93 4. การวิเคราะห์ผลงาน จากการศึกษา วิเคราะห์ จากการรวบรวมข้อมูล ผู้สร้างสรรค์ได้สร้างผลงานโดยอาศัยแนวความคิด ทฤษฎีจากทัศนธาตุ สี รูปทรง จังหวะ และหลักสุนทรียศาสตร์ คือ ความงามที่เกิดขึ้นในธรรมชาติ การเลือกใช้ รูปทรงกลมที่แสดงถึงความอุดมสมบูรณ์ วงและลายเส้นของคลื่นน้ำ ผสมผสานสัญลักษณ์จากธรรมชาติต่าง ๆ ที่นำมาจัดเรียงเข้าด้วยกันเสมือนความสมดุลย์ตามธรรมชาติ ที่มีความสวยงาม อ่อนช้อย แสดงถึงความงามใน ธรรมชาติ ที่มีความหมายในเชิงสัญลักษณ์มาใช้ในการสร้างสรรค์งานครั้งนี้ วัสดุที่หลักที่นำมาใช้ เพื่อเป็น ตัวแทนของความงาม คือ การนำดินมาใช้ในการสร้างสรรค์งาน เพราะดินเป็นจุดเริ่มต้นของสิ่งมีชีวิตและความ งามในธรรมชาติ และมีการใช้วัสดุโลหะดัดรูปทรงอิสระ และลูกปัดสีทองด้านบนมาผสมผสาน เป็นความงาม จากสิ่งที่ไม่ได้มาจากธรรมชาติร่วมอยู่ด้วยกันอย่างลงตัว 5. สรุป การสร้างสรรค์งานสร้างสรรค์นี้ พบว่าผลงานสามารถถ่ายทอดเรื่องราว แสดงอารมณ์ความรู้สึก การ รับรู้ถึงคุณค่า และสะท้อนความงามที่เกิดขึ้นในธรรมชาติ อีกทั้งการเลือกใช้ดินสโตนแวร์ผสมผสานกับสีสันของ เคลือบ 1200 องศาเซลเซียส ที่หลอมรวมกัน ทำให้เกิดสีของบรรยากาศอันเป็นธรรมชาติของเทคนิคทาง เครื่องเคลือบดินเผาที่ไม่อาจควบคุมได้ มาใช้ในสร้างสรรค์ ผ่านผลงานประติมากรรมจากเครื่องปั้นดินเผา ที่มี เอกลักษณ์เฉพาะตัวได้ เอกสารอ้างอิง ชลูด นิ่มเสมอ. (2541). องค์ประกอบของศิลปะ Composition Of Art. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อมรินทร์. ไพจิตร อิ่งศิริวัฒน์. (2541). เนื้อดินเซรามิก. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: โอ.เอส. พริ้นติ้ง เฮ้าส์. สยุมพร กาษรสุวรรณ. (2549). “เทคนิคการเผารมควันกับการสร้างสรรค์งานศิลปะ” ในสูจิบัตรแสดงงาน นิทรรศการผลงานคณาจารย์ภาควิชาเครื่องเคลือบดินเผา คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัย ศิลปากร. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: อัมมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์ พับบลิชชิ่ง. สาธร ชลชาติภิญโญ. (2547). “ที่ว่างาม......งามนั้นประการใด” ในเอกสารการแสดงศิลปะเครื่องปั้น ดินเผา แห่งชาติ ครั้งที่ 12, 146-151. กรุงเทพฯ: อัมรินทร์ พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง.
94 สัญชาตญาณสัตว์ Animal Instinct ธีระวุฒิ เนียมสินธุ์, Teerawut Niemsin วิทยาลัยช่างศิลป สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์, College of Fine Arts, Bunditpattanasilpa Institute of Fine Arts. Email: [email protected] บทคัดย่อ ผลงานสร้างสรรค์ “สัญชาตญาณสัตว์”ได้รับแรงบันดาลใจมาจากสภาพการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตตาม สัญชาตญาณการดิ้นรนของสัตว์เพื่อมีชีวิตรอดก่อให้เกิดแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ผลงาน โดยอาศัยรูปร่าง รูปทรงของสัตว์ในธรรมชาติ สัตว์หิมพานต์ในจิตกรรมไทยและการสร้างรูปทรงของสัตว์ตามจินตนาการเป็นสื่อ สัญลักษณ์ที่ผสมผสานแสดงออกด้วยเทคนิคสีฝุ่นบนพื้นผ้าใบรองพื้นด้วยดินสอพองผสมสีรองพื้นใช้วิธีการเขียน เฉพาะตนเพื่อสะท้อนความคิด อารมณ์ ความรู้สึก ภายในจิตใจผ่านทางผลงานสร้างสรรค์ซึ่งผลงานชิ้นนี้ คำสำคัญ: สีฝุ่น, สัญชาตญาณ Abstract The creative work "Animal Instinct" was inspired by the life sustained by creatures as they follow their natural instincts. The struggle of animals for survival has been a motivating force behind this creative process. Drawing from the forms and figures of animals in nature, mythical beasts from Thai folklore, and imaginative animal shapes, this work employs symbols. It is expressed using a dust color technique on canvas, with a unique coloring method that involves mixing powdered pencil with a base color. This personal artistic approach reflects the thoughts, emotions, and feelings conveyed through the artwork. Keywords: Dust color, Instinct 1. ความสำคัญหรือความเป็นมาของปัญหา สัญชาตญาณ ตามที่สมมติกันว่าคืออะไร สัญชาตญาณ คือ ความคิด ความรู้ที่มีมาแต่กำเนิดของคนและ สัตว์ ทำให้มีความรู้สึกและกระทำได้เอง โดยไม่ต้องมีใครสั่งสอน เช่น การดำรงเผ่าพันธ์ การเอาตัวรอดการแสวงหา อาหารของสัตว์ ซึ่งในสัจจะ ความจริง ไม่ว่าการกระทำอะไรที่แสดงออกมาทางกาย และวาจา ก็คือการกระทำ
95 หน้าที่ของ จิตและเจตสิกทีเกิดขึ้นและดับไป อันเป็นไปตามการสะสมมาตั้งแต่เกิด หากไม่มี จิต เจตสิกและรูป ไม่มี สภาพธรรมที่มีจริง ก็จะไม่มีการคิดนึก ไม่มีการกระทำ เช่น การกระทำทางกาย วาจา ที่เป็นการเอาตัวรอด การป้องกันตัว ในสัจจะในพระพุทธศาสนาคำตอบในประเด็นที่ว่า แม้ไม่มีใครสอนความคิด สิ่งต่าง ๆ ก็เกิดขึ้นได้ มีการ กลัวตาย จึงป้องกันตัว การแสวงหาอาหาร เพราะความจริงของสภาพธรรมที่เป็น จิต และเจตสิก เป็นสภาพธรรม ที่สะสม สะสมทั้งฝ่ายที่ดี หรือ ไม่ดี คือ เมื่อ กุศลจิตเกิดขึ้น ก็สะสมสิ่งทีดีต่อไปในจิตขณะต่อไปให้เป็นผู้มีอุปนิสัยดี เช่นนั้น เมื่ออกุศลจิตเกิดขึ้น จิตก็สะสมสิ่งทีไม่ดี อุปนิสัยที่ไม่ดีต่อไปในขณะจิตต่อไป ให้เป็นผู้มีอุปนิสัยไม่ดีอย่าง นั้น ดังนั้น เมื่อสัตว์ต่าง ๆ เกิดขึ้นมา การเกิดขึ้นของ จิตทีเกิดดับสืบต่อกันมา ซึ่งก่อนเป็นสัตว์ในชาตินี้ ก็เกิด มาแล้วมากมายนับไม่ถ้วน ก็แสดงว่า มีการเกิดขึ้นของจิต เจตสิกมามากมายนับไม่ถ้วนมาแล้ว ดังนั้น เมื่อเกิดขึ้นมา ก็สะสมสิ่งต่าง ๆ มามากมายแล้วนับไม่ถ้วน ทั้งอุปนิสัยที่ดี และอุปนิสัยที่ไม่ดี สะสมทั้งความคิดที่ไม่ดีและดี สะสม วาจาที่ดี และไม่ดี สะสมการกระทำทางกายที่ดี และไม่ดี ดังนั้นเราจะไม่มองเพียงชาติเดียว แต่ให้เห็นว่ามีการ เกิดขึ้นและดับไปของจิต เจตสิกมามากแล้ว จึงกล่าวได้ว่า เมื่อสัตว์ต่าง ๆ เกิดมาก็มีสัญชาตญาณ คือ ความรู้ การ กระทำที่เกิดขึ้นมาเอง โดยที่ไม่ต้องสอนก็ทำได้ มีการแสวงหาอาหาร การป้องกันตัว แต่ความจริง เพราะสะสมสิ่ง ต่าง ๆ มามากแล้ว จากการเกิดดับของจิตและเจตสิกในแสนโกฎิชาติ นับไม่ถ้วน จึงทำให้สามารถกระทำสิ่งต่าง ๆ ได้ทันที มีความกลัวภัย จึงป้องกันตัวเองได้ทันที ซึ่งเมื่อมองให้ละเอียด สำหรับสัตว์ผู้ที่ยังหนาด้วยกิเลส คือ เป็น ปุถุชน สิ่งที่สะสมมามากคือ กิเลสประการต่าง ๆ ส่วนสิ่งที่ดีที่เป็นกุศลธรรม สะสมมาน้อย ดังนั้น สัญชาตญาณที่มี การกระทำทางกาย วาจา อันเกิดจากความคิดนึกขึ้นเอง ส่วนใหญ่แล้วก็มีรากฐานมาจากกิเลสที่สะสมมา มีความ ไม่รู้ อวิชชา โลภะ โทสะ กิเลสประการต่าง ๆ นั่นเองครับ แสวงหาอาหาร ด้วย โลภะ กลัวภัย ด้วยโทสะ จึงป้องกัน ตัว ก็ไม่พ้นจากการเกิดขึ้นของจิต เจตสิก แต่เป็นจิตที่ไม่ดี ที่ประกอบด้วยกิเลส สัญชาตญาณของสัตว์ จึงเป็น ความคิดที่สะสมความไม่รู้ สะสมกิเลสมามาก ทำให้มีการกระทำทางกายทีเกิดขึ้นเองด้วยอำนาจกิเลสประการต่าง ๆ 2. แนวคิด / ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง ศึกษารูปแบบรูปร่างของสิ่งมีชีวิตประเภทสัตว์ เทคนิคสีฝุ่นบนผ้าใบรองพื้นด้วยดินสอผอง ผลงานสร้างสรรค์จิตรกรรมสีฝุ่น"สัญชาตญาณสัตว์" สัญชาตญาณของสัตว์
96 3. กระบวนการในการสร้างสรรค์ เก็บข้อมูลจากหนังสือ สารคดีและสื่อออนไลน์ ภาพที่ 1 การต่อสู้ดิ้นรนของสัตว์ ที่มา : ชีวิตสัตว์มหัศจรรย์ปี1 โดย WILDLIFE Thailand ภาพที่ 2 การต่อสู้ดิ้นรนของสัตว์ ที่มา : ชีวิตสัตว์มหัศจรรย์ปี1 โดย WILDLIFE Thailand
97 การสร้างภาพร่างลายเส้น ภาพที่ 3 ขั้นตอนการสร้างภาพร่างแนวคิด ที่มา : ผู้สร้างสรรค์ ขั้นตอนการสร้างสรรค์ผลงาน ภาพที่ 4 สร้างพื้นผิวของผลงานโดยใช้สีฝุ่น ที่มา : ผู้สร้างสรรค์
98 ภาพที่ 5 ขั้นตอนการร่างภาพด้วยสีฝุ่นลงในเฟรมผ้าใบ ที่มา : ผู้สร้างสรรค์ ภาพที่ 6 ขั้นตอนการลงสี โดยสร้างน้ำหนักชั้นแรก ที่มา : ผู้สร้างสรรค์ ภาพที่ 7 ขั้นตอนการลงสี โดยสร้างชั้นน้ำหนักเพิ่มคัดแสงและเงา ที่มา : ผู้สร้างสรรค์
99 ภาพที่ 8 ขั้นตอนการลงสี เก็บรายละเอียดในส่วนต่าง ๆ ที่มา : ผู้สร้างสรรค์ ภาพที่ 9 ภาพผลงานสร้างสรรค์ “สัญชาตญาณสัตว์”ที่เสร็จสมบรูณ์ ที่มา : ผู้สร้างสรรค์
100 4. การวิเคราะห์ผลงาน ผลงานสร้างสรรค์ "สัญชาตญาณสัตว์" เป็นผลงานศิลปะที่เกิดขึ้นจากแรงบันดาลใจที่มาจากสภาพการ ดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตและการดิ้นรนของสัตว์ในการคงอยาชีวิตของพวกมัน ผลงานนี้มีลักษณะการสร้างสรรค์ที่ น่าสนใจและเป็นศิลปะที่อาศัยหลายองค์ประกอบต่าง ๆ ที่ช่วยให้ผลงานมีความหลากหลายและเป็นที่น่าสนใจต่อ ผู้ชม แรงบันดาลใจจากสิ่งมีชีวิตและการดิ้นรนของสัตว์: การใช้สิ่งมีชีวิตและพฤติกรรมของสัตว์เป็นแรง บันดาลใจเป็นเรื่องที่น่าสนใจ เป็นที่มาของความคิดสร้างสรรค์ที่มีความต่อเนื่องกับธรรมชาติและสัตว์ใน ชีวิตประจำวันของเรา การใช้รูปร่างรูปทรงของสัตว์ในธรรมชาติ: การสร้างสรรค์ผลงานขึ้นจากรูปร่างและลักษณะของสัตว์ใน ธรรมชาติเป็นวิธีที่ในการแสดงออกถึงความคิดสร้างสรรค์และความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสัตว์ สัตว์หิมพานต์ในจิตกรรมไทย: การใช้สัตว์หิมพานต์ที่มีความสำคัญในวัฒนธรรมและจิตรกรรมไทยเป็น ส่วนหนึ่งของผลงานที่สะท้อนความเชื่อและความเคารพต่อสิ่งมีชีวิตและสัญชาตญาณของสัตว์ การสร้างรูปทรงของสัตว์ตามจินตนาการ: การใช้จินตนาการเพื่อสร้างรูปทรงของสัตว์เป็นอีกทัศนะที่ น่าสนใจ ข้าพเจ้าสามารถสร้างสรรค์สัตว์ที่ไม่มีในธรรมชาติและแสดงความคิดสร้างสรรค์ของตนเอง การใช้เทคนิคสีฝุ่นบนพื้นผ้าใบ: การใช้เทคนิคสีฝุ่นเป็นวิธีที่น่าสนใจในการสร้างพื้นผิวด้วยและลักษณะที่ น่าสนใจในผลงานศิลปะ การสร้างสรรค์ด้วยดินสอผองผสมสีรองพื้น: การใช้ดินสอผองเป็นส่วนหนึ่งของผลงานสร้างสรรค์เป็น เรื่องที่น่าสนใจ เพราะมันสามารถให้พื้นผิวที่หลากหลายและลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์ในผลงาน การใช้เทคนิคการเขียนเฉพาะตน: การใช้การเขียนเฉพาะตนเพื่อสะท้อนความคิด, อารมณ์, และ ความรู้สึกของข้าพเจ้าในผลงานเป็นการเชื่อมโยงระหว่างข้าพเจ้าและผลงาน ผลงาน "สัญชาตญาณสัตว์" เป็นการผสมผสานระหว่างธรรมชาติและจินตนาการเพื่อสร้างสรรค์ผลงาน ศิลปะที่มีความหลากหลายและน่าสนใจ เป็นความหลากหลายในทิศทางที่สามารถสื่อสารความหมายและ ความรู้สึกของการสร้างสรรค์เป็นกระบวนการที่ซับซ้อนและส่วนตัวซึ่งใช้ความคิดสร้างสรรค์และอารมณ์ในการ แสดงออกผ่านผลงานศิลปะ แต่เป็นกระบวนการที่ให้ความรู้ใหม่ความสัมพันธ์กับผู้ชมและเป็นพลังสำคัญในการ สร้างความหลงใหล
101 5. สรุป ผลงานสร้างสรรค์ "สัญชาตญาณสัตว์" เกิดจากแรงบันดาลใจที่มาจากสภาพการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิต และพฤติกรรมการดิ้นรนของสัตว์เพื่อรอดชีวิต ผลงานนี้เล่าเรื่องเรื่องนี้ผ่านการใช้รูปร่างและรูปทรงของสัตว์ใน ธรรมชาติ, สัตว์หิมพานต์ในจิตกรรมไทย, และการสร้างรูปทรงของสัตว์ตามจินตนาการ เป็นศิลปะที่ผสมผสานและ สร้างสรรค์ด้วยเทนนิคสีฝุ่นบนพื้นผ้าใบรองพื้นด้วยดินสอผองผสมสีรองพื้น และใช้เทคนิคการเขียนเฉพาะตนเพื่อ สะท้อนความคิด, อารมณ์, และความรู้สึกภายในจิตใจผ่านผลงานสร้างสรรค์ ซึ่งผลสรุปของการสร้างสรรค์นอกจาก จะได้งานที่เป็นรูปแบบจิตรกรรม 2 มิติ ผู้สร้างสรรค์ยังได้รับข้อมูลจากการค้นคว้ามากมาย ได้ทดลองเชื่อมโยง ประเด็นหลักในการสร้างสรรค์เข้ากันเรื่องราวอื่น ๆ ระหว่างการสร้างสรรค์ผลงานเป็นการได้ฝึกจิตร ฝึกสมาธิ ด้วย กระบวนการทางศิลปะ ได้ทดลองคิดและจัดองค์ประกอบในการสร้างสรรค์ผลงาน ถึงแม้จะเกิดความผิดพลาดบาง ประการแต่สิ่งเหล่านั้นล้วนเป็นส่วนสำคัญที่จะนำไปพัฒนาต่อยอดในการสร้างสรรค์ผลงานครั้งต่อไป ผู้สร้างสรรค์ หวังเป็นอย่างยิ่งว่าขั้นตอนและกระบวนการต่าง ๆ ในการสร้างสรรค์ผลงานชิ้นนี้ จะสามารถสร้างแรงบันดาลใจ และให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ให้แก่ผู้ที่สนใจได้ไปศึกษาต่อไป เอกสารอ้างอิง กลุ่มจิตรกรรม สำนักช่างสิบหมู่. (2564). องค์ความรู้ด้านการเขียนภาพจิตรกรรมไทย : การเตรียมสีฝุ่นสำหรับ เขียนภาพจิตรกรรมไทย. https://www.youtube.com/watch?v=yZGXJVDKBd0 สุรศักดิ์ มณีสุวรรณ. (2556). สัญชาตญาณ. https://www.gotoknow.org/posts/556498
102 สนทนากับตัวเอง Self-Conversation นภพงศ์กู้แร่, Napapon Kurae วิทยาลัยช่างศิลป สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ วิทยาลัยช่างศิลป 60 ถนนหลวงพรตแขวงลาดกระบัง เขตลาดกระบัง กรุงเทพฯ ประเทศไทย College of Fine Arts, 60, Luangprot Road, Latkrabang, Bangkok, Thailand E-mail : [email protected] บทคัดย่อ ผลงานภาพพิมพ์ สนทนากับตัวเอง ได้รับแรงบันดาลใจจากประสบการณ์จริงของตนเอง เหตุการณ์ ต่าง ๆ และความคิดฝันที่เกี่ยวข้อง อันเกิดจากภาวะความเจ็บป่วยทางร่างกายที่มีผลต่อทางด้านจิตใจ ความ ผิดปกติจากภาวะอารมณ์ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ส่งผลต่อพฤติกรรมและอาการทางร่างกาย การเรียนรู้อดีต และปัจจุบัน ส่งผลต่อเนื่องในอนาคต การรู้จักตนเอง การมองย้อนมอง สำรวจ และเรียนรู้ภายในของตนเอง คือการสนทนาภายในจิตใจ การนำเสนอในลักษณะกึ่งบันทึกเรื่องราวมองย้อนสำรวจตนเองตามความคิดและความปรารถนาใน ช่วงเวลาหนึ่ง โดยมีความจริงที่เป็นเหตุผลมาเป็นข้อจำกัดตามจินตนาการที่ได้รับการกระตุ้นจากความ ปรารถนาภายใน เพื่อเพิ่มเติมสิ่งที่ขาดหายไปและส่วนที่บกพร่องให้เต็มสมบูรณ์ด้วยการแสดงออกในเชิง สัญลักษณ์ สร้างสรรค์ผลงานด้วยกรรมวิธีภาพพิมพ์แม่พิมพ์โลหะ วิธีการศึกษา 1) ศึกษาหาข้อมูลจากหนังสือ เอกสารวิชาการที่มีเนื้อหาสาระเกี่ยวข้องกับความหมาย เชิงปรัชญา จิตวิทยา และอื่น ๆ เพื่อสร้างแรงบันดาลใจและนำมาประมวลกับความคิดให้เชื่อมโยงระหว่าง เนื้อหาที่ทำ 2) ศึกษาข้อมูลจากงานจากผลงานศิลปะและศิลปินที่ชื่นชอบ 3) นำข้อมูลมาวิเคราะห์ และ สังเคราะห์สร้างภาพร่างผลงาน 4) ใช้กรรมวิธีในการสร้างสรรค์ผลงานภาพพิมพ์แม่พิมพ์โลหะด้วยวิธีการสร้าง แม่พิมพ์เทคนิคฮาร์ด กราวด์ (hard ground), ดรายพอยท์ (Dry point), ซอฟท์กราวด์ (Soft ground), อะควาตินท์ (Aquatint), สปิตไบท์ (Spit bite), ชินคอลเล่ (Chine Colle’) และ ไซยาโนไทบ์ (Cyanotype Printing) ผลการศึกษา 1) พัฒนาผลงานศิลปะภาพพิมพ์แม่พิมพ์โลหะเผยแพร่สู่สาธารณะ 2) มีเอกสารการ วิเคราะห์ผลงานศิลปะ สนทนากับตัวเอง อย่างเป็นระบบ 3) สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการทำกิจกรรมทาง วิชาการด้านศิลปะอื่น ๆ 4) ตัวเองได้ผ่อนคลายความคิดที่เกิดจากภาวะโรคมะเร็งและโรคซึมเศร้า คำสำคัญ: การสนทนา, ตัวเอง
103 Abstract The condition of the body can affect the mind. Abnormal depression can cause changes that might impact behavior and physical symptoms. Learning from the past and the present will have consequences for the future. Conversations with oneself are a way of self-learning. To reflect on, examine, and understand your inner thoughts, engage in a mental dialogue through the use of graphic arts. Self-conversations can be translated into symbolic forms, allowing for frank expression, like sharing stories inspired by inner desires. Our kingdom is created in accordance with our inner desires and expressed through art, serving to fill the void in our lives and complete our sense of value. Keywords: Conversation, Self 1. ความสำคัญหรือความเป็นมาของปัญหา ข้าพเจ้าพบกับปัญหาทางสุขภาพที่ร้ายแรงด้วยแพทย์ระบุว่ามีความผิดปกติของเซลล์ที่เจริญเติบโต ผิดปกติเกิดเป็นก้อนเนื้อ ซาโคมา (Sarcoma) หรือที่เรียกว่า มะเร็งเนื้องอกร้าย (Malignant tumor) ที่มีจุด กำเนิดมาจากกระดูกและเส้นเลือด สิ่งที่เกิดขึ้นนอกจากตนเองจะพบกับปัญหาทางสุขภาพทางร่างกายแล้ว ภาวะความเจ็บป่วยทางร่างกายส่งผลต่อภาวะทางด้านจิตใจทำให้อยู่ในภาวะซึมเศร้า ความผิดปกติทางจิตใจ อารมณ์เศร้านี้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง นอกเหนือจากอารมณ์ ความรู้สึกแล้วยังส่งผลต่อพฤติกรรมและ อาการทางร่างกายมากขึ้น ทั้งบุคคลรอบข้างที่รับรู้และบั่นทอนจิตใจตัวตน เป็นผลมาจากการผสมผสาน และ พัฒนาการมาจากเหตุการณ์ และการเรียนรู้ของบุคคลในอดีต ปัจจุบัน และส่งผลต่อเนื่องในอนาคต การรู้จัก ตนเอง คือการวิเคราะห์ตนเอง คือการกระทำให้คุณค่าของชีวิตเด่นชัดในการแสดงออกตามวุฒิภาวะ การมองย้อนสำรวจภายในของตนเอง ทำให้ได้เรียนรู้ประสบการณ์ต่าง ๆ ที่เคยประสบอันประกอบไป ด้วยความสมหวัง ผิดหวัง ดีใจ เสียใจ ความรัก ความใคร่ ความลุ่มหลงในรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ฯลฯ ล้วน เกิดขึ้นและหายไปในระหว่างการดำเนินชีวิต ล้วนมีผลต่อการพฤติกรรมทั้งภายในและภายนอก ตลอดจน ความรู้สึก ความคิด และทัศนคติส่วนตัวทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม จากสิ่งเหล่านี้นำไปสู่การตีความตาม ทัศนคติส่วนตัวในการบันทึกเรื่องเล่าการดำเนินชีวิต ถ่ายทอดเป็นผลงานศิลปะภาพพิมพ์ สนทนากับ ตัวเอง Self conversation ตามจินตนาการที่ได้รับการกระตุ้นจากความปรารถนาภายใน และสร้างอาณาจักร ของตนเองขึ้นตามแรงปรารถนาด้วยการแสดงออกทางศิลปะ เพื่อเพิ่มเติมสิ่งที่ขาดหายและส่วนที่บกพร่องให้ เต็มสมบูรณ์ด้วยการแสดงออกในเชิงสัญลักษณ์ และการแสดงออกอย่างตรงไปตรงมาเช่นการเล่าเรื่อง
104 2. แนวคิด / ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง แนวคิดเกี่ยวกับ ตัวตน (Self) หรือมโนภาพแห่งตน (Self – concepts) นักจิตวิทยาได้จำแนก ประเภทลักษณะของตัวตนที่แตกต่างกัน โดยเฉพาะตัวตนในอุดมคติ (Idea Self) ซึ่งบุคคลจะมีติดตัวอยู่เสมอ และสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอด ซิกมันด์ ฟรอยด์ (Sigmund Freud ค.ศ.1856 –1939) เรียกสิ่งนี้ว่า Superego คาร์ล โรเจอร์ส (Carl Rogers ค.ศ.1902 – 1987) นักจิตบำบัดเชื่อว่าทั้งอินทรีย์และตัวตนเป็นสิ่ง สำคัญในลักษณะของแนวโน้มที่เข้มแข็งต่อการปฏิบัติของบุคคล และเป็นสิ่งที่ได้รับอิทธิพลมาจากสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะที่เป็นสิ่งแวดล้อมทางสังคม ได้ใช้วิธีโดยใช้ผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง (Client – Centered) โดยการให้ ผู้ป่วยตรวจสอบด้วยตัวเองถึงความไม่ลงรอยกันระหว่างอินทรีย์กับตัวตน และทำให้สอดคล้องกันให้ได้ อับราฮัม ฮาโรลด์ มาสโลว์ (Abraham Harold Maslow ค.ศ.1908 – 1970) ศาสตราจารย์ทางด้าน จิตวิทยา ศึกษาค้นคว้าถึงความต้องการของมนุษย์ โดยมองเห็นว่ามนุษย์ทุกคนล้วนแต่มีความต้องการที่จะ สนองความต้องการให้กับตนเองทั้งสิ้น ความต้องการตระหนักในตนเอง (self-actualization need) ได้แก่ ต้องการรู้จักตนเอง ยอมรับตนเอง เปิดใจรับฟัง รู้จักแก้ไขตนเองในส่วนที่ยังบกพร่อง การพัฒนาตนเอง ต้อง ค้นพบความจริง แนวคิดตามทฤษฏีของมาสโลว์ เป็นแนวทางหนึ่งในการพัฒนาบุคคลให้พัฒนาถึงขั้นตระหนัก ในตนเอง (self-actualization) เป็นบุคคลที่มีจริยธรรม มีวินัยในตนเอง ต้องอาศัยความ “พอ” ของบุคคล ซึ่ง ความพอนี้ขึ้นกับสภาพทางกายและความรู้สึกที่พอดี รูปแบบศิลปะแอพโพรพริเอชั่น (Appropriation art) คือ การนำภาพสำคัญที่รู้จักในวงการศิลปะโลก มาใช้มักเป็นการนำมาต่อยอดทางความคิดใหม่ โดยมีทั้งผูกโยงกับความคิดเดิมและไม่โยงกับความคิดเดิม มี ความกล้าในการเทียบเคียงกับต้นแบบซึ่งศิลปินรุ่นหลังมักจะอ้างถึงการหยิบยืมมาจัดการสร้างใหม่เป็นผลงาน ของตัวเอง เป็นการแสดงความคารวะต่อศิลปินผู้สร้างงานต้นแบบ 3. กระบวนการในการสร้างสรรค์ 1. การสร้างภาพร่าง นำข้อมูลมาวิเคราะห์และสังเคราะห์ สร้างภาพร่างผลงานก่อนลงมือสร้างผลงาน ด้วยกรรมวิธีการสร้างแม่พิมพ์และการพิมพ์ 2. การทำแม่พิมพ์ ใช้กรรมวิธีภาพพิมพ์แม่พิมพ์ร่องลึกตามกระบวนวิธีการสร้างแม่พิมพ์เทคนิคฮาร์ดกราวด์, ดรายพอยท์, ซอฟท์กราวด์, อะควาตินท์, สปิตไบท์, ชินคอลเล่ และไซยาโนไทบ์ 3. วิธีการทำไซยาโนไทบ์ คือการนำสารเคมีแทสเซียม เฟอริไซยาไนด์ (Potassium Ferricyanide) 10 กรัม และเฟอริก แอมโมเนียม ซิเตรท (Ferric Ammonium Citrate) 20 กรัม และน้ำบริสุทธ์200 cc ทาบน กระดาษ แล้วใช้ภาพถ่ายในลักษณะ Negative ทำปฏิกิริยาทางเคมีกับแสงอุลตราไวโอเลต หรือแสงแดด 4. วิธีการพิมพ์สำหรับภาพพิมพ์แม่พิมพ์ร่องลึกจะพิมพ์ด้วยแท่นพิมพ์ โดยการนำแผ่นแม่พิมพ์วาง บน แท่นพิมพ์แล้ววางกระดาษที่ใช้พิมพ์วางด้านบนแม่พิมพ์กระดาษรองพิมพ์ และผ้าสักหลาดเป็นลำดับสุดท้าย บริเวณด้านบนสุด แล้วจึงพิมพ์ด้วยแรงอัดจากแท่นพิมพ์
105 ภาพที่1 รายละเอียดการพิมพ์ด้วยแท่นพิมพ์ รายละเอียดตามหมายเลข คือ หมายเลข 1 ผ้าสักหลาด (Cushion) มีหน้าที่ในการรองรับแรงอัดจากท่านพิมพ์ลงสู่ผลงาน หมายเลข 2 กระดาษรองระหว่างกระดาษที่ใช้พิมพ์ กับสักหลาด หมายเลข 3 กระดาษใช้สำหรับพิมพ์ผลงาน หมายเลข 4 แม่พิมพ์ หมายเลข 5 ส่วนสำหรับกำหนดตำแหน่งการวางของแม่พิมพ์และกระดาษที่ใช้พิมพ์ หมายเลข 6 แผ่นเหล็กรองผลงาน ภาพที่ 2 ชื่อผลงาน Self-conversation on October 2023, เทคนิค Intaglio, chine colle’ and cyanotype printing, ขนาด 37 x 40 ซม. ที่มา : ผู้สร้างสรรค์
106 4. การวิเคราะห์ผลงาน การวิเคราะห์ผลงานภาพพิมพ์ สนทนากับตัวเอง ได้วิเคราะห์ส่วนองค์ประกอบส่วนรูปทรงหรือ องค์ประกอบทางรูปธรรม และส่วนเนื้อหาหรือองค์ประกอบทางนามธรรม องค์ประกอบทางรูปธรรม คือส่วนที่มองเห็นในทางทัศนศิลป์ที่สร้างขึ้นให้มีเอกภาพจากการแสดงออก ด้วยทัศนธาตุได้แก่ จุด เส้น น้ำหนักอ่อน-เข้ม พื้นที่ว่าง สี และพื้นผิว นำมาประกอบกันในการสร้างสรรค์ ร่วมกันอย่างมีเอกภาพเพื่อเป็นผลงานที่สมบูรณ์สนับสนุนการแสดงออกกับส่วนของเนื้อหา องค์ประกอบทางนามธรรม คือส่วนที่แสดงเนื้อหา เรื่องราวและแนวความคิด มีที่มาจากความสัมพันธ์ กับสิ่งแวดล้อมรอบตัว อารมณ์ ประสบการณ์ที่ฝังใจ ลักษณะคล้ายเรื่องเล่าประสบการณ์ของ ตนเองด้วย วิธีการนำเสนอบันทึกเรื่องราวในอดีต ในวัยผู้ใหญ่ที่มองย้อน สำรวจตนเอง จากการนำประสบการณ์ เหตุการณ์และความคิดฝัน นำมาตีความเป็นเรื่องเล่าตามความคิดและความปรารถนาในช่วงเวลาหนึ่ง ตาม จินตนาการที่ได้รับการกระตุ้นจากความปรารถนาภายใน และสร้างอาณาจักรของตนเองขึ้นตามแรงปรารถนา แสดงออกในเชิงสัญลักษณ์และการแสดงออกอย่างตรงไปตรงมาเช่นการเล่าเรื่องซึ่งมีที่มาจากประสบการณ์ ภาวะความเจ็บป่วยทางร่างกายและป่วยทางจิตคือโรคซึมเศร้า 5. สรุป การสร้างสรรค์ผลงานภาพพิมพ์ สนทนากับตัวเอง เป็นบันทึกความทรงจำของสงครามภายในของ ตัวเองที่เล่าให้ตัวเองเข้าใจถึงการก้าวข้ามห้วงแห่งอารมณ์ของความมืดมิด หดหู่ การแยกความรู้สึกทุกข์จาก โรคและความจริงของโลกที่สร้างจินตภาพลวงให้ตกหลุมพรางของการครอบงำในด้านมืดของอารมณ์ เมื่อเรา ป่วยเราจะหนีความจริงที่หนีไม่พ้นเพราะความเจ็บป่วยเป็นประสบการณ์อันโดดเดี่ยว ชีวิตของเราจึงเหมือน สงครามที่ไม่มีใครมองเห็นนอกจากตัวเราเอง การสนทนากับตัวเองคือการปลดปล่อยตัวเอง เปิดมุมมองของความรู้สึกและความเข้าใจ ระหว่าง ตัวตนในปัจจุบันกับตัวตนในอดีต การได้ย้อนกลับไปดูตัวเอง ชีวิตที่ถูกกำหนดด้วยความทรงจำ การตั้งคำถาม คือการพูดคุยกับตัวเองเพื่อรับมืออย่างเข้าใจกับเรื่องราวที่เต็มไปด้วยคำถามและค้นหาคำตอบที่ไม่มีวันสิ้นสุด การเฝ้ามองดูจิตใจให้ชัดเจนและเผชิญหน้ากับความคิด การยอมรับความคิดทั้งหมดรวมถึงความคิดเชิงลบ ยอมรับความคิดด้วยเหตุผล สำรวจใจตัวเองเพื่อไม่ให้เป็นเหยื่อของความคิดเพื่อให้ชีวิตมีความสมดุล และ ดำเนินชีวิตได้ปกติมากขึ้นเพื่อให้ตัวเองผ่อนคลายความคิดที่เกิดจากภาวะเจ็บป่วยทั้งทางกายและจิตใจ การสร้างผลงานศิลปะภาพพิมพ์แม่พิมพ์โลหะมีกรรมวิธีที่หลากหลาย การนำหลายกรรมวิธีมา สร้างสรรค์ผลงานเป็นการพัฒนาการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะอีกลักษณะหนึ่ง และนำสู่การเผยแพร่สู่สาธารณะ เพื่อเป็นแนวทางในรูปแบบวิธีคิดและการแสดงงออกทางด้านศิลปะภาพพิมพ์
107 เอกสารอ้างอิง รสลิน กาสต์. (2558). ศิลปะแห่งการหยิบยืม. กรุงเทพมหานคร; สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย วิไลวรรณ ศรีสงคราม. (2549). จิตวิทยาทั่วไป. กรุงเทพมหานคร; ทริปเพิ้ลกรุ๊ป จำกัด สุวัฒน์วัฒนวงศ์. (2538). จิตวิทยาการเรียนรู้วัยผู้ใหญ่. กรุงเทพมหานคร; สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์ Beth Grabowski & Bill Fick. (2009). PRINT-MAKING A COMPLETE GUIDE TO MATERIALS AND PROCESSES. Laurence King Publishing
108 พื้นที่มายาบนสื่อสังคมออนไลน์ The Deception of Social media นรวีร์ โชติวรานนท์, Norawee Chotivaranon 60 วิทยาลัยช่างศิลป ถนนหลวงพรต แขวงลาดกระบัง เขตลาดกระบัง กรุงเทพฯ 60 College of Fine Arts, Luang Phrot Road, Lat Krabang District, Bangkok, Thailand E-mail: [email protected] บทคัดย่อ ผลงานศิลปะด้วยสื่อภาพเคลื่อนไหว แสดงออกในเนื้อหาแบบรูปธรรม ถูกออกแบบโดยใช้จินตนาการ ของผู้สร้างสรรค์เอง เพื่อให้เกิดความรู้สึกการเป็นส่วนร่วมในเรื่องราวของภาพ ภายใต้ความเป็นภาพมายา ตาม ขนาดของพื้นที่ที่เป็นรูปแบบภาพสองมิติเชิงซ้อน มีการจัดระยะของภาพด้วยน้ำหนักของสี รูปทรง พื้นที่ว่าง รวมถึงจังหวะการจัดวางของเนื้อหา นำเสนอเชื่อมโยงแนวคิดที่แฝงด้วยความเสียดสีจากความนิยมนำเอา ผลงานศิลปะมาแปลงเป็นสินทรัพย์ดิจิทัล (NFT ART) โดยกำหนดช่วงเวลาการขับเคลื่อนของเรื่องราว เพื่อให้ เกิดอารมณ์ความรู้สึกให้เหมาะสมสอดคล้องกับเนื้อหาของผลงาน สร้างความเป็นเอกภาพเชิงทัศนศิลป์ใน รูปแบบการสร้างสรรค์เฉพาะตน คำสำคัญ: สื่อภาพเคลื่อนไหว, มายา, NFT ART Abstract Animated media artwork is expressed through figurative content, designed using the creator's imagination to immerse viewers in the image's story within the context of Mayan culture. The two-dimensional image space is defined by the weight of color, shape, space, and the arrangement of the content's rhythm. This is achieved by weaving concepts into the colors used and popularizing the artwork through digital assets (NFT ART) . By defining the momentum of the story's progression, it aims to evoke emotions appropriate to the work's content, thus creating a unique artistic vision in its own creative form. Keywords: Animated Media, Maya, NFT ART
109 1. ความสำคัญหรือความเป็นมาของปัญหา นวัตกรรมสมัยใหม่ ได้มีพื้นที่การแสดงออกทางศิลปะให้กับผู้สร้างสรรค์บนสื่อสังคมออนไลน์ สามารถ สร้างคุณประโยชน์มากมายต่อการเข้าถึงทางสาธารณะได้อย่างง่าย พื้นที่สำหรับสร้างสรรค์ NFT ก็เป็นหนึ่งใน ช่องทางที่ศิลปินสามารถนำไปต่อยอดได้ เป็นอุตสาหกรรมที่กำลังเติบโตอย่างก้าวกระโดดด้วยกระบวนการทาง ดิจิทัล โดยบันทึกขั้นตอนหรือข้อตกลงการแลกเปลี่ยนเป็นสินทรัพย์ดิจิทัลของธุรกรรมนั้นไว้ขึ้นอยู่กับอุปสงค์ และอุปทานในตลาดเป็นการกำหนดคุณค่าและความพึงพอใจ แต่อย่างไรก็ตามประเด็นที่น่ากังวลคือ ราคาหรือ มูลค่าของ NFT ที่เห็นอยู่ในปัจจุบันนั้น อาจเป็นมูลค่าที่ถูกสร้างปลอมขึ้น ด้วยการซื้อขายโดยกำหนดปั่นราคา จากคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง เพราะธรุกรรมนี้ไม่อนุญาตให้มีการตรวจสอบ ไม่อยู่ภายใต้กฎหมาย และไม่ได้อยู่ ภายใต้การเปิดเผยข้อมูล อีกทั้งสิ่งที่ถูกนำมาสร้างเป็น NFT ซึ่งเป็นไฟล์ดิจิทัล ดังนั้นจึงไม่สามารถมั่นใจได้ว่า ไฟล์ดังกล่าวนั้นจะไม่ถูกทำซ้ำ คัดลอกมาก่อนหน้านี้รวมถึงการหลอกฉ้อโกง เอางานของศิลปินมาแอบอ้าง แล้วขายในตลาด มีการขโมยลิขสิทธิ์ มีการดัดแปลงแนวคิดของผลงานที่ได้รับความนิยม มาทำซ้ำเพื่อการขาย ในตลาด ซึ่งผลงานเหล่านี้อาจไม่มีมูลค่าทางการตลาดตามที่ได้คาดไว้ก็เป็นได้ 2. แนวคิด / ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง แนวคิดที่ใช้ในการสร้างสรรค์ ผู้สร้างสรรค์นำแนวคิดจากประสบการณ์ตรง รวมถึงการศึกษาและรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ จากภาค เอกสาร และข้อมูลภาคสนามจากอดีตสู่ปัจจุบัน และแนวโน้มทิศทางต่อไปในอนาคตทั้งเชิงบวก และเชิงลบ นำมาผนวกกับประสบการณ์ตรงที่ได้มีส่วนรับรู้ และได้สัมผัสกับกิจกรรมทางสังคมของสื่อสังคมออนไลน์ใน เนื้อหาหลายรูปแบบ มาวิเคราะห์ถึงความรู้สึกส่วนตนต่อเนื้อหาดังกล่าว ถ่ายทอดเป็นรูปแบบงานศิลปะมาเป็น แรงบันดาลใจสำหรับการแทนค่าถึงสัญลักษณ์ของวิถีของสังคมในยุคปัจจุบัน มาเป็นแนวคิดเบื้องต้นการ สร้างสรรค์ผลงาน กรอบแนวคิดในการสร้างสรรค์ศิลปะในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน มีกระแส ความเคลื่อนไหวครั้งสำคัญที่เปลี่ยนแนวคิดของศิลปะยุดก่อน ๆ อย่างต่อเนื่อง และส่งผลในวงกว้างให้กับ วงการศิลปะสมัยใหม่ ซึ่งเกิดขึ้นจากศิลปินหลายกลุ่ม ที่ได้รับการตรวจสอบคุณค่าจากนักวิจารณ์และ นักวิชาการศิลปะ แนวคิดเกี่ยวกับศิลปะนั้นมีมากมาย และบางครั้งอาจยากที่คนทั่วไปจะรับรู้ติดตามได้อย่าง เข้าใจถ่องแท้ต่อสังคมไทยในอดีต แต่ในยุคปัจจุบันนับได้ว่าเป็นสังคมที่เปิดกว้างและมีพัฒนาการทางการ สื่อสาร และการรับรู้ข่าวสารอย่างรวดเร็ว ที่สามารถได้เห็นภาพและรับรู้ที่มาที่ไปของงานเหล่านั้นผ่านหนังสือ และตัวอักษร อาจจะเป็นอีกทางหนึ่งซึ่งผู้สนใจสามารถที่จะเข้าใจ และเข้าถึงสุนทรียภาพของศิลปะอัน หลากหลายทั้งในอดีตจวบจนปัจจุบันได้ดีในระดับหนึ่ง (จิระพัฒน์พิตรปรีชา, 2545, หน้า 7)
110 ศิลปะป๊อปอาร์ต (Pop Art) ผู้สร้างสรรค์ได้รับอิทธิพลทางความคิดและรูปแบบจากศิลปะป๊อปอาร์ต โดยการนำเนื้อหาเรื่องราวที่ ปรากฏขึ้นในสังคมขณะนั้นมานำเสนอเป็นผลงานด้านทัศนศิลป์ ซึ่งมีแนวคิดและวิธีการนำเสนอในเนื้อหาของ ผลงานรูปแบบดังกล่าวนำมาพัฒนาต่อยอดเป็นผลงานสร้างสรรค์ ศิลปะประชานิยม หรือ ป๊อปอาร์ต ศิลปินกลุ่มนี้มีความเชื่อว่า ศิลปะจะต้องสร้างความตื่นเต้นอย่าง ฉับพลันทันใดแก่ผู้พบเห็น ดังนั้นเนื้อหาจึงเป็นเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับผู้คนทางวัฒนธรรมทั่วไป โดยเฉพาะอย่าง ยิ่งเรื่องราวเกี่ยวกับผู้คนและสังคมในปัจจุบันที่กำลังได้รับความสนใจ หรือวิพากษ์วิจารณ์ในขณะนั้น การ สะท้อนเรื่องราวที่ปรากฏให้เห็นความรู้สึกในความเป็นปัจจุบันอย่างแท้จริง การหยิบยกมาใช้ก็ขึ้นอยู่กับความ สนใจของศิลปินแต่ละคน โดยมักจะนำสิ่งต่าง ๆ ที่ตนสนใจมาจัดวางตำแหน่งอย่างง่าย ๆ ดังที่ปรากฏให้เห็น อยู่ทั่วไป เพื่อแสดงเรื่องราวสถานการณ์สะท้อนวัฒนธรรม และเหตุการณ์ในปัจจุบันขณะนั้น ซึ่งเป็นพื้นฐานวิถี ชีวิตของแต่ละคนที่แตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อความคิดแนวทางในการทำงานของผู้สร้างสรรค์เอง ศิลปะแอพโพรพริเอชั่น (Appropriation Art) แนวคิดศิลปะแอพโพรพริเอชั่น (appropriation) เป็นส่วนหนึ่งที่ผู้สร้างสรรค์ได้นำแนวทางมา ประกอบเป็นผลงาน ซึ่งศิลปะแอพโพรพริเอชั่น คือ ศิลปะลักษณะหนึ่งที่เกิดขึ้นในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 20 ประมาณ ปี พ.ศ. 2523 คือ การส่งต่ออิทธิพลทางศิลปะที่ศิลปินส่งถึงกัน มีความหมายถึงการครอบครองบาง สิ่งทางศิลปะของคนอื่นที่ถูกหยิบยืมมา เป็นความเคลื่อนไหวทางประวัติศาสตร์ศิลป์ประเภทหนึ่งของยุคโพสต์ โมเดิร์น (Postmodern) ศิลปะแอพโพรพริเอชั่น จึงกลายเป็นลักษณะหลักอย่างหนึ่งของยุคสมัยนี้ ศิลปิน หลายคนคัดเลือกรูปต่าง ๆ จากประวัติศาสตร์ศิลปะ โฆษณา ทีวี และสื่ออื่น ๆ นำมาเป็นส่วนประกอบหลักใน ผลงาน ศิลปินหลายคนลอกโดยตรง ยกมาโดยไม่มีการปรับเปลี่ยน ซึ่งบางคนอาจนำมาเชื่อมกับภาพอื่นแล้วมี ระบบการจัดการต่อแนวทางความคิดและวิธีส่วนบุคคล รสลิน กาสต์ อธิบายถึง ศิลปะแอพโพรพริเอชั่น ดังนี้คือ การนำภาพสำคัญที่รู้จักในวงการศิลปะใน โลกมาใช้ มักเป็นการนำมาต่อยอดทางความคิดใหม่ โดยมีทั้งผูก และไม่ผูกโยงกับความคิดเดิม มีความกล้าใน การเทียบเคียงกับต้นแบบ ซึ่งศิลปินรุ่นหลังมักจะอ้างถึงการหยิบยืม มาจัดการสร้างใหม่เป็นผลงานของตัวเอง เป็นการแสดงความคารวะต่อศิลปินผู้สร้างงานต้นแบบ ผลงานลักษณะนี้เรียกกันว่า ศิลปะแอพโพรพริเอชั่น (รสลิน กาสต์, 2559 หน้า 402 – 403) 3. กระบวนการในการสร้างสรรค์) รูปแบบของผลงาน ผลงานเป็นรูปแบบการพิมพ์ภาพดิจิทัลลบนผ้าใบ มีขนาด 80 x 60 เซนติเมตร โดยมีการผนึกภาพ รหัสคิวอาร์โค้ด (QR Code) ติดกับชื่อของผลงาน เพื่อผู้เข้าชมผลงานสามารถสแกนภาพผ่านทางสมาร์ทโฟน ส่วนตัว แล้วจะปรากฏลิงค์เข้าชมคลิปภาพเคลื่อนไหวได้เป็นการส่วนตัว ความยาวของคลิปประมาณ 1.54 นาที ความละเอียดภาพ 1280 x 720 พิกเซล ต่อ 1 ตารางนิ้ว
111 ขั้นตอนการสร้างสรรค์ผลงาน นำข้อมูลที่ได้วิเคราะห์มารวบรวมมาประมวลผลโดยการนำเสนอข้อมูลตามแนวคิดของผู้สร้างสรรค์ที่มี ความคิดเห็นต่อเหตุการณ์จากข่าวสารในช่วงเวลานั้น มาถ่ายทอดออกมาเป็นภาพเคลื่อนไหว เน้นให้ผู้ชมมี แนวคิดไปเป็นแบบแนวกึ่งนามธรรมตามจินตนาการของแต่ละปัจเจกบุคคล ภาพที่ 1 ภาพการทำฉากเพื่อกำหนดขอบเขตการแสดงภาพเคลื่อนไหวด้วยคอมพิวเตอร์ ที่มา : ผู้สร้างสรรค์ ภาพที่ 2 ภาพแสดง screenshot ในคลิปจากที่มาของผลงานผู้สร้างสรรค์เอง มาประกอบเนื้อหาผลงานชิ้นนี้ ที่มา : ผู้สร้างสรรค์ ภาพที่ 3 ภาพการกำหนดระยะเวลาในการดำเนินเรื่อง โดยวิธีการทางตัดต่อภาพเคลื่อนไหวทางคอมพิวเตอร์ ที่มา : ผู้สร้างสรรค์
112 ภาพที่ 4 ภาพผลงาน The Deception of Social media. (ขวา) ภาพ Qr Code ที่สแกนไปยังลิงค์ของภาพเคลื่อนไหว ที่มา : ผู้สร้างสรรค์ 4. การวิเคราะห์ผลงาน ในการสร้างสรรค์ผลงานในรูปแบบศิลปะด้วยสื่อดิจิทัลในครั้งนี้ ผู้สร้างสรรค์ยังคงมีรสนิยมส่วนตัว และความจำเป็นต่อการสร้างผลงานโดยการนำหลักการขององค์ประกอบทางรูปธรรม จากทัศนธาตุในเชิง ทัศนศิลป์ที่เกี่ยวข้องบางส่วน ตามความเหมาะสมต่อวัตถุประสงค์ของแนวคิดในผลงาน ที่ได้ถูกหล่อหลอมจาก ประสบการณ์ การเรียนรู้ในงานสร้างสรรค์ผลงานศิลปกรรมทั้งในและนอกระบบของการศึกษา จนถูกหลอม ละลายก่อให้เกิดความคุ้นชินต่อการถ่ายทอดออกมาในด้านความงามเชิงทัศนศิลป์เชื่อมโยงลักษณะแนวคิดเชิง การเสียดสี ความขัดแย้งของเรื่องราว การอยู่ผิดที่ผิดทางของเนื้อหา แฝงเร้นแนวทางประชดประชัน ไม่ว่า เนื้อหาในภาพที่ปรากฏจะมีทั้งในทางบวก หรือทางลบ โดยหยิบยืมภาพถ่ายห้องนิทรรศการ และผลงานศิลปะ สื่อดิจิทัลทั้งหมดของผู้สร้างสรรค์เอง เน้นถึงความสำคัญของค่าน้ำหนักของสีและแสง ให้สอดคล้องกับอารมณ์ ในความลึกลับ หรือการแอบแฝงของอารมณ์ส่วนบุคคล โดยกำหนดให้มีการประสานให้เกิดความแตกต่าง การ แสดงออกมีเป้าหมายเพื่อสอดคล้องกับการนำสายตามุมมองของผู้ชม ได้สัมผัสถึงการเชื่อมโยงระหว่างเรื่องราว ในแต่ละรูปทรงที่ปรากฏขึ้นเป็นจังหวะการจัดวางของแต่ละเนื้อหา ให้ประสานกลมกลืนจนเต็มพื้นที่ว่างของ ภาพ รูปทรงหรือองค์ประกอบทางรูปธรรมนี้ ล้วนเป็นพื้นฐานเบื้องต้น เพื่อเป็นตัวกำหนดไปสู่การแสดงออก ทางอารมณ์ของเรื่องราวภาพ ควบคู่กับกรอบแนวคิดของผู้สร้างสรรค์เอง ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ความ ต้องการไปยังผลลัพธ์ต่อบทสรุปของผลงาน
113 5. สรุป โลกของเราทุกวันนี้กาลเวลาหมุนไปอย่างเร็วมาก พร้อมกับความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีพัฒนา ได้อย่างรวดเร็ว ปัจจุบันบ้านเมืองได้การพัฒนาด้านนวัตกรรมทางการสื่อสารได้สะดวกสบาย ชัดเจนและ รวดเร็ว สามารถเผยแพร่เปลี่ยนผ่านทางการเรียนรู้ด้วยสื่อสังคมออนไลน์ในรูปแบบใหม่ ๆ ที่สะดวกมากยิ่งขึ้น ผลงานที่นำเสนอ เพื่อให้สะท้อนถึงความรู้สึกผูกพันกับเรื่องราวของการสื่อสารแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ ที่มี บทบาทสำคัญต่ออิทธิพลในวิถีชีวิตทางสังคมในรูปแบบใหม่ ประโยชน์ที่ได้จากการศึกษาวิเคราะห์ผลงานให้เป็นกระบวนการ มีวิธีพิจารณาอย่างเป็นระบบ สามารถแยกแยะ ศึกษา และวิเคราะห์ โดยรวบรวมข้อมูลภาคสนามที่เกี่ยวข้องในการสร้างสรรค์ และจัดข้อมูล ต่าง ๆ เกี่ยวกับการสร้างสรรค์ผลงานได้อย่างชัดเจน นำมาเชื่อมโยงประกอบขอบเขตการสร้างสรรค์ให้เป็น ผลงานทัศนศิลป์ โดยนำอุปกรณ์ทางเทคโนโลยีเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องมือในการประกอบเนื้อหาสำหรับ สร้างสรรค์ผลงาน เป็นการพัฒนาผลงานศิลปกรรมรูปแบบวิดีโออาร์ต และศิลปะสื่อดิจิทัล ที่มีลักษณะเป็น ภาพเคลื่อนไหวแบบสองมิติ นำมาประมวลความคิด เพื่อมาประกอบและออกแบบในงานสร้างสรรค์ผลงาน ศิลปกรรม เพื่อให้ผู้เข้าชมได้เกิดความรู้สึกตระหนัก ถึงคุณค่าคุณประโยชน์ของวิถีทางการแสดงออกของสื่อ สังคมออนไลน์ ทั้งความเป็นจริงและความลวงที่มีอิทธิพลต่อบริบททางสังคม ผู้สร้างสรรค์ได้พบเห็นผลลัพธ์จากปัญหาบางส่วน ถึงการแสดงออกด้านการดำเนินเนื้อหาเรื่องราว เช่น การดำเนินช่วงเวลาในการแสดงอาจยาวนาน และวนซ้ำมากเกินไป จนอาจทำให้ผู้ชมรู้สึกค่อนข้างเสียเวลาเนิ่น นานในการรับชมจนหน้าเบื่อ และผู้สร้างสรรค์ควรบรรจง เน้นการให้ความสำคัญต่อคุณค่าถึงการแสดงออกใน เชิงด้านทัศนศิลป์ที่เด่นชัดมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นด้านอารมณ์ หรือความคิด ซึ่งผู้สร้างสรรค์จะนำไปเป็นส่วนหนึ่ง เพื่อการวิเคราะห์และพัฒนาในการสร้างผลงานในครั้งต่อไป เอกสารอ้างอิง จิระพัฒน์ พิตรปรีชา. (2545). โลกศิลปะศตวรรษที่ 20. ด่านสุทธาการพิมพ์. รสลิน กาสต์. (2559). แอ็พโพรพริเอชันอาร์ต : ศิลปะแห่งการหยิบยืม. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. รุ่งเกียรติ รัตนบานชื่น. NFT คืออะไร อ.จุฬาฯ แนะเท่าทันและเข้าใจ NFT. (ออนไลน์), สืบค้น 25 สิงหาคม 2566, เข้าถึงได้จาก https://www.chula.ac.th/highlight/87419/
114 การออกแบบที่พักเชิงพาณิชย์ขนาดเล็ก อ.เชียงคาน จ.เลย Design process for small commercial accommodations Chiang Khan District, Loei Province. นรินทร์ อ้วนดำ, Narin Ouandam 202/122 ซ.4/2 2หมู่บ้านชัยพฤกษ์ บางบัวทอง ถ.บางกรวย-ไทรน้อย ต.พิมลราช อ.บางบัวทอง จ.นนทบุรี11110 202/122, Bang Bua Thong, Nonthaburi, 11110, Thailand E-mail: [email protected] บทคัดย่อ ในการออกแบบอาคารเชิงพาณิชย์แน่นอนว่าวัตถุประสงค์หลักคือรายได้หรือเงินที่เข้ามาในโครงการ ซึ่งรายได้ดังกล่าวมาจากกลุ่มลูกค้าที่มาใช้บริการเช่าพักแรม ดังนั้นจะต้องมีกระบวนการคิดผ่านกระบวนการ ออกแบบ เพื่อการดึงดูด ส่งเสริมภาพลักษณ์ต่าง ๆ ของตัวที่พัก หรือแนวคิดอื่น ๆ เข้ามาประกอบ สภาพปัจจุบันของผู้ประกอบการที่ทำธุรกิจทางด้านการให้เช้าที่พักแรมต่างๆได้มีการเลิกกิจการไป มากมายเนื่องจากการขาดการคาดการณ์ในอนาคตทางด้านการออกแบบให้ตอบสนองกลุ่มลูกค้า ขาดการ วิเคราะห์คู่แข่งเป็นต้น การออกแบบที่พักเชิงพาณิชย์ขนาดเล็ก อ.เชียงคาน จ.เลยเป็นกระบวนการออกแบบที่ได้มาจากการ สร้างสรรค์งานออกแบบที่พักเชิงพาณิชย์ขนาดเล็ก “อ้วนดำ ไทนี่เฮาส์”(Ouandam tiny house) ที่อ.เชียงคาน จ.เลย คำสำคัญ: พื้นที่ใช้สอยเพื่อรองรับพฤติกรรม, กระบวนการออกแบบ Abstract In designing a commercial building, the main objective is of course the income or money that comes into the project. Such income comes from customers who come to use the rest service So There must be a thought process through the design process. to attract Promote various images of the accommodation or other concepts process included. The current situation of entrepreneurs doing business in providing accommodations has caused many businesses to go out of business due to a lack of future predictions in terms of designing to respond to customer groups. Lack of competitor analysis etc. Design process for small commercial accommodations, Chiang Khan District, Loei Province, is a design process derived from the creation of the design of a small commercial accommodation "Ouandam tiny house” in Chiang Khan District, Loei Province. Keywords: function to accommodate behavior, design process
115 1. ความสำคัญหรือความเป็นมาของปัญหา ในการทำธุรกิจทางด้านการให้บริการทางด้านที่พักเชิงพาณิชย์ขนาดเล็กนั้นจะมีวัตถุประสงค์หลักคือ รายได้ที่เข้ามาซึ่งนั่นคือการเริ่มกระบวนการคิด และส่งต่อไปเป็นกระบวนการออกแบบโครงการในการดำเนิน ธุรกิจจะต้องมีการกำหนดขอบเขตของปัญหาว่าโครงการที่จะทำหรือออกแบบขึ้นมานั้น เริ่มต้นมาจากอะไร เจ้าของโครงการ (Owner) หรือผู้ที่จะประกอบกิจการจะเป็นผู้กำหนดนโยบายเบื้องต้น เพื่อให้ผู้สร้างสรรค์งาน ผู้ออกแบบ หรือตัวสถาปนิกเอง นำข้อมูลหรือโจทย์ที่ได้รับไปเป็นตัวกำหนดปัญหารวมถึงความเป็นไปได้ของ โครงการโดยมีการวิเคราะห์ของขอบเขต เป้าหมายของโครงการและวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนก่อน เพื่อที่จะส่งต่อ ในขั้นตอนต่อไปในการค้นหาปัญหาในดำเนินการทางธุรกิจ จากโจทย์ที่ทางผู้ทำการสร้างสรรค์ได้รับคือเจ้าของ ธุรกิจมีความต้องการในดำเนินการเป็นที่พักให้เช่ารายวัน โดยที่ไม่ได้หวังทางด้านผลกำไรมากนัก เนื่องจาก ข้อจำกัดเรื่องขนาดพื้นที่ของโครงการ (Site Area) และงบประมาณ (Budget) ที่ตั้งไว้นั้นจึงทำให้ผู้สร้างสรรค์ ผลงานได้ทำการวิเคราะห์ถึงความเป็นไปได้ของโครงการพร้อมกับศึกษาบริบทของโครงการ กลุ่มลูกค้า กิจกรรมและแนวโน้มทางธุรกิจประเภทเดียวกันเพื่อหาช่องทางในการทำธุรกิจที่พักเชิงพาณิชย์ขนาดเล็กนี้ 2. แนวคิด / ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง การออกแบบคือการแก้ปัญหา เป็นที่แน่นอนว่าในกรณีที่เจ้าของโครงการต้องการให้ทางผู้ออกแบบได้ ทำการสร้างสรรค์ผลงานก็อาจเทียบได้ว่าปัญหาได้เกิดขึ้นแล้ว คือความต้องการที่จะเพิ่มขนาดพื้นที่ใช้สอยให้ มากขึ้นจากเดิมเพื่อตอบสนองการใช้งานของกลุ่มลูกค้าที่ต้องการมาพักผ่อนรวมถึงการวางแผนใน การ ปรับเปลี่ยนการใช้พื้นที่ในอนาคต ทางผู้สร้างสรรค์ผลงานได้นำโจทย์ความต้องการดังกล่าวมาเป็น แนวความคิดและส่งต่อไปในขั้นตอนของกระบวนการออกแบบมาสร้างสรรค์งานอย่างเป็นระบบ 3. กระบวนการในการสร้างสรรค์ ผู้ทำการสร้างสรรค์ได้จำแนกปัญหาโดยได้นำความต้องการของเจ้าของธุรกิจ โดยจำแนกเป็น 5 หัวข้อ หลัก ๆ ได้แก่ 1.พื้นที่โครงการ 2.กลุ่มลูกค้า (Target group) 3.งบประมาณ (Budget) 4.การก่อสร้าง 5.การ สร้างความแตกต่าง โดยได้ดำเนินการดังนี้ 1. พื้นที่โครงการ เนื่องจากพื้นที่โครงการมีขนาดไม่ใหญ่ (ขนาด450 ตารางเมตร) หน้ากว้างประมาณ 11.50 ม. ลึก 45.50 ม. ลักษณะเป็นเส้นก๋วยเตี๋ยว แนวทางในการวางอาคารควรจะวางไปตามแนวยาวของ พื้นที่โครงการ และเพิ่มแนวทางในการแก้ปัญหาของขนาดพื้นที่ ให้เกิดการรับรู้พื้นที่แคบให้รู้สึกกว้าง โดยการ กั้นพื้นที่ส่วนหน้าก่อนเพื่อลำดับการเข้าถึงโครงการของลูกค้าที่เข้ามาพักในโครงการ
116 ภาพที่1 การจัดวางแนวอาคารและการปิดบังทางสายตาในลำดับการเข้าถึงโครงการ ที่มา : ผู้สร้างสรรค์ 2. กลุ่มลูกค้า ผู้ทำงานสร้างสรรค์ได้วิเคราะห์จากบริบทของนักท่องเที่ยวโดยได้นำเสนอเจ้าของธุรกิจ ว่าควรจะเลือกกลุ่มที่มีกำลังทรัพย์ระดับกลางจนถึงระดับบน กล่าวคือกลุ่มที่สามารถจ่ายค่าที่พักได้ในระดับ ห้องละ 1,200บาท-1,500 บาท ซึ่งจะเป็นกลุ่มคนรุ่นใหม่ ที่มีเอกลักษณ์ในการใช้ชีวิตที่ไม่มีกรอบจำกัด ในการจำแนกกลุ่มเป้าหมายนั้นจากข้อมูลและการสังเกตจากนักท่องเที่ยวส่วนมากจะเข้ามาช่วงวัน ศุกร์-เสาร์หรือช่วงสุดสัปดาห์ที่หยุดต่อเนื่องกัน ส่วนมากจะมาเป็นกลุ่มและคู่รัก ในส่วนที่มาเป็นกลุ่มนั้นจะ เป็นกลุ่มเพื่อนและกลุ่มครอบครัวโดยจำนวนที่เป็นเป้าหมายนั้นได้เสนอต่อเจ้าของธุรกิจว่าจำนวนคนในกลุ่มนี้ ควรจะอยู่ที่ 5 – 6 คน เนื่องจากถ้ามีจำนวนมากกว่านี้จะเกิดเสียงรบกวนห้องพักห้องอื่น ๆ ที่อยู่ในโครงการ รวมถึงการรบกวนชาวบ้านที่อยู่ข้างเคียง ส่วนกลุ่มครอบครัวนั้นจะเน้นการทำกิจกรรมร่วมกัน ช่วงอายุของกลุ่มเป้าหมาย จากความต้องการจากเจ้าของธุรกิจในเรื่องของรูปแบบของภาพรวมของ โครงการที่ต้องการสร้างความแตกต่างจากโครงการอื่นที่ประกอบธุรกิจเหมือนกันกับโครงการคือรูปแบบเรียบ ง่าย เน้นสัจจะของวัสดุที่ไม่ปรุงแต่ง เมื่อลองวิเคราะห์แล้วโดยใช้เกณฑ์ในเรื่องรูปแบบตัวอาคารและการ ตกแต่งซึ่งมีแนวโน้มน่าจะเป็นกลุ่มลูกค้าที่เป็นวัยรุ่นหรือกลุ่มวัยทำงานโดยมีอายุประมาณ 20 - 35 ปีมาเป็น ฐานในการออกแบบ ซึ่งแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มที่มาเป็นหมู่คณะจำนวน 3-6 คน กลุ่มนี้จะออกแบบเป็น ห้องครอบครัว (Family Room) และอีกกลุ่มหนึ่งคือกลุ่มที่มาเป็นคู่ จำนวน 2 คน ซึ่งห้องดังกล่าวจะเป็น ห้องพักแบบห้องเดี่ยว (Deluxe Room)
117 3. งบประมาณ เนื่องจากงบประมาณที่จำกัดโดยทางเจ้าของธุรกิจได้ประมาณการเบื้องต้นไว้ที่ 1,800,000 บาท (หนึ่งล้านแปดแสนบาท) ทำให้ทางผู้ทำงานสร้างสรรค์ได้เสนอรูปแบบทางสถาปัตยกรรมแบบ เรียบง่าย ไม่ว่าจะเป็นรูปทรงของตัวอาคาร วัสดุ ลักษณะเครื่องเรือน เป็นต้น 4. การก่อสร้าง จากงบประมาณที่จำกัดรวมถึงความชำนาญและฝีมือของช่างก่อสร้างในพื้นที่ที่ไม่คุ้น ชินกับวัสดุสมัยใหม่ ทำให้รูปทรงอาคาร (Mass) จะเป็นสี่เหลี่ยมง่าย ๆ โครงสร้างหลักจะเป็นระบบเสา-คาน ผนังจะเป็นก่ออิฐฉาบปูนเปลือยไม่ทาสีทั้งหมด แต่จะให้ค่าความสำคัญกับงานระบบประกอบอาคารซึ่งเป็นการ เทียบเคียงที่พักระดับ 3 ดาว เพื่อตอบสนองกลุ่มลูกค้า 5. การสร้างความแตกต่าง เป็นโจทย์หรือความต้องการจากเจ้าของธุรกิจที่ทางผู้ทำงานสร้างสรรค์ ต้องค้นหาคำตอบ ซึ่งได้นำเสนอก่อนจะเริ่มทำการออกแบบ อาทิเช่น การเลือกกลุ่มลูกค้าที่ส่งผลต่อแนว ทางการออกแบบอาคาร การตกแต่ง รวมถึง ค่าห้องพัก ซึ่งส่วนมากจะอยู่ที่ 500 บาท - 700 บาท ต่อ 1 คืน ในการสร้างความแตกต่างข้อแรกคือ ค่าที่พัก ซึ่งได้เสนอต่อเจ้าของธุรกิจที่ 1,500 บาทต่อ 1 คืน ซึ่งเป็นมูลค่า ต่อคืนที่ค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับระยะทางที่ใกล้ถนนคนเดินซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญอันดับ 1 ทำให้การ วางแนวอาคารต้องมีพื้นที่สำหรับนั่งพักผ่อนหรือส่วนที่เป็นพื้นที่สีเขียว ภาพที่2 การจัดตัวอาคารห้องพักเพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียว ที่มา : ผู้สร้างสรรค์ ในการจัดวางและเพิ่มพื้นที่สีเขียวที่เป็นสวนดังกล่าวจะทำให้ได้จำนวนห้องพักที่น้อยเมื่อเทียบกับโครงการที่ เป็นคู่แข่งในบริเวณใกล้เคียงที่มีรูปแบบห้องพักที่เป็นห้องแถวเรียงติดๆกัน ในส่วนการตกแต่งจะเป็นลอฟท์สไตล์ (Loft Style) ซึ่งเป็นภาพลักษณ์ที่ความสอดคล้องกับความต้องการเจ้าของโครงการและส่งต่อไปเป็น แนวความคิดในการกำหนดทิศทางการออกแบบของโครงการ
118 ภาพที่3 โครงสร้างระบบเสา-คาน ที่มา : ผู้สร้างสรรค์ 4. การวิเคราะห์ผลงาน นำข้อมูลจากความต้องการของเจ้าของธุรกิจรวมถึงแนวทางการวิเคราะห์มาจัดทำรายละเอียด โครงการตามกระบวนการออกแบบ หาความสัมพันธ์ของพื้นที่ใช้สอยที่ได้มาโดยการมาจัดความสัมพันธ์ค่า ความใกล้ชิด (Interaction Matrix) โดยที่จำนวนพื้นที่ใช้สอยได้มาจากการวิเคราะห์พฤติกรรมของกลุ่มลูกค้า ในการเข้าพัก เช่น การพักผ่อน นั่งเล่น การสังสรรค์เพื่อที่จะส่งต่อไปในการหาพื้นที่รองรับในการใช้งานดังที่ ได้ยกตัวอย่างมาว่ามีพื้นที่ใช้สอยใดบ้างที่มีความใกล้ชิดกัน จากค่าความสัมพันธ์ของความใกล้ชิดแล้วใน ขั้นตอนต่อไปก็จะนำมาแปลงให้มีมิติของขนาดและรูปร่างให้เข้าใจได้ง่ายผ่านผังลูกโปร่ง (Bubble Diagram) เมื่อได้ข้อมูล ขนาดของพื้นที่ใช้สอยแล้ว ต่อไปจะเป็นกระบวนการลำดับการเข้าถึงของพื้นที่ใช้สอย (Functional Diagram) เพื่อจะได้ข้อมูลในการเข้าถึงของแต่ละพื้นที่ใช้สอย จากนั้นจะดำเนินการจัดกลุ่ม กิจกรรมของพื้นที่ใช้สอย (Zoning) ว่าควรอยู่ในตำแหน่งชั้นไหนตำแหน่งการจัดวางเป็นยังไง โดยการนำข้อมูล ของพื้นที่ใช้สอยมาวางกลุ่มในพื้นที่โครงการโดยจะต้องคำนึงถึงข้อมูลในการวิเคราะห์พื้นที่ของที่ตั้ง (Site Analysis) มาประกอบในการวางพื้นที่ใช้สอย (Function) ซึ่งในการจัดวางพื้นที่ดังกล่าวต้องกำหนด ขนาดพื้นที่ของกิจกรรมหรือห้องนั้น ๆ เพื่อจะได้ส่งต่อในขั้นตอนการทำแบบแปลนเบื้องต้น (Schematic Design) ในการทำแบบแปลนเบื้องต้น (Schematic Design) จะมีการออกแบบเพื่อเป็นทางเลือกที่เหมาะสม เสนอต่อทางเจ้าของธุรกิจ ซึ่งในขั้นตอนนี้อาจมีขั้นตอนในการคลี่คลายการออกแบบ แนวความคิด รูปแบบ อาคารของโครงการ เมื่อเจ้าของโครงการเห็นชอบแล้ว จากนั้นจะทำการดำเนินการจัดทำรูปแบบรายการเพื่อ ขออนุญาตก่อสร้างและดำเนินการก่อสร้างต่อไป
119 5. สรุป ในการสร้างสรรค์ผลงานการออกแบบที่พักเชิงพาณิชย์ขนาดเล็กนั้นได้ใช้กระบวนการออกแบบทั้งภาค ข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์สังเคราะห์ออกมาเป็นโปรแกรมในการออกแบบ ในส่วนภาคการออกแบบนั้นได้ พัฒนาร่วมกับเจ้าของธุรกิจ ซึ่งผลการออกแบบที่ได้สอดคล้องกับที่ทางผู้ทำงานสร้างสรรค์ได้วิเคราะห์ไว้ทั้ง 5 ข้อตามข้างต้น ดังนี้1.พื้นที่โครงการที่มีขนาดหน้าแคบรูปร่างเหมือนเส้นก๋วยเตี๋ยวสามารถจัดการได้โดยการ วางอาคารเป็นแนวยาว 2.กลุ่มลูกค้า สามารถวิเคราะห์ได้ตรงและสอดคล้องกับการดำเนินธุรกิจที่มีลูกค้าจอง ผ่านแอปพลิเคชันทางออนไลน์ประมาณ 95% ซึ่งเป็นกลุ่มคนรุ่นใหม่ 3.งบประมาณ สามารถควบคุมได้ ใกล้เคียงกับที่ทางเจ้าของกิจการได้ตั้งเอาไว้ 4.การก่อสร้างเป็นไปด้วยความเรียบร้อย มีการปรับเปลี่ยนตาม ลักษณะความชำนาญของช่างฝีมือในพื้นที่ เช่นการทำพื้นขัดมัน ที่ทางเจ้าของและผู้ออกแบบเห็นไปในทิศทาง เดียวกันว่าควรจะเปลี่ยนเป็นพื้นกระเบื้องยางแทนพื้นขัดมันเดิมเพื่อเพิ่มภาพลักษณ์และความสะอาด สะดวกสบายแก่ผู้เข้ามาพัก 5.การสร้างความแตกต่าง ในข้อนี้เป็นข้อสรุปของงานสร้างสรรค์ จากเสียงตอบรับ จากลูกค้าผ่านเจ้าของธุรกิจ สื่อออนไลน์ ต่างชมเป็นเสียงเดียวกันว่า ออกแบบได้น่าพัก สงบ เรียบง่าย รวมถึง การบริการ ภาพที่ 4 ห้องพักแบบครับครัว (Family Room) ที่มา : ผู้สร้างสรรค์
120 จาก 5 ข้อที่ได้กล่าวมา เป็นข้อยืนยันถึงการประสบความสำเร็จในการออกแบบที่พักเชิงพาณิชย์ขนาด เล็กของผู้ทำงานสร้างสรรค์ ภาพที่ 5 ห้องพักแบบเดี่ยว (Deluxe Room) ที่มา : ผู้สร้างสรรค์ ภาพที่ 6 ผังบริเวณห้องพัก ที่มา : ผู้สร้างสรรค์
121 เอกสารอ้างอิง ว่าที่ร.ท.พิชัย สดภิบาล. (2528). การออกแบบสถาปัตยกรรมภายใน. กรุงเทพฯ: สถาบันเทคโนโลยีพระจอม เกล้าคุณทหารลาดกระบัง. วิมลสิทธิ์ หรยางกูร. (2558). การจัดทำรายละเอียดโครงการงานสถาปัตยกรรมเพื่อการสร้างสรรค์ สภาพแวดล้อมสรรค์สร้าง. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: จี.บี.พี เซ็นเตอร์ จำกัด. วิมลสิทธิ์ หรยางกูร บุษกร เสรฐวรกิจ และศิวาพร กลิ่นมาลัย. (2554). จิตวิทยาสภาพแวดล้อม มูลฐานการ สร้างสรรค์และการจัดการสภาพแวดล้อมน่าอยู่อาศัย. (กรุงเทพฯ: จี.บี.พี.เซ็นเตอร์. อรศิริ ปาณินท์. (2524). กระบวนการออกแบบสถาปัตยกรรม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
122 หุ่นไล่กาใหญ่ Big Big Scarecrow นฤมล มะโนวัง, Narumon Manovang วิทยาลัยนาฏศิลปเชียงใหม่, Chiangmai College of Dramatic Arts E-mail : [email protected] บทคัดย่อ จากการศึกษาและได้สัมผัสกับวิถีชีวิตครอบครัวเกษตรกรรมตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน การเติบโตขึ้นมา โดยการใช้ชีวิตที่ผูกพันอยู่กับธรรมชาติท้องทุ่งนา ได้พบเห็นกรรมวิธีที่เกษตรกรแสดงออกเพื่อให้เห็นภูมิปัญญา และวัฒนธรรมที่แฝงอยู่ในความเชื่อ ที่ต้องการรักษาพืชผลทางการเกษตรไว้ให้ได้มากที่สุด เมื่อถึงฤดูข้าวใกล้ เก็บเกี่ยว จะพบเจอกับหุ่นฟางประดิษฐ์เลียนแบบท่าทางของมนุษย์บนท้องทุ่งนา เพื่อปกป้องรวงข้าวที่กำลังตั้ง ท้องจากเหล่าสัตว์หรือแมลงต่าง ๆ ไว้ได้ ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ผลงานชุดนี้ ผ่านงานสื่อผสม โดยนำรูปแบบการ สร้างสรรค์แบบร่วมสมัย สะท้อนให้เห็นถึงสีสัน ความสนุกสนาน ที่แฝงในความเชื่อเรื่องการรักษาพืชผล ทางการเกษตรของหุ่นไล่กา สร้างสรรค์ด้วยการใช้ผ้าหลากหลายสีสันบนโครงไม้และฟางข้าว เหมาะสมกับ สถานที่จัดแสดงและติดตั้งผลงาน ณ ทุ่งนาเรียวกัง ตำบลบัวสลี อำเภอแม่ลาว จังหวัดเชียงราย Abstract From studying and experiencing the way of life of farming families from the past to the present. Growing up living a life connected to nature in the rice fields We saw the methods that farmers displayed to show the wisdom and culture hidden in their beliefs. who want to preserve agricultural crops as much as possible. When the rice season is about to be harvested You will encounter artificial straw puppets that imitate human postures in the rice fields. To protect the pregnant rice ears from various animals or insects. These things were the inspiration for creating this set of works. through mixed media work By adopting a contemporary creative style. Reflecting the colors and fun hidden in the scarecrow's belief in preserving agricultural crops. Get creative by using colorful fabrics on a wooden frame and rice straw. Suitable for the location for displaying and installing works at the RYOKAN’s rice fields, Bua-Sali Subdistrict, Mae Lao District, Chiang Rai Province.
123 1. ความสำคัญหรือความเป็นมา จากอดีตถึงปัจจุบัน หากถึงฤดูข้าวใกล้เก็บเกี่ยว เราจะได้พบเจอกับท้องนากว้างใหญ่และสิ่งหนึ่งที่ยืน เด่นกลางท้องทุ่งที่เรียกว่า หุ่นไล่กา การทำหุ่นไล่กานั้นเป็นความคิดของชาวนาสมัยก่อนที่ต้องการรักษาพืชผล ทางการเกษตรไว้ให้ได้มาก ๆ จึงจำลองหุ่นฟางเลียนแบบท่าทางของมนุษย์แล้วนำหุ่นไปปักไว้ในท้องนา เพื่อ ปกป้องรวงข้าวที่กำลังตั้งท้องจากเหล่าสัตว์หรือแมลงต่างๆ ไว้ ผู้สร้างสรรค์มีความผูกพันกับวิถีชีวิตครอบครัวเกษตรกรรมตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน การเติบโตขึ้นมา โดยการใช้ชีวิตที่อยู่กับธรรมชาติท้องทุ่งนา ได้พบเห็นกรรมวิธีที่เกษตรกรแสดงออกเพื่อให้เห็นภูมิปัญญาและ วัฒนธรรมที่แฝงอยู่ในความเชื่อ ที่ต้องการรักษาพืชผลทางการเกษตรไว้ให้ได้มากที่สุด จึงเป็นแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์งานผลงานผ่านรูปแบบงานสื่อผสม นำรูปแบบการสร้างสรรค์ แบบร่วมสมัย สะท้อนให้เห็นถึงสีสัน ความสนุกสนาน ที่แฝงในความเชื่อเรื่องการรักษาพืชผลทางการเกษตร ของหุ่นไล่กา สร้างสรรค์ด้วยการใช้ผ้าหลากหลายสีสันบนโครงไม้และฟางข้าว และจัดวางไว้ในสถานที่ที่เป็น ท้องทุ่งนา 2. แนวคิด / ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง ประเทศญี่ปุ่นในยุคก่อนศักดินา นิยมใช้หุ่นไล่กาหลากหลายประเภทในนาข้าว แต่หุ่นที่ได้รับความ นิยมมากที่สุดคือ หุ่นที่เรียกว่า “คาคาชิ” เป็นการสร้างขึ้นโดยใช้ผ้าขี้ริ้วสกปรกเก่า ๆ และเครื่องส่งเสียง เช่น กระดิ่งและไม้ ติดอยู่บนเสาไม้ มีการจุดเปลวไฟ (เพื่อให้เกิดเป็นกลิ่น) ทำให้นกและสัตว์อื่น ๆ อยู่ห่างจาก นาข้าวในที่สุด (คำว่าคาคาชิหมายถึง สิ่งที่เหม็น) เกษตรกรชาวญี่ปุ่นก็เริ่มสร้างหุ่นไล่กาที่ดูเหมือนคนสวมเสื้อ กันฝนและหมวก บางครั้งก็มีการประดับอาวุธเพื่อทำให้ดูน่ากลัวยิ่งขึ้น (Scarecrow Folklore and MagicPatti Wigington-2018) ภาพที่ 1 The scarecrow guards the fields and crops from hungry predators. Steve Clancy Photography / Getty Images ที่มา : https://www.learnreligions.com/scarecrows-guardians-of-the-harvest-2562307
124 3. กระบวนการในการสร้างสรรค์ กระบวนการสร้างสรรค์นั้นผู้สร้างสรรค์ได้ศึกษาเรื่องโครงสร้างและท่าทางของหุ่นไล่กา โดยใช้เทคนิค สื่อผสม เลือกใช้เหล็กและไม้มาเป็นโครงสร้างหลักเพื่อความแข็งแรง ประกอบขึ้นรูปด้วยการสานไม้ไผ่และผ้า วัสดุตกแต่งเลือกใช้เศษผ้าที่มีสีสันเพื่อสื่อถึงความสนุกสนาน และลดทอนความน่ากลัวของตัวหุ่นด้วยการแสดง รอยยิ้ม แต่ยังคงแฝงความเชื่อเรื่องการรักษาพืชผลทางการเกษตรของหุ่นไล่กาไว้ นำไปจัดวางไว้ในสถานที่ที่ เป็นท้องทุ่งนา เพื่อให้การสร้างสรรค์ผลงานได้ตอบสนองกับพื้นที่ที่สมควร ภาพที่ 2 Big Big Scarecrow เทคนิค สื่อผสม ขนาด 300 x 150 x 500 ซม. ที่มา : ผู้สร้างสรรค์ 4. การวิเคราะห์ผลงาน ภาพที่ 3 การจัดวางผลงานในพื้นที่ ที่มา : ผู้สร้างสรรค์
125 จากภาพที่ 3 จะเห็นได้ว่ามีการจัดวางผลงานโดยใช้องค์ประกอบ 2 ส่วนใหญ่โดย ส่วนที่ 1 หุ่นไล่กาตัวใหญ่ทั้งสอง จัดวางในตำแหน่งฉากหน้า และฉากหลังเพื่อให้มีระยะในการ มองเห็น และจัดวางอย่างมีจังหวะ ส่วนที่ 2 หุ่นไล่กาตัวเล็ก จัดวางแทรกระหว่างหุ่นตัวใหญ่ทั้งสอง โดยการใช้พื้นที่ว่างในการจัดวางหุ่น เล็กนั้นจะเป็นตัวช่วยในการสร้างความเคลื่อนไหวให้กับองค์ประกอบต่าง ๆ ภายในพื้นที่ จากภาพจะเห็นการผสานกลมกลืนโดยใช้ขนาดและจุดเด่น มาใช้ในการสร้างสรรค์ผลงาน จึงทำให้เกิด ความรู้สึกตอบสนองในพื้นที่ที่จัดวางและสนับสนุนแนวความคิดได้ดียิ่งขึ้น 5. สรุป การสร้างสรรค์ผลงงานชุดนี้นั้น เป็นการสร้างสรรค์ขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการที่จะแสดงออกใน พื้นที่ที่ผูกพันและคุ้นเคย ทำให้ผู้สร้างสรรค์ได้รำลึกถึงช่วงเวลาหนึ่งในวัยเด็กที่ผ่านมา เพราะในปัจจุบันนี้ อาจจะหาดูได้ค่อนข้างยากแล้ว โดยผู้สร้างสรรค์แสดงออกผ่านความรู้สึกทางสีสันและกระบวนการ ในรูปแบบ เฉพาะตัว การแสดงออกทางศิลปะผ่านรูปร่างรูปทรงที่เกิดขึ้นมานั้น ผู้สร้างสรรค์ต้องการสื่อเพียงเพื่อเป็นการส่ง ต่อความคิดและจินตนาการ เกิดการรับรู้และสามารถนำไปต่อยอด ขยายการพัฒนาการสร้างสรรค์ต่อไปได้ใน อนาคต เอกสารอ้างอิง มหาวิทยาลัยศิลปากร. (2524). สมุดภาพประติมากรรมกรุงรัตนโกสินทร์. (พิมพ์ครั้งที่ 1).กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์กราฟิคอาร์ต Patti Wigington. (2018). Scarecrow Folklore and Magic. https://www.learnreligions.com/ scarecrows-guardians-of-the-harvest-2562307
126 วงรอบของชีวิต Circle of Life นิตยา สีคง, Nittaya Srikong วิทยาลัยช่างศิลปนครศรีธรรมราช, Nakhon Si Thammarat college of fine arts E-mail: [email protected] บทคัดย่อ ผลงานการสร้างสรรค์ “วงรอบของชีวิต” มีแนวคิดที่ต้องการสื่อถึงชีวิตของคนเรากว่าจะเติบโตขึ้นมา ต้องพบเจอสิ่งที่ดีและไม่ดี ประสบการณ์และบาดแผลที่ฝังอยู่ในจิตวิญญาณ ก็คงเปรียบเสมือนต้นไม้ต้นหนึ่งที่ ผ่านเรื่องราวมากมาย ตั้งแต่ยังเป็นต้นไม้ต้นเล็ก ๆ เติบโตขึ้นเป็นต้นไม้ใหญ่ที่ผ่านทั้งแดดและฝน ประสบการณ์ ที่พบเจอนั้นแสดงออกในรูปแบบวงปี ต้นไม้จะมีวงปีเป็นสิ่งบ่งบอกอายุขัย 1 รอบของวงปีเท่ากับ 1 ปีของอายุ ต้นไม้ชีวิตคนแต่ละปีก็แตกต่างกัน บางทีชีวิตก็ราบเรียบไม่น่าสนใจ แต่บางปีก็น่าจดจำ สุดท้ายเมื่อตายจาก โลกนี้ไปคงเหลือหลักฐานบางอย่างที่ให้นึกถึงและสลายไปตามธรรมชาติเช่นเดียวกับต้นไม้ชีวิต เรื่องราวทั้งหมด นี้ผู้สร้างสรรค์ได้นำแง่คิดนี้มาถ่ายทอดและแสดงออกในรูปแบบของวงปีแทนชีวิตคนคนหนึ่ง โดยใช้เทคนิคสี อะคริลิก บนพื้นดินสอพอง ขนาด 50 x 50 เซนติเมตร คำสำคัญ: วงปี, วงรอบ, จิตวิญญาณ Abstract Creative work “Circle of Life” has a concept that wants to convey that people's lives will have to encounter both good and bad things when they grow up. Experiences and wounds that are embedded in the soul It would be like a tree that has gone through many stories. From being a small tree, it has grown into a large tree through both sun and rain. Experiences are expressed in the form of annual rings. Every year human life is different. Sometimes life is plain and uninteresting. But some years are memorable. Finally, when one dies from this world, some evidence remains to be remembered and naturally decays like the tree of life. The creator has brought this idea to convey and express in the form of annual rings representing one person's life. Using acrylic paint techniques On a Soft prepared chalk floor, size 50 x 50 centimeters. Keywords: annual rings, circle, soul
127 1. ความสำคัญหรือความเป็นมาของปัญหา ชีวิตของคนเราก็คงเปรียบเสมือนกับต้นไม้ต้นหนึ่ง เมื่อตายและดับสูญ คงทิ้งไว้เพียงหลักฐานบางอย่าง ให้เห็นถึงการมีตัวตน วงปีจากการตัดขวางต้นไม้ทำให้เราทราบถึงอายุของต้นไม้ ว่าแต่ละวงรอบ 1 ปี ของมัน เกิดอะไรขึ้นบ้าง หากเปรียบกับคนก็คงเช่นกัน แต่ละปีก็แตกต่างกัน บางทีชีวิตก็ราบเรียบไม่น่าสนใจ แต่บางปี ก็เป็นปีที่น่าจดจำ สุดท้ายเมื่อตายจากโลกนี้ไปคงเหลือหลักฐานบางอย่างที่ให้นึกถึงและสลายไปตามธรรมชาติ เช่นเดียวกับต้นไม้ 2. แนวคิด / ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง วงปีของต้นไม้ เกิดจากการเจริญของเนื้อเยื่อเพื่อสร้างท่อลำเลียงน้ำขึ้นมา ถ้าปีใดมีปริมาณน้ำฝนมาก เส้นวงปีจะกว้างและมีสีน้ำตาลอ่อน เพราะลิกนิน ที่พืชสร้างขึ้นและสะสมอยู่ในเนื้อไม้มีความเข้มข้นต่ำ แต่ในปี ที่มีปริมาณน้ำฝนน้อย เส้นวงปีจะแคบและมีสีน้ำตาลเข้มเพราะลิกนินมีความเข้มข้นสูง วงปีจึงใช้บอกอายุ ต้นไม้ ปริมาณน้ำฝน และสภาพอากาศในแต่ละรอบปี อีกทั้งหากในเนื้อไม้มีแผลสีเข้ม แสดงว่าเป็นแผลจากไฟ ไหม้ ซึ่งผู้สร้างได้นำรูปร่างและรูปทรงของวงปีมาใช้แทนชีวิตของมนุษย์ 3. กระบวนการในการสร้างสรรค์ ภาพวาดจิตรกรรม 2 มิติ ขนาด 50 x 50 เซนติเมตร เทคนิค สีอะคริลิกบนพื้นดินสอพอง ภาพที่ 1 ร่างภาพลงบนเฟรมผ้าใบพื้นดินสอพอง ที่มา : ผู้สร้างสรรค์
128 ภาพที่2 ลงสีเส้น จนครบทุกวงรอบ ที่มา : ผู้สร้างสรรค์ ภาพที่ 3 ลงสีโดยวิธีขีดเส้นบริเวณที่เป็นเนื้อไม้ทีละเส้น ทีละวงรอบ จนครบทุกวงรอบ ที่มา : ผู้สร้างสรรค์ ภาพที่4 ลงสีพื้นหลัง โดยใช้สีน้ำเงินอมเขียว แทนความหมายของธรรมชาติ ชีวิต และความสงบ และรอยไหม้แทนบาดแผล ที่มา : ผู้สร้างสรรค์
129 ภาพที่5 ผลงานสำเร็จ มีการลงสีเหลือง หมายถึง พลังและจิตวิญญาณ ที่มา : ผู้สร้างสรรค์ 4. การวิเคราะห์ผลงาน ในผลงานการสร้างสรรค์ “วงรอบของชีวิต” วงปีของต้นไม้นั้นแทนชีวิตของคน ซึ่งแต่ละวงรอบนั้น แทนอายุของคน 1 ปี ในแต่ละรอบ มีนั้นมีเรื่องราวมากมายที่เกิดขึ้นไม่ซ้ำกัน แทนค่าประสบการณ์ที่เคยผ่าน มาด้วยการขีดเส้นลงในวงรอบทีละเส้น ขนาดของเส้น ค่าน้ำหนักของสีที่ไม่เท่ากัน บ่งบอกถึงความหลากหลาย ของชีวิตที่ผ่านพ้นมา รอยด่างสีเข้มแทนบาดแผลในชีวิตในแต่ละช่วงอายุ สีพื้นหลังบ่งบอกถึงการมีชีวิตอยู่ สี น้ำเงินอมเขียว แทนความหมายของธรรมชาติ ชีวิต และความสงบ สีเหลือง หมายถึง พลังและจิตวิญญาณซึ่ง คอยหล่อเลี้ยงชีวิต ในวาระสุดท้ายสีเหลืองก็จะค่อย ๆ หายไปออกจากชีวิต จนชีวิตกลับไปสู่ธรรมชาติอีกครั้ง ในวาระดับสูญ 5.สรุป หวังว่าผลงานชิ้นนี้จะสร้างความรู้สึกให้ผู้ชมเห็นถึงความธรรมดาของชีวิต และใช้ชีวิตอย่างมีความสุข ในรูปแบบของตนเอง เอกสารอ้างอิง อนันต์ประภาโส. (2558). ทฤษฎีสี. ปทุมธานี: สิปประภา อารีสุทธิพันธ์. (2539). ศิลปะกับมนุษย์. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช Climate Kids. Retrieved August 24. 2023. from https://climatekids.nasa.gov/tree-rings/.
130 จินตนาการจากรูปทรงดอกไม้ Imagination from Flower Shapes บุญฤทธิ์ พูนพนิช, Boonyarit Poonpanit ที่อยู่ 594/98 ซ.มหาวงษ์เหนือ ถ.อโศก-ดินแดง แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพฯ 10400, Address 594/98 Soi Mahawong Nua, Asoke-Din Daeng Rd., Din Daeng, Bangkok 10400 คณะศิลปวิจิตร สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กระทรวงวัฒนธรรม, กรุงเทพฯ ประเทศไทย E-mail: [email protected] บทคัดย่อ ผลงานสร้างสรรค์“จินตนาการจากรูปทรงดอกไม้” ชิ้นนี้ สร้างสรรค์โดยได้รับแรงบันดาลใจจากความ ประทับใจจากรูปทรงพืชพันธุ์ สิ่งมีชีวิตในธรรมชาติ ปรากฏรูปทรงของสิ่งมีชีวิต คือ สัตว์ และพืชพันธุ์ไม้ใน ธรรมชาติ โดยข้าพเจ้าศึกษาเรื่องราวของสภาวะธรรมชาติ ความเบิกบานของสิ่งมีชีวิต โดยใช้วิธีการสร้างสรรค์ ผลงานด้วยการสร้างพื้นผิวขึ้นด้วยเทคนิคจิตรกรรมสีน้ำและหมึกจีน เพื่อสร้างโครงสร้างของภาพโดยมีที่มาจาก รูปทรงของดอกไม้แล้ววาดรูปทรงจากสิ่งมีชีวิตหลากหลาย ลงบนโครงสร้างประกอบรวมกันเป็นรายละเอียด ของภาพ ซึ่งสะท้อนสภาวะของโลกในอุดมคติที่อยู่ทับซ้อนกับความจริง สัญลักษณ์ของสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ นั้น มี ความหมายเพื่อสะท้อนนัยยะความรู้สึกของความเบิกบาน ความเชื่อที่อยู่ทับซ้อนกับสภาวะความจริง ปรากฏ อยู่ในพื้นที่ภายใต้จิตใต้สำนึกของมนุษย์ที่จะสามารถแสดงความปรารถนาในการควบคุมทำได้ทุกสิ่งนั่นคือ จินตนาการ โดยนำมาสร้างสรรค์ด้วยเทคนิควิธีการส่วนบุคคล อันเป็นวิธีการนำรูปทรงของความเชื่อแบบเก่า สร้างบนพื้นที่ที่สร้างขึ้นมาใหม่ เพื่อเปลี่ยนสภาวะใหม่ท่ามกลางรูปเดิมของเนื้อหา คำสำคัญ: จินตนาการ, ดอกไม้, จิตใต้สำนึก Abstract This creative work “Imagination from flower shapes” Created by being inspired by the impression of plant shapes. living things in nature. Combined with Thai painting styles. The shapes of living things appear, namely animals and plants in nature. I studied the story of the state of nature joy of living things. Using the method of creating works by creating textures using watercolor and Chinese ink painting techniques. To reflect the connotation of feelings Hapiness, Abundance. Existing beliefs overlap with states of reality. To create the structure of the image based on the shape of the flower. Then draw shapes from various living things. onto the structure assembled together to form the details of the image which reflects the state of the ideal world that overlaps with reality. Symbols of various living things. It is meant to reflect the feeling of joy. Beliefs that overlap with reality It appears in the area under the
131 subconscious of humans where they can express their desire to control everything, that is, their imagination, by creating it with personal techniques. which is a method of taking the shape of old beliefs and creating them on a newly created area to change the new state amidst the original form of the content. Keywords: Imagination, Flower, Subconscious 1. ความสำคัญหรือความเป็นมาของปัญหา ผลงานสร้างสรรค์“จินตนาการจากรูปทรงดอกไม้”ชิ้นนี้ สร้างสรรค์โดยได้รับแรงบันดาลใจจากความ ประทับใจจากรูปทรงดอกไม้เป็นหลัก ประกอบกับรูปทรงพืชพันธุ์ สิ่งมีชีวิตในจินตนาการที่มีที่มาจากธรรมชาติ ผสมผสานกับลายเส้นรูปแบบภาพจิตรกรรมไทย ปรากฏรูปทรงของสิ่งมีชีวิต คือ สัตว์ และพืชพันธุ์ไม้ใน ธรรมชาติ โดยข้าพเจ้าศึกษาเรื่องราวของสภาวะธรรมชาติ ความเบิกบานของสิ่งชีวิต ซึ่งสะท้อนสภาวะของโลก ในอุดมคติที่อยู่ทับซ้อนกับความจริง สัญลักษณ์ของสิ่งมีชีวิตต่างๆนั้น มีความหมายเพื่อสะท้อนนัยยะความรู้สึก ของความเบิกบาน ความอุดมสมบูรณ์ ความเชื่อที่มีอยู่ทับซ้อนกับสภาวะความจริง จึงปรากฏมีอยู่ในพื้นที่ ภายใต้จิตใต้สำนึกของมนุษย์ที่จะสามารถแสดงความปราถนาในการควบคุมทำได้ทุกสิ่งนั่นคือ จินตนาการ 2. แนวคิด / ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง 2.1 แนวคิด ความประทับใจจากรูปดอกไม้เป็นหลัก ประกอบกับรูปทรงพืชพันธุ์ สิ่งมีชีวิตในธรรมชาติ ผสมผสาน กับรูปแบบภาพจิตรกรรมไทย ปรากฏรูปทรงของสิ่งมีชีวิต คือ สัตว์ และพืชพันธุ์ไม้ในธรรมชาติ โดยข้าพเจ้า ศึกษาเรื่องราวของสภาวะธรรมชาติ ความเบิกบานของสิ่งชีวิต โดยสะท้อนสภาวะของโลกในอุดมคติที่อยู่ทับ ซ้อนกับความจริง สัญลักษณ์ของสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ นั้น มีความหมายเพื่อสะท้อนนัยยะความรู้สึกของความ เบิกบาน ความอุดมสมบูรณ์ ความเชื่อที่มีอยู่ทับซ้อนกับสภาวะความจริง จึงปรากฏมีอยู่ในพื้นที่ภายใต้จิตใต้ สำนึกของมนุษย์ที่จะสามารถแสดงความปราถนาในการควบคุมทำได้ทุกสิ่งนั่นคือ จินตนาการ โดยการใช้ รูปทรงที่มาจากความคิดความฝันของข้าพเจ้า ตามทฤษฎีจิตวิเคราะห์ โดยนำมาสร้างสรรค์ด้วยเทคนิควิธีการ ส่วนบุคคล อันเป็นวิธีการนำรูปทรงของความเชื่อแบบเก่าสร้างบนพื้นที่ที่สร้างขึ้นมาใหม่ เพื่อเปลี่ยนสภาวะ ใหม่ท่ามกลางรูปเดิมของเนื้อหา 2.2 ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง รูปแบบศิลปะ แอ็บสแตรกต์เอ็กซ์เพรสชั่นนิสม์ (abstract expressionism) คือ งานจิตรกรรมที่ใช้ วิธีการวาดภาพที่แตกต่างจากการจับพู่กัน แต่ใช้วิธีการเคลื่อนไหวของร่างกายแทบทุกส่วน เช่น แขน ขา ไหล่ ฯลฯ เป็นวิธีการแสดงในการใช้สีสร้างเป็นภาพผลงานจิตรกรรมให้ปรากฏขึ้นมา ศิลปินที่มีชื่อเสียง เช่น ฟิลลิป กัสตัน (Philip Guston), ลี เครสเนอร์ (Lee Krasner), วิลเลิม เดอ คูนนิง (Willem de Kooning), แจ็กสัน
132 พอลล็อค (Jackson Pollock) ซึ่งในงานศิลปกรรมของข้าพเจ้าใช้วิธีการนี้สร้างเป็นพื้นบรรยากาศและ โครงสร้างของภาพ ก่อนใช้วิธีการเขียนแต่งเติมรายละเอียด เพื่อให้พื้นบรรยากาศโครงสร้างของภาพเกิดสีสัน และรูปทรงที่สามารถแสดงผลทางความรู้สึกได้อย่างมีสีสัน อิสระ 3. กระบวนการในการสร้างสรรค์ กระบวนการแต่ละขั้นตอนในการสร้างสรรค์ผลงานชิ้นนี้ สร้างสรรค์ด้วยเทคนิคทางจิตรกรรมสีน้ำและ หมึกจีน โดยปรากฏรูปแบบหรือประเภทของผลงานเป็นผลงานจิตรกรรมสองมิติ แนวกึ่งนามธรรม แสดง เนื้อหาและเรื่องราวของการสร้างสรรค์วิธีการสร้างสรรค์แบบงานจิตรกรรม โดยได้ศึกษาและเก็บข้อมูลรูปทรง ดอกไม้ที่เกี่ยวข้องกับจินตนาการของผู้สร้างสรรค์ซึ่งเป็นรูปทรงหลักของผลงาน ซึ่งรายละเอียดในกระบวนการ หรือแต่ละขั้นตอนในการสร้างสรรค์ผลงาน ดังนี้ 1. การเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ สร้างผลงาน ภาพที่ 1 การเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ สร้างสรรค์ผลงาน ที่มา : ผู้สร้างสรรค์ 2. สร้างความเปียกชุ่มบนระนาบรองรับด้วยน้ำ ภาพที่ 2 สร้างความเปียกชุ่มบนระนาบรองรับด้วยน้ำ ที่มา : ผู้สร้างสรรค์
133 3. ร่างภาพ กำหนดโครงสร้าง รูปทรง และทิศทางของภาพด้วยการหยด สะบัด และสาดสี ภาพที่ 3 ร่างภาพด้วยการหยด สะบัด และสาดสี ที่มา : ผู้สร้างสรรค์ 4. สร้างน้ำหนักและพื้นผิวบนระนาบรองรับด้วยสีน้ำ และหมึกจีน ภาพที่ 4 สร้างน้ำหนักและพื้นผิวบนระนาบรองรับด้วยสีน้ำ และหมึกจีน ที่มา : ผู้สร้างสรรค์ 5. วาดรายละเอียดลงบนโครงสร้างน้ำหนักและพื้นผิว ด้วยสีน้ำ ภาพที่ 5 วาดรายละเอียดลงบนโครงสร้างน้ำหนักและพื้นผิว ด้วยสีน้ำ และสีไม้ ที่มา : ผู้สร้างสรรค์
134 6. ภาพผลงานเสร็จสมบูรณ์ ภาพที่ 6 ภาพผลงานเสร็จสมบูรณ์ ที่มา : ผู้สร้างสรรค์ 4. การวิเคราะห์ผลงาน การสร้างสรรค์ผลงาน“จินตนาการจากรูปทรงของดอกไม้”ชิ้นนี้ สร้างสรรค์โดยได้ทำการรวบรวม ข้อมูลจากภาพรูปทรงของดอกไม้เป็นหลัก ประกอบกับรูปทรงของพืชพันธุ์ สิ่งมีชีวิตในธรรมชาติ ผสมผสานกับ รูปแบบภาพจิตรกรรมไทย ปรากฏรูปทรงของสิ่งมีชีวิต คือ สัตว์ และพืชพันธุ์ไม้ในธรรมชาติ เป็นข้อมูลพื้นฐาน โดยข้าพเจ้าศึกษาเรื่องราวของสภาวะธรรมชาติ ความเบิกบานของสิ่งชีวิต โดยใช้วิธีการสร้างสรรค์ผลงานด้วย การสร้างพื้นผิวขึ้นด้วยเทคนิคจิตรกรรมสีน้ำและหมึกจีน มาสร้างสรรค์ผลงาน การวิเคราะห์ด้านรูปแบบ ในผลงานชิ้นนี้ นำเสนอรูปแบบผลงานภาพทิวทัศน์ ด้วยจิตรกรรมเทคนิค ผสมในรูปแบบกึ่งนามธรรม นำมาประกอบสร้างกับพื้นผิวที่สร้างขึ้นด้วยเทคนิคใหม่ โดยในการสร้างสรรค์ ผลงานใช้เทคนิคจิตรกรรมสีน้ำและหมึกจีน สร้างพื้นผิวและน้ำหนักเป็นทัศนธาตุหลักให้กับโครงสร้างโดยรวม ของภาพ กำหนดโครงสร้างโดยรวมให้มีมิติของความรู้สึกที่เคลื่อนไหว และเบิกบาน ให้เกิดเป็นรูปทรงตาม จินตนาการได้ แล้วจึงใช้เทคนิควิธีการทางจิตรกรรมสีน้ำ สร้างทัศนธาตุรูปทรง น้ำหนัก พื้นผิว เส้น สี และจุด ตามลำดับ จินตนาการไปตามโครงสร้างของภาพ รายละเอียดของเนื้อหาทางทัศนธาตุอยู่ภายใต้แนวคิดการ สะท้อนสภาวะของโลกในอุดมคติที่ซ้อนทับกับความจริง เจตนาเพื่อถ่ายทอดโลกเสมือนที่มาจากอำนาจภายในใจ การวิเคราะห์ด้านเนื้อหา เรื่องราว ประเด็นจากภาพรูปทรงพืชพันธุ์ สิ่งมีชีวิตในธรรมชาติ ผสมผสาน กับรูปแบบภาพจิตรกรรมไทย ซึ่งเป็นเหตุผลและแรงบันดาลใจในการนำมาเป็นรูปทรงหลัก สัญลักษณ์ของ รูปทรงต่างๆนั้น มีความหมายเพื่อสะท้อนนัยยะของความเบิกบาน ความอุดมสมบูรณ์ ความเชื่อที่มีอยู่ทับซ้อน กับความจริง และมีอิทธิพลกับมนุษย์ สัญชาตญาณความต้องการที่จะเอาชนะของมนุษย์ จึงปรากฏมีอยู่ใน พื้นที่ภายใต้จิตใต้สำนึกของมนุษย์ที่จะสามารถแสดงความปราถนาในการควบคุมทำได้ทุกสิ่งนั่นคือ
135 จินตนาการ โดยนำมาสร้างสรรค์ด้วยเทคนิควิธีการส่วนบุคคล อันเป็นวิธีการนำรูปทรงของความเชื่อแบบเก่า สร้างบนพื้นที่ที่สร้างขึ้นมาใหม่ เพื่อเปลี่ยนสภาวะใหม่ท่ามกลางรูปเดิมของเนื้อหา 5. สรุป ในผลงานสร้างสรรค์“จินตนาการจากรูปทรงของดอกไม้”ชิ้นนี้ ได้ถ่ายทอดออกมาจากความประทับใจ จากภาพรูปทรงของดอกไม้เป็นหลัก และรูปทรงของพืชพันธุ์ สิ่งมีชีวิตในธรรมชาติ ผสมผสานกับรูปแบบภาพ จิตรกรรมไทย ปรากฏรูปทรงของสิ่งมีชีวิต คือ สัตว์ และพืชพันธุ์ไม้ในธรรมชาติ เป็นข้อมูลพื้นฐาน โดยข้าพเจ้า ศึกษาเรื่องราวของสภาวะธรรมชาติ ความเบิกบานของสิ่งชีวิต โดยใช้วิธีการสร้างสรรค์ผลงานด้วยการสร้าง พื้นผิวขึ้นด้วยเทคนิคจิตรกรรมสีน้ำและหมึกจีน เพื่อสร้างโครงสร้างของภาพ แล้ววาดรูปทรงจากสิ่งมีชีวิต หลากหลาย ภาพจิตรกรรมไทย ลงบนโครงสร้างประกอบรวมกันเป็นรายละเอียดของภาพ ซึ่งสะท้อนสภาวะ ของโลกในอุดมคติที่อยู่ทับซ้อนกับความจริง สัญลักษณ์ของสิ่งมีชีวิตต่างๆนั้น มีความหมายเพื่อสะท้อนนัยยะ ความรู้สึกของความเบิกบาน ความอุดมสมบูรณ์ ความเชื่อที่มีอยู่ทับซ้อนกับสภาวะความจริง จึงปรากฏมีอยู่ใน พื้นที่ภายใต้จิตใต้สำนึกของมนุษย์ที่จะสามารถแสดงความปราถนาในการควบคุมทำได้ทุกสิ่งนั่นคือ จินตนาการ ผ่านการนำเสนอโดยผลงานทางทัศนศิลป์ จิตรกรรมเทคนิคผสมในรูปแบบกึ่งนามธรรม ที่สามารถ แสดงสุนทรียภาพทางด้านอารมณ์ความรู้สึก และผู้ชมเกิดจินตนาการร่วมได้ ข้าพเจ้าหวังว่าผลงานชิ้นนี้จะให้ประโยชน์กับสังคมในการศึกษาเรียนรู้ และเผยแพร่ไปสู่สาธารณชน ได้รับรู้สัมผัสถึงสุนทรียภาพ ทั้งจากเนื้อหา และเทคนิคภายในผลงานสร้างสรรค์ เพื่อที่จะเป็นประโยชน์ไม่ว่า ในทางใดทางหนึ่งในปัจุบัน และอนาคตต่อไป เอกสารอ้างอิง ชลูด นิ่มเสมอ. (2553). องค์ประกอบของศิลปะ = Composition of Art. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: อมรินทร์ เสมอชัย พูลสุวรรณ (2539). สัญลักษณ์ในงานจิตรกรรมไทย ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 19 ถึง 24. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
136 ความสมดุล กับความฝัน และความจริง Life Balance Dreams and Reality ปภณ กมลวุฒิพงศ์, Papon Kamonwuttipong วิทยาลัยช่างศิลปสุพรรณบุรี สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ สังกัดกระทรวงวัฒนธรรม จังหวัด สุพรรณบุรี Suphanburi College Of Fine Arts, affiliated to Bunditpatanasilpa Institute Of Fine Arts, Ministry of Culture Suphanburi E-mail: [email protected] บทคัดย่อ การสร้างสรรค์ผลงานเพ้นท์ลักษณะดิจิทัลขึ้นบนรูปลักษณ์ที่ดูสดใส สวยงาม สร้างอารมณ์ความรู้สึก ด้วยสีที่ดูสบายตา รูปร่างรูปทรงที่สร้างสรรค์ด้วยการเลียนแบบธรรมชาติ เพื่อสื่อถึงความสมดุล ความฝัน และ ความจริงจากการอยู่ร่วมกันของสิ่งมีชีวิตที่ก่อกำเนิดความสุขให้กับมนุษย์ ผู้สร้างสรรค์มองถึงเรื่องของการใช้ ชีวิตอยู่บนพื้นฐานความจริง และเปิดรับสิ่งใหม่ในด้านความงดงามที่สามารถพึ่งพากัน และกันได้ การ สร้างสรรค์ผลงานผู้สร้างสรรค์ได้ศึกษาแนวคิดผลงานจากศิลปิน พชรพล แตงรื่น (Alex Face) ศิลปินชาวไทย เอกลักษณ์เป็นที่รู้จักกันด้วยรูปเด็กหญิงสาวที่มีบุคลิกแบบภาพการ์ตูน รูปทรงดูน่ารักสดใส อ่อนโยนพร้อมกับมี การแสดงอารมณ์สื่อสารผ่านสัญลักษณ์ เรื่องราวที่สะท้อนสังคมในด้านต่าง ๆ นำมาสร้างผลงานโดยสื่อด้วย สัญลักษณ์ในภาพผ่านลักษณะใบหน้าคนที่ถูกต่อเติมด้วยเส้นที่มีจินตนาการเปรียบกับการวาดเส้นอิสระจาก ความคิด สื่อถึงผู้สร้างสรรค์ที่สร้างผลงานขึ้นจากความคิดที่อิสระ สื่อจากภาพธรรมชาติที่พูดถึงความสงบมี อิสระ รอยยิ้มของภาพคนที่มีความสุข ธรรมชาติที่งดงาม สัตว์ที่ใช้ชีวิตอย่างมีความสุข สะท้อนถึงสภาพใน สังคมได้ความว่า หากมนุษย์เรารักษาความฝันของเรากับความจริงของธรรมชาติและสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ได้ จะมี แต่ความสงบสุขนิรันดร์ การสร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรมด้วย เส้น สี รูปร่างรูปทรง พื้นที่ว่าง รวมไปถึง สัญลักษณ์แอบแฝงเพื่อสื่อสารกับผู้พบเห็นรวมถึงสังคมในเรื่องของชีวิตสมดุลได้จากสิ่งใด คำสำคัญ: ความสมดุล, ความฝัน, ความจริง Abstract Creating digitally painted works that look bright and beautiful, creating emotions with colors that are pleasing to the eye. Creative shapes that imitate nature to communicate dreams and the truth from the coexistence of living things that creates happiness for humans. The creator thinks about living life based on truth. And open to new things in terms of beauty that can depend on each other. To create the work, the creator studied the concept of the work of the artist Pacharapol Taengruen (Alex Face), a Thai artist. The identity is known by the image of a young girl. with a cartoon personality The shape looks cute and bright.
137 Be gentle and express your emotions through symbols. Stories that reflect society in various aspects Used to create works by communicating with symbols in the image through the appearance of people's faces that are added with imaginative lines, comparable to drawing lines free from thought. It represents a creator who creates work from independent thought. Media from nature images that speak of peace are free. Smiling image of happy people beautiful nature Animals that live happily It reflects the conditions in society. If we humans keep our dreams with the reality of nature and various living things There will be only eternal peace. Creating paintings with lines, colors, shapes, empty space, including hidden symbols to communicate with viewers and society in terms of balanced life. What can be achieved. Keywords: Life Balance Dream Reality 1. ความสำคัญหรือความเป็นมาของปัญหา ความฝันและความจริง เกิดขึ้นภายใต้ความสมดุลของชีวิตมนุษย์เกิดจากปัจจัยรอบ ๆ ตัวหลายสิ่ง ประกอบกัน ธรรมชาติเป็นส่วนสำคัญต่อสิ่งมีชีวิตทุกประเภทรวมถึงมนุษย์ การแลกเปลี่ยนความสัมพันธ์ ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม ตามระบบนิเวศนั้น สิ่งมีชีวิต และไม่มีชีวิต จะมีการพึ่งพาพลังงานซึ่งกันและ กัน ขณะเดียวกันความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตด้วยกันมีการถ่ายทอดพลังงานหมุนเวียนเป็นวัฏจักร มีระบบ และหน้าที่เป็นผู้ผลิต ผู้บริโภค และผู้ย่อยสลาย ซึ่งทุกสิ่งจะคงอยู่ได้นั้นต้องมีการแลกเปลี่ยนอย่างลงตัวทั้งการ เกิดและสลาย จะทำให้เกิดความสัมพันธ์ที่เป็นระบบ ซึ่งเมื่อใดก็ตามที่องค์ประกอบส่วนใดส่วนหนึ่งถูกทำให้ กระทบกระเทือน แม้เพียงเล็กน้อย ผลกระทบอันนั้นจะถูกส่งทอดต่อไปถึงองค์ประกอบอื่น ๆ ทั่วทั้ง มนุษย์ เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีบทบาทสำคัญต่อโลก ความฝัน จินตนาการจะส่งเสริมให้มนุษย์อยู่รอดได้ด้วยการสร้างชีวิต จิตใจ ความงามทางใจ แต่การทำลายของมนุษย์ในปัจจุบันนั้นส่งผลกระทบต่อระบบความคิดมากมาย เช่น การทำลายป่า การทำให้คุณภาพของอากาศ น้ำ ดิน เสื่อมโทรมอย่างรุนแรง เป็นการทำลายความสมดุลของ ระบบนิเวศอย่างรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของมนุษย์ แต่หากผลกระทบนั้นรุนแรงเกินกว่าที่จะปรับตัวให้เข้าสู่สมดุลได้ ความฝัน จิตนาการจะมีส่วนสำคัญในการก้าวผ่านอุปสรรคได้ ผู้สร้างสรรค์ผลงานเล็งเห็นถึงปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคมสมัยนี้เกี่ยวกับการใช้ชีวิตของมนุษย์ที่ใช้ความ จริงในการตัดสินผู้อื่น ความตึงเครียดทางอารมณ์ การนำความคิดตนเป็นที่ตั้ง โดยมีมนุษย์เป็นปัจจัยสำคัญใน การทำให้ความคิดเกิดการเปลี่ยนแปลง และเกิดผลกระทบตามมา ผู้สร้างสรรค์จึงเกิดแรงบันดาลใจในการ สร้างสรรค์ผลงานชิ้นนี้ขึ้น จากปัญหาดังกล่าวผู้สร้างสรรค์อยากสะท้อนปัญหาในปัจจุบันที่มนุษย์สามารถใช้ ชีวิตอย่างระหว่างความฝัน และความเป็นจริงให้คงอยู่ร่วมกันเพื่อความสมดุลบนชีวิตที่มนุษย์ขาดเสียไม่ได้ หากวันใดความสมดุลของความฝันและความเป็นจริงขาดหายไปผลกระทบต่าง ๆ จะกลับมาที่สิ่งมีชีวิตนั้นทันที ซึ่งผู้สร้างสรรค์นำเสนอผลงานด้วยกระบวนการสร้างสรรค์ผลงานเพ้นท์บนดิจิทัล โดยใช้เทคนิคการวาดภาพ ระบายสีและเส้นบนระบบดิจิทัล
138 2. แนวคิด / ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง มนุษย์กับธรรมชาติมีการเชื่อมโยงกันในทุกด้าน ธรรมชาติดูแลรักษาความเป็นจริง มนุษย์มีความฝัน และสร้างความสมดุลให้กับสิ่งมีชีวิต การปรับเปลี่ยนให้เข้ากับทุกสิ่งรอบตัวเป็นสัญชาตญาณที่ติดตัวมาตั้งแต่ เกิดของสิ่งมีชีวิตทุกชนิด มนุษย์เรียนรู้การปรับสมดุลให้กับชีวิตด้วยความสวย ความงดงาม ความสุนทรียะ เป็นการปรับสมดุลของมนุษย์เพื่อการดำเนินชีวิตอย่างสร้างสรรค์ในการดำเนินชีวิตสู่อนาคต ทฤษฎีความสมดุล (Balance Theory) ไฮเดอร์ (Heider, 1958) ผู้เสนอทฤษฎีการปรุงแต่งในการ รับรู้ทางสังคม ได้เสนอทฤษฎีความสมดุล ซึ่งสามารถอธิบายความชอบพอระหว่างกันได้ตามทฤษฎีความสมดุล ความชอบพอระหว่างบุคคลเกิดจากความคล้ายทางความ รู้สึกนึกคิด ไฮเดอร์มีความเชื่อว่า คนเราจะพยายาม เปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์บางส่วนเพื่อให้สภาพไม่สมดุลกลายเป็นสภาพสมดุล ทฤษฎีความสมดุลของไซเดอร์ คล้ายทฤษฎีความขัดแย้งทางปัญญา ทฤษฎีความขัดแย้งทางปัญญากล่าวว่ามนุษย์จะพยายามทำให้ความเชื่อ ของคนเกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ มีความสอดคล้องกันและสอดคล้องกับการกระทำเพื่อลดความไม่สบายใจ ซึ่งเกิดจาก ความไม่สอดคล้องกัน ส่วนในทฤษฎีความสมดุลถือว่าความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และสิ่งต่าง ๆ หากไม่สมดุล กันก็จะทำให้เกิดความทุกข์ ต้องเปลี่ยนแปลงแก้ไขเพื่อขจัดความไม่สมดุล ทฤษฎีความสมดุลถือความคล้าย ระหว่างบุคคลเป็นปัจจัยกำหนดความชอบพอ คนเราชอบพอกัน เพราะชอบสิ่งต่าง ๆ เหมือน ๆ กัน ท่านคง นึกต่อไปได้ไม่ยากว่าตามทฤษฎีนี้ชายสองคนที่ชอบผู้หญิงคนเดียวกันย่อมมีความชอบพอกัน แต่ในชีวิตจริงเรา ก็พบเสมอ ๆ ที่ชายสองคนมีความเคียดแค้นถึงขั้นเข่นฆ่ากันเนื่องจากเกิดมาชอบผู้หญิงคนเดียวกัน ปรากฎการณ์เช่นนี้ ขัดแย้งทฤษฎีความสมดุล นอกจากนี้การที่ผู้มีลักษณะตรงกันข้าม แต่กลับชอบพอรักใคร่ กันก็ขัดแย้งกับทฤษฎีความสมดุลเช่นกัน 3. กระบวนการในการสร้างสรรค์ กระบวนการในการสร้างสรรค์ผลงานชุดนี้เกิดจากผู้สร้างสรรค์ศึกษาผลงานของศิลปิน พัชรพล แตงรื่น (Alex Face) ศิลปินชาวไทยเพื่อเป็นข้อมูลในการสร้างสรรค์ผลงานตามแนวความคิดของผู้สร้างสรรค์จากการ สื่อสารผลงานผ่านลักษณะภาพการ์ตูนที่ดูเข้าใจได้ง่ายเข้าถึงผู้ชมทุกเพศทุกวัย โดยสื่อสารผ่านแววตาด้วย สัญลักษณ์บางอย่างแอบแฝงเพื่อสื่อถึงสภาพสังคมผ่านความน่ารักได้อย่างลงตัว ภาพที่ 1 ภาพผลงานเด็กผู้หญิงบินกับนก และผู้หญิงใส่ชุดเสิอของศิลปินพัชรพล แตงรื่น ที่มา : (จาก https://web.facebook.com/Alexfacebkk.) สืบค้นเมื่อ 5 พฤศจิกายน 2566)
139 ขั้นตอนที่ 1 เริ่มจากแบบร่าง การจัดวางตำแหน่งองค์ประกอบของภาพด้วยลายเส้นดินสอลงบน กระดาษขนาด 1:4 เทียบกับผลงานจริง และลงสีอย่างง่ายเพื่อดูน้ำหนักภาพรวม หลังจากทำแบบร่างเสร็จผู้ สร้างสรรค์เลือกผลงานแบบร่างมาพัฒนาต่อจำนวน 1 ผลงาน จากแบบร่างทั้งหมด 5 แบบ ขั้นตอนที่ 2 การร่างภาพ จะร่างภาพด้วยดินสอเพื่อให้เห็นได้ชัดเจนลงบนเฟรมผ้าใบโดยการร่างตาม สัดส่วนจากต้นแบบ โดยการเทียบส่วนเพิ่มขึ้น 1:4 จากต้นแบบ ขั้นตอนที่ 3 ลงมือทำพื้นหลัง (backgroud) ด้วยเทคนิคการลงสีบนแอพพลิเคชั่น procreate ด้วย ปากกา (Pen brush) เพื่อสร้างระนาบรองรับก่อนเริ่มต้นเพื่อวางโครงสร้าง องค์ประกอบภาพโดยรวมให้กับ ภาพทั้งหมดก่อนเริ่มทำการระบายสีให้เป็นรูปทรง ภาพที่ 2 ภาพร่างแบบด้วยแอพพลิเคชั่น procreate ด้วยปากกา (Pen brush) ที่มา : จากผู้สร้างสรรค์ เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2566 ขั้นตอนที่ 4 จัดภาพมาต่อเติมโดยการระบายจากเส้นโทนสีเทา จะใช้ค่าน้ำหนักกลางเริ่มก่อน และหา จุดเสริมน้ำหนัก อ่อน แก่ ทั่วทั้งภาพเพื่อดูน้ำหนักภาพรวม โดยกำหนดแสงให้ชัดเจนตามแบบร่าง และเริ่ม ระบายสีโทนเข้มขึ้น ในการใช้เส้นปากกานั้นผู้สร้างสรรค์จะใช้การระบายทับซ้อนกันเนื่องจากเส้นปากกา สามารถระบายทับซ้อนเพื่อสร้างน้ำหนักสีที่ 3 เพิ่มขึ้นได้ ส่วนของการเพ้นท์เหมือนจริงจะใช้ในส่วนที่ทำพื้นผิว ให้เกิดความแตกต่างกันบางช่วงเท่านั้น
140 ภาพที่ 3 การลงสีด้วยบรัชปากกา และระบายในแอพพลิเคชั่น Procreate ที่มา : จากผู้สร้างสรรค์ เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2566 ขั้นตอนที่ 5 การเก็บรายละเอียดด้วยเส้น สี รูปร่าง และรูปทรงของเส้น การจัดวางองค์ประกอบโดยรวมดูรา ยะเอียดทุกส่วนให้สมบูรณ์ ภาพที่ 4 ภาพผลงานเสร็จสมบูรณ์ ที่มา : จากผู้สร้างสรรค์ เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2566
141 ภาพที่ 5 ภาพผลงานเสร็จสมบูรณ์ ที่มา : จากผู้สร้างสรรค์ เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2566 4. การวิเคราะห์ผลงาน การวิเคราะห์การใช้ทัศนธาตุในงานสร้างสรรค์ ทัศนธาตุประกอบด้วย จุด เส้น สี รูปร่าง-รูปทรง พื้นที่ ว่าง การนำทัศนธาตุมาใช้เป็นการเลือกทัศนธาตุที่เหมาะสมต่อจุดมุ่งหมายของการสร้างสรรค์งาน สำหรับการ สร้างสรรค์ผลงานชุดนี้ให้ความสำคัญต่อทัศนธาตุเหล่านั้นทั้งหมดเพื่อเป็นการศึกษา การค้นคว้าทดลอง การ ถ่ายทอดภาพของใบหน้าคน ลวดลายเส้น รูปร่างธรรมชาติ และภาพชีวิตสัตว์ ผ่านการเคลื่อนไหวของภาพให้มี ความแตกต่างกันด้วยการใช้เทคนิคบนระบบดิจิทัล เส้น สร้างด้วยเส้นโค้งเป็นหลักภายในภาพเพื่อให้เกิดความอ่อนช้อยสวยงามและมีลักษณะเฉพาะลง ไปผสมผสานด้วยเพื่อสื่อถึงความสวยงาม สี การระบายด้วยสี และปากกาเคมีของเครื่องมือ เลือกใช้สีโทนขาว ดำ เพื่อดูค่าน้ำหนักได้ง่าย ทำให้ดูสบายตา ช่วยสร้างให้เกิดอารมณ์ความรู้สึกที่ดูเหมาะสมกับความน่ารัก สวยงามเพื่อสื่อสารภาพที่ผู้สร้างสรรค์ต้องการให้เห็นความสวยงามจากธรรมชาติและสิ่งมีชีวิต อีกทั้งยังสื่อสาร ด้วยสัญลักษณ์ของอารมณ์ (emotion) ผ่านการยิ้มแย้มเพื่อสื่อความหมายในเรื่องของความสุขจากการอยู่ ท่ามกลางความสมดุลจากสิ่งรอบตัว ด้วยรูปลักษณ์ที่ดูน่าสนใจทันสมัย โดยสื่อสารในรูปทรงของตัวละคร บุคคลมีใบหน้าน่ารักสดใสที่มองเห็นธรรมชาติรอบ ๆ ตัวเป็นสิ่งงดงาม ส่วนของรูปร่าง-รูปทรง มีการเลียนแบบ
142 ธรรมชาติสัตว์น้ำ พืชน้ำเพื่อสื่อถึงสิ่งมีชีวิตที่ที่อาศัยอยู่ในธรรมชาติ สร้างจนเกิดเป็นเส้นที่ถูกทับซ้อนกันให้ ความหมายของการซ้ำทับไปทับมาจนเกิดมิติ จากการศึกษาด้วยงานสร้างสรรค์จากศิลปินต้นแบบพชรพล แตงรื่น ผู้สร้างสรรค์ได้สร้างผลงานโดย อาศัยแนวความคิดจากรูปร่าง-รูปทรงที่ดูเรียบง่ายด้วยสีที่สดใส แต่มีการแอบแฝงด้วยสัญลักษณ์ของศิลปิน ต้นแบบ เป็นการสร้างผลงานโดยทางอ้อมเพื่อให้เกิดข้อคิดแก่ผู้พบเห็น นำมาสร้างผลงานชีวิตสมดุลเพื่อ สะท้อนความหมายให้เห็นถึงความงดงามเมื่อมนุษย์และธรรมชาติอยู่ร่วมกันอย่างไม่เบียดเบียนกัน ผ่านการใช้ ทัศนธาตุด้วย เส้น สี รูปร่าง-รูปทรง พื้นที่ว่าง รวมไปถึงสัญลักษณ์แอบแฝงเพื่อสะท้อนสังคมได้เห็นคุณค่าของ การอยู่ร่วมกัน 5. สรุป ผลการศึกษาข้อมูลจนถึงขั้นตอนวิธีการสร้างสรรค์ พบว่าการสร้างสรรค์เพื่อถ่ายทอดผลงานจิตรกรรม บนดิจิทะลชุดนี้ที่แสดงถึงสีสันที่สดใส มีชีวิตชีวาของมนุษย์และธรรมชาติ จำเป็นต้องอาศัยกระบวนการลงสีที่ เน้นความสดใสของสี พร้อมกับเทคนิคของการระบายสีทับซ้อนในการสร้างพื้นผิวให้กับพื้นหลังดูน่าสนใจมีมิติ เพื่อสร้างบรรยากาศให้กับภาพ รวมทั้งการแสดงเชิงสัญลักษณ์ในส่วนของสัตว์น้ำ พืชพรรณ ดอกไม้ สื่อถึง ความมีอิสรภาพ สงบสุข รอยยิ้มของภาพบุคคลที่สื่อถึงความสุขเมื่ออยู่ท่ามกลางธรรมชาติที่มีความสมดุล ส่วน ในเรื่องของเนื้อหาที่สะท้อนถึงความสมดุล โดยมีสัญลักษณ์จาก ดอกไม้ ต้นไม้ สัตว์ และมนุษย์ที่อยู่ด้วยกัน พึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันจนเกิดความลงตัว รวมทั้งการออกแบบร่างภาพด้วยวิธีการจัดวางโครงสร้างด้วยเส้น การศึกษาข้อมูลจากศิลปินต้นแบบได้นำเรื่องของการสื่ออารมณ์ของภาพผ่านสัญลักษณ์ของเด็กผู้หญิงมาใช้ใน การสร้างสรรค์ สรุปได้ว่าจะเกิดขึ้นได้จากภาพจริงที่มีที่มาจากต้นแบบ ภาพจากการสื่อความหมายด้วย สัญลักษณ์และจินตนาการผสมผสานกัน เอกสารอ้างอิง ชะลูด นิ่มเสมอ. (2531). องค์ประกอบศิลป์. กรุงเทพมหานคร: บริษัท โรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช จำกัด. นวลน้อย บุญวงษ์. (2539). หลักการออกแบบ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย. น.ณ ปากน้ำ. (2522). หลักการใช้สี. กรุงเทพมหานคร: บริษัท โรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช จำกัด.