The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by iprd.pic, 2023-09-19 04:15:14

รวมย่อคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่น่าสนใจ พ.ศ. ๒๕๕๖ - ๒๕๖๕

29. winijchai66_A

คดีพิพาทที่อยู่ในเขตอำนาจ ของศาลยุติธรรม รวมย่อคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่น่าสนใจ พ.ศ. ๒๕๕๖ - ๒๕๖๕ 91 คดีที่อยู่ในเขตอำนาจของศาลแรงงาน คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๖๗/๒๕๖๕ แม้การรถไฟแห่งประเทศไทย ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ เป็นรัฐวิสาหกิจที่ตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติ การรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๔๙๔ อันเป็นหน่วยงานทางปกครองตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ และผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ เป็นผู้บริหารกิจการ ของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ จึงเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติเดียวกัน ส่วนผู้ฟ้องคดี เป็นลูกจ้างในหน่วยงานทางปกครอง จึงเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐตามพระราชบัญญัติเดียวกันแต่เนื่องจาก มาตรา ๕ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๓ บัญญัติให้ รัฐวิสาหกิจทั้งหลายอยู่ภายใต้บังคับแห่งพระราชบัญญัตินี้ไม่ว่ากฎหมายจัดตั้งรัฐวิสาหกิจนั้น หรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องจะกำหนดไว้เช่นใดก็ตาม เว้นแต่รัฐวิสาหกิจที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา ตามวรรคหนึ่ง ดังนั้น นิติสัมพันธ์ระหว่างผู้ฟ้องคดีกับผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ จึงอยู่ในฐานะลูกจ้างกับนายจ้าง ตามพระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๓ ภายใต้ข้อบังคับและระเบียบที่กำหนด ความสัมพันธ์หรือสภาพการจ้างระหว่างกัน เมื่อคดีนี้ ผู้ฟ้องคดีฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งการรถไฟ แห่งประเทศไทย ที่ บภบ. ๘๒/๒๕๖๔ ที่ให้ผู้ฟ้องคดีชดใช้ค่าสินไหมทดแทนอันเนื่องมาจากการที่ ผู้ฟ้องคดีซึ่งเป็นลูกจ้างมีหน้าที่ในการขับรถไฟได้ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง ทำให้การรถไฟแห่งประเทศไทยได้รับความเสียหาย คำสั่งให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนดังกล่าว จึงเป็นผลมาจากการกระทำละเมิดของผู้ฟ้องคดีซึ่งเป็นลูกจ้างต่อผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ซึ่งเป็นนายจ้าง กรณีจึงเป็นคดีพิพาทอันเกิดแต่มูลละเมิดระหว่างนายจ้างและลูกจ้างสืบเนื่องจากข้อพิพาทแรงงาน หรือเกี่ยวกับการทำงานตามสัญญาจ้างแรงงานตามมาตรา ๘ วรรคหนึ่ง (๕) แห่งพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. ๒๕๒๒ คดีจึงไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษา ของศาลปกครองตามมาตรา ๙ วรรคสอง (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณา คดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ แต่เป็นคดีที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๖๓/๒๕๖๕ คดีที่ อดีตลูกจ้างองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ ยื่นฟ้ององค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ จำเลยที่ ๑ ผู้อำนวยการองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ จำเลยที่ ๒ รองผู้อำนวยการองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ จำเลยที่ ๓ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ จำเลยที่ ๔ คณะกรรมการ พิจารณาอุทธรณ์ จำเลยที่ ๕ ถึงที่ ๙ ว่า โจทก์ได้รับความเดือดร้อนเสียหายจากการที่จำเลยที่ ๑ มีคำสั่งที่ ๘๗/๒๕๖๓ ลงวันที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๖๓ ลงโทษทางวินัยแก่โจทก์ในสถานให้ออก ตามที่ จำเลยที่ ๔ มีมติชี้มูลความผิดทางอาญาและทางวินัยอย่างร้ายแรงแก่โจทก์ โจทก์อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าว จำเลยที่ ๕ ถึงที่ ๙ มีมติให้ยกโทษแก่โจทก์โดยเห็นว่าโจทก์มิได้มีความผิดตามที่จำเลยที่ ๔ ชี้มูล คดีที่อยู่ในเขตอำนาจศาลของแรงงาน


92 จำเลยที่ ๑ จึงมีคำสั่งที่ ๒๐๓/๒๕๖๓ ลงวันที่ ๙ ธันวาคม ๒๕๖๓ ให้ยกโทษแก่โจทก์ แต่จำเลยที่ ๔ มีหนังสือแจ้งว่า เป็นการดำเนินการที่ไม่ถูกต้องเหมาะสม ให้จำเลยที่ ๑ พิจารณาดำเนินการตามหน้าที่ และอำนาจให้ถูกต้องเหมาะสมต่อไป จำเลยที่ ๕ ถึงที่ ๙ จึงเสนอความเห็นว่า ควรดำเนินการ ตามหนังสือของจำเลยที่ ๔ จากนั้นจำเลยที่ ๑ จึงมีคำสั่งที่ ๑๖๒/๒๕๖๔ ลงวันที่ ๒๕ พฤศจิกายน ๒๕๖๔ เพิกถอนคำสั่งที่ ๒๐๓/๒๕๖๓ ที่ให้ยกโทษทางวินัยแก่โจทก์ เป็นให้ยืนโทษทางวินัยโจทก์ ในสถานให้ออก ซึ่งโจทก์เห็นว่าเป็นการออกคำสั่งซ้ำไม่ชอบด้วยกฎหมาย และไม่ชอบด้วยข้อบังคับ ขององค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ว่าด้วยการปฏิบัติงาน พ.ศ. ๒๕๖๔ ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ไม่ได้รับค่าจ้างและเสื่อมเสียชื่อเสียง ขอให้เพิกถอนคำสั่งจำเลยที่ ๑ ที่ ๑๖๒/๒๕๖๔ ลงวันที่ ๒๕ พฤศจิกายน ๒๕๖๔ กับให้จำเลยทั้งเก้าร่วมกันหรือแทนกันจ่ายค่าจ้างและค่าเสียหายแก่โจทก์ เห็นว่า แม้องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ จำเลยที่ ๑ เป็นรัฐวิสาหกิจที่ตั้งขึ้นโดยพระราชกฤษฎีกา และมีฐานะเป็นหน่วยงานทางปกครอง ส่วนโจทก์เป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจ สังกัดจำเลยที่ ๑ และฟ้องคดีนี้โดยโจทก์ขอให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งเพิกถอนคำสั่งองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ จำเลยที่ ๑ ที่ ๑๖๒/๒๕๖๔ ลงวันที่ ๒๕ พฤศจิกายน ๒๕๖๔ ที่ให้ยืนโทษทางวินัยในสถาน ให้ออกตามคำสั่งองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ที่ ๘๗/๒๕๖๓ กับขอให้จำเลยทั้งเก้าซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ ของรัฐที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับคำสั่งลงโทษให้โจทก์ออกจากงานร่วมกันจ่ายค่าจ้างและค่าเสียหาย แก่โจทก์ อันเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการออกคำสั่งทางปกครองโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย และคดีพิพาท เกี่ยวกับการกระทำละเมิดอันเกิดจากคำสั่งทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๑) และ (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ แต่เนื่องจากนิติสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ ๑ ในขณะมีคำสั่งให้โจทก์ออกจาก งานนั้น อยู่ในฐานะเป็นลูกจ้างกับนายจ้างโดยสภาพการจ้างงานเป็นไปตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้ง องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ พ.ศ. ๒๔๙๙ และข้อบังคับองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ว่าด้วยการปฏิบัติงาน พ.ศ. ๒๕๕๓ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ซึ่งเป็นความสัมพันธ์ระหว่างพนักงานรัฐวิสาหกิจและรัฐวิสาหกิจ ที่เป็นนายจ้าง ดังนี้ การที่โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งของจำเลยที่ ๑ ที่ให้โจทก์ออกจากงาน โดยอ้างว่าเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และเรียกค่าจ้างกับค่าเสียหายอันเกิดจากคำสั่งที่ให้ โจทก์ออกจากงานดังกล่าว จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวด้วยสิทธิหรือหน้าที่ตามสัญญาจ้างแรงงานหรือ ตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง และเป็นคดีอันเกิดแต่มูลละเมิดระหว่างลูกจ้างและนายจ้าง สืบเนื่องจากข้อพิพาทแรงงานหรือเกี่ยวกับการทำงานตามสัญญาจ้างแรงงาน ตามมาตรา ๘ วรรคหนึ่ง (๑) และ (๕) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งเข้าข้อยกเว้นเป็นคดีที่ไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง ตามมาตรา ๙ วรรคสอง (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ คดีนี้จึงเป็นคดี ที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม คดีที่อยู่ในเขตอำนาจศาลของแรงงาน


คดีพิพาทที่อยู่ในเขตอำนาจ ของศาลยุติธรรม รวมย่อคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่น่าสนใจ พ.ศ. ๒๕๕๖ - ๒๕๖๕ 93 คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๑๗/๒๕๖๔ คดีที่อดีตนักวิชาการส่งเสริมการเกษตร ๖ สาขาป่าบอน จังหวัดพัทลุง การยาง แห่งประเทศไทยยื่นฟ้องผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย ที่ ๑ การยางแห่งประเทศไทย ที่ ๒ ผู้ถูกฟ้องคดี ซึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครองและเจ้าหน้าที่ของรัฐ ตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้ง ศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ อ้างว่า ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ มีคำสั่งไล่ผู้ฟ้องคดี ออกจากการเป็นพนักงานและตัดเงินเดือนผู้ฟ้องคดี กรณีรายงานข้อมูลอันเป็นเท็จ เป็นการกระทำ ผิดวินัยฐานทุจริตต่อหน้าที่การงานโดยปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้ตนเองหรือผู้อื่นได้ประโยชน์ ที่มิควรได้ และฐานกระทำการอันเชื่อได้ว่าเป็นผู้ประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง ตามข้อบังคับคณะกรรมการ การยางแห่งประเทศไทย การกระทำของผู้ฟ้องคดีเป็นการจงใจไม่ปฏิบัติตามระเบียบ ข้อบังคับ ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ อย่างร้ายแรง ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ จึงมีคำสั่งให้ผู้ฟ้องคดี ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ จากนั้นผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ มีคำสั่งแก้ไขคำสั่งลงโทษ ไล่ออกและตัดเงินเดือน โดยเปลี่ยนแปลงวันที่ไล่ออกผู้ฟ้องคดี ให้มีผลตั้งแต่วันที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ สั่งพักงานเป็นต้นไป ผู้ฟ้องคดีอุทธรณ์คำสั่ง การที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ลงโทษทางวินัยผู้ฟ้องคดีสถานหนัก เป็นการพิจารณาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายและการเรียกให้ผู้ฟ้องคดีชดใช้ค่าสินไหมทดแทนจึงไม่ชอบ ด้วยกฎหมาย ขอให้ศาลพิพากษาหรือเพิกถอนคำสั่งไล่ออกและตัดเงินเดือนและคำสั่งแก้ไขคำสั่ง ลงโทษไล่ออกและตัดเงินเดือนและคำสั่งให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทน และให้รับผู้ฟ้องคดีกลับเข้าทำงาน และได้รับค่าจ้างตามเดิม เห็นว่า แม้การยางแห่งประเทศไทย ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ เป็นรัฐวิสาหกิจ ที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติการยางแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๕๘ นิติสัมพันธ์ระหว่างผู้ฟ้องคดี กับผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองจึงอยู่ในฐานะลูกจ้างกับนายจ้างตามพระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๓ ภายใต้ข้อบังคับและระเบียบที่กำหนดความสัมพันธ์หรือสภาพการจ้างระหว่างกัน เมื่อคดีนี้ผู้ฟ้องคดีอ้างว่าผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ มีคำสั่งไล่ผู้ฟ้องคดีออกจากการเป็นพนักงานของการยาง แห่งประเทศไทยและตัดเงินเดือนผู้ฟ้องคดี และคำสั่งให้ผู้ฟ้องคดีชดใช้ค่าสินไหมให้แก่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และคำสั่งแก้ไขคำสั่งลงโทษไล่ออกและตัดเงินเดือนโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ขอให้เพิกถอนคำสั่ง ไล่ออกพนักงานและตัดเงินเดือนและคำสั่งแก้ไขคำสั่งลงโทษไล่ออกพนักงานและตัดเงินเดือน และคำสั่งให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนและให้รับผู้ฟ้องคดีกลับเข้าทำงานและได้รับค่าจ้างตามเดิม กรณีจึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวด้วยสิทธิหรือหน้าที่ตามสัญญาจ้างแรงงานหรือตามข้อตกลงเกี่ยวกับ สภาพการจ้าง คดีพิพาทเกี่ยวด้วยสิทธิหรือหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ และเป็นคดีอันเกิดแต่มูลละเมิดระหว่างลูกจ้างและนายจ้างสืบเนื่องจากข้อพิพาทแรงงานหรือเกี่ยวกับ การทำงานตามสัญญาจ้างแรงงาน ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๘ (๑) (๒) และ (๕) คดีจึงไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง ตามมาตรา ๙ วรรคสอง (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ แต่เป็นคดีที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม * คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๑๖/๒๕๖๔ วินิจฉัยทำนองเดียวกัน คดีที่อยู่ในเขตอำนาจศาลของแรงงาน


94 คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๗๓/๒๕๖๒ คดีนี้โรงเรียน อ. แผนกประถม จำเลยที่ ๒ และโรงเรียน อ. จำเลยที่ ๓ เป็นโรงเรียนเอกชน ในระบบที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. ๒๕๒๕ จึงมิใช่กระทรวง ทบวง กรม ส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเป็นกรม ราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจที่จัดตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกา หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ แต่จำเลย ที่ ๒ และที่ ๓ อาจเป็นหน่วยงานทางปกครองและอาจถูกฟ้องต่อศาลปกครองได้ หากได้กระทำการใด โดยใช้อำนาจทางปกครองหรือดำเนินกิจการทางปกครองตามที่ได้รับมอบหมาย ซึ่งได้แก่การดำเนินการ เกี่ยวกับการจัดการศึกษา การวัดและประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขของการสำเร็จการศึกษา อันเป็น การจัดทำบริการสาธารณะที่ได้รับมอบหมายจากรัฐ นอกเหนือจากนี้แล้ว การดำเนินการของโรงเรียน เอกชนย่อมเป็นเรื่องของนิติบุคคลเอกชนที่อยู่ภายใต้ระบบกฎหมายเอกชนเช่นเดียวกับเอกชนทั่วไป เมื่อโจทก์อ้างว่าจำเลยทั้งสามไม่ขึ้นเงินบำนาญในอัตราร้อยละ ๑๐ ของเงินบำนาญที่ได้ในเดือน พฤษภาคมให้แก่โจทก์ และไม่จ่ายค่าชดเชยตามกฎหมาย อันเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง นิติสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งสามในการจัดทำสัญญาว่าจ้างโจทก์เป็นลูกจ้างในตำแหน่งครู เพื่อทำงานให้กับจำเลยที่ ๒ และที่ ๓ มิได้เกิดจากการใช้อำนาจทางปกครองหรือดำเนินกิจการ ทางปกครองตามที่ได้รับมอบหมายจากรัฐ การกระทำของจำเลยที่ ๒ และที่ ๓ ในการทำสัญญาดังกล่าว จึงไม่ทำให้ตนมีฐานะเป็นหน่วยงานที่ได้รับมอบหมายให้ใช้อำนาจทางปกครองหรือดำเนินกิจการ ทางปกครองอันจะถือว่าเป็นหน่วยงานทางปกครอง สัญญาจ้างครูผู้สอนในคดีนี้จึงไม่ครบองค์ประกอบ ของสัญญาทางปกครอง ตามบทนิยามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธี พิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ข้อพิพาทในคดีนี้จึงมิใช่คดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๔) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ที่จะอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง แต่เป็นนิติสัมพันธ์ที่โจทก์ตกลง จะทำงานให้จำเลยที่ ๒ และที่ ๓ และจำเลยที่ ๒ และที่ ๓ ตกลงจะให้สินจ้างตลอดเวลาที่ทำงานให้ สัญญาพิพาทจึงมีลักษณะเป็นสัญญาจ้างแรงงาน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๕๗๕ และคู่สัญญาจึงอยู่ในฐานะลูกจ้างนายจ้าง ตามบทบัญญัติดังกล่าว เมื่อโจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลย ทั้งสามจ่ายเงินบำนาญโดยกล่าวอ้างว่ามีสิทธิตามสัญญาและระเบียบ กรณีจึงเป็นข้อพิพาทเกี่ยวด้วย สิทธิหรือหน้าที่ตามสัญญาจ้างแรงงานหรือตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างตามพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๘ (๑) ซึ่งเป็นคดีแรงงานที่อยู่ในอำนาจ พิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม และเป็นคดีพิพาทที่ได้รับการยกเว้นไม่อยู่ในอำนาจศาลปกครอง ตามมาตรา ๙ วรรคสอง (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ * คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๓๗/๒๕๖๒ วินิจฉัยทำนองเดียวกัน คดีที่อยู่ในเขตอำนาจศาลของแรงงาน


คดีพิพาทที่อยู่ในเขตอำนาจ ของศาลยุติธรรม รวมย่อคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่น่าสนใจ พ.ศ. ๒๕๕๖ - ๒๕๖๕ 95 คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๓๘/๒๕๖๒ แม้การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ผู้ฟ้องคดี จะเป็นรัฐวิสาหกิจที่จัดตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค พ.ศ. ๒๕๐๓ มีวัตถุประสงค์เพื่อประกอบกิจการจำหน่ายพลังงานไฟฟ้า โดยรัฐเป็นเจ้าของกิจการ จึงเป็นหน่วยงานทางปกครอง ตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้ง ศาลปกครองและวิธีพิจารณาปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ แต่เนื้อหาในคดีนี้เป็นกรณีที่ผู้ฟ้องคดีฟ้องให้ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ถึงที่ ๓ ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของผู้ฟ้องคดี ให้รับผิดชดใช้เงินอันเนื่องมาจากการกระทำ ละเมิดในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๙ โดยก่อนยื่นฟ้อง ผู้ฟ้องคดีได้ออกคำสั่งให้ชดใช้เงินดังกล่าวและผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ถึงที่ ๓ รับทราบแล้ว แต่ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสามเพิกเฉย เมื่อมูลเหตุในการออกคำสั่งให้ชดใช้เงินดังกล่าวสืบเนื่องมาจากการที่ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ถึงที่ ๓ ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงกรณีไม่ปฏิบัติหน้าที่ ให้เป็นไปตามระเบียบหรือข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหรือข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง อันถือได้ ว่าเป็นการกระทำละเมิดต่อผู้ฟ้องคดี ทั้งผู้ฟ้องคดีใช้สิทธิทางศาลเพื่อบังคับให้ผู้ถูกฟ้องคดีชดใช้ ค่าสินไหมทดแทนอย่างเอกชนทั่วไป กรณีจึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการเรียกให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทน อันเกิดจากมูลละเมิดซึ่งอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม ข้อพิพาทระหว่างผู้ฟ้องคดี กับผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๔ ถึงที่ ๘ ซึ่งเป็นเอกชน เกี่ยวกับการชำระหนี้ตามสัญญาค้ำประกันการทำงาน ดังกล่าวอันเป็นหนี้อุปกรณ์ จึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรมด้วยเช่นกัน คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๕/๒๕๖๑ จำเลยเป็นสถาบันอุดมศึกษาเอกชนที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติสถาบันอุดมศึกษา เอกชน พ.ศ. ๒๕๔๖ มีวัตถุประสงค์ในการให้การศึกษา ส่งเสริมวิชาการและวิชาชีพชั้นสูง ทำการสอน ทำการวิจัย ให้บริการทางวิชาการแก่สังคม และทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมของชาติ ซึ่งเป็น กรณีที่กฎหมายมอบหมายให้สถาบันอุดมศึกษาเอกชนอาจใช้อำนาจทางปกครองหรือดำเนินกิจการ ทางปกครองในเรื่องการศึกษาซึ่งเป็นบริการสาธารณะได้ แต่โดยที่สัญญาที่จำเลยว่าจ้างให้โจทก์ ทำหน้าที่สอนหนังสือหรืองานทางวิชาการในมหาวิทยาลัยจำเลย เป็นการเข้าทำสัญญาในฐานะเอกชน ด้วยกันอันมีลักษณะเป็นความสัมพันธ์ในฐานะนายจ้างและลูกจ้างตามระบบกฎหมายเอกชน โดยจำเลยมิได้ใช้อำนาจทางปกครองหรือดำเนินกิจการทางปกครองที่จะทำให้จำเลยมีฐานะ เป็นหน่วยงานทางปกครองตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณา คดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ สัญญาจ้างระหว่างจำเลยกับโจทก์จึงไม่ใช่สัญญาทางปกครอง ตามบทนิยาม สัญญาทางปกครองตามพระราชบัญญัติดังกล่าว แต่เป็นสัญญาจ้างแรงงานในระบบกฎหมายเอกชน เมื่อข้อพิพาทในคดีนี้โจทก์อ้างว่าจำเลยมีคำสั่งเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรม ขอให้บังคับจำเลย ชำระสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม ค่าชดเชย ค่าตอบแทนพิเศษประจำปี และค่าเสียหายอื่น ๆ กรณีจึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวด้วยสิทธิหรือหน้าที่ คดีที่อยู่ในเขตอำนาจศาลของแรงงาน


96 ตามสัญญาจ้างแรงงานหรือตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ตามมาตรา ๘ วรรคหนึ่ง (๑) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. ๒๕๒๒ อยู่ในเขตอำนาจ ศาลแรงงาน ซึ่งเป็นข้อยกเว้นเขตอำนาจศาลปกครอง ตามมาตรา ๙ วรรคสอง (๓) แห่งพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ คดีนี้จึงเป็นคดีพิพาทที่อยู่ในเขตอำนาจ ศาลยุติธรรม คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๑๘๖ - ๑๘๗/๒๕๖๐ คดีที่อดีตครูโรงเรียนเอกชนยื่นฟ้องโรงเรียน อ. ที่ตนสังกัดกรณีถูกถอดถอนจากหน้าที่ครู ต่อศาลแรงงานกลางอ้างว่า ถูกเลิกจ้างโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายและไม่เป็นธรรม ขอให้ชดใช้เงิน ตามกฎหมาย และต่อมาได้นำคดีไปยื่นฟ้องโรงเรียนต่อศาลปกครองกลาง ขอให้เพิกถอนหนังสือ ถอดถอนผู้ฟ้องคดีออกจากหน้าที่ครู คืนสิทธิต่าง ๆ ที่ได้รับก่อนการถอดถอน เป็นกรณีที่นำคดีซึ่งเป็น ข้อเท็จจริงเรื่องเดียวกันฟ้องต่อศาลที่มีเขตอำนาจแตกต่างกันตั้งแต่สองศาลขึ้นไป ตามพระราชบัญญัติ ว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๒ วรรคหนึ่ง มีปัญหา ต้องวินิจฉัยว่าข้อพิพาทตามคำฟ้องทั้งสองสำนวนนี้อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลใด เห็นว่า นิติสัมพันธ์ระหว่างโจทก์หรือผู้ฟ้องคดีกับจำเลยหรือผู้ถูกฟ้องคดีในการจัดทำสัญญาจ้างโจทก์ หรือผู้ฟ้องคดีเป็นครูผู้สอน มิได้เกิดจากการใช้อำนาจทางปกครองหรือดำเนินกิจการทางปกครอง ตามที่ได้รับมอบหมายจากรัฐ การกระทำของจำเลยหรือผู้ถูกฟ้องคดีในการทำสัญญาดังกล่าว จึงไม่ทำให้ตนมีฐานะเป็นหน่วยงานที่ได้รับมอบหมายให้ใช้อำนาจทางปกครองหรือดำเนินกิจการ ทางปกครอง อันจะถือว่าเป็นหน่วยงานทางปกครอง สัญญาจ้างครูผู้สอนในคดีนี้จึงไม่ครบองค์ประกอบ ของสัญญาทางปกครอง ตามบทนิยามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธี พิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ข้อพิพาทเกี่ยวกับการเลิกจ้างนี้จึงมิใช่คดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญา ทางปกครอง ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๔) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณา คดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ที่จะอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง แต่เป็นนิติสัมพันธ์ ที่โจทก์หรือผู้ฟ้องคดีตกลงจะทำงานให้จำเลยหรือผู้ถูกฟ้องคดีและจำเลยหรือผู้ถูกฟ้องคดีตกลง จะให้สินจ้างตลอดเวลาที่ทำงานให้ สัญญาพิพาทจึงมีลักษณะเป็นสัญญาจ้างแรงงานตามประมวล กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๕๗๕ และคู่สัญญาจึงอยู่ในฐานะลูกจ้างนายจ้างตามบทบัญญัติ ดังกล่าว เมื่อคดีของศาลแรงงานกลางโจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระเงินค่าจ้าง สินจ้างแทน การบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าชดเชย ค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม เงินสะสม เพื่อการเลี้ยงชีพครู เงินโบนัส ค่าสอนพิเศษ ส่วนคดีของศาลปกครองกลาง โจทก์หรือผู้ฟ้องคดีฟ้องขอให้ได้รับสิทธิ เงินเดือน และเงินพิเศษ ตั้งแต่วันถอดถอนถึงปัจจุบัน ก็ล้วนเป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหาย ค่าชดเชย เงินเดือน อันเนื่องมาจากสัญญาจ้างพิพาท แม้ในคดีของศาลปกครองกลางผู้ฟ้องคดีจะมีคำขอให้ เพิกถอนหนังสือถอดถอนออกจากหน้าที่ครูด้วย ก็เป็นส่วนหนึ่งของประเด็นว่าจำเลยหรือผู้ถูกฟ้องคดี เลิกจ้างโจทก์หรือผู้ฟ้องคดีโดยชอบหรือไม่ อันเป็นข้อพิพาทเกี่ยวด้วยสิทธิหรือหน้าที่ตามสัญญาจ้าง คดีที่อยู่ในเขตอำนาจศาลของแรงงาน


คดีพิพาทที่อยู่ในเขตอำนาจ ของศาลยุติธรรม รวมย่อคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่น่าสนใจ พ.ศ. ๒๕๕๖ - ๒๕๖๕ 97 แรงงานหรือตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธี พิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๘ (๑) ซึ่งเป็นคดีแรงงานที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษา ของศาลยุติธรรม ดังนั้น คดีทั้งสองสำนวนจึงอยู่ในอำนาจของศาลยุติธรรม คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๑๔๔/๒๕๖๐ จำเลยเป็นสถาบันอุดมศึกษาเอกชนที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติสถาบันอุดมศึกษา เอกชน พ.ศ. ๒๕๔๖ มีวัตถุประสงค์ในการให้การศึกษา ส่งเสริมวิชาการและวิชาชีพชั้นสูง ทำการสอน ทำการวิจัย ให้บริการทางวิชาการแก่สังคม และทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมของชาติ ซึ่งเป็นกรณี ที่กฎหมายมอบหมายให้สถาบันอุดมศึกษาเอกชนอาจใช้อำนาจทางปกครองหรือดำเนินกิจการ ทางปกครองในเรื่องการศึกษาซึ่งเป็นบริการสาธารณะได้ แต่โดยที่สัญญาที่จำเลยว่าจ้างให้โจทก์ ทำหน้าที่สอนหนังสือหรืองานทางวิชาการในมหาวิทยาลัยจำเลย เป็นการเข้าทำสัญญาในฐานะเอกชน ด้วยกันอันมีลักษณะเป็นความสัมพันธ์ในฐานะนายจ้างและลูกจ้างตามระบบกฎหมายเอกชน โดยจำเลยมิได้ใช้อำนาจทางปกครองหรือดำเนินกิจการทางปกครองที่จะทำให้จำเลยมีฐานะ เป็นหน่วยงานทางปกครองตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณา คดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ สัญญาจ้างระหว่างจำเลยกับโจทก์จึงไม่ใช่สัญญาทางปกครอง ตามบทนิยาม สัญญาทางปกครองตามพระราชบัญญัติดังกล่าว แต่เป็นสัญญาจ้างแรงงานในระบบกฎหมายเอกชน เมื่อข้อพิพาทในคดีนี้โจทก์อ้างว่าจำเลยมีคำสั่งเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรม ขอให้บังคับจำเลย ชำระสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า เงินบำเหน็จ ค่าชดเชย และค่าเสียหายจากการเลิกจ้าง ไม่เป็นธรรมให้แก่โจทก์ กรณีจึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวด้วยสิทธิหรือหน้าที่ตามสัญญาจ้างแรงงาน หรือตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณา คดีแรงงาน พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๘ วรรคหนึ่ง (๑) อันอยู่ในอำนาจพิจารณาของศาลยุติธรรม คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๓๙/๒๕๖๐ คดีที่พนักงานขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพยื่นฟ้ององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ ซึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครองว่า ออกคำสั่งลงโทษภาคทัณฑ์ผู้ฟ้องคดีโดยไม่เป็นธรรมและขัดต่อ ข้อบังคับของผู้ถูกฟ้องคดี เป็นการกระทำละเมิดทำให้ผู้ฟ้องคดีได้รับความเสียหาย ขอให้ผู้ถูกฟ้องคดี ชดใช้ค่าเสียหาย เห็นว่า ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ฟ้องคดีกับผู้ถูกฟ้องคดีซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจอยู่ในฐานะ นายจ้างและลูกจ้าง ตามพระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๓ ภายใต้ข้อบังคับ และระเบียบที่กำหนดความสัมพันธ์หรือสภาพการจ้างระหว่างกัน และการลงโทษภาคทัณฑ์ผู้ฟ้องคดี ตามข้อบังคับองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ ฉบับที่ ๔๖ ว่าด้วยวินัย การสอบสวน การลงโทษ และการอุทธรณ์การลงโทษพนักงาน พ.ศ. ๒๕๒๔ มีผลเกี่ยวกับการจ้างหรือการทำงานของผู้ฟ้องคดี ดังนั้น จึงเป็นคดีอันเกิดแต่มูลละเมิดระหว่างนายจ้างและลูกจ้างเกี่ยวกับการทำงานตามสัญญาจ้าง คดีที่อยู่ในเขตอำนาจศาลของแรงงาน


98 แรงงานตามมาตรา ๘ วรรคหนึ่ง (๕) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งมาตรา ๙ วรรคสอง (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณา คดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ได้บัญญัติยกเว้นว่าเป็นคดีที่ไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง คดีจึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๕๖/๒๕๕๙ องค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย (อ.ส.ค.) โจทก์ มีวัตถุประสงค์อันเป็นไป ในลักษณะของธุรกิจการค้าตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๑๔ มาตรา ๗ ความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับลูกจ้างย่อมมีขึ้นเพื่อดำเนินกิจการในเชิง ธุรกิจการค้า และอยู่ภายใต้บังคับของสัญญาจ้างแรงงานตามกฎหมายแพ่งทั่วไป และพระราชบัญญัติ แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๓ เมื่อมูลความแห่งคดีนี้เกิดจากการที่โจทก์อ้างว่า นาย บ. ซึ่งเป็นลูกจ้างของโจทก์ กระทำการโดยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง เป็นเหตุให้ผลิตภัณฑ์นม ของโจทก์ที่ผลิตเสื่อมคุณภาพเป็นจำนวนมาก กรณีจึงเป็นข้อพิพาทที่เกี่ยวด้วยสิทธิหรือหน้าที่ ตามสัญญาจ้างแรงงานหรือตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง และเป็นคดีอันเกิดแต่มูลละเมิด ระหว่างนายจ้างและลูกจ้างเกี่ยวกับการทำงานตามสัญญาจ้างแรงงาน ตามพระราชบัญญัติจัดตั้ง ศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๘ (๑) และ (๕) และเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจ พิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๒๘/๒๕๕๙ คดีที่ครูโรงเรียนเอกชนฟ้องโรงเรียนเอกชนที่มีคำสั่งเลิกจ้าง ขอให้ชำระค่าจ้างค้างจ่าย ค่าชดเชย และค่าเสียหาย เป็นข้อพิพาทเกี่ยวด้วยสิทธิหรือหน้าที่ตามสัญญาจ้างแรงงานหรือ ตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๘ วรรคหนึ่ง (๑) อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแรงงาน ซึ่งเป็นศาลยุติธรรม แม้ว่าตามพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. ๒๕๕๐ มาตรา ๘๖ วรรคหนึ่ง จะบัญญัติให้โรงเรียนเอกชนไม่อยู่ภายใต้บังคับกฎหมายว่าด้วยคุ้มครองแรงงาน กฎหมาย ว่าด้วยประกันสังคม กฎหมายว่าด้วยเงินทดแทนก็ตาม แต่ความตอนท้ายของมาตราเดียวกันนั้น ก็บัญญัติรับรองไว้ว่า ผู้อำนวยการ ครู และบุคลากรทางการศึกษา ซึ่งปฏิบัติงานของโรงเรียนต้องได้รับ ประโยชน์ตอบแทนไม่น้อยกว่าที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน ดังนั้น ความในมาตรา ๘๖ วรรคหนึ่งดังกล่าว จึงเป็นกรณีที่กฎหมายกำหนดผลประโยชน์ตอบแทน ขั้นต่ำของบุคลากรทางการศึกษาเอาไว้เท่านั้น มิใช่กำหนดว่า สัญญาจ้างลูกจ้างของโรงเรียนเอกชน ไม่เป็นสัญญาจ้างแรงงาน คดีที่อยู่ในเขตอำนาจศาลของแรงงาน


คดีพิพาทที่อยู่ในเขตอำนาจ ของศาลยุติธรรม รวมย่อคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่น่าสนใจ พ.ศ. ๒๕๕๖ - ๒๕๖๕ 99 คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๑๗/๒๕๕๘ คดีที่โจทก์ซึ่งเป็นอดีตพนักงานของธนาคารแห่งประเทศไทยยื่นฟ้องธนาคารแห่งประเทศไทย ว่า จงใจหรือละเลยไม่กำหนดประโยชน์ตอบแทนเกี่ยวกับค่าชดเชยกรณีเลิกจ้างโจทก์เนื่องจาก เกษียณอายุ ทั้งไม่ออกระเบียบหรือข้อบังคับเกี่ยวกับค่าชดเชยตามกฎหมาย ขอให้จ่ายเงินค่าชดเชย ส่วนจำเลยให้การว่า การจ้างงานของจำเลยได้รับยกเว้นมิต้องจ่ายค่าชดเชยในกรณีเลิกจ้าง และได้จัด ให้มีระเบียบหรือข้อบังคับที่เกี่ยวข้องไว้โดยชอบแล้ว เห็นว่า คดีนี้เป็นกรณีพิพาทเกี่ยวกับค่าชดเชย กรณีออกจากงานเนื่องจากการเกษียณอายุ อันเป็นกรณีจำเลยจ้างโจทก์ให้ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะ พนักงานโดยจ่ายค่าจ้างเป็นเงินเดือนเพื่อตอบแทนการทำงานให้ จึงเป็นความสัมพันธ์ในฐานะลูกจ้าง นายจ้างตามกฎหมายแพ่ง สัญญาจ้างทำงานดังกล่าวจึงเป็นสัญญาจ้างแรงงาน กรณีจึงเป็นการ กล่าวอ้างว่าจำเลยไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างในเรื่องสิทธิประโยชน์อันพึงได้รับ จากการทำงานซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของข้อตกลงในการเข้าปฏิบัติงาน คดีนี้จึงเป็นกรณีพิพาทเกี่ยวด้วย สิทธิหรือหน้าที่ตามสัญญาจ้างแรงงานและตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ตามพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๘ วรรคหนึ่ง (๑) ซึ่งอยู่ในอำนาจ พิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๑๑๒/๒๕๕๗ คดีนี้เดิมโจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลยซึ่งเป็นโรงเรียนเอกชน ข้อเท็จจริงตามคำฟ้อง และคำให้การได้ความว่า โจทก์เข้าทำงานเป็นลูกจ้างของจำเลย ตำแหน่งอาจารย์ ได้รับอัตราค่าจ้าง ครั้งสุดท้ายเดือนละ ๒๑,๒๐๐ บาท จึงเป็นกรณีที่โจทก์ตกลงจะทำงานให้จำเลย และจำเลยตกลง จะให้สินจ้างแก่โจทก์ตลอดเวลาที่ทำงานให้ สัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงมีลักษณะเป็น สัญญาจ้างแรงงาน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๕๗๕ โจทก์และจำเลยจึงอยู่ ในฐานะลูกจ้างนายจ้างตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับแรงงานทั่วไป เมื่อคำฟ้องและคำขอท้ายฟ้อง เป็นเรื่องที่โจทก์เรียกเงินค่าชดเชย โบนัส และค่าเสียหายตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ อันเป็นเงินที่โจทก์ใช้สิทธิเรียกร้องกรณีจำเลยผิดสัญญาจ้าง และใช้สิทธิเรียกร้องตามที่ ได้รับการรับรองไว้ในพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. ๒๕๕๐ จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวด้วยสิทธิ หรือหน้าที่ตามสัญญาจ้างแรงงานหรือตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ตามพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๘ วรรคหนึ่ง (๑) อยู่ในอำนาจ พิจารณาพิพากษาของศาลแรงงานซึ่งเป็นศาลยุติธรรม คดีที่อยู่ในเขตอำนาจศาลของแรงงาน


100 คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๙๐/๒๕๕๗ คดีที่สำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติถูกอดีตพนักงานยื่นฟ้องตาม สัญญาจ้าง ขอให้ร่วมกันชำระเงินเพิ่มจากการเลื่อนเงินเดือน ค่าชดเชยจากการเลิกจ้าง ค่าเสียหาย จากการขาดรายได้เพราะต้องตกงาน และเงินสบทบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พร้อมดอกเบี้ย เห็นว่า สัญญาจ้างระหว่างผู้ฟ้องคดีกับผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ซึ่งระบุว่า ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ตกลงจ้างและผู้ฟ้องคดี ตกลงรับจ้างทำงานให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ภายในระยะเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดของสัญญา โดยกำหนด อัตราเงินเดือนที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ต้องจ่ายให้ผู้ฟ้องคดีในแต่ละเดือนมีลักษณะเป็นสัญญาจ้างแรงงาน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ผู้ฟ้องคดีและผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ จึงอยู่ในฐานะลูกจ้าง และนายจ้างตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับแรงงานทั่วไป แม้ว่ากฎหมายที่จัดตั้งผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ จะกำหนดว่า กิจการของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติไม่อยู่ในบังคับแห่งกฎหมายว่าด้วย การคุ้มครองแรงงาน กฎหมายว่าด้วยแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ กฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์ กฎหมายว่าด้วยเงินทดแทนและกฎหมายว่าด้วยประกันสังคมก็ตาม แต่ก็ได้บัญญัติรับรองไว้ว่า ผู้อำนวยการ พนักงานและลูกจ้างของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติต้องได้รับประโยชน์ ตอบแทนไม่น้อยกว่าที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน กฎหมายว่าด้วยประกันสังคม และกฎหมายว่าด้วยเงินทดแทน จึงเป็นการเปิดโอกาสให้คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง แห่งชาติอาจกำหนดเรื่องประโยชน์ตอบแทนสูงกว่าที่กำหนดไว้ในกฎหมายทั้งสามฉบับก็ได้ เพียงแต่ ต้องไม่น้อยกว่าที่กำหนดในกฎหมายทั้งสามฉบับดังกล่าว มิใช่เป็นกรณีที่กฎหมายกำหนดว่าสัญญา ที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ กระทำกับบุคคลใดอันมีลักษณะของสัญญาจ้างแรงงานแล้วจะไม่กลายเป็น สัญญาจ้างแรงงาน คดีนี้จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวด้วยสิทธิหรือหน้าที่ตามสัญญาจ้างแรงงานหรือ ตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ตามมาตรา ๘ วรรคหนึ่ง (๑) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงาน และวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. ๒๕๒๒ อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแรงงาน ซึ่งเป็นศาลยุติธรรม จึงไม่อยู่ในอำนาจของศาลปกครองตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครอง และวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๙ วรรคสอง (๓) คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๒๖/๒๕๕๗ คดีที่โจทก์ซึ่งเป็นเอกชนยื่นฟ้องมหาวิทยาลัยเอกชน จำเลยที่ ๑ กับพวก กรณีมีคำสั่งให้ โจทก์พ้นจากตำแหน่งอธิการบดี และมีคำสั่งแต่งตั้งจำเลยที่ ๒ ให้ดำรงตำแหน่งรักษาการอธิการบดี โดยที่โจทก์ไม่ได้กระทำความผิด อันเป็นการเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรม เมื่อจำเลยที่ ๑ เป็นสถาบัน อุดมศึกษาเอกชนที่ดำเนินธุรกิจในเชิงพาณิชย์ และโจทก์บรรยายฟ้องระบุว่า จำเลยที่ ๑ ทำสัญญา จ้างโจทก์เป็นอาจารย์ผู้สอน ต่อมาได้มีคำสั่งแต่งตั้งโจทก์เป็นอธิการบดี มีอำนาจหน้าที่บริหารงาน ภายใต้ระเบียบข้อบังคับการทำงานของจำเลยที่ ๑ โดยมีค่าตอบแทน นิติสัมพันธ์ระหว่างโจทก์ และจำเลยที่ ๑ จึงเป็นความสัมพันธ์ในฐานะลูกจ้างนายจ้าง อันเป็นความสัมพันธ์ตามกฎหมายแพ่ง คดีที่อยู่ในเขตอำนาจศาลของแรงงาน


คดีพิพาทที่อยู่ในเขตอำนาจ ของศาลยุติธรรม รวมย่อคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่น่าสนใจ พ.ศ. ๒๕๕๖ - ๒๕๖๕ 101 สัญญาจ้างทำงานระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงเป็นสัญญาจ้างแรงงาน ตามประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์ มาตรา ๕๗๕ และการที่จำเลยที่ ๑ ทำสัญญาจ้างโจทก์ก็เป็นเพียงการดำเนินงาน ด้านทรัพยากรบุคคลซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้จำเลยที่ ๑ ดำเนินธุรกิจในการให้บริการด้านการศึกษาได้ เท่านั้น เมื่อโจทก์อ้างว่าจำเลยที่ ๑ เลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรม ขอให้บังคับจำเลยทั้งสามร่วมกัน จ่ายค่าจ้างเดือนสุดท้าย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าชดเชย ค่าเสียหายจากการเลิกจ้าง ไม่เป็นธรรม และค่าเสียหายจากการกระทำละเมิดของจำเลยทั้งสาม จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิ หรือหน้าที่ตามสัญญาจ้างแรงงานตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๘ (๑) อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๗๙/๒๕๕๖ คดีที่โจทก์เป็นเอกชนยื่นฟ้องหน่วยงานทางปกครองและเจ้าหน้าที่ของรัฐว่า จำเลยที่ ๑ โดยจำเลยที่ ๒ มีคำสั่งโยกย้ายโจทก์โดยไม่ชอบด้วยกฎหมายและไม่เป็นธรรม ขัดขวางการทำหน้าที่ ของโจทก์และขัดต่อกฎหมาย เพราะโจทก์อยู่ระหว่างปฏิบัติหน้าที่ผู้แทนเจรจาข้อเรียกร้องฝ่ายลูกจ้าง และการเจรจายังไม่มีข้อยุติ ซึ่งเป็นการดำเนินการของจำเลยที่ ๒ แต่เพียงผู้เดียว ขอให้เพิกถอน คำสั่งโยกย้ายโจทก์และให้โจทก์กลับเข้ารับตำแหน่งเดิม กับให้จำเลยทั้งสองร่วมกันหรือแทนกัน ชดใช้ค่าเสียหายพร้อมดอกเบี้ย จำเลยทั้งสองให้การว่า คำสั่งโยกย้ายโจทก์ชอบด้วยกฎหมาย และเป็นธรรมแล้ว กระบวนการยื่นข้อเรียกร้องเสร็จสิ้นลงตามกฎหมายแล้ว เห็นว่า โจทก์เป็นลูกจ้าง ขององค์การค้าของจำเลยที่ ๑ ซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักในการจัดตั้งเพื่อหาประโยชน์ให้แก่คุรุสภา และอำนวยความสะดวกให้แก่การศึกษา โดยผลิต จำหน่าย และพัฒนาสื่อการศึกษาทุกประเภท โดยไม่ได้รับเงินอุดหนุนจากรัฐบาลและสามารถบริหารกิจการจนมีกำไร การดำเนินกิจการของ องค์การค้าของจำเลยที่ ๑ มีลักษณะเดียวกับการดำเนินการของเอกชนซึ่งเป็นการประกอบกิจการ เชิงพาณิชยกรรม และความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ ๑ มีลักษณะเป็นนายจ้างลูกจ้าง ตามสัญญาจ้างแรงงาน ประกอบกับโจทก์ขอให้เพิกถอนคำสั่งโยกย้ายอ้างว่าเป็นการกลั่นแกล้งโจทก์ เพราะเหตุที่โจทก์เป็นกรรมการสหภาพแรงงานและยื่นข้อเรียกร้อง อันเป็นเรื่องที่โจทก์กล่าวอ้างว่า จำเลยทั้งสองฝ่าฝืนพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. ๒๕๑๘ ส่วนจำเลยทั้งสองให้การโต้แย้งว่า มีสิทธิโยกย้ายโจทก์เพราะไม่มีข้อเรียกร้องอยู่ในระหว่างการเจรจา ไม่ต้องห้ามตามพระราชบัญญัติ ดังกล่าว ข้อพิพาทระหว่างโจทก์และจำเลยทั้งสองจึงเป็นข้อพิพาทที่เกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ตาม สัญญาจ้างแรงงานหรือตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างและเป็นคดีเกี่ยวด้วยสิทธิ หรือหน้าที่ ตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานหรือกฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์ ตามพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๘ คดีจึงอยู่ในอำนาจพิจารณา พิพากษาของศาลยุติธรรม คดีที่อยู่ในเขตอำนาจศาลของแรงงาน


102 คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๖๖/๒๕๕๖ คดีที่เอกชนยื่นฟ้ององค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ส.ส.ท.) ที่ ๑ และผู้อำนวยการ ส.ส.ท. ที่ ๒ จำเลย อ้างว่าเลิกจ้างโจทก์โดยขัดต่อกฎหมายและไม่เป็นธรรม ขอให้บังคับจำเลยทั้งสองจ่ายเงินค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าจ้างสำหรับวันหยุด พักผ่อนประจำปีและเงินค่าตอบแทนอื่นเพิ่มพร้อมดอกเบี้ย เห็นว่า แม้พระราชบัญญัติองค์การ กระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๕๑ จะบัญญัติให้จำเลยที่ ๑ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่ใช่ส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการบริการสาธารณะด้านการกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะ จึงเป็น หน่วยงานอื่นของรัฐและเป็นหน่วยงานทางปกครอง แต่เมื่อสัญญาพิพาทเข้าลักษณะเป็นสัญญาจ้าง แรงงาน นิติสัมพันธ์ระหว่างโจทก์และจำเลยที่ ๑ จึงอยู่ในฐานะลูกจ้างและนายจ้าง แม้มาตรา ๑๐ แห่งพระราชบัญญัติองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๕๑ จะบัญญัติให้กิจการของจำเลยที่ ๑ ไม่อยู่ภายใต้บังคับแห่งกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน กฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์ กฎหมายว่าด้วยการประกันสังคม และกฎหมายว่าด้วยเงินทดแทน แต่บทบัญญัติดังกล่าวก็มิใช่เกณฑ์การพิจารณาเขตอำนาจศาล เพียงแต่กำหนดว่าการจ้างแรงงาน ตามพระราชบัญญัติดังกล่าวไม่อยู่ในบังคับของกฎหมายแรงงานทั่วไป อีกทั้งการที่จำเลยที่ ๑ ทำสัญญา จ้างโจทก์เข้าเป็นพนักงานก็เป็นเพียงการดำเนินงานด้านทรัพยากรบุคคลซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ จำเลยที่ ๑ สามารถจัดทำบริการสาธารณะไปได้ตามภารกิจเท่านั้น หาใช่การจ้างพนักงานให้เข้าร่วม จัดทำบริการสาธารณะ ดังนั้น คดีนี้จึงมิใช่คดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง แต่เป็นคดีพิพาท เกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ตามสัญญาจ้างแรงงานและกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๘ (๑) (๒) อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม คดีที่อยู่ในเขตอำนาจศาลแรงงาน


คดีพิพาทที่อยู่ในเขตอำนาจ ของศาลยุติธรรม รวมย่อคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่น่าสนใจ พ.ศ. ๒๕๕๖ - ๒๕๖๕ 103 รวมย่อคําวินิจฉัย คดีพิพาทเกี�ยวกับหน่วยงานของรัฐ ฟอ�งเรียกเงินคืน


104 คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๗๐/๒๕๖๕ คดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดหรือความรับผิดอย่างอื่นของหน่วยงานทางปกครอง หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่จะอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ต้องเป็นคดีที่ หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ถูกฟ้องให้รับผิดเยียวยาความเสียหายให้แก่โจทก์ โดยการชดใช้เงิน ส่งมอบทรัพย์สิน กระทำการหรืองดเว้นกระทำการ เป็นผู้ใช้อำนาจตามกฎหมาย ออกกฎ คำสั่งทางปกครองหรือคำสั่งอื่น หรือกระทำการอื่นใด หรือละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมาย กำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร โดยกฎ คำสั่งทางปกครองหรือคำสั่งอื่น หรือการกระทำอื่น หรือการละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควรนั้น ก่อความเสียหายให้แก่โจทก์ เมื่อคดีนี้โจทก์ซึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครอง ฟ้องขอให้จำเลยคืนเงินค่าเช่าบ้านที่จำเลยได้รับไปโดยไม่มีสิทธิพร้อมดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ โดยการที่จำเลยรับเงินดังกล่าวจากโจทก์ไปนั้นมิใช่กรณีที่จำเลยใช้อำนาจตามกฎหมายออกกฎ คำสั่งทางปกครองหรือคำสั่งอื่น หรือกระทำการอื่นใด ทั้งมิใช่กรณีที่จำเลยละเลยต่อหน้าที่ตามที่ กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควรแต่อย่างใด คดีนี้จึงไม่ อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง แต่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม * คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๕๑/๒๕๖๕ วินิจฉัยทำนองเดียวกันในเรื่องการฟ้อง ขอให้จำเลยคืนเงินเบี้ยหวัด เงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ช.ค.บ.) เงินบำนาญ และเงินบำเหน็จดำรงชีพ ที่ได้รับไปโดยไม่มีสิทธิพร้อมดอกเบี้ย คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๑๑๖/๒๕๖๔ คดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดหรือความรับผิดอย่างอื่นของหน่วยงานทางปกครอง หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่จะอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ต้องเป็นคดีที่หน่วยงาน ทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ถูกฟ้องให้รับผิดเยียวยาความเสียหายให้แก่ผู้ฟ้องคดี โดยการชดใช้เงิน ส่งมอบทรัพย์สิน กระทำการหรืองดเว้นกระทำการ เป็นผู้ใช้อำนาจตามกฎหมายออกกฎ คำสั่ง ทางปกครอง หรือคำสั่งอื่น หรือกระทำการอื่นใด หรือละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร โดยกฎ คำสั่งทางปกครอง หรือคำสั่งอื่น หรือการกระทำอื่น หรือการละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควรนั้นก่อความเสียหายให้แก่ผู้ฟ้องคดี เมื่อคดีนี้ผู้ฟ้องคดี ซึ่งเป็นหน่วยงาน คดีพิพาทเกี่ยวกับหน่วยงานของรัฐฟ้องเรียกเงินคืน คดีพิพาทเกี่ยวกับหน่วยงานของรัฐฟ้องเรียกเงินคืน


คดีพิพาทที่อยู่ในเขตอำนาจ ของศาลยุติธรรม รวมย่อคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่น่าสนใจ พ.ศ. ๒๕๕๖ - ๒๕๖๕ 105 ทางปกครองฟ้องขอให้ผู้ถูกฟ้องคดีคืนเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุที่ผู้ถูกฟ้องคดีได้รับไปโดยไม่มีสิทธิ พร้อมดอกเบี้ยให้แก่ผู้ฟ้องคดี โดยการที่ผู้ถูกฟ้องคดีรับเงินดังกล่าวจากผู้ฟ้องคดีไปนั้นมิใช่กรณี ที่ผู้ถูกฟ้องคดีใช้อำนาจตามกฎหมายออกกฎ คำสั่งทางปกครองหรือคำสั่งอื่น หรือกระทำการอื่นใด ทั้งมิใช่กรณีที่ผู้ถูกฟ้องคดีละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควรแต่อย่างใด คดีนี้จึงไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง แต่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๒๐/๒๕๖๔ คดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดหรือความรับผิดอย่างอื่นของหน่วยงานทางปกครอง หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่จะอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ต้องเป็นคดี ที่หน่วยงานทางปกครอง หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ถูกฟ้องให้รับผิดเยียวยาความเสียหายให้แก่ ผู้ฟ้องคดี โดยการชดใช้เงิน ส่งมอบทรัพย์สิน กระทำการหรืองดเว้นกระทำการ เป็นผู้ใช้อำนาจ ตามกฎหมายออกกฎ คำสั่งทางปกครองหรือคำสั่งอื่น หรือกระทำการอื่นใด หรือละเลยต่อหน้าที่ ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร โดยกฎ คำสั่ง ทางปกครองหรือคำสั่งอื่น หรือการกระทำอื่น หรือการละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร นั้น ก่อความเสียหายให้แก่ผู้ฟ้องคดี เมื่อคดีนี้ สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ซึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครองฟ้องขอให้จำเลยซึ่งเป็น อดีตข้าราชการในสังกัดให้คืนเงินบำนาญและเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญที่ได้รับไป โดยไม่มีสิทธิพร้อมดอกเบี้ย การที่จำเลยรับเงินดังกล่าวจากโจทก์ไปนั้นมิใช่กรณีที่จำเลยใช้อำนาจ ตามกฎหมายออกกฎ คำสั่งทางปกครอง หรือคำสั่งอื่น หรือกระทำการอื่นใด ทั้งมิใช่กรณีที่จำเลย ละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร แต่อย่างใด คดีนี้จึงไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง แต่อยู่ในอำนาจพิจารณา พิพากษาของศาลยุติธรรม คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๗๙ - ๘๐/๒๕๖๒ คดีนี้ โจทก์เป็นส่วนราชการระดับกรม สังกัดกระทรวงการคลัง ยื่นฟ้องเอกชนเป็นจำเลย ขอให้พิพากษาหรือมีคำสั่งให้จำเลยคืนเงินช่วยเหลือตามโครงการรถยนต์ใหม่คันแรกที่ได้รับไป พร้อมดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ ข้อเท็จจริงตามคำฟ้องสรุปได้ว่า จำเลยทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์กับ บริษัทลิสซิ่ง และได้ยื่นคำขอใช้สิทธิรับเงินคืนตามโครงการมาตรการรถยนต์คันแรกที่สำนักงาน สรรพสามิตพื้นที่อำนาจเจริญ กรมบัญชีกลางอนุมัติให้จำเลยได้รับเงินคืนตามโครงการรถยนต์ใหม่ คันแรก โดยมีเงื่อนไขว่าจำเลยจะต้องครอบครองรถยนต์คันดังกล่าวไม่น้อยกว่า ๕ ปี เมื่อจำเลย ผิดนัดชำระหนี้ตามสัญญาเช่าซื้อ เป็นเหตุให้ผู้ให้เช่าซื้อใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาก่อนครบกำหนด ๕ ปี คดีพิพาทเกี่ยวกับหน่วยงานของรัฐฟ้องเรียกเงินคืน


106 จำเลยจึงเป็นผู้ไม่มีสิทธิได้รับเงินคืนตามเงื่อนไขของโครงการรถยนต์ใหม่คันแรก โจทก์จึงมีหนังสือ บอกกล่าวให้จำเลยนำเงินที่ได้รับไปคืนให้แก่โจทก์ แต่จำเลยเพิกเฉย ขอให้พิพากษาหรือมีคำสั่งให้ จำเลยชำระเงินคืนแก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ย เห็นว่า การกำหนดหลักเกณฑ์ในการคืนเงินตามโครงการ ดังกล่าวเป็นเพียงการกำหนดเงื่อนไขและคุณสมบัติของผู้มีสิทธิได้รับเงินคืนตามนโยบายของรัฐบาล มิใช่การจัดทำบริการสาธารณะ ความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์และจำเลยตามคำขอใช้สิทธิขอรับเงินคืน ตามโครงการรถยนต์ใหม่คันแรกที่จำเลยยื่นต่อโจทก์จึงมิใช่สัญญาทางปกครอง เมื่อโจทก์ฟ้อง เรียกเงินคืนจากจำเลย เนื่องจากจำเลยปฏิบัติผิดเงื่อนไขตามคำขอเป็นเหตุให้จำเลยเป็นผู้ไม่มีสิทธิ ที่จะได้รับเงินคืน จึงเป็นกรณีที่รัฐฟ้องคดีโดยใช้สิทธิเรียกร้องเอาแก่จำเลยในฐานะเอกชนคนหนึ่ง ซึ่งไม่เข้าลักษณะคดีพิพาทซึ่งอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ กรณีจึงเป็น เรื่องที่โจทก์ซึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครองต้องใช้สิทธิฟ้องเรียกเงินคืนจากจำเลยต่อศาลยุติธรรม ซึ่งเป็นศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีทั้งปวงที่ไม่มีกฎหมายบัญญัติให้อยู่ในอำนาจของศาลอื่น คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๑๖๓/๒๕๖๐ คดีนี้หน่วยงานทางปกครองฟ้องขอให้ผู้ถูกฟ้องคดีซึ่งได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ดำเนิน โครงการวิจัยพัฒนาพิพิธภัณฑ์ โดยทำสัญญายืมเงินทดรองจ่ายเพื่อใช้ในโครงการดังกล่าว เมื่อพ้น กำหนดระยะเวลาได้จัดส่งเอกสารเพื่อหักล้างเงินยืมไม่ครบจำนวน ขอให้ผู้ถูกฟ้องคดีชำระเงินยืม ทดรองจ่ายในส่วนที่เหลือพร้อมดอกเบี้ย ผู้ถูกฟ้องคดีให้การว่า ผู้ถูกฟ้องคดีได้รับเงินจากสัญญา ยืมเงินล่าช้ากว่า ๔ เดือน ประกอบกับกรรมการตรวจรับงานส่งข้อมูลการแก้ไขงานล่าช้าและผู้ฟ้องคดี พิจารณาออกคำสั่งสิ้นสุดการจ้างงานผู้ถูกฟ้องคดี เป็นเหตุให้ไม่สามารถส่งมอบงานตามระยะเวลา ที่กำหนดไว้ กรณีมีปัญหาต้องวินิจฉัยว่าคดีนี้เป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับความรับผิดอย่างอื่นของหน่วยงาน ทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครอง และวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ หรือไม่ เห็นว่า เมื่อคดีนี้ผู้ฟ้องคดีเป็นหน่วยงานทางปกครอง ฟ้องขอให้ผู้ถูกฟ้องคดีคืนเงินยืมทดรองจ่ายตามสัญญายืมเงิน ซึ่งผู้ถูกฟ้องคดีส่งใช้คืนเงินยืมให้แก่ ผู้ฟ้องคดีไม่ครบจำนวน จึงเป็นกรณีที่รัฐฟ้องคดีโดยใช้สิทธิเรียกร้องเอาแก่อดีตเจ้าหน้าที่ของรัฐ ในฐานะเอกชนคนหนึ่ง ซึ่งไม่เข้าหลักเกณฑ์ของคดีพิพาทเกี่ยวกับความรับผิดอย่างอื่นของหน่วยงาน ทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครอง และวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ กรณีจึงเป็นเรื่องที่ผู้ฟ้องคดีซึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครอง ต้องใช้สิทธิฟ้องเรียกเงินคืนจากผู้ถูกฟ้องคดีต่อศาลยุติธรรม คดีพิพาทเกี่ยวกับหน่วยงานของรัฐฟ้องเรียกเงินคืน


คดีพิพาทที่อยู่ในเขตอำนาจ ของศาลยุติธรรม รวมย่อคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่น่าสนใจ พ.ศ. ๒๕๕๖ - ๒๕๖๕ 107 คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๑๒๖/๒๕๖๐ หลักกฎหมายว่าด้วยความรับผิดอย่างอื่นของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ เป็นหลักกฎหมายเกี่ยวกับความรับผิดของรัฐโดยปราศจากความผิด ซึ่งมีเจตนารมณ์ ในการคุ้มครองและเยียวยาความเสียหายให้แก่เอกชนจากการใช้อำนาจของหน่วยงานทางปกครอง หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ อันเนื่องมาจากการดำเนินกิจการทางปกครองหรือบริการสาธารณะแล้วก่อให้ เกิดความเสียหายแก่ประชาชนเป็นพิเศษ แม้จะเป็นการกระทำโดยชอบด้วยกฎหมายก็ตาม บทบัญญัตินี้ จึงให้สิทธิเฉพาะเอกชนเท่านั้นในการฟ้องขอให้รัฐรับผิด เมื่อคดีนี้ผู้ฟ้องคดีซึ่งเป็นหน่วยงาน ทางปกครองฟ้องขอให้ผู้ถูกฟ้องคดีคืนเงินค่าเช่าบ้านที่ได้รับโดยไม่มีสิทธิแก่ผู้ฟ้องคดี จึงเป็นกรณี ที่รัฐฟ้องคดีโดยใช้สิทธิเรียกร้องเอาแก่ข้าราชการของตนในฐานะเอกชนคนหนึ่งซึ่งไม่เข้าหลักเกณฑ์ ของคดีพิพาทเกี่ยวกับความรับผิดอย่างอื่นของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ เมื่อตามคำฟ้องของผู้ฟ้องคดีไม่เข้าลักษณะคดีพิพาทซึ่งอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ กรณีจึงเป็นเรื่องที่ผู้ฟ้องคดีซึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครองต้องใช้สิทธิฟ้องเรียกเงินคืน จากผู้ถูกฟ้องคดีต่อศาลยุติธรรม ซึ่งเป็นศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีทั้งปวงที่ไม่มีกฎหมาย บัญญัติให้อยู่ในอำนาจของศาลอื่น คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๔๐/๒๕๖๐ หลักกฎหมายว่าด้วยความรับผิดอย่างอื่นของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ เป็นหลักกฎหมายเกี่ยวกับความรับผิดของรัฐโดยปราศจากความผิด ซึ่งมีเจตนารมณ์ ในการคุ้มครองและเยียวยาความเสียหายให้แก่เอกชนจากการใช้อำนาจของหน่วยงานทางปกครอง หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ อันเนื่องมาจากการดำเนินกิจการทางปกครองหรือบริการสาธารณะแล้วก่อให้ เกิดความเสียหายแก่เอกชนเป็นพิเศษ แม้จะเป็นการกระทำโดยชอบด้วยกฎหมายก็ตาม บทบัญญัตินี้จึงให้สิทธิเฉพาะเอกชนเท่านั้นในการฟ้องขอให้รัฐรับผิด เมื่อคดีนี้ผู้ฟ้องคดีซึ่งเป็น หน่วยงานทางปกครองฟ้องขอให้ผู้ถูกฟ้องคดีคืนเงินเดือนและเงินอื่นที่ได้รับไปเกินสิทธิ จึงเป็นกรณี ที่รัฐฟ้องคดีโดยใช้สิทธิเรียกร้องเอาแก่อดีตเจ้าหน้าที่ของรัฐในฐานะเอกชนคนหนึ่ง ซึ่งไม่เข้าหลักเกณฑ์ ของคดีพิพาทเกี่ยวกับความรับผิดอย่างอื่นของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ และแม้คำสั่งของผู้ฟ้องคดีที่ลงโทษผู้ถูกฟ้องคดีออกจากราชการจะเป็นคำสั่งทางปกครอง แต่คดีนี้เป็นคดีที่หน่วยงานทางปกครองฟ้องเรียกเงินคืน เนื่องจากผู้ฟ้องคดีมีหนังสือทวงถามให้ คดีพิพาทเกี่ยวกับหน่วยงานของรัฐฟ้องเรียกเงินคืน


108 ผู้ถูกฟ้องคดีใช้เงินแล้ว แต่ผู้ถูกฟ้องคดีเพิกเฉย และหนังสือทวงถามให้ชำระหนี้ดังกล่าวไม่ใช่ การใช้อำนาจตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่ในการออกคำสั่งทางปกครอง ฐานอันเป็นที่มาของข้อพิพาท จึงไม่ใช่เกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมาย ข้อพิพาทในคดีนี้จึงมิใช่คดีพิพาทตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๑) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ กรณีจึงเป็นเรื่องที่ ผู้ฟ้องคดีซึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครองต้องใช้สิทธิฟ้องเรียกเงินคืนจากผู้ถูกฟ้องคดีต่อศาลยุติธรรม ซึ่งเป็นศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีทั้งปวงที่ไม่มีกฎหมายบัญญัติให้อยู่ในอำนาจศาลอื่น คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๑๘/๒๕๖๐ หลักกฎหมายว่าด้วยความรับผิดอย่างอื่นของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ เป็นหลักกฎหมายเกี่ยวกับความรับผิดของรัฐโดยปราศจากความผิด ซึ่งมีเจตนารมณ์ ในการคุ้มครองและเยียวยาความเสียหายให้แก่เอกชนจากการใช้อำนาจของหน่วยงานทางปกครอง หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ อันเนื่องมาจากการดำเนินกิจการทางปกครองหรือบริการสาธารณะแล้วก่อให้ เกิดความเสียหายแก่ประชาชนเป็นพิเศษ แม้จะเป็นการกระทำโดยชอบด้วยกฎหมายก็ตาม บทบัญญัตินี้จึงให้สิทธิเฉพาะเอกชนเท่านั้นในการฟ้องขอให้รัฐรับผิด เมื่อคดีนี้โจทก์ซึ่งเป็นหน่วยงาน ทางปกครองฟ้องขอให้จำเลยคืนเงินบำเหน็จที่ได้รับโดยไม่มีสิทธิแก่โจทก์ จึงเป็นกรณีที่รัฐฟ้องคดี โดยใช้สิทธิเรียกร้องเอาแก่อดีตข้าราชการของตนในฐานะเอกชนคนหนึ่ง ซึ่งไม่เข้าหลักเกณฑ์ ของคดีพิพาทเกี่ยวกับความรับผิดอย่างอื่นของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ เมื่อตามคำฟ้องของโจทก์ไม่เข้าลักษณะคดีพิพาทซึ่งอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษา ของศาลปกครอง ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณา คดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ กรณีจึงเป็นเรื่องที่โจทก์ซึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครองต้องใช้สิทธิฟ้องเรียกเงินคืน จากจำเลยต่อศาลยุติธรรม ซึ่งเป็นศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีทั้งปวงที่ไม่มีกฎหมายบัญญัติ ให้อยู่ในอำนาจของศาลอื่น คดีพิพาทเกี่ยวกับหน่วยงานของรัฐฟ้องเรียกเงินคืน


คดีพิพาทที่อยู่ในเขตอำนาจ ของศาลยุติธรรม รวมย่อคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่น่าสนใจ พ.ศ. ๒๕๕๖ - ๒๕๖๕ คดีพิพาทเกี่ยวกับหน่วยงานของรัฐฟ้องเรียกเงินคืน 111 คดีพิพาทท ี� อยู่ในเขตอาํนาจของศาลปกครอง ตามพระราชบัญญัตจิดัตงั�ศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ คดีพิพาท เกี�ยวกับเขตอํานาจของศาลปกครอง คดีพิพาทเกย ี� วกบัการใชอ้าํนาจทางปกครอง คดีพิพาทเกย ี� วกบัการกระทําละเมิด ของฝ�ายปกครอง คดีพิพาทเกย ี� วกบัความรับผิดอย่างอนื� คดีพิพาทเกย ี� วกบัสัญญา คดีพิพาทเกย ี� วกบัอนุญาโตตลุาการ คดีพิพาทเกย ี� วกบัการละเลยตอ่หน้าท ี� หรือปฏิบัตหิน้าท ี� ล่าชา้เกนิสมควร คดีอนื�ๆ


112 ความเป็นมา คดีพิพาทเกี�ยวกับการใช้อํานาจทางปกครอง รวมย่อคําวินิจฉัย คดทีเี�ปน�การใชอ้ ํานาจทางปกครอง อยใู่นเขตอํานาจของศาลปกครอง คดทีเี�ปน�การใชอ้ ํานาจทางปกครอง ตามพระราชบญัญตัจิดั ตัง�ศาลปกครอง และวธิพี ิจารณาคดปีกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๙ วรรคหนงึ� (๑) อยใู่นเขตอํานาจ ของศาลปกครอง


คดีพิพาทเกี่ยวกับ เขตอำนาจของศาลปกครอง รวมย่อคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่น่าสนใจ พ.ศ. ๒๕๕๖ - ๒๕๖๕ 113 คดีที่เป็นการใช้อำนาจทางปกครอง อยู่ในเขตอำนาจของศาลปกครอง คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๔๒/๒๕๖๕ คดีนี้ โจทก์ทั้งสี่เป็นเอกชน ยื่นฟ้องกรมที่ดิน จำเลยที่ ๑ ซึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครอง และจำเลยที่ ๒ ถึงที่ ๔ ซึ่งเป็นเอกชน โดยมูลความแห่งคดีสืบเนื่องมาจากการที่เจ้าพนักงานที่ดิน สังกัดจำเลยที่ ๑ จดทะเบียนจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรให้แก่ผู้ซื้อที่ดินจัดสรร ซึ่งโจทก์ทั้งสี่อ้างว่า ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากผู้ขออนุญาตจัดสรรที่ดินยังไม่ได้สร้างถนนเชื่อมทางเข้าออกสู่ ถนนสาธารณะซึ่งเป็นสาธารณูปโภคในโครงการตามที่ได้ขออนุญาตไว้ การดำเนินการประชุมผู้ซื้อ ที่ดินจัดสรร การประกาศของเจ้าพนักงานที่ดิน เรื่อง การขอจดทะเบียนจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร เพื่อจดทะเบียนจัดตั้งจำเลยที่ ๒ ตลอดจนการจัดให้มีการประชุมใหญ่สามัญครั้งแรก ภายหลังจาก การจดทะเบียนจัดตั้งจำเลยที่ ๒ จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ทั้งสี่จึงฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียน นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร รายงานการประชุมผู้ซื้อที่ดินจัดสรร และรายงานการประชุมใหญ่ครั้งแรก ดังนี้ เมื่อการจดทะเบียนจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรของเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดเชียงใหม่ สาขาสันกำแพง ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐสังกัดจำเลยที่ ๑ เป็นการดำเนินการตามพระราชบัญญัติ การจัดสรรที่ดิน พ.ศ. ๒๕๔๓ มาตรา ๔๕ ประกอบกับกฎกระทรวงว่าด้วยการขอจดทะเบียนจัดตั้ง การบริหาร การควบ และการยกเลิกนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร พ.ศ. ๒๕๔๕ หมวด ๑ การขอ จดทะเบียนจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร และการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงข้อบังคับ กรณีจึงเป็น การใช้อำนาจตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่ที่มีผลเป็นการสร้างนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคลในอันที่จะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน ระงับ หรือมีผลกระทบต่อสถานภาพของสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคล จึงเป็น “คำสั่งทางปกครอง” ตามมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ การที่โจทก์ทั้งสี่ฟ้องขอให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้จำเลยที่ ๑ เพิกถอนการจดทะเบียนจัดตั้ง นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรโดยอ้างว่า เป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. ๒๕๔๓ ประกอบกับกฎกระทรวงว่าด้วยการขอจดทะเบียนจัดตั้ง การบริหาร การควบ และ การยกเลิกนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร พ.ศ. ๒๕๔๕ จึงเป็นเรื่องที่โจทก์ทั้งสี่ฟ้องขอให้ศาลตรวจสอบ ความชอบด้วยกฎหมายของคำสั่งทางปกครองดังกล่าวว่าเป็นการใช้อำนาจที่ถูกต้องตามพระราชบัญญัติ การจัดสรรที่ดิน พ.ศ. ๒๕๔๓ หรือไม่ คดีนี้จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครอง หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายในการออกคำสั่งทางปกครอง ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๑) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง คดีพิพาทเกี่ยวกับการใช้อำนาจทางปกครอง คดีที่เป็นการใช้อำนาจทางปกครอง อยู่ในเขตอำนาจของศาลปกครอง


114 คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๗๐/๒๕๖๔ คดีที่ โจทก์ซึ่งเป็นเอกชน ยื่นฟ้องกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ที่ ๑ ส่วนจดทะเบียนบริษัทมหาชน และธุรกิจพิเศษ ที่ ๒ นายทะเบียน ส่วนจดทะเบียนบริษัทมหาชนและธุรกิจพิเศษ ที่ ๓ จำเลยอ้างว่า โจทก์ทั้งสองเป็นกรรมการ บมจ. จ. ซึ่งถูกศาลล้มละลายกลางพิพากษาให้บริษัทล้มละลาย โจทก์ทั้งสอง ได้ยื่นหนังสือลาออกจากการเป็นกรรมการบริษัทดังกล่าวและแจ้งต่อจำเลยที่ ๓ ในฐานะนายทะเบียน ส่วนจดทะเบียนบริษัทมหาชนและธุรกิจพิเศษ ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ ๑ และที่ ๒ ขอให้ จดชื่อโจทก์ทั้งสองออกจากทะเบียนของบริษัท แต่จำเลยที่ ๓ ไม่ดำเนินการให้ เป็นเหตุให้ชื่อโจทก์ ทั้งสองปรากฏอยู่ในสารบบทะเบียนของบริษัทมหาชนจำกัดที่ล้มละลาย ทำให้โจทก์ทั้งสองได้รับ ความเสียหายต่อความน่าเชื่อถือในทางธุรกิจ และสูญเสียโอกาสในการทำธุรกิจ ขอให้ศาลมีคำพิพากษา หรือคำสั่งให้จำเลยที่ ๓ ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ ๑ และที่ ๒ ดำเนินการจดชื่อโจทก์ทั้งสองออกจาก ทะเบียนของ บมจ. จ. หากจำเลยทั้งสามไม่ดำเนินการขอถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนา ของจำเลยทั้งสาม เห็นว่า คดีนี้ จำเลยที่ ๑ และที่ ๒ เป็นหน่วยงานทางปกครอง ส่วนจำเลยที่ ๓ เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ตามบทนิยามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดี ปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ การที่โจทก์ทั้งสองยื่นคำขอให้จำเลยที่ ๓ ซึ่งเป็นนายทะเบียนดำเนินการ จดทะเบียนถอนชื่อโจทก์ทั้งสองออกจากทะเบียนของ บมจ. จ. แต่จำเลยที่ ๓ ได้พิจารณาแล้วมี หนังสือแจ้งโจทก์ทั้งสองว่า ไม่อาจกระทำได้ เนื่องจากศาลล้มละลายกลางมีคำพิพากษาให้บริษัท ดังกล่าวล้มละลาย บริษัทเป็นอันเลิกกันโดยผลของกฎหมายตามมาตรา ๑๕๔ (๒) แห่งพระราชบัญญัติ บริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. ๒๕๓๕ ทำให้สภาพการเป็นนิติบุคคลของบริษัทได้สิ้นสุดลง จึงไม่มีกรณี ที่นายทะเบียนจะต้องรับจดทะเบียนเพื่อเปลี่ยนแปลงรายชื่อกรรมการของบริษัท ดังนี้ การที่จำเลยที่ ๓ ซึ่งเป็นนายทะเบียน มีหน้าที่ในการจดทะเบียน หรือแก้ไข เพิ่มเติมหนังสือบริคณห์สนธิของบริษัท มหาชนจำกัด ตามพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. ๒๕๓๕ ได้ปฏิเสธคำขอจดทะเบียน เปลี่ยนแปลงชื่อของโจทก์ทั้งสองออกจากการเป็นกรรมการบริษัท จึงเป็นการใช้อำนาจตามกฎหมาย ของเจ้าหน้าที่ที่มีผลเป็นการสร้างนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคลในอันที่จะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน ระงับ หรือมีผลกระทบต่อสถานภาพของสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคล ไม่ว่าจะเป็นการถาวร หรือชั่วคราว เช่น การสั่งการ การอนุญาต การอนุมัติ การวินิจฉัยอุทธรณ์ การรับรอง และการรับจดทะเบียน คำสั่งของจำเลยที่ ๓ ที่ไม่รับจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงโจทก์ทั้งสองออกจากการเป็นกรรมการของ บมจ. จ. จึงเป็นคำสั่งทางปกครอง ตามมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ การที่โจทก์ทั้งสองฟ้องว่าคำสั่งดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากพระราชบัญญัติ บริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. ๒๕๓๕ มาตรา ๑๕๔ (๒) ไม่ได้บัญญัติให้ดำเนินการเลิกบริษัทอย่างไร และปัจจุบันบริษัทยังคงสถานะการเป็นบริษัทมหาชนจำกัดอยู่ กรรมการบริษัทยังทำธุรกรรมและจัดการ กิจการอื่นที่นอกเหนือจากการจัดการทรัพย์สินและหนี้สินได้ การปฏิเสธไม่รับจดทะเบียนของจำเลย ที่ ๓ จึงทำให้โจทก์ทั้งสองได้รับความเสียหาย และมีคำขอให้ศาลมีคำสั่งให้จำเลยที่ ๓ จดทะเบียน เปลี่ยนแปลงชื่อโจทก์ทั้งสองออกจาก บมจ. จ. ซึ่งมีผลเท่ากับเป็นการขอให้เพิกถอนคำสั่งทางปกครอง คดีที่เป็นการใช้อำนาจทางปกครอง อยู่ในเขตอำนาจของศาลปกครอง


คดีพิพาทเกี่ยวกับ เขตอำนาจของศาลปกครอง รวมย่อคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่น่าสนใจ พ.ศ. ๒๕๕๖ - ๒๕๖๕ 115 ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และให้จำเลยที่ ๓ พิจารณาคำขอของโจทก์ทั้งสองใหม่ กรณีตามคำฟ้อง จึงเป็นเรื่องที่โจทก์ทั้งสองฟ้องขอให้ศาลตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายของคำสั่งทางปกครอง ดังกล่าวว่า เป็นการใช้อำนาจที่ถูกต้องตามพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือไม่ คดีนี้จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการที่เจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายในการออก คำสั่งทางปกครอง และพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๑) (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ซึ่งศาลปกครอง มีอำนาจสั่งให้เพิกถอนคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และสั่งให้เจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยพิจารณา คำขอให้ถูกต้องตามกฎหมายได้ ทั้งนี้ ตามมาตรา ๗๒ (๑) (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครอง และวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ จึงเป็นคดีพิพาทที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของ ศาลปกครอง คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๑๓๕/๒๕๖๓ คดีนี้ ธนาคาร ก. ผู้ฟ้องคดี ยื่นฟ้อง เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดชลบุรี ที่ ๑ สำนักงานที่ดินจังหวัดชลบุรี ที่ ๒ กรมที่ดิน ที่ ๓ ผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี ที่ ๔ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ที่ ๕ กระทรวงมหาดไทย ที่ ๖ บริษัท ณ. ที่ ๗ ผู้ถูกฟ้องคดี ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า ธนาคาร ก. ผู้ฟ้องคดี เป็นเจ้าหนี้ของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๗ ตามคำพิพากษาศาลฎีกา คดีอยู่ระหว่างการบังคับคดี แต่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๔ มีคำสั่งจังหวัดชลบุรีให้เพิกถอนรายการจดทะเบียนจำนองห้องชุดจำนวน ๖๙๓ ห้องชุด ที่ผู้ถูกฟ้องคดี ที่ ๗ ซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษานำมาจดทะเบียนจำนองไว้กับผู้ฟ้องคดี ผู้ฟ้องคดีอุทธรณ์คำสั่ง แต่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๕ มีคำสั่งยกอุทธรณ์ ขอให้มีคำพิพากษาให้เพิกถอนคำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๔ และคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๕ และให้ร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายแก่ผู้ฟ้องคดี ดังนี้ เมื่อผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๔ และที่ ๕ เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้ง ศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ โดยผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๔ มีอำนาจหน้าที่ในฐานะ พนักงานเจ้าหน้าที่ ตามพระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ. ๒๕๒๒ ในการเพิกถอนและแก้ไขหนังสือ กรรมสิทธิ์ห้องชุด การเพิกถอนและแก้ไขการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับห้องชุด การเพิกถอน และแก้ไขการจดแจ้งรายการในสารบัญสำหรับจดทะเบียนที่คลาดเคลื่อนหรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย ตามมาตรา ๒๔ วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ. ๒๕๒๒ การที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๔ มีคำสั่งจังหวัดชลบุรีให้เพิกถอนรายการจดทะเบียนจำนองห้องชุด โดยเห็นว่า การจดทะเบียนจำนองห้องชุดจำนวน ๖๙๓ ห้องชุด ระหว่างผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๗ กับผู้ฟ้องคดี กระทำไปโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงเป็นการใช้อำนาจตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่ที่มีผลเป็นการสร้าง นิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคลในอันที่จะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน ระงับ หรือมีผลกระทบต่อสถานภาพ ของสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคล จึงเป็นคำสั่งทางปกครอง ตามมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติวิธี ปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ ทั้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๕ เป็นการใช้อำนาจ ตามมาตรา ๔๕ แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ จึงเป็นคำสั่ง คดีที่เป็นการใช้อำนาจทางปกครอง อยู่ในเขตอำนาจของศาลปกครอง


116 ทางปกครอง ตามมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติเดียวกัน การที่ผู้ฟ้องคดีโต้แย้งว่าการออกคำสั่ง ของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๔ และคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๕ ไม่ชอบด้วยกฎหมาย โดยมีคำขอ ให้เพิกถอนคำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๔ ตามคำสั่งจังหวัด และคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๕ และให้ชดใช้ค่าเสียหาย คดีนี้จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ ของรัฐออกคำสั่งทางปกครองโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย และกระทำละเมิดอันเกิดจากคำสั่งทางปกครอง ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๑) และ (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดี ปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ซึ่งอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง และกรณีมิใช่คดีพิพาท อันเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบังคับคดีแพ่ง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ภาค ๔ ลักษณะ ๒ การบังคับคดีตามคำพิพากษา หรือคดีพิพาทเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของเจ้าพนักงาน บังคับคดีในการปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับการบังคับคดี ที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๒๘๕ วรรคสอง บัญญัติให้อยู่ในอำนาจของศาลยุติธรรม * คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๔๓/๒๕๖๒ วินิจฉัยทำนองเดียวกันในเรื่องการออกคำสั่ง เพิกถอนและแก้ไขรูปแผนที่และเนื้อที่ใน น.ส. ๓ ก คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๑๓๓/๒๕๖๓ คดีที่ผู้ฟ้องคดีทั้งสามเป็นเอกชน ยื่นฟ้อง กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ ที่ ๑ อธิบดี กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ ที่ ๒ กรมที่ดิน ที่ ๓ อธิบดีกรมที่ดิน ที่ ๔ สำนักงานที่ดินจังหวัด ที่ ๕ เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัด ที่ ๖ ผู้ถูกฟ้องคดี ซึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครองและเจ้าหน้าที่ของรัฐ ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๓ อ้างว่า ผู้ฟ้องคดีทั้งสามเป็นบุตรของนาย อ. (บิดา) ซึ่งเป็นสมาชิกนิคมสร้างตนเองและได้รับการจัดสรรที่ดิน ให้ทำประโยชน์ตามหนังสือแสดงการทำประโยชน์ (น.ค. ๑) เลขที่ ๗๘๑ เมื่อบิดาเสียชีวิต ผู้ฟ้องคดี ทั้งสามได้เข้าครอบครองที่ดินดังกล่าวเรื่อยมา แต่เจ้าหน้าที่ของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ออกหนังสือ แสดงการทำประโยชน์ (น.ค. ๓) เลขที่ ๑๑๒๐ ให้แก่นาง ม. (พี่สาวของผู้ฟ้องคดีทั้งสาม) ซึ่งมิได้ ครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินแปลงพิพาท อันเป็นการออกหลักฐาน น.ค. ๓ โดยผิดพลาด คลาดเคลื่อน และผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ที่ ๔ และที่ ๕ ได้ออกหลักฐานโฉนดที่ดินเลขที่ ๑๔๓๑๙ โดยอาศัยหลักฐานตาม น.ค. ๓ ให้แก่นาง ม. จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ขอให้ศาลพิพากษาหรือมีคำสั่ง เพิกถอน น.ค. ๓ เลขที่ ๑๑๒๐ และเพิกถอนโฉนดที่ดินเลขที่ ๑๔๓๑๙ และให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ถึงที่ ๖ ระงับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในโฉนดที่ดินเลขที่ ๑๔๓๑๙ ส่วนผู้ถูกฟ้องคดีทั้งหก ให้การว่า ในการพิจารณาคัดเลือกทายาทโดยธรรมและมีคุณสมบัติตามพระราชบัญญัติจัดที่ดิน เพื่อการครองชีพ พ.ศ. ๒๕๑๑ ไม่ปรากฏว่าผู้ฟ้องคดีและพวกคัดค้านการออก น.ค. ๓ เลขที่ ๑๑๒๐ ให้แก่นาง ม. การออกโฉนดที่ดินเลขที่ ๑๔๓๑๙ ให้แก่นาง ม. จึงชอบด้วยกฎหมาย ดังนี้ ประเด็น ข้อพิพาทในคดีนี้จึงมีว่า การที่เจ้าหน้าที่ของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และที่ ๒ ออก น.ค. ๓ เลขที่ ๑๑๒๐ ให้แก่ คดีที่เป็นการใช้อำนาจทางปกครอง อยู่ในเขตอำนาจของศาลปกครอง


คดีพิพาทเกี่ยวกับ เขตอำนาจของศาลปกครอง รวมย่อคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่น่าสนใจ พ.ศ. ๒๕๕๖ - ๒๕๖๕ 117 นาง ม. โดยเห็นว่า เป็นทายาทโดยธรรมและมีคุณสมบัติตามมาตรา ๒๒, ๓๐ แห่งพระราชบัญญัติ จัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ. ๒๕๑๑ เป็นการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ และการที่เจ้าหน้าที่ ของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ที่ ๔ และที่ ๕ ได้ออกโฉนดที่ดินเลขที่ ๑๔๓๑๙ ให้แก่นาง ม. โดยอาศัย หลักฐาน น.ค. ๓ ดังกล่าวเป็นการชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ข้อพิพาทในคดีนี้จึงเป็นคดีพิพาทที่ขอให้ ศาลตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายของ น.ค. ๓ เลขที่ ๑๑๒๐ และโฉนดที่ดินเลขที่ ๑๔๓๑๙ ซึ่งเป็นคำสั่งทางปกครอง โดยศาลจำต้องพิจารณาว่า ผู้ฟ้องคดีทั้งสามหรือนาง ม. เป็นผู้มีคุณสมบัติ ที่จะได้รับสิทธิในการเข้าทำประโยชน์ในที่ดินแปลงพิพาท อันเป็นปัญหาเกี่ยวกับคุณสมบัติของบุคคล ที่จะได้รับคัดเลือกให้เข้าเป็นสมาชิกนิคมสร้างตนเองแทนผู้ตาย มิใช่คดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน ข้อพิพาทในคดีนี้จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการ โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๑) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครอง และวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง * คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๓๒/๒๕๖๓ วินิจฉัยทำนองเดียวกันในเรื่อง การออกหนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดิน (ส.ป.ก. ๔-๐๑ ก) ทับซ้อนกับที่ดินของโจทก์ * คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๘/๒๕๖๓ วินิจฉัยทำนองเดียวกันในเรื่องการอนุญาต ให้เข้าทำประโยชน์ในที่ดินที่พิพาท ตามพระราชบัญญัติจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ. ๒๕๑๑ * คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๑๖๘/๒๕๖๑ วินิจฉัยทำนองเดียวกันในเรื่อง การออกหนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดิน (ส.ป.ก. ๔-๐๑ ข) * คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๕๕/๒๕๖๑ วินิจฉัยทำนองเดียวกันในเรื่อง การออกหนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดิน (ส.ป.ก. ๔-๐๑) * คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๘๗/๒๕๕๗ วินิจฉัยทำนองเดียวกันในเรื่อง การออกหนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดิน (ส.ป.ก. ๔-๐๑ ข) คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๑๐๗/๒๕๖๓ คดีที่เอกชนยื่นฟ้องกรรมการบริหารการพัฒนาพิงคนครปฏิบัติหน้าที่แทน ผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาพิงคนคร ที่ ๑ สำนักงานพัฒนาพิงคนคร (องค์การมหาชน) ที่ ๒ คณะกรรมการป้องกัน และปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ที่ ๓ ผู้ถูกฟ้องคดี ว่า ผู้ฟ้องคดีเป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่ของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ได้รับความเดือดร้อนเสียหายจากการที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ออกคำสั่งลงโทษทางวินัยไล่ผู้ฟ้องคดี ออกจากการเป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่ของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ตามการชี้มูลความผิดของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากผู้ฟ้องคดีไม่ได้กระทำผิดอาญาและผิดวินัยร้ายแรง ขอให้ศาล มีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งลงโทษทางวินัย และให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ มีคำสั่งให้ผู้ฟ้องคดีกลับเข้าทำงาน พร้อมทั้งให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และที่ ๒ ชดใช้ค่าเสียหายจากการขาดรายได้ เห็นว่า ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ เป็นองค์การมหาชน ซึ่งเป็นหน่วยงานอื่นของรัฐ และมีฐานะเป็นหน่วยงานทางปกครอง ส่วนผู้ถูกฟ้องคดี ที่ ๑ เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ เมื่อเหตุแห่งการฟ้องคดีนี้ เกิดจากการที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ มีคำสั่งลงโทษไล่ออก คดีที่เป็นการใช้อำนาจทางปกครอง อยู่ในเขตอำนาจของศาลปกครอง


118 โดยเห็นว่า การกระทำของผู้ฟ้องคดีตามมติของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ตามสำนวนการไต่สวนข้อเท็จจริงว่า มีมูลความผิดอาญา และมีมูลความผิดทางวินัยร้ายแรง ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ จึงออกคำสั่งโดยอาศัยอำนาจ ตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งองค์การมหาชนของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐ ประกอบพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. ๒๕๖๑ มาตรา ๙๘ วรรคแรก ที่เป็นกฎหมายพิเศษเกี่ยวกับมาตรการในการปราบปรามการทุจริตต่อตำแหน่งหน้าที่ หรือกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการของเจ้าหน้าที่ของรัฐในทางวินัย คำสั่งลงโทษไล่ออก ดังกล่าว จึงมีผลเป็นการสร้างนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างผู้ฟ้องคดีกับผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และที่ ๒ ทำให้ ผู้ฟ้องคดีต้องสิ้นสุดสถานภาพการเป็นเจ้าหน้าที่ของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ อันเป็นการระงับหรือ มีผลกระทบต่อสถานภาพของสิทธิหรือหน้าที่ตามกฎหมายของผู้ฟ้องคดีโดยตรง จึงเป็นคำสั่งทางปกครอง เมื่อผู้ฟ้องคดีนำคดีมาฟ้องโดยมีคำขอให้ศาลพิพากษาเพิกถอนคำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และให้ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ในฐานะหน่วยงานของรัฐต้นสังกัดของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ชดใช้ค่าสินไหมทดแทน อันเกิดจากการกระทำของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ กรณีจึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการที่เจ้าหน้าที่ของรัฐ ออกคำสั่งทางปกครองโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย และคดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดของหน่วยงาน ทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐอันเกิดจากคำสั่งทางปกครอง ซึ่งอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษา ของศาลปกครองตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๑) และ (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครอง และวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ส่วนที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และที่ ๒ โต้แย้งเขตอำนาจ ศาลปกครองว่า ข้อพิพาทในคดีนี้เป็นประเด็นเกี่ยวกับการลงโทษทางวินัยอันเป็นผลมาจากสัญญา จ้างแรงงานหรือตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่อยู่ในอำนาจการพิจารณาพิพากษา ของศาลแรงงาน ตามมาตรา ๘ วรรคหนึ่ง (๑) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณา คดีแรงงาน พ.ศ. ๒๕๒๒ นั้น เห็นว่า เมื่อได้วินิจฉัยแล้วว่าสถานะของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ เป็นองค์การมหาชน ซึ่งเป็นหน่วยงานอื่นของรัฐ และมีฐานะเป็นหน่วยงานทางปกครอง การลงโทษ ทางวินัยผู้ฟ้องคดีซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ย่อมเป็นการใช้อำนาจทางปกครอง คดีนี้จึงเป็นคดีพิพาท เกี่ยวกับการตรวจสอบการใช้อำนาจทางปกครอง ไม่ใช่คดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญา นอกจากนี้มาตรา ๗ แห่งพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ กำหนดวัตถุประสงค์และอำนาจหน้าที่ และให้ การดำเนินงานของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของนายกรัฐมนตรีซึ่งลักษณะดังกล่าว ไม่อาจพบได้ในการดำเนินงานของนิติบุคคลเอกชน ดังนั้น การที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ จ้างผู้ฟ้องคดี เข้าทำงานในหน่วยงานของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ จึงไม่ใช่ความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง ตามกฎหมายเอกชน แต่มีลักษณะเป็นข้อตกลงที่ให้ผู้ฟ้องคดีเข้าร่วมจัดทำบริการสาธารณะ กับผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ อันเป็นนิติสัมพันธ์ตามกฎหมายมหาชน เข้าลักษณะเป็นสัญญาทางปกครอง ข้อพิพาทตามคำฟ้องของผู้ฟ้องคดีจึงมิใช่คดีพิพาทเกี่ยวด้วยสิทธิหรือหน้าที่ตามสัญญาจ้างแรงงาน หรือตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณา คดีแรงงาน พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๘ วรรคหนึ่ง (๑) อันจะอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแรงงาน * คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๑๐๖/๒๕๖๓ วินิจฉัยทำนองเดียวกัน คดีที่เป็นการใช้อำนาจทางปกครอง อยู่ในเขตอำนาจของศาลปกครอง


คดีพิพาทเกี่ยวกับ เขตอำนาจของศาลปกครอง รวมย่อคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่น่าสนใจ พ.ศ. ๒๕๕๖ - ๒๕๖๕ 119 คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๑๘/๒๕๖๓ คดีที่เอกชนผู้ฟ้องคดีซึ่งไม่ใช่เจ้าของโฉนดที่ดินยื่นฟ้องเจ้าพนักงานที่ดินกรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ มีอำนาจหน้าที่ในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินตามที่บัญญัติ ไว้ในประมวลกฎหมายที่ดิน ได้จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมขายที่ดินโฉนดที่ดินซึ่งเป็นทาง สาธารณประโยชน์ที่ผู้ฟ้องคดีและประชาชนใช้สัญจรให้แก่บริษัทเอกชนแห่งหนึ่งโดยไม่ชอบ ด้วยกฎหมาย ขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมขายที่ดินพิพาท กรณีจึงเป็นการฟ้อง ขอให้ตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายของการกระทำทางปกครองที่มีการนำที่ดินของรัฐไปขาย ให้แก่เอกชน จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการ โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๑) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครอง และวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ คดีนี้จึงเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษา ของศาลปกครอง คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๗/๒๕๖๓ คดีนี้ผู้ฟ้องคดีเป็นเอกชน ยื่นฟ้องนายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่ ที่ ๑ เทศบาลนครเชียงใหม่ ที่ ๒ คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ในเขตเทศบาลและเขตราชการส่วนท้องถิ่นอื่นในจังหวัดเชียงใหม่ ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. ๒๕๒๒ ที่ ๓ ผู้ถูกฟ้องคดี อันเนื่องมาจากการที่ผู้ฟ้องคดี ก่อสร้างประตูรั้วชนิดโครงเหล็ก บริเวณบ้านพักโดยไม่ได้รับอนุญาต ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ จึงมีคำสั่ง ให้ผู้ฟ้องคดีระงับการก่อสร้าง ห้ามใช้อาคาร และให้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตก่อสร้าง ผู้ฟ้องคดีอุทธรณ์คำสั่ง แต่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ได้มีคำวินิจฉัยให้ยกอุทธรณ์ คำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ในฐานะเจ้าพนักงานท้องถิ่น และคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ เป็นการใช้อำนาจตามพระราชบัญญัติ ควบคุมอาคาร พ.ศ. ๒๕๒๒ ของเจ้าหน้าที่ที่มีผลเป็นการสร้างนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคล อันมี ผลกระทบต่อสถานภาพของสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคล จึงเป็น “คำสั่งทางปกครอง” ตามมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ การที่ผู้ฟ้องคดีฟ้องขอให้ศาล มีคำพิพากษาเพิกถอนคำสั่งและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ดังกล่าว โดยอ้างว่าไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติ ควบคุมอาคาร พ.ศ. ๒๕๒๒ จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการที่เจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบ ด้วยกฎหมายในการออกคำสั่งทางปกครอง ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๑) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้ง ศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ และเมื่อผู้ฟ้องคดีกล่าวอ้างว่าผู้ฟ้องคดี ได้รับความเสียหายจากคำสั่งและคำวินิจฉัยดังกล่าวโดยเรียกร้องค่าเสียหายจากผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ซึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครอง กรณีจึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดของหน่วยงาน ทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ อันเกิดจากคำสั่งทางปกครอง ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ อีกประการหนึ่งด้วย คดีนี้จึงเป็นคดีพิพาทที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง คดีที่เป็นการใช้อำนาจทางปกครอง อยู่ในเขตอำนาจของศาลปกครอง


120 คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๓๙/๒๕๖๒ คดีที่โจทก์เป็นเอกชนยื่นฟ้องจำเลยที่ ๑ และที่ ๒ ซึ่งเป็นเอกชนด้วยกัน นายอำเภอศรีราชา ที่ ๓ เทศบาลนครเจ้าพระยาสุรศักดิ์ ที่ ๔ รองนายกเทศมนตรีนครเจ้าพระยาสุรศักดิ์ ที่ ๕ ช่างรังวัด ชำนาญงาน ที่ ๖ กรมที่ดิน ที่ ๗ อธิบดีกรมที่ดิน ที่ ๘ จำเลย อ้างว่า จำเลยทั้งแปดร่วมกันกระทำละเมิด ต่อโจทก์ โดยจำเลยที่ ๑ และที่ ๒ ร่วมกันใช้รถขุดดินในที่ดินสาธารณประโยชน์เป็นเหตุให้แนวรั้ว คอนกรีตของโจทก์แตกหักเสียหาย และจัดทำสิ่งปลูกสร้างเพื่อยึดถือครอบครองที่สาธารณประโยชน์ และทางหลวงสุขาภิบาล และเปลี่ยนสภาพให้เป็นร่องน้ำสำหรับรองรับน้ำในที่ดินของจำเลยที่ ๑ และที่ ๒ ซึ่งอาจทำให้ที่ดินตลอดแนวพังทลายจนเกือบถึงรั้วของโจทก์ รวมทั้งทำให้โจทก์ ประชาชนทั่วไป ไม่สามารถใช้ที่สาธารณประโยชน์และทางหลวงสุขาภิบาลได้ โจทก์จึงแจ้งจำเลยที่ ๓ และที่ ๕ ต่อมาจำเลยที่ ๓ ถึงที่ ๕ ยื่นคำขอรังวัดสอบเขตที่ดินเพื่อออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวง แต่จำเลยที่ ๒ ที่ ๓ ที่ ๕ และที่ ๖ ร่วมกันละเว้นไม่ทำการรังวัดให้เป็นไปตามระเบียบกรมที่ดิน และคำสั่ง กระทรวงมหาดไทย เป็นเหตุให้ที่ดินสาธารณประโยชน์มีเนื้อที่น้อยลงไม่ตรงกับเนื้อที่จริง ขอให้จำเลย ที่ ๑ และที่ ๒ ชดใช้ค่าเสียหาย และรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง ให้จำเลยที่ ๗ และที่ ๘ เพิกถอนการรังวัดที่ดิน สาธารณประโยชน์ และให้จำเลยทั้งแปดร่วมกันชี้ระวังแนวเขตและรังวัดที่ดินสาธารณประโยชน์ใหม่ ให้เป็นไปตามระวางแผนที่ท้ายคำฟ้อง ประเด็นแห่งคดีที่พิพาทเกิดจากการที่โจทก์กล่าวหาว่า จำเลย ที่ ๓ ถึงที่ ๘ ซึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครองและเจ้าหน้าที่ของรัฐ ร่วมกับจำเลยที่ ๒ ซึ่งเป็นเอกชน กระทำการรังวัดและชี้แนวเขตที่ดินสาธารณประโยชน์ไม่เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ และคำสั่ง เป็นเหตุให้ที่ดินสาธารณประโยชน์มีเนื้อที่น้อยลงไม่ตรงกับเนื้อที่จริง คดีไม่มีประเด็นพิพาทเกี่ยวกับ สิทธิในที่ดิน เนื่องจากโจทก์มิได้โต้แย้งว่าเป็นที่ดินของโจทก์ จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงาน ทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย และละเลยต่อหน้าที่ตามที่ กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติ ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๑) และ (๒) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้ง ศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ซึ่งอยู่ในอำนาจของศาลปกครอง ส่วนข้อพิพาท ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ ๑ และที่ ๒ แม้จะเป็นเอกชนด้วยกัน เมื่อมูลเหตุเกิดจากการที่โจทก์ กล่าวอ้างว่า จำเลยที่ ๑ และที่ ๒ กระทำลงในที่ดินสาธารณประโยชน์แปลงเดียวกันกับที่โจทก์กล่าวหา ว่าจำเลยที่ ๒ ถึงที่ ๘ กระทำการรังวัดไม่ชอบด้วยกฎหมาย เมื่อเป็นที่ดินของรัฐ ซึ่งต้องอยู่ในความดูแล ของหน่วยงานของรัฐ และจำเลยที่ ๑ และที่ ๒ ให้การว่า ได้กระทำลงในที่ดินของตน ควรเป็นเรื่องที่ หน่วยงานของรัฐซึ่งมีหน้าที่ดูแลจะต้องเป็นคู่พิพาทกับจำเลยที่ ๑ และที่ ๒ โดยตรง ผลกระทบ จากการกระทำของจำเลยที่ ๑ และที่ ๒ หากจะพึงมีต่อโจทก์ก็เป็นผลที่ต่อเนื่องมาจากการที่จำเลย ที่ ๑ และที่ ๒ กระทำลงในที่ดินซึ่งหน่วยงานของรัฐมีหน้าที่รับผิดชอบดังกล่าว มูลความแห่งคดี จึงเกี่ยวเนื่องกัน ชอบที่จะได้รับการพิจารณาพิพากษาโดยศาลเดียวกัน คดีนี้จึงอยู่ในอำนาจของ ศาลปกครอง คดีที่เป็นการใช้อำนาจทางปกครอง อยู่ในเขตอำนาจของศาลปกครอง


คดีพิพาทเกี่ยวกับ เขตอำนาจของศาลปกครอง รวมย่อคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่น่าสนใจ พ.ศ. ๒๕๕๖ - ๒๕๖๕ 121 คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๑๓๗/๒๕๖๑ คดีนี้โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิพร้อมสิ่งปลูกสร้าง อาคารเลขที่ ๑๑๗ ต่อจากบิดาและนาย ย. เนื้อที่ ๓๕๒.๒๘ ตารางวา ตั้งอยู่ที่ซอยราชดำริ กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๙ จำเลยซึ่งเป็นผู้อำนวยการเขตปทุมวันมีคำสั่ง ให้โจทก์รื้อถอนอาคาร เลขที่ ๑๑๗ ออกจากคลองซุง ภายใน ๓๐ วัน นับแต่วันที่ได้รับคำสั่งโดยอ้าง คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด คดีหมายเลขแดงที่ อ. ๒๖๒/๒๕๕๖ ที่วินิจฉัยว่า อาคารของโจทก์ สร้างบนที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน และเมื่อวันที่ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๐ จำเลยได้มีคำสั่งให้โจทก์รื้อถอนอาคารเลขที่ ๑๑๗ ออกจากสาธารณสมบัติของแผ่นดิน อีกครั้งหนึ่ง โจทก์เห็นว่าโจทก์เป็นผู้ครอบครองใช้ประโยชน์ที่ดินพิพาทต่อเนื่องมาจากบิดากว่า ๑๐๐ ปี การที่จำเลยออกคำสั่งให้โจทก์รื้อถอนอาคารบ้านเลขที่ ๑๑๗ จึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ ขอให้ศาลพิพากษาให้โจทก์เป็นเจ้าของผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้าง และห้ามจำเลย รบกวนการครอบครอง เห็นว่า เมื่อคำสั่งให้รื้อถอนอาคาร เลขที่ ๑๑๗ ของจำเลยเป็นการออกคำสั่ง โดยอาศัยคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด คดีหมายเลขแดงที่ อ. ๒๖๒/๒๕๕๖ ที่วินิจฉัยว่า คลองซุง เป็นคลองสาธารณประโยชน์อันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ตามมาตรา ๑๓๐๔ (๒) แห่งประมวล กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ โดยโจทก์กับจำเลยในคดีนี้เป็นคู่กรณีในคดีดังกล่าว การฟ้องคดีนี้จึงมี มูลเหตุแห่งการฟ้องคดีที่เกี่ยวเนื่องกับคดีเดิมตามคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด คดีหมายเลขแดง ที่ อ. ๒๖๒/๒๕๕๖ ที่โจทก์อ้างว่าคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากศาลปกครองสูงสุดไม่มีอำนาจวินิจฉัยคดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในที่ดินนั้น ก็เห็นว่าคดีดังกล่าว เป็นการฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งของผู้อำนวยการเขตปทุมวันที่สั่งให้รื้อถอนอาคารเลขที่ ๑๑๗ เนื่องจากปลูกสร้างรุกล้ำที่สาธารณประโยชน์ (คลองซุง) ปัญหาว่าที่ดินพิพาทเป็นที่สาธารณประโยชน์ หรือไม่ จึงเป็นประเด็นพิพาทในคดีดังกล่าว ทั้งไม่ปรากฏว่ามีการยื่นคำร้องโต้แย้งเขตอำนาจศาล จนกระทั่งศาลปกครองกลางมีคำพิพากษายกฟ้อง และศาลปกครองสูงสุดมีคำพิพากษายืน คำพิพากษา ที่ถึงที่สุดดังกล่าวจึงมีผลบังคับได้ตามกฎหมาย ดังนั้น แม้โจทก์ฟ้องขอให้ศาลมีคำพิพากษาให้โจทก์ เป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทรวมทั้งสิ่งปลูกสร้างเสมือนเป็นการฟ้องขอให้รับรองสิทธิในที่ดิน ของตนโดยมิได้ฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งให้รื้อถอนอาคารเลขที่ ๑๑๗ ของจำเลยมาด้วย แต่เมื่อ เหตุแห่งการฟ้องคดีนี้คือ การโต้แย้งคำสั่งของจำเลยที่ให้รื้อถอนอาคารเลขที่ ๑๑๗ ออกจากที่ดินพิพาท โดยอาศัยคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่วินิจฉัยว่า ที่ดินพิพาทเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน และเมื่อการออกคำสั่งของจำเลยเป็นการใช้อำนาจตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่ในการดูแลรักษา ที่สาธารณประโยชน์อันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน กรณีจึงเป็นคดีปกครองที่อยู่ในอำนาจ ศาลปกครอง ตามมาตรา ๑๙๗ วรรคหนึ่ง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๑) และ (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ คดีที่เป็นการใช้อำนาจทางปกครอง อยู่ในเขตอำนาจของศาลปกครอง


122 คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๑๓๐/๒๕๖๐ คณะกรรมการการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม จำเลยที่ ๑ เป็นคณะกรรมการวินิจฉัย ข้อพิพาทมีฐานะเป็น “เจ้าหน้าที่ของรัฐ” ตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครอง และวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ และคำวินิจฉัยอุทธรณ์หรือคำสั่งของจำเลยที่ ๑ เป็นการ ใช้อำนาจตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่ที่มีผลเป็นการสร้างนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคล อันมีผลกระทบ ต่อสถานภาพของสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคล จึงเป็น “คำสั่งทางปกครอง” ตามมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ การที่โจทก์ฟ้องขอให้ศาลมีคำพิพากษา เพิกถอนคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยที่ ๑ โดยอ้างว่าเป็นคำวินิจฉัยอุทธรณ์ที่ไม่ชอบ ด้วยพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. ๒๕๒๔ จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการที่เจ้าหน้าที่ ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายในการออกคำสั่งทางปกครอง ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๑) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ และเมื่อโจทก์ กล่าวอ้างว่าโจทก์ได้รับความเสียหายจากคำวินิจฉัยดังกล่าวและเรียกร้องค่าเสียหาย จึงเป็นคดีพิพาท เกี่ยวกับการกระทำละเมิดของเจ้าหน้าที่ของรัฐ อันเกิดจากคำสั่งทางปกครอง ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ อีกประการหนึ่งด้วย คดีนี้จึงเป็นคดีพิพาทที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๕๖/๒๕๕๘ โจทก์เป็นเอกชนยื่นฟ้องจำเลยที่ ๑ ซึ่งเป็นเอกชนด้วยกันและฟ้ององค์การบริหาร ส่วนจังหวัดอุบลราชธานี จำเลยที่ ๒ ซึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครอง อ้างว่าจำเลยที่ ๒ ซื้อที่ดิน จากประชาชนที่ครอบครองและทำประโยชน์ไปพัฒนาและออกโฉนดที่ดินเพื่อดำเนินการตามนโยบาย รัฐบาลสำหรับจัดสรรที่ดินทำกินให้ราษฎรมีที่ดินทำกินในโครงการที่ดินทำกิน “ทุ่งหมาหิว” โดยภายหลังพัฒนาที่ดินและออกโฉนดที่ดินแล้ว จำเลยที่ ๒ จะขายที่ดินคืนให้แก่เจ้าของเดิม หรือผู้ครอบครองและใช้ประโยชน์ในขณะนั้น การที่จำเลยที่ ๒ ได้ออกประกาศองค์การบริหาร ส่วนจังหวัดอุบลราชธานี เรื่องการซื้อขายที่ดินทุ่งหมาหิวขององค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี โดยจำเลยที่ ๒ ตกลงขายที่ดินคืนให้แก่จำเลยที่ ๑ แต่โจทก์เห็นว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิยื่นข้อเสนอ ซื้อที่ดินจากจำเลยที่ ๒ ตามเงื่อนไขการขายที่ดินคืนแก่เจ้าของหรือผู้ครอบครอง การที่จำเลยที่ ๒ ตกลงขายที่ดินให้แก่จำเลยที่ ๑ ถือเป็นการสั่งรับคำเสนอซื้อของจำเลยที่ ๑ เป็นคำสั่งทางปกครอง ตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๑ (๑) ของกฎกระทรวงฉบับที่ ๑๒ (พ.ศ. ๒๕๔๓) ออกตามความในพระราชบัญญัติ วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ ข้อพิพาทตามคำฟ้องจึงเป็นการโต้แย้งว่าการที่จำเลยที่ ๒ มีคำสั่งรับเสนอซื้อที่ดินของจำเลยที่ ๑ เป็นคำสั่งทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายและทำให้โจทก์ ได้รับความเสียหายอันถือเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ กระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๑) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครอง และวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง คดีที่เป็นการใช้อำนาจทางปกครอง อยู่ในเขตอำนาจของศาลปกครอง


คดีพิพาทเกี่ยวกับ เขตอำนาจของศาลปกครอง รวมย่อคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่น่าสนใจ พ.ศ. ๒๕๕๖ - ๒๕๖๕ 123 คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๘๗/๒๕๕๗ คดีที่เอกชนเป็นโจทก์ฟ้องว่า ตนเป็นผู้ครอบครองที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม และแบ่งที่ดินบางส่วนเนื้อที่ ๑๕ ไร่ ให้จำเลยที่ ๑ ซึ่งเป็นบุตรครอบครอง ต่อมาจำเลยที่ ๑ ไปแจ้ง ข้อความอันเป็นเท็จต่อคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม จำเลยที่ ๒ และสำนักงานปฏิรูปที่ดิน เพื่อเกษตรกรรม จำเลยที่ ๓ ว่า ตนเป็นผู้ครอบครองที่ดินแปลงพิพาทเนื้อที่ ๔๒ ไร่ ๑๐ ตารางวา จำเลยที่ ๒ และที่ ๓ หลงเชื่อจึงออกหนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในที่ดินพิพาททับที่ดินของโจทก์ ทำให้ได้รับความเสียหาย ขอให้เพิกถอนหนังสือดังกล่าว เห็นว่า เมื่อพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดิน เพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. ๒๕๑๘ ให้อำนาจแก่จำเลยที่ ๓ ในการจัดสรรที่ดินมอบให้แก่เกษตรกรสำหรับใช้ ในการประกอบอาชีพเกษตรกรรมทำการปฏิรูปที่ดินโดยการปรับปรุงเกี่ยวกับสิทธิและการถือครอง ในที่ดินเพื่อเกษตรกรรม การได้สิทธิเข้าทำประโยชน์ในที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดินของเอกชนเป็นไปตาม ระเบียบคณะกรรมการการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรที่กำหนดคุณสมบัติของเกษตรกรที่มีสิทธิยื่นคำร้อง ขอเข้าทำประโยชน์ในที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดินไว้หลายประการ อันเป็นการแตกต่างจากการได้สิทธิ ในที่ดินของเอกชนตามประมวลกฎหมายที่ดินและประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ คดีจึงมีประเด็น ที่ศาลต้องวินิจฉัยว่า การออกหนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดิน (ส.ป.ก. ๔-๐๑ ข) ให้แก่จำเลยที่ ๑ ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ อันเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับหน่วยงานทางปกครองกระทำ โดยไม่ชอบด้วยกฎหมายในการออกคำสั่งทางปกครอง ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๑) แห่งพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ คดีนี้จึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษา ของศาลปกครอง คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๓๕/๒๕๕๗ คดีที่เอกชนฟ้องการรถไฟแห่งประเทศไทยซึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครอง อ้างว่า ประกาศ ของผู้ถูกฟ้องคดีกำหนดค่าเช่าอัตราสูงเกินสมควรไม่ชอบด้วยกฎหมาย การดำเนินการตลาดนัด โดยผู้ถูกฟ้องคดีไม่มีกฎหมายรองรับและขัดต่ออำนาจหน้าที่ การกำหนดอัตราค่าเช่าที่ดินมิได้ปฏิบัติ ตามระเบียบของการรถไฟแห่งประเทศไทย สัญญาเช่าที่ดินเป็นโมฆะ ขอให้แก้ไขสัญญาเช่า ส่วนผู้ถูกฟ้องคดี ให้การว่า การดำเนินการเกี่ยวกับตลาดนัดชอบด้วยกฎหมายแล้ว เห็นว่า เหตุแห่งการฟ้องคดีเกิดจาก การที่ผู้ฟ้องคดีกล่าวอ้างว่า ผู้ถูกฟ้องคดีออกประกาศที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย การดำเนินกิจการตลาดนัด ไม่มีกฎหมายรองรับและอยู่นอกเหนืออำนาจหน้าที่ของผู้ถูกฟ้องคดี การกำหนดอัตราค่าเช่าไม่เป็นไป ตามระเบียบของผู้ถูกฟ้องคดีและไม่ชอบด้วยกฎหมาย ประเด็นแห่งคดีเป็นการโต้แย้งกันเกี่ยวกับ การใช้อำนาจตามกฎหมายในการดำเนินการบริหารจัดการตลาดนัดของผู้ถูกฟ้องคดีในการจัดให้ เช่าที่ดินรถไฟตามกฎหมาย อันเป็นกรณีที่คู่ความโต้แย้งกันว่าการใช้อำนาจตามกฎหมาย ในการดำเนินการดังกล่าวเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการที่ หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายตามมาตรา ๙ คดีที่เป็นการใช้อำนาจทางปกครอง อยู่ในเขตอำนาจของศาลปกครอง


124 วรรคหนึ่ง (๑) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง * คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๓๔/๒๕๕๗ วินิจฉัยทำนองเดียวกัน คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๖๘/๒๕๕๖ คดีที่เอกชนยื่นฟ้องเอกชนด้วยกันและหน่วยงานทางปกครอง กรณีเจ้าหน้าที่ในสังกัด กระทรวงการคลัง ที่ ๑ กรมธนารักษ์ ที่ ๒ ผู้ถูกฟ้องคดี นำที่ดินซึ่งผู้ฟ้องคดีครอบครองไปให้ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ซึ่งเป็นเอกชนเช่าโดยอ้างว่าเป็นที่ราชพัสดุและดำเนินการให้เช่าโดยไม่ได้รับ ความเห็นชอบจากคณะกรรมการที่ราชพัสดุ ไม่มีการรังวัดสำรวจพื้นที่ก่อนอนุญาตให้เช่า รวมถึง ไม่มีการประกาศหรือแจ้งให้ราษฎรในพื้นที่มาคัดค้านการเช่าก่อน อันเป็นการไม่ปฏิบัติตามกฎกระทรวง ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการปกครอง ดูแล บำรุงรักษา ใช้ และจัดหาประโยชน์เกี่ยวกับที่ราชพัสดุ พ.ศ. ๒๕๔๕ ทั้งผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ยังกระทำการขัดต่อวัตถุประสงค์การเช่าตามสัญญาเช่าและ กระทำละเมิดต่อผู้ฟ้องคดี ขอให้เพิกถอนสัญญาเช่า ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสามให้การโดยสรุปว่า การเช่า ที่ราชพัสดุเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว เห็นว่า เมื่อการให้เช่าที่ราชพัสดุเป็นอำนาจหน้าที่ของ อธิบดีกรมธนารักษ์ตามพระราชบัญญัติที่ราชพัสดุ พ.ศ. ๒๕๑๘ และกฎกระทรวง ว่าด้วยหลักเกณฑ์ และวิธีการปกครอง ดูแล บำรุงรักษา ใช้ และจัดหาประโยชน์เกี่ยวกับที่ราชพัสดุ พ.ศ. ๒๕๔๕ และข้อเท็จจริงคดีนี้เป็นกรณีที่ผู้ฟ้องคดีมุ่งประสงค์ให้ศาลเพิกถอนสัญญาเช่าที่ราชพัสดุระหว่าง ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ กับผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ โดยโต้แย้งกันว่าการดำเนินการให้เช่าที่ราชพัสดุดังกล่าวเป็นไป โดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่เป็นสำคัญ จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครอง หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษา ของศาลปกครองตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๑) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณา คดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ สำหรับคดีระหว่างผู้ฟ้องคดีกับผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ซึ่งเป็นเอกชนเป็นกรณีที่มี มูลความแห่งคดีเดียวกัน ชอบที่จะได้ดำเนินกระบวนพิจารณาที่ศาลเดียวกัน จึงอยู่ในอำนาจพิจารณา พิพากษาของศาลปกครองเช่นเดียวกัน * คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๖๗/๒๕๕๖ วินิจฉัยทำนองเดียวกัน คดีที่เป็นการใช้อำนาจทางปกครอง อยู่ในเขตอำนาจของศาลปกครอง


คดีพิพาทเกี่ยวกับ เขตอำนาจของศาลปกครอง รวมย่อคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่น่าสนใจ พ.ศ. ๒๕๕๖ - ๒๕๖๕ 125 คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๖๐/๒๕๕๖ คดีที่เอกชนฟ้องว่าได้รับความเดือดร้อนจากการถูกเอาชื่อไปจดทะเบียนเป็นกรรมการ ผู้มีอำนาจลงนามผูกพันบริษัท ขอให้นายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทเพิกถอนการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลง กรรมการดังกล่าว แต่นายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทมีคำสั่งไม่เพิกถอนการจดทะเบียนตามคำขอ โดยอ้างว่าได้ปฏิบัติถูกต้องตามกฎหมายและระเบียบแล้ว และผู้มีอำนาจพิจารณาอุทธรณ์มีคำวินิจฉัย ให้ยกอุทธรณ์ ผู้ฟ้องคดีเห็นว่าเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ขอให้ศาลพิพากษาเพิกถอนคำสั่ง ของนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท เพิกถอนคำวินิจฉัยอุทธรณ์ และเพิกถอนการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลง กรรมการผู้มีอำนาจลงนามผูกพันบริษัท อันเป็นการโต้แย้งคำสั่งทางปกครอง จึงเป็นคดีพิพาท เกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย อยู่ในอำนาจของศาลปกครอง ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๑) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครอง และวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ คดีที่เป็นการใช้อำนาจทางปกครอง อยู่ในเขตอำนาจของศาลปกครอง


126 คดทีมี�ใิชก่ารใชอ้ ํานาจทางปกครอง ตามพระราชบญัญติ ัจดั ตัง�ศาลปกครอง และวธิพี ิจารณาคดปีกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๙ วรรคหนงึ� (๑) อยใู่นเขตอํานาจ ของศาลยตุธิรรม ǁDŽdžˢljˢˑ ǬˠƿƮː ǥǏǬƿǣ˒ ˨ǥLjǥǐdžǥǒǙƮǁǏǣǒ ǣǛǬ˱ːLjǩƽDžǣ˨ǥLjǥǐƽǣǒǃǥǖǛDž˯ ǎˠǏǏlj


คดีพิพาทเกี่ยวกับ เขตอำนาจของศาลปกครอง รวมย่อคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่น่าสนใจ พ.ศ. ๒๕๕๖ - ๒๕๖๕ 127 คดีที่มิใช่การใช้อำนาจทางปกครอง อยู่ในเขตอำนาจของศาลยุติธรรม คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๒๗/๒๕๖๕ คดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่จะอยู่ ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองได้นั้น ต้องเป็นคดีพิพาทอันเนื่องมาจากการใช้อำนาจ ในทางปกครองหรือดำเนินกิจการทางปกครองของฝ่ายบริหารหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐฝ่ายปกครอง แต่โดยที่พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕ เป็นกฎหมายที่ตราขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อจัดโครงสร้างการบริหารและการปกครองคณะสงฆ์ในประเทศไทยให้เป็นไปโดยเรียบร้อย เพื่อประโยชน์แห่งพระพุทธศาสนา การดำเนินการตามพระราชบัญญัติดังกล่าวจึงเป็นการดำเนิน กิจการทางศาสนา มิใช่กิจการทางปกครอง และไม่ต้องดำเนินการตามพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการ ทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ ทั้งนี้ ตามมาตรา ๔ วรรคหนึ่ง (๙) การดำเนินการเพื่อพิจารณาแต่งตั้ง เจ้าอาวาสหรือการออกคำสั่งแต่งตั้งผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสจึงไม่ใช่การพิจารณาทางปกครอง หรือคำสั่งทางปกครองตามนัยมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ ที่จะอยู่ในอำนาจการตรวจสอบของศาลปกครอง คดีนี้โจทก์ทั้งสามซึ่งเป็นพระภิกษุ สังกัดวัด บ. ฟ้องว่าได้รับความเสียหายจากการที่จำเลยทั้งห้าซึ่งเป็นพระภิกษุ โดยจำเลยที่ ๑ เป็นรักษาการเจ้าอาวาสวัด บ. จำเลยที่ ๒ เป็นเจ้าคณะตำบล จำเลยที่ ๓ เป็นเจ้าคณะอำเภอ จำเลยที่ ๔ เป็นเจ้าคณะจังหวัด จำเลยที่ ๕ เป็นรักษาการแทนเจ้าคณะภาค กระทำการที่ไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติ คณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕ และกฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ ๑๙ (พ.ศ. ๒๕๓๖) ว่าด้วยการแต่งตั้งผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาส และฉบับที่ ๒๔ (พ.ศ. ๒๕๔๑) ว่าด้วย การแต่งตั้งและถอดถอนพระสังฆาธิการ โดยการที่จำเลยที่ ๒ ถึงที่ ๕ ดำเนินการเลือกและมีคำสั่ง แต่งตั้งจำเลยที่ ๑ เป็นผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัด บ. ซึ่งเป็นพระภิกษุนอกเขตปกครองของตนเอง ให้เป็นรักษาการเจ้าอาวาสวัด บ. จำเลยที่ ๑ จึงไม่มีอำนาจกระทำการใด ๆ ในฐานะผู้รักษาการ แทนเจ้าอาวาสวัด บ. ทั้งยังปรากฏว่าจำเลยที่ ๑ ทำหน้าที่รักษาการแทนเจ้าอาวาสเกินกว่า ๑ ปี ไม่ชอบด้วยกฎมหาเถรสมาคม ขอให้ศาลพิพากษาหรือมีคำสั่งห้ามมิให้จำเลยที่ ๑ กระทำการใด ๆ ในฐานะรักษาการแทนเจ้าอาวาสวัด บ. ให้โจทก์ทั้งสามร่วมกันดำเนินการและจัดกิจการต่าง ๆ ของวัด บ. จนกว่าจำเลยที่ ๒ ถึงที่ ๕ จะดำเนินการคัดเลือกเจ้าอาวาสและพิจารณาแต่งตั้งเจ้าอาวาสวัด บ. โดยถูกต้องตามกฎหมาย และให้จำเลยที่ ๒ ถึงที่ ๕ ทำหน้าที่เลือกเจ้าอาวาสในตำบลท่านั่ง - บางคลาน จากพระภิกษุที่มีคุณสมบัติตามข้อ ๖ และข้อ ๒๖ ของกฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ ๒๔ (พ.ศ. ๒๕๔๑) ว่าด้วยการแต่งตั้งและถอดถอนพระสังฆาธิการ แล้วให้จำเลยที่ ๓ รายงานเสนอจำเลยที่ ๔ เพื่อพิจารณา แต่งตั้ง และหากพระภิกษุผู้นั้นดำรงตำแหน่งเจ้าคณะจังหวัด ให้จำเลยที่ ๓ รายงานเสนอจำเลยที่ ๔ เพื่อให้จำเลยที่ ๕ พิจารณาแต่งตั้งต่อไป ซึ่งเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการดำเนินกิจการทางศาสนา มิใช่การใช้อำนาจหรือการดำเนินกิจการทางปกครองของเจ้าหน้าที่ของรัฐฝ่ายปกครอง จึงไม่อยู่ในอำนาจ พิจารณาพิพากษาของศาลปกครองตามมาตรา ๙ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและ คดีที่มิใช่การใช้อำนาจทางปกครอง อยู่ในเขตอำนาจของศาลยุติธรรม


128 วิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ประกอบมาตรา ๕ และมาตรา ๔ วรรคหนึ่ง (๙) แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ คดีนี้จึงเป็นคดีพิพาทที่อยู่ในอำนาจ พิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม ซึ่งเป็นศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีทั้งปวงที่ไม่อยู่ ในอำนาจของศาลอื่น คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๑๐๙/๒๕๖๔ คดีที่ นาย ส. โจทก์ ซึ่งเคยเป็นสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์ครูมุกดาหาร จำกัด ยื่นฟ้อง สหกรณ์ออมทรัพย์ครูมุกดาหาร จำกัด จำเลย ขอให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งเพิกถอนมติ คณะกรรมการดำเนินการของจำเลย ครั้งที่ ๑๗/๒๕๖๒ เมื่อวันที่ ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๒ ที่มีมติ ให้โจทก์ออกจากการเป็นสมาชิกของจำเลย และเพิกถอนมติคณะกรรมการดำเนินการของจำเลย ครั้งที่ ๒๒/๒๕๖๒ เมื่อวันที่ ๘ มกราคม ๒๕๖๓ วาระที่ ๔.๑ เรื่อง การพิจารณาคำร้องอุทธรณ์ อันมิชอบด้วยกฎหมายและข้อบังคับสหกรณ์ และขอให้จำเลยคืนสิทธิและหน้าที่แก่โจทก์ ตามที่เคยเป็นอยู่เดิม แต่โดยที่มาตรา ๙ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครอง และวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ บัญญัติว่า ศาลปกครองมีอำนาจพิจารณาพิพากษา หรือมีคำสั่งในเรื่องดังต่อไปนี้ (๑) คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ กระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่ว่าจะเป็นการออกกฎ คำสั่งหรือการกระทำอื่นใดเนื่องจาก กระทำโดยไม่มีอำนาจหรือนอกเหนืออำนาจหน้าที่หรือไม่ถูกต้องตามกฎหมาย หรือโดยไม่ถูกต้อง ตามรูปแบบขั้นตอน หรือวิธีการอันเป็นสาระสำคัญที่กำหนดไว้สำหรับการกระทำนั้น หรือโดยไม่สุจริต หรือมีลักษณะเป็นการเลือกปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม หรือมีลักษณะเป็นการสร้างขั้นตอนโดยไม่จำเป็น หรือสร้างภาระให้เกิดกับประชาชนเกินสมควร หรือเป็นการใช้ดุลพินิจโดยมิชอบ เมื่อคดีนี้ สหกรณ์ออมทรัพย์ครูมุกดาหาร จำกัด จำเลยจัดตั้งขึ้นโดยการจดทะเบียนตามมาตรา ๓๓ แห่งพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. ๒๕๔๒ และเป็นนิติบุคคลตามมาตรา ๓๗ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติเดียวกัน โดยจำเลยประกอบด้วยคณะบุคคลที่ร่วมกันดำเนินกิจการ เพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจและสังคมของสมาชิก ช่วยเหลือตนเองและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และการดำเนินกิจการของสหกรณ์ตามวัตถุประสงค์ในมาตรา ๔๖ แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว เป็นไปเพื่อประโยชน์ของสมาชิกสหกรณ์ที่รวมตัวกัน จำเลยจึงเป็นนิติบุคคลเอกชนมิใช่นิติบุคคล มหาชนและไม่เข้าประเภทหนึ่งประเภทใดของ “หน่วยงานทางปกครอง” ตามบทนิยามในมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ คณะกรรมการ ดำเนินการของจำเลยจึงไม่ใช่ “เจ้าหน้าที่ของรัฐ” ตามบทนิยามในมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติเดียวกัน ดังนั้นมติของคณะกรรมการดำเนินการของจำเลยที่โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนในคดีนี้ จึงมิใช่ การกระทำที่เกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่ของรัฐที่มีผลเป็นการสร้างนิติสัมพันธ์ขึ้น ระหว่างบุคคลในอันที่จะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน ระงับ หรือมีผลกระทบต่อสถานภาพของสิทธิ หรือหน้าที่ของบุคคล ไม่ว่าจะเป็นการถาวรหรือชั่วคราว จึงมิใช่ “คำสั่งทางปกครอง” ตามบทนิยาม คดีที่มิใช่การใช้อำนาจทางปกครอง อยู่ในเขตอำนาจของศาลยุติธรรม


คดีพิพาทเกี่ยวกับ เขตอำนาจของศาลปกครอง รวมย่อคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่น่าสนใจ พ.ศ. ๒๕๕๖ - ๒๕๖๕ 129 ในมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ ข้อพิพาทในคดีนี้ จึงไม่ใช่คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบ ด้วยกฎหมายที่จะอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๑) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ แต่เป็นข้อพิพาท ในทางแพ่งระหว่างเอกชนด้วยกันที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๓๔/๒๕๖๔ คดีนี้ นาย น. ยื่นฟ้อง คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ สำนักงาน คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ความว่า เมื่อปี ๒๕๕๔ ผู้ฟ้องคดีได้จองซื้อที่ดิน พร้อมสิ่งปลูกสร้างในโครงการจัดสรรที่ดินกับบริษัท อ. เนื่องจากพนักงานขายรับรองว่าโครงการดังกล่าว น้ำไม่ท่วม ผู้ฟ้องคดีจึงได้วางเงินจอง เป็นเงิน ๑๐๐,๐๐๐ บาท มีกำหนดเข้าอยู่ในเดือนพฤศจิกายน ๒๕๕๔ แต่เมื่อถึงเดือนพฤศจิกายน ๒๕๕๔ ได้เกิดเหตุการณ์น้ำท่วมโครงการ ทำให้ไม่สามารถเข้าอยู่อาศัยได้ ผู้ฟ้องคดีมีหนังสือบอกเลิกสัญญาจองและขอรับเงินจองที่วางไว้คืน แต่บริษัท อ. เพิกเฉย ผู้ฟ้องคดี จึงได้มีหนังสือร้องเรียนต่อผู้ถูกฟ้องคดี ที่ ๒ ขอให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ มีคำสั่งให้บริษัท อ. คืนเงินจำนวน ๑๐๐,๐๐๐ บาท ต่อมาผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ได้มีหนังสือแจ้งให้ผู้ฟ้องคดีและบริษัท อ. ไปชี้แจงข้อเท็จจริง และทำการไกล่เกลี่ย บริษัท อ. ปฏิเสธที่จะคืนเงินจองจำนวน ๑๐๐,๐๐๐ บาท แต่จะชำระเงินให้ ผู้ฟ้องคดีในลักษณะเป็นเงินช่วยเหลือจำนวน ๕๐,๐๐๐ บาท ผู้ฟ้องคดีปฏิเสธที่จะรับเงินช่วยเหลือ ดังกล่าว ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ จึงมีหนังสือแจ้งผลการพิจารณาของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ที่ให้ยุติเรื่องร้องเรียน ผู้ฟ้องคดีเห็นว่ามติของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ที่ให้ยุติเรื่องร้องเรียนไม่ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากผู้ฟ้องคดี มิได้ผิดสัญญา การที่ผู้ฟ้องคดีตกลงจองซื้อบ้านและที่ดินเพราะบริษัท อ. รับรองว่าน้ำจะไม่ท่วมโครงการ เมื่อน้ำท่วมโครงการจึงผิดจากคำรับรองของบริษัท อ. ผู้ขาย และเป็นการละเมิดสิทธิของผู้ฟ้องคดี ซึ่งเป็นผู้บริโภค จึงนำคดีมาฟ้องต่อศาลขอให้ศาลมีคำพิพากษาหรือมีคำสั่งเพิกถอนมติของ คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ เห็นว่า แม้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ เป็นคณะกรรมการซึ่งจัดตั้งขึ้น ตามมาตรา ๙ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. ๒๕๒๒ มีอำนาจและหน้าที่ตามมาตรา ๑๐ แห่งพระราชบัญญัติเดียวกัน จึงเป็นคณะกรรมการซึ่งมีกฎหมายให้อำนาจในการออกกฎ คำสั่ง หรือมติใด ๆ ที่มีผลกระทบต่อบุคคล ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ จึงเป็น “เจ้าหน้าที่ของรัฐ” ตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ส่วนผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ เป็นหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นตามมาตรา ๑๙ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. ๒๕๒๒ สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี มีอำนาจและหน้าที่ตามมาตรา ๒๐ แห่งพระราชบัญญัติเดียวกัน ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ จึงเป็น “หน่วยงานทางปกครอง” ตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครอง และวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ แต่มติของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ อาจมีผลเป็นการออกคำสั่ง ทางปกครองหรือการออกคำสั่งทั่วไปก็ได้ เมื่อพิจารณามติของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ที่ให้ยุติเรื่องร้องเรียน ของผู้ฟ้องคดี โดยวินิจฉัยว่า “เหตุการณ์น้ำท่วมเมื่อปี ๒๕๕๔ เป็นอุทกภัยที่มีความรุนแรง เป็นเหตุ คดีที่มิใช่การใช้อำนาจทางปกครอง อยู่ในเขตอำนาจของศาลยุติธรรม


130 ที่ไม่สามารถคาดการณ์ไว้ได้และไม่อาจที่จะป้องกันมิให้เกิดขึ้นได้ กรณีดังกล่าวจึงเป็นเหตุสุดวิสัย บริษัท อ. จึงไม่ได้เป็นฝ่ายผิดสัญญา เมื่อผู้ฟ้องคดีมิได้ปฏิบัติตามสัญญาจึงตกเป็นฝ่ายผิดสัญญา บริษัท อ. มีสิทธิริบเงินจองจำนวน ๑๐๐,๐๐๐ บาท ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๓๗๗ ประกอบกับบริษัท อ. ได้เสนอคืนเงินจำนวน ๕๐,๐๐๐ บาท จึงถือว่าผู้ประกอบธุรกิจ ได้เสนอแนวทางให้ความช่วยเหลือพอสมควรแก่กรณีแล้ว การกระทำของบริษัท อ. ในฐานะ ผู้ประกอบธุรกิจจึงไม่เป็นการละเมิดสิทธิของผู้ฟ้องคดีซึ่งเป็นผู้บริโภค” จะเห็นได้ว่าคำวินิจฉัย และมติให้ยุติเรื่องร้องทุกข์ดังกล่าว เป็นเพียงการปฏิบัติหน้าที่ในการพิจารณาเรื่องราวร้องทุกข์ ตามมาตรา ๑๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. ๒๕๒๒ มิใช่การใช้อำนาจ ตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่ที่มีผลเป็นการสร้างนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคลในอันที่จะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน หรือมีผลกระทบต่อสถานภาพของสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคล ไม่ว่าจะเป็น การถาวรหรือชั่วคราว สิทธิของผู้ฟ้องคดีที่มีต่อบริษัท อ. หากมีอยู่อย่างไรก็ยังคงมีอยู่เช่นนั้น มิได้ เปลี่ยนไปเพราะมติของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ หากผู้ฟ้องคดีเห็นว่าการกระทำของบริษัท อ. เป็นการละเมิด สิทธิของผู้ฟ้องคดีในฐานะผู้บริโภคหรือผิดสัญญาจะซื้อจะขาย ผู้ฟ้องคดีก็ยังคงมีสิทธิฟ้องคดีต่อ ศาลยุติธรรมเพื่อให้วินิจฉัยข้อโต้แย้งสิทธิของผู้ฟ้องคดีได้ ดังนั้น มติของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ที่ให้ยุติ เรื่องร้องทุกข์ของผู้ฟ้องคดีตามหนังสือของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ จึงมิใช่คำสั่งทางปกครอง ตามมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ การฟ้องขอให้เพิกถอนมติ ของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ จึงไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๑) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ คดีนี้จึงเป็น คดีที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรมที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีทั้งปวง เว้นแต่ คดีที่รัฐธรรมนูญหรือกฎหมายบัญญัติให้อยู่ในอำนาจของศาลอื่นตามมาตรา ๑๙๔ ของรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๑๐๑/๒๕๖๒ คดีที่โจทก์ทั้งสี่เป็นเอกชนยื่นฟ้องเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดระยอง จำเลยที่ ๑ ซึ่งเป็น เจ้าหน้าที่ของรัฐ และกรมที่ดิน จำเลยที่ ๒ ซึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครอง อ้างว่า จำเลยที่ ๑ รังวัด ออกโฉนดที่ดินให้แก่โจทก์ทั้งสี่โดยผิดพลาดคลาดเคลื่อนไป โดยหักแบ่งที่ดินของโจทก์ทั้งสี่ด้าน ทิศตะวันตกส่วนหนึ่งให้เป็นที่ดินสาธารณประโยชน์ และทำแนวเขตลำรางสาธารณประโยชน์ขึ้นใหม่ โจทก์ทั้งสี่สำคัญผิดว่าจำเลยที่ ๑ รังวัดสอบเขตที่ดินให้เต็มตามพื้นที่เดิมแล้ว จึงลงชื่อรับรองระวาง แนวเขต ซึ่งความจริงแล้วโจทก์ทั้งสี่ไม่เคยมีเจตนาที่จะแบ่งแยกที่ดินให้เป็นที่สาธารณประโยชน์ ทำให้เนื้อที่ดินของโจทก์ทั้งสี่ขาดหายไปบางส่วน การรังวัดแบ่งแยกของจำเลยที่ ๑ โดยนำที่ดิน ของโจทก์ทั้งสี่บางส่วนไปเป็นที่สาธารณประโยชน์เป็นนิติกรรมที่กระทำไปโดยสำคัญผิดในทรัพย์ ซึ่งเป็นวัตถุแห่งนิติกรรม จึงตกเป็นโมฆะ จำเลยทั้งสองให้การว่า ที่ดินส่วนที่พิพาทไม่ใช่ที่ดินของ โจทก์ทั้งสี่ แต่เป็นลำรางสาธารณประโยชน์มาก่อนที่จะออก น.ส. ๓ ก. แล้ว การรังวัดออกโฉนดที่ดิน คดีที่มิใช่การใช้อำนาจทางปกครอง อยู่ในเขตอำนาจของศาลยุติธรรม


คดีพิพาทเกี่ยวกับ เขตอำนาจของศาลปกครอง รวมย่อคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่น่าสนใจ พ.ศ. ๒๕๕๖ - ๒๕๖๕ 131 ชอบด้วยกฎหมายและมิได้ผิดพลาด เห็นว่า เหตุแห่งการฟ้องคดีสืบเนื่องมาจากโจทก์ทั้งสี่ประสงค์ ให้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทซึ่งจำเลยทั้งสองแบ่งหักที่ดินของโจทก์ทั้งสี่บางส่วนไปเป็นที่สาธารณประโยชน์ เพราะเหตุที่โจทก์ทั้งสี่ลงชื่อรับรองระวางแนวเขตที่ดินด้วยความสำคัญผิดในทรัพย์เพื่อให้กรรมสิทธิ์ ในที่ดินพิพาทกลับมาเป็นของโจทก์ทั้งสี่ และมีคำขอให้ออกโฉนดที่ดินในส่วนพิพาทให้กับโจทก์ทั้งสี่ ข้อพิพาทในคดีนี้จึงเป็นกรณีที่โจทก์ทั้งสี่มุ่งหมายให้ศาลมีคำพิพากษารับรองสิทธิในที่ดินของโจทก์ทั้งสี่ กรณีจึงมิใช่คดีพิพาทเกี่ยวกับการขอให้ตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายของคำสั่งทางปกครอง อันจะเข้ากรณีพิพาทตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๑) แต่เป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการเพิกถอนนิติกรรมทางแพ่งและการคุ้มครอง สิทธิในทรัพย์สินของเอกชนที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๒๗/๒๕๖๒ คดีที่โจทก์ทั้งสามเป็นเอกชนยื่นฟ้องกรมทางหลวง จำเลย ขอให้บังคับจำเลยเชื่อมต่อ ทางบนที่ดินโฉนดเลขที่ ๗๕๘ กับทางหลวงสายมีนบุรี - ฉะเชิงเทรา (ถนนสุวินทวงศ์) เพื่อโจทก์ทั้งสาม ใช้เป็นทางสัญจรเข้าออกทางหลวงดังกล่าว กับให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหาย เห็นว่า แม้จำเลยเป็นหน่วยงาน ทางปกครอง แต่เหตุแห่งการฟ้องคดีนี้เป็นกรณีที่โจทก์ทั้งสามอ้างว่า โจทก์ทั้งสามเป็นเจ้าของ กรรมสิทธิ์ที่ดินมีโฉนดซึ่งติดกับที่ดินโฉนดเลขที่ ๗๕๘ ปัจจุบันมีสภาพเป็นทางเชื่อมต่อกับทางหลวง สายมีนบุรี - ฉะเชิงเทรา (ถนนสุวินทวงศ์) แต่จำเลยไม่เปิดทางให้โจทก์ทั้งสามเชื่อมต่อทางกับทางหลวง ขอให้บังคับจำเลยเชื่อมต่อทางบนที่ดินโฉนดเลขที่ ๗๕๘ กับทางหลวงดังกล่าว จะเห็นได้ว่าเป็นกรณีที่ โจทก์ทั้งสามกล่าวอ้างว่ามีสิทธิใช้ทางซึ่งอยู่ในที่ดินโฉนดเลขที่ ๗๕๘ เพื่อออกสู่ถนนสุวินทวงศ์ คดีจึงมีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยก่อนว่า โจทก์ทั้งสามมีสิทธิใช้ที่ดินพิพาทและที่ดินโฉนดเลขที่ ๗๕๘ หรือไม่ ซึ่งหากโจทก์ไม่ได้สิทธิใด ๆ โจทก์ก็ไม่มีสิทธิที่จะขอเชื่อมต่อทางบนที่ดินโฉนดเลขที่ ๗๕๘ กับถนนสุวินทวงศ์ได้ อันเป็นข้อพิพาทเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ในทางแพ่งตามประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์ โดยลักษณะข้อพิพาทไม่มีประเด็นเกี่ยวข้องกับการใช้อำนาจตามกฎหมายของจำเลย แต่อย่างใด และการที่จำเลยไม่เปิดทางโดยการไม่อนุญาตให้โจทก์ทั้งสามเชื่อมต่อทางก็ไม่มีลักษณะ เป็นการใช้อำนาจตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่ที่จะถือว่าเป็นคำสั่งทางปกครอง ตามมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ คดีนี้จึงมิใช่คดีพิพาทตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ แต่เป็นคดีที่เจ้าของที่ดินอ้างการได้มาซึ่งสิทธิในการใช้ทาง เพื่อใช้สิทธิเรียกร้องขอให้จำเลยเปิดทาง ซึ่งเป็นข้อพิพาทที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม คดีที่มิใช่การใช้อำนาจทางปกครอง อยู่ในเขตอำนาจของศาลยุติธรรม


132 คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๑๔๖/๒๕๖๑ แม้พระราชกำหนดแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๑๖ เป็นกฎหมายว่าด้วยการแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง แต่เจตนารมณ์ ในการจัดตั้งกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงกำหนดให้ผู้ค้าต้องส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ก็โดยมุ่งหมาย ที่จะให้มีเงินสำหรับบริหารจัดการให้ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงซึ่งเป็นธุรกิจการค้าระหว่างเอกชนในท้องตลาด ไม่สูงหรือต่ำจนเกินไป เพื่อรองรับภาวะวิกฤติและภัยพิบัติที่ส่งผลต่อธุรกิจพลังงาน ทั้งอัตราเงิน ส่งเข้ากองทุนก็รวมอยู่ในราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่ผู้บริโภคต้องชำระแก่ผู้ค้าน้ำมัน ไม่มีกฎหมายกำหนด ให้โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครองฟ้องคดีต่อศาลเพื่อบังคับให้จำเลยส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมัน เชื้อเพลิง การมีหนังสือทวงถามให้จำเลยชำระหนี้เป็นวิธีปฏิบัติในการแจ้งข้อเรียกร้อง ไม่ใช่การที่ เจ้าหน้าที่ของรัฐหรือหน่วยงานทางปกครองใช้อำนาจตามกฎหมายออกคำสั่งทางปกครอง เมื่อฐาน อันเป็นที่มาของข้อพิพาทในคดีนี้ไม่ใช่กรณีที่เกิดจากการที่เจ้าหน้าที่ของรัฐหรือหน่วยงาน ทางปกครองใช้อำนาจตามกฎหมาย เป็นเพียงการใช้อำนาจทั่วไปในฐานะเจ้าหนี้ ย่อมไม่ใช่กรณี ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๙ และมาตรา ๑๑ จึงมิใช่คดีปกครองที่จะอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง แต่เป็น ข้อพิพาทที่อยู่ในอำนาจพิจารณาของศาลยุติธรรมซึ่งมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีทั้งปวง คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๙๕/๒๕๕๙ การที่ผู้ว่าราชการจังหวัด จำเลยที่ ๑ จัดให้มีการคัดเลือกกรรมการอิสลามประจำจังหวัด ตามมาตรา ๒๓ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐ เป็นการใช้อำนาจของอิหม่ามประจำมัสยิดในจังหวัดนั้นเป็นผู้คัดเลือกอันเป็นการดำเนินกิจการ ขององค์การทางศาสนาซึ่งไม่อยู่ภายใต้การตรวจสอบของศาลปกครอง ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๑) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ประกอบมาตรา ๔ วรรคหนึ่ง (๙) แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ ดังนั้น การดำเนินการ จัดให้มีการคัดเลือกกรรมการอิสลามประจำจังหวัดของจำเลยที่ ๑ จึงมิใช่การดำเนินการของเจ้าหน้าที่ เพื่อจัดให้มีคำสั่งทางปกครองหรือมิใช่การใช้อำนาจทางปกครอง เป็นแต่เพียงการอำนวย ความสะดวกให้อิหม่ามประจำมัสยิดในจังหวัดนั้นเป็นผู้ใช้อำนาจคัดเลือกบุคคลผู้สมควรดำรงตำแหน่ง ผลการคัดเลือกกรรมการอิสลามประจำจังหวัดจึงมิใช่ผลอันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมาย ของจำเลยที่ ๑ จึงมิใช่คำสั่งทางปกครอง ประกาศรายชื่อผู้ได้รับการคัดเลือกหรือคำสั่งแต่งตั้ง คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย จำเลยที่ ๒ จึงมิใช่คำสั่ง ทางปกครองที่จะอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๑) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีของศาลปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ คดีนี้จึงเป็น คดีพิพาทที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม ซึ่งเป็นศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษา คดีทั้งปวงที่ไม่อยู่ในอำนาจของศาลอื่น คดีที่มิใช่การใช้อำนาจทางปกครอง อยู่ในเขตอำนาจของศาลยุติธรรม


คดีพิพาทเกี่ยวกับ เขตอำนาจของศาลปกครอง รวมย่อคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่น่าสนใจ พ.ศ. ๒๕๕๖ - ๒๕๖๕ 133 คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๓/๒๕๕๗ คดีที่ผู้ถือหุ้นฟ้องว่าได้รับความเสียหายจากการที่ บมจ. อสมท ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ยื่นคำขอ จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงกรรมการต่ออธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๕ โดยอาศัย มติที่ประชุมที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๔ ได้มีหนังสือมอบฉันทะให้บุคคลเข้าประชุมโดยไม่มีอำนาจ การรับจดทะเบียน และออกหนังสือรับรองเปลี่ยนแปลงกรรมการไม่ชอบด้วยกฎหมาย การจ่ายเงินค่าเบี้ยประชุม และผลประโยชน์อื่น ๆ จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ขอให้พิพากษาหรือมีคำสั่งเพิกถอนคำขอจดทะเบียน และการรับจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงกรรมการ ให้เรียกคืนเงินค่าเบี้ยประชุม และประโยชน์อื่นใดที่จ่ายไป และเพิกถอนหนังสือมอบฉันทะ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ที่ ๔ และที่ ๕ ให้การว่า การจดทะเบียนและการรับ จดทะเบียนชอบด้วยกฎหมายแล้ว เห็นว่า แม้ผู้ฟ้องคดีจะฟ้องผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๕ ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ กรณีมีคำสั่งรับจดทะเบียนและออกหนังสือรับรองเปลี่ยนแปลงกรรมการตามคำขอของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ขอให้เพิกถอนการรับจดทะเบียนที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายดังกล่าว แต่เหตุแห่งการฟ้องคดีเกิดจากการที่ผู้ฟ้องคดีกล่าวอ้างว่า ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ยื่นคำขอจดทะเบียน และออกหนังสือรับรองเปลี่ยนแปลงกรรมการโดยอาศัยมติที่ประชุมที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ประเด็น ข้อพิพาทจึงเป็นกรณีพิพาทเกี่ยวกับการประชุมผู้ถือหุ้นและมติที่ประชุมดังกล่าวว่าชอบด้วยกฎหมาย หรือไม่ อันเป็นข้อพิพาทเกี่ยวกับการดำเนินการในฐานะบริษัทมหาชนจำกัดของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ซึ่งเป็นนิติบุคคลในทางแพ่ง แม้คดีนี้จะมีประเด็นที่ผู้ฟ้องคดีกล่าวอ้างว่า การมอบฉันทะให้บุคคล เข้าประชุมในฐานะผู้แทนกระทรวงการคลังของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๔ ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ก็ตาม แต่ก็เป็นเพียงข้อโต้แย้งสิทธิที่ผู้ฟ้องคดีกล่าวอ้างเพื่อสนับสนุนข้อพิพาทดังกล่าวเท่านั้น ทั้งตามคำฟ้อง ก็มิได้กล่าวอ้างถึงการกระทำของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๕ ว่าได้ปฏิบัติหน้าที่ในการรับจดทะเบียนโดยไม่ชอบ ด้วยกฎหมายอย่างไร ประกอบกับเมื่อพิจารณาความมุ่งหมายในการฟ้องคดีก็เป็นไปเพื่อให้ ศาลพิพากษาหรือมีคำสั่งเพิกถอนมติที่ประชุมซึ่งจะมีผลทำให้มีการเพิกถอนการรับจดทะเบียน เปลี่ยนแปลงกรรมการเป็นสำคัญ เมื่อการรับจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงกรรมการดังกล่าวเป็นเพียง ขั้นตอนตามกฎหมายในการรับรองสิทธิของนิติบุคคลในทางแพ่ง ข้อพิพาทในคดีนี้จึงมิใช่ข้อพิพาท เกี่ยวกับการที่เจ้าหน้าที่ของรัฐออกคำสั่งโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๑) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ จึงเป็นคดีอันอยู่ ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม คดีที่มิใช่การใช้อำนาจทางปกครอง อยู่ในเขตอำนาจของศาลยุติธรรม


134 รวมย่อคําวินิจฉัย คดีพิพาทเกี�ยวกับการละเลยต่อหน้าที� หรือปฏิบัติหน้าที�ล่าช้าเกินสมควร คดเีกยี�วกบัการละเลยตอ่หนา้ที� หรอืปฏบิตัหินา้ทลี�า่ชา้เกนิสมควร อยใู่นเขตอํานาจของศาลปกครอง คดเีกยี�วกบัการทหี�นว่ยงานทางปกครองหรอืเจา้หนา้ทขี�องรฐัละเลย ตอ่หนา้ทตี�ามทกี�ฎหมายกําหนดใหต้อ้งปฏบิติ ัหรอืปฏบิตัหินา้ทลี�า่ชา้เกนิสมควร ตามพระราชบญัญตัจิดัตงั�ศาลปกครองและวธิพี ิจารณาคดปีกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๙ วรรคหนงึ� (๒) อยใู่นเขตอํานาจของศาลปกครอง


คดีพิพาทเกี่ยวกับ เขตอำนาจของศาลปกครอง รวมย่อคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่น่าสนใจ พ.ศ. ๒๕๕๖ - ๒๕๖๕ 135 คดีเกี่ยวกับการละเลยต่อหน้าที่หรือปฏิบัติหน้าที่ล่าช้าเกินสมควร อยู่ในเขตอำนาจของศาลปกครอง คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๒๕/๒๕๖๕ คดีที่โจทก์เป็นเอกชน ยื่นฟ้ององค์การบริหารส่วนตำบลดงมูลเหล็ก จำเลย อ้างว่าได้รับ ความเดือดร้อนเสียหายจากการกระทำละเมิดของจำเลย ดังนี้ ข้อหาที่หนึ่ง การที่จำเลยไม่พิจารณา คำขอของโจทก์ที่ขออนุญาตนำสุกรมาเลี้ยงที่ฟาร์มโดยอ้างว่าได้ออกข้อบัญญัติท้องถิ่นเกี่ยวกับ เรื่องดังกล่าวซึ่งอยู่ระหว่างการลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย เห็นว่า เป็นกรณีที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยซึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครองละเลยต่อหน้าที่ในการพิจารณาคำขอ ออกใบอนุญาตประกอบกิจการเลี้ยงสุกรตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติ เป็นเหตุให้เกิด ความเสียหายแก่โจทก์ เหตุละเมิดตามฟ้องโจทก์ในส่วนนี้จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการทำละเมิด ของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่รัฐอันเกิดจากการละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนด ให้ต้องปฏิบัติ ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณา คดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง ส่วนข้อหาที่สอง การที่จำเลย สมคบกับชาวบ้านบริเวณรอบฟาร์มเลี้ยงสุกรของโจทก์จัดให้มีการประชุมชาวบ้านเพื่อลงมติว่าจะให้ โจทก์เลี้ยงสุกรที่ฟาร์มต่อไปหรือไม่ ทั้งมีหนังสือแจ้งบริษัทคู่ค้าของโจทก์ด้วยข้อความอันเป็นเท็จว่า ฟาร์มสุกรของโจทก์สร้างมลภาวะทางกลิ่นเหม็นน้ำเสียและแมลงวัน ทำให้บริษัทดังกล่าวไม่ส่ง ลูกสุกรมาให้โจทก์เลี้ยง ขอให้ชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ เห็นว่า เมื่อเหตุละเมิดที่โจทก์กล่าวอ้าง ตามฟ้องในส่วนนี้เป็นข้อพิพาทที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ตามภารกิจของจำเลยและมีมูลเหตุ จากการที่จำเลยไม่พิจารณาคำขอออกใบอนุญาตของโจทก์ซึ่งอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษา ของศาลปกครอง ข้อหาตามฟ้องในส่วนนี้ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวพันกับข้อหาแรก จึงสมควรที่จะได้รับ การวินิจฉัยในศาลเดียวกัน คดีนี้จึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๑๐/๒๕๖๕ การไฟฟ้านครหลวง จำเลย เป็นรัฐวิสาหกิจที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติการไฟฟ้านครหลวง พ.ศ. ๒๕๐๑ จึงเป็นหน่วยงานทางปกครอง ตามนัยบทนิยาม “หน่วยงานทางปกครอง” ในมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มีอำนาจกระทำการต่าง ๆ ภายในขอบแห่งวัตถุประสงค์ คือ ผลิต จัดให้ได้มาและจำหน่ายพลังงานไฟฟ้า ตลอดจนดำเนินธุรกิจ เกี่ยวกับพลังงานไฟฟ้าและธุรกิจอื่นที่เกี่ยวเนื่องหรือที่เป็นประโยชน์แก่การไฟฟ้านครหลวง รวมทั้ง มีอำนาจในการเดินสายส่งศักย์สูงย่อยหรือสายส่งศักย์ต่ำไปใต้ เหนือ ตาม หรือข้ามพื้นดินของบุคคลใด ๆ คดีพิพาทเกี่ยวกับการละเลยต่อหน้าที่หรือปฏิบัติหน้าที่ล่าช้าเกินสมควร คดีเกี่ยวกับการละเลยต่อหน้าที่หรือปฏิบัติหน้าที่ล่าช้าเกินสมควร อยู่ในเขตอำนาจของศาลปกครอง


136 หรือปัก หรือตั้งเสา สับสเตชั่นหรืออุปกรณ์ต่าง ๆ ลงในหรือบนพื้นดินของบุคคลใด ๆ ในเมื่อพื้นดินนั้น ไม่ใช่พื้นดินอันเป็นที่ตั้งโรงเรือน ตามมาตรา ๖ มาตรา ๑๓ และ มาตรา ๓๕ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการไฟฟ้านครหลวง พ.ศ. ๒๕๐๑ และระเบียบการไฟฟ้านครหลวง ว่าด้วย การปฏิบัติงานเพื่อประชาชนของการไฟฟ้านครหลวงที่กำหนดแล้วเสร็จภายในระยะเวลา ๙๐ วัน พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๑๕ กำหนดว่า การขอย้ายเสา สายและอุปกรณ์ การไฟฟ้านครหลวงจะแจ้ง ค่าใช้จ่ายให้ทราบภายใน ๒๔ วันทำการ นับตั้งแต่วันที่ยื่นคำขอ และจะดำเนินการย้ายเสา สาย และอุปกรณ์ให้แล้วเสร็จภายใน ๓๓ วันทำการ นับตั้งแต่วันที่ได้รับชำระค่าใช้จ่าย จำเลยจึงมีอำนาจ หน้าที่ตามกฎหมายในการปักเสาไฟฟ้าและติดตั้งสายยึดโยงเสาไฟฟ้า รวมทั้งย้ายเสา สายและอุปกรณ์ เมื่อโจทก์ฟ้องว่าได้ยื่นคำขอต่อการไฟฟ้านครหลวง เขตราษฎร์บูรณะ ให้ดำเนินการย้ายเสาไฟฟ้า บริเวณข้างบ้านโจทก์และชำระค่าใช้จ่ายให้แก่จำเลยครบถ้วนแล้ว แต่จำเลยเพิกเฉย แต่กลับ ปักเสาไฟฟ้าโดยไม่ได้ใช้งานและไม่ได้เดินสายไฟฟ้าไปยังเสาไฟฟ้าดังกล่าว ปัจจุบันล่วงเลยระยะเวลา กว่า ๙ ปีเศษ ขอให้จำเลยย้ายเสาไฟฟ้า คืนเงินที่เรียกเก็บเกินจริง และ ชำระค่าเสียหาย จึงเป็น คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติ หรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๒) และเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับ การกระทำละเมิดของหน่วยงานทางปกครองอันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมาย หรือจากการละเลย ต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ คดีนี้จึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๑๒๐/๒๕๖๓ คดีที่โจทก์กับพวกรวม ๔ คน เป็นเอกชน ยื่นฟ้องนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร ธ. จำเลยที่ ๑ กับจำเลยที่ ๒ ถึงที่ ๑๐ ซึ่งเป็นกรรมการนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร ธ. และกรุงเทพมหานคร จำเลยที่ ๑๑ ผู้อำนวยการเขตสะพานสูง จำเลยที่ ๑๒ และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ จำเลยที่ ๑๓ ขอให้บังคับจำเลยที่ ๑ ถึงที่ ๑๐ ระงับ หยุด ยกเลิกการเรียกเก็บเงินค่าใช้จ่ายส่วนกลาง ให้รื้อถอน ทำลาย ย้ายป้อมยาม และไม้กั้นทางเข้าออกและห้ามก่อสร้าง ตั้ง วางเครื่องกีดขวางหรืออาคารหรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ใด ๆ บนทางสาธารณะถนนซอยรามคำแหง ๑๕๐ และที่ดินอันเป็นสาธารณูปโภคที่ผู้จัดสรรได้อุทิศ ให้เป็นสาธารณประโยชน์ กับให้แสดงรายการงบดุล บัญชีรายรับรายจ่ายที่อ้างต่อนายทะเบียนตั้งแต่ ปี ๒๕๕๒ จนถึงปัจจุบัน และให้จำเลยที่ ๑๑ และที่ ๑๒ เข้ารื้อถอนป้อมยามและไม้กั้นทางเข้าออก จากถนนซอยรามคำแหง ๑๕๐ กับให้จำเลยที่ ๑๓ โดยพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลบางชัน หรือพนักงานสอบสวนที่เกี่ยวข้องดำเนินคดีจำเลยที่ ๑ ถึงที่ ๑๐ ตามกฎหมาย สำหรับคำฟ้องในส่วนที่โจทก์ทั้งสี่ฟ้องจำเลยที่ ๑ ถึงที่ ๑๐ นั้น เป็นคดีพิพาทระหว่าง เอกชนกับเอกชนด้วยกัน และจำเลยที่ ๑๑ ถึงที่ ๑๓ ไม่โต้แย้งเขตอำนาจศาลว่าคดีระหว่างโจทก์ทั้งสี่ กับจำเลยที่ ๑ ถึงที่ ๑๐ ไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม คดีในส่วนของจำเลยที่ ๑ คดีเกี่ยวกับการละเลยต่อหน้าที่หรือปฏิบัติหน้าที่ล่าช้าเกินสมควร อยู่ในเขตอำนาจของศาลปกครอง


คดีพิพาทเกี่ยวกับ เขตอำนาจของศาลปกครอง รวมย่อคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่น่าสนใจ พ.ศ. ๒๕๕๖ - ๒๕๖๕ 137 ถึงที่ ๑๐ จึงเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม ส่วนคดีระหว่างโจทก์ทั้งสี่ กับจำเลยที่ ๑๓ ศาลแพ่งมีนบุรีและศาลปกครองกลางมีความเห็นพ้องกันว่า เป็นคดีพิพาท ที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม จึงไม่มีปัญหาการขัดกันระหว่างอำนาจศาล ที่คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลต้องวินิจฉัยชี้ขาด ตามมาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ คงมีปัญหา ต้องวินิจฉัยเฉพาะคำฟ้องในส่วนของจำเลยที่ ๑๑ และที่ ๑๒ ว่า เป็นคดีพิพาทที่อยู่ในอำนาจพิจารณา พิพากษาของศาลยุติธรรมหรือศาลปกครอง เมื่อพิจารณาคำฟ้องในส่วนกรุงเทพมหานคร จำเลยที่ ๑๑ และผู้อำนวยการเขตสะพานสูง จำเลยที่ ๑๒ ซึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครองและเจ้าหน้าที่ของรัฐ ตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ แล้ว โจทก์ทั้งสี่กล่าวอ้างว่า จำเลยที่ ๑๑ และที่ ๑๒ ปล่อยปละละเลยให้จำเลยที่ ๑ ถึงที่ ๑๐ ใช้ถนนสาธารณะในซอยรามคำแหง ๑๕๐ แสวงหา ประโยชน์โดยมิชอบ จำเลยที่ ๑๑ โดยจำเลยที่ ๑๒ มีหน้าที่ดูแลรักษาที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติ ของแผ่นดิน ได้ออกคำสั่งให้จำเลยที่ ๑ ถึงที่ ๑๐ รื้อถอนไม้กั้นรถยนต์ที่ขวางทางเข้าออกซึ่งรุกล้ำ ถนนสาธารณประโยชน์ในซอยรามคำแหง ๑๕๐ และแจ้งความดำเนินคดีกับจำเลยที่ ๑ แต่เมื่อ จำเลยที่ ๑ เพิกเฉย จำเลยที่ ๑๒ กลับไม่ดำเนินการใด ๆ อันเป็นการไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัติ ลักษณะปกครองท้องที่ พระพุทธศักราช ๒๔๕๗ มาตรา ๑๑๗ มาตรา ๑๑๘ และมาตรา ๑๒๒ พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ มาตรา ๖๙ และประมวลกฎหมาย ที่ดิน มาตรา ๙ มาตรา ๑๐๘ และมาตรา ๑๐๘ ทวิ แก้ไขเพิ่มเติมโดยข้อ ๑๑ แห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๙๖ ลงวันที่ ๒๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๑๕ ขอให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้จำเลยที่ ๑๑ และที่ ๑๒ เข้าดำเนินการรื้อถอนป้อมยามและไม้กั้นรถยนต์ตามอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย จึงเป็น การฟ้องว่า จำเลยที่ ๑๑ และที่ ๑๒ ซึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครองและเจ้าหน้าที่ของรัฐละเลย ต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติ กรณีจึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงาน ทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติ หน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๒) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครอง และวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ คดีพิพาทระหว่างโจทก์ทั้งสี่กับจำเลยที่ ๑๑ และที่ ๑๒ จึงเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง * คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๓๓/๒๕๖๒ วินิจฉัยทำนองเดียวกันในเรื่องการละเลย ต่อหน้าที่ปล่อยให้เอกชนรุกล้ำทางสาธารณประโยชน์ * คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๑๗๔/๒๕๖๑ วินิจฉัยทำนองเดียวกันในเรื่องการละเลย ต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติในการดูแลรักษาที่สาธารณะหรือปฏิบัติหน้าที่ล่าช้า เกินสมควร คดีเกี่ยวกับการละเลยต่อหน้าที่หรือปฏิบัติหน้าที่ล่าช้าเกินสมควร อยู่ในเขตอำนาจของศาลปกครอง


138 * คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๑๙๓/๒๕๖๐ วินิจฉัยทำนองเดียวกันในเรื่องการละเลย ต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติในการแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนเพื่อทำการ สอบสวนและเพิกถอนโฉนดที่ดินที่ออกโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย หรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้า เกินสมควร * คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๑๖๗/๒๕๖๐ วินิจฉัยทำนองเดียวกันในเรื่องการละเลย ต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ล่าช้าเกินสมควรในการพิจารณา เพิกถอนหรือแก้ไขการออกโฉนดที่ดินที่คลาดเคลื่อนหรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๖๖/๒๕๖๒ คดีที่ผู้ฟ้องคดีเป็นเอกชน ยื่นฟ้องนายอำเภอเมืองชัยภูมิ ที่ ๑ นายกเทศมนตรีตำบลชีลอง ที่ ๒ เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดชัยภูมิ ที่ ๓ ผู้ถูกฟ้องคดี ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ว่า ผู้ฟ้องคดี เป็นผู้ครอบครองที่ดินตาม น.ส. ๓ เลขที่ ๒๒๗ ผู้ฟ้องคดีนำที่ดินแปลงดังกล่าวยื่นคำขอออกโฉนดที่ดิน ต่อผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ แต่ผู้แทนผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ คัดค้านการรังวัดพื้นที่บางส่วน โดยอ้างว่าผู้ฟ้องคดีนำรังวัดทับทางสาธารณประโยชน์ จนเวลาล่วงเลยมาเกือบ ๑ ปี ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสาม ก็ยังไม่ดำเนินการตรวจสอบว่าที่ดินของผู้ฟ้องคดีทับทางสาธารณประโยชน์หรือไม่ และจะดำเนินการ ออกโฉนดที่ดินให้กับผู้ฟ้องคดีได้หรือไม่ ผู้ฟ้องคดีเห็นว่านับแต่วันที่มีการคัดค้านการรังวัดออกโฉนด ที่ดินจนถึงปัจจุบันเป็นเวลา ๒ ปีกว่าแล้ว ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ยังคงเพิกเฉยในการพิจารณาตรวจสอบ ขอให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และที่ ๒ ตรวจสอบเอกสารข้อเท็จจริงต่าง ๆ เพื่อจัดทำคำสั่งอนุญาตให้ผู้ฟ้องคดีออกโฉนดที่ดินตามคำขอให้แล้วเสร็จภายใน ๓๐ วัน นับแต่ วันฟ้องคดี และให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ออกโฉนดที่ดินตามหลักฐาน น.ส. ๓ เลขที่ ๒๒๗ ให้แก่ผู้ฟ้องคดี ภายใน ๓๐ วัน นับแต่วันที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และที่ ๒ พิจารณาแล้วเสร็จ เห็นว่า พระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ บัญญัติว่า ศาลปกครองมีอำนาจ พิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่งในเรื่องดังต่อไปนี้ (๒) คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครอง หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติ หรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว ล่าช้าเกินสมควร เมื่อคดีนี้ ผู้ฟ้องคดีฟ้องว่า ผู้ฟ้องคดีได้ยื่นคำขอออกโฉนดที่ดินต่อผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ แต่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และที่ ๒ คัดค้านการรังวัดโดยอ้างว่าผู้ฟ้องคดีนำรังวัดออกโฉนดที่ดิน ทับที่สาธารณประโยชน์ จนนับถึงปัจจุบันนี้เป็นเวลากว่า ๒ ปี แล้ว ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ยังไม่อาจ ออกโฉนดที่ดินให้แก่ผู้ฟ้องคดี จึงขอให้ศาลมีคำพิพากษาให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และที่ ๒ ตรวจสอบ ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสถานะของที่ดินพิพาท และให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ พิจารณาออกโฉนดที่ดินให้แก่ ผู้ฟ้องคดี คดีนี้จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการที่เจ้าหน้าที่ของรัฐละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนด ให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควรตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๒) แห่งพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ซึ่งอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษา ของศาลปกครอง คดีเกี่ยวกับการละเลยต่อหน้าที่หรือปฏิบัติหน้าที่ล่าช้าเกินสมควร อยู่ในเขตอำนาจของศาลปกครอง


คดีพิพาทเกี่ยวกับ เขตอำนาจของศาลปกครอง รวมย่อคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่น่าสนใจ พ.ศ. ๒๕๕๖ - ๒๕๖๕ 139 คดทีมี�ใิชค่ดพี ิพาทเกยี�วกบัการละเลยต่อหนา้ที� หรอืปฏบิตัหินา้ทลี�า่ชา้เกนิสมควร อยใู่นเขตอํานาจของศาลยตุธิรรม คดทีมี�ใิชก่ารทหี�นว่ยงานทางปกครองหรอืเจา้หนา้ทขี�องรฐัละเลยต่อหนา้ที� ตามทกี�ฎหมายกําหนดใหต้อ้งปฏบิตั ิหรอืปฏบิตัหินา้ทลี�า่ชา้เกนิสมควร ตามพระราชบญัญตัจิดัตงั�ศาลปกครองและวธิพี ิจารณาคดปีกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๙ วรรคหนงึ� (๒) อยใู่นเขตอํานาจของศาลยติุธรรม


140 คดีที่มิใช่คดีพิพาทเกี่ยวกับการละเลยต่อหน้าที่หรือปฏิบัติหน้าที่ล่าช้าเกินสมควร อยู่ในเขตอำนาจของศาลยุติธรรม คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๔๕/๒๕๖๓ คดีที่ผู้ฟ้องคดีเป็นเอกชนยื่นฟ้องเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดขอนแก่น ผู้ถูกฟ้องคดีซึ่งเป็น เจ้าหน้าที่ของรัฐว่า ผู้ฟ้องคดีในฐานะผู้จัดการมรดกของนาย ฮ. ยื่นคำขอออกโฉนดที่ดินตาม ส.ค. ๑ เลขที่ ๕๖ และขอให้รังวัดแบ่งแยกโฉนดที่ดินเลขที่ ๖๑๙๔๕ จำนวน ๖ ไร่ ให้แก่วัด อ. แต่ผู้ถูกฟ้องคดี มีคำสั่งยกเลิกคำขอออกโฉนดที่ดินและคำสั่งไม่รังวัดแบ่งแยกที่ดินให้แก่ผู้ฟ้องคดี เป็นการละเลย ต่อหน้าที่ตามที่มีกฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติ กรณีดังกล่าวผู้ถูกฟ้องคดีได้มีคำวินิจฉัยสั่งการ ตามคำขอของผู้ฟ้องคดีแล้ว โดยเห็นว่าไม่อาจออกโฉนดที่ดินและรังวัดแบ่งแยกโฉนดที่ดินให้แก่ ผู้ฟ้องคดีได้ กรณีจึงไม่ใช่ข้อพิพาทเกี่ยวกับการละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติ หรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๒) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้ง ศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ที่จะอยู่ในอำนาจของศาลปกครอง อย่างไรก็ตาม ข้อเท็จจริงปรากฏตามคำให้การและเอกสารในสำนวนว่า ศาลยุติธรรมเคยมีคำพิพากษาถึงที่สุดว่า นิติกรรมการยกให้ที่ดินโฉนดเลขที่ ๖๑๙๔๕ ระหว่างนาย ฮ. และวัด อ. จำเลย มีผลสมบูรณ์ และนาง น. โจทก์ ไม่มีสิทธิครอบครองที่ดิน ๕ ไร่ ด้านทิศเหนือของโฉนดที่ดินเลขที่ ๖๑๙๔๕ การที่ผู้ฟ้องคดียื่นคำขอต่อผู้ถูกฟ้องคดีเพื่อขอให้ออกโฉนดที่ดินตาม ส.ค. ๑ เลขที่ ๕๖ ซึ่งอยู่บริเวณ เดียวกับที่ดินตามคำพิพากษาของศาลจังหวัดขอนแก่น เทศบาลนครขอนแก่นและวัด อ. ได้ยื่น คำคัดค้าน ผู้ถูกฟ้องคดีจึงได้สอบสวนเปรียบเทียบคู่กรณี แต่ไม่สามารถตกลงกันได้ จึงมีคำสั่ง แจ้งให้ผู้ฟ้องคดีดำเนินการในชั้นศาลจนกว่าศาลจะมีคำพิพากษาถึงที่สุด การดำเนินการของ ผู้ถูกฟ้องคดีจึงเป็นการใช้อำนาจตามมาตรา ๖๐ แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน สอบสวนเปรียบเทียบ และพิจารณาสั่งการไปตามที่เห็นสมควร ซึ่งแม้จะเป็นการใช้อำนาจตามกฎหมายที่มีผลกระทบ ต่อสิทธิของผู้ฟ้องคดี แต่เมื่อการวินิจฉัยสั่งการตามบทบัญญัตินี้เป็นกรณีการโต้แย้งสิทธิในที่ดิน ที่ขอออกโฉนดที่ดิน โดยวรรคสองของมาตราดังกล่าวบัญญัติให้ฝ่ายที่ไม่พอใจคำสั่งของเจ้าพนักงานที่ดิน ดำเนินการฟ้องต่อศาลภายในกำหนดหกสิบวันนับแต่วันทราบคำสั่ง เมื่อผู้ฟ้องคดีนำคดีมาฟ้อง ต่อศาลโดยมีคำขอให้ผู้ถูกฟ้องคดีออกโฉนดที่ดินให้แก่ผู้ฟ้องคดี ซึ่งไม่ว่าศาลจะวินิจฉัยว่าที่ดินพิพาท เป็นของผู้ฟ้องคดีหรือวัด อ. หรือเป็นที่ดินสาธารณประโยชน์ตามที่เทศบาลนครขอนแก่นคัดค้าน ย่อมกระทบต่อสิทธิในทางทรัพย์สินของบุคคลโดยต่างฝ่ายต่างต้องพิสูจน์การได้มาซึ่งสิทธิในที่ดิน เป็นสำคัญ เนื้อหาตามคำฟ้องของผู้ฟ้องคดี กรณีการขอออกโฉนดที่ดินตาม ส.ค. ๑ เลขที่ ๕๖ จึงมิใช่การขอให้ศาลตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายของการกระทำของฝ่ายปกครอง แต่เป็นกรณี ที่ขอให้ศาลมีคำพิพากษาคุ้มครองและรับรองสิทธิในที่ดินของผู้ฟ้องคดี จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับ สิทธิในที่ดินที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม คดีที่มิใช่คดีพิพาทเกี่ยวกับการละเลยต่อหน้าที่หรือปฏิบัติหน้าที่ล่าช้าเกินสมควร อยู่ในเขตอำนาจของศาลยุติธรรม


Click to View FlipBook Version