The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

บทความวิชาการประกอบผลงานสร้างสรรค์
การจัดแสดงนิทรรศการผลงานทางทัศนศิลป์ ระดับนานาชาติ
งานมหกรรมศิลปวัฒนธรรมไทย ของคณะศิลปวิจิตร

โครงการนิทรรศการทางวิชาการและการแสดงทางศิลปวัฒนธรรม
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 :
กิจกรรมที่ 2 การจัดแสดงนิทรรศการผลงานทางทัศนศิลป์ ระดับนานาชาติ
งานมหกรรมศิลปวัฒนธรรมไทย
“นาฏการสานแผ่นดิน บัณฑิตพัฒนศิลป์ สู่เวียงพิงค์”
ของคณะศิลปวิจิตร

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by ffabpi2020, 2024-03-26 22:48:30

บทความวิชาการประกอบงานส้างสรรค์ 2567

บทความวิชาการประกอบผลงานสร้างสรรค์
การจัดแสดงนิทรรศการผลงานทางทัศนศิลป์ ระดับนานาชาติ
งานมหกรรมศิลปวัฒนธรรมไทย ของคณะศิลปวิจิตร

โครงการนิทรรศการทางวิชาการและการแสดงทางศิลปวัฒนธรรม
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 :
กิจกรรมที่ 2 การจัดแสดงนิทรรศการผลงานทางทัศนศิลป์ ระดับนานาชาติ
งานมหกรรมศิลปวัฒนธรรมไทย
“นาฏการสานแผ่นดิน บัณฑิตพัฒนศิลป์ สู่เวียงพิงค์”
ของคณะศิลปวิจิตร

บทความวิชาการประกอบผลงานสร้างสรรค์ การจัดแสดงนิทรรศการผลงานทางทัศนศิลป์ระดับนานาชาติ งานมหกรรมศิลปวัฒนธรรมไทย ของคณะศิลปวิจิตร โครงการนิทรรศการทางวิชาการและการแสดงทางศิลปวัฒนธรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 : กิจกรรมที่ 2 การจัดแสดงนิทรรศการผลงานทางทัศนศิลป์ระดับนานาชาติ งานมหกรรมศิลปวัฒนธรรมไทย “นาฏการสานแผ่นดิน บัณฑิตพัฒนศิลป์ สู่เวียงพิงค์” ของคณะศิลปวิจิตร


สารจากคณบดีคณะศิลปวิจิตร การสืบทอด พัฒนาและสร้างสรรค์ศิลปวัฒนธรรมไทย ในงานมหกรรมศิลปวัฒนธรรมไทย “นาฏการสานแผ่นดิน บัณฑิตพัฒนศิลป์ สู่เวียงพิงค์” ภายใต้โครงการนิทรรศการทางวิชาการและการแสดง ทางศิลปวัฒนธรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567โดยสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ ณ วิทยาลัยนาฏศิลปเชียงใหม่ ระหว่างวันที่ 6 - 7 มกราคม 2567 นั้น เป็นเวทีที่หน่วยงานในสังกัดสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์มีโอกาส แลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านศิลปวัฒนธรรม และปลูกฝังให้นักเรียน นักศึกษา และประชาชนได้ตระหนักถึงคุณค่า ของศิลปวัฒนธรรมและการมีส่วนร่วมในการสร้างเสริมมูลค่าทางเศรษฐกิจและสังคมให้กับท้องถิ่นและ ประเทศชาติด้วยทุนทางวัฒนธรรมที่สอดคล้องกับวิถีชีวิต ภูมิสังคม ภูมิปัญญาและภูมิวัฒนธรรมของท้องถิ่น อันเป็นมรดกทางภูมิปัญญาที่ทรงคุณค่าความประณีตและงดงาม นิทรรศการทางวิชาการและการแสดงทางศิลปวัฒนธรรมด้านทัศนศิลป์นั้น ดำเนินการโดย คณะศิลปวิจิตรร่วมกับวิทยาลัยช่างศิลป วิทยาลัยช่างศิลปสุพรรณบุรี วิทยาลัยช่างศิลปนครศรีธรรมราชและ วิทยาลัยนาฏศิลปเชียงใหม่จัดนิทรรศการผลงานทางทัศนศิลป์ระดับนานาชาติ (International Visual Arts & Designs Exhibition 2024) ซึ่งได้รับความสนใจจากศิลปินทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศจำนวนมากให้ เกียรติส่งผลงานสร้างสรรค์มาร่วมแสดงในนิทรรศการและร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ทางทัศนศิลป์ระหว่าง กัน ซึ่งจะเป็นแรงกระตุ้นให้เกิดการสืบสานและสร้างสรรค์งานศิลป์อันงดงามและมีคุณค่าสืบต่อไป ผู้ช่วยศาสตราจารย์บุญพาด ฆังคะมะโน คณบดีคณะศิลปวิจิตร สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์


รายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิผู้ประเมินบทความ (Peer Reviewers) Mr.Somsak Chowtadapong National Artist for Visual Arts (Painting) อาจารย์สมศักดิ์ เชาวน์ธาดาพงศ์ ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรม) Associate Professor Dr. Chaiyasit Dankittikul Expert Evaluator for Architecture รองศาสตราจารย์ดร. ชัยสิทธิ์ ด่านกิตติกุล ผู้เชี่ยวชาญด้านสถาปัตยกรรมศาสตร์ Associate Professor Prasert Pichayasoonthorn Expert Evaluator for Visual Arts รองศาสตราจารย์ประเสริฐ พิชยะสุนทร ผู้เชี่ยวชาญด้านทัศนศิลป์


สารบัญ 1. เวลาและการประคับประคอง……………………………..…………………….……………………….……………….……..1 กานต์ชลี สุขสำราญ 2. ความสุขจากสิ่งเล็ก ๆ...............................................................................………………………….…….…..10 เกษกานต์ รัตนเชาว์ 3. หน้ากากชีวิตของฉัน…………………….………………….…………………………………………………….………………16 โกเมศ คันธิก 4. ศิลปะการถักโครเชต์: เส้นใยสู่การภาวนา.…………………………………………………………………...…..……..20 ขวัญใจ พิมพิมล 5. การมีอยู่ : ที่ว่าง..................................................................………………………………………………………..26 จตุรพร เทวกุล 6. แนวคิดในการออกแบบปรับปรุงโชว์รูมรถจักรยานยนต์……...………………………………………………........31 ชนัส คงหิรัญ 7. โครงการออกแบบสถาปัตยกรรม “บ้านพักอาศัย 3 ชั้น ซอยพหลโยธิน 11 สามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร”…………………………………………………….……….………..………….……………………….…..38 ชยากร เรืองจำรูญ 8. ความเป็นจริงของความสุขและความฝัน....……………………………………………………………………..………..46 ชุติมา พรหมเดชะ และ ญาณี พรหมเดชะ 9. ฝึกฝน........…………………………………………………………………………………………………………………………..53 ณรงค์ แสงสวัสดิ์ 10. อ้อมกอด…………………………………………………………………………………………………………………………….60 ดวงหทัย พงศ์ประสิทธิ์ 11. ความงามจากธรรมชาติ………………………………………………………………………………….………….………..64 เด่น หวานจริง 12. การสร้างสรรค์ลายเส้น Contour Drawing ชุด นางรำ...............……………………………..…….….……..71 โดม คล้ายสังข์ 13. บรรยากาศของสีสันและรูปทรงในประเพณีบวชลูกแก้ว..………………………………………………..………..82 ถนอม จันทร์ต๊ะเครือ 14. ความงามในธรรมชาติ No.2...…………………………………………………………………………………….………..90 ทัศนีย์ รุ่งทวีชัย 15. สัญชาตญาณสัตว์……………………………….….………………….…………………………………………………..…..94 ธีระวุฒิ เนียมสินธุ์


สารบัญ (ต่อ) 16. สนทนากับตัวเอง……..…………………………..…….……………………………………….……….…………………..102 นภพงศ์ กู้แร่ 17. พื้นที่มายาบนสื่อสังคมออนไลน์…..……………………………………………..………………….……………………108 นรวีร์ โชติวรานนท์ 18. การออกแบบที่พักเชิงพาณิชย์ขนาดเล็ก อ.เชียงคาน จ.เลย….……………………..………………………….114 นรินทร์ อ้วนดำ 19. หุ่นไล่กาใหญ่……………………………….………………………….……………..………………..……………………….122 นฤมล มะโนวัง 20. วงรอบของชีวิต……………………………………………….………………………………………….………..…………..126 นิตยา สีคง 21. จินตนาการจากรูปทรงดอกไม้......………………………………………………………………………………………..130 บุญฤทธิ์ พูนพนิช 22. ความสมดุล กับความฝัน และความจริง.…………………………………………………………….………………..136 ปภณ กมลวุฒิพงศ์ 23. จากวันนั้น จนถึงวันนี้……………………………………………………………….………….….………………………..143 ปรานต์ ชาญโลหะ 24. โมชั่นกราฟิกศิลปะเด็ก.............................................................................…………………………………151 ปองไท รัตนวงศ์แข 25. การสร้างสรรค์ลวดลายจากศิลปะล้านนา....………………………………………………………………………….159 แผน เอกจิตร 26. ร่มพฤกษชาติ.....................................................…………………………………………….…..……..…..……..166 พงษ์ศักดิ์ สารกุล 27. ความสัมพันธ์ทางอารมณ์ระหว่างผู้หญิงกับดอกไม้………………….……………..……………………………..171 พัชรินทร์ อนวัชประยูร 28. ความผูกพันของเด็ก ๆ กับประเพณีบุญสารทเดือนสิบ....………………………………………………….......179 พัชรี มีสุคนธ์ 29. ภายใต้สภาวะที่ปรากฏ……………..…………………………………………………………….………………………….189 พิทวัล สุวภาพ 30. ร่มไม้ลายทอง......………………………………….…………………………….……..……………….…………………….196 พิมพ์จุฑา สารกุล 31. นารีพิจิก.……………………………………….…………………………………………………….…………………………..202 พิมพ์ชนก บุตรอินทร์


สารบัญ (ต่อ) 32. ยามเช้า 2…………….…….……………………………………………………………….…..……………………….………207 พิเศษ โพพิศ 33. บทกวีจากวัฒนธรรมเก่า……………………………………………………………..………………………….……….…210 ภัทรพร เลี่ยนพานิช 34. หวาดกลัว…………..…………………………….….…………………………………………………………….……………214 ภิญญวุธ บุอ่อน 35. การสร้างสรรค์จิตรกรรมสื่อผสมสภาวะความรู้สึกโหยหาอดีตของเมตตา สุวรรณศร..………….……..220 เมตตา สุวรรณศร 36. ดอกไม้ทะเลสีสันแห่งท้องทะเล......…………………………………….………………………………………………..230 วณิชยา นวลอนงค์ 37. วิถีชีวิตที่เรียบง่าย...................................................………………………………………………….….………..235 วรรณวิสา พัฒนศิลป์ 38. วาดเส้นสร้างสรรค์ : ลีลานาฏศิลป์ถิ่นสุพรรณ.........…..………………………………………….…….………..242 วิศิษฐ พิมพิมล 39. รูปเหมือนตัวเองในเดือนตุลาคม 2566……………………………….…………….……………….………….……..247 วิสุทธิ์ ยิ้มประเสริฐ 40. วาดเส้นสื่อผสม : นัยซ้อนของรูปทรง-พื้นที่-เวลา ในบริบทการผสมผสานทางวัฒนธรรมและความเชื่อ ยุค BANI WORLD 2024….……………………….……………………..…………………………….…….….………255 ศักดิ์ชาย บุญอินทร์ 41. พี่จิ๋ว พี่กิต พี่นุช...........................................…………..…………………………….……………………………...268 ศันสนีย์ รุ่งเรืองสาคร 42. อารมณ์กับความเชื่อ…………………………………………………………………………………….………..…..……..275 ศิพพร สุนทระศานติก 43. ความงามในความไม่สมบูรณ์ หมายเลข 2…………………………………………………………………..………..278 ศิริกานต์ ยืนยง 44. สภาวะ กาย จิต สัญญะแหงพุทธธรรม ผานจิตรกรรมสื่อผสมและเทคนิคดินสรางลวดลาย..…………..284 สักชาติ ศรีสุข 45. A State of Balance no.1……………………………..………………………………………………………...........293 สุจิตตา บุญทรง 46. ธรรมชาติ อ่างบัว แม่กับลูก…………………..…………………..…………………………………….…………………301 สุทธาสินีย์ สุวุฒโฑ 47. ปริศนาธรรม………………………………………………………………..………………..…………………….…………..306 สุธินี ทิพรัตน์


สารบัญ (ต่อ) 48. บทกวีมีชีวิต 2/2566………….………………………..…………………………………………………..………………..313 สุริยะ ฉายะเจริญ 49. ชายผู้ใส่หน้ากาก ขับขี่มอเตอร์ไซด์ ปราบอธรรม....………………………………………….…………………...320 สุวดล เกษศิริ 50. การสร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรมร่วมสมัยด้วยวิธีการจุดชุดสีสันและลวดลายจากเครื่องแต่งกาย โนรา.............................................................................................................................................325 โสภิต เดชนะ 51. การให้กำเนิดความงามของรูปร่าง................................................................………..…………………..330 หนึ่งฤทัย ยิ้มประเสริฐ


1 เวลาและการประคับประคอง Time and Palliative Care กานต์ชลี สุขสำราญ, Kanchalee Suksomran วิทยาลัยช่างศิลปสุพรรณบุรีสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์กระทรวงวัฒนธรรม ประเทศไทย Suphanburi College of Fine Arts, Bunditpatanasilpa Institute of Fine Arts, Ministry of Culture, Thailand Email: [email protected] บทคัดย่อ จากประสบการณ์ชีวิตได้ดูแลมารดาที่ป่วยเป็นมะเร็งปอดระยะสุดท้าย เป็นสถานการณ์ที่หนักหน่วงที่ ทำให้กายและจิตใจต้องเข้มแข็ง ตั้งมั่น ในการปฏิบัติตนกับสิ่งที่อยู่เบื้องหน้ากับการแปรเปลี่ยนได้ตลอดเวลา โดยความมุ่งหวังให้เป็นการประคับประคองร่างกายและจิตใจ ให้เวลาของการพลัดพรากยาวนานขึ้น ข้าพเจ้าศึกษาข้อมูลและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างสรรค์ผลงานศิลปะสื่อประสมที่แสดงถึง สถานการณ์และความเข้าใจกับสาระแก่นแท้ของชีวิตในช่วงเวลานั้น มิติทับซ้อนของความคิด อารมณ์ และ ความรู้สึกระหว่างการปฏิบัติตนอย่างมีสติทำจิตที่สั่นคลอนให้ตั้งมั่นและยอมรับกับสิ่งที่จะเกิดขึ้น พัฒนา ความคิด วิเคราะห์ความหมายเชิงสัญลักษณ์จากวัสดุ เทคนิค วิธีการ และกระบวนการสร้างสรรค์ สุนทรียะจากศิลปะสื่อผสมนี้ทำให้ผู้สนใจศึกษาได้รับประโยชน์จากแนวความคิด ความหมายเชิง สัญลักษณ์จากวัสดุ และกระบวนการสร้างสรรค์ ได้ตระหนักรู้ถึงการปฏิบัติตนอย่างมีคุณค่าทางร่างกายและ จิตใจ อีกทั้งสามารถพัฒนาผลงานศิลปะและเป็นต่อผู้อื่นในการศึกษาค้นคว้าต่อไป คำสำคัญ: การประคับประคอง, วัสดุ, ความหมายเชิงสัญลักษณ์, กระบวนการ, คุณค่าทางร่างกายและจิตใจ Abstract My life experience of caring my mother who was terminally ill with lung cancer in the last stage. It is serious situation that makes the body and mind strong, determined and resolute to deal with what lies ahead with constant attention to change. It is aim is to provide palliative care for both body and mind. Makes the time of separation longer I study relevant information and theories. To create mixed media art that express the situation and understanding of the essence of life during that time. Overlapping dimensions of thoughts, emotions, and feelings during mindful practice. Make your shaky mind steady and accept what will happen. Develop your thinking, analyze symbolic meanings from materials, techniques, methods, and creative processes. Aesthetics from this mixed media art make those interested in studying benefit from the concept. Symbolic meaning from the material and creative process Be aware of how to


2 conduct with physical and mental value, as well as being able to develop art and help others in their further studies and research. Keywords: Palliative Care, Material, Symbolic meaning, Processes, physical and mental value 1. ความสำคัญหรือความเป็นมาของปัญหา การเรียนรู้ ทำความเข้าใจในการตั้งรับต่อการพลัดพราก การคาดเดาว่าใกล้เวลาของการสูญเสียมารดา ผู้เป็นที่รักของสมาชิกทุกคนในครอบครัวจากโรคมะเร็งปอดที่ลุกลามสู่กระดูกใกล้เข้ามาทุกขณะ จากการ วินิจฉัยของแพทย์มารดาไม่สามารถรับการรักษาใด ๆ ดังนั้นคนในครอบครัวจะมีส่วนสำคัญในการดูแล โดย มุ่งเน้นการลดความเจ็บปวด ทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจของผู้ป่วยและคนดูแลผู้ป่วย ความเจ็บปวดของร่างกายพอทุเลาลงได้จากการรับยามอร์ฟีนเป็นเม็ด จากการรับยาวันละ 2 ครั้ง ปรับ ขึ้นเป็นทุก 2 ชั่วโมงตลอดทั้งกลางวันและกลางคืนเพราะมีอาการเจ็บปวดมากขึ้น การฉีดยาละลายลิ่มเลือดให้ ทุกวันเพื่อให้เลือดไหลเวียนได้สะดวก การปรุงอาหารด้วยวัตถุดิบและเครื่องปรุงที่เหมาะสมกับอาการป่วย การ บีบนวดแผ่วเบาเพื่อลดความเจ็บปวด จัดพื้นที่ให้สะดวกเหมาะสม ซึ่งลูกๆ จะต้องเรียนรู้และทำให้ดีที่สุด จนกระทั่งต้องรับมอร์ฟีนเป็นน้ำ ประกอบกับหายใจด้วยการพ่นยาขยายทางเดินหายใจ อาการต่าง ๆ ทาง ร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงทวีความรุนแรงมากขึ้นอย่างรวดเร็ว การเข้าเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan) เพื่อตรวจดูอาการลุกลามในปอดที่ขึ้นฝ้าขาวกระจายไปทั่ว เป็นเรื่องจริงที่ลูกต้องเผชิญและรับรู้ครั้งแรกนั้น อารมณ์ ความรู้สึกดิ่งวูบลงกับการรับข่าวร้าย การตั้งสติเพื่อทำความเข้าใจกับการปฏิบัติต่อมารดาให้ดีที่สุดใน ช่วงเวลาที่เหลืออยู่ การอยู่ด้วยกันเกือบตลอดเวลา การสัมผัสและการพูดคุยเรื่องต่าง ๆ ความประทับใจที่เคย ทำร่วมกัน ช่วยให้เกิดรอยยิ้มและเสียงหัวเราะเบา ๆ ตามแรงที่มารดามีอยู่ เปิดบทสวดมนต์ให้ฟังและสวดตาม อย่างอิ่มเอิบ มีสมาธิ ประดุจเป็นการดูแลบรรเทาความทุกข์ทรมานทางร่างกายและจิตใจระหว่างเราทั้งสองฝ่าย 2. แนวคิด / ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง 2.1 แนวความคิด การนำเสนอกระบวนการสร้างสรรค์ศิลปะสื่อประสมที่แสดงออกเป็นบันทึก เหตุการณ์ในช่วงเวลาหนึ่งของตนเอง เหมือนมีการทับซ้อนความคิด อารมณ์ ความรู้สึก ระหว่างการทำความ เข้าใจในสถานการณ์ที่จะมีการสูญเสียกับการปฏิบัติตนอย่างไตร่ตรอง ใช้เวลาอย่างมีคุณค่า เสมือนเป็นกำหนด จิตที่สั่นคลอน ทิ้งดิ่งให้ตั้งมั่น แน่วแน่ และมั่นคง ให้ความหมายเชิงสัญลักษณ์กับวัสดุและกระบวนการ 2.2 ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง การศึกษาค้นคว้าข้อมูลทางการแพทย์ และทฤษฎีทางศิลปะ สรุปได้ดังนี้ 2.2.1 ข้อมูลทางการแพทย์จากการศึกษาและทำความเข้าใจ “การดูแลแบบประคับประคอง” หรือ Palliative Care (ที่มา: https://www. rama.mahidol.ac.th cancer_center/th/palliative-care, 23 ตุลาคม 2566) โดย คณะแพทย์ศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ศูนย์ความเป็นเลิศด้าน โรคมะเร็ง โดยสรุปว่า การดูแลแบบประคับประคอง หรือ Palliative Care คือ การดูแลเน้นการเพิ่มคุณภาพ ชีวิต ลดความทุกข์ทรมานทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ ซึ่งในระยะท้ายที่สภาวะร่างกายของ


3 ผู้ป่วยอาจไม่เหมาะสมกับการรักษา การดูแลแบบประคับประคอง หรือ Palliative Care จะมีส่วนช่วยให้ผู้ป่วย เข้าใจตัวโรค โดยคำนึงถึงความต้องการและความปรารถนาของผู้ป่วยและครอบครัวร่วมด้วยเสมอ อีกข้อมูลที่ศึกษาค้นคว้า “การดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะใกล้เสียชีวิต (The ultimate care for dying cancer patient) และความเสียใจจากการพรากจาก (Grief and bereavement)” จากตำรา “สูติศาสตร์ ล้านนา” (06/ 08/ 2020) โดย นพ.นาวิน ศักดาเดช อาจารย์ที่ปรึกษา ผศ.นพ.ฉลอง ชีวเกรียงไกร ภาควิชาสูติ ศาสตร์และนรีเวชวิทยา คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (ที่มา:https://w1.med.cmu.ac.th/ obgyn/lecturestopics/topic-review/6800/, 23 ตุลาคม 2566) ได้กล่าวถึงการดูแลให้ผู้ป่วยสุขสบาย ในช่วงท้ายของชีวิต (Comfort care) สรุปสาระสำคัญดังนี้ การดูแลก่อนเสียชีวิตของผู้ป่วยเป็นช่วงเวลาที่สำคัญมาก ทั้งต่อผู้ป่วยและครอบครัว การดูแล รักษาต้องครอบคลุมทางร่างกาย จิตใจ อารมณ์ รวมถึงศาสนาและความเชื่อ ครอบครัวจึงมีความสำคัญมากที่ จะช่วยให้ผู้ป่วยมีความสุขสบายก่อนที่จะเสียชีวิต” “การสูญเสียสิ่งใดสิ่งหนึ่งไปไม่ว่าจะเป็นสิ่งของ หรือ คนใกล้ชิด (bereavement) เป็นปัจจัย สำคัญที่ทำให้เกิดความทุกข์ต่อคนที่เกี่ยวข้อง (grief) ซึ่งความรู้สึกเสียใจจากการพรากจากเป็นปฏิกิริยาปกติ โดยธรรมชาติ แต่หากมีการเตรียมเรื่อง grief and bereavement care ไว้ล่วงหน้าก่อนที่ผู้ป่วยจะเสียชีวิต จะ สามารถวางแผนการใช้ชีวิตในอนาคตได้ดียิ่งขึ้น” 2.2.2 ข้อมูลทฤษฎีทางศิลปะ 1) ศิลปะคอนเซ็ปชวล (Conceptual Art) จากหนังสือ “แนวทางการสอนและ สร้างสรรค์จิตรกรรมขั้นสูง” โดย รองศาสตราจารย์อิทธิพลตั้งโฉลก ได้กล่าวถึงผลงานทางทัศนศิลป์เป็นภาษา ภาพแห่งการมองเห็นที่สื่อแสดงถึงความงาม อารมณ์ ความรู้สึก และความคิด เป็นสารที่นำส่งถึงผู้ชมได้ อีกทั้ง ผลงาน สามารถแสดงให้เห็นถึงจุดมุ่งหมายได้ “ความคิดนิยม” มีวิธีคิดและกระบวนการสร้างสรรค์ที่มีอิสระ จากกรอบทางทฤษฎี ความเชื่อ หลักการและคุณค่าเดิม ไม่ตายตัว ขยายขอบเขตทั้งความคิด เรื่องราวและ เนื้อหา รวมทั้งเทคนิควิธีการ นำเอาความเชื่อและหลักการของลัทธิอินสตรูเมนทัลลิสม์ (Instrumentalism) ที่ว่าศิลปะเป็นเครื่องมือของการยกระดับจิตใจและสังคม ตัวอย่างผลงานชื่อ “Temple of Mind” ของ มณเฑียร บุญมา ศิลปินชาวไทย นำกล่องไม้เคลือบผงสมุนไพร ก่อรูปคล้ายการก่ออิฐเกิดรูปทรงคล้ายสถูปหรือ เจดีย์ทางพระพุทธศาสนา เปิดพื้นที่ให้เห็นภายใน ประกอบด้วยรูปทรงระฆังทองเหลืองเคลือบผงสมุนไพรเอียง เปลี่ยนทิศทางคล้ายกำลังแกว่งไกวได้ยินเสียงดังกังวาน กลิ่นหอมของสมุนไพร รับรู้ถึงการรักษากายและใจด้วย ธรรมชาติและธรรมะ เป็นความงดงามลึกซึ้งทางความคิด สื่อความหมายเชิงสัญลักษณ์จากวัสดุและรูปทรง


4 ภาพที่1 Montien Boonma. Temple of Mind, 1995. Herbs, Brass-bell, Wooden boxes. ที่มา : https://designercityline.wordpress.com/2010/09/22/inspiration-artist-montien-boonma-and-hisinstallation-artwork-temple-of-the-mind/, 22 ตุลาคม 2566 2) Process Art เป็นการเน้นกระบวนการสร้างสรรค์แบบไม่คาดหวังผลงานที่เสร็จ สมบูรณ์เป็นการแสวงหาความเป็นไปได้ ความบังเอิญ และด้วยวิธีการที่ไม่ได้กำหนดเอาไว้ก่อน ใช้วัสดุที่ สามารถเปลี่ยนสภาพของรูปทรงได้เช่น ผลงาน ชื่อ “I Like America and America Likes Me” ของ Joseph Beuys ศิลปินชาวเยอรมัน เป็นการนำหมาป่าโคโยตี้ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ที่เป็นตำนานของชนพื้นเมืองที่ สอนมนุษย์ให้เอาชีวิตรอด ในขณะที่ผู้ตั้งถิ่นฐานมองว่าหมาป่าเป็นนักล่าที่กร้าวร้าวและต้องถูกกำจัด แต่สำหรับ Beuys โคโยตี้เป็นสัญลักษณ์ทางจิตวิญญาณของอเมริกา ดังนั้นอเมริกาจึงจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับหมาป่า ภาพที่ 2 Joseph Beuys. I Like America and America Likes Me, 1974. ที่มา : https://artblart.com/tag/joseph-beuys-fettecke-prozess/, 22 ตุลาคม 2566 จากหนังสือ “โลกศิลปะศตวรรษที่ 20” เขียนโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์จิระพัฒน์ พิตรปรีชา กล่าวถึง ศิลปินหญิงชาวเยอรมันชื่อ Eva Hesse สร้างสรรค์ศิลปะ เป็นการค้นพบความไร้ขอบเขต นำวัสดุที่หลากหลาย มาใช้ เป็นเรื่องของความเหลวไหลไร้สาระ ว่างเปล่า ความไม่มั่นคง ศิลปินกล่าวถึงผลงานของตน


5 ภาพที่ 3 Eva Hesse. Ennead, 1966 Acrylic, paper mache, plastic, plywood and string. 243.8 x 99.1 x 43.2 cm. ที่มา : https://www.icaboston.org/art/eva-hesse/ennead/, 23 ตุลาคม 2566 3. กระบวนการในการสร้างสรรค์ 3.1 การจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ในการสร้างสรรค์ คือ โครงเหล็ก (วัสดุเหลือใช้), ดิน, ไม้อัด, เส้นเปียผ้า ฝ้าย, หวาย, ผ้าไหมแก้ว, กาวลาเท็กซ์, เครื่องมือแกะไม้สำหรับทำภาพพิมพ์ ภาพที่ 4 วัสดุอุปกรณ์ ที่มา : ผู้สร้างสรรค์ 3.2 ร่างภาพ (Sketch) ภาพที่ 5 ภาพร่าง “เวลาและการประคับประคอง”, 2566 ที่มา : ผู้สร้างสรรค์


6 3.3 กระบวนการสร้างสรรค์ - นำเส้นเปียผ้าฝ้ายผูกเรียงกับโครงเหล็กให้ตึงทิ้งชายและสานเรียงในบางช่วง ภาพที่ 6: กระบวนการผูก ตรึง ยึด และสาน ที่มา : ผู้สร้างสรรค์ - การหมุนขดเป็นรูปทรง นำไปเย็บยึดติดกับเส้นเปียที่ผูกไว้กับโครงสร้าง ห่อหุ้มก้อนหินด้วยเส้น เปียนำหนุนขาเหล็ก บางส่วนเย็บเชื่อมกับเส้นเปียที่ผูกไว้ และทดลองวางแผ่นขดบนไม้อัด ภาพที่ 7 กระบวนการหมุนขด, เย็บยึดติดเชื่อมโยง, ห่อหุ้มขาเหล็กและก้อนหินบางหน่วย ที่มา : ผู้สร้างสรรค์ - การแกะเซาะร่อง นำไม้อัดมาร่างเส้นรอบนอกรูปทรงปอด แกะเซาะด้วยเครื่องมือแกะไม้ทำภาพ พิมพ์ ใช้น้ำดินผสมกาวลาเท็กซ์ปาดหมาดลงในขอบเขตของรูปทรง ทำซ้ำสี่ครั้งทีละชั้นกลับทิศทาง จากนั้นใช้ น้ำดินละเลงพื้นที่รอบนอกด้วยนิ้วและฝ่ามือ หมุนวนรอบรูปทรงปล่อยความขรุขระบนพื้นผิว ภาพที่ 8 กระบวนการแกะ เซาะร่องไม้อัดให้เกิดร่องรอยรูปทรง พื้นผิว ลงสีน้ำดินผสมกาว ที่มา : ผู้สร้างสรรค์ - นำเส้นหวายดัดตามใจกำหนด นำผ้าไหมแก้วสีขาวเย็บติดได้รูปทรงบางใสเห็นกลุ่มเปียผ้าฝ้าย ภายใน นำประกอบไว้ส่วนบนของผลงาน โดยมีเส้นผ้าแก้วสอดลงภายในผลงานถึงพื้นด้านล่าง ภาพที่ 9 กระบวนการสร้างรูปทรงบางใส มีเส้นเชื่อมโยงจากด้านบนถึงพื้นล่าง ที่มา : ผู้สร้างสรรค์


7 - การประกอบรูปด้วยการนำส่วนต่าง ๆ ให้เป็นไปเองตามช่วงเวลาโดยไม่มีแบบแผนชัดเจน ภาพที่ 10 Kanchalee Suksomran. “Time and Palliative Care”. Mixed media [steel, cotton. Earth, rattan, organza, plywood, rock. 71 x 91 x 126 cm. ที่มา : ผู้สร้างสรรค์ 4. การวิเคราะห์ผลงาน 4.1 รูปแบบเนื้อหาและความคิด จากการศึกษาข้อมูลางการแพทย์เรื่องการดูแลแบบประคับประคอง เป็นการดูแลคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย ครอบครัวจึงมีความสำคัญมากที่จะช่วยให้ผู้ป่วยมีความสุขสบายก่อนที่จะ เสียชีวิต เป็นการสนับสนุนความคิดในการปฏิบัติตนในการดูแลรักษาสภาพจิตใจ ร่างกายของมารดา และทำ จิตใจของตนเองนิ่ง ยอมรับกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นในเวลาต่อไป มีสติในการดำเนินตนคล้ายมีสมาธิในการปฏิบัติ ธรรม ตลอดทั้งได้ศึกษาวิธีคิด และกระบวนการสร้างสรรค์ผลงานของศิลปินในรูปแบบของศิลปะที่เกี่ยวข้อง 4.2 รูปแบบผลงาน การเลือกสรรวัสดุที่ให้ความหมาย เข้าสู่กระบวนการสร้างสรรค์ในรูปแบบสื่อ ประสม (3 มิติ) เกิดความหมายเชิงสัญลักษณ์ที่ทำให้มีความเข้าใจความคิดระหว่างทางในขณะสรางสรรค์ดังนี้ 4.2.1 วัสดุ (material) การสร้างสรรค์ผลงานนี้การนำวัสดุเหลือใช้ (Found object), วัสดุที่ มีความนุ่มเป็นเส้นใยจากธรรมชาติ, วัสดุที่แปรเปลี่ยนไปตามปัจจัยอื่น ๆ และวัสดุสังเคราะห์ คือ โครงเหล็กที่มี สนิม ขาผุกร่อนเสียสมดุลไร้ประโยชน์ใช้สอย (Found object) สื่อสารถึงความไม่สมบูรณ์ที่ผันแปรไปตาม กาลเวลาและปัจจัยต่าง ๆ ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง, ผ้าฝ้ายสีพื้น นำบางส่วนมาย้อมด้วยสีจากดิน ฉีกเป็นเส้นและถัก เปียมีความนุ่ม เป็นเส้นใยให้ความผูกพันเชื่อมโยงให้เกิดเส้นเป็นสายสัมพันธ์รูปทรงจากการผูก, ขด, ห่อหุ้ม, ดินเป็นส่วนคืนกลับสู่ความเป็นจริง ความเป็นสามัญ, ผ้าไหมแก้วสีขาวที่มีความเบาบางโปร่งใส ประกอบเย็บติด กับโครงสร้างหวายที่นำมาดัดให้ได้รูปทรง แทนค่าดวงจิตที่โปร่งเบาบริสุทธิ์หลุดพ้นจากความทุกข์ทรมานและ ความห่วงใด ๆ, ก้อนหินสีขาวนุ่มนวลแต่คงความแข็งแกร่งหนักแน่นเป็นความเข้มแข็ง บางส่วนถูกห่อหุ้มคล้าย ได้รับการประคับประคองและปิดบังความรู้สึกถึงความทุกข์, ไม้อัดสร้างรูปทรง 2 มิติ เป็นส่วนล่างของผลงาน


8 4.2.2 กระบวนการ (Process) มีดังนี้ - การถัก จากเส้นผ้าฝ้ายถักด้วยมือเป็นการทำซ้ำด้วยวิธีพื้นฐานเรียบง่ายไม่ซับซ้อนของสตรี เพศที่เรียนรู้จากครอบครัว การใช้เวลาถักจนเกิดเป็นเส้นเปียยาวเปรียบเทียบเป็นสายสัมพันธ์ของคนใน ครอบครัว - การผูก เป็นการสร้างระนาบในโครงสร้างเหล็กด้วยเส้นเปียผูกเรียงทีละเส้นอย่างเป็น ระเบียบ บริเวณส่วนกลางภายในโครงสร้างผูกห้อยเส้นเปีย ก่อเกิดเป็นกลุ่มเส้นเชื่อมโยงทิ้งปลาย บางส่วนลอย แกว่งไกวในอากาศ บางส่วนถึงพื้นล่างของงานในทิศทางไม่แน่นอนแทนอารมณ์หวั่นไหว บางส่วนถูกเย็บตรึงรั้ง ไว้กับรูปทรงขดที่วางอยู่ประดุจจิตใจที่แกว่งคลอน เขม็งตึงอยู่กับทุกข์ทรมานทางกายและใจ - การขด นำเส้นเปียมาขดเป็นวงหมุนตามเข็มนาฬิกา เย็บติดด้วยเข็มและด้าย และการสาน อย่างเป็นจังหวะ คล้ายเวลาที่กำลังดำเนินไปอย่างมีวินัย เตือนให้ปฏิบัติตนอย่างเป็นระบบ กำหนดจิตแน่วแน่ อย่างมีสมาธิขนาดแตกต่างกันโดยใช้ความรู้สึกกำหนด นำเย็บติดกับเส้นเปีย และวางที่พื้นด้านล่างของงาน แบบปรับเปลี่ยนพื้นที่ได้ บางรูปทรงจะวางก้อนหินไว้ด้านบนแสดงความสภาวะหนักหน่วงที่กำลังเผชิญอยู่ - การปักเย็บ ปะติดปะต่อเส้นเปียให้มีความยาวมากขึ้น เป็นสัญญาณเพื่อเป็นการยื้อช่วงเวลา ที่มีอยู่ให้ยาวนานยิ่งขึ้นเท่าที่จะทำได้ - การห่อหุ้ม ใช้เส้นเปียที่มีความนุ่มพันหุ้ม, หนุนบริเวณขาโครงสร้างเหล็กที่ผุกร่อนสร้าง สมดุลความแข็ง และหนักของก้อนหินคล้ายเป็นการประคับประคองร่างกายและจิตใจทั้งสองฝ่ายไว้อย่างทนุถนอม - การประกอบรูปด้วยการนำส่วนต่าง ๆ มาปะติดปะต่อให้เป็นไปเองโดยไม่มีแบบแผนชัดเจน โครงเหล็กเป็นตัวกำหนดในการผูก ห้อย เย็บ ห่อหุ้ม วัสดุบางส่วนจัดวางแบบปรับเปลี่ยนเคลื่อนย้ายได้ และใช้ สมาธิที่แน่วแน่ในขณะนั้นสร้างสรรค์ผลงาน เป็นการสำรวจตนเองทุกช่วงเวลาให้อยู่กับปัจจุบัน 5. สรุป ผลงานสร้างสรรค์ชื่อ “เวลาและการประคับประคอง” นี้ถ่ายทอดการทับซ้อนของอารมณ์ ความรู้สึก หวั่นไหว หวาดกลัวเมื่อได้รับรู้ถึงการพลัดพรากจากกันในเวลาไม่ช้าขณะปฏิบัติต่อมารดา สภาพจิตใจของ มารดาและตนเองมีทิศทางไปในทางเดียวกัน การพิจารณาสิ่งที่ปฏิบัติและเห็นการเปลี่ยนแปรอยู่เบื้องหน้าโดย มีความเจ็บป่วยและกาลเวลาเข้ามาเป็นปัจจัย กระบวนการขั้นพื้นฐานเรียบง่ายไม่ซับซ้อน การถัก, ผูก, ขด,ปัก-เย็บ ทำซ้ำ ๆ จนก่อรูปทรงตามเจตนา ซึ่งเวลาระหว่างการสร้างสรรค์เป็นเสมือนการประกอบพิธีกรรมบางอย่าง เพื่อให้จิตสงบนิ่ง ถ่ายทอดแนวความคิดให้ปรากฏเป็นรูปธรรม อีกทั้งยังวิเคราะห์ ความหมายเชิงสัญลักษณ์ของ วัสดุและกระบวนการสร้างสรรค์ เปรียบเทียบการปฏิบัติตน คล้ายเป็นการแสดงออกถึงสถานการณ์ที่ผ่านมา การสร้างสรรค์ผลงานศิลปะสื่อประสมเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ คือ การถ่ายทอดกระบวนการ สร้างสรรค์ที่มีความสัมพันธ์กับความเกี่ยวเนื่องเชื่อมโยงกันระหว่างเนื้อหาทางทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง แนวความคิด และกระบวนการสร้างสรรค์ ได้เผยแพร่ส่าธารณชน ให้เกิดประโยชน์ต่อผู้สนใจได้ศึกษาเป็นแนวทางต่อไป


9 เอกสารอ้างอิง คณะแพทย์ศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ศูนย์ความเป็นเลิศด้านโรคมะเร็ง. การดูแลแบบ ประคับประคอง หรือ Palliative Careสืบค้นเมื่อวันที่ 23 ตุลาคม 2566 จากเวปไซต์: https://www. rama.mahidol.ac.th cancer_center/th/palliative-care จิระพัฒน์ พิตรปรีชา. (2545). โลกศิลปะศตวรรษที่ 20. กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ. ดาเนียล มาร์โซนา. (2552). คอนเซ็ปชวลอาร์ต. แปลโดย อณิมา ทัศจันทร์. กรุงเทพฯ: บริษัท เดอะเกรทไฟน์ อาร์ท จำกัด. นพ.นาวิน ศักดาเดช. (2020). สูติศาสตร์ล้านนา “การดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะใกล้เสียชีวิต The ultimate care for dying cancer patient และความเสียใจจากการพรากจาก (Grief and bereavement)”. สืบค้นเมื่อวันที่ 23 ตุลาคม 2566 จากเวปไซต์: https://w1.med.cmu.ac.th/obgyn/lecturestopics/ topic-review/6800 อิทธิพล ตั้งโฉลก. (2548). แนวทางการสอนและสร้างสรรค์จิตรกรรมขั้นสูง. กรุงเทพฯ: อัมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน).


10 ความสุขจากสิ่งเล็ก ๆ Happiness from Little things เกษกานต์รัตนเชาว์, Katekarn Rattanachoul วิทยาลัยช่างศิลป ถนนหลวงพรต เขตลาดกระบัง กรุงเทพฯ 10520, College of Fine Arts, 60 Luangprot Rd., Ladkrabung, Bangkok, 10520, Thailand E-mail: [email protected] บทคัดย่อ มนุษย์ต่างนิยามความสุขให้คุณค่าสิ่งที่พบเห็นแตกต่างกันออกไป ความสุขที่เกิดขึ้นอาจเป็นสิ่งรอบตัว ที่ส่งผลให้เกิดความสุขความอิ่มเอมใจ เช่น การท่องเที่ยวสัมผัสธรรมชาติ เป็นต้น ผู้สร้างสรรค์เป็นคนที่ชื่นชอบธรรมชาติและเห็นสัจธรรมของธรรมชาติที่ต่างพึ่งพิงอิงอาศัยซึ่งกันและ กัน สร้างความสุขความประทับใจให้ผู้คนที่สัมผัส ความสุขจากความประทับใจในธรรมชาติที่ผู้สร้างสรรค์ได้ สัมผัสนั้น อาจเป็นเพียงเศษเสี้ยวในธรรมชาติที่ส่งผลต่อจิตใจให้ผู้สร้างสรรค์มีความสุข ในทุกครั้งที่พบเห็น จะ เป็นแสงแดดยามเช้า น้ำค้างเกาะอยู่ตามกิ่งไม้ ดอกไม้ และทุ่งหญ้า สิ่งเล็ก ๆ เหล่านี้คือองค์ประกอบของความ งามตามธรรมชาติผู้สร้างสรรค์ได้ถ่ายทอดความประทับใจในธรรมชาติผ่านรูปแบบงานสองมิติ สร้างสรรค์ รูปทรงใหม่ ตามเอกลักษณ์เฉพาะตน ด้วยเทคนิคการใช้วัสดุจจริงทางธรรมชาติกดประทับดินให้เกิดร่องรอย และเคลือบสีต่าง ๆ ตกแต่ง เพื่อสร้างความสมบูรณ์ในชิ้นงานและเคลือบในอุณหภูมิ 1,200 องศาเซลเซียส คำสำคัญ: กดประทับ, ธรรมชาติ, ความสุข Abstract People have different definitions of happiness as they perceive it differently. For some, happiness arises from surrounding things that provide contentment such as traveling and experiencing nature. This artwork’s creator is a person who loves nature and understands the truth of the interdependence of all natural elements. And create happiness and leave an impression on people by conveying the beauty of nature they have experienced. Even a small fraction of nature, such as the morning sunlight or dewdrops on branches, flowers, twigs, and grass, can bring joy to the mind. The creator uses a two-dimensional format to express their impression of nature, creating unique shapes with natural materials pressed and stamped onto clay to create patterns. These works are then decorated with various colors and coated at a temperature of 1,200 degrees Celsius to achieve perfection. Keywords: stamp, nature, happiness


11 1. ความสำคัญหรือความเป็นมาของปัญหา ความสุขเกิดขึ้นได้ทุก ๆ วันตั้งแต่เรื่องเล็กน้อย มนุษย์ต่างนิยามความสุขให้คุณค่า สิ่งที่พบเห็น แตกต่างกันออกไป ความสุขที่เกิดขึ้นอาจเป็นสิ่งรอบตัว ที่ส่งผลให้เกิดความสุขความอิ่มเอมใจ เช่น ความสุข จากครอบครัว คนรัก การสะสมสิ่งของ การท่องเที่ยวสัมผัสธรรมชาติ เป็นต้น จากข้างต้นที่กล่าวมาผู้สร้างสรรค์เป็นคนที่ชื่นชอบธรรมชาติและเห็นสัจะธรรมของธรรมชาติที่ต่าง พึ่งพิงอิงอาศัยซึ่งกันและกันสร้างความสุขความประทับใจให้ผู้คนที่สัมผัส ความสุขจากความประทับใจใน ธรรมชาติที่ผู้สร้างสรรค์ได้สัมผัสนั้นอาจเป็นเพียงเศษเสี้ยวในธรรมชาติที่ส่งผลต่อจิตใจให้ผู้สร้างสรรค์มี ความสุข ทุกครั้งที่พบเห็น ซึ่งได้แก่ แสงแดดยามเช้า น้ำค้างเกาะกิ่งไม้ ดอกไม้ ใบหญ้า สิ่งเล็ก ๆ เหล่านี้ เป็น องค์ประกอบของความงดงามทางธรรมชาติ ผู้สร้างสรรค์ได้ถ่ายทอดความประทับใจในธรรมชาติผ่านรูปแบบ งานสองมิติ สร้างสรรค์รูปทรงใหม่ ตามเอกลักษณ์เฉพาะตน ด้วยเทคนิคการใช้วัสดุจจริงทางธรรมชาติกด ประทับดินให้เกิดร่องรอย และเคลือบสีต่าง ๆ ตกแต่ง เพื่อสร้างความสมบูรณ์ในชิ้นงานและเคลือบในอุณหภูมิ 1,200 องศาเซลเซียส 2. วัตถุประสงค์ 1. เพื่อสร้างสรรค์ผลงานสองมิติชุดความสุขจากสิ่งเล็ก ๆ ด้วยกระบวนการทางเครื่องเคลือบดินเผา ผ่านรูปร่าง รูปทรง จาก ธรรมชาติ 2. เพื่อถ่ายทอดความสุขและความประทับใจในธรรมชาติที่มีการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน 3. แนวคิด / ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง 4. กระบวนการในการสร้างสรรค์ 1. ศึกษาค้นคว้าข้อมูล วิเคราะห์รูปร่างรูปทรง ของดอกไม้ กิ่งไม้ ใบหญ้า 2. ขั้นตอนการสร้างสรรค์ผลงานสองมิติผ่านกระบวนการทางเครื่องเคลือบดินเผาแนวคิดจาก ความสุขความประทับใจใน ธรรมชาติ ที่พึ่งพา อิงอาศัย ความสุข ธรรมชาติที่พึงพา อาศัยกัน ประทับใจในรูปทรง ดอกไม้ กิ่งไม้ ใบหญ้า ใช้เทคนิคการ กดประทับดินให้เกิดร่องรอย สร้างสรรค์ผลงานสองมิติใน รูปแบบเครื่องเคลือบดินเผา ชุดความสุขจากสิ่งเล็ก ๆ เพื่อแสดงออกถึง ความสุขความประทับใจในธรรมชาติที่พึ่งพา อิงอาศัย เป็นการสร้างสรรค์รูปทรงใหม่ตามเอกลักษณ์เฉพาะตน


12 2.1 แบบร่างสองมิติ (sketch) 2.2 ทดลองน้ำเคลือบ 2.3 สร้างสรรค์แบบร่างสามมิติ ข้อมูลภาพในการสร้างสรรค์ ภาพที่ 1 ธรรมชาติประกอบไปด้วยประกอบด้วย ดอกไม้ ใบหญ้า หยดน้ำค้าง แสงอาทิตย์ ที่มา : ผู้สร้างสรรค์


13 ภาพที่ 2 กดประทับลวดลาย ที่มา : ผู้สร้างสรรค์ ภาพที่ 3 ลงสีเคลือบ ที่มา : ผู้สร้างสรรค์


14 5. วิเคราะห์ผลงานในการสร้างสรรค์ ด้านรูปแบบนำเสนอสร้างสรรค์ผลงานสองมิติลักษณะการใช้รูปทรงระนาบเป็นหลัก ชุดความสุขจาก สิ่งเล็ก ๆ ด้วยกระบวนการทางเครื่องเคลือบดินเผา ผ่านรูปร่าง รูปทรง จาก ธรรมชาติ ในการสร้างสรรค์เป็น การแสดงออกด้วยทัศนธาตุจากการวิเคราะห์ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง โดยผู้สร้างสรรค์อาศัย รูปร่างรูปทรงวัสดุจริง จากธรรมชาติกดประทับให้เกิดลวดลายพื้นผิวที่มีความแตกต่างกัน เส้นรอบนอกรูปทรง เป็นแผ่นระนาบสองมิติใช้เส้นโค้งอิสระให้ได้รูปทรงของธรรมชาติให้ความรู้สึก ถึงรูปทรงรังผึ้ง พื้นผิว ของตัวชิ้นงาน เกิดจากร่องรอยของวัสดุธรรมชาติที่กดประทับ และเคลือบใสทับบางส่วน แสดงให้เห็นถึง ความชุ่มชื่น ของหยดน้ำค้าง สีใช้สีใต้เคลือบหลากหลายสีสัน แสดงถึงบรรยากาศสีสันบนท้องฟ้า และใช้เทคนิคการผงแก้วโรยทับ บนเคลือบ แสดงถึง หยดน้ำค้าง พื้นที่ว่าง ในส่วนของกิ่งไม้สร้างสรรค์มีขนาดแตกต่างกันถูกวางซ้อนกันในทิศทางโค้ง แสดงให้เห็นถึง ความเบา ให้ชิ้นงานดูมีมิติ ภาพที่ 4 วิเคราะห์ผลงานในการสร้างสรรค์ ที่มา : ผู้เสร้างสรรค์


15 ภาพที่5 ชื่อผลงานความสุขจากสิ่งเล็ก ๆ เทคนิค ขึ้นรูปด้วยมือกดประทับลาย, ดินโตนแวร์, เคลือบ1,200 องศาเซลเซียส ขนาด สูง 35 x 25 เซนติเมตร ที่มา : ผู้สร้างสรรค์ 6. สรุป สรุปผลการสร้างสรรค์ ได้ดังนี้ได้ผลงานสองมิติในกระบวนการเครื่องเคลือบดินเผาชุด “ความสุขจาก สิ่งเล็ก ๆ” โดยได้รับแรงบัดาลใจจากความสุขความประทับใจจากการได้สัมผัสความงดงามในธรรมชาติที่มีการ พึ่งพาอาศัยกัน จึงนำมาเป็นแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ในครั้งนี้โดยอาศัยลักษณะของ รูปทรงอิสระของ ธรรมชาติ และใช้ดอกไม้ใบหญ้าวัสดุจริงในธรรมชาติผสานกับรูปทรงอิสระที่สร้างขึ้น ประกอบด้วย เส้น สี รูปร่าง-รูปทรง พื้นผิว มาเป็นรูปทรงในการสร้างสรรค์ ให้มีพื้นผิวขนาดที่แตกต่างกัน จัดวางและผสานกันได้ อย่างกลมกลืน จนเกิดเอกภาพ เป็นการสร้างสรรค์รูปทรงใหม่ตามเอกลักษณ์เฉพาะตน และ ได้องค์ความรู้ ใหม่ในกระบวนการสร้างสรรค์งานเครื่องเคลือบดินเผา สามารถนำเทคนิคการกดประทับดินจากวัสดุธรรมชาติ ไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนรายวิชาเครื่องเคลือบดินเผาต่อไป เอกสารอ้างอิง ชลูด นิ่มเสมอ. (2557). องค์ประกอบของศิลปะ. (พิมพ์ครั้งที่10). กรุงเทพฯ: อมรินทร์. สุขุมาล สาระเกษตริน. (2564). เครื่องปั้นดินเผาการออกแบบและการปฏิบัติงาน. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.


16 หน้ากากชีวิตของฉัน My real life mask โกเมศ คันธิก, Komes Kuntig วิทยาลัยช่างศิลปสุพรรณบุรี16 ม.4 ต.รั้วใหญ่อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี 72000 Suphanburi College of fine Arts,16 Moo.4 RueaYai Subdistrict Mueang District, Suphanburi province 72000 E-mail: [email protected] บทคัดย่อ หน้ากากชีวิตของฉัน ที่ฉันสวมใส่ในทุกวันนี้ คือแนวคิดในการนำมาสร้างสรรค์ผลงานประติมากรรมเซรามิกส์ ถ่ายทอดความรู้สึกที่ผู้สร้างสรรค์ผลงาน ได้ศึกษาค้นคว้าหาข้อมูล จากสถานที่จริง จากอินเตอร์เน็ต และจาก นิตยสารต่าง ๆ เพื่อนำมาประกอบข้อมูลในการออกแบบสร้างสรรค์ผลงาน ตามแนวความคิดของผู้สร้างสรรค์ คำสำคัญ: หน้ากากในชีวิตจริงของฉัน Abstract My real life mask that I wear these days is the idea used to create ceramic sculptures. Convey the feelings of the creator of the work. I have studied and searched for information. from the actual location from the internet and from various magazines To be used to include information in designing creative works. According to the idea of the creator Keywords: My real life mask 1. ความสำคัญหรือความเป็นมาของปัญหา เพราะชีวิตและรอยยิ้มโดยเฉพาะยิ้มที่จริงใจ จะถูกกระตุ้นโดยสมองส่วนที่เกี่ยวข้องทางอารมณ์ และ ยิ้มที่มาจากความรู้สึกที่ดีที่แท้จริงนั้น ไม่ได้ยิ้มเพราะที่ปาก แต่ยิ้มที่ตาด้วยชัดเจน นั้นคือเมื่อเรายิ้มด้วยความจริงใจ ดวงตาของเราจะยิ้มด้วย แต่ชีวิตหลายคน อาจจะไม่เป็นเช่นดังว่า บางคนต้องฝืนยิ้มด้วยความจำเป็น และเพื่อให้ ผ่านไปวัน ๆ หนึ่ง จำเป็นต้องพูดคุยในการทำงานร่วมกัน และต้องสวมหน้ากากเข้าหากัน ด้วยทักษะการสร้างสรรค์ผลงานด้วยเทคนิคเครื่องเคลือบดินเผา นำมาจินตนาการร้อยเรียงเป็น ผลงานศิลปกรรม อันก่อให้เกิดความรู้สึกจากตัวผู้สร้างสรรค์ผลงาน


17 2. แนวคิด / ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง แนวคิดประกอบด้วย 1. เชื้อชาติจำแนกออกเป็นกลุ่มใหญ่ๆ ได้2 กลุ่ม คือ - คนผิวดำ เป็นเผ่าพันธุ์พื้นเมืองดั้งเดิมของทวีปแอฟริกา เรียกว่า นิกรอยด์ และเป็นประชากรส่วนใหญ่ ของทวีปนี้ มีลักษณะเด่นที่ผิวสีดำ ผมสีดำและหยิกหยอย นิโกรในแอฟริกามีอยู่หลายกลุ่มและแต่ละกลุ่มมีลักษณะ แตกต่างกัน เช่น กลุ่มบันตู อาศัยอยู่แอฟริกาตะวันออก แอฟริกากลางและแอฟริกาใต้ เช่น เผ่าวาตูซี มีรูปร่างสูง ใหญ่ กลุ่มปิกมี่ มีรูปร่างเตี้ยที่สุด อาศัยอยู่บริเวณป่าดิบลุ่มแม่น้ำคองโกในแอฟริกากลาง กลุ่มบุชแมน มีรูปร่างเล็ก อาศัยอยู่ในเขตทะเลทรายคาลาฮารี ในแอฟริกาตอนใต้ กลุ่มซูดานนิโกร อาศัยอยู่ในแอฟริกาตะวันตก - คนผิวขาว ที่เป็นเผ่าพันธุ์ดั้งเดิมของแอฟริกา ส่วนใหญ่อยู่ทางตอนเหนือของทวีป ได้แก่ พวกอาหรับ และเบอร์เบอร์ ส่วนพวกผิวขาวกลุ่มใหม่ที่อพยพไปจากทวีปยุโรปนิยมตั้งถิ่นฐานในเขตอบอุ่นทางตอนใต้ของทวีป โดยเฉพาะในประเทศสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ มีประมาณ 7 ล้านคน นอกจากนี้ยังมีพวกผิวขาวจากปากีสถานและ อินเดีย ซึ่งอพยพเข้าไปอาศัยอยู่ทางภาคตะวันออกของทวีป มีอากาศไม่ร้อนจัดเกินไปเพราะเป็นบริเวณที่ราบสูง มี พืชพรรณธรรมชาติเป็นทุ่งหญ้าเหมาะแก่การเลี้ยงสัตว์และอากาศอบอุ่นสบาย ภาพที่ 1 ที่มา : https://www.google.com/search?q


18 3. กระบวนการในการสร้างสรรค์ การสร้างสรรค์ผลงานศิลปกรรมด้วยเทคนิคการสร้างสรรค์เครื่องเคลือบดินเผา ด้วยการขึ้นรูปเทคนิคแบบ แผ่น ซึ่งเป็นเทคนิคการสร้างสรรค์ผลงานที่ง่ายแก่การทำงาน และประดับตกแต่งตามกระบวนการ จนนำสู่ กระบวนการเผาเพื่อให้ผลงานสมบูรณ์ ตามแนวคิดของผู้สร้างสรรค์ ภาพที่ 2 หน้ากากชีวิตของฉัน ที่มา : ผู้สร้างสรรค์


19 4. การวิเคราะห์ผลงาน จากการสร้างสรรค์ผลงาน ผู้สร้างสรรค์ได้ศึกษาข้อมูล ของรูปทรง รูปร่างของหน้ากาก ทั้งรายละเอียด ลวดลายบนตัวผลงาน เทคนิคการเติมเต็มบนตัวผลงานด้วยกระบวนการต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับแนวคิดของผู้ สร้างสรรค์ จนได้ข้อมูลและออกแบบร่างตามแนวความคิด และนำไปสู่กระบวนการขึ้นรูปสร้างสรรค์ จากทักษะ วิธีการต่าง ๆ และนำไปสู่กระบวนการเผา ด้วยเทคนิคการเผาไฟสูงโดยผู้ออกแบบสร้างสรรค์ผลงานนี้ ไม่คำนึงหรื อนำผลงานมาใช้ในชีวิตจริงเพียงแต่ จะนำแนวคิดถ่ายทอดความรู้สึกต่อกิจกรรมของคนกลุ่มบางกลุ่มที่เข้าใจและ เจอปัญหาและบทบาทเดียวกัน หรือลักษณะของการสร้างผลงานที่มีความแปลกตา และสนุกกับแนวคิดของผู้ สร้างสรรค์ จนเกิดเป็นผลงานชิ้นนี้ 5. สรุป ผลงานศิลปกรรมหน้ากากของฉันชิ้นนี้ ผู้สร้างสรรค์นำข้อมูลที่ได้ศึกษาทุก ๆ ด้าน มาขึ้นรูปสร้างสรรค์จน เกิดเป็นผลงานตามแนวคิด ซึ่งผู้ออกแบบสร้างสรรค์มุ่งเพื่อสร้าง เพื่อตอบสนองทางอารมณ์ ความรู้สึก ความชอบ และความสวยงาม ไม่ได้มุ่งไปด้านการใช้สอยในชีวิตประจำวันจริง ๆ โดยตัวผู้สร้างสรรค์มีความประทับใจเป็นการ ส่วนตัว และพยายามถ่ายทอดและสื่อออกมาตรง ๆ จนเกิดผลงานเช่นนี้ เอกสารอ้างอิง กุลนิดา เหลือบเจริญ. (2553). องค์ประกอบศิลป์. ปทุมธานี : สกายบุ๊กส์ จิระพัฒน์พิตรปรีชา. (2545). โลกศิลปะศตวรรษที่ 20. กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ ชลูด นิ่มเสมอ. (2553). องค์ประกอบของศิลปะ. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ : อมรินทร์ สุชาติ เถาทอง. (2553). การวิจัยสร้างสรรค์ทัศนศิลป์. ชลบุรี : คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. สืบค้น จาก : https://lh3.googleusercontent.com/


20 ศิลปะการถักโครเชต์ : เส้นใยสู่การภาวนา The art of crochet : The Connection to Maditation ขวัญใจ พิมพิมล, Kwanjai Pimpimon วิทยาลัยช่างศิลปสุพรรณบุรี, Suphanburi College of Fine Arts E-mail: [email protected] บทคัดย่อ การสร้างสรรค์ผลงานในชุดนี้เป็นความสนใจซึ่งมุ่งเป้าหมาย ไปสู่การภาวนาเพื่อความสุขสงบ ซึ่งมี วิธีการหรือกิจกรรมหลาย ๆ อย่างที่จะสามารถสร้างให้เกิดการเจริญภาวนา ไปสู่ความสุขสงบ ความมีสมาธิ เช่น การเล่นดนตรี การร้องเพลง การปลูกต้นไม้ รวมทั้งงานศิลปะอีกหลายเทคนิควิธีการ เป็นต้น ผู้สร้างสรรค์ ได้เลือกเทคนิคของงานช่างฝีมือคือการถักโครเชต์ซึ่งมีความถนัด ความสนใจอยู่เดิมนั้นมาเป็นวิธีการในการ สร้างสรรค์ผลงานชุดนี้กระบวนการทำงานใช้หลักคิดของ จอห์น เลน ซึ่งการจะนำพาตัวเราให้เข้าสู่ความสงบ ความเงียบ ความวิเวก จนเกิดปัญญานั้นต้องอาศัยกิจกรรมในแบบเนิบช้า ไม่เร่งรีบ สร้างความเชื่อมโยงและ ค่อยๆทบทวน กระบวนการของงานฝีมือการถักโครเชต์ซึ่งมีความพิถีพิถัน และใช้เวลามากในกระบวนการทำ จึงเป็นงานหนึ่งซึ่งเหมาะแก่การนำมาสู่ความสงบ เงียบได้เป็นอย่างดี คำสำคัญ: ศิลปะ, โครเชต์, การภาวนา Abstract The creation of this work’s series is a goal to the meditation for happiness and peace, which has many methods or activities can create meditation towards happiness, peace and concentration, such as playing music, singing, planting trees. Including many work of art, tecniques and methods,etc. I chose the craftsmanship tecniques of crochet, which has an aptitude that initial interest came as a method for creating this series of works. The work process uses the principles of Jonh lane, which is to bring yourself into peace, quietness, solitude until wisdom arises, requiring slow, unhurried, and slowly review. The process of crochet crafts which is meticulour and it takes a lot of time in the process to make it, so it is one of the works that is suitable for bringing peace and quiet. Keywords: Art, Crochet, Maditation


21 1. ความสำคัญหรือที่มาของการสร้างสรรค์ การสร้างสรรค์ผลงานในชุดนี้เกิดจากความสนใจที่จะนำงานฝีมือเชิงช่างเทคนิคถักโครเชต์ซึ่งสนใจ และมีความถนัดเฉพาะตัว ใช้เป็นเครื่องมือในการนำพาไปสู่สภาวะของความสงบ ความเงียบ ทบทวนสิ่งต่าง ๆ ด้วยการถักทอเส้นไหมอย่างต่อเนื่อง โดยจะยังไม่มีการกำหนดภาพรวมของผลงานตามหลักวิชาทัศนศิลป์เช่น การกำหนดรูปทรง ขนาด หรือจังหวะไว้ก่อนล่วงหน้า เป็นการปลดปล่อยให้การถักทอนั้นเป็นอย่างธรรมชาติ ตามความเป็นไปได้ของลวดลายโครเชต์ 2. แนวคิด / ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง 2.1 การถักโครเชต์ เป็นภาษาฝรั่งเศส หมายถึง “ตะขอ” กระบวนการสร้างโครเชต์ มาจากคำว่า Croc หรือ Croche แปลว่า ตะขอ หมายถึงเครื่องมือที่ใช้ในการทำของให้หรูหราในชีวิตประจำวัน ส่วนการถัก ไหมพรมมีมาตั้งแต่โบราณในเมืองจีน อาระเบีย ด้วยการนำด้าย ไหม ขนสัตว์ มาถักทอเป็นห่วงโซ่ร้อยต่อกัน จนเป็นผืนผ้าลวดลายงดงาม โครเชต์ได้รับความนิยมอย่างมากในยุโรปราว ค.ศ.1800 โดยรวมความหมายของ การถักโคเชต์ คือ การนำเข็มถักโครเชต์มาเกี่ยวด้ายชนิดต่างๆเพื่อถักเป็นลวดลายออกมาในแบบต่าง ๆ ศิลปิน ในปัจจุบันมีการนำเทคนิคการถักโครเชต์มาใช้ในการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะมากมาย เพื่อสร้างความแปลก ใหม่ จากเทคนิคพื้นฐานของงานฝีมือแม่บ้าน มาสู่การสร้างความตื่นตาตื่นใจหลากหลายแนวทางของศิลปะ ร่วมสมัย เช่นการสร้างศิลปะจัดวางในพื้นที่ และกับสภาพแวดล้อม เทคนิคโครเชต์จึงเป็นเทคนิคหนึ่งในการ สร้างงานศิลปะที่เป็นที่ยอมรับในปัจจุบัน ภาพที่ 1 ผลงาน Miyoshi Barosh ที่มา : http://theradder.blogspot.com/2014/01/crocheted-art_21.html


22 ภาพที่ 2 ผลงาน Sarah Applebaum ที่มา : http://theradder.blogspot.com/2014/01/crocheted-art_21.html 2.2 การเข้าถึงความสงบเงียบ จอห์น เลน ผู้เขียนหนังสือเกี่ยวกับความเงียบ (Silent) ได้อธิบายถึง ศัตรูของความเงียบนั้นมีอยู่สองอย่างคือ การแทรกแซงจากปัจจัยภายนอกได้แก่ มลภาวะทางเสียง และปัจจัย ภายในซึ่งเกิดจากความฟุ้งซ่านในจิตใจของเราเอง เพราะฉะนั้นการจะตัดสิ่งรบกวนทั้งสองอย่างออกไป จำเป็นต้องมีกิจกรรมที่จะมาช่วยสร้างให้เกิดความสงบได้ คือการใช้เวลาว่างจัดสวน การจัดดอกไม้ การบรรเลง หรือฟังดนตรี การทำงานอาหาร เป็นต้น กิจกรรมเหล่านี้ทำให้เราพ้นไปจากความอึกทึกวุ่นวายของโลกและ ความเงียบจะทำหน้าที่บำบัด กิจกรรมเหล่านี้จะช่วยฝึกให้เรามองอย่างช้า ๆ ฟังอย่างช้า ๆ ทำทุกอย่างให้นาน กว่าเดิม ความไม่เร่งรีบ ความเนิบช้า ทำให้เกิดความนิ่ง ความระมัดระวัง การรู้จักทบทวน จึงเป็นเครื่องมือ ป้องกันหรือยารักษาชีวิตในช่วงเวลาของกระแสความเร่งรีบถาโถมอยู่ ณ ปัจจุบัน 3. กระบวนการในการสร้างสรรค์ ขั้นตอนการสร้างสรรค์ผลงาน เส้นใยของการภาวนา ประกอบด้วยขั้นตอน ดังนี้ 3.1 การศึกษาค้นคว้าศิลปะโครเชต์และแนวคิดการเข้าถึงความสงบเงียบ จอห์น เลน 3.2 ถักโครเชต์เป็นดอกรูปทรงดอกบัว ขนาดต่าง ๆ ด้วยไหม ทำเป็นกิจกรรมที่สร้างให้เกิด สมาธิ ความสงบเงียบ โดยยังไม่คำนึงถึงภาพรวมของผลงานทั้งหมด 3.3 นำรูปดอกบัวขนาดต่าง ๆ มาจัดเรียงวางตำแหน่ง ทบทวนถึงรูปทรงภายนอกที่มีความ เหมาะสมจนพึงพอใจ 3.4 ผนึกโครเชต์เข้ากับโครงสร้างใหญ่ซึ่งมีการกำหนดขอบเขตรูปทรงในภายหลังนั้น 3.5 ประเมินผลงาน


23 ภาพที่ 3 ตัวอย่างขั้นตอนการถักโครเชต์ ที่มา : ผู้สร้างสรรค์ ภาพที่ 4 ตัวอย่างขั้นตอนการถักโครเชต์ ที่มา : ผู้สร้างสรรค์ ภาพที่ 5 รายละเอียดของผลงาน ที่มา : ผู้สร้างสรรค์


24 ภาพที่6 ผลงาน “เส้นใยสู่การภาวนา” ที่มา : ผู้สร้างสรรค์ 4.การวิเคราะห์ผลงาน ผลงานสร้างสรรค์ชุดเส้นใยของการภาวนา เป็นการอาศัยเทคนิคการถักโครเชต์ด้วยเส้นไหมพรม ซึ่ง ถือเป็นงานช่างฝีมือประเภทหนึ่งมาเป็นเทคนิคหลักในการสร้างสรรค์ ด้วยการถักเป็นลายดอกขนาดต่าง ๆ โดยยังไม่มีการกำหนดถึงภาพรวมของผลงานในเบื้องต้น ทั้งนี้การถักโครเชต์เป็นกลไกหนึ่งซึ่งจะช่วยนำพาไปสู่ สภาวะของความสงบ ความเงียบและการทบทวนในแบบช้าๆค่อยเป็นค่อยไป ทั้งนี้เป็นการบำบัดให้จิตใจเกิด ความผ่อนคลายจากการทำงานอย่างยาวนาน ความสำคัญของผลงานจึงมุ่งไปสู่กระบวนการมากกว่าผลงานซึ่ง เป็นไปตามหลักสุนทรียะ แต่กระนั้นผู้ชมผลงานก็อาจจะรับรู้ได้ถึงความสงบเงียบ สมาธิซึ่งปรากฏในผลงานได้ ด้วยตัวเอง


25 5. สรุป ผลงานชุดเส้นใยของการภาวนาเป็นนำการถักโครเชต์ เป็นเทคนิคหลักในการสร้างสรรค์โดยอาศัย แนวคิดของ จอห์น เลน ซึ่งกล่าวถึงแนวทางที่จะนำจิตใจไปสู่ความสงบเงียบ เพื่อเป็นการบำบัดจิตใจให้เกิด ความผ่อนคลาย ด้วยกิจกรรมที่ไม่เร่งรีบ เนิบช้า ทำให้เกิดความนิ่ง ความระมัดระวัง และการทบทวน ถึงสิ่ง ต่าง ๆ การถักเป็นการทำซ้ำแล้วซ้ำเล่า ด้วยเส้นใยที่มากมายเป็นการเกาะเกี่ยวจิตใจให้นิ่ง ซึ่งปรากฏออกมาใน ผลงานที่เรียบง่าย เอกสารอ้างอิง จอห์น เลน. (2556). พลังความเงียบ เปิดพื้นที่เพื่อความสร้างสรรค์. แปลโดย สดใส ขันติวรพงศ์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สวนเงินมีมา Ponpakdee. (2014). การถักโครเชต์. สืบค้นเมื่อ 10 ตุลาคม 2566, จาก https://mindhandmade. wordpress.com


26 การมีอยู่ : ที่ว่าง Invisible Existence จตุรพร เทวกุล, Chaturaporn Devakula สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์, Bunditpatanasilpa Institute of Fine Arts E-mail: [email protected] บทคัดย่อ ผลงานสร้างสรรค์ มีเนื้อหาเกี่ยวกับคุณค่าที่ได้เรียนรู้จากการพิจารณาสิ่งแวดล้อมรอบตัว ในชีวิตประจำวัน การได้รับรู้ถึงการมีอยู่ของสิ่งมีชีวิตที่เติบโตในสภาพแวดล้อมที่ถูกจำกัด ถูกกำหนดให้อยู่ ภายใต้การควบคุม ให้มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย หากแต่สิ่งมีชีวิตดังกล่าวได้ดำเนินไปอย่างเป็นธรรมชาติ มี การเคลื่อนไหวเติบโตไปอย่างช้า ๆ และได้ทำให้เกิดร่องรอยบางอย่าง ที่เป็นหลักฐานของการมีลมหายใจ การมีตัวตน การสร้างผลงานโดยใช้ลักษณะของการจับคู่ตรงข้ามให้อยู่ร่วมกันอย่างสมดุล ทั้งในทางรูปทรง ความคิด และความรู้สึก โดยใช้ ความเป็นระเบียบ-ความไร้ระเบียบ หยุดนิ่ง-เคลื่อนไหว มีแบบแผน-ไม่มี แบบแผน ภายใน-ภายนอก ที่ว่าง-ปริมาตร การแทนค่าฝ่ายของการควบคุมด้วยแผ่นกระเบื้องสำเร็จรูปที่มีส่วน หนึ่งเรียงตัวบิดเบี้ยว เพื่อแสดงออกถึงการเคลื่อนไหวของสิ่งมีชีวิตที่ถูกกลับค่าให้กลายเป็นที่ว่าง ใช้เทคนิค โมเสกในการสร้างสรรค์ผลงานในรูปแบบนูนต่ำ ผลของการสร้างสรรค์คือการได้สัมผ้สกับคุณค่าที่เกิดขึ้นภายในใจ ตลอดทั้งกระบวนการสร้างสรรค์ ตั้งแต่การเก็บรวมรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล ร่างและพัฒนารูปแบบ สร้างผลงานจริงจนกระทั่งเสร็จสมบูรณ์ ได้มุมมองความคิดที่เปิดกว้าง ในเรื่องการยอมรับความแตกต่าง และการปรับสภาพจิตใจให้สมดุล คำสำคัญ: การมีอยู่, ที่ว่าง, การรับรู้, พิจารณา Abstract The artwork is about the value that derives from considering circumstances. The perception of natural life existence which is grew up within the restricted areas. Life goes on naturally, day by day, it left the trace which is the evidence of the precious life. The composition of the artwork composes of two different things that are together in harmony. By using of organization-disorganization, standstill-moving, inside-outside, spacemass to reflect the idea of balancing the opposite component. The first one represents regulation, restriction and the other one expresses the trace of natural life which is reverse to space. The bas-relief artwork is made of mosaic.


27 The result of the creation is the appreciation throughout the creative processes, from papers and pictures, analysis, sketches and development, until the work complete. At the end, it opened my mind and balanced my soul. Keywords: Existence, Space, Realize, Consider 1. ความสำคัญหรือความเป็นมาของปัญหา จากพื้นฐานความคิดที่เชื่อว่าการเรียนรู้เกิดจากการสังเกต ตั้งคำถาม และหาคำตอบ สิ่งที่ทำให้เกิด การเรียนรู้ อาจเป็นสิ่งเล็กรอบตัวที่เกิดความสงสัย และวิเคราะห์หาคำตอบด้วยตนเอง ผลลัพธ์ที่ได้จะเป็น ข้อคิดที่ปรับเปลี่ยนทัศนคติให้เปิดกว้างได้การได้เห็นต้นไม้ข้างทางเดินที่ถูกแผ่นซีเมนต์ล้อมกรอบเพื่อให้คน สัญจรได้สะดวก เมื่อเวลาผ่านไป ต้นไม้ใหญ่นั้นได้เติบโต ทำให้แผ่นซีเมนต์ที่เป็นพื้นนั้นยกตัวขึ้นไปคนละ ทิศทาง พื้นถนนทางเดินกลับเป็นเนินเล็ก ๆ กระจายรอบ ๆ โคนต้น การสัญจรของผู้คนจะต้องเดินหลบหลีก เนินเหล่านั้น แต่ไม่ได้เกิดความลำบากนัก การได้เห็นและเดินผ่านทางดังกล่าวนั้น แทนที่จะเกิดความรู้สึก ลำบากที่ต้องเดินผ่านทางเช่นนี้ แต่กลับเกิดความรู้สึกถึงความงามที่เห็นแผ่นกระเบื้องที่บิดไปในทิศทางต่าง ๆ ไม่จืดชืดไร้ชีวิตเหมือนกระเบื้องที่ถูกปูเป็นระนาบราบเรียบเหมือนตอนที่ปูเสร็จใหม่ ๆ จึงตั้งคำถามว่าเหตุใดจึง รู้สึกเช่นนั้น เมื่อวิเคราะห์ดูจึงพบว่า เป็นเพราะสิ่งที่เห็นว่างาม เกิดจากการเติบโตของสิ่งมีชีวิต ที่มีความสำคัญ กับชีวิตเราการเคลื่อนไหวของต้นไม้ใหญ่นั้น เป็นไปอย่างช้า ๆ อย่างเป็นธรรมชาติ เป็นไปเพื่อการดำรงอยู่ พอเพียงเหมาะสม ไม่คุกคาม ส่วนอีกฝ่ายหนึ่งคือถนนทางเดิน เป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อการดำรงชีวิตเช่นกัน ทั้งสองฝ่ายต่างมีเหตุผลของตน ซึ่งสามารถหาแนวทางประนีประนอมเพื่ออยู่ร่วมกันได้อย่างเหมาะสม จากที่มาแรงบันดาลใจดังกล่าว จึงเกิดแนวความคิดในการสร้างผลงานที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการ อยู่ร่วมกันของสองสิ่ง ซึ่งเป็นคู่ที่มีความแตกต่างกัน แต่กลับมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกัน 2. แนวคิด / ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง การเรียนรู้ความจริงในธรรมชาติ จากการสังเกต ตั้งคำถาม และหาคำตอบ เป็นการเรียนรู้จาก สิ่งแวดล้อมรอบตัว เกิดความประทับใจในคุณค่า นำไปสู่การเปรียบเทียบกับการดำเนินชีวิตในสังคมที่เกิด เหตุการณ์ใกล้เคียงกัน เป็นข้อคิดที่ทำให้เกิดการปรับทัศนคติที่เกี่ยวกับการยอมรับความแตกต่าง และการปรับ สภาพจิตใจให้สมดุล ความแตกต่างที่อยู่ร่วมกันมีอยู่ในหลายสิ่งรอบตัวเรา ทั้งในแง่ของความคิด ความหมาย ความรู้สึก เมื่อเห็นหนึ่งจึงนึกถึงสอง เมื่อขาดสองจึงเห็นคุณค่าของหนึ่ง และสามารถตีความได้อีกหลากหลายมิติ ขึ้นอยู่ กับประสบการณ์ภูมิหลัง ของแต่ละบุคคล เป็นแนวทางให้เกิดการเรียนรู้ได้อีกอย่างกว้างขวาง ซึ่งเป็นแรง บันดาลใจ และเนื้อหาสาระในการสร้างผลงาน นอกจากนี้ยังมีคุณค่าต่อการปรับสภาพจิตใจ


28 3. กระบวนการในการสร้างสรรค์ 1. การเริ่มต้นของการสร้างสรรค์ เกิดจากการสังเกตสิ่งต่าง ๆ รอบตัว ได้สัมผัสกับความงดงาม นำไปสู่ การพิจารณาถึงคุณค่า พัฒนาไปสู่ข้อคิดในการยกระดับจิตใจ และเป็นแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์จากนั้น จึงรวบรวมข้อมูล เอกสาร บทความที่เกี่ยวข้อง เพื่อทำความเข้าใจเนื้อหาในการสร้างสรรค์ 2. การเก็บข้อมูลด้วยภาพถ่าย เพื่อศึกษารูปแบบ รูปทรง รายละเอียด และแนวทางในการสร้างสรรค์ 3. การวิเคราะห์ข้อมูล นำข้อมูลเนื้อหา เอกสาร และภาพถ่ายมาจัดระเบียบ ได้นำมาวิเคราะห์และ กำหนดแนวความคิดที่ชัดเจนมากขึ้น 4. การร่างแบบ นำการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้มาหารูปแบบแนวทางในการสร้างสรรค์ 5. การทดลองทางเทคนิค โดยการใช้วัสดุจริงเพื่อหาความเป็นไปได้ คุณสมบัติเฉพาะ และลักษณะ พิเศษ สำหรับการสร้างผลงานจริง ในขั้นตอนนี้พบว่า โมเสกมีความเหมาะในการสร้างผลงานได้ตาม แนวความคิด เพราะมีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมที่เท่ากัน เที่ยงตรง เมื่อนำมาเรียงกันเป็นแนวเส้นตรง จะมีลักษณะ ของสี่เหลี่ยมจตุรัสขนาดเท่ากันที่เรียงต่อกันเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า และเมื่อเรียงเป็นหลายแถว จะมีลักษณะเป็น ช่องตาราง เมื่อเรียงให้ตรงและมีระนาบเสมอกัน จะมีลักษณะของความเป็นระเบียบ การถูกกำหนดให้อยู่ ภายในกรอบ ดังเช่นเส้นตาราง แต่หากขยับด้านใดด้านหนึ่ง จะกระทบชิ้นที่อยู่ถัดไปเป็นแนวตามแรงกระทบ เกิดรูปร่าง รูปทรงใหม่ บางชิ้นเอียงจนทำให้เห็นขอบความหนา ภาพโดยรวมเกิดความแตกแถวออกจากเส้น ตาราง เกิดความเคลื่อนไหว ให้ความรู้สึกเหมือนมีที่ว่างอยู่ภายใน ภาพที่ 1 ทดลองวัสดุ ที่มา : ผู้สร้างสรรค์ ภาพที่ 2 ทดลองวัสดุ ที่มา : ผู้สร้างสรรค์


29 6. พัฒนาแบบร่าง เมื่อร่างแบบ และทดลองทางเทคนิคแล้ว จึงพัฒนาแบบร่างและนำมาวิเคราะห์ ก่อนการสร้างผลงานจริง โดยได้เลือกรูปแบบที่ตรงกับแนวความคิดที่ต้องการสื่อ คือรูปแบบที่มีความเรียบง่าย ให้ความรู้สึกถึงความแตกต่างที่อยู่ร่วมกันอย่างกลมกลืน 7. การสร้างผลงานโดยใช้เทคนิคโมเสกบนกรอบที่มีความหนา ตรงกลางภาพมีการยกตัวขึ้นมา มีการ ทับซ้อนกัน ในรูปแบบนูนต่ำ ภาพที่ 3 ผลงาน Invisible Existence ที่มา : ผู้สร้างสรรค์ 4. การวิเคราะห์ผลงาน 1. การรวบรวมข้อมูล เป็นความประทับใจจากการสังเกตสิ่งแวดล้อมรอบตัว สู่การค้นหาข้อมูล เพิ่มเติมเพื่อทำความเข้าใจ และวิเคราะห์เนื้อหาที่ใช้ในการสร้างสรรค์ 2. แนวความคิดในการสร้างสรรค์ มีเนื้อหาเกี่ยวกับการแสดงออกถึงการมีอยู่ของพลังงานชีวิต ที่ดำเนินไปอย่างเป็นธรรมชาติถ่อมตัว ไม่คุกคาม ผ่านร่องรอยของอีกสิ่งหนึ่ง ซึ่งมีลักษณะที่แตกต่างกัน โดย เป็นสิ่งที่ถูกสร้างมาเพื่อการกำหนดกฎเกณฑ์ให้อยู่ภายในพื้นที่ที่ได้วางกรอบไว้ 3. รูปแบบเป็นผลงานนูนต่ำ โดยใช้วัสดุโมเสกที่เรียงตัวกันเป็นระนาบ และมีส่วนหนึ่งที่มีลักษณะ แตกต่างออกไป โดยมีการเรียงตัวออกนอกเส้นแนวระนาบ ทำให้ด้านความหนาของโมเสกพลิกตัวขึ้นมาเกิด เป็นลักษณะของพื้นผิวที่เคลื่อนตัวตามทิศทางของวัตถุบางอย่าง 4. วัสดุที่ใช้ในการสร้างสรรค์ เป็นกระเบื้องโมเสก มีรูปทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัสที่มีความหนา มีขนาดเท่ากัน ทุกชิ้น ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่สำคัญในการสร้างงาน เนื่องจากรูปทรงที่มีความเที่ยงตรงของโมเสกแต่ละแผ่น เมื่อนำมาเรียงกันแล้วเกิดการบิดเบี้ยว ไม่ได้ระนาบแม้เพียงเล็กน้อย จะสังเกตเห็นได้อย่างชัดเจน และในเรื่อง ของเนื้อหา ตัวกระเบื้องโมเสกเป็นสัญลักษณ์ของความพยายามเข้าไปจัดการพื้นที่ให้เป็นระเบียบ เป็นวัสดุที่ทำ หน้าที่ปิดพื้นผิวให้เกิดความเรียบร้อย สมบูรณ์


30 5. ที่ว่าง ให้ความรู้สึกถึงความเคลื่อนไหวที่อยู่ภายใน เป็นความเคลื่อนไหวที่เป็นไปอย่างช้าๆ ต่อเนื่อง เป็นระยะเวลายาวนาน เกิดแรงดันให้กระเบื้องโมเสกเคลื่อนตัวออกนอกแนวเส้น ที่ว่างที่ใหญ่ที่สุดอยู่กลาง ภาพ และเชื่อมต่อกันตลอดทั้งภาพ ตามแนวเส้นของของโมเสก เป็นสัญลักษณ์ของชีวิต พลังงาน ที่แสดง ร่องรอยให้ได้รับรู้ถึงการมีอยู่ผ่านร่องรอยของแผ่นกระเบื้องที่บิดเบี้ยวออกนอกแนว 6. องค์ประกอบในผลงานเป็นการเปรียบเทียบของสองสิ่งที่มีความแตกต่างกัน และส่งอิทธิพลต่อกัน ความเป็นระเบียบ-ความยุ่งเหยิง ความหยุดนิ่ง-ความเคลื่อนไหว สิ่งมีชีวิต-สิ่งสังเคราะห์ภายใน-ภายนอก ทั้งสองสิ่งอยู่ร่วมกันและเชื่อมโยงถึงกัน การเคลื่อนไหวของสิ่งหนึ่งมีผลต่ออีกสิ่งหนึ่ง 7. การแทนค่า องค์ประกอบในงานมีสองส่วน ส่วนแรกคือตัวแทนของการกำหนดกฎเกณฑ์ โดยใช้ โมเสก ส่วนที่สองคือชีวิต ที่ถูกกลับค่าเป็นที่ว่าง ซึ่งต้องการแสดงถึงสภาวะของการไร้ตัวตน ทั้งสองส่วนล้วนมี ความสำคัญ และมีความเชื่อมโยงกัน เมื่อโครงสร้างภายในเคลื่อนไหว เปลือกภายนอกที่ห่อหุ้มอยู่ก็ขยับตาม 5. สรุป การสร้างผลงานชุดนี้เป็นการบันทึกแรงบันดาลใจที่ได้เรียนรู้ผ่านการสังเกตสภาพแวดล้อมรอบตัว ได้สัมผัสความงาม นำไปสู่การพิจารณาและเกิดคุณค่าในจิตใจ เป็นข้อคิดที่เตือนให้คำนึงถึงปัจจัยแวดล้อมที่มี ความสัมพันธ์เชื่อมโยงกัน และการสร้างทัศนคติในเรื่องการยอมรับความแตกต่าง นอกจากจะเข้าใจปัจจัย แวดล้อมภายนอกแล้ว ยังนำไปสู่การพิจารณาภายในจิตใจ ทำให้ค้นพบตัวตนที่แท้จริงของเราอีกด้วย เอกสารอ้างอิง เคน โมงิ. (2565). นาโงมิ สุข สงบ สมดุล. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์อมรินทร์ how to ฟรานซี่ ฮีลลีย์, คริสตัล ทาอิ. (2565). ฮนจก ความสุขจากการอยู่กับตัวเอง. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์อมรินทร์ how to แฟรงก์ มาร์เทลา. (2565). ชีวิตนี้คู่ควรที่จะงดงาม A Wonderful Life: Insights on Finding a Meaningful Existence. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์Biblio


31 แนวคิดในการออกแบบปรับปรุงโชว์รูมรถจักรยานยนต์ Design concept for renovating a motorcycle showroom ชนัส คงหิรัญ, Chanut Khonghiran สาขาวิชาออกแบบตกแต่งภายใน คณะศิลปวิจิตร สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป, จังหวัดนครปฐม Interior Design Department, Faculty of Fine Arts, Bunditpattanasilpa Institute of Fine Arts, Nakhon Pathom E-mail: [email protected] บทคัดย่อ การสร้างสรรค์ผลงานออกแบบปรับปรุงอาคารพาณิชย์2 คูหา ขนาดพื้นที่ 67 ตารางเมตร แห่งนี้เกิดขึ้น จากความต้องการในการขยายธุรกิจการขายรถจักรยานยนต์ โดยผู้ประกอบการได้มอบหมายให้ผู้สร้างสรรค์ทำการ ออกแบบปรับปรุงอาคารพาณิชย์แห่งนี้ให้เป็นโชว์รูมขายรถจักรยานยนต์ที่โดดเด่น ทันสมัย มีเอกลักษณ์เป็นที่ จดจำและมีความแตกต่างจากคู่แข่งทางธุรกิจในพื้นที่ใกล้เคียง ซึ่งนอกจากความต้องการปรับปรุงอาคารพาณิชย์ แห่งนี้ให้เป็นโชว์รูมขายรถจักรยานยนต์แล้วยังมีความต้องการให้มีส่วนของคาเฟ่สำหรับลูกค้าและกลุ่มเพื่อนที่ สามารถใช้สถานที่แห่งนี้เป็นที่พบปะพูดคุยรวมถึงพื้นที่ในการให้บริการซ่อมบำรุงรถจักรยานยนต์แก่ลูกค้าอีกด้วย ด้านการออกแบบผู้สร้างสรรค์ได้กำหนดกรอบแนวคิดในการออกแบบมาจากความต้องการของ ผู้ประกอบการในด้านของพื้นที่เป็นพื้นฐานในการออกแบบพื้นที่ส่วนให้บริการ เพื่อให้ตอบสนองต่อความต้องการ ในการใช้งานพื้นที่ตามลักษณะกิจกรรมและรูปแบบของการออกแบบโดยมีแรงบันดาลใจในการเลือกใช้สีและวัสดุ มากจากลักษณะของโรงงานอุตสาหกรรมในยุโรปจากยุค 1960 (Industrial Style) ที่เน้นไปที่การใช้วัสดุที่มีความ แข็งแรงทนทาน แสดงพื้นผิวและสีของวัสดุที่แท้จริง มีความเก่าและร่องรอยจากการใช้งานโดยปราศจากการปรุง แต่ง อย่างไรก็ตามเพื่อให้โชว์รูมแห่งนี้มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่โดดเด่นและแตกต่างจากคู่แข่งทางธุรกิจ ผู้สร้างสรรค์ จึงใช้รูปทรงสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัดที่ถอดรายละเอียดมาจากธงลายตารางหมากรุกที่สื่อถึงกีฬาการแข่งขันและ ความเร็วมาใช้ในลักษณะของการจัดวาง รวมถึงการเลือกใช้สีเหลืองที่ให้ความรู้สึกที่ตื่นเต้น สนุกสนาน และมีพลัง มาใช้แทรกลงไปในงาน คำสำคัญ: แนวความคิดในงานออกแบบ, โชว์รูม, อาคารพาณิชย์ Abstract The creative design for shop house renovation with an area of 67 square meters arose from the need to expand the motorcycle sales business. The entrepreneur assigned the creator to design and renovate this shop houseinto a motorcycle showroom that is outstanding, modern,


32 unique, memorable and different. In addition to the need to renovate this shop house into a motorcycle showroom, there is also a need to have a cafe for customers and groups of friends who can use this place as a place to meet and talk, as well as a space to provide repair services. Motorcycle maintenance. The creator has set a design concept based on the needs of entrepreneurs in terms of space as the basis for designing the service area. In order to respond to the needs of using the space according to the nature of activities and the design style, with inspiration in choosing colors and materials from the characteristics of industrial factories in Europe. Emphasis is placed on using materials that are strong and durable. Show the actual texture and color of the material. It is old and has traces of use without decoration. However, in order for this showroom to have a unique identity that stands out and is different. The layout uses a diamond shape that takes details from the checkered flag that symbolizes competition and speed, as well as the use of yellow to give a feeling of excitement. Fun and energetic to use in the work. Keywords: Concept of design, Showroom, Shop House 1. ที่มาและความสำคัญของปัญหา การสร้างสรรค์ผลงานออกแบบตกแต่งภายในโชว์รูมรถจักรยานยนต์แห่งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อการปรับปรุง อาคารพาณิชย์เก่าให้เป็นโชว์รูมสำหรับการขายและบริการซ่อมบำรุงรถจักรยานยนต์เฉพาะกลุ่มรถจักรยานยนต์ ขนาดใหญ่รวมถึงเป็นสถานที่พบปะสังสรรค์ของกลุ่มเพื่อนและลูกค้า ซึ่งจากการเข้าสำรวจพื้นที่พบว่าอาคาร ดังกล่าวมีลักษณะผังพื้นเป็นสี่เหลี่ยมคางหมู มีมุมแหลมที่เป็นอุปสรรคในการออกแบบและการใช้งานพื้นที่ รวมถึง ขนาดพื้นที่ใช้สอยชั้นล่างของอาคารที่มีเพียง 67 ตารางเมตร ส่งผลให้การจัดการพื้นที่ในแต่ละส่วนนั้นค่อนข้าง จำกัด อีกทั้งความต้องการปรับปรุงรูปแบบภายนอกอาคารให้ดูโดดเด่น มีเอกลักษณ์และต้องการให้เกิดความ แตกต่างจากอาคารข้างเคียง ซึ่งความต้องการและปัญหาดังที่กล่าวมาแล้วนั้นคือโจทย์หรือปัญหาสำคัญที่ผู้สร้าง สรรค์ต้องใช้กระบวนการในการออกแบบเพื่อแก้ไขปัญหาทั้งในด้านพื้นที่และการกำหนดแนวความคิดในการ ออกแบบเพื่อตอบสนองความต้องการในด้านของสุนทรียภาพความงามที่เหมาะสมและสอดคล้องตามความ ต้องการของผู้ประกอบการ อย่างไรก็ตามในงานการออกแบบสถาปัตยกรรมด้านต่างๆ ผู้สร้างสรรค์มักพบปัญหาต่าง ๆ มากมายทั้งที่ เกิดจากปัจจัยภายในและจากปัจจัยภายนอก ปัญหาที่เกิดจากปัจจัยภายใน เช่น สภาพโครงสร้างอาคารเดิมที่ชำรุด ขนาดพื้นที่มีอยู่อย่างจำกัดรวมถึงงบประมาณที่ถูกปรับลดลงในภายหลังส่งผลกระทบต่อคุณภาพของงาน ปัญหาที่ เกิดจากปัจจัยภายนอก เช่น สถานที่ตั้งและทิศทางของอาคาร สภาพแวดล้อมโดยรอบของอาคารที่ส่งผลกับ


33 โครงการ เช่น เสียง กลิ่น ฝุ่นละออง กองขยะ ปัญหาต่าง ๆ เหล่านี้คือสิ่งที่ผู้สร้างสรรค์ต้องสำรวจและนำมา พิจารณาเพื่อหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาก่อนการกำหนดผังพื้นและรูปแบบการตกแต่งที่ยังต้องคำนึงถึงความ ต้องการของผู้ใช้งาน ความปลอดภัย ความสะดวกและสุนทรียภาพความงาม 2. กระบวนการในการสร้างสรรค์ การสร้างสรรค์ผลงานออกแบบตกแต่งภายในที่นำเสนอในบทความครั้งนี้ ผู้สร้างสรรค์มุ่งเน้นไปที่การ นำเสนอแนวคิดในการออกแบบที่ตอบสนองต่อสุนทรียภาพความงามที่มาจากความต้องการของผู้ประกอบการ หรือผู้ว่าจ้างงานออกแบบในครั้งนี้ โดยเริ่มจากการสัมภาษณ์พูดคุยและสอบถาม ข้อมูลสำคัญที่ผู้สร้างสรรค์จะต้อง รับมาวิเคราะห์และแปลความต้องการซึ่งเป็นข้อมูลในรูปแบบนามธรรมให้ออกมาเป็นรูปธรรมซึ่งจำเป็นต้องอาศัย การกำหนดแนวความคิดในการออกแบบและกระบวนการรับรู้เป็นเครื่องมือในการถ่ายทอดและพัฒนาการ ออกแบบ วิมลสิทธิ์ หรยางกูล (2541) กล่าวว่า แนวความคิดในการออกแบบที่เกี่ยวกับความหมายทาง สถาปัตยกรรม เช่น ความหมาย สไตล์ เรื่องราว ยุคสมัย เป็นต้น แนวความคิดในการออกแบบเป็นสิ่งแรกในการ เริ่มการสร้างสรรค์และเกิดขึ้นก่อนกระบวนการออกแบบ งานออกแบบที่ดีควรสะท้อนให้เห็นถึงแนวความคิดหลัก มีความน่าสนใจ มีคุณค่าและมีเอกลักษณ์ และแนวความคิดในการออกแบบที่ดีควรต้องตอบสนองต่อการใช้สอย เป็นเป้าหมายแรกและสร้างความสวยงามเป็นเป้าหมายรอง (พรทิพย์ เรืองธรรม, 2556) การส่งผ่านแนวความคิด ในการออกแบบที่เป็นรูปแบบนามธรรมของผู้สร้างสรรค์ ให้ออกมาในลักษณะของรูปธรรม เป็นลักษณะการ ก่อให้เกิดผลกระทบทางจิตเกี่ยวกับความรู้สึกที่มีต่อสภาพแวดล้อมทางกายภาพ การรับรู้ การเรียนรู้ การจดจำ ซึ่ง คนทั่วไปจะสามารถรับรู้และเข้าใจแนวความคิดในรูปแบบรูปธรรมได้นั้น เกิดจากประสบการณ์ในการรับรู้ของตัว บุคคลซึ่งเกิดเป็นกระบวนการในการรับรู้ กระบวนการรับรู้เป็นกระบวนการที่ต้องอาศัยการสะสมประสบการณ์เพื่อสร้างให้เกิดความเข้าใจในสิ่งที่ บุคคลได้รับรู้ ซึ่งแต่ละบุคคลอาจมีพื้นฐานการรับรู้ที่แตกต่างกันและความสามารถในการรับรู้ของแต่ละบุคคลจึง ขึ้นอยู่กับประสบการณ์และสิ่งแวดล้อมของบุคคลนั้น ๆ การสร้างความแปลกใหม่ให้เกิดขึ้นในสภาพแวดล้อมเดิม เป็นลักษณะหนึ่งของการสร้างความเปลี่ยนแปลงที่สร้างให้เกิดการรับรู้ในสิ่งแปลกใหม่ที่เกิดขึ้น สอดคล้องกับ อุปนิสัยของมนุษย์ที่มักจะสนใจรับรู้ในสิ่งใหม่ที่เกิดขึ้นมากกว่าสิ่งที่มีอยู่แล้ว (ชินศักดิ์ตัณฑิกุล, 2546) ผู้สร้างสรรค์จึงใช้ประสบการณ์ในการรับรู้สิ่งเกี่ยวข้องกับกีฬาการแข่งขันความเร็วที่สอดคล้องกับประเภท ธุรกิจมาใช้ในการพัฒนาการออกแบบป้ายสัญลักษณ์ของโชว์รูม โดยการลดทอนรายละเอียดรูปทรงและลวดลาย บนผืนธงตาหมากรุกที่ใช้โบกแสดงสัญลักษณ์ของการเข้าเส้นชัยหรือการได้รับชัยชนะ


34 ภาพที่1 การพัฒนาการออกแบบสัญลักษณ์ ที่มา : ชนัส คงหิรัญ (2566) รูปแบบของรูปทรงที่ได้จากการพัฒนาการออกแบบ ผู้สร้างสรรค์ได้นำมาใช้ในส่วนของป้ายสัญลักษณ์ของ โชว์รูมและกำหนดให้เป็นสีเหลืองซึ่งเป็นสีที่กระตุ้นพลังงานและสื่อความหมายถึงความกระตือรือร้น สนุกสนาน ร่าเริง สร้างสรรค์ ซึ่งเมื่อนำมาตัดกับแผงบังตาอลูมิเนียมสีดำจึงทำให้เกิดความโดดเด่น สะดุดตา ภาพที่2 ป้ายชื่อโชว์รูม ที่มา : ชนัส คงหิรัญ (2566) ขั้นตอนการกำหนดผังพื้นโชว์รูมรถจักรยานยนต์ผู้สร้างสรรค์ได้กำหนดพื้นที่ตามความต้องการใช้งานของ ผู้ประกอบการลงในผังพื้นของตัวอาคาร โดยเริ่มต้นจากการจัดทำรายละเอียดโครงการไปจนถึงขั้นตอนการ ออกแบบ ให้ปรากฏในรูปของแบบภาพจำลอง 3 มิติโดยการรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ จัดระบบในการวางแผนการ แก้ปัญหาจากความต้องการของโครงการ เพื่อวิเคราะห์และค้นหาแนวทางในการออกแบบที่สอดคล้องกับ วัตถุประสงค์และเป้าหมายของโครงการและเมื่อทราบข้อมูลรายละเอียดในด้านต่าง ๆ รวมถึงแนวคิดในการ ออกแบบของโครงการแล้ว ขั้นตอนต่อมาคือการกำหนดพื้นที่ในการรองรับกิจกรรมโดยการศึกษาลักษณะของ พฤติกรรมของผู้ใช้งาน ขนาดของเครื่องมือและอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับกิจกรรม รวมถึงขนาดสัดส่วน ของเฟอร์นิเจอร์ที่รองรับพฤติกรรมเพื่อสรุปและแสดงให้เห็นถึงขนาดของพื้นที่ในส่วนต่าง ๆ อย่างไรก็ตาม


35 เนื่องจากโครงการสร้างสรรค์ดังกล่าวเป็นโครงการที่มีพื้นที่ขนาดเล็กและไม่ได้เป็นพื้นที่ที่เกี่ยวข้องกับผู้ใช้งาน จำนวนมาก หรือเป็นเพียงผู้ใช้งานเฉพาะกลุ่ม ไม่เป็นพื้นที่ที่มีความซับซ้อนของกิจกรรมแต่อย่างใด ผู้สร้างสรรค์จึง สามารถกำหนดพื้นที่ใช้งานลงบนผังพื้นอาคารได้โดยง่าย โดยเน้นไปที่การนำเสนอแนวคิดในการกำหนดวัสดุของ งานสร้างสรรค์ชิ้นนี้ที่มีที่มาจากความต้องการของผู้ประกอบการ โดยมีผู้สร้างสรรค์เป็นผู้แปลความต้องการที่เป็น นามธรรมผ่านกระบวนการออกแบบให้เกิดเป็นผลงานที่เป็นรูปธรรม โดยนำรายละเอียดของการออกแบบใน ลักษณะ Industrial Style มาปรับปรุง ลดทอน และจัดวางให้เข้ากับการออกแบบในลักษณะของพื้นที่ในอาคาร เพื่อให้มีรูปลักษณ์ที่สอดคล้องกับแนวคิดและความต้องการ ที่ยังคงความเป็นวัสดุที่แสดงผิวสัมผัสและอารมณ์อย่าง ตรงไปตรงมา รวมถึงลักษณะของผิวสัมผัสจากธรรมชาติเช่น เนื้อไม้จริง เพื่อสร้างอารมณ์ผ่อนคลายและลดทอน ความรู้สึกที่แข็งกระด้าง รุนแรงจากวัสดุโลหะ ซีเมนต์ และอิฐ อย่างไรก็ตามด้วยเทคโนโลยีในการผลิตวัสดุที่ใช้ใน งานออกแบบสถาปัตยกรรมในปัจจุบัน ได้มีการสร้างวัสดุทดแทนด้วยนวัตกรรมที่ทันสมัยเพื่อช่วยลดการใช้วัสดุที่ สิ้นเปลืองและประหยัดพลังงาน ทำให้ผู้สร้างสรรค์สามารถใช้วัสดุทดแทนที่ยังคงให้อารมณ์และความรู้สึกที่เป็นไป ตามแนวคิดในการออกแบบที่กำหนดไว้ ภาพที่3 วัสดุในงานสร้างสรรค์ ที่มา : ชนัส คงหิรัญ (2566) 3. การวิเคราะห์ผลงาน ผลงานสร้างสรรค์งานออกแบบตกแต่งโชว์รูมรถจักรยานยนต์แห่งนี้ได้แนวคิดในการออกแบบมาจากความ ต้องการของผู้ประกอบการในด้านของพื้นที่ส่วนให้บริการที่ให้ตอบสนองต่อความต้องการในการใช้งานพื้นที่ตาม ลักษณะกิจกรรมและรูปแบบของการออกแบบ โดยมีแรงบันดาลใจในการเลือกใช้สีและวัสดุมากจากลักษณะของ โรงงานอุตสาหกรรมในยุโรปจากยุค 1960 (Industrial Style) ที่เน้นไปที่การใช้วัสดุที่มีความแข็งแรงทนทาน แสดงพื้นผิวและสีของวัสดุที่แท้จริง มีความเก่าและร่องรอยจากการใช้งาน ผู้สร้างสรรค์ได้คำนึงถึงลักษณะกิจกรรม ที่จะเกิดขึ้นซึ่งประกอบไปด้วยพฤติกรรมต่าง ๆ ซึ่งจากพฤติกรรมต่าง ๆ นั้นจะเป็นตัวกำหนดขนาดพื้นที่ที่รองรับ


36 กิจกรรมนั้น ๆ อย่างไรก็ตามเมื่อผู้สร้างสรรค์ได้ทำการกำหนดขอบเขตพื้นที่ลงในผังอาคารแล้ว สิ่งต่อมาคือการ กำหนดภาพลักษณ์ในการออกแบบ ซึ่งเป็นไปตามความต้องการของผู้ประกอบการ โดยแปลความต้องการใน รูปแบบนามธรรมให้กลายเป็นรูปแบบรูปธรรมที่คนทั่วไปสามารถเข้าใจความหมายหรือรับรู้ได้ด้วยประสบการณ์ รับรู้ โดยใช้กระบวนการรับรู้ทางทัศนศิลป์ที่มีพื้นฐานมาจากองค์ประกอบศิลปะ เช่น จุด สี เส้น รูปทรง และ ผิวสัมผัส นำมาวิเคราะห์แนวความคิดและจัดการสร้างสรรค์ใหม่ผ่านการออกแบบสร้างสรรค์โชว์รูมแห่งนี้ โดย ผลงานสร้างสรรค์ที่ปรากฏในครั้งนี้ได้รับการอนุมัติจากผู้ประกอบการและสร้างขึ้นจริงแล้ว ภาพที่4 ผลงานสร้างสรรค์การออกแบบตกแต่งโชว์รูมรถจักรยานยนต์ ที่มา : ชนัส คงหิรัญ (2566) 4. สรุป การออกแบบที่ตอบสนองต่อความต้องการของผู้ใช้งานทั้งในด้านประโยชน์ใช้สอย ความสวยงาม สะดวก ปลอดภัยและตอบสนองต่อพฤติกรรมในการใช้งาน โดยใช้กระบวนการออกแบบซึ่งเป็นกระบวนการในการ แก้ปัญหาทางด้านงานออกแบบ การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสภาพแวดล้อมจึงมีความจำเป็นที่ทำให้ ผู้ออกแบบมีความเข้าใจถึงปัญหา ซึ่งผู้สร้างสรรค์ได้นำองค์ความรู้ทางด้านการออกแบบเพื่อสร้างสรรค์ผลงานให้ ผู้ใช้งานเกิดความพึงพอใจมากที่สุดตามที่ วิมลสิทธิ์หรยางกูรและคณะ (2556) ได้กล่าวว่า การออกแบบที่ดีเป็น


37 ส่วนช่วยให้เกิดสภาพแวดล้อมที่ดีและสนองต่อการรู้สึกทางประสาทสัมผัสรวมถึงดึงดูดความสนใจให้เกิดการรับรู้ งานสร้างสรรค์การออกแบบจึงแฝงไว้ด้วยแนวความคิดในการออกแบบ หลักทฤษฎีและหลักจิตวิทยาในงาน ออกแบบรวมถึงหลักวิศวกรรมศาสตร์การออกแบบสถาปัตยกรรมที่สอดคล้องและสัมพันธ์กับพฤติกรรมของ ผู้ใช้งานหรือไม่เป็นอุปสรรคในการใช้งาน ย่อมส่งเสริมให้พฤติกรรมในการใช้งานเป็นไปอย่างสะดวกราบรื่นและ ส่งผลให้การดำเนินกิจกรรมนั้น ๆ ประสบความสำเร็จโดยง่าย ซึ่งอาจแสดงออกในลักษณะของความพึงพอใจของ ผู้ใช้งานหรือความสำเร็จของกิจกรรมผ่านการใช้พื้นที่สถาปัตยกรรมนั้น เอกสารอ้างอิง พรทิพย์ เรืองธรรม. (2556). โปรแกรมการออกแบบสำหรับสถาปัตยกรรมภายใน. นนทบุรี: มาตาการพิมพ์. วิมลสิทธิ์ หรยางกูร, บุษกร เสรฐวรกิจและศิวพร กลิ่นมาลัย. (2556). จิตวิทยาสภาพแวดล้อมมูลฐานการ สร้างสรรค์และจัดการสภาพแวดล้อมน่าอยู่อาศัย. กรุงเทพฯ: เจ.บี.พี.เซ็นเตอร์. ชินศักดิ์ ตัณฑิกุล. (2546). การรับรู้ทางสถาปัตยกรรม. เอกสารคำสอน คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัย ศิลปากร.


38 โครงการออกแบบสถาปัตยกรรม “บ้านพักอาศัย 3 ชั้น ซอยพหลโยธิน 11 สามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร” Architectural Design Project “3-story residential house, Soi Phahonyothin 11, Samsen Nai, Phaya Thai District, Bangkok” ชยากร เรืองจำรูญ, Chayakorn Ruengchamroon 423 ซอยเพขรเกษม63แยก1 ถนนเพชรเกษม แขวงหลักสอง เขตบางแค กรุงเทพ 10160, 423 Soi Phetchakasem63 separate1 Phetchakasem Road Keang Lak Song Khet Bang Khae Bangkok 10160 E-mail: [email protected] บทคัดย่อ โครงการออกแบบสถาปัตยกรรม “บ้านพักอาศัย 3 ชั้น ซอยพหลโยธิน 11 สามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร” โดยมีเป้าหมายเพื่อให้เป็นที่พักอาศัยโดยมีพื้นที่ทั้งหมดเกือบ ๆ 3 ไร่ ในการสร้างสรรค์ ผลงานออกแบบสถาปัตยกรรม “บ้านพักอาศัยซอยพหลโยธิน 11 สามเสนใน พญาไท กรุงเทพมหานคร” ได้นำกระบวนการออกแบบมาใช้ในการแก้ปัญหาจากความต้องการของเจ้าของโครงการและสมาชิกภายใน ครอบครัวเป็นผู้ใช้งาน ดำเนินการศึกษาเก็บรวบรวมข้อมูลความต้องการของเจ้าของโครงการแบบเป็นขั้นตอน ในการวิเคราะห์ความต้องการ วัตถุประสงค์และเป้าหมายของโครงการผู้สร้างสรรค์ได้นำกระบวนการในการ ค้นหาปัญหาเพื่อวิเคราะห์และหาคำตอบ เพื่อเป็นแนวทางในการออกแบบ ซึ่งผลงานสร้างสรรค์การออกแบบ ที่ปรากฏนั้น ถือเป็นผลลัพธ์ของกระบวนการในการออกแบบที่นำมาใช้ในการแก้ปัญหาและตอบคำถามของ โจทย์ความต้องการของเจ้าของโครงการและสมาชิกภายในครอบครัวซึ่งเป็นผู้ใช้งานในโครงการ งานสร้างสรรค์ในการออกแบบแสดงให้เห็นว่า มนุษย์มีการอยู่ร่วมกันเป็นสังคมที่มีกิจกรรม หลากหลายลักษณะ ทั้งกลุ่มกิจกรรมขนาดใหญ่ที่มีคนจำนวนมากและกลุ่มกิจกรรมขนาดย่อย เช่น กิจกรรมใน ครอบครัวหรือกิจกรรมในองค์กร ซึ่งในกิจกรรมที่เกิดขึ้นนั้นประกอบไปด้วยพฤติกรรมในลักษณะต่าง ๆ ของ สมาชิกหรือพฤติกรรมของผู้ใช้งาน ซึ่งมีความเกี่ยวพันกับการออกแบบทางสถาปัตยกรรม คือ การออกแบบ ทางสถาปัตยกรรมที่สอดคล้องและสัมพันธ์กับพฤติกรรมของผู้ใช้งาน หรือการออกแบบสถาปัตยกรรมที่ไม่ ขัดขวางหรือเป็นอุปสรรคในการใช้งาน ย่อมส่งเสริมให้พฤติกรรมในการใช้งานเป็นไปอย่างสะดวกราบรื่นและ ส่งผลให้การดำเนินกิจกรรมในกลุ่มสังคมนั้น ๆ ประสบความสำเร็จได้เป็นอย่างดีซึ่งอาจแสดงออกในลักษณะ ของความพึงพอใจของผู้ใช้งานหรือความสำเร็จของกิจกรรมผ่านการใช้พื้นที่ทางสถาปัตยกรรมของโครงการนั้น ๆ คำสำคัญ: โครงการออกแบบสถาปัตยกรรม, การออกแบบสถาปัตยกรรม, งานทางด้านสถาปัตยกรรม


39 Abstract This is an Architectural Design Project for a “3-Storey Residential House at Soi Phahonyotin 11, Samsen Nai, Phaya Thai District, Bangkok” with a total area of approximately 3 rai in which creative architectural designs are to be implemented. The project has adopted a problem-solving approach based on the specifications of the project owner and his family members as users. A step-by-step process of needs analysis was conducted to gather data from the owners based on their needs. The goal is to identify and analyze the problems and collaborate with the project owners to find out answers that will guide the design. This creative work is therefore a result of process that involves problem-solving through collaboration with end users. This creative architectural design project is another testament to how humans live together as a society with various types of activities. Both large activity groups which includes many people, and small activity groups such as family activities or organizational activities, showcases various behaviors of members. Architectural designs must address this variety. Hence, it is vital to design an architecture that is consistent and relevant to user behavior – one that does not obstruct or impede activities, but rather promotes convenient and smooth useability and result to the success of activities in that social group easily. This may be expressed in the form of user satisfaction or the success of activities conducted using that particular architectural space. Keywords: Architectural design project, Architectural design, Architectural work 1. ความสำคัญหรือความเป็นมาของปัญหา ในงานออกแบบทางด้านสถาปัตยกรรมมักพบปัญหาในสาเหตุและปัจจัยหลายประการ ทั้งจากการใช้ งาน สภาพแวดล้อม สังคมและวัฒนธรรม รวมถึงปัญหาที่เกิดจากความต้องการของตัวผู้ใช้หรือกลุ่มผู้ใช้งานเอง ซึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นนั้นมีมากมายและมีความซับซ้อนแตกต่างกันไปตามแต่บริบทของสถานที่และรสนิยมของแต่ ละบุคคลที่ต้องการ เพื่อตอบสนองความต้องการทางด้านร่างกายและจิตใจ อันเนื่องมาจากระบบสังคมแบบทุน นิยม การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสภาพแวดล้อมจึงทำให้นักออกแบบ มีความเข้าใจถึงปัญหาได้ดียิ่งขึ้น วิมลสิทธ์ หรยางกูรและคณะ (2556) ได้กล่าวว่า การออกแบบมีส่วนช่วยให้เกิดสภาพแวดล้อมที่สนอง ต่อการรู้สึกทางประสาทสัมผัส และการรู้สึกทางทัศนาการ สภาพแวดล้อมที่เกี่ยวกับการรู้สึกจะมีคุณสมบัติที่ ดึงดูดความสนใจให้เกิดการรับรู้ จึงเห็นได้ว่าการออกแบบไม่ได้เป็นเพียงแค่การแต่งแต้มสีสันเพื่อความสวยงาม เพียงด้านเดียว แต่ยังแฝงไว้ด้วยแนวคิด ทฤษฎี และหลักจิตวิทยาในการออกแบบ เช่น แนวคิดทางด้าน พฤติกรรมมนุษย์ทั้งในด้านบุคคล และพฤติกรรมองค์กร แนวคิดทางด้านจิตวิทยาในการออกแบบ แนวคิด


40 ทางด้านการบริหารจัดการพื้นที่ แนวคิดทางด้านขนาดสัดส่วนมนุษย์ และทฤษฎีทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ ตลอดจนการบริหารจัดการงบประมาณของโครงการ ฯลฯ 2. แนวคิด / ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง งานทางด้านสถาปัตยกรรมสภาพแวดล้อมในเชิงประโยชน์ใช้สอยและความสุนทรียภาพ เพื่อให้มี ลักษณะตรงตามความต้องการของผู้ใช้งาน การนำแนวคิดและทฤษฎีความต้องการของมนุษย์โดย มาสโลว์ได้ อธิบายในเรื่องทฤษฎี5 ขั้น Masioe’s Hierarchy of Needs หรือเรียกทฤษฏี Maslow ถึงความต้องการใน ขั้นต่าง ๆ ของมนุษย์ ตั้งแต่ความต้องการขั้นพื้นฐานได้แก่ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรคและที่อยู่อาศัย ไป จนถึงความต้องการในการแสดงออกทางสังคม การนำหลักหลักธรรมในศาสนาพุทธในเรื่องอริยสัจ 4 ได้แก่ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค มาประยุกต์ใช้เพื่อแสวงหาปัญหาและแนวทางในการแก้ไขปัญหา แนวคิดและทฤษฎี ดังกล่าวชี้ให้เห็นถึงความต้องการต่าง ๆ ของมนุษย์ซึ่งเป็นสาเหตุแห่งความต้องการนั้นๆ การเกิดทุกข์ทาง ร่างกายที่เกิดจากการอยู่อาศัยและเกิดความไม่สะดวกสบายทางด้านสถาปัตยกรรมและสภาพแวดล้อมที่ไม่ เอื้ออำนวยต่อพฤติกรรมการใช้งานและทุกข์ทางจิตใจที่เกิดจากความรู้สึกชอบหรือไม่ชอบ เกิดความไม่พึง พอใจต่อสถาปัตยกรรมสภาพแวดล้อมในที่นั้น ๆ การนำแนวคิดในเรื่องของหลักอริยสัจ 4 เป็นกระบวนการในการแก้ไขปัญหา ซึ่งประกอบไปด้วย กระบวนการรับรู้ปัญหา กระบวนการค้นหาสาเหตุแห่งปัญหา และกระบวนการในการแก้ไขปัญหา ซึ่งแนวทาง การออกแบบสามารถใช้เป็นกระบวนการในการสร้างสรรค์งานออกแบบทางด้านสถาปัตยกรรมเพื่อแก้ไข ปัญหาความต้องการได้(ชนัส คงหิรัญ, 2564) 3. กระบวนการในการสร้างสรรค์ แนวทางในสร้างสรรค์งานออกแบบเบื้องต้น ผู้สร้างสรรค์ได้รวบรวมข้อมูลเบื้องต้นและข้อมูลความ ต้องการการใช้งานและพื้นที่เพื่อนำมาศึกษาวิเคราะห์สภาพแวดล้อมโครงการ (Site Analysis) คือ การ ออกแบบโดยวิเคราะห์จากสภาพแวดล้อมโครงการในเรื่อง ทิศทางแดด ลม มลภาวะ ทั้งจากธรรมชาติและสิ่งที่ เกิดจากมนุษย์ โดยคำนึงถึงผลกระทบจากสภาพแวดล้อมที่อาจสร้างปัญหาให้กับโครงการ ที่มีผลกระทบต่อ การออกแบบงานทางด้านสถาปัตยกรรม นั้นถือเป็นส่วนสำคัญที่ผู้ออกแบบต้องคำนึงถึง เช่น การกำหนดพื้นที่ ภายในให้ได้รับแสงสว่างจากธรรมชาติ หรือการออกแบบเพื่อเปิดรับลมจากภายนอก รวมถึงการออกแบบเพื่อ ความเป็นส่วนตัวจากมุมมองภายนอก ตลอดจนการกำหนดทิศตามวัฒนธรรมความเชื่อ สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้เป็น พื้นฐานมาจากการศึกษาและวิเคราะห์สภาพแวดล้อมที่ส่งผลกระทบต่อโครงการ อีกทั้งยังมีปัจจัยภายนอกอื่น ๆ ที่ส่งผลต่อโครงการ เช่น ชุมชน เส้นทาง กลิ่น เสียง รวมถึงกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ปัจจัยเหล่านี้ล้วนเป็นปัญหาที่ ส่งผลกระทบต่อโครงการและเป็นสิ่งที่ผู้ออกแบบต้องนำมาศึกษาวิเคราะห์เพื่อค้นหารูปแบบของโครงการเพื่อ ลดผลกระทบต่าง ๆ จากสภาพแวดล้อมและอยู่ภายใต้กรอบกฎหมายที่กำหนด


41 ผู้สร้างสรรค์ได้เก็บรวบรวมข้อมูลและรับทราบถึงความต้องการและปัญหาของเจ้าของโครงการที่มี ความต้องการให้เป็นพื้นที่พักอาศัยและส่วนอำนวยความสะดวกให้กับสมาชิกภายในครอบครัว ซึ่งกำหนดให้มี พื้นที่ในการให้บริการซึ่งเป็นพื้นที่สำหรับการใช้งานแบบสาธารณะ กึ่งสาธารณะ พื้นที่กึ่งส่วนตัวและเป็นพื้นที่ ส่วนตัว ของสมาชิกภายในครอบครัว เจ้าของโครงการเป็นผู้สูงวัยที่ต้องการพักอาศัยอยู่ในส่วนชั้น 1 ของ อาคารโครงการ โดยนำความต้องการและปัญหาของผู้ใช้ในโครงการนำมาวิเคราะห์ ในการวางผังโดยดำเนิน การศึกษาและหาเหตุผลต่างๆนำมาจัดทำผังการเชื่อมโยงและความสัมพันธ์ของพื้นที่ในการเข้าถึงการใช้งานมี การกำหนดแนวผนังซึ่งเป็นขอบเขตของพื้นที่ในส่วนพักอาศัยและส่วนบริการรวมถึงการกำหนดแนวทางในการ ใช้วัสดุในการตกแต่งเพื่อให้เห็นถึงบรรยากาศ และลักษณะของพื้นที่ในส่วนประโยชน์ใช้สอยภายในตัวโครงการ ภาพที่ 1 แสดงการนำเสนอวิเคราะห์ที่ตั้งโครงการ ที่มา : ผู้สร้างสรรค์ ภาพที่ 2 แผนภูมิแสดงประโยชน์ใช้สอยภายในพื้นที่ชั้น 1 - ชั้น 3 ที่มา : ผู้สร้างสรรค์


42 ภาพที่ 3 แปลนการจัดวางการเชื่อมโยงพื้นที่และประโยชน์ใช้สอยภายในชั้น 1- ชั้น 3 ที่มา : ผู้สร้างสรรค์


Click to View FlipBook Version