คำพิพากษา/คำสั่งที่ถึงที่สุด ระหว่างศาลขัดแย้งกัน รวมย่อคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่น่าสนใจ พ.ศ. ๒๕๕๖ - ๒๕๖๕ 291 ให้ยกคำร้อง เนื่องจากเป็นกรณีผู้ร้องใช้สิทธิดำเนินการตามมาตรา ๕๕ แห่งพระราชบัญญัติ การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๖๒ ที่ไม่ได้บัญญัติให้สิทธิผู้ร้อง ยื่นคำร้องอุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการการเลือกตั้งต่อศาลอุทธรณ์หรือศาลอุทธรณ์ภาค ที่มีเขตอำนาจดังเช่นกรณีคณะกรรมการการเลือกตั้งมีคำวินิจฉัยให้ถอนรายชื่อออกจากรายชื่อผู้สมัคร เพราะเหตุไม่มีสิทธิรับเลือกตั้งตามพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๖๒ มาตรา ๕๖ ผู้ร้องจึงนำคดีเรื่องเดียวกันนี้ไปฟ้องต่อศาลปกครอง ศาลปกครองสูงสุด มีคำสั่งที่ คร. ๔๖๓/๒๕๖๔ ยืนตามคำสั่งศาลปกครองชั้นต้น ไม่รับคำฟ้องไว้พิจารณา โดยวินิจฉัยว่า การที่ผู้ฟ้องคดี (ผู้ร้อง) ยื่นฟ้องคดีนี้ต่อศาลปกครอง โดยมีเจตนาโต้แย้งคัดค้านคำวินิจฉัยคณะกรรมการ การเลือกตั้งเป็นกรณีที่มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะให้อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม ดังนี้ คณะกรรมการเห็นว่ากรณีไม่อาจถือว่าคำสั่งศาลอุทธรณ์ภาค ๗ คดีหมายเลขแดงที่ ลต ๑/๒๕๖๔ ขัดแย้งกับคำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ คร. ๔๖๓/๒๕๖๔ เนื่องจากศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งไม่รับคำฟ้อง ของผู้ร้องไว้พิจารณาด้วยเหตุที่คดีอุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการการเลือกตั้งตามพระราชบัญญัติ การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๖๒ เป็นคดีที่อยู่ในอำนาจศาลยุติธรรม ส่วนคำสั่งศาลอุทธรณ์ภาค ๗ มิได้ปฏิเสธเขตอำนาจศาลยุติธรรมในการพิจารณาคดีตามพระราชบัญญัติ การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๖๒ หากแต่มีคำสั่งยกคำร้องของผู้ร้อง ด้วยเหตุผู้ร้องไม่มีสิทธิยื่นคำร้องนี้ต่อศาลอุทธรณ์ภาค ๗ เนื่องจากมาตรา ๕๕ แห่งพระราชบัญญัติ การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๖๒ ไม่ได้บัญญัติให้สิทธิยื่นอุทธรณ์ คำวินิจฉัยของคณะกรรมการการเลือกตั้ง จึงมีคำสั่งให้ยกคำร้อง คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล (คำสั่ง) ที่ ๑๕/๒๕๖๕ การยื่นคำร้องขอให้คณะกรรมการวินิจฉัยเกี่ยวกับการปฏิบัติตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง ที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกันตามมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจ หน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ นั้น ต้องเป็นกรณีที่คำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาล สองศาลขัดแย้งกันจนเป็นเหตุให้คู่ความหรือบุคคลซึ่งได้รับผลกระทบโดยตรงจากคำพิพากษา หรือคำสั่งนั้น ไม่อาจปฏิบัติตามคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดนั้นได้ เนื่องจากในกรณีที่ศาลได้มี คำพิพากษาหรือคำสั่งถึงที่สุดแล้ว คำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดนั้นย่อมบังคับได้ตามกฎหมาย โดยมีผลผูกพันคู่ความให้ต้องปฏิบัติตามข้อความและผลแห่งคำพิพากษานั้น ตามคำร้องนี้แม้คดีที่ผู้ร้อง ถูกศาลปกครองชั้นต้นมีคำสั่งเรียกให้เข้ามาในคดีเป็นผู้ร้องสอดในฐานะผู้ถูกฟ้องคดี เป็นเรื่องที่ นาย ส. ฟ้องว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐละเลยต่อหน้าที่ตามที่มีกฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติโดยไม่ดำเนินการ ต่อผู้ร้องกรณีที่คณะกรรมการตรวจสอบการรุกล้ำทางสาธารณประโยชน์ ตรวจสอบพบว่าผู้ร้อง สร้างกำแพงรุกล้ำคูน้ำสาธารณประโยชน์ และนายอำเภอ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ มีคำสั่งให้รื้อถอนรั้ว กำแพงแล้ว แต่ผู้ร้องยังคงเพิกเฉย ส่วนในคดีของศาลยุติธรรม เป็นเรื่องที่ผู้ร้องฟ้องขอให้นาย ส. จำเลย ชดใช้ค่าเสียหายจากการที่นาย ส. กลั่นแกล้งผู้ร้องกับพวกโดยการแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนว่า กรณีให้ยกคำร้องหรือจำหน่ายเรื่องออกจากสารบบความ
292 ผู้ร้องกับพวกบุกรุกที่ดินของจำเลย ซึ่งเจ้าพนักงานรังวัดยืนยันว่า เป็นเหมืองสาธารณประโยชน์ มิใช่ที่ดินของจำเลย ทั้งต่อมายังแจ้งความซ้ำว่าผู้ร้องกับพวกบุกรุกเหมืองสาธารณประโยชน์อันเป็น สถานที่เดียวกัน ซึ่งศาลจังหวัดนครศรีธรรมราชได้มีคำพิพากษาตามยอมตามที่ผู้ร้องกับพวก และนาย ส. จำเลยตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความยอมรับว่าที่ดินเป็นของผู้ร้อง โดยที่ดิน ทางด้านทิศใต้จดเหมืองสาธารณประโยชน์ โดยนาย ส. ไม่ขอโต้แย้งสิทธิใด ๆ และผู้ร้องกับพวก ก็จะไม่ขอโต้แย้งสิทธิใด ๆ ในเหมืองสาธารณประโยชน์อีก โดยขอถือเอารูปแผนที่ที่เจ้าพนักงานที่ดิน จัดทำเป็นอันถูกต้องแนบท้ายสัญญาเป็นส่วนหนึ่งของคำพิพากษาตามยอม ดังนั้น มูลความแห่งคดี ที่ผู้ร้องฟ้องนาย ส. ต่อศาลยุติธรรม จึงเป็นเรื่องที่ผู้ร้องกล่าวหาว่า นาย ส. แจ้งความผู้ร้องกับพวก ต่อพนักงานสอบสวนโดยเจตนากลั่นแกล้งประจานผู้ร้องกับพวก ซึ่งเป็นคนละข้อหากับที่นาย ส. ฟ้องเจ้าหน้าที่ของรัฐต่อศาลปกครอง และภายหลังศาลปกครองชั้นต้นมีคำสั่งเรียกผู้ร้องเข้ามาในคดี แม้จะปรากฏว่าในคดีของศาลปกครอง ศาลปกครองสูงสุดได้วินิจฉัยว่า กำแพงรั้วของผู้ร้องรุกล้ำ คูน้ำสาธารณประโยชน์ ซึ่งผู้ร้องโต้แย้งต่อคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลว่า เป็นการวินิจฉัยข้อเท็จจริงที่ขัดแย้งกับการรังวัดใหม่ตามคำสั่งของศาลศาลยุติธรรม แต่ในคดี ของศาลยุติธรรม ปัญหาว่าผู้ร้องก่อสร้างรั้วกำแพงรุกล้ำคูน้ำสาธารณประโยชน์หรือไม่ ศาลจังหวัด นครศรีธรรมราชมิได้มีคำวินิจฉัยในประเด็นนี้ จึงไม่มีกรณีที่ศาลจังหวัดนครศรีธรรมราชจะวินิจฉัย ข้อเท็จจริงขัดแย้งกับคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด ดังนี้ คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด และคำพิพากษา ตามยอมของศาลจังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งเป็นคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลปกครอง กับศาลยุติธรรมจึงไม่ขัดแย้งกัน จึงมีคำสั่งให้ยกคำร้อง คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล (คำสั่ง) ที่ ๑๔/๒๕๖๕ พระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๔ วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า “ถ้ามีคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกันในคดีที่มีข้อเท็จจริง เป็นเรื่องเดียวกัน จนเป็นเหตุให้คู่ความไม่ได้รับการเยียวยาความเสียหายหรือไม่ได้รับความเป็นธรรม หรือมีความขัดแย้งในเรื่องฐานะหรือความสามารถของบุคคล คู่ความ หรือบุคคลซึ่งได้รับผลกระทบ โดยตรงจากคำพิพากษาหรือคำสั่งดังกล่าวอาจยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการเพื่อขอให้วินิจฉัยเกี่ยวกับ การปฏิบัติตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลดังกล่าวได้ภายในหกสิบวันนับแต่วันที่คำพิพากษา หรือคำสั่งที่ออกภายหลังถึงที่สุด” คดีนี้ศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งไม่รับคำฟ้องของกรมที่ดินที่ยื่นฟ้อง ผู้ร้องไว้พิจารณา เนื่องจากมิใช่คดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดหรือความรับผิดอย่างอื่นของเจ้าหน้าที่ ของรัฐอันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมาย หรือจากกฎ คำสั่งทางปกครอง หรือคำสั่งอื่น หรือ จากการละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ จึงไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง แม้ต่อมากรมที่ดินจะนำข้อเท็จจริง เดียวกันไปยื่นฟ้องผู้ร้องต่อศาลแขวงดอนเมือง ซึ่งเป็นศาลที่มีเขตอำนาจ จนกระทั่งมีคำพิพากษา กรณีให้ยกคำร้องหรือจำหน่ายเรื่องออกจากสารบบความ
คำพิพากษา/คำสั่งที่ถึงที่สุด ระหว่างศาลขัดแย้งกัน รวมย่อคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่น่าสนใจ พ.ศ. ๒๕๕๖ - ๒๕๖๕ 293 ถึงที่สุดตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ พิพากษาให้ผู้ร้องซึ่งเป็นจำเลยในคดีดังกล่าวชำระเงิน พร้อมดอกเบี้ยก็ตาม ก็ไม่อาจถือว่าคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลยุติธรรมกับ ศาลปกครองขัดแย้งกันตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๔ วรรคหนึ่ง เนื่องจากข้อเท็จจริงปรากฏว่าศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งไม่รับฟ้อง คดีนี้ไว้พิจารณา เนื่องจากคดีไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองโดยยังไม่มี คำวินิจฉัยในประเด็นข้อพิพาทแห่งคดี ดังนั้น แม้ต่อมากรมที่ดินนำข้อเท็จจริงในคดีเดียวกันนี้ไปฟ้อง ผู้ร้องต่อศาลแขวงดอนเมืองซึ่งเป็นศาลยุติธรรมและเป็นศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีนี้ จนกระทั่ง ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาถึงที่สุดวินิจฉัยว่า การที่ผู้ร้องเบิกค่าใช้จ่ายและได้รับการอนุมัติจากโจทก์ เป็นการไม่ชอบ จึงพิพากษาให้ผู้ร้องซึ่งเป็นจำเลยชำระเงินพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ซึ่งเป็นการวินิจฉัยชี้ขาด ข้อพิพาทแห่งคดีและแม้ศาลอุทธรณ์จะเห็นว่าการที่โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยคืนเงินที่โจทก์ จ่ายให้แก่จำเลยไปเป็นเรื่องที่โจทก์ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐและเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ใช้สิทธิติดตาม เอาทรัพย์คืนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๓๓๖ ซึ่งไม่มีอายุความ ซึ่งผู้ร้องเห็นว่า เป็นการวินิจฉัยที่ขัดกับคำสั่งศาลปกครองสูงสุด แต่ก็จะเห็นได้ว่า คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ดังกล่าว เป็นการวินิจฉัยในเนื้อหาแห่งคดีซึ่งเป็นประเด็นข้อพิพาทที่ศาลรับฟ้องคดีนี้ย่อมมีอำนาจวินิจฉัยปัญหา ข้อกฎหมายเกี่ยวกับอายุความในคดีนั้นได้ ส่วนคำสั่งศาลปกครองสูงสุดเป็นคำสั่งที่ไม่รับฟ้องไว้ พิจารณาเนื่องจากคดีไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง จึงไม่มีประเด็นในเนื้อหา แห่งคดีใด ๆ ที่ศาลปกครองสูงสุดจำต้องวินิจฉัย ดังนั้น คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ไม่รับคำฟ้องไว้พิจารณา กับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์จึงไม่ขัดแย้งกัน ส่วนที่ผู้ร้องอ้างคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดในคดีอื่น ๆ ว่าเป็นคดีที่มีข้อพิพาทเกี่ยวกับการเบิกค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมหลักสูตรกฎหมายปกครองและ วิธีพิจารณาคดีปกครองตามมาตรฐานที่ ก.ศป. รับรอง รุ่นที่ ๒ รุ่นที่ ๖ และรุ่นที่ ๔ แต่ศาลปกครองสูงสุด รับไว้พิจารณาและพิพากษาแตกต่างจากคดีที่ผู้ร้องถูกฟ้องต่อศาลยุติธรรม ก็เป็นการอ้างว่าคำพิพากษา ที่ถึงที่สุดในคดีอื่นขัดแย้งต่อคำพิพากษาที่ถึงที่สุดในคดีที่ผู้ร้องถูกฟ้อง เมื่อผู้ร้องมิได้เป็นคู่ความ หรือคู่กรณีในคดีดังกล่าว กรณีจึงไม่ใช่การยื่นคำร้องโดยกล่าวอ้างว่าคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุด ระหว่างศาลขัดแย้งกันในคดีที่มีข้อเท็จจริงเป็นเรื่องเดียวกัน จนเป็นเหตุให้คู่ความไม่ได้รับการเยียวยา ความเสียหายหรือไม่ได้รับความเป็นธรรม ตามนัยมาตรา ๑๔ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วย การวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ ซึ่งบทบัญญัติมาตรานี้ให้สิทธิคู่ความ หรือบุคคลซึ่งได้รับผลกระทบโดยตรงจากคำพิพากษาหรือคำสั่งที่มีการนำมูลความแห่งคดี เรื่องเดียวกันไปยื่นฟ้องคดีต่อศาลสองศาลต่างระบบกันและศาลทั้งสองนั้นตัดสินแตกต่างกัน เป็นเหตุให้คู่ความในคดีนั้นไม่อาจปฏิบัติตามคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดนั้นได้ โดยคู่ความ หรือบุคคลที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ขัดกันนั้น อาจยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการ เพื่อขอให้วินิจฉัยเกี่ยวกับการปฏิบัติตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลดังกล่าวได้ ซึ่งมีความหมายว่า คำพิพากษาหรือคำสั่งทั้งสองเรื่องต้องเป็นคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ผู้ร้องเป็นคู่ความหรือเป็นผู้ซึ่งได้รับ ผลกระทบโดยตรงเนื่องจากไม่อาจปฏิบัติตามคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดของทั้งสองเรื่องนั้นได้ กรณีให้ยกคำร้องหรือจำหน่ายเรื่องออกจากสารบบความ
294 เมื่อผู้ร้องมิได้เป็นคู่ความในคดีของศาลปกครองสูงสุดในคดีอื่น ๆ ตามที่กล่าวอ้าง คำร้องของผู้ร้อง จึงไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๔ วรรคหนึ่ง จึงให้ยกคำร้อง * คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล (คำสั่ง) ที่ ๑๓/๒๕๖๕ และ ๘/๒๕๖๕ วินิจฉัย ทำนองเดียวกัน คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล (คำสั่ง) ที่ ๖๔/๒๕๖๔ เมื่อผู้ร้องยื่นคำร้องล่วงพ้นกำหนดระยะเวลาหกสิบวันนับแต่วันที่คำพิพากษาศาลฎีกา ซึ่งเป็นคำพิพากษาที่ออกภายหลังถึงที่สุด ประกอบกับการยื่นคำร้องขอให้ศาลวินิจฉัยตามมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ นั้น จะต้องเป็น กรณีที่คำพิพากษาหรือคำสั่งอันถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกันโดยมีข้อเท็จจริงเป็นเรื่องเดียวกัน กล่าวคือ มูลความแห่งคดีเดียวกัน แต่ได้ยื่นฟ้องต่อศาลสองศาลและศาลทั้งสองศาลนั้นตัดสินต่างกัน จนเป็นเหตุให้คู่ความไม่ได้รับการเยียวยาความเสียหายหรือไม่ได้รับความเป็นธรรมและไม่อาจปฏิบัติ ตามคำพิพากษาที่ถึงที่สุดของทั้งสองศาลได้ เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า คดีของศาลปกครองขอนแก่น และศาลแรงงานภาค ๔ ไม่มีประเด็นวินิจฉัยว่าผู้ร้องเป็น “พนักงาน” ตามบทนิยามความหมาย ของมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. ๒๕๐๒ หรือไม่ ส่วนคำพิพากษาศาลฎีกาวินิจฉัยว่าผู้ร้องเป็น “พนักงาน” ตามบทนิยามความหมาย ในมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. ๒๕๐๒ ประเด็นข้อพิพาทและข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาหรือคำสั่งอันถึงที่สุดระหว่าง ศาลปกครองขอนแก่นและศาลแรงงานภาค ๔ จึงเป็นคนละประเด็นกันกับข้อพิพาทและข้อเท็จจริง ตามคำพิพากษาหรือคำสั่งอันถึงที่สุดของศาลฎีกาและไม่ได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงในเรื่องเดียวกัน จึงไม่มีปัญหาข้อขัดข้องในการปฏิบัติตามคำพิพากษาที่ถึงที่สุดของทั้งสองศาลหรือมีความขัดแย้งกัน ในเรื่องฐานะของบุคคล กรณีตามคำร้องของผู้ร้องจึงมิใช่ปัญหาเกี่ยวกับคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุด ระหว่างศาลขัดแย้งกันในคดีที่มีข้อเท็จจริงเป็นเรื่องเดียวกัน จนเป็นเหตุให้คู่ความไม่ได้รับการเยียวยา ความเสียหายหรือไม่ได้รับความเป็นธรรม อันจะเข้าองค์ประกอบของบทบัญญัติมาตรา ๑๔ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ ที่คณะกรรมการ จะรับคำร้องของผู้ร้องไว้พิจารณาได้ คำร้องของผู้ร้องไม่ชอบด้วยมาตรา ๑๔ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ จึงให้ยกคำร้อง กรณีให้ยกคำร้องหรือจำหน่ายเรื่องออกจากสารบบความ
คำพิพากษา/คำสั่งที่ถึงที่สุด ระหว่างศาลขัดแย้งกัน รวมย่อคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่น่าสนใจ พ.ศ. ๒๕๕๖ - ๒๕๖๕ 295 คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล (คำสั่ง) ที่ ๒๙/๒๕๖๔ เมื่อคดีนี้คำพิพากษาที่ถึงที่สุดของศาลปกครอง ตามคำพิพากษาศาลปกครองนครราชสีมา ถึงที่สุดเมื่อวันที่ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๖ ส่วนคำพิพากษาที่ถึงที่สุดของศาลยุติธรรม ตามคำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ภาค ๓ ถึงที่สุดเมื่อวันที่ ๑๖ มกราคม ๒๕๖๑ การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องนี้เมื่อวันที่ ๑๘ ธันวาคม ๒๕๖๓ จึงเป็นการล่วงพ้นกำหนดระยะเวลาหกสิบวันนับแต่วันที่คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค ๓ ซึ่งเป็นคำพิพากษาที่ออกภายหลังถึงที่สุด ประกอบกับการยื่นคำร้องขอให้ศาลวินิจฉัยตามมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ นั้นจะต้องเป็นกรณี ที่คำพิพากษาหรือคำสั่งอันถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกันโดยมีข้อเท็จจริงเป็นเรื่องเดียวกัน กล่าวคือ มูลความแห่งคดีเดียวกันแต่ได้ยื่นฟ้องต่อศาลสองศาล และศาลทั้งสองศาลนั้นตัดสินต่างกันจนเป็นเหตุ ให้คู่ความไม่ได้รับการเยียวยาความเสียหายหรือไม่ได้รับความเป็นธรรมและไม่อาจปฏิบัติตาม คำพิพากษาที่ถึงที่สุดของทั้งสองศาลได้ เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า คู่ความในคดีที่ถึงที่สุดตามคำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ภาค ๓ และคู่ความในคดีของศาลปกครองนครราชสีมา มิใช่คู่ความรายเดียวกันและ มิใช่คดีที่มีข้อเท็จจริงเดียวกัน โดยประเด็นข้อพิพาทที่ศาลยุติธรรมและศาลปกครองต้องพิจารณานั้น เป็นคนละประเด็นกันและไม่ได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงในเรื่องเดียวกัน ทั้งกรณีไม่มีปัญหาข้อขัดข้อง ในการปฏิบัติตามคำพิพากษาที่ถึงที่สุดของทั้งสองศาล กรณีตามคำร้องของผู้ร้องจึงมิใช่ปัญหาเกี่ยวกับ คำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกันในคดีที่มีข้อเท็จจริงเป็นเรื่องเดียวกัน จนเป็น เหตุให้คู่ความไม่ได้รับการเยียวยาความเสียหาย หรือไม่ได้รับความเป็นธรรม อันจะเข้าองค์ประกอบ ของบทบัญญัติมาตรา ๑๔ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ จึงให้ยกคำร้อง คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล (คำสั่ง) ที่ ๙๓/๒๕๖๓ บทบัญญัติมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มิได้จำกัดเฉพาะคู่ความในคดีเท่านั้นที่จะยื่นคำร้องได้ ทั้งไม่จำต้องเป็นคู่ความเดียวกัน ที่สลับกันเป็นคู่ความแต่ละฝ่ายในแต่ละศาล เมื่อผู้ร้องอ้างว่าไม่ได้รับความเป็นธรรมจากผลของ คำวินิจฉัยที่ศาลต่างระบบรับฟังข้อเท็จจริงที่เป็นการกระทำเดียวกันในข้อเท็จจริงที่เป็นเรื่องเดียวกัน ขัดแย้งกัน ผู้ร้องชอบที่จะยื่นคำร้องได้ ส่วนกำหนดเวลาที่ให้ยื่นคำร้องภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ คำพิพากษาฉบับหลังถึงที่สุด หาใช่อายุความที่จะต้องฟ้องคดีภายในกำหนด แม้ผู้ร้องจะยื่นคำร้อง เมื่อพ้นกำหนดเวลาดังกล่าว เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม คณะกรรมการมีอำนาจรับคำร้อง ของผู้ร้องไว้พิจารณา การที่ศาลแต่ละระบบรับฟังข้อเท็จจริงที่เป็นเรื่องเดียวกันซึ่งอาจแตกต่างกันกระทั่ง ขัดแย้งกันย่อมทำให้ผลของการปรับข้อเท็จจริงเข้ากับข้อกฎหมายนั้นส่งผลให้คำพิพากษาหรือคำสั่ง ของแต่ละศาลขัดแย้งกันไปด้วย การโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแต่ละระบบ เป็นเหตุประการหนึ่งที่ผู้ร้องจักแสดงให้เห็นว่ามีความขัดแย้งกันในข้อเท็จจริงที่เป็นเรื่องเดียวกัน กรณีให้ยกคำร้องหรือจำหน่ายเรื่องออกจากสารบบความ
296 การที่ผู้ร้องอ้างเหตุที่แม้จะเป็นการโต้แย้งการใช้ดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐาน ก็มิใช่ข้อจำกัด ที่จะเป็นเหตุให้เป็นคำร้องที่ไม่ชอบ ผู้ร้องยื่นคำร้องว่า ได้รับผลกระทบจากคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด หมายเลขแดง ที่ อ.๔๙๐/๒๕๖๐ ซึ่งขัดแย้งกับคำพิพากษาศาลอาญา หมายเลขแดงที่ อ. ๗๙๖/๒๕๕๙ (ต่อมาโอนมา เป็นคำพิพากษาศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง หมายเลขแดงที่ อท. (ผ) ๓๕/๒๕๕๙) ในคดีที่มีข้อเท็จจริงเป็นเรื่องเดียวกัน โดยเหตุสืบเนื่องจากการที่สำนักงานศาลยุติธรรมมีคำสั่งลงโทษ ไล่ผู้ร้องออกจากราชการ ฐานประมาทเลินเล่อในการปฏิบัติหน้าที่เป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการ อย่างร้ายแรง ตามมาตรา ๘๔ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕ และฐานทุจริตต่อหน้าที่ราชการตามมาตรา ๘๒ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕ การที่ศาลยุติธรรมวินิจฉัยข้อเท็จจริงว่า ผู้ร้องไม่มีพฤติการณ์เป็นการปฏิบัติหน้าที่ โดยมิชอบเพื่อให้ตนหรือผู้อื่นได้รับประโยชน์ที่มิควรและไม่ได้เป็นผู้ปลอมเอกสารราชการตามฟ้อง พิพากษายกฟ้องทุกข้อหา คดีถึงที่สุด กับการที่ศาลปกครองกลางพิพากษาให้เพิกถอนคำสั่งลงโทษ ไล่ผู้ร้องออกจากราชการทั้งหมด แต่ศาลปกครองสูงสุดพิพากษาว่า คำสั่งสำนักงานศาลยุติธรรม ที่ไล่ผู้ร้อง (ผู้ฟ้องคดี) ออกจากราชการและกระบวนการต่าง ๆ ที่ดำเนินการมาเพื่อลงโทษทางวินัย ผู้ร้องทั้งหมดนั้นชอบด้วยกฎหมาย การวินิจฉัยข้อเท็จจริงทั้งในศาลปกครองและในศาลยุติธรรมในส่วน ที่เกี่ยวกับการกระทำอันเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรงฐานทุจริตต่อหน้าที่ราชการตามมาตรา ๘๒ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕ และการกระทำความผิด ฐานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ การปลอมเอกสาร ฯลฯ ซึ่งต้องอาศัยข้อเท็จจริง ที่เป็นเรื่องเดียวกันนั้นเป็นกรณีที่ศาลปกครองและศาลยุติธรรมวินิจฉัยในข้อเท็จจริงที่เป็นเรื่องเดียวกัน ส่วนข้อเท็จจริงที่ว่า ผู้ร้องมีความผิดวินัยอย่างร้ายแรง ฐานประมาทเลินเล่อในการปฏิบัติ หน้าที่เป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง ตามมาตรา ๘๔ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติ ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕ นั้น ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงที่เป็นเรื่องเดียวกันนี้ในคำพิพากษา ของศาลยุติธรรมฉบับที่ผู้ร้องอ้าง ประกอบกับการที่ผู้ร้องมีคำขอให้คณะกรรมการวินิจฉัยว่าผู้ร้อง ไม่ได้ทุจริตจากการแก้ไขเอกสารราชการ ตามคำพิพากษาศาลยุติธรรมเพื่อให้ศาลปกครองสูงสุด เพิกถอนคำพิพากษาและยืนตามคำพิพากษาศาลปกครองกลาง คดีหมายเลขแดงที่ ๖๕/๒๕๕๕ อันเป็นกรณีที่ผู้ร้องมุ่งหมายให้ถือตามผลของคำพิพากษาของศาลปกครองกลาง เมื่อคำพิพากษา ศาลปกครองกลางฉบับที่ผู้ร้องขอให้บังคับนั้นมิใช่คำพิพากษาที่ถึงที่สุดตามมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติ ว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ คณะกรรมการไม่รับวินิจฉัย แม้การรับฟังข้อเท็จจริงกรณีผู้ร้องมีพฤติการณ์อันเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง ฐานทุจริตต่อหน้าที่ราชการตามมาตรา ๘๒ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕ ที่ผู้ร้องอ้างเป็นเหตุหลักในคำร้องจะเป็นกรณีที่ศาลปกครองและศาลยุติธรรมวินิจฉัย ในข้อเท็จจริงที่เป็นเรื่องเดียวกัน แต่ไม่ว่าคณะกรรมการจะวินิจฉัยให้ในทางใด ผลการวินิจฉัยของ กรณีให้ยกคำร้องหรือจำหน่ายเรื่องออกจากสารบบความ
คำพิพากษา/คำสั่งที่ถึงที่สุด ระหว่างศาลขัดแย้งกัน รวมย่อคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่น่าสนใจ พ.ศ. ๒๕๕๖ - ๒๕๖๕ 297 คณะกรรมการในส่วนนี้ก็ไม่มีผลกระทบถึงคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุดในส่วนอื่น กรณี ไม่เป็นประโยชน์ที่จะวินิจฉัยคำร้องของผู้ร้องว่าจะให้ถือตามคำพิพากษาของศาลใด จำหน่ายคดี จากสารบบความ คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล (คำสั่ง) ที่ ๙๑/๒๕๖๒ การที่คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลจะวินิจฉัยเกี่ยวกับการปฏิบัติ ตามคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกันตามมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติ ว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ ได้นั้นจะต้องปรากฏว่าคำพิพากษา ที่ถึงที่สุดระหว่างศาลได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงในเรื่องเดียวกันนั้นขัดแย้งกัน การยื่นคำร้องขอให้วินิจฉัยชี้ขาด กรณีคำพิพากษาศาลฎีกาและคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดขัดแย้งกันของผู้ร้อง แม้คดีตามคำพิพากษา ทั้งสองฉบับดังกล่าวจะมีปัญหาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายที่ศาลทั้งสองต้องพิจารณาวินิจฉัยเกี่ยวกับ คำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่ให้รื้อถอนอาคารในลักษณะเดียวกัน แต่เมื่อข้อเท็จจริงที่ปรากฏ มีความแตกต่างกัน แม้จะอาศัยบทบัญญัติของกฎหมายเดียวกัน ผลของคดีจึงแตกต่างกันไปตามข้อเท็จจริง ที่ต่างกัน และคำพิพากษาของศาลฎีกาและศาลปกครองสูงสุดต่างก็เป็นการวินิจฉัยถึงคำสั่ง ของเจ้าพนักงานท้องถิ่นคนละฉบับซึ่งบังคับให้กระทำต่ออาคารคนละอาคารและเจ้าของอาคาร เป็นบุคคลคนละคนกัน และวินิจฉัยถึงการดัดแปลงต่อเติมอาคารที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาแตกต่างกัน แม้เจ้าพนักงานผู้ต้องปฏิบัติตามผลคำพิพากษาจะเป็นคนเดียวกันและอาคารที่เกี่ยวข้องจะอยู่ติดกัน ก็ตาม กรณีย่อมไม่อาจมีข้อขัดข้องในการปฏิบัติตามคำพิพากษาที่ถึงที่สุดของทั้งสองศาล ประกอบกับ เมื่อพิจารณาคำร้องของผู้ร้องทั้งสองมีลักษณะเป็นการโต้แย้งการใช้ดุลพินิจในการรับฟังข้อเท็จจริง ของศาลปกครองสูงสุด ซึ่งไม่อยู่ในอำนาจของคณะกรรมการ ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการ วินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ ดังนี้คำพิพากษาที่ถึงที่สุดระหว่างศาลที่เกี่ยวข้อง ตามคำร้องของผู้ร้องจึงมิได้ขัดแย้งกัน คำร้องของผู้ร้องจึงไม่ชอบด้วยมาตรา ๑๔ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ อาศัยอำนาจ ตามข้อ ๒๘ แห่งข้อบังคับคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล ว่าด้วยวิธีการเสนอเรื่อง การพิจารณาและวินิจฉัย พ.ศ. ๒๕๔๔ ให้ยกคำร้อง คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล (คำสั่ง) ที่ ๘๖/๒๕๖๒ คดีนี้ศาลปกครองสูงสุดพิพากษาว่า การสำคัญผิดของผู้ฟ้องคดีทั้งสองเกิดจากข้อมูล ราคาประเมินตารางวาละ ๔,๐๐๐ บาท ที่ได้รับจากเจ้าหน้าที่ของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ซึ่งไม่เป็นปัจจุบัน การที่ผู้ฟ้องคดีทั้งสองได้ชำระค่าธรรมเนียม ค่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และค่าอากรแสตมป์ ในวันจดทะเบียนซื้อขายที่ดินรายพิพาทตามที่เจ้าหน้าที่ของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ กำหนดจึงถือได้ว่า ผู้ฟ้องคดีทั้งสองได้ทำนิติกรรมการซื้อขายที่ดินพิพาทกันโดยชอบตรงตามเจตนาและเจ้าหน้าที่ กรณีให้ยกคำร้องหรือจำหน่ายเรื่องออกจากสารบบความ
298 ของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ได้จดทะเบียนสิทธินิติกรรมโดยคำนวณเรียกเก็บค่าธรรมเนียม ค่าภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดา และค่าอากรแสตมป์ ตามราคาประเมินตารางวาละ ๔,๐๐๐ บาท และราคาซื้อขาย ที่สูงกว่าราคาประเมินตารางวาละ ๔,๐๐๐ บาท เพียงเล็กน้อย โดยถูกต้องและชอบด้วยกฎหมายแล้ว ไม่มีเหตุต้องเพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างผู้ฟ้องคดีทั้งสอง ส่วนการที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ มีคำสั่งตามหนังสือเพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนขาย (ระหว่างเช่า) ที่ดินพิพาท จากผู้ฟ้องคดีทั้งสอง นั้น กฎหมายไม่ได้บัญญัติไว้ว่าการจดทะเบียนที่ดำเนินการไปถูกต้องแล้วและต่อมา ตรวจพบว่ามีความบกพร่องเป็นเหตุให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ซึ่งเรียกเก็บค่าธรรมเนียมไม่ครบถ้วนนั้น มีสิทธิเรียกเก็บค่าธรรมเนียมเพิ่มเติมได้ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ จึงไม่มีอำนาจที่จะเรียกให้ผู้ฟ้องคดีทั้งสอง ชำระค่าธรรมเนียมเพิ่มเติม ดังนั้น คำสั่งที่เรียกให้ผู้ฟ้องคดีทั้งสองชำระค่าธรรมเนียมเพิ่มเติม จึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ส่วนที่ศาลฎีกาพิพากษาว่า การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สำหรับการขายที่ดินพิพาทจะต้องถือตามราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจดทะเบียน สิทธิและนิติกรรมตามกฎหมายที่ดินโดยต้องถือว่าราคาประเมินที่ดินตารางวาละ ๔๕,๐๐๐ บาท ซึ่งมีผลใช้บังคับก่อนวันที่จดทะเบียนซื้อขายที่ดินพิพาทดังกล่าวนั้นเป็นเงินได้พึงประเมินของโจทก์ (ผู้ร้อง) เมื่อที่ดินพิพาทมีราคาประเมิน ๓๕,๔๙๑,๕๐๐ บาท การที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของสำนักงานที่ดิน ประเมินราคาที่ดินพิพาททั้งแปลงเพียง ๓,๑๕๔,๘๐๐ บาท เจ้าพนักงานประเมินของจำเลย (กรมสรรพากร) มีอำนาจเรียกเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาให้ถูกต้องครบถ้วนได้ การประเมิน ของเจ้าพนักงานประเมินที่ให้โจทก์ชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและคำวินิจฉัยอุทธรณ์จึงชอบด้วย กฎหมาย ส่วนเหตุลดหรืองดเงินเพิ่มนั้น การที่โจทก์ชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาไม่ครบถ้วน เนื่องจากเจ้าหน้าที่สำนักงานที่ดิน ประเมินราคาที่ดินพิพาทราคาตารางวาละ ๔,๐๐๐ บาท ตามที่ ยังคงปรากฏอยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ของสำนักงานที่ดินซึ่งต่ำกว่าราคาประเมินที่แท้จริง เป็นเหตุ ที่ไม่ใช่ความผิดของโจทก์ (ผู้ร้อง) สมควรให้งดเงินเพิ่มแก่โจทก์ คำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด ไม่สั่งให้เรียกค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนสิทธินิติกรรมเพิ่ม กับไม่เพิกถอนการจดทะเบียนขาย ที่ดินพิพาทและคำพิพากษาศาลฎีกามิได้ขัดแย้งกัน ทั้งกรณีการยื่นคำร้องขอให้คณะกรรมการกำหนด แนวทางการปฏิบัติตามคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกันตามมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ นี้ จะต้อง เป็นกรณีที่การวินิจฉัยขัดแย้งกันจนเป็นเหตุให้ไม่อาจปฏิบัติตามคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดนั้นได้ เมื่อไม่ปรากฏว่ามีเหตุให้ผู้ร้องไม่อาจปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุดและคำพิพากษา ของศาลฎีกาได้ กรณีตามคำร้องของผู้ร้องจึงไม่ชอบด้วยมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วย การวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ กรณีให้ยกคำร้องหรือจำหน่ายเรื่องออกจากสารบบความ
คำพิพากษา/คำสั่งที่ถึงที่สุด ระหว่างศาลขัดแย้งกัน รวมย่อคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่น่าสนใจ พ.ศ. ๒๕๕๖ - ๒๕๖๕ 299 คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล (คำสั่ง) ที่ ๗๗/๒๕๖๒ คดีที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลวินิจฉัยชี้ขาด กรณีคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกัน ตามมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติ ว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ ระหว่างศาลอุทธรณ์ภาค ๒ กับศาลปกครองสูงสุด โดยผู้ร้องเห็นว่า ศาลอุทธรณ์ภาค ๒ วินิจฉัยว่า สาธารณูปโภคในที่ดิน จัดสรรโครงการ ตามใบอนุญาตให้ทำการจัดสรรที่ดินจัดทำเสร็จสิ้นแล้ว และมีคำพิพากษายกฟ้อง ผู้ร้องกับพวกจึงไม่ต้องจัดหาธนาคารหรือสถาบันการเงินมาทำสัญญาค้ำประกันการจัดทำสาธารณูปโภค และบริการสาธารณะตลอดจนบำรุงรักษา แต่ศาลปกครองสูงสุดวินิจฉัยว่า สาธารณูปโภคยังจัดทำ ไม่แล้วเสร็จตามแผนผังโครงการที่ได้รับอนุญาต จึงพิพากษาให้คณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัด นครนายก ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ดำเนินการให้ผู้ร้องจัดหาธนาคารหรือสถาบันการเงินมาทำสัญญาค้ำประกัน ในการจัดให้มีสาธารณูปโภคและบริการสาธารณะตามมาตรา ๒๔ แห่งพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. ๒๕๔๓ กรณีมีปัญหาต้องวินิจฉัยว่าคำพิพากษาที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกันหรือไม่ โดยคดี ของศาลอุทธรณ์ภาค ๒ เป็นคดีที่ผู้ซื้อที่ดินและบ้านในโครงการฟ้องผู้ร้องและผู้จัดสรรที่ดินเดิม เป็นคดีผู้บริโภค อ้างว่าผู้ร้องกับพวกมิได้ก่อสร้างหรือดูแลสาธารณูปโภคและบริการสาธารณะ ภายในโครงการ คดีถึงที่สุด โดยศาลอุทธรณ์ภาค ๒ พิพากษายกฟ้องในปัญหาเรื่องอำนาจฟ้อง แม้ได้วินิจฉัยตอนหนึ่งว่า สาธารณูปโภคหลัก ๆ ภายในโครงการพิพาทจัดทำเสร็จสิ้นแล้ว แต่ก็ได้วินิจฉัย ต่อไปว่า ผู้ร้องกับพวกยังไม่ได้จัดทำบริการสาธารณะให้เสร็จสมบูรณ์ครบถ้วนตามที่โฆษณาไว้ และการจัดทำสาธารณูปโภคหรือบริการสาธารณะ นอกจากจะต้องทำให้เสร็จสมบูรณ์ครบถ้วนแล้ว ยังจะต้องบำรุงรักษาให้มีสภาพคงอยู่สามารถใช้งานได้อย่างเหมาะสมตามที่ควรจะเป็นด้วย จึงไม่อาจ ถือได้ว่า ศาลอุทธรณ์ภาค ๒ วินิจฉัยว่าผู้ร้องจัดทำสาธารณูปโภคเสร็จเรียบร้อยแล้ว อันจะเป็น การขัดแย้งกับคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด โดยเฉพาะประเด็นเรื่องโจทก์ทั้งสามสิบเอ็ด ซึ่งเป็นผู้ซื้อที่ดินจัดสรรมีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสี่หรือไม่ ศาลอุทธรณ์ภาค ๒ วินิจฉัย ชัดเจนว่า ข้อเท็จจริงฟังว่าสาธารณูปโภคในโครงการพิพาทบางส่วนยังจัดทำไม่แล้วเสร็จและบางส่วน ไม่มีการบำรุงรักษา และบริการสาธารณะบางอย่างยังไม่ได้จัดทำ ซึ่งสอดคล้องกับคำพิพากษา ศาลปกครองสูงสุด คำวินิจฉัยเกี่ยวกับการจัดทำสาธารณูปโภคแล้วเสร็จหรือไม่ตามคำพิพากษา ที่ถึงที่สุดระหว่างศาลอุทธรณ์ภาค ๒ และศาลปกครองสูงสุดจึงมิได้ขัดแย้งกัน ทั้งกรณีการยื่นคำร้องขอ ให้คณะกรรมการกำหนดแนวทางการปฏิบัติตามคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกัน ตามมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ นี้ จะต้องเป็นกรณีที่การวินิจฉัยขัดแย้งกันจนเป็นเหตุให้ไม่อาจปฏิบัติตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง ที่ถึงที่สุดนั้นได้ เมื่อไม่ปรากฏว่ามีเหตุให้ผู้ร้องไม่อาจปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค ๒ และคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุดได้ กรณีตามคำร้องของผู้ร้องจึงไม่ชอบด้วยมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ จึงให้ยกคำร้อง กรณีให้ยกคำร้องหรือจำหน่ายเรื่องออกจากสารบบความ
300 คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล (คำสั่ง) ที่ ๒๔/๒๕๖๒ คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามคำร้องของผู้ร้องว่า คำพิพากษาที่ถึงที่สุดของศาลอุทธรณ์ ขัดแย้งกับคำพิพากษาที่ถึงที่สุดของศาลปกครองกลางหรือไม่ เห็นว่า ตามคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ เป็นการวินิจฉัยข้อพิพาทเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาระหว่างเจ้าของร่วมในอาคารชุด ส. ซึ่งเป็นผู้ซื้อห้องชุดกับบริษัท ธ. ซึ่งเป็นผู้ขายตามพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. ๒๕๕๑ ซึ่งผู้ร้องเป็นจำเลยในคดีดังกล่าว ได้โฆษณาโครงการโดยระบุอย่างชัดแจ้งว่าอาคารชุด ส. ตั้งอยู่ บนที่ดินโฉนดเลขที่ ๔๑๓ และ ๔๑๔ และในการขออนุญาตก่อสร้างโครงการอาคารชุดดังกล่าวก็ระบุว่า เป็นการก่อสร้างในที่ดินโฉนดเลขที่ ๔๑๓ และ ๔๑๔ จึงถือเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาและผูกพันผู้ร้อง ให้ต้องปฏิบัติตาม ส่วนคำพิพากษาของศาลปกครองกลางเป็นการวินิจฉัยข้อพิพาทตามพระราชบัญญัติ อาคารชุด พ.ศ. ๒๕๒๒ ว่า การที่เจ้าพนักงานที่ดินจดทะเบียนอาคารชุดโดยระบุทรัพย์ส่วนกลาง คือ ที่ดินตามโฉนดที่ดินเลขที่ ๔๑๓ เพียงแปลงเดียวเป็นการชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ แม้ศาลปกครองกลาง จะพิพากษายกฟ้องโดยวินิจฉัยว่า การที่เจ้าพนักงานที่ดินไม่จดทะเบียนที่ดินโฉนดเลขที่ ๔๑๔ เป็นทรัพย์ส่วนกลางชอบด้วยกฎหมายแล้วก็เป็นการวินิจฉัยการกระทำของเจ้าพนักงานที่ดิน ตามพระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ. ๒๕๒๒ มิได้ขัดหรือแย้งกับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่วินิจฉัยว่า ผู้ร้องซึ่งเป็นจำเลยในคดีดังกล่าวผูกพันต้องปฏิบัติตามประกาศโฆษณาโครงการของตนที่ระบุให้ โฉนดที่ดินเลขที่ ๔๑๔ เป็นทรัพย์ส่วนกลาง อันเป็นนิติสัมพันธ์ระหว่างผู้ประกอบธุรกิจกับผู้บริโภค ตามพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. ๒๕๕๑ ทั้งเจ้าพนักงานที่ดินไม่ได้ชี้แจงว่า มีเหตุขัดข้องในการปฏิบัติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์แต่อย่างใด หรือหากมีข้อขัดข้องเกี่ยวกับ การบังคับคดีตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. ๒๕๕๑ มาตรา ๖๕ ก็ได้บัญญัติให้อำนาจศาลในคดีดังกล่าวแก้ไขข้อขัดข้องได้ตามความจำเป็นและสมควร แก่กรณีเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม กรณีตามคำร้องของผู้ร้องจึงมิใช่ปัญหาเกี่ยวกับคำพิพากษา หรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกันในคดีที่มีข้อเท็จจริงเป็นเรื่องเดียวกัน จนเป็นเหตุให้คู่ความ ไม่ได้รับการเยียวยาความเสียหาย หรือไม่ได้รับความเป็นธรรม อันจะเข้าองค์ประกอบของบทบัญญัติ มาตรา ๑๔ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ ที่คณะกรรมการจะรับคำร้องของผู้ร้องไว้พิจารณาได้จึงให้ยกคำร้อง คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล (คำสั่ง) ที่ ๑๔๓/๒๕๖๑ คดีที่มีคำพิพากษาหรือคำสั่งอันถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกันและจะส่งให้คณะกรรมการ วินิจฉัยชี้ขาดได้นั้นจะต้องเป็นกรณีที่คำพิพากษาหรือคำสั่งอันถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกัน โดยอาศัยข้อเท็จจริงที่เป็นเรื่องเดียวกัน แต่ได้ยื่นฟ้องต่อศาลสองศาลต่างระบบและศาลทั้งสองศาลนั้น มีคำพิพากษาที่ถึงที่สุดแตกต่างกัน จนเป็นเหตุให้คู่ความไม่ได้รับการเยียวยาความเสียหายหรือ ไม่ได้รับความเป็นธรรม กรณีที่ศาลแพ่งกรุงเทพใต้มีคำพิพากษาในประเด็นแห่งคดีเรื่องค่าเสียหาย ในทางแพ่งตามสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร ล. โจทก์ บริษัท ค. กรณีให้ยกคำร้องหรือจำหน่ายเรื่องออกจากสารบบความ
คำพิพากษา/คำสั่งที่ถึงที่สุด ระหว่างศาลขัดแย้งกัน รวมย่อคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่น่าสนใจ พ.ศ. ๒๕๕๖ - ๒๕๖๕ 301 จำเลย (ผู้ร้อง) ซึ่งเป็นเอกชนด้วยกัน โดยไม่ได้วินิจฉัยเกี่ยวกับการกระทำของคณะกรรมการจัดสรรที่ดิน จังหวัดนนทบุรีซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐว่าได้ละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือไม่ ซึ่งเป็นประเด็นหลักที่พิพาทกันในคดีปกครองตามคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด ประเด็นข้อพิพาท ของทั้งสองคดีจึงไม่ใช่ประเด็นเดียวกัน แม้ในคดีปกครองจะมีปัญหาข้อเท็จจริงในบางประเด็นที่ศาล ต้องวินิจฉัยเช่นเดียวกันกับประเด็นข้อพิพาทในคดีแพ่งว่า บริษัท ค. (ผู้ร้องสอด) ได้จัดทำถนนถูกต้อง ตรงตามแผนผังโครงการที่ได้รับอนุญาตหรือไม่ เพื่อจะนำไปสู่การวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทในคดี ปกครองว่า คณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดนนทบุรี (ผู้ถูกฟ้องคดี) ละเลยต่อหน้าที่ไม่กำกับดูแล และตรวจสอบให้ผู้ร้องสอดทำการก่อสร้างในโครงการจัดสรรที่ดินให้ถูกต้องตามแบบและแผนผัง โครงการที่ได้รับอนุญาตหรือไม่ก็ตาม แต่ในคดีแพ่งศาลพิพากษาตามยอมโดยพิจารณาจากสัญญา ประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์และจำเลยที่ตกลงกันในขอบเขตแห่งประเด็นในคดีหรือ เกี่ยวเนื่องกับประเด็นในคดี มิใช่เป็นการวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทอย่างคดีธรรมดา ซึ่งการจะบังคับ การให้เป็นไปตามคำพิพากษาตามยอมของศาลนั้นก็เป็นความสัมพันธ์ทางแพ่งระหว่างคู่สัญญา ส่วนการที่ศาลปกครองสูงสุดวินิจฉัยว่า ให้คณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดนนทบุรี (ผู้ถูกฟ้องคดี) ใช้อำนาจตามมาตรา ๕๒ ประกอบมาตรา ๗๐ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. ๒๕๔๓ สั่งให้บริษัท ค. (ผู้ร้องสอด) ดำเนินการก่อสร้างถนนสายหลักและบ่อบำบัดน้ำเสียในโครงการ ให้ตรงตามแผนผังโครงการที่ได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดนนทบุรี (ผู้ถูกฟ้องคดี) ทั้งนี้ ให้คณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดนนทบุรี (ผู้ถูกฟ้องคดี) ใช้อำนาจภายในระยะเวลา ๖๐ วัน นับแต่คดีถึงที่สุด คำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก เป็นการวินิจฉัยไปตามประเด็นข้อพิพาทในคดีปกครอง เพื่อบังคับให้คณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดนนทบุรี (ผู้ถูกฟ้องคดี) ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ปฏิบัติ หน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ปฏิบัติซึ่งข้อเท็จจริงไม่ขัดแย้งกันกับคดีแพ่ง ดังนั้น ประเด็นข้อพิพาท ตามคำพิพากษาหรือคำสั่งอันถึงที่สุดระหว่างศาลยุติธรรมและศาลปกครองจึงไม่ใช่ประเด็นเดียวกัน และไม่ขัดแย้งกัน ทั้งปัญหากรณีที่โจทก์หรือผู้ฟ้องคดีไม่ดำเนินการที่ผู้ร้องยกขึ้นอ้างเป็นปัญหา ในชั้นบังคับคดี คำร้องของผู้ร้องไม่เข้าเงื่อนไขตามมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการ วินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ.๒๕๔๒ ที่คณะกรรมการจะรับคำร้องของผู้ร้องไว้ พิจารณาได้ จึงมีคำสั่งให้ยกคำร้อง คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล (คำสั่ง) ที่ ๑๕๙/๒๕๖๐ การยื่นคำร้องขอให้คณะกรรมการวินิจฉัยเกี่ยวกับการปฏิบัติตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง ที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกันตามมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจ หน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ นั้น ต้องเป็นกรณีที่คำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาล สองศาลขัดแย้งกันจนเป็นเหตุให้คู่ความหรือบุคคลซึ่งได้รับผลกระทบโดยตรงจากคำพิพากษา หรือคำสั่งนั้น ไม่อาจปฏิบัติตามคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดนั้นได้ เนื่องจากในกรณีที่ศาลได้ มีคำพิพากษาหรือคำสั่งถึงที่สุดแล้ว คำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดนั้นย่อมบังคับได้ตามกฎหมาย กรณีให้ยกคำร้องหรือจำหน่ายเรื่องออกจากสารบบความ
302 โดยมีผลผูกพันคู่ความให้ต้องปฏิบัติตามข้อความและผลแห่งคำพิพากษานั้น ตามคำร้องนี้แม้คดี ที่ผู้ร้องยื่นฟ้องต่อศาลปกครองขอให้เพิกถอนคำสั่งลงโทษไล่ผู้ร้องออกจากราชการ กับคดีที่พนักงาน อัยการจังหวัดแพร่ยื่นฟ้องผู้ร้องกับพวก เป็นจำเลยต่อศาลจังหวัดแพร่ขอให้ลงโทษตามประมวล กฎหมายอาญา มาตรา ๑๔๘, ๑๕๗, ๙๐, ๘๓ และ ๘๖ ข้อหาความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ จะอาศัยข้อเท็จจริงเดียวกัน แต่ประเด็นแห่งคดีของศาลปกครองสูงสุดนั้น ได้แก่ประเด็นที่ต้องวินิจฉัยว่า การกระทำของผู้ร้องเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรงหรือไม่ ส่วนประเด็นแห่งคดีของศาลฎีกา ได้แก่การกระทำของผู้ร้องกับพวกเป็นการกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๔๘, ๑๕๗ ประกอบมาตรา ๘๓ หรือไม่ ซึ่งการดำเนินการทางวินัยและทางอาญาแก่ข้าราชการนั้น เป็นกระบวนการที่แยกต่างหากจากกัน โดยการดำเนินการและการลงโทษทางวินัยของข้าราชการ มีความมุ่งหมายสำคัญเพื่อควบคุมความประพฤติของข้าราชการให้อยู่ในกรอบของกฎหมาย ระเบียบ และมาตรฐานทางจริยธรรมเพื่อให้ข้าราชการปฏิบัติราชการให้เกิดประสิทธิภาพ รักษาชื่อเสียง และสร้างความเชื่อมั่นของประชาชนต่อระบบราชการอันเป็นการใช้มาตรการภายในฝ่ายบริหาร ตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องเพื่อรักษาวินัยข้าราชการ จึงแตกต่างจากการดำเนินคดีอาญา ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการลงโทษผู้กระทำผิดอาญา โดยมีความมุ่งหมายสำคัญเพื่อรักษาความมั่นคง ของประเทศ ความสงบเรียบร้อยของสังคม ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ซึ่งโดยหลักการดำเนินคดีอาญาต้องเป็นไปตามองค์ประกอบความรับผิดทางอาญา และศาลจะพิพากษาว่า จำเลยกระทำความผิดอาญาและลงโทษจำเลยก็ต่อเมื่อมีพยานหลักฐานมั่นคงพิสูจน์ได้ว่ามีการ กระทำผิดจริงและจำเลยเป็นผู้กระทำความผิดเท่านั้น ดังนี้ แม้ข้อเท็จจริงที่ใช้เป็นฐานในการพิจารณา ความผิดทางวินัยและความผิดอาญาจะเป็นข้อเท็จจริงเดียวกัน แต่เมื่อประเด็นในคดีต่างกันและการพิสูจน์ ความผิดที่กฎหมายประสงค์จะนำมาลงโทษในคดีอาญาและคดีวินัยแตกต่างกัน ทั้งไม่ปรากฏว่า มีข้อขัดข้องในการปฏิบัติตามคำพิพากษาที่ถึงที่สุดของทั้งสองศาลแต่อย่างใด กรณีตามคำร้องของผู้ร้อง จึงไม่ใช่ปัญหาเกี่ยวกับคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกัน ตามนัยมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ ที่คณะกรรมการ วินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลจะรับเรื่องไว้พิจารณาวินิจฉัยได้ คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล (คำสั่ง) ที่ ๓๘/๒๕๖๐ คดีที่ผู้ร้องทั้งสองยื่นคำร้องขอให้คณะกรรมการวินิจฉัยเกี่ยวกับการปฏิบัติตามคำพิพากษา หรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกันตามมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาด อำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ ซึ่งการยื่นเรื่องให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดตามมาตรา ๑๔ นั้น จะต้องเป็นกรณีที่มีการฟ้องคดีโดยอาศัยมูลความแห่งคดีเดียวกันแต่ได้ยื่นฟ้องต่อศาลสองศาล ต่างกัน และศาลทั้งสองศาลนั้นมีคำพิพากษาถึงที่สุดแตกต่างกันจนเป็นเหตุให้คู่ความไม่ได้รับ การเยียวยาความเสียหายหรือไม่ได้รับความเป็นธรรม แต่เมื่อข้อเท็จจริงในเรื่องนี้ปรากฏว่า คำพิพากษา ศาลฎีกาทั้งสองฉบับที่ผู้ร้องทั้งสองอ้างว่าขัดแย้งกัน เป็นคำพิพากษาของศาลยุติธรรมด้วยกัน กรณีให้ยกคำร้องหรือจำหน่ายเรื่องออกจากสารบบความ
คำพิพากษา/คำสั่งที่ถึงที่สุด ระหว่างศาลขัดแย้งกัน รวมย่อคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่น่าสนใจ พ.ศ. ๒๕๕๖ - ๒๕๖๕ 303 และคำสั่งในคดีของศาลปกครองระยอง เป็นเพียงคำสั่งทุเลาการบังคับตามคำสั่งทางปกครอง ซึ่งศาลปกครองระยองยังไม่ได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดแต่อย่างใด ทั้งไม่ใช่คู่ความเดียวกัน จึงมิใช่กรณีคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกันตามความหมายของมาตรา ๑๔ ดังนั้น คำร้องของผู้ร้องทั้งสองจึงไม่ชอบด้วยมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาด อำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ ที่คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล จะรับเรื่องไว้พิจารณาวินิจฉัยได้ คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล (คำสั่ง) ที่ ๒/๒๕๖๐ การยื่นคำร้องขอให้คณะกรรมการวินิจฉัยเกี่ยวกับการปฏิบัติตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง อันถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกัน ตามมาตรา ๑๔ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาด อำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ นั้น จะต้องเป็นกรณีที่คำพิพากษาหรือคำสั่งอันถึงที่สุด ระหว่างศาลขัดแย้งกันโดยอาศัยข้อเท็จจริงที่เป็นเรื่องเดียวกัน แต่ได้ยื่นฟ้องต่อศาลสองศาลต่างระบบ และศาลทั้งสองศาลนั้นมีคำพิพากษาที่ถึงที่สุดแตกต่างกัน จนเป็นเหตุให้คู่ความไม่ได้รับการเยียวยา ความเสียหายหรือไม่ได้รับความเป็นธรรม เมื่อข้อเท็จจริงตามคำร้องปรากฏว่า ประเด็นข้อพิพาท และข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาหรือคำสั่งอันถึงที่สุดระหว่างศาลยุติธรรมและศาลปกครองไม่ใช่ ประเด็นเดียวกันและไม่ขัดแย้งกัน คำร้องของผู้ร้องทั้งสองจึงไม่เข้าเงื่อนไขตามมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ ที่คณะกรรมการ จะรับคำร้องของผู้ร้องทั้งสองไว้พิจารณาได้ จึงมีคำสั่งให้ยกคำร้อง คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล (คำสั่ง) ที่ ๑/๒๕๖๐ ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดคำพิพากษาที่ถึงที่สุดระหว่างศาลฎีกา และศาลปกครองนครศรีธรรมราชขัดแย้งกัน ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๔ วรรคหนึ่ง โดยคดีแรกศาลฎีกามีคำพิพากษาว่า การออกโฉนดที่ดิน พิพาททั้งฉบับของผู้ร้องซึ่งเป็นโจทก์ไม่ชอบด้วยกฎหมายเฉพาะส่วนที่ออกทับที่ดินของนาย อ. ซึ่งเป็นจำเลยที่ ๑ ให้เพิกถอนเฉพาะส่วนที่ไม่ชอบ ส่วนคดีหลังศาลปกครองนครศรีธรรมราชพิพากษาว่า นาง ร. ผู้ฟ้องคดี มิใช่เป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทของผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ถูกฟ้องคดี แต่ผู้ร้องต่างหาก ซึ่งเป็นผู้ที่มีสิทธิ์ กระบวนการออกโฉนดของผู้ร้องดำเนินการถูกต้องตามกฎหมายและเป็นคำสั่งที่ชอบ ด้วยกฎหมาย พิพากษายกฟ้อง คณะกรรมการ เห็นว่า แม้ว่าคำพิพากษาของทั้งสองศาลจะเป็นการวินิจฉัยถึงผู้มีกรรมสิทธิ์ ในที่ดินตามโฉนดของผู้ร้องซึ่งเป็นฉบับเดียวกันก็ตาม แต่มิใช่เป็นกรณีที่ผู้ร้องฟ้องนาย อ. ต่อศาลยุติธรรมแล้ว นาย อ. กลับมาเป็นโจทก์ฟ้องผู้ร้องต่อศาลปกครอง เพราะคดีที่ศาลปกครองนาง ร. เป็นผู้ฟ้องผู้ร้อง ต่างหาก ทั้งข้อเท็จจริงที่ทั้งสองศาลอาศัยเป็นหลักในการวินิจฉัยก็ไม่ใช่เรื่องเดียวกัน ส่วนที่ผู้ร้องอ้างว่า หากบังคับตามคำพิพากษาศาลฎีกาจะทำให้ผู้ร้องเสียกรรมสิทธิ์ในที่ดินไปบางส่วนก่อให้เกิด กรณีให้ยกคำร้องหรือจำหน่ายเรื่องออกจากสารบบความ
304 ความไม่เป็นธรรมแก่ผู้ร้องนั้น เห็นว่า คำพิพากษาศาลฎีกาย่อมผูกพันผู้ร้องและนาย อ. ตามประมวล กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๑๔๕ วรรคหนึ่ง ส่วนคำพิพากษาศาลปกครองก็ย่อมผูกพัน ผู้ร้องและนาง ร. เช่นกัน ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๗๐ และมาตรา ๗๑ (๔) ดังนี้กรรมสิทธิ์ในที่ดินตามโฉนดพิพาทของผู้ร้องก็ใช้ยันกับนาง ร. ได้ตามคำพิพากษาศาลปกครองและคงมีอยู่อย่างไรก็มีอยู่อย่างนั้นหาได้สูญเสียหรือลดน้อยถอยลงไป แต่อย่างใดไม่ อีกทั้งยังผูกพันบุคคลภายนอก เว้นแต่บุคคลภายนอกจะมีสิทธิดีกว่า ส่วนกรรมสิทธิ์ ในที่ดินตามโฉนดพิพาทของผู้ร้องตามคำพิพากษาศาลฎีกาก็เป็นเรื่องที่นาย อ. สามารถใช้ยันกับ ผู้ร้องได้เช่นกันซึ่งเป็นคนละเรื่องกัน คำพิพากษาทั้งสองศาลจึงไม่ขัดกันเพราะมิใช่เป็นเรื่องของ คู่ความเดียวกันและไม่ใช่คดีที่มีข้อเท็จจริงเรื่องเดียวกัน คำร้องจึงไม่ชอบด้วยมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ อาศัยอำนาจ ตามข้อบังคับคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล ว่าด้วยวิธีการเสนอเรื่อง การพิจารณาและวินิจฉัย พ.ศ. ๒๕๔๔ ข้อ ๒๘ ให้ยกคำร้อง คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล (คำสั่ง) ที่ ๗๘ - ๗๙/๒๕๕๙ การที่คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลจะวินิจฉัยเกี่ยวกับการปฏิบัติ ตามคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกันตามมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติ ว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ ได้นั้นจะต้องปรากฏว่าคำพิพากษา ที่ถึงที่สุดระหว่างศาลนั้นได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงในเรื่องเดียวกันนั้นขัดแย้งกัน การที่ผู้ร้องยื่นคำร้อง ว่าคำพิพากษาศาลฎีกาและคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดขัดแย้งกัน แต่เมื่อพิจารณาประเด็น ข้อพิพาทในคดีที่ผู้ร้องทั้งสองกล่าวอ้างว่าขัดแย้งกันแล้วเห็นว่า ประเด็นข้อพิพาทในคดีแพ่ง ตามคำพิพากษาศาลฎีกา ได้แก่ โจทก์หรือผู้ร้องมีสิทธิครอบครองปรปักษ์ในที่ดินตามโฉนด เลขที่ ๒๗๕๙ หรือถนนซอยพร้อมจิตรหรือไม่ ส่วนประเด็นข้อพิพาทในคดีปกครองตามคำพิพากษา ศาลปกครองสูงสุด ได้แก่ การที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ออกใบอนุญาต ก่อสร้างอาคารให้แก่ผู้ร้องชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ โดยพื้นที่ตั้งโครงการของบริษัทของผู้ร้องทั้งสอง ติด “ถนนสาธารณะ” ที่มีเขตทางกว้างไม่น้อยกว่า ๑๐ เมตร ยาวต่อเนื่องกันโดยตลอดจนไปเชื่อมต่อ กับถนนสาธารณะอื่นที่มีเขตทางกว้างไม่น้อยกว่า ๑๐ เมตร ตามข้อ ๒ ของกฎกระทรวง ฉบับที่ ๓๓ (พ.ศ. ๒๕๓๕) แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ ๕๐ (พ.ศ. ๒๕๔๐) ออกตามความในพระราชบัญญัติ ควบคุมอาคาร พ.ศ. ๒๕๒๒ หรือไม่ แม้คดีจะมีปัญหาข้อเท็จจริงที่ศาลทั้งสองต้องวินิจฉัยเช่นเดียวกันว่า ถนนซอยพร้อมจิตรหรือที่ดินตามโฉนดเลขที่ ๒๗๕๙ มีสภาพเป็นทางสาธารณประโยชน์หรือไม่ เพื่อจะนำไปสู่การวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทในคดีแพ่งว่าโจทก์และผู้ร้องในคดีแพ่งมีสิทธิครอบครองปรปักษ์ ที่ดินพิพาทซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโฉนดเลขที่ ๒๗๕๙ หรือถนนซอยพร้อมจิตรหรือไม่ และการวินิจฉัย ประเด็นข้อพิพาทในคดีของศาลปกครองว่าผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ออกใบอนุญาต ก่อสร้างอาคารให้แก่ผู้ร้องและบริษัท พ. โดยมีด้านใดด้านหนึ่งของที่ดินติดถนนซอยพร้อมจิตร กรณีให้ยกคำร้องหรือจำหน่ายเรื่องออกจากสารบบความ
คำพิพากษา/คำสั่งที่ถึงที่สุด ระหว่างศาลขัดแย้งกัน รวมย่อคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่น่าสนใจ พ.ศ. ๒๕๕๖ - ๒๕๖๕ 305 ซึ่งมีสภาพเป็นถนนสาธารณะที่มีเขตทางกว้างไม่น้อยกว่า ๑๐ เมตร ยาวต่อเนื่องกันโดยตลอด จนไปเชื่อมต่อกับถนนสาธารณะอื่นที่มีเขตทางกว้างไม่น้อยกว่า ๑๐ เมตร หรือไม่ แต่ทั้งศาลฎีกา และศาลปกครองสูงสุดก็วินิจฉัยตรงกันว่าที่ดินตามโฉนดเลขที่ ๒๗๕๙ หรือถนนซอยพร้อมจิตร ตกเป็นทางสาธารณประโยชน์โดยสภาพแห่งการใช้จึงเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน เพียงแต่ ศาลปกครองสูงสุดได้วินิจฉัยต่อไปตามประเด็นข้อพิพาทในคดีปกครอง โดยตีความข้อกฎหมายคำว่า “ถนนสาธารณะ” ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ ๓๓ (พ.ศ. ๒๕๓๕) แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ ๕๐ (พ.ศ. ๒๕๔๐) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งศาลในคดีแพ่งมิได้ วินิจฉัยเกี่ยวกับสภาพความเป็นถนนสาธารณะ เนื่องจากไม่ใช่ประเด็นข้อพิพาทในคดี ดังนี้คำพิพากษา ที่ถึงที่สุดระหว่างศาลที่เกี่ยวข้องตามคำร้องของผู้ร้องจึงมิได้ขัดแย้งกัน คำร้องของผู้ร้องจึงไม่ชอบ ด้วยมาตรา ๑๔ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ อาศัยอำนาจตามข้อ ๒๘ แห่งข้อบังคับคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ ระหว่างศาล ว่าด้วยวิธีการเสนอเรื่อง การพิจารณาและวินิจฉัย พ.ศ. ๒๕๔๔ ให้ยกคำร้อง คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล (คำสั่ง) ที่ ๘๖/๒๕๕๖ คดีที่จะยื่นคำร้องให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดตามมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติ ว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ จะต้องเป็นกรณีที่คำพิพากษา หรือคำสั่งอันถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกัน ข้อเท็จจริงตามคำร้อง แม้คำพิพากษาของศาลปกครอง จะถึงที่สุดตามมาตรา ๗๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ แต่คำพิพากษาของศาลยุติธรรม ศาลจังหวัดกาฬสินธุ์อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค ๔ เมื่อวันที่ ๑๒ มิถุนายน ๒๕๕๖ คู่ความจึงยื่นฎีกาได้ภายในกำหนด ๑ เดือน นับแต่วันดังกล่าว การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องลงวันที่ ๓ กรกฎาคม ๒๕๕๖ ขอให้วินิจฉัยชี้ขาดกรณีคำพิพากษาที่ถึงที่สุด ระหว่างศาลยุติธรรมและศาลปกครองขัดแย้งกัน จึงยังไม่พ้นกำหนดเวลายื่นฎีกาและเป็นกรณี ที่คำพิพากษาของศาลยุติธรรมยังไม่ถึงที่สุดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๑๔๗ วรรคสอง ประกอบมาตรา ๒๔๗ คำร้องดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาด อำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ อาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาด อำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๗ วรรคสอง ประกอบข้อบังคับคณะกรรมการ วินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล ว่าด้วยวิธีการเสนอเรื่อง การพิจารณาและวินิจฉัย พ.ศ. ๒๕๔๔ ข้อ ๒๘ จึงมีคำสั่งให้ยกคำร้อง กรณีให้ยกคำร้องหรือจำหน่ายเรื่องออกจากสารบบความ
ระเบียบคณะกรรมการบริหาร ศาลยุติธรรม ฉบับอ้างอิงประมวลคำถาม คำตอบและข้อหารือ ระเบียบคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรมหนังสือข้อหารือต่าง ๆ ตามประมวลคำถาม คำตอบและข้อหารือหนังสือข้อหารือต่าง ๆ ตามประมวลคำถาม คำตอบและข้อหารือหนังสือข้อหารือต่าง ๆ ตามระเบียบ คณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม ฉบับอ้างอิง เนอื� งจากการเสนอเรอื� งไมช่ อบดว้ ยพระราชบญั ญตั ว ิ า ่ ดว้ ยการวนิ จ ิ ฉยั ชขี� าดอํานาจหนา้ ทรี� ะหวา่ งศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ลักษณะคดี ที� คณะกรรมการมี คําสั�งจําหน่ ายเรื� อง ออกจากสารบบความ
308 คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล (คำสั่ง) ที่ ๙/๒๕๖๕ คดีนี้เอกชนในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมของเด็กชาย ว. โจทก์ ยื่นฟ้อง กรมสรรพากร จำเลย ต่อศาลจังหวัดแพร่ ว่า โจทก์เป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของเด็กชาย ว. เด็กชาย ว. เป็นบุตร ของโจทก์กับนาย ร. ผู้ค้างภาษี จำเลยได้ออกคำสั่งให้อายัดทรัพย์ของผู้ค้างภาษีอากรของนาย ร. โดยจำเลยมีหนังสือไปถึงธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรให้อายัดเงินในสมุดบัญชี ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรของเด็กชาย ว. เพื่อนำไปชำระหนี้ภาษีอากรของนาย ร. โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา ๑๒ แห่งประมวลรัษฎากร คำสั่งอายัดบัญชีเงินฝากดังกล่าวจึงไม่ชอบ ด้วยกฎหมาย และทำให้เด็กชาย ว. ได้รับความเสียหาย ขอให้เพิกถอนการบังคับคดีของจำเลย ในการบังคับเอาทรัพย์สินของเด็กชาย ว. ให้จำเลยส่งมอบเงิน ๑๘,๘๐๑ บาท พร้อมดอกเบี้ย ในอัตรา ร้อยละ ๕ ต่อปี ของต้นเงินดังกล่าว นับแต่วันที่ได้รับเงินจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ การเกษตร และชดใช้ค่าเสียหายเป็นเงิน ๑๐,๐๐๐ บาท ให้แก่เด็กชาย ว. จำเลยให้การและยื่นคำร้องว่า คดีนี้เป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิเรียกร้องของรัฐในหนี้ภาษีอากร ตามมาตรา ๗ (๒) แห่งพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. ๒๕๒๘ อยู่ในอำนาจของศาลภาษีอากร ศาลจังหวัดแพร่จึงส่งสำนวนให้ประธานศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษวินิจฉัยตามพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. ๒๕๒๘ มาตรา ๑๐ วรรคสอง ประธานศาลอุทธรณ์ คดีชำนัญพิเศษพิเคราะห์แล้วเห็นว่า คดีนี้ไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลภาษีอากร ภายหลังอ่านคำวินิจฉัยของประธานศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษให้คู่ความฟัง ทนายจำเลยแถลงว่า เมื่อประธานศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษวินิจฉัยว่าคดีไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของ ศาลภาษีอากร จึงขอให้ส่งความเห็นไปยังคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล เพื่อชี้ขาดตามมาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ ศาลจังหวัดแพร่จึงมีคำสั่งให้ส่งเรื่องไปยังคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจ หน้าที่ระหว่างศาลเพื่อพิจารณาวินิจฉัย ดังนี้ เมื่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ มาตรา ๑๙๒ บัญญัติว่า “ในกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับหน้าที่และอำนาจระหว่างศาลยุติธรรม ศาลปกครอง หรือศาลทหาร ให้พิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดโดยคณะกรรมการซึ่งประกอบด้วยประธานศาลฎีกา เป็นประธาน ประธานศาลปกครองสูงสุด หัวหน้าสำนักตุลาการทหาร และผู้ทรงคุณวุฒิอื่นอีกไม่เกิน สี่คนตามที่กฎหมายบัญญัติเป็นกรรมการ” และวรรคสอง บัญญัติให้ “หลักเกณฑ์และวิธีการชี้ขาด ปัญหาเกี่ยวกับหน้าที่และอำนาจระหว่างศาลตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ” และพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๓ บัญญัติให้ “ศาล” หมายความว่า ศาลยุติธรรม ศาลปกครอง ศาลทหาร หรือศาลอื่น ดังนั้น การขัดแย้งกัน ในเรื่องเขตอำนาจศาลซึ่งเป็นปัญหาเกี่ยวกับหน้าที่และอำนาจระหว่างศาลที่จะต้องส่งเรื่องให้ ลักษณะคดีที่คณะกรรมการมีคำสั่งจำหน่ายเรื่องออกจากสารบบความ ลักษณะคดีที่คณะกรรมการมีคำสั่งจำหน่ายเรื่องออกจากสารบบความ
ลักษณะคดีที่มีคำสั่งจำหน่ายเรื่อง ออกจากสารบบความ รวมย่อคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่น่าสนใจ พ.ศ. ๒๕๕๖ - ๒๕๖๕ 309 คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดตามพระราชบัญญัติ ว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง (๓) ต้องเป็น กรณีที่ความเห็นเกี่ยวกับเขตอำนาจศาล ระหว่างศาลยุติธรรม ศาลปกครอง หรือศาลทหาร ซึ่งเป็นศาลต่างระบบขัดแย้งกัน มิใช่กรณีที่เขตอำนาจศาลในระบบเดียวกันขัดแย้งกัน ดังนั้น การที่ศาลจังหวัดแพร่ส่งเรื่องให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลวินิจฉัยชี้ขาด โดยเห็นว่า การที่กรมสรรพากรใช้สิทธิตามกฎหมายอายัดสิทธิเรียกร้องในบัญชีเงินฝากของโจทก์ เพื่อนำเงินมาชำระหนี้ภาษีอากรค้างของนาย ร. และโจทก์มายื่นฟ้องคดีนี้ต่อศาลจังหวัดแพร่ และต่อมาประธานศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษมีคำวินิจฉัยว่าคดีไม่อยู่ในเขตอำนาจของศาลภาษีอากร เป็นกรณีที่ศาลจังหวัดแพร่และศาลภาษีอากรมีความเห็นขัดแย้งกัน จึงให้ส่งเรื่องให้คณะกรรมการ วินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลเพื่อวินิจฉัยชี้ขาดต่อไปนั้น เป็นการอ้างว่าเขตอำนาจ ของศาลจังหวัดแพร่และศาลภาษีอากรซึ่งเป็นศาลยุติธรรมที่อยู่ในระบบเดียวกันขัดแย้งกันเอง ซึ่งกรณีดังกล่าวไม่อยู่ในหน้าที่และอำนาจของคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล ที่จะวินิจฉัยชี้ขาดได้ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ มาตรา ๑๙๒ ประกอบพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง (๓) การเสนอเรื่องของศาลจังหวัดแพร่ให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล วินิจฉัยชี้ขาดในคดีของศาลจังหวัดแพร่ ระหว่าง นาง พ. ในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมของเด็กชาย ว. โจทก์ กรมสรรพากร จำเลย จึงไม่อยู่ในอำนาจของคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ มาตรา ๑๙๒ ประกอบพระราชบัญญัติ ว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง (๓) ให้ยกคำร้อง คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล (คำสั่ง) ที่ ๑๑๒/๒๕๖๔ การโต้แย้งเขตอำนาจศาลตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มี ๒ กรณี ได้แก่ กรณีที่คู่ความฝ่ายที่ถูกฟ้องเห็นว่า คดีดังกล่าวอยู่ใน เขตอำนาจของอีกศาลหนึ่งตามมาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง ซึ่งบัญญัติให้ “คู่ความฝ่ายที่ถูกฟ้องยื่นคำร้อง ต่อศาลที่รับฟ้องก่อนวันสืบพยานสำหรับศาลยุติธรรมหรือศาลทหาร หรือภายในกำหนดระยะเวลา ยื่นคำให้การหรือก่อนพ้นระยะเวลาที่ศาลอนุญาตให้ยื่นคำให้การเป็นอย่างช้าสำหรับศาลปกครอง หรือศาลอื่น ในการนี้ ศาลที่รับฟ้องอาจรอการพิจารณาไว้ชั่วคราวก็ได้ และให้จัดทำความเห็น ส่งไปให้ศาลที่คู่ความร้องว่าคดีนั้นอยู่ในเขตอำนาจโดยเร็ว...” กับกรณีที่ศาลเห็นเองว่าคดีไม่อยู่ในอำนาจ ของศาลตนตามมาตรา ๑๐ วรรคสาม ซึ่งบัญญัติให้นำความในมาตรานี้ใช้บังคับกับกรณีที่ศาลเห็นเอง ก่อนมีคำพิพากษาโดยอนุโลม เมื่อคดีนี้ ข้อเท็จจริงตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลจังหวัด มหาสารคาม ลงวันที่ ๒ มีนาคม ๒๕๖๔ ระบุว่า ก่อนเริ่มสืบพยาน โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นคู่ความ ฝ่ายที่ฟ้องคดีได้แถลงต่อศาลว่า คดีนี้อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง ขอให้ ลักษณะคดีที่คณะกรรมการมีคำสั่งจำหน่ายเรื่องออกจากสารบบความ
310 ศาลจังหวัดมหาสารคามส่งเรื่องให้ศาลปกครองพิจารณา ดังนั้น การเริ่มกระบวนการโต้แย้ง เขตอำนาจศาลในคดีนี้จึงมิใช่จำเลยซึ่งเป็นผู้ถูกฟ้องตามนัยพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาด อำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง โจทก์ทั้งสองไม่มีสิทธิโต้แย้งเขตอำนาจศาล และแม้จำเลยทั้งสองจะแถลงโดยเห็นพ้องกับโจทก์ทั้งสองว่าคดีนี้อยู่ในเขตอำนาจของศาลปกครอง แต่ไม่ปรากฏว่าจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นคู่ความฝ่ายที่ถูกฟ้องได้ยื่นคำร้องเป็นหนังสือโต้แย้งเขตอำนาจ ศาลยุติธรรมต่อศาลจังหวัดมหาสารคาม กรณีจึงไม่เป็นไปตามรูปแบบและเงื่อนไขที่พระราชบัญญัติ ว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง ประกอบข้อบังคับ คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล ว่าด้วยวิธีการเสนอเรื่อง การพิจารณาและวินิจฉัย พ.ศ. ๒๕๔๔ ข้อ ๑๒ ที่กำหนดว่าคำร้องต้องทำเป็นหนังสือ... แม้ต่อมาภายหลังศาลจังหวัดมหาสารคาม จะทำความเห็นว่า คดีไม่อยู่ในเขตอำนาจของศาลยุติธรรม แต่อยู่ในเขตอำนาจของศาลปกครอง และศาลปกครองขอนแก่นซึ่งเป็นศาลที่รับความเห็นก็มีความเห็นว่า คดีอยู่ในเขตอำนาจของศาลยุติธรรม ที่รับฟ้อง ซึ่งเป็นกรณีที่ศาลทั้งสองมีความเห็นแตกต่างกันเกี่ยวกับเขตอำนาจศาล แต่ก็มิใช่กรณี ที่ศาลจังหวัดมหาสารคามซึ่งเป็นศาลผู้ส่งความเห็นได้ริเริ่มกระบวนการโต้แย้งเขตอำนาจศาล โดยศาลเห็นเองตามนัยของพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ วรรคสาม การเสนอเรื่องให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล วินิจฉัยชี้ขาดกรณีเขตอำนาจศาลขัดแย้งกันในคดีนี้จึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติตามพระราชบัญญัติ ว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่งและวรรคสาม คณะกรรมการไม่รับวินิจฉัย อาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๗ วรรคสอง ประกอบข้อบังคับคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจ หน้าที่ระหว่างศาล ว่าด้วยวิธีการเสนอเรื่อง การพิจารณาและวินิจฉัย พ.ศ. ๒๕๔๔ ข้อ ๒๙ (๒) จึงให้จำหน่ายเรื่องออกจากสารบบความ คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล (คำสั่ง) ที่ ๙๒/๒๕๖๒ พระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๒ วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า ในกรณีที่มีการนำคดีซึ่งมีข้อเท็จจริงเรื่องเดียวกันฟ้องต่อศาลที่มีเขตอำนาจ แตกต่างกันตั้งแต่สองศาลขึ้นไป ถ้าคู่ความหรือศาลเห็นว่าคดีนั้นไม่อยู่ในเขตอำนาจของศาลใดศาลหนึ่ง ที่รับฟ้องให้นำความในมาตรา ๑๐ และมาตรา ๑๑ มาใช้บังคับโดยอนุโลม จากบทบัญญัติดังกล่าว เป็นกรณีที่คู่ความนำคดีซึ่งเป็นข้อเท็จจริงเรื่องเดียวกันฟ้องต่อศาลที่มีเขตอำนาจแตกต่างกันตั้งแต่ สองศาลขึ้นไป และคู่ความฝ่ายที่ถูกฟ้องคดีเห็นว่าคดีนั้นไม่อยู่ในเขตอำนาจของศาลใดศาลหนึ่ง ที่รับฟ้อง หรือศาลที่รับฟ้องเห็นว่าคดีมีปัญหาเรื่องเขตอำนาจศาล จึงจะรอการพิจารณาคดีไว้ชั่วคราว และดำเนินการตามมาตรา ๑๐ และมาตรา ๑๑ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาด อำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ ต่อไป แต่เนื่องจากข้อเท็จจริงคดีนี้เป็นกรณีที่ศาลจังหวัด พะเยาเห็นว่า คดีแพ่งของศาลจังหวัดพะเยา อยู่ในเขตอำนาจของศาลตน มิใช่กรณีที่ศาลรับฟ้อง ลักษณะคดีที่คณะกรรมการมีคำสั่งจำหน่ายเรื่องออกจากสารบบความ
ลักษณะคดีที่มีคำสั่งจำหน่ายเรื่อง ออกจากสารบบความ รวมย่อคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่น่าสนใจ พ.ศ. ๒๕๕๖ - ๒๕๖๕ 311 เห็นเองว่าคดีอยู่ในเขตอำนาจของศาลอื่น และมิใช่กรณีที่คู่ความฝ่ายที่ถูกฟ้องยื่นคำร้องโต้แย้ง เขตอำนาจศาล ว่าคดีดังกล่าวมิได้อยู่ในเขตอำนาจของศาลใดศาลหนึ่งที่รับฟ้อง จึงไม่เป็นกรณีที่จะ ถือได้ว่ามีปัญหาขัดแย้งกันเกี่ยวกับเขตอำนาจศาล ไม่ต้องด้วยมาตรา ๑๒ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติ ว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ อาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติ ว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๗ วรรคสอง ประกอบ ข้อบังคับคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล ว่าด้วยวิธีการเสนอเรื่อง การพิจารณา และวินิจฉัย พ.ศ. ๒๕๔๔ ข้อ ๒๙ (๒) ให้จำหน่ายเรื่องออกจากสารบบความ คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล (คำสั่ง) ที่ ๓๔/๒๕๖๒ พระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า “ในกรณีที่มีการฟ้องคดีต่อศาลใด ถ้าคู่ความฝ่ายที่ถูกฟ้องเห็นว่า คดีดังกล่าว อยู่ในเขตอำนาจของอีกศาลหนึ่ง ให้ยื่นคำร้องต่อศาลที่รับฟ้องก่อนวันสืบพยานสำหรับศาลยุติธรรม หรือศาลทหาร หรือก่อนวันนั่งพิจารณาคดีครั้งแรกสำหรับศาลปกครองหรือศาลอื่น ในการนี้ให้ ศาลที่รับฟ้องรอการพิจารณาไว้ชั่วคราว และให้จัดทำความเห็นส่งไปให้ศาลที่คู่ความร้องว่าคดีนั้น อยู่ในเขตอำนาจโดยเร็ว ...” เมื่อคดีนี้จำเลยโต้แย้งเขตอำนาจศาลไว้ในคำให้การ โดยไม่ได้ทำเป็น คำร้องยื่นต่อศาลเป็นการเฉพาะ จึงเป็นการโต้แย้งเขตอำนาจศาลที่ไม่ชอบด้วยมาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง ของพระราชบัญญัติดังกล่าว ทั้งการทำความเห็นเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลตามพระราชบัญญัตินี้ ต้องเป็นกรณีที่ศาลจัดทำความเห็นของตนเกี่ยวกับเขตอำนาจศาลตามข้อโต้แย้งที่เริ่มกระบวนการ โดยการที่จำเลยหรือผู้ถูกฟ้องคดีทำเป็นคำร้องตามมาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง หรือเป็นกรณีที่ศาลที่รับฟ้อง เห็นเองว่าคดีอยู่ในเขตอำนาจของศาลอื่น ตามมาตรา ๑๐ วรรคสาม ซึ่งให้นำความในมาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง มาใช้บังคับโดยอนุโลม ดังนั้นเมื่อปรากฏว่าจำเลยมิได้กระทำตามวิธีการที่กฎหมายกำหนด ทั้งไม่ใช่กรณีที่ศาลเห็นเองว่าคดีไม่อยู่ในอำนาจของศาลตน อันจะถือได้ว่ามีปัญหาขัดแย้งกันเกี่ยวกับ เขตอำนาจศาล กรณีจึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่งและวรรคสาม อาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติ ว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๗ วรรคสอง ประกอบข้อบังคับ คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล ว่าด้วยวิธีการเสนอเรื่อง การพิจารณา และวินิจฉัย พ.ศ. ๒๕๔๔ ข้อ ๒๙ (๒) ให้จำหน่ายเรื่องออกจากสารบบความ คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล (คำสั่ง) ที่ ๒/๒๕๖๑ คดีนี้โจทก์ทั้งสิบสามยื่นฟ้องจำเลยที่ ๑ - ๓ ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐและจำเลยที่ ๔ - ๘ ซึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครอง ต่อศาลจังหวัดเชียงใหม่ จำเลยทั้งแปดโต้แย้งว่าคดีไม่อยู่ในอำนาจศาล ที่รับฟ้อง ศาลจังหวัดเชียงใหม่ได้ดำเนินกระบวนพิจารณาตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาด อำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง จนกระทั่งคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาด ลักษณะคดีที่คณะกรรมการมีคำสั่งจำหน่ายเรื่องออกจากสารบบความ
312 อำนาจหน้าที่ระหว่างศาล มีคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล ที่ ๑๒๕/๒๕๖๐ ว่า คดีอยู่ในอำนาจ ของศาลปกครอง ผู้ร้องซึ่งเป็นทนายความโจทก์ทั้งสิบสามยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาด อำนาจหน้าที่ระหว่างศาล เพื่อขอให้ทบทวนคำวินิจฉัยและมีคำวินิจฉัยใหม่ว่า คดีนี้เป็นคดีพิพาท เกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน อยู่ในอำนาจของศาลยุติธรรม เห็นว่า พระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาด อำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง (๓) บัญญัติว่า ถ้าศาลที่ส่งความเห็น และศาลที่รับความเห็นมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องเขตอำนาจศาลในคดีนั้น ให้ศาลที่ส่งความเห็น ส่งเรื่องไปให้คณะกรรมการพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดให้เสร็จสิ้นภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับเรื่อง แต่ถ้ามีเหตุจำเป็นให้คณะกรรมการลงมติให้ขยายเวลาออกไปได้ไม่เกินสามสิบวัน โดยให้บันทึกเหตุ แห่งความจำเป็นนั้นไว้ด้วย และวรรคสองของมาตราดังกล่าว บัญญัติให้คำวินิจฉัยของคณะกรรมการ ที่เกี่ยวกับเขตอำนาจศาลตามวรรคหนึ่ง (๓) ให้เป็นที่สุด ดังนั้น เมื่อคดีนี้คณะกรรมการได้มีคำวินิจฉัยชี้ขาด อำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๑๒๕/๒๕๖๐ ว่า คดีนี้เป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับความชอบด้วยกฎหมาย ของพระราชกฤษฎีกาหรือกฎที่ออกโดยคณะรัฐมนตรี หรือโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี ซึ่งอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด ตามมาตรา ๑๑ (๒) แห่งพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ คำวินิจฉัยของคณะกรรมการเกี่ยวกับ เขตอำนาจศาลในคดีนี้ จึงถือเป็นที่สุด ตามมาตรา ๑๐ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วย การวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ ผู้ร้องไม่มีอำนาจยื่นคำร้องนี้ * คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล (คำสั่ง) ที่ ๑/๒๕๖๑ วินิจฉัยทำนองเดียวกัน คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล (คำสั่ง) ที่ ๕๑/๒๕๖๐ จำเลยโต้แย้งเขตอำนาจศาลไว้ในคำให้การว่าคดีไม่อยู่ในอำนาจของศาลยุติธรรม โดยไม่ได้ทำเป็นคำร้องยื่นต่อศาลเป็นการเฉพาะ จึงเป็นการโต้แย้งเขตอำนาจศาลที่ไม่ชอบด้วย พระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ ทั้งไม่ใช่กรณี ที่ศาลเห็นเองว่าคดีไม่อยู่ในอำนาจของศาลตนเองอันจะถือได้ว่ามีปัญหาขัดแย้งกันเกี่ยวกับ เขตอำนาจศาล กรณีจึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง และวรรคสาม อาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติ ว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๗ วรรคสอง ประกอบข้อบังคับ คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล ว่าด้วยวิธีการเสนอเรื่อง การพิจารณา และวินิจฉัย พ.ศ. ๒๕๔๔ ข้อ ๒๙ (๒) ให้จำหน่ายเรื่องออกจากสารบบความ คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล (คำสั่ง) ที่ ๓๘/๒๕๕๙ ผู้ฟ้องคดียื่นฟ้องคดีต่อศาลปกครอง แต่ผู้ถูกฟ้องคดีโต้แย้งเขตอำนาจศาล ต่อมา คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลมีคำวินิจฉัยว่า คดีของผู้ฟ้องคดีเป็นคดีที่อยู่ ในอำนาจของศาลยุติธรรม ศาลปกครองจึงมีคำสั่งให้โอนคดีไปยังศาลยุติธรรม ผู้ฟ้องคดีจึงยื่นคำร้อง ลักษณะคดีที่คณะกรรมการมีคำสั่งจำหน่ายเรื่องออกจากสารบบความ
ลักษณะคดีที่มีคำสั่งจำหน่ายเรื่อง ออกจากสารบบความ รวมย่อคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่น่าสนใจ พ.ศ. ๒๕๕๖ - ๒๕๖๕ 313 โดยตรงต่อคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลว่า คำวินิจฉัยดังกล่าวก่อให้เกิด ความไม่สะดวกในการฟ้องคดีที่ศาลยุติธรรม ขอให้วินิจฉัยว่าคดีนี้อยู่ในอำนาจของศาลปกครอง เห็นว่า การยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการโดยตรงเพื่อพิจารณานั้นจะต้องเป็นกรณีคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุด ขัดแย้งกันตามมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ เท่านั้น แต่ตามคำร้องของผู้ร้องเป็นการขอให้วินิจฉัยเกี่ยวกับการปฏิบัติตามคำสั่ง ของศาลปกครอง ซึ่งได้ดำเนินกระบวนพิจารณาตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจ หน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๑ โดยชอบแล้ว คำร้องดังกล่าวของผู้ร้องจึงไม่ชอบด้วย พระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๗ วรรคสอง ประกอบข้อบังคับคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล ว่าด้วยวิธีการเสนอเรื่อง การพิจารณาและวินิจฉัย พ.ศ. ๒๕๔๔ ข้อ ๒๘ ให้ยกคำร้อง คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล (คำสั่ง) ที่ ๓๗/๒๕๕๙ ข้อเท็จจริงตามคำร้องปรากฏว่า ในระหว่างพิจารณาคดีที่ศาลจังหวัดกบินทร์บุรีซึ่งเป็นศาล ที่รับฟ้อง จำเลยยื่นคำร้องว่าคดีไม่อยู่ในอำนาจของศาลที่รับฟ้อง แต่อยู่ในอำนาจของศาลปกครอง ศาลจังหวัดกบินทร์บุรีได้จัดทำความเห็นว่าคดีอยู่ในเขตอำนาจของตนแล้วส่งไปให้ศาลปกครองระยอง ซึ่งเป็นศาลที่รับความเห็นและศาลปกครองระยองมีความเห็นพ้องกันกับศาลจังหวัดกบินทร์บุรีว่า คดีอยู่ในเขตอำนาจของศาลจังหวัดกบินทร์บุรี ศาลจังหวัดกบินทร์บุรีจึงมีคำสั่งให้ดำเนินกระบวนพิจารณา ต่อไป กรณีจึงเป็นการที่ศาลที่รับฟ้องปฏิบัติตามมาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง (๑) โดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว และไม่มีกรณีขัดแย้งกันเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่จะต้องส่งเรื่องให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาด อำนาจหน้าที่ระหว่างศาลทำการพิจารณาวินิจฉัยอีก ทั้งบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวข้างต้น มิได้ให้อำนาจผู้ร้องที่จะยื่นเรื่องโดยตรงต่อคณะกรรมการได้ การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้คณะกรรมการ วินิจฉัยชี้ขาดว่าศาลจังหวัดกบินทร์บุรีไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีในคดีดังกล่าวอีกครั้ง จึงเป็นคำร้องที่ไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ ให้ยกคำร้อง คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล (คำสั่ง) ที่ ๒๗/๒๕๕๘ การเสนอปัญหาเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการ วินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มีได้ ๒ กรณีคือ การที่คู่ความฝ่ายที่ถูกฟ้อง ยื่นคำร้องโต้แย้งเขตอำนาจศาลนั้นต่อศาลที่รับฟ้องตามมาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง กับอีกกรณีหนึ่งคือ การยื่นคำร้องโดยตรงต่อคณะกรรมการ ขอให้วินิจฉัยเกี่ยวกับการปฏิบัติตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง อันถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกันตามมาตรา ๑๔ ดังนั้น การที่จำเลยในคดีแพ่งของศาลยุติธรรม ยื่นคำร้องโดยตรงต่อคณะกรรมการ ขอให้วินิจฉัยชี้ขาดว่าคดีของศาลปกครองนครศรีธรรมราช หมายเลขแดงที่ ๑๖๗ - ๑๗๖/๒๕๔๘ อยู่ในอำนาจของศาลยุติธรรมหรือศาลปกครอง จึงไม่ชอบ ลักษณะคดีที่คณะกรรมการมีคำสั่งจำหน่ายเรื่องออกจากสารบบความ
314 คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล (คำสั่ง) ที่ ๑/๒๕๕๗ คดีที่ผู้ร้องยื่นคำร้องโดยตรงต่อคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล ขอให้วินิจฉัยชี้ขาดกรณีผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ถูกฟ้องคดี มีความเห็นแตกต่างในเรื่องเขตอำนาจศาล กับผู้ฟ้องคดีในคดีที่อยู่ระหว่างพิจารณาของศาลปกครอง เมื่อการยื่นคำร้องของผู้ร้องคดีนี้ มิใช่กรณี การเริ่มกระบวนการโดยยื่นคำร้องต่อศาลที่รับฟ้องคดีเพื่อให้ส่งความเห็นไปยังศาลที่ผู้ร้องเห็นว่า อยู่ในเขตอำนาจ และศาลที่ส่งความเห็นกับศาลที่รับความเห็นมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่อง เขตอำนาจศาล ตามมาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง (๓) กรณีดังกล่าวจึงยังไม่เข้าสู่กระบวนการวินิจฉัยชี้ขาด อำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่คณะกรรมการจะมีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดได้ตามพระราชบัญญัติว่าด้วย การวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ จึงเป็นคำร้องที่ไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติ ว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง ชอบที่คณะกรรมการ จะมีคำสั่งให้ยกคำร้องตามข้อบังคับคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล ว่าด้วย วิธีการเสนอเรื่อง การพิจารณาและวินิจฉัย พ.ศ. ๒๕๔๔ ข้อ ๒๘ คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล (คำสั่ง) ที่ ๑๒๔/๒๕๕๖ โจทก์ยื่นคำร้องขอถอนฟ้องและศาลมีคำสั่งอนุญาตแล้ว การพิจารณาประเด็นเรื่อง เขตอำนาจศาลตามคำร้องของจำเลย จึงไม่เป็นประโยชน์ที่คณะกรรมการจะพิจารณาอีกต่อไป ให้จำหน่ายเรื่องออกจากสารบบความ ตามข้อบังคับคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล ว่าด้วยวิธีการเสนอเรื่อง การพิจารณาและวินิจฉัย พ.ศ. ๒๕๔๔ ข้อ ๒๙ (๓) คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล (คำสั่ง) ที่ ๑๒๓/๒๕๕๖ คดีที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้พิจารณาชี้ขาดกรณีศาลรัฐธรรมนูญมีมติรับคำร้องที่ขอให้ พิจารณาวินิจฉัยว่าร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๗ ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ และการมีคำสั่งให้บุคคลที่เกี่ยวข้องทำคำชี้แจงต่อศาลรัฐธรรมนูญ เป็นการไม่ชอบ เห็นว่า คำร้องดังกล่าวเป็นการกล่าวอ้างว่าศาลรัฐธรรมนูญกระทำการโดยไม่ชอบ ด้วยกฎหมาย จึงมิใช่กรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลยุติธรรม ศาลปกครอง ศาลทหาร หรือศาลอื่น ที่คณะกรรมการจะมีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดได้ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๑๙๙ และพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ คำร้องดังกล่าวจึงเป็นการไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ อาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๗ วรรคสอง ประกอบข้อบังคับคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ ระหว่างศาล ว่าด้วยวิธีการเสนอเรื่อง การพิจารณาและวินิจฉัย พ.ศ. ๒๕๔๔ ข้อ ๒๘ จึงมีคำสั่ง ให้ยกคำร้อง ลักษณะคดีที่คณะกรรมการมีคำสั่งจำหน่ายเรื่องออกจากสารบบความ
ลักษณะคดีที่มีคำสั่งจำหน่ายเรื่อง ออกจากสารบบความ รวมย่อคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่น่าสนใจ พ.ศ. ๒๕๕๖ - ๒๕๖๕ 315 คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล (คำสั่ง) ที่ ๑๐๒/๒๕๕๖ คดีที่อดีตปลัดกระทรวงกลาโหมยื่นฟ้องเจ้าหน้าที่ของรัฐและหน่วยงานทางปกครอง ต้นสังกัด ผู้ถูกฟ้องคดี ต่อศาลปกครองกลาง และผู้ถูกฟ้องคดียื่นคำร้องโต้แย้งเขตอำนาจศาล ว่าคดีอยู่ในเขตอำนาจศาลทหาร แต่ศาลปกครองกลางเห็นว่าคดีอยู่ในเขตอำนาจของตนแล้วส่งเรื่อง ไปให้ศาลทหารกรุงเทพทำความเห็น ศาลทหารกรุงเทพเห็นว่าคดีอยู่ในเขตอำนาจศาลยุติธรรม ศาลปกครองกลางโดยสำนักงานศาลปกครองจึงส่งเรื่องให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ ระหว่างศาลพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาด เห็นว่า โดยเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาด อำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง ต้องการให้ศาลที่เกี่ยวข้องได้จัดทำ ความเห็นเรื่องเขตอำนาจศาล เพราะในท้ายที่สุดอาจมีการโอนหรือจำหน่ายคดีเพื่อให้คู่ความไปฟ้อง ยังศาลที่มีเขตอำนาจในคดีนั้น กรณีนี้แม้ศาลปกครองกลางและศาลทหารกรุงเทพจะมีความเห็นไม่ตรงกัน ในเรื่องเขตอำนาจศาล แต่เมื่อศาลทหารกรุงเทพมีความเห็นว่าคดีอยู่ในเขตอำนาจศาลยุติธรรม ซึ่งไม่ใช่ศาลที่ผู้ถูกฟ้องคดี ยื่นคำร้องว่าเป็นศาลที่มีเขตอำนาจเหนือคดี และศาลยุติธรรมก็ไม่ใช่ ศาลที่เกี่ยวข้องหรือมีส่วนร่วมในการจัดทำความเห็นในคดีนี้ หรืออีกนัยหนึ่งอาจถือได้ว่า ทั้งศาลปกครองกลางและศาลทหารกรุงเทพมิได้มีความเห็นแตกต่างกันว่าคดีไม่อยู่ในเขตอำนาจ ศาลทหาร กรณีถือไม่ได้ว่ามีการขัดแย้งกันเกี่ยวกับอำนาจศาล จึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง (๓) และวรรคสาม ชอบที่คณะกรรมการจะมีคำสั่งให้จำหน่ายเรื่องออกจากสารบบความ ตามข้อบังคับคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล ว่าด้วยวิธีการเสนอเรื่อง การพิจารณา และวินิจฉัย พ.ศ. ๒๕๔๔ ข้อ ๒๙ (๒) คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล (คำสั่ง) ที่ ๖๕/๒๕๕๖ คดีที่เอกชนยื่นฟ้องผู้ใหญ่บ้าน นายกองค์การบริหารส่วนตำบล และนายอำเภอเรื่องที่ดิน โดยจำเลยให้การโต้แย้งเขตอำนาจศาลในคำให้การว่า เป็นคดีปกครองอยู่ในอำนาจของศาลปกครอง ศาลจังหวัดจัดทำความเห็นว่าคดีอยู่ในเขตอำนาจของตนแล้วส่งให้ศาลปกครองจัดทำความเห็น เกี่ยวกับอำนาจศาล เมื่อพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง กำหนดว่า หากคู่ความฝ่ายที่ถูกฟ้องเห็นว่า คดีอยู่ในเขตอำนาจของอีกศาลหนึ่ง ก็จะต้องยื่นคำร้องก่อนวันสืบพยานของศาลยุติธรรม การโต้แย้งอำนาจศาลจึงต้องทำเป็นคำร้อง แต่การโต้แย้งของจำเลยไว้ในคำให้การจึงเป็นเพียงข้อต่อสู้คดีเท่านั้น ไม่ได้จัดทำเป็นคำร้องยื่นต่อศาล เป็นการเฉพาะ จึงเป็นการโต้แย้งอำนาจศาลที่ไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติดังกล่าว ส่วนในกรณีที่ ศาลเห็นเองเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลนั้น ตามพระราชบัญญัติดังกล่าว มาตรา ๑๐ วรรคสาม ให้ใช้ความตามมาตรา ๑๐ บังคับกับกรณีที่ศาลเห็นเองโดยอนุโลมซึ่งจะต้องเป็นกรณีที่ศาลเห็นเองว่า คดีอยู่ในเขตอำนาจของศาลอื่น มิใช่เห็นว่าอยู่ในอำนาจของศาลตน เมื่อปรากฏว่าจำเลยมิได้ดำเนิน กระบวนพิจารณาตามที่กฎหมายกำหนด ทั้งมิใช่กรณีที่ศาลเห็นเองว่าคดีอยู่ในอำนาจของศาลอื่น จึงถือไม่ได้ว่ามีการขัดแย้งกันเกี่ยวกับอำนาจศาล กรณีไม่ต้องด้วยบทบัญญัติตามพระราชบัญญัติ ว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่งและวรรคสาม ให้จำหน่ายเรื่องออกจากสารบบความ ลักษณะคดีที่คณะกรรมการมีคำสั่งจำหน่ายเรื่องออกจากสารบบความ
บันทึก ______________________________________________________________________________________________________ ______________________________________________________________________________________________________ ______________________________________________________________________________________________________ ______________________________________________________________________________________________________ ______________________________________________________________________________________________________ ______________________________________________________________________________________________________ ______________________________________________________________________________________________________ ______________________________________________________________________________________________________ ______________________________________________________________________________________________________ ______________________________________________________________________________________________________ ______________________________________________________________________________________________________ ______________________________________________________________________________________________________ ______________________________________________________________________________________________________ ______________________________________________________________________________________________________ ______________________________________________________________________________________________________ ______________________________________________________________________________________________________ ______________________________________________________________________________________________________ ______________________________________________________________________________________________________ ______________________________________________________________________________________________________ ______________________________________________________________________________________________________ ______________________________________________________________________________________________________ ______________________________________________________________________________________________________ ______________________________________________________________________________________________________ ______________________________________________________________________________________________________ ______________________________________________________________________________________________________ ______________________________________________________________________________________________________
บันทึก ______________________________________________________________________________________________________ ______________________________________________________________________________________________________ ______________________________________________________________________________________________________ ______________________________________________________________________________________________________ ______________________________________________________________________________________________________ ______________________________________________________________________________________________________ ______________________________________________________________________________________________________ ______________________________________________________________________________________________________ ______________________________________________________________________________________________________ ______________________________________________________________________________________________________ ______________________________________________________________________________________________________ ______________________________________________________________________________________________________ ______________________________________________________________________________________________________ ______________________________________________________________________________________________________ ______________________________________________________________________________________________________ ______________________________________________________________________________________________________ ______________________________________________________________________________________________________ ______________________________________________________________________________________________________ ______________________________________________________________________________________________________ ______________________________________________________________________________________________________ ______________________________________________________________________________________________________ ______________________________________________________________________________________________________ ______________________________________________________________________________________________________ ______________________________________________________________________________________________________ ______________________________________________________________________________________________________ ______________________________________________________________________________________________________
นายชาติชาย เหลืองอ่อน เลขานุการศาลฎีกา เลขานุการคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล นางคิดงาม คงตระกูล ลี ผู้พิพากษาศาลชั้นต้นประจำกองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา ผู้ช่วยเลขานุการคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล นางธนิศรา สิงหาจุลเกตุ ผู้พิพากษาศาลชั้นต้นประจำกองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา ผู้ช่วยเลขานุการคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล นางสาวภัทธิรา ศิริรักษ์ นางสาวดวงใจ กรุงกาญจนา นางสาวพัณณกร รักประยูร เรืออากาศตรีดำรงฤทธิ์ ยอดชลูด นางวลัยมาศ คุปต์กาญจนากุล นายธนกร หมานบุตร นางสาววิระวีจันทันแก้ว นางสาวอุษณา วินิจเขตคำณวน นายอดิศักดิ์ ปานภักดี นางดวงฤทัย ทานทน นายธีรดนย์ สิ้นภัย นางสาวจุฑารัตน์ รัตนโชติ นางสาวเพ็ญศิรินิลน้ำคำ นายภาณุมาศ อำคา นางสาวจุฑามาศ อิ่มใจ นางณัฐชยา แก่นบุญ นางสาวกัญธิมา ศรีสด สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาด อำนาจหน้าที่ระหว่างศาล เลขที่ ๖/๑ ถนนราชินีแขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ๑๐๒๐๐ โทรศัพท์ ๐ ๒๒๒๓ ๐๔๘๕ โทรสาร ๐ ๒๒๒๓ ๐๔๙๐ Website : https://oscj.coj.go.th E-mail : [email protected] ที่ปรึกษา ผู้อำนวยการ โทรศัพท์ ๐ ๒๒๒๓ ๐๔๗๕ กลุ่มงานช่วยอำนวยการ โทรศัพท์ ๐ ๒๒๒๓ ๐๔๗๘ โทรสาร ๐ ๒๒๒๓ ๐๔๙๐ กลุ่มงานส่งเสริมและเผยแพร่ โทรศัพท์ ๐ ๒๒๒๓ ๐๕๑๓ โทรสาร ๐ ๒๒๒๓ ๐๔๙๐ กลุ่มงานดำเนินการข้อพิพาท โทรศัพท์ ๐ ๒๒๒๓ ๐๔๙๒ ๐ ๒๒๒๓ ๐๕๑๒ ๐ ๒๒๒๓ ๐๕๑๑ โทรสาร ๐ ๒๒๒๓ ๐๕๑๐ สถานที่ติดต่อ