The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

STO_รายงานฉบับสมบูรณ์ทดลอง 2

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by researchteam.official, 2022-12-26 01:28:29

STO_รายงานฉบับสมบูรณ์

STO_รายงานฉบับสมบูรณ์ทดลอง 2

รายงานฉบบั สมบรู ณ์ โครงการขบั เคล่อื นการสร้างความสามคั คปี รองดองสมานฉันท์ ๒๒๐
รายการคา่ ใช้จา่ ยในการสร้างการรบั รเู้ พื่อให้เกดิ ความสามคั คปี รองดองของคนในชาติ

ตัวอย่างให้กับประเทศไทยได้ในเรื่องการปฏิรูปการเลือกตั้งคือนิวซีแลนด์และรูปธรรมของกระบวนการร่าง
รฐั ธรรมนญู ใหมค่ อื การมสี ภารา่ งรฐั ธรรมนูญแบบปี ๒๕๔๐ โดยปรับปรงุ ให้เข้ากบั ปจั จบุ นั มากขึน้

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล อธิบายธรรมชาติของความขัดแย้งว่าเกิดจาก
ความไม่เป็นธรรม ในกรณีของไทยตัวอย่างของความไม่เป็นธรรมดังกล่าวได้แก่การบังคับใช้กฎหมาย
อย่างไม่มีมาตรฐานเช่น การวินิจฉัยคดีทางการเมืองเรื่องการถวายสัตย์ต่อรัฐธรรมนูญของนายกรัฐมนตรี
พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาที่อ้างว่าการกล่าวคำถวายสัตย์ต่อรัฐธรรมนูญไม่ครบถ้วนไม่เป็นความผิดเพราะ
การถวายสัตย์เป็นความสัมพันธ์เฉพาะระหว่างพระมหากษัตริย์กับนายกรัฐมนตรี การยุบพรรคไทยรักษาชาติ
จากการเสนอชอ่ื ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตน์ราชกญั ญา สริ วิ ัฒนาพรรณวดีเป็นนายกรฐั มนตรี หรอื คดีความผิด
ตอ่ องค์พระมหากษัตริย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๑๒ โดยมอี งค์กรและหนว่ ยงานหลายหน่วยงาน
เกี่ยวข้องกับกระบวนการนี้เช่น คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) หรือศาลรัฐธรรมนูญ ในคดีเหล่านี้สถาบัน
กษัตริย์ถูกนำไปเป็นข้ออ้างในคำตัดสินพิพากษาของศาลหรือในการทำรัฐประหารผู้กระทำการรัฐป ระหาร
ก็ต้องออกแถลงการณ์โดยมีพระบรมฉายาลักษณ์อยู่ด้านหลัง ผลพวงที่ตามมาคือสถาบันกษัตริย์ถูกนำไป
เกีย่ วข้องกบั ความขัดแย้งทางการเมืองดว้ ยทงั้ ท่ีโดยรัฐธรรมนูญแล้วสถาบนั กษตั รยิ ์อยู่เหนือการเมือง

ดร.ปริญญาเห็นว่านิติธรรมหรือ rule of law เป็นทางออกของความขัดแย้งทางการเมืองที่สืบเนื่อง
จากความไม่เป็นธรรมโดยที่หากทุกสิ่งเป็นไปตามกฎหมายหรือกติกา ทุกฝ่ายเสมอภาคกันภายใต้กฎหมาย มี
กระบวนการยตุ ิธรรมหรือฝ่ายตลุ าการทีเ่ ที่ยงธรรมกจ็ ะสามารถทำให้แต่ละฝ่ายสามารถเห็นตา่ งกันได้ ในระดับ
ตวั บคุ คลน้ันหากนายกรัฐมนตรคี นปัจจุบนั หมดอำนาจลงก็จะทำให้ความขดั แยง้ ทางการเมืองทเ่ี กย่ี วกับสถาบัน
ลดลงไปด้วย

กลุ่มเยาวชนนักศึกษาที่ผู้วิจัยไปสัมภาษณ์เห็นว่าความขัดแย้งทางการเมืองไทยเป็นเรื่องของ
ประวัติศาสตร์และเรื่องของการพัฒนา ในประเด็นแรกเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนผ่านไปสู่ระบอบประชาธิปไตย
ของไทยที่ปัจจบุ ันก็ยังไม่สามารถเปลี่ยนผ่านได้สำเร็จและนับเปน็ ปมความขัดแยง้ ที่มีมายาวนานไมว่ า่ จะมีการ
เปลี่ยนกลุ่มผู้ถืออำนาจไปอย่างไรก็ตาม ในประเด็นที่สองเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงของโลกในทุกด้านแต่
สถาบันทางการเมืองของไทยปรับตัวไม่ทันต่อการเปลี่ยนแปลง และผลของการปรับตัวช้าหรือไม่พยายาม
ปรับตัวของสถาบันการเมืองต่าง ๆ ทำให้การเมืองไทยขาดพื้นที่สำหรับประชาชนทีจ่ ะแสดงออกทางความคดิ
ในทุกระดบั แม้กระทงั่ ในรฐั สภาทำใหเ้ กดิ การแสดงออกทางการเมืองบนท้องถนน

ในปจั จบุ นั ตัวแสดงทางการเมอื งทีม่ บี ทบาทเพ่ิมขึน้ อยา่ งเดน่ ชดั คือกลุ่มเยาวชนนกั ศึกษาซ่งึ อาจเป็นผล
มาจากการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ที่รวดเร็วขึ้น หลากหลายขึ้นและมากขึ้น เยาวชนนักศึกษาได้รับรู้วิถี
ปฏิบัติของรัฐบาลและผู้มีอำนาจอย่างสม่ำเสมอโดยเฉพาะในด้านลบเช่น การใช้กำลังและความรุนแรงต่อ
ประชาชนผูเ้ ห็นต่างซ่งึ รวมถึงเยาวชนด้วย นอกจากนก้ี ารแสดงออกทางการเมืองทเ่ี พมิ่ มากขึ้นของกลุ่มเยาวชน
นักศึกษาที่อยู่ในรุ่นเดียวกันทำให้เยาวชนนักศึกษาคนอื่น ๆ เกิดความรู้สึกร่วม เกิดความกล้าที่จะแสดงออก
ทางการเมืองมากขึ้นด้วย ในกลุม่ เยาวชนนักศึกษาท่ีออกมาเคล่ือนไหวทางการเมืองแม้ว่าจะมหี ลากหลายกลุ่ม
หลากหลายความคดิ แตก่ ็มจี ุดรว่ มคือการเรียกร้องประชาธิปไตย อย่างไรก็ตามภายใต้ข้อเรียกร้องร่วมกันนี้ก็ยัง
มีความแตกต่างกนั ในทางความคิด ตวั บุคคลและอดุ มการณอ์ น่ื ๆ

กลุ่มเยาวชนนักศึกษาเห็นว่าความขัดแย้งเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ในสังคม สิ่งที่สามารถกระทำได้คือ
การออกแบบกฎกติกาที่เป็นธรรมและเสมอภาค เปิดพื้นที่ให้แสดงออกทางความคิด โดยเฉพาะพื้นที่ทาง
การเมอื งอ่ืน ๆ นอกเหนอื ไปจากการลงถนน ในปจั จบุ ันพวกเขาเห็นวา่ สงั คมเกดิ ฉนั ทมติแลว้ ว่ากติกาและระบบ

เสนอ สำนักงานขบั เคลอ่ื นการปฏริ ูปประเทศ ยุทธศาสตร์ และการสรา้ งความสามัคคีปรองดอง (สำนกั งาน ป.ย.ป.)
โดย สถาบนั วจิ ยั และใหค้ ำปรึกษาแห่งมหาวทิ ยาลยั ธรรมศาสตร์


รายงานฉบบั สมบรู ณ์ โครงการขับเคลอื่ นการสรา้ งความสามคั คปี รองดองสมานฉนั ท์ ๒๒๑
รายการคา่ ใช้จา่ ยในการสร้างการรบั รูเ้ พอ่ื ให้เกิดความสามคั คปี รองดองของคนในชาติ

การเมืองที่ไม่เป็นธรรมและเหลื่อมล้ำนั้นเป็นปัญหาสำคัญ การแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจึงต้องเป็นการแก้ไข
โครงสร้างทางการเมืองที่ไม่เป็นธรรมนี้ให้มีความเป็นธรรมกับทุกฝ่ายโดยมีการปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม ๓
ประการคือ หนึ่ง หยุดการคุกคามประชาชน สอง ร่างรัฐธรรมนูญใหม่ และสามยุบสภา นอกจากนี้จะต้องไม่มี
การทำรฐั ประหารหรอื ตง้ั รฐั บาลแห่งชาติ

พวกเขาเห็นว่าตัวแบบการร่างรัฐธรรมนูญฉบบั ปี ๒๕๔๐ นา่ จะเป็นตัวแบบของการสรรหาและร่างกฎ
กติกาทางการเมืองที่เป็นทางออกของปัญหาได้โดยพยายามทำให้ทุกฝ่ายมสี ว่ นร่วมในการร่างรัฐธรรมนูญฉบบั
ใหม่นี้

๕. ข้อสรุปและข้อสังเกต

ข้อมูลจากการทบทวนงานวจิ ยั การเกบ็ แบบสอบถาม การจดั ประชุมเชงิ ปฏบิ ัติการและการสัมภาษณ์
นักวิชาการและผู้เกี่ยวข้องมีลักษณะไปในทิศทางเดียวกันทั้งในเรื่องที่มาของความขัดแย้งและแนวทาง
ในการจัดการความขัดแย้งด้วยการสร้างความปรองดองโดยมรี ายละเอียดแตกต่างกันบา้ งเล็กน้อย

การทบทวนงานวิจัยทำให้เห็นว่าความขัดแย้ง ทางการเมืองของไทยเป็นเรื่องของความขัด แย้ง
ทางความคิดหรืออุดมการณ์ทางการเมืองที่แตกต่างกันอันเป็นผลมาจากเงื่อนไขปัจจัยต่าง ๆ ทางสังคม
เศรษฐกิจและการเมืองในแต่ละช่วงเวลาซึ่งการทบทวนงานวิจัยเป็นการศึกษาความขัดแย้งทางการเมือง
ของไทยในช่วงระยะเวลายาวนับจากการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. ๒๔๗๕ ทำให้ได้เห็นภาพว่าเงื่อนไข
ปัจจัยแต่ละประการในแต่ละช่วงเวลาทำให้คู่ขัดแย้งทางการเมืองแตกต่างกันไปทั้งในเชิงปริมาณ
ความหลากหลายของค่ขู ัดแย้งและในเชิงระดับความร้าวลกึ ของความขัดแย้งและรวมไปถึงขนาดและระดับของ
ผลกระทบท่มี ตี อ่ สงั คมดว้ ย ท้ังน้คี วามขดั แยง้ ในช่วงสองทศวรรษที่ผา่ นมาสามารถจดั เปน็ ความขดั แย้งท่ีร้าวลึก
ยาวนานเกี่ยวข้องกับผู้คนกลุ่มต่าง ๆ ในสังคมอย่างกว้างขวางตั้งแต่ประชาชนทั่วไปจนถึงชนชั้นนำ อีกทั้งยัง
เก่ยี วพนั ได้รับผลกระทบและสง่ ผลกระทบตอ่ สถาบนั การเมืองต่าง ๆ อย่างมากดว้ ย

ผลของความขัดแย้งที่ร้าวลึกยาวนานกว้างขวางทำให้ภาคส่วนต่าง ๆ ในสังคมไทยรู้จักเข้าใจความ
ขัดแย้งครั้งนี้เป็นอย่างดี จะเห็นได้ว่าไม่ค่อยจะมีความแตกต่างมากนักระหว่างข้อสังเกตและความเห็นของ
นักวิชาการกับประชาชนทั่วไปในเรื่องที่มาของปัญหาความขัดแย้งนอกจากข้อสังเกตและ คำอธิบายของ
นกั วิชาการจะมีความเป็นระบบมากกว่าอันเกิดจากทักษะจำเป็นประจำอาชพี

ข้อสรุปเชิงทฤษฎี การทบทวนงานวิจัย แบบสอบถาม การประชุมเชิงปฏิบัติการและความเห็นของ
นกั วิชาการและผู้เก่ียวข้องต่อประเด็นทางออกของความขดั แย้งหรือความปรองดองก็เป็นไปในทิศทางเดียวกัน
คือ ทุกฝ่ายเห็นความขัดแย้งและความเหน็ ต่างเป็นสิ่งปกติท่ีต้องเกดิ ขึ้นในสังคมจึงเห็นว่าการปรองดองคือการ
ทำใหค้ นในสงั คมสามารถเห็นตา่ งกันแต่อยรู่ ่วมกันได้โดยสนั ติ ซงึ่ ในการนีท้ ุกกลุ่มเหน็ วา่ จะต้องดำเนินการอย่าง
น้อย ๒ เรื่องคือ หนึ่ง การปรับความสัมพันธ์ทางอำนาจให้ใกล้เคียงกันมากขึ้นโดยการส่งเสริมรักษาระบอบ
ประชาธิปไตย ลดอำนาจรัฐ เพิ่มอำนาจประชาชน กระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น การสร้างกติกาที่ชอบธรรม เป็น
ธรรมและเสมอภาคเพื่อพิทักษ์สิทธิเสรีภาพการแสดงออกของประชาชนทุกคน สอง ปรับความสัมพันธ์ทาง
เศรษฐกิจให้ใกลเ้ คียงกันมากขึ้นโดยการลดความเหลื่อมล้ำในทุกมติ ิ การสร้างระบบเศรษฐกิจทีเ่ ป็นธรรม การ
สร้างรัฐสวัสดิการ

ดังจะเห็นได้ว่าข้อเสนอเรื่องการจัดการความขัดแย้งหรือการปรองดองของภาคส่วนต่าง ๆ (ในทีนี้
ยกเว้นกองทัพและชนชั้นนำ) มีจุดร่วมกันมากกว่าจุดต่าง ปัญหาการเดินทางไปสู่การปรองดองของสังคมไทย

เสนอ สำนกั งานขับเคลื่อนการปฏริ ปู ประเทศ ยุทธศาสตร์ และการสร้างความสามัคคีปรองดอง (สำนกั งาน ป.ย.ป.)
โดย สถาบันวจิ ัยและให้คำปรกึ ษาแห่งมหาวทิ ยาลัยธรรมศาสตร์


รายงานฉบบั สมบูรณ์ โครงการขบั เคล่ือนการสร้างความสามคั คปี รองดองสมานฉันท์ ๒๒๒
รายการคา่ ใช้จ่ายในการสร้างการรบั รู้เพ่อื ให้เกิดความสามคั คีปรองดองของคนในชาติ

จงึ เป็นเร่ืองของภาคปฏบิ ตั ิการว่าในทางปฏิบัติจะทำให้ฉันทมติในเรื่องน้ีของภาคสว่ นตา่ ง ๆ เปน็ จริงได้อย่างไร
ทั้งนี้มีขอ้ สงั เกตจากเวทปี ระชุมเชิงปฏบิ ตั ิการที่กรุงเทพมหานครวา่ การเดินหน้าไปสู่การปรองดองที่จำเป็นต้อง
แก้ไขเปลี่ยนแปลงโครงสร้างเศรษฐกิจและการเมืองนั้นจะส่งผลกระทบต่อชนชั้นนำและผู้มีอำนาจอย่าง
หลีกเลี่ยงไม่ได้และพวกเขาก็มักจะปฏิเสธที่จะปรับตัวเปลี่ยนแปลงหากการเปลี่ยนแปลงนั้นนำมาซึ่งอำนาจ
และผลประโยชนท์ ล่ี ดนอ้ ยลงไป

อนึ่ง ประเด็นที่แตกต่างมากระหว่างข้อเสนอเชิงทฤษฎีเรื่องกระบวนการไปสู่ความปรองดองกับ
ความเห็นของกลุ่มตัวอย่างอน่ื ๆ คอื ทผ่ี ่านมากระบวนการแก้ไขความขัดแย้งของไทยทผ่ี ่านมาจนถึงปัจจุบันไม่
ค่อยให้ความสำคัญและดำเนินการในเรื่องการทำความจริงให้ปรากฎ การยอมรับผดิ ขออภัยและรับผดิ ชอบต่อ
การกระทำ ส่วนที่รัฐไทยเคยทำมาบ้างคือกระบวนการเยียวยาผู้ได้รับความเสียหายและการปฏิรูปด้านต่าง ๆ
สว่ นที่เคยมคี วามริเรม่ิ ทจ่ี ะดำเนนิ การแตไ่ ดร้ บั เสยี งคดั ค้านคือการนิรโทษกรรม

ข้อจำกัดของข้อมูลที่มาจากวธิ ีการต่าง ๆ กันคือ ข้อมูลที่ได้จากการทบทวนงานวิจัยมีลักษณะเด่นคอื
เป็นองค์ความรู้ที่ได้รับการพิสูจน์มาแล้วในหลายพื้นที่หรือมคี วามเป็นสากลในขณะเดียวกันก็มีข้ออ่อนในเรือ่ ง
ดังกล่าวคือลักษณะสากลของทฤษฎีอาจจะไม่ได้รับประกันความสำเร็จเมื่อนำมาปรับใช้กับความเป็นจริงของ
ท้องถิ่นเนื่องจากมีบริบทที่แตกต่างกันหลายด้านและบางด้านอาจจะแตกต่างกันมากเช่น ตำแหน่งแห่งที่และ
พระราชอำนาจนำของสถาบันกษัตริย์ของไทย นอกจากนี้องค์ความรู้สากลในเรื่องการปรองดองมักถอด
บทเรียนมาจากเหตุการณ์ความรุนแรงทางการเมืองที่สุดขั้วคือการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ซึ่งกรณีความขัดแย้งทาง
การเมืองปัจจุบันของไทยแม้จะเป็นความขัดแย้งที่รุนแรงร้าวลึกแต่ก็ไม่ได้อยู่ในระดับเดียวกันกับการฆ่าล้า ง
เผ่าพันธุ์ ข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์นักวิชาการหรือผู้เชี่ยวชาญมีจุดแข็งคือเป็นมุมมองจากผู้เชี่ยวชาญท่ี
เกาะติดประเด็นการเมืองไทยมายาวนาน มีความรู้ความเข้าใจประวัติศาสตร์ บริบท ตัวแสดงต่าง ๆ อย่างดี มี
การวิเคราะห์และอธิบายเป็นระบบ ฉายภาพชัดเจนประเด็นแหลมคมแต่ก็มีข้อด้อยในเรื่องจุดยืนทาง
อุดมการณ์และการเมืองกับความใกล้ชิดกับเหตุการณ์ที่มีส่วนสำคัญในการกำหนดกรอบมุมมองและ
ข้อเสนอแนะต่าง ๆ มุมมองและความเห็นของประชาชนและภาคส่วนต่าง ๆ จากการประชุมเชิงปฏิบัติการมี
ความโดดเด่นในเรื่องความเป็นธรรมชาติ ความสดใหม่และการเป็นผู้ที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากเหตุการณ์
ความขัดแย้ง การได้รับฟังเร่ืองราวของผู้มีสว่ นเกีย่ วข้องโดยตรงจากปากคำของพวกเขาเองสามารถช่วยยืนยัน
หรือตรวจสอบข้อสรุปและองค์ความรู้ต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดีแม้ว่าอาจจะมีปัญหาบา้ งในเรือ่ งของการเรยี บเรียง
ไม่เป็นระบบ การมองปัญหาเฉพาะหน้าใกล้ตัว การนำเสนอที่บางครั้งยินยอมรับเอาวาทกรรมต่าง ๆ ที่มีอยู่
แล้วในสังคมมาเป็นกรอบนำข้อเท็จจริงหรือความคิดเห็นของตัวเอง ส่วนข้อมูลจากแบบสอบถามนั้นเป็น
ประโยชนใ์ นการเข้าถงึ ความคิดเห็นของประชาชนในวงกว้าง ทำใหไ้ ดข้ ้อเทจ็ จรงิ หลักฐานรูปธรรมท่ีไม่สามารถ
ไดร้ บั จากข้อมลู ชดุ อื่น ๆ

๖. ความแตกตา่ งระหวา่ งข้อมูลชดุ ต่าง ๆ

ประเด็นการพัฒนาและความเหลือ่ มล้ำ เป็นประเด็นที่ทุกกลุ่มข้อมูลกล่าวถึงว่าส่งผลต่อความขัดแย้ง
ทางความคิดและอุดมการณ์แต่ในการศึกษาประวัติศาสตร์ความขัดแย้งทางการเมืองของไทยประเด็นนี้ไม่ได้
เปน็ ประเด็นหลักในความขัดแย้งทางการเมืองกอ่ นปี พ.ศ. ๒๕๔๐

ประเด็นระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เปน็ ประมุข นักวิชาการบางทา่ นและกลุ่มตวั อย่าง
ในพนื้ ทีจ่ ังหวดั เชยี งใหมก่ ลา่ วพาดพงิ ถึงประเด็นนี้ซ่งึ ไม่มีการกล่าวถึงในพื้นท่ีอนื่ ซ่งึ ก็อาจจะตคี วามได้ว่าสำหรับ
ประชาชนจำนวนหนึ่งแล้วประเด็นนี้อาจถูกรวมอยู่ในการเปลี่ยนแปลงเชิงสถาบันการเมือง หรือประเด็นนี้

เสนอ สำนักงานขบั เคลื่อนการปฏริ ปู ประเทศ ยุทธศาสตร์ และการสร้างความสามคั คีปรองดอง (สำนกั งาน ป.ย.ป.)
โดย สถาบนั วจิ ัยและใหค้ ำปรึกษาแหง่ มหาวิทยาลยั ธรรมศาสตร์


รายงานฉบบั สมบรู ณ์ โครงการขับเคลื่อนการสรา้ งความสามัคคปี รองดองสมานฉันท์ ๒๒๓
รายการคา่ ใชจ้ า่ ยในการสรา้ งการรบั รู้เพอื่ ให้เกดิ ความสามัคคีปรองดองของคนในชาติ

อาจจะไม่ใช่ประเด็นหลัก หรือประเด็นนี้เป็นประเด็นที่พวกเขาอาจจะเห็นว่าสำคัญแต่ไม่อยากกล่าวถึงในที่
สาธารณะ

ประเดน็ ชอ่ งวา่ งระหว่างช่วงวัย เปน็ ประเด็นทีห่ ลายกลุม่ ให้ความสำคัญแตไ่ ม่ใช่ทุกกลุ่มและไม่ปรากฎ
ประเด็นนใี้ นการทบทวนงานวจิ ยั เรื่องความขัดแย้งทางการเมืองอีกทงั้ นักวชิ าการที่คณะผู้วจิ ัยทำการสัมภาษณ์
ก็ไม่ไดใ้ ห้นำ้ หนกั กับประเดน็ น้ีมากนกั อาจจะกลา่ วได้วา่ ประเด็นเร่ืองช่องวา่ งระหว่างช่วงวัยเปน็ ประเด็นใหม่ที่
เพิ่งปรากฎชัดเจนในความขัดแย้งทางการเมืองไทยระยะ ๒-๓ ปีที่ผ่านมานี้เอง ซึ่งก็อาจจะส่งผลต่อแนวทาง
และมาตรการการขับเคลอื่ นท่ีต้องให้ความสำคญั กบั ช่วงวัยต่าง ๆ มากขน้ึ

ประเด็นเรื่องข้อมูลข่าวสารและเทคโนโลยี ประเดน็ น้กี ็เปน็ ประเด็นท่ไี มป่ รากฎชัดเจนมาก่อนในความ
ขัดแย้งทางการเมืองของไทยก่อนปี พ.ศ. ๒๕๓๕ ที่เริ่มมีการกล่าวถึงการชุมนุมทางการเมืองผ่านการ
ติดต่อส่อื สารด้วยโทรศพั ทเ์ คล่อื นทีห่ รือที่เรียกว่า “มอ็ บมอื ถือ” อย่างไรก็ตามประเดน็ ดังกล่าวมิไดเ้ ป็นประเด็น
หลักในด้านการไหลเวียนของข้อมูลข่าวสารมากนักนอกเสียจากใช้เรียกเพื่อขับเนน้ “ชนชั้น” ของผู้ร่วมชมุ นุม
ทางการเมือง ถ้าจะกล่าวให้ถูกต้องอาจจะต้องกล่าวว่าการไหลเวียนเข้าถึงข้อมูลข่าวสารอย่างรวด เร็ว
แพร่หลายผา่ นเทคโนโลยนี ้ันสัมพนั ธก์ ับความขัดแย้งทางการเมอื งอยา่ งจรงิ จังในทศวรรษนี้นี่เอง

๗. ความสัมพันธร์ ะหว่างทมี่ าของข้อมูลกับลักษณะของข้อเสนอเร่อื งความปรองดอง

ข้อเสนอที่ประมวลจากการทบทวนงานวิจัยในด้านหลักการของกระบวนการจัดการความขัดแย้ง
โดยเฉพาะตามแนวทางความยุตธิ รรมระยะเปล่ยี นผา่ นเปน็ แนวทางจดั การความขัดแยง้ ทใี่ ห้ความสำคัญกับการ
ทำความจริงให้ปรากฎ การค้นหาผูก้ ระทำความผิด ผู้รับผิดชอบ การให้อภัยและความเป็นธรรมมาก ซึ่งปัจจัย
เหล่านี้นอกจากความเป็นธรรมแล้วไม่ใช่ประเด็นทีก่ ลุ่มตัวอย่างอื่น ๆ กล่าวถึงมากนักหรือกระทั่งในความเห็น
ของผู้เชี่ยวชาญบางท่านถือว่าการจะปรองดองได้นั้นไม่ควรรื้อฟื้นความขัดแย้งในอดีตขึ้นมาด้วยซ้ำไป ส่วน
วิธีการจัดการความขัดแย้งตามแนวทางที่มาจากการทบทวนงานวิจัยก็มีลกั ษณะเชิงเทคนิคเป็นเครื่องมือชนดิ
หน่ึงจงึ ไม่มีดา้ นทใี่ หค้ วามสำคัญกบั ความคิด อุดมการณห์ รือการกล่าวถึงปัญหาเชงิ โครงสรา้ ง

ในเวลาเดียวกัน ข้อเสนอจากนักวิชาการ แบบสอบถามและการประชุมเชิงปฏิบัติการอาจจะแบ่ง
กว้าง ๆ ตามจุดร่วมหลักของทั้งสามฝ่ายเป็นข้อเสนอว่าด้วยความคิดและอุดมการณ์กับข้อเสนอว่าด้วย
โครงสร้างและสถาบัน ในส่วนของข้อเสนอว่าด้วยความคิดและอุดมการณ์นั้นจะนำไปสู่การแก้ไขปรับเปลี่ยน
ทัศนคติผ่านปัจจัยต่าง ๆ ได้แก่การสื่อสาร การศึกษา สื่อมวลชน ครอบครัวและชุมชน ซึ่งจะทำให้ปัจจัยด้าน
ช่วงวัยมีส่วนสำคัญมากในการขับเคลื่อน ส่วนข้อเสนอว่าด้วยโครงสร้างจะเกี่ยวข้องกับการแก้ไขปรับเปลี่ยน
รัฐธรรมนูญ กฎหมาย สถาบันการเมือง ระบบเศรษฐกิจซึ่งจะทำให้ปจั จัยด้านอาชพี และชีวิตความเป็นอยูเ่ ป็น
ปจั จยั สำคัญทีจ่ ะนำมาคดิ วเิ คราะห์เพือ่ หาแนวทางขับเคลือ่ นต่อไป

๘. แนวทางการขับเคล่อื น

ด้วยเหตุผลดังที่ได้กล่าวมาแล้วว่าภาคส่วนต่าง ๆ มีความเห็นพ้องต้องกันในเรื่องเป้าหมายและ
หลักการของการปรองดองยกเว้นกองทัพและชนชั้นนำที่อาจจะต้องสูญเสียอำนาจและผลประโยชน์หาก
ดำเนินการตามข้อเสนอต่าง ๆ ของประชาชนเช่น การร่างรัฐธรรมนูญ การปรับปรุงแก้ไขระบบเลือกตั้ง การ
เพิ่มการมีส่วนร่วมของประชาชน หรือการลดความเหลื่อมล้ำสร้างระบบเศรษฐกิจที่เป็นธรรมมากขึ้น การ
ดำเนินการแก้ไขปญั หาความขัดแยง้ สร้างความปรองดองจึงอาจขบั เคล่ือนได้ใน ๓ ลักษณะคอื

เสนอ สำนกั งานขับเคลือ่ นการปฏริ ูปประเทศ ยุทธศาสตร์ และการสร้างความสามคั คีปรองดอง (สำนกั งาน ป.ย.ป.)
โดย สถาบันวจิ ยั และใหค้ ำปรึกษาแหง่ มหาวทิ ยาลัยธรรมศาสตร์


รายงานฉบับสมบรู ณ์ โครงการขบั เคลื่อนการสร้างความสามัคคปี รองดองสมานฉันท์ ๒๒๔
รายการคา่ ใช้จ่ายในการสร้างการรบั รู้เพ่ือใหเ้ กดิ ความสามัคคปี รองดองของคนในชาติ

ลักษณะที่ ๑ การแก้ไขปรับเปลี่ยนเชิงโครงสร้างได้แก่ระบบเศรษฐกจิ ซ่ึงเป็นโครงสรา้ งที่สลบั ซับซ้อน
มีผู้เกี่ยวข้องได้รับผลกระทบรุนแรงทันทีกว้างขวาง เป็นการขับเคลื่อนที่ยุ่งยากจำเป็นต้องได้รับแรงสนับสนุน
ทางการเมือง การศึกษาทบทวน ถกเถียงหาข้อสรุปยาวนานและถึงแม้จะได้ข้อสรุปตรงกนั แล้วก็อาจจะต้องใช้
ระยะเวลานานในการรเิ ริม่ ดำเนนิ การ

ลักษณะที่ ๒ การแก้ไขปรับเปลี่ยนสถาบันทางการเมืองได้แก่รัฐธรรมนูญ กฎหมาย การใช้อำนาจรัฐ
หน่วยงานและองค์กรอิสระต่าง ๆ ทางการเมืองซึ่งเป็นสถาบันที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับความขัดแยง้ ทางการเมือง
แม้ว่าอาจจะมีความสลับซับซ้อนแต่น้อยกว่าโครงสร้างทางเศรษฐกิจ การขับเคลื่อนเปลี่ยนแป ลงต่าง ๆ มี
การศึกษาไว้มากจนได้ข้อสรุปที่น่าพึงพอใจจำนวนหนึ่งแล้วจนสามารถริเริ่มดำเนินการได้ทันที อุปสรรคของ
การขบั เคล่ือนแก้ไขปรับเปลี่ยนเชิงสถาบันอยทู่ ี่เจตนารมณ์ของผ้มู ีอำนาจท่ีมักจะไม่ยินยอมสูญเสียอำนาจที่ถือ
ครองอยู่หากไม่ได้รบั การกดดนั จากกลมุ่ พลงั ต่าง ๆ

ลักษณะที่ ๓ การแก้ไขปรับเปลี่ยนทางความคิดและอุดมการณ์ซึ่งเป็นปัจจัยที่อาจจะปรับเปลี่ยนได้
ยากที่สดุ และใชร้ ะยะเวลาในการปรับเปลี่ยนยาวนานทส่ี ุดแต่กเ็ ปน็ ส่วนท่ีสามารถดำเนนิ การได้ทันทีและมักจะ
ไม่ได้รับแรงต่อต้านจากชนชั้นนำและผู้มีอำนาจมากนักเนื่องจากไม่เห็นผลกระทบทางตรงในระยะเวลาอันสน้ั
ต่อชนช้ันนำและผู้ถอื อำนาจ

นอกจากการขับเคลื่อนเชิงหลักการแล้วยังมีการขับเคลื่อนเชิงประเด็นรูปธรรมที่มาจากข้อเสนอเชิง
ทฤษฎี/หลักการ ข้อเสนอจากนกั วชิ าการและประชาชนท่ัวไปได้แก่ การทำความจริงให้ปรากฎ การยอมรับผิด
ขออภัยและแสดงความรับผิดชอบ และการเยียวยาผู้เสียหาย หรือการขับเคลื่อนเพื่อให้เกิดเวทีเจรจาใน
รูปแบบและระดับต่าง ๆ ซง่ึ เป็นวิธีการท่ีดำเนินการได้ทนั ทหี ากมีเจ้าภาพหรือผู้ขับเคล่ือน ภายใต้เงื่อนไขอย่าง
น้อย ๒ ประการคือ การเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวางและการประกันสิทธิเสรีภาพของ
ประชาชน

ต่อประเด็นสถาบนั กษตั รยิ ์ อาจจะต้องทำการศึกษาแยกอกี สว่ นหน่งึ ว่าในความเปน็ จริงแล้วประชาชน
ต้องการถกเถยี งถึงประเดน็ นี้หรือไม่แคไ่ หนอย่างไรและจะเป็นหนทางไปสู่ความปรองดองหรือไม่เน่ืองจากกลุ่ม
ตัวอย่างส่วนใหญ่ให้น้ำหนักกับข้อเสนอเรื่องแก้ไขปรับเปลี่ยนความคิด ทัศนคติด้านการอยู่ร่วมกันบนความ
แตกต่างกับการแก้ไขปรับเปลี่ยนโครงสร้างความเหลื่อมล้ำในมิติต่าง ๆ มากกว่าประเด็นสถาบันกษัตริย์
โดยตรง

๙. กลุม่ เป้าหมายในการขบั เคลอ่ื นและบทบาทหนา้ ทขี่ องสำนกั งาน ป.ย.ป.

เป้าหมายในการขับเคลื่อนระดับต่าง ๆ ทั้งเชิงโครงสร้าง เชิงสถาบันและในทางความคิดและ
อุดมการณ์ประกอบด้วยภาคส่วนต่าง ๆ ได้แก่ผู้มีอำนาจ ชนชั้นนำ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม นักวิชาการ
นกั การเมือง เยาวชนนิสติ นักศึกษาและประชาชนทั่วไป ซง่ึ แนวทาง มาตรการ ความคาดหวังที่มีต่อแต่ละกลุ่ม
ก็จะแตกต่างกันได้ ทั้งนี้รายละเอียดในการดำเนินการจะนำมาจากการวิเคราะห์ข้อมูลกลุ่มตัวอย่ างที่ตอบ
แบบสอบถามของงานวจิ ยั ในการเสนองานงวด ๔ ต่อไป

สำหรบั บทบาทหน้าที่ของสำนักงาน ป.ย.ป. นน้ั เมื่อพจิ ารณาจากการทำงานของ ป.ย.ป. ท่ีผ่านมาจะ
เห็นได้ว่าการทำงานของสำนักงาน ป.ย.ป. สามารถมีส่วนสนับสนุนการดำเนินงานเรื่องการสร้างความ
ปรองดองในทุกระดบั ไมว่ ่าจะเป็นระดับโครงสร้าง ระดบั สถาบันและระดับความคดิ และอุดมการณ์ ท้ังในด้าน
การเป็นตัวกลางประสานงานบูรณาการระหว่างหน่วยงานตา่ ง ๆ เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง การสานต่องาน

เสนอ สำนกั งานขับเคลอื่ นการปฏริ ปู ประเทศ ยทุ ธศาสตร์ และการสรา้ งความสามัคคปี รองดอง (สำนกั งาน ป.ย.ป.)
โดย สถาบันวจิ ยั และใหค้ ำปรกึ ษาแหง่ มหาวทิ ยาลยั ธรรมศาสตร์


รายงานฉบับสมบรู ณ์ โครงการขับเคลอ่ื นการสรา้ งความสามคั คีปรองดองสมานฉันท์ ๒๒๕
รายการคา่ ใช้จา่ ยในการสรา้ งการรบั รเู้ พื่อให้เกดิ ความสามคั คีปรองดองของคนในชาติ

เดิมที่ทำอยู่เช่น การปรับปรุงกฎหมายจากกฎหมายที่เนน้ ด้านการพัฒนาทางเศรษฐกจิ ให้มาเป็นกฎหมายดา้ น
การส่งเสริมสิทธิเสรีภาพประชาชน หรือการรณรงค์เพื่อปรับเปลี่ยนความคิดและอุดมการณ์ สร้างวัฒนธรรม
เห็นต่างแต่อยู่ร่วมกันไดก้ ็เป็นแนวทางที่สำนักงาน ป.ย.ป. สามารถมีบทบาทอย่างสูงได้ และจะกล่าวถงึ เรือ่ งนี้
โดยละเอียดในการเสนองานงวด ๔ ตอ่ ไป

เสนอ สำนกั งานขับเคล่อื นการปฏริ ปู ประเทศ ยุทธศาสตร์ และการสรา้ งความสามัคคีปรองดอง (สำนกั งาน ป.ย.ป.)
โดย สถาบันวจิ ยั และให้คำปรกึ ษาแห่งมหาวิทยาลยั ธรรมศาสตร์


รายงานฉบบั สมบรู ณ์ โครงการขบั เคลอ่ื นการสร้างความสามัคคปี รองดองสมานฉนั ท์ ๒๒๖
รายการคา่ ใชจ้ า่ ยในการสรา้ งการรบั ร้เู พ่ือให้เกดิ ความสามคั คปี รองดองของคนในชาติ

บทที่ ๑๒
การประชาสมั พนั ธผ์ ลการศึกษาวจิ ยั

ภายหลังโครงการฯ เสร็จสิ้นการวิเคราะห์ข้อมูลและเขียนรายงานการวิจัย โครงการได้ผลิต
infographic ประมวลข้อเสนอเพื่อขับเคลื่อนการปรองดองจำนวน ๑ ชิ้นสำหรับการประชาสัมพัน ธ์แก่
ประชาชนในวงกว้าง ตามภาพประกอบ ๓ และรอการอนุมัติจากสำนักงาน ป.ย.ป เพือ่ เผยแพร่ประชาสัมพันธ์
ตอ่ ไป

ภาพประกอบ ๓ Infographic ประชาสมั พันธโ์ ครงการ

นอกจาก infographic แล้วทางโครงการยังได้ร่วมมือกับสำนักงาน ป.ย.ป จัดเผยแพร่ประชาสัมพันธ์
ผลการศึกษาของโครงการฯ ในรูปแบบการประชุมออนไลน์ในหัวข้อ “การประชุมบูรณาการขับเคลื่อนการ
สร้างความสามัคคีปรองดองสู่การปฏิบัติ” ในวันศุกร์ที่ ๑๖ ธันวาคม ๒๕๖๕ โดยได้รับความสนใจจาก
หน่วยงานต่าง ๆ และมผี เู้ ข้ารว่ มประชมุ และรบั ฟังประมาณ ๘๐ คน ตามรายละเอียดภาคผนวก ช

ความคดิ เห็นของผู้รว่ มประชุมตอ่ ผลการศึกษาและขอ้ เสนอของโครงการฯ

ผู้เข้าร่วมประชุมมีความเห็นว่าการจะสร้างความปรองดองได้นั้นจะต้องเริ่มจากการมีทัศนคติท่ี
เหมาะสมเชน่ การไม่โทษว่าฝ่ายใดฝ่ายหน่ึงเป็นฝ่ายผิด การดำเนนิ การที่เกี่ยวข้องกบั ความขดั แยง้ ทางการเมือง
ไม่ควรดำเนินการโดยยึดถือกฎหมายตามตวั อักษร (หลักการตามสำนักกฎหมายบ้านเมือง) เพียงประการเดียว

เสนอ สำนกั งานขบั เคลื่อนการปฏริ ูปประเทศ ยทุ ธศาสตร์ และการสรา้ งความสามัคคีปรองดอง (สำนกั งาน ป.ย.ป.)
โดย สถาบันวจิ ยั และให้คำปรกึ ษาแห่งมหาวิทยาลยั ธรรมศาสตร์


รายงานฉบับสมบรู ณ์ โครงการขับเคล่ือนการสรา้ งความสามคั คปี รองดองสมานฉันท์ ๒๒๗
รายการคา่ ใช้จา่ ยในการสร้างการรบั ร้เู พ่อื ใหเ้ กิดความสามคั คปี รองดองของคนในชาติ

แต่ควรคำนึงถึงหลักรัฐศาสตร์หรือความเป็นการเมืองของตัวสถานการณ์ประกอบด้วยเช่น ในการชุมนุมทาง
การเมืองครั้งหนึ่ง ๆ เจ้าหน้าที่รัฐไม่ควรใช้ข้ออ้างตาม พรบ. ชุมนุมในที่สาธารณะมาจับกุมดำเนินคดีผู้ชุมนุม
ในทันทีแต่อาจจะใช้มาตรการอื่น ๆ ก่อนเช่น การเจรจา นอกจากนี้ควรรณรงค์ไม่ใช้ hate speech หรือ
ถ้อยคำที่สร้างความเกลียดชังเช่น กะลา ไดโนเสาร์ สลิ่ม สามกีบ เป็นต้น ท้ายที่สุดผู้เข้าร่วมการประชุมมี
ข้อเสนอแนะให้ผู้เกี่ยวข้องกับปัญหาความขัดแย้งยึดหลักเมตตาธรรม จริงใจ ตรงไปตรงมา เพื่อให้ปัญหายุติ
โดยมคี วามเป็นธรรม

ทั้งน้ีผู้เข้าร่วมประชุมจำนวนหนึ่งแสดงความชื่นชมและเห็นว่าโครงการนี้เป็นโครงการที่ดีและมี
ประโยชน์ ดงั นี้

ประเด็นคำถามจากผู้ร่วมประชุม

๑. ทำอย่างไรกับ Echo Chamber ซงึ่ เป็นความท้าทายสำคญั ของการลดความขดั แย้ง

สำนกั งานสภาความม่นั คงแห่งชาติ (สมช.) - เห็นถงึ ความสำคญั และมองวา่ เปน็ ปจั จัยสำคญั ท่ีทำให้คน
เกดิ ความขัดแยง้ ในเชิงทัศนคติมากข้นึ ดงั นน้ั ในส่วนของการแก้ไขปัญหาดังกล่าวอาจใช้ Media Literacy หรือ
ทักษะการรู้เท่าทันสื่อเข้ามาช่วย เพื่อเสริมทักษะให้กับประชาชนมากขึ้น รวมถึงการเสริมสร้างทัศนคติให้เกดิ
การรับฟังมากขึ้นด้วย เช่น โครงการ Public Space ที่สมช.เสนออาจเป็นช่องทางหน่ึงที่จะช่วยให้ลดการเกิด
Echo Chamber ได้เช่นกัน โดยการสร้างบรรยากาศที่เป็นมิตร ซึ่งอาจจะไม่ได้นำผู้ที่มีความขัดแย้งมาพูดกัน
โดยตรงว่าทำอย่างไร หรอื จะแกป้ ัญหาอย่างไรในคร้ังแรก แตจ่ ะเปน็ กระบวนการที่นำทง้ั สองฝ่ายมาหารือก่อน
ในขั้นแรก เพื่อที่จะเรียนรู้และทำความเข้าใจซึ่งกันและกัน เป็นต้น ดังนั้นในขั้นแรกของการแก้ปัญหาอาจเริม่
จากการเปิดพื้นที่รับฟัง และเสริมสร้างทักษะการรู้เท่าทันสื่อให้กับประชาชนมากขึ้น ซึ่งน่าจะส่งผลให้ Echo
Chamber ลดลงได้

นกั วจิ ัย.- มองวา่ เป็นประเด็นท่ีสำคญั มาก มีขอ้ เสนอแนะว่าตอ้ งลองออกมาจากโลกของตัวเองและเข้า
ไปฟังเสียงของคนอื่นให้มากขึ้น หรือที่เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “ออกจากกะลา” ของตนเอง ถ้าสนใจประเด็นน้ี
ควรอ่านผลการศึกษาของศาสตราจารย์ ดร. พิรงรอง รามสูต นอกจากนี้ยังมีความเห็นว่าประเด็นปัญหาของ
Echo Chamber มีความเกี่ยวข้องในเชิงเทคนิค หรือ อัลกอริทึมของ Social Media เองด้วย ในเชิงเทคนิค
อาจต้องเขียนโปรแกรมหรือแพลตฟอร์มที่ไม่ก่อให้เกิดการรวมตัวกันของคนที่คิดเห็นเหมือนกัน หรือเขียน
แฟลตฟอรม์ ใหม่ท่ีอลั กอริทึมไม่คัดเลือกเฉพาะความคิดเหน็ ในทิศทางเดียวกันมาปรากฎบนหนา้ ฟีดของเรา แต่
เปน็ การคัดเลอื กคนจากความคดิ เห็นท่แี ตกต่างกนั แทน

๒. ปยป. มแี นวทางการนำเสนอผลรายงานการศกึ ษาท่ีเกย่ี วขอ้ งไปปฏบิ ตั เิ ป็นรูปธรรมอยา่ งไร

ปยป. - แนวทางการแก้ปัญหาจะเป็นไปตามยุทธศาสตร์ชาติ โดยขั้นแรกจะมีแผนบูรณาการ หรือ
แผนปฏิบัติการระหว่างหน่วยงาน ซึ่งในปัจจุบันยังไม่มีแผนชัดเจนนัก โดยเฉพาะแผนการปรองดองในเชิง
เศรษฐกิจสังคม ในเชิงเหลื่อมล้ำ ในเชิงโซเชี่ยล ต่อมาในขั้นที่สอง คือ การมีเครื่องมือหรือกลไกในการ
ปฏิบัติงาน ซึ่งในอดีตมีเครื่องมือ/กลไกเป็นระเบยี บสำนักนายกรัฐมนตรวี ่าด้วยคณะกรรมการสมานฉันท์ หรือ
กลไกอื่น ๆ ตามที่คณะวิจัยได้ทบทวนวรรณกรรมมา เช่น คำสั่งจากคณะคสช. เป็นต้น และในขั้นที่ส ามการ
นำไปสู่การปฏิบัติ มีงบประมาณ มีหน่วยงาน มีกลไกการขับเคลื่อนที่ชัดเจน ไปจนถึงตัวชี้วัดที่ชัดเจน และ
แนวทางการแก้ปญั หาระหว่างทาง

เสนอ สำนักงานขับเคลอื่ นการปฏริ ูปประเทศ ยทุ ธศาสตร์ และการสร้างความสามคั คปี รองดอง (สำนกั งาน ป.ย.ป.)
โดย สถาบันวจิ ยั และใหค้ ำปรกึ ษาแหง่ มหาวิทยาลยั ธรรมศาสตร์


รายงานฉบบั สมบูรณ์ โครงการขบั เคลือ่ นการสรา้ งความสามัคคีปรองดองสมานฉนั ท์ ๒๒๘
รายการคา่ ใชจ้ า่ ยในการสร้างการรบั รูเ้ พอ่ื ให้เกดิ ความสามคั คปี รองดองของคนในชาติ

กล่าวโดยสรุปแนวทางการดำเนินงานของปยป. จะเป็นไปตามยุทธศาสตรช์ าติ โดยจะพยายามทำแผน
และกลไกให้ชัดเจนภายในไตรมาสท่ี ๒ ของปงี บประมาณ ๒๕๖๖

๓. หากหน่วยงานอยากมสี ่วนรว่ ม จะสามารถดำเนนิ การอย่างไรได้บา้ ง

ปยป. - มูลเหตุของความขัดแย้งเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุปัจจัย ทั้งสภาพเศษฐกิจ สังคม การเมือง
และชนชั้น รวมถึงแทรกอยู่ในภาระหน้าที่ของหน่วยงานทุกกระทรวง ทบวง กรม ด้วย ซึ่งทางปยป. มีความ
ตระหนกั ในส่วนงานตรงนเี้ ช่นกัน โดยจะจัดทำแผนบรู ณาการระหวา่ งหนว่ ยงาน ใหท้ ุกหน่วยงาน ทกุ กระทรวง
ทบวง กรม สามารถนำไปถอดเป็นแผนปฏิบัติการรายปี/แผนปฏิบัติการประจำหน่วยงานของตนเองได้อย่าง
ชัดเจน เพ่อื ตอบโจทย์เปา้ หมายความปรองดองร่วมกันตามยุทธศาสตรช์ าติได้

๔. การไกล่เกลี่ยเจรจากับผู้เห็นต่างที่มีความคิดเห็นสุดโต่ง จะมีทางการเจรจากับผู้ที่มีลักษณะดังกล่าวได้
อยา่ งไรเพ่ือใหเ้ กิดความสมานฉนั ท์

สำนกั งานสภาความม่นั คงแห่งชาติ (สมช.) - ตอ้ งใหค้ วามสำคญั ในเร่ืองเวทีและเครื่องมือท่ีจะเลือกมา
ใช้เจรจากับคนกลุ่มนี้ ผ่านการจัดให้มีพื้นที่สำหรับหารือกับผู้มีความเห็นต่าง โดยจำเป็นจะต้องทำให้ผู้มี
ความเห็นต่างเชื่อใจหรือเชื่อมั่นก่อนว่าพื้นที่การแลกเปลี่ยนนี้เป็นพื้นที่ปลอดภัยอย่างแท้จริง เช่น โครงการ
หนึง่ ของสมช.เกี่ยวกบั การเจรจาเพ่ือสันติกับกลุ่มชายแดนภาคใต้ เชน่ น้ีจำเป็นจะต้องการันตีในเร่ืองของความ
ปลอดภยั ของผใู้ ห้ข้อมูลว่าเมอ่ื เขาเข้ามาเจรจาให้ข้อมูลกับภาครัฐแลว้ จะนำมาส่กู ารแก้ปัญหาและทางออกได้
จรงิ เปน็ ต้น นอกจากน้ีประเด็นสำคัญของการปรองดอง คือ ตน้ ตอของปัญหามีมายาวนาน และการแก้ปัญหา
ต้องใช้ระยะเวลานาน เพราะฉะนั้นในกระบวนการแก้ปัญหากับกลุ่มคนที่มีความคิดเห็นสูดโต่ง จะไม่สามารถ
ใช้การเจรจาเพียง ๒ - ๓ ครั้งแล้วเห็นผลลัพธ์ทันที หากแต่ต้องใช้เวลาพูดคุยและทำความเข้าใจร่วมกัน โดย
อาจเร่ิมตน้ จากเรอ่ื งท่เี ห็นตรงกันก่อนหรือมองข้ามในเร่ืองความขัดแย้งไปก่อน หรอื ไมต่ ัดสนิ วา่ การกระทำหรือ
ทัศนคติของเขาเป็นเรื่องผิด และให้เลือกใช้การพูดคุยเพื่อนำไปสู่ทางออกว่าเราจะแก้ปัญหาร่วมกันอย่างไร
หรอื นำไปสูส่ ิง่ ท่ีเห็นประโยชน์รว่ มกันได้อยา่ งไรแทน

นักวิจัย - เห็นด้วยกับทางสมช. ในแนวทางการปรองดองที่จะเกิดขึ้นบนเวทีของการเจรจา ซึ่งหาก
เกดิ ขึน้ จริงจะสามารถชว่ ยแกป้ ญั หาน้ีได้ แตใ่ นขณะเดยี วกันยงั สามารถใชว้ ิธีการแก้ปญั หาอน่ื ๆ ไปพร้อมกันได้
เช่น การสร้างกติกาที่ชอบธรรม เป็นธรรม และเสมอภาคตั้งแต่แรกจะช่วยลดปัญหาการเกิดกลุ่มหัวรุนแรง
หรอื กลมุ่ ผ้มู คี วามคดิ เหน็ ต่างสดุ โต่งทางการเมืองได้

ปยป. – เชื่อว่าหากเศรษฐกิจและสังคมในประเทศดี และหน่วยงานภาครัฐต่าง ๆ กว่า ๕๐๐ แห่ง ทั่ว
ประเทศตระหนักถึง “ความปรองดอง” “สมานฉันท์” และให้ความสำคัญควบคู่ไปกับภารกิจของแต่ละ
หน่วยงาน เช่น กระทรวงพม. มีหน้าที่สำคัญในการดูแลกลุ่มเปราะบางอยู่แล้ว นั้นหมายความว่าจะช่วยเสรมิ
ความเข้มแข็งอะไรบางอย่างในสังคม และส่งเสริมให้เกิดการปรองดองตามไปด้วย เป็นต้น ดังนั้นหากแต่ละ
หน่วยงานเพิ่มแนวคิด และตระหนักถึงความปรองดองเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในภารกิจของแต่ละหน่วยงานก็จะ
ชว่ ยให้เกิดความสามัคคีปรองดองในประเทศในทา้ ยที่สุดได้

เสนอ สำนักงานขับเคลอ่ื นการปฏริ ปู ประเทศ ยุทธศาสตร์ และการสรา้ งความสามัคคีปรองดอง (สำนกั งาน ป.ย.ป.)
โดย สถาบันวจิ ัยและใหค้ ำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์


รายงานฉบับสมบรู ณ์ โครงการขบั เคล่ือนการสรา้ งความสามัคคปี รองดองสมานฉนั ท์ ๒๒๙
รายการคา่ ใช้จ่ายในการสรา้ งการรบั ร้เู พื่อใหเ้ กดิ ความสามัคคปี รองดองของคนในชาติ

๕. การเจรจาไกล่เกลี่ยกับผู้ก่อการร้ายในภาคใต้ เคยมีประเด็นว่าการยอมเจรจาเท่ากับเรายอมรับผู้ก่อเหตุ
วทิ ยากรแตล่ ะทา่ นมคี วามคดิ เหน็ อยา่ งไรและมีแนวทางแก้ไขปญั หาดงั กลา่ วอย่างไร

สำนกั งานสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) - ในหลกั การการเจรจากับผู้ก่อการรา้ ยในเหตุความไม่สงบ
ในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ จะต้องมองข้ามความผิด - ถูก ณ ปัจจุบันของผู้ก่อการร้ายไปก่อน เพื่อเจรจาหาทาง
ออกรว่ มกนั ในอนาคตวา่ ทง้ั สองฝ่ายจะมีแนวทางในการแก้ปัญหาร่วมกนั อย่างไร

นักวิจัย - ความขัดแย้งในพื้นที่ชายแดนภาคใต้เป็นความขัดแย้งคนละชนิดกับความขัดแย้งทาง
การเมืองของไทย เนื่องจากเป็นความขัดแย้งในระดับรัฐชาติ และเป็นความขัดแย้งที่มีความซับซ้อน
ค่อนข้างมากดังนั้น หากเรามองความขัดแย้งชายแดนภาคใตว้ ่าเปน็ ความขัดแย้งในแง่อธปิ ไตย การเจรจากับผู้
ที่อยู่ตรงข้าม/คูก่ รณีกับรัฐไทย เปน็ คู่กรณีที่ไม่ยอมรับอำนาจอธปิ ไตยของรฐั ไทย

ในภาพรวมผู้ร่วมประชุมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นการขับเคลื่อนสร้างความปรองดองท่ี
สอดคล้องกับผลการศกึ ษาในด้านทศั นคติและการบังคบั ใชก้ ฎหมายของหน่วยงานภาครฐั ท่ไี ม่ควรดำเนนิ การใน
ลักษณะที่ก่อให้เกิดความรู้สึกไม่เป็นธรรมในหมู่ประชาชน ส่วนประเด็นคำถามก็แสดงให้เห็นถึงความใส่ใจ
สนใจต่อปัญหาความขัดแย้งและแนวทางสร้างความปรองดองด้วยมุมมองแหลมคมตรงประเด็นในเรื่องที่
เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็น Echo chamber เส้นแบ่งระหว่างความขัดแย้งทางการเมืองภายในประเทศกับความ
ขัดแย้งเรื่องอธิปไตยของรัฐ วิธีการสร้างความปรองดองในเงื่อนไขสุดโต่ง และสำคัญที่สุดคือการสอบถามถึง
ความสามารถและโอกาสท่ีหน่วยงานต่าง ๆ จะมีส่วนรว่ มในการขบั เคลอ่ื นความปรองดองอยา่ งเป็นรปู ธรรม

เสนอ สำนกั งานขบั เคล่ือนการปฏริ ปู ประเทศ ยทุ ธศาสตร์ และการสร้างความสามัคคปี รองดอง (สำนกั งาน ป.ย.ป.)
โดย สถาบันวจิ ยั และใหค้ ำปรึกษาแห่งมหาวทิ ยาลยั ธรรมศาสตร์


รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการขบั เคลือ่ นการสรา้ งความสามคั คปี รองดองสมานฉันท์ ๒๓๐
รายการคา่ ใช้จา่ ยในการสร้างการรบั รูเ้ พอ่ื ใหเ้ กิดความสามคั คีปรองดองของคนในชาติ

บทท่ี ๑๓
แนวทาง กลไก และมาตรการในการสร้างความปรองดองสมานฉันท์

เนื้อหาในบทน้จี ะกล่วถึงข้อเสนอแนะแนวทาง กลไก และมาตรการในการสร้างความปรองดอง
สมานฉันท์ของประชาชนและขจัดความขัดแยง้ ทางการเมืองในสงั คม มรี ายละเอียดดังนี้

การวิเคราะห์สถานการณใ์ นปัจจุบัน

ขอ้ เสนอเรื่องการปรองดองโดยหลักการแลว้ มักไม่ใช่ข้อเสนอใหม่เน่ืองจากเป็นกรอบแนวคิดท่ียอมรับ
กันในระดับสากล ในประเทศไทยมีคณะทำงานหลายชุดที่ทำการศึกษาวจิ ัยและมีข้อเสนอเร่ืองการสร้างความ
ปรองดอง ข้อเสนอเรอ่ื งการปรองดองที่ครอบคลมุ มากที่สุดคือข้อเสนอของคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและ
ค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.) ที่ดำเนินการระหว่างปี ๒๕๕๔ – ๒๕๕๕ ใช้งบประมาณ
ประมาณ ๗๗ ล้านบาท๒ คอป. มีข้อเสนอทั้งสิ้น ๑๔ ส่วนครอบคลุมทั้งแนวคิดเกี่ยวกับการสร้างความ
ปรองดอง ประเด็นที่ควรให้ความสำคัญตลอดจนสถาบันหรอื หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับความขัดแย้ง๓ อย่างไรก็
ตาม ปัญหาของข้อเสนอของ คอป. คือไม่มีการนำไปสู่การปฏิบัติมากนักเพราะเป็น “ข้อเรียกร้อง” ๔ ต่อรัฐ
รัฐบาลและสังคมโดยปราศจากอำนาจหนา้ ทดี่ ำเนนิ การ

สำหรับโครงการขับเคลื่อนการสร้างความสามัคคีปรองดองส มานฉันท์รายการค่าใช้จ่ายในการสร้าง
การรับรู้เพื่อให้เกิดความสามัคคีปรองดองของคนในชาติที่ดำเนินการวิจัยในปี ๒๕๖๕ มีเป้าหมายที่จะผลิต
แผนงานขับเคลื่อนให้เกิดความปรองดองที่สามารถนำไปสู่การปฏิบัติได้ จากข้อมูลงานวิจัยของโครงการฯ
พบว่าการขับเคลื่อนการสร้างความปรองดองในทศวรรษนี้มีจุดแข็งจุดอ่อนโอกาสและอุปสรรคตาม TOWS
Matrix

๒ คณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ, รายงานฉบับสมบูรณ์คณะกรรมการอิสระ
ตรวจสอบและคน้ หาความจริงเพ่ือการปรองดองแห่งชาติ (คอป.) กรกฎาคม ๒๕๕๔-กรกฎาคม ๒๕๕๕, รายงานฉบับสมบูรณ์
ทไี่ มไ่ ด้ตพี มิ พ์, หน้า ๑๕.
๓ คณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ, รายงานฉบับสมบูรณ์คณะกรรมการอิสระ

ตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.) กรกฎาคม ๒๕๕๓- กรกฎาคม ๒๕๕๔) ส่วนที่ ๕
ขอ้ เสนอแนะ, กรุงเทพฯ: กระทรวงยุติธรรม, ๒๕๕๕
๔ คณะกรรมการอสิ ระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาต,ิ ๒๕๕๕, หน้า ๑๑

เสนอ สำนกั งานขับเคลือ่ นการปฏริ ปู ประเทศ ยุทธศาสตร์ และการสร้างความสามคั คีปรองดอง (สำนกั งาน ป.ย.ป.)
โดย สถาบนั วจิ ัยและใหค้ ำปรกึ ษาแหง่ มหาวทิ ยาลัยธรรมศาสตร์


รายงานฉบบั สมบูรณ์ โครงการขับเคล่ือนการสร้างความสามัคคปี รองดองสมานฉันท์ ๒๓๑
รายการคา่ ใชจ้ า่ ยในการสรา้ งการรบั ร้เู พ่ือใหเ้ กดิ ความสามคั คีปรองดองของคนในชาติ

การวิเคราะห์การสร้างความปรองดองด้วย TOWS Matrix

ข้อเสนอของโครงการนี้เป็นข้อเสนอบนฐานของตัวแบบ Public-Private-People Partnerships
(๔P) หรือ “ประชารฐั ” การวิเคราะหจ์ ดุ แข็งจดุ อ่อนโอกาสและอปุ สรรคจะวางอย่บู นปจั จัยภายในซึ่งเก่ียวข้อง
กับคณุ ลกั ษณะเด่นและข้อจำกัดของ ๔P ในขณะที่ปจั จยั ภายนอกเกย่ี วกับโอกาสและอุปสรรคนั้นจะเป็นข้อมูล
เกีย่ วข้องกับสถานการณ์ความขดั แยง้ ทางการเมืองในประเทศไทยท่ีได้จากโครงการวิจัยน้ี

ตาราง ๕๗ การวเิ คราะห์การสรา้ งความปรองดองด้วย TOWS Matrix
ตาราง ๕๘ การวิเคราะห์การสรา้ งความปรองดองด้วย TOWS

Matrix จุดแขง็ (Strength) จุดอ่อน (Weakness)

ปจั จัยภายใน S๑ มีกลไกประชารัฐอันเปน็ แนวคิดท่ี W๑ การดำเนนิ งานยงั มมี ิติตา่ ง ๆ ทไ่ี ม่

ดำเนินการมาตงั้ แต่ปี พ.ศ. ๒๕๕๙ ครอบคลมุ

S๒ กลไกประชารัฐมีเครือข่าย W๒ การกระจายตวั ของเครือข่ายยังไม่

กว้างขวาง มากเท่าที่ควร

S๓ กลไกประชารัฐมีทรัพยากรบุคคล W๓ ทรัพยากรบุคคลและงบประมาณ

และงบประมาณ ที่นำมาใช้ในกลไกประชารัฐอาจมี

S๔ กลไกประชารัฐแสวงความร่วมมือ ขอ้ จำกดั

จากทกุ ภาคส่วน W๔ บทบาทของประชาชนถูกจัดวาง

S๕ กลไกประชารัฐเปิดพ้ืนทใ่ี ห้เอกชน ใหอ้ ยู่ในระดับปฏบิ ัติเปน็ หลัก

ปจั จยั ภายนอก มบี ทบาท W๕ บทบาทเอกชนให้ความสำคัญกับ

มิติด้านความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจ

น้อย

โอกาส (Opportunity) กลยทุ ธเ์ พ่ือสร้าง กลยทุ ธ์เพ่อื ปรับเปล่ยี น

O๑ ประชาชนมีฉันทมติในเรื่องความ SO ส่งเสริมและสร้างช่องทางให้เกิด W๑-๒O๑ เปิดโอกาสมีส่วนร่วมของ

ปรองดอง การรวมตัวเพื่อยื่นวาระต่าง ๆ แก่ ภาคประชาชนมากขนึ้

O๒ สังคมรับรู้และมีความเคลื่อนไหว สงั คมและผ้มู ีอำนาจของประชาชน W๔O๑-๒ ปรับเปลี่ยนบทบาทภาค

เพื่อปรับเปลี่ยนโครงสร้าง สถาบันหรือ SO๑ ใช้กลไกประชารัฐผลักดันเรื่อง ประชาชนมากขึน้ กวา่ ระดบั ปฏบิ ัติการ

ทัศนคติท่ีเป็นอุปสรรคต่อความ การสร้างความปรองดอง W๓O๓-๔ ปรับปรุงการใช้ทรัพยากร

ปรองดอง SO๒ ใช้กลไกประชารัฐเสริมสร้าง บคุ คลและงบประมาณให้สอดคลอ้ งกบั

O๓ ประเทศไทยมีข้อเสนอแนะเรื่อง ทัศนคติ ปรับเปลี่ยนสถาบันและ ข้อเสนอแนะเรื่องความปรองดองมาก

ความปรองดองในระดับประเทศอยู่แลว้ โครงสร้างที่เป็นอุปสรรคต่อความ ขึ้นโดยเฉพาะในมิติที่ยังไม่ได้

หลายชุด ปรองดอง ดำเนนิ การ

O๔ ความต้องการและข้อเสนอของ SO๓-๔ ใช้กลไกประชารัฐผลักดัน W๕O๓-๔ นำข้อเสนอของ คอป. มา

ประชาชนกลุ่มตัวอย่างในโครงการฯ ข้อเสนอแนะเร่ืองความปรองดองไปสู่ ปฏิบัติอย่างจริงจังในเรื่องการเยียวยา

สอดคล้องกับข้อเสนอแนะเรื่องความ การปฏิบัติ ชดเชย ลดความเหล่ือมล้ำ

ปรองดองของ คอป. W๔-๕O๒ ปรับเปลี่ยนบทบาทเอกชน

ให้เพิ่มมิติด้านความเป็นธรรมทาง

เศรษฐกิจ

อุปสรรค (Threat) กลยทุ ธ์เพอื่ ปอ้ งกัน กลยทุ ธเ์ พอ่ื รอโอกาส

T๑ ผมู้ ีอำนาจอาจมแี นวทางในการสรา้ ง ST๑ ภาคประชาชนต้องตื่นตัวในการ WT๓-๔ ปรับลดขนาดการดำเนินการ

ความปรองดองที่แตกต่างไปจาก รวมตัวและยื่นวาระของตนเองผ่าน ตามขอ้ เสนอตา่ ง ๆ

ประชาชน กลไกประชารัฐ W๑ T๑ -๒ พั ฒนา เ ค ร ื อข่ า ย ภาค

ประชาชนท้ังในแนวราบและแนวด่ิง

เสนอ สำนกั งานขบั เคลือ่ นการปฏริ ูปประเทศ ยุทธศาสตร์ และการสรา้ งความสามัคคีปรองดอง (สำนกั งาน ป.ย.ป.)
โดย สถาบนั วจิ ยั และใหค้ ำปรกึ ษาแหง่ มหาวทิ ยาลยั ธรรมศาสตร์


รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการขบั เคลื่อนการสรา้ งความสามัคคปี รองดองสมานฉนั ท์ ๒๓๒
รายการคา่ ใช้จา่ ยในการสรา้ งการรบั รู้เพื่อใหเ้ กิดความสามคั คปี รองดองของคนในชาติ

T๒ ชนชั้นนำต้องการรักษาสถานะท่ี ST๒ ภาคประชาชนต้องกดดันชนช้ัน W๑-๒T๑-๒ แสวงหาแนวร่วมจาก

เปน็ อยู่ (status quo) นำและชี้ประโยชน์ร่วมกันของการ สังคมสำหรับภาคประชาชน

T๓ ข้อเสนอแนะทมี่ ีอยู่เปน็ ข้อเสนอแนะ เปลีย่ นแปลง W๓T๑-๒ รักษาพื้นท่ีการมีสว่ นร่วมใน

เชิงหลักการ ST๓-๔ ภาคประชาชนต้องผลักดัน การใช้ทรัพยากรและงบประมาณของ

T๔ ข้อเสนอแนะเรื่องความปรองดองท่ี ข้อเสนอต่าง ๆ เรื่องความปรองดอง รัฐโดยภาคประชาชน

มีอยู่มักต้องขับเคลื่อนโดยการใช้อำนาจ มาสู่การปฏิบตั ิ W๔-๕T๑-๒ หนุนเสริมบทบาทเชิง

หนา้ ที่หรอื บงั คบั ใชก้ ฎหมาย นโยบายของภาคประชาชน

เปา้ หมาย

เป้าประสงค์สูงสุดของข้อเสนอของโครงการฯ คือการที่ประชาชนสามารถอยู่ร่วมกันได้แม้จะมี
ความเห็นต่างหรือขัดแย้งด้วยการทำใหป้ ระชาชนมอี ำนาจและเพิม่ ที่จะแสดงออกมากขึ้นผ่านการลดอุปสรรค
ทางโครงสร้าง สถาบนั ทัศนคตแิ ละกลไกรฐั และสังคมที่กดทับประชาชน และการพทิ ักษ์รักษาปกป้องเสรีภาพ
ในการแสดงออกของประชาชนมิให้ถูกลิดรอนหรือละเมิดโดยรัฐและผู้มีอำนาจมากกว่าในสังคมด้วยการสร้าง
นิติรัฐ นิติธรรม เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าวมีภารกิจ ๔ เรื่องที่ควรดำเนินการคือ หนึ่ง เพิ่มปัจจัยบวกลด
ปัจจัยที่ก่อให้เกิดความไม่ปรองดอง สอง สร้างทัศนคติที่จำเปน็ ตอ่ การอยูร่ ่วมกัน สามปฏิรูปสถาบันเพ่ือความ
เปน็ ธรรม สีป่ ฏริ ูปโครงสร้างเศรษฐกิจการเมอื งเพ่อื ลดความเหล่อื มลำ้

แนวทาง

จากเป้าหมาย จุดแข็งจุดอ่อนโอกาสและอุปสรรคข้างต้นสะท้อนความต้องการของประชาชนท่ี
ต้องการความเปลี่ยนแปลงและความปรองดอง และข้อเสนอเรื่องความปรองดองที่มีอยู่แล้วในปัจจุบัน ดังนั้น
ประเดน็ สำคญั ในเร่อื งการขบั เคล่ือนการสรา้ งความปรองดองจึงมี ๒ ประเดน็ สำคญั คอื ประการแรก รบั ฟังและ
ตอบสนองต่อข้อเสนอที่เป็นความต้องการของประชาชน และประการที่สอง การนำข้อเสนอแนะที่มีอยู่ไป
ปฏิบัติ ดังนั้นแผนงานที่เสนอจะเป็นแผนงานที่ไม่เรียกร้องต่อรัฐ รัฐบาลหรือสังคมเพียงฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเพื่อ
นำไปผลักดันดำเนินการด้วยอำนาจหน้าที่หรือการบังคับใช้กฎหมายโดยตรง๕ แต่จะเป็นแผนงานที่ภาคส่วน
ต่าง ๆ ของสังคมหรือหน่วยงานภาครัฐสามารถดำเนินการได้ โดยมีแนวทาง “เปิด-ปรับ-ผลัก” กล่าวคือต้อง
ดำเนินการเปิดพลังบวกลดปจั จัยที่กอ่ ให้เกิดความไม่ปรองดอง ปรับเปลี่ยนความรู้คิดเกี่ยวกับการอยู่ร่วมกนั
และผลกั ดันการเปล่ียนแปลงให้มกี ารแก้ไขปรับปรุงเชิงสถาบันและโครงสร้างต่าง ๆ ท่ีเปน็ อุปสรรคต่อการอยู่
รว่ มกนั อยา่ งสนั ตขิ องประชาชน ท้งั หมดน้ีดำเนินการโดยศักยภาพและความสมัครใจของภาคส่วนต่าง ๆ โดยที่
อาจจะประสานงานรว่ มมือระหวา่ งกันหรือใช้ประโยชนจ์ ากศกั ยภาพของกลไกประชารฐั

กลไก

Public-Private-People partnerships (๔Ps) หรือกลไกประชารัฐ เป็นกลไกที่เหมาะสมสำหรับ
ข้อเสนอที่แสวงหาความร่วมมือระหว่างภาคส่วนต่าง ๆ ในสังคมเพื่อขับเคลื่อนความปรองดองเนื่องจากเป็น
กลไกทีไ่ มไ่ ดพ้ ่งึ พาการทำงานหรือความรับผิดชอบของฝ่ายใดฝา่ ยหนึ่งไม่ว่าจะเป็นภาครฐั ภาคเอกชน หรือภาค
ประชาชน แมว้ า่ ประเทศไทยจะมีการประกาศใช้แนวคิดในแนวทาง ๔Ps หรือ “ประชารัฐ” แลว้ กต็ าม แต่เมื่อ

๕ ท้งั นมี้ ิไดห้ มายความว่าไม่ควรเรยี กร้องกดดนั รฐั ใหด้ ำเนินการในเรือ่ งน้ี แต่ข้อเสนอเหล่านเี้ ปน็ ข้อเสนอทีไ่ มจ่ ำเป็นต้องรอการ
สนับสนุนหรอื ดำเนินการจากรฐั และผู้มอี ำนาจโดยตรง

เสนอ สำนักงานขับเคล่อื นการปฏริ ปู ประเทศ ยทุ ธศาสตร์ และการสรา้ งความสามคั คีปรองดอง (สำนกั งาน ป.ย.ป.)
โดย สถาบนั วจิ ยั และใหค้ ำปรึกษาแหง่ มหาวทิ ยาลัยธรรมศาสตร์


รายงานฉบบั สมบูรณ์ โครงการขับเคลือ่ นการสรา้ งความสามคั คปี รองดองสมานฉันท์ ๒๓๓
รายการคา่ ใช้จ่ายในการสรา้ งการรบั รเู้ พอ่ื ให้เกดิ ความสามัคคปี รองดองของคนในชาติ

พิจารณาจากโครงสร้างการวางบทบาทหน้าท่ีระหว่างภาครัฐ เอกชนและประชาชนแล้วจะเห็นว่าบทบาทของ
ประชาชนจะอยใู่ นระดับปฏิบตั กิ าร ดังภาพประกอบ ๔

ภาพประกอบ ๔ การขับเคลื่อนประชารัฐแบบบรู ณาการ

ท่มี า: จดหมายดว่ นทีส่ ดุ ของสำนักเลขาธกิ ารรฐั มนตรี ลงวนั ที่ ๑๔ มกราคม ๒๕๕๙ เร่อื งกลไกประชารัฐ และ กรมการ
ปกครอง, ๒๕๕๙ (https://www.facebook.com/photo?fbid=๑๐๑๘๗๘๗๔๑๘๑๙๕๐๖๗&set=pcb.
๑๐๑๘๗๘๗๔๙๔๘๖๑๗๒๖)

ดังนั้นกลไกการขับเคล่ือนสำหรับข้อเสนอจากโครงการนี้จะเปน็ กลไกประชารัฐในลักษณะที่อาจเรียก
ได้ว่าเป็นกลไกประชารัฐแนวราบที่ให้ความสำคัญกับบทบาทของประชาชนและประชาสังคมที่กว้างขวางมาก
ข้นึ และเพิ่มมากข้ึนดว้ ยการนำเสนอมาตรการต่าง ๆ ที่สามารถริเริ่มดำเนินการและผลักดนั ด้วยภาคประชาชน
และประชาสังคมโดยมีการสนับสนุนจากภาครัฐหรือหน่วยงานต่าง ๆ ของรัฐหรือไม่ก็ได้หรือให้ภาครัฐและ
หนว่ ยงานตา่ ง ๆ ของรัฐทำหน้าท่ีหนุนเสริมมากกว่าบทบาทนำ

มาตรการ

แนวทาง “เปดิ -ปรับ-ผลกั ” อนั หมายถงึ การดำเนนิ การเปิดพลังบวกลดปัจจัยที่เปน็ อุปสรรคต่อความ
ปรองดอง ปรับเปลี่ยนความรู้คิดเกี่ยวกับการอยู่รว่ มกัน และผลักดันการเปลี่ยนแปลงให้มีการแก้ไขปรับปรงุ
เชิงสถาบันและโครงสร้างต่าง ๆ ที่เป็นอุปสรรคต่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติของประชาชนสามารถบรรลุ
เป้าหมายในการสร้างความปรองดองให้เกิดขึ้นอย่างยั่งยืนได้โดยใช้กลไกประชารัฐดำเนินมาตรการต่าง ๆ
ใน ๔ ด้าน๖คือ ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อความปรองดองในทันทีในฐานะมาตรการเพื่อ
เปิดพลังบวกลดปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อความปรองดอง ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างทัศนคติที่จำเป็นต่อความ

๖ ยุทธศาสตร์ ๔ ด้านนี้ประมวลจากหลักการ แนวคิดทฤษฎีเรื่องความขัดแย้งและความปรองดอง ความเห็นของผู้เชี่ยวชาญ
และผู้เกยี่ วขอ้ ง การจัดประชุมเชงิ ปฏบิ ตั กิ ารและการลงพนื้ ท่ี สำรวจความคดิ เหน็ ดว้ ยแบบสอบถาม

เสนอ สำนกั งานขบั เคล่อื นการปฏริ ูปประเทศ ยทุ ธศาสตร์ และการสร้างความสามคั คีปรองดอง (สำนกั งาน ป.ย.ป.)
โดย สถาบนั วจิ ัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์


รายงานฉบบั สมบูรณ์ โครงการขับเคลอื่ นการสรา้ งความสามัคคปี รองดองสมานฉนั ท์ ๒๓๔
รายการคา่ ใชจ้ า่ ยในการสร้างการรบั รูเ้ พือ่ ใหเ้ กิดความสามคั คีปรองดองของคนในชาติ

ปรองดองในฐานะมาตรการด้านการปรับเปลี่ยนความรู้คิดเกี่ยวกับการอยู่ร่วมกัน ยุทธศาสตร์ด้านการปฏิรูป
สถาบนั เพื่อสร้างความปรองดองและยุทธศาสตรด์ า้ นการปฏิรูปโครงสร้างเพื่อความปรองดองทจี่ ะเกดิ ขึ้นได้เม่ือ
มีการผลักดันการเปลี่ยนแปลงให้มีการแก้ไขปรับปรุงเงื่อนไขปัจจัยต่างๆ จากประชาชน โดยมีตัวอย่าง
มาตรการตา่ งๆ ตามแนวทางในยุทธศาสตรท์ ้งั ๔ ด้านดงั น้ี

มาตรการตามแนวทาง “เปดิ -ปรับ-ผลกั ”

ยทุ ธศาสตร์ที่ ๑ การสรา้ งผลกระทบเชิงบวกต่อความปรองดองในทนั ที

ยุทธศาสตร์นี้เป็นยุทธศาสตร์เพื่อสนับสนุนแนวทาง “เปิดพลังบวกลดปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อความ
ปรองดอง” โดยใชก้ ลยทุ ธ์ท่มี ุ่งใช้กลไกประชารัฐผลักดันการสร้างความปรองดอง (SO๑) เปิดโอกาสมีส่วนร่วม
ของภาคประชาชน (W๑-๒O๑) ปรบั ปรงุ การใช้ทรัพยากรบุคคลและงบประมาณใหส้ อดคล้องกับข้อเสนอแนะ
เรื่องการปรองดองมากขึ้นโดยเฉพาะในมิติที่ยังไม่ได้ดำเนินการ (W๓O๓-๔) นำข้อเสนอของ คอป. มาปฏิบัติ
อย่างจรงิ จัง (W๕O๓-๔)

เปา้ ประสงค์

๑) เยยี วยาและชดเชยผไู้ ด้รับผลกระทบดา้ นลบจากความขัดแย้ง

๒) ลดผลกระทบด้านลบทางเศรษฐกิจ การเมอื งและสงั คมตอ่ ประชาชน

๓) ลดปจั จยั ท่กี อ่ ใหเ้ กิดความไมป่ รองดองหรือความขัดแย้ง

๔) เสรมิ ความรสู้ กึ ดา้ นบวกตอ่ ความปรองดอง

เสนอ สำนักงานขบั เคลอื่ นการปฏริ ปู ประเทศ ยทุ ธศาสตร์ และการสร้างความสามคั คีปรองดอง (สำนกั งาน ป.ย.ป.)
โดย สถาบนั วจิ ยั และใหค้ ำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์


รายงานฉบับสมบรู ณ์ โครงการขับเคลอื่ นการสร้างความสามัคคีปรองดองสมานฉนั ท์ ๒๓๕
รายการคา่ ใชจ้ ่ายในการสรา้ งการรบั รู้เพ่อื ใหเ้ กิดความสามัคคปี รองดองของคนในชาติ

คา่ เปา้ หมาย

๑) ประชาชนสามารถมสี ว่ นรว่ มในกระบวนการปรองดอง

๒) ประชาชนผ้ไู ด้รับผลกระทบในด้านลบจากความขดั แยง้ ทางการเมืองไดร้ ับการเยียวยา

๓) ประชาชนเกิดความรูส้ กึ ในทางบวกกับหนว่ ยงานท่ีเข้ารว่ มหรือสนบั สนุนโครงการ

๔) ประชาชนที่เข้าร่วมในโครงการในรูปแบบต่าง ๆ มีโอกาสเปิดใจรับฟังปัญหา ความคิด ความรู้สึก
ของเพือ่ นรว่ มสังคม

๕) สังคมไทยเรยี นรกู้ ระบวนการประชาธิปไตย

ตวั อยา่ งโครงการตามยุทธศาสตร์ท่ี ๑

โครงการที่ ๑ โครงการเยยี วยา: “ประชาชนอาสาสนทนากบั เพ่อื นรว่ มสงั คม”

ทีม่ าและเปา้ หมาย
ผู้ที่ได้รับผลกระทบด้านลบจากความขัดแย้งมีทั้งผลกระทบทางด้านร่างกายและจิตใจ

โครงการ “ประชาชนอาสาสนทนากับเพื่อนรว่ มสงั คม” มีเปา้ หมายทจี่ ะใหก้ ารสนบั สนุนทางดา้ นจิตใจ
แก่ประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากความขดั แยง้ ในด้านลบทางดา้ นจติ ใจจากความขดั แย้งทางการเมือง
ในด้านตา่ ง ๆ
กลมุ่ เป้าหมายหลัก

เยาวชน ผสู้ ูงวัย ประชาชนผู้ได้รบั ผลกระทบดา้ นลบจากความขัดแย้งทางการเมอื ง๗
การดำเนนิ งาน
ระยะที่หนงึ่ รับสมคั รและคัดเลอื กประชาชนอาสา
ระยะที่สอง ฝกึ อบรมประชาชนทผ่ี ่านการคัดเลือก
ระยะที่สาม เปิดเครือข่ายสังคมออนไลน์เพื่อรับฟังปัญหาและพูดคุยสนทนากับผู้ได้รับ
ผลกระทบจากความขดั แย้งทางการเมืองโดยประชาชนอาสาท่ีผา่ นการฝกึ อบรมแลว้
ผลท่ีคาดวา่ จะได้รับ
๑) ประชาชนโดยเฉพาะเยาวชนและผู้สงู วยั สามารถมีสว่ นรว่ มในกระบวนการปรองดอง
๒) ประชาชนผู้ได้รับผลกระทบในด้านลบทางด้านจิตใจจากความขัดแย้งทางการเมืองได้รับ
การเยยี วยาทางจิตใจเบื้องต้น
๓) ประชาชนเกิดความร้สู กึ ในทางบวกกบั หนว่ ยงานทเี่ ขา้ ร่วมหรือสนบั สนนุ โครงการ

๔) ประชาชนที่เข้าร่วมในโครงการในรูปแบบต่าง ๆ มีโอกาสเปิดใจรับฟังปัญหา ความคิด

ความรู้สกึ ของเพอ่ื นรว่ มสงั คม

๗ การเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามของโครงการฯ พบว่าเยาวชนนักเรียนนักศึกษาเป็นหนึ่งในกลุ่มตัวอย่างที่มีความ
กระตอื รือล้นทางการเมืองสูงท่ีสุด

เสนอ สำนกั งานขับเคล่ือนการปฏริ ปู ประเทศ ยุทธศาสตร์ และการสรา้ งความสามัคคปี รองดอง (สำนกั งาน ป.ย.ป.)
โดย สถาบันวจิ ยั และใหค้ ำปรึกษาแห่งมหาวทิ ยาลยั ธรรมศาสตร์


รายงานฉบบั สมบรู ณ์ โครงการขบั เคล่อื นการสรา้ งความสามคั คปี รองดองสมานฉนั ท์ ๒๓๖
รายการคา่ ใช้จา่ ยในการสรา้ งการรบั รูเ้ พ่อื ให้เกิดความสามัคคปี รองดองของคนในชาติ

หนว่ ยงานผ้รู ับผดิ ชอบ

ภาคประชาสังคม หน่วยงานภาคเอกชน หน่วยงานภาครัฐที่สามารถรับหน้าที่เป็นสำนักงาน
และประสานงานกับหน่วยงานสาธารณะสุขด้านจิตเวชในการรับสมัคร คัดเลือกและฝึกอบรม
ประชาชนอาสา และรบั หนา้ ทบ่ี รหิ ารจดั การเครือขา่ ยสงั คมออนไลน์

โครงการท่ี ๒ โครงการเกื้อหนนุ : “การจา้ งงานผู้วา่ งงานและนักเรียนนกั ศึกษาโดยวดั ภาคเอกชน
หน่วยงานภาครัฐ องคก์ รอสิ ระและมหาวิทยาลยั ”

ท่มี าและเป้าหมาย
ปัญหาปากท้องเป็นประเด็นหนึ่งที่ส่งผลต่อความรุนแรงของความขัดแย้ง การแก้ไขปัญหา

ปากท้องมีส่วนในการลดความขดั แย้งและส่งเสริมความปรองดอง ประชนชนท่ีประสบปัญหาปากท้อง
มกั มีทศั นคติในทางบวกมากขน้ึ เมื่อปญั หาดังกลา่ วบรรเทาลงไป
กล่มุ เป้าหมายหลกั

ประชาชนทีป่ ระสบปัญหาปากทอ้ ง อยูใ่ นสภาวะวา่ งงาน หรอื เยาวชนในวัยเรียนทีต่ ้องการหา
รายได้พเิ ศษเพ่ือการศึกษา
การดำเนินงาน

ระยะทห่ี นงึ่ ติดตอ่ ประสานงานกับองคก์ รและหน่วยงานตา่ ง ๆ เช่น วัด หน่วยงานภาคเอกชน
หน่วยงานภาครัฐ องคก์ รอิสระ มหาวทิ ยาลยั เพอื่ ชักชวนให้เข้ารว่ มโครงการในฐานะผ้วู า่ จ้าง

ระยะที่สอง รับสมัครและคัดเลือกประชาชน นักเรียนนักศึกษาที่สนใจเข้าร่วมโครงการใน
ฐานะคนทำงานชั่วคราวตามลักษณะงาน และแจกจ่ายงานตามความสามารถและความต้องการของ
ประชาชน นกั เรียนนกั ศึกษาและหนว่ ยงาน
ผลลัพธ์

๑) องค์กรและหน่วยงานทัง้ ภาครัฐและเอกชนตลอดจนองค์กรอิสระและมหาวทิ ยาลัยมีสว่ น
ร่วมในการเกอ้ื หนุนประชาชนผ้เู สยี เปรียบในสังคม

๒) ประชาชนผเู้ สยี เปรียบในสังคมไดร้ บั โอกาสและผลตอบแทนทางเศรษฐกจิ
๓) เกิดบทสนทนาระหวา่ งภาคสว่ นตา่ ง ๆ ของสังคมกับประชาชนผ้เู สียเปรยี บ
๔) ประชาชนผูเ้ สยี เปรยี บรูส้ กึ ในทางบวกต่อภาคส่วนตา่ ง ๆ และหนว่ ยงานทเ่ี กี่ยวขอ้ ง
๕) หนว่ ยงานที่เกี่ยวข้องในโครงการไดร้ ับภาพลกั ษณ์และความรูส้ กึ ในทางบวกจากสงั คม
๖) การช่วยเหลือเกือ้ หนนุ กนั และกนั ชว่ ยส่งเสริมให้สังคมเกดิ บรรยากาศแห่งการปรองดอง
หน่วยงานผู้รับผิดชอบ
ภาคประชาสังคม หน่วยงานภาคเอกชน หน่วยงานภาครัฐ องค์กรอิสระหรือมหาวิทยาลัยท่ี
สามารถรับหนา้ ที่เป็นสำนักงานรบั สมัคร คัดเลือกและประสานงานระหว่างประชาชนกับผ้วู า่ จ้าง

เสนอ สำนกั งานขบั เคล่ือนการปฏริ ูปประเทศ ยุทธศาสตร์ และการสรา้ งความสามคั คีปรองดอง (สำนกั งาน ป.ย.ป.)
โดย สถาบนั วจิ ยั และให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์


รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการขับเคลื่อนการสร้างความสามัคคปี รองดองสมานฉันท์ ๒๓๗
รายการคา่ ใช้จ่ายในการสรา้ งการรบั รูเ้ พื่อให้เกดิ ความสามัคคปี รองดองของคนในชาติ

โครงการที่ ๓ โครงการ “เสวนาเชิงปฏบิ ัตกิ ารเกย่ี วกับการเปลี่ยนตวั ผู้นำในระบอบประชาธิปไตย”

ที่มาและเปา้ หมาย
ประชาชนที่ให้ข้อมูลต่อโครงการฯ จำนวนหนึ่งมีความเห็นว่าการปรับเปลี่ยนตัวแสดงทาง

การเมืองจำนวนหนึ่งได้แก่ ผู้นำและชนชั้นนำผูก้ ุมอำนาจบางกลุ่มออกจากตำแหน่งทางการเมืองเปน็
หนทางหนึ่งในการลดความขัดแย้งและสร้างความปรองดอง๘อย่างไรก็ตามการปรับเปลี่ยนตัวแสดง
ทางการเมืองโดยตวั มันเองก็เป็นชนวนความขัดแยง้ ชนดิ หนึง่ หากไม่ได้เกิดขึ้นตามระเบียบของระบอบ
ที่คนในชาติยึดถือ ประเทศไทยปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยดังนั้นการปรับเปลี่ยนตัวแสดงทาง
การเมอื งดว้ ยหลกั การและวถิ ีทางในระบอบประชาธปิ ไตยจงึ เปน็ สิ่งจำเป็นทป่ี ระชาชนควรเรยี นรู้เพื่อมิ
ให้ความต้องการปรับเปลี่ยนผู้นำทางการเมืองเฉพาะหน้ากลายมาเป็นสิ่งที่บ่อนทำลายประชาธิปไตย
และบรรยากาศของความปรองดองในประเทศ
กลุ่มเป้าหมาย

นักการเมืองท้องถิ่นในฐานะตัวแสดงทางการเมืองที่ใกล้ชิดกับประชาชนและมีพลังในการ
ขับเคลื่อนทางการเมืองจากฐานรากจนถึงระดบั ชาติ
การดำเนนิ งาน

ระยะทหี่ นึง่ ประมวลองคค์ วามร้แู ละเรยี บเรียงเป็นหลกั สตู รสำหรบั การประชมุ เชิงปฏิบัตกิ าร
ระยะที่สอง เผยแพร่องค์ความรู้และแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนตัวแสดงทาง
การเมืองในระบอบประชาธิปไตยแก่องค์กรการเมืองระดบั ท้องถน่ิ ในจงั หวดั เปา้ หมาย
ผลลพั ธ์
๑) นักการเมืองและผู้ปฏิบัติงานการเมืองในระดับท้องถิ่นมีความรู้ความเข้าใจเรื่องหลักการ
และแนวปฏบิ ตั ใิ นการปรบั เปล่ยี นตัวแสดงทางการเมอื งในระบอบประชาธิปไตย
๒) ลดความรู้สึกและความต้องการที่จะเปลี่ยนตัวแสดงทางการเมืองด้วยกระบวนการที่ไม่
เปน็ ไปตามระบอบประชาธปิ ไตยซึ่งกอ่ ให้เกดิ ความขดั แยง้ และทำลายบรรยากาศปรองดอง
๓) ปรับเปลี่ยนความต้องการเปลี่ยนแปลงตัวแสดงทางการเมืองอย่างฉับพลันทันทีด้วย
กระบวนการท่ไี ม่เป็นประชาธปิ ไตยใหเ้ ปน็ พลังในการขับเคลอ่ื นประชาธิปไตยและความปรองดอง
หนว่ ยงานรบั ผดิ ชอบ
องค์กรอิสระ หน่วยงานภาครัฐ ทำหน้าที่ประสานงานกับนักวิชาการ NGOs นักเคลื่อนไหว
นักสทิ ธิ หรือมหาวทิ ยาลัยในการประมวลองค์ความรู้และผลติ หลักสตู รเพ่ือเผยแพร่

๘ ความเหน็ ของประชาชนผเู้ ข้ารว่ มการประชุมเชิงปฏบิ ตั ิการ “โครงการขบั เคลื่อนการสรา้ งความสามคั คีปรองดองสมานฉันท์
และการสร้างการรบั รู้เพื่อให้เกิดความสามัคคีปรองดองของคนในชาติ” วันที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๖๕ ที่จังหวัดชลบุรี และวันที่
๒๒ และ ๒๓ กันยายน ๒๕๖๕ ที่นครราชสีมาและกรุงเทพฯ ตามลำดับ และความเห็นของรองศาสตราจารย์ ดร. ปริญญา
เทวานฤมิตรกลุ

เสนอ สำนกั งานขบั เคลื่อนการปฏริ ูปประเทศ ยุทธศาสตร์ และการสรา้ งความสามคั คีปรองดอง (สำนกั งาน ป.ย.ป.)
โดย สถาบนั วจิ ัยและใหค้ ำปรึกษาแหง่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์


รายงานฉบับสมบรู ณ์ โครงการขบั เคล่ือนการสร้างความสามัคคปี รองดองสมานฉันท์ ๒๓๘
รายการคา่ ใชจ้ า่ ยในการสรา้ งการรบั รูเ้ พอื่ ใหเ้ กดิ ความสามคั คปี รองดองของคนในชาติ

ยทุ ธศาสตรท์ ่ี ๒ การส่งเสริมทศั นคตทิ ี่จำเป็นต่อความปรองดอง

เป็นยุทธศาสตร์เพ่ือสนบั สนนุ แนวทาง “ปรบั เปลยี่ นความรู้คิดเก่ียวกับการอยู่ร่วมกัน” โดยใช้กลยุทธ์
ท่มี ุ่งใช้กลไกประชารฐั เสริมสร้างทัศนคตทิ ี่จำเปน็ ต่อความปรองดอง (SO๒) ปรบั เปลยี่ นบทบาทภาคประชาชน
มากขึ้นกวา่ ในระดบั ปฏบิ ัติการ (W๔O๑-๒) ปรบั เปลย่ี นบทบาทภาคเอกชนและข้าราชการให้เพิ่มมติ ิด้านความ
เป็นธรรมมากขนึ้ ในทุกด้าน (W๕O๓-๔)

เปา้ ประสงค์

ผู้นำและชนชั้น ประชาชน ส่ือมวลชน ข้าราชการ นักการเมอื ง มีทศั นคตแิ ละวิถปี ฏิบตั ิท่สี อดคล้องกับ
คณุ คา่ ในระบอบประชาธิปไตย

คา่ เป้าหมาย

๑) ประชาชนมคี วามรูค้ วามเข้าใจเร่ืองสทิ ธเิ สรภี าพของตนเองตามกฎหมาย

๒) ประชาชนรับทราบช่องทางในการเข้าถึงกระบวนการทางกฎหมาย

๓) ประชาชนตระหนักถงึ คุณคา่ และความสำคญั ของตนเองในกระบวนการปรองดอง

๔) หน่วยงานทีเ่ ข้าร่วมโครงการมีภาพลักษณ์ทดี่ ีในเร่ืองของการสง่ เสรมิ สิทธเิ สรีภาพของประชาชน

๕) ผู้นำ ชนชั้นนำ สื่อมวลชน ข้าราชการและนักการเมืองตระหนักถึงหลักการพื้นฐานของการอยู่
รว่ มกันในสังคมประชาธิปไตย

ตวั อย่างโครงการตามยทุ ธศาสตร์ที่ ๒

โครงการที่ ๑ “ส่งเสริมประชาชนให้ตระหนักถึงคุณค่าและความสำคัญของตนเองด้วยการเข้าถงึ
กระบวนการยตุ ิธรรม”

ทม่ี าและเป้าหมาย

อุปสรรคประการหนึ่งของการอยู่ร่วมกันในสังคมของประชาชนคือการเข้าไม่ถึง
กระบวนการยุติธรรมของประชาชน ด้านหนึ่งก็ส่งผลให้เกิดความรู้สึกคับข้องใจหรือต้องใช้
กลไกยตุ ิความขัดแย้งแบบอนื่ ในอกี ดา้ นหน่ึงก็ส่งผลใหเ้ กิดความรู้สึกด้อยอำนาจ ไม่มีอำนาจ
ที่จะแสดงออกหรือขาดเครื่องมือในการปกป้องการแสดงออกของตนเอง ดังนั้นการรณรงค์
ส่งเสริมให้ประชาชนรู้จักและเข้าใจสิทธิเสรีภาพของตนเองในระบอบประชาธิปไตยจะเป็น
จุดเริ่มต้นของการเข้าถึงกระบวนการแก้ไขความขัดแย้งตามกฎหมาย โดยเฉพาะประชาชนผู้
รสู้ ึกว่าถูกอำนาจรัฐหรอื กลไกของรัฐคุกคาม๙

กลุ่มเป้าหมาย

ประชาชนท่ัวไปโดยเฉพาะประชาชนทอ่ี ยู่ในสถานะเสยี เปรียบ

๙ ข้อมูลจากประชาชนผู้ร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการของโครงการฯ ด้วยวาจาและผ่านการเขียนลงใน แบบสอบถามที่ว่า
ปญั หาประการหน่ึงของความขดั แย้งในการเมอื งไทยคอื การใชอ้ ำนาจหน้าท่ีในทางมชิ อบของกลไกรฐั

เสนอ สำนกั งานขับเคลอ่ื นการปฏริ ูปประเทศ ยทุ ธศาสตร์ และการสร้างความสามคั คีปรองดอง (สำนกั งาน ป.ย.ป.)
โดย สถาบนั วจิ ัยและให้คำปรกึ ษาแห่งมหาวิทยาลยั ธรรมศาสตร์


รายงานฉบบั สมบรู ณ์ โครงการขับเคล่ือนการสรา้ งความสามคั คีปรองดองสมานฉนั ท์ ๒๓๙
รายการคา่ ใช้จ่ายในการสร้างการรบั รู้เพอ่ื ใหเ้ กดิ ความสามัคคีปรองดองของคนในชาติ

การดำเนินงาน

ระยะที่หนึ่ง ประมวลเนื้อหาและผลิตสื่อประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับสิทธิเสรภี าพและชอ่ งทางใน
การเข้าถงึ กระบวนการทางกฎหมายของประชาชน

ระยะท่ีสอง เผยแพรเ่ นื้อหาด้วยช่องทางต่าง ๆ

ผลลพั ธ์

๑) ประชาชนมีความรูค้ วามเขา้ ใจเรือ่ งสิทธิเสรภี าพของตนเองตามกฎหมาย

๒) ประชาชนรับทราบชอ่ งทางในการเขา้ ถึงกระบวนการทางกฎหมาย

๓) ประชาชนตระหนักถึงคุณค่าและความสำคญั ของตนเองในกระบวนการปรองดอง

๔) หน่วยงานที่เข้าร่วมโครงการมีภาพลักษณ์ที่ดีในเรื่องของการส่งเสริมสิทธิเสรีภาพของ
ประชาชน

๕) สง่ เสรมิ หลกั การพืน้ ฐานของการอยู่รว่ มกันในสังคมประชาธปิ ไตย

หน่วยงานผูร้ ับผิดชอบ

ภาคประชาสังคม หน่วยงานภาคเอกชน หน่วยงานภาครัฐ องค์กรอิสระ
มหาวิทยาลยั ทีส่ นใจส่งเสริมให้ประชาชนตระหนกั รถู้ งึ คณุ คา่ และความสำคัญของตนเอง

โครงการที่ ๒ “ส่งเสรมิ ความรูแ้ ละทศั นคติท่จี ำเปน็ ต่อการอย่รู ่วมกนั ”

ท่ีมาและเปา้ หมาย

การอยู่ร่วมกันแม้จะมีความแตกต่างและความขัดแย้งจำเป็นต้องวางอยู่บนความรู้และ
ทัศนคติจำนวนหนึ่งของสมาชิกร่วมสังคม สังคมสามารถป้องกันความขัดแย้งที่ยืดเยื้อรุนแรงได้ด้วย
การปลูกฝงั ทำความเขา้ ใจปรชั ญา หลักการและกตกิ าของการอยูร่ ว่ มกนั ในสงั คม

กลมุ่ เปา้ หมาย

ประชาชนท่ัวไปโดยเฉพาะกลมุ่ คนหนมุ่ สาววัยทำงาน นกั เรยี นนักศกึ ษา

การดำเนินงาน

ระยะที่หนึ่ง ประกวดบทความ บทกวี เรื่องสั้นเกี่ยวกับปรัชญา หลักการและกติการของการ
อยรู่ ่วมกนั ในสงั คมทง้ั ในระดับประชาชนท่วั ไป นกั เรยี น นกั ศึกษา นกั วชิ าการ

ระยะทส่ี อง เผยแพรบ่ ทความ บทกวี เร่ืองสัน้ ดังกลา่ วสสู่ งั คม

ระยะท่สี าม จัดงานเสวนาวา่ ดว้ ยบทความ บทกวี เรอื่ งสน้ั

ระยะท่ีสี่ ประมวลองค์ความรู้ เนอื้ หาสาระจากสารดังกล่าวจดั ทำเปน็ ส่ือเพ่ือเผยแพร่หรือจัด
ประชุมเชิงปฏบิ ตั กิ าร

เสนอ สำนักงานขับเคล่ือนการปฏริ ูปประเทศ ยุทธศาสตร์ และการสรา้ งความสามคั คีปรองดอง (สำนกั งาน ป.ย.ป.)
โดย สถาบันวจิ ัยและใหค้ ำปรกึ ษาแห่งมหาวทิ ยาลยั ธรรมศาสตร์


รายงานฉบบั สมบูรณ์ โครงการขบั เคลอื่ นการสรา้ งความสามคั คปี รองดองสมานฉนั ท์ ๒๔๐
รายการคา่ ใชจ้ ่ายในการสรา้ งการรบั รู้เพอ่ื ให้เกดิ ความสามคั คปี รองดองของคนในชาติ

ผลลพั ธ์

๑) ประชาชน คนหนุ่มสาว นักเรียนและนักศึกษามีโอกาสมีส่วนร่วมในกิจกรรมสร้างความ
ปรองดอง

๒) ประชาชน คนหนุ่มสาว นักเรียนและนักศึกษามีโอกาสแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับความ
ปรองดองของตนเองส่สู งั คม

๓) สังคมเปิดพื้นท่ีสำหรบั บทสนทนาว่าด้วยการอยู่ร่วมกันในหลากหลายรปู แบบหลากหลาย
เน้ือหา

๔) หนว่ ยงานท่ีเกีย่ วข้องสามารถนำเน้ือหาสาระจากกจิ กรรมทเ่ี กิดข้ึนไปขยายผลในเรื่องการ
สรา้ งความปรองดอง

๕) หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้รับภาพลักษณ์ที่ดีจากการสนับสนุนและเผยแพร่เนื้อหาว่าด้วย
ความปรองดอง

๖) ภาครฐั ทราบความคดิ เหน็ ของประชาชนในเรอ่ื งความปรองดอง

หนว่ ยงานผรู้ ับผดิ ชอบ

ภาคประชาสังคม หน่วยงานภาคเอกชน หน่วยงานภาครัฐ องค์กรอิสระ
มหาวิทยาลัยที่สนใจส่งเสริมการเผยแพร่ความรู้และทัศนคติที่จำเป็นต่อการอยู่ร่วมกันใน
รูปแบบวชิ าการและศิลปะหลายรูปแบบ

โครงการท่ี ๓ “สังคมตระหนกั รถู้ งึ ความสำคัญของความปรองดองอย่างผ่อนคลาย”

ทีม่ าและเปา้ หมาย

ความปรองดองเป็นกจิ กรรมทต่ี ้องดำเนนิ การอย่างต่อเน่ืองจงึ มีความจำเป็นท่ีต้องมีกจิ กรรมท่ี
กระตุ้นเตือนใหส้ งั คมตระหนักรถู้ ึงความสำคัญของความปรองดองอยา่ งสมำ่ เสมอ

กลมุ่ เปา้ หมาย

ประชาชน นกั เรยี น นักศึกษาผชู้ นื่ ชอบกิจกรรมและการออกกำลังกาย

การดำเนินงาน

จัดกิจกรรมตามรูปแบบการใช้ชีวิตที่ประชาชนชื่นชอบเช่น การเดินหรือการวิ่งเพื่อความ
ปรองดอง การจัดเฟสติวัลเพื่อความปรองดองระดับต่าง ๆ หรือกิจกรรมเฉพาะด้านเช่น สมุดบันทึก
เพื่อความปรองดองเพื่อให้ประชาชนทุกคนสามารถนึกถึงกิจกรรมต่าง ๆ ในการสร้างความปรองดอง
ในชีวิตประจำวนั ของแต่ละคนและนำไป share ต่อในโซเชียลมีเดยี ได้

ผลลพั ธ์

๑) ประเดน็ เรอ่ื งความปรองดองอย่ใู นสายตาประชาชนตลอดเวลา

๒) ประชาชนคุ้นชินกับแนวคิดและหลกั ปฏิบตั เิ ร่อื งความปรองดอง

๓) ประชาชนรูส้ ึกเป็นมติ รกับแนวทางการปรองดอง

เสนอ สำนักงานขบั เคล่ือนการปฏริ ูปประเทศ ยุทธศาสตร์ และการสร้างความสามคั คปี รองดอง (สำนกั งาน ป.ย.ป.)
โดย สถาบันวจิ ัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวทิ ยาลยั ธรรมศาสตร์


รายงานฉบบั สมบูรณ์ โครงการขับเคลื่อนการสร้างความสามัคคปี รองดองสมานฉนั ท์ ๒๔๑
รายการคา่ ใชจ้ ่ายในการสรา้ งการรบั รู้เพือ่ ให้เกิดความสามคั คปี รองดองของคนในชาติ

๔) บรรยากาศของความปรองดองที่ดีและยงั่ ยนื

๕) หน่วยงานที่สนับสนุนและดำเนินการได้รบั ภาพลักษณ์ที่ดีในเรื่องความทันสมัยและความ

ปรองดอง

หน่วยงานผรู้ บั ผิดชอบ

ภาคประชาสงั คม หนว่ ยงานภาคเอกชน หนว่ ยงานภาครฐั องค์กรอสิ ระ มหาวิทยาลยั ที่สนใจ
สง่ เสรมิ ความปรองดองให้เปน็ สว่ นหน่ึงวิถีชวี ติ ของประชาชน

โครงการที่ ๔ “ผ้นู ำการส่งเสรมิ ความเสมอภาคและต่อตา้ น hate speech”

ท่ีมาและเป้าหมาย

การสรา้ งความรับรู้หรือทศั นคติแกป่ ระชาชนทั่วไปมหี ลากหลายช่องทาง การดำเนินการผ่าน
ผนู้ ำเป็นช่องทางหนง่ึ ต่อประเดน็ เร่ืองความรู้และทัศนคติทีจ่ ำเป็นต่อการอยู่ร่วมกันนั้น ประเด็นเรื่อง
ความเสมอภาคและการต่อต้าน hate speech เป็นประเด็นสากลและตรงกับความต้องการของ
ประชาชนจำนวนมากจึงสมควรทจี่ ะหยบิ ยกมานำเสนอผ่านผนู้ ำเพื่อใหไ้ ด้ผลสมั ฤทธิ์

กลมุ่ เปา้ หมาย

ผู้นำทางความคดิ และบคุ คลท่มี ีช่ือเสียงดา้ นตา่ ง ๆ ในสังคมไทย

การดำเนนิ งาน

ระยะท่ีหนึ่ง คัดเลือกและทาบทามผูน้ ำทางความคิดในสังคมไทยเข้าร่วมโครงการ

ระยะท่สี อง จดั ประชมุ เชงิ ปฏิบัติการเพ่ือเปิดพ้ืนทสี่ นทนาแลกเปล่ียนความรู้ความคิดเห็นกับ
หรอื ในหม่ผู ู้นำความคดิ ว่าด้วยความปรองดองในภาคปฏบิ ัตกิ าร

ระยะที่สาม ส่งเสริมให้ผู้นำความคิดที่ผ่านการประชุมเชิงปฏิบัติการแล้วนำผลที่ได้จากการ
ประชมุ ไปเผยแพร่ต่อในช่องทางตา่ ง ๆ

ผลลพั ธ์

๑) ผูน้ ำความคิดในสังคมไทยเขา้ มามสี ว่ นรว่ มในการสรา้ งความปรองดอง

๒) ผ้นู ำความคดิ ในสังคมไทยช่วยเผยแพร่ความคดิ วา่ ดว้ ยความปรองดองสูส่ ังคม

๓) สังคมเกดิ ความรู้สกึ ในด้านบวกตอ่ กิจกรรมวา่ ด้วยความปรองดองต่าง ๆ

หนว่ ยงานผู้รบั ผิดชอบ

ภาคประชาสงั คม หน่วยงานภาคเอกชน หนว่ ยงานภาครัฐ องค์กรอสิ ระ มหาวทิ ยาลัยท่ีสนใจ
ทำงานรว่ มกับผนู้ ำทางความคิดในสังคมไทยเพ่ือสง่ เสริมบรรยากาศในการสร้างความปรองดอง

เสนอ สำนกั งานขับเคลอ่ื นการปฏริ ูปประเทศ ยทุ ธศาสตร์ และการสรา้ งความสามคั คีปรองดอง (สำนกั งาน ป.ย.ป.)
โดย สถาบันวจิ ยั และให้คำปรกึ ษาแหง่ มหาวทิ ยาลัยธรรมศาสตร์


รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการขบั เคลอื่ นการสร้างความสามัคคีปรองดองสมานฉันท์ ๒๔๒
รายการคา่ ใช้จ่ายในการสรา้ งการรบั รเู้ พ่อื ให้เกดิ ความสามคั คปี รองดองของคนในชาติ

ยทุ ธศาสตร์ท่ี ๓ การปฏิรูปเชิงสถาบนั เพื่อสรา้ งความปรองดอง

เป็นยุทธศาสตร์เพื่อสนับสนุนแนวทาง “ผลักดันการเปลี่ยนแปลงให้มีการแก้ไขปรับปรุงเชิงสถาบัน
ตา่ ง ๆ ทีเ่ ป็นอุปสรรคต่อการอยู่รว่ มกนั อย่างสันติของประชาชน” โดยใชก้ ลยุทธ์ทมี่ ุ่งสง่ เสริมและสร้างช่องทาง
ให้เกิดการรวมตัวเพื่อยื่นวาระต่าง ๆ แก่สังคมและผู้มีอำนาจของประชาชน (SO) ผลักดันข้อเสนอแนะเรื่อง
ความปรองดองไปสู่การปฏิบัติ (SO๓-๔) ปรับเปลี่ยนบทบาทเอกชนให้เพิ่มมิติด้านความเป็นธรรมทาง
เศรษฐกิจ (W๔-๕O๒) ภาคประชาชนต้องตื่นตัวในการรวมตัวและยื่นวาระของตนเองผ่านกลไกประชารัฐ
(ST๑) ภาคประชาชนต้องกดดันชนชั้นนำและชีป้ ระโยชน์ร่วมกันของการเปลี่ยนแปลง (ST๒) ภาคประชาชน
ต้องผลักดันข้อเสนอต่าง ๆ เรื่องความปรองดองมาสู่การปฏิบัติ (ST๓-๔) ซึ่งในกระบวนการดังกล่าวภาค
ประชาชนอาจจะจำเป็นต้องมีการปรับลดขนาดการดำเนินการตามข้อเสนอ (WT๓-๔) พยายามเข้าไปมี
บทบาทเชิงนโยบายและมีสว่ นรว่ มในการใช้ทรัพยากรและงบประมาณมากขึ้น (W๔-๕T๑-๒) และ (W๓T๑-๒)
พร้อมทั้งแสวงหาแนวทางจากสังคมและพัฒนาเครือข่ายภาคประชาชนให้แข็งแกร่งยืดหยุ่นมากขึ้นทั้งใน
แนวราบและแนวดิง่ (W๑-๒T๑-๒) และ (W๑T๑)

เป้าประสงค์

๑) ระเบียบการเมอื ง เศรษฐกจิ และสังคมเพ่อื การอยรู่ ว่ มกันโดยสนั ติในระบอบประชาธิปไตย

๒) กระบวนการยุตธิ รรมท่ปี ระชาชนยอมรับ

คา่ เป้าหมาย

๑) สังคมไทยมพี ลังสนบั สนนุ กลไกเชงิ สถาบันในการจัดการความขัดแย้งโดยสันติ

๒) ระเบียบการเมือง เศรษฐกิจและสังคมที่เป็นอุปสรรคต่อการอยู่ร่วมกันโดยสันติในระบอบ
ประชาธปิ ไตยได้รบั การพิจารณาและเปล่ยี นแปลง

๓) การเปล่ียนแปลงกระบวนการยตุ ธิ รรมไดร้ บั ความสนใจจากสังคม

ตวั อยา่ งโครงการตามยทุ ธศาสตรท์ ่ี ๓

โครงการที่ ๑ โครงการจัดตัง้ สถาบนั เพ่อื ส่งเสริมความขดั แย้งที่สันติ

ท่มี าและเป้าหมาย

เพอ่ื เป็นเวทีแลกเปลี่ยน “ความจรงิ ” ในสังคม มุ่งสรา้ งความเข้าใจเหตุการณ์ความขดั แยง้
และสร้างกลไกในสังคมเพือ่ การก้าวผ่านความขดั แย้งในสังคมอยา่ งสันติ มีความยตุ ธิ รรม

กลุม่ เปา้ หมาย

ภาครฐั และภาคประชาชน

การดำเนินงาน

มีคณะกรรมการที่มาจากผมู้ ีส่วนได้สว่ นเสยี ทางการเมือง และมีวาระในการดำเนนิ งาน

มีเวท/ี พืน้ ทเี่ ผยแพรข่ ้อมูล สันติเสวนา และสรา้ งการรบั รู้ข้อเท็จจรงิ ของกลมุ่ ผมู้ สี ว่ นได้ส่วน
เสียในการเปล่ยี นผ่านทางการเมอื ง

เสนอ สำนกั งานขบั เคลอื่ นการปฏริ ูปประเทศ ยุทธศาสตร์ และการสรา้ งความสามัคคปี รองดอง (สำนกั งาน ป.ย.ป.)
โดย สถาบนั วจิ ัยและใหค้ ำปรกึ ษาแหง่ มหาวทิ ยาลัยธรรมศาสตร์


รายงานฉบบั สมบูรณ์ โครงการขับเคล่อื นการสร้างความสามคั คีปรองดองสมานฉนั ท์ ๒๔๓
รายการคา่ ใชจ้ า่ ยในการสร้างการรบั รเู้ พอื่ ให้เกดิ ความสามคั คีปรองดองของคนในชาติ

มกี ลไกเพ่ือการกา้ วผ่านความขัดแย้งในสงั คมอยา่ งสนั ติด้วยความยุตธิ รรมอยา่ งเปน็ สถาบัน
เช่น มีหลักสตู รการพฒั นาทักษะความรู้ และความเขา้ ใจต่อการเปลี่ยนผ่านความขัดแย้ง การตั้ง
คณะกรรมการแสวงหาความจริง การลงโทษผกู้ ระทำผิด การเยียวยาความเสียหาย การขอโทษ และ
การให้อภัย เป็นตน้

มีระบบเทคโนโลยสี ารสนเทศสำหรบั จดั เกบ็ ข้อเท็จจรงิ ของผมู้ สี ่วนได้ส่วนเสยี โดยอาจจะเป็น
ภาพ เสียง ข้อความ บทความ ขา่ ว ในชว่ งเวลาต่างๆ เพ่ือการสบื ค้นอย่างเป็นระบบ สามารถเข้าผ่าน
ระบบสารสนเทศไดโ้ ดยสะดวก

มีกระบวนการเผยแพร่ขอ้ มูลเพือ่ สร้างการรับรใู้ นสงั คมของสถานการณต์ ่างๆ บนฐาน
ขอ้ เทจ็ จริงของผมู้ ีส่วนได้ส่วนเสียทกุ กลมุ่ โดยเฉพาะอยา่ งย่ิงกลมุ่ ผู้ดอ้ ยโอกาส ดอ้ ยอำนาจ กลุ่มท่ี
เสียเปรียบทางการเมือง

ผลลัพธ์

๑) ประเทศไทยมสี ถาบนั ทส่ี ง่ เสรมิ สนบั สนุนการปรองดองอยา่ งครอบคลุม

๒) ประเทศไทยมีกลไกในการส่งเสริมและสนบั สนนุ การปรองดองอย่างเปน็ ระบบ

๓) ประชาชนและหนว่ ยงานที่เกยี่ วขอ้ งสามารถใช้ประโยชนเ์ พอื่ ความปรองดอง

๔) รฐั และหน่วยงานทเี่ กยี่ วข้องไดร้ ับภาพลักษณท์ ี่ดีในฐานะผสู้ นับสนุนการก่อตั้ง

หนว่ ยงานผู้รับผิดชอบ

ภาคประชาสังคม หน่วยงานภาคเอกชน หน่วยงานภาครัฐ องค์กรอสิ ระ มหาวิทยาลัยทสี่ นใจ
ส่งเสรมิ การก่อตั้งสถาบนั เพื่อการสรา้ งความปรองดองถาวร

ยุทธศาสตร์ที่ ๔ การปฏริ ูปโครงสร้างเพื่อสรา้ งความปรองดอง

เป็นยุทธศาสตร์ที่สนับสนุนมาตรการตามแนวทาง “ผลักดันการเปลี่ยนแปลงให้มีการแก้ไขปรับปรุง
โครงสร้างตา่ ง ๆ ทเ่ี ปน็ อปุ สรรคต่อการอยรู่ ่วมกนั อย่างสันติของประชาชน” อย่างไรก็ตามการปฏิรูปโครงสร้าง
เศรษฐกิจ สังคมและการเมืองเป็นภารกิจระยะยาว เกี่ยวข้องกับปัจจัยและผู้คนจำนวนมาก ผลกระทบทั้งใน
ด้านลบและบวกต่อภาคส่วนต่าง ๆ ลกึ ซึง้ ใหญโ่ ตและทสี่ ำคญั คือ จำเป็นตอ้ งใช้พลังขับเคลื่อนในรูปแบบต่าง ๆ
อยา่ งมาก สงิ่ ทโ่ี ครงการนี้เสนอตามแนวทาง “เปิด-ปรบั -ผลกั ” จงึ เน้นด้านการส่งเสริมและสรา้ งช่องทางให้เกิด
การรวมตัวเพื่อยื่นวาระต่าง ๆ แก่สังคมและผู้มีอำนาจของประชาชน (SO) หนุนเสริมบทบาทเชิงนโยบายของ
ภาคประชาชน (W๔-๕T๑-๒) ภาคประชาชนต้องตืน่ ตวั ในการรวมตัวและยื่นวาระของตนเองผ่านกลไกประชา
รัฐ (ST๑) ภาคประชาชนต้องกดดันชนชั้นนำและชี้ประโยชน์ร่วมกันของการเปลี่ยนแปลง (ST๒) ภาค
ประชาชนต้องผลักดันข้อเสนอต่าง ๆ เรื่องความปรองดองมาสู่การปฏิบัติโดยเฉพาะในด้านการปฏิรูป
โครงสร้าง (ST๓-๔)

เป้าประสงค์

๑) โครงสร้างทางการเมอื งทป่ี รบั ตวั ต่อการเปลย่ี นแปลงในระบอบประชาธิปไตย

๒) โครงสรา้ งทางเศรษฐกจิ ทีใ่ ห้ความเปน็ ธรรมแกป่ ระชาชน

๓) โครงสรา้ งทางสงั คมทีส่ ง่ เสรมิ สทิ ธิ เสรภี าพและศักยภาพของประชาชน

เสนอ สำนักงานขบั เคลอื่ นการปฏริ ูปประเทศ ยทุ ธศาสตร์ และการสร้างความสามคั คปี รองดอง (สำนกั งาน ป.ย.ป.)
โดย สถาบันวจิ ัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวทิ ยาลัยธรรมศาสตร์


รายงานฉบบั สมบรู ณ์ โครงการขบั เคล่ือนการสรา้ งความสามคั คีปรองดองสมานฉนั ท์ ๒๔๔
รายการคา่ ใช้จา่ ยในการสร้างการรบั รูเ้ พอ่ื ใหเ้ กิดความสามัคคปี รองดองของคนในชาติ

คา่ เป้าหมาย

๑) ประชาชนสามารถสะท้อนความต้องการการเปลย่ี นแปลงเชิงโครงสรา้ งด้านต่าง ๆ

๒) สงั คมตระหนกั ถึงโครงสรา้ งที่ไม่เปน็ ธรรมมากข้ึน

๓) ปจั จยั ที่เปน็ อปุ สรรคตอ่ การส่งเสริมสทิ ธิ เสรีภาพและศักยภาพของประชาชนลดลง

ตวั อย่างโครงการตามยทุ ธศาสตร์ที่ ๔

โครงการที่ ๑ “การปรองดองทางเศรษฐกจิ ”

ทม่ี าและเป้าหมาย

การปรับเปลี่ยนโครงสร้างทางเศรษฐกิจเพื่อลดความเหลื่อมล้ำและสร้างความเป็นธรรมทาง
เศรษฐกิจให้มากขึ้นเป็นปัจจัยหนึ่งที่จะช่วยลดปัญหาและป้องกันความขัดแย้ง “การปรองดองทาง
เศรษฐกิจ” เป็นมิตหิ น่งึ ของความคิดริเร่ิมเพื่อปรบั เปล่ียนส่วนหน่งึ ของโครงสร้างทางเศรษฐกิจโดยไม่
จำเป็นต้องรอการริเริม่ จากผู้มีอำนาจหรือรัฐบาล โครงการนี้มีเป้าหมายที่จะสนับสนุนการสร้างมลู ค่า
ทางเศรษฐกิจในพื้นที่โดยใช้รากฐานจากชุมชนที่เปิดโอกาสให้สมาชิกในชุมชนมีส่วนร่วมอย่าง
กวา้ งขวาง

กลมุ่ เปา้ หมาย

ผปู้ ระกอบการรายย่อยในชมุ ชนและสมาชกิ รว่ มชุมชน

การดำเนนิ งาน

ระยะที่หนึง่ เปดิ รับแผนธุรกิจจากชุมชนตา่ ง ๆ โดยเนน้ หลกั การเร่ืองคุณค่าท้องถ่ิน องค์รวม
ความยงั่ ยืนและการมสี ่วนร่วมของสมาชกิ ในชมุ ชน

ระยะที่สอง ประสานงานเพื่อจับคู่ระหว่างผู้ประกอบการรายย่อยในชุมชนกับภาคเอกชนอ่ืน
ๆ ท่สี นใจเพ่ือพฒั นาแผนธุรกจิ ร่วมกนั

ผลลัพธ์

๑) ผูป้ ระกอบการรายยอ่ ยในชุมชนและสมาชกิ รว่ มชมุ ชนมีโอกาสพฒั นาธรุ กจิ ของตนเอง

๒) สร้างโอกาสในการพัฒนารูปแบบการทำธุรกิจใหม่ ๆ แบบมีส่วนร่วมและให้คุณค่ากับ
ชมุ ชน

๓) องค์กรและหน่วยงานผู้สนับสนุนโครงการได้รับภาพลักษณ์ที่ดีในเรื่องการบริหารจัดการ
ธรุ กิจทีย่ งั่ ยนื และรบั ผดิ ชอบต่อสังคม

๔) ภาครัฐไดร้ บั ประโยชน์จากการเติบโตทางเศรษฐกิจและการลดความขัดแย้ง

หน่วยงานท่รี ับผิดชอบ

ภาคประชาสงั คม หน่วยงานภาคเอกชน หนว่ ยงานภาครฐั องค์กรอสิ ระ มหาวทิ ยาลัยท่ีสนใจ
ส่งเสริมธรุ กิจของชมุ ชน

เสนอ สำนักงานขบั เคลื่อนการปฏริ ปู ประเทศ ยุทธศาสตร์ และการสร้างความสามัคคีปรองดอง (สำนกั งาน ป.ย.ป.)
โดย สถาบันวจิ ัยและใหค้ ำปรกึ ษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์


รายงานฉบบั สมบูรณ์ โครงการขับเคล่ือนการสร้างความสามคั คีปรองดองสมานฉันท์ ๒๔๕
รายการคา่ ใชจ้ ่ายในการสรา้ งการรบั รเู้ พอ่ื ให้เกิดความสามคั คีปรองดองของคนในชาติ

ภาคผนวก

เสนอ สำนกั งานขับเคลื่อนการปฏริ ูปประเทศ ยทุ ธศาสตร์ และการสรา้ งความสามัคคปี รองดอง (สำนกั งาน ป.ย.ป.)
โดย สถาบนั วจิ ัยและใหค้ ำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลยั ธรรมศาสตร์


รายงานฉบับสมบรู ณ์ โครงการขับเคล่อื นการสรา้ งความสามัคคปี รองดองสมานฉนั ท์ ๒๔๖
รายการคา่ ใชจ้ า่ ยในการสรา้ งการรบั รู้เพ่ือใหเ้ กดิ ความสามคั คปี รองดองของคนในชาติ

ภาคผนวก ก
หนงั สือเชิญประชมุ คณะกรรมการผเู้ ชี่ยวชาญครง้ั ท่ี ๑

เสนอ สำนักงานขบั เคล่อื นการปฏริ ปู ประเทศ ยทุ ธศาสตร์ และการสร้างความสามัคคปี รองดอง (สำนกั งาน ป.ย.ป.)
โดย สถาบนั วจิ ัยและใหค้ ำปรกึ ษาแหง่ มหาวิทยาลยั ธรรมศาสตร์


รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการขับเคลอ่ื นการสร้างความสามคั คปี รองดองสมานฉนั ท์ ๒๔๗
รายการคา่ ใชจ้ า่ ยในการสรา้ งการรบั ร้เู พ่อื ให้เกดิ ความสามคั คปี รองดองของคนในชาติ

เสนอ สำนกั งานขับเคลือ่ นการปฏริ ูปประเทศ ยุทธศาสตร์ และการสรา้ งความสามคั คีปรองดอง (สำนกั งาน ป.ย.ป.)
โดย สถาบนั วจิ ยั และใหค้ ำปรกึ ษาแหง่ มหาวทิ ยาลัยธรรมศาสตร์


รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการขับเคลอ่ื นการสร้างความสามคั คปี รองดองสมานฉนั ท์ ๒๔๘
รายการคา่ ใชจ้ า่ ยในการสรา้ งการรบั ร้เู พ่อื ให้เกดิ ความสามคั คปี รองดองของคนในชาติ

เสนอ สำนกั งานขับเคลือ่ นการปฏริ ูปประเทศ ยุทธศาสตร์ และการสรา้ งความสามคั คีปรองดอง (สำนกั งาน ป.ย.ป.)
โดย สถาบนั วจิ ยั และใหค้ ำปรกึ ษาแหง่ มหาวทิ ยาลัยธรรมศาสตร์


รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการขับเคลอ่ื นการสร้างความสามคั คปี รองดองสมานฉนั ท์ ๒๔๙
รายการคา่ ใชจ้ า่ ยในการสรา้ งการรบั ร้เู พ่อื ให้เกดิ ความสามคั คปี รองดองของคนในชาติ

เสนอ สำนกั งานขับเคลือ่ นการปฏริ ูปประเทศ ยุทธศาสตร์ และการสรา้ งความสามคั คีปรองดอง (สำนกั งาน ป.ย.ป.)
โดย สถาบนั วจิ ยั และใหค้ ำปรกึ ษาแหง่ มหาวทิ ยาลัยธรรมศาสตร์


รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการขับเคลอ่ื นการสร้างความสามคั คปี รองดองสมานฉนั ท์ ๒๕๐
รายการคา่ ใชจ้ า่ ยในการสรา้ งการรบั ร้เู พ่อื ให้เกดิ ความสามคั คปี รองดองของคนในชาติ

เสนอ สำนกั งานขับเคลือ่ นการปฏริ ูปประเทศ ยุทธศาสตร์ และการสรา้ งความสามคั คีปรองดอง (สำนกั งาน ป.ย.ป.)
โดย สถาบนั วจิ ยั และใหค้ ำปรกึ ษาแหง่ มหาวทิ ยาลัยธรรมศาสตร์


รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการขับเคลอ่ื นการสร้างความสามคั คปี รองดองสมานฉนั ท์ ๒๕๑
รายการคา่ ใชจ้ า่ ยในการสรา้ งการรบั ร้เู พ่อื ให้เกดิ ความสามคั คปี รองดองของคนในชาติ

เสนอ สำนกั งานขับเคลือ่ นการปฏริ ูปประเทศ ยุทธศาสตร์ และการสรา้ งความสามคั คีปรองดอง (สำนกั งาน ป.ย.ป.)
โดย สถาบนั วจิ ยั และใหค้ ำปรกึ ษาแหง่ มหาวทิ ยาลัยธรรมศาสตร์


รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการขับเคลอ่ื นการสร้างความสามคั คปี รองดองสมานฉนั ท์ ๒๕๒
รายการคา่ ใชจ้ า่ ยในการสรา้ งการรบั ร้เู พ่อื ให้เกดิ ความสามคั คปี รองดองของคนในชาติ

เสนอ สำนกั งานขับเคลือ่ นการปฏริ ูปประเทศ ยุทธศาสตร์ และการสรา้ งความสามคั คีปรองดอง (สำนกั งาน ป.ย.ป.)
โดย สถาบนั วจิ ยั และใหค้ ำปรกึ ษาแหง่ มหาวทิ ยาลัยธรรมศาสตร์


รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการขับเคลอ่ื นการสร้างความสามคั คปี รองดองสมานฉนั ท์ ๒๕๓
รายการคา่ ใชจ้ า่ ยในการสรา้ งการรบั ร้เู พ่อื ให้เกดิ ความสามคั คปี รองดองของคนในชาติ

เสนอ สำนกั งานขับเคลือ่ นการปฏริ ูปประเทศ ยุทธศาสตร์ และการสรา้ งความสามคั คีปรองดอง (สำนกั งาน ป.ย.ป.)
โดย สถาบนั วจิ ยั และใหค้ ำปรกึ ษาแหง่ มหาวทิ ยาลัยธรรมศาสตร์


รายงานฉบบั สมบูรณ์ โครงการขบั เคลอ่ื นการสร้างความสามคั คีปรองดองสมานฉันท์ ๒๕๔
รายการคา่ ใช้จ่ายในการสรา้ งการรบั รเู้ พ่อื ให้เกิดความสามัคคีปรองดองของคนในชาติ

ภาคผนวก ข
หนงั สอื แต่งต้ังคณะกรรมการผเู้ ช่ียวชาญ โครงการขับเคล่ือนการสรา้ งความสามัคคีปรองดองสมานฉนั ท์
รายการค่าใช้จ่ายในการสรา้ งการรับรเู้ พื่อให้เกิดความสามัคคีปรองดอง
ของคนในชาติ

เสนอ สำนกั งานขบั เคล่อื นการปฏริ ปู ประเทศ ยุทธศาสตร์ และการสรา้ งความสามัคคีปรองดอง (สำนกั งาน ป.ย.ป.)
โดย สถาบันวจิ ยั และใหค้ ำปรกึ ษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์


รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการขับเคลอ่ื นการสร้างความสามคั คปี รองดองสมานฉนั ท์ ๒๕๕
รายการคา่ ใชจ้ า่ ยในการสรา้ งการรบั ร้เู พ่อื ให้เกดิ ความสามคั คปี รองดองของคนในชาติ

เสนอ สำนกั งานขับเคลือ่ นการปฏริ ูปประเทศ ยุทธศาสตร์ และการสรา้ งความสามคั คีปรองดอง (สำนกั งาน ป.ย.ป.)
โดย สถาบนั วจิ ยั และใหค้ ำปรกึ ษาแหง่ มหาวทิ ยาลัยธรรมศาสตร์


รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการขับเคลอ่ื นการสร้างความสามคั คปี รองดองสมานฉนั ท์ ๒๕๖
รายการคา่ ใชจ้ า่ ยในการสรา้ งการรบั ร้เู พ่อื ให้เกดิ ความสามคั คปี รองดองของคนในชาติ

เสนอ สำนกั งานขับเคลือ่ นการปฏริ ูปประเทศ ยุทธศาสตร์ และการสรา้ งความสามคั คีปรองดอง (สำนกั งาน ป.ย.ป.)
โดย สถาบนั วจิ ยั และใหค้ ำปรกึ ษาแหง่ มหาวทิ ยาลัยธรรมศาสตร์


รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการขับเคลอ่ื นการสร้างความสามคั คปี รองดองสมานฉนั ท์ ๒๕๗
รายการคา่ ใชจ้ า่ ยในการสรา้ งการรบั ร้เู พ่อื ให้เกดิ ความสามคั คปี รองดองของคนในชาติ

เสนอ สำนกั งานขับเคลือ่ นการปฏริ ูปประเทศ ยุทธศาสตร์ และการสรา้ งความสามคั คีปรองดอง (สำนกั งาน ป.ย.ป.)
โดย สถาบนั วจิ ยั และใหค้ ำปรกึ ษาแหง่ มหาวทิ ยาลัยธรรมศาสตร์


รายงานฉบับสมบรู ณ์ โครงการขบั เคลือ่ นการสร้างความสามคั คีปรองดองสมานฉันท์ ๒๕๘
รายการคา่ ใชจ้ ่ายในการสรา้ งการรบั รเู้ พ่ือให้เกิดความสามัคคีปรองดองของคนในชาติ

ภาคผนวก ค
เอกสารประกอบการประชุมคณะกรรมการผเู้ ชี่ยวชาญครงั้ ที่ ๑

เสนอ สำนกั งานขับเคลอื่ นการปฏริ ูปประเทศ ยทุ ธศาสตร์ และการสร้างความสามัคคปี รองดอง (สำนกั งาน ป.ย.ป.)
โดย สถาบันวจิ ัยและให้คำปรึกษาแหง่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์


รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการขับเคลอ่ื นการสร้างความสามคั คปี รองดองสมานฉนั ท์ ๒๕๙
รายการคา่ ใชจ้ า่ ยในการสรา้ งการรบั ร้เู พ่อื ให้เกดิ ความสามคั คปี รองดองของคนในชาติ

เสนอ สำนกั งานขับเคลือ่ นการปฏริ ูปประเทศ ยุทธศาสตร์ และการสรา้ งความสามคั คีปรองดอง (สำนกั งาน ป.ย.ป.)
โดย สถาบนั วจิ ยั และใหค้ ำปรกึ ษาแหง่ มหาวทิ ยาลัยธรรมศาสตร์


รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการขับเคลอ่ื นการสร้างความสามคั คปี รองดองสมานฉนั ท์ ๒๖๐
รายการคา่ ใชจ้ า่ ยในการสรา้ งการรบั ร้เู พ่อื ให้เกดิ ความสามคั คปี รองดองของคนในชาติ

เสนอ สำนกั งานขับเคลือ่ นการปฏริ ูปประเทศ ยุทธศาสตร์ และการสรา้ งความสามคั คีปรองดอง (สำนกั งาน ป.ย.ป.)
โดย สถาบนั วจิ ยั และใหค้ ำปรกึ ษาแหง่ มหาวทิ ยาลัยธรรมศาสตร์


รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการขับเคลอ่ื นการสร้างความสามคั คปี รองดองสมานฉนั ท์ ๒๖๑
รายการคา่ ใชจ้ า่ ยในการสรา้ งการรบั ร้เู พ่อื ให้เกดิ ความสามคั คปี รองดองของคนในชาติ

เสนอ สำนกั งานขับเคลือ่ นการปฏริ ูปประเทศ ยุทธศาสตร์ และการสรา้ งความสามคั คีปรองดอง (สำนกั งาน ป.ย.ป.)
โดย สถาบนั วจิ ยั และใหค้ ำปรกึ ษาแหง่ มหาวทิ ยาลัยธรรมศาสตร์


รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการขับเคลอ่ื นการสร้างความสามคั คปี รองดองสมานฉนั ท์ ๒๖๒
รายการคา่ ใชจ้ า่ ยในการสรา้ งการรบั ร้เู พ่อื ให้เกดิ ความสามคั คปี รองดองของคนในชาติ

เสนอ สำนกั งานขับเคลือ่ นการปฏริ ูปประเทศ ยุทธศาสตร์ และการสรา้ งความสามคั คีปรองดอง (สำนกั งาน ป.ย.ป.)
โดย สถาบนั วจิ ยั และใหค้ ำปรกึ ษาแหง่ มหาวทิ ยาลัยธรรมศาสตร์


รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการขับเคลอ่ื นการสร้างความสามคั คปี รองดองสมานฉนั ท์ ๒๖๓
รายการคา่ ใชจ้ า่ ยในการสรา้ งการรบั ร้เู พ่อื ให้เกดิ ความสามคั คปี รองดองของคนในชาติ

เสนอ สำนกั งานขับเคลือ่ นการปฏริ ูปประเทศ ยุทธศาสตร์ และการสรา้ งความสามคั คีปรองดอง (สำนกั งาน ป.ย.ป.)
โดย สถาบนั วจิ ยั และใหค้ ำปรกึ ษาแหง่ มหาวทิ ยาลัยธรรมศาสตร์


รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการขับเคลอ่ื นการสร้างความสามคั คปี รองดองสมานฉนั ท์ ๒๖๔
รายการคา่ ใชจ้ า่ ยในการสรา้ งการรบั ร้เู พ่อื ให้เกดิ ความสามคั คปี รองดองของคนในชาติ

เสนอ สำนกั งานขับเคลือ่ นการปฏริ ูปประเทศ ยุทธศาสตร์ และการสรา้ งความสามคั คีปรองดอง (สำนกั งาน ป.ย.ป.)
โดย สถาบนั วจิ ยั และใหค้ ำปรกึ ษาแหง่ มหาวทิ ยาลัยธรรมศาสตร์


รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการขับเคลอ่ื นการสร้างความสามคั คปี รองดองสมานฉนั ท์ ๒๖๕
รายการคา่ ใชจ้ า่ ยในการสรา้ งการรบั ร้เู พ่อื ให้เกดิ ความสามคั คปี รองดองของคนในชาติ

เสนอ สำนกั งานขับเคลือ่ นการปฏริ ูปประเทศ ยุทธศาสตร์ และการสรา้ งความสามคั คีปรองดอง (สำนกั งาน ป.ย.ป.)
โดย สถาบนั วจิ ยั และใหค้ ำปรกึ ษาแหง่ มหาวทิ ยาลัยธรรมศาสตร์


รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการขับเคลอ่ื นการสร้างความสามคั คปี รองดองสมานฉนั ท์ ๒๖๖
รายการคา่ ใชจ้ า่ ยในการสรา้ งการรบั ร้เู พ่อื ให้เกดิ ความสามคั คปี รองดองของคนในชาติ

เสนอ สำนกั งานขับเคลือ่ นการปฏริ ูปประเทศ ยุทธศาสตร์ และการสรา้ งความสามคั คีปรองดอง (สำนกั งาน ป.ย.ป.)
โดย สถาบนั วจิ ยั และใหค้ ำปรกึ ษาแหง่ มหาวทิ ยาลัยธรรมศาสตร์


รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการขับเคลอ่ื นการสร้างความสามคั คปี รองดองสมานฉนั ท์ ๒๖๗
รายการคา่ ใชจ้ า่ ยในการสรา้ งการรบั ร้เู พ่อื ให้เกดิ ความสามคั คปี รองดองของคนในชาติ

เสนอ สำนกั งานขับเคลือ่ นการปฏริ ูปประเทศ ยุทธศาสตร์ และการสรา้ งความสามคั คีปรองดอง (สำนกั งาน ป.ย.ป.)
โดย สถาบนั วจิ ยั และใหค้ ำปรกึ ษาแหง่ มหาวทิ ยาลัยธรรมศาสตร์


รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการขับเคลอ่ื นการสร้างความสามคั คปี รองดองสมานฉนั ท์ ๒๖๘
รายการคา่ ใชจ้ า่ ยในการสรา้ งการรบั ร้เู พ่อื ให้เกดิ ความสามคั คปี รองดองของคนในชาติ

เสนอ สำนกั งานขับเคลือ่ นการปฏริ ูปประเทศ ยุทธศาสตร์ และการสรา้ งความสามคั คีปรองดอง (สำนกั งาน ป.ย.ป.)
โดย สถาบนั วจิ ยั และใหค้ ำปรกึ ษาแหง่ มหาวทิ ยาลัยธรรมศาสตร์


รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการขับเคลอ่ื นการสร้างความสามคั คปี รองดองสมานฉนั ท์ ๒๖๙
รายการคา่ ใชจ้ า่ ยในการสรา้ งการรบั ร้เู พ่อื ให้เกดิ ความสามคั คปี รองดองของคนในชาติ

เสนอ สำนกั งานขับเคลือ่ นการปฏริ ูปประเทศ ยุทธศาสตร์ และการสรา้ งความสามคั คีปรองดอง (สำนกั งาน ป.ย.ป.)
โดย สถาบนั วจิ ยั และใหค้ ำปรกึ ษาแหง่ มหาวทิ ยาลัยธรรมศาสตร์


Click to View FlipBook Version