The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

การสอนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ : แนวคิดสู่การปฏิบัติ

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by watcharapol.wib, 2021-11-26 03:16:21

การสอนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ : แนวคิดสู่การปฏิบัติ

การสอนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ : แนวคิดสู่การปฏิบัติ

Keywords: การสอนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ

90

การสอนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศตามแนวคิดของการสอนภาษา
เพ่อื การสอ่ื สาร

นักการศึกษาหลายคนท่ีนำแนวคิดดังกล่าวน้ีไปใช้เสนอแนะว่าผู้เรียนควรได้รับการฝึกฝนการ
สื่อสารต้ังแต่เริ่มเรียน ตรงข้ามกับแนวการสอนภาษาแบบด้ังเดิมที่ให้นำเสนอเนื้อหาก่อน แล้วจึงเริ่ม
ฝกึ หดั กอ่ นการส่อื สารดงั แผนภาพ (Brumfit, 1980) ตอ่ ไปนี้

แนวการสอนภาษาแบบด้ังเดมิ

1. นำเสนอ + 2. ฝกึ หดั + 3. ฝกึ ตามบรบิ ท

แนวคดิ ของการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร

ฝึ ก ฝ น เ ท่ า ท่ี + เส น อ ร า ย ก า ร + ฝึกหดั ถา้ จำเปน็

เป็ น ไป ได้ ด้ ว ย ภ า ษ า ท่ี แ ส ด ง ถึ ง

ทรัพยากรท่ีใช้ได้ ค ว า ม จ ำ เ ป็ น ต่ อ

ทัง้ หมด การบรรลุผลใน

การส่ือสารอย่างมี

ประสทิ ธิภาพ

ภาพที่ 3.3 การเปรียบเทียบแนวการสอนภาษาแบบดัง้ เดิมกับแนวคิดของการสอนภาษาเพ่อื การ
ส่อื สาร

91

อย่างไรก็ตาม การจัดการเรียนการสอนภาษาตามแนวคิดของการสอนภาษาเพื่อการส่ือสาร
จะประสบความสำเร็จไดม้ ากน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับผู้สอนซ่ึงอยู่ใกล้ชิดกับผู้เรียนมากที่สุด ผู้สอนควร
วางแน วทางใน การจัด การเรียน การส อน ภ าษาเพื่ อการส่ือ สารตามท่ี ฟิ น็ อคเคียอาโร แล ะโบ โน โม
(Finocchiaro & Bonomo, 1973) เสนอไวส้ รุปไดด้ ังน้ี

1. ควรวางแผนการจัดประสบการณก์ ารเรียนให้แก่ผ้เู รยี น
2. ควรวางแผนการจัดสถานการณ์ รวมทั้งอุปกรณ์เพื่อช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจความหมายของ
เรอ่ื งทน่ี ำมาสอนใหม่
3. ควรจัดบทเรียนแต่ละบทให้มีการฝึกเพ่ือให้เป็นนิสัย และการฝึกใช้ภาษาอย่างมี
ความหมายโดยใช้กจิ กรรมเพ่อื การสอื่ สาร
4. ควรใช้ภาษาของผู้เรียนให้น้อยที่สุด แต่อาจใช้ภาษาของผู้เรียนเม่ือเห็นว่าจะช่วยให้
ผเู้ รียนเขา้ ใจขอ้ มลู สำคญั บางอย่างไดช้ ัดเจนยิง่ ขึ้น
5. ควรหาวธิ กี ารให้ผูเ้ รยี นได้ฝึกพรอ้ มกันทงั้ ชนั้ ฝึกเป็นกลมุ่ และฝึกเปน็ รายบคุ คล
6. เปดิ โอกาสให้ผู้เรียนฝึกเปน็ คบู่ า้ ง
7. ควรจัดเตรียมการฝึกบทสนทนา ตลอดจนบทความต่าง ๆ เพ่ือให้บทเรียนมีความ
หลากหลาย ซ่ึงจะช่วยเสริมเนื้อหาในบทเรียนและช่วยให้ผู้เรียนได้พัฒนาความสามารถด้านการ
ส่อื สาร
8. ควรมีความคล่องตัวในการใช้เคร่ืองบันทึกเสียง และสามารถนำการฝึกในห้องปฏิบัติการ
มาประสานกับการจดั กจิ กรรมในหอ้ งเรยี นได้
9. ควรร้วู ่าจะใชก้ ิจกรรมการอา่ นและการเขยี นเมื่อใด
10. ควรจัดเตรียมบทอ่านให้หลากหลายสำหรับการฝึกอ่าน จะช่วยให้ผู้เรียนได้เพิ่มพูนทั้ง
ความร้แู ละประสบการณ์
11. กิจกรรมการเขียนที่ผู้สอนจัดให้กับผู้เรียนควรส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของผู้เรียน
อย่างอสิ ระ
12. ส่งเสริมให้ผู้เรียนเข้าใจวัฒนธรรมของเจ้าของภาษาท้ังจากบทสนทนาและการจัด
กจิ กรรมตา่ ง ๆ
13. ควรส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความภาคภูมิใจในชาติและภาคภูมิใจในตนเองขณะเรียนรู้
วฒั นธรรมของเจา้ ของภาษา

92

14. ควรเลือกใช้โสตทัศนูปกรณ์ที่ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้เก่ียวกับภาษาและข้อมูลทาง
วฒั นธรรมอย่างมีประสิทธิภาพ

15. ควรจัดให้มีการประเมินผลเพื่อรับทราบผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนของผู้เรียนและ
ประสทิ ธิภาพในการสอนของผสู้ อน แลว้ จดั ซอ่ มเสรมิ เปน็ รายบุคคล

การสอนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศตามแนวคิดของการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร
จะแบ่งรายละเอียดออกเป็น 7 หัวข้อ โดยนำเสนอตัวอย่างประกอบท่ีสำคัญและน่าสนใจเหมาะสม
สำหรับการนำไปใชจ้ ดั การเรียนการสอนทงั้ ในและนอกชน้ั เรียน ดังน้ี

1. ข้นั ตอนการสอนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศตามแนวคิดของการสอนภาษาเพ่ือ
การสอื่ สาร

2. แบบจำลองของการเรียนการสอนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศตามแนวคิดของ
การสอนภาษาเพอ่ื การส่ือสาร

3. กิจกรรมการเรียนการสอนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศตามแนวคิดของการสอน
ภาษาเพื่อการสือ่ สาร

4. สอื่ การเรยี นการสอนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศตามแนวคดิ ของการสอนภาษา
เพอ่ื การส่อื สาร

5. เทคโนโลยีสนับสนุนการเรียนการสอนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศตามแนวคิด
ของการสอนภาษาเพ่อื การส่ือสาร

6. บทบาทของผู้สอนและผู้เรียนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศตามแนวคิดของการ
สอนภาษาเพื่อการสือ่ สาร

7. การประเมินการเรียนการสอนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศตามแนวคิดของการ
สอนภาษาเพอื่ การสอ่ื สาร

โดยนำเสนอรายละเอียดของแตล่ ะหัวขอ้ ดงั นี้

93

1. ข้ันตอนการสอนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศตามแนวคิดของการ
สอนภาษาเพ่ือการสอื่ สาร

นักการศึกษาหลายคนได้นำเสนอขั้นตอนการสอนตามแนวคิดของการสอนภาษาเพ่ือการ
ส่ือสารไว้อย่างสอดคล้องกันว่าควรประกอบด้วย 3 ข้ัน (Holliday, 1994; Scott, 1981; กุศยา
แสงเดช, 2545; สุมิตรา อังวัฒนกุล, 2531; อรุณี วิริยะจิตรา, 2532) สามารถนำมาประยุกต์และ
ขยายผลเพ่ือการสอนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศไดด้ ังนี้

ขัน้ ท่ี 1 การนำเสนอภาษา (Presentation)

ผู้สอนควรแสดงให้ผู้เรียนเห็นหรือได้ยินภาษาเป้าหมายที่จะให้ผู้เรียนผลิตก่อน ให้ผู้เรียน
เรียนรู้คำศัพท์ที่จะต้องใช้ ช้ีให้เห็นว่าประโยคน้ีใครพูดกับใคร พูดเร่ืองอะไร พูดเม่ือไร พูดท่ีไหน พูด
อย่างไร ถูกต้องเหมาะสมและเป็นท่ียอมรับในสังคมหรือไม่ หรือให้ผู้เรียนมีความรู้เร่ืองราวท่ีจะต้อง
พูดหรือเขียนก่อน ผู้สอนให้ข้อมูลทางภาษาแก่ผู้เรียนจนกระทั่งผู้เรียนสามารถใช้ภาษาได้ตรงตาม
วัตถุประสงค์ท่ีกำหนดไว้ การนำเสนอภาษาจะทำให้ผู้เรียนรับรู้ว่ารูปแบบของภาษานี้ใช้ส่ือ
ความหมายอะไรและมีวิธีการสื่อความหมายอย่างไร ผู้เรียนรับรู้ท้ังรูปแบบ (Form) และความหมาย
(Meaning) ในเวลาเดียวกัน ผู้เรียนจะก้าวจากระดับ i ไปสู่ i+1 โดยใช้บรบิ ทและข้อมูลอื่น ๆ ที่ไม่ใช้
ภาษาชว่ ยสือ่ ความหมาย

ขัน้ ท่ี 2 การฝกึ ใชภ้ าษา (Practice)

ผู้สอนฝึกผู้เรียนใช้ภาษาตามที่นำเสนอไว้ในขั้นก่อนหน้า อาจให้จับกันเป็นคู่หรือเป็นกลุ่ม
หรือผู้สอนอาจทำเป็นคู่กับผู้เรียนเป็นตัวอย่างก่อนแล้วให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ซ่ึงกันและกัน จะทำให้
ผู้เรียนเข้าใจจริง ๆ ว่าใครจะเป็นผู้ใช้ประโยคเหล่านี้กับใคร เมื่อไร ที่ไหน และอย่างไร การฝึกควร
เป็นไปอย่างมีความหมายนั่นคือ ให้ผู้เรียนเกิดความรู้สึกว่ามีความจำเป็นต้องใช้ภาษาเพ่ือส่ือ
ความหมาย ผู้เรียนอาจยังไม่มีอิสระในการเลือกใช้ภาษาหรือเนื้อหาที่ต้องการมากนัก เพราะต้องการ
ให้ผเู้ รยี นมคี วามแม่นยำและจดจำรูปแบบของภาษาเปา้ หมายให้ไดเ้ สียก่อน

ขนั้ ที่ 3 การนำภาษาไปใช้ (Production)

ผสู้ อนสร้างสถานการณ์จำลองในชั้นเรียนเพ่ือให้ผู้เรยี นใช้ภาษาในสถานการณ์ต่าง ๆ โดยอาจ
เป็นสถานการณ์ใหม่หรือคล้ายคลึงกับสถานการณ์ที่ผู้สอนได้นำเสนอไปแล้ว เปิดโอกาสให้ผู้เรียน

94

เลือกใชภ้ าษาหรือเน้ือหาด้วยตนเองให้มากที่สุด ผู้เรียนควรประเมินประสิทธิภาพของการสอื่ สารด้วย
ตนเองได้จากผลป้อนกลับของผู้ร่วมส่ือสาร และเมื่อให้ผู้เรียนสามารถเลือกใช้ภาษาเพ่ือการส่ือสารได้
อย่างอิสระ ผู้เรียนจะมีโอกาสนำความรู้ทางภาษาท่ีเคยเรียนแล้วมาใช้ให้เป็นประโยชน์อย่างเต็มที่
และชว่ ยสร้างความมัน่ ใจในการใชภ้ าษาเพือ่ การสือ่ สารแก่ตนเองได้เปน็ อยา่ งดี

ตารางที่ 3.1 ตัวอย่างการสอนภาษาไทยในฐานะภาษาตา่ งประเทศตามแนวคิดของการสอนภาษาเพื่อ
การสอ่ื สาร

ขัน้ ตอนของการสอนภาษาเพอ่ื การ การสอนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศฯ
สื่อสาร

ขัน้ ท่ี 1 การนำเสนอภาษา 1. แสดงรูปภาพบุคคลกำลังสนทนาทางโทรศัพท์
และสอบถามผู้เรียนเกี่ยวกับภาพดังกล่าว โดยให้ผู้เรียน
ร่วมกันแสดงความคิดเห็น แล้วเช่ือมโยงเข้าสู่บทเรียน เรื่อง
การพดู โทรศพั ท์

2. นำเสนอคำศัพท์ท่ีเก่ียวข้องกับการพูดทาง
โทรศัพท์ แลว้ ให้ผู้เรียนฝึกอา่ นออกเสยี งคำศัพท์

3. อา่ นบทสนทนาเรือ่ ง ใครกำลงั พูดครบั ให้ผู้เรียน
ฟงั 1 รอบ และอธบิ ายเพ่มิ เตมิ เกยี่ วกับโครงสร้างประโยค

ขน้ั ที่ 2 การฝกึ ใชภ้ าษา 1. แบ่งผู้เรียนออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มท่ี 1 เป็นตัว
ละครที่เป็นผู้ต่อสายโทรศัพท์ และกลุ่มท่ี 2 เป็นตัวละครท่ี
เป็นผู้รับสายโทรศัพท์ อ่านบทสนทนาโต้ตอบกัน 1 รอบ แล้ว
ใหแ้ ตล่ ะกลมุ่ สลบั ตัวละครกัน แล้วอ่านอีก 1 รอบ

2. ให้ผู้เรียนจับคู่กับเพ่ือน กำหนดเวลาให้ผู้เรียน
15 นาที เพ่ือฝึกซ้อมการพูดโทรศัพท์ แล้วออกมาสนทนาหน้า
ช้ันเรยี นจนครบทุกคู่

ขน้ั ที่ 3 การนำภาษาไปใช้ 1. กำหนดสถานการณ์ของการพูดโทรศัพท์ท่ีไม่

95

ตารางที่ 3.1 ตวั อยา่ งการสอนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศตามแนวคดิ ของการสอนภาษาเพื่อ
การส่ือสาร

ขน้ั ตอนของการสอนภาษาเพือ่ การ การสอนภาษาไทยในฐานะภาษาตา่ งประเทศฯ
สือ่ สาร

เหมือนกับตัวอย่างท่ีฝึกซ้อมหรือให้ผู้เรียนคิดสถานการณ์ของ
ตนเองข้นึ มาใหม่ แลว้ จับคูฝ่ ึกซอ้ มกับเพ่อื น

2. ขออาสาสมัครผู้เรียนออกมาสนทนาทีละคู่จบ
ครบทุกคู่ (หากไม่มีผู้เรียนอาสาสมัคร ให้ผู้สอนใช้ดุลยพินิจ
เลือกผู้เรียนท่ีมีความพร้อมมากท่ีสุดออกมาก่อน) พร้อม
บนั ทึกคะแนนทีไ่ ด้รบั

ตัวอย่างสถานการณข์ องบทสนทนาเรื่อง ใครกำลังพดู ครับ (การพูดโทรศัพท์)

โซเฟยี : สวัสดคี ่ะ

พีระ : สวัสดีครับ บ้านของโทนใ่ี ช่ไหมครับ

โซเฟีย : ใช่คะ่ แต่ตอนนีเ้ ขาออกไปข้างนอกคะ่

พรี ะ : ไมท่ ราบวา่ ใครกำลังพูดอยู่ครับ

โซเฟีย : ไดย้ ินคณุ พดู ไม่ค่อยชัด ช่วยพูดใหมอ่ ีกครง้ั ไดไ้ หมคะ

พรี ะ : เออ่ ใครกำลงั พดู อยู่ครับ

โซเฟีย : อ้อ ฉนั ช่ือโซเฟยี เปน็ น้องสาวของเขาค่ะ

พรี ะ : ผม...พรี ะกำลงั พูดนะครับ ขอฝากข้อความถึงเขาไดไ้ หมครับ

โซเฟีย : ได้ค่ะ ขอฉันไปเอากระดาษมาเขียนก่อนนะคะ... ได้แล้วค่ะ ข้อความว่า
อะไรคะ

พรี ะ : ฝากบอกเขาว่า แอนจะขอนัดเจอพวกเราในวนั พรุง่ นี้ตอน 10 โมงครึง่

96

โซเฟยี : คะ่ จะบอกเขาให้ เมื่อเขากลับมาถึงบา้ นนะคะ

พีระ : ขอบคุณมากครบั สวัสดคี รับ

โซเฟยี : ไมเ่ ป็นไรค่ะ สวสั ดีค่ะ

ตวั อยา่ งคำศัพท์ เรอ่ื ง ใครกำลงั พดู อยู่ครับ (การพูดโทรศัพท)์

การพดู โทรศพั ท์ = Talking on phone

โทรศัพท์ = Telephone

สวสั ดคี ่ะ / ครับ = Hello

บา้ นของ…(ชอ่ื ) = (name)…’s home

ไมท่ ราบว่า = May I know…

ใครกำลงั พูด = Who is speaking?

ได้ค่ะ / ได้ครบั = OK

...ขอฝากขอ้ ความ = …leave a message

บอกเขาว่า... = Please tell him/her that…

นดั เจอ = Make an appointment

ตอนสิบโมงคร่งึ = At ten thirty

กลบั มาถึงบ้าน = Comeback home

ขอบคุณมาก = Thank you very much

ไมเ่ ป็นไร = It’s all right

97

2. แบบจำลองของการเรียนการสอนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศตาม
แนวคิดของการสอนภาษาเพ่อื การสื่อสาร

วัชรพล วิบูลยศริน (Wiboolyasarin, 2013) นำเสนอแบบจำลองของการเรียนการสอน
ภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศแบบผสมผสานแนวคิดของการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารโดยใช้
ส่ือสังคม 3 ประเภท ได้แก่ เว็บบอร์ด (Webboard) บล็อก (Blog) และชุมชนด้านเนื้อหา (Content
community) เพ่ือเสริมสร้างความสามารถด้านการเขียนเชิงสร้างสรรค์สำหรับนักศึกษาชาวต่างชาติ
ในการประชุมสัมมนาวิชาการระดับนานาชาติด้าน Education, Language, Society, Science and
Engineering in ASEAN and its Neighbors จัดโดยมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรีร่วมกับมหาวิทยาลัย
คุนหมิง (Kunming University) มหาวิทยาลัยต้าล่ี (Dali University) มหาวิทยาลัยการบริการและ
การท่องเท่ียวแห่งชาติเกาสง (National Kaohsiung University of Hospitality and Tourism)
และมหาวิทยาลัยเมียนเจย (Mean Chey University) ณ สาธารณรัฐประชาชนจีน โดยแสดง
แบบจำลองเป็นแผนภาพและรายละเอยี ดของข้นั ตอนดงั ต่อไปน้ี

ภาพที่ 3.4 แบบจำลองของการเรียนการสอนภาษาไทยในฐานะภาษาตา่ งประเทศตามแนวคดิ ของ
การสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร
ท่ีมา : Wiboolyasarin (2013)

98

ตัวอย่างแบบจำลองการเรียนการสอนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศตามแนวคิดของ
การสอนภาษาเพื่อการสื่อสารเป็นการผสมผสานการใช้ส่ือสังคมเพ่ือเสริมสร้างความสามารถด้านการ
เขียนเชิงสร้างสรรค์ของนักศึกษาชาวต่างชาติระดับปริญญาตรี โดยแบบจำลองนี้ประกอบด้วย 3
ข้ันตอนสำคัญ ได้แก่ ขั้นนำเสนอ ข้ันฝึกฝน และข้ันนำผลงานไปใช้ ขั้นตอนดังกล่าวแต่ละขั้นใช้เวลา
ไม่เกิน 1 สปั ดาห์ในการจัดการเรยี นการสอนใหค้ รบถ้วน ทั้งนี้ ผสู้ อนสามารถผสานกิจกรรมย่อยในแต่
ละขนั้ ได้ตามความเหมาะสม โดยก่อนเร่ิมตน้ การเรียนการสอนตามรูปแบบการเรียนการสอนฯ ผ้สู อน
ควรดำเนินการดังน้ี

1) ปฐมนิเทศผเู้ รียน อธบิ ายช้ีแจงเกย่ี วกับรายวชิ า กิจกรรมและวิธีการจัดการเรียน
การสอน สือ่ การเรยี นการสอน และการวดั และประเมินผล

2) อธิบายวิธเี รียน กติกาในการระดมสมอง แบ่งบทบาทหน้าท่ีความรับผิดชอบของ
กลมุ่ พรอ้ มให้ผเู้ รียนศกึ ษาจากเอกสาร แลว้ เปดิ โอกาสซักถามขอ้ สงสัย

3) กำหนดเวลา 30 นาที ให้ผู้เรียนเขียนเชิงสร้างสรรค์ตามหัวข้อที่กำหนด ความ
ยาว 8-10 บรรทัด

4) เก็บผลงานการเขียนแล้วตรวจให้คะแนนความสามารถด้านการเขียนเชิง
สร้างสรรคข์ องผู้เรยี นแตล่ ะคนก่อนเรียน

5) แจกเอกสารประกอบการสอนเกี่ยวกับความหมาย องค์ประกอบ และขั้นตอน
ของการเขียนเชิงสร้างสรรค์ และบรรยายเนื้อหาด้วยการนำเสนอผ่านโปรแกรมพาเวอร์พอยต์จน
ผู้เรียนมีความพร้อมและเข้าใจเน้ือหา ตลอดจนหลักการของรูปแบบแล้วจึงเริ่มข้ันที่ 1 ขั้นนำเสนอ
ดังตอ่ ไปน้ี

1. ขนั้ นำเสนอ (Present)
1.1 (ออฟไลน์1) ผู้สอนแบ่งผู้เรียนออกเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 6 – 10 คน แล้วร่วมกัน
กำหนดระยะเวลาในการระดมสมองแต่ละคร้ัง
1.2 (ออนไลน์2) ผู้สอนระบุปัญหาหรือประเด็นสำหรับการระดมสมองให้สอดคล้อง
กับเนื้อหาของรายวิชาและเอ้ือต่อการเขียนเชิงสร้างสรรค์ ในขั้นน้ีผู้สอนอาจ

1 ออฟไลน์ (Offline) เป็นการจัดกิจกรรมแบบเผชิญหน้าในช้ันเรียน (Face-to-face classroom) แบบ
ประสานเวลา ไมม่ แี หล่งทรพั ยากรออนไลน์ เนื้อหาบทเรยี นส่งผา่ นในรปู แบบของภาษาพดู หรอื ภาษาเขยี น

99

เริ่มต้นตั้งเป็นกระทู้บนเว็บบอร์ดหรือกระดานอภิปราย (Discussion board)
หรือผ้เู รียนเปน็ ผู้นำเสนอประเดน็ และต้งั เป็นกระท้บู นกระดานอภิปรายเอง
1.3 (ออนไลน์) ผู้เรียนระดมสมองบนกระดานอภิปราย กำหนดให้ 1 คนต่อ 1 โพสต์
หรือ 1 ความคิด ต่อ 1 รอบ แต่ไม่จำกัดจำนวนโพสต์ต่อคน เพ่ือผลิตความคิด
ออกมาเป็นจำนวนมาก และเก็บรวบรวมความคิดท้ังหมดเอาไว้ โดยไม่ตัดสินว่า
ความคิดใดมคี ุณภาพและความคดิ ใดควรตัดออก
1.4 (ออนไลน์) ผู้เรียนร่วมกันเลือกความคิดท่ีดีที่สุด 5 อันดับ แล้วลงคะแนนเลือก
ความคิดที่เหมาะสมที่สุดเพียงความคิดเดียว หรือผสานความคิดท้ังหมดเป็น
ความคิดเดียวสำหรับการเขียนเชิงสร้างสรรค์ โดยให้หัวหน้ากลุ่มเป็น
ผู้รับผิดชอบสรุปความคิดที่กลุ่มตนคัดเลือกไว้ แล้วโพสต์แจ้งบนกระดาน
อภิปราย
2. ขนั้ ฝึกฝน (Practice)
2.1 (ออนไลน์) ผู้เรียนคิดสานต่อจากความคิดที่คัดเลือกไว้ สร้างจินตนาการของ
ตนเองให้กว้างไกล และเร่ิมลงมือเขียนอย่างอิสระ โดยยงั ไม่กำหนดว่าส่ิงท่เี ขียน
จะถูกต้องเหมาะสมกับปัญหาหรือประเด็นที่กำหนดไว้ข้างต้นหรือไม่ ในขั้นนี้
ผูเ้ รียนจะเร่ิมเขียนผลงานการเขียนเชงิ สรา้ งสรรค์ของตนบนบล็อก (1 คน ต่อ 1
ชนิ้ งาน)
2.2 (ออนไลน์) ผู้เรียนเช่ือมโยงความคิดท่ีกระจัดกระจายของตนเข้าด้วยกัน สร้าง
จินตภาพว่าปัญหาควรแก้ด้วยวิธีใดหรือควรนำเสนอประเด็นด้วยวิธีใด แล้ว
ปรับปรุงแก้ไข ตกแต่งขัดเกลาภาษาในงานเขยี นเชงิ สรา้ งสรรคบ์ นบลอ็ กของตน
ใหอ้ อกมาสมบรู ณม์ ากที่สุด
3. ขน้ั นำผลงานไปใช้ (Produce)
3.1 (ออนไลน์) ผู้เรียนนำเสนอผลงานการเขียนเชิงสร้างสรรค์ด้วยรูปแบบออนไลน์
ของตนผ่านชุมชนเน้ือหา อาทิ www.scribd.com หรือ www.sildeshare.

2 ออนไลน์ (Online) เปน็ การจัดกจิ กรรมโดยอาศยั เทคโนโลยคี อมพวิ เตอร์ผา่ นเครอื ขา่ ยอนิ เทอร์เนต็ แบบ
ไม่ประสานเวลา เน้ือหาบทเรียนสง่ ผา่ นในรูปแบบของอเิ ลก็ ทรอนิกส์

100

com และเข้าไปแลกเปล่ียนแสดงความคิดเห็นเชิงสร้างสรรค์ต่อผลงานการ
เขียนของเพอ่ื นคนอน่ื ๆ
3.2 (ออนไลน์) ผู้สอนแสดงความคิดเห็นเชิงสร้างสรรค์ต่อผลงานการเขียนของ
ผู้เรียนแต่ละคนผ่านชุมชนเน้ือหา และ (ออฟไลน์) ประเมินผลงานของผู้เรียน
ตามเกณฑ์รูบริกส์3 (Rubrics) ประเมินงานเขียนเชิงสร้างสรรค์ของวัชรพล
วบิ ูลยศริน (2556ค) ตอ่ ไปน้ี

ตารางที่ 3.2 เกณฑ์รบู ริกสป์ ระเมินผลงานเขียนการเชิงสร้างสรรค์

54321

รายการ ดีเยย่ี ม ดี พอใช้ ปรับปรุง ตก

(26-30 คะแนน) (21-25 คะแนน) (16-20 คะแนน) (11-15 คะแนน) (5-10 คะแนน)

แนวคิดของเรือ่ ง แปลกใหม่ โดด แสดงออกถึง ไม่ค่อยแปลก เหมือนเป็นการ คัดลอกงาน
(Conception) เดน่ และกระตุ้น ความพยายาม ใหม่หรอื ไม่โดด ปรบั แกง้ าน เขียนของผอู้ ื่น
ใหผ้ ้อู ่านมี ในการเขยี น เด่น อาจมกี าร เขียนอน่ื ๆ มา
ประสบการณ์ หยิบยืมสำนวน เปน็ ของตน
ร่วม ภาษาของผอู้ ืน่
มาใช้

ความสมั พนั ธ์ กลวธิ ีการดำเนิน กลวิธกี ารดำเนนิ กลวธิ ีการดำเนิน กลวธิ ีการดำเนิน กลวธิ กี าร
ของ เรอ่ื ง สำนวน เรื่อง สำนวน เร่ือง สำนวน เรอ่ื ง สำนวน ดำเนนิ เรือ่ ง
องคป์ ระกอบ การแต่ง โวหาร การแตง่ โวหาร โวหาร และ โวหาร และ สำนวนโวหาร
(Coherence) และนำ้ เสยี ง ท่ใี ช้ และ น้ำเสยี งสมั พนั ธ์ นำ้ เสยี งสมั พนั ธ์ และนำ้ เสยี งไม่
สมั พนั ธก์ ันใน น้ำเสียงสมั พันธ์ กนั ในระดบั กนั ในระดบั สมั พนั ธก์ นั
ระดบั ดีเยี่ยม กนั ในระดบั ดี พอใช้ ปรับปรงุ

หลกั ไวยากรณ์ ถกู ตอ้ งตามหลัก ถูกตอ้ งตามหลัก ถูกต้องตามหลกั ถกู ตอ้ งตามหลัก ถูกต้องตามหลัก

3 รูบริกส์เป็นวิธีการแบ่งระดับเกณฑ์ (Criteria) เพ่ือการประเมินชิ้นงาน โดยจำแนกระดับของ
ความสามารถ (Performance rating) ไว้บนหัวตาราง อาทิ ดีมาก ดี พอใช้ ควรปรับปรุง หรือเป็นตัวเลข 4 3 2 1
พร้อมคำอธบิ ายความสามารถ (Performance descriptions) ในแต่ละระดับของแต่ละเกณฑ์

101

ตารางท่ี 3.2 เกณฑร์ ูบริกส์ประเมนิ ผลงานเขียนการเชงิ สร้างสรรค์

54321

รายการ ดีเยย่ี ม ดี พอใช้ ปรับปรุง ตก

(26-30 คะแนน) (21-25 คะแนน) (16-20 คะแนน) (11-15 คะแนน) (5-10 คะแนน)

(Grammar) ไวยากรณ์ ไม่มี ไวยากรณ์เป็น ไวยากรณ์ ไวยากรณ์บา้ ง มี ไวยากรณ์นอ้ ย
ข้อผดิ พลาด สว่ นใหญ่ มี พอสมควร มี ข้อผดิ พลาด 5-6 มาก มี
ข้อผิดพลาด 1-2 ข้อผิดพลาด 3-4 ข้อ ขอ้ ผดิ พลาด
ขอ้ ข้อ มากกวา่ 7 ขอ้

บทสนทนาและ แฝงความรู้ ใช้ แฝงความรู้บา้ ง แฝงความรบู้ า้ ง แฝงความรู้บา้ ง แฝงความรนู้ ้อย
ถ้อยคำสำนวน โครงสรา้ ง ใชโ้ ครงสรา้ ง ใช้โครงสรา้ ง ใชโ้ ครงสรา้ ง มากจนเกอื บไม่
(Dialogue and ประโยคและคำ ประโยคและคำ ประโยคและคำ ประโยคและคำ มี ใช้โครงสรา้ ง
Idiom) ทห่ี ลากหลาย ทคี่ ่อนข้าง ทค่ี อ่ นข้าง ทคี่ อ่ นขา้ งจำกดั และคำจำกดั
สละสลวย หลากหลาย หลากหลาย แต่ และไม่เป็นไป และไม่เป็นไป
เป็นไปตามหลัก สละสลวย ไม่เปน็ ไปตาม ตามหลกั ภาษา ตามหลกั ภาษา
ภาษา เปน็ ไปตามหลัก หลกั ภาษา
ภาษา

การสะกดคำ สะกดคำไดท้ ุก สะกดคำผดิ บา้ ง สะกดคำผดิ บ้าง สะกดคำผิด สะกดคำผิดเป็น
(Spelling) ถูกต้องทุกคำ เล็กน้อยเพียง ประมาณ 4-6 พอสมควร สว่ นใหญ่
1-3 คำเทา่ น้นั คำ ประมาณ 7-9 มากกว่า 9 คำ
คำ ขนึ้ ไป

การใช้ ใชเ้ ครื่องหมาย ใชเ้ ครอื่ งหมาย ใชเ้ คร่ืองหมาย ใช้เคร่ืองหมาย ใช้เครือ่ งหมาย
เครือ่ งหมาย วรรคตอนได้ วรรคตอนผดิ วรรคตอนผดิ วรรคตอนผดิ วรรคตอนผดิ
วรรคตอน ถกู ตอ้ งทุกแห่ง บา้ งเล็กน้อย บา้ งประมาณ พอสมควร เปน็ สว่ นใหญ่
เพียง 1-3 แหง่ 4-6 แหง่ ประมาณ 7-9 มากกว่า 9 แห่ง
(Punctuation) เท่าน้นั แห่ง ขนึ้ ไป

102

3. กิจกรรมการเรียนการสอนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศตามแนวคิด
ของการสอนภาษาเพ่อื การสือ่ สาร

การจัดกิจกรรมตามแนวคิดของการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารสามารถจัดให้เป็นการทำงาน
กลุ่มได้ การจัดกลุ่มในชั้นเรียนมีอยู่ด้วยกัน 4 แบบ ได้แก่ การทำงานร่วมกันท้ังชั้น การทำงานเดียว
การทำงานคู่ และการทำงานกลุ่มย่อย แม้ผลการวิจัยของแพตทิสัน (Pattison, 1987) พบว่าการ
ทำงานกลุ่มมักมีปัญหาเกิดข้ึน เช่น ผเู้ รียนบางคนอาจไม่พูดอะไรในขณะท่ีผู้เรียนคนอ่ืนพูดมากเกนิ ไป
ผู้เรียนพูดแต่ภาษาแม่ของตนหรือพูดผิดมากเกินไป แต่การใช้กิจกรรมการเรียนการสอนตามแนวคิด
ของการสอนภาษาเพ่ือการส่ือสารกับการทำงานกลุ่มสามารถลดปัญหาเหล่าน้ีลงได้ เน่ืองจากการ
ทำงานต่าง ๆ ขึ้นอยู่กบั การแลกเปล่ียนข้อมูลของผู้เรียน กรอบทางภาษาหรือรปู แบบประโยคสามารถ
ควบคุมการใช้ภาษาได้ ดงั นั้น ผู้เรยี นจะได้รับการสนับสนุนให้ใช้ภาษาตา่ งประเทศและไม่ทำผิดพลาด
โดยผู้สอนไม่ตอ้ งกลา่ วซำ้ เพ่อื แก้ไขอกี

กจิ กรรมท่ีใช้ในการเรยี นการสอนตามแนวคิดของการสอนภาษาเพ่ือการส่อื สารจะมุ่งเนน้ การ
พัฒนาทักษะทางภาษาและความสามารถของผู้เรียน เพ่ือให้ผู้เรียนสามารถนำไปใช้ประโยชน์ใน
ชีวิตประจำวันได้ ดังเสนอแนวทางการจัดกิจกรรมพัฒนาทักษะทางภาษาไว้สรุปได้ (Finocchiaro &
Brumfit, 1983) ดังนี้

แนวทางการจดั กจิ กรรมพฒั นาทักษะการฟัง

1. ฟงั ผสู้ อน
- บอกคำสงั่ เกี่ยวกบั การทำกจิ กรรมในช้ันเรยี น
- แสดงรปู แบบของประโยคตามการสือ่ สาร ไวยากรณ์ หรอื ลักษณะของคำใน
ภาษา
- ถามคำถามเพ่ือกระต้นุ การตอบสนองตอ่ กิจกรรมการฝกึ ปฏิบตั ิที่เหมาะสม
- เล่าเรือ่ งราว
- อ่านข้อความหรือบทประพนั ธ์
- อธิบายรปู ภาพทเ่ี ป็นสถานการณห์ รอื รูปภาพง่าย ๆ
- บอกคำส่ังสำหรับการทดสอบ
- แนะนำการเขา้ ร่วมกจิ กรรมการฝกึ ปฏิบัติโดยตรง

103

- บอกคำส่ังในการเล่มเกมการฟังอย่างง่าย ๆ เช่น “ไซมอน เซย์” (Simon
Says)

- แสดงละครตามบทโดยใช้รูปภาพหรอื วตั ถุทเ่ี ปน็ ของจรงิ
- เล่าเหตกุ ารณท์ ่ีเกิดขน้ึ กับตนเองหรอื คนอ่นื ๆ
- ทักทายนกั ทอ่ งเท่ียวและเขา้ รว่ มการสนทนา
2. ฟังผู้เรียนคนอ่ืน ๆ บอกคำสั่ง ถามคำถาม สรุป เล่าเหตุการณ์เล็ก ๆ น้อย ๆ (เช่น
สิ่งท่ีพบเจอหรอื สงิ่ ทีเ่ กิดข้ึนระหว่างทางมาโรงเรียน)
3. เขา้ รว่ มในการแสดงละครตามบทหรอื แสดงบทบาทสมมุติ
4. ฟงั บคุ คลภายนอก (คนในชมุ ชน) หรือบคุ ลากรของโรงเรียนคนอนื่ ๆ
5. ฟงั เสียงบันทึกในบทเรียน การสนทนา เพลง ละคร บทกลอน สุนทรพจน์ และอื่น ๆ
หลาย ๆ ครงั้
6. ฟงั เทปหรือแถบบนั ทกึ เสียงต่าง ๆ ใหเ้ พียงพอท่ีจะคาดเดาหรือเพมิ่ เติมสง่ิ ที่ได้ยิน
7. ฟังรายการวิทยุหรือโทรทศั น์ทกี่ ำหนด
8. มีส่วนรว่ มในการสนทนาทางโทรศัพท์ (จำลองสถานการณใ์ นชนั้ เรยี น)
9. สัมภาษณ์คนในชุมชน
10. เข้าร่วมหรือสนับสนุนปาฐกถา การประชุม การประชุมของชมรมภาษา กลุ่ม
อภิปราย และการอภปิ รายเป็นคณะ
11. ชมภาพยนตร์
12. เล่นเกมภาษา
13. ทำงานเป็นคู่หรอื เป็นกลมุ่ เพอื่ แกป้ ัญหาร่วมกนั
14. เข้ารว่ มในการแสดงบทบาทสมมตุ ิดว้ ยตนเอง

แนวทางการจดั กจิ กรรมพฒั นาทกั ษะการพดู (เรยี งลำดบั จากธรรมดาไปยังซับซ้อน)

1. ปฏิบัตติ ามคำสั่งหรอื ตอบคำถามของผสู้ อนหรือผเู้ รียนคนอ่ืน ๆ
2. บอกคำสั่งแก่ผู้เรียนคนอ่ืน ๆ (เช่น พาฉันไปยัง..... ช้ีไปทาง....... เดินไปท่ีประตูและ
เปดิ ถาม X วา่ เขาอายเุ ทา่ ไร ถาม X วา่ เขาสามารถทำ.....ได้หรอื ไม)่
3. มีส่วนร่วมในการพดู หรือการปฏบิ ัติ
4. ตอบคำถามของผเู้ รียนคนอน่ื ๆ ทอ่ี ยใู่ นชน้ั เรยี นหรอื นอกช้ันเรียน

104

5. ต้ังคำถามถามผู้สอนหรือผู้เรียนคนอื่น ๆ จากการอ่านหรือการมีประสบการณ์
ร่วมกนั

6. เล่าสง่ิ ท่ปี รากฏในรูปภาพหรอื บนแผนที่
7. เล่าเร่ืองท่ีรู้จักกันเป็นอย่างดีหรือเล่าประสบการณ์ด้วยคำพูดของตน ถ้าจำเป็น
ผสู้ อนอาจให้คำสำคัญเอาไว้
8. รายงานตามหัวขอ้ ท่เี ตรยี มไวแ้ ละพร้อมตอบคำถาม
9. จำลองห้องเรียนเป็นร้านค้า ห้องสมุด ธนาคาร หรือสถานที่ต่าง ๆ ในชุมชนที่
เหมาะสม และใหผ้ ู้เรยี นแตง่ บทสนทนาให้สมจรงิ ตามสถานที่นั้น ๆ
10. เลม่ เกมภาษาเชงิ ส่อื สาร
11. จัดกลุ่มโต้วาที การอภิปราย ที่ประชุม หรือกิจกรรมกลุ่มที่เกี่ยวกับการพูด โดย
ผเู้ รียนต้องฟังเพื่อนหรือผู้ท่ีกำลังพูดด้วยความต้ังใจ เพื่อแสดงความคิดเห็นของตนหรือกลา่ วให้ข้อมูล
เสรมิ ทเ่ี กยี่ วขอ้ ง
12. บันทึกการโตว้ าทหี รอื การกระจายขา่ วเพอื่ อภปิ รายต่อไป
13. เขา้ ร่วมการสนทนาทางโทรศัพท์เคล่ือนท่แี บบสมาร์ตโฟน
14. อ่านบทความในหนังสือพิมพ์ท่ีเป็นภาษาแม่ของตนและรายงานเป็นภาษาเป้าหมาย
เตรียมตัวถามและตอบคำถาม
15. เขา้ รว่ มการแสดงบทบาทสมมุตติ ามสถานการณ์การใชภ้ าษาเปา้ หมาย
16. เขา้ ร่วมการแสดงละครรว่ มสมัยท่มี ชี อื่ เสียง

บทบาทของผู้สอนในกจิ กรรมพัฒนาทักษะการพูดคือ ปล่อยให้ผู้เรียนใช้ภาษาอยา่ งอสิ ระ
เท่าท่ีเป็นไปได้ เปลี่ยนชั้นเรียนเป็นชุมชนการใช้ภาษาอย่างแท้จริง ผู้เรียนต้องคุ้นเคยกับการทำงาน
เปน็ คู่หรือกลุ่มย่อย โดยผู้สอนต้องไม่จับตามองหรือควบคุมมากจนเกินไป แต่ทำหนา้ ท่ีชี้แจงให้ผู้เรียน
เข้าใจว่างานแต่ละชิ้นประกอบด้วยอะไรบ้าง (ถ้าจำเป็น ควรอธิบายเป็นภาษาแม่ของผู้เรียน) เวลาท่ี
ควรใช้ ผู้สอนจำเป็นต้องวางแผนมาก่อนล่วงหน้า การฝึกปฏิบัติเป็นคู่หรือเป็นกลุ่มเกิดขึ้นได้ 3 ระยะ
ดังน้ี

1. การเตรียมพร้อม (Preparation) ผู้สอนอธิบายหรือสาธิตกิจกรรมที่ต้องทำและแจก
ใบงานหรือสื่ออ่ืน ๆ ที่สัมพันธ์กับส่วนใดส่วนหนึ่งของแบบเรียน และต้องแน่ใจว่าผู้เรียนในช้ันเรียน
เขา้ ใจขั้นตอน

105

2. การดำเนนิ กิจกรรม (Activity) ผู้เรียนปฏิบัตติ ามภาระงาน ผู้สอนจับตาดูการทำงาน
ของผเู้ รียนแต่ละคนหรอื แต่ละกลุม่ และอาจช่วยเหลือผ้เู รยี นในการปฏบิ ตั กิ จิ กรรมไดห้ ากจำเปน็

3. การติดตามและการวัดผล (Follow-up and evaluation) ระยะน้ีเป็นเพียง
ทางเลือกและไม่จำเป็นเสมอไป แต่ผู้เรียนควรได้รับผลป้อนกลับ เช่น การเฉลยคำตอบของกิจกรรมท่ี
ปฏบิ ตั ิ หรอื การอภปิ รายผลการดำเนนิ กิจกรรมกลุม่

แนวทางการจดั กิจกรรมพฒั นาทักษะการอา่ น

การพัฒนาทักษะการอ่านจะช่วยสง่ เสริมทักษะการฟังและการพูด ผู้สอนควรถามคำถาม
ปากเปลา่ เพื่อดึงความสนใจของผู้เรียนก่อนเข้าสู่กิจกรรมการอ่านและการเขียน แล้วจึงนำคำตอบของ
ผู้เรียนมาใช้เป็นแนวทางการสอนการอ่านและการเขียนก่อนเข้าสู่กิจกรรมได้ ในบางคร้ังผู้เรียน
จำเป็นต้องอ่านกฎ กติกา ระเบียบ คำส่ังสำหรับการปฏิบัติหรือใช้ส่ิงใดสิ่งหนึ่ง เช่น วิธีการใช้ยา ใช้
เครือ่ งมอื /อุปกรณ์ รายการอาหารพร้อมราคา ศึกษาส่ิงพิมพไ์ ม่ว่าจะใช้ในการเรยี น ในการวิจยั ในการ
เตรียมการเขียนโครงร่างหรือบทสรุป การอ่านวารสารวิชาการ ผู้เรียนจำนวนมากต้องการอ่านเพ่ือ
ความบันเทิง เช่น เรื่องส้ัน นิทาน นิยาย นวนิยาย บทละคร หรือความเรียง ดังน้ัน หน้าที่หลักของ
ผสู้ อนในการพฒั นาทกั ษะการอา่ นและทำให้ผู้เรียนเกิดทักษะย่อยทจี่ ำเปน็ สามารถสรปุ ได้ ดงั น้ี

1. อธิบายสถานการณ์ให้ชดั เจนเพอ่ื ใหผ้ ูเ้ รยี นเขา้ ใจจุดประสงคห์ ลกั ของเร่ือง
2. ขยายและสร้างประสบการณ์ของผู้เรียนเพื่อให้เข้าใจองค์ประกอบของเหตุการณ์
(ผคู้ น สถานท่ี เวลา หวั ขอ้ และขอ้ มลู ทางวฒั นธรรม)
3. ออกเสียงและบอกความหมายของคำศัพทท์ ่ผี ูเ้ รยี นไม่คนุ้ เคย
4. สอนคำพ้องรปู และคำพ้องเสยี ง
5. ชว่ ยผเู้ รยี นสร้างความเข้าใจหนา้ ทข่ี องไวยากรณ์ โครงสร้างประโยคและกลุม่ คำ
6. ช่วยผู้เรียนสร้างความเข้าใจและเชื่อมโยงการแสดงออกเชิงสื่อสารแบบเป็นทางการ
และไม่เป็นทางการ รวมถงึ เจตนาของสถานการณ์
7. ช่วยผู้เรียนสร้างความเข้าใจและหรือคาดคะเนความหมายของคำและคำเชื่อม
ประโยค เช่น นอกจากนน้ั ในทางตรงกันข้าม และอน่ื ๆ ในประโยคความเดยี วและประโยคความรวม
8. ชว่ ยผูเ้ รยี นวิเคราะห์แกน่ เร่อื งหลักและรายละเอียดสนับสนุน
9. เพ่มิ ความเร็วในการอา่ นของผู้เรยี น

106

ในการพฒั นาใหผ้ ูเ้ รยี นเกิดทกั ษะย่อยสามารถทำได้ ดงั นี้

1. ผู้สอนสามารถช่วยผู้เรียนสร้างความเข้าใจโดยถามคำถามเกี่ยวกับส่ิงท่ีชอบหรือไม่
ชอบ จัดกิจกรรมการอ่านนอกสถานที่ หรือกิจกรรมการอ่านให้ผู้เรียนเกิดประสบการณ์จากการดู
รูปภาพ ดูรายการโทรทัศน์ ชมภาพยนตร์ อ่านนิตยสาร ฟังเพลงและบทกลอน แสดงอารมณ์และ
ความรสู้ ึกจากการอ่าน

2. ความสัมพันธ์ของเสียงและรูปควรนำมาสอนให้กับผู้เรียนระดับเรมิ่ ต้น และควรสอน
อ่านโดยใช้สองทางคู่ขนานกัน ได้แก่ ทางท่ี 1 เป็นการอ่านบทอ่านที่สัมพันธ์กับอายุและความสนใจ
ของผเู้ รียนเพ่อื สรา้ งความเขา้ ใจในภาพรวม และทางท่ี 2 เป็นการอา่ นบทอ่านท่ีเน้นคำศพั ทเ์ สริมความ
เขา้ ใจดา้ นความสัมพนั ธร์ ะหว่างรปู และเสียง

3. ผสู้ อนควรอธิบายระดบั ภาษาแบบทางการและไมท่ างการ คำใดหรอื ประโยคใดท่ีเป็น
การใช้ภาษาแบบทางการ ไม่ทางการ สุภาพ ไม่สุภาพ หรือลักษณะของสถานการณ์แบบใดที่กำหนด
ระดบั ของภาษา

4. ผู้สอนควรทราบรายละเอียดของเร่ืองหรือบทสนทนาหลาย ๆ รูปแบบ หลังจาก
อธิบายให้ผู้เรยี นเข้าใจสถานการณ์และเจตนาท่ีไม่คุ้นเคย นอกจากน้ี ผู้สอนควรสอนอ่านบทอ่านแบบ
ออกเสียงและเว้นจงั หวะตามการเวน้ วรรคตอน

แนวทางการจัดกิจกรรมพัฒนาทักษะการเขียน

1. ผู้สอนไม่ควรใช้เวลาส่วนใหญ่ให้ผู้เรียนฝึกเขียนในช้ันเรียน แต่อาจฝึกเพียงเล็กน้อย
ได้ เพราะเวลาในช้ันเรียนควรนำไปใช้ในการฝึกการฟังและการพูด ซึ่งผู้เรียนส่วนใหญ่ไม่มีโอกาสฝึก
นอกช้ันเรียน

2. การเขียนคำศัพท์ตามคำบอก การเรียงคำศัพท์ตามคำบอกหรือพจนานุกรม ข้อสอบ
แบบเติมคำ และการฟังเพ่ือความเข้าใจควรฝึกปฏิบัติในชั้นเรียน แม้ผลของกิจกรรมดังกล่าวจะไม่ได้
บอกถึงความสามารถดา้ นการสื่อสารของผเู้ รยี น แต่ผลเหลา่ น้ีทำใหผ้ ้เู รียนไดซ้ ึมซบั กฎการใช้ไวยากรณ์
ได้ทบทวนรายการคำศัพท์ เรียนรู้การลำดับข้อมูล และอ่ืน ๆ ซ่ึงเป็นสิ่งที่จะเกิดขึ้นภายในตัวของ
ผ้เู รยี น

3. การเขยี นควรสง่ เสริมและชว่ ยขยายความสามารถด้านการฟงั การพูด และการอา่ น
4. ผู้สอนเลอื กสอนเนอ้ื หาใดควรขึน้ อยกู่ บั ระดบั ของผ้เู รยี นดงั น้ี

107

- เคร่ืองหมาย การเวน้ วรรคตอน อักษรยอ่ การสะกดคำ
- ความสัมพันธ์ของการสะกดคำตามเสียง เช่น คำว่า กา มีเสียงพยัญชนะ

/กอ/ และเสยี งสระ /อา/ ผสมกนั
- การเขียนจดหมายแบบทางการ (ธุรกิจ กฎหมาย และอ่ืน ๆ) และแบบไม่

เป็นทางการ (ส่วนตวั )
- การเขียนบนั ทึกยอ่ จากหนงั สือหรือการบรรยายในชั้นเรียน การสรปุ หรือย่อ

ความในหนังสอื
- การจัดระเบียบความคิดและเขยี นแสดงความคิดเห็นอย่างเหมาะสม วิธีการ

คำรอ้ ง หรอื การถา่ ยทอดความหมายทีต่ ้องการไปยังผู้อ่าน
- ความแตกตา่ งระหว่างภาษาพูดและภาษาเขียน
5. ผู้เรียนระดับสูงควรมีมุมมองหลากหลายทั้งประสบการณ์จากการฟังและการอ่านท่ี
เขียนแสดงความคิดของตนออกมา การดูภาพวาด การอ่านวรรณกรรม และอ่ืน ๆ ตามความสนใจ
ของตน หรือการชมภาพยนตร์และอธิบายตามความรู้สึกของตน จะช่วยให้ผู้เรียนเขยี นเชิงสร้างสรรค์
ไดอ้ ย่างมปี ระสิทธภิ าพมากขนึ้
6. ให้ผู้เรียนฝึกถอดคำประพันธ์และหาความหมายของคำไวพจน์ คำท่ีใช้บ่อย โดยใช้
พจนานกุ รมภาษาเดียวหรือสองภาษา และควรสอนวิธกี ารใช้หนงั สือคำไวพจน์
ในการพัฒนาความสามารถในการส่ือสารควรนำกิจกรรมการส่ือสารมาใช้ในช้ันเรียน ผู้สอน
ควรจัดสถานการณ์การส่ือสารตามเน้ือหาและกระตุ้นให้ผู้เรียนเข้าร่วมกิจกรรม อาทิ การแสดง
บทบาทสมมุติ การจำลองสถานการณ์ และการโต้ตอบทางสังคมตามสภาพแวดล้อมทางสังคมและ
ภาษาให้ใกล้เคียงธรรมชาติเพื่อให้ผู้เรียนเรียนรู้การใช้ภาษาเพ่ือการส่ือสาร อย่างไรก็ตาม ลิตเทิลวูด
(Littlewood, 1981) แนะนำว่ากจิ กรรมการเรยี นภาษาตอ้ งประกอบไปดว้ ย
1. การฝึกฝนความสามารถท่หี ลากหลาย
2. การเพ่มิ แรงจูงใจของผเู้ รยี นโดยจัดกจิ กรรมให้สัมพันธก์ ับวัตถปุ ระสงค์
3. การสรา้ งการเรยี นรู้ตามธรรมชาติ
4. การสร้างบริบททส่ี ่งเสรมิ การเรียนรู้

กจิ กรรมการสอนภาษาเพื่อการส่ือสารสามารถนำมาใช้ในการฝึกทกั ษะ 4 ด้าน ไมเ่ พียงแต่ฝึก
ทักษะการฟังและการพูดเท่าน้ันแต่ยังฝึกการอ่านและการเขียนได้อีกด้วย การพัฒนาทักษะทางภาษา

108

ควรจัดสถานการณ์ใหผ้ เู้ รยี นชาวตา่ งชาติเรยี นรู้ภาษาอย่างทเ่ี จ้าของภาษาได้เรยี นภาษาแมข่ องตนตาม
สภาพแวดล้อมจริง บางครั้งผู้เรียนที่ฝึกฝนภาษาเป้าหมายเปน็ เวลานานอาจไม่สนใจการเรยี น การจัด
กิจกรรมการสื่อสารที่น่าสนใจจะทำให้ผู้เรียนไม่เหนื่อยและไม่เบ่ือ และยังช่วยให้ผู้เรียนท่ีไม่กล้า
แสดงออกเริม่ พูดเมือ่ ไดป้ ฏบิ ตั ิกิจกรรมท่ีตนร้สู กึ สนใจ

4. ส่ือการเรียนการสอนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศตามแนวคิดของ
การสอนภาษาเพือ่ การส่ือสาร

สื่อการเรยี นการสอนเป็นบทบาทแรกในการสง่ เสรมิ การใชภ้ าษาเพือ่ การสื่อสาร (Richards &
Rodgers, 2014) ผู้สอนควรใชส้ ่ือการเรียนการสอนตามสภาพจริงเพ่ือ (1) จัดการปัญหาของผู้เรียนที่
ไม่สามารถนำสง่ิ ทเ่ี รียนในช้ันเรยี นไปใช้กับสถานการณ์จรงิ ภายนอกชน้ั เรยี นได้ และ (2) เปิดโอกาสให้
ผู้เรยี นใช้ภาษาแบบธรรมชาติในสถานการณ์ที่หลากหลาย

ส่ือการเรียนการสอนตามสภาพจริงเป็นส่วนหน่ึงของการเรียนภาษาไม่ว่าจะเป็นภาษาพูด
หรือภาษาเขียน ซ่ึงควรผลิตออกมาเป็นสารสำหรับการส่ือสารในสถานการณ์ที่ไม่ใช่การสอน เปน็ การ
ส่ือสารที่ผู้เรียนพึงปรารถนา ไม่ใช่การเก็บคะแนนหรือไม่ใช่เครื่องมือในการสอนภาษา แต่เป็น
เคร่ืองมือทางภาษาที่ให้โอกาสผู้เรียนขยายประสบการณ์การเรียนภาษา ดังนั้น สื่อการเรียนการสอน
ต้องมีความน่าสนใจมากกว่าข้อความ โดยส่ือต่าง ๆ ท่ีใช้ในการเรียนการสอนภาษาเพื่อการส่ือสาร
สามารถสรุปไดด้ งั น้ี (สมุ ิตรา อังวฒั นกลุ , 2531)

1. การใช้สอ่ื ของจรงิ
แนวคิดของการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารมักใช้ส่ือของจริงในการสอนเพื่อแก้ไขปัญหาท่ี
ผเู้ รียนไม่สามารถนำความรใู้ นชั้นเรียนไปใช้นอกชัน้ เรียนได้และเปิดโอกาสใหผ้ ู้เรียนเรียนรูภ้ าษาอย่าง
เป็นธรรมชาติในสถานการณ์ต่าง ๆ โดยผู้สอนอาจคัดลอกข้อความท่ีปรากฏในหนังสือพิมพ์มาเป็น
ตัวอย่าง และให้การบ้านเป็นการฟังการสนทนาจากวิทยุหรือโทรทัศน์ เช่น การฟังรายงานพยากรณ์
อากาศ ซึ่งถือเป็นสื่อท่ีใช้ภาษาตามสภาพจริง อีกวิธีหน่ึงท่ีสามารถนำมาใช้ได้คือ การใช้ส่ือท่ีไม่มี
ข้อความหรือไม่ใช้ภาษามากนัก แต่สามารถนำมาอภิปรายได้อย่างกว้างขวาง เช่น รายการอาหาร
ตารางเวลา กราฟ แผนภูมิ แผนผัง แผนภาพ แผนที่

109

2. การเรียงประโยคท่จี ดั วางอย่างสับสน

ผู้อ่านอ่านข้อความเป็นประโยคท่ีเรียงไว้อย่างสับสน ไม่เป็นลำดับ และข้อความอาจมาจาก
เนื้อเร่ืองท่ีผู้เรียนเคยเรียนก่อนแล้ว โดยผู้สอนให้ผู้เรียนเรียบเรียงประโยคใหม่ให้ถูกต้องตามเนื้อเรื่อง
ที่เรียน กิจกรรมนี้จะฝึกให้ผู้เรียนเรียนรู้เก่ียวกับความสอดคล้อง (Cohesion) และความสัมพันธ์ของ
ประโยค (Coherence) โดยเรียนรู้ว่าประโยคต่าง ๆ เช่ือมโยงกันได้อย่างไร ซ่ึงเป็นตัวสำคัญในการ
เชื่อมข้อความให้ตอ่ เนื่องกนั เม่ือเขยี นอนุเฉทหรือยอ่ หน้า ผ้สู อนอาจให้ผู้เรียนเรียบเรียงประโยคในบท
สนทนาใหม่ให้ถูกต้องหรือจัดชุดรูปภาพให้เป็นเรื่องราวและเขียนประโยคประกอบ การเล่าเร่ืองข้ึน
เช่น การลำดับประโยคตอ่ ไปนใี้ หเ้ ปน็ เน้อื ความท่ีสมบูรณ์

ก. ยังทำให้ชวี ิตจมปลกั ไมก่ ้าวหนา้ ไปไหน
ข. การคิดน้อยใจในชะตากรรมของตวั เอง
ค. เช่น เกิดมายากจน รูปรา่ งไม่ดี หรอื ทำอะไรก็สู้เขาไม่ได้
ง. เพราะมัวแต่ยำ้ คดิ ย้ำทำแต่สิ่งเดมิ ๆ
จ. การคิดเช่นนนี้ อกจากจะเป็นการบั่นทอนกำลงั ใจตวั เองแลว้

จากประโยคข้างต้นเมื่อเรียงลำดับอย่างถูกต้องแล้วจะได้เนื้อความว่า “การคิดน้อยใจใน
ชะตากรรมของตัวเอง เช่น เกิดมายากจน รูปร่างไม่ดี หรือทำอะไรก็สู้เขาไม่ได้ การคิดเช่นน้ีนอกจาก
จะเป็นการบ่ันทอนกำลังใจตัวเองแล้ว ยังทำให้ชีวิตจมปลัก ไม่ก้าวหน้าไปไหน เพราะมัวแต่ย้ำคิดย้ำ
ทำแตส่ ่ิงเดมิ ๆ” (ข - ค - จ - ก - ง) ทั้งน้ี ผู้สอนควรเลอื กความยากง่ายของเนื้อความให้เหมาะสมกับ
ระดับความสามารถของผู้เรียนเปน็ สำคัญ

3. เกมทางภาษา

ผู้สอนควรนำเกมมาใช้ในการสอนภาษาเพ่ือการสื่อสาร เพราะนอกจากผู้เรียนจะได้รับความ
สนุกสนานแล้ว ยังเป็นการฝึกการใช้ภาษาอย่างดี เกมท่ีใช้ได้ดีต้องมีลักษณะสำคัญ 3 ประการ คือ
ช่องว่างของข้อมูล (Information gap) ตัวเลือก (Choice) และการให้ผลป้อนกลับ (Feedback) ดัง
รายละเอยี ดตอ่ ไปนี้

- ชอ่ งว่างของขอ้ มลู เกิดจากผูพ้ ดู ไม่ทราบเร่ืองราวของอีกฝา่ ยหนึง่
- ตวั เลือก ผู้พูดมีตัวเลือกว่าจะคาดการณ์วา่ อีกฝ่ายน่าจะทำอะไรและจะใช้คำพูด

สนทนาอย่างไร

110

- การให้ผลป้อนกลับ ผู้พูดจะได้รับข้อมูลป้อนกลับจากอีกฝ่ายหนึ่ง ถา้ ประโยคที่
ใช้ไม่เป็นที่เข้าใจก็จะไม่ได้รับคำตอบกลับมา แต่ถ้าได้รับคำตอบก็แสดงว่าสิ่งท่ี
พดู นั้นผู้อื่นเข้าใจ

4. ภาพเล่าเร่ืองราว
ผู้เรียนแต่ละกลุ่มจะได้รับภาพชุด คนหนึ่งในกลุ่มจะให้เพื่อน ๆ ดูภาพแรก และให้ทายว่า
ภาพที่ 2 เกี่ยวข้องกับส่ิงใด ฉะน้ันจะมีช่องว่างของข้อมูลเกิดข้ึน และผู้เรียนในกลุ่มไม่มีใครทราบว่า
ภาพที่ 2 เป็นภาพอะไร ซึ่งจะสร้างตัวเลือกเพื่อทายว่าภาพน้ันควรเป็นภาพอะไร จะใช้คำพูดในการ
ทายแบบใด และผลป้อนกลับที่ได้รับอาจไม่ได้อยู่ในรูปของประโยค แต่เป็นการแสดงภาพให้ผู้เรียนดู
แทนการตอบด้วยคำพูด กิจกรรมน้ีเป็นตัวอย่างของการฝึกแก้ปัญหา โดยใชส้ ื่อการเรียนการสอนตาม
แนวคิดของการสอนภาษาเพ่ือการสือ่ สาร และนิยมใช้ในการสอนภาษาเพ่ือการส่ือสารเพราะผู้เรียนมี
โอกาสแลกเปลี่ยนความคดิ ทำงานรว่ มกนั เพอ่ื แกป้ ญั หา และยังไดฝ้ ึกการสนทนาด้วย
5. บทบาทสมมตุ ิ
บทบาทสมมุติมคี วามสำคญั ในการสอนภาษาเพื่อการสอ่ื สาร เพราะผู้เรียนมโี อกาสฝึกสนทนา
สอื่ สารในสภาพสังคมต่าง ๆ และในฐานะตา่ ง ๆ กัน ในการใชบ้ ทบาทสมมุติ ผู้สอนจะกำหนดบทบาท
ของผู้เรียนแต่ละคน โดยกำหนดว่าผู้เรียนแสดงเปน็ ใคร จะพดู อย่างไรบา้ ง หรอื อกี แบบอาจกำหนดว่า
ผู้เรียนแสดงเป็นใคร อยู่ในสถานการณ์อะไร จะพูดเก่ียวกับอะไร แต่สิ่งที่จะพูดผู้เรียนต้องคิดเอาเอง
ซ่ึงเข้าถึงแนวคิดของการสอนภาษาเพื่อการส่ือสารมากกว่าเพราะให้ตัวเลือกแก่ผู้เรียนมากกว่า
บทบาทสมมุติจะมีช่องว่างของข้อมูลเมื่อผู้เรียนไม่แน่ใจว่าผู้อ่ืนจะพูดอะไร และผู้เรียนจะได้รับผล
ป้อนกลบั เพอ่ื รบั ทราบวา่ สิ่งที่พดู สอ่ื สารออกไปนัน้ เปน็ อย่างไรดว้ ย

5. เทคโนโลยีสนับสนุนการเรียนการสอนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ
แนวคิดของการสอนภาษาเพ่ือการสือ่ สาร

เทคโนโลยีของการสอนภาษาในระยะเร่ิมต้นคือ ห้องปฏิบัติการทางภาษาและโทรทัศน์เพ่ือ
การเรยี นการสอน รวมถึงการนำภาพกราฟิกและแผ่นฟลิ ม์ มาใชก้ ระต้นุ ให้ผูเ้ รยี นเกิดการเรยี นรู้ปรากฏ
อยู่ในประวัติศาสตร์การสอนภาษามาอย่างยาวนาน ปัจจุบันคอมพิวเตอร์เข้ามาขยายขอบเขตของ

111

เครอ่ื งมือการส่ือสารทั้งในดา้ นการใช้แหลง่ ข้อมลู และชมุ ชนเครือข่าย และยงั ขยายประเภทของสื่อท่ีใช้
ในการสื่อสารโดยรวมเทคโนโลยีสื่อแบบด้ังเดิม (แผ่นฟิล์ม วิดีโอ โทรทัศน์) เข้าไวด้ ้วยกัน ผ้เู รียนและ
ผู้สอนสามารถควบคุมและใช้รูปภาพ วิดีโอ เสียง ภาพกราฟิก และสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ ร่วมใน
สภาพแวดล้อมเครือข่ายมัลติมีเดีย ผู้เรียนท่ัวโลกสามารถเข้ามีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกันผ่านเครือข่าย
เวิลด์ไวด์เว็บ และท่ีสำคัญ บัตเลอร์-แพสโคและไวเบิร์ก (Butler-Pascoe & Wiburg, 2004) ได้
แนะนำเทคโนโลยีที่ใช้คอมพิวเตอร์เป็นฐานเพ่ือสนับสนุนแนวคิดของการสอนภาษาเพื่อการส่ือสาร
ประกอบด้วยสื่อมัลติมีเดีย ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์หรืออีเมล กระดานอภิปราย ฐานข้อมูล
อิเล็กทรอนิกส์ ห้องสนทนา และการประชุมทางไกล ดังตารางที่ 3.3 ตัวอย่างเทคโนโลยีสนับสนุน
แนวคดิ ของการสอนภาษาเพื่อการสอื่ สาร

ตารางที่ 3.3 ตัวอยา่ งเทคโนโลยสี นับสนนุ แนวคดิ ของการสอนภาษาเพ่ือการสอื่ สาร

ภาษา แนวคิดของการสอนภาษาเพอ่ื เทคโนโลยีสนบั สนุน
การสอ่ื สาร

มมุ มองของภาษา

มมุ มองของภาษา - มองภาษาเป็นการส่อื สาร - การสื่อสารในชีวิตจริงกับผู้ฟัง
ตามสภาพจริง

- มุ่งเน้นความสามารถด้านการ - อีเมลและกลุ่มคนที่สนทนาใน
สื่อสาร อินเทอร์เน็ตแบบไม่เห็นหน้า

(Keypals)

- วิดีโอเชงิ โตต้ อบ

- รายช่อื อเี มล

- กระดานอภปิ รายบนเวบ็

- หอ้ งสนทนา

- การจัดพิมพ์ด้วยคอมพิวเตอร์

112

ตารางที่ 3.3 ตวั อยา่ งเทคโนโลยีสนบั สนนุ แนวคดิ ของการสอนภาษาเพ่ือการสือ่ สาร

ภาษา แนวคิดของการสอนภาษาเพื่อ เทคโนโลยีสนบั สนุน
การส่ือสาร

แบบตั้งโต๊ะ

- การประชมุ ทางไกล

การเน้นภาษา ความหมายและรปู แบบของภาษา - การผสานกันระหว่างโครงงาน
การเน้นทักษะทางภาษา แ บ บ ร่ ว ม กั น ที่ ใช้ เว็ บ เป็ น ฐ า น
และซอฟต์แวร์ท่ีใช้ทักษะเป็น
ฐาน

- การฝึกปฏิบัติมุ่งเน้นรูปแบบ
ข อ ง ภ า ษ า (Form-focused
practice) อย่างมีความหมาย
สอดคล้องกับประสบการณ์ของ
ผู้เรยี น

ทักษะต่าง ๆ : การฟังและการพูด - วิดโี อเชิงโตต้ อบ

การอา่ นและการเขียน - ซอฟตแ์ วรก์ ารออกเสียง

- การประชุมทางไกล

- โปรแกรมประมวลผลคำและ
โ ป ร แ ก ร ม จั ด พิ ม พ์ ด้ ว ย
คอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะสำหรับ
การเขยี น

- ซอฟต์แวร์และเวบ็ ไซต์เกี่ยวกับ
การสอนไวยากรณ์

113

ตารางท่ี 3.3 ตวั อยา่ งเทคโนโลยสี นบั สนนุ แนวคดิ ของการสอนภาษาเพ่อื การสอื่ สาร

ภาษา แนวคดิ ของการสอนภาษาเพอ่ื เทคโนโลยีสนบั สนนุ
การสื่อสาร

- ฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ใน
ฐานะแหล่งข้อมูลด้านงานวิจัย
และดา้ นการอา่ น

ลักษณะของวาทกรรม ภาษาพูดและภาษาเขียนตาม - ก ลุ่ ม ค น ท่ี ส น ท น า ใ น

สภาพจริง อินเทอร์เน็ตแบบไม่เห็นหน้า

อีเมล และโครงงานท่ีใช้เว็บเป็น

ฐานในประเทศและตา่ งประเทศ

- การอภิปรายในเว็บบอร์ด

- การนำเสนอสือ่ มัลติมเี ดยี

- โปรแกรมการนำเสนอ เช่น
PowerPoint, ProShow Gold

- โปรแกรมช่วยสร้างบทเรียน
โปรแกรม เช่น Hyper Studio,
Captivate, AuthorWare

สภาพแวดลอ้ มการเรยี นรแู้ ละการปฏิสมั พนั ธ์

บ ท บ าท ข อ งผู้ ส อ น แ ล ะ - ผู้สอนเป็นผูอ้ ำนวยความสะดวก - ผู้อำนวยความสะดวกในการ

ผู้เรียน ในการเรียนรู้ เรีย น รู้ แ ล ะ ส่ งเส ริม ก ารใช้

เทคโนโลยีในชัน้ เรยี น

- ผู้เรียนเป็นผู้มีส่วนร่วมอย่าง - ผู้เรียนเป็นผ้ใู ช้เทคโนโลยีอยา่ ง

ตื่นตวั ในการเรยี นรู้ของตน ตื่นตวั ในการเรียนรขู้ องตน

การจดั หอ้ งเรยี น ศูนยก์ ารเรียนรู้ กล่มุ ย่อย คู่ - ศู น ย์ ก า ร เ รี ย น รู้ ที่ ใ ช้

114

ตารางที่ 3.3 ตวั อย่างเทคโนโลยสี นับสนุนแนวคดิ ของการสอนภาษาเพอ่ื การสื่อสาร

ภาษา แนวคดิ ของการสอนภาษาเพ่ือ เทคโนโลยีสนับสนุน
การสื่อสาร

คอมพวิ เตอรห์ รอื งานเปน็ ฐาน

- โครงงานที่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อ
ทำงานร่วมกนั เป็นกลมุ่ หรือคู่

- การเรียนรู้ร่วมกับผู้เรียนคน
อ่ื น ๆ ที่ เชี่ ย ว ช า ญ ก า ร ใช้
เทคโนโลยี

สภาพแวดลอ้ มการเรยี นรู้ ห้องเรียนที่เชื่อมต่อกับชุมชนและ - การเชื่อมต่อทางอินเทอร์เน็ต

โลกภายนอก ไปยังส่วนต่าง ๆ ของโลก โดย

การท่องเว็บ

- เทคโนโลยีในฐานะแหล่งข้อมูล
แ บ บ เปิ ด ต า ม ส ภ า พ จ ริ ง น อ ก
หอ้ งเรยี น

การมีปฏิสัมพันธข์ องผู้เรยี น ผู้เรียนและผู้สอนมีปฏิสัมพันธ์ - ผู้เรียนและผู้สอนท่ัวโลกมี
รว่ มกัน ปฏิสัมพันธ์ร่วมกันผ่านการใช้

เครอื ข่ายอนิ เทอร์เน็ต

- ผู้เรียนมีอิสระเพิ่มข้ึนจากการ
ใช้แหลง่ ข้อมลู อิเล็กทรอนกิ ส์

- สภาพแวดล้อมแบบผู้เรยี นเป็น
ศนู ย์กลาง

หลักสตู ร ส่ือ และกจิ กรรม

เปา้ หมายของหลกั สูตร การพัฒนาความสามารถด้านการ การส่งเสริมเทคโนโลยีที่ช่วย

115

ตารางท่ี 3.3 ตวั อย่างเทคโนโลยสี นบั สนนุ แนวคิดของการสอนภาษาเพอื่ การสือ่ สาร

ภาษา แนวคิดของการสอนภาษาเพอื่ เทคโนโลยีสนับสนนุ
การสอ่ื สาร

สอ่ื สาร อำนวยความสะดวกในการ
พั ฒ น า ค ว า ม ค ล่ อ งแ ค ล่ ว แ ล ะ
ความถูกต้องของการใช้ภาษา
เพอื่ การส่ือสาร

เกณฑ์การคัดเลือกเน้ือหา ประสบการณ์ ส่วนบุคคลของ เทคโนโลยีท่ีสอดคล้องกับความ

รายวิชา ผู้เรียนและการสื่อสารท่ีจำเป็นต่อ ต้ อ ง ก า ร จ ำ เ ป็ น แ ล ะ

การบรรลเุ ปา้ หมาย ประสบการณ์ จริง เช่น การ

ประชมุ ผา่ นโปรแกรมสไกป์

ประเภทของกิจกรรม ก า ร ท ำ ง า น ต า ม ส ภ า พ จ ริ ง กิจกรรมที่ใช้เทคโนโลยีเป็นฐาน

กิจกรรมแบบรว่ มมือ และโครงงาน โดยอาศัยการ

ทำงานแบบรว่ มกัน

ประเภทของส่อื ง า น เขี ย น แ ล ะ ว ร ร ณ ก ร ร ม - วิดโี อ

คอมพิวเตอร์ วิดีโอ ตามสภาพ - คอมพิวเตอร์และโปรแกรม
จริง ประยกุ ต์

- งานเขียนและแหล่งข้อมูล
อิเล็กทรอนิกส์ตามสภาพจรงิ

การวดั และประเมิน - กระบวนการและชิ้นงาน แฟ้ม - แ ฟ้ ม ส ะ ส ม ผ ล ง า น

สะสมผลงาน อิเล็กทรอนกิ ส์

- งานตามสภาพจริง - การนำเสนอสื่อมัลติมีเดียหรือ
สอื่ ประสม

- บั น ทึ ก ก าร เรี ย น รู้แ บ บ มี

116

ตารางที่ 3.3 ตัวอย่างเทคโนโลยสี นบั สนุนแนวคดิ ของการสอนภาษาเพื่อการส่อื สาร

ภาษา แนวคดิ ของการสอนภาษาเพอื่ เทคโนโลยสี นบั สนุน
การส่อื สาร

ปฏสิ มั พนั ธอ์ ิเลก็ ทรอนกิ ส์

แนวคิดของการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารเปน็ การสอ่ื สารโดยใช้ภาษาทสี่ อื่ สารกันจรงิ ในสังคม
จงึ มุ่งเน้นความสามารถด้านการสื่อสารเป็นสำคัญ ด้วยเหตุน้ี หากผู้สอนนำเอาเคร่ืองมือส่ือสารท่ีมีใน
คอมพิวเตอร์ อาทิ อีเมล รายช่ืออีเมล กระดานข่าว กระดานอภิปราย และการสนทนาออนไลน์ มา
ประยุกต์ใช้ร่วมกับแนวคิดของการสอนภาษาเพื่อการส่ือสารน้ัน ผู้เรียนจะได้รับการพัฒนาทักษะทาง
ภาษาในสภาพแวดล้อมของการสอ่ื สารตามสภาพจรงิ (Butler-Pascoe & Wiburg, 2004)

6. บทบาทของผู้สอนและผู้เรียนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศตาม
แนวคดิ ของการสอนภาษาเพือ่ การส่ือสาร

การสอนในช้ันเรียนให้ประสบความสำเร็จจำเป็นต้องคำนึงบทบาทของผู้สอนในการ
พัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน และผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้อย่างกระตือรือร้น นับเป็นหลักการ
พื้นฐานของการสอนภาษาเพ่ือให้ผู้เรียนเป็นผู้ท่ีมีความสามารถทางภาษาและทางการส่ือสาร โดย
ผสู้ อนมีบทบาทเป็นผู้อำนวยความสะดวก สว่ นผเู้ รยี นเปน็ ผู้ติดตอ่ สอ่ื สารอย่างตืน่ ตัว

บทบาทของผสู้ อน

1. ผู้จัดการ (Manager) ผู้สอนเป็นผู้จัดการและเป็นผู้จัดกิจกรรมในชั้นเรียน โดยมีความ
รับผิดชอบหลักคือ สร้างสถานการณ์เพ่ือสนับสนุนการติดต่อสื่อสาร (Larsen-Freeman, 1986) จัด
ช้ันเรียนตามบริบทของการติดต่อส่ือสารและกิจกรรมการส่ือสาร (Richards & Rodgers, 2014)
ดังนั้น การปฏิบัติกิจกรรมในช้นั เรียนควรเป็นไปตามความเหมาะสมของสถานการณ์ ไมเ่ ป็นนามธรรม
ผสู้ อนอาจใช้คำพูด ส่ือโสตทัศน์ การแสดงออกทางสีหน้า ท่าทาง การกระทำ และอ่ืน ๆ เพอ่ื ให้ผูเ้ รียน
แลกเปล่ียนสารกันในชัน้ เรยี น แก้ปญั หาและเชื่อมโยงชอ่ งว่างของข้อมลู และตอ้ งเป็นการใช้ภาษาตาม
สถานการณใ์ นชีวติ จริง

117

2. ท่ีปรึกษา (Adviser) ระหว่างกิจกรรมการเรียนรู้ ผู้เรียนบางคนอาจประสบปัญหาความ
ยากลำบากในการเรียนและจำเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือ บางคนอาจมีปัญหาและความสับสนเข้า
มาแทนท่ี ดังน้ัน ผู้เรียนจึงคาดหวังว่าผู้สอนจะเป็นตวั อย่างของผู้มีความสามารถในการสื่อสาร ผู้สอน
อาจเดินไปรอบ ๆ ห้อง เพื่อช่วยแก้ปัญหาให้กับผู้เรียนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง (อาจเป็นคู่หรือรายบุคคล)
ผู้เรียนบางคนอาจติดต่อส่ือสารอยา่ งไม่มปี ระสิทธิภาพและเกิดข้อผดิ พลาดระหว่างการสนทนา ผู้สอน
ควรทำหน้าที่เป็นผู้ดูแล จดบันทึกข้อผิดพลาดทางภาษาหรือทางวัฒนธรรมของผู้เรียน ท้ังนี้ผู้สอนไม่
ควรเข้าแทรกแซงเพื่อแก้ไขข้อผิดพลาดเหล่าน้ีทันทีในระหว่างผู้เรียนกำลังแสดงออกทางภาษาอย่าง
สร้างสรรค์ และเพื่อไม่ขัดจังหวะระหว่างการฝึกปฏิบัติ ผู้สอนควรแก้ไขข้อผิดพลาดในทางอ่ืน เช่น
ผู้สอนช้ีแจงข้อผิดพลาดและร่วมกันแก้ไขโดยไม่ระบุช่ือผู้เรียนเมื่อเสร็จส้ินการทำกิจกรรม และผู้สอน
ควรคำนึงว่าความคล่องแคล่วและความเข้าใจของการใช้ภาษาสำคัญมากกว่าความถูกต้องของ
ไวยากรณ์ (Finocchiaro & Brumfit, 1983)

3. ผู้รว่ มส่ือสาร (Co-communicator) ผู้สอนอาจทำหน้าที่เป็นผ้รู ่วมสนทนากับผู้เรยี น และ
ต้องเป็นการติดต่อสื่อสารแบบสองทาง เพราะการติดต่อส่ือสารในชีวิตจริง เรามักไม่พูดกับตนเอง
หรือไม่พูดคนเดียวเหมือนการแสดงละคร แต่เป็นการแลกเปลย่ี นข้อมลู กับคนอืน่ ดังนั้น แนวทางการ
ตดิ ต่อสื่อสารของผู้สอนกับผเู้ รียนแบ่งได้เป็น 3 ทาง (อ้างแล้ว, 1983) ได้แก่ 1) ผู้สอนกับผู้เรียนเพียง
คนเดียว 2) ผู้สอนกับผู้เรียนเป็นกลุ่ม และ 3) ผู้สอนกับผู้เรียนทั้งชั้น โดยผู้สอนไม่ควรแสดงเป็นผู้
สื่อสารหลัก แต่ควรสาธิตวิธีการทำกิจกรรมเพื่อช่วยเหลือผู้เรียนที่เรียนอ่อนหรือเข้าร่วมส่ือสารแทน
ผู้เรียนท่ีไม่มาเรียน

4. ผู้กระตุ้น (Motivator) เป็นอีกบทบาทหน่ึงของผู้สอนเพื่อให้แน่ใจว่าผู้เรียนเป็นผู้สื่อสาร
อย่างตื่นตัว ผู้สอนควรกระตุ้นผู้เรียนเพราะผู้เรียนท่ีได้รับแรงกระตุ้นเท่าน้ันจึงจะเป็นผู้สื่อสารอย่าง
ตน่ื ตวั (อา้ งแลว้ , 1983)

5. ผู้ประเมิน (Evaluator) เป็นผู้ตรวจสอบความสามารถของผู้เรียนในช้ันเรียนว่าดีเด่น
เพียงไร และความสามารถทางภาษาและการสื่อสารท่ีได้รับอยู่ในระดับใด ผู้สอนควรทำหน้าที่เป็นผู้
ประเมินเพื่อพัฒนาการสอนของตน ถ้าผลการประเมินไม่เป็นไปตามเป้าหมายท่ีพึงประสงค์ ผู้สอน
สามารถประเมินความสามารถของผู้เรียนอย่างไม่เป็นทางการในฐานะที่ปรึกษา ผู้ดูแล หรือผู้สื่อสาร
ร่วมได้ (อ้างแล้ว, 1983)

118

อย่างไรก็ดี บรีนและแคนดลิน (Breen & Candlin, 1980 cited in Richards & Rodgers,
2014) กลับมองว่า ผู้สอนควรมี 2 บทบาทหลัก ได้แก่ บทบาทแรกคือ อำนวยความสะดวกใน
กระบวนการส่ือสารระหว่างผู้เรียนทุกคนในช้ัน และระหว่างผู้เรียนกับกิจกรรมหรอื กบั ข้อความต่าง ๆ
และบทบาททสี่ องคือ แสดงเป็นผู้เรยี นอิสระภายในกลุ่มการเรยี นการสอน บทบาทท่ีสองสมั พนั ธ์อยา่ ง
ใกล้ชิดกับบทบาทแรก ถือว่าเป็นบทบาททุติยภูมิสำหรับผู้สอน โดยอย่างแรกผู้สอนเป็นผู้จัดเตรียม
ทรัพยากรต่าง ๆ รวมท้ังเป็นทรัพยากรเองด้วย ต่อมาเป็นผู้แนะนำข้ันตอนและกิจกรรมในช้ันเรียน
เป็นนกั วิจัย และเปน็ ผู้เรียนเพอ่ื ช่วยพฒั นาความรู้และความสามารถท่ีเหมาะสมกบั ประสบการณจ์ รงิ

บทบาทของผูเ้ รียน

ผู้เรียนเป็นผู้ส่ือสาร เป็นผู้สร้างความเข้าใจด้วยตนเองแม้ว่าความรู้ในภาษาเป้าหมายยังไม่
สมบูรณ์ก็ตาม แต่เพราะผู้เรียนเรียนรู้วิธีส่ือสารจากการสื่อสาร (Larsen-Freeman, 1986) ดังนั้น
ผู้สอนควรจัดกิจกรรมท่ีหลากหลายให้ผู้เรียนปฏิบัติเพื่อเรียนรู้วิธีสื่อสาร และต้องแสดงช่องว่างของ
ขอ้ มลู ซ่ึงเป็นส่ิงสำคัญของการสื่อสาร เพราะในชวี ิตจริงคนเราสนทนากันเพื่อบอกเล่าส่ิงที่ยงั ไม่ทราบ
หรือค้นหาคำตอบจากบคุ คลอน่ื ซ่งึ มีเหตผุ ลทจ่ี ะส่ือสารกันเรียกว่า ความจำเปน็ ของการส่ือสาร การจัด
กิจกรรมในช้ันเรียนผู้สอนสามารถสร้างความจำเป็นของการส่ือสารโดยแสดงช่องว่างของข้อมูล
ผู้เรียนบางคนอาจมีข้อมูลที่คนอ่ืนไม่มี แล้วให้ค้นหาคำตอบหรือข้อมูลเหล่านั้น ดังน้ัน ผู้เรียนก็จะมี
เหตุผลในการสนทนาและถามคำถามกบั ผเู้ รยี นคนอื่น ๆ

ส่วนบทบาทของผู้เรียนชาวต่างชาติในแนวคิดของการสอนภาษาเพ่ือการสื่อสารตามแนวคิด
ของบรีนและแคนดลิน (Breen & Candlin, 1980 cited in Richards & Rodgers, 2014) คือ
ผู้เรียนเป็นนักเจรจา (Negotiators) ดำเนินกิจกรรมตามกระบวนการเรียนรู้และจุดประสงค์การ
เรยี นรู้ โดยมีปฏิสัมพันธก์ ับนกั เจรจาคนอื่น ๆ ภายในกลมุ่ ผเู้ รยี นควรไดร้ ับการสนับสนุนให้ได้มากพอ
เท่าท่ีจะรบั ไดแ้ ละการเรียนรู้ควรเปน็ ไปอยา่ งอสิ ระ

119

7. การประเมินการเรียนการสอนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศตาม
แนวคดิ ของการสอนภาษาเพ่ือการสอ่ื สาร

ในการวัดคุณภาพด้านความสามารถของผู้เรียนชาวต่างชาติ ผู้สอนภาษาไทยในฐานะ
ภาษาต่างประเทศอาจนำเอากรอบมาตรฐานการประเมินความสามารถทางภาษาจากประเทศในกลุ่ม
สหภาพยุโรป (Common European Framwork of Reference: CEFR) (Council of Europe,
2001) มาใช้เป็นกรอบประเมินความสามารถการใช้ภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศตามแนวคิด
ของการสอนภาษาเพ่ือการส่ือสารได้ (Richards & Rodgers, 2014) เนื่องจากข้อความที่กำหนด
คุณลักษณะของผู้เรียนในกรอบมาตรฐานสามารถปรับเปล่ียนให้เข้ากับหน้าท่ีของภาษา (Language
functions) ได้

กรอบแนวคิดดังกล่าวได้เร่ิมพัฒนามาต้ังแต่ปี 2513 โดยสภายุโรป เป็นเอกสารสำคัญในการ
พัฒนาการสอนภาษาเพ่ือการสอ่ื สาร เพราะไม่เพียงแต่เปน็ กรอบแนวคิดสำหรับการสอนภาษาอังกฤษ
แต่ยังเป็นการส่งเสริมการเรียนรู้ภาษาต่าง ๆ ในยุโรปให้ประสบความสำเร็จอีกด้วย กรอบแนวคิดจึง
ประกอบด้วยข้อความที่เป็นผลลัพธ์การเรียนรู้ในระดับของความสามารถต่าง ๆ ท่ีสัมพันธ์กับทักษะ
การฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน ซ่ึงอธิบายถึงสิ่งท่ีผู้เรียนจำเป็นต้องเรียนรู้เพ่ือให้การใช้ภาษา
เพื่อการสื่อสารเป็นอย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนทราบถึงความรู้และทักษะที่จำเป็นต้องพัฒนา โดย
แบ่งระดับความสามารถทางภาษาออกเป็น 3 ระดับ และระดับผลสัมฤทธิ์ 6 ระดับจากต่ำสดุ (A1) ถึง
สูงสดุ (C2) ได้แก่

ระดบั ที่ 1 ผู้ใช้พนื้ ฐาน (Basic user) ได้แก่ A1 กับ A2
ระดับท่ี 2 ผใู้ ชอ้ สิ ระ (Independent user) ได้แก่ B1 กับ B2
ระดบั ท่ี 3 ผ้ใู ชเ้ ชยี่ วชาญ (Proficient user) ไดแ้ ก่ C1 กบั C2
หรอื อาจแบง่ ระดบั ความสามารถทางภาษาเปน็ 6 ระดับ (EF Education First, 2018) ดงั นี้
C2 เชย่ี วชาญ (Proficient)
C1 กา้ วหน้า (Advanced)
B2 สงู กวา่ ปานกลาง (Upper Intermediate)

120

B1 ปานกลาง (Intermediate)
A2 พน้ื ฐาน (Elementary)
A1 เร่มิ ต้น (Beginner)
รายละเอียดของผลลัพธ์การเรียนรู้จากการประเมินตนเอง (Self-assessment) ในแต่ละระดับ
ความสามารถกับระดบั ผลสัมฤทธน์ิ ำเสนอดงั ตารางท่ี 3.4-3.6

ตารางท่ี 3.4 ความสามารถทางภาษาของผเู้ รยี นระดบั ผู้ใชพ้ ืน้ ฐาน

ผูใ้ ชพ้ ้ืนฐาน

A1 A2

การทำความเข้าใจ การฟงั ฉันจดจำเสียงที่คุ้นเคยและวลีพ้ืนฐาน ฉันเข้าใจวลีและคำศัพท์ที่ใช้บ่อยมากที่สุด
เกี่ยวกับตนเอง ครอบครัว และส่ิงที่เป็น เกี่ยวกับสถานที่หรือตัวบุคคล (เช่น ข้อมูล
รู ป ธ ร ร ม ร อ บ ตั วเมื่ อ มี ค น พู ด ช้ า ๆ ส่วนตัวของตนเองและครอบครัว การซื้อ
ชดั ๆ ของ สถานท่ีในท้องถ่ิน การจ้างงาน) ฉัน
จับ ใจความสำคัญ จากข้อความห รือ
ประกาศสั้น ๆ ท่ชี ัดเจนและงา่ ยได้

การอ่าน ฉันเข้าใจชื่อที่คุ้นเคย คำ และประโยค ฉันอ่านข้อความส้ัน ๆ ง่าย ๆ ได้ ฉันหา

ง่าย ๆ เช่น บนป้ายประกาศ ป้ายโฆษณา ข้อมู ลเฉพ าะที่ค าดเด าได้ จากสื่อใน

หรอื สง่ิ พิมพท์ ม่ี ีภาพสินคา้ ชีวิตประจำวัน เช่น โฆษณา ระเบียบการ

รายการอาหาร และตารางเวลา ฉันยัง

เข้าใจจดหมายสว่ นตวั สน้ั ๆ ง่าย ๆ ได้ดว้ ย

การมี ฉันส่ือสารอย่างง่ายกับผู้อ่ืน ซ่ึงผู้พูดอาจ ฉันสื่อสารแลกเปล่ียนข้อมูลเก่ียวกับส่ิงที่

ปฏสิ ัมพนั ธ์ พูดซ้ำหรือพูดช้า ๆ ให้ฉันเข้าใจ และช่วย ทำเป็นประจำอย่างง่ายและกิจกรรมท่ี

การ ูพด ฉันเรียบเรียงส่ิงที่ต้องการจะพูด ฉันถาม คุ้นเคยได้ ฉันสนทนากับบุคคลอื่นได้น้อย

และตอบคำถามอยา่ งง่ายในหัวข้อที่คุน้ เคย มากและไม่สามารถต่อบทสนทนาได้

หรือตามความจำเป็นเรง่ ด่วนได้ เท่าท่ีควร

การพูด ฉันใช้วลีและประโยคง่าย ๆ เพ่ืออธิบาย ฉันใช้ชุดวลีและประโยคเพ่ืออธิบาย

121

ตารางที่ 3.4 ความสามารถทางภาษาของผเู้ รยี นระดับผู้ใช้พน้ื ฐาน

ผู้ใชพ้ น้ื ฐาน

A1 A2

สถานที่ท่ีฉันอาศยั อยูแ่ ละผู้คนที่ฉันร้จู กั ได้ ลักษณะครอบครัวและผู้คนต่าง ๆ ที่
เกี่ยวข้องกับฉัน รวมถึงประวัติการศึกษา
งานในอดีตหรอื ปจั จบุ นั ได้

การเขียน ฉันเขียนไปรษณยี บัตรสนั้ ๆ งา่ ย ๆ เพื่อส่ง ฉันเขียนบันทึกและข้อความสั้น ๆ ง่าย ๆ
ทักทายในวันหยุด ฉันกรอกข้อมูลส่วนตัว เกี่ยวกับความจำเป็นเร่งด่วนได้ ฉันเชียน
การเ ีขยน เช่น ชื่อ สัญชาติ ที่ตง้ั ของโรงแรม ได้ จดหมายส่วนตัวง่าย ๆ เช่น จดหมาย

ขอบคุณ

ตารางท่ี 3.5 ความสามารถทางภาษาของผเู้ รยี นระดบั ผู้ใช้อสิ ระ

ผ้ใู ชอ้ ิสระ

B1 B2

การทำความเข้าใจ การฟัง ฉันเข้าใจประเด็นสำคัญของการพูดท่ีเป็น ฉันเข้าใจคำพูดและคำบรรยายขนาดยาว
มาตรฐาน ชัดเจน ในหัวข้อท่ัวไปที่คุ้นเคย เข้าใจการให้เหตุผลท่ีซับซ้อนในหัวข้อท่ี
เกี่ยวกับการทำงาน โรงเรียน เวลาว่าง คุ้นเคย ตลอดจนข่าวในโทรทัศน์หรือ
และอื่น ๆ ฉันเข้าใจประเด็นสำคัญจาการ เหตุการณ์ปัจจุบัน และยังเข้าใจภาพยนตร์
การฟังรายการวิทยุและโทรทัศน์เก่ียวกับ สว่ นใหญท่ ี่ใชภ้ าษามาตรฐาน
เหตุการณ์ท่ัวไปหรือหัวข้อท่ีสนใจส่วนตัว
หรือเกีย่ วกบั งานเมื่อได้ยินอยา่ งชัดเจนและ
ไม่เร็วมากนัก

การอา่ น ฉันเข้าใจข้อความท่ีใช้ในชีวิตประจำวัน ฉันอ่านบทความและรายงานเก่ียวกับ
หรอื งาน และยังเข้าใจคำอธิบายเหตุการณ์ ปัญหาในปัจจุบัน ซึ่งผู้เขียนสอดแทรก
ความรู้สึก ความปรารถนาในจดหมาย ทัศนคติหรือมุมมองของตนได้ และยัง
ส่วนตวั เขา้ ใจงานเขยี นรอ้ ยแก้วร่วมสมัย

122

ตารางท่ี 3.5 ความสามารถทางภาษาของผู้เรียนระดับผู้ใช้อิสระ

ผู้ใชอ้ ิสระ

B1 B2

การเ ีขยน การ ูพด การมี ฉันรับมือกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นระหว่าง ฉันโต้ตอบได้อย่างคล่องแคล่วและเป็น
ปฏสิ มั พนั ธ์ การท่องเท่ียวในสถานท่ีท่ีใช้ภาษานั้น ๆ ธรรมชาติในการสื่อสารกับผู้พูดเจ้าของ

ฉันสามารถเข้าร่วมการสนทนาอย่างไม่ได้ ภาษาได้บ้าง ฉันสามารถเข้าร่วมการ
เตรียมตัวในหัวข้อท่ีคุ้นเคย เรื่องท่ีสนใจ อภิปรายในหัวข้อท่ีคุ้นเคย พิจารณาและ
หรือตรงกับชวี ิตประจำวัน (เช่น ครอบครัว รกั ษาจดุ ยนื ของตนได้
งานอดิเรก การทำงาน การท่องเที่ยว และ
เหตกุ ารณ์ปจั จุบนั )

การพูด ฉันเชื่อมโยงวลีอย่างง่ายเพื่อบอกเล่า ฉันอธิบายรายละเอียดได้ชัดเจนในหัวข้อ
ประสบการณ์และเหตุการณ์ ความฝัน กว้าง ๆ เก่ียวกับสายงานหรือความสนใจ
ความหวัง และเป้าหมายของตนเองได้ ฉัน ของตนเอง และยังอธิบายทัศนคติต่อเรื่อง
ให้เหตุผลสั้น ๆ อธิบายความคิดและ ทีเ่ ป็นประเด็นในลักษณะของการบอกขอ้ ดี
แผนการ ตลอดจนเล่าเรื่องจากหนังสือ ข้อเสยี ได้
หรือภาพยนตรแ์ ละบอกเล่าการตอบสนอง
ของตนเองได้

การเขียน ฉันเขียนข้อความต่อเนื่องอย่างง่ายใน ฉันเขียนข้อความท่ีมีรายละเอียดชัดเจนใน

หัวข้อที่คุ้นเคยหรือเรื่องท่ีสนใจ ฉันเขียน หัวข้อกว้าง ๆ เก่ียวกับความสนใจของตน

จดหมายส่วนตัวอธิบายประสบการณ์และ เขียนความเรียงหรือรายงานจากข้อมูลท่ี

ความประทบั ใจได้ ได้รับ ให้เหตุผลสนับสนุนหรือคัดค้าน

มุมมองใด ๆ และยังเขียนจดหมายแสดง

เหตุการณ์สำคัญหรือประสบการณ์ของ

ตนเองได้

123

ตารางที่ 3.6 ความสามารถทางภาษาของผ้เู รยี นระดบั ผู้ใช้เช่ยี วชาญ

ผ้ใู ช้เชยี่ วชาญ

C1 C2

การฟงั ฉันเข้าใจคำพูดขนาดยาวแม้ว่าโครงสร้าง ฉันไม่พบความยากใด ๆ ในการทำเข้าใจ

จะไมช่ ดั เจน และยังเข้าใจรายการโทรทัศน์ ภาษาพูด ไม่ว่าจะเป็นการกระจายเสียง

การทำความเข้าใจ และภาพยนตร์โดยไมต่ ้องใชค้ วามพยายาม หรือออกอากาศ แม้ว่าจะพูดเร็วในระดับ

มากนกั เจา้ ของภาษาก็ตาม

การอ่าน ฉันเข้าใจบทประพันธ์หรือข้อมูลขนาดยาว ฉันอ่านข้อความภาษาเขียนที่มีรูปแบบ

ท่ีซับซ้อน สามารถจำแนกรูปแบบต่าง ๆ ง่าย ๆ ได้ เช่น บทคัดย่อ ข้อความที่มีการ

และเข้าใจบทความหรือคำส่ังเฉพาะแม้ว่า จัดโครงสร้างและภาษาอย่างซับซ้อน เช่น

จะไม่เก่ียวกบั สายงานของฉนั คู่มอื บทความเฉพาะ และวรรณกรรม

การมี ฉันสื่อสารได้อย่างคล่องแคล่วและเป็น ฉันเข้าร่วมการสนทนาหรืออภิปรายใด ๆ

ปฏสิ ัมพนั ธ์ ธรรมชาติ ใช้ภาษาได้อย่างยืดหยุ่นและมี โดยไมต่ อ้ งใช้ความพยายามในการทำความ

ประสิทธิภาพในการติดต่อส่ือสารในสังคม เข้าใจ และคุ้นเคยกับการใช้สำนวนและ

แล ะใน สาย งาน แ ละยั งจัด ระเบี ย บ ภาษาปาก ฉันส่ือสารได้อย่างคล่องแคล่ว

ความคิดและความเห็นได้อย่างแมน่ ยำเพ่ือ และถ่ายทอดความหมายได้อย่างแม่นยำ

ส่ือสารใหผ้ ู้อืน่ รบั รไู้ ด้ ถ้าฉันพบว่ามีปัญหาในการสื่อคความ ฉัน

การ ูพด สามารถจัดเรียงโครงสร้างประโยคใหม่ให้

งา่ ยข้ึนเพอ่ื ใหผ้ ้ฟู ังเขา้ ใจได้

การพดู ฉัน บ อ กเล่ าเนื้ อ ห าท่ี ซั บ ซ้ อน แ ล ะ มี ฉันนำเสนอเหตุผลหรือคำอธิบายท่ีชัดเจน

รายละเอียดได้อย่างชัดเจน พัฒนาเน้ือหา ราบ ร่ืน เห ม าะส ม กับ บ ริบ ท แล ะใช้

เฉพาะที่ต้องการ และสรุปจบได้อย่าง โค รงส ร้างที่ เป็ น เห ตุ เป็ น ผล อย่ างมี

เหมาะสม ประสทิ ธภิ าพ ชว่ ยให้ผู้รับสารเขา้ ใจและจำ

ประเด็นสำคญั ได้

124

ตารางที่ 3.6 ความสามารถทางภาษาของผเู้ รยี นระดับผู้ใช้เชย่ี วชาญ

ผใู้ ชเ้ ชีย่ วชาญ

C1 C2

การเขยี น ฉันเขียนข้อความท่ีมีโครงสร้างดี แสดง ฉันเขียนข้อความได้อย่างชัดเจน ราบร่ืน

ทศั นคติได้ระดบั หนึ่ง และยงั เขยี นจดหมาย ด้วยรูปแบบที่เหมาะสม ฉันเขียนจดหมาย

ความเรียง รายงาน ในหวั ข้อท่ีซบั ซ้อนและ ที่ซับซ้อน รายงาน หรือบทความโดยใช้

การเ ีขยน ช้ีให้ผู้อ่านเห็นได้ว่าส่วนใดเป็นส่วนสำคัญ โครงสร้างท่ีเป็นเหตุเป็นผลได้อย่างมี

และเลือกรูปแบบการเขียนท่ีเหมาะสมกับ ประสิทธภิ าพ ชว่ ยให้ผู้รับสารเขา้ ใจและจำ

ผ้อู า่ นได้ ประเด็นสำคัญได้ และยังสามารถเขียน

สรปุ ความและทบทวนวรรณกรรมหรืองาน

เขียนทีเ่ กีย่ วขอ้ งกับงานของตนเองได้

จากตารางข้างตน้ สามารถนำมาใชใ้ นการประเมินผู้เรยี นภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ
โดยกำหนดความสามารถทางภาษาตามแนวคิดการสอนภาษาเพื่อการส่ือสารได้ดังตัวอย่างต่อไปน้ี
(อา้ งแล้ว, 2018)

ผเู้ รียนระดบั A1 สามารถ

• แนะนำตนเองอยา่ งงา่ ย โดยใช้คำทกั ทายพ้ืนฐานได้
• บอกชือ่ ประเทศหรอื สถานท่ตี นเองอาศัยอยแู่ ละอธบิ ายด้วยคำง่าย ๆ ได้

• พูดคุยเก่ียวกับครอบครัว เพ่ือนร่วมงาน อธิบายลักษณะรูปร่างหน้าตาและ
บคุ ลกิ ภาพได้

• สนทนาเกย่ี วกับการซอ้ื ของใช้ในระดับพน้ื ฐานและถามคำถามง่าย ๆ ได้

• บอกอาหารท่ีชอบและสงั่ อาหารได้

• พูดคยุ เกี่ยวกับกิจกรรมที่ทำเป็นประจำและขอนัดพบเพือ่ นได้
• อธิบายสภาพอากาศและแนะนำกจิ กรรมทส่ี อดคล้องกบั การพยากรณ์อากาศได้

125

• บอกเลา่ สุขภาพของตนเอง อาการของโรคทว่ั ไปกบั แพทยไ์ ด้
• อธิบายสถานทต่ี ง้ั ของบา้ นและบอกทิศทางอยา่ งงา่ ยได้
• สนทนาเกี่ยวกับงานอดิเรก สิ่งที่ชอบ และวางแผนทำกจิ กรรมกับเพอ่ื นได้
• จองโรงแรมและชำระเงินได้
• พูดคุยเก่ยี วกบั สินค้า ซ้อื ขาย และเปลย่ี นสนิ ค้าทชี่ ำรดุ ได้
ผู้เรียนระดบั A2 สามารถ
• ประเมนิ ความสามารถของเพอื่ นรว่ มงาน
• เช่ือมโยงเหตกุ ารณ์ในอดีตของตน เช่น กิจกรรมในวันหยดุ และเรอ่ื งท่ีสนใจ
• อธิบายชีวิตความเป็นอย่ใู นอดีต ใหร้ ายละเอยี ดเกย่ี วกบั ชว่ งสำคัญในชวี ิต
• อธบิ ายและบอกเลา่ แผนการในวันหยดุ ยาวได้
• พูดคุยเกี่ยวกับธรรมชาติรอบตัว ท่องเที่ยวเพ่ือชื่นชมธรรมชาติในประเทศท่ี

อาศยั อยู่ได้
• พูดคุยเกย่ี วกบั ภาพยนตร์หรือเสอื้ ผ้าท่ีชอบ โดยอธิบายประเภทหรอื ลกั ษณะได้
• เข้าร่วมการประชุมในหัวข้อท่ีคุ้นเคยหรือกิจกรรมทางสังคม เช่น กล่าวต้อนรับ

แขกในงานได้
• อธิบายอุบตั เิ หตุหรือความเจบ็ ปว่ ยท่ีได้รบั ขอความช่วยเหลอื ทางการแพทยแ์ ละ

ขอใบสัง่ ยาหรือใบรับรองแพทยไ์ ด้
• เขา้ ใจและเขียนขอ้ เสนอทางธรุ กิจในสายงานของตนได้
• พดู หรอื อธิบายกฎของการเล่นเกมหรือกีฬาชนดิ ตา่ ง ๆ ได้
ผ้เู รียนระดับ B1 สามารถ
• บอกเล่าความฝนั และความหวังส่วนตวั หรือเกยี่ วกบั งานในอนาคตได้

126

• เป็นผูใ้ หส้ มั ภาษณ์หรอื เปน็ ผสู้ ัมภาษณ์งานในสายอาชพี ของตน
• พูดคุยเกี่ยวกบั พฤติกรรมการรบั ชมโทรทศั นแ์ ละรายการโปรดของตนได้
• อธบิ ายประวัติการศกึ ษาและแผนการของตนในอนาคต
• พดู คุยเกย่ี วกับเพลง แนวเพลง หรือรายการเพลงทีช่ อบได้
• พูดคุยเกี่ยวกับการดูแลรักษาสุขภาพและให้คำแนะนำในการสร้างเสริม

สุขอนามยั ทด่ี ี
• สนทนาเก่ียวกบั ความสมั พันธ์ การพบปะผู้คนผา่ นส่ือสังคมได้
• ไปร้านอาหาร ส่ังอาหาร สนทนาบนโต๊ะอาหารได้อย่างสุภาพ และเป็นฝ่าย

เสนอในการจ่ายคา่ อาหาร
• เข้ารว่ มการเจรจาตอ่ รองในสายงานของตน
• อธิบายถึงความปลอดภยั ในสถานที่ทำงาน รายงานอุบตั ิเหตุ และอธบิ ายกฎหรือ

ข้อบงั คบั ได้
• แสดงพฤติกรรมท่ีสุภาพและตอบสนองอย่างเหมาะสมต่อพฤติกรรมท่ีไม่สุภาพ

ได้
ผ้เู รียนระดบั B2 สามารถ

• เข้าร่วมการประชุมในสายงานของตน
• อภิปรายประเด็นท่ีเกี่ยวกับเพศ ซ่ึงสัมพันธ์กับการรับรู้บรรทัดฐานทาง

วัฒนธรรม
• พดู คุยเก่ยี วกบั การเงนิ ของตนและให้คำแนะนำดา้ นการเงินแก่บุคคลอ่ืนได้
• พดู คุยเกี่ยวกับการใช้ชีวติ สว่ นตัวและชวี ติ การทำงานของตนได้
• อธิบายประวัติการศึกษา ประสบการณ์ จุดแข็ง จุดอ่อน และอธิบายเส้นทาง

อาชีพของตนได้

127

• สนทนาเกยี่ วกับส่งิ ทีช่ อบอ่านและแนะนำให้คนอน่ื เลือกอ่านตามได้
• ใช้ภาษาอย่างเหมาะสมในสถานการณ์ทางสังคมต่าง ๆ เช่น ชื่นชมและแสดง

ความเสยี ใจ
• อธิบายคณุ ลกั ษณะความผนู้ ำและพดู คยุ เก่ยี วกบั ผู้นำท่ีช่นื ชอบได้
• รับมือกับสถานการณ์ทนี่ า่ กงั วลที่เกิดขึ้นในสงั คมและทางธรุ กิจได้
• อภิปรายสถานการณท์ างการเมอื งและพฤตกิ รรมของนักการเมืองได้
ผ้เู รยี นระดบั C1 สามารถ
• อธบิ ายประเดน็ โดยละเอยี ดเพอ่ื นำไปสู่ความสำเรจ็ สร้างแรงจงู ใจให้กับทมี งาน
• พูดคุยรายละเอียดเกยี่ วกับงานศลิ ปห์ รอื สถาปัตยกรรมของอาคารทีช่ อบ
• อธิบายปัญหาในสังคม แนวทางการแก้ไข และบทบาทของหน่วยงานท่ี

รับผดิ ชอบ
• เข้าร่วมการสนทนาอภิปรายเก่ียวกับการปกป้องและอนุรักษ์ทรัพยากร

สิง่ แวดลอ้ มอยา่ งย่ังยนื
• สนทนาเก่ยี วกบั ประเดน็ ของข่าวและผลกระทบต่อบุคคลหรือองคก์ ร
• สนทนาเกย่ี วกบั ความเสี่ยงในชวี ติ เช่น การเปลี่ยนงานและการเล่นกฬี าผาดโผน
• เปรียบเหมอื นและเปรียบต่างของรูปแบบการศึกษาและระบบโรงเรียน
• เข้าใจรูปแบบของการส่ือสารท้ังทางตรง ทางอ้อม แบบทางการ และแบบไม่

เปน็ ทางการ
• อภิปรายประเด็นด้านคุณภาพชีวิต เช่น ความสมดุลระหว่างเร่ืองงานกับเร่ือง

ส่วนตัว
• เขา้ ใจและอภปิ รายประเด็นทางจริยธรรม

128

ผ้เู รยี นระดบั C2 สามารถ
• อภิปรายประเด็นทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เช่น หุ่นยนต์และการ
ประดิษฐใ์ หม่ ๆ
• พูดคุยเกี่ยวกบั ดารานกั รอ้ ง คนดงั และขา่ วซบุ ซิบ
• ใช้เทคนิคการเขยี นและการพูดอยา่ งหลากหลายเพ่อื ผลติ ผลงานท่ีสรา้ งสรรค์
• อภิปรายการวางแผนทางการเงนิ และใหค้ ำแนะนำเก่ยี วกับการเงินรายบุคคลได้
• พูดคุยเกย่ี วกับความเครียดจากการทำงานและชีวติ ความเปน็ อยู่ของเพ่ือนได้
• อธบิ ายเทคนคิ สำหรับการทำวจิ ัยในหวั ขอ้ ต่าง ๆ ไดอ้ ยา่ งกว้างขวาง

ปัญหาและวิธีการแกไ้ ขของการสอนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ

การสอนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศแม้มีประวัติศาสตร์มายาวนานหลายสิบปี แตย่ ัง
ไม่พบนักการศกึ ษาคนใดรวบรวมปัญหาของการสอนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศไว้อยา่ งเป็น
ระบบ นอกจากข้อเขียนของศรีวิไล พลมณี (2545) ท่ีได้กล่าวถึงปัญหาและเสนอแนวทางแก้ไขไว้
อยา่ งชดั เจน แบง่ ออกเปน็ 10 ขอ้ ดังน้ี

1. ปัญหาการขาดพ้ืนฐานในการเรียนภาษาไทยของผู้เรียน
ผทู้ ่ีเริ่มเรยี นภาษาไทยยังไม่มเี ครอ่ื งมอื ที่จะใชเ้ ปน็ พื้นฐานในการเรียน เช่น ไมม่ ีอกั ษรที่จะใช้
แทนเสียง โดยเฉพาะชาวตะวันตกที่พูดภาษาอังกฤษ เมื่อเรียนภาษาฝรังเศส เยอรมัน สเปน จะมี
พน้ื ฐานพอสมควรจากการรภู้ าษาของตนเอง แต่ภาษาไทยต้องใช้การฟัง ซึ่งการฟังสำหรับบางคนเป็น
สิ่งท่ีเข้าใจยาก และจำไมได้ ทำให้การเรียนไม่พัฒนา ส่วนการใช้สัทอักษร (Phonetics) สำหรับคน
ส่วนใหญ่เป็นเรื่องยากท่ีจะออกเสียงตามหลักของสัทอักษร โดยเฉพาะที่ขัดกับการออกเสียงของ
ภาษาอังกฤษ แต่สำหรับชาวญ่ีปุ่นที่ไม่ได้ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาหลักสามารถเข้าใจได้ง่ายกว่าและ
ไมม่ ขี ้อโต้แยง้ กับการออกเสยี ง

129

พ้ืนฐานสำคัญของการเรียนภาษาไทยคือ อักษรไทย ได้แก่ พยัญชนะ สระ และวรรณยุกต์
ควรเรียนอักษรไทยทีละน้อย ทีละกลุ่ม สระทีละ 2-3 สระ โดยจัดแบบฝึกหัดเสริมบทเรียน มีการฝึก
การพดู การอา่ น และการเขยี น ควรเป็นคำทพ่ี ดู ได้แลว้ ผู้เรียนจงึ จะสามารถอ่านออกเสยี งได้ ส่วนการ
ใชพ้ จนานุกรมไมค่ วรใช้ในเวลารวดเร็วเกินไป

พื้นฐานการเรียนภาษาไทยคือ การเรียนรู้อักษรไทย พูดคำไทยท่ีใช้ในชีวิตและเร่ืองทั่วไป
รู้จักลักษณะของภาษาไทยท่ีแตกต่างจากภาษาของตนก่อน ผู้สอนควรสำรวจปัญหาไว้ล่วงหน้าและ
สร้างแบบฝกึ รองรบั เพือ่ ไม่ให้เกดิ ปญั หา

2. ปญั หาผเู้ รยี นไมส่ ามารถจำได้

การเรียนภาษาส่วนหนึ่งใช้ความสามารถในการจำ แต่การจำสำหรับผู้ใหญ่จะไม่เกิดข้ึนถ้า
ส่ิงน้ันไม่มีความหมายต่อตนเอง ดังน้ัน การจำต้องมีอะไรเชื่อมโยง แล้วจึงท่องด้วยการฟัง การพูด
ช้า ๆ และต้องใชค้ ำน้ันอย่างตอ่ เน่อื ง

การสอนศัพท์ยากต้องนำคำศัพทท์ ี่รู้แล้วมาช่วยกัน ทำให้เข้าใจง่ายข้ึน นอกจากวิธีการท่อง
การได้ใช้ซ้ำบ่อย ๆ จะทำให้รู้จักและเข้าใจมากข้ึน ผู้สอนควรสอนคำศัพท์น้อยแต่ให้นำไปใช้ได้มาก
เช่น คำแต่ละคำมีหลายความหมาย ควรสอนให้เข้าใจหลาย ๆ ความหมายเพื่อนำไปใช้ได้อย่าง
หลากหลาย ท่ีสำคัญ ผู้สอนต้องขยนั ออกข้อสอบ โดยทดสอบหลาย ๆ รูปแบบอย่างสม่ำเสมอเพ่ือเป็น
การทบทวน

3. ปญั หาผเู้ รยี นไมย่ อมพดู

ผู้เรียนหลายคนเป็นคนขี้อาย พูดน้อย เม่ือมาเรียนภาษาไทยก็ยิ่งพูดน้อยลงไป วิธีการหนึ่ง
คอื ควรให้ผเู้ รยี นได้ฟังเรอ่ื งส้ัน ๆ แล้วตอบคำถาม จากน้ันใหเ้ ล่าเรือ่ ง การฝึกทำแบบน้ีจะทำให้ผเู้ รียน
พูดได้มากข้ึน ในการสนทนาน้ัน เม่ือฟังท้ังหมดแล้วควรให้ฟังแล้วพูดตาม เป็นการออกเสียงแบบพูด
โดยทำเสียงให้ถูกต้อง แล้วให้ผู้เรียนฝึกโต้ตอบกันตามบทสนทนา ฝึกจนเข้าใจออกเสียงได้ แล้วปิด
หนังสือและบอกว่าการสนทนาเก่ียวกบั อะไร และให้สนทนากนั โดยไม่ดบู ท

4. ปญั หาผู้เรยี นออกเสยี งไมถ่ ูก

ผู้เรยี นท่พี ูดภาษาไทยได้เพราะอาศัยอยู่ในประเทศไทยเป็นเวลานานแต่ไม่ได้เรียนภาษาไทย
อย่างถูกวิธีจะออกเสียงวรรณยุกต์แบบชาวต่างชาติ เมื่อจะแก้ไขจึงเป็นเรื่องยาก เพราะคุ้นชินกับการ

130

ออกเสียงคำน้ัน การวางรากฐานที่ดตี ้ังแต่ตน้ โดยการฝึกออกเสียงวรรณยุกต์จึงสำคัญที่สดุ ในการเรียน
ภาษาไทย การทำแบบฝกึ ออกเสยี งวรรณยุกต์ประกอบด้วยการฝึกภาคทฤษฎใี หร้ ู้กฎการผนั วรรณยกุ ต์
กับการฝึกภาคปฏิบัติคือ การออกเสียงให้ได้ ภาคปฏิบัติน้ียากกว่าภาคทฤษฎี สำหรับผู้ใหญ่จึงไม่ควร
ใช้วิธีการอธิบายใด ๆ นอกจากการฝึกอย่างเข้มงวด การชม ติ และสาธิต เป็นหน้าท่ีหลักของผู้สอน
อีกทางหนึ่งคือ การสังเกตคำที่ออกเสียงผิด อาจใช้เครื่องบันทึกเสียงของผู้เรียนแล้วเปิดฟังพร้อมกัน
โดยผสู้ อนควรทำแผนภูมไิ วอ้ ้างอิงกฎต่าง ๆ ดว้ ย

วธิ ีการฝกึ มหี ลายอยาง เช่น

1) ทำแบบฝึกคเู่ ทยี บเสียง (Minimal pair)

ตน้ ตม้ ตอง ทอง

เขา้ ขา้ ว เกา แกว

2) ทำแบบฝึกหัดการฟัง การเขียน การแปล เช่น เขียว ขาย ขวด ขา ขวา ขาด ขับ
เบนซ์ เบอร์ เกา เก่า เก้า เม่ือฟัง พูด เขียนแล้ว ให้เป็นการบ้านนำกลับไปแปล หลังจากเร่ิมใช้
พจนานกุ รม ซงึ่ เป็นการฝกึ การใช้พจนานุกรมอย่างงา่ ย เพราะใช้คำแปลเปน็ คำ ๆ ได้

3) ให้ฟังเป็นเร่ืองราวแล้วให้เฉพาะสัทอักษรของเร่ืองท่ีจะเขียน ผู้เรียนเขียนเป็น
ภาษาไทย จะช่วยให้ระลกึ เสยี งและรปู ของคำได้

4) ให้อ่านตาม เน้นจังหวะ วรรคตอน การรวบและการเน้นลงน้ำหนักที่คำแสดง
ความร้สู ึกหรอื การย้ำความ แลว้ ให้อ่านเองอย่างท่ีไดฝ้ ึกไปแล้ว

5) ให้เขียนตามคำบอกเป็นการทดสอบ การเขียนตามคำบอกควรให้เขียนลงบน
กระดานหน้าชั้นเรียน ใช้หูฟังเพียงอย่างเดียว ห้ามสังเกตการออกเสียงของผู้สอน ควรทำสัปดาห์ละ
ครง้ั เพราะอาจเกดิ ความนา่ เบ่อื หนา่ ย สง่ ให้ผเู้ รียนละเลยการทบทวน

6) อ้างอิงกลับไปยังแผนภูมิ การออกเสียง และการผันวรรณยุกต์ เพ่ือใช้กฎจน
แมน่ ยำ

131

5. ผ้เู รยี นเรยี งคำในโครงสร้างภาษาไทยไม่ถูก

การเรยี งโครงสร้างประโยคในภาษาไทยคอื ประธาน กรยิ า กรรม การสอนเฉพาะไวยากรณ์
อย่างเดียวเกินคร่ึงช่ัวโมงนับว่าเป็นเรื่องน่าเบ่ือ ผู้เรียนชาวญ่ีปุ่นสะท้อนความเห็นของความยากของ
ภาษาไทยว่า กริยาของภาษาไทยบางคำเป็นกลุมคำ เช่น เอา.......มาให้ ถ้ายึดหลักประธาน กริยา
กรรม จะทำให้แต่งประโยคภาษาไทยผิด อีกท้ังภาษาไทยเม่ือแปลเป็นภาษาญี่ปุ่นแล้วจะยากตรงไม่มี
คำสันธาน แต่ในภาษาญ่ีปุ่นต้องมีคำสันธาน เวลาแปลต้องใส่คำสันธาน ท้ัง ๆ ท่ีภาษาไทยไม่มี ส่วน
ผู้เรียนชาวออสเตรเลียประสบปัญหาการแปลงานให้องค์กรเอกชนคือ ต้องอ่านหลายรอบเพ่ือค้นหา
กาล (Tense) ในประโยคภาษาไทย ซงึ่ มอี ยู่แตไ่ มม่ ีวิธีการแสดงเฉพาะทแ่ี นน่ อน

วิธีการสอนไวยากรณ์คือ การสอนไวยากรณ์ประกอบเนื้อหา ไม่สอนแยกส่วนเป็นเอกเทศ
แต่สอนโดยหยบิ โครงสร้างน้ันจากเรอ่ื งที่ได้อ่าน มาขยายความโดยฝึกใชป้ ระโยคแบบนี้เพิ่มเติมให้เกิด
การต้ังข้อสังเกต และขยายการใช้โครงสรา้ งประโยคเหล่านี้ในการสื่อสาร ให้ผู้เรียนสรุปไวยากรณ์เอง
เพราะการอธิบายบางคร้ังทำให้สับสนและเป็นเรื่องราวของการวิเคราะห์ทางภาษาศาสตร์ท่ีลึกซ้ึง
เกินไป การสาธิตจึงเป็นวิธีที่ดีที่สุด เพราะไม่เป็นการอธิบายไวยากรณ์ แต่เป็นการแสดงว่าภาษาไทย
เป็นอย่างนั้นและไม่สนับสนุนให้ผ้เู รียนค้นหาเหตผุ ลว่าทำไม แต่เป็นการคิดหาว่าจะใช้ประโยคเหลา่ น้ี
อย่างไรดี การแก้ไขการพูดและการเขียนควรทำสมำ่ เสมอ โดยโยงออกไปและขยายให้เข้าใจโครงสร้าง
โดยการสาธิตและการนำไปใช้

6. ปญั หาความเขา้ ใจวฒั นธรรม ประเพณี

ในการสอนเนื้อหาดา้ นวัฒนธรรม ผ้สู อนจะตอ้ งระบพุ ฤติกรรมการเรียนของผเู้ รียนให้ชัดเจน
ว่าต้องการให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ในลักษณะใดบ้าง โดยพิจารณาจุดประสงค์ของการเรียนรู้
วฒั นธรรมต่อไปนี้

1) เพื่อสร้างความตระหนักในดา้ นวัฒนธรรมเจา้ ของภาษาแก่ผูเ้ รียน

2) เพ่อื เรา้ ความสนใจของผู้เรยี นในการเรยี นภาษาต่างประเทศ

3) เพื่อพัฒนาความสามารถของผู้เรียนให้ปฏิบัติตนได้ในสังคมวัฒนธรรมเจ้าของ
ภาษา

132

4) เพื่อสร้างความเข้าใจในค่านิยมและทัศนคติทางวัฒนธรรมของเจ้าของภาษา
ให้กบั ผ้เู รยี น

5) เพ่ือพัฒนาความเข้าใจให้กับผู้เรียนในแง่ของวัฒนธรรมเป็นตัวกำหนดพฤติกรรม
หรือการแสดงออก ในขณะเดียวกันตัวแปรทางสังคม ได้แก่ อายุ เพศ สถานภาพทางสังคม ถิ่นฐาน
ย่อมมีอทิ ธิพลต่อการพูดหรือการปฏิบตั ิตนของคนในสังคมดว้ ย

6) เพ่ือให้ผู้เรียนเข้าใจถึงการแสดงออกทางวัฒนธรรมของเจ้าของภาษาใน
สถานการณป์ รกตแิ ละสถานการณ์วิกฤต

7) เพ่ือให้ผู้ประเมินและหาข้อสรุปเกี่ยวกับวัฒนธรรมเจ้าของภาษาจากหลักฐานท่ี
ปรากฏ

8) เพื่อพัฒนาทักษะท่ีจำเป็นต่อการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับวัฒนธรรมเจ้าของภาษา
จากห้องสมดุ สอ่ื มวลชน และจากการสงั เกตด้วยตนเอง

7. ผู้เรยี นเบื่อการเรียน
ความเบ่ือ ความง่วง ความท้อที่มาจากความยาก และการไม่มีสมาธิในการเรียน ถือว่าเป็น
เรื่องที่ย่อมเกิดข้ึนได้ แม้จะไม่บ่อยครั้งหรือไม่ควรจะเกินร้อยละย่ีสิบของเวลาทั้งหมดในการเรียน ใน
การแกป้ ัญหาเหลา่ น้ี ผูส้ อนควรจัดบทเรียนหรือใหใ้ นสิ่งท่ีผเู้ รียนตอ้ งการหรอื ชอบ ต้องใชค้ ำวา่ “ร้ใู จ”
ซง่ึ เปน็ คำทีส่ ั้นและตรงความหมายทีส่ ดุ วิธกี ารรใู้ จผเู้ รียนคอื

1) ศกึ ษาทำความรูจ้ กั ผ้เู รียน ซ่งึ เปน็ ไปได้ง่ายจากประสบการณข์ องผู้เรยี น สอนกลุ่ม
เล็กท่ีไม่เกินห้าคน ผู้สอนจะรู้องค์ประกอบของความเป็นคนห้าคนได้ภายในระยะเวลาสั้น ๆ คือ
อุปนิสัย ความสนใจของแต่ละคน และวิธีการช่วยเสริมองค์รวมในชั้นเรียนของแต่ละคน ตลอดจนรู้ว่า
การถามคำถามท่หี ลากหลายนั้น แต่ละคำถามจะถามใครเพ่ือใหไ้ ด้คำตอบทนี่ ่าสนใจกว่า

2) จัดบทเรียนท่ีมีความหลากหลาย เช่น ไทยธุรกิจ สังคม การเมือง บันเทิง ข่าว
ทอ่ งเที่ยว เพ่ือนไทย วัฒนธรรม กินข้าว กินเลี้ยง กินขนั โตก การดูหนัง ฟังเพลง ดมู วย ปีใหม่ การขึ้น
บ้านใหม่ งานบญุ งานศพ ผ้าปา่ ประเพณลี อยกระทง สงกรานต์ พิธีแตง่ งาน งานบวชลกู แก้ว

3) จบั สลาก ใชส้ รา้ งความตื่นเต้น ตื่นตวั ในบางคราว เช่น จับสลากหวั ขอ้ การพูด (ท่ี
เป็นหัวข้อทั่วไป ไมต่ ้องเตรียมตวั นาน)

133

4) ให้ผู้เรียนเตรียมส่ิงที่สนใจด้วยตนเอง การพูดหรือการเขียนตามหัวข้อของผู้สอน
บางคร้ังอาจสร้างความน่าเบ่ือให้กับผู้เรียน และแม้ว่าจะทำความรู้จักผู้เรียนดีแล้ว ก็อาจไม่ทราบว่า
ผ้เู รียนอยากพูดเรื่องใด มีความถนัดและมีคลังข้อมูลเร่อื งใด ที่สำคญั ผู้เรียนกำลังสนใจกับเรื่องใดมาก
พอจนอยากพูด อยากอธิบาย เช่น ขอ้ สงสยั หรือขอ้ แตกต่างทพี่ บเมื่อมาอยู่เมอื งไทย

5) เร้าความอยากรู้ ตัวอย่างง่าย ๆ เช่น ภาพยนตร์ไทยเรื่อง ตำนานสมเด็จพระ
นเรศวรมหาราช เป็นเร่ืองท่ีผู้เรียนสนใจอยากศึกษามาก ผู้สอนควรใช้โอกาสน้ีเชิญผู้เช่ียวชาญด้าน
ประวัติศาสตร์ไทยมาบรรยายให้ผูเ้ รียนฟงั กอ่ นหรือหลังการรับชมภาพยนตร์

8. ผ้เู รียนมีขอ้ จำกัดของเวลาเรยี น

การเรียนภาษาไทยเช่นเดียวกับการเรียนวิชาต่าง ๆ ในระบบการศึกษาคือ มีจำนวนชั่วโมง
จำกัด เช่น ถ้านับเป็นหน่วยกิต หน่วยกิตหนึ่งหมายถึง 15 ชั่วโมง หลักสูตรภาษาไทยส่วนมาก
กำหนดการเรียนวันละ 3-4 ช่ัวโมง โดยแบ่งเป็นระดับเร่ิม ระดับกลาง ระดับก้าวหน้า และระดับสูง
ผู้สอนจึงตระหนกั ถึงขอ้ จำกัดของเวลาท่มี ีอยู่และรู้จักวางแผนการใชเ้ วลา ดังนี้

1) การบ้าน ผู้เรียนผู้ใหญ่ส่วนใหญ่มักขอการบ้านหรือแบบฝึกหัด บางคร้ังการเรียน
นอกห้องเรยี นนับวา่ เป็นเร่ืองดีและมีประโยชน์ ถ้าสมั พนั ธ์กับบทเรียนในหอ้ งเรียน เช่น ให้ไปหาข้อมูล
บางอยา่ งจากเพ่ือนคนไทย มนี ยั คอื ผูเ้ รยี นจะต้องใช้ภาษาไทยสอ่ื สารกับคนไทย

2) การตรวจงานท่ีละเอียด เช่น ตรวจการเขียนตามสัทอักษร (Phonetics) ทผี่ ู้เรยี น
ใช้ฝึกหลังการฟังเร่ืองเล่า แทนท่ีผู้สอนจะเสียเวลาตรวจงานของผู้เรียนคนละห้านาที เป็นเวลาเกือบ
คร่ึงช่ัวโมง โดยผู้เรียนไม่ได้ประโยชน์อะไร ผู้สอนสามารถแปลงเป็นกิจกรรมเปล่ียนกันตรวจ โดยแจก
เรื่องที่เขียนเป็นภาษาไทยให้ นอกจากจะช่วยผู้สอนตรวจแล้ว ผู้เรียนยงั ได้เห็นการเขยี นของเพ่ือนร่วม
ช้ัน เกิดความเข้าใจว่าเหราะเหตุใดคำบางคำเพ่ือนเขียนถูกแต่ตัวเองเขียนผิด จะเห็นได้ว่าการใชเ้ วลา
จะต้องคำนงึ ถึงคุณค่าของเวลาที่เสยี ไปของท้ังสองฝ่ายด้วย

3) แบบฝึกที่มีคุณภาพต่อการเรียนรู้เป็นแม่บทของภาษา แบบฝึกหัดอาจสร้างได้
มากมาย แต่บางแบบฝึกหัดอาจสร้างความยากลำบากในการเรียนรู้ เพราะเป็นแบบฝึกสมองทดลอง
ปัญญาแทนที่จะฝึกใช้ภาษา แบบฝึกหัดท่ีดีควรผ่านการทดลองใช้และเห็นผลมาแล้ว จึงจะเป็นแบบ
ฝกึ ทมี่ คี ณุ คา่ ท่จี ะต้องเก็บไว้หรือปรบั ปรุงใช้ในคราวต่อไป

134

4) เวลาเรียนในช้ันเรียนและนอกช้ันเรียน ต้องจัดให้เวลาเรียนกับเวลาทบทวนมี
ความสมดุลกัน เช่น เรียน 2 ช่ัวโมง ต้องทบทวนทำการบ้านประมาณ 4 ช่ัวโมง หลักสูตรหรือ
กระบวนวิชาที่มีชั่วโมงเรียนในชั้นเรียนทุกวัน เกินวันละ 4 ช่ัวโมง อาจทำให้ผู้เรียนใช้เวลานอกชั้น
เรียนในการทบทวนหรือทำการบ้านได้น้อยลง ไม่สมดุลกัน เป็นการเรียนข้อมูลในอัตราเร็วกว่าการ
ยอ่ ยขอ้ มูล ถ้าเทยี บกับการรบั ประทานอาหารถือเป็นการใหโ้ ทษคือ ทอ้ งอืด ปวดท้อง

5) การตรงเวลา รู้คุณค่าของเวลา ผู้สอนบางคนไม่ตรงเวลาเป็นการปลูกฝังความไม่
ตรงต่อเวลาแก่ผู้เรียน ผู้เรียนท่ีตรงเวลาย่อมรู้สึกถึงความสูญเปล่าของเวลา ผู้สอนจึงต้องเป็นคนมา
สอนตรงเวลา ย่ิงไปกว่าน้ันการสอนต้องจัดวางลำดับขนั้ ให้บทเรยี นเดินก้าวหนา้ ไม่ใช่ถอยหลังหรอื ไม่มี
โครงสรา้ ง จะชว่ ยเพมิ่ ความเชื่อม่ันศรัทธากบั ผสู้ อนมากขนึ้

9. การขาดตำราทีใ่ ช้สอน

ตำราหรือแบบเรียนภาษาไทยท่ีมีเนื้อหาน่าสนใจเหมาะกับการใช้เป็นสื่อในการเรียน
ภาษาไทยยังมีน้อย แบบเรียนท่ีดีควรมีคุณสมบัติเร้าความอยากรู้อยากเห็น ดึงดูดการมีส่วนรวมและ
เปดิ โอกาสให้เกดิ การแลกเปลีย่ นทศั นะ วิธกี ารสรา้ งบทเรยี นท่ีดมี ีขอ้ แนะนำ ดังนี้

1) แสวงหาและเก็บรวบรวมเร่ืองราวสั้น ๆ ผู้สอนควรเก็บรวบรวมสิ่งท่ีคิดว่า
น่าสนใจและคาดว่าจะเป็นประโยชน์ต่อผู้เรียนของตน แล้วนำมาทดลองใชว้ ่าผู้เรยี นสนใจหรอื ไม่ ยาก
งา่ ยเกินไปหรือไม่ อย่างไร ท้าทายความสามารถหรือไม่ และเป็นเร่ืองท่ีเคยเรียนมาแล้วหรือเป็นเร่ือง
ทผี่ ้เู รยี นสนใจ

2) เขียนเร่ืองเอง หากผู้เรียนยังมีพ้ืนฐานภาษาไทยน้อย ไม่สามารถอ่านบทอ่านของ
จริงได้ ผูส้ อนจำเปน็ ต้องแตง่ เร่ืองราวเองโดยใชค้ ำศัพทท์ ี่เหมาะสมกับระดบั ของผเู้ รียน

3) นำเร่ืองท่ีน่าสนใจมาจากผู้เรียน เรื่องที่ได้จากผู้เรียนมักเป็นเรื่องท่ีน่าสนใจ
สำหรับผู้เรียนคนอื่น ๆ หรือเป็นเรื่องท่ีได้จากมุมมองใหม่ บางคร้ังผู้สอนกับผู้เรียนอาจหาเร่ืองราวที่
น่าสนใจด้วยกัน ในระดับกลาง ผ้สู อนอาจเริ่มใชห้ นังสือพิมพ์หนึ่งฉบับ เลอื กประเด็นท่ีสนใจ แล้วอา่ น
ติดตามประเด็นนั้น ให้เขยี นเร่อื งทไี่ ด้จากการอ่านเรอื่ งน้ันเพิ่มเติม เพ่ือให้ผู้เรียนเข้าใจในการอ่านข่าว
หรอื บทความ

135

4) ให้ผู้เรียนได้มีโอกาสโดยตรง เช่น การสังเกต สัมภาษณ์ ดูหนัง ฟังเพลง เล่นเกม
หรือเล่นกฬี าอ่ืน ๆ หาเพือ่ นคนไทยท่สี นใจเรอ่ื งราวคลา้ ยกนั

10. ผ้เู รยี นไมเ่ ข้าสังคม
ผ้เู รียนชาวต่างชาติที่มาเรียนในประเทศไทยไม่ต่างกับผู้เรียนชาวไทยท่ีไปเรียนต่างประเทศ
ท่ีพยายามอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม ไม่กล้าเข้าสังคมกับเจ้าของภาษา วิธีการหน่ึงคือ ให้ผู้เรียนได้แสดงจริง
ทำให้มีกิจธุระ เช่น ผู้สอนอาจพาผู้เรยี นไปส่งยังร้านอาหารแล้วเตรยี มตัวผ้เู รียนก่อนว่าตอ้ งพูดอย่างไร
โดยให้สั่งอาหารเอง สอนวิธีการอ่านรายการอาหาร นอกจากน้ี อาจแนะนำให้รู้จักกับเพื่อนคนไทย
เช่น หากผู้เรียนชาวต่างชาติรักสุขภาพก็อาจแนะนำเพ่ือนคนไทยท่ีชอบการออกกำลังกาย หรือพาไป
งานให้ได้ค้นพบปะเพ่ือนคนไทยทผี่ ู้เรียนอาจมโี อกาสไดต้ ดิ ต่อกนั ในภายหน้า

136

บทสรุป

ความสามารถในการใช้ภาษาไทยเป็นส่ิงที่สามารถเรียนรู้ได้ด้วยการจำ การฝึกฝน การ
เลียนแบบ และการใช้ภาษาในสถานการณ์จริงจนเกิดความคล่องแคล่ว และสามารถนำความรู้ท่ีได้ไป
ใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้ นับเป็นหน้าท่ีของผู้สอนภาษาไทยท่ีจะต้องฝึกฝนให้ผู้เรียนมีทักษะ
ทางภาษา โดยมุ่งเน้นความสามารถในการส่ือความหมายให้ผู้อื่นเข้าใจว่าตนเองมีจุดประสงค์ท่ีจะพูด
เรื่องอะไร กับใคร ทไ่ี หน และอยา่ งไร

การสอนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศตามแนวคิดของการสอนภาษาเพ่ือการส่ือสาร
เป็นการจัดกิจกรรมทางภาษาไทยให้ผู้เรียนชาวต่างชาติได้ฝึกร่วมกันเป็นกลุ่ม ได้ใช้ภาษาไทยใน
สถานการณ์จริงหรือบริบทท่ีผู้สอนจัดขึ้นหรือเตรียมไว้ในห้องเรียน ร่วมมือกันทำกิจกรรมเพื่อการ
สื่อสารแบบเป็นคู่หรือเป็นกลุ่ม และยังเปิดโอกาสให้ผู้เรียนพัฒนาทักษะการทำงานกลุ่มเฉพาะด้าน
มุ่งเน้นหน้าท่ีของภาษาในลักษณะเดียวกัน ภาษาที่เรียนในห้องเรียนควรเป็นภาษาท่ีใช้สื่อสารใน
สถานการณ์ต่าง ๆ ในชีวติ ประจำวัน ไม่ควรเป็นภาษาระดับทางการและไม่มุ่งเน้นไวยากรณ์หรือหลัก
ภาษา แตเ่ น้นระบบทใ่ี ช้ในการสอ่ื สารหรือส่ือความหมาย อนั จะช่วยใหผ้ ู้เรียนสามารถนำภาษาไปใช้ใน
การสื่อสารหรือส่อื ความหมายไดเ้ หมาะตามสภาพสงั คมและวัฒนธรรมไทย

คำถามทบทวน

1. หากนักศึกษาได้รับมอบหมายให้สอนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศสำหรับผู้เรียน
ในระดบั พืน้ ฐาน จะใช้วธิ ีสอนใด เพราะเหตใุ ด

2. หากต้องการพัฒนาทักษะการเขยี นภาษาไทยของผเู้ รียน จะใชว้ ธิ ีการใด เพราะเหตุใด
3. เปา้ หมายสำคัญของแนวคดิ ของการสอนภาษาเพื่อการสอื่ สารคอื อะไร
4. การสอนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศตามแนวคิดของการสอนภาษาเพื่อการ
สอื่ สารเป็นอยา่ งไร
5. บทบาทของผู้เรยี นกับผ้สู อนตามแนวคิดของการส่ือสารเพื่อการสือ่ สารเป็นอย่างไร

137

เอกสารอา้ งอิง

กรรณิการ์ กาญจันดา. (2546). การใช้กิจกรรมบทบาทสมมติตามแนวการสอนภาษาเพ่ือการสื่อสาร
เพ่ือส่งเสริมความสามารถในการฟัง พูด ภาษาอังกฤษ และแรงจูงใจของนักเรียนชั้น
มธั ยมศกึ ษาปีที่ 3. [วิทยานพิ นธป์ ริญญามหาบณั ฑติ ]. มหาวทิ ยาลัยเชยี งใหม่.

กฤษณา เมืองโคตร. (2553). การพฒั นาการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาองั กฤษ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษา
ปีท่ี 4 โดยใช้รูปแบบการสอนภาษาเพ่ือการส่ือสาร [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต].
มหาวทิ ยาลยั เชียงใหม่.

กุศยา แสงเดช. (2545). การสอนแบบ “การสอนภาษาเพ่ือการส่ือสาร” การจัดกระบวนการเรียนรู้ที่
เนน้ ผู้เรยี นเปน็ สำคญั . สำนักงานคณะกรรมการการศกึ ษาแห่งชาติ.

ดวงชีวา ทิพย์แดง. (2549). การพัฒนาบทเรียนการสอนภาษาเพ่ือการสื่อสารเพื่อส่งเสริม
ความสามารถในการฟัง พูดภาษาอังกฤษสำหรับบุคลากรสวนกล้วยไม้ [วิทยานิพนธ์
ปรญิ ญามหาบณั ฑติ ]. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ทศิ นา แขมมณี. (2550). ศาสตรก์ ารสอน: องค์ความรูเ้ พื่อการจัดกระบวนการเรียนรทู้ ่ีมีประสิทธิภาพ
(พิมพ์ครงั้ ที่ 8). สำนักพมิ พแ์ หง่ จุฬาลงกรณ์มหาวทิ ยาลยั .

นวลทิพย์ เพ่ิมเกษร. (2554). การสอนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ : จากปัจจัยพ้ืนฐานสู่
กลวิธีสอน. การอบรมเชิงปฏิบัติการเร่ืองนานากลวิธีการสอนภาษาไทยแก่ชาว
ตา่ งประเทศ. คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลยั ธรรมศาสตร์, กรุงเทพฯ.

เบญจวรรณ ก่ีสุขพันธ์. (2552). EDUC 103 หลักสูตรกับการจัดการเรียนรู้. คณะครุศาสตร์
มหาวิทยาลยั ราชภัฏสวนดสุ ติ .

พระฉัตรเทพ พุทธชูชาติ. (2549). การพัฒนาบทเรียนภาษาอังกฤษที่เน้นเนื้อหาพระพุทธศาสนาตาม
แนวการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัย
เชียงใหม่.

138

พลอยส่องแสง พานโพธิ์ทอง. (2549). ความเข้าใจและการประยุกต์แนวคดิ การสอนภาษาอังกฤษเพื่อ
การสื่อสารของครูในโรงเรียนมัธยมศึกษาในเขตพ้ืนที่การศึกษาจังหวัดนครปฐม
[วทิ ยานิพนธป์ ริญญามหาบณั ฑิต]. จฬุ าลงกรณม์ หาวิทยาลยั .

มงคล ออกแมน. (2535). การรับรู้และความต้องการเกี่ยวกับการสอนภาษาเพื่อการส่ือสารของครู
ภาษาอังกฤษโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดสระบุรี [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต].
มหาวทิ ยาลัยเชยี งใหม่.

วัชรพล วบิ ูลยศริน. (2556ก). กลยทุ ธ์การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมอื สำหรบั การสอนภาษาไทยในฐานะ
ภาษาต่างประเทศ. วารสารสงั คมมนุษย์, 31(1), 87-99.

__________. (2556ข). การจัดการเรียนรู้ภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศตามแนวคิดการสอน
ภาษาเพื่อการส่ือสาร. การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการสอนภาษาไทยในฐานะ
ภาษาตา่ งประเทศ 2556, โรงแรมทวิน ทาวเวอร์, รองเมอื ง, กรุงเทพฯ.

__________. (2556ค). การพฒั นารูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานตามแนวการสื่อสารแบบ
มีส่วนร่วมโดยใช้เทคนิคการเขียนรอบวงบนส่ือสังคมเพ่ือเสริมสร้างความสามารถด้านการ
เขียนวิพากษ์เชิงสร้างสรรค์สำหรับนักศึกษาปริญญาตรี [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต
จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย]. Chulalongkorn University Intellectual Repository.
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/12345 6789/43767

ศรีวิไล พลมณี. (2545). พื้นฐานการสอนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ. ศูนย์ไทยศึกษา คณะ
ศกึ ษาศาสตร์ มหาวิทยาลยั เชียงใหม่.

สมพงศ์ วิทยศักด์ิพันธุ์. (2545). คู่มือการสอนภาษาไทยเบื้องต้นในบริบทไทยศึกษาสำหรับ
ชาวตา่ งชาติ. ทบวงมหาวิทยาลัย.

สร้อยสน สกลรักษ์. (2553). 2719388 การสอนภาษาไทยเป็นภาษาต่างประเทศ. คณ ะ
ครศุ าสตร์ จุฬาลงกรณม์ หาวทิ ยาลัย. (เอกสารอดั สำเนา)

สมุ ิตรา องั วัฒนกุล. (2531). วิธสี อนภาษาอังกฤษเปน็ ภาษาต่างประเทศ. คณะครุศาสตร์ จฬุ าลงกรณ์
มหาวทิ ยาลยั . (เอกสารอดั สำเนา)

สไุ ร พงษท์ องเจริญ. (2525). วธิ ีสอนภาษาองั กฤษสำหรบั ผู้เรม่ิ เรียน. คณะมนุษยศาสตร์ มหาวทิ ยาลัย
ศรนี ครินทรวิโรฒ.

139

เสาวลักษณ์ รัตนวิชช์. (2536). การสอนภาษาไทยแบบมุ่งประสบการณ์ภาษา เล่ม 3. คณะ
ศกึ ษาศาสตร์ มหาวทิ ยาลัยศรนี ครินทรวิโรฒ.

อมรา ประสทิ ธร์ิ ฐั สินธุ์. (2533). ภาษาศาสตร์สงั คม. โรงพมิ พ์จุฬาลงกรณ์มหาวทิ ยาลัย.
อรณุ ี วริ ยิ ะจติ รา. (2532). การเรยี นการสอนภาษาเพ่ือการสื่อสาร. อกั ษรเจริญทัศน์.
อารยา วานลิ ทิพย์. (2550). ผลของการจัดประสบการณ์ภาษาอังกฤษตามแนวการสอนภาษาเพ่อื การ

สื่อสารท่ีมีต่อความเข้าใจคำศัพท์สำหรับเด็กอนุบาลในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพ้ืนที่
การศึกษากรุงเทพมหานคร. [วทิ ยานิพนธป์ รญิ ญามหาบัณฑติ ]. จุฬาลงกรณม์ หาวิทยาลยั .
British Council. (2011). Communicative approach. http://www.teachingenglish.org.uk/
think/knowledge-wiki/communicative-approach
Brown, H. D. (2000). Principles of learning and teaching. Prentice-Hall Regents.
__________. (2001). Teaching by principles: An interactive approach to language
pedagogy (2nd ed.). Addison Wesley Longman Education.
Brumfit, C. J. (1980). Problems and principles in English teaching. Pergamon Press.
__________. (1984). Language and literature teaching: From practice to principle.
Pergamon Institute of English.
Brumfit, C. J., & Johnson, K. (1979). The communicative approach to language
teaching. Oxford University Press.
Butler-Pascoe, M. E., & Wiburg, K. M. (2004). Technology and teaching English
language learners. Allyn and Bacon.
Canale, M., & Swain, M. (1980). Theoretical bases of communicative approaches to
second language teaching and testing. Applied Linguistics, 1(1), 1-47.
Clark, J. L., & Hamilton, J. (1984). Syllabus guidelines, part 1, 2 and 3: A graded
communicative approach towards school foreign language learning. Centre for
Information on Language Teaching and Research.


Click to View FlipBook Version