คดีพิพาทเกี่ยวกับ เขตอำนาจของศาลปกครอง รวมย่อคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่น่าสนใจ พ.ศ. ๒๕๕๖ - ๒๕๖๕ 241 สาธารณะโดยตรง แต่เป็นเพียงสัญญาต่างตอบแทนที่เป็นไปเพื่อการจัดหาประโยชน์ระหว่างคู่สัญญา เช่นเดียวกับสัญญาทางแพ่งระหว่างเอกชนด้วยกันเองที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๕/๒๕๖๐ แม้สัญญาจ้างเหมาโครงการก่อสร้างปรับปรุงขยายการประปา ระหว่างห้างหุ้นส่วนจำกัด ศ. กับการประปาส่วนภูมิภาค จะเป็นสัญญาทางปกครอง และสัญญาค้ำประกันของธนาคารโจทก์ ต่อการประปาส่วนภูมิภาคที่ค้ำประกันห้างหุ้นส่วนจำกัด ศ. ในการปฏิบัติตามสัญญาดังกล่าว จะเป็นสัญญาอุปกรณ์ของสัญญาหลัก ซึ่งเป็นสัญญาทางปกครองด้วย แต่สัญญาค้ำประกันของจำเลย เป็นสัญญาที่จำเลยทำต่อธนาคารโจทก์เพื่อค้ำประกันห้างหุ้นส่วนจำกัด ศ. หากผิดนัดไม่ใช้เงินแก่ การประปาส่วนภูมิภาคจนเป็นเหตุให้ธนาคารโจทก์ต้องชำระหนี้แทน จำเลยจะชำระเงินให้แก่ ธนาคารโจทก์แทนห้างหุ้นส่วนจำกัด ศ. มิใช่สัญญาที่จำเลยทำกับการประปาส่วนภูมิภาคว่า หากธนาคารโจทก์ผู้ค้ำประกันไม่ชำระหนี้แทนห้างหุ้นส่วนจำกัด ศ. จำเลยจะเข้าชำระหนี้แทน สัญญา ดังกล่าวจึงมิใช่สัญญาค้ำประกันของผู้ค้ำประกันตามมาตรา ๖๘๒ แห่งประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์ที่จะเป็นสัญญาอุปกรณ์ของสัญญาจ้างเหมาโครงการก่อสร้างปรับปรุงขยายการประปา แต่เป็นสัญญาที่จำเลยทำกับธนาคารโจทก์โดยยินยอมจะชำระหนี้ให้แก่ธนาคารโจทก์เพื่อเป็นการ ประกันการปฏิบัติตามสัญญาของห้างหุ้นส่วนจำกัด ศ. ซึ่งแยกออกได้จากสัญญาจ้างเหมาโครงการ ก่อสร้างปรับปรุงขยายการประปาที่ห้างหุ้นส่วนจำกัด ศ. ทำกับการประปาส่วนภูมิภาค และสัญญา ค้ำประกันที่ธนาคารโจทก์ทำต่อการประปาส่วนภูมิภาคเพื่อค้ำประกันห้างหุ้นส่วนจำกัด ศ. อันเป็นสัญญาทางปกครอง เมื่อสัญญาพิพาทเป็นสัญญาที่คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายเป็นเอกชน และมีวัตถุ แห่งสัญญาเป็นการค้ำประกันการปฏิบัติตามสัญญาของห้างหุ้นส่วนจำกัด ศ. ที่มีต่อโจทก์ จึงเป็น ความสัมพันธ์ของเอกชนในทางแพ่ง ไม่เข้าลักษณะเป็นสัญญาทางปกครองตามพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๓ สัญญาพิพาทจึงเป็นสัญญา ทางแพ่งที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๑๐๙/๒๕๕๙ คดีที่โจทก์เป็นผู้ประกอบการโรงพยาบาลเอกชนยื่นฟ้องจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นเอกชนด้วยกัน ขอให้บังคับจำเลยทั้งสองชำระเงินค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลที่ค้างชำระ เมื่อโจทก์ฟ้องจำเลยที่ ๑ กรณีเข้ารับการตรวจรักษาและเข้าพักรักษาพยาบาลที่โรงพยาบาลโจทก์ โดยจำเลยที่ ๒ เข้าผูกพันตน เข้ารับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลของจำเลยที่ ๑ อันเป็นคดีพิพาทระหว่างเอกชนกับ เอกชนด้วยกันเกี่ยวกับสัญญาเข้ารับการรักษาพยาบาลซึ่งมีลักษณะเป็นสัญญาทางแพ่ง คดีจึงอยู่ใน อำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม ส่วนสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ จำเลยร่วม ซึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครองตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณา คดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ แม้จำเลยทั้งสองกล่าวอ้างในคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งเรียกเข้าเป็นจำเลยร่วมว่า คดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางแพ่ง อยู่ในเขตอำนาจของศาลยุติธรรม
242 การเจ็บป่วยของจำเลยที่ ๑ เป็นกรณีเจ็บป่วยฉุกเฉินซึ่งจำเลยร่วมมีหน้าที่ชำระค่ารักษาพยาบาล ของจำเลยที่ ๑ ให้แก่โรงพยาบาลโจทก์เต็มจำนวน ตามข้อบังคับคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพ แห่งชาติ ว่าด้วยการใช้สิทธิรับบริการสาธารณสุข กรณีมีเหตุสมควร กรณีอุบัติเหตุ หรือกรณีเจ็บป่วย ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๕๕ มิใช่ตามจำนวนที่จำเลยร่วมจ่ายให้โจทก์ไปเพียงบางส่วน แต่เมื่อโจทก์ฟ้องคดี โดยมีเจตนาให้จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นคู่สัญญารับผิดชำระหนี้ตามสัญญาเข้ารับการรักษาพยาบาลเป็นหลัก และจำเลยทั้งสองขอให้เรียกจำเลยร่วมเข้ามาในคดี โดยมีเจตนาให้ศาลได้พิจารณาข้อพิพาทเกี่ยวกับ ความรับผิดของจำเลยทั้งสองที่มีต่อโจทก์ และความรับผิดของจำเลยร่วมที่มีต่อจำเลยทั้งสอง รวมไปในคราวเดียวกัน ทั้งปัญหาว่าจำเลยร่วมต้องรับผิดชำระค่าใช้จ่ายแทนหรือแบ่งส่วนความรับผิด กับจำเลยทั้งสองหรือไม่นั้น เป็นประเด็นเกี่ยวพันและมีผลต่อความรับผิดตามสัญญาเข้ารับการรักษา พยาบาลของจำเลยทั้งสองที่มีต่อโจทก์ซึ่งเป็นข้อพิพาททางแพ่ง คดีนี้จึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษา ของศาลยุติธรรม คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๔๑/๒๕๕๙ แม้จำเลยจะเป็นมหาวิทยาลัยเอกชน แต่อาจเป็น “หน่วยงานทางปกครอง” ตาม พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ได้ หากจำเลยกระทำการใด โดยใช้อำนาจทางปกครองหรือดำเนินกิจการทางปกครองตามที่ได้รับมอบอำนาจจากรัฐ ซึ่งจะอยู่ ภายใต้ระบบกฎหมายมหาชน แต่หากกระทำการโดยมิได้ใช้อำนาจหรือมิได้ดำเนินกิจการทางปกครอง การกระทำของจำเลยย่อมเป็นการกระทำในฐานะเอกชนทั่วไป และอยู่ภายใต้ระบบกฎหมายเอกชน การที่จำเลยซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยเอกชนทำสัญญาจ้างโจทก์ให้ทำงานในตำแหน่งอาจารย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ แม้จะเป็นการจ้างให้โจทก์มาทำหน้าที่สอนหนังสือหรืองานทางวิชาการอันเป็น การจ้างให้มาทำบริการสาธารณะด้านการศึกษา แต่การทำสัญญาจ้างระหว่างจำเลยกับโจทก์ จำเลย กระทำในฐานะเอกชน มิได้ใช้อำนาจตามกฎหมายหรือดำเนินกิจการทางปกครองตามที่ได้รับมอบหมายมา จำเลยจึงมิได้กระทำการในฐานะหน่วยงานทางปกครอง สัญญาจ้างระหว่างจำเลยผู้ว่าจ้างกับโจทก์ ผู้รับจ้าง จึงไม่ใช่สัญญาทางปกครอง เนื่องจากไม่มีคู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครอง หรือเป็นบุคคลที่กระทำการแทนรัฐ ตามบทนิยามสัญญาทางปกครองตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ แต่เป็นสัญญาจ้างแรงงานในระบบ กฎหมายเอกชน คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๒๖/๒๕๕๙ คดีที่เอกชนเป็นโจทก์ยื่นฟ้องมหาวิทยาลัยของรัฐเรียกค่าเสียหายจากการบอกเลิก สัญญาว่าจ้างโจทก์ให้บริการในการเดินทางศึกษาดูงานของนักศึกษาโครงการบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สำหรับผู้จัดการยุคใหม่ ณ ประเทศญี่ปุ่น กับให้จำเลยคืนหนังสือค้ำประกันและชำระค่าธรรมเนียม หนังสือค้ำประกัน เห็นว่า ข้อกำหนดของสัญญามีลักษณะเป็นสัญญาจ้างเหมาบริการซึ่งเป็นสัญญาจ้าง คดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางแพ่ง อยู่ในเขตอำนาจของศาลยุติธรรม
คดีพิพาทเกี่ยวกับ เขตอำนาจของศาลปกครอง รวมย่อคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่น่าสนใจ พ.ศ. ๒๕๕๖ - ๒๕๖๕ 243 ทำของทั่วไป แม้ขอบเขตของงาน (TOR) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาระบุวัตถุประสงค์ว่าเพื่อให้นักศึกษา ได้รับความรู้ประสบการณ์จริงเกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจ สามารถประยุกต์ใช้ในการเรียนและ การปฏิบัติงานจริง ก็เป็นเพียงวัตถุประสงค์ของการศึกษาดูงานตามโครงการ มิใช่วัตถุประสงค์ให้โจทก์ เข้าจัดทำบริการสาธารณะเสียเอง ประกอบกับขอบเขตของงานตามสัญญาและที่กำหนดในใบเสนอราคา ล้วนเป็นบริการเกี่ยวกับการจองตั๋วเครื่องบินค่าธรรมเนียมการเข้าชมสถานที่ต่าง ๆ การผ่านแดน ค่าพาหนะ ค่าโรงแรม ค่าอาหาร ค่าจัดทำเอกสารการเดินทาง กระเป๋า และเสื้อโปโลของคณะเดินทาง รวมถึงค่าประกันอุบัติเหตุต่าง ๆ ซึ่งเป็นการจ้างเหมาบริการเท่านั้น แม้จะปรากฏว่ามีค่าบริการ เป็นค่าใช้จ่ายสำหรับสถานที่ศึกษาดูงานด้วย หน้าที่ของโจทก์ก็เป็นเพียงนายหน้าในการพาคณะนักศึกษา เข้าศึกษาดูงานในสถานที่ดังกล่าว แต่มิใช่เป็นการให้โจทก์เข้าร่วมจัดทำบริการสาธารณะโดยตรง อันจะถือว่าเป็นสัญญาที่ให้จัดทำบริการสาธารณะ ทั้งสัญญาพิพาทไม่มีลักษณะเป็นสัญญาสัมปทาน หรือสัญญาจัดให้มีสิ่งสาธารณูปโภคหรือสัญญาแสวงประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ ตามบทนิยาม สัญญาทางปกครอง ตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ อันจะอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง สัญญาพิพาทในคดีนี้จึงเป็นเพียง สัญญาทางแพ่งที่มีคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครอง ดังนั้น ข้อพิพาทเกี่ยวกับการไม่ปฏิบัติ ตามสัญญานี้จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางแพ่งที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๑๗/๒๕๕๙ สัญญาที่หน่วยงานทางปกครองให้สิทธิเอกชนดูแลรักษาป้ายโฆษณาไตรวิชั่นเป็นสัญญา ที่หน่วยงานทางปกครองให้เอกชนดูแลรักษาป้ายโฆษณาไตรวิชั่นเพื่อประชาสัมพันธ์ข่าวสารของ หน่วยงานทางปกครอง โดยเอกชนได้สิทธิในการนำป้ายไปใช้ในการโฆษณาสินค้าและบริการของบุคคล ภายนอกเพื่อเป็นรายได้ของตน และหน่วยงานทางปกครองประสงค์เพียงค่าใช้สิทธิเป็นค่าตอบแทน รายเดือนและรายปีเท่านั้น วัตถุประสงค์ของสัญญาจึงเป็นไปเพื่อการจัดหาประโยชน์ระหว่างคู่สัญญา เช่นเดียวกับสัญญาทางแพ่งระหว่างเอกชนด้วยกัน จึงไม่มีลักษณะเป็นสัญญาทางปกครองตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ อันจะอยู่ในอำนาจ พิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง แต่เป็นสัญญาทางแพ่งของหน่วยงานทางปกครอง ข้อพิพาท ตามสัญญาดังกล่าวจึงเป็นข้อพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางแพ่งที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของ ศาลยุติธรรม คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๑๖/๒๕๕๙ คดีที่บริษัทท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) โจทก์ ยื่นฟ้องเอกชน จำเลย ขอให้ชำระ ค่าธรรมเนียมในการขึ้นลงของเครื่องบินและค่าธรรมเนียมที่เก็บเครื่องบินตามข้อตกลงใช้ทรัพย์สิน บริการ และสิ่งอำนวยความสะดวก เลขที่ ๑๒/๒๕๔๗ เห็นว่า โจทก์เคยเป็นรัฐวิสาหกิจที่ได้จัดตั้งขึ้น ตามพระราชบัญญัติ แต่ต่อมาได้ผ่านการแปลงสภาพตามกฎหมายว่าด้วยทุนรัฐวิสาหกิจ ให้กลายมา คดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางแพ่ง อยู่ในเขตอำนาจของศาลยุติธรรม
244 เป็นบริษัทมหาชนจำกัด โจทก์จะเป็นหน่วยงานทางปกครองได้ก็ต่อเมื่อโจทก์ได้กระทำกิจการบางอย่าง ตามที่กฎหมายมอบหมายให้ใช้อำนาจทางปกครองหรือการดำเนินกิจการทางปกครองเท่านั้น เมื่อพิจารณาข้อตกลงการใช้ทรัพย์สิน บริการและสิ่งอำนวยความสะดวกพิพาท มีลักษณะเป็นสัญญา อย่างหนึ่งที่โจทก์ตกลงให้จำเลยได้รับบริการและใช้ทรัพย์สินของโจทก์ โดยจำเลยยินยอมชำระ ค่าตอบแทน อันเป็นการประกอบกิจการเชิงพาณิชย์ของโจทก์ ทั้งการกำหนดแบบและรายละเอียด ของข้อตกลงก็เป็นการผูกนิติสัมพันธ์บนพื้นฐานความเท่าเทียมกันของคู่สัญญา การทำข้อตกลงดังกล่าว ของโจทก์จึงมิได้มีลักษณะเป็นการใช้อำนาจทางปกครองหรือดำเนินกิจการทางปกครองตามที่ได้รับ มอบหมาย จึงไม่ใช่การกระทำในฐานะที่เป็นหน่วยงานทางปกครองตามบทนิยามของมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ข้อตกลงการใช้ ทรัพย์สิน บริการ และสิ่งอำนวยความสะดวกพิพาท จึงมิใช่สัญญาที่คู่สัญญาอย่างน้อยฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง เป็นหน่วยงานทางปกครองหรือเป็นบุคคลซึ่งกระทำการแทนรัฐ และมีลักษณะเป็นสัญญาสัมปทาน สัญญาที่ให้จัดทำบริการสาธารณะ หรือจัดให้มีสิ่งสาธารณูปโภคหรือแสวงประโยชน์จากทรัพยากร ธรรมชาติ ตามบทนิยามสัญญาทางปกครอง ตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครอง และวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ อันจะอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง หากแต่เป็นสัญญาทางแพ่งที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม นอกจากนี้ ข้อตกลงดังกล่าวเป็นเพียงเงื่อนไขในการตกลงเรื่องค่าธรรมเนียมระหว่าง ผู้ให้บริการและผู้ใช้บริการ ไม่มีผลเปลี่ยนแปลงสาระสำคัญของข้อพิพาทตามสัญญาทางแพ่ง ให้กลายเป็นเรื่องการกระทำทางปกครองไปได้ การเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการใช้บริการของโจทก์ ในคดีนี้ จึงเป็นการใช้สิทธิตามข้อตกลงของคู่สัญญามิได้เป็นการใช้อำนาจตามกฎหมาย ทั้งข้อเท็จจริง ในคดีนี้เป็นเรื่องการฟ้องให้เอกชนรับผิดจากการผิดข้อตกลง จึงไม่เข้าหลักเกณฑ์ความรับผิดอย่างอื่น ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๔๓/๒๕๕๘ คดีที่เอกชนฟ้องหน่วยงานทางปกครองขอให้เพิกถอนโฉนดที่ดินกับให้ผู้ถูกฟ้องคดี คืนที่ดินให้แก่ผู้ฟ้องคดี เนื่องจากผู้ถูกฟ้องคดีนำที่ดินไปใช้ผิดวัตถุประสงค์ในการยกที่ดินให้ และนำที่ดิน ไปรวมกับที่ดินแปลงอื่นออกโฉนดที่ดินโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย เมื่อพิจารณาข้อตกลงหรือเงื่อนไข ในการยกให้ระหว่างเจ้าของที่ดินเดิมกับผู้ถูกฟ้องคดี แม้จะมีคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครอง แต่สาระสำคัญเป็นเพียงการอุทิศที่ดินให้แก่ผู้ถูกฟ้องคดี ซึ่งตามข้อตกลงในการให้ที่ดินนี้ เป็นกรณี ที่ผู้ให้มุ่งผูกพันตนกับผู้ถูกฟ้องคดีด้วยใจสมัครบนพื้นฐานแห่งความเสมอภาค ข้อตกลงในการอุทิศ ที่ดินให้แก่ผู้ถูกฟ้องคดีจึงเป็นข้อตกลงทางแพ่ง ซึ่งมีลักษณะเป็นการให้ตามประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์ มิได้มีลักษณะเป็นสัญญาทางปกครอง ตามบทนิยามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ เมื่อข้อพิพาทในคดีนี้เป็นคดีพิพาท คดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางแพ่ง อยู่ในเขตอำนาจของศาลยุติธรรม
คดีพิพาทเกี่ยวกับ เขตอำนาจของศาลปกครอง รวมย่อคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่น่าสนใจ พ.ศ. ๒๕๕๖ - ๒๕๖๕ 245 เกี่ยวกับข้อตกลงในการอุทิศที่ดินให้แก่ผู้ถูกฟ้องคดี ทั้งมิใช่คดีพิพาทเกี่ยวกับการใช้อำนาจทางปกครอง ของผู้ถูกฟ้องคดี คดีนี้จึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๑๒๒/๒๕๕๗ การที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติยื่นฟ้องเอกชนตามสัญญาซื้อขายรถจักรยานยนต์นำขบวน พร้อมสัญญาณไฟไซเรนและวิทยุสื่อสาร เพื่อใช้ในภารกิจของโจทก์เกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัย ให้แก่บุคคลสำคัญ จะเห็นได้ว่า โจทก์และจำเลยไม่มีวัตถุประสงค์ให้คู่สัญญาเข้าดำเนินกิจการหรือ เข้าร่วมภารกิจของโจทก์ และวัตถุประสงค์ของสัญญาไม่ได้เป็นไปเพื่อการจัดทำบริการสาธารณะ เป็นแต่เพียงให้ได้มาซึ่งเครื่องมือที่ใช้ในหน่วยงานของโจทก์เท่านั้น ทั้งข้อกำหนดของสัญญามีลักษณะ ผูกพันกันด้วยใจสมัครตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเสมอภาค เมื่อสัญญาพิพาทไม่มีลักษณะเป็นสัญญา ตามบทนิยามในมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ การทำสัญญาระหว่างโจทก์และจำเลยจึงเป็นเพียงการก่อให้เกิดนิติสัมพันธ์ตามกฎหมาย เอกชน แม้สัญญาพิพาทมีคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครอง แต่เมื่อวัตถุประสงค์ของสัญญา มิได้เป็นไปเพื่อการจัดทำบริการสาธารณะอันเป็นแนวคิดพื้นฐานของการจัดให้มีสัญญาทางปกครอง ที่เป็นข้อแตกต่างจากสัญญาทางแพ่ง สัญญาพิพาทจึงเป็นเพียงสัญญาทางแพ่งที่มีหน่วยงาน ทางปกครองเป็นคู่สัญญาเท่านั้น ข้อพิพาทในคดีนี้จึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๗๘/๒๕๕๖ กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษายื่นฟ้องผู้กู้ให้รับผิดตามสัญญากู้ยืมเงินกองทุนเงิน ให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา และให้ผู้ค้ำประกันรับผิดตามสัญญาค้ำประกัน เห็นว่า เนื้อหาของสัญญากู้ยืม เงินกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษามีสาระสำคัญเป็นการให้จำเลยที่ ๑ กู้ยืมเงินโดยกำหนด วิธีชำระเงินคืนเมื่อสำเร็จการศึกษาแล้วเท่านั้น โดยจำเลยที่ ๑ ผู้กู้เป็นผู้รับบริการด้านเงินทุน เพื่อการศึกษาจากโจทก์ จึงเป็นสัญญาทางแพ่ง มิได้มีลักษณะเป็นสัญญาทางปกครองตามที่บัญญัติ ไว้ในมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ และมิใช่สัญญาที่โจทก์มอบให้จำเลยที่ ๑ เข้าดำเนินการบริการสาธารณะโดยตรงหรือเข้าร่วม ดำเนินการจัดทำบริการสาธารณะกับโจทก์ อันมีลักษณะเป็นสัญญาทางปกครอง และแม้โจทก์ มีอำนาจหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติตามกฎหมาย ว่าด้วยกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา โดยเฉพาะ ที่เกี่ยวกับการให้นักเรียนหรือนักศึกษากู้ยืมเงิน การชำระหนี้และการนำเงินส่งกองทุน เพื่อให้เป็นไป ตามหลักเกณฑ์ของกฎหมายด้วยก็ตาม แต่มูลพิพาทคดีนี้ก็เป็นเรื่องการบังคับชำระหนี้ตามข้อตกลง ในสัญญากู้ยืมเงินซึ่งเป็นสัญญาทางแพ่ง มิได้เกี่ยวกับการใช้อำนาจทางปกครองตามบทกฎหมาย ดังกล่าวแต่อย่างใด ข้อพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ ๑ จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางแพ่ง ที่อยู่ในอำนาจของศาลยุติธรรม และข้อพิพาทเกี่ยวกับสัญญาค้ำประกันซึ่งเป็นสัญญาอุปกรณ์ จึงอยู่ ในอำนาจของศาลยุติธรรมเช่นเดียวกัน คดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางแพ่ง อยู่ในเขตอำนาจของศาลยุติธรรม
246 คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๒๑/๒๕๕๖ โทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทยฟ้องการกีฬาแห่งประเทศไทยให้ชำระเงิน ค่าใช้จ่ายในการถ่ายทอดสดการแข่งขันฟุตบอลอาชีพ เห็นว่า เนื้อหาและลักษณะของสัญญาเป็นเพียง สัญญารับจ้างในการแพร่ภาพออกทางสถานีโทรทัศน์และประชาสัมพันธ์กิจกรรมที่จัดขึ้น ไม่มีเนื้อหา เกี่ยวเนื่องกับการบริการสาธารณะแต่อย่างใด จึงเป็นสัญญาจัดหาผู้ดำเนินการเผยแพร่กิจกรรม อันเป็น การสนับสนุนภารกิจของการกีฬาแห่งประเทศไทยเท่านั้น มีลักษณะเป็นสัญญาทางแพ่งปกติ และ ไม่มีลักษณะเป็นสัญญาทางปกครอง คดีจึงอยู่ในอำนาจของศาลยุติธรรม คดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางแพ่ง อยู่ในเขตอำนาจของศาลยุติธรรม
คดีพิพาทเกี่ยวกับ เขตอำนาจของศาลปกครอง รวมย่อคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่น่าสนใจ พ.ศ. ๒๕๕๖ - ๒๕๖๕ 247 คดทีรี�อ้งขอใหเ้พิกถอนหรอืปฏบิตัติามคําชขี�าดของอนญุาโตตลุาการ ตามพระราชบญัญตัอินญุาโตตลุาการ พ.ศ. ๒๕๔๕ จะพิจารณาจากลกัษณะเนอื�หา ของสญัญาทเี�ปน�เหตแุหง่การยนื�คํารอ้งขอใหอ้นญุาโตตลุาการวนิจิฉยัวา่ สญัญาทพี�ิพาทเปน�สญัญาทางปกครอง รวมย่อคําวินิจฉัย คดีพิพาทเกี�ยวกับอนุญาโตตุลาการ คดพี ิพาทเกยี�วกบัอนญุาโตตลุาการ ทอี�ยใู่นเขตอํานาจของศาลปกครอง
248 คดีพิพาทเกี่ยวกับอนุญาโตตุลาการที่อยู่ในเขตอำนาจของศาลปกครอง คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๕๕/๒๕๖๕ คดีที่ บริษัท ซ. ผู้ร้อง ยื่นคำร้องต่อศาลแพ่ง ขอให้ผู้คัดค้าน (เทศบาลเมือง) ปฏิบัติตาม คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ เป็นการยื่นคำร้องตามพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. ๒๕๔๕ โดยมาตรา ๔๒ ของพระราชบัญญัติดังกล่าว บัญญัติว่า “เมื่อคู่พิพาทฝ่ายใดประสงค์จะใหมีการบังคับ ตามคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการ ใหคูพิพาทฝ่ายนั้นยื่นคำรองตอศาลที่มีเขตอำนาจ...” และมาตรา ๙ แห่งพระราชบัญญัติเดียวกัน บัญญัติว่า “ใหศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการคา ระหว่างประเทศกลางหรือศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการคาระหว่างประเทศภาค หรือศาล ที่มีการพิจารณาชั้นอนุญาโตตุลาการอยู่ในเขตศาล หรือศาลที่คูพิพาทฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีภูมิลำเนา อยู่ในเขตศาลหรือศาลที่มีเขตอำนาจพิจารณาพิพากษาข้อพิพาทซึ่งได้เสนอตออนุญาโตตุลาการนั้น เป็นศาลที่มีเขตอำนาจตามพระราชบัญญัตินี้” จึงต้องวินิจฉัยก่อนว่าสัญญาจ้างซึ่งเป็นข้อพิพาท ตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการเป็นสัญญาทางแพ่งหรือสัญญาทางปกครอง ซึ่งจะส่งผลถึง การวินิจฉัยเขตอำนาจศาลในคดีนี้ โดยสัญญาจ้างพิพาทเป็นสัญญาที่ทำขึ้นระหว่างนายกเทศมนตรี กระทำการแทนเทศบาล ผู้ว่าจ้าง กับ บริษัท ซ. ผู้รับจ้าง ได้ความจากคำคัดค้านของผู้คัดค้านว่า สัญญาจ้างดังกล่าวเป็นสัญญาหนึ่งของโครงการแปรรูปขยะพลาสติกเป็นน้ำมันเชื้อเพลิง ซึ่งจังหวัด ประจวบคีรีขันธ์ริเริ่มขึ้นในปี ๒๕๕๐ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ไขปัญหาขยะล้นเมืองแบบยั่งยืน อันเป็นประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อมของท้องถิ่น และประชาชนดำเนินการร่วมกันโดยองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (ตอนเหนือ) ประกอบด้วยเขตอำเภอหัวหิน อำเภอปราณบุรี และองค์การบริหารส่วนจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เป็นคณะกรรมการภาคีความร่วมมือระหว่างองค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ตอนเหนือ อันเป็นการดำเนินการตามแนวทาง การจัดทำบริการสาธารณะร่วมกันระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของกรมส่งเสริมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย โดยมีเทศบาลเมือง ผู้คัดค้าน ดำเนินการบริหารศูนย์โครงการแปรรูปขยะพลาสติก เป็นน้ำมันเชื้อเพลิง ซึ่งเป็นโครงการนำร่องร่วมกับกระทรวงพลังงานเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างครบวงจร โดยมุ่งหวังให้เกิดความยั่งยืน ทั้งด้านการอนุรักษ์พลังงาน สิ่งแวดล้อมคุณภาพชีวิต รวมถึงส่งผลตอบแทน ทางเศรษฐกิจ สัญญาพิพาทจึงเป็นสัญญาที่มีคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครอง และเมื่อพิจารณาวัตถุแห่งสัญญา เป็นการจ้างให้ผู้ร้องซึ่งเป็นเอกชนดำเนินการคัดแยกขยะมูลฝอย เพื่อนำพลาสติกมาแปรรูปเป็นน้ำมันเชื้อเพลิง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของหน้าที่ที่ต้องทำของผู้คัดค้าน ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๕๐ (๓) ประกอบ ๕๓ (๑) แห่งพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. ๒๔๙๖ สัญญาพิพาทจึงเป็นสัญญาที่มีคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครองและมีลักษณะของสัญญา คดีพิพาทเกี่ยวกับอนุญาโตตุลาการ คดีพิพาทเกี่ยวกับอนุญาโตตุลาการที่อยู่ในเขตอำนาจของศาลปกครอง
คดีพิพาทเกี่ยวกับ เขตอำนาจของศาลปกครอง รวมย่อคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่น่าสนใจ พ.ศ. ๒๕๕๖ - ๒๕๖๕ 249 เป็นการมอบหมายให้ผู้ร้องซึ่งเป็นบริษัทเอกชนเข้าร่วมดำเนินการจัดทำบริการสาธารณะในการกำจัด มูลฝอยและสิ่งปฏิกูลที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของผู้คัดค้าน จึงเป็นสัญญาที่ให้เข้าร่วมจัดทำบริการสาธารณะ อันมีลักษณะเป็นสัญญาทางปกครองตามบทนิยามในมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครอง และวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ข้อพิพาทระหว่างผู้ร้องกับผู้คัดค้านตามสัญญาจ้างดังกล่าว จึงเป็นข้อพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๔) แห่งพระราชบัญญัติเดียวกัน ดังนั้นการที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้ผู้คัดค้านปฏิบัติตามคำชี้ขาด ของอนุญาโตตุลาการอันเกิดจากข้อพิพาทตามสัญญาทางปกครอง จึงต้องเสนอต่อศาลปกครอง ซึ่งเป็นศาลที่มีเขตอำนาจพิจารณาพิพากษาข้อพิพาทซึ่งได้เสนอต่ออนุญาโตตุลาการนั้น ตามมาตรา ๙ ประกอบมาตรา ๔๒ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. ๒๕๔๕ คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๑๑๒/๒๕๖๑ การขอให้บังคับคู่ความปฏิบัติตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ ตามมาตรา ๔๒ แห่งพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. ๒๕๔๕ อยู่ในเขตอำนาจของศาลใดนั้น บทบัญญัติ มาตรา ๙ และมาตรา ๔๕ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว บัญญัติให้เขตอำนาจศาลที่พิจารณา พิพากษาคดีเกี่ยวกับข้อพิพาทที่ได้เสนอต่ออนุญาโตตุลาการนั้น อาจมีได้หลายศาลและอาจเป็น ข้อพิพาทที่อยู่ในอำนาจศาลยุติธรรมหรือศาลปกครองก็ได้ หากมีปัญหาโต้แย้งกันว่าคดีควรอยู่ใน อำนาจของศาลใดและมีการเสนอเรื่องต่อคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล คณะกรรมการต้องพิจารณาถึงเจตนารมณ์ของการจัดตั้งระบบศาลคู่ เพื่อให้ประชาชนได้รับการพิจารณา พิพากษาคดีจากศาลที่มีความเชี่ยวชาญในคดีพิพาทนั้น ๆ ข้อเท็จจริงคดีนี้ เมื่อบริษัท ล. ผู้ร้อง ยื่นคำร้องต่อศาลแพ่ง ขอให้บังคับจังหวัด ประจวบคีรีขันธ์ ผู้คัดค้าน ซึ่งเป็นคู่สัญญากับผู้ร้องตามสัญญาจ้างก่อสร้างอาคารอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลหัวหิน ให้ปฏิบัติตามคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการ จึงเป็นข้อพิพาทเกี่ยวกับคำชี้ขาด ของอนุญาโตตุลาการที่สืบเนื่องมาจากสัญญาจ้างก่อสร้างอาคารอุบัติเหตุและฉุกเฉินโรงพยาบาลหัวหิน จึงต้องพิจารณาว่าสัญญาดังกล่าวเป็นสัญญาทางแพ่งหรือสัญญาทางปกครอง เมื่อสัญญาจ้างก่อสร้าง อาคารอุบัติเหตุและฉุกเฉินโรงพยาบาลหัวหินระหว่างผู้คัดค้านและกิจการร่วมค้า อ. มีสาระสำคัญ เป็นการที่ผู้คัดค้านว่าจ้างให้กิจการร่วมค้า อ. ซึ่งมีผู้ร้องเป็นบริษัทหนึ่งของกิจการร่วมค้าดังกล่าว ให้ก่อสร้างอาคารอุบัติเหตุและฉุกเฉินโรงพยาบาลหัวหินซึ่งเป็นโรงพยาบาลของรัฐ และเป็นเครื่องมือ สำคัญในการจัดทำบริการสาธารณะของรัฐตามภารกิจของผู้คัดค้านด้านการส่งเสริมและรักษาสุขภาพ ให้แก่ประชาชน มีลักษณะเป็นสัญญาที่จัดให้มีสิ่งจำเป็นในการจัดทำบริการสาธารณะ สัญญาดังกล่าว จึงเป็นสัญญาทางปกครอง ตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณา คดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ดังนั้น คำร้องของผู้ร้องคดีนี้ที่ขอให้บังคับคู่สัญญาปฏิบัติตามคำชี้ขาดของ อนุญาโตตุลาการอันสืบเนื่องมาจากสัญญาทางปกครอง จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๔) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง คดีพิพาทเกี่ยวกับอนุญาโตตุลาการที่อยู่ในเขตอำนาจของศาลปกครอง
250 พ.ศ. ๒๕๔๒ ซึ่งอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง แม้ข้อเท็จจริงจะปรากฏตามคำชี้แจง ของผู้ร้องว่าในระหว่างดำเนินกระบวนพิจารณาชั้นอนุญาโตตุลาการ ศาลแพ่งซึ่งเป็นศาลยุติธรรม ได้ออกหมายเรียกบุคคลให้มาเป็นพยานแก่อนุญาโตตุลาการ ซึ่งถือเป็นศาลที่มีการพิจารณา ชั้นอนุญาโตตุลาการอยู่ในเขตศาล ตามมาตรา ๙ แห่งพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. ๒๕๔๕ แต่เมื่อในขณะที่มีการเริ่มวิธีพิจารณาชั้นอนุญาโตตุลาการ ศาลปกครองซึ่งเป็นศาลที่มีเขตอำนาจ พิจารณาพิพากษาข้อพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครองเปิดทำการแล้ว จึงต้องพิจารณาเขตอำนาจ ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ และเจตนารมณ์ ของการจัดตั้งศาลในระบบศาลคู่เป็นสำคัญยิ่งกว่าเขตอำนาจศาลที่ได้มีการออกหมายเรียกบุคคล ให้มาเป็นพยานแก่อนุญาโตตุลาการ ประกอบกับผู้คัดค้านมอบอำนาจให้พนักงานอัยการยื่นคำร้อง ให้เพิกถอนคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการดังกล่าวต่อศาลปกครองเพชรบุรี การขอบังคับให้คู่สัญญา ปฏิบัติตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการคดีนี้จึงอยู่ในเขตอำนาจศาลปกครองเช่นเดียวกับการขอให้ เพิกถอนคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ เพื่อให้การตรวจสอบกระบวนพิจารณาชั้นอนุญาโตตุลาการ เกี่ยวกับสัญญาฉบับเดียวกันนี้ อยู่ภายใต้เขตอำนาจศาลเดียวกัน คดีพิพาทเกี่ยวกับอนุญาโตตุลาการที่อยู่ในเขตอำนาจของศาลปกครอง
คดีพิพาทเกี่ยวกับ เขตอำนาจของศาลปกครอง รวมย่อคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่น่าสนใจ พ.ศ. ๒๕๕๖ - ๒๕๖๕ 251 คดทีรี�อ้งขอใหเ้พิกถอนหรอืปฏบิตัติามคําชขี�าดของอนญุาโตตลุาการ ตามพระราชบญัญตัอินญุาโตตลุาการ พ.ศ. ๒๕๔๕ จะพิจารณาจากลกัษณะเนอื�หา ของสญัญาทเี�ปน�เหตแุหง่การยนื�คํารอ้งขอใหอ้นญุาโตตลุาการวนิจิฉยัวา่ สญัญาทพี�ิพาทเปน�สญัญาทางแพ่ง คดพี ิพาทเกยี�วกบัอนญุาโตตลุาการ ทอี�ยใู่นเขตอํานาจของศาลยตุธิรรม
252 คดีพิพาทเกี่ยวกับอนุญาโตตุลาการที่อยู่ในเขตอำนาจของศาลยุติธรรม คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๔๙/๒๕๖๒ คดีที่หน่วยงานทางปกครองยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนคำชี้ขาดของ คณะอนุญาโตตุลาการอันเกิดจากข้อพิพาทตามสัญญาจ้างปรับปรุงห้องน้ำชาย-หญิง อาคารสำนักงาน คณะกรรมการกฤษฎีกา เมื่อคดีนี้เป็นข้อพิพาทเกี่ยวกับคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการอันสืบเนื่องมาจาก สัญญาจ้างปรับปรุงห้องน้ำชาย-หญิง อาคารสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่ง ของอาคารสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาของผู้คัดค้านสำหรับให้บุคลากรของผู้คัดค้าน ได้ใช้ประโยชน์ จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อให้การปฏิบัติงานของผู้คัดค้านเป็นไปอย่างสะดวกรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพเท่านั้น ไม่มีลักษณะจัดให้มีสิ่งสาธารณูปโภคโดยตรงหรือมีลักษณะเป็นสัญญา สัมปทาน หรือแสวงประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติที่จะถือว่าเป็นสัญญาทางปกครอง ตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ อันจะอยู่ในอำนาจ พิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง คดีนี้จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางแพ่งที่อยู่ในอำนาจ พิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม การบังคับตามคำขอให้คู่ความปฏิบัติตามคำชี้ขาดของ อนุญาโตตุลาการในคดีนี้จึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๑๑๓/๒๕๖๑ คดีที่ร้องขอให้เพิกถอนคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ ตามพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. ๒๕๔๕ นั้น ต้องพิจารณาลักษณะเนื้อหาของสัญญาที่เป็นเหตุแห่งการยื่นคำร้องขอให้ อนุญาโตตุลาการวินิจฉัยชี้ขาดว่าเป็นสัญญาทางแพ่งหรือสัญญาทางปกครอง จึงจะวินิจฉัยเขตอำนาจศาล เหนือคดีที่ขอให้เพิกถอนคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการนั้นได้ คดีนี้ คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ วินิจฉัยข้อพิพาทเกี่ยวกับสัญญาจ้างเหมาออกแบบรวมก่อสร้างโครงการทางด่วนสายบางนา-บางพลี- บางปะกง ระหว่างการทางพิเศษแห่งประเทศไทย ผู้ร้อง ซึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครองกับผู้คัดค้าน ทั้งสามซึ่งเป็นเอกชน มีลักษณะเป็นสัญญาทางปกครอง ข้อพิพาทเกี่ยวกับสัญญาดังกล่าวจึงเป็นข้อพิพาท เกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง และการร้องขอให้ปฏิบัติตามหรือเพิกถอนคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ เกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง ควรอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๔) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ แต่เนื่องจากว่า การระงับข้อพิพาทโดยวิธีอนุญาโตตุลาการในคดีนี้ คู่สัญญาได้เคยมอบข้อพิพาท ให้อนุญาโตตุลาการพิจารณาเมื่อปี ๒๕๔๓ ซึ่งถือว่าวิธีพิจารณาชั้นอนุญาโตตุลาการได้เกิดขึ้นแล้ว ตามมาตรา ๒๗ แห่งพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. ๒๕๔๕ และเกิดขึ้นก่อนศาลปกครอง เปิดทำการ ทั้งคู่กรณีทั้งสองฝ่ายได้ขอให้ศาลแพ่งออกหมายเรียกพยานซึ่งศาลแพ่งได้ออกหมายเรียก พยานให้ตามคำขอ และผู้ร้องได้ยื่นคำร้องต่อศาลแพ่งขอให้มีคำสั่งให้ประธานคณะอนุญาโตตุลาการ พ้นจากตำแหน่ง ซึ่งต่อมาศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาให้ความเป็นอนุญาโตตุลาการของบุคคลดังกล่าว คดีพิพาทเกี่ยวกับอนุญาโตตุลาการที่อยู่ในเขตอำนาจของศาลยุติธรรม
คดีพิพาทเกี่ยวกับ เขตอำนาจของศาลปกครอง รวมย่อคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่น่าสนใจ พ.ศ. ๒๕๕๖ - ๒๕๖๕ คดีพิพาทเกี่ยวกับอนุญาโตตุลาการที่อยู่ในเขตอำนาจของศาลยุติธรรม 253 สิ้นสุดลง จึงถือว่า ศาลยุติธรรมเป็นศาลที่มีการพิจารณาชั้นอนุญาโตตุลาการตั้งแต่เริ่มต้นกระบวนการ ชั้นอนุญาโตตุลาการ ตามมาตรา ๙ แห่งพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. ๒๕๔๕ การยื่นคำร้อง ขอให้เพิกถอนคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการตามมาตรา ๔๐ แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวในคดีนี้ จึงต้องยื่นต่อศาลที่มีเขตอำนาจที่มีการพิจารณาชั้นอนุญาโตตุลาการอยู่ในเขตศาล ซึ่งได้แก่ ศาลยุติธรรม ประกอบกับคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลเคยมีคำวินิจฉัย ที่ ๑/๒๕๔๖ เกี่ยวกับการขอให้บังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการอันเนื่องมาจากสัญญา ฉบับนี้ว่าเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม ซึ่งต่อมาศาลฎีกาได้มีคำพิพากษา ศาลฎีกาที่ ๗๒๗๗/๒๕๔๙ ข้อพิพาทในคดีนี้จึงควรอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม เพื่อให้การตรวจสอบกระบวนพิจารณาชั้นอนุญาโตตุลาการเกี่ยวกับสัญญาฉบับเดียวกันนี้อยู่ภายใต้ เขตอำนาจศาลเดียวกัน คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๒๔/๒๕๕๙ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของบริษัท น. ผู้ร้อง ยื่นคำร้องว่า บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ผู้คัดค้าน ทำสัญญาว่าจ้างบริษัท น. วางท่อส่งก๊าซธรรมชาติ ซึ่งตามสัญญามีข้อตกลงกันว่า ข้อพิพาทใด ๆ ตามสัญญาที่เกิดขึ้นให้กรรมการผู้จัดการใหญ่ของบริษัทผู้คัดค้านเป็นผู้ชี้ขาดและหากผู้รับจ้างประสงค์ จะเสนอข้อพิพาทให้แก่อนุญาโตตุลาการ และอนุญาโตตุลาการแต่ละฝ่ายไม่อาจตกลงกันได้ ก็ให้ ร้องขอต่อศาลยุติธรรมแห่งประเทศไทยแต่งตั้งประธานอนุญาโตตุลาการ ต่อมาผู้คัดค้านไม่ชำระค่าจ้าง บริษัท น. เสนอข้อพิพาทต่อสถาบันอนุญาโตตุลาการ สำนักระงับข้อพิพาท สำนักงานศาลยุติธรรม ในชั้นพิจารณาของอนุญาโตตุลาการ ศาลแพ่งได้มีหมายเรียกบุคคลมาให้เป็นพยานแก่อนุญาโตตุลาการ และมีคำสั่งแต่งตั้งประธานอนุญาโตตุลาการ ต่อมา คณะอนุญาโตตุลาการวินิจฉัยให้ผู้คัดค้านชำระ ค่าจ้างแก่บริษัท น. แต่ผู้คัดค้านไม่ชำระ ผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของบริษัท น. จึงยื่น คำร้องขอให้ปฏิบัติตามคำวินิจฉัยชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ ส่วนผู้คัดค้านยื่นคำคัดค้านว่า ผู้ร้อง ไม่มีสิทธิบังคับตามคำชี้ขาด เนื่องจากได้โอนสิทธิเรียกร้องตามสัญญาพิพาทให้แก่บุคคลภายนอกไปแล้ว การแต่งตั้งอนุญาโตตุลาการไม่เป็นไปตามสัญญา เนื่องจากต้องให้กรรมการผู้จัดการใหญ่ของผู้คัดค้าน วินิจฉัยชี้ขาดเสียก่อน จึงจะทำการแต่งตั้งอนุญาโตตุลาการได้ การเสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการ ของผู้ร้องจึงเป็นการข้ามขั้นตอน นอกจากนี้คำชี้ขาดมีข้อผิดพลาดมากมาย ดังนี้ จึงเป็นกรณีพิพาท เกี่ยวกับการคัดค้านอำนาจของคณะอนุญาโตตุลาการในการพิจารณาข้อพิพาท กับคำชี้ขาดไม่อยู่ใน ขอบเขตของสัญญาอนุญาโตตุลาการและขัดต่อความสงบเรียบร้อย ศีลธรรมอันดีของประชาชน เมื่อปรากฏว่าในการพิจารณาชั้นอนุญาโตตุลาการ ศาลแพ่งได้ออกหมายเรียกบุคคลให้มาเป็นพยาน แก่อนุญาโตตุลาการ และมีคำสั่งแต่งตั้งประธานอนุญาโตตุลาการให้แก่ผู้ร้องและผู้คัดค้านแล้ว ศาลแพ่งจึงเป็นศาลที่ใช้อำนาจเหนือคดีนี้มาโดยตลอดและเป็นศาลที่มีการพิจารณาชั้นอนุญาโตตุลาการ อยู่ในเขตศาล ตามพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. ๒๕๔๕ มาตรา ๙ คดีจึงอยู่ในอำนาจ พิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
254 คดทีพี�ระราชบญัญตัจิดัตงั�ศาลปกครองและวธิพี ิจารณาคดปีกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ บญัญตั ใิหอ้ยใู่นเขตอํานาจของศาลปกครอง รวมย่อคําวินิจฉัย คดีอื�น ๆ
คดีพิพาทเกี่ยวกับ เขตอำนาจของศาลปกครอง รวมย่อคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่น่าสนใจ พ.ศ. ๒๕๕๖ - ๒๕๖๕ 255 คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๑๕/๒๕๖๔ คดีที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย โจทก์ ยื่นฟ้องนาง จ. จำเลย อ้างว่า เมื่อปี ๒๕๕๔ โจทก์ตรวจพบว่า จำเลยปลูกสร้างโรงเรือนเลี้ยงหมูและโรงเก็บของรุกล้ำเข้ามาในเขตเดินสายไฟฟ้า ช่วงแม่เมาะ - ลำปาง ระหว่างเสาไฟฟ้าต้นที่ ๕/๑ และ ๕/๒ โดยไม่ได้รับอนุญาต โจทก์มีหนังสือแจ้ง จำเลยให้รื้อถอน แต่จำเลยได้รื้อถอนออกเพียงบางส่วนคงเหลืออาคารมุงหลังคาสังกะสีและไม้ยืนต้น ในที่ดินของจำเลยที่ขึ้นสูงมากอาจเป็นอันตรายต่อระบบส่งไฟฟ้าของโจทก์ ขอให้ศาลบังคับให้จำเลย รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างและไม้ยืนต้นของจำเลยในส่วนที่ปลูกสร้างรุกล้ำแนวเขตเดินสายไฟฟ้าของโจทก์ ออกไปจากเขตเดินสายส่งไฟฟ้าของโจทก์ หากไม่ดำเนินการให้โจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดีเข้ารื้อถอน หรือดำเนินการรื้อถอนเองโดยจำเลยเป็นผู้รับผิดชอบชำระค่าใช้จ่าย เห็นว่า โจทก์เป็นรัฐวิสาหกิจ ที่ตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติ จึงเป็นหน่วยงานทางปกครอง ตามนัยบทนิยาม “หน่วยงานทางปกครอง” ในมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ โดยมาตรา ๓๒ แห่งพระราชบัญญัติการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๑๑ วรรคหนึ่ง บัญญัติให้โจทก์มีอำนาจอนุญาตเป็นหนังสือให้บุคคลสร้างโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอื่น ปลูกต้นไม้พืชผล ในเขตเดินสายไฟฟ้า ทั้งนี้ตามเงื่อนไขที่โจทก์กำหนด และในกรณีที่มีโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอื่น ที่สร้างขึ้นหรือทำขึ้นหรือมีต้นไม้หรือพืชผลที่ปลูกขึ้นในเขตเดินสายไฟฟ้าโดยไม่ได้รับอนุญาตจากโจทก์ หรือไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่โจทก์กำหนด วรรคสองของบทบัญญัติแห่งกฎหมายเดียวกันบัญญัติให้โจทก์ มีอำนาจรื้อถอน ทำลายหรือตัดฟันตามควรแก่กรณี โดยไม่ต้องจ่ายค่าทดแทน การที่โจทก์ฟ้องจำเลย ขอให้ศาลบังคับให้จำเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างและไม้ยืนต้นของจำเลยในส่วนที่ปลูกสร้างรุกล้ำ แนวเขตเดินสายไฟฟ้าของโจทก์ออกไปจากแนวเขตเดินสายไฟฟ้าของโจทก์ หากจำเลยไม่ดำเนินการ ให้โจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดีเข้ารื้อถอนหรือดำเนินการรื้อถอนเอง โดยจำเลยเป็นผู้รับผิดชอบ ชำระค่าใช้จ่ายแทนโจทก์ จึงเป็นการฟ้องขอให้ศาลพิพากษาหรือมีคำสั่งให้จำเลยกระทำการ หรือละเว้นกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดเพื่อให้เป็นไปตามกฎหมาย แต่เนื่องจากพระราชบัญญัติ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๑๑ คงมีแต่บทบัญญัติให้โจทก์มีอำนาจรื้อถอนโรงเรือน หรือสิ่งปลูกสร้างอื่นหรือทำลายหรือตัดฟันต้นไม้หรือพืชผลที่สร้างขึ้นหรือปลูกขึ้นในเขตเดินสายไฟฟ้า โดยไม่ได้รับอนุญาตจากโจทก์หรือไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่โจทก์กำหนดได้ตามควรแก่กรณี โดยไม่ต้อง จ่ายค่าทดแทนเท่านั้น ไม่มีบทบัญญัติกำหนดให้โจทก์ฟ้องคดีต่อศาลเพื่อขอให้ศาลบังคับให้บุคคล ที่สร้างโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอื่นหรือปลูกต้นไม้หรือพืชผลในเขตเดินสายไฟฟ้าของโจทก์โดยไม่ได้ รับอนุญาตจากโจทก์หรือไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่โจทก์กำหนด รื้อถอนโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอื่น หรือตัดฟันหรือทำลายต้นไม้แต่อย่างใด คดีนี้จึงไม่ใช่คดีที่มีกฎหมายกำหนดให้หน่วยงานทางปกครอง หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐฟ้องคดีต่อศาลเพื่อบังคับให้บุคคลต้องกระทำหรือละเว้นกระทำอย่างหนึ่งอย่างใด คดีอื่น ๆ คดีอื่น ๆ
256 เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมาย ซึ่งมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๕) ประกอบกับมาตรา ๗๒ วรรคหนึ่ง (๕) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ บัญญัติให้อยู่ในอำนาจ พิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง คดีนี้จึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๑๒๕/๒๕๖๐ คดีที่โจทก์ฟ้องว่าพระราชกฤษฎีกาและกฎกระทรวงออกโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย เป็นการละเมิดโจทก์ ขอให้ศาลเพิกถอนพระราชกฤษฎีกาและกฎกระทรวงดังกล่าว เป็นคดีพิพาท เกี่ยวกับความชอบด้วยกฎหมายของพระราชกฤษฎีกาหรือกฎที่ออกโดยคณะรัฐมนตรีหรือ โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี ซึ่งอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด ตามมาตรา ๑๑ (๒) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ * คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๔๔/๒๕๖๐ วินิจฉัยทำนองเดียวกัน คดีอื่น ๆ
คดีพิพาทเกี่ยวกับ เขตอำนาจของศาลทหาร รวมย่อคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่น่าสนใจ พ.ศ. ๒๕๕๖ - ๒๕๖๕ 259 คดีพิพาท เกี�ยวกับเขตอํานาจของศาลทหาร คดีท ี� อยู่ในเขตอาํนาจของศาลทหาร คดีท ี�ไม่อยู่ในเขตอาํนาจของศาลทหาร
260 รวมย่อคําวินิจฉัย คดีที�อยู่ในเขตอํานาจของศาลทหาร คดทีอี�ยใู่นเขตอํานาจของศาลทหาร ตามพระราชบญัญตัธิรรมนญูศาลทหาร พ.ศ. ๒๔๙๘ และตามประกาศคณะรกัษาความสงบแหง่ชาติ
คดีพิพาทเกี่ยวกับ เขตอำนาจของศาลทหาร รวมย่อคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่น่าสนใจ พ.ศ. ๒๕๕๖ - ๒๕๖๕ 261 คดีที่อยู่ในเขตอำนาจของศาลทหาร คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๕๘/๒๕๖๕ คดีที่ อัยการศาลมณฑลทหารบกที่ ๒๕ โจทก์ ยื่นฟ้อง จ่าโท อ. จำเลย ต่อศาล มณฑลทหารบกที่ ๒๕ เป็นคดีอาญาฐานขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ขอให้ ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา ๒๙๑ พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๔๓, ๑๕๗ พระราชบัญญัติจราจรทางบก (ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๕๑ มาตรา ๔ พระราชบัญญัติ แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ๒๖) พ.ศ. ๒๕๖๐ มาตรา ๔ ระหว่างพิจารณาศาล มีคำสั่งงดสืบพยานโจทก์และให้ไต่สวนร้อยตำรวจเอก ป. พนักงานสอบสวนในคดีนี้ ร้อยตำรวจเอก ป. มีความเห็นว่าคดีนี้เกิดจากความประมาทของทั้งสองฝ่ายและสรุปสำนวนการสอบสวนเห็นควรสั่งฟ้อง จำเลยในข้อหาขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายและทรัพย์สินเสียหาย และส่งสำนวน การสอบสวนให้อัยการศาลมณฑลทหารบกที่ ๒๕ ดำเนินคดี กับเห็นควรสั่งไม่ฟ้องผู้ตายเนื่องจากสิทธิ นำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไป และได้แยกสำนวนการสอบสวนส่งให้พนักงานอัยการจังหวัดศรีสะเกษ ต่อมาพนักงานอัยการจังหวัดศรีสะเกษมีคำสั่งยุติการดำเนินคดีเนื่องจากผู้ต้องหาถึงแก่ความตาย เห็นว่า พระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. ๒๔๙๘ มาตรา ๑๓ บัญญัติว่า ศาลทหารมีอำนาจ พิจารณาพิพากษาวางบทลงโทษผู้กระทำผิดต่อกฎหมายทหารหรือกฎหมายอื่นในทางอาญาในคดี ซึ่งผู้กระทำผิดเป็นบุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารในขณะกระทำผิดจากบทบัญญัติดังกล่าวจะเห็นได้ว่า เจตนารมณ์ของกฎหมายในการที่ให้มีศาลทหารแยกต่างหากจากศาลพลเรือนก็เพื่อให้บุคคลที่อยู่ใน อำนาจศาลทหารที่กระทำความผิดต่อกฎหมายทหารหรือกฎหมายอื่นที่มีโทษทางอาญาต้องได้รับ การพิจารณาพิพากษาคดีในอำนาจของศาลทหาร เพื่อวัตถุประสงค์ในการปกครองบังคับบัญชา และส่งเสริมอำนาจของผู้บังคับบัญชาทหาร อันเป็นการยึดหลักเขตอำนาจศาลเหนือตัวบุคคลผู้กระทำผิด ซึ่งเป็นบุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารในขณะกระทำผิด และเป็นการยกเว้นอำนาจศาลยุติธรรม ซึ่งเป็นศาลพลเรือนไม่ให้พิจารณาพิพากษาคดีอาญาซึ่งผู้กระทำผิดเป็นบุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหาร ในขณะกระทำผิด โดยศาลยุติธรรมจะมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีที่บุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหาร กระทำความผิดก็เฉพาะแต่กรณีที่ได้กระทำผิดด้วยกันกับพลเรือน หรือเป็นคดีที่เกี่ยวพันกับคดี ที่อยู่ในอำนาจศาลพลเรือน ตามมาตรา ๑๔ (๑) และ (๒) หรือกรณีตามมาตรา ๑๕ แห่งพระราชบัญญัติ ธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. ๒๔๙๘ เมื่อคดีนี้ อัยการศาลมณฑลทหารบกที่ ๒๕ โจทก์ ยื่นฟ้องจำเลย ซึ่งเป็นนายทหารประทวนประจำการ ว่ากระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา และพระราชบัญญัติ จราจรทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ โดยมิได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยกระทำผิดด้วยกันกับพลเรือนขอให้ลงโทษ ตามประมวลกฎหมายอาญาหรือกฎหมายอื่นในทางอาญา อันจะเข้าลักษณะคดีที่บุคคลที่อยู่ในอำนาจ คดีพิพาทเกี่ยวกับเขตอำนาจของศาลทหาร คดีที่อยู่ในเขตอำนาจของศาลทหาร
262 ศาลทหารกับบุคคลที่มิได้อยู่ในอำนาจศาลทหารกระทำผิดด้วยกันตามมาตรา ๑๔ (๑) แม้ระหว่าง พิจารณาคดีจะปรากฏเพิ่มเติมว่าผู้ตายซึ่งเป็นพลเรือนขับรถโดยมีส่วนประมาทด้วยก็ตาม แต่เมื่อ พนักงานอัยการมีคำสั่งยุติการดำเนินคดีเนื่องจากผู้ต้องหาถึงแก่ความตาย กรณีจึงมิใช่คดีที่เกี่ยวพันกับคดี ที่อยู่ในอำนาจศาลพลเรือนที่จะอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม ตามมาตรา ๑๔ (๒) ตามพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. ๒๔๙๘ ดังนั้น คดีนี้ จึงอยู่ในอำนาจของศาลทหาร ตามมาตรา ๑๓ และ ๑๖ (๓) แห่งพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. ๒๔๙๘ คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๑๐/๒๕๖๔ คดีที่อัยการศาลมณฑลทหารบกที่ ๒๑ ยื่นฟ้อง สิบเอก ร. จำเลย ซึ่งเป็นนายทหารประทวน ประจำการ ว่าได้กระทำผิดกฎหมายหลายกรรมต่างกัน โดยจำเลยโต้แย้งเขตอำนาจศาลว่า จำเลย ไม่ใช่บุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารตามพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. ๒๔๙๘ มาตรา ๑๖ เนื่องจากจำเลยถูกปลดออกจากราชการก่อนเกิดเหตุคดีนี้ เห็นว่า พระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. ๒๔๙๘ มาตรา ๑๓ บัญญัติว่า “ศาลทหารมีอำนาจพิจารณาพิพากษาวางบทลงโทษผู้กระทำผิด ต่อกฎหมายทหารหรือกฎหมายอื่นในทางอาญาในคดีซึ่งผู้กระทำผิดเป็นบุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหาร ในขณะกระทำผิด...” จากบทบัญญัติดังกล่าวจะเห็นได้ว่า เจตนารมณ์ของกฎหมายในการจัดตั้ง ศาลทหารแยกต่างหากจากศาลพลเรือนก็เพื่อให้บุคคลผู้อยู่ในอำนาจศาลทหารที่กระทำความผิด ต่อกฎหมายทหารหรือกฎหมายที่มีโทษทางอาญาต้องได้รับการพิจารณาพิพากษาคดีที่ศาลทหาร เพื่อวัตถุประสงค์ในการปกครองบังคับบัญชาทหาร อันเป็นการยึดหลักเขตอำนาจศาลเหนือตัวบุคคล ผู้กระทำผิด และเป็นการยกเว้นอำนาจศาลยุติธรรม ซึ่งเป็นศาลพลเรือนไม่ให้พิจารณาพิพากษาคดีอาญา ซึ่งผู้กระทำผิดเป็นบุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารขณะกระทำผิด โดยการพิจารณาว่าคดีจะอยู่ใน อำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลทหารหรือไม่ จะต้องพิจารณาขณะจำเลยกระทำผิดว่าจำเลย เป็นบุคคลที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลทหารหรือไม่ และหากขณะกระทำผิดจำเลย เป็นบุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารคดีย่อมอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลทหาร และ เมื่อคดีอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลทหารตั้งแต่ต้นแม้มีเหตุใดเกิดขึ้นภายหลังก็ย่อมไม่ทำให้ อำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลทหารในการพิจารณาพิพากษาคดีนั้นเปลี่ยนแปลงไป เมื่อคดีนี้ จำเลยกระทำความผิดวันที่ ๑๑ กรกฎาคม ๒๕๖๒ ซึ่งขณะที่จำเลยกระทำความผิดนั้น จำเลยยังคง มีสถานะเป็นข้าราชการทหาร จึงเป็นบุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารตามพระราชบัญญัติธรรมนูญ ศาลทหาร พ.ศ. ๒๔๙๘ มาตรา ๑๖ (๓) คดีนี้จึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลทหาร แม้ต่อมากรมสรรพาวุธทหารบกมีคำสั่งที่ ๕๙๗/๒๕๖๒ ลงวันที่ ๒๙ ตุลาคม ๒๕๖๒ ให้ปลดจำเลย ออกจากราชการทหารเนื่องจากจำเลยหนีราชการโดยให้มีผลย้อนหลังไปถึงวันที่ ๓๐ มีนาคม ๒๕๖๐ ซึ่งเป็นวันก่อนวันที่ จำเลยกระทำความผิดคดีนี้ก็ตาม ก็ไม่ทำให้คดีที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษา ของศาลทหารนั้นเปลี่ยนแปลงไป คดีที่อยู่ในเขตอำนาจของศาลทหาร
คดีพิพาทเกี่ยวกับ เขตอำนาจของศาลทหาร รวมย่อคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่น่าสนใจ พ.ศ. ๒๕๕๖ - ๒๕๖๕ 263 คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๙๑/๒๕๖๓ โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยเป็นนายทหารสัญญาบัตรประจำการ อันเป็นบุคคลที่อยู่ ในอำนาจศาลทหาร ตามพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. ๒๔๙๘ มาตรา ๑๖ (๑) กระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๗๓, ๑๗๔ ซึ่งเป็นการบรรยายฟ้องว่า จำเลย ซึ่งเป็นบุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารในขณะกระทำผิดได้กระทำความผิดอาญา คดีนี้จึงเป็นคดีที่อยู่ ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลทหาร ตามมาตรา ๑๓ แห่งพระราชบัญญัติเดียวกัน ส่วนที่จำเลยโต้แย้งเขตอำนาจศาลทหารว่า คดีนี้เป็นคดีที่เกี่ยวพันกับคดีที่พนักงาน อัยการฟ้อง นาย ก. ต่อศาลจังหวัดฝาง จึงไม่อยู่ในอำนาจศาลทหารตามมาตรา ๑๔ (๒) นั้น เห็นว่า คดีของศาลจังหวัดฝาง เป็นเรื่องที่จำเลยร้องทุกข์กล่าวโทษนาย ก. ต่อพนักงานสอบสวน ต่อมาพนักงาน อัยการเป็นโจทก์ยื่นฟ้องนาย ก. ในความผิดฐานทำร้ายร่างกายผู้อื่น เป็นเหตุให้ได้รับอันตรายแก่ กายหรือจิตใจ ทำให้เสียทรัพย์ และทำให้ผู้อื่นตกใจกลัวโดยการขู่เข็ญ ศาลจังหวัดฝางพิพากษายกฟ้อง ส่วนคดีของศาลมณฑลทหารบกที่ ๓๓ นี้ เป็นเรื่องที่นาย ก. ได้ร้องทุกข์กล่าวโทษจำเลยว่าจำเลย แจ้งข้อความอันเป็นเท็จต่อเจ้าพนักงานว่านาย ก. ชกต่อยทำร้ายร่างกายจำเลยจนได้รับบาดเจ็บแก่กาย และจิตใจ ซึ่งอัยการศาลมณฑลทหารบกที่ ๓๓ ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ แม้จำเลยกับนาย ก. ต่างสลับกัน เป็นจำเลยในคดีทั้งสอง แต่การกระทำตามคำฟ้องในคดีทั้งสองเป็นการกระทำต่างกรรมต่างวาระ ฐานความผิด วันเวลาและสถานที่เกิดเหตุ แตกต่างกัน ฟ้องโจทก์ในคดีนี้จึงไม่ใช่คดีที่เกี่ยวพันกับ คดีอาญาที่นาย ก. ถูกจำเลยแจ้งความและพนักงานอัยการยื่นฟ้องนาย ก. ฐานทำร้ายร่างกายผู้อื่น เป็นเหตุให้ได้รับอันตรายแก่กายหรือจิตใจ ทำให้เสียทรัพย์ และทำให้ผู้อื่นตกใจกลัวโดยการขู่เข็ญ ต่อศาลจังหวัดฝาง เป็นแต่เพียงคดีที่เกิดขึ้นจากการกระทำของจำเลยที่ทำให้เกิดคดีที่ศาลจังหวัดฝาง เท่านั้น เมื่อคดีนี้มิใช่คดีที่เกี่ยวพันกับคดีที่อยู่ในเขตอำนาจศาลพลเรือน ตามพระราชบัญญัติธรรมนูญ ศาลทหาร พ.ศ.๒๔๙๘ มาตรา ๑๔ (๒) ที่จะเป็นข้อยกเว้นเขตอำนาจของศาลทหาร จึงเป็นคดีที่อยู่ ในเขตอำนาจศาลทหารตามมาตรา ๑๓ แห่งพระราชบัญญัติเดียวกัน คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๒๑/๒๕๖๑ พระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. ๒๔๙๘ มาตรา ๑๓ บัญญัติว่า ศาลทหารมีอำนาจ พิจารณาพิพากษาวางบทลงโทษผู้กระทำผิดต่อกฎหมายทหารหรือกฎหมายอื่นในทางอาญาในคดี ซึ่งผู้กระทำผิดเป็นบุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารในขณะกระทำผิด จากบทบัญญัติดังกล่าวจะเห็นได้ว่า ศาลยุติธรรมจะมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีที่บุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารกระทำความผิดก็เฉพาะ แต่กรณีที่ได้กระทำผิดด้วยกันกับพลเรือน หรือเป็นคดีที่เกี่ยวพันกับคดีที่อยู่ในอำนาจศาลพลเรือน ตามมาตรา ๑๔ (๑) และ (๒) หรือกรณีตามมาตรา ๑๕ แห่งพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. ๒๔๙๘ เมื่อคดีนี้ อัยการศาลมณฑลทหารบกที่ ๑๔ โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยทั้งสองซึ่งเป็น ทหารกองประจำการ ว่าร่วมกันกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาต่อผู้เสียหายทั้งสาม คดีที่อยู่ในเขตอำนาจของศาลทหาร
264 ซึ่งเป็นพลเรือน โดยมิได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยทั้งสองร่วมกับผู้เสียหายทั้งสามกระทำความผิด ตามประมวลกฎหมายอาญา อันจะเข้าลักษณะคดีที่บุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารกับบุคคลที่มิได้อยู่ ในอำนาจศาลทหารกระทำผิดด้วยกันตามมาตรา ๑๔ (๑) แม้ระหว่างพิจารณาจะปรากฏข้อเท็จจริง จากทางนำสืบว่าจำเลยทั้งสองกับผู้เสียหายทั้งสามมีการทะเลาะวิวาท ก็เป็นเรื่องเนื้อหาของคดี เมื่อโจทก์ไม่ได้ฟ้องผู้เสียหายทั้งสามซึ่งเป็นพลเรือนเข้ามาเป็นจำเลยในคดีนี้หรือฟ้องคดีต่อศาลยุติธรรม ในมูลเหตุเดียวกัน กรณีจึงไม่ใช่คดีที่บุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารกับบุคคลที่มิได้อยู่ในอำนาจ ศาลทหารกระทำผิดด้วยกัน หรือเป็นคดีที่เกี่ยวพันกับคดีที่อยู่ในอำนาจศาลพลเรือนที่จะไม่อยู่ ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลทหาร ตามมาตรา ๑๔ (๑) (๒) มิเช่นนั้นจะเป็นการให้ศาลยุติธรรม ซึ่งเป็นศาลพลเรือนมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดี ซึ่งผู้กระทำผิดเป็นบุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหาร ในขณะกระทำผิด ซึ่งไม่ต้องด้วยเจตนารมณ์ของกฎหมายดังกล่าว คดีนี้จึงอยู่ในอำนาจศาลทหาร ตามพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. ๒๔๙๘ มาตรา ๑๓ คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๑/๒๕๕๙ คดีที่อัยการศาลทหารกรุงเทพเป็นโจทก์ยื่นฟ้องจำเลยกรณีแถลงข่าวและลงข้อความ ที่มีเนื้อหาเป็นการต่อต้านการควบคุมอำนาจการปกครองประเทศของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ในเฟซบุ๊ก อันเป็นกรณีกล่าวหาว่าจำเลยกระทำความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร ตามที่ระบุไว้ในประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๓๗/๒๕๕๗ และเป็นการกระทำ ที่เกิดขึ้นภายหลังจากมีประกาศดังกล่าวแล้ว แม้การกระทำผิดที่โจทก์กล่าวอ้างตามฟ้องจะเกิดขึ้น ในวัน เวลา และสถานที่ที่มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ. ๒๕๕๑ อันเป็นข้อยกเว้นอำนาจศาลทหารตามประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๓๗/๒๕๕๗ ข้อ ๑ (๒) แต่เมื่อหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติในฐานะผู้ใช้อำนาจหน้าที่ นายกรัฐมนตรีได้อาศัยอำนาจตามมาตรา ๑๕ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคง ภายในราชอาณาจักร พ.ศ. ๒๕๕๑ ออกประกาศลงวันที่ ๓ มิถุนายน ๒๕๕๗ ที่เป็นผลให้การประกาศใช้ พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ. ๒๕๕๑ สิ้นสุดลงตั้งแต่วันที่ ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๕๗ คำฟ้องของโจทก์ข้อนี้ จึงไม่เข้าข้อยกเว้นของประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๓๗/๒๕๕๗ ข้อ ๑ (๒) และเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลทหาร คดีที่อยู่ในเขตอำนาจของศาลทหาร
คดีพิพาทเกี่ยวกับ เขตอำนาจของศาลทหาร รวมย่อคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่น่าสนใจ พ.ศ. ๒๕๕๖ - ๒๕๖๕ 265 คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๙๔/๒๕๕๘ ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๓๗/๒๕๕๗ กำหนดให้ความผิด ฐานหมิ่นประมาท ดูหมิ่นหรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ อยู่ในอำนาจพิจารณา พิพากษาของศาลทหารและประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๓๘/๒๕๕๗ ก็กำหนดให้ คดีที่เกี่ยวโยงกันอยู่ในอำนาจของศาลทหารด้วย โดยประกาศเมื่อวันที่ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๕๗ แม้คดีนี้โจทก์ยื่นฟ้องว่า จำเลยกระทำความผิดโดยนำข้อความและภาพล้อเลียนอันเป็นเท็จ และเป็นการหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ เข้าสู่ระบบ คอมพิวเตอร์ และจำเลยไม่ได้ทำการลบหรือนำข้อความและภาพล้อเลียนออกจากระบบคอมพิวเตอร์ โดยกระทำความผิดตั้งแต่ก่อนใช้ประกาศทั้งสองฉบับดังกล่าวก็ตาม แต่การที่จำเลยไม่ได้ทำการลบ หรือนำข้อความและภาพล้อเลียนออกจากระบบคอมพิวเตอร์ และยังคงปรากฏอยู่ในระบบ คอมพิวเตอร์ตลอดมาจนกระทั่งภายหลังจากมีการประกาศใช้ประกาศดังกล่าวทั้งสองฉบับแล้ว การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดต่อเนื่องและเป็นการกระทำหลายอย่างเกี่ยวโยงกัน ดังนั้น จึงเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลทหาร คดีที่อยู่ในเขตอำนาจของศาลทหาร
266 คดีที� ไม่อยู่ในเขตอํานาจของศาลทหาร รวมย่อคําวินิจฉัย
คดีพิพาทเกี่ยวกับ เขตอำนาจของศาลทหาร รวมย่อคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่น่าสนใจ พ.ศ. ๒๕๕๖ - ๒๕๖๕ 267 คดีที่ไม่อยู่ในเขตอำนาจของศาลทหาร คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๓๕/๒๕๖๕ คดีที่ นางสาว ย. โจทก์ ยื่นฟ้องนาย ม. จำเลย ต่อศาลจังหวัดปัตตานีเป็นคดีอาญา ฐานขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒๙๑ พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๔๐, ๔๓ (๔) (๘), ๔๔ วรรคสอง, ๔๖ (๔), ๖๗ ขอให้จำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ ระหว่างไต่สวนมูลฟ้อง จำเลยแถลง ข้อเท็จจริงว่าขณะเกิดเหตุจำเลยรับราชการทหารโดยเป็นนายทหารสัญญาบัตรประจำการ และขับรถยนต์ ไปปฏิบัติหน้าที่ตามคำสั่งผู้บังคับบัญชา เห็นว่า พระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. ๒๔๙๘ มาตรา ๑๓ บัญญัติว่า ศาลทหารมีอำนาจพิจารณาพิพากษาวางบทลงโทษผู้กระทำผิดต่อกฎหมายทหาร หรือกฎหมายอื่นในทางอาญาในคดีซึ่งผู้กระทำผิดเป็นบุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารในขณะกระทำผิด จากบทบัญญัติดังกล่าวจะเห็นได้ว่า เจตนารมณ์ของกฎหมายในการที่ให้มีศาลทหารแยกต่างหาก จากศาลพลเรือนก็เพื่อให้บุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารที่กระทำความผิดต่อกฎหมายทหาร หรือกฎหมายอื่นที่มีโทษทางอาญาต้องได้รับการพิจารณาพิพากษาคดีในอำนาจของศาลทหาร เพื่อวัตถุประสงค์ในการปกครองบังคับบัญชาและส่งเสริมอำนาจของผู้บังคับบัญชาทหาร ดังนั้น คดีในส่วนที่โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา และตามพระราชบัญญัติจราจร ทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ จึงอยู่ในอำนาจของศาลทหาร ตามมาตรา ๑๓ และ ๑๖ (๑) แห่งพระราชบัญญัติ ธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. ๒๔๙๘ ส่วนที่โจทก์มีคำขอให้จำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนจากการกระทำ ละเมิดในทางแพ่งนั้น เห็นว่า พระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. ๒๔๙๘ มาตรา ๕๓ บัญญัติว่า ผู้เสียหายจะร้องขอให้จำเลยคืนทรัพย์ ใช้ราคาทรัพย์ หรือใช้ค่าสินไหมทดแทนความเสียหาย ในศาลทหารไม่ได้ ดังนี้คำขอให้จำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนจากการกระทำละเมิดจึงไม่อยู่ในอำนาจ ของศาลทหารที่จะพิจารณา แต่เป็นคดีที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๕๑/๒๕๖๔ คดีที่ ร้อยตรี ว. อดีตข้าราชการทหารเป็นโจทก์ ยื่นฟ้องคณะกรรมการป้องกันและปราบปราม การทุจริตแห่งชาติ ที่ ๑ กระทรวงกลาโหม ที่ ๒ จำเลย โดยอ้างว่า การไต่สวนข้อเท็จจริงและ มติของจำเลยที่ ๑ ที่ชี้มูลความผิดโจทก์ว่าโจทก์มีมูลความผิดทางวินัยอย่างร้ายแรง ตามพระราชบัญญัติ ระเบียบข้าราชการทหาร พ.ศ. ๒๕๒๑ มาตรา ๑๕ ประกอบพระราชบัญญัติว่าด้วยวินัยทหาร พุทธศักราช ๒๔๗๖ มาตรา ๕ และเป็นความผิดอาญา ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๒๓ ประกอบมาตรา ๔ และพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ. ๒๔๙๗ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติรับราชการทหาร (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๑๖ มาตรา ๔๕ เป็นไปโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย และคำสั่งลงโทษทางวินัย ปลดโจทก์ออกจากราชการของจำเลยที่ ๒ ตามคำสั่งกระทรวงกลาโหม ที่ ๓๕๐/๒๕๕๐ ลงวันที่ คดีที่ไม่อยู่ในเขตอำนาจของศาลทหาร
268 ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๕๐ ที่ออกตามมติชี้มูลความผิดของจำเลยที่ ๑ เป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากภายหลังจากที่จำเลยที่ ๑ ส่งเรื่องให้อัยการสูงสุดดำเนินคดีอาญา ศาลมณฑลทหารบกที่ ๒๑ พิพากษายกฟ้อง และศาลทหารกลางพิพากษายืน คดีถึงที่สุด เมื่อการไต่สวนข้อเท็จจริงและมติ ของจำเลยที่ ๑ ที่ชี้มูลความผิดโจทก์ไม่ชอบด้วยกฎหมาย การส่งความเห็นมติชี้มูลความผิดดังกล่าว ไปยังจำเลยที่ ๒ ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาโจทก์ เป็นเหตุให้จำเลยที่ ๒ มีคำสั่งปลดโจทก์ออกจากราชการ จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ขอให้ศาลมีคำพิพากษาหรือมีคำสั่งให้เพิกถอนมติของจำเลยที่ ๑ และให้เพิกถอนคำสั่งลงโทษทางวินัยปลดโจทก์ออกจากราชการของจำเลยที่ ๒ กับให้จำเลยที่ ๒ มีคำสั่งให้โจทก์กลับเข้ารับราชการในตำแหน่งเดิม โดยให้มีผลย้อนหลังไปถึงวันออกคำสั่งปลดโจทก์ ออกจากราชการ และให้จำเลยที่ ๒ ชำระเงินให้แก่โจทก์ เห็นว่า กรณีตามคำฟ้องเป็นการฟ้องขอให้ เพิกถอนคำสั่งลงโทษทางวินัยโจทก์ ตามคำสั่งกระทรวงกลาโหม ที่ ๓๕๐/๒๕๕๐ ลงวันที่ ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๕๐ เพื่อให้มีผลให้โจทก์กลับเข้ารับราชการ ซึ่งศาลจะต้องวินิจฉัยว่า คำสั่งดังกล่าวเป็นคำสั่ง ที่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เมื่อคำสั่งกระทรวงกลาโหม ที่ ๓๕๐/๒๕๕๐ ลงวันที่ ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๕๐ เรื่อง ให้ปลดนายทหารสัญญาบัตรออกจากราชการ เป็นการออกคำสั่งโดยอาศัยอำนาจตามข้อบังคับ กระทรวงกลาโหม ว่าด้วยการบรรจุ ปลด ย้าย เลื่อน และลดตำแหน่งข้าราชการกลาโหม พ.ศ. ๒๕๐๒ ข้อ ๔ (๒) ประกอบข้อบังคับทหารที่ ลงวันที่ ๑๔ พฤศจิกายน ๒๔๘๒ ว่าด้วย การแบ่งประเภทนายทหารสัญญาบัตร ซึ่งเป็นข้อบังคับและระเบียบแบบแผนเกี่ยวกับวินัยทหาร ตามมาตรา ๑๕ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการทหาร พ.ศ. ๒๕๒๑ กรณีจึงเป็นเรื่องวินัยทหาร ตามมาตรา ๔ และมาตรา ๗ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยวินัยทหาร พุทธศักราช ๒๔๗๖ คำฟ้องคดีนี้ จึงเป็นคดีพิพาทอันเนื่องจากการดำเนินการเกี่ยวกับวินัยทหารซึ่งมาตรา ๙ วรรคสอง (๑) แห่งพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ บัญญัติว่าเป็นคดีที่ไม่อยู่ในอำนาจพิจารณา พิพากษาของศาลปกครอง แม้คำสั่งกระทรวงกลาโหม ที่ ๓๕๐/๒๕๕๐ ลงวันที่ ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๕๐ จะเป็นคำสั่งที่ออกตามมติชี้มูลความผิดของจำเลยที่ ๑ ตามมาตรา ๙๓ แห่งพระราชบัญญัติ ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. ๒๕๔๒ (ที่ใช้บังคับในขณะนั้น) ซึ่งเป็นกฎหมายพิเศษเกี่ยวกับมาตรการในการปราบปรามการทุจริตต่อตำแหน่งหน้าที่ หรือกระทำความผิด ต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการของเจ้าหน้าที่ของรัฐในทางวินัย มีผลทำให้โจทก์ต้องสิ้นสุดสถานภาพ การเป็นข้าราชการทหารในสังกัดจำเลยที่ ๒ และโจทก์มีคำขอให้เพิกถอนมติของจำเลยที่ ๑ ที่ชี้มูลความผิดวินัยร้ายแรงและความผิดอาญาและขอให้จำเลยที่ ๒ ชดใช้ค่าเสียหายด้วย ก็เป็น เรื่องที่เกี่ยวเนื่องกับการดำเนินการเกี่ยวกับวินัยทหารซึ่งมาตรา ๙ วรรคสอง (๑) แห่งพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ บัญญัติไม่ให้อยู่ในอำนาจศาลปกครอง ข้อพิพาทในคดีนี้จึงเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรมซึ่งมีอำนาจพิจารณา พิพากษาคดีทั้งปวงที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยหรือกฎหมายมิได้บัญญัติให้อยู่ในอำนาจ ของศาลอื่น คดีที่ไม่อยู่ในเขตอำนาจของศาลทหาร ๑๑/๑๖๕๓๖ ๒๔๘๒
คดีพิพาทเกี่ยวกับ เขตอำนาจของศาลทหาร รวมย่อคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่น่าสนใจ พ.ศ. ๒๕๕๖ - ๒๕๖๕ 269 คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๑๑๘/๒๕๖๓ โจทก์บรรยายฟ้องโดยมุ่งหมายที่จะดำเนินคดีกับจำเลยที่ ๑ ในข้อหาบุกรุก ลักทรัพย์ และจงใจปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ แต่เมื่อกองบัญชาการกองทัพไทย จำเลยที่ ๑ มีฐานะเป็นนิติบุคคล ตามมาตรา ๒๒ แห่งพระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม พ.ศ. ๒๕๕๑ จำเลยที่ ๑ จึงมิใช่บุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารตามมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. ๒๔๙๘ ที่ศาลทหารจะมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดี ตามมาตรา ๑๓ แห่งพระราชบัญญัติเดียวกัน ส่วนที่โจทก์ทั้งสองฟ้องว่าการที่จำเลยที่ ๒ อนุมัติคำสั่งให้โจทก์ที่ ๒ ออกจากราชการไม่ชอบด้วยกฎหมาย โดยมีคำขอท้ายฟ้องให้ศาลเพิกถอนคำสั่งให้ออกจากราชการของโจทก์ที่ ๒ และให้ชดใช้ค่าเสียหาย เนื่องจากต้องออกจากราชการ เป็นเรื่องที่โจทก์ทั้งสองประสงค์จะดำเนินคดีเพื่อเรียกร้องค่าเสียหาย ในทางแพ่งเป็นสำคัญ กรณีจึงเป็นคดีที่ไม่อยู่ในอำนาจศาลทหาร ตามมาตรา ๑๓ ทั้งโจทก์ฟ้อง ขอให้ลงโทษจำเลยที่ ๒ ในความผิดข้อหาให้การอันเป็นเท็จต่อพนักงานสอบสวน โดยมีข้อเท็จจริงว่า ขณะที่จำเลยที่ ๒ ให้การเป็นพยาน จำเลยที่ ๒ เกษียณอายุราชการแล้ว ดังนั้น จำเลยที่ ๒ จึงมิใช่ บุคคลที่อยู่ในอำนาจของศาลทหารในขณะกระทำผิด คดีนี้จึงเป็นคดีที่ไม่อยู่ในอำนาจของศาลทหาร ตามมาตรา ๑๓ และมาตรา ๑๔ (๑) แห่งพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. ๒๔๙๘ คดีจึงอยู่ ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม ส่วนคดีจะอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลอาญา คดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลางหรือศาลยุติธรรมอื่นก็เป็นเรื่องที่ต้องพิจารณาตามบทบัญญัติ ของพระธรรมนูญศาลยุติธรรมต่อไป คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๑๗๐/๒๕๖๑ คดีที่มีข้อหาว่ากระทำความผิดฐานมีหรือใช้วัตถุระเบิดที่จะอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษา ของศาลทหารตามประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๕๐/๒๕๕๗ เรื่อง ให้ศาลทหาร มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน หรือวัตถุระเบิด ที่ใช้เฉพาะแต่การสงคราม นอกจากจะต้องเป็นข้อหากระทำความผิดฐานมีหรือใช้วัตถุระเบิดที่นายทะเบียนไม่อาจออกใบอนุญาต ให้ได้อันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ. ๒๔๙๐ แล้ว ยังจะต้องเป็นวัตถุระเบิดที่ใช้เฉพาะแต่การสงครามด้วย เมื่อพิจารณากฎกระทรวงฉบับที่ ๑๑ (พ.ศ. ๒๕๒๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ. ๒๔๙๐ ข้อ ๔ กำหนดว่า “วัตถุระเบิดที่นายทะเบียนจะออกใบอนุญาตให้ได้ตามมาตรา ๓๘ ต้องเป็นวัตถุระเบิดประเภท ชนิด และขนาดที่ใช้เฉพาะในกิจการก่อสร้างหรือกิจการอุตสาหกรรม และได้รับอนุมัติจากรัฐมนตรี ว่าการกระทรวงมหาดไทย” โดยไม่มีบทบัญญัติกำหนดว่าวัตถุระเบิดประเภท ชนิด และขนาดใด เป็นวัตถุระเบิดที่ใช้เฉพาะแต่การสงครามที่นายทะเบียนไม่อาจออกใบอนุญาตให้ได้ คงมีเฉพาะ พระราชบัญญัติควบคุมยุทธภัณฑ์ พ.ศ. ๒๕๓๐ มาตรา ๔ บัญญัติว่า “ยุทธภัณฑ์” หมายความว่า อาวุธ เครื่องอุปกรณ์ของอาวุธ สารเคมี สารชีวะ สารรังสี หรือเครื่องมือเครื่องใช้ที่อาจนำไปใช้ คดีที่ไม่อยู่ในเขตอำนาจของศาลทหาร
270 ในการรบหรือการสงครามได้ ทั้งนี้ ตามที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา ตามมาตรา ๗ โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมได้ออกประกาศกระทรวงกลาโหม เรื่อง กำหนดยุทธภัณฑ์ ที่ต้องขออนุญาตตามพระราชบัญญัติควบคุมยุทธภัณฑ์ พ.ศ. ๒๕๓๐ ลงวันที่ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๐ ข้อ ๒.๑.๒ และข้อ ๒.๔ กำหนดประเภทของวัตถุระเบิดที่เป็นยุทธภัณฑ์ไว้ โดยไม่ปรากฏว่าลักษณะ วัตถุระเบิดตามคำฟ้อง ข้อ ก. เป็นลักษณะและประเภทของวัตถุระเบิดที่เป็นยุทธภัณฑ์ที่ใช้เฉพาะ แต่การสงคราม กรณีจึงไม่เข้าหลักเกณฑ์ตามประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๕๐/๒๕๕๗ ลงวันที่ ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๕๗ เรื่อง ให้ศาลทหารมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน หรือวัตถุระเบิด ที่ใช้เฉพาะแต่การสงคราม ที่จะอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษา ของศาลทหาร เมื่อข้อหาตามคำฟ้องข้อ ก. ไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลทหาร ตามประกาศ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๕๐/๒๕๕๗ ความผิดฐานร่วมกันมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย ซึ่งยาเสพติดให้โทษประเภท ๑ โดยฝ่าฝืนกฎหมาย ตามฟ้องข้อ ข. และความผิดฐานร่วมกันมีไว้ ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษประเภทที่ ๕ โดยฝ่าฝืนต่อกฎหมาย ตามคำฟ้องข้อ ค. จึงไม่เป็น การกระทำความผิดที่เกี่ยวโยงกันกับการกระทำความผิดที่อยู่ในอำนาจศาลทหาร อันจะอยู่ในอำนาจ พิจารณาพิพากษาของศาลทหาร ตามประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๓๘/๒๕๕๗ ลงวันที่ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๕๗ เรื่อง คดีที่ประกอบด้วยการกระทำหลายอย่างเกี่ยวโยงกันให้อยู่ในอำนาจ ของศาลทหาร แต่เป็นคดีที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๔๓/๒๕๖๐ ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๕๐/๒๕๕๗ เรื่อง ให้ศาลทหารมีอำนาจ พิจารณาพิพากษาคดีอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน หรือวัตถุระเบิด ที่ใช้เฉพาะแต่การสงคราม ลงวันที่ ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๕๗ ข้อ ๑ กำหนดให้คดีที่มีข้อหาว่ากระทำความผิดฐานมีหรือใช้อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน หรือวัตถุระเบิด ที่ใช้เฉพาะแต่การสงครามที่นายทะเบียนไม่อาจออกใบอนุญาตให้ได้ อันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียม อาวุธปืน พ.ศ. ๒๔๙๐ ไม่ว่าจะมีข้อหาว่ากระทำผิดอย่างอื่นด้วยหรือไม่ เป็นคดีอยู่ในอำนาจศาลทหาร ที่จะพิจารณาพิพากษา โดยมิได้กำหนดลักษณะข้อหาความผิดอย่างอื่นที่ศาลทหารมีอำนาจพิจารณา พิพากษาด้วยไว้โดยชัดแจ้ง แต่เมื่อประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติดังกล่าวมีเจตนารมณ์ ตามคำปรารภในประกาศให้การกระทำความผิดฐานมีหรือใช้อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน หรือวัตถุระเบิด ที่ใช้เฉพาะแต่การสงครามที่นายทะเบียนไม่อาจออกใบอนุญาตให้ได้ อยู่ในอำนาจศาลทหาร แม้ว่า ผู้กระทำความผิดจะเป็นพลเรือน เนื่องจากความผิดฐานดังกล่าวเป็นความผิดที่มีเหตุผลพิเศษเกี่ยวกับ ความมั่นคงของประเทศและความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงควรดำเนินการด้วยความเด็ดขาด ให้ได้ผลเพื่อความมั่นคงของประเทศและความสงบสุขของประชาชน ข้อหาความผิดอย่างอื่นที่โจทก์ ฟ้องรวมกันมากับข้อหาความผิดฐานมีหรือใช้อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน หรือวัตถุระเบิด ที่ใช้เฉพาะ คดีที่ไม่อยู่ในเขตอำนาจของศาลทหาร
คดีพิพาทเกี่ยวกับ เขตอำนาจของศาลทหาร รวมย่อคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่น่าสนใจ พ.ศ. ๒๕๕๖ - ๒๕๖๕ 271 แต่การสงครามที่นายทะเบียนไม่อาจออกใบอนุญาตให้ได้ ที่จะอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษา ของศาลทหารตามบทบัญญัติดังกล่าว จึงต้องมีความเกี่ยวโยงกับการกระทำความผิดฐานมี หรือใช้อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน หรือวัตถุระเบิดที่ใช้เฉพาะแต่การสงครามที่นายทะเบียนไม่อาจ ออกใบอนุญาตให้ได้ อันเป็นข้อหาความผิดหลักที่ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติฉบับดังกล่าว กำหนดให้อยู่ในอำนาจศาลทหาร เมื่อคดีนี้ข้อหาความผิดฐานมีเครื่องกระสุนปืนที่ใช้เฉพาะแต่การสงครามที่นายทะเบียน ไม่อาจออกใบอนุญาตให้ได้ไว้ในครอบครองตามฟ้องข้อ ง. ศาลทหารและศาลยุติธรรมมีความเห็นพ้องกัน ว่าอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลทหาร ข้อหาดังกล่าวจึงเป็นอันยุติไป ส่วนข้อหาความผิด ฐานมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต ฐานพาอาวุธปืนติดตัวไป ในทางสาธารณะโดยไม่ได้รับอนุญาตและโดยไม่มีเหตุสมควร และฐานฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน ตามฟ้อง ข้อ ก. ข. และ ค. ซึ่งศาลทหารและศาลยุติธรรมมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องเขตอำนาจศาลนั้น เห็นว่า ตามคำบรรยายฟ้องของโจทก์ความผิดตามฟ้องข้อ ก. ข. และ ค. เกิดขึ้นก่อนความผิด ฐานมีเครื่องกระสุนปืนที่ใช้เฉพาะแต่การสงครามที่นายทะเบียนไม่อาจออกใบอนุญาตให้ได้ไว้ ในครอบครองตามฟ้องข้อ ง. โดยเป็นความผิดคนละกรรมกันและการกระทำความผิดทั้งสามฐานดังกล่าว มิได้มีความเกี่ยวโยงกันกับความผิดฐานมีเครื่องกระสุนปืนที่ใช้เฉพาะแต่การสงครามที่นายทะเบียน ไม่อาจออกใบอนุญาตให้ได้ ดังนั้น ความผิดข้อหาฐานมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครอง โดยไม่ได้รับอนุญาต ฐานพาอาวุธปืนติดตัวไปในทางสาธารณะโดยไม่ได้รับอนุญาตและโดยไม่มีเหตุสมควร และฐานฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน จึงไม่อยู่ในอำนาจศาลทหารที่จะพิจารณาพิพากษาตามประกาศ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๕๐/๒๕๕๗ แต่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๑๕/๒๕๕๙ คดีนี้โจทก์ยื่นฟ้องว่าจำเลยเป็นพลเรือนกระทำความผิดตามประกาศคณะรักษาความสงบ แห่งชาติ ซึ่งทั้งสองศาลเห็นพ้องต้องตรงกันว่า ความผิดตามคำฟ้องข้อหามีวัตถุระเบิด (ระเบิดปิงปอง) ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตและไม่นำวัตถุระเบิดที่มีไว้ในครอบครองโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมาย ส่งมอบให้นายทะเบียนภายในกำหนดนั้น เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยกระทำความผิดตั้งแต่ อายุยังไม่เกินสิบแปดปี จึงเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจศาลเยาวชนและครอบครัว ความผิดทั้งสองข้อหา ดังกล่าวจึงเป็นอันยุติไป ส่วนข้อหาพาวัตถุระเบิดไปในชุมชนที่จัดขึ้นเพื่อนมัสการ การรื่นเริงหรือการอื่นใด โดยไม่มีเหตุสมควรและใช้วัตถุระเบิดขว้างไปถูกผู้เสียหาย ขณะกระทำความผิดนั้นจำเลยมีอายุเกิน สิบแปดปีบริบูรณ์ เห็นว่า ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๕๐/๒๕๕๗ เรื่อง ให้ศาลทหาร มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน หรือวัตถุระเบิด ที่ใช้เฉพาะแต่การสงคราม ดังนี้การกระทำความผิดฐานมีหรือใช้วัตถุระเบิดที่อยู่ในอำนาจศาลทหารนั้นจะต้องเป็นกรณีที่ นอกจากผู้กระทำความผิดมี ใช้หรือพา วัตถุระเบิดที่นายทะเบียนไม่อาจออกใบอนุญาตให้ได้แล้ว คดีที่ไม่อยู่ในเขตอำนาจของศาลทหาร
272 ยังจะต้องเป็นวัตถุระเบิดที่ใช้เฉพาะแต่การสงครามด้วย แต่ข้อเท็จจริงตามคำฟ้องโจทก์เพียงแต่ บรรยายฟ้องว่า วัตถุระเบิดในคดีนี้เป็นระเบิดปิงปองเท่านั้น โดยไม่ได้บรรยายว่า เป็นวัตถุระเบิด ที่ใช้เฉพาะแต่การสงครามแต่อย่างใด จึงไม่ใช่ความผิดที่กำหนดไว้ตามประกาศดังกล่าว คดีอยู่ ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๙๓/๒๕๕๘ คดีที่อัยการศาลทหารกรุงเทพยื่นฟ้องจำเลยซึ่งเป็นนายทหารประทวนประจำการ ต่อศาลทหารกรุงเทพว่ากระทำความผิดอาญาสองกรรมต่างกัน กล่าวคือ ข้อ ก. จำเลยบังอาจ ถีบรถยนต์ของผู้เสียหายเป็นเหตุให้ประตูหลังข้างขวาเป็นรอยบุบได้รับความเสียหาย และข้อ ข. ภายหลังเกิดเหตุข้อ ก. จำเลยทำร้ายร่างกายผู้เสียหายด้วยการชกและเตะแล้วใช้ไม้เป็นอาวุธตี จนผู้เสียหายได้รับอันตรายแก่กาย ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา เห็นว่า สำหรับความผิด ตามฟ้องข้อ ข. ฐานทำร้ายร่างกาย ทั้งสองศาลเห็นตรงกันว่าทหารกับพลเรือนกระทำผิดด้วยกัน อยู่ในอำนาจของศาลยุติธรรม จึงเป็นอันยุติไป คงมีปัญหาเฉพาะความผิดตามฟ้องข้อ ก. ฐานทำให้ เสียทรัพย์เท่านั้น แม้โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยซึ่งเป็นทหารกระทำความผิดต่างกรรมต่างวาระกัน ก็ตาม แต่เมื่อปรากฏจากเหตุการณ์เดียวกันนี้ว่าผู้เสียหายก็ถูกพนักงานอัยการยื่นฟ้องเป็นจำเลย ต่อศาลแขวงดุสิตว่าทำร้ายร่างกายจำเลยคดีนี้เช่นกันและศาลมีคำพิพากษาลงโทษผู้เสียหายไปแล้ว คดีทั้งสองต่างเกิดเหตุในวัน เวลา และสถานที่เดียวกัน ผู้เสียหายและจำเลยต่างทำร้ายร่างกาย ซึ่งกันและกันและต่างก็เป็นผู้เสียหาย คดีทั้งสองจึงมีมูลความแห่งคดีเดียวกัน พฤติการณ์ความผิด ฐานทำให้เสียทรัพย์และฐานทำร้ายร่างกายจึงเป็นความผิดที่เกี่ยวพันกันและเป็นคดีที่มีบุคคลที่อยู่ ในอำนาจของศาลทหารกับบุคคลที่มิได้อยู่ในอำนาจของศาลทหารต่างกระทำผิดด้วยกัน ความผิด ทั้งสองฐานในคดีนี้จึงไม่อยู่ในอำนาจศาลทหารตามมาตรา ๑๔ (๑) และ (๒) แห่งพระราชบัญญัติ ธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. ๒๔๙๘ แต่อยู่ในอำนาจของศาลยุติธรรม คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๕๗/๒๕๕๘ คดีนี้โจทก์ยื่นฟ้องว่าจำเลยเป็นพลเรือนกระทำความผิดตามประกาศคณะรักษาความสงบ แห่งชาติ อันเป็นความผิดที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติประกาศให้เป็นคดีอยู่ในอำนาจพิจารณา พิพากษาของศาลทหาร จำเลยมีกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียน ท้องที่ และซุกซ่อนกระสุนปืนดังกล่าวไว้ในตะกร้าหลังตู้เสื้อผ้าโดยไม่มีเจตนาที่จะนำกระสุนปืน ดังกล่าวส่งมอบต่อนายทะเบียนท้องที่และจำเลยได้เสพเมทแอมเฟตามีน อันเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย เห็นว่า ตามประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ บัญญัติให้ความผิดตามประกาศหรือคำสั่ง คณะรักษาความสงบแห่งชาติอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีของศาลทหาร โดยให้ศาลทหารมีอำนาจ พิจารณาพิพากษาคดีอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน หรือวัตถุระเบิด ที่ใช้เฉพาะการสงคราม และให้ผู้ที่มี คดีที่ไม่อยู่ในเขตอำนาจของศาลทหาร
คดีพิพาทเกี่ยวกับ เขตอำนาจของศาลทหาร รวมย่อคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่น่าสนใจ พ.ศ. ๒๕๕๖ - ๒๕๖๕ 273 อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน หรือวัตถุระเบิด โดยไม่ได้รับอนุญาต หรือที่มีกฎหมายห้ามออกใบอนุญาต นำส่งมอบ ความผิดฐานมีกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตและไม่มีเจตนาที่จะนำ กระสุนปืนดังกล่าวส่งมอบต่อนายทะเบียนท้องที่นั้นอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลทหาร ซึ่งศาลมณฑลทหารบกที่ ๑๒ ได้พิจารณายกฟ้องจำเลยในความผิดฐานดังกล่าวตามประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๑๕๘ (๕) ประกอบพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. ๒๔๙๘ มาตรา ๔๕ ส่วนความผิดฐานเสพเมทแอมเฟตามีนนั้น ตามประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ เรื่อง คดีที่ประกอบด้วยการกระทำหลายอย่างเกี่ยวโยงกันให้อยู่ในอำนาจของศาลทหาร ซึ่งความผิดฐานเสพเมทแอมเฟตามีนเป็นการกระทำที่ต่างกรรมต่างวาระกับความผิดฐานมีกระสุนปืน ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตและไม่มีเจตนาที่จะนำกระสุนปืนดังกล่าวส่งมอบ ต่อนายทะเบียนท้องที่ จึงเป็นการกระทำความผิดที่ไม่อยู่ในบังคับตามประกาศคณะรักษาความสงบ แห่งชาติ ข้อหาเสพเมทแอมเฟตามีนจึงไม่ใช่คดีที่เกี่ยวโยงกันอันอยู่ในอำนาจของศาลทหาร แต่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๒๓/๒๕๕๗ คดีที่ผู้ฟ้องคดียื่นฟ้องรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ผู้ถูกฟ้องคดี กรณีผู้ถูกฟ้องคดี ออกคำสั่งกระทรวงกลาโหม ที่ ๑๑๖๓/๒๕๕๕ ลงวันที่ ๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ ปลดผู้ฟ้องคดี ออกจากราชการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ขอให้เพิกถอนคำสั่งดังกล่าว เห็นว่า คดีนี้ เมื่อข้อเท็จจริง ปรากฏตามคำให้การว่า ขณะผู้ฟ้องคดีได้รับการแต่งตั้งยศแล้วได้นำใบสำคัญ สด. ๙ แทนฉบับ ที่ชำรุดสูญหายไปขึ้นทะเบียนทหารกองประจำการ จนทำให้เจ้าหน้าที่สัสดีผิดหลงออกใบสำคัญ สด. ๓ ขึ้นทะเบียนกองประจำการให้แก่ผู้ฟ้องคดี ผู้ถูกฟ้องคดีจึงมีคำสั่งปลดผู้ฟ้องคดีออกจากราชการ โดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติว่าด้วยวินัยทหาร พุทธศักราช ๒๔๗๖ และข้อบังคับกระทรวง กลาโหม ว่าด้วยการบรรจุ ปลด ย้าย เลื่อน และลดตำแหน่งข้าราชการกลาโหม พ.ศ. ๒๕๐๒ ประกอบ ข้อบังคับทหารที่ ลงวันที่ ๑๔ พฤศจิกายน ๒๔๘๒ ว่าด้วยการแบ่งประเภทนายทหารสัญญาบัตร ซึ่งเป็นข้อบังคับและระเบียบแบบแผนเกี่ยวกับวินัยทหาร ตามมาตรา ๑๕ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบ ข้าราชการทหาร พ.ศ. ๒๕๒๑ กรณีจึงเป็นเรื่องวินัยทหารตามมาตรา ๔ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วย วินัยทหาร พุทธศักราช ๒๔๗๖ ข้อพิพาทระหว่างโจทก์และจำเลยในคดีนี้จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับ การดำเนินการเกี่ยวกับวินัยทหารที่ไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองตามมาตรา ๙ วรรคสอง (๑) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ จึงเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม คดีที่ไม่อยู่ในเขตอำนาจของศาลทหาร ๑๑/๑๖๕๓๖ ๒๔๘๒
274 คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๒๐/๒๕๕๖ คดีที่โจทก์เป็นเอกชนยื่นฟ้องหน่วยงานทางปกครองและเจ้าหน้าที่ของรัฐ โดยอ้างว่าได้รับ ความเสียหายจากการที่กระทรวงกลาโหม จำเลยที่ ๑ กับพวก กระทำละเมิดกรณีมีคำสั่งและประกาศ ให้โจทก์ออกจากราชการและถอดยศทหาร ขอให้ชดใช้ค่าเสียหาย ให้เพิกถอนคำสั่งและประกาศดังกล่าว กับให้โจทก์กลับเข้ารับราชการทันที คืนเงินเดือน เงินเพิ่ม เงินประจำตำแหน่ง คืนยศคืนตำแหน่ง คืนเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้แก่โจทก์ เห็นว่า เมื่อการออกคำสั่งและประกาศของจำเลยที่ ๑ เป็นไป ตามพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ. ๒๔๙๗ มาตรา ๔๑ วรรคสอง ข้อบังคับกระทรวงกลาโหม ว่าด้วยเงินเบี้ยหวัด พ.ศ. ๒๔๙๕ และข้อบังคับทหารว่าด้วยการแบ่งประเภทนายทหารสัญญาบัตร พ.ศ. ๒๔๘๒ ซึ่งเป็นข้อบังคับและระเบียบแบบแผนเกี่ยวกับวินัยทหาร ตามมาตรา ๑๕ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการทหาร พ.ศ. ๒๕๒๑ กรณีจึงเป็นเรื่องวินัยทหารตามมาตรา ๔ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยวินัยทหาร พุทธศักราช ๒๔๗๖ คดีนี้จึงคดีพิพาทเกี่ยวกับการดำเนินการ เกี่ยวกับวินัยทหารที่ไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง ตามมาตรา ๙ วรรคสอง (๑) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ แต่เป็นคดีที่อยู่ ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม คดีที่ไม่อยู่ในเขตอำนาจของศาลทหาร
276
คำพิพากษา/คำสั่งที่ถึงที่สุด ระหว่างศาลขัดแย้งกัน รวมย่อคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่น่าสนใจ พ.ศ. ๒๕๕๖ - ๒๕๖๕ 277 กรณีคําพิพากษาหรือคําสั�งที�ถึงที�สุดระหว่างศาล ขัดแย้งกัน ตามพระราชบัญญัติ ว่าด้วยการวินิจฉัยชี�ขาดอํานาจหน้าที�ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๔ กรณีรับคําร้องไว้วินิจฉัย กรณีให้ยกคําร้องหรือจาํหน่ายเรื�อง ออกจากสารบบความ
278 กรณีรับคําร้องไว้วินิจฉัย รวมย่อคําวินิจฉัย
คำพิพากษา/คำสั่งที่ถึงที่สุด ระหว่างศาลขัดแย้งกัน รวมย่อคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่น่าสนใจ พ.ศ. ๒๕๕๖ - ๒๕๖๕ 279 กรณีรับคำร้องไว้วินิจฉัย คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๓๑/๒๕๖๕ คดีที่วิทยาลัย น. ผู้ร้อง ยื่นคำร้องขอให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ ระหว่างศาลวินิจฉัยชี้ขาดกรณีคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกัน ตามมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ กรณีผู้ร้อง ได้รับผลกระทบโดยตรงจากคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด คดีหมายเลขแดงที่ อ. ๑๒๒๗/๒๕๖๔ และคำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๓๒๕๔/๒๕๖๑ ที่พิพากษาขัดแย้งกัน โดยในคดีของศาลยุติธรรม ศาลฎีกา พิพากษาในคดีส่วนแพ่งให้ผู้ร้องซึ่งเป็นจำเลยที่ ๑ กับพวกรวม ๒ คน ชำระค่าสินไหมทดแทนให้แก่ นางสาว ว. โจทก์ร่วมที่ ๗ และนางสาว ก. โจทก์ร่วมที่ ๗๓ เป็นเงินจำนวน ๙๒๔,๐๐๐ บาท และ ๒๘๒,๐๐๐ บาท ตามลำดับ พร้อมดอกเบี้ย ส่วนคดีของศาลปกครอง ศาลปกครองสูงสุดพิพากษา ให้ผู้ร้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่นางสาว ว. และนางสาว ก. ผู้ฟ้องคดี คนละ ๑๗๘,๗๖๘ บาท พร้อมดอกเบี้ย มูลความแห่งคดีสืบเนื่องมาจากการที่ผู้ร้องเปิดสอนหลักสูตรสาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ โดยไม่ได้รับการรับรองมาตรฐานการศึกษาจากสภาการพยาบาลเป็นเหตุให้นักศึกษาที่เข้าเรียน หลักสูตรดังกล่าว ไม่สามารถสอบเพื่อขอรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพพยาบาลได้ ดังนี้ ข้อเท็จจริงในคำพิพากษาที่ถึงที่สุดของศาลยุติธรรมตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๓๒๕๔/๒๕๖๑ ในคดีส่วนแพ่ง กับข้อเท็จจริงในคำพิพากษาที่ถึงที่สุดของศาลปกครองตามคำพิพากษาศาลปกครอง สูงสุด คดีหมายเลขแดงที่ อ. ๑๒๒๗/๒๕๖๔ จึงเป็นข้อเท็จจริงเรื่องเดียวกันอันเกิดมาจากมูลความ แห่งคดีเดียวกัน ซึ่งศาลฎีกาได้วินิจฉัยในคดีส่วนแพ่งว่า การกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นการกระทำ ละเมิดต่อโจทก์ร่วมเช่นเดียวกับคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด เพียงแต่ศาลฎีกาและศาลปกครองสูงสุด ได้วินิจฉัยกำหนดค่าสินไหมทดแทนในคดีที่มีข้อเท็จจริงเป็นเรื่องเดียวกันนั้นแตกต่างกัน เป็นเหตุให้ คู่ความไม่ได้รับความเป็นธรรม ตามมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจ หน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยต่อไปว่า คณะกรรมการจะวินิจฉัยเกี่ยวกับการปฏิบัติตามคำพิพากษา ที่ถึงที่สุดในส่วนการกำหนดค่าสินไหมทดแทน กรณีนางสาว ว. และนางสาว ก. อย่างไร ซึ่งตาม มาตรา ๑๔ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ บัญญัติให้คณะกรรมการพิจารณาโดยคำนึงถึงประโยชน์แห่งความยุติธรรมและความเป็นไปได้ ในการปฏิบัติตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาล แล้วให้กำหนดแนวทางการปฏิบัติตามคำพิพากษา หรือคำสั่งของศาลดังกล่าว เห็นว่า คดีนี้ข้อเท็จจริงในคดีส่วนแพ่งตามคำพิพากษาศาลฎีกา คำร้องขอให้วินิจฉัยเกี่ยวกับคำพิพากษา หรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกัน กรณีรับคำร้องไว้วินิจฉัย
280 ที่ ๓๒๕๔/๒๕๖๑ กับคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด คดีหมายเลขแดงที่ อ. ๑๒๒๗/๒๕๖๔ เป็นข้อเท็จจริงเดียวกัน โดยศาลฎีกาพิพากษาให้จำเลยทั้งสองชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่นางสาว ว. โจทก์ร่วมที่ ๗ เป็นเงิน ๙๒๔,๐๐๐ บาท และให้แก่นางสาว ก. โจทก์ร่วมที่ ๗๓ เป็นเงิน ๒๘๒,๐๐๐ บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ ๗.๕ ต่อปี นับแต่วันฟ้อง (ฟ้องวันที่ ๑๕ กรกฎาคม ๒๕๕๔) เป็นต้นไป จนกว่าจะชำระเสร็จ โดยให้นำเงินที่จำเลยที่ ๒ นำมาวางต่อศาลชั้นต้นเพื่อชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ที่โจทก์ร่วมและผู้เสียหายทั้งหลายรับไปแล้วหักออกจากค่าสินไหมทดแทนที่จำเลยทั้งสองต้องรับผิด ซึ่งต่อมา วิทยาลัย น. จำเลยที่ ๑ (ผู้ร้อง) ได้เจรจาประนีประนอมชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่นางสาว ว. และนางสาว ก. จำนวน ๑,๒๐๐,๐๐๐ บาท และ ๔๖๐,๐๐๐ บาท ตามลำดับ โดยนางสาว ว. และนางสาว ก. ยื่นคำร้องขอสละสิทธิการบังคับคดีกับจำเลยทั้งสองต่อศาลจังหวัดนครราชสีมาแล้ว นางสาว ว. กับนางสาว ก. ไม่ได้ชี้แจงโต้แย้งข้อเท็จจริงในส่วนนี้เป็นอย่างอื่น จึงฟังว่า ผู้ร้องกับพวก ได้ชดใช้ความเสียหายจากการกระทำของตนให้แก่นางสาว ว. และนางสาว ก. และปรากฏตาม หนังสือสัญญาประนีประนอมยอมความค่าสินไหมทดแทน ลงวันที่ ๔ สิงหาคม ๒๕๖๓ กับบันทึก การรับเงินและขอสละสิทธิการบังคับคดีเฉพาะราย ลงวันที่ ๑๗ มีนาคม ๒๕๖๔ ระบุว่านางสาว ก. ไม่ติดใจที่จะเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนตามคำพิพากษาอื่นใดจากผู้ร้องอีก และนางสาว ว. ได้รับชำระหนี้จนเป็นที่พอใจแล้ว ไม่ประสงค์จะบังคับคดีกับผู้ร้องในคดีนี้ต่อไป จึงขอสละสิทธิ การบังคับคดี ดังนี้ เมื่อผู้ร้องได้ชดใช้ค่าเสียหายจากการกระทำของตนที่เกิดขึ้นในคราวเดียวกันนั้น ให้แก่นางสาว ว. และนางสาว ก. จนพอใจและสละสิทธิในการบังคับคดีดังกล่าวแล้ว เพื่อประโยชน์ แห่งความยุติธรรม จึงไม่ให้บังคับตามคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๒๓/๒๕๖๕ คดีที่ผู้ร้องยื่นคำร้องว่าคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลปกครอง ตามคำสั่ง ศาลปกครองสูงสุด กับศาลยุติธรรม ตามคำพิพากษาศาลจังหวัดอุดรธานี ขัดแย้งกัน ตามมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ ข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติว่า กองทัพบก โจทก์ เคยยื่นฟ้องผู้ร้อง ต่อศาลจังหวัดอุดรธานี เรียกคืนเงินเบี้ยหวัด บำนาญ บำเหน็จดำรงชีพ และเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ สืบเนื่องจากผู้ร้องได้รับเงินดังกล่าวไปโดยไม่มีสิทธิ และได้มีการดำเนินการเกี่ยวกับเขตอำนาจศาล ตามมาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง (๒) แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ โดยศาลจังหวัดอุดรธานีและศาลปกครองอุดรธานีมีความเห็นพ้องกันว่า คดีนี้เป็นคดี ที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ศาลจังหวัดอุดรธานีจึงมีคำสั่งโอนคดี ไปยังศาลปกครองอุดรธานี ต่อมาศาลปกครองอุดรธานีพิจารณาแล้วเห็นว่าเป็นการยื่นฟ้องเมื่อพ้นกำหนด ระยะเวลาการฟ้องคดี ตามมาตรา ๕๑ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณา คดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ประกอบกับ คดีที่ยื่นฟ้องนี้มิได้เป็นประโยชน์แก่ส่วนรวมและไม่มีเหตุจำเป็นอื่น กรณีรับคำร้องไว้วินิจฉัย
คำพิพากษา/คำสั่งที่ถึงที่สุด ระหว่างศาลขัดแย้งกัน รวมย่อคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่น่าสนใจ พ.ศ. ๒๕๕๖ - ๒๕๖๕ 281 ตามมาตรา ๕๒ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติเดียวกัน ศาลปกครองอุดรธานีจึงมีคำสั่งไม่รับคำฟ้องไว้ พิจารณา ศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งยืนตามคำสั่งของศาลปกครองชั้นต้น โดยวินิจฉัยว่าผู้ฟ้องคดี ยื่นฟ้องเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาการฟ้องคดี ตามมาตรา ๕๑ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครอง และวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ และการฟ้องคดีนี้ไม่เกี่ยวกับการคุ้มครองประโยชน์สาธารณะ ที่จะยื่นฟ้องคดีเมื่อใดก็ได้ หรือเป็นประโยชน์แก่ส่วนรวมที่ศาลปกครองจะรับไว้พิจารณาได้ ตามมาตรา ๕๒ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติเดียวกัน ดังนั้น ข้อพิพาทระหว่างกองทัพบกกับผู้ร้อง เกี่ยวกับการเรียกคืนเงินเบี้ยหวัด บำนาญ บำเหน็จดำรงชีพ และเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัด บำนาญ (ช.ค.บ.) จึงเสร็จเด็ดขาดไปแล้ว ตามคำสั่งศาลปกครองสูงสุด การที่กองทัพบกนำคดีที่มี ข้อเท็จจริงเดียวกันนี้ไปฟ้องผู้ร้องต่อศาลจังหวัดอุดรธานีเรียกให้ผู้ร้องคืนเงินเบี้ยหวัด บำนาญ บำเหน็จดำรงชีพ และเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญอีกครั้ง จนกระทั่งศาลจังหวัดอุดรธานี มีคำพิพากษาว่า แม้เงินที่จำเลยได้รับไปจะเป็นการได้มาโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ แต่เมื่อเป็นการได้มาโดยมิชอบก็หาใช่เรื่องลาภมิควรได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๔๐๖ โจทก์ในฐานะเจ้าของเงินที่ส่งมอบให้จำเลยไปโดยสำคัญผิดย่อมมีสิทธิติดตามเอาเงิน ของโจทก์คืนจากจำเลยผู้ไม่มีสิทธิที่จะได้รับหรือยึดถือไว้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๓๓๖ โดยไม่มีกำหนดอายุความ คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ พิพากษาให้จำเลยชำระเงิน พร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ คดีถึงที่สุด ดังนี้ จึงเห็นได้ว่า คำสั่งศาลปกครองสูงสุดและคำพิพากษา ศาลจังหวัดอุดรธานี ขัดแย้งกัน คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยต่อไปว่าคณะกรรมการจะวินิจฉัยให้ปฏิบัติตามคำพิพากษา หรือคำสั่งที่ถึงที่สุดนั้นอย่างไร เห็นว่า เมื่อคดีนี้กองทัพบกได้เคยยื่นฟ้องผู้ร้องต่อศาลจังหวัดอุดรธานี มาแล้ว และได้มีการดำเนินการเกี่ยวกับเขตอำนาจศาลตามมาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติ ว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ โดยศาลยุติธรรมและศาลปกครอง มีความเห็นพ้องกันว่า คดีอยู่ในเขตอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองอันเป็นกรณีตาม มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง (๒) จนมีการโอนสำนวนไปพิจารณาพิพากษาที่ศาลปกครองแล้วตามมาตรา ๑๑ แห่งพระราชบัญญัติเดียวกัน กรณีย่อมถือว่าศาลยุติธรรม ศาลปกครองและคู่ความยอมรับเขตอำนาจ ศาลปกครองในการพิจารณาพิพากษาคดีนี้ ทั้งมาตรา ๑๐ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วย การวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ บัญญัติให้คำสั่งของศาลและคำวินิจฉัย ของคณะกรรมการที่เกี่ยวกับการดำเนินกระบวนการโต้แย้งเขตอำนาจศาลตามมาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง (๑) และ (๒) เป็นที่สุด และมิให้ศาลที่อยู่ในลำดับสูงขึ้นไปของศาลตามวรรคหนึ่งยกเรื่องเขตอำนาจศาล ขึ้นพิจารณาอีก ซึ่งมีความหมายว่าคำสั่งของศาลจังหวัดอุดรธานีที่ให้โอนคดีไปพิจารณาพิพากษา ที่ศาลปกครองอุดรธานี เนื่องจากทั้งสองศาลเห็นพ้องกันว่าคดีนี้เป็นคดีพิพาทที่อยู่ในอำนาจพิจารณา พิพากษาของศาลปกครองตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครอง และวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ อันเป็นการดำเนินการเกี่ยวกับเขตอำนาจศาลตามมาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง (๒) แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ นั้น กรณีรับคำร้องไว้วินิจฉัย
282 เป็นที่สุด และย่อมผูกพันศาลและคู่ความว่าคดีพิพาทตามฟ้องโจทก์เป็นคดีที่อยู่ในอำนาจพิจารณา พิพากษาของศาลปกครอง การที่กองทัพบกนำคดีซึ่งมีข้อเท็จจริงเดียวกันนี้ไปฟ้องยังศาลจังหวัด อุดรธานีซึ่งเป็นศาลยุติธรรมอีกครั้ง ภายหลังจากศาลปกครองสูงสุดมีคำพิพากษาหรือคำสั่งแล้ว ย่อมเป็นการขัดต่อมาตรา ๑๐ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ ซึ่งมีเจตนารมณ์ในการให้คำสั่งของศาล ตามมาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง (๑) และ (๒) หรือคำวินิจฉัยของคณะกรรมการในเรื่องเขตอำนาจศาลนั้นเป็นที่สุด เมื่อการกระทำของโจทก์ ที่นำคดีซึ่งศาลยุติธรรมและศาลปกครองมีความเห็นพ้องกันในเรื่องเขตอำนาจและคดีถึงที่สุดแล้ว ไปฟ้องยังศาลยุติธรรมอีกครั้งอันเป็นการขัดต่อมาตรา ๑๐ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วย การวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ ศาลจังหวัดอุดรธานีในคดีหลัง จึงไม่อาจ รับคดีนี้ไว้พิจารณาพิพากษาได้ ให้คู่ความปฏิบัติไปตามคำสั่งศาลปกครองสูงสุด คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๑๑๕/๒๕๖๔ คดีนี้ ผู้ร้องยื่นคำร้องว่าคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลยุติธรรมตามคำพิพากษา ศาลจังหวัดอุดรธานี หมายเลขแดงที่ พ. ๒๐๔๘/๒๕๖๐ กับศาลปกครอง ตามคำสั่งศาลปกครองสูงสุด ที่ ๖๑๘/๒๕๕๙ ขัดแย้งกันตามมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยว่า คำพิพากษาศาลจังหวัดอุดรธานี หมายเลขแดงที่ พ. ๒๐๔๘/๒๕๖๐ กับคำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ ๖๑๘/๒๕๕๙ ขัดแย้งกันหรือไม่ เห็นว่า ข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติว่า เมื่อวันที่ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๕๗ กองทัพบก โจทก์ เคยยื่นฟ้องผู้ร้องต่อศาลจังหวัดอุดรธานีเรียกคืนเงิน เบี้ยหวัด บำนาญ บำเหน็จดำรงชีพและเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ สืบเนื่องจากผู้ร้อง ได้รับเงินดังกล่าวไปโดยไม่มีสิทธิ ต่อมาผู้ร้องโต้แย้งเขตอำนาจศาลจังหวัดอุดรธานีตามมาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ ซึ่งศาลจังหวัดอุดรธานีและศาลปกครองอุดรธานีมีความเห็นพ้องกันว่าเป็นคดีพิพาทตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง และได้โอนคดีไปยังศาลปกครองอุดรธานี ต่อมา ศาลปกครองอุดรธานีพิจารณาแล้วเห็นว่าเป็นการยื่นฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาหนึ่งปีนับแต่ วันที่รู้หรือควรรู้เหตุแห่งการฟ้องคดีตามมาตรา ๕๑ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครอง และวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ จึงมีคำสั่งไม่รับคำฟ้องไว้พิจารณา ศาลปกครองสูงสุด พิพากษายืน ตามคำสั่งที่ ๖๑๘/๒๕๕๙ และวินิจฉัยว่า ข้อพิพาทในคดีนี้เป็นกรณีที่ผู้ฟ้องคดีอ้างว่า ผู้ฟ้องคดีได้มีการอนุมัติเบิกจ่ายเงินบำนาญปกติและเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ช.ค.บ.) ไปโดยถูกต้องตามกฎหมาย ผู้ฟ้องคดีจึงมีอำนาจเพิกถอนคำสั่งดังกล่าวตามมาตรา ๕๑ แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ และมีสิทธิจะเรียกคืนเงิน จากผู้ถูกฟ้องคดีได้ แต่ผู้ถูกฟ้องคดีเพิกเฉย ผู้ฟ้องคดีจึงนำคดีมาฟ้องต่อศาล คดีนี้จึงเป็นคดีพิพาท กรณีรับคำร้องไว้วินิจฉัย
คำพิพากษา/คำสั่งที่ถึงที่สุด ระหว่างศาลขัดแย้งกัน รวมย่อคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่น่าสนใจ พ.ศ. ๒๕๕๖ - ๒๕๖๕ 283 ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ และโดยที่มาตรา ๕๑ แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ กำหนดว่า การเพิกถอนคำสั่งทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายซึ่งเป็นการให้เงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์ที่อาจแบ่งแยกได้ให้คำนึงถึงความเชื่อโดยสุจริตของผู้รับประโยชน์ในความคงอยู่ ของคำสั่งทางปกครองนั้นกับประโยชน์สาธารณะประกอบกัน โดยที่ในกรณีที่เพิกถอนโดยให้มีผล ย้อนหลัง การคืนเงิน ทรัพย์สินหรือประโยชน์ที่ผู้รับคำสั่งทางปกครองไปให้นำบทบัญญัติว่าด้วย ลาภมิควรได้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาใช้บังคับโดยอนุโลม แต่ถ้าเมื่อใดผู้รับคำสั่ง ทางปกครองได้รู้ถึงความไม่ชอบด้วยกฎหมายของคำสั่งทางปกครอง หรือตนได้รู้เช่นว่านั้นหากผู้นั้น มิได้ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง ให้ถือว่าผู้นั้นตกอยู่ในฐานะไม่สุจริตตั้งแต่เวลานั้นเป็นต้นไป และในกรณีที่ผู้รับคำสั่งทางปกครองจะอ้างความเชื่อโดยสุจริตไม่ได้ตามที่บทบัญญัตินี้กำหนด ผู้นั้นต้องรับผิดคืนเงินทรัพย์สินหรือประโยชน์ที่ได้รับไปเต็มจำนวน กรณีนี้จึงไม่อาจถือได้ว่า เป็นการฟ้องคดีในฐานะเจ้าของทรัพย์สินที่มีสิทธิติดตามเอาทรัพย์สินคืนตามมาตรา ๑๓๓๖ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เพราะหากถือเช่นนั้นแล้วผู้ฟ้องคดีก็จะมีสิทธิฟ้อง เรียกเอาทรัพย์สินคืนได้ทั้งหมดเต็มจำนวนอย่างสิ้นเชิงซึ่งเป็นการไม่สอดคล้องหรือขัดต่อมาตรา ๕๑ แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ กำหนดระยะเวลาการฟ้องคดี จึงต้องเป็นไปตามมาตรา ๕๑ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ และวินิจฉัยว่าผู้ฟ้องคดีนำคดีมาฟ้องเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาการฟ้องคดีตามมาตรา ๕๑ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ แล้ว ดังนั้น ข้อพิพาทระหว่างกองทัพบกกับผู้ร้อง เกี่ยวกับการเรียกคืนเงินเบี้ยหวัด บำนาญ บำเหน็จดำรงชีพ และเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ช.ค.บ.) เสร็จเด็ดขาดไปแล้วตามคำสั่งศาลปกครองสูงสุด ที่ ๖๑๘/๒๕๕๙ ส่วนคำพิพากษาศาลจังหวัดอุดรธานี หมายเลขแดงที่ พ. ๒๐๔๘/๒๕๖๐ เป็นเรื่องที่กองทัพบกนำคดีที่มีข้อเท็จจริงเดียวกันนี้ไปฟ้องผู้ร้องต่อศาลจังหวัดอุดรธานีเรียกให้ ผู้ร้องคืนเงินเบี้ยหวัด บำนาญ บำเหน็จดำรงชีพ และเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญอีกครั้ง เป็นคดีหมายเลขดำที่ ๑๓๖๖/๒๕๖๐ โดยศาลจังหวัดอุดรธานีมีคำสั่งรับฟ้อง แต่ต่อมามีคำสั่งให้ เพิกถอนคำสั่งรับคำฟ้องโจทก์และมีคำสั่งใหม่เป็นไม่รับคำฟ้อง เนื่องจากเห็นว่าเป็นฟ้องซ้ำกับ คดีของศาลปกครอง แต่ศาลอุทธรณ์ภาค ๔ มีคำพิพากษาให้ยกคำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับฟ้องโจทก์ เนื่องจากเห็นว่า คดีนี้เป็นกรณีที่รัฐฟ้องคดีโดยใช้สิทธิเรียกร้องเอาแก่อดีตข้าราชการของตนในฐานะ เอกชนคนหนึ่ง ซึ่งไม่เข้าหลักเกณฑ์ของคดีพิพาทเกี่ยวกับความรับผิดอย่างอื่นของหน่วยงาน ทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครอง และวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ฟ้องโจทก์ไม่เป็นฟ้องซ้ำกับคดีที่โจทก์เคยฟ้องที่ศาลปกครอง ต่อมา คู่ความตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความ ศาลจังหวัดอุดรธานีมีคำพิพากษาตามยอม เป็นคดีหมายเลขแดงที่ พ. ๒๐๔๘/๒๕๖๐ ลงวันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๖๔ คดีถึงที่สุด กรณีจึงเห็นได้ว่า การที่ศาลจังหวัดอุดรธานียกคดีขึ้นมาพิจารณาพิพากษาใหม่เป็นผลมาจากคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ กรณีรับคำร้องไว้วินิจฉัย
284 ภาค ๔ ที่เห็นว่าข้อพิพาทในคดีนี้เป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการที่รัฐใช้สิทธิเรียกร้องเงินคืนจากอดีต ข้าราชการที่ได้รับไปเกินสิทธิ มิใช่คดีพิพาทเกี่ยวกับความรับผิดอย่างอื่นของหน่วยงานทางปกครอง หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครอง และวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ซึ่งเป็นการวินิจฉัยที่ขัดแย้งกับคำสั่งศาลปกครองสูงสุด ที่ ๖๑๘/๒๕๕๙ ที่เห็นว่า คดีนี้ไม่ใช่การฟ้องคดีเพื่อใช้สิทธิติดตามเอาคืนตามประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์ มาตรา ๑๓๓๖ ดังนั้น คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ ๖๑๘/๒๕๕๙ และคำพิพากษา ศาลจังหวัดอุดรธานี หมายเลขแดงที่ พ. ๒๐๔๘/๒๕๖๐ จึงขัดแย้งกัน คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยต่อไปว่าคณะกรรมการจะวินิจฉัยให้ปฏิบัติตามคำพิพากษา หรือคำสั่งที่ถึงที่สุดนั้นอย่างไร เห็นว่า เมื่อคดีนี้กองทัพบกได้เคยยื่นฟ้องผู้ร้องต่อศาลจังหวัดอุดรธานี มาแล้วและได้มีการดำเนินการเกี่ยวกับเขตอำนาจศาลตามมาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติ ว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ โดยศาลยุติธรรมและศาลปกครอง มีความเห็นพ้องกันว่าคดีอยู่ในเขตอำนาจของศาลปกครองอันเป็นกรณีตามมาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง (๒) จนมีการโอนสำนวนไปพิจารณาพิพากษาที่ศาลปกครองแล้วตามมาตรา ๑๑ แห่งพระราชบัญญัติเดียวกัน กรณีย่อมถือว่าศาลยุติธรรม ศาลปกครอง และคู่ความยอมรับเขตอำนาจศาลปกครองในการพิจารณา พิพากษาคดีนี้ ทั้งมาตรา ๑๐ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ บัญญัติให้คำสั่งของศาลและคำวินิจฉัยของคณะกรรมการที่เกี่ยวกับ การดำเนินกระบวนการโต้แย้งเขตอำนาจศาลตามมาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง (๑) และ (๒) เป็นที่สุด และมิให้ศาลที่อยู่ในลำดับสูงขึ้นไปของศาลตามวรรคหนึ่งยกเรื่องเขตอำนาจศาลขึ้นพิจารณาอีก ซึ่งมีความหมายว่าคำสั่งของศาลจังหวัดอุดรธานีที่ให้โอนคดีไปพิจารณาพิพากษาที่ศาลปกครอง อุดรธานี เนื่องจากเห็นพ้องกันว่าคดีนี้เป็นคดีพิพาทที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ อันเป็นการดำเนินการเกี่ยวกับเขตอำนาจศาลตามมาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง (๒) แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ นั้น เป็นที่สุด และย่อมผูกพันศาลและคู่ความว่าคดีพิพาทตามฟ้องโจทก์เป็นคดีที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษา ของศาลปกครอง การที่กองทัพบกนำคดีซึ่งมีข้อเท็จจริงเดียวกันนี้ไปฟ้องยังศาลจังหวัดอุดรธานี ซึ่งเป็นศาลยุติธรรมอีกครั้ง ภายหลังจากศาลปกครองสูงสุดตามคำสั่งที่ ๖๑๘/๒๕๕๙ มีคำพิพากษา หรือคำสั่งแล้วย่อมเป็นการขัดต่อมาตรา ๑๐ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาด อำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ เมื่อการกระทำของโจทก์ที่นำคดีซึ่งศาลยุติธรรมและ ศาลปกครองมีความเห็นพ้องกันในเรื่องเขตอำนาจและคดีถึงที่สุดแล้วไปฟ้องยังศาลยุติธรรมอีกครั้ง อันเป็นการขัดต่อมาตรา ๑๐ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ ศาลจังหวัดอุดรธานี ในคดีหมายเลขดำที่ พ. ๑๓๖๖/๒๕๖๐ คดีหมายเลขแดง ที่ พ. ๒๐๔๘/๒๕๖๐ ลงวันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๖๔ จึงไม่อาจรับคดีนี้ไว้พิจารณาและมีคำพิพากษา กรณีรับคำร้องไว้วินิจฉัย
คำพิพากษา/คำสั่งที่ถึงที่สุด ระหว่างศาลขัดแย้งกัน รวมย่อคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่น่าสนใจ พ.ศ. ๒๕๕๖ - ๒๕๖๕ 285 ให้คดีนี้เสร็จเด็ดขาดไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความได้ จึงให้คู่ความปฏิบัติไปตามคำสั่ง ศาลปกครองสูงสุดที่ ๖๑๘/๒๕๕๙ ลงวันที่ ๒๕ กรกฎาคม ๒๕๕๙ * คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๕๐/๒๕๖๔ วินิจฉัยทำนองเดียวกัน คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๖๕/๒๕๕๙ กรมบัญชีกลางยื่นฟ้องจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐว่าทำละเมิดหน่วยงาน ของรัฐต่อศาลยุติธรรม ในขณะเดียวกันก็แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงและมีคำสั่ง ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันรับผิดชดใช้ค่าเสียหาย จำเลยทั้งสองจึงยื่นฟ้องโจทก์กับพวกขอให้เพิกถอน คำสั่งดังกล่าวต่อศาลปกครองกลาง ต่อมาศาลฎีกามีคำพิพากษาให้จำเลยที่ ๑ รับผิดในผลละเมิด แต่ให้ยกฟ้องจำเลยที่ ๒ ส่วนศาลปกครองสูงสุดมีคำพิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันรับผิด โดยคำพิพากษาของทั้งสองศาลต่างถึงที่สุด ดังนี้แม้ว่าโจทก์จะยื่นคำร้องให้คณะกรรมการวินิจฉัย เมื่อพ้นกำหนด ๖๐ วัน นับแต่วันที่มีคำพิพากษาของศาลคดีหลังสุด อันเป็นการล่วงเลยระยะเวลา ตามมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ ก็ตาม แต่กำหนดเวลาดังกล่าวหาใช่อายุความไม่ เมื่อคู่ความยังมิได้รับการเยียวยาความเสียหาย เพื่อประโยชน์ แห่งความยุติธรรม คณะกรรมการจึงรับคำร้องไว้พิจารณา ตามข้อบังคับคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาด อำนาจหน้าที่ระหว่างศาล ว่าด้วยวิธีการเสนอเรื่อง การพิจารณาและวินิจฉัย พ.ศ. ๒๕๔๔ ข้อ ๔ เมื่อการกระทำละเมิดของจำเลยที่ ๑ และที่ ๒ อยู่ภายใต้บังคับของพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิด ของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๙ โดยตรง ทั้งโจทก์ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐได้ดำเนินการไปตามพระราชบัญญัตินี้ จนถึงขั้นออกคำสั่งทางปกครองให้จำเลยที่ ๑ และที่ ๒ ชำระเงินค่าเสียหาย และมีการตรวจสอบ ความชอบของการดำเนินการโดยศาลปกครอง ซึ่งเป็นฝ่ายตุลาการแล้วด้วย จึงควรให้มีการดำเนินการ ไปจนจบขั้นตอน โดยพิจารณาใช้มาตรการบังคับทางปกครองให้คำสั่งทางปกครองได้มีการบังคับการ ให้เกิดผล เพื่อให้การเป็นไปตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติฉบับนี้ ให้คู่ความปฏิบัติไปตาม คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดโดยมิให้บังคับคดีตามคำพิพากษาศาลฎีกา คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๖๔/๒๕๕๙ คดีที่เทศบาลตำบลหนองสอ ผู้ร้อง ยื่นคำร้องขอให้วินิจฉัยชี้ขาดกรณีคำพิพากษาที่ถึงที่สุด ระหว่างศาลยุติธรรมและศาลปกครองขัดแย้งกันว่าผู้ร้องจะต้องชำระเงินค่าจ้างตามสัญญาจ้างสร้าง และติดตั้งซุ้มเฉลิมพระเกียรติให้แก่เอกชนผู้รับจ้างตามจำนวนที่กำหนดไว้ในคำพิพากษาศาลปกครอง ขอนแก่นหรือคำพิพากษาศาลฎีกาซึ่งกำหนดจำนวนเงินค่าจ้างที่ผู้ร้องต้องรับผิดไว้แตกต่างกัน เห็นว่า การจะพิจารณาว่าผู้ร้องต้องปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลใดตามมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วย การวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ นั้น จำต้องพิจารณาถึงเจตนารมณ์ของการจัดตั้งศาล เป็นระบบศาลคู่ซึ่งได้แก่ ความมุ่งหมายให้ประชาชนได้รับการพิจารณาพิพากษาคดีจากศาลที่มี กรณีรับคำร้องไว้วินิจฉัย
286 ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านอย่างรวดเร็วและเป็นธรรม ข้อพิจารณาตามคำร้องนี้จึงมีว่า สัญญาจ้างสร้าง และติดตั้งซุ้มเฉลิมพระเกียรติ เป็นสัญญาที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม หรือศาลปกครอง เมื่อพิจารณาเนื้อหาของสัญญาที่พิพาทแล้วเป็นเพียงการว่าจ้างให้เอกชนสร้าง และติดตั้งซุ้มเฉลิมพระเกียรติ โดยผู้ว่าจ้างประสงค์เพียงผลสำเร็จแห่งการที่ทำอันอยู่ในความรับผิดชอบ ของหน่วยงานเท่านั้น และผู้รับจ้างก็ประสงค์เพียงค่าจ้างจากการสร้างและติดตั้งซุ้มเฉลิมพระเกียรติ ดังกล่าว อันมีลักษณะเป็นสัญญาจ้างทำของ ตามมาตรา ๕๘๗ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จึงเป็นสัญญาทางแพ่งที่มีหน่วยงานทางปกครองเป็นคู่สัญญาเท่านั้น มิได้มีลักษณะเป็นสัญญาสัมปทาน สัญญาที่ให้เอกชนจัดทำบริการสาธารณะหรือเข้าร่วมดำเนินจัดทำบริการสาธารณะ และมิใช่สัญญา ที่จัดให้มีสิ่งสาธารณูปโภคหรือแสวงประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติที่จะถือว่าเป็นสัญญาทางปกครอง อันจะอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง แต่เป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางแพ่ง ที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม ฉะนั้น กรณีนี้จึงสมควรให้บังคับตามคำพิพากษา ศาลฎีกาซึ่งเป็นศาลยุติธรรมที่มีเขตอำนาจเหนือคดีนี้ คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๒/๒๕๕๗ คดีที่กรมส่งเสริมสหกรณ์ยื่นคำร้องขอให้วินิจฉัยชี้ขาดว่าคำพิพากษาที่ถึงที่สุดระหว่างศาล ขัดแย้งกัน ซึ่งมูลความแห่งคดีนี้สืบเนื่องจากการที่จำเลยซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำละเมิด ต่อหน่วยงานของรัฐ และหน่วยงานของรัฐมีคำสั่งให้จำเลยชดใช้เงินตามพระราชบัญญัติความรับผิด ทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๙ ต่อมาศาลปกครองสูงสุดมีคำพิพากษาให้จำเลยชดใช้เงินจำนวน ๘,๙๘๗.๔๔ บาท และศาลฎีกามีคำพิพากษาให้จำเลยชดใช้เงินจำนวน ๑๖,๑๑๓ บาท โดยคำพิพากษา ของทั้งสองศาลต่างถึงที่สุด ดังนี้แม้ว่าโจทก์จะยื่นคำร้องให้คณะกรรมการวินิจฉัยเมื่อพ้นกำหนด ๖๐ วัน นับแต่วันที่มีคำพิพากษาของศาลคดีหลังสุด อันเป็นการล่วงเลยระยะเวลาตามมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ ก็ตาม แต่กำหนด เวลาดังกล่าวหาใช่อายุความไม่ เมื่อคู่ความยังมิได้รับการเยียวยาความเสียหาย เพื่อประโยชน์ แห่งความยุติธรรม คณะกรรมการจึงรับคำร้องไว้พิจารณา ตามข้อบังคับคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาด อำนาจหน้าที่ระหว่างศาล ว่าด้วยวิธีการเสนอเรื่อง การพิจารณาและวินิจฉัย พ.ศ. ๒๕๔๔ ข้อ ๔ เมื่อปรากฏว่าคดีนี้จำเลยซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ปฏิบัติหน้าที่โดยจงใจหรือประมาทเลินเล่ออันเป็น การทำละเมิดต่อหน่วยงานของรัฐ จึงต้องอยู่ภายใต้บังคับแห่งพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิด ของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๙ ทั้งโจทก์ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐได้ดำเนินการไปตามพระราชบัญญัตินี้ จนถึงขั้นออกคำสั่งทางปกครองให้จำเลยชำระเงินค่าเสียหาย และมีการตรวจสอบความชอบ ของการดำเนินการ โดยศาลปกครองกลางซึ่งเป็นฝ่ายตุลาการแล้วด้วย จึงควรให้มีการดำเนินการ ไปจนจบขั้นตอน เพื่อให้การเป็นไปตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติฉบับนี้ จึงให้คู่ความปฏิบัติ ตามคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด กรณีรับคำร้องไว้วินิจฉัย
คำพิพากษา/คำสั่งที่ถึงที่สุด ระหว่างศาลขัดแย้งกัน รวมย่อคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่น่าสนใจ พ.ศ. ๒๕๕๖ - ๒๕๖๕ 287 กรณใีหย้กคํารอ้งหรอืจําหนา่ยเรอื�งออกจากสารบบความ เนอื�งจาก คํารอ้งไมเ่ปน� ไปตามหลกัเกณฑ์ตามพระราชบญัญตัวิา่ดว้ยการวนิจิฉยัชขี�าด อํานาจหนา้ทรี�ะหวา่งศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๔ กรณีให้ยกคําร้องหรือจําหน่ายเร�อืง ออกจากสารบบความ รวมย่อคําวินิจฉัย
288 กรณีให้ยกคำร้องหรือจำหน่ายเรื่องออกจากสารบบความ คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล (คำสั่ง) ที่ ๗๗/๒๕๖๕ คดีที่ผู้ร้องยื่นคำร้องว่า คำพิพากษาของศาลยุติธรรมตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ คดีหมายเลขแดงที่ ๒๐/๒๕๖๒ ขัดแย้งกับคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด คดีหมายเลขแดง ที่ อบ. ๑๗/๒๕๖๑ ซึ่งแม้ผู้ร้องเป็นผู้ฟ้องคดีในคดีของศาลปกครองสูงสุด และเป็นจำเลยในคดีอาญา ของศาลอุทธรณ์ ซึ่งเป็นคู่ความตามคำพิพากษาที่ถึงที่สุดระหว่างศาลปกครองและศาลยุติธรรม ดังกล่าว อย่างไรก็ตาม การยื่นคำร้องขอให้คณะกรรมการวินิจฉัยเกี่ยวกับการปฏิบัติตามคำพิพากษา หรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกันตามพระราชบัญญัติฉบับนี้ ต้องดำเนินการภายในหกสิบวัน นับแต่วันที่คำพิพากษาหรือคำสั่งที่ออกภายหลังถึงที่สุด เมื่อคำพิพากษาศาลอุทธรณ์คดีหมายเลขแดง ที่ ๒๐/๒๕๖๒ ซึ่งเป็นคำพิพากษาที่ถึงที่สุดของศาลยุติธรรมที่ออกภายหลัง ศาลอ่านคำพิพากษา ให้คู่ความฟังวันที่ ๘ พฤษภาคม ๒๕๖๒ โจทก์ฎีกา ศาลมีคำสั่งว่าผู้พิพากษาศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ไม่อนุญาตให้ฎีกา จึงมีคำสั่งไม่รับฎีกา คดีถึงที่สุด โดยศาลอาญาตลิ่งชันออกใบสำคัญคดีถึงที่สุด ลงวันที่ ๑๒ ธันวาคม ๒๕๖๒ เมื่อผู้ร้องยื่นคำร้องคดีนี้ต่อคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ ระหว่างศาลเมื่อวันที่ ๒ กันยายน ๒๕๖๕ จึงเป็นการล่วงพ้นกำหนดระยะเวลาหกสิบวันนับแต่วันที่ คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ คดีหมายเลขแดงที่ ๒๐/๒๕๖๒ ถึงที่สุด แม้ว่าภายหลังศาลอุทธรณ์ มีคำพิพากษายกฟ้อง ผู้ร้องจะได้ยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ต่อศาลปกครอง และศาลปกครองสูงสุด มีคำสั่งยืนตามคำสั่งศาลปกครองชั้นต้นที่ไม่รับคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ของผู้ร้อง ลงวันที่ ๙ ธันวาคม ๒๕๖๓ แต่คำสั่งของศาลปกครองสูงสุดดังกล่าวเป็นเพียงคำสั่งที่ไม่รับคำขอให้พิจารณาคดีใหม่ เนื่องจากไม่เข้าหลักเกณฑ์ที่จะขอให้ศาลพิจารณาพิพากษาคดีหรือมีคำสั่งชี้ขาดคดีใหม่ ตามมาตรา ๗๕ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ไม่ใช่คำพิพากษา ในเนื้อหาของคดีที่มีผลเป็นการเปลี่ยนแปลงผลของคำวินิจฉัย คำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด คดีหมายเลขแดงที่ อบ. ๑๗/๒๕๖๑ จึงมิใช่คำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดที่จะขัดแย้งกับคำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ คดีหมายเลขแดงที่ ๒๐/๒๕๖๒ คำร้องของผู้ร้องไม่ชอบด้วยมาตรา ๑๔ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ อาศัยอำนาจ ตามมาตรา ๑๗ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ ประกอบข้อ ๒๘ ของข้อบังคับคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล ว่าด้วยวิธีการเสนอเรื่อง การพิจารณาและวินิจฉัย พ.ศ. ๒๕๔๔ จึงให้ยกคำร้อง คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล (คำสั่ง) ที่ ๖๐/๒๕๖๕ ผู้ร้องยื่นคำร้องอ้างว่าได้รับผลกระทบจากคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด คดีหมายเลขแดง ที่ อ.๑๓๙-๑๔๐/๒๕๖๕ ขัดแย้งกับคำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๘๐๖๔/๒๕๖๐ ประกอบคำพิพากษา ศาลฎีกาที่ ๓๒๙๙/๒๕๖๔ และคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ คดีหมายเลขแดงที่ ๘๕๖๗/๒๕๖๔ ในคดี กรณีให้ยกคำร้องหรือจำหน่ายเรื่องออกจากสารบบความ
คำพิพากษา/คำสั่งที่ถึงที่สุด ระหว่างศาลขัดแย้งกัน รวมย่อคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่น่าสนใจ พ.ศ. ๒๕๕๖ - ๒๕๖๕ 289 ที่มีข้อเท็จจริงสืบเนื่องมาจากกรณีที่ผู้ร้องและกิจการร่วมค้า อ. ตกลงทำสัญญาจ้างดำเนินโครงการ ออกแบบก่อสร้างระบบรวบรวมและบำบัดน้ำเสียเขตควบคุมมลพิษ จังหวัดสมุทรปราการ แต่ต่อมา ผู้ร้องแจ้งให้กิจการร่วมค้า อ. ยุติการก่อสร้าง เนื่องจากสัญญาตกเป็นโมฆะ บริษัทในกิจการร่วมค้า ทั้งหกบริษัท ผู้เรียกร้อง จึงยื่นเสนอข้อพิพาทต่อคณะอนุญาโตตุลาการ คณะอนุญาโตตุลาการ มีคำชี้ขาดข้อพิพาทหมายเลขแดงที่ ๒/๒๕๕๔ ให้ผู้ร้องชำระค่าจ้างและค่าเสียหายพร้อมดอกเบี้ย ให้แก่ผู้เรียกร้อง ต่อมาผู้ร้องและบริษัทในกิจการร่วมค้าทั้งหกบริษัทได้นำข้อพิพาทขึ้นสู่การพิจารณา ของศาลปกครองและศาลยุติธรรม เมื่อคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด หมายเลขแดงที่ อ.๑๓๙-๑๔๐/๒๕๖๕ เป็นคำพิพากษา ในคดีที่ผู้ร้องยื่นคำร้องต่อศาลปกครองขอให้มีคำพิพากษาหรือมีคำชี้ขาดใหม่ในคดีหมายเลขแดง ที่ อ.๔๘๗-๔๘๘/๒๕๕๗ ซึ่งศาลปกครองสูงสุดพิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลปกครองชั้นต้น โดยให้ ผู้ร้องชำระเงินตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ.๑๓๙-๑๔๐/๒๕๖๕ จึงเป็นเพียงคำสั่งยกคำขอให้พิจารณาคดีใหม่ซึ่งมีผลให้ผู้ร้องต้องปฏิบัติตามคำบังคับในคดีเดิม และเป็นเพียงคดีสาขาของคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ.๔๘๗-๔๘๘/๒๕๕๗ ที่มีประเด็นในคดี เพียงว่า กรณีตามคำร้องเข้าเงื่อนไขที่ศาลปกครองจะพิจารณาคดีหรือมีคำสั่งชี้ขาดคดีปกครองนั้นใหม่ ตามมาตรา ๗๕ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ หรือไม่ คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ.๑๓๙-๑๔๐/๒๕๖๕ จึงมิใช่คำพิพากษาหรือคำสั่งที่ชี้ขาด ข้อพิพาทในประเด็นแห่งคดีที่จะขัดหรือแย้งกับคำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๘๐๖๔/๒๕๖๐ คำพิพากษา ศาลฎีกาที่ ๓๒๙๙/๒๕๖๔ และคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ คดีหมายเลขแดงที่ ๘๕๖๗/๒๕๖๔ ทั้งไม่ปรากฏว่าคู่ความในคดีตามคำพิพากษาที่ถึงที่สุดของทั้งสองศาลมีเหตุขัดข้องที่ไม่อาจปฏิบัติ ตามคำพิพากษาที่ถึงที่สุดนั้นได้ อันจะแสดงให้เห็นว่าคำพิพากษาที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกัน คณะกรรมการจึงไม่รับวินิจฉัย ส่วนที่ผู้ร้องเห็นว่าคดีตามคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด หมายเลขแดง ที่ อ.๑๓๙-๑๔๐/๒๕๖๕ ไม่นำข้อเท็จจริงที่ปรากฏตามคำพิพากษาคดีส่วนอาญาในคำพิพากษา ศาลฎีกาที่ ๘๐๖๔/๒๕๖๐ รวมถึงพยานหลักฐานที่ผู้ร้องนำเสนอมาประกอบการวินิจฉัยคดีไม่ชอบ ด้วยกฎหมายนั้น เมื่อคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด หมายเลขแดงที่ อ.๑๓๙-๑๔๐/๒๕๖๕ เป็นคำพิพากษาที่สืบเนื่องมาจากการที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอพิจารณาคดีใหม่ในคดีตามคำพิพากษา ศาลปกครองสูงสุด คดีหมายเลขแดงที่ อ.๔๘๗-๔๘๘/๒๕๕๗ จึงเป็นอำนาจของศาลปกครองสูงสุด ซึ่งเป็นศาลที่มีเขตอำนาจเหนือคดีนั้นจะพิจารณาวินิจฉัย คณะกรรมการไม่อาจก้าวล่วงเข้าไปตรวจสอบ การใช้อำนาจพิจารณาพิพากษาคดีที่อยู่ในเขตอำนาจโดยชอบด้วยกฎหมายของศาลปกครองสูงสุดได้ กรณีตามคำร้องของผู้ร้องจึงไม่เข้าหลักเกณฑ์ตามมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติวินิจฉัยชี้ขาด อำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ ที่คณะกรรมการจะรับไว้วินิจฉัยได้ จำหน่ายเรื่องออกจาก สารบบความ กรณีให้ยกคำร้องหรือจำหน่ายเรื่องออกจากสารบบความ
290 คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล (คำสั่ง) ที่ ๒๔/๒๕๖๕ การยื่นคำร้องขอให้คณะกรรมการวินิจฉัยตามมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วย การวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ นั้น จะต้องเป็นกรณีที่คำพิพากษาหรือคำสั่ง ที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกัน โดยมีข้อเท็จจริงเป็นเรื่องเดียวกัน กล่าวคือ มูลความแห่งคดีเดียวกัน แต่ได้ยื่นฟ้องต่อศาลสองศาล และศาลทั้งสองศาลนั้นตัดสินขัดแย้งกันจนเป็นเหตุให้คู่ความไม่ได้รับ การเยียวยาความเสียหายหรือไม่ได้รับความเป็นธรรม และไม่อาจปฏิบัติตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง ที่ถึงที่สุดของทั้งสองศาลได้ เมื่อคดีนี้ ผู้ร้องยื่นคำร้องว่าคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ซึ่งผู้ร้องเป็นจำเลย ในคดีที่กรมที่ดินฟ้องเรียกคืนเงินค่าใช้จ่ายในการอบรมหลักสูตรกฎหมายปกครองและวิธีพิจารณาคดี ปกครองตามมาตรฐานที่ ก.ศป. รับรอง รุ่นที่ ๑ ที่รับไปโดยไม่มีสิทธิ ขัดแย้งกับคำพิพากษา ศาลปกครองสูงสุด แต่เมื่อผู้ร้องมิได้เป็นคู่กรณีในคดีของศาลปกครองดังกล่าวและมูลความแห่งคดี ตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ กับคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดมิใช่มูลความแห่งคดีเดียวกัน การที่กรมที่ดินฟ้องผู้ร้องเป็นจำเลยต่อศาลยุติธรรมแต่เพียงแห่งเดียว โดยมิได้นำข้อเท็จจริงเดียวกันนี้ ฟ้องผู้ร้องต่อศาลปกครองด้วย กรณีจึงไม่มีคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกัน ที่จะเป็นเหตุให้ผู้ร้องไม่ได้รับความเป็นธรรม หรือมีเหตุที่ไม่อาจปฏิบัติตามคำพิพากษาที่ถึงที่สุดนั้นได้ กรณีตามคำร้องของผู้ร้องจึงเป็นเพียงการอ้างว่า ศาลยุติธรรมในคดีตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่ผู้ร้อง เป็นจำเลย วินิจฉัยขัดแย้งกับแนวคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด ซึ่งอำนาจในการวินิจฉัยชี้ขาด ประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีเป็นอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลที่รับฟ้อง เมื่อไม่ปรากฏว่าผู้ร้อง เป็นคู่กรณีในเรื่องเดียวกัน ในมูลความแห่งคดีเดียวกันนี้ที่ศาลปกครองด้วย กรณีตามคำร้องของผู้ร้อง จึงมิใช่ปัญหาเกี่ยวกับคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกัน ตามพระราชบัญญัติว่าด้วย การวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๔ วรรคหนึ่ง จึงให้ยกคำร้อง คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล (คำสั่ง) ที่ ๑๖/๒๕๖๕ คดีนี้ ผู้ร้องยื่นคำร้องว่า คำสั่งศาลอุทธรณ์ภาค ๗ คดีหมายเลขแดงที่ ลต ๑/๒๕๖๔ ขัดแย้งกับคำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ คร. ๔๖๓/๒๕๖๔ ซึ่งคำพิพากษาหรือคำสั่งทั้งสองศาลเป็นคดี ที่ผู้ร้องนำข้อเท็จจริงเรื่องเดียวกันขึ้นสู่การพิจารณาของศาลยุติธรรมและศาลปกครอง กรณีผู้ร้อง สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลตำบลวังกะ แต่ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำเทศบาลตำบลวังกะ ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลตำบลวังกะ โดยระบุในส่วนของผู้ร้องว่า “ไม่รับสมัคร” ผู้ร้องจึงยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งเพื่อให้วินิจฉัยว่าผู้ร้องเป็นผู้มีสิทธิ สมัครรับเลือกตั้ง คณะกรรมการการเลือกตั้งวินิจฉัยว่า ผู้ร้องไม่ได้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งและมิได้แจ้งเหตุ ที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดและนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด กาญจนบุรี จึงเป็นบุคคลผู้มีลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งตามพระราชบัญญัติ การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๖๒ มาตรา ๕๐ (๒๐) และมีคำสั่งยกคำร้อง ผู้ร้องจึงยื่นอุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์ภาค ๗ ซึ่งต่อมาได้มีคำสั่งในคดีหมายเลขแดงที่ ลต ๑/๒๕๖๔ กรณีให้ยกคำร้องหรือจำหน่ายเรื่องออกจากสารบบความ