The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

การสอนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ : แนวคิดสู่การปฏิบัติ

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by watcharapol.wib, 2021-11-26 03:16:21

การสอนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ : แนวคิดสู่การปฏิบัติ

การสอนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ : แนวคิดสู่การปฏิบัติ

Keywords: การสอนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ

การสอนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ : แนวคิดส่กู ารปฏบิ ตั ิ

รองศาสตราจารย์ ดร.วัชรพล วิบูลยศริน

คณะมนุษยศาสตรแ์ ละสงั คมศาสตร์

มหาวทิ ยาลัยสวนดุสิต

2563

การสอนภาษาไทยในฐานะภาษาตา่ งประเทศ : แนวคิดสู่การปฏิบัติ

รองศาสตราจารย์ ดร.วชั รพล วิบลู ยศรนิ
ศศ.บ. (ภาษาองั กฤษ)

ค.บ. เกียรตนิ ิยมอันดับ 1 (ภาษาไทยและเทคโนโลยกี ารศึกษา)
ศศ.บ. (ไทยคดีศกึ ษา)

ศศ.ม. (การสอนภาษาไทยในฐานะภาษาตา่ งประเทศ)
M.A. (Language Teaching)

ค.ด. (เทคโนโลยแี ละสอ่ื สารการศกึ ษา)

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

มหาวทิ ยาลยั สวนดสุ ิต

2563

คำนำ

หนังสือ การสอนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ : แนวคิดสู่การปฏิบัติ น้ี เรียบเรียงข้ึน
อย่างเป็นระบบ เพ่ือเป็นประโยชน์ต่อการเรียนการสอนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ แม้ว่า
ภาษาไทยยังไม่ใช่ภาษาท่ีทั่วโลกให้การยอมรับว่าเปน็ ภาษาสากลท่ีต้องใช้ในการตดิ ต่อสื่อสาร แต่ในปี
2558 ที่ผ่านมา ประเทศไทยได้เข้าสู่การเป็นสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรือ
อาเซียน (ASEAN) ส่งผลให้ทุกภาคส่วนของประเทศต้องปรับตัวไปตามความเปลี่ยนแปลงท่ีเกิดข้ึน
โดยเฉพาะอย่างย่ิงด้านการศึกษา ผู้เรียนชาวต่างประเทศจำนวนไม่นอ้ ยให้ความสนใจศกึ ษาภาษาไทย
ในฐานะภาษาต่างประเทศภาษาหน่ึง แต่การเรียนภาษาต่างประเทศให้ได้ผลดีและมีประสิทธิภาพดัง
เจา้ ของภาษานั้นเป็นเรื่องยาก เพราะอาจเกิดความแตกตา่ งระหว่างภาษาต่างประเทศกับภาษาแมข่ อง
ตน การจัดการเรียนการสอนภาษาไทยแก่ผู้เรียนชาวไทยไม่เหมือนกับการจัดการเรียนการสอน
ภาษาไทยแก่ผู้เรียนชาวต่างประเทศ ซ่ึงส่วนใหญ่ได้รับภาษาอ่ืนมาก่อนแล้ว จึงอาจเกิดปัญหาภาษา
แม่มีอิทธิพลต่อการเรียนการสอนภาษาต่างประเทศ แม้ผู้สอนที่มีประสบการณ์การสอนภาษาไทยแก่
ผู้เรียนชาวไทยก็ไม่อาจสอนภาษาไทยให้แก่ผู้เรียนชาวต่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพเหมือนกัน
ทุกคน กอปรกับมีเพียงสถาบันการศึกษาไม่ก่ีแห่งที่เปิดหลักสูตรมุ่งเน้นการผลิตครูผู้สอนเฉพาะด้าน
โดยตรง ด้วยเหตุน้ี ผู้แต่งจึงรวบรวม วิเคราะห์ สังเคราะห์ และนำเสนอองค์ความรู้ทั้งจากตัวบุคคล
เอกสาร หนังสอื วารสาร งานวิจัย ตลอดจนองค์ความรู้จากการศกึ ษาเล่าเรยี นในระดบั ปรญิ ญาโทด้าน
การสอนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศกับประสบการณ์ตรงด้านการสอนภาษาไทยให้กบั ผู้เรยี น
ชาวต่างประเทศนับต้ังแต่ปี 2550 ผสานกับข้อสังเกตและคำแนะนำในการปรับแก้ของคณะกรรมการ
ผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อประเมินผลงานทางวิชาการ เพ่ือพัฒนาเป็นคู่มือเล่มสำคัญและเป็นแหล่งอ้างอิงทาง
วชิ าการในการสอนภาษาไทยในฐานะภาษาตา่ งประเทศ

ผู้แต่งหวังว่า หนังสือนี้คงอำนวยประโยชน์ต่อการเรียนการสอนตามสมควร หากผู้สอนที่
นำไปใชม้ ีขอ้ เสนอแนะประการใด ผู้แตง่ ยนิ ดีรบั ฟังทกุ ความคดิ เหน็ และขอขอบคณุ มา ณ โอกาสน้ี

วัชรพล วบิ ลู ยศรนิ
29 ตุลาคม 2562

สารบัญ

หนา้

คำนำ (1)
สารบัญ (3)
สารบญั ภาพ (7)
สารบญั ตาราง (9)
บทที่ 1 ความเป็นมาของการสอนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ 1
2
ความเป็นมาของการสอนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศในประเทศไทย 7
ความเป็นมาของการสอนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศในต่างประเทศ 35
บทสรปุ 35
คำถามทบทวน 36
เอกสารอ้างองิ 39
บทท่ี 2 แนวคิดของการสอนภาษาต่างประเทศ 39
แนวคดิ ของการสอนแบบไวยากรณแ์ ละแปล 42
แนวคดิ ของการสอนแบบตรง 45
แนวคดิ ของการสอนแบบฟงั พูด 47
แนวคดิ ของการสอนแบบชกั ชวน 50
แนวคิดของการสอนแบบเงยี บ 52
แนวคดิ ของการสอนแบบตอบสนองด้วยทา่ ทาง 57
แนวคิดของการสอนแบบธรรมชาติ 59
แนวคดิ ของการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร 60
องคป์ ระกอบของการเรียนภาษาต่างประเทศ 72
บทสรปุ 72
คำถามทบทวน 73
เอกสารอ้างอิง

(4)

สารบัญ (ต่อ)

หนา้

บทท่ี 3 แนวคดิ ของการสอนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ 77
ความหมายของการสอนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ 79
แนวทางการสอนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ 82
การสอนภาษาไทยในฐานะภาษาตา่ งประเทศตามแนวคิดของการสอนภาษา
เพ่อื การส่ือสาร 90
ปัญหาและวธิ ีการแกไ้ ขของการสอนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ 128
บทสรุป 136
คำถามทบทวน 136
137
เอกสารอา้ งอิง 143
บทท่ี 4 กิจกรรมการสอนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ 147
149
แนวคิดของการจดั กิจกรรมการสอนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ 154
การจดั กิจกรรมพฒั นาทกั ษะการฟงั พดู 159
การจดั กิจกรรมพฒั นาทักษะการอ่าน 164
การจดั กจิ กรรมพฒั นาทักษะการเขยี น 178
ตัวอยา่ งใบงานพฒั นาทักษะทางภาษา 178
บทสรุป 179
คำถามทบทวน 181
เอกสารอา้ งองิ 184
บทที่ 5 เทคโนโลยกี ับการสอนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ 202
เวบ็ ไซต์ 217
การสนทนาออนไลน์
บล็อก

(5)

สารบญั (ตอ่ ) หนา้

วกิ ิ 225
บทสรุป 230
คำถามทบทวน 230
เอกสารอา้ งองิ 231
บทท่ี 6 แผนการจัดการเรยี นรู้ภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ 235
องค์ประกอบของแผนการจดั การเรยี นรู้ 237
แบบฟอร์มแผนการจัดการเรียนรู้ 250
ขัน้ ตอนการเตรียมแผนการจัดการเรยี นรู้ 254
ตัวอย่างแผนการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ (1) 258
ตัวอยา่ งแผนการจัดการเรียนรูภ้ าษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ (2) 263
ตัวอย่างแผนการจัดการเรยี นรภู้ าษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ (3) 268
ตัวอยา่ งแผนการจัดการเรยี นรูภ้ าษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ (4) 273
ตวั อยา่ งแผนการจดั การเรียนร้ภู าษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ (5) 278
บทสรปุ 284
คำถามทบทวน 284
เอกสารอ้างอิง 283
บรรณานุกรม 287
ดชั นี 305

สารบญั ภาพ

ภาพที่ หนา้

1.1 เจา้ พระยาวชิ าเยนทร์ 2

1.2 การสอนภาษาไทยสำหรับนักศึกษาชาวจีนจากมหาวทิ ยาลัยไปซ่ ่ือ 4

1.3 ตวั อยา่ งหลกั สตู รการสอนภาษาไทยในมหาวทิ ยาลยั ฮาวาย มาโนอา 32

1.4 ตวั อย่างหลักสตู รการสอนภาษาไทยในมหาวทิ ยาลัยวิสคอนซนิ -แมดิสนั 32

1.5 ตวั อย่างหลักสูตรการสอนภาษาไทยในโซแอส มหาวิทยาลยั ลอนดอน 33

1.6 ตัวอยา่ งหลกั สตู รการสอนภาษาไทยในมหาวิทยาลยั แหง่ ชาติสงิ คโปร์ 33

1.7 ตวั อยา่ งหลกั สูตรการสอนภาษาไทยในมหาวิทยาลยั ฮนั กุ๊ก ภาษาและกิจการ

ต่างประเทศ 34

2.1 แผ่นตารางเสยี ง (ซา้ ย) และแทง่ พลาสตกิ สี (ขวา) 50

2.2 องค์ประกอบของการเรยี นภาษาต่างประเทศ 61

3.1 ผูเ้ รียนควรลงมือปฏิบัติมากกว่ารบั ชมการนำเสนอของผู้สอน 77

3.2 กระบวนการส่ือสารตามแนวคิด 86

3.3 การเปรยี บเทียบแนวการสอนภาษาแบบดัง้ เดิมกับแนวคดิ ของการสอนภาษาเพ่อื

การสอ่ื สาร 90

3.4 แบบจำลองของแบบการเรยี นการสอนภาษาไทยในฐานะภาษาตา่ งประเทศตาม

แนวคิดของการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร 97

5.1 ผู้เรยี นในยคุ ดิจิทัลเติบโตมาพรอ้ มกบั เทคโนโลยี 182

5.2 ตวั อย่างเว็บไซต์ทม่ี ปี ริมาณเน้ือหาภาษาไทยหลากหลาย 184

5.3 ตัวอย่างเว็บไซต์การสอนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ 186

5.4 หน้าเว็บพจนานกุ รมลองดู 187

5.5 หน้าเวบ็ พจนานุกรม ฉบับราชบณั ฑติ ยสถาน พ.ศ. 2554 187

5.6 ตราสัญลักษณ์ของกเู กลิ 188

5.7 ผลการค้นหาหน้าเว็บจากคำสำคัญ “ประเพณีทางศาสนาของคนไทย” 189

(8)

สารบัญภาพ (ตอ่ )

หนา้

5.8 ผลการค้นหาหน้าเว็บจากประโยคคำถามงา่ ย ๆ “Where is Thailand?” 190
5.9 เวบ็ ไซต์คิวคิว 195
5.10 เวบ็ ไซต์นาเวอร์ 195
5.11 เว็บไซต์ลงิ ก์อิน 196
5.12 การจัดหอ้ งคอมพวิ เตอร์ตามแนวกำแพง 201
5.13 ตวั อย่างการสนทนาด้วยขอ้ ความผา่ นแอปพลิเคชนั iMessage 203
5.14 หนา้ เวบ็ ห้องสนทนาแบบกลุ่ม 204
5.15 หน้าเวบ็ สไกปส์ ำหรับดาวน์โหลดโปรแกรม 205
5.16 แอปพลิเคชนั ไลน์ (LINE) ของบรษิ ัทนาเวอร์ (NAVER) 206
5.17 ระบบการสนทนาออนไลน์ L.E.C.S. 215
5.18 ตราสญั ลักษณ์ของวแี ชต 217
5.19 ตราสัญลกั ษณ์ของบล็อกเกอร์ 218
5.20 ตัวอยา่ งบล็อกของผ้สู อนหรือ Tutor blog 219
5.21 ตวั อย่างบล็อกของผู้เรียนหรือ Student blog 219
5.22 ตวั อย่างการเขยี นและแสดงความคดิ เหน็ บนบล็อก 222
5.23 บล็อกของผู้แต่งรว่ มกบั อาจารยจ์ ากมหาวทิ ยาลยั ราชภฏั จันทรเกษมและ
224
มหาวิทยาลยั ราชภัฏบ้านสมเดจ็ เจ้าพระยา 225
5.24 หน้าเวบ็ วิกขิ องพบี ีเวิร์กส์ 226
5.25 ตัวอยา่ งการใชง้ านวิกิของพีบเี วริ ์กส์ 227
5.26 หน้าเว็บวิกพิ เี ดยี ภาคภาษาไทย 236
6.1 กระบวนการกอ่ นการออกแบบแผนการจดั การเรยี นรู้ 237
6.2 องคป์ ระกอบสำคัญของแผนการจัดการเรียนรู้

สารบญั ตาราง

ตารางที่ หนา้

1.1 รายชอื่ มหาวทิ ยาลัยในตา่ งประเทศทจี่ ดั การเรยี นการสอนหลกั สูตรหรอื รายวชิ า

ภาษาไทย 26

3.1 ตัวอยา่ งการสอนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศตามแนวคดิ ของการสอนภาษา

เพอ่ื การส่อื สาร 94

3.2 เกณฑร์ ูบริกสป์ ระเมนิ ผลงานการเขียนเชิงสรา้ งสรรค์ 100

3.3 ตวั อยา่ งเทคโนโลยีสนบั สนุนแนวคดิ ของการสอนภาษาเพื่อการส่อื สาร 111

3.4 ความสามารถทางภาษาของผูเ้ รียนระดับผู้ใชพ้ ้ืนฐาน 120

3.5 ความสามารถทางภาษาของผู้เรียนระดบั ผ้ใู ช้อิสระ 121

3.6 ความสามารถทางภาษาของผู้เรยี นระดับผ้ใู ช้เชย่ี วชาญ 123

4.1 การเปรยี บเทยี บกจิ กรรมพฒั นาความคลอ่ งแคล่วกับกิจกรรมพัฒนา

ความถูกต้อง 145

4.2 เกณฑร์ ูบริกสป์ ระเมินทกั ษะการฟงั พูด 153

4.3 เกณฑร์ บู ริกสป์ ระเมินทกั ษะการอ่าน 157

4.4 เกณฑร์ ูบริกสป์ ระเมินทักษะการเขียน 161

5.1 ข้อเด่นและข้อจำกัดของการสนทนาดว้ ยข้อความและการสนทนาด้วยเสียง 209

5.2 การเปรียบเทยี บการใชบ้ ล็อก 3 ประเภท 220

6.1 การใช้คำกริยาแสดงพฤติกรรมตามพิสยั ทางการศกึ ษา 3 ด้าน 239

6.2 เกณฑร์ บู ริกส์ประเมินรปู แบบการเขยี นทว่ั ไปแบบองคร์ วม 245

6.3 เกณฑร์ บู ริกส์ประเมนิ รปู แบบการเขียนท่ัวไปแบบแยกองค์ประกอบ 246

1

บทท่ี 1

ความเปน็ มาของการสอนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ

ภาษาเป็นเครื่องสื่อความหมายของคนในสังคมสามารถทำให้คนที่อยู่ร่วมกันเป็นหมู่คณะ
เข้าใจกันได้แม้ว่าในสงั คมต่างเช้อื ชาติกส็ ามารถติดต่อหากันได้ โดยใช้ภาษาใดภาษาหน่ึงเป็นสื่อกลาง
ภาษาไทยเป็นภาษาประจำชาติและเป็นเครื่องหมายแสดงให้เห็นถึงวัฒนธรรมของคนไทย แม้
ภาษาไทยยังไม่ใช่ภาษาสากลที่สามารถใช้ในการติดต่อส่ือสารซึ่งกันและกันของคนทั้งโลก แต่ใน
ปจั จุบนั มชี าวต่างชาติจำนวนหน่ึงใหค้ วามสนใจศึกษาภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศเพิ่มมากข้ึน
เพ่ือใช้ในการติดต่อสื่อสารระหว่างกันในด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านการเมือง สังคม เศรษฐกิจ
การค้า การเรียน หรือการทำงาน เป็นต้น และในปี 2558 ประเทศไทยได้ก้าวเข้าสู่การเป็นสมาคม
ประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรืออาเซียน (ASEAN: The Association of South East
Asian Nations) ส่งผลให้ทุกภาคส่วนของประเทศต้องปรับตัวให้เข้ากับความเปล่ียนแปลงท่ีเกิดขึ้น
ไม่ว่าจะเป็นด้านการลงทุน การพาณิชย์ การท่องเที่ยว การเคล่ือนย้ายแรงงาน การแลกเปล่ียน
วฒั นธรรม และโดยเฉพาะอย่างยง่ิ ด้านการศกึ ษา ซ่งึ ถือเป็นรากฐานของการพัฒนาทุก ๆ ดา้ น

การส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศจึงเปน็ ความจำเป็นเร่งด่วน
เพื่อพัฒนาการติดต่อส่ือสารระหว่างกันในกลุ่มประเทศอาเซียน สอดคล้องกับผลการวิจัยของ
พัชราวลัย วงศ์บุญสิน และคณะ (2556) เรื่องการพัฒนาบุคลากรและผลิตภาพบุคลากรเพื่อรองรับ
การเปิดเสรีอาเซียน พบว่าภาษาไทยจะมีความสำคัญในการสื่อสารและการมีงานทำ และจะเป็น
ภาษากลางของกลุ่มประเทศอาเซียนเท่าเทียมกับภาษาอังกฤษ เพราะประเทศไทยจะกลายเป็น
ศนู ย์กลางของภูมิภาคอาเซียน มีการเปิดเสรีทางการศึกษา จากการศึกษายังพบว่าประเทศเพื่อนบ้าน
เช่น เวียดนาม ลาว กัมพูชา และพม่า สนใจเรียนภาษาไทยมากขึ้นด้วย ในฐานะผู้สอนภาษาไทยจึง
ควรเล็งเห็นถึงความสำคัญและความจำเป็นดังกล่าวเพ่ือขยายองค์ความรู้ทางภาษาไทยให้เผยแพร่สู่
สากล โดยเริ่มต้นจากประเทศสมาชกิ อาเซยี นเปน็ อันดบั แรก

2

ความเปน็ มาของการสอนภาษาไทยในฐานะภาษาตา่ งประเทศในประเทศไทย

ค ว า ม ส น ใจ ศึ ก ษ า ภ า ษ า ไท ย ใน ฐ า น ะ
ภ า ษ า ต่ า ง ป ร ะ เท ศ ข อ ง ช า ว ต่ า ง ช า ติ มี ม า น า น แ ล้ ว
เนื่องจากคนไทยติดต่อกับชาวต่างชาติมาเป็นเวลาช้า
นาน หากสืบย้อนกลับไปด้านการจัดการเรียนการสอน
ภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศในช่วงแรกเป็น
ลักษณะของการศึกษาตามอัธยาศัย ดังปรากฏใน
รายงานของเจ้าพระยาวิชาเยนทร์ หรือคอนสแตนติน
ฟ อ ล ค อ น (Constantine Phaulkon) ถึ ง อ ง ค์
สนั ตะปาปากล่าวไว้ตอนหน่ึงว่า “พวกบาทหลวงควรจะ
หั ด ภ าษ าไท ย ให้ ถูก ต้ อ งเสี ย ก่ อ น จึ งจ ะท ำให้ ผู้ อื่ น เชื่ อ
ตาม” (สำเนาจดหมายเหตุ อ้างถึงใน อัมพร พงษธา,
2517) แสดงให้เห็ นถึงความสำคัญ ของการสอน
ภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศเพื่อใช้ในการ ภาพท่ี 1.1 เจา้ พระยาวชิ าเยนทร์
ตดิ ต่อสื่อสารกับคนไทยและคงมีชาวต่างชาติที่เรียนและ ท่ีมา : Constantine Phaulkon (2015)
ใช้ภาษาไทยได้ดีพอสมควร จึงนับได้ว่าเป็นจุดเร่ิมต้นของการเรียนการสอนภาษาไทยในฐานะ
ภาษาต่างประเทศในลักษณะของการศึกษาตามอธั ยาศยั

สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ มีหลักฐานว่า ภรรยามิชชันนารีชาวอเมริกันชื่อ แอนน์ เฮาซไทน์
จดั สัน (Ann Hasseltine Judson) ภรรยาของศาสตราจารย์อะโดนิราม จดั สนั (Adoniram Judson)
เรียนภาษาไทยประมาณคร่ึงปีก็สามารถแปลคัมภีร์แมทธิว (Gospel of Matthew) เป็นภาษาไทย
และจัดพิมพ์ในปี 2362 ต่อมา ดร.แดน บีช บรัดเลย์ (Dan Beach Bradley) ได้ซ้ือแท่นพิมพ์จาก
ประเทศสิงคโปร์ นำเข้ามาในกรุงเทพฯ ต้ังเป็นโรงพิมพ์แห่งแรกในปี 2375 (ปรียา หิรัญประดิษฐ์,
2545)

ต่อมาปี 2495 ศูนย์ภาษาแห่งสมาพันธ์มหาวิทยาลัยอเมริกาหรือ American University
Association Language Center (AUALC หรือ AUA) ซ่ึงก่อต้ังขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพ่ือส่งเสริม
ค ว า ม เข้ า ใจ อั น ดี ร ะ ห ว่ า ง ช า ว ไท ย แ ล ะ ช า ว ส ห รั ฐ อ เม ริ ก า ผ่ า น ก า ร เรี ย น ก า ร ส อ น ภ า ษ า แ ล ะ

3

ขนบธรรมเนียมประเพณี ได้สร้างแบบเรียนภาษาไทยใช้กันอย่างแพร่หลายในประเทศไทย ชื่อ AUA
Language Center Thai Course และปี 2498 มีโรงเรียนที่ก่อตั้งข้ึนโดยคริสตจักรของพระคริสต์
(Church of Christ) เปิดสอนภาษาไทยให้กับมิชชันนารีที่เดินทางเข้ามาเผยแผ่ศาสนาคริสต์ใน
ประเทศไทย ปัจจุบันคือโรงเรียน Union Language School ต่อมาในปี 2516 โรงเรียนภาษาและ
วัฒนธรรม ซ่ึงเป็นโรงเรียนประเภทอาชีวศึกษานอกระบบ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริม
การศึกษาเอกชน ถือกำเนิดพร้อมกับการก่อตั้งสมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น) ด้วยเล็งเห็น
ความสำคัญของภาษาที่เป็นส่ือกลางสำคัญในการสื่อสารและถ่ายทอดความรู้ด้านเทคโนโลยีจาก
ประเทศญ่ีปุ่นสู่ประเทศไทย โดยเปิดให้บริการสอนภาษาไทยระดับพื้นฐานจนถึงระดับสาขาวิชาชีพ
สรุปได้ว่าการเรียนการสอนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศในช่วงระยะเวลา ดังกล่าวได้พัฒนา
จากการศกึ ษาตามอัธยาศยั มาเป็นลักษณะของการศึกษานอกระบบ

กองวิเทศสัมพันธ์ (2544) สำนักงานปลัดทบวงมหาวิทยาลัย สำรวจพบว่าสถาบันการศึกษา
ของไทยหลายแห่งเริ่มเปิดสอนภาษาไทยให้กับชาวต่างชาติเม่ือประมาณปี 2530 เป็นต้นมา โดยเริ่ม
จากสถาบันภาษาและวัฒนธรรมเพ่ือพัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดหลักสูตรภาษาไทย
ระดับกลางในระดับประกาศนียบัตร สอนภาษาไทยให้ชาวต่างชาติเมื่อปี 2533 ศูนย์ไทยศึกษา คณะ
ศึกษาศาสตร์ มหาวทิ ยาลัยเชียงใหม่ เปดิ หลกั สูตรการสอนภาษาไทยสำหรบั นักศึกษาชาวตา่ งชาติเม่ือ
ปี 2534 คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดหลักสูตรนานาชาติ สาขาไทยศึกษา ใน
ระดับปริญญาโทและปริญญาเอก สำหรับผู้เรียนชาวไทยและชาวต่างชาติเม่ือปี 2534 และคณะ
มนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เปิดหลักสูตรการสอนภาษาไทยในฐานะ
ภาษาต่างประเทศ สำหรับผู้เรียนชาวไทยและชาวต่างชาติในระดับประกาศนียบัตรเมื่อปี 2546 และ
ในระดบั ปรญิ ญาโทเมื่อปี 2549 (วัชรพล วิบูลยศริน, 2553)

ปัจจุบันมหาวิทยาลัยหลายแห่งต่างเรมิ่ เปิดหลักสูตรลกั ษณะดังกล่าวในระดับปรญิ ญาตรีและ
ปริญญาโทเพิ่มขึ้น อาทิ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์
มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ และคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ การจัดการ
ศึกษาลักษณะน้ีถือว่าเป็นการพัฒนาเข้ามาสู่ลักษณะของการศึกษาในระบบ นอกจากน้ียังเปิด
หลักสูตรการสอนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศเพิ่มมากข้ึน อาทิ หลักสูตรภาษาไทย (ปัจจุบัน
ใชช้ ื่อ หลักสูตรภาษาและการสอื่ สาร) คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวทิ ยาลัยสวนดุสิต ได้
จัดการเรียนการสอนภาษาไทยสำหรับนักศึกษาชาวต่างชาติมาตั้งแต่ ปี 2544 ในลักษณะของการจัด

4

หลักสูตรและการสอนตามความต้องการ (On demand) ของผู้เรียนหรือให้สอดคล้องกับรายวิชาใน
มหาวิทยาลัยของนักศึกษาชาวต่างชาติเพื่อให้สามารถเทียบโอนหน่วยกิตได้ครบถ้วนตรงตาม
โครงสร้างหลักสูตรของตน และจัดหลักสูตรระยะส้ันภาคฤดูร้อนเพ่ือพัฒนาทักษะทางภาษาเบ้ืองต้น
สำหรับผเู้ รียนชาวต่างชาติเปน็ รายบคุ คลและรายกลมุ่ อีกดว้ ย

ภาพที่ 1.2 การสอนภาษาไทยสำหรับนกั ศกึ ษาชาวจนี จากมหาวิทยาลัยไป่ซ่ือ (Baisue University)
อย่างไรก็ดี นอกจากความเป็นมาของการเรียนการสอนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ

แล้ว ประเด็นท่ีน่าสนใจและมีความสำคัญต่อการเรียนการสอนภาษาไทยอีกประการคือ แบบเรียน
ภาษาไทย ในงานวิจัยของอัมพร พงษธา (2517) กล่าวถึงพัฒนาการของแบบเรียนภาษาไทยสำหรับ
ชาวตา่ งชาติไว้ตามลำดับเป็นจำนวนมากดงั จะขอคดั มาพอสังเขปดังนี้

การศึกษาค้นคว้าภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศเร่ิมข้ึนเม่ือ เดอ ลาลูแบ (De
Lalobere) เขียนหนังสือชื่อ Du Royaume de Siam ในปี 2234 ซึ่งถา่ ยทอดคำต่าง ๆ ไว้หลายร้อย
คำ และมตี ัวอยา่ งวลีต่าง ๆ ไวอ้ ย่างมากมาย

5

ต่อมาในปี 2385 จอห์น เทย์เลอร์ เจมส์ (John Taylor James) เขียนหนังสือช่ือ Brief
Grammatical Notice of the Siamese Language ซ่งึ เป็นหนังสือท่ีรวบรวมประโยคและคำอธบิ าย
ไวยากรณอ์ ยา่ งงา่ ยในภาษาพูดเป็นส่วนมาก

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระสังฆราชปัลเลอกัวซ์ (Bishop
Pallegoix) ชาวฝร่ังเศส ซ่ึงเป็นพระอาจารย์ถวายพระอักษรภาษาละติน ได้เขียนภาษาไทยโดยเทียบ
กับอักษรต่างประเทศ และใช้เครื่องหมายข้ึนแทนเสียงในภาษาไทย โดยรวบรวมคำไทยแล้วแปลเป็น
ภาษาอังกฤษ ภาษาฝร่ังเศส และภาษาละติน ให้ชื่อหนังสือเป็นภาษาไทยว่า สัพพะพจนะพาสาไทย
(อาจมาจากคำวา่ “สรรพพจนภาษาไทย” - ผู้แต่ง) โดยชาวตา่ งชาติในระยะเร่มิ แรกได้ใชห้ นังสือเลม่ น้ี
เป็นคูม่ อื สำหรบั การเรยี นภาษาไทยเป็นส่วนมาก

ปี 2449 บาซิล ออสบอร์น คารต์ ไรต์ (Basil Osborn Cartwright) เขียนหนังสือสำหรับสอน
มิชชันนารีช่ือ An Elementary Hand-Book of the Siamese Language ซึ่งเป็นหนังสือเก่ียวกับ
การแตง่ ความและมีแบบฝกึ หัดประกอบการเขียนด้วย

ปี 2475 พอล เอ เออคิน (Paul A. Eakin) เขียนหนังสือภาษาไทย ชื่อ Manual for the
Study of the Siamese Language Phonetically สำหรับใช้สอนมิชชันนารี คณะเพรสไบทีเรียน
ชาวอเมรกิ ัน ซง่ึ จะตอ้ งศกึ ษาภาษาของท้องถิน่

ต่อมาในปี 2485 สถาบันกองทัพสหรัฐ (The United States Armed Forces Institute)
โดยได้รับความร่วมมือจากคณะกรรมการแห่งสมาคมนักปราชญ์อเมริกัน (American Council of
Learned Societies) ได้ริเร่ิมโครงการภาษาเข้มข้น (The Intensive Language Program) ซ่ึงมีผู้
ศึกษาค้นคว้าทางภาษาไทย ได้แก่ เมรี อาร์ ฮาส (Mary R. Haas) จากการค้นคว้าน้ีทำให้เกิด
แบบเรยี นภาษาไทยเป็นภาษาทสี่ องขน้ึ หลายเล่มด้วยกนั คอื

1. แบบเรียน The Thai System of Writing สอนการเขียน การใช้เครื่องหมายและ
ลักษณะตัวเขียนแบบตา่ ง ๆ ในภาษาไทย

2. แบบเรียน Spoken Thai เขียนร่วมกับเห้ง ฤทธิ์ ศุภางค์ (Henry R. Subhanka) โดย
ได้รับการสนับสนุนจากสมาคมภาษาศาสตร์ของอเมริกา (Linguistic Society of America) เป็นการ
สอนการพูดในสถานการณ์จำลองตา่ ง ๆ

6

3. แบบเรียน Thai Reader เป็นการรวบรวมเร่ืองสั้น ๆ ซึ่งเป็นความรู้เรื่องราวต่าง ๆ ใน
ประเทศไทย

4. แบบเรยี น Thai Vocabulary มุง่ ศึกษาคำศพั ท์ภาษาไทยโดยเฉพาะ

ปี 2498 ปีเตอร์ เอ เลเนียน-ออร์กิล (Peter A. Lanyon-Orgill) เขียนหนังสื่อชื่อ An
Introduction of the Thai (Siamese) Language for European Students ซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 3
ตอน ได้แก่ ตอนท่ี 1 กล่าวถึงประวัติของภาษาไทยและภาษาตระกูลใกล้เคียง เช่น ภาษามอญ-เขมร
ตอนท่ี 2 กล่าวถึงตวั อักษรและการออกเสียง และตอนที่ 3 กล่าวถงึ ไวยากรณ์ในภาษาไทย

ปีต่อมาพระยาอนุมานราชธนเขียนหนังสือชื่อ Thai Language อธิบายถึงประวัติภาษาไทย
ลักษณะตัวเขียนในสมัยต่าง ๆ และการนำไวยากรณ์บาลี-สันสกฤตมาใช้ในภาษาไทย และ Thai
Nature and Development of the Thai Language อธิบายถึงคำ ลักษณะและวิวัฒนาการของ
ตัวอักษร ลักษณนาม ประโยค และการเขียนภาษาไทยแบบระบบท่ัวไปของการถอดเสียงของ
อักษรไทยเป็นอักษรโรมัน (General System of Phonetic Transcription of Thai Characters
into Roman)

ปี 2502 กอร์ดอน เอช อัลลิสัน (Gordon H. Allison) เขียนหนังสือช่ือ Modern Thai
สำหรับผู้สนใจเรียนภาษาไทย หนังสือเล่มน้ีประกอบด้วยกฎเกณฑ์ต่าง ๆ บทสนทนา การออกเสียง
แบบฝึกหัดแปล และการเทียบศัพท์ นอกจากนี้ อัลลิสันยังได้เขียนหนังสืออีก 2 เล่ม ได้แก่ An
Introduction to Thai Language และ Easy Thai

ปี 2513 วารเ์ รน จี เยตส์ (Warren G. Yates) และอปั สร ไทรยอน (Absorn Tryon) รว่ มกัน
เขียนหนังสือชื่อ Basic Course ข้ึน 2 เล่ม โดยได้รับการสนับสนุนจากสถาบันกิจการต่างประเทศ
(Foreign Service Institute) แห่งสหรัฐอเมริกา และในเวลาเดียวกัน โปรแกรมวิชาเอเชียตะวันออก
เฉียงใต้ มหาวิทยาลัยคอร์เนล (Cornell University) ได้จัดพิมพ์หนังสือชุด Thai Culture Reader
และ Introduction to Thai Literature เพ่ือใช้เป็นหนังสืออ่านสำหรับชาวต่างชาติที่ต้องการศึกษา
ภาษาไทยได้อา่ นเรื่องราวตา่ ง ๆ เก่ียวกบั วัฒนธรรมและวรรณกรรมไทย

สรปุ ไดว้ ่า ชาวต่างชาติเป็นจำนวนมากสนใจศกึ ษาภาษาไทยและบนั ทกึ ถึงการเรียนภาษาไทย
ไว้ให้คนรุ่นต่อ ๆ มาเพ่ือให้ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม ชาวต่างชาติเหล่านี้อาจพูดภาษาไทยได้ไม่ดีเท่าชาว
ไทย แต่ก็พยายามศกึ ษาคน้ คว้าภาษาไทยดว้ ยหลกั วชิ าใหม่ ๆ แบบเรียนภาษาไทยสำหรับชาวต่างชาติ

7

จงึ เพิ่มข้ึนเร่ือย ๆ และมักเปน็ แบบเรียนที่สร้างขึ้นในตา่ งประเทศเพื่อวตั ถปุ ระสงคใ์ ดวัตถุประสงค์หน่ึง
เฉพาะ

ความเป็นมาของการสอนภาษาไทยในฐานะภาษาตา่ งประเทศในตา่ งประเทศ

ความนยิ มและความต้องการเรยี นภาษาไทยในต่างประเทศช่วงแรกเร่ิมมีเพียงไม่ก่ีประเทศใน
โลก เช่น สาธารณรัฐประชาชนจีน ญ่ีปุ่น สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย มหาวิทยาลัยเหล่านี้เปิดสอน
ภาษาไทยด้วยมีนโยบายในการผลิตบุคลากรที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับประเทศไทยและกับคนไทยในด้าน
สังคม การเมือง การค้า การศึกษา วิถีชีวิตและวัฒนธรรม (ศรีวิไล พลมณี, 2552) แม้จะมีปริมาณ
ความต้องการไม่สูงมาก แต่ก็มีความจำเป็นท่ีหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยส่วนใหญ่เป็นวิชาเลือกหรือวิชาเลือก
บังคับในหมวดหน่งึ ของกล่มุ วิชาในหลักสูตรใหม่เท่านั้น ปัจจุบันสถาบันอุดมศึกษาตา่ ง ๆ ท่ัวโลก ต่าง
เปดิ สอนภาษาไทยและไทยศึกษาเพ่มิ มากข้ึน อาทิ มหาวิทยาลัยชนชาติยนู นาน สาธารณรฐั ประชาชน
จีน เปิดสอนวิชาเอกภาษาไทยเป็นแห่งแรกในมณ ฑลยูนนานเมื่อปี 2536 และต่อมามี
สถาบันการศึกษาในมณฑลยูนนานเปิดสอนภาษาไทยมากกว่า 16 แห่ง มหาวิทยาลัยสังคมศาสตร์
และมนุษยศาสตร์ แห่งมหาวิทยาลัยแห่งชาติ นครโฮจิมินห์ เปิดหลักสูตรตามโครงการสอนภาษาไทย
ในประเทศเวียดนามข้ึนเป็นแห่งแรก และขยายโครงการสอนภาษาไทยไปยังสถาบันอุดมศึกษาของ
เวยี ดนามอกี หลายแห่ง เชน่ มหาวิทยาลยั ภาษาตา่ งประเทศ แห่งมหาวิทยาลัยแห่งชาติเวียดนาม กรุง
ฮานอย มหาวิทยาลัยภาษาต่างประเทศและเทคโนโลยีสารสนเทศ นครโฮจิมินห์ และมหาวิทยาลัย
ดานัง สำหรับประเทศสาธารณรัฐเกาหลี มหาวิทยาลัยฮันกุ๊ก ภาษาและกิจการต่างประเทศเปิดสอน
หลักสูตรปริญญาบัณฑิต สาขาภาษาไทย และปริญญามหาบัณฑิต สาขาภาษาศาสตร์ภาษาไทย และ
สาขาวรรณคดีไทย จากการสำรวจของกระทรวงการต่างประเทศ (กองวิเทศสัมพันธ์, 2544) พบว่า มี
สถาบันอุดมศึกษาทั้งในเอเชีย ยุโรป อเมริกา และออสเตรเลีย ประมาณ 114 แห่ง เปิดสอนวิชา
ภาษาไทยหรือหลักสูตรเกี่ยวกับประเทศไทย เช่น หลักสูตรเอเชียศึกษาหรือเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
สะท้อนให้เห็นว่าภาษาไทยได้รับความนิยมจากชาวต่างชาติเพื่อเป็นพื้นฐานในการศึกษาและเรียนรู้
เกี่ยวกับประเทศไทยเพิ่มข้ึน อาทิ ในทวีปอเมริกา ยุโรป และออสเตรเลียอย่างมหาวิทยาลัยฮาวาย
มหาวิทยาลัยโอไฮโอ มหาวิทยาลัยวินคอสซิน-แมดิสัน มหาวิทยาลัยคอร์เนล มหาวิทยาลัยวอชิงตัน
มหาวิทยาลัยมิชิแกน โซแอส มหาวิทยาลัยลอนดอน มหาวิทยาลัยลีดส์ มหาวิทยาลัยแห่งชาติ

8

ออสเตรเลีย และมหาวิทยาลัยอาร์เอ็มไอที โดยนำเสนอมุมมองและความเป็นมาของการสอน
ภาษาไทยในฐานะภาษาตา่ งประเทศของมหาวิทยาลัยสำคัญในตา่ งประเทศ ไดแ้ ก่ ประเทศสาธารณรัฐ
ประชาชนจีน ประเทศสาธารณรัฐเกาหลี ประเทศญ่ีปุ่น ประเทศมาเลเซีย ประเทศสิงคโปร์ ประเทศ
ออสเตรเลีย และประเทศสหราชอาณาจกั ร ตามลำดบั

มุมมองจากประเทศสาธารณรัฐประชาชนจนี : มหาวทิ ยาลยั ปักกง่ิ

การสอนภาษาไทยในประเทศจีนมีประวัติยาวนาน ภาควิชาภาษาไทยและวัฒนธรรมของ
มหาวิทยาลัยปักก่ิง (Peking University: PKU) เป็นภาควิชาแห่งแรกที่ก่อต้ังขึ้นในประเทศจีน
ภายหลังการสถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีน วิชาภาษาไทยและการเรียนการสอนภาษาไทยใน
ประเทศจีนพัฒนาเป็นลำดับ ภาควิชาฯ ได้ฝึกฝนอบรมบุคลากรให้มีความรู้ทางด้านภาษาไทยเป็น
จำนวนมาก และทำคุณประโยชน์มากต่อการพัฒนาความสัมพันธ์ฉันมิตรระหว่างประเทศจีนกับ
ประเทศไทย (ฟู่ เจงิ โหย่ว, 2544)

ในสมัยราชวงศ์หมิง ประเทศจีนมีการติดต่อกับต่างประเทศมากขึ้น แต่ความไม่เข้าใจ
ภาษาต่างประเทศเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาความสัมพันธ์กับต่างประเทศ เพราะฉะนั้นในปี 1952
ราชวงศ์หมิงได้จัดตั้งสำนักซ่ีอี๋กว่านข้ึนที่เมืองนานกิง ซ่ึงแบ่งออกเป็นหลายสำนัก เช่น สำนักมองโก
สำนักพม่า สำนักอินเดีย ในปี 2040, 2058 และ 2121 ตามลำดับ เมืองสยามได้ส่งคณะทูตไปเยือน
ประเทศจีน 3 ครั้ง และนำพระราชสาสน์ไปด้วย แต่ราชวงศ์หมิงไมม่ ีลา่ มภาษาไทย ฉะน้ัน ในปี 2121
ประเทศจนี จึงไดต้ ง้ั สำนักซอี่ ก๋ี ว่าน สำนักสยาม

ซ่ือ๋ีกว่าน มีแนวทางสำคัญในการจัดการเรียนภาษาต่างประเทศ 2 ทาง คือ ส่งนักศึกษาไป
เรียนต่อตา่ งประเทศหรอื เชิญอาจารย์ชาวต่างชาติมาสอนท่ีประเทศจนี เม่ือก่อต้ังสำนักสยามแล้ว ซื่อี๋
กว่านได้เชิญนายอุบลรัตน์ (ตามเสียงภาษาจีนกลาง) ทูตสยามมาสอนภาษาไทย และยังได้เชิญนาย
อุบลทิศและนายอุบลหงวนมาเป็นผู้สอนด้วย นอกเหนือจากการสอนภาษาไทยแล้วยังได้บรรยาย
ประเพณีและวัฒนธรรมของสยามด้วย คนเหล่านี้เป็นคนไทยกลุ่มแรกท่ีไปสอนภาษาไทยในประเทศ
จนี ซ่ึงมบี ันทึกไว้ในพงศาวดารจนี ตง้ั แตน่ ั้นเป็นต้นมาประเทศจีนจงึ เร่ิมตน้ การสอนภาษาไทยในฐานะ
ภาษาต่างประเทศในสาธารณรัฐประชาชนจีน

9

ในเดือนกันยายนปี 2489 วิทยาลัยภาษาตะวันออกนานกิงเร่ิมจัดต้ังแผนกภาษาสยาม และ
ในปี 2492 หลังจากการสถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีน วิทยาลัยภาษาตะวันออกนานกิงได้รวมเข้า
กับคณะภาษาตะวันออก มหาวิทยาลัยปักก่ิง แผนกภาษาสยามจึงเปล่ียนช่ือเป็นภาควิชาภาษาไทย
กล่าวได้ว่ามหาวิทยาลัยปักกิ่งเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกที่เปิดสอนภาษาไทย นับเป็นจุดเริ่มต้นของ
การพัฒนาภาษาไทยอย่างเป็นระบบในเวลาน้ัน อาจารย์ท่ีทำงานในภาควิชาภาษาไทยประกอบด้วย
อาจารย์ท่ีสำเร็จการศึกษาในประเทศจีนและอาจารย์ชาวจีนท่ี เดินทางกลับมาจาก ประเทศไท ย
โดยเฉพาะในมหาวทิ ยาลยั ปกั ก่ิงมอี าจารย์ชาวไทยทา่ นหนง่ึ คือ อาจารยส์ ิทธ์ิชัย สงฆรกั ษ์ ผู้เชยี่ วชาญ
ภาษาไทย ซ่ึงสอนภาษาไทยในมหาวิทยาลัยปักก่ิงเป็นเวลานานถึง 41 ปี นับต้ังแต่ปี 2493 ถึงปี
2534 ผู้สร้างคุณปู การอันใหญห่ ลวงแกก่ ารพัฒนาสาขาวชิ าภาษาไทยและการเรียนการสอนภาษาไทย
ในประเทศจีนเป็นอย่างย่ิง และบุคคลสำคัญอีกคนหน่ึงท่ีมีคุณูปการต่อวงการการสอนภาษาไทยใน
มหาวิทยาลัยปักกิ่งคือ ศาสตราจารย์พัน เต๋อต๋ิง (Pan Deding) ผู้เขียนหนังสือชื่อ ภาษาไทยพ้ืนฐาน
สำหรับการสอนภาษาไทยให้กบั ชาวจนี ซง่ึ ไดร้ บั ความนิยมจากผ้เู รยี นเปน็ อย่างสูง

ในสมัยของนายกรัฐมนตรี โจว เอินไหล (Zhou Enlai) เคยกล่าวว่า ไม่ว่าประเทศใหญ่หรือ
ประเทศเล็กมีความเสมอภาคเท่าเทียมกัน เม่ือมีกิจการทางการทูตต้องใช้ภาษาของเขา ซ่ึงเป็นการ
แสดงความเคารพต่อประเทศเหล่านั้น ตามคำส่ังของนายกรัฐมนตรีโจวเม่ือทศวรรษท่ี 60 เป็นต้นมา
สถาบันภาษาตา่ งประเทศปกั กงิ่ สถาบันภาษาต่างประเทศกว่างโจว และสถาบันชนชาตสิ ว่ นน้อยกวาง
สีจงึ ไดก้ อ่ ต้ังสาขาภาษาไทยขึน้ และพัฒนามาเป็นคณะภาษาไทยตามลำดบั

หลังจากสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างประเทศไทยกับประเทศจีน โดยเฉพาะ
หลงั จากประเทศจีนดำเนินนโยบายปฏิรูปเศรษฐกิจและเปิดประตูประเทศ ความสัมพันธ์ระหวา่ งไทย
กับจีนได้พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว ส่งผลต่อการพัฒนาวิชาภาษาไทย ในทศวรรษท่ี 90 สถาบันชนชาติ
ส่วนน้อยยูนนานเปิดสอนภาษาไทย และในปี 2543 สถาบันภาษาต่างประเทศเซี่ยงไฮ้ประกาศจัดต้ัง
สาขาวิชาภาษาไทยขึ้น ปัจจุบันมหาวิทยาลัยในประเทศจีนที่มีสาขาวิชาภาษาไทยมี 8 แห่ง ในปี
2542 ภาควิชาภาษาและวัฒนธรรมไทย มหาวิทยาลัยปักก่ิงเปิดรับนักศึกษาปริญญาโท นับเป็น
จุดเร่ิมต้นของการผลิตนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาภาษาไทยในสาธารณรัฐประชาชนจีน
ต่อมาปี 2539 มหาวิทยาลัยปักกิ่งก่อตั้งสถาบันไทยศึกษาข้ึน ประกอบด้วยอาจารย์และนักวิชาการ
จากคณะภาษาตะวันออก คณะรัฐศาสตร์ คณะเศรษฐศาสตร์ และนักวิชาการจากสภาสังคมศาสตร์
แหง่ ชาติ

10

มหาวิทยาลัยภาษาต่างประเทศปักกิ่งเคยจัดประชุมสัมมนาหลายครั้ง และเป็นมหาวิทยาลัย
เก่าแก่ที่สุดของประเทศจีน ซึ่งจัดตั้งขึน้ ในปี 2441 มีคณะต่าง ๆ 31 คณะ เปิดสอนภาษาต่างประเทศ
รวม 27 ภาษา เช่น ภาษาอังกฤษ ภาษาฝร่ังเศส ภาษาเกาหลี ภาษาพม่า ภาษาฟิลิปปินส์ ภาษา
อินโดนเี ซีย ภาษาบาลสี ันสกฤต รัฐบาลจนี ยังให้ความสำคัญกับการเรียนการสอนภาษาต่างประเทศท่ี
มีผู้ใช้เป็นจำนวนน้อย เมื่อปี 2544 กระทรวงศึกษาธิการจีนได้จัดตั้งศูนย์อบรมผลิตบุคลากร
ภาษาต่างประเทศท่ีมีผู้ใช้กันน้อยในมหาวิทยาลัยปักกิ่ง ซ่ึงมีส่วนช่วยพัฒนาภาษาไทยและ
ภาษาต่างประเทศในมหาวทิ ยาลัยปักกิ่ง รวมถงึ ประเทศจีนต่อไปดว้ ย

มมุ มองจากประเทศสาธารณรฐั ประชาชนจีน : มหาวิทยาลัยครู ยูนนาน

ในปี 2536 วิทยาลัยศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยครู ยูนนาน (College of
Arts and Sciences, Yunnan Normal University: YNNU) เปิดสอนวิชาเอกภาษาไทยเป็นแห่ง
แรกในมณฑลยูนนาน ปัจจุบันมีสถาบันการศึกษาในมณฑลยูนนานเปิดสอนภาษาไทยมากกว่า 16
แห่ง มีนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาและนักศึกษาระดับอุดมศึกษาเลือกเรียนภาษาไทยมากกว่า
3,000 คน สำหรับนครคุนหมิง เมืองหลวงของมณฑลยูนนาน มีโรงเรียนมัธยมศึกษา 3 แห่ง และ
มหาวิทยาลัยอีก 9 แห่ง จัดการเรียนการสอนวิชาภาษาไทย มีนักเรียนและนักศึกษาท่ีกำลังเรียน
ภาษาไทยอยูม่ ากกวา่ 2,000 คน และปัจจุบันนักศึกษาในมณฑลยูนนานกำลังศึกษาต่อท่ีประเทศไทย
มากกว่า 4,000 คน เพราะภาษาไทยกำลังเป็นภาษาต่างประเทศสำคญั ในมณฑลยนู นาน (ฟาง จ่อื หวี่,
2552)

มหาวิทยาลัยครู ยูนนาน เป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐบาล ตั้งอยู่ที่นครคุนหมิง มณฑล
ยูนนาน พัฒนาหลักสูตรภาษาไทย สาขาการท่องเที่ยวและการโรงแรม ในระดับปริญญาตรีตาม
หลักสูตรความร่วมมือระหว่างประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนกับประเทศไทย 3+1 ปี เม่ือปี 2549
โดยกำหนดคุณ ลักษณะและมาตรฐานของนักศึกษาที่สำเร็จการศึกษา ภาษาไทยในสาขาวิชาการ
ท่องเที่ยวและการโรงแรมว่า นักศึกษาสามารถใช้ภาษาไทยในการส่ือสารได้อย่างดี มีความรู้ความ
เข้าใจเกี่ยวกับสภาพสังคม การเมือง เศรษฐกิจ ขนบธรรมเนียมประเพณี ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์
ตลอดจนการวิเทศสัมพันธ์ของไทย ในด้านการเรยี นการสอนนักศึกษาจะต้องฝึกทักษะการฟังการพูด
สำนวนภาษาท่ีใช้ในการให้บริการ ตลอดจนการแนะนำสถานที่ท่องเท่ียวในประเทศจีน โดยเฉพาะใน

11

มณฑลยูนนาน นอกจากนี้มหาวิทยาลัยยังได้จัดให้นักศึกษาฝึกปฏิบัติงานในสถานที่ต่าง ๆ เช่น
สนามบิน สถานที่ท่องเที่ยว โรงแรม ภัตตาคาร และร้านค้า โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้บัณฑิตที่สำเร็จ
การศึกษาสาขาน้ีเป็นผู้ท่ีเพียบพร้อมด้วยคุณธรรมจริยธรรม มีภูมิปัญญาในการสร้างสรรค์นวัตกรรม
ใหม่เพ่ือพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของมณฑลยูนนาน มีความรู้ความเข้าใจในหลักการทฤษฎี
การท่องเที่ยวและการโรงแรม เข้าใจนโยบายระเบียบกฎหมายระหว่างประเทศจีนกับประเทศไทย
ปัจจุบันบัณฑิตจะได้เรียนรู้ภาษาไทยจนถึงระดับสูงเพ่ือให้สามารถทำงานด้านบริหารจัดการในธุรกิจ
การท่องเท่ียวและการโรงแรม ตลอดจนมีทักษะการวางแผนการพัฒนาการท่องเท่ียวและการโรงแรม
ระหว่างไทยกับจีน อีกทั้งสามารถประกอบอาชีพโดยใช้ความรู้ทักษะและเทคนิคเฉพาะทางด้านการ
ท่องเที่ยวและการโรงแรมในหน่วยงานของรัฐและเอกชน และสามารถประกอบอาชีพอิสระได้ ดังน้ัน
มหาวิทยาลยั จงึ ได้กำหนดคุณลักษณะและมาตรฐานของบัณฑิตทีส่ ำเรจ็ การศกึ ษาในสาขานี้ดังน้ี

1. มีคุณธรรมจริยธรรม มเี จตคติ และมศี รทั ธาในวชิ าชพี การทอ่ งเท่ียวและการโรงแรม

2. ตระหนักถึงความสำคัญของวิทยาการด้านการท่องเที่ยวและการโรงแรมท่ีมีผลกระทบต่อ
การดำรงชีวิต การประกอบอาชีพ สังคม และสภาพแวดล้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งตระหนักถึงการ
แขง่ ขนั ในยุคของการปฏริ ปู จนี สมยั ใหม่

3. สามารถนำความรู้ด้านการท่องเที่ยวและการโรงแรมไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาและ
ปรบั ปรงุ คณุ ภาพชีวติ ของตนเองและสงั คมได้อยา่ งเหมาะสม

4. สามารถใช้ภาษาไทยเพอ่ื การส่อื สารได้อยา่ งดแี ละมบี ุคลกิ ภาพสุขมุ เยือกเยน็

5. มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสภาพสังคม การเมือง เศรษฐกิจ ขนบธรรมเนียมประเพณี
ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ การวิเทศสัมพันธ์ของไทย ตลอดจนสามารถวิเคราะห์และแก้ปัญหาเชิง
วิทยาศาสตรท์ ี่เก่ียวกับการวเิ ทศสมั พนั ธ์

6. มีความรู้ความสามารถในการวิจัยด้านการบริหารจัดการด้านการท่องเที่ยวและการ
โรงแรม

สำหรับรูปแบบการผลิตบัณฑิตระดับปริญญาตรี (หลักสูตรภาษาไทย) สาขาการท่องเที่ยว
และการโรงแรมตามโครงการ 3+1 ปี นักศึกษาจะต้องเรียนตลอดหลักสูตร 4 ปี ปีที่ 1 และปีที่ 2
เรียนวิชาพื้นฐานในมหาวิทยาลัย ปีท่ี 3 นักศึกษามาเรียนที่ประเทศไทยและปีท่ี 4 นักศึกษากลับมา

12

เรียนในมหาวิทยาลัยอีกคร้ัง เม่ือนักศึกษาเรียนครบกระบวนวิชาและครบตามจำนวนหน่วยกิตแล้ว
นกั ศึกษาต้องผา่ นการทำวจิ ัยท่เี ก่ยี วขอ้ งจงึ จะสำเร็จการศึกษา

นักศึกษาจะต้องเรียนรายวิชาภาษาไทย สาขาการท่องเท่ียวและการโรงแรม ดังต่อไปนี้
ภาษาไทยพื้นฐาน การออกเสียงภาษาไทย การฟังภาษาไทย การพูดภาษาไทย การอ่านภาษาไทย
การเขียนภาษาไทย ประมวลภาษาไทย ภาษาไทยเชิงวิชาการ มารยาทในสังคมไทย อาหารไทย
วัฒนธรรมและประวตั ิศาสตรไ์ ทย ภมู ิศาสตร์การท่องเทยี่ วไทย และภาษาไทยเพื่อการท่องเท่ียว

มุมมองจากประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน : มหาวิทยาลัยภาษาและการค้า
ตา่ งประเทศกวางตงุ้

มหาวิทยาลัยภาษาและการค้าต่างประเทศกวางตุ้ง (Guangdong University of Foreign
Studies: GUFS) เปิดสอนวิชาเอกภาษาไทยข้ึนในปี 2513 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตบัณฑิตท่ีมี
ความรู้ทางภาษาและวัฒนธรรมไทยที่มีคุณภาพและคุณธรรม สามารถประยุกต์ใช้ความรู้ภาษาไทย
อย่างมีประสิทธิภาพในการประกอบอาชีพและการศึกษาในระดับสูง การเรียนการสอนภาษาไทยจะ
สัมฤทธิ์ผลขึ้นอยู่กับหลักสูตรท่ีมีประสิทธิภาพ คือ เนื้อหาสาระและวิธีสอนที่สอดคล้องกับผู้เรียน
ชาวต่างชาติทง้ั ด้านวัตถุประสงคแ์ ละความรู้พน้ื ฐานของผเู้ รยี น (หลอ อี้หยวน, 2554)

หลักสูตรของภาควิชาภาษาไทยได้รับการปรับปรุงและพัฒนาอย่างต่อเน่ืองเพ่ือให้สอดคล้อง
กบั ความต้องการของสงั คมปัจจุบันที่เปล่ียนแปลงอย่างรวดเร็ว ให้ความสำคัญต่อการผลิตบัณฑิตเพื่อ
เป็นบคุ ลากรที่มีความร้คู วามเชย่ี วชาญด้านวิชาการ มีความสามารถในการใช้ภาษาไทยทั้งการฟัง การ
พูด การอ่าน การเขียน และการแปลอย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนมีความรู้ความเข้าใจสภาพสังคม
วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีของประเทศไทยอย่างลึกซ้ึงเพื่อนำไปประกอบอาชีพต่าง ๆ โดย
ใช้ภาษาไทยเป็นเคร่ืองมือติดต่อส่ือสารกับคนไทยตามสถานการณ์ต่าง ๆ อย่างคล่องแคล่ว ถูกต้อง
เหมาะสมกับวัฒนธรรมไทย โดยหลักสูตรระดับปริญญาตรีจะเป็นการศึกษารายวิชาต่าง ๆ ใน
หลักสูตรเป็นเวลา 4 ปี นักศึกษาจะเรียนท้ังหมด 184 หน่วยกิต ประกอบด้วยวิชาเอกภาษาไทย 93
หน่วยกิต วิชาโทภาษาอังกฤษ 44 หนว่ ยกิต และวิชาการศึกษาท่ัวไป 35 หน่วยกิต การฝึกภาคปฏบิ ัติ
12 หน่วยกติ (รวมการเขยี นวทิ ยานิพนธ์ภาษาไทย 6 หน่วยกติ )

13

วิชาเอกภาษาไทยแบ่งออกเป็นวิชาบังคับ 75 หน่วยกิต และวิชาเลือก 18 หน่วยกิต วิชา
บังคับเน้นทักษะทางภาษาเพ่ือเสริมสร้างความสามารถของนักศึกษาในการฟัง การพูด การอ่าน การ
เขยี น และการแปลอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเปิดสอนรายวิชาภาษาไทยพื้นฐาน การฟงั ภาษาไทย การ
สนทนาภาษาไทย ประวัติศาสตร์ ภูมศิ าสตร์ และวัฒนธรรมไทย ภาษาไทยช้นั สูง การแปลภาษาไทย-
ภาษาจีน การเขียนภาษาไทยเพื่อวิชาชีพ การล่ามภาษาไทย-ภาษาจีน การอ่านวรรณกรรมไทย ส่วน
วิชาเลือกเป็นการเสริมวิชาทกั ษะการใช้ภาษาและเนน้ วัตถุประสงค์ตามวิชาชีพ โดยให้ความรู้เกี่ยวกับ
ภาษาและไทยศึกษาเพ่ือขยายมุมมองของนักศึกษาให้กว้างขวางและลึกซ้ึง วิชาในด้านดังกล่าว ได้แก่
การอ่านภาษาไทย หลักภาษาไทย ภาษาไทยสำหรับมัคคุเทศก์ ภาษาไทยธุรกิจ การอ่านหนังสือพิมพ์
ไทย การเปรยี บเทียบภาษาพดู กับภาษาเขียน และการเมืองการปกครองและเศรษฐกิจไทย

การจัดการเรียนการสอนภาษาไทยแบ่งออกเป็น 2 ระดับ คือ นักศึกษาช้ันปีท่ี 1 และปีที่ 2
เป็นการเรียนภาษาไทยระดับพื้นฐาน ส่วนนักศึกษาช้ันปีที่ 3 และปีที่ 4 เป็นการเรียนภาษาไทย
ระดับสูง ในการเรียนการสอนภาษาไทยระดับพื้นฐานจะฝึกทักษะการฟัง การพูด การอ่าน การเขียน
และการแปลพร้อมกันแต่แรก และมุ่งเน้นทักษะการฟังและการพูดเป็นประการสำคัญเพื่อปูพื้นฐาน
ทางภาษาให้แก่นักศึกษา เพ่ือให้เข้าใจและใช้ภาษาไทยได้อย่างถูกต้องตามกาลเทศะและฐานะของ
บุคคล สำหรับการเรียนการสอนภาษาไทยระดับสูงจะเน้นการฝึกทักษะการอ่าน การเขียน และการ
แปลเปน็ ประการสำคญั เสริมความสามารถในการประยุกต์ใชภ้ าษา เพ่ิมพูนความรู้ในสาขาวิชาต่าง ๆ
ที่เก่ียวข้องให้สามารถใช้ภาษาไทยติดต่อสื่อสารกับผู้อ่ืน และถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิดอย่างถูกต้อง
ตามหลกั เหตแุ ละผล เหมาะสมกับบรบิ ททางสังคมและวัฒนธรรม

มุมมองจากประเทศสาธารณรัฐเกาหลี : มหาวิทยาลัยฮันกุ๊ก ภาษาและกิจการ
ต่างประเทศ

ในปี 2509 มหาวิทยาลัยฮันกุ๊ก ภาษากิจการต่างประเทศ (Hankuk University of Foreign
Studies: HUFS) เปิดการเรียนการสอนภาษาไทยเป็นวิชาเอกคร้ังแรกตามนโยบายของรัฐบาล
นบั เป็นภาษาลำดับที่ 12 จากจำนวนการสอนภาษาทั้งหมดและเป็นภาษาลำดับท่ี 5 จากภาษาในทวีป
เอเชีย โดยนับต่อจากภาษาจีน ภาษาญ่ีปุ่น ภาษามาเลย์-อินโดนีเซีย และภาษาอาหรับ รับนักศึกษา
แรกเขา้ ในปีแรกเพียง 20 คน และต่อมาขยายจำนวนรบั เป็นปลี ะ 30 คน สำหรับการเรียนการสอนใน

14

ระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยฮันกุ๊กฯ เปิดสาขาวิชาภาษาและวรรณคดีไทยในปี 2528 และในปี
2539 เปิดสาขาวิชาไทยศึกษา เพ่ือตอบสนองความต้องการของผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีท่ี
สนใจศกึ ษาต่อในระดบั ปรญิ ญาโทในสาขาวิชาน้ี (คิม ยอง แอ, 2554)

หลักสูตรของภาควิชาภาษาไทยระดับปริญญาตรีเป็นหลักสูตร 4 ปี แต่ละปีประกอบด้วย 2
ภาคการศึกษา โดยเปิดภาคการศึกษาที่ 1 ในเดือนมีนาคม สำหรับนักศึกษาช้ันปีที่ 1 และปีที่ 2 การ
เรียนการสอนจะเน้นทักษะการอ่าน การเขียน และการพูดภาษาไทยเป็นลำดับ เริ่มตั้งแต่การเรียน
พยัญชนะไทย สระ วรรณยุกต์ หลักภาษาและไวยากรณไ์ ทย การเขียนเรียงความ การฝึกสนทนา และ
การพูดแสดงความคิดเห็น สำหรับนักศึกษาช้ันปีที่ 3 และปีที่ 4 การเรียนการสอนจะเน้นไทยศึกษา
โดยลงทะเบียนเรียนวิชาเลือกตามความถนัดและความสนใจ เช่น วิชาการเมืองไทย เศรษฐกิจไทย
สังคมและวัฒนธรรม และวรรณคดีไทย

สำหรับหลกั สูตรระดับปริญญาโทแบ่งออกเปน็ 2 สาขา คือ ภาษาไทยและวรรณคดีไทย ท้ังน้ี
ผู้ ท่ี ส ำ เร็ จ ก า ร ศึ ก ษ า ด้ า น ภ า ษ า ไท ย ส่ ว น ม า ก จ ะ เลื อ ก ศึ ก ษ า ต่ อ ร ะ ดั บ ป ริ ญ ญ า เอ ก ใน ภ า ค วิ ช า
ภาษาศาสตร์ และส่วนผู้ที่สำเร็จการศึกษาด้านวรรณคดีไทยจะเลือกศึกษาต่อระดับปริญญาเอกใน
ภาควชิ าวรรณคดีเปรยี บเทียบ

การสอนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศจำเป็นต้องคำนึงถงึ วฒั นธรรมด้านวัตถุและด้าน
จติ ใจเพื่อเข้าถึงความรู้สึกนึกคิดและจิตวิญญาณของความเป็นไทย การจัดกิจกรรมเสริม อาทิ รำไทย
เล่นดนตรีไทย ดูภาพยนตร์ไทย หรือจัดแสดงประเพณีไทย เช่น วันลอยกระทง วันสงกรานต์ พิธี
แต่งงานตามธรรมเนียมไทยโบราณ การแต่งกายชุดไทยในงานต่าง ๆ การประกอบอาหารไทย และ
การเล่นละคร ช่วยทำให้นักศึกษามีโอกาสรู้จัก สัมผัส เข้าถึงความเป็นไทย และเรียนร้วู ัฒนธรรมไทย
ท้ังทางตรงและทางอ้อม

ในปี 2526 มหาวิทยาลัยฮันกุ๊กฯ จัดต้ังภาควิชาภาษาไทยเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งแห่งท่ีวิทยาเขต
ยงอิน แต่การจัดการเรียนการสอนที่วิทยาเขตยงอินจะแตกตา่ งกับท่ีวทิ ยาเขตโซล คือ วิทยาเขตยงอิน
มุ่งเน้นการสร้างความโดดเด่นในการผลิตบุคลากรผู้เชี่ยวชาญด้านการล่ามและการแปล โดยจัดตั้ง
วิทยาลยั ทางการล่ามและการแปล (ฌองส์ ฮวนั ซึง, 2554) ภาควิชาภาษาไทยจึงปรับปรุงหลกั สูตรของ
ตนให้สงั กดั วิทยาลัยทางการลา่ มและการแปลในปี 2551

15

วิทยาลัยการล่ามและการแปลประกอบด้วยภาควิชาการล่ามและการแปลภาษาอังกฤษ
ภาษาเยอรมัน ภาษาสเปน ภาษาอิตาลี ภาษาจีน ภาษาญ่ีปุ่น ภาษาอาหรับ ภาษามาเลย์-อินโดนีเซีย
และภาษาไทย โดยพัฒนาหลักสูตรให้สร้างบุคลากรด้านการแปลและการล่ามที่มีความรู้กว้างขวาง
เฉพาะภูมิภาค มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ การเมือง เศรษฐกิจ สงั คมและวัฒนธรรม ควบคู่ไปกับ
ความสามารถทางภาษาเพอื่ เอือ้ ประโยชน์ตอ่ การติดต่อสื่อสารระหว่างประเทศ

มุมมองจากประเทศสาธารณรัฐเกาหลี : มหาวิทยาลัยปูซาน ภาษาและกิจการ
ตา่ งประเทศ

ภาควิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยปูซาน ภาษาและกิจการต่างประเทศ (Busan University
of Foreign Studies: BUFS) เปิดการสอนวิชาภาษาไทยเป็นวิชาเอกในปี 2525 ซึ่งเป็นปีที่จัดต้ัง
มหาวิทยาลัยปูซานฯ โดยรับนักศึกษาวิชาเอกภาษารุ่นแรกจำนวน 45 คน และมีข้อตกลงความ
ร่วมมือแลกเปล่ียนทางวิชาการกับสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ในประเทศไทยหลายแห่ง (คิม ฮง คู,
2554)

หลักสูตรระดับปริญญาตรีของภาควิชาภาษาไทยกำหนดให้ศึกษาเป็นเวลา 4 ปี แต่ละปี
ประกอบด้วย 2 ภาคการศึกษา นักศึกษาต้องเรียนวิชาเอกภาษาไทยอย่างน้อย 63 หน่วยกิต วิชา
ท่ัวไป วิชาเลือก วิชาภาษาโลก รวมหน่วยกิตตลอดหลักสูตรทั้งหมด 130 หน่วยกิต ซึ่งจะมีรายวิชา
ด้านภาษาไทยทั้งหมด 38 วิชา อาทิ วิชาภาษาไทยพื้นฐาน สนทนาภาษาไทยพื้นฐาน สนทนา
ภาษาไทยระดับสูง การอ่านภาษาไทยพ้ืนฐาน การอ่านภาษาไทยระดบั สูง การเขยี นภาษาไทยพื้นฐาน
การเขียนภาษาไทยระดับสูง ส่วนวิชาด้านไทยคดีศึกษา ได้แก่ ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ เศรษฐกิจ
ศาสนาพุทธ วรรณคดีไทย สังคมและวัฒนธรรมไทย การเมืองและการปกครองในประเทศไทย
ภาษาไทยในภาพยนตร์ และไทยศึกษาทางอินเทอร์เน็ต

การจัดกิจกรรมภาษาไทยเพื่อให้นักศึกษาได้สัมผัสและเรียนรู้วัฒนธรรมไทยโดยตรง อาทิ
การสอนรำไทยและดนตรีไทย การจัดการแสดงประเพณีไทย การแต่งกายแบบไทย การทำอาหารไทย
เช่น ต้มยำกุ้ง ผัดไทย ยำวุ้นเส้น แหนมทรงเครื่อง และจัดงานของภาควชิ าภาษาไทยเป็นประจำทุกปี
เรียกว่า “งานวันไทย” เป็นวันที่นักศึกษารุ่นพ่ีและรุ่นน้องมาพบปะสังสรรค์และชมการแสดง
ศิลปวัฒนธรรมไทยของนักศึกษารุ่นปัจจุบัน และเพื่อกระตุ้นให้นักศึกษาสนใจและฝึกฝนการพูด

16

ภาษาไทยอยู่เสมอ จึงสนับสนนุ ให้นักศึกษาได้มปี ระสบการณ์จริงผา่ นการใช้ภาษาและกิจกรรมต่าง ๆ
จากหน่วยงานและสถานประกอบการท่ีต้องการใช้ล่ามภาษาไทยท้ังในประเทศสาธารณรฐั เกาหลีและ
ประเทศไทย

มุมมองจากประเทศญ่ีปนุ่ : มหาวิทยาลยั โตเกยี วศึกษาต่างประเทศ

ในศตวรรษที่ 14 ถือเป็นจุดเร่ิมต้นของการติดต่อและสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่าง
อาณาจักรริวกิว หรือปัจจุบันคือ จังหวัดโอกินาว่า ประเทศญ่ีปุ่นกับราชอาณาจักรสุโขทัย ประเทศ
ไทย แม้ว่าภายหลังสงครามโลกครั้งท่ี 2 ญ่ีปุ่นจะปิดประเทศไปชั่วระยะหน่ึง แต่เม่ือเปิดประเทศอีก
ครั้ง ก็ได้สานความสัมพนั ธ์ติดตอ่ กบั ประเทศไทยเรือ่ ยมาจนถงึ ปัจจบุ ัน ถือวา่ เป็นประเทศที่มีมติ รภาพ
กันมาอยา่ งยาวนาน (วรี ยทุ ธ พจนเ์ สถยี รกลุ , 2554)

ตลอดระยะเวลากว่า 50 ปี ญี่ปุ่นถือเป็นประเทศท่ีเข้ามาลงทุนในประเทศไทยสูงที่สุด โดยมี
ยอดเงินลงทุนที่ขอรับการส่งเสริมการลงทุนในปี 2560 เป็นอันดับท่ี 1 คิดเป็นร้อยละ 55 ของมูลค่า
การลงทุนจากต่างชาติทั้งหมด (ฐานเศรษฐกิจ, 2560) ส่งผลให้มีบริษัทของญี่ปุ่นและชาวญี่ปุ่นเข้ามา
อาศัยอยู่ในประเทศไทยเป็นจำนวนมาก จึงสนใจเรียนภาษาไทยเพื่อใช้ในการติดต่อส่ือสารใน
ชีวิตประจำวันและทางธุรกิจกับชาวไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเม่ือปี 2516 ได้ก่อตั้งสมาคมส่งเสริม
เทคโนโลยี (ไทย-ญ่ีปุ่น) หรือ ส.ส.ท. โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญข้อหนึ่งในการส่งเสริมด้านการศึกษา
และพฒั นาบุคลากรด้วยการเปิดโรงเรียนภาษาและวัฒนธรรม สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญ่ีปุ่น)
ในซอยสุขุมวิท 29 เพ่ือการอบรมสัมมนา การจัดการเรียนการสอน การให้บริการวิชาการด้าน
เทคโนโลยแี ละภาษาต่าง ๆ ทเี่ กีย่ วขอ้ ง ส่งผลใหก้ ารเรียนการสอนภาษาไทยให้กับชาวญปี่ นุ่ ทอี่ าศัยอยู่
ในประเทศเปน็ ไปอยา่ งแพรห่ ลายมากข้ึน

จากการสำรวจของสถานเอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงโตเกียวพบว่า มีโรงเรียนสอน
ภาษาไทยทั้งหมดประมาณ 70 แห่งท่ัวประเทศญ่ีปุ่น ส่วนในระดับมหาวิทยาลัยยังไม่มีการสำรวจ
อย่างไรกต็ าม ในปี 2548 นักวชิ าการชาวญี่ปนุ่ ยูโด เซอิจิ (Seiji, 2005 อา้ งถึงใน วีรยุทธ พจนเ์ สถียร
กุล, 2554) เป็นผู้ดำเนินการสำรวจด้วยตนเอง พบว่ามีมหาวิทยาลัยในประเทศญี่ปุ่นประมาณ 40
แห่ง ท่ีมีการเรียนการสอนภาษาไทย โดยมหาวิทยาลัยในญี่ปุ่นท่ีเป็นกำลังสำคัญในการเผยแพร่
ภาษาไทยไปสู่ชาวญีป่ นุ่ นน้ั มอี ยู่ 3 แหง่ คอื

17

1. มหาวทิ ยาลยั โตเกียวศึกษาต่างประเทศ (Tokyo University of Foreign Studies)

2. มหาวทิ ยาลยั โอซากะ (Osaka University)

3. มหาวิทยาลัยริทสึเมคัง เอเชีย แปซิฟกิ (Ritsumeikan Asia Pacific University)

อย่างไรก็ตาม ในหนังสือเล่มนี้จะนำเสนอเฉพาะมุมมองจากมหาวิทยาลัยโตเกียวศึกษา
ต่างประเทศ (Tokyo University of Foreign Studies: TUFS) ซ่ึงแต่เดิมเป็นสถาบันเพื่อการวิจัย
เอ ก ส า ร ต่ า ง ป ร ะ เท ศ (Institute for Research of Foreign Documents) ห รื อ Bansho
Shirabesho ที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศญี่ปุ่น เป็นศูนย์การแปลของรฐั บาลต้ังแต่ปี 2399 ในเวลาต่อมา
แยกเป็นสถาบันการศึกษาและการวิจัยอิสระ ใช้ช่ือว่า โรงเรียนโตเกียวภาษาต่างประเทศ (Tokyo
School of Foreign Languages) หรือ Gaikokugo Gakko เม่ือปี 2442 ถือเป็นจุดเริ่มต้นของการ
เป็นมหาวิทยาลัยโตเกียวศกึ ษาต่างประเทศในปัจจุบนั

มหาวิทยาลัยโตเกียวศึกษาต่างประเทศต้ังอยู่ท่ีเมอื งฟชุ ู ทางทิศตะวนั ตกของกรงุ โตเกียว เดิม
เปิดการเรียนการสอน จำนวน 2 โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนภาษาและวัฒนธรรมศึกษา (School of
Language and Cultures Studies) มีนักศึกษาระดับปรญิ ญาตรี จำนวน 370 คนตอ่ ปี และโรงเรยี น
ภูมิภาคและนานาชาติศึกษา (School of International and Area Studies) มีนักศึกษาระดับ
ปริญญาตรี จำนวน 375 คนต่อปี (มหาวิทยาลัยโตเกียวศึกษาตา่ งประเทศ, 2562) ต่อมาเปิดโรงเรียน
ใหม่เพ่ิมอีก 1 โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนญ่ีปุ่นศึกษา (School of Japan Studies) กำลังเปิดรับ
นักศึกษาระดับปริญญาตรีในปีการศึกษา 2562 และบัณฑิตวิทยาลัยโลกคดีศึกษา (Graduate
School of Global Studies) มีนักศึกษาระดับปริญญาโท จำนวน 148 คนต่อปี และระดับปริญญา
เอก จำนวน 40 คนต่อปี ซึ่งศึกษาด้านภาษาและวัฒนธรรมของโลก และยังมีหน่วยงานท่ีดำเนินงาน
เกี่ยวกับภาษาและวัฒนธรรม ได้แก่ สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชียและแอฟริกา (Research
Institute for Languages and Cultures of Asia and Africa) กับศูนย์ภาษาญี่ปุ่นสำหรับนักศึกษา
นานาชาติ (Japanese Language Center for International Students) ภายในวทิ ยาเขตด้วย

สำหรับสาขาวิชาภาษาไทยจัดการเรียนการสอนตั้งแต่ปี 2454 ปัจจุบันมีฐานะเป็นวิชาเอก
ให้กับนักศึกษาโรงเรียนภาษาและวัฒนธรรมศึกษา ประมาณ 40 คน ซ่ึงใช้ชื่อรายวิชาว่า วัฒนธรรม
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา (Southeast Asian Culture Studies) และนักศึกษาโรงเรียนภูมิภาค

18

และนานาชาติศึกษา สาขาไทยศึกษา ประมาณ 40 คน โดยมีอาจารย์ ดร.โฆษิต ทิพย์เทียมพงษ์ เป็น
อาจารยป์ ระจำและผรู้ ับผดิ ชอบรายวชิ าทางภาษาไทย

นักศึกษาวิชาเอกภาษาไทยนอกจากเรียนวิชาภาษาไทย ท้ังการฟัง การพูด การอ่านและการ
เขยี นแล้ว ยังต้องเรียนวิชาวรรณคดไี ทย ประวัติศาสตร์ไทย เศรษฐกิจและสังคมไทย เพ่ือเก็บรวบรวม
ข้อมูลสำหรับการทำวิทยานิพนธ์ในหัวข้อท่ีสนใจต่อไป สำหรับการเรียนการสอนนอกชั้นเรียน เป็น
กิจกรรมการเปิดรา้ นอาหารไทยในงานเทศกาลของมหาวิทยาลัย โครงการอบรมภาษาและวฒั นธรรม
ไทย ระยะเวลาประมาณ 3 สัปดาห์ ณ มหาวิทยาลัยศรีครินทรวิโรฒ รวมถึงการแสดงละครเวทีเป็น
ภาษาไทยในงานเทศกาลของมหาวิทยาลยั ในชว่ งปลายเดือนพฤศจิกายนของทุกปี

นอกจากน้ี สาขาวิชาภาษาไทยยังมีโครงการแลกเปล่ียนนักศึกษากับมหาวิทยาลัยหลายแห่ง
ในประเทศไทย ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทร
วิโรฒ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และสถาบันเทคโนโลยี ไทย-ญี่ ปุ่น (Thai-Nichi Institute of
Technology)

มุมมองจากประเทศมาเลเซยี : มหาวิทยาลัยไซนส์มาเลเซยี

ประเทศมาเลเซียและประเทศไทยเป็นประเทศเพื่อนบ้านที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกันมานาน
โดยเฉพาะประชาชนในรัฐทางเหนือของมาเลเซียและในจังหวัดทางภาคใต้ของประเทศไทยมีพื้นฐาน
ทางสังคมและวัฒนธรรมใกล้เคียงกันมาก ปีนังเป็นรัฐหนึ่งทางเหนือของมาเลเซีย มีประวัติศาสตร์
ความสัมพันธ์ใกล้ชิดเปน็ อย่างยิ่งกับประเทศไทยและมีคนไทยอยู่เป็นจำนวนมาก มีป้ายประกาศ ป้าย
โฆษณาต่าง ๆ เป็นภาษาไทยอยู่ทั่วไปในตัวเมือง ด้วยเหตุนี้ เม่ือรัฐบาลได้จัดต้ังมหาวิทยาลัยไซนส์
มาเลเซีย (Universiti Sains Malaysia: USM) ข้นึ ทีเ่ กาะปนี ัง ภาษาไทยจึงเปน็ ภาษาต่างประเทศหน่ึง
ที่เรม่ิ สอนที่ศูนยภ์ าษาและการแปลในมหาวิทยาลัยแห่งนี้ และสอนต่อเน่ืองกันมาประมาณ 30 ปีแล้ว
การศึกษาข้ันอุดมศึกษาในมาเลเซียได้ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างมากภายในระยะเวลา 10 ปีที่
ผ่านมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเปล่ียนระยะเวลาศึกษาปริญญาตรีจาก 4 ปี มาเป็น 3 ปี ส่งผล
กระทบกระเทือนอยา่ งมากต่อการเรยี นการสอนวชิ าภาษาตา่ งประเทศและต่อจำนวนนักศึกษาที่เลือก
เรียนวิชาภาษาไทย (อรสา อาวัง, 2544)

19

ตามเง่ือนไขข้อบังคับของการได้รับปริญญา นักศึกษาทุกคนต้องลงทะเบียนเรียนและสอบ
ผ่านให้ได้เกรด C ขึ้นไปจากวิชาภาษามาเลย์และวิชาภาษาอังกฤษ รวม 6 หน่วยกิต และต้อง
ลงทะเบียนเรียนวิชาเลือกเสรี ซ่ึงมีวิชาภาษาต่างประเทศรวมอยู่ด้วย ได้แก่ ภาษาฝร่ังเศส
ภาษาเยอรมัน ภาษาสเปน ภาษาอาหรับ ภาษาจีนกลาง ภาษาญ่ีปุ่น และภาษาไทย โดยมี
วัตถุประสงค์เพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้ภาษาใหม่และวัฒนธรรมประเพณีของเจ้าของภาษา และมี
ทักษะการติดต่อสื่อสารทั้งการฟัง การพูด การอา่ น การเขียน และการแปล ตง้ั แต่ระดับพื้นฐานจนถึง
ระดับกลาง

มหาวิทยาลัยไซนส์มาเลเซียสอนภาษาไทยเป็นเวลาประมาณ 30 ปีแล้ว เช่นเดียวกับวิชา
ภาษาต่างประเทศอ่ืน ๆ แต่จุดประสงค์ของวิชาภาษาไทยคือ ต้องการมุ่งเน้นให้นักศึกษามีทักษะการ
ฟงั และการพดู กอ่ นทักษะการอ่านและการเขียน แต่การเขียนไม่ใช่จดุ เนน้ สำคัญเป็นเพียงส่วนหนง่ึ ของ
การอา่ นเทา่ น้นั วิชาภาษาไทยอยู่ในกลุ่มวชิ าเลือกเสรีมที ั้งหมด 4 ระดับ เช่นเดยี วกับวิชาตา่ งประเทศ
อื่น ๆ อีก 6 ภาษา นักศึกษาสามารถเรียนท้ัง 4 ระดับได้ใน 4 ภาคการศึกษา (1 ภาคการศึกษา ใช้
เวลาเรียน 15 สัปดาห์) โดยไม่กำหนดว่าจะต้องเรียนติดต่อกันไปทุกภาคการศึกษา แต่ละระดับมี 2
หน่วยกิต และมีเวลาเรียน 4 ชั่วโมงต่ออาทิตย์ และแบ่งการวัดผลเป็น 2 ส่วนคือ ร้อยละ 40 สำหรับ
การวัดผลระหว่างการสอน และร้อยละ 60 สำหรับการสอบปลายภาคการศึกษา การเก็บคะแนน
ระหว่างภาคได้มาจากการทดสอบสน้ั ๆ ในหอ้ งเรียน การบา้ น และโครงงานตา่ ง ๆ แลว้ แต่ระดบั ชั้น

มมุ มองจากประเทศสงิ คโปร์ : มหาวทิ ยาลยั แหง่ ชาติสิงคโปร์

การเรียนการสอนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศยุคปัจจุบันน้ีเป็นที่นิยมในการศึกษา
เพ่มิ ขึน้ มากกว่าในอดีต สำหรับในภาคพื้นเอเชยี อาคเนย์ตะวันออกเฉียงใตน้ อกจากท่ีประเทศมาเลเซีย
แล้วยังมีการเรียนการสอนภาษาไทยท่ีประเทศสิงคโปร์ด้วย โดยมีการเปิดการเรียนการสอนท่ี
มหาวิทยาลัยแห่งชาตสิ ิงคโปร์ (National University of Singapore: NUS) เป็นมหาวิทยาลัยประจำ
ชาติของประเทศสิงคโปร์ตั้งอยใู่ นแถบเอเชยี ตะวนั ออกเฉยี งใต้ ซง่ึ ไดร้ ับการจัดอันดับมหาวิทยาลัยจาก
QS World University Rankings จากองค์กรควากควอเรลลิ ไซมอนด์ส (Quacquarelli Symonds)
ในปี 2562 ให้อยู่ในลำดับท่ี 11 ของโลก และอยู่ในลำดับที่ 1 ของเอเชีย มหาวิทยาลัยฯ ได้ให้
ความสำคัญทางวิชาการทุกด้านด้วยดตี ลอดมา สำหรับด้านภาษาต่างประเทศน้นั ได้เปิดให้มีการเรียน

20

การสอนภาษาต่างประเทศเริ่มต้ังแต่ปี 2536 จนถึงปัจจุบัน โดยแบ่งเป็นภาษาในกลุ่มประเทศต่าง ๆ
ดังน้ี กลุ่มประเทศเอเชียใต้ คือ ภาษาอินเดีย (ทมิฬ ฮินดู) ภาษาในกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออก
ได้แก่ ภาษาจีน ภาษาเกาหลี ภาษาญี่ปุ่น ภาษาต่างประเทศในกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ได้แก่ ภาษาไทย ภาษามาเลย์ ภาษาอินโด ภาษาเวียดนาม และภาษาต่างประเทศในกลุ่มประเทศ
ยุโรป ไดแ้ ก่ ภาษาเยอรมัน และภาษาฝรง่ั เศส (อดิสรณ์ ประทุมถ่ิน, 2554)

จากการรับฟังบรรยายของอาจารย์ศศิวิมล คล้ายคลึง ในการศึกษาดูงานของอาจารย์ประจำ
หลักสูตรภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต เม่ือวันท่ี 5
สิงหาคม พ.ศ. 2557 ณ มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ สรุปได้ว่า รองศาสตราจารย์ ดร.ฐิติมา
สทุ ธวิ รรณ (ปจั จบุ ันดำรงตำแหน่งผอู้ ำนวยการศูนย์ภาษาศึกษา มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์) เปน็ ผู้
ริเริ่มการเรียนการสอนภาษาไทยในมหาวิทยาลัยฯ เป็นครั้งแรกในปี 2541 โดยสังกัดโปรแกรมเอเชีย
ตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา (Southeast Asian Studies Programme: SEASP) ก่อนโอนย้ายไปอยู่
ภายใต้การควบคุมของศูนย์ภาษาศึกษาในปี 2544 ในปีแรกที่เปิดรับนักศึกษาชาวต่างชาติมีจำนวน
21 คน ในปัจจุบันมีนักศึกษาลงทะเบียนเรียนประมาณ 150-180 คนต่อภาคการศึกษา มีอาจารย์
ประจำ 3 คน และอาจารย์พิเศษ 7 คน การจัดการเรียนการสอนภาษาไทยจะมุ่งเน้น 4 ด้าน ได้แก่
สมรรถนะการส่ือสาร ความตระหนกั รทู้ างวัฒนธรรม การเรียนรอู้ ย่างอสิ ระ สมรรถนะทางสังคม แบ่ง
ออกเป็น 3 ระดับ ได้แก่ ระดับต้น (Elementary) ระดับกลาง (Intermediate) และระดับสูง
(Advanced) แต่ละระดับมี 2 รายวิชา เม่ือสำเร็จแต่ละระดับแล้วจะได้รับประกาศนียบัตรจากศูนย์
ภาษาศึกษา (Centre for Language Studies) ปัจจุบันมีความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยศิลปากรและ
มหาวิทยาลยั เชยี งใหม่

นอกจากน้ี การจัดการเรยี นการสอนภาษาต่างประเทศนั้น ยังมีหน่วยงานที่รับผิดชอบในการ
จัดการเรียนการสอนสำหรับผู้ท่ีสนใจอีกหน่วยงานหน่ึงช่ือว่า เอ็นยูเอส เอ็กซเทนชัน (NUS
Extension) ท่ีได้รวบรวมและจัดให้มีการเรียนการสอนภาษาต่างประเทศจากภูมิภาคต่าง ๆ เป็น
หลักสูตรระยะสน้ั สำหรับนักศกึ ษาและบุคคลท่ัวไปทส่ี นใจเรยี นภาษาที่สอง การเรยี นการสอนมีทุกวัน
จันทร์ถึงวันศุกร์และวันเสาร์ตอนกลางวนั ภาษาไทยเป็นหนงึ่ ในกระบวนวชิ าภาษาตา่ งประเทศที่ไดร้ ับ
ความนิยมเรียนอย่างมาก โดยเฉพาะการเรียนการสอนภาษาไทยนั้นมีตั้งแต่ระดับพ้ืนฐานไปจนถึง
ระดับสูง คือ ภาษาไทย 1 ถึงภาษาไทย 6 นักศึกษาท่ีมาเรียนที่นี่มีท้ังศิษย์เก่า นักธุรกจิ พนักงานจาก
ทกุ แขนงอาชีพ และผสู้ นใจ

21

มุมมองจากประเทศออสเตรเลีย : มหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลียและ
มหาวทิ ยาลัยอน่ื ๆ

การจัดการเรียนการสอนภาษาไทยอย่างเป็นระบบในประเทศออสเตรเลียเริ่มขึ้นที่สถาบัน
สอนภาษาพอยต์คุก (Point Cook) ในรัฐวิคตอเรีย ซ่ึงเป็นหน่วยงานหนึ่งของกระทรวงกลาโหมก่อน
ในช่วงต้นทศวรรษ 1960 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ทางการทหารเป็นสำคัญ การ
จัดการเรียนการสอนจึงเป็นไปตามหลักสูตรที่กระทรวงกลาโหมออสเตรเลียกำหนดข้ึนเพ่ือฝึกอบรม
บุคลากรของกระทรวงฯ ให้มีความรู้ความเช่ียวชาญในการใช้ภาษาไทยอย่างชัดเจนและถูกต้อง
นอกจากการเรียนภาษาไทยแลว้ ผู้เรยี นยังจำเป็นตอ้ งเรียนร้คู ำศพั ท์ภาษาไทยท่ีเก่ียวข้องกบั การทหาร
และเรื่องราวอ่ืน ๆ ท่ีมีความสัมพันธ์กับเร่ืองการทหาร ระเบียบวินัย ค่านิยม และธรรมเนียมปฏิบัติ
ของทหารไทยทุกเหล่าทัพอีกด้วย ลักษณะการจัดการเรียนการสอนของสถาบันน้ีจะค่อนข้างเข้มงวด
กว่าสถานศึกษาในระบบโดยทั่วไป และค่อนข้างประสบความสำเร็จในการจัดการเรียนการสอน
ภาษาไทยเพือ่ บรรลุวตั ถุประสงค์ดงั กลา่ วด้วยดจี นถงึ ปัจจบุ ันน้ี (จนิ ตนา แซนดิแลนด์ซ, 2544)

ต่อมาในปี 2518 จึงเปิดสอนภาษาไทยระดับปริญญาขึ้นเป็นคร้ังแรกท่ีคณะเอเชียศึกษา
มหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย (Australian National University: ANU) ท้ังน้ีสืบเนื่องจากมี
นักศึกษาไทยได้รับทุนการศึกษาภายใต้แผนการโคลัมโบเพื่อมาศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยในประเทศ
ออสเตรเลียเป็นจำนวนมากแล้ว ประเทศไทยจึงควรทำกิจกรรมด้านการศึกษาบางอย่างเพ่ือเป็นการ
ตอบแทนประเทศออสเตรเลีย การเปิดสอนวิชาภาษาไทยท่ีมหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลียจึงเป็น
การตอบแทนท่ีสร้างสรรค์รูปแบบหนึ่ง ในการน้ีแผนการโคลัมโบและมหาวิทยาลัยแห่งชาติ
ออสเตรเลียร่วมกันให้การสนับสนุนเชิญอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการสอนภาษาไทยจากมหาวิทยาลัย
ศรีนครินทรวิโรฒ คือ ผู้ช่วยศาสตราจารย์วิพุธ โสภวงศ์ มาเป็นผู้สอนภาษาไทยที่มหาวิทยาลัย
แห่งชาติออสเตรเลียเป็นเวลา 4 ปี อย่างไรก็ตาม แม้ว่าการเปิดสอนภาษาไทยในช่วงแรกนี้ยังมี
นกั ศึกษาจำนวนไมม่ ากนัก แตถ่ ือไดว้ ่าผ้สู อนประสบความสำเร็จในการจัดการเรียนการสอนให้แก่ชาว
ออสเตรเลียเป็นอย่างดี ด้วยเหตุนี้ แม้ผู้สอนได้เดินทางกลับประเทศไทยหลังจากปฏิบัติภารกิจเสร็จ
สิ้นแล้ว แต่ฝ่ายผู้บริหารของมหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลียยังคงเห็นควรให้จัดการเรียนการสอน
ภาษาไทยท่ีคณะเอเชยี ศึกษาตอ่ ไป

22

ส่วนการจัดการเรียนการสอนภาษาไทยอย่างเป็นระบบในสถาบันการศึกษาอื่น ๆ ก็เร่ิม
เกิดขึ้นตามมาด้วย กล่าวคือตั้งแต่ต้นศตวรรษ 1990 เปิดสอนภาษาไทยท่ีมหาวิทยาลัยซิดนีย์ โดยมี
รองศาสตราจารย์วิไลวรรณ ขนิษฐานันท์ อาจารย์ประจำคณะศิลปศาสตร์ มหาวทิ ยาลัยธรรมศาสตร์
เป็นผู้เริ่มดำเนินการจัดการเรียนการสอน และอาจารย์จินตนา แซนดิแลนด์ซ ซ่ึงเป็นอดีตอาจารย์
ประจำคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แลว้ ย้ายไปยังศูนย์ไทยศึกษาแห่งชาติ คณะเอเชีย
ศึกษา มหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย เพ่ือรับช่วงของการจัดการเรียนการสอนต่อ แต่ในปี 2532
กลับมีแนวโน้มวา่ จะยกเลิกการสอนภาษาไทยที่มหาวิทยาลยั ดังกล่าว เพราะขาดแคลนงบประมาณท่ี
จะนำมาใช้ในการดำเนินงาน กงสุลไทยประจำนครซิดนีย์จึงเร่งจัดหาเงินทุนเพ่ือสนับสนุนให้การสอน
ภาษาไทยท่ีมหาวิทยาลัยซิดนีย์ยังคงเปิดสอนอยู่ต่อไป ต่อมามหาวิทยาลัยซิดนีย์เล็งเห็นความสำคัญ
ของวิชาภาษาไทยมากข้ึนจึงสนบั สนนุ งบประมาณ จนปัจจุบนั สามารถว่าจ้างอาจารยป์ ระจำได้จำนวน
1 คน และผู้ช่วยสอนแบบไม่เต็มเวลาอีก 1 คน การจัดการเรียนการสอนภาษาไทยที่มหาวิทยาลัย
ซิดนีย์จึงสามารถดำเนินการมาได้จนถึงทุกวันน้ี และมีจำนวนนักศึกษาทุกชั้นปีโดยเฉลี่ยประมาณ 60
คน

ในต้นทศวรรษ 1990 ยังมีการเปิดสอนภาษาไทยในหลักสูตรของมหาวิทยาลัยอีกหลายแห่ง
ในประเทศออสเตรเลีย เช่น มหาวิทยาลัยโมนาช (Monash University) มหาวิทยาลัยแมกควารี
(Macquarie University) และมหาวิทยาลัยแคนเบอร์รา (University of Canberra) แต่ภายหลัง
จำเป็นต้องเลิกดำเนินการสอน เนื่องจากไม่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากรัฐบาลและ
มหาวทิ ยาลัย เมื่อไม่นานมานี้ได้ทดลองสอนภาษาไทยในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายในโรงเรียนบาง
แห่งของออสเตรเลียเช่นกันแต่ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร ปัจจุบันจึงยกเลิกการเรียนการสอน
ภาษาไทยในระดับนี้แล้ว นอกจากน้ี ในอดีตสถานศึกษาบางแห่งของประเทศออสเตรเลียยังเปิดสอน
ภาษาไทยในระดับเบื้องต้นแก่บุคคลทั่วไปที่ไม่สามารถเข้าเรียนตามวันและเวลาปรกติได้ เนื่องจาก
ต้องประกอบอาชีพหรือติดภารกิจด้านอ่ืน ๆ แต่ปัจจุบันยกเลิกการเรียนการสอนในระดับนี้ไปเกือบ
หมดแล้วเช่นกัน เพราะมีปัญหาหลายด้าน เช่น การจัดหาผู้สอนที่มีคุณสมบัติเหมาะสมและสามารถ
สอนนอกเหนือจากวันเวลาตามปรกติได้ ปัญหาจำนวนผู้เรียนทีม่ ีไม่มากพอ สว่ นการสอนภาษาไทยใน
สถาบันการศึกษาในระบบอีกสองแห่งท่ียังคงดำเนินการอยู่คือ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีแห่งเคอร์ทิน
(Curtin University of Technology) ซึ่งต้ังอยู่ที่เมืองเพิร์ธ รัฐออสเตรเลียตะวันตก และสถาบัน

23

เทคโนโลยีแห่งรอยัลเมลเบิร์น (Royal Melbourne Institute of Technology) ซ่ึงตั้งอยู่ที่เมือง
เมลเบริ น์ รฐั วคิ ตอเรีย ก็ยงั คงจดั การเรียนการสอนภาษาไทย แตอ่ ยู่ในขอบเขตคอ่ นข้างจำกัด

นอกจากสถาบันสอนภาษาพอยต์คกุ แลว้ ปัจจุบันองคก์ รของรัฐบาลออสเตรเลียบางแหง่ เช่น
กระทรวงการต่างประเทศและการค้า ได้จัดการเรียนการสอนภาษาไทยในระดับเข้มข้น (Intensive)
แก่บุคลากรในองค์กรของตนก่อนไปประจำการยังประเทศไทย โดยมอบหมายให้หน่วยงานของ
กระทรวงฯ บางหน่วยเป็นผู้รบั ผิดชอบในการกำหนดหลักสูตร การว่าจ้างผู้สอน ระยะเวลาที่ฝกึ อบรม
การวัดผลการเรียนการสอน รวมท้ังสถานที่ฝึกอบรมเพื่อให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ขององค์กร
ตลอดจนเพ่ือสงวนความลับทางราชการบางอย่าง หรืออาจมอบหมายให้สถาบันการศึกษาในระบบ
บางแห่ง เชน่ มหาวทิ ยาลยั แห่งชาติออสเตรเลยี เป็นผดู้ ำเนนิ การดา้ นการฝกึ อบรม แต่หน่วยงานยังคง
มบี ทบาทสำคญั ในการกำหนดแนวทางการเรียนการสอน ระยะเวลาฝกึ อบรม คา่ ตอบแทน การวัดผล
การเรยี นการสอนหลังจากจบหลกั สูตร และอ่นื ๆ

ในปัจจุบันอาจกล่าวได้ว่ามีนักวิชาการและอาจารย์ประจำของมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ทั่ว
ประเทศออสเตรเลียประมาณ 60 คน ถือได้ว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับประเทศไทยเป็นพิเศษและมี
ผลงานทางวิชาการเก่ียวกับประเทศไทยเป็นสำคัญ ในจำนวน 60 คนนี้ ประมาณ 30 คน สามารถ
อ่านภาษาไทยได้ดีและหรือสามารถใช้แหล่งข้อมูลภาษาไทยได้อย่างน้อยในระดับหน่ึง ผู้เช่ียวชาญ
เหล่านี้ประจำอยู่ตามมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ประมาณ 8-10 แห่ง และอาจจะมีมากเป็นพิเศษท่ี
มหาวิทยาลัยซิดนีย์ มหาวิทยาลัยแมกควารี มหาวิทยาลัยโมนาช มหาวิทยาลัยเมลเบิร์น (University
of Melbourne) มหาวิทยาลัยเจมส์คุก (James Cook University) และมหาวิทยาลัยแห่งชาติ
ออสเตรเลยี

การจัดการเรียนการสอนภาษาไทยที่มหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลียในระดับปริญญาตรี
แบ่งเป็น 3 ระดับ คือ ระดบั ต้น ระดับกลาง และระดับสงู โดยเฉลย่ี จะมีนกั ศึกษาทกุ ชั้นปีประมาณ 50
คน และเป็นผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย มีอาจารย์ประจำและไม่ประจำรวม 3 คน เป็นชาวต่างชาติ 1 คน
ชาวไทย 2 คน ใช้เวลาในการศึกษารวม 3 ปี โดยทั่วไปผู้เรียนมักมีพื้นฐานและทักษะทางภาษาไทย
แตกต่างกัน ด้วยเหตุน้ี ผู้สอนจำเป็นต้องทดสอบความถนัดของผู้เรียนก่อนจัดระดับช้ันเรียนให้
เหมาะสมกบั พน้ื ฐานความรู้ของผู้เรยี นเพ่ือให้เกดิ ความยุติธรรมแก่ผู้เรียนและผูร้ ว่ มชน้ั เรียนคนอ่ืน ๆ

24

การเรียนการสอนภาษาไทยในชนั้ ปีท่ี 1 จะใชเ้ วลา 1 ปกี ารศึกษา โดยเฉล่ียมผี ู้เรียนประมาณ
20 คน ใช้ตำราเรยี นและแบบฝึกหัดท่ีจัดทำโดยผู้สอนเป็นหลัก การสอนประกอบด้วยการบรรยาย 5
ชั่วโมงและการฝึกฝนในกลุ่มย่อย 1 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาทักษะการฟังและ
การพูดเป็นสำคัญ ส่วนทักษะอ่ืน ๆ เช่น การอ่านและการเขียน เร่ิมอย่างจรงิ จังในภาคการศึกษาที่ 2
แต่ยังไม่เน้นมากนัก การสอนภาษาไทยในระดับต้นบางครั้งผู้สอนอาจจำเป็นต้องใช้สัทอักษรและ
ภาษาอังกฤษในการสอนบ้าง โดยเฉพาะในช่วงต้น ๆ ของภาคแรก หลังจากนั้นค่อย ๆ ลดลง
ตามลำดับจนส้ินสุดปีการศึกษา ส่วนการศึกษานอกสถานท่ีและกิจกรรมนอกหลักสูตรอาจมีบ้างเป็น
บางคร้ัง โดยท่ัวไปเมื่อจบการเรียนภาษาไทยในระดับต้น ผู้เรียนมีพ้ืนความรู้เก่ียวกับหลักภาษาไทย
และความรู้เกี่ยวกับประเทศไทยในระดับเบ้ืองต้น มีทักษะการฟังและการสื่อสารเป็นภาษาไทยระดับ
เบ้ืองต้นในระดับท่ีนา่ พอใจมากและส่วนมากมักจะศกึ ษาภาษาไทยในระดบั กลางตอ่ ไป

การเรยี นการสอนภาษาไทยในชั้นปีที่ 2 ใช้เวลาในการศึกษา 1 ปีการศึกษาเช่นกนั โดยเฉลี่ย
จำนวนผู้เรียนมักไม่เกิน 20 คน การสอนประกอบด้วยการบรรยาย 5 ช่ัวโมง และการฝึกฝนในกลุ่ม
ย่อยอีก 1 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ใช้ตำราเรียน เอกสารประกอบการสอน และแบบฝึกหัดที่จัดทำโดย
ผู้สอนเป็นสำคัญ การเรียนการสอนในระดับน้ีนอกจากผู้เรียนต้องพัฒนาทักษะการฟังและการพูด
มากกว่าในระดับต้นแล้ว ผู้เรียนยังต้องพัฒนาทักษะการอ่าน การแปล และการเขยี นในระดับเบ้ืองต้น
อกี ด้วย ดังนัน้ ผ้เู รยี นจึงได้รับมอบหมายใหอ้ ่านเรื่องสั้น ๆ บางเรอื่ ง มีสาระและสำนวนหลากหลายท้ัง
ในตำราเรียนและนอกตำราเรียน โดยผ้สู อนมคี ำศัพท์สำคัญมอบใหต้ ามสมควร สว่ นที่เหลือผู้เรียนต้อง
ค้นหาจากพจนานุกรม นอกจากน้ียังมอบหมายให้ผู้เรียนไปศึกษาค้นคว้าเรือ่ งที่ตนเองสนใจและนำมา
เสนอในช่ัวโมงบรรยายและชั่วโมงฝึกฝนตามวิธีการท่ีผู้เรียนและผู้สอนเห็นวา่ เหมาะสม อันจะนำไปสู่
การฝึกฝนความสามารถด้านการวิเคราะห์และการวิจารณ์ด้วยการพูดและการเขียนต่อไป ดังนั้น เม่ือ
จบการศกึ ษาในระดบั กลางแล้วผเู้ รียนจะมีความรู้เกย่ี วกบั หลกั ภาษาไทยและการใช้ภาษาไทยระดบั สูง
ข้ึน มีความรู้ทั่วไปเก่ียวกับวัฒนธรรม ประเพณี ความเช่ือ ศาสนา การเมือง เศรษฐกิจและด้านอ่ืน ๆ
ของไทย

สำหรับการเรียนการสอนภาษาไทยในชั้นปีท่ี 3 ประกอบด้วยการบรรยายประมาณ 4-5
ช่ัวโมงต่อสัปดาห์และการฝึกฝนเป็นรายบุคคล 1-2 ช่ัวโมงต่อสัปดาห์ โดยมีจุดมุ่งหมายเพ่ือแก้ไข
ปัญหาและพัฒนาทักษะการใช้ภาษาไทยในด้านต่าง ๆ ของผู้เรียน เพื่อประโยชน์ในการศึกษาต่อและ
การประกอบอาชีพเป็นสำคัญ โดยทว่ั ไปจะสอบถามผู้เรยี นแต่ละคนเก่ียวกับปัญหาและขอ้ บกพร่องใน

25

การใช้ภาษาไทย เรื่องท่ีผู้เรียนสนใจเรียนรู้ต่อไปในระดับกว้างและลึกซ้ึงและการวางอนาคตของ
ผเู้ รียนก่อน จากน้ันเป็นการจัดการเรยี นการสอนทั้งในชั่วโมงบรรยายและชั่วโมงฝึกฝนให้ยืดหยุ่นและ
สอดคล้องกับข้อมูลท่ีได้รับจากผู้เรียนแต่ละคน และสังเขปวิชาท่ีกำหนดไว้ในหลักสูตรของ
มหาวิทยาลยั สว่ นรูปแบบการวัดผลการเรียนจะปรึกษาหารือร่วมกันระหว่างผู้สอนและผู้เรยี น เพื่อให้
ได้รูปแบบการวัดผลการเรียนที่เหมาะสมและเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย และจำเป็นต้องได้รับการยอมรับ
จากผู้เรียนก่อนจึงจะสามารถนำไปใช้ได้ เนื่องจากผู้เรียนเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสยี โดยตรงจากรปู แบบท่ี
กำหนดขึ้น

มมุ มองจากประเทศสหราชอาณาจกั ร : โซแอส มหาวทิ ยาลัยลอนดอน

วิทยาลัยบูรพคดีศึกษาและการศึกษาแอฟริกาหรือโซแอส (School of Oriental and
African Studies: SOAS) มหาวิทยาลัยลอนดอน (University of London) เป็นสถาบันการศึกษา
เพียงแห่งเดียวในประเทศสหราชอาณาจักรท่ีเปิดหลักสูตรไทยคดีศึกษาในระดับปริญญาบัณฑิตและ
บัณฑิตศึกษา1 อยู่ภายใต้แผนกเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (South East Asia Section) โรงเรียนภาษา
วัฒนธรรม และภาษาศาสตร์ (School of Languages, Cultures and Linguistics) ซึ่งจัดการเรียน
การสอนทั้งหมด 5 ภาษา ได้แก่ ภาษาพม่า ภาษาอินโดนีเซีย ภาษามาเลย์ ภาษาไทย และภาษา
เวยี ดนาม (South East Asia Section, 2019b)

โซแอส มหาวิทยาลัยลดอนดอนเปิดสอนวิชาไทยศึกษามาตงั้ แต่ช่วงหลังสงครามโลกคร้ังที่ 2
ด้วยปัจจัยทางการเมืองและความจำเป็นของการฝึกเจ้าหน้าที่กระทรวงต่างประเทศอังกฤษที่จะ
เดินทางไปประจำประเทศไทย เพื่อให้สามารถส่ือสารกับคนไทย นักธรุ กิจ และนักการทูตคนอื่น ๆ ใน
ปี 2494 เมื่อศาสตราจารย์ ดร.สเตราท์ ชิมมอนด์ (Stuart Simmonds) ย้ายมาเป็นอาจารย์สอน
ภาษาไทยในภาควิชาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จึงเป็นผู้วางรากฐานไทยศึกษาท่ีมหาวิทยาลัยแห่งน้ี
(SEAlang Library, n.d.) ตลอดระยะเวลากว่า 15 ปี ดร.สเตราท์ไดท้ ุ่มเทแรงกายแรงใจในการพัฒนา
การศกึ ษาด้านภาษาไทย วรรณคดี และวัฒนธรรม จนนำไปส่กู ารจัดหลกั สตู รภาษาและวัฒนธรรมไทย

1 ในสหราชอาณาจักรมีเพียง 2 สถาบันการศึกษาเท่านั้นท่ีจัดการเรียนการสอนภาษาไทยใน
ระดับอุดมศึกษา ได้แก่ วิทยาลัยบูรพคดีศึกษาและการศึกษาแอฟริกาและมหาวิทยาลัยลีดส์ (Leeds University)
แต่มหาวทิ ยาลัยลีดส์เปดิ เฉพาะหลกั สตู รศิลปศาสตรบณั ฑติ สาขาวิชาไทยคดศี กึ ษา เทา่ น้ัน

26

ในระดับปริญญาขึ้นในมหาวิทยาลัย ซึ่งมีลูกศิษย์ชาวไทยหลายคนเรียนจบหลักสูตรปริญญาเอกจาก
สถาบันดังกล่าว หลังจาก ดร.สเตราท์ถงึ แกก่ รรม ศิษย์ของท่านสืบทอดภารกิจต่อในมหาวิทยาลัยน้ีคือ
ผชู้ ่วยศาสตราจารย์ ดร.มานัส จิตตเกษม ซ่ึงมีลูกศิษย์ชายหญิงสองคนชว่ ยเป็นกำลังสำคัญ คอื ผู้ช่วย
ศาสตราจารย์ ดร.เดวิท สไมธ์ (David Smyth) และ ศาสตราจารย์ ดร.ราเชลล์ แฮริสัน (Rachel
Harrison) (South East Asia Section, 2019a) ปัจจุบันโซแอส มหาวิทยาลัยลอนดอนเปิดสอน
หลักสูตรด้านภาษาไทยระดับปริญญาตรีถึงปริญญาเอก มีนักศึกษาจากอังกฤษโดยตรงและจาก
ประเทศในแถบยุโรป อเมริกา เอเชีย แอฟริกา และออสเตรเลีย และมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุด
จอนเจดิ สนิ เป็นอาจารย์ชาวไทยประจำสถาบันการศึกษาแห่งนี้

การสอนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศในมหาวิทยาลัยต่างประเทศปัจจุบันเริ่มทวี
ความสำคัญและเรมิ่ เปดิ สอนเป็นรายวิชาหรอื เปน็ หลักสูตรภายในมหาวิทยาลยั ต่าง ๆ มากข้ึน สะทอ้ น
ให้เห็นว่าภาษาไทยเป็นภาษาที่กำลังได้รับความนิยมและความสนใจจากผู้เรียนชาวต่าง ชาติอย่าง
แพร่หลายโดยเฉพาะในมหาวิทยาลัยชั้นนำระดับโลกหลายแห่ง และมหาวิทยาลัยอ่ืน ๆ ที่มีชื่อเสียง
และเป็นที่ยอมรับในดา้ นการสอนภาษาไทย ดงั แสดงใหเ้ หน็ พอสังเขปในตารางที่ 1.1

ตารางท่ี 1.1 รายช่ือมหาวิทยาลัยในต่างประเทศท่ีจัดการเรียนการสอนหลักสูตรหรือรายวิชา
ภาษาไทย

มหาวิทยาลัย ประเทศ ระดับหลักสูตร/ เวบ็ ลิงก์
รายวิชา

ทวีปเอเชยี

มหาวิทยาลยั กัลกตั ทา อนิ เดีย ระดับหลกั สตู ร www.caluniv.ac.in/academic/
(University of Calcutta) arts_asian_study.htm

มหาวทิ ยาลยั จีนแห่งฮ่องกง ฮอ่ งกง ระดบั รายวิชา http://www.cuhk.edu.hk/
(Chinese University of lin/new/en_prog_ml_
Hong Kong) thai.html

มหาวทิ ยาลยั ดานงั (University เวยี ดนาม ระดบั หลักสตู ร http://ud.udn.vn/En/

27

ตารางท่ี 1.1 รายชื่อมหาวิทยาลัยในต่างประเทศที่จัดการเรียนการสอนหลักสูตรหรือรายวิชา
ภาษาไทย

มหาวิทยาลัย ประเทศ ระดับหลกั สตู ร/ เวบ็ ลิงก์
รายวิชา

of Danang) ShareEn2.asp?id=17

มหาวิทยาลยั ต้าหลี่ (Dali จีน ระดับหลกั สตู ร http://www.dali.edu.cn/english/
University) admission/2036.htm

มหาวิทยาลยั โตเกยี วศึกษา ญ่ีปุ่น ระดับหลักสตู ร http://www.tufs.ac.jp/english/
ตา่ งประเทศ (Tokyo education/ug/studies/
University of Foreign thai.html
Studies)

มหาวทิ ยาลยั เทคโนโลยนี นั ยาง สิงคโปร์ ระดับรายวชิ า http://cml.hss.ntu.edu.sg/
(Nanyang Technological Courses/Pages/Thai.aspx
University)

มหาวิทยาลยั ปกั ก่ิง (Peking จีน ระดับหลักสตู ร http://english.pku.edu.cn/
University) Schools_Departments/542_10.htm

มหาวิทยาลยั มาลายา มาเลเซีย ระดบั รายวชิ า http://cmsad.um.edu.my/index1.
(University of Malaya) php?pfct=thaistudies&modul

=About_Us

มหาวทิ ยาลยั ยา่ งกุ้ง เมยี นมา ระดบั หลกั สตู ร https://yufl.edu.mm/demo/thai-
ภาษาต่างประเทศ (Yangon department/
University of Foreign
Languages)

มหาวิทยาลยั แหง่ ชาติสงิ คโปร์ สงิ คโปร์ ระดบั รายวชิ า http://www.fas.nus.edu.sg/
(National University of
Singapore) cls/courses/language-
modules/thai.htm

28

ตารางท่ี 1.1 รายชื่อมหาวิทยาลัยในต่างประเทศที่จัดการเรียนการสอนหลักสูตรหรือรายวิชา
ภาษาไทย

มหาวิทยาลัย ประเทศ ระดับหลักสูตร/ เว็บลิงก์
รายวชิ า

มหาวิทยาลยั ฮอ่ งกง ( ฮอ่ งกง ระดบั หลักสตู ร http://www.thai.hku.hk

University of Hong Kong)

มหาวิทยาลยั ฮนั กุก๊ กจิ การ เกาหลีใต้ ระดับหลกั สตู ร http://www.hufs.ac.kr/user/
ตา่ งประเทศ hufsenglish/un_1_c_5b.jsp

(Hankuk University of
Foreign Studies)

มหาวทิ ยาลยั ฮานอย (Hanoi เวียดนาม ระดบั หลกั สตู ร http://web.hanu.vn/tiengthai/
University) mod/resource/view.php?id=2

ทวปี ออสเตรเลีย

มหาวิทยาลยั ควีนสแ์ ลนด์ ออสเตรเลีย ระดบั รายวชิ า https://iml.uq.edu.au/learn-
language/learn-thai
(University of Queensland)

มหาวิทยาลยั ซดิ นีย์ ออสเตรเลีย ระดับรายวิชา https://cce.sydney.edu.au/courses/l
(University of Sydney) anguage-culture/thai

มหาวทิ ยาลยั แหง่ ชาติ ออสเตรเลยี ระดบั หลักสตู ร http://thaionline.anu.edu.au/
ออสเตรเลีย (Australian index.php
National University)

ทวปี ยโุ รป

มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ สหราช ระดบั รายวชิ า http://www.langcen.cam.
(University of Cambridge) อาณาจักร
ac.uk/resources/lang-
t/lang_t.php?c=5

มหาวทิ ยาลยั โคเปนเฮเกน เดนมารก์ ระดับหลกั สตู ร http://ccrs.ku.dk/education/

(University of Copenhagen)

29

ตารางท่ี 1.1 รายช่ือมหาวิทยาลัยในต่างประเทศท่ีจัดการเรียนการสอนหลักสูตรหรือรายวิชา
ภาษาไทย

มหาวิทยาลัย ประเทศ ระดับหลักสตู ร/ เว็บลิงก์
รายวิชา

thai_studies

มหาวิทยาลยั พาสเซา เยอรมนี ระดับรายวิชา http://www.uni-passau.

(University of Passau) de/en/ma-seas

โซแอส มหาวทิ ยาลัยลอนดอน สหราช ระดบั หลกั สตู ร http://www.soas.ac.uk/sea/
(SOAS, University of อาณาจักร programmes/bathaiand
London)

มหาวทิ ยาลยั ลดี ส์ สหราช ระดับหลกั สตู ร http://www.leeds.ac.uk/arts/
(University of Leeds) อาณาจกั ร info/125199/thai_studies

มหาวทิ ยาลยั ฮมั บรู ์ก เยอรมนี ระดบั รายวชิ า https://www.buddhismuskunde.uni-
(University of Hamburg) hamburg.de/studium/master.html

ทวปี อเมริกา

มหาวทิ ยาลยั คอร์เนล (Cornell อเมรกิ า ระดบั รายวชิ า http://lrc.cornell.edu/asian/
University) courses/thai?d=basic

มหาวิทยาลยั แคลิฟอรเ์ นีย อเมรกิ า ระดบั รายวิชา http://guide.berkeley.edu/

เบริ ก์ ลยี ์ (University of courses/thai
California, Berkeley)

มหาวทิ ยาลยั แคลฟิ อรเ์ นีย อเมรกิ า ระดบั หลักสตู ร http://www.alc.ucla.edu/
ลอสแอนเจลสิ undergraduate/languages-offered/

(University of California,
Los Angeles)

มหาวิทยาลยั จอห์น ฮอปคนิ ส์ อเมริกา ระดบั รายวชิ า http://www.sais-jhu.edu/

30

ตารางที่ 1.1 รายช่ือมหาวิทยาลัยในต่างประเทศท่ีจัดการเรียนการสอนหลักสูตรหรือรายวิชา
ภาษาไทย

มหาวิทยาลัย ประเทศ ระดบั หลกั สตู ร/ เวบ็ ลิงก์
รายวิชา

(Johns Hopkins University) graduate-studies/areas-of-
study/thai

มหาวทิ ยาลยั เซนตล์ อวเ์ รนซ์ อเมริกา ระดบั รายวิชา http://www.stlawu.edu/asian-
(St. Lawrence University) studies/campus-courses-0

มหาวทิ ยาลยั นอร์ตเทิร์น อเมรกิ า ระดบั รายวชิ า http://www.niu.edu/forlangs/
อลิ ลนิ อยส์ (Northern Illinois languages/thai.shtml
University)

มหาวิทยาลยั เพนซิลวาเนีย อเมรกิ า ระดับรายวิชา https://plc.sas.upenn.edu/thai
(University of
Pennsylvania)

มหาวทิ ยาลยั มชิ แิ กน อเมริกา ระดบั รายวชิ า https://www.lsa.umich.edu/
(University of Michigan) asian/languageprograms/

southeastasianprograms

มหาวทิ ยาลยั มิชิแกนสเตต อเมรกิ า ระดบั รายวิชา http://linglang.msu.edu/languages/
(Michigan State University) asian-languages/lctl/thai-resources/

มหาวทิ ยาลยั วอชงิ ตนั อเมริกา ระดบั รายวิชา http://asian.washington.edu/
(University of Washington) fields/thai

มหาวิทยาลยั วิสคอนซิน- อเมริกา ระดบั หลกั สตู ร http://seasia.wisc.edu/
แมดิสัน (University of Programs/thaistudies.htm
Wisconsin-Madison)

มหาวิทยาลยั สแตนฟอรด์ อเมรกิ า ระดับรายวิชา https://slp.stanford.edu/

31

ตารางที่ 1.1 รายชื่อมหาวิทยาลัยในต่างประเทศท่ีจัดการเรียนการสอนหลักสูตรหรือรายวิชา
ภาษาไทย

มหาวิทยาลัย ประเทศ ระดบั หลักสตู ร/ เวบ็ ลงิ ก์
รายวิชา

(Stanford University) thai-language-program

มหาวทิ ยาลยั อลาบามา อเมริกา ระดับรายวิชา https://clc.ua.edu/languages/thai/
(University of Alabama)

มหาวทิ ยาลยั แอรโิ ซนาสเตต อเมรกิ า ระดบั หลักสตู ร https://international.clas.
(Arizona State University) asu.edu/about/thai

มหาวทิ ยาลยั โอไฮโอ (Ohio อเมริกา ระดบั รายวชิ า http://www.seas.ohio.edu/
University) Languages/thai.html

มหาวิทยาลยั ฮาร์วารด์ อเมรกิ า ระดับรายวิชา http://isites.harvard.edu/

(Harvard University) course/colgsas-5395

มหาวิทยาลยั ฮาวาย มาโนอา อเมรกิ า ระดบั หลักสตู ร http://www.hawaii.edu/thai

(University of Hawai‘i-
Manoa)

สถาบนั เทคโนโลยีแคลิฟอรเ์ นยี อเมริกา ระดบั รายวชิ า https://deans.caltech.edu/

(California Institute of Services/student_taught_
Technology) courses

ตารางข้างตน้ สรปุ ไดว้ า่ มหาวิทยาลัยในตา่ งประเทศหลายแห่งจัดการเรียนการสอนภาษาไทย
ในฐานะภาษาต่างประเทศ โดยบรรจุรายวิชาภาษาไทยไว้ในหลักสูตรเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา
(Southeast Asian Studies) หรือหลักสูตรอ่ืน ๆ ท่ีมีลักษณะใกล้เคียง เปิดสอนท้ังให้ระดับปริญญา
ตรีและปริญญาโท และกำหนดให้รายวิชาภาษาไทยเป็นวิชาเอก หรือบางมหาวิทยาลัยกำหนดให้เป็น

32
รายวชิ าเลือก เพอ่ื เสริมสรา้ งความรคู้ วามเขา้ ใจภาษา วัฒนธรรม และสงั คม ของผ้เู รียนชาวต่างชาติให้
มากยิ่งขึ้น

ภาพที่ 1.3 ตวั อยา่ งหลกั สตู รการสอนภาษาไทยในมหาวทิ ยาลยั ฮาวาย มาโนอา
ทีม่ า : University of Hawai’i at Manoa (2015)

ภาพท่ี 1.4 ตัวอยา่ งหลกั สูตรการสอนภาษาไทยในมหาวิทยาลยั วสิ คอนซนิ -แมดสิ นั
ท่มี า : University of Wisconsin–Madison (2015)

33

ภาพที่ 1.5 ตวั อยา่ งหลกั สตู รการสอนภาษาไทยในโซแอส มหาวทิ ยาลยั ลอนดอน
ท่ีมา : SOAS, University of London (2019)

ภาพท่ี 1.6 ตัวอย่างหลกั สูตรการสอนภาษาไทยในมหาวทิ ยาลยั แหง่ ชาติสงิ คโปร์
ที่มา : National University of Singapore (2015)

34

ภาพที่ 1.7 ตัวอยา่ งหลกั สูตรการสอนภาษาไทยในมหาวทิ ยาลัยฮันกกุ๊ ภาษาและกจิ การตา่ งประเทศ
ทม่ี า : HanKuk University of Foreign Studies (2015)

35

บทสรุป

ภาษานับว่าเป็นเครื่องมือสำคัญของการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างหมู่คณะท่ีเป็นเจ้าของ
ภาษาหรอื ระหว่างเจ้าของภาษากับคนทใ่ี ชภ้ าษานน้ั เป็นภาษาต่างประเทศ ภาษาไทยเป็นภาษาประจำ
ชาติและเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาติไทย คนไทยใช้ภาษาไทยกลางเป็นภาษามาตรฐานเพื่อการ
ติดต่อสื่อสารในชีวิตประจำวันและดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ให้สำเร็จลุล่วง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้าน
การสอนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศท่ีสามารถสืบย้อนกลับไปได้ต้ังแต่ในสมัยกรุงศรีอยุธยา
และเร่ิมเปิดสอนอย่างเป็นระบบตามสถาบันการศึกษาหลายแห่งในปัจจุบัน ขณะเดียวกัน
มหาวิทยาลัยหลายแห่งในต่างประเทศ อาทิ ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ประเทศสาธารณรัฐ
เกาหลี ประเทศญี่ปุ่น ประเทศมาเลเซีย ประเทศสิงคโปร์ ประเทศออสเตรเลีย และประเทศสหราช
อาณาจักร ต่างก็เปิดสอนภาษาไทยให้กับผู้เรียนท่ีสนใจในชาติของตน ทำให้การสอนภาษาไทยใน
ฐานะภาษาตา่ งประเทศแพร่หลายเป็นวงกวา้ งเพ่ิมขน้ึ ตามลำดบั

คำถามทบทวน

1. เพราะเหตุใดการสอนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศจึงได้รับความนิยมและทวี
ความสำคญั เพิ่มขนึ้ ตามลำดบั

2. นักศึกษาคิดว่าการสอนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็น
อย่างไร จงอภปิ รายอยา่ งกว้างขวาง

3. ประเทศใดเร่ิมเปิดการสอนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศเป็นประเทศแรก จง
อธิบายพร้อมแสดงหลักฐานอ้างองิ

4. เพราะเหตุใดมหาวิทยาลัยหลายแห่งในสาธารณรัฐประชาชนจีน จึงเปิดการเรียนการ
สอนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ

5. เพราะเหตุใดมหาวิทยาลัยหลายแห่งในสหรัฐอเมรกิ า จึงเปิดการเรยี นการสอนภาษาไทย
ในฐานะภาษาตา่ งประเทศ

36

เอกสารอ้างอิง

กองวิเทศสัมพันธ์. (2544). การสัมมนาระดับภูมิภาคว่าด้วยการเรียนการสอนภาษาไทยในบริบท
ไทยศกึ ษา. โรงพิมพแ์ ห่งจฬุ าลงกรณม์ หาวิทยาลยั .

คิม ยอง แอ. (2554). ความเป็นมาของการศึกษาภาษาไทยในประเทศเกาหลี วิทยาเขตกรุงโซล [การ
นำเสนอด้วยวาจา]. การสัมมนานานาชาติการสอนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ,
มหาวิทยาลัยศรนี ครินทรวิโรฒ, กรงุ เทพฯ.

คมิ ฮง คู .(2554). การเรียนการสอนภาษาไทยระดับบัณฑิตศึกษาในสาธารณรัฐเกาหลี [การนำเสนอ
ด้วยวาจา]. การสัมมนานานาชาติการสอนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ ,
มหาวทิ ยาลัยศรนี ครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.

จินตนา แซนดิแลนด์ซ. (2544). การเรียนการสอนภาษาไทยให้แก่ชาวต่างชาติ : มุมมองจาก
ออสเตรเลีย [การนำเสนอด้วยวาจา]. การสัมมนาระดับภูมิภาคว่าด้วยการเรียนการสอน
ภาษาไทยในบริบทไทยศึกษา, กองวิเทศสัมพันธ์ สำนักงานปลัดทบวงมหาวิทยาลัย,
กรุงเทพฯ.

ฌองส์ ฮวันซึง. (2554). การเรียนการสอนภาษาไทยในมหาวิทยาลัยฮันกุ๊กภาษาและกิจการ
ต่างประเทศ วิทยาเขตยงอิน (Global Campus) [การนำเสนอด้วยวาจา]. การสัมมนา
นานาชาติการสอนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ,
กรงุ เทพฯ.

พัชราวลัย วงศ์บุญสิน และคณะ. (2556). การพัฒนาบุคลากรและผลิตภาพบุคลากรเพ่ือรองรับการ
เปดิ เสรีอาเซียน. ศูนย์บรกิ ารวชิ าการแหง่ จฬุ าลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ฟาง จ่ือหวี่. (2552). ชุดการสอนทักษะการพูดภาษาไทยเพ่ือการท่องเท่ียวและการโรงแรมสำหรับ
นักศึกษาจนี [สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑติ ]. มหาวิทยาลยั ศรนี ครนิ ทรวิโรฒ.

ฟู่ เจิงโหย่ว. (2544). การเรยี นการสอนภาษาไทยในมุมมองจากมหาวิทยาลัยปักก่ิง [การนำเสนอด้วย
วาจา]. การสัมมนาระดับภูมิภาคว่าด้วยการเรียนการสอนภาษาไทยในบริบทไทยศึกษา,
กองวเิ ทศสมั พนั ธ์ สำนกั งานปลดั ทบวงมหาวทิ ยาลยั , กรุงเทพฯ.

37

ปรียา หิรัญประดิษฐ์. (2545). สถานภาพการเรียนและการสอนภาษาไทยให้แก่ชาวต่างประเทศใน
ประเทศไทย. สาขาวชิ าศลิ ปศาสตร์ มหาวทิ ยาลัยสโุ ขทัยธรรมาธิราช.

วชั รพล วิบูลยศริน. (2553). การสร้างแบบเรียนสนทนาภาษาไทยเบ้ืองต้นสำหรับผู้เรียนภาษาไทยใน
ฐานะภาษาต่างประเทศ [สารนพิ นธ์ปริญญามหาบณั ฑติ ]. มหาวิทยาลัยศรนี ครนิ ทรวโิ รฒ.

วีรยุทธ พจน์เสถียรกุล. (2554). การเรียนการสอนภาษาไทยสำหรับชาวญ่ีปุ่น. [การนำเสนอด้วย
วาจา]. การสัมมนานานาชาติการสอนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ, มหาวิทยาลัย
ศรนี ครินทรวิโรฒ, กรงุ เทพฯ.

ศรีวิไล พลมณี. (2552). การออกแบบชุดฝึกอบรมครูผู้สอนภาษาไทยสำหรับผู้เรียนที่พูดภาษาอ่ืน.
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม.่

หลอ อ้ีหยวน. (2554). การสอนวิชาภาษาไทยพื้นฐานในมหาวิทยาลัยภาษาและการค้าต่างประเทศ
กวางตุ้ง [การนำเสนอด้วยวาจา]. การสัมมนานานาชาติการสอนภาษาไทยในฐานะ
ภาษาตา่ งประเทศ, มหาวิทยาลัยศรีนครนิ ทรวโิ รฒ, กรงุ เทพฯ.

ฐานเศรษฐกิจ. (2562). “ญ่ีปุ่น” ...อันดับที่ 1 นักลงทุนรายใหญ่ในไทย. http://www.thansettakij.
com/content/207209

มหาวิทยาลัยโตเกียวศึกษาต่างประเทศ. (2562). ประวัติความเป็นมา. http://www.tufs.ac.jp/
documentsabouttufs/overview/multi_brochures/2015_Thai.pdf

อดิสรณ์ ประทุมถ่ิน. (2554) การสร้างแบบเรียนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศระดับพื้นฐาน
สำหรับนักศึกษาชาวต่างชาติที่สถาบัน NUS Extension มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์
[วทิ ยานิพนธ์ปรญิ ญามหาบัณฑติ ]. มหาวทิ ยาลัยเชยี งใหม่.

อรสา อาวัง. (2544). การเรียนการสอนภาษาไทย ณ มหาวิทยาลัยไซนส์มาเลเซีย [การนำเสนอด้วย
วาจา]. การสัมมนาระดับภูมิภาคว่าด้วยการเรียนการสอนภาษาไทยในบริบทไทยศึกษา,
กองวเิ ทศสมั พนั ธ์ สำนักงานปลดั ทบวงมหาวทิ ยาลัย, กรุงเทพฯ.

อัมพร พงษธา. (2517). การวิเคราะห์แบบเรียนภาษาไทย สำหรับผู้เริ่มเรียนชาวต่างประเทศ
[วทิ ยานิพนธ์ปรญิ ญามหาบณั ฑติ ]. จุฬาลงกรณม์ หาวทิ ยาลยั .

38

Constantine Phaulkon. (2015). In Wikipedia. http://en.wikipedia.org/wiki/Constantine_
Phaulkon

Hankuk University of Foreign Studies. (2015). Thai, oriental language. https://builder.
hufs.ac.kr/user/hufsenglish/un_1_c_5b.jsp

National University of Singapore. (2015). Language modules – Thai. http://www.fas.
nus.edu.sg/cls/courses/language-modules/ thai.htm

SEAlang Library. (n.d.). E. H. S. Simmonds: A biographical note. http://sealang.net/
sala/archives/pdf4/cowan1987ehs.pdf

SOAS, University of London. (2019). BA Thai and… (2018 entry). https://www.soas.
ac.uk/sea/programmes/bathaiand

South East Asia Section. (2019a). Previous staff members. https://www.soas.ac.uk/sea/
staff/previousstaff

__________. (2019b). South East Asia Section, School of Languages, Cultures and
Linguistics. https://www.soas.ac.uk/sea

University of Hawai’i at Manoa. (April 04, 2015). Thai language program University of
Hawai’i at Manoa. http://www.hawaii.edu/thai

University of Wisconsin–Madison. (April 04, 2015). Thai studies at UW-Madison.
http://seasia.wisc.edu/Programs/thaistudies.htm

บทที่ 2

แนวคดิ ของการสอนภาษาต่างประเทศ

นับเป็นเวลากว่าศตวรรษท่ีนักการศึกษาได้จัดการเรียนการสอนภาษาต่างประเทศผ่าน
การศึกษาในระบบ แนวคิดและระเบียบวิธีการสอนที่นำมาใช้ต่างปรับเปล่ียนอยู่อย่างต่อเน่ือง เป็น
ผลกระทบมาจากการเปล่ียนแปลงทฤษฎีการเรียนรู้และจิตวิทยาทางการศึกษา แนวคิดของการสอน
ภาษาต่างประเทศจึงมีหลากหลายวิธีการและพัฒนาไปตามความนิยมในยุคสมัยนั้น แต่แนวคิดของ
การสอนภาษาต่างประเทศที่นักการศึกษาส่วนใหญ่ (Richards & Rodgers, 2014; กมลรัตน์
คะนองเดช, 2542; นวลทิพย์ เพ่ิมเกษร, 2554; สุมิตรา อังวัฒนกุล, 2531) กล่าวถึงอยู่เสมอต้ังแต่
อดีตจนถงึ ปจั จุบัน ไดแ้ ก่

1. แนวคดิ ของการสอนแบบไวยากรณ์และแปล (Grammar-translation method)
2. แนวคดิ ของการสอนแบบตรง (Direct method)
3. แนวคิดของการสอนแบบฟังพูด (Audiolingual method)
4. แนวคดิ ของการสอนแบบชักชวน (Suggestopedia)
5. แนวคดิ ของการสอนแบบเงยี บ (Silent way)
6. แนวคิดของการสอนแบบตอบสนองดว้ ยทา่ ทาง (Total physical response)
7. แนวคิดของการสอนแบบธรรมชาติ (Natural approach)
8. แนวคิดของการสอนภาษาเพ่ือการส่ือสาร (Communicative approach)
โดยมีรายละเอยี ดดงั ตอ่ ไปนี้

แนวคดิ ของการสอนแบบไวยากรณแ์ ละแปล

การสอนแบบไวยากรณ์และแปลหรอื เรียกอีกอย่างหน่ึงว่า การสอนแบบคลาสสิก (Classical
method) มาจากพื้นฐานความเช่ือที่ว่าประเภทของความรู้แตกต่างกันจะฝังอยู่ในสมองแต่ละซีก
ตา่ งกนั ออกไป เชน่ ถ้าความรทู้ างคณิตศาสตรอ์ ยู่ในซีกหนงึ่ ของสมองแล้ว ความรู้ทางภาษาก็จะอยูอ่ ีก

40

ซีกหน่ึง และยังเชื่อกันอีกว่าการเรียนรายวิชาต่าง ๆ เป็นวิธีการฝึกฝนสมองท่ีดีทางหน่ึง ดังน้ัน การ
เรียนรูภ้ าษาอืน่ ๆ จึงเปน็ การพัฒนาสมองซกี ของภาษา

เป้าหมายหลักของการเรียนภาษาไม่ใช่การสื่อสารและหรือการพูด แต่เป็นการอ่านภาษา
น้ัน ๆ ภาษาที่นำมาใช้ในการเรียนการสอนในยุคแรก คือ ภาษาละตินและกรีก เหตุผลของการเรียน
ภาษาต่างประเทศในสมัยนั้นคือ การได้ชื่นชมบทประพันธ์ที่แต่งเป็นภาษาดั้งเดิม แต่โดยมาก
การศึกษาในสมัยก่อนเป็นโอกาสของกลุ่มคนชนช้ันสูงและร่ำรวย ดังนั้น คนกลุ่มนี้เท่านั้นจึงสามารถ
อ่านบทประพันธเ์ หล่านั้นได้

แนวคิดน้มี าจากการศึกษาภาษาละตินในฐานะภาษาตา่ งประเทศในโรงเรียนผ่านบทประพันธ์
ช้ันครู เช่น เวอร์จิล (Virgil) โอวดิ (Ovid) หรือซิเซโร (Cicero) จึงใช้การอ่านและการเขยี นเป็นจดุ เน้น
หลัก และให้ความสำคัญกับการฟังและการพูดน้อยมาก การเลือกคำศัพท์ขึ้นอยู่กับบทอ่านที่ใช้ในชั้น
เรียนและสอนร่วมกับการใช้พจนานุกรมหรือรายการคำศัพท์สองภาษา (ภาษาเป้าหมายกับภาษาแม่
ของผู้เรียน) ผู้เรียนต้องใช้ความพยายามในการจดจำ รวมถึงกฎไวยากรณ์ต่าง ๆ จะอธิบายแยกกัน
ต่างหาก โดยนำเสนอหลักการให้ผู้เรียนศกึ ษาก่อนแล้วฝึกปฏิบัตผิ ่านกิจกรรมการแปล หน่วยพื้นฐาน
ของการเรียนการสอนเป็นประโยค บทเรียนส่วนมากจึงเป็นการฝึกแปลประโยคเป็นภาษาแม่ของ
ตนเองและภาษาเป้าหมาย เน้นความถูกต้องเป็นสำคัญ (Howatt, 1984) และใช้ภาษาแม่ของผู้เรียน
เป็นส่ือกลางในการเรียนการสอนเพื่ออธิบายหลักการความรู้ต่าง ๆ ให้ผู้เรียนเข้าใจและสามารถ
เปรียบเทยี บระหว่างภาษาตา่ งประเทศทีเ่ รียนกบั ภาษาของตนได้

การสอนแบบไวยากรณ์และแปลเป็นการศึกษาลักษณะทางไวยากรณ์ของภาษาและการใช้
การแปลแทนความเข้าใจ เนื่องจากการส่ือสารในภาษาไม่ใช่เป้าหมายของการเรียน ผู้เรียนจึงได้รับ
การสอนเบื้องต้นเป็นภาษาแม่ของผู้เรียนเอง ไม่เน้นการออกเสียงคำในภาษาเป้าหมาย แต่เน้นการ
ท่องจำไวยากรณ์แทน เช่น การผสมคำกริยา และกฎเกณฑ์ท่ีอธิบายระบบหน้าที่ของภาษา จึงไม่ใช่
เรื่องแปลกสำหรับผู้เรียนท่ีใช้เวลาศึกษาภาษาต่างประเทศมานานหลายปีแล้วแต่ยังไม่สามารถพูด
ภาษาน้ัน ๆ ได้ เพราะเวลาส่วนใหญ่นำไปใช้เรียนรู้เกี่ยวกับภาษา ไม่ใช่ตัวภาษา ปจั จบุ ันนี้วิธกี ารสอน
น้ไี ม่ใช้กันอย่างแพร่หลายในการสอนภาษาอังกฤษแก่ผูเ้ รียนแล้ว แต่กย็ ังมีบางส่วนของแนวคิดนี้ยงั คง
นำไปใช้อยู่ในการสอนภาษาสมัยใหม่ (Modern languages) ได้แก่ ภาษาสเปน ภาษาฝร่ังเศส

41

ภาษาเยอรมัน ภาษาอิตาลี ในโรงเรียนและมหาวิทยาลัยบางแห่งของสหรัฐอเมริกา โดยเน้นการอ่าน
และแปลบทความ การประสมคำกริยา และการอธิบายและจดจำกฎไวยากรณ์ต่าง ๆ

แมก้ ารสอนแบบไวยากรณ์และแปลเปน็ วธิ ีการสอนที่เกา่ แก่นับตงั้ แต่ศตวรรษท่ี 19 แต่กย็ ังคง
มีบทบาทสำคัญต่อผู้เรียนท่ีมีแบบการเรียนรู้เฉพาะด้าน ดังงานวิจัยของณัฐวุฒิ กิจรุ่งเรือง (2542)
ศึกษาเปรียบเทียบแบบการเรียนภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีท่ี 5 ระหว่างโรงเรียน
สังกัดสำนักการศึกษากรุงเทพมหานครและโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดเขตเมืองฟูกูโอกะ ประเทศ
ญี่ปุ่นพบว่า จากแบบการเรียนภาษาอังกฤษ 5 ด้าน คือ ด้านสง่ิ แวดล้อม ดา้ นอารมณ์ ด้านสังคม ดา้ น
การรับรู้ภาษา และด้านวัฒนธรรมรวม 50 ข้อ พบว่านักเรียนชั้นประถมศึกษาปีท่ี 5 โรงเรียนสังกัด
สำนกั การศึกษากรุงเทพมหานคร และนักเรียนชัน้ ประถมศกึ ษาปีที่ 5 โรงเรียนประถมศึกษาสังกัดเขต
เมืองฟูกูโอกะ ประเทศญ่ีปุ่นมีแบบการเรียนเหมือนกัน 23 ข้อ มีแบบการเรียนท่ีต่างกันโดยเป็นแบบ
การเรียนของนักเรียนช้ันประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสังกัดสำนักการศึกษากรุงเทพมหานครอย่าง
เดียว 12 ข้อ ได้แก่ ฉันชอบเรียนภาษาอังกฤษในห้องเรียนท่ีจัดโต๊ะเก้าอี้ และวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ
อยา่ งมีระบบระเบียบ ฉันเชอ่ื ฟงั และตง้ั ใจฟงั สิ่งทค่ี รสู อน ฉนั ชอบเรียนในห้องเรียนที่ทุกคนทำกิจกรรม
การเรียนอย่างเป็นระเบียบ ฉันชอบครูภาษาอังกฤษที่เข้าสอนตรงเวลา ฉันชอบเรียนและฝึกใช้ภาษา
แบบทักษะสัมพันธ์ ฟัง พูด อ่าน และเขียน ฉันทำงานหรือทำกิจกรรมท่ีได้รับมอบหมายตามลำดับ
ความสำคัญก่อนหลัง ฉันจะวางแผนในการทำงานเพื่อทำงานที่ได้รับมอบหมายเสร็จทันตามกำหนด
ฉันสามารถทำกิจกรรมทางภาษา และเรียนรู้ภาษาอังกฤษได้ดีในห้องเรียนที่มีบรรยากาศเย็นสบาย
ฉันชอบการเรียนท่ีให้ฉันฝึกฝนการใช้ภาษาด้วยการทำแบบฝึกหัด ฉันชอบเรียนและฝึกใช้ภาษาแบบ
แยกทักษะฟัง พูด อ่าน และเขียน ฉันทำงานและทำกิจกรรมท่ีได้รับมอบหมายเป็นอย่างดี ไม่ว่าจะ
สนใจหรือไม่ก็ตาม ฉันทำงานและกิจกรรมที่ได้รับมอบหมายเสร็จทันตามกำหนดเสมอ โดยไม่ต้องให้
ใครมาคอยเตือน และเป็นแบบการเรียนภาษาอังกฤษของนักเรียนช้ันประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียน
ประถมศึกษาสังกัดเขตเมืองฟูกูโอกะ ประเทศญี่ปุ่น อย่างเดียว 3 ข้อ ได้แก่ ฉันชอบทำกิจกรรมทาง
ภาษาท่ีมีการให้รางวัล ฉันสามารถทำกิจกรรมทางภาษาและเรียนรู้ภาษาอังกฤษได้ดีในห้องเรียนท่ีมี
บรรยากาศอุ่นสบาย ฉันชอบเรียนภาษาอังกฤษในห้องเรียนท่ีจัดโต๊ะ เก้าอ้ี และวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ
อย่างยืดหยุ่น และสะดวกในการทำกิจกรรม ส่วนวิธีการสอนภาษาอังกฤษท่ีเหมาะสมกับแบบการ
เรียนภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีท่ี 5 โรงเรียนสังกัดสำนักการศึกษา
กรุงเทพมหานคร ได้แก่ วิธีการสอนแบบไวยากรณ์และการแปล วิธีการสอนแบบเงียบ วิธีการสอน


Click to View FlipBook Version