143 จากวันนั้น จนถึงวันนี้ From that time until now ปรานต์ ชาญโลหะ, Pran Chanloha คณะศิลปวิจิตร สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์, ต.ศาลายา อ.พุทธมณฑล จ.นครปฐม ประเทศไทย Faculty of Fine Arts, Bunditpatanasilpa Institute of Fine Arts, Nakhon Pathom, Thailand Email: [email protected] บทคัดย่อ การสร้างสรรค์ผลงานศิลปะภาพพิมพ์ “จากวันนั้น จนถึงวันนี้” ได้นำรูปถ่ายของบุคคลคนเดียวใน สองช่วงเวลาดังกล่าวมาซ้อนทับกัน เพื่อให้เกิดความเหลื่อมล้ำขึ้นในผลงาน ทำให้การมองเห็นบุคคลในภาพไม่ ชัดเจน แสดงให้เห็นความสัมพันธ์กันของเหตุการณ์ โดยใช้กระดาษเอกสารที่ผ่านการใช้แล้ว (Reuse paper) ที่มีร่องรอยการใช้งานและกำลังจะถูกทิ้ง เพื่อเป็นสิ่งแทนบุคคลในภาพ นำมาปริ๊นท์ภาพใบหน้าของคน (ผู้สูงอายุ) เคยไร้บ้าน โดยใช้กระบวนการพิมพ์ซ้ำทับซ้อนกัน เพื่อให้ปรากฏภาพบุคคลขึ้นมาในลักษณะที่ไม่ สามารถระบุตัวตนที่ชัดเจน แทนสถานะที่ไม่ชัดเจนของบุคคลนี้ในสังคม ซึ่งบุคคลนี้อาจเป็นภาพแทนของคน อีกหลายคนในสังคมปัจจุบัน คำสำคัญ: คนไร้บ้าน, กระบวนการพิมพ์เชิงทดลอง, ทับซ้อน Abstract The creation of the graphic art “From That Day Until Today” has overlapped photographs of a single person from those two periods. in order to create inequality in the work Makes the vision of the person in the picture unclear. Shows the interrelationship of events. By using used document paper (Reuse paper) that has traces of use and is about to be discarded. to be a substitute for the person in the picture Used to print facial images of people (elderly) who were once homeless. Using a repeat printing process. In order to make the image of a person appear in a way that cannot be clearly identified. instead of the unclear status of this person in society This person may be a representative image of many other people in today's society. Keywords: Homeless, experimental printing process, Overlapping
144 1. ความสำคัญหรือความเป็นมาของปัญหา จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ทำให้ได้เห็นภาพข่าวตามสื่อต่าง ๆ ถึงการสูญเสียทั้ง จากการตายจากของบุคคลในครอบครัวหรือคนรู้จัก รวมถึงสูญเสียการหารายได้ในการเลี้ยงชีวิต การแพร่ ระบาดของโรคที่รวดเร็ว เคลื่อนที่จากคนหนึ่งไปสู่อีกคนหนึ่งด้วยระบบทางเดินหายใจและการสัมผัสผู้ติดเชื้อ จึงเป็นเหตุให้คนติดเชื้อเจ็บป่วยและเสียชีวิตกันเป็นจำนวนมาก จนระบบสาธารณสุขของประเทศดูแลได้ไม่ ทั่วถึง หลายชุมชนต้องดูแลปกป้องชีวิตตนเอง โดยการสร้างศูนย์ดูแลผู้ป่วยในชุมชน ซึ่งที่ศูนย์คนไร้บ้านแห่ง หนึ่งได้รวมกลุ่มกันสร้างสถานที่ดูแลผู้ป่วยขึ้นในระยะแรกเริ่ม เพื่อให้รอดพ้นจากสถานการณ์การแพร่ระบาด และผู้ที่ได้รับผลกระทบมากอีกกลุ่มหนึ่งคือคน (ผู้สูงอายุ) ไร้บ้าน ที่มีโรคประจำตัวและขาดปัจจัยในการเลี้ยง ชีวิต ในช่วงของการระบาดของโรค มีการสูญเสีย มีความทุกข์ มีการดิ้นรนเพื่อการมีชีวิตอยู่รอด หลังจาก สถานการณ์โควิดผ่านพ้นไป คน (ผู้สูงอายุ) ไร้บ้าน ก็ยังคงมีความหวังว่าชีวิตและเศรษฐกิจต่อจากนี้จะดีขึ้น ซึ่ง ในความเป็นจริงแล้วจากวันนั้นจนถึงวันนี้ยังไม่มีอะไรพอจะดีขึ้นมาเลย ดังนั้นจึงเป็นที่มาในการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะภาพพิมพ์ “จากวันนั้นจนถึงวันนี้” โดยนำรูปถ่ายของ บุคคลคนเดียวในสองช่วงเวลาดังกล่าวมาซ้อนทับกัน เพื่อให้เกิดความเหลื่อมล้ำขึ้นในผลงาน ทำให้การ มองเห็นบุคคลในภาพไม่ชัดเจน แสดงให้เห็นความสัมพันธ์กันของเหตุการณ์ โดยใช้กระดาษเอกสารที่ผ่านการ ใช้แล้ว (Reuse paper) ที่มีร่องรอยการใช้งานและกำลังจะถูกทิ้ง เพื่อเป็นสิ่งแทนกลุ่มคนเหล่านี้ นำมาพรินต์ ภาพใบหน้าของคน (ผู้สูงอายุ) เคยไร้บ้าน และใช้การะบวนการพิมพ์ซ้ำทับกันบนระนาบรองรับ เพื่อให้ปรากฏ ภาพบุคคลขึ้นมาในลักษณะที่ไม่สามารถระบุตัวตนที่ชัดเจน แทนสถานะที่ไม่ชัดเจนของกลุ่มคนเหล่านี้ในสังคม ซึ่งกลุ่มคนเหล่านี้อาจเป็นภาพแทนของคนอีกหลายคนในสังคมปัจจุบัน 2. แนวคิดที่เกี่ยวข้อง แนวคิดสุนทรียศาสตร์กับการเมือง ฌาคส์ ร็องซิแยร์ ฌาคส์ ร็องซิแยร์ ได้กล่าวว่า สุนทรียศาสตร์ในแบบของเขานั้นคือการเมืองแบบหนึ่ง เป็น สุนทรียศาสตร์เพราะเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับระบบการจัดแบ่ง จัดสรรเวลาให้กับคนในแต่ละสังคม แต่ละวงการที่ แตกต่างกันออกไป การจัดสรรเวลาที่แตกต่างกันนำไปสู่การรับรู้และการมีชีวิตที่แตกต่างกัน เป็นการเมือง เพราะต้องการตั้งคำถามกับกระบวนการแบ่งแยกการรับรู้นี้ ดังนั้น การเมืองของสุนทรียศาสตร์ (The partition of asethetics) ในแบบของร็องซิแยร์จึงหมายถึงการตั้งคำถามกับระบบการแบ่งแยกการรับรู้ที่ ดำรงอยู่ในสังคม เพื่อเปิดพื้นที่ เวทีให้กับสิ่งที่ไม่มีพื้นที่ เวที เปิดเสียงให้กับที่ไม่มีเสียงในระบบการแบ่งแยก การรับรู้ที่ดำรงอยู่ เมื่อเป็นเช่นนี้ สำหรับร็องซิแยร์ จึงมีการปฏิวัติเชิงสุนทรียศาสตร์จึงเป็นเรื่องของการตั้ง คำถาม และล้มล้างระบบการจัดชั้นสูงต่ำของประสบการณ์ในชีวิตประจำวันของคนในสังคม การเมืองสำหรับร็องซิแยร์คือการท้าทายระเบียบสังคม การเมื่องคือกิจกรรมสุดขั้วที่อยู่ตรงกันข้ามกับ ระเบียบการควบคุมของสังคม การเมืองคือกิจกรรมที่เปิดพื้นที่ให้กับส่วนที่ถูกนับเพื่อที่จะไม่นับรวมให้เป็นส่วน สามารถเข้ามามีส่วนร่วม และในที่สุด สามารถทำให้เกิดความเสมอภาคเท่าเทียมกันสำหรับทุกคนในฐานะผู้พูด
145 คนหนึ่ง การมีฐานะเป็นผู้พูดมีความสำคัญมากในวิธีคิดและการเมืองแบบของร็องซิแยร์ เพราะแสดงถึง ความสามารถเข้าไปมีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่นในฐานะสมาชิกที่มีความเสมอภาคเท่าเทียมกันในการสร้างสรรค์ ชีวิตที่มีความหมาย จากข้างต้นผู้สร้างสรรค์ ได้เห็นความไม่เสมอภาคเท่าเทียมกันของคนในสังคม ยิ่งในสถานการณ์การ แพร่ระบาดของโรคโควิด 19 กลุ่มคนระดับรากหญ้าเข้าถึงการรักษาพยาบาลที่ยากกว่า กลุ่มคนชั้นกลาง รวม ไปถึงกลุ่มคนระดับสูงในสังคม จากข่าวสารต่าง ๆ ที่เผยแพร่ตามสื่อออนไลน์ เมื่อมีดาราหรือคนที่มีชื่อเสียง ตรวจพบว่ามีเชื้อไวรัส ก็สามารถไปรักษาพยาบาลได้ทันที มีรถพยาบาลมารับ มีการเข้าถึงระบบสาธารณสุข แบบรวดเร็ว ต่างจากกลุ่มคนในระดับล่าง ที่นอนรอคอยรถพยาบาลหรือหน่วยงานมารับ บางคนรอคอยอย่าง สิ้นหวัง มองเห็นผู้คนใกล้ชิดหรือบุคคลในครอบครัวเสียชีวิต หรือคนไร้บ้านบางคนก็เสียชีวิตอยู่ตามข้างถนน ทำให้ผู้สร้างสรรค์เกิดความรู้สึกสะเทือนใจ และตั้งคำถามกับสิ่งที่เกิดขึ้นว่า ความทุกข์การสูญเสียของพวกเขา ไม่มีใครเห็น และเสียงเรียกร้องต่าง ๆ ของพวกเขาไม่มีใครได้ยิน ไม่มีใครรับฟัง และภายหลังจากสถานการณ์ การแพร่ระบาด คนเหล่านี้ก็ยังหวังถึงการมีชีวิตอยู่ที่ดีขึ้น บางคนมีอาชีพค้าขายของเก่าก็หวังว่าเศรษฐกิจ หลังจากนี้จะดีขึ้น ซึ่งในความเป็นจริงแล้วจากวันนั้นจนถึงวันนี้ยังไม่มีอะไรพอจะดีขึ้นมาเลย ผู้สร้างสรรค์จึงนำจึงได้ทำการบันทึกภาพถ่ายของคนสูงอายุ (เคยคนไร้บ้าน) สองช่วงเวลา แล้วนำมา ซ้อนอยู่ในรูปภาพเดียวกัน เพื่อแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์กันของช่วงเวลาที่ทุกอย่างสำหรับพวกเขาก็ยัง เป็นอยู่เหมือนเดิม แนวคิดการผลิตซ้ำความยากจน บุญเลิศ วิเศษปรีชา กล่าวว่า คนไร้บ้านเป็นตัวอย่างที่ดีในการวัดระดับความยากจน ซึ่งไม่สามารถวัด ได้จะมิติทางเศรษฐกิจเพียงอย่างเดียว แต่สิ่งที่ทำให้คนไร้บ้านกระทบความรู้สึกของคนนั้น คือการขาดที่อยู่ อาศัยซึ่งเป็นปัจจัยสี่ของการดำรงชีพของมนุษย์ เมื่อคนจำนวนหนึ่งต้องขาดที่อยู่อาศัย จึงเป็นสภาวะที่กระทบ กับความรู้สึกคนเป็นจำนวนมาก และนอกจากนี้ยังมีคนไร้บ้านที่เต็มใจออกมาอาศัยที่ข้างถนนด้วยตนเอง หลายคนไม่สามารถคาดหวังให้สวัสดิการของรัฐได้ดูแลพวกเขาอย่างครอบคลุมได้ คนไทยจึงผูกติดการดูแล ตนเองเข้ากับครอบครัว ดังนั้นเมื่อทรัพยากรครอบครัวไม่สามารถโอบอุ้มปกป้องเขาได้ จึงเป็นเหตุจำเป็นให้ หลายคนออกจากบ้านและการมาเป็นคนไร้บ้านในที่สุด จากข้างต้นผู้สร้างสรรค์จึงเห็นความไม่เท่าเทียมกันของคนในสังคม การไม่เข้าสวัสดิการของรัฐ หรือ เข้าถึงได้โดยช้ากว่ากลุ่มคนอื่นในสังคม โดยเฉพาะผู้สูงอายุ (เคยไร้บ้าน) ที่ปัจจุบันมาอาศัยกันอยู่ในศูนย์คนไร้ บ้าน ที่รวมตัวกันปกป้องตัวเอง และสร้างอาชีพเพื่อชีวิตที่ดีขึ้น แนวคิดในการวาดภาพบุคคล ของแกร์ฮาร์ด ริตช์เตอร์ ริตช์เตอร์ ศิลปินร่วมสมัยคนสำคัญในศตวรรษที่ 20 ชาวเยอรมัน มักวาดภาพบุคคล สิ่งของหรือ สถานที่ให้เบลอ มีลักษณะที่เรือนรางไม่ชัดเจน ผลงานของเขามักเป็นการสำรวจทางภาพ และตั้งคำถามถึงพลัง อำนาจของ “ภาพ” ในฐานะ “ภาพแทนความเป็นจริง” ทั้งในงานจิตรกรรมภาพถ่าย และภาพในสื่อต่าง ๆ
146 ทั้งในอดีตและปัจจุบัน เขามักจะวาดภาพบุคคลหรือสิ่งของให้เบลอ ไม่ชัดเจน เพื่อแสดงความยากเย็นและ เป็นไปไม่ได้ของศิลปินจะแสดงออกถึงความเป็นจริงอันเที่ยงแท้ของสิ่งที่เขานั้นได้วาดออกมาอย่างแท้จริง ผลงานบางชิ้นของริตช์เตอร์ ได้นำภาพถ่ายของสองช่วงเวลามาปะติดปะต่อกันแล้วถ่ายทอดออกมาเป็นผลงาน จิตรกรรม จากแนวคิดดังกล่าวผู้สร้างสรรค์จึงคิดค้นกระบวนการพิมพ์ซ้ำในในผลงานชิ้นเดียว ซึ่งแตกต่างจาก งานศิลปะภาพพิมพ์ที่ไปที่สามารถผลิตซ้ำ เพื่อสร้างผลงานออกมาได้หลายชิ้น หรือหลาย Edition แต่ผู้ สร้างสรรค์ใช้หลักการผลิตซ้ำของศิลปะภาพพิมพ์ มาอยู่ในผลงานชิ้นเดียว เมื่อเกิดการพิมพ์ทับกันหลายครั้ง ภาพบุคคลในผลงานจะเลือนรางไม่ชัดเจน ยิ่งพิมพ์ซ้ำจำนวนมากครั้งเท่าไร ก็จะเกิดความเหลื่อมล้ำและ ทำลายจุดโฟกัสทางสายตาจนผู้ดูไม่สามารถจับจุดโฟกัสในผลงานนั้นได้ สลายความเป็นปัจเจกบุคคลในภาพ เพื่อเป็นภาพแทนของใครอีกหลายที่ในสังคมปัจจุบัน ที่มีสถานะที่ไม่ชัดเจนในสังคม 3. กระบวนการในการสร้างสรรค์ การดำเนินงานสร้างสรรค์ชุดนี้ มีกระบวนการและขั้นตอนในการสร้างสรรค์อย่างต่อเนื่องเป็นลำดับ ดังนี้ 3.1 การรวบรวมข้อมูล โดยนำรูปถ่ายสองช่วงเวลาของบุคคลผู้สูงอายุ (เคยไร้บ้าน)ที่ดีรับผลกระทบ จากสถานการณ์การแพร่ระบาดไวรัสโคโรนา (โรคโควิด19) และรูปถ่ายของบุคคลเดียวกันในช่วงเวลาปัจจุบัน มาเข้าเครื่องสแกนเพื่อที่จะเก็บบันทึกไฟล์ข้อมูลไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อใช้มาเป็นแบบร่างในการทำ ผลงานสร้างสรรค์ชุดนี้ 3.2 การสร้างภาพร่างผลงาน นำรูปถ่ายในอดีตมาทำเป็นภาพร่างต้นแบบ ปรับเพิ่มความเข้มของรูป ถ่ายด้วยโปรแกรม Photoshop แล้วตัดขอบ (Diecut) ภาพถ่ายบริเวณหน้ากากอนามัย แล้วปรับฟิวเตอร์ (Filter) เป็นรูปแบบเบลอ (Blur) และนำรูปในช่วงเวลาปัจจุบันมาซ้อนทับรูปในอดีต แล้วนำรูปภาพที่ปรับ เรียบร้อยแล้ว มาทับซ้อนกันหลายครั้ง ในหน้ากระดาษแผ่นใหม่ จึงเสร็จขั้นตอนการทำแบบร่าง 3.3 การขยายภาพร่างเพื่อทำเทคนิค ใช้เครื่องพิมพ์อิงค์เจ็ทขนาด A4 ในการใช้ขยายแบบร่างของ ผลงานเพื่อที่จะทำการ photocopy Transfer และใช้กระดาษถ่ายเอกสารที่ใช้แล้ว (Reuse paper) แทน การใช้กระดาษใหม่ที่ยังไม่ผ่านการใช้งาน เมื่อปริ๊นท์ออกมาแล้วนำรูปที่ถูกตัดออกมาเป็นชิ้นส่วน นำมา collage เป็นการขยายภาพร่างซึ่งกระบวนการนี้สัมพันธ์กับแนวความคิดในการสร้างสรรค์ของข้าพเจ้า 3.4 การปฏิบัติงานทางภาพพิมพ์ ข้าพเจ้าได้เตรียมกระดาษฟราเบรียโน่สำหรับงานภาพพิมพ์ขึงกระดาษให้ตึงโดยใช้กาวน้ำปิดที่ขอบ ทั้งสี่ด้าน รอจนแห้งสนิท วัดตำแหน่งของภาพ ปิดขอบด้วยกระดาษกาวย่น นำฟองน้ำชุบน้ำมาลูบให้ทั่วบน กระดาษ พ่นน้ำด้วยที่ฉีดอีกครั้ง ให้ชุ่มไปทั่วทั้งกระดาษ จากนั้นนำภาพต้นแบบที่ใช้ในการทำเทคนิค Photocopy Transfer ที่ทำการ Collage จากกระดาษ A4 จนเป็นภาพต้นแบบ (ซึ่งต่อจากนี้จะเรียกว่า แม่พิมพ์) ที่จะใช้ในการพิมพ์ จากนั้นจึงนำแม่พิมพ์มาทาบกับกระดาษที่มีความชื้น แล้วใช้มือลูบด้านหลัง
147 แม่พิมพ์ เพื่อที่จะให้หมึกอิงค์เจ็ทที่อยู่บนแม่พิมพ์ติดลงไปบนกระดาษที่มีความชื้น พิมพ์ในลักษณะเดียวกันซ้ำ ๆ กัน บางครั้งก็ปรับให้ภาพเป็นสี บางครั้งก็ปรับให้ภาพเป็นขาวดำ พิมพ์ในลักษณะเดียวกันซ้ำ ๆ ให้ได้ 79 ครั้ง ตามอายุของบุคคลในภาพ ใช้ขั้นตอนกระบวนการผลิตซ้ำของศิลปะพิมพ์เป็นการตั้งคำถาม ถึงความมีตัวตนอยู่ ของบุคลเหล่านี้และทำลายจุดโฟกัสในผลงาน เพื่อสลายความเป็นปัจเจกบุคคลและใช้บุคคลในภาพเป็นภาพ แทนของคนอีกหลายคนในสภาพสังคมปัจจุบัน ซ้ายรูปถ่ายในช่วงสถานการณ์โควิด ขวารูปถ่ายปัจจุบัน ภาพที่ 1 การทำภาพร่าง ที่มา : จากผู้สร้างสรรค์
148 นำรูปถ่ายสองช่วงเวลามาตัดต่อทับซ้อนกัน โดยที่รูปถ่ายจากอดีตทำการตัดต่อ ไดคัท (Diecut) บริเวณหน้ากากอนามัยออก ให้เป็นพื้นที่ว่าง สำหรับแทรกรูปถ่ายในปัจจุบันลงไป ภาพที่ 2 การทำภาพร่าง (ต่อ) ที่มา : จากผู้สร้างสรรค์ ฉีดน้ำบนกระดาษให้ชุ่ม แล้วนำภาพภาพต้นแบบที่ใช้ในการทำเทคนิค Photocopy Transfer ที่มาวางบนกระดาษแล้วใช้มือ ลูบให้ทั่วทั้งภาพ เพื่อให้หมึกพิมพ์ (Inkjet) ติดลงบนกระดาษ ภาพที่ 3 ขั้นตอนปฏิบัติงาน ที่มา : จากผู้สร้างสรรค์
149 ภาพที่ 4 ผลงานสร้างสรรค์ ชื่อผลงาน Homeless – after covid ที่มา : จากผู้สร้างสรรค์
150 4. การวิเคราะห์ผลงาน จากการสร้างสรรค์ผลงงานชุดนี้ ได้แยกการวิเคราะห์ผลงานเป็นลำดับ ดังนี้ 4.1 ทางด้านเนื้อหาเรื่องราว นำเสนอเรื่องราวของผู้สูงอายุ (เคยคนไร้บ้าน) ที่ได้รับผลกระทบจาก สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 4.2 ทางด้านรูปแบบ ได้นำรูปถ่ายบุคคลในสองช่วงเวลามาทำผลงานสร้างสรรค์ชุดนี้ เพื่อเป็นการตั้ง คำถามถึงการมีตัวตนอยู่ของพวกเขา เป็นศิลปะในแบบที่สะท้อนให้เห็นที่ปัญหาของสังคม โดยใช้ภาพบุคคล เป็นภาพแทนคนอีกหลายคนในสภาวะสังคมปัจจุบัน 4.3 ทางด้านเทคนิค กระบวนการทางด้านเทคนิค ข้าพเจ้าเลือกใช้เทคนิค Photocopy Transfer และใช้หมึก อิงค์เจ็ท (Inkjet) ที่น้ำสามารถทำละลายได้ใช้การพิมพ์ทับซ้อนกันทั้งหมด 79 ครั้ง ตามอายุของ บุคคลที่อยู่ในรูปภาพ เพื่อแสดงให้เห็นถึงการเคลื่อนที่ของต้นแบบ การไม่ชัดเจนถึงการมีตัวตนอยู่ของพวกเขา ในสังคม เป็นการสร้างเทคนิคให้สัมพันธ์กับเรื่องราวที่นำเสนอ 5. สรุป การสร้างสรรค์ผลงานชุด “จากวันนั้น จนถึงวันนี้”เริ่มต้นเริ่มจากข้าพเจ้าตั้งคำถามเกี่ยวกับบุคคลที่ ได้รับผลกระทบจากโรคโควิด เป็นการตั้งคำถามของสิทธิ์ในการเรียกร้องสิ่งต่าง ๆ ของพวกเขา จนนำมาสู่การ ทดลองกระบวนการพิมพ์แบบเฉพาะ ประกอบกับกระบวนการทางเทคนิคกับแนวความคิดที่สอดคล้องและ เกื้อหนุนกัน ได้เกิดการค้นคว้าทดลองในการทำงานศิลปะภาพพิมพ์ ที่แตกต่างจากกระบวนการพิมพ์แบบ ดั้งเดิม เพื่อที่จะได้เกิดแนวความคิดและพัฒนาผลงานในลำดับต่อไป เอกสารอ้างอิง ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร. (2563). ว่าด้วยความคิดทางการเมืองของ ฌาคส์ ร็องซีแยร์[The Political Thinking of Jacques Rcierean]. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สมมติ ภาณุ บุญพิพัฒนาพงศ์. (2566, 19 มีนาคม). ‘Gerhard Richter’ ศิลปินผู้คืนชีพให้จิตรกรรม กับงานศิลป์ เบลอเรือนราง มาก่อนภาพ#ด่วนมาก. The people. https://www.thepeople.co/culture/art/51417?fbclid=IwAR2iQ4OZme5DTOODK5fNOA 23ylxO459FNRq_h44VurnuY7rD_sM6VtzPSU4 บุญเลิศ วิเศษปรีชา. (2664, 18 มีนาคม). กะเทาะเปลือก “ความจน” หลากหลายบริบท ภายใต้มุมมองของ นักมานุษยวิทยา. The Active Thai PBS. https://theactive.net/read/poverty-series-boonlert-interview/?fbclid=IwAR1leb-
151 โมชั่นกราฟิกศิลปะเด็ก Child Art Motion Graphic Design ปองไท รัตนวงศ์แข, Pongtai Rattanawongkae วิทยาลัยช่างศิลป, College of Fine Arts E-mail: [email protected] บทคัดย่อ โมชั่นกราฟิก คือภาพหรือกราฟิกที่ได้รับความนิยมและเผยแพร่ส่งต่อกันเป็นจำนวนมากในโลกของโซ เชียลเน็ตเวิร์ก ซึ่งรูปแบบของโมชั่นกราฟิก จะนิยมถ่ายทอดในรูปแบบเนื้อหาสาระข้อมูลที่เป็นความรู้ทั่วไป หรือเรื่องราวสำคัญที่เกิดขึ้นในสังคมให้เกิดความเข้าใจจนนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงเพื่อให้เกิดประโยชน์ ซึ่งโมชั่น กราฟิกแนวนี้สามารถรับชมได้ตามสื่อทั่วไป แต่โมชั่นกราฟิกศิลปะเด็กยังขาดแคลน เนื่องจากสังคมไทยใน ปัจจุบันไม่ได้รับความนิยม จึงไม่สามารถชี้นำไปสู่การสนับสนุนให้เด็กได้ทำกิจกรรมทางศิลปะ การสร้างสรรค์ โมชั่นกราฟิกศิลปะเด็ก มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบและผลิตสื่อโมชั่นกราฟิกเพื่อสร้างความเข้าใจแก่ผู้ชมซึ่งใน การสร้างสรรค์สื่อโมชั่นกราฟิกศิลปะเด็กนั้น จะส่งผลให้ผู้ชมเล็งเห็นถึงความสำคัญจนนำไปสู่การสนับสนุนเด็ก ให้ได้ทำกิจกรรมทางศิลปะ การสร้างสรรค์ดังกล่าวอ้างอิงจากวารสาร งานวิจัย บทความวิชาการ และ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในสังคม นำเสนอเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับศิลปะเด็ก โดยการเล่าเรื่องผ่านสื่อโมชั่นกราฟิก ศิลปะเด็ก ได้แก่ แสง สี เสียง และการเคลื่อนไหวของภาพกราฟิก ผลการสร้างสรรค์พบว่า ผู้รับชมเล็งเห็นถึง ความสำคัญจนนำไปสู่การสนับสนุนเด็กให้ได้ทำกิจกรรมทางศิลปะได้ คำสำคัญ: โมชั่นกราฟิก, กราฟิก, ศิลปะเด็ก Abstract In today's world of social media, "Motion Graphics" have gained immense popularity. They attract numerous audiences who watch and share these images. This type of media has the potential to present information concisely through animation, making learning less boring for the audience. Motion graphics can effectively convey various types of information, including statistics, knowledge, and numbers, or simplify complex concepts, enabling audiences to process the data they receive with ease. This aligns with the preferences of today's internet users, who belong to the IT generation and seek access to complex information in a convenient and time-efficient manner. Common types of motion graphics used for educating people in their daily lives include campaigns for safe driving, healthcare information, and academic media designed to make learning engaging and comprehensible
152 for children. These are the values that society emphasizes today. However, many adults and parents prioritize academic studies over art activities for children. They believe that academic knowledge is the key to children's growth and intellectual development. As a result, Motion graphic media for art education remains relatively scarce. On the contrary, research conducted by art university students and educators suggests that children's education should include both academic and art components. Art education provides a means to relax the brain, supporting holistic development. Academic knowledge, while important, is not the sole determinant of success. Imagination and creativity play pivotal roles in positively shaping children's emotions, minds, and abilities, ultimately contributing to their future success. Recognizing the significance of promoting efficient Motion Graphics for Art Education, researchers have incorporated factors such as light, colors, and sounds into animations to enhance presentations. These motion graphics are expected to last around four minutes, with the objective of raising awareness among parents about the value of art education. The aim is to encourage parents to support their children in engaging in more art activities in their daily lives. Keywords: Motion Graphic, Graphic, Children Art 1. ความสำคัญหรือความเป็นมาของปัญหา ในปัจจุบันโมชั่นกราฟิก เป็นสื่อในอินเตอร์เน็ตที่มีผู้รับชมและส่งต่อข้อมูลเป็นจำนวนมาก เนื่องด้วย ข้อมูลมีความกระชับ ประกอบกับภาพการเคลื่อนไหวที่สนุกไม่น่าเบื่อ สามารถนำเสนอข้อมูล ไม่ว่าจะเป็น โฆษณา ประชาสัมพันธ์ สถิติ ความรู้ ตัวเลข หรือการย่นข้อมูลเพื่อให้ประมวลผลได้ง่าย ซึ่งเหมาะสำหรับผู้คน ในยุคสมัยนี้ที่ต้องการเข้าถึงและรับรู้ข้อมูลอันซับซ้อนนี้ได้ในเวลาจำกัด รูปแบบของสื่อโมชั่นกราฟิกนิยมถ่ายถอดเนื้อหาสาระข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในชีวิตประจำวัน เช่น รณรงค์การขับขี่อย่างปลอดภัย การป้องกันและดูแลสุขภาพจากโรคติดต่อโควิด หรือแม้กระทั่งใช้เป็นสื่อกลาง ในการเรียนการสอนทางวิชาการเพื่อให้เกิดความน่าสนใจและเข้าใจถึงเนื้อหาได้โดยง่าย ซึ่งทั้งหมดนี้ล้วนเป็น สิ่งที่สังคมในปัจจุบันได้ให้ความสำคัญ แต่การที่ให้เด็กได้ทำกิจกรรมทางศิลปะนั้นไม่ได้ให้ความสำคัญเท่าที่ควร เนื่องจากค่านิยมของคนส่วนใหญ่ในปัจจุบัน ยังคงให้ความสำคัญในการให้เด็กได้เรียนวิชาการเพิ่มมากขึ้น เพราะคิดว่าการ เรียนวิชาการมาก จะยิ่งทำให้เด็กมีสติปัญญาที่สมบูรณ์ จึงทำให้สื่อโมชั่นกราฟิกที่มาสนับสนุน ในเรื่องของศิลปะเด็กยังคงขาดแคลน ในขณะที่นักวิจัย นักศิลปศึกษาและนักการศึกษาปฐมวัยกลับได้ให้การ สนับสนุนว่าการทำให้เด็กฉลาดและมีสติปัญญาที่สมบูรณ์นั้น นอกจากการเรียนทางวิชาการแล้ว จำเป็นต้องให้ เด็กได้ทำกิจกรรมทางศิลปะควบคู่ไปด้วย เพื่อให้สมองได้ผ่อนคลายและเกิดการพัฒนาได้อย่างเต็มที่ ดังนั้น ความรู้ทางด้านวิชาการไม่ได้เป็นสิ่งเดียวที่สำคัญที่สุด จินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ จะเป็นปัจจัยช่วย
153 ส่งเสริมให้เด็กได้เติบโตทั้งในด้านของอารมณ์ จิตใจ ความคิด และความสามารถ ที่จะต่อยอดไปสู่ความสำเร็จ ในอนาคต ด้วยเหตุผลดังกล่าวข้างต้น ผู้สร้างสรรค์จึงได้เล็งเห็นถึงความสำคัญ ในการสร้างสรรค์สื่อโมชั่นกราฟิก ที่มีประสิทธิภาพ โดยอาศัยปัจจัยทางด้านแสง สี เสียง และการเคลื่อนไหวของภาพกราฟิก นำเสนอผ่านสื่อ โมชั่นกราฟิกศิลปะเด็ก เพื่อชี้นำผู้รับชมให้เล็งเห็นถึงความสำคัญจนนำไปสู่การสนับสนุนเด็กให้ได้ทำกิจกรรม ทางศิลปะ 2. แนวคิด / ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง จากการรวบรวมข้อมูลพบว่าสื่อโมชั่นกราฟิกที่สามารถทำให้ผู้รับชมเข้าใจและเห็นความสำคัญจน นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่เป็นประโยชน์นั้น ส่วนใหญ่มีรูปแบบการให้ข้อมูลที่ดูกระชับและสนุก สามารถจดจำ ข้อมูลได้ง่าย โดยเนื้อเรื่องมีความน่าเชื่อถือ มีการอ้างอิงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในสังคม ทำให้ผู้รับชมได้คิดและ ตระหนักจนนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงได้ นักวิจัย นักศิลปศึกษา และนักการศึกษาปฐมวัยได้ให้การสนับสนุนว่า การทำให้เด็กฉลาดและมี สติปัญญาที่สมบูรณ์นั้น นอกจากการเรียนทางวิชาการแล้ว จำเป็นต้องให้เด็กได้ทำกิจกรรมทางศิลปะควบคู่ไป ด้วย ซึ่งสื่อโมชั่นกราฟิกที่มาสนับสนุนในเรื่องของศิลปะเด็กยังคงขาดแคลน จึงได้สร้างสรรค์สื่อโมชั่นกราฟิก แนวศิลปะเด็ก เพื่อชี้นำผู้รับชมให้เล็งเห็นถึงความสำคัญจนนำไปสู่การสนับสนุนเด็กให้ได้ทำกิจกรรมทางศิลปะ สีที่ใช้ในงานโมชั่นกราฟิก จะไม่เลือกใช้สีที่ดูฉูดฉาดจนเกินไป ส่วนใหญ่จะใช้สีโทนพาสเทลที่ให้ ความรู้สึกนุ่มนวลและสบายตา ประกอบกับการจัดแสงในโทนที่ดูสว่าง ทำให้บรรยากาศโดยรวมดูสดใสน่ารักมี ชิวิตชีวา สามารถสื่อถึงความเป็นเด็กได้ ภาพกราฟิกแนวศิลปะเด็ก มีผลต่อความรู้สึกและอารมณ์ของผู้รับชม ถึงความน่ารักอิสระและบริสุทธิ์ ของลายเส้นที่มาจากการวาดภาพของเด็กจริง ๆ ในแง่ของเสียง งานโมชั่นกราฟิกส่วนใหญ่มักใช้เสียงพากย์และเสียงดนตรีในการนำเสนอ เพื่อเน้นให้ผู้ รับชมเกิดความเข้าใจในเนื้อหาข้อมูลได้อย่างกระชับ และช่วยกระตุ้นให้สนใจอยุ่ตลอดเวลา 3. กระบวนการในการสร้างสรรค์ 3.1 ขั้นตอนการเตรียมการผลิต 3.1.1 นำข้อสรุปและแนวทางที่ได้มาเขียนบทโมชั่นกราฟิก หลังจากการศึกษาข้อมูลและทฤษฎีต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัย จึงนำมาต่อยอด โดย การรวบรวมความคิดในการพัฒนาบทให้มีเนื้อหาที่กระชับ เข้าใจง่าย โดยส่อแทรกเรื่องราวที่ดูน่าเชื่อถือ เพื่อที่จะสามารถชี้นำผู้รับชมให้เล็งเห็นถึงความสำคัญจนนำไปสู่การสนับสนุนเด็กให้ได้ทำกิจกรรมทางศิลปะได้
154 3.1.2 การพัฒนาเนื้อเรื่อง ขั้นตอนต่อมาคือการนำบทเนื้อเรื่องที่ได้เขียนไว้ แปรเปลี่ยนกระบวนการให้ออกมา เป็นภาพนิ่งโดยการเรียงลำดับเหตุการณ์ตามเนื้อเรื่อง จากนั้นจึงนำเสียงพากย์และเสียงประกอบทั้งหมดมา จัดเรียงประกอบภาพนิ่งตามลำดับ (Storyboard Animatic) เพื่อให้เห็นภาพรวมของงานทั้งหมด ในการเป็น ต้นแบบเพื่อสร้างสื่อโมชั่นกราฟิกแนวศิลปะเด็ก 3.2 ขั้นตอนการผลิต 3.2.1 สร้างภาพกราฟิก การสร้างภาพกราฟิก เริ่มจากการนำภาพวาดของเด็กที่ได้คัดเลือกไว้มาสแกนลงใน คอมพิวเตอร์ หลังจากนั้นได้เลือกใช้โปรแกรม Adobe Illustrator ในการถอดลายเส้นภาพวาดของเด็ก จนออกมาเป็นภาพกราฟิกแนวศิลปะเด็ก 3.2.2 การตกแต่งและใส่สีภาพกราฟิก หลังจากได้ภาพกราฟิกที่มาจากลายเส้นภาพวาดของเด็กแล้ว ได้เพิ่มความสวยงามโดย การตกแต่งภาพกราฟิกที่มีลายเส้นบกพร่องให้สมบูรณ์และใส่สีโทนพาสเทลลงไปในภาพกราฟิกด้วยโปรแกรม Adobe Illustrator ดังแสดงในภาพที่ 2 และภาพที่ 3 ภาพที่ 1 ลายเส้นภาพวาดตัวละครของเด็ก ที่มา : ผู้สร้างสรรค์ ภาพที่ 2 การตกแต่งและใส่สีภาพกราฟิก ที่มา : ผู้สร้างสรรค์ ภาพที่ 3 ลายเส้นภาพวาดฉากและตัวละครอื่น ๆ ที่มา : ผู้สร้างสรรค์ ภาพที่ 4 จัดวางประกอบภาพวาดในแต่ละฉาก ที่มา : ผู้สร้างสรรค์ 3.2.3 สร้างภาพเคลื่อนไหว สำหรับการสร้างภาพเคลื่อนไหวนั้น เริ่มจากการจัดภาพกราฟิกลงในโปรแกรม After Effects และทำภาพกราฟิกให้เกิดการเคลื่อนไหวตามต้นแบบ (Storyboard Animatic) ในการสร้างสื่อโมชั่นกราฟิก
155 3.2.4 ภาพเคลื่อนไหวในแต่ละฉาก ภาพที่5 ภาพกราฟิกเคลื่อนไหวฉากที่ 1 ที่มา : ผู้สร้างสรรค์ ภาพที่ 6 ภาพกราฟิกเคลื่อนไหวฉากที่ 2 ที่มา : ผู้สร้างสรรค์ ภาพที่ 7 ภาพกราฟิกเคลื่อนไหวฉากที่ 3 ที่มา : ผู้สร้างสรรค์ ภาพที่ 8 ภาพกราฟิกเคลื่อนไหวฉากที่ 4 ที่มา : ผู้สร้างสรรค์ ภาพที่ 9 ภาพกราฟิกเคลื่อนไหวฉากที่ 5 ที่มา : ผู้สร้างสรรค์ ภาพที่ 10 ภาพกราฟิกเคลื่อนไหวฉากที่ 6 ที่มา : ผู้สร้างสรรค์ ภาพที่ 11 ภาพกราฟิกเคลื่อนไหวฉากที่ 7 ที่มา : ผู้สร้างสรรค์ ภาพที่ 12 ภาพกราฟิกเคลื่อนไหวฉากที่ 8 ที่มา : ผู้สร้างสรรค์
156 ภาพที่ 13 ภาพกราฟิกเคลื่อนไหวฉากที่ 9 ที่มา : ผู้สร้างสรรค์ ภาพที่ 14 ภาพกราฟิกเคลื่อนไหวฉากที่ 10 ที่มา : ผู้สร้างสรรค์ ภาพที่ 15 ภาพกราฟิกเคลื่อนไหวฉากที่ 11 ที่มา : ผู้สร้างสรรค์ ภาพที่ 16 ภาพกราฟิกเคลื่อนไหวฉากที่ 12 ที่มา : ผู้สร้างสรรค์ ภาพที่ 17 ภาพกราฟิกเคลื่อนไหวฉากที่ 13 ที่มา : ผู้สร้างสรรค์ ภาพที่ 18 ภาพกราฟิกเคลื่อนไหวฉากที่ 14 ที่มา : ผู้สร้างสรรค์ 3.2.5 การจัดแสง และการประมวลภาพ หลังจากสร้างภาพกราฟิกจนได้การเคลื่อนไหวอย่างสมบูรณ์แล้ว ผู้สร้างสรรค์จึงได้ ดำเนินการจัดแสงทั้งหมด ก่อนจะประมวลผลภาพออกเป็นส่วนๆ 3.3 ขั้นตอนหลังการผลิต 3.3.1 การตัดต่อภาพและเสียงประกอบ นำภาพที่ได้ประมวลผลแบบแยกส่วนจากโปรแกรม After Effects มารวมเข้าด้วยกัน ผ่านโปรแกรม Adobe Premiere Pro จากนั้นจึงใส่เสียงพากย์และเสียงดนตรีประกอบ ตัดต่อให้ลงตัวตาม จังหวะการเคลื่อนไหวของภาพกราฟิก เพื่อให้เกิดความสมบูรณ์เป็นลำดับขั้นตอนสุดท้าย
157 4. การวิเคราะห์ผลงาน จากการรวบรวมแนวความคิดและการสร้างสรรค์ผลงาน “การออกแบบสื่อศิลปะเด็ก” ประมวล ออกมาเป็นผลงานสร้างสรรค์สื่อโมชั่นกราฟิกแนวศิลปะเด็ก โดยอาศัยองค์ประกอบต่างๆมาใช้ในการ สร้างสรรค์ดังต่อไปนี้ 4.1 บทโมชั่นกราฟิกได้อ้างอิงถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในสังคม สอดแทรกแง่คิดที่เป็นประโยชน์ หลักฐาน เหตุการณ์ต่างๆทั้งในอดีตและปัจจุบัน ทำให้ผู้รับชมเกิดความเชื่อถือ สามารถเชื่อมต่อเรื่องราวและ เข้าใจเนื้อหาได้โดยง่าย 4.2 การจัดองค์ประกอบภาพและมุมมองในโมชั่นกราฟิก มีการดำเนินเรื่องที่มีมุมมองและฉากที่ หลากหลาย มีการเคลื่อนไหวอย่างสนุกและน่าสนใจขึ้นเรื่อยๆ ประกอบกับภาพกราฟิกที่มาจากลายเส้น ภาพวาดของเด็กที่ดูเป็นธรรมชาติน่ารักและสวยงาม แสดงถึงความสุขของเด็กที่ได้ทำกิจกรรมทางศิลปะ 4.3 เสียงพากย์และเสียงประกอบโมชั่นกราฟิก ได้ใช้เสียงพากย์ที่ฟังแล้วเกิดความน่าเชื่อถือ ผสานกับ เสียงดนตรีและเสียงเคลื่อนไหวของภาพกราฟิก ที่กระตุ้นความรู้สึกให้สนใจอยู่ตลอดเวลา 5. สรุป ผลลัพธ์ที่ได้จากการศึกษา ค้นคว้า ทดลองหาแนวทางสร้างสรรค์ผลงาน พบว่า กลุ่มเป้าหมายส่วน ใหญ่ที่รับชมสื่อโมชั่นกราฟิกศิลปะเด็ก มีความเข้าใจและเห็นถึงความสำคัญของศิลปะเด็ก จนทำให้เกิด แนวโน้มที่จะสนับสนุนให้เด็กได้ทำกิจกรรมทางศิลปะ เนื่องจากการวางเนื้อหาที่ชี้ให้เห็นถึงประโยชน์และ ความสำคัญของศิลปะเด็ก ที่ดูมีความน่าเชื่อถือในการอ้างอิง การใช้ภาพกราฟิกศิลปะเด็กและเสียงดนตรี ประกอบที่ทำให้เกิดอารมณ์ร่วมในระหว่างการรับชม ประกอบกับเสียงพากย์ที่ทำให้คล้อยตาม สามารถชี้นำไป กับเรื่องราวได้อย่างมีประสิทธิภาพ โมชั่นกราฟิกเป็นสื่อที่มีประโยชน์ในการนำเสนอข้อมูลต่างๆได้ในเวลาที่จำกัด สามารถทำให้ผู้รับชม เกิดความเข้าใจและนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางทัศนคติได้ ซึ่งส่วนใหญ่มักนำเสนอเรื่องราวที่เกิดขึ้นจริง หรือ ความรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม ไม่ว่าจะเป็นการทำเพื่อให้เกิดความเข้าใจหรือทำเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ซึ่งล้วนแต่เป็นผลดีต่อผู้รับชมทั้งสิ้น ดังนั้นจะเป็นผลดี ถ้ามีการผลิตสื่อโมชั่นกราฟิกที่นำเสนอเรื่องราวที่เป็น ประโยชน์ต่อสังคม โดยเฉพาะเรื่องที่สังคมยังไม่ได้ให้ความสำคัญเท่าไหร่นัก โมชั่นกราฟิกศิลปะเด็กก็เป็นอีก สื่อหนึ่งที่ต้องการให้สังคมและผู้รับชมเห็นถึงความสำคัญ โดยจะทำให้เกิดประโยชน์แก่เด็ก ที่อาจจะส่งผล นำมาซึ่งโมชั่นกราฟิกรูปแบบอื่น ที่เป็นประโยชน์สำหรับเด็กเพิ่มมากขึ้น ผลการสร้างสรรค์นี้ได้อธิบายถึงกระบวนการในการศึกษารวบรวมข้อมูล กระบวนการคิดวิเคราะห์ สร้างสรรค์ออกแบบ และผลิตสื่อโมชั่นกราฟิกศิลปะเด็กที่ดูสนุกเข้าใจง่าย ทำให้ผู้รับชมเพลิดเพลินไปกับการ เคลื่อนไหวของภาพกราฟิกและเสียงดนตรีบรรเลงประกอบที่ส่อแทรกเสียงบรรยายที่ชี้นำรวมถึงได้ให้ความรู้ เกี่ยวกับศิลปะเด็ก สามารถทำให้ผู้ปกครอง ผู้รับชม บุคคลทั่วไป เห็นถึงความสำคัญและสนับสนุนให้เด็กได้ทำ
158 กิจกรรมทางศิลปะที่เต็มไปด้วยประโยชน์ อันจะนำมาซึ่งผลลัพธ์ที่ดีที่จะทำให้เด็กได้เกิดการพัฒนาการทางด้าน ร่างกายและสติปัญญาที่สมบูรณ์ เอกสารอ้างอิง กิตติ พึ่งประภา. (2551). ศิลปะเลี้ยงลูกให้ฉลาด. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์กัลยา เบญญา ธาราธรรม. (2555). ความคิดสร้างสรรค์. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์สิปประภา ธันยพัฒน์ วงศ์รัตน์. (2555). อัฟเตอร์เอฟเฟ็กซ์. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์สวัสดีไอที
159 การสร้างสรรค์ลวดลายจากศิลปะล้านนา Creating patterns from Lanna art แผน เอกจิตร, Phaen Ekchit วิทยาลัยช่างศิลปสุพรรณบุรี, Suphanburi College of Fine Arts E-mail: [email protected] บทคัดย่อ การสร้างสรรค์ผลงานชิ้นนี้เพื่อศึกษาลวดลายจากศิลปะล้านนา เจาะจงที่ลายหม้อดอกหรือหม้อปู รณฆฏะ พระวิหารจามเทวีวัดปงยางคก อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง โดยนำมาพัฒนาต่อยอดตามคตินิยม จนเกิดเป็นลวดลายที่สะท้อนความรู้สึกในลักษณะเฉพาะของตนเอง นำรูปแบบของงานจิตรกรรมไทยแบบ ประเพณีที่ประยุกต์ใช้เทคนิควิธีการสมัยใหม่ เพื่อให้เป็นแนวทางในการสร้างสรรค์ศิลปะไทยแบบร่วมสมัย ต่อไป คำสำคัญ: การสร้างสรรค์, ลวดลาย, ศิลปะล้านนา Abstract The creation of this work was to study patterns from Lanna art. Specific to the pattern of flower pots or pot purankhata. Phra Wihan Chamthewi, Wat Pong Yang Kok, Hang Chat District, Lampang Province, was developed further according to popular beliefs. Until it becomes a pattern that reflects your feelings in your own unique way. Bringing the style of traditional Thai painting with modern techniques applied. To serve as a guideline for the creation of contemporary Thai art. Keywords: Creativity, patterns, Lanna art 1. ความสำคัญหรือความเป็นมาของปัญหา การสร้างสรรค์ศิลปะได้ถือกำเนิดมาพร้อมกับสัญชาติญาณ พรสวรรค์และมีการเรียนรู้ถ่ายทอดแสดง ออกมาเป็นศาสตร์ทางการสร้างสรรค์ศิลปะ เพื่อใช้ศิลปะสื่อสารการสร้างความสะดวกสบายในการดำรงชีวิต ของมนุษย์ในอดีต แม้แต่ในสภาวะปัจจุบันมนุษย์เราก็ยังใช้ศาสตร์ทางการสร้างสรรค์ศิลปะเป็นตัวแปร เป็น ตัวเชื่อมในการพัฒนาการเรียนรู้การสร้างองค์ความรู้การวิจัย เพื่อพัฒนาของมนุษย์ในศาสตร์ทุกแขนงมนุษย์ ในปัจจุบัน แต่ด้วยความเคลื่อนไหวและการเปลี่ยนแปลงของมนุษย์ที่มีพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง จึงทำให้เกิดสื่อ สมัยใหม่ที่อำนวยความสะดวกสบายตามยุคสมัย และตามสภาพการเมืองการปกครอง ย่อมเกิดผลกระทบต่อ
160 ชาติศาสนา ภาษา สังคมและวัฒนธรรมต่าง ๆ เป็นยุคสมัยแห่งความคล้ายคลึงกันทางวัฒนธรรมในหลายพื้นที่ เป็นการหลอมรวมร่วมกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ มีการเรียนรู้ศึกษา เปรียบเทียบ และแข่งขันในระดับที่สูงขึ้นใน ทุกด้าน มนุษย์จึงมุ่งสู่โลกของความเจริญทางวัตถุและเทคโนโลยีสมัยใหม่ ทำให้เกิดการผสมกลมกลืนกับสิ่ง ใหม่ ที่สอดคล้องกัน จนนำไปสู่ความกระจัดกระจายและความคงอยู่ของมรดกทางภูมิปัญญาที่น้อยลงไปตาม กาลเวลา ทำให้มรดกทางภูมิปัญญาเชิงช่าง (เดิม) ของท้องถิ่น ยังคงเป็นสิ่งสำคัญต่อการศึกษาในปัจจุบัน และ สืบทอดไปสู่ลูกหลานในอนาคต ข้าพเจ้าจึงนำเอารูปแบบมรดกทางภูมิปัญญางานช่างของล้านนา ที่ปรากฏในศาสนสถานทางพุทธ ศาสนาต่าง ๆ โดยเฉพาะวิหารล้านนา ซึ่งนิยมการประดับตกแต่งในส่วนของโครงสร้างตลอดจนผนังภายใน วิหารด้วยลวดลายลงรักปิดทองอย่างวิจิตรสวยงาม มาเป็นแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ผลงานเพื่อเป็นแนว ทางการสืบสานภูมิปัญญางานช่างสู่การเรียนรู้เพื่อการอนุรักษ์และแสดงลักษณะของคุณค่าเพื่อการจดจำ การ เรียนรู้และการสร้างความเข้าใจ ความเคลื่อนไหว ความเปลี่ยนแปลงของโลกในบริบทปัจจุบัน ผสานกับภูมิ ปัญญาของงานช่างเป็นต้นทุนเดิม เป็นมรดกของชาติควรดำรงให้คงอยู่ สืบสาน รักษามรดกเชิงศิลปวัฒนธรรม นี้ไว้ไม่ให้สูญหายไปตามกาลเวลา โดยเป็นแรงบันดาลใจควบคู่กับวิชาการทางองค์ประกอบทางทัศนศิลป์และ สุนทรียศาสตร์สมัยใหม่ที่นำไปสู่การสร้างสรรค์พัฒนา และต่อยอดคุณค่าทางความงามที่เป็นปัจจุบัน เพื่อการ เข้าถึงและเข้าใจ โดยไม่ลดทอนคุณค่าทางความดีและความงามของช่างล้านนาแต่อย่างใด 2. แนวคิด / ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง การสร้างสรรค์ลวดลายของข้าพเจ้า ได้รับแรงบันดาลใจจากศิลปะล้านนา มุ่งศึกษาที่ลายหม้อดอก หรือหม้อปูรณฆฏะ พระวิหารจามเทวีวัดปงยางคก อ.ห้างฉัตร จ.ลำปาง เป็นจิตรกรรมบนฝาผนังแต้มทอง ที่มี ความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว มีความเป็นอิสระ สร้างสรรค์ลวดลายพรรณพฤกษาที่เกี่ยวพันกัน สื่อถึงความ สมัครสมานสามัคคีความมั่งคั่ง อุดมสมบูรณ์ของชุมชน นำมาค้นคว้าพัฒนาตามแนวคิดที่ศาสตราจารย์เกียรติ คุณปรีชา เถาทอง กล่าวไว้ว่า การสร้างสรรค์มีความสำคัญกว่าความรู้ การสร้างสรรค์จะทำให้มนุษย์เรียนรู้และ พัฒนา มนุษย์จะค้นคว้าพัฒนาสร้างสรรค์กฎเกณฑ์วิทยาและกระบวนการจนเกิดเป็น ทฤษฎีวิทยา วิธีการ รูปแบบ เรื่องราวและกระบวนการในการสร้างสรรค์ในงานศิลปะ (ปรีชา เถาทอง, 22) สอดคล้องกับผลการสร้างสรรค์ศิลปะร่วมสมัย จากการศึกษาภูมิปัญญาการใช้รูปทรงในภาพจิตรกรรม ฝาผนัง (วัดเกาะ) สกุลช่างเมืองเพชร (เขมา แฉ่งฉายา, 135) กล่าวว่า การสร้างสรรค์ทางทัศนศิลป์ที่สื่อสารข้อ ค้นพบ ข้อเสนอแนะ และแนวทางการสืบสานภูมิปัญญางานช่างสู่การเรียนรู้เพื่อการอนุรักษ์และแสดงลักษณะ ของคุณค่าเพื่อการจดจำ การเรียนรู้และการสร้างความเข้าใจ ความเคลื่อนไหว ความเปลี่ยนแปลงของโลกใน บริบทปัจจุบันผสานกับภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นต้นทุนเดิม เป็นมรดกของชาติควรดำรงให้คงอยู่ สืบสาน รักษา มรดกเชิงศิลปวัฒนธรรมนี้ไว้ไม่ให้สูญหายไปตามกาลเวลา โดยเป็นแรงบันดาลใจควบคู่กับวิชาการทาง องค์ประกอบทางทัศนศิลป์และสุนทรียศาสตร์สมัยใหม่ที่นำไปสู่การสร้างสรรค์พัฒนา และต่อยอดคุณค่าทาง ความงามที่เป็นปัจจุบัน
161 ลายคำล้านนา ถือเป็นความงดงามทางศิลปะอย่างหนึ่ง ที่มีบทบาทสำคัญในการแสดงออกถึงความ หลากหลายและความสามารถทางเชิงช่างได้อย่างชัดเจน แสดงให้เห็นถึงพัฒนาการความก้าวหน้าด้านรูปแบบ ลวดลาย ด้านเทคนิควิธีการ และการเลือกใช้วัสดุที่สอดคล้องกับเทคนิค รวมถึงการนำไปใช้ประดับตกแต่งงาน ศิลปกรรมล้านนาต่าง ๆ ได้อย่างลงตัวสวยงาม แสดงความหมายตามคตินิยมของล้านนามาอย่างยาวนาน งานศิลปกรรมลายคำล้านนา เกิดขึ้นจากวิวัฒนาการทางเทคโนโลยีที่ผสมผสานกับภูมิปัญญาแบบ โบราณ สามารถนำโลหะที่มีความแข็งตัวแต่มีเนื้อละเอียด ผ่านกรรมวิธีการรีดและตีทุบให้เป็นแผ่นบางเรียบมี คุณสมบัติบางเบาได้คนในวัฒนธรรมล้านนามักเรียกชนิดธาตุโลหะทองคำ (Gold) ว่า “คำ” เมื่อนำมาตีเป็น แผ่นบาง ๆ แล้วเรียกว่า “ทองคำเปลว” นิยมนำไปใช้ในงานประณีตศิลป์ต่าง ๆ เช่น ปิดทองเป็นลวดลาย ประดับโครงสร้างภายในงานสถาปัตยกรรม ปิดทองพระพุทธรูป ปิดทององค์พระธาตุเจดีย์ปิดทองประดับงาน แกะสลักเครื่องไม้ต่าง ๆ เป็นต้น เทคนิคผสมระหว่างเทคนิคปิดทองล่องชาดและเทคนิคขูดลาย เป็นการสร้างรูปทรงหลักโดยใช้วิธีการ สร้างแม่พิมพ์ฉลุลาย จากนั้นปิดทองตามช่องโครงสร้างแล้วเพิ่มส่วนละเอียดโดยการขูดเส้นฮายลาย ฮายดอก เพิ่มขึ้นเป็นขั้นตอนของการแต่งแต้มเส้นเพื่อสร้างรายละเอียดให้เกิดความสวยงาม มักพบมากในภาพบุคคล เทวดา และรูปสัตว์ตลอดจนลายกระหนกและลายดอกไม้ใบไม้อีกด้วย เทคนิคดังกล่าวนี้จะเป็นลักษณะเด่น และเอกลักษณ์เฉพาะของงานลายคำล้านนา เป็นเทคนิคที่นิยมมากที่สุดและปรากฏอยู่โดยทั่วไปในงานประดับ ตกแต่งโครงสร้างวิหารล้านนารวมถึงเครื่องสักการะเครื่องประกอบพิธีกรรมทางศาสนาต่าง ๆ (วิทยา พลวิฑูรย์, 3-6) ลวดลายศิลปะล้านนาจากผลการศึกษาเรื่อง การสังเคราะห์องค์ความรู้ศิลปกรรมในล้านนา (ปฏิเวธ เสาว์คง และคณะ, บทคัดย่อ) พบว่า ศิลปกรรมล้านนาทางโบราณคดี มีลักษณะเรียบง่าย เรียกว่า “ลายเครือ ดอก” มีองค์ประกอบสำคัญ 3 ประการ ได้แก่ เครือ ดอก และใบ ในยุคปลายราชวงศ์มังรายได้พัฒนาให้มี ความสลับซับซ้อนขึ้น 5 ประการ ได้แก่ ผลไม้หรือดอกตบ และแมง คือ สัตว์ชนิดต่าง ๆ และสัตว์หิมพานต์ โดยการเก็บข้อมูลใน 8 จังหวัดภาคเหนือ แล้วนำข้อมูลมาสังเคราะห์เป็นศิลปกรรมรูปแบบใหม่ เช่น ลายดอก ล้านนา ลายนาคทันต์ล้านนา ลายเครือดอกบัวสวรรค์ ลายหน้าจีด ลายเมฆ ลายโก่งคิ้ว ลายนกแซมเครือดอก พุดตาน ลายเศียรมกร ลายมัจฉาเวียงบัว ลวดลายหม้อปูรณฆฏะ หรือปูรณะกลศ เป็นลวดลายโบราณที่มีต้นกำเนิดที่ประเทศอินเดีย หมายถึง หม้อน้ำอันมีน้ำเต็มบริบูรณ์ มีลตา คือ ไม้เลื้อย เลื้อยออกมาทั้งสองข้าง แสดงสัญลักษณ์ชีวิตและการ สร้างสรรค์ เป็นคติความร่มเย็น ความสมบูรณ์พูนสุข ในประเทศไทยนั้นได้พบลายหม้อปูรณฆฏะนี้มาเป็น เวลานานแล้ว ดังที่ปรากฏอยู่ในด้านหนึ่งของเหรียญเงินสมัยทวาราวดี ที่พบในแหล่งโบราณคดีที่อู่ทอง นครปฐม สิงห์บุรี และลวดลายในรอยพระพุทธบาทศิลปะสุโขทัย ที่สร้างขึ้นในรัชสมัยพญาลิไทราวพุทธ ศตวรรษที่ 20 เป็นลายมงคลหนึ่งในลายมงคลร้อยแปดประการ ในปลายพุทธศตวรรษที่ 23 ลายปูรณฆฏะเป็นที่นิยมใช้ในงานประดับมากยิ่งขึ้น และมีพัฒนาการขั้น สูงสุด ปรากฏในวิหารวัดปงยางคก จังหวัดลำปาง ซึ่งจะเป็นลายหม้อดอกที่งดงามและซับซ้อนมากยิ่งขึ้น ลักษณะจะเป็นหม้อทรงสูงที่มีช่อดอกบัวบานและก้านลายใบไม้ประกอบกัน มีเถาไม้เลื้อยประกอบอยู่ด้านข้าง มีหลายรูปแบบซึ่งจะเน้นให้ความสำคัญอยู่ที่ลายใบไม้ประกอบ ซึ่งรูปแบบหนึ่งจะเป็นลายใบไม้ตามธรรมชาติ
162 มีใบค่อนข้างใหญ่ คล้ายลายใบไม้ในศิลปะแบบตะวันตก ที่คาดว่าจะเป็นรูปแบบของศิลปะอยุธยาตอนปลายที่ แพร่หลายเข้ามาสู่ล้านนาในช่วงเวลานี้ กับอีกรูปแบบหนึ่งจะใช้ลายกระหนกหัวม้วนโค้งปลายแหลมแทนที่ลาย ใบไม้(สุรพล ดำริห์กุล, 178) ข้าพเจ้านำแนวคิด ทฤษฎีคตินิยมและเอกลักษณ์สำคัญในศิลปะล้านนา มาสร้างสรรค์เป็นลวดลายรูป ภาชนะหม้อน้ำ บรรจุกอบัวทั้งก้านใบและดอกบัว โดยศึกษาค้นคว้าและพัฒนาตามแนวคิดในลักษณะเฉพาะ ของตนเอง ในชื่อผลงานว่า “ลายหม้อดอก” 3. กระบวนการในการสร้างสรรค์ การสร้างสรรค์ลวดลายจากศิลปะล้านนา มีกระบวนการในการสร้างสรรค์ ดังนี้ 3.1 สืบค้นข้อมูลด้านเนื้อหา ศึกษาเอกสารวิชาการ รูปภาพจากหนังสือ จากอินเทอร์เน็ต และจากสื่อ สังคมออนไลน์ 3.2 คัดเลือกรูปแบบของลวดลายหม้อปูรณฆฏะ ที่กระทบใจนำมาเป็นแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ เพื่อสะท้อนภาพลวดลายพรรณพฤกษาที่เกี่ยวพันกัน สื่อให้เห็นถึงความสมัครสมานสามัคคีความมั่งคั่ง อุดม สมบูรณ์ของชุมชน ภาพที่ 1 ลวดลายปูรณฆฎะพระวิหารจามเทวี วัดปงยางคก อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง ที่มา : สอนสุพรรณ https://www.oknation.net/post/detail/634e933192d8eacf30d6b90a ภาพที่ 2 ภาพร่างลายเส้น ที่มา : ผู้สร้างสรรค์
163 3.3 ร่างภาพลายเส้นโดยจัดวางองค์ประกอบในดุลยภาพแบบสมมาตร (Symmetry Balance) หรือ ความสมดุลแบบซ้ายขวาเหมือนกัน เพื่อแสดงถึงความรู้สึกสงบนิ่งและมั่นคง โดยเริ่มจากเขียนโครงสร้าง โดยรวม ทำรายละเอียดในส่วนต่าง ๆ และเก็บรายละเอียด ภาพที่ 3 การจัดวางโครงสร้างสีโดยรวม ที่มา : ผู้สร้างสรรค์ 3.4 จัดวางโครงสร้างของสีโดยรวมตามความหมายและพลังของสี เพื่อเป็นสื่อที่สะท้อนถึงความรู้สึกใน การแสดงออกที่มีผลต่ออารมณ์และการสื่อความหมายที่เด่นชัด จะส่งผลกระทบต่อสายตาและกระตุ้นต่อการ รับรู้ของผู้ชมได้เป็นอย่างดี ภาพที่ 4 สร้างลักษณะพื้นผิว ปิดเงินเปลว และทองคำเปลว ที่มา : ผู้สร้างสรรค์ 3.5 สร้างลักษณะพื้นผิวแท้ด้วยการทายางมะเดื่อ (นอก) สำหรับปิดแผ่นเงินเปลว และรองพื้นสีเหลือง รงก่อนทายางมะเดื่อ (นอก) สำหรับปิดแผ่นทองคำเปลว
164 ภาพที่ 5 ผลงานสร้างสรรค์ที่เสร็จสมบูรณ์ ที่มา : ผู้สร้างสรรค์ 3.6 ใช้สีครามฝรั่ง (western kram blue) สีน้ำเงิน (phthalo blue) ตัดเส้นเงิน และใช้สีแดงชาด (primary chad red) ตัดเส้นทองในขั้นตอนสุดท้ายของกระบวนการในการสร้างสรรค์ 4. การวิเคราะห์ผลงาน การสร้างสรรค์ลวดลายจากศิลปะล้านนาในผลงานชิ้นนี้ ข้าพเจ้านำแนวคิด ทฤษฎี คตินิยมและ เอกลักษณ์สำคัญในศิลปะล้านนา เจาะจงที่ลายหม้อดอกหรือหม้อปูรณฆฏะ พระวิหารจามเทวีวัดปงยางคก อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง มาสร้างสรรค์เป็นลวดลายรูปภาชนะหม้อน้ำ บรรจุกอบัวทั้งก้านใบและดอกบัว มีองค์ประกอบสำคัญ 3 ประการ ได้แก่ เครือ ดอก และใบ แสดงสัญลักษณ์ชีวิตและการสร้างสรรค์ เป็นคติ ความร่มเย็น ความสมบูรณ์พูนสุข มาพัฒนาขึ้นตามแนวคิดในลักษณะเฉพาะของตนเอง ในชื่อผลงานว่า “ลาย หม้อดอก” โดยวางแผนการนำทัศนธาตุและหลักการทางทัศนศิลป์ หรือทฤษฎีองค์ประกอบศิลป์มาใช้เพื่อให้ ได้รับผลทางการรับรู้ในเนื้อหาและอารมณ์ของผลงานให้ได้มากที่สุด เริ่มจากการทำพื้นผิวฉากหลังโดยใช้พู่กัน แต้มสีแดงชาดให้เกิดเป็นร่องรอยฝีแปรงล้อไปตามรูปทรงของลายดอกไม้ร่วง แต้มสีแดงเลือดหมูให้เกิดเป็น ร่องรอยฝีแปรงล้อไปตามรูปทรงของตัวลายเครือ ดอก และใบ เพื่อให้เกิดความรู้สึกถึงพลังของการเคลื่อนไหว รูปทรงของดอกไม้ร่วงที่อยู่ด้านบน และลวดลายน้ำที่อยู่ด้านล่าง รองพื้นด้วยสีดินแดงก่อนจึงใช้สีทองอะคริลิค
165 ระบายทับเพื่อให้เกิดผลกับค่าของสีที่เป็นสีของนาก ซึ่งเป็นโลหะผสมที่เกิดจากการผสมระหว่าง ทองแดง ทองคำ และเงิน สีของเงินใช้ยางมะเดื่อ (นอก) ทาให้เกิดเป็นร่องรอยพื้นผิวแท้ก่อนปิดแผ่นเงินเปลว ส่วนสีของ ทองรองพื้นสีเหลืองรงก่อนทายางมะเดื่อ (นอก) สำหรับปิดแผ่นทองคำเปลว สีที่ใช้แทรกในรายละเอียดคือ สี เขียวตังแช สีที่ใช้ตัดเส้นเงินคือ สีครามฝรั่งกับสีน้ำเงิน phthalo blue และสีที่ใช้ตัดเส้นทองคือ สีแดงชาด นอกจากความหมายตามคตินิยมและเอกลักษณ์สำคัญในศิลปะล้านนาแล้ว ข้าพเจ้าใช้สีหลักภายใน งานตามความเชื่อในพลังของสี ได้แก่ สีแดง มีพลังอำนาจป้องกันพลังงานที่ไม่ดีหรือสิ่งชั่วร้ายได้ สีเงิน มีพลัง ความหรูหรา เกียรติยศ ความสง่างาม และสีทอง บ่งบอกถึงคุณค่า รสนิยม ความเจริญรุ่งเรือง การใช้เงินเปลว ทองคำเปลวทำให้เกิดความรู้สึกถึงความมันวาว สื่อถึงโลหะธาตุในความเป็นวัสดุสมัยใหม่ นำมาประกอบสร้าง กับรูปลักษณ์ของความงามอันทรงคุณค่าของภูมิปัญญาช่างเขียนไทยในอดีต ใช้วิธีการตัดเส้นตามแบบ จิตรกรรมไทยแบบประเพณีที่มีเส้นโค้งเป็นหลัก เขียนเลื่อนไหลไปตามลักษณะของรูปร่างรูปทรงในตัวลาย อย่างประณีต เป็นการสร้างสรรค์พัฒนา และต่อยอดคุณค่าทางความงามที่เป็นปัจจุบัน เพื่อการเข้าถึงและ เข้าใจ โดยไม่ลดทอนคุณค่าทางความดีและความงามของช่างล้านนาแต่อย่างใด 5. สรุป การสร้างสรรค์ผลงานชิ้นนี้ของข้าพเจ้า เป็นเพียงจุดเริ่มต้นในการนำเสนอลวดลายจากศิลปะล้านนา ที่ได้จากการประมวลผลแนวคิด ทฤษฎี คตินิยมและเอกลักษณ์สำคัญสู่การปฏิบัติที่ก่อให้เกิดความงามในแบบ อุดมคติไทย หลอมรวมกับความคิด จินตนาการและทักษะความชำนาญด้านจิตรกรรมไทยของตนเอง ก่อรูป ความคิดและถ่ายทอดเป็นงานจิตรกรรมไทยร่วมสมัยที่มีเนื้อหาสอดคล้อง กลมกลืนกับแนวความคิด และ แสดงออกให้ตรงเป้าหมายทางศิลปะที่วางไว้และยังคงต้องพัฒนาผลงานต่อไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุด เอกสารอ้างอิง เขมา แฉ่งฉายา. (2565). ผลการสร้างสรรค์ศิลปะร่วมสมัย จากการศึกษาภูมิปัญญาการใช้รูปทรงในภาพ จิตรกรรมฝาผนัง (วัดเกาะ) สกุลช่างเมืองเพชร. วารสารมนุษยสังคมปริทัศน์(มสป.) ปีที่ 24 ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน 2565. ปรีชา เถาทอง. (2561). ศิลปะสร้างสรรค์องค์ความรู้ทางวิชาการ. วารสารบริหารธุรกิจและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ปีที่ 1 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2561 (บทความวิชาการ). ปฏิเวธ เสาว์คง. (2563). การสังเคราะห์องค์ความรู้ศิลปกรรมในล้านนา : รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยจุฬา ลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่. วิทยา พลวิฑูรย์. (2562). ลายคำล้านนา ความงดงามที่ยังมีลมหายใจ. วารสารร่มพยอม ปีที่ 21 ฉบับที่ 1 ตุลาคม 2561-มีนาคม 2562. สุรพล ดำริห์กุล. (2539). งานศิลปกรรมลายคำประดับอาคารทางศาสนาล้านนา ในระหว่างพุทธศตวรรษที่ 20 - 25 : รายงานวิจัย.สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.
166 ร่มพฤกษชาติ The shade of Flora พงษ์ศักดิ์ สารกุล, Phongsak Sarakul วิทยาลัยช่างศิลปสุพรรณบุรี, Suphanburi College of Fine Arts E-mail: [email protected] บทคัดย่อ การสร้างสรรค์ผลงานในรูปแบบประติมากรรมเกิดจากลักษณะโครงสร้างของต้นไม้ กิ่ง ก้านใบ ความ หลากหลายของพันธุ์ไม้ที่ได้ประยุกต์เป็นงานประติมากรรมปั้นปูนสด โดยใช้กระบวนการปั้นผสมผสานกับลักษณะ ของรูปลายไทย เป็นการยึดโยงความคล้ายคลึงที่ใกล้เคียงกัน มีการจัดองค์ประกอบที่แสดงถึงความร่มรื่น ร่มเย็น อยู่ในรูปลักษณ์ของธรรมชาติที่สมควรได้รับการดูแลรักษาให้อยู่คู่วิถีชีวิตของมนุษย์ ผลการสร้างสรรค์พบว่า ศิลปะที่ได้รับการพัฒนา ต่อยอดทางองค์ความรู้ ประยุกต์ให้เข้ากับยุคสมัยจะ สามารถเป็นองค์ความรู้และสามารถพัฒนาได้อีกมากมาย คำสำคัญ: ปูนสด, เถาว์, พันธุ์ไม้ Abstract The structural characteristic of trees, the limb, the stalk and leaf’s the many of plant species applied from plaster sculpture. It is an arrangement of elements in order to be cool and shade. To shade of Flora is abundant of the forest, green the green of trees and everything for humanity as long as if the forest still remains I world is survive. Keywords: plaster sculpture, shade, leaf’s 1. ความสำคัญหรือความเป็นมาของปัญหา งานสร้างสรรค์ประติมากรรมปั้นปูนสด เป็นวัตถุดิบที่ได้จากธรรมชาติ มีส่วนผสมของปูนขาวหรือปูนที่ได้ จากเปลือกหอยเป็นหลัก ผสมคลุกเคล้ากับส่วนผสมต่าง ๆ แล้วทำการโขลกตำให้เข้าที่ เนื้อปูนจะมีลักษณะเหนียว แน่น สามาถนำมาปั้นเป็นรูปทรงต่าง ๆ ได้ เมื่อปูนแห้งจะมีคุณสมบัติแข็งตัวคงทนถาวร สมัยโบราณนิยมนำมาก่อ ฉาบ และปั้นตกแต่งอาคารสถาปัตยกรรม”งานปูนปั้นจากที่กล่าว มักนำมาใช้ประดับตกแต่งศาสนสถาน พระ อุโบสถ วิหาร เป็นงานประติมากรรมที่สร้างขึ้นเพื่อศาสนา โดยนิยมนำวรรณกรรม พุทธประวัติ ฯลฯ นำมา
167 ประกอบให้สอดคล้องกับความเป็นมาของสถานที่นั้น ๆ ในปัจจุบันวัสดุปูนจากธรรมชาติ ปูนที่มีเอกลักษณ์เฉพาะ ในงานปูนปั้น ผลงานสร้างสรรค์ร่มไม้พฤกษชาติได้ใช้เทคนิคงานประติมากรรมปั้นปูนสดและใช้ลวดลายเถาว์ธรรมชาติ เข้ามาประยุกต์ควบคู่ในผลงานสร้างสรรค์ เพื่อเป็นสื่อกลางที่จะทำให้คนทั่วไปเข้าใจในสิ่งที่ผู้สร้างสรรค์ผลงาน สร้างสรรค์ ความงดงามอ่อนช้อยของลายเถาว์ธรรมชาติและความแข็งแรงคงทนของงานประติมากรรมปั้นปูนสด สื่อให้ถึงความงามที่ร้อยเรียงจากธรรมชาติ ต้นไม้ ดอกไม้ เหล่าพืชพันธุ์ ที่ให้ความรู้สึกสุข สงบ ร่มเย็น 2. แนวคิด/ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง ผู้สร้างสรรค์ได้ใช้กระบวนการประติมากรรมปั้นปูนสด 3 มิติสร้างสรรค์ผลงานให้เกิดความอ่อนช้อยของ ลวดลายเถาว์ธรรมชาติความแข็งแรงของต้นไม้ ความร่มเย็นของเหล่ากิ่ง ก้าน ใบ แทนความคิดสื่อความหมาย เฉพาะตัว โดยใช้ลายไทยประยุกต์มากำหนดลายเส้นของงานประติมากรรมให้เกิดมิติของความละเอียดอ่อนช้อย เป็นเชิงสัญลักษณ์ทางความรู้สึกที่สุข และสงบร่มเย็น และใช้เทคนิคงานประติมากรรมปูนปั้นสดเพื่อให้ผลงานมีมิติ จากการมองในหลาย ๆ ด้าน มีแสง เงา ให้เกิดความสุนทรียะในการรับชมมากที่สุดผู้สร้างสรรค์ได้พยายามรังสรรค์ ศิลปะร่วมกับความร่วมสมัยของสังคม และบริบทของผู้คนที่มีวิถีชีวิตร่วมกับธรรมชาติ ศิลปะไทย (ประเภทลายไทย) เป็นศิลปะประณีตสืบเนื่องมาตั้งแต่ครั้งโบราณนานมา นับตั้งแต่มนุษย์รู้จัก ใช้สีเขียนเป็นลวดลาย เพื่อให้เกิดความสวยงามและความน่าเกรงขามแก่ผู้พบเห็น รวมทั้งการเขียนลวดลายลงบน ภาชนะดินเผา และศิลปะเหล่านี้ได้พัฒนามาเป็นมรดกตกทอดตามยุตสมัยจนถึงปัจจุบัน โดยได้รับแรงบันดาลใจ จากรูปทรงของพืช พันธ์ไม้ สรรพสัตว์ และสิ่งที่เป็นปรากฎการณ์ตามธรรมชาติ เช่น ดอกไม้ ใบไม้ เปลวไฟ มา ประดิษฐ์ดัดแปลงเป็นลวดลายต่าง ๆ จัดวางรูปให้เป็นระเบียบและกลมกลืน โดยล้อเลียนของจริงตามธรรมชาติ ก่อน แล้วจึงค่อย ๆ หายไปกลายเป็นลวดลายและภาพที่เห็น 3. กระบวนการในการสร้างสรรค์ 3.1. รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ใช้เป็นแนวทางในการออกแบบงานสร้างสรรค์ให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ โดยแบ่งข้อมูลออกเป็น 2 ด้าน 3.1.1 ข้อมูลเกี่ยวกับการออกแบบลวดลายไทย เพื่อนำมาประกอบในผลงาน “ร่มไม้พฤกษชาติ” 3.2.2 ข้อมูลเกี่ยวกับวัสดุในการขึ้นรูปประติมากรรม โดยเลือกใช้วัสดุที่สามารถดัดโค้ง งอ สามารถขึ้นรูปและคงรูปได้ทนทาน ส่วนลวดลายที่ใช้ประดับตกแต่งบนผลงาน ได้เลือกใช้วัสดุที่ขึ้นรูปได้ง่ายและ สามารถตกแต่งให้มีควาสวยงามตามรูปแบบที่ได้กำหนดไว้
168 3.2. วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการออกแบบตามความคิด 3.2.1 วิเคราะห์รูปร่าง รูปทรงของพืชพันธุ์ในมุมมองต่าง ๆ 3.2.2 วิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นและแนวทางการแก้ไขปัญหาในแต่ละขั้นตอน 3.2.3 วิเคราะห์ผลที่คาดว่าจะได้รับจากการร่างแบบตามแนวคิด 3.3. ขั้นตอนในการร่างแบบตามแนวคิด หลังจากได้แนวคิดในการสร้างสรรค์และรูปแบบประติมากรรมดังนี้ 3.3.1 สร้างแบบร่าง 2 มิติ จากที่มีการค้นคว้าหาข้อมูลรวบรวมแนวคิด จัดลำดับรูปสัญลักษณ์ ของความคิดตามข้อมูลที่ได้ศึกษาค้นคว้ามา และได้จินตนาการเพิ่มเติมจากข้อมูลที่ได้ค้นคว้า เพื่อนำเสนอ และขอ คำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญเพื่อปรับปรุงแบบร่าง 3.3.2 ขั้นตอนการขยายแบบร่าง นำผลงานที่ผ่านการพิจารณาจากผู้เชี่ยวชาญมาปรับปรุงให้ได้ สัดส่วนตามข้อเสนอแนะจากผู้เชี่ยวชาญ นำแบบที่ได้กำหนดขนาดจริงโดยการกำหนดโดยใช้มาตราส่วน (SCALE) 3.4 เทคนิควิธีการในการสร้างผลงาน ในการสร้างสรรค์ผลงานประติมากรรมของผู้สร้างสรรค์ จะใช้เทคนิคปั้นปูนสด ประกอบกับลวดลายเถาว์ ลายไทยประยุกต์ ปั้นเป็นเส้นลวดลายประสานกลมกลืนผสานความเป็นสุนทรียภาพของผลงาน เป็นเส้นโค้ง เส้นตรง ความอ่อนช้อยของต้นไม้และพืชพันธุ์ต่าง ๆ เพื่อให้เกิดมิติทางหลักการองค์ประกอบศิลป์และหลัก สุนทรียภาพ 4. การวิเคราะห์ผลงาน จากการรวบรวมแนวคิดและการสร้างสรรค์ผลงาน “ร่มพฤกษชาติ” ประมวลผลงานออกมาเป็นงาน ประติมากรรมประณีตศิลป์ไทยประยุกต์ให้มีรูปแบบที่น่าสนใจมีมิติที่สามารถสัมผัสได้สามารถนำไปใช้ในการ สร้างสรรค์ผลงานและต่อยอดให้มีความร่วมสมัยมากขึ้น 4.1 รูปทรง (Form) รูปทรงจากการเขียนลายเส้นรูปทรงของพืชพันธุ์ต้นไม้และเถาว์ลาย ตามหลักของ องค์ประกอบศิลป์ 4.2 เส้น (Line) โดยส่วนใหญ่เส้นที่ใช้เป็นเส้นโค้งอาจมีการใช้เส้นตรงบ้างแต่ไม่มาก เส้นสามารถทำให้ เกิดรูปทรงได้ด้วยการปั้นด้วยน้ำหนักเส้นที่หลากหลาย แยกขนาดและน้ำหนัก แต่การปั้นปูนสดจะทำให้เกิดรูปทรง อย่างชัดเจนมากยิ่งขึ้นด้วยการเว้นพื้นที่ช่องไฟและการเขียนเส้นที่มีขนาดใหญ่และมีความสัมพันธ์กับรูปจึงทำให้ งานมีความคมชัดและงดงามมากยิ่งขึ้นแม้มองจากระยะไกล
169 4.3 สี (Color) ผู้สร้างสรรค์ใช้สีทั้งหมด 1 สี คือสีของปูนสด ซึ่งเป็นวัตถุดิบที่ได้จากธรรมชาติ มีส่วนผสม ของปูนขาวหรือปูนที่ได้จากเปลือกหอยเป็นหลัก 4.4 พื้นที่ว่าง (Space) เพื่อให้เกิดช่องไฟและความงามในรายละเอียดของลวดลายที่ออกแบบ ทำให้เกิด ความงามในรูปแบบของงานประติมากรรม สามารถมองเห็นรายละเอียดได้โดยรอบ เกิดความแปลกใหม่ในผลงาน มีความอ้อนช้อยและมีความร่มเย็นในช่องว่างเถาว์ลาย ทำให้งานประติมากรรมได้มีการพัฒนารูปแบบงานให้ น่าสนใจมากขึ้น ผู้สร้างสรรค์ได้กำหนดพื้นที่ว่างไปตามเหตุผลของเรื่องราวที่เกิดขึ้น โดยคำนึงถึงกฎเกณฑ์และ วิธีการทางประติมากรรม โดยใช้อากาศกำหนดที่ว่างให้เกิดรูปทรง สามารถมองได้โดยการเปลี่ยนแปลงรอบทุกด้าน 4.5 พื้นผิว (Texture) พื้นผิวเป็นทัศนธาตุทางศิลปะพื้นผิวที่มีความแตกต่างในผลงานทำให้เกิดการ สัมผัสได้ด้วยตา ความรู้สึกกับการสัมผัสกับงานศิลปะที่นูนออกมานั้นจึงเกิดเป็นความงามและละเอียดอ่อน เมื่อ อากาศสัมผัสจึงเกิด แสง เงา ปรากฏเป็นรูปทรง ภาพที่ 1The shade of Flora, Plaster sculpture, 80 x 90 cm., 2023 ที่มา : ผู้สร้างสรรค์
170 5. สรุป จากการศึกษาค้นคว้าทดลองหาแนวทางสร้างสรรค์ผลงาน “ร่มพฤกษชาติ” ผู้สร้างสรรค์ค้นพบว่าเป็นการ สร้างสรรค์ผลงานที่ได้รับแรงบันดาลใจจากการเคยเห็นผลงานการนำแรงบันดาลใจในความงามของพืชพันธุ์ไม้และ นำมาพัฒนาต่อยอดโดยสอดแทรกเทคนิคการปั้นลวดลายไทยประยุกต์เข้าไปในงานสร้างสรรค์ และได้ผลเป็นที่น่า พอใจเกิดเป็นผลงานประณีตศิลป์ที่งดงาม สื่อให้เห็นถึงความสวยงามของกิ่งก้านใบของต้นไม้ ความร่มเงา ร่มเย็น ของต้นไม้ใบไม้ แสงและเงาของงานสร้างสรรค์สอดแทรกด้วยเทคนิคของผู้สร้างสรรค์ผลงาน ที่ตั้งใจให้เห็นถึงแสง และเงาของต้นไม้และแสงที่แตกต่างกันของมุมมองต่าง ๆ การสร้างสรรค์ผลงานในรูปแบบงานประติมากรรมงานประณีตศิลป์ไทยในผลงานชิ้นนี้ทำให้ผู้สร้างสรรค์ รับรู้ถึงสุนทรียภาพของศิลปะ และได้นำมาปรับปรุงเปลี่ยนแปลงตามรูปแบบทำให้เกิดองค์ความรู้ผู้สร้างสรรค์หวัง ว่าผลการสร้างสรรค์จะเป็นศิลปะที่ทรงคุณค่าทางสุนทรียภาพและเป็นแนวทางสร้างสรรค์พัฒนาต่อยอดและ พัฒนาองค์ความรู้ได้ต่อไป เอกสารอ้างอิง ฉาย เทวาภินิมมิต. (2486). สมุดตำราลายไทย. โรงพิมพ์เจริญกิจ. (พิมพ์ครั้งที่1) น.ญ ปากน้ำ. (2530). พจนานุกรมศิลป์. สำนักพิมพ์เมืองโบราณ. (พิมพ์ครั้งที่3) ราชบัณฑิตยสถาน. (2530). พจนานุกรมศัพท์ศิลปะ. ราชบัณฑิตยสถานจัดพิมพ์. (พิมพ์ครั้งที่1)
171 ความสัมพันธ์ทางอารมณ์ระหว่างผู้หญิงกับดอกไม้ The emotional relationship between women and flowers พัชรินทร์ อนวัชประยูร, Patcharin Anawatprayoon วิทยาลัยช่างศิลป สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ วิทยาลัยช่างศิลป 60 ถนนหลวงพรต แขวงลาดกระบัง เขตลาดกระบัง กรุงเทพฯ ประเทศไทย College of Fine Arts, 60, Luangprot Road, Larkrabang, Bangkok, Thailand E-mail: [email protected] บทคัดย่อ ผลงานสร้างสรรค์โดยใช้รูปทรงจากดอกไม้ให้เห็นถึงอารมณ์ความรู้สึกต่าง ๆ ของดอกไม้แต่ละ ประเภท ที่มีรูปร่าง รูปทรง แตกต่างกันตามลักษณะทางสายพันธุ์ มีความงามในตัวของมันเอง เป็นสิ่งที่ ธรรมชาติสร้างขึ้น ดอกไม้มีความอ่อนหวาน สวยงาม มีสีสันที่สดใส มีชีวิตชีวา กลีบดอกที่บางเบา อ่อนนุ่ม มี จังหวะ และมีเรื่องราวในตัวของมันเอง บางสายพันธุ์มีกลิ่นหอมรัญจวนใจ ทำให้ นึกฝัน ดอกไม้แต่ละชนิดมี บุคลิกตามแต่ละชนิดของมัน มนุษย์ทุกคนมีความชื่นชม ประทับใจในลักษณะของดอกไม้เหล่านี้ มนุษย์ได้ หยิบยกเอาคุณค่า ความดีงามของดอกไม้มาสื่อเป็นสัญลักษณ์แทนความหมายต่าง ๆ ในการแสดงออกและ สื่อสารต่อกันและกัน เช่น ดอกไม้บางชนิดเป็นสื่อความหมายแทนเรื่องของความดีงาม ความรัก ความอบอุ่น หรือในขนบธรรมเนียมประเพณีต่าง ๆ ของไทยที่นำดอกไม้มาประกอบ เพื่อให้เกิดเป็นสิริมงคลในเรื่องต่าง ๆ และบางชนิด ยังเป็นสื่อในความหมายถึงความโศกเศร้า อาลัย ดังนั้นผู้สร้างสรรค์ได้นำเอาคุณลักษณะต่าง ๆ ของดอกไม้ และความเชื่อของผู้คนในสังคม ใช้สื่อแทนความหมายของดอกไม้ในการแสดงออกถึงอารมณ์ ความรู้สึกของผู้หญิง ดอกไม้ สัญลักษณ์แห่งอารมณ์และความรู้สึกของผู้หญิงนำมาถ่ายทอดเป็นผลงานทาง จิตรกรรม โดยลักษณะรูปทรง โครงสร้าง สีสันของดอกไม้ตัดทอน และสร้างสรรค์ขึ้นใหม่ ตามความรู้สึก ส่วนตัวผสมผสานทั้งความจริงและจินตนาการ ประสบการณ์ของผู้สร้างสรรค์ผ่านกระบวนการสร้างสรรค์ไป จนถึงผลงานศิลปะที่แสดงออกให้เห็นรูปแบบผลงานจิตรกรรมเทคนิคผสมระหว่างเทคนิคทางจิตรกรรม และ เทคนิคการตัดผ้าไหมโปร่งใสหลากสี ตัดเป็นรูปทรงกลีบดอกไม้ ทับซ้อนหลาย ๆ ชั้นบนผลงาน กระบวนการ สร้างสรรค์ผลงานเพื่อที่จะสามารถถ่ายทอดอารมณ์ ความรู้สึกออกมาให้ตรงกับความคิด โดยได้คลี่คลายตัด ทอนรูปทรงของดอกไม้ตามจิตนาการและความคิดฝันส่วนตัว เพื่อให้ได้ตามอารมณ์ความรู้สึกที่ต้องการ รวมถึง การเลือกสรรวัสดุ โดยใช้ผ้าที่มีลักษณะความโปร่งใส บางเบา อ่อนหวาน ทำให้เกิดจังหวะลีลา ที่ทับซ้อนกัน ของรผูกทรงเกิดมิติบรรยากาศ สีสันตามธรรมชาติในจินตนาการ แสดงออกด้วยเทคนิคที่แสดงบุคลิกภาพ ส่วนตัว ที่พัฒนาให้สอดคล้องเหมาะสมกับเนื้อหารูปแบบที่ต้องการนำเสนอ การสร้างสรรค์ผลงานเรื่อง ความสัมพันธ์ทางอารมณ์ระหว่างผู้หญิงกับดอกไม้ เพื่อให้ผู้ชมเกิดความหลากหลายทางอารมณ์ตามความรู้สึก ของผู้สร้างสรรค์ที่ต้องการถ่ายทอดออกมา เมื่อได้ชื่นชมดอกไม้ ดอกไม้กับผู้หญิงเป็นเสมือนของคู่กัน การ
172 นำเอาความงามของผู้หญิงมาเปรียบกับความงามของดอกไม้ สัญลักษณ์และความหมายของดอกไม้ดอกไม้กับ ผู้หญิงสวยสดงดงามและหอมหวานยวนอารมณ์คู่ขนานกันไปจึงเป็นสิ่งคู่กัน และมีการเปรียบเทียบกันอยู่ตลอดมา คำสำคัญ: ผู้หญิง, ดอกไม้, อารมณ์ Abstract Creative work that incorporates flower shapes aims to explore the diverse emotions and feelings associated with various types of flowers. Each flower, with its distinct shapes and forms based on species characteristics, possesses a unique beauty bestowed upon it by nature. Flowers are inherently sweet, beautiful, vibrant in color, lively, and adorned with delicate, soft petals. They possess their own rhythmic patterns and a unique story. Some flower species emit fragrant aromas that can evoke dreams. Each type of flower has its own personality, leaving an indelible impression on every individual. Humans have recognized the value and significance of flowers, using them as symbols to convey various meanings when expressing and communicating with others. For some, flowers serve as a means of communication, telling stories of goodness, love, and warmth and playing integral roles in various Thai traditions aimed at bringing good fortune in various aspects of life. Some types of flowers also serve as a medium for expressing sorrow and mourning. The creator drew upon various characteristics of flowers and the beliefs held by society to represent the meaning of flowers through their artistic expressions. When it comes to portraying women's emotions and feelings, flowers become symbols, with their shapes, structures, and colors serving as the basis for artistic creations. The creator used self-personal feelings, a combination of reality and imagination, and self-experiences in the creative process to produce artworks that showcase unique painting styles. They employ a blend of painting techniques and the art of cutting colorful, transparent silk into flower petal shapes, layering them to convey emotions and thoughts effectively. This process involves unraveling the shape of the flower according to personal imagination and dreams to achieve the desired emotional impact. In addition to shape and color selection, creators work with materials that are transparent, lightweight, and sweet in nature, creating a rhythmic style. The overlapping of shapes creates a distinctive atmosphere and allows for the expression of personal personality. These techniques are developed to align with the desired content format. The resulting artworks explore the emotional connection between women and flowers, aiming to elicit a range of emotions in the audience based on the creator's expressive intent. While admiring flowers, one can draw
173 parallels between the beauty of women and the beauty of flowers, leading to symbolism and meaning attributed to both. Flowers and women are often likened to each other, given their shared characteristics of beauty, loveliness, and sweet fragrance, and these comparisons have endured over time. Keywords: women, flowers, emotions 1. ความสำคัญหรือความเป็นมาของปัญหา ความสัมพันธ์ทางอารมณ์ระหว่างผู้หญิงกับดอกไม้โดยการศึกษา ค้นคว้า วิเคราะห์ และพัฒนา กระบวนการสร้างสรรค์ผลงานทางศิลปะ ที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสาธารณชนวงการศิลปะ ผู้สร้างสรรค์ ต้องการสร้างสรรค์ผลงานทัศนศิลป์ที่ได้รับแรงบันดาลใจจากสีสันของดอกไม้ ความงามทางรูปร่างรูปทรงของ ดอกไม้ที่มีลักษณะทางสายพันธุ์ที่แตกต่างกัน ดอกไม้ให้ความรู้สึกนุ่มนวลอ่อนหวาน มีสีสันที่สดใส มีชีวิตชีวา กลีบดอกที่ทับซ้อนกันบางเบา อ่อนนุ่ม มีจังหวะ ลีลา และมีเรื่องราวในตัวของมันเอง บางสายพันธุ์มีกลิ่นหอม รัญจวนใจ ทำให้นึกฝัน ดอกไม้แต่ละชนิดมีบุคลิกตามแต่ละชนิดของมัน “ดอกไม้กับผู้หญิงเป็นเสมือนของคู่ กัน ผู้หญิงดูมีเอกสิทธิ์แต่เพียงฝ่ายเดียวในการเกี่ยวข้องกับดอกไม้” (หม่อมหลวงตุ้ย ชุมสาย, 2515, น. 43) ตามความเข้าใจของคนทั่วไปเห็นว่าดอกไม้กับผู้หญิงสวยสดงดงาม และหวมหวนยวนอารมณ์คู่ขนานกันไป เหมือนเป็นสิ่งคู่กัน และมีการเปรียบเทียบกันอยู่ตลอดมา การเปรียบเทียบเพศหญิงทั้งร่างกับดอกไม้ทั้ง ดอก และยังได้เอาดอกไม้ไปเปรียบเทียบกับอวัยวะต่างๆของหญิงเกือบทั่วทั้งตัว หลักการของการเปรียบเทียบ นั้น มิใช่จะถือเอาความเหมือนทางกายภาพระหว่างดอกไม้กับผู้หญิงมาพูดถึงแต่หากเป็นการเปรียบเทียบ อารมณ์ที่เหมือน ๆ กัน ซึ่งเกิดขึ้นจากการประสบดอกไม้กับการประสบอวัยวะนั้น ๆ หรือบางทีก็เปรียบเทียบ ในฐานะที่ชื่อของดอกไม้นั้น เหมือนกับชื่อของอวัยวะของหญิง การเปรียบเทียบมักกระทำโดยจินตกวีและบาง ทีก็ต้องตีความกันหลายทอด ดอกไม้เป็นสื่อภาษาสากลของชนทุกชาติความงามทางรูปร่างรูปทรงของ ดอกไม้ที่มีลักษณะทางสายพันธุ์ที่แตกต่างกัน ดอกไม้ให้ความรู้สึกนุ่มนวลอ่อนหวาน มีสีสันที่สดใส มีชีวิตชีวา กลีบดอกที่ทับซ้อนกันบางเบา อ่อนนุ่ม มีจังหวะ ลีลา และมีเรื่องราวในตัวของมันเอง บางสายพันธุ์มีกลิ่นหอม รัญจวนใจ ทำให้นึกฝัน ดอกไม้แต่ละชนิดมีบุคลิกตามแต่ละชนิดของมัน ใช้รูปทรงโครงสร้างจากดอกไม้มา สร้างภาพให้เห็นถึงอารมณ์ ความรู้สึกต่าง ๆ ของดอกไม้แต่ละประเภท ที่มีรูปร่าง รูปทรง แตกต่างกันตาม ลักษณะทางสายพันธุ์และเป็นศิลปะอยู่ในตัวของมันเองมีความงามเป็นสิ่งที่ธรรมชาติสร้างขึ้น ดอกไม้เป็นสื่อ แทนสัญลักษณ์มีความหมาย ผู้สร้างสรรค์ได้นำเอาคุณลักษณะต่าง ๆ ของดอกไม้และความเชื่อของผู้คนใน สังคม ใช้สื่อแทนความหมายของดอกไม้ในการแสดงออกภายใต้ความงามของดอกไม้ถึงอารมณ์ความรู้สึกของ ผู้หญิง นำมาถ่ายทอดเป็นผลงานจิตรกรรมเทคนิคผสม โดยนำเอาลักษณะรูปทรงโครงสร้างสีสันของ ดอกไม้นำมาตัดทอนและสร้างสรรค์ขึ้นใหม่ตามความรู้สึกคิดฝัน เกิดรูปแบบเฉพาะตน
174 2. แนวคิด / ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง การวิจัยสร้างสรรค์ผลงานทัศนศิลป์ที่ได้รับแรงบันดาลใจจากสีสันของดอกไม้ความงามทางรูปร่าง รูปทรงของดอกไม้ดอกไม้ก่อให้เกิดจินตนาการ เป็นแรงกระตุ้นให้รู้สึกมีชีวิตชีวา ดอกไม้ให้ความรู้สึก อารมณ์ ความคิดและจินตนาการ จากการสัมผัสความงามของดอกไม้มาสร้างสรรค์ แหล่งข้อมูล 1. ข้อมูลโดยตรงที่ได้รับจากธรรมชาติ ธรรมชาติสร้างดอกไม้ให้เกิดขึ้น สีสันความสวยงามของดอกไม้กลิ่นหอมจากดอกไม้เป็นของขวัญ สำหรับมนุษย์ดอกไม้จึงเป็นองค์ประกอบที่สวยงามที่มนุษย์ชื่นชมเสมือนเครื่องขัดเกลาจิตใจที่สมองให้กับผ่อง ใสขึ้นทำให้เรารู้สึกเบิกบานใจเวลาอยู่ใกล้ดอกไม้ได้ชื่นชมความงามของดอกไม้เกิดความรู้สึกผูกพันดอกไม้ สามารถกระตุ้นอารมณ์ความรู้สึกของมนุษย์ได้ 2. ข้อมูลจากเอกสารทางวิชาการเกี่ยวกับพฤกษศาสตร์ ดอกไม้ (Flowers) คืออวัยวะสืบพันธ์ของพืชดอก (Flowering Plants) มีส่วนประกอบ 4 ชั้น คือ กลีบ เลี้ยง กลีบดอก เกสรเพศผู้ เกสรเพศเมีย องค์ประกอบภายนอกและภายในดอกไม้ความแตกต่างหลากหลาย สีสันสวยงาม การแยกประเภทพันธุไม้ดอกตามหลักพฤกษศาสตร์เพื่อจำแนกพันธไม้ให้แน่ชัด รูปร่าง ลักษณะ นิสัย การดำรงชีพ และการสืบพันธุ์ลักษณะดอกไม้ดอกเดี่ยวหรือดอกช่อ ทางพฤกษศาสตร์ที่สามารถระบุ ชนิดดอกไม้ข้อมูล ชื่อทางพฤกษศาสตร์ที่มีแหล่งข้อมูลเอกสารอ้างอิง ชื่อดอกไม้ชื่อวงศ์ ชื่อพ้อง ลักษณะ ทางพฤกษศาสตร์จากพรรณชาติของประเทศไทย ลักษณะวิสัย ลักษณะดอกไม้ช่อดอก เกสร เป็นต้น 3. วรรณกรรม ที่เขียนเปรียบเทียบถึงความงามของผู้หญิงกับดอกไม้ ในวรรณกรรมหลาย ๆ เรื่อง มีการเปรียบเทียบผู้หญิงกับดอกไม้ เช่นงามเหมือนดอกไม้มีเสน่ห์ หอมหวนยวนใจเหมือนกลิ่นดอกไม้ แถมเปรียบผู้ชายที่เข้ามาว่าเหมือนผึ้งที่บินวนเวียนรอบดอกไม้ ผู้หญิงกับ ดอกไม้เป็นของคู่กัน ตัวอย่างวรรณกรรมเช่น“พิศกรรณคล้ายกลีบบุศบงค์ (รามเกียรติ์), งามโอษฐ์เอี่ยมแสง แดงแฉล้ม เหมือนกุหลาบยามแย้มยิ่งประสงค์ (พระราชนิพนธ์เรื่องท้าวแสนปม), ดูผิวนวลละอองอ่อน มะลิ ซ้อนดูดำไปหมดสิ้น (พระราชนิพนธ์เรื่องศกันตลา) ฯลฯ ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง 1. ทฤษฎีความเชื่อทัศนคติเกี่ยวกับดอกไม้ ความหมายของดอกไม้ อิทธิพลจากประสบการณ์ตรงและความเชื่อเกี่ยวกับดอกไม้ดอกไม้กับผู้หญิงเป็นเหมือนสิ่งคู่กัน ผู้วิจัย ก็เหมือนผู้หญิงทั่ว ๆ ไปที่รักสวยรักงาม มีความชอบดอกไม้ ชอบความสวยงาม ชอบการสัมผัสรับรู้กับกลิ่น หอมของดอกไม้ความเชื่อบางอย่างที่เกี่ยวกับดอกไม้ การที่ดอกไม้เข้ามาอยู่ในชีวิตจิตใจของมนุษย์เป็นเวลาช้า นาน และได้เข้ามาพัวพันกับอารมณ์นานาประการของคน ทั้งในทางสุขและทุกข์ ทำให้คนเราพัฒนาความเชื่อ ต่าง ๆ เกี่ยวกับดอกไม้ต่าง ๆ ขึ้นหลายแง่ มีทั้งดอกไม้ที่เป็นมงคลและไม่เป็นมงคลความหมายของดอกไม้ ดอกไม้เป็นสิ่งท่ีมีความงดงามตามธรรมชาติและมีเอกลักษณ์ในตัวเอง การได้อยู่ท่ามกลางสวนดอกไม้กว้างจึง เป็นการสร้างความสุขและผ่อนคลายทางอารมณ์ และจิตใจให้แก่ทุกคนได้ นอกจากดอกไม้จะมีสีสันสวยงาม
175 ให้ความสดใส มีกลิ่นหอมที่เป็นเอกลักษณ์ และ สร้างความสดชื่นให้แก่ผู้พบเห็นแล้ว ดอกไม้แต่ละชนิด แต่ละ สี ยังแฝงไปด้วยความหมายอันลึกซึ้ง ดอกไม้นั้นมีมากมายหลากสายพันธ์ ดอกไม้มีบุษปภาพ คนแต่ละคนก็มีบุคลิกภาพ (PERSONALITY) ของตนเอง บุคลิกภาพของคน ๆ หนึ่ง หมายถึง คำพูด รูปร่างหน้าตา และกิริยาท่าทางของคนนั้น ซึ่งรวมหน่วย(INTEGRATE) เข้าด้วยกัน แล้ว ประทับใจคนอื่นให้เห็นให้รู้สึกว่าน่าเอ็นดู เหี้ยม เก๋ ก้าวร้าว สงบเสงี่ยม บึกบึน ลื่น หลุกหลิก เปรี้ยว น่ารัก ติ๋ม กุ๊ย อ่อนโยน เป็นสง่า ใจดี เบ่ง ฯลฯ ดอกไม้นานาชนิด ก็ประทับใจคนให้เกิดความรู้สึกนานาประการ เหมือนกันดังนี้ ดอกไม้ถือว่ามีบุคลิกภาพของมันเหมือนกัน แต่ดอกไม้ไม่ใช่บุคคล จึงต้องขอเรียกว่า "บุษป ภาพ" ตามที่หม่อมหลวงได้กล่าวไว้(หม่อมหลวงตุ้ย ชุมสาย, 2515, น.85-87) เช่นเดียวกับบุคลิกของคน การ พิจารณาบุษปภาพของดอกไม้ต้องพิจารณาดอกไม้ในสิ่งแวดล้อมของดอกไม้ และลักษณะที่ควรเอามาพิจารณา ไม่ว่าจะเป็น สี กลิ่น ลักษณะการชูช่อกาไหวตามกระแสลม และรูปทรง (FORM) ของดอกไม้นั้นๆ เมื่อคนดู ดอกไม้ดอกหนึ่งในขณะที่มันชูช่ออยู่ตามธรรมชาติแล้วเกิดความรู้สึกอย่างไร ความรู้สึกนั้นควรเป็นบุษปภาพ ของดอกไม้ ตัวอย่างลักษณะเด่นของดอกไม้ที่คนรู้จักกันทั่ว ๆ ไป ซึ่งอาจไม่ตรงกับความรู้สึกของคนอื่น 2. ทฤษฎีเรื่องความงาม สําหรับผู้หญิงแล้วเรื่องความสวยความงามเป็นสิ่งไม่สามารถแยกออกจากกันได้ เราต่างให้การยอมรับ และเข้าใจกันดีว่า มันเป็นสัญชาตญาณของเพศหญิง เป็นเรื่องกลไก ทางธรรมชาติท่ีมีมาเนิ่นนานตั้งแต่ในอดีต กาลแล้ว ความงามจึงกลายเป็นสิ่งที่คู่กับผู้หญิง ผู้หญิงตบแต่งตนเองให้เกิดความงาม จนทําใช้ชายหนุ่มลุ่มหลง ทัศนคติผู้หญิงที่มีต่อค่านิยมความงาม การแต่งหน้า การแต่งกายเสื้อผ้า และที่กําลังแพร่หลายอยู่ในปัจจุบัน มากขึ้นคือการทําศัลยกรรมประเภทต่าง ๆ ทําให้ปฏิเสธไม่ได้ว่าผู้หญิงในสมัยนี้ที่มีหน้าตาสะสวยมักจะได้รับ การยอมรับและเปิดกว้างในด้านต่าง ๆ มากกว่าคนที่หน้าตาขี้เหร่ ผู้คนส่วนมากในสังคมยังนิยมความสวยของ ผู้หญิงมากกว่าคุณค่าที่มาจากตัวตนจริงๆ หรือผู้หญิงที่มีใบหน้าอันสวยงามได้ สิ่งเหล่านี้จึงเปรียบเสมือน ค่านิยมทางสังคม หรืออาจจะเป็นเรื่องของธรรมชาติที่สร้างสรรค์ให้มนุษย์เกิดการคัดเลือกทางสายพันธ์ุที่ สมบูรณ์และเหมาะสมให้เหลือรอดเอาไว้ในสังคม และมันยังคงเป็นส่วนหนึ่งของจิตใต้สํานึกของเราที่ยากจะ ให้หายไปจากสังคม ดังนั้น ผู้หญิงก็ยังคงต้องพยายามสร้างสรรค์บุคลิกของตนเองให้ดูดีและสมบูรณ์แบบอยู่ เสมอไม่ว่าจะด้วย หนทางใดก็ตาม และเพราะค่านิยมที่ครอบงําความคิดเราไว้แต่แบบนี้ทําให้ผู้หญิงยุคใหม่ หลายคน มองข้ามคุณค่าจากความงามภายในไปพร้อมกันด้วย แท้จริงแล้ว ยังมีความงามจากภายในหรือจาก อุปนิสัยใจคอท่ีดี อ่อนโยน อ่อนหวาน จิตใจดี มีเมตตาแบบนี้นับเป็นความสวยงามที่สร้างเองได้จากภายใน และมันยังสะท้อนให้บุคลิกของผู้หญิงเรามีเสน่ห์และคุณค่าในตัวเองอย่างมากอีกด้วยเพราะฉะนั้น เรายัง สามารถปรับบุคลิกให้ตัวเองดูดีด้วยการออกกําลังกาย แต่งหน้า ทําผม แต่งตัวให้เป็นเพื่ออําพรางส่วนด้อยของ ตัวเอง เท่านี้ก็ทําให้ค่านิยมเหล่านั้นเป็นเรื่องควรมองข้ามไปได้แล้ว แล้วสาว ๆ ยุคใหม่ก็ย่อมใช้ชีวิตแบบที่เป็น ตัวเองมากที่สุด ทำไมถึงเปรียบเทียบผู้หญิงกับดอกไม้ ก็เพราะว่าผู้หญิงส่วนใหญ่มีเสน่ห์และความสวยงามแตกต่างกัน ออกไป กลิ่นของดอกไม้ก็คือสิ่งที่ดึงดูดให้ฝ่ายตรงข้ามมาสนใจเหมือนกับเสน่ห์ของผู้หญิง แม้แต่ดอกบัวที่ใช้ ถวายพระนั้นไม่มีกลิ่นที่หอมเหมือนดอกไม้ทั่วไป แต่ก็สามารถใช้เป็นเครื่องบูชา ผู้หญิงที่เปรียบเสมือนดอกบัว
176 คือผู้หญิงที่มีจิตใจดี แม้กายจะไม่หอม แม้จะไม่ได้งดงามแต่สามารถชนะใจได้ผู้หญิงหลายคนต้องการเป็น ดอกไม้ที่เป็นที่หมายปองของผีเสื้อหรือหมู่ภมร แต่มีเพียงไม่กี่คนหรอกที่สมปรารถนา ซึ่งมีหลายคน เปรียบเทียบว่า ผู้หญิงก็เปรียบเสมือนดอกไม้ที่มีหลากสีสัน มีหลายรูปลักษณ์ที่สร้างสรรค์ขึ้นมาเพื่อดึงดูหมู่ แมลงให้มาใกล้ชิด บางชนิดก็มีรูปลักษณ์ สีสันสวยงาม เพื่อล่อแมลงให้มาติดกับ แต่บางชนิดก็มีกลิ่นหอมเย้า ยวนเพื่อล่อหมู่แมลงให้หลงใหล และดอกไมเบางชนิดรูปลักษณ์นั้นไม่น่าดูชมแต่กลิ่นหอ มหวนชวนดมก็มี ผู้ชายเองก็เปรียบเหมือนหมู่แมลง ที่ออกบินดอมดมชื่นชมในความสวยงามของดอกไม้ ที่บางตัวหลงในเสน่ห์ ความงานของดอกไม้ ก็อาจจะต้องจบชีวิตเพราะความงามเพียงรูปลักษณ์นั้นได้หากหลงแต่เพียงรูปลักษณ์ ภายนอกเหมือนดอกไม้งาม ก็อาจทำให้มองข้ามสิ่งที่มีคุณค่าในดอกไม้บางดอก ที่อาจจะมีรูปลักษณ์ภายนอก ไม่น่าดูชม แต่กลับแฝงไปด้วยคุณประโยชน์และกลิ่นหอมชวนดม บางทีสิ่งที่เราได้เห็นกันอยู่นั้น อาจจะเป็นแค่ เพียงภาพลวงตา แต่หากได้ลองหลับแต่ใช้จิตใจสัมผัสคนรอบข้างเรา ก็อาจพบว่าคนรอบข้างนั้นเป็นคนแบบ ไหนเป็นอย่างไร แค่อย่างมองแต่เพียงรูปลักษณ์ภายนอกเท่านั้น เพราะคนที่มองแต่เพียงรูปลักษณ์ อาจจะไม่มี วันได้เจอ สิ่งที่แสนดีที่ซ่อนอยู่ในรูปลักษณ์ที่ไม่น่าดูชมนั้นได้ความสวยงามของดอกไม้ส่งกลิ่นหอม ๆ และกำลัง บานสะพรั่งอยู่ทั่วทุกสารทิศ ได้เป็นจุดดึงดูดเหล่าแมลงต่าง ๆ มาโบยบินเที่ยวชมและนำเอาน้ำหวานจากเกสร ดอกไม้ เฉกเช่นเดียวกันกับความสวยงามของผู้หญิงที่เปล่งประกายออกมา ได้เป็นจุดดึงดูดเหล่าสายตาของ หนุ่ม ๆ ที่มุ่งมองถึงความสวยงามของผู้หญิง เป็นเพราะว่าความสวยงามของผู้หญิง ที่มีความงดงามดั่งดอกไม้ แรกแย้มที่กำลังจะบาน ทำให้โลกนี้ดูสดใสมากขึ้นหากเปรียบผู้หญิงเป็นเสมือนดอกไม้ ซึ่งดอกไม้ยอดนิยมที่ หนุ่ม ๆ มักจะเปรียบเทียบก็คือ ดอกกุหลาบ..ด้วยความมีเสน่ห์ของสีสันที่สวยสดงดงาม และมีความโดดเด่น เป็นเอกลักษณ์ อีกทั้งมีความหอมจากแรงบันดาลใจของกุหลาบในแบบฉบับที่หลายคนอาจไม่เคยสัมผัสมาก่อน กุหลาบแสนพิเศษซึ่งคลี่กลีบบานเผยเอกลักษณ์ความหอมที่คลอเคล้าความสดชื่นเพียงช่วงเวลาสั้น ๆ ดุจการ นัดพบอันตราตรึงใจพร้อมส่งกลิ่นหอมอ่อน ๆ เพื่อถ่ายทอดมิติซับซ้อนราวกับดอกไม้งามที่สมบูรณ์พร้อมด้วย กลิ่นแรกสัมผัสแสนร่าเริงกลิ่นอายของดอกกุหลาบสีแดงสดที่เต็มไปด้วยความสวยงาม และการแสดงออกถึง ความรัก ยังให้ความอ่อนหวานเย้ายวนใจและอวลอุ่นชวนชิดใกล้ ด้วยกลิ่นหอมอ่อน ๆ ของพรรณไม้นี้ที่จะทำ ให้รู้สึกสดชื่น ละมุนละไม ทันสมัย เริดหรู และเจิดจรัส จากแรงบันดาลใจของกุหลาบหลากสายพันธุ์ ที่สะท้อน เอกลักษณ์ของหญิงสาวผู้เปี่ยมพลังสร้างสรรค์ และมีรักที่มั่นคงตามหาความหมายของดอกไม้ในงาน ศิลปะ เวลามองดอกไม้แล้วนึกถึงอะไรกัน? เชื่อว่าความคิดแรกที่ผลิบานออกมาคงหนีไม่พ้นความงดงาม อ่อนโยนและอ่อนหวานและดูโรแมนติกดอกไม้ก็เหมือนกับทุกสิ่งบนโลกนี้ มีออกผล ร่วงโรย และมีความ หลากหลายแตกต่างกันไป หากแต่ความงามของมันเชื้อเชิญให้มนุษย์อยากดมและอยากครอบครอง จึงไม่น่า แปลกใจเลยว่า ทำไมดอกไม้ถึงไม่เคยหายไปจากชีวิตประจำวันของเราเลยดอกไม้ดอกเดียวกัน ให้คนละอาชีพ มอง สิ่งมีชีวิตอื่นมอง ก็อาจจะชอบไม่เหมือนกัน ตีความออกมาไม่เหมือนกัน ได้กลิ่นต่างกัน ความหลากหลาย และคาดเดาไม่ได้นี้เอง คงจะเป็นเสน่ห์อีกอย่างของดอกไม้นอกจากความงามเปลือกนอก
177 3. กระบวนการในการสร้างสรรค์ 1. เก็บรวบรวมข้อมูลและศึกษาเรื่องราวของดอกไม้ความหมาย อารมณ์ความรู้สึกที่ได้เห็นดอกไม้ 2. รวบรวมความคิดและการตีความหมายภาวะอารมณ์ที่รู้สึก ที่ได้รับจากดอกไม้ 3. การสร้างสรรค์งานศิลปะนับว่าเป็นการวิจัยและพัฒนาซึ่งสามารถรวบรวมเป็นขั้นตอนดังนี้ศึกษา องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องและกำหนดกรอบแนวคิดการสร้างสรรค์, สร้างสรรค์งานจิตรกรรมเทคนิคผสม, การ ออกแบบภาพร่าง, การวิเคราะห์แบบร่าง, การพัฒนาแบบสมบูรณ์, การสร้างสรรค์ผลงานจริง, การวิเคราะห์ ผลงานสร้างสรรค์, การพัฒนาผลงานสร้างสรรค์ วิธีการศึกษา 1. การรวบรวมข้อมูล รวบรวมผลงานจากผลงานวิจัย วรรณกรรม หนังสือตำราเกี่ยวกับดอกไม้ พฤกษศาสตร์ 2. การวิเคราะห์ข้อมูล ศึกษาข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ ข้อมูลจากหนังสือ อินเตอร์เน็ตบทความทาง วิชาการเรื่องที่เกี่ยวข้องดอกไม้มาวิเคราะห์และออกแบบภาพร่างสร้างภาพร่างของผลงานทางศิลปะ 3. สร้างสรรค์ผลงาน พัฒนาแนวคิดจากประสบการณ์ตรง รวมถึงการศึกษาและรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ จากเอกสาร สร้างภาพร่าง สร้างสรรค์ผลงานจริง ภาพที่ 1 ชื่อผลงาน บัวปริ่มน้ำ (Lotus filled with water), เทคนิค จิตรกรรมเทคนิคผสม, ขนาด 60 x 80 ซม. ที่มา : ผู้สร้างสรรค์ 4. การวิเคราะห์ผลงาน ผลงานสร้างสรรค์นี้ต้องการถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึก อันเป็นสื่อที่สัมพัทธ์ต่อดอกไม้ ดอกไม้เป็นสิ่งที่ สวยงามและเป็นสิ่งที่คู่กันกับผู้หญิง การสร้างรูปทรงของดอกไม้จากข้อมูล ข้อมูลจากธรรมชาติ ถ่ายภาพ บันทึกข้อมูล และมีการค้นคว้าจากหนังสือภาพดอกไม้ และจากอินเตอร์เน็ต เมื่อรวบรวมข้อมูลได้แล้ว จึงนำ ข้อมูลต่าง ๆ มาขยายผลเพื่อหารูปทรง ความหมายและรูปแบบของงาน นำมาทำภาพร่าง ภาพถ่ายดอกไม้และ ภาพร่าง มาคลี่คลาย ตัดทอน สร้างสรรค์รูปทรงขึ้นใหม่ โดยวิธีการทางจิตรกรรมจากนั้นใช้ผ้าติดเป็นกลีบดอก มาทับซ้อนกัน ผ้าซึ่งเป็นวัสดุที่สื่อความหมายแทนกลีบดอกไม้ นำมาประกอบให้มีความงามทางจิตรกรรม
178 ในระหว่างที่ทำการขยายผลงาน จะมีการพิจารณาวิเคราะห์อยู่ตลอดเวลา เป็นผลให้ต้องมีการปรับเปลี่ยน บางส่วนในระหว่างการขยายผลงาน การสร้างสรรค์ต้องการแสดงความรู้สึก อารมณ์ ความงามของจังหวะและ ความลงตัวของผ้าที่ทับซ้อนกันบนงานจิตรกรรม และเมื่อจบสิ้นกระบวนการขยายผลงานแล้ว ก็จะวิเคราะห์ ผลงานทั้งหมดหาจุดบกพร่องเพื่อปรับปรุงแก้ไข และเพื่อผลในการสร้างสรรค์งานครั้งต่อไปในงานสร้างสรรค์ 5. สรุป ผลงานสร้างสรรค์มีการค้นคว้า และมีการอธิบายทางวิชาการ การแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ การหา วิธีการสร้างสรรค์ที่มีการค้นหาอัตลักษณ์ส่วนตัวทีมีรูปแบบแปลกใหม่ อาศัยความคิดสร้างสรรค์ และสามารถ ปฏิบัติได้จริงอย่างมีประสิทธิภาพ กระบวนการสร้างสรรค์ มีการวิเคราะห์ ในการประกอบผลงานศิลปกรรม ผลงานจิตรกรรม สาขาทัศนศิลป์ มีการสร้างสรรค์ผลงานศิลปกรรมเป็นภาคปฏิบัติ เกิดผลผลิตที่เป็นองค์ ความรู้ทางด้านศิลปะ จากการค้นคว้าข้อมูลและการลงมือทำงานภาคปฏิบัติ อย่างเป็นระบบ สามารถอธิบาย วิธีการได้ซึ่งองค์ความรู้อย่างเป็นหลักวิชาการ โดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างสรรค์ผลงานศิลปะที่สะท้อน แนวคิดเรื่อง “ดอกไม้ สัญลักษณ์แห่งอารมณ์และความรู้สึกของผู้หญิง” 2) เพื่อศึกษาแนวทางการสร้างสรรค์ ผลงานจิตรกรรมเทคนิคผสมโดยใช้สีอะคริลิค และสีน้ำมันบนผ้าใบชั้นแรก ผสมการใช้เทคนิคผ้าไหมแก้ว โปร่งใสตัดเป็นรูปทรงกลีบดอกไม้หลาย ๆ ชั้นทับซ้อนกัน เกิดเป็นมิติ3) เพื่อศึกษากระบวนการทางรูปแบบ รวมทั้งแนวคิดการพัฒนาเทคนิควิธีการ และการสร้างสรรค์ผลงาน 4) เพื่อเผยแพร่ผลงานจิตรกรรมออกสู่ สาธารณชน เกิดประโยชน์แก่สาธารณชน นักวิชาการและผู้สนใจทั่วไป วงการศิลปะ และเป็นการสร้างสรรค์ คุณค่าทางจิตใจ ยกระดับจิตใจ ก่อให้เกิดสุนทรียภาพ สร้างความสุข ผลงานสร้างสรรค์นำเสนอเป็นงานศิลปะ เทคนิคผสมระหว่างเทคนิคทางจิตรกรรมและเทคนิคการตัดผ้าไหมโปร่งใสหลากสี ตัดเป็นรูปทรงกลีบดอกไม้ ทับซ้อนหลาย ๆ ชั้นบนผลงาน และส่วนที่เป็นเอกสารประกอบการวิจัย จะแสดงให้เห็นถึงขั้นตอนกระบวนการ วิธีการสร้างสรรค์โดยละเอียดเพื่อเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่สนใจศึกษาทางศิลปะ ทั้งในแง่การศึกษาเรียนรู้ และ แรงบันดาลใจในการทำงานศิลปะ นำไปใช้พัฒนาสร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรม นำความรู้ไปพัฒนาให้เกิดผลงาน ในรูปแบบใหม่ ผลของการสร้างสรรค์ได้พัฒนาผลงานศิลปกรรมร่วมสมัย และสามารถนำองค์ความรู้ไปใช้ใน การเรียนการสอนด้านทัศนศิลป์ต่อไป เอกสารอ้างอิง จิตรา ก่อนันทเกียรติ. (2537). ถนนสายดอกไม้งาม. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ดอกหญ้า ธรรมเกียรติ กันอริ. (2538). วรรณพฤกษ์พรรณนา ไม้ในวรรณคดีและพุทธศาสนาไม้มงคล. กรุงเทพฯ: บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนพับลิชชิ่ง จำกัด(มหาชน) วิชัย อภัยสุวรรณ. (2520). ดอกไม้เมืองไทย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ประเสริฐศิริ ส. พลายน้อย. (2537). พืชพรรณไม้มงคล. กรุงเทพฯ: อักษรพิทยา หม่อมหลวงตุ้ย ชุมสาย. (2515). ดอกไม้กับคน. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช
179 ความผูกพันของเด็ก ๆ กับประเพณีบุญสารทเดือนสิบ The bond between Southern Thai Children and The Festival of the Tenth Lunar Month (Sat Duan Sip) พัชรี มีสุคนธ์, Patcharee Meesukhon วิทยาลัยช่างศิลป สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์, College of Fine Arts, Bunditpattanasilpa Institute of Fine Arts E-mail: [email protected] บทคัดย่อ ประเพณีบุญสารทเดือนสิบ เป็นประเพณียิ่งใหญ่คู่บ้านคู่เมืองนครศรีธรรมราช แก่นแท้ของประเพณี สะท้อนถึงวิถีการหลอมรวมครอบครัวให้มาพร้อมหน้ากัน ให้ลูกหลานชาวใต้รำลึกถึงความกตัญญูต่อคนใน ครอบครัวและนึกถึงญาติพี่น้องผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว โดยมีงานบุญเป็นสิ่งเชื่อมโยง บุญสารทเดือนสิบ ประเพณีที่มี คุณค่าทางวัฒนธรรมที่ปลูกฝังความงอกงามขึ้นในใจเด็ก ๆ ด้านคุณธรรมจริยธรรม ความดี บุญ-บาป ความ กตัญญู เรียนรู้ซึมซับวิถีชีวิตในชุมชน สืบสานประเพณีของท้องถิ่นไปพร้อมกับความสนุกรื่นเริงของเทศกาลที่ ชาวนครศรีธรรมราชต่างรอคอยด้วยความสุข และผู้คนยังได้สืบทอดศิลปะวัฒนธรรมการแสดงของภาคใต้ สะท้อนความภาคภูมิใจและความเป็นอัตลักษณ์ให้คงอยู่สืบไป ผลงานการสร้างสรรค์ภาพประกอบ “ความผูกพันของเด็ก ๆ กับประเพณีบุญสารทเดือนสิบ” ถูกถ่ายทอดด้วยภาษาภาพ นำเสนอเรื่องราวของวิถีชุมชนในท้องถิ่นผ่านการสร้างสรรค์ภาพประกอบดิจิทัล ให้ เด็ก ๆ ตระหนักถึงเรื่องราวความภาคภูมิใจบนพื้นฐานของความเข้าใจในวัฒนธรรมประเพณีของจังหวัด นครศรีธรรมราช จากการออกแบบลายเส้น รูปร่างรูปทรง สีที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตน และผสมผสานกับ เทคนิคการสร้างภาพกราฟิกเคลื่อนไหว (Motion Graphics) ด้วยเทคโนโลยี AR (Augmented Reality) เพื่อ ยกระดับผลงานภาพประกอบดิจิทัล (Digital Illustrations) ในอีกรูปแบบหนึ่งเพื่อเสริมเรื่องราวให้น่าสนใจ ยิ่งขึ้น และในอนาคตสามารถต่อยอดผลงานในรูปแบบแพลตฟอร์มออนไลน์ (Social Platform) ต่าง ๆ เพิ่ม ทักษะในการใช้ความรู้และเทคโนโลยีอย่างสร้างสรรค์เกิดการแลกเปลี่ยนและเผยแพร่ความคิดให้ก้าวไกลมาก ขึ้นสู่สากล คำสำคัญ: ความผูกพัน, เด็ก ๆ, ประเพณีบุญสารทเดือนสิบ, ภาพประกอบดิจิทัล, กราฟิกเคลื่อนไหว Abstract The Tenth Lunar Month (Sat Duan Sip) is a great tradition of Nakhon Si Thammarat. The essence of the tradition reflects the way families are brought together. This tradition encourages the little children of the Southern part of Thailand to remember and to be grateful to their family members and their relatives who passed away by making merit. The Tenth
180 Lunar Month Tradition cultivates cultural values; morality, ethics, goodness, merit-demerit and gratitude to children’s belief together with learning to absorb the way of life of people in the community. Continuing local traditions along with the amusement and enjoyment of the festival that Nakhon Si Thammarat residents are always waiting for with happiness. People have also inherited the art and performing cultures of the South to reflect the pride and the identity to last forever. The Illustrated creations "The bond of children with the tradition of Bun Sart in the tenth lunar month” is conveyed in visual language. Presenting stories of local community life through the creation of digital illustrations, allowing children to know stories of pride based on the understanding of the culture and tradition of Nakhon Si Thammarat Province from line, shape and colors that are unique, and combined with the technique of creating motion graphics with AR (Augmented Reality) technology to enhance the work of digital illustrations in another form to enhance the story to be more interesting. In the future, the work can be extended in the form of various online platforms, increasing skills in using knowledge and technology creatively to create exchanges and spread ideas further to the international level. Key words:Bonding, children, The Tenth Lunar Month (Sat Duan Sip), digital illustration, motion graphic 1. ความสำคัญหรือความเป็นมาของปัญหา งานเดือนสิบ หรือประเพณีบุญสารทเดือนสิบ เป็นประเพณีคู่บ้านคู่เมืองนครศรีฯ เมื่อใกล้วันเทศกาล ทั้งคนหนุ่มสาว พ่อเฒ่า แม่เฒ่า และโดยเฉพาะเด็ก ๆ ต่างก็มีใจจดจ่อรอคอยบุญเดือนสิบด้วยความตื่นเต้น ชาวนครศรีธรรมราชที่ไปอยู่ต่างถิ่นมักจะถือเป็นวันนัดหมายที่ต้องกลับมายังบ้านเกิด สะท้อนถึงวิถีการหลอม รวมครอบครัวให้มาพร้อมหน้ากัน โดยมีงานบุญเชื่อมโยงจิตใจ แก่นแท้ของประเพณีที่ดีงามนี้คือการที่ลูกหลาน ชาวใต้รำลึกถึงความกตัญญูต่อผู้ที่ล่วงลับ และนึกถึงคนในครอบครัวที่ยังมีชีวิตอยู่ด้วยการให้ความเคารพและ การขอพรผู้มีพระคุณ ถือเป็นสิริมงคลในชีวิต ความเชื่อในประเพณีบุญสารทเดือนสิบคือเรื่องบุญ บาป สวรรค์ นรก และวิญญาณ ผู้ทำดีเมื่อถึงแก่ กรรมจะสุขสบายบนสวรรค์ ส่วนผู้ที่ทำความชั่วเมื่อตายไปต้องเป็นเปรต ทนทุกข์อยู่ในนรก เมื่อถึงช่วงบุญ เดือนสิบลูกหลานจะทำบุญอุทิศไปให้ โดยทำใน “วันรับ” ตรงกับแรม 1 ค่ำเดือนสิบ และในวันแรม 14 ค่ำ หรือ แรม 15 ค่ำ เป็น “วันส่ง” มีการซื้ออาหาร ข้าวของใช้เพื่อทำบุญถวายพระ และสิ่งที่ขาดไม่ได้คือขนม ประเพณี 5 อย่าง ได้แก่ ขนมลา ขนมพอง ขนมดีซำ ขนมกงและขนมบ้า จัดหฺมฺรับ* ใส่ถาด กระจาด หรือ กระบุง พิธีกรรม คือ การยกหฺมฺรับ การตั้งเปรต การฉลองหฺมฺรับ และการบังสกุล การจัดงานเทศกาลประเพณี ได้ถูกนำมาจัดอย่างใหญ่โตเป็นงานที่รื่นเริง มีกิจกรรมที่สนุกสนานโดยเมื่อพิธีสงฆ์เสร็จสิ้น ก็เริ่มงานบุญอุทิศ ส่วนกุศลให้กับเปรต ผู้คนก็ต่างก็แย่งอาหาร ของคาว หวานในหฺมฺรับกันอย่างสนุกสนาน เรียกว่า “ชิงเปรต”
181 โดยเชื่อว่าหากกินของที่เหลือจากที่เซ่นไหว้บรรพบุรุษจะเป็นสิริมงคล การชิงเปรตเป็นหนึ่งพิธีกรรมเพื่ออุทิศให้ บรรพชน และแฝงคำสอนลูกหลานให้หมั่นทำความดีตายไปจะได้ไม่กลายเป็นเปรต บุญสารทเดือนสิบ ประเพณีที่มีคุณค่าทางวัฒนธรรม ที่ช่วยปลูกฝังความงอกงามขึ้นในใจเด็ก ๆ ด้าน คุณธรรมจริยธรรม ความดี บุญ-บาป ความกตัญญูและความผูกพันในครอบครัว เรียนรู้ซึมซับวิถีชีวิตในชุมชน สืบสานประเพณีของท้องถิ่นไปพร้อมกับความสนุกรื่นเริง เป็นสุขกายใจ และผู้คนยังได้สืบทอดศิลปะ วัฒนธรรมการแสดงของภาคใต้ สะท้อนความภาคภูมิใจในวัฒนธรรม ความเป็นอัตลักษณ์ที่เป็นเครื่องมือสำคัญ ของการนำพาซอฟพาวเวอร์ให้เกิดขึ้นได้ในอนาคต ข้าพเจ้าเลือกการสร้างสรรค์ภาพประกอบเล่าเรื่องที่ต้องการสื่อสารเรื่องราวต่าง ๆ ด้วยการออกแบบ ลายเส้น สี รูปร่างรูปทรง ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตน ซึ่งภาพประกอบ (Illustration) เป็นส่วนสำคัญที่สามารถ สื่อสารในฐานะภาษาภาพรูปแบบหนึ่งของสาร (message) สามารถช่วยสร้างความชัดเจนของเนื้อหาให้ น่าสนใจมากขึ้น โดยใช้เทคนิคการวาดภาพประกอบดิจิทัลจากโปรแกรมคอมพิวเตอร์ และผสมผสานกับ เทคนิคการสร้างภาพกราฟิกเคลื่อนไหว (Motion Graphics) พัฒนาด้วยเทคโนโลยี AR (Augmented Reality ใช้งานผ่านแอปพลิเคชันบนสมาร์ตโฟน (Smart phone) ซึ่งปัจจุบันศิลปะดิจิทัลได้รับการสร้างสรรค์รูปแบบ และวิธีการใหม่ๆ เพื่อเสริมการนำเสนอเรื่องราวให้มีพลังและน่าสนใจมากขึ้น นี่คือเรื่องราวความสุขความประทับใจเมื่อครั้งหนึ่งซึ่งข้าพเจ้าได้เคยอาศัยอยู่เมืองนครศรีธรรมราชช่วง ระยะเวลาหนึ่ง ได้เรียนรู้ผู้คน วัฒนธรรม ประเพณี วิถีชาวเมือง ก่อเกิดแรงบันดาลใจที่ต้องการสื่อสารเรื่องราว ผ่านภาพประกอบเล่าเรื่อง “ความผูกพันของเด็ก ๆ กับประเพณีบุญสารทเดือนสิบ” *หฺมฺรับ หรือ "มฺรับ" (อ่านว่า หมับ) หมายถึง สำรับ ประเพณียกหมฺรับเป็นประเพณีที่ทำขึ้นในเทศกาล วันสารท- เดือนสิบของชาวปักษ์ใต้ 2. แนวคิด / ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง ในการสร้างสรรค์ภาพประกอบเพื่อสื่อสารเรื่องราว ผ่านภาพประกอบเล่าเรื่อง “ความผูกพันของเด็ก ๆ กับประเพณีบุญสารทเดือนสิบ” ใช้แนวคิด ทฤษฎีกระบวนการออกแบบภาพประกอบสำหรับเด็ก โดยศึกษา วิเคราะห์ด้านองค์ประกอบต่าง ๆ เพื่อให้ได้รูปแบบที่เหมาะสมในการสื่อสารเรื่องราว
182 ภาพที่1 แนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง ที่มา : ผู้สร้างสรรค์ 3. กระบวนการในการสร้างสรรค์ 1. ศึกษาเอกสาร องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้อง กระบวนการในการสร้างสรรค์ภาพประกอบ ผู้สร้างสรรค์ได้รับแรงบันดาลใจจากการได้เห็นภาพ จิตรกรรมฝาผนัง ณ วัดภูมินทร์ จังหวัดน่าน ที่เล่าเรื่องแสดงถึงเรื่องราววิถีชีวิตพื้นบ้านของชาวน่านในอดีต ภาพประกอบลดทอนลายเส้นให้ดูง่ายตามยุคสมัย ซึ่งการวาดภาพแบบนี้ในสมัยก่อนถือว่าเป็นการวาดภาพ แบบยุคใหม่ สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ทุกกลุ่ม ภาพที่2 ภาพจิตรกรรมฝาผนัง ณ วัดภูมินทร์ จังหวัดน่าน ที่มา : https://thesunsight.com/watphumin/ 2. เก็บข้อมูลจากการค้นคว้า บันทึกออกมาเป็นลายเส้นของรูปร่าง รูปทรง คน การแต่งกาย ธรรมชาติฉาก สถานที่ องค์ประกอบต่าง ๆ ความผูกพันของเด็กๆ กับประเพณีบุญสารท เดือนสิบ ศึกษาองค์ประกอบต่าง ๆ 1. แนวคิดการสร้างสรรค์ภาพประกอบ สำหรับเด็กกับความบันดาลใจ 2. แนวคิดการสร้างสรรค์ภาพประกอบ สำหรับเด็ก 3. ทฤษฎีที่ใช้ในการสร้างสรรค์ภาพ ประกอบสำหรับเด็ก 4. การสร้างสรรค์ภาพประกอบ 5. รูปแบบของภาพประกอบ 6. เทคโนโลยีดิจิทัลและกราฟิกเคลื่อน ไหว เทคนิคการวาดภาพประกอบ ดิจิทัลและกราฟิกเคลื่อนไหว สร้างสรรค์ภาพประกอบดิจิทัล ในมุมมองของการออกแบบ เฉพาะตน ผสมผสานกับเทคนิค การสร้างภาพกราฟิกเคลื่อนไหว สะท้อนเรื่องราวความภาคภูมิใจ บนพื้นฐานของความเข้าใจใน วัฒนธรรมประเพณี
183 ตารางที่ 1 แสดงการถอดรูปแบบเป็นลายเส้นของภาพประกอบ ที่มา ภาพต้นแบบ ภาพร่างลายเส้น วัดพระมหาธาตุ วรมหาวิหาร จ. นครศรีธรรมราช ภาพที่ 3 ที่มา : https://www.touronthai.com/article/3239 โนรา ภาพที่ 4 ที่มา : https://www.thebangkokinsight.com/ news/lifestyle/424617/ เปรต ภาพที่ 5 ที่มา : https://www.thebangkokinsight.com/news/ lifestyle/424617/ ต้นตาล ภาพที่6 ที่มา : https://www.museumthailand.com/ ขนมลา ภาพที่7 ที่มา : https://www.js100.com/en/site/post _share/view/30262
184 ที่มา ภาพต้นแบบ ภาพร่างลายเส้น ขนมบ้า ภาพที่8 ที่มา :https://www.nationtv.tv/news/378844260 ขนมดีซำ ภาพที่ 9 ที่มา :https://www.nationtv.tv/news/378844260 ข้าวต้มใบกะพ้อ ภาพที่ 10 ที่มา :https://www.youtube.com/watch?v=zcpRxBtoIyo ที่มา : ผู้สร้างสรรค์ 3. การวาดภาพประกอบโดยใช้โปรแกรม Addobe Photoshop 3.1 แบบร่างความคิด ภาพที่11 แสดงแบบร่าง (Sketch) ผลงาน ที่มา : ผู้สร้างสรรค์
185 3.2 ลงสีภาพประกอบด้วยโปรแกรม Adobe Photoshop ภาพที่12 แสดงการลงสีด้วยโปรแกรม Adobe Photoshop ที่มา : ผู้สร้างสรรค์ 3.3 ผลงานภาพประกอบเสร็จสมบูรณ์ ภาพที่13 ภาพไฟล์ผลงานภาพประกอบที่สร้างสรรค์ขึ้นด้วยโปรแกรม Adobe Photoshop ที่มา : ผู้สร้างสรรค์ 4. การสร้าง AR (Augmented Reality) 4.1 นำรูปที่ต้องการมาทำการแยกเลเยอร์(Layer) ตัวละครที่ต้องการจะขยับสัดส่วนที่ต้องการ 4.2 ในโปรแกรม Adobe Photoshop, Illustrator และ Save file นามสกุล .PSD 4.3 นำไฟล์เข้าสู่ในโปรแกรม Adobe After effects 4.4 ตัวละครที่ได้ทำการแยกเลเยอร์(Layer) มาแล้ว มาทำการแอนิเมชัน (Animation) 4.5 เพิ่มเอฟเฟกต์(Effects) และกราฟิก (Graphic) อื่น ๆแล้ว Export Move นามสกุล .mp4 4.6 เข้าเว็บไซต์ www.artivive.com และลงทะเบียน Artivive Brige 4.7 นำรูปภาพต้นแบบเป็น JPG และ MP4 อัพโหลดเข้าสู่เว็บไซต์ แบ่งเป็นภาพนิ่ง และ วิดีโอไฟล์แล้วทำการกดบันทึก (Save) ชิ้นงานในหน้าเว็บไซต์ (Website)
186 5. การติดตั้ง Application Artivive บนสมาร์ตโฟนสำหรับการชมภาพกราฟิกเคลื่อนไหว ดาวน์โหลด แอปพลิเคชัน Artivive (Application Artivive) ลงบนสมาร์ตโฟนตามลิงค์ (Link) IOS: https://apps.apple.com/us/app/artivive/id1188737494 Android: https://play.google.com/store/apps/details?id=com.artivive&hl=en&gl=US ภาพที่14 Application Artivive ที่มา : ผู้สร้างสรรค์ 6. การใช้ Application Artivive สแกนรูปภาพเพื่อชมภาพกราฟิกเคลื่อนไหว ภาพที่15 การใช้ Application Artivive บนสมาร์ตโฟน ที่มา : ผู้สร้างสรรค์ 4. วิเคราะห์ศึกษาการสร้างสรรค์ ในการสร้างสรรค์ภาพประกอบ “ความผูกพันของเด็ก ๆ กับประเพณีบุญสารทเดือนสิบ” ที่ต้องการ สื่อสารเป็นภาษาภาพเล่าเรื่องราววิถีชุมชนในท้องถิ่น เก็บข้อมูลจากการค้นคว้า บันทึกออกมาเป็นลายเส้นของ รูปร่าง รูปทรง คน การแต่งกาย ธรรมชาติฉาก สถานที่ องค์ประกอบต่าง ๆ ในรูปแบบเฉพาะตนของผู้ สร้างสรรค์ ภาพประกอบถูกออกแบบด้วยเส้น รูปทรงที่ลดทอนลายเส้นจากการถอดรูปแบบให้ดูง่าย การใช้วิธี ซ้อนพื้นผิวภาพถ่ายลงไปในงานบางจุด เพื่อให้เกิดลักษณะความเป็นภาพกราฟิก และให้ความรู้สึกอันเป็น เอกลักษณ์ของเรื่องราว เช่น ลวดลายผ้าขาวม้า ลวดลายของผ้าถุงปาเต๊ะ ผู้สร้างสรรค์เลือกใช้สีสดใสทำให้ดู สบายตาเพื่อสื่อสารให้เด็ก ๆ เข้าถึงเรื่องราวได้ตามประสบการณ์และวัย ด้วยการสร้างสรรค์ภาพประกอบ ดิจิทัลผสมผสานกับเทคนิคการสร้างภาพกราฟิกเคลื่อนไหว (Motion Graphics) และเทคโนโลยี AR (Augmented Reality) ที่ต้องการสื่อสารความเป็นนามธรรมให้มีน่าสนใจมากขึ้นในบางจุด คือ การเคลื่อนไหว
187 ของเปรตที่ต้องการสื่อถึงมุมมองจากความเชื่อของท้องถิ่น เป็นการสร้างสรรค์รูปแบบและวิธีการใหม่ ๆ ให้กับ ศิลปะดิจิทัล ในปัจจุบันและอนาคตที่สื่อสังคมออนไลน์จะขยายอย่างกว้างขวางไร้ขีดจำกัด ผลงาน ภาพประกอบดิจิทัลสามารถต่อยอดในรูปแบบแพลตฟอร์มออนไลน์ (Social Platform) อื่น ๆ เพื่อให้เกิดการ แลกเปลี่ยนและเผยแพร่ความคิดให้ก้าวไกลออกไป 5. สรุป ผลงานการสร้างสรรค์ภาพประกอบ “ความผูกพันของเด็ก ๆ กับประเพณีบุญสารทเดือนสิบ” ถูก ออกแบบขึ้นเป็นภาษาภาพ ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจากการได้เห็นภาพจิตรกรรมฝาผนัง ณ วัดภูมินทร์ จังหวัด น่าน ที่เล่าเรื่องแสดงถึงเรื่องราววิถีชีวิตพื้นบ้านของชาวน่านในอดีตด้วยภาพประกอบลดทอนลายเส้นให้ดูง่าย เพื่อเด็ก ๆ ได้เรียนรู้ซึมซับวิถีชีวิตในชุมชน สืบสานประเพณีของท้องถิ่น ไปพร้อมกับความสนุก รื่นเริงของ เทศกาลประจำปี ภายใต้ความเชื่อของศาสนาและพิธีกรรมนั้นแฝงไปด้วยความแง่งาม คุณค่าแห่งการหลอม รวมความผูกพันกันในครอบครัว ปลูกฝังความกตัญญู คำสอนเรื่องการทำความดี บุญ-บาป ให้ลูกหลาน เป็น ความสุขของผู้คนและเด็ก ๆ กับงานบุญที่รอคอย กระบวนการในการออกแบบลายเส้นให้ดูง่าย วาด ภาพประกอบโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ใช้เทคนิคจากเครื่องมือที่ง่ายในวิธีการและสะดวกในการปรับแต่ง ภาพประกอบ และผสมผสานเทคนิคการสร้างภาพกราฟิกเคลื่อนไหว (Motion Graphics) และใช้เทคโนโลยี AR (Augmented Reality) สร้างสรรค์วิธีการเพื่อเพิ่มความพิเศษในการชมภาพประกอบเล่าเรื่องให้สมบูรณ์ ในความรู้สึก เอกสารอ้างอิง จงรัก เทศนา. (2560). ทฤษฎีโมชันกราฟิก, สืบค้น 3 พฤศจิกายน 2566. จาก: http://www. researchsystem. siam.edu/images/IT_Department/Narongrit/3_2559/Motion_ Graphics_Cyber_ security_ threats/07_ch2.pdf จส.100. (2559). ประเพณีบุญสารทเดือนสิบนครศรีธรรมราช. สืบค้น 3 พฤศจิกายน 2566. เข้าถึงได้จาก https://www.js100.com/en/site/post_share/view/30262 ชะลูด นิ่มเสมอ. (2553). องค์ประกอบศิลป์ (Composition Art). (Vol. พิมพค์รั้งที่7). กรุงเทพ:สำนักพิมพ์อมรินทร์. ทำเองอร่อยจัง by Tu Sureewan. (2564). ข้าวต้มใบกะพ้อ #ต้มเดือนสิบ สอนวิธีห่อข้าวเหนียวด้วยใบกะพ้อ. สืบค้น 3 พฤศจิกายน 2566. จาก https://www.youtube.com/ watch? v=zcpRxBtoIyo ณรงค์ชัย ปิฎกรัชต์. (2561). แนวคิดในการวิจัยเชิงคุณภาพและแบบผสม. เอกสารประกอบการบรรยาย รายวิชา MSMS 702 ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพและแบบผสม. หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาดนตรี วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล. (เอกสารสำเนา). เนชั่นทีวี. (2566). เปิดความหมาย "ขนมวันสารทเดือนสิบ" มีอะไรบ้าง, (2566) สืบค้น 3 พฤศจิกายน 2566. จาก https://www.nationtv.tv/news/378844260
188 วราภรณ์ มั่นทุ่ง และ ธนวัฒน์ ถาวรกูล. (2565). การสร้างสื่อภาพจิตรกรรมฝาผนังดิจิทัล โดยใช้เทคโนโลยี ความเป็นจริงเสริม. บทความวิจัย. วารสารสหวิทยาการวิจัยและนวัตกรรมการศึกษา ปีที่ 1 ฉบับที่1 (2565) p.114-126 ศรีพัฒน์ เทศารินทร์. (2562). การสร้างสรรค์ผลงานวาดเส้น ชุด สิมอีสาน. มหาวิทยาลัยราชภัฏ มหาสารคาม. รายงานการวิจัย. Dinhin. (2553). หลักศิลปะที่ใช้ในการสร้างสรรค์ภาพประกอบ. สืบค้น 3 พฤศจิกายน 2566. จาก https:// www. bloggang.com/ viewdiary.php?id=dinhin&group=1 Eva Williams, Phatchara Kanjanapas. (2023). 9 โปรแกรมโมชั่นกราฟิกที่ดีที่สุดในปี 2023. สืบค้น 3 พฤศจิกายน 2566. จาก https://fixthephoto.com/ MUSEUM THAILAND. (2566). จาวตาล (โตนด) วัตถุดิบทรงคุณค่า. สืบค้น 3 พฤศจิกายน 2566. จาก https://www.museumthailand.com/ Prasert Thepsri. (2566). The Bangkok Insight, สารทเดือนสิบ : ประเพณีทำบุญใหญ่ ชาวเมืองนคร ศรีฯ, สืบค้น 3 พฤศจิกายน 2566.จาก https://www.Thebangkokinsight.com/news/ lifestyle/424617/ Simpson, Ian. (1990). The New Guide to Illustration. New Jersey.Thesunsight.com, The sun sight, (2566). สืบค้น 3 พฤศจิกายน 2566. จาก https://thesunsight.com/watphumin/
189 ภายใต้สภาวะที่ปรากฏ Behind me can't show พิทวัล สุวภาพ, Pittawan Suwapab คณะศิลปวิจิตร 119/19 หมู่ 3 ต.ศาลายา อ.พุทธมณฑล จ.นครปฐม 73170, Faculty Of Fine Arts 119/10 Salaya, Phutthamonthon District, 73170 E-mail: [email protected] บทคัดย่อ การสร้างสรรค์นำเสนอโดยการใช้เรือนร่างของผู้หญิงที่อยู่ในสภาวะที่ถูกปกคลุมปกปิดร่างกาย บางส่วน และเปิดเผยร่างกายที่แสดงถึงความเป็น “อิตถีเพศ” หรือ ผู้หญิงในภาษาสันสกฤต ในงานศิลปะมี จำนวนมากที่นำเสนอโดยการใช้ภาพของผู้หญิง ในการแสดงออกด้วยรูปแบบที่มีความแตกต่างกันออกไปใน แต่ละบริบทของสิ่งที่ต้องการแสดงออกของผู้สร้างสรรค์ ตั้งแต่ยุคประวิติศาสตร์ศิลปะโดยบางครั้งมีการ นำเสนอโดยเน้นถึงอวัยวะเพียงบางส่วนที่เน้นถึงความเป็นสัญญะของเพศหญิงอย่างชัดเจน และในบางครั้งการ นำเสนอถึงเรือนร่างของเพศหญิงเพื่อแสดงถึงความอุดมสมบูรณ์ ซึ่งการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะที่นำเสนอใน เรื่องของการใช้ภาพแทนความหมายโดยการใช้ภาพของผู้หญิงดำเนินมาอย่างยาวนานจนถึงปัจจุบัน โดย รูปแบบในการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะมีความหลากหลายกระบวนการ ทั้งในรูปแบบ 2 มิติ และ 3 มิติ โดยสร้างสรรค์ผลงาน เป็นการผสมผสานระหว่างภาพถ่าย และการสร้างสรรค์ด้วยโปรแกรม คอมพิวเตอร์ รูปแบบงานศิลปะภาพพิมพ์ดิจิทัล (Digital print) เป็นการใช้เทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์ใน การสร้างสรรค์งานทำให้ผลงานนั้นมีความน่าสนใจจากการทับซ้อนระหว่างความจริงและจินตนาการ และ สามารถสร้างความหลากหลาย คำสำคัญ: เรือนร่าง, ผู้หญิง, อิตถีเพศ, ภาพพิมพ์ดิจิทัล Abstract The creation uses a partially covered woman's body. and reveal the body that represents “Itthi pegshe” or woman in Sanskrit. There are many works of art that use images of women to express themselves in different ways depending on the context of what the creator wants to express. Since the historical era, art has sometimes been presented with emphasis on only certain parts of the body, clearly emphasizing the symbolism of the female gender. And sometimes the female body is presented to show fertility. The creation of works of art presented in the matter of using images to represent meaning by using images of women has continued for a long time until the present. The format for creating art works has a variety of processes, both in 2D and 3D formats.
190 By creating works It is a combination of photos. and creativity with computer programs The art form of digital printing (Digital print) uses computer technology to create work, making the work interesting from the overlap between reality and imagination. and can create variety. Keywords: body, woman, female, Digital print 1. ความสำคัญหรือความเป็นมาของปัญหา ในประวัติศาสตร์ศิลปะตั้งแต่อดีตจนถึงศิลปะร่วมสมัย ในปัจจุบันได้มีการนำเรือนร่างของสตรีในการ นำเสนอในรูปแบบสัญญะ ในความหมายต่าง ๆ โดยนำเสนอในรูปแบบที่มีความหลายหลายด้วยกระบวนการ ทางศิลปะ การนำเสนอภาพของเรือนร่างของสตรีเพศที่เปิดเผยนั้น มักถูกตีความด้วยแนวความคิดที่ผูกโยงกับ ความเป็นเพศสภาพ ซึ่งหากจุดประสงค์ที่แท้จริงของการนำเสนอเรื่องร่างของสตรีเพศนั้นมีความหมายที่ มากกว่าการเป็นเพียงเรือนร่างที่สวยงามในเชิงสุนทรีย์แต่ความหมายที่ซับซ้อนที่เกิดจาการนำเสนอของศิลปิน ผู้สร้างสรรค์งานศิลปะ การนำเสนอเรือนร่างของสตรีด้วยมุมมองเชิงความคิดที่อาจจะแตกต่างกันออกไป เพื่อให้เกิดการตีความใหม่ที่แสดงถึงสภาวะภายในของตัวศิลปินโดยเฉพาะศิลปินหญิงจำนวนมากที่นำเสนอ ผลงานของตนเองผ่านเรือนร่างภาพของผู้หญิง ในอีกด้านหนึ่งการแสดงออกโดยกาใช้สัญญะของภาพเรือนร่างของเพศหญิงนั้นได้บ่งบอกถึงสภาวะ ของผู้หญิงในบริบทของสังคม มากกว่าเพียงความงาม แต่ยังสามารถนำเสนอถึงสภาวะภายในของตัวผู้ สร้างสรรค์ผลงานที่ต้องการจะนำเสนอเรื่องราวที่อยู่ภายในจิตใจ สะท้อนภาพที่กระทบต่อจิตใจผ่านผลงาน ศิลปะ โดยผลงานนำเสนอใช้ภาพของเรือนร่างเปลือยเปล่าของผู้หญิงที่อยู่ในบริบทต่าง ๆ ประกอบกับวัตถุที่ สามารถพบเห็นได้ในชีวิตประจำวันที่สามารถพบเห็นได้ทั่วไป ภาพเรือนร่างที่ถูกปกคลุมด้วยผ้าที่สามารถ เปลี่ยนรูปร่างไปตามสิ่งที่ถูกปกคลุม เสมือนกับการปรับเปลี่ยน เพื่อให้สามารถคงอยู่ได้ด้วยตัวของมันเอง 2. แนวคิด / ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง การนำเสนอภาพเปลือยของผู้หญิง นั้น ในกลุ่มของ เฟมินิสต์รุ่นเก่า มองว่าเป็นเพียงแค่การเปลือย กายของผู้หญิง และเห็นว่าเป็นเพียงการลดคุณค่าให้กลายเป็นเพียง วัตถุ เท่านั้น โดยที่ไม่ได้มองถึงความเป็น สุนทรียะ ไม่ว่าภาพเหล่านั้นจะถูกสร้างสรรค์ขึ้นด้วยกระบวนการใดก็ตาม และมีความสวยงามมากขนาดไหน ยิ่งมีการทำให้ภาพเปลือยเหล่านั้นมีความสวยงามตามอุดมคติมากเพียงใด ยิ่งทำให้แสดงความเป็นวัตถุมาก เพิ่มขึ้นไปเท่านั้น ยิ่งมีการปรับแต่งโดยไม่ได้มีจุดมุ่งหมายของความเป็น ศิลปะ และสุนทรียะ ซึ่งเป็นการ ปรับแต่งเพื่อการเซ็นเซอร์ ปิดบังส่วนที่เป็นจุดซ่อนเร้นทางเพศ หากแต่การจะนำภาพเปลือยมาสร้างสรรค์ เพื่อให้เป็นงานศิลปะจะต้องมีการสร้างเรื่องราว หรือคำ บรรยาย เพื่อให้เหตุผลในการสร้างผลงานภาพเปลือยนี้ มาเป็นสิ่งที่ห่อหุ้มภาพเหล่านี้ เพื่อป้องกันกับคำว่า อนาจาร ที่มีการถกเถียงกันโดยตลอด ถึงความแตกต่างของคำว่า “ศิลปะ และ อนาจาร”
191 3. กระบวนการในการสร้างสรรค์ 3.1 อุปกรณ์ในการสร้างสรรค์ผลงาน - อุปกรณ์ประกอบการถ่ายภาพ - อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ - กล้องถ่ายถาพคุณภาพสูง - ขาตั้งกล้อง - อุปกรณ์กดชัตเตอร์ - ชุดไฟสตูดิโอ - เม้าส์ปากกา 3.2 ขั้นตอนการสร้างสรรค์ผลงาน 3.2.1 ภาพถ่ายในรูปแบบที่ต้องการนำมาสร้างสรรค์ผลงาน ของผู้สร้างสรรค์โดยถ่ายจาก กล้องดิจิติลที่มีคุณภาพสูง เพื่อให้ได้ภาพที่มีความคมชัด ที่เหมาะสำหรับในการปรับแต่งได้อย่างมี ประสิทธิภาพและความคมชัด 3.2.2 นำภาพที่ต้องการสร้างสรรค์ เข้าสู่คอมพิวเตอร์ โดยใช้โปรแกรมแต่งรูป Adobe Photoshop ในการปรับแต่ง ผลงานสร้างสรรค์ ซึ่งโปรแกรม Adobe Photoshop สามารถทั้งรีทัช (Retouch) ปรับแต่งภาพ ปรับโทนสี และสามารถสร้างรูปแบบต่าง ๆ ได้อย่างมีคุณภาพ ภาพที่1 โปรแกรมแต่งรูป (Adobe Photoshop) ที่มา : ผู้สร้างสรรค์ 3.2.3 เมื่อนำภาพเข้าสู่โปรแกรม Adobe Photoshop เพื่อเข้ากระบวนการทำการตกแต่ง ภาพจากเดิมให้มีลักษณะที่ต้องการ ด้วยการไดคัทภาพในส่วนที่ต้องการ
192 ภาพที่2 ไดคัทภาพโปรแกรม Adobe Photoshop ที่มา : ผู้สร้างสรรค์ 3.2.4 เมื่อทำการไดคัทภาพในส่วนที่ต้องการแล้ว ทำการตกแต่งภาพ ปรับสีในส่วนต่าง ๆ และปรับรูปแบบของลักษณะของภาพ ภาพที่3 การสร้างสรรค์ผลงานด้วยโปรแกรม Adobe Photoshop ที่มา : ผู้สร้างสรรค์