The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

บทความวิชาการประกอบผลงานสร้างสรรค์
การจัดแสดงนิทรรศการผลงานทางทัศนศิลป์ ระดับนานาชาติ
งานมหกรรมศิลปวัฒนธรรมไทย ของคณะศิลปวิจิตร

โครงการนิทรรศการทางวิชาการและการแสดงทางศิลปวัฒนธรรม
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 :
กิจกรรมที่ 2 การจัดแสดงนิทรรศการผลงานทางทัศนศิลป์ ระดับนานาชาติ
งานมหกรรมศิลปวัฒนธรรมไทย
“นาฏการสานแผ่นดิน บัณฑิตพัฒนศิลป์ สู่เวียงพิงค์”
ของคณะศิลปวิจิตร

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by ffabpi2020, 2024-03-26 22:48:30

บทความวิชาการประกอบงานส้างสรรค์ 2567

บทความวิชาการประกอบผลงานสร้างสรรค์
การจัดแสดงนิทรรศการผลงานทางทัศนศิลป์ ระดับนานาชาติ
งานมหกรรมศิลปวัฒนธรรมไทย ของคณะศิลปวิจิตร

โครงการนิทรรศการทางวิชาการและการแสดงทางศิลปวัฒนธรรม
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 :
กิจกรรมที่ 2 การจัดแสดงนิทรรศการผลงานทางทัศนศิลป์ ระดับนานาชาติ
งานมหกรรมศิลปวัฒนธรรมไทย
“นาฏการสานแผ่นดิน บัณฑิตพัฒนศิลป์ สู่เวียงพิงค์”
ของคณะศิลปวิจิตร

43 ภาพที่4 แสดงทัศนียภาพตัวอาคารและวัสดุที่นำมาใช้ในการออกแบบ ที่มา : ผู้สร้างสรรค์ 4. การวิเคราะห์ผลงาน การออกแบบนำรูปแบบ Modern Tropical Style ซึ่งเน้นไปที่การออกแบบตัวอาคารและวิธีการ ตกแต่งให้เข้ากับภูมิประเทศที่มีสภาพอากาศร้อนชื้น โดยนำเอาวัสดุพื้นถิ่นที่หาได้มาประยุกต์ใช้ภายใต้ รูปลักษณ์ที่ดูร่วมสมัยใหม่มากขึ้น ปรับแต่งองค์ประกอบอาคารให้เรียบง่าย กลุ่มสีที่ใช้เป็นสีในกลุ่มที่ให้ ความเป็นธรรมชาติที่ให้ความสว่างแบบไม่ฉูดฉาด เป็นกลุ่มที่ให้ค่าสีเป็นกลางๆซึ่งไม่หนักเข้มมาก จนเกินไปเป็นส่วนใหญ่ของพื้นที่ การนำโทนสีเบจ ครีม น้ำตาล เช่น พื้นดิน หิน ต้นไม้ เหมือนเป็นการ โชว์เนื้อสีของวัสดุจากธรรมชาติมาใช้งานในการตกแต่งอาคาร การใช้วัสดุประเภทไม้ต่าง ๆ เข้ามามีส่วน ร่วมในการออกแบบ สร้างความมีชีวิตชีวา ให้กับพื้นที่ของอาคาร


44 การสร้างสรรค์ได้นำรูปแบบการออกแบบ Tropical Style ให้เข้ากับการออกแบบในลักษณะความ สบาย ๆ ให้มีรูปลักษณ์ที่ทันสมัยคงสีสันและบรรยากาศของความเป็นธรรมชาติโดยโดยใช้วัสดุที่ดูแล้วเกิด ความรู้สึกถึงผิวสัมผัสของวัสดุธรรมชาติ เช่น เนื้อไม้จริงและผิวกระเบื้องหิน รวมถึงการใช้วัสดุในการกรุผิวที่ดู สะอาดและง่ายต่อการรักษา 5. สรุป การออกแบบทางด้านสถาปัตยกรรมซึ่งเป็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับสภาพแวดล้อมทางกายภาพ จึง จำเป็นต้องใช้กระบวนการในรับรู้ปัญหา การวิเคราะห์เพื่อหาสาเหตุของปัญหา การคลี่คลายปัญหา การแยก ความซับซ้อนของปัญหา โดยการสร้างแนวทางและกระบวนการในการแก้ปัญหาเพื่อนำไปสู่การออกแบบ ตลอดจนวิธีในการค้นหาคำตอบทางด้านการออกแบบทางด้านสถาปัตยกรรม เพื่อตอบสนองต่อความต้องการ ของผู้ใช้งาน กระบวนการออกแบบ เป็นกระบวนการที่มีขอบเขตกว้างเริ่มตั้งแต่การเก็บข้อมูลเบื้องต้นของ โครงการเพื่อทำการออกแบบไปจนถึงการก่อสร้างและรวมถึงการประเมินหลังการเข้าใช้งาน ทั้งนี้กระบวนการ ออกแบบยังเป็นการรวบรวมกระบวนการและขั้นตอนของการออกแบบรวมถึงการแก้ปัญหาเข้าไว้ด้วยกัน ซึ่ง นำไปสู่การแก้ปัญหาในอนาคตหรือเรียกว่า การแก้ไขปัญหาเชิงพัฒนา (วิมลสิทธ์ หรยางกูร, 2558) หลักการปฏิบัติในกระบวนการออกแบบซึ่งมีรายละเอียด โดยแยกเป็น 4 ขั้นตอนดังนี้ 1) ขั้นตอนการจัดทำรายละเอียดโครงการ 2) ขั้นตอนการออกแบบ 3) ขั้นตอนการก่อสร้าง 4) ขั้นตอนการประเมินหลังการเข้าใช้งาน ภาพที่ 5 กระบวนการจัดทำรายละเอียดโครงการ ที่มา : วิมลสิทธ์ หรยางกูร. (2558). การจัดทำรายละเอียดโครงการงานสถาปัตยกรรม: เพื่อการสร้างสรรค์สภาพแวดล้อม สรรค์สร้าง. กรุงเทพฯ: เจ.บี.พี.เซ็นเตอร์, 22. ผู้ออกแบบคือผู้ที่มีส่วนต่อการออกแบบและการแก้ไขปัญหาการออกแบบทางด้านสถาปัตยกรรม โดย การแก้ไขปัญหาเชิงกายภาพของสถานที่ตัวอาคารและภายในอาคาร เพื่อให้เกิดประโยชน์พื้นที่ใช้สอยตาม ความต้องการของเจ้าของโครงการ ซึ่งปัญหาที่เกิดอาจมีความสลับซับซ้อนในหลายมิติ รวมไปถึงด้านความ เจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่มีการพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว อีกทั้งเจ้าของโครงการมีความต้องการในการใช้ อาคารสถานที่ ที่มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น ในปัจจุบันอาคารมีรูปแบบการใช้งานที่พัฒนาเปลี่ยนแปลงไปจากอดีต


45 รวมถึงพฤติกรรมและรูปแบบการใช้ชีวิตของมนุษย์ในสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปตามยุคตามสมัย และจากความ สลับซับซ้อนและยุ่งยากของปัญหาในการออกแบบทางด้านสถาปัตยกรรมในปัจจุบัน ทำให้ผู้ออกแบบจำเป็น จะต้องปรับปรุง ทบทวน ความรู้ความสามารถเพื่อให้การออกแบบสามารถตอบสนองต่อผู้ใช้งาน ตอบสนอง ความต้องการและตรงตามวัตถุประสงค์ของโครงการที่มีการวิเคราะห์ปัญหาและการแก้ปัญหาอย่างมีระเบียบ ให้เป็นระบบ มีแบบแผน ความเข้าใจในทฤษฎีทางสถาปัตยกรรมและการออกแบบ และมีการศึกษาทำความ เข้าใจในศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องมาประกอบ ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าปัญหาทั้งหมดทั้งมวลนั้นต้องแก้ที่จุดเริ่มต้นของ โครงการคือการใช้กระบวนการออกแบบเพื่อการแก้ไขปัญหา จากรูปแบบการดำเนินการออกแบบในครั้งนี้ทำให้เจ้าของโครงการเกิดความพึงพอใจในกระบวนการ นำเสนอวิธีการและรูปแบบของผลงาน มีการอนุมัติโครงการในการจัดทำแบบขั้นพัฒนาแบบให้มีการทำแบบ ก่อสร้างและขออนุญาตส่วนราชการเพื่อใช้เป็นรูปแบบในการปลูกสร้างอาคารต่อไป เอกสารอ้างอิง ชนัส คงหิรัญ. (2564). ผลงานสร้างสรรค์การออกแบบสถาปัตยกรรมภายใน. กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิต พัฒนศิลป์ ไตรวัฒน์ วิรยศิริ. (2558). การจัดการสถาปัตยกรรม. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. เลอสม สถาปิตานนท์. (2555). องค์ประกอบ: สถาปัตยกรรมพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย. วิมลสิทธ์ หรยางกูร. (2553). จิตวิทยาสภาพแวดล้อมในโครงการอสังหาริมทรัพย์ : ศาสตร์ที่นำผู้ประกอบ การเข้าไปอยู่ในใจผู้บริโภค. วารสารธนาคารอาคารสงเคราะห์, 16(60), 39. . (2558). การจัดทำรายละเอียดโครงการงานสถาปัตยกรรม : เพื่อการสร้างสรรค์สภาพแวดล้อม สรรค์สร้าง. กรุงเทพฯ: เจ.บี.พี.เซ็นเตอร์. วิมลสิทธ์ หรยางกูร และคณะ. (2556). จิตวิทยาสภาพแวดล้อม : มูลฐานการสร้างสรรค์และจัดการสภาพ แวดล้อมน่าอยู่อาศัย. กรุงเทพฯ: เจ.บี.พี.เซ็นเตอร์. Panero, Julius and Zelnik, Matin. (1979). Human Dimension & Interior Space. New York : Waston – Guptill Publication.


46 ความเป็นจริงของความสุขและความฝัน Reality of Happiness and Dream ชุติมา พรหมเดชะ และ ญาณี พรหมเดชะ, Chutima Promdecha & Yanee Promdecha วิทยาลัยช่างศิลป กรุงเทพฯ ประเทศไทย, College of Fine Arts, Bangkok, Thailand. E-mail: [email protected] & [email protected],ac.th บทคัดย่อ การสร้างสรรค์งานศิลปะสื่อผสม “ความเป็นจริงของความสุขและความฝัน” ได้รับแรงบันดาลใจมาจาก สภาวะอันซับซ้อนในจิตใจของผู้สร้างสรรค์ที่กำลังเผชิญอยู่ให้ห้วงเวลานี้ซึ่งมีที่มาจากสิ่งที่เฝ้าใฝ่ฝันนั้นเกิดขึ้นจริง แต่แล้วความจริงนั้น กลายเป็นตัวแปรที่ทำให้คุณค่าของความสุขและความฝันเปลี่ยนไป จึงเกิดเป็นความลักลั่น ย้อนแย้งที่ไม่สามารถหาทางออกได้ก่อเกิดเป็นผลึกและผงตะกอนที่สะท้อนเป็นการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะที่ ชวนตั้งคำถามถึงความจริงของความสุขและความฝัน ด้วยเทคนิคการปะติดและเย็บปักลงบนภาพถ่าย เพื่อเปลี่ยนแปลงความปกติสุขเป็นความแปลกประหลาด ประกอบด้วย 5 ขั้นตอนได้แก่ 1)กลั่นกรองแนวความคิด 2)คัดเลือกภาพถ่าย3) เตรียมวัสดุและอุปกรณ์4)สร้างสรรค์ผลงานจริงและ 5)วิเคราะห์และสรุปผลการสร้างสรรค์ ผลงาน ซึ่งผลการวิเคราะห์พบว่า การสร้างสรรค์ผลงานโดยการเน้นความเป็นอิสระนั้น ทำให้ผู้สร้างสรรค์ทั้งสอง สามารถแสดงออกถึงเทคนิคและความเชี่ยวชาญของตนเองได้ดี การมีประสบการณ์อันเป็นที่มาของ การสร้างสรรค์ร่วมกันทำให้สามารถประสานและเชื่อมโยงเทคนิคที่แตกต่างกันลงบนผลงานชิ้นเดียวกันได้ อย่างลงตัว นอกจากนี้ยังพบว่ากระบวนการสร้างสรรค์ดังกล่าว มีผลทำให้ผู้สร้างสรรค์เกิดความผ่อนคลายจาก ความตึงเครียดของภาวะที่กำลังเผชิญอยู่ แม้จะไม่ได้ทำให้ได้รับคำตอบในคำถามที่เกิดขึ้น แต่ก็ทำให้ผู้สร้าง สรรค์มีประสบการณ์สุนทรียะ เกิดภาวะเชิงบวกในจิตใจ และส่งเสริมให้การรู้สึกไม่มีความสุขนั้นทุเลาลง คำสำคัญ: ความเป็นจริง, ความสุข, ความฝัน, ปะติด, เย็บปัก Abstract The creation of a mixed-media artwork, "The Reality of Happiness and Dreams," was created to represent the complex mind’s state of creators grappling with the realization that their dreams have been achieved but have become variable, changing the value of happiness and dreams. The result is a paradoxical situation, which motivated the creators to create works that invite questions about the truth of happiness and dreams. To achieve this, collage and embroidery techniques were used on photographs to transform the normal into the strange. The creation process involved five steps: 1) filtering ideas, 2) selecting a photo, 3) preparing materials and equipment, 4) creating the artwork, and 5) analyzing and summarizing the results.


47 The analysis revealed that the creators were able to express the unique perspectives and skills well when creating works with a focus on independence. Creating together also enabled them to coordinate and blend different techniques seamlessly in the same piece. Additionally, the creative process helped to alleviate the stress of their situation, though it did not provide answers to the questions raised. Nevertheless, it resulted in an aesthetic experience that promoted a positive state of mind and relieved feelings of unhappiness. Keywords: Reality, Happiness, Dream, Collage, Embroidery 1. ความสำคัญ หรือ ความเป็นมาของปัญหา ความสุข เป็นสิ่งที่มนุษย์ทุกคนมีจินตนาการโหยหาอยู่เรื่อยมา การจินตนาการถึงสิ่งที่ทำให้มนุษย์ มีความสุข เรียกว่า “ความฝัน” การใฝ่ฝันถึงสิ่งต่าง ๆ นั้น แม้จะยังไม่เป็นจริง ก็สามารถสร้างความสุขเล็ก ๆ ให้เกิดขึ้นในจิตใจ และหากฝันนั้นกลายเป็นจริงได้ความสุขที่เกิดขึ้นคงเกินคณานับ แต่ในบางจังหวะของชีวิต บางสถานการณ์ บางช่วงเวลา ความจริงกลายเป็นตัวแปรที่ทำให้คุณค่าของความสุขและความฝันเปลี่ยนไป การใฝ่ฝันถึงสิ่งต่าง ๆ ทำให้มนุษย์มีความสุขจริงหรือไม่ แม้เมื่อสิ่งที่ฝันกลายเป็นจริงแล้ว ได้เกิดความสุขแก่เราจริง ใช่หรือไม่ เมื่อเกิดความสะท้อนย้อนคิดกลับมายังความเป็นจริง จึงเกิดเป็นความลักลั่น ย้อนแย้งที่ไม่สามารถ หาทางออกได้ เป็นสภาวะอันซับซ้อนในจิตใจที่ผู้สร้างสรรค์ทั้งสองกำลังเผชิญอยู่ให้ห้วงเวลานี้ ก่อเกิดเป็นผลึก และผงตะกอนที่สะท้อนเป็นเป็นแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะที่ชวนตั้งคำถามถึงความจริงของ ความสุขและความฝัน ด้วยเทคนิคการปะติดและเย็บปักลงบนภาพถ่ายที่ควรจะดูเหมือนเป็นภาพแห่งความสุข ในดินแดนแห่งความฝัน แต่กลับถูกตัดขาด เจาะรู ปะติดและถูกเย็บปักด้วยวัสดุต่าง ๆ จนภาพความสุขและ ความฝันนั้น แปรเปลี่ยนไปเป็นความแปลกประหลาด มองแล้วชวนอึดอัดและอาจสร้างความไม่สบายใจ สื่อถึง สภาวะกดดันและการจมอยู่ในห้วงของการไม่สามารถหาคำตอบให้กับตนเองได้ภาพถ่ายนี้มีที่มาจากความฝัน ที่เป็นจริง ผู้สร้างสรรค์จึงควรเกิดความสุข แต่แล้วก็เกิดคำถามว่า เมื่อครั้งที่ถ่ายภาพนี้เรามีความสุขดั่งที่ใฝ่ฝัน จริงหรือไม่ เหตุใดจึงเกิดอีกหนึ่งคำถามขึ้นว่า หรือแท้จริงแล้วเรากำลังไม่มีความสุข 2. แนวคิด / ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง 2.1 ทฤษฎีความสุข (Theory of Happiness) ความสุข หมายถึง ความรู้สึกสบายกาย สบายใจ ความรู้สึกดี ความพึงพอใจและเห็นคุณค่าของ ความรู้สึกนั้น ที่เอื้อและเป็นคุณต่อร่างกายจิตใจและสิ่งแวดล้อมอย่างองค์รวม และปรารถนาให้ความรู้สึกนั้น พัฒนาและคงอยู่ตลอดไป ปัจจัยและองค์ประกอบภายในที่นำไปสู่ความสุข เช่น การพัฒนาจิตใจ ความรู้สึก และอารมณ์ทางบวก ความสงบในจิตใจ ความศรัทธา การมีเป้าหมายในชีวิต ผสมผสานองค์ประกอบภายนอก ที่เกื้อหนุนให้เกิดความพึงพอใจอันนำไปสู่ความสุข เช่น ภาวะทางเศรษฐกิจ สุขภาวะ การศึกษา ครอบครัว การงาน การจัดการเวลา การพักผ่อนได้อย่างสมดุล โดยจากการศึกษาพบว่าความสุขนั้น ประกอบด้วย 6


48 ตัวชี้วัดที่มีผลต่อมิติของความสุขของมนุษย์ ได้แก่ 1) การขจัดความทุกข์ที่กระทบจิตใจได้อย่างรวดเร็ว 2) การ มีอารมณ์มั่นคง 3) การมีปฏิสัมพันธ์เป็นที่ไว้วางใจของเพื่อน หรือ คนสนิท 4) การเป็นคนร่าเริง อารมณ์ดี มีอารมณ์ขัน 5) การนอนหลับอย่างมีคุณภาพและเพียงพอ และ 6) ความพอใจโดยรวมต่อสุขภาพของตนเอง (บุญสม หรรษาศิริพจน์, 2552) 2.2 ทฤษฎีความจริง การกล่าวถึงความจริงนั้นมีในหลากหลายศาสตร์ของมนุษย์ โดยศาสตร์ที่มักถูกอ้างอิงและ กล่าวถึงอยู่เสมอ คือ ญาณวิทยา โดยได้มีการให้ทรรศนะเกี่ยวกับความจริงไว้ว่า เป็นสิ่งที่ไม่สามารถแยกออก จากการพูดถึงการรับรู้ได้ ความจริงเป็นสิ่งที่มีความเกี่ยวข้องกันทางความคิดและความรู้ในแง่ที่ว่าความรู้นั้น ต้องสัมพันธ์กับความจริงและการบอกว่ารู้สิ่งใด เท่ากับการยืนยันความจริงของสิ่งนั้นด้วย โดยทั่วไปแล้ว จะไม่ ยอมรับสิ่งที่ไม่จริงว่าเป็นความรู้ความจริงจึงถือได้ว่าเป็นคุณสมบัติที่สำคัญและจำเป็นของสิ่งที่จะถือได้ว่าเป็น ความรู้ ในทางปรัชญานั้นมีทัศนะ หรือ มุมมองที่แตกต่างกันเกี่ยวกับความจริงและธรรมชาติของความ จริงจนเกิดเป็นทฤษฎีความจริงที่หลากหลาย เช่น ทฤษฎีความจริงแบบสมนัย ทฤษฎีความจริงแบบสหนัย ทฤษฎีความจริงแบบปฏิบัตินิยม เป็นต้น (รองศาสตราจารย์ชัยวัฒน์ อัตพัฒน์, 2542) 2.3 ความมั่นคงทางอารมณ์ (Emotional Stability) ความมั่นคงทางอารมณ์ (Emotional Stability) คือหนึ่งในลักษณะทางบุคลิกภาพของมนุษย์ มัก ถูกอ้างถึงในลักษณะบุคลิกด้านตรงกันข้ามคือ ความไม่มีเสถียรภาพทางอารมณ์ (Neuroticism) การขาดความ มั่นคงทางอารมณ์สร้างผลกระทบต่อมนุษย์คือ การขัดขวางความสามารถในการเรียนรู้ เนื่องจากการอารมณ์ กระตุ้นให้เกิดความไม่ต่อเนื่อง หรือ ความไม่สามารถรับมือกับความทุกข์ บุคคลที่มีความมั่นคงทางอารมณ์จะมี ปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งที่มากระทบได้น้อย ดังนั้น สภาพจิตใจจึงเข้มแข็ง ไม่วอกแวก และมีความมั่นใจใน ความสามารถในตนเอง (สถาบันปราชญ์วิสัย, 2563) 2.4 ศิลปะสื่อผสม (Mixed Media Art) ศิลปะสื่อผสม หมายถึง ผลงานที่มนุษย์สร้างสรรค์ขึ้นโดยใช้เทคนิคและวิธีการของศิลปะทางด้าน ทัศนศิลป์ หลาย ๆ แขนงมาผสมผสานทำให้เกิดผลงานที่อยู่ในชิ้นเดียวกัน เน้นหลักการจัดองค์ประกอบศิลป์ แสดงออกถึงอารมณ์สะเทือนใจของผู้สร้างสรรค์ซึ่งวัสดุที่ใช้ในการสร้างผลงานสื่อผสมนั้น สามารถหาได้จาก วัสดุธรรมชาติ เช่น วัสดุจากพืช สัตว์ และแร่ วัสดุสังเคราะห์ เช่น กระดาษ โลหะ ฯลฯ ซึ่งการสร้างสรรค์ งานศิลปะสื่อผสมทางทัศนศิลป์นั้น จะสร้างสรรค์ด้วยการใช้สื่อวัสดุต่างชนิดและกลวิธีการสร้างตั้งแต่ 2 ชนิด ขึ้นไป แล้วนำมาผสมผสาน ผสมผสานกันด้วยการจัดองค์ประกอบทางศิลปะให้เกิดเป็นรูปแบบความงามใหม่ อย่างอิสระ มีความสวยงาม กลมกลืน และเป็นเอกภาพ (จารุวรรณ เมืองขวา, 2564)


49 3. กระบวนการในการสร้างสรรค์ 3.1 กลั่นกรองแนวความคิด 3.2 คัดเลือกภาพถ่าย ภาพที่ 1 ภาพความทรงจำแห่งความสุข อันมีที่มาจากความฝันที่เกิดขึ้นจริงของผู้สร้างสรรค์ ที่มา : ผู้สร้างสรรค์ 3.3 เตรียมวัสดุและอุปกรณ์ ภาพที่ 2 อุปกรณ์งานเย็บปัก ไหมพรม เลื่อมหลากสี และ ปืนยิงกาว ที่มา : ผู้สร้างสรรค์ 3.4 สร้างสรรค์ผลงาน ภาพที่ 3 การสร้างสรรค์ผลงาน “ความเป็นจริงของความสุขและความฝัน” ที่มา : ผู้สร้างสรรค์ ความใฝ่ฝัน ที่เกิดขึ้นจริง ความฝัน ความจริง ความสุข ความฝัน ความจริง จังหวะชีวิต , ช่วงเวลา , สถานการณ์ ความสุข หรือไม่ ? = = +


50 ภาพที่ 4 “ความเป็นจริงของความสุขและความฝัน”, 40 x 40 เซนติเมตร, เทคนิคสื่อผสม, 2566 ที่มา : ผู้สร้างสรรค์ 4. การวิเคราะห์ผลงาน ผลงานสร้างสรรค์ “ความเป็นจริงของความสุขและความฝัน” ถูกสร้างขึ้นด้วยหลักการทางพื้นฐานทางศิลปะ คือ ทัศนธาตุ และ หลักการจัดองค์ประกอบศิลป์ โดยทัศนธาตุที่ปรากฏในผลงานนั้น สามารถจำแนกได้ดังนี้ ตารางที่ 1 แสดงข้อมูลทัศนธาตุ 8 ประการที่ปรากฏในผลงาน “ความเป็นจริงของความสุขและความฝัน” ทัศนธาตุ รายละเอียด จุด เลื่อม, พลอยประดับ, กระดุม เส้น เส้นไหมพรมจากการเย็บปัก, เส้นบนอาคารในภาพถ่าย สี สีสันจากภาพถ่ายและวัสดุต่าง ๆ รูปร่าง รูปร่างธรรมชาติของคน ต้นไม้ เมฆ, รูปร่างเรขาคณิตจากการตัดภาพถ่าย รูปทรง รูปทรงธรรมชาติของคน ต้นไม้ เมฆ, รูปทรงเรขาคณิตจากพลอยประดับ กระดุม และการปักไหมพรม พื้นที่ว่าง พื้นที่ของท้องฟ้าในภาพถ่าย, พื้นที่สีดำด้านบน-ด้านล่างของผลงาน พื้นผิว พื้นผิวขรุขระจากการปะติดวัสดุ, พื้นผิวฟูนุ่มจากการปักไหมพรม, พื้นผิวนูนจากการหยดกาวเหลว น้ำหนัก แสงเงาธรรมชาติที่ปรากฏในภาพถ่าย, น้ำหนักของสีจากการปักไหมพรม, จังหวะและความถี่ของการปะติดวัสดุ เนื่องจากเทคนิคและวิธีการที่ผู้สร้างสรรค์ทั้งสองมีความชำนาญนั้น เป็นเทคนิคที่มีความแตกต่างกัน โดยสิ้นเชิง การจัดวางทัศนธาตุเพื่อให้เกิดผลทางทัศนศิลป์จึงจำเป็นต้องอาศัย หลักการจัดองค์ประกอบศิลป์ เพื่อให้ผลงานมีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เกิดเอกภาพ มีความลงตัวและไม่แปลกแยก รายละเอียด ดังนี้


51 ตารางที่ 2 แสดงข้อมูลหลักการจัดองค์ประกอบศิลป์ที่ถูกนำมาใช้ในผลงาน “ความเป็นจริงของความสุขและ ความฝัน” การจัดองค์ประกอบศิลป์ รายละเอียดการสร้างสรรค์ ความสมดุล สร้างโดยการจัดวางรูปร่างของวงกลมให้เฉลี่ยน้ำหนักกับรูปร่าง ใบหน้า ซึ่งจะเป็นพื้นที่สำหรับการปักและปะติดวัสดุต่าง ๆ จังหวะ สร้างโดยการปะติดเลื่อม พลอยประดับ และกระดุมให้สม่ำเสมอ ในผลงาน รวมถึงการหยดกาวเหลวอย่างอิสระ แต่มีระเบียบ จุดเด่น - ความขัดแย้ง สร้างโดยการใช้สีของไหมพรมที่มีความสดใส และ การลงสีทอง ในพื้นที่สำหรับการปะติดวัสดุ ทำให้เกิดจุดดึงดูดสายตา ความกลมกลืน สร้างโดยการใช้ไหมพรมที่มีสีใกล้เคียงกับสีของท้องฟ้า และ การปะติดวัสดุให้ทึบ แน่น มีน้ำหนักใกล้เคียงกับพื้นที่สีดำ ภาพที่ 5 หลักการจัดองค์ประกอบศิลป์ที่ถูกนำมาใช้ในผลงาน “ความเป็นจริงของความสุขและความฝัน” ที่มา : ผู้สร้างสรรค์ 5. สรุป งานศิลปะสื่อผสม “ความเป็นจริงของความสุขและความฝัน” มีขนาด 40 x 40 เซนติเมตร สร้างสรรค์ โดยได้รับแรงบันดาลใจมาจากสภาวะอันซับซ้อนในจิตใจของผู้สร้างสรรค์ที่กำลังเผชิญอยู่ให้ห้วงเวลานี้ ซึ่งมี ความกลมกลืน ใช้ไหมพรมที่มีสี ใกล้เคียงกับสีของ ท้องฟ้า และ การปะติดวัสดุให้ทึบ แน่น มีน้ำหนักใกล้เคียง กับพื้นที่สีดำ จังหวะ เกิดจาก การติดเลื่อม พลอย ประดับ และ กระดุม อย่างสม่ำเสมอและ การหยดกาวเหลวอย่าง อิสระ แต่มีระเบียบ ความสมดุล รูปร่างของวงกลมให้ เฉลี่ยน้ำหนักกับรูปร่าง ใบหน้า ซึ่งจะเป็นพื้นที่ สำหรับการปัก และ ปะติดวัสดุต่าง ๆ จุดเด่น – ความขัดแย้ง การใช้สีของไหมพรมที่มี ความสดใส และ การลงสีทองในพื้นที่ สำหรับการปะติดวัสดุ


52 ที่มาจากสิ่งที่เฝ้าใฝ่ฝันนั้นเกิดขึ้นจริง แต่แล้วความจริงนั้น กลายเป็นตัวแปรที่ทำให้คุณค่าของความสุขและ ความฝันเปลี่ยนไป จึงเกิดเป็นความลักลั่น ย้อนแย้งที่ไม่สามารถหาทางออกได้ ก่อเกิดเป็นผลึกและผงตะกอน ที่สะท้อนเป็นการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะที่ชวนตั้งคำถามถึงความจริงของความสุขและความฝัน ด้วยเทคนิค การปะติดและเย็บปักลงบนภาพถ่าย ถ่ายทอดผ่านทฤษฎีความสุข ความจริง ที่สะท้อนให้เห็นถึงความมั่นคง ทางจิตใจ หรือ ความมั่นคงทางอารมณ์ของผู้สร้างสรรค์พร้อมด้วยหลักการทางทัศนศิลป์ได้แก่ ทัศนธาตุ และ การจัดองค์ประกอบศิลป์ เพื่อเปลี่ยนแปลงความปกติสุขเป็นความแปลกประหลาด กระบวนการสร้างสรรค์ ผลงานประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ได้แก่ 1) กลั่นกรองแนวความคิด 2) คัดเลือกภาพถ่าย 3) เตรียมวัสดุและอุปกรณ์ 4) สร้างสรรค์ผลงานจริง 5) วิเคราะห์และสรุปผลการสร้างสรรค์ผลงาน ซึ่งผลการวิเคราะห์พบว่า การสร้างสรรค์ผลงานโดยการเน้นความเป็นอิสระนั้น ทำให้ผู้สร้างสรรค์ ทั้งสอง สามารถแสดงออกถึงเทคนิคและความเชี่ยวชาญของตนเองได้ดี การมีประสบการณ์อันเป็นที่มา ของการสร้างสรรค์ร่วมกันทำให้สามารถประสานและเชื่อมโยงเทคนิคที่แตกต่างกันลงบนผลงานชิ้นเดียวกัน ได้อย่างลงตัว นอกจากนี้ยังพบว่ากระบวนการสร้างสรรค์ดังกล่าว มีผลทำให้ผู้สร้างสรรค์เกิดความผ่อนคลาย จากความตึงเครียดของภาวะที่กำลังเผชิญอยู่ แม้จะไม่ได้ทำให้ได้รับคำตอบในคำถามที่เกิดขึ้น แต่ก็ทำให้ ผู้สร้างสรรค์มีประสบการณ์สุนทรียะ เกิดภาวะเชิงบวกในจิตใจ และส่งเสริมให้การรู้สึกไม่มีความสุขนั้นทุเลาลง เอกสารอ้างอิง จารุวรรณ เมืองขวา. (2564). ศิลปะสื่อผสม (Mixed Media Art) (เอกสารประกอบการสอน รหัสวิชา PAI2608 รายวิชาศิลปะสื่อประสม). [เอกสารไม่ได้ตีพิมพ์]. สาขาวิชาจิตรกรรม คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลยัราชภฏัสวนสุนันทา ชัยวัฒน์ อัตพัฒน์, รองศาสตราจารย์. (2542). ญาณวิทยา (ทฤษฎีความรู้) EPISTEMOLOGY (Theory of Knowledge). (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง บุญสม หรรษาศิริพจน์(2552). การพัฒนาเครื่องมือวัดคุณภาพชีวิต: มิติความสุข = Development quality of life index: Happiness. วารสารการเมือง การบริหาร และกฎหมาย = Journal of politics, administration and law, ปีที่ 5 (ฉบับที่ 1), 107-129 สถาบันปราชญ์วิสัย. (2563). ความมั่นคงทางอารมณ์ คืออะไร สำคัญอย่างไร. https://wisemention.com/ ความมั่นคงทางอารมณ์-คือ/


53 ฝึกฝน Drill ณรงค์ แสงสวัสดิ์, Narong Sangsawat วิทยาลัยช่างศิลป สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ 60 ถนนหลวงพรต-ท่านเลี่ยม แขวงลาดกระบัง เขตลาดกระบัง กรุงเทพฯ 10520 College of Fine Arts, Bunditpattanasilpa Institute, 60 Luang Phrot Road, Ladkrabang, Bangkok 10520 E-mail: [email protected] บทคัดย่อ "ฝึกฝน" เป็นผลงานประติมากรรมดินเผาที่สร้างสรรค์ขึ้นจากการพัฒนาองค์ความรู้จากการสังเกต ศึกษา วิเคราะห์ และการพัฒนาต่อยอดจากการสอนในชั้นเรียน ซึ่งใช้ลักษณะท่าทางการเคลื่อนไหวและกิริยา ต่าง ๆ ของนักเรียนในขณะทำกิจกรรมทางศิลปะมาผสมผสานกับจินตนาการส่วนตัว โดยลดทอน คลี่คลาย รูปร่างรูปทรงให้เรียบง่ายและมีอิสระ ทำให้ได้ผลงานประติมากรรมดินเผาที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวและมีคุณค่า ทางทัศนศิลป์ คำสำคัญ: ประติมากรรมดินเผา, สุนทรียภาพ, แรงบันดาลใจจากชั้นเรียน Abstract "Drill" is a clay sculpture created through the development of knowledge gained from observation, study, analysis, and further enhancement in the classroom. The creative process involves observing the various movements and gestures of students engaged in art activities and combining them with personal imagination. This leads to the simplification and unraveling of shapes, resulting in unique clay sculptures with artistic value. Keywords: Clay Sculpture, Aesthetics, Inspiration from the classroom 1. ความสำคัญหรือความเป็นมาของปัญหา ผลงานสร้างสรรค์ เรื่อง “ฝึกฝน” (Drill) เป็นผลงานประติมากรรมร่วมสมัยแบบนามธรรมที่ สร้างสรรค์โดยการพัฒนาองค์ความรู้จากการสังเกต วิเคราะห์ และพัฒนาต่อยอดมาจากการเรียนการสอนใน ชั้นเรียนรายวิชาประติมากรรม ท่าทางการเคลื่อนไหวของนักเรียนระหว่างการทำกิจกรรมทางศิลปะ ตลอดจน อากัปกิริยาต่างๆ เช่น การบิดตัว ก้มตัว การเอียงตัว การก้ม - เงย ฯลฯ ท่าทางเหล่านี้เป็นภาพที่มองเห็นได้ด้วยตา


54 แต่เมื่อนำมาผสมผสานกับจินตนาการส่วนตัว และลดทอน คลี่คลายโครงสร้าง รูปร่าง รูปทรงให้เรียบง่ายและ มีอิสระ ทำให้สามารถสื่อความหมายของความงามออกมาในทางศิลปะได้อย่างไร้ขีดจำกัด 2. แนวคิด/ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง ประติมากรรม ประติมากรรม หมายถึง งานศิลปะที่สร้างสรรค์ขึ้นเพื่อการชื่นชมในคุณค่าทางศิลปะเป็นสำคัญ มีการ แสดงออกด้วยปริมาตรเป็นรูปทรงสามมิติ มีความกว้าง ความยาวหรือความลึก ความสูง ซึ่งกินระวางพื้นที่ใน อากาศ สร้างโดยกรรมวิธีต่าง ๆ สามารถชื่นชมรับรู้ด้วยการมองเห็นทางสายตา ซึ่งเรียกว่าทัศนศิลป์ รูปแบบของประติมากรรมหรือรูปแบบทางศิลปะ (Art Form) หมายถึง ผลรวมจากการผสานรวมตัว กันของส่วนประกอบทางศิลปะ (Elements of Art) ต่าง ๆ เช่น เส้น ระนาบ มวล ปริมาตร สี รูปร่าง พื้นผิว ที่ว่าง ฯลฯ โดยสามารถจำแนกรูปแบบทางศิลปะได้ดังนี้ 1. แบบเหมือนจริง (Realistic) หมายถึง ประติมากรรมที่แสดงรูปลักษณะของคน สัตว์ สิ่งอื่น ๆ ที่พบเห็นในธรรมชาติ เกิดจากประสบการณ์ที่ศิลปินพบเห็นสิ่งต่าง ๆ และนำเสนอผลงานโดยไม่มีการ เปลี่ยนแปลงหรือบิดเบือนไปจากความเป็นจริง จะยึดหลักความจริงที่ปรากฏอยู่ในธรรมชาติอย่างเคร่งครัด 2. แบบนามธรรม (Abstract) หมายถึง ประติมากรรมที่สร้างสรรค์ขึ้นโดยการคลี่คลายและตัด ทอนรูปทรงให้ผิดแผกไปจากรูปทรงธรรมชาติอย่างสิ้นเชิง 3. แบบกึ่งนามธรรม (Semi Abstract) หมายถึง ศิลปะที่มีการตัดทอนรูปทรงบางส่วนออกไป จากความเป็นจริง หรือดัดแปลงไปจากธรรมชาติ (สุชาติ เถาทอง. 2539 : 94 - 96) การปั้นดินเผา วัสดุที่สำคัญที่สุดของการทำเครื่องปั้นดินเผาก็คือดิน ดินที่นิยมนำมาใช้มีหลายประเภทตามลักษณะ แหล่งกำเนิด การที่เนื้อดินตามท้องถิ่นต่าง ๆ มีสีแตกต่างกันนั้นส่วนใหญ่เป็นเพราะสิ่งเจือปนที่มีอยู่ในดิน แตกต่างกัน เช่น ดินดำก็คือดินขาวที่มีซากพืชซากสัตว์ทับถมเจือปนอยู่เป็นเวลานาน แต่ถ้าเป็นดินที่มีสาร ประเภทเหล็กออกไซด์เจือปนก็อาจจะเป็นสีแดง เป็นต้น ประเภทของดิน 1. ดินขาว เป็นดินที่นิยมใช้ทำเครื่องปั้นดินเผาและเครื่องเคลือบเซรามิกกันมาก ดินขาวที่พบใน ประเทศไทยมีอยู่ 2 ชนิด คือ ดินขาวที่นำไปใช้ทำผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาและเซรามิกได้ ซึ่งเรียกกันว่าดิน เกาลิน และดินขาวที่ชาวบ้านเรียกกันทั่วไปว่าดินสอพอง ซึ่งไม่สามารถจะนำไปทำผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาได้ 2. ดินขาวเหนียว คือดินขาวที่เกิดจากการผุกร่อนของหินที่ถูกน้ำฝนหรือลมพัดพาไปทับถมกันจน เป็นแหล่งดินอีกครั้งหนึ่ง แหล่งดินชนิดนี้จึงมักจะเกิดอยู่ตามบริเวณที่ราบใกล้ชายทะเล 3. ดินดำ ธรรมชาติของดินดำโดยทั่วไปก็คือดินขาวที่เกิดจากการทับถมกันมานานและมีสาร จำพวกอินทรีย์ต่าง ๆ เช่น ซากพืชซากสัตว์เจือปนอยู่ ปกติจะมีความเหนียวมาก มีพบอยู่ทั่ว ๆ ไป ส่วนมาก ชาวบ้านจะนิยมเอามาทำอิฐและเครื่องปั้นดินเผาแบบพื้นบ้าน


55 ดินเหนียวในประเทศไทยเท่าที่พบและได้ทดลองแล้วมีคุณสมบัติแตกต่างกันมาก ดินที่เผาแล้วมีสีขาว และทนไฟสูงพบว่าส่วนใหญ่เป็นดินในภาคใต้ ดินเหนียวที่ทนไฟปานกลางถึงต่ำพบมากในภาคเหนือ โดยเฉพาะในจังหวัดลำปาง (พิเศษ เจียจันทร์พงษ์, ศรีศักร วัลลิโภดม, เสนอ นิลเดช และสมชาย นิลอาธิ. ดิน ทรัพยากรท้องถิ่นที่มีคุณสมบัติพิเศษ สืบค้นจาก http://www.xn--12cgu2gjw3fra7hh3g.net/article/37/ ดิน-ทรัพยากรท้องถิ่นที่มีคุณสมบัติพิเศษ) สำหรับผลงานสร้างสรรค์ เรื่อง “ฝึกฝน” ผู้สร้างสรรค์ใช้ดินจากด่านเกวียน โดยนำมาจากฟากมูลซึ่ง อยู่ฝั่งตรงข้ามหมู่บ้านด่านเกวียนทางทิศตะวันออก ระยะทางราว 2-3 กิโลเมตร 3. กระบวนการในการสร้างสรรค์ 1. เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการถ่ายภาพจากอากัปกิริยา ท่างทาง และพฤติกรรมของนักเรียนในชั้นเรียน ขณะทำกิจกรรมทางศิลปะ ภาพที่ 1 นักเรียนกำลังปั้นหุ่นในช่วงเวลาเรียนวิชาประติมากรรม ที่มา : ผู้สร้างสรรค์ 2. นำภาพมาวิเคราะห์และตีความเพื่อกำหนดกรอบแนวคิดในการสร้างสรรค์ผลงาน ผสานกับ ประสบการณ์และจินตนาการส่วนตัวเพื่อสร้างภาพร่าง (Sketch) ในลักษณะนามธรรม โดยลดทอน คลี่คลาย โครงสร้าง รูปร่าง รูปทรง ให้เรียบง่ายและมีอิสระ ภาพที่ 2 กำหนดขอบเขตภาพร่างต้นแบบ ภาพที่ 3 ภาพร่างต้นแบบ “ฝึกฝน” ที่มา : ผู้สร้างสรรค์ ที่มา : ผู้สร้างสรรค์


56 3. เตรียมดินและวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ในการปั้น หลังจากนั้นเริ่มลงมือปฏิบัติงานโดยนำดินมานวด ให้มีความเนียนนุ่มเป็นเนื้อเดียวกัน แล้วแบ่งดินเป็นท่อน ๆ นำมาขดขึ้นรูปจากฐานงานไปเรื่อย ๆ ให้เป็น รูปทรงตามภาพร่าง (Sketch) ที่ออกแบบไว้ ภาพที่ 4 แบ่งดินเป็นท่อนๆ ภาพที่ 5 นำมาขดขึ้นรูปจากฐานตามแบบที่กำหนดไว้ ที่มา : ผู้สร้างสรรค์ ที่มา : ผู้สร้างสรรค์ 4. เมื่อได้ตามแบบที่ต้องการแล้วปรับปรุง แก้ไขเพิ่มเติม และเก็บรายละเอียดผลงานให้เนียนเรียบ เสมอกัน จากนั้นปล่อยให้ดินแห้งโดยตั้งผลงานไว้ที่อุณหภูมิห้อง ภาพที่ 6 เก็บรายละเอียดผลงานสร้างสรรค์ ภาพที่ 7 ตั้งทิ้งไว้ให้แห้ง ที่มา : ผู้สร้างสรรค์ ที่มา : ผู้สร้างสรรค์


57 5. นำไปเผาที่อุณหภูมิ 800 - 900 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 8 - 10 ชั่วโมง หลังจากนั้นรอให้อุณหภูมิ ของผลงานเย็นลงจึงนำออกจากเตาเผา ภาพที่ 8 ผลงานเมื่อเผาเสร็จแล้ว ที่มา : ผู้สร้างสรรค์ 4. การวิเคราะห์ผลงาน ผลงานมีความงามทางทัศนศิลป์ เนื่องจากเป็นงานประติมากรรมที่ปั้นให้เกิดรูปร่างรูปทรง และ ปริมาตร เป็นการเอาทัศนธาตุต่าง ๆ มาประกอบกันอย่างครบถ้วน ลักษณะโครงสร้างเป็นรูปทรงที่มีมวล (Solid Form) เส้นโครงสร้างของรูปทรงหลักในแนวตั้งให้ ความรู้สึกถึงความมั่งคง และมีแนวเฉียง หักมุม ที่สร้างความสมดุล และแสดงความเคลื่อนไหวให้เกิดขึ้นในผลงาน ภาพที่ 9 ลักษณะโครงสร้างของผลงาน ที่มา : ผู้สร้างสรรค์


58 บริเวณว่าง (Space) บริเวณว่างภายนอกแต่ละส่วนมีการสัมผัสกันของรูปทรงที่ต่อเนื่องกัน มีบริเวณว่าง ภายในทําให้เกิดที่ว่างขึ้นในผลงาน โดยเป็นบริเวณว่างที่มีขัดแย้งกันกับรูปทรงโครงสร้างหลัก แต่ก็มีส่วนช่วยทำ ให้รูปทรงไม่ทึบตันและมีความเด่นชัดมากขึ้น ภาพที่ 10 บริเวณว่างของผลงาน ที่มา : ผู้สร้างสรรค์ รูปร่างและรูปทรง (Shape and Form) เป็นประติมากรรมสามมิติที่มีความกว้าง ความยาว ความหนา เนื้อที่และปริมาตรมีการก่อรูปรวมตัวกันขึ้นอย่างมีขอบเขตที่แน่นอน พื้นผิว (Texture) เนื้อดินมีลักษณะละเอียด เนียน ไม่มีกรวดหิน รากไม้ หรือสิ่งอื่น ๆ เจือปน เป็น พื้นผิวของดินตามธรรมชาติและไม่ได้มีการปรุงแต่งให้เกิดลวดลายแต่ประการใด ภาพที่ 11 พื้นผิวของผลงาน ที่มา : ผู้สร้างสรรค์ สี (Color) ผลงานมีคุณสมบัติของตัวเองในเรื่องสี ดินบ้านด่านเกวียนที่ปั้นแล้วนำมาเผาจะได้สีแดง เรียกว่า สีเลือดปลาไหล สาเหตุที่ดินมีสีแดงเป็นเพราะมีอ๊อกไซด์ของโลหะผสมอยู่ ทำให้เกิดความสวยงามตาม ธรรมชาติ


59 5. สรุป “ฝึกฝน” เป็นประติมากรรมดินเผาที่ผู้สร้างสรรค์นำประสบการณ์ในชีวิตจริงร่วมกับจินตนาการส่วนตัว มาสร้างสรรค์ผลงาน ใช้เทคนิคการปั้นโดยใช้ดินซึ่งเป็นวัสดุอ่อน แต่มีความคงตัวเมื่อแข็งหรือแห้ง นำมาขึ้นรูป แล้วปะเชื่อมดินให้ติดกันเพื่อให้ได้รูปทรงที่สมบูรณ์ โครงสร้างมีการประสานกันของเส้น ใช้หลักการลดทอน และคลี่คลายรูปร่างรูปทรงให้มีอิสระเพื่อให้ผลงานมีมิติ มีปริมาตร มีความสมดุล กลมกลืน และมีเอกภาพ เมื่อนำมาผ่านกระบวนการเผาที่อุณหภูมิ 800 - 900 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 8 - 10 ชั่วโมง ทำให้ได้ ผลงานประติมากรรมดินเผาที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว เนื่องจากใช้ดินบ้านด่านเกวียนที่มีลักษณะพิเศษในตัวเอง ในการสร้างสรรค์ผลงาน เอกสารอ้างอิง พิเศษ เจียจันทร์พงษ์, ศรีศักร วัลลิโภดม, เสนอ นิลเดช และสมชาย นิลอาธิ. (2559). ดิน ทรัพยากรท้องถิ่นที่มี คุณสมบัติพิเศษ. สืบค้นเมื่อ 26 กันยายน 2566, จาก http://www.xn--12cgu2gjw3fra7hh3g.net/ article/37/ดิน-ทรัพยากรท้องถิ่นที่มีคุณสมบัติพิเศษ. สุชาติเถาทอง. (2532). ศิลปะกับมนุษย์. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์


60 อ้อมกอด Embraces ดวงหทัย พงศ์ประสิทธิ์, Dounghatai Pongprasit 70 หมู่ 4 ตำบลท่านำ อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม 73120, 70M.4 Tha Na ,Nakhon Chaisi, Nakhon Pathom, 73120 E-mail: [email protected] บทคัดย่อ จากการที่โลกเรามีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว ตามกาล เวลาที่ผ่านมา และผ่านไป หลายสิ่ง หลายอย่าง เปลี่ยนแปลงไปอย่างก้าวกระโดด เราพยายามสร้างสิ่งประดิษฐ์ ไม่ก็หาแนวคิด เพื่อควบคุมธรรมชาติควบคุม สภาพแวดล้อม และอื่นๆ แต่แท้จริงแล้วเราก็ไม่สามารถทำเช่นนั้นได้จริง เมื่อโลกยังหมุน เราก็ยังต้องพบกับ เวลา กลางวัน และกลางคืนที่โอบกอดซึ่งกันและกัน ไม่ขาดหาย ผู้สร้างสรรค์จึงสร้างสรรค์ผลงานประติมากรรม ที่ได้แรงบันดาลใจจากดวงอาทิตย์ และดวงจันทร์เพื่อ สะท้อน ให้เห็นคุณค่าของความรัก การให้ และการเอื้ออาทร โดยใช้สัญลักษณ์ สื่อความหมายผ่านกระบวนการ สร้างสรรค์ ทั้งด้านรูปแบบ และเทคนิค เพื่อให้ผลงานมีความสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อม ทั้งทางกายภาพ และ ความรู้สึกของการอยู่รวมกันในสังคม คำสำคัญ: ความสัมพันธ์, มนุษย์, ธรรมชาติ Abstract Because our world has developed rapidly as time has passed and many things have passed. Many things have changed in leaps and bounds. We try to create inventions. Or find an idea to control nature control the environment and so on, but actually, we can't do that when the world is still turning. We still have to find time, day and night, that embrace each other and never miss. So I create sculptures. inspired by the sun and the moon to reflect To see the value of love, giving, and generosity using the symbol Convey meaning through the creative process, both in form and technique, so that the work is related to its surroundings. Both physical and the feeling of being together in society. Keywords: Relationships, Humans, Nature


61 1. ความสำคัญหรือความเป็นมาของปัญหา มนุษย์กับธรรมชาติมีความสัมพันธ์กันมานานแสนนาน ตั้งแต่มนุษย์คนแรกปรากฏขึ้นมาบนพื้นโลก และถือว่ามนุษย์เป็นองค์ประกอบอย่างหนึ่งของธรรมชาติ ตามการวิจัยเรื่องวิวัฒนาการของความสัมพันธ์ ระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติมีการแบ่งวิวัฒนาการของความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติพบว่า ความสัมพันธ์ของมนุษย์มีทั้งที่มนุษย์ถูกควบคุมโดยธรรมชาติมนุษย์ปรับตัวเข้ากับธรรมชาติและมนุษย์ถูก ทำลายโดยธรรมชาติซึ่งการดำเนินชีวิตของมนุษย์ในสมัยเริ่มแรกจะตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของธรรมชาติอย่าง แท้จริง ปัจจัยในการดำรงชีวิตทุกอย่างได้มาโดยตรงจากธรรมชาติ ความเป็นอยู่ต่าง ๆ จึงถูกกำหนดโดย ธรรมชาติผลงานสร้างสรรค์ชุดนี้จึงได้รับแรงบันดาลใจที่ได้จากดวงอาทิตย์ และดวงจันทร์ ซึ่งมีความหมายและ ความสำคัญต่อสรรพสิ่งบนโลก ดวงอาทิตย์เป็นเสมือนสัญลักษณ์ของความรุ่งเรือง สว่างไสว และทรงพลัง ส่วน ดวงจันทร์เป็นตัวแทนของอ่อนโยน นุ่มนวล และความงาม แม้ทั้ง 2 สิ่งนี้ไม่สามารถเห็นได้ชัดเจนในเวลา เดียวกัน แต่ ทั้ง 2 ก็ไม่เคยทอดทิ้งกัน ยังส่งพลังให้กันและกันเพื่อกำเนิดสิ่งมีชีวิตบนโลกเสมอ ที่มีทั้ง เกิดขึ้น และ ดับลง และแม้ในขณะที่ชีวิตบนโลกมีความเจริญก้าวหน้า มีการเปลี่ยนแปลงทั้งทางกายภาพ และจิตใจ แต่ สิ่งที่เป็นสัจธรรมที่ไม่เคยเปลี่ยน และทอดทิ้งไปไหน เหมือนดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ที่อยู่คู่กัน กับโลกของเรา เพื่อให้เราตระหนักถึงคุณค่าของสิ่งต่าง ๆ 2. แนวคิด / ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง 2.1 กฎแห่งเอกภาพ (The Law of Divine Oneness) - ทุกอย่างล้วนเชื่อมโยงกันกฎแห่งเอกภาพ เป็นกฎหลักในกฎจักรวาล 12 ข้อ เชื่อว่าทุกสิ่งบนโลกนั้นเชื่อมโยงกัน และไม่มีอะไรแยกจากกันอย่างแท้จริง ทุกความคิด คำพูด หรือการกระทำของเรากับคนอื่น มีความเชื่อมโยงกันไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง เช่น พลังแห่ง ความรัก พลังของความสามัคคีและความผูกพันธ์ที่เชื่อมโยงผู้คนเอาไว้โดยไม่มีการแบ่งแยกทางเชื้อชาติ ศาสนา และเพศ ความรักเป็นแรงสั่นสะเทือนและพลังงานที่สูงที่สุด 2.2 หยิน หยาง สัญลักษณ์ประจำลัทธิเต๋า อันหมายถึง อำนาจที่มีบทบาทต่อกันของจักรวาล สัญลักษณ์หยิน-หยาง แทนความสมดุลของพลังในจักรวาลชาวจีนเชื่อว่า หยิน-หยาง เป็นตัวแทนของพลังแห่ง จักรวาล 2 ด้าน เครื่องหมาย หยิน และหยาง นี้พัฒนามาจากปรากฏการณ์ ทางธรรมชาติของจักรวาล สีดำ คือ หยิน หมายถึง ดวงจันทร์ เป็นพลังแห่งสตรีเพศ ความเยือกเย็น การหยุดนิ่ง การเก็บรักษา การยับยั้ง 3. กระบวนการในการสร้างสรรค์ ผลงานสร้างสรรค์ชุด “อ้อมกอด (Embraces)” นั้นต้องการสร้างสรรค์รูปทรงจากสัญลักษณ์ ที่ได้ แรงบันดาลใจจากดวงอาทิตย์ และดวงจันทร์ เพื่อสะท้อนถึงการให้การมอบต่อสิ่งดีงามให้แก่กันและกัน เป็น เสมือนพลังการโอบกอดของธรรมชาติที่มอบให้แก่สรรพสิ่งบนโลก การสร้างสรรค์ครั้งนี้ มีวิธีดำเนินการตาม กระบวนการต่าง ๆ อย่างเป็นระบบ โดยกำหนดแนวทางการดำเนินโครงการดังนี้


62 1. การกำหนดแนวคิด 2. การเก็บรวบรวมข้อมูลการวิเคราะห์ สังเคราะห์ 3. การสร้างแนวทางการสร้างสรรค์ 4. การสร้างสรรค์ และการพัฒนารูปแบบโดยองค์ความรู้ที่เกิดขึ้น 5. การเก็บรายละเอียด 6. การนำเสนอผลงาน 7. การประเมินผล การกำหนดแนวคิด คนสมัยใหม่โดยเฉพาะในต่างประเทศแทบจะไม่มีความเชื่อถือในเรื่องโชคลางที่จะเกิดขึ้นมาพร้อมกับ เหตุการณ์นี้ แต่สำหรับชาวไทยเองแล้วดูเหมือนจะมีความเชื่อถือเกี่ยวกับเรื่องโชคลางและจักรวาลอยู่มาก เพราะจักรวาลดูจะเป็นเรื่องที่ลี้ลับและซับซ้อน ดังนั้นเมื่อเกิดเหตุร้ายก็จะตีความว่าเป็นอิทธิพลที่เกิดจาก ดวงดาว ผลงานชุดนี้ จึงได้รับแรงบันดาลใจที่ได้จากดวงอาทิตย์ และดวงจันทร์ ซึ่งมีความหมายและ ความสำคัญต่อสรรพสิ่งบนโลก ที่มีทั้ง เกิดขึ้น และ ดับลง และแม้ในขณะที่ชีวิตบนโลกมีความเจริญก้าวหน้า มี การเปลี่ยนแปลงทั้งทางกายภาพ และจิตใจ แต่สิ่งที่เป็นสัจธรรมที่ไม่เคยเปลี่ยน เพื่อให้เราตระหนักถึงคุณค่า ของสิ่งต่าง ๆ การกำหนดรูปแบบ และ เทคนิค ผลงานสร้างสรรค์ชุดนี้ ออกแบบการประกอบสร้างที่มีการลดทอนรายละเอียด มีการใช้รูปทรงที่ซ้ำกัน ประกอบกัน เพื่อแสดงธรรมชาติของวัสดุที่เรียบง่าย (Minimal Style) เกิดความสมดุลและสะท้อนให้เห็น สัจจะในการใช้ชีวิต ใช้เทคนิคการหล่อไฟเบอร์กลาส แต่งพื้นผิว และทำสี ให้มีความสัมพันธ์กันระหว่างรูปทรงที่เกิดขึ้น ภาพพื้นผิวดวงจันทร์ ภาพพื้นผิวที่สร้างขึ้นบนงานสร้างสรรค์ ภาพพื้นผิวที่สร้างขึ้นบนงานสร้างสรรค์ ภาพพื้นผิวที่สร้างขึ้นบนงานสร้างสรรค์ ภาพพื้นผิวที่สร้างขึ้นบนงานสร้างสรรค์ ภาพพื้นผิวที่สร้างขึ้นบนงานสร้างสรรค์ ภาพที่ 1 การออกแบบงานผลงาน ที่มา : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ดวงหทัย พงศ์ประสิทธิ์, นายกิตติ บุญมี


63 4. การวิเคราะห์ผลงาน ดำเนินการสร้างโครงสร้างของผลงานสร้างสรรค์ ใช้เทคนิคหล่อไฟเบอร์กราส ที่สามารถสร้างพื้นผิว คือ รูปทรงด้านนอกสีเงิน มีพื้นผิวลักษณะเหมือนดวงจันทร์ และรูปทรงด้านในสีทองสุกสว่าง เสมือนแสงทอง ของดวงอาทิตย์ โดยขึ้นแบบโครงสร้างเป็นรูปทรงกลม และหล่อด้วยไฟเบอร์กราสเพี่อที่สร้างให้มีน้ำหนักเบา และสร้างพื้นผิวได้ตามต้องการ ภาพที่ 2 ชื่อผลงาน อ้อมกอดที่ ที่มา : ผู้สร้างสรรค์ 5. สรุป ผลงาน ประติมากรรมชิ้นนี้สร้างสรรค์ขึ้นจากแรงบันดาลใจ ที่ได้จากดวงอาทิตย์ และดวงจันทร์ ต้องการสะท้อนเนื้อหาให้เห็นคุณค่าของความรัก การให้และความเอื้ออาทร โดยให้ผลงานมีความสัมพันธ์กับ สภาพแวดล้อม ทั้งทางกายภาพ (สถานที่) และ ความรู้สึก (การอยู่รวมกันในสังคม) มีการพัฒนาแนวคิดสู่การใช้ สัญลักษณ์ เพื่อสื่อความหมาย และใช้กระบวนการสร้างสรรค์ ทั้งด้านรูปแบบและเทคนิค ประกอบกับการ วิเคราะห์ ค้นคว้าทดลองเทคนิคต่าง ๆ เพื่อให้ได้เทคนิคที่เหมาะสมในการประกอบสร้างขึ้นให้ผลงานมีความ สมบูรณ์ตรงตามความหมายทางเนื้อหาให้มากที่สุด เอกสารอ้างอิง Chonticha.m. (2522). “จักรวาล 12 ข้อ ช่วยเปลี่ยนมุมกลับ ปรับมุมมองชีวิตให้ดีขึ้น”. [Online] https:// www.wongnai.com/articles/law-of-universe?ref=ct Patrícia Williams. (2022). “The 12 Laws of the Universe and What They Mean”. [Online] https: //medium.com/change-your-mind/the-12-laws-of-the-universe-and-what-they-mean-f4c72 6223a0


64 ความงามจากธรรมชาติ Beauty from nature เด่น หวานจริง, Den Warnjing 92/2 หมู่ 3 ต.ลาดงา อ.เสนา จ.พระนครศรีอยุธยา, 92/2 M.3 Lardga, sena distric, Ayuthaya E-mail: [email protected] บทคัดย่อ ธรรมชาติเป็นบ่อเกิดของความงามที่มีการผันเปลี่ยนไปแต่ช่วงเวลาเช้า สาย บ่าย เย็น ถึงยามค่ำในแต่ละ วัน ตามแสงสว่างที่เกิดจากดวงอาทิตย์ เช่น แสงสลัวของดวงอาทิตย์ที่กำลังค่อย ๆ สว่างขึ้นท่ามกลางสายหมอกที่ ปกคลุมธรรมชาติของชนบท ทิวทัศน์ท้องทุ่ง ริมน้ำ ลำคลอง ห้วย หนอง บึง มีพืชพรรณนานาชนิดปกคลุมอยู่ ดอก ของพงอ้อที่ลู่ลมเป็นทิวแถวแทรกตัวปะปนกับดอกหญ้านานาชนิดที่พริ้วปลิวไสวในสายลม เป็นความงดงามที่อยู่ แนบแน่นกับวิถีชีวิตของผู้คนในชนบท แสงแดดยามเช้าค่อย ๆ สว่างขึ้นไปตามช่วงเวลาเจิดจรัส ส่งพลังให้กับชีวิต ทุกสรรพสิ่งได้ออกโลดแล่นกับการใช้ชีวิตในแต่ละวัน ประกายระยิบระยับของแสงแดดที่ตกสะท้อนลงบนผิวน้ำใน บึง ที่มีต้นกก บัว ทำให้เกิดการสั่นสะเทือนทางการเห็นด้วยสายตา เป็นความงามที่เกิดจากธรรมชาติ ควายหญ้าน้ำ และสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ที่อยู่อาศัยร่วมกัน ความงามของแสงจากดวงอาทิตย์ที่กำลังลับขอบฟ้าและช่วงเวลาที่ใกล้ค่ำ บังเกิดแรงกระตุ้นภายในและทำให้เกิดจินตนาการกับข้าพเจ้า โดยนำมาแสดงออกผ่านกระบวนการสร้างสรรค์ด้วย เทคนิคจิตรกรรม เทคนิคภู่กันจุ่มหมึกจีนวาดลงบนกระดาษ ด้วยเทคนิควิธีการตวัด การสลัด การหยด การปาด การป้ายพู่กัน เกิดการประสานกันของจุด เส้น สี น้ำหนัก พื้นผิว ที่ว่างในลักษณะบางใสด้วยการใช้น้ำเป็นส่วนผสม กับหมึกดำ มีการแตกตัวเป็นคราบไหลย้อยให้ความงามของพื้นผิวที่มีลักษณะต่าง ๆ แสดงจังหวะระหว่างรูปทรง กับพื้นที่ว่าง โดยการลดทอนรายละเอียดของรูปทรง สกัดให้เหลือแต่ส่วนที่จำเป็นแสดงแก่นแท้ สาระที่สำคัญและ แสดงอารมณ์ความรู้สึกที่เกิดจากการเห็นแจ้งจากภายใน ถึงแก่นแท้ สาระของความงามในชีวิต คำสำคัญ: ความงาม, แรงบันดาลใจ, สาระ, อารมณ์ความรู้สึก Abstract Inspired by the beauty of nature have changes this time from morning, afternoon, evening to night each day. according to the light emitted by the sun Athi, such as dim light, the sun that is gradually brightens in the midst of the fog that covers the nature of the rural field, marsh, swamp, canals are covered with various kinds of vegetation. The fluttering grass is a beauty that is inseparable with the way of life in the countryside. The morning sunlight gradually grew brighter


65 as the moment radiated, energizing every life. The glitter of sunlight reflected on the water surface It causes visual vibrations as a result of natural beauty. The variety of light and colors of the setting sun It gave me an inner impulse and shaped my imagination. which is expressed through the creative process with painting techniques Chinese ink painting and watercolor techniques painted on paper and acrylic paints on canvas with techniques such as flicking, throwing, dripping, squeezing, brush strokes The harmonization of colors in a transparent manner by using water as a mixture with paint. There are disintegrating stains that give the beauty of the surface with various characteristics. Expresses the rhythm between the shape and the empty space by reducing the details of the shape. extract only the necessary parts to show the essence Substance and emotion expression Keywords: Beauty, Inspiration, Essence, Emotion 1. ความสำคัญหรือความเป็นมาของปัญหา ข้าพเจ้าสร้างสรรค์ผลงานชุดนี้ขึ้นจากประสบการณ์ทางการเห็น และซึมซับความงามจากธรรมชาติใน ชนบทที่มีความสะอาดบริสุทธิ์ และมีความสวยงาม ธรรมชาติเป็นบ่อเกิดของความงาม พลังจากแสงของดวง อาทิตย์ที่หมุนเวียนแปรเปลี่ยนในแต่ละวันตั้งแต่เช้าจรดค่ำ ให้พลังงานแก่สรรพสิ่งของชีวิตในธรรมชาติได้ เจริญเติบโต ดำรงอยู่ และประสานกันอย่างกลมกลืนกับชีวิตของมนุษย์ในทุกปีจะสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลง ของฤดูกาล มนุษย์และสัตว์ต่าง ๆ ในธรรมชาติอยู่อาศัยและพึ่งพากันและกัน ในสภาพแวดล้อมที่มีความอุดม สมบูรณ์ของแหล่งอาหาร เป็นประสบการณ์ตรงที่ข้าพเจ้าได้รับจากการดำเนินชีวิตที่แวดล้อมไปด้วยธรรมชาติเป็น สิ่งที่จุดประกายความคิดและเป็นแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ผลงาน เป็นการโต้ตอบกับจิตใต้สำนึกและอารมณ์ ความรู้สึกภายในที่เกิดจากการเห็นแจ้ง สัมผัสถึงชีวิตและสรรพสิ่งต่าง ๆ ที่เคลื่อนไหวอยู่ในที่ว่าง โดยลดทอน รายละเอียดของรูปทรง ด้วยวิถีการตวัด การสลัด การหยด การปาด การป้ายร่องรอยด้วยพู่กันจุ่มหมึกจีน บน กระดาษ ทำให้เกิดเป็นจุด เส้น สีน้ำหนัก พื้นผิวที่ประสานสัมพันธ์เคลื่อนไหวในลักษณะสั่นสะเทือน เป็นส่วนหนึ่ง ส่วนเดียวกันกับที่ว่าง สะท้อนพลังของแสง สีสัน ของดวงอาทิตย์ ที่ส่องสว่าง และตกกระทบในธรรมชาติ ทำให้เกิด ประกายระยิบระยับประสานกลมกลืนเป็นส่วนเดียวกัน แสดงออกถึงความรู้สึกที่เกิดจากการเห็นแจ้งจากภายใน ถึงแก่นแท้ สาระของความงามในชีวิตของธรรมชาติ


66 2. แนวคิด/ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง ทฤษฎีความเคลื่อนไหวแบบสั่นสะเทือน (Vibration) เป็นความเคลื่อนไหวที่เกิดจากการใช้จุด เส้น น้ำหนักที่มีทิศทางและขนาดต่างกันรวมกันเป็นกลุ่ม และการกระจายตัวออก เกิดจากการตวัด การสลัด การปาด การป้ายการกระทุ้งด้วยภู่กันจุ่มหมึก สีน้ำ บนพื้นที่ว่าง ทฤษฎีความงาม (Beauty) หมายถึง คุณสมบัติของศิลธรรมและพุทธิปัญญาและทางรูปภายนอก ซึ่งโน้ม น้าวจิตใจให้เกิดความรู้สึก ปิติ ยินดีในระดับสูงแก่ผู้รับรู้ ด้วยความสมบูรณ์ของรูปร่าง รูปทรง เส้น สี น้ำหนัก พื้นผิว ที่ว่าง และความงามที่อยู่ในธรรมชาติ เช่น ทิวทัศน์ ต้นไม้ ดอกไม้ ร่างกายมนุษย์ สัตว์และสิ่งต่าง ๆ ใน ธรรมชาติ ทฤษฎีความบันดาลใจ (Inspiration) เกิดขึ้นจากสิ่งที่มากระตุ้นจากภายนอกและภายในใจ จนเกิดแรง บันดาลใจ ก่อให้เกิดความคิดจินตนาการที่ผุดขึ้นเองโดยบังเกิดทำให้เกิดการสร้างสรรค์ 3. กระบวนการในการสร้างสรรค์ กระบวนการสร้างสรรค์ 1. ศึกษา ซึมซับความงามในธรรมชาติแม่น้ำ ลำคลอง ห้วย หนอง บึง แล้วนำมาถ่ายทอดด้วยการใช้ เทคนิคภู่กันจุ่มหมึกจีนวาดลงบนกระดาษ ด้วยเทคนิควิธีการตวัด การสลัด การหยด การปาด การป้ายพู่กัน โดย การลดทอนรายละเอียดของรูปทรง สกัดให้เหลือแต่ส่วนที่จำเป็นแสดงแก่นแท้ สาระที่สำคัญและแสดงอารมณ์ ความรู้สึก 2. ประมวลผลและวิเคราะห์ด้วยการสร้างสรรค์แบบร่างความคิดโดยการถ่ายทอดและสร้างสรรค์ที่มีการ พัฒนาคลี่คลายผลงานที่ต่อเนื่องกันระหว่างการวาดด้วยหมึก เพิ่มเติมแก้ใขจนเกิดความลงตัวในผลงานแต่ละ ชิ้นงานที่สร้างสรรค์พัฒนาขึ้นใหม่ แล้วนำมาประมวลจัดเรียงเป็นชุดหนึ่งในการแสดงออกของรูปความคิดหนึ่ง 3. การวิเคราะห์ผลงานเพื่อแสดงคุณค่าที่เกิดจากการสร้างสรรค์ผลงาน 4. การวิเคราะห์ผลงาน ด้านเนื้อหา แสดงอารมณ์ความรู้สึกที่เกิดจากความประทับใจ จากความงามของธรรมชาติ สั่งสมมาจาก ประสบการณ์ในการดำเนินชีวิต ที่ได้ซึมซับความงามที่เกิดการเห็นแจ้งเข้าถึงแก่นแท้ของชีวิตต่าง ๆ ที่อยู่อาศัย ร่วมกันอย่างเป็นส่วนหนึ่งส่วนเดียวกัน อันเป็นสาระของชีวิต นำมาแสดงออกการแสดงด้วยการใช้จุด เส้น น้ำหนัก พื้นผิว ที่ว่าง ประสานสัมพันธ์กันในลักษณะการสั่นสะเทือนทั่วทั้งภาพ จากการใช้เทคนิควิธีการตวัด การสลัด การกระทุ้ง การปาด การป้ายพู่กันจุ่มหมึกจีนให้เกิดร่องรอยบนผืนภาพ แสดงความเคลื่อนไหวของที่ว่างภายใน และที่ว่างภายนอกจนเกิดการประสานกันของรูปทรงรวมทั้งหมดอย่างกลมกลืน


67 5. สรุป การสร้างสรรค์ผลงานความงามจากธรรมชาติ เป็นการถ่ายทอดอารมณ์ความความรู้สึกที่ผู้สร้างสรรค์ได้รับ จากประสพการณ์การดำเนินชีวิตตั้งแต่เยาว์วัยจนถึงปัจจุบัน ที่อาศัยอยู่กับสภาพแวดล้อมใกล้ชิดและแวดล้อมไป ด้วยธรรมชาติและชีวิตในชนบท ที่ยังคงรักษาความบริสุทธิ์ความสะอาด และความงดงามไว้ โดยนำมาแสดงออก ผ่านกระบวนการสร้างสรรค์ทางจิตรกรรมหมึกดำบนกระดาษ ที่แสดงความงามและความเรียบง่ายของเส้น รูปทรง ประสานกลมกลืนในที่ว่างที่มีพื้นผิวจากรอยแปรงภู่กันในลักษณะแตกต่างกัน สะท้อนความคิดและห้วงคำนึงของ จิตใจของผู้สร้างสรรค์ที่ได้รับแรงบันดาลใจจากธรรมชาติ ภาพที่ 1 แรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ ที่มา : ผู้สร้างสรรค์


68 ภาพที่ 2 แรงบันดาลใจและการสร้างสรรค์ ที่มา : ผู้สร้างสรรค์


69 ภาพที่ 3 ภาพร่างต้นแบบความคิด ที่มา : ผู้สร้างสรรค์ ภาพที่ 4 ภาพผลงานชิ้นที่1 บึงน้ำ The pound, จิตรกรรมหมึกดำบนกระดาษ, 120 x 140 cm. ที่มา : ผู้สร้างสรรค์


70 ภาพที่ 5 ภาพแสดงรายระเอียดบางส่วนของผลงาน Sunset in red lotus pound ที่มา : ผู้สร้างสรรค์ เอกสารอ้างอิง กำจร สุนพงษ์ศรี. พจนานุกรมศัพท์ทัศนศิลป์. พิมพ์ครั้งที่ 1.กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,2559 ชลูด นิ่มเสมอ. องค์ประกอบของศิลป. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : บริษัทสำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิชจำกัด, 2531. ศิลป์ พีระศรี. ศิลปสงเคราะห์. พิมพ์ครั้งที่ 4.กรุงเทพฯ : บริษัทวิสคอมเซ็นเตอร์ จำกัด, 2553.


71 การสร้างสรรค์ลายเส้น Contour Drawing ชุด นางรำ Creation of Line Art Contour Drawing Thai Dancer โดม คล้ายสังข์, Dome Klaysang วิทยาลัยช่างศิลปสุพรรณบุรี ตำบลรั้วใหญ่ อำเภอเมืองสุพรรณบุรี สุพรรณบุรี 72000, Suphanburi Arts College, Rua Yai Subdistrict, Mueang Suphanburi District, Suphanburi 72000 บทคัดย่อ บทความนี้ค้นคว้าและนำเสนอเทคนิคการวาดเส้น Contour Drawing คืออะไรและสามารถ สร้างสรรค์ผลงานศิลปกรรม รูปแบบ Contour Drawing โดยพร้อมกับสมองเพื่อตอบสนองจินตนาการและซึม ซับความงามของสุนทรียะ ด้วยการสื่อสารผ่านภาษาทางศิลปะ ถ่ายทอดความหมายด้วยความงามของสรีระ เรือนร่างตามธรรมชาติของมนุษย์ โดยเฉพาะเพศหญิง แทรกแนวความคิดเชิงสัญลักษณ์ในมุมมองที่มีความ หลากหลายมิติของผลงาน จากเอกลักษณ์ลายเส้นของผู้สร้างสรรค์ สื่อให้เกิดการแสดงออกถึง รูปลักษณ์สื่อถึง ท่าทางของ หญิงไทยประกอบสัญลักษณ์ของเครื่องชุดไทย ทั้งสีสัน สร้างพื้นผิวของผลงานด้วยเส้น การจัดวาง องค์ประกอบ เพียงต้องการประกอบให้เกิดความสุนทรียะภาพความร่วมสมัยของศิลปะไทย เพื่อเปรียบเทียบ กับชุดของนาฏศิลป์ไทย ภายใต้แนวความคิด ทั้งการใช้เทคนิควิธีการสร้างสรรค์ความหลากหลายของเส้น Contour Drawing บทความนี้จึงต้องการอธิบายการแสดงออกทางแนวความคิด ผ่านความงามของ กระบวนการ สะท้อนบริบทสังคมปัจจุบัน เพื่อกระตุ้นเตือนให้ผู้ชมผลงานสร้างสรรค์เห็นถึงการแสดงออกใน ยุคสมัย ที่มีอยู่ปรากฏในสื่อออนไลน์ โดยการนำเสนอผ่านผลงานสร้างสรรค์ และเป็นองค์ความรู้จาก กระบวนการสร้างสรรค์ผลงานรูปแบบ Contour Drawing จากผลงาน การสร้างสรรค์ลายเส้น Contour Drawing ชุด นางรำ ต่อนักเรียน นักศึกษา นิสิตศิลปะ และผู้สนใจในผลงานศิลปะต่อไป คำสำคัญ: การสร้างสรรค์วาดเส้น, Contour Drawing, นางรำ Abstract This article researches and presents the contour drawing technique, what is it and how it can create artistic works in the form of contour drawing with the brain to meet the imagination and absorb the beauty of aesthetics. by communicating through the language of art Conveys meaning with the beauty of human's natural body. especially female Insert the concept of symbolism into a multi-dimensional view of the work. From the unique lines of the creator media to express The appearance conveys the gesture of Thai women combine symbols of Thai costumes, both colorful and textured with lines. Composition just want to create the aesthetics of contemporary Thai art not to compare with the set of Thai classical


72 dance under the concept Both the technique used to create a variety of contour drawing lines. This article would like to explain the conceptual expression. through the beauty of the process reflect the current social context To encourage viewers of creative works to see the expressions of the times available in online media by presenting through creative works And it is the knowledge from the process of creating Contour Drawing works from the creation of Contour Drawing lines in the dance costume to students, art students, and those who are interested in art in the future. Keywords: Creation of line Drawing, Contour Drawing, Thai Dancer’s lady บทนำ มนุษย์ตามล่าความงามมาตั้งแต่ยุคใดไม่ปรากฏแน่ชัด แต่การสรรค์สร้างสิ่งที่เป็นความสวยงามผ่าน การดำเนินชีวิตมีปรากฏอยู่ในทุกสังคม การผลิตสิ่งของวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ มักจะมีการสอดแทรกความงดงาม ลงไปด้วยเสมอ จากสิ่งของที่ไม่มีชีวิตเคลื่อนย้ายเข้ามาสู่ปริมณฑลของเรือนร่างที่มีชีวิตความงามของเรือนร่าง มนุษย์หลายสังคมสัมพันธ์เชื่อมโยงกับผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ ความเชื่อ และค่านิยม การเจาะหู เจาะจมูก การสัก การใช้ของแข็งหรือของมีคมกรีดร่างกายให้เป็นริ้วรอยแผลเป็น หรือการรัดเท้าให้มีขนาดเล็กนั้น นอกจากการให้ความหมายที่เกี่ยวข้องกับประเด็นที่กล่าวมาแล้ว ล้วนมีคำอธิบายที่เกี่ยวข้องกับความสวยงาม อยู่ด้วยเสมอเช่นเดียวกันสิ่งที่น่าสนใจสังเกตคือ ความงามในสังคมต่าง ๆ นั้น มีความแตกต่างกันไป อาจมี ความละม้ายคล้ายคลึงกันบ้าง แต่มักแตกต่างในรายละเอียด ในทวีฟแอฟริกา กลุ่มชนหลายกลุ่มวัด ความสำเร็จของการอยู่รอดและความเข้มแข็งจากจำนวนสมาชิกของกลุ่ม ความงามของผู้หญิงจึงเชื่อมโยง อยู่ กับความสามารถในการให้กำเนิดสมาชิก ผู้หญิงจะงามหรือไม่จึงขึ้นอยู่กับว่าเธอมีเรือนร่างเหมาะสมสำหรับ การให้กำเนิดและการเลี้ยงดูบุตรจำนวนมากได้หรือไม่ ร่างกายที่ทำอย่างนั้นได้ต้องมีหน้าอกใหญ่ซึ่งการันตีได้ ว่าเธอสามารถผลิตน้ำนมได้มากพอ สะโพกต้องผายและก้นต้องใหญ่ดุจเดียวกันซึ่งการันตีได้ว่าเธอสามารถ คลอดบุตรได้ง่าย และสามารถผลิตสมาชิกได้มากในช่วงชีวิตของเธอ นั่นละคือผู้หญิงงาม (ธันวา เบญจวรรณ,2552) ผู้สร้างสรรค์จึงเริ่มค้นหาความงามของสรีระเรือนร่างตามธรรมชาติของมนุษย์ โดยเฉพาะเพศหญิง เป็นสรีระแห่งความพิเศษ ความโค้ง ความเว้า อันเกิดจากกล้ามเนื้อ คุณลักษณะอันละเอียดอ่อน มีเหตุและผล ต่อการโค้งเว้า มากกว่าเพศชาย ด้วยผู้สร้างสรรค์เองเป็นนักสร้างสรรค์งานศิลปะ มนุษย์เพศชายตามเพศ สภาพ ย่อมมีความหลงใหลในความงาม ต่อเพศหญิงเสมอ โดยรูปลักษณ์แม้ยามพบเห็น บทความกล่าวไว้ว่า งามกาย (body and face and skin) ได้แก่ รูปร่าง หน้าตา ผิวพรรณที่จัดว่าเป็นเรื่องของกายภาพตัวอย่าง เช่น รูปร่างหน้าตาที่สามารถมองเห็นได้จากภายนอกที่กวีในสมัยก่อน มักกล่าวถึงเรือนร่างหน้าของตัวเอกหญิง โดยการพรรณนาถึงความงามไปทีละส่วน โดยเปรียบเทียบกับสิ่งต่าง ๆ เช่น ใบหน้าเหมือนดวงจันทร์ คิ้วโก่ง เหมือนคันศร รูปร่างอ้อนแอ้นเหมือนดอกไม้ ผิวเนื้อละเอียดเหมือนเนื้อทราย ในขณะที่ผู้หญิงในยุคปัจจุบันมัก ถูกบรรยายถึงความงามของเรือนร่าง ผอมบาง สูงโปร่ง เหมือนนางแบบผิวขาวอมชมพูแบบคนสุขภาพดี จมูก


73 โด่ง เหมือนลูกครึ่งฝรั่ง (กชกรณ์ เหรีฉันทฤกษ์, 2551) ความงามตามความหมายทางสุนทรียศาสตร์นั้น แนว ความเชื่อทางความงามเป็นสิ่งที่อุบัติการณ์ สรรค์สร้างขึ้นโดยมนุษย์ ประติกรรม หมายถึง ศาสตร์ทางภาษาที่ สามารถแสดงบทบาทเชื่อมต่อในมิติการรับรู้ในกระบวนการทางความคิดของศิลปินผู้สร้างสรรค์ออกมาใน รูปแบบรูปทรงที่สามารถสัมผัสจับต้องได้ทั้งในลักษณะผลงาน 2 มิติ หรือ 3 มิติ และมีความมุ่งหมายที่จะ ส่งเสริมให้มนุษย์มีความซาบซึ้งและชื่นชมในความงามที่มนุษย์สร้างสรรค์ขึ้น (สามารถ จับโจร, 2555) เพื่อการ ถ่ายทอดผลงานสร้างสรรค์ จากแนวความคิดทางศิลปะด้วยความงามทางสุนทรียภาพ ด้วยการสร้างสรรค์ ลายเส้น Contour Drawing ชุด นางรำ ตามกระบวนการสร้างสรรค์ศิลปะที่รวดเร็ว ตามเอกลักษณ์ของผู้ สร้างสรรค์ โดยศึกษาตามกระบวนการสร้างสรรค์ด้วยวิธีการ เทคนิคการวาดเส้น การวาดเส้น (Drawing) เป็นวิธีสื่อความหมายทางการเห็นขั้นพื้นฐาน การวาดเส้นเป็น การสร้างภาพ ด้วยวิธีวาด วิธีเขียนด้วยวัสดุเครื่องมือลงบนพื้นระนาบ มีเนื้อหาสาระทางการเห็นเป็นทัศนศิลป์รูปแบบหนึ่ง การวาดเส้นมีความสัมพันธ์กับจิตรกรรมอย่างมาก เพราะมีเทคนิคบางอย่าง ที่เหมือนกัน เช่น การเขียน การ ระบาย เป็นต้น การวาดเส้นเป็นการวาดรูปร่างลักษณะของภาพด้วยเทคนิคการใช้เส้น (สุชาติเถาทอง, 2536) วาดเส้นย้อนไปหลายพันปีเมื่อมนุษย์ถือกำเนิดขึ้น ผลงานวาดเส้นชิ้นแรกบนผนังถ้ำที่เก่าแก่อย่าง ลา ครัวซ์ (Lascaux) ในประเทศฝรั่งเศสหรือแม้แต่สัญลักษณ์เส้นที่ปรากฏในอารยธรรมเมโสโปเตเมีย อักษรภาพ เฮียโรกลิฟิคของอียิปต์ หรือ อักษรภาพของจีน ฯลฯ ล้วนเป็นมรดกแห่งการสร้างสรรค์ที่ยืนยันว่ามนุษย์มีชีวิต อยู่มิใช่เพียงเพื่อการดำรงชีพ สืบเผ่าพันธุ์ แต่มนุษย์มีศักยภาพแห่งการคิด จินตนาการและการสร้างสรรค์ “วาดเส้น” จึงเป็นเครื่องมือหรือวิธีการแรกที่มนุษย์ใช้ในการจำลองโลกของการเห็น ถ่ายทอดโลกในความคิด และจินตนาการมาเป็นรูปธรรม (อิทธิพล ตั้งโฉลก, 2556) การวาดเส้นสร้างสรรค์ หมายถึง การวาดภาพด้วยเส้นที่แสดงออกด้านอารมณ์ ความรู้สึกการสื่อ ความหมายด้วยการสร้างสรรค์เนื้อหา รูปแบบ และกลวิธีต่าง ๆ เพื่อให้ผลที่เกิดขึ้นมีความแปลกใหม่ การวาด เส้นสร้างสรรค์เป็นกระบวนการที่ต้องผ่านการกลั่นกรองจากการเห็นและการรับรู้ กระบวนการวาดเส้น สร้างสรรค์ ประกอบด้วย การรับรู้ จินตนาการและประสบการณ์แบ่งตามความมุ่งหมายได้ 2 ประเภท คือ การ วาดเส้นสร้างสรรค์ด้านวิจิตรศิลป์ และการวาดเส้นสร้างสรรค์ด้านประยุกต์ศิลป์ การวาดเส้นเป็นความรู้ เป็นทักษะขั้นพื้นฐานและเป็นงานขั้นเริ่มต้นที่จะพัฒนาไปสู่กระบวนการสร้าง งานศิลปะทั้งในงานวิจิตรศิลป์และประยุกต์ศิลป์ การวาดเส้นนอกจากมีวัตถุประสงค์เพื่อการถ่ายทอดเนื้อหา เรื่องราว รูปร่าง รูปทรงของสิ่งที่มองเห็น รับรู้ ความคิดและจินตนาการแล้ว การวาดเส้นยังมีการสร้างสรรค์ รูปแบบ กลวิธีและความคิดแปลกใหม่มาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน (สมศิริ อรุโณทัย, 2559) ว่าด้วยการวาดเส้น ซึ่งเป็นเสมือนพื้นฐานของการทำงานศิลปะทั้งปวงที่เป็นพื้นฐาน อาจกล่าวได้ว่า เป็นเพราะขั้นตอนที่ไม่ยุ่งยากและตรงไปตรงมา ปฏิสัมพันธ์กันระหว่างผู้วาดและผลงานอย่างตรงไปตรงมา ประเภทการวาดเส้น ที่เห็นจะน่าตื่นเต้นที่สุดคงไม่พ้น Contour Drawing Contour Drawing เป็นการวาดเส้น ที่เขียนลายเส้นตามแบบ โดยที่ไม่มองปากกาหรือภาพที่จะ ออกมา การวาดเส้น แบบนี้ต้องใช้สมาธิจดจ่อมาก หากละสายตาจากจุดที่กำลังวาดอยู่ไปแล้วก็อาจจะทำให้ เราพลาด ไม่สามารถวาดต่อไปได้จากจุดเดิมอย่างสมบูรณ์ แต่ไม่ต้องกลัวหรอก เพราะแม้ว่าจะมีสมาธิมาก


74 ขนาดไหนหรือมีฝีมือเก่งกาจเพียงใด แต่ภาพที่ออกมาก็ไม่มีทางเหมือนต้นแบบอย่างแน่นอน และนั่นแหละ คือ เสน่ห์ของการ Contour Drawing (Anonymous, 2011, Online) นอกจากนี้ บทความไม่กี่บทความ ไม่อาจทำให้เกิดความรู้ความเข้าใจว่า “Contour Drawing” เพราะการทำความเข้าใจกับสิ่งหนึ่งสิ่งใดนั้น จะต้องทำความรู้จักกับสิ่งนั้นหลายๆด้าน หรือเรียนรู้คุณลักษณะ ของสิ่ง ๆ นั้น จนกระทั่งสามารถเปลี่ยนความรู้สึกในด้านการเรียนรู้มาเป็นความจริง แม้จะเข้าใจได้ยากแต่ก็ ไม่ได้หมายความว่าจะไม่สามารถทำความเข้าใจได้ หรือสรุปได้ว่า Contour Drawing คืออะไร ดังนั้น การ กล่าวถึงนิยามจึงจำเป็นต้องมีทั้งในเชิงทฤษฎี (นักวิชาการ)และเชิงปฏิบัติ(ประสบการณ์ของผู้สร้างสรรค์) บทความนี้จะค่อย ๆ ขยายความเข้าใจไปตามลำดับ จากคำาว่าความหมายของ “วาดเส้น” ควบคู่ไปกับ พัฒนาการของงานวาดเส้นจุดเปลี่ยน จนกระทั่งถึงปัจจุบัน งานวาดเส้นร่วมสมัย โดยเริ่มอธิบายจากบริบท ทั่วไป และการสร้างสรรค์ผลงาน ของ Contour Drawing Contour Drawing หมายถึง Contour Drawing สำคัญที่สุดคือการมองรายละเอียดเล็ก ๆ มองให้เล็กที่สุด ต่อเนื่องไปเรื่อย ๆ เป็น การเพ่งพินิจ ZOOM IN เข้าไป จงเชื่อว่าเราจะเห็นสิ่งที่เราไม่ยอมเห็นมาก่อน ทำไมผมถึงใช้คำว่าไม่ยอมเห็น เพราะคนทั่วไปคิดว่ารายละเอียดเล็ก ๆ เป็นเรื่องเสียเวลา แม้กระทั้งเส้นตรงที่เราคิดว่ามันคงเป็นอยู่แค่นั้น เมื่อเราเพ่งมันจริง ๆ แล้วใช้สายตาเดินทางสำรวจมันไปเรื่อย ๆ จากจุดเริ่มต้นให้สายตาคุณก้าวต่อไปดุจเข็ม วินาทีที่เป็นจังหวะเที่ยงตรงสม่ำเสมอ คุณไม่ควรคิดว่ามันสิ้นสุดที่ตรงไหน เพราะเมื่อคุณคิดมันจะทำให้สายตา คุณกระโดดข้ามรายละเอียดไปอย่างอัตโนมัติ ในขณะที่สายตาพาสมาธิคุณเดินไปตามเส้นคุณก็จะเห็นว่า แท้จริงนั้นเส้นตรงหรือเส้นต่าง ๆ นั้นมีรายละเอียดที่ไม่สมบูรณ์รวมเป็นส่วนหนึ่งของมัน มันคดนิดนึง มันหยัก นิด ๆ มันบาง มันหนา มันออกนอกลู่ทางไปกระจึ๋งนึง แต่สุดท้ายความไม่สมบูรณ์เหล่านี้จะรวมเป็นความ สมบูรณ์ของเส้นเพราะวิถีของเส้นมันถูกต้อง (จุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดมันตรง มันใช่) เมื่อคุณเห็นในสิ่งเหล่านี้ได้แสดงว่าคุณได้ใช้การมองประดุจศิลปินผู้เก่งกาจแล้ว จากนั้นสิ่งที่จะยืนยัน ว่าคุณเห็นเช่นนั้นจริง ๆ คือการสั่งการจากสมองไปสู่มือ มือผ่านปลายดินสอหรือปากกา อะไรก็ได้ที่เอามา เขียนได้แม้กระทั่งขี้เล็บ สั่งการมันลงสู่กระดาษ หากสายตาคุณเดินทางไปตรงจุดใด ปลายดินสอคุณจะเขียน จุดนั้นอยู่ ถ้าคุณเพ่งมันอย่างมีสมาธิจริง ๆ คุณจะไม่สามารถมองกระดาษได้ (แต่ผมขอสั่งเป็นคำขาดว่าห้าม มองกระดาษ สมาธิคุณจะหลุดและไม่ได้ช่วยให้คุณได้อะไรจากงานนี้เลยนอกจากทำเป็นหลอกคนอื่นว่าแ ม่น แต่ผมดูออกนะว่าหลอก) และให้ความเร็วประดุจเข็มวินาที ช้าและสม่ำเสมอ หากประสาททั้ง 3 ตา สมอง มือ สัมพันธ์กันเหมือนฟันเฟืองของนาฬิกา ภาพที่แสดงออกมาก็จะมี รายละเอียดตรงตามที่ตาคุณได้เห็น เห็นมากก็ออกมามาก และภาพจะแสดงบุคลิกของเส้นแต่ละช่วง ๆ ได้ อย่างสมจริง แม้ว่ามันอาจจะบิดเบี้ยวไปบ้างก็อย่าได้แคร์ เพราะมันยืนยันว่าคุณเป็นมนุษย์ยังมีความไม่ สมบูรณ์อยู่ มันคือธรรมชาติ ถ้าคุณเห็นถึงขนาดขี้ผงเล็ก ๆ มาติดอยู่บนเส้นตรงนั้น หรือความบิ่นของเส้น ก็ ขอให้แสดงศักยภาพออกมาลงในกระดาษด้วย


75 ภาพที่ 1 ผู้หญิงบังแดด (ผลงาน Contour Drawing เทคนิค Digital Art) ที่มา : ผลงานผู้สร้างสรรค์ปี 2562 การ Contour Drawing เกิดขึ้นด้วยตามองที่ต้นแบบที่วาดตลอดเวลา ไม่มีการชำเลืองหรือมองที่ กระดาษ/วัสดุรองรับที่วาดอยู่ ค่อย ๆ วาดภาพออกมาโดยพิจารณารายละเอียดต่าง ๆ ของต้นแบบอย่างจดจ่อ และพยายามแสดงรายละเอียดเหล่านั้นออกมาอย่างที่สุด เส้นที่วาดออกมามีเพียงเส้นเดียว เมื่อเริ่มต้นจรด ปากกา/ดินสอลงบนกระดาษแล้ว ควรวาดต่อไปจนจบ ไม่มีการยกดินสอขึ้นแล้วเขียนเส้นใหม่หากไม่จำเป็น หลัก ๆ แล้วก็มีสองข้อนี้แหละที่เป็นเสมือนกฎของการ Contour Drawing ที่ใช้คำว่าเสมือน เพียงเพราะอยาก กล่าวถึงความไม่มีกฎเกณฑ์ของศิลปะ เราจะหาเหลี่ยมมุมจากพื้นที่พร่ามัวนี้ได้อย่างไร Contour Drawing เป็นสื่อที่แสดงความพร่ามัวนั้นออกมาได้อย่างออกรส ท้ายที่สุดแล้วจงอย่าได้ กะเกณฑ์กันมันมาก และสนุกไปกับรสชาติความสุขดิบเสีย เป็นเสมือนความขัดเกลียวกันในทีของสองสิ่งที่ ชัดเจนและพร่ามัว ตัวเส้น ที่เกิดจากการกดวัสดุลงบนวัสดุรองรับให้ความคมชัด ตัดกับภาพรวมในผลงาน ที่ดู ไร้รูปทรง Contour Drawing เป็นการฝึกการผสานของสมองทั้งสองฝั่ง ซีกซ้ายและขาว กลุ่มคนที่มักใช้สมอง ซีกขวา คือ ศิลปิน นักการตลาด นักแต่งนิยาย นักการเมือง ในขณะที่กลุ่มทนาย นักกฎหมาย นักบัญชี และ โปรแกรมเมอร์ ส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มมนุษย์สมองซีกซ้าย จริง ๆ แล้วการฝึกสมองซีกขวาค่อนข้างเป็นเรื่อง เข้าใจยาก เพราะว่าคนเรามีความสามารถในการคิดวิเคราะห์แตกต่างกัน รูปแบบความคิดสร้างสรรค์ และการ แก้ปัญหา (การมองผลกระทบ ภาพรวม/ภาพย่อย) ก็ต่างกัน มันเป็นลักษณะ "การคิด" เฉพาะของแต่ละคน จริง ๆ ดังนั้นหากเราได้ประเมินตัวเองว่าควรเพิ่มเติมความสามารถของสมองซีกขวาในมิติไหน เราก็ได้จะฝึก สมองในส่วนนั้นอย่างเหมาะสมมากกว่าค่ะ ถ้าในโรงเรียนหรือหน่วยที่ดูแลด้านนี้โดยเฉพาะจะมีการประเมิน ผู้เรียนเป็นรายคน เพื่อจะได้สร้างกิจกรรมที่เหมาะสมกับการฝึกสมองของแต่ละคน Contour Drawing การวาดเส้นโดยประสาทสัมผัส ใช้ตามองที่สิ่งของที่เรานำมาเป็นแบบวาด ตลอดเวลา ไม่ชำเลืองหรือมองที่กระดาษที่เรากำลังจรดดินสอลงไป ค่อย ๆ วาดภาพตามที่เห็นออกมาอย่าง ละเอียดที่สุดเท่าที่ทำได้ และควรวาดต่อไปจนจบ โดยไม่มีการยกดินสอขึ้นแล้วเขียนเส้นใหม่โดยไม่จำเป็นค่ะ เน้นว่าการวาด Contour Drawing นี้ ต้องทำสมองให้ว่างเปล่าไม่คิดเรื่องอื่นใด คือแค่เคลื่อนปลายนิ้วไปตามที่


76 ตาเห็นเท่านั้น (ถ้าคิดเรื่องอื่นไปด้วย สมองซีกซ้ายจะทำงานมากกว่าจะใช้สมองซีกขวา) หลักคือเราต้องรับรู้ ด้วยตา ส่งผ่านสิ่งที่เราเห็นไปยังมือของเรา และวาดมันออกมา โดยสมองจะเป็นตัวกลางในการเชื่อมโยง ประสาทสัมผัสที่เรารับรู้ทั้งหมด ด้วยกระบวนการนี้จึงทำให้สมองซีกขวาได้ฝึกและพัฒนานั่นเอง สำหรับคนที่ ไม่ได้เป็นนักวาดภาพหรือศิลปินใด ๆ อยู่แล้ว การฝึก Contour Drawing อย่างสม่ำเสมอจะทำให้เราช่าง สังเกตและไม่ยึดติดกับแนวทางตามกรอบใด ๆ ผู้สร้างสรรค์จึงต้องการสร้างสรรค์ผลงานศิลปกรรม รูปแบบ Contour Drawing โดยพร้อมกับสมอง เพื่อตอบสนองจินตนาการและซึมซับความงามของสุนทรียะ ด้วยการสื่อสารผ่านภาษาทางศิลปะ ถ่ายทอด ความหมายด้วยความงามของสรีระเรือนร่างตามธรรมชาติของมนุษย์ โดยเฉพาะเพศหญิง แทรกแนวความคิด เชิงสัญลักษณ์ในมุมมองที่มีความหลากหลายมิติของผลงาน จากเอกลักษณ์ลายเส้นของผู้สร้างสรรค์ สื่อให้เกิด การแสดงออกถึง รูปลักษณ์สื่อถึงท่าทางของ หญิงไทยประกอบสัญลักษณ์ของเครื่องชุดไทย ทั้งสีสัน สร้าง พื้นผิวของผลงานด้วยเส้น การจัดวางองค์ประกอบ เพียงต้องการประกอบให้เกิดความสุนทรียะภาพความร่วม สมัยของศิลปะไทย มิเพื่อเปรียบเทียบกับชุดของนาฏศิลป์ไทย ภายใต้แนวความคิด ทั้งการใช้เทคนิควิธีการ สร้างสรรค์ความหลากหลายของเส้น Contour Drawing บทความนี้จึงต้องการอธิบายการแสดงออกทาง แนวความคิด ผ่านความงามของกระบวนการผลงาน เพื่อกระตุ้นเตือนให้ผู้ชมผลงานสร้างสรรค์เห็นถึงการ แสดงออกในยุคสมัย ที่มีอยู่ปรากฏในสื่อออนไลน์ โดยการนำเสนอผ่านผลงานสร้างสรรค์ และเป็นองค์ความรู้ จากกระบวนการสร้างสรรค์ผลงานรูปแบบ Contour Drawing จากผลงาน การสร้างสรรค์ลายเส้น Contour Drawing ชุด นางรำ จำนวน 4 ผลงาน ต่อนักเรียน นักศึกษา นิสิตศิลปะ และผู้สนใจในผลงานศิลปะต่อไป วัตถุประสงค์ 1. เพื่ออธิบายรูปแบบกระบวนการสร้างสรรค์เทคนิคการสร้างสรรค์ผลงานวาดเส้นเทคนิค Contour Drawing 2. เพื่อสร้างสรรค์ผลงานลายเส้น Contour Drawing ชุด นางรำ โดยใช้สื่อ Digital Art กระบวนการสร้างสรรค์ ขั้นตอนการพัฒนาความคิด สู่การสร้างสรรค์เป็นผลงานทัศนศิลปะการพัฒนาดวามคิด (Idea) ใน เบื้องต้นอย่างหยาบ ๆ และไปสู่แนวความคิด (Concept) ที่มีความหมายเชิงนามธรรม (Abstract) เป็น กระบวนการของกายและจิต ที่ต้องทำงานสัมพันธ์กัน ขณะที่มีแรงบันดาลใจเบื้องต้นเกิดขึ้น จะต้องมีวัสดุ อุปกรณ์บางอย่างมาช่วยระบายสิ่งที่อยู่ในจินตนาการ หรือนโมภาพนั้นให้ออกมาเป็นผลงานศิลปะ โดยเฉพาะ อุปกรณ์เบื้องตัน อย่างเช่น การวาดเส้น (Drawing) เพื่อค้นหารูปทรง องค์ประกอบตลอดจนความหมายใน ผลงาน พัฒนาคลี่คลายไป จนรู้สึกพึงพอใจ แล้วนำสิ่งที่ได้สร้างขึ้นมานั้น มาวิจารณ์วิเคราะห์ ด้วยตนเอง หรือ ได้รับคำแนะนำจากผู้รู้ จากนั้นจึงขยายผลของความคิดในเบื้องต้นนั้นสู่ผลงานจริงแล้วนำมาวิเคราะห์อีกครั้ง หากยังไม่ได้ผลเป็นที่ประจักษ์ ก็ Draving อีกครั้ง เวียนกลับไปมา พร้อมกับการค้นหาความหมาย ซึ่งพอจะ แสดงลำดับขั้นตอน ได้ดังต่อไปนี้ 1. ตั้งคำถามว่าเราจะทำอะไร เป็นคำถามแรกที่เกิดจากกรณีที่เรายังจับไม่ได้ว่าเราจะทำอะไร จาก ผลงานการสร้างสรรค์ผลงานวาดเส้น เทคนิค Contour Drawing ชุด นางรำ ผู้สร้างสรรค์ต้องการถ่ายทอด


77 ความหมายด้วยความงามของสรีระเรือนร่างตามธรรมชาติของมนุษย์ โดยเฉพาะเพศหญิง แทรกแนวความคิด เชิงสัญลักษณ์ในมุมมองที่มีความหลากหลายมิติของผลงาน 2. ค้นหาความหมายเฉพาะที่แฝงอยู่ในความคิดนั้น (Idea) จากผลงานการสร้างสรรค์ผลงานวาดเส้น เทคนิค Contour Drawing ชุด นางรำ ผู้สร้างสรรค์ต้องการถ่ายทอดความหมายด้วยลายเส้นจากเอกลักษณ์ ลายเส้นของผู้สร้างสรรค์สื่อให้เกิดการแสดงออกถึง รูปลักษณ์สื่อถึงท่าทางของ หญิงไทยประกอบสัญลักษณ์ ของเครื่องชุดไทย เพื่อกระตุ้นเตือนให้ผู้ชมผลงานสร้างสรรค์เห็นถึงการแสดงออกในยุคสมัย ที่มีอยู่ปรากฏใน สื่อออนไลน์ในสังคมไทย โดยการนำเสนอผ่านผลงานสร้างสรรค์ 3. ต้องการแสดงออกถึงอะไร นับตั้งแต่ผลงาน Sketch Drawing ไปจนถึงผลงานจริง ทุก ๆ ชิ้น จะต้องถูกสร้างขึ้นและพัฒนาไปสู่ความปรารถนาเชิงรูปธรรม ความคิด อารมณ์ ความรู้สึกถูกตีความ ถูก กลั่นกรองและถูกประกอบขึ้นด้วยเทคนิค กลวิธีของผลงานทัศนศิลป์ ไม่ว่าจะเป็นเชิงวาดเส้น เทคนิค Contour Drawing แล้วนำสิ่งที่เราสร้างขึ้นมา เข้าสู่การพิจารณา ตรวจสอบ วิเคราะห์ถึงเป้าหมายที่ต้องการ แสดงออก มันสื่อถึง แนวคิด อารมณ์ ความรู้สึก หรือเจตนาที่ชัดเจน 4. เราจะเข้าไปสู่แก่นที่เป็นนามธรรมได้อย่างไร การนำผลงานสร้างสรรค์ทั้งหมดเข้าสู่กระบวนการ วิจารณ์ วิเคราะห์ สังเคราะห์ นับตั้งแต่การมีความคิด Idea เล็กน้อยเป็นจุดเริ่มต้นของเรื่องราวในการ สร้างสรรค์ ซึ่งอาจจะเรียกว่า Concept เล็ก ๆ ซึ่งเป็นระดับที่อธิบายถึงความเฉพาะเจาะจง เรียกว่า Particular Concept แล้วค่อย ๆ พัฒนาไปสู่ Concept ที่เป็นสากลมากยิ่งขึ้น ซึ่งเรียกว่า Universal Concept มีลักษณะเป็นนามธรรมมากที่สุด การพัฒนาตนเอง เพื่อไต่ขึ้นไปสู่แนวคิดระดับสูงนี้ จะต้องทำงาน ทำการทดลองอย่างมาก ดุจนักวิทยาศาสตร์ผู้ค้นคว้าหาองค์ความรู้ใหม่เชิงวิทยาศาสตร์ จะต้องมีผู้รู้คอย ประคับประคองคอยแนะนำ โดยมีหลักการอยู่ว่า ผู้สร้างสรรค์จะต้องมีทุ่มเททำงานอย่างหนัก ด้วยความมุ่งมั่น และอย่างต่อเนื่อง จะต้องทคลอง Concept ในเบื้องต้นอย่างรอบครอบ จน Concept ในระยะเริ่มต้นนั้น กลายเป็นอดีต จนไม่สามารถจะแสดงออกได้อีกต่อไป จะเกิด Concept ใหม่ขึ้น ส่วน Concept เก่า จะ กลายเป็นฐานส่วนประกอบที่สำคัญ เพื่อยก Concept ใหม่ขึ้น ให้มีความก้าวหน้าต่อไป ภาพที่ 2 ผลงานทดลอง ภาพ นางรำ (ผลงาน Contour Drawing เทคนิค Digital Art) ที่มา : ผลงานผู้สร้างสรรค์ปี 2562 ผลการสร้างสรรค์ ผลงานการสร้างสรรค์ลายเส้น Contour Drawing ชุด นางรำ โดยพร้อมกับสมองเพื่อตอบสนอง จินตนาการและซึมซับความงามของสุนทรียะ ด้วยการสื่อสารผ่านภาษาทางศิลปะ ถ่ายทอดความหมายด้วย ความงามของสรีระเรือนร่างตามธรรมชาติของมนุษย์ โดยเฉพาะเพศหญิง แทรกแนวความคิดเชิงสัญลักษณ์ใน


78 มุมมองที่มีความหลากหลายมิติของผลงาน จากเอกลักษณ์ลายเส้นของผู้สร้างสรรค์ สื่อให้เกิดการแสดงออกถึง รูปลักษณ์สื่อถึงท่าทางของ หญิงไทยประกอบสัญลักษณ์ของเครื่องชุดไทย ทั้งสีสัน สร้างพื้นผิวของผลงานด้วย เส้น การจัดวางองค์ประกอบ เพียงต้องการประกอบให้เกิดความสุนทรียะภาพความร่วมสมัยของศิลปะไทย เปรียบเทียบกับชุดของนาฏศิลป์ไทย ภายใต้แนวความคิด ทั้งการใช้เทคนิควิธีการสร้างสรรค์ความหลากหลาย ของเส้น Contour Drawing บทความนี้จึงต้องการอธิบายการแสดงออกทางแนวความคิด ผ่านความงามของ กระบวนการผลงาน เพื่อกระตุ้นเตือนให้ผู้ชมผลงานสร้างสรรค์เห็นถึงการแสดงออกในยุคสมัย ที่มีอยู่ปรากฏ ในสื่อออนไลน์ โดยการนำเสนอผ่านผลงานสร้างสรรค์ และเป็นองค์ความรู้จากกระบวนการสร้างสรรค์ผลงาน รูปแบบ Contour Drawingจากผลงาน การสร้างสรรค์ลายเส้น Contour Drawingชุด นางรำจำนวน 4ผลงาน ดังนี้ ภาพที่ 3 นางรำ แอบมอง (ผลงาน Contour Drawing เทคนิค Digital Art) ที่มา : ผลงานผู้สร้างสรรค์ปี 2565 ภาพที่ 4 นางรำ อวดองค์(ผลงาน Contour Drawing เทคนิค Digital Art) ที่มา : ผลงานผู้สร้างสรรค์ปี 2565 ภาพที่ 5 นางรำ แอบเอียง (ผลงาน Contour Drawing เทคนิค Digital Art) ที่มา : ผลงานผู้สร้างสรรค์ปี 2565


79 ภาพที่ 6 นางรำ เอียวทรง (ผลงาน Contour Drawing เทคนิค Digital Art) ที่มา : ผลงานผู้สร้างสรรค์ปี 2565 วิเคราะห์รูปแบบที่ใช้ในการสร้างสรรค์ ผลงานการสร้างสรรค์ลายเส้น Contour Drawing ชุด นางรำ มีเป้าหมายเพื่อสะท้อนแนวคิด สุนทรียะแบบวัฒนธรรมไทยร่วมสมัย ผสมผสานรูปแบบกับเทคนิคการเขียน Contour Drawing โดยสามารถ แบ่งรูปแบบการสร้างสรรค์ที่ปรากฏในผลงานสื่อ Digital Art แต่ละชิ้นได้4รูปแบบ ดังนี้ ผลงานการสร้างสรรค์ลายเส้น Contour Drawing ชุด นางรำ (จำนวน 4 ชิ้น) นางรำ แอบมอง / นางรำ อวดองค์ / นางรำ แอบเอียง / นางรำ เอียวทรง มุมมองความคิด คือ การผสมผสานรูปแบบการสร้างสรรค์จากหลายแหล่งที่มาในลักษณะผสมจาก ภาพสื่อโซเชียล ผู้หญิง ลักษณะแอบมอง อวดร่างกาย เอียมอง และเอียวตัว ในการถ่ายภาพ ภายนอกทำให้ ผู้ชมนกคิดในมุมมองทางเสน่หา แต่ผู้ชมไม่อาจสามารถคิดได้เลยในมุมมองของผู้สื่อสารได้ชัดเจน มุมมองความงามทางทัศนศิลป์ คือ รูปแบบที่เกิดขึ้นนี้สามารถแสดงปรากฏการณ์การสร้างรูปแบบ การสร้างสรรค์ทางลายเส้น สัญลักษณ์ในความเป็นไทยผ่านรูปแบบ ชุดนาฏศิลป์ไทย จากสีที่โดดเด่นในชุด ได้แก่ ทอง แดง เขียว ในท่าทางการแสดงร่างกายในเส้น สีดำ ด้วยผลงานการสร้างสรรค์ลายเส้น Contour Drawing ชุด นางรำ ด้วยสื่อ Digital Art มุมมองคุณค่าทางงานทัศนศิลป์ คือ ผู้สร้างสรรค์ได้คิดเห็นเกี่ยวกับประสบการณ์ทางสุนทรียะที่เกิด ขึ้นกับผู้ชม ผ่านผลงานในงานสร้างสรรค์นี้ในรูปแบบของศิลปะปฏิสัมพันธ์ โดยใช้ร่างกายผู้ชมมาเป็นวัตถุทาง สุนทรียะด้วยโดยมีประเด็นสำคัญคือ การรับรู้และการสร้างประสบการณ์ทางสุนทรียะแบบวัฒนธรรมของไทย กับการแสดงออกของผลงานผ่าน ผลงานการสร้างสรรค์ด้วยเทคนิคลายเส้น Contour Drawing ชุด นางรำ ด้วยสื่อ Digital Art ที่เกิดจากการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ชมกับผลงาน สรุป ผลงานการสร้างสรรค์ลายเส้น Contour Drawing ชุด นางรำ โดยพร้อมกับพัฒนาสมองเพื่อ ตอบสนองจินตนาการและซึมซับความงามของสุนทรียะ ด้วยการสื่อสารผ่านภาษาทางศิลปะ ถ่ายทอด ความหมายด้วยความงามของสรีระเรือนร่างตามธรรมชาติของมนุษย์ โดยเฉพาะเพศหญิง แทรกแนวความคิด


80 เชิงสัญลักษณ์ในมุมมองที่มีความหลากหลายมิติของผลงาน จากเอกลักษณ์ลายเส้นของผู้สร้างสรรค์ สื่อให้เกิด การแสดงออกถึง รูปลักษณ์สื่อถึงท่าทางของ หญิงไทยประกอบสัญลักษณ์ของเครื่องชุดไทย ทั้งสีสัน สร้าง พื้นผิวของผลงานด้วยเส้น การจัดวางองค์ประกอบ เพียงต้องการประกอบให้เกิดความสุนทรียะภาพความร่วม สมัยของศิลปะไทย มิเพื่อเปรียบเทียบกับชุดของนาฏศิลป์ไทย ภายใต้แนวความคิด ทั้งการใช้เทคนิควิธีการ สร้างสรรค์ความหลากหลายของเส้น Contour Drawing บทความนี้จึงต้องการอธิบายการแสดงออกทาง แนวความคิด ผ่านความงามของกระบวนการผลงาน เพื่อกระตุ้นเตือนให้ผู้ชมผลงานสร้างสรรค์เห็นถึงการ แสดงออกในยุคสมัย ที่มีอยู่ปรากฏในสื่อออนไลน์ โดยการนำเสนอผ่านผลงานสร้างสรรค์ และเป็นองค์ความรู้ จากกระบวนการสร้างสรรค์ผลงานรูปแบบ Contour Drawing จากผลงาน การสร้างสรรค์ลายเส้น Contour Drawing ชุด นางรำ จำนวน 4 ผลงานและอธิบายรูปแบบกระบวนการสร้างสรรค์เทคนิคการสร้างสรรค์ผลงาน วาดเส้น เทคนิค Contour Drawing ต่อนักเรียน นักศึกษา นิสิตศิลปะ และผู้สนใจในผลงานศิลปะรวมถึง การ รับรู้และการสร้างประสบการณ์ทางสุนทรียะแบบวัฒนธรรมของไทยกับการแสดงออกของผลงานผ่าน ผลงาน การสร้างสรรค์ด้วยเทคนิคลายเส้น Contour Drawing ชุด นางรำ ด้วยสื่อ Digital Art ที่เกิดจากการมี ปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ชมกับผลงาน อภิปรายผล ผลงานการสร้างสรรค์ลายเส้น Contour Drawing ชุด นางรำ สามารถอภิปรายผลได้โดยลำดับตาม ขั้นตอนการพัฒนาความคิด สู่การสร้างสรรค์เป็นผลงานทัศนศิลปะการพัฒนาดวามคิด (Idea) ในเบื้องต้นอย่าง หยาบๆ และไปสู่แนวความคิด (Concept) ที่มีความหมายเชิงนามธรรม (Abstract) เป็นกระบวนการของกาย และจิต ที่ต้องทำงานสัมพันธ์กัน ขณะที่มีแรงบันดาลใจเบื้องต้นเกิดขึ้น จะต้องมีวัสดุอุปกรณ์บางอย่างมาช่วย ระบายสิ่งที่อยู่ในจินตนาการ หรือนโมภาพนั้นให้ออกมาเป็นผลงานศิลปะ โดยเฉพาะอุปกรณ์เบื้องตัน อย่างเช่น การวาดเส้น (Drawing) เพื่อค้นหารูปทรง องค์ประกอบตลอดจนความหมายในผลงาน พัฒนา คลี่คลายไป จนรู้สึกพึงพอใจ แล้วนำสิ่งที่ได้สร้างขึ้นมานั้น มาวิจารณ์วิเคราะห์ ด้วยตนเอง หรือได้รับคำแนะนำ จากผู้รู้ จากนั้นจึงขยายผลของความคิดในเบื้องดันนั้นสู่ผลงานจริงแล้วนำมาวิเคราะห์อีกครั้ง หากยังไม่ได้ผล เป็นที่ประจักษ์ ก็ทดลองอีกครั้ง เวียนกลับไปมา พร้อมกับการค้นหาความหมาย ซึ่งพอจะแสดงลำดับขั้นตอน ดังนี้ 1) ตั้งคำถามว่าเราจะทำอะไร สร้างสรรค์เพื่อ ต้องการถ่ายทอดความหมายด้วยความงามของสรีระเรือน ร่างตามธรรมชาติของมนุษย์ โดยเฉพาะเพศหญิง แทรกแนวความคิดเชิงสัญลักษณ์ในมุมมองที่มีความ หลากหลายมิติของผลงาน 2) ค้นหาความหมายเฉพาะที่แฝงอยู่ในความคิดนั้น (Idea) จากเอกลักษณ์ลายเส้น ของผู้สร้างสรรค์ สื่อให้เกิดการแสดงออกถึง รูปลักษณ์สื่อถึงท่าทางของ หญิงไทยประกอบสัญลักษณ์ของ เครื่องชุดไทย เพื่อกระตุ้นเตือนให้ผู้ชมผลงานสร้างสรรค์เห็นถึงการแสดงออกในยุคสมัย ที่มีอยู่ปรากฏในสื่อ ออนไลน์ในสังคมไทย โดยการนำเสนอผ่านผลงานสร้างสรรค์3) ต้องการแสดงออกถึงอะไร สื่อถึงรูปแบบ เทคนิคเชิงวาดเส้น เทคนิค Contour Drawing แล้วนำสิ่งที่เราสร้างขึ้นมา เข้าสู่การพิจารณา ตรวจสอบ วิเคราะห์ถึงเป้าหมายที่ต้องการแสดงออก มันสื่อถึง แนวคิด อารมณ์ ความรู้สึก หรือเจตนาที่ชัดเจน 4) เราจะ เข้าไปสู่แก่นที่เป็นนามธรรมได้อย่างไร จึงจะต้องทดลอง Concept ในเบื้องต้นอย่างรอบครอบ จน Concept


81 ในระยะเริ่มต้นนั้นกลายเป็นอดีต จนไม่สามารถจะแสดงออกได้อีกต่อไป จะเกิด Concept ใหม่ขึ้น ส่วน Concept เก่า จะกลายเป็นฐานส่วนประกอบที่สำคัญ เพื่อยก Concept ใหม่ขึ้น ให้มีความก้าวหน้าต่อไปของ ผลงานการสร้างสรรค์ลายเส้น Contour Drawing ชุด นางรำ ข้อเสนอแนะ เพื่อการถ่ายทอดผลงานสร้างสรรค์ จากแนวความคิดทางศิลปะด้วยความงามทางสุนทรียภาพ ด้วย การสร้างสรรค์รูปแบบใด จากความถนัดของผู้สร้างสรรค์เองก็ตาม ตามกระบวนการสร้างสรรค์ศิลปะที่ชัดเจน ของกระบวนการ ตามเอกลักษณ์ของผู้สร้างสรรค์ ควรศึกษาตามกระบวนการสร้างสรรค์ด้วยวิธีการ เทคนิค อย่างท่องแท้ เพื่อแสดงออกตามแนวความคิดที่ชัดเจน นำส่งผลต่อแนวความคิด สู่เจตนาในการสื่อสาร และ แสดงออกได้ชัดเจน รายการอ้างอิง กชกรณ์ เหรีฉันทฤกษ์. (2551). วาทกรรมความงามของผู้หญิงในสังคมไทย. วิทยานิพนธ์ ศิลปะศาสตร์ บัณฑิต กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ธันวา เบญจวรรณ. (2552). เรือนร่างและความงาม พิจารณาความงามผ่านร่างกายและอุดมการณ์. บทความอ้างอิง: เว็บไซต์ https://prachatai.com/journal/2010/08/30873 สมศิริ อรุโณทัย. (2559). การวาดเส้นสร้างสรรค์. บทความอ้างอิง: เว็บไซต์ http://acad.vru.ac.th/ Journal/journal%206_1/6_1_10.pdf. สามารถ จับโจร. (2555). ประติมากรรมกับการสร้างสรรค์. นครราชสีมา: ตำรา คณะมนุษยศาสตร์และ สังคมศาสตร์. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชศรีมา. สุชาติ เถาทอง. (2536). วาดเส้น. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์ อิทธิพล ตั้งโฉลก. (2562). การสร้างสรรค์ผลงานวาดเส้น ชุด สิมอีสาน. นครราชสีมา: สถาบันวิจัยและ พัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ปีงบประมาณ 2561 Anonymous. (2011). " Contour Drawing " การขืนขัดระหว่างความชัดเจนและความพร่ามัว : บทความอ้างอิง: เว็บไซต์http://semi-art.blogspot.com/2011/12/drawing.html .


82 บรรยากาศของสีสันและรูปทรงในประเพณีบวชลูกแก้ว The Atmosphere of Colorful and Forms in Lanna Novice Ordination ถนอม จันทร์ต๊ะเครือ, Thanom Chantakruea วิทยาลัยช่างศิลปสุพรรณบุรีสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์กระทรวงวัฒนธรรม ประเทศไทย Suphanburi College of Fine Arts, BunditpatanasilpaInstitute of Fine Arts, Ministry of Culture, Thailand Email: [email protected] บทคัดย่อ ชุมชนคนล้านนามีวิถีชีวิตเกี่ยวข้องกับงานประเพณีต่าง ๆ ในช่วง 12 เดือน ที่มีจารีตแบบแผนให้คน รุ่นต่อรุ่นได้อนุรักษ์ สืบสาน อาทิเช่น พิธีอุปสมบทเณรที่เรียกว่า “บวชลูกแก้ว” หรือ “ปอยส่างลอง” (ไทใหญ่) ประเพณีบวชลูกแก้วเป็นส่วนหนึ่งในการแสดงออกถึงความสามัคคี ความสุขของคนในชุมชนนั้น เป็น แรงบันดาลใจให้ข้าพเจ้าสร้างสรรค์ผลงานศิลปะ “บรรยากาศของสีสันและรูปทรงในประเพณีบวชลูกแก้ว” โดยแสดงออกถึงใบหน้าผู้คนที่ยิ้มแย้มแจ่มใสเบิกบาน อิ่มบุญ สีสันที่มีความสดใสจากการแต่งกายของลูกแก้ว และช่างฟ้อนที่ร่ายรำด้วยจังหวะลีลาที่สนุกสนาน เหล่านี้เองเป็นสิ่งกระตุ้นให้แสดงออกถึงความรู้สึกใน บรรยากาศที่อบอวลไปด้วยความสุข โดยได้ทำการวิเคราะห์เนื้อหาสาระ กระบวนการสร้างสรรค์ เทคนิค วิธีการผ่านผลงานจิตรกรรมที่มีรูปทรงเคลื่อนไหว สีสันสดใส ฝีแปรงเลื่อนไหลไปอย่างสนุกสนาน ข้าพเจ้าปรารถนาให้ผลงานจิตรกรรมประสมนี้ได้ถ่ายทอดให้ผู้ชมรับรู้ถึงความสุขจากบรรยากาศของ สีสันและรูปทรง ได้จินตนาการถึงกิจกรรมของผู้คนในงานประเพณีและพิธีกรรมล้านนา ซึ่งหวังให้เกิด ประโยชน์ต่อผู้สนใจที่ต้องการศึกษาการสร้างสรรค์และได้เห็นคุณค่า เพื่อร่วมมือกันอนุรักษ์ สืบสานต่อไป คำสำคัญ: บวชลูกแก้ว, ความสามัคคี, ความสุข, บรรยากาศ, สีสันสดใส Abstract The Lanna community has a way of life involving various traditional events during the 12 months that have traditions for future generations to preserve and continue, such as the ceremony ordination for novice called “Ordination of Luk Kaew” or “Poi Sang Long” (Tai Yai). The tradition of ordaining Lanna novice is an express of unity. The happiness of the people in the community. It inspires me to create art. “The Atmosphere of Colorful and Forms in Lanna Novice Ordination”. The facial expressions of people smiling, cheerful and full of merit. The colorful from the clothes of Luk-Kaew. and the dancers who dance with a happiness rhythm These are the things that encourage people to express their feelings in an atmosphere filled with happiness. By analyzing the content. Creative processes, techniques,


83 and methods for passing through paintings with moving shapes, bright colors, and fun flowing brush strokes. I would like this mixed painting to convey to viewers the happiness from the atmosphere of colorful and forms. Imagine the activities of people in Lanna traditions and rituals. Which hopes to be beneficial to those interested in studying creativity and saw the value to jointly preserve and continue. Key words: Ordination Lanna Novice, unity, atmosphere, colorful, happiness 1. ความสำคัญหรือความเป็นมาของปัญหา การดำรงชีวิตของคนในสังคมล้านนาในรอบ 12 เดือน มีความเกี่ยวข้องกับประเพณีและพิธีกรรม ต่าง ๆ ซึ่งเป็นความเลื่อมใส ศรัทธาในพระพุทธศาสนา ทำให้คนปฏิบัติอยู่ในระเบียบแบบแผน จารีตประเพณี อันดีงาม เพื่อให้เกิดความผาสุกในชุมชน สภาพแวดล้อมที่เป็นสังคมแบบดั้งเดิมจนถึงปัจจุบัน การเข้ามีส่วนร่วมทำกิจกรรมในประเพณีและ พิธีกรรมต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นมงคลหรืออวมงคลของหมู่บ้านและหมู่บ้านใกล้เคียง ซึมซับกับความงดงามของ บรรยากาศที่คนในชุมชนร่วมแรงร่วมใจกันทำกิจกรรมทางประเพณีและพิธีกรรมต่าง ๆ แสดงให้เห็นถึงความ สามัคคี ทุกคนมีจิตใจแจ่มใสแช่มชื่น สนุกสนาน เบิกบาน ทำกิจกรรมงานบุญร่วมกันด้วยจิตใจอันมีกุศล การแต่งหน้า แต่งกายด้วยเสื้อผ้าอาภรณ์ที่มีสีสันสดใส ใส่เครื่องประดับระยิบระยับของลูกแก้ว ประกอบกับลีลาของช่างฟ้อนแต่งกายสวยงามร่ายรำประกอบเสียงเพลงจากเครื่องดนตรี สะล้อ ซอ ซึง ใน รูปแบบล้านนา สื่อความหมายถึงวิถีชีวิตท้องถิ่นที่มีความสัมพันธ์กลมกลืน มีความรุ่งเรืองทางจิตวิญญาณ แสดงอารมณ์ ความรู้สึกสุขสงบ สนุกสนาน และอิ่มสุข 2. แนวคิด/ ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง 2.1 แนวความคิด ข้าพเจ้าต้องการสื่อความหมายถึงความสุข สนุกสนาน ความสามัคคีการร่วมแรง ร่วมใจรวมกันเป็นหนึ่งประกอบกิจกรรมในงานประเพณีและพิธีกรรมอันเป็นมงคลของคนล้านนา ถ่ายทอดผ่าน ผลงานจิตรกรรมประสม แสดงบรรยากาศของรูปทรง และมีสีสันสดใส เคลื่อนไหวอิสระ 2.2 ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง การศึกษาข้อมูลกิจกรรมในประเพณีงานบวชลูกแก้ว, ปอยส่างลอง, การฟ้อน แง้น และเพลงซอ รวมทั้งรูปแบบทางศิลปะที่เกี่ยวข้องกับการสร้างสรรค์รายละเอียดดังนี้ 2.2.1. ประเพณีปอยส่างลอง โดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัย ราชภัฏกำแพงเพชร (ที่มา: https://art.kpru.ac.th/ap2/local/? nu=pages&page_ id=2031&code_db =610004&code_type=TK001, 29 ตุลาคม 2566) สรุปเนื้อหาดังนี้ ประเพณีปอยส่างลอง หรือ งานบวช ลูกแก้ว คือการบวชเณร (ความหมายของ “ส่างลอง” ก็คือ “ลูกแก้ว” นั่นเอง) ส่วนใหญ่มีที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน คนส่วนใหญ่สืบเชื้อสายไทใหญ่ได้สืบทอดประเพณีนี้ทุกปีจะจัดงานอย่างยิ่งใหญ่ เป็นเอกลักษณ์ของจังหวัด


84 และได้ขยายไปยังจังหวัดใกล้เคียงอีกด้วย พิธีกรรมมี 2 วิธี คือ แบบที่ 1 ข่ามดิบ เป็นการบวชแบบเรียบง่าย พ่อแม่พาเด็กโกนผมเสร็จแล้วนุ่งขาวห่มขาว เตรียมเครื่องไทยทาน อัฐบริขารไปทำพิธีบรรพชาเป็นสามเณรที่ วัด โดยพระสงฆ์ประกอบพิธีแบบที่ 2 ส่างลอง เป็นการจัดงานใหญ่โต 3 วัน โดยวันแรกรับส่างลองไปโกนผม แล้วแต่งชุดส่างลองคล้ายเจ้าชายไทใหญ่ รับศีล นำส่างลองแห่ของขมาศาลเจ้า, พระสงฆ์ที่วัด, ญาติผู้ใหญ่ ผู้ที่ ให้ความเคารพนับถือ ตลอดทั้งวัน จากนั้นจึงนำส่างลองกลับบ้าน ต่อมาในวันที่สองทำในตอนเช้า เป็นวันแห่ เครื่องไทยทานและส่างลองไปวัด เพื่อเลี้ยงอาหารผู้มาร่วมขบวนแห่ มีการทำขวัญส่างลอง และวันที่สามเป็น วันบรรพชาเป็นสามเณร การจัดงานปอยส่างลองเป็นการสืบทอดพระพุทธศาสนา และก่อให้เกิดความสามัคคี ในหมู่คณะ ซึ่งเป็นความสุข สนุกสนาน และการอิ่มบุญ ภาพที่ 1 บวชลูกแก้ว ณ วัดพระธาตุหริภุญชัย อ.เมือง จ.ลำพูน, 5 เมษายน 2551. อีกหนึ่งข้อมูลที่สืบค้นเป็นการสนับสนุนข้อมูลข้างต้นที่มีความคล้ายคลึงกันในรายละเอียด ของพิธีการในวันต่าง ๆ เขียนโดย ธันวดี สุขประเสริฐ “ปอยส่างลอง” (https://www.sac.or.th, 2 ต.ค. 2566) สรุปสาระสำคัญเรื่องการแต่งกายและขบวนแห่ คือ ปอยส่างลองส่วนมากนิยมบวชเณรตั้งแต่อายุ 12 ปี ขึ้นไป การจัดเตรียมงานมักจะทำในเดือนมีนาคม เมษายน พฤษภาคม กำหนดงานไว้ 3-5 วัน เป็นพิธีการเฉลิม ฉลองการบรรพชาสามเณรของคนไทยซึ่งมีเชื้อสายไทใหญ่ “ส่าง” หมายถึง เณร ลอง หรือ “อลอง” หมายถึง รัชทายาท เชื่อว่าอานิสงค์จากปอยส่างลองนี้จะทำให้บิดามารดาได้ขึ้นสวรรค์ ผู้จะบวชเณร เรียกว่า “ส่างลอง” การโกนผมแต่ไม่โกนคิ้ว แต่งกายอย่างสวยงาม นุ่งโจงกระเบนสีสด ปล่อยชายด้านหลังยาวจับจีบ คาดด้วยเข็มขัดนาคหรือเงิน สวมเสื้อแขนกระบอกชายโค้งงอน เสื้อปักฉลุลวดลายดอกไม้สีต่างๆ สวม เครื่องประดับมีค่า เช่น สร้อย กำไล แหวน เป็นต้น และโพกศีรษะแบบพม่า สวมถุงเท้าขาวยาวบางคนจะสวม แว่นตาดำ ทาแป้ง เขียนคิ้ว และทาปาก มีพี่เลี้ยงคอยดูแลอย่างน้อยสามคน เรียกว่า “ตะแปส่างลอง” ก่อน ไปทำพิธีที่วัด ขบวนแห่ส่างลองจะบรรเลงด้วยมองเซิ้ง (ฆ้องชุดของไต) ฉาบและกลอง สร้างความครึกครื้นกับ ภาพตะแปเทินส่างลองที่แต่งองค์งดงามทยอยเดินเป็นขบวนทั้งเดินและเต้นเทินส่างลองเหนือบ่าประกอบ จังหวะเสียง วันแห่ครัวหลู่ มีการแห่ส่างลองกับขบวนเครื่องไทยทาน ประกอบด้วย จีเจ่ (กังสดาล) ม้าเจ้าเมือง ต้นตะเป่ส่าพระพุทธ ต้นตะเป่ส่าพระสงฆ์ ปุ๊กเข้าแตก เทียนเงินเทียนทอง พุ่มเงินพุ่มทอง อูต่องปานต่อง หม้อ น้ำต่า อัฎฐริขาร โดยให้ส่างลองขี่คอพี่เลี้ยง มีร่มทองหรือ “ทีคำ” บังแดดจากวัดไปตามถนนสายต่างๆ วันที่ สาม หรือวันหลู่ ถือเป็นวันสำคัญคือเป็นวันบรรพชาสามเณรและถวายเครื่องปัจจัยไทยทานแก่พระภิกษุสงฆ์ อาราธนาศีล เปลี่ยนเครื่องแต่งกายจากชุดส่างลองมาเป็นผ้าไตรเป็นสามเณรอย่างสมบูรณ์


85 ภาพที่ 2 ปอยส่างลองในชุมชนไทใหญ่ ณ อ.แม่ลาน้อย จ.แม่ฮ่องสอน, 3-5 เมษายน 2552. 2.2.2 การฟ้อน จากหนังสือสารานุกรมไทย ภาคเหนือ เล่มที่ 9 (2542: 4826-4904) ได้ กล่าวถึงการฟ้อนในประเพณีและพิธีกรรมล้านนา ให้ความหมาย “การฟ้อน หมายถึงการแสดงออกด้วยท่าทาง ต่างๆ จะโดยธรรมชาติหรือปรุงแต่งไปแล้วก็ตาม ตรงกับคำว่า “รำ” ในภาษาถิ่นภาคกลาง” “ฟ้อนแง้น” จากบทความ “นาฏดุริยการล้านนา-ฟ้อนแง้น” โดย สนั่น ธรรมธิ สำนักส่งเสริม ศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (ที่มา: http://www.openbase.in.th,18 ตุลาคม 2566) สรุปได้ดังนี้ คำว่า “แง้น” หมายถึง แอ่น โค้ง หรืองอไปด้านหลัง การฟ้อนรำแล้วแอ่นลำตัวไปด้านหลังเรียกว่า “ฟ้อน แง้น” นิยมกันในหมู่ช่างขับซอหญิงโดยเฉพาะช่างขับซอในเขตจังหวัดน่าน แพร่ ลำปาง พะเยา และเชียงราย รูปแบบการฟ้อนและการแต่งกาย (ที่มา: สารานุกรมวัฒนธรรมไทยภาคเหนือ เล่ม 9 หน้า 4834) การฟ้อน แง้นเป็นการฟ้อนให้สวยงามไม่มีรูปแบบ การแต่งกายตามความเหมาะสมกับการไปขับซอ อาศัยทำนองที่ บรรเลงจากซึงและสะล้อเท่านั้น ช่างขับซอหรือ “ช่างซอ” จะฟ้อนในช่วงพัก เพื่อเปลี่ยนบรรยากาศและเปิด โอกาสให้ผู้ร่วมงานคนอื่นได้พักผ่อน และเพื่อสร้างความหลากหลายทางสุนทรียรสแก่ผู้ชม ผู้ฟัง ปัจจุบันการ ฟ้อนแง้นถูกนำมาแสดงในงานต่างๆ ในฐานะการแสดงประเภทฟ้อนรำ ภาพที่ 3 “ฟ้อนแง้น” ที่มา : https://nadtasilstcmu.wordpress.com, 27 ตุลาคม 2566 2.2.3 เพลงซอ จากการสืบค้นการศึกษาวิเคราะห์วรรณกรรมบทซอ บทที่ 1 (ที่มา: https:// archive. lib.cmu.ac.th/full/T/2557/lanna50857jis_ch1.pdf, 21 ตุลาคม 2566) สรุปส่วนสำคัญ ดังนี้ “ซอ” เป็นการขับร้องเพลงพื้นบ้านล้านนาที่นิยมกันอย่างแพร่หลายตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ซึ่งมณี พยอมยงค์ (2529 : 169) อธิบายว่า ซอ คือการขับร้องโดยนำเหตุการณ์ที่พบเห็น หรือประสบการณ์ ต่าง ๆ มาขับร้อง แล้วจัดทำนองให้ไพเราะ ส่วนทรงศักดิ์ปรางค์วัฒนากุล (2530 : 9) กล่าวว่าซอเป็นเพลง พื้นบ้านล้านนาที่นิยมแพร่หลายที่สุด มีบทบาทเป็นส่วนหนึ่งหรือขั้นตอนหนึ่งในพิธีกรรมโดยตรง เช่น ซอเรียก


86 ขวัญ, เชิญพี่น้องกินข้าว, มัดมือแต่งงาน, ปัดเคราะห์ ฯลฯ โดยจำแนกเป็นเนื้อหาเกี่ยวกับงานประเพณีทาง ศาสนา, การให้ความรู้ต่าง ๆ, คติธรรมคำสอน, เรื่องเล่านิทานชาดก ตำนาน และเกี่ยวกับการแสดงอารมณ์ ความรู้สึก นิยมเล่นประกอบการขับซอเท่านั้น ในปี พ.ศ. 2518 เริ่มกำเนิด “ซอสตริง” หรือ“ซอร่วมสมัย” โดยนำซอทำนองพื้นบ้านดั้งเดิมมาผสมผสานกับทำนองเพลงสากล และใช้เครื่องดนตรีสากลประกอบ ซึ่งได้รับ ความนิยมอย่างแพร่หลายในเวลาต่อมา เนื่องจากซอสตริงมีจังหวะที่เร้าใจ สนุกสนาน มีเนื้อหาร่วมสมัย จากข้อมูลที่ศึกษาดังกล่าวข้างต้นมีความสอดคล้องกับการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะนี้ คือการ นำสีสันสดใสจากเครื่องแต่งกายของลูกแก้ว ส่างลอง รวมทั้งลีลาการเคลื่อนไหวจากท่าทางการฟ้อนแง้น ผสมผสานบทเพลงซอดนตรีพื้นบ้านล้านนาที่มีจังหวะเร้าใจ สนุกสนาน มีชีวิตชีวามาแสดงออกในบรรยากาศ สีสันสดใส รูปทรงเคลื่อนไหวไปด้วยกันอย่างเป็นอกภาพ สื่อถึงบรรยากาศในกิจกรรมงานประเพณีและ พิธีกรรมที่คนในชุมชนเข้าไปมีส่วนร่วมอย่างมีน้ำหนึ่งใจเดียวกันอย่างเป็นเอกภาพ 2.2.4 แนวงานศิลปะที่มีรูปแบบสอดคล้องกับผลงานสร้างสรรค์ มีดังนี้ - ลัทธิเอ็กซเพรสชั่นนิสม์(Expressionism) จากหนังสือศิลปะสมัยใหม่ โดยศาสตราจารย์ กำจร สุนพงษ์ศรี (2528 : 124-151) สรุปสาระสำคัญ คือ ลัทธิเอ็กซเพรสชั่นนิสม์มีการแสดงออกอย่าง รุนแรงเกินความจริง มีการบิดผันแปรรูปทรงต่าง ๆ ให้ดูหมุนเวียนผิดรูปทรงที่มีอยู่ตามปกติ เส้นจะแสดงความ มั่นคงแน่วแน่และหนักแน่น สีจะปรากฏอย่างสด รุนแรง และตัดกัน ยิ่งกว่าที่ปรากฏอยู่ในธรรมชาติให้ ความสำคัญของตัวศิลปินมากกว่าสภาพแวดล้อม เข้าหาความรู้อันเกิดขึ้นเองโดยฉับพลัน ปราศจากระบบการ ควบคุมใด ๆ ได้ปลุกกระตุ้นเร้าอารมณ์ขึ้นเองโดยเจตจำนงและอารมณ์ของศิลปิน ศิลปินที่มีผลงานเด่นชัด อาทิ Franz Marc, Wassily Kandinsky, Ernst Ludwig Kirchner เป็นต้น ภาพที่ 4 Franz Marc. Im Regen (In The Rain), 1912. Oil on canvas. 81.50 x 106 cm. ที่มา : https://en.wikipedia.org/wiki/ Franze March, 19 ตุลาคม 2566 - ลัทธิแอบสแทร็กเอ็กเพรสชั่นนิสม์ (Abstract Expressionism) จากหนังสือโลกศิลปะ ศตวรรษที่ 20 โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์จิระพัฒน์ พิตรปรีชา (2545 : 228-231) ได้กล่าวสาระสำคัญว่าศิลปิน กลุ่มนี้ได้ขยายขอบเขตลัทธิอัตโนมัติ (Automatism) ด้วยวิธีการหยอด สลัด การทิ้งปล่อยฝีแปรงคล้ายกับยัง ไม่เสร็จ การใช้สีผ่านสมาธิจิต สำแดงอารมณ์แบบนามธรรม จากจินตนาการและทัศนธาตุที่เป็นแรงภายนอก ไหลวนเข้าหากันเกิดจินตภาพใหม่ขึ้นมา เช่นผลงานของ Willem de Kooning, Jackson Pollock เป็นต้น


87 ภาพที่ 5 Willem de Kooning. Composition, 1955. Oil, enamel, charcol on canvas. 201 x 175.6 cm. ที่มา : https://www.guggenheim.org, 19 ตุลาคม 2566 - ลัทธิฟิวเจอริสม์ (Futurism) สาระสำคัญ คือ ความเร็วจากเครื่องไฟฟ้า เครื่องจักรกล เป็น กฎของความงามแนวใหม่ มีหลักสุนทรียภาพวาดให้เกิดการลวงตา ค้นหาการเปลี่ยนรูปทรงที่สูญเสียปริมาตร จากการเคลื่อนไหวเป็นเจตนาของการแสดงออก ศิลปินที่มีผลงานปรากฏชัด เช่น Umberto Boccioni, Giacomo Balla, Gino Severini เป็นต้น ภาพที่ 6 Umberto Boccioni. Elasticity, 1912. Oil on canvas. 100 x 100 cm. ที่มา : https://arthive.com/encyclopedia/4375~CuboFuturism, 20 ตุลาคม 2566 3. กระบวนการในการสร้างสรรค์ การสร้างสรรค์ผลงาน ชื่อ “บรรยากาศของสีสันและรูปทรงในประเพณีบวชลูกแก้ว” ในรูปแบบ จิตรกรรมประสมบนผ้าใบ ข้าพเจ้าจะเปิดเพลงซอฟังขับกล่อมไปด้วยระหว่างการสร้างสรรค์ มีขั้นตอน ดังนี้ 3.1 จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ในการสร้างสรรค์เช่น ผ้าใบขึงบนเฟรม, สีน้ำมัน, สีอะคริลิค, เกรียง, พู่กัน, น้ำมันลินสีด, ดินสอสี, สีชอล์กน้ำมัน เป็นต้น ภาพที่ 7 วัสดุอุปกรณ์ในการสร้างสรรค์ ที่มา : ผู้สร้างสรรค์


88 3.2 ร่างภาพลงบนผ้าใบขนาด 60 x 80 เซนติเมตร ตามท่วงทำนองของการฟังเพลงซอ จินตนาการ อย่างฉับพลันด้วยดินสอ, ดินสอสี, สีชอล์กน้ำมัน และสีน้ำมันที่เตรียมไว้ให้เกิดรูปทรงที่เกี่ยวเนื่องกับเนื้อหาที่ ศึกษาค้นคว้า 3.3 ปาดป้ายสีน้ำมันด้วยพู่กันและเกรียงอย่างฉับพลัน ตามอารมณ์ ความรู้สึก 3.4 เน้นรูปทรงบางบริเวณด้วยเส้นสี เก็บรายละเอียดจนเสร็จสมบูรณ์ ภาพที่8 Thanom Chantakruea. The Atmosphere of Colorful and Forms in Lanna Novice Ordination, 2023. Mixed Painting on canvas [oil colors, acrylic, oil pastel, pencil colors]. 60 x 80 cm. ที่มา : ผู้สร้างสรรค์ 4. การวิเคราะห์ผลงาน 4.1 เนื้อหา จากความประทับใจบรรยากาศการร่วมแรงร่วมใจกันในการทำกิจกรรมงานประเพณีและ พิธีกรรมล้านนา สีสันจากการแต่งกาย เครื่องประดับ และเครื่องไทยทานที่สดใสสวยงาม การสืบค้นข้อมูล เกี่ยวกับการบวชลูกแก้ว, ปอยส่างลอง, จังหวะลีลาการเคลื่อนไหวของการฟ้อนแง้น ตลอดจนบรรยากาศของ งานประเพณี การฟ้อนแง้น การเล่นเพลงซอ และประกอบกับการศึกษารูปแบบผลงานศิลปะในลัทธิ Expressionism, Abstract Expressionism และ Futurism ทำให้เกิดแนวความคิดในการสร้างสรรค์ผลงานที่ แสดงออกเรื่องสีสันและฝีแปรงที่อิสระแทนอารมณ์ ความรู้สึกส่วนตัวที่สื่อถึงความอิ่มสุข สนุกสนานที่ได้ทำ กิจกรรมในประเพณีอันดีงามร่วมกัน 4.2 รูปแบบผลงาน การแสดงออกฉับพลัน สีสันสดใส ทิ้งร่องรอยสะบัดของทีแปรงและเกรียง ผสมผสานอารมณ์ความรู้สึกส่วนตัว ปาดป้ายสีสันสดใสด้วยฝีแปรงและเกรียงที่อิสระ ฉับพลันตามอารมณ์ ซ้ำ รูปทรง สี เส้น ทั้งขนาด ทิศทาง สร้างความรู้สึกเคลื่อนไหวที่สนุกสนานสนาน นำเส้นมาผสมผสานเกิดการทับ ซ้อนกันของรูปทรงที่ไม่เป็นระเบียบ การทับซ้อนของสีทำให้เกิดสีใหม่ เกิดจังหวะและลีลาแสดงความเคลื่อนไห


89 ต่อเนื่องกันทั้งภาพ การวางคู่สีตรงกันข้ามทำให้เกิดการผลักกันของคู่สี ยิ่งเพิ่มความรู้สึกตื่นเต้นชัดเจนยิ่งขึ้น องค์ประกอบของภาพให้ความรู้สึกหมุนเวียน เลื่อนไหลเชื่อมหากันทั้งภาพเป็นที่ว่างแบบเปิด สื่อถึงความหมาย ของความสามัคคี ร่วมแรงร่วมใจอย่างมีเอกภาพของคนในชุมชนล้านนา 5. สรุป ผลงานจิตรกรรม ชื่อ “บรรยากาศของสีสันและรูปทรงในประเพณีบวชลูกแก้ว” ส่งเสริมแนวความคิดการ รวมกันเป็นหนึ่ง อีกทั้งการปาดป้ายสีที่ฉับพลัน อิสระ ด้วยแปรงและเกรียงแทนอารมณ์ ความรู้สึกที่สนุกสนาน เบิกบานใจ ตื่นเต้นจากประสบการณ์ตรง ประกอบการฟังบทเพลงซอล้านนา เกิดจินตนาการมองย้อนไปเห็น ภาพบรรยากาศในงานประเพณี และพิธีกรรมล้านนา แสดงการเคลื่อนไหว ไม่ยึดติดกฎเกณฑ์ความถูกต้องตาม แบบตาเห็น การสร้างสรรค์ผลงานนี้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ สามารถถ่ายทอดอารมณ์ ความรู้สึกของ ความสุขที่ได้จากงานประเพณี และพิธีกรรมล้านนา ซึ่งเป็นการแสดงออกถึงบรรยากาศจากความคิด จินตนาการ และความรู้สึกส่วนตัว โดยมีเนื้อหาของกิจกรรมที่คนในชุมชนทำร่วมกันในงานประเพณีความร่วม แรงร่วมใจ ความสามัคคี เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน เป็นอีกหนึ่งแนวทางให้คนรุ่นใหม่ได้เห็นคุณค่า ได้อนุรักษ์และ สืบสานต่อไป เอกสารอ้างอิง กำจร สุนพงษ์ศรี. (2528). ศิลปะสมัยใหม่. ลัทธิเอ็กซเพรสชั่นนิสม์. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: ไทย วัฒนาพานิช จิระพัฒน์ พิตรปรีชา. (2545). โลกศิลปะศตวรรษที่ 20. ลัทธิแอบสแทร็กเอ็กเพรสชั่นนิสม์. กรุงเทพฯ: เมือง โบราณ ธันวดี สุขประเสริฐ. (2558).“ปอยส่างลอง”.สืบค้นเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2566.จากเวปไซต์:https://www. sac.or.th มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. (2557). การศึกษาวิเคราะห์วรรณกรรมบทซอ บทที่ 1. สืบค้นเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2566 จากเวปไซต์: https://archive. lib.cmu.ac.th/full/T/2557/lanna50857jis.ch1.pdf สนั่น ธรรมธิ. (2565). นาฏดุริยการล้านนา – ฟ้อนแง้น. สืบค้นเมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2566 จากเวปไซต์: http://www.openbase.in.th สารานุกรมวัฒนธรรมไทยภาคเหนือ เล่ม 9. (2542). ฟ้อน. กรุงเทพมหานคร: สยามเพรแมเนจเม้นท์ สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2022). ประเพณีปอยส่างลอง. สืบค้นเมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2566 จากเวปไซต์: https://art.kpru.ac.th/ap2/local/? nu=pages& page_id=2031&code_db=610004&code_type=TK001


90 ความงามในธรรมชาติNo.2 Naturals Beauty No.2 ทัศนีย์ รุ่งทวีชัย, Tassanee Roongtaweechai 190 หมู่ 4 ต.สามง่าม อ.ดอนตูม จ.นครปฐม 73150, 190 M.4 Samngam Dontoom Nakhon Pathom E-mail: [email protected] บทคัดย่อ ผลงานสร้างสรรค์นี้ มีจุดประสงค์เพื่อสร้างผลงานศิลปะจากเครื่องเคลือบดินเผา ที่สื่อถึงความงามใน ธรรมชาติโดยได้ศึกษาค้นคว้า ทบทวนเนื้อหาที่เกี่ยวข้อง วิเคราะห์ และนำข้อมูลที่ได้มาใช้ในการสร้างสรรค์ ผลงานนี้ ข้าพเจ้าได้ถ่ายทอดเรื่องราวของความงามในธรรมชาติผ่านงานเครื่องเคลือบดินเผา โดยอาศัย แนวความคิดทฤษฎีจากทัศนธาตุ สี รูปทรง จังหวะ และหลักสุนทรียศาสตร์คือ ความงามที่เกิดขึ้นจาก ธรรมชาติ โดยใช้รูปทรงกลม แสดงถึงความอุดมสมบูรณ์ด้านบนเป็นรูปทรงที่เลียนแบบจากพืช และต้นไม้ ที่มี ความสวยงาม อ่อนช้อย ด้านล่างเป็นวงของคลื่นน้ำแสดงถึงสิ่งที่หล่อเลี้ยงสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ที่มีความหมายในเชิง สัญลักษณ์สื่อถึงความงามในธรรมชาติมาใช้ในการสร้างสรรค์งานครั้งนี้ วัสดุที่หลักที่นำมาใช้ถ่ายทอดเพื่อเป็น ตัวแทนของความงาม คือ การนำดินมาใช้ในการสร้างสรรค์งาน และใช้เทคนิคการเคลือบ 1200 องศาเซลเซียส บรรยากาศ Oxidation ซึ่งเคลือบแต่ละตัวที่หลอมรวมกันเป็นเสน่ห์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติทาบทาลงบนพื้นผิว ของชิ้นงาน เป็นความงามของความสมดุลที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติผสมผสานกับการนำดินมาใช้ในการ สร้างสรรค์ โดยการปั้นดิน สื่อออกมาในรูปแบบของศิลปะการสร้างสรรค์จากชิ้นงานเครื่องเคลือบดินเผา คำสำคัญ: ดินเผา, ความงามในธรรมชาติ, สัญลักษณ์, ความสมดุล Abstract This creation Its purpose is to create works of art from ceramics. That is the beauty of nature. I have conveyed the story of A Natural Beauty through ceramic sculptures. Based on concepts, and theories from visual elements, colors, shapes, rhythms, and esthetics principles, the beauty that arises from nature. I used a circular shape to mean abundance. The top is a shape imitating plants and trees that are beautiful and delicate. Below is a ring of water waves representing what nourishes various creatures. The symbolic meaning represents the beauty in nature. used in the creation of this work. The main material used to convey to represent beauty is the use of clay to create works. And using a 1200-degree Celsius glaze technique in the oxidation firing. in which each glaze fuses to form a naturally occurring charm applied to


91 the surface of the workpiece. It is the beauty of the balance created by nature. The main material used to represent beauty are clay to create works. Keywords: Ceramic, Natural Beauty, Emblem, Balance 1. ความสำคัญหรือความเป็นมาของปัญหา การสร้างสรรค์ผลงานชิ้นนี้ ผู้สร้างสรรค์ได้รับแรงบันดาลใจมาจากความประทับใจที่มีต่อความงามใน ธรรมชาติและได้ถ่ายทอดเรื่องราวของความงามในธรรมชาติผ่านชิ้นงานเครื่องเคลือบดินเผา ความงามที่ เกิดขึ้นจากธรรมชาติ และสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น โดยเลือกใช้รูปทรงกลม แสดงถึงความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติ ด้านบนเป็นรูปทรงที่เลียนแบบจากพืช และต้นไม้ ที่มีความสวยงาม อ่อนช้อย ด้านล่างเป็นวงของคลื่นน้ำสี เขียวอมฟ้าแสดงถึงสิ่งที่หล่อเลี้ยงสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ที่มีความหมายในเชิงสัญลักษณ์สื่อถึงความงามในธรรมชาติ มาใช้ในการสร้างสรรค์งานครั้งนี้ วัสดุที่หลักที่นำมาใช้ถ่ายทอดเพื่อเป็นตัวแทนของความงาม คือ การนำดินมา ใช้ในการสร้างสรรค์งาน และมีการใช้วัสดุโลหะดัดรูปทรงอิสระ และลูกปัดสีทองด้านบนมาผสมผสาน เป็น ความงามจากสิ่งที่ไม่ได้มาจากธรรมชาติร่วมอยู่ด้วยกันอย่างลงตัว 2. แนวคิด / ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง แนวความคิดและทฤษฎี ที่นำมาใช้ในการสร้างสรรค์ผลงานครั้งนี้ ดังนี้ 1. หลักสุนทรียศาสตร์ ว่าด้วยเรื่องความสุนทรียภาพที่เกิดขึ้นจากธรรมชาติ และงานศิลปะที่มนุษย์ สร้างขึ้น อธิบายถึง ความสวยงาม ความงดงาม และความมีศิลป์ เป็นการรับรู้และความรู้สึกถึงคุณค่าของสิ่งที่ งาม รู้สึกไว เชิงสุนทรียศาสตร์ เชิงสุนทรียภาพ เป็นศาสตร์ที่ว่าด้วยความงามที่ศิลปินสื่อและแสดงออกในงาน ศิลปะ ความงามทางกาย (Physical Beauty) หรือความงามที่เกิดจากการประสานกันของทัศนธาตุ ความ งามของรูปทรงที่กำหนดด้วยเรื่องราว ความงามทางใจ (Moral Beauty) เป็นความงามที่เกิดขึ้นจากความรู้สึก และอารมณ์ที่แสดงออกเพื่อ อารมณ์ของความงามเอง หรือสื่อนำไปสู่อารมณ์ความสะเทือนใจในรูปแบบอื่น 2. ทฤษฎีการขึ้นรูปเครื่องปั้นดินเผาด้วยมือ (Hand Forming Method) การขึ้นรูปด้วยมือ คือวิธีการ ขึ้นรูปแบบอิสระ เป็นวิธีการขึ้นรูปเบื้องต้นที่ใช้ในการขึ้นรูปผลิตภัณฑ์เซรามิก ซึ่งสามารถขึ้นรูปได้โดยไม่ต้อง ให้อุปกรณ์ใด ๆ จะใช้เพียงมือเปล่าในการขึ้นรูปก็ได้โดยในงานสร้างสรรค์นี้ได้นำดินสโตนแวร์เนื้อละเอียดมา ใช้ในการขึ้นรูปชิ้นงาน เนื่องจากเป็นดินที่มีความเหนียว ไม่นิ่ม หรือแข็งมากจนเกินไป เหมาะแก่การขึ้นรูป ชิ้นงานขนาดเล็ก


92 3. กระบวนการในการสร้างสรรค์ กระบวนการในการสร้างสรรค์ผลงานครั้งนี้ 1. ศึกษา วิเคราะห์ และรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่างๆ 2. ประเมินผลจากข้อมูลที่ได้รับ 3. ร่างแบบชิ้นงานสร้างสรรค์ด้วยดินสอลงบนกระดาษ เพื่อกำหนดขนาดของชิ้นงาน จัดวาง องค์ประกอบ และรูปทรงของชิ้นงาน 4. ขึ้นรูปดิน ด้วยเทคนิคการขึ้นรูปด้วยมือ (Hand Forming) และสร้างลวดลายด้วยเทคนิคการกด ประทับลาย (Stamping) 5. ประกอบและต่อชิ้นส่วนต่างๆเข้าด้วยกันโดยใช้น้ำดิน (Slip) โดยประกอบเป็นชิ้น ๆ ขณะ ประกอบควรทำอย่างระมัดระวังและเบามือ เนื่องจากชิ้นงานที่ยังไม่ได้เผาจะมีความเปราะบาง 6. นำชิ้นงานที่ได้ไปเผาบิสกิต ที่อุณหภูมิ 900 องศาเซลเซียส เมื่อเผาเสร็จแล้วชิ้นงานที่ได้จะมีความ แกร่งสีครีม 7. นำชิ้นงานไปเคลือบ และนำไปเผาที่อุณหภูมิ 1200 องศาเซลเซียส บรรยากาศ Oxidation 8. ประกอบชิ้นงานด้วยวัสดุธรรมชาติและมีการใช้วัสดุโลหะดัดรูปทรงอิสระ และลูกปัดสีทอง ด้านบนมาผสมผสาน เป็นความงามจากสิ่งที่ไม่ได้มาจากธรรมชาติร่วมอยู่ด้วยกันอย่างลงตัว 9. วิเคราะห์ความงาม 10. สรุปและประเมินผลงานสร้างสรรค์ ภาพที่ 1 ภาพผลงานสำเร็จ ที่มา : ภาพโดย นางสาวทัศนีย์ รุ่งทวีชัย เมื่อ 18 ตุลาคม 2566


Click to View FlipBook Version