The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

บทความวิชาการประกอบผลงานสร้างสรรค์
การจัดแสดงนิทรรศการผลงานทางทัศนศิลป์ ระดับนานาชาติ
งานมหกรรมศิลปวัฒนธรรมไทย ของคณะศิลปวิจิตร

โครงการนิทรรศการทางวิชาการและการแสดงทางศิลปวัฒนธรรม
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 :
กิจกรรมที่ 2 การจัดแสดงนิทรรศการผลงานทางทัศนศิลป์ ระดับนานาชาติ
งานมหกรรมศิลปวัฒนธรรมไทย
“นาฏการสานแผ่นดิน บัณฑิตพัฒนศิลป์ สู่เวียงพิงค์”
ของคณะศิลปวิจิตร

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by ffabpi2020, 2024-03-26 22:48:30

บทความวิชาการประกอบงานส้างสรรค์ 2567

บทความวิชาการประกอบผลงานสร้างสรรค์
การจัดแสดงนิทรรศการผลงานทางทัศนศิลป์ ระดับนานาชาติ
งานมหกรรมศิลปวัฒนธรรมไทย ของคณะศิลปวิจิตร

โครงการนิทรรศการทางวิชาการและการแสดงทางศิลปวัฒนธรรม
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 :
กิจกรรมที่ 2 การจัดแสดงนิทรรศการผลงานทางทัศนศิลป์ ระดับนานาชาติ
งานมหกรรมศิลปวัฒนธรรมไทย
“นาฏการสานแผ่นดิน บัณฑิตพัฒนศิลป์ สู่เวียงพิงค์”
ของคณะศิลปวิจิตร

193 ภาพที่4 การสร้างสรรค์ผลงานด้วยโปรแกรม Adobe Photoshop ที่มา : ผู้สร้างสรรค์ ภาพที่5 การสร้างสรรค์ผลงานด้วยโปรแกรม Adobe Photoshop ที่มา : ผู้สร้างสรรค์ 3.2.4 เมื่อได้ภาพเป็นที่น่าพอใจแล้วทำการบันทึกด้วยไฟล์ภาพคุณภาพสูงเพื่อนำไปจัดแสดง ในรูปแบบที่เหมาะสม ภาพที่6 ขั้นตอนการบันทึกภาพผลงาน ที่มา : ผู้สร้างสรรค์


194 ภาพที่7 Behind me can't show, Digital print, size 35x50 cm. ที่มา : ผู้สร้างสรรค์ 4. การวิเคราะห์ผลงาน ผลงานสร้างสรรค์ “Behind me can't show ” เป็นศิลปะในรูปแบบดิจิทัลปรินท์ ที่ผู้สร้างสรรค์ นำเสนอผ่านภาพของเรือนร่างของผู้หญิง ที่ถูกปกปิดด้วยผ้าที่มีลักษณะที่สามารถเปลี่ยนรูปร่างของตัวเองไป ตามรูปทรงที่ปกคลุม โดยเลือกผ้าที่มีสีแดงในการปกปิดร่างกายเพียงบางส่วนเท่านั้น และบางส่วนที่เผยให้เห็น ถึงลักษณะของความเป็นเรือนร่าง อยู่ในบริบทที่ถูกจัดวาง และการจัดการแทนที่ค่าด้วยลักษณะของการใช้จุด และการลดค่าสีแทนที่ เพื่อให้เกิดความไม่ชัดเจนของลักษณะของอิตถีเพศ 5. สรุป ในปัจจุบันการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะโดยใช้เรือนร่างของผู้หญิง ในการนำเสนอนั้นมีความ หลากหลายทั้งในด้านรูปแบบ เทคนิค และความคิด โดยเป็นสิ่งที่ศิลปินต้องการสร้างสรรค์โดยศิลปินหญิงเพิ่ม มากขึ้น โดยเป็นการนำเสนอถึงสภาวะ การแสดงออกถึงอารมณ์ภายใน โดยการใช้ภาพเรือนร่างเปลือยของ ผู้หญิง ในการแสดงออกในเชิงของสัญญะ โดยที่ไม่ได้มีการนำเสนอถึงทางเพศ แต่ในบางมุมมองอาจจะเป็น เรื่องที่ดูแปลกตาจากมุมมองของสังคมภายนอก


195 โดยการสร้างสรรค์ผลงานรูปแบบดิจิทัล (Digital) ซึ่งเป็นการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์รวมกับการ สร้างสรรค์งานศิลปะซึ่งสามารถสร้างความหลากหลายได้ทำให้ผลงานมีความน่าสนใจ และทำให้เกิดลักษณะ งานที่มีความแตกต่างกันในรูปแบบของการสร้างสรรค์ผลงานและสามารถนำไปพัฒนาต่อยอดในการ สร้างสรรค์ในรูปแบบอื่น ๆ เพื่อให้สอดคล้องกับเปลี่ยนแปลงและความก้าวหน้าของเทคโนโลยี การสื่อสาร ของ บริบทสังคมในปัจจุบัน เอกสารอ้างอิง ชลูด นิ่มเสมอ. (2559). องค์ประกอบของศิลปะ = Composition of art. กรุงเทพฯ: อมรินทร์. ธเนศ วงศ์ยานนาวา. (2556). เพศ : จากธรรมชาติสู่จริยธรรม จนถึงสุนทรียะ. กรุงเทพฯ: สมมติ. . (2557). เมื่อฉันไม่มีขนฉันจึงเป็นศิลปะ. กรุงเทพฯ: สมมติ. . (2552). ศิลปะกับสภาวะสมัยใหม่ : ความย้อนแย้งและความลักลั่น. กรุงเทพฯ:สำนักงาน ศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย.


196 ร่มไม้ลายทอง The Golden Tree Shade พิมพ์จุฑา สารกุล, Pimjutha Sarakul วิทยาลัยช่างศิลปสุพรรณบุรี, Suphanburi College of Fine Arts E-mail: [email protected] บทคัดย่อ การสร้างสรรค์ผลงานชุดร่มไม้ลายทอง เป็นการสร้างสรรค์ผลงานที่ได้รับแรงบันดาลใจจากการทำงานลาย รดน้ำที่มีสองมิติมาระยะหนึ่ง จึงเกิดแนวคิดในการสร้างสรรค์ผลงานเพื่อให้มีมิติ โดยเห็นรูปแบบผลงา น ประติมากรรม แบบนูนต่ำ งานสลักดุน งานแกะสลักที่มีรูปแบบสามมิติ ถ้าสร้างสรรค์งานเขียนให้มีมิติเพิ่มเป็น แบบ 3 มิติจะทำให้ผลงานมีความงามเรื่องรูปทรงที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น จึงได้นำแนวคิดในการเขียนแบบ "รักนูน" มา ใช้ในงานเขียนงานลายรดน้ำที่เป็นงานประณีตศิลป์ไทย เป็นการสร้างสรรค์เทคนิคการเขียนแบบเดิมและอนุรักษ์ สืบทอดภูมิปัญญาดั้งเดิมเอาไว้ ผลงานที่ปรากฏจึงมีลักษณะคล้ายกับงานนูนต่ำเป็นการพัฒนาสร้างสรรค์ผลงาน ทางด้านศิลปกรรม เกิดเป็นรูปแบบงานเขียนที่มีมิติด้วยเทคนิค "รักนูน" ผลการสร้างสรรค์ศิลปะที่งดงามและทรงคุณค่าทางสุนทรียภาพ พัฒนาองค์ความรู้และสร้างสรรค์ผลงาน ให้มีรูปแบบร่วมสมัยมากยิ่งขึ้น คำสำคัญ: นูน, รูปนูนบาง, ยางรัก Abstract This research titled crushed relief creativity to Thai art work is a Thai traditional art inspired by two-dimensional lacquer work. This project was accomplished by adapting the techniques of low relief sculpture, engraved relief, and three-dimensional shaped carving. The concept of embossing is mainly used in this lacquer work project. This creates to a lacquer work with embossedresults. Keywords: lacquer work, Thai art work


197 1. ความสำคัญหรือความเป็นมาของปัญหา การเขียนรักนูน คือ การเขียนภาพและลวดลายตามแบบอย่างศิลปะไทยโบราณ ได้นำมาปรับปรุงให้มี ความสวยงามมากขึ้น ลักษณะการเขียนรักนูนทั้งภาพและลวดลายจะมีความสูงต่ำลดหลั่นลาดเอียงคล้ายงาน ประติมากรรมนูนต่ำ ข้อแตกต่างจากงานประติมากรรมนูนต่ำ ตรงที่มีผิวระนาบไม่เหมือนกันคือการเขียนรักนูนจะ อยู่ระนาบเดียวกันทั้งหมด แต่มีภาพลวดลายเท่านั้นที่มีความสูงต่ำโดยเว้นการแบ่งเส้นรายละเอียดของภาพและ ลวดลายตามร่องพื้นให้เป็นช่องไฟเป็นการแบ่งจังหวะระหว่างพื้นผิวกับลวดลาย จากสาระดังกล่าวจึงทำให้เกิดแนวคิดในการสร้างสรรค์ผลงานประณีตศิลป์ไทย โดยนำเทคนิคการเขียนรัก นูนเขียนเพิ่มเติมลงไปเพื่อให้ภาพเกิดมิติ สามารถแสดงให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่างการเขียนภาพในงาน ประณีตศิลป์ไทยแบบเดิมออกมาแค่ 2 มิติให้เป็นภาพนูนต่ำแบบ 3 มิติ มีความงามแปลกตาและน่าสนใจมากขึ้น แต่ในขณะเดียวกันก็ยังคงอนุรักษ์และสืบทอดภูมิปัญญาโบราณที่เป็นศิลปะวัฒนธรรมของไทยเอาไว้ไม่ให้สูญหาย โดยการเขียนรายรดน้ำปิดทองในงานเป็นการสร้างสรรค์รักนูนสู่งานประณีตศิลป์ไทย ซึ่งนอกจากจะเป็นการสร้าง ความแปลกใหม่ในงานแล้วยังเพิ่มคุณค่าให้กับงานประณีตศิลป์ไทยอีกด้วย การเขียนรักนูน คือ การเขียนภาพและลวดลายตามแบบอย่างศิลปะไทยโบราณ ได้นำมาปรับปรุงให้มี ความสวยงามมากขึ้น ลักษณะการเขียนรักนูนทั้งภาพและลวดลายจะมีความสูงต่ำลดหลั่นลาดเอียงคล้ายงาน ประติมากรรมนูนต่ำ ข้อแตกต่างจากงานประติมากรรมนูนต่ำ ตรงที่มีผิวระนาบไม่เหมือนกันคือการเขียนรักนูนจะ อยู่ระนาบเดียวกันทั้งหมด แต่มีภาพลวดลายเท่านั้นที่มีความสูงต่ำโดยเว้นการแบ่งเส้นรายละเอียดของภาพและ ลวดลายตามร่องพื้นให้เป็นช่องไฟเป็นการแบ่งจังหวะระหว่างพื้นผิวกับลวดลาย จากสาระดังกล่าวจึงทำให้เกิดแนวคิดในการสร้างสรรค์ผลงานประณีตศิลป์ไทย โดยนำเทคนิคการเขียนรัก นูนเขียนเพิ่มเติมลงไปเพื่อให้ภาพเกิดมิติ สามารถแสดงให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่างการเขียนภาพในงาน ประณีตศิลป์ไทยแบบเดิมออกมาแค่ 2 มิติให้เป็นภาพนูนต่ำแบบ 3 มิติ มีความงามแปลกตาและน่าสนใจมากขึ้น แต่ในขณะเดียวกันก็ยังคงอนุรักษ์และสืบทอดภูมิปัญญาโบราณที่เป็นศิลปะวัฒนธรรมของไทยเอาไว้ไม่ให้สูญหาย โดยการเขียนรายรดน้ำปิดทองในงานเป็นการสร้างสรรค์รักนูนสู่งานประณีตศิลป์ไทย ซึ่งนอกจากจะเป็นการสร้าง ความแปลกใหม่ในงานแล้วยังเพิ่มคุณค่าให้กับงานประณีตศิลป์ไทยอีกด้วย 2. แนวคิด/ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง ผู้สร้างสรรค์ได้รับแรงบันดาลใจจากที่เคยได้มีโอกาสได้เห็นผลงานการเขียนด้วยเทคนิครักนูน เกิดความ ประทับใจเป็นภาพความทรงจำที่ทำให้เกิดจินตนาการ นำมาสร้างสรรค์ผลงานในแนวประณีตศิลป์ไทย เพื่อให้เกิด เป็นผลงานการเขียนที่มีมิติความงาม ลายรดน้ำเป็นงานประณีตศิลป์ไทยที่ต้องอนุรักษ์สืบทอดไว้เมื่อนำการเขียน รักนูนมาสร้างสรรค์เพิ่มในผลงานจึงทำให้เกิดผลงานที่มีคุณค่าเป็นอย่างยิ่งทำให้งานประณีตศิลป์ไทยได้มีการ พัฒนารูปแบบงานให้น่าสนใจมากยิ่งขึ้น จึงเกิดแนวคิดในการสร้างสรรค์งานรักนูนสู่งานประณีตศิลป์ไทย เพื่อสร้าง


198 เป็นผลงานด้านศิลปะที่ได้พัฒนารูปแบบกระบวนการสร้างสรรค์การเขียนด้วยน้ำรัก แบบนูนบางและพยายามต่อ ยอดความงดงามไปตามจินตนาการให้อยู่ในความร่วมสมัยของศิลปะและสังคม ผู้สร้างสรรค์จึงต้องการถ่ายทอดผลงานศิลปะรักนูนผ่านความร่มเย็นของต้นไม้ที่แตกกิ่งก้านสร้างร่มเงาให้ ความร่มเย็น โดยใช้การปิดทองเพื่อเพิ่มคุณค่าของผลงานให้มีความงามมากยิ่งขึ้น กล่าวคือความร่มเย็นนั้นเรา สามารถสร้างขึ้นมาได้โดยอาศัยร่มเงาของต้นไม้นั่นเอง 3. กระบวนการในการสร้างสรรค์ กระบวนการสร้างงานลายรดน้ำรักลายนูนโดยมีรูปแบบและเรื่องราวจากต้นไม้ดัด ที่มีความงดงามใน รูปทรงจากธรรมชาติมาเป็นแรงบันดาลใจในการนำเสนอเนื้อหาที่แสดงออกให้ผู้ชมได้รับรู้ ในความงามวิจิตรในงาน ประณีตศิลป์ไทย ความรู้สึกสัมผัสในรูปทรงที่แตกต่างและถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึกถึงความสงบ ร่มรื่น เป็นสุข กระบวนการสร้างสรรค์ผลงานจัดทำเป็นขั้นตอนกำหนดไว้เป็นลำดับของการปฏิบัติงาน ดังนี้ 3.1 รวบรวมแนวคิดให้ชัดเจนและตรงตามความต้องการแล้วนำมาออกแบบแสดงออกถึงความคิดที่ ต้องการจะนำเสนอ 3.2 สร้างภาพร่างรูปแบบ 2 มิติหลังจากที่ค้นคว้ารวบรวมแนวคิดสร้างภาพร่างเพื่อจะถ่ายทอดออกมา เป็นผลงาน 3.3 ทำพื้นที่สำหรับเขียนงานโดยกระบวนการทำพื้นรักดำโดยการปรับพื้นไม้ให้เรียบแล้วจึงทาด้วยรักดำ เพื่อให้พื้นเรียบเสมอกันจากนั้นเก็บผิวให้เรียบแล้วทารักดำอีกครั้งก่อนเขียนงาน เทคนิควิธีการในการสร้างผลงาน ในการสร้างสรรค์ผลงาลายรดน้ำรักนูนของผู้สร้างสรรค์ใช้เทคนิคการเขียนด้วยการทำรักนูนก่อน จากนั้น จึงเขียนด้วยน้ำยาหรดาน และลงรักปิดทองรดน้ำตามกระบวนการตามแบบดังนี้ ภาพที่ 1 แสดงการถ่ายแบบเขียนหรดานตามแนวเส้นที่ปรากฏ ที่มา : ผู้สร้างสรรค์


199 ภาพที่ 2 ถมพื้นช่องไฟด้วยน้ำยาหรดาน ที่มา : ผู้สร้างสรรค์ ภาพที่ 3 แสดงการลงรักปิดทองคำเปลว ที่มา : ผู้สร้างสรรค์ 4. การวิเคราะห์ผลงาน จากการรวบรวมแนวคิดและการสร้างสรรค์ผลงาน ร่มไม้ลายทอง ประมวลผลงานออกมาเป็นงานประณีต ศิลป์ไทยให้มีรูปแบบที่น่าสนใจมีมิติที่สามารถสัมผัสได้สามารถนำไปใช้ในการสร้างสรรค์ผลงานพร้อมประโยชน์ใน การใช้สอยที่สามารถใช้ได้จริง


200 4.1 รูปทรง (Form) งานลายรดน้ำรูปแบบเดิมเป็นแบบ 2 มิติผู้สร้างสรรค์ได้ใช้การเขียนในรูปแบบ 3 มิติ แบบนูนบางจึงทำให้แตกต่างจากรูปแบบเดิมอย่างชัดเจนการเขียนเส้นกำหนดขนาดเพื่อสร้างมิติภายในภาพ แต่ การเขียนเทคนิครักนูนนั้นทำให้เกิดรูปทรงคล้ายงานประติมากรรมนูนต่ำ และยังสามารถกำหนดระยะโดยการ เขียนให้มีความแตกต่าง สัดส่วนลดหลั่นทำให้เกิดความแตกต่าง มีมิติสามารถสัมผัสได้ เมื่อมีแสงกระทบตัวภาพจึง ทำให้เกิดรูปทรงอย่างชัดเจน 4.2 พื้นผิว (Texture) พื้นผิวเป็นทัศนธาตุทางศิลปะพื้นผิวที่มีความแตกต่างในผลงานทำให้เกิดการ สัมผัสได้ด้วยตา ความรู้สึกกับการสัมผัสกับงานศิลปะที่นูนออกมานั้นจึงเกิดเป็นความงาม เมื่ออากาศสัมผัสจึงเกิด แสง เงา ปรากฏเป็นรูปทรง 4.3 สี (Color) สีในงานลายรดน้ำแต่เดิมเป็นสีเดียวคือสีเอกรงค์ที่เกิดจากการใช้ทองคำเปลว 100% ใน การสร้างสรรค์ผลงานจึงทำให้สีที่มองเห็นในภาพดูแบนไม่มีมิติ แต่เมื่อผู้สร้างสรรค์ผลงานสร้างสรรค์ผลงานด้วยรัก นูนแล้วปิดทองคำเปลว 100% จึงทำให้เกิดความแตกต่าง มีแสงเงาที่เกิดจากการตกกระทบของแสง สีทองที่เกิดใน ภาพที่มองจึงเกิดความแตกต่างกันทำให้เกิดมิติของสีทองที่หลากหลายทำให้ผลงานน่าสนใจมากยิ่งขึ้น 4.4. เส้น (Line) เส้นมีความสำคัญในงานลายรดน้ำ โดยส่วนใหญ่เส้นที่ใช้เป็นเส้นโค้งอาจมีการใช้เส้นตรง บ้างแต่ไม่มาก เส้นสามารถทำให้เกิดรูปทรงได้ด้วยการเขียนน้ำหนักเส้นที่หลากหลาย แยกขนาดและน้ำหนัก แต่ การเขียนด้วยเทคนิครักนูนนั้นจะทำให้เกิดรูปทรงอย่างชัดเจนมากยิ่งขึ้นด้วยการเว้นพื้นที่ช่องไฟและการเขียนเส้น ที่มีขนาดใหญ่และมีความสัมพันธ์กับรูปจึงทำให้งานมีความคมชัดและงดงามมากยิ่งขึ้นแม้มองจากระยะไกล 4.5 พื้นที่ว่าง (Space) ช่องไฟคือพื้นที่ว่างที่อยู่รอบตัวภาพ มีความสัมพันธ์และก่อให้เกิดความสมบูรณ์ ของการจัดวางองค์ประกอบภาพการสร้างสรรค์รักนูนสู่งานประณีตศิลป์ไทยนั้น การเปิดพื้นที่ว่างช่วยให้รูปทรงไม่ แออัดและแน่นเกินไปมีอิสระและดูเคลื่อนไหวมากขึ้นมีระยะใกล้ ไกล ที่สำคัญผลงานมีความโดดเด่นสวยงามมาก ยิ่งขึ้นในการออกแบบจึงต้องคำนึงถึงพื้นที่ช่องไฟเป็นอย่างมากเพราะการจัดวางช่องไฟน้อยเกินไปถ้าผลงานก็จะดู แน่นและอึดอัด แต่หากเว้นมากจนเกินไปภาพก็จะดูไม่สวยงามเนื่องจากพื้นที่ว่างมากกว่านั่นเองจึงควรจัดรูปแบบ ให้มีความเหมาะสมกับพื้นที่และพอดี 5. สรุป จากการศึกษาค้นคว้าทดลองหาแนวทางสร้างสรรค์ผลงาน “ร่มไม้ลายทอง” ผู้สร้างสรรค์ค้นพบว่าเป็น การสร้างสรรค์ผลงานที่ได้รับแรงบันดาลใจจากการเคยเห็นผลงานการเขียนนำมาประยุกต์และเขียนผลงานและได้ นำมาพัฒนาต่อยอดโดยสอดแทรกเทคนิคการเขียนรักนูนเข้าไปในพื้นที่บางส่วน และได้ผลเป็นที่น่าพอใจเกิดเป็น ผลงานประณีตศิลป์ที่งดงาม สื่อให้ถึงความสวยงามของกิ่งก้านใบของต้นไม้ ความร่มเงา ร่มเย็น ของต้นไม้ใบไม้ แสงและเงาของงานรักนูนสอดแทรกด้วยเทคนิคของผู้สร้างสรรค์ผลงาน ที่ตั้งใจให้เห็นถึงแสงและเงาของต้นไม้และ แสงสีทองที่แตกต่างกันของทองคำเปลว


201 การสร้างสรรค์ผลงานในรูปแบบงานประณีตศิลป์ไทยในผลงานชิ้นนี้ทำให้ผู้สร้างสรรค์รับรู้ถึงสุนทรียภาพ ของศิลปะ และได้นำมาปรับปรุงเปลี่ยนแปลงตามรูปแบบทำให้เกิดองค์ความรู้ผู้สร้างสรรค์หวังว่าผลการสร้างสรรค์ จะเป็นศิลปะที่ทรงคุณค่าทางสุนทรียภาพและเป็นแนวทางสร้างสรรค์พัฒนาต่อยอดและพัฒนาองค์ความรู้ได้ต่อไป เอกสารอ้างอิง กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม, (2552). ศึกษายางรักเพื่ออนุรักษ์ภูมิปัญญาไทย. กรุงเทพ: ยูเนียนอุลตร้า ไวโอเล็ท ณรงค์ศักดิ์ ณ แมลงภู่. (2562). สัมภาษณ์. 9 มกราคม น. ณ ปากน้ำ. (2553). ศิลปะลายรดน้ำ. กรุงเทพ: สำนักพิมพ์เมืองโบราณ


202 นารีพิจิก Scorpio woman พิมพ์ชนก บุตรอินทร์, Pimchanok but-in วิทยาลัยช่างศิลปะสุพรรณบุรี 16 หมู่ 4 ตำบล รั้วใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี72000 Suphanburi College of Fine Arts, 16 Village No. 4, Rua YaiSubdistrict, Mueang District, Suphanburi Province E-mail: [email protected] บทคัดย่อ ราศีพิจิก หรือ ราศีพฤศจิก เป็นราศีที่ 8 และเป็นราศีธาตุน้ำ ดาวที่อยู่ในราศีนี้คือดาวพลูโต สัญลักษณ์เป็นรูปแมงป่อง ตามตำราของโหราศาสตร์ตะวันตก อยู่ระหว่างราศีตุลกับราศีธนู มีสัญลักษณ์เป็น แมงป่อง (บางตำราเป็นนกอินทรีหรืองู ) ช่วงวันที่ครอบคลุมของราศีพิจิกจะครอบคลุมระหว่างวันที่ 16 พฤศจิกายน ถึง 15 ธันวาคม ผู้หญิงราศีพิจิก มีความลึกลับในตัวเอง มีความมั่นใจสูง แถมลึก ๆ ข้างใน เป็นคนที่ภูมิใจในตัวเอง แบบเงียบ ๆ แม้มองจากภายนอกอาจจะดูอ่อนต่อโลกแบบ อินโนเซ้นต์ Innocent แต่ผู้หญิงในราศีพิจิก นั้น กลับเป็นคนที่มีใจที่เป็นแบบ Free Spirit เปรียบเหมือนผลงานชิ้นนี้ได้ถ่ายทอดออกมาเป็นภาพแมลงป่องที่ เหมือนมีความดุร้ายเข้มแข็งแต่ถ้ามองให้ลึกจะปรากฎเห็นความเป็นผู้หญิงที่แทนภาพด้วยดอกไม้ และสีชมพูที่ อยู่บนตัวของแมลงป่องหมายความว่า ในความเข้มแข็งและมีพิษในตัวนั้นยังมีความอ่อนหวานในแบบของความ เป็นนารี คำสำคัญ: ราศีพิจิก, นารี, ธาตุน้ำ Abstract Scorpio or Taurus is the 8th zodiac sign and is a Water sign. The star in this sign is Pluto. The symbol is a scorpion. According to the texts of Western astrology It is between Libra and Sagittarius. The symbol is a scorpion. (Some texts say it's an eagle or a snake.) The Scorpio date range covers between November 16th and December 15th. Scorpio woman It has its own mystery. Has high confidence and deep inside, is a person who is quietly proud of himself. Even though from the outside they may look innocent and indifferent to the world, women under the zodiac sign Scorpio are people with a free spirit at heart, like this piece. It has been conveyed as an image of a scorpion that seems to be ferocious and strong, but if you look deeper, you will see a feminine side that


203 is represented by flowers. And the pink color on the scorpion's body means In being strong and poisonous, there is also a sweetness in the form of a woman. Keywords: Scorpio, Nari, water element 1. ความสำคัญหรือความเป็นมาของปัญหา ผลงานชิ้นนี้เป็นการนำเสนอเกี่ยวกับภาพแมลงป่องสีชมพู ซึ่งเป็นการสื่อถึง ผู้หญิงราศีพิจิกที่มีความ ลึกลับในตัวเอง มีความมั่นใจสูง แถมลึก ๆ ข้างใน เป็นคนที่ภูมิใจในตัวเองแบบเงียบ ๆ ดูเป็นคนอ่อนแอ แต่ ผู้หญิงในราศีพิจิกนั้นกลับเป็นคนที่มีใจที่เป็นแบบมีความเข้มแข็งขั้นสูงสุด จึงเกิดแรงบันดาลใจในการสร้างผลงานชิ้นนี้ได้ถ่ายทอดออกมาเป็นภาพแมลงป่องที่เหมือนมีความดุ ร้ายเข้มแข็งแต่ถ้ามองให้ลึกจะปรากฎเห็นความเป็นผู้หญิงที่แทนภาพด้วยดอกไม้และสีชมพูที่อยู่บนตัวของ แมลงป่องหมายความว่า ในความเข้มแข็งและมีพิษในตัวนั้นยังมีความอ่อนหวานในแบบของความเป็นนารีใน แบบของตนเองซึ่งตรงกับราศรีเกิดและลักษณะเฉพาะของเจ้าของผลงาน 2. แนวคิด /ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง โหราศาสตร์เป็นวิชาที่ใช้ทายกาลล่วงหน้าหรือดูการล่วงหน้า ใช้สำหรับพยากรณ์ผลกรรมของมนุษย์ โดยอาศัยดวงดาวเป็นเครื่องพยากรณ ผลกรรมของมนุษย์ตามหลักพุทธศาสนา ตามที่แสดงไว้ในกัมมวิภังคสูตร ได้แสดงผลกรรมไว้14 ประการคือ บางคนอายุยืน บางคนอายุสั้น บางคนมีโรคน้อย บางคนมีโรคมาก บางคน มีผิวพรรณดีบางคนมีผิวพรรณทราม บางคนมีศักดามาก บางคนมีศักดาน้อย บางคนมีทรัพย์สมบัติมาก บาง คนมีทรัพย์สมบัติน้อย บางคนมีตระกูลสูง บางคนมีตระกูลต่ำ บางคนมีปัญญามาก บางคนมีปัญญาน้อย โหราศาสตร์จะเป็นเครื่องบอกผลกรรม 14 ประการ และความเป็นไปของมนุษย์ในห้วงระยะเวลาที่ มีชีวิตอยู่ได้เป็นอย่างดีแสดงเหตุและผลของดวงดาว ทำให้สามารถทำนายเหตุการณ์ล่วงหน้าของวิถีทางของ มนุษย์และเหตุการณ์ของโลกทั่ว ๆ ไป วิชาโหราศาสตร์เป็นวิชาที่เก่าแก่เชื่อว่าเกิดในทวีปเอเซียก่อนแล้วจึงแพร่หลายไปยังแหล่งอื่น ใน คัมภีร์พระเวทของพราหมณ์ซึ่งมีอายุก่อนพุทธศาสนาก็มีคำสดุดีดาวพระเคราะห์อยู่ด้วย สำหรับวิชา โหราศาสตร์ของไทยตามหลักฐานที่มีอยู่ แสดงว่าได้รับสืบทอดมาจากอินเดีย เมืองไทยเราตั้งอาณาจักรสุโขทัย ก็ได้มีตำแหน่งพระมหาราชครูซึ่งเป็นพราหมณาจารย์และตั้งให้เป็นปุโรหิตประจำราชสำนักสืบต่อมาในสมัย อยุธยา สมัยธนบุรีและสมัยรัตนโกสินทร์ก็ยังคงมีพราหมณาจารย์ดำรงตำแหน่งพระมหาราชครู ในทางพระพุทธศาสนา สมเด็จพระอรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้าได้มีพุทธานุญาตให้พระภิกษุสงฆ์ เรียนรู้วิชาโหราศาสตร์ในเรื่องฤกษ์ยาม เพื่อจะได้รู้เวลาทำอุโบสถสังฆกรรม อันเป็นกิจในพระพุทธศาสนา จึง ได้มีชื่อ วัน เดือน ปีและฤกษ์แสดงไว้ท้ายบอกวัตรพระเป็นประเพณีสืบต่อมา ที่มาของเรื่องนี้มีอยู่ว่า สมัยหนึ่ง พระภิกษุทั้งหลายไปบำเพ็ญสมณธรรมอยู่ในอรัญญิกเสนาสนะได้มีหมู่โจรมาถามว่า วันนี้พระจันทร์กอร์ปด้วย นักขัตฤกษ์อะไร พระภิกษุตอบว่าไม่รู้พวกโจรจึงว่า ชนเหล่านี้มิใช่สมณะจึงไม่รู้นักขัตตบาท คงจะเป็นพวกโจร


204 มาซุ่มซ่อนอยู่ ว่าแล้วโจรเหล่านั้นก็เข้าทำร้าย พระภิกษุเหล่านั้นแล้วหลีกไป เมื่อความเรื่องนี้ทราบถึงพระผู้มี พระภาคเจ้าพระองค์จึงทรงมีพระพุทธฎีกาตรัสให้ประชุมพระภิกษุสงฆ์แล้วจึงตรัสอนุญาต ให้ภิกษุที่ไป บำเพ็ญสมณธรรมในป่าพึงเรียนรู้นักขัตฤกษ์สำหรับอรัญญิกวัตร เพื่อรักษาตนให้พ้นอันตรายจากโจร วิชาหมอดูจัดว่าเป็นบันไดขั้นต้นของวิชาโหราศาสตร์ทั้งสองวิชาต่างก็ใช้ดวงดาวนพเคราะห์เป็น เครื่องวินิจฉัย หลักวิชาที่หมอดูใช้ได้แก่ ตำราเลข 7 ตัว โดยอาศัย วัน เดือน ปีและยามเวลาเกิด โดยเทียบเข้า กับหลักการของดาวเคราะห์เป็นมูลฐานในการทำนาย ส่วนวิชาโหราศาสตร์มีการกำหนดท้องฟ้าเป็นจักรราศี โดยแบ่งออกเป็น 12 ราศีแบ่งออกเป็น 27 นักษัตร 36 ตรียางค์และ 108 นวางค์นอกจากนั้นยังมีตำรามหา ทักษาพยากรณ์ซึ่งเป็นพื้นฐานที่สำคัญยิ่ง หลักตำราโหรโบราณแทบทุกคัมภีร์มักจะนำเอาหลักเกณฑ์ในมหา ทักษาพยากรณ์ไประคนกับหลักเกณฑ์ในวิชาโหราศาสตร์ในวิชาโหราศาสตร์แบ่งจักรราศีออกเป็น 12 ราศี แล้วจัดดาวพระเคราะห์เข้าครองประจำทุกราศีที่เรียกว่า เกษตร์และจัดให้ธาตุทั้งสี่ คือ ไฟ ดิน ลม น้ำ เข้า ครองประจำทุกราศีกำหนดให้ดาวพระเคราะห์เกษตร์ประจำราศีเข้าครองธาตุตามลักษณะธาตุที่ประจำราศี นั้น และทุกราศีก็กำหนดให้เป็นทิศต่าง ๆ ในวิชาหมอดูมีการแบ่งท้องฟ้าออกเป็น ภูมิอัฐจักรพยากรณ์มีดาว พระเคราะห์ธาตุและทิศเข้าครองเหมือนหลักเกณฑ์ในวิชาโหราศาสตร์ การแบ่งจักรราศีตามแบบโหราศาสตร์บนท้องฟ้าเป็นวิถีโคจรของบรรดาดาวพระเคราะห์ทั้งหลาย มี พระอาทิตย์(1) เป็นประธานในเวลากลางวัน และมีพระจันทร์(2) เป็นประธานเวลากลางคืน เมื่ออาทิตย์โคจร ไปรอบจักรราศีจะโคจรผ่านกลุ่มดาวประจำราศีทั้ง 12 ราศีอาทิตย์โคจรผ่านราศีต่าง ๆ ราศีละ 1 เดือน ครบรอบจักรราศีเป็นเวลา 1 ปีระยะการโคจรของอาทิตย์ที่ผ่านไปตามจักรราศีเรียกว่า สุริยคติกาล จักรราศี หนึ่งมีมุม 360 องศา แต่ละราศีมีมุม 30 องศา ราศีทั้ง 12 ราศีมีชื่อเรียกตามกลุ่มดาวที่ประจำอยู่ ดังนี้ ราศี0 ชื่อราศีเมษ หมู่ดาวประจำราศีเป็นรูป เนื้อ ราศี1 ชื่อราศีพฤกศ หมู่ดาวประจำราศีเป็นรูป โค ราศี2 ชื่อราศีเมถุน หมู่ดาวประจำราศีเป็นรูป คนคู่ ราศี3 ชื่อราศีกรกฎ หมู่ดาวประจำราศีเป็นรูป ปู ราศี4 ชื่อราศีสิงห์ หมู่ดาวประจำราศีเป็นรูป ราชสีห์ ราศี5 ชื่อราศีกันย์ หมู่ดาวประจำราศีเป็นรูป นาง ราศี6 ชื่อราศีตุลย์ หมู่ดาวประจำราศีเป็นรูป ตาชั่ง ราศี7 ชื่อราศีพิจิก หมู่ดาวประจำราศีเป็นรูป แมลงป่อง ราศี8 ชื่อราศีธนู หมู่ดาวประจำราศีเป็นรูป คนถือธนู ราศี9 ชื่อราศีมังกร หมู่ดาวประจำราศีเป็นรูป งูใหญ่ หรือมังกร ราศี10 ชื่อราศีกุมภ์ หมู่ดาวประจำราศีเป็นรูป คนถือหม้อ ราศี11 ชื่อราศีมิน หมู่ดาวประจำราศีเป็นรูป ปลา ราศีคือ การแบ่งตามกลุ่มดวงดาว และกำหนดวันที่เกิด, เดือนที่เกิดออกมาเป็นแต่ละราศี


205 ลัคนา คือ ราศีที่จะได้จากการนำเวลาที่เราเกิด ประกอบกับวัน เดือน ที่เราเกิด ไปคำนวณตามหลัก ของศาสตร์นั้น ๆ จึงออกมาเป็นลัคนาของเรา โดยแต่ละคนอาจจะมีลัคนาแตกต่างกันออกไปกับราศีเกิด หรือ เหมือนกันก็ได้เช่น เมื่อคำนวณแล้วปรากฏว่าเป็นลัคนาเดียวกับราศีเกิด เช่น (ลัคนาเมษ ราศีเมษ) หรือ คำนวณแล้วตกอยู่ในลัคนาหนึ่ง และมีราศีเกิดอยู่อีกราศีหนึ่ง เช่น (ลัคนาพิจิก ราศีมีน) แบบนี้นั่นเอง ซึ่งใน บทความนี้จะขอนำภาพประกอบการแบ่งราศีมากล่าวถึงเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ราศีพิจิก หรือ ราศีพฤศจิก เป็นราศีที่ 8 และเป็นราศีธาตุน้ำ ดาวที่อยู่ในราศีนี้คือดาวพลูโต สัญลักษณ์เป็นรูปแมงป่อง ตามตำราของโหราศาสตร์ตะวันตก อยู่ระหว่างราศีตุลกับราศีธนู มีสัญลักษณ์เป็น แมงป่อง (บางตำราเป็นนกอินทรีหรืองู ) ช่วงวันที่ครอบคลุมของราศีพิจิกจะครอบคลุมระหว่างวันที่ 16 พฤศจิกายน ถึง 15 ธันวาคม 3. กระบวนการในการสร้างสรรค์ ภาพที่1 ภาพกราฟิกราศีพิจิก ที่มา : ผู้สร้างสรรค์ 4. การวิเคราะห์ผลงาน ผลงานในการสร้างสรรค์ชุดนี้ สร้างสรรค์โดยเกิดจากแนวความคิดเรื่อง ลัคนา คือ ราศีที่จะได้จากการ นำเวลาที่เราเกิด ประกอบกับวัน เดือน ที่เราเกิด ไปคำนวณตามหลักของศาสตร์นั้น ๆ จึงออกมาเป็นลัคนา ของเรา โดยแต่ละคนอาจจะมีลัคนาแตกต่างกันออกไปกับราศีเกิด หรือเหมือนกันก็ได้เช่น เมื่อคำนวณแล้ว ปรากฏว่าเป็นลัคนาเดียวกับราศีเกิด เช่น (ลัคนาเมษ ราศีเมษ) หรือ คำนวณแล้วตกอยู่ในลัคนาหนึ่ง และมีราศี เกิดอยู่อีกราศีหนึ่ง เช่น (ลัคนาพิจิก ราศีมีน) แบบนี้นั่นเอง ผลงานชิ้นนี้เป็นการนำเสนอเกี่ยวกับภาพแมลงป่อง สีชมพู ซึ่งเป็นการสื่อถึง ผู้หญิงราศีพิจิกที่มีความลึกลับในตัวเอง มีความมั่นใจสูง แถมลึก ๆ ข้างใน เป็นคนที่


206 ภูมิใจในตัวเองแบบเงียบ ๆ ดูเป็นคนอ่อนแอ แต่ผู้หญิงในราศีพิจิกนั้นกลับเป็นคนที่มีใจที่เป็นแบบมีความ เข้มแข็งขั้นสูงสุด ผู้นำเสนอบทความจึงเกิดแรงบันดาลใจในการสร้างผลงานชิ้นนี้ได้ถ่ายทอดออกมาเป็นภาพแมลงป่อง ที่เหมือนมีความดุร้ายเข้มแข็งแต่ถ้ามองให้ลึกจะปรากฎเห็นความเป็นผู้หญิงที่แทนภาพด้วยดอกไม้และสีชมพู ที่อยู่บนตัวของแมลงป่องหมายความว่า ในความเข้มแข็งและมีพิษในตัวนั้นยังมีความอ่อนหวานในแบบของ ความเป็นนารีในแบบของตนเองซึ่งตรงกับราศรีเกิดและลักษณะเฉพาะของเจ้าของผลงาน สร้างสรรค์ผลงาน โดยการใช้โปรแกรม Aillustrator + Photoshop 5. สรุป ผลงานสร้างสรรค์ครั้งนี้เป็นการศึกษาเรื่องลัคนา หรือ ราศีผู้นำเสนอบทความจึงเกิดแรงบันดาลใจใน การสร้างผลงานชิ้นนี้ได้ถ่ายทอดออกมาเป็นภาพแมลงป่องที่เหมือนมีความดุร้ายเข้มแข็งแต่ถ้ามองให้ลึกจะ ปรากฎเห็นความเป็นผู้หญิงที่แทนภาพด้วยดอกไม้และสีชมพูที่อยู่บนตัวของแมลงป่องหมายความว่า ในความ เข้มแข็งและมีพิษในตัวนั้นยังมีความอ่อนหวานในแบบของความเป็นนารีในแบบของตนเองซึ่งตรงกับราศรีเกิด และลักษณะเฉพาะของเจ้าของผลงาน สร้างสรรค์ผลงานโดยการใช้โปรแกรม Aillustrator + Photoshop เอกสารอ้างอิง สรชัย ศรีนิศานต์สกุล. (2563). อิทธิพลของโหราศาสตร์ในสังคมและการเมืองไทย. คณะรัฐศาสตร์และ นิติศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพา


207 ยามเช้า 2 MORNING 2 พิเศษ โพพิศ, Piset Popis วิทยาลัยช่างศิลปสุพรรณบุรี สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ Suphanburi College of Fine Arts, Bunditpatanasilpa Institute of Fine Arts E-mail: [email protected] บทคัดย่อ ผลงานสร้างสรรค์ชิ้นนี้มีที่มาจากการสังเกตสภาพชีวิตประจำวัน สภาพสังคม ความเป็นอยู่รอบ ๆ ตัว และประสบการณ์การทำงานศิลปะที่สั่งสมมา เลือกใช้ทฤษฎีนิยมการเลียนแบบ (Naturalism Theory) เป็น ทฤษฎีการสร้างงานศิลปะที่เหมือนจริงตามที่ตาเห็น จากสิ่งที่มี ในธรรมชาติ หรือตามความรู้สึก หรือ ทั้งสอง แบบรวมกัน โดยผู้ชมงานศิลปะนั้น สามารถมองเห็น และเข้าใจได้ว่าเป็นภาพอะไรจากประสบการณ์ทางการ เห็น โดยใช้สีชอล์กประเภท Soft Pastel ในการสร้างสรรค์ผลงานเพื่อให้ได้ผลงานที่สอดคล้องกับเนื้อหา มี วัตถุประสงค์ในการสะท้อนภาพวิถีชีวิตในธรรมชาติผ่านรูปวาดสุนัขที่เชื่อมโยงและเปรียบเทียบกับชีวิตมนุษย์ ผลที่ได้คือผู้รับชมได้เสพผลงานที่มีอรรถรส มีรูปแบบที่น่าสนใจ มีคุณค่าทั้งในทางศิลปะ และสังคมในมิติอื่น ๆ เพิ่มขึ้น คำสำคัญ: สุนัข, สีชอล์ก Abstract This creative work comes from observing the conditions of daily life, social conditions, living conditions around them, and accumulated experiences in art work. Naturalism Theory is the theory of creating works of art that are realistic as seen by the eyes, from what exists in nature, or by feeling, or a combination of both. by the viewers of the art can see And can understand what the picture is from the experience of seeing. Use soft pastel chalk to create works that are consistent with the content. Its purpose is to reflect on the way of life in nature through drawings of dogs that are connected and compared to human life. As a result, viewers can enjoy the work with great pleasure. has an interesting pattern Valuable both in art and society in other dimensions increased. Keywords: dog, Soft Pastel


208 1. ความสำคัญหรือความเป็นมาของปัญหา ที่มาของแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ผลงานมาจากประสบการณ์ส่วนตัว การสังเกตสภาพ ชีวิตประจำวัน สภาพสังคม ความเป็นอยู่รอบ ๆ ตัว โดยใช้สีชอล์กประเภท Soft Pastel ในการสร้างสรรค์ ผลงานเพื่อให้ได้ผลงานที่สอดคล้องกับเนื้อหา มีวัตถุประสงค์ในการสะท้อนภาพวิถีชีวิตในธรรมชาติผ่านรูปวาด สุนัขที่เชื่อมโยงและเปรียบเทียบกับชีวิตมนุษย์ผลที่ได้คือผู้รับชมได้เสพผลงานที่มีอรรถรส มีรูปแบบที่น่าสนใจ มีคุณค่าทั้งในทางศิลปะ และสังคมในมิติอื่น ๆ เพิ่มขึ้น 2. แนวคิด / ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง เลือกใช้ทฤษฎีนิยมการเลียนแบบ (Naturalism Theory) เป็นทฤษฎีการสร้างงานศิลปะที่เหมือนจริง ตามที่ตาเห็น จากสิ่งที่มีในธรรมชาติ หรือตามความรู้สึก หรือ ทั้งสองแบบรวมกัน โดยผู้ชมงานศิลปะนั้น สามารถมองเห็น และเข้าใจได้ว่าเป็นภาพอะไรจากประสบการณ์ทางการเห็น ผลงานที่ปรากฏสามารถกระตุ้น ให้ผู้ชมเกิดความรู้สึกร่วมได้โดยซ่อนนัยยะเรื่องการเปรียบเทียบชีวิตของสิ่งมีชีวิตไม่ว่ามนุษย์หรือสิ่งมีชีวิต ประเภทใด แสงอาทิตย์ล้วนเป็นจุดเริ่มต้นของเช้าวันใหม่ในแต่ละวันของทุกชีวิต แม้ว่าจะเป็นการเริ่มต้นจาก ดวงอาทิตย์ดวงเดียวกัน แต่เส้นทางของแต่ละชีวิตย่อมต่างกันไป 3. กระบวนการในการสร้างสรรค์ ภาพที่ 1 ยามเช้า 2 (MORNING 2) ที่มา : ผู้สร้างสรรค์ กระบวนการสร้างสรรค์ผลงานเริ่มจากการตั้งแนวความคิดรวบยอดว่าจะสร้างสรรค์ผลงานในเนื้อหา อะไร จากนั้นเตรียมวัสดุ อุปกรณ์เพื่อสร้างสรรค์ ทดสอบและทดลองวัสดุที่นำมาใช้ให้สอดคล้องกับเนื้อหา โดย ได้ใช้สีชอล์กประเภท Soft Pastel เพราะต้องการสร้างพื้นผิวให้มีความรู้สึกนุ่มนวลเป็นธรรมชาติ มีโทนสีที่นุ่ม สบายตา สามารถเกลี่ยทับและ blend สีด้วยนิ้วมือหรือวัสดุอ่อนนุ่มอื่น ๆ เพื่อให้ได้เฉดสีที่ต้องการได้


209 อุปกรณ์ 1. กระดาษสำหรับเขียนสีชอล์ก 2. สีชอล์กประเภท Soft Pastel ขั้นตอน 1. ค้นคว้าและรวบรวมข้อมูล 2. เลือกกระดาษที่ต้องการสำหรับเขียนสีชอล์ก 3. กำหนดองค์ประกอบ 4. ร่างภาพลงบนกระดาษ 5. ระบายสีบนภาพร่างตามต้นแบบที่หาข้อมูลมา 6. เก็บรายละเอียดของภาพ 4. การวิเคราะห์ผลงาน ผู้สร้างสรรค์ผลงาน “MORNING” ได้รวบรวมข้อมูลและค้นหาวัสดุที่จะนำมารองรับเนื้อหาให้ สอดคล้องกับแนวคิดมากที่สุด โดยเลือกใช้สีชอล์กประเภท Soft Pastel เพราะต้องการสร้างพื้นผิวให้มี ความรู้สึกนุ่มนวลเป็นธรรมชาติ มีโทนสีที่นุ่มสบายตา สามารถเกลี่ยทับและ blend สีได้ตามความต้องการ แต่ การใช้สีชอล์กประเภท Soft Pastel เมื่อทำเสร็จแล้วต้องนำไปใส่กรอบกระจกเพื่อเก็บรักษาผลงาน หรือเก็บไว้ ในซองพลาสติก เพื่อไม่ให้ผงสีหลุดร่วง สามารถใช้สเปรย์พ่นทับเพื่อรักษาสภาพผลงานได้เช่นกัน แต่สีที่ได้ หลังจากการพ่นจะผิดเพี้ยนไปจากสีต้นแบบบ้าง 5. สรุป ผลงานสร้างสรรค์ “MORNING” มีที่มาจากการสังเกตสภาพชีวิตประจำวัน สภาพสังคม ความเป็นอยู่ รอบ ๆ ตัว และประสบการณ์การทำงานศิลปะที่สั่งสมมา เลือกใช้ทฤษฎีนิยมการเลียนแบบ (Naturalism Theory) โดยผู้ชมงานศิลปะนั้น สามารถมองเห็น และเข้าใจได้ว่าเป็นภาพอะไรจากประสบการณ์ทางการเห็น โดยใช้สีชอล์กประเภท Soft Pastel เพราะต้องการสร้างพื้นผิวให้มีความรู้สึกนุ่มนวลเป็นธรรมชาติ มีโทนสีที่ นุ่มสบายตา สามารถเกลี่ยทับและ blend สีด้วยนิ้วมือหรือวัสดุอ่อนนุ่มอื่น ๆ เพื่อให้ได้เฉดสีที่ต้องการ และ คาดหวังว่าเมื่อได้เผยแพร่ผลงานชิ้นนี้ออกไป จะเป็นประโยชน์แก่ผู้สนใจศิลปะทั่วไป เป็นแรงบันดาลใจแก่ ผู้สร้างสรรค์งานศิลปะที่สามารถนำไปปรับประยุกต์ ต่อยอด ในมิติอื่น ๆ เพิ่มขึ้น เอกสารอ้างอิง น.ณ ปากน้ำ. (2534). หลักการวาด. กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ นิพนธ์ ทวีกาญจน์. (2529). ประวัติศาสตร์ศิลป์. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์ สุชาติ สุทธิ. (2535). เรียนรู้การเห็น : พื้นฐานการวิจารณ์ทัศนศิลป์. กรุงเทพฯ: โอ. เอส พริ้นติ้งเฮาส์


210 บทกวีจากวัฒนธรรมเก่า The Poetry from old Culture ภัทรพร เลี่ยนพานิช, Phattaraporn Leanpanit สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์, Bunditpatanasilpa Institute of Fine Arts E-mail: [email protected] บทคัดย่อ จากการศึกษาและสัมผัสกับวัฒนธรรมผสมไทยและจีนตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ทำให้เล็งเห็นคุณค่า ของการสร้างงานศิลปะผ่านการนำเสนอลวดลายจากเครื่องลายครามที่มีการผสานระหว่างสองวัฒนธรรมมาช้านาน ซึ่งลวดลายเหล่านี้เป็นเรื่องราวที่บอกถึงเรื่องราว กาลเวลา และความเป็นเอกลักษณ์ จึงเป็นแรง บันดาลใจในการนำมาสร้างงานศิลปะในชิ้นนี้ในรูปแบบของานศิลปะกึ่งเหมือนจริง โดยการเอาเทคนิคสีน้ำที่มี ความพิเศษในความโปร่งใส มาสร้างรูปแบบเฉพาะตัวให้เกิดการทับซ้อนและการนำลวดลายมาสร้างความ เคลื่อนไหวให้สอดคล้องกันในภาพ คำสำคัญ: วัฒนธรรม, เครื่องลายคราม, ศิลปะกึ่งเหมือนจริง Abstract From studying and experiencing the mixed culture of Thai and Chinese from the past to the present. Makes you realize the value of creating art through presenting patterns from porcelain that have been blended between the two cultures for a long time ago. These patterns tell a story, time and uniqueness. Therefore it was an inspiration to create this piece of art in the form of the serrealism art. By using watermedia techniques that are special in their transparency. Let's create a unique pattern that causes overlapping and using patterns to create consistent movement in the image. Keywords: Culture, Porcelain, Serrealism art. 1. ความสำคัญหรือความเป็นมาของปัญหา ประเทศจีนเป็นประเทศที่มีศิลปะ และวัฒนธรรมมายาวนานกว่า 5,000 ปี ทั้งการคิดค้นตัวอักษร ภาษา วัฒนธรรมจีนมีอิทธิพลอย่างสูงต่อชนชาติอื่นที่ถ่ายทอดผ่านการอพยพชนชาติ การค้า ทำให้เกิดการ ผสมผสานระหว่างวัฒนธรรมต่าง ๆ ในชุมชนหลากหลาย


211 ผู้สร้างสรรค์มีความผูกพันกับเครื่องลายครามโบราณ เนื่องด้วยครอบครัวของผู้สร้างสรรค์ ได้มีการ เก็บรักษาเครื่องลายครามต่าง ๆ ไว้เป็นอย่างดี ทำให้ได้ซึมซับ และมองเห็นมาตั้งแต่ยังเยาว์วัยนั้น กลับมาเห็น คุณค่า อีกครั้ง จึงนำเป็นแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์งานผลงานผ่านรูปแบบงานจิตรกรรมโดยใช้สัญลักษณ์ ของ ภาชนะ และลวดลายในการสร้างจินตนาการการแสดงออกในรูปแบบของ 2 มิติ ในขณะเดียวกัน โดยการนำ เทคนิคสีน้ำ และ สีที่ใช้น้ำเป็นสื่อในการสร้างสรรค์เข้ามาผสานให้เกิดรูปแบบ เทคนิคการแสดงออกในแบบ เฉพาะตัวที่แฝงเรื่องราว ความสวยงามของอดีตผ่านลวดลายที่นำมาใช้เป็นสัญลักษณ์ภายในงาน 2. แนวคิด / ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง เครื่องเคลือบดินเผามีต้นกําเนิดในประเทศจีน เครื่องปั้นดินเผาเครื่องแรกมีอายุตั้งแต่ 20,000 ปีก่อน คริสตกาลในขณะที่ค้นพบว่ามีกระบวนการผลิตเมื่อ 3,000 ปีก่อนคริสตกาลเครื่องลายครามที่จำกัดความว่า ทันสมัยนั้นกล่าวย้อนไป 2,000 ปี หลักฐานแรกของชิ้นส่วนเครื่องลายครามบางส่วนถูกตรวจสอบย้อนกลับไป ยังราชวงศ์ฮั่นตะวันออกในประเทศจีน ในเวลานี้ Celadon (ผลิตภัณฑ์ที่หุ้มด้วยหยก) ซึ่งหยกนั้นถือว่ามี ชื่อเสียงในประเทศจีน ซึ่งมักพบอยู่บนงานเครื่องเคลือบดินเผา ที่เป็นที่นิยมมาก เนื่องจากความนิยมที่เพิ่มขึ้น ในศิลปะการดื่มชาเครื่องใช้เซรามิกรวมถึงถ้วยชาและอุปกรณ์เสริมถูกยกขึ้นตลอดเส้นทางสายไหมตอนเหนือ เครื่องใช้จึงถูกส่งออกไปยังโลกอิสลามและต่อไปในอีกแต่ละหลายพื้นที่ (สืบค้นจาก History of Porcelain - kaolin, 15.10.2566) การตกแต่งและประดับอย่างมีศิลปะจำเป็นต้องใช้ฝีมือระดับสูง ตลอดหลายศตวรรษที่ผ่านมามีการ พัฒนางานศิลปะเครื่องลายครามอย่างมากอย่างแรก ศิลปะจีนบนเครื่องลายครามจากราชวงศ์ยุคต่าง ๆ รูปแบบสีน้ำเงินและสีขาวที่มีชื่อเสียงระดับโลกเป็นเอกลักษณ์ของศิลปะเครื่องลายครามของจีนในสายตาคน ยุโรปภาชนะสีขาวพื้น ๆ ได้รับการแต่งแต้มประดับประดาด้วยสีฟ้า แม้กระทั่งก่อนที่จะเคลือบผิว เครื่องลาย ครามได้รับการตกแต่งด้วยสีของโคบอลต์ออกไซด์และน้ำการออกแบบทางศิลปะขึ้นอยู่กับปัจจัยมากมาย: เหนือสิ่งอื่นใดคือยุคที่แตกต่างกัน การจัดหมวดหมู่ตามราชวงศ์จีนเป็นวิธีการปรกติทั่วไปทุกวันนี้เครื่องเคลือบ มีทั้งแบบคลาสสิกและแบบดั้งเดิม รวมทั้งลวดลายที่ทันสมัย ซึ่งเป็นที่นิยมอย่างมาก ภาพที่ 1 FIVE PIECES OF CHINESE BLUE AND WHITE PORCELAIN ที่มา : FIVE PIECES OF CHINESE BLUE AND WHITE PORCELAIN (christies.com)


212 3. กระบวนการในการสร้างสรรค์ กระบวนการสร้างสรรค์นั้นผู้สร้างสรรค์ได้ศึกษา และเลือกรูปแบบของเครื่องเคลือบที่มีลวดลาย น่าสนใจ เป็นอกลักษณ์ที่มีความเฉพาะตัวมีมาสร้างสรรค์ โดยใช้เทคนิคสีน้ำในการสร้างหุ่นนิ่งของเครื่อง เคลือบลายครามหลังจากนั้นจึงสังเกต ลวดลายและออกแบบจิตนาการต่อยอดออกมาจากวัตถุ โดยให้มีการ เคลื่อนไหวของเส้นและสีที่มีความต่อเนื่องกัน โดยใช้เทคนิคสีน้ำในการผสมผสานสร้างสรรค์ลวดลาย โดยอิง จากลวดลายที่อยู่บนเครื่องเคลือบลายครามที่เป็นดอกบัว ซึ่งเป็นการแสดงถึงเรื่องราวที่แฝงในกาลเวลาของ ลวดลายภายในภาพ ภาพที่ 2 The Poetry from old Culture เทคนิค สีน้ำ ขนาด 38 x 56 ซม. ที่มา : ผู้สร้างสรรค์ 4. การวิเคราะห์ผลงาน ภาพที่ 3 การแบ่งองค์ประกอบในภาพ ที่มา : ผู้สร้างสรรค์


213 จากภาพที่ 3 จะเห็นได้ว่ามีการแบ่งองค์ประกอบภาพเป็นรูปทรง 3 ส่วนใหญ่โดย รูปทรงที่ 1 (สีขาว) เป็นพื้นที่ว่างที่สร้างขึ้นเพื่อเสริมสร้างการเคลื่อนไหวของรูปทรงภายในภาพทำให้ เกิดความเคลื่อนไหวของสี และลวดลาย รูปทรงที่ 2 (ฟ้า) จะเป็นรูปทรงของลวดลายที่ออกมาจากภาชนะ ซึ่งเป็นลวดลายของดอกบัว นำมา สร้างสรรค์ต่อยอดให้เกิดการเคลื่อนไหวภายในภาพ รูปทรงที่ 3 (เหลือง) เป็นรูปทรงของพื้นที่ว่างสี ที่สร้างลวดลายที่เล็กลงให้เกิดความแตกต่างภายใน ภาพ และการเคลื่อนไหวในพื้นที่สีเหลือง จากภาพจะเห็นการถ่ายเทการเคลื่อนไหวจากรูปทรงที่ 2 และรูปทรงที่ 3 จะมีความแตกต่างกัน เพื่อให้เกิดความหน้าสนใจจากซ้ายไปขวา และจากล่างขึ้นบน 5. สรุป การสร้างสรรค์ผลงงานชิ้นนี้นั้น เหมือนเป็นการจดบันทึกเรื่องราว ที่ผ่านมาจากลวดลายวัฒนธรรมเก่า ที่สามารถอยู่ร่วมสมัยมาจนถึงปัจจุบัน ได้ตอบโจทย์การตอบโต้ทางอารมณ์ ความนึกคิด จินตนาการ ความงาม ได้นำมาแสดงออกในเชิงสร้างสรรค์ผ่านความรู้สึกทางสีสัน เส้น และทัศนธาตุทางศิลปะต่าง ๆ ในรูปแบบ เฉพาะตัว ผู้สร้างสรรค์ พอใจเป็นอย่างยิ่งในการสร้างสรรค์ผลงานออกมาโดยเทคนิคสีน้ำ ซึ่งการผสมผสานใช้น้ำ เป็นสื่อกลางสามารถควบคุมได้ให้เกิดน้ำหนัก และรูปลักษณ์ทางเทคนิคที่ต้องการได้ซึ่งผู้สร้างสรรค์สามารถ นำไปต่อยอด ขยายการพัฒนาในเชิงเทคนิคการสร้างสรรค์ต่อไปได้เป็นอย่างดี เอกสารอ้างอิง ชลูด นิ่มเสมอ. (2534). องค์ประกอบศิลปะ. (พิมพ์ครั้งที่ 2).กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิชจำกัด CHRISTIE'S INTERIORS. (15.3.2022).FIVE PIECES OF CHINESE BLUE AND WHITE PORCELAIN. https://www.christies.com/lot/lot-five-pieces-of-chinese-blue-and-white-5644165/? KAOLIN. (15 3.2022). CHINA AND PORCELAIN HISTORTY OF PORCELAIN. http://www.kaolin. com.au/history-porcelain


214 หวาดกลัว Scared ภิญญวุธ บุอ่อน, Pinyawut Buon วิทยาลัยช่างศิลป เลขที่ 60 ถนนหลวงพรต แขวงลาดกระบัง เขตลาดกระบัง กรุงเทพฯ 10520 ประเทศไทย Collage of Fine Arts,60 Luangphot Road, Ladkrabang, Bangkok 10520, Thailand E-mail: [email protected] บทคัดย่อ จากบริบททางสังคมในปัจจุบัน มีผู้คนจำนวนมากที่ประสบกับความรุนแรงของอาชญากรรมในสถานที่ ที่หลากหลายและแตกต่างกันออกไป โดยศึกษารวบรวมแนวคิด ข้อมูลข่าวสารจำนวนมาก เช่น เหตุการณ์กราด ยิงในห้างสรรพสินค้าหรือในโรงเรียน ทำให้ข้าพเจ้ารู้สึกหวาดกลัวต่ออาชญากรรมมากขึ้น ซึ่งความรู้สึกเหล่านี้ ถูกถ่ายทอดมาสู่ตัวข้าพเจ้า จนกลายเป็นแรงบัลดาลใจ นำมาถ่ายทอดเป็นผลงานประติมากรรมสร้างสรรค์ มี ลักษณะเป็นใบหน้าคนที่มีความหวาดกลัว เพื่อตอบสนองและสะท้อนปรากฏการณ์ความรุนแรงในปัจจุบันที่ เกิดขึ้นในสังคม คำสำคัญ: อาชญากรรม, ความหวาดกลัว Abstract In the current social context, many people are exposed to violent crimes in various settings. As the creator studied and collected ideas, including extensive information on incidents like mass shootings in shopping malls or schools, the fear of crime intensified. These feelings were subsequently channeled into the creative process, ultimately inspiring the creation of sculptures. These sculptures take the form of a fearful-looking person's face, serving as a response to and reflection of the prevailing violent phenomena in society. Keywords: crime, fear 1. ความสำคัญหรือความเป็นมาของปัญหา ปัญหาความรุนแรงที่เกี่ยวข้องกับอาวุธปืน (gun violence) เป็นอีกหนึ่งสาเหตุการตายจาก อาชญากรรมที่สำคัญของประเทศไทย จากข้อมูลขององค์การระหว่างประเทศด้านการวางแผนและนโยบาย ป้องกันการบาดเจ็บ (international firearm injury prevention and policy) พบว่า ในแต่ละวัน ทั่วโลกมี การใช้ปืนเพื่อก่ออาชญากรรมต่อผู้คนจำนวนมาก สำหรับประเทศไทยข้อมูลของ World Population Review เผยแพร่ผลสำรวจประเทศที่มีกรณีการเสียชีวิตด้วยอาวุธปืนมากที่สุดในโลก ประจำปี 2022 พบว่า


215 ประเทศไทย ติดอันดับ 15 มีจำนวนผู้เสียชีวิตด้วยอาวุธปืนจำนวน 2,804 คน และมี อัตราการเสียชีวิตที่ เกี่ยวข้องกับอาวุธปืน เฉลี่ย 3.91 คน ต่อประชากร 1 แสนคน จากเหตุการณ์การกราดยิงในประเทศไทยนับตั้งแต่เดือนมกราคม 2562 เป็นต้นมา ซึ่งนั้นหมายความ ว่า เกืดเหตุการณ์กราดยิงในไทยแล้วอย่างน้อย 6 ครั้ง ภายในระยะเวลา 4 ปี ครั้งที่ 1 เกิดเมื่อ วันที่ 1 มกราคม 2562 หลังจากที่ชายไทยคนหนึ่งใช้อาวุธปืนกราดยิงคนในครอบครัว ตัวเองรวม 6 ศพ ซึ่งในจำนวนนี้รวมถึงลูกเล็ก ๆ ของตนเอง 2 ชีวิต หลังจากเกิดปากเสียงกันที่จังหวัดชุมพร ครั้งที่ 2 เกิดเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2563 ได้เกิดอดีตทหารวัย 32 ปี จ.ส.อ.จักรพันธ์ ถมมา ใช้ปืนยิง ผู้บังคับบัญชาและญาติของตนถึงแก่ความตาย แล้งหลบหนีเข้ามาในตัวเมืองนครราชสีมา ก่อนเข้าไปซ่อนตัวใน ห้างสรรพสินค้าเทอร์มินอล 21 โคราช จนถูกเจ้าหน้าที่วิสามัญฆาตกรรมในเช้าวันถัดมา สรุปมีผู้เสียชีวิต 31 คน บาดเจ็บ 58 คน โดยจำนวนนี้มีผู้ได้รับบาดเจ็บสาหัสถึง 32 ราย ครั้งที่ 3 เกิดเมื่อวันที่ 14 กันยายน 2565 โดยคนร้ายวัย 59 ปี ซึ่งเป็นเสมียนในกองทัพบกของไทย ใช้ อาวุธปืนกราดยิงผู้คนเสียชีวิต 2 ศพ บาดเจ็บอีก 1 ราย ภายในค่ายทหารแห่งหนึ่งใจกลางกรุงเทพฯ (PPTV Online, 6 ต.ค. 2565) ครั้งที่ 4 เกิดเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2565 ที่จัดหวัดหนองบัวลำภู เมื่ออดีตนายตำรวจ ใช้อาวุธมีดและ อาวุธปืนทำร้ายครูและนักเรียนภายในศูนย์พัฒนาเด็กฯ จนมีผู้เสียชีวิต 36 ศพ บาดเจ็บอย่างน้อย 10 คน (Thairath Online, 13 ต.ค. 65) ครั้งที่ 5 เกิดเมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2566 โดยคนร้ายเป็นชายวัย 29 ปี ก่อเหตุกระหน่ำยิงจากภายใน บ้านพักในจังหวัดเพชรบุรี จนถูกเจ้าหน้าที่วิสามัญฆาตกรรม หลังก่อเหตุกราดยิงส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 3 ศพ บาดเจ็บ 3 ราย (Thai News PIX, 22 มี.ค. 2566) ครั้งที่ 6 เกิดเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2566 ผู้ก่อเหตุเป็นเยาวชนชาย อายุ 14 ปี ใช้อาวุธปืนดัดแปลงก่อ เหตุยิงกลางห้างสรรพสินค้าสยามพารากอน เมื่อเย็นวันที่ 3 ต.ค. ทำให้มีผู้เสียชีวิต 2 ศพ และบาดเจ็บ 5 ราย โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจเข้าจับกุมผู้ก่อเหตุหลังจากเหตุการณ์ผ่านไปเกือบ 1 ชั่วโมง (Thai News PIX, 5 ต.ค. 2566) ความสูญเสียเหล่านี้สร้างความสะเทือนใจและผลกระทบต่อสังคมเป็นอย่างมาก สะท้อนให้เห็นว่าต้น ตอที่สำคัญประการหนึ่ง คือ มาตรการควบคุมการใช้อาวุธปืนที่มีความหละหลวม มีความเสี่ยงที่ผู้ถือครองอาวุธ อาจนำไปใช้ก่ออาชญากรรมได้โดยง่าย 2. แนวคิด / ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง 2.1 ทฤษฎีความรุนแรง บุญวดี เพชรรัตน์ (2543:200) ได้ให้ความหมายของความรุนแรงไว้ว่า ความรุนแรง หมายถึง พฤติกรรมที่ปลดปล่อยความโกรธ ความกลัว และ ภาวะหวาดหวั่น ไปยังบุคคลอื่น เช่น คนรอบข้าง หรือวัตถุ สิ่งของด้วยขาดการยับยั้งชั่งใจ เป้นเหตุให้ผู้อื่นเดือดร้อนด้วยการทําอันตรายผู้อื่น ซึ่งอาจเป็นอันตรายสาหัส จนถึงแก่ชีวิตได้


216 อนุช อาภาภิรม (2543:11) ได้ให้ความหมายของความรุนแรงไว้ว่าความรุนแรง หมายถึง การใช้กําลัง คุกคาม หรือทําร้ายเพื่อควบคุมหรือครอบครองบุคคลหรือทรัพย์สิน Corsini (1999: 1052) ได้ให้ความหมายของความรุนแรงไว้ดังนี้ - ความรุนแรง หมายถึง การแสดงความเกลียดชัง ความเป็นปรปักษ์และดุด่าว่า กล่าวตลอดจน ใช้กําลังทางกายโดยตรงต่อบุคคลหรือทรัพย์สิน - ความรุนแรง หมายถึง พฤติกรรมที่ทําอันตรายต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยปราศจาก ความ เกลียดชัง ความเป็นปรปักษ์หรือดุด่าว่ากล่าวต่อสิ่งนั้น จากความหมายของความรุนแรงดังกล่าวข้างต้นได้ว่าความรุนแรงหมายถึงการ กระทําใด ๆ ที่เป็นการ ล่วงละเมิดสิทธิส่วนบุคคลทั้งทางร่างกาย และจิตใจ เป็นผลให้เกิดความทุกข์ทั้งทางร่างกายและจิตใจของ ผู้ถูกกระทํา ซึ่งแบ่งออกเป็นความรุนแรงต่อร่างกาย หมายถึงการใช้กําลังและหรืออุปกรณ์ใด ๆ เป็นอาวุธ คุกคามหรือทําร้ายขว้างปา ตบ ทุบตีเตะต่อย และใช้มีดหรือปืนเข้าทําร้าย ส่งผลให้ผู้ถูกกระทําได้รับบาดเจ็บ ต่อร่างกายหรืออาจจะถึงแก่ชีวิตความรุนแรงต่อจิตใจ หมายถึงการกระทําใด ๆ ซึ่งมีผลทําให้ผู้ถูกกระทํา ได้รับ ความเสียใจ หวาดกลัวหรือตกใจ เช่น การพูดจาดูถูก เหยียดหยามไม่ให้เกียรติเป็นต้น 2.2 ปัจจัยที่มีผลต่อความรุนแรง Remschmidt (1993: 35-40) (อ้างถึงใน ชลิดาภรณ, 2545: 123-125) ได้กล่าวถึงปัจจัยที่มีผลต่อ การเกิดพฤติกรรมรุนแรงดังนี้ 1. ปัจจัยด้านกรรมพันธุ์และร่างกายได้แก่กรรมพันธุ์และสภาพแรกเกดิ ผลจากระบบ ประสาท และ ระบบต่อมไร้ท่อ 2. Cognitive deficit ในระยะหลังได้มีการศึกษาพฤติกรรมรุนแรงในแง่ Cognitive มากขึ้น และ พบว่ามีความสัมพันธ์ระหว่างการเกิดพฤติกรรมรุนแรงกับความผิดปกติของระบบ ประสาท (neuropsychological impairment) ความผิดปกติของการทํา งานของสมองเป็นเพียงสาเหตุ หนึ่งของ Cognitive deficit ที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมรุนแรงดังนี้ 2.1 เด็กที่มพฤติกรรมรุนแรงมักพบมีความจํากัดในการแสดงออกทางภาษา 2.2 ความบกพร่องเฉพาะด้านของ cognitive เช่น dyslexia, perception-impairment, language developmental disorder มีความสัมพันธ์กับการเกิดพฤติกรรมรุนแรง 2.3 พฤติกรรมรุนแรงและก้าวร้าวเกิดในเด็กที่มีสติปญญาต่ำกว่าในเด็กที่มีสติปัญญา สูงการมี cognitive deficit มีผลลบ 2 ประการคือ 1) มีการประเมินสถานการณ์รอบตัวผิดไปจากความเป็นจริงอาจประเมินสิ่งเร้ามาก ขึ้นหรือน้อยลง 2) มีแนวโน้มรู้สึกว่าสิ่งแวดล้อมมีปฏิกิริยาทางลบต่อตนเองจากผลลบนี้ทํา ให้ ความรู้สึกมีคุณค่าในตัวเองลดลง ทํา ให้ปรับตัวด้วยการใช้ความรุนแรง 3. ปัจจัยด้านบุคลิกภาพและจิตพยาธิสภาพ


217 4. ปัจจัยด้านพัฒนาการและอายุได้แก่ พัฒนาการด้านจิตสัรงคมและความผิดปกติทางจิตเวชในเด็กและวัยรุ่น 5. เพศ 6. สุราและสารเสพติด 7. ปัจจัยด้านจิตสังคม ได้แก่ ปฏิสัมพันธ์ที่มีต่อกันและการส่งเสริมลักษณะและพฤติกรรมของ ผู้ถูกกระทํารุนแรง อิทธิพลจากการเลี้ยงดูในครอบครัว อิทธิพลจากสังคมในโรงเรียนอิทธิจากกลุ่ม การส่งเสริม การใช้ความรุนแรงในสังคม สภาวะแวดล้อมประจําวันที่พบเห็นการใช้ความรุนแรง ผลกระทบการสื่อต่าง ๆ 3. กระบวนการในการสร้างสรรค์ กระบวนการสร้างสรรค์งานประติมากรรมหวาดกลัวมีขั้นตอนการสร้างสรรค์ คือ เริ่มจากนำหน้ากาก มาเป็นแบบในการเรียงลูกปืน จากนั้นใช้ดินน้ำมันมาขึ้นพื้นบริเวณด้านในหน้ากากเพื่อให้ลูกปืนยึดเกาะ นำ ลูกปืนมาเรียงที่ละเม็ดต่อ ๆ กันจนเกิดเป็นรูปลักษณ์ใบหน้าคน พอได้รูปหน้าแล้วก็นำเรซิ่นใส มาทาลงบน ลูกปืนและเสริมด้วยใยแก้วเพื่อความคงทน พอแห้งแล้วกลับด้าน ขัดแต่งชิ้นงานด้านหน้าเพื่อความสวยงาม เป็นอันเสร็จขั้นตอน ซึ่งงานประติมากรรมสร้างสรรค์หวาดกลัวใช้อุปกรณ์ คือ หน้ากาก ดินน้ำมัน เรซิ่นใส ใย แก้ว และลูกปืนบีบีกัน ภาพที่ 1 หน้ากากนำมาเป็นแบบในการเรียงลูกปืน ที่มา : ผู้สร้างสรรค์ ภาพที่ 2 ใช้ดินน้ำมันมาขึ้นพื้นบริเวณด้านในหน้ากากเพื่อให้ลูกปืนยึดเกาะ ที่มา : ผู้สร้างสรรค์


218 ภาพที่ 3 นำเรซิ่นใส มาทาลงบนลูกปืนและเสริมด้วยใยแก้วเพื่อความคงทน ที่มา : ผู้สร้างสรรค์ ภาพที่ 4 ขัดแต่งชิ้นงานด้านหน้าเพื่อความสวยงาม ที่มา : ผู้สร้างสรรค์ 4. การวิเคราะห์ผลงาน ผลงานประติมากรรมสร้างสรรค์ชิ้นทำขึ้นจากความรู้สึกสะเทือนใจจากความรุนแรงที่เกิดอาชญากรรม จากอาวุธปืน กับสังคมไทยในปัจจุบัน ทำให้เกิดความทุกข์ทั้งทางร่างกายและจิตใจของผู้ถูกกระทำ และความ ไม่ปลอดภัยในสังคม กระบวนการวัสดุอุปกรณ์ที่นำมาสร้างสรรค์เป็นลูกปืนที่สื่อถึงความรุนแรงที่เกิดขึ้น ผสมผสานกับตัวงานได้สื่อออกมาในลักษณะใบหน้าหน้าคนที่มีความรู้สึกหวาดกลัว เทคนิคที่ใช้สร้างสรรค์ ผลงานเป็นการใช้ลูกกระสุนปืนมาเรียงกัน เป็นการถ่ายทอดความคิด ความรู้สึกของตัวข้าพเจ้าออกมาเป็น ใบหน้าที่หวาดกลัว เพื่อให้ผู้ชมเกิดการรับรู้ความเข้าใจ และสะท้อนปรากฏการณ์ความรุนแรงในปัจจุบันที่ เกิดขึ้นในสังคม 5. สรุป ผลงานประติมากรรมสร้างสรรค์ชิ้นนี้ได้แรงบัลดาลใจมาจากเหตุการณ์อาชญกรรมในสังคมไทยที่ รุนแรง ทำให้ข้าพเจ้ารู้สึกหวาดกลัวและไม่ปลอดภัยต่อเหตุการณ์ดังกล่าวมากขึ้น จึงได้สร้างสรรค์ผลงาน ออกมาด้วยลูกปืนแทนความรุนแรง เพื่อถ่ายทอดความรู้สึกของตัวข้าพเจ้าออกมาเป็นใบหน้าที่หวาดกลัว และ


219 ให้ผู้ชมเกิดการตระหนักถึงปัญหาความรุนแรงที่เกิดขึ้นในสังคมไทย เพื่อให้เป็นแนวทางในการจัดการและ ป้องกันความรุนแรงดังกล่าวต่อไป เอกสารอ้างอิง ชลิดาภรณ์ ส่งสัมพันธ์. (2545). เรื่องราวความรุนแรงในสังคมไทย: ฆ่าหั่นศพ พ่อฆ่าลูก และอื่นๆ อีก มากมาย. รัฐศาสตร์สาร. บุญวดี เพชรรัตน์. (2543). การพยาบาลผู้ป่วยมีพฤติกรรมรุนแรง. การพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช. ภาค วิชาการพยาบาลและจิตเวช. คณะพยาบาลศาสตร์. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. เรียนรู้ “พฤติกรรม” ส่อความรุนแรง. (2557). สืบค้น 28 ตุลาคม 2566, จาก http://nnan.myreadyweb. com/article/topic-52375.html อนุช อาภาภิรม. (2543). ฉากความรุนแรงในยุคโลกาภิวัตน์. สถาบันวิถีทรรศน์:กรุงเทพฯ. PPTV Online. (2565). การควบคุมอาวุธปืนในไทย. สืบค้น 28 ตุลาคม 2566, จาก https://www.pptvhd36. com/news/ต่างประเทศ/182058 SDG News Online. (2565). ขจัดปัญหา “ความรุนแรงที่เกี่ยวข้องกับการใช้อาวุธปืน” มาตรการเร่งด่วนจาก รัฐบาล.สืบค้น 28 ตุลาคม 2566,จาก https://www.sdgmove.com/2022/10/20/prevention-and-policy-gunviolence Thairath Online. (2565). ปัญหายาเสพติดและอาวุธปืน. สืบค้น 28 ตุลาคม 2566, จาก https://plus. thairath.co.th/topic/politics&society/102244


220 การสร้างสรรค์จิตรกรรมสื่อผสมสภาวะความรู้สึกโหยหาอดีตของเมตตา สุวรรณศร The Creation of Mixed media Painting, the Feeling of Nostalgia by Metta Suwanasorn เมตตา สุวรรณศร, Metta Suwanasorn 245/1 หมู่1ซอยหลวงแพ่ง 2 แยก 6-1 แขวงทับยาว เขตลาดกระบัง กรุงเทพฯ 10520 245/1 Village No. 1, Soi Luang Phaeng 2, Intersection 6-1, Thap Yao Subdistrict, Lat Krabang District, Bangkok 10520 E-mail: [email protected] บทคัดย่อ การสร้างสรรค์ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างสรรค์ผลงาน "การสร้างสรรค์จิตรกรรมสื่อผสม สภาวะ ความรู้สึกโหยหาอดีตของเมตตา สุวรรณศร" โดยนำเสนอความรู้สึก เศร้า คิดถึง โหยหาอดีตที่ผ่านเลยไป 2) เพื่อสร้างสรรค์ผลงานเทคนิคจิตรกรรมสีน้ำมันผสมผสานงานปักไหมพรมอิสระที่มีลักษณะเฉพาะตน 3) เพื่อใช้ ศิลปะบำบัดจิตใจตนเองให้หลุดพ้นจากภาวะโหยหาอดีต ผลการสร้างสรรค์พบว่า เทคนิคจิตรกรรมสื่อผสมร่วมกับงานปักไหมพรมอิสระ ที่แสดงถึงภาวะโหยหา อดีตของตัวศิลปินที่ใช้ประสบการณ์ที่เกิดขึ้นในชีวิตที่ผ่านเลยไป สิ่งที่จะพอเก็บรักษาเอาไว้ได้คือความทรงจำ อันมีค่าที่เกิดขึ้นจากความจริงที่มีความสุข เศร้า เมื่อหวนคิดถึงความทรงจำดี ๆ ที่มิอาจย้อนคืนกลับมาได้ความ เศร้าจึงบังเกิด การใช้เทคนิคจิตรกรรมสีน้ำมัน ร่วมกับเทคนิคปักไหมพรมอิสระ ทำให้พบว่า การใช้สีน้ำมันวาด ภาพเหมือนของผู้สร้างสรรค์สามารถใช้สื่ออารมณ์ความรู้สึกภายในใจของผู้สร้างสรรค์ได้เมื่อใช้ร่วมกับเทคนิค การปักไหมพรมสามารถเพิ่มสีสันและพื้นผิวที่ดึงดูดใจและสร้างจุดเด่นให้กับงานจิตรกรรมได้ตรงตามแนวคิด ได้มากขึ้น จนเกิดเป็นผลงานที่มีลักษณะเฉพาะตน ซึ่งตอบสนองต่อการสร้างสรรค์ผลงานในแนวทางศิลปะร่วม สมัยที่พยายามค้นหากระบวนการ ขั้นตอนที่แปลกใหม่และแตกต่างจากที่เคยมีมาก่อน อันนำมาซึ่งความพิเศษ ของชิ้นงานและเป็นส่วนกระตุ้นเร้าให้ผู้สนใจสามารถนำเทคนิคปักครอสติชอิสระนี้ไปพัฒนาต่อยอดเพื่อ ยกระดับผลงานหัตถกรรมแบบเก่าเป็นผลงานศิลปะที่ทรงคุณค่าและเป็นที่ยอมรับ คำสำคัญ: คำโหยหาอดีต, จิตรกรรม, สื่อผสม, เมตตา สุวรรณศร Abstract This creation is intended to 1). Create works "Creating mixed media paintings Metta Suwannasorn's feeling of longing for the past" by presenting feelings of sadness, nostalgia, and longing for the past that has passed 2). To create a work of oil painting technique combined


221 with independent silk embroidery that has its characteristics 3). To use art to heal one's mind To escape from the state of longing for the past The creative results found that Mixed media painting techniques combined with independent thread embroidery. That shows the artist's longing for the past using experiences that happened in life that have passed. What can be preserved are precious memories that arise from the truth, whether happy or sad. Thinking back to good memories that cannot be brought back, sadness arises. Using oil painting techniques Combined with independent embroidery techniques, it was found that Using oil paint to paint a portrait of the creator can be used to convey the inner emotions of the creator. When used in conjunction with embroidery techniques, it can add attractive colors and textures and create a highlight for the painting that is more true to the concept. Until it becomes a work that has its unique characteristics. which responds to the creation of works in contemporary art that tries to explore the process The process is new and different from anything that has been done before. This brings out the specialness of the work and is a part of stimulating those who are interested in taking this independent cross-stitch technique and developing it further to elevate the old handicraft to a valuable and popular work of art. accept Keywords: Nostalgia, painting, mixed media, Metta Suwannason 1. ความสำคัญหรือความเป็นมาของปัญหา การโหยหาอดีต (Nostalgia) เป็นแนวคิดย่อยที่สำคัญของแนวคิดยุคหลังสมัยใหม่ โพสโมเดิร์น (postmodern) การโหยหาอดีตนั้น เกิดขึ้นเนื่องมาจากการผสมผสานระหว่างวัฒนธรรมดั้งเดิมและวัฒนธรรม ใหม่ ซึ่งในสังคมสมัยใหม่นั้นมีมุมมองเกี่ยวกับเรื่องของเวลาว่า เวลามีลักษณะเป็นเส้นตรง (view of time as linear ) มีอนาคตที่กำหนดไม่ได้ ทำให้เกิดความรู้สึกสูญเสีย จนเกิดอารมณ์ถวิลหาอดีต ในความเป็นอัตลักษณ์ เดิม เป็นเสมือนอาการคิดถึงบ้าน (Homesickness) คิดถึงสังคมอันอบอุ่นในชนบทที่สุขสงบ ความดีที่เคยมีมา ในอดีต ซึ่งเป็นการตอบสนองคุณธรรมในจิตใจที่ดีงามเพื่อชีวิตสมบูรณ์แบบตามมาตรฐาน การนำความรู้สึก การโหยหาอดีตนั้นมาเป็นแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ อันเกิดจากประสบการณ์ตรงของตัวศิลปินเอง ที่ผ่าน พบปัญหาที่แสนสาหัสที่สุดในชีวิตคือการแยกทางกับสามี และลูกชายป่วยเป็นออทิสติก ทำให้ต้องพบเจอกับ ปัญหาที่ยากจะแก้ไข บั่นทอนกำลังใจ เจ็บปวด โกรธแค้น ชิงชัง หดหู่ จนนำเข้าสู่ภาวะซึมเศร้า ภายใต้ปัญหา นั้นผู้สร้างสรรค์กลับพบว่า ศิลปะสามารถช่วยเยียวยาภาวะเจ็บปวดทางใจ สอดคล้องกับแนวคิดของซิกมันฟรอยด์ กลไกป้องกันทางจิต ที่คอยชี้ทางออกให้กับทุก ๆ ปมปัญหาให้ผ่อนคลายระบายออกอย่างชอบธรรม จนนำมาสู่ การวิเคราะห์ เพื่อให้เกิดความเข้าใจในการสร้างสรรค์ศิลปกรรมในแนวทางโหยหาอดีตในด้านแนวคิด เทคนิค รูปแบบ วิธีการนำเสนอ จะทำให้พบลักษณะที่สะท้อนภาวะการโหยหาอดีต จนทำให้ผู้ชมผลงานเกิดอารมณ์


222 ร่วม ให้หวนนึกถึงคุณค่าของช่วงเวลาเก่า ๆ ที่ผ่านเลยไปในชีวิต เพื่อช่วยเติมเต็มความอ่อนล้า ความคิดถึง และเป็นบทเรียนให้ชีวิตก้าวเดินต่อไปข้างหน้าอย่างมั่นคงและดีงาม. 2. แนวคิด / ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง กรอบแนวคิดที่ใช้ในการสร้างสรรค์ ในโลกยุคที่ทุกสรรพสิ่งเคลื่อนตัวไปข้างหน้าอย่างรวดเร็ว ผู้คนแก่งแย่งแข่งขัน เร่งรีบ ใช้ชีวิตหวังเพียง แค่การได้มาซึ่งความอุดมไปด้วยวัตถุนิยม จนทำให้หลงลืมวันเวลาที่มีค่าที่ผ่านเข้ามาในชีวิต เพราะอดีตคือ เครื่องบ่งชี้ถึงปัจจุบัน ดังนั้นอดีตจึงทรงคุณค่า หากมีสักช่วงเวลาหนึ่งเมื่อร่างกายทดท้อ เหนื่อยล้า หมดหวัง ความคิดชั่ววูบก็ปรากฏภาพอดีตในช่วงเวลาต่าง ๆ ขึ้นมาในสมอง เป็นภาพพ่อแม่ วิถีชีวิตในวัยเด็ก ท้องทุ้ง ทิว เขา และบรรยากาศเก่า ๆ ที่สุขสงบ ผ่อนคลาย เป็นภาพที่มีความสุขขัดแย้งกับชีวิตจริง ที่ต้องแบกรับภาระที่ เผชิญอยู่ในเวลาปัจจุบัน เวลาจึงเป็นดั่งกุญแจสำคัญที่คอยขับเคลื่อนทุก ๆ สรรพชีวิตให้เดินไปข้างหน้า การ โหยหาอดีตจึงเป็นดั่งเครื่องบำบัดภาวะอารมณ์ ที่ตึงเครียด อ่อนล้า ให้กลับมาสดชื่นมีกำลังใจอีกครั้ง คุณค่า ของการโหยหาอดีตนั้น (Nostalgia) เป็นบทเรียนให้ชีวิตก้าวเดินต่อไป ในการสร้างสรรค์ โดยรูปแบบวิธีการ ทางจิตรกรรมสีน้ำมันเป็นห้วงอารมณ์ของตัวผู้สร้างสรรค์ คล้ายการบันทึกอารมณ์ที่หลากหลาย ล้วนแต่เป็น การแสดงออกถึงความโหยหาอดีต ที่ตัวศิลปินเองใช้ประสบการณ์ตรง เพื่อให้ผู้ชมผลงานเกิดอารมณ์ร่วมให้ หวนย้อนนึกถึงช่วงเวลาเก่า ๆ ที่ผ่านเลยไปในชีวิต เพื่อเป็นเครื่องช่วยเติมเต็มความอ่อนล้า ความคิดถึง สิ่งที่ การสร้างสรรค์ผลงาน การสร้างสรรค์จิตรกรรมสื่อผสม สภาวะความรู้สึกโหยหาอดีตของ เมตตา สุวรรณศร สร้างสรรค์ผลงานจำนวน 5 ชิ้น ตามแนวคิดที่กำหนดไว้ คือต้นเหตุแห่งความทุกข์ทางใจ ที่แสดงความลวง คำโกหก liar, คำพูดล่อลวงหวานหูวลีที่ผูกมัดความสัมพันธ์ชั่วนิจนิรันดร์, เวลากับความเปลี่ยนแปลง, วังวน, จุดเริ่มต้นของจุดจบ กรอบทฤษฏี งานจิตรกรรมสี น ้ามัน ผสมเทคนิค ทางหัตถกรรม การ ปักเส้นใยไหมพรม อิสระ ภาวะความรู้สึกโหยหา อดีต ของเมตตา สุวรรณ ศร แนวคิดการโหยหาอดีต Nostalgia สุนทรียศาสตร์หลักการ หัตถกรรม โดยการปัก เส้นใยอิสระ ผลงานจิตรกรรม สื่อผสมปักเส้นใย อิสระ.โครงการ การสร้างสรรค์ จิตรกรรมสื่อผสม สภาวะความรู้สึก โหยหาอดีตของ เมตตา สุวรรณศร ปลดปล่อยความทุกข์ภายในจิตใจด้วยการใช้ ศิลปะในการสร้างสมาธิ ปัญญา สติ และจิตใจ สงบ ภาวะเจ็บปวดทาง ใจ ซึมเศร้า คิดถึง ช่วงเวลาที่งดงาม ในอดีตของ เมตตา สุวรรณ สร้างสรรค์ผลงานโดยใช้ศาสตร์2 ประเภทมาผสมผสานกัน 1. งานเทคนิคจิตรกรรมสีน ้ามัน 2. งานหัตถกรรมการ ปัก เส้นใยด้วยมือแบบอิสระ


223 จะพอเก็บรักษาเอาไว้ได้คือความทรงจำอันมีค่า เพราะความทรงจำเกิดขึ้นจากความจริง เราคัดเลือกบางส่วน จากความจริง คลุกเคล้าเข้ากับความรู้สึกมีความสุขหรือเศร้า มีการแต่งเติมความทรงจำอยู่ในนั้นเสมอ คนเรา มักเก็บสะสมความทรงจำดีๆ เอาไว้ มากกว่าความทรงจำร้าย ๆ นั้นก็ใช่ว่ามันจะทำให้เรามีความสุขเสมอไป เมื่อหวนคิดถึงความทรงจำดี ๆ ที่มิอาจย้อนคืนกลับมาได้ ภาพในอดีตที่ไม่สามารถเกิดขึ้นได้อีกแล้ว ความเศร้า ก็บังเกิด ความทรงจำมีคุณค่าเพราะอยู่ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลง หากทุกอย่างไม่แปรเปลี่ยน ทุก ความสัมพันธ์ยังอยู่คงเดิม ความทรงจำไม่มีค่าอะไร ชีวิตคือการเดินทางเพื่อสะสมความทรงจำทุก ๆ วัน มี เรื่องราวให้จดจำเข้ามาในชีวิต มนุษย์จึงจดจำเฉพาะสิ่งสำคัญไว้ในใจ ในพื้นที่ที่มีความทรงจำฝังอยู่ (Embedded) เราจะสามารถแปรเปลี่ยนเป็นพลังในการทำให้เกิด "ความหมาย" ขึ้นมานั้น ต้องเกิดจาก ประสบการณ์ตรงที่สะสมมา การโหยหาอดีต (Nostalgia) ไม่ใช่การโหยหาโดยปราศจากเป้าหมายหรือการโหย หาเพื่อบริโภคอดีตชั่วครั้งชั่วคราวเท่านั้น แต่เป็นการโหยหาอดีตที่ดีงาม ก่อเกิดความสงบสุขในจิตใจ ทั้งยังเป็น ดั่งเครื่องเตือนใจให้ย้อนนึกถึงอดีตที่เป็นบทเรียนแห่งชีวิต เพื่อสอนใจไม่ให้เราทำผิดซ้ำ ๆ กับเรื่องเดิม ๆ จาก ที่กล่าวมา จึงทำให้มีศิลปินหลายยุคหลายสมัยจวบจนปัจจุบัน ที่สร้างสรรค์ผลงานที่เต็มเปี่ยมไปด้วยเรื่องราวที่ ถ่ายทอดถึงความประทับใจและความทรงจำในอดีต ที่งดงามหรือเศร้าสร้อยการแสดงออกถึงห้วงเวลาที่ผ่านมา ในชีวิตที่ไม่เพียงแค่ผ่านมาแล้วล่วงเลยไป แต่ยังช่วยขับกล่อม ตอบโต้ ผลักดัน สร้างความหมายแห่งนัยยะที่ สามารถสร้างพลังให้กับชีวิตในช่วงเวลาปัจจุบัน กับการแค่ได้หวนกลับไปได้ซึมซับนึกถึงเพียงชั่วขณะจิต แม้สิ่ง ที่หวนคำนึงนั้นได้จากไปแล้วตลอดกาล 3. กระบวนการในการสร้างสรรค์ ขอบเขตในการสร้างสรรค์ 3.1 เนื้อหาแสดงถึงภาวะความรู้สึกโหยหาอดีตของเมตตา สุวรรณศร แนวคิดการโหยหาอดีต Nostalgia สุนทรียศาสตร์ หลักการหัตถกรรม โดยการปักเส้นใยอิสระ 3.2 รูปแบบกึ่งนามธรรมเป็นผลงานงานจิตรกรรมสีน้ำมันภาพอารมณ์ในช่วงเวลาต่าง ๆ ที่แสดงออก ถึงความเศร้า ความคิดถึง ความโหยหาอดีตที่ผ่านไปแล้ว 3.3 เทคนิคทางหัตถกรรมการสร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรมสีน้ำมัน ผสมเทคนิคทางหัตถกรรม การปัก เส้นใยอิสระ ให้เกิดมีลักษณะผลงานเฉพาะตน 3.4 สร้างสรรค์ผลงานจำนวน 5 ชิ้น ในระยะเวลาของโครงการ การสร้างสรรค์ผลงานชุด“จิตรกรรมสื่อผสม สภาวะความรู้สึกโหยหาอดีตของเมตตา สุวรรณศร" เพื่อ สะท้อนชีวิตที่มีทั้งสุขทั้งทุกข์ปะปนกันไป ความสุขเมื่อมีมาก็ต้องรีบเตรียมใจเพื่อรับความทุกข์ที่จะตามมา เสมอ ความเปลี่ยนแปลงของชีวิตเป็นบททดสอบที่ท้าทายให้หาทางออกเพื่อก้าวเดินไปในทิศทางที่ถูกต้อง การ สร้างสรรค์ ในกระบวนการเทคนิคจิตรกรรมสื่อประสมนั้น พบว่า จิตรกรรมมีความน่าสนใจมากยิ่งขึ้น เมื่อนำ วัสดุอื่น ๆ มาประกอบร่วม เช่นกันนำไหมพรมมาปักสร้างความรู้สึกถึงความเป็นผู้หญิง เพราะไหมพรมเป็นสื่อ สัญลักษณ์แทนเพศหญิง ทำให้ภาพผลงานแสดงออกถึงความเป็นผู้หญิงอย่างชัดเจน แสดงออกถึงความ ประณีตบรรจง ความตั้งใจความอดทน ล้วนแล้วแต่เป็นอุปนิสัยของผู้หญิง การสร้างสรรค์เทคนิคในครั้งนี้มี


224 ความยากที่การผสมผสานสีเส้นใยหลายขนาด เพราะต้องมีการคัดสรรสีเส้นใยจำนวนมากออกมาเป็นกลุ่มสี ขนาด ผิวสัมผัส โดยแยกเป็นสีโทนร้อนและสีโทนเย็น เพื่อให้ง่ายต่อการควบคุมปริมาณของสี ไม่ให้มีสีโทนได้มี มากน้อยจนเกินไป การทำงานสร้างสรรค์ในผลงาน แต่ละชิ้นนั้นมีความจำเป็นต้องทำการกำหนดค่าของ เปอร์เซ็นต์สีว่าในแต่ละชิ้นจะมีสีโทนใดมากกว่ากัน อย่างเช่น บางชิ้นจะมีสีโทนร้อนมากกว่า หรือ ในบางชิ้นจะ เน้นไปที่สีโทนเย็นมากกว่า เพื่อต้องการสร้างอารมณ์และบรรยากาศของภาพให้เกิดความสมบูรณ์ตรงตาม แนวคิดมากที่สุด ภาพผลงาน จำนวน 4 ชิ้น (ก) (ข) (ค) (ง) (ก) ภาพที่ 1 ชื่อผลงาน ความเลือนลาง เทคนิค จิตรกรรมสีน้ำมัน ปักเส้นใย ขนาด 90 x 90 cm (ข) ภาพที่ 2ชื่อผลงาน เวลากับความเปลี่ยนแปลง เทคนิค จิตรกรรมสีน้ำมัน ปักเส้นใย ขนาด 90 x 90 cm (ค) ภาพที่ 3 ชื่อผลงาน liar เทคนิค จิตรกรรมสีน้ำมัน ปักเส้นใย ขนาด 90 x 90 cm (ง) ภาพที่ 4 ชื่อผลงาน จุดเริ่มต้นของจุดจบเทคนิค จิตรกรรมสีน้ำมัน ปักเส้นใย ขนาด 90 x 90 cm ที่มา : ผู้สร้างสรรค์


225 4. การวิเคราะห์ผลงาน การศึกษาผลงาน “จิตรกรรมสื่อผสม สภาวะความรู้สึกโหยหาอดีตของเมตตา สุวรรณศร"” จิตรกรรม สีน้ำมันผสมผสานด้วยเทคนิคการปักไหมพรมอิสระ ที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจากการโหยหาอดีตจึงเป็นดั่ง เครื่องบำบัดภาวะอารมณ์ที่ตึงเครียด อ่อนล้า ให้กลับมาสดชื่นมีกำลังใจอีกครั้ง คุณค่าของการโหยหาอดีตนั้น (Nostalgia) เป็นบทเรียนให้ชีวิตก้าวเดินต่อไป ในการสร้างสรรค์ โดยรูปแบบวิธีการทางจิตรกรรมสีน้ำมันเป็น ห้วงอารมณ์ของตัวผู้สร้างสรรค์ คล้ายการบันทึกอารมณ์ที่หลากหลาย ล้วนแต่เป็นการแสดงออกถึงความโหย หาอดีตที่ตัวศิลปินเองใช้ประสบการณ์ตรง เพื่อให้ผู้ชมผลงานเกิดอารมณ์ร่วมให้หวนย้อนนึกถึงช่วงเวลาเก่า ๆ ที่ผ่านเลยไปในชีวิต เพื่อเป็นเครื่องช่วยเติมเต็มความอ่อนล้า ความคิดถึง สิ่งที่จะพอเก็บรักษาเอาไว้ได้คือความ ทรงจำอันมีค่า สร้างสรรค์ผลงานที่เต็มเปี่ยมไปด้วยเรื่องราวที่ถ่ายทอดถึงความประทับใจและความทรงจำใน อดีต ที่งดงามหรือเศร้าสร้อยการแสดงออกถึงห้วงเวลาที่ผ่านมาในชีวิตที่ไม่เพียงแค่ผ่านมาแล้วล่วงเลยไป แต่ ยังช่วยขับกล่อม ตอบโต้ ผลักดัน สร้างความหมายแห่งนัยยะที่สามารถสร้างพลังให้กับชีวิต ในช่วงเวลาปัจจุบัน กับการได้หวนกลับไปได้ซึมซับนึกถึงเพียงชั่วขณะจิต แม้สิ่งที่หวนคำนึงนั้นได้จากไปแล้วตลอดกาล 4.1 การสร้างสรรค์โดยใช้แรงบันดาลใจจากความทรงจำในอดีต พบว่า ผู้สร้างสรรค์นำแรงบันดาล ใจมาจากความทรงจำในอดีตที่เป็นประสบการณ์ตรงที่เกิดขึ้นจริง ที่มีส่วนช่วยพลักดันให้ผู้สร้างสรรค์นำ ความรู้สึกที่ติดค้างในใจมานำเสนอในมุมมองของผู้สร้างสรรค์ ที่แสดงภาวะความเศร้าเสียใจที่สูญเสียบุคคลอัน เป็นที่รัก ทั้งจากการจากเป็นและจากตาย เป็นความทรงจำที่แสนเจ็บปวด ความรู้สึกโหยหาอดีต การนำความ ทรงจำมาใช้เป็นช่องทางในการสร้างสรรค์ผลงานนี้ โดยการเลือกรูปทรงหลักคือภาพตัวผู้สร้างสรรค์เอง ในอริย บทต่าง ๆ เน้นใบหน้า ดวงตา ที่ต้องการสื่อสารถึงความเจ็บปวดในใจได้ตรงตามแนวคิด ความทรงจำจึงเป็นดั่ง ที่มาของข้อมูลที่นำมาสร้างสรรค์ 4.2 การสร้างสรรค์โดยใช้แรงบันดาลใจจากการโหยหาอดีต (Nostalgia) พบว่า การโหยหาอดีต แสดงถึงสภาวะอารมณ์อาการและความรู้สึกของตัวผู้สร้างสรรค์ ที่รู้สึกคิดถึงและโหยหาบรรยากาศหรือ ความคุ้นเคยแบบในอดีต รวมถึงความรู้สึกเหงา เศร้า เซื่องซึม การรำลึกถึงความทรงจำในอดีตนั้นหมายถึง เรื่องราวที่เกี่ยวพันกับปัจจุบันและอดีต ความต้องการที่ทำให้เกิดอารมณ์ถวิลหาอดีตสามารถจินตนาการ เกี่ยวกับอดีต สร้างความรู้สึกร่วมเกี่ยวกับอดีต ยืนยันกับตนเองและกล่าวอ้างกับผู้อื่นได้อย่างมั่นใจว่าโลกสมมติ ของสิ่งที่ผ่านเลยไปแล้ว แต่ได้รับการจำลองขึ้นมาใหม่นั้นคือภาพอดีตที่แท้จริง (An authentic past) อันเกิด ภายในจิตใจ 4.3 ศิลปะบำบัด (Art Therapy) จากแนวคิดศิลปะบำบัด (art therapy) ยังนับเป็นรูปแบบหนึ่ง ของการทำจิตบำบัด (psychotherapy) ที่ใช้ศิลปะเป็นเครื่องมือสำคัญ เพื่อช่วยเหลือบุคคลที่มีปัญหาด้าน อารมณ์และจิตใจ ซึ่งหลักการของศิลปะบำบัด คือใช้ศิลปะเป็นสื่อในการแสดงออกถึงอารมณ์ ความรู้สึก ความ ขัดแย้ง และความต้องการ ที่ซ้อนเร้นอยู่ภายในส่วนลึกของจิตใจ โดยการใช้เทคนิคจิตรกรรมร่วมกับงานปัก ไหมพรม พบว่า เทคนิคจิตรกรรมสีน้ำมันสามารถบำบัดรักษาภาวะความเครียดได้ เพราะการระบายสีทำใหผู้ สร้างสรรค์มุ่งสมาธิไปที่ผลงานตรงหน้า เพื่อถ่ายทอดภาพให้ตรงตามแนวคิด ที่ประยุกต์ใช้กิจกรรมทางศิลปะ


226 เพื่อค้นหาข้อบกพร่อง ความผิดปกติบางประการของกระบวนการทางจิตใจ เพื่อเปิดประตูเข้าสู่จิตใจในระดับ จิตไร้สำนึก และเลือกใช้กิจกรรมทางศิลปะที่เหมาะสมช่วยในการบำบัดรักษา และฟื้นฟูสมรรถภาพให้ดีขึ้น จากแนวคิดที่ว่า ศิลปะ คือ หนทางแห่งการปลดปล่อย อารมณ์ ความรู้สึก ความคิด ตามความต้องการของแต่ ละคน ที่จะแสดงออกซึ่งความต้องการของตนเองอย่างมีความสุข 4.5 ทฤษฎีทางอารมณ์ของซิกมันฟรอยด์พบว่า จิตของคนเรามี 3 ส่วน คือ จิตสำนึก (conscious mind) จิตกึ่งรู้สำนึก (preconscious mind) และ จิตไร้สำนึก (unconscious mind) ซึ่งมีลักษณะดังนี้ จิตสำนึก ว่า คือใคร อยู่ที่ไหน ต้องการอะไร หรือกำลังรู้สึกอย่างไรต่อสิ่งใด เมื่อแสดงพฤติกรรมอะไรออกไปก็แสดงออกไป ตามหลักเหตุและผล แสดงตามแรงผลักดันจากภายนอก ที่เข้ามากระทบ จิตกึ่งรู้สำนึก เป็นจิตที่เก็บสะสม ข้อมูลประสบการณ์ไว้มากมาย มิได้รู้ตัวในขณะนั้น แต่พร้อมให้ดึงออกมาใช้ พร้อมเข้ามาอยู่ในระดับจิตสำนึก และอาจถือได้ว่าประสบการณ์ต่าง ๆ ที่เก็บไว้ในรูปของความทรงจำก็เป็นส่วนของจิตกึ่งรู้สำนึกด้วย เช่น ความ ขมขื่นในอดีต ถ้าไม่คิดถึงก็ไม่รู้สึกอะไร แต่ถ้านั่งทบทวนเหตุการณ์ทีไรก็ทำให้เศร้าได้ทุกครั้ง จิตไร้สำนึก เป็น ส่วนของพฤติกรรมภายในที่เราพยายามเก็บกดไว้ พยายามที่จะลืม ในที่สุดดูเหมือนลืมได้ แต่ที่จริงไม่ได้หายไป ไหนยังฝังอยู่ในสภาพจิตไร้สำนึก เพราะในชีวิตจริงผู้สร้างสรรค์ยังคงวนเวียนอยู่กับปัญหาที่ไม่อาจแก้ไขได้ ทำ ให้เกิดสภาวะความทุกข์ได้เสมอ การสร้างสรรค์ผลงานครั้งนี้จึงเปรียบเสมอผู้สร้างสรรค์ได้พยายามนำ ความรู้สึกที่เจ็บปวดเก็บกด (Repression) เป็นการเก็บกดความคิด ความรู้สึก หรือความต้องการที่ตนเอง ยอมรับไม่ได้จากจิตรู้สํานึก (Conscious Mind) ลงไปเก็บไว้ในระดับจิตใต้สํานึก (Unconscious Mind) ดังนั้น บุคลิกภาพในระดับจิตใต้สํานึกจึงเต็มไปด้วยความทรงจําที่ไม่น่าอภิรมย์ จิตจึงดึงเอาความทรงจำในอดีตที่ดีงาม มีความสุขกลับมาแสดงภาพซ้ำ ๆ ในความคิด เกิดความอิ่มเอม อบอุ่นปลอดภัยขึ้นในจิตใจ รวมถึงความสิ้น หวังมาสร้างสรรค์ผลงาน ที่สามารถผ่อนปรน เยียวยาจิตใจ ให้เรียนรู้และยอมรับกับความเป็นจริงที่เกิดขึ้น ออกมาเป็นผลงานศิลปะที่ช่วยบำบัดจิตใจได้อีกทางหนึ่ง 4.6 การวิเคราะห์ศิลปะการปักผ้า พบว่า การปักผ้าเป็นการสร้างสรรค์ผลงานที่ต้องใช้สุนทรียภาพ ทางจิตใจ โดยการใช้จินตนาการในการสร้างภาพต้นแบบในจิตใจผ่านกระบวนการ ในการเย็บปักถักร้อย ซึ่ง ผู้ปักจะต้องทำการคัดเลือกเทคนิคว่าจะปักแบบใด แบบมาตรฐาน หรือปักอิสระ รวมทั้งต้องคัดเลือกเส้นใยให้ ตรงตามที่จินตนาการไว้ เทคนิคมักจะเสริมให้ผลงานออกมาตรงตามแนวคิดผู้ปักจะต้องมีความชำนาญฝึกฝน จนเกิดทักษะขั้นสูง เป็นช่างฝีมือในการปักแต่ละเทคนิค ซึ่งผู้สร้างสรรค์เองนั้นก็เป็นคนที่ชื่นชอบงานในกลุ่ม เส้นใย งานปัก ถัก ทอ ทำให้สามารถเลือกเทคนิคมาพัฒนาให้เหมาะสมตอบโจทย์การสร้างสรรค์ได้ตรงตาม แนวคิด ซึ่งเป็นการนำเทคนิคทางหัตถกรรมมาต่อยอดยกระดับให้กลายเป็นเทคนิคทางศิลปะ การปักอิสระใน ครั้งนี้จึงเป็นการนำการปักแบบมาตรฐานมาปรับโดยการปักลงบนวัสดุที่ผ่านการระบายสีด้วยสีน้ำมันในขั้นแรก เพื่อกำหนดตำแหน่งในการปัก โดยใช้งานปักเป็นตัวสร้างพื้นผิวให้เกิดความแตกต่าง เพิ่มความน่าสนใจให้กับ ผลงาน พร้อมกันนั้นจำเป็นต้องใช้ประสบการณ์ในการเลือกวัสดุที่จำนำมาปัก สีของเส้นใยที่มีความผสมผสาน เป็นการปักโดยใช้ไหมพรมต่างขนาด เล็กกลาง ใหญ่ ปักเส้นคู่ เส้นเดี่ยว นั้นขึ้นกับตัวผู้สร้างสรรค์ว่าต้องการ เน้นในส่วนใด จนเกิดเป็นผลงานที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตนได้


227 4.7 วิเคราะห์หลักการใช้จิตรกรรมสีน้ำมันร่วมกับการปักผ้า พบว่า การสร้างสรรค์ผลงานที่มีการ ออกแบบและวางแผนอย่างเป็นขั้นตอน ช่วยลดความผิดพลาดในงานสร้างสรรค์ลงได้มาก รวมทั้งยังเป็นการ ทดลองกระบวนการทางเทคนิคอย่างเป็นระบบ โดยผู้สร้างสรรค์ เริ่มจากการออกแบบภาพร่างไว้อย่างชัดเจน เมื่อได้ต้นแบบจึงนำต้นแบบไปลงโปรแกรมการขยายภาพและนำไปปริ้นลงบนผ้าแคนวาสก่อนการนำไปเพ้นท์ สีน้ำมัน พบว่า การปริ้นภาพลงไปก่อนช่วยทำให้ภาพร่างกับแบบขยายมีความเหมือนต้นแบบทุกประการ เมื่อ เพ้นท์สีน้ำมันลงไปช่วยลดเวลาการผิดเพี้ยนแก้ไข สามารถสร้างสรรค์ผลงานได้เร็วมากขึ้น และเป็นการวาง แนวทางในการลงสีให้ง่ายต่อการผสมสี เมื่อเสร็จจึงนำไปทำการปักไหมพรมต่อไป การปักไหมพรมร่วมกับงาน เพ้นท์สีน้ำมันพบว่า เมื่อสีน้ำมันแห้ง ทำให้ผ้ามีความเหนียวแข็งมากขึ้น ทำให้ต้องใช้กำลังในการปักมากยิ่งขึ้น ทำให้ปักได้ช้า ชิ้นงานมีขนาดใหญ่ ทำให้เกิดปัญหาการเอื้อมมือในการปัก จำเป็นต้องหมุนเฟรมโดยรอบ จนกว่าจะปักครบตามที่กำหนด การใช้เส้นใยจึงจำเป็นต้องคัดเลือกเส้นใยที่มีความเหนียวทนต่อแรงดึงได้ดี เช่นไหมพรมโพลิเมอร์ ที่มีความเหนียวมากกว่าเส้นใยธรรมชาติที่ขาดง่าย ไม่มีความฟูตัวเท่าไหมสังเคราะห์ แต่ สามารถนำมาสร้างสรรค์ผลงานร่วมกันได้ เป็นความขัดแย้งที่มีความกลมกลืนได้ด้วยสี และแสดงอารมณ์ได้ ตรงตามแนวคิดที่ตั้งไว้ได้ 5. สรุป จากการสร้างสรรค์ผลงาน“จิตรกรรมสื่อผสม สภาวะความรู้สึกโหยหาอดีตของเมตตา สุวรรณศร” เกิดเป็นผลงานจิตรกรรมสีน้ำมันสื่อผสมที่มีลักษณะเฉพาะตน พบว่าการศึกษาแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับการ สร้างสรรค์มีความสำคัญมากที่สามารถช่วยในการตีความสัญลักษณ์ รูปทรงที่ใช้ ในด้านการนำมาแสดง ความรู้สึกได้ตรงตามแนวคิด อันสอดคล้องกับแนวคิด การโหยหาอดีต (Nostalgia) เป็นบทเรียนสอนให้ผู้สร้าง สรรค์มีชีวิตก้าวเดินต่อไปข้างหน้าอย่างเข้าใจ เรียนรู้และยอมรับบทเรียนต่าง ๆ ที่ได้รับ ในการสร้างสรรค์โดย รูปแบบวิธีการ คล้ายการบันทึกอารมณ์ที่หลากหลาย บอกเล่าเป็นภาพแทนความรู้สึก ล้วนแต่เป็นการ แสดงออกถึงความโหยหาอดีต ที่ตัวศิลปินเองใช้ประสบการณ์ตรง เพื่อให้ผู้ชมผลงานเกิดอารมณ์ร่วมให้หวน ย้อนนึกถึงช่วงเวลาเก่า ๆ ที่ผ่านเลยไปในชีวิต เพื่อเติมเต็มความคิดถึง ความเหงา ความอ่อนล้า ความเศร้า จากการสูญเสียไม่ว่าจะเป็นบุคคลอันเป็นที่รัก หรือสิ่งของที่สูญหายไป ความคิดถึงเป็นช่องทางที่ทำให้ย้อนนึก ถึงอดีต ความทรงจำมีค่า เพราะความทรงจำเกิดขึ้นจากความจริงผสมผสานเข้ากับความรู้สึกสุขหรือเศร้า มี การแต่งเติมความทรงจำอยู่ในนั้นเสมอ นั้นก็ใช่ว่ามันจะทำให้เรามีความสุขเสมอไป เมื่อหวนคิดถึงความทรง จำดี ๆ ที่มิอาจย้อนคืนกลับมาได้ ภาพในอดีตที่ไม่สามารถเกิดขึ้นได้อีกแล้ว ความเศร้าก็เกิดขึ้น ความทรงจำมี คุณค่าเพราะอยู่ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลง หากทุกอย่างไม่แปรเปลี่ยน ทุกความสัมพันธ์ยังอยู่คงเดิม ความ ทรงจำไม่มีค่าอะไร เราจะสามารถแปรเปลี่ยนเป็นพลังในการทำให้เกิด "ความหมาย" ขึ้นมานั้นต้องเกิดจาก ประสบการณ์ตรงที่ผู้สร้างสรรค์เองประสมมา ด้วยการนำประสบการณ์ที่เคยได้รับมาจากอดีตมาสร้างสรรค์ เป็นภาพแทนความรู้สึกที่กักเก็บไว้ในใจ ความเจ็บปวดเสียใจได้ถูกระบายออกมาเป็นผลงานศิลปะ ที่ผู้ สร้างสรรค์ต้องการสื่อถึงความคิดถึง โหยหาอดีตที่ผ่านเลย แม้วันนี้มันจะไม่สามารถย้อนเวลากลับไปได้อีกครั้ง


228 แต่ผู้สร้างสรรค์ก็มีความสุขที่ได้คิดถึง ในขณะสร้างสรรค์ วาดสีน้ำมันโดยใช้ภาพเหมือนของผู้สร้างสรรค์เอง เป็นรูปทรงหลักนั้น พบว่า เทคนิคสีน้ำมันมีคุณสมบัติที่ดีเหมาะที่จะใช้วาดหน้าคน สามารถเกลี่ยสีได้เรียบ เนียน เสมือนจริง เมื่อสีแห้งมีความยืดหยุ่นทนแรงปักได้ในระดับหนึ่ง หากปักชิดกันมากอาจทำให้เฟรมขาดได้ แต่สามารถสร้างสรรค์ผลงานที่ถ่ายทอดความรู้สึกได้ตรงตามแนวคิด เพราะเป็นเรื่องราวของตนเองที่ นำมา สร้างสรรค์ ผสมผสานเทคนิคทางหัตถกรรมการปักไหมพรมในรูปแบบอิสระ พบว่า การปักไหมพรมลงบนภาพ จิตรกรรมสีน้ำมันด้วยเทคนิคเข็ม Punch Needle พบว่า อุปกรณ์สำคัญที่ใช้ในการปักไหมพรมด้วยเข็ม Punch Needle ซึ่งเข็มชนิดนี้จะมีความแปลกและแตกต่างจากเข็มเย็บผ้าทั่ว ๆ ไปเป็นอย่างมาก โดยจะมีด้าม จับเป็นไม้ หรือพลาสติก และยังมีแท่งเข็มที่มีรูกลวงตรงกลาง เพื่อใช้ในการสอดไหมพรม นอกจากนั้นที่ปลาย เข็มก็ยังมีปลายที่แหลมคม ขนาดใหญ่หลายขนาดที่สามารถเจาะผ้าที่มีความแข็ง เหนียวแน่นได้ โดยมีรูเล็ก ๆ ที่บริเวณปลายเข็มเพื่อทำการสอดใส่เส้นไหมพรมอีกด้วยโดยไม่ต้องเสียเวลาร้อยเข็มปักใหม่ ลดเวลาการปัก ทำให้อารมณ์เวลาสร้างสรรค์ผลงานต่อเนื่อง โดยเข็มปักก็จะมีขนาดที่แตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับขนาดของ เส้นไหมพรม ซึ่งยิ่งเข็มมีขนาดเล็กมากเท่าไหร่ก็จะได้งานที่มีความละเอียดมากยิ่งขึ้นเท่านั้น แต่เป็นการปักที่ อิสระโดยการวาดกำหนดตำแหน่งลงบนภาพด้วยสีน้ำมันบนผ้าใบ เมื่อสีแห้งแล้วจึงทำการปักไหมพรมที่ผู้ สร้างสรรค์ได้ทำการคัดเลือกสีไหมพรม โดนกำหนดโทนสีไหมพรม โทนร้อนโทนเย็น พบว่า การกำหนด เปอร์เซ็นต์สีทำให้สามารถคัดเลือกไหมพรมได้ง่ายมากขึ้นรวมทั้งทำให้สีสันเกิดความกลมกลืนมากยิ่งขึ้น นอกจากนั้น การกำหนดสีก่อนช่วยลดเวลาในการปักลงได้ เพราะสามารถนำสีใหม่ที่กำหนดไว้นำมาปักบน ชิ้นงานได้เลย นอกจากนั้นผลงานยังแสดงลักษณะของสตรี ผลงานมีความละเอียดอ่อน ด้วยการปักไหมทีละ เส้นด้วยมือ ระหว่างปัก พบว่า การปักไหมพรมทีละเส้นใยที่ปักลงไปต้องใช้สมาธิจดจ่อ เป็นหนทางช่วยบำบัด จิตใจตนเองได้คล้ายการทำสมาธิ กำหนดลมหายใจทุก ๆ ฝีเข็มที่ปักลงไปนั้น เหมือนการได้ปลดปล่อยตัวตน ความรู้สึกที่เก็บกักไว้ให้หลั่งไหลออกมา นับว่าการปักช่วยลดความเครียดได้ การศึกษาข้อมูลของกลุ่มศิลปินกรณีศึกษาที่สร้างสรรค์ผลงานในแนวทางเดียวกันพบว่า ศิลปินมุ่งเน้น หาแนวทางใหม่ให้กับเทคนิคการปักแบบโบราณ ให้สามารถก้าวข้ามมาเป็นผลงานศิลปะร่วมสมัยที่โดดเด่น มีเอกลักษณ์เฉพาะตนได้ รวมทั้งสามารถสร้างกระแสการยอมรับให้การสร้างสรรค์ผลงานด้วยเส้นใย เพื่อ ยกระดับงานหัตถกรรมให้ทับเทียมเทคนิคทางศิลปะที่มีมาแต่เดิมได้ นอกจากนั้นการศึกษาทฤษฎีทางศิลปะที่ เกี่ยวข้องกับการสร้างสรรค์ ข้อมูลต่าง ๆ ยังสามารถนำมาพัฒนาต่อยอดผลงานให้มีความแปลกแตกต่างจากที่ เคยมีงานปักที่ค้นพบมาในอดีต เพื่อเป็นแนวทางให้กับผู้สนใจศิลปะ ได้นำแนวทางไปใช้เป็นเทคนิคในการ สร้างสรรค์ผลงานด้วยการใช้เส้นใย โดยผู้สร้างสรรค์ที่เป็นผู้เก็บข้อมูลจากการศึกษาพบว่า การปักอิสระ มี ความน่าสนใจที่สามารถนำไปพัฒนาต่อยอดได้หลายรูปแบบ สามารถผสมผสานกับเทคนิคอื่นได้อย่างลงตัว เป็นเทคนิคที่สามารถสร้างสรรค์ผลงานที่ทรงคุณค่าทางศิลปะได้อีกแนวทางหนึ่ง 5.1 ข้อเสนอแนะในการนำไปใช้ประโยชน์ 5.1.1 ผลสรุปที่ได้จากการวิจัย สามารถนำผลงานจิตรกรรมสีน้ำมันไปพัฒนาการสร้างสรรค์ ร่วมกับศิลปะการปักไหมพรมอิสระ ให้ก้าวข้ามมาเป็นผลงานศิลปะร่วมสมัยที่ทรงคุณค่าได้


229 5.1.2 ผลงานวิจัยในโครงการนี้ เป็นแนวทางในการชี้แนวทางการนำเทคนิคจิตรกรรมสีน้ำมัน ร่วมกับงานปักอิสระไปใช้ในการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะให้กับผู้สนใจต่อไป 5.1.3 ผลงานวิจัยในโครงการนี้ ได้เผยแพร่ออกสู่สาธารณชน ทั้งทางด้านรูปเล่มเอกสารและ การจัดแสดง และบทความ เพื่อเป็นการสร้างความเคลื่อนไหวในวงการศิลปะทั้งในประเทศและต่างประเทศ 5.1.4 ผลงานวิจัยในโครงการนี้ สามารถเป็นแนวทางให้กับผู้สนใจนำไปพัฒนาต่อยอดเป็น ผลงานเชิงพาณิชย์ได้ ยกระดับให้สินค้าที่ใช้ในชีวิตประจำวันเป็นผลงานที่มีความงามในแนวทางศิลปะได้อีก ทางหนึ่ง เพิ่มมูลค่าให้กับสินค้า เอกสารอ้างอิง การณิก ยิ้มพัฒน์. (2548). กับภาพสะท้อนของกลุ่มวัฒนธรรมย่อยแบบโพสต์โมเดิร์น. (วิทยานิพนธ์ปริญญา นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).นิตยสาร a day 4:15 กลไกการป้องกันตน. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 30 ตุลาคม 2562 จาก https://th.wikipedia.org/ wiki/กลไกป้องกันตน คณิตา ซองศิริ. (2553). การวิเคราะห์กระบวนการสร้างความหมายเรื่อง : การโหยหาอดีต : ในรายการ ปกิณกะทางโทรทัศน์ชุด “ตลาดสดสนามเป้า”. (วิทยานิพนธ์ปริญญาวารสารศาสตรมหาบัณฑิต (สื่อสารมวลชน), มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์). ดร.เมธา หริมเทพาธิป. (2560, 15 มิถุนายน). ทฤษฎีอารมณ์ของเจมส์-แลงค์และแคนนอน-บาร์ด (JamesLange and Cannon Bard Theory). [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 23 ตุลาคม 2562 จาก https:// www.gotoknow.org/posts/629846 เพ็ญสิริ เศวตวิหารี. (2541). อิทธิพลของแนวคิดยุคหลังสมัยใหม่ที่ปรากฏในภาพยนตร์ไทยของผู้กำกับรุ่น ใหม่ (ระหว่างปี พ.ศ. 2538-2540).วิทยานิพนธ์ปริญญานิเทศศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย). พัฒนา กิติอาษา. (2546). “มานุษยวิทยากับการศึกษาปรากฏการณ์โหยหาอดีตในสังคมไทยร่วมสมัย”. ใน การประชุม ประจําปีทางมานุษยวิทยา ครั้งที่ 1 เรื่อง คนมองคน: นานาชีวิตในกระแสการ เปลี่ยนแปลง. กรุงเทพฯ : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)


230 ดอกไม้ทะเลสีสันแห่งท้องทะเล Sea anemone color of the sea วณิชยา นวลอนงค์, Wanitchaya Nualanong วิทยาลัยช่างศิลปนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช, Nakhon Si Thammarat College of fine art, Nakhon Si Thammarat Province. E-mail: [email protected] บทคัดย่อ ผลงานสร้างสรรค์ “ดอกไม้ทะเลสีสันแห่งท้องทะเล” เป็นผลงานสร้างสรรค์ที่นำความประทับใจจาก ดอกไม้ทะเล ปะการัง ทีมีรูปทรงและสีสันที่สวยงามมาสร้างสรรค์ถ่ายทอดเป็นผลงานศิลปะด้วยเทคนิคเครื่อง เคลือบดินเผาโดยวิธีการ ขึ้นรูปอิสระและการขึ้นรูปด้วยการปั้นเสริมส่วนที่เป็นรายละเอียดด้วยการตกแต่ง พื้นผิว การจัดรูปทรง การใช้สี ตามหลักขององค์ประกอบศิลป์ เพื่อให้เกิดรูปทรงใหม่ตามจินตนาการที่มีความ สมบูรณ์ และมีคุณค่าทางศิลปะ มากยิ่งขึ้น การสร้างสรรค์ผลงานชิ้นนี้ทำให้เกิดความงาม และมีคุณค่าทางศิลปะในด้านรูปทรงสีสันที่จะทำให้ ผู้ชมได้รับรู้และจินตนาการถึงความสวยงามของธรรมชาติใต้ท้องทะเล ได้แก่ปะการังและสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย ตลอดจนได้ตระหนักและเห็นคุณค่าของธรรมชาติใต้ท้องทะเล ที่จะนำไปสู่การอนุรักษ์ ดูแลรักษาธรรมชาติของ ใต้ท้องทะเลให้สวยงามและอุดมสมบรูณ์ ตลอดไป คำสำคัญ : ดอกไม้ทะเล, แรงบันดาลใจ Abstract This art work named Sea anemone color of the sea. created from the impression of beautiful shapes and colors of sea anemones and corals became an art work by ceramics technique which free forming of clay and forming the details by hand. The shaping and colors usages are following the art composition for creating the new shape from my imagination and valuable. The creation of this work creates beauty and has artistic value in the form and color that will bring the audience to recognize and imagine the beauty of the underwater nature, including corals and all living things, as well as realize and appreciate the value of nature under the sea that will lead to the preservation and preserve the nature of the sea to be beautiful and abundant forever. Keywords: Sea anemone, inspiration


231 1. ความสำคัญหรือความเป็นมาของปัญหา ปะการัง เป็นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตใต้ท้องทะเลหลากหลายสายพันธุ์เป็นแหล่งเพาะพันธุ์วางไข่และ หลบภัย เป็นแหล่งอาหาร ของพืชและสัตว์จำนวนมาก ปะการังมีความสำคัญต่อระบบนิเวศทางทะเล ช่วย รักษาสภาพสมดุลธรรมชาติของชายฝั่ง ปัจจุบันปะการังกำลังถูกทำลายด้วยน้ำมือมนุษย์ ความอุดมสมบูรณ์ของระบบนิเวศทางทะเลกำลังถูก คุกคามจากกิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์ไม่ว่าจะเป็นขยะที่ถูกทิ้งลงทะเลจำนวนมหาศาล การประมงเกิน ขนาด มลพิษ และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทำให้กระทบถึงระบบนิเวศใต้ทะเล ปะการังถูกทำลายจาก การทำประมงผิดกฎหมาย ตลอดจนการท่องเที่ยวที่ทำให้กระทบกับสภาพแวดล้อมใต้ท้องทะเล การ สร้างสรรค์ผลงาน“ดอกไม้ทะเลสีสันแห่งท้องทะเล”ที่ผู้สร้างสรรค์ต้องการถ่ายทอดและสะท้อนความงดงาม ของใต้ท้องทะเลในเทคนิคเครื่องเคลือบดินเผา เพื่อทุกคนได้เห็นคุณค่าความงามทางศิลปะที่เกิดจากแรง บันดาลใจจากความงามของปะการังและดอกไม้ทะเล ทำให้เกิดความรักษ์ หวงแหนและช่วยกันรักษาธรรมชาติ ของโลกใต้ทะเลให้คงความงดงาม และสมบูรณ์ตลอดไป 2. แนวคิด /ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง ดอกไม้ทะเล (Sea Anemone) เป็นสัตว์ทะเลไม่มีกระดูกสันหลัง มีหลายชนิดและหลายสกุล การ จำแนกทาง วิทยาศาสตร์จัดอยู่ใน ไฟลั่ม ไนดาเรีย (Phylum Cnidaria) คล้าส แอนโธซัว (Class Anthozoa) และออร์เดอร์แอคตินีอาเรีย (Order Actiniaria) มีหลายครอบครัว จัดอยู่ในกลุ่มย่อยเดียวกับปะการังแข็ง แต่ ดอกไม้ทะเลไม่มีโครงสร้างหินปูนเหมือนปะการังแข็งจึงทำให้กอดอกไม้ทะเลดูอ่อนนุ่มไหวพลิ้วไปตาม กระแสน้ำ ดอกไม้ทะเลมีลักษณะเป็นรูปทรงกระบอกยืดหดได้ ด้านหนึ่งเป็นฐานสำหรับยืด ด้านตรงข้ามเป็น ช่องปาก มีอวัยวะที่มีลักษณะคล้ายกับหนวดอยู่รอบ ๆ ตามธรรมชาติจะมองเห็นหนวดเหล่านี้พัดโบกไหว ตาม กระแสน้ำไปมา บริเวณรูเปิดนั้นมีสีสันที่แตกต่างกันเช่น สีแดง สีเขียว สีส้ม เป็นต้น ขนาดของดอกไม้ทะเล แต่ ละชนิดมีความแตกต่างกันตั้งแต่ตัวเล็กกว่า 1 เซนติเมตร จนถึงขนาดใหญ่กว่าครึ่งเมตร อาศัยอยู่ภายใต้ท้อง ทะเลและมหาสมุทร (พนิดา วาราชนนท์, 2561) แนวปะการัง เป็นแนวหินปูนใต้ทะเลในระดับน้ำตื้นที่แสงแดดส่องถึง หินปูนดังกล่าวเป็นผลมาจาก การเจริญเติบโตของปะการังหลาย ๆ ชนิด นอกจากนี้ ยังมีสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ อีกหลายชนิดที่มีส่วนเสริมสร้าง หินปูนพอกพูนสะสมในแนวปะการัง เช่น สาหร่ายหินปูน หอยที่มีเปลือกแข็ง ฯลฯ ทั้งปะการังเองและสิ่งมีชีวิต ที่สร้างหินปูนได้ เมื่อตายไปแล้วจะยังคงเหลือซากหินปูนทับถมพอกพูนต่อไป เนื่องจากแนวปะการัง ประกอบด้วยปะการังหลายชนิดและปะการังแต่ละชนิดมีลักษณะโครงสร้างแตกต่างกันไป ทำให้โครงสร้างของ แนวปะการังมีลักษณะซับซ้อน เต็มไปด้วยซอกหลืบเหมาะสมต่อการดำรงชีวิตสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ เช่น ปลาชนิด ต่าง ๆ กุ้ง หอย ดาวทะเล ปลิงทะเล ฟองน้ำ ปะการังอ่อน กัลปังหา หนอนทะเล สาหร่ายทะเล เป็นต้น (กรม ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง, 2556)


232 แนวคิดในการสร้างสรรค์ผลงานเครื่องเคลือบดินเผา “ดอกไม้ทะเลสีสันแห่งท้องทะเล” ข้าพเจ้า ได้รับ แรงบันดาลใจจากรูปแบบของสีสันและลักษณะทางกายภาพของดอกไม้ทะเล และปะการัง รวมถึงสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ที่อาศัยอยู่ใต้ท้องทะเลและแนวปะการัง ซึ่งมีความงดงามตาม ธรรมชาติ ข้าพเจ้าจึงได้เก็บความประทับใจ ดังกล่าวมา สร้างสรรค์เป็นผลงานด้วยเทคนิคเครื่องเคลือบดินเผาโดยขึ้นรูปทรงอิสระที่มีรูปทรงคล้ายปะการัง และดอกไม้ทะเล ที่มีสีสันสดใสสวยงามเพื่อสะท้อนถึง ความงาม ของธรรมชาติใต้ท้องทะเล 3. กระบวนการสร้างสรรค์ 3.1 ศึกษาและรวบรวมข้อมูล 3.2 ทำแบบร่าง 3.3 ขึ้นรูปผลงาน ตกแต่งด้วยวิธีการปั้นเสริม 3.4 เผาดิบ 3.5 ตกแต่งระบายสีด้วยสีใต้เคลือบเซรามิกส์ และเคลือบผลงาน 3.6 เผาเคลือบ 3.7 เผยแพร่ในนิทรรศการแสดงผลงานสร้างสรรค์ ภาพที่1 ภาพตัวอย่างปะการัง ที่มา :http://.wikipedia.orgสืบค้นเมื่อ 28 กรกฎาคม 2566 ภาพที่ 2 ภาพตัวอย่างดอกไม้ทะเล ที่มา :http://istockphoto.commสืบค้นเมื่อ 28 กรกฎาคม 2566 ภาพที่ 3 ภาพตัวอย่างดอกไม้ทะเล ที่มา :https://sites.google.comสืบค้นเมื่อ 28 กรกฎาคม 2566 ภาพที่4 ภาพตัวอย่างดอกไม้ทะเล ที่มา :http://chmthai.onep.go.thสืบค้นเมื่อ 28 กรกฎาคม 2566


233 ภาพที่5 ภาพตัวอย่างพื้นผิวปะการัง ที่มา :http://istockphoto.comสืบค้นเมื่อ 28 กรกฎาคม 2566 ภาพที่ 6 ภาพตัวอย่างพื้นผิวปะการัง ที่มา :http://istockphoto.comสืบค้นเมื่อ 28 กรกฎาคม 2566 ภาพที่ 7 การตกแต่งด้วยวิธีการปั้นเสริม ที่มา : ผู้สร้างสรรค์ ภาพที่8 การตกแต่งด้วยวิธีการปั้นเสริม ที่มา : ผู้สร้างสรรค์ ภาพที่ 9 การสร้างพื้นผิวของผลงาน ด้วยวิธีการปั้นเสริม ที่มา : ผู้สร้างสรรค์ ภาพที่ 10 การสร้างพื้นผิวของผลงาน ด้วยวิธีการปั้นเสริม ที่มา : ผู้สร้างสรรค์ ภาพที่ 11 การตกแต่งด้วยสีใต้เคลือบ และการเคลือบ ที่มา : ผู้สร้างสรรค์ ภาพที่ 12 การตกแต่งด้วยสีใต้เคลือบ และการเคลือบ ที่มา : ผู้สร้างสรรค์


234 4. การวิเคราะห์ผลงาน ภาพที่ 13 ดอกไม้ทะเลสีสันแห่งท้องทะเล ที่มา : ผู้สร้างสรรค์ การสร้างสรรค์ผลงาน “ดอกไม้ทะเลสีสันแห่งท้องทะเล” ชิ้นนี้ได้นำเอารูปทรงของปะการังสมอง (Brain Coral) และดอกไม้ทะเล (Sea Anemone) ที่พบได้ในทะเลอ่าวไทย และทะเลอันดามัน ของประเทศไทย มาสร้างสรรค์ด้วยวิธีการขึ้นรูปทรงอิสระ โดยนำรูปทรง พื้นผิว สีสันของปะการัง มาสร้างสรรค์และตกแต่งตาม กระบวนการเครื่องเคลือบดินเผา โดยส่วนบนของผลงานที่เป็นหนวดของดอกไม้ทะเลได้ปั้นดินเป็นเส้น เพื่อ แสดงถึงการ เคลื่อนไหวของรูปทรงตามแรงกระเพื่อมของน้ำทะเล มีการแต้มเป็นจุดเพื่อให้สอดรับกับรูปทรง ให้ดูน่าสนใจ ในส่วนของการให้สีของผลงานโดยภาพรวมจะเน้นสีสันสดใสและความหลากสีสันในโลกใต้ทะเล ที่สอดคล้องตามเรื่องราวแนวความคิดของผู้สร้างสรรค์ที่เกิดจากแรงบันดาลใจจากดอกไม้ทะเลสีสันแห่งท้องทะเล 5. สรุป การสร้างสรรค์ ผลงานเรื่อง “ดอกไม้ทะเลสีสันแห่งท้องทะเล” เกิดการสร้างสรรค์ผลงานเครื่อง เคลือบดินเผาด้วยวิธีขึ้นรูปอิสระ โดยนำเอาแนวคิดและแรงบันดาลใจจากความ ประทับใจส่วนตัวที่มีต่อ สิ่งมีชีวิตใต้ทะเล เช่น รูปร่างรูปทรง พื้นผิว สีสันที่หลากหลายของปะการังและสิ่งมีชีวิตที่อาศัยใต้ทะเล มา สร้างสรรค์ตามขั้นตอนกระบวนการของเครื่องเคลือบดินเผา ก่อให้เกิด เป็นผลงานสร้างสรรค์ตามแนวความคิด และจินตนาการ สร้างความรู้สึก สดใสและมีความสุขถึงจินตนาการในโลกของสิ่งมีชีวิตใต้ท้องทะเล ตาม แนวความคิดของผู้สร้างสรรค์ เอกสารอ้างอิง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง. (2561). ปลาการ์ตูน และ ดอกไม้ทะเล, สืบค้นเมื่อ 28 กรกฎาคม 2566 จากเว็บไซต์https://www.dmcr.go.th กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง. (2556). ปะการัง,สืบค้นเมื่อ 28 กรกฎาคม 2566 จากเว็บไซต์ https://km.dmcr.go.th/th สถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทะเล ชายฝั่งทะเลและป่าชายเลน./2558./ หญ้าทะเลและปะการัง, สืบค้นเมื่อ 28 กรกฎาคม 2566 จากเว็บไซต์ https://www.dmcr.go.th


235 วิถีชีวิตที่เรียบง่าย SIMPIE LIFESTYLE วรรณวิสา พัฒนศิลป์, Wanwisa Phattanasin วิทยาลัยช่างศิลป สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์, College of Fine Arts, Bunditpatanasilpa Institute of Fine Arts E-mail: [email protected] บทคัดย่อ จากความทรงจำและความผูกพันของผู้สร้างสรรค์ที่เกิดและการเติบโตในพื้นถิ่นทางภาคใต้รายล้อม ด้วยธรรมชาติ วิถีชีวิตที่เรียบง่าย รวมถึงศิลปะ วัฒนธรรมที่ทรงคุณค่า ส่งต่อเป็นแรงบันดาลใจในการ สร้างสรรค์ผลงานชุดนี้ โดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างสรรค์ผลงานชุด “วิถีชีวิตที่เรียบง่าย” 2) เพื่อสร้างสรรค์ ผลงานเทคนิคลายรดน้ำ วิธีการเตรียมพื้นด้วยวัสดุพื้นถิ่นภาคใต้ ทาเคลือบด้วยยางรักใสของเวียดนาม 3) เพื่อ ถ่ายทอดเนื้อหาเรื่องราวที่แสดงออกถึงอัตลักษณ์พื้นถิ่นทางภาคใต้ ผลการสร้างสรรค์พบว่า กระบวนการสร้างสรรค์ผลงานในเทคนิคลายรดน้ำ จากการเตรียมพื้นด้วย วัสดุพื้นถิ่นทางภาคใต้ ทาเคลือบพื้นผิวด้านหน้าด้วยยางรักใสของเวียดนามนั้น มีความโดดเด่นซึ่งสามารถ มองเห็นสี ลวดลายและรูปทรงของวัสดุ ได้อย่างชัดเจน ด้วยลักษณะเฉพาะของพื้นรองรับการสร้างสรรค์ ผลงานลายรดน้ำ นำไปสู่การสร้างสรรค์ผลงานโดยใช้แผ่นทองคำเปลวร้อยเปอร์เซ็นต์และผงทองวิทยาศาสตร์ ในการสร้างค่าน้ำหนักของผลงาน นำเสนอเนื้อหาเรื่องราวที่แสดงออกถึงอัตลักษณ์พื้นถิ่นทางภาคใต้ ความ ประทับใจ ความสุข และความผูกพันจากครอบครัว เพื่อบันทึกความงามเป็นผลงานจิตรกรรมลายรดน้ำร่วม สมัย ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะตนของผู้สร้างสรรค์ คำสำคัญ: ลายรดน้ำร่วมสมัย, รักใส, วัสดุพื้นถิ่น, แรงบันดาลใจ, วิถีชีวิตชาวใต้ Abstract A creative individual was born and raised in the southern region and was surrounded by natural landscapes, a simple way of life, and rich local arts and culture. They draw inspiration from their memories and attachments to create a series of artworks. The objectives of this endeavor are as follows: 1) to produce a series of artworks titled "Simple Lifestyle", 2) to utilize the Thai lacquerware technique, employing local materials from the southern region as the foundation and coating the front surface with clear lacquer from Vietnam, 3) to convey content and stories that reflect the identity of the southern region. The results of this creative process reveal that the technique of creating artworks using Thai lacquerware technique by employing local materials from the southern region as


236 the foundation and applying clear lacquer from Vietnam to the front surface, impart distinctive features that vividly showcase the colors, patterns, and shapes of the materials. The unique characteristics of the foundation provide strong support for the creation of artworks using gold leaf and gold powder, adding value and weight to the artworks. The content presented in these artworks narrates stories that reflect the identity of the southern region, conveying impressions, happiness, and a deep sense of attachment to family. These creations capture the beauty and serve as artistic masterpieces of contemporary lacquerware painting. This uniqueness embodies the creator myself. Keywords: contemporary lacquerware, clear lacquer, local materials, inspiration, southern Thai way of life 1. ความสำคัญหรือความเป็นมาของปัญหา จากประสบการณ์ตรงของผู้สร้างสรรค์เมื่อย้อนความทรงจำในวัยเด็ก ซึ่งเกิดและเติบโตในครอบครัวที่ อบอุ่นและมีความสุข จากวิถีชีวิตของครอบครัวเล็กๆที่มีความเรียบง่าย ตั้งอยู่ในพื้นที่ชนบทของภาคใต้ ประกอบอาชีพการทำสวนยางพารา มีความเป็นอยู่ที่ปรับตัวเข้ากับธรรมชาติ ศิลปะ และ วัฒนธรรม รวมถึง ประดิษฐ์ข้าวของเครื่องใช้ในครัวเรือน อุปกรณ์การปรุงอาหารในอดีต เสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย จากความทรงจำ และความประทับใจของครอบครัวนั้น เป็นแรงบันดาลใจให้ผู้สร้างสรรค์ใช้ผ้าปาเต๊ะ ที่ชาวใต้ เรียกว่า (ผ้าถุง) เป็นผ้านุ่ง ที่เปรียบเสมือนตัวแทนของแม่ และวัสดุจากธรรมชาติที่มีกลิ่นอายของวิถีชีวิตในภาคใต้ ผลงานสร้างสรรค์ ได้รับแรงบันดาลใจมาจากวิถีชีวิตทางภาคใต้ สร้างสรรค์ผ่านรูปแบบศิลปะไทย เทคนิคลายรดน้ำร่วมสมัย การเตรียมพื้นรักใสด้วยผ้าปาเต๊ะผสมวัสดุเฉพาะ เป็นพื้นรองรับผลงานสร้างสรรค์ ในเทคนิคลายรดน้ำ วัสดุที่ผ่านการทาเคลือบด้วยรักใสให้สีสันและลวดลายของผ้าที่ชัดเจนเพิ่มเสน่ห์ของการ เตรียมพื้นงานลายรดน้ำในรูปแบบใหม่ ผสมผสานกับการปรับค่าของพื้นชิ้นงานบางส่วนด้วยวิธีการทาง จิตรกรรมสีอะคริลิค สร้างสัญญะทางความงามด้วยรูปแบบและเทคนิคเฉพาะตน สร้างคุณค่าอัตลักษณ์ความ งามเฉพาะถิ่นของภาคใต้ เป็นการบันทึกกลิ่นอายของความงามจากวิถีชีวิต ผ่านมุมมองอันพิเศษของผู้ สร้างสรรค์ 2. แนวคิด / ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง ขอบเขตด้านเนื้อหา ผลงานสร้างสรรค์ชุดนี้ต้องการแสดงออกถึง ศิลปะ วัฒนธรรม การดำรงชีวิต ศึกษาข้อมูลจากธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม วิถีชีวิต ภูมิปัญญา การประกอบอาชีพ ที่เป็นอัตลักษณ์เฉพาะพื้นถิ่น ทางภาคใต้ ขอบเขตด้านรูปแบบ ผลงานงานสร้างสรรค์ 2 มิติในรูปแบบศิลปะไทยร่วมสมัย ใช้วิธีการปรับ ลดทอนรูปทรงที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิต ถอดลายเส้นแบบร่างแนวความคิดจากแรงบันดาลใจของผู้สร้างสรรค์ เช่น


237 เตาอั้งโล่ ครกตำข้าว กองไม้ฟืน โอ่ง ผ้าปาเต๊ะ เตาถ่านรีดผ้า ตะเกียงน้ำมันก๊าด เตาก้อนเส้า ตะเกียงแก๊ส อุปกรณ์การทำสวนยางพารา เครื่องมือจับสัตว์น้ำ พืชผักพื้นถิ่นทางภาคใต้ เป็นต้น สร้างสัญญะทางความงาม ของรูปร่างและรูปทรงตามจินตนาการของผู้สร้างสรรค์ และผูกประกอบลายในลักษณะของงานศิลปะไทย ขอบเขตด้านเทคนิค ผลงานสร้างสรรค์เทคนิคลายรดน้ำร่วมสมัย มีความพิเศษของกระบวนการ เตรียมพื้นที่ใช้ยางรักใสเวียดนามทาเคลือบบนวัสดุพื้นถิ่นทางภาคใต้ ได้แก่ ผ้าปาเต๊ะ เยื่อใยของใบยางพารา ผงเถ้าถ่าน กะลาปาล์น้ำมัน กิ่งไม้ เม็ดมะม่วงหิมพานต์ เป็นต้น วัสดุที่ผ่านการทาเคลือบด้วยยางรักใสยังให้ สีสันและลวดลายของวัสดุที่ชัดเจน เพิ่มเสน่ห์ของงานลายรดน้ำในรูปแบบใหม่ ผสมผสานกับการปรับค่าของ พื้นชิ้นงานบางส่วนด้วยวิธีการผสมทางงานจิตรกรรมสีอะคริลิค ใช้วิธีการเขียนลายลงรักปิดทองรดน้ำด้วยวิธีโบ ราญ มีความพิเศษโดยจะสามารถมองเห็นตัวพื้นของชิ้นงานจริงเป็นสีจากวัสดุรองรับด้านล่าง ผสมกับการใช้ แผ่นทองคำเปลวและผงทองวิทยาศาสตร์สร้างค่าน้ำหนักในชิ้นงานที่มีลักษณะเฉพาะตนของผู้สร้างสรรค์ ปฏิบัติการสร้างสรรค์ผลงานจริงด้วยเทคนิคลายรดน้ำ การเตรียมรักใสบนวัสดุพื้นถิ่นภาคใต้ พัฒนาความสมบูรณ์ในกระบวนการสร้างสรรค์ให้เป็น ลักษณะเฉพาะตน ผลงานสร้างสรรค์วิถีชีวิตที่เรียบง่าย กระบวนการสร้างสรรค์ทางศิลปะ อิทธิพลที่ได้รับจากงานศิลปกรรม - อิทธิพลที่ได้รับจากงานศิลปกรรม - อิทธิพลที่ได้รับจากศิลปิน อิทธิพลจากวิถีชีวิตในภาคใต้ - ศิลปวัฒนธรรม - วิถีชีวิตชุมชน - พืชพันธุ์พฤกษา - เก็บข้อมูลแรงบันดาลใจจากสถานที่จริง - ศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องและตัวอย่างผลงาน ศิลปกรรมรูปแบบต่างๆ - ถอดลายเส้นรูปทรงจากแรงบันดาลใจที่ศึกษา - สร้างแบบร่าง เพื่อนำไปเป็นต้นแบบในการสร้างสรรค์ อิทธิพลจากแนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง - ทฤษฎีสัญญะวิทยาและการออกแบบ - แนวคิดการสร้างสรรค์ศิลปะกับความ บันดาลใจ - ทฤษฎีความงาม อิทธิพลและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง กรอบแนวคิดในการสร้างสรรค์


238 3. กระบวนการในการสร้างสรรค์ การศึกษาในผลงานชุด “วิถีชีวิตที่เรียบง่าย”นั้น เป็นการศึกษาที่ต้องใช้ขั้นตอน และระเบียบวิธี การศึกษาในกระบวนการสร้างสรรค์อย่างเป็นระบบ ดังวิธีการต่อไปนี้ 1. ศึกษาโดยการเก็บรวบรวมข้อมูลจากประสบการณ์ตรง การสังเกตุ การสอบถาม และบันทึกภาพ ข้อมูลจากวิถีชีวิตของครอบครัวในภาคใต้ 2. ศึกษาค้นคว้าข้อมูลทางวิชาการจาก ตำรา หนังสือ ที่เกี่ยวข้องกับเทคนิคกระบวนการสร้างสรรค์ แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง ผลงานสร้างสรรค์ของศิลปินและผลงานศิลปกรรม 3. ถอดลายเส้นรูปทรงจากแรงบันดาลใจที่ศึกษา สร้างรูปแบบทางสัญญะเฉพาะตน 4.ปฏิบัติงานสร้างสรรค์รูปแบบศิลปะไทย ในผลงานชุด “วิถีชีวิตที่เรียบง่าย” โดยได้รับแรงบันดาลใจ จากความประทับใจและความผูกพันจากครอบครัว 5. พัฒนาความสมบูรณ์ในกระบวนการสร้างสรรค์ ให้เป็นลักษณะเฉพาะตน ภาพที่ 1 ข้อมูลภาพร่างแนวความคิด ชิ้นที่ 1 ที่มา : ผู้สร้างสรรค์ 2566


239 ภาพที่ 2 ขั้นตอนการเขียนลาย (ก) ทำความสะอาดพื้นผิว ด้วยดินสอพองผสมน้ำขัดเพื่อลดความมันของผิวชิ้นงาน (ข) เตรียมอุปกรณ์ น้ำยาหรดาล พู่กัน และสะพานรองมือ เขียนลายตามแบบที่กำหนดไว้ (ค) ถมลายด้วยน้ำยาหรดาลในส่วนที่ต้องการให้เป็นพื้นของผลงาน ที่มา : ผู้สร้างสรรค์2566 ภาพที่ 3 ขั้นตอนการเช็ดรักปิดทองรดน้ำ (ก) นำผ้าชุบยางรักที่เคี่ยวไฟไว้จนเหนียวเช็ดรัก เช็ดรักออกให้เหลือบางที่สุด เรียกว่า การถอนรัก (ข) ปิดทองลงบนพื้นที่เช็ดรักไว้ ปิดทองคำเปลว หรือปิดทองผงวิทยาศาสตร์ ตามที่กำหนดไว้ (ค) รดน้ำและล้างออกด้วยน้ำสะอาดเบาๆ ใช้กระดาษห่อแผ่นทองชุดน้ำเปียกช่วยดึงให้หรดาลหลุดออกง่ายยิ่งขึ้น ที่มา : ผู้สร้างสรรค์ 2566 (ก) (ข) (ค)


240 ภาพที่ 4 ขั้นตอนการเช็ดรักปิดทองรดน้ำ (ก) นำผ้าชุบยางรักที่เคี่ยวไฟไว้จนเหนียวเช็ดรัก เช็ดรักออกให้เหลือบางที่สุด เรียกว่า การถอนรัก (ข) ปิดทองลงบนพื้นที่เช็ดรักไว้ ปิดทองคำเปลว หรือปิดทองผงวิทยาศาสตร์ ตามที่กำหนดไว้ (ค) รดน้ำและล้างออกด้วยน้ำสะอาดเบาๆ ใช้กระดาษห่อแผ่นทองชุดน้ำเปียกช่วยดึงให้หรดาลหลุดออกง่ายยิ่งขึ้น ที่มา : ผู้สร้างสรรค์ 2566 ภาพที่ 5 ผลงานสมบูรณ์วิถีชีวิตที่เรียบง่าย ที่มา : ผู้สร้างสรรค์ 2566 (ก) (ข) (ค)


241 4. การวิเคราะห์ผลงาน กระบวนการในการสร้างสรรค์ผลงานชุดนี้ ด้วยวิธีการทางเทคนิคลายรดน้ำโดยการใช้ยางรักใสของ เวียดนาม ทาเคลือบลงบนวัสดุที่มีความเฉพาะทางภายใต้ เริ่มต้นด้วยการเตรียมพื้นที่ที่จะใช้สร้างผลงาน โดย ใช้วัสดุทางธรรมชาติ เช่น ผ้าปาเต๊ะหรือวัสดุอื่น ๆ ยางรักใสของเวียดนามถูกใช้เป็นวัสดุหลักที่สำคัญ ในการ สร้างผลงานลายรดน้ำบนผืนผ้าหรือวัสดุที่เลือกไว้ยางรักใสถูกทาเคลือบลงบนผืนผ้าหรือวัสดุอย่างแนบเนียน กระบวนการสร้างสรรค์ด้วยเทคนิคลายรดน้ำ ปรากฏลวดลายของชั้นสีทองบนผืนผ้า การซ้อนทับลวดลายของ ชั้นสีทอง ถูกสร้างขึ้นและซ้อนทับกันเพื่อสร้างลวดลายปรากฏบนพื้นยางรักใสของเวียดนามที่มีความเฉพาะ สื่อถึงความผูกพันของครอบครัววิถีชีวิตชาวใต้ แผ่นทองคำเปลวร้อยเปอร์เซ็นต์และผงทองวิทยาศาสตร์ถูกใช้ เพื่อเพิ่มค่าน้ำหนักในผลงาน การปิดทองที่ไม่สม่ำเสมอโดยการใช้ทองสร้างคุณสมบัติต่าง ๆ ให้เกิดสวยงาม นำเสนอความสุข ความทรงจำ ความรัก และความผูกพันจากครอบครัวของผู้สร้างสรรค์. 5. สรุป ผลงานสร้างสรรค์ "วิถีชีวิตที่เรียบง่าย" เป็นผลงานที่ถูกสร้างขึ้นด้วยกระบวนการวิจัยสร้างสรรค์ โดย ได้รับอิทธิพลจากศิลปินและการศึกษาเพื่อสร้างความคิดและรูปแบบการแสดงออกที่เป็นเอกลักษณ์ แรง บันดาลใจมาจากรากเหง้าและวิถีชีวิตของครอบครัวในชนบททางภาคใต้ ผ่านการปรับลดทอนรูปทรงเป็น ลายเส้นผ่านจินตนาการส่วนตนและการผูกประกอบลวดลายในลักษณะศิลปะไทยเพื่อสร้างสัญญาทางความ งามของรูปร่างและรูปทรงตามแบบเฉพาะ โดยใช้เทคนิคลายรดน้ำร่วมสมัยเขียนลายด้วยน้ำยาหรดาลและลง รักปิดทองรดน้ำ ผลงานนี้ถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึก และจินตนาการของผู้สร้างสรรค์ โดยใช้การเตรียมพื้น ลายรดน้ำในรูปแบบใหม่ที่มีลักษณะเฉพาะของผู้สร้างสรรค์ และนำเสนอความใหม่ในการสร้างผลงานศิลปะ ลายรดน้ำ เอกสารอ้างอิง น. ณ ปากน้ำ. (2524). วิวัฒนาการลายไทย. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์พิฆเณศ. เสน่ห์ หลวงสุนทร.(2542). ศิลปไทย. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มิตรสัมพันธ์กราฟฟิค จำกัด.


242 วาดเส้นสร้างสรรค์ : ลีลานาฏศิลป์ถิ่นสุพรรณ The Creative Drawing : Thai Creative Dance Moves of Suphanburi วิศิษฐ พิมพิมล, Wisit Pimpimon วิทยาลัยช่างศิลปสุพรรณบุรี, Suphanburi College of Fine Arts E-mail: [email protected] บทคัดย่อ การสร้างสรรค์วาดเส้นนี้เป็นการค้นคว้า ทดลองเพื่อนำศักยภาพของวัสดุชาร์โคลในกระบวนการเขียน หลากหลายรูปแบบออกมาสู่การสร้างสรรค์ทั้งการเขียนภาพในแบบเปียกและแห้งของชาร์โคล โดยการใช้ เทคนิคการขีดเขียน ปาดป้าย เกลี่ย เช็ดถูฝน ลบออก สร้างให้เกิดคราบ และร่องรอยต่าง ๆ เพื่อสร้าง ความสัมพันธ์ของกระบวนการทางเทคนิคกับเนื้อหาลีลานาฏศิลป์ที่มีท่วงท่าเฉพาะในการเคลื่อนไหว ผสมผสาน จินตนาส่วนตัว เพื่อส่งเสริม กระตุ้นให้ผู้ชมผลงานเกิดจินตนาการของความเคลื่อนไหวและมิติในการแสดง นาฏศิลป์ถิ่นสุพรรณ ชุดกีฏฤทธิ์ จากตำนานพญาต่อ วัดแค สุพรรณบุรี ผ่านกระบวนการทางทัศนศิลป์ คำสำคัญ: วาดเส้นสร้างสรรค์, ลีลานาฏศิลป์ Abstract The creation draws out the potential of charcoal in variety of drawing processes, for example, wet and dry drawings. The technique of scribbling, smearing, spreading, wiping, rubbing, and erasing is used to create stains and various traces to establish the relationship between the technical process and the content of the Suphanburi’s dance and encourages audiences to imagine the movement and dimention through the process of visual arts. Keywords: Creative Drawing, Thai Creative Dance Moves 1. ความสำคัญหรือความเป็นมาของปัญหา กระบวนการวาดเส้นโดยการใช้เทคนิคชาร์โคล หรือแท่งถ่าน มีการใช้ในวงการศิลปะของประเทศใน ยุโรปตั้งแต่ศตวรรษที่ 15 ส่วนในเอเชียวงการศิลปะของจีนใช้เทคนิคชาร์โคลในการศึกษาศิลปะอย่างจริงจังซึ่ง มีส่วนช่วยให้การเรียนรู้สร้างสรรค์ผลงานมีความรวดเร็ว เพราะเทคนิควาดเส้นแท่งถ่านสามารถสร้างค่าน้ำหนัก หรือปรับเปลี่ยนแก้ไขได้อย่างสะดวก สำหรับในประเทศไทยยังมีการนำเทคนิคแท่งถ่าน หรือชาร์โคลนี้เข้ามา ใช้ในการสร้างสรรค์ หรือเรียนรู้ในวงการศิลปะและวงการศึกษาศิลปะไม่มากนัก หรือหากนำมาใช้ก็ยังคงใช้ ความรู้ในการเขียนแบบดั้งเดิม ปัจจุบันเทคนิคชาร์โคลมีพัฒนาการไปสู่การวาดเส้นสร้างสรรค์มากยิ่งขึ้น ด้วย การใช้เทคนิคของชาร์โคลในหลากหลายวิธีการ เช่นการเขียนในแบบแห้ง และแบบเปียก การใช้ผงถ่าน การใช้


Click to View FlipBook Version