The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by sriparat, 2020-02-14 01:40:44

สารบัณฑิต

สารบัณฑิต

พระพทุ ธวรญาณ (มงคล วโิ รจโน)  279 

พระครูวิวิธธรรมโกศล ที่ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์
คร้งั น้ ี อันเป็นกรณีพิเศษสุด ซ่งึ ไม่มีใครเหมือนและก็ไม่เหมือน
ใคร ก็ด้วยอำ�นาจแห่งบุญเก่ากุศลก่อนที่เธอได้สร้างเอาไว้ ท่ี
เรียกว่า ปุพเพกตปุญญตา ประกอบกับการต้ังตนไว้ชอบ คือ 
อัตตสัมมาปณิธิ รวมเรียกว่าเธอดีครบวงจร คือ ร้ดู ี สามารถดี 
และประพฤติดี

คุณธรรมที่พิเศษและโดดเด่นอีกอย่างหนึ่งของเธอ คือ 
ความกตัญญู ข้าพเจ้าคิดว่า เน่ืองจากคุณธรรมข้อนี้เองท่ีมี
ส่วนสนับสนุนให้ชีวิตของเธอรุ่งโรจน์มาโดยลำ�ดับ สมกับ
ธรรมภาษิตท่ีว่า ภูมิ เว สาธุรูปานํ กตญฺญูกตเวทิตา ความ
กตญั ญูกตเวที เปน็ ดจุ ภาคพื้นรองรับความดีท้ังหลาย ฉะน้นั

ในนามคณะสงฆ์ และชาววัดประยุรวงศาวาส ขอแสดง
ความช่ืนชมยินดีต่อเจ้าคุณพระพิจิตรธรรมพาที ด้วยความ
จรงิ ใจมา ณ โอกาสน้ีด้วย

๏ ๏ ๏

280  เก็บเล็กผสมนอ้ ย

อนโุ มทนา แด ่
พระโสภณธรรมวาที

พระพุทธเจ้าได้ตรัสว่า ยมฺปิจฺฉํ น ลภติ ตมฺปิ ทุกฺขํ 
แปลว่า ปรารถนาส่ิงใดไม่ได้ส่ิงนั้นสมปรารถนาก็เป็นทุกข์
ดงั นนั้ เม่อื ได้ส่ิงท่ตี ้องการนั้นก็เป็นสขุ

ข้าพเจ้าดีใจเป็นพิเศษ ท่ที ่านพระครูปลัดสุวัฒนพุทธคุณ 
(บุญมา อาคมปุญฺโ) ผู้ช่วยเจ้าอาวาส รองอาจารย์ใหญ่
สำ�นักเรียน รองผู้อำ�นวยการโรงเรียนพระพุทธศาสนาวัน
อาทิตย์ กรรมการมูลนิธิเทพประสิทธิคุณ มูลนิธิหลวงตา แพร
เย่ือไม้ และเลขานุการองค์การปกครองวัดประยุรวงศาวาส
วรวิหาร ได้รับพระราชทานสมณศักด์ิเป็นพระราชาคณะ ท่ี 
“พระโสภณธรรมวาที” ชื่อน้ีนอกจะไพเราะแล้ว ยังสอดคล้อง
ตอ้ งกบั ปฏปิ ทาของทา่ นเจา้ คณุ  ซง่ึ เปน็ ผทู้ ม่ี วี าทศลิ ปอ์ นั ไพเราะ
เพราะพร้ิงอีกด้วย

ท่านเจ้าคุณพระโสภณธรรมวาที เป็นพระท่ีสุภาพ 
เรียบร้อย อ่อนโยน ตรงกับสุภาษิตท่ีว่า “การอ่อนน้อมถ่อม
ตนเป็นมนต์อันศักด์ิสิทธิ์” คุณธรรมอีกอย่างหน่ึงคือ มีความ
กตัญญูเป็นเลิศ นอกจากน้ียังได้บำ�เพ็ญประโยชน์ให้แก่วัด 
และแกพ่ ระพุทธศาสนาตลอดจนประชาชนทุกหม่เู หลา่

พระพุทธวรญาณ (มงคล วโิ รจโน)  281 

ถ้าเปรียบชีวิตของท่านเจ้าคุณ ก็เปรียบได้กับกล้วยไม้
ท่ีมีปรกติอาศัยต้นไม้อื่นเกาะ รากไม่มีพิษ ไม่แย่งอาหารจาก
ต้นไม้ท่ีเกาะ และมีดอกสวยงาม น่าภิรมย์ชมชื่น บางต้นมี
ราคาเรอื นพนั  ตรงขา้ มกบั กาฝาก ซง่ึ มลี กั ษณะ อาศยั ตน้ ไมอ้ น่ื
เกาะเหมือนกัน แต่รากมีพิษ และมีปรกติแย่งอาหารจากต้น
ทเี่ กาะ

ด้วยเหตุนี้แหละ จึงทำ�ให้ต้นไม้ทีมีกาฝากไปเกาะ ต้อง
แห้งเหี่ยวและตายในท่ีสุด เฉกเช่นเดียวกับคนท่ีไม่ดี ไปอยู่
ท่ีไหนก็เดือดร้อนท่ีน่ัน ท้ังยังไม่ได้สร้างประโยชน์อะไรให้
ปรากฏ ซ่ึงท่านเรียกคนประเภทน้ีว่า “คนรกโลก” หรือคน
กาฝาก”

ท่านเจ้าคุณพระโสภณธรรมวาที จัดเป็น “พระกล้วยไม้” 
เพราะมีแต่สร้างประโยชน์ฝ่ายเดียว ไม่ได้ทำ�ความเดือดร้อน
ใหแ้ กใ่ ครๆ ข้าพเจา้ ต้องการพระแบบน้ีมาประดับวดั

เพราะฉะนั้น การที่ท่านพระปลัดสุวัฒนพุทธคุณ ได้รับ
พระราชทานสมณศักด์ิครั้งนี้ ข้าพเจ้าจึงดีใจเป็นพิเศษ เพราะ
สมความปรารถนา

ขออวยพรให้ท่านเจ้าคุณพระโสภณธรรมวาที เจริญ
รุ่งเรอื งอยใู่ นพระพทุ ธศาสนา เพอ่ื จะไดช้ ว่ ยกนั จรรโลง สง่ เสรมิ  
วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร ให้เจริญก้าวหน้าย่ิงๆ ข้ึนไป ส้ิน
กาลนานเทอญ

๏ ๏ ๏

282  เกบ็ เลก็ ผสมน้อย

๘๐ ปี ที่ทรงคณุ คา่ : 
พระครพู ิศษิ ฏธ์ รรมวธิ ูร

ในวาระสมัยที่ท่านพระครูพิศิษฏ์ธรรมวิธูร เจริญชนมายุ
พรรษา ๘๐ ปี บรรดาชาววัดประยุรวงศาวาสท้ังบรรพชิตและ
คฤหัสถ์ต่างพร้อมใจกัน จัดงานทำ�บุญฉลองชนมายุให้แก่ท่าน
พระครูฯ ทัง้ ๆ ท่ีท่านไม่ปรารถนาจะให้ท�ำ เพราะความเกรงใจ

แต่ด้วยความรัก เคารพ นับถือของชาววัดประยุรวงศ์ฯ 
ท่ีมีอยู่อย่างท่วมท้นในท่านพระครูฯ งานจึงสำ�เร็จขึ้นด้วย
ประการฉะน้ี

พูดถึงท่านพระครูท่านเป็นพระที่พูดน้อย แต่ทำ�มาก 
ท่านทำ�งานมีระเบียบ ละเอียดลออ มีความซ่ือสัตย์สุจริต 
ท่านเป็นนักเสียสละไม่สะสม มีจิตเมตตา ชอบช่วยสงเคราะห์ 
คนยากคนจน จึงนับได้ว่าชีวิตของท่าน ที่ล่วงกาลผ่านวัยมา 
ตลอดระยะเวลา ๘๐ ปี จงึ เปน็ ชีวิตทที่ รงคุณคา่

ข้าเจ้าขอแสดงความชื่นชมยินดีต่อชาววัดประยุรวงศ์ฯ 
ท้ังบรรพชิต และคฤหัสถ์ ที่ได้มีนํ้าใจไมตรีร่วมกันจัดงาน
คร้ังน้ขี ้นึ  เพื่อบชู าคณุ งามความดขี องทา่ น

พระพทุ ธวรญาณ (มงคล วโิ รจโน)  283 

อนั ความกรุณาปรานี
จะมีใครบังคับกห็ าไม่
หลง่ั มาเองเหมือนฝนอนั ช่นื ใจ
จากฟากฟ้าสุราลัยส่แู ดนดิน

๏ ๏ ๏

สัมโมทนยี กถา 
แด่ พระครสู ทุ ธปิ ริยัตยาทร

กล้วยไม้-กาฝาก ต้นไม้ ๒ ชนิดน้ ี ท่มี ีลักษณะเหมือนกัน 
คือ ต่างก็เกาะอาศัยต้นไม้อ่ืนเกาะ แต่ที่ต่างกันก็คือ กล้วยไม้
รากไม่เป็นพิษ ไม่แย่งอาหารจากต้นไม้ที่เกาะและมีดอก
สวยงาม บางตน้ ราคาแพง เปน็ ทป่ี รารถนาของคนทว่ั ไป นบั วา่
เปน็ ต้นไมท้ มี่ เี สนห่ ์

ส่วนกาฝากรากเป็นพิษ มีปรกติแย่งอาหารจากต้นไม้
ท่ีเกาะ และไม่มีดอกดวงอะไรที่น่าอภิรมย์ชมช่ืนเป็นดอกไม้
ท่ีอาภัพ ไม่มีใครปรารถนา เนื่องจากรากมีพิษน่ีเอง เม่ือไป
เกาะทตี่ น้ ไม้ใด ต้นไมน้ นั้ กม็ อี นั ต้องเห่ียวแห้งและตายในที่สุด

284  เก็บเล็กผสมนอ้ ย

ต้นไม ้ ๒ ชนดิ น้ ี เม่อื นำ�มาเปรียบเทียบกบั คนเรา กจ็ ะได้
ข้อปฏบิ ัติอนั ลํา้ คา่  กลา่ วคือ

ประเภทกล้วยไม้เป็นคนมีเสน่ห์ เป็นลูกใคร พ่อแม่ก็
โปรดปราณ เป็นศิษย์ใครครูบาอาจารย์ก็รัก เป็นพระอยู่
วัดไหน ก็ทำ�ความเจริญให้แก่วัดนั้น เป็นพระที่มีประโยชน์
เคร่งครัดต่อพระวินัย สุภาพเรียบร้อย ทำ�ช่ือเสียงให้แก่วัด 
สมภารกส็ บายใจ นี่คอื คนกลว้ ยไม้

ส่วนประเภทคนกาฝาก เป็นคนมีพิษ เป็นลูกใครพ่อแม่
ก็เดือดร้อน สร้างความเสื่อมเสียให้แก่วงศ์ตระกูล เป็นศิษย์
ใครครูบาอาจารย์ก็เอือมระอา ทำ�ให้โรงเรียนเสียชื่อเสียง 
พระก็เป็นพระที่ไม่เคร่งครัดต่อพระธรรมวินัย ไม่สนใจต่อ
กิจวัตร ข้ีคร้านต่อการทำ�วัตรไหว้พระสวดมนต์ ไม่สุภาพ
เรียบร้อย ชอบนอกรีตนอกรอย ดื้อร้ัน ทำ�ให้วัดเส่ือมเสียช่ือ
เสียง ทำ�ใหส้ มภารหนักใจ

กล้วยไม้เป็นต้นไม้ท่ีไร้พิษสง ดอกสวย มีราคา เป็นต้น
ไมม้ เี สนห่  ์ เฉกเชน่  พระครสู ทุ ธปิ รยิ ตั ยาทร (สมชาย จารวุ ฑฒฺ โน) 
ก็ฉันน้ัน เม่ือเธอได้รับสมณศักดิ์คร้ังนี้ จึงเป็นการเหมาะสม
ท่ีสุด นี่ก็สอดคล้องกับคำ�ท่ีว่า “ทุกส่ิงประสงค์จงใจ จักเสร็จ
สมได้ด้วยความด”ี

พระพทุ ธวรญาณ (มงคล วโิ รจโน)  285 

ในงานคร้ังน้ีได้จัดพิมพ์หนังสือขึ้นเล่มเล่ม มีช่ือว่า “เก็บ
เล็กผสมน้อย เล่ม ๒” สำ�หรับแจกแก่ท่านท่ีมาแสดงมุทิตา
สกั การะแดเ่ ธอ

หนังสือเล่มนี้จักมีประโยชน์แก่ผู้อ่านมากน้อยเพียงใด 
ย่อมข้นึ อยู่กับผู้อ่านเปน็ ส�ำ คัญ

ข้าพเจ้าชอบคำ�ประพันธ์ ของอาจารย์โรงเรียนอัสสัมชัญ 
ท่านหน่งึ

“สองคนยลตามช่อง คนหนึ่งมองเหน็ เปลอื กตม
คนหนงึ่ ตาแหลมคม มองเห็นดาวอยพู่ ราวพราย”
คอื ชอ่ งเดยี วกนั แต่เหน็ คนละอย่าง
เจ้าชายสิทธัตถะทอดพระเนตรเห็นคนแก่ คนเจ็บ คน
ตาย และบรรพชิต ทรงพิจารณาด้วยพระปรีชาญาณถ่องแท้ 
ผลก็คือทำ�ให้พระองค์ได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในกาลต่อมา 
เพราะทรงเห็นดวงดาวอยู่พราวพราย
ตรงกันข้ามกับชาวโลกทั้งหลาย ซ่ึงเห็นคนแก่ คนเจ็บ 
คนตาย เห็นอยู่เต็มตาทุกวี่ทุกวัน เห็นแล้วก็เห็นไป มิได้สนใจ
พิจารณาอะไร ผลสุดท้ายสัตว์โลกทั้งหลายก็ยังเวียนว่ายอยู่
ในวังวนแห่งวัฏสงสารอย่างไม่รู้จบสิ้น เพราะเขาเหล่านั้นมอง
เห็นเป็นเปลอื กตมไปหมด

286  เกบ็ เล็กผสมนอ้ ย

ขออวยพรให้พระครูสุทธิปริยัตยาทร จงเจริญรุ่งเร่ือง
ในชีวิตของสมณะตลอดไป เพ่ือจะได้ช่วยกันจรรโลงส่งเสริม
วัดประยูรฯ และพระพุทธศาสนา ให้วัฒนาสถาพรย่ิงๆ ข้ึนไป 
ช่วั กาลนานเทอญ

๏ ๏ ๏

แด่พระผบู้ �ำ เพ็ญประโยชน์

วันท่ี ๓๑ คุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๓ ตรงกับ วันอังคาร ข้ึน 
๘ คํ่า เดือน ๑๒ นับว่าเป็นวันสำ�คัญวันหน่ึง เพราะเป็นวัน
ตรงกับวันเกิดของท่านท้ัง ๒ คือ พระปลัดชน และพระครู
สังฆรักษ์สรุ ินทร์

ด้วยว่าท่านท้ัง ๒ น้ี ได้บำ�เพ็ญประโยชน์ให้แก่วัด และ
พระพุทธศาสนามาโดยตลอด ซึ่งเป็นท่ีทราบกันดีในวงการ
แห่งพุทธบริษัท อันผู้ท่ีจะปฏิบัติตนได้เช่นน้ีก็เพราะอาศัย
มีจิตสำ�นึกว่า เราได้ทำ�ประโยชน์อะไรให้แก่วัดบ้าง แทนที่จะ
คดิ ว่า วัดไดใ้ ห้อะไรแก่เราบา้ ง

พระพุทธเจ้าตรัสเตือนไว้ว่า “ท่านทั้งหลายจงบำ�เพ็ญ
ประโยชนข์ องตน และของผอู้ น่ื ใหบ้ รบิ รู ณด์ ว้ ยความไมป่ ระมาท

พระพทุ ธวรญาณ (มงคล วโิ รจโน)  287 

เถิด” พระพุทธภาษิตนี้คล้ายจะทรงบอกพระท้ังหลายว่า “เธอ
ท้ังหลายอย่าเป็นคนรกโลก อย่าเป็นคนรกบ้าน อย่าเป็นคน
รกวัด ไม่ว่าเธอจะอยู่ที่ไหน จงอย่าลืมทำ�ประโยชน์ เธออย่า
อยู่เฉยๆ เดียวจะถูกหาว่าเป็นคนรกโลกอยู่หนักแผ่นดิน อย่า
ลืมว่าคนท่ีดมี ีคา่ นัน้  คือคนทท่ี ำ�ประโยชน์

ขออวยพรให้ท่านท้ัง ๒ มีอายุย่ังยืนนาน โดยปราศจาก
โรคาพยาธิ นิราศอันตรายท้ังปวง ท้ังน้ีก็เพ่ือจะได้อยู่ทำ�
ประโยชนต์ อ่ ไปอกี นานๆ

๏ ๏ ๏

ขอชมเชย
พระครสู งั ฆรักษว์ ิเขยี ร วชริ ธมโฺ ม

พระครูสังฆรักษ์วิเชียร เป็นศิษย์อยู่ในสำ�นักวัดประยุร-
วงศาวาส ไดศ้ กึ ษาภาษาบาลจี นสอบไดเ้ ปรยี ญธรรม ๕ ประโยค 
และสอบได้ปริญญาตรีพุทธศาสตรบัณฑิต มหาจุฬาลงกรณ-
ราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ เวลาน้ีกำ�ลังศึกษา
ปริญญาโทสาขาศาสนาเปรียบเทยี บ ณ มหาวิทยาลยั มหิดล

นอกจากนี้ยังมีส่วนร่วมกิจการงานต่างๆ ภายในวัด
ประยุรวงศาวาสอีกมากมายหลายอย่าง นับว่าเธอได้เป็น

288  เก็บเล็กผสมน้อย

ขุมกำ�ลังอันสำ�คัญของวัดองค์หนึ่ง ว่าถึงในเชิงปฏิภาณโวหาร
ดา้ นนกั เทศน ์ นกั ปาฐกถา การบรรยายกจ็ ดั วา่ อยใู่ นความนยิ ม
ของผู้ฟงั ทง้ั หลาย 

ในส่วนคุณสมบัติของเธอน้ันพอจะประมวลได้ดังน้ี มี
เสียงดังฟังชัดกิริยาอาการแคล่วคล่องว่องไวเอาการเอางาน
ขยันทำ�งานใจคอหนักแน่น กว้างขวาง เป็นนักเสียสละ เป็น
คนมีเหตผุ ล มีความกตญั ญสู งู

บัดน้ีเธอได้ปริญญาบัตรระดับปริญญาตรีพุทธศาสตร
บัณฑิต มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย อันทรงเกียรติ พร้อม
ทง้ั จะได้จดั การประกอบพิธฉี ลองสมโภชในคราวนี้ดว้ ย

ในนามคณะสงฆว์ ดั ประยรุ วงศาวาส ขอแสดงความชน่ื ชม
ยินดีอนุโมทนา ในความสำ�เร็จคร้ังยิ่งใหญ่ของเธอ พร้อมทั้ง
ขออวยพรให้เธอมีชีวิตรุ่งโรจน์โชติช่วงตลอดกาลเป็นนิตย์
เทอญ

๏ ๏ ๏

พระพทุ ธวรญาณ (มงคล วโิ รจโน)  289 

นแ่ี หละคอื นาํ้ ใจ: 
ส.ณ.วริ ัตน ์ ณศุ รจี นั ทร์

คณะสงฆ์วัดประยุรวงศาวาส ขอแสดงความชื่นชมยินดี
ต่อสามเณรวิรัตน์ ณุศรีจันทร์ ที่ได้สร้างช่ือเสียงให้แก่วัด
ประยุรวงศาวาสโดยท่ีเธอสอบเปรียญธรรม ๙ ประโยคได้
ขณะที่ยังเป็นสามเณรทราบว่าเธอได้รับฉลองหลายคร้ังหลาย
แห่งด้วยกัน ทั้งนี้ก็เพราะอาศัยอานุภาพแห่งเสน่ห์ของเธอ
นนั่ เอง

เร่ืองการฉลองนี้มีมาช้านานแล้วจะเรียกคู่กับโลกก็ว่าได้ 
ในสมัยครั้งพุทธกาลเม่ือนางวิสาขาสร้างบุพพารามมหาวิหาร
เสร็จแล้วก็จัดฉลอง ๓ วัน ๓ คืน ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี 
เมื่อสร้างพระเชตวันมหาวิหาร เสร็จแล้วก็จัดการฉลองส้ิน ๗ 
วัน ๗ คืน

ต่อมาเม่ือสมัยพระเจ้าอโศกมหาราชได้ทรงสร้างและ
ปฏิสังขรณ์พระมหาเจดีย์ ๘๔,๐๐๐ องค์แล้ว ทรงฉลองนานถึง 
๗ ปี ๗ เดือน มีผู้ถามว่าทำ�อะไรเสร็จแล้วจะไม่ฉลองได้ไหม
ตอบว่าไม่ฉลองก็ได้แต่ฉลองนั่นแหละดี เหมือนกับว่า ถ้า
รับประทานอาหารคาวแล้วจะไม่รับประทานของหวานอีกก็ได้ 
แตร่ ับประทานนน้ั แหละดีจะได้อมิ่ อย่างสมบรู ณ์แบบ

290  เก็บเลก็ ผสมน้อย

การฉลองน้ันจัดว่าเป็นประเภทบุญกำ�ไร เพราะเป็นการ
เพิ่มบุญให้มากขึ้นเป็นทวีตรีคูณ เป็นการประกาศความสำ�เร็จ 
เป็นการชักชวนให้ผู้อื่นมาอนุโมทนาทำ�บุญร่วมกัน เป็นการ
รักษาประเพณที ี่ดเี อาไว้ไมใ่ ห้เสือ่ มสญู ไป

ขออำ�นาจแห่งคุณพระศรีรัตนตรัย จงคุ้มครองรักษา
สามเณรวิรัตน์ ณุศรีจันทร์ ให้เธอครองสมณเพศอยู่ตลอดไป
จวบจนกระทงั่ บ้นั ปลายของชวี ติ ของเธอน้นั เทอญ

๏ ๏ ๏

อานภุ าพของนา้ํ ใจ: 
พระมหาเติม ผคุโณ

เน่ืองจากท่านพระมหาเติม ผคุโณ เป็นพระท่ีมากด้วย
นํ้าใจด้วยเหตุน้ีในงานพระราชทานเพลิงศพของท่าน ข้าพเจ้า
จึงขอเสนอเรื่องอานุภาพของน้ําใจมาร่วมในงานน้ี ตามคำ�
ขอร้องของท่านเจ้าคุณพระเทพปัญญาสุธี ผู้ท่ีข้าพเจ้ารักและ
นบั ถือมานานแลว้

เร่อื งท่จี ะเล่าต่อไปน้เี กิดข้นึ ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์น่เี อง
เป็นเรื่องจริงไม่ใช่อิงนิยายใดๆ ท้ังสิ้น เรื่องมีอยู่ว่า สมัยท่ี

พระพุทธวรญาณ (มงคล วิโรจโน)  291 

กรุงเทพฯ ยังมีรถรางชายชราคนหนึ่งห้ิวของพะรุงพะรังขึ้นมา
บนรถราง หาท่ีนั่งไม่ได้เพราะคนแน่นมาก โดยท่ีวันนั้นเป็น
วนั กาชาด

ชายชราเก้ๆ กังๆ ถอยหน้าถอยหลังเพราะไม่รู้จะน่ัง
ท่ีไหนบังเอิญมีเด็กหนุ่มคนหนึ่งมีน้ําใจลุกขึ้นแล้วเชิญให้ชาย
ชราน่งั แทนชายชราพูดขอบอกขอบใจเปน็ การใหญ่

คร้ันถึงเวลาจะลงจากรถรางเด็กหนุ่มผู้น้ันยังไม่หมด
นํ้าใจยังได้ช่วยชายชราห้ิวของไปส่งถึงท่ีบ้าน ด้วยว่าบ้าน
ชายชรากบั บา้ นของตนเองอย่ซู อยเดยี วกนั

ด้วยอานุภาพของน้ําใจ ในกาลต่อมาเด็กหนุ่มผู้นี้ก็มา
เป็นหลานเขยของชายชราและได้รับมรดกจากชายชราเป็น
จำ�นวนมากมีตึกหลังใหญ่ราคาหลายล้านมีตึกแถวมีที่นา
ท่ีสวนอีกหลายแห่งเข้าเลยกลายเป็นเศรษฐีย่อยๆ ไปด้วย
ประการฉะนี้

น่าอัศจรรย์ไหมท่านว่าฤทธิ์เดชของนํ้าใจนั้นศักด์ิสิทธิ์
เพียงใดเพียงคำ�พูดห้าหกคำ� “เชิญคุณลุงมานั่งเถิดครับ” และ
ท่ีนงั่ ก็ไม่ใชข่ องตวั  เป็นของรฐั บาล

คำ�พูดเหล่าน้ีแหละที่เข้าไปประทับอยู่ในหัวใจของชาย
ชราจนถึงกับบันดาลให้เกิดความรักอย่างสุดซึ้งในเด็กหนุ่มผู้นี้ 
จนถงึ กบั ยกสมบัตใิ ห้

292  เก็บเลก็ ผสมนอ้ ย

น่ีแหละอานุภาพของน้ําใจ สมกับโบราณท่านว่าไว้ว่า
“น้าํ บ่อน้าํ คลองยังเป็นรองน้าํ ใจ น้าํ แควน้อยแควใหญ่ก็ส้นู ้าํ ใจ
ไมไ่ ด”้  พนั เอกปน่ิ  มทุ กุ นั ต ์ เขยี นไวว้ า่  “ความรกั มาเพราะนา้ํ ใจ
มีความรกั หนเี พราะน้าํ ใจหมด ความรกั หดเพราะนํา้ ใจแหง้ ”

สมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า รัชกาลท่ี ๖ ได้ทรงพระ
ราชนิพนธ์ไว้ว่า “อันความกรุณาปรานี จะมีใครบังคับก็หาไม่ 
หล่ังมาเองเหมือนฝนอันช่ืนใจ จากฟากฟ้าสุราลัยสู้แดนดิน”
และธรรมะสุภาษิตท่ีว่า “โลโกปตฺถมฺภิกา เมตฺตา เมตตาค้ําจุน
โลก” ก็หมายถึงนํ้าใจน้ีเอง ดังน้ันจึงกล่าวได้ว่า นํ้าใจน่ีแหละ
เป็นผู้คุ้มครองโลก ดังคำ�กล่าวท่ีว่า “โลกร่มเย็นเป็นสุขเพราะ
มนี ํ้าใจโลกจะบรรลยั เพราะนํ้าใจไมม่ ี” 

อน่ึงงานพระราชทานเพลิงศพท่านพระมหาเติม ผคุโณ 
ครงั้ นี้สำ�เร็จลงด้วยดี ก็เพราะอาศัยทกุ ท่านมนี ้ําใจ

๏ ๏ ๏

พระพทุ ธวรญาณ (มงคล วโิ รจโน)  293 

คดิ ถงึ ทา่ นพระครูสาราณียคุณ

การจากไปของทา่ นพระครฯู  ครง้ั น ้ี ใครๆ กพ็ ากนั เสยี ดาย
เพราะท่านพระครูฯมีอะไรหลายๆ อย่างภายในตัว ท่สี ามารถ
ทำ�ให้ผู้อื่นรักใคร่นับถือ สมกับพระราชทินนามของท่านว่า 
สาราณียคุณ ซ่ึงแปลว่า มีความดีที่สามารถชวนให้ผู้อ่ืน
ระลกึ ถึง

บางคนเกิดมาไม่ได้สร้างคุณงามความดีให้ปรากฏ มีแต่
สร้างความเดือดร้อนรำ�คาญให้ผู้อื่น คนประเภทน้ีจัดว่าเป็น
คนรกโลก อยู่ก็ไม่มีใครรัก จากก็ไม่มีใครเสียดาย ตายเสียได้
ก็ดี คนอย่างนี้มีตัวอย่างให้เห็นเช่นพระเจ้าปิงคละ พากันเล่น
มหรสพ ๗ วนั  ๗ คืน แต่ยังมนี ายประตคู นหนึ่งน่ังร้องไห้อยู่

มหาอำ�มาตย์เห็นเข้าเกิดสงสัยเข้าไปถามว่า “เธอร้องไห้
ทำ�ไม คิดถงึ พระเจา้ ปิงคละหรอื ”

“เปลา่ ” นายประตูตอบ
“แลว้ ร้องไหท้ ำ�ไมละ” มหาอ�ำ มาตยซ์ กั
“ร้องไห้เพราะกลัวว่า พระเจ้าปิงคละจะกลับมาเกิดอีก
ด้วยว่าเมื่อพระองค์ตายไปจากที่นี่แล้ว ก็จะไปตกนรกแล้วจะ
ไปเบียดเบียนพระยายม จนกระทั้งพระยายมทนไม่ไหวจึงไล่

294  เก็บเล็กผสมนอ้ ย

ให้มาเกิดท่ีนี่อีกแล้วพระองค์ก็จะมาเบียดเบียนพวกเราอีก”
นายประตสู าธยาย

“ยังงนั้ หรอื ” มหาอำ�มาตย์อุทาน
ท่านพระครูสาราณียคุณ (ประยูร โกวิโท ป.ธ. ๔) เป็น
พระมหาเถระที่มีปฏิปทาตรงกันข้ามกับพระเจ้าปิงคละดุจฟ้า
กับแผ่นดิน ดังนั้นใครๆ จึงเสียดาย โดยที่ไม่อยากให้ท่าน
จากไป 
ขอท่านพระครูฯ จงสถิตอยู่อย่างสุขสำ�ราญเถิด พวกเรา
ทุกคนยังระลึกถึงท่านพระครูฯเสมอ และได้ร่วมกันทำ�บุญ
อุทิศถวายอยู่ตลอดเวลา โดยไม่ขาดสาย ขอท่านพระครูฯ
โปรดรับทราบและอนโุ มทนาดว้ ย

๏ ๏ ๏

โฆษกเสยี งเสน่ห์

เจ้าภาพงานพระราชทานเพลิงศพคุณปรีชา ทรัพย์โสภา 
ได้ขอให้ข้าพเจ้าเขียนคำ�ไว้อาลัยเพ่ือร่วมกับงานครั้งนี้ด้วย
ขา้ พเจ้าเขยี นไว้ดงั นี้

พระพุทธวรญาณ (มงคล วโิ รจโน)  295 

แด่ทา่ นผมู้ ีพรสวรรค์

คุณปรีชา ทรัพย์โสภา เกิดมาเพ่ือสร้างความอภิรมย์
ชมช่ืนให้แก่ประชาชนทั่วไปท้ังในประเทศและต่างประเทศ 
คุณปรีชา เคยพูดตลกๆ ว่า นามสกุลของผมว่า ทรัพย์โสภา 
แตค่ วามจรงิ ผมจนไมไ่ ดร้ ่ํารวยดงั นามสกลุ หรอก

ข้าพเจ้าฟังแล้วยังนึกขำ�อย่ใู นใจว่าถ้าจะเปล่ยี นนามสกุล
เสียใหม่ว่า เสียงโสภา คงจะเหมาะสมดีเพราะเสียงของท่าน
ฟังแล้วจับใจจริงๆ ใครๆ กช็ อบ

บัดนี้ท่านได้จากเราไปแล้วพร้อมกับท้ิงความเสียดายไว้
ให้แก่พวกเราอย่างยากที่จะลืม ข้าพเจ้าคิดว่าท่านคงจะไปรับ
หน้าที่เป็นโฆษกอยู่บนสวรรค์ให้เทวดาท้ังหลายได้อภิรมย์
ชมช่นื เชน่ เดยี วกบั พวกเราที่ได้เคยสมั ผสั มาแล้ว

ถ้าโอกาสอำ�นวยขอให้คุณปรีชาลงมาเกิดในเมืองไทย
ให้พวกเราได้อภิรมย์ชมช่ืนในนํ้าเสียงของท่านอีกต่อไปเถิด 
โดยมากพวกเรามีแต่พรแสวง ท่ีจะมีพรสวรรค์อย่างคุณปรีชา 
ทรัพยโ์ สภานน้ั หายากจริงๆ

๏ ๏ ๏

296  เกบ็ เล็กผสมนอ้ ย

คติสอนใจ

ทางก้าวหน้า

ซ่ือสัตย ์ สามคั ค ี มีนา้ํ ใจ อภยั ทาน

อาเพศ

ดนิ ไร้ป่า ฟ้าไร้ฝน คนไรน้ ํ้าใจ

อานสิ งสก์ ารบชู า

ท�ำ ชวี ติ ใหก้ า้ วหนา้  พาไปสสู่ วรรค ์ ปอ้ งกนั ภยั พบิ ตั  ิ ก�ำ จดั
สรรพกเิ ลส

ไม่เสยี ชาติเกิด

เกิดมาเป็นคนอย่าให้จนความดี เกิดมาทั้งทีต้องให้มีดี
ติดตน

คนมีศักดศ์ิ รี

อยู่อย่างจนๆ แต่มีศักด์ิศรี ดีกว่าอยู่อย่างเศรษฐีแต่หาดี
ไมไ่ ด้

พระพุทธวรญาณ (มงคล วิโรจโน)  297 

การให้

กอ่ นใหต้ งั้ ใจ กำ�ลงั ให้เตม็ ใจ ใหแ้ ล้วดีใจไมเ่ สยี ดาย

ลักษณะคนมีนํ้าใจ

ยามอยกู่ พ็ ง่ึ พาอาศยั  ยามไขก้ ร็ กั ษา ยามมรณากท็ �ำ ศพให้

แก่สมบรู ณ์

ตาสองช้ัน (สวมแว่น) ฟันสองหน (ใส่ฟันปลอม) คน
สามขา (ถือไมเ้ ท้า)

สิง่ มีฤทธิ์มอี �ำ นาจ

ไม่มีวิธีอ่ืนใดที่จะเอาชนะหัวใจมนุษย์ได้ดีกว่าความอ่อน
โยนของคนเรา ปากหวาน ตัวอ่อน มือเป็นหงอน อยู่ที่ไหน
ไม่อด

คนอาภพั

หน้ีสนิ รงุ รงั  นายชัง เมียชั่ว อยู่บ้านหลังคารัว่  ข้ีโรค

298  เกบ็ เล็กผสมน้อย

พรนรก

เล่นการพนนั  มอื ขนึ้  ร่ํารวย นีค่ อื พรนรก

คนดือ้

ใครหา้ มไมฟ่ ัง ใครย้ังไม่อย ู่ ใครกูไ่ ม่กลบั

คณุ สมบัตขิ องฝึ้ง

ขยันหา บินไม่สูงนัก รักความสะอาด ฉลาดสะสม นิยม
สามคั คี

สนั โดษ
ลักษณะของคนมีสันโดษ คือ พอใจเท่าที่มี ยินดีเท่า

ท่ีได้

หลักการฟงั

ต้ังใจฟงั  ต้ังใจจำ� ต้งั ใจน�ำ ไปปฏิบัติ

พระพทุ ธวรญาณ (มงคล วิโรจโน)  299 

เหตุแห่งความเสือ่ ม

คะนองคือพนิ าศ ประมาทคือความตาย

วธิ ใี ชท้ รัพย์

ทง้ิ เหวต้นื  คืนให้ทา่ น หมัน่ ทำ�บญุ  อดุ หนนุ ลูกหลาน

คาถาภาวนาแกก้ ลุม้

ให้ภาวนาว่า "โลกๆๆๆๆๆๆๆ" แล้วความกลุ้มใจจะ
หายไปทนั ที เคยใชไ้ ดผ้ ลมาแล้ว

คาถากันสุนัขกัด

ไอ้จอ ไอ้จอ หางงอ หูกาง เอ็นดูกูบ้าง อะระหัง พุทโธ 
เพย้ี ง

ดไู วไ้ ด้ประโยชน์

คบคนใหด้ หู นา้  ซอ้ื ผา้ ใหด้ เู นอ้ื  ซอ้ื เรอื ใหด้ ไู ม ้ ซอ้ื ไรใ่ หด้ ดู นิ  
๏ ๏ ๏



พระพรหมบณั ฑิต (ประยรู ธมมฺ จติ โฺ ต)  301 

หลกั การและวิธีการเทศน*์

]

ทา่ นพระเถรานเุ ถระและวา่ ท่พี ระธรรมกถกึ ทุกรปู
ท่านทั้งหลายคงสังเกตเห็นว่า เมื่อผมขึ้นมาบนเวที ผม
ได้ไปกราบพระรัตนตรัยที่โต๊ะหมู่บูชา แล้วมากราบท่ีภาพของ
บุรพาจารย์ท้ังสามรูป ซ่ึงเป็นท่ีเคารพนับถือว่าเป็นปรมาจารย์
ของนักเทศนว์ ัดประยรุ วงศาวาส
รูปแรกคือเจ้าประคุณสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (จ่ี
อนิ ทฺ สรมหาเถร ป.ธ.๙) เจ้าอาวาสวัดประยุรวงศาวาส รูปที่ ๓
เป็นพระธรรมกถึกที่มีเทศนาโวหารดี เป็นผู้มีลีลาการเทศน์
อย่างสาลิกาปอ้ นเหยอ่ื  สมยั ทไ่ี ดร้ บั พระราชทานเลอ่ื นสมณศกั ด์ิ
เป็นพระราชาคณะช้ันเทพท่ีพระเทพโมลี ได้รับสร้อยนามว่า
“มหาธรรมกถกึ ” ดงั ปรากฏในราชทนิ นามเตม็ วา่  “พระเทพโมลี
ตรีปิฎกธรา มหาธรรมกถึกคณฤศร บวรสังฆาราม คามวาสี” 
เจ้าประคุณสมเด็จฯ เป็นผู้วางแบบแผนการเทศน์ลีลาสาลิกา
ป้อนเหยื่อให้กับสำ�นกั ของเรา

*พระพรหมบัณฑิต (ประยูร ธมฺมจิตฺโต ป.ธ.๙) ศาสตราจารย์ ราชบัณฑิต
กติ ตมิ ศกั ดิ์ บรรยายแกผ่ เู้ ขา้ รบั การอบรมพระนกั เทศน์ ณ วดั ประยรุ วงศาวาสวรวหิ าร
เม่อื วันท่ี ๒๑ สงิ หาคม พ.ศ.๒๕๕๕

302  หลักการและวธิ ีการเทศน์

รูปท่ีสองคือพระเดชพระคุณพระพุทธวรญาณ (มงคล 
วิโรจนมหาเถร ป.ธ.๕) เจ้าอาวาสวัดประยุรวงศาวาส รูปท่ี 
๑๓ พระเดชพระคุณฯ เป็นรองสมเด็จพระราชาคณะ เป็น
ผู้จัดให้มีการอบรมหลักสูตรวิชาการเทศนาขึ้น ในสมัยท่ี
พระเดชพระคณุ ฯ เปน็ เจา้ อาวาสวดั ประยรุ วงศาวาสมเี จา้ อาวาส
มาถึงตวั ผมนับเปน็ รปู ท ี่ ๑๔ 

รูปท่ีสามคือพระครูพิศาลธรรมโกศล (สุพจน์) ท่านเป็น
เจ้าของนามปากกา หลวงตา-แพรเย่ือไม้ ผู้เขียนนิยายธรรมะ
และหนังสือเร่ืองส้ันธรรมะชุด หลวงตา ถือว่าเป็นพระสงฆ์
รูปแรกที่วงการภาพยนตร์นำ�บทประพันธ์ไปทำ�เป็นภาพยนตร์ 
ช่อื เรอื่ งว่า หลวงตา แสดงน�ำ โดย ลอ้ ตอ๊ ก 

ผู้สร้างภาพยนตร์มาติดต่อพระครูพิศาลธรรมโกศล 
(หลวงตา แพร-เย่ือไม้) ท่านก็อิดออดไม่อยากให้เอาไปสร้าง 
ท่านบอกว่า ไม่รู้ว่าให้ไปสร้างภาพยนตร์แล้วหลวงตาในเร่ือง
จะเป็นล้อต๊อก หรือว่าล้อต๊อกจะเป็นหลวงตา ถ้าหลวงตาเป็น
ล้อต๊อกคือกลายเป็นตัวตลก เพราะคนแสดงเป็นดาราตลก 
แต่ถ้าล้อต๊อกแสดงเป็นหลวงตาแล้วเข้าถึงบทบาทเหมือนกับ
ในหนังสือจะเป็นเรื่องท่ีน่านิยม ผลออกมา สร้างถึง ๒ ภาค 
เพราะล้อต๊อกแสดงเป็นหลวงตาได้ดีมากๆ จนได้รับรางวัล
ตกุ๊ ตาทอง ในบทบาทของหลวงตา 

พระพรหมบณั ฑิต (ประยูร ธมฺมจิตฺโต)  303 

เพราะฉะน้ัน นักเทศน์วัดประยูรฯ ทำ�ได้หลากหลาย ใน
ยุคก่อนน้ีข้ึนธรรมาสน์จับคัมภีร์เทศน์ มาในยุคหลวงตา-แพร
เย่ือไม้เขยี นบทละคร บทภาพยนตร ์ มาในยคุ สมยั ใหม ่ ยคุ ไอที
มคี อมพวิ เตอรน์ ำ�เสนอ และพัฒนารูปแบบหลากหลาย เทศน์
ได้ท้ังภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ออกไปเทศน์กันทั่วโลก แต่
ไม่ว่าจะไปเทศน์ที่ไหนต้องมีหลักการเทศนา จะทิ้งหลักการ
เทศนาไมไ่ ด้ 

วิธีการอาจจะหลากหลายรูปแบบและต่างกันตามลีลา 
แต่หลักการเทศนาหรือการสอนธรรมะต้องมีเหมือนกัน ท้ิง
ไม่ได้ ถ้าท้ิงหลักการเทศนา การเทศน์แม้จะสนุกแต่อาจจะ
เป็นตลกคาเฟ่ ท่านอาจจะเทศน์ได้น่าสนใจแต่ไม่มีใครศรัทธา 
ก็ไม่ต่างจากสอนหนังสือในโรงเรียนท่ัวไป ถ้าหากท่านสอน
พุทธประวัติได้สนุก แต่คนไม่ได้ศรัทธาในพระพุทธเจ้าเพ่ิมข้ึน 
ทา่ นก็ไม่ต่างจากครสู อนวิชาประวัติศาสตร์ 

เพราะฉะนั้น การเทศนาจึงมีหลักการเป็นสำ�คัญ 
เนื่องจากการเรียนฝึกเทศน์ของท่านท้ังหลายเป็นเร่ืองท่ีจะ
ต้องนำ�เอาไปใช้ เป็นการเรียนเพ่ือฝึกปฏิบัติ ท่านจะต้อง
จำ�หลักการวิธีการให้ได้ก่อน เพราะพวกท่านไม่ได้มาเรียน
สักแต่ว่า รู้ไว้ใช่ว่าใส่บ่าแบกหาม ท่านเรียนเหมือนกับคนสอบ
ใบขับขี่รถยนต์ ต้องรู้กฎจราจร รู้วิธีขับรถตามทฤษฎี จากนั้น
ตอ้ งไปหัดขับรถจรงิ ๆ ท่ถี นนใหญ่ 

304  หลกั การและวธิ ีการเทศน์

จดบันทกึ
การที่ท่านท้ังหลายมีวัตถุประสงค์ซ่ึงต่างจากการเรียน

ธรรมดา ท่านต้องจดจำ�และนำ�เอาไปปฏิบัติ เมื่อเขาบอกให้
ฝึกท่านต้องฝึก แต่การจะฝึกท่านต้องจดจำ�ให้ได้ จำ�ไว้ดีกว่า
จด แต่ถ้าจ�ำ ไม่หมด จดไว้ดีกว่าจำ� 

นักเทศน์ต้องเป็นนักจดบันทึก จะจดใส่กระดาษ บันทึก
ลงในไอแพดหรือไอโฟน หรือคอมพิวเตอร์ก็ได้ จดจำ�คำ�พูด
คมๆของผู้บรรยาย เพราะกว่าผู้บรรยายแต่ละท่านจะไป
ค้นคว้าหาข้อมูลได้ต้องใช้เวลาสั่งสมข้อมูลนานมาก วิทยากร
แต่ละท่านที่มาพูดให้ท่านฟังจะถ่ายทอดจากประสบการณ์
ชีวิตท่ีได้ค้นคว้ามาและผ่านการเจียระไนความคิดจนตกผลึก
มาให้พวกเรา ถ้าเราไปค้นคว้าเองอาจจะต้องใช้เวลาเป็นสิบปี 
แต่เราได้นักเทศน์สุดยอดมาบรรยายให้ท่านฟัง ถ่ายทอด
วิทยายุทธ์ให้ ท่านมีหน้าท่ีบันทึกจดจำ�องค์ความรู้ที่วิทยากร
นำ�มาถ่ายทอด ไม่ได้หมายความว่าท่านจะเลียนแบบวิทยากร
ทุกประเด็น เลียนแบบได้เฉพาะเร่ืองของการตีความหรือลีลา
ทว่ งทำ�นองท่เี ข้ากับเราได้ 

หลักการพูดและหลักการเทศน์ก็เหมือนกัน คือเวลา
ท่านพูดให้คนฟังจำ�นวนมาก ท่านต้องพูดให้ชัดถ้อยชัดคำ�
กวา่ ทค่ี ยุ กนั ปกต ิ พดู ชา้ ลงนดิ หนง่ึ เพราะเทคโนโลยคี อื ไมโครโฟน
ต้องการเวลาลำ�เลียงเสียงท่านไปหาผู้ฟัง เพราะเสียงเคลื่อนท่ี

พระพรหมบณั ฑติ (ประยูร ธมฺมจติ ฺโต)  305 

ช้ากว่าแสง ท่านเห็นภาพผมก็จริงแต่กว่าเสียงจะวง่ิ ผา่ นสายไป
ถึงพวกท่านมันกินเวลา ท่านจึงต้องพูดให้ช้าและชัด พูดเป็น
จงั หวะจะโคนเน้นย้ำ�เม่ือควรเน้นย้ำ� สิ่งเหล่าน้ีเป็นศิลปะที่ท่าน
จะต้องฝึกฝน แม้กระทั่งกำ�หนดให้ปากของเราอยู่ห่างจาก
ไมโครโฟนประมาณ ๑ ฝ่ามือ 

ทุกท่านที่เข้ามาฝึกฝนในหลักสูตรวิชาการเทศนาของ
วัดประยุรวงศาวาส ถือได้ว่าท่านเป็นศิษย์มีครู ต้องเดินตาม
หลักท่ีบุรพาจารย์ได้วางไว้เป็นแบบอย่าง ศิษย์มีครูเหมือนงู
มีพิษ ศษิ ย์ไม่มีครเู หมอื นงไู ม่มีพษิ  

ศรีปราชญ์แต่งโคลงได้ไพเราะเพราะพร้ิง เม่ือเขาจะถูก
ประหารชีวิตยังคิดถึงครู ปรมาจารย์ของโคลงสี่สุภาพคือ
ศรีปราชญ์ ปรมาจารย์ของกลอนแปดคือสุนทรภู่ เม่ือจะถูก
ประหารชีวิต ศรีปราชญ์ได้ฝากโคลงบทสุดท้ายในชีวิตก่อนท่ี
จะตายวา่  

ธรณีน่ีน้ ี เปน็ พยาน
เราก็ศิษยม์ ีอาจารย์ หนง่ึ บา้ ง
เราผิดทา่ นประหาร เราชอบ 
เราบผ่ ดิ ท่านมลา้ ง ดาบนคี้ ืนสนอง

306  หลักการและวธิ กี ารเทศน์

ท่านทั้งหลายเป็นศิษย์มีครูมีอาจารย์ เมื่อขึ้นธรรมาสน์
ต้องตั้งนะโมเพ่ือไหว้ครู พระพุทธเจ้าเป็นบรมครูของนักเทศน์  
เพราะฉะนั้นท่ีน่ีเราให้ความสำ�คัญแก่การไหว้ครู การไหว้ครู
ในการเทศน์ก็คือการต้งั นะโม ๕ ช้นั  ร่นุ ก่อนๆเห็นฝึกต้งั นะโม
ต้ังหลายสัปดาห์กว่าจะไหว้ครูเป็น บางคนเวลาข้ึนธรรมาสน์
ยงั ไหวค้ รไู มเ่ ปน็ ตง้ั นะโมยงั ไมถ่ กู  ท่านฟังผมข้างล่างเหมือนกับ
จะตั้งนะโมได้ง่ายๆ แต่พอขึ้นเวทีจริงกลับไหว้ครูคือต้งั นะโม 
๕ ชน้ั ไมเ่ ปน็  ดงั นน้ั  ในพรรษา ๓ เดอื นน ้ี ถ้าทุกรูปตั้งนะโม ๕ 
ชั้นได้ถูกต้องถือว่าเรียนสำ�เร็จไปแล้วครึ่งหลกั สูตร 

พระครูพิศาลธรรมโกศลหรือหลวงตา แพรเย่อื ไม้ พำ�นัก
อยู่ท่ีกุฏิคณะ ๙ วัดประยุรวงศาวาส ผมอยู่คณะเดียวกัน
กับท่าน ผมสังเกตเห็นห้องสมุดส่วนตัวของท่านมีหนังสือเต็ม
ไปหมด สมัยก่อนไม่ได้พิมพ์หนังสือธรรมะมากมายเหมือน
ปจั จบุ นั น ้ี หนงั สอื ธรรมะกเ่ี ลม่ ๆทา่ นซอ้ื หมด หลวงตาจะบนั ทกึ
ย่อเรื่องที่ท่านอ่าน จดคำ�คมต่างๆ ลงในสมุดไดอาร่ี น่ีคือ
ตวั อยา่ งของนกั เทศนท์ ท่ี �ำ บนั ทึกช่วยจำ� 

เม่ือท่านท้ังหลายนั่งฟังวิทยากร ควรจดบันทึกไปด้วย 
ท่านจะได้ทั้งฟังและเขียน ตาดูภาพ หูฟังเสียง มือยังเขียน
บันทึก ทำ�ให้เร่ืองเข้าถึงสมองได้ง่าย เหมือนกับจารึกลงใน
แผ่นศิลา ฟังอย่างเดียวเหมือนจารึกลงในรอยทราย ตาดูหูฟัง
พร้อมกันเหมือนจารึกในแผ่นไม้ แต่ถ้าตาดูหูฟังพร้อมกับ

พระพรหมบณั ฑติ (ประยรู ธมมฺ จิตฺโต)  307 

เขียนบันทึกไปด้วยก็เหมือนจารึกลงในแผ่นศิลา แต่ข้อสำ�คัญ
อยา่ ไปตง้ั หนา้ ตง้ั ตาจดบันทึกจนฟังไม่รู้เรื่อง ท่านฟังให้เข้าใจ
แล้วเขียนสรุปเนื้อหาสำ�คัญก็พอ เม่ือได้ยินคำ�คมดีๆ ให้รีบจด
ไว ้ ผมเรยี นรวู้ ธิ กี ารคน้ ควา้ หาความรแู้ ละจดบนั ทกึ จากหลวงตา
 หน่ึงในหลายวิธีการเก็บเพชรท่ีผมได้แบบมาจากหลวงตาแพร
เยื่อไม้

การจดบันทึกคือการเก็บเพชร ถามว่าอะไรคือเพชร 
ตอบว่าส่ิงที่วิทยากรบรรยายถวายความรู้ในวิชาต่างๆ ตลอด
หลักสูตร นั่นคือเพชรและท่านต้องเก็บเพชรด้วยการบันทึก
จดจำ� ดังมีเร่อื งเล่าว่า

มกี องคาราวานเดนิ ทางไปดว้ ยเกวยี นบา้ งมา้ บา้ ง เดนิ ทาง
ข้ามดินแดนกันดาร หัวหน้ากองเกวียนพาคนกลุ่มน้ีเดินทาง 
เขาเรียกว่าคนเผ่าเร่ร่อนไปท่ีไหนก็ตั้งหลักปักฐาน พอไม่มีน้ํา
ก็ไปเร่ือย แล้วเขาจะมีสิ่งท่ีมัดใจให้เกิดเอกภาพเกิดความ
สามัคคี ภาษาสมัยน้ีเรียกว่าความปรองดอง เขาจะนบั ถอื บชู า
เทพเจ้า ตกตอนเย็นทุกคนต้องมารวมกันทำ�พิธีไหว้เทพเจ้า มี
การสวดมนต์ตามแบบของพวกเขา จนกระทั่งค่ําวันหน่ึง 
ขณะกำ�ลังสวดมนต์ได้ยินเสียงพายุอื้ออึงพัดมา ฝุ่นฟุ้งตลบ 
หัวหน้าเผ่าบอกว่า “เทพเจ้าปรากฏองค์แล้ว ตั้งใจฟัง ท่าน
ก�ำ ลงั จะบอกขมุ ทรัพยใ์ ห้พวกเรา จะได้รวยกันเสยี ที” 

308  หลักการและวิธีการเทศน์

ทุกคนพนมมือรอฟัง ฉับพลันก็มีเสียงดังก้องมาจากฝุ่น
ที่ฟุ้งเป็นลมหมุนติ้วนั้นว่า “สูทั้งหลายฟังให้ดีและจงจำ�ไว้ว่า
พรุ่งนี้เดินทางไปพบก้อนกรวดที่ใดก็ตาม จงเก็บใส่กระเป๋าท่ี
ติดกับอานมา้ แล้วสูเจา้ จะทงั้ ดีใจและเสยี ใจ” 

เทพเจา้ พดู เปน็ ปริศนาอยา่ งน้ีแล้วก็หายไป 
คนท้ังหลายพากันผิดหวังว่าแทนที่เทพเจ้าจะบอก
ขมุ ทรพั ยใ์ ห ้ กลบั บอกให้เก็บกอ้ นกรวดใสก่ ระเป๋า 
วันรุ่งข้ึน พวกเขาพากันเดินทางไปเห็นก้อนกรวด
ระหว่างทางก็เก็บบ้างไม่เก็บบ้าง ตกเย็นไปตั้งกระโจมรับ
ประทานอาหารและสวดมนตบ์ ูชาเทพเจา้  
หัวหน้าเผ่านึกได้ว่าเมื่อวานเทพเจ้าส่ังให้เราเก็บก้อน
กรวด จึงถามข้ึนว่าใครเก็บก้อนกรวดมาบ้าง พวกผู้ชายเอา
กระเป๋ามาวางไว้แล้วล้วงเข้าไปภายในกระเป๋า ใช้มือกำ�ส่ิงที่
เข้าใจว่าเป็นก้อนกรวดออกมาแล้วแบมืออวดกัน พอแบมือ
ออกมาเทา่ นั้น กด็ ีใจจนเนอ้ื เต้นเมื่อเห็นแสงแวววาวทา่ มกลาง
แสงไฟ 
แท้ทจ่ี ริง สิง่ ที่เขา้ ใจวา่ เป็นกอ้ นกรวดนัน้ กค็ อื เพชร 
พวกเขาดีใจท่ีเห็นก้อนกรวดกลายเป็นเพชร แต่เสียใจที่
เก็บมาน้อยไปหนอ่ ย

พระพรหมบณั ฑติ (ประยรู ธมฺมจติ โฺ ต)  309 

เตรียมตวั ให้พรอ้ ม

พวกเราบางคนที่เรียนวิชาการเทศนาท่ีวัดประยุรวงศา-
วาสฟังบ้างจดบ้างอย่างเสียไม่ได้ เพราะนึกว่าเก็บก้อนกรวด 
พอถึงเวลาจะใช้เทศน์จริง จึงรู้ว่าสิ่งท่ีเราจดบันทึกมานั้นมีค่า
ดังเพชร เราเสียใจทจ่ี ดบนั ทกึ มานอ้ ยไปหนอ่ ย ดงั นน้ั  เพอ่ื มใิ ห้
เสยี ใจภายหลงั  เราจะตอ้ งตง้ั ใจเกบ็ กอ้ นกรวดซง่ึ วนั หนง่ึ จะกลาย
เป็นเพชร น่คี ือการเตรียมพร้อมในการเรียนหลักสูตรวิชาการ
เทศนา เพราะว่าในการเทศน์นั้น ท่านจะต้องเตรียมตัวพร้อม
เสมอ 

สมดังภาษิตท่ีว่า “จะปลูกพืชต้องเตรียมดิน จะกิน
ตอ้ งเตรียมอาหาร จะเทศนาวา่ การกต็ อ้ งเตรยี มตัว” 

ผมขอเตือนนักเทศน์มือใหม่หัดขับท้ังหลายว่า อย่า
เทศน์โดยไม่มีการเตรียมตัวเป็นอันขาด เพราะว่า ถ้าไม่
เตรียมตัวและไม่เรียบเรียงความคิดก่อนเทศน์ การเทศน์ของ
ท่านจะไม่ราบรื่น รวบรัดและตรงประเด็น หากไม่เตรียมตัว
ใหด้ กี จ็ ะเหมอื นขม่ี า้ เลยี บคา่ ย คอื  ตง้ั หวั ขอ้ แบบหนง่ึ แตอ่ ธบิ าย
ไปคนละเร่ือง เช่น เขาให้เทศน์เร่ืองน้ําท่วมกลับไปพูดเร่ือง
ฝนแล้งการเทศน์โดยไม่เตรียมตัวทำ�ให้นักเทศน์ตกธรรมาสน์
กนั มามากต่อมากแล้ว 

310  หลกั การและวิธกี ารเทศน์

ถ้าทา่ นเทศนโ์ ดยไม่เตรียมตัวกเ็ หมอื นครูท่ไี มเ่ ตรียมการ
สอน ซ่ึงทำ�ให้ผู้ฟังเสียเวลาเปล่า ท่านต้องให้ผู้ฟังรู้สึกคุ้มค่า
กับเวลาท่เี สียไป จำ�ไว้ว่า การเทศน์โดยไม่เตรียมตัวเป็นการ
ดูถูกสติปัญญาของผู้ฟัง ดังนั้น ก่อนจะเทศน์ เราต้องเตรียม
เรอ่ื งให้ถกู กับงาน 

เม่ือวาน ผมไปเทศน์งานศพที่วัดเทพศิรินทราวาส ก่อน
เทศน์ ผมอ่านประวัติของผู้วายชนม์พบว่า เขามีอายุ ๑๐๑ ปี 
เป็นเจ้าของบริษัทอ้วยอันโอสถ ผมได้หัวข้อเทศน์ทันที น่ันคือ
เร่ืองธรรมะที่ทำ�ให้คนอายุยืน ได้แก่อิทธิบาท ๔ ผมอธิบายว่า
อทิ ธบิ าท ๔ ท�ำ ใหค้ นอายยุ นื ได้อยา่ งไร นค่ี อื การเตรยี มเรือ่ ง 

ประเด็นต่อมาคือการเตรียมใจ การเป็นนักเทศน์ไม่ใช่
ว่าเราจะเทศน์ดีทุกครั้ง นักร้องที่ร้องเพลงดีไม่ได้หมายความ
ว่าจะร้องดีทุกเวที บางเวทีเขาไม่มีอารมณ์ร้อง การร้องเพลง
จงึ ไม่ดีเทา่ ท่ีควร

การเตรียมใจหมายถึงเราสร้างอารมณ์ร่วมกับเรื่องท่ี
กำ�ลังพูด เวลาที่เราพูดเร่ืองอะไรก็ตาม เราต้องมีอารมณ์
ตามน้นั ด้วย ถ้าพูดเร่อื งสนุกท่านต้องมีอารมณ์ขัน ถ้าเล่าเรื่อง
น่ากลัว เราจะต้องใส่อารมณ์คล้อยตามความน่ากลัวด้วย 
ไมใ่ ชเ่ ล่าทอื่ ๆ 

พระพรหมบัณฑิต (ประยูร ธมฺมจิตโฺ ต)  311 

ปีนี้เป็นปีพุทธชยันตีฉลอง ๒๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้
ของพระพุทธเจ้า เราต้องเล่าเหตุการณ์ท่ีพระพุทธองค์สู้กับ
พระยามารใต้ต้นโพธด์ิ ้วยความศรทั ธาเต็มเปย่ี มในหวั ใจของเรา 

นอกจากน้ ี การเตรียมใจยังหมายถึงการทำ�ใจให้มีสมาธิ
หนกั แนน่  ไม่เกิดประหม่าเมื่อข้ึนธรรมาสน์ บางท่านลงทุนเสก
คาถาเทา่ ทจี่ ะนกึ หามาไดก้ ่อนขนึ้ ธรรมาสน์ทุกครั้ง 

แท้ที่จริง การต้ังนะโมน่ันแหละเป็นการเตรียมใจอย่างดี
เพราะนะโมเป็นการไหว้ครู  ถ้าเราต้ังนะโมได้หนักแน่น ใจ
ของเราจะเป็นสมาธิตงั้ แตเ่ ร่ิมตน้ การเร่มิ ต้นทีด่ เี ท่ากบั สำ�เรจ็
ไปแลว้ ครึ่งหนึง่

คร้ังหนึ่ง เจ้าหน้าที่สำ�นักพระราชวังมานิมนต์ผมให้ไป
เทศน์ถวายหน้าพระท่ีน่ังในงานสมเด็จย่า ณ พระที่นั่งดุสิต
มหาปราสาท เจ้าหน้าท่ีบอกผมให้เทศน์ดังๆ เพราะเจ้านาย
อยากฟังเทศน์ นักเทศน์พอข้ึนเทศน์หน้าพระที่น่ังมักจะตก
ประหม่าจนเสยี งแหบหายไปหมด 

พอผมขึ้นธรรมาสน์แล้วตั้งนะโม ๕ ช้ันจบ ผมรู้ตัวว่า
งานนี้ผมไปรอด เพราะหลังต้ังนะโมจบ ผมหายประหม่า เมื่อ
เทศน์จบ ผมเอาเทปบันทึกเสียงมาเปิดฟัง ลูกศิษย์ถามว่า 
ทำ�ไมต้ังนะโมมีลูกคอร่วนเชียว ผมฟังเสียงแล้วบอกเขาว่า นี่
ไม่ใช่ลูกคอ แต่เป็นเสียงสั่น แต่พอตั้งนะโมครบสามจบแล้ว
เสียงหายสน่ั  การเทศน์กด็ �ำ เนินไปดว้ ยดี 

312  หลกั การและวธิ กี ารเทศน์

นักเทศน์สมัยก่อนถือว่านะโมเป็นบทไหว้ครู สมัยโบราณ
ยังไม่มีไมโครโฟน พระครูโวทานธรรมาจารย์ อดีตเจ้าอาวาส
วดั ดาวดงึ ษาราม ตง้ั นะโมเสยี งดงั มาก ญาตโิ ยมทก่ี �ำ ลงั ต�ำ หมาก
คุยกันพากันเงยี บทนั ท ี  เพราะเสยี งทา่ นกดั แกว้ ห ู ถงึ ขนาดสุนัข
ทีน่ อนอยใู่ ต้ธรรมาสนล์ กุ ขึน้ สะบัดหเู ดินหนีไปเลย 

เพราะฉะน้ัน นักเทศน์ท่ีดีต้องเตรียมเร่ือง เตรียมตัว
และเตรยี มใจ 

ในเรื่องการเตรียมตัว ขอยกเดมอสเธนิส (Demos
thenes) มาเป็นตัวอย่าง เดมอสเธนิสเป็นนักพูดดังระดับ
โลก มีชีวิตเมื่อสองพันปี  มาแล้ว เขาเป็นยอดนักพูดของกรีก 
เดมอสเธนิสเป็นคนพูดติดอ่าง แต่กลายเปน็ นกั พดู ดงั ของโลก 
คร้งั แรกเขาพูดในท่ชี ุมนุมชน คนฟังหัวเราะเยาะเพราะเขาพูด
ติดอ่าง ย่ิงคนหัวเราะ เขาย่ิงพูดติดอ่าง ผลก็คือตกม้าตาย 
เขาไม่กล้าพูดในท่ีสาธารณะไปอกี นาน 

ต่อมา เดมอสเธนิสเตรียมตัวให้พร้อมด้วยการฝึกซ้อม
อย่างหนักเหมือนนักกีฬาสมัยน้ีท่ีเก็บตัวฝึกซ้อมก่อนเข้า
แข่งขันกีฬาโอลิมปิก เขาเลือกชายทะเลเป็นท่ีเก็บตัวอาศัยอยู่
ในถํ้าชายทะเลแล้วฝึกพูดอย่างเดียว จุดอ่อนของเขาคือ
พูดติดอ่าง เขาแก้ด้วยการนำ�ก้อนกรวดมาอมไว้ใต้ล้ินเพื่อคุม
ประสาทลิ้น เวลาพูดต้องระวังไม่ให้ก้อนกรวดหายเข้าไป
ในลำ�คอ เขาใช้ก้อนกรวดคุมประสาทล้ินไม่ให้พูดติดอ่าง

พระพรหมบณั ฑิต (ประยรู ธมมฺ จิตโฺ ต)  313 

เขาจินตนาการให้คลื่นที่ซัดกระทบฝั่งเหมือนกับคนโห่ฮา และ
เขาต้องตะโกนสู้เสียงคล่ืน ในช่วงเก็บตัวเตรียมพร้อมน้ี เขา
โกนศีรษะครึง่ หนงึ่ เพื่อคุมตัวเองไมใ่ หอ้ อกไปไหน

อีกตัวอย่างของการเตรียมตัวคือไผ่ในประเทศจีน หน่อ
ของไผ่น้ีข้ึนโดดเดี่ยว ไม่เป็นกอ คนจีนเรียกว่าไผ่เมาซู ฝร่ัง
เรียกว่าไผ่โมโซ่ เป็นไผ่ยักษ์ใหญ่ที่สุดในโลก ไผ่เมาซูนี่แปลก
มาก ปลูก ๕ ปี สูงนิดเดียว คนแก่ไม่อยากปลูกแต่คนหนุ่ม
สาวชอบปลูก เพราะหลังจาก ๕ ปีไผ่นี้จะโตวันละ ๒ ฟุตครึ่ง 
สูงเต็มที่ถึง ๗๕ ฟุต ภายใน ๖ สัปดาห์ หลังจากที่สูงถึง ๗๕ 
ฟุตแล้ว มันจะไม่สูงอีกต่อไป แต่จะขยายออกเป็นปล้องใหญ่
มาก 

นักพฤกษศาสตร์สงสัยว่า ทำ�ไม ๕ ปีแรกไผ่จึงไม่โต 
พอขุดลงไปดูรากใต้ดินจึงรู้ว่า ตอน ๕ ปีแรก ไผ่โตอยู่ใต้ดิน 
รากมนั งอกอย่ใู ตด้ นิ เพ่อื เตรียมพรอ้ มในการดดู ซบั อาหาร ราก
วงเป็นขนด ถ้ายืดขยายออกไปจะยาวเป็นกิโลเมตร นี่แสดง
ว่าไผ่เตรียมพร้อมในการดูดซับอาหาร เมื่อถึงเวลาครบ ๕ ปี
จึงดูดซบั อาหารจนโตพรวดพราด 

ขงจื้อสอนว่า “อย่าห่วงว่าคนไม่รู้ว่าท่านเก่งหรือมีความ
สามารถหรือไม่ ห่วงแต่ว่าสักวันหนึ่งเม่ือคนเขายกย่องท่าน
ให้โอกาสท่าน  ท่านมีความเก่งและความสามารถสมกับท่ีเขา
ยกยอ่ งท่านหรือเปล่า” นี่คือเตรียมตวั ใหพ้ ร้อม 

314  หลกั การและวิธกี ารเทศน์

ธรรมะกำ� มอื เดยี ว
ขอพูดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเตรียมเร่ือง เราจะเทศน์

ครึ่งช่ัวโมงควรจะมีเนื้อหาอะไรบ้าง อย่าอัดข้อมูลมากจนผู้ฟัง
หูออ้ื ตาลายไปหมด หลักการเตรียมเรอ่ื งเทศน์มีอยวู่ ่า ไมเ่ ทศน์
ทุกเรือ่ งทีเ่ รารู้ ตอ้ งเทศน์เรอื่ งที่เขาควรร้ซู ่ึงเหมาะแกผ่ ู้ฟัง 

ทุกท่านคงเคยได้ยินเรอ่ื งธรรมะกำ�มอื เดยี ว 
สมัยหน่ึงพระพุทธเจ้าเสด็จไปที่ป่าประดู่ลายพร้อมกับ
พระสงฆ์จำ�นวนมาก พระองค์ประทับน่งั ในป่าใต้ต้นประด่ลู าย
แล้วหยิบใบไม้ข้ึนมากำ�มือหนึ่งแล้วถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย 
ใบไม้ในกำ�มือของเรากบั ใบไมใ้ นป่า อันไหนมากกว่ากนั ”
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า “ใบไม้ในกำ�มือของพระองค์
น้อยกวา่  ใบไมใ้ นปา่ มากกวา่ ” 
พระพุทธเจ้าตรัสต่อไปว่า “ภิกษุทั้งหลาย ใบไม้ในป่า
มากกว่าใบไม้ในกำ�มือของเรา ข้อนี้เหมือนกับความรู้ที่เรา
ตรัสรู้เป็นสัพพัญญูมากมายมหาศาลประดุจดังใบไม้ในป่า
ท้ังป่า แต่ธรรมท่ีเรานำ�มาสอนเธอท้ังหลายน้อยนิดประดุจดัง
ใบไม้กำ�มือเดียวเท่านั้น เราไม่ได้สอนทั้งหมดท่ีเราตรัสรู้เป็น
สัพพัญญู เราสอนเฉพาะท่ีเป็นไปเพื่อเบ่ือหน่าย เพ่ือคลาย
ก�ำ หนดั  เพอ่ื ดบั ทกุ ข ์ เพอ่ื นพิ พาน เพอ่ื ประโยชนแ์ ก่เธอทั้งหลาย
เท่าน้นั ”

พระพรหมบัณฑติ (ประยรู ธมมฺ จิตฺโต)  315 

ในอีกที่หนึ่ง พระพุทธเจ้าตรัสว่า “อนุราธะ อดีตก็ดี 
ปัจจุบันก็ดี เราสอนอยู่เรื่องเดียวเท่าน้ัน คือเรื่องทุกข์กับความ
ดบั ทุกข์” นั่นคอื ตรัสสอนเร่อื งอรยิ สัจ ๔ เท่านั้น

พระพุทธเจ้าสอนธรรมะกำ�มือเดียวคืออริยสัจ ๔  ตลอด
เวลา ๔๕ พรรษา

ในทำ�นองเดียวกัน เราไม่เทศน์ทุกเร่ืองที่เรารู้ แต่เทศน์
เรอื่ งท่เี ขาอยากรหู้ รอื ควรร ู้

นักเทศน์บางท่านเทศน์ทุกเร่ืองท่ีตนรู้เพราะอยากอวด
ภูมิรู้จนคนฟังตามไม่ทัน เขาบ่นว่าผู้ฟังโง่ มีของดีไม่รู้คุณค่า 
เหมือนสีซอให้ควายฟัง ใครก็ตามที่พูดอย่างน้ีแสดงว่า สีซอ
ไม่เป็น ถ้าสีซอเป็น ควายต้องฟงั  

นักสีซอคนหนึ่งไปนั่งซ้อมสีซออยู่ริมคันนา มีควายเล็ม
หญ้าอยู่ใกล้ๆ ตัวหน่ึง เขาคิดว่าสีซอแล้วควายไม่ฟังจริงหรือ 
เราก็มือสีซออันดับ ๑ ของแผ่นดิน ลองสีซอให้ควายฟัง
สักหนอ่ ย 

เขาเร่ิมสีซอเป็นเพลงเขมรไล่ควาย ควายก็ไม่สนใจ เขา
สีเปน็ เพลงอะไรตอ่ มอิ ะไร ควายยงั กินหญา้ เฉยอย่ ู  

พอเขาสซี อใหเ้ ป็นเสียงยุงร้อง ควายกระดกิ หไู ลย่ ุง 
เขาสีเป็นเสียงสุนัขกัดกัน เสียงง่องแง่งๆ ควายเบิ่งมอง
เพราะกลวั ลูกหลง 

316  หลกั การและวิธีการเทศน์

เขาสีซอเป็นเสียงลูกแหง่ร้อง ควายหยุดกินหญ้าหันมา
เบิ่งดเู ขานกึ ว่าใครเอาลูกของมนั ซ่อนไว้แถวนน้ั

น่ีแหละคือศิลปะแห่งการสีซอให้เป็น ถ้าสีซอเป็น ควาย
จะฟงั  ถา้ ใครสซี อแลว้ ควายไมฟ่ งั  ตอ้ งมาเรยี นหลกั สตู รวชิ าการ
เทศนาท่นี ่ี หลักสตู รนี้มชี อ่ื วา่  หลกั สตู รสซี อให้ควายฟงั

นักเทศน์ท่ีดีต้องเทศน์สอนคนได้ทุกระดับ เด็กฟังรู้เรื่อง 
ผู้ใหญ่หรือนักการเมืองฟังได้หมด พระพุทธเจ้าเทศน์สอนคน
ต้ังแต่ชาวไร่ชาวนาจนถึงพระราชามหากษัตริย์ ดังท่ีชาวนา
คนหน่ึงพบพระพุทธเจ้ากำ�ลังบิณฑบาตก็กล่าวว่า “พระองค์
ควรท�ำ นาจะได้มีข้าวเสวย”

พระพทุ ธเจ้าตรสั ตอบว่า “เรากเ็ ปน็ ชาวนาเหมือนกัน”
ชาวนาถามว่า “อุปกรณใ์ นการทำ�นาอยู่ทไี่ หน”
พระพุทธเจ้าตอบว่า “หริ  ิ อสี า มโน โยตตฺ ํ  สต ิ เม ผาล-
ปาจนํ” แปลว่า “หิริของเราเป็นงอนไถ ใจเป็นเชือก สติเป็น
ผาลและปฏัก” เปน็ ต้น 
เมอ่ื พระพทุ ธเจา้ เทศนส์ อนชาวนากท็ รงใชถ้ อ้ ยค�ำ ส�ำ นวน
ของชาวนา เราเป็นลูกศิษย์ของพระพุทธเจ้าต้องสามารถ
เทศน์สอนคนได้ทุกระดับ ถ้าเราเทศน์แล้วคนไม่สนใจฟัง อย่า
ไปตำ�หนผิ ู้ฟัง แสดงว่าเราต้องปรบั ปรุงตวั เอง 
ดงั ภาษิตอทุ านธรรมท่ีวา่  

พระพรหมบณั ฑติ (ประยูร ธมมฺ จติ โฺ ต)  317 

“ถ้าพูดไปเขาไม่รอู้ ย่าขเู่ ขา 
วา่ โงเ่ ง่างมเงอะเซอะหนกั หนา 
ตวั ของเราทำ�ไมไมโ่ กรธา 
ว่าพูดจาให้เขาไมเ่ ขา้ ใจ” 
มีคนถามผมว่า ถ้าผู้ฟังคละกันมีท้ังเด็กเล็กและผู้ใหญ่ 
มีทง้ั ชาวนาจนถึงรฐั มนตร ี เราจะพูดอย่างไร
คำ�ตอบมีอย่วู ่า ถ้าคนกล่มุ ไหนมาก ท่านไม่อยากให้คน
กลุ่มน้ันวุ่นวาย ท่านพูดสะกดกลุ่มคนที่มากที่สุดเอาไว้ก่อน 
กลุ่มเล็กท่ีเหลือก็จะเกรงใจกลุ่มใหญ่พลอยฟังไปด้วย แต่ถ้ามี
เด็กเล็กอยู่มากพอควร เราต้องพูดระดับท่ีเด็กเล็กเข้าใจแล้ว
เด็กโตจะพลอยฟังเข้าใจไปด้วย ถ้าเราเน้นท่ีเด็กโตเป็นหลัก 
พอเด็กเล็กฟังไม่รู้เร่ือง พวกเขาจะก่อกวนที่ประชุมจนเสีย
บรรยากาศ ทางท่ีดคี วรพดู ตรงึ เด็กเลก็ ไวก้ อ่ น
มีคำ�ถามเก่ียวกับภาษาท่ีใช้แทนตัวเราเอง ในห้อง
ประชุมน้ีมีทั้งพระท้ังญาติโยม เราถือเอาเสียงส่วนใหญ่เป็น
หลัก ในท่ีนี้พระมีมากกว่าญาติโยม ผมใช้สรรพนามแทนตัว
ว่า “ผม” ถ้าญาติโยมเป็นเสียงส่วนมาก ให้ใช้สรรพนามแทน
ตัวว่า “อาตมา” และถ้าพระและญาติโยมมีจำ�นวนเท่ากัน เรา
ใชค้ ำ�แทนตัววา่  “ขา้ พเจ้า” 
เวลาข้ึนธรรมาสน์เทศน์ ห้ามเปล่ียนสรรพนามไปตาม
กลมุ่ ผฟู้ งั  ต้องใชค้ ำ�ว่า อาตมภาพ ในทุกกรณี

318  หลกั การและวิธีการเทศน์

ต่อไปขอพูดถึงหลักการเทศนา ผมได้หลักการเทศนามา
จากคำ�สั่งของพระพุทธเจ้าท่ีมีต่อพระอรหันต์ ๖๐ รูป ในคราว
ทส่ี ่งไปประกาศพระศาสนาครง้ั แรก ประโยคค�ำ สั่งมอี ยวู่ ่า 

“จรถ ภิกฺขเว จาริกํ พหุชนหิตาย พหุชนสุขาย โลกา-
นกุ มปฺ าย” 

แปลความว่า “ภิกษุท้ังหลาย พวกเธอจงเท่ียวจาริกไป
เพื่อประโยชน์แก่คนเป็นอันมาก เพ่ือความสุขแก่คนเป็นอัน
มาก เพอื่ อนุเคราะห์แกช่ าวโลก”

“เทเสถ ธมฺมํ อาทิกลฺยาณํ มชฺเฌกลฺยาณํ ปริโยสาน-
กลยฺ าณ”ํ  

แปลความว่า “จงแสดงธรรมอันงามในเบื้องต้น งามใน
ท่ามกลาง งามในทส่ี ุด” 

เป้าหมายของการเทศน์ก็คือ เทศน์ให้งามในเบ้ืองต้น 
งามในทา่ มกลาง และงามในทีส่ ดุ

คำ�วา่  “งาม” แปลมาจากภาษาบาลีวา่  “กัลยาณะ”
สมัยนี้ไม่มีใครชมเทศนาว่างาม แต่คนมักชมว่า ท่าน
เทศน์ไดไ้ พเราะ 
คำ�ว่า กัลยาณะ เราไม่ได้แปลว่า “งาม” อย่างเดียว เรา
แปลว่า “ไพเราะ” ก็ได้  เหมือนคำ�ภาษาอังกฤษว่า beautiful 
แปลว่า งามหรือไพเราะก็ได้ เช่นคำ�ว่า beautiful song 

พระพรหมบณั ฑิต (ประยรู ธมมฺ จติ โฺ ต)  319 

ไม่ได้แปลว่า “เพลงงาม” แต่แปลว่า “เพลงไพเราะ” รากศัพท์
ภาษาบาลีกับภาษาอังกฤษเป็นอันเดียวกัน คำ�ว่า กัลยาณะ 
จึงเหมือนกบั คำ�ว่า beautiful  แปลวา่ ไพเราะก็ได ้

ดังน้นั  เทศนาจึงไพเราะในเบ้อื งต้น ไพเราะในท่ามกลาง 
และไพเราะในท่สี ุด การเทศน์ได้ไพเราะคือสุดยอดของการ
เทศน์ 

การเทศน์ไพเราะเพราะมีอุเทศ นเิ ทศ และปฏินเิ ทศ 
เทศน์ไพเราะในเบอ้ื งต้นดว้ ยอุเทศ คอื ยกหวั ขอ้ ขึ้นแสดง
เทศน์ไพเราะในท่ามกลาง ด้วยนิเทศ คืออธิบายขยาย
ความ
เทศน์ไพเราะในทส่ี ดุ ดว้ ยปฏนิ ิเทศ คือสรปุ จบประทับใจ

อุเทศ
อุเทศประกอบดว้ ย ๓ สว่ น คือ 
๑. ต้งั นะโม ๕ ช้ัน
๒. เดนิ บาลีนิกเขปบท 
๓. อารมั ภกถาหรอื อารมั ภบท 
เม่ือตั้งนะโมได้ถูกต้อง เดินคาถาหรืออ้างพุทธศาสน-

สภุ าษติ ไดถ้ กู ตอ้ ง และมอี ารมั ภบทถกู ตอ้ งชอ่ื วา่ ไพเราะในเบอ้ี งตน้  

320  หลกั การและวิธีการเทศน์

ถ้าท่านทำ� ๓ อย่างได้ถูกต้อง เรียกว่าศิษย์มีครู ถ้าท่านทำ� ๓ 
อยา่ งผดิ  ผู้รู้บอกว่าทา่ นเทศนไ์ มเ่ ปน็  

ต้งั นะโมเทศน์ถูกต้องคือต้งั นะโมห้าช้นั  ซ่งึ หมายถึงหยุด 
๕ ครง้ั

เวลาใหศ้ ลี  เราตง้ั นะโม ๓ ชน้ั  คอื  ๓ จบ เราหยดุ  ๓ ครง้ั  
ดงั น ้ี

นโม ตสสฺ  ภควโต อรหโต สมมฺ าสมพฺ ทุ ฺธสสฺ  /
นโม ตสสฺ  ภควโต อรหโต สมฺมาสมพฺ ุทธฺ สฺส /
นโม ตสสฺ  ภควโต อรหโต สมมฺ าสมฺพุทฺธสสฺ  // 
ส่วนการต้งั นะโมเวลาเทศน์ให้หยุด ๕ คร้งั  เรียกว่า นโม 
๕ ชน้ั  ดงั นี้

นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส นโม 
ตสฺส / 

ภควโต อรหโต สมมฺ าสมพฺ ทุ ธฺ สฺส /
นโม ตสฺส ภควโต /  
อรหโต สมมฺ า /
สมฺพทุ ฺธสสฺ  //

พอต้ังนะโมเสร็จอย่าหยุดนาน ให้ว่าบาลีนิกเขปบทต่อ
ไปทนั ท ี เช่น อตตฺ า ห ิ อตฺตโน นาโถต ิ

พระพรหมบณั ฑิต (ประยูร ธมฺมจิตฺโต)  321 

คำ�สุดท้ายว่า “ติ” นิยมออกเสียงยาวมีลูกคอนิดหน่อย
วา่  “ต-ิ อ-ิ อ”ิ  

พอตงั้ นะโม ๕ ชั้นเสร็จแลว้ ให้ว่าบาลนี กิ เขปบทต่อทนั ที 
สมมติว่าวันน้ีผมเทศน์ฉลองการรับปริญญาดุษฎีบัณฑิต
กิตติมศักด์ิจากมหาวิทยาลัยแห่งหน่ึง ผมต้ังหัวข้อเทศน์เร่ือง
ปัณฑิตกถา เมื่อตั้งนะโมเสร็จแล้วก็ว่าบาลีอุเทศนิกเขปบท
ตดิ ต่อกนั ว่า 
ทิฏฺเ ธมฺเม จ โย อตฺโถ โย จตฺโถ สมฺปรายิโก อตฺถา-
ภสิ มยา ธโี ร ปณฑฺ โิ ตต ิ ปวุจจฺ ตตี ิ 
จากนั้นเป็นอารัมภบทหรืออารัมภกถา ส่วนน้ีนักเทศน์
ใหม่ต้องทอ่ งจ�ำ ให้แม่นย�ำ เพราะเปน็ แบบ ดงั ตอ่ ไปน้ี 
“ณ บดั น ้ี อาตมภาพจกั รบั ประทานแสดงพระธรรมเทศนา 
ในปัณฑิตกถา เพื่อเป็นเครื่องประคับประคองฉลองศรัทธา 
ประดับปัญญาบารมี เพ่มิ กุศลบุญราศีของท่านสาธุชนท้งั หลาย
ผมู้ าประชมุ กนั  ณ พระอุโบสถวัดประยุรวงศาวาสแห่งนี้ ตาม
สมควรแกเ่ วลาสบื ตอ่ ไป” 
ช่วงอารัมภกถาทำ�เสียงให้ช้าและชัดเจน แต่หลังจากว่า
อารัมภกถาให้ทำ�เสียงปกติ ไม่ต้องยืดมาก ไม่ต้องไปดัดเสียง
มาก แค่ทำ�เป็นพิธีตอนต้น ไม่ใช่เทศน์เสียงราบเรียบไปหมด 
คนฟังจะหลับ ตอ้ งเทศนใ์ หม้ ีเสยี งสูงต่�ำ ตามทอ้ งเรอื่ ง

322  หลกั การและวธิ ีการเทศน์

เริ่มอารัมภบทให้ช้าชัดในตอนต้น เปรียบเหมือนรถไฟ
เร่ิมเคล่ือนตัวออกจากสถานีหัวลำ�โพง ลากขบวนยาวจึง
ออกตัวช้า พอพ้นสถานีความเร็วรถไฟจะเพิ่มมากข้ึนแล้วไป
จบลงอยา่ งแช่มช้าเมอ่ื ถึงสถานีปลายทาง 

มีข้อสังเกตว่านักเทศน์ใหม่มักออกเสียงคำ�ว่า “อาตม-
ภาพ” เป็น “อาตมาภาพ” ซ่ึงไม่ถูกต้องที่ถูกต้องให้ใช้คำ�ว่า
“อาตมภาพ” ไม่นยิ มใชค้ �ำ ว่า “อาตมา” ในการเทศน์

ข้อความว่า “รับประทานแสดงพระธรรมเทศนา” นั้น
เลียนแบบการเทศน์ถวายเทศนาในวังที่ใช้ข้อความว่า “รับ
พระราชทานถวายวิสัชนาพระธรรมเทศนา” หมายถึง ขอพระ
ราชทานวโรกาสแสดงธรรมถวาย ในทำ�นองเดียวกับข้อความ
วา่  “รบั ประทานแสดงพระธรรมเทศนา” หมายความวา่  ขอโอกาส
ทีจ่ ะเทศนใ์ ห้ฟัง

เม่ือเช้าผมเทศน์เร่ือง ขันติกถา ในพระอุโบสถ ผม
อารมั ภบทวา่  

“ณ บัดนี้ อาตมภาพจักรับประทานแสดงพระธรรม
เทศนาในขันติกถา เพ่ือเป็นเคร่ืองประคับประคองฉลอง
ศรัทธา ประดับปัญญาบารมี เพิ่มกุศลบุญราศีของญาติโยม
พุทธศาสนิกชนทั้งหลาย ผู้ขวนขวายมาบ�ำ เพญ็ บญุ บ�ำ เพ็ญกศุ ล 
ณ พระอโุ บสถวดั ประยรุ วงศาวาสวรวิหาร ในวันนี้ซ่ึงเป็นวันพระ
คือวันธัมมสั วนะทที่ ่านทง้ั หลายจะตอ้ งเข้าวัดฟงั ธรรม”

พระพรหมบณั ฑติ (ประยูร ธมฺมจติ โฺ ต)  323 

พอจบอารัมภบท ผมก็นำ�เข้าสู่นิเทศคือการอธิบาย
ขยายความ ดังตอ่ ไปน้ี

“ในวันนี้มีผู้มาร่วมฟังเทศน์ฟังธรรมมาบำ�เพ็ญกุศลกัน
หลายคณะ เร่ิมตั้งแต่คณะของสำ�นักเทศกิจ กรุงเทพมหานคร 
มีท่านเลขานุการสำ�นักเทศกิจนำ�คณะมา ซึ่งถือว่าเป็นการ
ปฏิบัติราชการนอกสถานท่ีเพราะเหตุท่ีว่าเราชาวพุทธควรจะ
ได้มีการศึกษาธรรมะ เอาเวลาไหนในหนึ่งสัปดาห์ไปศึกษา
ธรรมะเพราะต้องปฏิบัติราชการ ศาสนาอ่ืนให้คนหยุดทำ�งาน
ในวันสุดสัปดาห์ แล้วไปโบสถ์ฟังธรรมเรียนธรรมของศาสนา
เขาในวันอาทิตย์ ศาสนาของเราไม่ได้หยุดในวันสุดสัปดาห์ 
ญาติโยมจึงไม่มีโอกาสเรียนธรรมะโดยตรง เพราะวันฟังธรรม 
๘ คํ่า ๑๕ ค่ํา มักจะเป็นวันทำ�งาน ขออนุโมทนาเป็นอยา่ งยง่ิ
ต่อส่วนราชการท่ีอยู่ติดกับวัดประยุรวงศาวาส คือสำ�นัก
เทศกิจท่ีผู้อำ�นวยการอนุญาตให้เจ้าหน้าที่มาฟังเทศน์โดย
ถือวา่ เปน็ เวลาปฏิบตั ิราชการ 

วันนี้ให้ท่านท้ังหลายได้รอนิดหน่อยเพราะจะฟังเทศน์
ให้ดีต้องอดทน ถ้าไม่อดทนก็ไม่ได้ฟังเทศน์ ไม่อดทนก็จะ
ไม่ได้รักษาศีลได้ครบ ๕ ข้อ ความอดทนจึงเป็นพื้นฐานของ
การทำ�ความดี ดังพระบาลีท่ีอาตมภาพได้ยกเป็นนิกเขปบท
เบ้ืองต้นว่า ขันติ หิตสุขาวหา ความอดทนนำ�มาซ่ึงประโยชน์
เก้ือกูลและความสุข” 

324  หลกั การและวธิ กี ารเทศน์

นเิ ทศดีต้องมี ๔ ส.
การเทศน์จะต่างจากปาฐกถาตรงที่ว่าจะต้องพูดช้ากว่า

ปกตินิดหน่ึง เน้นมากกว่าปกตินิดหน่ึง เพราะเป็นความขลัง
เป็นความศักดิ์สิทธิ์อยู่ในการเทศน์ และเพราะเป็นเร่ืองของ
ธรรมะที่ท่านจะต้องใส่ความรู้สึกในการเทศน์ ในขั้นตอน
นิเทศคืออธิบายขยายความน้ัน มีหลักการอยู่ว่า เทศน์ดีต้องมี 
๔ ส. ดังน้ี

๑. สันทัสสนา แจม่ แจ้งเหมอื นเห็นดว้ ยตา
๒. สมาทปนา จงู ใจใหเ้ กดิ ศรทั ธาน�ำ ไปปฏบิ ัติ
๓. สมตุ เตชนา แกล้วกล้าคิดว่าเราก็ทำ�ได้ไม่ยากและ
นา่ ท�ำ
๔. สมั ปหังสนา ร่าเริงและบันเทิงในธรรม เกิดธรรมะ
ปีติ ปีติในการฟังธรรม ฟังแล้วเกิดเบาสบายมีความสุข
ไมเ่ ครียดเหมอื นฟังไฮปารค์ ทางการเมอื ง 
สมมติว่าเราจะเทศน์เร่ือง จตุพลกถา เราต้องอธิบาย
ขยายความบาลีนิกเขปบทที่ยกมาไว้ว่า จัตตารีมานิ ภิกขะเว 
พะลานิ เป็นต้น เริ่มต้นด้วยการแปลบาลีว่า “ภิกษุทั้งหลาย 
พละ ๔ ประการเหล่านี้มีอะไรบ้าง คือ ปัญญาพละ วิริยพละ 
อนวชั ชพละ และสงั คหพละ” จากนน้ั เราจงึ อธบิ ายความหมาย
ของคำ�ว่า “พละ” และอธิบายแจกแจงพละท้ัง ๔ ประการ 
การอธบิ ายตอ้ งยดึ หลกั  ๔ ส. ของพระพทุ ธเจา้  คอื  สนั ทสั สนา 

พระพรหมบัณฑิต (ประยรู ธมมฺ จิตฺโต)  325 

(แจ่มแจ้ง) สมาทปนา (จูงใจ) สมุตเตชนา (แกล้วกล้า)
สมั ปหงั สนา (ร่าเรงิ ) 

๑. สนั ทัสสนา (แจ่มแจง้ ) 
เม่ือคนฟังเทศน์ของพระพุทธเจ้าจบลงแต่ละคร้ังจะมี
ผู้กล่าวช่ืนชมในตอนท้ายว่า “อภิกฺกนฺตํ โภ โคตม อภิกฺกนฺตํ 
โภ โคตม แจ่มแจ้งนักพระโคดมผเู้ จรญิ  แจม่ แจ้งนกั พระโคดม
ผู้เจริญ เทศนาของพระองค์นั้นเหมือนกับหงายของท่ีควำ่� จุด
ประทีปในทม่ี ืด บอกทางแก่คนหลงทาง” 
เคยมีใครชมเราอย่างนี้บ้างไหม มีแต่ชมว่าดับประทีป
จนมืด เกอื บจะเขา้ ใจอยแู่ ลว้ ไมร่ พู้ ดู อะไร มนึ ไปหมด นเ่ี ขาเรยี ก
วา่ ไมแ่ จม่ แจง้  หลกั ในการเทศน์ใหค้ นเขา้ ใจแจม่ แจง้ แม้จะเป็น
เรื่องยากลึกซึ้ง คือ อย่าพูดในเร่ืองท่ีตัวเองก็ไม่เข้าใจ อย่า
ท่องไปพูด ท่องพระไตรปิฎก ท่องน่ันท่องนี่มา ขนาดตัวท่าน
เองยังไม่รู้แล้วจะไปคาดหวังให้คนอ่ืนรู้ได้อย่างไร ปัญหาของ
พวกเราอยตู่ รงนี ้
กฎแห่งกรรม ปฏิจจสมุปบาท ตัวท่านเองเข้าใจแค่ไหน 
ถามจริงๆ ถ้าท่านจะพูดให้เด็ก ป.๖ เร่ืองอริยสัจ ๔ ท่าน
เข้าใจเร่ืองอริยสัจ ๔ ลึกซึ้งแค่ไหน น่ีแหละที่ผมบอกว่า ถ้า
ท่านจะเทศน์ ๑ ชั่วโมงเร่ืองอริยสัจ ๔ ท่านต้องฟังผู้เชี่ยวชาญ
นักเทศน์ช้ันเอกเทศน์เรื่องนี้มานับสิบช่ัวโมง แต่ละคนพูดว่า

326  หลักการและวธิ ีการเทศน์

อย่างไร อยากจะเขียนรายงาน ๑ บท ท่านจะต้องอ่านหนังสือ
ก่ีเล่ม อ่านให้เราเองเกิดความรู้เรื่องเกิดความเข้าใจแล้วก็นำ�
มาเรียบเรียงด้วยภาษาของเรา เด็กสมัยนี้เข้าอินเตอร์เน็ต
ไปคัดลอกมาทำ�รายงาน พอสอบสัมภาษณ์ตกม้าตายไม่รู้ว่า
มันคืออะไร เพราะฉะนั้นอาจารย์เขาฉลาด เขาไม่ให้ใช้ก๊อปป้ี
ด้วยคอมพิวเตอร์ ให้เขียนด้วยลายมือ เพื่อไม่ให้ไปลอกมา
โดยท่ีตัวเองไม่รู้เร่ือง เวลาท่านไปลอก ก็คือไปท่องมา ท่าน
ควรจะอ่านหนังสือหลายๆ เล่มในเร่ืองเดียวกัน เร่ืองอริยสัจ 
๔ ท่านพุทธทาสเทศน์ว่าอย่างนี้ พระพรหมคุณาภรณ์ ว่า
อยา่ งน ้ี พระธรรมโกศาจารย ์ เทศนอ์ ยา่ งน ้ี ตคี วามคนละอยา่ ง 

ท่านจะพูดให้แจ่มแจ้งต้องพูดในเร่ืองท่ีตัวเองเข้าใจนี่คือ
ประเดน็ ที่ ๑ 

ทา่ นจะเลา่ เรอ่ื งใหค้ นฟงั เหน็ ภาพ ถามวา่ ทา่ นจนิ ตนาการ
เห็นภาพเองหรือยัง ท่านอ่านเรื่องพระเทวทัตกล้ิงหินกะจะให้
ทับพระพุทธเจ้า ท่านอ่านเพื่อจะไปเล่าให้เด็กฟัง ไม่ใช่ท่องไป
เล่า ท่านจะต้องเล่าตามท่ีท่านเห็นในจินตนาการ คนที่คิด
ทำ�ร้ายคนอื่นมีสายตาแสดงอารมณ์โกรธ ท่านแสดงสีหน้า
พระเทวทัตตอนโกรธไปด้วย เขาเรียกว่ามีจิตนาการในการ
เล่าเรอื่ ง ถา้ ท่านเล่าเรอ่ื งตามตัวหนังสือผ้ฟู งั กไ็ ม่เข้าใจ 

ผมจะเล่าเร่ืองอเมริกาให้ท่านฟัง ถ้าเคยไปอเมริกามา
ก่อนจะเล่าได้เป็นฉากๆ ถ้าไม่เคยไปเราดูเว็บไซต์ จนกระท่ัง

พระพรหมบัณฑิต (ประยรู ธมฺมจิตโฺ ต)  327 

เกิดเห็นภาพ ถ้าหากคนท่ีเห็นภาพเอามาเล่า เขาจะพูดได้มี
นาํ้ หนักมาก 

มีโยมคนหน่ึงบอกว่า วันน้ีสั่นไปท้ังตัวเลย คนเขาฆ่ากัน
ใหเ้ ห็นจนทานกว๋ ยเตยี๋ วไมล่ ง 

โยมเล่าว่ากำ�ลังน่ังตักก๋วยเต๋ียวทานอยู่ เพ่ือนสองคน
ทะเลาะกนั  เมาท้ังคู่ เถียงกันไปเถียงกันมา คนหน่ึงว่ิงไปคว้า
มีดปังตอสับหมูของพ่อค้าก๋วยเต๋ียวเอามาสับคอเพ่ือนขาด 
หัวมันกลิ้งลงมาใต้โต๊ะที่ผมกำ�ลังกินก๋วยเตี๋ยว ดวงตายังเบิก
โพลงจอ้ งมาทผี่ ม ผมทานกว๋ ยเตย๋ี วไม่ลง

ทโ่ี ยมเลา่ มา อาตมากเ็ หน็ ภาพจนฉนั ขา้ วไมล่ งเหมอื นกนั  

คนเล่าไม่ใช่นักเทศน์เป็นโยมธรรมดา แต่เขาเล่าจากที่
เขาเห็นเองรู้สึกอกส่ันขวัญแขวน ถ้าท่านอ่านก็ดีฟังก็ดีแล้ว
เกิดจินตนาการไปด้วยแล้วเล่าต่อตามท่ีท่านเข้าใจ เหมือน
เร่ืองทเ่ี ลา่ นน้ั เกดิ กบั ตวั ทา่ นเอง นค่ี อื เทศนไ์ ดแ้ จม่ แจง้  

๒. สมาทปนา จูงใจให้เกิดศรัทธา บางท่านเทศน์ได้
แจ่มแจ้งแต่ไม่จูงใจ ในการพูดก็เหมือนกัน บางท่านพูดได้
ชัดเจนแจ่มแจ้ง แต่ว่าคนไม่ศรัทธาเพราะภาษาที่ใช้เป็นเหตุ 
เวลาข้ึนธรรมาสน์ท่านต้องเลือกสรรภาษา ท่านจะพูดคำ�สบถ
คำ�หยาบไม่ได้ เพราะคนพนมมอื ฟังทา่ น 

328  หลักการและวิธกี ารเทศน์

บางท่านไม่น่าศรัทธาเพราะว่าไม่ได้เตรียมการบ้านให้ดี 
สมมติว่าไปเทศน์งานศพ คนตายเป็นพ่อชื่อนายประเสริฐ
ลูกเป็นเจ้าภาพช่ือนายประสาท นักเทศน์พูดสลับกัน งานศพ
คุณประเสริฐเราไปบอกว่าวันน้ีมาเทศน์งานศพคุณประสาท 
เทศนอ์ ย่างน้ไี ม่น่าตดิ กณั ฑเ์ ทศน์

เพราะฉะน้นั  การจูงใจเป็นอีกเร่อื งหน่งึ ท่สี ำ�คัญ เทศน์ดี
ชดั เจนแจม่ แจง้  แตอ่ าจจะไมจ่ งู ใจใหเ้ กดิ ศรทั ธา เคยเหน็ โฆษก
งานวัดหน่ึงพูดน้ําไหลไฟดับชักชวนคนทำ�บุญ ตอนแรกโยมก็
จะควักเงินทำ�บุญ ๑๐๐ บาท แต่พอฟังไปฟังมาลดเงินลงไป
เร่ือยๆ พูดอะไรก็ไม่รู้ ศรัทธาไม่เกิด พูดเก่งพูดคล่องแต่
ไมท่ �ำ ใหเ้ กดิ ศรทั ธา 

นอกจากนี้ ท่านต้องใส่ความรู้สึกในการพูดในการเทศน์ 
ผมเลา่ เรอ่ื งปา่ ประดลู่ ายเมอ่ื สกั ครนู่  ้ี เวลาผมเลา่ เรอ่ื งพระพทุ ธเจา้  
ผมจะมีความรู้สึกซาบซ้ึง เวลาผมเล่าเร่ืองสมเด็จพุทธโฆษา-
จารย์ (จี่) ผมยังเกิดความรู้สึกอิน พอเกิดความรู้สึกอินใน
เร่ืองน้ันๆ คำ�ว่า อิน มาจากคำ�ว่า Internalization ให้จมหาย
แล้วกลายเป็นเรา ส่ิงท่ีเราศึกษากลายเป็นเน้ือเป็นตัวเป็น
ความรสู้ กึ ของเรา 

เวลาสอนญาติโยม ถ้ามีคนมานิมนต์ผมให้ไปพูดเร่ือง
เมืองไทยใสสะอาดคือไม่มีคอรัปชั่น ผมรับทันที เพราะโดย
สว่ นลกึ  ผมแอนต้คี อรปั ชั่น 


Click to View FlipBook Version