-2- การอภิปรายโดยกลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิถามและโต้ตอบกัน (A Panel Discussion) การเสนอความรู้และข้อคิดเห็นแก่ผู้ฟัง หรือผู้เข้ารับการฝึกอบรมในลักษณะเช่นเดียวกับวิธีการแรก คงแตกต่างกันเพิ่มขึ้นตรงที่ประธานของกลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิมีการซักถามและโต้แย้งระหว่างกันขึ้น (Discussion) ท าให้เกิดความรู้และแนวความคิดแก่ผู้ฟัง หรือผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้กว้างขวางยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม ผู้ฟังหรือผู้เข้ารับการฝึกอบรมก็ยังไม่ได้รับโอกาสโต้แย้งหรือขจัดข้อสงสัย เมื่อต้องการซักถาม แผนภูมิแสดงลักษณะการอภิปรายโดยกลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิถามและโต้ตอบกัน (A Panel Discussion) P = ผู้ทรงคุณวุฒิC = ประธาน A = ผู้ฟังหรือผู้เข้ารับการฝึกอบรม การอภิปรายโดยกลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิกับผู้เข้ารับการฝึกอบรม (A Panel Forum) การจัดการอภิปรายโดยกลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ แบบที่ 1 หรือ แบบที่ 2 ส าหรับรูปลักษณะในหัวข้อที่ให้ นั้น จะเปิดโอกาสให้แก่ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้ร่วมเสนอแนวความคิด (Two Way Communication) หรือ อภิปรายร่วมกับกลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ เป็นคณะหรือรายบุคคลได้ด้วย
-3- แผนภูมิแสดงลักษณะการอภิปรายโดยกลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิกับผู้เข้ารับการฝึกอบรม (A Panel Forum) P = ผู้ทรงคุณวุฒิC = ประธาน A = ผู้ฟังหรือผู้เข้ารับการฝึกอบรม ขั้นด าเนินการ 1. ประธานหรือพิธีกร (Chairman / Moderator) แนะน ากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิเป็นรายบุคคล และหัวข้อการอภิปราย 2. กลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิอภิปรายเป็นรายบุคคลหรือเป็นคณะ ตามเนื้อหาวิชาที่ก าหนด (A Panel Presentation) - อาจจัดให้ทรงคุณวุฒิซักถามระหว่างกันก็ได้ (A Panel Discussion) - เปิดโอกาสให้ผู้ให้เข้ารับการฝึกอบรม ถามข้อข้องใจและร่วมอภิปรายได้ ( A Panel Forum) 3. ประธานจะปฏิบัติหน้าที่เสมือนพิธีกร คือ แสดงทัศนคติหรือความคิดของตนเองได้ จากนั้น ประธานจะต้องสรุปแนวความคิด และผลการอภิปราย กล่าวขอบคุณและกล่าวจบ ข้อดีข้อจ ากัด 1. ผู้เข้ารับการฝึกอบรมจะได้รับความรู้จากผู้ทรงคุณวุฒิหลาย ๆ ด้านในเวลาเดียวกัน 2. วิธีนี้เหมาะที่จะใช้กับกลุ่มผู้เข้ารับการฝึกอบรมจ านวนมาก ๆ ได้ ข้อควรค านึง 1. ผู้ทรงคุณวุฒิจะต้องได้รับการคัดเลือกมาอย่างดีที่จะพูดในหัวข้อเดียวกับที่ก าหนดให้ 2. ประธานหรือพิธีกร จะต้องเตรียมการและขั้นตอน ตลอดจนแบ่งเวลาส าหรับผู้อภิปรายแต่ละคน ตามความเหมาะสม
-4- บทสรุป การอภิปรายเป็นคณะ อาจด าเนินการตามขั้นตอนลักษณะที่ 1 , 2 หรือ 3 ในเวลาของการจัด การอภิปรายเป็นคณะไปพร้อมกัน หรืออาจแยกจัดแต่ละลักษณะก็ได้เช่นกัน และในทางปฏิบัติก็นิยม กระท าทั้ง 3 รูปแบบไปพร้อมกัน เพราะท าให้ผู้ฟังหรือผู้เข้ารับการฝึกอบรมไม่เบื่อหน่าย ข้อเสนอแนะบางประการ หน้าที่ผู้ด าเนินการอภิปราย 1. อารัมภบทเกี่ยวกับหัวข้อที่จะอภิปรายทั่ว ๆ ไป เพื่อปูพื้นฐานให้ผู้ฟังทราบว่าจะพูดเรื่องอะไร 2. กล่าวค าแนะน าผู้อภิปรายเป็นรายบุคคล โดยเน้นคุณสมบัติ คุณวุฒิ และความช านาญพิเศษ เพื่อให้ผู้ฟังเกิดศรัทธาในตัวผู้อภิปราย 3. เชิญผู้อภิปรายได้อภิปราย (โดยก าหนดเวลาไว้ก่อนล่วงหน้า) 4. กล่าวสรุปกล่าวขอบคุณ ทั้งผู้อภิปรายและผู้ฟัง และกล่าวจบการอภิปรายเป็นล าดับสุดท้าย หน้าที่ผู้อภิปราย 1. อธิบายขอบเขตและความรับผิดชอบของตน และโยงเข้าสู่ปัญหาหรือหัวข้ออภิปราย 2. กล่าวปัญหาตามหัวข้อที่ก าหนดภายในขอบข่ายของหัวข้ออภิปราย 3. เน้นการน ากิจการลูกเสือที่มีส่วนร่วมให้ประโยชน์ในหัวข้อที่ก าหนด
บทเรียรี นที่ 21 การชุม ชุ นุม นุ รอบกองไฟ การร้อ ร้ งเพลง การเล่น ล่ เกม
บทเรียนที่ 21 การชุมนุมรอบกองไฟ การร้องเพลง การเล่นเกม การให้ลูกเสือมาประชุมพร้อมกันรอบกองไฟในเวลากลางคืนในระหว่างที่ไปอยู่ค่ายพักแรม หรือในระหว่างการฝึกอบรมที่ต้องค้างคืนนั้น เป็นกิจกรรมพิเศษอย่างหนึ่งของลูกเสือซึ่ง ลอร์ดเบเดน โพเอลล์ ได้เป็นผู้ริเริ่มน ามาใช้ในการนพเด็กซึ่งอาจเรียกว่าเป็นลูกเสือรุ่นแรกของโลก ไปอยู่ค่ายพักแรมที่เกาะบราวน์ซี ประเทศอังกฤษ.ค.ศ.1907 (พ.ศ. 2450) การชุมนุมรอบกองไฟ ภาษาอังกฤษเรียกว่า Camp Fire ในภาษาไทย เดิมมักเรียกกันว่าการเล่นหรือการแสดงรอบกองไฟ ซึ่งความจริงการเล่นหรือการแสดงเป็นเพียงส่วนหนึ่ง ของการชุมนุมรอบกองไฟ อันอาจกล่าวได้เป็นบทเรียนหรือวิธีการฝึกอบรมลูกเสืออย่างหนึ่ง 1. ความมุ่งหมายของการชุมนุมรอบกองไฟ การชุมนุมรอบกองไฟ มีความมุ่งหมายส าคัญอยู่ 5 ประการ คือ (1) เพื่อเป็นการฝึกอบรมในตอนกลางคืน ดังที่ บีพีได้ใช้เป็นหลักในการฝึกอบรมเด็กที่ไปอยู่ ค่ายพักแรมเกาะบราวน์ซีและได้ใช้เป็นแบบในการเรียบเรียงหนังสือเรื่อง Scouting for Boys (การลูกเสือ ส าหรับเด็กชาย) (2) เพื่อให้ลูกเสือได้ร้องเพลงร่วมกัน หรือแสดงกิริยาอาการอย่างเดียวกัน เป็นการปลุกใจหรือ เปลี่ยนอารมณ์ให้เกิดความสนุกสนานเบิกบานใจภายหลังที่ได้ปฏิบัติงานในเวลากลางวันมาแล้ว (3) เพื่อให้ลูกเสือแต่ละหมู่ได้มีโอกาสออกมาแสดง เป็นการส่งเสริมความสามัคคีของหมู่กับให้ลูกเสือ แต่ละคนในหมู่รู้จักท างานร่วมกับผู้อื่นและกล้าแสดงออกในที่ประชุม (4) ใช้เป็นโอกาสส าหรับประกอบพิธีส าคัญ เช่น แนะน าให้ลูกเสือรู้จักบุคคลส าคัญของการลูกเสือแขก ส าคัญที่มาเยี่ยม มอบเครื่องหมายวูดแบดจ์เครื่องหมายตอบแทน เข็มสมนาคุณหรือประกาศนียบัตรต่าง ๆ เป็นต้น (5) ในบางกรณีอาจเชิญบุคคลส าคัญในท้องถิ่น ตลอดจนชาวบ้านให้มาร่วมชุมนุมรอบกองไฟ เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์และส่งเสริมกิจการลูกเสือ 2. บริเวณการชุมนุมรองกองไฟ ค่ายลูกเสือทุกแห่งควรมีบริเวณส าหรับการชุมนุมรอบกองไฟ บริเวณเช่นว่านี้ควรอยู่มุมหนึ่ง ของค่ายมีต้นไม้เป็นฉากหลังไม่ใช้เพื่อประโยชน์อย่างอื่นในเวลากลางวัน และควรอยู่ห่างจากที่พักพอควร ทั้งนี้ เพื่อให้ลูกเสือจ าเป็นต้องเดินทางจากที่พักไปยังบริเวณการชุมนุมรอบกองไฟ และต้องเดินกลับเมื่อการชุมนุม เลิกแล้ว ส่วนการที่เสนอแนะว่าบริเวณการชุมนุมรอบกองไฟควรมีต้นไม้เป็นฉากหลังนั้น เป็นเพราะในระหว่าง การชุมนุมรอบกองไฟย่อมจะมีการร้องเพลงหมู่เป็นส่วนใหญ่ และการร้องเพลงกลางแจ้ง ถ้าไม่มีฉากหลัง ถึงแม้จะร้องเพลงไพเราะอย่างไรก็ตามย่อมไม่ได้ผลดีเท่าที่ควร แต่ถ้ามีต้นไม่เป็นฉากหลังจะท าให้บรรยากาศดี ขึ้นและจะท าให้การร้องเพลงได้ผลดียิ่งขึ้นด้วย อนึ่ง ในการเลือกสถานที่ส าหรับการชุมนุมรอบกองไฟ ถ้าสามารถหาที่เป็นแอ่งให้ลูกเสือที่นั่ง อยู่เหนือกองไฟเล็กน้อยจะดีมาก เช่น ในบริเวณที่มีอาจจัดท าบริเวณการแสดงและกองไฟอยู่ตอนล่าง
-2- ส่วนลูกเสือให้นั่งอยู่บนเนิน นอกจากนี้เคยมีผู้จัดท าบริเวณการแสดงและกองไฟให้อยู่บนเกาะมีคูน้ าล้อมรอบ ผู้ชมนั่งอยู่ริมคูอีกด้านหนึ่ง สะพานข้ามคูท าด้วยไม้แบบสะพานชั่วคราว ปรากฏว่าสถานที่ชุมนุมรอบกองไฟเช่น ว่านี้ใช้การได้ดีอย่างยิ่ง การชุมนุมรอบกองไฟ ถ้าไม่สะดวกเช่น ฝนตกหรือมีเหตุผลพิเศษจะจัดภายในอาคารและ ใช้ที่อื่นแทนได้ 3. การจัดที่นั่งรอบกองไฟ การจัดที่นั่งรอบกองไฟนั้น ควรจัดเป็นรูปวงกลมหรือเกือกม้า ให้กองไฟอยู่ตางกลางมีที่นั่งพิเศษ ส าหรับประธาน ผู้ติดตาม และผู้มาร่วมงานซึ่งต้องจัดไว้ทางด้านเหนือลม ที่นั่งของประธานเป็นที่นั่งเดี่ยว ตั้งอยู่ล้ าหน้าที่นั่งของผู้ติดตาม 2 คน ซึ่งนั่งอยู่ด้านขวาและด้านซ้ายใกล้กับประธาน ส าหรับที่นั่งของผู้มา ร่วมงาน ให้จัดอยู่ด้านหลังของประธานและผู้ติดตาม ส่วนผู้ร่วมการแสดง โดยปกติให้นั่งเรียงตามล าดับหมู่ เหมือนการประชุมรอบเสาธงคอนเช้า การแต่งกายให้แต่งตามเนื้อเรื่องที่จะแสดงไม่ต้องมีผ้าผูกคอ ป้ายชื่อ เพื่อเป็นที่สังเกตให้นายหมู่น าธงหมู่ไปด้วย 4. การเตรียมการก่อนเริ่มการชุมนุมรอบกองไฟ (1) คณะผู้ให้การฝึกอบรมจะต้องปรึกษาหารือกันเพื่อก าหนดว่า ในการชุมนุมรอบกองไฟ นั้นจะมีกิจกรรมอะไรบ้าง จะให้ผู้ใดเป็นเจ้าหน้าที่ประจ ากองไฟ ผู้ใดเป็นพิธีกรและ จะเชิญผู้ใดเป็นประธาน (2) พิธีกร คือ ผู้น าการชุมนุมรอบกองไฟ มีหน้าที่น าประธานมาสู่ที่ชุมนุม ประกาศล าดับ ก าหนดการต่าง ๆ เป็นผู้น าหรือมอบหมายให้ผู้อื่นเป็นผู้น าในการร้องเพลง และในการให้ลูกเสือแสดงกิริยา อาการต่าง ๆ เพื่อเป็นการเปลี่ยนอารมณ์ให้เกิดความสนุกสนานเบิกบานใจ ในการเลือกเพลงที่จะน ามาใช้นั้น ควรเลือกเพลงที่ทุกคนร้องได้ เมื่อเริ่มเปิดการชุมนุม ใช้เพลงปลุกใจหรือเพลงที่มีจังหวะหรือเนื้อเพลงยั่วยุให้ดีเช่น เพลง “สยามานุสติ” หรือ เพลง “มาร์ชของ สถาบันของผู้เข้าร่วมอบรม” ตอนกลาง ๆ ของการชุมนุมเป็นเพลงสนุกสนาน เช่น เพลงร าวง เช่น เพลงร าวง หรือเพลงที่มี ท่าทางประกอบ นอกจากนั้นอาจน าเกมมาประกอบ เพื่อให้ผู้เข้าร่วมอบรมเปลี่ยนอิริยาบถ ตอนท้ายของการชุมนุม หลังจากจบทุกรายการแล้ว ก่อนที่จะเชิญประธานในพิธีกล่าวปิด ให้เป็นเพลงจังหวะช้า เป็นคติเพลงลา ซึ่งผู้ร่วมชุมนุมส่วนใหญ่ร้องได้เช่นสร้อยเพลง เพลงลาวดวงเดือน ฯลฯ โดยไม่ใช้เครื่องขยายเสียงและเครื่องดนตรีใด ๆ เป็นการสร้างบรรยากาศให้ซาบซึ้งตรึงใจ โน้มน้าวให้มีอารมณ์ ที่จะได้ฟังการกล่าวปิดของประธานในพิธี (2) ต้องนัดหมายให้ทุกคนไปถึงที่ชุมนุมและนั่งตามที่ให้เรียบร้อยก่อนเวลาประมาณ 10 นาทีหมู่บริการจุดไฟก่อนที่จะเชิญประธานเข้ามาในพิธีพิธีกรแจ้งให้ที่ประชุมทราบ ว่าประธานและผู้ติดตามเป็นใคร แล้วออกไปเชิญประธานเข้ามายังบริเวณการชุมนุม รอบกองไฟ
-3- พิธีกรต้องนัดหมายเวลาที่ประธานจะเดินทางไปถึงบริเวณรอบนอกสถานที่ชุมนุมเวลาใด ทบทวนซักซ้อมการปฏิบัติมีขั้นตอนอย่างใด ผู้ติดตามประธานจะปฏิบัติอย่างไร ยืนอยู่ตรงไหน เมื่อประธาน กล่าวเปิดแล้วจะร้องเพลงกี่เพลง เพลงอะไรบ้าง (4) การชุมนุมรอบกองไฟ ถือว่าเป็นบทเรียนบทหนึ่ง ฉะนั้น ในขณะมีการชุมนุมรอบ กองไฟ จึงมีข้อก าหนดว่าทุกคนที่ร่วมอยู่ในการชุมนุมรอบกองไฟ “ห้ามสูบบุหรี่” หากงดไม่ได้จริงๆ ให้หลบ ออกไปสูบที่นอกที่ชุมนุมได้ชั่วคราว พิธีกรหรือผู้บรรยายวิชานี้จะต้องชี้แจงนัดหมายการปฏิบัติตามขั้นตอนมอบงานให้รับผิดชอบ ดังนี้ - การแสดงให้แสดงเป็นหมู่ ให้ทุกคนในหมู่มีโอกาสได้แสดงโดยทั่วกัน ใช้เวลาหมู่ละ ประมาณ 8 - 10 นาทีโดยปกติให้ส่งเรื่องต่อพิธีกรก่อนเวลานัดหมายแสดงไม่น้อยกว่า - 1 ชั่วโมง เพื่อพิธีกรจะได้มีเวลาจัดก าหนดการให้เหมาะสม - เรื่องที่ควรแสดงคือสนุกขบขัน ขนบธรรมเนียมประเพณีประวัติศาสตร์และเรื่องที่เป็นคติ เตือนใจต่าง ๆ ส่วนเรื่องที่ไม่ควรแสดงคือ เรื่องไร้สาระเช่น ผีสาง เรื่องลามก อนาจาร เรื่องเสียดสีสังคมหรือ บุคคล เรื่องเกี่ยวกับการเมืองหรือเรื่องล้อเลียนศาสนา เป็นต้น - เพลงประหมู่ ให้แต่ละหมู่แต่งเพลงประจ าหมู่ให้มีชื่อหมู่ เนื้อร้องเป็นการสร้างสรรค์ เช่น เป็นคติปลุกใจ ความรัก ความสามัคคี ระเบียบ วินัย เพื่อที่จะร้องก่อนการแสดงของหมู่ - การจัดสถานที่ชุมนุม การท าสลาก ท าพวงมาลัย ก่อกองไฟและดูแลตามปกติเป็นหน้าที่ ของหมู่บริการประจ าวัน และหมู่ที่พ้นหน้าที่ในวันนั้นแบ่งหน้าที่กันท า 5. พิธีเปิดการชุมนุมรอบกองไฟ เมื่อประธานเข้ามาในบริเวณการชุมนุมรอบกองไฟ พิธีกรสั่งให้ทุกคนตรงด้วยค าว่า “ทั้งหมดตรง หรือกอง-ตรง หรือ แพค-ตรง “แล้ว ประธานจะหยุดรับการเคารพแล้วเดินไปยืนหน้ากองไฟ ยกมือขวา แสดงรหัสของลูกเสือขึ้นไปข้างหน้าประมาณ 45 องศา กล่าวข้อความที่เป็นมงคลและกล่าวในตอนสุดท้ายว่า “ข้าพเจ้าขอเปิดการชุมนุมรอบกองไฟ ณ บัดนี้และคงยืนอยู่ ณ ที่เดิมจนจบเพลงที่ได้รับทราบจากการนัด หมายของพิธีกรแล้วจึงกลับไปยังที่นั่ง ข้อปฏิบัติเกี่ยวกับพิธีเปิดการชุมนุมรอบกองไฟ 1. ผู้ติดตามประธานและผู้ร่วมงาน ตลอดจนเจ้าหน้าที่ที่เดินตามประธานเข้ามา ทุกคนเข้าไปยืน ยังที่ของตนขณะที่ประธานหยุดรับการเคารพ มีประธานแต่ผู้เดียวเท่านั้นที่เดินตางเข้าไปใกล้กองไฟ เมื่อ ประธานกลับมายังที่นั่งซึ่งจัดไว้ทุกคนนั่งลง 2. เมื่อประธานกล่าวเปิดในตอนสุดท้าย “ข้าพเจ้าขอเปิดการชุมนุมรอบกองไฟ ณ บัดนี้ พิธีกร ให้สัญญาณให้ทุกคนส่งเสียงว่า “ฟู่ ” 3 ครั้ง 3. พิธีกรน าร้องเพลง 1 หรือ 2 เพลงเช่น เพลงสยามมานุสติ เพลงสดุดีมหาราช เพลงสถาบัน ของผู้เข้าร่วมอบรม เป็นต้น
-4- 4. หมู่บริการจะน าพวงมาลัยและพุ่มสลากส าหรับประธานจับล าดับการแสดงไปให้ประธาน โดยให้มีขบวนแห่น าโดยหมู่บริการ ส าหรับพวงมาลัยนั้น ให้หมู่บริการจัดท าเป็นพวงมาลัยสองชาย 6. ล าดับการชุมนุมรอบกองไฟ พิธีกรเป็นผู้ประกาศก าหนดการชุมนุมรอบกองไฟตามล าดับ ในขั้นแรกก่อนมีการแสดง พิธีกรอาจน าหรือให้ผู้อื่นน าร้องเพลงอีก 1 หรือ 2 เพลง แล้วจึงไปขอประธานจับสลากว่าจะให้หมู่ใดแสดงก่อน หมู่ที่จะแสดงให้นายหมู่ยืนขึ้น (อยู่กับที่ไม่ต้องออกมายืนตรงหน้าประธาน)โดยสั่งว่า “หมู่..(กลุ่ม) ตรง”นายหมู่ ท าวันทยหัตถ์(ถ้ามีไม้พลองหรือไม้ง่ามท าวันทยาวุธ) แต่เพียงผู้เดียว จากนั้นร้องเพลงประจ าหมู่ เมื่อร้องเพลง ประจ าหมู่จบจึงเริ่มแสดง เมื่อแสดงจบให้กลับไปยืนที่เดิมและสั่งอีกว่า “หมู่ (กลุ่ม) ตรง” นายหมู่ท า ความเคารพเช่นเดิม เมื่อการแสดงของหมู่จบแล้ว พิธีกรขอให้ใครคนหนึ่งกล่าวน าชมเชยแบบลูกเสือ ให้แก่หมู่ที่ แสดงเพื่อเป็นการแสดงความพอใจและขอบคุณผู้แสดง ด้วยถ้อยค าหรือท่าทางที่สร้างสรรค์3ครั้ง หลังจากนั้น หมู่แสดงต้องกล่าวตอบสั้น ๆ 1 ครั้ง เมื่อการแสดงของหมู่หนึ่งจบ พิธีกรอาจน าการร้องเพลงหรือการเปลี่ยน อิริยาบถมาสลับเป็นตอน ๆ ตามที่เห็นสมควร หรือจะให้ผู้ใดน าแทนก็ได้ เมื่อจบการแสดงของทุกหมู่ตามที่ก าหนดไว้แล้วพิธีกรจะน าร้องเพลงที่มีจังหวะช้า ๆ และมี ความหมายแก่มวลชนสมาชิก เช่น เพลงสร้อยเพลง หรือเพลงลาวดวงเดือน 1 จบ จากนั้นพิธีกรจะเชิญ ประธานออกไปกล่าวเรื่องสั้นที่เป็นคติและกล่าวปิดการชุมนุมรอบกองไฟโดยไม่ต้องยกมือขึ้นแสดงรหัส เมื่อประธานกล่าวในตอนสุดท้ายว่า “ข้าพเจ้าขอปิดการชุมนุมรอบกองไฟ ณ บัดนี้” พิธีกร สั่ง “กอง-ตรง” ให้ทุกคนยืนขึ้นจับมือกันเป็นวงกลม(มือขวาทับมือซ้าย) แล้วร้องเพลงสามัคคีชุมนุม เมื่อจบ เพลงสามัคคีชุมนุมแล้ว หมู่บริการน าสวดมนต์แล้วร้องเพลงสรรเสริญพระบารมีจากนั้นทุกคนแยกย้ายกัน ออกนอกบริเวณ กลับที่พักอย่างสงบโดยไม่ส่งเสียงเอะอะ ส่วนหมู่บริการ จะกลับมาดับไฟและท าความสะอาด ดังที่ได้กล่าวแล้วข้างต้น 7. การเปลี่ยนอิริยาบถของผู้เข้าชุมนุม ในการชุมนุมรอบกองไฟ การเปลี่ยนอิริยาบถของผู้เข้าชุมนุมให้สนุกสนานร่าเริงเป็นเรื่อง ส าคัญการเปลี่ยนอิริยาบถของผู้เข้าชุมนุมนี้อาจท าได้หลายวิธีตามโอกาสอันเหมาะสม และหน้าที่ของพิธีกร จะต้องเป็นผู้น าหรือมอบหมายให้ผู้รู้คนใดคนหนึ่งเป็นผู้น า เช่น น าให้ร้องเพลงน าให้แสดงกิริยาอาการต่าง ๆ ที่ขบขันหรือสนุกจัดให้มีการร าวง, ตบมือเป็นจังหวะแล้วให้ผู้อื่นตบมือตาม หรือน าเกมให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการเล่น 8. เมื่อมีผู้มาเยี่ยมเยียน ในกรณีที่จะบุคคลหรือกลุ่มบุคคลมาเยี่ยมเป็นหน้าที่พิธีกรจะจัดที่นั่งอันเหมาะสมให้และ ขอทราบความประสงค์แล้วจัดให้น าสิ่งของมามอบให้นะระหว่างจบการแสดงหมู่หนึ่งหมู่ใด โดยมอบให้กับ ประธานในพิธีพิธีกรจัดให้มีผู้แทนกล่าวชมเชยตามแบบลูกเสือ
-5- ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการร้องเพลง ในกิจการของลูกเสือถือว่าการร้องเพลงนั้นเป็นกิจกรรมที่ส าคัญอย่างหนึ่งส าหรับการฝึกอบรม ลูกเสือทุกประเภท เพราะสามารถร้องเพลงได้ทุกขณะที่จะมีโอกาสทอดแทรกได้ และโดยเฉพาะในโอกาสที่มี การชุมนุมรอบกองไฟ ส่วนใหญ่จะเป็นการร้องเพลงหมู่หรือร้องพร้อมๆกัน เพื่อให้เกิดความร่าเริงบันเทิงใจ สนุกสนานและส่งเสริมความสามัคคีในหมู่คณะ การร้องเพลงคนเดียวหรือเพลงเดี่ยวจะไม่นิยมกระท ากัน การร้องเพลงหมู่นั้นส าคัญอยู่ที่ผู้ร้องน า ฉะนั้น ผู้ที่จะเป็นผู้น าร้องเพลงได้ดีนั้นควรจะมีหลักดังนี้ 1. มีลักษณะเป็นผู้น าและควบคุมการร้องได้ น้ าเสียงและท่าทางของผู้น าร้องจะท าให้ผู้เข้า รับการฝึกอบรมเกิดความเชื่อมั่นและศรัทธา 2. ต้องจ าชื่อเพลง เนื้อร้อง และท านองเพลงให้ได้แม่นย า 3. ระดับเสียงที่น าร้องต้องปรับเสียงให้เป็นระดับกลาง ไม่สูงหรือต่ าเกินไป ควรร้องให้ เต็มเสียงและร้องด้วยถ้อยค าที่ชัดเจน 4. ผู้น าร้องต้องให้สัญญาณก่อนเพื่อให้ทุกคนได้เริ่มโดยพร้อมเพรียงกัน และผู้น าร้องต้องให้ จังหวะต่อ ๆ ไปตามเสียงหนัก-เบา และเร่งเร้าของเพลง 5. ผู้น าร้องต้องรู้จักเพลง เลือกเพลงให้เหมาะสมทั้งเนื้อร้องและท านอง 6. การน าร้องเพลง ควรมีท่าทางประกอบด้วย ข้อแนะน าในการเล่นเกม ในกิจการลูกเสือถือว่าเกมหรือการเล่น เป็นอุปกรณ์อย่างส าคัญในการฝึกอบรมลูกเสือทุกประเภท ทุกครั้งที่มีการประชุมกอง จะต้องจัดให้มีการเล่นเกมและเป็นหน้าที่ของผู้ก ากับจะต้องเลือกเกมให้เหมาะสมกับ วัยของเด็ก ต่อไปนี้เป็นข้อเสนอแนะแก่ผู้ที่จะเป็นผู้น าเล่นเกมในการฝึกอบรมผู้ก ากับลูกเสือ ขั้นเตรียมตัว 1. ต้องเลือกเกมที่จะเล่นให้แน่นอนและเหมาะสมกับวัยและประเภทของลูกเสือ อย่าเล่นซ้ าซาก การเลือกเกมควรพิจารณาถึง 2 ลักษณะคือ (ก) ลักษณะที่เกี่ยวกับประโยชน์หรือคุณค่าของเกมนั้น เป็นต้นว่าเกมที่ส่งเสริมด้านจิตใจ บริหารร่างกาย ฝึกประสาทต่างๆให้ความรู้ให้เกิดความเข้าใจดีขึ้นในวิชาการ ให้ความสนุกสนาน (ข) ลักษณะที่เกี่ยวข้องกับประเภทของเกม เช่น เป็นเกมเล่นทั่ว ๆ ไป เล่นเป็นทีม (แบ่งเป็น 2 ฝ่าย) เล่นแข่งขันระหว่างหมู่ เป็นเกมในที่กว้าง เป็นเกมเล่นเงียบๆเป็นต้น 2. ต้องรู้จักและเข้าใจเกมนั้นๆโดยตลอด ถ้าเป็นเกมที่ได้รับทราบมาใหม่ ยังไม่แน่ใจก็ควรทดลอง ฝึกเล่นเสียก่อน
-6- 3. เมื่อเลือกเกมได้แล้วและรู้วิธีการเล่นอย่างดีแล้ว ต่อไปก็ให้พิจารณาถึงยะยะเวลาในการเล่นของ เกมนั้น ๆ ว่าจะใช้เวลายาวนานแค่ไหน ใช้สถานที่แคบ-กว้างอย่างไรจะเล่นกันที่ไหน และเตรียมอุปกรณ์ ที่จะใช้พร้อมหรือยัง ขั้นการสอน 1. อธิบายให้ชัดเจนถึงวิธีเล่นและกติกาการเล่น 2. ยืนข้างหน้าของทุกคนเพื่อให้ทุกคนได้เห็นผู้น าเล่น โดยทั่วถึงกัน 3. ให้แน่ใจว่าผู้เข้ารับฝึกอบรมก าลังฟังค าอธิบายอยู่ 4. สาธิตการเล่นให้ดูก่อน ถ้าจ าเป็น 5. เฝ้าดูการเล่นด้วยความเอาใจใส่ ถ้าเล่นผิดหรือผิดกติกา จ าเป็นต้องเล่นซ้ าอีกครั้งหนึ่ง ต้องเล่นในขณะผู้เล่นยังมีความกระตือรือร้นอยู่ 6. ท าตัวให้สนุกสนานไปด้วยอย่าอารมณ์เสีย 7. ถ้าเข้าร่วมเล่นด้วย อย่าไปถืออภิสิทธิ์หรือก้าวก่ายผู้เข้ารับการฝึกอบรม 8. กระตุ้นให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้ร่วมมือด้วยอย่างเต็มที่
บทเรียรี นที่ 22 การบรรยาย
บทเรียนที่ 22 การบรรยาย ( LECTURE) การสอนด้วยวิธีการบรรยาย เป็นวิธีการที่ดีและส าคัญมาก จึงใช้กันอย่างแพร่หลาย เป็น วิธีการที่ง่ายและครอบคลุมเรื่องราวได้มากใช้กับคนจ านวนมาก ๆ ประหยัดเวลา เหมาะแก่การใช้สอน ความรู้พื้นฐานและการให้ข้อมูล อาจกล่าวได้ว่า ไม่มีการฝึกอบรมใดที่ไม่ใช้การบรรยายเป็นพื้นฐานของการฝึกอบรม การบรรยายที่ดีจึงมีส่วนเป็นอย่างมาก ที่จะให้การฝึกอบรมประสบผลส าเร็จ วิธีการ 1. เริ่มด้วยพิธีกร (ถ้ามี) กล่าวต้อนรับ แนะน าหัวข้อที่จะบรรยายและแนะน าวิทยากร 2. วิทยากรบรรยาย ซึ่งอาจใช้โสตทัศนูปกรณ์ประกอบ หรือเปิดโอกาสให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรม มีส่วนร่วมพอควร เช่น การสาธิต เป็นต้น 3. เมื่อจบการบ รรยายอาจเปิดให้ผู้เข้ารับการฝึกอบ รมซักถามห รือแสดงความคิดเห็น (เวลาการบรรยายในขบวนการลูกเสือ ไม่ควรเกิน 45 นาที) ข้อดีข้อจ ากัด 1. การบรรยายช่วยให้กล่าวเนื้อหาได้มากในระยะเวลาที่ก าหนด 2. เนื้อหาวิชาตรงตามวัตถุประสงค์ 3. ผู้เข้ารับการฝึกอบรมทราบหัวข้อการบรรยายล่วงหน้า เป็นการเตรียมตัวก่อน 4. สะดวกต่อการจัดสถานที่และสิ่งอ านวยความสะดวก 5. เหมาะกับผู้เข้ารับการฝึกอบรมจ านวนมาก ๆ 6. ผู้บรรยายที่ดีจะมีส่วนกระตุ้นความสนใจได้มาก 7. การบรรยายเป็นสื่อทางเดียว ซึ่งมีข้อจ ากัดมากมาย 8. ถ้าไม่เปิดโอกาสให้ซักถาม จะไม่สามารถวัดได้ว่าผู้ฟังเข้าใจและซาบซึ้งต่อเนื้อหาที่บรรยาย มากเพียงไร 9. ไม่เหมาะกับเรื่องที่มีข้อขัดแย้งหรือการฝึกทักษะ แต่เป็นการเพิ่มพูนความรู้ได้เป็นอย่างดี ข้อควรค านึง การบรรยาย แม้จะเป็นวิธีการที่ส าคัญที่จะช่วยให้การฝึกอบรมไม่ว่ากลวิธีใดก็ตามประสบผลส าเร็จ แต่การบรรยายก็มีขอบเขตจ ากัดบางประการ ซึ่งควรได้ตระหนักไว้ 1. บางครั้งผู้บรรยายสนใจในการแสดงความรู้ของตนมากกว่า ที่จะให้ความรู้ตามที่ผู้เข้ารับ การฝึกอบรมต้องการ ในกรณีเช่นนี้ผู้บรรยายถือว่าผู้เข้ารับการฝึกอบรม คือ ผู้ฟังเท่านั้น แทนที่จะท า ความพอใจและสนองความต้องการอันแท้จริงของผู้เข้ารับการฝึกอบรม 2. ถ้าไม่ได้เตรียมโสตทัศนูปกรณ์มาอย่างดีความสนใจของผู้เข้ารับการฝึกอบรมก็จะสลาย ไปโดยรวดเร็วเช่นกัน
-2- 3. ในทางตรงกันข้าม หากมีโสตทัศนูปกรณ์มากเกินไป ผู้บรรยายก็จะสลายตัวไป ในเครื่องอุปกรณ์เหล่านั้น เพราะอุปกรณ์เหล่านั้นจะท าให้ผู้บรรยายไม่สามารถเข้ามาสัมผัสกับผู้เข้ารับ การฝึกอบรมได้ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่พึงปรารถนา 4. การบรรยายท าให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมอยู่ในฐานะที่นั่งฟังเงียบ ๆ นี่ไม่เป็นวิธีการที่ดีที่จะ สอนบทเรียนเกี่ยวกับวิชาลูกเสือ ซึ่งสนับสนุนการที่ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้เรียนรู้โดยการค้นคว้าด้วยตนเอง และเรียนด้วยการกระท า 5. ถ้าเป็นไปได้ควรจัดให้มีโอกาสได้ท างานเป็นกลุ่ม ในกลุ่มเล็ก ๆ เพื่อว่าจะได้ทบทวนและ อภิปรายถึงเรื่องที่ได้ฟังจากการบรรยายมาแล้ว ควรมีการซักถามหรือสอบถามอย่างตรงไปตรงมาด้วย การบรรยายมีมาแต่ครั้งโบราณ แม้ปัจจุบันนี้ก็ยังนิยมใช้อยู่ เหมาะส าหรับเล่าเรื่องล าดับ เหตุการณ์ตามเวลาและสถานที่ที่เกิด หรือบรรยายความงามธรรมชาติให้ผู้ฟังมองลึกไปถึงศิลปะแห่งความงาม การเรียนรู้ของผู้ใหญ่นั้น ผู้ใหญ่ชอบการเรียนรู้แบบประสบการณ์ตรง มีการแสดงความคิดเห็น มีการซักถาม ถือตนเองเป็นศูนย์กลาง ฉะนั้น ผู้ใหญ่จึงมักไม่ชอบฟังบรรยาย นอกจากนี้ผู้บรรยายมีประสบการณ์สูง มีการแทรกเรื่องเบาสมอง ขบขันในบางโอกาส ผู้ใหญ่จะฟังได้ไม่เบื่อและสนใจด้วย ดังจะเห็นนักพูดบางคน สามารถพูดสะกดจิตใจผู้ฟังได้ถึง 3-4 ชั่วโมงก็มี เทคนิคการฝึกอบรมมีมากมายหลายอย่าง แม้จะมีวิธีการใหม่ๆ ที่ให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรม ได้มีส่วนร่วม แต่ก็คงจะขาดการบรรยายไม่ได้ต้องมีการบรรยายน า บรรยายสรุป บทเรียนบางเรื่องนั้น หากสอน โดยวิธีการบรรยายแล้วจะประสบผลส าเร็จ รวดเร็ว และตรงจุดประสงค์ยิ่งกว่าการสอนด้วยวิธีอื่น ในทางลูกเสือนั้น แม้จะถือหลักเรียนรู้ด้วยการกระท าก็ตาม ก็ยังมีบางเรื่องที่ต้องใช้วิธีการบรรยาย เช่น วิชา ผู้ก ากับลูกเสือขั้นความรู้สูง ประเภทสามัญรุ่นใหญ่ มีวิชาการอภิปรายและโต้วาทีประเภทวิสามัญ มีวิชาการ พูดในที่ชุมชน เป็นต้น ความหมาย การบรรยายคือการถ่ายทอดความรู้โดยการพูด และภาษาท่าทาง ซึ่งอาจมีหุ่นจ าลองของจริง หรือ วัสดุอุปกรณ์อื่นประกอบได้เพื่อให้ผู้ฟังเกิดมโนภาพคล้อยตามด้วยก็ได้ องค์ประกอบของการบรรยายมี4 ประการ คือ 1. เนื้อหาสาระที่จะให้เกิดความรู้มีความส าคัญมาก ผู้บรรยายจะต้องมีความรู้ในเรื่องที่ จะพูด อย่างแตกฉาน มีความสามารถสรุปหรือย่นย่อความรู้ทั้งหมดให้เหมาะสมกับเวลา สามารถอุปมาอุปมัย ยกตัวอย่าง เปรียบเทียบ พร้อมทั้งอ้างอิงหลักฐานมาประกอบ ความส าคัญของเนื้อหาสาระจะมีถึงร้อยละ 50 ของการบรรยายทั้งหมด 2. เทคนิคการสอน เทคนิคนี้จะเป็นเครื่องมือช่วยให้เข้ารับการฝึกอบรมได้มีการเรียนรู้อย่าง ได้ผลมากขึ้นแต่ทั้งนี้ต้องค านึงถึงความเหมาะสมของเทคนิคที่จะใช้มีความส าคัญถึงร้อยละ 20 ของการสอน
-3- 3. ศิลปะการพูด ศิลปะการถ่ายทองความรู้การสื่อความหมายโดยการพูด และภาษา ท่าทางมีความส าคัญถึงร้อยละ 20 ของการบรรยายทั้งหมด 4. บุคลิกภาพของผู้บรรยาย เป็นที่น่าสนใจ ดึงดูดใจผู้ฟัง มีความส าคัญร้อยละ 10 ของการบรรยายทั้งหมดการบรรยายที่จะให้ผู้ฟังหรือผู้เข้ารับการฝึกอบรมสนใจ ไม่เบื่อหน่ายนั้น ร้อยเอก ศาสตราจารย์ ดร. จิตรจ านงค์สุภาพ ต้นแบบนักพูดที่มีชื่อเสียงคนหนึ่งของประเทศไทย เจ้าของทฤษฎี ธี รซ า วด์ (The Three Sound Theory: Sound Mind, Sound Body, Sound Speech) แ ล ะท ฤษ ฎี 3 สบาย (The Theory of Three Pleasant speech) ทฤษฎี 3 สบาย ประกอบไปด้วย สบายหู, สบายตา, สบายใจ 1) สบายหูหมายถึง การใช้เสียง การใช้ถ้อยค าภาษา จังหวะ ลีลาของการพูดท าให้รื่นหู เพลิดเพลิน 2) สบายตา หมายถึง การยืนพูด การนั่งพูด การแสดงออกทางหน้าตา การใช้มือท าท่าทาง ประกอบการแต่งกายของผู้บรรยาย ดูแล้วน่าอภิรมย์ไม่เคอะเขิน น่าดูน่าชม เหมาะสมตลอดไป 3. สบายใจ หมายถึง ฟังแล้วผู้ฟังสบายใจ ซึ่งต้องมีสาระส าคัญ มีความรู้จากการฟัง ผู้บรรยาย เตรียมการมาดีการน าเรื่อง การบรรยาย การสรุป จบ เป็นล าดับขั้นตอน ไม่วกวนสับสน มีเรื่อง ตลกขบขัน หัวเราะ สอดแทรกพอควรไม่ง่วง ก. การฟังสบายหูมีหลัก ๆ ใหญ่อยู่ 3 ประการ คือ 1. การใช้เสียง มีข้อค านึง คือ 1.1 ต้องเป็นเสียงพูด มิใช่เสียงอ่านหรือเสียงพูดคุย เพราะเสียงอ่านจะเหมือนการท่องจ า มาพูดเสียงคุยจะไม่น่าศรัทธา เช่น การดัดเสียง อ่านเสียงหวาน เสียงกล้อมแกล้มในล าคอ เป็นต้น 1.2 เสียงดังชัดเจน ได้ยินทุกถ้อยทุกค า ไม่ดังเกินไป จนผู้ฟังสะดุ้งตกใจเป็นระยะ ๆ มีเสียง สูง ต่ า หนัก เบา ไม่ราบเรียบ 1.3 ระวังเสียงผิดวรรณยุกต์เสียงฑีระสระ และรัสสะสระ 1.4 ระวังเสียงแปลกปลอม เช่น กระแอม ไอ เสียงเสมหะติดคอ 1.5 ผู้ด ารงต าแหน่งหัวหน้า เฉพาะอย่างยิ่งผู้อ านวยการฝึกอบรมควรฝึกเสียงให้ทุ้มเข้าไว้ ต้องทุ้ม หนักแน่น ไม่เล็กแหลม ไม่แหบห้าวจนเกินไป 2. การใช้ถ้อยค าภาษา มีข้อควรละเว้น และพยายามฝึกฝนดังนี้ 2.1 ไม่ผิดพจนานุกรมในการออกเสียง 2.2 ระวังอักษรกล้ า อักษรควบ 2.3 จงพูดค าเต็ม อย่าย่อแบบเขียน เช่น 12 มิ.ย. 36 ต้องพูดว่า “วันที่สิบสอง มิถุนายน พุทธศักราช สองพันห้าร้อยสามสิบหก” เป็นต้น นัดพบเวลา 15.30 น. ต้องพูดว่า “นัดพบเวลาสิบห้านาฬิกา สามสิบนาที” เป็นต้น
-4- 2.4 ค าตลาดหรือค าไม่สุภาพ ควรละเว้น ได้แก่ จ าพวก ไอ้มัน แก เกือก โรงพัก เช่น “กิจการลูกเสือนั้นมันส าคัญมาก” ค าว่า ไอ้กับมัน ควรละเว้น ก็ได้ใจความเหมือนเดิม 2.5 ค าภาษาต่างประเทศควรละเว้น หากจ าเป็นจะต้องพูดต้องขออภัยผู้ฟังก่อน เว้นแต่ค าที่ มิได้แปลเป็นไทยไว้จ าพวก ฟุตบอล แบตเตอรี่ฯลฯ 2.6 ค า เอ้อ อ้า เอิ่ม น่าเบื่อหน่าย ควรลดลงให้มาก แม้แต่ค าว่า นะคะ นะครับ นะฮะ หากมีบ่อยก็น่าจะข าเสียมากกว่า 3. จังหวะการพูด ควรระวังดังนี้ 3.1 ไม่พูดรัวเร็วเกินไป 3.2 ไม่ระบายออกเป็นชุด ๆ แล้วหยุดนิ่งเหมือนยิงปืนกล 3.3 ไม่อืดอาด ยืดยาด เหมือนยิงปืนใหญ่ 3.4 ควรหยุดนิดหนึ่ง จึงพูดข้อความที่ต้องการเน้น 3.5 ไม่ทอดข้อความนานเกินไป เพื่อกันการเปลี่ยนความหมาย เช่น “ที่ตายก็ตายไป ที่อยู่ก็ เอากันไป” หยุดนานแล้วพูดต่อว่า “ฝังเสียยังป่าช้า” อย่างนี้ความหมายจะเปลี่ยน ข. การดูสบายตา มีหลัก 4 ประการ 1. บุคลิกการปรากฏตัว มีข้อความค านึงคือ 1.1 แต่งกายให้เรียบร้อยก่อนขึ้นเวที เครื่องประดับไม่มากมาย วูบวาบ แวววาว เฉพาะ อย่างยิ่งสุภาพสตรีเมื่อขึ้นเวทีแล้ว อย่าได้มีการขยับหรือจัดเสื้อผ้าอีก ยิ่งเป็นเครื่องแบบลูกเสือด้วยแล้วต้อง ระมัดระวัง ยิ่งขึ้น 1.2 เดินขึ้นเวทีด้วยความกระฉับกระเฉง ใบหน้าเบิกบานแจ่มใสแฝงด้วยความเชื่อมั่น ในตนเอง มีความองอาจ อย่ามีการหยิ่งยโส 2. ทักทายที่ประชุมเป็นอันดับแรก โดยทั่วไปการพูดในงานทั่ว ๆ ไป ควรพักไม่เกิน 3 ครั้ง เช่น “ท่านรัฐมนตรีท่านอธิบดีและท่านผู้มีเกียรติทั้งหลาย” อย่าเพิ่มหลายต าแหน่ง แม้จะมีบุคคลหลายคนก็ ตาม และ ไม่จ าเป็นต้องมีค าว่า “กราบเรียน” หรือ “เรียน” น าหน้า เพียงแต่เบนหน้าและสายจาไปหาผู้ที่เรา ทักเท่านั้น 3. การยืนพูดหรือนั่งพูด ควรสังวรในเรื่องต่อไปนี้ 3.1 การยืน นับว่าเป็นมาตรฐานการรองรับลักษณะอื่น ๆ ของร่างกาย ยืนให้เท้าแยกกัน พอควร น้ าหนักอยู่บนเท้าทั้งสอง ไม่เอียงไปเท้าใดเท้าหนึ่ง ปล่อยแขนลงข้างล าตัวอย่างสบาย ไม่เอามือกุม กันแบบส ารวมไม่ลูบแขนไปมา อาจเอามือไขว้กันข้างหน้าได้ ส าคัญว่ามือต้องยู่สุข ไม่ล้วงกระเป๋าแบบ นักเลง หากแท่นยืนพยายามอย่าเอาเมือหรือข้อศอกท้าวแท่น 3.2 ควรละเว้นท่ายืนแบบคนขี้ยา ลิงหาหลัก ไม้ปักรั้ว ชะมดติดจั่น (เดินไปมา) กังหันต้อง ลม (โคลงเคลงส่ายตัว)
-5- 3.3 ท่านั่งพูด นั่งตัวตรง นั่งตรงส่วนกลางของเก้าอี้ไม่ก้มงอไปข้างหน้า ไม่เอนหลังพิงพนัก เก้าอี้จนน่าเกลียด มือวางบนโต๊ะอย่างสบาย ไม่ท้าวหรือยันคาง 4. ท่าทางประกอบการพูด ท่าทางประกอบการพูดส่วนใหญ่ คือ มือแสดงเพื่อช่วยเสริมถ้อยค า ให้มีความหมายหนักแน่น หรือให้ผู้ฟังมองเห็นภาพมากขึ้น เช่น การใช้มือบอกทิศทาง บอกขนาด บอกความสูงต่ า บอกจ านวน ปริมาณ ฯลฯ ข้อควรสังวร คือ - ไม่ควรใช้ต่ ากว่าระดับเอว ไม่สูงกว่าไหล่ - ไม่ควรใช้นิ้วเพื่อชี้โดยเฉพาะชี้ผู้ฟัง หากจ าเป็นควรงอนิ้วหาตัวหรืองอนิ้วไปบนเพดาน หรือผายมือแบไปยังผู้ต้องการชี้ก็ได้ - การใช้มือบอกขนาด จ านวน สูง ต่ า ให้สอดคล้องกับค าพูด ได้จังหวะพอดีกับการพูด แม้จะไม่ใช้ก็ไม่เสียหายอะไร 5. การแสดงออกทางหน้าตา โดยปกติคนเราจะมีสีหน้าแสดงความเบิกบานแจ่มใส แต่ถ้าพูด ถึงเรื่องเศร้า หรือพูดเป็นการเป็นงาน สีหน้าควรเคร่งขรึม ไม่ใช่เคร่งครัด เพราะคนฟังไม่ชอบการพูดที่เครียด ๆ ส่วนตานั้นก็เป็นสิ่งส าคัญ การพูดที่ประสบความส าเร็จ ผู้ฟังสนใจเข้าใจ อยู่ที่ประสิทธิภาพของการใช้สื่อ ความหมายทางสายตาก็มีเป็นส่วนมาก การใช้สื่อทางสายตาให้ได้ผลนั้นควรท าดังนี้ - มองไปที่ผู้ฟังเท่านั้น ไม่มองไปทางอื่น เช่น เพดานห้อง พื้นห้อง มองห้ามศีรษะผู้ฟัง มองออกไปทางหน้าต่าง เป็นต้น - มองให้ทั่วทุกส่วนของพื้นที่ผู้ฟังก าลังฟังอยู่ ไม่มองบุคคลใดบุคคลหนึ่ง หรือกลุ่มใด กลุ่มหนึ่งโดยเฉพาะ - มองจนสบตาเป็นคน ๆ และเป็นจุด ๆ ไป อย่างทั่วถึง - ไม่ควรสวมแว่นตาด า ไม่ควรหลบตาผู้ฟัง ค. พาสบายใจ การที่จะพูดให้ผู้ฟังสบายใจนั้น การพูดจะต้องมีสาระส าคัญที่เป็นประโยชน์ผู้ฟังเกิดความรู้ ความเข้าใจและคล้อยตาม ควรพูดตลอดทั้งเรื่องไม่วกวนสับสน มีการเริ่มเรื่องหรือกล่าวน า มีการบรรจุสาระ เนื้อหาอย่างมีระบบ มีการสรุปจบที่น่าฟัง บทละครของ Lervis Corrolis กล่าวว่า “ใครก็ตามให้ข้าพเจ้าพูดด้วย 3 ครั้ง คนฟัง จะเชื่อข้าพเจ้า ทุกที” ฟังอย่างผิวเผินก็ราวกับว่าเป็นการกล่าวที่เหลือเชื่อแต่ในทางทฤษฎีการพูด หมายความ ว่า “จงบอกแก่ผู้ฟังว่าท่านจะบอกอะไรแก่เขา….แล้วจงบอกเข้าไป…..และบอกเขาอีกครั้ง” ความหมายนี้ก็คือการอารัมภบทให้ผู้ฟังได้ทราบว่า เราจะพูดอะไรเป็นการเริ่มต้นหรือ ค าน าแล้วก็เริ่มพูดถึงสาระส าคัญ คือ ตัวเรื่อง สุดท้ายก็สรุป ดังนั้น การพูดใด ๆ หากครบ 3 ขั้นตอนนี้ ก็จะสมบูรณ์ ผู้ฟังจะเกิดความสบายใจ และในระหว่างที่พูดมีการสอดแทรกอารมณ์ขันเข้าไปอีก ก็จะ เพิ่มรสชาติยิ่งขึ้น
-6- การสอดแทรกอารมณ์ขัน จะต้องระมัดระวังเรื่องเวลาควรจะสอดแทรกเมื่อผู้ฟังง่วง แสดงความเบื่อหน่ายหรือเมื่อผู้พูดบรรยายเรื่องหนักสมอง เรื่องเหตุการณ์ระทึกใจ และพึงระมัดระวัง เรื่องข าขันให้ดีสภาพของผู้ฟังนั้นต่างกันในเรื่องวัย การศึกษา ต าแหน่งหน้าที่การงานและเพศ เรื่องข าขันเป็นเรื่องตลก อย่าให้กลายเป็นเรื่องโจ๊กหรือเรื่องลามก ซึ่งคนส่วนมากนั้นเข้าใจ ว่าเรื่องตลก คือเรื่องสองแง่สองง่าม เรื่องเกี่ยวกับห้องนอน เรื่องเกี่ยวกับอวัยวะที่ต่ ากว่าสะดือ แต่สูงกว่าเข่า เรื่องท านองนี้มิใช่เรื่องข าขัน หากเป็นโจ๊กหรือลามก ผู้บรรยายควรละเว้นอาจเป็นเรื่องถูกใจคนบางกลุ่ม แต่ไม่ถูกต้อง เช่น “พ่อจะไปไหน”…. “ไปหาเงิน”…. “เงินพ่อหายหรือครับ” “พ่อนกยูงท าไมร้องเสียงดัง”…. “เพราะคอมันยาว”…. “แต่อึ่งคอสั้นท าไมร้องเสียงดัง ล่ะครับ” อย่างนี้เป็นตลก “วันหนึ่งหมีตาสอยเข้าไปหาหอยยายสี” อย่างนี้ลามก ค าน า (Introduction) หมายถึงการเริ่มต้นหลังจากทักทายที่ประชุมแล้ว การเริ่มต้นที่ดีจะโน้มน้าวหรือสะกดจิตใจ ผู้ฟังได้อย่างมากการเริ่มต้นที่ดีควรจะเริ่มต้นแบบต่าง ๆ ดังนี้ - แบบพาดหัวข่าว คือ เริ่มต้นให้ตื่นเต้น เร้าใจ เช่น จะพูดเรื่องทางด่วนสายใหม่ก็อาจจะ เริ่มด้วยว่า “ท่านทั้งหลาย ตอนที่ผมเดินทางมานี้ ผมเจออุบัติเหตุบนท้องถนน มอเตอร์ไซด์ประสานงากับ รถบรรทุกผู้ซ้อนท้ายมอเตอร์ไซด์ถึงกับไส้ทะลัก มีลูกออกมาโดยไม่ต้องคลอด” ผู้ฟังก็จะตื่นเต้นตั้งใจฟังด้วย ความเงียบ - แบบกล่าวค าถาม เช่น จะพูดเรื่องข้าวนาปรัง ก็เริ่มด้วย “ท่านทราบไหมว่าที่ราคาข้าว ตกต่ าทุกวันนี้เป็นฝีมือของใคร พ่อค้าคนกลางหรือรัฐมนตรีกันแน่”เป็นการให้ผู้ฟังสนใจกระหายที่จะฟัง - ความสงสัย เป็นการเริ่มต้นเรื่องที่ปลุกให้คนฉงนสนเท่ห์ เช่น จะพูดเรื่องการเพราะเห็ด นางฟ้า อาจเริ่มต้นว่า “มีคนสร้างความร่ ารวยมหาศาลได้จากสิ่งที่มองไม่เห็น” หมายถึงสปอร์ของเห็ด ที่เรามองไม่เห็นด้วยตาเปล่า - ให้การรื่นเริง เป็นการเริ่มต้นด้วยการรื่นเริง เช่น เพลงร าวง เพลงไทยสากล เพลงลูกทุ่ง ที่มีเนื้อหาสอดคล้องกับเรื่องที่จะพูด - แบบเชิงกวีเป็นการเริ่มต้นด้วยโคลง ฉันท กาพย์กลอน ที่ผู้พูดแต่งขึ้นเอง เช่น จะพูด เรื่องความมัธยัสถ์ก็อาจจะขึ้นต้นว่า “เมื่อมั่งมีมิตรมากมายมุ่งหมายมอง เมื่อมัวหมองมิตรมองเหมือนหมูหมา เมื่อไม่มีหมดมิตรมุ่งมองมา เมื่อมอดม้วย แม้หมู่หมาไม่มามอง”
-7- ส่วนการเริ่มต้นที่ควรละเว้นนั้น พึงละเว้น - ออกตัว คือ ขอออกตัวก่อนว่า เริ่มพูดเป็นครั้งแรกบ้าง เป็นครั้งแรกในชีวิตที่มาบรรยายต่อ ที่ ประชุม เช่นนี้บ้าง ตกใจจนตัวสั่นที่มาพบท่านทั้งหมด…เป็นต้น - มัวอ้อมค้อม กว่าจะเข้าประเด็นของเรื่องก็พูดวกไปเวียนมาพูดนอกเรื่องบ้าง เล่าประวัติ ส่วนตัวบ้าง น่าเบื่อหน่าย บางท่านจะเรียกว่า “มัวแต่ร่ายทวนอยู่” - ถ่อมตน หมายถึง พูดถ่อมตนซ้ าแล้วซ้ าอีก ถ่อมมากเกินไป ท าให้ผู้ฟังเกิดความไม่แน่ใจ เช่น “ที่จริงผมก็มวยแทน ไม่มีความรู้อะไรมากเสมือนเอามะพร้าวห้าวมาขายสวน” - สาละวนขออภัย เป็นการเริ่มต้นแบบคอยขออภัย ถ้าการพูดผิดพลาดอาจอ้างว่ามีเวลา เตรียมตัวน้อย หรือไม่ได้เตรียมตัวเลย มาเพราะความจ าเป็น มาเพราะเจ้านายสั่ง เป็นต้น การด าเนินเรื่องหรือตัวเรื่อง (Main Boby) ส่วนนี้เป็นสาระส าคัญในการพูดหรือการบรรยาย เนื้อหาต้องครบถ้วนสมบูรณ์มีการอ้างอิง จากแหล่งที่เชื่อถือได้สาระส าคัญอยู่ที่ส่วนนี้การศึกษาค้นคว้าจากต าราหลายเล่ม จากผู้รู้หลายคน น ามาเปรียบเทียบและประมวลออกมาให้เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง การศึกษาจากต าราเล่มเดียวหรือบุคคล เพียงคนเดียวนั้น อาจไม่สมบูรณ์พอหากมีการยกข้อเท็จจริงจากหลายแหล่งมาเปรียบเทียบหรือยืนยันให้ผู้ฟัง ให้ฟังอย่างแจ่มแจ้งผู้ฟังจะคล้อยตามผู้บรรยาย ศาสตราจารย์ ดร.นิพนธ์ ศศิธร ได้แนะน าส่วนนี้ว่า - จงรวบรวม หมายถึง เสาะแสวงหา ค้นหา ข้อเท็จจริง ข้อสนับสนุนจากแหล่งต่าง ๆ มาประมวล เปรียบเทียบ แล้วตัดสินใจเลือก - จงจัดระเบียบ เนื้อหา อาจจัดตามล าดับเวลา หรือล าดับสถานที่ หรือล าดับความส าคัญ ก่อนหลัง ให้ผู้ฟังสนใจ อาจท าแผนภูมิแบบการแผ่กิ่งก้านสาขาของต้นไม้ก็ได้ - จงหาข้อความอื่นมาประกอบหรือขยาย เช่น สถิติการเปรียบเทียบอุปมาอุปมัย อ้างอิง ค าพูด สุภาษิต และเตรียมอุปกรณ์ประกอบการบรรยายไว้ให้พร้อม การสรุปจบ (Conclusion) การสรุปจบเป็นช่วงส าคัญมาก การบรรยายที่ผ่านมาแม้จะน าเรื่องดีด าเนินเรื่องดีเสียเวลาบรรยาย มานานแต่ตอนสรปุจบเพียงสั้น ๆ นั้น หากไม่ประทับใจผู้ฟังแล้ว การบรรยายมาทั้งหมดจะเสียผลไปมาก การสรุปจบเป็นการทบทวนเรื่องราวทั้งหมดเพียงยกหัวข้อสั้น ๆ มาก าชับและสะกิดให้จ าได้หากผู้บรรยายได้ เตรียมหัวข้อและ เนื้อหามาดีจะสรุปได้ดีกว่าที่พูดไปเรื่อย ๆ โดยไม่มี่หัวข้อ
-8- นักพูดหัดใหม่จะสรุปจบแบบจืดชืด ซ้ าซาก ไม่มีความหมาย มักจะจบแบบไม่มากก็น้อยคอย ขอโทษหมดแค่นี้ - ไม่มากก็น้อย เป็นค าฟุ่มเฟือย เมื่อไม่มากก็จะต้องน้อย บางคนจะแถมไปอีกว่า “ไม่มาก ก็น้อย ไม่น้อยก็มาก” เช่นพูดว่า “ผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่าท่านจะได้รับความรู้จากการบรรยายของผมไม่มาก ก็น้อยไม่น้อยก็มาก” ซึ่งเป็นการพูดที่ผู้ฟังเป็นนักฟังจะยิ้มอย่างเย้ยหยัน - คอยขอโทษ เป็นการออกตัว แสดงว่าไม่ได้เตรียมตัวหรือเต็มใจมาบรรยาย อาจเป็น “ขอโทษหากค าพูดของผมไม่สบอารมณ์” หรือ “ขออภัยที่ลืมเอาเอกสารมาแจก” หรือ “ขอโทษที่ผมไม่ สามารถให้ความกระจ่างแก่ท่านได้มากกว่านี่” หรือ “ขอโทษที่เวลาน้อยไป มีเรื่องอีกมากมายที่ยังไม่เล่า” - หมดแค่นี้เป็นการออกตัวชนิดที่หมดภูมิปัญญา เช่น “ผมไม่มีอะไรจะกล่าวอีกแล้ว ขอจบ เพียงเท่านี้” การสรุปจบที่ได้ผลนั้น ผู้ฟังจะสบายใจ สุขใจ ระลึกถึงอยู่เสมอ ซึ่งควรสรุปจบแบบสรุป ความตามคมปาก ฝากให้คิด สะกิด เชิญชวน - สรุปความ เป็นการสรุปเนื้อหาที่บรรยายมาอย่างสั้นที่สุด - ตามคมปาก เป็นการยกสุภาษิต โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน ที่เป็นคติสอนใจ หรือ ภาษาบาลี(คติธรรม) ที่เกี่ยวกับเนื้อเรื่องที่พูดมาเป็นบทสรุปจบ เช่น บรรยายเรื่อง เชิญชวนคนกระท า ความดีก็สรุปว่า โคควายวายชีพได้ เขาหนัง เป็นสิ่งเป็นอันยัง อยู่ไซร้ คนเด็ดดับสูญสัง ขารร่าง เป็นชื่อเป็นเสียงได้ แต่ร้ายกับดี - ฝากให้คิด เป็นการสรุปแบบฝากผู้ฟังไปคิดไตร่ตรอง เป็นการบ้านในเรื่องที่บรรยายมา - สะกิดเชิญชวน เป็นการโน้มน้าวเชิญชวนให้ต่อต้าน หรือสนับสนุน หรือค้นคว้า หรือ ตามไปดูข้อเท็จจริงที่ได้บรรยายมา ส าหรับการสรุปจบของหลักเกณฑ์การพูดตามทฤษฎีทรีซาวด์ หรือ 3 สบายนั้นถือว่าเป็นบันได 13 ขั้น คือ เตรียมให้พร้อม ซ้อมให้ดี ท่วงทีให้สง่า หน้าตาให้สุขุม ทักที่ประชุมไม่วกวน ขึ้นต้นให้โน้มน้าว เรื่องราวให้กระชับ ตาจับที่ผู้ฟัง เสียงดังให้พอดี อย่าให้มีเอ้ออ้า กะเวลาให้พอครบ สรุปจบให้จับใจ ยิ้มแย้มแจ่มใสตลอดเวลา
-9- วิธีสอนแบบบรรยาย แม้จะเกิดผลดีส าคัญบางวิชา บางเรื่องก็ตามก็ยังมีผลเสียหรือข้อจ ากัดอยู่บ้าง ดังจะสรุปข้อดีและข้อจ ากัด ดังนี้ ข้อดีของการสอนแบบบรรยาย 1. ได้เนื้อหามากในช่วงเวลาสั้น 2. ได้เนื้อหาวิชาตรงตามวัตถุประสงค์เสนอเนื้อหาสาระได้อย่างเป็นระเบียบ 3. ผู้เข้ารับการฝึกอบรมเตรียมตัวซักถามล่วงหน้าได้ 4. จัดสถานที่สะดวก จัดให้เหมาะสมกับเหตุการณ์ได้ง่าย 5. สามารถจัดผู้ฟังได้จ านวนมาก 6. สามารถกระตุ้นความสนใจ และเน้นบางส่วนได้ดี ข้อจ ากัดของการสอนแบบบรรยาย 1. เป็นการสื่อทางเดียว หากผู้บรรยายขาดประสบการณ์จะสูญเปล่า 2. ผู้ฟังอาจเบื่อหน่ายเพราะไม่มีโอกาสแสดงความคิดเห็นและซักถาม 3. ผู้บรรยายไม่อาจวัดได้ว่า ผู้ฟังได้รับความรู้เพียงใด 4. การบรรจุเนื้อหามาก ๆ อาจท าให้ผู้ฟังไม่สามารถจดจ าได้ละเอียด 5. หาผู้มีประสบการณ์มีความสามารถสูงได้ยาก 6. เนื้อหาบางประเภทไม่สามารถใช้วิธีบรรยายได้
บทเรียรี นที่ 23 การสาธิต ธิ
บทที่ 23 การสาธิต (DEMONSTRATION) การสาธิต คือ การแสดงให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้รับประสบการณ์ตรง โดยปกติในการฝึกอบรม ผู้บังคับบัญชาลูกเสือนั้นการสาธิตช่วยเสริมสร้างทักษะในวิชาการลูกเสือเป็นสําคัญอย่างไรก็ตามการสาธิตที่ดี ก็อาจช่วยส่งเสริมการสร้างทักษะในด้านอื่นได้เช่นกัน การสาธิตไม่เหมาะที่จะให้การฝึกอบรมกับกลุ่มบุคคล กลุ่มใหญ่ วิธีการ 1. การเตรียมการสาธิต ก. วางแผนให้การสาธิตเป็นธรรมชาติมากที่สุด ถึงแม้ว่าท่านจะไม่มีทักษะในเรื่องนั้นได้อย่างที่ ท่านจะใช้จริงก็ตาม ข. รวบรวมและตระเตรียมเครื่องมือเครื่องใช้ที่จําเป็นให้พร้อม ค. คํานึงถึงผู้เรียนและความรู้ที่เกี่ยวกับทักษะที่เขามีอยู่ ทั้งคํานึงถึงรายละเอียดที่ท่านควรจะให้แก่ ผู้เรียนด้วย ง. พิจารณาเรื่องให้ตลอดหรืออาจต้องบันทึกไว้สั้น ๆ ว่ามีอะไรบ้างที่จําเป็นที่จะอธิบายให้ ทราบถึง การกระทํานั้น จ. ฝึกซ้อมการสาธิตตั้งแต่เริ่มต้นจนจบ จนแน่ใจว่าท่านจะแสดงการสาธิตได้อย่างคล่องแคล่ว ๆ ฉ. ถ้าเป็นการสาธิตที่ยาวและใช้เวลานาน ควรเขียนเค้าโครงการสาธิตไว้เป็นข้อ ๆ ๒. การสาธิต ก. อธิบายให้ผู้เรียนฟังโดยย่อ ชี้จุดสําคัญที่ต้องสนใจเป็นพิเศษ ข. จัดอัตราความเร็วของการสาธิตให้เหมาะสมกับความยากง่ายในการเรียนรู้ตามลําดับ ขั้นตอนและ ควรเริ่มต้นอย่างช้า ๆ ไปจนจบ ค. ต้องคอยสังเกตปฏิกิริยาของผู้เรียน และเสริมใส่รายละเอียดเรื่องที่จะเรียนและการ กระทําให้ เหมาะสมกับปฏิกิริยานั้น ง. ถ้าจําเป็นควรสาธิตซ้ําในตอนที่เห็นว่ายากหรือสําคัญ และควรปฏิบัติในขณะที่กําลัง สาธิตอยู่เป็น ตอน ๆ ไป หรือจะทําเมื่อสาธิตจบเรื่องแล้วก็ได้ จ. ถ้าท่านบอกผู้ดูการสาธิตว่าวิธีใดผิด ท่านจะต้องบอกเขาด้วยวิธีใดเป็นวิธีที่ถูก ทั้งนี้ ก่อนและ หลังจากที่ท่านบอกว่าวิธีใดผิด 3. สรุปการสาธิต ข้อดีข้อจํากัด ก. ทบทวนขั้นสําคัญต่าง ๆ ตามลําดับก่อนหลัง ข. ให้โอกาสแก่ผู้เรียนได้ซักถาม และได้ทดลองปฏิบัติโดยที่มีท่านเป็นผู้แนะนํา
-2- ค. ขั้นตอนการทดลองหรือแสดง สามารถยืดหยุ่นได้ ซึ่งบางขั้นตอนจําเป็นต้องกระทําอย่างละเอียด หรือทําซ้ําอีกก็ได้ ง. วิธีการนี้ช่วยให้เกิดแรงจูงใจในการฝึกอบรมได้ดี จ. วิทยากรที่ดีจะต้องเตรียมและซ้อมมาก และเวลาสาธิตต้องกระทําอย่างระมัดระวังยิ่งขึ้นอีก เพื่อให้ ผู้เข้ารับการฝึกอบรมพึงพอใจต่อบทเรียน ฉ. วิธีการนี้เหมาะสมกับผู้เข้ารับการฝึกอบรมกลุ่มเล็กมากกว่า ด้วยขีดจํากัดมากมาย ช. ต้องมีการชี้แจงวัตถุประสงค์และจุดสําคัญ มิฉะนั้นผู้เข้ารับการฝึกอบรมอาจไขว้เขวได้ ซ. วิธีการนี้เหมาะสมกับกิจกรรมหรือเนื้อหาบางอย่างเท่านั้น ไม่อาจใช้กับทุกเนื้อหาได้ บทสรุป 1. ผู้สาธิตที่ดีจะต้องมีความเชี่ยวชาญ ทั้งความรู้และสาธิตวิธีการสาธิต และอาจกระทําร่วมกับ บุคคล หรือกลุ่มบุคคลร่วมกันได้ ข้อสําคัญต้องไม่ผิดพลาด 2. ผู้เข้ารับการฝึกอบรมอาจจะซักถามได้ในส่วนที่ตนสนใจเป็นพิเศษ 3. อุปกรณ์ต้องพร้อมทั้งปริมาณและคุณภาพ ตลอดจนสถานที่ที่เหมาะสมด้วย ภูมิหลังวิชา การสาธิตเป็นการแสดงให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้เห็นของจริง โดยอาจแสดงให้เห็นถึงวิธีการ ขั้น ตอนของการสอนแบบสาธิต เช่น การสอนการผูกเงื่อน การสอนการผูกแน่น เป็นต้น เหมาะสมที่จะใช้กับ กลุ่มเล็ก ๆ การสอนแบบสาธิตนี้ใช้ได้กับผู้เข้ารับการอบรมทุกระดับทุกประเภทและตามปกติแล้วการสอน แบบสาธิตนี้จะใช้ร่วมกับวิธีากรสอนแบบ อื่น ๆ เช่น การบรรยาย การทดลองปฏิบัติ และการอภิปราย เป็นต้น
บทเรียรี นที่ 24 การสอนแบบฐาน
บทเรียนที่24 การสอนแบบฐาน (BASE METHOD) วิธีการสอนแบบฐานนี้ เป็นวิธีการสอนที่นิยมใช้และใช้มากในการจัดการฝึกอบรมวิชาผู้ก ากับลูกเสือ ขั้นความรู้เบื้องต้นและขั้นความรู้ชั้นสูง ผู้สอน (วิทยากร) ต้องมีความเข้าใจในจุดหมาย (Aims) ของวิธีการ สอนแบบนี้เป็นอย่างดี คือ วิธีการสอนแบบฐานนี้จะช่วยให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมเกิดทักษะและให้ความรู้ เป็นส าคัญมากกว่าการเปลี่ยนทัศนคติความส าคัญของเรียนแบบฐานทางการลูกเสือ คือ การรายงานเข้าฐาน 1. การเข้าฐานของทางการลูกเสือ มี 5 แบบ ผู้เข้าฐานมีอาวุธ (ไม้พลองหรือไม้ง่าม) ทุกคน เมื่อได้ยินสัญญาณเริ่มการฝึกตามระบบฐาน (ใช้สัญญาณนกหวีดเป่ายาว 1 ครั้ง หรือจุดประทัด 1 ครั้ง ไม่ควรใช้อาวุธเป็นเพราะอาจเกิด อันตรายและไม่ประหยัด) วิ่งไปเข้าฐานตามที่ก าหนดเข้าแถวรูปหน้ากระดาน โดยนายหมู่ยืนอยู่หน้าวิทยากร ผู้ประจ าฐานห่างจากวิทยากรประมาณ 3 ก้าวเมื่อเข้าแถวเรียบร้อยแล้วนายหมู่สั่ง “หมู่….ตรง” (บอกชื่อหมู่) “วันทยาวุธ” เฉพาะนายหมู่ เรียบอาวุธ แล้วก้าวไปข้างหน้า 1 ก้าว (ก้าวเท้าซ้ายไปข้างหน้า 1 ก้าวเท้าขวาชิด) ท าวันทยาวุธและรายงานว่า “หมู่….พร้อมที่จะได้รับการฝึกแล้วครัว (ค่ะ)” จากนั้นนายหมู่เรียบอาวุธ ถอยหลังเข้าที่เดิม (ก้าวเท้าซ้าย ถอยหลัง 1 ก้าว เท้าขวาชิด) ท าวันทยาวุธ แล้วสั่ง “เรียบ - อาวุธ” “ตามระเบียบ, พัก” เริ่มฝึกอบรมในฐาน ตามค าแนะน าของวิทยากรประจ าฐานเมื่อหมดเวลาจะได้ยินเสียง สัญญาณนกหวีดหรือประทัด (เป่ายาว 1 ครั้ง หรือเสียงประทัด 1 ครั้ง) ให้ทุกคนเข้าแถวให้เรียบร้อย เมื่อได้ยินเสียงสัญญาณนกหวีดเป่ายาว 2 ครั้ง หรือเสียงประทัด 2 ครั้งให้นายหมู่สั่ง “หมู่…ตรง” “วันทยาวุธ” นายหมู่กล่าวขอบคุณวิทยากรผู้ประจ าฐานด้วยค าว่า “หมู่….ขอขอบคุณครับ (ค่ะ)” (นายหมู่ไม่ต้องก้าวออกไป ข้าวหน้า) จากนั้นสั่ง “เรียบ – อาวุธ” “ขวา – หัน ตามข้าพเจ้า” แล้วเคลื่อนไปฐานต่อไป 2. ผู้เข้าฐานมีอาวุธเฉพาะนายหมู่ เมื่อนายหมู่มาเข้าฐานและเข้าแถวหน้าวิทยากรประจ าฐาน เรียบร้อยแล้ว นายหมู่สั่ง “หมู่…..ตรง” นายหมู่ท าวันทยาวุธ และเรียบอาวุธ แล้วก้าวไปข้างหน้า 1 ก้าว ท าวันทยาวุธ (การรายงานเช่นเดียวกันกับมีอาวุธทั้งหมู่) แล้วเรียบอาวุธ ถอยหลังเข้าที่เดิม ท าวันทยาวุธแล้ว เรียบอาวุธ และสั่ง “ตามระเบียบ, พัก” เริ่มฝึกอบรมในฐานตามค าแนะน าของวิทยากรประจ าฐานเมื่อหมด เวลาจะได้ยินเสียงสัญญาณนกหวีดหรือประทัด (เป่ายาว 1 ครั้ง หรือเสียงประทัด 1 ครั้ง) ให้ทุกคนเข้าแถว ให้เรียบร้อย เมื่อได้ยินสัญญาณนกหวีดหรือประทัด 2 ครั้ง ให้นายหมู่สั่ง “หมู่….ตรง” นายหมู่ท าวันทยาวุธ นายหมู่กล่าวขอบคุณวิทยากรประจ าฐานด้วยค าว่า “หมู่…ขอขบคุณครับ (ค่ะ)” (นายหมู่ไม่ต้องก้าวออกไป ข้างหน้า) นายหมู่ ท าเรียบอาวุธ แล้วสั่ง “ขวา - หัน ตามข้าพเจ้า” แล้วเคลื่อนไปฐานต่อไป 3. ผู้เข้าฐานไม่มีอาวุธ เมื่อนายหมู่น าหมู่มาเข้าฐานและเข้าแถวหน้าวิทยากรผู้ประจ าฐานเรียบร้อย แล้ว นายหมู่สั่ง “หมู่….ตรง” นายหมู่ท าวันทยหัตถ์แล้วลดมือลง ก้าวไปข้างหน้า 1 ก้าว ท าวันทยหัตถ์แล้วรายงานเช่นเดียวกันกับข้อ ก. และ ข. เสร็จแล้วถอยหลังเข้าที่เดิม ท าวันทยหัตถ์ ลดมือลงและสั่ง “ตามระเบียบ พัก”
-2- เมื่อได้ยินสัญญาณหมดเวลา 1 ครั้ง ให้ทุกคนเข้าแถวให้เรียบร้อย และเมื่อได้ยินสัญญาณ 2 ครั้ง ให้นายหมู่สั่ง “หมู่…..ตรง” นายหมู่ท าวันทยหัตถ์ และกล่าวขอบคุณวิทยากรประจ าฐานลดมือลงแล้ว สั่ง “ขวา - หัน ตามข้าพเจ้า” แล้วเคลื่อนไปฐานต่อไป 4. ฐานไม่มีวิทยากรประจ าฐาน เมื่อนายหมู่น าหมู่มาเข้าฐาน ให้ทุกคนปฏิบัติงาน โดยอ่านค าสั่ง ประจ าฐาน และให้ปฏิบัติตามค าสั่งที่ได้รับมอบหมาย 5. ลูกเสือมาเข้าฐานเกิน 1 หมู่ เมื่อนายหมู่น าหมู่มาเข้าฐานและเข้าแถวหน้าวิทยากรผู้ประจ าฐาน เรียบร้อยแล้ว ให้วิทยากรประจ าฐานรับรายงาน ที่ล่ะ 1 หมู่ ในกรณีที่มีวิทยากรหนึ่งคน ถ้ามีวิทยากรมากกว่า หนึ่งคน ให้รับรายงานการเข้าฐาน คน ล่ะหมู่ ผู้สอนต้องพิจารณาในเนื้อหาวิชาว่า เหมาะสมกับการใช้วิธีสอนแบบนี้หรือไม่ ด้วยเหตึว่าวิธีการสอนนี้ จะต้องใช้บุคลากรเพิ่มขึ้น เนื้อหาวิชาต้องแบ่งออกเป็นแขนงวิชาย่อย ๆ ได้ และอาจจะต้องใช้วิธีการสอนแบบ อื่น เข้าร่วมด้วย เป็นต้น ตัวอย่างเช่น การสอน “วิชาการใช้เชือก” ซึ่งอาจแบ่งได้หัวข้อย่อย ๆ ดังนี้ - การดูและและเก็บรักษา - การผูกเงื่อน - การผูกแน่น - การแทงเชือก - การพันหัวเชือก วิธีการ 1. จัดแบ่งหัวข้อวิชา และผู้รับผิดชอบ (วิทยากรประจ าฐาน) 2. จัดฐานและอุปกรณ์ประกอบฐานให้พร้อมและมีคุณภาพ ลักษณะของฐานควรอยู่ห่างกันพอควร ไม่รบกวนซึ่งกันและกัน 3. แบ่งผู้เข้ารับการฝึกอบรมเป็นกลุ่มเล็ก ๆ เท่า ๆ กันจัดหมุนเวียนให้เป็นระบบ เพื่อให้ผู้เข้ารับการ ฝึกอบรมได้รับความรู้ได้ทุก ๆ ฐาน และเท่าเทียมกัน 4. อาจจัดให้มีการวัดผลการฝึกอบรมภายในฐานการฝึกอบรม โดยวิทยากรประจ าฐาน เป็นผู้ด าเนินการหรือกระท ารวมกลุ่มใหญ่ โดยวิทยากรผู้บรรยายก็ได้ ข้อดีและข้อจ ากัด 1. การแบ่งกลุ่มผู้เข้ารับการฝึกอบรมเป็นกลุ่มเล็ก ๆ ท าให้เกิดประสบการณ์โดยตรงและแจ่มชัดจาก วิทยากรอย่างใกล้ชิดขึ้น 2. วิทยากรประจ าฐานจะสะดวกในการฝึกทักษะแก่ผู้เข้ารับการฝึกเพราะเป็นกลุ่มเล็ก 3. ภาระการสอนจะกระจายไปยังคณะวิทยากรอย่างกว้างขวาง
-3- 4. วิทยากรประจ าฐานได้รับมอบงานอย่างจ ากัด ท าให้สามารถจัดและกระท างานที่ได้รับมอบหมายได้ สมบูรณ์ยิ่งขึ้น กับบุคคลที่มีจ านวนน้อยลงเช่นกัน 5. วิทยากรและผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีโอกาสที่จะได้ศึกษาซึ่งกันและกัน และเป็นรายบุคคล 6. เนื้อหาวิชาบางวิชาอาจไม่เหมาะสมกับการใช้วิธีสอนแบบนี้ วิทยากรประจ าฐานะต้องเตรียมตัว เตรียมงาน ข้อควรค านึง 1. ต้องจัดฐานให้เสร็จสมบูรณ์ มีความพร้อมและชัดเจนก่อนการฝึกอบรม 2. วิทยากรประจ าฐานจะต้องเป็นบุคลากรที่มีความช านาญในแต่ละด้านในงานของฐานอย่างแท้จริง 3. อุปกรณ์การฝึกอบรมในแต่ละฐานจะต้องมีให้ครบสมบูรณ์และมีคุณภาพ 4. การด าเนินการสอนของวิทยากรในแต่ละฐานการฝึกอบรม จะต้องด าเนินการฝึกอบรมด้วย วิธีการสอนที่ดีต้องง่ายอย่างมีเหตุมีผล ปฏิบัติและวัดผลได้ 5. ควรใช้เวลาในการฝึกอบรมในแต่ละฐานอย่างเหมาะสมและเท่า ๆ กัน แนวการสอนแบบฐานนี้ อาจน าไปใช้กับผู้เข้ารับการฝึกอบรมที่มีจ านวนมาก ๆ ก็ได้เช่นกัน และวิธีการจัดการฝึกอบรมอีกวิธีหนึ่งก็อาจท าได้เช่นกัน คือ น าบุคคลกลุ่มเล็ก ( 1หมู่ หรือ 2 หมู่ ) เริ่มต้น เรียนที่ฐานหนึ่ง แล้วด าเนินต่อไปเป็นฐาน 2 – 3จนครบทุกฐานแล้วน ามารวมและซักถามปัญหาในขั้นสรุป และประเมินผลได้ และถ้าเห็นควรจะให้มีการปฏิบัติกิจกรรมยามว่างก็กระท าได้เช่นกัน วิธีการระบบฐานนี่ เคยได้รับความส าเร็จมาแล้วในการสอนวิชาต่อไปนี้ - งานเชือก - การผลิตอุปกรณ์การอยู่ค่ายพักแรม - การสะกดรอย - การคาดคะเน - การฝึกประสาทและอนุมาน - การอยู่ค่ายพักแรม บทสรุป ในการฝึกอบรมโดยใช้ระยะฐานนี้จะต้องมีการเรียมการในด้านตัวคณะผู้ให้ฝึกอบรมเป็นพิเศษ พร้อมทั้งอุปกรณ์ในการจัดฐานและสถานที่ให้เหมาะสม การสอนหรือวิธีการฝึกอบรมควรเป็นวิธีการที่ง่าย ไม่ยุ่งยากสลับซับซ้อน แต่ก็ต้องอาศัยบุคลากรจ านวนมากมาท างานร่วมกัน หมายเหตุ การเรียนการสอนแบบฐานนี้ ผู้บรรยายจะต้องตระหนักอยู่เสมอว่า ขณะนี้ท่านก าลังสอน “กลวิธีการ เรียนรู้ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในกลวิธีการฝึกอบรมของการลูกเสือ อาจจะมีการสาธิตวิธีการเข้า – ออกฐานการเรียน การสอนก่อนหรือภายหลัง หรือในโอกาสอื่น ๆ จงอย่าพยายามน าเอาวิธีการเข้าหรือออกจากฐานการเรียน
-4- การสอนเป็นเรื่องส าคัญที่สุดส าหรับบทเรียนนี้ มิฉะนั้นแล้วผลการเรียนรู้จะผิดไปจากจุดหมาย (Aims) และ วัตถุประสงค์ (Objective) ที่ได้ตั้งไว้ขอให้อยู่เสมอว่า 1. เราจะเตรียมบทเรียนในเรื่องนี้ได้อย่างไร 2. ต้องการให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีส่วนมากน้อยเพียงใด 3. ต้องการความช่วยเหลือจากเพื่อนร่วมงานอย่างไร 4. จะช่วยเหลือให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้มีโอกาสฝึกทักษะเพิ่มขึ้นได้อย่างไร 5. ท่านควรเตรียมอุปกรณ์และวิธีสอนเพื่อแนะน าหรือช่วยเหลือผู้เข้ารับการฝึกอบรมตามสถานภาพ ของวิชาที่จัดไว้อย่างเหมาะสมด้วย ระบบฐาน เป็นวิธีการเสริมการให้ความรู้ในทางตรง ซึ่งจะก่อให้เกิดประโยชน์หลายประการ 1. ช่วยให้สมาชิกเข้าใจในแง่ปัญหาและเนื้อหาวิชาได้ดี 2. ช่วยให้สมาชิกได้ซักถามหรืออภิปรายได้อย่างอิสระ 3. ช่วยให้สมาชิกกับการถ่ายทอดความรู้อย่ากว้างขวางและเกิดทักษะ การปฏิบัติเกี่ยวกับระบบฐาน 1. จัดวิชาให้เหมาะสม 2. ผู้ประจ าฐานมีความรู้และมีการเตรียมการล่วงหน้า 3. เครื่องมือ อุปกรณ์ ต้องพร้อมในสภาพใช้การดี 4. ที่ตั้งฐานแต่ละฐานต้องเหมาะสม มีระยะทางเท่ากัน และมีพื้นที่พอเพียงในการจัดฐานเพื่อ ไม่ให้เกิดการรบกวนซึ่งกันและกัน 5. ต้องรักษาเวลาในการเข้ารับการฝึกอบรมตามฐานให้ตรงต่อเวลา วิธีการเข้าฐาน การฝึกอบรมได้แบ่งผู้เข้ารับการฝึกอบรมเป็นหมู่หรือกลุ่มอยู่แล้ว การเข้าฐานให้จัดสมาชิก แต่ละหมู่หรือกลุ่มได้หมุนเวียนไปได้ทุกฐาน ๆ ละ 1 หมู่ หรือกลุ่ม หรือ 2 หมู่ หรือกลุ่ม ก. ผู้เข้าฐานมีอาวุธ (ไม้พลองหรือไม้ง่าม) ทุกคน เมื่อได้ยินสัญญาณเริ่มการฝึกตามระบบฐาน (ใช้สัญญาณนกหวีดเป่ายาว 1 ครั้ง หรือจุดประทัด 1 ครั้ง ไม่ควรใช้อาวุธเป็นเพราะอาจเกิดอันตรายและ ไม่ประหยัด) วิ่งไปเข้าฐานตามที่ก าหนดเข้าแถวรูปหน้ากระดาน โดยนายหมู่ยืนอยู่หน้าวิทยากรผู้ประจ าฐาน ห่างจากวิทยากรประมาณ 3 ก้าวเมื่อเข้าแถวเรียบร้อยแล้วนายหมู่สั่ง “หมู่….ตรง” (บอกชื่อหมู่) “วันทยาวุธ” เฉพาะนายหมู่ เรียบอาวุธ แล้วก้าวไปข้างหน้า 1 ก้าว (ก้าวเท้าซ้ายไปข้างหน้า 1 ก้าว เท้าขวาชิด) ท าวันทยาวุธและรายงานว่า “หมู่….พร้อมที่จะได้รับการฝึกแล้วครัว (ค่ะ)” จากนั้นนายหมู่เรียบอาวุธ ถอยหลังเข้าที่เดิม (ก้าวเท้าซ้าย ถอยหลัง 1 ก้าว เท้าขวาชิด) ท าวันทยาวุธ แล้วสั่ง “เรียบ - อาวุธ” “ตามระเบียบ, พัก” เริ่มฝึกอบรมในฐาน ตามค าแนะน าของวิทยากรประจ าฐานเมื่อหมดเวลาจะได้ยินเสียง
-5- สัญญาณนกหวีดหรือประทัด (เป่ายาว 1 ครั้ง หรือเสียงประทัด 1 ครั้ง) ให้ทุกคนเข้าแถวให้เรียบร้อย เมื่อได้ ยินเสียงสัญญาณนกหวีดเป่ายาว 2 ครั้ง หรือเสียงประทัด 2 ครั้งให้นายหมู่สั่ง “หมู่…ตรง” “วันทยาวุธ” นายหมู่กล่าวขอบคุณวิทยากรผู้ประจ าฐานด้วยค าว่า “หมู่….ขอขอบคุณครับ (ค่ะ)” (นายหมู่ไม่ต้องก้าวออกไป ข้าวหน้า) จากนั้นสั่ง “เรียบ – อาวุธ” “ขวา - หัน ตามข้าพเจ้า” แล้วเคลื่อนไปฐานต่อไป ข. ผู้เข้าฐานมีอาวุธเฉพาะนายหมู่ เมื่อนายหมู่มาเข้าฐานและเข้าแถวหน้าวิทยากรประจ าฐาน เรียบร้อยแล้ว นายหมู่สั่ง “หมู่…..ตรง” นายหมู่ท าวันทยาวุธ และเรียบอาวุธ แล้วก้าวไปข้างหน้า 1 ก้าว ท าวันทยาวุธ (การรายงานเช่นเดียวกันกับมีอาวุธทั้งหมู่) แล้วเรียบอาวุธ ถอยหลังเข้าที่เดิม ท าวันทยาวุธแล้ว เรียบอาวุธ และสั่ง “ตามระเบียบ, พัก” เริ่มฝึกอบรมในฐานตามค าแนะน าของวิทยากรประจ าฐาน เมื่อหมด เวลาจะได้ยินเสียงสัญญาณนกหวีดหรือประทัด (เป่ายาว 1 ครั้ง หรือเสียงประทัด 1 ครั้ง) ให้ทุกคนเข้าแถว ให้เรียบร้อย เมื่อได้ยินสัญญาณนกหวีดหรือประทัด 2 ครั้ง ให้นายหมู่สั่ง “หมู่….ตรง” นายหมู่ท าวันทยาวุธ นายหมู่กล่าวขอบคุณวิทยากรประจ าฐานด้วยค าว่า “หมู่…ขอขบคุณครับ (ค่ะ)” (นายหมู่ไม่ต้องก้าวออกไป ข้างหน้า) นายหมู่ ท าเรียบอาวุธ แล้วสั่ง “ขวา - หัน ตามข้าพเจ้า” แล้วเคลื่อนไปฐานต่อไป ค. ผู้เข้าฐานไม่มีอาวุธ เมื่อนายหมู่น าหมู่มาเข้าฐานและเข้าแถวหน้าวิทยากรผู้ประจ าฐานเรียบร้อย แล้ว นายหมู่สั่ง “หมู่….ตรง” นายหมู่ท าวันทยหัตถ์แล้วลดมือลง ก้าวไปข้างหน้า 1 ก้าว ท าวันทยหัตถ์แล้วรายงานเช่นเดียวกันกับข้อ ก. และ ข. เสร็จแล้วถอยหลังเข้าที่เดิม ท าวันทยหัตถ์ลดมือลง และสั่ง “ตามระเบียบ พัก” เมื่อได้ยินสัญญาณหมดเวลา 1 ครั้ง ให้ทุกคนเข้าแถวให้เรียบร้อย และเมื่อได้ยินสัญญาณ 2 ครั้ง ให้นายหมู่สั่ง “หมู่…..ตรง” นายหมู่ท าวันทยหัตถ์ และกล่าวขอบคุณวิทยากรประจ าฐานลดมือลงแล้วสั่ง “ขวา – หัน ตามข้าพเจ้า” แล้วเคลื่อนไปฐานต่อไป หมายเหตุ 1. ในกรณีที่เข้าฐานมากกว่าหนึ่งหมู่ให้มีการรายงานทุกหมู่ 2. วิทยากรประจ าฐานรับความเคารพโดยการท าวันทยหัตถ์ตอบโดยตลอดรอจนกระทั่ง นายหมู่กลับเข้าที่ สั่งหมู่ เรียบอาวุธหรือลดมือลงจากการท าวันทยหัตถ์จึงเอามือลง ข้อเสนอแนะ 1. เรียนในห้องประชุม (ห้องเรียน) แล้วสาธิตการเข้าฐานพร้อมทั้งดูตัวอย่างสาธิต 2. ประเมินผลจากการสังเกตการณ์ปฏิบัติในการเข้าฐานและความสนใจ ภูมิหลังวิชา เป็นเรื่องที่ผู้เรียนมีความรู้มาบ้ างแล้วในการพบเห็นจากการฝึกอบ รมขั้นความรู้เบื้องต้น และขั้นความรู้ ชั้นสูง แต่ต้องการให้มีความเข้าใจอย่างลึกซึ่งปฏิบัติได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
-6- หมายเหตุ การเรียนการสอนแบบฐานนี้ผู้บรรยายจะต้องตระหนักอยู่เสมอว่า ขณะนี้ท่านก าลังสอน “กลวิธี การเรียนรู้ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในกลวิธีการฝึกอบรมของการลูกเสือ อาจจะมีการสาธิตวิธีการเข้า – ออก ฐานการเรียนการสอนก่อนหรือภายหลัง หรือในโอกาสอื่น ๆ จงอย่าพยายามน าเอาวิธีการเข้าหรือออกจากฐาน การเรียนการสอนเป็นเรื่องส าคัญที่สุดส าหรับบทเรียนนี้ มิฉะนั้นแล้วผลการเรียนรู้จะผิดไปจากจุดหมาย (Aims) และวัตถุประสงค์ (Objective) ที่ได้ตั้งไว้ขอให้อยู่เสมอว่า 1. เราจะเตรียมบทเรียนในเรื่องนี้ได้อย่างไร 2. ต้องการให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีส่วนมากน้อยเพียงใด 3. ต้องการความช่วยเหลือจากเพื่อนร่วมงานอย่างไร 4. จะช่วยเหลือให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้มีโอกาสฝึกทักษะเพิ่มขึ้นได้อย่างไร 5. ท่านควรเตรียมอุปกรณ์และวิธีสอนเพื่อแนะน าหรือช่วยเหลือผู้เข้ารับการฝึกอบรมตามสถานภาพ ของวิชาที่จัดไว้อย่างเหมาะสมด้วย
บทเรียรี นที่ 25 การศึก ศึษารายกรณี
บทเรียนที่ 25 การศึกษารายกรณี(Case Study) การศึกษารายกรณีเป็นแนวการฝึกอบรมที่เน้นถึงแนวทางแก้ปัญหาเหตุการณ์ใด เหตุการณ์หนึ่งเพื่อเป็นการฝึก การคิด การตัดสินใจในกระบวนการแบบประชาธิปไตยที่ยังถือระบบหมู่ พวกเป็นส าคัญ “คือเสียงส่วนใหญ่” เป็นการแก้ปัญหาทางด้านสันติวิธี มีผลต่อการให้ความรู้ให้ทักษะ การคิดและตัดสินใจ และสร้างทัศนคติที่ดีในหมู่พวก ผู้เข้ารับการฝึกอบรมต้องมีความรู้ ประสบการณ์ในเรื่องที่น ามาเป็นหัวข้ออภิปราย ซึ่งอาจเป็นเรื่องจริงหรือสร้างขึ้นก็ได้ การศึกษารายกรณีเป็นกลวิธีการฝึกอบรมวิธีหนึ่ง ในกระบวนการฝึกอบรมผู้ก ากับ ลูกเสือ หรือ ผู้บังคับบัญชาลูกเสือระดับสูง ในการให้การฝึกอบรมผู้บังคับบัญชาลูกเสือนั้น ไม่ว่า เป็นระดับใดก็ตามผู้เข้ารับการฝึกอบรมเป็นบุคคลที่มีอายุและมีอาชีพอยู่ในสภาวะที่เรียกว่า “ผู้ใหญ่” กลวิธีการฝึกอบรมนี้จะช่วยให้เกิดการเรียนรู้ได้เป็นอย่างดีวิธีหนึ่ง การศึกษารายกรณีเป็นการศึกษาจากเรื่องราวที่ได้จัดท าขึ้นไว้เป็นอย่างดีอาจน ามาจาก เรื่องจริง ๆ หรือ เรื่องที่แต่งขึ้นอย่างมีเป้าหมาย เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้พิจารณาวิเคราะห์และ ตัดสินใจ สรุปและเสนอแนวทางแก้ปัญหาต่าง ๆ ภายใต้สภาพการณ์ที่เป็นจริงมากที่สุด การศึกษารายกรณีเป็นกลวิธีที่ดีและเหมาะสมส าหรับการให้การศึกษาส าหรับผู้ใหญ่เป็น อย่างมากมีจุดหมาย (Aim) คือ การให้โอกาสแก่สมาชิกผู้เข้ากับการฝึกอบรมทุกคนได้ศึกษา แลกเปลี่ยน แนวความคิดซึ่งกันและกัน นอกจากนี้ยังช่วยให้เกิดการพัฒนาด้านสติปัญญา ทักษะ และทัศนคติได้เป็น อย่างดีอีกด้วย วิธีการ 1. วิทยากรจะต้องมอบหมายเรื่อง (Case) ให้แก่กลุ่มผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้ศึกษาและต้องระบุ ให้ชัดเจนด้วยว่าการศึกษาวิเคราะห์นั้น ต้องการให้บรรลุวัตถุประสงค์ใด และต้องการผลแค่ไหน 2. ผู้เข้ารับการฝึกอบรมจะต้องร่วมกันพิจารณาถึงปัญหาที่แท้จริงของเรื่องและอะไรคือสาเหตุ ปัญหานั้น ๆ 3. น าเอาสาเหตุต่าง ๆ มาพิจารณาเป็นรายข้อ แล้วตัดสินใจเลือกปัญหาที่แท้จริง และแนวทาง แก้ปัญหานั้น ๆ ภายใต้ภาพการณ์ที่เป็นจริงที่สุด การศึกษาวิเคราะห์เรื่อง (Case) นี้จะต้องอยู่ภายใต้ค าแนะน าและช่วยเหลือโดยวิทยากร ประจ ากลุ่มอยู่ตลอดเวลา และวิทยากรประจ ากลุ่มก็ควรจะช่วยแนะน าแนวทางให้สมาชิกผู้เข้ารับ การฝึกอบรมในกลุ่มสามารถวิเคราะห์ปัญหาได้ตรงตามวัตถุประสงค์และสามารถเข้าใจความสัมพันธ์และ ปฏิกิริยาระหว่างองค์ประกอบ (Factors) ต่าง ๆ ที่มีอยู่ในสภาพการณ์หรือเรื่องที่ได้รับมอบหมายให้ พิจารณา
-2- ข้อดีและข้อจ ากัด 1. ช่วยให้สมาชิกผู้เข้ารับการฝึกอบรม สามารถฝึกหัดสินใจและวิเคราะห์ปัญหาต่าง ๆ อย่าง มีระบบถูกต้อง แม่นย า ภายใต้สภาพการณ์ที่เหมาะสม 2. ก่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจ และความร่วมมือระหว่างกลุ่มสมาชิก เป็นการเสริมสร้างข้อคิด และแนวปฏิบัติตลอดจนการวางตนได้อย่างเหมาะสมตามบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบ 3. เปิดโอกาสให้สมาชิกได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็น และประสบการณ์ซึ่งกันและกันได้อย่างอิสระ และเข้าใจปัญหาได้หลายแง่มุม ในบรรยากาศที่เป็นกันเอง ข้อควรค านึง 1. ในกรณีหรือเรื่อง (Case) ที่น ามาให้ศึกษา หากไม่ได้รับการพัฒนาให้ทันสมัย หรือ ไม่เหมาะสมกับผู้ใหญ่อาจไม่เกิดประโยชน์เท่าที่ควร 2. วิทยากรประจ ากลุ่มจะต้องได้รับการคัดเลือกเป็นอย่างดีและเข้าใจกลวิธีการศึกษารายกรณี อย่างแจ่มชัด 3. กลวิธีนี้ควรใช้เวลาในการศึกษาและอภิปรายระหว่าง 30 - 45 นาที 4. ต้องให้โอกาสสมาชิกคิดและแสดงความคิดเห็น ทุกคนเป็นอิสระ ในการให้การฝึกอบ รมผู้บังคับบัญ ชาลูกเสือนั้น วิทยากรจะต้องค านึงถึงอยู่เสมอว่า ก าลังด าเนินการสอน หรือให้การฝึกอบรมผู้ใหญ่ ผู้ใหญ่ไม่ได้เรียนรู้โดยความเชื่อถือเช่นเด็ก แต่จะเรียน เมื่อเขาได้เห็นคุณค่าและประโยชน์จากการศึกษา ดังนั้น ถ้าให้โอกาสแก่สมาชิกผู้เข้ารับการฝึกอบรม ได้มีส่วนร่วมอย่างสนุกสนาน จะเกิดประโยชน์อย่างมากในการใช้เทคนิค หรือกลวิธีสอนแบบการศึกษา รายกรณี
บทเรียรี นที่ 26 การแบ่ง บ่ กลุ่มลุ่ ปฏิบั ฏิ ติ บั ง ติ าน ตามโครงการ
บทเรียนที่ 26 การแบ่งกลุ่มปฏิบัติงานตามโครงการ เป็นกลวิธีฝึกอบรมที่ท ำให้สมำชิกของหมู่รู้จักกำรท ำงำนร่วมกับผู้อื่น ท ำงำนเป็นทีมเป็น กำรส่งเสริมประชำธิปไตยโดยสร้ำงภำวะกำรปฏิบัติงำนที่มีผู้น ำและผู้ตำมที่ดี เกิดกำรเรียนรู้ซึ่งกันและกัน การแบ่งกลุ่มปฏิบัติงานตามโครงการ (PROJECT WORK GROUP) กำรแบ่งกลุ่มปฏิบัติงำนตำมโครงกำรจัดได้ว่ำเป็นวิธีกำรฝึกอบรมวิธีหนึ่งที่ช่วยให้กำรฝึกอบรม บรรลุเป้ำหมำยและนิยมใช้ในกำรฝึกอบรมผู้บังคับบัญชำลูกเสือมำก วิธีกำรนี้คล้ำยกับกำรให้แบบฝึกหัดหรือให้งำนไปท ำ แต่ก็เป็นวิธีกำรที่ก้ำวหน้ำและให้คุณค่ำมำกกว่ำ ในด้ำนควำมรู้ควำมเข้ำใจและกำรฝึกทักษะวิชำลูกเสือบำงชนิดได้เป็นอย่ำงดี นอกจำกนี้ยังเปิดโอกำศให้เป็น พิเศษแก่ผู้เข้ำรับกำรฝึกอบรมได้เสนอแนวควำมคิดสร้ำงสรรค์ได้อย่ำงมีเหตุผลและก็สำมำรถทดลองและปฏิบัติ กิจกรรมที่ได้รับมอบหมำยเพื่อเป็นแนวทำงอีกประกำรหนึ่งในกำรพัฒนำทักษะด้วยวิธีกำรปฏิบัติอีกทำงหนึ่งด้วย วิธีการ 1. วิทยำกรจะต้องศึกษำและท ำควำมเข้ำใจให้ถ่องแท้กับกิจกรรมที่จัดให้มีขึ้นพร้อมทั้งเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ให้พร้อม 2. จัดแบ่งผู้เข้ำรับกำรฝึกอบรมเป็นกลุ่มย่อย 3 – 7 คน เพื่อท ำงำนกำรแบ่งกลุ่มจะต้องค ำนึงถึง หลักควำมสมดุลเป็นเกณฑ์ 3. จัดท ำค ำชี้แจงและขั้นตอนกำรปฏิบัติที่ง่ำยส่วนรวม 4. เปิดโอกำสให้สมำชิกภำยในกลุ่มปฏิบัติงำนได้แบ่งหรือจัดสรรงำนเองตำมควำมเหมำะสม 5. ควรตรวจสอบผลกำรปฏิบัติตลอดระยะเวลำปฏิบัติ โดยวิทยำกรประจ ำกลุ่มถ้ำเกิดปัญหำหรือสงสัย ต้องชี้แจงได้ทันที ข้อดีและข้อจ ากัด 1. ผู้เข้ำรับกำรฝึกอบรมมีโอกำสร่วมในกำรปฏิบัติงำนส่วนรวม 2. เกิดควำมร่วมมือระหว่ำงสมำชิกกลุ่มซึ่งเป็นแนวทำงไปสู่กำรสร้ำงผู้น ำและผู้ตำมที่ดี 3. เป็นแนวทำงกำรพัฒนำทำงสติปัญญำและทักษะในวิชำลูกเสือ 4. “ควำมส ำเร็จ” เกิดจำกกำรวำงแผนที่ดีและลู่ทำงกำรน ำไปใช้ย่อยดีตำมไปด้วยซึ่งตรงกับ ควำมต้องกำรของกำรฝึกอบรม 5. เวลำและแหล่งวัสดุอุปกรณ์ ตลอดจนบุคลำกร จะต้องมีควำมพร้อมทั้งปริมำณและคุณภำพ ซึ่งจ ำเป็นมำกและก็ต้องใช้ในปริมำณที่มำกเช่นกัน ข้อควรค านึง 1. ถ้ำจะให้กลวิธีกำรฝึกอบรมนี้ได้ผล มีคุณค่ำและประสิทธิภำพสูง วิทยำกร (โดยเฉพำะวิทยำกร ประจ ำกลุ่ม) จะต้องดูแลและแนะน ำตลอดเวลำให้ผู้เข้ำรับกำรฝึกอบรมทุกคนได้มีหน้ำที่ในกำรเสนอ แนวคิด และปฏิบัติงำน
-2- 2. ต้องป้องกันกำรกระท ำของสมำชิกผู้เข้ำรับกำรฝึกอบรมไม่ให้แสดงกำรปฏิบัติหรือควำมคิด ที่จะออกนอกลู่ นอกทำงที่จะเป็นสำเหตุให้บทเรียนไม่บรรลุวัตถุประสงค์ 3. วัสดุอุปกรณ์ที่จะเป็นในกำรปฏิบัติกิจกรรมต้องดีและมีคุณภำพและเพียงพอด้วย บทสรุป กำรแบ่งกลุ่มท ำงำนตำมโครงกำรนี้ เป็นกลวิธีส ำหรับให้กำรฝึกอบรมผู้บังคับบัญชำลูกเสือ วิธีหนึ่งที่มีคุณค่ำในกำรสร้ำงสรรค์ควำมคิด ควำมรู้ ควำมเข้ำใจและกำรฝึกทักษะวิชำลูกเสือได้อย่ำง มีประสิทธิภำพ ในกระบวนกำรจัดกำรฝึกอบรมวิชำผู้ก ำกับลูกเสือทุกระดับ ทุกประเภทได้น ำเอำวิธีกำรนี้ มำใช้อย่ำงแพร่หลำยกำรแบ่งกลุ่มปฏิบัติงำนตำมโครงกำรมีลักษณะที่ไม่เหมือนกันกำรอภิปรำยกลุ่มหรือ กำรประชุมกลุ่มย่อยในแง่ที่ว่ำวิธีกำรนี้กลุ่มจะต้องปฏิบัติงำนเป็นกำรเพิ่มทักษะในวิชำลูกเสืออีกประกำรหนึ่ง ข้อเสนอแนะบางประการ กำรรำยงำนผลงำนของกลุ่ม อำจจะกระท ำได้หลำยแบบ (หลังจำกรำยงำนแล้วโครงกำรนี้ ตั้งเป้ำหมำยไว้ต้องส ำเร็จ) - รำยงำนด้วยวำจำ - รำยงำนด้วยกำรอภิปรำยเป็นคณะ - รำยงำนด้วยภำพ - รำยงำนด้วยกำรแสดงผลงำนในรูปของละคร - รำยงำนด้วยผลงำน
บทเรียรี นที่ 27 การสวมบทบาท
บทเรียนที่ 27 การสวมบทบาท การสวมบทบาทเป็นเทคนิควิธีสอนที่สามารถน าไปใช้สอนวิชาต่างๆได้หลายวิชาเช่น วิชาค าปฏิญาณและ กฎของลูกเสือการเล่าเรื่องสั้นที่เป็นคติ ซึ่งในการสอนโดยวิธีนี้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้เห็นได้ฟังได้ปฏิบัติด้วยตนเอง สามารถจ าได้แม่นย ากว่าวิธีอื่น การสวมบทบาท (ROLE PLAY) กลวิธีการให้การฝึกอบรม เรื่อง “การสวมบทบาท” เป็นกลวิธีหนึ่งที่ผู้เข้ารับการฝึกอบรมจะได้ ฝึกการวิเคราะห์และประเมินผลบทบาทจากการแสดงชองสมาชิกที่อยู่ในรูปลักษณะของการแสดงออก ทางด้านพฤติกรรมในการท างานของมนุษย์ผู้แสดงจะต้องพยายามแสดงออกทางอารมณ์ทุกด้าน ตามบทบาท ที่ได้รับมอบหมาย วิธีการ 1. เลือกเรื่องราวและสถานการณ์ที่มีความหมายต่อผู้เข้ารับการฝึกอบรม 2. เลือกผู้แสดง (ใช้หลักการอาสาสมัคร) 3. เตรียมการแสดง (โดยให้เวลาส าหรับผู้แสดง 2 - 3 นาที) เตรียมอารมณ์เพื่อเน้นบทบาทและ ความรู้สึกของตัวละครที่สมมติขึ้น ไม่ใช่อารมณ์ของตนเอง 4. “แสดง”ต้องให้เกิดความประทับใจในพฤติกรรมของมนุษย์ที่เกี่ยวข้องกับบทและสถานการณ์ ขณะที่สมมติขึ้น 5. ด าเนินการอภิปรายและซักถาม (เริ่มจากการซักถามผู้แสดงถึงความรู้สึกและอารมณ์ของ ตัวละครที่ถูกก าหนดขึ้นในการสวมบทบาท) 6. ให้โอกาสกลุ่มผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้อภิปรายภายใต้การควบคุมและปรึกษาของวิทยากรประจ า กลุ่มโดยโยงข้อวินิจฉัยต่าง ๆ เข้ากับงานของเขาเพราะความส าเร็จของการสวมบทบาทนั้นขึ้นอยู่กับอารมณ์ ของผู้แสดงและผู้ดู ข้อดีข้อจ ากัด 1. เปิดโอกาสให้สมาชิกผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้เรียนรู้และศึกษาพฤติกรรมในการท างานของมนุษย์ 2. เป็นการฝึกทักษะการแก่ปัญหาจากประสบการณ์จริง 3. ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้มีโอกาสวินิจฉัยบทบาทและอารมณ์ของตัวละครด้วยประสบการณ์ ของตนเองได้ถูกต้อง 4. การจัดสรรประสบการณ์จากการสวมบทบาทให้เกิดขึ้นกับผู้เข้ารับการฝึกอบรมทุกคนได้มีโอกาส นั้นจะต้องใช้เวลาและเนื้อหารสาระมากเป็นพิเศษ
-2- ข้อควรค านึง การแสดงบทบาทสมมติ(Role Play) นั้น ผู้แสดงจะต้องแสดงด้วยวิญญาณของบทบาทที่ได้รับ มอบหมายโดยเฉพาะเรื่องของอารมณ์ ไม่ใช่แสดงในอารมณ์ของตนเอง และผู้แสดงต้องคิดเสมอว่า ตนเป็นของบทละครที่จะให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้เรียนรู้บทบาทและอารมณ์ที่เกิดขึ้นภายมใต้สถานการณ์ ที่ก าหนดให้ วิธีการนี้เหมาะที่จะน าไปใช้กับการสอนผู้เข้ารับการอบรมที่เป็นผู้ใหญ่มาก เพราะเป็นแนวทางการมอบ เรื่องและบทบาทให้กับผู้เข้ารับการฝึกบอรมได้ร่วมแสดงแนวคิดที่เป็นผลจากบทบาทที่ถูกสมมติให้แสดงขึ้น ซึ่งเป็นแนวทางอีกทางหนึ่งที่ผู้สอนจะได้ใช้ประสบการณ์ของผู้เรียนให้เกิดประโยชน์ต่อไป บทสรุป การสวมบทบาทเป็นวิธีการให้การฝึกอบรมอย่างหนึ่งที่ผู้เข้ารับการฝึกอบรมจะได้เรียนรู้บทบาท และอารมณ์ของตัวละคร ภายใต้สภาวการณ์ที่ก าหนดไว้แล้วน าข้อคิดต่าง ๆ มาอภิปราย พิจารณาและวินิจฉัย เข้ากับงานและบทบาทของตนเอง เพื่อจัดเป็นประสบการณ์ในการเรียนรู้ต่อไป ข้อเสนอแนะบางประการ เมื่อผู้แสดง ๆ จบแล้วอาจมีการอภิปรายและซักถามผู้แสดง เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้แยกแยะ อารมณ์ของผู้แสดงแต่ละคนว่าเป็นอย่างไร และผู้แสดงเกิดความรู้สึกอย่างไร ท าไมจึงต้องแสดงเช่นนั้น (ผู้แสดงต้องตอบด้วยความเป็นจริง ไม่ใช่อารมณ์ที่อยู่ภายใต้จิตส านึกของตนเอง เป็นอารมณ์ที่เกิดขึ้น จากบทบาทของตัวละครที่ได้รับมอบหมาย)
-3- ตัวอย่างบทบาทในวิชาการสวมบทบาท ให้คณะวิทยากรสาธิต เมื่อเรื่องเป็นการแสดงถึงปัญหาที่เกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์ที่อาจน ามาใช้ให้เข้ากับงานของลูกเสือ จุดมุ่งหมายของการแสดงการสวมบทบาทเรื่องนี้ เพื่อเปิดโอกาสให้มีการวินิจฉัยปฏิกิริยาของผู้ดูที่ต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้แสดง บทน าเรื่อง นายสามารถ เป็นหัวหน้าส านักงานลูกเสือจังหวัด และนางสาวต้อยติ่งเป้ฯเสมียนในส านักงานฯ มาแล้ว 15 ปีเนื่องจากงานลูกเสือมีปริมาณเพิ่มและมากขึ้น ต้อยติ่งเพียงคนเดียวไม่สามารถที่จะท างานได้ ส าเร็จไปได้ด้วยดีสามารถจึงได้จัดหาคนมาช่วยอีกคนหนึ่ง คือ นายสมศักดิ์และในระยะแรกนี้นายสามารถได้ มอบให้ทั้งสองคน (ต้อยติ่งและสมศักดิ์) ท างานอยู่ที่โต๊ะเดียวกันไปก่อน ต่อมาทั้งสองเกิดความขัดแย้งกันขึ้น ลักษณะนิสัยของตังละคร สามารถเป็นหัวหน้าที่ไม่สนใจกับงานและผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา ต้อยติ่ง เป็นคนที่จู้จี้อารมณ์อ่อนไหว ทะเยอทะยาน สมศักดิ์เป็นคนใหม่ที่ขยันขันแข็ง รู้งาน แต่เป็นคนโผงผาง ด าเนินเรื่อง วันหนึ่งระหว่างพักกลางวันภายในห้องท างาน สมศักดิ์ได้เสนอแนวความคิดและความต้องการ ของตนกับสามารถผู้เป็นหัวหน้าส านักงานฯ สมศักดิ์“ท าไมท่านไม่จัดโต๊ะของกระผมปละคุณต้อยติ่ง แยกออกจากกันสักทีครับ” สามารถ“ท าไมหรือ ? ก็ดีอยู่แล้วนี่ สมศักดิ์ “กระผมคิดว่า ถ้าเราได้แยกโต๊ะท างานกันเป็นสัดส่วน การปฏิบัติงานของกระผม ก็จะดีและสะดวกขึ้น และท างานได้มากกว่านี้อีกมากครับ” สามารถ หันไปพูดกับต้อยติ่ง โดยไม่สนใจกับค าของสมศักดิ์เลย “ คุณต้อยติ่ง คุณท างาน ที่นี่มาก็15 ปีแล้วนะ ส านักงานเรารู้สึกภูมิใจมาก คุณจะไม่เสนอแนะอะไรบ้างหรือ ที่มีคุณค่าและเป็นประโยชน์กับส านักงานของเรา” ต้อยติ่งนั่งฟังอย่างสนใจ และสามารถพูดต่อ “คุณต้อยติ่ง คุณเห็นว่า สมศักดิ์เป็นคนดีไหม ดูเหมือนว่าเขาท างานตามที่คุณสั่ง ทุกอย่างเลยนะ” หันไปพูดกับสมศักดิ์
-4- “คุณสมศักดิ์คุณนึกอย่างไรในความมะเยอทะยานของคุณต้อยติ่ง คุณคงจะเคย ได้ยินว่า คุณต้อยติ่งเฝ้าแต่บ่นแล้วบ่นเล่า เรื่องต่าง ๆ มากกมายเกี่ยวกับ ประสิทธิภาพของงานส านักงานเรา” สมศักดิ์หันไปคุยกับต้อยติ่ง “คุณต้อยติ่ง” “คุณท างานที่นี่มาตั้งนานถึง 15 ปีแล้วนะ เงินเดือนคุณก็มากและคุณเองก็ท างานดี ยิ่งกว่านั้น คุณกับหัวหน้าก็เข้ากันได้ดีตลอดมา” “เอ…….” “ผมคิดว่า……” “คุณไม่เคยสนใจและเอาใจใส่การบริหารงานของหัวหน้าเลยเพราะเขาเอาแต่สั่ง ๆ แล้วก็ไป คุณก็ท า ๆ ท าตามสั่งอยู่คนเดียวตลอด” ต้อยติ่ง “นี่นี่ คุณสมศักดิ์” “คุณท างานที่นี่มา 6 อาทิตย์แล้วนะ” “คุณจะคิดปรับปรุงงานของหัวหน้าของดิฉันและของส านักงานเชียวหรือ” สมศักดิ์ “ครับ” ต้อยติ่ง “นี่ คุณออกจากงานเม เพราะภรรยาของคุณใช่ไหม” สมศักดิ์ ท าท่างง ต้อยติ่ง “คุณคงจะสนุกกับงานเก่าของคุณมากนะซิ และคุณก็คงจะคิดว่างงานใหม่ที่นี่คงจะ ให้คุณมาคิดปรับปรุงอีกละซิ” ลักษณะการพูดประโยคนี้กระทบกระทั่ง “ถ้าคุณท าได้ก็คงจะเป็นประโยชน์อย่างมากเชียวนะ แก่ส านักงานเรา”
บทเรียรี นที่ 28 การวางแผนฝึก ฝึ อบรม ผู้กำผู้กำ กับ กั ลูก ลู เสือ สื
บทเรียนที่ 28 การวางแผนฝึกอบรมผู้ก ากับลูกเสือ แผน (Plan) หมายถึง แนวทางหรือวิธีด าเนินงานที่ได้ก าหนดขึ้นไว้ก่อนแล้ว การวางแผน (Planning) 1. เป็นการศึกษาปัญหาและหาทางแก้ไข 2. เป็นการเลือกหาทางเลือกที่ดีที่สุด 3. เป็นการใช้สติปัญญาพิจารณาข้อเท็จจริงและหาหนทางแก้ไขหรือทางออก 4. เป็นการใช้ทรัพยากรให้เหมาะสมและประหยัด 5. เป็นการมองการณ์ไกลหาทางเลือก และวิธีปฏิบัติเพื่อป้องกันผลร้ายที่อาจจะเกิดขึ้น ขั้นตอนการวางแผน 1 พิจารณาสภาพแวดล้อม ความต้องการและปัญหาต่างๆตลอดจนนโยบายที่มีอยู่แล้วเลือกงานที่จะปฏิบัติ 2 ศึกษาวิเคราะห์วัตถุประสงค์/เป้าหมาย และก าหนดให้ชัดเจนเป็นเชิงพฤติกรรมที่สามารถวัดได้ 3 ระดมสมองร่วมกัน จะต้องมีกิจกรรอะไรบ้าง ระดมออกมาให้มากที่สุดเท่าที่มากได้จนกระทั่งเห็นว่า คิดต่อไปไม่ออกอีกแล้วจึงหยุดการระดมสมอง 4 วิเคราะห์แต่ละกิจกรรม ที่ระดมสมองได้ทั้งหมด เพื่อระบุให้ได้ว่ากิจกรรมใดมีส่วนเกี่ยวข้องซึ่งจะช่วย ให้การปฏิบัติงานบรรลุเป้าหมาย/ตามวัตถุประสงค์ได้จริงๆ กิจกรรมใดไม่เกี่ยวข้องหรือได้ประโยชน์น้อย ให้ตัดทิ้งไป 5 จัดล าดับก่อนหลังส่งของแต่ละกิจกรรมว่าควรจะเริ่มด้วยกิจกรรมใด เช่น โครงการฝึกอบรมด าเนิน กิจกรรม ดังนี้ 5.1 หาความจ าเป็นในการฝึกอบรม 5.2 พิจารณาหลักสูตร 5.3 ด าเนินการจัดอบรม 5.4 ประเมินผลการฝึกอบรม 6. ก าหนดระยะเวลาที่ใช้ในแต่ละกิจกรรมจะก าหนดเป็นวัน สัปดาห์หรือเป็นเดือนก็ได้ 7. ก าหนดตัวบุคคลผู้รับผิดชอบ 8. สร้างก าหนดการปฏิบัติงาน (Action Plan) 9. ทบทวน ตรวจสอบแผนก่อนลงมือปฏิบัติ การวางแผนส าหรับการฝึกอบรม การวางแผนส าหรับการฝึกอบรมในที่นี้หมายถึงการท างาน 2 ประเภท คือ การจัดท าก าหนดการ ฝึกอบรมในกองลูกเสือ และการวางแผนฝึกอบรมผู้ก ากับลูกเสือขั้นความรู้เบื้องต้น
-2- 1. การจัดท าก าหนดการฝึกอบรม การจัดท าก าหนดการฝึกอบรมมิใช่ของยากเย็นอะไร หากได้ท าตามขั้นตอนดังกล่าวต่อไปนี้คือ 1.1 ท าก าหนดการฝึกอบรมทั่วไปประจ าปี 1.2 ท าก าหนดการฝึกอบรมประจ าภาคเรียน 1.3 ท าก าหนดการฝึกอบรมประจ าเดือน 1.4 ท าก าหนดการฝึกอบรมประจ าสัปดาห์ 1.1 ก าหนดการฝึกอบรมทั่วไปประจ าปี ก าหนดการฝึกอบรมประจ าปีคือ การท าก าหนดการโดยแยกเป็นรายเดือนโดยแบ่งกระดาษ เป็น 12 ช่อง สี่เหลี่ยมขนาดเท่ากัน (แผนการสอนลูกเสือตลอดปี) สิ่งที่จะต้องบรรจุลงในช่องสี่เหลี่ยมต่างๆ มีดังต่อไปนี้ (1) วันและธุรกิจส าคัญประจ าเดือนนั้น (2) วันเปิด ปิดภาคเรียน (3) วันสอบปลายภาคเรียน สอบปลายปีวันส าคัญอื่นๆ ที่จะท าให้การฝึกอบรมต้องงดไป (4) โปรแกรมพิเศษที่ต้องการให้มีเป็นครั้งคราว เช่น การไปชมโรงงานการท ากระดาษ ฯลฯ 1.2 ก าหนดการฝึกอบรมประจ าภาคเรียน ปัจจุบันระบบการศึกษาของประเทศแบ่งเป็น 2 ภาคเรียน ในการท าก าหนดการฝึกอบรมประจ า ภาคเรียนให้ปฏิบัติดังนี้ (1) วันส าคัญและกิจกรรมประจ าภาคเรียนนั้น (2) ข้อก าหนดประเด็น(การสอน) การฝึกอบรมประจ าภาคเรียน (3) วิชาลูกเสือตามหลักสูตรข้อบังคับ ฯ ของลูกเสือแต่ละประเภท (4) วิชาพิเศษลูกเสือตามที่ก าหนดไว้ในหลักสูตร (5) การไปเยี่ยมชมสถานที่ การเดินทางไกล การอยู่ค่าย (ถ้ามี) (6) พิธีการและเหตุการณ์พิเศษ 1.3 ก าหนดการฝึกอบรมประจ าเดือน การท าก าหนดการประจ าเดือนจะต้องมีรายละเอียดมากกว่าก าหนดการประจ าภาคเรียน และควร ประกอบด้วยเรื่องต่อไปนี้(แผนการฝึกอบรมลูกเสือประจ าเดือน) (1) วันส าคัญและกิจกรรมประจ าเดือนนั้น (2) ข้อก าหนดประเด็น (การสอน) การฝึกอบรมประจ าเดือนไว้ (3) วิชาลูกเสือตามหลักสูตรตามข้อบังคับฯ ของลูกเสือแต่ละประเภท (4) วิชาพิเศษลูกเสือตามที่ก าหนดไว้ในหลักสูตร (5) การไปชมสถานที่ การเดินทางไกล การอยู่ค่าย (ถ้าจะมี)
-3- (6) พิธีการและเหตุการณ์พิเศษ เช่น การส่งตัวขึ้นเป็นลูกเสือสามัญ พิธีเข้าประจ ากอง การแสดง การฝีมือลูกเสือส ารอง ผู้ก ากับลูกเสือทุกคน ควรจะได้รู้ล่วงหน้านานพอสมควร ว่าตนจะต้องสอนอะไร สาธิตอะไร เขาจะได้มีเวลาเตรียมตัวอย่างเพียงพอ ทั้งเตรียมตัวเอง และเตรียมอุปกรณ์การสอนด้วย 1.4 ก าหนดการฝึกอบรมประจ าสัปดาห์ ก าหนดการฝึกอบรมประจ าสัปดาห์มาจากการก าหนดประจ าเดือน และเป็นการต่อเนื่อง ซึ่งกันและกัน (แผนการฝึกอบรมประจ าสัปดาห์) ก าหนดการฝึกอบรมประจ าสัปดาห์ มีความส าคัญในเรื่องเวลามาก หากว่าการประชุมกองลูกเสือ จะมีเพียงสัปดาห์ละครั้ง ครั้งละ 60 นาทีผู้ก ากับลูกเสือจะให้เวลาเสียไปเปล่าๆ แม้เพียง 2-3 นาทีก็ไม่ควร ฉะนั้นจึงมีความจ าเป็นที่จะต้องใช้เวลาทุกนาทีให้เป็นประโยชน์ขอให้นึกถึงเรื่องต่อไปนี้ 1. พิธีการเปิด-ปิดการประชุมกอง อย่าให้เสียเวลามากนัก 2. การตรวจร่างกาย ควรให้ใช้เวลาแต่น้อย และท าอย่างกระฉับกระเฉง 3. เข้าสอน เข้าเรียน ตรงต่อเวลา 4. ให้การเล่นและเพลงเพื่อให้เด็กได้มีอะไรท าอยู่เสมอ 5. อย่าใช้การเล่นและเพลงให้มากเกินไป เพราะเวลามีน้อยและเป็นของมีค่า ข้ออื่น ๆ ที่ควรสังวรเมื่อท าก าหนดการประจ าสัปดาห์คือ ก. บรรยากาศดี ข. วินัย ค. การฝึกสอนอบรมที่ก้าวหน้าและมีการติดตามผล ง. ควรเป็นเรื่องตื่นเต้นเร้าใจ เช่น การสอน การฝึกอบรม เพื่อป้องกันอุบัติเหตุการฝึก เมื่อเกิดอัคคีภัย การเยี่ยมของแขก ฯลฯ ปฏิทินการฝึกอบรมลูกเสือตลอดปี มิถุนายน กรกฎาคม สิงหาคม กันยายน ตุลาคม พฤศจิกายน ธันวาคม มกราคม กุมภาพันธ์ มีนาคม เมษายน พฤษภาคม
-4- รายการ มิถุนายน ผู้บังคับบัญชา รอง ผบ. ผู้รับผิดชอบ กรกฎาคม ผู้บังคับบัญชา รอง ผบ. ผู้รับผิดชอบ สิงหาคม ผู้บังคับบัญชา รอง ผบ. ผู้รับผิดชอบ กันยายน ผู้บังคับ บัญชา รอง ผบ. ผู้รับผิดชอบ วันส าคัญและวันที่ไม่ เปลี่ยนแปลง เช่น วันชาติและวัน ส าคัญใน นครหลวง ฯ ประเด็นหรือค าขวัญของการฝึกอบรม เนื้อหาวิชา ตามหลักสูตร ที่จะสอน สัปดาห์ที่1 สัปดาห์ที่2 สัปดาห์ที่3 สัปดาห์ที่4 การทัศนศึกษา พัก แรมเยี่ยมสถานที่ ส าคัญงานพิธีต่าง ๆ ของลูกเสือ เช่น การเลื่อนขั้นลูกเสือ การประชุม ผู้บังคับบัญชา ลูกเสือของกองหรือ กลุ่มลูกเสือ
-5- แผนการฝึกอบรมลูกเสือประจ าสัปดาห์( ปีการศึกษา……………..) กองลูกเสือส ารอง/สามัญ โรงเรียน………………............................ สัปดาห์ วัน เดือน ปี หน่วยวิชาที่สอน ดาวดวงที่1/ วิชาพิเศษ หมายเหตุ ลูกเสือตรี ดาวดวงที่ 2/ ลูกเสือโท ดาวดวงที่ 3/ ลูกเสือเอก
-6- ตัวอย่างการวางแผนก าหนดการสอน การฝึกอบรมลูกเสือมีสัปดาห์ละ 1 วัน การฝึกอบรมนี้นิยมใช้กันในเวลาประชุมกองลูกเสือ ฉะนั้น ฝึกอบรมลูกเสือครั้งที่ 1 จึงนิยมเรียกกันตามวิธีการของลูกเสือว่าการประชุมกองครั้งที่ 1 และครั้งต่อ ๆ ไปตามล าดับ ขั้นตอนของการประชุมกองลูกเสือสามัญ การประชุมกองครั้งที่…… เวลา…………..นาที 1. พิธีเปิด(ชักธงขึ้น , สวดมนต์, สงบนิ่ง , ตรวจ, แยก) 10 นาที (นาย……………….…ผู้ก ากับ) 2. การเล่น (เพื่อบริหารร่างกาย) 5 นาที (นาย…….…..………รองผู้ก ากับ) 3. การสอนวิชาตามหลักสูตร 30 นาที (………………………………….) ก. ……………………………. (………………………………….) ข. ……………………………. (………………………………….) ค. ……………………………. (………………………………….) ง. ……………………………. (………………………………….) 4. ผู้ก ากับบรรยายหรือเล่าเรื่องสั้นที่เป็นประโยชน์ 5 นาที (………………………………….) 5. พิธีปิด (นัดหมาย , ตรวจเครื่องแต่งกาย , ชักธงลง , เลิก) 10 นาที (………………………………….) ขั้นตอนของการประชุมกองลูกเสือส ารอง การประชุมกองครั้งที่……… เวลา…………..นาที 1. พิธีเปิด(แกรนด์ฮาวล์,ชักธงขึ้น,สวดมนต์,สงบนิ่ง ,ตรวจ,แยก) 10 นาที(นาย…………….…ผู้ก ากับ) 2. การเล่น (เพื่อบริหารร่างกาย) 5 นาที(นาย………………รองผู้ก ากับ) 3. การสอนวิชาตามหลักสูตร 30 นาที ก. ……………………………. (………………………………….) ข. ……………………………. (………………………………….) ค. ……………………………. (………………………………….) ง. ……………………………. (………………………………….) 4. ผู้ก ากับบรรยายหรือเล่าเรื่องสั้นที่เป็นประโยชน์ 5 นาที (………………………………….) 5. พิธีปิด (นัดหมาย, ตรวจเครื่องแต่งกาย, แกรนด์ฮาวล์, ชักธงลง , เลิก) 10 นาที (…………………..…………….)
-7- การวางแผน คือกระบวนการในการก าหนดวัตถุประสงค์และวิธีการว่าจะท าอย่างไรให้บรรลุวัตถุประสงค์นั้น การวางแผนเกี่ยวข้องกับ 2 อย่าง คือจุดหมายปลายทางกับวิธีการ จุดหมายปลายทางคือจะท าอะไร วิธีการ คือ จะท าอย่างไร การวางแผน เป็นการตัดสินใจล่วงหน้าก่อนที่จะเกิดเหตุการณ์นั้นจริง ความส าคัญของการแผน 1. ช่วยลดการสูญเสียจากการท างานซ้ าซ้อน 2. ท าให้มีการก าหนดขอบเขตในการท างานที่แน่นอน และมีนโยบายที่ชัดเจน 3. ช่วยให้ผู้บริหารสามารถเตรียมรับสถานการณ์ที่ไม่แน่นอน และความยุ่งยากที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตลอด จนป้องกันการขัดแย้งที่อาจเกิดขึ้นในหน่วยงาน 4. การวางแผนเป็นเครื่องมือในการบริหารของผู้บริหาร เพื่อให้การด าเนินงานประสบผลส าเร็จ อย่างมีประสิทธิภาพ รวดเร็ว ประหยัดเวลา และทรัพยากร 5. การวางแผนจะช่วยให้เกิดการประสานสัมพันธ์ภายในองค์กร ท าให้การปฏิบัติเป็นไปด้วยความราบรื่น และสามารถตรวจสอบความส าเร็จของเป้าหมายได้ องค์ประกอบของการวางแผนที่จะประสบความส าเร็จ 3 ประการ (3 important effect of planning) 1. รูปแบบของการวางแผนเป็นเพียงวิธีการที่จะน าไปสู่ความส าเร็จในระดับหนึ่งและคุณภาพของการสื่อ ความหมายระหว่างผู้บริหารงาน ท าให้แนวโน้มของเป้าหมายส่วนบุคคลร่วมกับเป้าหมายขององค์การ 2. แบบของการวางแผนอย่างเป็นทางการจะประสบความส าเร็จเมื่อผู้บริหารงานมีความรับผิดชอบต่อ การน าไปปฏิบัติตามแผนที่วางไว้ให้บังเกิดผลสัมฤทธิ์อย่างแท้จริง 3. การวางแผนต้องบังเกิดความพึงพอใจ สนองความต้องการของส่วนรวมที่จะร่วมด าเนินการให้ บังเกิดผลเป็นรูปธรรมในอนาคตของเขา ลักษณะของการวางแผนที่ดี 1. มีความคล่องตัว (Flexibility) ลักษณะของแผนที่ดีต้องมีความคล่องตัวสูง สามารถเปลี่ยนแปลงให้ สอดคล้องกับสถานการณ์และสภาวะแวดล้อม ตลอดจนโอกาสใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นได้ 2. มีความครอบคลุม (Comprehensiveness ) ลักษณะของแผนมีทั้งที่เฉพาะเจาะจง และแผนรวม กิจกรรมทั้งมวลในองค์กร ดังนั้น แผนหลักหรือแผนระยะยาวควรเป็นที่รวมของกิจกรรมย่อย ๆ ทั้งหลายในองค์กร หรือแผนระยะสั้นทั้งหมดเข้าไว้โดยมุ่งให้บรรลุเป้าหมาย หรือวัตุประสงค์หลักขององค์กร 3. ระยะเวลาแผน (Time Spam) แผนที่ดีควรมีก าหนดระยะเวลาการเริ่มต้นและการสิ้นสุดของแผนไว้ อย่างขัดเจนว่า จะท าอะไร เมื่อไร และจะสิ้นสุดกิจกรรมนั้นเมื่อไร
-8- 4. มีความคุ้มค่า (Cost Effectiveness) แผนที่ดีควรมีต้นทุนต่ ากว่าผลที่จะได้รับจากการใช้แผนนั้น โดยยืดหลักการประหยัด และก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด 5. มีความชัดเจน (Celerity or Specificity) แผนที่ดีต้องก าหนดไว้อย่างชัดเจนว่า ใครจะเป็นผู้รับผิดชอบ ท าอะไร ท าเมื่อไร ท าทีไหน ท าอย่างไร และท าเพื่ออะไรอย่างละเอียด เพื่อให้การ าแผนไปใช้ปฏิบัติสามารถกระท า ได้ประสานสอดคล้องอย่างต่อเนื่อง 6. เป็นรูปแบบตามพิธีการ (Formality) แผนที่ดีต้องจัดวางขึ้นโดยผ่านขั้นตอนกระบวนการต่าง ๆ อย่างครบถ้วนซึ่งจะท าให้เป็นที่ยอมรับของคนในองค์กร 7. มีเหตุมีผล (Rationality) แผนที่ดีจะต้องถูกก าหนดขึ้นอย่างมีเหตุมีผลเป็นที่ยอมรับของบุคลากรทุกคน ในองค์กร และสามารถปฏิบัติให้บรรลุวัตถุประสงค์ได้จริง 8. มีความสอดคล้อง (Relevance) แผนที่ดีจะต้องอยู่ในกรอบของวัตถุประสงค์และนโยบายที่ก าหนดไว้ 9. มีลักษณะปกปิด (Confidentiality) แผนที่ดีจะต้องเปิดเผยรายละเอียดเฉพาะผู้ที่รับผิดชอบ ในการปฏิบัติและผู้ที่ได้รับอนุญาตเท่านั้น เพื่อป้องกันคู่แข่งขันทางธุรกิจ 10. มีลักษณะเน้นอนาคต (Future Oriented) เพราะว่าการวางแผนคือการะบวนการต่าง ๆ ในการตัดสินใจในปัจจุบัน เพื่อการปฏิบัติการในอนาคต ดังนั้นแผนที่ดีจึงต้องมุ่งเน้นการตอบสนองการปฏิบัติ ภายใต้สถานการณ์ต่าง ๆในอนาคตอย่างมีประสิทธิภาพ 11. มีความต่อเนื่อง (Continuous Process) แผนที่ดีต้องมุ่งเน้นการปฏิบัติอย่างต่อเนื่องตลอดจน การต่อเนื่องของแผน และการบริหารเพื่อให้องค์กรก้าวไปข้างหน้าอย่างมีประสิทธิภาพ หน้าที่และกิจกรรมเบื้องต้นส าหรับผู้บริหาร (Basic Management Functions / Activities) - การวางแผน ต้องพิจารณา - สิ่งใดที่ต้องท า - มีวิธีการอย่างไรส าหรับท างานนั้น - ผู้ใดจะช่วยท างานนั้น - การด าเนินงาน การน าแผนไปสู่การปฏิบัติ(Plan Action) - การปรับปรุงและประเมินผล พิจารณาจากผลงานที่ได้รับการประเมินคุณค่าที่ปรากฏจากแผนนั้นๆ จะวางแผนอย่างไร (How to Plan) 1. พิจารณาถึงงานว่า (Consider the Task) - มีอะไรที่ต้องท าบ้าง - จะให้ใครท า - จะท าเมื่อไร ที่ไหน และอย่างไร 2. พิจารณาถึงแหล่งทรัพยากรต่างๆ ที่จะหาได้(Consider the Resources Available) - เวลา - เงิน