293 A State of Balance no.1 สุจิตตา บุญทรง, Sujitta Bunsong 61/678 หมู่ 5 หมู่บ้านพฤกษา 8 ต.ลานตากฟ้า อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม 73120, 61/678 Moo 5, Preuksa 8 Village, LaanTaakFa subdistrict, Nakhonchaisri district, Nakhonprathom province, 73120 E-mail: [email protected] บทคัดย่อ จิต – นามธรรมธรรมภายในที่สัมพันธ์กับอารมณ์และการแสดงออกภายนอก จิตใต้สำนึกเป็น สัญชาตญาณภายใน จิตสำนึกเป็นส่วนของศีลธรรมจรรยาและการเรียนรู้จากปัจจัยภายนอก กระบวนการการ เข้าถึงจิตใต้สำนึกและการปรับสภาวะของจิตใต้สำนึกนั้น เป็นการเข้าหานามธรรมภายในและดัดมันจากภายใน ผ่านการสังเกตด้วยสมาธิตามหลักพุทธศาสนา เฝ้ามองภาวะนามธรรมอย่างเป็นกลางด้วยอุเบกขา ผ่านความเพียร วิริยะ และขันติซึ่งกระบวนการนี้เชื่อว่าสามารถปรับสภาวะสมดุลแก่สัญชาตญาณที่อยู่ภายในทีละน้อยได้ กระบวนการดังกล่าวประกอบด้วย จิตใต้สำนึกและจิตสำนึก จึงเป็น 2 กระบวนการที่ผู้เขียนสนใจ นำมาใช้ในกระบวนการสร้างสรรค์ผลงาน จิตใต้สำนึก-กระบวนการแสดงออกฉับพลัน ลื่นไหล ผ่านเทคนิคการ วาดเส้นคอนทัวร์แบบต่อเนื่องโดยไม่ยกดินสอ จากจินตนาการภายในไม่มีต้นแบบสร้างรูปทรงโดยฉับพลัน เกิด เป็นกระบวนการสร้างภาพร่างที่มาจากภาวะภายใน จิตสำนึก - กระบวนการผ่านความเพียร วิริยะ และขันติ ค่อย ๆ สร้างน้ำหนักและพื้นผิวจากการใช้การสานทับของเส้นจนเกิดน้ำหนักผลงาน ผ่านรูปทรงทางธรรมชาติ ของต้นไม้อันเป็นสัญลักษณ์ของชีวิตแทนจิตและกาย ให้เกิดดุลยภาพตามสภาวะภายใน ในขณะนั้นของ ผู้เขียน คำสำคัญ: จิต, จิตใต้สำนึก, จิตสำนึก, การวาดเส้นคอนทัวร์แบบต่อเนื่อง Abstract Consciousness (Mind) – the internal abstraction that is related to emotions and external expressions. The subconscious mind is the inner instinct and conscious is part of morality and ethics and learning from external factors. The process of accessing and adjusting the state of the subconscious is about approaching the inner abstraction and bending it from within according to Buddhist principles. Through observe the abstract situation objectively with equanimity by meditation. Through perseverance, persistence, and patience practice, this is believed to gradually bring balance to the inner instincts. Such process consists of the subconscious and conscious are 2 processes that the author is interested in using these in the process of creating works. Firstly, Subconscious -
294 the process of sudden, expression through the technique of drawing continuous contour lines without lifting the pencil. The imagination from within, there is no prototype. create shapes to a sketch that comes from an internal state. Secondly, Consciousness - a process through which diligence, perseverance and patience gradually create weight and texture from using overlapping lines that created artwork 's tone through the natural shape of trees which is a symbol of life, mind, and body to achieve balance according to internal conditions at that time the author. Keywords: Consciousness, Subconscious, Conscious, Continuous Line Contour Drawing 1. ความสำคัญหรือความเป็นมาของปัญหา มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่ประกอบไปด้วยโครงสร้างของรูปธรรมและนามธรรม รูปธรรม-กาย ที่มองเห็นได้ ด้วยจักขุวิญญาณ มีการเจริญเติบโต เสื่อมสลาย และถูกทำลายได้ด้วยเหตุและปัจจัยต่างๆ นามธรรม-จิต ที่ เป็นพลังงานเชื่อมโยงกับรูปธรรมหรือกายอย่างแนบแน่นตั้งแต่กายนี้อุบัติขึ้นเป็นเพียงกลุ่มเซลล์จนพัฒนาเป็น ร่างกายที่สามารถขับเคลื่อนกระทำสิ่งต่าง ๆ ได้ นามธรรมภายในหรือจิตนี้ เรามักยึดโยงว่าเป็นเรา ร่างกายและจิตใจนี้ เรามึกคิดว่าเราเป็นผู้สั่งการ บังคับบัญชามันให้เป็นไปตามใจเพื่อเป้าประสงค์ในการดำรงอยู่แห่งรูปนามและตอบสนองความต้องการในการ เสพอารมณ์ที่เป็นที่พอใจ ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นเป้าหมายในการดำรงอยู่และกระทำสิ่งต่าง ๆ หมุนวนไปเรื่อย จนไม่มีที่สิ้นสุด นามธรรมภายในที่ฝังแฝงอยู่ลึกนี้ ได้มีการเพิ่มพูนหยั่งรากลึกขึ้นมากกว่าครั้งที่รูปนามได้อุบัติ ขึ้น ปรับเปลี่ยนไปตามการพอใจไม่พอใจในอารมณ์ต่าง ๆ ตลอดชีวิตโดยที่เราไม่ทันรู้สึกตัว เพราะธรรมชาติ ของจิตได้ไหลไปตามสิ่งตกกระทบต่าง ๆ ไหลไปยังอดีตที่น่าผลักไส หรือไหลไปยังอนาคตที่คาดหวัง และแทบ ทุกครั้งที่ไหลไปกระทบต่อสิ่งต่าง ๆ ก็ได้มีอารมณ์ตอบโต้ให้ปฏิกิริยาอัตโนมัตินี้ฝังรากลึกมากขึ้นจนพัฒนาเป็น บุคลิกภาพและอุปนิสัย หากแบ่งประเภทของนามธรรมหรือจิตนี้คร่าว ๆ จิตใต้สำนึก จะเป็นสัญชาตญาณภายใน ฝังแฝงอยู่ใน ส่วนลึก ควบคุมกายให้ตอบโต้ตามสัญชาตญาณอยู่ตลอดเวลาโดยที่จิตสำนึกรู้ตัวไม่รู้เท่าทัน จิตสำนึก เป็นส่วน ของจิตที่มีการบังคับได้เป็นการเรียนรู้จากปัจจัยภายนอก การเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ศีลธรรมจรรยา เป็นส่วนที่ทำให้ มนุษย์คิดว่าตัวเราเป็นเราและเราบังคับตัวเราได้ หากแต่จิตสำนึกเป็นเพียงส่วนน้อยนิดที่เปรียบเทียบไม่ได้เลย กับจิตใต้สำนึกที่เป็นปฏิกิริยาอัตโนมัติที่เราสร้างไว้โดยไม่รู้ตัวตลอดเวลา จนความไม่สมดุลนี้สร้างความทุกข์ ความบีบคั้นให้มนุษย์ที่ไม่รู้เท่าทัน กระบวนการการเข้าถึงจิตใต้สำนึกและการปรับสภาวะของจิตใต้สำนึกนั้น เป็นการเข้าหานามธรรม ภายในและดัดมันจากภายในตามหลักพุทธศาสนา ผ่านการสังเกตด้วยสมาธิ เฝ้ามองภาวะนามธรรมอย่างเป็น กลางด้วยอุเบกขา ผ่านความเพียร วิริยะ และขันติ ซึ่งกระบวนการนี้เชื่อว่าสามารถปรับสภาวะสมดุลแก่ สัญชาตญาณที่อยู่ภายในทีละน้อยได้
295 ในทางการสร้างสรรค์งานศิลปะ ศิลปินจะติดต่อกับนามธรรมที่ฝังแฝงอยู่ในส่วนลึกนี้ (จิตใต้สำนึก) และถ่ายทอดออกมาเป็นรูปธรรมหรืองานศิลปะ โดยผ่านกระบวนการสร้างสรรค์งานศิลปะด้วยสภาวะลื่นไหล หรือ Flow ซึ่งกระบวนการสร้างสรรค์ด้วยการวาดเส้นคอนทัวร์แบบต่อเนื่อง (Continuous Line Contour Drawing) ก็เป็นหนึ่งในกระบวนการนั้น ผู้เขียนสนใจรูปทรงต้นไม้ อันเป็นสัญลักษณ์ของชีวิต แทนจิตและกาย แสดงในแนวสัญลักษณ์มากกว่า การแสดงถึงธรรมชาติของต้นไม้ในธรรมชาติแบบเหมือนจริง A State of Balance no.1 ประกอบไปด้วย ต้นไม้สองต้นกลับหัวอยู่บน Infinite Space พื้นที่ที่ไม่ระบุว่าเป็นที่ใด ผู้เขียนสนใจเรื่องความสมดุลระหว่าง สัญชาตญาณและการขัดเกลา (Instinct and Practice) กระบวนการสร้างสรรค์ผลงานจึงมี 2 ส่วน คือส่วน การใช้สัญชาตญาณด้วยการวาดเส้นคอนทัวร์แบบต่อเนื่องโดยไม่ยกดินสอจากจินตนาการภายในไม่มีต้นแบบ และส่วนที่ใช้การกระทำ การขัดเกลาผ่านความเพียร วิริยะ และขันติ ค่อย ๆ สร้างน้ำหนักและพื้นผิวจากการ ใช้การสานทับของเส้นจนเกิดน้ำหนักของผลงาน ผ่านรูปทรงทางธรรมชาติของต้นไม้ให้เกิดดุลยภาพตาม สภาวะภายในในขณะนั้นของผู้เขียน 2. แนวคิด / ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง ถ้าจะถือว่ารูปทรงในงานศิลปะคือสัญลักษณ์ที่แสดงความหมายของเนื้อหาที่อยู่ภายในเส้นและ ร่องรอย งานวาดเส้นก็เป็นสัญลักษณ์ที่แสดงความหมายของรูปทรงและสุนทรียภาพที่เกิดขึ้นจากตัวเส้นเอง โดยทั่วไป สัญลักษณ์ในงานวาดเส้นจะมีช่วงความแตกต่างเปลี่ยนแปรไปมากจากสัญลักษณ์ที่พ้องกับของจริง ในธรรมชาติเพื่อแสดงความหมายอย่างใดอย่างหนึ่งที่ใกล้เคียงกัน ค่อยๆถอยห่างจากความเป็นจริงมากขึ้น จน ไปถึงสัญลักษณ์ที่เป็นทัศนะของศิลปินเองล้วน ๆ เป็นรูปที่ศิลปินสร้างขึ้นใหม่ทั้งหมด แต่ไม่ว่าจะเป็น สัญลักษณ์ที่อิงของจริงมากน้อยเพียงไรหรือไม่ก็ตาม เส้นในงานวาดเส้นที่ดีย่อมจะแสดงความจริงออกมาให้ ประจักษ์ ไม่ใช่แสดงแต่เพียงของจริง จะเห็นได้ว่า การวาดเส้นไม่ใช่วิธีการฝึกฝีมือให้เขียนรูปได้แนบเนียนเหมือนของจริง แต่เป็นการฝึก แปลงมโนคติหรือความคิดออกมาเป็นรูปทรงที่สัมผัสได้อย่างรวดเร็ว ชัดเจน และเข้มข้น เป็นวิธีฝึกการสังเกต และการมองเห็นที่คมชัดฉับไว ด้วยวิธีการวาดเส้นเท่านั้นที่จะทำให้เราเห็นสิ่งต่างๆได้ด้วยตาเนื้อและตาใจ ทั้ง ด้วยการเห็นที่ชัดแจ้งลึกซึ้งเท่านั้นที่จะทำให้เราวาดเส้นได้อย่างมีความหมายสมบูรณ์ด้วยศิลปะและสุนทรียะ การเห็นกับการวาดจึงเป็นคู่ที่แยกจากกันไม่ได้ ที่สำคัญ วาดเส้นเป็นวิธีฝึกการโต้ตอบระหว่างอารมณ์ของ ศิลปินกับสิ่งที่เขามองเห็นหรือสิ่งที่เขารู้สึก ฝึกการแสดงผลของการโต้ตอบนั้นออกมาเป็นรูปทรง ที่สำคัญที่สุด คือ วาดเส้นเป็นวิธีการแสดงออกหรือเป็นสื่อทางทัศนศิลป์ที่เสร็จสมบูรณ์ในตัว มีลักษณะพิเศษที่สามารถจูงใจ ทั้งผู้สร้างและผู้ชมให้เข้าถึงความจริงของโลก ของชีวิต ของจิต และของการประสานกันของทัศนธาตุทั้งที่มีอยู่ ในธรรมชาติและในงานศิลปะ (ชลูด นิ่มเสมอ, 2553, น.22-23)
296 3. กระบวนการในการสร้างสรรค์ ในการสร้างสรรค์ผลงาน A State of Balance no. ดังที่ผู้เขียนมีแนวคิดเรื่องความสมดุลระหว่าง สัญชาตญาณและการขัดเกลา กระบวนการสร้างสรรค์ผลงานจึงมี 2 ส่วน คือส่วนการใช้สัญชาตญาณ และส่วน ที่ใช้การกระทำด้วยความเพียร 3.1 จิตใต้สำนึก-กระบวนการแสดงออกฉับพลัน ผู้เขียนใช้กระบวนการวาดเส้นคอนทัวร์แบบต่อเนื่องโดยไม่ยกดินสอ จากจินตนาการภายในไม่มี ต้นแบบ ใช้เส้นที่ลากไปตามสัญชาตญาณจากด้านใดด้านหนึ่งของกระดาษ เลื่อนไหลต่อกันไปจากลำต้นไปยัง แต่ละกิ่ง แต่ละกิ่งโดยไม่ยกดินสอ และต่อเนื่องกันไปโดยไม่มีแบบร่าง จนจบต้นโดยไม่ยกดินสอ และไม่เว้น ระยะนาน อาจพัก 1 - 2 วินาที ลื่นไหลไป ถ้าภาพใดวางแนวคิดไว้ว่าจะมีต้นไม้ 2 ต้น นั่นคือ จะมีการยก ดินสอ 2 ครั้ง ซึ่งในแต่ละภาพอาจใช้ระยะเวลาตั้งแต่เริ่มจบจน ประมาณ 3 - 5 นาที ซึ่งภาพที่เกิดขึ้นจากกระบวนการนี้ มีความสำคัญในตัวของมันเองกับผู้เขียน เนื่องจากเป็นการใช้ สัญชาตญาณในการแสดงออกโดยตรง เป็นการบันทึกในช่วงเวลาของ “ขณะนั้น” ของผู้เขียนเอง ภาพที่ 1 ภาพผลงานการวาดเส้นผลงานแบบคอนทัวร์ และไม่มีแบบร่าง ที่มา : ผู้สร้างสรรค์ 3.2 จิตสำนึก-การขัดเกลา Practice การขัดเกลาผ่านความเพียร วิริยะ และขันติ ค่อย ๆ สร้างน้ำหนักและพื้นผิวจากการใช้การสานทับ ของเส้นจนเกิดน้ำหนักผลงาน ผ่านรูปทรงทางธรรมชาติของต้นไม้ให้เกิดดุลยภาพตามสภาวะภายในในขณะนั้น ของผู้สร้างสรรค์
297 ซึ่งกระบวนการสร้างสรรค์คือ เลือกแบบจากข้อ 3.1 ที่ต้องการสร้างสรรค์ต่อ ขยายแบบลายเส้น โดย การทำสำเนาจากแบบร่างลายเส้นลงบนกระดาษ 100 ปอนด์ใช้ปากกาหมึกเจลสร้างน้ำหนัก โดยการวน ปากกาเป็นรูปทรงเล็ก ๆ ซ้อนทับกันจนเกิดพื้นผิว Texture และน้ำหนักจนเสร็จสมบูรณ์ ภาพที่ 2 ภาพผลงานการวาดเส้นผลงานแบบคอนทัวร์ ที่ผู้เขียนเลือกมาใช้สร้างสรรค์ต่อ ที่มา : ผู้สร้างสรรค์ ภาพที่ 3 ภาพการใช้ปากกาหมึกเจลสร้างน้ำหนัก โดยการวนปากกาเป็นรูปทรงเล็ก ๆ ซ้อนทับกันจนเกิดพื้นผิว Texture และน้ำหนัก ที่มา : ผู้สร้างสรรค์
298 ภาพที่ 4 กระบวนการสร้างผลงานจากเริ่มต้นจนเสร็จสมบูรณ์ ที่มา : ผู้สร้างสรรค์ 4. การวิเคราะห์ผลงาน การวางองค์ประกอบ Structure สัดส่วนการจัดวางองค์ประกอบผลงานเป็นการวางองค์ประกอบในด้านตั้ง สัดส่วน 1 ต่อ 1.4(กว้าง 1 ส่วน สูง 1.4 ส่วน) โดยมีสัดส่วนการแบ่งโครงสร้างองค์ประกอบตามภาพ เป็นต้นไม้2 ต้นกลับหัว ซ้อนกันจาก ด้านบนลงล่าง ท่ามกลาง Infinite Space ที่มีพื้นหลังสร้างเป็นพื้นผิว แบบลวงตาสีเทาเข้ม - อ่อน โดยเส้น แกนกลางของกลุ่มต้นไม้นี้ เกือบจะผ่านกลางภาพ มีการสร้างความสมดุล (Balance) โดยการจัดวางรูปทรงให้ มีสมดุลแบบอสมมาตร ภาพที่ 5 ภาพการวางองค์ประกอบ Structure ที่มา : ผู้สร้างสรรค์
299 รูปทรง Form จากแนวความคิดในผลงาน ที่มีแนวความคิดเกี่ยวกับนามรูป จิตและกาย ที่มีที่มาจากธรรมชาติ มี ความเชื่อมโยง ประสานสัมพันธ์ เป็นเหตุและปัจจัยกระทบซึ่งกันและกัน ข้าพเจ้าเลือกใช้รูปทรง Organic Form ที่มาจากธรรมชาติ แม้จะนำเสนอในเชิงรูปสัญลักษณ์ นั่นคือ ต้นไม้ ภาพที่ 6 ภาพการใช้เส้นสร้างน้ำหนัก โดยการวนปากกาเป็นรูปทรงเล็ก ๆ ซ้อนทับกันจนเกิดพื้นผิว Texture และน้ำหนัก ที่มา : ผู้สร้างสรรค์ เส้น Lines เส้นในภาพร่าง เป็นกระบวนการวาดเส้นคอนทัวร์แบบต่อเนื่องโดยไม่ยกดินสอ เป็นเส้นอิสระที่แสดง รูปทรงที่มาจากธรรมชาติ และใช้เส้นจากปากกาหมึกเจลสร้างน้ำหนัก โดยการวนปากกาเป็นรูปทรงเล็ก ๆ ซ้อนทับกันจนเกิดพื้นผิว และน้ำหนักจนเสร็จสมบูรณ์ น้ำหนัก Tone การใช้น้ำหนักในผลงาน ประกอบไปด้วยน้ำหนักเกือบจะขาวจัดไล่ค่าน้ำหนักให้เป็น Vibration ค่อย ๆ ไล่น้ำหนักเทาจากการผสานของเส้นในระดับต่าง ๆ จนถึงเกือบดำจัด ภาพที่ 7 ภาพแสดงน้ำหนักของผลงาน ที่มา : ผู้สร้างสรรค์
300 5. สรุป ในการสร้างสรรค์ผลงาน A State of Balance no.1 ดังที่ผู้เขียนมีแนวคิดเรื่องความสมดุลระหว่าง สัญชาตญาณและการขัดเกลา กระบวนการสร้างสรรค์ผลงานจึงมี 2 ส่วน คือส่วนการใช้สัญชาตญาณในการ แสดงออกโดยตรง เป็นการบันทึกในช่วงเวลาของ “ขณะนั้น” ของผู้เขียนเอง และส่วนที่ ค่อย ๆ สร้างน้ำหนัก และพื้นผิวจากการใช้การสานทับของเส้นจนเกิดน้ำหนักผลงาน ผ่านรูปทรงทางธรรมชาติของต้นไม้ เป็นการ กระบวนการการทำด้วยความเพียร การขัดเกลาด้วยวิริยะและขันติให้เกิดดุลยภาพตามสภาวะภายในใน ขณะนั้นของผู้เขียน การสร้างสรรค์ผลงานศิลปะนั้น เป็นเหมือนการเผยด้านในของตัวศิลปินเองออกมาในบางแง่มุม ไม่ว่า จะเป็นอารมณ์ ความรู้สึกที่มีต่อเรื่องต่าง ๆ ทัศนคติ ความรู้และประสบการณ์ของชีวิต ผลงานศิลปะจึงเป็น เสมือนบันทึกที่แสดงถึงตัวตนของศิลปินในบางแง่มุมในช่วงเวลานั้น ๆ ของชีวิต เอกสารอ้างอิง ชลูด นิ่มเสมอ. (2553). วาดเส้นสร้างสรรค์. (พิมพ์ครั้งแรก). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อมรินทร์
301 ธรรมชาติอ่างบัว แม่กับลูก NATURAL-LOTUS BASIN-MOTHER AND KID สุทธาสินีย์ สุวุฒโฑ, Sutthasinee Suwuttho 1 ซอยชักพระ 20 ตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร 10170, 1Soi Chakphra 20 Talingchan, Bangkok 10170 E-mail: [email protected] บทคัดย่อ งานสร้างสรรค์ชิ้นนี้เกิดจากการผสมผสานระหว่างธรรมชาติที่ผู้สร้างสรรค์ประทับใจกับการ จินตนาการใบหน้าตัวเองและลูกอยู่ร่วมกับทิวทัศน์ในธรรมชาติซึ่งมีมุมหนึ่งที่ผู้สร้างสรรค์เกิดความประทับใจ มุมดังกล่าวมี อ่างบัว และดอกบัวที่ดอกกำลังบาน เป็นมุมที่ผู้สร้างสรรค์และลูกชอบไปเดินเล่นเสมอ ก่อเกิด จินตนาการกับบริบทเหล่านั้น ซึ่งเป็นที่มาของแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ผลงาน การสร้างสรรค์ผลงาน ธรรมชาติอ่างบัว แม่กับลูก มีแนวคิดจากความรักความผูกพันของตนเองที่มีต่อ ลูก โดยการจินตนาการนำรูปร่าง รูปทรงแม่กับลูกซึ่งตัดทอนเป็นแบบของตนเองผสมกับพื้นหลังการวาดเส้น ธรรมชาติที่อยู่รอบตัวในการจัดวางองค์ประกอบที่ผ่านการแสดงออกของทัศนธาตุทางศิลปะ อาทิเส้น สี น้ำหนัก รูปร่าง รูปทรง และพื้นผิว ซึ่งเป็นการสร้างสรรค์ผลงานที่หลอมรวมจินตนาการร่วมกันของรูปทรงของ ธรรมชาติและรูปทรงแม่กับลูก โดยสร้างสรรค์เป็นผลงานศิลปะที่นำเสนอในรูปแบบจิตรกรรมเทคนิคผสมใช้ เทคนิคปากกา สีหมึก และสีน้ำมาสร้างสรรค์เพื่อแสดงเรื่องราวสื่อถึงคุณค่าทางจิตใจ ความรัก และผูกพัน ในการสร้างสรรค์ผลงานให้ผู้พบเห็นเกิดความสุนทรียและจินตนาการร่วม การสร้างสรรค์ผลงานชุดนี้ผู้สร้างสรรค์ได้ศึกษาองค์ความรู้ ทดลองเทคนิคกระบวนการสร้างสรรค์ ยังได้รับประโยชน์จากสิ่งที่ค้นที่สื่อถึงความรู้สึกที่ต้องการแสดงออก และนำไปพัฒนาสุนทรียภาพด้านศิลปะ เป็นแนวทางในการพัฒนาผลงานการสร้างสรรค์ศิลปะในครั้งต่อไป คำสำคัญ: ธรรมชาติ, อ่างบัว, แม่กับลูก Abstract This creative work is a combination of the nature that the creator was impressed by, imagining the faces of himself and his child together with the natural scenery, which had an angle that the creator was impressed by. In that corner there is a lotus basin and lotus flowers that are blooming. It's a corner where creators and children always like to go for a walk. Create imagination with those contexts which is the source of inspiration for creating works
302 The creation of the work Nature, Lotus Basin, Mother and Child is based on the idea of their own love and bond for their child. By imagining the shape The shape of a mother and child, cut into their own style, blends with the natural line drawing background that surrounds them in a composition that is expressed through the expression of visual elements of art such as line, color, weight, shape, form, and texture, which is Create works that fuse together the imagination of the shapes of nature and the shapes of a mother and kid. It is created as a work of art presented in the form of a painting technique mixed with pen, ink and watercolor techniques to create it. To show a story that conveys the emotional value, love, and connection in creating works that create a sense of aesthetics and imagination among those who see them Creation of this set of works The creator has studied the knowledge. Experiment with creative process techniques You will also benefit from searches that convey the feelings you want to express. and lead to the development of artistic aesthetics It is a guideline for developing artistic creations in the future. Keywords: Natural, Lotus basin, Mother and Kid 1. ความสำคัญหรือความเป็นมาของปัญหา จากชีวิตจริงของผู้สร้างสรรค์มีลูกชายและได้ทำกิจกรรมร่วมกันกับเขา ได้เดินเล่น วิ่งเล่นในธรรมชาติ ภายในบริเวณบ้าน มุมที่ผู้สร้างสรรค์และลูกชอบไปเดินเล่นและพูดคุยกันอย่างมีความสุขเสมอ มีต้นไม้ ใบหญ้า และอ่างบัว เมื่อวันหนึ่งผู้สร้างสรรค์เห็นดอกบัวสีชมพูที่ดอกกำลังบานเด่นในอ่างบัวโดยมีบรรยากาศรอบ ๆ เป็นใบไม้ ต้นหญ้าสีเขียว ก่อเกิดจินตนาการกับบริบทที่สวยงามเหล่านั้นที่นึกถึงตอนที่ลูกวิ่งเล่น พูดคุยกับแม่ ซึ่งเป็นผู้สร้างสรรค์อย่างมีความสุข การพึ่งพาความงามในธรรมชาติ กับสิ่งแวดล้อมจากธรรมชาติง่าย ๆ รอบ ๆ ตัว เป็นสิ่งสร้างความรัก ความผูกพันให้ผู้สร้างสรรค์ได้ซึมซับจากที่มาดังกล่าว ความประทับใจในรายละเอียดของธรรมชาติรอบ ๆ บ้านที่มีต้นไม้ ใบไม้ ดอกบัวสีชมพูกำลังบานใน กระถาง อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ผู้สร้างสรรค์คุ้นเคย และพบเห็นอยู่ทุกวัน ก่อเกิดแรงบันดาลใจในจินตนาการ การสร้างสรรค์ผลงานโดยต้องการเสนอเชิงสัญลักษณ์จากรายละเอียดต่าง ๆ ที่ปรากฎเป็นลายเส้น รูปร่าง และรูปทรง ของธรรมชาติ อ่างบัวที่มีความเสมือนจริงผสมผสานกับรูปทรงแม่กับลูกในจินตนาการ สร้างสมดุล ระหว่างภาพคนในจินตนาการอยู่กับภาพเสมือนจริงของธรรมชาติ การสร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรมเทคนิคผสมชิ้นนี้โดยใช้เทคนิคปากกา สีหมึก และเทคนิคสีน้ำ มา ผสมผสานสร้างสรรค์เพื่อแสดงเรื่องราวสื่อถึงคุณค่าทางจิตใจ ความรัก และผูกพัน ผ่านภาพทิวทัศน์ในบริเวณ บ้านที่ผู้สร้างสรรค์คุ้นเคย สร้างสรรค์เป็นผลงานให้ผู้พบเห็นเกิดความสุนทรียและจินตนาการร่วม โครงสร้างใน การจัดวางนำรูปร่าง รูปทรงแม่กับลูกซึ่งตัดทอนเป็นแบบของตนเองผสมกับพื้นหลังการวาดเส้นธรรมชาติที่อยู่
303 รอบตัวที่ผู้สร้างสรรค์ประทับใจ รวมถึงการจัดวางองค์ประกอบผ่านการแสดงออกของทัศนธาตุทางศิลปะ อาทิ เส้น สีน้ำหนัก รูปร่าง รูปทรง และพื้นผิว ซึ่งเป็นการสร้างสรรค์ผลงานที่หลอมรวมจินตนาการร่วมกันของ รูปทรงของธรรมชาติและรูปทรงแม่และลูกในการจัดองค์ประกอบของผลงานสร้างสรรค์นี้ 2. แนวคิด / ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง การสร้างสรรค์ผลงานชุดนี้ผู้สร้างสรรค์ผสมผสานจินตนาการระหว่างใบหน้าตัวเองและลูกให้อยู่ ร่วมกับทิวทัศน์ในธรรมชาติซึ่งมีมุมหนึ่งที่ผู้สร้างสรรค์เกิดความประทับใจ มุมดังกล่าวมี อ่างบัว และดอกบัวที่ ดอกกำลังบาน เป็นมุมที่ผู้สร้างสรรค์และลูกชอบไปเดินเล่นอยู่เสมอ ก่อเกิดจินตนาการกับบริบทเหล่านั้น ซึ่ง เป็นที่มาของแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ผลงาน จากการได้ศึกษาเพื่อให้เกิดความเข้าใจ่ต่อการสร้างรูปแบบ และแนวทางการสร้างสรรค์ ให้ตรงตามความมุ่งหมายในการแสดงออก โดยการนำหลักจัดวางองค์ประกอบที่ ผ่านการแสดงออกของทัศนธาตุทางศิลปะ อาทิเส้น สีน้ำหนัก รูปร่าง รูปทรง และพื้นผิวมาใช้ในการ สร้างสรรค์ผลงาน ซึ่งทัศนธาตุที่สำคัญในผลงานสร้างสรรค์ชิ้นนี้ คือ เส้นลักษณะต่าง ๆ ที่แสดงเรื่องราวก่อเกิด รูปร่าง รูปทรง และพื้นผิว ประกอบกับจินตนาการของผู้สร้างสรรค์ผสมผสานสร้างรูปแบบ เพื่อสื่อความหมาย เชิงสัญลักษณ์ ธรรมชาติที่อยู่รอบตัวมีความหมายกับชีวิตมนุษย์ ให้ความสุข ความสบายใจ นึกถึงความรักที่มี ต่อกันของแม่กับลูก และเยียวยาสภาวะความทุกข์ให้เบาบางลงได้ โดยกำหนดการจัดวางองค์ประกอบของ ทัศนธาตุที่เกี่ยวข้องก่อเกิดสุนทรียภาพ ความสวยงามให้ผู้พบเห็น ภาพที่1 ขั้นตอนการสร้างสรรค์ โดยวาดภาพจากสถานที่จริงเป็นข้อมูล ที่มา : ผู้สร้างสรรค์ เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2566 ภาพที่2 ขั้นตอนการสร้างสรรค์ โดยการลากเส้นด้วยเทคนิคสีหมึก ที่มา : ผู้สร้างสรรค์ เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2566 3. กระบวนการในการสร้างสรรค์ ในการสร้างสรรค์ผลงานธรรมชาติอ่างบัว แม่กับลูก ได้ศึกษาข้อมูลเรื่องราวแรงบันดาลใจจากสิ่งที่ พบเห็นที่คุ้นเคยใกล้ตัวจากธรรมชาติบริเวณบ้าน ความผูกพันระหว่างแม่กับลูก ก่อเกิดเป็นภาพในจินตนาการ ถ่ายทอดผ่านกระบวนการทางจิตรกรรมเทคนิคผสม โดยมีรายละเอียดในกระบวนการและขั้นตอนในการ สร้างสรรค์ผลงาน ดังนี้
304 1. ศึกษาค้นคว้าและรวบรวมข้อมูลจากแรงบันดาลใจ 2. ดำเนินการสร้างสรรค์ภาพร่างผลงาน (Sketch) 3. ปฏิบัติงานผลงานสร้างสรรค์ผ่านกระบวนการทางจิตรกรรม โดยใช้ทัศนธาตุทางศิลปะ อาทิเส้น สีน้ำหนัก รูปร่าง รูปทรง พื้นผิว โดยใช้เทคนิคปากกา สีหมึก และเทคนิคสีน้ำ มาผสมผสานสื่อเรื่องราว ขนาด 100 x 120 ซ.ม. จำนวน 1 ภาพ 4. เก็บรายละเอียด ตกแต่งให้สมบูรณ์ 5. เผยแพร่ในนิทรรศการแสดงผลงานสร้างสรรค์ ภาพที่3 ผลงานธรรมชาติอ่างบัว แม่กับลูก ที่มา : ผู้สร้างสรรค์ เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2566 ภาพที่4 รายละเอียดผลงานธรรมชาติอ่างบัว แม่กับลูก ที่มา : ผู้สร้างสรรค์ เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2566 ภาพที่5 รายละเอียดผลงานธรรมชาติอ่างบัว แม่กับลูก ที่มา : ผู้สร้างสรรค์ เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2566
305 4. การวิเคราะห์ผลงาน การสร้างสรรค์ผลงาน ชื่อภาพ “ธรรมชาติอ่างบัว แม่กับลูก” ต้องการแสดงออกทางความคิด ความรู้สึก จินตนาการ ผ่านการผสมผสานระหว่างธรรมชาติที่ประทับใจกับจินตนาการใบหน้าผู้สร้างสรรค์ซึ่ง เป็นแม่กับลูกอยู่ร่วมกับทิวทัศน์ในธรรมชาติ ซึ่งเป็นมุมหนึ่งที่ผู้สร้างสรรค์ประทับใจ สะท้อนจินตนาการของผู้ สร้างสรรค์ที่สื่อความหมายถึงความรักความผูกพันของแม่กับลูกที่อยู่ในบริเวณบ้านท่ามกลางทิวทัศน์ธรรมชาติ ซึ่งผู้สร้างสรรค์สร้างจินตนาการในผลงานประกอบด้วยรูปทรงใบหน้าตัวเองและลูกอยู่ร่วมกับทิวทัศน์ใน ธรรมชาติซึ่งมีมุมหนึ่งที่ผู้สร้างสรรค์เกิดความประทับใจ มุมดังกล่าวมี อ่างบัว และดอกบัวสีชมพูที่ดอกกำลัง บาน เป็นมุมหนึ่งที่ผู้สร้างสรรค์และลูกชอบไปเดินเล่น วิ่งเล่นเสมอ โดยใช้ทัศนธาตุทางศิลปะ โดยเฉพาะ “เส้น” สร้างให้เกิดน้ำหนัก รูปร่าง รูปทรง พื้นผิว ด้วยเทคนิคปากกา และสีหมึก เพิ่มเติมเทคนิคสีน้ำเข้า มาร่วมสร้างสรรค์ในบริเวณที่ต้องการเน้น ในภาพจะแทรกสีน้ำในบริเวณดอกบัว กระถางบัว และในรูปทรง ของแม่กับลูก รวมถึงการคำนึงถึงหลักการจัดวางองค์ประกอบเข้ามาสร้างให้เกิดจินตนาการกับบริบทที่มีความ สอดคล้องกับแนวความคิดและความมุ่งหมายในการสร้างสรรค์ผลงาน 5. สรุป การสร้างสรรค์ผลงาน ชื่อภาพ “ธรรมชาติอ่างบัว แม่กับลูก”มีแนวคิดต้องการแสดงออกทาง ความคิด ความรู้สึก จินตนาการ ผ่านเรื่องราวสะท้อนจินตนาการของผู้สร้างสรรค์ที่สื่อความหมายถึงความรัก ความผูกพันของแม่กับลูกที่อยู่ในบริเวณบ้านท่ามกลางทิวทัศน์ธรรมชาติ ที่มีต้นไม้ ใบไม้ ใบหญ้า ดอกบัวสี ชมพูกำลังบานในกระถางบัว โดยนำหลักการทัศนธาตุในการสร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรมเทคนิคผสมโดยใช้ เทคนิคปากกา สีหมึก และเทคนิคสีน้ำ มาผสมผสานสื่อเรื่องราว แสดงออกถึงความรู้สึกผูกพันของแม่กับลูกให้ ผู้พบเห็นเกิดความสุนทรียและมีจินตนาการ่วม เอกสารอ้างอิง Imagination Studio. (2555). ความหมายและหลักการของจินตนาการ. สืบค้นเมื่อ 10 มกราคม, 2566, จาก https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=216718025130188&id=1985036 10284963&substory_index=0.
306 ปริศนาธรรม Mystery สุธินี ทิพรัตน์, Sutinee Thippharat วิทยาลัยช่างศิลป สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กระทรวงวัฒนธรรม เลขที่ 60 ถนนหลวงพรต แขวงลาดกระบัง เขตลาดกระบัง กรุงเทพฯ 10520 Collage of Fine Arts, 60, Luangprot Road, Ladkrabang, Bangkok, 10520 E-mail: [email protected] บทคัดย่อ ปริศนาธรรมที่แสดงให้เห็นถึง การปิดตาไม่มองสิ่งชั่วร้าย การปิดหู เพื่อไม่รับฟังสิ่งที่เลวร้าย และการ ปิดปาก เพื่อปิดวาจาเลวร้าย เป็นการแสดงธรรมด้วยเนื้อหาที่สอดคล้องกันกับปริศนาธรรมของพุทธมหายาน แทนที่จะทำให้คนเรานั้นปิดการรับรู้ และคัดกรองสิ่งที่ดีและเป็นมงคลเข้าตัว กลายเป็นการที่เรารับรู้ทุกสิ่งทุก อย่างและต้องแสดงออกซึ่งจุดยืน (ที่บางทีจะเรียกอัตตาก็คงจะไม่ผิดนัก) เพื่อให้สอดรับกับเสรีภาพอย่างเต็ม เหนี่ยว โดยที่บางทีสังคมลืมไปว่า เราไม่ต้องรับรู้ทุกสิ่งทุกอย่างและไม่จำเป็นต้องแสดงความเห็นและความ คิดเห็นต่อทุกประเด็นอย่างเผ็ดร้อน เสียดสี รุนแรง อันเป็นการสร้างวจีกรรมต่อไปเรื่อย ๆ เสรีภาพคือสิ่งสำคัญ และเสรีภาพก็เบ่งบาน มากขึ้นผ่านโลกโซเชียลมีเดียทุกวันนี้ เพราะเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นที่แตกต่าง ก็ดี ในการรับรู้ข่าวสารโดยรอบก็คือพื้นฐานของการวิวัฒน์ของสังคม แต่หากว่าปราศจากการกำกับโดยสติ และ มิได้เรียนรู้ธรรมะ จนนำมาสู่การพูดจาโดยที่ไม่ได้วางอยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริง (เพราะรับรู้แบบไม่คัด กรองแต่ต้น) ก็จะนำไปสู่สังคมที่ฟาดฟันกันด้วยการแสดงความคิดเห็นที่รุนแรง เชือดเฉือน แตกแยก กันได้ เหมือนที่เราเห็น ๆ กันอยู่ ดังนั้นไม่ว่าโลกนี้จะให้กลไก และอะไรก็ตามที่ทำให้เรารับรู้ ได้ยินและได้เห็น รวมถึง ได้แสดงจุดยืนกันอย่างกว้างขวางมากขึ้น แต่สิ่งที่สำคัญไปกว่า คำว่า เสรีภาพ กลไกในการต่อยอดเสรีภาพ คือ สติของผู้ใช้เทคโนโลยี สติของผู้ที่จะคอยกลั่นกรองข้อมูลต่าง ๆ มากกว่าที่กำหนดทิศทางของโลกใบนี้ คำสำคัญ: ปริศนาธรรม, การออกแบบกราฟิก Abstract The concept of "closing your eyes to avoid seeing bad things, closing your ears to avoid hearing bad things, and closing your mouth to silence bad speech" is reminiscent of teachings in Mahayana Buddhism. Instead of promoting a shutdown of perception and filtering out only the good and auspicious, it encourages us to remain aware of everything and to express our viewpoints. This, in a sense, aligns with the idea of the ego, allowing for full compliance with freedom. Society sometimes forgets that we don't have to be all-knowing, and we don't have to express our opinions on every issue in a heated, satirical, and confrontational manner,
307 perpetuating discord. While freedom is undeniably important and has flourished in today's social media-dominated world, it's essential to remember that the freedom to express different opinions is a positive thing. Perceiving news and events in our surroundings form the basis of societal progress. However, without conscious control and without learning the Dhamma, unfiltered awareness can lead to unfounded, divisive rhetoric. This unfiltered awareness can result in a society where people engage in heated and violent arguments, cutting and dividing one another. While the world provides mechanisms for us to be aware, hear, see, and express our stances more widely, what's more critical than the concept of freedom is the consciousness of technology users. It is the mindfulness of those who sift through information that ultimately determines the direction in which the world moves. Keywords: Mystery, Graphic Design 1. ความสำคัญหรือความเป็นมาของปัญหา ท่านพุทธทาสได้แสดงธรรมว่าด้วยเรื่องปริศนาธรรมลิงสามตัวเอาไว้เป็นกลอนแปด พร้อมด้วยการ แสดงท่าทางของเจ้าลิงสามตัวเป็นการแสดงธรรมด้วยเนื้อหาที่สอดคล้องกันกับปริศนาธรรมของพุทธมหายาน ดังกล่าวเช่นเดียวกัน กล่าวคือการเปิดทวารเพื่อรับรู้ แต่ต้องคัดกรองสิ่งต่าง ๆ ด้วยสติการนำมาเป็นสัญลักษณ์ ทางการเมือง จนกระทั่งปริศนาธรรมตามแนวพุทธศาสนา แทบจะถูกกลบลบเลือนไปจนหมดสิ้นนั้น เป็นสิ่งที่ น่าเสียดาย เพราะแทนที่จะทำให้คนเรานั้นปิดการรับรู้ และคัดกรองสิ่งที่ดีและเป็นมงคลเข้าตัว กลายเป็นการ ที่เรารับรู้ทุกสิ่งทุกอย่างและต้องแสดงออกซึ่งจุดยืน (ที่บางทีจะเรียกอัตตาก็คงจะไม่ผิดนัก) อย่างเต็มที่ เพื่อให้ สอดรับกับเสรีภาพอย่างเต็มที่เต็มเหนี่ยว โดยที่บางทีสังคมลืมไปว่า เราไม่ต้องรับรู้ทุกสิ่งทุกอย่างและไม่ จำเป็นต้องแสดงความเห็นและความคิดเห็นต่อทุกประเด็นอย่างเผ็ดร้อน เสียดสี รุนแรง อันเป็นการสร้าง วจีกรรมต่อไปเรื่อย ๆ เสรีภาพ คือ สิ่งสำคัญ และเสรีภาพก็เบ่งบาน มากขึ้นผ่านโลกโซเชียลมีเดียทุกวันนี้ เพราะเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นที่แตกต่างก็ดี ในการรับรู้ข่าวสารโดยรอบก็คือพื้นฐานของการวิวัฒน์ ของสังคม แต่หากว่าปราศจากการกำกับโดยสติ และมิได้เรียนรู้ธรรมะจากเจ้าลิงสามตัวนี้ ว่าด้วยการปิดหูไม่ รับเนื้อหาที่ชั่วร้าย การปิดตาไม่มองสิ่งที่เลวร้ายและนำมาสู่การพูดจาโดยที่ไม่ได้วางอยู่บนพื้นฐานของความ เป็นจริง (เพราะรับรู้แบบไม่คัดกรองแต่ต้น) ก็จะนำไปสู่สังคมที่ฟาดฟันกันด้วยการแสดงความคิดเห็นที่รุนแรง เชือดเฉือน แตกแยก กันได้เหมือนท่ีเราเห็น ๆ กันอยู่ ดังนั้นไม่ว่าโลกนี้จะให้กลไก และอะไรก็ตามที่ทำให้เรา รับรู้ ได้ยินและได้เห็น รวมถึงได้แสดงจุดยืนกันอย่างกว้างขวางมากขึ้น แต่สิ่งที่สำคัญไปกว่า คำว่า เสรีภาพ กลไกในการต่อยอดเสรีภาพ คือสติของผู้ใช้เทคโนโลยี สติของผู้ที่จะคอยกลั่นกรองข้อมูลต่าง ๆ มากกว่าที่ กำหนดทิศทางของโลกใบนี้
308 2. แนวคิด / ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง ทฤษฎีลิง 3 ตัว มีรายละเอียด ดังนี้ ลิงตัวที่ 1 นั่งปิดหูหนึ่งหูก็หมายความว่า คนเราควรจะรู้จักควบคุมว่าอะไรที่ควรฟังหรือไม่ควรฟัง ต้องแยกแยะในสิ่งที่ฟังมา ต้องฟังหูไว้หูแล้วนำสิ่งที่ฟังมาวิเคราะห์ว่ามันเป็นอย่างไร โดยใช้หลักการและ เหตุผลมาประกอบเข้าด้วยกัน อย่าเชื่อในสิ่งที่เราฟังทั้งหมด เพราะมันอาจจะไม่ใช่ความจริงทั้งหมดก็ได้ ลิงตัวที่ 2 นั่งปิดตาหนึ่งตา ก็หมายความว่า รู้จักควบคุมการมองว่าอะไรควรมองหรือไม่ควรมอง อย่างเชื่อในสิ่งที่เรามองเห็นทั้งหมด เพราะบางครั้งสิ่งที่เรามองเห็นก็ไม่ใช่เรื่องจริงทั้งหมด มองแล้วพิจารณา ไตร่ตรอง อย่าตัดสินคนทันทีที่เห็น ลิงตัวที่ 3 นั่งปิดปากครึ่งปาก ก็หมายความว่า รู้จักควบคุมการพูดว่าอะไรควรพูดหรือไม่ควรพูด อย่างไร การเป็นผู้บริหารหรือผู้ปฏิบัติงานก็ตาม ควรจะไตร่ตรองให้ดีก่อนที่จะพูดอะไรออกมา เพราะบางครั้ง คำพูดของเราอาจจะไปกระทบกับบุคคลอื่นโดยไม่รู้ตัว หรืออาจจะนำความเสียหายมาสู่องค์กรได้เพราะฉะนั้น การที่เราจะทำอะไรก็ควรจะคิด และพิจารณาให้ดีก่อนที่จะพูดออกไป ทฤษฎีนี้ได้รับอิทธิพลมาจากปริศนาธรรมของขงจื้อ โดยหลักแนวความคิดนี้ก็คือ ลิงตัวเดียวไม่ สามารถปิดหู ปิดตา ปิดปาก ได้ในเวลาเดียวกัน เพราะมีมือเพียงสองมือเท่านั้น มนุษย์ก็เช่นกันไม่สามารถทำ อะไรในเวลาเดียวกันได้ทุกอย่าง จึงขึ้นอยู่กับว่าแต่ละคนจะเลือกนำมาใช้ในสถานการณ์แบบใด ส่วนทฤษฎีลิงสามตัวของญี่ปุ่นตามลัทธิเก่าแก่ที่เรียกว่าโกชิน (Koshin) จะเชื่อว่าในร่างกายของมนุษย์ มีซานชิ (Sanshi) ซึ่งเป็นภูต 3 ตน อาศัยอยู่ ณ ตำแหน่งจุดตันเถียน (ศูนย์กลางพลังงานร่างกาย) ทั้ง 3 ซึ่ง ได้แก่ ศรีษะ หน้าอก และท้อง ซานชิ มีหน้าที่เก็บข้อมูล ความชั่วของมนุษย์แต่ละคนและนำข้อมูลที่ได้ขึ้นไป รายงานต่อเทพเจ้าบนสวรรค์สองเดือนต่อหนึ่งครั้งระหว่างที่เจ้าของร่างกายนอนหลับ เมื่อได้ข้อมูลจากซานชิ เทพเจ้าจะนำไปพิจารณา เพื่อลงโทษมนุษย์ใครที่ทำไม่ดีก็จะบันดาลให้เจ็บป่วย ไม่สบาย อายุสั้น ผู้ที่เชื่อเรื่อง โกชิน จะพยายามทำความดีเพื่อไม่ให้โดนลงโทษ จึงเป็นที่มาของลิง 3 ตัว คือ ลิงปิดตาชื่อว่า มิซารุ ลิงปิดหูชื่อ ว่า คิกะซารุ ลิงปิดปากชื่อว่า อิวาซารุซึ่งลิงทั้งสามเป็นสัญลักษณ์ตัวแทนเพื่อสื่อสารว่า “อย่ามองสิ่งชั่วร้าย อย่าฟังสิ่งชั่วร้าย และอย่าพูดสิ่งชั่วร้าย”
309 3. กระบวนการในการสร้างสรรค์ กระบวนการสร้างสรรค์ผลงานชิ้นนี้ดำเนินการด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ Adobe Illustrator ภาพที่ 1 หน้าต่างโปรแกรมคอมพิวเตอร์Adobe Illustrator ที่กำหนดพื้นที่ในการสร้างสรรค์ผลงาน ขนาด 630 x 297 มิลลิเมตร ที่มา : ผู้สร้างสรรค์ ภาพที่ 2 กำหนดองค์ประกอบหลักเป็นรูปร่างคล้ายพระสงฆ์ห่มผ้าต่างสีวาดด้วยเครื่องมือ Pen แล้วลงสีด้วยการกำหนดค่าสี ภายในที่ต้องการในแถบเครื่องมือ Fill ที่มา : ผู้สร้างสรรค์
310 ภาพที่ 3 ใส่องค์ประกอบเพิ่มคือมีศีรษะเป็นลิงกอลลิล่าโดยใช้การวาดด้วยเครื่องมือ Pen แล้วทำการปรับแต่งองค์ประกอบให้ ต่าง ๆ ของแต่ละภาพให้แตกต่างกัน รวมถึงลงสีภายในด้วยแถบเครื่องมือ Fill ที่ต่างกันด้วย ที่มา : ผู้สร้างสรรค์ ภาพที่ 4 นำองค์ประกอบรูปร่างและศีรษะมาประกอบกันจะเห็นถึงความต่างสีคนละสี รวมถึงสัญลักษณ์ในการสื่อความหมายก็แตกต่างกัน ที่มา : ผู้สร้างสรรค์ ภาพที่ 5 กำหนดให้การปิดปากใช้หน้ากากกันสารพิษ ที่มา : ผู้สร้างสรรค์
311 ภาพที่ 6 กำหนดให้การปิดหูฟังด้วยหูฟังขนาดใหญ่ตามยุคสมัย ที่มา : ผู้สร้างสรรค์ ภาพที่ 7 กำหนดให้การปิดตาด้วยแว่นกันแดดสีดำทึบ ที่มา : ผู้สร้างสรรค์ ภาพที่ 8 ลงสีพื้นหลังเป็นค่าสีดิจิทัล CMYK ต่างจากรูปลักษณ์ขององค์ประกอบหลักของผลงาน แล้วนำภาพทั้งหมดมาเรียงต่อกันเป็นภาพสมบูรณ์ ที่มา : ผู้สร้างสรรค์
312 4. การวิเคราะห์ผลงาน การสร้างสรรค์ผลงานด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ Adobe Illustrator เป็นโปรแกรมสำเร็จรูปที่ใช้งาน ลายเส้นเป็นหลักในการออกแบบ โดยกำหนดองค์ประกอบหลักเป็นรูปร่างคล้ายพระสงฆ์ใช้เครื่องมือ Pen ใน การร่างลายเส้นให้คล้ายกับการห่มผ้าของพระสงฆ์ลงสีทั้งผ้าและตัวให้เป็นสีเดียวกัน โดยสีตัวเป็นสีเขียว แดง เหลือง ตามลำดับจากซ้ายไปหาขวาของภาพรวม ร่างภาพศีรษะเป็นลิงกอลลิล่าใส่รายละเอียดเป็นเส้นขนสีเข้ม แต่ซ้อนสีพื้นหลักเป็นสีเหลือง เขียว แดง ตามลำดับจากซ้ายไปขวา จากนั้นกำหนดสัญลักษณ์การปิดปากลิงตัว แรกด้วยการวาดหน้ากากกันสารพิษแต่เปิดหูและตาไว้สื่อความหมายตามปริศนาธรรม คือ รู้จักควบคุมการพูด แฟงอีกนัยสำคัญ คือ ป้องกันการรับเชื้อและแพร่เชื้อโรคที่กำลังอุบัติใหม่ในปัจจุบัน กำหนดสัญลักษณ์การปิดหู ฟังด้วยหูฟังขนาดใหญ่ตามยุคสมัยสื่อความหมายตามปริศนาธรรม คือ รู้จักควบคุมการฟัง แฟงอีกนัยสำคัญ คือ คนยุคใหม่เลือกฟังในสิ่งที่ตนอยากฟังและเลือกไม่ฟังในสิ่งที่เป็นมลพิษของชีวิต และสุดท้ายกำหนด สัญลักษณ์การปิดตาด้วยแว่นกันแดดสีดำทึบ สื่อความหมายตามปริศนาธรรม คือ รู้จักควบคุมการมองแฟงอีก นัยสำคัญ คือ การมองข้ามปัญหา การปล่อยผ่านสิ่งที่ควบคุมแก้ไขไม่ได้ ส่วนการลงสีพื้นหลังเป็นค่าสีดิจิทัล CMYK โดยใช้สีแดง เหลือง เขียว ตามลำดับจากซ้ายไปวา ซึ่งจงใจให้แตกต่างจากรูปลักษณ์ขององค์ประกอบ หลักของชิ้นงานแต่ยังเชื่อมโยงงานไว้เป็นชุดเดียวกัน 5. สรุป การสร้างสรรค์ผลงานนั้นได้รับอิทธิพลมาจากปริศนาธรรมในหลักพระพุทธศาสนาและการใส่ความ เกี่ยวข้องของวิวัฒนาการของคนที่มาจากสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม คือ ลิง รวมกับจินตนาการความเป็นยุคสมัยด้วย สัญลักษณ์และองค์ประกอบการปิดปาก ปิดหู ปิดตา ด้วยหน้ากาก หูฟัง และแว่นตาซึ่งเป็นสิ่งของสมัยใหม่ สิ่ง ที่เน้นมิใช่ความเป็นศาสนาในชิ้นงานแต่เน้นความร่วมสมัยของภาพรวม เจตนาแสดงให้เห็นถึงการรับรู้ในทุกมิติ ที่มนุษย์ในปัจจุบันควรใช้สติในการรับชม รับฟัง และแสดงออกด้วยเหตุผลมากกว่าตามกระแสไปเรื่อยไม่เกิด ประโยชน์หรือในบางทีอาจก่อความเสียหายไม่มากก็น้อย เอกสารอ้างอิง ชลูด นิ่มเสมอ. (2557). องค์ประกอบของศิลปะ. กรุงเทพฯ: อมรินทร์. พระธรรมโกศาจารย์. (2548). ผัสสะ สิ่งที่ต้องรู้จักและควบคุม. กรุงเทพฯ: มิตรนราการพิมพ์. พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). (2546). พุทธรรม ฉบับเดิม. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สหธรรมิก. สุชาติ เถาทอง. (2553). การวิจัยสร้างสรรค์ทัศนศิลป์. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา. วรรณยุทธ สิมมา และรองศาสตราจารย์ ดร.สมพร ธุรี. (2566). แรงบัลดาลใจภาพปริศนาธรรม : จาก นามธรรมสู่รูปธรรมสะท้อนชีวิตสังคมร่วมสมัย. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. HA Update 2017. (2560). เอกสารประกอบการประชุมวิชาการประจำปี ครั้งที่ 18. นนทบุรี : สถาบัน รับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน).
313 บทกวีมีชีวิต 2/2566 Living Poems 2/2023 สุริยะ ฉายะเจริญ, Suriya Chayacharoen คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี กรุงเทพฯ ประเทศไทย Faculty of Fine and Applied Arts, Bangkokthonburi University, Bangkok, Thailand E-mail: [email protected] บทคัดย่อ การสร้างสรรค์จิตรกรรม “บทกวีมีชีวิต 2/2566” มาจากการสังเกตและวิเคราะห์ของความสัมพันธ์ ของปรากฏการณ์ทางสายตาในการจ้องมองแผนที่ดิจิทัลกับภูมิประเทศจริง ซึ่งแผนที่ดิจิทัลสื่อสารผ่านภาพ แทนเชิงสัญลักษณ์ที่ปรากฏบนสื่อสารสนเทศยุคปัจจุบัน สิ่งเหล่านี้เป็นเสมือนการเรียงร้อยของบทกวีร่วมสมัย ด้วยไวยากรณ์ของภาพที่ปราศจากถ้อยคำที่ปรากฏ วิธีการสร้างสรรค์ของงานจิตรกรรมนี้เกิดขึ้นจาก กระบวนการทบทวนแนวคิดด้านรูปแบบจิตรกรรมนามธรรมและแนวคิดความสัมพันธ์ของรูป-ความหมาย โดย นำมาสู่การสร้างสรรค์อย่างเป็นระบบ ด้วยการวางแผน การวิเคราะห์ข้อมูลชั้นต้น การสร้างภาพร่าง และการ สร้างสรรค์ขึ้นใหม่ ซึ่งผลการสร้างสรรค์เกิดเป็นจิตรกรรมนามธรรมที่สร้างขึ้นใหม่ด้วยกระบวนการเชิงระบบที่ ผสมผสานรูป-ความหมายของผลงานให้เกิดเป็นภาพแทนคุณค่าเชิงสุนทรียะเฉพาะ โดยแสดงออกถึงคุณค่า ทางอัชฌัติกญาณนิยมที่เป็นภาพแทนความหมายเชิงอัตวิสัยที่มีแรงบันดาลใจจากการคิดวิเคราะห์รูปสัญลักษณ์แผนที่ภูมิประเทศอันทับซ้อนระหว่างโลกจริงกับโลกเสมือนขึ้นมาเป็นจินตภาพใหม่ คำสำคัญ: การสร้างสรรค์, จิตรกรรมนามธรรม, จินตภาพใหม่, บทกวีมีชีวิต Abstract Creative painting “Living Poems 2/2023” comes from the observation and analysis of the relationship of the visual phenomenon of staring at a digital map with the real landscape. The digital map communicates through symbolic representations that appear on today's information media. They are like the composition of contemporary poetry with a syntax of images without apparent words. The creative method of this painting arose from a process of reviewing the concept of abstract painting styles and the concept of formmeaning relationship. By leading to systematic creativity with planning, preliminary data analysis, sketching and reconstruction. The result of the creation is an abstract painting that is newly created through a systematic process that combines the form and meaning of the work to become a picture representing the value of individual aesthetic. It expresses the
314 value of intuitionism which is a picture representing the subjective meaning that it is inspired by analyzing images and symbols of topographical maps that overlap between the real world and the virtual world to create a new imagination. Keywords: Creativity, Abstract Painting, New Imagery, Living Poetry 1. ความสำคัญหรือความเป็นมาของปัญหา แรงบันดาลใจของผลงานสร้างสรรค์จิตรกรรม “บทกวีมีชีวิต 2/2566” เกิดขึ้นจากสิ่งที่ผู้สร้างสรรค์ได้ เกิดการสังเกตและคิดวิเคราะห์ของปรากฏการณ์ทางสายตาที่เห็นภาพภูมิประเทศทั้งจากที่สูงขณะที่เดินทาง บนเครื่องบินและการสังเกตภูมิประเทศในทางแนวราบจากภาคพื้นดิน ซึ่งผู้สร้างสรรค์ก็เห็นได้ว่า ภูมิทัศน์ที่ เห็นนั้นมีจังหวะลีลาที่มีความซับซ้อน มีชีวิตมีความเคลื่อนไหวในภาวะของความนิ่งเงียบในยามที่มองในระยะที่ ถอยออกมาจากสิ่งที่เห็น ทั้ง ๆ ที่ในความเป็นจริงแล้วเมื่ออยู่ระยะใกล้ เราจะเห็นความเคลื่อนไหวของวิถีชีวิต ของสรรพสิ่งที่ดำรงอยู่ภายใต้พื้นที่นั้น ๆ ขณะเดียวกัน เมื่อกลับมามองภาพเสมือนที่อยู่ในโทรศัพท์มือถือแบบ สมาร์ทโฟน (smartphone) ก็ตามในแทบเล็ท (tablet) ก็ตาม หรือในเครื่องคอมพิวเตอร์ก็ตาม พบว่าภูมิทัศน์ ที่เกิดขึ้นในโลกเสมือน (virtual) ที่แผนที่ดิจิทัล (digital map) แสดงรูปลักษณ์เชิงสัญลักษณ์ที่ถอดคุณลักษณะ ความหมายของความเหมือนจริงไปสู่ความหมายเชิงสัญลักษณ์ แต่ยังคงลักษณะของเค้าโครงของโครงสร้างของ ความเป็นจริง ซึ่งสิ่งเหล่านี้คือการแปรความหมายจากความเป็นจริงสู่โลกของภาพสัญลักษณ์ ซึ่งด้านหนึ่งก็เป็นโลกของนามธรรมที่สื่อแทนความหมายของสิ่งที่เห็นจริงไปสู่การลดทอนเป็นรูป สัญลักษณ์ที่เรียบง่าย แต่มีความซับซ้อนด้วยรูปร่าง เส้น สี สิ่งเหล่านี้ล้วนปรากฏอยู่ในวิถีชีวิตประจำวันของ มนุษย์ปัจจุบันที่ใช้แอพพลิเคชั่นแผนที่จำลอง (Virtual map application) สิ่งเหล่านี้เป็นสัญลักษณ์ที่บรรจุไว้ ถึงพื้นโลกที่มนุษย์อาศัยอยู่ภายใต้องค์ประกอบต่าง ๆ โดยในภาพแผนที่เสมือนจริงปรากฏสัญลักษณ์ของสิ่ง ต่าง ๆ อย่างซับซ้อน ไม่ว่าจะเป็นเมือง ป่าเขาลำเนาไพร เส้นทาง และจุดพำนัก สิ่งเหล่านี้ถูกแปรค่าเป็นรหัส ทางการสื่อสารอันเป็นสัญลักษณ์ที่ผสมผสานบูรณาการกันจนเกิดเป็นภาพแทนใหม่ ไม่ต่างกับภาพจิตรกรรมที่ เป็นการหลอมรวมทัศนธาตุและสรรพสิ่งให้เกิดเป็นจินตภาพใหม่ โดยผลงานจิตรกรรมนี้มีแนวความคิดจากแรงบันดาลใจที่มาจากประสบการณ์ทางสายตาในการจ้อง มองระหว่างโลกของความเป็นจริงและโลกทางสัญลักษณ์ที่ปรากฏขึ้นในรูปแบบดิจิทัล อันเชื่อมโยงระหว่างโลก ของความจริงกับโลกภาพแทน สิ่งเหล่านี้แสดงถึงรูปเชิงสัญลักษณ์ที่ปรากฏบนสื่อใหม่ อันคล้ายกับการเรียง ร้อยระบบระเบียบใหม่ของบทกวีร่วมสมัยที่ไม่ได้อาศัยถ้อยคำในการรจนาเพื่อการแสดงออกในเชิงฉันทลักษณ์ แต่เป็นการร้อยเรียงภาพให้เกิดเป็นจินตภาพใหม่ราวกับบทกวีไร้ฉันทลักษณ์ที่สื่อถึงความเป็นพหุลักษณ์ที่ หลากหลายของโลกร่วมสมัย สิ่งเหล่านี้ผู้สร้างสรรค์ต้องการสื่อถึงมุมมองเชิงวิเคราะห์และสังเคราะห์ให้เกิดเป็น ภาพจิตรกรรมนามธรรมที่สัมพันธ์ระหว่างโลกของการมองความจริงกับโลกเสมือนจริงที่มีความซับซ้อน สอด รับ และทับซ้อนกัน โดยผู้สร้างสรรค์ได้ถอดรหัสออกมาให้กลายเป็นภาพเชิงสัญลักษณ์ใหม่แบบจิตรกรรม
315 นามธรรมอันแสดงถึงการบูรณาการและการประกอบสร้างของทัศนธาตุสุภาพเชิงสุนทรียะที่แสดงคุณค่าใน เชิงอัตวิสัยขึ้นใหม่ 2. แนวคิด / ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง แนวคิดด้านรูปแบบจิตรกรรมนามธรรม คุณลักษณะเฉพาะของจิตรกรรมนามธรรม (Abstract Painting) นั้น ชลูด นิ่มเสมอ (2558) อธิบาย ว่า เป็นการแสดงออกทางจิตรกรรมนามธรรมเป็นกระบวนการแปรสภาพจากสิ่งที่เห็นไปสู่สิ่งที่คิด และขั้นสูง จะเป็นการแปรจากความรู้สึกของศิลปินไปสู่สิ่งที่ประกอบสร้างใหม่ด้วยทัศนธาตุอันเป็นการพินิจพิจารณาเชิง สุนทรียะด้วยกระการทางความคิดของศิลปิน ทั้งด้วยวิธีการตริตรองหรือฉับพลันก็ตาม ซึ่งสิ่งที่ปรากฏไม่ สามารถแสดงออกด้วยถ้อยคำแต่แปรสภาพสู่ภาพนามธรรมที่ผู้ชมสามารถตีความได้ กล่าวได้ว่าเป็นโลกความ เป็นจริงที่ไม่อาจเห็นด้วยตา สอดคล้องกับ ซูซี ฮอดจ์ (Susie Hodge) ชี้ว่า สิ่งที่ปรากฏในศิลปะแบบนามธรรม เป็นการละทิ้งรูปลักษณ์ของความจริงที่แทนความหมายตรงของวัตถุหรือโลกที่เห็นด้วยตา ศิลปินแนว นามธรรมเน้นแสดงออกทางสุนทรียะด้วยโลกของสัญลักษณ์ที่ผู้ชมสามารถตีความจากประสบการณ์และการ รับรู้ของตัวเองได้อย่างอิสระ ศิลปะนามธรรมจึงเป็นศิลปะที่ตีความโลกที่อาจไม่ได้สัมผัสและเข้าถึงได้ด้วยแค่ การจ้องมองเท่านั้น แต่เข้าถึงการค้นหาสภาวะการรับรู้ของจิตใจด้วย (Hodge, 2017) ซึ่งสิ่งเหล่านี้ทำให้ศิลปะ แบบนามธรรมเข้าสู่ลักษณะของการแสดงออกอย่างเป็นสากลที่ลดละคุณลักษณะเฉพาะทางวัฒนธรรมและ สังคมสู่รูปลักษณ์ที่ต้องตีความใหม่จากสิ่งที่ปรากฏ (ธเนศ วงศ์ยานนาวา, 2552) แนวคิดความสัมพันธ์ของรูป-ความหมาย ริชาร์ด โอเวล (Richard Howell) ได้อธิบายไว้ว่า การวิจักษ์งานศิลปกรรมคล้ายกับประติมาณวิทยาที่ ถอดรหัสความหมายตรง (denotation) และความหมายแฝง(connotation) อันสัมพันธ์ไปถึงบริบทที่ เกี่ยวข้องกับการสร้างสรรค์ (Howell, 2003) ซึ่งมีที่มาจากแนวคิดสัญญะของเฟอร์ดินาน เดอ โซซูร์ (Ferdinand de Saussure) ที่ชี้ว่าทุกอย่างที่สามารถสื่อความหมายได้ คือ สัญญะ (sign) ที่มีองค์ประกอบ 2 ส่วน คือ รูปเชิงสัญญะ (signifier) และความหมายเชิงสัญญะ (signified) (ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร, 2555) ขณะที่ จอห์น ฟิส์ก (John Fiske) อธิบายว่า แต่ละสัญญะล้วนประกอบสร้างกันเพื่อทำหน้าที่เป็นรหัส (code) ในการสื่อสารความหมาย โดยรหัสเชิงสุนทรียะเป็นรหัสเชิงอัตวิสัยที่ที่มีความยืดหยุ่นด้วยการแสดงออกถึงการ สื่อสารเฉพาะของบุคคล ผู้ที่ทำการสื่อสารจึงจำเป็นต้องมีประสบการณ์ในการตีความรหัสสุนทรียะเพื่อให้ สามารถเข้าถึงกระบวนการตีความเพื่อเข้าถึงความซาบซึ้งสุนทรียะได้ (Fiske, 1990) สิ่งเหล่านี้สอดรับการสิ่งที่ จอห์น เบอร์เกอร์ (John Berger) ชี้ให้เห็น ถึงการวิเคราะห์รูป-ภาพทางศิลปะหรือสื่อต่าง ๆ ที่เราเห็นว่าเป็น สิ่งที่ซ่อนความหมายตรงและความหมายแฝงบางอย่างอยู่เสมอ ผลงานศิลปะแต่ละชิ้นจึงเป็นเสมือนตัวแทน ความหมายอย่างใดอย่างหนึ่งที่สัมพันธ์กับบริบทต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกัน (Berger, 2008) ฉะนั้น ในกระบวนการ สร้างสรรค์จิตรกรรม “บทกวีมีชีวิต 2/2566” ซึ่งเป็นงานจิตรกรรมแบบนามธรรมจึงมีความสัมพันธ์กันระหว่าง รูป-ความหมายของผลงานในเชิงอัตวิสัยที่อาศัยการตีความจากสิ่งที่ปรากฏเป็นภาพแทนความหมายใหม่
316 3. กระบวนการในการสร้างสรรค์ ขั้นตอนในการสร้างสรรค์ผลงาน 1. การวางแผนเพื่อผลิตผลงานสร้างสรรค์ 2. การเก็บข้อมูลชั้นต้น (primary information) จากเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการสร้างสรรค์ 3. การวิเคราะห์ชุดข้อมูลเพื่อสร้างเค้าโครงภาพร่าง (sketch) 4. การสร้างภาพเค้าโครงภาพร่างเพื่อจัดวางองค์ประกอบของภาพผลงานจิตรกรรมชิ้นจริง 5. การผลิตผลงานสร้างสรรค์จิตรกรรมแบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ (1) การเตรียมพื้นภาพจิตรกรรม (2) การสร้างโครงสร้างตัวภาพด้วยลักษณะขององค์ประกอบใหญ่ให้เกิดเป็นโครงสร้างภาพที่มีความเด่นชัด และ (3) การเก็บรายละเอียดของภาพ 6. การเผยแพร่ผลงานสู่สาธารณะ ภาพที่ 1 เค้าโครงภาพร่าง (sketch) ที่มา : สุริยะ ฉายะเจริญ (ผู้สร้างสรรค์), 2566 เทคนิควิธีการสร้างสรรค์รูปแบบ ผลงาน “บทกวีมีชีวิต 2/2566” สร้างสรรค์ด้วยเทคนิคสีอะคริลิคและปากกาเคมีบนผ้าใบ โดยมีวัสดุ ได้แก่ สีอะคริลิค น้ำสำหรับทำความสะอาดแปรงและพู่กัน กรอบไม้สำหรับขึงผ้าใบรูปร่างทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาด 50 x 60 เซนติเมตร และผ้าใบ (canvasสำหรับการสร้างสรรค์จิตรกรรม และอุปกรณ์ได้แก่ แปรงทาสี พู่กันขนาดต่าง ๆ ปากกามาร์กเกอร์ (Marker Pen) ไม้บรรทัด มีดคัตเตอร์ ผ้าเช็ดสี และกระป๋องใส่น้ำ ประเภทของผลงาน ผลงาน “บทกวีมีชีวิต 2/2566” เป็นผลงานจิตรกรรมในรูปแบบศิลปะนามธรรม (Abstract Art) ที่ สร้างสรรค์เป็นงานจิตรกรรม 2 มิติด้วยเทคนิคสีอะคริลิคและปากกาเคมีบนผ้าใบ
317 ภาพที่ 2 กระบวนการสร้างสวรรค์ ที่มา : สุริยะ ฉายะเจริญ (ผู้สร้างสรรค์), 2566 ภาพที่ 3 ผลงานจิตรกรรม “บทกวีมีชีวิต 2/2566” ชิ้นสมบูรณ์ ที่มา : สุริยะ ฉายะเจริญ (ผู้สร้างสรรค์), 2566
318 4. การวิเคราะห์ผลงาน ผลงานจิตรกรรม “บทกวีมีชีวิต 2/2566” เป็นศิลปะนามธรรมที่มีรูปและความหมายในเชิงอัตวิสัย (Subjectivity) ที่ผู้สร้างสรรค์เป็นผู้สร้างรหัสขึ้นมาผ่านสื่อภาพนิ่งที่เป็นการสร้างร่องรอยบนระนาบด้วยทัศน ธาตุที่เน้นไปที่ลายเส้น รูปร่าง พื้นที่ว่าง สีสัน และจังหวะในผลงาน ซึ่งมีวิธีการแสดงออกด้วยกระบวนการ อย่างเป็นระบบด้วยเทคนิควิธีทางด้านจิตรกรรม (การปาด-ป้ายสี การสะบัดสี การจุดสี การระบายสี) โดย เชื่อมโยงกับแนวคิดที่เกี่ยวข้อง แรงบันดาลใจ แนวความคิดการสร้างสรรค์ สู่การวิเคราะห์องค์ประกอบของ ภาพด้วยการสร้างภาพลายเส้นสมมุติฐาน (sketch) เพื่อค้นหาโครงสร้างภาพ (structure) ที่แสดงความน่าจะ เป็นของเค้าโครงภาพที่สมบูรณ์ อันนำมาสู่การสร้างสรรค์ผลงานจริงที่เป็นการบูรณาการทัศนธาตุที่ หลากหลายให้อยู่ภายใต้โครงสร้างภาพเดียวกันที่เป็นการนำเสนอจินตภาพใหม่ (New image) อันเป็นผลงาน สร้างสรรค์สุนทรียะในบริบททางวิชาการด้านศิลปกรรม โดยสามารถแสดงออกมาเป็นแผนผังกรอบแนวคิดเชิง ปฏิบัติการสร้างสรรค์จิตรกรรม “บทกวีมีชีวิต 2/2566” ดังนี้ ภาพที่ 4 กรอบแนวคิดเชิงปฏิบัติการสร้างสรรค์จิตรกรรม “บทกวีมีชีวิต 2/2566” ที่มา : สุริยะ ฉายะเจริญ (ผู้สร้างสรรค์), 2566 5. สรุป ผลงานจิตรกรรม “บทกวีมีชีวิต 2/2566” เป็นจิตรกรรมนามธรรมที่สร้างขึ้นใหม่ด้วยกระบวนการเชิง ระบบที่ผสมผสานรูป-ความหมายของผลงานให้เกิดเป็นภาพแทนคุณค่าเชิงสุนทรียะเฉพาะ (Individual Aesthetic) โดยแสดงออกในคุณค่าในแบบอัชฌัติกญาณนิยม (Intuitionism) ซึ่งสามารถนำไปใช้ต่อยอดใน การสร้างสรรค์ผลงานศิลปกรรมในสาขาเดียวกันและสาขาอื่น ๆ ได้โดยถือเป็นการสร้างสรรค์ผลงานอย่างเป็น ระบบ (Systematic creation of work) ที่สอดคล้องกับกระบวนการทางวิชาการทางด้านศิลปกรรม ซึ่งองค์ ความรู้ที่เกิดขึ้นไม่ได้เจาะจงเฉพาะผลงานทางด้านจิตรกรรมแบบนามธรรมเท่านั้น แต่ยังสามารถนำไป ประยุกต์ใช้งานศิลปกรรมในสาขาต่าง ๆ ได้ จึงสามารถกล่าวได้ว่า กระบวนการสร้างสรรค์“บทกวีมีชีวิต ศิลปะนามธรรม จิตรกรรม การแสดงออก/ เทคนิคการสร้างสรรค์ องค์ประกอบของภาพ • แนวคิดที่เกี่ยวข้อง • แรงบันดาลใจ • แนวความคิดการสร้างสรรค์ บทกวีมีชีวิต 2/2566 จินตภาพใหม่ รูปสัญญะ ทัศนธาตุ ความหมายสัญญะ (อัตวิสัย)
319 2/2566” สามารถยืดหยุ่นและประยุกต์ใช้ได้ โดยไม่ยึดติดอยู่ที่รูปแบบหรือเทคนิควิธีการสร้างสรรค์อย่างใด อย่างหนึ่งแต่เพียงอย่างเดียว แต่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในฐานะของการเป็นกรอบแนวคิดเชิงปฏิบัติการที่จะ ทำให้การปฏิบัติการทางด้านศิลปกรรมมีระบบอันนำไปสู่คุณค่า ทั้งทางด้านการสร้างสรรค์เชิงสุนทรียะและใน ระบบริบทของวิชาการทางด้านศิลปกรรมด้วยเช่นกัน เอกสารอ้างอิง ชลูด นิ่มเสมอ. (2558). สัพเพเหระเกี่ยวกับชีวิตและศิลปะ. กรุงเทพฯ: บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน) ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร. (2555). สัญวิทยา โครงสร้างนิยม หลังโครงสร้างนิยม กับการศึกษารัฐศาสตร์ กรุงเทพฯ: วิภาษา. ธเนศ วงศ์ยานนาวา. (2552). ศิลปะกับสภาวะสมัยใหม่ : ความย้อนแย้งและความลักลั่น. กรุงเทพฯ สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย Berger, J. (2008). Way of Seeing. London: Penguin Book Ltd. Fiske, J. (1990). Introduction to Communication Studies. London: Routledge. Hodge, S. (2017). The Shot Story of Art. London: Laurence King Publishing Ltd. Howell, R. (2003). Visual Culture. Cambridge: Polity Press; Malden, MA: Blackwell Publishers.
320 ชายผู้ใส่หน้ากาก ขับขี่มอเตอร์ไซด์ ปราบอธรรม A man wearing a mask riders a motorclycle to fight evil สุวดล เกษศิริ, Suvadon Katsiri วิทยาลัยช่างศิลปนครศรีธรรมราช, Collage of fine arts nakonsithammarat E-mail: [email protected] บทคัดย่อ แรงบันดาลใจจาก ความทรงจำการอ่านการ์ตูนในวัยเด็ก เรื่องราวของชายที่ใส่หน้ากาก และขับขี่มอเตอร์ไซด์ ต่อสู้กับปีศาจ เพื่อก้าวข้าม 3 สิ่ง ประกอบด้วยต่อสู้เอาชนะตนเอง ก้าวข้ามหรือเหนือกว่าผู้ให้กำเนิดของตัวเองให้ ได้ เสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น ข้าพเจ้าสนใจการสร้างเนื้อหาเรื่องราว ที่เกิดจากการนำเรื่องราวร่วมสมัย มาสร้างลายเส้นที่เกิดจาก ปากกา ก่อให้เกิดจังหวะการเคลื่อนไหวในทิศทางของเส้น รูปทรง น้ำหนักและพื้นที่ว่าง อันเกิดจากการกระทบ ของทัศนธาตุได้แก่ เส้น สี น้ำหนักอ่อนแก่ ทดลองหาจังหวะอันเหมาะสม จังหวะที่เปลี่ยนแปลงตามเนื้อหา ความรู้สึก เป็นสิ่งที่ท้าทาย จึงได้เลือกแนวความคิดดังกล่าวมาเป็นแนวทางศิลปะ คำสำคัญ: แรงบันดาลใจ Abstract Inspiration from Memories of reading cartoons as a child The story of the man wearing a mask and riding a motorcycle fight the devil to overcome 3 things, consisting of 1. Fighting with you are 2. Everyone must surpass or exceed their creator 3. Sacrifice yourself for other I am interested in creating story content. created from contemporary stories Let's create lines by a pen effect to rhythmic movement in the direction of lines, shapes, weight and space. resulting from the impact of visual elements such as lines, colours, light weights and strengths Try to find the expression. The rhythm changes according to the content of feelings. is a challenge Therefore, the above concept was chosen as an art style. Keywords: Inspiration
321 1. ความสำคัญหรือความเป็นมาของปัญหา ยุคสมัยแห่งความวุ่นวาย ซับซ้อนเปราะบางในการใช้ชีวิต ก่อให้เกิดปีศาจในร่างของมนุษย์ขึ้นมากมาย เกิดการต่อสู้กันในเชิงความคิด สงครามเกิดขึ้นทุกมุมโลก มีความเป็นไปได้ที่จะมีองค์กรปีศาจบงการอยู่เบื้องหลัง ทันใดก็ปรากฏชายผู้สวมหน้ากาก ขับขี่มอเตอร์ไซด์เข้าต่อสู่กับความชั่วร้าย จากความทรงจำที่ได้อ่านหนังสือ การ์ตูนมาสค์ไรเดอร์ในวัยเด็ก ทำให้เกิดการเปรียบเทียบกับชีวิตตนเองที่พบกับปัญหามากมาย ไม่สามารถจะ แก้ปัญหานั้นได้ เกิดภาวะเครียด ซึมเศร้า จนวันหนึ่งได้เปิดช่องโทรทัศน์เจอกับความทรงจำวันเด็กอีกครั้ง และพบ กับคำพูดง่ายๆที่ทำให้สามารถกลับมามีชีวิตอีกครั้ง ไรเดอร์ยังคงผลักดันให้เราต่อสู้เสมอ ต่อสู้กับสิ่งที่เรียกว่า ‘จิตใจ’ ข้าพเจ้าสนใจการสร้างเนื้อหาเรื่องราว ที่เกิดจากการนำเรื่องราวร่วมสมัย มาสร้างลายเส้นที่เกิดจาก ปากกา ก่อให้เกิดจังหวะการเคลื่อนไหวในทิศทางของเส้น รูปทรง น้ำหนักและพื้นที่ว่าง อันเกิดจากการกระทบ ของทัศนธาตุได้แก่ เส้น สี น้ำหนักอ่อนแก่ ทดลองหาจังหวะอันเหมาะสม จังหวะที่เปลี่ยนแปลงตาม เนื้อหา ความรู้สึก เป็นสิ่งที่ท้าทาย จึงได้เลือกแนวความคิดดังกล่าวมาเป็นแนวทางศิลปะ 2. แนวคิด / ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง ข้าพเจ้าใช้ทัศนธาตุทางศิลปะ เป็นส่วนสำคัญของการแสดงออกของผลงานสร้างสรรค์ชุดนี้ เช่น เส้น สี พื้นที่ว่าง รูปทรง 1. เส้น ในผลงานข้าพเจ้า มีการเคลื่อนไหว โดยใช้ลักษณะลายเส้นแบบเฉียง ประสานกันจนเกิดการทับ ซ้อนของสี จนเกิดน้ำหนักที่แตกต่างกัน มีน้ำหนักอ่อนแก่ในตัวเอง เส้นมีขนาดที่มีน้ำหนักแตกต่างกันและมีสีที่ ต่างกันด้วย เส้นของข้าพเจ้ามี 2 ประเภท คือ เส้นรอบนอกที่กำหนดขอบเขตรูปทรง บางส่วนของเส้นจะละลาย หายไปในพื้นที่ว่าง เส้นทำหน้าที่เคลื่อนไหวภายในผลงาน 2. พื้นที่ว่างในผลงานข้าพเจ้าเป็นพื้นที่ว่าง 3 มิติ (Three dimention space) ไม่สามารถบอกจุดเริ่มต้น ได้ว่าเริ่มจากจุดไหนและจบลงที่จุดไหน เหมือนเวลาที่เรายืนในหมอกซึ่งเราไม่ทราบว่าเรายืนตรงจุดไหน ข้าพเจ้า ให้ความสำคัญกับมิติทางด้านกว้างและทางด้านลึก 3. รูปทรง ทำหน้าที่บอกเล่าเนื้อหา เรื่องราวของภาพ ควบคุมเส้น หากเอารูปทรงออก เส้นจะตัดกัน (Contrast) กับพื้นที่ว่างมากเกินไป บางส่วนของเส้นถูกรูปทรงลดไม่ให้แรงมากเกินไป บางส่วนของเส้นถูกรูปทรง ลดไม่ให้รุนแรง ทำให้เส้นนุ่มนวลขึ้น รูปทรงเป็นรูปทรงผสมผสานทั้งรูปทรงเราขาคณิต รูปทรงอินทรียรูปและ รูปทรงอิสระ ในสัดส่วนที่แตกต่างกันตามขอบเขตเนื้อหาของภาพ ผลของรูปทรงทำให้เกิดน้ำหนักอ่อนแก่ใน บางส่วน ทำให้พื้นที่ว่างมีพลังมากขึ้น และเป็นส่วนที่ควบคุมพื้นที่ว่างให้เกิดบรรยากาศ 4. สี ข้าพเจ้าใช้สีในวรรณะร้อน (warm tone) บางชิ้นมีสีวรรณะเย็น (cool tone) ประสมประสานใน อัตราส่วน 80:20 หรือ 50:50
322 3. กระบวนการในการสร้างสรรค์ กระบวนการสร้างสรรค์ผลงานของข้าพเจ้าในเบื้องต้น ข้าพเจ้าใช้การสร้างสรรค์ผลงานโดยการค้นหา ข้อมูลจากสื่อต่างๆทั้งสื่อดิจิตอลและหนังสือรวมรูปภาพ ที่ข้าพเจ้าต้องการนำมาสร้างเนื้อหาเรื่องราว การร่างภาพ ใช้การร่างภาพโดยรวมแล้วจึงเพิ่มรายละเอียดของรูปทรง ใช้ปากกาสร้างลายเส้น สีโดยการทับซ้อน สีจนเกิด รูปทรงขึ้น ตามอารมณ์ความรู้สึก (Expression painting) ขณะนั้น จนเมื่อเสร็จกระบวนการ ข้าพเจ้าจึงควบคุม องค์ประกอบของภาพและเรื่องราวเพียงเล็กน้อยเพื่อหาความเป็นเอกภาพให้กับผลงานสร้างสรรค์ ต่อมาพบปัญหา การพัฒนาผลงาน เนื่องจากเป็นการทำงานเพียงย้ายองค์ประกอบไปมา ขาดการพัฒนาต่อเนื่อง ข้าพเจ้าจึงกลับไป ศึกษาข้อมูล รายละเอียดการเขียนภาพจากต้นฉบับผลงานของ อาจาร์ยอิชิโมริ โชทาโร่ และรูปแบบการเขียนภาพ การ์ตูนในปัจจุบันอีกครั้ง โดยชุดผลงานนี้ใช้ลักษณะเส้นที่ประสานกันก่อให้เกิด สี รูปทรงเกิดเนื้อหา เรื่องราวที่ ร่วมสมัย เป็นแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ผลงาน มาพัฒนาผลงานสร้างสรรค์ชุดนี้ ภาพที่ 1 แสดงแหล่งข้อมูลจากหนังสือ Anime & Character Book Masked Rider ที่มา : https://www.superdelivery.com/en/r/pd_p/8398075/ ภาพที่ 2 แสดงแหล่งข้อมูลจากหนังสือMasked Rider Spiritsเขียนใหม่ตั้งแต่ปี 2001จนถึงปัจจุบันผลงานของเคนอิจิ มูราเอดะ ที่มา : https://halcyonrealms.com/film/kamen-rider-spirits-art-book-review/
323 ภาพที่ 3 แสดงภาพผลงานชิ้นแรกที่ใช้แรงบันดาลใจจากแหล่งข้อมูล นำมาสร้างสรรค์ผลงานด้วยเทคนิคปากกาสีดำ ที่มา : ผู้สร้างสรรค์ ภาพที่ 4 แสดงภาพผลงานที่ใช้แรงบันดาลใจจากแหล่งข้อมูล เน้นความสำคัญในเนื้อหาเรื่องราวเชื่อมโยงจากอดีตจนถึง ปัจจุบัน พัฒนารูปแบบความคิดร่วมสมัย พัฒนาผลงานด้วยเทคนิคและรูปแบบต่อเนื่อง ที่มา : ผู้สร้างสรรค์
324 4. การวิเคราะห์ผลงาน ผลงานสร้างสรรค์ชุดนี้ สร้างสรรค์ผลงานรูปแบบการใช้ลายเส้นปากกา โดยได้แรงบันดาลใจจากผลงาน การ์ตูนของ อิชิโมริ โชทาโร่และเคนอิจิ มูราเอดะ โดยใช้ทัศนธาตุทางศิลปะเช่น เส้น สี รูปทรง มาสร้างสรรค์ผลงาน สร้างให้เกิดสุนทรียภาพทางศิลปะอย่างเป็นเอกภาพ 5. สรุป ในการสร้างสรรค์ผลงานของข้าพเจ้านั้น ข้าพเจ้าพัฒนาทั้งเทคนิคและแนวความคิดเพิ่มมากขึ้นโดยเฉพาะ การวาดภาพลายเส้น ที่มีลักษณะเฉพาะตัว มีการเรียงเส้นเป็นระดับน้ำหนักก่อให้เกิด สี พื้นที่ว่างและรูปทรงที่ สร้างผลกระทบต่ออารมณ์ ความรู้สึก มีเนื้อหาที่ร่วมสมัย การต่อต้านปีศาจร้าย ที่มาในรูปแบบเทคโนโลยีล้ำสมัย คนที่อ่อนแอไร้พลังกลับปลุกพลังในการต่อสู้ เพียงหวังช่วยกระตุ้นให้เกิดจิตสำนึกในการร่วมเปลี่ยนแปลงสิ่งชั่วร้าย และต่อสู้กับจิตใจตนเองที่จะไม่กลายเป็นปีศาจเอง ด้วยเหตุนี้ผลงานสร้างสรรค์ข้าพเจ้าชุดนี้จึงสำเร็จลุล่วงส่งผลต่ออารมณ์ ความรู้สึกทางด้านความงามของ ทัศนธาตุและเนื้อหาเรื่องราวตามที่ประสงค์ไว้ อารมณ์ความรู้สึกในผลงานเกิดจากได้แก่จังหวะของเส้นที่ประสาน ทับซ้อน ให้ความรู้สึกต่อเนื้อหา สีในพื้นที่ว่าง และบรรยากาศอันเกิดจากเอกภาพของเส้น สี รูปทรง เพื่อเป็น พื้นฐานไปสู่การสร้างสรรค์งานศิลปะที่มุ่งหวังความงามอันบริสุทธิ์ของรูปทรงต่อไปภายหน้า เอกสารอ้างอิง กำจร สุนพงษ์ศรี. (2554). สุนทรียศาสตร์. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์ ศาตราจาร์ยเกียรติคุณ ชลูด นิ่มเสมอ. (2541). องค์ประกอบของศิลปะ : สำนักพิมพ์อัมรินทร์ ศิลป์ พีระศิลป์. (2512). ประวัติศาสตร์ศิลปะและแบบอย่างศิลปะโดยสังเขป. กรุงเทพฯ : กรุงสยามการพิมพ์ -
325 การสร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรมร่วมสมัยด้วยวิธีการจุด ชุดสีสันและลวดลายจากเครื่องแต่งกายโนรา The creation of contemporary painting by dot. Set colors and patterns from the and patterns from the Nora costume โสภิต เดชนะ, Sopit Detchana E-mail: [email protected] บทคัดย่อ งานสร้างสรรค์นี้เป็นการปฏิบัติงานสร้างสรรค์ทางด้านทัศนศิลป์โดยมีแรงบันดาลใจจากสีสัน ลวดลายของเครื่องแต่งกายโนรา ซึ่งทำด้วยลูกปัดหลากสี ที่มีสีสันที่สดใส สวยงาม เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ร้อย เป็นลวดลาย เป็นรูปทรงต่าง ๆ ด้วยลูกปัดเม็ดเล็ก ๆ เรียงต่อกันเป็นเส้น รูปทรง มีความเป็นอิสระ สามารถเคลื่อนไหวได้ตามจังหวะของการแสดง ดึงดูดความสนใจของผู้ชม จากสีสัน ลวดลาย ของเครื่องแต่งกายโนราดังกล่าว จึงได้นำมาสร้างสรรค์เป็นผลงานด้าน จิตรกรรมจัดวางในรูปแบบใหม่ ด้วยสีอะคริลิคโดยใช้เทคนิควิธีการจุดจากกรวยในการแสดงออก แทนลูกปัด ที่ร้อยเป็นเส้น สีลวดลาย รูปทรงต่าง ๆ ซึ่งจะมีลักษณะพื้นผิวใหม่บนผ้าใบที่แสดงความโดดเด่นของสีที่สดใส สว่าง แวววาว และมีความเคลื่อนไหว เพื่อนำเสนอคุณค่าสุนทรียภาพทางทัศนศิลป์ให้เด็ก เยาวชน และ ประชาชนทั่วไป ได้ชื่นชมถึงความงดงามในศิลปะเครื่องแต่งกายของโนรา ในรูปแบบผลงานจิตรกรรม คำสำคัญ: เครื่องแต่งกายโนรา, การจุดจากกรวย, ลูกปัดหลากสี Abstract This creative research is a creative visual performancewhich is inspired by the colors and patterns of the Noracostume, which is made with colorful beads, bright colors, beautiful and unique. Beads decorated with patterns and various shapes with small beads arranged in a line. The shape is independent. It can move according to the rhythm of the show, to attract the attention of the audience. Colors and patterns of Nora costumes, Therefore, it has been created as a painting work, by using the technique of the point from the cone to express instead of beads that are strung into colors, patterns, and shapes, which will feature a new texture on the canvas showing the distinctness of bright, bright and vibrant colors, to present the value of visual aesthetics to children, youth and the general public, to admired the beauty in the art of costume of Nora In the form of a painting work. Keywords: patterns of the Noracostume, technique of the point from, made with colorful
326 1. ความสำคัญหรือความเป็นมาของปัญหา โน-รา เป็นศิลปะการแสดงพื้นบ้านเป็นที่นิยมของคนในภาคใต้ปัจจุบันการแสดงโนรามีให้เห็นและ ได้รับความนิยมน้อยลงตามลำดับ โดยวิถีชีวิตของผู้คนเปลี่ยนไป มีวัฒนธรรมและสื่ออื่น ๆ เข้ามาแทนที่ โดยเฉพาะเด็กและเยาวชนแทบจะไม่รู้จักการแสดงโนรา จากสีสัน ลวดลาย รูปทรง ของเครื่องแต่งกายโนราดังกล่าว จึงเกิดแรงบันดาลใจนำมาสร้างสรรค์ ผลงานทางด้านจิตรกรรม นำมาจัดวางในรูปแบบใหม่ แสดงออกโดยใช้สีอะคริลิค และวิธีการจุดด้วยกรวยแทน ลูกปัดที่เป็นเม็ดเล็ก ๆ ที่ร้อยเป็นเส้น และลวดลาย ซึ่งจะมีลักษณะพื้นผิวใหม่บนผ้าใบ เป็นการส่งเสริมและ เป็นการกระตุ้นให้เด็ก เยาวชน และประชาชนทั่วไป ได้ชื่นชมถึงความงดงามในศิลปะเครื่องแต่งกายของโนรา ในรูปแบบทางจิตรกรรม ก่อให้เกิดการหวงแหนและรักษาศิลปะการแสดงพื้นบ้านนี้ให้คงอยู่สืบไป 2. แนวคิด / ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง งานสร้างสรรค์ชุดนี้ได้ทบทวนความเข้าใจเกี่ยวกับหลักทฤษฎีสี การสร้างสรรค์งานด้านจิตรกรรมและ การสร้างสรรค์ผลงานของลัทธิโพสต์อิมเพรสชันนิสม์ (Post-impressionist) เช่น ศิลปิน Georges Seurat และจากเอกสารศึกษาของนักวิชาการดังนี้ Composition of Art องค์ประกอบของศิลปะ ชลูด นิ่มเสมอ ได้กล่าวไว้ว่า 1. จุด (Point) ก่อนเริ่มทัศนธาตุอื่น ๆ จะขอกล่าวถึงจุดเสียก่อน เพราะจุดเป็นทัศนธาตุเบื้องต้น ที่สุดของการเห็น จุดมีมิติเป็นศูนย์ ไม่มีความกว้าง ความยาว หรือความลึก เป็นธาตุที่ไม่สามารถแบ่งออกได้ อีก เป็นสิ่งที่เล็กที่สุดที่จะใช้สร้างรูปทรงและสร้างพลังเคลื่อนไหวของที่ว่างให้เป็นภาพได้ 2. เส้น (Line) งานทัศนศิลป์ชิ้นแรก ๆ ของมนุษย์นั้นเริ่มจากเส้นดังที่เราเห็นได้จากภาพเขียนตาม ผนังถ้ำของคนสมัยดั้งเดิม การเริ่มต้นของงานศิลปะในวัยเด็กก็ใช้เส้นเช่นเดียวกัน เส้นเป็นทัศนธาตุเบื้องต้น ที่สำคัญที่สุด เป็นแกนของทัศนศิลป์ทุก ๆ แขนง เส้นเป็นพื้นฐานของโครงสร้างของทุกสิ่งในจักรวาล เส้น แสดงความรู้สึกได้ด้วยตัวของมันเอง 3. ลักษณะผิว (Texture) ลักษณะผิว หมายถึง ลักษณะของบริเวณพื้นผิวของสิ่งต่าง ๆ ที่เมื่อสัมผัส จับต้องหรือเมื่อเห็นแล้วรู้สึก ได้ว่าหยาบ ละเอียด มัน ด้าน ขรุขระ เป็นเส้น เป็นจุด เป็นกำมะหยี่ ฯลฯ ลักษณะผิวมี 2 ชนิด 3.1 ลักษณะพื้นผิวที่เราจับต้องได้ เช่น กระดาษทราย ผิวส้ม 3.2 ลักษณะพื้นผิวที่ทำเทียมขึ้น เมื่อมองดูจะรู้สึกว่าหยาบหรือละเอียด แต่เมื่อสัมผัสจับ ต้องเข้าจริงกลับเป็นผิวเรียบ ๆ 4. เอกภาพของสี สีมีคุณลักษณะพิเศษนอกเหนือไปจากทัศนธาตุอื่น ๆ อีก 2 ประการ คือ ความ เป็นสี (Hue) และความจัดของสี (Imtensity) ดังนั้น การใช้สีให้มีเอกภาพจึงต้องคำนึงถึงคุณลักษณะพิเศษ ทั้งสองประการนี้ด้วย 4.1 การใช้สีแบบขัดแย้ง การขัดแย้งของสีนั้นรุนแรงยิ่งกว่าความขัดแย้งของทัศนธาตุใด ๆ สีที่อยู่ตรงข้ามในวงสีธรรมชาติเป็นสีที่ตัดกันอย่างแท้จริง
327 4.2 การใช้สีแบบประสาน การใช้สีสีเดียว โดยให้มีน้ำหนักอ่อนแก่ ซึ่งเป็นการใช้สีแบบ ประสานขั้นต้นที่สุด การใช้สีข้างเคียงในวงสีธรรมชาติ หรือการใช้สีกลมกลืนอย่างง่าย 4.3 ความเป็นเด่นของสี การทำสีหนึ่งให้หม่นลงเพื่อจะอยู่ด้วยกันอย่างกลมกลืนกับสีคู่ตรงข้าม เป็นกฎของการประสานที่ทำให้เกิดความเป็นเด่น การใช้สีหนึ่งให้มีปริมาณมากกว่าสีอื่น 4.4 ความเปลี่ยนแปรของสี สีที่เรียงกันตามลำดับของวงสีธรรมชาติจากเหลืองไปม่วง จะเวียน ซ้ายหรือขวาก็ตาม สีที่มีการจัดเรียงตามลำดับจากจัดที่สุดไปถึงหม่นที่สุด 5. สุนทรียภาพ เป็นสิ่งที่ให้คุณค่ามหาศาลทางด้านจิตใจและอารมณ์ ในการดำรงชีวิตประจำวันของ มนุษย์ในแต่ละวัน มนุษย์เห็นแล้วเข้าใจคุณค่าของสุนทรียภาพได้อย่างเป็นรูปธรรม ทัศนศิลป์เป็นอีกสิ่งหนึ่ง ที่ให้คุณค่าทางสุนทรียภาพต่อมนุษย์ เพระเป็นศิลปะที่มองเห็นเป็นรูปทรงสัมผัสได้ทางสายตา รับรู้คุณค่า ความงาม ความประณีต และเรื่องราวที่เกิดจากการมองเห็น แสงเงา พื้นผิว จังหวะ ความกลมกลืน และหลัก ของการจัดภาพ เป็นส่วนประกอบของความงามความประณีต 3. กระบวนการในการสร้างสรรค์ ขั้นตอนและกระบวนการสร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรมด้วยเทคนิคการจุดจากกรวย 1. การเตรียมวัสดุอุปกรณ์ในการสร้างสรรค์ผลงาน 2. กำหนดรูปแบบของผลงานสร้างสรรค์ 2.1 ร่างภาพลายเส้น บนกระดาษขนาดเล็กเพื่อหาทิศทางจังหวะการจัดวางลวดลาย และ รูปทรงต่าง ๆ ของเครื่องแต่งกายโนราให้ลงตัวเหมาะสม 2.2 ขยายภาพร่างลงบนเฟรมผ้าใบตามขนาดที่กำหนดลงสีโดยรวม 2.3 ดีดสีพื้นเป็นจุดเล็ก ๆ ด้วยแปรงเพื่อให้จุดสร้างพื้นผิวในส่วนของพื้นหลังสอดรับกับ ลวดลายของเครื่องแต่งกายโนรา 2.4 นำกรวยมาจุดสีตามสีที่รองพื้นไว้ในขั้นที่ 1 สร้างเส้น ลวดลาย รูปทรง ด้วยการจุดสีเม็ด เล็ก ๆ จากกรวยทั่วทั้งภาพจนเสร็จเรียบร้อย 2.5 นำลูกปัดจริงมาร้อยเป็นเส้นและรูปทรงตามที่กำหนด ภาพที่1 สีสันและลวดลายจากเครื่องแต่งกายโนรา ที่มา : ผู้สร้างสรรค์
328 4. การวิเคราะห์ผลงาน จากการสร้างสรรค์ผลงาน พบว่าขบวนการสร้างสรรค์เพื่อให้เกิดจังหวะความเคลื่อนไหวภายในภาพ ด้วยเทคนิควิธีการจุดจากกรวยให้เกิดเส้น ลวดลาย รูปทรง และสีสันมีความสดใส เพื่อแสดงถึงเอกลักษณ์ของ เครื่องแต่งกายโนรานั้นต้องมีขบวนการของสีขั้นตอนที่ 1 เป็นส่วนสำคัญ และการจุดจากกรวยในสีขั้นตอนที่ 2เพื่อกำหนดเส้น ลวดลาย และรูปทรงซ้ำเรียงต่อกัน ประกอบกับวัสดุทางวิทยาศาสตร์ประเภทแวววาวเพื่อ สร้างจังหวะการเคลื่อนไหวภายในผลงาน ให้ใกล้เคียงกับการแสดงโนรา สีสันที่มีความสดใสของเครื่องแต่งกายโนรานั้นสามารถดึงดูดความสนใจได้ในตัวเอง มีความ เคลื่อนไหวอย่างอิสระของเส้นและรูปทรงขณะทำการแสดง ลักษณะการใช้สีประกอบด้วยสีวรรณะร้อน เช่น สี เหลือง ส้ม-เหลือง ส้ม ส้ม-แดง แดง ม่วง-แดง และชมพูส่วนวรรณะเย็นประกอบด้วย สีเขียว-เหลือง เขียว น้ำ เงิน ฟ้า ม่วง เรียงสลับสีผสมผสานกันรวมเป็นรูปทรง โดยส่วนใหญ่สีดังกล่าว 5. สรุป การสร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรมร่วมสมัยด้วยวิธีการจุด ชุดสีสันและลวดลายจากเครื่องแต่งกายโนรา ซึ่งเป็นศิลปะการแสดงพื้นบ้านเป็นของคนในภาคใต้เครื่องแต่งกายโนราทำด้วยลูกปัดหลากสีมีสีสันที่สดใส สวยงามโดดเด่น เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวประกอบด้วยลูกปัดเม็ดเล็ก ๆ เรียงต่อกันเป็นเส้น เป็นลวดลาย และ รูปทรงต่าง ๆ ที่มีความเป็นอิสระ สามารถเคลื่อนไหวได้ตามท่าทางและจังหวะของการแสดง ผู้สร้างสรรค์ได้ ตระหนักถึงคุณค่าของความงามในการแสดงและเครื่องแต่งกายโนรา จากสีสัน ลวดลาย รูปทรง ของเครื่อง แต่งกายโนราดังกล่าว นำมาสร้างสรรค์ผลงานทางด้านจิตรกรรม จัดวางในรูปแบบใหม่แสดงออกโดยใช้สี อะคริลิคโดยใช้เทคนิคการจุดจากกรวยแทนลูกปัดที่เป็นเม็ดเล็ก ๆ ที่ร้อยเป็นเส้นและลวดลาย เป็นผลงาน สร้างสรรค์ทางจิตรกรรมมีลักษณะพื้นผิวใหม่บนผ้าใบ เป็นการส่งเสริมและเป็นการกระตุ้นให้เด็ก เยาวชน และประชาชนทั่วไป ได้ชื่นชมถึงความงดงามในศิลปะเครื่องแต่งกายของโนราในรูปแบบทางจิตรกรรม ก่อให้เกิดการหวงแหนและรักษาศิลปะการแสดงพื้นบ้านนี้ให้คงอยู่ เอกสารอ้างอิง กุลนิดา เหลืองจำเริญ. (2555). องค์ประกอบศิลป์. (พิมพ์ครั้งที่ 2). ปทุมธานี: สกายเบ็กส์จำกัด ฉัตร์ชัย อรรถปักษ์. (2554). องค์ประกอบศิลป์. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ : พิมพ์ดีด จำกัด ชลูด นิ่มเสมอ. (2559). องค์ประกอบของศิลปะ. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์อัมรินทร์ . (2557). Composition of Art องค์ประกอบของศิลปะ. กรุงเทพฯ:บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์ พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน) ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์. (2543). การวิจัยทางศิลปะ. กรุงเทพฯ จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย ธวัช ชานนท์. (2555). หลักการศิลปะ. กรุงเทพฯ : บริษัท โรงพิมพ์มิตรสัมพันธ์กราฟฟิค จำกัด สมภพ จงจิตต์โพรา. (2555). ทฤฎีสี. กรุงเทพฯ : บริษัท แอ๊ปป้า พริ้นติ้ง กรุ๊ป จำกัด
329 สมเกียรติตั้งนโม. (2554). ทฤฎีสี. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์ อนันต์ประภาโส. (2558). ทฤฎีสี. ปทุมธานี: สิปประภา เอกชัย ปราบปัญจะ. (2560). เทคนิคสีไม้ในงานจิตรกรรม. สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ Danicl Wildensteinr. (2010). Monet Or the Triumph of Impressionism. South Korea. Taschen GmbH Jon Kear. (2008). The Treasure of The impressionists. London: A Civition of The Carlton Publishing Group https://krittayakorm.woradress พื้นผิว (18 กุมภาพันธ์2562) https://kitsanabbcit58wordpess.com การซ้ำแบบไม่เป็นจังหวะ (18 กุมภาพันธ์2562) https://kitsanabbcit58wordpess.com การซ้ำแบบเป็นจังหวะ (18 กุมภาพันธ์2562) https://th.m wikipedia.org แม่สีของแสง (15 กุมภาพันธ์ 2562) men.mthai.com วงจรสีธรรมชาติ(18 มีนาคม 2562)
330 การให้กำเนิดความงามของรูปร่าง Giving birth to the beauty of shape. หนึ่งฤทัย ยิ้มประเสริฐ, Neungruthai Yimprasert 61/686 หมู่ 5 นครชัยศรี นครปฐม ประเทศไทย,61/686 Moo 5. Nakhon Chai Si Nakhon Pathom Thailand E-mail: [email protected] บทคัดย่อ ผลงานสร้างสรรค์ชุดนี้ต้องการแสดงความงามทางสรีระในรูปร่างหญิงตั้งครรภ์เปลือยและรูปทรงของ หม้อปูรณฆฏะ ด้วยการศึกษาการจัดองค์ประกอบของรูปร่างรูปทรงที่แทนความหมายในเชิงสัญลักษณ์ร่วมกัน สื่อถึงการให้กำเนิด และการเจริญเติบโต ออกแบบโดยใช้หลักการทำซ้ำ การเปลี่ยนแปร การประสาน การ เชื่อมโยงกัน มีการใช้โปรแกรมทางคอมพิวเตอร์ในการปรับแต่งเปลี่ยนแปลงทัศนธาตุ เพื่อสร้างความแตกต่าง ให้เกิดเป็นความงามรูปแบบใหม่ โดยผลจากการศึกษาพบว่า การใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการออกแบบนั้นทำ ให้ผู้สร้างสรรค์สร้างภาพร่างจำนวนมากได้โดยใช้ภาพต้นแบบเพียงสองภาพ ก็ปรากฏเป็นผลงานใหม่ได้ มากกว่า 16 ผลงาน ซึ่งผลจากกระบวนการสร้างสรรค์นี้สามารถทำให้ผู้สร้างสรรค์เกิดทักษะทางด้านความคิด จากการได้เห็นองค์ประกอบที่เป็นมุมมองใหม่ เพื่อใช้พัฒนาผลงานในรูปแบบอื่น อีกทั้งยังสามารถนำหลักการนี้ ไปใช้บูรณาการกับการจัดการเรียนการสอนได้อีกด้วย คำสำคัญ: การทำซ้ำ, การเปลี่ยนแปร, หญิงตั้งครรภ์, รูปร่าง, การให้กำเนิด Abstract This creation was to showcase the beauty of a naked pregnant woman and the shape of a Puranakhata pot by exploring elements of the shape that symbolize the meaning of giving birth and growth. Designed by Use the principles of repetition, variation, transition, and connection. The results of the study found that the use of technology in design allows creators to create many sketches using just two prototype images. More than 16 new works appeared as a result of this creative process. It can help creators develop thinking skills by seeing elements from a new visual. To use to develop works in other formats Moreover, this principle can be used to integrate with teaching and learning as well. Keywords: Repetition, Variation, Pregnant Woman, Shape, Giving birth
331 1. ความสำคัญหรือความเป็นมาของปัญหา ผลงานสร้างสรรค์ชุดนี้เป็นการนำเสนอมุมมองของการจัดองค์ประกอบ การจัดวางรูปทรงที่ หลากหลาย มีการทับซ้อนกัน โดยเปลี่ยนแปลงและสลับตำแหน่งรูปทรง รวมไปถึงการสลับค่าน้ำหนัก อ่อน กลาง เข้ม เพื่อสร้างมิติของภาพให้เกิดความแตกต่างกัน ผลงานทุกชิ้นมีการใช้รูปทรงที่เหมือนกันจำนวน 2 รูปทรงคือ รูปทรงของผู้หญิงตั้งครรภ์ และรูปทรงของหม้อปูรณฆฎะ แต่สามารถสร้างผลงานให้เกิดเป็น องค์ประกอบภาพใหม่ได้มากถึง 16 ผลงาน โดยใช้เทคนิคการร่างภาพด้วยมือและคอมพิวเตอร์กราฟิกในการ ออกแบบและปรับแต่งผลงาน ความหมายและแนวคิดทางด้านรูปทรง รูปทรงของหญิงตั้งครรภ์ คือภาพจิตนาการจากประสบการณ์ของตนเองที่ผ่านการตั้งครรภ์มาถึงสองครั้ง ที่มีทั้งความสุขความ ทุกข์ปะปนกัน ผ่านความอดทนและบททดสอบมากมาย เพื่อให้กำเนิดสิ่งมีชีวิตที่กำลังเจริญเติบโตไปเป็น ประชากรของโลก รูปทรงของหม้อปูรณฆฎะ ปูรณกลศ หรือ ปูรณฆฏะ เป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งที่ชาวอินเดียโบราณได้สร้างสรรค์ขึ้นมา เพื่อเป็น ตัวแทนของความอุดมสมบูรณ์ มั่งคั่ง คำว่า "ปูรณะ” ตามรากศัพท์มาจากภาษาสันสกฤตหมายถึง ความ สมบูรณ์มั่งคั่ง และ "กลศ” (กะ-ละ-สะ) แปลว่า หม้อน้ำ เมื่อรวมกันจึงหมายถึง หม้อน้ำแห่งความอุดม สมบูรณ์มีลักษณะ เป็นหม้อน้ำที่เต็มบริบูรณ์มีไม้เลื้อยออกมาทั้งสองข้างอันแสดงถึงการกำเนิดของชีวิต หรือ การสร้างสรรค์ในทางศาสนาทั้งศาสนาพุทธและศาสนาพราหมณ์ปูรณกลศถือเป็นภาชนะที่ใช้สำหรับบรรจุน้ำ ศักดิ์สิทธิ์เพื่อใช้ในการประกอบพิธีกรรมต่างๆ เช่น พิธีราชสูยะ (พระราชพิธีราชาภิเษก) โดยมีชื่อเรียกต่าง ๆ ว่า "หม้อกลศ” (Kalasa) "หม้อปูรณฆฏะ” (Puranakhata) และ "หม้อกมัณฑลุ” (Kamandlu) เป็นต้น นอกจากนี้ชาวอินเดียเชื่อว่า ปูรณกลศเป็นหม้อน้ำศักดิ์สิทธิ์ที่เกิดขึ้นในคราวที่เกิดการกวนเกษียรสมุทรของ เหล่าเทวดาและยักษ์ซึ่งมักจะพบสัญลักษณ์รูปปูรณกลศในงานศิลปกรรมเนื่องในศาสนา ผลงานสร้างสรรค์ชุดนี้จึงเป็นการนำความหมายของรูปทรงทั้งสองรูปทรง ที่มีนัยยะทางความคิด สัมพันธ์กันมาอยู่ร่วมกัน โดยสื่อถึงการให้กำเนิดสิ่งมีชีวิต ความอุดมสมบูรณ์และความเจริญงอกงาม ข้าพเจ้า ออกแบบโดยนำลวดลายของหม้อปูรณฆฎะมาซ้อนทับกับรูปทรงเปลือยของหญิงตั้งครรภ์ โดยเมื่อซ้อนทับกัน แล้วทำให้ภาพเปลือยของหญิงตั้งครรภ์นั้น ปรากฏลวดลายขึ้นมาคล้ายลายของเสื้อผ้าที่หญิงตั้งครรภ์สวมใส่อยู่ 2. แนวคิด / ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง ผลงานสร้างสรรค์ชุดนี้มีการใช้หลักการออกแบบหรือการจัดองค์ประกอบศิลปะ (Principle) ดังนี้ จังหวะ (Rhythm) จังหวะเป็นหลักการหนึ่งของการออกแบบซึ่งมีพื้นฐานมาจากการซ้ำกัน (Repetition) จังหวะเป็นการนำเอาส่วนประกอบของการออกแบบรวมเข้าไว้ด้วยกัน
332 - จังหวะที่ซ้ำกัน (Repetition Rhythm) คือ วิธีการเน้นอย่างหนึ่งที่ต้องการให้เห็นชัดเจน โดยใช้เส้น รูปร่าง รูปทรง มาจัดวางลงในกรอบพื้นที่มากกว่าหนึ่งครั้ง โดยมีระยะเคียงเท่ากันหรือไม่เท่ากันก็ ได้การสร้างภาพให้ดูกลมกลืน และเป็นจังหวะ ถ้าหน่วยของรูปทรงมีขนาดใหญ่ และใช้จำนวนน้อย งาน ออกแบบจะดูง่าย ท้าทาย แต่ถ้าใช้รูปทรงเล็กจำนวนมาก จะให้ความรู้สึกเป็นผิวสัมผัส การซ้ำด้วยรูปร่าง (Shape) การซ้ำด้วยสี(Color) การซ้ำด้วยทิศทาง (Direction) - จังหวะที่สลับกัน (Alternation Rhythm) คือจังหวะของสองสิ่ง หรือมากกว่าซึ่งสลับกัน ไปมาเป็นช่วง ๆ เป็นลักษณะที่ทำให้ไม่เห็นการซ้ำเด่นชัดมากเกินไป ทำให้มีลักษณะแปลกออกไปอีกแบบหนึ่ง การสังเกตในการมองหาการสลับที่เกิดขึ้นจากสิ่งแวดล้อมตรงหน้าที่อาจจะมีจังหวะที่น่าสนใจซ่อนอยู่ - จังหวะที่ต่อเนื่องกัน (Continuous Rhythm) คือการจัดช่วงจังหวะให้มีความต่อเนื่องกัน จังหวะแบบนี้มักจะมีการเปลี่ยนแปลงของรูปทรงไปเรื่อย ๆ โดยมีสีค่าน้ำหนักของสีหรือพื้นผิวเป็นตัวแปร การเปลี่ยนแปร (Variation) คือ การเพิ่มความขัดแย้งลงในหน่วยที่ซ้ำกัน การเปลี่ยนแปรมี4 ลักษณะ คือ 1. การเปลี่ยนแปรของรูปลักษณะ 2. การเปลี่ยนแปรของขนาด 3. การเปลี่ยนแปรของทิศทาง 4. การเปลี่ยนแปรของจังหวะ การเปลี่ยนแปรรูปลักษณะจะต้องรักษาคุณลักษณะของการซ้ำไว้ถ้ารูปมีการ เปลี่ยน แปรไปมาก การซ้ำก็จะหมดไป กลายเป็นการขัดแย้งเข้ามาแทน และ ถ้าหน่วยหนึ่งมีการ เปลี่ยนแปร อย่างรวดเร็ว มีความแตกต่างจากหน่วยอื่น ๆ มาก จะกลายเป็นความเป็นเด่นเป็นการสร้างเอกภาพด้วยความ ขัดแย้ง 3. กระบวนการในการสร้างสรรค์ ผลงานชุดนี้เป็นผลงานศิลปะไทยร่วมสมัย โดยใช้เทคนิคผสม (การวาดเส้นด้วยดินสอบนกระดาษไข + คอมพิวเตอร์กราฟิก + พิมพ์ดิจิตอล) มีขั้นตอน และกระบวนการในการสร้างสรรค์ดังนี้ อุปกรณ์ที่ใช้ในการสร้างสรรค์ กระดาษสำหรับร่างภาพ – ดินสอ - ยางลบ – กระดาษไข – คอมพิวเตอร์ - เครื่องพิมพ์ – กระดาษ สำหรับพิมพ์ ขั้นตอนการสร้างแบบร่าง 1. เมื่อกำหนดแนวความคิดและรูปทรงได้แล้ว จึงใช้ดินสอเขียนแบบภาพร่างของทั้งสองรูปทรงคือ ภาพเปลือยของหญิงตั้งครรภ์และภาพหม้อปูรณฆฎะที่มาจากจินตนาการ 2. นำภาพต้นแบบทั้งสองภาพ ถ่ายแบบลงบนกระดาษไข เพื่อใช้หาความเป็นไปได้ในการจัดวาง องค์ประกอบภาพ ซึ่งมีส่วนช่วยเสริมสร้างจินตนาการสำหรับการออกแบบและการต่อยอดทางความคิด
333 ภาพที่1 ภาพร่างต้นแบบ ที่มา : หนึ่งฤทัย ยิ้มประเสริฐ (ผู้สร้างสรรค์งาน) ภาพที่2 ถ่ายแบบลงบนกระดาษไข เพื่อใช้หาความเป็นไปได้ในการจัดวางองค์ประกอบภาพ ที่มา : หนึ่งฤทัย ยิ้มประเสริฐ (ผู้สร้างสรรค์งาน) ขั้นตอนการสร้างสรรค์ผลงาน 1. สแกนภาพต้นแบบเพื่อนำไฟล์รูปมาใช้ในการออกแบบ 2. ปรับแต่งภาพ โดยใช้โปรแกรม Photoshop ในการปรับลด-เพิ่ม ปรับแต่ง รูปทรง ความคมชัด ค่าน้ำหนักของสี พื้นผิว ให้แต่ละผลงานมีความแตกต่างกัน 3. การปรับให้เกิดความแตกต่างจะใช้ โหมด Filter gallery โดยเมื่อกดเข้าไปจะมีตัวเลือกใน หมวดใหญ่ อาทิเช่น Brush strokes, Sketch, Texture ฯลฯ เมื่อกดเข้าไปจะเป็นเทคนิคย่อย ในแต่ละหมวด สามารถกดเลือกเพื่อปรับการตั้งค่าได้ตามความต้องการ 4. นำผลงานภาพทั้งหมดมาจัดองค์ประกอบภาพรวม 5. พิมพ์ภาพผลงาน
334 ภาพที่3 การปรับแต่งภาพ โดยใช้โปรแกรม Photoshop (1) ที่มา : หนึ่งฤทัย ยิ้มประเสริฐ (ผู้สร้างสรรค์งาน) ภาพที่4 การปรับแต่งภาพ โดยใช้โปรแกรม Photoshop (2) ที่มา : หนึ่งฤทัย ยิ้มประเสริฐ (ผู้สร้างสรรค์งาน)
335 ภาพที่5 ภาพผลงาน “Giving birth to the beauty of shape.” ที่เสร็จสมบูรณ์ ที่มา : หนึ่งฤทัย ยิ้มประเสริฐ (ผู้สร้างสรรค์งาน) ภาพที่6 ภาพรายละเอียดผลงานบางส่วน ที่มา : หนึ่งฤทัย ยิ้มประเสริฐ (ผู้สร้างสรรค์งาน)
336 4. การวิเคราะห์ผลงาน จากการรวบรวมความคิดและข้อมูลต่าง ๆ ในการสร้างสรรค์ครั้งนี้ผู้สร้างสรรค์พบว่า ลักษณะการ ปฏิบัติงานนั้นถูกปรับเปลี่ยนอยู่ตลอดเวลา เป็นลักษณะของการจินตนาการที่เกิดขึ้นจากกระบวนการ เปลี่ยนแปลงทางการมองเห็น ซึ่งผู้สร้างสรรค์เองไม่สามารถคาดเดาไว้ก่อน งานทุกชิ้นจึงเป็นเหมือนการสร้าง ภาพร่างขึ้นโดยฉับพลัน มีการทดลองใช้เครื่องมือในโปรแกรม เพื่อปรับการตั้งค่า มีการลด-เพิ่มค่านำหนัก ปรับความคมชัดและขนาดรูปทรง ปรับเปลี่ยนตำแหน่งของรูปทรงและโทนสีต่าง ๆ เพื่อให้เกิดเป็นความงามใน การจัดวางองค์ประกอบที่มีทั้งความเหมือนและความต่าง เมื่อวิเคราะห์จากหลักการออกแบบหรือการจัดองค์ประกอบทางศิลปะแล้ว สามารถอธิบายสิ่งที่ ปรากฏขึ้นบนผลงานสร้างสรรค์ได้ดังนี้ ผลงานมีการใช้จังหวะที่ซ้ำกัน โดยผลงานย่อยทั้ง 16 ผลงาน มีการใช้ภาพต้นแบบที่เป็นรูปทรงของ หญิงตั้งครรภ์เปลือยและหม้อปูรณฆฎะที่เหมือนกันทั้งหมด ซึ่งผลงานโดยรวมจะเป็นลักษณะของการซ้ำด้วย รูปร่างรูปทรง และการซ้ำกันด้วยสีขาว เทา ดำ การใช้ จังหวะที่สลับกัน คือการใช้รูปทรงของภาพต้นแบบทั้ง สอง รวมทั้งโทนสีภายในภาพ มาหมุนสลับตำแหน่ง เพื่อหามุมมองในการจัดวางองค์ประกอบที่น่าสนใจ การใช้ จังหวะที่ต่อเนื่องกัน เป็นการวางจังหวะด้วยการซ้ำของทิศทาง สังเกตได้จากภาพหญิงตั้งครรภ์เปลือยที่หัน หน้าไปด้านเดียวกันทั้งหมด ทำให้ภาพมีความต่อเนื่องแม้จะมีขนาดและการจัดวางรูปทรงในแต่ละผลงานย่อย ที่แตกต่างกัน มีการใช้หลักการของการเปลี่ยนแปร ซึ่งเป็นลักษณะของการสร้างความแตกต่างภายใต้รูปทรงที่ซ้ำกัน โดยมีการเปลี่ยนแปรรูป เปลี่ยนแปรของขนาด เปลี่ยนแปรของทิศทาง และเปลี่ยนแปรจังหวะ กระบวนการ เหล่านี้เป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้ผู้สร้างสรรค์เกิดการต่อยอดทางความคิด และเกิดความคิดสร้างสรรค์เพื่อการ พัฒนาผลงานในรูปแบบอื่น ๆ 5. สรุป ผลงานสร้างสรรค์ชุดนี้ เป็นผลงานศิลปะไทยร่วมสมัย ที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจากเรื่องราวของการให้ กำเนิด การเจริญเติบโตงอกงาม โดยใช้รูปทรงของหญิงตั้งครรภ์และหม้อปูรณฆฎะเพื่อแทนความหมายในเชิง สัญลักษณ์มีการออกแบบโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์กราฟิกในการหามุมมองใหม่และจัดวางองค์ประกอบ ภาพให้เกิดความหลากหลาย ผู้สร้างสรรค์พบว่าผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นนั้นส่วนใหญ่เกิดขึ้นโดยมิได้คาดคิด เป็น กระบวนการที่ได้จากการทดลอง การปรับเปลี่ยนเครื่องมือและองค์ประกอบทางทัศนธาตุต่าง ๆ ทำให้สามารถ ผลิตผลงานออกมาได้หลากหลาย ส่งผลให้ผู้สร้างสรรค์เห็นประโยชน์อันเกี่ยวเนื่องกับการศึกษาทางด้านการจัด องค์ประกอบศิลป์ ซึ่งสามารถที่จะนำผลจากกระบวนการที่ได้นี้ไปใช้บูรณาการกับการจัดการเรียนการสอนที่ ผู้สร้างสรรค์มีส่วนเกี่ยวข้องได้
337 เอกสารอ้างอิง กรมธนารักษ์. (2561). ปูรณกลศ : สัญลักษณ์มงคลในสมัยทวาร. Retrieved from. http://coinmuseum. treasury.go.th/news_view.php?nid=152. สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. หลักการออกแบบ.Retrieved from. http://ideazign.com/ port/graphic/content0303_01.htm Chaichan Chaicharoen. (2558). การซ้ำ (Repetition). Retrieved from. https://chaichanbbcit58. wordpress.com/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%8B%E0%B9%89%E0 %B8%B3-repetition/
ขอขอบคุณ กระทรวงวัฒนธรรม สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ ดร.นิภา โสภาสัมฤทธิ์ อธิการบดีสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์อำนวย นวลอนงค์ รองอธิการบดีสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์บุญพาด ฆังคะมะโน คณบดีคณะศิลปวิจิตร สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ นายจรัญ หนองบัว ผู้อำนวยการวิทยาลัยช่างศิลป สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์โกเมศ คันธิก ผู้อำนวยการวิทยาลัยช่างศิลปสุพรรณบุรีสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ นายศุภชัย ระเห็จหาญ ผู้อำนวยการวิทยาลัยช่างศิลปนครศรีธรรมราช สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ ดร.กษมา ประสงค์เจริญ ผู้อำนวยการเชี่ยวชาญวิทยาลัยนาฏศิลปเชียงใหม่สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ คณาจารย์และบุคลากร คณะศิลปวิจิตร สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ คณาจารย์และบุคลากร วิทยาลัยช่างศิลป สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ คณาจารย์และบุคลากร วิทยาลัยช่างศิลปสุพรรณบุรีสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ คณาจารย์และบุคลากร วิทยาลัยช่างศิลปนครศรีธรรมราช สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ บรรณาธิการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์บุญพาด ฆังคะมะโน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ดวงหทัย พงศ์ประสิทธิ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์เด่น หวานจริง ผู้ช่วยศาสตราจารย์นรินทร์ อ้วนดำ ผู้ช่วยศาสตราจารย์โอภาส นุสนิยม ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชยากร เรืองจำรูญ ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุพรรณิการ์ ติรณปริญญ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชนัส คงหิรัญ ผู้รวบรวมและดำเนินการ นางสาวธนาภรณ์ โพธิ์เพชร ออกแบบปกโดย นายภัทรพร เลี่ยนพานิช