The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by iprd.pic, 2023-09-19 04:15:14

รวมย่อคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่น่าสนใจ พ.ศ. ๒๕๕๖ - ๒๕๖๕

29. winijchai66_A

ความเป็นมา 2 สาร ประธานศาลฎีกา ศาลเป็นสถาบันหลักที่ทำหน้าที่ประสิทธิ์ประสาทความยุติธรรม ให้แก่สังคมไทยมาอย่างยาวนาน โดยมีการพัฒนาระบบการพิจารณา พิพากษาคดีควบคู่ไปกับการบังคับใช้กฎหมายให้สอดคล้องกับความเป็นธรรม ตามสภาวการณ์ของบ้านเมืองมาโดยตลอด อย่างไรก็ตาม ด้วยโครงสร้าง ของสังคมที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอและทวีความสลับซับซ้อนขึ้น ไม่ว่าจะเป็น โครงสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลครอบครัวชุมชน ธุรกิจและส่วนราชการ อีกทั้งการใช้อำนาจของหน่วยงานรัฐก็นำมาซึ่งข้อพิพาทในหลากหลายรูปแบบ จึงมีความจำเป็นที่ประเทศไทยต้องมีระบบศาลคู่ เพื่อให้คดีแต่ละประเภท ได้รับการพิจารณาพิพากษาโดยองค์กรที่มีความเชี่ยวชาญภายใต้กระบวนการ ที่เหมาะสมแก่ลักษณะคดี แม้การอำนวยความยุติธรรมด้วยระบบศาลคู่จะถือเป็นแนวทาง ที่มีประสิทธิภาพ แต่ก็มีประเด็นปัญหาเกี่ยวกับขอบเขตอำนาจหน้าที่ ของแต่ละศาลที่ต้องพิจารณาด้วยเหตุนี้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจ หน้าที่ระหว่างศาลจึงเป็นผู้มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการที่จะวินิจฉัยปัญหา ดังกล่าว ซึ่งตลอดระยะเวลา ๒๒ ปีที่ผ่านมา คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาด อำนาจหน้าที่ระหว่างศาลได้ดำเนินการวินิจฉัยเพื่อขจัดข้อขัดแย้ง ด้านเขตอำนาจศาลในหลายประเภทคดีส่งผลให้ข้อพิพาทได้รับการพิจารณา อย่างถูกต้องและเป็นธรรม สอดรับกับการพัฒนาของสังคมในทุกมิติ ได้เป็นอย่างดี


รวมย่อคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่น่าสนใจ พ.ศ. ๒๕๕๖ - ๒๕๖๕ ความเป็นมา 3 คำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ ระหว่างศาลฉบับย่อที่ได้รวบรวมไว้ในหนังสือเล่มนี้ มีประโยชน์ต่อการศึกษา ของผู้ที่สนใจความรู้ด้านกฎหมาย โดยเฉพาะความรู้ด้านเขตอำนาจหน้าที่ ของศาล และเป็นประโยชน์ต่อผู้ปฏิบัติงานในการที่จะใช้สิทธิทางศาล ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม นอกจากนี้องค์ความรู้ที่ปรากฏจากเหตุผล ในคำวินิจฉัยยังเป็นสิ่งที่ทรงคุณค่าทางวิชาการและเป็นรากฐานในการนำไป พัฒนาระบบงานกฎหมายให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นต่อไป (นายโชติวัฒน์เหลืองประเสริฐ) ประธานศาลฎีกา ประธานกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล


ความเป็นมา 4 “ความรู้คือ อำนาจ” (knowledge is power) คำกล่าวของ Francis Bacon (Former Lord High Chancellor of Great Britain) ยังเป็นจริงในทุกยุคสมัย และการสร้างแหล่งความรู้ถือเป็นภารกิจที่สำคัญ ของรัฐในการจัดทำบริการสาธารณะเพื่อส่งเสริมให้ประชาชนได้นำข้อมูล ข่าวสารหรือความรู้ไปใช้ในการพัฒนาตนเองและเพื่อสื่อสารกับรัฐ “คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล” จัดตั้งขึ้นตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ ประกอบพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ ปัจจุบันได้วินิจฉัยชี้ขาดเกี่ยวกับเขตอำนาจศาลและชี้ขาด กรณีคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกันเป็นเวลา เกือบ ๒๒ ปีรวม ๑,๙๕๓ เรื่อง ซึ่งคำวินิจฉัยหรือคำสั่งดังกล่าวเป็นข้อมูล หรือแหล่งความรู้ที่สำคัญยิ่งต่อประชาชนในการศึกษาเกี่ยวกับเขตอำนาจ ศาลยุติธรรม ศาลปกครองและศาลทหาร รวมถึงหลักเกณฑ์ในการยื่นคำร้อง กรณีคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกัน และแนวทาง การวินิจฉัยคดีแต่ละประเภท สาร ประธานศาลปกครองสูงสุด


รวมย่อคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่น่าสนใจ พ.ศ. ๒๕๕๖ - ๒๕๖๕ ความเป็นมา 5 การจัดทำหนังสือรวมย่อคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล ของสำนักงานเลขานุการคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล ในครั้งนี้จึงเป็นการจัดทำภารกิจของรัฐที่เป็นไปตามหลักนิติธรรมในการ ให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของราชการได้โดยง่ายและถูกต้องและ ยังเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่วงการวิชาการในการศึกษาวิเคราะห์แนวคำวินิจฉัย หรือคำสั่งในคดีประเภทต่าง ๆ เพื่อการพัฒนาหลักกฎหมายต่อไป ผมใคร่ขอขอบคุณประธานศาลฎีกา หัวหน้าสำนักตุลาการทหาร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเลขานุการและผู้ช่วยเลขานุการคณะกรรมการ วินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล รวมถึงสำนักงานเลขานุการ คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล ที่ได้ร่วมกันปฏิบัติ หน้าที่ตามที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยและกฎหมายมอบหมาย และกลั่นกรองคำวินิจฉัยแต่ละเรื่องออกมาเป็นผลิตผลที่อยู่ในหนังสือ อันทรงคุณค่าเล่มนี้ ซึ่งผมเชื่อว่าจะเป็นแนวทางในการศึกษาและการปฏิบัติงาน ให้แก่คู่ความและประชาชนเป็นอย่างดีและนับเป็นส่วนสำคัญในการ อำนวยความยุติธรรมให้แก่ประชาชน (ศาสตราจารย์พิเศษ ดร. วรพจน์วิศรุตพิชญ์) ประธานศาลปกครองสูงสุด กรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล


ความเป็นมา 6 คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลได้ก่อตั้งขึ้น ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ มาตรา ๒๔๘ วรรคหนึ่ง ที่ว่า ในกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ระหว่าง ศาลยุติธรรม ศาลปกครอง ศาลทหาร หรือศาลอื่น ให้พิจารณาวินิจฉัยชี้ขาด โดยคณะกรรมการคณะหนึ่งซึ่งประกอบด้วยประธานศาลฎีกาเป็นประธาน ประธานศาลปกครองสูงสุด ประธานศาลอื่น และผู้ทรงคุณวุฒิอื่นอีก ไม่เกินสี่คนตามที่กฎหมายบัญญัติเป็นกรรมการซึ่งมาตรา ๒๔๘ วรรคสอง บัญญัติว่า หลักเกณฑ์การเสนอปัญหาตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามที่กฎหมาย บัญญัติต่อมาจึงได้มีการตราพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาด อำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มีสาระสำคัญเป็นการกำหนด หลักเกณฑ์วิธีการนำคดีขึ้นสู่การวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาด อำนาจหน้าที่ระหว่างศาล ทั้งนี้คณะกรรมการมีอำนาจพิจารณาวินิจฉัย ปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างศาลใน ๓ ลักษณะ คือ กรณีมีปัญหาว่าคดีอยู่ใน เขตอำนาจของศาลใด กรณีที่คำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาล ขัดแย้งกัน และกรณีอื่นที่อำนาจหน้าที่ระหว่างศาลขัดแย้งกัน จากจุดที่ เริ่มก่อตั้งจนถึงปัจจุบัน คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล ได้ดำเนินการพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลมาแล้ว โดยได้วางหลักเกณฑ์ในคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลยุติธรรม ศาลปกครองและศาลทหารไว้เป็นจำนวนมากหลากหลายรูปแบบคดี และเนื้อหา สาร หัวหน้าสำนักตุลาการทหาร


รวมย่อคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่น่าสนใจ พ.ศ. ๒๕๕๖ - ๒๕๖๕ ความเป็นมา 7 ผมจึงมีความรู้สึกยินดียิ่งที่สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการ วินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลได้รวบรวมและจัดทำหนังสือ รวมย่อคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลขึ้น ซึ่งจะเป็นการเผยแพร่ หลักในการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล อันจะเป็นประโยชน์ ในการศึกษาค้นคว้าหลักกฎหมายในทางวิชาการและอ้างอิงได้เป็นอย่างดี ส่งผลให้ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการที่จะต้องนำคดีขึ้นสู่ศาลได้รับการอำนวย ความยุติธรรมอย่างถูกต้อง รวดเร็ว ลดภาระค่าใช้จ่าย และลดระยะเวลา ในการดำเนินคดีหนังสือเล่มนี้ได้แสดงถึงการทำงานร่วมกันของคณะกรรมการ วินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล ที่ได้มุ่งมั่น ทุ่มเท และเสียสละ เพื่อพัฒนาองค์กรให้ก้าวหน้าและเป็นที่เชื่อถือศรัทธาแก่ประชาชน ผมเชื่อว่าและหวังเป็นอย่างยิ่งว่าหนังสือเล่มนี้จะเป็นประโยชน์ เพื่อใช้เป็นหลักในการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล สืบไป (พลโท อรรถพล แผ้วพาลชน) หัวหน้าสำนักตุลาการทหาร กรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล


ความเป็นมา 8 คำนำ คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลเป็นองค์กรที่เกิดขึ้นตามรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ มาตรา ๒๔๘ เพื่อแก้ไขปัญหาการขัดกันระหว่าง อำนาจศาลในระบบศาลคู่ ซึ่งได้แก่ศาลยุติธรรม ศาลปกครอง และศาลทหาร รวมถึงการแก้ปัญหา กรณีการขัดแย้งกันของคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดของศาลต่างระบบ เพื่อให้คู่ความหรือ ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากคำพิพากษาดังกล่าวนั้นสามารถปฏิบัติตามคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุด ได้อย่างถูกต้องและเป็นธรรม ซึ่งต่อมารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ ก็ยังคงกำหนดหลักการดังกล่าวไว้ในมาตรา ๑๙๒ ว่า “ในกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับหน้าที่และอำนาจ ระหว่างศาลยุติธรรม ศาลปกครอง หรือศาลทหาร ให้พิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดโดยคณะกรรมการ ซึ่งประกอบด้วยประธานศาลฎีกาเป็นประธาน ประธานศาลปกครองสูงสุด หัวหน้าสำนักตุลาการทหาร และผู้ทรงคุณวุฒิอื่นอีกไม่เกินสี่คนตามที่กฎหมายบัญญัติเป็นกรรมการ” นับแต่การประกาศใช้พระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ และมีการจัดตั้งคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลขึ้น เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๔ จนถึงปัจจุบัน คณะกรรมการได้มีคำวินิจฉัยวางแนวในคดีพิพาทต่างๆไว้เป็นจำนวนมาก ซึ่งประชาชนหรือผู้เกี่ยวข้องสามารถใช้เป็นแนวทางในการนำคดีขึ้นสู่ศาลที่มีเขตอำนาจได้อย่างถูกต้อง นับว่าเป็นส่วนสำคัญต่อความสำเร็จในการอำนวยความยุติธรรมตามหลักการของระบบศาลคู่ หนังสือเล่มนี้ได้จัดทำขึ้นโดยรวบรวมย่อคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล ที่น่าสนใจ ตั้งแต่ปีพ.ศ. ๒๕๕๖ ถึง พ.ศ. ๒๕๖๕ โดยแบ่งตามประเภทคดีพิพาทที่อยู่ในเขตอำนาจศาล ต่างระบบ และแนวคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลกรณีคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุด ระหว่างศาลขัดแย้งกันตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๔ รวมถึงกรณีที่ยกคำร้องหรือจำหน่ายเรื่องออกจากสารบบความเนื่องจาก การเสนอเรื่องไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติดังกล่าว เพื่อประโยชน์ในการสืบค้น ศึกษาค้นคว้า และอ้างอิง รวมถึงเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานของหน่วยงานและผู้ที่เกี่ยวข้องต่อไป คณะผู้จัดทำ


รวมย่อคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่น่าสนใจ พ.ศ. ๒๕๕๖ - ๒๕๖๕ สารบัญ คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล ๑ ย่อคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่น่าสนใจ คดีพิพาทที่อยู่ในเขตอำนาจของศาลยุติธรรม ๖ - คดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน ๘ - คดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในทรัพย์สิน ๕๒ - คดีพิพาทเกี่ยวกับการดำเนินการในกระบวนการยุติธรรมทางแพ่ง ๕๕ - คดีพิพาทเกี่ยวกับการดำเนินการในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา ๕๘ - คดีเกี่ยวกับสิทธิในทางแพ่ง ๗๓ - คดีพิพาทเกี่ยวกับเขตอำนาจของศาลชำนัญพิเศษ ๘๑ o คดีที่อยู่ในเขตอำนาจของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ ๘๑ o คดีที่อยู่ในเขตอำนาจของศาลภาษีอากร ๘๔ o คดีที่อยู่ในเขตอำนาจของศาลแรงงาน ๙๐ - คดีพิพาทเกี่ยวกับหน่วยงานของรัฐฟ้องเรียกเงินคืน ๑๐๓ คดีพิพาทเกี่ยวกับเขตอำนาจของศาลปกครอง ๑๑๐ - คดีพิพาทเกี่ยวกับการใช้อำนาจทางปกครอง ๑๑๒ o คดีที่เป็นการใช้อำนาจทางปกครอง อยู่ในเขตอำนาจของศาลปกครอง ๑๑๒ o คดีที่มิใช่การใช้อำนาจทางปกครอง อยู่ในเขตอำนาจของศาลยุติธรรม ๑๒๖ - คดีพิพาทเกี่ยวกับการละเลยต่อหน้าที่หรือปฏิบัติหน้าที่ล่าช้าเกินสมควร ๑๓๔ o คดีเกี่ยวกับการละเลยต่อหน้าที่หรือปฏิบัติหน้าที่ล่าช้าเกินสมควร ๑๓๔ อยู่ในเขตอำนาจของศาลปกครอง o คดีที่มิใช่คดีพิพาทเกี่ยวกับการละเลยต่อหน้าที่หรือปฏิบัติหน้าที่ ๑๓๙ ล่าช้าเกินสมควร อยู่ในเขตอำนาจของศาลยุติธรรม ส า ร บั ญ หน้า


สารบัญ - คดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดของฝ่ายปกครอง ๑๔๓ o คดีเกี่ยวกับการกระทำละเมิดที่อยู่ในเขตอำนาจของศาลปกครอง ๑๔๓ • การกระทำละเมิดที่เกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมาย ๑๔๓ หรือคำสั่งทางปกครอง • การกระทำละเมิดที่เกิดจากการละเลยต่อหน้าที่ ๑๕๑ หรือปฏิบัติหน้าที่ล่าช้าเกินสมควร o คดีเกี่ยวกับการกระทำละเมิดทางแพ่งและละเมิดทั่วไป ๑๖๐ ที่อยู่ในเขตอำนาจของศาลยุติธรรม o คดีเกี่ยวกับการกระทำละเมิดที่อยู่ในเขตอำนาจของศาลปกครอง ๑๗๔ และศาลยุติธรรม - คดีพิพาทเกี่ยวกับความรับผิดอย่างอื่น ๑๗๗ o คดีเกี่ยวกับความรับผิดอย่างอื่นที่อยู่ในเขตอำนาจของศาลปกครอง ๑๗๗ o คดีที่มิใช่คดีพิพาทเกี่ยวกับความรับผิดอย่างอื่นเป็นคดีที่อยู่ ๑๘๒ ในเขตอำนาจของศาลยุติธรรม - คดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญา ๑๘๗ o คดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง อยู่ในเขตอำนาจของศาลปกครอง ๑๘๗ o คดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางแพ่ง อยู่ในเขตอำนาจของศาลยุติธรรม ๒๑๕ - คดีพิพาทเกี่ยวกับอนุญาโตตุลาการ ๒๔๗ o คดีพิพาทเกี่ยวกับอนุญาโตตุลาการที่อยู่ในเขตอำนาจของศาลปกครอง ๒๔๗ o คดีพิพาทเกี่ยวกับอนุญาโตตุลาการที่อยู่ในเขตอำนาจของศาลยุติธรรม ๒๕๑ - คดีอื่น ๆ ๒๕๔ คดีพิพาทเกี่ยวกับเขตอำนาจของศาลทหาร ๒๕๘ - คดีที่อยู่ในเขตอำนาจของศาลทหาร ๒๖๐ - คดีที่ไม่อยู่ในเขตอำนาจของศาลทหาร ๒๖๖ กรณีคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกัน ๒๗๖ - กรณีรับคำร้องไว้วินิจฉัย ๒๗๘ - กรณีให้ยกคำร้องหรือจำหน่ายเรื่องออกจากสารบบความ ๒๘๗ ลักษณะคดีที่คณะกรรมการมีคำสั่งจำหน่ายเรื่องออกจากสารบบความ ๓๐๖ หน้า


รวมย่อคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่น่าสนใจ พ.ศ. ๒๕๕๖ - ๒๕๖๕ 1 คณะกรรมการวินิจฉัยช� ข ี าด อํานาจหน ้ าท ี� ระหว่างศาล


2 ๑ พระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๔ ประกาศ ในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔ ความเป็นมา สืบเนื่องจากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ มาตรา ๒๔๘ บัญญัติว่า “ในกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลยุติธรรม ศาลปกครอง ศาลทหาร หรือศาลอื่น ให้พิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดโดยคณะกรรมการคณะหนึ่งซึ่งประกอบด้วยประธานศาลฎีกา เป็นประธาน ประธานศาลปกครองสูงสุด ประธานศาลอื่น และผู้ทรงคุณวุฒิอื่นอีกไม่เกินสี่คนตามที่ กฎหมายบัญญัติ เป็นกรรมการ หลักเกณฑ์การเสนอปัญหาตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ” จึงได้มีการตราพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ ขึ้น โดยมีสาระสำคัญเป็นการกำหนดองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ วินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล คุณสมบัติและหลักเกณฑ์การคัดเลือกกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ รวมไปถึงวิธีการเสนอปัญหาเข้าสู่การวินิจฉัยของคณะกรรมการ ซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๑๙๙ และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ มาตรา ๑๙๒ ยังคงกำหนดให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลทำหน้าที่วินิจฉัยชี้ขาด ในกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับหน้าที่และอำนาจระหว่างศาลยุติธรรม ศาลปกครอง และศาลทหาร และ เพื่อเป็นการแก้ไขข้อขัดข้องตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ ที่ได้ประกาศใช้มาเป็นเวลานาน จึงได้มีการตราพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาด อำนาจหน้าที่ระหว่างศาล (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๔ ๑ ขึ้น โดยแก้ไขเพิ่มเติมกรอบระยะเวลาในการยื่น คำร้องโต้แย้งเขตอำนาจศาลสำหรับการฟ้องคดีต่อศาลปกครองหรือศาลอื่น ให้อำนาจศาลที่รับฟ้อง มีดุลพินิจในการพิจารณาคดีต่อไปได้ในระหว่างที่คดีเข้าสู่กระบวนการวินิจฉัยชี้ขาดเขตอำนาจศาล และแก้ไขเพิ่มเติมระยะเวลาการพิจารณาคำร้องขอให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดกรณีคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกัน รวมทั้งกำหนดให้มี ผู้ช่วยเลขานุการคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล เพื่อทำหน้าที่ช่วยเหลืองาน ของเลขานุการคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล ในการปฏิบัติหน้าที่ตามที่ คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลกำหนด ทั้งนี้ เพื่อให้การปฏิบัติงานของ คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลมีความรวดเร็วและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล


รวมย่อคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่น่าสนใจ พ.ศ. ๒๕๕๖ - ๒๕๖๕ 3 องค์ประกอบของคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล ประกอบด้วยกรรมการโดยตำแหน่ง และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิอีกไม่เกิน ๔ คน ดังนี้ กรรมการโดยตำแหน่ง ๑) ประธานศาลฎีกา เป็นประธานกรรมการ ๒) ประธานศาลปกครองสูงสุด ๓) หัวหน้าสำนักตุลาการทหาร ๔) ประธานศาลอื่น ในกรณีที่มีการจัดตั้งศาลอื่น (ปัจจุบันไม่มี) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ๑) ผู้ที่ได้รับคัดเลือกจากที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา จำนวนหนึ่งคน ๒) ผู้ที่ได้รับคัดเลือกจากที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด จำนวนหนึ่งคน ๓) ผู้ที่ได้รับคัดเลือกจากที่ประชุมใหญ่ตุลาการพระธรรมนูญในศาลทหารสูงสุด จำนวนหนึ่งคน ๔) ผู้มีความรู้และประสบการณ์ด้านกฎหมายที่มิใช่ผู้พิพากษาหรือตุลาการ ซึ่งได้รับคัดเลือก โดยที่ประชุมของกรรมการโดยตำแหน่งและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามข้อ ๑ - ๓ จำนวนหนึ่งคน วาระการดำรงตำแหน่งของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ ๔ ปี นับแต่วันประกาศรายชื่อ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในราชกิจจานุเบกษา ถ้ากรรมการผู้ทรงคุณวุฒิว่างลง ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา ที่ประชุมใหญ่ตุลาการ ในศาลปกครองสูงสุด ที่ประชุมใหญ่ตุลาการพระธรรมนูญในศาลทหารสูงสุด หรือที่ประชุมร่วมของ กรรมการโดยตำแหน่งและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ แล้วแต่กรณี ต้องดำเนินการคัดเลือกผู้ทรงคุณวุฒิ แทนตำแหน่งที่ว่างโดยเร็ว กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งได้รับการคัดเลือกใหม่มีวาระอยู่ในตำแหน่ง ๔ ปี นับแต่วันประกาศชื่อในราชกิจจานุเบกษา ในระหว่างที่ยังมิได้คัดเลือกกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิแทนตำแหน่งที่ว่างลง และยังมีกรรมการ เหลืออยู่เกินกึ่งหนึ่ง กรรมการที่เหลือยังคงปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้ แต่ต้องไม่เกิน ๓๐ วัน คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้ - มีสัญชาติไทยโดยการเกิด - มีอายุไม่ต่ำกว่าสี่สิบปีบริบูรณ์ - ไม่เป็นพนักงานหรือลูกจ้างของหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือไม่เป็นกรรมการ หรือที่ปรึกษาของหน่วยงานของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจ คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล


4 - ไม่เป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง สมาชิกสภาท้องถิ่น ผู้บริหารท้องถิ่น กรรมการ หรือผู้ดำรงตำแหน่งที่รับผิดชอบในการบริหารพรรคการเมือง สมาชิกพรรคการเมือง หรือเจ้าหน้าที่ ในพรรคการเมือง - ไม่เป็นกรรมการ ผู้จัดการ ที่ปรึกษา ลูกจ้าง หรือดำรงตำแหน่งอื่นใด ที่มีลักษณะคล้ายกัน ในบริษัท ห้างหุ้นส่วน หรือธุรกิจเอกชนในรูปแบบอื่น การพ้นจากตำแหน่งของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒินอกจากจะพ้นจากตำแหน่งตามวาระตามมาตรา ๘ แห่งพระราชบัญญัติ ว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ แล้ว มาตรา ๙ ยังกำหนดให้กรรมการ ผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่งก่อนครบวาระด้วยเหตุต่อไปนี้ - ตาย - ลาออก - เป็นบุคคลล้มละลาย - เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ - ถูกจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก - ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้าม ตามมาตรา ๖ อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ กำหนด อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลไว้ ดังนี้ ๑. คณะกรรมการมีอำนาจพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างศาล ดังนี้ ๑) กรณีมีปัญหาว่าคดีอยู่ในเขตอำนาจศาลใด ๒) กรณีคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกัน ๓) กรณีอื่นที่อำนาจหน้าที่ระหว่างศาลขัดแย้งกัน คำวินิจฉัยของคณะกรรมการเป็นที่สุด ๒. คณะกรรมการมีอำนาจออกข้อบังคับโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาเกี่ยวกับ เรื่องต่อไปนี้ ๑) วิธีการเสนอเรื่องต่อคณะกรรมการ ๒) การพิจารณาของคณะกรรมการ ๓) การวินิจฉัยของคณะกรรมการ ๔) การอื่นที่จำเป็น คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล


รวมย่อคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่น่าสนใจ พ.ศ. ๒๕๕๖ - ๒๕๖๕ 5 ส่วนเลขานุการคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๘ ได้กำหนดให้เลขานุการศาลฎีกาเป็นเลขานุการคณะกรรมการ มีหน้าที่รับผิดชอบ ดำเนินการตามที่คณะกรรมการกำหนด เลขานุการศาลฎีกาจึงเป็นผู้มีหน้าที่บริหารงานธุรการ ของคณะกรรมการให้ดำเนินการไปด้วยความเรียบร้อย และพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาด อำนาจหน้าที่ระหว่างศาล (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๔ กำหนดให้มีผู้ช่วยเลขานุการคณะกรรมการ วินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลเพื่อทำหน้าที่ช่วยเหลืองานของเลขานุการคณะกรรมการ วินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล ในการปฏิบัติหน้าที่ตามที่คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาด อำนาจหน้าที่ระหว่างศาลกำหนด กฎหมาย ข้อบังคับ และระเบียบที่เกี่ยวข้อง ๑. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ๒. พระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ ๓. พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ๔. พระราชบัญญัติให้ใช้พระธรรมนูญศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓ ๕. พระราชบัญญัติพระธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. ๒๔๙๘ ๖. พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๙ ๗. พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ ๘. ข้อบังคับคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล ว่าด้วยวิธีการเสนอเรื่อง การพิจารณาและวินิจฉัย พ.ศ. ๒๕๔๔ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ๙. ข้อบังคับคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล ว่าด้วยการประชุม ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. ๒๕๖๓ ๑๐. ระเบียบคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล ว่าด้วยแนวปฏิบัติ ของฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๔ ๑๑. ระเบียบสำนักงานเลขานุการคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล ว่าด้วยวิธีการและค่าใช้จ่ายในการคัดสำเนาคำวินิจฉัยหรือคำสั่งชี้ขาดของคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาด อำนาจหน้าที่ระหว่างศาลหรือเอกสารอื่นอันรับรองถูกต้อง พ.ศ. ๒๕๔๔ คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล


ความเป็นมา 6


คดีพิพาทที่อยู่ในอำนาจ ศาลยุติธรรมคดีพิพาทที่อยู่ในอำนาจ ศาลปกครองคำพิพากษา/คำสั่งที่ถึงที่สุด ระหว่างศาลขัดแย้งกันคดีพิพาทที่ยกคำร้อง หรือจำหน่ายเรื่องคดีพิพาทที่อยู่ในอำนาจ ศาลทหาร รวมย่อคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่น่าสนใจ พ.ศ. ๒๕๕๖ - ๒๕๖๕ ความเป็นมา 7 คดีพิพาท ที�อยู่ในเขตอํานาจของศาลยุติธรรม คดีพิพาทเกย ี� วกบัสิทธิในท ี� ดิน คดีพิพาทเกย ี� วกบัสิทธิในทรัพย์สิน คดีพิพาทเกย ี� วกบัการดําเนินการ ในกระบวนการยุตธิรรมทางแพ่ง คดีพิพาทเกย ี� วกบัการดําเนินการ ในกระบวนการยุตธิรรมทางอาญา คดีเกย ี� วกบัสิทธิในทางแพ่ง คดีพิพาทเกย ี� วกบัเขตอาํนาจ ของศาลชาํนัญพิเศษ คดีพิพาทเกย ี� วกบัหน่วยงานของรัฐ ฟ�องเรียกเงนิคืน


ความเป็นมา 8 รวมย่อคําวินิจฉัย คดีพิพาทเกี�ยวกับสิทธิในที�ดิน


คดีพิพาทที่อยู่ในเขตอำนาจ ของศาลยุติธรรม รวมย่อคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่น่าสนใจ พ.ศ. ๒๕๕๖ - ๒๕๖๕ 9 คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๗๖/๒๕๖๕ คดีนี้เอกชนเป็นโจทก์ ยื่นฟ้อง อธิบดีกรมที่ดิน ที่ ๑ นาง ป. ที่ ๒ จำเลย อ้างว่า โจทก์ทั้งสอง เป็นผู้มีสิทธิครอบครองหรือกรรมสิทธิ์ในที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. ๓ ก.) เลขที่ ๓๒๗ และโฉนดที่ดินเลขที่ ๑๗๘๓๖ เดิมเป็นที่ดินที่ผู้มีชื่อเข้าครอบครอง ทำประโยชน์ และยกให้โจทก์ที่ ๑ ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินด้านทิศตะวันออกเนื้อที่ประมาณ ๘ ไร่ ให้บิดาของโจทก์ที่ ๒ และโจทก์ที่ ๒ ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินทางด้านทิศตะวันตก เนื้อที่ประมาณ ๗ ไร่ หลังจากที่บิดาของโจทก์ที่ ๒ เสียชีวิต โจทก์ที่ ๒ ยังคงทำประโยชน์เรื่อยมา จนถึงปัจจุบัน ส่วนจำเลยที่ ๒ ทำประโยชน์อยู่ทางด้านทิศใต้เนื้อที่ประมาณ ๔ ไร่ ต่อมาประมาณ ปี ๒๕๒๑ นาง ส. ได้แจ้งข้อความอันเป็นเท็จต่อเจ้าพนักงานที่ดินเพื่อขอออกหนังสือรับรอง การทำประโยชน์ทับที่ดินในส่วนของโจทก์ทั้งสองและจำเลยที่ ๒ ครอบครอง โดยเจ้าพนักงานที่ดิน ได้ถือเอาหนังสือรับรองการทำประโยชน์ดังกล่าวออกเป็นโฉนดที่ดินเลขที่ ๑๗๘๓๖ โดยไม่ได้ ออกมาสำรวจในพื้นที่จริงว่ามีการครอบครองที่ดินหรือไม่ การออกโฉนดที่ดินดังกล่าวจึงไม่ชอบ ด้วยกฎหมาย ขอให้ศาลมีคำพิพากษาเพิกถอนการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. ๓ ก.) เลขที่ ๓๒๗ และเพิกถอนโฉนดที่ดินพิพาท ให้โจทก์ที่ ๑ ได้สิทธิครอบครองที่ดินด้านทิศตะวันออก เนื้อที่ ๘ ไร่ และให้โจทก์ที่ ๒ ได้สิทธิครอบครองที่ดินด้านทิศตะวันตกเนื้อที่ ๗ ไร่ และให้จำเลยที่ ๑ ออกโฉนดที่ดินให้กับโจทก์ทั้งสอง จำเลยที่ ๑ ให้การว่า โจทก์ทั้งสองไม่ใช่ผู้มีกรรมสิทธิ์หรือสิทธิ ครอบครองในที่ดินโฉนดเลขที่ ๑๗๘๓๖ เนื่องจากเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ ๒ ซึ่งได้จดทะเบียน สิทธิและนิติกรรมการได้ที่ดินมาโดยชอบด้วยกฎหมาย และเป็นการกล่าวอ้างโดยไม่มีเอกสารสิทธิใด มายืนยันการได้มาซึ่งสิทธิในที่ดินตามกฎหมาย การออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. ๓ ก.) และต่อมาเปลี่ยนเป็นโฉนดที่ดินเลขที่ ๑๗๘๓๖ จึงถูกต้องตามระเบียบและขั้นตอนโดยชอบ ด้วยกฎหมายแล้ว ขอให้ยกฟ้อง จำเลยที่ ๒ ให้การว่า จำเลยที่ ๒ ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินมา โดยการซื้อขายอย่างสุจริตและเสียค่าตอบแทน ที่ดินที่โจทก์ทั้งสองฟ้องว่าผู้มีชื่อครอบครองนั้น เป็นที่ดินตามโฉนดที่ดินเลขที่ ๑๗๘๒๖ ที่อยู่ติดกับที่ดินพิพาททางทิศตะวันตก ขอให้ยกฟ้อง เห็นว่า แม้คดีนี้ โจทก์ทั้งสองเป็นเอกชน ยื่นฟ้องอธิบดีกรมที่ดิน จำเลยที่ ๑ ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ และจำเลยที่ ๒ เป็นเอกชน โดยมีคำขอให้ศาลมีคำพิพากษาเพิกถอนโฉนดที่ดินของจำเลยที่ ๒ ซึ่งเป็นคำสั่งทางปกครอง แต่เหตุแห่งการขอให้เพิกถอนคำสั่งดังกล่าว โจทก์ทั้งสองอ้างว่า เป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท แต่เจ้าพนักงานที่ดินออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. ๓ ก.) เลขที่ ๓๒๗ ซึ่งต่อมาเปลี่ยนเป็นโฉนดที่ดินเลขที่ ๑๗๘๓๖ ปัจจุบันมีชื่อจำเลยที่ ๒ เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ ทับที่ดินของโจทก์ทั้งสอง ลักษณะข้อพิพาทในคดีนี้เป็นคดีที่โจทก์ทั้งสองมุ่งหมายที่จะใช้สิทธิทางศาล คดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน คดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน


10 เพื่อให้ศาลมีคำพิพากษารับรองคุ้มครองสิทธิในที่ดินของโจทก์ทั้งสอง กรณีจึงเป็นคดีพิพาท เกี่ยวกับสิทธิในที่ดินอันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๖๖/๒๕๖๕ คดีนี้ แม้องค์การบริหารส่วนตำบลในเมือง จำเลย จะเป็นหน่วยงานทางปกครอง ตามบทนิยามในมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ และมีหน้าที่ในการจัดให้มีและบำรุงรักษาทางน้ำและทางบก ตามมาตรา ๖๗ (๑) แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ ก็ตาม แต่การที่โจทก์ ฟ้องจำเลยโดยอ้างเหตุว่า จำเลยกระทำละเมิดก่อสร้างถนนคอนกรีตบุกรุกที่ดินโจทก์ทางด้าน ทิศตะวันออก กว้าง ๖ เมตร ยาวประมาณ ๒๐๐ เมตร ตลอดแนวเพื่อเป็นทางเข้าออกถนนสาธารณะ สายพิมาย - หินดาด โดยไม่ได้ขออนุญาตโจทก์ ส่วนจำเลยให้การว่า ที่ดินพิพาทเป็นสาธารณสมบัติ ของแผ่นดิน โจทก์รับรู้และทราบมาโดยตลอดว่าจำเลยได้ทำการก่อสร้างถนนคอนกรีตในที่ดินพิพาท ของโจทก์ จำเลยมิได้กระทำละเมิด ขอให้ยกฟ้อง การที่จะวินิจฉัยว่าจำเลยกระทำละเมิดต่อโจทก์ หรือไม่ จึงเป็นเพียงผลของการวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับสถานะของที่ดินพิพาทว่าเป็นที่ดินที่โจทก์ เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์หรือเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน ซึ่งหากศาลวินิจฉัยว่าที่ดินพิพาท เป็นของโจทก์ การก่อสร้างถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก (คสล.) ของจำเลย ก็เป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ แต่หากที่ดินพิพาทตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ประโยชน์ร่วมกันซึ่งอยู่ ในการดูแลรักษาของจำเลยแล้ว จะเป็นผลให้จำเลยมีอำนาจเข้าไปจัดให้มีและบำรุงรักษาทางพิพาทได้ ไม่เป็นละเมิดต่อโจทก์ ดังนั้น คำฟ้องของโจทก์จึงมีความมุ่งหมายที่จะให้ศาลมีคำพิพากษารับรอง คุ้มครองสิทธิในที่ดินของโจทก์เป็นสำคัญ ข้อพิพาทในคดีนี้จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน ซึ่งอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๕๐/๒๕๖๕ แม้เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดอุดรธานี ที่ ๑ และผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี ที่ ๒ ผู้ถูกฟ้องคดี จะเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ตามบทนิยามในมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและ วิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ และผู้ฟ้องคดีทั้งสี่ตั้งรูปเรื่องการฟ้องคดีเป็นการขอให้เพิกถอน คำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ที่ไม่รับคำคัดค้านการรังวัดสอบเขตที่ดินของผู้ฟ้องคดีทั้งสี่ และคำวินิจฉัย อุทธรณ์ของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ แต่เมื่อพิจารณาคำคัดค้านการรังวัดสอบเขตที่ดินของผู้ฟ้องคดีทั้งสี่แล้ว เป็นเรื่องที่ผู้ฟ้องคดีทั้งสี่อ้างว่าได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาททั้งแปลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและ พาณิชย์ มาตรา ๑๓๘๒ อันเป็นการโต้แย้งกรรมสิทธิ์ในที่ดิน จึงมีประเด็นต้องวินิจฉัยว่า ที่ดินพิพาท เป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ฟ้องคดีทั้งสี่ตามที่กล่าวอ้างหรือเป็นของนางสาว ม. ผู้มีชื่อในโฉนดที่ดินพิพาท ทั้งยังปรากฏว่าผู้ฟ้องคดีทั้งสี่ได้ยื่นฟ้องนางสาว ม. ต่อศาลจังหวัดอุดรธานี ขอให้เพิกถอนโฉนดที่ดิน พิพาทและขับไล่นางสาว ม. ออกจากที่ดินพิพาท ซึ่งศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้ว และคดีอยู่ระหว่าง คดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน


คดีพิพาทที่อยู่ในเขตอำนาจ ของศาลยุติธรรม รวมย่อคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่น่าสนใจ พ.ศ. ๒๕๕๖ - ๒๕๖๕ 11 อุทธรณ์ ข้อพิพาทในคดีนี้จึงเป็นคดีเกี่ยวกับสิทธิในที่ดินที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของ ศาลยุติธรรม คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๒๙/๒๕๖๕ คดีที่เอกชน ยื่นฟ้องกระทรวงมหาดไทย ที่ ๑ กรมที่ดิน ที่ ๒ อธิบดีกรมที่ดิน ที่ ๓ ผู้ถูกฟ้องคดี อ้างว่า ผู้ฟ้องคดีที่ ๑ นางสาว ท. ผู้ฟ้องคดีที่ ๓ และที่ ๔ เป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดิน ตาม น.ส. ๓ ก. ผู้ฟ้องคดีทั้งสี่ได้รับความเดือดร้อนเสียหายจากการที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ มีคำสั่งเพิกถอน น.ส. ๓ ก. ดังกล่าว เนื่องจากเห็นว่าเจ้าของเดิมได้แสดงเจตนายกที่ดินให้แก่ทางราชการแล้ว และที่ดินบางแปลงได้มีการขึ้นทะเบียนเป็นที่ราชพัสดุ ปัจจุบันพื้นที่ทั้งหมดได้ใช้ก่อสร้างอนุสรณ์ สถานสมเด็จย่า ที่ดินจึงเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ขอให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งเพิกถอน คำสั่งผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ที่เพิกถอน น.ส. ๓ ก. และให้ผู้ฟ้องคดีที่ ๑ มีสิทธิครอบครองที่ดินต่อไป กับให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และที่ ๒ ร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายพร้อมดอกเบี้ย ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสามให้การว่า ที่ดินตาม น.ส. ๓ ก. จำนวน ๘ แปลง เจ้าของเดิมได้ทำหนังสือแสดงเจตนาอุทิศให้แก่ทางราชการ (กรมตำรวจ) โดยที่ดินดังกล่าวรวมทั้งที่ดินอีก ๑ แปลง ได้ขึ้นทะเบียนเป็นที่ราชพัสดุแล้ว จึงตกเป็น สาธารณสมบัติของแผ่นดินไม่สามารถออกเอกสารสิทธิได้ คำสั่งเพิกถอน น.ส. ๓ ก. ทั้ง ๙ แปลง จึงชอบด้วยกฎหมาย ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหาย ขอให้ยกฟ้อง เห็นว่า แม้คดีนี้ผู้ฟ้องคดีทั้งสี่ซึ่งเป็นเอกชนยื่นฟ้องกระทรวงมหาดไทย ที่ ๑ กรมที่ดิน ที่ ๒ อธิบดีกรมที่ดิน ที่ ๓ ผู้ถูกฟ้องคดี ซึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครองและเจ้าหน้าที่ของรัฐ โดยมีคำขอให้เพิกถอนคำสั่ง เพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. ๓ ก.) พิพาทอันเป็นคำสั่งทางปกครองก็ตาม แต่เหตุแห่งการขอให้เพิกถอนคำสั่งดังกล่าวผู้ฟ้องคดีทั้งสี่อ้างว่า ผู้ฟ้องคดีที่ ๑ นางสาว ท. ผู้ฟ้องคดีที่ ๓ และที่ ๔ เป็นผู้มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท ส่วนผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสามอ้างว่า น.ส. ๓ ก. พิพาท ออกโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากออกในที่ราชพัสดุ ซึ่งเป็นที่ดินของรัฐอันเป็นสาธารณสมบัติ ของแผ่นดิน จึงมีประเด็นต้องวินิจฉัยว่า ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินของผู้ฟ้องคดีที่ ๑ นางสาว ท. ผู้ฟ้องคดี ที่ ๓ และที่ ๔ หรือเป็นที่ดินของรัฐ ซึ่งยังไม่อาจหาข้อยุติกันได้ ดังนั้น เมื่อพิจารณาความมุ่งหมาย ของผู้ฟ้องคดีทั้งสี่ในการใช้สิทธิทางศาล ก็เพื่อให้ศาลมีคำพิพากษารับรองคุ้มครองสิทธิในที่ดิน ของผู้ฟ้องคดีที่ ๑ นางสาว ท. ผู้ฟ้องคดีที่ ๓ และที่ ๔ กรณีจึงเป็นการโต้แย้งสิทธิในที่ดิน แม้ผู้ฟ้องคดี ทั้งสี่ตั้งรูปเรื่องในการฟ้องคดีโดยมีคำขอให้เพิกถอนคำสั่งเพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ ก็เป็นเพียงผลของการวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในที่ดินพิพาทว่าเป็นที่ดินของผู้ฟ้องคดีที่ ๑ นางสาว ท. ผู้ฟ้องคดีที่ ๓ และที่ ๔ หรือเป็นของรัฐ ส่วนคำขอให้ผู้ฟ้องคดีที่ ๑ เป็นผู้มีสิทธิครอบครอง ในที่ดินต่อไป และให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และที่ ๒ ชดใช้ค่าเสียหายนั้น ก็ล้วนแต่เป็นเพียงผลต่อเนื่อง ในการวินิจฉัยเรื่องสิทธิในที่ดินพิพาทเท่านั้น ข้อพิพาทในคดีนี้ จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม คดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน


12 คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๑๑/๒๕๖๕ แม้คดีนี้โจทก์จะฟ้องกรมที่ดิน จำเลยที่ ๑ และเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดพัทลุง สาขาควนขนุน จำเลยที่ ๔ ซึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครองและเจ้าหน้าที่ของรัฐตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ว่า จำเลยที่ ๔ ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของจำเลย ที่ ๑ ออกโฉนดที่ดินทับที่ดินตาม น.ส. ๓ ก. ของโจทก์ และมีคำสั่งสอบสวนเปรียบเทียบออกโฉนดที่ดิน ให้แก่โจทก์เพียงบางส่วนโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ขอให้เพิกถอนโฉนดที่ดินเฉพาะส่วนที่รุกล้ำที่ดิน ของโจทก์ กับเพิกถอนคำสั่งของจำเลยที่ ๔ และออกโฉนดที่ดินให้แก่โจทก์ตามคำขอ อันมีลักษณะ เป็นการตั้งรูปเรื่องการฟ้องคดีเป็นคดีฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งทางปกครองที่ออกโดยไม่ชอบ ด้วยกฎหมาย แต่เหตุแห่งการขอให้เพิกถอนคำสั่งดังกล่าว โจทก์อ้างว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครอง ในที่ดินพิพาทและยื่นคำร้องขอออกโฉนดที่ดิน จำเลยที่ ๓ ยื่นคำคัดค้านโดยอ้างว่า โจทก์นำรังวัด ทับที่ดินมีโฉนดของจำเลยที่ ๓ จึงมีประเด็นต้องวินิจฉัยว่า ที่ดินพิพาทเป็นส่วนหนึ่งของที่ดิน น.ส. ๓ ก. ที่โจทก์อ้างว่าตนเป็นผู้มีสิทธิครอบครองหรือเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินของจำเลยที่ ๓ ผู้มีชื่อในโฉนดที่ดิน อันเป็นการโต้แย้งสิทธิในที่ดิน ซึ่งจำเลยที่ ๔ มีอำนาจตามมาตรา ๖๐ แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน สอบสวนเปรียบเทียบและพิจารณาสั่งการไปตามที่เห็นสมควร โดยจำเลยที่ ๔ เห็นว่าจำเลยที่ ๓ มีสิทธิในที่ดินพิพาทดีกว่าจึงมีคำสั่งออกโฉนดที่ดินให้แก่โจทก์บางส่วน แม้จะเป็นกรณีที่จำเลยที่ ๔ ใช้อำนาจตามกฎหมายที่มีผลกระทบต่อสิทธิของโจทก์ แต่เมื่อการวินิจฉัยสั่งการ ตามบทบัญญัตินี้ เป็นกรณีการโต้แย้งสิทธิในที่ดินที่ขอออกโฉนดที่ดิน โดยวรรคสองของมาตราดังกล่าวบัญญัติให้ฝ่าย ที่ไม่พอใจคำสั่งของเจ้าพนักงานที่ดินดำเนินการฟ้องต่อศาลภายในกำหนดหกสิบวัน นับแต่ วันทราบคำสั่ง เมื่อโจทก์นำคดีมาฟ้องต่อศาลขอให้เพิกถอนโฉนดที่ดินของจำเลยที่ ๓ เฉพาะส่วน ที่รุกล้ำที่ดินของโจทก์และเพิกถอนคำสั่งของจำเลยที่ ๔ ที่ให้ออกโฉนดที่ดินให้แก่โจทก์เพียงบางส่วน โดยอ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยที่ ๓ ไม่ใช่ของโจทก์ ซึ่งไม่ว่าศาลจะวินิจฉัยว่า ที่ดินพิพาท เป็นของโจทก์หรือจำเลยที่ ๓ ย่อมกระทบต่อสิทธิในทางทรัพย์สินของเอกชนทั้งสองฝ่าย กรณีจึงเป็น ข้อพิพาทระหว่างเอกชนกับเอกชนด้วยกัน โดยต่างฝ่ายต่างต้องพิสูจน์การได้มาซึ่งสิทธิในที่ดิน เป็นสำคัญ เนื้อหาตามคำฟ้องของโจทก์จึงมิใช่การขอให้ศาลตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมาย ของการกระทำของฝ่ายปกครอง แต่เป็นกรณีที่ขอให้ศาลมีคำพิพากษาคุ้มครองและรับรองสิทธิในที่ดิน ของโจทก์ ส่วนคำขอให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันหรือแทนกันชดใช้ค่าเสียหายพร้อมดอกเบี้ย ก็เป็นเพียง ผลของการวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในที่ดินพิพาท กรณีจึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิ ในที่ดิน อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม คดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน


คดีพิพาทที่อยู่ในเขตอำนาจ ของศาลยุติธรรม รวมย่อคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่น่าสนใจ พ.ศ. ๒๕๕๖ - ๒๕๖๕ 13 คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๗/๒๕๖๕ คดีที่เอกชน ยื่นฟ้องอธิบดีกรมที่ดิน ที่ ๑ เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดศรีสะเกษ สาขาราษีไศล ที่ ๒ นายอำเภอราษีไศล ที่ ๓ และองค์การบริหารส่วนตำบลหนองแค ที่ ๔ ผู้ถูกฟ้องคดี และผู้ร้องสอด ทั้งสองซึ่งเป็นเอกชนด้วยกันว่า ผู้ฟ้องคดีได้รับความเดือดร้อนเสียหายจากการออกโฉนดที่ดิน ให้แก่ผู้ร้องสอดทั้งสองซึ่งออกโดยอาศัยหลักฐาน น.ส. ๓ ก. เลขที่ ๓๐๐๖ ที่แบ่งแยกมาจาก น.ส. ๓ ก. เลขที่ ๓๐๐๕ ทับที่ดินตาม น.ส. ๓ ก. ของผู้ฟ้องคดีและทางสาธารณประโยชน์ ผู้ฟ้องคดีขอให้ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ เพิกถอนโฉนดที่ดิน แต่ยังไม่มีการเพิกถอน ขอให้เพิกถอน น.ส. ๓ ก. เลขที่ ๓๐๐๕ และเลขที่ ๓๐๐๖ โฉนดที่ดินพิพาท เพิกถอนรูปแปลงที่ปรากฏเส้นทางสาธารณประโยชน์ทางด้าน ทิศใต้ของ น.ส. ๓ ก. เลขที่ ๓๐๐๖ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ที่ ๒ และที่ ๓ ให้การว่า ทางสาธารณประโยชน์ เกิดขึ้นในขณะเดินสำรวจออก น.ส. ๓ ก. ให้แก่ผู้ฟ้องคดีแล้ว การเพิกถอนหรือแก้ไขหนังสือแสดงสิทธิ ในที่ดินแปลงพิพาทอยู่ระหว่างการตรวจสอบความถูกต้อง ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ จึงไม่ได้ละเลยต่อหน้าที่ หรือปฏิบัติหน้าที่ล่าช้า ส่วน น.ส. ๓ ก. เลขที่ ๓๐๐๕ ปัจจุบันได้ออกเป็นโฉนดที่ดินรวม ๕ แปลง ผู้มีชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ การออก น.ส. ๓ ก. และโฉนดที่ดินชอบด้วยกฎหมาย ส่วนผู้ร้องสอดทั้งสอง ให้การว่า รับให้ที่ดินตาม น.ส. ๓ ก. เลขที่ ๓๐๐๖ มาจากบิดามารดา แล้วออกเป็นโฉนดที่ดิน ๒ แปลง โดยไม่มีการคัดค้าน เห็นว่า แม้ผู้ฟ้องคดีซึ่งเป็นเอกชนฟ้องอธิบดีกรมที่ดิน ที่ ๑ เจ้าพนักงานที่ดิน จังหวัดศรีสะเกษ สาขาราษีไศล ที่ ๒ นายอำเภอราษีไศล ที่ ๓ องค์การบริหารส่วนตำบลหนองแค ที่ ๔ ผู้ถูกฟ้องคดี ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ และหน่วยงานทางปกครอง ขอให้ศาลมีคำพิพากษา หรือคำสั่งให้เพิกถอน น.ส. ๓ ก. เลขที่ ๓๐๐๕ และเลขที่ ๓๐๐๖ โฉนดที่ดินพิพาท เพิกถอนรูปแปลง ที่ปรากฏเส้นทางสาธารณประโยชน์ทางด้านทิศใต้ของ น.ส. ๓ ก. เลขที่ ๓๐๐๖ ซึ่งผู้ฟ้องคดีอ้างว่า โฉนดที่ดินพิพาทที่ออกสืบเนื่องมาจาก น.ส. ๓ ก. เลขที่ ๓๐๐๖ ทับที่ดินตาม น.ส. ๓ ก. ของผู้ฟ้องคดี และทางสาธารณประโยชน์ อันเป็นการฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งทางปกครองก็ตาม แต่เมื่อพิจารณา คำขอของผู้ฟ้องคดีที่ขอให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้เพิกถอน น.ส. ๓ ก. เลขที่ ๓๐๐๕ ซึ่งได้ออกเป็นโฉนดที่ดินรวม ๕ แปลง ผู้มีชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ และเพิกถอน น.ส. ๓ ก. เลขที่ ๓๐๐๖ ซึ่งได้ออกเป็นโฉนดที่ดินพิพาทมีชื่อผู้ร้องสอดที่ ๑ และที่ ๒ เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ตามลำดับ และรูปแปลง ที่ปรากฏเส้นทางสาธารณประโยชน์ทางด้านทิศใต้ของ น.ส. ๓ ก. เลขที่ ๓๐๐๖ ให้กลับเป็นที่ดิน ของผู้ฟ้องคดีและทางสาธารณประโยชน์ ทั้งผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ถึงที่ ๓ ให้การสรุปได้ว่า การออก น.ส. ๓ ก. เลขที่ ๓๐๐๕ ซึ่งได้ออกเป็นโฉนดที่ดินรวม ๕ แปลง และ น.ส. ๓ ก. เลขที่ ๓๐๐๖ ซึ่งได้ออกเป็นโฉนดที่ดินพิพาทชอบด้วยกฎหมาย และผู้ร้องสอดที่ ๑ และที่ ๒ ซึ่งเป็นผู้มีชื่อ ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินตามโฉนดที่ดินพิพาท ก็โต้แย้งว่าที่ดินพิพาทเป็นของตนไม่ได้ทับซ้อนกับที่ดิน ของผู้ฟ้องคดี และทางสาธารณประโยชน์ ข้อพิพาทในคดีนี้จึงเป็นการโต้แย้งกรรมสิทธิ์ในที่ดิน เป็นสำคัญ โดยวัตถุประสงค์ในการฟ้องคดีนี้ ก็เพื่อให้ศาลรับรองคุ้มครองว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ดิน ของผู้ฟ้องคดี และทางสาธารณประโยชน์ ไม่ใช่ที่ดินตาม น.ส. ๓ ก. เลขที่ ๓๐๐๖ ซึ่งออกเป็น โฉนดที่ดินพิพาท ให้แก่ผู้ร้องสอดที่ ๑ และที่ ๒ ซึ่งเป็นเอกชน กรณีจึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิ ในที่ดิน อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม คดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน


14 คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๑๑๔/๒๕๖๔ คดีที่ เอกชนผู้ฟ้องคดี ยื่นฟ้องกรมที่ดิน ที่ ๑ อธิบดีกรมที่ดิน ที่ ๒ ผู้ถูกฟ้องคดี ภายหลังศาลมีคำสั่งเรียกปลัดกระทรวงมหาดไทยเข้ามาในคดี โดยกำหนดให้เป็นผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ว่า ผู้ฟ้องคดีเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินมีโฉนดได้รับความเดือดร้อนเสียหายจากการที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ โดยผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ออกคำสั่งให้เพิกถอนโฉนดที่ดินอ้างว่า ออกโฉนดที่ดินในพื้นที่ที่อยู่ในเขตเขา ต้องห้ามมิให้ออกโฉนดที่ดินตามกฎกระทรวง ฉบับที่ ๔๓ (พ.ศ. ๒๕๓๗) ออกตามความในพระราชบัญญัติ ให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. ๒๔๙๗ ผู้ฟ้องคดีอุทธรณ์คำสั่ง ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ยกอุทธรณ์ ขอให้ ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งเพิกถอนคำสั่งเพิกถอนโฉนด และให้ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองออกโฉนดที่ดิน ตามที่ได้เพิกถอนไปให้แก่ผู้ฟ้องคดี ส่วนผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ที่ ๒ และที่ ๓ ให้การทำนองเดียวกันว่า โฉนดที่ดินออกโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากออกในพื้นที่ที่อยู่ในเขตเขา ต้องห้ามมิให้ออก โฉนดที่ดิน ที่ดินตามโฉนดจึงเป็นที่ดินของรัฐ และเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ไม่ว่าเจ้าของที่ดินเดิม และผู้ฟ้องคดีจะได้ครอบครองที่ดินพิพาทนานเพียงใดก็ไม่ได้สิทธิครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมาย และไม่อาจยกอายุความขึ้นต่อสู้กับรัฐได้ คำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ในการเพิกถอนโฉนดที่ดินพิพาท และการพิจารณาอุทธรณ์ของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ชอบด้วยกฎหมาย ขอให้ยกฟ้อง เห็นว่า แม้คดีนี้ ผู้ฟ้องคดีซึ่งเป็นเอกชนยื่นฟ้องผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ซึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครอง และผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ กับผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครอง และวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ โดยมีคำขอให้เพิกถอนคำสั่งเพิกถอนโฉนดที่ดินพิพาท อันเป็นคำสั่งทางปกครองก็ตาม แต่เหตุแห่งการขอให้เพิกถอนคำสั่งดังกล่าว ผู้ฟ้องคดีอ้างว่าผู้ฟ้องคดี เป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินตามโฉนดที่ดินพิพาท ส่วนผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสามอ้างว่า โฉนดที่ดินพิพาท ออกโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากออกในพื้นที่ที่อยู่ในเขตเขา ซึ่งเป็นที่ดินของรัฐอันเป็น สาธารณสมบัติของแผ่นดิน จึงมีประเด็นต้องวินิจฉัยว่า ที่ดินตามโฉนดที่ดินพิพาทเป็นที่ดินของผู้ฟ้องคดี หรือเป็นที่ดินของรัฐ ซึ่งยังไม่อาจหาข้อยุติกันได้ ดังนั้น เมื่อพิจารณาความมุ่งหมายของผู้ฟ้องคดี ในการใช้สิทธิทางศาล ก็เพื่อให้ศาลมีคำพิพากษารับรองคุ้มครองสิทธิในที่ดินของผู้ฟ้องคดี กรณีจึงเป็น การโต้แย้งสิทธิในที่ดิน แม้ผู้ฟ้องคดีตั้งรูปเรื่องในการฟ้องคดีโดยมีคำขอให้เพิกถอนคำสั่งเพิกถอน โฉนดที่ดิน ก็เป็นเพียงผลของการวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในที่ดินพิพาทว่าเป็นที่ดิน ของผู้ฟ้องคดีหรือเป็นของรัฐ ส่วนคำขอให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และที่ ๒ ออกโฉนดที่ดินตามที่ได้เพิกถอน ไปให้แก่ผู้ฟ้องคดี ก็ล้วนแต่เป็นเพียงผลต่อเนื่องในการวินิจฉัยเรื่องสิทธิในที่ดินพิพาทเท่านั้น ข้อพิพาท ในคดีนี้จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม คดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน


คดีพิพาทที่อยู่ในเขตอำนาจ ของศาลยุติธรรม รวมย่อคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่น่าสนใจ พ.ศ. ๒๕๕๖ - ๒๕๖๕ 15 คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๑๑๑/๒๕๖๔ คดีนี้เอกชนยื่นฟ้อง การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ กรุงเทพมหานคร ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ผู้อำนวยการเขตจตุจักร ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ว่า ผู้ฟ้องคดีเป็นเจ้าของ โฉนดที่ดินซึ่งผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสามได้ร่วมกันควบคุมการก่อสร้างบาทวิถีโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว รุกล้ำเข้ามาในที่ดินของผู้ฟ้องคดี ขอให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสามยุติ การรุกล้ำที่ดินของผู้ฟ้องคดี พร้อมทั้งรื้อถอนบาทวิถีออกจากที่ดินแปลงดังกล่าว เห็นว่า แม้การรถไฟฟ้า ขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ เป็นรัฐวิสาหกิจ โดยกรุงเทพมหานคร ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ เป็นหน่วยงานทางปกครอง และผู้อำนวยการเขตจตุจักร ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ตามนัยบทนิยามในมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ แต่เหตุแห่งการฟ้องคดีผู้ฟ้องคดีอ้างว่า ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสามได้ร่วมกันก่อสร้างโครงการ รถไฟฟ้าสายสีเขียว และควบคุมการก่อสร้างบาทวิถีรุกล้ำเข้ามาในที่ดินของผู้ฟ้องคดี ส่วนผู้ถูกฟ้องคดี ทั้งสามให้การทำนองเดียวกันว่า การก่อสร้างทางวิ่งรถไฟฟ้ายกระดับของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ บริเวณ ทางเท้าริมถนนสาธารณะไม่มีส่วนใดส่วนหนึ่งของทางขึ้นลงสถานีรถไฟฟ้าและเสาตอม่อรองรับ อาคารรุกล้ำเข้าในที่ดินของผู้ฟ้องคดี กรณีจึงเป็นการโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิในที่ดินพิพาท การที่ศาล จะวินิจฉัยว่าผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสามกระทำละเมิดต่อผู้ฟ้องคดีหรือไม่ จึงเป็นเพียงผลของการวินิจฉัยปัญหา เกี่ยวกับสถานะของที่ดินพิพาทว่าปัจจุบันที่ดินพิพาทเป็นที่ดินที่ผู้ฟ้องคดีเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ หรือเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินซึ่งประชาชนใช้ประโยชน์ร่วมกัน ซึ่งหากศาลวินิจฉัยว่าที่ดินพิพาท เป็นของผู้ฟ้องคดี การก่อสร้างบาทวิถีของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ก็เป็นการกระทำละเมิดต่อผู้ฟ้องคดี แต่หากที่ดินพิพาทตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ประโยชน์ร่วมกันแล้วจะเป็น ผลให้การกระทำของผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสามไม่เป็นละเมิดต่อผู้ฟ้องคดี ดังนั้น คำฟ้องของผู้ฟ้องคดีจึงมี ความมุ่งหมายที่จะให้ศาลมีคำพิพากษารับรองคุ้มครองสิทธิในที่ดินของผู้ฟ้องคดีเป็นสำคัญ ข้อพิพาท ในคดีนี้จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน ซึ่งอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๙๕/๒๕๖๔ แม้คดีนี้ผู้ฟ้องคดีซึ่งเป็นเอกชน ยื่นฟ้องกรมที่ดิน ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ เจ้าพนักงานที่ดิน ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ซึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครองและเจ้าหน้าที่ของรัฐ ตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ โดยมีคำขอให้ศาลพิพากษาหรือมีคำสั่ง ให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ เพิกถอนคำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ที่ไม่เพิกถอนโฉนดที่ดินทั้งสามแปลง กับให้เพิกถอนคำสั่งที่ให้ออกโฉนดที่ดินและเพิกถอนโฉนดที่ดินทั้งสามแปลงในส่วนที่ออกทับที่ดิน ของผู้ฟ้องคดี ซึ่งเป็นการฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งทางปกครอง แต่เหตุแห่งการขอให้เพิกถอนคำสั่ง ดังกล่าวเป็นกรณีที่ผู้ฟ้องคดีอ้างว่าเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาท แต่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ออกโฉนดที่ดิน และหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. ๓) (ต่อมาเปลี่ยนเป็นโฉนดที่ดินสองแปลง) โดยไม่ชอบ ด้วยกฎหมายทับที่ดินมีโฉนดของผู้ฟ้องคดี ดังนั้น เมื่อพิจารณาความมุ่งหมายของผู้ฟ้องคดีในการใช้สิทธิ คดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน


16 ทางศาลก็เพื่อให้ศาลมีคำพิพากษารับรองคุ้มครองสิทธิในที่ดินของผู้ฟ้องคดี อีกทั้งศาลมีคำสั่ง เรียกผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ถึงที่ ๗ ซึ่งเป็นผู้มีชื่อเป็นเจ้าของที่ดินในโฉนดที่ดินทั้งสามแปลงข้างต้นเข้ามา ในคดี จึงมีประเด็นที่ต้องวินิจฉัยว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ดินของผู้ฟ้องคดีหรือเป็นที่ดินของผู้ถูกฟ้องคดี ที่ ๓ ถึงที่ ๗ ซึ่งไม่ว่าศาลจะวินิจฉัยว่า ที่ดินพิพาทเป็นของฝ่ายใด ย่อมกระทบสิทธิในทางทรัพย์สิน ของเอกชนทั้งสองฝ่าย จึงเป็นข้อพิพาทระหว่างเอกชนกับเอกชนด้วยกัน โดยต่างฝ่ายต่างต้องพิสูจน์ การได้มาซึ่งสิทธิในที่ดินเป็นสำคัญ กรณีจึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน อันอยู่ในอำนาจพิจารณา พิพากษาของศาลยุติธรรม คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๙๐/๒๕๖๔ คดีนี้ แม้ผู้ฟ้องคดีเป็นเอกชน ยื่นฟ้องนายอำเภอท่าศาลา ที่ ๑ ผู้ว่าราชการจังหวัด นครศรีธรรมราช ที่ ๒ อธิบดีกรมที่ดิน ที่ ๓ เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดนครศรีธรรมราช สาขาท่าศาลา ที่ ๔ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ที่ ๕ ผู้ถูกฟ้องคดี ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ และหน่วยงานทางปกครอง ตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ โดยมีคำขอให้ศาลมีคำพิพากษาเพิกถอนหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวง (น.ส.ล.) เลขที่ นศ. ๐๑๑๙ ในส่วนที่ออกทับที่ดินที่ผู้ฟ้องคดีครอบครอง อันเป็นการตั้งรูปเรื่องเป็นการฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่ง ทางปกครอง แต่เหตุแห่งการขอให้เพิกถอนหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงดังกล่าว ก็เนื่องมาจาก ผู้ฟ้องคดีอ้างว่า ที่ดินพิพาท จำนวน ๑๘ ไร่ เป็นที่ดินที่ผู้ฟ้องคดีครอบครองทำประโยชน์โดยได้รับ มรดกมาจากบิดาของผู้ฟ้องคดี แต่ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสี่ออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงทับที่ดิน ของผู้ฟ้องคดี ทั้งมีคำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๓๑๐๓-๓๑๐๕/๒๕๖๑ พิพากษาให้เพิกถอน น.ส.ล. ในส่วนที่ออกทับที่ดินของโจทก์ในคดีดังกล่าว ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งห้าโต้แย้งว่าที่ดินพิพาทเป็นส่วนหนึ่ง ของที่ดินสาธารณประโยชน์มาตั้งแต่ก่อนผู้ฟ้องคดีครอบครองและปัจจุบันมีการออกหนังสือสำคัญ สำหรับที่หลวง (น.ส.ล.) เลขที่ นศ. ๐๑๑๙ แล้ว บิดาผู้ฟ้องคดีขนย้ายทรัพย์สินและผลอาสิน ออกจากที่ดินบางส่วนแล้ว ทั้งมีคำพิพากษาถึงที่สุดในคดีอื่นวินิจฉัยว่า ที่ดินบริเวณดังกล่าว เป็นที่สาธารณประโยชน์ ซึ่งแตกต่างจากคำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๓๑๐๓-๓๑๐๕/๒๕๖๑ ดังนี้ จึงเห็นได้ว่าลักษณะข้อพิพาทในคดีเป็นเรื่องการโต้แย้งสิทธิในที่ดินพิพาท ซึ่งยังไม่อาจหาข้อยุติกันได้ ดังนั้นการที่ศาลจะมีคำพิพากษาให้เพิกถอนหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวง (น.ส.ล.) เลขที่ นศ. ๐๑๑๙ ในส่วนที่ทับที่ดินที่ผู้ฟ้องคดีครอบครองทำประโยชน์ตามคำขอของผู้ฟ้องคดีได้หรือไม่นั้น ต้องวินิจฉัย ก่อนว่าที่ดินพิพาทนั้นเป็นของผู้ฟ้องคดี หรือเป็นที่ดินสาธารณประโยชน์ตามหนังสือสำคัญสำหรับ ที่หลวง (น.ส.ล.) เลขที่ นศ. ๐๑๑๙ ข้อพิพาทในคดีนี้จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในที่ดินที่อยู่ ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม คดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน


คดีพิพาทที่อยู่ในเขตอำนาจ ของศาลยุติธรรม รวมย่อคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่น่าสนใจ พ.ศ. ๒๕๕๖ - ๒๕๖๕ 17 คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๘๑/๒๕๖๔ คดีนี้ผู้ฟ้องคดีที่สามเป็นเอกชน ยื่นฟ้อง เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดอุดรธานี ที่ ๑ ผู้ว่าราชการ จังหวัดอุดรธานี ที่ ๒ ผู้ถูกฟ้องคดีซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้ง ศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ขอให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งเพิกถอน คำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ที่ไม่ออกโฉนดที่ดินให้แก่ผู้ฟ้องคดีทั้งสาม เพิกถอนคำวินิจฉัยอุทธรณ์ ของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ที่ไม่เห็นด้วยกับคำอุทธรณ์ของผู้ฟ้องคดีทั้งสาม เพิกถอนคำวินิจฉัยอุทธรณ์ ของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ และให้ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองร่วมกันพิจารณาเรื่องของผู้ฟ้องคดีทั้งสามตามระเบียบ และกฎหมายและนำเข้า กบร. จังหวัดเพื่อพิจารณาใหม่และออกโฉนดที่ดินให้แก่ผู้ฟ้องคดีทั้งสาม ตามที่นำชี้และยื่นคำขอ ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองให้การทำนองเดียวกันว่า ที่ดินที่ผู้ฟ้องคดีทั้งสาม ขอออกโฉนดอยู่ในที่สาธารณประโยชน์ “โคกคูณ” และคำนวณเนื้อที่ได้มากกว่าหลักฐาน ส.ค. ๑ จำนวน ๖๖-๐-๕๗ ไร่ ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองได้ดำเนินการโดยถูกต้องตามระเบียบและกฎหมาย ที่เกี่ยวข้องแล้ว เห็นว่า คดีนี้ แม้ผู้ฟ้องคดีทั้งสามจะตั้งรูปเรื่องการฟ้องคดีเป็นการขอให้เพิกถอน คำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และผลการพิจารณาอุทธรณ์ของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ซึ่งเป็นการฟ้องขอให้ เพิกถอนคำสั่งทางปกครอง แต่เมื่อพิจารณาลักษณะข้อพิพาทในคดีนี้จะเห็นได้ว่าเป็นการโต้แย้ง เกี่ยวกับสิทธิในที่ดินพิพาท ซึ่งตามหลักฐาน ส.ค. ๑ นั้นระบุจำนวนเนื้อที่เพียง ๑๐ ไร่ แต่ปรากฏว่า ผู้ฟ้องคดีทั้งสามนำชี้และให้รังวัดออกโฉนดที่ดินให้แก่ผู้ฟ้องคดีทั้งสามมากกว่าหลักฐานเดิม ๖๖-๐-๕๗ ไร่ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ จึงไม่อาจออกโฉนดที่ดินให้แก่ผู้ฟ้องคดีทั้งสามได้ เพราะจะเป็น การนำชี้เอาที่ดินนอกหลักฐาน ส.ค. ๑ รวมเข้ามาด้วย แต่ผู้ฟ้องคดีทั้งสามก็ยืนยันว่าผู้ฟ้องคดีทั้งสาม ได้นำชี้แนวเขตที่ดินถูกต้องตรงกับ ส.ค. ๑ ทั้งเจ้าหน้าที่ที่ทำการรังวัดก็เห็นว่ามีการทำประโยชน์ เต็มพื้นที่แล้ว เจ้าพนักงานที่ดินจึงสามารถออกโฉนดที่ดินทั้งหมดตามที่ผู้ฟ้องคดีนำชี้และยื่นคำขอ โดยอ้างมาตรา ๕๙ ตรี แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน และข้อ ๘ ของระเบียบของคณะกรรมการจัดที่ดิน แห่งชาติ ฉบับที่ ๑๒ (พ.ศ. ๒๕๓๒) ว่าด้วยเงื่อนไขการออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ แต่ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองก็เห็นว่าที่ดินที่ผู้ฟ้องคดีขอออกโฉนดอยู่ในที่สาธารณประโยชน์ “โคกคูณ” และได้นำที่ดินนอกหลักฐาน ส.ค. ๑ มารังวัดรวมเข้าด้วย ย่อมจะไม่ชอบด้วยกฎหมาย กรณีตามข้อโต้แย้ง ระหว่างผู้ฟ้องคดีทั้งสามและผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองจึงเป็นข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิในที่ดินพิพาท ซึ่งมีผลกระทบต่อสิทธิในที่ดินของบุคคลอื่นและที่สาธารณประโยชน์โคกคูณ คดีนี้จึงเป็นคดีพิพาท เกี่ยวกับสิทธิในที่ดินที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม คดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน


18 คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๗๕/๒๕๖๔ คดีที่ผู้ฟ้องคดีเป็นเอกชนยื่นฟ้ององค์การบริหารส่วนตำบลเซเป็ด อ้างว่า ผู้ฟ้องคดีเป็น เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินตามหลักฐานโฉนดที่ดินเลขที่ ๗๖๐๓ โดยผู้ฟ้องคดีได้ปลูกมันสำปะหลังในที่ดิน แปลงดังกล่าว ต่อมาผู้ฟ้องคดีพบว่าผู้ถูกฟ้องคดีได้นำรถแบคโฮเข้ามาขุดฝังท่อน้ำใต้ดิน ปักเสาไฟ ขุดต้นไม้ ขุดดิน ขุดมันสำปะหลัง นำต้นไม้มาวางทับต้นมันสำปะหลัง และก่อสร้างเรือนแพสูบน้ำ ในที่ดินของผู้ฟ้องคดี การกระทำของผู้ถูกฟ้องคดีทำให้ต้นมันสำปะหลังของผู้ฟ้องคดีได้รับ ความเสียหาย ขอให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้ผู้ถูกฟ้องคดีชำระค่าเสียหายพร้อมดอกเบี้ย ให้ผู้ถูกฟ้องคดีรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างรวมทั้งให้บริวารออกจากพื้นที่พิพาท ให้ผู้ถูกฟ้องคดีสำรวจ ตามหลักฐานที่ทางราชการได้สำรวจ และทำแผนที่และปักหลักเขตให้ชัดเจน ให้ผู้ถูกฟ้องคดี ขุดลอกคลองมนเพื่อใช้ประโยชน์สาธารณะและเพื่อสงวนไว้ให้ประชาชนใช้ประโยชน์ร่วมกัน ต่อมาศาลมีคำสั่งเรียกนายอำเภอตระการพืชผลเข้ามาในคดีโดยกำหนดให้องค์การบริหารส่วนตำบล เซเป็ด เป็นผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ นายอำเภอตระการพืชผล เป็นผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และที่ ๒ ให้การทำนองเดียวกันว่า การดำเนินโครงการก่อสร้างเรือนแพสูบน้ำเป็นการดำเนินการ ตามอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายและระเบียบของทางราชการ บริเวณพื้นที่งานติดตั้งเสาไฟฟ้า และขุดฝังท่อน้ำนั้นไม่พบว่ามีการปลูกมันสำปะหลังหรือพืชผลทางการเกษตรอย่างอื่น เชื่อว่าที่ดิน พิพาทเป็นที่สาธารณประโยชน์ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ยื่นหนังสือต่อสำนักงานที่ดินจังหวัดอุบลราชธานี เพื่อขอทราบแนวเขตที่ดินสาธารณประโยชน์คลองมน คำขอท้ายฟ้องบางข้อไม่ใช่การขอให้ใช้เงิน หรือให้ส่งมอบทรัพย์สินหรือให้กระทำการ หรืองดเว้นกระทำการ จึงเป็นคำขอที่ไม่ชอบ ขอให้ยกฟ้อง เห็นว่า แม้องค์การบริหารส่วนตำบลเซเป็ด ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ เป็นนิติบุคคลและเป็นราชการส่วนท้องถิ่น ตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ มีอำนาจหน้าที่ในการ จัดให้มีและบำรุงรักษาทางน้ำ และจัดการให้มีน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภค และการเกษตรจึงเป็น หน่วยงานทางปกครอง และนายอำเภอตระการพืชผล ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ เป็นบุคคลที่อยู่ในบังคับบัญชา หรือในกำกับดูแลของหน่วยงานทางปกครอง จึงเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ แต่ข้อพิพาทในคดีนี้คู่กรณีโต้แย้งกันว่า ที่ดินบริเวณพิพาทซึ่งผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ นำรถแบคโฮเข้ามาขุดฝังท่อน้ำใต้ดิน ปักเสาไฟ และก่อสร้าง เรือนแพสูบน้ำเป็นที่ดินของผู้ฟ้องคดีหรือเป็นที่สาธารณประโยชน์อันจะเป็นผลให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ สามารถดำเนินการก่อสร้างแพลอยสูบน้ำประปาเพื่อประโยชน์ในการจัดทำบริการสาธารณะ ดังนั้น คำฟ้องของผู้ฟ้องคดีจึงมีความมุ่งหมายที่จะให้ศาลมีคำพิพากษารับรองคุ้มครองสิทธิในที่ดินของ ผู้ฟ้องคดีเป็นสำคัญ ส่วนปัญหาว่าผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และที่ ๒ กระทำละเมิดต่อผู้ฟ้องคดีหรือไม่ เป็นเพียงผลของการวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับสิทธิในที่ดินพิพาท คดีนี้จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิ ในที่ดินที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม คดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน


คดีพิพาทที่อยู่ในเขตอำนาจ ของศาลยุติธรรม รวมย่อคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่น่าสนใจ พ.ศ. ๒๕๕๖ - ๒๕๖๕ 19 คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๖๗/๒๕๖๔ คดีนี้ นางสาว ภ. ผู้ฟ้องคดี ยื่นฟ้องสำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ ที่ ๑ นายอำเภอบางปะกง ที่ ๒ ผู้ถูกฟ้องคดี อ้างว่า ผู้ฟ้องคดีเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินสองแปลง ซึ่งอยู่ติดกัน โดยได้รับมรดกมาจากบิดาและรับโอนมาจากมารดาตามลำดับ เมื่อยื่นเรื่องขอรังวัด ตรวจสอบที่ดินทั้งสองแปลงพบว่ามีการก่อสร้างอาคารศาลาประชาคมจากงบประมาณของผู้ถูกฟ้องคดี ที่ ๑ รุกล้ำที่ดินของผู้ฟ้องคดีด้านทิศตะวันตกและทิศใต้ ขอให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้ ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองรื้อถอนอาคารศาลาประชาคมที่ก่อสร้างรุกล้ำที่ดินของผู้ฟ้องคดี ส่วนผู้ถูกฟ้องคดี ทั้งสองให้การสอดคล้องกันว่า อาคารศาลาประชาคมหมู่บ้านสำหรับพลเมืองใช้ประโยชน์ร่วมกัน ตั้งอยู่บนโฉนดที่ดินซึ่งเอกชนเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินได้ยินยอมให้หมู่บ้านหรือชุมชนใช้ประโยชน์ ในที่ดินดังกล่าว บิดาของผู้ฟ้องคดีซึ่งเป็นเจ้าของโฉนดที่ดินข้างเคียง เมื่อครั้งยังมีชีวิตอยู่รับทราบ การก่อสร้างอาคารศาลาประชาคมโดยไม่คัดค้าน ทั้งยินยอมให้ประชาชนในหมู่บ้านใช้ประโยชน์ร่วมกันมา โดยตลอด ส่วนการก่อสร้างอาคารศาลาประชาคมรุกล้ำเข้าไปในโฉนดที่ดินของมารดาผู้ฟ้องคดี เจ้าของที่ดินก็รับทราบการก่อสร้างและการใช้ประโยชน์จากอาคารศาลาประชาคมมาตลอดระยะเวลา ๑๓ ปี ถือเป็นการอุทิศที่ดินโดยปริยาย ขอให้ยกฟ้อง เห็นว่า แม้สำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชน เมืองแห่งชาติ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ เป็นหน่วยงานที่ได้รับมอบหมายให้ดำเนินกิจการทางปกครอง จึงมีฐานะเป็นหน่วยงานทางปกครอง และนายอำเภอบางปะกง ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ แต่ข้อพิพาทในคดีนี้คู่ความโต้แย้งกันว่าที่ดินอันเป็นที่ตั้งของอาคารศาลาประชาคมเป็นที่ดินของ ผู้ฟ้องคดีหรือเป็นที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันมาตั้งแต่ก่อนที่ ผู้ฟ้องคดีจะมีชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินแปลงนี้ กรณีจึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน ส่วนปัญหาว่าผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองกระทำละเมิดต่อผู้ฟ้องคดีหรือไม่ เป็นเพียงผลของการวินิจฉัยปัญหา เกี่ยวกับสิทธิในที่ดินพิพาท ข้อพิพาทในคดีนี้จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในที่ดินที่อยู่ในอำนาจ พิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๖๑/๒๕๖๔ แม้คดีนี้โจทก์จะยื่นฟ้ององค์การบริหารส่วนตำบลแม่อิง จำเลย ซึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครอง ตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ แต่เหตุแห่งการฟ้องคดีเป็นกรณีที่โจทก์อ้างว่า จำเลยดำเนินการรังวัดออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวง (น.ส.ล.) รุกล้ำที่ดินบริเวณที่โจทก์ครอบครองและให้โจทก์ระงับการทำกินและปลูกสร้างบนที่ดินพิพาท แต่จำเลยอ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ดินสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน กรณีจึงเป็น ข้อพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในที่ดินระหว่างโจทก์กับจำเลยซึ่งเป็นส่วนราชการที่มีหน้าที่ดูแลรักษาและ คุ้มครองป้องกันที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ประชาชนใช้ประโยชน์ร่วมกันว่าที่ดินพิพาท เป็นของโจทก์หรือเป็นที่ดินสาธารณประโยชน์ที่ประชาชนใช้ร่วมกัน และโดยที่กฎกระทรวง ฉบับที่ ๔๕ คดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน


20 (พ.ศ. ๒๕๓๗) ออกตามความในพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. ๒๔๙๗ ที่กำหนด หลักเกณฑ์และวิธีการออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวง ข้อ ๒ วรรคสอง กำหนดว่า “ในกรณีที่มีผู้คัดค้าน ให้อธิบดีรอการออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงไว้แล้วดำเนินการ ดังนี้ (๑) ในกรณีที่ผู้คัดค้าน ไม่มีหลักฐานแสดงสิทธิในที่ดินตามประมวลกฎหมายที่ดินและไม่ไปใช้สิทธิทางศาลภายในหกสิบวัน นับแต่วันที่คัดค้าน ให้ออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงได้ หากผู้คัดค้านไปใช้สิทธิทางศาล ให้รอ การออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงเฉพาะส่วนที่คัดค้านจนกว่าจะได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดของศาล แสดงว่าผู้คัดค้านไม่มีสิทธิในที่ดินนั้น” ดังนั้น การที่โจทก์นำคดีมาฟ้องต่อศาลก็เพื่อให้ศาลมีคำพิพากษา หรือมีคำสั่งแสดงสิทธิในที่ดินพิพาท คดีนี้จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในที่ดินที่อยู่ในอำนาจพิจารณา พิพากษาของศาลยุติธรรม คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๕๙/๒๕๖๔ คดีที่โจทก์ซึ่งเป็นเอกชน ยื่นฟ้องนายอำเภอจุฬาภรณ์ ที่ ๑ นายกองค์การบริหารส่วนตำบล สามตำบล ที่ ๒ จำเลย อ้างว่า โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินตาม ส.ค. ๑ เลขที่ ๑๗๕ โดยครอบครอง ทำประโยชน์ต่อเนื่องมาจากบิดาซึ่งครอบครองและทำประโยชน์มาตั้งแต่ปี ๒๔๗๙ ก่อนวันที่ ประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับ เมื่อโจทก์นำ ส.ค. ๑ ดังกล่าวไปยื่นคำขอออกโฉนดที่ดิน จำเลยทั้งสอง คัดค้านการรังวัดออกโฉนดอ้างว่าที่ดินพิพาทอยู่ในที่สาธารณประโยชน์ เจ้าพนักงานที่ดินจึงไม่สามารถ ออกโฉนดที่ดินให้แก่โจทก์ได้ ขอให้ศาลพิพากษาว่าที่ดินที่โจทก์ครอบครองตาม ส.ค. ๑ เลขที่ ๑๗๕ เป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ ให้เพิกถอนคำคัดค้านของจำเลยทั้งสอง และให้เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัด นครศรีธรรมราชดำเนินการออกโฉนดที่ดินให้แก่โจทก์ ส่วนจำเลยทั้งสองให้การว่า ที่ดินพิพาท เป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน การคัดค้านการรังวัดชอบด้วยกฎหมาย และระเบียบ ขอให้ยกฟ้อง เห็นว่า แม้นายอำเภอจุฬาภรณ์ ที่ ๑ นายกองค์การบริหารส่วนตำบล สามตำบล ที่ ๒ จำเลย จะเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครอง และวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ แต่เหตุแห่งการฟ้องคดีเกิดจากการที่จำเลยทั้งสองคัดค้าน การรังวัดเพื่อขอออกโฉนดในที่ดินตาม ส.ค. ๑ เลขที่ ๑๗๕ ของโจทก์ โดยเห็นว่าที่ดินพิพาท เป็นที่สาธารณประโยชน์ไม่ใช่ที่ดินที่โจทก์มีสิทธิครอบครองที่จะสามารถนำไปขอออกโฉนดที่ดินได้ การที่จำเลยทั้งสองในฐานะผู้มีหน้าที่ดูแลรักษาและคุ้มครองที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินคัดค้าน การรังวัดที่ดินตามคำขอของโจทก์ เพื่อป้องกันมิให้มีการออกโฉนดที่ดินรุกล้ำที่สาธารณสมบัติ ของแผ่นดิน เป็นการกระทำเช่นเดียวกับการที่เอกชนทั่วไปซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินข้างเคียงคัดค้าน การรังวัดที่ดิน เพื่อป้องกันมิให้ออกโฉนดที่ดินรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของตน การคัดค้านการรังวัดที่ดิน ของจำเลยทั้งสองที่เป็นเหตุแห่งการฟ้องคดีนี้ จึงไม่มีลักษณะเป็นการใช้อำนาจตามกฎหมาย กรณี จึงไม่เข้าลักษณะคดีพิพาทตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๑) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครอง และวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ เมื่อจำเลยทั้งสองคัดค้านการรังวัดโดยอ้างว่าที่ดินที่โจทก์ ขอรังวัดเพื่อออกโฉนดที่ดินนั้นเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภทพลเมืองใช้ร่วมกัน แต่โจทก์ คดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน


คดีพิพาทที่อยู่ในเขตอำนาจ ของศาลยุติธรรม รวมย่อคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่น่าสนใจ พ.ศ. ๒๕๕๖ - ๒๕๖๕ 21 ยืนยันว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ดินที่ตนมีสิทธิครอบครองและขอให้ศาลมีคำพิพากษาว่าที่ดินพิพาท เป็นของโจทก์ไม่ใช่ที่สาธารณประโยชน์ กรณีจึงเป็นการขอให้ศาลรับรองคุ้มครองสิทธิในที่ดินของตน อันเป็นข้อพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในที่ดินที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม สำหรับที่โจทก์ มีคำขอให้ศาลมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดนครศรีธรรมราชดำเนินการออกโฉนดที่ดินให้แก่โจทก์ โดยอ้างว่าได้ครอบครองที่ดินพิพาทต่อเนื่องจากบิดา โดยบิดาได้ครอบครองและทำประโยชน์ อยู่ในที่ดินมาตั้งแต่ปี ๒๔๗๙ อันเป็นเวลาก่อนที่ประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับในปี ๒๔๙๗ ซึ่งมาตรา ๘ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายที่ดิน (ฉบับที่ ๑๑) พ.ศ. ๒๕๕๑ กำหนดให้การออกโฉนดที่ดินในกรณีดังกล่าว โดยใช้หลักฐานการแจ้งการครอบครอง เมื่อพ้นกำหนดสองปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัติดังกล่าวมีผลใช้บังคับ จะทำได้ต่อเมื่อมีคำพิพากษา หรือคำสั่งถึงที่สุดของศาลยุติธรรมว่าบุคคลดังกล่าวเป็นผู้ซึ่งได้ครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดิน โดยชอบด้วยกฎหมายอยู่ก่อนวันที่ประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับ คดีนี้จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับ สิทธิในที่ดินที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๕๗/๒๕๖๔ คดีนี้ การรถไฟแห่งประเทศไทย ยื่นฟ้อง เทศบาลเมืองอรัญญประเทศ จำเลย อ้างว่า โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินบริเวณริมถนนสุวรรณศรด้านข้างฝั่งขาออกด่านพรมแดนอรัญประเทศ (ตลาดโรงเกลือ) วัดจากกึ่งกลางออกไป ๒๔ เมตร จากการเวนคืนสร้างทางรถไฟสายตะวันออก ระหว่างนครนายกถึงอรัญประเทศ ตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการจัดซื้อที่ดินและอสังหาริมทรัพย์ อย่างอื่นเพื่อสร้างทางรถไฟสายตะวันออก พ.ศ. ๒๔๖๔ ประมาณเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๕๗ โจทก์พบว่า นาง ศ. และนาง ร. ได้เข้าครอบครองปลูกสร้างอาคารพักอาศัยแบบถาวรสองชั้น และล้อมรั้วในที่ดินโจทก์ โจทก์จึงฟ้องคดีต่อศาลจังหวัดสระแก้วขอให้บังคับขับไล่บุคคลทั้งสอง ออกจากที่ดิน นาง ศ. และนาง ร. ต่อสู้อ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ดินสาธารณประโยชน์วังปลาตองอยู่ในพื้นที่ดูแล ของเทศบาลเมืองอรัญญประเทศ จึงมีการสอบเขตรังวัดจัดทำแผนที่พิพาทโดยเจ้าพนักงานที่ดิน จังหวัดสระแก้ว สาขาอรัญประเทศ โจทก์นำชี้ว่าที่พิพาทที่นาง ศ. และนาง ร. ครอบครองเป็นของโจทก์ แต่จำเลยคัดค้านการรังวัดอ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ดินสาธารณประโยชน์วังปลาตองอยู่ในความดูแล ของจำเลย อันเป็นการโต้แย้งสิทธิโจทก์ ทำให้โจทก์ไม่สามารถใช้พื้นที่พิพาทได้ ขอให้ศาลมีคำพิพากษา หรือคำสั่งบังคับจำเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างพร้อมขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกจากที่ดินพิพาท และให้จำเลยส่งมอบที่ดินพิพาทคืนโจทก์ในสภาพใช้การได้ดี ให้จำเลยชดใช้เงิน ๑,๒๘๔,๕๘๒ บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ ๗.๕ ต่อปี และค่าขาดประโยชน์เดือนละ ๑๖,๔๖๙ บาท นับแต่เดือนกันยายน ๒๕๖๓ จนกว่าจำเลยจะรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างและส่งมอบที่ดินพิพาทคืนโจทก์ในสภาพเรียบร้อย กับให้มีคำสั่งเพิกถอนเอกสารแสดงกรรมสิทธิ์พื้นที่สาธารณประโยชน์วังปลาตองส่วนที่ทับซ้อน ที่ดินโจทก์ จำเลยให้การว่า ที่ดินพิพาทเป็นที่สาธารณประโยชน์ แปลงวังปลาตอง ไว้สำหรับเลี้ยงสัตว์พาหนะ อันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ประโยชน์ร่วมกัน ที่ดินที่พิพาทไม่ใช่ของโจทก์ คดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน


22 ทั้งโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง เนื่องจากเป็นคดีพิพาทระหว่างหน่วยงานของรัฐที่ต้องดำเนินการตามระเบียบ สำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพิจารณาชี้ขาดการยุติข้อพิพาทระหว่างหน่วยงานของรัฐและ การดำเนินคดี พ.ศ. ๒๕๖๑ ขอให้ยกฟ้อง เห็นว่า พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณา คดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๙ วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า ศาลปกครองมีอำนาจพิจารณาพิพากษา หรือมีคำสั่งในเรื่องดังต่อไปนี้ (๓) คดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดของหน่วยงานทางปกครอง หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐอันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมาย หรือจากกฎ คำสั่งทางปกครอง หรือคำสั่งอื่น อันเป็นการจำกัดประเภทคดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดของหน่วยงานทางปกครองหรือ เจ้าหน้าที่ของรัฐที่จะอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองก็เฉพาะแต่กรณีที่หน่วยงาน ทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐได้กระทำการโดยใช้อำนาจตามกฎหมาย กฎ คำสั่งทางปกครอง หรือคำสั่งอื่นเท่านั้น คดีนี้แม้โจทก์เป็นรัฐวิสาหกิจที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติการรถไฟ แห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๔๙๔ ส่วนจำเลยเป็นราชการส่วนท้องถิ่น โจทก์และจำเลยจึงเป็นหน่วยงาน ทางปกครอง ตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ แต่การกระทำที่เป็นเหตุแห่งการฟ้องคดีนี้เกิดจากการที่โจทก์กล่าวอ้างว่าในการรังวัด สอบเขตพื้นที่พิพาทและทำแผนที่พิพาทในคดีที่โจทก์ฟ้องขับไล่นาง ศ. และนาง ร. ออกจากที่ดินพิพาท นาง ศ. และนาง ร. อ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ดินสาธารณประโยชน์วังปลาตองซึ่งอยู่ในความดูแล ของจำเลย ต่อมาเมื่อมีการรังวัดที่ดินพิพาท จำเลยได้คัดค้านการรังวัดอ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ดิน สาธารณประโยชน์วังปลาตอง มิใช่ที่ดินของโจทก์ ดังนั้น การกระทำของจำเลยที่คัดค้านการรังวัด สอบเขตที่ดินของโจทก์จึงมิใช่การใช้อำนาจตามกฎหมายแต่อย่างใด เป็นแต่เพียงการกระทำในฐานะ ผู้ดูแลรักษาที่สาธารณะเช่นเดียวกับการใช้สิทธิของเจ้าของที่ดินข้างเคียงในการระวังแนวเขตที่ดิน เมื่อโจทก์กล่าวอ้างว่าที่ดินพิพาทที่นำชี้รังวัดเป็นที่ดินของโจทก์ ส่วนจำเลยคัดค้านการรังวัดว่า ที่ดินพิพาทเป็นที่สาธารณประโยชน์อันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ประโยชน์ ร่วมกัน จึงเป็นข้อพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน มิใช่คดีพิพาทเกี่ยวกับการใช้อำนาจตามกฎหมาย ของเทศบาลเมืองอรัญญประเทศ จำเลย ทั้งคดีนี้โจทก์มีคำขอให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายอันเป็น ค่าขาดประโยชน์จากการที่ไม่อาจเข้าใช้ที่ดินพิพาทและให้จำเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างและขนย้าย บริวารออกจากที่ดินพิพาทของโจทก์ อันเป็นคำขอที่เจ้าของที่ดินอาศัยสิทธิในฐานะเจ้าของที่ดิน เรียกค่าเสียหายจากการที่ไม่ได้ใช้สิทธิในที่ดินพิพาท มิใช่คำขอและค่าเสียหายอันเกิดจากการใช้ อำนาจทางปกครอง คดีนี้จึงมิใช่คดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดของหน่วยงานทางปกครอง อันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมายตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้ง ศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ และแม้โจทก์จะมีคำขอให้ศาลเพิกถอน เอกสารแสดงกรรมสิทธิ์พื้นที่สาธารณประโยชน์วังปลาตองเฉพาะส่วนที่ทับซ้อนที่ดินของโจทก์ ก็เป็นเพียงผลของการวินิจฉัยเกี่ยวกับสิทธิในที่ดินพิพาท คดีนี้จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน ที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม ส่วนปัญหาว่าคู่ความในคดีนี้ต่างเป็นหน่วยงาน ของรัฐและการแก้ไขข้อพิพาทเกี่ยวกับการทับซ้อนของที่ดินของรัฐระหว่างโจทก์และจำเลยสามารถ แก้ไขได้โดยฝ่ายบริหารโดยไม่จำต้องให้ศาลแก้ไขปัญหาดังกล่าว ตามข้อ ๓ ของระเบียบสำนัก คดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน


คดีพิพาทที่อยู่ในเขตอำนาจ ของศาลยุติธรรม รวมย่อคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่น่าสนใจ พ.ศ. ๒๕๕๖ - ๒๕๖๕ 23 นายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพิจารณาชี้ขาดการยุติข้อพิพาทระหว่างหน่วยงานของรัฐและการดำเนินคดี พ.ศ. ๒๕๖๑ หรือไม่นั้น ก็เป็นเรื่องที่ศาลที่มีเขตอำนาจเหนือคดีที่จะเป็นผู้วินิจฉัยต่อไป แต่มิใช่ เกณฑ์ที่จะนำมาวินิจฉัยปัญหาว่าด้วยเขตอำนาจศาล คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๓๘/๒๕๖๔ คดีที่เอกชน ยื่นฟ้ององค์การบริหารส่วนตำบลพลับพลาไชย ที่ ๑ นายอำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี ที่ ๒ เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดสุพรรณบุรี สาขาอู่ทอง ที่ ๓ กรมที่ดิน ที่ ๔ ผู้ว่าราชการจังหวัดสุพรรณบุรี ที่ ๕ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ที่ ๖ กระทรวงมหาดไทย ที่ ๗ ผู้ถูกฟ้องคดี ว่าผู้ฟ้องคดีที่ ๑ เป็นผู้ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินตาม น.ส. ๓ เลขที่ ๓๘๗ โดยได้รับ การยกให้จากผู้ฟ้องคดีที่ ๒ ต่อมา ผู้ฟ้องคดีที่ ๑ นำ น.ส. ๓ ดังกล่าวไปยื่นขอออกโฉนดที่ดิน ต่อผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ แต่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ไม่ออกโฉนดที่ดินให้ อ้างว่าที่ดินดังกล่าวทับซ้อนกับที่ดิน ตาม น.ส.ล. เลขที่ สพ. ๐๓๗๘ (ป่าช้าสาธารณประโยชน์) และจนถึงวันฟ้องผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ก็ยัง ไม่ออกโฉนดที่ดินให้แก่ผู้ฟ้องคดีที่ ๑ ต่อมาผู้ฟ้องคดีที่ ๑ ได้ยื่นคำร้องขอให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ สอบเขต น.ส.ล. เลขที่ สพ ๐๓๗๘ ปรากฏผลการรังวัดได้เนื้อที่น้อยกว่าเดิม แต่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ อ้างว่า น่าจะคลาดเคลื่อน และไม่อาจหาข้อยุติเกี่ยวกับที่สาธารณประโยชน์ตาม น.ส.ล. ดังกล่าวและที่ดิน ตาม น.ส. ๓ ของผู้ฟ้องคดีที่ ๑ ขอให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้เพิกถอน น.ส.ล. เลขที่ สพ. ๐๓๗๘ ในส่วนที่ทับซ้อนกับที่ดินที่ผู้ฟ้องคดีที่ ๑ ครอบครองทำประโยชน์อยู่ และให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ออกโฉนด ที่ดินตามหลักฐาน น.ส. ๓ เลขที่ ๓๘๗ ให้แก่ผู้ฟ้องคดีที่ ๑ ส่วนผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ กับพวกให้การว่า การออก น.ส.ล. เลขที่ สพ. ๐๓๗๘ ถูกต้องตามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนด โดยผู้สูงอายุที่อาศัย อยู่บริเวณดังกล่าว ซึ่งต่างก็ให้ถ้อยคำสอดคล้องกันว่าที่ดินบริเวณนี้ใช้ประโยชน์ร่วมกันมานาน โดยการทำเป็นป่าช้าสำหรับฝังศพ เผาศพ มาก่อน ส่วนการขอออกโฉนดที่ดินตามคำขอของ ผู้ฟ้องคดีที่ ๑ นั้น ยังไม่มีข้อยุติจากคณะอนุกรรมการประสานการแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ดินของรัฐ (กบร. จังหวัด) เพื่อพิจารณาตรวจสอบการครอบครองของบุคคลผู้เข้าครอบครองที่ดินของรัฐเพื่อพิสูจน์ สิทธิในที่ดิน จึงไม่สามารถออกโฉนดที่ดินให้แก่ผู้ฟ้องคดีที่ ๑ ได้ ขอให้ยกฟ้อง เห็นว่า แม้คดีนี้ ผู้ฟ้องคดีทั้งสองซึ่งเป็นเอกชนยื่นฟ้องผู้ถูกฟ้องคดีทั้งเจ็ดซึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครอง และเจ้าหน้าที่ ของรัฐ ตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ โดยมีคำขอให้ศาลมีคำพิพากษาเพิกถอน น.ส.ล. เลขที่ สพ. ๐๓๗๘ ในส่วนที่ออกทับที่ดินของ ผู้ฟ้องคดีที่ ๑ ตาม น.ส. ๓ เลขที่ ๓๘๗ และมีคำขอให้ออกโฉนดที่ดินแก่ผู้ฟ้องคดีที่ ๑ อันเป็นการตั้งรูปเรื่อง เป็นการฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งทางปกครอง และฟ้องว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐปฏิบัติหน้าที่ล่าช้าเกินสมควร แต่เหตุแห่งการขอให้เพิกถอนหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงดังกล่าว และเหตุที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ไม่ออกโฉนดที่ดินให้แก่ผู้ฟ้องคดี ก็เนื่องมาจากผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ กับพวก อ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นส่วนหนึ่ง ของที่ดินสาธารณประโยชน์ ซึ่งมีการออก น.ส.ล. เลขที่ สพ. ๐๓๗๘ แล้ว ส่วนผู้ฟ้องคดีทั้งสองอ้างว่า ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินของผู้ฟ้องคดีทั้งสอง ซึ่งยังไม่อาจหาข้อยุติกันได้ ดังนั้น การที่ศาลจะมีคำพิพากษา คดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน


24 ให้เพิกถอน น.ส.ล. เลขที่ สพ. ๐๓๗๘ ตามคำขอของผู้ฟ้องคดีทั้งสองได้หรือไม่ และการที่ผู้ถูกฟ้องคดี ที่ ๓ จะออกโฉนดที่ดินให้แก่ผู้ฟ้องคดีทั้งสองได้หรือไม่ นั้น ต้องวินิจฉัยก่อนว่าที่ดินพิพาทนั้น เป็นของผู้ฟ้องคดีทั้งสองหรือเป็นที่ดินสาธารณประโยชน์ตาม น.ส.ล. เลขที่ สพ. ๐๓๗๘ ข้อพิพาท ในคดีนี้จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในที่ดินที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๓๗/๒๕๖๔ โจทก์เป็นเอกชนยื่นฟ้องกระทรวงการคลัง อ้างว่า โจทก์เป็นผู้ครอบครองและทำประโยชน์ ในที่ดินตามหลักฐานแบบแจ้งการครอบครองที่ดิน (ส.ค. ๑) ก่อนที่ประมวลกฎหมายที่ดินประกาศ ใช้บังคับ โจทก์ยื่นคำขอออกโฉนดที่ดินที่พิพาท แต่จำเลยโดยสำนักงานธนารักษ์พื้นที่เชียงใหม่คัดค้าน การรังวัดออกโฉนดที่ดินดังกล่าว อันเป็นการกระทำในฐานะผู้ดูแลรักษาที่สาธารณะเช่นเดียวกับ การใช้สิทธิของเจ้าของที่ดินข้างเคียงในการระวังแนวเขตที่ดินเพื่อมิให้โจทก์รังวัดเพื่อขอออกโฉนด ที่ดินของตนทับซ้อนแนวเขตที่ราชพัสดุ การคัดค้านการรังวัดที่ดินของจำเลยจึงมิใช่การใช้อำนาจ ตามกฎหมายอันจะเข้าลักษณะคดีพิพาทตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้ง ศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ดังนั้น เมื่อพิจารณาความมุ่งหมายของโจทก์ ที่ใช้สิทธิทางศาลก็เพื่อให้ศาลรับรองคุ้มครองสิทธิในที่ดินของโจทก์ การที่ศาลจะมีคำพิพากษาหรือ คำสั่งตามคำขอของโจทก์รวมถึงตามฟ้องแย้งของจำเลยได้นั้น ศาลจำต้องพิจารณาให้ได้ความเสียก่อน ว่าที่ดินพิพาทโจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองหรือเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภทใช้เพื่อ ประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะอันเป็นที่ราชพัสดุแล้วจึงจะพิจารณาประเด็นอื่นต่อไป จึงเป็นคดีพิพาท เกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน ประกอบกับโจทก์อ้างว่าได้ครอบครองที่ดินพิพาทต่อเนื่องจากเจ้าของเดิม ซึ่งครอบครองและทำประโยชน์อยู่ในที่ดินพิพาทก่อนที่ประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับในปี ๒๔๙๗ ซึ่งมาตรา ๘ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายที่ดิน (ฉบับที่ ๑๑) พ.ศ. ๒๕๕๑ กำหนดให้การออกโฉนดที่ดินในกรณีดังกล่าว โดยใช้หลักฐานการแจ้งการครอบครอง เมื่อพ้นกำหนดสองปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัติดังกล่าวมีผลใช้บังคับ จะทำได้ต่อเมื่อมีคำพิพากษา หรือคำสั่งถึงที่สุดของศาลยุติธรรมว่าบุคคลดังกล่าวเป็นผู้ซึ่งได้ครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดิน โดยชอบด้วยกฎหมายอยู่ก่อนวันที่ประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับ จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิ ในที่ดินที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๓๖/๒๕๖๔ แม้ผู้ฟ้องคดีฟ้ององค์การบริหารส่วนตำบลตะเคียนเลื่อน ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ นายอำเภอ เมืองนครสวรรค์ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ซึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครองและเจ้าหน้าที่ของรัฐ ตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ โดยตั้งรูปเรื่องว่า ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และที่ ๒ ละเลยไม่ดำเนินการตามหน้าที่ในการดูแลรักษาและคุ้มครองที่ดิน อันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินในเขตพื้นที่หมู่ที่ ๒ ตำบลตะเคียนเลื่อน อำเภอเมืองนครสวรรค์ คดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน


คดีพิพาทที่อยู่ในเขตอำนาจ ของศาลยุติธรรม รวมย่อคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่น่าสนใจ พ.ศ. ๒๕๕๖ - ๒๕๖๕ 25 จังหวัดนครสวรรค์ แต่เมื่อพิจารณาคำขอของผู้ฟ้องคดีที่ขอให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้ที่ดิน ทั้งสองแปลงตามโฉนดที่ดินเลขที่ ๒๒๔๑ และ ๕๘๒๔๕ ซึ่งมีชื่อของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ เป็นสาธารณสมบัติ ของแผ่นดิน ทั้งผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และที่ ๒ ให้การว่า ข้อเท็จจริงยังไม่ยุติว่าที่ดินพิพาทเป็นสาธารณสมบัติ ของแผ่นดินหรือไม่ โดยผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ซึ่งเป็นผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ที่ดินก็โต้แย้งว่าที่ดินพิพาท ไม่ใช่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน ข้อพิพาทในคดีนี้จึงเป็นการโต้แย้งกรรมสิทธิ์ในที่ดินเป็นสำคัญ โดยวัตถุประสงค์ในการฟ้องคดีนี้ก็เพื่อให้ศาลรับรองคุ้มครองว่าที่ดินพิพาทเป็นสาธารณสมบัติ ของแผ่นดิน ไม่ใช่ที่ดินของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ เพื่อให้ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ ๒ และผู้นำชุมชนขออนุญาต และของบประมาณ เพื่อจัดทำโครงการประปาหมู่บ้านตามที่ผู้ฟ้องคดีบรรยายในคำฟ้อง กรณีจึงเป็น คดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๒๒/๒๕๖๔ คดีที่ผู้ฟ้องคดีเป็นเอกชนยื่นฟ้องคณะกรรมการพิจารณาเพื่ออนุญาตให้ประชาชน ใช้ประโยชน์ในที่ดินของรัฐ ที่ ๑ สำนักงานที่ดินจังหวัดศรีสะเกษ ที่ ๒ เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดศรีสะเกษ ที่ ๓ ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ ที่ ๔ ผู้ถูกฟ้องคดี ซึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครองและเจ้าหน้าที่ ของรัฐตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ขอให้เพิกถอนหนังสืออนุญาตให้บุคคลอื่นใช้ประโยชน์ในที่ดินของรัฐทับซ้อนกับที่ดินของผู้ฟ้องคดี อันมีลักษณะเป็นการตั้งรูปเรื่องการฟ้องคดีเป็นคดีฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งทางปกครองที่ออก โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่เหตุแห่งการฟ้องคดีนี้สืบเนื่องมาจากผู้ฟ้องคดีอ้างว่าผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสี่ ออกหนังสืออนุญาตให้บุคคลอื่นเข้าทำประโยชน์ในที่ดินของผู้ฟ้องคดี โดยอ้างว่าที่ดินบริเวณพิพาท เป็นที่ดินสาธารณประโยชน์สำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันที่มีการออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวง (น.ส.ล.) เลขที่ ศก ๕๘๒๘ จึงจัดที่ดินแบ่งแปลงให้ราษฎรที่ครอบครองอยู่เดิมเข้าทำประโยชน์ โดยออกหนังสือ อนุญาตให้ใช้ประโยชน์ในที่ดินของรัฐเป็นการชั่วคราว อันเป็นการโต้แย้งสิทธิในที่ดินของผู้ฟ้องคดี เมื่อการจะจัดให้บุคคลใดใช้ประโยชน์ในที่ดินตามระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการอนุญาต ให้ประชาชนใช้ประโยชน์ในที่ดินของรัฐ พ.ศ. ๒๕๔๗ จะต้องปรากฏว่าที่ดินดังกล่าวเป็นที่ดินของรัฐ แต่ผู้ฟ้องคดียืนยันว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ดินของผู้ฟ้องคดีตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๑๕๒๖/๒๕๕๒ ส่วนผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๔ ให้การว่า ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินของรัฐซึ่งมีการออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงแล้ว ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๔ เป็นบุคคลภายนอกจึงไม่ผูกพันตามคำพิพากษาศาลฎีกาดังกล่าว ทั้งประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๑๔๕ (๒) บัญญัติว่า คำพิพากษาที่วินิจฉัยถึงกรรมสิทธิ์แห่งทรัพย์สินใด ๆ เป็นคุณแก่คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง อาจใช้ยันแก่บุคคลภายนอกได้ เว้นแต่บุคคลภายนอกนั้นจะพิสูจน์ ได้ว่าตนมีสิทธิดีกว่า เมื่อปัญหาว่า การที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๔ อนุญาตให้บุคคลอื่นใช้ประโยชน์ในที่ดิน พิพาท ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการอนุญาตให้ประชาชนใช้ประโยชน์ในที่ดินของรัฐ พ.ศ. ๒๕๔๗ ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ศาลจะต้องพิจารณาให้ได้ความเสียก่อนว่า ผู้ฟ้องคดีเป็น ผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทหรือไม่ แล้วจึงจะพิจารณาประเด็นอื่นต่อไป คดีนี้จึงเป็นคดีเกี่ยวกับ สิทธิในที่ดิน อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม คดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน


26 คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๑๘/๒๕๖๔ คดีนี้เอกชนยื่นฟ้อง กรมที่ดิน ที่ ๑ อธิบดีกรมที่ดินที่ ๒ เจ้าพนักงานที่ดินกรุงเทพมหานคร ที่ ๓ ผู้ถูกฟ้องคดี ว่า ผู้ฟ้องคดีได้รับมรดกจากบิดาเป็นกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดที่ดินเลขที่ ๓๙๐๙๔ บิดาของผู้ฟ้องคดีได้ซื้อที่ดินดังกล่าวโดยเจ้าของที่ดินเดิมทำบันทึกข้อตกลงเรื่องภาระจำยอมทางเดิน และยินยอมให้ที่ดินตกเป็นภาระจำยอมทางเดินตลอดทั้งแปลงแก่ที่ดินโฉนดเลขที่ ๑๖๖๓๕ ผู้ฟ้องคดี เห็นว่าตลอดเวลานับแต่บิดาผู้ฟ้องคดีซื้อที่ดินพิพาทนั้นผู้ครอบครองที่ดินโฉนดเลขที่ ๑๖๖๓๕ ซึ่งเป็นเจ้าของสามยทรัพย์มิได้ใช้ประโยชน์ในที่ดินภาระจำยอมผ่านเข้าออกหรือใช้สัญจรออกสู่ ทางสาธารณะเกินกว่า ๔๐ ปีแล้ว จากภาพถ่ายทางอากาศพบว่าปัจจุบันสภาพแวดล้อมโดยรอบ ของที่ดินโฉนดเลขที่ ๑๖๖๓๕ ไม่สามารถใช้เป็นทางสัญจรผ่านที่ดินของผู้ฟ้องคดีได้เนื่องจากมีบุคคล ก่อสร้างบ้านเรือนในที่ดินกีดขวางเส้นทางเดินระหว่างที่ดินของผู้ฟ้องคดี ผู้ฟ้องคดีจึงมีหนังสือลงวันที่ ๑๖ กันยายน ๒๕๖๒ ถึงผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสามขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนภาระจำยอมในที่ดิน โฉนดเลขที่ ๓๙๐๙๔ ของผู้ฟ้องคดี แต่ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสามเพิกเฉยไม่ได้ดำเนินการ ขอให้ศาลมีคำพิพากษา หรือคำสั่งให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ในฐานะตัวแทนของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ หรือให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ มีคำสั่งให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ดำเนินการจดทะเบียนเพิกถอนการจดทะเบียนภาระจำยอมในที่ดินโฉนด เลขที่ ๓๙๐๙๔ ของผู้ฟ้องคดี ส่วนผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ และที่ ๓ ให้การทำนองเดียวกันว่า ตามบันทึก ข้อตกลงเรื่องภาระจำยอมเรื่องทางเดินพิพาท ผู้ถือกรรมสิทธิ์ทั้งสองฝ่ายได้ยื่นคำขอจดทะเบียนสิทธิ และนิติกรรมประเภทภาระจำยอมต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ตามมาตรา ๗๒ แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน จึงเป็นนิติกรรมอันทำลงไปโดยชอบด้วยกฎหมาย ภาระจำยอมได้มาโดยการจดทะเบียนต่อพนักงาน เจ้าหน้าที่ หากผู้ครอบครองที่ดินทั้งสองฝ่ายมีความประสงค์จะยกเลิกภาระจำยอมก็ต้องจดทะเบียน กับพนักงานเจ้าหน้าที่ด้วยเช่นกัน การจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในที่ดินแปลงพิพาทจึงมิใช่กรณี การจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมคลาดเคลื่อนโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายที่จะต้องดำเนินการ ตามมาตรา ๖๑ แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน จึงไม่อาจเพิกถอนรายการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม ให้แก่ผู้ฟ้องคดีได้ เห็นว่า แม้ผู้ฟ้องคดีจะฟ้องกรมที่ดิน ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ อธิบดีกรมที่ดิน ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ เจ้าพนักงานที่ดินกรุงเทพมหานคร สาขาหนองแขม ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ซึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครอง และเจ้าหน้าที่ของรัฐ ตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ โดยตั้งรูปเรื่องว่าผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ และที่ ๓ ละเลยไม่ดำเนินการเพิกถอนการจดทะเบียน ภาระจำยอมในที่ดินโฉนดเลขที่ ๓๙๐๙๔ ของผู้ฟ้องคดี และมีคำขอให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ หรือที่ ๓ จดทะเบียนเพิกถอนการจดทะเบียนภาระจำยอมในที่ดินของผู้ฟ้องคดีก็ตาม แต่เมื่อพิจารณาวัตถุประสงค์ อันแท้จริงของผู้ฟ้องคดีที่ฟ้องขอให้ศาลมีคำพิพากษาหรือมีคำสั่งให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ดำเนินการ เพิกถอนการจดทะเบียนภาระจำยอมในที่ดินโฉนดที่ดินเลขที่ ๓๙๐๙๔ ของผู้ฟ้องคดี หรือให้ผู้ถูกฟ้องคดี ที่ ๒ สั่งให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ดำเนินการดังกล่าวก็เพื่อให้ที่ดินของผู้ฟ้องคดีปลอดจากภาระจำยอม ซึ่งเป็นข้อจำกัดแดนกรรมสิทธิ์ในที่ดินเป็นสำคัญ ข้อพิพาทสำคัญในคดีนี้จึงมีปัญหาต้องวินิจฉัยว่า ภาระจำยอมสิ้นไปหรือไม่ กรณีตามคำฟ้องของผู้ฟ้องคดีจึงมิใช่การขอให้ศาลตรวจสอบความชอบ คดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน


คดีพิพาทที่อยู่ในเขตอำนาจ ของศาลยุติธรรม รวมย่อคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่น่าสนใจ พ.ศ. ๒๕๕๖ - ๒๕๖๕ 27 ด้วยกฎหมายของการกระทำหรือการงดเว้นการกระทำของฝ่ายปกครอง แต่เป็นการขอให้ศาลรับรอง และคุ้มครองสิทธิในที่ดินของตน กรณีจึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน ที่อยู่ในอำนาจพิจารณา พิพากษาของศาลยุติธรรม คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๑๒๔/๒๕๖๓ คดีนี้เอกชน ผู้ฟ้องคดียื่นฟ้องอธิบดีกรมที่ดิน ผู้ถูกฟ้องคดี อ้างว่า ผู้ฟ้องคดีเป็นผู้ครอบครอง ทำประโยชน์ในที่ดินตามหลักฐานหนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดิน (ส.ป.ก. ๔-๐๑ ข) เนื้อที่ประมาณ ๒๘ ไร่ ๒ งาน ๖๐ ตารางวา ผู้ถูกฟ้องคดีออก น.ส. ๓ ก. เนื้อที่ ๒๘ ไร่ ๒ งาน ๖๐ ตารางวา ให้แก่ผู้มีชื่อทับซ้อนกับที่ดินของผู้ฟ้องคดี โดยผู้มีชื่อไม่ใช่เจ้าของและไม่เคยเข้าครอบครอง ทำประโยชน์ในที่ดินดังกล่าว ขอให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งเพิกถอน น.ส. ๓ ก. ที่พิพาท ส่วนผู้ถูกฟ้องคดีให้การว่า น.ส. ๓ ก. พิพาทออกโดยอาศัยหลักฐานแบบแจ้งการครอบครองที่ดิน (ส.ค. ๑) ซึ่งมีชื่อนาย ซ. เป็นผู้แจ้งการครอบครอง จึงถือว่าผู้มีชื่อเป็นผู้ครอบครองต่อเนื่องตามมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. ๒๔๙๗ มาก่อนพระราชกฤษฎีกากำหนด เขตปฏิรูปที่ดินประกาศใช้บังคับ และพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. ๒๕๑๘ มิได้ถือเป็นการยกเลิกสิทธิในที่ดินตามประมวลกฎหมายที่ดินแต่อย่างใด การออก น.ส. ๓ ก. ได้ปฏิบัติ ตามขั้นตอนของระเบียบและกฎหมาย จึงไม่มีกรณีที่จะต้องเพิกถอนหรือแก้ไข เห็นว่า คดีนี้ผู้ฟ้องคดี มีคำขอให้เพิกถอน น.ส. ๓ ก. ที่ออกทับซ้อนกับที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ซึ่งผู้ฟ้องคดี ได้รับอนุญาตเข้าทำประโยชน์ โดยอ้างว่า การออก น.ส. ๓ ก. ให้แก่ผู้มีชื่อนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงมีประเด็นต้องวินิจฉัยว่า ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินของสำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ซึ่งผู้ฟ้องคดี ได้รับอนุญาตให้เข้าทำประโยชน์หรือเป็นที่ดินของผู้มีชื่อ ดังนั้น เมื่อพิจารณาความมุ่งหมายของผู้ฟ้องคดี ในการใช้สิทธิทางศาลก็เพื่อให้ศาลมีคำพิพากษารับรองคุ้มครองสิทธิในที่ดินของผู้ฟ้องคดี กรณีจึงเป็น การโต้แย้งสิทธิในที่ดิน แม้ผู้ฟ้องคดีจะมีคำขอให้เพิกถอน น.ส. ๓ ก. มาด้วยก็ตาม ก็เป็นเพียงผล ของการวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในที่ดินพิพาทว่าเป็นที่ดินของสำนักงานปฏิรูปที่ดิน เพื่อเกษตรกรรม ซึ่งผู้ฟ้องคดีได้รับอนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ หรือเป็นที่ดินของผู้มีชื่อ กรณีจึงเป็น คดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๑๑๕/๒๕๖๓ แม้คดีนี้เอกชนผู้ฟ้องคดีจะยื่นฟ้องสำนักงานที่ดินจังหวัดสุพรรณบุรี สาขาสองพี่น้อง ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ อำเภอสองพี่น้อง ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ และองค์การบริหารส่วนตำบลต้นตาล ผู้ถูกฟ้องคดี ที่ ๔ ซึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครอง และเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดสุพรรณบุรี สาขาสองพี่น้อง ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและ วิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ แต่เหตุแห่งการฟ้องคดีเป็นกรณีที่ผู้ฟ้องคดีอ้างว่า ผู้ถูกฟ้องคดี ที่ ๓ ยื่นคำร้องขอรังวัดที่ดินเพื่อออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงแปลง “หนองลาดตะเพียน” คดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน


28 โดยผู้ถูกฟ้องคดี ที่ ๓ และที่ ๔ นำชี้และรังวัดแนวเขตที่ดินรุกล้ำที่ดินตามโฉนดเลขที่ ๓๓๒ ของบิดาผู้ฟ้องคดี เนื้อที่ ๙๐.๘ ตารางวา อ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ดินสาธารณประโยชน์ที่ประชาชน ใช้ประโยชน์ร่วมกัน และอยู่นอกโฉนดที่ดินเลขที่ ๓๓๒ โดยผู้ฟ้องคดีไม่มีหลักฐานแสดงสิทธิในที่ดิน กรณีจึงเป็นข้อพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในที่ดินระหว่างผู้ฟ้องคดีกับผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ และที่ ๔ ซึ่งเป็น ส่วนราชการที่มีหน้าที่ดูแลรักษาและคุ้มครองป้องกันที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ที่ประชาชนใช้ประโยชน์ร่วมกันอันอยู่ในเขตอำเภอ ว่าที่ดินเนื้อที่ ๙๐.๘ ตารางวานั้น เป็นที่ดิน ตามโฉนดเลขที่ ๓๓๒ ของบิดาผู้ฟ้องคดีหรือเป็นที่ดินสาธารณประโยชน์ที่ประชาชนใช้ร่วมกัน และโดยที่กฎกระทรวงฉบับที่ ๔๕ (พ.ศ. ๒๕๓๗) ออกตามความในพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวล กฎหมายที่ดิน พ.ศ. ๒๔๙๗ ที่กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวง ข้อ ๒ วรรคสอง กำหนดว่า “ในกรณีที่มีผู้คัดค้าน ให้อธิบดีรอการออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงไว้แล้ว ดำเนินการ ดังนี้ (๑) ในกรณีที่ผู้คัดค้านไม่มีหลักฐานแสดงสิทธิในที่ดินตามประมวลกฎหมายที่ดิน และไม่ไปใช้สิทธิทางศาลภายในหกสิบวันนับแต่วันที่คัดค้าน ให้ออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงได้ หากผู้คัดค้านไปใช้สิทธิทางศาล ให้รอการออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงเฉพาะส่วนที่คัดค้าน จนกว่าจะได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดของศาลแสดงว่าผู้คัดค้าน ไม่มีสิทธิในที่ดินนั้น” ดังนั้น การที่ผู้ฟ้องคดี นำคดีมาฟ้องต่อศาลก็เพื่อให้ศาลมีคำพิพากษาหรือมีคำสั่งแสดงสิทธิในที่ดินพิพาท คดีนี้จึงเป็น คดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในที่ดินที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๑๑๓/๒๕๖๓ คดีที่ผู้ฟ้องคดีทั้งสองเป็นเอกชน ยื่นฟ้องเทศบาลตำบลหลักห้า ผู้ถูกฟ้องคดี ซึ่งเป็น หน่วยงานทางปกครองว่า ผู้ฟ้องคดีทั้งสองเป็นผู้จัดการมรดกของนาง จ. ตามคำสั่งศาล โดยนาง จ. เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ ๖๔๑๑ ได้อนุญาตด้วยวาจาให้กำนันตำบลยกกระบัตร สร้างศาลาที่พักผู้โดยสารชั่วคราวบนที่ดินเนื้อที่ไม่เกิน ๕ ตารางวา จากนั้น นาง จ. อนุญาตด้วยวาจา ให้ผู้ใหญ่บ้านหมู่ ๔ ซ่อมแซมศาลาที่พักโดยมีเงื่อนไขให้รื้อถอนเมื่อนาง จ. ถึงแก่ความตาย แต่หลังจาก นาง จ. ถึงแก่ความตาย ผู้ถูกฟ้องคดีปฏิเสธไม่รื้อถอน อ้างว่าศาลาที่พักผู้โดยสารเป็นทรัพย์สิน ที่ประชาชนใช้ประโยชน์ร่วมกันมานาน ขอให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้ผู้ถูกฟ้องคดีรื้อถอนศาลา ที่พักผู้โดยสารออกจากที่ดินโฉนดเลขที่ ๖๔๑๑ ด้วยค่าใช้จ่ายของผู้ถูกฟ้องคดีภายใน ๓๐ วัน นับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษา หากไม่รื้อถอนให้แล้วเสร็จภายในกำหนด ให้ผู้ฟ้องคดีทั้งสองเป็นผู้รื้อถอน โดยให้ผู้ถูกฟ้องคดีเสียค่าใช้จ่ายทั้งหมด ส่วนผู้ถูกฟ้องคดีให้การสรุปได้ว่า ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ ๔ ยืนยันว่า ไม่มีข้อตกลงให้รื้อถอนศาลาที่พัก และผู้ถูกฟ้องคดีไม่สามารถรื้อถอนศาลาที่พักเนื่องจากเป็นทรัพย์สิน ที่ประชาชนใช้ประโยชน์ร่วมกัน การกระทำของนาง จ. ถือได้ว่านาง จ. ได้อุทิศที่ดินบริเวณดังกล่าว ให้เป็นที่สาธารณประโยชน์โดยปริยาย ศาลาที่พักดังกล่าวจึงมีสภาพเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน การดำเนินการของผู้ถูกฟ้องคดีจึงชอบด้วยกฎหมาย ขอให้ยกฟ้อง เห็นว่า เหตุแห่งการฟ้องคดีมาจาก ข้ออ้างของผู้ฟ้องคดีทั้งสองว่า นาง จ. ซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ ๖๔๑๑ ได้อนุญาต คดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน


คดีพิพาทที่อยู่ในเขตอำนาจ ของศาลยุติธรรม รวมย่อคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่น่าสนใจ พ.ศ. ๒๕๕๖ - ๒๕๖๕ 29 ด้วยวาจาให้สร้างศาลาที่พักผู้โดยสารบนที่ดินแปลงดังกล่าวเนื้อที่ไม่เกิน ๕ ตารางวา โดยมีข้อตกลงให้ รื้อถอนศาลาที่พักผู้โดยสารออกไปเมื่อนาง จ. ถึงแก่ความตาย แต่เมื่อภายหลังนาง จ. ถึงแก่ความตาย ผู้ฟ้องคดีทั้งสองขอให้ผู้ถูกฟ้องคดีรื้อถอน ผู้ถูกฟ้องคดีกลับไม่ดำเนินการรื้อถอน อ้างว่าศาลาที่พัก ผู้โดยสารเป็นทรัพย์สินที่ประชาชนใช้ประโยชน์ร่วมกันมาเป็นเวลานาน และที่ดินบริเวณที่มีการสร้าง ศาลาที่พักผู้โดยสารนาง จ. ได้อุทิศให้เป็นที่สาธารณประโยชน์โดยปริยาย ศาลาที่พักดังกล่าวจึงมี สภาพเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน อันเป็นกรณีโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน ทั้งความมุ่งหมาย ของผู้ฟ้องคดีทั้งสองที่ฟ้องต่อศาล ก็เพื่อให้ศาลรับรองคุ้มครองสิทธิในที่ดินของนาง จ. การที่ศาลจะมี คำพิพากษาหรือคำสั่งตามคำขอของผู้ฟ้องคดีทั้งสองได้นั้น ศาลจำต้องพิจารณาให้ได้ความเสียก่อนว่า ที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของนาง จ. ตามที่กล่าวอ้างหรือเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินเป็นสำคัญ แล้วจึงจะพิจารณาประเด็นอื่นได้ต่อไป จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน อันอยู่ในอำนาจพิจารณา พิพากษาของศาลยุติธรรม คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๑๑๒/๒๕๖๓ คดีที่เอกชน ยื่นฟ้องปฏิรูปที่ดินจังหวัดพังงา ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ซึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครอง และ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ซึ่งเป็นเอกชนด้วยกันว่า ผู้ฟ้องคดีเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินตามหลักฐาน น.ส. ๓ ก. เลขที่ ๑ โดยรับให้มาจากมารดา แต่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ออกหนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ ในเขตปฏิรูปที่ดิน (ส.ป.ก. ๔-๐๑) เลขที่ ๑๔๒๗ ให้แก่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ทับซ้อนที่ดินดังกล่าว ของผู้ฟ้องคดี ทำให้ผู้ฟ้องคดีได้รับความเสียหาย ขอให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งเพิกถอน ส.ป.ก. ๔-๐๑ ที่ออกทับซ้อนที่ดินของผู้ฟ้องคดี และให้ชดใช้ค่าเสียหายแก่ผู้ฟ้องคดี ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และที่ ๓ ให้การว่า เดิมที่ดินพิพาทเป็นที่ป่าสงวนแห่งชาติที่เสื่อมโทรม ต่อมามีพระราชกฤษฎีกาให้ที่ดินพิพาท เป็นที่ดินในเขตปฏิรูป ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และที่ ๓ จึงมีอำนาจนำที่ดินพิพาทมาทำการปฏิรูปได้ การจัดที่ดินให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ เป็นไปตามขั้นตอน ระเบียบ และกฎหมาย การออก ส.ป.ก. ๔-๐๑ ให้แก่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ จึงชอบด้วยกฎหมาย ผู้ฟ้องคดีไม่ได้รับความเสียหาย ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ให้การว่า ที่ดินตาม น.ส. ๓ ก. เลขที่ ๑ มารดาผู้ฟ้องคดีขายให้แก่บิดาของตน แต่ไม่ได้เปลี่ยนแปลงทางทะเบียน โดยบิดาเข้าครอบครองที่ดินและปลูกต้นปาล์มน้ำมันทั้งแปลง จากนั้นส่งมอบการครอบครองให้แก่ตน ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ จึงเป็นผู้มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท การออก ส.ป.ก. ๔-๐๑ ให้แก่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ชอบด้วยกฎหมายไม่ทับซ้อนกับที่ดินของผู้ฟ้องคดี เห็นว่า เหตุแห่งการฟ้องคดีนี้สืบเนื่องมาจากผู้ฟ้องคดี อ้างว่า ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และที่ ๓ ออกหนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดิน (ส.ป.ก. ๔-๐๑) ให้แก่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ทับที่ดินมีเอกสารสิทธิตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. ๓ ก.) เลขที่ ๑ ของผู้ฟ้องคดี โดยผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และที่ ๓ อ้างว่าที่ดินพิพาทอยู่ในเขตปฏิรูปที่ดิน และผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ เป็นผู้ครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินพิพาท อันเป็นการโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน ทั้งความ มุ่งหมายของผู้ฟ้องคดีในการใช้สิทธิทางศาลก็เพื่อให้ศาลมีคำพิพากษารับรองคุ้มครองสิทธิและพิสูจน์ คดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน


30 สิทธิในที่ดินของผู้ฟ้องคดีเป็นสำคัญ และการที่ศาลจะมีคำพิพากษาหรือคำสั่งตามคำขอของผู้ฟ้องคดี ได้นั้น จะต้องพิจารณาให้ได้ความเสียก่อนว่าผู้ฟ้องคดีเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทหรือไม่ แล้วจึงจะพิจารณาประเด็นอื่นต่อไป คดีนี้จึงเป็นคดีเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษา ของศาลยุติธรรม คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๖๐/๒๕๖๓ คดีที่โจทก์เป็นเอกชนยื่นฟ้องกรมที่ดิน จำเลยที่ ๑ ซึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครองและ จำเลยที่ ๒ ถึงที่ ๙ ซึ่งเป็นเอกชนด้วยกันว่า โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของนาย ส. ได้ขอออกโฉนดที่ดิน ตามแบบแจ้งการครอบครองที่ดิน (ส.ค. ๑) เลขที่ ๖๖ มีชื่อนาย ส. เป็นผู้แจ้งการครอบครอง แต่โจทก์ ตรวจสอบพบว่า นาย ท. บิดาของจำเลยที่ ๒ ได้นำ ส.ค. ๑ เลขที่ ๖๖ ไปขอออกเป็นหนังสือรับรอง การทำประโยชน์ (น.ส. ๓) เลขที่ ๖๖ และแบ่งแยกออกเป็นที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. ๓ และ น.ส. ๓ ก.) และโฉนดที่ดิน การที่นายอำเภอเมืองศรีสะเกษ โดยจำเลยที่ ๑ ออกเอกสารสิทธิ ในที่ดินให้กับบิดาของจำเลยที่ ๒ เป็นการออกโดยคลาดเคลื่อนไม่ชอบด้วยกฎหมาย ขอให้เพิกถอน หนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. ๓ และ น.ส. ๓ ก.) และโฉนดที่ดินพิพาท จำเลยที่ ๑ ให้การว่า ที่ดินที่โจทก์จะนำรังวัดออกโฉนดที่ดินเป็นที่ดินคนละแปลงและคนละตำแหน่งกับที่ดินที่โจทก์ฟ้อง และไม่อาจยืนยันได้ว่าเป็นที่ดินตาม ส.ค. ๑ เลขที่ ๖๖ หรือไม่ ส่วนจำเลยที่ ๓ ถึงที่ ๙ ให้การ ทำนองเดียวกันว่า ได้ที่ดินพิพาทมาโดยชอบด้วยกฎหมาย เห็นว่า แม้คดีนี้โจทก์จะฟ้องว่าจำเลยที่ ๑ ออกเอกสารสิทธิในที่ดินให้แก่จำเลยที่ ๒ ถึงที่ ๙ โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย โดยมีคำขอให้เพิกถอน การออกโฉนดที่ดินและหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. ๓ และ น.ส. ๓ ก.) พิพาท แต่ก็กล่าวอ้าง ในคำฟ้องว่าเป็นการออกเอกสารสิทธิในที่ดินทับกับที่ดินของนาย ส. ดังนี้ เมื่อพิจารณาลักษณะข้อพิพาท ในคดีนี้ จะเห็นได้ว่าเป็นการโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิในที่ดินพิพาทว่าเป็นที่ดินที่นาย ส. มีสิทธิครอบครอง ตามแบบแจ้งการครอบครองที่ดิน (ส.ค. ๑) เลขที่ ๖๖ หรือเป็นที่ดินของจำเลยที่ ๓ ถึงที่ ๙ ตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์และโฉนดที่ดินที่พิพาท ซึ่งไม่ว่าศาลจะวินิจฉัยว่าที่ดินพิพาท เป็นของนาย ส. หรือของจำเลยที่ ๓ ถึงที่ ๙ ย่อมกระทบต่อสิทธิในทางทรัพย์สินของเอกชนทั้งสองฝ่าย กรณีจึงเป็นข้อพิพาทระหว่างเอกชนกับเอกชนด้วยกัน โดยต่างฝ่ายต่างต้องพิสูจน์การได้มาซึ่งสิทธิ ในที่ดินเป็นสำคัญ เนื้อหาตามคำฟ้องของโจทก์จึงมิใช่การขอให้ศาลตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมาย ของการกระทำของฝ่ายปกครอง แต่เป็นการขอให้ศาลรับรองและคุ้มครองสิทธิในทรัพย์สินของตน กรณีจึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม คดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน


คดีพิพาทที่อยู่ในเขตอำนาจ ของศาลยุติธรรม รวมย่อคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่น่าสนใจ พ.ศ. ๒๕๕๖ - ๒๕๖๕ 31 คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๓๕/๒๕๖๓ คดีที่ผู้ฟ้องคดีทั้งสิบเป็นเอกชนยื่นฟ้องอธิบดีกรมที่ดิน ที่ ๑ ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ ที่ ๒ นายอำเภอขุขันธ์ ที่ ๓ เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดศรีสะเกษ สาขาขุขันธ์ ที่ ๔ ผู้ถูกฟ้องคดี ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ว่า ผู้ฟ้องคดีทั้งสิบเป็นผู้ครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินตาม ส.ค. ๑ เลขที่ ๒๖๔ ต่อเนื่องมาจากบรรพบุรุษ แต่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ขอให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ รังวัดที่ดิน แปลงสาธารณประโยชน์ทุ่งเลี้ยงสัตว์ป่าบกเพื่อออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวง ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ และผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๔ ได้รังวัดที่ดินโดยกำหนดให้ที่ดินของผู้ฟ้องคดีทั้งสิบเป็นที่ดินสาธารณสมบัติ ของแผ่นดิน (ทุ่งเลี้ยงสัตว์ป่าบก) และผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ได้ออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวง (น.ส.ล.) เลขที่ ศก ๒๗๒๒ แปลง “ทุ่งเลี้ยงสัตว์ป่าบก” โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ทับที่ดินที่ผู้ฟ้องคดีทั้งสิบ ครอบครองและทำประโยชน์ ขอให้เพิกถอน น.ส.ล. เลขที่ ศก ๒๗๒๒ แปลง “ทุ่งเลี้ยงสัตว์ป่าบก” และให้ที่ดินแปลงดังกล่าวมีสถานะเป็นที่ดินตกสำรวจรังวัดอันมีราษฎรเข้าครอบครองทำประโยชน์ ด้านเกษตรกรรมซึ่งมีครอบครัวผู้ฟ้องคดีทั้งสิบเป็นผู้ได้รับสิทธิครอบครองในที่ดิน ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสี่ ให้การทำนองเดียวกันว่า ที่ดินแปลงพิพาทเป็นที่ดินสาธารณประโยชน์ประเภทพลเมืองใช้ร่วมกัน การออก น.ส.ล. เลขที่ ศก ๒๗๒๒ แปลง “ทุ่งเลี้ยงสัตว์ป่าบก” ชอบด้วยกฎหมายแล้ว เห็นว่า แม้คดีนี้ ผู้ฟ้องคดีทั้งสิบจะมีคำขอให้เพิกถอนหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวง (น.ส.ล.) เลขที่ ศก ๒๗๒๒ แปลง “ทุ่งเลี้ยงสัตว์ป่าบก” ที่ทับซ้อนกับที่ดินของผู้ฟ้องคดีทั้งสิบ อันมีลักษณะเป็นการตั้งรูปเรื่อง การฟ้องคดีเป็นคดีฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งทางปกครองที่ออกโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่ผู้ฟ้องคดีทั้งสิบก็มีคำขอให้รับรองสิทธิครอบครองในที่ดินของผู้ฟ้องคดีทั้งสิบตาม ส.ค. ๑ เลขที่ ๒๖๔ ที่ครอบครองต่อเนื่องมาจากบรรพบุรุษตั้งแต่ปี ๒๔๘๕ ด้วย โดยผู้ฟ้องคดีทั้งสิบ กล่าวอ้างว่าที่ดินพิพาทบางส่วนที่นำไปออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวง (น.ส.ล.) เลขที่ ศก ๒๗๒๒ นั้น เป็นที่ดินของผู้ฟ้องคดีทั้งสิบ จึงมีประเด็นที่ศาลจะต้องวินิจฉัยว่า ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินของผู้ฟ้องคดี ทั้งสิบหรือเป็นที่ดินสาธารณประโยชน์ประเภทพลเมืองใช้ร่วมกัน ดังนั้น เมื่อพิจารณาความมุ่งหมาย ของผู้ฟ้องคดีทั้งสิบในการใช้สิทธิทางศาลก็เพื่อให้ศาลมีคำพิพากษารับรองคุ้มครองสิทธิในที่ดิน ของผู้ฟ้องคดีทั้งสิบเป็นสำคัญ กรณีจึงเป็นการโต้แย้งสิทธิในที่ดิน แม้ผู้ฟ้องคดีทั้งสิบจะตั้งรูปเรื่อง ในการฟ้องคดีโดยมีคำขอให้เพิกถอนหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวง (น.ส.ล.) เลขที่ ศก ๒๗๒๒ แปลง “ทุ่งเลี้ยงสัตว์ป่าบก” มาด้วย ก็เป็นเพียงผลของการวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน พิพาทว่าเป็นที่ดินของผู้ฟ้องคดีทั้งสิบหรือที่ดินของรัฐ กรณีจึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม คดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน


32 คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๑๒/๒๕๖๓ คดีที่ผู้ฟ้องคดีทั้งสี่เป็นเอกชนยื่นฟ้องสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ที่ ๑ คณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ที่ ๒ เลขาธิการสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ที่ ๓ สำนักงานการปฏิรูปที่ดินจังหวัดร้อยเอ็ด ที่ ๔ คณะกรรมการปฏิรูปที่ดินจังหวัดร้อยเอ็ด ที่ ๕ กรมที่ดิน ที่ ๖ อธิบดีกรมที่ดิน ที่ ๗ สำนักงานที่ดินจังหวัดร้อยเอ็ด สาขาสุวรรณภูมิ ที่ ๘ เทศบาลตำบลทุ่งหลวง ที่ ๙ ผู้ถูกฟ้องคดี อ้างว่า ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๕ มีมติไม่อนุญาตให้ผู้ฟ้องคดีที่ ๒ ถึงที่ ๔ เข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดินในบริเวณที่ผู้ฟ้องคดีที่ ๒ ถึงที่ ๔ ครอบครองเนื่องจาก เป็นที่ดินสาธารณประโยชน์ และผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๙ มีหนังสือขอให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๗ รังวัดออก น.ส.ล. ที่ดินสาธารณประโยชน์แปลงริมลำพลับพลา โดยผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๘ รังวัดออก น.ส.ล. และประกาศแจก น.ส.ล. แปลงริมลำพลับพลา ขอให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งว่าที่ดินบริเวณพิพาทเป็นของผู้ฟ้องคดี ทั้งสี่ ให้เพิกถอนหนังสือของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๙ ให้เพิกถอนประกาศของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๘ ให้เพิกถอนหนังสือ ของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และที่ ๔ ที่แจ้งผลการพิจารณาและคัดเลือกเกษตรกร ให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ถึงที่ ๕ ออกและส่งมอบหนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดิน (ส.ป.ก. ๔-๐๑) ให้แก่ผู้ฟ้องคดีทั้งสี่ ส่วนผู้ถูกฟ้องคดีทั้งเก้าให้การทำนองเดียวกันว่า ที่ดินแปลงพิพาทเป็นที่สาธารณประโยชน์อันเป็น สาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน เห็นว่า แม้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ที่ ๔ ที่ ๖ ที่ ๘ และที่ ๙ จะเป็นหน่วยงานทางปกครอง และผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ที่ ๓ ที่ ๕ และที่ ๗ จะเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ แต่เหตุแห่งการฟ้องคดีเกิดจากการที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๙ มีหนังสือถึงผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๗ ขอรังวัดออก น.ส.ล. ที่ดินสาธารณประโยชน์แปลงริมลำพลับพลา ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๘ รังวัดที่ดินเพื่อออก น.ส.ล. และประกาศแจก น.ส.ล.แปลงริมลำพลับพลา และผู้ถูกฟ้องคดี ๕ มีมติไม่อนุญาตให้ผู้ฟ้องคดีที่ ๒ ถึงที่ ๔ เข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดิน เมื่อที่ดินพิพาทในคดีนี้เป็นที่ดินที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๙ ในฐานะผู้มีอำนาจหน้าที่ดูแลรักษาและคุ้มครองป้องกันที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน อ้างว่าเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินสาธารณประโยชน์ในพื้นที่ที่อยู่ในความดูแลรับผิดชอบของตน จึงขอให้ ออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวง แต่ผู้ฟ้องคดีทั้งสี่ได้คัดค้านการการออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวง โดยอ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ดินที่ผู้ฟ้องคดีทั้งสี่ครอบครองทำประโยชน์และอยู่ในเขตปฏิรูปที่ดิน ดังนี้ เมื่อการดำเนินการของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๙ ที่ขอให้มีการออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงมิใช่ การใช้อำนาจตามกฎหมาย แต่เป็นเพียงการปฏิบัติหน้าที่ทั่วไปในการดูแลคุ้มครองที่สาธารณะ และการรังวัดเพื่อออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงเป็นเพียงขั้นตอนหนึ่งในกระบวนการออกหนังสือ สำคัญสำหรับที่หลวงโดยยังไม่มีการออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวง อันจะถือเป็นคำสั่งทางปกครอง กรณีจึงมิใช่คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบ ด้วยกฎหมายและคดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ ของรัฐอันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมาย ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๑) และ (๓) แห่งพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ แต่การที่ผู้ฟ้องคดีทั้งสี่กับผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๙ ต่างก็กล่าวอ้างถึงความมีสิทธิในที่ดินพิพาท กรณีจึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน อันอยู่ใน คดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน


คดีพิพาทที่อยู่ในเขตอำนาจ ของศาลยุติธรรม รวมย่อคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่น่าสนใจ พ.ศ. ๒๕๕๖ - ๒๕๖๕ 33 อำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม สำหรับข้อพิพาทในส่วนที่ผู้ฟ้องคดีมีคำขอให้ศาลมีคำสั่ง ให้ผู้ถูกฟ้องคดี ที่ ๑ ถึงที่ ๕ ออกหนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดิน (ส.ป.ก. ๔-๐๑) นั้น ก็เป็นผลของการวินิจฉัยข้อพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในที่ดินระหว่างผู้ฟ้องคดีทั้งสี่กับผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๙ ซึ่งอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรมเช่นเดียวกัน คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๑๐๒/๒๕๖๒ คดีนี้ ผู้ฟ้องคดีทั้งสองยื่นคำขอรังวัดเปลี่ยนโฉนดตราจองเป็นโฉนดที่ดิน ซึ่งโฉนดตราจอง หรือตราจองที่ตราว่า “ได้ทำประโยชน์แล้ว” เป็นหนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินประเภทหนึ่งตามมาตรา ๑ แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน ดังนั้น การรังวัดเปลี่ยนโฉนดตราจองหรือตราจองว่า “ได้ทำประโยชน์แล้ว” เป็นโฉนดที่ดินจึงมิใช่การรังวัดเพื่อออกโฉนดที่ดิน แต่เป็นการรังวัดสอบเขตที่ดินตามมาตรา ๖๙ ทวิ แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน เพื่อเปลี่ยนประเภทแห่งหนังสือแสดงกรรมสิทธิ์และเพื่อให้ทราบที่ตั้ง แนวเขตที่ดิน เมื่อผู้ฟ้องคดีทั้งสองฟ้องว่าในการรังวัดสอบเขตที่ดินของผู้ฟ้องคดีทั้งสองพบว่าที่ดิน ตามโฉนดที่ดินของนาย ส. ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ รุกล้ำเข้าไปในที่ดินของผู้ฟ้องคดีทั้งสอง ต่อมา เจ้าพนักงานที่ดิน ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ สอบสวนไกล่เกลี่ยผลปรากฏว่า ทั้งสองรายตกลงจะยึดแนวเขต ที่ดินตามที่ตกลงกันเป็นแนวเขตของตนและจะแบ่งหักที่ดินของตนให้ตกเป็นที่สาธารณะฝ่ายละ ๔ เมตร แต่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ยกเลิกบันทึกข้อตกลงดังกล่าว กรณีตามคำฟ้องจึงเป็นปัญหาข้อพิพาท เกี่ยวกับสิทธิในที่ดินระหว่างผู้ฟ้องคดีทั้งสองกับผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินข้างเคียงว่าที่ดิน พิพาทเนื้อที่ ๐-๒-๖๑ ไร่ เป็นที่ดินตามตราจองที่ตราว่า “ได้ทำประโยชน์แล้ว” ของผู้ฟ้องคดีทั้งสอง หรือเป็นที่ดินตามโฉนดที่ดินเลขที่ ๖๔๓๖๗ ของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ แม้ผู้ฟ้องคดีทั้งสองจะมีคำขอให้ เพิกถอนโฉนดที่ดินเลขที่ ๖๔๓๖๗ ของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ส่วนที่ทับซ้อนกับที่ดินของผู้ฟ้องคดีทั้งสอง เนื้อที่ ๐-๒-๖๑ ไร่ คำขอดังกล่าวก็เป็นเพียงผลของการวินิจฉัยปัญหาสิทธิในที่ดินส่วนที่พิพาท ประกอบกับยังไม่ปรากฏว่าผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ มีคำสั่งให้แก้ไขหรือไม่แก้ไขรูปแผนที่ และเนื้อที่ดิน ตามผลการรังวัด อันจะถือเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการออกคำสั่งทางปกครองโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๑) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ที่จะอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง เมื่อข้อพิพาทในคดีนี้เป็นข้อพิพาท ระหว่างผู้ฟ้องคดีทั้งสองและผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ซึ่งเป็นเอกชนด้วยกันว่าฝ่ายใดจะมีสิทธิในที่ดินพิพาท ดีกว่ากัน กรณีจึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในที่ดินที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม คดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน


34 คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๕๖/๒๕๖๒ คดีที่ผู้ฟ้องคดีเป็นเอกชนยื่นฟ้องกรมทางหลวง ผู้ถูกฟ้องคดี ซึ่งเป็นหน่วยงาน ทางปกครองว่า ผู้ฟ้องคดีเป็นเจ้าของที่ดินโฉนดเลขที่ ๒๒๒๙๗, ๒๒๒๙๘, ๒๒๒๙๙ และ ๒๒๓๐๐ ได้รับความเสียหายจากการที่ผู้ถูกฟ้องคดีเวนคืนที่ดินของผู้ฟ้องคดีบางส่วนเพื่อดำเนินโครงการ ขยายทางหลวงแผ่นดินสายชุมแสง-หนองบัว โดยไม่ได้จ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินให้แก่ผู้ฟ้องคดี และปล่อยให้ที่ดินที่ถูกเวนคืนมีสภาพรกร้าง โดยไม่มีการใช้ประโยชน์ในที่ดินที่ถูกเวนคืน ขอให้ศาล มีคำพิพากษาให้ผู้ถูกฟ้องคดีจ่ายเงินค่าทดแทนพร้อมดอกเบี้ยหรือคืนที่ดินส่วนที่ถูกเวนคืนให้แก่ ผู้ฟ้องคดี ผู้ถูกฟ้องคดีให้การ โดยสรุปว่าที่ดินบริเวณพิพาทไม่มีการจ่ายค่าทดแทนที่ดินเนื่องจาก มีการอุทิศที่ดินบริเวณพิพาทให้เป็นเขตทางหลวง ที่ดินบริเวณดังกล่าวจึงเป็นที่สาธารณสมบัติ ของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน แม้คดีนี้ผู้ฟ้องคดีจะกล่าวอ้างว่าผู้ถูกฟ้องคดีเวนคืนที่ดิน ของผู้ฟ้องคดีบางส่วนเพื่อขยายทางหลวงแผ่นดินสายชุมแสง-หนองบัว และไม่จ่ายเงินค่าทดแทน ที่ดินให้แก่ผู้ฟ้องคดี ขอให้ศาลมีคำพิพากษาให้ผู้ถูกฟ้องคดีชำระเงินค่าทดแทนที่ดิน แต่เมื่อข้อเท็จจริง ปรากฏตามคำฟ้องและคำให้การว่า ผู้ถูกฟ้องคดียังไม่ได้ใช้อำนาจตามกฎหมายว่าด้วยการเวนคืน อสังหาริมทรัพย์เพื่อให้ได้กรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ มีเพียงการกำหนดแนวทางหลวงที่จะสร้าง ตามพระราชกฤษฎีกากำหนดแนวทางหลวงที่จะสร้างทางหลวงจังหวัดหมายเลข ๑๑๑๙ สายชุมแสงหนองบัว-ท่าตะโก ตอนอำเภอชุมแสง-บรรจบทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๑ (อำเภอหนองบัว) พ.ศ. ๒๕๒๙ โดยที่ยังมิได้ทำการเวนคืนหรือดำเนินการจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินบริเวณพิพาท และผู้ถูกฟ้องคดี กล่าวอ้างว่าที่ดินบริเวณพิพาทเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน กรณี จึงมิใช่การฟ้องคดีเพื่อขอให้รัฐรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่เอกชนที่เกิดจากการใช้อำนาจทางปกครอง ของรัฐเพื่อให้ได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์เพื่อดำเนินการตามโครงการขยายทางหลวง อันจะเป็นคดีพิพาท เกี่ยวกับความรับผิดอย่างอื่นของหน่วยงานทางปกครองอันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมาย ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ แต่เป็นกรณีที่คู่กรณียังโต้แย้งกันเกี่ยวกับสิทธิในที่ดินบริเวณพิพาทว่าที่ดินของผู้ฟ้องคดี ตามโฉนดเลขที่ ๒๒๒๙๗, ๒๒๒๙๘, ๒๒๒๙๙ และ ๒๒๓๐๐ ได้ถูกเวนคืนบางส่วนเพื่อสร้าง เป็นทางหลวงตามที่ผู้ฟ้องคดีกล่าวอ้างหรือเป็นที่ดินสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมือง ใช้ร่วมกัน คดีนี้จึงเป็นการฟ้องขอให้ศาลมีคำพิพากษารับรองคุ้มครองสิทธิในที่ดินของผู้ฟ้องคดี อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๔๖/๒๕๖๒ คดีที่วัดในพระพุทธศาสนายื่นฟ้องผู้ถูกฟ้องคดี ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ อ้างว่า ผู้ถูกฟ้องคดี นำที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. ๓ ก.) ซึ่งเป็นสมบัติของผู้ฟ้องคดีไปขึ้นทะเบียน เป็นที่ราชพัสดุโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ขอให้เพิกถอนการขึ้นทะเบียนที่ราชพัสดุ เห็นว่า แม้เหตุ แห่งการฟ้องคดีนี้สืบเนื่องมาจากการที่ผู้ถูกฟ้องคดีขึ้นทะเบียนที่ราชพัสดุ อันมีผลเป็นการรับรอง คดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน


คดีพิพาทที่อยู่ในเขตอำนาจ ของศาลยุติธรรม รวมย่อคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่น่าสนใจ พ.ศ. ๒๕๕๖ - ๒๕๖๕ 35 สถานะของที่ดินและการกำหนดอาณาเขตของที่ดินว่า เป็นที่ราชพัสดุทับที่ดินตามหนังสือรับรอง การทำประโยชน์ (น.ส. ๓ ก) ของผู้ฟ้องคดี โดยผู้ฟ้องคดีมีคำขอหลักให้ศาลเพิกถอนการขึ้นทะเบียน ที่ราชพัสดุ อันเป็นกรณีโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน ทั้งความมุ่งหมายของผู้ฟ้องคดีที่ฟ้องต่อศาล ก็เพื่อให้ศาลรับรองคุ้มครองสิทธิในที่ดินของผู้ฟ้องคดี การที่ศาลจะมีคำพิพากษาหรือคำสั่งตามคำขอ ของผู้ฟ้องคดีได้นั้น ศาลจำต้องพิจารณาให้ได้ความเสียก่อนว่าที่ดินพิพาท ผู้ฟ้องคดีเป็นผู้มีสิทธิ ครอบครองตามที่กล่าวอ้างหรือเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินโดยเฉพาะอันเป็นที่ราชพัสดุ เป็นสำคัญ แล้วจึงจะพิจารณาประเด็นอื่นได้ต่อไป จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน อันอยู่ในอำนาจ พิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๔๕/๒๕๖๒ คดีนี้ผู้ฟ้องคดีเป็นเอกชนยื่นฟ้องกรมที่ดิน ที่ ๑ และเจ้าพนักงานที่ดิน ที่ ๒ ผู้ถูกฟ้องคดี ขอให้ศาลพิพากษาหรือมีคำสั่งให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ร่วมกับผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ดำเนินการตรวจสอบ การดำเนินการรังวัดแบ่งแยกที่ดินโฉนดและเพิกถอนรายการรังวัดแบ่งแยกโฉนดที่พิพาทหรือสั่งให้แก้ไข รายการจดทะเบียนในเอกสารสิทธิที่ดินให้ถูกต้อง แม้ผู้ฟ้องคดีจะขอให้ศาลพิพากษาหรือมีคำสั่ง ให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ร่วมกับผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ตรวจสอบการรังวัดแบ่งแยกที่ดินและเพิกถอนรายการ รังวัดแบ่งแยกโฉนดที่พิพาทหรือสั่งให้แก้ไขรายการจดทะเบียนในเอกสารสิทธิที่ดิน แต่การที่ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ จะเพิกถอนคำสั่งดังกล่าวให้แก่ผู้ฟ้องคดีหรือไม่นั้น ต้องเป็นไปตามผลของอำนาจ แห่งสิทธินั้น ๆ ว่าที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ฟ้องคดี จากนั้น ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ จึงจะสามารถ ดำเนินการต่อไปได้ การกระทำของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ เป็นเพียงกรณีที่ต้องดำเนินการเพื่อให้เป็นไป ตามเงื่อนไขแห่งสิทธิในที่ดินที่ถูกต้องแท้จริงของเอกชนเช่นเดียวกัน เมื่อเหตุแห่งการฟ้องคดีนี้ สืบเนื่องมาจากผู้ฟ้องคดีกล่าวอ้างว่าเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยชอบด้วยกฎหมาย และขอให้ศาลพิพากษาหรือมีคำสั่งให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ร่วมกับผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ดำเนินการตรวจสอบ การรังวัดแบ่งแยกที่ดิน และเพิกถอนรายการรังวัดแบ่งแยกโฉนดที่พิพาทหรือสั่งให้แก้ไขรายการ จดทะเบียนในเอกสารสิทธิที่ดิน โดยอ้างเหตุผู้มีชื่อปลอมหนังสือมอบอำนาจรับรองแนวเขตที่ดินพิพาท ซึ่งเป็นเหตุให้ที่ดินของผู้ฟ้องคดีขาดหายไป ๑ ไร่เศษ ทั้งความมุ่งหมายของผู้ฟ้องคดีในการใช้สิทธิ ทางศาล ก็เพื่อให้ศาลมีคำพิพากษารับรองคุ้มครองกรรมสิทธิ์ในที่ดินของผู้ฟ้องคดีตามที่กล่าวอ้างว่า ตนมีกรรมสิทธิ์เป็นสำคัญ การที่ศาลจะมีคำพิพากษาหรือคำสั่งตามคำขอของผู้ฟ้องคดีได้นั้น ศาลจำต้องพิจารณาให้ได้ความเสียก่อนว่าที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ฟ้องคดีหรือเป็นกรรมสิทธิ์ ของผู้มีชื่อ คดีนี้จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม คดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน


36 คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๔๒/๒๕๖๒ การที่เจ้าหน้าที่ของรัฐหรือหน่วยงานทางปกครองคัดค้านการรังวัดสอบเขตที่ดินของผู้ฟ้องคดี เป็นเพียงการใช้สิทธิของเจ้าของที่ดินข้างเคียงเช่นเดียวกับเอกชนทั่วไปในการระวังแนวเขตที่ดิน อันเนื่องมาจากมีการขอรังวัดสอบเขตที่ดินของผู้ฟ้องคดีตามมาตรา ๖๙ ทวิ แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน เพื่อมิให้ผู้ฟ้องคดีซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินติดกันรังวัดสอบเขตที่ดินของตนรุกล้ำเข้ามาในแนวเขตที่ดิน สาธารณะ การคัดค้านการรังวัดที่ดินของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ จึงมิใช่การใช้อำนาจ ตามกฎหมายซึ่งจะเข้าลักษณะคดีพิพาท ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๑) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้ง ศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ เมื่อผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ คัดค้านการรังวัดที่ดิน ของผู้ฟ้องคดีโดยอ้างว่าผู้ฟ้องคดีรังวัดรุกล้ำเข้ามาในที่ดินสาธารณประโยชน์ แต่ผู้ฟ้องคดียืนยันว่า ที่ดินพิพาทเป็นส่วนหนึ่งในที่ดินมีโฉนดของผู้ฟ้องคดี กรณีจึงเป็นข้อพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน ที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๒๙ - ๓๐/๒๕๖๒ คดีที่เอกชนยื่นฟ้องกรมที่ดิน ที่ ๑ อธิบดีกรมที่ดิน ที่ ๒ เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดเชียงใหม่ สาขาฝาง ที่ ๓ ผู้ถูกฟ้องคดี ซึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครอง และเจ้าหน้าที่ของรัฐ อ้างว่า ผู้ฟ้องคดี เป็นผู้ซื้อที่ดิน น.ส. ๓ ก. จากการขายทอดตลาดของสำนักงานบังคับคดีจังหวัดเชียงใหม่ สาขาฝาง เมื่อนำ น.ส. ๓ ก. ดังกล่าวไปขอรังวัดเพื่อออกโฉนดที่ดิน ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๔ ซึ่งเป็นเอกชนได้คัดค้าน การรังวัด ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ จึงสอบสวนเปรียบเทียบและมีคำสั่งงดออกโฉนดที่ดินให้แก่ผู้ฟ้องคดี ขอให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งเพิกถอนคำสั่งดังกล่าว และออกโฉนดที่ดินให้แก่ผู้ฟ้องคดี หากศาล เห็นว่าคำสั่งดังกล่าวชอบด้วยกฎหมายขอให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ที่ ๒ และที่ ๓ ร่วมกันหรือแทนกันชำระ ค่าเสียหายให้แก่ผู้ฟ้องคดี เห็นว่า ข้อพิพาทในคดีนี้เกิดขึ้นเนื่องจากผู้ฟ้องคดียื่นคำร้องขอออกโฉนดที่ดิน ต่อผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ เมื่อทำการรังวัดผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๔ ยื่นคำคัดค้านการรังวัดอ้างว่าเป็นผู้ครอบครอง และทำประโยชน์ในที่ดินพิพาท กรณีจึงเป็นการโต้แย้งสิทธิในที่ดินซึ่งผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ มีอำนาจ ตามมาตรา ๖๐ แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน สอบสวนเปรียบเทียบและพิจารณาสั่งการไปตามที่เห็นสมควร โดยผู้ถูกฟ้องคดี ที่ ๓ เห็นว่าผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๔ มีสิทธิในที่ดินพิพาทดีกว่า จึงมีคำสั่งให้งดออกโฉนดที่ดิน ให้แก่ผู้ฟ้องคดี แม้จะเป็นกรณีที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ใช้อำนาจตามกฎหมายที่มีผลกระทบต่อสิทธิ ของผู้ฟ้องคดี แต่เมื่อการวินิจฉัยสั่งการตามบทบัญญัตินี้ เป็นกรณีการโต้แย้งสิทธิในที่ดินที่ขอออก โฉนดที่ดิน โดยวรรคสองของมาตราดังกล่าวบัญญัติให้ฝ่ายที่ไม่พอใจคำสั่งของเจ้าพนักงานที่ดิน ดำเนินการฟ้องต่อศาลภายในกำหนดหกสิบวันนับแต่วันทราบคำสั่ง เมื่อผู้ฟ้องคดีนำคดีมาฟ้องต่อศาล ขอให้เพิกถอนคำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดี ที่ ๓ ที่งดออกโฉนดที่ดินให้แก่ผู้ฟ้องคดี โดยอ้างว่าที่ดินพิพาท เป็นของผู้ฟ้องคดีไม่ใช่ของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๔ และมีคำขอประการสำคัญ คือให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ออกโฉนด ที่ดินให้แก่ผู้ฟ้องคดี ซึ่งไม่ว่าศาลจะวินิจฉัยว่าที่ดินพิพาทเป็นของผู้ฟ้องคดีหรือผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๔ ย่อมกระทบต่อสิทธิในทางทรัพย์สินของเอกชนทั้งสองฝ่าย กรณีจึงเป็นข้อพิพาทระหว่างเอกชน คดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน


คดีพิพาทที่อยู่ในเขตอำนาจ ของศาลยุติธรรม รวมย่อคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่น่าสนใจ พ.ศ. ๒๕๕๖ - ๒๕๖๕ 37 กับเอกชนด้วยกัน โดยต่างฝ่ายต่างต้องพิสูจน์การได้มาซึ่งสิทธิในที่ดินเป็นสำคัญ เนื้อหาตามคำฟ้อง ของผู้ฟ้องคดีจึงมิใช่การขอให้ศาลตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายของการกระทำของฝ่ายปกครอง แต่เป็นกรณีที่ขอให้ศาลมีคำพิพากษาคุ้มครองและรับรองสิทธิในที่ดินของผู้ฟ้องคดี จึงเป็นคดีพิพาท เกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน ทั้งผู้ฟ้องคดีเป็นผู้ซื้อที่ดินจากการขายทอดตลาดตามการบังคับคดีของศาลยุติธรรม จึงเป็นคดีที่ต่อเนื่องมาจากการบังคับคดีตามคำพิพากษาของศาลยุติธรรม คดีนี้จึงอยู่ในอำนาจพิจารณา พิพากษาของศาลยุติธรรม คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๑๙/๒๕๖๒ การฟ้องคดีเพื่อให้หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐรับผิดจากการกระทำละเมิด ซึ่งจะอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ต้องเป็นกรณีที่ผู้ถูกฟ้องคดีหรือจำเลย ซึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำละเมิดต่อผู้ฟ้องคดีหรือโจทก์ อันเนื่องมาจาก การใช้อำนาจตามกฎหมายหรือจากกฎ คำสั่งทางปกครองหรือคำสั่งอื่น หรือจากการละเลยต่อหน้าที่ ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร แม้องค์การบริหาร ส่วนตำบลหนองมะแซว ซึ่งเป็นราชการส่วนท้องถิ่น จะมีฐานะเป็นหน่วยงานทางปกครอง ตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ แต่เหตุแห่งการฟ้องคดี ผู้ฟ้องคดีกล่าวอ้างว่า ผู้ถูกฟ้องคดีกระทำละเมิดต่อผู้ฟ้องคดีโดยการบุกรุกเข้ามาในที่ดินของผู้ฟ้องคดี โดยการนำรถไถเกลี่ยดินและปักเสาหลักเขตไม้ขยายทางสาธารณประโยชน์ โดยไม่ได้รับความยินยอม จากผู้ฟ้องคดี ซึ่งการกระทำละเมิดตามฟ้องดังกล่าวมิได้เกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมายของ หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ อันจะเข้าหลักเกณฑ์ของมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ที่จะอยู่ในอำนาจ พิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง ทั้งการที่จะวินิจฉัยว่าผู้ถูกฟ้องคดีกระทำละเมิดต่อผู้ฟ้องคดี หรือไม่ เป็นเพียงผลของการวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับสิทธิในที่ดินพิพาทระหว่างผู้ฟ้องคดีกับผู้ถูกฟ้องคดี ซึ่งหากศาลวินิจฉัยว่าที่ดินพิพาทเป็นของผู้ฟ้องคดี การที่ผู้ถูกฟ้องคดีกระทำการดังกล่าวโดยไม่ได้รับ ความยินยอมจากผู้ฟ้องคดีก็เป็นการกระทำละเมิดต่อผู้ฟ้องคดี แต่หากที่ดินพิพาทเป็นสาธารณสมบัติ ของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน จะเป็นผลให้ผู้ถูกฟ้องคดีมีอำนาจเข้าไปดำเนินการตามโครงการ ที่ได้รับการอนุมัติให้บูรณะทางสาธารณประโยชน์ โดยนำรถไถเกลี่ยดินและปักเสาหลักเขตไม้ ขยายทางสาธารณประโยชน์ได้โดยไม่เป็นละเมิดต่อผู้ฟ้องคดี ซึ่งเป็นข้อพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน ดังนั้น ข้อพิพาทในคดีนี้จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดและสิทธิในที่ดินที่อยู่ในอำนาจ พิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม คดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน


38 คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๑๗๗/๒๕๖๑ คดีนี้ผู้ฟ้องคดีทั้งสองเป็นเอกชน ยื่นฟ้องเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดขอนแก่น ที่ ๑ กรมที่ดิน ที่ ๒ ผู้ถูกฟ้องคดี ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐและหน่วยงานทางปกครอง อ้างว่า ผู้ฟ้องคดีทั้งสองเป็น เจ้าของโฉนดที่ดินเลขที่ ๕๐๗๒๓ ที่ดินโฉนดของผู้ร้องสอด มีเนื้อที่รุกล้ำเข้ามาในที่ดินของผู้ฟ้องคดี ทั้งสอง ขอให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งเพิกถอนโฉนดที่ดินของผู้ร้องสอดในส่วนที่ออกทับโฉนดที่ดิน ของผู้ฟ้องคดี และชดใช้ค่าเสียหายพร้อมดอกเบี้ย ส่วนผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองและผู้ร้องสอดให้การ ทำนองเดียวกันว่า โฉนดที่ดินเลขที่ ๓๑๓๐ เดิมเป็นของผู้มีชื่อได้แบ่งแยกในนามเดิมเป็นโฉนด เลขที่ ๑๑๓๔๑ และ ๑๑๓๔๒ ผู้ร้องสอดได้กรรมสิทธิ์โฉนดเลขที่ ๑๑๓๔๒ โดยซื้อมาจากบรรษัท บริหารสินทรัพย์ไทย ส่วนโฉนดเลขที่ ๑๑๓๔๑ ได้จดทะเบียนโอนมรดกและแบ่งแยกออกมาเป็น โฉนดที่ดินเลขที่ ๕๐๗๒๓ กระบวนการแบ่งแยกโฉนดที่ดินชอบด้วยระเบียบกฎหมาย อีกทั้งเกิดก่อน ที่ผู้ฟ้องคดีทั้งสองจะซื้อที่ดินมาจากเจ้าของที่ดินเดิมและเป็นผู้นำรังวัดแบ่งแยกที่ดินแปลงพิพาทไว้ โดยไม่มีผู้ใดคัดค้านแนวเขตที่ดิน ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองได้ดำเนินการไปตามอำนาจ ถูกต้องตามระเบียบ ขั้นตอนและวิธีการโดยชอบด้วยกฎหมาย เห็นว่า แม้ผู้ฟ้องคดีทั้งสองจะขอให้เพิกถอนโฉนดที่ดินพิพาท แต่การที่ศาลปกครองขอนแก่นจะกำหนดให้มีคำบังคับตามคำขอต่าง ๆ ดังกล่าวได้หรือไม่ จะต้อง พิจารณาพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๗๒ ประกอบด้วย การที่ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองจะเพิกถอนโฉนดที่ดินแปลงพิพาทหรือไม่นั้น ต้องเป็นไป ตามอำนาจแห่งสิทธิของเอกชนในที่ดินแปลงนั้น ๆ ซึ่งในกรณีคดีนี้การที่ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสอง จะดำเนินการตามคำขอของผู้ฟ้องคดีทั้งสองได้หรือไม่ ก็ต้องเป็นไปตามผลของอำนาจแห่งสิทธินั้น ๆ ว่าผู้ฟ้องคดีทั้งสองหรือผู้ร้องสอดเป็นผู้มีสิทธิในที่ดินส่วนที่พิพาท จากนั้น ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองจึงจะ สามารถดำเนินการต่อไปได้ การกระทำของผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองเป็นเพียงกรณีที่ต้องดำเนินการ เพื่อให้เป็นไปตามเงื่อนไขแห่งสิทธิในที่ดินที่ถูกต้องแท้จริงของเอกชนแต่ละรายเท่านั้น ดังนั้น การเพิกถอนโฉนดที่ดินต้องดำเนินการไปตามอำนาจแห่งสิทธิของเอกชนนั้นเช่นเดียวกัน เมื่อเหตุ แห่งการฟ้องคดีนี้สืบเนื่องมาจากผู้ฟ้องคดีทั้งสองกล่าวอ้างว่าที่ดินของผู้ร้องสอดรุกล้ำที่ดินของผู้ฟ้องคดี ทั้งสองและขอให้เพิกถอนโฉนดที่ดินพิพาท โดยมิได้อ้างเหตุแห่งความไม่ชอบด้วยกฎหมาย ในการออกโฉนดที่ดินประการอื่น จึงเป็นการโต้แย้งเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในที่ดินระหว่างเอกชนกับ เอกชนด้วยกัน ทั้งความมุ่งหมายของผู้ฟ้องคดีทั้งสองในการใช้สิทธิทางศาล ก็เพื่อให้ศาลมีคำพิพากษา รับรองคุ้มครองสิทธิในที่ดินของผู้ฟ้องคดีทั้งสองตามที่กล่าวอ้างว่าตนมีกรรมสิทธิ์เป็นสำคัญ การที่ศาล จะมีคำพิพากษาหรือคำสั่งตามคำขอของผู้ฟ้องคดีทั้งสองได้นั้น ศาลจำต้องพิจารณาให้ได้ความเสียก่อน ว่าที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ฟ้องคดีทั้งสองหรือเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้องสอด คดีนี้จึงเป็น คดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม คดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน


คดีพิพาทที่อยู่ในเขตอำนาจ ของศาลยุติธรรม รวมย่อคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่น่าสนใจ พ.ศ. ๒๕๕๖ - ๒๕๖๕ 39 คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๑๓๖/๒๕๖๑ คดีที่เอกชนยื่นฟ้องเจ้าหน้าที่ของรัฐ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และที่ ๒ และเอกชนด้วยกัน เป็นผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ โดยอ้างว่า ผู้ฟ้องคดีเป็นผู้ครอบครองและทำประโยชน์ที่ดินตามหลักฐาน แบบแจ้งการครอบครองที่ดิน (ส.ค. ๑) เลขที่ ๔๔ โดยครอบครองที่ดินแปลงดังกล่าวต่อจากบิดา ของผู้ฟ้องคดี มาตั้งแต่ปี ๒๕๑๕ จนถึงปัจจุบัน โดยไม่มีผู้ใดโต้แย้งการครอบครองหรือเข้าครอบครอง เมื่อผู้ฟ้องคดีได้นำแบบแจ้งการครอบครองที่ดิน (ส.ค. ๑) เป็นหลักฐานในการยื่นคำขอออกโฉนดที่ดิน ต่อเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดสุรินทร์ สาขาชุมพลบุรี ทำให้ทราบว่า นาง ส. แจ้งข้อความอันเป็นเท็จ ต่อเจ้าพนักงานปฏิรูปที่ดินว่าได้เข้าครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินของผู้ฟ้องคดี จนมีการออกหนังสือ อนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดิน (ส.ป.ก. ๔-๐๑) เลขที่ ๑๕๕๕ ให้แก่นาง ส. ทับที่ดิน ส.ค. ๑ ที่ผู้ฟ้องคดีครอบครองทำประโยชน์อยู่ทั้งแปลง เมื่อ นาง ส. เสียชีวิต ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ได้อนุญาต ให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ซึ่งเป็นหลานของนาง ส. เข้าทำประโยชน์ในที่ดินแปลงพิพาท อันเป็นการไม่ชอบ ด้วยกฎหมาย ขอให้ศาลพิพากษาหรือมีคำสั่งให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และที่ ๒ เพิกถอนหนังสืออนุญาต ให้เข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดิน (ส.ป.ก. ๔-๐๑) เลขที่ ๑๕๕๕ ซึ่งออกทับที่ดิน ส.ค. ๑ ที่ผู้ฟ้องคดี ครอบครอง ส่วนผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และที่ ๒ ให้การโดยสรุปว่า การจัดที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดินจังหวัดสุรินทร์ ฉบับพิพาทได้ดำเนินการตามกระบวนการและขั้นตอนตามกฎหมายและระเบียบที่ ส.ป.ก. กำหนดแล้ว และผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ให้การว่า ได้ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินตามหนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ ในเขตปฏิรูปที่ดิน (ส.ป.ก. ๔-๐๑) ฉบับดังกล่าวตลอดมา เห็นว่า แม้คดีมีประเด็นเกี่ยวข้องกับ การใช้อำนาจของเจ้าหน้าที่ของรัฐในการออกคำสั่งที่มีผลกระทบต่อสิทธิของผู้ฟ้องคดีและผู้ฟ้องคดี ได้กล่าวอ้างถึงการที่ผู้ฟ้องคดีมีหนังสือรวมสองฉบับร้องขอให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ เพิกถอนหนังสืออนุญาต ให้เข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดิน (ส.ป.ก. ๔-๐๑) ฉบับพิพาท แต่การที่ผู้ฟ้องคดีบรรยายฟ้อง ยืนยันสิทธิในที่ดินพิพาท โดยกล่าวอ้างว่าการออกหนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูป ที่ดิน (ส.ป.ก. ๔-๐๑) เลขที่ ๑๕๕๕ เป็นการออกทับที่ดินของผู้ฟ้องคดีและมีคำขอให้ศาลมีคำสั่งให้ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และที่ ๒ ดำเนินการเพิกถอนหนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดิน (ส.ป.ก. ๔-๐๑) ดังกล่าว ประเด็นสำคัญที่ต้องวินิจฉัยจึงมีว่าผู้ฟ้องคดีเป็นผู้มีสิทธิครอบครองในที่ดิน พิพาทหรือไม่ แล้วจึงจะพิจารณาวินิจฉัยประเด็นอื่นได้ต่อไป ประกอบกับเมื่อพิจารณาความมุ่งหมาย ของผู้ฟ้องคดีในการใช้สิทธิทางศาลก็เพื่อให้ศาลมีคำพิพากษารับรองคุ้มครองสิทธิและพิสูจน์สิทธิ ในที่ดินของตนเป็นสำคัญ กรณีจึงเป็นคดีเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษา ของศาลยุติธรรม คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๕๖/๒๕๖๑ คดีนี้ แม้ผู้ถูกฟ้องคดีจะเป็นหน่วยงานทางปกครองก็ตาม แต่ตามคำฟ้องผู้ฟ้องคดีอ้างว่า บิดาของผู้ฟ้องคดีเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดิน ส.ค. ๑ ได้ทำสัญญากู้ยืมเงินจากผู้ร้องสอดที่ ๑ และยินยอมให้ผู้ร้องสอดที่ ๑ ทำนาในที่ดินแปลงพิพาทแทนดอกเบี้ยเพื่อเป็นการต่างตอบแทน คดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน


40 เมื่อบิดาของผู้ฟ้องคดีถึงแก่ความตาย ผู้ฟ้องคดีในฐานะทายาทโดยธรรมมีความประสงค์จะไถ่ถอน ที่ดินพิพาทคืน แต่ผู้ร้องสอดที่ ๑ แจ้งว่าบิดาของผู้ฟ้องคดีได้ขายที่ดินพิพาทให้แก่ผู้ร้องสอดที่ ๑ แล้ว ต่อมาผู้ถูกฟ้องคดีได้ออก ส.ป.ก. ๔ - ๐๑ ข เลขที่ ๑๔๔๗๘ ให้แก่ผู้ร้องสอดที่ ๒ ทับที่ดินพิพาท อันไม่ชอบด้วยกฎหมาย ขอให้ศาลมีคำพิพากษาหรือมีคำสั่งเพิกถอน ส.ป.ก. ๔ - ๐๑ ข เลขที่ ๑๔๔๗๘ ส่วนผู้ถูกฟ้องคดีให้การว่า ผู้ถูกฟ้องคดีได้ดำเนินการโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว ขอให้ยกฟ้อง ผู้ร้องสอดที่ ๑ ให้การว่า ผู้ร้องสอดที่ ๑ เป็นผู้รับโอนสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทมาจากบิดา ของผู้ฟ้องคดีโดยการซื้อขายและได้ครอบครองเพื่อตนเองโดยสุจริต จึงชอบด้วยกฎหมาย ผู้ฟ้องคดี จึงไม่มีสิทธิในที่ดินพิพาท ผู้ร้องสอดที่ ๒ ให้การว่า ผู้ร้องสอดที่ ๑ ได้โอนสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท ให้แก่ผู้ร้องสอดที่ ๒ เพื่อเป็นการต่างตอบแทนที่ผู้ร้องสอดที่ ๒ ชำระหนี้ให้แก่บุคคลภายนอก แทนผู้ร้องสอดที่ ๑ โดยมิได้มีการรุกล้ำที่ดินของบุคคลอื่นแต่อย่างใด เห็นว่า แม้คดีมีประเด็นเกี่ยวข้อง กับการออกคำสั่งของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งมีผลกระทบต่อสิทธิของผู้ฟ้องคดี ประเด็นสำคัญที่ต้อง วินิจฉัยในคดีนี้จึงอยู่ที่ว่า ผู้ฟ้องคดีหรือผู้ร้องสอดที่ ๒ ใครเป็นผู้มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท และการที่ศาลจะพิพากษาตามคำขอของผู้ฟ้องคดีได้นั้น จะต้องพิจารณาให้ได้ความเสียก่อนว่า ที่ดินพิพาทผู้ฟ้องคดีเป็นผู้มีสิทธิครอบครองหรือไม่เป็นสำคัญแล้วจึงจะพิจารณาประเด็นอื่นต่อไป จึงเป็นคดีเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน อยู่ในอำนาจของศาลยุติธรรม คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๑๘๑/๒๕๖๐ คดีที่โจทก์เป็นเอกชนยื่นฟ้องกรมทางหลวง ที่ ๑ อธิบดีกรมทางหลวง ที่ ๒ จำเลย ซึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครองและเจ้าหน้าที่ของรัฐ อ้างว่า โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินมีโฉนดซึ่งซื้อมา จากสถาบันการเงินได้รับความเดือดร้อนเสียหายจากการถูกจำเลยทั้งสองสร้างทางหลวงแผ่นดิน ทับทั้งแปลง ขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันชดใช้ค่าเสียหาย จำเลยทั้งสองให้การว่า มิได้กระทำ ละเมิด ที่ดินแปลงพิพาทแบ่งแยกมาจากโฉนดที่ดินของผู้มีชื่อ ซึ่งได้เวนคืนแล้วทั้งแปลง เพื่อสร้าง ทางหลวงแผ่นดิน โดยสร้างเสร็จตั้งแต่ปี ๒๕๓๗ ผู้มีชื่อไม่เคยโต้แย้งเกี่ยวกับการเวนคืนที่ดินแปลงพิพาท ถือเป็นการแสดงเจตนาสละการใช้ประโยชน์ในที่ดินของตนให้เป็นทางสาธารณะ ที่ดินแปลงพิพาท ที่โจทก์ซื้อมาเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าที่ดิน หรือค่าเสียหาย เห็นว่า คดีพิพาทเกี่ยวกับความรับผิดอย่างอื่นของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ นั้น เป็นหลักกฎหมายเกี่ยวกับความรับผิดของรัฐโดยปราศจากความผิด ซึ่งมีเจตนารมณ์ในการคุ้มครอง และเยียวยาความเสียหายให้แก่เอกชนจากการใช้อำนาจของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ ของรัฐ อันเนื่องมาจากการดำเนินกิจการทางปกครองหรือบริการสาธารณะแล้วก่อให้เกิดความเสียหาย แก่ประชาชนเป็นพิเศษ แม้จะเป็นการกระทำโดยชอบด้วยกฎหมายก็ตาม ซึ่งการใช้อำนาจตามกฎหมาย ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐเพื่อจัดให้มี สิ่งสาธารณูปโภคอันเป็นการจัดทำบริการสาธารณะก่อให้เกิดภาระสาธารณะที่ไม่เสมอภาคต่อเจ้าของ คดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน


Click to View FlipBook Version