The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

รวมเล่มครุศาสตร์วิชาการครั้งที่13(บรรยาย)

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by janistapv, 2023-07-04 06:59:55

รวมเล่มครุศาสตร์วิชาการครั้งที่13(บรรยาย)

รวมเล่มครุศาสตร์วิชาการครั้งที่13(บรรยาย)

เอกสารสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการครุศาสตร์วิชาการครั้งที่ 13 : นวัตกรรมการศึกษาพลิกโฉมการพัฒนา“วิชาชีพครูในยุคดิจิทัล” ห น้ า | ก คณะกรรมการที่ปรึกษากองบรรณาธิการ บรรณาธิการ ผศ.ดร.นพรัตน์ ชัยเรือง คณบดีคณะครุศาสตร์ ผศ.นิตยารัตน์ คงนาลึก รองคณบดีฝ่ายวางแผนและวิจัย อ.วัยวุฒ อินทวงศ์ รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษาและบริการวิชาการ ดร.อรดา โอภาสรัตนากร รองคณบดีฝ่ายวิชาการ และวิเทศสัมพันธ์ ผศ.มานะ ขุนวีช่วย ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิจัย ผศ.ดร.ธณัฐชา รัตนพันธ์ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ กองบรรณาธิการ ผศ.ดร.อมลวรรณ วีระธรรมโม คุรุสภา ผศ.ดร.สาธร ทรัพย์รวงทอง มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ผศ.ดร.พนา จินดาศรี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ผศ.ดร.ศรุติพงศ์ ภูวัชร์วรานนท์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา ผศ.ดร.จิรศักดิ์ แซ่โค้ว มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ผศ.ดร.รุ้งลาวัณย์ จันทรัตนา มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ผศ.ดร.ศิริวรรณ ฉัตรมณีรุ่งเจริญ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต ผศ.ดร.กิตติศักดิ์ ใจอ่อน มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ผศ.ดร.รัชนี สิทธิศักดิ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ผศ.นิตยารัตน์ คงนาลึก มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ผศ.ศึกษา เรืองดำ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ดร.กตัญญตา บางโท มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ดร.จิราภรณ์ เหมพันธ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ดร.ศุภวุฒิ เบ็ญจกุล มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ดร.อรดา โอภาสรัตนากร มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช อ.กิตติรัตน์ เกษตรสุนทร มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช อ.ผการัตน์ โรจน์ดวง มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช อ.ศุภชัย โชติกิจภิวาทย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช อ.อาทิตย์ อรุณศิวกุล มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช อ.สุชาดา จิตกล้า มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช


ข | ห น้ า เอกสารสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการครุศาสตร์วิชาการครั้งที่ 13 : นวัตกรรมการศึกษาพลิกโฉมการพัฒนา “วิชาชีพครูในยุคดิจิทัล” รายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิในการพิจารณาบทความ (Reviewer) ศ.ดร.บังอร เสรีรัตน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ศ.ดร.กนกอร สมปราชญ์ นักวิชาการอิสระ รศ.ดร.สุพักตร์พิบูลย์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช รศ.ดร.รุ่งชัชดาพร เวหะชาติ มหาวิทยาลัยทักษิณ รศ.ดร.เรวดีกระโหมวงศ์ มหาวิทยาลัยทักษิณ รศ.ดร.ไชยา ภาวะบุตร มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร รศ.ดร.สมาน อัศวภูมิ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ รศ.ดร.จิณณวัตร ปะโคทัง มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี รศ.ดร.สมบัติท้ายเรือคำ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ รศ.ดร.จุติพร อัศวโสวรรณ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช รศ.ดร.วีระยุทธ ชาตะกาญจน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ผศ.ดร.ศรุติพงศ์ภูวัชร์วรานนท์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา ผศ.ดร.ชลลดา แสงมณีศิริสาธิตกิจ มหาวิทยาลัยทักษิณ ผศ.ดร.ธิวานนท์ พูพวก มหาวิทยาลัยพะเยา ผศ.ดร.อังชรินทร์ทองปาน มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด ผศ.ดร.อธิป ธรรมจิตร มหาวิทยาลัยมหิดล ผศ.ดร.ปรีดา เบ็ญคาร มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา ผศ.ดร.ธีระพงษ์สมเขาใหญ่ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช ผศ.ดร.ศักดิ์ชาย เพชรช่วย มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต ผศ.ดร.กิตติยา ปลอดแก้ว มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ผศ.ดร.กฤษฎา กุณฑล มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ผศ.ดร.พิมปวีณ์สุวรรณโณ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ผศ.ดร.พูนชัย ยาวิราช มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ผศ.ดร.นพรัตน์ ชัยเรือง มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ผศ.ดร.อารี สาริปา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ผศ.ดร.นิลรัตน์นวกิจไพฑูรย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ผศ.ดร.มนิต พลหลา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ผศ.ดร.ประกอบ ใจมั่น มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ผศ.ดร.ธรรมสันต์สุวรรณ์โรจน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ผศ.ดร.เบญจพร ชนะกุล มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ผศ.ดร.กิตติศักดิ์ใจอ่อน มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ผศ.ดร.รัฐพร กลิ่นมาลี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช


เอกสารสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการครุศาสตร์วิชาการครั้งที่ 13 : นวัตกรรมการศึกษาพลิกโฉมการพัฒนา“วิชาชีพครูในยุคดิจิทัล” ห น้ า | ค รายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิในการพิจารณาบทความ(ต่อ) (Reviewer) ดร.วีรมลล์โล้เจริญรัตน์ โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา ดร.สุวรรณีเปลี่ยนรัมย์ มหาวิทยาลัยทักษิณ ดร.เกษม เปรมประยูร มหาวิทยาลัยทักษิณ ดร.พนิดา เชาว์พาณิชย์เจริญ มหาวิทยาลัยทักษิณ ดร.พิมพ์ลักษณ์มูลโพธิ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ดร.รัชดา เชาวน์เสฏฐกุล มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตปัตตานี ดร.สุทธารัตน์บุญเลิศ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ดร.ธัญญา กาศรุณ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ดร.จิณัฐตา สอนสังข์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ดร.กฤษณีสงสวัสดิ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ดร.จุฬาลักษณ์ใจอ่อน มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต ดร.สุดาทิพย์หาญเชิงชัย มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต ดร.อดุล นาคโร มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต ดร.พิชญ์สินีไสยสิทธิ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ดร.กอเดช อ้าสะกะละ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ดร.กตัญญุตา บางโท มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ดร.จุไรรัตน์รัตติโชติ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ดร.จิราภรณ์เหมพันธ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ดร.อรดา โอภาสรัตนากร มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ดร.อโนทัย ประสาน มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ดร.แก้วใจ สุวรรณเวช มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช


ง | ห น้ า เอกสารสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการครุศาสตร์วิชาการครั้งที่ 13 : นวัตกรรมการศึกษาพลิกโฉมการพัฒนา “วิชาชีพครูในยุคดิจิทัล” ขอขอบคุณ คุรุสภา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต


เอกสารสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการครุศาสตร์วิชาการครั้งที่ 13 : นวัตกรรมการศึกษาพลิกโฉมการพัฒนา“วิชาชีพครูในยุคดิจิทัล” ห น้ า | จ สาส์นจากคณบดี “ท้องถิ่นพัฒนาอย่างยั่งยืน ด้วยครูดีและมีคุณภาพ” เป็นปรัชญาที่เกิดจากความเชื่อมั่นของพวกเรา ชาวครุศาสตร์ หากครูดีและมีคุณภาพจะช่วยให้การศึกษาของคนสังคมดีและพัฒนาไปสู่ความมั่นคงและ ยั่งยืนได้อย่างแท้จริง รายงานสืบเนื่องการประชุมวิชาการ (Proceedings) เนื่องในวันงานครุศาสตร์วิชาการครั้งที่ 13 นวัตกรรมการศึกษาพลิกโฉมการพัฒนา “วิชาชีพครูในยุคดิจิทัล” ได้จัดพิมพ์ขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ ผลงานวิชาการ ผลงานวิจัย และแลกเปลี่ยนแนวคิด ความรู้ด้านการศึกษาที่สะท้อนผลการศึกษาและพัฒนาคุณภาพ การศึกษาเป็นสำคัญ รายงานสืบเนื่องการประชุมวิชาการ (Proceedings) เนื่องในวันงานครุศาสตร์วิชาการ ครั้งที่ 13 ฉบับนี้จึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่า นักการศึกษา นักวิชาการและผู้อ่านทุกท่าน จะได้นำไปปรับเปลี่ยนกระบวนการเรียนรู้ การสร้างสรรค์ การผลิตนวัตกรรมและการพัฒนาผู้เรียน ให้สามารถก้าวทันโลกและทันเทคโนโลยีในยุคดิจิทัล และได้นำองค์ความรู้ดังกล่าวไปใช้ในพัฒนาหรือยกระดับคุณภาพการศึกษาของชาติโดยรวมต่อไป ผมขอขอบคุณผู้ทรงคุณวุฒิคณาจารย์และเจ้าหน้าที่ทุกท่านที่มีส่วนร่วม ในการจัดประชุมสัมมนาทางวิชาการ หรืองานครุศาสตร์วิชาการ ครั้งที่ 13 ตลอดจนการจัดทำรายงานสืบเนื่องการประชุมวิชาการ (Proceedings) ในครั้งนี้จนสำเร็จลุล่วงด้วยดี และหวังว่าคงจะได้รับความร่วมมือจาก ทุกท่านด้วยดีในโอกาสต่อไป ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นพรัตน์ ชัยเรือง คณบดีคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช


ฉ | ห น้ า เอกสารสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการครุศาสตร์วิชาการครั้งที่ 13 : นวัตกรรมการศึกษาพลิกโฉมการพัฒนา “วิชาชีพครูในยุคดิจิทัล” สารบัญ เรื่อง หน้า คณะกรรมการที่ปรึกษากองบรรณาธิการ ก รายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิในการพิจารณาบทความ (Reviewer) ข สาส์นจากคณบดี จ สารบัญ ฉ บทความวิชาการและบทความวิจัย โรคใหม่ สร้างโลกแห่งการเรียนรู้การวัดและประเมินผลในชั้นเรียนยุคหลังโควิด 1 ภัทราพร เยาวรัตน์, นภัส พงศ์ภัสสร ,ธงไชย ภู่ถนนนอก,แพรวพรรณ เปรมลาภ,จิณณ์ณิตา ทับทิม, สถิรพร เชาวน์ชัย 1 ความเข้าใจเชิงความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ในชั้นเรียนที่ใช้วิธีการแบบเปิด 11 รสนา สำลี, สุดาทิพย์ หาญเชิงชัย, ศศลักษณ์ ขลิกคำ 11 การพัฒนาสมรรถนะการแก้ปัญหาแบบร่วมมือทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2ด้วยวิธีการแบบเปิด 25 อาริยา ศรีนวล, สุดาทิพย์ หาญเชิงชัย 25 การพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความสำคัญโดยใช้แบบฝึกทักษะร่วมกับเทคนิคการสอน 5W1H ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนทุ่งหว้าวรวิทย์ อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล 39 ญุไวรีย์ มานะกล้า, ฟาดียะห์ ดอเลาะ, ฆูไซมะห์ ลูโบะ, นิฟารีดา ฮายีอาซัน, จิตติขวัญ ภู่พันธ์ตระกูล 39 การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง โจทย์ปัญหาการบวกการลบ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้รูปแบบการแก้โจทย์ปัญหาตามแนวคิดของโพลยาร่วมกับเทคนิคบาร์โมเดล 50 สายพิรุณ หอมสิน, สมใจ ภูครองทุ่ง, วารีวรรณ์ ไกรโสดา 50 การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง เลขยกกําลัง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยการจัดการเรียนรู้แบบอุปนัยโดยใช้เกมผ่านแอพพลิเคชัน Blooket เป็นสื่อ 61 เพ็ญนภา เดชเมือง, สมใจ ภูครองทุ่ง, ยุพิน บุญเลิศ 61 ผลการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค Math League ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง การแก้สมการกำลังสองตัวแปรเดียว ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 73 จณิสตา ผาเวช, สุวรรณวัฒน์ เทียนยุทธกุล 73 ผลการใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบซิปปา ร่วมกับการใช้วรรณกรรม เพลงกล่อมเด็กภาคใต้ อำเภอกงหรา จังหวัดพัทลุงเพื่อพัฒนาทักษะ การอ่านเชิงวิเคราะห์ภาษาไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 83 ก้องเกียรติ ฤทธิ์ชู, ปรียารัตน์ เชาวลิตประพันธ์,อมลวรรณ วระธรรมโม 83 การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง พหุนาม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้เทคนิคเกมมิฟิเคชันร่วมกับการเรียนรู้แบบเพื่อนคู่คิด 96 เยาวลักษณ์ ยางทอง, ปนัดดา สังข์ศรีแก้ว, วรรณพล พิมพะสาลี 96


เอกสารสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการครุศาสตร์วิชาการครั้งที่ 13 : นวัตกรรมการศึกษาพลิกโฉมการพัฒนา“วิชาชีพครูในยุคดิจิทัล” ห น้ า | ช สารบัญ(ต่อ) เรื่อง หน้า การศึกษาความรู้สึกเชิงปริภูมิและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง พีระมิด กรวย และทรงกลม โดยใช้โปรแกรม GeoGebra ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 109 สุภาวิดา พรรณขาม, ณัฐพล หงษ์ทอง, ปนัดดา สังข์ศรีแก้ว 109 การศึกษาความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์และการกำกับตนเองของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5ด้วยกิจกรรมจิตศึกษาร่วมกับเทคนิคบาร์โมเดล 122 วรนุช มะลิวัน,ณัฐพล หงษ์ทอง, ปนัดดา สังข์ศรีแก้ว 122 การศึกษาความวิตกกังวลและการกำกับตนเองในการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง สมบัติของเลขยกกำลัง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มีความสามารถต่างกัน 136 ปภาวรินท์ พันชูกลาง, ณัฐพล หงษ์ทอง, ปนัดดา สังข์ศรีแก้ว 136 การพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ เรื่อง สมบัติเลขยกกำลัง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้เทคนิคเกมมิฟิเคชัน 148 ภัทรพล ว่องไว, ปนัดดา สังข์ศรีแก้ว, วรรณพล พิมพะสาลี 148 ผลการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค TGT ร่วมกับสื่อประสมเพื่อพัฒนาทักษะ การบวก ลบ คูณ หารจำนวนนับ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 161 วิไลภรณ์ มะระสาร, ณัฐพล หงษ์ทอง, ปนัดดา สังข์ศรีแก้ว 161 การพัฒนาแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เรื่องการแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสอง โดยใช้การจัดการเรียนรู้ แบบเชิงรุกร่วมกับแนวคิดเกมมิฟิเคชัน 175 จันทกานต์ เคอ, ณัฐพล หงษ์ทอง, ปนัดดา สังข์ศรีแก้ว 175 ผลการจัดกิจกรรมอันปลั๊กโค้ดดิ้งที่มีต่อการส่งเสริมทักษะสมองเพื่อชีวิตที่สำเร็จ กลุ่มทักษะพื้นฐานของเด็กปฐมวัย 190 อังคณา ชุมวงศ์, สุพรรณิการ์ ศรีสุวรรณ 190 การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษา และทักษะการคิดวิเคราะห์ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ GPAS 5 Steps และแอปพลิเคชัน Metaverse spatial เรื่องเศรษฐศาสตร์เบื้องต้น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6โรงเรียนฉวางรัชดาภิเษก 202 ธนาธิป รัตนพันธ์,แก้วใจ สุวรรณเวช 202 การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะในการทำงานกลุ่ม โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ 5ขั้นตอน รายวิชาประวัติศาสตร์ไทย เรื่อง วิธีการทางประวัติศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนชะอวด 214 อภิวัฒน์ ราชรักษ์, แก้วใจ สุวรรณเวช 214 การจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการทางภูมิศาสตร์และแอปพลิเคชัน Google Jamboard เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ วิชาสังคมศึกษา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 226 คณปัณ บุญพลับ , แก้วใจ สุวรรณเวช 226


ซ | ห น้ า เอกสารสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการครุศาสตร์วิชาการครั้งที่ 13 : นวัตกรรมการศึกษาพลิกโฉมการพัฒนา “วิชาชีพครูในยุคดิจิทัล” สารบัญ(ต่อ) เรื่อง หน้า ผลการจัดการเรียนรู้แบบใช้กิจกรรมเป็นฐานที่มีผลต่อทักษะการพูด ภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดพระมหาธาตุ 236 ภัทรวดี แก้ววิจิตร, ชลธิชา พรหมมณะ, วีรศักดิ์ ทวีเมือง, กิตติรัตน์ เกษตรสุทนร 236 การพัฒนาความสามารถการเขียนสะกดคำศัพท์ภาษาอังกฤษโดยใช้เกม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวัดพระมหาธาตุ 247 ปภาวี จินดามณี, ฐิติมา สาคร, วีรศักดิ์ ทวีเมือง, กิตติรัตน์ เกษตรสุทนร 247 การพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบเกมมิฟิเคชัน โดยใช้สื่ออันปลั๊กโค๊ดดิ้ง เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาลวัดศาลามีชัย 257 จุฬาลักษณ์ แสงชุม, ศรัณย์พร เมฆฉาย, พิมพ์ชนก พุ่มนุ่ม, อาทิตย์ อรุณศิวกุล, รัชนี สิทธิศักดิ์5 257 การพัฒนาความสามารถการอ่านสะกดคำภาษาไทย โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ Picture Me Reading ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านท่าแพราษฎร์พัฒนา 269 สุรีรัตน์ อักษรกาญจน์, ชนิตา สำเภาอินทร์ 269 การดัดแปลงวรรณคดีเรื่องรามเกียรติ์ในการแก้เหฺมฺรยบนหนังตะลุง ในจังหวัดนครศรีธรรมราช 280 ณัฐพล บัวจันทร์, ธาราทิพย์ เพ็งจันทร์, จุไรรัตน์ รัตติโชติ 280 การศึกษาการดำเนินงานรักษาความปลอดภัยของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 1 293 กัมปนาท นาคบัว, สถิรพร เชาวน์ชัย 293 ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ Active Learning ร่วมกับโปรแกรม GeoGebra ที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เรื่อง กราฟของ ฟังก์ชันกำลังสอง 302 กัญญาณัฐ ศรีหาราช, ประภาพร หนองหารพิทักษ์, ปวีณา ขันธ์ศิลา 302 การพัฒนาความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจ และการเขียนเรื่องตามจินตนาการ โดยใช้เทคนิค CIRC ร่วมกับแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนเรื่องบันเทิงคดี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 315 ชาญชนะ สิทธิศักดิ์, ศึกษา เบ็ญจกุล 315


เอกสารสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการครุศาสตร์วิชาการครั้งที่ 13 : นวัตกรรมการศึกษาพลิกโฉมการพัฒนา“วิชาชีพครูในยุคดิจิทัล” ห น้ า | 1 โรคใหม่ สร้างโลกแห่งการเรียนรู้การวัดและประเมินผลในชั้นเรียนยุคหลังโควิด New Disease Made World of Learning Classroom Assessment after Covid ภัทราพร เยาวรัตน์1 , นภัส พงศ์ภัสสร2 ,ธงไชย ภู่ถนนนอก3 ,แพรวพรรณ เปรมลาภ4 , จิณณ์ณิตา ทับทิม5 , สถิรพร เชาวน์ชัย6 Pataraporn Yaowarat1 , Napat Pongpassorn2 , Thongchai Phuthanonnok3 , Prawaparn Premlarp4 , Jinnita Tabtim5 , Sathiraporn Chaowachai6 บทคัดย่อ บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอแนวทางการวัดและประเมินผลในชั้นเรียนในการเตรียมรับความ ปกติใหม่ (New Normal) ที่จะเกิดขึ้นหลังโควิด 19 สำหรับผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอน ที่ต้องปรับเปลี่ยน การจัดการเรียนรู้ การวัดและประเมินผลเพื่อให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตใหม่ ซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับครูที่ต้อง ศึกษาทำความเข้าใจการจัดการเรียนรู้ต่าง ๆ เพื่อเลือกใช้วิธีการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับ ผู้เรียน และกำหนดแนวทางการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับสถานการณ์และรูปแบบการจัด การเรียนรู้ ในการวัดและประเมินผลในชั้นเรียนที่มีประสิทธิภาพนั้น ครูต้องประเมินผู้เรียนและให้ข้อมูลย้อนกลับ ที่ชัดเจนแก่ผู้เรียน และต้องกระตุ้นให้ผู้เรียนรับผิดชอบการเรียนของตนโดยใช้วิธีการประเมินตนเองจาก สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด – 19 เป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ผู้บริหารสถานศึกษา จะต้องมีการวางแผนการจัดการเรียนรู้ มีการปรับหลักสูตรทั้งระบบให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้อย่างมีความมีสุข เมื่อผู้เรียนมีความสุข การเรียนก็จะสนุก คำสำคัญ: การวัดและประเมินผลในชั้นเรียน, การประเมินตามสภาพจริง, โควิด 19 Abstract This article aimed to propose a guideline for measuring and evaluating learning in classroom after current situation of the COVID-19 outbreak to modify learning management measurement and evaluation according to new normal. Teachers need to study and understand various learning management to select a method for measuring and evaluating learning that is suitable for students and set guidelines for measurement and evaluation learning with the situation and learning style. Classroom Assessment teachers must assess students and feedback and must encourage students to take responsibility for their studies by using self-assessment methods. From 1,2,3,4,5 นิสิตปริญญาโท สาขาวิชา การบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร 1,2,3,4,5 Master student of Educational Administration, Faculty of Education, Naresuan University 6อาจารย์ สาขาวิชา การบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร 6 Assistant Professor Dr. of Educational Administration, Faculty of Education, Naresuan University Corresponding Author, E-mail: prawparnp64@nu.ac.th


2| ห น้ า เอกสารสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการครุศาสตร์วิชาการครั้งที่ 13 : นวัตกรรมการศึกษาพลิกโฉมการพัฒนา “วิชาชีพครูในยุคดิจิทัล situation of the COVID-19 outbreak is a factor that causes change, Administrators must have a learning management plan. The curriculum has been adjusted throughout the system so that students can learn happily when the students are happy learning will be fun. Keywords: Classroom Assessment, Authentic Assessment, COVID-19 บทนำ การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID - 19 มีผลกระทบกับภาคการศึกษาเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะ การออกคำสั่งให้หยุดเรียน ปิดสถานศึกษา และจัดให้มีการเรียนการสอนออนไลน์ เพื่อลดโอกาสของการแพร่ ระบาดของเชื้อไวรัส COVID - 19 ทั้งนี้ มีการประมาณว่า ในช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID – 19 มีผู้เรียนทั่วโลกมากกว่า 1,500 ล้านคน ที่ต้องหยุดการเรียนการสอนในสถานศึกษา และมีการปรับรูปแบบ การเรียนการสอนเป็นการเรียนทางไกล หรือการเรียนออนไลน์ที่บ้าน (พงศ์ทัศ วนิชานันท์, 2564) เมื่อวิกฤตการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID - 19 เริ่มคลี่คลายลง จากการที่ผู้เรียนได้รับ การจัดการเรียนรู้ส่วนใหญ่แบบออนไลน์นั้น ส่งผลให้ผู้เรียนเกิดภาวะถดถอยทางการเรียนรู้เมื่อกลับเข้าสู่ การเรียนรู้ในชั้นเรียนปกติ กล่าวคือผู้เรียนมีความรู้ไม่ถึงมาตรฐานการเรียนรู้ในระดับชั้นที่ตนอยู่ สำหรับประเทศไทยนั้นภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ของผู้เรียนไทยเกิดขึ้นในหลายมิติและในหลายช่วงวัย พบว่า ในมิติของความรู้ ผู้เรียนเกิดภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ด้านทักษะการอ่านและคณิตศาสตร์ คุณลักษณะของผู้เรียนที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น ไม่กล้าตอบคำถาม การขาดการมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ และทักษะชีวิต สัมพันธภาพและการทำงานร่วมกับผู้อื่นลดลง เป็นต้น (สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา ,2564) ดังนั้นการจัดการเรียนรู้จึงต้องมีการปรับเปลี่ยน รวมถึงการวัดและประเมินผลผู้เรียนย่อมมี การปรับเปลี่ยนให้เป็นแบบ New Normal ทั้งนี้เพื่อให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน การวัดและประเมินการเรียนรู้ในแบบ New normal มุ่งเน้นการประเมินตนเองของผู้เรียนและ สะท้อนคิดไปสู่การพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง (Self-assessment for improvement) เป็นการประเมิน ตนเองของผู้เรียน โดยใช้วิธีการและเครื่องมือประเมินที่มีคุณภาพ ผู้สอนมีบทบาท อำนวยความสะดวก ให้ผู้เรียนใช้วิธีการและเครื่องมือประเมินตนเอง แล้วนำผลการประเมินมาสะท้อนคิด (Reflection) และ ถอดบทเรียน (Lesson Learned) และปรับปรุงและพัฒนาตนเองในด้านต่าง ๆ ทั้งด้านการรู้คิด ทักษะ กระบวนการเรียนรู้ และคุณธรรมจริยธรรม ด้วยวิธีการที่สอดคล้องกับธรรมชาติของตนเอง (วิชัย วงษ์ใหญ่, 2563) ดังนั้น จะเห็นได้ว่าหลังจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID - 19 นั้นส่งผลกระทบ ต่อวงการการศึกษาอย่างมาก เกิดการถดถอยการเรียนรู้ของผู้เรียน (Learning Loss) ทำให้ผู้สอนจำเป็นต้อง ปรับตัวในการจัดการเรียนการสอนและปรับวิธีการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ในแบบปกติใหม่ (New normal) ซึ่งการประเมินการเรียนรู้ในแบบ New normal เป็นการเปลี่ยนแปลงจากการประเมินเพื่อตัดสินความรู้ ความสามารถของผู้เรียน (Judgement) มาเป็นการประเมินเพื่อพัฒนาการเรียนรู้(Assessment for learning) เน้นการให้ผู้เรียนประเมินตนเอง (Self-assessment) มากขึ้น ซึ่งจะช่วยส่งเสริมคุณลักษณะ การเป็น บุคคลแห่งการเรียนรู้ของผู้เรียนในระยะยาว


เอกสารสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการครุศาสตร์วิชาการครั้งที่ 13 : นวัตกรรมการศึกษาพลิกโฉมการพัฒนา“วิชาชีพครูในยุคดิจิทัล” ห น้ า | 3 การวัดและประเมินผลการวัดและประเมินผลในชั้นเรียนหลังช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อ COVID-19 ในปีที่การศึกษาที่ผ่านมาเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมากของโลกในอนาคตในทุกด้าน รวมทั้งด้าน การศึกษาด้วย ซึ่งส่งผลให้ทักษะผู้เรียนในการเรียนรู้และการดำรงชีวิตในอนาคตต้องเปลี่ยนตามไปด้วย การจัดการเรียนรู้จึงต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับการพัฒนาทักษะเหล่านั้นและรวมไปถึงการวัดและ ประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนก็ต้องปรับเปลี่ยนให้สอคล้องกับทักษะผู้เรียนที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว (Aghazadeh, 2019) กล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงการวัดและประเมินผลในศตวรรษที่ 21 มีเป้าหมายคือ มุ่งเตรียมผู้เรียนในการทำงานในอนาคตที่จะต้องมีการประเมินทักษะผู้เรียนในสถานการณ์ของชีวิตจริง ดังนั้นผู้สอนจึงต้องปรับการสอนของตนเองให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ทฤษฎีและได้ลงมือปฏิบัติการในสถานที่จริง โดยมีพี่เลี้ยงเป็นผู้ชี้แนะ ส่วนผู้สอนเป็นเพียงผู้คอยสังเกตอำนวยความสะดวก โดยเป็นการสังเกตและ ประเมินผลไปด้วยทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้สูงสุดซึ่งไม่ใช่แค่การประเมินความรู้เชิงทฤษฎีของผู้เรียนเท่านั้น การประเมินการเรียนรู้ตามสภาพจริงนับว่าเป็นการประเมินผลที่จำเป็นอย่างยิ่งในอนาคตที่สอดคล้อง กับการจัดการเรียนรู้ตามสภาพจริง เนื่องจากในอนาคตการเรียนรู้จะมุ่งเน้นไปที่การส่งเสริมให้ผู้เรียนเรียนรู้ ในแก่นของความรู้ที่ลึกซึ้งและนำไปใช้ได้จริงมากกว่าความรู้ที่เป็นพื้นฐานที่เรียนเพื่อรู้ และอนาคตจะมุ่งให้ ผู้เรียนใช้การคิดขั้นสูงมากขึ้นโดยผู้เรียนต้องแสวงหาความรู้เอง ปฏิบัติงานและการแก้ปัญหาในสภาพที่แท้จริง ของงาน ดังนั้นการประเมินตามสภาพจริงจึงต้องมีวิธีการและเครื่องมือในการประเมินที่สอดคล้องกับ การจัดการเรียนรู้ตามสภาพจริงในอนาคต เพราะการประเมินผู้เรียนตามสภาพจริง (Authentic assessment) เป็นการประเมินผู้เรียนที่มีความเที่ยงตรง มีความน่าเชื่อถือและสอดคล้องกับความสามารถที่แท้จริงของผู้เรียน มากที่สุด การประเมินตามสภาพจริง เป็นการประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนที่ใช้วิธีการที่หลากหลาย เน้นการประเมินทักษะการคิดที่ซับซ้อน ทักษะการทำงาน ความสามารถในการแก้ปัญหาและการแสดงออก ที่เกิดจากการปฏิบัติในสภาพจริง อยู่บนพื้นฐานของเหตุการณ์จริงในชีวิตจริง เน้นพัฒนาการที่ปรากฏเห็น ทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียนโดยมีผู้เกี่ยวข้องในการประเมินหลายฝ่ายและเกิดขึ้นได้ในทุกบริบทเท่าที่ จะเป็นไปได้ รวมทั้งเป็นการประเมินที่มีลักษณะแบบไม่เป็นทางการ (ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์, 2564) การประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนจึงต้องมีการปรับเปลี่ยนได้โดยไม่ใช่การประเมินตามเงื่อนไข มาตรฐานเดียวกันทั้งหมด มีการประเมินระดับบุคคลเป็นการประเมินที่เปิดเผยโดยผู้เรียนเข้ามามีส่วนร่วม ในการสร้างแบบประเมินหรือแบบทดสอบด้วย การวัดและประเมินในชั้นเรียนในอนาคตเป็นสิ่งที่ระบบ การศึกษาไทยต้องตระหนักถึงเป็นอย่างมาก เพราะการวัดและประเมินผลต้องมีความสอดคล้องกับความรู้ (Knowledge) ทักษะกระบวนการ (Process skill) และคุณลักษณะ (Attribute) ของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ไม่ใช่เพียงการประเมินความรู้เพียงอย่างเดียวเหมือนอย่างที่ผ่านมาในอดีตที่เน้นตัดสินผลการเรียนแค่ได้หรือ ตกโดยปรับเปลี่ยนมาเป็น “การประเมินเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน (Formative assessment)” และผู้เรียนสามารถดูผลการเรียนได้ทันทีโดยการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการประเมิน เช่น ระบบไลน์กลุ่ม Facebook หรือเว็บไซต์ รวมทั้งผู้ปกครองสามารถดูผลการเรียนของบุตรหลานได้ ทำให้ผู้เรียนทราบผล การเรียนของตนเองทันทีและตลอดเวลา เพื่อใช้ในการวางแผนพัฒนาตนเอง


4| ห น้ า เอกสารสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการครุศาสตร์วิชาการครั้งที่ 13 : นวัตกรรมการศึกษาพลิกโฉมการพัฒนา “วิชาชีพครูในยุคดิจิทัล การวัดและประเมินผลการวัดและประเมินผลในชั้นเรียนยุคหลัง COVID – 19 ครูเป็นบุคคลสำคัญ ในการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน ครูจึงต้องรู้ว่าการวัดและประเมินผลการเรียนรู้มีหลายหลายวิธี และครูต้องเลือกเทคนิคที่สอดคล้องกับวิธีการจัดการเรียนรู้ของตน โดยการวัดและประเมินผล OLA Model ได้นำหลักการการจัดการเรียนรู้ในความปกติใหม่ (New Normal) แบบ Active Learning มาเป็นฐานคิด เพื่อออกแบบ และองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดคือ การวัดและประเมินผลแบบ Assessment เพื่อให้ผู้เรียน ได้ทราบถึงผลการเรียนของตนเอง รู้ถึงจุดด้อย จุดเด่น และสามารถค้นพบแนวทางการพัฒนาตนเองได้ ซึ่งมีลักษณะเป็นการประเมินตาสภาพจริง ที่เอื้อตามสภาพการจัดการเรียนรู้ในความปกติใหม่ (New Normal) และสภาพผู้เรียนให้บรรลุตามจุดประสงค์การเรียนรู้(อุทุมพร จามรมาน, 2564) ภาพที่ 2 แสดงความสอดคล้องของจุดประสงค์การเรียนรู้ กระบวนการเรียนรู้ และการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ เมื่อ O คือ Objectives (จุดประสงค์การเรียนรู้) L คือ Learning (การจัดการเรียนรู้) A คือ Assessment (การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ผ่านการจัดการเรียนรู้) จะเห็นได้ว่าจุดประสงค์การเรียนรู้ (Objectives) เป็นสิ่งที่ต้องการให้เกิดกับผู้เรียน คือ เมื่อผู้เรียน สำเร็จการศึกษา ผู้เรียนมีความรู้ ทักษะ และคุณลักษณะตามที่สถานศึกษาต้องการ โดยเชื่อมโยงกับการจัด การเรียนรู้เป็นการนำจุดประสงค์ที่กำหนดไว้มาเป็นแนวทางการจัดการเรียนรู้ โดยการสร้างกิจกรรมภายใน และภายนอกห้องเรียน เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และบรรลุตามจุดประสงค์การเรียนรู้ที่ตั้งขึ้น โดยเป็น การจัดการเรียนรู้ตามความสภาพผู้เรียนที่เน้นกระบวนการเรียนรู้มากกว่าเนื้อหาวิชา เพื่อให้ผู้เรียนสามารถ เชื่อมโยงความรู้ หรือสร้างความรู้ให้เกิดขึ้นในตนเอง ด้วยการลงมือปฏิบัติจริง และการวัดและประเมินผล การเรียนรู้เป็นการประเมินที่เน้นให้ผู้เรียนปฏิบัติ ในสถานการณ์จริงหรือสถานการณ์จำลอง หรือเป็น การปฏิบัตินอกห้องเรียน หรือที่บ้าน แล้วเก็บผลงานไว้ โดยอาจเก็บไว้ในแฟ้มสะสมผลงาน และครูเรียกมา ประเมินภายหลัง สถานการณ์ที่ประเมินเป็นสถานการณ์ที่ประเมินผู้เรียนได้หลายมิติทั้งความรู้ ทักษะ และ คุณลักษณะของผู้เรียน และครูมีเกณฑ์การวัดและประเมินที่ชัดเจน


เอกสารสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการครุศาสตร์วิชาการครั้งที่ 13 : นวัตกรรมการศึกษาพลิกโฉมการพัฒนา“วิชาชีพครูในยุคดิจิทัล” ห น้ า | 5 รูปแบบการวัดและประเมินในชั้นเรียนหลังช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อ COVID-19 จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ทำให้การจัดการเรียนการสอนมีแบบที่ เปลี่ยนแปลงไปหลากหลายรูปแบบ ส่งผลให้การวัดและประเมินผลของผู้เรียนนั้นจะต้องมีการใช้การวัดและ ประเมินในรูปแบบที่หลากหลายสอดคล้องกับความต้องการและบริบทของผู้เรียน โดยรูปแบบการวัดและ ประเมินผลนั้นเป็นทั้งรูปแบบออนไลน์และออฟไลน์ โดยรูปแบบการวัดและประเมินผลตามจุดมุ่งหมายภายใต้ สถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อไวรัส COVID - 19 มีดังต่อไปนี้ การวัดและประเมินผลย่อย (Formative Assessment) เป็นการวัดและประเมินเพื่อให้รู้จุดเด่น จุดที่ควรปรับปรุงเพื่อนำข้อมูลไปพัฒนาผู้เรียน เป็นการปรับปรุงผู้เรียนเพื่อดูความก้าวหน้า เป็นการประเมิน เพื่อการเรียนรู้ (Assessment for Learning) ในคาบเรียน โดยให้ผู้เรียนสามารถเข้าใจในความรู้ เพิ่มพูน ความรู้ใหม่และสามารถพัฒนาตนเองได้ตรงจุดมุ่งหมายการเรียนรู้ในการประเมินเพื่อการเรียนรู้ในสถานการณ์ การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID - 19 ผู้สอนต้องใช้วิธีการและเครื่องมือที่หลากหลาย เหมาะสมกับวัย และบริบทของผู้เรียนและสอดคล้องกับพฤติกรรมที่ต้องการจะวัด เช่น การสังเกตพฤติกรรม การซักถาม การระดมความคิดเห็น การประเมินโครงงาน การประเมินชิ้นงาน การใช้แฟ้มสะสมผลงาน การประเมินตนเอง การประเมินตามสภาพจริง เป็นต้น โดยการวัดและประเมินผลในสถานการณ์การแพร่ระบาดไวรัส COVID - 19 ผู้สอนควรจัดทำแนวทางการพัฒนาตนเองของผู้เรียน โดยมีการให้ผู้เรียนพัฒนาตนเองผ่านการเสนอ องค์ความรู้ต่าง ๆ มอบหมายให้ผู้เรียนปฏิบัติงานและมีการประเมินตนเองอย่างต่อเนื่อง โดยผู้สอนต้องเปิด โอกาสให้ผู้เรียนสามารถประเมินตนเอง และจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากผู้ปกครองให้เข้ามามีส่วนร่วม ในการประเมินผลและสะท้อนข้อมูลกลับไปยังผู้สอนอย่างต่อเนื่องผ่านช่องทางสื่อสารต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น LINE, Facebook เพื่อให้ผู้สอนสามารถรู้พัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนได้ การวัดและประเมินผลเพื่อตัดสินผลการเรียน (Summative Assessment) เป็นการวัด เพื่อสรุปผลการเรียนเพื่อตัดสินให้คะแนนในรายวิชา หรือเป็นการให้ระดับผลการเรียน เพื่อพิจารณาว่าผู้เรียน ควรผ่านรายวิชาหรือควรเลื่อนชั้นหรือไม่ ซึ่งการวัดเพื่อตัดสินผลการเรียนควรเป็นการประเมินความก้าวหน้า ทางการเรียนรู้ของผู้เรียนทั้งด้านความรู้ ด้านทักษะ และด้านเจตคติ มากกว่าการวัดว่าผ่าน หรือไม่ผ่าน (ศศิธร บัวทอง, 2560) โดยในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID - 19 ควรใช้วิธีการหรือ การทดสอบที่เหมาะสมกับผู้เรียน เช่น การทดสอบแบบออนไลน์ โดยมีการนัดหมายช่วงเวลาในการทดสอบกับ ผู้เรียนล่วงหน้า นอกจากนั้นผู้สอนอาจใช้วิธีการจัดส่งข้อสอบให้ผู้เรียนทำที่บ้าน และให้ผู้เรียนจัดส่งข้อสอบ คืนผ่านผู้สอนในช่องทางสื่อสารออนไลน์ต่างๆ และในการวัดและประเมินผลของผู้เรียนไม่จำเป็นต้องใช้ การทดสอบเพียงอย่างเดียว แต่สามารถยืดหยุ่นได้ตามสถานการณ์ เช่น การประเมินจากชิ้นงานของผู้เรียน ด้วยรูปแบบวิธีการต่าง ๆ แล้วนำมาสรุปผลเพื่อตัดสินโดยภาพรวม เป็นต้น (สำนักทดสอบทางการศึกษา, 2564) รูปแบบการวัดและประเมินผลตามมาตรฐานและตัวชี้วัดของผู้เรียนสามารถใช้รูปแบบให้เหมาะสมกับ ลักษณะของพฤติกรรมที่ต้องการวัดเพื่อนำไปสู่คุณภาพผู้เรียน ผู้สอนสามารถปฏิบัติตามแนวทาง (ทิศนา แขม มณี, 2551) ดังนี้


6| ห น้ า เอกสารสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการครุศาสตร์วิชาการครั้งที่ 13 : นวัตกรรมการศึกษาพลิกโฉมการพัฒนา “วิชาชีพครูในยุคดิจิทัล 1. ด้านความรู้ (Knowledge) การวัดและประเมินผลใช้แบบทดสอบเป็นหลัก อาจใช้วิธีการทดสอบ ที่หลากหลาย ทั้งรูปแบบออนไลน์ คือ นัดหมายการทดสอบกับผู้เรียนล่วงหน้า ซึ่งข้อสอบที่ใช้มีทั้งข้อสอบแบบ อัตนัย ข้อสอบแบบตอบสั้นๆ ข้อสอบแบบเติมคำ ข้อสอบแบบจับคู่ เป็นต้น และจัดส่งข้อมูลผ่านช่องทาง เทคโนโลยีต่าง ๆ อีกทั้งมีในรูปแบบออฟไลน์ โดยผู้เรียนสามารถสอบได้ที่บ้านได้ 2. ด้านทักษะกระบวนการ (Process skill) การวัดและประเมินผลด้านทักษะกระบวนการ เป็นการประเมินจากสภาพจริง (Authentic Assessment) เน้นการปฏิบัติโดยมีเครื่องมือการวัดที่หลากหลาย เป็นการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (Child Center) ซึ่งทำให้ผู้เรียนได้แสดงศักยภาพ ของตนเองเต็มตามความสามารถ ซึ่งเน้นการบูรณาการศาสตร์ต่างๆ เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ใกล้เคียงกับ ความเป็นจริงของชีวิตประจำวันของผู้เรียน โดยเน้นการสร้างสรรค์ผลงานของผู้เรียน (สมนึก ภัททิยธนี, 2562) สำหรับวิธีการจัดส่งงาน สามารถทำได้ผ่านการถ่ายภาพ ถ่ายวิดีทัศน์ การบันทึกเสียง การถ่ายผลงาน ของผู้เรียน ผ่านช่องทางสื่อสารต่างๆ โดยให้ผู้ปกครองได้เข้ามามีส่วนร่วมในการประเมินทักษะของผู้เรียน โดยมีการใช้แบบประเมินที่หลากหลาย ได้แก่ การใช้แบบประเมินการปฏิบัติงาน แบบตรวจสอบรายการ แบบบรรยายการปฏิบัติงาน เป็นต้น โดยผู้สอนสามารถเข้าไปตรวจเยี่ยมบ้านของผู้เรียนเพื่อประเมินและ ตรวจสอบความสามารถด้านทักษะของผู้เรียนได้โดยพิจารณาถึงความปลอดภัยและมาตรการของพื้นที่ 3. ด้านคุณลักษณะ (Attribute) การวัดและประเมินผลด้านคุณลักษณะใช้การสังเกตพฤติกรรม โดยมีการใช้เครื่องมือวัดและประเมินผลหลากหลาย เช่น แบบสัมภาษณ์ แบบสังเกต แบบประเมินตนเอง แบบตรวจสอบรายการ โดยมีการประสานงานขอความร่วมมือผู้ปกครองในการประเมินพฤติกรรมผู้เรียนผ่าน การมอบหมายการปฏิบัติงาน การทำกิจกรรมที่บ้าน เป็นต้น รูปแบบการวัดและประเมินในชั้นเรียนภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID – 19 จำเป็นต้องมีช่องทางการสื่อสารทั้งในรูปแบบเป็นทางการและไม่เป็นทางการ ดังนั้นเนื้อหาที่ใช้ในการจัดการ เรียนรู้ส่วนใหญ่จะประกอบด้วยข้อมูล รูปภาพ เสียง วิดีโอ ซึ่งผู้เรียนและผู้สอนจะปฏิสัมพันธ์ผ่านระบบ การสื่อสารทั้งในระหว่างการเรียนการสอน และการวัดและประเมินผล ซึ่งช่องทางสำหรับการติดต่อสื่อสาร เพื่อขอคำปรึกษา หรือแลกเปลี่ยนความคิดเห็นก็จะสามารถดำเนินการผ่านช่องทาง Facebook, E-mail, Line และโทรศัพท์ (ปิยะสุดา เพชราเวช และพระครูกิตติวราทร, 2564) โดยผู้สอนต้องคำนึงถึงสภาพบริบท วัยของผู้เรียน เน้นการวัดและประเมินผลจากสภาพจริงของผู้เรียน เน้นการปฏิบัติจริงของผู้เรียนที่ไม่เน้นเพียง แบบทดสอบ และมีการประเมินโดยใช้วิธีการที่หลากหลาย นอกจากนั้นในสถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อไวรัส COVID - 19 ในบางพื้นที่สามารถนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในการวัดและประเมินผลเพื่อให้เกิดความสะดวก ระหว่างผู้เรียนและผู้สอน ทั้งนี้การนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในการวัดและประเมินผล ผู้สอนควรมีการสร้าง ความเข้าใจและนำมาปรับใช้ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ซึ่งสามารถส่งผลให้เกิดการกระตุ้นการเรียนรู้ ของผู้เรียนในช่วงการเรียนการสอนผ่านออนไลน์ได้ ทั้งนี้การวัดและประเมินผลแบบออนไลน์ต้องคำนึงถึง สภาพบริบท ความเหมาะสมและความปลอดภัยของแต่ละพื้นที่ของผู้เรียน


เอกสารสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการครุศาสตร์วิชาการครั้งที่ 13 : นวัตกรรมการศึกษาพลิกโฉมการพัฒนา“วิชาชีพครูในยุคดิจิทัล” ห น้ า | 7 เครื่องมือการวัดและประเมินผลในชั้นเรียนที่เหมาะสมหลังช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อ COVID-19 การวัดและประเมินผลในชั้นเรียนที่เหมาะสมหลังช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดชองเชื้อ COVID-19 จำเป็นที่จะเลือกวิธีการวัดและสร้างจำเป็นที่จะเลือกวิธีการวัดและสร้าง เครื่องมือที่ใช้ในการวัดผลการจัด การเรียนรู้ของครูผู้สอนที่มีความสอดคล้องกับจุดประสงค์ของการจัดการเรียนรู้ ลักษณะรูปแบบของ การจัดการเรียนรู้ เครื่องมือวัดมีความเหมาะสมพัฒนาการของผู้เรียน และความพร้อมของผู้เรียนในด้านสื่อ อุปกรณ์ในการเรียน โดยการเลือกเครื่องมือในการวัดผลของผู้เรียนหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อ โควิด-19 โดยใช้แอปพลิเคชันในการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ ที่สร้างความท้าทายให้กับผู้เรียนและผู้สอน เป็นการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงวิธีการวัดและประเมินผล ความรู้ ทักษะ และคุณลักษณะ ของผู้เรียน ให้มีความ ทันสมัยและตอบสนองพฤติกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียน แอปพลิเคชัน ที่สามารถตอบสนองการวัดผลการเรียนรู้ ได้หลายรูปแบบ ได้แก่ 1. Plickers ผู้สอนสามารถใช้เป็นเครื่องมือการประเมินผู้เรียน โดยโหลดแอปพลิเคชัน Plickers และ กระดาษคำตอบ สามารถโหลดได้ในเว็บ (www.plickers.com) และพิมพ์ออกมา ตัวใบคำตอบของแต่ละคน จะหน้าตาไม่เหมือนกัน ลักษณะหน้าตาเหมือน QR Code สามารถพลิกได้ 4 ด้านเพื่อเปลี่ยนคำตอบ A-B-C-D เป็นเครื่องมือที่ถูกออกแบบมาอย่างเรียบง่าย โดยที่ผู้เรียนไม่จำเป็นจะต้องมีมือถือ คอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์ใด ๆ จึงทำให้ Plickers เป็นเครื่องมือที่เข้าถึงนักเรียนได้ทุกพื้นที่ 2. Kahoot! เป็นโปรแกรมที่ใช้ตอบคำถาม คำตอบทางออนไลน์ พร้อมสรุปผลคะแนน คนที่ได้คะแนน มากที่สุด เรียงลำดับ และรายบุคคล ด้วยการเล่นผ่านระบบออนไลน์ที่นักเรียนจะต้องเล่นผ่านคอมพิวเตอร์ สมาร์ตโฟน หรือแท็บเลต เชื่อมต่อเข้าสู่ระบบ เพื่อระบุชื่อคนเล่น เก็บคะแนนหรือแข่งขันกัน ซึ่งครูสามารถ ตั้งคำถามและเฉลยคำตอบเพื่อให้นักเรียนเล่นเกมแข่งขันกันได้ 3. Socrative เป็นแอปพลิเคชันที่ช่วยสร้างแบบทดสอบเพื่อประเมินผลนักเรียนแบบออนไลน์ สามารถแสดงผลการสอบได้ทันที รองรับทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ สามารถใส่ภาพประกอบคำอธิบายต่าง ๆ เพื่อให้ผู้เรียนพิมพ์คำตอบ จุดเด่นที่สำคัญคือ ผู้เรียนสามารถทำข้อสอบผ่านอุปกรณ์หลากหลายแพลตฟอร์ม (Platform) ที่เชื่อมต่อระบบอินเทอร์เน็ตได้ เช่น โทรศัพท์มือถือสมาร์ตโฟน แท็บเล็ต และเครื่องคอมพิวเตอร์ 4. Zipgrade เป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับตรวจคำตอบประเภทปรนัยที่สามารถแสดงผลได้ทันที โดยใช้ร่วมกับกระดาษที่ทางแอปพลิเคชันนี้ได้ทำขึ้น สำหรับใช้ในการประเมินผลต่าง ๆ โดยการใช้สมาร์ตโฟน หรือแท็บเลตสแกนเพื่อตรวจคำตอบ สามารถรองรับคำตอบที่ใช้ปากกาสีแดง สีน้ำเงินและดินสอสีดำได้ มีความรวดเร็วแม่นยำในการประมวลผล ไม่เกิน 5 นาทีต่อ 1 แผ่น สามารถบอกค่าเฉลี่ย ค่าสูงสุดต่ำสุดของ คะแนนสอบ และค่าสถิติของตัวข้อสอบได้ 5. Quizizz เป็นเครื่องมือที่ช่วยสร้าง แบบทดสอบออนไลน์ (e-Testing) ผู้เรียนทำแบบทดสอบผ่าน อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ที่เชื่อมต่อระบบ Internet ผู้เรียนทราบผลการสอบทันที และผู้สอน ได้รับรายงาน (Report) ผลการสอบและบันทึกลงเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ เหมาะกับการนำมาประยุกต์ใช้กับ การทำข้อสอบ ก่อนเรียน หลังเรียนเพื่อวัดผลการเรียนรู้ของผู้เรียน หรือจัดกิจกรรมการสอบแบบเกมเพื่อเพิ่มความสนุกสนาน ในการเรียนได้


8| ห น้ า เอกสารสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการครุศาสตร์วิชาการครั้งที่ 13 : นวัตกรรมการศึกษาพลิกโฉมการพัฒนา “วิชาชีพครูในยุคดิจิทัล 6. Google Form เป็นเครื่องมือที่ช่วยสร้างแบบทดสอบออนไลน์ ผู้เรียนสามารถทำแบบทดสอบผ่าน อุปกรณ์ได้อย่างหลากหลายภายใต้เครือข่ายอินเตอร์เน็ต เช่น โทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ เป็นต้น ครูผู้สอนสามารถสร้างแบบทดสอบได้หลายรูปแบบทั้งแบบปรนัยและอัตนัย สามารถแทรกรูปภาพ คลิปวิดีโอ ในการสร้างข้อคำถาม เพื่อให้ผู้เรียนเห็นภาพและเข้าใจข้อคำถามได้อย่างชัดจน ดังนั้นในสร้างเครื่องมือในการวัดและประเมินหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 นั้นควรคำนึงถึงคุณภาพของเครื่องมือที่มีความครอบคลุมพฤติกรรมทั้ง 3 ด้าน คือ ด้านพุทธิพิสัย ที่เน้นการใช้ แบบทดสอบวัดผลการเรียนรู้ ส่วนด้านจิตพิสัยและทักษะพิสัย เลือกใช้แอปพลิเคชันที่เหมาะสมกับลักษณะ ของสิ่งที่จะต้องการวัด พัฒนาการหรือช่วงวัยของผู้เรียน ตลอดจนความพร้อมของเครื่องมือสื่อสารที่ผู้เรียน จะใช้ในกระบวนการวัดและประเมินผล โดยเครื่องมือวัดและประเมินผลที่ใช้แอปพลิเคชันต่าง ๆ เหล่านี้ จะเป็นตัวช่วยสำคัญที่ทำให้การวัดและประเมินผลเป็นไปอย่างสะดวกรวดเร็ว ครูผู้สอนได้นำข้อมูลที่ได้ไป ปรับแก้กระบวนการจัดการเรียนรู้ ตัวนักเรียนก็ได้รับรู้พัฒนาการของตนเองในการเรียนรู้และพัฒนาตนเอง ในการเรียนรู้ให้ดียิ่งขึ้น บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการวัดและประเมินผลหลังสถานการณ์โควิด ผู้บริหารสถานศึกษามีบทบาทสำคัญการส่งเสริมกระบวนการจัดการเรียนรู้และการวัดประเมินผลการเรียนรู้ 1. ส่งเสริมให้ครูมีความรู้เกี่ยววัดและประเมินผลการเรียนรู้ด้วยวิธีการที่หลากหลาย โดยจัดอบรมหรือ ให้ความรู้ในการวางแผนเพื่อหาแนวทางการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับธรรมชาติของผู้เรียน 2. จัดหาเครื่องมือหรืออุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ช่วยส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ที่ตอบสนองต่อสถานการณ์ ที่เปลี่ยนไปหลังจากการเกิดการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด -19 ตลอดจนส่งเสริมการใช้เครื่องมือที่มีความ ทันสมัย ประมวลผลได้อย่างรวดเร็ว เพื่อให้เกิดการพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง 3. ส่งเสริมพื้นที่มีพื้นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้กระบวนการจัดการเรียนรู้และการวัดประเมินผลของ ครูผู้สอนในโรงเรียน เช่น กระบวนการ PLC คุณภาพที่จะช่วยให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้วิธีการจัดการเรียนรู้ ของครู เพื่อรับฟังปัญหาที่เกิดขึ้นในการจัดกระบวนการเรียนรู้และร่วมกันหาวิธีการแก้ปัญหา 4. ประสานความร่วมมือกับชุมชนและผู้ปกครอง หลังช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ภายหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 พบว่า นักเรียนเกิดภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ทั้งในมิติ ของความรู้และมิติความสัมพันธ์ทางสังคม จำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้บริหารสถานศึกษาจะต้องมีการประสาน ความร่วมมือกับชุมชนและผู้ปกครองนักเรียนโดยการสื่อสารเกี่ยวกับการจัดกระบวนการเรียนรู้และการวัด และประเมินผล สื่อสารให้ผู้ปกครองรับทราบบทบาทของครูและสนับสนุนให้ผู้ปกครองมีบทบาทในการเป็น ผู้ประเมินคุณภาพนักเรียน ดังนั้นผู้บริหารสถานศึกษาควร เปิดโอกาสให้ครูมีส่วนร่วมในการวางแผนกำหนดแนวปฏิบัติในการวัด และประเมินผลตามสภาพจริงด้วยเครื่องมือการวัดและวิธีการที่หลากหลาย เปิดโอกาสให้นักเรียนมีส่วน ร่วมกับครูในการประเมินกิจกรรมการเรียนการสอน มีการรวบรวมรายงานผลและจัดข้อมูลสารสนเทศแล้ว สรุปผลตัดสินใจในการเลือกใช้เทคนิคและวิธีการวัดและประเมินผลที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนการสอน ให้เหมาะสมกับสภาพของผู้เรียน


เอกสารสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการครุศาสตร์วิชาการครั้งที่ 13 : นวัตกรรมการศึกษาพลิกโฉมการพัฒนา“วิชาชีพครูในยุคดิจิทัล” ห น้ า | 9 บทสรุป การวัดและประเมินผลการวัดและประเมินผลในชั้นเรียนยุคหลัง COVID - 19 และอยู่ภายใต้มาตรการ ควบคุมการแพร่ระบาดของภาครัฐ สถานศึกษาจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบวิธีการจัดการ เรียนรู้และการวัดและประเมินผลซึ่งทำให้เกิดแนวทาง (New Normal) การวัดและประเมินผลตามสภาพจริง ของผู้เรียนที่สอดคล้องกับชีวิตประจำวันของผู้เรียนเป็นการตอบโจทย์และทันต่อสถานการณ์ การประเมินผล การเรียนจึงต้องมีการประเมินที่ปรับเปลี่ยนได้โดยไม่ใช่การประเมินตามเงื่อนไขมาตรฐานเดียวกันทั้งหมด โดยผู้เรียนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการสร้างแบบประเมินหรือแบบทดสอบด้วย และให้ผู้เรียนได้นำสิ่งที่จะ ประเมินไปศึกษาพิจารณาและคิดหาคำตอบมาอย่างรอบคอบให้ได้คำตอบที่ถูกต้องสมเหตุสมผลมากที่สุด ซึ่งจะเป็นการแสดงศักยภาพที่แท้จริงของผู้เรียนออกมาและผู้เรียนสามารถนำความรู้ ทักษะ คุณลักษณะ เหล่านั้นที่ได้ไปใช้ในชีวิตจริงได้ การวัดและประเมินผลในชั้นเรียนยุคหลัง COVID – 19 ด้วยการที่โลกเปลี่ยนไปอย่างมากและความ เจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Information and Communication Technology : ICT) จึงทำให้การวัดและประเมินผลมีความแตกต่างไปจากยุคก่อนอย่างชัดเจน โดยเลือกใช้วิธีการประเมิน การเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียนเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่มย่อย เพื่อให้การประเมินเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เกิดความยุติธรรมในการประเมิน และเป็นการใช้กระบวนการประเมินเป็นตัวกระตุ้นให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่าง ต่อเนื่อง โดยมีเครื่องมือการวัดที่ทันสมัย ใช้แอปพลิเคชันและสื่อออนไลน์ต่าง ตลอดจนมีการประสานความ ร่วมมือกับชุมชนและผู้ปกครองในการมีส่วนร่วมในการวัดและประเมินผลการจัดการเรียนรู้ เอกสารอ้างอิง ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2564). การจัดการเรียนรู้ เพื่อการเปลี่ยนแปลง. กรุงเทพฯ: บริษัท เอ็มดี ออล กราฟฟิก ทิศนา แขมมณี. (2551). รูปแบบการเรียนการสอน. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย. ปิยะสุดา เพชราเวช และพระครูกิตติวราทร. (2564). แนวทางการวัดผลประเมินผลการเรียนรู้ใน ยุคโควิด. วารสารนัมฏองแหรกพุทธิศาสตร์ปริทรรศน์. ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 : กรกฎาคม - ธันวาคม 2564. พงศ์ทัศ วนิชานันท์. (2564). การศึกษาขั้นพื้นฐานในยุคโควิด -19 : จะเปิด-ปิดโรงเรียนอย่างไร [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 9 กันยายน 2565. จาก https://tdri.or.th/2020/05/basic-education-incovid-19-crisis-reopening-school-after-lockdown/ วิชัย วงศ์ใหญ่. (2563). New Normal ทางการเรียนรู้. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สมนึก ภัททิยธนี. (2562). การวัดผลการศึกษา. กาฬสินธิ์: กาฬสินธุ์การพิมพ์ สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2564). รายงานผลการศึกษาภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ ของผู้เรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานในสถานการณ์โควิด – 19 : สภาพการณ์ บทเรียน


10| ห น้ า เอกสารสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการครุศาสตร์วิชาการครั้งที่ 13 : นวัตกรรมการศึกษาพลิกโฉมการพัฒนา “วิชาชีพครูในยุคดิจิทัล และแนวทางการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: ม.ป.ป. อุทุมพร จามรมาน. (2564). การวัด ประเมินผลการเรียนรู้ของนักเรียนยุคโควิด -19. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 9 กันยายน 2565. จาก http://www.pecerathailand.org/2022/06/2643.html Aghazadeh, S. (2019). Assessment of 21st century Skills (NIE Working Paper Series No.14). Singapore: National Institute of Education.


เอกสารสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการครุศาสตร์วิชาการครั้งที่ 13 : นวัตกรรมการศึกษาพลิกโฉมการพัฒนา“วิชาชีพครูในยุคดิจิทัล” ห น้ า | 11 ความเข้าใจเชิงความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ในชั้นเรียนที่ใช้วิธีการแบบเปิด The 2nd Grade Students' Mathematical Conceptual Understanding in Classroom Using Open Approach รสนา สำลี1 , สุดาทิพย์ หาญเชิงชัย2 , ศศลักษณ์ ขลิกคำ3 Rossana samlee1 , Sudatip Hancherngchai2 , Sasaluk Kligkum3 บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ความเข้าใจเชิงความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์ของ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ในชั้นเรียนที่ใช้วิธีการแบบเปิด การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วย วิธีการวิจัยเชิงชาติพันธุ์วรรณาและการทดลองเชิงการสอน กลุ่มเป้าหมายใช้การคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 26 คน โรงเรียนเทศบาลวัดขจรรังสรรค์สังกัดเทศบาลนครภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต ซึ่งเป็นโรงเรียนที่ใช้นวัตกรรมการศึกษาชั้นเรียนและวิธีการแบบเปิดมาตั้งแต่ปีการศึกษา 2562 เครื่องมือที่วิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 3 แผน เครื่องบันทึกเสียง เครื่องบันทึกภาพนิ่งและ วีดิทัศน์ เก็บรวบรวมข้อมูลในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 โดยการบันทึกวีดิทัศน์ ภาพนิ่งและเสียง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์โพรโตคอลและการบรรยายเชิงวิเคราะห์ ตามกรอบแนวคิดวิธีการแบบเปิดของ Inprasitha (2010) และกรอบแนวคิดความเข้าใจเชิงความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์ของ Kilpatrick et al. (2001) ผลการวิจัยพบว่า ความเข้าใจเชิงความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ในชั้นเรียนที่ใช้วิธีการแบบเปิด มีดังนี้ 1) นักเรียนอธิบาย ให้เหตุผล นำเสนอวิธีการคิดของตนเองกับเพื่อน และนำความรู้จากคาบก่อนหน้ามาใช้ในการแก้ปัญหา 2) นักเรียนเขียนประโยคสัญลักษณ์การลบแสดงถึง สถานการณ์ที่กำหนดให้และวาดบล็อกแสดงวิธีการคำนวณ และ 3) นักเรียนอธิบายความสัมพันธ์ของการใช้ บล็อกและวิธีการคำนวณในแนวตั้ง และอธิบายความสัมพันธ์ของแต่ละสถานการณ์ว่ามีความเหมือนหรือ แตกต่างกัน คำสำคัญ : ความเข้าใจเชิงความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์, นักเรียน, วิธีการแบบเปิด 1นักศึกษาสาขาวิชาคณิตศาสตร์ (คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต และอีเมล rossana2542@gmail.com) 1Mathematics Student (Faculty of Education, Phuket Rajabhat University, Email: rossana2542@gmail.com) 2 อาจารย์ประจำวิชาเอกคณิตศาสตร์ (คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต และอีเมล sudatip_h@pkru.ac.th) 2 Lecturer of Mathematics Department (Faculty of Education, Phuket Rajabhat University, Email: sudatip_h@pkru.ac.th) 3 ครูชำนาญการพิเศษ (โรงเรียนเทศบาลวัดขจรรังสรรค์ จังหวัดภูเก็ต และอีเมล waraly@hotmail.co.th ) 3 Senior Professional Level Teachers (Wat Kajorn Rangsan Municipal School, Phuket, Email: waraly@hotmail.co.th)


12| ห น้ า เอกสารสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการครุศาสตร์วิชาการครั้งที่ 13 : นวัตกรรมการศึกษาพลิกโฉมการพัฒนา “วิชาชีพครูในยุคดิจิทัล Abstract The objectives of the research were to analyze students’ mathematics conceptual understanding in the classroom using an open approach. A qualitative method, ethnographic study, and teaching experiments were used as methodology. The target group was students 26 people in the 2nd grade of Wat Kajorn Rangsan Municipal School, Phuket province which used Lesson Study and Open Approach innovation since 2020. Research tools were 3 lesson plans, IC, camera, and video recorders. Data were collected in the first semester 2022 academic year by recorded video, camera, and IC record. Data were analyzed by using protocol and descriptive analysis following to theoretical framework of Open Approach of Inprasitha (2010) and conceptual understanding of Kilpatrick et al. (2001). Research results revealed that in the classroom using the open approach the students’ mathematics conceptual understanding includes (1) students describing, reasoning, presenting their ideas with friends, and taking previous knowledge to solve the problem (2) students writing the subtraction symbolic sentences to a given situation and drawing blocks to represent how to calculations, and (3) students describing the relationship between blocks and calculate vertical method, and explaining the relationship between the situations were similarly or difference. Keywords: Mathematical conceptual understanding, Students, Open Approach 1. บทนำ คณิตศาสตร์มีบทบาทสำคัญยิ่งต่อความสำเร็จในการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เนื่องจากคณิตศาสตร์ ช่วยให้มนุษย์มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ คิดอย่างมีเหตุผล เป็นระบบ มีแบบแผน สามารถวิเคราะห์ปัญหาหรือ สถานการณ์ได้อย่างรอบคอบและถี่ถ้วน ช่วยให้คาดการณ์ วางแผน ตัดสินใจ แก้ปัญหาได้อย่างถูกต้อง เหมาะสมและสามารถนำไปใช้ในชีวิตจริงได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้คณิตศาสตร์ยังเป็นเครื่องมือ ในการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและศาสตร์อื่น ๆ อันเป็นรากฐานในการพัฒนาทรัพยากรบุคคลของ ชาติให้มีคุณภาพและพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศให้ทัดเทียมกับนานาชาติ (กระทรวงศึกษาธิการ, 2560) แม้ว่าคณิตศาสตร์เป็นวิชาที่มีความสำคัญ แต่การจัดการศึกษาของประเทศไทยยังไม่ประสบความสำเร็จ เท่าที่ควร มีนักเรียนจำนวนไม่น้อยที่ยังขาดทักษะกระบวนการทั้งการแก้ปัญหา การให้เหตุผล การสื่อสารและ นำเสนอแนวคิด การเชื่อมโยงเนื้อหาและความคิดสร้างสรรค์ ส่งผลให้นักเรียนไม่สามารถนำความรู้คณิตศาสตร์ ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างมีประสิทธิภาพ (สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 2555) เนื่องจากไม่มีวิธีสอนใดดีที่สุดที่จะช่วยให้นักเรียนแก้ปัญหาได้ นอกจากให้นักเรียนลงมือแก้ปัญหาด้วยตนเอง ดังนั้นนักเรียนควรได้เรียนรู้ ได้คิด อธิบายและเปรียบเทียบแนวคิดที่หลากหลายจนเกิดเป็นกระบวนการ แก้ปัญหาของตนเอง (ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์, 2558)


เอกสารสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการครุศาสตร์วิชาการครั้งที่ 13 : นวัตกรรมการศึกษาพลิกโฉมการพัฒนา“วิชาชีพครูในยุคดิจิทัล” ห น้ า | 13 เป้าหมายของการเรียนคณิตศาสตร์คือเพื่อพัฒนาและเข้าใจความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์และ ความสัมพันธ์เหล่านั้นอย่างลึกซึ้ง โดยที่นักเรียนต้องสามารถสร้างสรรค์ เปรียบเทียบและใช้การแสดงแทนได้ อย่างหลากหลาย (National Council of Teacher Mathematics [NCTM], 2000) ความเข้าใจเชิงความคิด รวบยอดไม่ใช่เพียงแค่รู้ข้อมูลเท่านั้นแต่นักเรียนต้องสามารถตีความข้อมูลในรูปแบบต่าง ๆ อย่างมีความหมาย (Nahdi & Jatisunda, 2019) และ Kilpatrick et al. (2001) ได้กล่าวว่าความเข้าใจเชิงความคิดรวบยอด เกี่ยวข้องกับการบูรณาการและการทำความเข้าใจในแนวคิดทางคณิตศาสตร์ ประกอบด้วย ความเข้าใจ เกี่ยวกับความคิดรวบยอด ความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินการ ความเข้าใจเกี่ยวกับความสัมพันธ์ และไมตรี อินทร์ประสิทธิ์ (2558) กล่าวว่า ความเข้าใจเชิงความคิดรวบยอด หมายถึงการเข้าถึงแนวคิดทางคณิตศาสตร์ เชิงบูรณาการและเชิงความสัมพันธ์ ซึ่งได้แก่ ความเข้าใจเกี่ยวกับสาระสำคัญทางคณิตศาสตร์ การดำเนินการ และความสัมพันธ์ทางคณิตศาสตร์ การสอนโดยใช้วิธีการแบบเปิด (Open Approach) มีเป้าหมายเพื่อให้นักเรียนทุกคนเรียน คณิตศาสตร์ในแนวทางที่ตอบสนองกับความสามารถไปสู่ระดับของการตัดสินใจได้ด้วยตนเอง และสามารถ ขยายหรือเพิ่มเติมกระบวนการและผลที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ได้ ทำให้แนวคิดทางคณิตศาสตร์ของ นักเรียนขึ้นไปอยู่ในระดับสูงขึ้น โดยการเปิดโอกาสให้นักเรียนได้เจรจาต่อรองความหมายกับนักเรียนคนอื่น (ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์, 2547 อ้างถึงใน อัสมาอ์ หะยีตาเฮร์, 2560) วิธีการแบบเปิดเป็นแนวทางการสอนที่เน้น การแก้ปัญหาของนักเรียน ซึ่งเป็นส่วนช่วยในการพัฒนาความรู้ความเข้าใจและการคิดของนักเรียน (Nohda, 2000 อ้างถึงใน Kunseeda et al., 2019) มุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้แก้ปัญหาปลายเปิดที่พวกเขาไม่คุ้นเคย โดยลักษณะของปัญหาปลายเปิดที่ใช้ จะสามารถแก้ปัญหาได้ด้วยวิธีการที่หลากหลาย และหลายคำตอบ ที่เป็นไปได้และไม่สมบูรณ์อันจะนำไปสู่ การได้ประสบการณ์ในการค้นพบสิ่งใหม่ๆ (Shimada, 1997 อ้างถึงใน Wetbunpot & Inprasitha, 2015)การสร้างความเข้าใจเชิงลึกเกี่ยวกับสื่อการสอนและเนื้อหาที่ครูสอน การนำแนวคิดเกี่ยวกับการสอนมาประยุกต์ใช้กับบทเรียนอื่น ๆ และทำให้ครูมีโอกาสในการสังเกตพฤติกรรม นักเรียนอย่างรอบคอบและพัฒนาไปสู่การสังเกตการเรียนรู้ของนักเรียน (Takahashi, 2015 อ้างถึงใน ภควดี วรรณโกวิทและคณะ, 2563) ซึ่ง NCTM (2000) ได้กล่าวอีกว่า นักเรียนต้องเรียนคณิตศาสตร์ด้วยความเข้าใจ นักเรียนที่เรียนด้วยโดยการท่องจำสูตร กฎ ทฤษฎีหรือกระบวนการต่าง ๆ โดยปราศจากความเข้าใจนั้นมักจะ ไม่สามารถนำความรู้นั้นไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นจะเห็นว่าการเรียนรู้ในศตวรรษนี้ต้องไม่ใช่การ เรียนรู้แบบเดิมที่เน้นการท่องจำ แต่ควรเน้นการเรียนรู้อย่างมีความหมาย เพื่อให้เกิดความเข้าใจอย่างแท้จริง จากที่กล่าวมาข้างต้นจะเห็นได้ว่า การสอนโดยใช้วิธีการแบบเปิดนั้นได้เปิดโอกาสให้นักเรียนได้ แก้ปัญหาด้วยตนเอง สามารถพัฒนาการเรียนรู้ไปสู่ความเข้าใจเชิงความคิดรวบยอดในวิชาคณิตศาสตร์ดังนั้น ผู้วิจัยจึงสนใจที่จะวิเคราะห์ความเข้าใจเชิงความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนในชั้นเรียนที่ใช้ วิธีการแบบเปิด 2. วัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อวิเคราะห์ความเข้าใจเชิงความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ในชั้นเรียนที่ใช้วิธีการแบบเปิด


14| ห น้ า เอกสารสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการครุศาสตร์วิชาการครั้งที่ 13 : นวัตกรรมการศึกษาพลิกโฉมการพัฒนา “วิชาชีพครูในยุคดิจิทัล 3. ระเบียบวิธีวิจัย 3.1 กลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเป้าหมาย คือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาลวัดขจรรังสรรค์ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 26 คน โดยใช้การคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง ซึ่งกลุ่มเป้าหมายได้รับจัดการเรียน การสอนด้วยวิธีการแบบเปิด ตั้งแต่ปีการศึกษา 2563 และเป็นนักเรียนที่ถูกฝึกให้คิดด้วยตนเอง ฝึกการเขียน อธิบายแนวคิดในการแก้ปัญหา และกล้าที่จะแสดงออกในการอธิบายแนวคิดของตนเอง ซึ่งจะทำให้ผู้วิจัย สามารถวิเคราะห์และประเมินความเข้าใจเชิงความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนผ่านชิ้นงานและ การนำเสนอแนวคิดหน้าชั้นเรียนได้ 3.2 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 3.2.1 แผนการจัดการเรียนรู้เรื่อง การลบในแนวตั้ง เป็นแผนที่ผู้วิจัยเขียนขึ้นร่วมกับผู้เชี่ยวชาญ โดยมีลำดับขั้นตอนของการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีการแบบเปิด จำนวน 3 แผน 3.2.2 เครื่องบันทึกภาพนิ่ง เป็นเครื่องมือสำหรับบันทึกภาพผลงานจากการทำกิจกรรมของ นักเรียนที่นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติ ในระหว่างที่นักเรียนมีส่วนร่วมในชั้นเรียน ภาพการนำเสนอแนวคิดและ การอภิปรายร่วมกันในชั้นเรียนระหว่างนักเรียนและครู ผู้วิจัยนำภาพนิ่งที่ได้จากการบันทึกไปวิเคราะห์ โดยพิจารณาประกอบกับข้อความที่ได้จากวีดิทัศน์และเครื่องบันทึกเสียง เพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบในการ วิเคราะห์ข้อมูล 3.2.3 เครื่องบันทึกวีดิทัศน์ เป็นเครื่องมือสำหรับบันทึกภาพและเสียงตั้งแต่เริ่มต้นดำเนินการ สอนในชั้นเรียนตามแนวทาง 4 ขั้นตอนของวิธีการแบบเปิด โดยครูนำเสนอปัญหาปลายเปิด นักเรียนลงมือ แก้ปัญหาด้วยตนเอง ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายและเปรียบเทียบแนวคิดในชั้นเรียน จนถึงขั้นการสรุป และเชื่อมโยงแนวคิดของนักเรียนที่เกิดขึ้น ผู้วิจัยนำเสียงและภาพที่ได้จากการบันทึกไปวิเคราะห์ประกอบกับ ข้อความที่ผู้วิจัยถอดมาจากเครื่องบันทึกเสียงและเครื่องบันทึกภาพนิ่ง เพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ ข้อมูล 3.2.4 เครื่องบันทึกเสียง เป็นเครื่องมือใช้สำหรับบันทึกเสียงของนักเรียนขณะที่นักเรียน ทำกิจกรรม ผู้วิจัยจะนำเสียงที่ได้จากการบันทึกมาวิเคราะห์ โดยการฟังและถอดเป็นข้อความประกอบกับ ข้อความที่ได้จากวีดิทัศน์ และเครื่องบันทึกภาพนิ่ง เพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบในการวิเคราะห์ข้อมูล 3.3 การเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้วิจัยดำเนินการสอนตามแผนการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีการแบบเปิด จำนวน 3 แผนการ จัดการเรียนรู้ โดยแบ่งเป็นแผนละ 60 นาที จำนวน 3 คาบ โดยระหว่างการจัดการเรียนรู้ ผู้วิจัยทำการ บันทึกเสียง และผู้ช่วยวิจัยจำนวน 1 คน ทำหน้าที่บันทึกวิดีทัศน์ และบันทึกภาพนิ่ง คำพูด วิธีคิดและสังเกต พฤติกรรมความเข้าใจเชิงความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์จากการนำเสนอและอภิปรายร่วมกันในชั้นเรียน


เอกสารสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการครุศาสตร์วิชาการครั้งที่ 13 : นวัตกรรมการศึกษาพลิกโฉมการพัฒนา“วิชาชีพครูในยุคดิจิทัล” ห น้ า | 15 3.4 การวิเคราะห์ข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้ใช้ระเบียบวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้วิจัยใช้การวิเคราะห์ โพรโตคอลและการวิเคราะห์เชิงบรรยาย มีการบรรยายเกี่ยวกับปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นระหว่างการจัดการ เรียนรู้ด้วยวิธีการแบบเปิด และใช้ข้อมูลเชิงประจักษ์ เช่น โพรโตคอลการสอน และภาพถ่ายผลงาน ของนักเรียน เพื่ออธิบายความเข้าใจเชิงความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์ที่เกิดขึ้นของนักเรียน ตามกรอบ แนวคิดวิธีการแบบเปิดของ Inprasitha (2010) และกรอบแนวคิดความเข้าใจเชิงความคิดรวบยอดทาง คณิตศาสตร์ของ Kilpatrick et al. (2001) 4. สรุปผลการวิจัย ผู้วิจัยดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้วีดิทัศน์ เครื่องบันทึกเสียง ผลงานของนักเรียน และแผน การจัดการเรียนรู้เรื่อง การลบในแนวตั้ง จำนวน 3 แผน และดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลความเข้าใจ เชิงความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนตามกรอบแนวคิดของ Kilpatrick et al. (2001) ดังรายละเอียดต่อไปนี้ 4.1 แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1 กิจกรรม แสตมป์โดราเอม่อน กิจกรรมนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักเรียนรู้การเขียนประโยคสัญลักษณ์การลบและแสดงวิธีการ คำนวณหาคำตอบ โดยครูทบทวนสถานการณ์ปัญหาการคำนวณ 38 – 12 ในแนวตั้ง แล้วนำเสนอสถานการณ์ ปัญหา “มีแสตมป์ 45 ดวง ใช้ไป 27 ดวง เหลือแสตมป์เท่าไร ให้นักเรียนเขียนประโยคสัญลักษณ์และแสดง วิธีการคำนวณ” 4.1.1 ความเข้าใจเกี่ยวกับสาระสำคัญทางคณิตศาสตร์ หลังจากที่ครูได้นำเสนอสถานการณ์ปัญหา และนักเรียนลงมือแก้ปัญหาด้วยตนเอง นักเรียนแสดงแนวคิด ดังภาพต่อไปนี้ ภาพที่ 1ความเข้าใจเชิงความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสาระสำคัญทางคณิตศาสตร์ในแผนที่ 1 จากภาพที่ 1 นักเรียนลงมือแก้ปัญหา พร้อมทั้งอธิบายวิธีการแก้ปัญหาของตนเอง เพื่อที่จะแสดงถึงความเข้าใจ ของตนเองซึ่งในข้อที่ 1 นักเรียนใช้วิธีการคำนวณการลบในแนวตั้งที่มีการยืมจากหลักสิบ และข้อที่ 2 นักเรียน ใช้วิธีการแยกจำนวนในการคำนวณการลบ


16| ห น้ า เอกสารสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการครุศาสตร์วิชาการครั้งที่ 13 : นวัตกรรมการศึกษาพลิกโฉมการพัฒนา “วิชาชีพครูในยุคดิจิทัล 4.1.2 ความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินการ นักเรียนลงมือแก้ปัญหาและอภิปรายร่วมกันในชั้นเรียนเกี่ยวกับการเขียนประโยค สัญลักษณ์ดังบทสนทนา T: นักเรียนเขียนประโยคสัญลักษณ์ได้อย่างไรคะ S1: 45 ลบ (แสดงเครื่องหมายลบ) 27 เท่ากับ ช่องสี่เหลี่ยม (แสดงรูปสี่เหลี่ยม) T: ทำไมถึงเอามาลบกันคะ S2,3: มีคำว่า ใช้ไป เราจะเอามาลบกัน S4: เขียนเครื่องหมายลบ จากบทสนทนาข้างต้น “45 ลบ (แสดงเครื่องหมายลบ) 27 เท่ากับ ช่องสี่เหลี่ยม (แสดงรูปสี่เหลี่ยม)” “มีคำว่า ใช้ไป เราจะเอามาลบกัน” “เขียนเครื่องหมายลบ” แสดงถึงความเข้าใจเชิง ความคิดรวบยอดเกี่ยวกับการดำเนินการ ดังภาพที่ 2 ภาพที่ 2 ความเข้าใจเชิงความคิดรวบยอดเกี่ยวกับการดำเนินการในแผนที่ 1 จากภาพที่ 2 นักเรียนเขียนประโยคสัญลักษณ์ โดยพิจารณาคำว่า “ใช้ไป” แสดงแทน ด้วยเครื่องหมายลบ หลังจากที่ครูนำเสนอสถานการณ์ปัญหา และนักเรียนลงมือแก้ปัญหาสถานการณ์ด้วย ตนเอง นักเรียนได้แสดงแนวคิดดังภาพที่ 3 ภาพที่ 3 ความเข้าใจเชิงความคิดรวบยอดเกี่ยวกับการดำเนินการในแผนที่ 1


เอกสารสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการครุศาสตร์วิชาการครั้งที่ 13 : นวัตกรรมการศึกษาพลิกโฉมการพัฒนา“วิชาชีพครูในยุคดิจิทัล” ห น้ า | 17 จากภาพที่ 3 นักเรียนลงมือแก้ปัญหา โดยนักเรียนแสดงวิธีการคำนวณโดยการวาด ภาพบล็อกซึ่งนักเรียนดำเนินการในการแสดงถึงการใช้ไป โดยการใช้บล็อกการแสดงแทนถึงวิธีการคำนวณ และการวาดลูกศรในการดำเนินการถึงการยืมและการเอาออก ซึ่งแสดงถึงความเข้าใจเชิงความคิดรวบยอด เกี่ยวกับการดำเนินการ 4.1.3 ความเข้าใจเกี่ยวกับความสัมพันธ์ หลังจากที่ครูให้นักเรียนลงมือแก้ปัญหาและนำเสนอแนวคิดของตนเองหน้าชั้นเรียน ครูและนักเรียนอภิปรายร่วมกันในชั้นเรียน ดังบทสนทนา T : วิธีการคำนวณของเพื่อนเหมือนหรือต่างกันอย่างไร S1 : ใช้บล็อกกับแท่งสิบ S2 : ของอีกคนเขียนแนวตั้ง S3 : ได้คำตอบเหมือนกัน แต่แท่งสิบแปลงร่างไปให้บล็อกหนึ่งที่อยู่ในหลักหน่วย เหมือนกับการยืม 10 มาจาก 4 ด้านหน้าแบบแนวตั้ง T : ต่างจาก 38 ลบ 12 อย่างไร S3 : หลักหน่วย 38 ลบ 12 ได้เลย แต่ 45 ลบ 27 ต้องยืมก่อน S2 : หลักหน่วยไม่มีการยืม T : ครูเอา 5 – 7 เลยได้ไหม ลบเหมือนกับ 38 ลบ 12 เลย S4 : ไม่ได้ เพราะสมมติผมค้างเงินเพื่อน 7 บาท ผมเอาไปให้ 5 บาท เพื่อนไม่เอา ต้องไปยืมเพื่อนมาอีก 10 บาท S1 : ไม่ได้ 5 มันน้อยกว่า 7 จากบทสนทนาข้างต้น “ได้คำตอบเหมือนกัน แต่แท่งสิบแปลงร่างไปให้บล็อกหนึ่งที่ อยู่ในหลักหน่วย เหมือนกับการยืม 10 มาจาก 4 ด้านหน้าแบบแนวตั้ง” หลักหน่วย 38 ลบ 12 ได้เลย แต่ 45 ลบ 27 ต้องยืมก่อน” “หลักหน่วยไม่มีการยืม” แสดงถึงความเข้าใจเชิงความคิดรวบยอดเกี่ยวกับความสัมพันธ์ โดยการอภิปรายถึงความเหมือนและความต่างของแต่ละแนวคิดในสถานการณ์ปัญหาที่กำหนดให้ รวมถึงการ อภิปรายถึงความแตกต่างระหว่างของสถานการณ์ปัญหาก่อนหน้ากับสถานการณ์ในคาบนี้ 4.2 แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 2 กิจกรรม มาคำนวณในแนวตั้งกันเถอะ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักเรียนรู้การแสดงวิธีการคำนวณการลบในแนวตั้ง โดยครูทบทวน สถานการณ์ปัญหา“มีแสตมป์ 45 ดวง ใช้ไป 27 ดวง เหลือแสตมป์เท่าไร” แล้วนำเสนอสถานการณ์ปัญหา “คำนวณ 53 – 26 ในแนวตั้ง” 4.2.1 ความเข้าใจเกี่ยวกับสาระสำคัญทางคณิตศาสตร์ หลังจากที่ครูได้นำเสนอสถานการณ์ปัญหา และนักเรียนลงมือแก้ปัญหาด้วยตนเอง นักเรียนแสดงแนวคิด ดังภาพที่ 4


18| ห น้ า เอกสารสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการครุศาสตร์วิชาการครั้งที่ 13 : นวัตกรรมการศึกษาพลิกโฉมการพัฒนา “วิชาชีพครูในยุคดิจิทัล ภาพที่ 4ความเข้าใจเชิงความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสาระสำคัญทางคณิตศาสตร์ในแผนที่ 2 จากภาพที่ 4 นักเรียนแสดงวิธีการคำนวณ 53 ลบ 26 ในแนวตั้งในชิ้นงาน โดยอธิบาย และให้เหตุผลในการแก้ปัญหา ซึ่ง 3 – 6 ในหลักหน่วยลบกันไม่ได้ นักเรียนจึงต้องยืมจากหลักสิบมา 1 สิบ หลักหน่วยจึงกลายเป็น 13 หลักสิบเหลือ 40 นำหลักหน่วยมาลบกันคือ 13 - 6 = 7 แล้วนำหลักสิบมาลบกัน คือ 4 – 2 = 2 4.2.2 ความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินการ หลังจากที่ครูได้นำเสนอสถานการณ์ปัญหา และนักเรียนลงมือแก้ปัญหาด้วยตนเอง ครู และนักเรียนร่วมกันอภิปรายหน้าชั้นเรียน ภาพที่ 5 ความเข้าใจเชิงความคิดรวบยอดเกี่ยวกับการดำเนินการในแผนที่ 2 จากภาพที่ 5 นักเรียนแสดงวิธีการคำนวณ 53 ลบ 26 ในแนวตั้งโดยการใช้บล็อก ในขั้นการอภิปรายร่วมกันในชั้นเรียน โดยนักเรียนดำเนินการคำนวณ 53 – 26 ในแนวตั้งโดยการใช้บล็อก แสดงแทนตัวเลข เพื่อให้เพื่อน ๆ ได้ตรวจสอบคำตอบและอธิบายถึงขั้นตอนในการคำนวณการลบในแนวตั้งที่ เป็นรูปธรรม


เอกสารสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการครุศาสตร์วิชาการครั้งที่ 13 : นวัตกรรมการศึกษาพลิกโฉมการพัฒนา“วิชาชีพครูในยุคดิจิทัล” ห น้ า | 19 4.2.3 ความเข้าใจเกี่ยวกับความสัมพันธ์ ครูให้นักเรียนนำเสนอแนวคิดของตนเองจากการแก้ปัญหาและร่วมกันอภิปรายร่วมกันในชั้นเรียน ดังบทสนทนา S5 : เอาหลักหน่วยลบ 3- 6 ลบไม่ได้ ต้องไปยืม 5 มา 1 จากหลักสิบ แล้ว 5 จะกลายเป็น 4 S6 : ยืมมา 1 แต่ 1 นั้นมีค่าเป็น 10 จาก 5 ก็เหลือ 4 แต่ 4 คือ 40 S5 : หลักหน่วยเป็น 13 เอา 13 – 6 จะได้ 7 แล้วเอา 4 – 2 จะได้ 2 ในหลักสิบครับ T : เพื่อนลบหลักไหนก่อนคะ S1 : ลบหลักหน่วยก่อน T : ทำไมถึงไม่ลบหลักสิบก่อน S1 : ถ้าเกิดลบหลักสิบก่อน เราจะไม่รู้ว่าหลักหน่วยมันต้องยืมจาก 5 หรือเปล่า T : เรามาตรวจคำตอบโดยการใช้บล็อกดีไหม ว่าเราจะคำนวณได้แบบไหน มีใครจะแสดงด้วยบล็อก บ้าง S6 : ผมครับมีบล็อกหนึ่งอยู่ 3 เอาออก 6 ไม่ได้ ก็ต้องไปยืม 5 S7 : ยืมมาจากหลักสิบ T : ยืมมาเท่าไร S6 : ยืมมา 1 แท่ง มีค่าเท่ากับ 10 ให้หลักหน่วย T : ลบได้ยังคะ S2 : ยังครับ ต้องแปลงร่างเป็นบล็อกหนึ่ง 10 อัน S4 : หลักหน่วยเป็น 13 แล้ว หลักสิบเหลือ 4 แท่ง S6 : ลบได้แล้ว หลักหน่วยมีอยู่ 13 ลบ 6 คือเอาบล็อกหนึ่งออกมา 6 เหลือ 7 S4 : หลักสิบให้ยืมไปแล้ว เหลือ 4 แท่ง ลบไป 2 (เอาออก 2 แท่ง) เหลือ 2 แท่งสิบ T : วิธีคิดของเพื่อนแต่ละคนเหมือนหรือต่างกันอย่างไร S2 : วิธีคิดของสกายเหมือนกับการแสดงด้วยบล็อก คำตอบก็ได้เท่ากัน จากบทสนทนาข้างต้น “ยืมมา 1 แต่ 1 นั้นมีค่าเป็น 10 จาก 5 ก็เหลือ 4 แต่ 4 คือ 40” “ถ้าเกิดลบหลักสิบก่อน เราจะไม่รู้ว่าหลักหน่วยมันต้องยืมจาก 5 หรือเปล่า” “ยืมมา 1 แท่ง มีค่าเท่ากับ 10 ให้หลักหน่วย” “วิธีคิดของสกายเหมือนกับการแสดงด้วยบล็อก คำตอบก็ได้เท่ากัน” แสดงถึงความเข้าใจเชิง ความคิดรวบยอดเกี่ยวกับความสัมพันธ์ โดยนักเรียนอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างการแสดงวิธีการคำนวณ โดยการใช้บล็อกกับการแสดงวิธีการคำนวณในแนวตั้ง และความสัมพันธ์ของค่าประจำหลักระหว่างหลักหน่วย กับหลักสิบ


20| ห น้ า เอกสารสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการครุศาสตร์วิชาการครั้งที่ 13 : นวัตกรรมการศึกษาพลิกโฉมการพัฒนา “วิชาชีพครูในยุคดิจิทัล 4.3 แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 3 กิจกรรม มาคำนวณในแนวตั้งกันเถอะ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักเรียนแสดงวิธีการคำนวณการลบในแนวตั้ง พร้อมทั้งอธิบายวิธีการ คำนวณ โดยครูทบทวนสถานการณ์ปัญหาคำนวณ 53 – 26 ในแนวตั้ง แล้วนำเสนอสถานการณ์ปัญหา “มาคิดวิธีการคำนวณในแนวตั้งกันเถอะ โดยให้นักเรียนแสดงวิธีการคำนวณต่อไปนี้ 1) 70 – 23 และ 2) 34 - 26” 4.3.1 ความเข้าใจเกี่ยวกับสาระสำคัญทางคณิตศาสตร์ นักเรียนลงมือแก้ปัญหาและครูบันทึกแนวคิด จากผลงานของนักเรียนที่ครูให้นักเรียนลง มือแก้ปัญหา ภาพที่ 6ความเข้าใจเชิงความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสาระสำคัญทางคณิตศาสตร์ในแผนที่ 3 จากภาพที่ 6 นักเรียนแสดงวิธีการคำนวณในแนวตั้งในชิ้นงาน โดยนักเรียนอธิบายและ ให้เหตุผลเกี่ยวกับวิธีคิดของตนเอง ซึ่งนักเรียนเขียนอธิบายถึงขั้นตอนในการคำนวณการลบในแนวตั้งที่มีการยืม จากหลักสิบไปให้หลักหน่วย โดยคำนวณการลบจากหน่วยก่อน แล้วจึงลบหลักสิบ 4.3.2 ความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินการ หลังจากที่ครูได้นำเสนอสถานการณ์ปัญหา และนักเรียนลงมือแก้ปัญหาด้วยตนเอง ครู และนักเรียนร่วมกันอภิปรายหน้าชั้นเรียน ภาพที่ 7 ความเข้าใจเชิงความคิดรวบยอดเกี่ยวกับการดำเนินการในแผนที่ 3


เอกสารสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการครุศาสตร์วิชาการครั้งที่ 13 : นวัตกรรมการศึกษาพลิกโฉมการพัฒนา“วิชาชีพครูในยุคดิจิทัล” ห น้ า | 21 จากภาพที่ 7 นักเรียนแสดงวิธีการคำนวณ 70 ลบ 23 ในแนวตั้งโดยการใช้บล็อก ในขั้นการอภิปรายร่วมกันในชั้นเรียน ซึ่งนักเรียนได้ตรวจสอบวิธีการคำนวณ 70 ลบ 23 ในแนวตั้ง โดยดำเนินการด้วยการใช้บล็อกแทนตัวเลข เพื่อที่จะอธิบายถึงขั้นตอนในการคำนวณการลบในแนวตั้งที่เป็น รูปธรรม 4.3.3 ความเข้าใจเกี่ยวกับความสัมพันธ์ นักเรียนลงมือแก้ปัญหาและครูบันทึกแนวคิดจากผลงานของนักเรียนที่ครูให้นักเรียนลง มือแก้ปัญหา ภาพที่ 8 ความเข้าใจเชิงความคิดรวบยอดเกี่ยวกับความสัมพันธ์ในแผนที่ 3 จากภาพที่ 8 นักเรียนแสดงลูกศร เพื่อให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างตัวเลขกับค่าประจำหลัก โดยคำอธิบายของนักเรียนได้ใช้ลูกศรแสดงการอธิบายถึงตัวเลขที่ตนเองได้เขียน เพื่อให้เห็นความสัมพันธ์ของ ตัวเลขกับค่าประจำหลักที่เขียนอยู่ในแนวตั้ง ตารางที่ 1สรุปผลการวิเคราะห์ความเข้าใจเชิงความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์ตั้งแต่แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1-3 แผน ชื่อกิจกรรม ความเข้าใจเชิงความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์ สาระสำคัญทาง คณิตศาสตร์ การดำเนินการ ความสัมพันธ์ 1 แสตมป์โดราเอม่อน / / / 2 มาคำนวณในแนวตั้งกันเถอะ (1) / / / 3 มาคำนวณในแนวตั้งกันเถอะ (2) / / / จากตารางที่ 1 พบว่า แผนการจัดเรียนรู้ที่ใช้การจัดการเรียนรู้วิธีการแบบเปิดทั้ง 3 แผน นักเรียนมีความเข้าใจเชิงความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์ครบทั้งสามประเภท ได้แก่ 1) ความเข้าใจ เกี่ยวกับสาระสำคัญทางคณิตศาสตร์ โดยนักเรียนแสดงหลักฐานในการเขียนอธิบายวิธีการคิดตามความเข้าใจ ของตนเอง พร้อมทั้งให้เหตุผลถึงวิธีการคิดของตนเองกับเพื่อนในชั้นเรียน 2) ความเข้าใจเชิงความคิดรวบยอด


22| ห น้ า เอกสารสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการครุศาสตร์วิชาการครั้งที่ 13 : นวัตกรรมการศึกษาพลิกโฉมการพัฒนา “วิชาชีพครูในยุคดิจิทัล เกี่ยวกับการดำเนินการ โดยนักเรียนแสดงหลักฐานการนำสัญลักษณ์ไปใช้ เพื่อแสดงถึงแนวคิดในการคำนวณ การลบ และนำสัญลักษณ์มาตรวจสอบแนวคิดในการคำนวณการลบ และ 3) ความเข้าใจเชิงความคิดรวบยอด เกี่ยวกับความสัมพันธ์ โดยนักเรียนแสดงหลักฐานในการเปรียบเทียบให้เห็นแนวคิดและหลักการที่สัมพันธ์กัน ของแต่ละแนวคิดที่เกิดขึ้น นอกจากนี้การจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีการแบบเปิด เปิดให้โอกาสนักเรียนได้แก้ปัญหา ด้วยตนเอง มีการอภิปรายร่วมกันและมีการสรุปร่วมกัน จะทำให้นักเรียนมีความสามารถในการเลือกใช้กลวิธี ได้อย่างเหมาะสม แล้วสามารถอธิบายวิธีการคิดและเกิดความเข้าใจอย่างแท้จริง ทั้งนี้ความเข้าใจเชิงความคิด รวบยอดทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนจะมีครบทุกประเภทหรือไม่ ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ปัญหาหรือเนื้อหา ที่นักเรียนต้องเรียนรู้ในคาบนั้น ๆ 5. อภิปรายผลการวิจัย จากผลการวิเคราะห์ความเข้าใจเชิงความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนที่ใช้วิธีการแบบเปิด พบว่า การจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีการแบบเปิดทำให้นักเรียนได้ลงมือแก้ปัญหาด้วยตนเอง เปิดโอกาสให้นักเรียน ได้ใช้ความรู้และประสบการณ์ที่มีอยู่ในการแก้ปัญหานั้น พร้อมทั้งเปิดโอกาสให้นักเรียนได้แสดงความคิดทาง คณิตศาสตร์ของนักเรียน และมีการนำเสนอและเปรียบเทียบแนวคิดในการแก้ปัญหาของนักเรียนในชั้นเรียน เพื่อนำไปสู่การปรับปรุงและพัฒนาแนวคิดในการแก้ปัญหาของนักเรียนแต่ละคน ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัย ของธวัตรชัย เดนชา และคณะ (2558) ได้ศึกษาวิธีการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียนคณิตศาสตร์ที่ใช้การสอนด้วย วิธีการแบบเปิด ผลวิจัยพบว่า ชั้นเรียนคณิตศาสตร์ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายที่ใช้การสอนด้วยวิธีการแบบ เปิดทำให้ครูมีวิธีการและแนวทาง “How to” เข้าถึงความเข้าใจทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนได้อย่างใกล้ชิด สอดคล้องกับแนวคิดของ ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์ (2557) และงานวิจัยของสุกัญญา ธรรมนูญ นฤมล ช่างศรี และ ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์ (2558) ได้สำรวจความเข้าใจอย่างรู้แจ้ง เรื่อง การหารของนักเรียนในชั้นเรียน คณิตศาสตร์ที่ใช้การศึกษาชั้นเรียนและวิธีการแบบเปิด พบว่าในชั้นเรียนคณิตศาสตร์ที่ใช้การศึกษาชั้นเรียน และวิธีการแบบเปิดทำให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีความหมาย โดยนักเรียนแสดงถึงความเข้าใจอย่างรู้แจ้ง เรื่องการหาร ดังนี้ 1) ความเข้าใจเกี่ยวกับความคิดรวบยอด ได้แก่ 1.1) นักเรียนแสดงหลักฐานของหลักการ และนำหลักการไปใช้ นักเรียนอธิบายและให้เหตุผล โดยการแสดงวิธีการคิดของตนเองกับเพื่อนในกลุ่ม จากการหยิบจับสื่อที่เป็นรูปธรรม 1.2) นักเรียนแสดงหลักฐานของนิยามรวมถึง นำข้อนิยามไปใช้ นักเรียนนำ ความรู้เรื่อง การคูณ มาใช้แก้ปัญหาในเรื่องการหาร แสดงให้เห็นว่านักเรียนมีเครื่องมือในการเชื่อมโยงความรู้ เดิมกับความรู้ใหม่ 2) ความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินการ นักเรียนแสดงหลักฐานการนำสัญลักษณ์ไปใช้ เพื่อแสดงแนวคิด นักเรียนสามารถนำสัญลักษณ์ของการดำเนินการมาใช้เพื่อเชื่อมโยงหรือตรวจสอบแนวคิด ในการหาร และ 3) ความเข้าใจเกี่ยวกับความสัมพันธ์ นักเรียนแสดงหลักฐานการใช้แบบรูปต่าง ๆ ที่มีความสัมพันธ์กัน เพื่อแสดงแทนแนวคิดที่หลากหลาย นักเรียนใช้การวาดภาพ การเขียนสัญลักษณ์ การโยง เส้นในการแบ่ง


เอกสารสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการครุศาสตร์วิชาการครั้งที่ 13 : นวัตกรรมการศึกษาพลิกโฉมการพัฒนา“วิชาชีพครูในยุคดิจิทัล” ห น้ า | 23 6. ข้อเสนอแนะ 6.1 ข้อเสนอแนะในการนำผลการวิจัยไปใช้ นักวิจัยสามารถนำผลการวิจัยในครั้งนี้ไปเป็นแนวทาง ในการพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้เพื่อให้นักเรียนเกิดแนวคิดทางคณิตศาสตร์อย่างหลากหลาย 6.2 ในการทำวิจัยครั้งต่อไป ควรทำวิจัยเกี่ยวกับความเข้าใจเชิงความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนในเรื่อง การบวก การคูณและการหารด้วยวิธีการแบบเปิดที่สามารถช่วยพัฒนาการคิดทาง คณิตศาสตร์ของนักเรียนได้เป็นอย่างดี และครูควรใช้คำถามกระตุ้นให้นักเรียนเกิดข้อสงสัย รู้สึกอยาก แก้ปัญหากับสถานการณ์ต่าง ๆ เพื่อให้นักเรียนได้แสดงแนวคิดของตนเองในการแก้ปัญหา เอกสารอ้างอิง กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (ฉบับ ปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด. ธวัตรชัย เดนชา, เกียรติ แสงอรุณ, ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์, และ สมควร สีชมภู. (2558). ความเข้าใจทาง คณิตศาสตร์ของนักเรียน เรื่อง เลขยกกำลัง ในชั้นเรียนที่ใช้การสอนด้วยวิธีการแบบเปิด. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 8(2), 1719-1734. ภควดี วรรณโกวิท, นฤมล ช่างศรี, และ ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์. (2563, 27 มีนาคม). ความรู้สึกเชิงจำนวนของ นักเรียนในชั้นเรียนที่ใช้การศึกษาชั้นเรียนและวิธีการแบบเปิด. การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัย ระดับบัณฑิตศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ 21 (น. 719-726). คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์. (2557). กระบวนการแก้ปัญหาในคณิตศาสตร์ระดับโรงเรียน. บริษัท ขอนแก่นเพ็ญ พริ้นติ้ง จำกัด. ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์. (2558). การพัฒนาวิชาชีพครูคณิตศาสตร์ด้วยนวัตกรรมการศึกษาชั้นเรียน (Lesson Study) และวิธีการแบบเปิด (Open Approach). เอกสารประกอบการอบรมเรื่อง การพัฒนาวิชาชีพครู คณิตศาสตร์ด้วยนวัตกรรม การศึกษาชั้นเรียน (Lesson Study) และวิธีการแบบเปิด (Open Approach) ในเขตพื้นที่จังหวัด นครศรีธรรมราช. นครศรีธรรมราช, มหาวิทยาลัย ราชภัฏนครศรีธรรมราช สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2555). ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์. กรุงเทพฯ : 3-คิว มีเดีย. สุกัญญา ธรรมนูญรักษ์, นฤมล ช่างศรี, และ ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์. (2558). ความเข้าใจอย่างรู้แจ้งเรื่อง การหารของนักเรียนในชั้นเรียนคณิตศาสตร์ที่ใช้การศึกษาชั้นเรียนและวิธีการแบบเปิด. Journal of Education Khon Kaen University, 38(3), 185-192. อัสมาอ์ หะยีดาเฮร์. (2560). ผลของการสอนโดยใช้วิธีการแบบเปิดที่มีต่อความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหา คณิตศาสตร์นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์]. PSU Knowledge Bank https://kb.psu.ac.th/psukb/ handle/2016/11792


24| ห น้ า เอกสารสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการครุศาสตร์วิชาการครั้งที่ 13 : นวัตกรรมการศึกษาพลิกโฉมการพัฒนา “วิชาชีพครูในยุคดิจิทัล Inprasitha, M. (2010). “One Feature of Adaptive Lesson Study in Thailand-Designing Unit”. In Proceeding of the 45th Korean National Meeting of Mathematics Education, 193-206. Dongkook University, Gyeongju. Kunseeda, P., Inprasitha, M., Changsri, N. and Sudjamnong, A. (2019) Students’ Speaking Skills in Mathematics Classroom Using Lesson Study and Open Approach. Creative Education, 10, 1702-1712. doi: 10.4236/ce.2019.107121. Kilpatrick, J. Swafford, J., & Findell, B. (Eds.). (2001). Adding it up: Helping Children Learn Mathematics. National Academy Press. Nahdi, D.S. & Jatisunda, M.G. (2019). Conceptual Understanding and Procedural Knowledge: A Case Study on Learning Mathematics of Fraction Material in Elementary School. Journal of Physics: Conference Series, 1447(04207), 2-5. https://doi.org/10.1088/1742-656596/1477/042037 National Council of Teacher Mathematics (NCTM). (2000). Principles and Standards for School Mathematics. NCTM. Wetbunpot, K. and Inprasitha, N. (2015) Teacher’s Listening in Teaching Mathematics Using an Open Approach. Creative Education, 6, 1597-1602. doi: 10.4236/ce.2015.614160.


เอกสารสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการครุศาสตร์วิชาการครั้งที่ 13 : นวัตกรรมการศึกษาพลิกโฉมการพัฒนา“วิชาชีพครูในยุคดิจิทัล” ห น้ า | 25 การพัฒนาสมรรถนะการแก้ปัญหาแบบร่วมมือทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ด้วยวิธีการแบบเปิด The Development of 8th Grade Students’ Mathematically Collaborative Problem Solving by Using Open Approach อาริยา ศรีนวล1 , สุดาทิพย์ หาญเชิงชัย2 Ariya Srinual1 , Sudatip Hancherngchai2 บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาสมรรถนะการแก้ปัญหาแบบร่วมมือของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีการแบบเปิด วิธีการวิจัยใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติ การ กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1 จำนวน 41 คน โรงเรียนหงษ์หยกบำรุง จังหวัดภูเก็ต เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้จำนวน 9 แผน แบบสังเกต แบบสัมภาษณ์เชิงลึก แบบบันทึก ภาคสนาม เครื่องบันทึกวีดิทัศน์เทปเสียงและภาพนิ่ง เก็บรวบรวมข้อมูลในภาคเรียนที่ 1/2565 วิเคราะห์ ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์โพรโตคอลและการบรรยายเชิงวิเคราะห์ ตามกรอบแนวคิดวิธีการแบบเปิด ไมตรีอินทร์ประสิทธิ์(2554) และกรอบแนวคิดสมรรถนะการแก้ปัญหาแบบร่วมมือ OECD (2015) ผลการวิจัย พบว่า นักเรียนมีการพัฒนาสมรรถนะการแก้ปัญหาแบบร่วมมือของนักเรียน โดยการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีการแบบเปิดจากร้อยละ 33.33 ของวงจรที่ 1 ร้อยละ 77.08 ของวงจรที่ 2 และ ร้อยละ 91.67 ของวงจรที่ 3 ตามลำดับ นอกจากนี้ยังพบรายละเอียดในแต่ละขั้นการสอนด้วยวิธีการแบบเปิด ดังนี้ ขั้นที่ 1 นำเสนอสถานการณ์ปัญหาปลายเปิด นักเรียนแบ่งปันข้อมูล ความรู้ เพื่อใช้แก้ปัญหา ขั้นที่ 2 การเรียนรู้ด้วยตนเองของนักเรียน แต่ละกลุ่มระบุสิ่งที่ต้องทำ กระตุ้นให้เพื่อนร่วมเสนอวิธีการแก้ปัญหา ที่สมเหตุสมผลและยอมรับแนวคิด ขั้นที่ 3 การอภิปรายและเปรียบเทียบแนวคิดทั้งชั้นเรียน ปฏิบัติงานที่ได้ รับมอบหมาย เมื่อมีการปรับแก้จะช่วยกันค้นหาวิธีการอื่น ๆ และปรึกษาเพื่อทำความเข้าใจร่วมกันภายในกลุ่ม และขั้นที่ 4 การสรุปโดยเชื่อมโยงแนวคิดของนักเรียน ประเด็นที่ได้เรียนรู้ในคาบจะสรุปแนวคิดจากชั้นเรียน และเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างแนวคิดของตนเองและแนวคิดของเพื่อนที่เกิดขึ้น คำสำคัญ : สมรรถนะการแก้ปัญหาแบบร่วมมือ, นักเรียน, วิธีการแบบเปิด 1 นักศึกษาวิชาเอกคณิตศาสตร์คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต อีเมล: s6210357132@pkru.ac.th 1 Mathematics Student Faculty of Education, Phuket Rajabhat University, E-mail: s6210357132@pkru.ac.th 2 อาจารย์ประจำวิชาเอกคณิตศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต อีเมล: sudatip_h@pkru.ac.th 2 Lecturer of Mathematics Department Faculty of Education, Phuket Rajabhat University, E-mail: sudatip_h@pkru.ac.th


26| ห น้ า เอกสารสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการครุศาสตร์วิชาการครั้งที่ 13 : นวัตกรรมการศึกษาพลิกโฉมการพัฒนา “วิชาชีพครูในยุคดิจิทัล Abstract The research object in this study was developing 8th-grade students’ collaborative problem-solving competencies by Open Approach. Action research used as methodology. The target group was 41 persons in 8th-grade students of Hongyokbumroong school, Phuket province. The research instruments consisted of the lesson plans on geometrical transformation, observation form, field notes, semi-structured interviews, video, IC, and camera recorder. Data were collected in the first semester of the 2022 academic year. Data were analyzed by protocol analysis and descriptive analysis following Inprasitha’s idea of the Open Approach (2011) and OECD (2015) of collaborative problem-solving competencies. The results revealed that students’ collaborative problem-solving competencies through the Open Approach. It is shown by the improvement of the average of students’ scores from 33.33% in the first cycle, 77.08% in the second cycle, and 91.67% in the third cycle respectively. Moreover, in each step of the Open Approach found that; in the first step, presenting the open-ended problem situation, students shared their information and pieces of knowledge to solve the problems. The second step, students’ self-learning, including 1) each group of students identifying what they do or selecting the reasonable solving method and 2) students encouraging others to present their ideas and accept their ideas. The third step, the discussion and comparison of students’ ideas, including 1 ) students performing following their plans when they revised the ideas, they worked together for searching another method, and 2) students sharing ideas and consulting with each other for mutual in the group. The fourth step, the summarization through connecting students' ideas that emerged in the classroom, including 1) students concluding the learning points from the other’s ideas in the classroom, and 2) students comparing the same or different ideas with friends’ ideas. Keywords : Collaborative problem-solving competencies, Students, Open Approach 1. บทนำ ทักษะการแก้ปัญหา ทักษะด้านความร่วมมือและภาวะผู้นำ เป็นศักยภาพของผู้เรียนที่สอดคล้องกับ สภาวการณ์ต่างๆ ในศตวรรษที่ 21 (The Secretariat of the Council of Education, 2018) เนื่องจาก เป็นที่ตระหนักว่าการทำงานในโลกสมัยใหม่นั้นทักษะเฉพาะส่วนบุคคลไม่เพียงพอ ต้องการทักษะการแก้ปัญหา และการทำงานร่วมกันหลายฝ่าย การประเมินการแก้ปัญหาแบบร่วมมือเป็นความสามารถของบุคคลในการเข้า ร่วมกระบวนการแก้ปัญหาของกลุ่ม (นัตยา หัสมินทร์และธิติยา บงกชเพชร, 2565) ศักยภาพของการทำงาน เป็นทีมได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางและเป็นที่ต้องการในแรงงานหลายทศวรรษที่ผ่านมา ดังนั้นความสามารถในการแก้ปัญหาร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพจึงแสดงถึงคุณค่าที่เพิ่มขึ้นอย่าง ต่อเนื่อง (Fiore et al., 2018; Fiore & Wiltshire, 2016)


เอกสารสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการครุศาสตร์วิชาการครั้งที่ 13 : นวัตกรรมการศึกษาพลิกโฉมการพัฒนา“วิชาชีพครูในยุคดิจิทัล” ห น้ า | 27 สมรรถนะการแก้ปัญหาแบบร่วมมือ เป็นความสามารถของแต่ละบุคคลที่มีส่วนร่วมในกระบวนการ การแก้ปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเกี่ยวข้องกับปฏิสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มของบุคคลที่พยายามแก้ปัญหา โดยการแบ่งปัน รวบรวมความรู้ ทักษะ และพยายามเข้าถึงวิธีแก้ปัญหานั้น (O’Neil et al., 2003 cited in Pásztor-Kovács, Pásztor & Molnár, 2021; OECD, 2017) ในปี 2015 องค์การเพื่อความร่วมมือทาง เศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) ประเมินความสามารถของนักเรียนในการแก้ปัญหาแบบร่วมมือ โดยประเทศไทยเข้าร่วมการประเมินดังกล่าวนักเรียนไทยมีคะแนน 436 ซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของ OECD ซึ่งเท่ากับ 500 คะแนนอยู่ค่อนข้างมาก (สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 2560) โดยทั่วไป การแก้ปัญหาแบบร่วมมือเป็นการเรียนรู้ในการแก้ปัญหาสถานการณ์โลกจริง แก้ปัญหาที่ไม่มีโครงสร้าง กระตุ้นให้นักเรียนสร้างกลุ่มความรู้ พัฒนาความรับผิดชอบ จัดการตนเองและใช้ทักษะความร่วมมือกัน เพื่อเรียนรู้เป็นสถานการณ์ในโลกจริง (Ouyang, Chen, Cheng, Tang & Su, 2021) จากการสังเกตการสอนและผลสัมฤทธิ์ในสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง การแปลงทางเรขาคณิต ของนักเรียนโรงเรียนหงษ์หยกบำรุง ผู้วิจัยพบว่าสาเหตุหนึ่งของการมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ คือ ผู้เรียน ไม่สามารถเข้าใจและให้ความสนใจกับบทเรียนได้จากคำอธิบาย เนื่องจากผู้เรียนจะคอยให้ผู้สอนแสดงตัวอย่าง เพื่อผู้เรียนจะได้ทำตามและไม่อาจทราบได้ว่าผู้เรียนจะคิดเห็นอย่างไร แสดงให้เห็นว่าผู้เรียน ไม่สามารถศึกษาเรียนรู้ตามลำพังได้อย่างเห็นได้ชัดเจนเมื่อจัดการเรียนการสอนแบบอธิบาย และแสดงเหตุผล ดังที่ (ยุพิน พิพิธกุล, 2527: 122-123 อ้างในถึง ยุคลทิพย์ ใจขำ, 2554) ได้กล่าวถึง การสอนแบบอธิบายและ แสดงเหตุผลว่า เป็นการสอนที่ผู้สอนเป็นผู้บอกให้ผู้เรียนคิดตาม เมื่อผู้สอนต้องการให้ผู้เรียนเข้าใจเรื่องใด ก็จะอธิบาย และแสดงเหตุผลในขณะที่ผู้สอนอธิบายนั้น ผู้สอนจะพยายามวิเคราะห์ ชี้แจง ตีความให้ผู้เรียน เข้าใจ และผู้สอนจะสรุปด้วยตนเอง ผู้เรียนจะเป็นผู้ฟังเสียส่วนใหญ่ กิจกรรมการเรียนการสอนเน้นผู้สอน เป็นสำคัญ ผู้เรียนไม่ค่อยมีโอกาสร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอนมากนัก จึงเป็นการยากที่จะทำให้นักเรียน ทุกคนบรรลุจุดประสงค์ของการเรียนการสอนตามเกณฑ์ที่กำหนดให้ ในฐานะครูผู้สอนสามารถจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการพัฒนาสมรรถนะการแก้ปัญหาแบบร่วมมือ ให้ปรากฏในตัวนักเรียน โดยครูต้องพัฒนาการจัดการเรียนรู้ให้นักเรียนได้ลงมือทำด้วยตัวเอง ฝึกการเผชิญหน้า กับสถานการณ์ในชีวิตประจำวันและส่งเสริมให้มีการทำงานร่วมกันกับผู้อื่น (วิจารณ์ พานิช, 2557 อ้างในถึง สุวิมล ภาวัง และสุมาลี ชูกำแพง, 2563) ดังการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีการแบบเปิด (Open Approach) เป็นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ให้ความสำคัญกับกระบวนการเรียนรู้ส่วนบุคคลของนักเรียน โดยคำนึงถึง ความแตกต่างระหว่างบุคคล ความสามารถในการหาแนวทางการแก้ปัญหาที่แตกต่างกันและสามารถ นำแนวทางดังกล่าวไปใช้ในสถานการณ์อื่นๆ ได้ โดยครูต้องเรียนรู้แนวคิดของนักเรียนอย่างละเอียดและ หาวิธีการสนับสนุนให้นักเรียนพัฒนาตนเองตามกระบวนการเรียนรู้ของตนเอง โดยใช้สถานการณ์ปัญหา ปลายเปิดเป็นตัวช่วยกระตุ้นให้นักเรียนได้คิดจากสถานการณ์ที่กำหนดให้ทำให้นักเรียนได้เปิดความคิดของ ตนเอง ทั้งคิดกว้าง คิดหลากหลายและคิดแก้ปัญหา (ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์, 2558 อ้างในถึง ทานตะวัน สีดา, 2563)


28| ห น้ า เอกสารสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการครุศาสตร์วิชาการครั้งที่ 13 : นวัตกรรมการศึกษาพลิกโฉมการพัฒนา “วิชาชีพครูในยุคดิจิทัล ด้วยการสอนวิธีการแบบเปิดผู้เรียนจะได้เรียนรู้ผ่านตัวสถานการณ์ปัญหาปลายเปิดตามสถานการณ์ ต่าง ๆ ที่เป็นปัญหาให้กับผู้เรียนได้แสดงแนวคิดในการค้นหาคำตอบอย่างหลากหลายวิธี โดยครูผู้สอน จะเปลี่ยนหน้าที่เป็นผู้แนะนำแนวทางในการแก้ปัญหา ซึ่งจะทำให้ผู้เรียนกล้าที่จะแสดงแนวคิดต่าง ๆ โดยใช้ความรู้พื้นฐานที่ตนเองมีอยู่ นอกจากนี้ มีการวางแผน การสื่อสารระหว่างสมาชิกภายในกลุ่ม เพื่อให้ได้มาซึ่งแนวคิดที่หลากหลายและใช้แนวคิดที่เหมาะสมที่สุดในการแก้ปัญหา ส่งเสริมการทำงานเป็นทีม นำไปสู่พัฒนาสมรรถนะการแก้ปัญหาแบบร่วมมือที่มีผลต่อการเรียนรู้ ทั้งนี้ สามารถนำผลดังกล่าวไปใช้ เป็นแนวทางในการปรับปรุงกระบวนการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น 2. วัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อพัฒนาสมรรถนะการแก้ปัญหาแบบร่วมมือของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เรื่อง การแปลง ทางเรขาคณิต โดยการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีการแบบเปิด 3. ระเบียบวิธีวิจัย 3.1 กลุ่มเป้าหมาย นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 41 คน โรงเรียนหงษ์หยกบำรุง อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง 3.2 การสร้างเครื่องมือและการทดสอบคุณภาพของเครื่องมือ ดังรายละเอียดต่อไปนี้ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีการแบบเปิด เรื่อง การแปลงทางเรขาคณิต ผู้วิจัยดำเนิน การศึกษาหนังสือเรียนคณิตศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นของสำนักพิมพ์ TOKYO SHOSEIKI ของประเทศ ญี่ปุ่นมาออกแบบแผนการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีการแบบเปิด โดยให้สอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้และ ตัวชี้วัดของหลักสูตร จำนวน 9 แผน จำนวน 12 ชั่วโมง จากนั้นผู้วิจัยนำแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เสนอ ต่อครูพี่เลี้ยง หัวหน้าฝ่ายวิชาการ ผู้บริหารโรงเรียน และผู้เชี่ยวชาญด้านการสอนด้วยวิธีการแบบเปิด เพื่อตรวจสอบความถูกต้องของรูปแบบการเขียนแผนและประเมินผล จากนั้นปรับปรุง แก้ไข ตามคำแนะนำ และได้รับการพิจารณาเห็นสมควรว่าสามารถนำไปใช้กับกลุ่มเป้าหมายได้ 2) แบบสังเกตการแก้ปัญหาแบบร่วมมือ ผู้วิจัยศึกษาเอกสารงานวิจัยในการกำหนด กรอบพฤติกรรม เพื่อทำการสังเกตกระบวนการแก้ปัญหาแบบร่วมมือในระหว่างการจัดการเรียนรู้ ด้วยวิธีการแบบเปิด ครอบคลุมสมรรถนะหลัก 3 ด้าน คือ 1) การสร้างและเก็บรักษาความเข้าใจที่มีร่วมกัน 2) การเลือกวิธีดำเนินการที่เหมาะสมในการแก้ปัญหา 3) การสร้างและรักษาระเบียบของกลุ่ม นำเสนอ แบบสังเกตต่อผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 คน ได้แก่ อาจารย์นิเทศก์ ครูพี่เลี้ยง และหัวหน้าฝ่ายวิชาการ จากนั้นดำเนินปรับปรุงตามข้อเสนอแนะ 3) แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง ผู้วิจัยดำเนินการกำหนดข้อคำถามเสนอต่อผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 คน ได้แก่ อาจารย์นิเทศก์ครูพี่เลี้ยง และหัวหน้าฝ่ายวิชาการ และดำเนินการแก้ไขตามข้อเสนอแนะ


เอกสารสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการครุศาสตร์วิชาการครั้งที่ 13 : นวัตกรรมการศึกษาพลิกโฉมการพัฒนา“วิชาชีพครูในยุคดิจิทัล” ห น้ า | 29 3.3 การเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้วิจัยดำเนินการตามรูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการ โดยการเก็บรวมรวมข้อมูลตามระบบ วงจรปฏิบัติการ 3 วงจร ดังนี้ 1) ขั้นวางแผน ผู้วิจัยดำเนินการวางแผนการจัดการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างครูพี่เลี้ยง ในการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีการแบบเปิด และร่วมกันวางแผนหลังจากสะท้อนผลเพื่อปรับปรุง แผนการสอนสู่วงจรปฏิบัติการในครั้งถัดไป 2) ขั้นปฏิบัติและสังเกต ผู้วิจัยทำหน้าที่สอนและบันทึกพฤติกรรมของนักเรียน ลงในแบบสังเกต นักศึกษาปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาในฐานะผู้ช่วยวิจัยทำหน้าที่บันทึกวิดีทัศน์และภาพนิ่ง และครูพี่เลี้ยงในฐานะผู้ช่วยวิจัยทำหน้าที่สังเกตและบันทึกคำพูดและพฤติกรรมลงในแบบบันทึกภาคสนาม 3) ขั้นสะท้อนผล ผู้วิจัยเป็นผู้ดำเนินการสะท้อนผลเป็นลำดับแรก หลังจากการ จัดการเรียนรู้ด้วยวิธีการแบบเปิด ตามด้วยทีมผู้สังเกตชั้นเรียน ประกอบด้วย ครูพี่เลี้ยงและผู้ช่วยผู้วิจัย ตามลำดับ จากนั้นผู้วิจัยจะทำการสะท้อนผลอีกครั้ง เพื่อนำข้อมูลไปวางแผนปรับปรุง แก้ไขและพัฒนา แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีการแบบเปิดไปใช้ในวงจรปฏิบัติการครั้งถัดไปจนกว่าจะบรรลุผลตาม วัตถุประสงค์ของการวิจัย ภาพที่1 การดำเนินการของวงจรปฏิบัติการ 3 วงจร 3.4 การวิเคราะห์ข้อมูล ข้อมูลที่นำมาวิเคราะห์ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ข้อมูลจากการถอดเทปบันทึกเสียงและวิดีทัศน์ ในขั้นวางแผน ขั้นปฏิบัติและสังเกต และขั้นสะท้อนผล ข้อมูลจากแบบบันทึกภาคสนามและข้อมูล จากแบบสังเกต ผู้วิจัยวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์วงจรปฏิบัติการ 3 วงจร และวิเคราะห์โพรโตคอล ในแต่ละขั้นของการสอนด้วยวิธีการแบบเปิด โดยการบรรยายเชิงวิเคราะห์และใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


30| ห น้ า เอกสารสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการครุศาสตร์วิชาการครั้งที่ 13 : นวัตกรรมการศึกษาพลิกโฉมการพัฒนา “วิชาชีพครูในยุคดิจิทัล 4. สรุปผลการวิจัย 4.1 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลสมรรถนะการแก้ปัญหาแบบร่วมมือในแต่ละวงจรปฏิบัติการ การจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีการแบบเปิดในแต่ละวงจรปฏิบัติการนักเรียนกลุ่มเป้าหมาย มีการพัฒนาสมรรถนะการแก้ปัญหาแบบร่วมมือเพิ่มขึ้นตามลำดับจากวงจรปฏิบัติการที่ 1-3 โดยแสดง รายละเอียดได้ดังนี้ แผนภูมิที่ 1 สมรรถนะการแก้ปัญหาแบบร่วมมือในแต่ละวงจรปฏิบัติการ จากแผนภูมิที่ 1 พบว่า วงจรปฏิบัติการที่ 1 หลังจากผู้วิจัยปฏิบัติการสอนโดยใช้แผนการจัด การเรียนรู้ด้วยวิธีการแบบเปิด แผนที่ 1-3 พบว่า สมรรถนะการแก้ปัญหาแบบร่วมมือของแต่ละ แผนการจัดการเรียนรู้มีสมรรถนะหลักไม่ครบทั้ง 3 ด้าน คิดเป็นร้อยละ 33.33 ของสมรรถนะการแก้ปัญหา แบบร่วมมือ วงจรปฏิบัติการที่ 2 ผู้วิจัยนำแผนการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีการแบบเปิดที่ได้ปรับปรุงแก้ไข จากวงจรปฏิบัติการที่ 1 ประกอบไปด้วยแผนการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีการแบบเปิด แผนที่ 4-7 พบว่าในแผนการจัดการเรียนรู้ทั้ง 4 แผนนี้ มีสมรรถนะการแก้ปัญหาแบบร่วมมือครบทั้ง 3 ด้าน คิดเป็นร้อย ละ 77.08 และวงจรปฏิบัติการที่ 3 ผู้วิจัยได้นำแผนการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีการแบบเปิดที่ผ่านการปรับปรุง และพัฒนาให้มีประสิทธิภาพที่จะแสดงสมรรถนะการแก้ปัญหาแบบร่วมมือให้มีผลครบทุกด้านของสมรรถนะ หลักอย่างคงที่และดียิ่งขึ้น ซึ่งในแผนการจัดการเรียนรู้ที่ 8-9 พบว่านักเรียนสามารถแสดงสมรรถนะ การแก้ปัญหาแบบร่วมมือ คิดเป็นร้อยละ 91.67 เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย 10 20 30 40 50 60 70 80 90 100 วงจรปฏิบัติการที่ 1 วงจรปฏิบัติการที่ 2 วงจรปฏิบัติการที่ 3 ร้อยละ การสร้างและเก็บรักษาความเข้าใจที่มีร่วมกัน การเลือกวิธีดําเนินการที่เหมาะสมในการแก้ปัญหา การสร้างและรักษาระเบียบของกลุ่ม


เอกสารสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการครุศาสตร์วิชาการครั้งที่ 13 : นวัตกรรมการศึกษาพลิกโฉมการพัฒนา“วิชาชีพครูในยุคดิจิทัล” ห น้ า | 31 4.2 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลสมรรถนะการแก้ปัญหาแบบร่วมมือในแต่ละขั้นการสอนของ วิธีการแบบเปิด 4.2.1 ขั้นการนำเสนอสถานการณ์ปัญหาปลายเปิด แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การแปลงทางเรขาคณิต มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนา สมรรถนะการแก้ปัญหาแบบร่วมมือของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เรื่อง การแปลงทางเรขาคณิต โดยการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีการแบบเปิด โดยครูทบทวนกิจกรรมในคาบที่แล้ว และครูได้นำเสนอปัญหา ปลายเปิดในคาบนี้ “สถานการณ์ที่ 1 ให้นักเรียนระบายสีรูปสามเหลี่ยมที่เหมือนกับรูป a” “สถานการณ์ที่ 2 สร้างเส้นตรงที่เหมือนกันกับเส้นตรง ab” และ “สถานการณ์ที่ 3 สร้างรูปต้นแบบที่มีระยะห่างจาก รูปสามเหลี่ยม ABC ไปทางขวา 7 หน่วย” บนกระดาน นักเรียนรู้สึกถึงความยุ่งยากจากภาพที่กำหนดในแต่ละ สถานการณ์ นักเรียนร่วมกันสนทนาภายในกลุ่มและในชั้นเรียน ดังตัวอย่างโพรโตคอลต่อไปนี้ S1 : คาบที่แล้วได้หามุมของรูปสามเหลี่ยม S2 : ได้วิเคราะห์ว่ารูปสามเหลี่ยมเหมือนกันอย่างไร S3 : ได้เห็นสามเหลี่ยมที่หันหน้าเหมือนกัน T : (นำเสนอคำสั่งบนกระดาน) สถานการณ์ที่ 1 ระบายสีรูปสามเหลี่ยมที่เหมือนกับรูป A สถานการณ์ ที่ 2 สร้างเส้นตรงที่เหมือนกันกับเส้นตรง ab สถานการณ์ที่ 3 สร้างรูปต้นแบบที่มีระยะห่างจาก รูปสามเหลี่ยม ABC ไปทางขวา 7 หน่วย S2 : รูปสามเหลี่ยมเหมือนกันทุกรูปนะ S1 : ไม่ใช่ทุกรูปนะ วางสลับกันอยู่ จากบทสนทนาข้างต้น การทบทวนความรู้เดิมของนักเรียนในกิจกรรมคาบก่อนหน้า เพื่อนำความรู้ความเข้าใจเหล่านั้นมาเป็นเครื่องมือในการเชื่อมโยงกันกับเนื้อหาบทเรียนในคาบนี้ ดังโพรโตคอล “ได้หามุมของรูปสามเหลี่ยม” “ได้วิเคราะห์ว่ารูปสามเหลี่ยมเหมือนกันอย่างไร” “ได้เห็น สามเหลี่ยมที่หันหน้าเหมือนกัน” “รูปสามเหลี่ยมเหมือนกันทุกรูปนะ” “ไม่ใช่ทุกรูปนะ วางสลับกันอยู่” แสดงถึงการทำความเข้าใจปัญหาร่วมกันในชั้นเรียน ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการร่วมกันออกความคิดเห็นจากข้อมูล ที่ตนมีอยู่และการทำความเข้าใจร่วมกันของนักเรียน ดังสมรรถนะด้านการสร้างและเก็บรักษาความเข้าใจที่มี ร่วมกัน สถานการณ์ที่ 1 สถานการณ์ที่ 2 สถานการณ์ที่ 3


32| ห น้ า เอกสารสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการครุศาสตร์วิชาการครั้งที่ 13 : นวัตกรรมการศึกษาพลิกโฉมการพัฒนา “วิชาชีพครูในยุคดิจิทัล 4.2.2 ขั้นการเรียนรู้ด้วยตนเองของนักเรียน หลังจากได้รับคำสั่ง นักเรียนก็แสดงพฤติกรรมที่ต้องการความช่วยเหลือพร้อมกับ สนทนาร่วมกันในกลุ่มเกี่ยวกับปัญหาของสถานการณ์ต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ สถานการณ์ที่1 S1 : หนูเห็นรูป a กับ b วางเหมือนกันทุกอย่างเลยค่ะครู T : แล้วมีรูปอื่นอีกไหม ที่เหมือนกับรูป a หรือ b S2 : วางไม่เหมือนกันก็ได้เพราะเป็นสามเหลี่ยมที่เหมือนกันอยู่แล้ว S3 : ไม่ใช่ดูด้านที่ยาวที่สุดของรูปสามเหลี่ยมทั้งสองหันไปด้านเดียวกัน S1 : ใช่ มันตั้งเหมือนกันด้วย สถานการณ์ที่2 (แสดงตัวอย่างโพรโตคอลจากกลุ่มย่อย G1) S1 : ต่อกันได้ใช่ไหมครับครู T : ถ้าต่อกันได้ให้ลองดูว่าเส้นกราฟมีพื้นที่พอหรือ เปล่านะ S2 : ก็ย้ายไปด้านข้างสิ S5 : ใช่ซ้ายหรือขวาก็ได้ S3 : วางได้ทั้งสองนี่ดูดีๆ มันก็ห่างเท่ากัน S4 : สร้างได้เส้นเดียวไม่ใช่เหรอ S1 : ไม่นะ ได้หลายเส้นเลย เหมือนกันด้วย S2 : ไม่ใช่นะ เหมือนตรงไหนแนวนอนกับแนวตั้ง S1 : คิดใหม่แป๊บ...แล้วต้องเพิ่มตรงนี้หรือเปล่า 2 เส้น ข้างละ 1


เอกสารสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการครุศาสตร์วิชาการครั้งที่ 13 : นวัตกรรมการศึกษาพลิกโฉมการพัฒนา“วิชาชีพครูในยุคดิจิทัล” ห น้ า | 33 สถานการณ์ที่3 T : รูปต้นแบบกับรูปที่ได้จากรูปต้นแบบที่ครูกำหนดให้ในใบกิจกรรมจะมีลักษณะอย่างไร S1 : ต้องเหมือนกันค่ะ S2 : มันคล้าย S1 : มันเหมือนกันมากกว่า เพราะทุกอย่างต้องเหมือนกัน S3 : ใช่ถ้าคล้าย ต้องมีบางอย่างไม่เหมือนกัน S3 : ดูรูปจากกิจกรรมที่1 สิ S2 : ยังไงเหรอ S3 : แต่ละมุมที่ลากมาเป็นเส้นตรง ยาวเท่ากับ 7 ช่อง ทุกเส้น จากบทสนทนาข้างต้น ในสถานการณ์ที่ 1 “วางไม่เหมือนกันก็ได้เพราะเป็น สามเหลี่ยมที่เหมือนกันอยู่แล้ว” “ไม่ใช่ ดูด้านที่ยาวที่สุดของรูปสามเหลี่ยมทั้งสองหันไปด้านเดียวกัน” “ใช่ มันตั้งเหมือนกันด้วย” สถานการณ์ที่ 2 “ต่อกันได้ใช่ไหมครับครู” “ก็ย้ายไปด้านข้างสิ” “วางได้ทั้งสองนี่ ดูดีๆ มันก็ห่างเท่ากัน” “ไม่นะ ได้หลายเส้นเลย เหมือนกันด้วย” “แล้วต้องเพิ่มตรงนี้หรือเปล่า 2 เส้น ข้างละ 1” และสถานการณ์ที่ 3 “มันเหมือนกันมากกว่า เพราะทุกอย่างต้องเหมือนกัน” “ใช่ถ้าคล้าย ต้องมี บางอย่างไม่เหมือนกัน” จะเห็นว่ามีกลุ่มนักเรียนที่เห็นด้วยกับแนวคิด มีนักเรียนที่ตั้งคำถามในชั้นเรียน และนักเรียนกลุ่มหนึ่งได้นำความรู้จากกิจกรรมที่ผ่านมาเชื่อมโยงความรู้ในกิจกรรมนี้ ดังโพรโตคอล “ดูรูปจาก กิจกรรมที่ 1 สิ” ซึ่งกล่าวได้ว่านักเรียนมีความกระตือรือร้นที่จะเสนอวิธีการแก้ไขหรือเลือกวิธีการแก้ปัญหา รวมทั้งการอธิบายแนวคิดเพื่อให้สมาชิกร่วมกันพิจารณา ซึ่งตรงกับสมรรถนะด้านการเลือกวิธีดำเนินการ ที่เหมาะสมในการแก้ปัญหา 4.2.3 ขั้นการอภิปรายและเปรียบเทียบแนวคิดทั้งชั้นเรียน เมื่อนักเรียนทำกิจกรรมในกลุ่มย่อยแล้ว ครูให้แต่ละกลุ่มออกมานำเสนอผลงาน หน้าชั้นเรียน ร่วมกันอภิปรายแนวคิดที่หลากหลาย มีการจัดกลุ่มแนวคิดที่เหมือนกัน แนวคิดที่ต่างกัน โดยนักเรียนแต่ละกลุ่มจะได้เรียนรู้จากแนวคิดกลุ่มของเพื่อนที่นำเสนอ เมื่อจบการนำเสนอนักเรียนกลุ่มอื่น สามารถตั้งคำถามหรือแสดงความคิดเห็นในประเด็นต่างๆ ได้ ดังโพรโตคอลต่อไปนี้ S1 : กิจกรรมแรกเจอรูปที่เหมือนกันกับรูป A และ B 2 รูป เพราะรูปหันไปฝั่งเดียวกันหมดเลย S1 : กิจกรรมถัดไปสร้างได้4 เส้นค่ะ ทุกเส้นเหมือนกันเลย S2 : ที่เหมือนกันก็คือ เส้นเอียงไปในทางเดียวกันหรืออีกแนวคิดที่มองให้เป็นพื้นที่สี่เหลี่ยม 3 ช่อง ในแนวตั้ง แล้วแบ่งครึ่งในแนวเฉียงกลายเป็นด้านที่ยาวที่สุดของรูปสามเหลี่ยม S1 : กิจกรรมสุดท้ายกลุ่มของหนูลากจุดทุกจุดให้มันตรงกัน ไปทางขวา 7 ช่อง แต่มีจุด B’ ที่นับขาด ไป 1 ช่อง ทำให้รูปมันแปลกไปจากรูปที่กำหนด แต่ก็เห็นเส้นตรงที่ขนานกัน 3 เส้น ซึ่งทำให้เห็นว่า แต่ละเส้นมันต้องเท่ากันด้วย S3 เจอ 3 รูป มี2 รูปที่วางเหมือนของกลุ่มแรก ส่วนอีกรูปมันแค่หันไปอีกด้าน เลยรู้ว่ารูปนี้มันไม่ใช่ กิจกรรมที่ 2 ได้เหมือนกลุ่มแรก 3 เส้น อยู่ในตำแหน่งเดียวกันและมีเส้นที่ต่างจาก ของเพื่อน


34| ห น้ า เอกสารสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการครุศาสตร์วิชาการครั้งที่ 13 : นวัตกรรมการศึกษาพลิกโฉมการพัฒนา “วิชาชีพครูในยุคดิจิทัล 3 เส้น ที่วางอยู่ในแนวนอนครับ เพราะเห็นว่ามันยาวเท่ากัน เลยคิดว่าใช่ กิจกรรมสุดท้าย ใช้การนับช่อง S4 : ทำไมถึงได้รูปที่ใหญ่กว่า S3 : นับช่องของแต่ละจุดไม่เท่ากัน เลยได้รูปที่ดูใหญ่กว่า S5 : ก็เหมือนคัดลอกรูปนั่นแหละ มันต้องได้รูปเดิม ในขั้นการอภิปรายและเปรียบเทียบแนวคิดทั้งชั้นเรียน นักเรียนได้ปฏิบัติงาน ตามแผนงานที่วางไว้ตามที่ได้รับมอบหมายและผ่านการนำเสนอแนวคิดหน้าชั้นเรียน กล่าวได้ว่าเป็นสมรรถนะ ด้านการสร้างและรักษาระเบียบของกลุ่ม ในระหว่างการนำเสนอจากโพรโตคอลที่กล่าวว่า “เจอ 3 รูป มี2 รูป ที่วางเหมือนของกลุ่มแรก” “กิจกรรมที่2 ได้เหมือนกลุ่มแรก 3 เส้น” “เส้นที่ต่างจากของเพื่อน 3 เส้น ที่วาง อยู่ในแนวนอนครับ เพราะเห็นว่ามันยาวเท่ากัน” เมื่อนักเรียนได้รับฟังแนวคิดของเพื่อนกลุ่มอื่นๆ ก็จะเกิด การเปรียบเทียบแนวคิดและมีการปรับเปลี่ยน แก้ไขเพิ่มเติมในแนวคิดของตนเองร่วมกับสมาชิกในกลุ่ม และจากโพรโตคอลพบว่ามีการตั้งคำถามหลังจากที่เพื่อนนำเสนอจบ “ทำไมถึงได้รูปที่ใหญ่กว่า” กลุ่มนำเสนอ จึงตอบคำถามว่า “นับช่องของแต่ละจุดไม่เท่ากัน เลยได้รูปที่ดูใหญ่กว่า” ตามด้วยการอธิบายเพิ่มเติมจากกลุ่ม อื่นๆ ที่ได้กล่าวว่า “ก็เหมือนคัดลอกรูปนั่นแหละ มันต้องได้รูปเดิม” เพื่อให้สมาชิกกลุ่มที่นำเสนอได้เข้าใจ ร่วมกัน แสดงให้เห็นถึงการช่วยกันให้ได้แนวคิดที่ดีและสมเหตุสมผล ดังสมรรถนะด้านการเลือกวิธีดำเนินการ ที่เหมาะสมในการแก้ปัญหา ภาพที่5 แสดงการนำเสนอผลงานของนักเรียน 4.2.4 ขั้นการสรุปและเชื่อมโยงแนวคิดทั้งชั้นเรียน ในขั้นการสรุปและเชื่อมโยงแนวคิดของนักเรียนที่เกิดขึ้นในห้องเรียน ครูผู้สอนให้ นักเรียนช่วยกันสรุปประเด็นที่ได้เรียนรู้จากการเรียนในคาบนี้ลงในสมุด โดยอาศัยจากการเรียนรู้แนวคิดของ เพื่อนในชั้นเรียน ซึ่งนักเรียนสามารถเปรียบเทียบข้อเหมือน ข้อต่าง จากแนวคิดของเพื่อนได้ดังโพรโตคอล S1 : ในสถานการณ์ที่ 1 จากแนวคิดของหนูในช่วงแรกคิดว่าเป็นการคัดลอกรูป เมื่อฟังแนวคิดของเพื่อน “ลากลงมาหาช่องที่เหมือนกัน” จึงสรุปได้ว่าเป็นการย้ายตำแหน่งของภาพ S2 : กลุ่มของหนูในสถานการณ์ที่ 3 ได้รูปต้นฉบับที่เล็กกว่ารูปที่กำหนด แต่เมื่อลองนับจุดให้ห่างเท่ากัน 7 ช่อง ก็จะได้รูปที่เหมือนกัน วางในแนวเดียวกัน S3 : ได้เส้นที่ลากจากจุดเป็นเส้นขนานกัน เลยเรียกได้ว่าเป็นการเลื่อนขนาน T : แล้วการเลื่อนขนาน จะหมายถึงอะไรนะ


เอกสารสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการครุศาสตร์วิชาการครั้งที่ 13 : นวัตกรรมการศึกษาพลิกโฉมการพัฒนา“วิชาชีพครูในยุคดิจิทัล” ห น้ า | 35 S4 : จุดทุกจุดของรูปต้นแบบเคลื่อนไปในทิศทางเดียวกันเป็นระยะทางเท่า ๆ กัน T : เพิ่มเติมสำหรับจุดแต่ละจุดบนรูปที่ได้จากการเลื่อนขนานระยะห่างจากจุดที่สมนัยกันหรือเท่ากัน บนรูปต้นแบบเป็นระยะทางเท่ากัน ทำให้เราเห็นถึงสมบัติที่สำคัญของการเลื่อนขนาน คือ รูปที่ได้ จากการเลื่อนขนานกับรูปต้นแบบเท่ากันทุกประการ จุดแต่ละจุดที่เท่ากันบนรูปที่ได้จากการเลื่อน ขนานกับรูปต้นแบบจะมีระยะห่างเท่ากัน มีอีกไหม… S1 : ขนาดของรูปจะเหมือนเดิม T : ภายใต้การเลื่อนขนาน จะไม่มีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างและขนาดของรูปต้นแบบ จากบทสนทนาข้างต้น เช่น “เมื่อฟังแนวคิดของเพื่อน ลากลงมาหาช่องที่เหมือนกัน จึงสรุปได้ว่าเป็นการย้ายตำแหน่งของภาพ” “สถานการณ์ที่ 3 ได้รูปต้นฉบับที่เล็กกว่ารูปที่กำหนด แต่เมื่อลอง นับจุดให้ห่างเท่ากัน 7 ช่อง ก็จะได้รูปที่เหมือนกัน วางในแนวเดียวกัน” แสดงถึงการใช้สมรรถนะด้านการเลือก วิธีดำเนินการที่เหมาะสมในการแก้ปัญหา ในการสนทนาเกี่ยวกับการสรุปและเชื่อมโยงแนวคิดสู่สาระสำคัญ ของการเลื่อนขนาน เพื่อบันทึกสิ่งที่ได้เรียนรู้ จากผลการวิเคราะห์ข้อมูลสมรรถนะการแก้ปัญหาแบบร่วมมือในแต่ละขั้นการสอนของ วิธีการแบบเปิด ผู้วิจัยได้นำข้อมูลจากผลการวิเคราะห์แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีการแบบเปิด จำนวน 9 แผน แสดงถึงความสามารถของนักเรียนในการพัฒนาสมรรถนะการแก้ปัญหาแบบร่วมมือ ในแต่ละด้าน ดังตารางที่ 1 ตารางที่ 1 สรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูลสมรรถนะการแก้ปัญหาแบบร่วมมือของนักเรียนในการจัดการเรียนรู้ ด้วยวิธีการแบบเปิด แผน กิจกรรม สมรรถนะการแก้ปัญหาแบบร่วมมือ การสร้างและ เก็บรักษาความ เข้าใจที่มีร่วมกัน การเลือก วิธีดำเนินการที่ เหมาะสมในการ แก้ปัญหา การสร้างและ รักษาระเบียบ ของกลุ่ม 1 การแปลงทางเรขาคณิตกับชีวิตประจำวัน 2 การแปลงทางเรขาคณิต 3 การแปลงทางเรขาคณิตกับการสร้างสรรค์ภาพวาด 4 การเลื่อนขนาน (ฉันตัวจริงเป็นอย่างไร) 5 กระจกสะท้อน (กระจกวิเศษบอกข้าทีเถิด) 6 การสะท้อน (ระหว่างฉันกับเธอ เดอะซีรีย์) 7 การหมุน (ฉันจะไปอยู่ตรงนั้น) 8 สำรวจการหมุน 9 การประยุกต์ใช้การแปลงทางเรขาคณิต


36| ห น้ า เอกสารสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการครุศาสตร์วิชาการครั้งที่ 13 : นวัตกรรมการศึกษาพลิกโฉมการพัฒนา “วิชาชีพครูในยุคดิจิทัล จากตารางที่ 1 พบว่า สมรรถนะการแก้ปัญหาแบบร่วมมือของนักเรียนในการจัด การเรียนรู้ด้วยวิธีการแบบเปิดในแผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1-3 นักเรียนแสดงสมรรถนะหลักได้ไม่ครบ ทั้งสามด้าน โดยมีรายละเอียดดังนี้ แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1 การแปลงทางเรขาคณิตกับชีวิตประจำวัน แสดงสมรรถนะ การแก้ปัญหาแบบร่วมมือด้านการเลือกวิธีดำเนินการที่เหมาะสมในการแก้ปัญหา ปรากฏในขั้นตอน วิธีการแบบเปิด ขั้นที่ 3 การอภิปรายทั้งชั้นและการเปรียบเทียบ และขั้นที่ 4 สรุปการเชื่อมโยงแนวคิด ของนักเรียนที่เกิดขึ้นในชั้นเรียน แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 2 การแปลงทางเรขาคณิต นักเรียนแสดงสมรรถนะ การแก้ปัญหา แบบร่วมมือด้านการเลือกวิธีดำเนินการที่เหมาะสมในการแก้ปัญหา และด้านการสร้างและรักษาระเบียบของกลุ่ม ปรากฏในขั้นตอนวิธีการแบบเปิด ขั้นที่ 2 การเรียนรู้ด้วยตนเองของนักเรียน และขั้นที่ 3 การอภิปรายทั้งชั้น และการเปรียบเทียบ แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 3 การแปลงทางเรขาคณิตกับการสร้างสรรค์ภาพวาด นักเรียนแสดง สมรรถนะการแก้ปัญหาแบบร่วมมือด้านการสร้างและเก็บรักษาความเข้าใจที่มีร่วมกัน และด้านการสร้างและ รักษาระเบียบของกลุ่ม ปรากฏในขั้นตอนวิธีการแบบเปิด ขั้นที่ 2 การเรียนรู้ด้วยตนเองของนักเรียน ขั้นที่ 3 การอภิปรายทั้งชั้นและการเปรียบเทียบ และขั้นที่ 4 สรุปการเชื่อมโยงแนวคิดของนักเรียนที่เกิดขึ้นในชั้นเรียน แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 4 การเลื่อนขนาน (ฉันตัวจริงเป็นอย่างไร) นักเรียนแสดงสมรรถนะ การแก้ปัญหาแบบร่วมมือด้านการสร้างความเข้าใจที่มีร่วมกัน ด้านเลือกวิธีการดำเนินการ ที่เหมาะสมในการ แก้ปัญหาและด้านการสร้างและรักษาระเบียบของกลุ่ม ปรากฏในขั้นตอนวิธีการแบบเปิด ขั้นที่ 1 การนำเสนอ วิธีการปลายเปิด ขั้นที่ 2 การเรียนรู้ด้วยตนเองของนักเรียน ขั้นที่ 3 การอภิปรายทั้งชั้นและการเปรียบเทียบ และขั้นที่ 4 สรุปการเชื่อมโยงแนวคิดของนักเรียนที่เกิดขึ้นในชั้นเรียน แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 5-9 พบว่า สมรรถนะการแก้ปัญหาแบบร่วมมือของนักเรียน ครบทั้งสามด้านมีผลแสดงเป็นไปอย่างคงที่ นอกจากนี้การวิเคราะห์ข้อมูลทั้งหมดที่นักเรียนแสดงสมรรถนะ การแก้ปัญหาแบบร่วมมือสามารถนำมาเปรียบเทียบในแต่ละด้านตามลำดับจากมากที่สุด ได้แก่ 1) การสร้าง และรักษาระเบียบของกลุ่ม 2) การสร้างและเก็บรักษาความเข้าใจที่มีร่วมกัน และ 3) การเลือกวิธีดำเนินการ ที่เหมาะสมในการแก้ปัญหา 5. อภิปรายผลการวิจัย การพัฒนาสมรรถนะการแก้ปัญหาแบบร่วมมือทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ด้วยวิธีการแบบเปิด มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาสมรรถนะการแก้ปัญหาแบบร่วมมือของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 2 ปีการศึกษา 2565 เรื่อง การแปลงทางเรขาคณิตโดยการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีการแบบเปิด พบว่า สมรรถนะการแก้ปัญหาแบบร่วมมือของนักเรียนมีครบทั้งสามด้าน เมื่อพิจารณาวงจรปฏิบัติการที่ 1 ในแต่ละ แผนการจัดการเรียนรู้พบว่านักเรียนแสดงสมรรถนะการแก้ปัญหาแบบร่วมมือไม่ครบทุกด้าน จึงมีการปรับปรุง แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีการแบบเปิดตามวงจรของการวิจัยปฏิบัติการเพื่อพัฒนาสมรรถนะดังกล่าว จนกระทั่งพบว่าในแผนการจัดการเรียนรู้ที่ 4 “ฉันตัวจริงเป็นอย่างไร” นักเรียนได้แสดงสมรรถนะการแก้ปัญหา แบบร่วมมือครบทุกด้าน สอดคล้องกับงานวิจัยของสุวิมล ภาวังและสุมาลีชูกำแพง (2563) ทำการศึกษา


เอกสารสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการครุศาสตร์วิชาการครั้งที่ 13 : นวัตกรรมการศึกษาพลิกโฉมการพัฒนา“วิชาชีพครูในยุคดิจิทัล” ห น้ า | 37 เรื่อง การพัฒนาสมรรถนะการแก้ปัญหาแบบร่วมมือ ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบเสริมต่อการเรียนรู้บนฐาน ของการใช้ปัญหาเป็นฐาน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 พบว่าการวิจัยเพื่อพัฒนาสมรรถนะการแก้ปัญหา แบบร่วมมือของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้การจัดการเรียนรู้ด้วยรู้แบบเสริมต่อการเรียนรู้บนฐาน ของการใช้ปัญหาเป็นฐาน นักเรียนมีการพัฒนาสมรรถนะการแก้ปัญหาแบบร่วมมือเพิ่มขึ้นตามลำดับจากวงจร ปฏิบัติการที่ 1 ถึง 3 ในวงจรปฏิบัติการที่ 1 นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยเป็นร้อยละ 56.46 ในวงจรปฏิบัติการที่ 2 นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 66.67 และในวงจรปฏิบัติการที่ 3 นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 78.33 ซึ่งมีคะแนนเฉลี่ยผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ในวงจรปฏิบัติการที่ 3 เนื่องจากสถานการที่ใกล้เคียงกับ ประสบการณ์ของนักเรียนช่วยกระตุ้นให้นักเรียนสนใจอยากเรียนรู้ตั้งปัญหาและทำความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหา ร่วมกันนำไปสู่การอภิปรายเพื่อแก้ปัญหาร่วมกันรวมไปถึงการกำหนดบทบาทหน้าที่ และควบคุมให้นักเรียนทำ ตามบทบาทหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายช่วยส่งเสริมให้นักเรียนพัฒนาสมรรถนะการแก้ปัญหาแบบร่วมมือได้อย่าง เหมาะสม ดังนั้น การจัดการเรียนรู้แบบเสริมต่อการเรียนรู้บนฐานของการใช้ปัญหาเป็นนั้น ช่วยพัฒนา สมรรถนะการแก้ปัญหาแบบร่วมมือของนักเรียนได้ และสอดคล้องกับงานวิจัยของเฉลิมพร เตชะพะโลกุล สกนธ์ชัย ชะนูนันท์และจินตนา กล่ำเทศ (2562) ทำการศึกษาเรื่อง การศึกษาการประยุกต์ห้องเรียนกลับด้าน เพื่อพัฒนาสมรรถนะการแก้ปัญหาแบบร่วมมือของผู้เรียนในรายวิชาเคมีระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย เรื่อง ปริมาณสารสัมพันธ์ พบว่านักเรียนพัฒนาสมรรถนะการแก้ปัญหาแบบร่วมมือได้มากที่สุด คือ สมรรถนะ การสร้างและรักษาระเบียบของกลุ่ม สมรรถนะการสร้างและเก็บรักษาความเข้าใจร่วมกัน และสมรรถนะการ เลือกวิธีดำเนินการที่เหมาะสมในการแก้ปัญหาตามลำดับ 6. ข้อเสนอแนะ 6.1 การจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีการแบบเปิด เป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอนเชิงรุกโดยเน้น ให้นักเรียนได้ลงมือแก้ปัญหาด้วยตนเอง ทำให้สามารถพัฒนาสมรรถนะการแก้ปัญหาแบบร่วมมือ ของนักเรียนได้ 6.2 การวิจัยครั้งต่อไปควรศึกษาสมรรถนะด้านการคิดขั้นสูงของนักเรียนในชั้นเรียนที่จัดการเรียนรู้ ด้วยวิธีการแบบเปิด 6.3 การวิจัยครั้งต่อไปควรศึกษากับเนื้อหาคณิตศาสตร์ในระดับชั้นอื่น ๆ เพื่อเปรียบเทียบการพัฒนา สมรรถนะการแก้ปัญหาแบบร่วมมือในช่วงชั้นที่นักเรียนจะสามารถแสดงประสิทธิภาพได้เป็นอย่างดี เอกสารอ้างอิง เฉลิมพร เตชะพะโลกุล. (2562). การศึกษาการประยุกต์ห้องเรียนกลับด้านเพื่อพัฒนาสมรรถนะการแก้ปัญหา แบบร่วมมือของผู้เรียนในรายวิชาเคมีระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย เรื่อง ปริมาณสารสัมพันธ์. วารสาร ชุมชนวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา, 13(3), 173-187. ชนะชัย ทะยอม, สิรินภา กิจเกื้อกูล, และ จินตนา กล่ำเทศ. (2560). การวิจัยปฏิบัติการเพื่อพัฒนาสมรรถนะ การแก้ปัญหาแบบร่วมมือ โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบเสริมต่อการเรียนรู้บนฐานของการใช้ปัญหา เป็นฐาน เรื่อง ปริมาณสารสัมพันธ์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์. วารสารวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 28(2), 34-45.


38| ห น้ า เอกสารสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการครุศาสตร์วิชาการครั้งที่ 13 : นวัตกรรมการศึกษาพลิกโฉมการพัฒนา “วิชาชีพครูในยุคดิจิทัล ทานตะวัน สีดา และ ปาริชาติประเสริฐสังข์, (2563). การพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาทาง คณิตศาสตร์โดยใช้วิธีการแบบเปิดของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏ ร้อยเอ็ด, 15(2), 79-90. ธีรฎา ไชยเดช, สกนธ์ชัย ชะนูนันท์, และ วิภารัตน์ เชื้อชวด ชัยสิทธิ์ (2560). การพัฒนาสมรรถนะ การแก้ปัญหาแบบร่วมมือด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐานตามแนวคิดสะเต็มศึกษา เรื่อง เชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์และผลิตภัณฑ์. วารสารหน่วย วิจัยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและ สิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้, 8(1), 51-66. นัตยา หัสมินทร์และ ธิติยา บงกชเพชร, (2565). การจัดการเรียนรู้ตามแนวสะเต็มศึกษาที่เน้นกระบวน การออกแบบเชิงวิศวกรรมเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการแก้ปัญหาแบบร่วมมือ เรื่อง การเคลื่อนที่แบบต่าง ๆ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร, 24(1), 166- 175. ยุคลทิพย์ ใจขำ. (2554). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ เรื่อง การแปลงทางเรขาคณิต สำหรับ นักเรียนช่วงชั้นที่ 3. สารนิพนธ์ กศ.ม. (เทคโนโลยีการศึกษา). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. สุวิมล ภาวัง และ สุมาลีชูกำแพง, (2563). การพัฒนาสมรรถนะการแก้ปัญหาแบบร่วมมือ ด้วยการจัด การเรียนรู้แบบเสริมต่อการเรียนรู้บนฐานของการใช้ปัญหาเป็นฐานของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 7(9), 175-192. Anita Pásztor-Kovács, Attila Pásztor & Gyöngyvér Molnár (2021) : Measuring collaborative problem solving: research agenda and assessment instrument. Interactive Learning Environments, 1-21. https://doi.org.10.1080/10494820.2021.1999273/ Fiore, S. M., & Wiltshire, T. J. (2016). Technology as teammate: Examining the role of external cognition in support of team cognitive processes. Frontiers in Psychology, 7, 1531. https://doi.org/10.3389/fpsyg.2016.01531 Fiore, S. M., Graesser, A., & Greiff, S. (2018). Collaborative problem-solving education for the twenty-first-century workforce. Nature Human Behaviour, 2(6), 367–369. https://doi.org/10.1038/s41562-018-0363-y Organisation for Economic Co-operation and Development. (2017). PISA 2015 Results (Volume V): Collaborative Problem Solving. OECD Publishing. http:// dx.doi.org/10.1787/9789264285521-en Ouyang, F., Chen, Z., Cheng, M., Tang, Z., & Su, C.Y. (2021). Exploring the effect of three scaffolding on the collaborative problem-solving processes in China’s higher education. International Journal of Educational Technology in Higher Education, 18(35), 1-22, https://doi.org/10.1186/s41239-021-00273-y Phusaisom, S., & Cojorn, K. (2020). A Development of Learning Activity Based on Problem Based Learning Cooperated with Collaborative Learning Approach for Promoting Problem Solving Competency of Matthayomsuksa 4 Students. Journal of MCU Nakhondhat, 7(9), 265-282.


เอกสารสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการครุศาสตร์วิชาการครั้งที่ 13 : นวัตกรรมการศึกษาพลิกโฉมการพัฒนา“วิชาชีพครูในยุคดิจิทัล” ห น้ า | 39 การพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความสำคัญโดยใช้แบบฝึกทักษะร่วมกับเทคนิคการสอน 5W1H ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนทุ่งหว้าวรวิทย์ อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล The Developing of Reading Comprehension Skills by Using Skill Exercises and 5W1H Technique for Mathayomsuksa 2 Students at Thung Waworawit School, Thung Wa District, Satun Province ญุไวรีย์ มานะกล้า1 , ฟาดียะห์ ดอเลาะ2 , ฆูไซมะห์ ลูโบะ3 , นิฟารีดา ฮายีอาซัน4 , จิตติขวัญ ภู่พันธ์ตระกูล5 Yuwairee Manakla1 , Fadeeyah Doloh2 , Khusaimah Luboh3 , Nifareeda Hayeeasan4 , Chittikhwan Poopantrakoon5 บทคัดย่อ เทคนิคการสอน 5W1H เป็นเทคนิคการสอนที่เน้นการพัฒนานักเรียนด้านการอ่านจับใจความสำคัญ งานวิจัยเรื่องการพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความสำคัญโดยใช้แบบฝึกทักษะร่วมกับเทคนิคการสอน 5W1H ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนทุ่งหว้าวรวิทย์ อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล ฉบับนี้เป็นงานวิจัย ประเภทเชิงทดลอง โดยมีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการอ่านจับใจความสำคัญของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้แบบฝึกทักษะ ร่วมกับเทคนิคการสอน 5W1H (2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของ นักเรียนที่มีต่อแบบฝึกทักษะ ร่วมกับเทคนิคการสอน 5W1H ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มตัวอย่าง คือนักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/4 ของโรงเรียนทุ่งหว้าวรวิทย์ อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล ที่กำลัง ศึกษาในปีการศึกษา 2565 จำนวน 28 คน ด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ ร่วมกับเทคนิคการสอน 5W1H และ แบบทดสอบวัดทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ ผ่านการตรวจสอบและหาค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) จากผู้เชี่ยวชาญแล้วมีค่าเท่ากับ 1.00 สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentile) ค่าเฉลี่ย (̅) ส่วนเบี่ยงเบงมาตรฐาน (S.D.) และ t-test แบบ dependent 1 นักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา อีเมล:406201018@yru.ac.th 1 Department of Thai Language, Faculty of Education, Yala Rajabhat University, E-mail: 406201018@yru.ac.th 2 นักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา อีเมล:406201004@yru.ac.th 2 Department of Thai Language, Faculty of Education, Yala Rajabhat University, E-mail: 406201004@yru.ac.th 3 นักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทยคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา อีเมล:406201011@yru.ac.th 3 Department of Thai Language, Faculty of Education, Yala Rajabhat University, E-mail: 406201011@yru.ac.th 4 นักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา อีเมล: 406201013@yru.ac.th 4 Department of Thai Language, Faculty of Education, Yala Rajabhat University, E-mail: 406201013@yru.ac.th 5อาจารย์หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา อีเมล: chittikhwan.p@yru.ac.th 5 Lecturer of Bechelor of Education Program in Thai,Humanities and Social Sciences, Yala Rajabhat UniversityEmail: chittikhwan.p@yru.ac.th


40| ห น้ า เอกสารสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการครุศาสตร์วิชาการครั้งที่ 13 : นวัตกรรมการศึกษาพลิกโฉมการพัฒนา “วิชาชีพครูในยุคดิจิทัล ผลการวิจัยพบว่า (1) การเปรียบเทียบทักษะการอ่านจับใจความสำคัญของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 2 โดยใช้เทคนิคการสอน 5W1H หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (2) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความ ร่วมกับเทคนิค 5W1H อยู่ในระดับมาก ( ̅= 4.34, S.D. = 0.58) คำสำคัญ : การอ่านจับใจความสำคัญ, เทคนิคการสอน 5W1H, แบบฝึกทักษะ Abstract The 5W1H teaching technique is a teaching technique that focuses on developing learners in the field of comprehension. This research on The Developing of Reading Comprehension Skills by using the skill Exercises and the 5W1H Technique for Secondary education 2 Students at Thung Waworawit School Thung Wa District, Satun Province. The objective was (1) to compare the critical reading achievements of Secondary education 2 Students using the skills training method in combination with the 5W1H technique and (2) to study the student's satisfaction with the skill training method in combination with the 5W1H technique of Secondary education 2 Students. Tools used in the research include learning management plans, reading comprehension skills exercises, in combination with 5W1H teaching techniques, and reading achievement tests, validated and obtained by experts with an IOC value equal to 1.00. The results showed that (1) comparing the critical reading achievement of Secondary education 2 Students using the 5W1H teaching technique after school was statistically significantly higher than Pre-test at .05 level, (2) student satisfaction with the reading comprehension training set, in combination with the 5W1H technique, was substantial (̅= 4.34, S.D. = 0.58). Keywords : Reading Comprehension, 5W1H Technique, Skill Exercises 1. บทนำ หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 มุ่งเน้นพัฒนานักเรียนให้มีคุณภาพ ตามมาตรฐานที่กำหนด โดยกำหนดการประเมินสมรรถนะสำคัญและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน โดยเฉพาะสมรรถนะในข้อที่ 2 คือ ความสามารถในการคิด เป็นความสามารถในการคิดวิเคราะห์ การคิดสังเคราะห์ การคิดสร้างสรรค์ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ และการคิดเป็นระบบ เพื่อนำไปสู่การสร้าง องค์ความรู้หรือสารสนเทศเพื่อการตัดสินใจเกี่ยวกับตนเองและสังคมได้อย่างเหมาะสม ซึ่งสอดคล้อง กับประเด็นที่ได้มีการกำหนดไว้ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ.2542 ในหมวด 4 แนวการจัด การศึกษาในมาตรา 24 ซึ่งเน้นกระบวนการเรียนรู้ให้นักเรียนเกิดการพัฒนาด้านความรู้ควบคู่ไปกับ กระบวนการคิด โดยเน้นว่าจะต้องฝึกทักษะกระบวนการคิด การจัดการ การเผชิญสถานการณ์และ การประยุกต์ความรู้มาใช้เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาตลอดจนจัดกิจกรรมให้นักเรียนได้เรียนรู้จาก ประสบการณ์จริง ฝึกการปฏิบัติให้ทำได้ คิดเป็น ทำเป็น รักการอ่านและเกิดการใฝ่รู้อย่างต่อเนื่อง (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, 2545)


เอกสารสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการครุศาสตร์วิชาการครั้งที่ 13 : นวัตกรรมการศึกษาพลิกโฉมการพัฒนา“วิชาชีพครูในยุคดิจิทัล” ห น้ า | 41 หลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 จึงได้กำหนดสาระและมาตรฐานการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้อง คือ สาระที่ 1 การอ่าน มาตรฐาน ท 1.1 ใช้กระบวน การอ่านสร้าง ความรู้และความคิดเพื่อนำไปใช้ตัดสินใจ แก้ปัญหาในการดำเนินชีวิตและมีนิสัย รักการอ่าน (กรมวิชาการ, 2551) และได้กำหนดคุณภาพของนักเรียนเมื่อจบช่วงชั้นที่ 3 ไว้ว่านักเรียนจะต้องสามารถอ่าน ออกเสียงบทร้อยแก้วและบทร้อยกรองเป็นทำนองเสนาะได้ถูกต้อง เข้าใจความหมายโดยตรงและความหมาย โดยนัย จับใจความสำคัญ และรายละเอียดของสิ่งที่อ่าน แสดงความคิดเห็นและข้อโต้แย้งเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน และเขียนกรอบแนวคิด ผังความคิด ย่อความ เขียนรายงานจากสิ่งที่อ่านได้ วิเคราะห์ วิจารณ์อย่างมีเหตุผล ลำดับความอย่างมีขั้นตอน และความเป็นไปได้ของเรื่องที่อ่าน รวมทั้งประเมินความถูกต้องของข้อมูล ที่ใช้สนับสนุนจากเรื่องที่อ่านได้ (กรมวิชาการ, 2551) การอ่านจับใจความมีความสำคัญเพราะเป็นทักษะพื้นฐานที่สำคัญสำหรับการอ่านระดับขั้นสูงขึ้นไป เพราะถ้าหากนักเรียนไม่สามารถอ่านจับ ใจความได้ก็จะส่งผลให้ไม่สามารถเข้าใจเรื่องที่อ่าน เนื่องจาก การอ่านจับใจความมีส่วนช่วยให้ผู้อ่านเกิดความเข้าใจในแก่นเรื่องที่อ่านได้ถูกต้อง และสำหรับนักเรียน ในรายวิชาต่าง ๆ ทุกสาขาวิชาจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องอาศัยทักษะการอ่านจับใจความ เพื่อใช้เป็นเครื่องมือ ในการแสวงหาความรู้และประสบการณ์ต่าง ๆ ดังนั้นนักเรียนที่ขาดทักษะการอ่านจับใจความก็จะไม่สามารถ สรุปเนื้อหาสาระเรื่องที่อ่านได้ในด้านการเรียนการสอน การอ่านจับใจความถือว่ามีความสำคัญ เพราะเป็นพื้นฐานในการอ่านทำความเข้าใจเนื้อหาของการเรียนในทุกรายวิชาโดยการเรียนการสอนนั้น จำเป็นต้องปลูกฝังให้นักเรียนมีนิสัยรักการอ่าน และพัฒนาให้นักเรียนสามารถอ่านจับใจความได้ อย่างมีประสิทธิภาพ แต่การที่จะพัฒนานักเรียนให้สามารถอ่านจับใจความได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้น จะต้อง อาศัยการฝึกปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอเพราะเป็นประโยชน์อย่างมากในการแสวงหาความรู้(ชุติมา ยอดตา, 2561) การอ่านจับใจความสำคัญเป็นทักษะที่จำเป็นอย่างยิ่งสำหรับนักเรียนในการค้นคว้าหาความรู้ในแขนงต่าง ๆ ไปจนตลอดชีวิต แต่ในปัจจุบันกับพบว่า นักเรียนขาดทักษะในการอ่าน และการอ่านเชิงวิเคราะห์อันส่งผลต่อ การเรียนรู้ และผลสัมฤทธิ์ในการเรียนในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยอยู่ในระดับ ต่ำกว่าเกณฑ์กำหนด จากข้อมูลสถิติมาตราฐานของโรงเรียน คณะผู้วิจัยได้ทำการสอนวิชาภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนทุ่งหว้าวรวิทย์อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล พบว่า นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทย น้อยกว่าเกณฑ์มาตรฐาน และจากผลการวิเคราะห์การทดสอบระดับชาติ (O-NET) ในปีการศึกษา 2563 พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทยมีคะแนนเฉลี่ยต่ำกว่าระดับประเทศ และในการจัดการเรียนรู้ จะพบปัญหาในเรื่องทักษะการอ่านจับใจความสำคัญมากที่สุด กล่าวคือ นักเรียนอ่านแล้วไม่สามารถ จับใจความจากเรื่องที่อ่านได้และไม่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ เมื่อนักเรียนอ่านจับใจความ ภาษาไทยไม่ได้ อาจส่งผลกระทบต่อผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ในรายวิชาอื่น ๆ ของนักเรียนได้ ด้วยหลักการและเหตุผลดังกล่าว คณะผู้วิจัยจึงได้คิดที่จะพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ โดยใช้แบบฝึกการอ่านจับใจความสำคัญด้วยการจัดการเรียนรู้ โดยใช้เทคนิคการสอน 5W1H โดยสร้างแบบฝึก การอ่านจับใจความสำคัญ ร่วมกับเทคนิคการสอน 5W1H ซึ่งประกอบด้วยการตั้งคำถาม Who (ใคร) What (อะไร) Where (ที่ไหน) When (เมื่อไร) Why (ทำไม) How (อย่างไร) เพื่อเป็นตัวชี้นำในการอ่าน


Click to View FlipBook Version