243 วัสดุวาดด้วยแปรง พู่กัน การเกลี่ย และการลบออกด้วยวิธีการที่หลากหลาย การวาดด้วยเทคนิคชาร์โคลจึงมี ความน่าสนใจเพราะสามารถสร้างสรรค์ออกจากกรอบการเขียนในแบบดั้งเดิมได้ รวมทั้งมีความใกล้เคียงกับ จิตรกรรมมากยิ่งขึ้น เทคนิคการวาดด้วยชาร์โคลนี้จึงถือว่าเป็นกระบวนการวาดเส้นสร้างสรรค์ ที่สามารถ นำมาคิดค้น พัฒนา ต่อยอดเพื่อแสดงเอกลักษณ์ผลงานศิลปะเฉพาะตัวได้น่าสนใจ ข้าพเจ้าจึงได้เลือกเทคนิค ชาร์โคลนี้มาใช้เป็นเทคนิคหลักในการสร้างสรรค์ และนำแรงบันดาลใจจากการแสดงนาฏศิลป์จากวิทยาลัยนาฏ ศิลปสุพรรณบุรี ชื่อการแสดง “กีฏฤทธิ์” ซึ่งข้าพเจ้ามีการรับรู้ สัมผัสอย่างใกล้ชิดมาใช้เป็นเนื้อหา ข้อมูลในการ สร้างสรรค์ ควบคู่กับหลักการองค์ประกอบทางทัศนศิลป์ การคิดค้นแก้ไขปัญหาในเชิงเทคนิค ความงามด้วย การใช้ความรู้และเชาว์ปัญญาพร้อมๆกัน จนนำมาสู่วาดเส้นสร้างสรรค์ซึ่งแสดงถึงสุนทรียภาพ คุณค่าในทาง ศิลปะและเป็นประโยชน์ในการช่วยส่งเสริม พัฒนาการวาดเส้นโดยใช้ถ่านชาร์โคลให้มีความก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น 2. แนวคิด / ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง ในการศึกษา สร้างสรรค์ผลงานชุดนี้นำหลักการ ทฤษฏีและกรอบแนวคิดที่เกี่ยวข้อง เข้ามามีส่วนร่วม เป็นข้อมูลดังนี้ 2.1 วาดเส้นสร้างสรรค์ ในเชิงวิชาการ วาดเส้นนั้นหมายถึงการลากหรือการวาดเส้นลงไปบนพื้นผิวของวัสดุอย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อให้เกิดร่องรอยหรือรูปร่างขึ้นเพื่อแสดงอารมณ์ความรู้สึกนึกคิดออกมาปรากฏแก่สายตา (ชลูด นิ่มเสมอ, 2553, น. 13) วาดเส้นนั้นจึงมีความหมายที่ค่อนขว้างกว้างขวาง ด้วยการเลือกใช้วัสดุได้มากมายในการ แสดงออกของการวาดเส้นไม่ว่าจะเป็นดินสอ ปากกา หมึก กิ่งไม้ ถ่านชาร์โคล หรือแม้กระทั่งแสง แต่ เป้าหมายของการวาดนั้นก็เป็นสิ่งสำคัญอย่างมาก ชลูด นิ่มเสมอ ยังได้อธิบายถึงการให้ความสำคัญต่อ เป้าหมายของการวาดเส้นนั้นว่า การวาดเส้นนั้นไม่ใช่การฝึกฝีมือให้เขียนรูปได้แนบเนียบของจริง แต่เป็นการ ฝึกแปลงมโนคติหรือความคิดออกมาเป็นรูปทรงที่สัมผัสได้อย่างรวดเร็ว ชัดเจนเข้มข้น การวาดเส้นเป็นการ ทำงานร่วมกันระหว่างสายตา และจิตใจ ซึ่งไม่สามารถแยกออกจากกันได้ และที่สำคัญการวาดเส้นเป็นวิธีฝึก การตอบโต้ระหว่างอารมณ์ของศิลปินกับสิ่งที่มองเห็นกับสิ่งที่รู้สึก แสดงผลออกมาด้วยการประสานกันของ ทัศนธาตุทั้งที่มีอยู่ในธรรมชาติและงานศิลปะ จนเกิดเป็นทัศนศิลป์ซึ่งมีความสมบูรณ์ในตัว วาดเส้นสร้างสรรค์ จึงมีความหมายตามที่กล่าวมาข้างต้นนี้ 2.2 เทคนิควาดเส้นชาร์โคลเปียกและแห้ง กระบวนการวาดเส้นเทคนิคชาร์โคลเปียกและแห้ง เป็นเทคนิคที่มีการพัฒนามาจากการเขียนใน แบบเดิมซึ่งมักใช้การวาดในแบบแห้งอย่างเดียว หมายถึงการวาดด้วยแท่งถ่านธรรมชาติ ซึ่งมักทำมาจากกิ่งไม้ เช่นกิ่งหลิว และนิยมเขียนกันมาตั้งแต่ยุคเรอเนสซองส์ ของยุโรป ปัจจุบันศิลปินทั้งในจีน และยุโรปเริ่มวาด ภาพเทคนิคนี้ด้วยการนำมาทำเป็นผง และผสมน้ำเป็นชาร์โคลเหลวนำมาวาดคล้ายจิตรกรรมสีน้ำ และเมื่อแห้ง จะวาดด้วยแท่งถ่าน ดินสอถ่าน มีการเกลี่ยให้กลมกลืนบ้างหรือทิ้งร่องรอยไว้บ้าง การวาดการเขียนของศิลปิน แต่ละคนจะมีความแตกต่างกันออกไปบ้าง ตามความชอบความสนใจ ทั้งการเขียนในแบบลดทอนรายละเอียด
244 และการเขียนเหมือนจริงขั้นสูง การวาดด้วยกระบวนการชาร์โคลเปียกและแห้ง ถือเป็นกระบวนการใหม่ที่ กำลังได้รับความนิยม มีการค้นคว้ากันมากยิ่งขึ้น ช่วยทำให้งานวาดเส้นเกิดมิติใหม่ขึ้นมาอย่างมาก ภาพที่ 1 ผลงานวาดเส้นเทคนิคชาร์โคลแบบเปียกและแห้งของ Cesar Santos 2.3 แนวคิดการแสดงนาฏศิลป์ กีฏฤทธิ์ของวิทยาลัยนาฏศิลปสุพรรณบุรี การแสดง กีฏฤทธิ์ เป็นชุดการแสดงของวิทยาลัยนาฏศิลปสุพรรณบุรี ซึ่งจัดแสดงในงาน ศิลปวัฒนธรรม 4 ภาค ณ จังหวัดอ่างทอง ปี 2565 โดยมีแนวคิดของการแสดงคือเป็นการแสดงที่ได้รับแรง บันดาลใจจาก ตำนานพญาต่อ วัดแค สุพรรณบุรีปรากฏในวรรณคดีขุนช้างขุนแผน สร้างสรรค์ท่วงท่าของ นักแสดงมาจากอากัปกริยาการบิน การใช้ปีก หัว ลำตัว ขา ของตัวต่อ ผสมท่ารำการแสดงโขนที่มีความ รวดเร็ว แข็งแรง และดุดัน การออกแบบสีของชุดการแสดงเน้นดำ ทองและแดง ภาพที่ 2 การแสดงชุด กีฏฤทธิ์วิทยาลัยนาฏศิลปสุพรรณบุรี
245 3. กระบวนการในการสร้างสรรค์ กระบวนการสร้างสรรค์เริ่มต้นโดยการค้นหาการแสดงนาฏศิลป์ของสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ โดย เลือกเจาะจงตามความสนใจของผู้สร้างสรรค์ซึ่งในการสร้างสรรค์ผลงานนี้เลือกการแสดงชุด กีฏฤทธิ์โดย วิทยาลัยนาฏศิลปสุพรรณบุรี เป็นแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์การขึ้นโครงร่างของภาพใช้การสร้างสรรค์ ร่องรอย คราบ ตะกอนของถ่านชาร์โคลในแบบนามธรรม ไม่กำหนดรูปทรงใดๆในเบื้องต้น ด้วยการผสมผง ถ่านชาร์โคลกับน้ำ ระบาย ปาดป้าย หยอดหยด ทิ้งคราบการไหลแผ่ซึมของชาร์โคลให้เป็นธรรมชาติ เสมือน การทำงานในลักษณะนามธรรม เมื่อแห้งเรียบร้อย สร้างสรรค์ด้วยกระบวนการแห้ง โดยวาดด้วยถ่านชาร์โคล ในรูปแบบกิ่งไม้ ดินสอชาร์โคล การเกลี่ยในบางส่วนด้วยวัสดุเกลี่ยฝนเช่นม้วนกระดาษ มือ พู่กัน และการแตะ เพื่อสร้างให้เกิดแสงในบางส่วนด้วยยางลบนิ่ม ยางลบแข็งและดินสอยางลบ สร้างรูปทรงของนักแสดงและชุด แต่งกายที่ชัดเจนบางส่วน แสดงถึงลีลาร่ายรำตามเอกลักษณ์การแสดงผสมกับการแปลความรู้สึกตามมโนคติ ของผู้สร้างสรรค์ เพื่อให้ได้ผลงานที่สมบูรณ์อันประกอบกันระหว่างองค์ประกอบจากการแสดงและทัศนธาตุ ทัศนศิลป์รวมทั้งการแสดงออกอันมีลักษณะเฉพาะตัว ภาพที่ 3 กระบวนการชาร์โคลเปียก ที่มา : ผู้สร้างสรรค์ ภาพที่ 4 ตัวอย่างกระบวนการสร้างภาพพื้นในชั้นแรก ที่มา : ผู้สร้างสรรค์
246 ภาพที่ 5 ผลงานสร้างสรรค์ ที่มา : ผู้สร้างสรรค์ 4. การวิเคราะห์ผลงาน ผลของการสร้างสรรค์แสดงให้เห็นถึงการผสมผสานระหว่างลักษณะทางนามธรรมอันเกิดจาก การใช้ ทัศนธาตุเส้นโครงสร้างเพื่อให้เกิดความเคลื่อนไหวในภาพ การสร้างพื้นผิวด้วยกระบวนการที่หลากหลาย ร่องรอยอันเกิดจากลักษณะเฉพาะของถ่านชาร์โคลทั้งแบบเปียกและแห้ง และการแสดงรูปลักษณ์รายละเอียด บางส่วนซึ่งมีที่มาจากการแสดงชุด กีฏฤทธิ์ ได้ปรากฏชัดเจนและเลือนหายในบางส่วน ช่วยส่งเสริมให้ภาพเกิด ความเคลื่อนไหวที่รวดเร็ว มีพลัง มีความกระฉับกระเฉง และความสนุกสนานในผลงานสร้างสรรค์ 5. สรุป ผลงานวาดเส้นสร้างสรรค์ลีลานาฏศิลป์ถิ่นสุพรรณบุรี เป็นผลงานที่มีจุดมุ่งหมายในการค้นหา ทดลอง กระบวนการวาดเส้นสร้างสรรค์ด้วยเทคนิคชาร์โคล ทั้งแบบเปียกและแห้ง ทั้งค้นหาแนวทางการถ่ายทอดภาพ ประทับใจจากการแสดงนาฏศิลป์ มาสู่ผลงานทัศนศิลป์ที่มีแบบฉบับเฉพาะ โดยอาศัยทัศนธาตุศิลปะ มโนคติ และจินตนาการของผู้สร้างสรรค์ควบคู่กัน ผลงานสร้างสรรค์นี้จะเป็นตัวอย่างหนึ่งของการพัฒนาวาดเส้น สร้างสรรค์เทคนิคชาร์โคล ให้มีความก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น เอกสารอ้างอิง ชลูด นิ่มเสมอ. (2553). วาดเส้นสร้างสรรค์= Creative Drawing. กรุงเทพฯ: อมรินทร์. วิศิษฐ พิมพิมล. (2564). เอกสารการจัดการองค์ความรู้เทคนิคการวาดภาพเกรยองและชาร์โคล. สุพรรณบุรี: สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์. สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์. (2565). มหกรรมศิลปวัฒนธรรมไทย “รวมใจบัณฑิตพัฒนศิลป์ ณ ถิ่นอ่างทอง.
247 รูปเหมือนตัวเองในเดือนตุลาคม 2566 Self-portrait in October 2023 วิสุทธิ์ ยิ้มประเสริฐ, Wisut Yimprasert หมู่บ้านพฤกษา 8 ซอย 11 บ้านเลขที่ 61/686 ม.5 ต.ลานตากฟ้า อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม 73120 Baan Pruksa 8 Soi 11, 61/686, Moo 5 Lantakfa, Nakhonchaisri, Nakhonpathom 73120 E-mail: [email protected] บทคัดย่อ ที่มาของผลงานประติมากรรม “รูปเหมือนตัวเองในเดือนตุลาคม 2566” เกิดจากการที่ข้าพเจ้าสนุก กับการคิดและชอบทำงานประติมากรรมชิ้นเล็ก ๆ เก็บไว้ในช่วงเวลาพักผ่อนจากงานประจำ ด้วยวัสดุเหลือใช้ จากการสร้างสรรค์ผลงานประติมากรรมชิ้นใหญ่ จากวัตถุเหลือใช้ต่าง ๆ ที่เกิดจากการเก็บสะสมไว้ด้วย ความชอบส่วนตัวหรือวัตถุที่เตรียมไว้รอสร้างสรรค์ผลงาน เมื่อช่วงเวลาผ่านไปวัตถุเหล่านั้นจึงทำหน้าที่เป็นวัสดุ ในการทำงานศิลปะ เพื่อสร้างรูปทรงใหม่โดยนำมาประกอบเข้าด้วยกันด้วยกรรมวิธีการต่าง ๆ ผลงานประติมากรรมชิ้นนี้ได้แรงบันดาลใจจากการดำเนินชีวิตประจำวันในแต่ละช่วงเวลาที่ถูกบันทึก เอาไว้ นำมาสร้างสรรค์ผลงาน ผ่านวัตถุ วัสดุที่พบเห็นในชีวิตประจำวันของข้าพเจ้า เป็นการสร้างรูปทรงขึ้นมา ใหม่โดยวัตถุและวัสดุเหลือใช้ประกอบเข้าด้วยกัน ด้วยการประกอบรูปทรงแบบแทรกเข้าหากัน นำมาประกอบ เป็นรูปทรงประติมากรรมโดยอาศัยทัศนธาตุทางศิลปะ ด้วยเทคนิคเจาะ ตัด ผ่า ประกอบวัสดุ และเชื่อมไฟฟ้า เพื่อแสดงออกถึงอารมรณ์ ความรู้สึกที่มีต่อช่วงเวลาในขณะนั้น คำสำคัญ: ประติมากรรม, วัสดุเหลือใช้, รูปทรง Abstract The origin of the sculpture "Self-portrait in October 2023" is that I enjoyed thinking and liked to work on small pieces of sculpture, kept in the rest of my time from my full-time job, with the materials left over from the creation of large pieces of sculpture. From various found object created by collecting with personal preferences or prepared objects waiting to be created. As the passage of time passes, they act as materials for artwork to create new forms, compounding them with different methods. This sculpture is inspired by the daily life of each recorded moment. To create works through objects. The materials I see in my daily life are reconstructed by objects and leftover materials. By assembling an interpenetrating forms. It is assembled into a sculpture
248 form based on artistic elemental vision, with drilling, cutting, dissecting, assembling materials and welding electrically to express the arrondissement. How it feels about the moment. Keywords: Sculpture, Found object, Form 1. ความสำคัญหรือความเป็นมาของปัญหา ในชีวิตประจำวันของคนเราทุกคนต้องพบเจอกับความจริง ความดี ความงาม ความสุข ความทุกข์ ที่ ผ่านเข้ามากระทบจิตใจทั้งรู้ตัวบ้างและไม่รู้ตัวบ้าง ข้าพเจ้าได้แรงบันดาลใจจากการบันทึกความรู้สึกจากเรื่องราวต่าง ๆ ในการดำเนินชีวิตประจำวันในแต่ ละช่วงเวลานำมาสร้างสรรค์ผลงานชิ้นนี้ “Self-portrait in October 2023” ผ่านวัตถุ วัสดุที่พบเห็นใน ชีวิตประจำวันของข้าพเจ้าเช่นกัน นำมาประกอบเป็นรูปทรงประติมากรรมโดยอาศัยทัศนธาตุทางศิลปะ เช่น เส้น ระนาบ ปริมาตร รูปทรง ฯ เพื่อแสดงออกถึงอารมรณ์ ความรู้สึกที่มีต่อช่วงเวลาในขณะนั้น คำว่า วัตถุ เป็นคำที่มาจากภาษาบาลีตรงกับคำในภาษาสันสกฤตว่า วัสดุ ไทยรับมาใช้ทั้ง 2 คำ แต่ใช้ ในความหมายต่างกัน วัตถุ หมายถึง สิ่งของทั่วไป แต่ วัสดุ ใช้หมายถึงสิ่งของที่นำมาใช้เพื่อวัตถุประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น วัสดุก่อสร้าง วัสดุการศึกษา หรือหมายถึงของที่ใช้แล้วหมดเปลืองไป เช่น กระดาษและเครื่องเขียนต่าง ๆ จัดเป็นวัสดุสำนักงาน วัตถุ กับ วัสดุ จึงต่างกันตรงที่การใช้สอย วัตถุ หมายถึง สิ่งของทั่ว ๆ ไป เช่น โบราณวัตถุ. ถาวรวัตถุ วัตถุนิยม ส่วน วัสดุ หมายถึง สิ่งของที่จะนำไปใช้ เช่น กรวด หิน ดิน ทราย ถ้ายังไม่ได้นำไปใช้ เรียกว่าเป็น วัตถุ แต่ถ้าจะนำไปใช้ประโยชน์ เช่นใช้ในการก่อสร้างหรือทำสิ่งอื่น กรวด หิน ดิน ทราย นั้น ก็จะเรียกว่าเป็น วัสดุ คือ วัสดุก่อสร้าง (สำนักงานราชบัณฑิตยสภา, 2550) ประติมากรรมเป็นศิลปะที่อาศัยวัสดุในการสร้างรูปทรง วัสดุและทางเทคนิคจึงมีความสำคัญต่อศิลปะ ประเภทนี้ ข้าพเจ้าเป็นคนชอบเก็บวัตถุ,วัสดุ,เครื่องมือและของใช้ต่าง ๆ ที่ใช้ไม่ได้แล้วหรือของที่เหลือจากการ ทำงาน พิจารณาความงามของวัตถุ-วัสดุนั้น ๆ เพื่อรอเวลาที่จะได้นำมาสร้างเป็นผลงานศิลปะในยามว่างจาก ภาระงานสอน เวลาที่ได้ลงมือทำงานศิลปะเป็นช่วงเวลาที่มีความสุขที่สุดในที่นี้อาจจะเรียกว่าศิลปะบำบัด สำหรับพักผ่อนก็พอได้ ข้าพเจ้าสนุกกับการคิดและชอบการแก้ปัญหาทางเทคนิคกับวัตถุหรือวัสดุที่มีอยู่ จะใช้ เวลาทบทวนกับจินตนาการภาพร่างพอสมควรแล้วจะใช้เวลาในการลงมือทำให้น้อยที่สุด ผลงานหลายๆชิ้น เป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ แต่อีกหลายๆชิ้นก็ไม่ประสบผลดังที่ต้องการ เมื่อผ่านกาลเวลาผลงานหลายๆชิ้นจึง เป็นกลายเป็นวัตถุที่นำมาใช้เป็นวัสดุในการสร้างโครงสร้างของรูปทรงใหม่ ทำให้ความสนุกคิดสนุกทำเกิด ขึ้นมาอีกครั้ง จึงเป็นที่มาของงาน "Self-portrait in October 2023" ชิ้นนี้
249 2. แนวคิด / ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง วัตถุกลายเป็นวัสดุและนำวัสดุมาประกอบให้เกิดของรูปทรงใหม่ วัสดุสำเร็จรูป (Read-Made) ในทางศิลปะสายทัศนศิลป์ วัสดุสำเร็จรูป ฟาวนด์ อ็อบเจ็ค หมายถึง วัตถุหรือของที่มีอยู่แล้ว มักจะ เป็นของที่ผลิตโดยมนุษย์ ถ้าเป็นวัตถุจากธรรมชาติสามารถใช้คำว่า ฟาวนด์ อ็อบเจ็ค ถ้าเป็นวัสดุสำเร็จรูป มักจะหมายถึงของที่ทำจากอุตสาหกรรม (สุธี คุณาวิชยานนท์. 2561) การประกอบวัตถุเข้าด้วยกัน หรือการประกอบโครงสร้าง (Assemblage or Construction Techniques) เป็นกระบวนการที่ต่างออกไปจากวิธีการสร้างงานประติมากรรมที่ทำกันมาแต่เดิม ซึ่งมักใช้วิธีการ แกะสลัก การปั้นและการหล่อโลหะ ประติมากรในยุคศิลปะสมัยใหม่มีความคิดแหวกแนวในการสร้างสรรค์เพื่อ แสดงออกอย่างอิสระมากขึ้น ทำให้เกิดการทดลองสร้างงานโดยวิธีการต่างไปจากศิลปะคลาสสิก ทั้งศิลปิน สมัยใหม่ยังมีวัสดุให้เลือกใช้อย่างหลากหลายตามพัฒนาการของอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีต้นศตวรรษที่ 20 ศิลปินกลุ่มหนึ่งใช้วัตถุที่มีประโยชน์ใช้สอย เช่น โทรศัพท์ หุ่นโชว์เสื้อ เตารีด มาสร้างเป็นงานศิลปะโดยใช้การ ประกอบวัสดุเหล่านั้นเข้าด้วยกัน เรียกว่า การปะติด หรือนิยมเรียกเทคนิควิธีการนี้ตามเสียงภาษาฝรั่งเศสว่า อัสซองบลาจ (Assemblage) ส่วนวัตถุสิ่งของที่ศิลปินนำมาสร้างเป็นผลงานซึ่งเป็นของใช้งานและหาได้รอบ ๆ ตัว เรียกว่า วัสดุที่หาได้ มาจากคำในภาษาฝรั่งเศสว่า ออปเช ทรูเว่ (Objet trouve) ต่อมาจึงหันมานิยมคำ ภาษาอังกฤษที่บัญญัติขึ้นภายหลัง (Found Objects) ในปัจจุบันนิยมเรียกสิ่งของเหล่านี้ว่า วัสดุสำเร็จรูป (Readymade) (จักรพันธ์ วิลาสินีกุล. 2560) 3. กระบวนการในการสร้างสรรค์ ผลงานชิ้นนี้เป็นการประกอบวัสดุเหลือใช้ เพื่อหาจังหวะรูปทรงขององค์ประกอบที่สมบูรณ์โดยการ ประกอบรูปทรงแบบแทรกเข้าหากันด้วยเทคนิควิธีการ เจาะ ตัด ผ่า ประกอบวัสดุ และเชื่อมไฟฟ้า เพื่อให้เกิด โครงสร้างของรูปทรงใหม่ที่รองรับแนวความคิดของการสร้างสรรค์ผลงาน ภาพที่ 1 ภาพวัตถุและวัสดุเหลือใช้ ที่มา : ผู้สร้างสรรค์
250 ภาพที่ 2 ภาพวัตถุและวัสดุเหลือใช้ ที่มา : ผู้สร้างสรรค์ ภาพที่ 3 ภาพวัตถุและวัสดุเหลือใช้ ที่มา: ผู้สร้างสรรค์
251 ภาพที่ 4 ภาพวัสดุอุปกรณ์ในการสร้างสรรค์ผลงาน ที่มา : ผู้สร้างสรรค์ ภาพที่ 5 ภาพขั้นตอนการสร้างสรรค์ผลงาน ที่มา : ผู้สร้างสรรค์
252 ภาพที่ 6 ภาพขั้นตอนการสร้างสรรค์ผลงาน ที่มา : ผู้สร้างสรรค์ ภาพที่ 7 ผลงาน "Self-portrait in October 2023" ที่มา : ผู้สร้างสรรค์
253 ภาพที่ 8 ภาพแสดงด้านต่างๆของผลงาน "Self-portrait in October 2023" ที่มา : ผู้สร้างสรรค์ 4. การวิเคราะห์ผลงาน ผลงานประติมากรรมชิ้นนี้เป็นการสร้างรูปทรงขึ้นมาใหม่โดยใช้วัสดุเหลือใช้ประกอบเข้าด้วยกัน ภาพรวมขององค์ประกอบผลงานชิ้นนี้ เกิดจากจุด เส้น ระนาบ จังหวะ โดยการประกอบรูปทรงแบบแทรกเข้า หากันด้วยเทคนิควิธีการ เคาะ บิด เจาะ ตัด ผ่า ประกอบวัสดุ และเชื่อมไฟฟ้า เพื่อให้เกิดโครงสร้างของรูปทรง ใหม่ เน้นความงามของวัสดุและจังหวะของรูปทรงและพื้นที่ว่าง เป็นผลงานประติมากรรมลักษณะการประกอบ รูปทรงโดยการใช้วัสดุเหลือใช้
254 ภาพที่9 ภาพแสดงรายละเอียดผลงาน "Self-portrait in October 2023" ที่มา : ผู้สร้างสรรค์ 5. สรุป ในการสร้างสรรค์ผลงานประติมากรรม "Self-portrait in October 2023" ชิ้นนี้ คือการศึกษาเพื่อ แสดงแนวคิดผ่านรูปแบบของกระบวนการสร้างสรรค์ที่ได้รวบรวมข้อมูลแล้วการวิเคราะห์และการทดสอบของ การประกอบรูปทรงเช่นเดียวกับการพัฒนาและการแก้ปัญหาให้กับประติมากรรมให้สมบูรณ์ ทำให้ผลงานเป็น ที่น่าพอใจเพื่อที่จะตอบสนองความคิดและขอบเขตของแนวความคิด เป็นสิ่งสำคัญที่ข้าพเจ้าต้องการนำเสนอสู่ สาธารณชนว่า วัตถุและวัสดุต่าง ๆ รอบข้าง สามารถนำมาสร้างสรรค์ทำให้เกิดคุณค่าขึ้นได้ใหม่เพื่อรองรับ แนวความคิดของการสร้างสรรค์ผลงาน เอกสารอ้างอิง จักรพันธ์ วิลาสินีกุล. (2560). วัสดุและสื่อในประติมกรรม. กรุงเทพฯ: บริษัท ไซเบอร์พริ้นท์กรุ๊ป จำกัด. สุธี คุณาวิชยานนท์. (2561). ศิลปะสมัยใหม่และร่วมสมัย:ตะวันตกและไทย. กรุงเทพฯ: คณะจิตรกรรม ประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. (2550). วัตถุ-วัสดุ. สืบค้นเมื่อ 4 ธันวาคม 2566,จากเว็บไซต์: https://shorturl.asia/Qvx51
255 วาดเส้นสื่อผสม : นัยซ้อนของรูปทรง-พื้นที่-เวลา ในบริบทการผสมผสานทางวัฒนธรรม และความเชื่อ ยุค BANI WORLD 2024 Mixed Media Drawing: The double meaning of shape, space, and time in the context of a mix of cultures and beliefs in the BANI WORLD 2024 era. ศักดิ์ชาย บุญอินทร์, Sakchai Boon-Intr วิทยาลัยช่างศิลป สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์กรุงเทพ ประเทศไทย College of Fine Arts, Bunditpatanasilpa Institute of Fine Arts, Bangkok, Thailand E-mail: [email protected] บทคัดย่อ วาดเส้นสื่อผสมด้วยทัศนธาตุ และกายภาพของวัสดุในลักษณะ 2 มิติ 3 มิติ และสื่อเทคโนโลยี ผสมผสานกับการแสดงออกด้วยนัยซ้อนของรูปทรง-พื้นที่-เวลา เป็นสัญลักษณ์เพื่อเชื่อมโยงมิติของชีวิต ความทรงจำที่มีคุณค่า และเนื้อหาเรื่องการเวียนว่ายตายเกิด หมุนวนในลักษณะวงกลม โดยแสดงสัญลักษณ์ ของภาพร่าง ภาษา ข้อมูล ที่เปรียบเสมือนโครงสร้างสำคัญของสาระ และเป็นกายวิภาคของศิลปะ ในบริบท การผสมผสานทางวัฒนธรรม และความเชื่อ ยุค BANI WORLD 2024 คำสำคัญ: วาดเส้นสื่อผสม, นัยซ้อนของรูปทรง, พื้นที่, เวลา, การเวียนว่ายตายเกิด, กายวิภาคของศิลปะ, การผสมผสาน ทางวัฒนธรรมและความเชื่อ, ยุค BANI WORLD 2024 Abstract Mixed-media gesture Drawing with visual elements and the physicality of materials in 2D, 3D, and technological media Combined with the expression of the double meaning of shape, space, and time. It is a symbol to connect the dimensions of life. valuable memories and the content of rebirth and death Swirling in a circular motion. It shows symbols of sketches, language, and information that are like the important structure of the content. and it is the anatomy of art. In the context of cultural integration and beliefs in the BANI WORLD 2024 era Keyword: Mixed media Gesture Drawing, The double meaning of Shape- Space, and Time, Rebirth and Death, Anatomy of Art, A mix of Cultures and Beliefs, BANI WORLD 2024 era
256 1. ความสำคัญหรือความเป็นมาของปัญหา ปรากฏการณ์ความเปลี่ยนแปลงทางสังคมในยุคสมัยที่มีการใช้ภาษาสัญลักษณ์สื่อสารกันในโลกเสมือน จริงผ่านสื่อสังคมออนไลน์ด้วยระบบดิจิทัล สมาร์ทเทคโนโลยี และอัจฉริยะสมองกล AI เป็นลักษณะความ เปลี่ยนแปลงของโลกสู่ยุค BANI WORLD ที่แสดงถึงความเปราะบาง ภาวะความวิตกกังวล ไม่เป็นเส้นตรง สิ่ง ต่าง ๆ เกิดขึ้นแบบไม่มีใครคาดคิด ขาดตรรกะ ไม่เป็นเหตุเป็นผล มีความกำกวม ไม่สามารถเข้าใจได้ และ ทุกสิ่งอยู่นอกเหนือการควบคุม โดยส่งผลกระทบในวงกว้างต่อวิถีการดำรงชีวิต สังคม ระบบเศรษฐกิจ วัฒนธรรม และสภาพแวดล้อม อีกทั้งยังก่อให้เกิดทัศนคติ แนวคิด มุมมองแบบใหม่ของผู้คนในสังคม ยุคปัจจุบัน โดยให้คำนิยามในเรื่องที่สำคัญต่อตนเองและสังคมด้วยความหมายและบริบทแตกต่างไปจากเดิม ปรากฏการณ์ของสังคมในรูปแบบใหม่ได้กระตุ้นเตือนให้ตระหนักถึงการค้นหาความหมาย ความสำคัญของการดำรงชีวิต โดยมุ่งเน้นการสืบค้น สำรวจคุณค่าของชีวิตที่ผ่านไปตามเหตุการณ์ กาลเวลาทั้ง ในอดีตและปัจจุบัน รวมถึงการรำลึกถึงชีวิตบรรพบุรุษผู้ล่วงลับ และความเชื่อเรื่อง สังสารวัฏ การเวียนว่าย ตายเกิด หมุนวนเป็นวงกลม สาระดังกล่าวเป็นแนวเรื่อง และแรงบันดาลใจสำคัญสำหรับการสร้างกระบวน ทัศน์ทางศิลปะ ผ่านการประมวล วิเคราะห์ สรุปข้อมูล แสดงออกด้วยการวาดเส้นสื่อผสมที่ใช้เทคนิค วิธีการ รูปแบบ ลักษณะเฉพาะในการบันทึก และสร้างสัญลักษณ์ นัย ด้วยทัศนธาตุ กายภาพของวัสดุในลักษณะ 2 มิติ3 มิติ ผสมผสานสื่อเทคโนโลยีเป็นการสร้างสรรค์นัยซ้อนของรูปทรง-พื้นที่-เวลา เพื่อเชื่อมโยงมิติของ ความทรงจำ คุณค่าของชีวิต และความเชื่อเรื่อง สังสารวัฏในวิถีชีวิตโลกยุคปัจจุบัน เพื่อค้นหาความสัมพันธ์ อันประกอบด้วยภาพร่าง ภาษา ข้อมูล และเนื้อหา ที่เปรียบเสมือนโครงสร้างสำคัญของสาระ และเป็นกาย วิภาคของศิลปะ ในบริบทการผสมผสานทางวัฒนธรรม และความเชื่อ ยุค BANI WORLD 2024 2. แนวคิด / ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง การวาดเส้นในผลงานชุดนี้ เป็นการสร้างภาพร่าง เชิงบันทึกที่ใช้เส้นรอบนอกเป็นตัวกำหนดรูปทรง โดยไม่มุ่งเน้นความสำคัญของปริมาตรและความถูกต้อง แต่ใช้ลักษณะดังกล่าวบันทึก ความคิด ความรู้สึก ณ ช่วงเวลาขณะปฏิบัติงาน แสดงสาระของชีวิต ผ่านเส้น รูปทรงที่อิสระ สื่อสารด้วยภาษาของภาพร่าง ตามความหมายที่ว่า “กายวิภาคของ Sketch ถูกขยายความทั้งเนื้อหา และรูปแบบ เช่น ลักษณะของเส้น การแสดงออกผ่านร่องรอยการระบายค่าน้ำหนัก รวมถึงลักษณะตัวอักษร ทิศทาง เครื่องหมาย ของการค้นหา การบันทึก สัญลักษณ์ในภาพร่างได้กลายเป็นสาระ มีความสำคัญในลักษณะโครงสร้างและความจริงของศิลปะ ตามที่ข้าพเจ้าได้กล่าวไว้” (ศักดิ์ชาย บุญอินทร์, 2550) การสร้างภาพร่างสะท้อนเนื้อหา อารมณ์ ความรู้สึกเฉพาะตน มีลักษณะเฉพาะ ด้านการแสดงออก ผ่านลักษณะการวาดเส้นท่าทาง และประสาทสัมผัส แสดงสาระ เนื้อหาของรูปทรง ตามความหมายที่ว่า “เนื้อหาที่เป็นผลจากการผสมผสานระหว่างศิลปินกับเรื่อง ในกรณีนี้ศิลปินจะเสนอความเห็นส่วนตัว หรือผสม ความรู้สึกส่วนตัวเข้าไปในเรื่อง เป็นการผสมกันระหว่างรูปลักษณะของเรื่องกับจินตนาการของศิลปิน ” (ชลูด นิ่มเสมอ, 2538 น.37)
257 จึงเป็นการนำเนื้อหาทางศิลปะ และแนวเรื่องการเปลี่ยนแปลงของชีวิต กับความเชื่อเรื่องการเวียน ว่ายตายเกิดในลักษณะวงกลม มาใช้เป็นแนวคิดในการสร้างสรรค์ โดยใช้ลักษณะทางกายภาพของวัสดุ วัตถุ เช่น ป้าย กล่องไฟ และ ลักษณะรูปทรงทางศิลปะสร้างสัญลักษณ์ให้สอดคล้องสัมพันธ์กับความหมายของ คำว่า สงสาร ตามความหมายดังนี้ 1) น. การเวียนว่ายตายเกิด, การเวียนตายเวียนเกิด 2) น. โลก.(พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554, ออนไลน์) และคำว่า วัฏฏะ ที่มีหมายคือ 1) น. วงกลม 2) น. การหมุน, การเวียนไป, รอบแห่งการเวียนเกิดเวียนตาย 3) ว. กลม, เป็นวง. (พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554, ออนไลน์) รวมกันเป็นคำว่า “สังสารวัฏ” ที่แปลตามอักษรว่า การเวียนว่ายตายเกิด เป็นวงกลม (สิริมิตร สิริโสฬส, ออนไลน์) คำว่า “นัยซ้อน” เป็นการนำคำว่า นัย ผสมกับคำทางด้านทัศธาตุทางศิลปะ เช่น รูปทรง พื้นที่ น้ำหนักเพื่อเป็นสัญลักษณ์ในการอธิบายความหมายที่ซับซ้อนด้านการแสดงออกของจิต และความคิด ในลักษณะของ นัย ที่ว่า“นัยประหวัด คือ ความหมายของคำที่ไม่ตรงตัว แต่เป็นการแฝงความหมายไว้ภายใต้ ตัวอักษร ต้องอาศัยการตีความจากผู้รับสารจึงจะเข้าใจความหมายนั้น” (ความหมายนัยตรง ความหมาย โดยนัย, ออนไลน์) สัญลักษณ์ในการสร้างสรรค์ ยังรวมไปถึงลักษณะทางกายภาพของวัสดุ วัตถุ และสื่อที่นำมาใช้เป็น เครื่องมือแทน “นัย” ที่เกี่ยวข้อง โดยผสมผสานการบันทึก วาดเส้น ด้วย ปากกา S-Pen ในสมาร์ทโฟน และ ใช้กระบวนการพิมพ์ ประกอบกับป้ายกล่องไฟ LED ในลักษณะสื่อผสม (mixed media) ที่มีความหมายว่า “เป็นวิจิตรศิลป์ ในการนำสื่อมากกว่าสองสื่อ หรือศิลปะมากกว่าสองแขนงมารวมกันขึ้นไปมาสร้างเป็นงานชิ้น เดียวกัน โดยนิยมใช้สื่อที่แตกต่างกัน มานำจุดเด่นของแต่ละสื่อมาใช้ร่วมกัน”(ออนไลน์. Wikipedia) กระบวนการสร้างสรรค์ยังมีส่วนผสมของศิลปะเชิงแนวคิดในลักษณะความหมายที่สัมพันธ์กับความ เปลี่ยนแปลงทางสังคม ผู้สร้างสรรค์มองภาพความเป็นไปได้ในการสร้างภาพร่างความคิด การจัดวาง ติดตั้ง ผลงานในสถานที่จริง และใช้ข้อมูลของวิถีชิต กลุ่มผู้คน ที่มีสภาพชีวิต และเหตุการณ์จริงที่ผันแปรเปลี่ยน แปลงไปตามบริบทของสังคม เป็นการสร้างสรรค์ที่ไม่มุ่งเน้นความสมบูรณ์ของสุนทรียภาพ แต่ให้ความสำคัญ กับกระบวนการคิด ตามนิยามของศิลปะเชิงแนวคิด เรื่อง การใช้ความคิดหรือแนวคิดเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดของ การสร้างงาน โดยเน้นเนื้อหา แนวเรื่อง ที่สอดคล้องกันมากกว่าความสมบูรณ์ของ ทัศนธาตุ และ สุนทรียภาพ ในชิ้นผลงาน สอดคล้องสัมพันธ์กับความคิดที่ว่า “ศิลปะคอนเซ็ปชวลเกิดจากทัศนอันหลากหลายในประเด็นว่าด้วยหลักการ และแรงบันดาลใจของ ศิลปิน ซึ่งความหลากหลายนี้ส่งผลให้ศิลปินก้าวไปบนเส้นทางที่แยกจากกันในอีกรูปแบบหนึ่งคือ กลุ่มหนึ่ง สร้างสรรค์ผลงานจากการขบคิดที่สืบเนื่องจากภายใน อีกกลุ่มหนึ่งได้สะท้อนให้เห็นการทำงานที่ได้แรง บันดาลใจจากบริบททางสังคม” (สาครินทร์ เครืออ่อน, 2561 น. 127) การเปลี่ยนแปลงของสภาพสังคม เทคโนโลยี วิถีชีวิต และการปรับสภาพดิ้นรน ของผู้คนในยุคปัจจุบัน เป็นแรงบันดาลใจในการสร้างนัย สัญลักษณ์ทางศิลปะ ที่เกี่ยวข้องกับตัวแปร ภาวะแวดล้อม และสถานภาพ ชั่วคราวของศิลปะตามความเปลี่ยนแปลงของเนื้อหา เงื่อนไข และบริบทในการสร้างสรรค์ เป็นการศึกษา ปรากฏการณ์ของสังคมในมิติที่หลากหลาย ทั้งด้านความเชื่อในอดีต ลักษณะทางสังคมวิทยา และมานุษยวิทยา
258 รวมทั้งวิเคราะห์ ตีความการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี วัฒนธรรม และการดำรงชีวิต จากยุค VUCA สู่ BANI ตามความหมายของนักคิดที่ใช้ทฤษฎีปรัชญา ในการอธิบายความหมายของปรากฏการณ์ ที่มีสัญลักษณ์และนัยแฝงตามบริบทเฉพาะของการเปลี่ยนแปลง ตามการอธิบายและให้คำจำกัดความที่ว่า “คำว่า BANI เป็นคำใหม่เกิดขึ้น ถูกสร้างขึ้นโดยนักมานุษยวิทยา นักเขียน และนักอนาคตศาสตร์ชาวอเมริกัน Jamais Cascio” (from-a-vuca-world-to-a-bani, ออนไลน์) โดยมีคำย่อมาจากเนื้อหาดังต่อไปนี้ “B = Brittle – ความเปราะบาง อ่อนไหวต่อสิ่งต่าง ๆ ได้ทุกเมื่อ เผชิญกับความผันผวนไม่แน่นอน A = Anxious – ความวิตกกังวล ลังเลจะตัดสินใจ ภาวะวิตกกังวลกับอนาคต กับสถานะทางสังคม N = Nonlinear – ความไม่เป็นเส้นตรง เหตุการณ์ในโลกเกิดขึ้นแบบไม่มีใครคาดคิด ขาดตรรกะ ไม่เป็นเหตุเป็นผล I = Incomprehensible – ความกำกวม เข้าใจไม่ได้ ไม่สมเหตุสมผล ไม่สามารถควบคุมทุกสิ่งได้” (BANI ย่อมาจากอะไร, ออนไลน์) จึงสามารถกล่าวได้ว่า กระบวนการสร้างสรรค์ เป็นการวิเคราะห์ข้อมูล และประมวลความคิดจาก สภาพชีวิต และความเป็นจริงในสังคม เพื่อกำหนดเนื้อหาในการสร้างสรรค์ และนำไปสู่การสำรวจค้นหา พัฒนากระบวนทัศน์ทางทัศนศิลป์ที่สัมพันธ์และสอดคล้องกับแนวคิดการกำหนดลักษณะเฉพาะของสังคม ผ่านความเป็นปัจเจกและการแสดงออกอันมีลักษณะเฉพาะทางศิลปะ 3. กระบวนการในการสร้างสรรค์ แรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ การวาดเส้น บันทึก โดยเน้นสาระของภาพร่างกับสัญลักษณ์ รูปทรงกลม และสื่อวัสดุ เป็นการ ผสมผสานทัศนคติทั้งแบบดั้งเดิม ในความเชื่อเรื่อง สังสารวัฏ การหมุนวน เวียนว่ายตายเกิด กับการทับซ้อน เส้นรูปทรงของกลุ่มชีวิต ที่มีสภาพความทุกข์ยาก ต้องต่อสู้ดิ้นรนในสังคมโลกวัตถุ เพื่อสะท้อนปรากฏการณ์ ของสัญลักษณ์และวัฒนธรรม ของสังคมสมัยใหม่ แสดงความเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีดิจิทัล และสื่อสังคม ออนไลน์ในยุค BANI WORLD แสดงถึงความเปราะบาง ภาวะความวิตกกังวล ไม่เป็นเส้นตรง เป็นโลกแห่ง สัญลักษณ์ที่ผู้สร้างสรรค์ได้ใช้เป็นที่มาและแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ทัศนศิลป์สื่อผสม ทั้งด้าน แนวความคิด รูปแบบ และวิธีการนำเสนอ ดังข้อมูลต่อไปนี้ ภาพที่1 ภาพวงล้อแห่งชีวิตหรือธรรมจักร ในศาสนาพุทธและฮินดู เป็นสัญลักษณ์แทนวัฏจักรเวียนว่ายตายเกิด ที่มา : https://damisa1111.wordpress.com/ : https://th.wikipedia.org/wiki
259 ภาพที่2 ภาพชีวิตเร่ร่อน ที่มา : https://www.posttoday.com/politics/308697 ภาพที่3 ภาพป้ายไฟในยุคดิจิทัล ที่มา :https://www.sanook.com/travel/1442495/ การสร้างสรรค์ภาพร่าง สร้างภาพร่าง ด้วยการบันทึก วาดเส้น ด้วยด้วยปากกา S-Pen สมาร์ทโฟน และโปรแกรม คอมพิวเตอร์ Photoshop สร้างเส้น กลุ่มรูปทรง เทคนิควิธีการ นำภาพที่มีลักษณะของการสื่อสาร เชื่อมโยงด้วยรูปทรง สัญลักษณ์มาเป็นต้นแบบในการสร้าง ภาพกราฟิก เพื่อพิมพ์บนวัสดุ ด้วยเครื่องพิมพ์อิงค์เจ็ท (Inkjet Printer) ในระบบอุตสาหกรรมสิ่งพิมพ์ตาม สัญลักษณ์ รูปทรง ลายเส้นที่ได้ออกแบบไว้บนแผ่นอะคริลิค และนำไปประกอบกับกล่องวงกลม 3 มิติ ที่มี วงจรไฟ LED เพื่อให้เกิดแสงส่องผ่านภาพผลงานสร้างสรรค์ ภาพที่ 4 ภาพการสร้างภาพร่างด้วยการบันทึก วาดเส้นด้วยปากกา S-Pen สมาร์ทโฟน และโปรแกรมคอมพิวเตอร์ Photoshop สร้างกลุ่มรูปทรง ที่มา : ผู้สร้างสรรค์
260 ภาพที่5 ภาพการสร้างภาพร่าง ด้วยการบันทึก วาดเส้น ด้วยปากกา S-Pen สมาร์ทโฟน และโปรแกรมคอมพิวเตอร์ Photoshop สร้างกลุ่มรูปทรง ที่มา : ผู้สร้างสรรค์ ภาพที่ 6 ภาพการสร้างภาพร่าง ด้วยการบันทึก วาดเส้น ด้วยปากกา S-Pen สมาร์ทโฟน และโปรแกรมคอมพิวเตอร์ Photoshop สร้างกลุ่มรูปทรง ที่มา : ผู้สร้างสรรค์ การติดตั้งผลงาน นำผลงานสร้างสรรค์วาดเส้นสื่อผสม ที่ได้ประกอบขึ้นเป็นกล่องตู้ไฟวงกลมติดตั้งบนผนังสีขาว และมี ระบบไฟฟ้าเพื่อให้เกิดแสงสว่างสำหรับเน้นรายละเอียดบริเวณด้านในกล่องผลงานรูปแบบผลงาน วาดเส้น สื่อผสม ประเภทของผลงานทัศนศิลป์ 4. การวิเคราะห์ผลงาน การแสดงออกในงานทัศนศิลป์เป็นกระบวนการการตอบโต้กับอารมณ์ ความรู้สึก จิต ความคิด และความทรงจำของผู้สร้างสรรค์ด้วยวิธีการบันทึก วาดเส้นจากสิ่งที่ใช้เป็นแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ เช่น รูปทรง กลุ่มผู้คน วิถีการดำรงชีวิต เป็นการสร้างสรรค์ตามจุดมุ่งหมายของเนื้อหา โดยใช้รูปทรง กลุ่มชีวิต สร้างภาพร่าง สัญลักษณ์ที่ใช้แทนความหมายของแนวความคิด เรื่อง การบันทึกประสบการณ์ และความทรงจำ เพื่อให้ตระหนักถึง คุณค่าของชีวิต และสาระการหมุนวนเปลี่ยนแปลงไปเวียนว่ายตายเกิด
261 ภาพผลงานสร้างสรรค์ ภาพที่7 ภาพผลงานสร้างสรรค์ที่เสร็จสมบูรณ์ ชื่อ Life Circle 2024 ที่มา : ผู้สร้างสรรค์ ภาพที่9 ภาพร่างความคิด การทดลองติดตั้งผลงานที่สอดคล้องสัมพันธ์กับสถานที่ในบริบทความเปลี่ยนแปลงของสังคม ที่มา : ผู้สร้างสรรค์ ไปตามกาลเวลาของชีวิต และสรรพสิ่ง โดยผสมผสานเรื่องราวทางสังคม ด้วยลักษณะรูปทรงของกลุ่มผู้คน ที่ ตกอยู่ในสภาพความทุกข์ยาก ต้องดิ้นรนต่อสู้เพื่อความอยู่รอด และแนวเรื่องการหมุนวนเวียนว่ายตายเกิด ผ่านสัญลักษณ์รูปทรงที่เกาะกลุ่มเป็นวงกลม เป็นเนื้อหาตามจุดมุ่งหมายของการสร้างสรรค์ศิลปะดังที่มีการ กล่าวไว้ว่า “การสร้างศิลปะโดยทั่วไปจะต้องมีจุดมุ่งหมาย และเรื่องราวจะต้องมีแก่นสารที่จะกระทำ เนื้อหา (Content) ดูจะเป็นโครงร่างสำคัญในการประกอบศิลปะ เพราะศิลปะที่ดีจำเป็นจะต้องมีเนื้อหา แฝงด้วยจุดมุ่งหมายอย่างใดอย่างหนึ่งในการสร้างสรรค์ศิลปะ” (น. ณ ปากน้ำ 2543 น.124) การประกอบกันของสาระทางนามธรรม หรือนัย และรูปธรรมในลักษณะทางกายภาพและทัศนธาตุ ของผลงานสร้างสรรค์ในบทความนี้ มีลักษณะเฉพาะของเส้น ภาพร่าง ที่เขียนขึ้นจากสภาพแวดล้อมจริง และ จากภาพข้อมูลที่ได้ศึกษา ค้นคว้า การวาดภาพ บันทึกโดยฉับไว “กายภาพดังกล่าวได้ถูกถ่ายทอดด้วยวิธีการ ทางทักษะ เช่น การบันทึก ภาพร่าง การวาดเส้น ในลักษณะภาพและวิธีการ Drawing Sketch เป็นสัญลักษณ์ ของจิตอันเป็นลักษณะทางนามธรรมที่สัมพันธ์กับรูปธรรมของวัตถุและการแสดงออกอย่างลึกซึ้ง (ศักดิ์ชาย บุญอินทร์, 2563, น.55)
262 ภาพที่10 ภาพการวาดเส้นในลักษณะภาพร่าง บันทึกกลุ่มผู้คน วิถีการดำรงชีวิต และความทุกข์ยาก ที่มา : ผู้สร้างสรรค์ การนำคำว่า "Sketch เป็นกายวิภาคของศิลปะ" จากการสร้างสรรค์ผลงานทัศนศิลป์ เมื่อปี พ.ศ. 2550 มาใช้ในการสร้างสรรค์ด้วยลักษณะของกระบวนทัศน์ทางศิลปะ หรือ ชุดความคิดที่ผสมผสานขึ้นใหม่ ระหว่างสาระในการสร้างภาพร่าง เน้นโครงสร้างสำคัญของปรัชญาศิลปะ กับแนวเรื่องทางสังคม และความเชื่อ ของชีวิตผ่านรูปทรงกลม กลุ่มคน วัสดุ และบริบทสังคม เป็นกายวิภาคของศิลปะกับ กายภาพของความจริง ในลักษณะวงกลมที่แสดงสาระการหมุนวน เปลี่ยนแปลง เป็นโครงสร้างความจริงของชีวิต ดังที่ผู้สร้างสรรค์ได้ กล่าวไว้ว่า “ใช้กระบวนการทางศิลปะเป็นเนื้อหาร่วมกับแนวเรื่อง ผสมผสานเป็นแนวความคิด (Concept) ใน การสร้างสรรค์ กายวิภาคของ Sketch จึงถูกขยายความทั้งเนื้อหา และรูปแบบ” (ศักดิ์ชาย บุญอินทร์, 2563, น.55) โดยแสดงเนื้อหาการผสมผสานวัฒนธรรมการดำรงชีวิต และความเชื่อดั้งเดิม เรื่องบุญกรรม การเวียนว่ายตาย เกิด กับบริบทความเปลี่ยนแปลงทางสังคมยุคเทคโนโลยีดิจิทัลแสดงถึงการทับซ้อนของนัย ที่แสดงออกด้วย สัญลักษณ์ทางทัศนศิลป์ เป็นนัยซ้อนของปรากฏการณ์การเปลี่ยนแปลง ดังคำกล่าวที่ว่า “สังคมไทยกำลังอยู่ ในช่วงเปลี่ยนผ่านจากวิถีดั้งเดิมอันเรียบง่ายสงบ สมถะในลักษณะอุดมคติทางความคิดและจิตนิยมมาสู่ยุคที่มี ค่านิยมทางวัตถุเทคโนโลยีเป็นสังคมแห่งข้อมูลดิจิทัลกับโลกแห่งความจริงเสมือน” (ศักดิ์ชาย บุญอินทร์, 2563) กายภาพทางวัสดุ วัตถุ ได้ถูกใช้เป็นสื่อ สัญลักษณ์ และนัยทางศิลปะ ด้วยรูปแบบการบันทึก วาดเส้น ด้วย ปากกา S-Pen ในสมาร์ทโฟน และสร้างภาพ 2 มิติจากการวาดเส้นด้วยกระบวนการพิมพ์ในระบบ อุตสาหกรรมบนวัสดุโปร่งแสง เพื่อใช้ปะติดบนป้ายกล่องไฟ LED วงกลมในลักษณะสื่อผสม เป็นการนำวัสดุ และวัตถุสำเร็จรูปในระบบธุรกิจ เทคโนโลยีการผลิตในโลกวัตถุมาใช้ในการสร้างสรรค์เพื่อสะท้อนความ เปลี่ยนแปลงของสังคมเมืองยุคดิจิทัล สัมพันธ์สอดคล้องกับเนื้อหาที่ จิระพัฒน์ พิตรปรีชา กล่าวไว้ใน โลกศิลปะศตวรรษที่ 20 ที่ว่า “การแสดงลักษณะกายภาพของวัตถุอย่างเปิดเผยเป็นตัวตนของมัน โดย ไม่พึ่งพาการลอกเลียนแบบให้เหมือนจริงลงไปบนผ้าใบ” (จิระพัฒน์ พิตรปรีชา.2545 น.101 ) และสอดคล้อง กับความหมายที่ว่า “วัสดุที่พบข้างถนน หรือวัสดุสำเร็จรูป (a found object or a ready made) เทคนิค Collage นับว่าเหมาะสมที่สุดสำหรับการถ่ายทอดเรื่องของเสียง ความเร็ว และเวลา พลังการเปลี่ยนแปลงที่มี ในเมืองใหญ่ โรงงานอุตสาหกรรม” (จิระพัฒน์พิตรปรีชา.2545 น.103) การปะติดรูปสิ่งพิมพ์บนวัสดุกล่องไฟ LED ในลักษณะการบันทึกเรื่องราว แสดงสาระที่ทับซ้อนกันของสัญลักษณ์ โดยมีรูปทรง พื้นที่ เวลา และ
263 กายภาพของวัสดุเป็นองค์ประกอบสำคัญ เป็นการผสมผสานปรับเปลี่ยนความหมายของรูปทรงศิลปะ เพื่อนำไปสู่การสร้างความหมายใหม่ตามบริบทแวดล้อมที่เกี่ยวข้อง อาทิ เช่น ภาพร่างทางความคิด เรื่อง การ ปะติด จัดวาง ติดตั้งผลงานวาดเส้นสื่อผสมวงกลมในสถานที่ และพื้นที่จริง สัมพันธ์กับข้อมูล สภาพความ เป็นอยู่ของคนเร่ร่อนที่เกิดขึ้นจริงในสังคม ป้ายกล่องไฟวงกลมได้ถูกปรับเปลี่ยนหน้าที่การทำงาน (Function) กลายเป็นแสงไฟที่ส่องความสว่างให้เห็นสภาพชีวิตที่มีความทุกข์ยาก ในลักษณะวงจรของชีวิต หมุนวน เปลี่ยนแปลงตามบริบทของสังคมแห่งโลกวัตถุ เทคโนโลยี ยุค BANI WORLD 2024 ที่วิถีชีวิต และโลกแห่ง ข้อมูลข่าวสารมีความเปราะบาง เต็มไปด้วยความวิตกกังวล และไม่เป็นเส้นตรง ชีวิตที่ตกอยู่ภายใต้ความไม่ แน่นอน กำกวม ไม่สามารถควบคุมทุกสิ่งได้และยากต่อการแก้ปัญหา เป็นสาระของความจริงและความทุกข์ ของมนุษย์ในยุคปัจจุบัน จึงเป็นเนื้อหาของการปะติดในศิลปะ (Collage) ที่ว่า “คอลลาจได้กลายเป็นสื่อแสดง โลกวัตถุ บันทึกอารยธรรมยุคใหม่ ความเป็นมนุษย์และเรื่องราวที่มีสาระและไร้สาระ”(จิระพัฒน์ พิตรปรีชา. 2545 น.109) การสร้างรูปสัญลักษณ์ของศิลปวัตถุดังกล่าวได้แสดงถึงรูปของความคิด และนัยซ้อนที่ผู้ สร้างสรรค์ต้องการแสดงออกและนำเสนอ เพื่อการตีความใหม่ในมุมมองที่แปรเปลี่ยนไปตามสภาพสังคม สัมพันธ์และสอดคล้องกับความหมายศิลปะ ดังที่ น ณ ปากน้ำ ได้กล่าวไว้ว่า “ ศิลปะมิใช่ศิลปวัตถุที่มีสภาวะ นิ่งเฉย ๆ ไม่ผันแปร หากแต่ว่าศิลปะคือรูปของความคิด ความคิดนั้นเกิดจากมนุษย์ ส่วนมนุษย์อยู่ภายใต้ ของอำนาจวิวัฒนาการ ซึ่งจำเป็นต้องผันแปรไปแต่ละขั้น”( น ณ ปากน้ำ 2543 น.182) ภาพที่11 ภาพการปะติด ติดตั้งผลงานในสถานที่ และพื้นที่สัมพันธ์กับวิถีชีวิต คนเร่ร่อน ที่มา : ผู้สร้างสรรค์ กระบวนทัศน์ศิลปะที่มีความสำคัญในการสร้างสรรค์อีกด้านคือ การผสมผสานและสร้างความหมาย ของเนื้อหาศิลปะผ่านระบบภาพตัวแทน เช่น นำความเชื่อในอดีต เรื่อง สังสารวัฏ ผสมผสานกับวัฒนธรรมการ ดำเนินชีวิตในยุคปัจจุบัน มาใช้สร้างสรรค์รูปทรงศิลปะที่มีนัยด้านความรู้สึก ห้วงคำนึง สามารถแฝง ความหมายของแนวคิด คติการดำรงชีวิต และคุณค่าด้านจิตวิญญาณความเป็นมนุษย์ จึงเป็นการใช้ภาพตัวแทนแบบสร้างความหมาย หรือ “นัย” ผ่านรูปทรง สัญลักษณ์ในงานทัศนศิลป์ ที่สามารถเปลี่ยนแปลงตามเงื่อนไข และภาวะแวดล้อมของศิลปะในรูปแบบของวัฒนธรรมที่มีชีวิต ตามแนวทางการสร้างภาพตัวแทนที่มีการกล่าวไว้ว่า “แนวทางภาพตัวแทนแบบสร้างความหมาย (constructionist approach) ที่เห็นว่าไม่มีสิ่งใดที่มี ความหมายโดยตัวมันเองหรือมีปัจเจกบุคคลผู้ใดที่สามารถหยุดและกำกับความหมายเอาไว้ได้ สิ่งต่างๆ ล้วน
264 ไม่มีความหมายโดยตัวมันเอง นอกจาก ‘เรา’ จะสร้างความหมายผ่านระบบภาพตัวแทน คือ สัญญะ/ตัว หมาย และความคิดรวบยอด (concept) (บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ, ออนไลน์) ระบบภาพตัวแทน หรือ สัญญะ เกิดจากการสร้างสรรค์ด้วยวิธีการบันทึก ร่างภาพ ตอบโต้กับแนว เรื่องที่ปรากฏขึ้นในเหตุการณ์จริงของสังคม มีการประกอบผสมผสานกันของรูปทรงศิลปะ มุ่งเน้นสาระและ ลักษณะเฉพาะทั้งด้านรูปธรรมและนามธรรม เป็นสัญลักษณ์เชื่อมโยงกับประสบการณ์ ความรู้สึก และสภาวะ จิตภายในของผู้สร้างสรรค์ ทับซ้อนกันในลักษณะวงกลม หมุนวน โดยใช้รูปทรงที่มีความหลากหลาย ของเหตุการณ์ เวลา และสถานที่ รวมทั้งช่วงวัย อายุของกลุ่มคนในการแสดงออก รวมทั้งการใช้ลักษณะการ ผันแปร เปลี่ยนแปลงของรูปทรง ท่าทาง และลักษณะ ความเป็นทารก เด็ก คนหนุ่มสาว คนสูงวัย เพื่อ แสดงออกถึงประสบการณ์ ความทรงจำ ปรัชญา ความเชื่อที่เชื่อมโยงมิติถึงกันในลักษณะวงกลม และใช้ เทคนิควิธีการจัดภาพ ตามหลักการ ทฤษฎีองค์ประกอบศิลป์แบบไดนามิก เน้นจังหวะความเคลื่อนไหว และ การแปรเปลี่ยนรูปทรง เชื่อมโยงตามเหตุการณ์ และขั้นตอน ดังที่ Sarah Kent ได้วิเคราะห์หลักองค์ประกอบ ศิลป์ไว้ใน The essential guide to the theory and technique of pictorial arrangement and balance ว่า “เราจะถ่ายทอดเหตุการณ์ที่คลี่คลายไปตามกาลเวลาได้อย่างไร? Peter Bruegel the Elder (ค.ศ. 1525-69) พรรณนาถึงช่วงเวลาหนึ่งของเรื่องราวแต่ก็สามารถระบุผ่านองค์ประกอบแบบไดนามิก ซึ่งเป็นผลลัพธ์ ที่น่าจะเกิดขึ้นของเหตุการณ์นั้น” (Sarah Kent 1995.p36) ลักษณะการซ้อนกันของรูปทรงยังสัมพันธ์กับ วิธีการเขียนรูปในอดีตตามเหตุผลที่ว่า “ในยุคกลาง ศิลปินวาดภาพเวลาในลักษณะที่ลื่นไหลมากขึ้น แทนที่ จะแยกเหตุการณ์เดียวออก พวกเขาสร้างตอนต่าง ๆ มากมายเหมือนการ์ตูนในฉากที่ทับซ้อนกันหรือเชื่อมโยง ถึงกัน” (Sarah Kent 1995.p36) ผู้สร้างสรรค์ได้นำลักษณะทัศนธาตุทางศิลปะ ทั้งด้านการใช้เส้น การทับซ้อนกันของรูปทรง พื้นที่ และ เวลา เพื่อสื่อความหมายดังที่กล่าวมาในข้างต้น รวมทั้งรูปทรงกลม ที่นำมาใช้ในการสร้างสรรค์ ออกแบบ สัญลักษณ์กล่องไฟเป็นรูปทรงเรขาคณิตที่แสดงสุนทรียภาพตามการมองเห็น เป็นพลังแห่งศูนย์กลาง และหมุนวน ไม่จบสิ้น และลักษณะของนามธรรมที่แสดงความหมายทางอุดมคติความเชื่อ และสัจธรรม เรื่อง การหมุนวน เปลี่ยนแปลง เวียนว่ายตายเกิด เป็นสัญลักษณ์ทางจิตวิญญาณที่ทรงพลังผสมผสานกับวงกลมในโลกแห่งความ เป็นจริงยุคเทคโนโลยีดิจิทัลดังที่ Rosie Lesso ได้กล่าวไว้ในบทความทางออนไลน์ ภาพที่12 ภาพการวิเคราะห์รายละเอียดผลงานสร้างสรรค์ที่แสดงความสัมพันธ์ของ จังหวะ ทิศทาง ในรูปทรงกลม กับเนื้อหาในการสร้างสรรค์ ที่มา : ผู้สร้างสรรค์
265 เรื่อง The Collector Why Did Wassily Kandinsky Paint Circles? ที่ว่า “เช่นเดียวกับศิลปินสมัยใหม่หลายคน Kandinsky คิดว่าศิลปะนามธรรมควรแสดงถึงอุดมคติสูงสุด ของสังคม รูปทรงเรขาคณิตกลายเป็นสัญลักษณ์ที่ทรงพลังและเป็นสัญลักษณ์ทางจิตวิญญาณ ที่แสดงถึงความคิดที่เหนือกว่าโลกแห่งความเป็นจริง และดังนั้นจึงได้รับเนื้อหาที่แสดงออกแบบใหม่ สำหรับ คันดินสกี วงกลม ต่างๆ เป็นตัวแทนของแนวคิดเกี่ยวกับความก้าวหน้า การฟื้นฟู และการต่ออายุ” (Rosie Lesso. ออนไลน์) ภาพที่13 ภาพ Wassily Kandinsky, Circles in a Circle, 1923, via Obelisk Art Histor ที่มา : https://www.thecollector.com/why-did-wassily-kandinsky-paint-circles/ ศิลปินในอดีตได้ใช้สัญลักษณ์รูปทรงวงกลมในการสร้างสรรค์ภาพวาดในหลาย ๆ พื้นที่ที่มีความ แตกต่างกันทางทัศนคติ ความเชื่อ และวัฒนธรรม “ในประเทศแถบเอเชีย เช่น อินเดีย จีน และญี่ปุ่น วงกลม ปรากฏอยู่ในภาพวาดประเภทต่าง ๆ ตัวอย่างเช่น ในอินเดีย การปรากฏของวงกลมมีตั้งแต่จักระและยันทราใน ภาพวาดตันตระ ในศิลปะจีน วงกลมมักแสดงถึงการรวมกันระหว่างสวรรค์และโลก” (Niveditha, ออนไลน์) นัยซ้อนอีกหนึ่งความหมายในบทความสร้างสรรค์ คือกระบวนการคิด และกระบวนทัศน์ในการ สร้างสรรค์ เรื่อง การสร้างภาพร่างความคิด การจัดวาง ติดตั้งผลงานกับสถานที่ พื้นที่ และเวลาตาม ความหมายของ สังสารวัฏ และที่ได้ระบุไว้และมีลักษณะเฉพาะ ภาพร่างความคิดจึงเป็นองค์ประกอบสำคัญ ของกระบวนการสร้างสรรค์ เรื่อง การให้ความสำคัญกับกระบวนการคิด โดยผู้สร้างสรรค์ได้ผสมผสานสาระที่ เน้นแนวคิดเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดของการสร้างงาน โดยเน้นการใช้รูปลักษณ์ของศิลปะเชิงแนวคิด สะท้อนการ วางแผนและการตัดสินใจที่จะสร้างงาน ตามคำนิยามของซอล เลวิทท์ที่ว่า “การสร้างศิลปะเชิงแนวคิด ความคิดหรือแนวคิดเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดของการสร้างงาน เมื่อศิลปินใช้รูปลักษณ์ของศิลปะเชิงแนวคิด ก็จะหมายความว่าการวางแผนและการตัดสินใจที่จะสร้างงานได้รับการทำไปแล้ว การสร้างงานจริงจึงเป็นการ ทำอย่างเป็นพิธีเท่านั้น ความคิดกลายมาเป็นเครื่องมือในการสร้างงานศิลปะ (ซอล เลวิทท์) (Wikipedia, ออนไลน์) ภาพร่างทางความคิดในบทความสร้างสรรค์ยังได้สอดคล้องกับคำจำกัดความของ สาครินทร์ เครือ อ่อน เรื่อง“มโนทัศนนิยม”คือ “การสร้างสรรค์ที่เอื้อต่อการรวบรวมและพัฒนา สภาวะ (condition) ที่นำไปสู่ การสัมผัสรับรู้ของผู้ชม (perception) ต่อตัวงาน ต่อกระบวนการสร้างสรรค์ของศิลปิน ต่อความสัมพันธ์ ระหว่างงานกับตัวแปรแวดล้อม และต่อสถานภาพชั่วคราวของศิลปะนั้น”(สาครินทร์ เครืออ่อน, 2561 น.146)
266 5. สรุป บทความสร้างสรรค์เรื่อง วาดเส้นสื่อผสม : นัยซ้อนของรูปทรง-พื้นที่-เวลา ในบริบท การผสมผสาน ทางวัฒนธรรม และความเชื่อ ยุค BANI WORLD 2024 เป็นการนำเสนอมุมมอง และความหมายของการ ดำรงชีวิตในสังคมยุคปัจจุบัน ผ่านการสร้างสัญลักษณ์ทางศิลปะ ด้วยวิธีบันทึกภาพร่างในลักษณะการวาดเส้น สื่อผสมทั้งลักษณะ 2 มิติ 3 มิติ ผสมผสานเครื่องมือ อุปกรณ์เทคโนโลยีในกระบวนการสร้างสรรค์ ทั้งวิธีการ บันทึก วาดเส้นด้วย ปากกา S-Pen สมาร์ทโฟน และการใช้แสงจากหลอดไฟ LED ป้ายไฟ โฆษณาเพื่อ ออกแบบสัญลักษณ์ รูปทรงศิลปะ ที่แสดงความหมายเชื่อมโยง กับปรัชญาทางศิลปะเฉพาะบุคคล เรื่อง “Sketch เป็นกายวิภาคของศิลปะ” ตามความหมายของกระบวนการคิดที่มีความสำคัญในจุดเริ่มต้น ของกระบวนการสร้างสรรค์ ในความหมายที่ว่า เเรงบันดาลใจ แนวคิด และการแสดงออกในเบื้องต้น เปรียบเสมือนโครงสร้าง สำหรับการก่อรูป และการยึดเกาะของเนื้อหาศิลปะ มุ่งเน้นความสำคัญของ กระบวนการ และกระบวนทัศน์ทางศิลปะ ในลักษณะปรากฏการณ์ จึงสามารถกล่าวได้ว่า การสร้างสรรค์ผลงานทัศนศิลป์ในบทความนี้ เป็นการใช้สัญลักษณ์ของวัตถุทาง ศิลปะเชิงแนวคิด และสัญลักษณ์ของโลกเทคโนโลยี ผสมผสานกับความเชื่อ และนัยที่ซ้อนกัน ของรูปทรง ชีวิต พื้นที่ และเวลา ที่สามารถตีความได้มากกว่าหนึ่งความหมาย โดยผ่านการรับรู้ กระบวนการคิด และด้าน ความรู้สึกที่เปลี่ยนไปตามเงื่อนไข ปัจจัยแวดล้อม และบริบทที่เกี่ยวข้อง การวาดเส้นด้วยวิธีการและปรัชญาในข้างต้นจึงได้ถูกนำมาขยายผล ผสมผสานกับวัสดุ วัตถุสำเร็จรูป เพื่อแสดงสถานะของศิลปะวัตถุ (Art Objects) ที่มีเนื้อหาสัมพันธ์กับสภาพสังคมยุคปัจจุบัน รวมทั้ง ได้ทดลองสร้างภาพร่างความคิดการจัดวาง ติดตั้งผลงานบนพื้นที่ และสถานที่จริงของกลุ่มผู้คนที่มีสภาพการ ดำรงชีวิตสะท้อนสภาวะของความทุกข์ยาก การหมุนวน ตาม สังสารวัฏ และผันแปรตามบริบทความ เปลี่ยนแปลงของสังคมยุค BANI WORLD ที่เปราะบาง ไม่แน่นอน และเต็มไปด้วยความวิตกกังวล ประโยชน์ต่อการศึกษาทัศนศิลป์ และวงการศิลปะ กระบวนการสร้างสรรค์ในบทความนี้ เกิดจากการนิยามความหมายการแสดงออกทางศิลปะใน ลักษณะการตรวจสอบ สืบค้นจากความคิด จินตนาการ และประสบการณ์ของผู้สร้างสรรค์ เพื่อค้นหาและ พัฒนากระบวนทัศน์ทางศิลปะ กระบวนการสร้างสรรค์ และวิธีการใช้สื่อทางศิลปะ ที่หลากหลาย มีการทดลอง ผสมผสานเพื่อให้เกิดผลในการสื่อสาร การแสดงออกทางศิลปะ สัมพันธ์กับความสำคัญของปัญหาและเนื้อหา ในการสร้างสรรค์ รวมทั้งเป็นกรณีศึกษา ที่นำไปสู่การค้นคว้า วิจัย องค์ความรู้ เนื้อหา เทคนิค วิธีการ และ รูปแบบในการสร้างสรรค์อย่างต่อเนื่อง สามารถเกิดประโยชน์ต่อนักเรียน นักศึกษาด้านทัศนศิลป์ ผู้สนใจ และ วงการศิลปะในสังคมยุคปัจจุบัน
267 เอกสารอ้างอิง จิระพัฒน์ พิตรปรีชา.(2545). โลกศิลปะศตวรรษที่ 20. กรุงเทพ: สำนักพิมพ์เมืองโบราณ ชลูด นิ่มเสมอ. (2538). องค์ประกอบของศิลปะ. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช ทีมงานทรูปลูกปัญญา. (06 ส.ค. 64). ความหมายนัยตรง ความหมายโดยนัย. https://www.trueplookpanya. com/learning/detail/34217# น. ณ ปากน้ำ. (2543). ความเข้าใจในศิลปะ. กรุงเทพ : ด่านสุทธาการพิมพ์ บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ. (1 พ.ค. 2565). การสร้างภาพตัวแทนคืออะไร?. https://www.sm-thaipublishing. com/content/11371/visual-politics-reflectiveapproach ศักดิ์ชาย บุญอินทร์ (2563). ทัศนศิลป์สื่อผสม ชุด ภาพร่าง-โครงสร้าง ของจิตและวัตถุกับ ความเคลื่อนไหว เปลี่ยนแปลง(Sketch เป็นกายวิภาคของศิลปะ). นัยของความคิด อารมณ์ กับกายภาพงานจิตรกรรม และทัศนศิลป์สื่อผสม. ศิลปะเชิงแนวคิด. (1 ตุลาคม 2564). วิกิพีเดีย. https://th.wikipedia.org/wiki/ สาครินทร์ เครืออ่อน. (2561). โรแมนติกคอนเซ็ปฌวลลิสม์. กรุงเทพ: ทวีวัฒน์การพิมพ์ สิริมิตร สิริโสฬส. (4 มีนาคม 2563). สังสารวัฏในทัศนะพุทธปรัชญา. https://phd.mbu.ac.th/ Mindspring. (7 ธันวาคม 2022). BANI ย่อมาจากอะไร. https://www.mindspringconsulting.com/ 2022/12/07/what-is-bani-world/ Monika Wright. (May 10, 2013). The meaning of all those circles in my paintings. https:// monikawright com/ the-meaning-of-all-those-circles-in-my-paintings/ / Niveditha. (October 4, 2016). Circle and it’s importance in Visual Arts.https://www.openart.in/ general-topics/circle-importance-visual-arts/Post date Rosie Lesso, (June 15, 2022). The Collector Why Did Wassily Kandinsky Paint Circles?. https: //www.thecollector.com/why-did-wassily-kandinsky-paint-circles/ Sarah Kent. (1995). EYEWITNESS ART COMPOSITION The essential guide to the theory and technique of pictorial arrangement and balance. London: Dorling Kindersley Ltd.
268 พี่จิ๋ว พี่กิต พี่นุช Jiw Kit Nuch ศันสนีย์ รุ่งเรืองสาคร, Sunsanee Rungrueangsakorn 100/432 หมู่1 หมู่บ้านร๊อคการ์เด้น ซ.บางเทศธรรมอยู่สุข ต.ศีรษะจรเข้น้อย อ.บางเสาธง จ.สมุทรปราการ 10570, 100/432 Village No.1 Rockgarden Village, Srisajorake noi Sub-district, Bangsowthong District, SamutPrakan Province, 10570 E-mail: [email protected] บทคัดย่อ ผลงานสร้างสรรค์ศิลปะชุดนี้เกิดจากความต้องการมอบของที่ระลึกแก่ผู้เกษียณ 3 ท่าน ในปี พ.ศ. 2566 คือ พี่กิต พี่จิ๋ว และพี่นุช ด้วยความรู้สึกของผู้สร้างสรรค์นั้นการให้สิ่งของใดที่ซื้อหามานั้นล้วนหมดไปไม่ สำคัญในที่สุด แต่การมอบสิ่งที่เราสร้างสรรค์ขึ้นมาด้วยตัวเองนั้นย่อมมีความสำคัญและมีคุณค่ากว่า ผู้ สร้างสรรค์จึงมีแนวคิดวาดภาพใบหน้าของผู้เกษียณในองค์ประกอบแบบครึ่งตัวเพื่อเป็นของขวัญแด่ทั้ง 3 ท่าน โดยมีกระบวนการตั้งแต่คัดเลือกภาพถ่ายที่นำมาใช้เป็นภาพต้นแบบ การร่างภาพ ไปสู่การสร้างสรรค์ด้วยการ วาดภาพลายเส้นที่เป็นแบบเฉพาะตัวของผู้สร้างสรรค์เองมาผสมผสานกับรูปแบบศิลปะป๊อปอาร์ตเพื่อให้ภาพดู สดใสน่ารัก ดึงดูดใจมากขึ้น ใช้การตัดเส้นด้วยสีอะคริลิกสีดำ ลักษณะผิวต่าง ๆ น้ำหนัก และพื้นหลังที่ประกอบ ให้ภาพดูสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น ลักษณะของเส้นที่ใช้สำหรับผู้เกษียณทั้งสามแตกต่างกันไปตามบุคลิก เส้นตรง สำหรับพี่กิตที่เป็นคนจริงใจ เส้นฟันปลาสำหรับพี่จิ๋วที่มีอุปนิสัยสดใสร่าเริง ชอบแต่งตัวสวยงาม เส้นโค้งสำหรับ พี่นุชที่มีความอ่อนหวานนุ่มนวล คำสำคัญ: ป๊อปอาร์ต, พี่กิต, พี่จิ๋ว, พี่นุช, วาดเส้นสร้างสรรค์ Abstract This creation emerged from the desire to offer personalized souvenirs to three retirees in 2023—Kit, Jiw, and Nuch. Driven by a creative impulse, everything that is bought may eventually be forgotten in storage, but giving something crafted personally carries a special significance. The creator conceived the idea of painting portraits of the retirees as a gift for the trio. The process begins with the selection of photos to serve as prototypes, followed by sketching the images. The creator then develops unique line drawings, infusing them with a pop art style to create bright, cute, and captivating pictures. Black acrylic paint is employed to delineate the lines, incorporating various textures, weights, and backgrounds to enhance the overall completeness of the images. The nature of the lines used for the three retirees varies according to their personalities. A straight line is employed for Kit, reflecting sincerity.
269 A zigzag line represents Jiw, capturing her bright, cheerful personality and penchant for dressing beautifully. Lastly, a curved line is used for Nuch, portraying her sweet and gentle nature. Keywords: pop art, Kit, Jiw, Nuch, creative line drawings 1. ความสำคัญหรือความเป็นมาของปัญหา ชีวิตการทำงานของข้าราชการแต่ละคนนั้นก็จะมีระยะเวลาในการรับราชการที่ไม่เหมือนกันเพราะ โอกาสในการเปิดรับข้าราชการนั้นไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ข้าราชการบางคนบรรจุเข้ารับราชการเร็ว ตั้งแต่สำเร็จการศึกษาใหม่ ๆ บางคนบรรจุช้าเนื่องจากมีภาระกิจต่าง ๆ ที่ไม่เหมือนกัน อาจจะต้องเรียนต่อ หรือทำงานฯลฯ แต่สิ่งหนึ่งที่เหมือนกันในเกือบทุกคนก็คือ เมื่ออายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ก็จะเป็นเวลาของการ เกษียณอายุราชการ เนื่องจากเป็นช่วงเวลาที่ถูกกำหนดให้เป็นจุดสิ้นสุดของการทำงานราชการ ข้าราชการที่สามารถทำงานต่อเนื่องไปจนถึงอายุเกษียณได้นั้นก็ย่อมต้องมีความพยายาม ความอดทน ในการทำงาน ปัญหา อุปสรรคต่าง ๆ นานานัปการ ดังนั้นเมื่อข้าราชการคนใดที่สามารถทำงานมาจนถึงวัน สุดท้ายของการทำงานได้นั้น นับเป็นการประสบความสำเร็จในชีวิต เป็นเรื่องที่น่ายินดีด้วยเป็นอย่างยิ่ง ในเดือนกันยายนของทุก ๆ ปีนั้น จะเป็นเดือนสุดท้ายแห่งการทำงานของข้าราชการที่มีอายุครบ 60 ปี หน่วยงานราชการต่าง ๆ ก็มักจัดให้มีการอำลาแก่ผู้เกษียณอายุในเดือนนี้ ในปี พ.ศ. 2566 วิทยาลัยช่างศิลปก็มีคนอายุครบเกณฑ์ที่จะต้องเกษียณอายุราชการเช่นเดียวกัน เป็น ผู้หญิงทั้งสามท่าน คือ พี่จิ๋ว (อ. อัจฉรา พิมพ์สกุล) พี่กิต (อ. กิติมา จิรวิริยวงศ์) และ พี่นุช (อ. อรนุช อารีย์ พงศา) นับตั้งแต่ผู้สร้างสรรค์บรรจุเข้ากับราชการมาเป็นเวลา 22 ปีก็ได้พบเจอกับพี่ทั้ง 3 ท่านมาตลอดจนพวก ท่านเกษียณในปีนี้ถือเป็นช่วงระยะเวลาอันยาวนานที่ได้ทำงานร่วมกัน ร่วมกิจกรรมต่าง ๆ กันมาไม่น้อย จึงไม่ ยากนักที่ความรู้สึกผูกพันจะเกิดขึ้นมาได้ผู้สร้างสรรค์ต้องการมอบของขวัญเพื่อเป็นที่ระลึกแก่ท่านทั้งสามเพื่อ แสดงความยินดีสำหรับความสำเร็จในชีวิตราชการ ของท่านทั้งสามคน ผู้สร้างสรรค์มีความคิดต่อไปว่าจะมอบอะไรให้เป็นของที่ระลึกดีการมอบของขวัญนั้นหากเป็นของที่ ทำขึ้นมาเองย่อมดูมีค่าน่าเก็บรักษา ด้วยจะต้องใช้เวลา และความพยายามในการที่จะทำให้งานสำเร็จลงได้ผู้ สร้างสรรค์จึงมีแนวคิดที่จะวาดภาพใบหน้าของผู้เกษียณในองค์ประกอบของคนครึ่งตัวเพื่อมอบเป็นของขวัญ แด่ทั้ง 3 ท่าน 2. แนวคิด / ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง ผู้สร้างสรรค์มีแนวคิดที่จะวาดภาพใบหน้าของผู้เกษียณให้เป็นลายเส้นในรูปแบบเฉพาะตัวผสมผสาน กับการ์ตูนแบบป๊อปอาร์ตเพื่อมอบเป็นที่ระลึกแก่ทั้ง 3 ท่านในการเกษียณอายุราชการ ดังจะขออธิบาย รายละเอียดของศิลปะป๊อปอาร์ตต่อไป
270 ศิลปะป๊อบอาร์ต (Pop Arts) แสดงความตื่นเต้นให้แก่ผู้พบเห็น สะท้อนความนิยมของคนจำนวนมาก ในเวลาช่วงเวลาหนึ่ง สังคมเมืองอันรุ่งเรือง ความก้าวหน้าที่ถูกห้อมล้อมด้วยสื่อมวลชน การโฆษณา สิ่งพิมพ์ ผู้คนมีความเชื่อมั่นสูง อารมณ์ขัน ความนิยมในวัตถุ สิ่งของ ดารายอดนิยม ชีวิตวัยรุ่น และเสียงเพลงป๊อป รอย ลิชเทนสไตน์ (Roy Lichtenstein) นับเป็นศิลปินผู้บุกเบิกกระแสความเคลื่อนไหวทางศิลปะป๊อป อาร์ต ด้วยชื่อเสียงในวงกว้างและผลงานของเขาเปล่งประกายน่าดึงดูดใจ เขาได้รับแรงบันดาลใจมาจากสิ่งพิมพ์, การ์ตูนช่องที่พบเห็นทั่วไปจากนิตยสาร หนังสือพิมพ์ซึ่งเคยถูกมองว่าไร้ค่า ดาษดื่น เป็นของโหล ให้กลายเป็น ผลงานศิลปะที่แสดงถึงวัฒนธรรมการดำเนินชีวิตของมวลชนอย่างทรงพลังและโดดเด่น จนกลายมาเป็นภาพจำ ของศิลปะแบบป๊อปอาร์ต เขาหยิบเอาลักษณะเทคนิคของสิ่งพิมพ์มาใช้ไม่ว่าจะเป็นสีสันอันสดใส ลายเส้นอัน คมชัด การแบ่งช่องของการ์ตูน การหยิบเอาเม็ดสีในอุตสาหกรรมการพิมพ์อ๊อฟเซ็ต (Offset) ที่เรียกว่า เบ็น เดย์ดอดจ์ (Ben-Day dot) มาใช้ นับเป็นการผสมผสานการผลิตซ้ำด้วยเครื่องจักรกลแบบอุตสาหกรรมไปสู่ การวาดด้วยมือจนกลายเป็นเอกลักษณ์อันโดนเด่นของผลงานศิลปะป๊อปอาร์ตของเขา ภาพที่ 1 ศิลปิน Roy Lictenstein ผลงานชื่อ Whaam! ปีสร้าง ค.ศ. 1963 © Estate of Roy Lichtenstein ที่มา : Roy Lichtenstein / https://www.tate.org.uk/art/artworks/lichtenstein-whaam-t00897 ภาพที่ 2 วาดโดย ไอร์ฟ โนวิค (Irv Novick) หนังสือการ์ตูนออลอเมริกันเมนอ๊อฟวอร์ (All-American Men of War) ฉ. 89 ที่มา : Irv Novick / https://downthetubes.net/whaam-the-aeronautical-perspective/
271 ผลงาน WHAAM! (ภาพที่ 1) ถูกสร้างในปี ค.ศ. 1963 ภาพด้านซ้ายเป็นเครื่องบินรบอเมริกันยิง ขีปนาวุธใส่ภาพที่อยู่ด้านขวา โจมตีเครื่องบินข้าศึกที่กำลังเข้าใกล้เหนือเครื่องบินอเมริกา เขาใช้องค์ประกอบ ที่มาจากการ์ตูนวาดโดย ไอร์ฟ โนวิค (Irv Novick) (ภาพที่ 2) ซึ่งปรากฏอยู่ในหนังสือการ์ตูนออลอเมริกัน เมนอ๊อฟวอร์ (All-American Men of War) ฉบับที่ 89 จัดพิมพ์โดย ดีซี คอมมิกส์(DC Comics) ในเดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2505 สรุปสิ่งผู้สร้างสรรค์ได้รับอิทธิพลจากศิลปะป๊อปอาร์ต ในการนำมาใช้ผสมผสานกับการวาดภาพใน แบบเฉพาะตัวของผู้สร้างสรรค์ ดังต่อไปนี้ 1. ต้องการให้ผลงานมีความสดใสน่ารักน่าดึงดูดใจในรูปแบบศิลปะป๊อปอาร์ต 2. กำหนดกรอบวางองค์ประกอบให้ตัวละครอยู่ในช่องสี่เหลี่ยมแบบช่องของการ์ตูน 3. ใช้การตัดเส้นดำที่คมชัดเน้นรูปทรงให้โดดเด่น แต่เส้นนั้นไม่เท่ากันทั้งหมด เส้นมีขนาดที่เล็ก ใหญ่บ้างเนื่องจากเป็นธรรมชาติของการใช้มือวาด เพื่อไม่ให้ดูจริงจังแบบสิ่งพิมพ์ที่เส้นเท่ากันหมดทำให้ดูแล้ว อารมณ์แข็งกระดางแบบไร้ความรู้สึก 4. ใช้ลักษณะผิวที่สอดคล้องกับความเป็นจริง มิได้ยืดหลักของการวางแบบสิ่งพิมพ์มากนัก เนื่องจากเส้นของสิ่งพิมพ์นั้นจะมีเความเท่ากันไปหมด เช่น การวาดเส้นผมก็จะมีทิศทางแบบเส้นผมคือสะบัด ไปมา มีความโค้งงอ สะบัดพลิ้วไปมาได้มีความยาว มีทิศทางที่หลากหลาย ไม่เท่ากันทั้งหมด 5. มีการนำตัวอักษรมาใช้ในผลงานบางชิ้น คือผลงานพี่จิ๋วเพื่อให้เข้ากับเจ้าของบุคลิกที่เป็นครู ภาษาอังกฤษ จึงได้นำภาษาอังกฤษเข้ามามีส่วนร่วมอยู่ในผลงานด้วย 3. กระบวนการในการสร้างสรรค์ เทคนิคที่ใช้ในการสร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรม คือ สีอะคริลิกบนเฟรมผ้าใบ มีกระบวนการในการ สร้างสรรค์ ดังต่อไปนี้ ภาพที่ 3 ภาพต้นแบบที่นำมาใช้ในการสร้างผลงาน (ก) พี่กิต (ข) พี่จิ๋ว (ค) พี่นุช ที่มา : College of Fine Arts, Bangkok / Line ภาพโสตฯช่างศิลป (ก) (ข) (ค)
272 1. เลือกข้อมูลภาพต้นแบบที่จะนำมาใช้ในการสร้างรูป (ภาพที่ 3) คือ รูปถ่ายของท่านทั้ง 3 ที่จะนำมาใช้ในการสร้างรูปทรง ซึ่งสามารถค้นหาจากการบันทึกภาพของฝ่ายโสตวิทยาลัยช่างศิลปในไลน์กรุ๊ป จากการบันทึกในงานกิจกรรมต่าง ๆ ที่จัดขึ้นภายในวิทยาลัย หลักการเลือกภาพ คือ เลือกภาพที่มีความ สวยงาม และมีความชัดเจนของใบหน้าเพื่อทำให้สามารถเห็นรายละเอียดได้อย่างชัดเจน แต่บางภาพนั้นถูก ถ่ายจากระยะไกล รายละเอียดไม่ชัดแต่ต้องนำมาใช้เนื่องจากดีที่สุดเท่าที่สามารถหาได้แล้ว ตัวอย่างเช่น ภาพ ของ พี่กิต เป็นภาพที่ถ่ายในระยะไกลมาก แต่ก็เป็นภาพที่ชัดเจนที่สุดที่สามารถค้นมาได้ ภาพที่ 4 ขั้นตอนการร่างภาพ (ก) ร่างภาพใบหน้าและลำตัว (ข) เพิ่มกล่องข้อความด้านบนซ้าย (ค) ใส่ตัวอักษร ที่มา : Sunsanee Rungrueangsakorn 2. เมื่อเลือกได้ภาพที่ต้องการแล้ว จากนั้นร่างภาพด้วยดินสอดำลงบนเฟรมผ้าใบขนาด 40 x 30 เซนติเมตร ทั้ง 3 เฟรม โดยใบหน้าอยู่ตำแหน่งกลาง หรือเกือบกลางของภาพเพื่อเป็นจุดเด่นที่มีขนาดใหญ่ที่สุด จนเกือบเต็มภาพ (ภาพที่ 4 ก) องค์ประกอบเป็นแบบคนครึ่งตัว 3. จากนั้นเพิ่มรายละเอียดของพื้นหลัง กล่องข้อความ และ ตัวอักษร (ภาพที่ 4 ข, ค) 4. เมื่อร่างภาพเสร็จเป็นที่เรียบร้อยแล้ว จากนั้นตัดเส้นด้วยสีอะคริลิกสีดำ จากนั้นใส่ รายละเอียดของภาพ ได้แก่ ผม รายละเอียดของชุดเสื้อผ้า เครื่องประดับ เพิ่มลวดลายลักษณะผิวต่าง ๆ 5. ในบางแห่งระบายด้วยสีอะคริลิกที่มีน้ำหนักเทาที่มีความเข้มหลายระดับ ถมสีดำพื้นที่ กว้างในบางแห่งเพื่อเป็นน้ำหนักเข้มของภาพ 6. เพิ่มลายเซ็นและลงวันที่ เป็นอันเสร็จสมบูรณ์(ภาพที่ 5) อุปกรณ์ที่ใช้ในการสร้างสรรค์ 1. เฟรมผ้าใบขนาด 40 x 30 เซนติเมตร จำนวน 3 เฟรม 2. สีอะคริลิกสีดำ และสีขาว 3. ดินสอดำสำหรับร่างภาพ 4. พู่กันขนาด 0, 2, 6, 7, 8 5. จานสี (ก) (ข) (ค)
273 4. การวิเคราะห์ผลงาน เมื่อตัดสินใจได้ว่าต้องการสร้างสรรค์ภาพของผู้เกษียณทั้ง 3 ท่าน ในรูปแบบศิลปะป๊อปอาร์ตแล้ว ผู้ สร้างสรรค์ก็ทำการเลือกภาพต้นแบบที่ใช้เป็นข้อมูลในการวาดงานสร้างสรรค์ภาพที่เลือกพยายามให้เห็น ใบหน้าชัดเจนสุดโดยมีรายลายเอียดของปัญหาในการเลือกดั้งนี้ 1. ภาพของพี่กิตนั้นจะถูกถ่ายในระยะไกลแทบทุกภาพที่ค้นได้ ในภาพที่เลือกมานั้นถือได้ว่าเป็นภาพที่ ดูชัดเจนที่สุดแล้ว แม้ใบหน้าจะมีขนาดค่อนข้างเล็กมาก แต่ก็เป็นใบหน้าที่มีรายละเอียดมากที่สุดเท่าที่หาได้ 2. ภาพของพี่จิ๋วนั้นภาพที่เจอเกือบทั้งหมดมีมุมมองหน้าตรงและขนาดเล็กมากมองไม่เห็นรายละเอียด ส่วนภาพที่เลือกมานั้นจะมีขนาดใหญ่และมีความชัดเจน มีใบหน้าเอียง 45 องศา เห็นโครงสร้างของใบหน้าได้ อย่างชัดเจน สวยงามลงตัว 3. ภาพหน้าของพี่นุชก็มีปัญหาคือภาพที่พบโดยส่วนใหญ่มีขนาดเล็กไม่ค่อยมีรายละเอียดบนใบหน้า และมักถูกถ่ายในระยะไกลเกือบทั้งหมด ส่วนภาพที่เลือกมามีขนาดใหญ่และมีความชัดเจนที่สุดในการจะนำไป สร้างงานแล้ว เมื่อเลือกได้ภาพต้นแบบที่ต้องการการแล้วทำการร่างภาพไว้ในตำแหน่งที่เป็นจุดเด่นที่สุดภายในภาพ อยู่ในตำแหน่งที่อยู่ตรงเกือบกลางของภาพ กำหนดให้ขนาดของใบหน้ามีขนาดใหญ่ที่สุด ในมุมมองของคนครึ่ง ตัว ใส่รายละเอียดให้เหมาะสมกับลักษณะอุปนิสัยของแต่ละคน 1. พี่กิตนิสัยเรียบร้อย จริงใจ สงบ ใช้เส้นตรงในฉากหลัง และลวดลายเรียบ ๆ ในส่วนเสื้อผ้า 2. พี่จิ๋วอุปนิสัยสดใสร่าเริง ชอบแต่งตัวสวยงามมีความทันสมัย ใช้เส้นฟันปลาแสดงความสนุกสนาน ตื่นเต้น นอกจากนั้นพี่จิ๋วเป็นครูภาษาอังกฤษ จึงนำภาษาอังกฤษมาใช้ประกอบในภาพด้วย 3. พี่นุชเป็นคนเรียบร้อย อ่อนหวานนุ่มนวล ใช้เส้นโค้ง ประกอบเป็นฉากหลัง ภาพที่ 5 ผลงานสำเร็จ 3 ชิ้นวางเรียงกัน (ก) พี่กิต (ข) พี่จิ๋ว (ค) พี่นุช ที่มา : ผู้สร้างสรรค์ (ก) (ข) (ค)
274 ส่วนสุดท้ายที่เป็นส่วนสำคัญที่สุดของงานใช้สีอะคริลิกสีดำตัดเส้น (ภาพที่ 5) ทับเส้นร่างดินสอด้วย ลักษณะการ์ตูนแบบป๊อปอาร์ต มีการถมเป็นน้ำหนักดำในบางที่ เพิ่มเติมลายละเอียดต่าง ๆ ด้วยลักษณะผิวที่ สอดคล้องกับความเป็นจริง เช่น ส่วนของเส้นผมใช้เส้นตัดเป็นทางยาวตามแนวของทรงผม ส่วนของเสื้อผ้า เครื่องประดับ เพิ่มลวดลายต่าง ๆ ที่เหมาะสม ส่วนฉากหลังนั้นระบายสีดำแถบใหญ่สลับกับสีขาวเพื่อให้เกิด ความแตกต่างระหว่างรูปกับพื้นส่งให้รูปทรงคนนั้นโดดเด่นมากขึ้น 5. สรุป 1. มอบผลงานสร้างสรรค์ทั้ง 3 ชิ้น เป็นของที่ระลึกแก่ผู้เกษียณ 3 ท่าน เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจ ให้แก่ความสำเร็จของชีวิตการทำงาน อีกทั้งแสดงความขอบคุณตอบแทนแก่พวกท่านด้วย 2. เผยแพร่ผลงานแก่สาธารณะชนด้วยการนำไปแสดง เขียนบทความเผยแพร่เพื่อนักเรียน นักศึกษา ศิลปะ หรือผู้สนใจได้ศึกษาเป็นแนวทางในการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะต่อไป 3. เพื่อให้เกิดความเคลื่อนไหวการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะแก่วงการศิลปะ ทั้งในระดับชาติ นานาชาติ 4. เพื่อเป็นความต่อเนื่องของการทำงานศิลปะของผู้สร้างสรรค์อีกทั้งยังถือเป็นการพัฒนาผลงาน สร้างสรรค์ พัฒนาการเขียนบทความเพื่อการเผยแพร่ผลงานของผู้สร้างสรรค์ต่อไป เอกสารอ้างอิง จิระพัฒน์ พิตรปรีชา. (2552). โลกศิลปะศตวรรษที่ 20. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์เมืองโบราณ. ชลูด นิ่มเสมอ. (2534). องค์ประกอบของศิลปะ. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพาณิชย์. พิชชา ขาวสะอาด. (23 กุมภาพันธ์ 2557). ศิลปะป็อปอาร์ต (Pop Art). เข้าถึงได้จาก อารยธรรมโลก: https://worldcivil14.blogspot.com/2014/02/pop-art.html Tate. (ม.ป.ป.). Roy Lichtenstein Whaam! 1963. เข้าถึงได้จาก Tate: https://www.tate.org.uk/art/ artworks/lichtenstein-whaam-t00897 Xspace. (ม.ป.ป.). ศิลปินนักบุกเบิกแห่งป๊อปอาร์ต Roy Lichtenstein. เข้าถึงได้จาก xspace.gallery: https://xspace.gallery/blogview?i_uid=7bdg1vs7cjql
275 อารมณ์กับความเชื่อ Emotions and beliefs ศิพพร สุนทระศานติก, Sipporn Suntharasantic วิทยาลัยช่างศิลปสุพรรณบุรี, Suphanburi College of Fine Arts E-mail: [email protected] บทคัดย่อ ผลงานที่นำมาแสดงเป็นภาพการเขียนจากความประทับใจในวิธีการเขียนเกี่ยวกับการใช้เส้น และการ เขียนลวดลายศิลปะไทย ความอ่อนช้อยของเส้น ผสมผสานกับความประทับใจในวิธีการแสดงออกในการเขียน ภาพแบบนามธรรม ร่องรอยพื้นผิวและวิธีการการแสดงออกโดยใช้แปรง ผลการศึกษา วิธีการเขียนสีน้ำด้วยสีแดง และสีดำด้วยพู่กันบนกระดาษสา ให้ความรู้สึกอ่อนโยน โปร่ง เบา ไม่คมและแข็งกระด้าง การทิ้งร่องลอยการแทรกสีและน้ำบนกระดาษที่มีลักษณะอ่อนนุ่ม จะแตกต่างกับ การเขียนบนกระดาษที่มีความแข็ง หรือเยื่อกระดาษแบบอัดแน่น คำสำคัญ : เทคนิคสีน้ำและการสร้างสรรค์ Abstract The work displayed is a drawing from an impression of the writing method using lines. and writing Thai art patterns The delicacy of the lines Combined with the impression of the method of expression in abstract painting. Texture traces and methods of expression using brushes Results of the study: Method of watercolor painting with red. and black with a brush on paper Gives a gentle, airy feeling, not sharp and hard. Leaving traces, inserting paint and water on soft paper. It is different from writing on hard paper. or tightly packed paper pulp Keywords: watercolor and creative techniques 1. ความสำคัญหรือความเป็นมาของปัญหา วิธีการใช้พู่กันในการเขียนตัวหนังสือบนกระดาษสาในบางประเทศแทบเอเชีย เช่น ประเทศญี่ปุ่น และจีน เป็นแรงบันดาลใจให้เกิดการเขียนลายเส้นด้วยพู่กัน ด้วยสีน้ำบนกระดาษสา ด้วยกรรมวิธีแบบนี้ การ ระบายสีกับน้ำซ้ำลงไปจะทำให้เกิดรูปร่างที่อิสระได้ตามจินตนาการ ทำให้ภาพเกิดน้ำหนักที่มีมิติ
276 2. แนวคิด / ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง รูปแบบในการเขียนหรือทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง จะใช้วิธีเขียนแบบนามธรรม (abstract) เป็นหลัก และ วิธีการเขียนจะเขียนแบบฉับพลันตามอารมณ์ความรู้สึก ตามจินตนาการ (expression) เพื่อให้เกิดรูปลักษณ์ และรูปทรงใหม่ ๆ สีที่ใช้จะแสดงออกถึงอารมณ์ โดยการใช้สีแดง เพื่อสื่อความรู้สึกถึงความกระตือรือร้น ความมีชีวิตชีวา ความมีโชค สีดำที่แทนค่าเรื่องของความตาย ในอุดมคติของคนตะวันออกที่มีความเชื่อในเรื่อง เกี่ยวกับความตาย พลังแฝงที่เร้นลับ 3. กระบวนการในการสร้างสรรค์ การสร้างสรรค์ผลงานเกิดขึ้นจากความประทับใจในกระบวนการเขียนลายเส้นด้วยพู่กัน วิธีการเขียน ตัวหนังสือด้วยพู่กันของจีนและญี่ปุ่นบนกระดาษสา กระดาษสาที่ใช้เขียนเป็นกระดาษพื้นบ้านทำด้วยมือ กระดาษมีความซึมซับอย่างรวดเร็ว และกระจายตัวออก สามารถเขียนทับซ้อนกันได้ จะทำให้สีที่เขียนแน่นขึ้น ทำให้เกิดมิติของภาพทับซ้อนกัน เกิดร่องรอยและพื้นผิวที่มีรายละเอียด สอดคล้องกับลายเส้นในบางจุดที่เขียน เน้นลงไปอีกทีเส้นโค้งแสดงความอ่อนไหว พลิ้วไหว อ่อนโยน ไม่แข็งกระด้าง ภาพที่ 1 อารมณ์และความเชื่อ (Emotions and beliefs) ที่มา : นายศิพพร สุนทระศานติก (Sipporn suntharasantic) / 1 November 2023
277 4. การวิเคราะห์ผลงาน ผลงานที่สร้างสรรค์เกิดจากการรวบรวมข้อมูลจากการได้ดูผลงานศิลปะทั้งในประเทศและของศิลปิน ต่างประเทศ จากการได้อ่านหนังสือประวัติศาสตร์ทางศิลปะในยุคต่าง ๆ จากสูจิบัตรการแสดงงานของศิลปิน เกิดจากการปฏิบัติงานในแนวทางส่วนตัว จากเทคนิคและจินตนาการ ผลงานไม่ใช่แนวทางการเขียนแบบ เหมือนจริง (realism) แต่เป็นการเขียนภาพแบบนามธรรม (abstract) และแบบแสดงพลังทางอารมณ์ (expression) 5. สรุป ผลงานที่สร้างสรรค์ เกิดจากแรงบันดาลใจในผลงานอิทธิพลทางศิลปะตะวันออก และอิทธิพลทาง ศิลปะตะวันตกผสมผสานกัน ศิลปะทั้งสองมีความแตกต่างกัน ผลงานที่สร้างสรรค์จึงแสดงให้เห็นถึงบางสิ่ง บางอย่างที่มีความขัดแย้งกัน แต่ก็อาศัยวิธีการ จินตนาการส่วนตัว สร้างสรรค์ให้ผลงานเกิดความกลมกลืนเข้า กันได้ เอกสารอ้างอิง จีรพันธ์ สมประสงค์. ประวัติศิลปะ. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: โอ.เอส.พริ้นติ้ง เฮ้าส์, 2533 ชลูด นิ่มเสมอ. องค์ประกอบของศิลปะ. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: อมรินทร์, 2553 เทียนชัย ตั้งประเสริฐ. องค์ประกอบศิลป์ 1. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: บริษัทเฟื่องฟ้า พริ้นติ้งจำกัด, 2540
278 ความงามในความไม่สมบูรณ์ หมายเลข 2 Beauty in imperfection number 2 ศิริกานต์ ยืนยง, Sirikan Yuenyong 473 ม.2 ต.หารเทา อ.ปากพะยูน จ.พัทลุง 93120, 473 M.2, Harnthao, Pakpayoon, Phatthalung 93120 E-mail: [email protected] บทคัดย่อ ความตายเป็นสิ่งที่ธรรมดาที่สุดบนโลก ไม่มีใครหนีความตายพ้น ไม่ว่าใครต่างก็ต้องกลับสู่ผืนดิน ทั้ง คนดี คนโหดร้าย หรือกระทั่งคนบาป แต่นอกจากความตายแล้ว ในโลกนี้ก็ไม่มีอะไรที่เป็นธรรมเลย จึง ก่อให้เกิดจิตสำนึกและจินตภาพภายใน ที่ไม่สามารถหาเหตุผลหรือข้อสรุปที่แน่นอนได้กับวงจรชีวิตนี้ ข้าพเข้า จึงตระหนักความไม่เที่ยงของสังขารและเชื่อว่าสิ่งมีชีวิตทุกสรรพสิ่งล้วนแล้วแต่ต้องดิ้นรนในการใช้ชีวิต จึงใช้ สัญลักษณ์เชื่อมโยงกับโลกในจินตนาการที่แสดงออกทางอารมณ์ถึงความรู้สึกที่เจ็บปวดทรมานจากร่างกาย ผ่านวิธีการทางศิลปะโดยใช้เทคนิคภาพพิมพ์ไซยาโนไทป์และสื่อผสม เป็นสื่อหลักในกระบวนการสร้างผลงาน ศิลปะในรูปแบบกึ่งเหนือจริง การแสดงออกผ่านรูปทรงที่สัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมรอบตัวของข้าพเจ้า อาจกล่าวได้ว่าเส้นทางของการ สร้างสรรค์เป็นเสมือนการสำรวจลึกลงไปสู่ภายในจิตใจตนเอง จะเห็นได้ว่าผลงานของข้าพเจ้ามีการใช้ท่าทาง การแสดงออกให้มีการปฏิสัมพันธ์กันเพื่อให้สอดคล้องกับรูปแบบที่แสดงออกในลักษณะศิลปะภาพพิมพ์ ความรู้สึกดังกล่าวเป็นส่วนสำคัญในการผลักดันให้ข้าพเจ้าได้สร้างสรรค์ผลงานเพื่อถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึก ออกมาให้เกิดเป็นผลงานศิลปะ คำสำคัญ : ความตาย, ผู้หญิง, ความรู้สึก, มุมมอง, ภาพพิมพ์ไซยาโนไทป์ Abstract Death is the most common occurrence on Earth. No one can escape it. Every individual, whether good, cruel, or even a sinner, must eventually return to the land. However, apart from death, there is nothing equitable in this world. This realization fosters a sense of consciousness and inner imagination. It underscores the notion that there is no definite reason or conclusion to be found in this cycle of life. It highlights the impermanence of the body and the belief that all living beings must grapple with the struggles of life. As a means to connect with the imaginary world and convey the emotional feelings of pain and suffering experienced by the body, symbols are employed. The artistic process involves utilizing cyanotype printmaking and mixed media techniques as the primary medium to create works of art in a semi-surreal style.
279 The expression takes shape in forms that relate to the creator's surroundings, akin to a deep exploration into one's own mind. It's evident that the work employs gestures and interactions, maintaining consistency with the style expressed in graphic arts. These emotions play a pivotal role in driving the creator to produce artworks that convey their feelings through their artistic creations. Keywords: Death, women, feelings, point of view, cyanotype prints. 1. ความสำคัญหรือความเป็นมาของปัญหา การเกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นสัจธรรมของวงจรชีวิตว่าทุกสรรพสิ่งล้วนเป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่ ทั้งสร้างความสุขใจหรือสะเทือนใจต่อมวลมนุษย์ก่อให้เกิดจิตสำนึกและจินตภาพภายใน บางครั้งมนุษย์ไม่ สามารถหาเหตุผลหรือข้อสรุปที่แน่นอนได้กับวงจรชีวิตนี้แต่มนุษย์ก็พยายามหาวิธีการต่าง ๆ เพื่อป้องกันหรือ ปกป้องตัวเอง โดยใช้ร่างกายเป็นสื่อในการแสดงออกถึงความรู้สึกทุกข์ เหงา เศร้า และการเสื่อมสลายไป การสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างร่างกายกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นสิ่งที่เราคุ้นชินกันดีในสภาวะปกติ แต่เมื่อ สิ่งนั้น ๆ นำเสนอออกมาในมุมมองที่แตกต่างออกไปจากการรับรู้แบบเดิมของเรา ปรากฏการณ์ที่ศิลปินสร้าง ขึ้นจึงก่อให้เกิดประสบการณ์ใหม่ต่อผู้ชม ดังเช่น กิ่งไม้งอกออกมาจากรูปทรงสตรี และเส้นสายที่แตกแขนง เป็นการสร้างสัญลักษณ์ที่บ่งบอกให้เห็นถึงความเจ็บปวดที่ซ่อนอยู่ภายใน การสร้างสรรค์เต็มไปด้วยการใช้ สัญลักษณ์แทนความหมายทางความคิดและอารมณ์ความรู้สึก 2. แนวคิด / ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง 1. ศิลปะลัทธิเหนือจริง (Surrealism) คือ ศิลปะเหนือจริงเป็นศิลปะที่ว่ากันด้วยเรื่องของ การ ถ่ายทอดภาพจากจิตใต้สำนึก ความเพ้อฝัน ความแปลกแยกโดดเดี่ยว ฯลฯ มีศิลปินที่ถ่ายทอดผลงานแนวนี้ มากมาย เช่น Jean Arp, Max Ernst, Giorgio de Chirico, Man Ray, Joan Miro, Rene Magritte แต่ที่มี ชื่อเสียงและคุ้นตามากที่สุดเป็น ซาลวาดอร์ดาลี (Salvador Dali) ศิลปินเซอร์เรียลลิสต์ชาวสเปน ที่มีผลงาน ได้รับการยอมรับไปทั่วโลก ทั้งในวงการศิลปะทัศนศิลป์, การแสดง, กราฟิกดีไซน์, ออกแบบตกแต่งภายนอกภายใน, จนไปถึงผลงานทางภาพยนตร์ศิลปินกลุ่มนี้กล่าวว่า ความรู้สึกของมนุษย์เป็นสิ่งสำคัญมาก ถ้าท่านรู้สึก อย่างไร จงแสดงออกทันที อย่าสกัดกั้นเอาไว้ เพราะมันจะฝังอยู่ใต้จิตสำนึก และจะเป็นอันตรายต่อตัวท่านเอง จากคำกล่าวของลัทธินี้ ทำให้ทราบว่าลัทธินี้เกี่ยวข้องกับจิตไร้สำนึก ซึ่งเป็นระยะพอดีกับที่นายแพทย์ ซิกมันด์ ฟรอย์ (1856-1934) ประกาศทฤษฎีด้านจิตวิทยาอยู่ในยุโรปพอดี นับว่า ซิกมันด์ ฟรอย์ มีส่วนช่วยให้ลัทธิ เซอร์เรียลลิสม์ มีอิทธิพลต่อวงการมาก(https://th.wikipedia.org/wiki. 2564) การศึกษาด้านศิลปะไม่ใช่แค่เพียงการวาดเท่านั้นที่เราจะต้องเรียนรู้ การศึกษาที่มาและ ลักษณะของ งานศิลปะ รวมทั้งพัฒนาการความเป็นไปตั้งแต่อดีตและปัจจุบันก็สำคัญ ศิลปะเหนือจริง ก็เป็นหนึ่งในเรื่องที่
280 ข้าพเจ้าสนใจและนำมาใช้ในผลงานการสร้างสรรค์แนวเหนือจริง เพื่อใช้ในการพัฒนาและหาแนวทางในการ ทำงานศิลปะต่อไป 2. ศิลปะเรียลลิสม์ (Realism) หรือ ศิลปะสัจนิยม โดยทั่วไปหมายถึง การสร้างงานที่เหมือนจริงดังที่ ปรากฏอยู่ในธรรมชาติ รวมถึง การสร้างสรรค์ภาพงานในเชิงวิพากษ์วิจารณ์สังคม (socially critical images) โดยการเน้นรายละเอียดเหมือนจริงมากที่สุด โดยลักษณะผลงานการแสดงออกที่สำคัญของแบบอย่างศิลปะ เรียลลิสต์ คือ 2.1 มีรูปแบบและการแสดงออกอย่างเหมือนจริง เน้นความจริงที่ศิลปิน ในอดีตเคยรังเกียจ โดยกล่าวหาว่าเป็นสิ่งสามัญและเป็นของพื้น ๆ เช่น สภาพชีวิตความเป็นอยู่ของชนชั้นต่ำ ผู้ยากไร้ หรือสภาพ อาคาร ที่อยู่อาศัยอันซอมซ่อ 2.2 นำเสนอความจริงในทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์มากกว่า เน้นการแสดง เรื่องราว เนื้อหา ความงามในธรรมชาติหรือความงามที่เกินจริงแบบอุดมคติ (angiegroup, 2559) ในผลงานนี้ของข้าพเจ้ามีความเกี่ยวข้องในด้านรูปแบบเหมือนจริงและแนวความคิดที่เน้นสภาวะ อารมณ์ความรู้สึกมาสร้างสรรค์ในผลงาน 3. กระบวนการในการสร้างสรรค์ ในกระบวนการสร้างสรรค์ผลงานชิ้นนี้ข้าพเจ้าแบ่งออกเป็น 5 ขั้นตอนดังนี้ 1. การถ่ายภาพและเลือกภาพ จัดสถานที่ จัดท่าทางพื้นที่จริงเพื่อเก็บภาพข้อมูล สถานที่ มาเป็นต้นแบบ ปรับแต่งสีตามความ เหมาะสมในทางองค์ประกอบศิลป์เพื่อให้เกิดเอกภาพความสมบูรณ์ ศึกษาข้อมูลที่มาของสัญลักษณ์ที่ตนเอง นำมาใช้แสดงออกเพื่อเป็นประโยชน์ในเชิงการตีความหมาย 2. การตัดต่อรูป ข้าพเจ้าเลือกรูปทรงขา แล้วนำมาตัดต่อด้วย แอพ Procreate จากนั้นแล้วลงน้ำหนักโดยรวมแยกค่า แสงเงา ต่อมาเน้นรายละเอียดให้มากขึ้น อาจลดทอนรายละเอียดบางจุดที่ไม่ต้องการลงเพื่อไม่ให้แข่งกับ จุดเด่น 3. การปริ้นท์ภาพ นำภาพที่ตัดต่อเสร็จ ไปปริ้นท์ลงแผ่นใส เพื่อนำไปทำเทคนิคไซยาโนไทป์ต่อ โดยปรับภาพเป็น Negative และนำไปปริ้นท์ลงแผ่นใส 4. การทำเทคนิคไซยาโนไทด์ 4.1 ใช้วิธีนำภาพสเก็ตถ่ายเอกสารลงบนแผ่นใส
281 ภาพที่ 1 ภาพแผ่นใสจากถ่ายเอกสาร ที่มา : ผู้สร้างสรรค์ 4.2 ทาน้ำยาที่มีส่วนผสมของแอมโมเนียม ซีเตรท และโพแทสซียม เฟอริไซยาไนด์ ลงบน กระดาษคอตตอน รอให้แห้ง โดยการอาศัยแสงแดด แสงยูวี เป็นตัวสร้างปฏิกิริยากับเคมี 2 ตัว ที่ทาลงบน แผ่นกระดาษคอทตอล ทับด้วยกระจกแล้วน้ำไปตากแดดประมาณ 10 - 15 นาที ภาพที่ 2 ภาพส่วนผสมต่าง ๆ ในการทำไซยาโนไทป์ ที่มา : ผู้สร้างสรรค์ 4.3 เมื่อผึ่งแดดได้เวลาที่ต้องการแล้ว นำไปล้างสารเคมีด้วยน้ำสะอาด 4.4 แล้วหยดสารไฮโดรเจนลงบนภาพเพื่อให้ภาพคมชัดขึ้น 5. หลังจากนั้นนำแรเงาเพิ่มเติมในส่วนที่ต้องการจนสมบูรณ์
282 4. การวิเคราะห์ผลงาน ภาพที่3 Beauty in imperfection number 2, Cyanotype printing., 30 x 40 cm., 2023 ที่มา : ผู้สร้างสรรค์ ทัศนธาตุในผลงานของข้าพเจ้าเป็นส่วนสำคัญในการสื่อความหมายทางอารมณ์ความรู้สึก ข้าพเจ้าใช้ ความประสานสัมพันธ์ของทัศนธาตุ ที่มีความเชื่อมโยงกับเนื้อหาเรื่องราวและเทคนิควิธีการ เป็นกระบวนการ ในการสร้างสรรค์ของข้าพเจ้า เพื่อสร้างเอกภาพในผลงานของข้าพเจ้า ในบางครั้งเกิดเป็นเหตุบังเอิญของ ทัศนะธาตุที่รวมกัน อาจเป็นการส่งผลต่ออารมณ์ ความรู้สึกที่หลากหลายให้ปรากฏขึ้นในผลงาน อีกทั้งยังเป็น การเพิ่มนัยยะความหมาย ในเชิงคุณค่าต่อผลงานได้ดีขึ้นดังนี้ Elements of art ภายในภาพมีเส้นตรงและเส้นโค้ง ส่วนใหญ่จะเป็นเส้นโค้งของใบไม้ กิ่งก้าน มีการ ใช้แสงจากด้านบนและด้านซ้าย แสงที่มาจากด้านซ้ายของภาพที่ตกกระทบมายังรูปทรงขาทำให้เกิดเงาส่งผล ให้ภาพเกิดมิติขึ้นมา การใช้เทคนิคไซยาโนไทป์ สีน้ำเงิน แสดงถึง ให้ความรู้สึกสบายตา สงบ ขณะเดียวกันก็ทำ ให้รู้สึกอ้างว้าง เงียบเหงา จะมีรูปทรงกิ่งไม้ที่แตกแขนงสอดประสานกลมกลืนกันทางทัศนธาตุ ความสมดุล (Balance) การจัดวางองค์ประกอบที่แสดงรูปทรงขากึ่งกลางของภาพและสร้างความ สมดุลที่ดูสมมาตร โดยวางรูปให้อยู่ในแกนสมดุล เหมือนจะสงบนิ่ง เงียบขรึม แต่ความรู้สึกกลับเต็มไปด้วย ความสั่นคลอน
283 สัดส่วน (Proportion) สัดส่วนของรูปทรงขาจะขับเน้นให้มีดูถึงความงามในความไม่สมบูรณ์เพราะ เป็นองค์ประกอบที่สำคัญจะเห็นได้ว่าข้าพเจ้าหยิบยกมาแค่ครึ่งตัว ส่วนองค์ประกอบรองคือแท่นจะมีขนาด รองลงมา และลดทอนลงบ้างในส่วนที่ไกลออกไป สัดส่วนของกิ่งไม้มีการเชื่อมต่อกับร่างกายเพื่อเปิด จินตนาการเชื่องโยงกับความงามตามธรรมชาติที่ข้าพเจ้าสร้างสรรค์ การเน้น (Emphasis) มีการเน้นของรูปทรงขาเป็นหลักเป็นส่วนสำคัญมากที่สุดเพื่อแสดงออกถึง เรื่องราวที่จะสื่อสารถึงคนดู ดึงดูดสายตาด้วยจุดนี้ให้มองลึกเข้าไปในภาพ การเน้นอีกจุดหนึ่ง ได้แก่เส้นของกิ่ง ไม้ที่เชื่อมโยงจากขาเป็นรูปทรงที่ประกอบสร้างใหม่ให้ความรู้สึกถึงความเหนือจริง เป็นความงามและความ เศร้า ที่ปะปนอยู่ในความรู้สึกของข้าพเจ้า การตีความ (Interpretation) โดยผลงานของข้าพเจ้าจะแสดงรูปทรงขา และกิ่งไม้แห้ง บ่งบอกถึง ความตาย ความไม่สมบูรณ์ตามแต่จินตนาการของบุคคลนั้น รูปทรงขาผู้หญิงที่สื่อถึงความอ่อนหวานของ ผู้หญิง เพื่อบอกถึงความในใจ เหมือนกับชีวิตที่มีทั้งสุขและทุกข์ปะปนกันไป ข้าพเจ้าเลือกใช้บรรยากาศโทน เย็นเปรียบเหมือนเหมือนความมืดภายในจิตใจ 5. สรุป จากประสบการณ์ของข้าพเจ้าที่ตระหนักถึงความไม่จีรังของร่างกายนี้จึงก่อเกิดเป็นรูปแบบการ สร้างสรรค์ผลงานภาพพิมพ์ไซยาโนไทป์ข้าพเจ้าได้ประมวลความคิด นำไปสู่การค้นคว้าศึกษาข้อมูล ในวิธีการ สร้างสรรค์ผลงานให้สอดคล้องกับแนวความคิด และสอดแทรกนัยยะเชิงสัญลักษณ์ทางด้านวัฒนธรรมให้เกิด คุณค่า เพื่อสะท้อนถึงเนื้อหาสาระ เรื่องราวสัจธรรม ความไม่จีรังต่าง ๆ ที่เกิดจากประสบการณ์โดยตรงของ ข้าพเจ้าและคนรอบข้าง ความผูกพันต่อบุคคลที่เคารพรัก ซึ่งเนื้อหาเรื่องราวทางความคิด นำเสนอถึง ความรู้สึกภายในจากความไม่เที่ยงแท้ของสรรพสิ่ง เป็นเรื่องภายในจิตใจนำไปสู่การแสดงออกของจิตใต้สำนึก ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของการมีชีวิตอยู่ โดยการใช้สัญญะแฝงในผลงานในรูปแบบภาพภาพพิมพ์กึ่งเหนือจริง ผ่านกระบวนการทางเทคนิคไซยาโนไทป์มีลักษณะเป็นภาพสองมิติแสดงให้เห็นถึงรูปร่าง รูปทรง ลวดลาย สิ่งของ สถานที่ผ่านแสง เงา ข้าพเจ้าได้นำหลักการทางทัศนธาตุและองค์ประกอบมาใช้ในผลงานเพื่อให้ภาพมี ความกลมกลืนอย่างลงตัว อีกทั้งยังเชื่อมโยงเนื้อหาเรื่องราว เทคนิควิธีการ สร้างสรรค์ผลงานให้มีเอกภาพมาก ที่สุด เอกสารอ้างอิง วีกิมีเดีย. (2564). ลัทธิเหนือจริง. สืบค้นเมื่อวัน 10ตุลาคม 2566, จากเว็บไซต์: https://th.wikipedia.org/wiki. ศิลปะแบบเรียลิสม์ (REALISM), (2565), สืบค้นเมื่อวัน 12 ตุลาคม 2566, จากเว็บไซด์https://angiegroup. wordpress.com.
284 สภาวะ กาย จิต สัญญะแหงพุทธธรรม ผานจิตรกรรมสื่อผสม และเทคนิคดินสรางลวดลาย The state of physical, mental, symbolic of Buddhist dhamma through mixed media painting. And the soil technique creates patterns สักชาติศรีสุข, Sakachart Srisuk E-mail: [email protected] บทคัดย่อ การสร้างสรรค์ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อสร้างสรรค์ผลงาน "สภาวะ กาย จิต สัญญะแห่งพุทธ ธรรม ผ่านเทคนิคจิตรกรรมสื่อผสมและดินสร้างลวดลาย" 2) เพื่อถ่ายแนวคิดและเทคนิคจิตรกรรมสื่อผสมวัสดุ ทางธรรมชาติมาสร้างสรรค์เป็นผลงานศิลปะ 3) เพื่อสะท้อนหลักธรรมผ่านผลงานทัศนศิลป์และการเผยแพร่ ผลงานทัศนศิลป์สู่สาธารณะชน ผู้สร้างสรรค์ได้สะท้อนแนวคิดทางธรรมชาติของชีวิต ทางทัศนะทางกายภาพ และสัญลักษณ์ทาง พระพุทธศาสนา ที่สะท้อนมทัศนะทางจิตใจ ความหมายปรัชญาเชิงเปรียบเทียบธรรมชาติกับองค์ประกอบชีวิติ ของมนุษย์ที่ตั้งอยู่ด้วยกายสังขาร และจิตวิญญาณ ถ่ายทอดหลักธรรมสื่อผ่านผลงานทัศนศิลป์ โดยผู้ สร้างสรรค์ผลงานได้ใช้เทคนิคจิตรกรรมสื่อผสม (Mixed Media Painting) ถ่ายทอดสีสันทางความรู้สึกและ การสร้างลวดลายที่สร้างพื้นผิวด้วยดินผสมขึ้นเฉพาะจากวัตถุทางความเชื่อ ความศรัทธา สร้างสรรค์ให้เกิด ความหมายเชิงสัญลักษณ์ที่สื่อถึงทางคติธรรม ที่ผู้สร้างสรรค์มุ่งเน้นถึงวิถีความเชื่อ ความศรัทธาต่อ พระพุทธศาสนา การเปรียบเทียบและสะท้อนสภาวะของสังคมมนุษย์ในยุคอดีต และยุคปัจจุบัน ถึงคุณค่ากับ จริยวิถีทางธรรมชาติภายในบริบททางจิตใจของมนุษย์ตรรกะและเหตุผลแห่งสัจธรรม ความเชื่อ ความศรัทธา ความจริงแท้ที่มีลักษณะสอดคล้องกันและธรรมชาติอันประณีต ดีงามที่เป็นพื้นฐานเพื่อขัดเกลายกระดับจิตใจ ของการอยู่ร่วมกันในสังคม ซึ่งนำมาสู่แรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ด้วยคติธรรมทางพระพุทธศาสนา คำสำคัญ: สภาวะ กาย จิต, สัญญะพุทธธรรม, จิตรกรรมสื่อผสม, ดินสร้างลวดลาย Abstract This creation is aimed at 1) to create "the state of physical, mental, symbolic of Buddhist dhamma through mixed media painting techniques and patterned soil", 2) to reflect principles through visual arts, 3) to convey ideas with the natural materials that exist around them to create as works of art, and to publicly disseminate visual arts. The creators have reflected on the natural concepts of life. Physical vision and Buddhist symbols that reflect the psychological dimension. The concept of philosophy
285 compares nature with the elements of human life set by body and soul, conveying media principles through visual arts. Create a symbolic meaning that conveys the motto, in which the creators focus on the way of faith, faith in Buddhism, comparing and reflecting the state of human society in the past and the present day, to the value of natural ethics within the human psychological context. Logic and reasons for truth, faith, faith. True truths with consistent characteristics and exquisite nature are fundamental to refine the mind of social coexistence, which brings inspiration to creation with Buddhist mottos. Keywords:Physical and mental state,Buddhist symbols, Mixed Media Painting, The soil creates patterns 1. ความสำคัญหรือความเป็นมาของปัญหา มนุษย์นั้นประกอบด้วยร่างกายและจิตใจ สภาวะในการพัฒนามนุษย์จึงจำเป็นตองพัฒนาทั้งร่างกาย และจิตใจอันประกอบด้านคุณธรรม ตั้งแต่ยุคสมัยอตีดถึงปัจจุบัน บทบาททางพระพุทธศาสนาจึงเป็นสำคัญดัง เครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจและขัดเกลา เกณฑ์ทางคุณธรรมและจริยธรรม เป็นแบบแผนที่ยึดถือปฏิบัติตามกันมา ตั้งแต่บรรพบุรุษ ก่อเกิดวัฒนธรรมประเพณีประณีตงาม เพราะพุทธศาสนิกชน เข้าใจถึงหลักการปฏิบัติและ คติธรรมความจริงทางพระพุทธศาสนามาประยุกต์ใชอย่างถูกตองเหมาะสม ในการดำเนินชีวิตประจำวัน และเป็นรากฐานของวัฒนธรรมไทยในการเข้าประพฤติปฏิบัติเพื่อความสงบสุขของตนและสังคม โดยไม่ หลงลืมถึงคุณค่าทางจิตใจและจิตสำนึกที่ดีความพอเพียง ความพอดีตามหลักคำสอนขององค์สมเด็จพระ สัมมาสัมพุทธเจ้าที่สั่งสอนให้คนกระทำความดีเกรงกลัวต่อบาป ไม่เบียดเบียนซึ่งกันและกัน อันนำมาซึ่งความ สงบทางใจ สังคมสงบสุข ลดภาวะตึงเครียดอันเกิดจากการลวงล่อของกิเลสจนมองข้ามถึงสัจจธรรมของชีวิต จากที่กล่าวมาข้างต้นผู้สร้างสรรค์ได้สะท้อนคติธรรมผ่านผลงานทางทัศนศิลป์โดยเลือกใช้สัญลักษณ์ และวัตถุที่แสดงออกถึงความเชื่อ ความศรัทธามาสร้างสรรค์ เช่น เนื้อดินในธรรมชาติ, อินทรีวัตถุ, เถ้า, ถ่าน, กระดาษทำมือ, ผงธูป, ประเภทสีของดิน ซึ่งล้วนเป็นส่วนผสมที่ประกอบด้วยคุณสมบัติของวัตถุที่สื่อ ความหมายอันเกี่ยวเนื่องกับความเชื่อ ความศรัทธาของมนุษย์ทั้งทางโลกธาตุและโลกธรรม ที่สามารถให้ ความรู้สึกที่กระตุ้นเตือนถึงวิถีแห่งความดีงาม และเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจมนุษย์ในสภาวะสังคมปัจจุบัน ความตระหนักถึงคุณค่าในตัวของมนุษย์เอง กับการขัดเกลา จิตวิญญาณหรือสัญชาติญาณในตัวตน เพื่อให้ จิตใจตั้งอยู่บนพื้นฐานแห่งความถูกต้องดีงาม
286 2. แนวคิด / ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง กรอบแนวคิดที่ใช้ในการสร้างสรรค์ 2.1 หลักแห่งอริยสัจ 4 อริยสัจ หรือจตุราริยสัจ หรืออริยสัจ 4 เป็นหลักคำสอนหนึ่งของพระโคตมพุทธเจ้า แปลว่า ความจริง อันประเสริฐ ความจริงของพระอริยบุคคล หรือความจริงที่ทำให้ผู้เข้าถึงกลายเป็นอริยะ มีอยู่สี่ประการ คือ 1. ทุกข์คือ ความจริงที่ว่าด้วยความทุกข์ 2. สมุทัย คือ ความจริงที่ว่าด้วยเหตุให้เกิดทุกข์ 3. นิโรธ คือ ความจริงที่ว่าด้วยความดับทุกข์ 4. มรรค คือ ความจริงที่ว่าด้วยทางแห่งความดับทุกข์ 2.2 หลักแห่งมรรควิถี มรรค 8 หรืออริยมรรค หมายถึง แนวทางปฏิบัติเพื่อให้เกิดความรู้แจ้งด้วยปัญญาสำหรับขจัดความ เขลา ความหลงผิด ความทุกข์เพื่อให้การดำเนินชีวิตดำรงอยู่ในศีลธรรมอันดีงาม ที่ภิกษุหรือปถุชนใช้เป็น แนวทางเพื่อการหลุดพ้นจากวัฏสงสารประกอบด้วยธรรม 8 ประการ คือ 1. สัมมาทิฏฐิคือ การเห็นชอบ 5. สัมมาอาชีวะ คือ การเลี้ยงชีพชอบ 2. สัมมาสังกัปปะ คือ การดำริชอบ 6. สัมมาวายามะ คือ การเพียรชอบ 3. สัมมาวาจา คือ การเจรจาชอบ 7. สัมมาสติคือ การตั้งสติชอบ 4. สัมมากัมมันตะ คือ การประพฤติชอบ 8. สัมมาสมาธิคือ การตั้งมั่นชอบ อริยสัจ 4 1.ทุกข์ - ความจริงที่ว่าด้วยความทุกข์ 2.สมุทัย - ความจริงที่ว่าด้วยเหตุให้เกิดทุกข์ 3.นิโรธ - ความจริงที่ว่าด้วยความดับทุกข์ 4.มรรค - ความจริงที่ว่าด้วยทางแห่งความดับทุกข์ มรรค 8 และไตรสิกขา 1.สัมมาทิฏฐิ- เห็นชอบ 2.สัมมาสังกัปปะ - ดำริชอบ 3.สัมมาวาจา - เจรจาชอบ 4.สัมมากัมมันตะ – ประพฤติชอบ 5.สัมมาอาชีวะ – เลี้ยงชีพชอบ 6.สัมมาวายามะ – เพียรชอบ 7.สัมมาสติ – ตั้งสติชอบ 8.สัมมาสมาธิ – ตั้งมั่นชอบ ผลงานสร้างสรรค์ เพื่อกระตุ้นเตือนให้มนุษย์ เห็นคุณค่าของความศรัทธา สู่แนวทางการปฏิบัติ การพิสูจน์ กลั่นกรอง พิจารณากิเลสเพื่อยกระดับ จิตใจสู่ความจริงแท้ของชีวิต ปัญญา ศีล ไตรสิกขา สมาธิ วิถีการดำเนินชีวิต ของมนุษย์ และธรรมชาติความ เข้าใจถึงสภาวะตาม ความเป็นจริง ด้วยหลักธรรมที่เป็น พื้นฐานสำคัญของ ความจริงอันทำให้ บุคคลเป็นผู้ประเสริฐ
287 2.3 หลักไตรสิกขา การฝึกฝนและพัฒนามนุษย์นั้นทางพุทธศาสนาจัดวางเป็นหลักเรียกว่า ไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา ซึ่งถือว่าเป็นระบบการศึกษาที่ทำให้บุคคลพัฒนาอย่างมีบูรณาการ และให้มนุษย์เป็นองค์รวมที่พัฒนา อย่างมีดุลยภาพ 1. ศีล เป็นเรื่องของการฝึกในด้านพฤติกรรม โดยเฉพาะพฤติกรรมเคยชิน เครื่องมือที่ใช้ใน การฝึกศีล ก็คือวินัย วินัยเป็นจุดเริ่มต้นในกระบวนการศึกษาและการพัฒนามนุษย์ เพราะว่าวินัยเป็นตัวการ จัดเตรียมชีวิตให้อยู่ในสภาพที่เอื้อต่อการพัฒนา โดยจัดระเบียบความเป็นอยู่ การดำเนินชีวิตและการอยู่ ร่วมกันในสังคม ให้เหมาะกับการพัฒนาและให้เอื้อโอกาสในการที่จะพัฒนา เมื่อฝึกได้ผลจนคนมีพฤติกรรมเคย ชินที่ดีตามวินัยนั้นแล้วก็เกิดเป็นศีล ดังนั้น โดยสรุปวินัยจะมาในรูปของการฝึกพฤติกรรมเคยชินที่ดีและการ จัดสภาพแวดล้อม ที่จะป้องกันไม่ให้มีพฤติกรรมที่ไม่ดีและเอื้อต่อการมีพฤติกรรมที่ดีที่พึงประสงค์การฝึกคน ให้คุ้นกับพฤติกรรมที่ดีตลอดจนการจัดระเบียบระบบทั้งหลายทั้งปวงในสังคมมนุษย์ 2. สมาธิเป็นเรื่องของการฝึกในด้านจิต หรือระดับจิตใจ ได้แก่การพัฒนาคุณสมบัติต่าง ๆ ของจิต ทั้งในด้านคุณธรรม เช่น ความเมตตากรุณา ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ในด้านความสามารถของจิต เช่น ความเข้มแข็งมั่นคง ความเพียรพยายาม ความรับผิดชอบ ความแน่วแน่มั่นคง ความมีสติสมาธิและในด้าน ความสุข เช่น ความอิ่มใจ ความร่าเริงเบิกบานใจ ความสดชื่นผ่องใส ความรู้สึกพอใจ พูดสั้น ๆ ว่า พัฒนา คุณภาพ สมรรถภาพ และสุขภาพของจิต 3. ปัญญา เป็นเรื่องของการฝึกหรือพัฒนาในด้านการรู้ความจริง เริ่มตั้งแต่ความเชื่อ ความเห็น ความรู้ความเข้าใจ ความหยั่งรู้เหตุผล การรู้จักวินิจฉัย ไตร่ตรอง ตรวจสอบ คิดการต่าง ๆ สร้างสรรค์เฉพาะอย่างยิ่งเน้นการรู้ตรงตามความเป็นจริง หรือรู้เห็นตามที่มันเป็น ตลอดจนรู้แจ้งความจริงที่ เป็นสากลของสิ่งทั้งปวง จนถึงขั้นรู้เท่าทันธรรมดาของโลกและชีวิต ที่ทำให้มีจิตใจเป็นอิสระ ปลอดปัญหา ไร้ทุกข์เข้าถึงอิสรภาพโดยสมบูรณ์ หลักทั้ง 3 ประการที่กล่าวมานี้เป็นส่วนประกอบของชีวิตที่ดีงาม เราก็ฝึกคนให้เจริญงอกงามใน องค์ประกอบเหล่านี้และให้องค์ประกอบเหล่านี้นำเขาสู่การเข้าถึงอิสรภาพและสันติสุขที่แท้จริง ตัวการฝึกที่ จะให้มีชีวิตที่ดีงามเป็นสิกขา ตัวชีวิตที่ดีงามที่เกิดจากการฝึกนั้นก็เป็นมรรค การฝึกที่เรียกว่าสิกขา หรือแปลว่าการศึกษานี้บางทีก็ใช้ศัพท์แทนเป็นคำว่า ภาวนา ซึ่งก็คือเรื่องของ สิกขานั่นเอง แต่คำว่าภาวนา แปลว่าทำให้เจริญ ทำให้เป็นทำให้มีขึ้น หรือฝึกอบรม ภาวนาจัดเป็น 4 อย่าง คือ 1. กายภาวนา การพัฒนากาย คือ การมีความสัมพันธ์ที่เกื้อกูลกับสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ 2. ศีลภาวนา การพัฒนาศีล คือ การมีความสัมพันธ์ที่เกื้อกูลกับเพื่อนมนุษย์ในสังคม 3. จิตภาวนา การพัฒนาจิต คือ การทำจิตใจให้เจริญงอกงามขึ้นในความดีงาม ความเข้มแข็ง มั่นคงสงบสุข และเป็นอิสระ 4. ปัญญาภาวนา การพัฒนาปัญญา คือ การเสริมสร้าง ความรู้ความเข้าใจ ความคิดเหตุผล และการหยั่งรู้ความจริง จนเข้าถึงอิสรภาพ มีชีวิตที่ดีงามปลอดทุกข์ปราศปัญหา
288 2.4 ลักษณะของจิต ในทางพระพุทธศาสนาถือว่ามนุษย์ประกอบด้วยส่วนสำคัญสองส่วน คือกายกับจิต ที่มีศัพท์เฉพาะ เรียก ว่านามรูป นามก็คือส่วนที่เป็นจิต รูปก็คือส่วนที่เป็นร่างกาย แม้จะเรียกว่านาม รูป หรือจิตกับร่างกายก็มี ความหมายอย่างเดียวกัน และต่างก็มีความสำคัญตามลักษณะของตน ซึ่งจะต้องอิงอาศัยซึ่งกันและกันโดยที่จะ ขาดอย่างใดอย่างหนึ่งไปไม่ได้แต่คําสอนในทาง พระพุทธศาสนาก็จะเน้นในเรื่องจิต และให้ความสำคัญแก่จิต มากกว่าร่างกาย โดยที่เห็นว่า ร่างกายนั้นจะก่อให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ได้มากมาย แต่ปัญหาที่มีความสำคัญอย่าง แท้จริงนั้นได้แก้ปัญหาที่เกี่ยวเนื่องกับจิต หากสามารถแก้ปัญหาที่เกี่ยวกับจิตได้อย่างเด็ดขาดสิ้นเชิงแล้ว ปัญหา ที่เนื่องด้วยร่างกาย แม้อาจจะยังมีอยู่ ก็ไม่ใช่เรื่องสำคัญอีกต่อไป ด้วยเหตุนี้คําสอนในทาง พระพุทธศาสนาส่วนใหญ่จึงเน้นไปที่การแก้ปัญหาเกี่ยวกับจิตมากกว่า โดยการเสนอแนะวิธีพัฒนาจิตใน รูปแบบต่าง ๆ ที่มนุษย์สามารถนําไปใช่ปฏิบัติจนสามารถประสบผลได้ด้วยตนเอง ฉะนั้น เรื่องจิตจึงเป็นเรื่องที่ น่าศึกษาและทำความเข้าใจ โดยเฉพาะถ้าได้ทราบเข้าใจ อย่างถูกต้องแล้วก็จะเป็นประโยชน์แก่ชีวิตของมนุษย์ ความหมายของจิต คําว่า “จิต” ตามความหมายของรูปวิเคราะห์ศัพท์ทางนิรุตติศาสตร์ดังนี้“จินฺเตติ วิชานาตีติจิตฺตํ” แปลว่า ธรรมชาติใดย่อมคิด คือย่อมรู้แจ้ง เหตุนั้น ธรรมชาตินั้น ชื่อว่าจิต ในพระ สุตตันตปิฎก กามสุตตนิเทสที่ 1 ได้ให้ความหมายของจิตไว้ดังนี้“คําว่า ใจ คือ จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑระ มนะ มนายตนะ มนินทรีย์วิญญาณ วิญญาณขันธ์มโนวิญญาณธาตุซึงเกิดแต่ผัสสะ ดังนี้เรียกว่า “ใจ” จิตแม้ มีชื่อเรียกถึง 10 ชื่อทำหน้าที่หลัก คือ รู้อารมณ์และคําว่า “อารมณ์” ในทางพระพุทธศาสนา หมายถึง อายตนะภายนอกทั้ง 6 และจิตนีจะรู้หรือรับอารมณ์ได้เพียงครังละอารมณ์คือเมื่อจิตรับรู้หรือคิดถึงอารมณ์คือ รูป จิตจะ ไม่รับรู้อารมณ์อื่น คือ เสียง กลิ่น รส สิ่งสัมผัส แม้อารมณ์นั้นจะเป็นรูปที่อยู่ในสถานที่เดียวกัน การ ที่จิตมีชื่อเรียกต่าง ๆ ดังกล่าวแล้ว เป็นการเรียกตามธรรมชาติในแง่มุมของการทำ หน้าที่ตามขั้นตอนต่าง ๆ แต่เนื่องจากในพระสุตตันตปิฎกมิได้ให้ความหมายของจิตครบทั้ง 10 ชื่อ มีเพียงบางชื่อ เช่น มนายตนะ วิญญาณ เป็นต้น จึงได้นําความหมายของคําที่ใช้เรียกจิต เหล่านี้ในอัฏฐสาลินีอรรถกถา มากล่าว ดังนี้ “ธรรมชาติใดย่อมคิด ธรรมชาตินั้นชื่อว่า “จิต” ธรรมชาติใดย่อมน้อมไปหาอารมณ์ธรรมชาตินั้นชื่อว่า “มโน” ธรรมชาติที่รวบรวมอารมณ์ไว้ภายในนันแหละชื่อว่า “หทัย” ธรรมชาติฉันทะคือความพอใจที่มีอยู่ในใจนั้นชื่อ ว่า “มานัส” จิต เป็นธรรมชาติผ่องใส จึงเรียกว่า “ปัณฑระ” มนะที่เป็นอายตนะเครืองต่อ จึงชื่อว่า “มนายตนะ” มนะที่เป็นอินทรีย์หรือครองความเป็นใหญ่จึงเรียกว่า “มนินทรีย์” ธรรมชาติใดที่รู้อารมณ์ธรรมชาตินั้นชื่อว่า “วิญญาณ” วิญญาณที่เป็นขันธ์จึงชื่อว่า “วิญญาณขันธ์” มนะที่เป็นธาตุชนิดหนึ่งซึ่งรู้อารมณ์จึงชื่อว่า “มโน วิญญาณ” “นักปราชญ์ย่อมทำจิตที่ดิ้นรน กลับกลอกรักษาได้โดยยาก ห้ามได้โดยยาก ให้ตรง ดังช่างศรดัดลูกศร ให้ตรง ฉะนั้นจิตนี้อันพระโยคาวจรยกขึ้นแล้วจากอาลัย คือ เบญจกามคุณเพียงดังน้ำ ซัดไปในวิปัสสนา กรรมฐานเพียงดังบก เพื่อจะละบ่วงมาร ย่อมดิ้นรน ดุจปลาอันชาวประมง ยกขึ้นแล้วจากที่อยู่คือน้ำโยนไป แล้วบนบก ดิ้นรนอยู่ฉะนั้น การฝึกฝนจิตที่ข่มได้ยาก อันเร็ว มีปรกติตกไปในอารมณ์อันบุคคลพึงใคร่อย่างไร เป็นความดีเพราะว่าจิตที่บุคคลฝึกดีแล้วนำสุขมาให้นักปราชญ์พึงรักษาจิตที่เห็นได้แสนยากละเอียดอ่อนมี ปกติตกไปตามความใคร่เพราะว่าจิตที่บุคคล คุ้มครองแล้วนำสุขมาให้ชนเหล่าใดจักสำรวมจิตอันไปใน ที่ไกล
289 ดวงเดียวเที่ยวไป หาสรีระมิได้มีถ้ำเป็นที่อยู่อาศัย ชนเหล่านั้นจะพ้นจากเครื่องผูกแห่งมาร ปัญญาย่อมไม่ บริบูรณ์แก่บุคคลผู้มีจิตไม่ตั้งมั่น ไม่รู้แจ่มแจ้งซึ่งพระสัทธรรมมีความเลื่อมใสอันเลื่อนลอย ภัยย่อมไม่มีแก่พระ ขีณาสพ ผู้มีจิตอันราคะไม่รั่วรด ผู้มีใจอันโทสะไม่ตามกระทบแล้ว ผู้มีบุญและบาปอันละได้แล้ว ผู้ตื่นอยู่ กุลบุตรทราบกายนี้ว่า เปรียญด้วยหม้อแล้ว พึงกั้นจิตนี้ให้เปรียบเหมือนนคร พึงรบมารด้วยอาวุธคือ ปัญญา อนึ่ง พึงรักษาตรุณวิปัสสนา ที่ตนชนะแล้ว และไม่พึงห่วงใย กายนี้อันบุคคลทิ้งแล้ว มีวิญญาณปราศแล้วไม่ นานหนอจักนอนทับแผ่นดิน ประดุจท่อนไม้ไม่มีประโยชน์โจรหัวโจก เห็นโจรหัวโจก ก็หรือคนมีเวรเห็นคนผู้คู่ เวรกันพึงทำความฉิบหาย และความทุกข์ใดให้จิตที่บุคคลตั้งไว้ผิดพึงทำบุคคลนั้นให้เลวยิ่งกว่าความฉิบหาย และความทุกข์นั้นมารดาบิดาไม่พึงทำเหตุนั้นได้หรือแม้ญาติเหล่าอื่นก็ไม่พึงทำเหตุนั้นได้จิตที่บุคคลตั้งไว้ชอบ แล้วพึงทำเขาให้ประเสริฐกว่าเหตุนั้น” 3. กระบวนการในการสร้างสรรค์ ในการสร้างสรรค์ผลงานวิเคราะห์ศึกษาแนวคิดทางหลักคติธรรมทางพระพุทธศาสนากับการตีความ เชิงรูปแบบกระบวนการวางกรอบแนวความคิด และความหมายของวัสดุที่นำมาใช้ถ่ายทอดทั้งทางเทคนิค วิธีการเพื่อที่จะให้ผลงานสร้างสรรค์นั้น สามารถตอบสนองสะท้อนความรู้สึกและสอดคล้องกันต่อแนวความคิด จนสร้างออกมาเป็นชิ้นงานจิตรกรรมสื่อผสม โดยใช้วัสดุทางธรรมชาติและวัตถุทางความเชื่อ ความศรัทธาทาง ศาสนา กับการแสดงความสัมพันธ์ระหว่างวัตถุธาตุกับอนุภาคทางจิตวิญญาณ ที่เป็นส่วนประกอบของทุก สรรพสิ่งทางโลกธาตุ เปรียบดังเช่น ร่างกายที่สัมพันธ์และเป็นที่ตั้งของจิตวิญญาณ ซึ่งได้สื่อแทนด้วยอนุภาพ ของแสงสว่างและลวดลายที่มีความหมายทางพุทธศาสนา เป็นเสมือนคุณค่าที่อยู่ภายในทุกสรรพสิ่งทาง ธรรมชาติและภายในความเป็นมนุษย์ เทคนิคในการสร้างสรรค์ ผู้สร้างสรรค์ที่ต้องการแสดงออกด้วยเทคนิคจิตรกรรมสื่อผสม สร้างพื้นผิวด้วยดินผสมเฉพาะ เช่น เนื้อ ดินในธรรมชาติ, อินทรีวัตถุ, เถ้า, ถ่าน, กระดาษทำมือ, ผงธูป, ประเภทสีของดิน ซึ่งล้วนเป็นส่วนผสมที่ ประกอบด้วยคุณสมบัติของวัตถุที่สื่อความหมายอันเกี่ยวเนื่องกับความเชื่อ ความศรัทธาของมนุษย์ทั้งทาง โลกธาตุและโลกธรรม จากนั้นจึงสร้างลวดลายโดยการปั้มพิมพ์ ที่สร้างรูปแบบขึ้นมาใหม่กับลวดลายที่เป็นวัตถุ สำเร็จ และวาดรูปร่างสร้างบรรยากาศสีสันด้วยเทคนิคจิตรกรรม มาสร้างสรรค์ให้เกิดความหมายเชิง สัญลักษณ์ทางคติธรรมของพระพุทธศาสนา เปรียบเสมือนการสะท้อนธรรมชาติภายในจิตใจของมนุษย์
290 (ก) (ข) ภาพที่1 ภาพกระบวนการการสร้างสรรค์ดินสร้างลวดลายและจิตรกรรมสื่อผสม (ก) การผสมดินด้วยสูตรเฉพาะและสร้างลวดลายด้วยการปั้มรูปทรงที่ต้องการตามแนวคิด (ข) การใช้เทคนิคจิตรกรรมมาสร้างสรรค์ เพื่อกำหนดรูปทรงและสีสันของบรรยากาศในตัวชิ้นงาน ที่มา : ผู้สร้างสรรค์ชื่อ นายสักชาติ ศรีสุข ผู้สร้างสรรค์/ August 2023 ภาพผลงานสร้างสรรค์ “ธรรมชาติและสัญญะแหงจิต” ภาพที่ 2 : "ธรรมชาติและสัญญะแหงจิต”(Nature and Semiology of MindX) เทคนิค จิตรกรรมสื่อผสมและดิน สร้างลวดลาย (Mixed Media Painting and Clay Pattern Creation.), ขนาด 50 X 70 cm (2023) ที่มา : ผู้สร้างสรรค์ชื่อ นายสักชาติศรีสุข ผู้สร้างสรรค์/ August 2023
291 4. การวิเคราะห์ผลงาน การสร้างสรรค์“สภาวะ กาย จิต สัญญะแห่งพุทธธรรม ผ่านเทคนิคจิตรกรรมสื่อผสมและดินสร้าง ลวดลาย” การพัฒนาเพื่อหารูปแบบการแสดงออกให้สื่อถึงแนวความคิด ทฤษฎีกระบวนการสร้างสรรค์และ ค้นหาเทคนิค โดยการใช้วัสดุที่แสดงถึงชีวิต สู่คติธรรมทางพระพุทธศาสนาและแสดงถึงเนื้อหาเรื่องราว ผ่าน ทางทัศนธาตุด้วยรูปแบบศิลปะจิตรกรรมสื่อผสม (Mixed MediaPainting) กับคุณสมบัติของวัตถุที่สื่อ ความหมายอันเกี่ยวเนื่องกับความเชื่อ ความศรัทธาของมนุษย์ทั้งทางโลกธาตุและโลกธรรม ที่สามารถให้ ความรู้สึกที่กระตุ้นเตือนถึงวิถีแห่งความดีงาม และเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตวิญญาณ มนุษย์สื่อถึงสัญลักษณ์ ความศรัทธาที่มีต่อศาสนา ด้วยรูปร่างรูปทรงความหมายที่พุทธศาสนิกชนคุ้นเคย ถ่ายทอดผ่านกระบวนการใน ส่วนต่าง ๆ ทั้งทางด้าน เทคนิควิธีการ แนวความคิด จนนำมาสู่การสร้างสรรค์พัฒนาผลงานและสามารถ ตอบสนองต่อแนวทางของปรัชญาทางพุทธศาสนา 5. สรุป ความเชื่อและความศรัทธาสู่การสร้างสรรค์ซึ่งแปลความหมายจากคติธรรมทางพระพุทธศาสนา ผ่าน สื่อสัญลักษณ์ทางทัศนศิลป์การมองถึงมิติความเชื่อ ความศรัทธาต่อศาสนา มนุษย์นั้นประกอบด้วยร่างกายและ จิตใจ สภาวะในการพัฒนามนุษย์จึงจำเป็นตองพัฒนาทั้งร่างกายและจิตใจอันประกอบด้านคุณธรรม แม้ยุค สมัยอตีดถึงปัจจุบัน บทบาททางพระพุทธศาสนาจึงเป็นสำคัญดังเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจและขัดเกลา การดำรง คุณธรรมและจริยธรรม เป็นมาตรฐานที่ยึดถือปฏิบัติตามกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ ก่อเกิดวัฒนธรรมประเพณี ประณีตงาม เพราะพุทธศาสนิกชน เข้าใจถึงหลักการปฏิบัติและคติธรรมความจริงทางพระพุทธศาสนามา ประยุกต์ใชอย่างถูกตองเหมาะสม ในการดำเนินชีวิตประจำวัน และในฐานะเป็นรากฐานของวัฒนธรรมไทย ควรที่จะตองประพฤติปฏิบัติเพื่อความสงบสุขของตนและสังคม โดยไม่หลงลืมถึงคุณค่าทางจิตใจและจิตสำนึก ที่ดีความพอเพียง ความพอดีตามหลักคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่สั่งสอนให้คนกระทำ ความดีเกรงกลัวต่อ บาป ไม่เบียดเบียนซึ่งกันและกัน อันนำมาซึ่งความสงบทางใจ สังคมสงบสุข ลดภาวะตึง เครียดอันเกิดจากการลวงล่อของกิเลสจนมองข้ามถึงสัจจธรรมของชีวิตผู้สร้างสรรค์ได้แสดงถึงสภาวะของ คุณค่าทางความเชื่อ ความศรัทธา จึงประกอบด้วยเหตุและผลของความเป็นจริงอันสามัญ ที่สามารถยกระดับ สัญชาติญาณภายในตัวตน อะไรคือสิ่งสำคัญที่มนุษย์ควรยึดถือและสร้างสรรค์ในสิ่งอันควร เหตุและผลแห่งไตร ลักษณ์ที่ว่าด้วยการเกิดขึ้น ตั้งอยู่และสู่สุดท้ายย่อมสูญสลายไป ซึ่งเป็นธรรมดาของการเรียนรู้แต่ความเข้าใจ เข้าถึง ในปัจจุบันที่ตั้งอยู่ บนความดีงามอันประณีตเดิมแท้นั้นคืออะไร เพราะฉนั้นหลักแห่งไตรสิกและ อริยมรรค จึงเป็นแนวทางสำคัญ ของพื้นฐานชีวิต และเป็นปรัชญาความจริงแท้ในการศึกษาเรียนรู้ทำความ เข้าใจ เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการดำรงอยู่ของสังคมด้วยจริยธรรม
292 เอกสารอ้างอิง พระมหาจักรพันธ์จกฺกวโร. ไตรสิกขากับการดำเนินชีวิตของชาวพุทธ. สืบค้นเมื่อ 11 มีนาคม 2565. เข้าถึงได้จากhttps://www.mcutak.com สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก. (2557). แนวปฏิบัติในสติปัฏฐาน. กรุงเทพฯ. สำนักพิมพ์บริษัท พรีมา พับบลิชชิง จำกัด. อภิธัมมัตถวิภาวินิยา ปฐมภาค. (2518). ลักษณะของจิต. พระนคร. โรงพิมพ์มหามกุฎราชวิทยาลัย. เอกสารประกอบการบรรยายวิชาพระไตรปิฎกวิเคราะห์. (2558). ลักษณะของจิต ในขุททกนิกายธรรมบท แหงจิตตวรรคที่3. สืบค้นเมื่อ 23 เมษายน 2565, เข้าถึงได้จาก https://www.slideshare.net pangpond.com. อริยสัจ 4 คือ มรรคมีองค์8 ความไม่เบียดเบียน หนทางดับ ทุกข์, สืบค้นเมื่อ 10 มีนาคม 2565. เข้าถึงได้จาก https://www.pangpond.com