมยั น)ี้  ๑

ธดุ งคน์ อกจากนท้ี า่ นกส็ มาทานและปฏบิ ตั เิ ปน็ บางสมยั สว่ น ๗ ขอ้ นที้ ่านปฏิบตั ิเป็นประจำ�
จนกลายเปน็ นิสยั ซง่ึ จะหาผเู้ สมอ ไดย้ าก ในสมัยปัจจุบนั ท่านมนี ิสัยท�ำจรงิ  ในงานทกุ ช้ินท้งั กิจนอก
การ ใน ไมเ่ หลาะแหละ มคี วามมุง่ หวังตอ่ แดนหลุดพน้ อยา่ งเตม็  ใจ ในอริ ยิ าบถต่าง ๆ เตม็  ไปดว้ ย
ความพากเพยี รเพื่อถอดถอนกเิ ลสทางภาย ใน ไมม่ ีความฟุ้งเฟอ้ เหอ่ เหิมเขา้ มาแอบแฝง ไดท้ ั้ง ๆ ทีม่ ี
กิเลสเหมอื นสามญั ชนทั่ว ๆ ไ ป เพราะท่าน ไมย่ อมปล่อย ใจ ให้กเิ ลสยำ�่ ย ีได้ มีการต้านทานห้�ำหั่น
ดว้ ยความเพยี รอยา่ ง ไม่ลดละ ซ่ึงผดิ กบั คนธรรมดาอย่มู าก (ตามท่านเล่า ใหฟ้ งั  ในเวลาบ�ำเพญ็ )

 ในระยะต่อมาทีแ่ น่ ใจวา่ จิตมีหลกั ฐานม่นั คงพอจะพจิ ารณา ไดแ้ ล้ว ท่านจงึ ย้อนมาพิจารณา
สุบินนิมิตจน ได้ความ โดยล�ำดับว่า การออกบวชปฏิบัติตนสมควรแก่ธรรมก็เท่ากับการยกระดับ
จิต ให้พ้นจากความผิดมีประเภทต่าง ๆ  ซ่ึงเปรียบเหมือนบ้านเรือนอันเป็นที่รวมแห่งสรรพทุกข์
และป่าอันรกชัฏทั้งหลายอันเป็นท่ีซุ่มซ่อนแห่งภัยทั้งปวง ให้ถึงที่เวิ้งว้าง ไม่มีจุดหมาย ซ่ึงเม่ือ
เขา้ ถึงแล้วเป็นคณุ ธรรมทแี่ สนสบายหายกังวล โดยประการทง้ั ปวง ดว้ ยปฏิปทาขอ้ ปฏิบตั ทิ ่ีเปรยี บ
เหมอื นม้าตวั องอาจเปน็ พาหนะขับขี่ ไปถึงทอี่ ันเกษม และพา ไปพบตพู้ ระ ไตรปฎิ กอนั วจิ ติ รสวยงาม
แต่วาสนา ไม่อ�ำนวยสมบูรณ์จึงเป็นเพียง ได้เห็นแต่มิ ได้เปิดตู้พระ ไตรปิฎกออกชมอย่างสม ใจเต็มภูมิ
แหง่ จตุปฏสิ ัมภิทาญาณท้งั สี่ อนั เปน็ คุณธรรมยังผูเ้ ข้าถงึ  ใหเ้ ปน็ ผู้ฉลาดปราดเปรอ่ื งเลอ่ื งลอื ระบือ
ทั่ว ไตร โลกธาตุ มคี วามฉลาดกวา้ งขวาง ในอบุ ายวิธีประหนึง่ ท้องฟ้ามหาสมทุ ร ไม่มคี วามคบั แค้น
จนมุม ในการอบรมสัง่ สอนหมูช่ นทั้งเทวดาและมนษุ ย์ทกุ ชนั้ แต่เพราะกรรมอันดีเยี่ยม ไมเ่ พยี งพอ
บารม ีไม่ ให ้โอกาส วาสนา ไมอ่ ำ� นวย จงึ เปน็ เพียง ได้ชมตูพ้ ระ ไตรปิฎกและตกออกมาเปน็ ผล ให้
ท่าน ได้รบั เพียงขั้นปฏิสัมภิทานุศาสน์ มเี ชิงฉลาด ในเทศนาวิธอี นั เปน็ บาทวถิ ีแกห่ มูช่ นพอเป็นปาก
เป็นทางเท่านนั้ ไม่ลึกซงึ้ กวา้ งขวางเท่าที่ควร ท้ังน้ีแม้ทา่ นจะพูดว่า การสง่ั สอนของทา่ นพอเป็น
ปากเป็นทางอันเป็นเชิงถ่อมตนก็ตาม แต่บรรดาผู้ที่ ได้เห็นปฏิปทาคือข้อปฏิบัติท่ีท่านพาด�ำเนิน
และธัมมะทท่ี ่านน�ำมาอบรมสั่งสอนแต่ละบทละบาท แต่ละครั้งละคราว ล้วนเป็นความซาบซ้งึ
จับ ใจ ไพเราะเหลอื จะพรรณนา และยากทจ่ี ะ ได้เหน็  ไดย้ ินจากท่ีอน่ื  ใด ในสมยั ปัจจบุ นั ซ่ึงเป็นสมยั
ท่ตี อ้ งการคนดีอยู่มาก

5

เกิดสมาธินิมิต

เมอ่ื ทา่ นพกั อบรมภาวนาด้วยบทพทุ  โธ อย่ทู ่วี ดั เลียบ จงั หวัดอุบล ฯ  ขณะทีจ่ ิตสงบลง
ปรากฏเป็นอุคคหนิมิตขึ้นมา ในลักษณะคนตายอยู่ต่อหน้า แสดงอาการพุพองมีน�้ำเน่าน�้ำหนอง 
ไหลออกมา มีแร้งกาและสุนัขมากัดกินและย้ือแย่งกันอยู่ต่อหน้าท่านจนซากน้ันกระจัดกระจาย 
ไปท่ัวบริเวณ เป็นท่ีน่าเบื่อหน่ายและสลดสังเวชเหลือประมาณ ในขณะน้ัน เมื่อจิตถอนขึ้นมา
ในวาระตอ่  ไป ไมว่ ่าจะน่งั ภาวนา เดินจงกรมหรอื อย ู่ในท่าอริ ิยาบถ ใด ท่านก็ถอื เอานมิ ิตนน้ั เปน็
เคร่ืองพิจารณา โดยสม่�ำเสมอ ไม่ลดละ จนนิมิตแห่งคนตายนั้น ได้กลับกลายมาเป็นวงแก้วอยู่
ต่อหน้าท่าน เม่อื เพ่งพจิ ารณาวงแกว้ นั้นหนกั  ๆ เข้าก็ย่งิ แปรสภาพ ไปต่าง ๆ ไ มม่ ที างส้ินสุด ท่าน
พยายามติดตามก็ย่ิงปรากฏเป็นรูปร่างต่าง ๆ จน ไม่มีประมาณว่าความสิ้นสุดแห่งภาพนิมิตจะยุติ
ลง ณ ที่ ใด ยิ่งเพง่ พจิ ารณากย็ ิ่งแสดงอาการตา่ ง ๆ ไ มม่ สี ้ินสดุ โดยเปน็ ภเู ขาสงู ขึ้นเป็นพัก ๆ บา้ ง
ปรากฏว่าองค์ท่านสะพายดาบอันคมกล้าและเท้าทั้งสองมีรองเท้าสวมอยู่บ้าง แล้วเดิน ไป – มา
บนภูเขาน้ันบ้าง ปรากฏเหน็ กำ� แพงขวางหน้ามีประตูบ้าง ทา่ นเปิดประตูเข้า ไปดูเห็นมีทีน่ ่ังและ
ท่ีอยขู่ องพระ ๒ – ๓ รูปกำ� ลังนัง่ สมาธอิ ยู่บ้าง บรเิ วณก�ำแพงนั้นมีถ�ำ้ และเงอื้ มผาบ้าง มีดาบส
อย ู่ในถำ�้ นนั้ บ้าง มียนต์คล้ายอู่มสี ายหยอ่ นลงมาจากหน้าผาบา้ ง ปรากฏวา่ ทา่ นขึน้ สู่อู่ข้ึน ไปบน
ภเู ขาบ้าง มีสำ� เภา ใหญ่อยูบ่ นภเู ขาบ้าง เห็น โตะ๊ สเี่ หล่ียมอยู ่ในสำ� เภาบา้ ง มปี ระทปี ตามสว่างอยู่
บริเวณรอบ ๆ หลังเขาน้ันบ้าง ปรากฏว่าท่านฉันจังหันอยู่บนภูเขานั้นบ้าง จน ไม่อาจจะตามรู้
ตามเห็น ใหส้ นิ้ สุดลง ได้

ส่ิงที่ท่าน ได้เห็นเกี่ยวกับนิมิตเป็นเหตุ ให้รู้สึกว่ามีมากมายจน ไม่อาจจะน�ำมากล่าว ให้จบส้ิน 
ได้ ทา่ นพิจารณา ในทำ� นองนถี้ งึ ๓ เดือน โดยการเข้า ๆ ออก ๆ ทางสมาธิภาวนา พิจารณา ไป
เท่า ไรก็ยิ่งรู้ย่ิงเห็นสิ่งท่ีจะมาปรากฏจน ไม่มีทางสิ้นสุด แต่ผลท่ีปรากฏจากการพิจารณา ไม่ค่อย
มีพอเป็นเคร่ืองยืนยัน ได้ว่าเป็นวิธีที่ถูกต้องและแน่ ใจ เม่ือออกจากสมาธิประเภทน้ีแล้ว ขณะ
กระทบกบั อารมณต์ ่าง ๆ ทีม่ ีอย่ทู ัว่  ๆ ไ ปก็เกิดความหวนั่  ไหว คอื ท�ำ ให้ดี ใจ เสีย ใจ รกั ชอบและ
เกลยี ดชงั ไปตามเรื่องของอารมณ์น้นั  ๆ  หาความเท่ียงตรงคงตวั อยู่มิ ได้ จึงเป็นเหตุ ใหท้ า่ นส�ำนกึ  
ในความเพยี รและสมาธิที่เคยบำ� เพญ็ มาวา่ คง ไม่ ใชท่ างแน่ ถ้า ใชท่ �ำ ไมถึง ไม่มคี วามสงบเยน็  ใจและ
ด�ำรงตนอย่ดู ว้ ยความสม่�ำเสมอ แตท่ �ำ ไมกลบั กลายเปน็  ใจท่ีวอกแวกคลอนแคลน ไปตามอารมณ์
ต่าง ๆ  ไม่มีประมาณ ซึ่ง ไม่ผิดอะ ไรกับคนที่เขามิ ได้ฝึกหัดภาวนาเลย ชะรอยจะเป็นความรู้
ความเห็นที่ส่งออกนอกซึ่งผิดหลักของการภาวนา ไปกระมัง ? จึง ไม่เกิดผลแก่ ใจ ให้ ได้รับความ
สงบสุขเท่าทค่ี วร

6

ทา่ นจงึ ทำ� ความเขา้  ใจเสยี  ใหม ่โดยยอ้ นจติ เขา้ มาอย ู่ในวงแหง่ กาย ไมส่ ง่  ใจ ไปนอก พจิ ารณา
อย่เู ฉพาะกาย ตามเบอื้ งบน เบอื้ งล่าง ด้านขวาง สถานกลาง โดยรอบ ดว้ ยความมสี ติตาม
รกั ษา โดยการเดนิ จงกรม ไป – มา มากกวา่ อริ ยิ าบถอนื่  ๆ แมเ้ วลานง่ั ทำ� สมาธภิ าวนาเพอ่ื พกั ผอ่ น 
ให้หายเม่ือยบ้างเป็นบางกาลก็ ไม่ยอม ให้จิตรวมสงบลงดังท่ีเคยเป็นมา แต่ ให้จิตพิจารณาและ
ทอ่ งเท่ยี วอย่ตู ามรา่ งกายส่วนต่าง ๆ เท่านัน้ ถึงเวลาพักผ่อนนอนหลบั ก ็ให้หลบั ดว้ ยการพจิ ารณา
กายเปน็ อารมณ์

พยายามพิจารณาตามวิธีนี้อยู่หลายวันจึงตั้งท่าน่ังขัดสมาธิพิจารณาร่างกายเพ่ือ ให้ ใจสงบ
ด้วยอุบายนี้ อนั เปน็ เชิงทดลองดวู ่าจติ จะสงบแบบ ไหนกนั อีกแน่ ความท่ีจติ  ไม ่ได้พกั สงบตวั เลย
เป็นเวลาหลายวนั พรอ้ มกบั  ได้รับอบุ ายวธิ ีท่ถี ูกตอ้ งเขา้ กลอ่ มเกลา จิตจึงรวมสงบลง ได้อยา่ งรวดเรว็
และง่ายดายผิดปรกติ ขณะที่จิตรวมสงบตัวลง ไป ปรากฏว่าร่างกาย ได้แตกออกเป็นสองภาค
และร้ขู ึ้นมา ในขณะนนั้ วา่ “นเ้ี ปน็ วิธีทถ่ี ูกตอ้ งแนน่ อนแลว้ ไมส่ งสยั ” เพราะขณะทจี่ ิตรวมลง ไป
มีสตปิ ระจ�ำตวั อย่กู บั ท ่ีไม่เหลว ไหลและเท่ยี วเร่ร่อน ไป ในทีต่ ่าง ๆ ดงั ท่เี คยเปน็ มา และนคี้ ืออุบาย
ท่ีแน ่ใจว่าเปน็ ความถูกตอ้ ง ในข้นั แรกของการปฏิบตั ิ ในวาระต่อ ไปกถ็ อื อุบายนเ้ี ป็นเครื่องดำ� เนิน 
ไม่ลดละ จนสามารถท�ำความสงบ ใจ ได้ตามต้องการ และมีความช�ำนิช�ำนาญข้ึน ไปตามก�ำลัง
แห่งความเพยี ร ไมล่ ดหยอ่ นออ่ นก�ำลงั นบั วา่  ได้หลักฐานทางจติ  ใจท่มี ่ันคงดว้ ยสมาธิ ไม่หว่นั  ไหว
คลอนแคลนอยา่ งง่ายดาย ไมเ่ หมือนคราวบ�ำเพ็ญตามนิมิต ในขน้ั เรมิ่ แรกซ่ึงทำ�  ให้เสียเวลา ไปเปล่า
ตงั้ ๓ เดือน โทษแหง่ ความ ไม่มีครอู าจารย์ผฉู้ ลาดคอย ใหอ้ บุ ายสัง่ สอนยอ่ มมีทางเป็น ไปตา่ ง ๆ
ดงั ทเ่ี คยพบเห็นมาแล้วน้นั แล อยา่ งนอ้ ยกท็ ำ�  ใหล้ ่าช้า มากกว่านั้นกท็ ำ�  ให้ผิดทาง และมีทางเสยี  
ไป ไดอ้ ย่าง ไม่มีปัญหา

ทา่ นเลา่ วา่ สมยั ท่ีท่านออกบ�ำเพ็ญกรรมฐานภาวนาคร้ัง โน้น ไม่ม ีใครสน ใจท�ำกันเลย ใน
ความร้สู ึกของประชาชนสมัยนั้นคล้ายกบั วา่ การบำ� เพ็ญกรรมฐานเปน็ ของแปลกปลอม ไม่เคยม ี
ในวงของพระและพระศาสนาเลย แมแ้ ต่ชาวบา้ นเองพอมองเห็นพระกรรมฐานเดนิ ธดุ งค ์ไป ซ่งึ
อยู่หา่ งกนั คนละฟากท่งุ นา เขายังพากันแตกต่ืนและกลัวกันมาก ถ้าอยู่ ใกลห้ ม่บู ้านกพ็ ากนั วิ่งเข้า
บ้านกันหมด ถ้าอยู่ ใกล้ป่าก็พากันวิ่งเข้าหลบซ่อน ในป่ากันหมด ไม่กล้ามายืนซึ่ง ๆ หน้าพอ ใหเ้ รา 
ได้ถามหนทางทจี่ ะ ไปสู่หมู่บา้ น ต�ำบลต่าง ๆ บ้างเลย บางคร้งั เราเดินทาง ไปเจอกบั พวกผู้หญิงที่
กำ� ลงั เท่ยี วหาอยู่หากนิ เท่ยี วเก็บผกั หาปลาตามป่าตามภูเขาซ่งึ มเี ดก็  ๆ ติด ไปด้วย พอมองเหน็
พระธรรมกรรมฐานเดนิ มาเสยี งร้องลน่ั บอกกันดว้ ยความตก ใจกลวั วา่ “พระธรรมมาแล้ว” พร้อม
กับทิ้งหาบหรือสิ่งของอยู่บนบ่าลงพื้นดินเสียงดังตูมตาม โดย ไม่อาลัยเสียดายว่าอะ ไรจะแตก

7

อะ ไรจะเสียหาย ส่วนตัวก็ต่างคนต่างวิ่งหาท่ีหลบซ่อน ถ้าอยู่ ใกล้ป่าหรืออยู่ ในป่าก็พากันวิ่ง
เข้าป่า ถ้าอยู่ ใกลห้ มู่บา้ นก็พากนั ว่งิ เข้าบา้ น ส่วนเดก็  ๆ ท่ี ไม่รเู้ ดียงสาเหน็ ผ้ ูใหญ่ร้อง โวยวายและ
ต่างคนต่างว่ิงหนีเจ้าตัวก็ร้อง ไห้ว่ิง ไปว่ิงมาอยู่บริเวณน้ัน โดย ไม่มี ใครกล้าออกมารับเอาเด็ก ไป
ด้วยเลย เด็กจะวง่ิ ตามผ ู้ใหญก่ ็ ไมท่ ัน เลยตอ้ งวง่ิ หนั รีหนั ขวางอยแู่ ถว ๆ นั้นเอง ซึ่งนา่ ขบขันและ
น่าสงสารเด็กท่ี ไม่เดียงสาซ่ึงร้อง ไห้วิ่งตามหาผู้ ใหญ่ด้วยความตก ใจและความกลัวเป็น ไหน ๆ
ส่วนพระธรรมท่านเห็นท่า ไม่ดีกลัวเด็กจะกลัวมากและร้อง ไห้ ใหญ่ ก็ต้องรีบก้าวเดินเพ่ือผ่าน ไป
ใหพ้ ้น ถา้ ขนื  ไปถามเดก็ เขา้ ตอ้ ง ได้เร่ืองแน่ ๆ คอื เด็กยิ่งจะกลัวและรอ้ ง ไห้วิ่ง ไปวิง่ มา และย่ิงจะ
ร้อง ไห้ ใหญ ่ไปทั่วทงั้ ป่า ส่วนผ ู้ใหญท่ ีเ่ ป็นแมข่ องเดก็ ก็ยืนตวั สัน่ อย ู่ในป่าอย่างกระวนกระวาย ท้ัง
กลัวพระธรรมกรรมฐาน ท้ังกลัวเด็กจะวิ่งเตลิดเปิดเปิงหนีไปที่อื่นอีก ใจเลย ไม่เป็น ใจเพราะ
ความกระวนกระวายคดิ ถงึ ลูก เวลาพระธรรมผา่ น ไปแล้วแมว่ ่ิงหาลูก ลูกว่ิงหาแม่ วนุ่ วาย ไป
ตาม ๆ กนั กว่าจะออกมาพบหนา้ กนั ทกุ คนบรรดาท่ ีไปด้วยกนั ประหน่งึ บ้านแตกสาแหรกขาด ไป
พกั หนง่ึ พอออกมาครบถ้วนหนา้ แล้วตา่ งกพ็ ูดและหวั เราะกนั ถงึ เรื่องชุลมุนวนุ่ วายเพราะความกลวั
พระธรรมกรรมฐาน ไปยก ใหญ่ กอ่ นทเ่ี ที่ยวหากนิ ตามปรกติ

เร่ืองเป็นเช่นน้ี โดยมากคนสมัยท่ีท่านออกธุดงคกรรมฐานเขา ไม่เคยพบเคยเห็นกันเลย
จึงแสดงอาการต่นื เตน้ ตก ใจและกลวั กันส�ำหรับผหู้ ญิงและเด็ก ๆ ฉะน้นั เม่อื คบกนั  ในขน้ั เรม่ิ แรก
จึง ไม่ค่อยมี ใครสน ใจธัมมะกับพระธุดงค์นัก นอกจากจะกลัวกันเป็นส่วนมาก ทั้งนี้อาจจะเป็น
เพราะเหตหุ ลายประการ เช่น มารยาทท่านกอ็ ย่ ูในอาการสำ� รวมเครง่ ขรมึ  ไมค่ อ่ ยแสดงความค้นุ
กับ ใครนักถา้  ไม่คบกันนาน ๆ จนรนู้ ิสัยกันดีก่อนแล้ว และผา้ สังฆาฏิ จวี ร สบง องั สะ และบริขาร
อ่นื  ๆ โดยมากย้อมดว้ ยสกี รกั คอื สีแกน่ ขนนุ ซง่ึ เป็นสีฉดู ฉาดน่ากลัวมากกว่าจะนา่ เลือ่ ม ใส

เวลาออกเดนิ ทางเพอื่ เจริญสมณธรรม ในทตี่ า่ ง ๆ ท่านครองจีวรสีแก่นขนนุ บ่าข้างหนง่ึ
แบกกลด ซงึ่ มีขนาด ใหญก่ ว่ารม่ ธรรมดาท ่ีโลก ๆ ใ ชก้ นั ทวั่  ๆ ไ ป บ่าข้างหนึ่งสะพายบาตร ถ้ามี
ด้วยกันหลายองค์เวลาออกเดินทางท่านเดินตามหลังกันเป็นแถว ครองจีวรสีกรักคล้ายสีน�้ำตาล
เหน็ แลว้ น่าคิดนา่ ทึ่งอย ู่ไมน่ อ้ ยสำ� หรบั ผูท้ ่ียงั  ไม่เคยพบเห็นมาก่อน และน่าเลอ่ื ม ใสส�ำหรับผ้ทู เ่ี คย
รู้อัธยาศัยและจริยธรรมท่านมาแล้ว ประชาชนท่ียัง ไม่สนิทกับท่านจะเกิดความเลื่อม ใสก็ต่อเมื่อ
ทา่ น ไปพักอย่นู าน ๆ  เขา ไดร้ บั คำ� ชแี้ จงจากทา่ นด้วยอุบายตา่ ง ๆ หลายครง้ั หลายคราว นาน ไป ใจ
กค็ ่อย โอนอ่อนตอ่ เหตุผลอรรถธรรม ไปเอง จนเกิดความเชอื่ เล่ือม ใสกลายเปน็ ผู้มีธรรม ใน ใจ มี
ความเคารพเล่ือม ใส ในครอู าจารยผ์  ู้ให ้โอวาทสัง่ สอนอยา่ งถงึ  ใจก็มจี �ำนวนมาก

8

พระธดุ งคผ์ ู้ม่งุ ปฏิบัติเพือ่ อรรถเพอ่ื ธรรมจริง ๆ เขา้ ถึง ใจประชาชน ได้ดีและทำ� ประ โยชน์ ได้
มาก โดย ไมอ่ าศัยค�ำ โฆษณา แตก่ ารประพฤติปฏบิ ัตติ ัว โดยสามีจิกรรมย่อมเปน็ เครือ่ งดึงดดู จิต ใจ
ผู้อื่น ใหเ้ กิดความสน ใจ ไปเอง

การเท่ียวแสวงหาที่วิเวกเพ่ือความสงัดทางกายทาง ใจ ไม่พลุกพล่านวุ่นวายด้วยเร่ืองต่าง ๆ
เปน็ กิจวัตรประจ�ำนิสยั ของพระธุดงคกรรมฐานผูม้ งุ่ อรรถธรรมทาง ใจ ดงั นน้ั พอออกพรรษาแล้ว
ทา่ นพระอาจารย์มั่นจึงชอบออกเทย่ี วธุดงคท์ กุ  ๆ ปี โดยเทย่ี ว ไปตามป่าตามภูเขาท่มี ีหมบู่ ้านพอได้
อาศยั  โคจรบิณฑบาต ทางภาคอีสานท่านชอบเท่ียวมากกว่าทกุ  ๆ ภาค เพราะมีป่ามภี เู ขามาก
เช่น จงั หวัดนครพนม สกลนคร อุดรธานี หนองคาย เลย หล่มสกั และทางฝัง่ แมน่ ้ำ�  โขงของ
ประเทศลาว เช่น ท่าแขก เวียงจันทน์ หลวงพระบาง ที่มปี ่าเขาชกุ ชุมมาก เหมาะแกก่ ารบำ� เพ็ญ
สมณธรรม การบำ� เพ็ญเพยี ร ในท่าอริ ยิ าบถตา่ ง ๆ นนั้ ไมว่ ่าท่านจะพกั อย ู่ในสถานท่ี ใด ไม่มกี าร
ลดละทง้ั กลางวนั กลางคนื ถอื เป็นงานสำ� คัญยง่ิ กวา่ งานอน่ื  ใด เพราะนิสยั ของท่านพระอาจารยม์ ่นั
ไมช่ อบทางการกอ่ สรา้ งแตเ่ รมิ่ แรกมา ท่านชอบการบ�ำเพญ็ เพียรทาง ใจ โดยเฉพาะ และ ไมช่ อบ
เกาะเกย่ี วกับเพือ่ นฝูงและหมชู่ น ชอบอยลู่ ำ� พงั คนเดยี ว มีความเพยี รเป็นอารมณท์ าง ใจ มีศรัทธา
มงุ่ ม่ันต่อแดนพน้ ทุกขอ์ ยา่ งแรงกลา้ ดังนน้ั เวลาท่านทำ� อะ ไรจึงชอบทำ� จริงเสมอ ไมม่ นี ิสยั  โกหก
หลอกลวงตนเองและผอู้ ่นื

การบ�ำเพญ็ เพียรของทา่ นเป็นเรอื่ งอัศจรรย์ ไปตลอดสาย ทั้งมคี วามขยัน ท้ังมีความทรหด
อดทนและมีนสิ ยั ชอบ ใคร่ครวญ จติ ท่านปรากฏวา่ มีความก้าวหน้าทางสมาธิและทางปัญญาอย่าง
สม�่ำเสมอ ไมล่ า่ ถอยและเสอ่ื ม โทรม การพิจารณากายนับแตว่ ันท่ีทา่ น ไดอ้ ุบายจากวธิ ที ถ่ี กู ตอ้ ง 
ในขั้นเริ่มแรกมาแล้ว ไม่ยอม ให้เสื่อมถอยลง ได้เลย ท่านยึดมั่น ในอุบายวิธีน้ันอย่างมั่นคงและ
พิจารณากายซ้�ำ ๆ ซาก ๆ จนเกิดความช�ำนิช�ำนาญ แยกส่วนแบ่งส่วนแห่งกาย ให้เป็นช้ินเล็ก
ช้ิน ใหญ่และท�ำลายลงด้วยปัญญา ได้ตามต้องการ จิตย่ิงนับวันหย่ังลงสู่ความสงบเย็น ใจ ไปเป็น
ระยะ ไม่ขาดวรรคขาดตอนเพราะความเพยี รหนนุ หลงั อยู่ตลอดเวลา

ทา่ นเลา่ ว่า ทา่ น ไปท ี่ใด อยทู่ ี่ ใด ใจทา่ นม ิได้เหินหา่ งจากความเพยี ร แม้ ไปบณิ ฑบาต
กวาดลานวัด ขัดกระ โถน ทำ� ความสะอาด เยบ็ ผ้า ยอ้ มผ้า เดิน ไปมา ในวัดนอกวัด ตลอดการ
ขบฉัน ท่านทำ� ความรู้สึกตัวอยูก่ บั ความเพยี รทุกขณะท่เี คล่ือน ไหว ไม่ยอม ใหเ้ ปลา่ ประ โยชนจ์ าก
การเคล่อื น ไหว ใด ๆ ทงั้ สิน้ นอกจากเวลาหลบั นอนเท่าน้ัน แมเ้ ช่นน้ันท่านยงั ตั้ง ใจ ไวเ้ มื่อรสู้ กึ ตัว
จะรบี ลุกขึ้น ไมย่ อมนอนซำ้� อีก จะเปน็ ความเคยตัวต่อ ไปและจะแก ้ไข ไดย้ าก ตามปรกตนิ ิสยั

9

พอรู้สึกตัวท่านรีบลุกขึ้นล้างหน้าแล้วเร่ิมประกอบความเพียรต่อ ไป ขณะท่ีตื่นนอนขึ้นมาและ
ลา้ งหนา้ เสร็จแลว้ ถ้ายงั มอี าการงว่ งเหงาอยทู่ า่ น ไม่ยอมนัง่ สมาธ ิในขณะน้นั กลวั จะหลบั  ใน ทา่ น
ต้องเดนิ จงกรมเพอื่ แก้ความ โงกงว่ งทีค่ อยแต่จะหลับ ในเวลาเผลอตัว การเดนิ จงกรมถา้ กา้ วขา ไป
ช้า ๆ ยังไมอ่ าจระงับความง่วงเหงา ได้ ทา่ นตอ้ งเรง่ ฝีกา้ ว ให้เรว็ ข้ึนจนความง่วงหาย ไป เม่ือร้สู ึก
เม่ือยเพลียและ ไมม่ ีความง่วงเหลืออยู ่ในเวลานัน้ ท่านถึงจะออกจากทางจงกรมเข้ามาทพี่ กั หรอื กุฏิ
แลว้ น่ังสมาธภิ าวนาตอ่  ไปจนสมควรแก่กาล

เม่ือถึงเวลาบิณฑบาตก็เตรียมนุ่งสบง ทรงจีวร ซ้อนสังฆาฏิ สะพายบาตรขึ้นบนบ่า
ออกบณิ ฑบาต ในหม่บู ้าน โดยอาการสำ� รวม ท�ำความร้สู ึกตัวกับความเพยี ร ไปตลอดสายบิณฑบาต
ทง้ั  ไปและกลบั ถอื เปน็ การเดินจงกรม ไป ในตวั มีสติประคอง ใจ ไมป่ ล่อย ให้เพ่นพา่ น โลเล ไปตาม
อารมณ์ต่าง ๆ ท่ีมีอยู่ท่ัว ไป เมื่อกลับถึงที่พักหรือวัดแล้ว เตรียมจัดอาหารท่ี ได้มาจากบิณฑบาต
ลง ในบาตร ตามปรกตทิ า่ น ไม่รับอาหารที่ศรทั ธาตามมาส่ง ท่านรับและฉนั เฉพาะทบี่ ณิ ฑบาต ได้
มาเท่านั้น ตอนชรามากแล้วท่านถึงอนุ โลมผ่อนผันคือรับอาหารท่ีศรัทธาน�ำมาถวาย ฉะน้ัน
อาหารนอกบาตรจงึ  ไมม่ ี ในระยะนน้ั

เมื่อเตรียมอาหาร ใส่ลง ในบาตรเสร็จแล้ว เริ่มพิจารณาปัจจเวกขณะเพื่อระงับดับ ไฟนรก
คอื ตัณหาอันอาจแทรกข้ึนมาตามความหิว โหย ได ้ในขณะนนั้ คือจิตอาจบร ิโภคด้วยอ�ำนาจตัณหา
ความสอดส่าย ในอาหารประณีตบรรจงและมีรสเอร็ดอร่อย โดยมิ ได้ค�ำนึงถึงความเป็นธาตุและ
ปฏกิ ูลที่แฝงอย ู่ในอาหารน้ัน ๆ  ด้วยปฏิสงั ขา โยนิ โส  ฯลฯ  เสร็จแล้วเร่มิ ฉนั  โดยธรรม ม ิให้เป็น ไป
ดว้ ยตัณหา ในทกุ  ๆ ประ โยคแห่งการฉัน จนเสร็จ ไปด้วยดีซ่งึ จัดวา่ มีวัตร ในการขบฉนั หลังจากนั้น
ก็ล้างบาตร เช็ดบาตรแหง้ แล้วผงึ่ แดดช่ัวคราวถ้ามีแดด และน�ำเขา้ ถลก ยก ไป ไว้ ในสถานท่คี วร
แล้วเร่ิมท�ำหน้าที่เผาผลาญกิเลส ให้วอดวายหายซาก ไปเป็นล�ำดับจนกว่าจะดับสนิท ไม่มีพิษภัย
เคร่ืองก่อกวนและรังควานจิต ใจต่อ ไป แต่การเตรียมเผากิเลสน้ีรู้สึกเป็นงานท่ียากเย็นเข็ญ ใจ
เหลือจะกลา่ ว เพราะแทนทีเ่ ราจะเผามนั  ใหฉ้ ิบหายแตม่ ันกลับมาเผาเรา ให ้ได้รับความทุกข์ร้อน
และตายจากคุณงามความดีที่ควรบ�ำเพ็ญ ไปอย่างสด ๆ ร้อน ๆ  และบ่อนท�ำลายเราท้ัง ๆ ท่ีเห็น ๆ
มนั อยตู่ อ่ หนา้ ตอ่ ตาแต ่ไมก่ ลา้ ทำ� อะ ไรมนั  ได้ เพราะกลวั จะลำ� บาก

ผลสุดทา้ ยมันก็ปนี ขน้ึ น่ังนอนอยู่บนหัว ใจเราจน ได้ และเปน็ เจ้า ใหญน่ าย โตตลอด ไป แทบ
จะ ไม่มเี พศมีวัย ใดและความรู้ความฉลาดใดจะตอ่ สูแ้ ละเอาชนะมนั  ได้ โลกจงึ ยอมมนั ทว่ั  ไตรภพ
นอกจากพระศาสดาเพยี งองค์เดียวเทา่ นั้นท่ที �ำการกวาดลา้ งมัน ให้สิ้นซาก ไปจาก ใจ ได้ ไมก่ ลับแพ้

10

อกี ตลอดอนันตกาล เมื่อพระองคท์ รงชนะแลว้ ก็ทรงแผเ่ มตตาแหวกหาหนทางเพอื่ สาวกและหมู่ชน
ด้วยการประทานพระธรรมสั่งสอน จนเกิดศรัทธาเล่ือม ใสและปฏิบัติตามพระ โอวาทด้วยความ 
ไมป่ ระมาทนอน ใจ บำ� เพญ็  ไป ไม่ลดละ รอยพระบาทคอื แนวทางทเ่ี สดจ็ ผา่ น ไปกส็ ามารถตามเสดจ็
จนเสรจ็ สนิ้ ทางเดนิ คอื บรรลถุ งึ พระนพิ พาน ด้วยการดับกิเลสขาดจากสันดานกลายเป็นพระอรหันต์
ขน้ึ มาเปน็ ล�ำดับล�ำดา โลก ได้กราบ ไหวบ้ ชู าเป็นขวญั ตาขวัญ ใจตลอดมา นค้ี อื ทา่ นผูส้ ังหารกิเลส
ตัวมหาอำ� นาจ ให้ขาดกระเด็นออกจาก ใจหายซาก ไป โดยแท้ ไมแ่ ปรผันเปน็ อยา่ งอนื่

ท่านพระอาจารย์ม่ันท่านเจริญตามรอยพระบาทพระศาสดา มีความเพียรอย่างแรงกล้า
มศี รทั ธาเหนียวแน่น ไม่พดู พลา่ มท�ำเพลง พอเสร็จภตั ตกจิ แล้ว ทา่ นกา้ วเขา้ ส่ปู า่ เดนิ จงกรมเพอื่
สงบอารมณ์ ในรมณียสถานอนั เปน็ ที ่ให้ความสุขส�ำราญทางภาย ใน ท้ังเดนิ จงกรม ทง้ั น่ังสมาธิ
ภาวนา จนกวา่ จะถึงเวลาอนั ควร จึงพกั ผ่อนกายเพือ่ คลายทุกข์ พอมีก�ำลังบา้ งแล้วเรม่ิ ท�ำงาน
เพือ่ เผาผลาญกิเลสตัวกอ่ ภพก่อชาตภิ าย ใน ใจตอ่  ไป ไม่ลดหย่อนออ่ นข้อ ใหก้ ิเลสหัวเราะเย้ยหยนั
การท�ำสมาธิก็เข้มข้นเอาการ การท�ำวิปัสสนาปัญญาก็หมุนตัวอย่าง ไม่หยุดย้ัง ทั้งสมาธิและ
วิปัสสนา ท่านด�ำเนิน ไปอย่างสม่�ำเสมอ ไม่ ให้บกพร่อง ในส่วน ใดส่วนหนึ่ง จิตท่าน ได้รับ
ความสงบสุข โดยสม�่ำเสมอ ท่ีมีชา้ อยู่บา้ ง ในบางกาล ตามท่ีทา่ นเล่าวา่ เพราะขาดผู้แนะนำ�  
ในเวลาตดิ ขัด ลำ� พังตนเองเพียง ไปเจอเข้าแตล่ ะเรอ่ื งกว่าจะหาทางผา่ นพ้น ไป ไดก้ ็ต้องเสยี เวลา ไป
หลายวนั ทงั้ จ�ำตอ้ ง ใชค้ วามพจิ ารณาอยา่ งมากและละเอยี ดถถี่ ว้ น เพราะนอกจากติดขดั จน ไป 
ไม่ ได้แล้วยังกลับมาเป็นภัยแก่ตัวเองอีกด้วย หากมีผู้คอยเตือนและ ให้ค�ำแนะน�ำ ในเวลาเช่นนั้น
บ้าง รู้สึกว่า ไป ได้อย่างรวดเร็ว ไม่ต้องเสียเวลาและเป็นท่ีแน่ ใจด้วย ฉะน้ัน กัลยาณมิตร
จึงเป็นส่ิงส�ำคัญมากสำ� หรบั ผกู้ ำ� ลงั อย ู่ในระหวา่ งแหง่ การบำ� เพญ็ ทาง ใจ ทา่ นเคยเหน็ โทษของความ
ขาดกลั ยาณมติ รมาแลว้ ว่าเป็นสง่ิ  ไมด่ ีเลย และเป็นความบกพร่องอย่างบอก ไม่ถกู

พ่อแม่ครูอาจารย์ใหญ่ท่านพระอาจารย์เสาร์ กันตสีโล

ในบางครั้งแมม้ ีความอบอนุ่ วา่ ตนมคี รูอาจารย์คอย ใหค้ วามร่มเยน็ อยูก่ ต็ าม เวลา ไปเทีย่ ว
ธุดงค์ ในที่ต่าง ๆ กับท่านพระอาจารย์เสาร์ผู้เป็นบุพพาจารย์ แต่เวลาเกิดข้อข้อง ใจข้ึนมา ไป
กราบเรียนถามทา่ น ทา่ นกต็ อบว่า ผม ไมเ่ คยเปน็ อยา่ งท่าน เพราะจติ ท่านเป็นจิตทีผ่ าด โผนมาก
เวลาเกดิ อะ ไรข้ึนมาแต่ละครั้งมนั  ไม่พอดี เดีย๋ วจะเหาะขน้ึ บนฟ้าบ้าง เดย๋ี วจะดำ� ดินลง ไป ใต้พื้น
พิภพบา้ ง เดีย๋ วจะด�ำน้�ำลง ไป ใตก้ น้ มหาสมทุ รบา้ ง เดีย๋ วจะ โดดขน้ึ  ไปเดนิ จงกรมอย่บู นอากาศบา้ ง
ใครจะ ไปตามแก้ทัน ขอ ให้ท่าน ใชค้ วามพิจารณาและค่อยดำ� เนิน ไปอยา่ งนั้นแหละ แลว้ ท่านก็

11

 ไม่ ให้อุบายอะ ไรพอเป็นหลักยึดเลย ตัวเองต้องมาแก้ตัวเอง กว่าจะผ่าน ไป ได้แต่ละคร้ังแทบ
เอาตวั ไม่รอดกม็ ี

ทา่ นเลา่ วา่ นสิ ยั ของทา่ นพระอาจารยเ์ สาร์ เปน็  ไปอยา่ งเรยี บ ๆ และเยอื กเยน็ นา่ เลอ่ื ม ใส
มาก ทมี่ ีแปลกอยบู่ ้างกเ็ วลาทา่ นเข้าท่นี ่งั สมาธิ ตวั ของทา่ นชอบลอยข้นึ เสมอ บางครงั้ ตัวท่าน
ลอยข้ึน ไปจนผดิ สงั เกตเวลาท่านน่ังสมาธอิ ยู่ ท่านเองเกิดความแปลก ใจ ในขณะนั้นว่า “ตัวเราถา้
จะลอยข้นึ จากพื้นแน ่ ๆ” เลยลืมตาขน้ึ ดตู วั เอง ขณะน้นั จิตทา่ นถอนออกจากสมาธพิ อดี เพราะ
พะวกั พะวงกบั เรือ่ งตวั ลอย ท่านเลยตกลงมาก้นกระแทกกบั พืน้ อย่างแรง ตอ้ งเจบ็ เอวอยู่หลาย
วนั ความจริงตัวทา่ นลอยขนึ้ จากพืน้ จริง ๆ สูงประมาณ ๑ เมตร ขณะท่ีท่านลืมตาดตู ัวเองนั้น
จิต ได้ถอนออกจากสมาธิ จึง ไมม่ ีสตพิ อยับยัง้  ไวบ้ า้ งจึงท�ำ ใหท้ ่านตกลงสพู่ ้นื อย่างแรง เช่นเดียวกับ
ส่ิงต่าง ๆ ตกลงจากที่สูง ในคราวต่อ ไปเวลาท่านนั่งสมาธิ พอรู้สึกว่าตัวท่านลอยขึ้นจากพ้ืน
ท่านพยายามท�ำสติ ให้อยู่ ในองค์ของสมาธิแล้วค่อย ๆ ลืมตาขึ้นดูตัวเอง ก็เห็นประจักษ์ตาว่า
ตัวท่านลอยขน้ึ จรงิ  ๆ แต่ม ิได้ตกลงสูพ่ ้นื เหมือนคราวแรก เพราะทา่ นม ิได้ปราศจากสติและคอย
ประคอง ใจ ให้อยู่ ในองค์สมาธิ ทา่ นจงึ รเู้ รอ่ื งของท่าน ไดด้ ี

ท่านเป็นคนละเอียดถ่ีถ้วนอยู่มาก แม้จะเห็นด้วยตาแล้วท่านยัง ไม่แน่ ใจ ต้องเอาวัตถุ
ช้ินเล็ก ๆ ข้ึน ไปเหน็บ ไว้บนหญ้าหลังกุฎี แล้วกลับมาท�ำสมาธิอีก พอจิตสงบและตัวเร่ิมลอย
ขน้ึ  ไปอกี ทา่ นพยายามประคองจติ  ใหม้ น่ั อย ู่ในสมาธิ เพอ่ื ตวั จะ ไดล้ อยขนึ้  ไปจนถงึ วตั ถเุ ครอ่ื งหมาย
ท่ีท่านน�ำขึ้น ไปเหน็บ ไว้ แล้วค่อย ๆ เอ้ือมมือจับด้วยความมีสติ แล้วน�ำวัตถุนั้นลงมา โดยทาง
สมาธิภาวนา คือพอหยิบ ได้วัตถุน้ันแล้วท่านก็คอ่ ย ๆ ถอนจติ ออกจากสมาธิเพื่อกายจะ ได้ค่อย ๆ
ลงมาจนถึงพ้ืนอย่างปลอดภัย แต่ ไม่ถึงกับ ให้จิตถอนออกจากสมาธิจริง ๆ เมื่อ ได้ทดลองจนเป็น
ทแ่ี น ่ใจแลว้ ทา่ นจึงเช่อื ตัวเองวา่ ตัวท่านลอยขึน้  ได้จริง ในเวลาเข้าสมาธิ ในบางคร้ัง แต่ม ิไดล้ อยขึน้
เสมอ ไป นเี้ ป็นจรติ นิสัยแห่งจิตของท่านพระอาจารยเ์ สาร์ รูส้ กึ ผิดกับนสิ ัยของท่านพระอาจารย์
ม่ันอยู่มาก ในปฏิปทาทาง ใจ

จติ ของท่านพระอาจารย์เสาร์เปน็  ไปอย่างเรียบ ๆ สงบเยน็  โดยสม�่ำเสมอ นบั แตข่ นั้ เรม่ิ แรก
จนถึงสดุ ทา้ ยปลายแดนแหง่ ปฏปิ ทาของท่าน ไมค่ อ่ ยล่อแหลมตอ่ อันตราย และ ไมค่ ่อยมีอบุ าย
ต่าง ๆ และความรู้แปลก ๆ เหมือนจิตทา่ นพระอาจารยม์ น่ั

ทา่ นเลา่ วา่ ทา่ นพระอาจารยเ์ สาร์ เดมิ ท่านปรารถนาเป็นพระปัจเจกพุทธเจา้ เวลาออก
บำ� เพญ็ พอเรง่ ความเพยี รเขา้ มาก ๆ ใจรสู้ กึ ประหวดั  ๆ ถึงความปรารถนาเดมิ เพอื่ ความเปน็ พระ –

12

ปัจเจกพทุ ธเจ้า แสดงออกเป็นเชิงอาลัยเสยี ดายยงั  ไมอ่ ยาก ไปนิพพาน ทา่ นเหน็ ว่าเปน็ อปุ สรรค
ต่อความเพียรเพ่ือความรู้แจ้งซึ่งพระนิพพาน ในชาติปัจจุบันนี้ ท่านเลยอธิษฐานของดจากความ
ปรารถนานั้น และขอประมวลมาเพอ่ื ความรู้แจ้งซ่ึงพระนิพพาน ในชาตนิ ้ี ไมข่ อเกดิ มารบั ความ
ทุกขท์ รมาน ในภพชาติต่าง ๆ อีกตอ่  ไป พอท่านปล่อยวางความปรารถนาเดิมแลว้ การบำ� เพญ็
เพียรรสู้ กึ สะดวกและเหน็ ผล ไป โดยล�ำดบั ไมม่ อี ารมณเ์ ครอื่ งเกาะเกีย่ วเหมอื นแต่ก่อน สดุ ทา้ ย
ท่านก็บรรลุถึงแดนแห่งความเกษมดัง ใจหมาย แต่การแนะน�ำสั่งสอนผู้อื่นท่าน ไม่ค่อยมีความรู้
แตกฉานกว้างขวางนัก ทั้งนี้อาจจะเป็น ไปตามภูมินิสัยเดิมของท่านท่ีมุ่งเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า
ซ่งึ ตรัสรู้เองชอบแต ่ไม่สน ใจส่งั สอน ใครก็ ได้ อีกประการหน่งึ ท่ที ่านกลับความปรารถนา ได้สำ� เร็จ
ตาม ใจนนั้ คงอยู ่ในขน้ั พอแก้ ไข ได้ ซึง่ ยงั  ไม่สมบูรณ์เตม็ ภูมิแท้

แม้ทา่ นพระอาจารย์มนั่ เอง ตามทา่ นเลา่ ว่า ท่านกเ็ คยปรารถนาพุทธภมู มิ าแลว้ เช่นเดยี ว
กัน ท่านเพิง่ มากลบั ความปรารถนาเมือ่ ออกบ�ำเพ็ญธุดงคกรรมฐานนเี่ อง โดยเหน็ วา่ เนิน่ นาน
เกิน ไปกวา่ จะ ได้สำ� เร็จเปน็ พระพทุ ธเจ้าข้ึนมาตามความปรารถนา จ�ำต้องท่องเทย่ี วเกิด แก่ เจบ็
ตาย อย ู่ในวฏั ฏสงสารหลายกปั หลายกลั ป ์ไมช่ นะจะแบกขนทนความทกุ ขท์ รมานซงึ่  ไมม่ วี นั จบสน้ิ
น้ ีได้ เวลาเร่งความเพยี รมาก ๆ จติ ทา่ นมปี ระหวัด ๆ ในความหลงั แสดงเป็นความอาลัยเสยี ดาย
ความเป็นพระพุทธเจา้ ยงั  ไมอ่ ยาก ไปนิพพาน ในชาตนิ เี้ หมอื นทา่ นพระอาจารย์เสาร์ พออธษิ ฐาน
ของดจากความปรารถนาเดิมเท่าน้ัน รู้สึกเบา ใจหายห่วงและบ�ำเพ็ญธรรม ได้รับความสะดวก
 ไป โดยลำ� ดบั ไม่ขัดข้องเหมอื นแตก่ อ่ น และปรากฏว่า ทา่ นผ่านความปรารถนาเดิม ไป ได้อย่าง
ราบร่ืนชืน่  ใจ เขา้  ใจวา่ ภมู ิแหง่ ความปรารถนาเดมิ คงยงั  ไมแ่ ก่กลา้ พอจึงมีทางแยกตวั ผ่าน ไป ได้

เวลาทา่ นออกเทย่ี วธดุ งคกรรมฐานทางภาคอีสาน ตามจงั หวัดตา่ ง ๆ ในระยะต้นวัยท่าน
มักจะ ไปกับท่านพระอาจารย์เสาร์เสมอ แม้ความรู้ทางภาย ในจะมีแตกต่างกันบ้างตามนิสัยแต่
ก็ชอบ ไปดว้ ยกัน ส�ำหรับท่านพระอาจารย์เสารท์ า่ นเปน็ คน ไมช่ อบพูด ไม่ชอบเทศน์ ไมค่ ่อยมี
ความรู้แปลก ๆ ต่าง ๆ กวน ใจเหมือนท่านพระอาจารย์มั่น เวลาจ�ำเป็นต้องเทศน์ท่านก็เทศน์
เพยี งประ โยคหนง่ึ หรอื สองประโยคเทา่ นนั้ แลว้ กล็ งธรรมาสน ์ไปเสยี ประ โยคธรรมทท่ี า่ นเทศนซ์ ง่ึ
พอจบั  ใจความ ไดว้ า่ “ ให้พากันละบาป และบ�ำเพ็ญบุญ อย่า ให้เสยี ชวี ติ ลมหาย ใจ ไปเปลา่ ท ่ีได้
มวี าสนามาเกดิ เปน็ มนุษย”์ และ “เราเกดิ เป็นมนุษย์ มีความสงู ศกั ด์มิ าก แตอ่ ยา่ นำ� เรื่องของสัตว์
มาประพฤติ มนุษยข์ องเราจะต่ำ� ลงกวา่ สตั ว์ และจะเลวกวา่ สตั วอ์ ีกมาก เวลาตกนรกจะตกหลมุ
ท่ีร้อนกว่าสัตว์มากมาย อย่าพากันท�ำ” แล้วก็ลงธรรมาสน์ ไปกุฎี โดย ไม่สน ใจกับ ใครต่อ ไปอีก
ปรกตินิสยั ของทา่ นเป็นคน ไม่ชอบพดู พูดน้อยทสี่ ุด ทง้ั วัน ไมพ่ ูดอะ ไรกับ ใครพอ ๒ – ๓ ประ โยค

13

เวลานงั่ ก็ทนทานนัง่ อย ู่ได้เป็นเวลาหลาย ๆ ช่ัว โมง เดนิ ก็ท�ำนองเดียวกัน แต่ลกั ษณะทา่ ทางของ
ทา่ นมคี วามสง่าผา่ เผยนา่ เคารพเลือ่ ม ใสมาก มองเห็นทา่ นแลว้ เย็นตาเยน็  ใจ ไปหลายวัน ประชาชน
และพระเณรเคารพเล่ือม ใสทา่ นมาก ทา่ นมลี กู ศิษยม์ ากมายเหมือนทา่ นพระอาจารยม์ ั่น

ทราบว่า ท่านพระอาจารย์ทง้ั สององค์น้ีรักและเคารพกันมาก ในระยะวัยต้น ไปท ี่ไหน
ท่านชอบ ไปดว้ ยกัน อยูด่ ว้ ยกัน ทั้ง ในและนอกพรรษา พอมาถึงวัยกลางผา่ น ไปเวลาพักจ�ำพรรษา
มักแยกกันอยู่ แต ่ไม่ห่าง ไกลกันนัก พอ ไปมาหาสกู่ ัน ได้สะดวก มนี ้อยคร้ังท่ีจ�ำพรรษาร่วมกัน
ทั้งน้ีอาจเก่ียวกับบรรดาศิษย์ซ่ึงต่างฝ่ายก็มีมากด้วยกันและต่างก็เพิ่มจ�ำนวนมากขึ้นทุกที ถ้าจ�ำ
พรรษาร่วมกนั จะเป็นความล�ำบาก ในการจัดท่พี กั อาศัย จ�ำตอ้ งแยกกันอยูเ่ พ่อื เบาภาระ ในการจัด
ทพ่ี ักอาศยั  ไปบ้าง ทั้งสองพระอาจารยข์ ณะที่แยกกันอยจู่ �ำพรรษาหรอื นอกพรรษารสู้ ึกคิดถงึ และ
เป็นห่วงกันมาก เวลามพี ระทเ่ี ป็นลูกศษิ ยข์ องแตล่ ะฝา่ ยมากราบนมัสการ จะมากราบนมัสการ
ท่านพระอาจารย์เสาร์หรอื มากราบนมสั การทา่ นพระอาจารยม์ ัน่ ต่างจะตอ้ งถามถึงความสุขทุกข์
ของกนั และกนั ก่อนเรอ่ื งอนื่  ๆ จากน้ันก็บอกกับพระที่มากราบว่า “คดิ ถงึ ทา่ นพระอาจารย.์ ....”
และฝากความเคารพคดิ ถงึ  ไปกับพระลกู ศษิ ยท์ ี่มากราบเยี่ยมตามสมควรแก่ “อาวุ โสภนั เต” ทกุ  ๆ
ครง้ั ทพ่ี ระมากราบพระอาจารยท์ งั้ สองแตล่ ะองค์

ท่านมคี วามเคารพ ในคณุ ธรรมของกนั และกันมาก ไม่วา่ จะอย ู่ใกลห้ รอื อยู่ ไกล เวลาพระ
อาจารย์ทั้งสององค์ ใดองค์หนึ่งพูดปรารภถึงกันและกัน ให้บรรดาลูกศิษย์ฟัง จะมีแต่ค�ำท่ีเต็ม ไป
ด้วยความเคารพและความยกยอสรรเสรญิ  โดยถา่ ยเดียว ไม่เคยมีค�ำแม้เชิงต�ำหนแิ ฝงขนึ้ มาบ้างเลย

ท่านพระอาจารย์ม่ันเล่า ใหฟ้ งั ว่า ทที่ า่ นพระอาจารยเ์ สาร์วา่  ให้ทา่ นวา่ “จติ ทา่ นเปน็ จติ
ที่ โลด โผนมาก” ร้อู ะ ไรขนึ้ มาแต่ละครง้ั มัน ไมพ่ อดเี ลย เดี๋ยวจะเหาะเหินเดนิ ฟา้ เดย๋ี วจะดำ� ดิน
เด๋ียวจะด�ำน้�ำข้ามทะเล นั้นท่านว่าเป็นความจริงดังท่ีท่านพระอาจารย์เสาร์ต�ำหนิเพราะจิตท่าน
เปน็ เช่นน้ันจริง ๆ  เวลารวมสงบลงแต่ละครงั้ แมแ้ ต่ขั้นเรมิ่ แรกบ�ำเพ็ญยงั ออกเทย่ี วรู้เหน็ อะ ไรตา่ ง ๆ
ทั้งท่ีท่าน ไม่เคยคาดฝันว่าจะเป็น ได้เช่นนั้น เช่น ออกรู้เห็นคนตายต่อหน้าและเพ่งพิจารณาจน
คนตายน้ันกลายเปน็ วงแกว้ และเกิดความรูค้ วามเหน็ แตกแขนงออก ไป ไมม่ ีสน้ิ สุด ดังทีเ่ ขยี น ไว ้ใน
เบอ้ื งตน้ เวลาปฏิบตั ทิ เ่ี ขา้  ใจวา่ ถกู ทางแล้ว ขณะท่จี ติ รวมสงบตัวลงก็ยังอดจะออกรสู้ ิง่ ต่าง ๆ ม ิได้
บางทีตวั เหาะลอยข้ึน ไปบนอากาศ และเทย่ี วชมสวรรคว์ มิ าน กวา่ จะลงมาก็กนิ เวลาหลายช่ัว โมง
และมุดลง ไป ใต้ดนิ ค้นดนู รกหลมุ ต่าง ๆ และปลงธรรมสงั เวชกับพวกสัตวน์ รกทีม่ ีกรรมต่าง ๆ กัน
เสวยวบิ ากทกุ ข์ของตน ๆ อยู่ จนลืมเวล�ำ่ เวลา ไปกม็ ี เพราะเวลานั้นยงั  ไม่แน่ ว่าจะเป็นความจริง

14

เพียง ไร เร่อื งท�ำนองนที้ า่ นว่าจะพิจารณาตอ่ เม่ือจติ มีความชำ� นาญแลว้ จึงจะร้เู หตผุ ลผดิ  – ถูก – 
ดี – ชั่ว ได้อย่างชัดเจนและอย่างแม่นย�ำ พอเผลอนิดขณะท่ีจิตรวมลงและพักอยู่ ก็มีทางออก ไป
รู้กับส่ิงภายนอกอีกจน ได้ แม้เวลามีความช�ำนาญและรู้วิธีปฏิบัติ ได้ดีพอควรแล้ว ถ้าปล่อย ให้
ออกรสู้ ่ิงตา่ ง ๆ จติ ยอ่ มจะออกรอู้ ยา่ งรวดเร็ว

ระยะเร่ิมแรกที่ท่านยัง ไม่เข้า ใจและช�ำนาญต่อการเข้าการออกของจิตซ่ึงมีนิสัยชอบออกรู้
ส่ิงต่าง ๆ น้ัน ท่านเล่าว่า เวลาบังคบั จติ  ใหพ้ ิจารณาลง ในร่างกายสว่ นลา่ ง แทนทจ่ี ิตจะรู้ลง ไป
ตามร่างกายส่วนต่าง ๆ จนถึงพื้นเท้า แต่จิตกลับพุ่งตัวเลยร่างกายส่วนต�่ำลง ไป ใต้ดินและทะลุดิน
ลง ไป ใต้พ้นื พิภพ ดังท่านพระอาจารยเ์ สาร์วา่  ให้จรงิ  ๆ พอรีบฉดุ ย้อนคนื มาสูก่ ายก็กลับพงุ่ ขนึ้  ไป
บนอากาศ แลว้ เดนิ จงกรม ไป – มาอยบู่ นอากาศอย่างสบาย ไม่สน ใจวา่ จะลงมาส่รู า่ งกายเลย ตอ้ ง
 ใชส้ ตบิ ังคับอย่างเข้มแข็งถึงจะยอมลงมาเข้าสู่ร่างกายและท�ำงานตามคำ� สงั่ การรวมสงบตวั ลง ใน
ระยะนั้นก็รวมลงอยา่ งรวดเร็วเหมอื นคนตกเหวตกบอ่ จนสตติ าม ไม่ทัน และอยู่ ได้เพียงขณะเดียว
ก็ถอนออกมาข้ันอุปจาระแล้วออกรู้ส่ิงต่าง ๆ  ไม่มีประมาณ รู้สึกร�ำคาญต่อความรู้ความเห็นของ
จิตประเภทน้ีอย่างมากมาย

ถ้าจะบังคับ ไม่ ให้ออกและ ไม่ ให้รู้ก็ ไม่มีอุบายปัญญาจะบังคับ ได้ เพราะจิตมคี วามรวดเร็ว
เกินกว่าสติปัญญาจะตามรู้ทัน จึงท�ำ ให้หนัก ใจและกระวนกระวาย ในบางครั้ง แบบคิด ไม่ออก
บอก ใคร ไม ่ไดเ้ พราะเป็นเรือ่ งภาย ใน ตอ้ ง ใชก้ ารทดสอบด้วยสตปิ ญั ญาอย่างเข้มงวดกวดขัน กว่า
จะรู้วิธีปฏิบัติต่อจิตดวงผาด โผน ในการออกรู้สิ่งต่าง ๆ  ไม่มีประมาณนี้ก็นับว่าเป็นทุกข์เอาการ
อยู่ แตเ่ วลารวู้ ธิ ีปฏิบัติรกั ษาแล้ว รูส้ ึกว่าคลอ่ งแคล่วว่อง ไวและ ได้ผลกว้างขวาง ทง้ั รวดเร็วทนั  ใจ
ต่อภาย ในภายนอก เวลามีสตปิ ญั ญารู้เท่าทันจนกลมกลืนเปน็ อันหน่งึ อันเดียวกันแล้ว จิตดวงน้ี
จึงกลายเป็นแก้วสารพัดนึกข้ึนมาเพราะทันกับเหตุการณ์ที่เกิดกับตน ไม่มีขอบเขต

พระอาจารย์ม่ันท่านมีนิสัยองอาจกล้าหาญและฉลาดแหลมคม อุบายวิธีฝึกทรมานตนก็
ผดิ กับผอู้ ่ืนอยูม่ าก ยากทจี่ ะยึด ได้ตามแบบฉบบั ของท่านจรงิ  ๆ ผู้เขียนอยากจะพดู  ให้สม ใจทีเ่ ฝ้าดู
ท่านตลอดมาวา่ ทา่ นเป็นนิสยั อาชา ไนย ใจว่อง ไวและผาด โผน การฝกึ ทรมานก็เดด็ เดยี่ ว
เฉยี บขาดเทา่ เทยี มกนั อบุ ายฝกึ ทรมานมชี นดิ แปลก ๆ แยบคายทง้ั วธิ ขี เู่ ขญ็ และปลอบ โยน
ตามเหตุการณท์ ี่ควรแกจ่ ติ ดวงมเี ชาวน์เรว็ แกมพยศ ซ่งึ คอยแต่จะน�ำเรื่องเขา้ มาทับถม 
โจมตีเจ้าของอยทู่ ุกขณะทเี่ ผลอตวั

15

ท่านเล่าว่า เร่ืองท่ีท�ำ ให้ท่าน ได้รับความล�ำบากหนัก ใจเหล่านี้เพราะ ไม่มีผู้คอย ให้อุบาย
แนะน�ำน่นั เอง พยายามตะเกยี กตะกายปลุกปล�้ำ ใจดวงพยศ โดยลำ� พงั คนเดยี วแบบเอาหัวชนภเู ขา
ทัง้ ลูกเอาเลย ไมม่ อี บุ ายต่าง ๆ ที่แน่ ใจมาจากครูอาจารย์บ้างเลย พอเปน็ เคร่ืองมือช่วยสนบั สนนุ
เหมอื นผูอ้ ่นื ท่านท�ำกนั ท้งั นี้ทา่ นพดู เพ่ือตักเตอื นบรรดาลูกศษิ ย์ทมี่ ารบั การศกึ ษากบั ทา่ น ไม่ ให้
ประมาทนอน ใจ เวลาเกดิ อะ ไรข้นึ มาจากสมาธภิ าวนาท่านจะ ไดช้ ว่ ยช้ีแจง ไม่ต้องเสียเวลา ไปนาน
ดงั ที่ทา่ นเคยเปน็ มาแล้ว

เวลาท่านออกปฏิบตั ิเบอ้ื งตน้ ท่านวา่ ท่าน ไปทางจังหวัดนครพนมและข้าม ไปเที่ยวทางฝั่ง
แมน่ �้ำ โขง บ�ำเพ็ญสมณธรรมอยแู่ ถบทา่ แขก ตามป่าและภูเขา ทา่ น ได้รบั ความสงบสุขทาง ใจ
มากพอควร ในปา่ และภเู ขาแถบน้ัน ท่านเลา่ วา่ มีสัตว์เสอื ชกุ ชุมมาก เฉพาะเสือทางฝงั่  โน้นรสู้ ึก
ดรุ า้ ยกว่าเสอื ทางเมือง ไทยเราอยู่มากเป็นพเิ ศษ เนอ่ื งจากเสือทางฝง่ั  โน้นเคยดกั ซุ่มกัดกินคนญวน
อยู่เสมอม ิได้ขาด มขี า่ วอย่บู ่อย ๆ แต่คนญวน ไมค่ ่อยกลัวเสอื มากเหมอื นคนลาวและคน ไทยเรา
นัก และ ไม่ค่อยเข็ดหลาบและกลัวเสอื อยู่นานทั้ง ๆ ทเี่ คยเห็นเสอื กดั และกนิ คนอยเู่ สมอ และเห็น
มนั  โดดมากดั เอาเพอื่ นที ่ไปปา่ ด้วยกนั  ไปกนิ ตอ่ หน้าตอ่ ตาอยา่ งวนั น้ี แต่พอวันหลงั คนญวนยังกลา้
พากันเข้า ไปป่าท่ีมีเสือชุมเพ่ือหาอยู่หากิน ได้อีกอย่างธรรมดา ไม่ต่ืนเต้นตก ใจกลัวและเล่าลือกัน
เหมือนคนลาวและคน ไทยเรา ท้งั นี้อาจจะเปน็ เพราะความเคยชินของเขากเ็ ปน็  ได้

ท่านเลา่ วา่ คนญวนน้แี ปลกอย่อู ยา่ งหนึ่ง เวลาเห็นเสอื  โดดมากดั เพือ่ นที ่ไปดว้ ยกันหลายคน
 ไปกนิ ก ็ไม่มี ใครท่จี ะช่วยเหลอื กนั ด้วยวิธีตา่ ง ๆ บ้างเลย ต่างคนตา่ งวงิ่ หนเี อาตัวรอด ไมส่ น ใจ 
ในการช่วยเหลือ เวลาไปนอนค้างคืน ในป่าหลายคนด้วยกัน ตกกลางคืนถูกเสือ โดดมากัดและ
คาบเอาเพ่ือนคน ใดคนหนงึ่  ไปกนิ พวกท่นี อนอยู่ด้วยกนั  ไดย้ นิ เสียงตก ใจตืน่ ขึน้ เหน็ เหตุการณ์แล้ว
ตา่ งก็ว่งิ หนี ไปหาทนี่ อนใหมซ่ ง่ึ อย่ ูใกลก้ ับบรเิ วณนนั่ เอง ความรูส้ กึ เขาเหมือนเด็ก ๆ ใ นเรื่องเช่นน้ี
ไม่มีความคิดอ่าน ใด ๆ ที่แยบคาย ไปกว่าน้ีเลย ท�ำเหมือนเสือ โคร่ง ใหญ่ท้ังตัวที่เคยกินคนมาแล้ว
อยา่ งชำ� นาญไม่มีห ูไมม่ ีตาและ ไม่มีหัว ใจเอาเลย

เรือ่ งคนพรรคน์ ี้ ผเู้ ขยี นเองกพ็ อรู้เรอื่ งทเ่ี ขา ไมค่ ่อยกลวั เสือมาบ้างพอควร คอื เวลาเขามา
พักอาศัย ในบ้านเมืองเราที่เป็นบ้านป่ารกชัฏและมีสัตว์เสือชุกชุม เวลาเขาพากัน ไปนอนค้างคืน
เลื่อย ไมอ้ ย ู่ในปา่ ลกึ ซึง่ อยู่ห่าง ไกลจากหมบู่ ้านมากและมีเสอื ชุม เขาไมเ่ ห็นแสดงอาการหวาดกลวั
บ้างเลย แม้เขาจะนอนอยู่ด้วยกันหลายคนหรือคนเดียวเขาก็นอน ได้อย่างสบาย ไม่กลัวอะ ไร
ถ้าเขาต้องการจะเข้ามา ในหมู่บ้านเวลาค่�ำคืนเขาก็มา ได้ ไม่ต้องหาเพ่ือนฝูงมาด้วย อยากกลับ ไป

16

ที่พักเวลา ใดกก็ ลบั  ไป ได้ เวลาถูกถามวา่  ไมก่ ลวั เสอื บ้างหรอื  ? เขากต็ อบว่า ไม่กลัวเพราะเสอื
เมอื ง ไทย ไม่กินคนและยงิ่ กลัวคนด้วยซ�้ำ ไม่เหมอื นเสือเมอื งเขาซ่ึงมแี ตต่ ัว ใหญ ่ ๆ และชอบกนิ คน
แทบทง้ั น้ัน

เมืองเขาบางแห่งเวลาเข้าป่าต้องท�ำคอกนอนเหมือนคอกหมู ไม่เช่นนั้นเสือมาเอา ไปกิน
ไม่ ไดก้ ลบั บา้ น แมบ้ างหม่บู า้ นทเ่ี สือดุมาก เวลากลางคืนผคู้ นออกมานอกบา้ นเรือน ไม่ ได้ เสอื  
โดดมาเอา ไปกินเลย ไม่มเี หลือ เขายงั กลบั ว่า ใหเ้ ราอกี ดว้ ยว่า คน ไทยข้กี ลัวมากจะ ไปปา่ กแ็ ห่แหน
กนั  ไป ไม่กลา้  ไปคนเดยี ว ท่ีทา่ นพระอาจารยม์ ่นั วา่ คนญวน ไม่คอ่ ยกลัวเสือนน้ั คงจะเป็น ในทำ� นองนี้
ก็ ได้ เวลาทา่ น ไปพกั  อยทู่ นี่ ัน้ ก ็ไมค่ ่อยเห็นเสือมารบกวน เห็นแต่รอยมันเดนิ ผา่ น ไปมาและสง่ เสยี ง
รอ้ งคราง ไปตามภาษาของสัตว์ท่มี ปี ากและรอ้ งครวญคราง ไดเ้ ท่าน้ัน ในบางคืน แต่เขามิ ได้ร้องเพอื่
ค�ำราม ให้เรากลัวหรอื แสดงท่าทางจะกัดกนิ เปน็ อาหาร

เฉพาะองค์ท่านเองรู้สึกจะ ไม่ค่อยสน ใจกับความกลัวสัตว์เสืออะ ไรมาก ไปกว่าความกลัวจะ 
ไมห่ ลุดพน้ จากกองทุกข์ถงึ บรมสขุ คือพระนพิ พาน ในชาติน้ี ทง้ั นท้ี ราบจากท่านเลา่ ถงึ การขา้ ม ไป
ฝัง่ แม่นำ�้  โขงฟาก โน้นและขา้ มมาฝัง่ ฟากนีเ้ พือ่ การบ�ำเพญ็ เพยี รอยา่ งเอาจริงเอาจัง ทำ�  ใหเ้ ห็นว่า
ทา่ นถอื เป็นธรรมดา ในการ ไป – มา เพราะ ไม่เห็นทา่ นน�ำเรอ่ื งความกลวั ของทา่ นมาเลา่  ให้ฟัง ถา้
เป็นผู้เขียน ไปเจอเอาท่ีเช่นนั้นเข้าบ้าง น่ากลัวชาวบ้านแถบน้ันจะพากันกลายเป็นต�ำรวจรักษา
พระธุดงค์ข้ีขลาด ไม่เป็นท่ากันทั้งบ้าน โดย ไม่ต้องสงสัย เพียง ได้ยินเสียงเสือกระห่ึม ในบางคร้ัง
ยงั ชัก ใจ ไม่ดี เดนิ จงกรมก็ชักถอยหน้าถอยหลังกา้ วขา ไมค่ อ่ ยออก และเดิน ไมถ่ ึงท่สี ดุ ทางจงกรม
อยู่แลว้ เผอื่  ไปเจอเอาเรื่องดงั ทว่ี า่ น้ันจงึ น่ากลวั ธรรมแตกมากกว่าส่งิ อน่ื  ๆ จะแตก เพราะนบั แต่
วันรู้ความมาพอ่  – แม่และชาวบ้านกเ็ คยพดู กนั ทว่ั แผน่ ดนิ ว่าเสอื เปน็ สัตว์ทีด่ รุ ้าย ซึ่งเป็นเรือ่ งฝัง ใจ
จนถอน ไม่ขน้ึ ตลอดมา จะ ไม่ ให้กลัวนนั้ สำ� หรับผูเ้ ขยี นจึงเป็น ไป ไม่ ไดเ้ อาเลย และยอมสารภาพ
ตลอด ไป ไมม่ ที างตอ่ สู้

พระอาจารยม์ นั่ ทา่ น ไดเ้ ทย่ี วจาริก ไปตามจงั หวดั ตา่ ง ๆ มนี ครพนม เป็นต้น ทางภาคอีสาน
นานพอควรสมัยออกปฏิบัติเบ้ืองต้น จนจิตมีก�ำลังพอต้านทานอารมณ์ภาย ในที่เคยผาด โผน
มาประจ�ำ ใจและอารมณ์ภายนอก ได้บ้างแล้ว ก็เท่ียว จาริกลง ไปทางภาคกลางจ�ำพรรษาที่วัด
ปทุมวัน* พระนคร ฯ  ระยะที่จ�ำพรรษาอยู่วัดปทุมวันก็ ได้พยายามมาศึกษาอบรมอุบายปัญญา
เพิ่มเติมกบั ท่านเจ้าคณุ พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ สริ จิ นั โท* ท่ีวัดบรมนิวาสม ิไดข้ าด

* วดั ปทุมวนาราม ราชวรวิหาร เขตปทมุ วัน กรุงเทพมหานคร
* (จันทร์ สิริจันโท)

17

พอออกพรรษาแลว้ ทา่ นกอ็ อกเทย่ี วจารกิ  ไปทางจงั หวดั ลพบรุ ี พกั อยถู่ ำ้�  ไผข่ วาง เขาพระงาม
บ้าง ถ้�ำสิง โตบา้ ง ขณะท่พี ักอยู ่ได้มี โอกาสเรง่ ความเพียรเต็มกำ� ลงั ไม่ขาดวรรคขาดตอน ใจร้สู กึ
มีความอาจหาญต่อตนเองและส่งิ เก่ยี วข้องต่าง ๆ ไ ม่พร่ันพรงึ อยา่ งงา่ ยดาย สมาธกิ ็มัน่ คง อุบาย
ปัญญาก็เกิดขนึ้ เรื่อย ๆ มองเหน็ สง่ิ ต่าง ๆ เป็นอรรถเปน็ ธรรม ไป โดยลำ� ดบั เวลาม ีโอกาสกเ็ ข้า ไป
กราบนมัสการและเล่าธัมมะถวายและเรียนถามปัญหาข้อข้อง ใจเก่ียวกับอุบายปัญญากับท่าน
เจ้าคณุ อุบาลฯี วัดบรมนิวาส ท่านก ็ไดอ้ ธบิ ายวิธีพิจารณาปัญญาเพ่มิ เติม ใหจ้ นเปน็ ทีพ่ อ ใจ แล้ว
กราบลาท่าน ไปเท่ยี ววเิ วกทางถำ้� สารกิ า เขา ใหญ่ จังหวัดนครนายก

เที่ยวธุดงค์ถ้�ำสาริกา

ท่านเล่าว่า เวลาที่พักอยู่ถ�้ำสาริกา ๑ ปี ได้ประสบเหตุการณ์ต่าง ๆ หลายประการ
ทง้ั ภาย ในและภายนอก แทบตลอดเวลาท่ีพกั อยู่ จนเป็นท่สี ะดดุ และฝัง ใจตลอดมา คอื ขณะ
ทท่ี ่าน ไปถงึ หมูบ่ ้าน ถ้าจ�ำ ไม่ผิดชอ่ื ว่าบา้ นกล้วย ท่ีอยู่ ใกล้กับถ้�ำมากกว่าหมูบ่ า้ นอ่ืน ๆ พอ โคจร
บณิ ฑบาตถึงสะดวก ท่านขอวาน ใหช้ าวบา้ นนัน้  ไปสง่ ท่ีถำ�้ ดงั กลา่ ว เพราะ ไม่เคย ไป ไมร่ ้หู นทาง
ชาวบ้านกเ็ ลา่ เรือ่ งฤทธ์เิ ดชตา่ ง ๆ ของถ�้ำน้นั  ใหท้ ่านฟัง วา่ เป็นถ�้ำท่ีสำ� คัญอยูม่ าก พระ ไมด่ จี รงิ  ๆ
 ไปอยู่ ไม่ ได้ ต้องเกดิ เจบ็ ป่วยตา่ ง ๆ และตายกนั แทบ ไม่มีเหลือหลอลงมา เพราะถ�ำ้ นี้มผี ีหลวง
รูปร่าง ใหญ่และมีฤทธ์ิมากรักษาอยู่ ผีตัวน้ีดุร้ายมาก ไม่เลือกพระเลือก ใครถ้า ไปอยู่ถ้�ำนั้นต้อง
มีอันเป็น ไปอย่างคาด ไม่ถึงและตายกันจริง ๆ ยิ่งพระองค์ ใดที่อวดตัวว่ามีวิชาอาคมขลัง ๆ เก่ง ๆ
ไม่กลัวผดี ว้ ยแลว้ ผียิ่งชอบทดลอง พระองคน์ น้ั ต้องเกดิ เจ็บขน้ึ มาอยา่ งกระทนั หนั และตายเรว็ กว่า
ปรกติธรรมดาท่ีควรจะเป็น ชาวบ้านพร้อมกันนิมนต์วิงวอน ไม่อยาก ให้ท่านขึ้น ไปอยู่เพราะกลัว
ทา่ นจะตายเหมอื นพระทง้ั หลายทเี่ คยเป็นมาแล้ว

ท่านสงสยั จึงถามเขาว่า ท่วี ่าถ�ำ้ มฤี ทธเ์ิ ดชตา่ ง ๆ และมผี  ีใหญด่ ุนนั้ มนั เปน็ อย่าง ไร อาตมา
อยากทราบบ้าง เขาบอกกับท่านว่าเวลาพระหรือฆราวาสข้ึน ไปพักถ้�ำน้ัน โดยมากเพียงคืนแรก
กเ็ ร่ิมเห็นฤทธบิ์ ้างแล้ว คือเวลานอนหลับ ไปจะตอ้ งมกี ารละเมอเพอ้ ฝัน ไปต่าง ๆ โดยมผี รี ูปรา่ ง
ดำ�  ใหญ่ โตและสงู มากมาหา และจะเอาตัว ไปบ้าง จะมาฆา่ บ้าง โดยบอกวา่ เขาเปน็ ผู้รักษาถ�้ำน้ี
มานานแล้ว และเป็นผู้มีอ�ำนาจแต่ผู้เดียว ในเขตแขวงนั้น ไม่ยอม ให้ ใครมารุกล�้ำกล้�ำกราย ได้
เขาต้องปราบปรามหรือก�ำจัด ให้เห็นฤทธิ์ทันที ไม่ยอม ให้ ใครมีอ�ำนาจเก่งกาจยิ่งกว่าเขา ไป ได้
นอกจากผูท้ ม่ี ีศีลธรรมอนั ดงี ามและมเี มตตาจิตคดิ เผ่อื แผก่ ศุ ลแกบ่ รรดาสตั ว์ ไมเ่ ปน็ ผคู้ บั แคบ ใจดำ�
และตำ่� ทรามทางความประพฤตเิ ทา่ นน้ั เขาถงึ จะยนิ ยอม ใหอ้ ย ู่ได้ และเขาจะ ให้ความอารกั ขาดว้ ยดี

18

พรอ้ มทั้งความเคารพรกั และนบั ถือดังนี้

ส่วนพระ โดยมากที ่ไปอย่กู นั ไม่คอ่ ยมีความผาสกุ และอย ู่ไม ่ได้นาน ตอ้ งรีบลงมา หรือ
ตอ้ งตาย เทา่ ที่เห็นมากเ็ ปน็ ท�ำนองนี้จรงิ  ๆ ใ คร ไปอยู ่ไม่คอ่ ยจะ ได้ เพียงคนื เดียวหรือสองคืน
ก็เหน็ รีบลงมาดว้ ยท่าทางทก่ี ลัวหรือตัวส่นั แทบ ไม่มสี ตอิ ยกู่ บั ตัว และพูดเรอื่ งผีดุออกมา โดยท่ียงั  
ไม่มี ใครถามเลย แลว้ กร็ บี หน ีไปดว้ ยความกลวั และเขด็ หลาบ ไมค่ ิดวา่ จะกลบั คืนมาถ้ำ� นี้ อีก ไดเ้ ลย
ย่งิ กวา่ นนั้ ข้ึน ไปแล้วกอ็ ยทู่ ีน่ ้นั เลย ไมม่ วี ันกลับลงมาเหน็ หน้ามนุษยม์ นาอกี ตอ่  ไปเลยท่าน ฉะน้นั
จงึ  ไม่อยาก ให้ท่านขึ้น ไป กลวั วา่ จะอยู่ทีน่ ั้นเลย

ทา่ นพระอาจารยม์ น่ั จงึ ถามวา่ ทว่ี า่ ขน้ึ  ไปอยเู่ ลย ไมล่ งมาเหน็ หนา้ มนษุ ยน์ น้ั ขนึ้  ไปอยา่ ง ไรกนั
ถงึ  ไมย่ อมลงมา เขาบอกวา่ ตายเลยท่าน จึง ไมม่ ีทางทจ่ี ะลงมา ได้ เม่อื เร็ว ๆ นี้ก็มพี ระมาตายอยู่ 
ในถ้�ำนตี้ ง้ั ๔ องค์ ล้วนมีแตพ่ ระองคเ์ กง่  ๆ ท้ังน้ัน เท่าทพ่ี วกกระผมทราบจากพระท่านพูด
 ใหฟ้ งั วา่ เรอ่ื งผที า่ นบอกวา่  ไมก่ ลวั เพราะทา่ นมคี าถากนั ผแี ละปราบผตี ลอดคาถาอนื่  ๆ อกี เยอะแยะ
ผเี ข้า ไม่ถึงทา่ น เมอื่ ชาวบ้านบอกเรอ่ื งราวของถ�้ำและผีด ุใหท้ ่านฟังเพราะ ไม่อยาก ให้ทา่ นขึน้  ไป
แตท่ า่ นกลบั บอกว่า ไมก่ ลวั และ ใหญ้ าติ โยมพาทา่ นขนึ้  ไปส่งที่ถำ�้ ชาวบา้ นก็จ�ำตอ้ ง ไปสง่ ทา่ น ไปอยู่
ทน่ี ั้น เมอ่ื  ไปอย่แู ล้วท�ำ ใหเ้ ป็นตา่ ง ๆ มเี จ็บ ไขบ้ ้าง ปวดศรี ษะบ้าง เจ็บทอ้ งขน้ึ มาอยา่ งสด ๆ รอ้ น ๆ
บา้ ง เวลานอนหลบั เกดิ ละเมอเพอ้ ฝนั  ไปวา่ มีคนจะมาเอาตวั  ไปบา้ ง จะมาฆ่าบ้าง

แม้พระที่ขึ้น ไปอย ู่ในถ�้ำนนั้ ม ิได ้ไปพรอ้ มกัน ต่างองคต์ ่าง ไปกนั คนละวนั ก็ตาม แตอ่ าการ
ท่ีเปน็ ขนึ้ มลี ักษณะคล้ายคลงึ กัน บางองค์กต็ ายอย ู่ในถำ�้ นน้ั บางองค์กร็ บี ลงจากถ�้ำหนี ไป พระ
ที่มาตายอย ู่ในถ�้ำน้ี ๔ องค ์ในระยะเวลา ไม่หา่ งกันเลย แตท่ า่ นจะตายดว้ ยผีดหุ รอื ตายด้วยอะ ไร
ทางชาวบ้านก็ ไมท่ ราบ ได้ แต่เทา่ ท่เี คยสงั เกตมาถ�้ำนร้ี ู้สึกแรงอยมู่ าก และเคยเปน็ อย่างนี้เสมอมา
ชาวบ้านแถบน้กี ลวั กัน ไม่กล้า ไปทะลงึ่ อวดดี ได้แต่ ไหนแต่ ไรมา กลัวจะถูกหามกนั ลงมา โดยอาการ
ร่อแร่บ้าง โดยเป็นศพที่ตายแล้วบ้าง ทา่ นถามชาวบา้ นว่าเหตุการณด์ งั ท่ีวา่ นี้เคยมีมาบา้ งแลว้
หรอื เขาเรียนท่านวา่ เคยมจี นชาวบ้านทราบอย่างฝัง ใจและกลัวกนั ท้งั บา้ น ทง้ั รีบบอกกับพระหรือ 
ใคร ๆ ท่ีมาถำ้� นเี้ พื่อต้องการของดี เชน่ เหลก็  ไหลหรอื พระศกั ดิส์ ทิ ธอ์ิ ะ ไรต่าง ๆ ซงึ่ อาจมีหรือ ไม่
กต็ าม แต่บางคนก็ชอบประกาศ โฆษณาว่ามี ดังนัน้ จึงมักมีพระและคนทช่ี อบทางน้มี ากนั เสมอ
แตก่  ็ไมเ่ ห็น ได้อะ ไรติดตวั  ไป นอกจากตายหรอื รอดตาย ไปเท่านัน้ เฉพาะชาวบา้ นน ี้ไม่ปรากฏวา่
มี ใครเคย ไปเหน็ เหลก็  ไหลหรือของดอี ย่างอ่ืน ๆ ใ นถ�้ำน้เี ลย เรอื่ งก็เปน็ ดังที่เลา่ มาน้ีจึง ไม่อยาก ให้
ท่านขึ้น ไป กลัวจะ ไมป่ ลอดภัยดังทีเ่ หน็  ๆ มา

19

พอชาวบ้านเล่าเรื่องจบลง ท่านพระอาจารย์ยัง ไม่หายสงสัย ในความอยาก ไปชมถ้�ำน้ัน
ท่านอยากข้ึน ไปทดลองดู จะเป็นจะตายอย่าง ไร ก็ขอ ให้ทราบด้วยตนเองจะเป็นท่ีแน่ ใจกว่า
คำ� บอกเล่า แม้เขาจะเล่าเรอ่ื งผีซง่ึ เป็นท่ีนา่ กลัว ใหฟ้ ังก็ตาม แต ่ใจท่านม ิไดม้ คี วามสะดุ้งหวาดเสยี ว 
ไปตามแมน้ ิดหน่งึ เลย ยิ่งเห็นเป็นเครอ่ื งเตอื นสต ิให ้ได้ข้อคิดมากมายย่ิงขึ้น และมีความอาจหาญ
ทีจ่ ะเผชิญตอ่ เหตุการณอ์ ยู่ทกุ ขณะจติ สมกับเปน็ ผมู้ ุ่งแสวงหาความจรงิ อยา่ งแท้จริง ทา่ นจงึ พดู
กบั ชาวบา้ นเปน็ เชงิ ถ่อมตน วา่ เรอื่ งน้ีเป็นทน่ี า่ กลัวจรงิ  ๆ แตอ่ าตมาคดิ อยาก ไปชมถ�ำ้ สักชั่วระยะ
หน่ึง หากเหน็ ท่า ไม่ดีจะรบี ลงมา จึงขอความกรณุ า โยม ไปส่งอาตมาขนึ้  ไปอยู่ถ้�ำน้สี กั พักหนึ่งเถดิ
เพราะยัง ไม่หายสงสัยที่อยากชมถ�้ำน้ีมานานแล้ว ฝ่ายชาวบ้านก็พากันตามส่งท่านข้ึนถ้�ำตาม
ความประสงค์

เวลาท่านพักอยู่ ในถ้�ำนี้มีรู้อะ ไรแปลก ๆ หลายอย่าง

ขณะท่ีพักอยู่ ในถ�้ำน้ัน ในระยะแรก ๆ รู้สึกว่าธาตุขันธ์ทุกส่วนปรกติดี จิต ใจก็สงบ
เยือกเย็นเพราะเงียบสงัดมาก ไมม่ ีอะ ไรมาพลกุ พล่านกอ่ กวน นอกจากเสยี งสัตวป์ ่าชนดิ ตา่ ง ๆ
ท่ีพากันเทย่ี วหากินตามภาษาเขาเทา่ นัน้ ทา่ นรูส้ กึ เย็นกายเยน็  ใจ ใน ๒ – ๓ คนื แรก พอคืนตอ่  ไป
 โรคเจ็บท้องที่เคยเป็นมาประจ�ำขันธ์ก็ชักจะก�ำเริบและมีอาการรุนแรงข้ึนเป็นล�ำดับ จนถึงข้ัน
หนกั มาก บางครง้ั เวลา ไปส้วมถงึ กับถา่ ยเป็นเลอื ดออกมาอยา่ งสด ๆ รอ้ น ๆ กม็ ี ฉนั อะ ไรเข้าแล้วไม่
ยอมย่อยเอาเลย เขา้  ไปอย่าง ไรกส็ ้วมออกมาอย่างนน้ั ท�ำ ใหท้ า่ นคิดวิตกถงึ ค�ำพูดของชาวบ้านทีว่ า่
มีพระมาตายท่ีน่ี ๔ องค์ เราอาจเป็นองค์ท่ี ๕ ก็ ไดถ้ า้  ไมห่ าย

เวลามี โยมขึ้น ไปถ้�ำตอนเช้า ท่านก็พา โยม ไปเท่ียวหายาท่ีเคย ได้ผลมาแล้วมาต้มฉันบ้าง
ฝน ใส่น�้ำฉันบ้าง เท่าท่ีทราบเป็นยาประเภทราก ไม้แก่น ไม้ แต่ฉันยาประเภท ใดลง ไปก็ ไม่
ปรากฏว่า ได้ผล โรคนับวันรุนแรงข้ึนทกุ วนั กำ� ลังกายกอ็ อ่ นเพลียมาก กำ� ลัง ใจก็ปรากฏว่า
ลดลงผิดปรกติ แม ้ไม่มากกพ็ อ ให้ทราบ ได้อย่างชดั เจน ขณะทน่ี ่ังฉันยา ไดน้ ึกวติ กข้นึ มาเป็นเชิง
เตือนตน ให้ ได้สติและปลุก ใจ ให้กลับมีก�ำลังเข้มแข็งขึ้นมาว่า ยาที่เราฉันอยู่ขณะน้ีถ้าเป็นยาช่วย
ระงบั  โรค ไดจ้ รงิ กค็ วรจะเหน็ ผลบา้ งแม ้ไมม่ าก เพราะฉนั มาหลายเวลาแลว้ แต่ โรคก็นับวันกำ� เรบิ
หากยามีทางระงับ ได้บ้างท�ำ ไม โรคจึง ไม่สงบ เห็นท่ายาน้ีจะมิ ใช่ยาเพ่ือระงับบ�ำบัด โรคเหมือน
แต่ก่อนเสียกระมัง แต่อาจเป็นยาประเภทช่วยสง่ เสริม โรค ให้ก�ำเริบแน่นอนส�ำหรับคราวนี้ โรค
จึงนับวันก�ำเริบขึ้นเป็นล�ำดับ เมื่อเป็นเช่นนี้เราจะพยายามฉนั  ไปเพอ่ื ประ โยชนอ์ ะ ไร

20

พอ ไดส้ ตจิ ากความวติ กวจิ ารณท์ ผี่ ดุ ขน้ึ มา ในขณะนน้ั แลว้ ท่านก็ตดั สนิ  ใจและบอกกบั ตวั เอง
ทนั ทีวา่ นับแต่บดั นเ้ี ป็นต้น ไปเราจะระงบั  โรคพรรคน์ ด้ี ้วยยาคอื ธรรม โอสถเทา่ นน้ั จะหายกห็ าย
จะตายก็ตายเมื่อสุดก�ำลังความสามารถ ในการเยียวยาทุกวิถีทางแล้ว ยาที่เคยน�ำมารักษาน้ันจะ
งด ไวจ้ นกวา่  โรคน้ีจะหายดว้ ยธรรม โอสถ หรอื จนกว่าจะตาย ในถ�ำ้ น้ี จะยัง ไมฉ่ นั ยาชนิด ใด ๆ ใ น
ระยะนี้ แล้วก็เตอื นตนวา่ เราเป็นพระทง้ั องคท์  ี่ได้ปฏิบตั บิ �ำเพญ็ ทาง ใจมาพอสมควรจนเห็นผล
และแน่ ใจต่อทางด�ำเนินเพื่อมรรคผลนิพพานมาเป็นล�ำดับ ซึ่งควรถือเป็นหลักยึดของ ใจ ได้พอ
ประมาณอย่แู ล้ว ทำ�  ไมจะขขี้ ลาดอ่อนแอ ในเวลาเกิดทกุ ขเวทนาเพยี งเท่านี้ ก็เพยี งทกุ ข์เกดิ ขึน้
เพราะ โรคเปน็ สาเหตุเพียงเลก็ น้อยเทา่ น้ีเรายังสู้ ไม่ ไหว กลายเป็นผ้อู ่อนแอ กลายเปน็ ผพู้ ่ายแพ้
อยา่ งยับเยินเสียแตบ่ ดั น้แี ลว้ เมือ่ ถึงคราวจวนตัวจะชงิ ชัยเพอ่ื เอาแพ้เอาชนะกนั จรงิ  ๆ คอื เวลา
ขันธ์จะแตก ธาตจุ ะสลาย ทกุ ขย์ ิ่งจะ โหมกันมาทบั ธาตขุ นั ธแ์ ละจิต ใจจน ไม่มีทป่ี ลงวาง เราจะเอา
กำ� ลังจากท่ี ไหนมาต่อสเู้ พ่อื เอาตัวรอด ไป ได ้โดยสุค โต ไมเ่ สียทา่ เสียท ีในสงครามล้างขันธ์เล่า ?

พอท่านท�ำความเข้า ใจกับตนเองอย่างแน่ ใจและม่ัน ใจแล้วก็หยุดจากการฉันยา ในเวลาน้ัน
ทนั ที และเรมิ่ ท�ำสมาธภิ าวนาเพอ่ื เป็น โอสถบ�ำบดั บรรเทาจิต ใจและธาตุขนั ธต์ อ่  ไปอย่างหนกั แนน่
ทอดความอาลยั เสยี ดาย ในชวี ติ ธาตุขันธ์ ปล่อย ใหเ้ ป็น ไปตามคตธิ รรมดา ท�ำหน้าทหี่ ้�ำหนั่ จติ ดวง
ไม่เคยตายแต่มีความตายประจ�ำนิสัยลง ไปอย่างเต็มก�ำลังสติปัญญาศรัทธาความเพียรท่ีเคยอบรม
มา โดยม ิไดส้ น ใจค�ำนึงตอ่  โรคทีก่ ำ� ลงั กำ� เริบอยภู่ าย ในวา่ จะหายหรือจะตาย ไปขณะ ใด ในเวลาน้ัน
หย่ังสตปิ ัญญาลง ในทุกขเวทนา แยกแยะสว่ นตา่ ง ๆ ของธาตุขนั ธ์ออกพิจารณาด้วยปญั ญา ไมล่ ดละ
คือยกทง้ั ส่วนรปู กาย ทั้งส่วนเวทนาคอื ทกุ ข ์ในกาย ทงั้ สว่ นสัญญาที่หมายกายสว่ นต่าง ๆ วา่ เปน็
ทุกข์ ทั้งสว่ นสังขารตัวปรุงแต่งว่าส่วนน้เี ป็นทุกขส์ ว่ นนั้นเป็นทุกข์ ขึน้ สูเ่ ป้าหมายแหง่ การพจิ ารณา
ของสติปญั ญาผดู้ �ำเนินงาน ท�ำการขุดคน้ คลีค่ ลายอยา่ ง ไม่หยุดย้ัง แตเ่ วลาพลบค�่ำถึงเทยี่ งคืนคือ
๒๔.๐๐ นาฬิกา จึงลงเอยกนั  ได้ จติ มีก�ำลงั ขึน้ มาอยา่ งประจักษ์ สามารถคลีค่ ลายธาตขุ นั ธ์จน
รู้แจ้งตลอดทั่วถึงทุกขเวทนาท่ีก�ำลังก�ำเริบขึ้นอย่างเต็มที่จาก โรค ในท้องก็ระงับดับลงอย่างสนิท
จิตรวมลงถึงที่ ในขณะนัน้

ขณะนนั้  โรคกด็ ับ ทกุ ขก์ ็ดบั ความฟุ้งซา่ นของ ใจกด็ ับ พอจติ รวมสงบลงถึงท่แี ลว้ ถอน
ออกมาขนั้ อปุ จารสมาธแิ ลว้ จติ สวา่ งออก ไปนอกกาย ปรากฏเหน็ บรุ ษุ ผหู้ นงึ่ มรี า่ ง ใหญด่ ำ� และสงู มาก
ราว ๑๐ เมตร ถือตะบองเหลก็  ใหญเ่ ท่าขา ยาวราว ๒ วา เดินเข้ามาหาและบอกกับท่านว่า
จะทุบตีท่าน ให้จมลง ไป ในดิน ถ้า ไม่หนีจะฆ่า ให้ตาย ในบัดเดี๋ยว ใจ ตามท่ีผีบอกกับท่านว่า
ตะบองเหลก็ ทเ่ี ขาแบกอยบู่ นบา่ นนั้ ตชี า้ งสาร ใหญต่ วั หนงึ่ เพยี งหนเดยี วเทา่ นนั้ ชา้ งสารตอ้ งจม

21

ลง ไป ในดนิ แบบจมมิดเลย โดย ไมต่ อ้ งตีซ�้ำอีก ทา่ นกำ� หนดจิตถามผรี ่างยักษ์นนั้ วา่ จะมาตแี ละฆา่
อาตมาท�ำ ไม อาตมามคี วามผิดอะ ไรบ้างถึงจะต้องถกู ตีถูกฆา่ เล่า ? การมาอยทู่ นี่ ีม้ ิ ไดม้ ากดข่ขี ่มเหง
หรอื เบยี ดเบยี น ใคร ให้เดอื ดร้อน พอจะถกู  ใส่กรรมทำ�  โทษถึงขนาดตแี ละฆา่  ให้ถึงตายเช่นนี้

เขาบอกว่าเขาเป็นผูม้ ีอ�ำนาจรกั ษาภูเขาลกู น้อี ยนู่ านแล้ว ไม่ยอม ให้ ใครมาอยูค่ รองอ�ำนาจ
เหนือตน ไป ได้ ต้องปราบปรามและก�ำจดั ทันที ทา่ นตอบว่า กอ็ าตมามิ ได้มาครองอ�ำนาจบน
หวั  ใจ ใคร นอก ไปจากมาปฏบิ ัตบิ ำ� เพญ็ ศีลธรรมอนั ดงี าม เพือ่ ครองอำ� นาจเหนอื กิเลสบาปธรรม
บนหัว ใจตนเท่านั้น จึง ไม่สมควรอย่างย่ิงที่ท่านจะมาเบียดเบียนและท�ำลายคนเช่นอาตมา ซ่ึง
เป็นนักบวชทรงศีล และเป็นศิษย์ของพระพุทธเจ้าผู้มี ใจบริสุทธิ์และมีอ�ำนาจ ในทางเมตตาครอบ
ไตร โลกธาตุ ไม่ม ีใครเสมอเหมอื น

ทา่ นซกั ถามและเทศน ์ให้ผีร่างยกั ษ์ฟังเสยี  ใหญ่ ในขณะน้นั ว่าถา้ ทา่ นเป็นผมู้ อี ำ� นาจเก่งจรงิ
ดังที่อวดอ้างแล้ว ท่านมีอ�ำนาจเหนือกรรมและเหนือธรรมอันเป็นกฎ ใหญ่ปกครองมวลสัตว์ ใน 
ไตรภพด้วยหรอื เปล่า ? เขาตอบวา่ เปล่า ทา่ นพูดว่าพระพทุ ธเจา้ ท่านเกง่ กลา้ สามารถปราบกเิ ลส
ตัวที่คอยอวดอ�ำนาจว่าตัวดีตัวเก่งอยู่ภาย ในคิดอยากตีอยากฆ่าคนอื่นสัตว์อ่ืน ให้หมดสิ้น ไปจาก ใจ
ส่วนท่านทวี่ ่าเก่ง ได้คิดปราบกเิ ลสตัวดังกลา่ ว ให้หมดส้นิ  ไปบ้างหรอื ยัง เขาตอบวา่ ยงั เลยท่าน
ทา่ นว่า ถ้ายงั ทา่ นกม็ อี ำ� นาจ ไป ในทางทท่ี ำ� ตน ใหเ้ ป็นคนมืดหนาป่าเถ่อื นตา่ งหาก ซงึ่ นบั วา่ เปน็
บาปและเสวยกรรมหนัก แต่ ไม่มีอ�ำนาจปราบความชั่วของตัวที่ก�ำลังแผลงฤทธิ์แก่ผู้อ่ืนอยู่ โดย
ไมร่ สู้ กึ ตัววา่ เปน็ ผมู้ ีอ�ำนาจแบบกอ่  ไฟเผาตัว และต้องจดั วา่ กำ� ลงั สรา้ งกรรมอันหนักมาก

มิหน�ำยังจะมาตีมาฆ่าคนท่ีทรงศีลธรรมอันเป็นหัว ใจของ โลก ถ้า ไม่จัดว่าท่านท�ำกรรม
อนั เปน็ บาปหยาบชา้ ยง่ิ กว่าคนทงั้ หลายแลว้ จะจัดวา่ ทา่ นทำ� ความดีท่ีนา่ ชมเชยท่ตี รง ไหน อาตมา
เป็นผู้ทรงศีลทรงธรรมมุ่งมาท�ำประ โยชน์แก่ตนและแก่ โลก โดยการประพฤติธรรมด้วยความ
บรสิ ุทธ ์ิใจ ท่านยังจะมาทุบตแี ละสงั หาร โดยมิ ได้คิดค�ำนึงถงึ บาปกรรมที่จะฉุดลากทา่ นลงนรก
เสวยกรรมอนั เปน็ มหันตทกุ ข์เลย อาตมารู้สกึ สงสารทา่ นยง่ิ กว่าจะอาลัย ในชวี ติ ของตวั เพราะ
ทา่ นหลงอำ� นาจของตวั จนถงึ กบั จะเผาตวั เองทง้ั เป็นอยขู่ ณะนแี้ ลว้ อ�ำนาจอนั  ใดบา้ งทท่ี า่ นว่ามีอยู่ 
ในตวั ทา่ น อำ� นาจอนั นน้ั จะสามารถต้านทานบาปกรรมอนั หนักทที่ ่านก�ำลังจะก่อขน้ึ เผาผลาญตวั
อยเู่ วลาน ้ีไดห้ รือ ไม ่ ?

ทา่ นว่าเป็นผ้มู อี ำ� นาจอนั  ใหญห่ ลวงปกครองอย ู่ในเขตเขาเหล่าน้ี แต่อ�ำนาจน้นั มีฤทธเิ์ ดช
เหนอื กรรมและเหนอื ธรรม ไป ได ้ไหม ถ้าทา่ นมอี �ำนาจและมีฤทธิ์เหนอื ธรรมแลว้ ทา่ นก็ทุบตหี รอื

22

ฆ่าอาตมา ได้ สำ� หรบั อาตมาเอง ไมก่ ลวั ความตาย แมท้ า่ น ไม่ฆา่ อาตมากย็ ังจกั ต้องตายอยู่ โดยดี
เมอื่ กาลของมันมาถงึ แล้ว เพราะ โลกนเี้ ป็นทีอ่ ยู่ของมวลสตั วผ์ ้เู กดิ แล้วต้องตายทั่วหนา้ กนั แม้
ตัวท่านเองที่ก�ำลังอวดตัวว่าเก่ง ในความมีอ�ำนาจจนกลายเป็นผู้มืดบอดอยู่ขณะน้ี แต่ท่านก็มิ ได้
เก่งกวา่ ความตายและกฎแห่งกรรมท่คี รอบง�ำสัตว์ โลก ไป ได้

ขณะที่ทา่ นพระอาจารย์มัน่ ซกั ถามและเทศนส์ ่งั สอนบุรุษลึกลบั  โดยทางสมาธิอยนู่ ้นั ทา่ น
เลา่ ว่าเขายืนตัวแขง็ บ่าแบกตะบองเหลก็ เครื่องมือสังหารอยเู่ หมอื นต๊กุ ตา ไมก่ ระดุกกระดกิ ไม่
ขยบั เขย้อื น ไป ไหนมา ไหนเลย ถ้าเปน็ คนธรรมดาเรา กท็ ั้งอายทง้ั กลัวจนตวั แข็งแทบลืมหาย ใจ
แตน่ ่ีเขาเป็นอมนษุ ยพ์ ิเศษผหู้ นึง่ จงึ  ไม่ทราบวา่ เขามลี มหาย ใจหรือ ไม่ แต่อาการท้งั หมดนนั้ แสดง 
ใหเ้ หน็ ชดั ว่าเขาทง้ั อายทัง้ กลวั ทา่ นพระอาจารย์มนั่ จนสดุ ท่ีจะอดกลนั้  ได้ แตเ่ ขากอ็ ดกลั้น ไดอ้ ยา่ ง
น่าชม

ตอนท่านแสดงธรรมจบลง เขา ไดท้ ง้ิ ตะบองเหลก็ ลงจากบ่าอยา่ งเห็น โทษและนฤมติ เปลยี่ น
ภาพจากรา่ งของบรุ ษุ ลกึ ลบั ทม่ี กี ายดำ� สงู  ใหญ่ มาเปน็ สภุ าพบรุ ษุ พทุ ธมามกะผอู้ อ่ น โยนนมิ่ นวลดว้ ย
มรรยาทอธั ยาศยั แสดงความเคารพคารวะและกล่าวค�ำขอ โทษทา่ นอาจารยแ์ บบบคุ คลผู้เหน็  โทษ
ส�ำนึก ในบาปอย่างถึง ใจ ซึ่งต่อนี้ ไปเป็น ใจความของเขาท่ีกล่าวตามความสัตย์จริงต่อท่านพระ
อาจารย์ม่ันว่า

กระผมรู้สึกแปลก ใจและสะดุ้งกลัวท่านแต่เร่ิมแรกมองเห็นแสงสว่างที่แปลกและอัศจรรย์
มากซ่ึง ไม่เคยพบเห็นมาก่อน พุ่งจากองค์ท่านมากระทบตัวกระผม ท�ำ ให้อ่อน ไปหมดแทบ ไม่
อาจแสดงอาการอยา่ ง ใดออกมา ได้ อวัยวะทุกส่วนตลอดจติ  ใจออ่ นเพลีย ไปตาม ๆ กัน ไมอ่ าจจะ
ท�ำอะ ไร ได้ดว้ ยพลการ เพราะมันออ่ นและนมิ่  ไปดว้ ยความซาบซึง้ จบั  ใจ ในความสว่างนนั้ ท้ัง ๆ ท ่ี
ไมท่ ราบวา่ น้ันคืออะ ไรเพราะ ไมเ่ คยเหน็ เท่าทแ่ี สดงกริ ิยาคำ� รามว่าจะทบุ ตแี ละฆ่านัน้ ม ิไดอ้ อกมา
จาก ใจจริงแม้แต่น้อยเลย แต่แสดงออกตามความรู้สึกท่ีเคยฝัง ใจมานานว่าตัวเป็นผู้มีอ�ำนาจ ใน
หมู่อมนุษย์ด้วยกัน และมีอ�ำนาจ ในหมู่มนษุ ยท์ ี ่ไมม่ ีศลี ธรรมชอบรักบาปหาบความชัว่ ประจ�ำนสิ ยั
ต่างหาก อ�ำนาจน้ีจะท�ำอะ ไร ให ้ใครเม่ือ ไรก็ ได้ตามตอ้ งการ โดยปราศจากการต้านทานขัดขวาง
มานะอันน้ีแลพา ให้ท�ำท่าเป็นผู้มีอ�ำนาจแสดงออกพอ ไม่ ให้เสียลวดลายท้ังที่กลัว ๆ และ ใจอ่อน
ท�ำ ไมล่ ง และม ิไดป้ ลง ใจว่าจะทำ� หากเป็นเพยี งแสดงออกพอเปน็ กิริยาของผู้เคยมอี �ำนาจเท่านั้น
กรรมอัน ไม่งาม ใด ๆ ทแ่ี สดงออก ใหเ้ ป็นของน่าเกลยี ด ในวงนักปราชญ์ทม่ี ีต่อท่านวนั นี้ ขอ ได้เมตตา
อ โหสกิ รรมแก่กรรมน้นั  ๆ ใ ห้กระผมดว้ ย อย่าตอ้ ง ให้รับบาปหาบทุกข์ต่อ ไปเลย เทา่ ท่ีเป็นอยู่เวลา

23

นี้กม็ ีทุกขอ์ ย่างพอตวั อยู่แล้ว ย่งิ จะเพมิ่ ทุกข ์ให้มากกวา่ นกี้ ็คงเหลือกำ� ลังทจี่ ะทนต่อ ไป ไหว

ทา่ นถามเขาวา่ ทา่ นเป็นผู้ ใหญ่มอี �ำนาจวาสนามาก กายก็เป็นกายทิพย ์ไม่ต้องพาหอบห้วิ
เดนิ เหนิ  ไปมา ให้ลำ� บากเหมอื นมนษุ ย์ การเปน็ อย่หู ลับนอนก็ ไมเ่ ปน็ ภาระเหมอื นมนษุ ย์ทัว่  โลก
ที่เป็นกนั แล้วทำ�  ไมจงึ ยังบน่ วา่ ทกุ ข์อยอู่ กี ถ้า โลกทิพย ์ไม่เปน็ สขุ แลว้  โลก ไหนจะเป็นสขุ เล่า ?
เขาตอบว่า ถ้าพูดอย่างผวิ เผนิ และเทยี บกบั กายมนุษย์ทหี่ ยาบ ๆ  พวกกายทพิ ย์อาจมคี วามสุข
มากกว่าพวกมนุษยจ์ รงิ เพราะเปน็ ภมู ิท่ีละเอียดกว่ากัน แต่ถา้ กล่าวตามช้ันภมู ิแลว้ กายทิพย์กย็ ่อม
มที กุ ข์ ไปตามวสิ ยั ของภูมนิ ้นั  ๆ เหมือนกัน ระหวา่ งทผี่ กี ับพระสนทนากัน ในตอนนี้ รู้สกึ วา่ ละเอียด
และลกึ ลับยากทผ่ี ูเ้ ขียนจะน�ำมาลง ได้ทุกประ โยค จึงขออภยั ท่านผู้อา่ น ไวด้ ้วยความจน ใจ

สดุ ท้ายแหง่ การสนทนาธรรม ทา่ นว่าบุรษุ ลึกลบั มีความเคารพเล่อื ม ใส ในธรรมเป็นอยา่ งย่ิง
และปฏญิ าณตนถงึ พระ ไตรสรณาคมน์ กลา่ วอ้างท่านพระอาจารย์เปน็ สรณะและเป็นองค์พยาน
ดว้ ย พรอ้ มทง้ั  ใหค้ วามอารกั ขาแก่ท่านเป็นอยา่ งดี และขอนิมนตท์ า่ นพักอย่ทู ่ีน ่ีให้นาน ๆ  ถ้า
ตาม ใจเขาแล้ว ไมอ่ ยาก ให้ทา่ นจาก ไปสูท่ ี่อน่ื ตลอดอายุของทา่ น เขาจะเป็นผูค้ อยดแู ลรกั ษาท่าน
ทุกอิรยิ าบถ ไม่ ให้มีอะ ไรมาเบียดเบยี นหรอื รังแกท่าน ได้เลย ความจรงิ แลว้ เขามิ ใช่บุรษุ ลกึ ลบั
และมรี ่างกายด�ำสูง ใหญด่ ังทแ่ี สดงภาพต่อทา่ น แตเ่ ขาเป็นหัวหน้าแหง่ รกุ ขเทวดา ซง่ึ มีบริษัท
บรวิ ารมากมายทอ่ี าศัยอยู ่ในภเู ขาและสถานท่ีตา่ ง ๆ  มเี ขตอาณาบรเิ วณกว้างขวางมากตดิ ต่อกัน
หลายจงั หวดั มีนครนายก เปน็ ต้น

นับแต่ขณะจิตท่านสงบลงและระงับ โรคจนหายสนิท ไม่ปรากฏเลยประมาณเที่ยงคืนกับ
รุกขเทพมาเกี่ยวขอ้ งและสนทนาธรรมกนั จนถงึ เวลาจาก ไป และจติ ถอนขึ้นมาก็ประมาณ ๔.๐๐
นาฬิกาคือ ๑๐ ทมุ่ โรคทก่ี �ำลงั กำ� เรบิ  ในขณะทน่ี งั่ ทำ� สมาธภิ าวนาพอจิตถอนข้นึ มาปรากฏวา่
หาย ไป โดยสิน้ เชงิ ไม่ตอ้ งอาศยั ยาอ่นื  ใดรกั ษาอีกต่อ ไป โรคหาย ไดเ้ ด็ดขาดดว้ ยธรรม โอสถทาง
ภาวนาลว้ น ๆ จึงเป็นส่งิ ทีอ่ ศั จรรยม์ ากส�ำหรับทา่ น ในคนื วันนั้น พอจิตถอนขึ้นมาแล้วท่านทำ�
ความเพยี รตอ่  ไป ม ิไดห้ ลับนอนตลอดรุ่ง เม่อื ออกจากทภ่ี าวนาแล้วร่างกายก ็ไม่มีการอ่อนเพลีย
แตก่ ลับกระปรก้ี ระเปร่าขนึ้ กว่าเดิมอีกดว้ ย คนื วันนั้นท่าน ไดเ้ ห็นความอัศจรรย์หลายอย่าง คอื
เห็นอานภุ าพแห่งธรรมท่สี ามารถยงั เทวดา ใหห้ ายพยศและเกดิ ความเลอ่ื ม ใสหน่งึ จติ รวมสงบลง
เปน็ เวลาหลายชั่ว โมงและเห็นความอศั จรรย ์ในขณะท่ีจิตสงบตวั อยอู่ ยา่ งมีความสขุ หนง่ึ โรคที่เคย
ก�ำเริบอยูเ่ สมอจนควรเรียก ไดว้ า่  โรคประเภทเรือ้ รงั  ได้หาย ไป โดยสิ้นเชิงหนึง่ จิต ไดห้ ลักยดึ เป็น
ทีพ่ อ ใจหายสงสยั  ในสิง่ ที่เคยเปน็ มาหลายชนิดหน่ึง อาหารท่ีฉนั ลง ไป ในตอนเช้า แตว่ ันหลังกลบั

24

ท�ำการย่อยตามปรกติหนึ่ง ความรู้แปลก ๆ ท่ี ไม่เคยรู้มาก่อน ได้ปรากฏข้ึนมากมายท้ังประเภท
ถอดถอนและประเภทประดบั ความรพู้ ิเศษตามนิสัยวาสนาหนง่ึ

 ในคนื ตอ่  ไป ทา่ นบ�ำเพ็ญเพียรด้วยความสะดวก และมคี วามสงบสุขทาง ใจอย่างบอก ไมถ่ กู
ร่างกายก็เป็นปรกตสิ ุข ไม่มีอาการ ใดกอ่ กวน บางคืนยามดึกสงัดกต็ อ้ นรบั พวกรกุ ขเทพท่มี าจาก
ท่ีต่าง ๆ จ�ำนวนมากมาย โดยมเี ทพลึกลบั ที่เคยทำ� สงครามวาทะกบั ทา่ นอาจารย์ เปน็ ผูป้ ระกาศ 
โฆษณา ให้ทราบและเปน็ หวั หนา้ พามา คืนที ่ไมม่ เี ร่ืองมาเกีย่ วขอ้ ง ท่านก็สนุกบำ� เพ็ญสมาธภิ าวนา

บา่ ยวนั หนึ่งทา่ นออกจากท่สี มาธแิ ล้วกอ็ อก ไปนงั่ ตากอากาศ หา่ งจากหน้าถ�้ำพอประมาณ
ขณะน้ันก�ำลังร�ำพึงธรรมท่ีพระพุทธเจ้าทรงพระเมตตาประทาน ไว้แก่หมู่ชน รู้สึกว่าเป็นธรรม
ที่สุขุมลุ่มลึกมาก ยากที่จะมีผู้สามารถปฏิบัติและ ไตร่ตรอง ให้เห็นจริงตาม ได้ ท่านเกิดความ
ภูมิ ใจและอัศจรรย์ ในตัวท่านเองข้ึนมา ท่ีมีวาสนา ได้ปฏิบัติและรู้เห็นความอัศจรรย์หลายอย่าง
จากธรรม แม้จะยัง ไม่สมบูรณ์เต็มภูมิท่ี ใฝ่ฝันมานานก็ตาม แต่ก็ยังจัดว่าอยู่ ในข้ันพอกินพอ ใช้
ไมข่ ดั สนจนมมุ  ในความสขุ ทเี่ ป็นอยูแ่ ละจะเปน็  ไป ซงึ่ ตัวเองก็แน ่ใจว่าจะถึงแดนแห่งความสมหวัง 
ในวันหนง่ึ แนน่ อนถา้  ไมต่ ายเสีย ในระยะกาลท่ีควรจะเปน็ น้ี

ท่านรู้ภาษาสัตว์

ขณะน้ันก�ำลังเสวยสุขเพลินอยู่ด้วยการพิจารณาธรรมท้ังฝ่ายมรรคคือทางด�ำเนิน และ
ฝา่ ยผลคอื ความสมหวงั เป็นลำ� ดับ จนถงึ ความดับสนิทแหง่ กองทกุ ข์ภาย ใน ใจ ไมม่ ีเหลอื พอดมี ี
ลงิ ฝงู  ใหญ่พากันเทีย่ วหากนิ มาบรเิ วณหนา้ ถำ้� น้นั โดยมีหัวหนา้ มากอ่ นเพื่อน ปลอ่ ยระยะหา่ งจาก
ฝูงประมาณ ๑ เส้น พอหวั หน้าลิงมาถึงทนี่ ้นั กม็ องเหน็ ทา่ นนั่งนิ่ง ๆ  อยพู่ อดี แตม่ ิ ไดห้ ลับตา
ท่านเองก็ ได้ช�ำเลือง ไปดูลิงตัวนั้นเชน่ กัน ประกอบกับลิงตวั นายฝงู นัน้ ก�ำลงั เกิดความสงสยั  ในทา่ น
อยวู่ ่า นั่นคืออะ ไรกนั แน่ มนั คอ่ ยด้อม ๆ มอง ๆ ท่านและว่ิงถอย ไปถอยมาอยบู่ นกง่ิ  ไมด้ ้วยความ
สงสัยและเป็นห่วงเพ่อื นฝูงของมันมาก กลวั จะเปน็ อนั ตราย ขณะทม่ี ันสงสยั ท่าน ทา่ นก็ทราบ
เรื่องของมันพร้อมกบั เกิดความสงสารขนึ้ มา ในขณะนนั้ และแผเ่ มตตาจติ  ไปยังลงิ ตวั นัน้ วา่ เรามา
บ�ำเพญ็ ธรรม มิ ไดม้ าหาเบียดเบยี นและทำ� รา้ ย ใคร ไม่ตอ้ งกลวั เรา จงพากันหาอยู่หากินตามสบาย
แม้จะพากันมาหากนิ อยู่แถวบรเิ วณน้ีทกุ วันเราก ็ไมว่ ่าอะ ไร สักประเดี๋ยว ใจ มันกว็ ง่ิ  ไปหาพวก
ของมนั ซึ่งพอมองเห็นตวั ทกี่ ำ� ลังตามหลังกันมา

25

ท่านเล่าตอนน้ีน่าหัวเราะและน่าสงสารมาก พอมันว่ิง ไปถึงพรรคพวกของมันแล้วมันรีบ
บอกกนั วา่ “ โกก้ เฮย้ อยา่ ดว่ น ไป มีอะ ไรอยู่ท่ีนัน้ ” “ โก้ก ระวงั อันตราย” พวกของมันที่ยงั
 ไม่เหน็ พอ ไดย้ ินเสียงก็รอ้ งถามมาวา่ “ โกก้ อยู่ที่ ไหน” “ โกก้ อยู่ทน่ี ้นั ” พร้อมท้ังหันหน้ามองมา
ทีท่ า่ นพักอยเู่ หมอื นจะบอกกนั ว่า “นนั่ นงั่ อยูน่ ั้นเห็น ไหม” ท�ำนองนี้ แตเ่ ปน็ ภาษาของสตั วจ์ ึงเปน็
เรื่องลึกลับส�ำหรับมนุษย์ธรรมดาจะตามรู้ แต่ท่านอาจารย์มั่นท่านรู้ทุกค�ำที่มันพูดกัน เมื่อมัน
 ให้สญั ญากนั วา่ อยูท่ นี่ ้นั แลว้ มันก็บอกกันวา่ “อย่าพากนั  ไปเรว็ นกั จงพากันค่อย ๆ ไ ป และดูซวิ า่
เปน็ อะ ไรกันแน่” แลว้ ก็พากนั คอ่ ย ๆ ไ ป สว่ นหวั หนา้ ฝูงพอบอกพรรคพวกเสรจ็ แลว้ กร็ ีบ ไป แต่
คอ่ ยดอ้ ม ๆ มอง ๆ ไปจนถึงหนา้ ถ้�ำท่ที ่านนั่งอยู่ มอี าการท้ังกลัวทั้งอยากดแู ละอยากรวู้ า่ เปน็ อะ ไร
กันแน่ ท้ังเป็นหว่ งเพอ่ื นฝงู ทพ่ี ากนั ค่อยมารออยเู่ บื้องหลงั หวั หนา้ มนั  โดดขึน้ ลงอยู่บนก่งิ  ไม้ตาม
นิสัยลิงซ่ึงเป็นนิสัยหลุกหลิกดังที่เคยเห็นมาแล้วน่ันแล มันมาด้อม ๆ มองอยู่ระยะห่างจากท่าน
ประมาณ ๑๐ วา ท่านเองก็ ได้ ใช้ความสังเกตอยู่ภาย ในทุกระยะ ว่ามันจะมีความรู้สึกต่อท่าน
อย่าง ไรบา้ ง

นับแต่เร่ิมแรกที่มันมาหาท่านและวิ่งกลับ ไปจนมันวิ่งกลับมาอีกและดูท่านซ�้ำ ๆ ซาก ๆ
พอมนั แน่ ใจแลว้ วา่  ไม ่ใชอ่ ันตรายมนั ก็ว่ิงกลบั  ไปบอกเพือ่ นฝูงของมันวา่ “ โก้ก ไป ได้” “โก้ก ไมม่ ี
อันตราย” ทา่ นเลา่ ว่า ตอนมนั วิ่ง ไปบอกเพอื่ นฝูงของมนั น้นั นา่ ขบขนั และนา่ หวั เราะทง้ั น่าสงสาร
มนั มากเมอื่ เรารภู้ าษาของมนั แลว้ แตถ่ า้  ไมร่ คู้ ำ� ทมี่ นั พดู กนั กจ็ ะเหน็ วา่ เสยี งทม่ี นั เปลง่ ออกมาแตล่ ะคำ�
และแตล่ ะตัวน้นั เปน็ เสียงมันรอ้ งธรรมดา ไปเสยี หมด เชน่ เดยี วกับเรา ไดย้ ินเสียงนกเสยี งการอ้ ง
ฉะน้นั ความจริงเทา่ ที่ท่านต้งั  ใจสงั เกตก�ำหนดดูเสียงของลงิ ทีว่ ิง่ กลับ ไปบอกเพอื่ นฝูงของมนั จริง ๆ 
แล้ว มนั เปล่งเสยี งออกชดั ถอ้ ยชดั คำ� เหมอื นเสยี งคนเราพูดกันดี ๆ น่ีเอง

คือพอมันว่ิงกลับ ไปถึงพวกของมันแล้ว มันก็รีบพูดเป็นค�ำเตือนพวกของมัน ให้สน ใจ ใน
คำ� ของมันเพอ่ื ระวังตวั โดยเป็นเสยี งของลงิ พดู กนั วา่  โก้ก ๆ ดงั นี้ แตค่ วามหมายที่มนั เขา้  ใจกนั
จากค�ำวา่ “ โกก้  ๆ” นน้ั เป็น ใจความวา่ “เฮ้ยหยุดกอ่ น อยา่ ดว่ นพากัน ไป โกก้ มนั ยังมอี ะ ไรอยู่
ข้างหน้าน้ัน” พวกของมัน ได้ยินเสียงมันเตือนเช่นนั้นต่างตัวต่างเกิดความสงสัยจึงร้องถามมาว่า
“ โก้ก มีอะ ไรหรอื ” ตัวนั้นถามมาวา่ “ โกก้ อะ ไรกนั ” ตัวนร้ี ้องถามมาว่า “ โก้ก อะ ไรกัน”
ตวั หวั หน้าฝงู ก็ตอบว่า “ โกก้ เกก้ มันมอี ะ ไรอย่ทู นี่ ้นั น่ากลัวเป็นอนั ตราย” พวกของมันถามมาวา่
“ โกก้ อยู่ท่ ีไหน” หัวหนา้ ตอบว่า “ โก้ก นน้ั อยา่ ง ไรละ่ ” เสียงมนั ถามและตอบรบั กันสน่ันปา่  
ไปหมดเพราะมลี งิ จำ� นวนมากดว้ ยกนั

26

ตวั นน้ั “ โกก้ ” ถามมา ตวั นี้ “โกก้ ” ถามมาดว้ ยความตน่ื ตก ใจ ทงั้ ตวั เลก็ ตวั  ใหญว่ ง่ิ วนุ่
กนั  ไปมา ขณะทม่ี นั เกิดความสงสัย ไมแ่ น่ ใจกลวั จะเกิดอันตรายแก่ตัวและพวกของตัว จงึ ตา่ งตวั
ต่างเรียกร้องถามกันอยา่ งชลุ มนุ วุ่นวาย เชน่ เดียวกับมนุษย์เราร้องถามกนั ถงึ เหตกุ ารณ์ตา่ ง ๆ น่ีเอง
หัวหน้าตอ้ งช้ีแจงเร่อื งราว ให้ทราบและเตือนพวกของมนั ว่า “ โกก้ เก้ก ใหพ้ ากนั รออยทู่ ีน่ ่ีก่อน เรา
จะกลับ ไปดู ให้แน่นอนอีกคร้ัง” พอมันสั่งเสียแล้วก็รีบกลับ ไปดู ขณะท่ีมันว่ิง ไปดูท่านอาจารย์
ทีน่ งั่ อยู่ พอจวนถึงตัวทา่ นมนั ค่อยด้อมคอ่ ยมองวิง่ ข้ึนวงิ่ ลงอยูบ่ นกิง่  ไม้ ตาจับจ้องมองดอู ย่าง
พินิจพิเคราะห์ จนเป็นท่ีแน่ ใจว่า ไม่ ใช่ข้าศึกผู้จะคอยท�ำลายแล้วมันก็รีบว่ิงกลับมาบอกเพื่อนฝูง
ของมนั ว่า “ โกก้ เกก้ ไป ได้แล้ว ไมเ่ ป็นอันตราย โก้ก ไม่ตอ้ งกลวั ” พอทราบแล้วต่างตวั ตา่ งมาสู่
ท่ที ท่ี า่ นนั่งพักอยู่ และตา่ งตวั ตา่ งดทู ่าน ในลักษณะทา่ ทาง ไม่ค่อย ไว้ ใจนัก ต่างว่ิงข้ึนวง่ิ ลงแบบลิง
นนั่ เองเพราะความหวิ กระหายอยากดอู ยากรู้ และร้องถามกนั  โก้กเก้กลน่ั ป่า ไปเวลานนั้ ว่า นี่คือ
อะ ไรและมาอยู่ทำ�  ไมกนั เสยี งตอบรบั กันแบบต่าง ๆ ตามภาษาสตั ว์ ซึง่ ตา่ งตัวตา่ งสงสัยอยากรู้
เรอื่ งดว้ ยความกระวนกระวาย

ที่พูดซ�้ำน้ีเขียนตามค�ำท่ีท่านเน้นซ�้ำเพื่อผู้น่ังฟังด้วยความสน ใจจากท่าน ได้เข้า ใจชัดเจน
ท่านเล่าว่า ขณะท่ีเขาเกิดความสงสัย ไม่แน่ ใจ ในชีวิตของตัวและพรรคพวกนั้นรู้สึกว่าเป็นเสียงที่
แสดงออกดว้ ยความชลุ มนุ วนุ่ วายมากพอดู เพราะสตั วป์ ระเภทนเ้ี คยถกู มนษุ ยท์ ำ� ลายดว้ ยวธิ ตี า่ ง ๆ
มามากต่อมากตลอดชีวิตของมัน จึงเป็นสัตว์ท่ีมีความระแวงต่อมวลมนุษย์อยู่มากประจ�ำนิสัย
ขณะน้ันต่างตัวต่างมารุมดู ทั้งตัวเล็กตัว ใหญ่ ด้วยท่าทางระมัดระวังอย่างยิ่ง กระแสจิตที่
แสดงความหมายออกมาตามเสียงที่มนั ร้องถามและตอบรับกนั น้ัน เหมือนกับกระแส ใจของมนษุ ย์
ทส่ี ง่ ออกมาตามกระแสเสยี งทพ่ี ดู กนั นน่ั เอง ฉะนน้ั เขาจงึ รเู้ รอ่ื งของกนั  ไดด้ ที กุ ประ โยค เชน่ เดยี ว
กับมนุษย์เราพูดกันฉะน้ัน ในค�ำท่ีเขาแสดงออกแต่ละค�ำซ่ึงแสดงออกมาจากกระแสจิตที่มีความ
มุ่งหมาย ไปต่าง ๆ กันนั้น เป็นค�ำท่ี ให้ความหมายแก่ตัวรับฟังอย่างชัดเจน ไม่มีความบกพร่อง
พอจะ ให้เกิดความสงสยั แก่ฝ่ายหน่งึ ฝา่ ย ใด

ดงั นนั้ คำ� แสดงของลงิ แต่ละประ โยค เชน่ โก้ก เปน็ ตน้ ทม่ี นษุ ยธ์ รรมดาเราฟงั  ไม่รเู้ รอื่ ง
แตร่ ะหวา่ งเขาเองรเู้ รอื่ งกนั ดที กุ ประ โยคทแ่ี สดงออกเพราะเปน็ ภาษาของสตั วพ์ ดู ตอ่ กนั เชน่ เดยี วกบั
มนุษยเ์ ราชาติตา่ ง ๆ ตา่ งก็มภี าษาประจำ� ชาตขิ องตนฉะนัน้ สรุปความก็คอื ภาษาสตั วต์ ่าง ๆ ก็ม ีไว้
ส�ำหรบั ชาตขิ องตน ภาษามนษุ ยช์ าตติ า่ ง ๆ กม็  ีไวส้ ำ� หรับชาติของตน การจะฟงั ร้เู รื่องหรือ ไม่รู้
ระหว่างสัตวช์ นดิ ต่าง ๆ พูดกนั ระหวา่ งมนษุ ย์ชาตติ า่ ง ๆ พูดกัน ก็ยตุ ลิ งเอง ไมเ่ ปน็ อารมณข์ อ้ ง ใจ
ตอ่  ไป ปลอ่ ย ให้เปน็ สิทธิของแต่ละชาตจิ ะวนิ จิ ฉัยรับรขู้ องเขาเอง พอต่างตวั ต่างหายสงสัยแลว้

27

ต่างกม็ าเท่ียวหากนิ กัน ในบรเิ วณนัน้ ตามสบายหายความหวาดระแวง ไม่ระเวียงระวังวา่ จะมีอะ ไร
เกิดขนึ้ นับแตว่ ันน้นั เปน็ ต้น ไป เขาจะพากันมาเทีย่ วหากินตามบรเิ วณหนา้ ถำ�้ อยา่ งสบาย ไม่
สน ใจกบั ทา่ น ทา่ นเองกม็ ิ ไดส้ น ใจกับเขา ตา่ งคนตา่ งท�ำหน้าทข่ี องตน

ท่านว่า สัตว์ท่ีมาเที่ยวหากินอยู่บริเวณ ใกล้เคียงท่าน โดย ไม่ต้องระแวงและกลัวภัยนี้เขา
กเ็ ป็นสขุ ดเี หมอื นกนั โดยมากพระ ไปอยู่ที ่ไหน พวกสัตว์ชนิดต่าง ๆ ชอบ ไปอาศยั อย่ดู ว้ ย ไมว่ ่า
สัตว์เล็กสัตว์ ใหญ่ เพราะความรู้สึกมันคล้ายคลึงกันกับมนุษย์ เป็นแต่เขา ไม่มีอ�ำนาจและ ไม่มี
ความเฉลียวฉลาดรอบด้านเหมือนมนุษย์เท่านั้น มีความฉลาดเฉพาะการหาอยู่หากินและหาที่
ซอ่ นตวั เพ่อื ชีวิต ไปวนั หน่ึง ๆ เทา่ นน้ั

คืนวนั หนึง่ ทา่ นเกิดความสลดสงั เวช ใจอยา่ งมากจนน้�ำตารว่ งออกมาจริง ๆ คอื เวลานง่ั
สมาธิจติ รวมลงอยา่ งเตม็ ทีเ่ พราะการพิจารณากายเป็นเหตุ ปรากฏว่าจติ วา่ งและปล่อยวางอะ ไร ๆ
หมด โลกธาตุเป็นเหมือน ไม่มีอะ ไรเหลืออยูเ่ ลย ในความรสู้ ึกขณะน้ันหลงั จากสมาธแิ ลว้ พิจารณา
พระธรรมวินัยท่ีพระพุทธเจ้าทรงบัญญัติ ไว้เพื่อลบล้างหรือถอดถอนความผิดที่มีอยู่ ใน ใจของ
สตั ว์ โลก ซึง่ เปน็ ธรรมท่อี อกจากความฉลาดแหลมคมแหง่ พระปญั ญาของพระพทุ ธเจ้า พจิ ารณา 
ไปเท่า ไรก็ย่ิงเห็นความฉลาดและอัศจรรย์ของพระองค์และเห็นความ โง่เขลาเต่าปลาของตนยิ่งข้ึน
เพราะการขบฉนั ขับถา่ ยกต็ ้อง ไดร้ ับการอบรมส่ังสอนมากอ่ น การยนื เดิน น่ัง นอน กต็ ้อง ไดร้ บั
การอบรมส่ังสอนมากอ่ น การน่งุ ห่มซักฟอกก็ตอ้ ง ไดร้ บั การส่ังสอนมาก่อน ไมเ่ ชน่ น้นั กท็ �ำ ไม่ถกู
นอกจากทำ�  ไมถ่ กู แล้วยงั ท�ำผดิ อีกด้วย ซ่งึ ล้วนแต่เป็นเรื่องหาบบาปหาบกรรม ใส่ตวั การปฏบิ ัติ
ต่อร่างกายด้วยวิธีตา่ ง ๆ ก็ต้อง ไดร้ บั การอบรมสงั่ สอน การปฏิบตั ติ ่อจิต ใจก็ตอ้ ง ไดร้ ับการอบรม
สั่งสอน ถา้  ไม่ ไดร้ บั การอบรมสัง่ สอนมาเท่าท่ีควรก็ตอ้ งท�ำผดิ จรงิ  ๆ ดว้ ย โดย ไม่เลือกเพศวยั และ
ชาติช้ันวรรณะ ใด ๆ เลย เพราะสามัญมนุษย์เราเป็นเหมือนเด็กซึ่งต้อง ได้รับการดูแลและอบรม
สง่ั สอนจากผู ้ใหญอ่ ย่ทู กุ ขณะจึงจะปลอดภยั และเจริญเตบิ  โต ได้

คนเรา ใหญแ่ ตก่ าย ใหญ่แตช่ าติ ใหญ่แต่ชื่อ ใหญแ่ ตย่ ศ ใหญแ่ ตค่ วามส�ำคัญ
ตน แต่ความรู้ความฉลาดท่ีจะท�ำตน ใหร้ ่มเย็นเป็นสขุ ทั้งทางกายและทาง ใจ โดยถกู ทาง
ตลอดผ้อู นื่  ไดร้ ับความรม่ เยน็ เปน็ สขุ ด้วย นัน่  ไม่ค่อยเจริญเติบ โตด้วยและ ไมส่ น ใจบำ� รุง ให ้
ใหญ ่โตอีกด้วย จึงเกิดความเดือดร้อนกันอยู่ทุกหนทุกแห่ง  โดย ไม่เลือกเพศวัยและ
ชาติชั้นวรรณะอะ ไรเลย

เหลา่ นีแ้ ลทท่ี ำ�  ใหเ้ กิดความสลดสงั เวชตนอยา่ งยิ่ง ในคืนวนั น้นั

28

เรื่องของขรัวตา

ท่ีชายเขาทางขน้ึ  ไปถ้ำ� ท่ีท่านพระอาจารย์พักอยู่ มสี ำ� นักบ�ำเพญ็ วปิ สั สนาอยแู่ ห่งหนึ่ง เวลา
ทา่ นพักอยถู่ ้�ำนัน้ มขี รัวตาองคห์ นึ่งพกั อยูส่ �ำนกั บ�ำเพญ็ นั้น คนื วันหน่ึง ท่านพระอาจารย์คดิ ถึง
ขรวั ตาองค์นนั้ วา่ ท่านจะทำ� อะ ไรอยเู่ วลาน้ี กก็ ำ� หนดจติ ส่งกระแสลงมาดูขรวั ตา พอดเี ป็นเวลาท่ี
ขรวั ตาองคน์ นั้ กำ� ลงั คดิ วนุ่ วาย ไปกบั กจิ การบา้ นเรอื นครอบครวั ยงุ่  ไปหมด เรอื่ งทข่ี รวั ตาคดิ เกยี่ วกบั
อตีตารมณ์ พอตกดกึ ท่านส่งกระแสจิตลงมาหาขรัวตาองคน์ นั้ อกี ก็มาเจอเอาเร่อื งทำ� นองน้นั เข้าอีก
ทา่ นก็ย้อนจิตกลับ จวนสว่างสง่ กระแสจติ ลงมาอกี ก็มา โดนเอาแตเ่ รอ่ื งคดิ จะสัง่ เสยี ลูกคนนัน้
หลานคนนอ้ี ยรู่ ำ่�  ไป ทง้ั ๓ วาระที่ท่านสง่ กระแสจิตลงมา แตก่ ม็ าเจอเอาแตเ่ รอ่ื งขรัวตาคดิ จะ
สรา้ งบา้ นสรา้ งเรอื น สรา้ งภพสรา้ งชาติ สรา้ งวฏั ฏสงสาร ไมม่ สี นิ้ สดุ วถิ แี หง่ ความคดิ ปรงุ เอาเสยี เลย

ตอนเชา้ ทา่ นลงมาบณิ ฑบาต ขากลบั มาจึงแวะ ไปเยี่ยมขรวั ตาถงึ ทพี่ ัก แล้วพดู เปน็ เชิง
ปัญหาว่า เปน็ อยา่ ง ไรหลวงพ่อ ปลูกบา้ น ใหม่ แต่งงานกบั คู่ครอง ใหมแ่ ตเ่ ปน็ แม่อีหนคู นเก่า
เมอ่ื คืนน้ีตลอดคืน ไมย่ อมนอน เสรจ็ เรยี บรอ้ ย ไปด้วยดีแลว้ ม ิใช่หรือ คืนตอ่  ไปคงจะสบาย ไมต่ ้อง
วนุ่ วายจดั แจงส่ังลูกคนนนั้  ให้ท�ำสิง่ น้นั สัง่ หลานคนนี้ ให้ท�ำงานสงิ่ นีอ้ ีกกระมงั คนื นี้รสู้ ึกหลวงพอ่
มีงานมากและวุ่นวายพอดู แทบมิ ได้พักผ่อนนอนหลับมิ ใช่หรือ ขรัวตาถามท่านด้วยอาการ
เอียงอายและยิ้มแห้ง ๆ ว่า ทา่ นอาจารย์เป็นพระอศั จรรย์มาก ทา่ นรู้ด้วยหรือเมื่อคนื น้ี ทา่ น
อาจารย์แสดงอาการยิ้มรับแล้วตอบว่า ผมเข้า ใจว่าท่านจะรู้เรื่องของตัวดีย่ิงกว่าผมผู้ถามเป็น
 ไหน ๆ  แตท่ ำ�  ไมท่านจงึ กลบั มาถามผมอยา่ งนีอ้ กี ผมเขา้  ใจวา่ ความคดิ ปรุงของทา่ นเป็น ไปด้วย
เจตนาและพอ ใจ ในความคิดนั้น ๆ จนลืมหลับนอน ไปท้ังคืน แม้แต่รุ่งเช้าตลอดมาถึงปัจจุบันนี้
ผมก็เขา้  ใจว่าทา่ นจง ใจคิดเร่ืองเชน่ น้ันอย่อู ย่างเพลนิ  ใจจน ไม่มสี ติจะยบั ยั้ง และยังพยายามท�ำตัว 
ใหเ้ ปน็  ไปตามความคดิ นนั้  ๆ อยา่ งมนั่  ใจมิ ใช่หรอื

พอจบลงท่านมองดูหน้าขรัวตาเหมือนคนจะเป็นลม ทั้งอายทั้งกลัวพูดออกมาด้วยเสียง
สน่ั เครอื แทบ ไมเ่ ปน็ เสยี งคน และ ไมช่ ดั ถอ้ ยชดั คำ� ขาด ๆ วน่ิ  ๆ  เหมอื นจะเปน็ อะ ไร ไป ในเวลานนั้
จน ได้ พอเหน็ ท่า ไม่ ได้การขนื พดู เร่ืองนัน้ ตอ่  ไปเดีย๋ วขรัวตาจะเปน็ อะ ไร ไปกจ็ ะแย่ ท่านเลยหา
อบุ ายพดู  ไปเรื่องอืน่ พอ ใหเ้ ร่อื งจาง ไปแล้วก็ลาข้นึ ถ�้ำ

ตอ่ มา ได้ ๓ วัน โยมผูป้ ฏิบตั ขิ รัวตาองค์นน้ั กข็ ึน้  ไปท่ถี �ำ้ ท่านอาจารยจ์ งึ ถามถงึ ขรวั ตา
นนั้ วา่ สบายดหี รอื โยมบอกท่านว่าขรวั ตาองคน์ ั้นจาก ไปทอี่ นื่ เสียแลว้ ต้งั แต่เชา้ วานนี้ ผมถาม
ท่านว่าหลวงพอ่ จะ ไปท�ำ ไม อย่ทู น่ี ่ี ไมส่ บายหรอื ทา่ นบอกวา่ จะอย่ ูไป ได้อย่าง ไรกเ็ ช้าวานน้ที า่ น

29

พระอาจารย์มนั่ มาหาอาตมาทน่ี ี่ แลว้ เทศนอ์ าตมาเสยี ยกหน่ึงหนัก ๆ  อาตมาแทบเป็นลมสลบ ไป
ต่อหนา้ ทา่ นอยูแ่ ลว้ ถ้าทา่ นขืนเทศน์ ไปอีกสักประ โยคสองประ โยคอาตมาตอ้ งลม้ ตายตอ่ หน้าทา่ น
แน ่ ๆ แตพ่ อดที า่ นเลยหยดุ และพดู เรอื่ งอน่ื  ไปเสยี อาตมาจงึ พอมชี วี ติ และมลี มหาย ใจกลบั คนื มาได้
ไมต่ าย ไปเสยี  ในขณะน้นั แล้วจะ ให้อาตมาอยตู่ ่อ ไป ไดอ้ ยา่ ง ไร อาตมาขอ ไปวันน้ี

ผมถามท่านว่า ทา่ นพระอาจารยม์ ัน่ เทศนด์ ุด่าท่านหรือถึงจะอยตู่ อ่  ไป ไม ่ได้ และจะตาย
ตอ่ หนา้ ท่าน ทา่ นม ิได้ดดุ า่ อาตมา แต่ปัญหาธรรมของทา่ นน้นั มันหนักย่งิ กวา่ ทา่ นดดุ า่ เฆย่ี นตีเปน็
ไหน ๆ ขรวั ตาตอบ ท่านถามปัญหาหลวงพ่ออยา่ งนนั้ หรือ ผมถามท่านอย่างนน้ั ท่านตอบ
ปัญหาน้ันมีว่าอย่าง ไรผมอยากทราบด้วยพอเป็นคตบิ ้าง ผมถามทา่ น ท่านพูดวา่ ขออยา่  ให้อาตมา
เลา่  ให ้โยมฟังเลย อาตมาอายจะตายอยูแ่ ล้ว จะมดุ ดนิ ลง ไปเด๋ยี วนี้แลถา้ ขืนบอก ใคร ให้ทราบด้วย
อาตมาจะพดู  ให้ โยมฟงั เพียงเปรย ๆ นะ ก็เราคดิ อะ ไร ๆ ท่านรู้เสียจนหมดสิน้ จะ ไมห่ นักกวา่ ท่าน
ดดุ ่าอย่าง ไรละ่ ธรรมดาปถุ ชุ นก็ยอ่ มมีคดิ ดีบา้ งชว่ั บ้างเปน็ ธรรมดา จะห้าม ไม ่ให้คิด ได้อยา่ ง ไร
ทีน้พี อเราคดิ อะ ไรขึน้ มา ทา่ นกร็ เู้ สียหมด อยา่ งนีจ้ ะอย ู่ได้อย่าง ไร หนี ไปตายทอี่ ืน่ ดกี วา่ อย่าอย ู่
ใหท้ ่านพลอยหนกั  ใจด้วยเลย คนอยา่ งเรา ไม่ควรอยทู่ ี่นีต่ ่อ ไป อาย โลกเขาเปล่า ๆ คนื นอี้ าตมา
นอน ไม ่ไดเ้ ลย คิดแต่เรอ่ื งนีอ้ ยา่ งเดียว

ผมแยง้ ทา่ นวา่ ก็ทา่ นจะมาหนกั  ใจดว้ ยเราท�ำ ไมเพราะท่านม ิใช่ผ้ผู ดิ เราผ้ผู ิดตา่ งหากจะ
ควรหนัก ใจและควรแก้ความผดิ ของตน ให้ส้นิ เรอ่ื ง ไป ท่านอาจารยย์ ังจะอนุ โมทนาด้วยอีก นมิ นต์
ท่านอยูท่ น่ี  ี่ไปกอ่ น เผอ่ื คดิ อะ ไรผิด ๆ ถูก ๆ  ขน้ึ มาท่านอาจารยจ์ ะ ไดช้ ่วยเตือน เราก็จะ ได้สติ
แก้ ไข ยังจะดีกว่าหนี ไปอยู่ที่อ่ืนเป็น ไหน ๆ ความเห็นของผมว่าอย่างนี้ หลวงพ่อจะว่าอย่าง ไร
ไม่ ได้ ความคิดว่าจะ ได้สติและจะแก้ ไขตัวกับความกลัวท่านนั้นมันมีน้ำ� หนกั กว่ากนั คนละ โลก
เหมอื นชา้ งกบั แมวเอาทีเดียว แลว้ เราจะพอมีสติสตงั มาแกอ้ ย่อู ย่าง ไร ได้ พอคิดวา่ ทา่ นจะรูเ้ รอื่ ง
เราเทา่ นัน้ ตัวมันสัน่ ข้ึนมาแล้ว อาตมาขอ ไปวนั น้ี ถ้าขนื อยู่ทีน่ ี่ต่อ ไปอาตมาตอ้ งตายแน่ ๆ โยมเชอ่ื
อาตมาเถอะ อย่า ให้อยเู่ ลย ท่านวา่ อยา่ งนี้

ไมท่ ราบวา่ ผมจะหา้ มท่าน ไดอ้ ย่าง ไรคดิ แลว้ ก็น่าสงสาร เวลาท่านพูด ให้ผมฟงั ก็ท้งั พดู
ทัง้ กลวั หนา้ ซีดเซยี ว ไปหมด เลยตอ้ งปลอ่ ย ให้ท่าน ไป กอ่ นจะ ไปผมถามท่านวา่ หลวงพ่อจะ
 ไปอยทู่  ่ีไหน ทา่ นตอบวา่ เอาแนน่ อน ไม ่ได้ ถา้  ไมต่ ายเราคงเหน็ หนา้ กนั อกี แลว้ ก ็ไปเลย ผม ใหเ้ ดก็
ตามสง่ ทา่ น เวลาเดก็ กลบั มาแลว้ ถามเขา เขาบอกวา่  ไมท่ ราบ เพราะทา่ น ไมบ่ อกทที่ ท่ี า่ นจะพกั อยู่
สุดทา้ ยกเ็ ลย ไม่ ไดเ้ รอ่ื งราวจนปา่ นนี้ นา่ สงสาร ทั้งทา่ นก็แก่แลว้ ไมน่ า่ จะเปน็ เอาขนาดน้นั

30

ฝ่ายท่านอาจารยเ์ กดิ ความสลด ใจ ทท่ี �ำคณุ  ได ้โทษ โปรดสัตว ์ไดบ้ าป เราคิดแลว้ แตแ่ รก
ที่เห็นอาการ ไมด่ เี วลาถามปญั หา จากวันน้ันมาแลว้ กม็ ิ ได้สน ใจคดิ และส่งกระแสจิต ไปถึงขรวั ตาอกี
เพราะกลัวจะ ไปเจอเอาเรือ่ งทีเ่ คยเจอ แลว้ กม็ าเป็นดังทค่ี ดิ จน ได้ ทา่ นคิด ใน ใจขณะทที่ ราบเรื่อง
จาก โยมเล่า ให้ฟัง และ ได้พดู กับ โยมบ้างเล็กนอ้ ยเกยี่ วกบั ปัญหาทเี่ ขาเล่า ใหท้ า่ นฟงั ว่าอาตมาก็
พูด ไปธรรมดา ในฐานะค้นุ เคยกัน ทเี ล่นทีจรงิ บ้างอย่างนนั้ เอง ไมค่ ิดวา่ จะเป็นเร่ือง ใหญ ่โตถึงกับ
พา ใหข้ รัวตาต้องร้างวัดรา้ งวาหน ีไปเชน่ น้ัน

เรื่องของขรัวตาเป็นเรื่องส�ำคัญต่อท่านอาจารย์ ไม่น้อยตลอดมา ในการท่ีจะปฏิบัติ
ต่อบรรดาผู้ที่มาเก่ียวข้องท้ัง ใกล้และ ไกล เกรงว่าเร่ืองจะซ�้ำรอยเข้าอีกหาก ไม่สน ใจคิด ไว้ก่อน
จากนัน้ มาแลว้ ทา่ นว่าท่าน ไม่เคยทัก ใครเกย่ี วกบั ความคิดนกึ ดี – ช่วั เพียงพูดเปน็ อบุ าย ไปเท่านนั้
เพ่ือผู้นั้นระลึกรู้ตัวเอาเอง โดยมิ ให้กระเทือน ใจ เพราะ ใจคนเราย่อมเป็นเหมือนเด็กอ่อนที่เพิ่ง
ฝึกหัดเดินกะเปะกะปะ ไปตามเร่ือง ผู้ ใหญ่เป็นเพียงคอยดูแลสอดส่องเพ่ือมิ ให้เด็กเป็นอันตราย
เท่านน้ั ไมจ่ �ำตอ้ ง ไปกระวนกระวายกบั เดก็  ให้มาก ไป ใจของสามัญชนกเ็ ช่นกันปล่อย ให้คดิ  ไป
ตามเร่อื ง ถกู บ้างผดิ บา้ ง ดีบา้ งชัว่ บ้าง เปน็ ธรรมดา จะ ใหถ้ กู ตอ้ งดีงามอยู่ตลอดเวลาย่อมเป็น ไป 
ไม่ ได้

ทา่ นวา่ ทา่ นพกั อยทู่ ถี่ ำ้� นนั้  ไดค้ วามรแู้ ละอบุ ายแปลก ๆ ตา่ ง ๆ มากมาย ทงั้ เปน็ เรอื่ งภาย ใน
โดยเฉพาะ ท้ังเกี่ยวกับเร่ืองภายนอก ไม่มีประมาณ ท่านเกิดความอาจหาญร่าเริง ในข้อปฏิบัติ
จนลมื เวล่ำ� เวลา ไม่คอ่ ย ได้สน ใจกับวันคืนเดอื นปอี ะ ไรนัก ความรู้ภาย ใน ใจเกดิ ขนึ้ ทกุ ระยะเหมือน
น�ำ้  ไหลริน ในฤดูฝน บางวนั ตอนบา่ ยอากาศ โปร่ง ๆ ท่านก็เดินเทีย่ วชมป่าชมเขาภาวนา ไปเรื่อย ๆ
ท�ำ ให้เพลิน ใจ ไปตามทัศนียภาพท่ีมีอยู่เป็นอยู่ตามธรรมชาติของมัน เย็น ๆ หน่อยค่อยลงมาถ้�ำ
ท่ที ่ีท่านพักอยู่สตั วป์ า่ ชนดิ ตา่ ง ๆ มมี าก พืชผลอนั เปน็ อาหารธรรมชาติก็มมี าก จำ� พวกสตั วป์ ่าที่
อาศัยผล ไม้เป็นอาหาร เชน่ ลิงค่างบ่างชะนีก็รสู้ ึกวา่ เขาเพลดิ เพลนิ  ไปตามภาษาของเขา เวลาเขา
มองเห็นเราก ็ไม่แสดงอาการกลัวตา่ งตัวต่างหากนิ  ไปตามภาษา

ท่านว่าท่านก็เพลิน ไปกับเขาด้วยความเมตตาสงสารว่าเขาก็เป็นเพ่ือนเกิดแก่เจ็บตาย
เช่นเดียวกันกับเรา ไม่มีอะ ไรยิ่งหย่อน ไปกว่ากัน แม้วาสนาบารมีของสัตว์กับมนุษย์ต่างก็มี
เช่นเดยี วกัน ส่วนความย่ิงหย่อนแหง่ วาสนาบารมีนนั้ ย่อมมี ได้ทัง้ คนและสตั ว์ นอกจากนัน้ สัตว์
บางตวั ท่มี ีวาสนาบารมีแก่กล้าและอัธยาศยั ดีกว่ามนษุ ยบ์ างรายยงั มอี ยมู่ าก แตเ่ วลาเขาตกอยู ่ใน
ภาวะความเป็นสัตว์กจ็ ำ� ต้องทนรับเสวย ไป เชน่ เดียวกับมนุษย์เรา แม ้ไดม้ าเกดิ เป็นมนษุ ย์ซ่ึงจัด

31

วา่ เป็นชาตทิ ี่สงู สง่ กว่าสัตว์ แต่ขณะท่ตี กอยู่ ในความทุกขจ์ นข้นแคน้ กจ็ ำ� ต้องทนเอา จนกว่าจะ
สิ้นกรรมหรือสิ้นวาระของมนั แล้วมสี ว่ นดเี ขา้ มาแทนที่ ให้รบั เสวยผลสืบตอ่  ไปตามวาระดังท่เี ห็น ๆ
กนั อยู่ เพราะฉะนั้น ท่านจงึ สอน ไม ่ให้ดูถูกเหยยี ดหยามชาตกิ ำ� เนิดความเป็นอยู่ของกันและกนั
และสอนวา่ สัตวท์ ้งั หลายมกี รรมด ี – ชัว่ เปน็ ของของตน

พอตกเยน็ ท่านก็ทำ� ข้อวัตรปดั กวาดหน้าถำ้� บริเวณท่ีอยู่อาศัย เสร็จแล้วก็เร่ิมทำ� ความเพียร
โดยวิธีเดนิ จงกรมบา้ ง นัง่ สมาธิบา้ ง จิตท่านมีความเจริญกา้ วหน้าทงั้ ทางสมาธิความสงบ ใจ ท้งั
ทางปญั ญา พิจารณาแยกส่วนแบง่ ส่วนแห่งธาตขุ ันธล์ ง ใน ไตรลักษณญาณปรากฏเป็นความม่ัน ใจ
ข้นึ เป็นลำ� ดับ

พระสาวกอรหันต์มาแสดงธรรม ให้ฟัง

บางคืนปรากฏมีพระสาวกอรหันต์มาแสดงธรรม ให้ท่านฟังตามทางอริยประเพณี โดย
ปรากฏทางสมาธนิ มิ ิต เปน็  ใจความว่าวิธเี ดินจงกรมต้อง ใหอ้ ยู่ ในท่าส�ำรวมทงั้ กายและ ใจ ตั้งจิต
และสต ิไวท้ จี่ ดุ หมายของงานทต่ี นกำ� ลงั ทำ� อยู่ คอื กำ� ลงั กำ� หนดธรรมบท ใดอยู่ พจิ ารณาขนั ธ ์ใดอยู่
อาการแห่งกาย ใดอยู่ พงึ มสี ติอยกู่ บั ธรรมหรืออาการนั้น ๆ ไมพ่ งึ ส่ง ใจและสติ ไปอื่น อันเป็น
ลักษณะของคน ไมม่ ีหลกั ยดึ ไมม่ คี วามแน่นอน ในตัวเอง การเคลื่อน ไหว ไปมา ในทิศทาง ใดควรมี
ความรสู้ กึ ด้วยสตพิ าเคล่ือน ไหว ไม่พึงทำ� เหมือนคนนอนหลบั  ไม่มีสตติ ามรักษาความกระดกุ กระดกิ
ของกาย และความละเมอเพอ้ ฝนั ของ ใจ ในเวลาหลบั ของตน การบณิ ฑบาต การขบฉนั การขบั ถา่ ย
ควรถอื อรยิ ประเพณเี ปน็ กจิ วตั รประจ�ำตัว ไมค่ วรท�ำเหมอื นคนผ ู้ไมเ่ คยอบรมศีลธรรมมาเลย พงึ ทำ�
เหมือนสมณะคือเพศของนักบวชอันเปน็ เพศท่ีสงบเยอื กเย็น มีสตปิ ญั ญาเครอื่ งกำ� จัด โทษที่ฝังลึก
อย่ภู าย ใน อยู่ทกุ อริ ิยาบถ การขบฉันพึงพิจารณาอาหารทุกประเภทด้วยดี อยา่ ปลอ่ ย ให้อาหาร
ที่มีรสเอรด็ อร่อยตามชวิ หาประสาทนิยมกลายมาเป็นยาพิษแผดเผา ใจ แมร้ ่างกายจะมกี �ำลงั เพราะ
อาหารที่ขาดการพิจารณาเข้า ไปหลอ่ เลยี้ ง แต ่ใจจะอาภพั เพราะรสอาหารเขา้  ไปทำ� ลาย จะกลาย
เปน็ การทำ� ลายตนด้วยการบำ� รุง คือทำ� ลาย ใจเพราะการบำ� รุงร่างกายดว้ ยอาหาร โดยความ ไมม่ สี ติ

สมณะ ไปที่ ใด อยทู่ ่ ีใด ไม่พงึ กอ่ ความเป็นภยั แก่ตัวเองและผ้อู ่นื คือ ไมส่ ง่ั สม
กเิ ลสส่งิ น่ากลัวแก่ตัวเองและระบาดสาดกระจาย ไปเผาลนผู้อ่ืน คำ� วา่ กเิ ลส อริยธรรมถอื
เป็นสง่ิ นา่ กลัวอย่างยิ่ง พึง ใช้ความระมดั ระวงั ดว้ ยความจง ใจ ไมป่ ระมาทตอ่ กระแสของ
กิเลสทกุ กระแส ๆ เพราะเปน็ เหมือนกระแส ไฟที่จะสังหารหรอื ท�ำลาย ได้ทกุ  ๆ กระแส ไป
การยนื เดนิ นง่ั นอน การขบฉนั การขบั ถา่ ย การพดู จาปราศรยั กบั ผมู้ าเกย่ี วขอ้ งทกุ  ๆ ราย

32

และทุก ๆ คร้งั ด้วยความส�ำรวม นีแ่ ลคืออรยิ ธรรม เพราะพระอริยบคุ คลทุกประเภท
ทา่ นดำ� เนนิ อยา่ งนก้ี นั ทง้ั นน้ั ความ ไมม่ สี ติ ไมม่ กี ารสำ� รวมเปน็ ทางของกเิ ลสและบาปธรรม
เปน็ ทางของวฏั ฏะลว้ น ๆ ผจู้ ะออกจากวฏั ฏะจงึ  ไมค่ วรสน ใจกบั ทางอนั ลามกตกเหวเชน่ นนั้
เพราะจะพา ให้เป็นสมณะทเี่ ลว ไม่เปน็ ผู้อัน ใคร ๆ พึงปรารถนา อาหารเลว ไม่มี ใครอยาก
รบั ประทาน สถานทบี่ า้ นเรอื นเลว ไมม่  ีใครอยากอยอู่ าศยั เครอื่ งนงุ่ หม่  ใชส้ อยเลวไมม่  ีใคร
อยากน่งุ ห่ม ใชส้ อยและเหลอื บมอง ทกุ สิ่งท่ี ‘เลว’ ไม่มี ใครสน ใจ เพราะความรงั เกยี จ
 โดยประการทง้ั ปวง คนเลวใจเลวยง่ิ เปน็ บอ่ แหง่ ความรงั เกยี จของ โลกผดู้ ที ง้ั หลาย ยงิ่ สมณะ
คือนักบวชเราเลวด้วยแล้วกย็ งิ่ เป็นจุดท่ิมแทงจิต ใจของทั้งคนดีคนชั่ว สมณะชพี ราหมณ์
เทวบตุ รเทวดา อนิ ทร์ พรหม ไมเ่ ลอื กหนา้ จงึ ควรสำ� รวมระวงั นกั หนา
การบำ� รงุ รักษาส่ิง ใด ๆ ใ น โลก การบำ� รงุ รกั ษาตนคอื  ใจเป็นเย่ียม จดุ ที่เยี่ยมยอด
ของ โลกคอื  ใจ ควรบำ� รงุ รกั ษาดว้ ยดี ได ้ใจแลว้ คือ ไดธ้ รรม เห็น ใจตนแล้วคอื เหน็ ธรรม
ร ู้ใจแลว้ คอื รธู้ รรมทง้ั มวล ถึง ใจตนแล้วคือถึงพระนิพพาน ใจนแี่ ลคอื สมบัติอนั ลน้ คา่
จงึ  ไม่ควรอยา่ งย่ิงที่จะมองขา้ ม ไป คนพลาด ใจคือ ไม่สน ใจปฏบิ ัตติ อ่  ใจดวงวิเศษ ในร่างน้ี
แม้จะเกิดสักร้อยชาติพันชาติก็คือผู้เกิดผิดพลาดอยู่นั่นเอง เมื่อทราบแล้วว่า ใจเป็น
ส่ิงประเสริฐ ในตัวเราจึง ไม่ควร ให้พลาดท้ังรู้ ๆ จะเสีย ใจภายหลัง ความเสีย ใจท�ำนองน้ี
 ไมค่ วร ให้เกดิ  ได้เมอ่ื ทราบอยู่อยา่ งเต็ม ใจ มนุษยเ์ ป็นชาตทิ ฉ่ี ลาด ใน โลก แตอ่ ย่า ให้เราท่ี
เป็นมนุษยท์ ัง้ คน โงเ่ ต็มตวั จะเลวเตม็ ทนและหาความสขุ  ไมเ่ จอ กจิ การทั้งภาย ในภายนอก
ของสมณะเป็นกจิ หรอื เปน็ งานตวั อย่างของ โลก ได้อย่างมน่ั  ใจ เพราะเปน็ กจิ ท่ีขาวสะอาด
ปราศจากมลทิน โทษท้ังกิรยิ าทที่ �ำและงานท่ปี ระกอบ จดั วา่ ชอบด้วยอรรถด้วยธรรม จึง
ควรบ�ำรงุ ส่งเสรมิ สมณกิจของตน ให้มคี วามเจรญิ รงุ่ เรอื งยิง่  ๆ ขึ้น ไป จะเป็นผเู้ จริญรงุ่ เรอื ง 
ในที่ทุกสถานตลอดกาลทุกเม่อื สมณะผูร้ ัก ในศลี รัก ในสมาธิ รกั สติ รกั ปัญญา รัก
ความเพียร จะเป็นสมณะอยา่ งเต็มภมู ิทั้งปัจจุบันและอนาคตอัน ใกลน้ ้ี ธรรมทแ่ี สดงน้คี ือ
ธรรมของท่านผูม้ ีความเพยี ร ของท่านผู้อดผทู้ น ของท่านผ้เู ปน็ นักต่อสเู้ พ่อื เอาตวั รอด
เป็นยอดคน ของผพู้ ้นจากทุกข์ โดยสิน้ เชงิ ปราศจากสงิ่ กดขี่บงั คบั ของทา่ นผู้เป็นอสิ ระ
อย่างเต็มภูมิคือพระพุทธเจ้าผู้เป็นศาสดาของ โลกทั้งสาม ถ้าท่านเห็นว่าธรรมทั้งน้ีเป็น
ธรรมส�ำคัญส�ำหรบั ทา่ น ทา่ นจะเปน็ ผ ู้ไมม่ ีกเิ ลส ใน ไมช่ า้ น้ี จึงขอฝากธรรม ไว้กบั ทา่ น
น�ำไปพิจารณาด้วยดี ทา่ นจะกลายเป็นคนที่แปลกขึ้นมา ใน ใจซ่ึงเปน็ ของแปลกอยูแ่ ล้ว
ตามหลักธรรมชาตดิ งั นี้

33

เมอื่ พระสาวกอรหนั ตม์ าแสดงธรรม ใหท้ า่ นฟงั จาก ไปแลว้ ทา่ นกน็ อ้ มเอาธรรมนน้ั มาพจิ ารณา 
ใครค่ รวญอกี ตอ่ หนง่ึ โดยแยกแยะออกเปน็ แขนง ๆ ไ ตร่ตรองดูด้วยความละเอยี ด ทกุ  ๆ คร้ังที่
พระสาวกอรหันตแ์ ตล่ ะองคม์ าแสดงธรรมส่ังสอน ท่าน ได้อุบายต่าง ๆ จากการสดับธรรมของพระ
อรหนั ตท์ งั้ หลายทม่ี าอบรมสง่ั สอนแตล่ ะครงั้ แตล่ ะองค์ ชว่ ยสง่ เสรมิ กำ� ลงั  ใจกำ� ลงั สตปิ ญั ญาตลอดมา

ทา่ นเลา่ วา่ ขณะทฟี่ งั ธรรมพระอรหนั ตท์ า่ นแสดงธรรม ใหฟ้ งั ประหนง่ึ  ไดฟ้ งั ธรรม ในทเ่ี ฉพาะ
พระพักตร์ของพระพุทธเจ้าแม้ ไม่เคยเห็นพระองค์มาก่อน ใจรู้สึกอิ่มเอิบและเพลิดเพลิน ไปตาม
เหมอื น โลกและธาตุขนั ธ์ ไม่มกี าลเวลามาบีบบงั คับเลย ปรากฏว่ามีแต่จิตล้วน ๆ ทส่ี วา่ ง ไสว ไปดว้ ย
อรรถดว้ ยธรรมเท่านน้ั พอจิตถอนออกมาจึงทราบว่าตนมภี เู ขาอนั แสนหนกั ท้งั ลกู คอื รา่ งกาย
อนั เปน็ ทร่ี วมแห่งขันธ์ ซึ่งแต่ละขันธล์ ว้ นเปน็ กองทกุ ขอ์ ันแสนทรมาน ท่านพกั อย่ทู ่ถี ้�ำนน้ั มีพระ
อรหนั ตห์ ลายองค์มาเย่ยี มและแสดงธรรม ใหฟ้ งั เสมอ ในวาระต่าง ๆ กัน ซึง่ ผดิ กบั ท่ีท้ังหลายอย่มู าก 
ในชีวิตที่ผ่านมา ธรรมเป็นท่ีแน่ ใจ ได้ปรากฏขึ้นแก่ท่าน ในถ�้ำนั้น ธรรมนั้นคือพระอนาคามีผล
ธรรมน ้ีในพระปริยตั ิท่านกล่าว ไวว้ า่ ละสัง โยชน์ ได้ ๕ คอื สักกายทิฏฐิ วจิ กิ ิจฉา สลี พั พตั ตปรามาส
กามราคะ ปฏิฆะ ท่านผบู้ รรลธุ รรมขั้นนี้เป็นผแู้ น่นอน ในการ ไมก่ ลับมาอุบตั ิเกิดเปน็ มนุษยแ์ ละ
สัตวท์ ่มี ีธาตสุ ่ี คอื ดนิ น�ำ้ ลม ไฟ เป็นเรอื นรา่ งอีกตอ่  ไป หากยงั  ไมเ่ ลอื่ นชนั้ ขน้ึ ถงึ พระอรหนั ตภมู  ิ
ในอตั ภาพนน้ั เวลาตายแลว้ ก็ ไปอบุ ัตเิ กดิ  ในพรหม โลก ๕ ช้ัน ชนั้ ใดชั้นหนงึ่ ตามภูมธิ รรมที่ผู้นั้น 
ได้บรรลุ ในพรหม โลก ๕ ช้ัน คือ อวหิ า อตปั ปา สทุ ัสสา สุทัสสี และอกนิฏฐา ซึง่ เป็นที่
สถิตอยูข่ องพระอนาคามบี คุ คล ตามลำ� ดบั แห่งภูมิธรรมทมี่ คี วามละเอยี ดตา่ งกนั

ท่านพระอาจารยม์ ่ันเล่าเปน็ การภาย ในวา่ ท่าน ได้บรรลอุ นาคามีธรรม ในถ้�ำน้ัน แตผ่ ูเ้ ขยี น
กเ็ ลยตัดสิน ใจนำ� มาลงเพื่อทา่ นผอู้ า่ น ไดต้ ชิ มบ้าง หากเปน็ ความผิดพลาดประการ ใดกข็ อ ได้ต�ำหนิ
ผ้เู ขียนว่าเปน็ ผู ้ไมร่ อบคอบเสยี เอง ท่านพักบ�ำเพญ็ สมณธรรมด้วยความสงบเย็น ใจอยทู่ ีน่ น้ั หลาย
เดือน

คืนวันหนึ่ง เกิดความเมตตาสงสารหมู่คณะข้ึนมาอย่างมากมายผิดสังเกตท่ีเคยเป็นมา
สาเหตุท่ีท�ำ ให้เป็นเช่นนั้นเนื่องมาจากท่านท�ำสมาธิภาวนาเกิดความอัศจรรย์หลายอย่างท่ี ไม่เคย
คาดฝันวา่ จะเปน็  ได้ ในชีวติ แตก่  ็ได้ปรากฏขนึ้ มาอยา่ งประจักษ ์ใจติด ๆ กนั ทุกคืน เฉพาะคืนที่
คดิ ถึงหมคู่ ณะนน้ั รูส้ กึ เปน็ คืนทแ่ี ปลกมาก คือจิตเป็นสมาธทิ ี่ละเอียดสุขุมมากเป็นพเิ ศษ ความรู้
ความเห็นทั้งภาย ในภายนอกเปน็ พเิ ศษ ความอศั จรรย์ปรากฏขึน้ กบั  ใจเปน็ พเิ ศษ ถึงกับน�ำ้ ตาร่วง 
ไหลออกมาด้วยความเหน็  โทษแห่งความ โง่ของตน ในอดีตทผ่ี า่ นมา ความเห็นคุณของความเพียร

34

ทต่ี ะเกียกตะกายมาจน ได้เห็นธรรมอัศจรรย์ข้ึนจ�ำเพาะหน้า ความเห็นคุณของพระพุทธเจ้าผู้มี
พระเมตตาประสทิ ธปิ์ ระสาทธรรม ไวพ้ อเหน็ รอ่ งรอย ไดด้ ำ� เนนิ ตาม และรคู้ วามสลบั ซบั ซอ้ นแหง่ กรรม
ของตนและของผู้อื่นตลอดสัตว์ทั้งหลายขึ้นมาอย่างประจักษ์ปราศจากความเคลือบแคลงสงสัย
ตรงตามธรรมบทว่า สัตวท์ ง้ั หลายมกี รรมเป็นก�ำเนิด มีกรรมเป็นของของตน เปน็ ตน้ อันเป็น
บทธรรมที่รวมความสำ� คัญของศาสนา ไวแ้ ทบทัง้ มวล ทา่ นเตือนตนว่าแม้จะประสบความอศั จรรย์
หลายอยา่ งขน้ึ มาอยา่ งภาคภมู  ิใจกต็ าม แตก่ ท็ ราบวา่ ทางเดนิ เพอ่ื ความพน้ ทกุ ขข์ องทา่ นยงั  ไมส่ น้ิ สดุ
เพยี งเทา่ นี้ ยงั จะต้องทมุ่ เทกำ� ลงั สตปิ ัญญาและความพากเพียรทุกด้านลงอยา่ งเตม็ ก�ำลงั อีกต่อ ไป

ส่ิงที่ท�ำ ให้ท่านเย็น ใจและอยู่ด้วยความผาสุกทั้งทางกายและทาง ใจ นั้นคือ โรคเรื้อรัง 
ในท้องที่เคยรบกวนและตัดรอนเสมอมา ได้หาย ไป โดยส้ินเชิง จิต ใจ ได้หลักยึดอย่างม่ันคงแม้ยัง 
ไม่สิ้นกิเลส แต่ก็มิ ได้สงสัยปฏิปทาเคร่ืองด�ำเนินของตน ปฏิปทาภาย ในเป็น ไปอย่างสม่�ำเสมอ 
ไม่ลุ่ม ๆ ดอน ๆ เหมือนแต่ก่อน มีความแน่ ใจว่าจะ ไม่ลุ่มหลงสงสัยทางด�ำเนินเพ่ือธรรมข้ันสูงสุด
แบบลูบ ๆ คล�ำ ๆ ดงั ท่ีเคยเป็นมา และมัน่  ใจวา่ ตนจะบรรลถุ ึงธรรมแดนพ้นทุกข์ ในวันหนง่ึ แนน่ อน
สติปัญญาก็ด�ำเนิน ไปอย่างสม�่ำเสมอ ไม่ถูกบังคับเค่ียวเข็ญ วัน – คืนหน่ึง ๆ เกิดความรู้ความเห็น
ต่าง ๆ ทัง้ ท่เี กี่ยวแก่สงิ่ ภาย ในและเก่ยี วแก่สิ่งภายนอก ไมม่ ีประมาณ ท�ำ ให้จติ  ใจรน่ื เรงิ  ในธรรม
และเกิดความสงสารหมู่คณะท่ีเคยอยู่ด้วยกันมามากขึ้น อยาก ให้ ได้รู้ ได้เห็นอย่างท่ีตนรู้เห็นบ้าง
ความคิดสงสารนี้เลยกลายเป็นสาเหตุ ให้ท่านจ�ำต้องจากถ�้ำอันเป็นอุดมมงคลนี้ ไปหาหมู่คณะ
ทางภาคอีสานอกี ท้งั  ๆ ที่อาลยั อาวรณ์ ไม่อยาก ไป

กอ่ นที่ท่านจะจากถำ้� น ี้ไปราว ๒ – ๓ วัน กป็ รากฏว่ามีพวกรุกขเทพ โดยมเี ทพลึกลับองค์ท่ี
เคยมาหาท่านเปน็ หวั หน้าพามาเย่ยี มฟงั ธรรมเทศนาท่าน เมือ่ ทา่ น ให ้โอวาทแก่เทวดาจบลง และ
บอกความประสงค์ที่จะต้องจากถ้�ำและคณะเทพทั้งหลาย ไปสู่ถิ่นอ่ืนด้วยความจ�ำเป็น บรรดา
เทวดาที่มารวมกันอยูจ่ ำ� นวนมาก ไมย่ อม ให้ท่านจาก ไป และพรอ้ มกันอาราธนานิมนต์ท่าน ไวเ้ พื่อ
ความร่มเย็นและเป็นสิริมงคลแก่ชาวเทพตลอดกาลนาน ท่านก็บอกว่าท่ีมาอยู่ท่ีนี่ก็มาด้วยความ
จำ� เป็น แมก้ ารจะจาก ไปส่ทู ่อี ่นื ก็ ไปด้วยความจ�ำเปน็ เชน่ เดยี วกนั มิ ได้มาและ ไปดว้ ยความอยาก
พา ใหเ้ ปน็  ไป จงึ ขอความเห็น ใจจากทา่ นทง้ั หลายอย่า ไดเ้ สีย ใจ ถ้าม ีโอกาสวาสนาอำ� นวยยงั จะ
 ไดม้ าท่ีน่ีอกี ชาวเทพพากนั แสดงความเสีย ใจและเสียดายทา่ นด้วยความเคารพรักจรงิ  ๆ ไม่อยาก 
ให้ท่านจาก ไป

35

จวนจะถึงวนั ลงจากถำ้� ตอนกลางคืนราว ๔.๐๐ นาฬิกา คือ ๑๐ ทุ่ม ทา่ นคิดถึงทา่ น
เจา้ คณุ อบุ าลีคณุ ปู มาจารย์ วัดบรมนวิ าส ว่าเวลานีท้ ่านจะพิจารณาอะ ไรอยู่ จึงก�ำหนดจิตส่ง
กระแสลงมาดทู ่านเจ้าคณุ อุบาลี ฯ ก็ทราบวา่ เวลานัน้ ทา่ นก�ำลังพจิ ารณาปัจจยาการ คอื อวชิ ชา
อยู่ ทา่ นอาจารยท์ ราบแล้วกจ็ ดจำ� วัน ไว้ เวลาลงมากรงุ เทพ ฯ  ได ้โอกาสก็เรียนถามท่านตามทต่ี น
ทราบมาแล้ว ท่านเจ้าคุณอุบาลี ฯ  พอ ได้ทราบเท่าน้ันเลยต้องสารภาพและหัวเราะกันพัก ใหญ่
พรอ้ มทัง้ ชมเชยวา่ “ทา่ นมนั่ นเี้ กง่ จริง เราเองเปน็ ขนาดอาจารย์แต ่ไม่เป็นท่า น่าอายท่านม่ัน
เหลอื เกิน ทา่ นมน่ั เกง่ จริง” แลว้ กก็ ลา่ วชมเชยว่า “มนั ต้องอย่างนซี้ ิลกู ศษิ ยพ์ ระตถาคต ถึง
จะเรียกว่าเดินตามครู พวกเราอย่าทำ� ตัวเป็น โมฆะจากธรรมของพระพุทธเจา้ เสยี หมด ตอ้ งมี
ผทู้ รงธรรมทา่ น ไวบ้ ้าง สมกับธรรมเปน็ อกาลิ โก ไม่ปล่อย ใหก้ าลสถานทีแ่ ละความเกยี จคร้าน
เอา ไปกนิ เสยี หมด ธรรมจะ ไม่ปรากฏแก ่โลกท้ังทีพ่ ระพทุ ธเจ้าประกาศสอนแกห่ ม่ชู น ต้องท�ำ
อย่างท่านมน่ั ท ี่ไดค้ วามรตู้ ่าง ๆ มาเลา่ ส่ฟู ังอย่างน้ี จงึ เปน็ ทน่ี า่ ชมเชย”

ทา่ นเลา่  ใหฟ้ งั วา่ ทา่ นเจา้ คณุ อบุ าล ี ฯ เลอื่ ม ใสและชมเชยทา่ นมาก บางครงั้ เวลามเี รอื่ งราว
ต่าง ๆ ท่ีท่าน ไม่แน่ ใจว่าจะควรพิจารณาและตัดสิน ใจอย่าง ไรจึงจะถูกต้องเหมาะสม ท่านยัง ให้
พระมานมิ นตท์ า่ นพระอาจารย์มน่ั  ไปชว่ ยปรกึ ษา และมอบเรอ่ื งราว ใหท้ า่ น ไปพิจารณาชว่ ยก็ยงั มี
พอควรแก่เวลาแล้วท่านก็เดินทาง ไปภาคอีสาน ท่านว่าก่อนท่านจะข้ึน ไปบ�ำเพ็ญอยู่ท่ีถ�้ำสาริกา
เขา ใหญ่ จังหวดั นครนายก ท่านเทีย่ วจาริก ไปทางประเทศพม่าก่อน แล้วกลับมาผ่านจงั หวดั
เชียง ใหม่ ลง ไปทางหลวงพระบาง ประเทศลาว บำ� เพญ็ สมณธรรมอยู่แถบนั้นนานพอสมควร
แลว้  ไปจังหวดั เลย และจ�ำพรรษาทบ่ี า้ น โคกซ่ึงอยู ่ใกล้เคียงกบั ถ�ำ้ ผาป ู่ในเขตจงั หวดั เลย ๑ พรรษา
และ ไปจำ� พรรษาท่ีถำ�้ ผาบ้ิง ๑ พรรษา ในเขตจังหวัดเดยี วกัน ที่ทท่ี า่ นจำ� พรรษาเหลา่ นม้ี ีแต่ป่า
แต่เขาและเตม็  ไปด้วยสัตวช์ นิดต่าง ๆ เพราะหม่บู า้ นและผูค้ นมีน้อย ในสมยั นนั้ เดนิ ทาง ไปตั้งวนั
ก ็ไมเ่ จอหมบู่ ้าน ถา้ เกดิ  ไปหลงทางเขา้ ตอ้ งแย่ และนอนกลางป่าซึ่งเป็นทชี่ กุ ชมุ ของสตั วน์ านาชนดิ
มีเสอื เป็นต้น

ท่านเลา่ ว่า ทา่ นขา้ ม ไปเทยี่ วธุดงค์ฟากฝงั่ แมน่ ำ�้  โขงประเทศลาว และพักอยู่ ในป่า ใกล้ภูเขา
มีเสือ โคร่ง ใหญ่เคยมาหาท่านบ่อย ๆ บางทีมันก็มาดูท่านอยู่ห่าง ๆ  ในเวลากลางคืนซ่ึงก�ำลังเดิน
จงกรมอยู่ แต่มนั มิ ได้แสดงทา่ ทาง ให้เปน็ ที่น่ากลัวอะ ไรนัก นอกจากมนั รอ้ ง ไปตามภาษาของมัน
แลเทย่ี ว ไป – มาอยแู่ ถว ๆ บรเิ วณนนั้ เทา่ นน้ั ทา่ นกม็  ิไดส้ น ใจกบั มนั เพราะเคยชนิ กบั พวกสตั วต์ า่ ง ๆ
มาแล้ว คืนวนั หนง่ึ มีเสอื  โคร่งตัว ใหญ่มากเข้ามาหาพระท่ีเป็นเพ่ือน ไปดว้ ยกนั ซงึ่ กำ� ลงั เดนิ จงกรม
อยู่ แต่อยู่กันคนละหมู่บ้านมิ ได้อยู่ด้วยกัน มันเข้ามาน่ังดูท่านอยู่ข้างทางเดินจงกรมของพระ

36

อาจารย์องค์นนั้ หา่ งจากทางจงกรมทา่ นประมาณ ๑ วา ท่ามกลางความสว่างของแสง ไฟเทียน ไข
ทท่ี ่านจุด ไวเ้ พือ่ มองเหน็ หนทางเดนิ จงกรม ไป – มา การนั่งของเสือ โคร่งตัวน้นั เหมือนสนุ ัขบา้ นเรา
นงั่ นนั่ เอง มนั นง่ั หนั หนา้ มาทางจงกรมทา่ น ตามนั จบั จอ้ งมองดพู ระทท่ี า่ นกำ� ลงั เดนิ จงกรม ไป – มา
 ไมล่ ดละสายตา แต่มิ ไดแ้ สดงอาการอย่าง ใดออกมา

ขณะทพี่ ระท่านเดนิ จงกรม ไปถึงตรงทีม่ ันนง่ั ดอู ยนู่ ัน้ รสู้ กึ สงสยั นยั น์ตาและเฉลียว ใจ เพราะ
ข้างทางจงกรมตรงน้ันปรกติ ไม่มีอะ ไร แต่ขณะนั้นรู้สึกพิกลนัยน์ตาจึงมอง ไปดู ก็พอดีเห็น
เสอื  โครง่  ใหญก่ ำ� ลังนง่ั มองดูท่านอยแู่ ล้วตง้ั แต่เมอื่  ไรก็ ไม่ทราบ พระท่านเองก ็ไมก่ ลัวมนั มนั ก็ ไม่
ท�ำอะ ไรท่าน เปน็ เพียงน่งั ดอู ยเู่ ฉย ๆ เหมอื นสตั ว ์ไม่มวี ญิ ญาณ และ ไม่กระดกุ กระดิก ท่านกเ็ ดนิ
จงกรมผ่านหน้ามัน ไป – มา ไม่นึกกลัวอะ ไรมัน เป็นแต่เห็นมันน่ังดูท่านอยู่นานผิดปรกติจึงท�ำให้
ท่านคิดข้ึนด้วยความสงสารมันว่า แกจะ ไปหาอยู่หากินที่ ไหนก็ ไปซิ จะมานั่งเฝ้าเราท�ำ ไมกัน
พอทา่ นคดิ จบลงเทา่ นนั้ เสียงมันดังกระหมึ่ ขึ้นทันที จนสะเทือนปา่  ไปหมด ในขณะนั้น เม่อื ท่าน 
ไดย้ ินเสยี งมนั กระหึม่ และ ไมย่ อมหนตี ามท่ีท่านคิดอยาก ใหม้ นั หนี ไป ท่านเลยรบี เปล่ยี นความคดิ
เสยี  ใหม่วา่ เทา่ ทีค่ ดิ เชน่ นน้ั กเ็ พราะความสงสาร เกรงว่าจะเกิดความหิว โหยเพราะมีปากมที อ้ งที่
จะตอ้ ง ไดร้ ับการบำ� รุงรกั ษาเช่นท่วั  ๆ ไ ป เพราะการมานัง่ เฝ้าเรานาน ๆ ถ้า ไมเ่ กิดความหวิ ระหาย 
ใด ๆ จะนั่งเฝ้าเพอื่ รักษาอันตราย ให้ก็ย่ิงดี เราก ็ไมว่ ่าอะ ไร

พอทา่ นเปล่ยี นความคดิ  ใหมเ่ ชน่ นจี้ บลง มนั ก็มิ ได้แสดงอาการอย่าง ไรต่อ ไปอกี คงนัง่ ดู
ทา่ นเดินจงกรมตอ่  ไปตามนสิ ยั ของมัน ทา่ นเองก็คงเดนิ จงกรม ไป – มาตามปรกติ มิ ได้สน ใจกบั
มันต่อ ไปอกี มันกน็ ัง่ ดูทา่ นอยูเ่ หมือนหวั ตอ ไม่กระดกุ กระดิกตัวแตอ่ ย่าง ใดเลย จนถงึ เวลาทา่ น
ก็เดินออกจากทางจงกรม เข้า ไปสู่ทพี่ ักซ่งึ เปน็ แครเ่ ลก็  ๆ เหมือนเตยี งนอนที่อยู ่ไม่ห่าง ไกลจากทาง
จงกรมนัก ท�ำวัตรสวดมนต์และนั่งสมาธิภาวนาต่อ ไป จนถึงเวลาพักผ่อนท่านก็พักนอนอยู่บน
แคร่นั้น ซึ่งอยู่ ไม่ห่างจากเสือ โคร่งตัวนั้นนักเลย ท่านต่ืนตอน ๓.๐๐ นาฬิกา คือ ๙ ทุ่ม
จากน้นั ท่านกเ็ ริม่ ออก ไปเดินจงกรมอกี ตามเคย แต ่ไม่เหน็ เสือตวั นนั้ อีก ไมท่ ราบวา่ มนั หาย ไป
ทางทิศ ใด คืนต่อ ไปก็ ไม่เห็นมันมาท่ีน่ันอีกจนกระท่ังท่านจากที่นั้นหนี ไป เผอิญเห็นเฉพาะ
คนื เดียวเท่านัน้ จึงท�ำ ใหพ้ ระอาจารย์องคน์ ั้นเกดิ ความสงสยั เวลา ไปพบกับท่านพระอาจารยม์ ั่น
จงึ เลา่ เรอื่ งเสอื มาเฝา้ ตน ใหท้ ่านพระอาจารย์มัน่ ฟัง

ท่านเลา่ ว่า อาจารยอ์ งคน์ ัน้ ชอื่ ‘สีทา’ อายุพรรษาแก่กว่าท่านเล็กน้อย ทา่ นเป็นพระ
นกั ปฏบิ ตั ริ นุ่ เดยี วกนั และเปน็ ผปู้ ฏบิ ตั ดิ ปี ฏบิ ตั ชิ อบองคห์ นง่ึ ทา่ นชอบปา่ ชอบเขาชอบทส่ี งบสงดั มาก

37

ทา่ นชอบอยตู่ ามภเู ขาทางฝ่งั แมน่ �ำ้  โขงประเทศลาวมากกว่าที่อน่ื  ๆ แม้ข้ามมาฝงั่  ไทยเราก ็ไม่นาน
ท่านพระอาจารย์สที าเลา่  ให้ท่านพระอาจารย์มั่นฟงั คราวเสอื กระหึม่  ใส่ทา่ นนน้ั เป็นขณะท่ที ่านคดิ
อยาก ใหม้ นั หนี ไป ว่าท่าน ไมร่ ู้สกึ กลวั แตข่ นลุก ไปหมดท้ังตวั ศรี ษะชาเหมือน ใส่หมวก ตอ่  ไป
ค่อยเป็นปรกติและเดนิ จงกรม ไป – มา ได้สะดวกธรรมดา เหมือนไมม่ อี ะ ไรมาอยูท่ ่นี นั้ ความจรงิ
มันคงจะมคี วามกลวั อยู่อย่างลกึ ลับจนเจา้ ตัว ไมอ่ าจรู้ ได้ แม้คนื ท่เี สอื  โครง่  ใหญต่ ัวนนั้  ไม่มาหาท่าน
ถึงที่อยู่ แต่ก็ ได้ยินเสียงมันร้องกระห่ึม ๆ อยู่บริเวณ ใกล้เคียงที่ท่านพักอยู่แทบทุกคืน ท่านก็
ไม่เห็นรู้สึกกลวั มนั และทำ� ความเพยี ร ได้อย่างสบายเหมอื น ไม่มีอะ ไร ในบริเวณนน้ั

พระศิษย์ของท่านพระอาจารย์ม่ัน

สมยั ทที่ า่ นพระอาจารยม์ น่ั ออกปฏบิ ตั ทิ แี รก และเทย่ี ว ไปตามจงั หวดั ตา่ ง ๆ มจี งั หวดั นครพนม
สกลนคร อุดรธานี จน ไปถงึ พมา่ กลับมาผ่านจังหวัดเชยี ง ใหม่ หลวงพระบาง เวยี งจนั ทน์ จงั หวดั
เลย ลง ไปจำ� พรรษาท่ีวัดปทุมวัน กรงุ เทพ ฯ  และข้ึน ไปพกั ท่ีถ�ำ้ สาริกา เขา ใหญ่ ตลอดเวลาที่ทา่ น
กลบั มาทางภาคอสี านอีกท่านมกั จะ ไปเพียงองคเ์ ดยี ว แม้จะมีพระตดิ ตามบ้างก็เปน็ บางสมัยเทา่ นนั้
แล้วก็แยกกนั  ไป เพราะทา่ นเป็นผู้ปฏิบัติเด็ดเดี่ยว ไมช่ อบเกยี่ วขอ้ งกับหม่คู ณะ ทา่ นถอื เปน็ ความ
สะดวก ในการ ไปคนเดยี วอยคู่ นเดยี ว บ�ำเพ็ญสมณธรรมคนเดียวตลอดมา จนปรากฏวา่ มีกำ� ลัง ใจ
มั่นคงจึงเกิดความสงสารหมู่คณะและสน ใจท่ีจะแนะน�ำสั่งสอน ความคิดอันน้ีเป็นเหตุ ให้ท่าน
ได้จากถ�้ำสารกิ าอันแสนสบายกลับ ไปทางภาคอีสาน หลงั จากทา่ น ไดอ้ บรมพระ – เณร ไวบ้ า้ งสมัยที่
ท่านเทย่ี วธดุ งคอ์ ยู่ทางภาคอสี าน กอ่ นหนา้ จะลงมาทางภาคกลางและ ไปถ�้ำสาริกา เขา ใหญ่ ก็
ปรากฏว่ามีพระธุดงคกรรมฐานปฏิบัติอยู่ทางภาคอีสานมากพอควร พอท่านกลับ ไปเที่ยวน้ีก็ ได้
ตัง้  ใจท�ำการสั่งสอนทั้งพระ – เณรและฆราวาสผมู้ ีความมุง่ หวังต่อทา่ นอยู่แล้วอย่างเต็มก�ำลงั

การเทีย่ วทางภาคอสี านทา่ นกเ็ ทย่ี ว ไปตามจงั หวดั ตา่ ง ๆ ท่เี คย ไปแลว้ ปรากฏว่ามพี ระ – 
เณร – ญาต ิโยมเกิดความเชื่อเล่ือม ใสท่านมากมาย ผู้ออกบวชและปฏิบัติตามท่านด้วยความเช่ือ
เล่ือม ใสมีจ�ำนวนมาก แม้พระทีม่ ีอายุพรรษาจนเปน็ ข้นั อาจารยแ์ ลว้ ก็ยอมสละทิฏฐมิ านะและภาระ
หนา้ ท่อี อกปฏบิ ตั ติ ามท่าน จนกลายเป็นผมู้ ีความมัน่ คงทางขอ้ ปฏิบัติและทางจิต ใจ จนสามารถ
สงั่ สอนผูอ้ ืน่  ไดอ้ ย่างเต็มภมู ิ กม็ ีจ�ำนวนมาก

พระที่เป็นลูกศษิ ยร์ นุ่ แรกของทา่ น คอื ท่านพระอาจารย์สุวรรณ ทเ่ี คยเปน็ เจา้ อาวาส
วัดอรัญญิกาวาส* อ�ำเภอท่าบ่อ จังหวดั หนองคาย พระอาจารยส์ ิงห์ ขันตยาค โม เจ้าอาวาส

* ปัจจุบัน คือ วัดอรัญญวาสี

38

วัดสาลวัน จงั หวัดนครราชสมี า พระอาจารย์มหาปนิ่ ปัญญาพ โล เคยเปน็ เจ้าอาวาสวดั
ศรัทธารวม นครราชสีมา ทัง้ ๓ องคน์ ้ีทา่ นเปน็ ชาวอบุ ลราชธานี และทา่ นมรณภาพ ไปหมดแลว้
ซง่ึ ลว้ นเปน็ ลกู ศษิ ยผ์ สู้ ำ� คญั ท ี่ใหก้ ารอบรมพระ – เณร – ญาต ิโยมสบื ทอดจากทา่ นพระอาจารยม์ น่ั มา
เป็นล�ำดบั ถึงสมยั ปจั จบุ นั

พระอาจารย์สิงห์ กับ พระอาจารย์มหาปน่ิ ทั้งสององคน์ ที้ ่านเป็นพี่กบั นอ้ งร่วมอุทร
เดยี วกนั และเปน็ ผ ู้ไดร้ บั การศกึ ษาทางปรยิ ตั มิ ามากพอสมควร ทงั้ สององคน์ ที้ า่ นเกดิ ความเลอื่ ม ใส
พอ ใจ ยอมสละทิฏฐมิ านะและภาระหนา้ ทอ่ี อกปฏิบตั ิตามท่านพระอาจารยม์ ่ันตลอดมา และ ได้
ท�ำประ โยชน์แกป่ ระชาชนอยา่ งกว้างขวาง

รองลงมาก็ พระอาจารย์เทสก์ เทสรังสี ทา่ นเป็นพระราชาคณะ ปจั จุบันทา่ น
จำ� พรรษาอยูว่ ดั หินหมากเป้ง อำ� เภอศรีเชียง ใหม่ จังหวัดหนองคาย ทา่ นเปน็ ลกู ศิษยผ์  ู้ใหญข่ อง
ท่านพระอาจารย์มัน่ รปู หนงึ่ ทป่ี ฏบิ ัตดิ ปี ฏิบัตชิ อบเปน็ ทีน่ า่ เคารพเลื่อม ใสอยมู่ าก และเปน็ ทเ่ี คารพ
เลื่อม ใสของพระ – เณรและประชาชนทั่ว ไปแทบทุกภาค ปฏิปทาของท่านเป็น ไปอย่างเรียบ ๆ
สมำ่� เสมอสมกับอธั ยาศัยท่านท่ีคล่องแคลว่ อ่อน โยนสงบเสง่ียมงามมาก ยากท่จี ะหา ไดแ้ ต่ละองค์
คำ� พูดจาปราศรยั เปน็ ที่จับ ใจ ไพเราะตอ่ คนทกุ ช้ัน ทา่ นมีมารยาทสวยงามมาก ผยู้ ึด ไปเป็นคติ
และปฏิบัติตามย่อมเป็นผู้สวยงามและเย็นตาเย็น ใจแก่ผู้ ได้เห็น ได้ยินตลอดผู้มาเกี่ยวข้องทั่ว ๆ  ไป
อยา่ ง ไม่มีประมาณ

เพราะมารยาทอัธยาศัยของครูอาจารย์แต่ละองค์ ไม่เหมือนกัน คือมารยาทของบางองค์ 
ใครนำ�  ไป ใชก้ ็งาม ไปหมด ไมแ่ สลง ใจแก่ผมู้ าเกย่ี วข้องและเป็นความงามตาเย็น ใจ ในคนทุกชั้น แต่
มารยาทของบางอาจารยย์ ่อมเป็นสมบตั ทิ ่เี หมาะสมและสวยงามเฉพาะองคท์ า่ นเทา่ นัน้ ผู้อน่ื ยดึ
เอา ไป ใชย้ อ่ มกลายเปน็ สงิ่ ทป่ี ลอมแปลงและแสลง ใจผอู้ น่ื ท ่ีไดเ้ หน็  ไดย้ นิ ขน้ึ มาทนั ที ดงั นนั้ มารยาท
ของบางอาจารยจ์ ึง ไมส่ ะดวกที่จะยึด ไป ใชท้ ่วั  ๆ ไ ป ท่านพระอาจารย์เทสกท์ ่านมีอธั ยาศยั นุ่มนวล
ควรเปน็ คติและเปน็ สิริมงคลแกผ่ ู้รบั  ไปปฏบิ ัติตามทัว่  ๆ ไ ป โดย ไมม่ ปี ัญหาว่าจะขดั ตอ่ สายตาและ
จิตใจของผู้มาเกี่ยวข้องแต่อย่าง ใด และเหมาะสมกับเพศนักบวชผู้ควรมีมารยาทอัธยาศัย
สงบเสงี่ยมเยน็  ใจ โดยแท้ นี่คอื ลกู ศษิ ยข์ องทา่ นรปู หน่งึ ทค่ี วรกราบ ไหว้บูชาอย่างสนิท ใจตามความ
รู้สึกของผู้เขียนที่ ได้เคยสมาคมและกราบ ไหว้บูชาท่าน โดยถือเป็นครูอาจารย์อย่างสนิท ใจตลอด
มา ทา่ นมลี กู ศษิ ยล์ กู หามาก ในภาคตา่ ง ๆ และทำ� ประ โยชนแ์ กห่ มชู่ นอยา่ งกวา้ งขวาง จดั วา่ เป็น
พระอาจารย์ท่หี า ได้ยากรูปหนงึ่

39

ลำ� ดบั พรรษาลงมาก็มี พระอาจารย์ฝนั้ อาจา โร ซ่ึงเปน็ ลกู ศษิ ย์ของท่านผูห้ น่ึง ขณะนี้
ท่านจ�ำพรรษาอย่ทู ่วี ดั อดุ มสมพร บา้ นนาหัวชา้ ง อำ� เภอพรรณนานิคม จังหวัดสกลนคร ท่านเปน็
ท่ีเล่ืองลอื ระบอื หวั ทุกหนทกุ แห่งดว้ ยกิตติศพั ท์กิตตคิ ุณแหง่ ความปฏบิ ัตดิ ี สามจี ิกรรมทช่ี อบ ทั้ง
ภายนอกภาย ใน จิต ใจทา่ นก็สูงดว้ ยคณุ ธรรม เปน็ ท่ีเคารพนับถือของหมู่ชนทุกภาคของเมือง ไทย
เปน็ ทีน่ า่ เลื่อม ใสอยา่ งยงิ่ เปน็ ผู้มคี วามเมตตามากต่อคนทกุ ชัน้ การสงเคราะหท์ ง้ั ดา้ นวัตถแุ ละ
ด้านธัมมะ นบั วา่ ทา่ นเอา ใจ ใสอ่ ยา่ งพระผู้มจี ติ เมตตา ไมม่ ขี อบเขตจริง ๆ แตร่ ู้สกึ เสยี  ใจท่จี �ำต้อง
งดเร่อื งทา่ น ไวก้ อ่ นเพอื่ ด�ำเนนิ เร่ืองของท่านพระอาจารยม์ ่ันสืบต่อ ไป หากมี โอกาสจะน�ำมาลง ใน
วาระตอ่  ไปตอนจบเรอ่ื งของทา่ นพระอาจารย์มัน่ เรียบร้อยแลว้

ลำ� ดบั ศษิ ยข์ องทา่ นองคต์ ่อ ไปคอื ทา่ นพระอาจารย์ขาว ซ่งึ ขณะนี้ทา่ นอยู่วดั ถ�ำ้ กลองเพล
อ�ำเภอหนองบวั ลำ� ภู จงั หวัดอดุ รธานี* ทา่ นผ้อู ่านคงทราบกิตตคิ ุณทา่ น ไดด้ พี อเพราะเป็นอาจารย์
ส�ำคัญ ในปัจจุบัน ทั้งด้านข้อปฏิบัติและความรู้ภาย ใน ใจเป็นท่ีน่าเล่ือม ใสอย่างมาก ท่านเป็น
พระทเี่ ด็ดเด่ียวทางความเพียร ชอบแสวงหาอยู่ ในท่สี งัดตลอดมา ทางความเพียรท่านเป็นเย่ียม ใน
วงพระธดุ งคกรรมฐาน ยากจะหาตวั จบั  ได้ แมป้ ัจจบุ ันอายุทา่ นจะกา้ วขา้ ม ๘๒ ปีอยู่แลว้ กต็ าม
แต่ความเพียรยัง ไม่ยอมลดหย่อนผ่อนตามสังขารเลย มีบางคนพูดเป็นเชิงวิตกเป็นห่วงท่านว่า
ทา่ นจะท�ำความเพียร ไปเพอื่ อะ ไรนกั หนา เพราะอะ ไร ๆ ทา่ นกเ็ พยี งพอทกุ อย่างแลว้ ไมท่ ราบว่า
ท่านจะขยนั  ไปเพอ่ื อะ ไรอกี

ก็ ได้ชี้แจงเรื่องของท่าน ให้ฟังว่า ท่านผู้หมดส้ินสิ่งท่ีเป็นข้าศึกซึ่งคอยกีดกันบ่ันทอนและ
คอยเอารัดเอาเปรียบตลอดเวลา โดยสิ้นเชิงแล้ว ท่าน ไม่มีความเกียจคร้านมากีดขวางลวง ใจ ให้
ลุ่มหลง ไปตามเหมือนพวกเราผู้ส่ังสมความข้ีเกียจอ่อนแอ ไว้ ใน ใจจนกองเท่าภูเขาสูงลูก ใหญ่ ๆ
แทบมองหาตัวคน ไม่เหน็ พอจะทำ� อะ ไรลง ไปบา้ งก็กลัวแต่จะ ได้มาก มีมาก กลัวจะหาทีเ่ ก็บ
ไม ่ได้ กลัวแตจ่ ะเหนือ่ ยยากล�ำบาก สุดทา้ ยก ็ไมม่ อี ะ ไรจะเกบ็  ใสภ่ าชนะเลย มแี ตภ่ าชนะเปล่า ๆ
ใจเปลา่  ๆ ใจแหว่ แหง้ ใจ ไม่มคี ุณสมบัตเิ ครอ่ื งอาศยั ใจลอย ๆ สิ่งทเ่ี ตม็ กค็ อื ความบน่ วา่ ทกุ ขว์ า่ จน
หรือเดือดรอ้ นกนั ท่วั  โลก เพราะมารตวั ขีเ้ กยี จคอยบนั ดาลขดั ขวางและกดถ่วง ไว้

ท่านผปู้ ราบมารตวั เหลา่ นี้ออกจาก ใจ ได้แล้วจงึ เป็นผ้ขู ยนั หม่นั เพียร ไม่ลดละ โดย ไม่สน ใจ
คิดว่าจะมีภาชนะเก็บหรือ ไม่ ความม ีใจเป็นธรรมล้วน ๆ ไมม่  ีโลกเครอื่ งท�ำลายเขา้ มาแอบแฝงจึง
เปน็ บคุ คลที่มีความสง่าผ่าเผยอย่ทู กุ อิริยาบถ ไม่มีความอับเฉาเศรา้  ใจเขา้ มาครอบครอง จึงเปน็
บุคคลตวั อย่างของ โลก ไดอ้ ยา่ งมน่ั เหมาะ ลกู ศษิ ย์ของทา่ นพระอาจารยแ์ ต่ละองค์ร้สู กึ มสี มบัติอนั

* ปัจจุบันข้ึนกับอ�ำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวล�ำภู

40

แพรวพราวราวกับเพชรซอ่ นอยู ่ในตัวอย่างลึกลบั แทบทกุ องค์ เมื่อเข้าถึงองค์ทา่ นจรงิ  ๆ แล้วจะ ได้
รบั สิ่งแปลก ๆ และอศั จรรย์ ไปเปน็ ขวญั  ใจและระลึก ไวเ้ ป็นเวลานาน ๆ 

ทา่ นพระอาจารย์มัน่ ท่านมีลกู ศิษย์ท่สี ำ� คัญ ๆ อยหู่ ลายองค์และหลายรุน่ ทัง้ รุน่ อายุพรรษา
และคณุ ธรรมรองกนั ลงมาเปน็ ล�ำดบั ล�ำดา สมกับทา่ นเป็นผฉู้ ลาดปราดเปร่ืองร่งุ เรอื งด้วยคุณธรรม
คือข้อปฏิบัติและธรรมภาย ใน ประหนึ่งพระ ไตรปิฎกย่อม ๆ ต้ังอยู่ภาย ในดวง ใจท่าน จริงดัง
บุพพนิมิตท่ีปรากฏเป็นกรุยหมาย ไว้แต่เร่ิมแรกออกปฏิบัติ เวลาส�ำเร็จผลขึ้นมาก็ตรงตามน้ัน
ทราบว่าท่านจาริก ไป ในท่ีต่าง ๆ และท�ำการอบรมสั่งสอนพระ – เณรและประชาชนเป็นจ�ำนวน
มากต่อมาก พากันเกิดความเช่ือเล่ือม ใสอย่างฝัง ใจและติด ใจ ในรสพระสัทธรรมของท่านมาก
เน่อื งจากท่านน�ำเอาของจริงภาย ใน ใจออกสั่งสอนด้วยความรู้จรงิ เหน็ จรงิ ม ิได้เปน็  ไปแบบสมุ่ เดา
คอื ท่านก็แน่ ใจและเห็นจริง ในธรรมทีป่ ฏิบัติ รแู้ ละสอนจริงตามธรรมท่ีทา่ นร้ทู า่ นเห็น เมอื่ กลับ
จากถำ�้ สารกิ าสู่ภาคอสี านครง้ั ทส่ี องน้ี ท่านเลา่ ว่า ท่านตง้ั  ใจอบรมส่ังสอนพระ – เณรและประชาชน
ทงั้ ชดุ เก่าท่ีเคยอบรม ไวบ้ า้ งแลว้ ทง้ั ชดุ  ใหม่ทก่ี ำ� ลงั เริ่มต้ังรากตัง้ ฐานอยา่ งแท้จริง

ธุดงควัตร

การปฏิบัติต่อธุดงควัตรที่ท่านนับถือเป็นแบบฉบับอย่างฝัง ใจประจ�ำองค์ท่านและ
ส่งั สอนพระ – เณร ให้ดำ� เนนิ ตาม มดี งั น้ี

การบณิ ฑบาตเป็นกจิ วัตรประจ�ำวันมิ ไดข้ าดถ้ายงั ฉนั อยู่ เว้นท่ ีไมฉ่ นั  ในวนั  ใดก ็ไม่จำ� ต้อง ไป 
ในวันนั้น กิจวตั ร ในการบณิ ฑบาตทา่ นสอน ใหต้ งั้ อย่ ูในทา่ สำ� รวมกายวาจา ใจ มสี ตปิ ระจำ� ตนกับ
ความเพียรที่เป็น ไปอยู่เวลาน้ัน ไมป่ ลอ่ ย ใจ ให้พล้ังเผลอ ไปตามส่งิ ยวั่ ยวนต่าง ๆ ที่ผา่ นเขา้ มาสมั ผสั
กบั อายตนะภาย ใน คือ ตา หู จมูก ลนิ้ กาย ใจ ทง้ั  ไปและกลับ ท่านสอน ให้มีสติรักษา ใจ
ตลอดความเคลือ่ น ไหวต่าง ๆ ไ ม่ ให้เผลอตวั และถือเป็นความเพียรประจ�ำกจิ วตั รข้อน้ที ุก ๆ วาระ
ทเ่ี รม่ิ เตรียมตัวออกบณิ ฑบาตหนึง่

อาหารท ่ีไดม้ า ในบาตร นอ้ ย – มาก ถอื วา่ เปน็ อาหารทพี่ อดแี ละเหมาะสมกบั ผตู้ งั้  ใจจะสงั่ สม
ธรรมคือความมักน้อยสัน โดษ ให้สมบูรณ์ภาย ใน ใจ ไม่จ�ำต้องแสวงหาหรือรับอาหารเหลือเฟือท่ี
ตามส่งมาทีหลังอีกอันเป็นการส่งเสริมกิเลสความมักมากซ่ึงมีประจ�ำตนอยู่แล้ว ให้มีก�ำลังผยอง
พองตัวยงิ่  ๆ ข้ึนจนตามแก้ ไม่ทนั อาหารท่ ีไดม้ า ในบาตรอยา่ ง ใดกฉ็ นั อยา่ งน้นั ไม่แสดงความ
กระวนกระวายส่ายแส่อันเป็นลักษณะเปรตผีตัวมีวิบากกรรมทรมาน มีอาหาร ไม่พอกับความ


Click to View FlipBook Version