The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by iprd.pic, 2023-09-19 04:15:14

รวมย่อคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่น่าสนใจ พ.ศ. ๒๕๕๖ - ๒๕๖๕

29. winijchai66_A

คดีพิพาทเกี่ยวกับ เขตอำนาจของศาลปกครอง รวมย่อคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่น่าสนใจ พ.ศ. ๒๕๕๖ - ๒๕๖๕ 191 ตามอำนาจหน้าที่ของจำเลย ความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์และจำเลยตามสัญญาจ้างดังกล่าว จึงเป็นความสัมพันธ์ตามกฎหมายมหาชนเพื่อให้บริการสาธารณะบรรลุผล ไม่ใช่ความสัมพันธ์ระหว่าง นายจ้างกับลูกจ้างตามกฎหมายเอกชน สัญญาดังกล่าวจึงเป็นสัญญาทางปกครองตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ข้อพิพาทในคดีนี้ จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๔) แห่งพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ซึ่งอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษา ของศาลปกครอง คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๕๖/๒๕๖๕ คดีที่บริษัท อ. จำกัด ซึ่งเป็นเอกชนยื่นฟ้องการรถไฟแห่งประเทศไทย จำเลย ว่า จำเลยทำสัญญาว่าจ้างโจทก์ก่อสร้างทางรถไฟระหว่างสถานีหัวตะเข้เข้าย่านบรรทุกสินค้า ที่ลาดกระบัง (ICD) กรุงเทพมหานคร และโจทก์กับจำเลยตกลงทำบันทึกข้อตกลงเพิ่มเติมแนบท้าย สัญญาดังกล่าว โจทก์ส่งมอบงานงวดที่ ๗ ถึงงวดที่ ๑๐ และงานเพิ่มเติมให้จำเลยตรวจรับแล้ว แต่จำเลยไม่ชำระค่าจ้าง ขอให้บังคับจำเลยชำระเงินพร้อมดอกเบี้ย กรณีมีปัญหาต้องพิจารณาว่า สัญญาจ้างและบันทึกข้อตกลงเพิ่มเติมแนบท้ายสัญญาเป็นสัญญาทางปกครองหรือไม่ เห็นว่า คดีนี้ การรถไฟแห่งประเทศไทย จำเลย เป็นรัฐวิสาหกิจที่จัดตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติการรถไฟ แห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๔๙๔ มีวัตถุประสงค์ในการดำเนินการและนำมาซึ่งความเจริญของกิจการ รถไฟเพื่อประโยชน์แห่งรัฐและประชาชน และดำเนินธุรกิจอันเกี่ยวกับการขนส่งของรถไฟและธุรกิจอื่น ซึ่งเป็นประโยชน์แก่กิจการรถไฟ และมีอำนาจที่จะกระทำการต่าง ๆ ภายในขอบวัตถุประสงค์ ตามที่กฎหมายบัญญัติ รวมถึงสร้าง ซื้อ จ้าง รับจ้าง จัดหา จำหน่าย แลกเปลี่ยน เช่า ให้เช่า เช่าซื้อ ให้เช่าซื้อ ยืม ให้ยืม และดำเนินงานเกี่ยวกับเครื่องใช้ บริการและความสะดวกต่าง ๆ ของกิจการรถไฟ รับขนส่งคนโดยสาร สินค้า พัสดุภัณฑ์ และของอื่น ๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับกิจการรถไฟตามมาตรา ๖ และมาตรา ๙ แห่งพระราชบัญญัติการรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๔๙๔ จำเลยจึงเป็นหน่วยงาน ทางปกครองตามบทนิยาม “หน่วยงานทางปกครอง” ในมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้ง ศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ สัญญาจ้างและบันทึกข้อตกลงเพิ่มเติม แนบท้ายสัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงเป็นสัญญาที่มีคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครอง หรือเป็นบุคคลที่กระทำการแทนรัฐ และเมื่อพิจารณาสัญญาและบันทึกข้อตกลงเพิ่มเติมแนบท้าย สัญญาพิพาทดังกล่าว จำเลยตกลงว่าจ้างโจทก์ก่อสร้างทางรถไฟระหว่างสถานีหัวตะเข้เข้าย่านบรรทุก สินค้าที่ลาดกระบัง (ICD) กรุงเทพมหานคร รวมถึงปรับปรุงอาณัติสัญญาณ และอื่น ๆ ซึ่งเป็นการจัดให้ มีสิ่งสาธารณูปโภคเพื่อประโยชน์ในการจัดทำบริการสาธารณะของจำเลย สัญญาและบันทึกข้อตกลง เพิ่มเติมแนบท้ายสัญญาพิพาทจึงเป็นสัญญาจัดให้มีสิ่งสาธารณูปโภค ซึ่งเป็นสัญญาทางปกครอง ตามนัยบทนิยาม “สัญญาทางปกครอง” ในมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและ วิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ข้อพิพาทตามคำฟ้องในคดีนี้จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญา คดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง อยู่ในเขตอำนาจของศาลปกครอง


192 ทางปกครองตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๔) แห่งพระราชบัญญัติเดียวกัน ที่อยู่ในอำนาจพิจารณา พิพากษาของศาลปกครอง คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๒๘/๒๕๖๕ คดีที่ นาวาเอก ศ. โจทก์ ยื่นฟ้อง สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ (องค์การมหาชน) จำเลย ว่า โจทก์ได้รับการคัดเลือกให้เป็นผู้อำนวยการส่วนความร่วมมือระหว่างประเทศของจำเลย จำเลยทำสัญญาว่าจ้างทดลองงานกับโจทก์ โดยมีหนังสือถึงผู้บัญชาการทหารเรือขอให้โจทก์ลาออก จากราชการชั่วคราว โจทก์ผ่านการประเมินผลการทดลองงานตามระเบียบของจำเลย จำเลยจึงทำ สัญญาว่าจ้างโจทก์เป็นลูกจ้างในตำแหน่งดังกล่าว ต่อมาโจทก์ได้รับการพิจารณาต่ออายุสัญญาจ้าง มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไม่เกิน ๔ ปี โดยอาจต่ออายุสัญญาจ้างได้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการ ที่จำเลยกำหนด เมื่อใกล้ครบกำหนดการลาออกจากราชการชั่วคราว โจทก์ได้แจ้งความประสงค์ ต่อจำเลยว่าจะมาปฏิบัติงานกับจำเลยต่อเนื่อง จำเลยมีหนังสือแจ้งโจทก์ว่ายังไม่มีข้อบังคับ ระเบียบใด กำหนดหลักเกณฑ์ให้รับเจ้าหน้าที่รัฐซึ่งปฏิบัติงานเป็นการชั่วคราวกลับไปปฏิบัติงานกับจำเลยต่อเนื่อง หากโจทก์มีความประสงค์จะปฏิบัติงานกับจำเลย โจทก์สามารถดำเนินการได้โดยผ่านกระบวนการ สรรหาตามข้อบังคับ ระเบียบที่จำเลยกำหนด โจทก์ขอให้จำเลยทบทวนผลการพิจารณา แต่จำเลย ยืนยันผลการพิจารณาเช่นเดิม โจทก์อุทธรณ์ผลการพิจารณา ประธานกรรมการสถาบันเทคโนโลยี ป้องกันประเทศมีหนังสือตอบโจทก์ว่า เมื่อโจทก์กลับไปบรรจุเข้ารับราชการมีผลให้สัญญาจ้างสิ้นสุดลง การกระทำของจำเลยเป็นการผิดสัญญาและเป็นการละเมิดต่อโจทก์ ขอให้ศาลมีคำพิพากษาหรือ คำสั่งให้จำเลยจ่ายค่าจ้างรายเดือนค้างจ่าย ค่ารักษาพยาบาล ค่าช่วยเหลือบุตรและค่าชดเชย เป็นเงินพร้อมดอกเบี้ย และค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมพร้อมดอกเบี้ย กรณีมีปัญหาต้องพิจารณาว่า สัญญาว่าจ้างโจทก์เป็นลูกจ้างในตำแหน่งผู้อำนวยการ ส่วนความร่วมมือระหว่างประเทศ เป็นสัญญาทางปกครองหรือไม่ เห็นว่า สถาบันเทคโนโลยีป้องกัน ประเทศ (องค์การมหาชน) เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นตามมาตรา ๒๑ แห่งพระราชบัญญัติ เทคโนโลยีป้องกันประเทศ พ.ศ. ๒๕๖๒ มีวัตถุประสงค์ในการดำเนินกิจการด้านศึกษา ค้นคว้า วิจัย และพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีป้องกันประเทศ และดำเนินการอื่นที่เกี่ยวข้องหรือต่อเนื่อง เพื่อนำไปสู่อุตสาหกรรมป้องกันประเทศ เป็นศูนย์ข้อมูลความรู้ด้านเทคโนโลยีป้องกันประเทศ และอุตสาหกรรมป้องกันประเทศให้แก่กระทรวงกลาโหมและหน่วยงานของรัฐเพื่อใช้ในการกำหนด นโยบายและแผนการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีป้องกันประเทศ อันเป็นหน้าที่สำคัญ และเกี่ยวเนื่องกับภารกิจด้านความมั่นคงของประเทศ อันเป็นการจัดทำบริการสาธารณะ ตามความ ในมาตรา ๒๒ แห่งพระราชบัญญัติเดียวกัน จำเลยจึงเป็นหน่วยงานทางปกครอง ตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ การที่จำเลย ทำสัญญาจ้างโจทก์โดยมีวัตถุประสงค์ให้โจทก์ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งผู้อำนวยการ ส่วนความร่วมมือระหว่างประเทศมีหน้าที่และอำนาจ ตามมาตรา ๓๗ และมาตรา ๓๘ คดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง อยู่ในเขตอำนาจของศาลปกครอง


คดีพิพาทเกี่ยวกับ เขตอำนาจของศาลปกครอง รวมย่อคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่น่าสนใจ พ.ศ. ๒๕๕๖ - ๒๕๖๕ 193 แห่งพระราชบัญญัติเทคโนโลยีป้องกันประเทศ พ.ศ. ๒๕๖๒ และมาตรา ๒๑ วรรคสาม บัญญัติว่า กิจการของสถาบันไม่อยู่ภายใต้บังคับแห่งกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน กฎหมายว่าด้วย แรงงานสัมพันธ์ กฎหมายว่าด้วยแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ กฎหมายว่าด้วยการประกันสังคม และกฎหมายว่าด้วยเงินทดแทน ดังนั้นสัญญาจ้างโจทก์ในตำแหน่งผู้อำนวยการส่วนความร่วมมือ ระหว่างประเทศระหว่างจำเลยกับโจทก์จึงเป็นสัญญาที่มีคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครอง และเป็นสัญญาเพื่อจัดหาบุคคลมาปฏิบัติงานเพื่อให้การดำเนินงานของสถาบันเทคโนโลยี ป้องกันประเทศบรรลุผล มีลักษณะเป็นสัญญาที่จำเลยตกลงให้โจทก์เข้าร่วมจัดทำบริการสาธารณะ โดยตรง โจทก์และจำเลยมีสถานะและความสัมพันธ์กันตามกฎหมายมหาชน ไม่ใช่ความสัมพันธ์ ระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างตามกฎหมายเอกชน สัญญาพิพาทจึงเป็นสัญญาทางปกครอง ดังนั้น ข้อพิพาทตามสัญญาเกี่ยวกับค่าจ้างรายเดือนค้างจ่าย ค่ารักษาพยาบาลและค่าช่วยเหลือบุตร ค่าชดเชย ค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม จึงเป็นข้อพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๔) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ คดีอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๙๓/๒๕๖๔ สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) โจทก์ เป็นองค์การมหาชนตามพระราชบัญญัติ องค์การมหาชน พ.ศ. ๒๕๔๒ ซึ่งจัดตั้งขึ้นตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) พ.ศ. ๒๕๔๓ โจทก์จึงเป็นหน่วยงานอื่นของรัฐ ซึ่งเป็น “หน่วยงานทางปกครอง” ตามบทนิยามของมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ การที่โจทก์ทำบันทึกความร่วมมือด้านการพัฒนาชุมชน กับ สหกรณ์เคหสถานเครือข่าย คลองบางเขน จำกัด จำเลยที่ ๓ โดยจำเลยที่ ๑ และจำเลยที่ ๒ บันทึกความร่วมมือดังกล่าว จึงเป็นสัญญาที่มีคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครอง โดยเมื่อพิจารณาบันทึกความร่วมมือ ด้านการพัฒนาชุมชน เลขที่ ศปก.ทชค.๖๘/๐๒๐ เป็นการทำบันทึกข้อตกลงที่โจทก์ในฐานะผู้รับผิดชอบ ดำเนินโครงการ ได้ให้การสนับสนุนงบประมาณตามแนวทางโครงการบ้านมั่นคงแก่จำเลยทั้งสาม เป็นงบช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบการแก้ไขปัญหาชุมชนริมคลอง และเป็นไปเพื่อการแก้ไขปัญหา ชุมชนแออัดตามโครงการ “บ้านมั่นคง” อันเป็นการดำเนินการตามนโยบายและภารกิจของรัฐ เพื่อสร้างความมั่นคงในการอยู่อาศัย พัฒนาเศรษฐกิจ สังคม รวมถึงพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้มีรายได้น้อย ในชุมชนแออัด โดยรัฐมอบหมายให้โจทก์สนับสนุนการพัฒนาศักยภาพด้านการบริหารจัดการ โครงการให้กับองค์กรชุมชนให้สามารถดำเนินการและบริหารโครงการและงบประมาณที่มีประสิทธิภาพ โปร่งใส สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของโครงการบ้านมั่นคง และสนับสนุนการเชื่อมโยงงานพัฒนา ที่อยู่อาศัยชุมชนกับการพัฒนาด้านอื่น ๆ ดังนั้น บันทึกความร่วมมือด้านการพัฒนาชุมชนระหว่าง โจทก์กับจำเลยทั้งสามที่พิพาท จึงมีวัตถุประสงค์เป็นการให้จำเลยทั้งสามเข้ามาจัดทำบริการสาธารณะ คดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง อยู่ในเขตอำนาจของศาลปกครอง


194 ที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของโจทก์ร่วมกับโจทก์ สัญญาดังกล่าวจึงมีลักษณะเป็นสัญญาที่ให้จัดทำ บริการสาธารณะ ซึ่งเป็นสัญญาทางปกครองตามนัยบทนิยาม “สัญญาทางปกครอง” ในมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ข้อพิพาทระหว่าง สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) ผู้ฟ้องคดี กับ สหกรณ์เคหสถานเครือข่ายคลองบางเขน จำกัด จำเลยที่ ๓ โดยจำเลยที่ ๑ และจำเลยที่ ๒ เกี่ยวกับบันทึกความร่วมมือด้านการพัฒนาชุมชน จึงเป็นข้อพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครองตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๔) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้ง ศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๖๕/๒๕๖๔ คดีที่ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช โจทก์ ยื่นฟ้องจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นเอกชน กรณีโจทก์ออกใบอนุญาตให้จำเลยที่ ๑ นำช้างออกนอกราชอาณาจักร เพื่อแสดงนิทัศนกรรมหรือ ส่งเสริมเผยแพร่ประเทศไทย ณ สวนสัตว์เมืองโคโลญจน์ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี โดยจำเลยที่ ๑ นำหนังสือค้ำประกันของจำเลยที่ ๒ ซึ่งยอมผูกพันตนเป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่ ๑ ต่อโจทก์ มาวางเป็นหลักประกันว่าจำเลยที่ ๑ จะนำช้างที่ส่งออกไปนอกราชอาณาจักรและลูกช้างที่เกิดจาก ช้างเพศเมียระหว่างที่อยู่นอกราชอาณาจักรกลับประเทศไทยภายในระยะเวลาที่กำหนดในใบอนุญาต หรือตามที่โจทก์กำหนดตามระเบียบกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ว่าด้วยการอนุญาต ให้ส่งช้างออกไปนอกราชอาณาจักร พ.ศ. ๒๕๔๗ แต่จำเลยที่ ๑ ผิดข้อตกลงตามใบอนุญาตให้ส่งช้าง ออกนอกราชอาณาจักร โดยไม่นำช้าง และลูกช้างที่เกิดจากช้างดังกล่าวกลับเข้ามาในราชอาณาจักร ภายใน ๑ ปี นับแต่วันที่ได้รับอนุญาต ขอให้จำเลยทั้งสองร่วมกันหรือแทนกันชำระเงินประกัน พร้อมดอกเบี้ย กรณีจึงมีปัญหาที่จะต้องพิจารณาว่า สัญญาที่จำเลยที่ ๑ ได้ให้ไว้กับโจทก์ว่าจะให้ เบี้ยปรับเมื่อตนไม่นำช้างที่ส่งออกไปนอกราชอาณาจักร และลูกช้างที่เกิดจากช้างเพศเมียระหว่าง ที่อยู่นอกราชอาณาจักรกลับประเทศไทยภายในระยะเวลาที่กำหนดในใบอนุญาตหรือตามที่โจทก์ กำหนดตามระเบียบกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ว่าด้วยการอนุญาตให้ส่งช้างออกไป นอกราชอาณาจักร พ.ศ. ๒๕๔๗ เป็นสัญญาทางปกครองหรือไม่ เห็นว่า โจทก์เป็นหน่วยงานทางปกครอง แม้สัญญาที่จำเลยที่ ๑ ได้ให้ไว้กับโจทก์ว่าจะให้เบี้ยปรับเมื่อตนไม่นำช้างที่ส่งออกไปนอกราชอาณาจักร และลูกช้างที่เกิดจากช้างเพศเมียระหว่างที่อยู่นอกราชอาณาจักรกลับประเทศไทยภายในระยะเวลา ที่กำหนดในใบอนุญาตหรือตามที่โจทก์กำหนดตามระเบียบกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ว่าด้วยการอนุญาตให้ส่งช้างออกไปนอกราชอาณาจักร พ.ศ. ๒๕๔๗ จะมิได้มีลักษณะเป็นสัญญา สัมปทาน สัญญาที่ให้จัดทำบริการสาธารณะ หรือจัดให้มีสิ่งสาธารณูปโภคหรือแสวงประโยชน์จาก ทรัพยากรธรรมชาติ แต่ก็ถือได้ว่า เป็นสัญญาที่เป็นเครื่องมือที่จะทำให้การอนุญาตและเงื่อนไข ในการอนุญาตให้จำเลยที่ ๑ นำช้างออกนอกราชอาณาจักรเพื่อแสดงนิทัศนกรรมหรือส่งเสริม เผยแพร่ประเทศไทย ณ สวนสัตว์เมืองโคโลญจน์ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ซึ่งเป็นการดำเนิน กิจการทางปกครองที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของโจทก์บรรลุผล สัญญาดังกล่าวจึงเป็นสัญญาทางปกครอง คดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง อยู่ในเขตอำนาจของศาลปกครอง


คดีพิพาทเกี่ยวกับ เขตอำนาจของศาลปกครอง รวมย่อคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่น่าสนใจ พ.ศ. ๒๕๕๖ - ๒๕๖๕ 195 ตามนัยบทนิยาม “สัญญาทางปกครอง” ตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครอง และวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ดังนั้น คดีพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ ๑ ตามสัญญา ดังกล่าวจึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง ส่วนคดีพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ ๒ ตามสัญญาที่จำเลยที่ ๒ ยอมผูกพันตนเป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่ ๑ ต่อโจทก์ ซึ่งเป็นสัญญาอุปกรณ์ ก็ย่อมเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครองด้วยเช่นกัน คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๑๐๐/๒๕๖๓ คดีที่เอกชนยื่นฟ้องกรรมการบริหารปฏิบัติหน้าที่แทนผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนา พิงคนคร ที่ ๑ สำนักงานพัฒนาพิงคนคร (องค์การมหาชน) ที่ ๒ คณะกรรมการป้องกันและปราบปราม การทุจริตแห่งชาติ ที่ ๓ ผู้ถูกฟ้องคดี ว่า ผู้ฟ้องคดีเป็นเจ้าหน้าที่ของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ได้รับ ความเดือดร้อนเสียหายจากการที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ออกคำสั่งลงโทษทางวินัยไล่ผู้ฟ้องคดีออกจาก การเป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่ของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ตามการชี้มูลความผิดของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ โดยไม่ชอบ ด้วยกฎหมาย เนื่องจากผู้ฟ้องคดีไม่ได้กระทำผิดอาญาและผิดวินัยร้ายแรง ขอให้ศาลมีคำสั่ง เพิกถอนคำสั่งลงโทษทางวินัย และให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ มีคำสั่งให้ผู้ฟ้องคดีกลับเข้าทำงาน พร้อมทั้งให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และที่ ๒ ชดใช้ค่าเสียหายจากการขาดรายได้ เห็นว่า ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ เป็นองค์การมหาชน ซึ่งเป็นหน่วยงานอื่นของรัฐ และมีฐานะเป็นหน่วยงานทางปกครอง ส่วนผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ เมื่อเหตุแห่งการฟ้องคดีนี้ เกิดจากการที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ มีคำสั่งลงโทษไล่ออก โดยเห็นว่า การกระทำของผู้ฟ้องคดีตามมติของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ตามสำนวน การไต่สวนข้อเท็จจริงว่า มีมูลความผิดอาญา และมีมูลความผิดทางวินัยร้ายแรง ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ จึงออกคำสั่งโดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งองค์การมหาชนของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐ ประกอบพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการป้องกันและ ปราบปรามการทุจริต พ.ศ. ๒๕๖๑ มาตรา ๙๘ วรรคแรก ที่เป็นกฎหมายพิเศษเกี่ยวกับมาตรการ ในการปราบปรามการทุจริตต่อตำแหน่งหน้าที่ หรือกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ ของเจ้าหน้าที่ของรัฐในทางวินัย คำสั่งลงโทษไล่ออกดังกล่าว จึงมีผลเป็นการสร้างนิติสัมพันธ์ขึ้น ระหว่างผู้ฟ้องคดีกับผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และที่ ๒ ทำให้ผู้ฟ้องคดีต้องสิ้นสุดสถานภาพการเป็นเจ้าหน้าที่ ของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ อันเป็นการระงับหรือมีผลกระทบต่อสถานภาพของสิทธิหรือหน้าที่ตามกฎหมาย ของผู้ฟ้องคดีโดยตรง จึงเป็นคำสั่งทางปกครอง เมื่อผู้ฟ้องคดีนำคดีมาฟ้องโดยมีคำขอให้ศาล พิพากษาเพิกถอนคำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ในฐานะหน่วยงานของรัฐ ต้นสังกัดของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนอันเกิดจากการกระทำของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ กรณีจึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการที่เจ้าหน้าที่ของรัฐออกคำสั่งทางปกครองโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย และคดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐอันเกิดจาก คำสั่งทางปกครอง ซึ่งอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๑) และ (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ คดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง อยู่ในเขตอำนาจของศาลปกครอง


196 ส่วนที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และที่ ๒ โต้แย้งเขตอำนาจศาลปกครองว่า ข้อพิพาทในคดีนี้ เป็นประเด็นเกี่ยวกับการลงโทษทางวินัยอันเป็นผลมาจากสัญญาจ้างแรงงานหรือตามข้อตกลง เกี่ยวกับสภาพการจ้างที่อยู่ในอำนาจการพิจารณาพิพากษาของศาลแรงงาน ตามมาตรา ๘ วรรคหนึ่ง (๑) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. ๒๕๒๒ นั้น เห็นว่า เมื่อได้วินิจฉัยแล้วว่าสถานะของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ เป็นองค์การมหาชน ซึ่งเป็นหน่วยงานอื่นของรัฐ และมีฐานะเป็นหน่วยงานทางปกครอง การลงโทษทางวินัยผู้ฟ้องคดีซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ย่อมเป็นการใช้อำนาจทางปกครอง คดีนี้จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการตรวจสอบการใช้อำนาจ ทางปกครอง ไม่ใช่คดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญา นอกจากนี้มาตรา ๗ แห่งพระราชกฤษฎีกาจัดตั้ง ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ กำหนดวัตถุประสงค์และอำนาจหน้าที่ และให้การดำเนินงานของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของนายกรัฐมนตรี ซึ่งลักษณะดังกล่าวไม่อาจพบได้ในการดำเนินงานของ นิติบุคคลเอกชน ดังนั้น การที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ จ้างผู้ฟ้องคดีเข้าทำงานในหน่วยงานของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ จึงไม่ใช่ความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างตามกฎหมายเอกชน แต่มีลักษณะเป็นข้อตกลงที่ให้ ผู้ฟ้องคดีเข้าร่วมจัดทำบริการสาธารณะกับผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ อันเป็นนิติสัมพันธ์ตามกฎหมายมหาชน เข้าลักษณะเป็นสัญญาทางปกครอง ข้อพิพาทตามคำฟ้องของผู้ฟ้องคดีจึงมิใช่คดีพิพาทเกี่ยวด้วย สิทธิหรือหน้าที่ตามสัญญาจ้างแรงงาน หรือตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ตามพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๘ วรรคหนึ่ง (๑) อันจะอยู่ในอำนาจ พิจารณาพิพากษาของศาลแรงงาน คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๙๕/๒๕๖๓ คดีที่บริษัทเอกชนเป็นโจทก์ยื่นฟ้องกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา จำเลยที่ ๑ และจำเลยที่ ๒ ในฐานะตัวแทนหรือผู้แทนของจำเลยที่ ๑ ในคดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาว่าจ้างโจทก์ ให้รับเหมาจัดงานกิจกรรมประเพณีบุญบั้งไฟ ซึ่งเดิมจำเลยที่ ๒ ว่าจ้างโจทก์ให้จัดงานประเพณี บุญบั้งไฟตามโครงการส่งเสริมสนับสนุนประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวและสืบสานประเพณีบุญบั้งไฟ อำเภอเมืองยโสธร จังหวัดยโสธร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๘ ณ สวนสาธารณะพญาแถน และเขตเทศบาลเมืองยโสธร ตามสัญญาจ้างเลขที่ ๐๒/๒๕๕๘ และต่อมาจำเลยที่ ๒ ได้ติดต่อ ด้วยวาจาให้โจทก์จัดงานประเพณีบุญบั้งไฟในอำเภอต่าง ๆ ในจังหวัดยโสธร จำนวน ๘ อำเภอ ซึ่งต่อมาโจทก์ได้จัดงานทั้งหมดตามโครงการฯ และส่งมอบงานแล้ว แต่กลับได้รับเงินค่าจ้างเฉพาะ การจัดงานที่จัดขึ้น ณ สวนสาธารณะพญาแถน อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร โดยไม่ได้รับเงินค่าจ้าง ในส่วนงานที่จัดขึ้นใน ๘ อำเภอ ขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงินค่าจัดงานประเพณี บุญบั้งไฟที่จัดขึ้นใน ๘ อำเภอ พร้อมดอกเบี้ย คดีนี้จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญา แต่โดยที่ พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๔) บัญญัติให้ศาลปกครองมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง เท่านั้น กรณีจึงมีปัญหาต้องพิจารณาว่าสัญญาจ้างเหมาจัดงานดังกล่าวเป็นสัญญาทางปกครองหรือไม่ คดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง อยู่ในเขตอำนาจของศาลปกครอง


คดีพิพาทเกี่ยวกับ เขตอำนาจของศาลปกครอง รวมย่อคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่น่าสนใจ พ.ศ. ๒๕๕๖ - ๒๕๖๕ 197 เห็นว่า กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา จำเลยที่ ๑ เป็นราชการส่วนกลาง มีฐานะเป็นกระทรวง ตามมาตรา ๗ (๒) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔ ประกอบ มาตรา ๕ (๕) แห่งพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. ๒๕๔๕ จำเลยที่ ๑ จึงเป็น หน่วยงานทางปกครอง ตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณา คดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ส่วนจำเลยที่ ๒ เป็นข้าราชการในสังกัดของจำเลยที่ ๑ จึงเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติเดียวกัน และโดยที่มาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติปรับปรุง กระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. ๒๕๔๕ กำหนดให้จำเลยที่ ๑ มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการส่งเสริมสนับสนุน และพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว การกีฬา การศึกษาด้านกีฬา นันทนาการ และราชการอื่น ตามที่กฎหมายกำหนด เมื่อพิจารณาขอบเขตของงานหรือกิจกรรมที่โจทก์อ้างว่าจำเลยที่ ๒ ในฐานะ ตัวแทนหรือผู้แทนของจำเลยที่ ๑ ได้ติดต่อด้วยวาจาให้โจทก์จัดงานประเพณีบุญบั้งไฟอีก ๑ โครงการ ระหว่างวันที่ ๑-๓๐ พฤษภาคม ๒๕๕๘ โดยมีสถานที่จัดงานตามอำเภอต่าง ๆ ในจังหวัดยโสธร จำนวน ๘ อำเภอ ซึ่งมีเนื้อหาและขอบเขตของงานลักษณะเดียวกับสัญญาจ้างเลขที่ ๐๒/๒๕๕๘ ที่ตกลงกันให้โจทก์รับจ้างเหมาตามโครงการส่งเสริมสนับสนุนประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวและ สืบสานประเพณีบุญบั้งไฟอำเภอเมืองยโสธรจังหวัดยโสธร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๘ ณ สวนสาธารณะพญาแถน และเขตเทศบาลเมืองยโสธร นั้น จะเห็นได้ว่า มีเนื้อหาเป็นการประชาสัมพันธ์ การท่องเที่ยวและเผยแพร่ประเพณีบุญบั้งไฟของจังหวัดยโสธรซึ่งเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของภาคอีสาน อันเป็นการส่งเสริมสนับสนุนและพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของจังหวัดยโสธรซึ่งอยู่ในอำนาจ หน้าที่ของจำเลยที่ ๑ ตามมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. ๒๕๔๕ การที่โจทก์อ้างว่าจำเลยที่ ๒ ในฐานะตัวแทนจำเลยที่ ๑ ว่าจ้างให้โจทก์ดำเนินการดังกล่าว จึงเป็น การมอบหมายให้โจทก์เข้าร่วมดำเนินกิจการบริการสาธารณะในหน้าที่ของจำเลยที่ ๑ สัญญาดังกล่าว จึงเป็นสัญญาที่ให้จัดทำบริการสาธารณะ ซึ่งเป็นสัญญาทางปกครองประเภทหนึ่ง ตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ข้อพิพาทเกี่ยวกับ สัญญาดังกล่าวจึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครองที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของ ศาลปกครอง ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๔) แห่งพระราชบัญญัติเดียวกัน คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๖๙/๒๕๖๓ คดีนี้สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) เดิม) ผู้ฟ้องคดี ยื่นฟ้องนาง น. ผู้ถูกฟ้องคดี อ้างว่า ผู้ฟ้องคดีได้ทำสัญญาว่าจ้าง ผู้ถูกฟ้องคดีในตำแหน่งผู้จัดการฝ่ายพัฒนาผู้ประกอบการ ต่อมาผู้ถูกฟ้องคดีได้สมัครขอเข้ารับ การศึกษาที่วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (วปอ.) โดยไม่ได้ทำหนังสืออนุมัติให้ถูกต้อง จึงทำให้ ไม่สามารถทำงานให้แก่ผู้ฟ้องคดีได้เต็มเวลา ผู้ฟ้องคดีจึงมีคำสั่งให้ผู้ถูกฟ้องคดีออกจากตำแหน่ง และมีคำสั่งเลิกจ้าง ขอให้ศาลพิพากษาหรือมีคำสั่งให้ผู้ถูกฟ้องคดีชำระค่าเสียหายพร้อมดอกเบี้ย เห็นว่า เมื่อผู้ฟ้องคดีเป็นองค์การมหาชนที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรม คดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง อยู่ในเขตอำนาจของศาลปกครอง


198 ซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) พ.ศ. ๒๕๔๖ และมาตรา ๖ แห่งพระราชบัญญัติองค์การมหาชน พ.ศ. ๒๕๔๒ จึงเป็นหน่วยงานทางปกครอง ตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครอง และวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ผู้ฟ้องคดีมีวัตถุประสงค์และอำนาจหน้าที่เป็นหน่วยงานหลัก ในการวางแผนและกำหนดนโยบายพัฒนาอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ของประเทศให้สอดคล้องกับ แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์โดยมุ่งเน้น การสนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ของประเทศ การพัฒนาบุคลากร การตลาด การลงทุน กระบวนการผลิต และการให้บริการที่ได้มาตรฐานสากล รวมถึงการสร้างแรงจูงใจในการลงทุน ทางด้านอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ โดยการเสนอแนะมาตรการทางด้านภาษีและสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ต่อคณะรัฐมนตรี สนับสนุนการค้นคว้าวิจัย การถ่ายทอดเทคโนโลยี และจัดให้มีกฎ ระเบียบ และมาตรการที่จำเป็นต่อการส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ ส่งเสริมให้เกิดการคุ้มครองด้านทรัพย์สิน ทางปัญญาสำหรับซอฟต์แวร์ เป็นหน่วยงานหลักในการประสานงานและแก้ปัญหาเกี่ยวกับการ ดำเนินการทางด้านอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ให้มีบริการแบบเบ็ดเสร็จ อันเป็นการจัดทำบริการสาธารณะ และการที่ผู้ฟ้องคดีทำสัญญาจ้างผู้ถูกฟ้องคดีเพื่อให้ปฏิบัติงานบริหารในตำแหน่งผู้จัดการฝ่ายพัฒนา ผู้ประกอบการของสำนักงานผู้ฟ้องคดี สัญญาดังกล่าวจึงเป็นสัญญาที่มีคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งเป็นหน่วยงาน ทางปกครองและเป็นสัญญาเพื่อจัดหาบุคคลมาปฏิบัติงานเพื่อให้การดำเนินงานของสำนักงานอันเป็น การจัดทำบริการสาธารณะของผู้ฟ้องคดีบรรลุผล มีลักษณะเป็นสัญญาที่ให้ผู้ถูกฟ้องคดีเข้าร่วมจัดทำ บริการสาธารณะซึ่งเป็นความสัมพันธ์ตามกฎหมายมหาชน ไม่ใช่ความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างกับ ลูกจ้างตามกฎหมายเอกชน สัญญาพิพาทจึงเป็นสัญญาทางปกครอง ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๔) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ คดีนี้จึงอยู่ในอำนาจ พิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๒๕/๒๕๖๓ คดีที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้การเป็นอนุญาโตตุลาการสิ้นสุด ลงนั้น ตามพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. ๒๕๔๕ มาตรา ๙ ประกอบมาตรา ๒๑ วรรคสอง กำหนดให้ศาลที่มีเขตอำนาจวินิจฉัยถึงการสิ้นสุดของการเป็นอนุญาโตตุลาการ คือศาลที่มีเขตอำนาจ พิจารณาพิพากษาข้อพิพาทซึ่งได้เสนอต่ออนุญาโตตุลาการนั้น เมื่อข้อพิพาทที่เสนอต่ออนุญาโตตุลาการ ในคดีนี้เป็นข้อพิพาทเกี่ยวกับสัญญาจ้างเหมาออกแบบและก่อสร้างอาคารเครื่องปฏิกรณ์ปรมาณูวิจัย พร้อมเครื่องปฏิกรณ์ระบบผลิตไอโซโทปพร้อมอุปกรณ์ ระบบจัดการกากกัมมันตรังสีพร้อมอุปกรณ์ ระหว่างสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ กับเอกชน ซึ่งมีคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครอง และมีลักษณะเป็นสัญญาจัดให้มีสิ่งสาธารณูปโภค สัญญาดังกล่าวจึงเป็นสัญญาทางปกครอง ตามบทนิยามในมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ศาลปกครองจึงเป็นศาลมีเขตอำนาจเหนือข้อพิพาทดังกล่าว ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๔) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ข้อพิพาทในคดีนี้ จึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง คดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง อยู่ในเขตอำนาจของศาลปกครอง


คดีพิพาทเกี่ยวกับ เขตอำนาจของศาลปกครอง รวมย่อคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่น่าสนใจ พ.ศ. ๒๕๕๖ - ๒๕๖๕ 199 คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๒๒/๒๕๖๓ คดีที่โจทก์เป็นเอกชนยื่นฟ้องโรงเรียน ว. จำเลยที่ ๑ ซึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครอง และจำเลยที่ ๒ ซึ่งเป็นเอกชนด้วยกันว่า จำเลยที่ ๑ ทำสัญญาจ้างจำเลยที่ ๒ ให้ก่อสร้างอาคารเรียน แบบ สปช.๑๐๕/๒๙ ๒ ชั้น ๔ ห้องเรียน ใต้ถุนโล่ง โดยจำเลยที่ ๒ ทำบันทึกข้อตกลงโอนสิทธิ โครงการก่อสร้างอาคารเรียนดังกล่าวให้โจทก์เป็นผู้ดำเนินการก่อสร้างแทน จำเลยที่ ๒ โดยโจทก์ ชำระเงินค่าโอนสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ ๒ จำเลยที่ ๒ โดยจำเลยที่ ๓ มีหนังสือแจ้งการโอนสิทธิ เรียกร้องให้จำเลยที่ ๑ ทราบ จำเลยที่ ๑ ทราบการโอนสิทธิและตกลงให้โจทก์เป็นผู้ดำเนินการก่อสร้าง แทนจำเลยที่ ๒ โจทก์วางเงินประกันไว้กับจำเลยที่ ๑ เมื่อโจทก์ก่อสร้างและส่งมอบงานให้จำเลยที่ ๑ ตามกำหนดจนการก่อสร้างแล้วเสร็จ จำเลยทั้งสี่เพิกเฉย ไม่ชำระเงินค่าจ้างให้แก่โจทก์ ขอให้บังคับ จำเลยทั้งสี่ร่วมกันชำระเงินค่าจ้างพร้อมดอกเบี้ย และคืนเงินประกันให้แก่โจทก์ เห็นว่า คดีนี้ แม้โจทก์ จะมิใช่คู่สัญญาโดยตรงตามสัญญาจ้างก่อสร้างอาคารเรียนระหว่างจำเลยที่ ๑ และที่ ๒ ซึ่งเป็นคู่สัญญา แต่โจทก์อ้างว่า จำเลยที่ ๒ ได้ทำบันทึกข้อตกลงโอนสิทธิโครงการก่อสร้างอาคารเรียนตามสัญญา ดังกล่าวให้โจทก์ โดยข้อตกลงกำหนดให้โจทก์เป็นผู้ก่อสร้างและรับผิดชอบในการก่อสร้างตั้งแต่ เริ่มต้นโครงการจนปิดโครงการ โดยจำเลยที่ ๒ มีหนังสือแจ้งการโอนสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ ๑ ทราบแล้ว ทั้งโจทก์ได้วางเงินประกันการปฏิบัติตามสัญญาจ้างก่อสร้างอาคารเรียนให้แก่จำเลยที่ ๑ และได้ก่อสร้างอาคารจนแล้วเสร็จ แต่จำเลยที่ ๑ ไม่ชำระเงินให้โจทก์ กรณีจึงเป็นข้อพิพาทกัน เกี่ยวด้วยสัญญาจ้างก่อสร้างอาคารเรียนแบบ สปช.๑๐๕/๒๙ ๒ ชั้น ๔ ห้องเรียน ใต้ถุนโล่ง ระหว่างโจทก์ จำเลยที่ ๑ และจำเลยที่ ๒ เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า จำเลยที่ ๑ ซึ่งเป็นผู้ว่าจ้าง ก่อสร้างอาคารเรียนพิพาทมีฐานะเป็นหน่วยงานทางปกครอง ส่วนจำเลยที่ ๒ และโจทก์ ผู้รับจ้าง ดำเนินการก่อสร้างเป็นเอกชน และสัญญาก่อสร้างอาคารเรียนเป็นสัญญาทางปกครอง ตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ คดีนี้จึงเป็น คดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๔) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้ง ศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของ ศาลปกครอง คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๘๗/๒๕๖๒ พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๔) บัญญัติให้ศาลปกครองมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง และมาตรา ๓ บัญญัติให้สัญญาทางปกครอง หมายความรวมถึง สัญญาที่คู่สัญญาอย่างน้อยฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง เป็นหน่วยงานทางปกครองหรือเป็นบุคคลซึ่งกระทำการแทนรัฐ และมีลักษณะเป็นสัญญาสัมปทาน สัญญาที่ให้จัดทำบริการสาธารณะ หรือจัดให้มีสิ่งสาธารณูปโภคหรือแสวงประโยชน์จากทรัพยากร ธรรมชาติ คดีนี้เป็นกรณีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาว่าจ้างก่อสร้างอาคารกองกำกับการต่อต้าน การก่อการร้าย (อรินทราช) ตามสัญญาเลขที่ ๑๗/๒๕๕๘ ซึ่งจำเลยเป็นส่วนราชการมีฐานะเป็น คดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง อยู่ในเขตอำนาจของศาลปกครอง


200 นิติบุคคลอยู่ในบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรีตามมาตรา ๖ แห่งพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๗ จำเลยจึงเป็นหน่วยงานทางปกครอง ตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้ง ศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ เมื่อสัญญาที่พิพาทมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดให้ ได้มาซึ่งอาคารที่ทำการของกองกำกับการต่อต้านการก่อการร้าย (อรินทราช) โดยอาคารดังกล่าว จำเลยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นเครื่องมือสำคัญในการดำเนินการบริการสาธารณะตามอำนาจหน้าที่ ของจำเลยในการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดอาญา และในการรักษาความสงบเรียบร้อย ความปลอดภัยของประชาชน และความมั่นคงของราชอาณาจักร สัญญาจ้างก่อสร้างดังกล่าว จึงมีลักษณะเป็นสัญญาทางปกครองตามมาตรา ๓ และมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๔) แห่งพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ คดีนี้จึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษา ของศาลปกครอง คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๘๓/๒๕๖๒ จำเลยเป็นรัฐวิสาหกิจ มีฐานะเป็นหน่วยงานทางปกครอง ตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ การที่จำเลยโดยประธานกรรมการ บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อมทำสัญญาจ้างโจทก์เพื่อทำงานบริหารในตำแหน่ง ผู้จัดการทั่วไปของจำเลย โดยข้อ ๑.๒ ของสัญญาจ้างผู้บริหารที่ระบุว่า “สัญญาจ้างเป็นผู้บริหารนี้ เป็นสัญญาที่ทำขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ ซึ่งเป็นการจ้างบริหารเพื่อมุ่งความสำเร็จของงานและการจ้างตามสัญญานี้ไม่อยู่ในบังคับแห่งกฎหมาย ว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน กฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์ กฎหมายว่าด้วยแรงงานวิสาหกิจสัมพันธ์ กฎหมายว่าด้วยการประกันสังคม และกฎหมายว่าด้วยเงินทดแทนและไม่เป็นผลให้ผู้รับจ้างมีฐานะ เป็นพนักงานของผู้ว่าจ้าง” และพระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงาน รัฐวิสาหกิจ พ.ศ. ๒๕๑๘ มาตรา ๘ ทวิ วรรคหนึ่ง บัญญัติให้ผู้บริหารรัฐวิสาหกิจไม่มีฐานะเป็น พนักงานของรัฐวิสาหกิจ โดยปรากฏเหตุผลในการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐาน สำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๓ ว่า “ให้ผู้บริหารของรัฐวิสาหกิจ ไม่มีฐานะเป็นพนักงาน และให้การจ้างบริหารโดยทำสัญญาจ้าง โดยกำหนดค่าจ้างเพื่อผลประโยชน์อื่น ตามผลงานในการบริหาร เพื่อให้รัฐวิสาหกิจมีผู้บริหารที่มีความรู้และความสามารถในเชิงธุรกิจ อย่างแท้จริง” ทั้งข้อ ๒.๑ ของสัญญายังกำหนดให้โจทก์มีหน้าที่บริหารกิจการตามภารกิจ เป้าประสงค์ และเป้าหมายที่คณะกรรมการของจำเลยกำหนด ตลอดจนปฏิบัติตามนโยบายมติคณะรัฐมนตรี ระเบียบ ข้อบังคับ คำสั่งที่คณะกรรมการของจำเลยกำหนด ดังนั้น สัญญาจ้างโจทก์เป็นผู้จัดการทั่วไป ซึ่งเป็นผู้บริหารสูงสุดของจำเลยซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจ จึงมีลักษณะเป็นการจ้างบริหารกิจการเพื่อจัดทำ บริการสาธารณะในอำนาจหน้าที่ของจำเลย มิใช่การจ้างแรงงานตามความหมายของสัญญาจ้างแรงงาน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๕๗๕ สัญญาจ้างผู้บริหาร ลงวันที่ ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๘ จึงเป็นสัญญาที่หน่วยงานทางปกครองให้เอกชนเข้าจัดทำบริการสาธารณะ ซึ่งเป็นสัญญาประเภทหนึ่ง คดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง อยู่ในเขตอำนาจของศาลปกครอง


คดีพิพาทเกี่ยวกับ เขตอำนาจของศาลปกครอง รวมย่อคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่น่าสนใจ พ.ศ. ๒๕๕๖ - ๒๕๖๕ 201 ของสัญญาทางปกครอง ตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณา คดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ส่วนที่จำเลยฟ้องแย้งขอให้โจทก์คืนเงินเดือนที่จ่ายเกินไปคืนแก่จำเลย ก็ล้วนเป็นข้อพิพาทเกี่ยวกับสัญญาจ้างผู้บริหารดังกล่าว คดีนี้จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับ สัญญาทางปกครอง ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๔) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครอง และวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๑๒๕/๒๕๖๑ คดีที่อดีตรองผู้อำนวยการสำนักงานความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน (องค์การมหาชน) ยื่นฟ้อง สำนักงานความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน (องค์การมหาชน) ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ผู้อำนวยการสำนักงานความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน ที่ ๒ คณะกรรมการบริหารสำนักงานความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน ที่ ๓ ผู้ถูกฟ้องคดี โดยอ้างว่าผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ และที่ ๓ ละเลยไม่ออกระเบียบ ข้อบังคับเกี่ยวกับการจ่ายค่าชดเชย ให้เป็นไปตามกฎหมายแรงงาน ขอให้บังคับผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสามจ่ายค่าชดเชยโดยไม่ต่ำกว่าที่กฎหมาย คุ้มครองแรงงานกำหนด เห็นว่า เมื่อผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ เป็นองค์การมหาชนที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชกฤษฎีกา จัดตั้งสำนักงานความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน (องค์การมหาชน) พ.ศ. ๒๕๔๘ และมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติองค์การมหาชน พ.ศ. ๒๕๔๒ จึงเป็นหน่วยงานทางปกครอง มีวัตถุประสงค์และอำนาจหน้าที่ในการให้การช่วยเหลือทางการเงินและทางวิชาการที่เกี่ยวโยง กับการช่วยเหลือทางการเงินในการร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจแก่รัฐบาลและองค์การต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อบูรณาการการร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน อันเป็นการจัดทำบริการสาธารณะ ดังนั้น การที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ทำสัญญาจ้างผู้ฟ้องคดี เพื่อให้ปฏิบัติงานบริหารในตำแหน่งรองผู้อำนวยการ สำนักงานของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ สัญญาดังกล่าวจึงเป็นสัญญาที่มีคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งเป็นหน่วยงาน ทางปกครองและเป็นสัญญาเพื่อจัดหาบุคคลมาปฏิบัติงานเพื่อให้การดำเนินงานของสำนักงาน อันเป็นการจัดทำบริการสาธารณะของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ บรรลุผล มีลักษณะเป็นสัญญาที่ให้ผู้ฟ้องคดี เข้าร่วมจัดทำบริการสาธารณะ ซึ่งเป็นความสัมพันธ์ตามกฎหมายมหาชน ไม่ใช่ความสัมพันธ์ระหว่าง นายจ้างกับลูกจ้างตามกฎหมายเอกชน สัญญาพิพาทจึงเป็นสัญญาทางปกครอง ข้อพิพาทเกี่ยวกับ การเลิกจ้างหรือสิ้นสุดระยะเวลาจ้าง ค่าตอบแทนและสิทธิประโยชน์ตามสัญญาพิพาทจึงเป็นข้อพิพาท เกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๔) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ คดีนี้จึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง * คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๖๐/๒๕๖๑ วินิจฉัยทำนองเดียวกัน คดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง อยู่ในเขตอำนาจของศาลปกครอง


202 คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๑๑๑/๒๕๖๑ คดีนี้ ผู้ฟ้องคดีเป็นรัฐวิสาหกิจที่จัดตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติการไฟฟ้าฝ่ายผลิต แห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๑๑ จึงมีฐานะเป็นหน่วยงานทางปกครองตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ การที่ผู้ฟ้องคดีฟ้องให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ซึ่งเป็นพนักงานตำแหน่งสถาปนิกระดับ ๘ แผนกออกแบบอาคาร กองสถาปัตยกรรม ฝ่ายออกแบบ และบริหารงานก่อสร้าง รับผิดตามสัญญาการลาศึกษาหรือไปศึกษานอกเวลา เพื่อศึกษาในระดับคุณวุฒิ ปริญญาเอก สาขาก่อสร้าง ที่มหาวิทยาลัยแฮเรียต-วัตต์ หลักสูตร ๔๘ เดือน ณ ประเทศสก๊อตแลนด์ และให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ รับผิดตามสัญญาค้ำประกัน จึงต้องพิจารณาว่าสัญญาการลาศึกษาหรือ ไปศึกษานอกเวลาพิพาท เป็นสัญญาทางแพ่งหรือสัญญาทางปกครอง เห็นว่า พระราชบัญญัติจัดตั้ง ศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๙ วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า ศาลปกครอง มีอำนาจพิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่งในเรื่องดังต่อไปนี้ (๔) คดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง และมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติเดียวกันนิยาม “สัญญาทางปกครอง” หมายความรวมถึง สัญญา ที่คู่สัญญาอย่างน้อยฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครองหรือเป็นบุคคลซึ่งกระทำการแทนรัฐ และมีลักษณะเป็นสัญญาสัมปทาน สัญญาที่ให้จัดทำบริการสาธารณะ หรือจัดให้มีสิ่งสาธารณูปโภค หรือแสวงประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ เมื่อผู้ฟ้องคดีเป็นหน่วยงานทางปกครองและมีภารกิจ ในการจัดทำบริการสาธารณะ ส่วนสัญญาการลาศึกษาหรือไปศึกษานอกเวลา ฉบับพิพาทดังกล่าว ก็มีวัตถุประสงค์หลักให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ไปศึกษาเพื่อนำความรู้ที่ได้รับกลับมาดำเนินกิจการ เพื่อสนับสนุนภารกิจของผู้ฟ้องคดี จึงเป็นสัญญาที่มีวัตถุประสงค์เพื่อประโยชน์ในการจัดทำบริการ สาธารณะ สัญญาพิพาทจึงมีลักษณะเป็นสัญญาทางปกครองตามบทนิยามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติ ดังกล่าว ข้อพิพาทเกี่ยวกับการไม่ปฏิบัติตามสัญญาจึงเป็นข้อพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครองที่อยู่ ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๔) แห่งพระราชบัญญัติเดียวกัน สำหรับสัญญาค้ำประกันระหว่างผู้ฟ้องคดีกับผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ นั้น เป็นสัญญาอุปกรณ์ของสัญญา ทางปกครองซึ่งเป็นสัญญาหลัก เมื่อข้อพิพาทเกี่ยวกับสัญญาหลักอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษา ของศาลปกครอง ดังนั้น ข้อพิพาทเกี่ยวกับสัญญาค้ำประกันซึ่งเป็นสัญญาอุปกรณ์ จึงอยู่ในอำนาจ พิจารณาพิพากษาของศาลปกครองเช่นเดียวกัน คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๑๘๓/๒๕๖๐ คดีที่ผู้ฟ้องคดีฟ้องขอให้สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๔ ซึ่งเป็น หน่วยงานทางปกครอง ชำระค่าชดเชยและค่าขาดรายได้พร้อมดอกเบี้ย เนื่องจากเลิกจ้างผู้ฟ้องคดี โดยไม่มีความผิดและให้ผู้ฟ้องคดีลาออกโดยไม่สมัครใจ เห็นว่า พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครอง และวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๙ วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า ศาลปกครองมีอำนาจพิจารณา พิพากษาหรือมีคำสั่งในเรื่องดังต่อไปนี้ (๔) คดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง และมาตรา ๓ คดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง อยู่ในเขตอำนาจของศาลปกครอง


คดีพิพาทเกี่ยวกับ เขตอำนาจของศาลปกครอง รวมย่อคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่น่าสนใจ พ.ศ. ๒๕๕๖ - ๒๕๖๕ 203 แห่งพระราชบัญญัติเดียวกัน บัญญัติว่า สัญญาทางปกครอง หมายความรวมถึง สัญญาที่คู่สัญญา อย่างน้อยฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครองหรือเป็นบุคคลซึ่งกระทำการแทนรัฐ และมีลักษณะ เป็นสัญญาสัมปทาน สัญญาที่ให้จัดทำบริการสาธารณะ หรือจัดให้มีสิ่งสาธารณูปโภคหรือ แสวงประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ เมื่อผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๔ มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายในการจัดทำ บริการสาธารณะด้านการประชาสัมพันธ์ การที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๔ ตกลงทำสัญญาว่าจ้างผู้ฟ้องคดี ให้ปฏิบัติหน้าที่ผู้ช่วยบรรณาธิการข่าวในประเทศ โดยกำหนดให้ผู้ฟ้องคดีมีหน้าที่ในการตรวจสอบ เนื้อหาข่าวของผู้สื่อข่าวที่ผลิตเสร็จ ตรวจบทข่าวที่ส่งมาจากภูมิภาค และปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ ผู้ว่าจ้างกำหนด สัญญาดังกล่าวจึงเป็นสัญญาที่มีคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครอง และมีวัตถุประสงค์แห่งสัญญาเป็นการให้ผู้ฟ้องคดีเข้าร่วมจัดทำบริการสาธารณะด้านการประชาสัมพันธ์ ตามอำนาจหน้าที่ของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๔ ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ฟ้องคดีและผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๔ ตามสัญญาจ้างดังกล่าวจึงเป็นความสัมพันธ์ตามกฎหมายมหาชนเพื่อให้บริการสาธารณะบรรลุผล ไม่ใช่ความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างตามกฎหมายเอกชน สัญญาดังกล่าวจึงเป็นสัญญาทาง ปกครอง ข้อพิพาทในคดีนี้จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๔) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ซึ่งอยู่ในอำนาจ พิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๗/๒๕๖๐ คดีที่โจทก์เป็นเอกชนฟ้องขอให้บังคับสำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) จำเลย ชำระเงินแก่โจทก์กรณีจำเลยผิดสัญญาว่าจ้างโจทก์ให้พัฒนาระบบสำนักงานอิเล็กทรอนิกส์ สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) เมื่อจำเลยเป็นองค์การมหาชนที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชกฤษฎีกา จัดตั้งสำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) พ.ศ. ๒๕๕๔ ประกอบพระราชบัญญัติ องค์การมหาชน พ.ศ. ๒๕๔๒ จำเลยจึงเป็นหน่วยงานทางปกครองตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ และตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสำนักงาน จำเลยมาตรา ๓ และมาตรา ๗ จำเลยมีวัตถุประสงค์ในการดำเนินกิจการของรัฐเกี่ยวกับการนำ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการและบูรณาการ การปฏิบัติงานของหน่วยงานต่าง ๆ ของภาครัฐ เพื่อเพิ่มศักยภาพในการให้บริการประชาชนหรือ รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์หลายประการ และสัญญาพิพาทมีสาระสำคัญเป็นการที่จำเลยว่าจ้างให้โจทก์ ดำเนินการพัฒนาระบบสำนักงานอิเล็กทรอนิกส์ให้แก่สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐด้วยกัน เพื่อนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาปรับปรุงวิธีการและ กระบวนการปฏิบัติงานให้เกิดความรวดเร็วและมีประสิทธิภาพในการให้บริการประชาชนมากยิ่งขึ้น สัญญาพิพาทจึงเป็นการที่จำเลยดำเนินการตามวัตถุประสงค์ที่กฎหมายจัดตั้งหน่วยงานของจำเลย กำหนดอำนาจหน้าที่ไว้โดยตรงโดยให้โจทก์เข้าร่วมปฏิบัติงานอันเป็นภารกิจหลักของจำเลย ในการดำเนินการจัดทำบริการสาธารณะ สัญญาพิพาทจึงเป็นสัญญาทางปกครอง คดีนี้จึงเป็นคดีพิพาท คดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง อยู่ในเขตอำนาจของศาลปกครอง


204 เกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๔) ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครอง และวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ซึ่งอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๑๑๑/๒๕๕๙ คดีที่โจทก์เป็นเอกชนยื่นฟ้องธนาคารพาณิชย์ ที่ ๑ บริษัทขนส่ง จำกัด ที่ ๒ จำเลย กรณีโจทก์ได้แสดงความประสงค์พร้อมทำสัญญารถร่วมเพื่อนำรถยนต์ตู้เข้าวิ่งร่วมกับจำเลยที่ ๒ แต่หลังจากทำสัญญา โจทก์ไม่อาจนำสมุดรายการจดทะเบียนรถยนต์ตู้ที่โจทก์เช่าซื้อจากจำเลยที่ ๑ ผู้ให้เช่าซื้อ ไปจดทะเบียนเป็นรถยนต์ตู้โดยสารสาธารณะและจัดทำใบวิ่งกับจำเลยที่ ๒ ให้แล้วเสร็จ ภายในเวลาที่จำเลยที่ ๒ กำหนด ทำให้จำเลยที่ ๒ ยกเลิกสัญญารถร่วมที่โจทก์ทำไว้กับจำเลยที่ ๒ ขอให้บังคับจำเลยที่ ๑ ส่งมอบต้นฉบับใบคู่มือจดทะเบียนรถยนต์ตู้แก่โจทก์เพื่อไปดำเนินการ จดทะเบียนเป็นรถตู้โดยสารสาธารณะและใบอนุญาตวิ่ง และให้ศาลมีคำสั่งให้นายทะเบียนกรมการขนส่ง หรือจำเลยที่ ๒ ขยายระยะเวลาการสิ้นสุดของการจดทะเบียนรถตู้โดยสารสาธารณะ เห็นว่า เมื่อโจทก์ กล่าวอ้างตามฟ้องว่าการที่จำเลยที่ ๒ ไม่ขยายระยะเวลาจดทะเบียนรถตู้สาธารณะและใบวิ่งให้แก่โจทก์ เป็นเหตุให้จำเลยที่ ๒ จะต้องยกเลิกสัญญารถร่วมที่โจทก์ทำไว้กับจำเลยที่ ๒ จึงเป็นข้อพิพาทเกี่ยวด้วย สัญญารถร่วม เมื่อจำเลยที่ ๒ ซึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครองประเภทหน่วยงานที่ได้รับมอบหมาย ให้ดำเนินกิจการทางปกครอง ตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณา คดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ทำสัญญารถร่วมกับโจทก์โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้โจทก์เข้ารับส่งผู้โดยสาร บนเส้นทางต่าง ๆ ตามที่จำเลยที่ ๒ ได้รับสัมปทานมาจากรัฐอันเป็นการให้โจทก์เข้าร่วมจัดทำบริการ สาธารณะกับจำเลยที่ ๒ ตามที่ได้รับมอบหมาย สัญญาระหว่างโจทก์และจำเลยที่ ๒ ดังกล่าวจึงมีลักษณะ เป็นสัญญาที่หน่วยงานทางปกครองหรือบุคคลซึ่งกระทำการแทนรัฐตกลงให้คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง เข้าร่วมจัดทำบริการสาธารณะด้านคมนาคมและการขนส่งอันมีลักษณะเป็นสัญญาทางปกครอง ตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว และข้อพิพาทเกี่ยวกับสัญญาดังกล่าวจึงเป็นข้อพิพาท เกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๔) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครอง และวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง ส่วนข้อพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ ๑ นั้น แม้ข้ออ้างที่โจทก์อาศัยเป็นหลักแห่งประเด็นตามคำฟ้อง สำหรับจำเลยที่ ๑ จะเป็นข้อพิพาทตามสัญญาเช่าซื้อระหว่างเอกชนกับเอกชน แต่เมื่อความมุ่งหมาย ในการฟ้องคดีของโจทก์ก็เป็นไปเพื่อให้โจทก์สามารถนำรถยนต์ตู้เข้าร่วมเดินรถกับจำเลยที่ ๒ โดยกล่าวอ้างเหตุที่ไม่สามารถดำเนินการจดทะเบียนรถตู้สาธารณะและใบวิ่งได้ภายในระยะเวลา ที่กำหนดว่าเป็นเพราะจำเลยที่ ๑ ผู้ให้เช่าซื้อรถยนต์ตู้ไม่ส่งมอบต้นฉบับใบคู่มือการจดทะเบียน รถยนต์ คำฟ้องในส่วนของจำเลยที่ ๑ จึงเป็นประเด็นที่เกี่ยวพันและมีผลต่อประเด็นที่โจทก์ขอให้ จำเลยที่ ๒ ขยายระยะเวลาสิ้นสุดของการจดทะเบียนรถตู้โดยสารสาธารณะให้แก่โจทก์ จึงควรได้รับ การพิจารณาโดยศาลในระบบเดียวกัน คดีนี้จึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง คดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง อยู่ในเขตอำนาจของศาลปกครอง


คดีพิพาทเกี่ยวกับ เขตอำนาจของศาลปกครอง รวมย่อคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่น่าสนใจ พ.ศ. ๒๕๕๖ - ๒๕๖๕ 205 คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๓๙/๒๕๕๙ กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ เป็นหน่วยงานของรัฐที่เป็น นิติบุคคลแต่ไม่เป็นส่วนราชการตามพระราชบัญญัติกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๔๔ มีภารกิจเกี่ยวกับการส่งเสริมและสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพในประชากรทุกวัย ตามนโยบายสุขภาพแห่งชาติซึ่งเป็นการจัดทำบริการสาธารณะด้านการสาธารณสุขของรัฐ จึงมีฐานะ เป็นหน่วยงานทางปกครอง ส่วนผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ เป็นเจ้าหน้าที่และมีอำนาจหน้าที่บริหารกิจการ ของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ให้เป็นไปตามกฎหมายและวัตถุประสงค์ของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ จึงเป็นเจ้าหน้าที่ ของรัฐ การทำสัญญาจ้างระหว่างกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ กับ ผู้ฟ้องคดีโดยจ้างผู้ฟ้องคดีให้ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งหัวหน้ากลุ่มงานติดตามและประเมินผล ระดับ ผู้เชี่ยวชาญพิเศษ เพื่อวางแผนและพัฒนาระบบการติดตามตรวจสอบและประเมินผลรวมทั้งจัดทำ ฐานข้อมูลภารกิจของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ เป็นความสัมพันธ์ตามกฎหมายมหาชนเพื่อให้บริการสาธารณะ บรรลุผล ไม่ใช่ความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างตามกฎหมายเอกชน สัญญาพิพาทจึงเป็นสัญญา ที่ให้ผู้ฟ้องคดีเข้าดำเนินงานหรือร่วมจัดทำบริการสาธารณะ ตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ข้อพิพาทเกี่ยวกับการเลิกจ้างหรือสิ้นสุด ระยะเวลาจ้างโดยไม่เป็นไปตามระเบียบ ข้อบังคับของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ จึงเป็นข้อพิพาทเกี่ยวกับสัญญา ทางปกครอง อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๔) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ คดีนี้จึงอยู่ในอำนาจ พิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๒๗/๒๕๕๙ คดีนี้มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ เป็นสถานศึกษาในสังกัดของ ทบวงมหาวิทยาลัยและมีฐานะเป็นกรม จึงเป็นหน่วยงานทางปกครอง มีอำนาจหน้าที่ในการบริการ สาธารณะด้านการศึกษาระดับอุดมศึกษาในการจัดการเรียนการสอนและการวิจัย ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ โดยผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ทำสัญญาจ้างผู้ฟ้องคดีในตำแหน่งอาจารย์ประจำหลักสูตรสื่อสารและเทคโนโลยี สารสนเทศ สัญญานี้จึงเป็นสัญญาเพื่อจัดหาบุคคลมาดำเนินการบริการสาธารณะด้านการศึกษา ของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ เป็นความสัมพันธ์ตามกฎหมายมหาชนเพื่อให้บริการสาธารณะบรรลุผล ไม่ใช่ความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างตามกฎหมายเอกชน สัญญาพิพาทจึงเป็นสัญญาที่ให้ ผู้ฟ้องคดีเข้าดำเนินงานหรือร่วมจัดทำบริการสาธารณะ ตามนิยามสัญญาทางปกครองของมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ข้อพิพาทเกี่ยวกับ การเลิกจ้างหรือสิ้นสุดระยะเวลาจ้างโดยไม่ปฏิบัติตามประกาศของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ จึงเป็นข้อพิพาท เกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง ตามมาตรา ๙ คดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง อยู่ในเขตอำนาจของศาลปกครอง


206 วรรคหนึ่ง (๔) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ คดีนี้จึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๗๙/๒๕๕๘ คดีที่เอกชนฟ้องว่า หน่วยงานทางปกครองผิดสัญญาว่าจ้างให้โจทก์ทำการซ่อมแซม ระบบประปาหมู่บ้าน ขอให้ชดใช้เงินพร้อมดอกเบี้ย จึงต้องพิจารณาว่า สัญญาดังกล่าวเป็นสัญญาทางแพ่ง หรือสัญญาทางปกครอง เห็นว่า คดีนี้จำเลยเป็นราชการส่วนท้องถิ่น จึงเป็นหน่วยงานทางปกครอง มีอำนาจหน้าที่พัฒนาตำบลทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม และมีอำนาจในการจัดให้มี น้ำเพื่อการอุปโภค บริโภค และการเกษตร รวมถึงการสาธารณูปโภคและการก่อสร้างอื่น การที่จำเลย สั่งซื้อวัสดุอุปกรณ์ในการซ่อมแซมระบบประปาจากโจทก์ แล้วว่าจ้างให้โจทก์ติดตั้งอุปกรณ์ที่สั่งซื้อ ดังกล่าวเพื่อทำการซ่อมแซมระบบประปาหมู่บ้าน เพื่อที่จำเลยจะได้นำน้ำประปาไปจำหน่ายให้แก่ ประชาชนอุปโภค บริโภค ซึ่งเป็นสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานที่จำเป็นต่อประชาชน อันเป็นการจัดให้มี สิ่งสาธารณูปโภคในการจัดทำบริการสาธารณะของจำเลย จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๓๙/๒๕๕๘ คดีที่บริษัทเอกชนเป็นโจทก์ยื่นฟ้องกรมทางหลวงเป็นจำเลย โดยอ้างสิทธิเรียกร้อง ในค่าจ้างที่จำเลยค้างชำระและเงินประกันการปฏิบัติตามสัญญาจ้างเหมาปรับปรุงซ่อมแซมอาคาร ที่ทำการ อาคารที่พักอาศัย และสิ่งก่อสร้างประกอบระหว่างจำเลยและบริษัท ณ. แม้คดีไม่มีข้อพิพาท โดยตรงจากสัญญาจ้างเหมาปรับปรุงซ่อมแซมอาคารดังกล่าว แต่เมื่อข้อเท็จจริงเป็นกรณีที่โจทก์อ้างสิทธิ ในฐานะเป็นผู้รับโอนสิทธิเรียกร้องจากบริษัท ณ. และเป็นหุ้นส่วนในกิจการร่วมค้ากับบริษัท ณ. เพื่อก่อสร้างปรับปรุงอาคารตามสัญญาจ้างเหมาดังกล่าว ข้อพิพาทในคดีนี้จึงเป็นกรณีพิพาทเกี่ยวกับ สิทธิของโจทก์อันเกี่ยวเนื่องมาจากสัญญาจ้างเหมาปรับปรุงซ่อมแซมอาคารของจำเลย เมื่อสัญญาจ้าง เหมาปรับปรุงอาคารดังกล่าวเป็นสัญญาที่มีคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครองและมีวัตถุ แห่งสัญญาเป็นเครื่องมือสำคัญและจำเป็นเพื่อให้การจัดทำบริการสาธารณะในอำนาจหน้าที่ ของจำเลยบรรลุผล อันมีลักษณะเป็นสัญญาทางปกครอง คดีนี้จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญา ทางปกครอง ซึ่งอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง คดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง อยู่ในเขตอำนาจของศาลปกครอง


คดีพิพาทเกี่ยวกับ เขตอำนาจของศาลปกครอง รวมย่อคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่น่าสนใจ พ.ศ. ๒๕๕๖ - ๒๕๖๕ 207 คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๑๓๔/๒๕๕๗ คดีที่บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นผู้รับโอนกิจการมาจากการสื่อสาร แห่งประเทศไทย (กสท.) ยื่นฟ้องบริษัทเอกชน เรียกค่าเช่าจากการที่เอกชนร้อยสายเคเบิลใยแก้วนำแสง (Optical Fiber) ผ่านท่อร้อยสายเคเบิลใต้ดินของโจทก์จำนวน ๓๓ เส้นทาง เห็นว่า การสื่อสาร แห่งประเทศไทย (กสท.) มีวัตถุประสงค์เพื่อให้บริการสาธารณะด้านโทรคมนาคม จำเลยที่ ๑ ได้นำ สายเคเบิลใยแก้วนำแสง (Optical Fiber) ร้อยผ่านท่อร้อยสายเคเบิลใต้ดินของ กสท. ซึ่งต่อมา โอนมาเป็นทรัพย์สินของโจทก์เพื่อเชื่อมโยงอุปกรณ์โทรคมนาคมที่ติดตั้งอยู่ตามพื้นที่ต่าง ๆ ดังนั้น สัญญาการใช้โครงข่ายโทรคมนาคมดังกล่าวจึงเป็นสัญญาที่มีคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งเป็นหน่วยงาน ทางปกครองและมีวัตถุประสงค์เพื่อให้บริการสาธารณะด้านโทรคมนาคม จึงเป็นสัญญาทางปกครอง ดังนั้น ข้อพิพาทเกี่ยวกับการชำระค่าตอบแทนการใช้ประโยชน์จากการใช้ท่อร้อยสายเคเบิลใต้ดิน ของโจทก์ จึงเป็นข้อพิพาทที่เกี่ยวเนื่องกับสัญญาดังกล่าว ซึ่งเป็นสัญญาทางปกครอง อันอยู่ในอำนาจ พิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๔) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้ง ศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๑๐๘/๒๕๕๗ คดีที่บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ยื่นฟ้องบริษัทเอกชน ขอให้บังคับ ผู้ถูกฟ้องคดีรับผิดชำระหนี้ค่าใช้บริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศให้แก่ผู้ฟ้องคดี อันเนื่องมาจากเดิม ผู้ฟ้องคดีและผู้ถูกฟ้องคดีตกลงทำสัญญาดำเนินการให้บริการโทรศัพท์/โทรศัพท์และโทรสารระหว่าง ประเทศสาธารณะแบบใช้บัตร เมื่อสัญญาดังกล่าวสิ้นสุดลง ผู้ถูกฟ้องคดีประสงค์จะใช้บริการโทรศัพท์ ของผู้ฟ้องคดีต่อไป จึงขอเช่าใช้ทรัพย์สินและระบบให้บริการโทรศัพท์สาธารณะแบบใช้บัตรของผู้ฟ้องคดี โดยตกลงร่างเป็นสัญญาให้บริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศฉบับใหม่ แต่ยังไม่มีการลงนามในสัญญา ผู้ถูกฟ้องคดีจึงชำระค่าใช้บริการตามที่กำหนดไว้ในสัญญาฉบับเดิม แต่ผู้ฟ้องคดีเห็นว่าผู้ถูกฟ้องคดี ต้องชำระค่าใช้บริการตามอัตราในร่างสัญญาฉบับใหม่ให้แก่ผู้ฟ้องคดี กรณีจึงเป็นข้อพิพาทเกี่ยวกับ ข้อตกลงให้บริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศระหว่างผู้ฟ้องคดีและผู้ถูกฟ้องคดี และมีประเด็นต้อง พิจารณาว่าข้อพิพาทดังกล่าวเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางแพ่งหรือสัญญาทางปกครอง เห็นว่า คดีนี้ ผู้ฟ้องคดีฟ้องขอให้บังคับผู้ถูกฟ้องคดีรับผิดชำระหนี้ค่าใช้บริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศให้แก่ผู้ฟ้องคดี ตามข้อตกลงให้บริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศฉบับใหม่ แต่ผู้ถูกฟ้องคดี ให้การว่า ได้ชำระค่าใช้บริการ ตามที่กำหนดไว้ในสัญญาเดิมครบถ้วนแล้ว ผู้ฟ้องคดีไม่มีสิทธิเรียกร้องให้ผู้ถูกฟ้องคดีชำระหนี้ ค่าใช้บริการตามข้อตกลงที่กล่าวอ้าง ข้อพิพาทในคดีนี้จึงเป็นข้อพิพาทที่เกี่ยวเนื่องกับสัญญาดำเนินการ ให้บริการโทรศัพท์/โทรศัพท์และโทรสารระหว่างประเทศสาธารณะแบบใช้บัตรระหว่างผู้ฟ้องคดี และผู้ถูกฟ้องคดี เมื่อสัญญาดำเนินการให้บริการโทรศัพท์/โทรศัพท์และโทรสารระหว่างประเทศ สาธารณะดังกล่าวมีลักษณะเป็นสัญญาทางปกครอง จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง ซึ่งอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง คดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง อยู่ในเขตอำนาจของศาลปกครอง


208 คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๑๐๓/๒๕๕๗ คดีนี้ผู้ถูกฟ้องคดีเป็นนิติบุคคลและเป็นรัฐวิสาหกิจ มีภารกิจเพื่อดำเนินงานกิจการทั้งปวง เกี่ยวกับสินค้าเกษตร และสินค้าอุปโภคบริโภค รวมทั้งธุรกิจบริการที่เกี่ยวข้องกับสินค้าเกษตร และสินค้าอุปโภคบริโภค จึงเป็นหน่วยงานทางปกครอง ผู้ฟ้องคดีเป็นเอกชนฟ้องว่า ผู้ถูกฟ้องคดี ผิดสัญญาซื้อขายมันสำปะหลังเพื่อส่งออกนอกราชอาณาจักรโครงการแทรกแซงตลาดมันสำปะหลัง ปี ๒๕๕๑/๕๒ ขอให้พิพากษาหรือมีคำสั่งให้เพิกถอนคำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่สั่งให้ผู้ฟ้องคดีชำระ ค่าปรับและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ตามเงื่อนไขดังกล่าวในสัญญา ส่วนผู้ถูกฟ้องคดีให้การว่า ไม่ได้ปฏิบัติ ผิดสัญญา คดีนี้จึงต้องพิจารณาว่าสัญญาซื้อขายมันสำปะหลัง ระหว่างผู้ฟ้องคดีและผู้ถูกฟ้องคดี เป็นสัญญาทางแพ่งหรือสัญญาทางปกครอง สัญญาซื้อขายมันสำปะหลังเพื่อส่งออกนอกราชอาณาจักรโครงการแทรกแซง ตลาดมันสำปะหลัง ปี ๒๕๕๑/๕๒ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้จัดหาตลาดเพื่อระบายสินค้าที่รับจำนำ จากเกษตรกรไปยังต่างประเทศในเวลาที่กำหนด อันเป็นการส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตรของคนไทย เพื่อการส่งออกตามอำนาจหน้าที่ในการดำเนินบริการสาธารณะของผู้ถูกฟ้องคดี เพื่อเป็นการช่วยเหลือ แก่เกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลัง โดยมุ่งหมายก่อให้เกิดประโยชน์แก่เกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลัง มากกว่าการมุ่งแสวงหาผลกำไรในเชิงพาณิชย์ จึงเป็นกรณีให้ผู้ฟ้องคดีเข้าร่วมดำเนินการจัดทำบริการ สาธารณะกับผู้ถูกฟ้องคดีโดยตรง สัญญาดังกล่าวจึงเป็นสัญญาทางปกครอง เมื่อผู้ฟ้องคดีกล่าวอ้างว่า ผู้ถูกฟ้องคดีผิดสัญญาและให้คืนเงินให้แก่ผู้ฟ้องคดี จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๔) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ คดีนี้จึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๘๖/๒๕๕๗ โจทก์เป็นเอกชนยื่นฟ้องหน่วยงานทางปกครองเป็นจำเลย อ้างว่าที่ดินพิพาท บิดาของโจทก์ ได้ครอบครองและทำประโยชน์มาตั้งแต่ปี ๒๔๙๘ จำเลยซื้อที่ดินจากประชาชนที่ครอบครองและ ทำประโยชน์ไปพัฒนาโดยมีเงื่อนไขว่าหลังจากจำเลยพัฒนาที่ดินและออกโฉนดที่ดินแล้ว จะขายที่ดิน คืนให้แก่เจ้าของเดิมหรือผู้ครอบครองและใช้ประโยชน์ในขณะนั้น บิดายกที่ดินให้แก่โจทก์ โจทก์ ครอบครองทำประโยชน์จนถึงปัจจุบัน จากนั้นจำเลยประกาศเรื่องการซื้อขายที่ดินทุ่งหมาหิว โดยโจทก์ มีชื่อในทะเบียนคุมโฉนดที่ดินของจำเลย โจทก์ได้ยื่นคำร้องขอซื้อที่ดินแต่จำเลยแจ้งว่าสามีโจทก์ ไม่มีรายชื่อในประกาศของจำเลย ทำให้โจทก์ไม่สามารถซื้อที่ดินโฉนดคืนจากจำเลย ขอให้บังคับ ให้จำเลยปฏิบัติตามประกาศ จำเลยให้การว่าไม่ได้กระทำละเมิด โดยได้ที่ดินมาเพื่อใช้ประโยชน์ ในการดำเนินงานเพื่อพัฒนาและจัดรูปที่ดิน ภายหลังมีความประสงค์จะขายที่ดินให้กับเจ้าของเดิม แต่ผู้ซื้อที่ดินแปลงดังกล่าวขาดคุณสมบัติ และโจทก์ไม่ได้เป็นผู้ครอบครองและใช้ประโยชน์จนถึง ปัจจุบัน เห็นว่า มูลคดีนี้สืบเนื่องมาจากการที่จำเลย ซึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครอง ดำเนินการตาม คดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง อยู่ในเขตอำนาจของศาลปกครอง


คดีพิพาทเกี่ยวกับ เขตอำนาจของศาลปกครอง รวมย่อคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่น่าสนใจ พ.ศ. ๒๕๕๖ - ๒๕๖๕ 209 อำนาจหน้าที่ในการจัดซื้อที่ดินเพื่อไปพัฒนาและออกโฉนดที่ดิน เมื่อจำเลยดำเนินการแล้วเสร็จ จะขายที่ดินดังกล่าวคืนให้แก่เจ้าของเดิมหรือผู้ครอบครองและใช้ประโยชน์ในปัจจุบัน ดังนั้นข้อตกลง ในการซื้อที่ดินเพื่อการพัฒนาและขายที่ดินคืนเจ้าของเดิมดังกล่าว จึงเป็นสัญญาที่คู่สัญญาฝ่ายหนึ่ง เป็นหน่วยงานทางปกครองและมีวัตถุประสงค์ในการบำรุงและส่งเสริมการทำมาหากินของราษฎร คดีนี้จึงเป็นคดีที่มีข้อพิพาทที่มีความเกี่ยวเนื่องกับสัญญาทางปกครอง จึงเป็นคดีพิพาทตามสัญญา ทางปกครอง ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๔) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณา คดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ คดีนี้จึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๘๔/๒๕๕๗ คดีนี้ จำเลยเป็นบริษัทมหาชน จำกัด แปรรูปและรับโอนกิจการมาจากการสื่อสาร แห่งประเทศไทย ตามพระราชบัญญัติทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. ๒๕๔๒ จึงเป็นหน่วยงานทางปกครอง ตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ เมื่อโจทก์ฟ้องให้จำเลยชำระเงินค่าจ้างพร้อมดอกเบี้ย และให้จำเลยคืนหนังสือค้ำประกันแก่โจทก์ ตามสัญญาก่อสร้างอาคารคลังพัสดุพร้อมงานพิเศษ (พัทยา) เพื่อใช้เป็นสถานที่สำหรับเก็บเครื่องอุปกรณ์ โทรคมนาคมทุกชนิด สำหรับปรับปรุงขยายข่ายโทรคมนาคม รวมทั้งอะไหล่ของเครื่องและอุปกรณ์ สำหรับให้บริการประชาชนในพื้นที่ภาคตะวันออก ก่อให้เกิดสิทธิและหน้าที่ที่สืบเนื่องจากการจัดให้มี เครื่องมือที่สำคัญและจำเป็นต่อการประกอบกิจการโทรคมนาคม และให้บริการด้านโทรคมนาคม อันเป็นการจัดทำบริการสาธารณะของจำเลย จึงเป็นสัญญาทางปกครองตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษา ของศาลปกครอง ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๔) แห่งพระราชบัญญัติเดียวกัน คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๘๑/๒๕๕๗ คดีที่โรงพยาบาลเอกชนเป็นโจทก์ยื่นฟ้องเอกชนด้วยกัน เป็นจำเลยที่ ๑ และที่ ๒ สำนักงานประกันสังคมซึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครอง เป็นจำเลยที่ ๓ ขอให้ร่วมกันหรือแทนกันชำระเงิน ค่ารักษาพยาบาลที่จำเลยที่ ๑ ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ ๒ เข้ารับการรักษาพยาบาลที่โรงพยาบาลโจทก์ ในส่วนที่ค้างจ่ายให้แก่โจทก์ เมื่อโจทก์อ้างว่าได้ทำความตกลงกับจำเลยที่ ๓ โดยมอบให้โจทก์ เป็นผู้บริการทางการแพทย์แก่ผู้ประกันตนที่ถือบัตรรับรองสิทธิรักษาพยาบาลประกันสังคม โดยจำเลยที่ ๓ เป็นผู้จ่ายค่าบริการทางการแพทย์ในอัตราของผู้ประกันตนให้แก่โจทก์ แต่เมื่อโจทก์ เรียกเก็บเงินค่ารักษาพยาบาลของจำเลยที่ ๑ ที่ใช้สิทธิรักษาพยาบาลประกันสังคมที่โรงพยาบาลโจทก์ จำเลยที่ ๓ กลับปฏิเสธการจ่ายเงินค่ารักษาพยาบาลของจำเลยที่ ๑ โดยให้เหตุผลว่าตรวจสอบแล้ว จำเลยที่ ๑ และที่ ๒ ไม่ได้มีความสัมพันธ์ในฐานะนายจ้างลูกจ้าง โจทก์จึงมีสิทธิได้รับเงินเป็น ค่ารักษาพยาบาลที่เกิดขึ้นจริงจากการตรวจรักษา เห็นว่า ข้อพิพาทในคดีนี้เป็นข้อพิพาทที่สืบเนื่อง คดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง อยู่ในเขตอำนาจของศาลปกครอง


210 มาจากข้อพิพาทเกี่ยวกับสัญญาจ้างให้บริการทางการแพทย์ตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. ๒๕๓๓ ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ ๓ เมื่อสัญญาจ้างให้บริการทางการแพทย์ระหว่างโจทก์ และจำเลยที่ ๓ เป็นสัญญาที่มีคู่สัญญาอย่างน้อยฝ่ายหนึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครอง มีสาระสำคัญ ในการที่จำเลยที่ ๓ ว่าจ้างโรงพยาบาลโจทก์ทำการให้บริการทางการแพทย์แก่ผู้ประกันตนตาม พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. ๒๕๓๓ ทั้งนี้ เพื่อให้การจัดทำบริการสาธารณะด้านสาธารณสุข ผ่านระบบประกันสังคม อันเป็นภารกิจหลักของจำเลยที่ ๓ บรรลุผล สัญญาจ้างให้บริการทางการแพทย์ จึงมีลักษณะที่จำเลยที่ ๓ มอบหมายให้โจทก์ซึ่งเป็นสถานพยาบาลเอกชนเข้าร่วมจัดทำบริการสาธารณะ จึงเป็นสัญญาทางปกครอง ข้อพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งสามซึ่งเป็นข้อพิพาทที่สืบเนื่องมาจาก สัญญาจ้างให้บริการทางการแพทย์ระหว่างโจทก์และจำเลยที่ ๓ ซึ่งเป็นสัญญาทางปกครอง จึงเป็น คดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง ซึ่งอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๘๐/๒๕๕๗ คดีนี้จำเลยเป็นหน่วยงานระดับกรม สังกัดกระทรวงมหาดไทย ตามพระราชบัญญัติระเบียบ บริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔ จึงเป็นหน่วยงานทางปกครอง ตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มีอำนาจหน้าที่คุ้มครองสิทธิในที่ดิน ของราษฎรและจัดการที่ดินของรัฐ และให้บริการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ แก่ประชาชน เมื่อคดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยคืนเงินค่าปรับพร้อมดอกเบี้ยตามสัญญาจ้าง ปรับปรุงพื้นที่ห้องศูนย์สารสนเทศ การขนย้ายและติดตั้งเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่ายและอุปกรณ์ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ในการปฏิบัติงานตามภารกิจหลักซึ่งเป็นการดำเนินการบริการสาธารณะ ของจำเลยให้สามารถใช้งานได้อย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ ก่อให้เกิดสิทธิและหน้าที่ ที่สืบเนื่องจากการจัดให้มีเครื่องมือที่สำคัญและจำเป็นต่อการจัดทำบริการสาธารณะด้านการจัดการ ที่ดินของจำเลยให้บรรลุผลและเป็นประโยชน์โดยตรงต่อประชาชนที่มาใช้บริการ อันเป็นการจัดทำ บริการสาธารณะของจำเลย สัญญาพิพาทจึงเป็นสัญญาทางปกครองตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษา ของศาลปกครอง ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๔) แห่งพระราชบัญญัติเดียวกัน คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๑๑/๒๕๕๗ คดีที่ผู้ฟ้องคดีเป็นเอกชนยื่นฟ้อง บมจ. ท. ที่ ๑ บมจ. อ. ที่ ๒ ผู้ถูกฟ้องคดี ในข้อพิพาท เกี่ยวกับข้อตกลงระหว่างการสื่อสารแห่งประเทศไทย (กสท.) กับผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และข้อตกลงระหว่าง ผู้ฟ้องคดีกับผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และ กสท. ที่มีสาระสำคัญเกี่ยวกับการจ่ายค่าตอบแทนการเชื่อมโยง โครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ ข้อตกลงดังกล่าวมีสาระสำคัญเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการคิด ค่าเชื่อมโยงโครงข่ายสำหรับการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ เพื่อวัตถุประสงค์ในการปรับปรุง คดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง อยู่ในเขตอำนาจของศาลปกครอง


คดีพิพาทเกี่ยวกับ เขตอำนาจของศาลปกครอง รวมย่อคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่น่าสนใจ พ.ศ. ๒๕๕๖ - ๒๕๖๕ 211 การให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ให้เป็นระบบเดียวกัน ทั้งนี้ เพื่อให้การจัดทำบริการสาธารณะ ด้านโทรคมนาคมอันเป็นภารกิจหลักของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และ กสท. ซึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครองในขณะนั้น บรรลุผล จึงมีลักษณะเป็นสัญญาทางปกครอง เมื่อผู้ฟ้องคดีกล่าวอ้างว่าได้รับความเสียหายอันเนื่องมาจาก เกณฑ์การคิดค่าเชื่อมโยงโครงข่ายตามข้อตกลงดังกล่าวไม่เป็นธรรมต่อผู้ฟ้องคดีและขัดแย้งกับกฎหมาย ที่มีการประกาศใช้บังคับในภายหลัง ข้อพิพาทในคดีนี้จึงเป็นข้อพิพาทที่สืบเนื่องมาจากข้อตกลง เกี่ยวกับการเชื่อมโยงโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ซึ่งเป็นสัญญาทางปกครอง คดีนี้จึงเป็นคดีพิพาท เกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง ซึ่งอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง ประกอบกับเป็น ข้อพิพาทที่มีความเกี่ยวพันกับคดีพิพาทที่อยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลปกครอง ในคดีของ ศาลปกครองกลาง จึงชอบที่จะพิจารณาพิพากษาในศาลเดียวกัน คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๑๕๖/๒๕๕๖ คดีที่องค์การคลังสินค้าซึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครองยื่นฟ้องจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นเอกชน ให้รับผิดชำระเงินตามสัญญาซื้อขายข้าวเปลือกหอมมะลิ เมื่อข้อเท็จจริงตามคำฟ้องและคำให้การ คดีนี้ปรากฏโดยชัดแจ้งว่า สัญญาซื้อขายข้าวเปลือกหอมมะลิที่พิพาท เป็นสัญญาที่จัดทำขึ้นสืบเนื่อง มาจากโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต ๒๕๔๘/๔๙ ซึ่งเดิมโจทก์และจำเลยที่ ๑ ได้ทำสัญญา ฝากเก็บ แปรสภาพ และจัดจำหน่ายข้าวตามโครงการดังกล่าว โดยโจทก์ฝากเก็บข้าวเปลือกไว้กับ จำเลยที่ ๑ และจำเลยที่ ๑ ในคดีนี้ได้ยื่นฟ้องโจทก์ต่อศาลปกครองกลาง ให้รับผิดตามสัญญาฝากเก็บฯ จนกระทั่งศาลปกครองกลางพิพากษาแล้ว ขณะนี้คดีดังกล่าวอยู่ระหว่างพิจารณาของศาลปกครอง สูงสุด ประกอบกับจำเลยที่ ๑ ให้การว่า สัญญาซื้อขายข้าวเปลือกฉบับพิพาทเป็นนิติกรรมอำพราง การฝากขายข้าวเปลือกเสื่อมราคาที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการตามสัญญาฝากเก็บฯ โดยไม่ได้ มีการซื้อขายกันจริง ข้อพิพาทในคดีนี้จึงเป็นข้อพิพาทที่มีความเกี่ยวพันกับคดีพิพาทระหว่างโจทก์ และจำเลยที่ ๑ เกี่ยวกับสัญญาฝากเก็บ แปรสภาพ และจัดจำหน่ายข้าว จึงชอบที่จะพิจารณาพิพากษา ในศาลเดียวกัน ส่วนคดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาค้ำประกันระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ ๒ ซึ่งเป็นสัญญา อุปกรณ์ เมื่อข้อพิพาทเกี่ยวกับสัญญาหลักอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองแล้ว ข้อพิพาทเกี่ยวกับสัญญาอุปกรณ์จึงชอบที่จะพิจารณาพิพากษาในศาลปกครองเช่นเดียวกัน คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๑๒๖/๒๕๕๖ คดีที่จำเลยเป็นบริษัทมหาชนจำกัดที่แปรรูปมาจากองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย ตามพระราชบัญญัติทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. ๒๕๔๒ มีวัตถุประสงค์ในการประกอบกิจการให้บริการสื่อสาร โทรคมนาคมทุกชนิด อันเป็นบริการสาธารณะด้านการสื่อสารโทรคมนาคมของรัฐ จึงเป็นหน่วยงาน ทางปกครองตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ โจทก์จำเลยทำสัญญาร่วมลงทุนจัดตั้งโครงข่ายเคเบิลใยแก้วนำแสงตามเส้นทางรถไฟ คดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง อยู่ในเขตอำนาจของศาลปกครอง


212 เพื่อเป็นโครงข่ายวงจรทางไกลรองรับการขยายหมายเลขโทรศัพท์และเป็นข่ายสำรองฉุกเฉินของจำเลย จึงเป็นอุปกรณ์ที่จำเป็นต่อการจัดทำบริการสาธารณะด้านการสื่อสารโทรคมนาคมให้บรรลุผล สัญญาร่วมลงทุนจัดตั้งโครงข่ายเคเบิลใยแก้วจึงเป็นสัญญาทางปกครอง ส่วนสัญญาพิพาทในคดีนี้ เป็นสัญญาที่จำเลยว่าจ้างโจทก์ทำการดูแลซ่อมบำรุงรักษาโครงข่ายเคเบิลใยแก้วเป็นสัญญา ที่เกี่ยวเนื่องกับสัญญาร่วมลงทุนซึ่งเป็นสัญญาหลัก สัญญาพิพาทจึงเป็นสัญญาทางปกครอง ตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ข้อพิพาทในคดีนี้ จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๔) แห่งพระราชบัญญัติเดียวกัน คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๙๑/๒๕๕๖ บมจ. ท. จำเลย ซึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครอง มีอำนาจหน้าที่ประกอบกิจการโทรศัพท์ ได้ทำสัญญาเช่าระบบและอุปกรณ์สำหรับการขยายโครงข่าย IP Network ด้วยเทคโนโลยี Optical IP Network และระบบอุปกรณ์พร้อม Software Electronic Billing System จากโจทก์ซึ่งเป็นเอกชน เพื่อให้บริการ IP Telephony และ Remote Access (Internet) แก่ประชาชนผู้ใช้โทรศัพท์พื้นฐาน ของจำเลยซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนมากได้ใช้บริการในอัตราค่าบริการที่ถูกลง จึงเป็นการจัดทำบริการ สาธารณะ สัญญาเช่าระบบและอุปกรณ์ดังกล่าวจึงเป็นสัญญาทางปกครอง ข้อพิพาทในคดีนี้จึงเป็น คดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๙๐/๒๕๕๖ คดีที่เอกชนยื่นฟ้องสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลโดยกล่าวอ้างว่าผิดสัญญาจ้างบริการ ระบบเกมสลาก ไม่ยอมจำหน่ายสลากและไม่ออกหนังสือแจ้งให้ผู้ฟ้องคดีเริ่มให้บริการ ขอให้บังคับ ผู้ถูกฟ้องคดีปฏิบัติตามสัญญาพร้อมให้ชำระค่าใช้จ่ายและชดใช้ค่าเสียหาย แต่หากไม่อาจบังคับได้ ขอให้เพิกถอนหรือให้เลิกสัญญาและให้ชดใช้ค่าเสียหายพร้อมดอกเบี้ย ส่วนผู้ถูกฟ้องคดีให้การ โดยสรุปว่า ไม่ได้ผิดสัญญา แต่การกระทำตามฟ้องโจทก์เป็นเพราะมีเหตุขัดข้องทั้งจากข้อกฎหมาย และนโยบายของรัฐในแต่ละช่วงเวลา เมื่อผู้ถูกฟ้องคดีเป็นหน่วยงานทางปกครอง มีภารกิจในการ ออกสลากกินแบ่งรัฐบาลและกระทำการอื่นใดที่เกี่ยวเนื่องหรือที่เป็นประโยชน์แก่การดำเนินกิจการ ของผู้ถูกฟ้องคดีตามพระราชบัญญัติสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล พ.ศ. ๒๕๑๗ และสัญญาพิพาท มีสาระสำคัญเป็นการจ้างผู้ฟ้องคดีให้ออกแบบจัดหาและติดตั้งระบบเกมสลาก เครื่องจำหน่าย สลากและระบบสนับสนุนต่าง ๆ โดยในสัญญามีข้อกำหนดให้ผู้ถูกฟ้องคดีมีสิทธิบอกเลิกสัญญา ก่อนครบกำหนดเวลาได้ ในกรณีที่รัฐบาลมีนโยบายล้มเลิกโครงการหรือมีความจำเป็นต้องล้มเลิก โครงการออกสลากพิเศษแบบเลขท้าย ๓ ตัว และ ๒ ตัว ผู้ถูกฟ้องคดีจะชดเชยการลงทุนบางส่วนให้แก่ ผู้ฟ้องคดี และผู้ฟ้องคดีไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายหรือค่าชดเชยอย่างใดอีก สัญญาจ้างบริการระบบ คดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง อยู่ในเขตอำนาจของศาลปกครอง


คดีพิพาทเกี่ยวกับ เขตอำนาจของศาลปกครอง รวมย่อคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่น่าสนใจ พ.ศ. ๒๕๕๖ - ๒๕๖๕ 213 เกมสลากดังกล่าวที่ให้ผู้ถูกฟ้องคดีบอกเลิกสัญญาได้ด้วยเหตุเพียงว่ารัฐบาลมีนโยบายล้มเลิกโครงการ จึงเป็นสัญญาที่มีข้อสัญญาให้เอกสิทธิ์แก่ฝ่ายปกครองอย่างมากและไม่อาจพบได้ในสัญญาทางแพ่ง ทั่วไป จึงเป็นสัญญาทางปกครอง คดีนี้จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง ซึ่งอยู่ในอำนาจ พิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๗๖/๒๕๕๖ คดีที่กรมส่งเสริมสหกรณ์ซึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครองยื่นฟ้องสหกรณ์การเกษตร ให้รับผิดตามสัญญากู้ยืมเงินตามโครงการจัดหาปุ๋ยเคมีเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร ปี ๒๕๔๓ เมื่อโจทก์ เป็นหน่วยงานทางปกครองมีอำนาจหน้าที่ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยสหกรณ์และมีภารกิจ เกี่ยวกับการส่งเสริม เผยแพร่ ให้ความรู้เกี่ยวกับอุดมการณ์ หลักการและวิธีการสหกรณ์ให้แก่บุคลากร สหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร และประชาชนทั่วไป ส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาระบบสหกรณ์ให้มี ความเข้มแข็ง โดยการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ในการเพิ่มขีดความสามารถในด้านการบริหาร การจัดการการดำเนินธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพ และมีการเชื่อมโยงธุรกิจสหกรณ์สู่ระดับสากล เพื่อให้สมาชิกสหกรณ์มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคม ดังนั้น การที่โจทก์ทำสัญญา กับจำเลยที่ ๑ ซึ่งเป็นสหกรณ์การเกษตรให้จำเลยที่ ๑ กู้ยืมเงินกองทุนพัฒนาสหกรณ์เพื่อนำไปให้ สมาชิก ซึ่งเป็นเกษตรกรกู้ยืมนำไปดำเนินการตามโครงการจัดหาปุ๋ยเคมีเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร ปี ๒๕๔๓ จึงมีลักษณะเป็นการมอบหมายให้จำเลยที่ ๑ จัดทำบริการสาธารณะทางด้านการเกษตร โดยวิธีการจัดหาเงินหรือสินเชื่อให้แก่เกษตรกร สัญญาดังกล่าวจึงมีคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งเป็นหน่วยงาน ทางปกครอง และมีลักษณะเป็นสัญญาที่มอบหมายให้เอกชนจัดทำหรือเข้าร่วมจัดทำบริการสาธารณะ อันเป็นสัญญาทางปกครองตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณา คดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ข้อพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ ๑ จึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษา ของศาลปกครองตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๔) แห่งพระราชบัญญัติเดียวกัน และข้อพิพาทระหว่าง โจทก์กับจำเลยที่ ๒ ถึงที่ ๑๖ เกี่ยวกับสัญญาค้ำประกันซึ่งเป็นสัญญาอุปกรณ์ จึงอยู่ในอำนาจพิจารณา พิพากษาของศาลปกครองเช่นเดียวกัน คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๑๙/๒๕๕๖ โจทก์เป็นรัฐวิสาหกิจที่จัดตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติการท่าเรือแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๔๙๔ ยื่นฟ้องบริษัทเอกชน จำเลยที่ ๑ ซึ่งเป็นผู้ชนะการประกวดราคาจ้างเหมาสร้างปั้นจั่น ยกตู้สินค้าหน้าท่าชนิดเดินบนรางตามประกาศประกวดราคาของโจทก์ แต่ไม่มาลงนามในสัญญาภายใน กำหนด ให้ชดใช้ค่าเสียหายจากการที่โจทก์เสียโอกาสในการหารายได้และค่าราคาที่ต้องจ่ายสูงขึ้น จากการจ้างผู้เสนอราคารายใหม่ กับให้จำเลยที่ ๒ รับผิดตามหนังสือค้ำประกัน เมื่อโจทก์มีอำนาจหน้าที่ ดำเนินการและนำมาซึ่งความเจริญของกิจการท่าเรือเพื่อประโยชน์แห่งรัฐและประชาชน อันเป็น คดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง อยู่ในเขตอำนาจของศาลปกครอง


214 บริการสาธารณะด้านการขนส่งที่รัฐเป็นผู้จัดทำขึ้น แม้มูลคดีจะเป็นกรณีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิและ หน้าที่ของโจทก์และจำเลยทั้งสองที่เกิดขึ้นจากข้อตกลงในการประกวดราคาจ้างเหมาสร้างปั้นจั่น ยกตู้สินค้าซึ่งเป็นข้อพิพาทที่เกิดขึ้นในขั้นตอนก่อนเข้าทำสัญญาจ้างเหมาสร้างปั้นจั่นยกตู้สินค้า แต่ข้อตกลงดังกล่าวก็เป็นไปเพื่อที่จะนำไปสู่การทำสัญญาจ้างเหมาสร้างปั้นจั่นยกตู้สินค้าซึ่งเป็น เครื่องมือสำคัญในการดำเนินบริการสาธารณะของโจทก์ อันมีลักษณะเป็นสัญญาทางปกครอง คดีนี้จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๔) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ข้อพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ ๒ จึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง เช่นเดียวกัน คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๘/๒๕๕๖ โจทก์เป็นหน่วยงานทางปกครอง มีภารกิจเกี่ยวกับการส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนา ระบบสหกรณ์ให้มีความเข้มแข็งเพื่อให้สมาชิกสหกรณ์มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นทั้งทางด้านเศรษฐกิจ และสังคม อันมีลักษณะเป็นการจัดทำบริการสาธารณะ ดังนั้น การที่โจทก์ตกลงทำสัญญาให้จำเลยที่ ๑ ซึ่งเป็นสหกรณ์การเกษตร กู้ยืมเงินกองทุนรวมเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรตามโครงการเชื่อมโยงสินเชื่อ เพื่อการผลิตและบริการตลาดข้าวของสหกรณ์ โดยกำหนดวัตถุประสงค์ให้จำเลยที่ ๑ นำเงินที่กู้ยืม ไปใช้รวบรวมข้าวเปลือกจากสมาชิก และช่วยเหลือเกษตรกรในด้านสินเชื่อตามวัตถุประสงค์ของกองทุน สัญญาดังกล่าวจึงมีคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครอง และเป็นสัญญาที่ให้จัดทำหรือ เข้าร่วมจัดทำบริการสาธารณะ อันเป็นสัญญาทางปกครอง ข้อพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ ๑ จึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง และข้อพิพาทเกี่ยวกับสัญญาค้ำประกันซึ่งเป็น สัญญาอุปกรณ์ จึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองเช่นเดียวกัน คดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง อยู่ในเขตอำนาจของศาลปกครอง


คดีพิพาทเกี่ยวกับ เขตอำนาจของศาลปกครอง รวมย่อคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่น่าสนใจ พ.ศ. ๒๕๕๖ - ๒๕๖๕ 215 คดพี ิพาทเกยี�วกบัสญัญาทมี�ใิชส่ญัญาทางปกครอง ตามพระราชบญัญติ ั จดัตงั�ศาลปกครองและวธิพี ิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๙ วรรคหนงึ� (๔) เปน�สญัญาทางแพ่ง อยใู่นเขตอํานาจของศาลยติุธรรม ǁDŽˢǟˠǟǥdžǩƮˢˑǛǑƮˎǘǗˎƻƻǥdžǥǒǪǟːǒ ǣǛ˱ːǬLjǩƽDžǣ˨ǥLjǥǐƽǣǒǃǥǖǛ˯DžˠǎǏǏlj


216 คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๗๙/๒๕๖๕ คดีนี้แม้จังหวัดนครปฐม ผู้ถูกฟ้องคดีเป็นราชการส่วนภูมิภาค ตามพระราชบัญญัติระเบียบ บริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔ จึงเป็นหน่วยงานทางปกครอง ตามบทนิยาม “หน่วยงานทางปกครอง” ในมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ แต่ลักษณะของสัญญาจ้างก่อสร้างอาคารแฟลตพักแพทย์ระหว่างผู้ฟ้องคดีและผู้ถูกฟ้องคดีเป็นเพียง การที่ผู้ถูกฟ้องคดีว่าจ้างผู้ฟ้องคดีให้ก่อสร้างอาคารแฟลตพักแพทย์เพื่อใช้เป็นที่พักอาศัยเท่านั้น มิได้มีลักษณะเป็นสัญญาสัมปทาน สัญญาจัดให้มีสิ่งสาธารณูปโภคหรือแสวงประโยชน์จากทรัพยากร ธรรมชาติ และมิใช่สัญญาที่ผู้ถูกฟ้องคดีมอบให้ผู้ฟ้องคดีเข้าดำเนินการบริการสาธารณะโดยตรง หรือเข้าร่วมดำเนินการจัดทำบริการสาธารณะกับผู้ถูกฟ้องคดีอันจะถือว่าเป็นสัญญาที่ให้จัดทำบริการ สาธารณะ ตามนัยบทนิยาม “สัญญาทางปกครอง” ในมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครอง และวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ สัญญาจ้างก่อสร้างอาคารแฟลตพักแพทย์ระหว่างผู้ฟ้องคดี และผู้ถูกฟ้องคดีจึงเป็นเพียงสัญญาทางแพ่งของหน่วยงานทางปกครอง ข้อพิพาทในคดีนี้จึงไม่ใช่ คดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครองตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๔) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้ง ศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ที่จะอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษา ของศาลปกครอง หากแต่เป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางแพ่งที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษา ของศาลยุติธรรม คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๖๕/๒๕๖๕ คดีที่ บริษัท ฐ. จำกัด โจทก์ ยื่นฟ้อง มหาวิทยาลัยราชภัฏ ล. ที่ ๑ นาย ก. ที่ ๒ นาย ป. ที่ ๓ จำเลย ตามสัญญาจ้างก่อสร้างอาคารหอพักนักศึกษาครุศาสตร์ ระหว่างโจทก์และจำเลยที่ ๑ ขอให้ จำเลยทั้งสามร่วมกันชำระเงินให้แก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ย กรณีจึงมีปัญหาว่า สัญญาพิพาทเป็นสัญญา ทางปกครองหรือไม่ เห็นว่า คดีนี้แม้จำเลยที่ ๑ ซึ่งมีฐานะเป็นนิติบุคคลและเป็นส่วนราชการ ตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณในสังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ตามมาตรา ๔ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. ๒๕๔๗ จะเป็นหน่วยงานทางปกครอง ตามบทนิยาม “หน่วยงานทางปกครอง” ในมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ให้การศึกษา ส่งเสริมวิชาการและวิชาชีพชั้นสูง ทำการสอน วิจัย ให้บริการทางวิชาการแก่สังคม ปรับปรุง ถ่ายทอด และพัฒนาเทคโนโลยี ทะนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม ผลิตครูและส่งเสริมวิทยฐานะครู อันเป็นภารกิจ ในการจัดทำบริการสาธารณะด้านการศึกษา แต่ลักษณะของสัญญาจ้างก่อสร้างอาคาร หอพักนักศึกษาครุศาสตร์ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ ๑ เป็นเพียงการที่จำเลยที่ ๑ ว่าจ้างโจทก์ให้ คดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางแพ่ง อยู่ในเขตอำนาจของศาลยุติธรรม คดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางแพ่ง อยู่ในเขตอำนาจของศาลยุติธรรม


คดีพิพาทเกี่ยวกับ เขตอำนาจของศาลปกครอง รวมย่อคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่น่าสนใจ พ.ศ. ๒๕๕๖ - ๒๕๖๕ 217 ก่อสร้างอาคารหอพักนักศึกษาครุศาสตร์เพื่อใช้เป็นสถานที่ให้นักศึกษาครุศาสตร์เข้าพักในขณะเข้ารับ การศึกษากับจำเลยที่ ๑ เท่านั้น มิได้มีลักษณะเป็นสัญญาสัมปทาน สัญญาจัดให้มีสิ่งสาธารณูปโภค หรือแสวงประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ และมิใช่สัญญาที่จำเลยที่ ๑ มอบให้โจทก์เข้าดำเนินการ บริการสาธารณะโดยตรงหรือเข้าร่วมดำเนินการจัดทำบริการสาธารณะกับจำเลยที่ ๑ อันจะถือว่า เป็นสัญญาที่ให้จัดทำบริการสาธารณะตามนัยบทนิยาม “สัญญาทางปกครอง” ในมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ สัญญาจ้างก่อสร้าง อาคารหอพักนักศึกษาครุศาสตร์ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ ๑ จึงเป็นเพียงสัญญาทางแพ่งของหน่วยงาน ทางปกครอง ข้อพิพาทในคดีนี้จึงไม่ใช่คดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครองตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๔) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ที่จะอยู่ในอำนาจ พิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง หากแต่เป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางแพ่งที่อยู่ในอำนาจ พิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๔๙/๒๕๖๕ คดีนี้ กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร เป็นนิติบุคคล จัดตั้งขึ้นตามมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร พ.ศ. ๒๕๔๒ มีวัตถุประสงค์ในการส่งเสริม และสนับสนุนการรวมกลุ่มของเกษตรกร ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตและการแก้ไขปัญหาของเกษตรกร ฟื้นฟูและพัฒนาอาชีพเกษตรกรรมของเกษตรกร ได้รับเงินส่วนหนึ่งจากทุนประเดิมที่รัฐบาลจัดสรรให้ และเงินอุดหนุนจากรัฐบาลหรือที่ได้รับจากงบประมาณรายจ่ายประจำปี และในกรณีกองทุนมีจำนวนเงิน ไม่พอสำหรับค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของสำนักงานและค่าภาระต่าง ๆ ที่เหมาะสม มาตรา ๖ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวบัญญัติให้รัฐพึงจัดสรรงบประมาณแผ่นดินเข้าสมทบกองทุน เท่าจำนวนที่จำเป็น โดยมาตรา ๑๐ แห่งพระราชบัญญัติเดียวกันบัญญัติให้กองทุนไม่เป็นส่วนราชการ หรือรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร จึงมีลักษณะ เป็นหน่วยงานอื่นของรัฐ ซึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครอง ตามนัยบทนิยาม “หน่วยงานทางปกครอง” ในมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ โดยมี สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร จำเลย เป็นหน่วยงานธุรการ ดำเนินงานให้เป็นไป ตามวัตถุประสงค์ของกองทุน แต่เมื่อพิจารณาสัญญาพิพาท เป็นสัญญาเช่าซื้อทรัพย์สินประเภทที่ดิน ระหว่างนาย พ. โจทก์ที่ ๑ กับกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ซึ่งมีสาระสำคัญว่า โจทก์ที่ ๑ ในฐานะผู้เช่าซื้อได้ตกลงทำสัญญาเช่าซื้อที่ดินกับกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ในฐานะผู้ให้เช่าซื้อ ในราคา ๘๗๗,๘๖๓.๐๒ บาท ตกลงชำระพร้อมค่าบริการในอัตราร้อยละ ๓ ต่อปี ของค่าเช่าซื้อ โดยจะชำระให้เสร็จสิ้นภายในระยะเวลา ๕ ปี เมื่อผู้เช่าซื้อชำระค่าเช่าซื้อครบถ้วนแล้ว ผู้ให้เช่าซื้อ จะโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในทรัพย์สินที่เช่าซื้อให้แก่ผู้เช่าซื้อโดยตรงโดยไม่ชักช้า ซึ่งมีลักษณะ เป็นสัญญาเช่าซื้อทรัพย์สินทั่วไปที่พบเห็นได้ในการทำนิติสัมพันธ์ระหว่างเอกชนกับเอกชน สัญญา พิพาทไม่มีข้อกำหนดให้อำนาจผู้ให้เช่าซื้อบังคับการให้เป็นไปตามสัญญาฝ่ายเดียวที่จะแสดงให้เห็นถึง คดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางแพ่ง อยู่ในเขตอำนาจของศาลยุติธรรม


218 เอกสิทธิ์ของฝ่ายปกครอง และมิได้มีลักษณะเป็นสัญญาสัมปทาน สัญญาที่ให้จัดทำบริการสาธารณะ สัญญาจัดให้มีสิ่งสาธารณูปโภคหรือแสวงประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ อันจะถือเป็นสัญญา ทางปกครองตามบทนิยาม “สัญญาทางปกครอง” ในมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครอง และวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ เมื่อโจทก์ทั้งสองฟ้องว่าได้ชำระค่าเช่าซื้อให้แก่จำเลย ครบถ้วนแล้ว แต่จำเลยไม่โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินคืนแก่โจทก์ทั้งสองตามสัญญา ขอให้จำเลยจดทะเบียน โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ทั้งสองตามสัญญา ข้อพิพาทในคดีนี้จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับ สัญญาทางแพ่งของหน่วยงานทางปกครอง มิใช่คดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๔) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ที่จะอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง * คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๑๙/๒๕๖๕ และ ๑๑๘/๒๕๖๔ วินิจฉัยทำนองเดียวกัน คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๔๘/๒๕๖๕ คดีนี้ การประปานครหลวง ผู้ฟ้องคดี ฟ้องขอให้ธนาคาร ท. ผู้ถูกฟ้องคดี ในฐานะ ผู้ค้ำประกันรับผิดตามสัญญาค้ำประกันการปฏิบัติตามสัญญาของบริษัท ส. ผู้ขาย และโดยที่ลำพัง สัญญาค้ำประกันมิใช่สัญญาทางปกครอง แต่สัญญาค้ำประกันเป็นสัญญาอุปกรณ์ที่ความรับผิด ของผู้ค้ำประกันจะเกิดมีขึ้นต่อเมื่อลูกหนี้ชั้นต้นไม่ชำระหนี้นั้น กรณีจึงต้องพิจารณาว่า สัญญาซื้อขาย ระหว่างผู้ฟ้องคดีกับบริษัท ส. ผู้ขาย และบันทึกข้อตกลงแนบท้ายสัญญาซึ่งเป็นสัญญาประธานนั้น เป็นสัญญาทางปกครองหรือไม่ เห็นว่า แม้การประปานครหลวง ผู้ฟ้องคดี คู่สัญญาฝ่ายหนึ่ง เป็นรัฐวิสาหกิจที่ตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติมีฐานะเป็น “หน่วยงานทางปกครอง” ตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ แต่เมื่อพิจารณาสัญญา ซื้อขายท่อพีวีซี พร้อมยางหัวท่อ และบันทึกข้อตกลงแนบท้ายสัญญาระหว่างผู้ฟ้องคดี กับบริษัท ส. ผู้ขาย เป็นเพียงการจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์เพื่อนำมาใช้ในการดำเนินงานของผู้ฟ้องคดีเท่านั้น โดยสัญญา มีสาระสำคัญเพียงว่าให้บริษัท ส. ผู้ขาย ส่งมอบสิ่งของที่ซื้อขายให้ถูกต้องครบถ้วนตามที่กำหนดไว้ ในสัญญาและผู้ฟ้องคดีตกลงชำระเงินเมื่อได้รับมอบสิ่งของที่ซื้อขายไว้โดยครบถ้วน ลักษณะของ สัญญาพิพาทจึงเป็นเพียงสัญญาซื้อขายวัสดุอุปกรณ์ที่หน่วยงานทางปกครองผู้ซื้อและบริษัท ส. ผู้ขาย ผูกนิติสัมพันธ์บนพื้นฐานความเท่าเทียมกันของคู่สัญญา จึงมีลักษณะเป็นสัญญาซื้อขายทั่วไป ทั้งข้อกำหนดในสัญญาไม่ได้มีวัตถุประสงค์แห่งสัญญาเป็นการให้บริษัท ส. ผู้ขาย เข้าร่วมจัดทำบริการ สาธารณะโดยตรง อันจะถือว่าเป็นสัญญาที่ให้จัดทำบริการสาธารณะ และมิได้มีลักษณะเป็นสัญญา สัมปทาน สัญญาจัดให้มีสิ่งสาธารณูปโภคหรือแสวงประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ ตามบทนิยาม “สัญญาทางปกครอง” ตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ สัญญาซื้อขายระหว่างผู้ฟ้องคดีกับบริษัท ส. ผู้ขาย จึงมิใช่สัญญาทางปกครอง แต่เป็น เพียงสัญญาทางแพ่งของหน่วยงานทางปกครอง และมิใช่คดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง คดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางแพ่ง อยู่ในเขตอำนาจของศาลยุติธรรม


คดีพิพาทเกี่ยวกับ เขตอำนาจของศาลปกครอง รวมย่อคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่น่าสนใจ พ.ศ. ๒๕๕๖ - ๒๕๖๕ 219 ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๔) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ที่จะอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง ดังนี้ สัญญาค้ำประกันพิพาท ซึ่งเป็นสัญญาอุปกรณ์ที่ผู้ถูกฟ้องคดีให้ไว้ต่อผู้ฟ้องคดี เพื่อเป็นการค้ำประกันการปฏิบัติตามสัญญา ซื้อขายท่อพีวีซี พร้อมยางหัวท่อ และบันทึกข้อตกลงแนบท้ายสัญญา ซึ่งเป็นสัญญาประธาน จึงอยู่ ในอำนาจพิจารณาของศาลยุติธรรมเช่นเดียวกับสัญญาประธาน คดีนี้จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับ สัญญาทางแพ่งที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๔๑/๒๕๖๕ คดีที่บริษัท ท. จำกัด ซึ่งเป็นเอกชนยื่นฟ้ององค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย (อ.ส.ค.) จำเลยที่ ๑ นาย ส. (รองผู้อำนวยการจำเลยที่ ๑) จำเลยที่ ๒ ว่า จำเลยที่ ๒ ออกประกาศ เรื่อง การสรรหาตัวแทนบริหารธุรกิจแฟรนไชส์ร้าน THAI-DENMARK MILK LAND และเรื่อง ประกาศ ผู้ชนะการเสนอราคาการสรรหาตัวแทนบริหารจัดการธุรกิจแฟรนไชส์ร้าน THAI-DENMARK MILK LAND โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย และจำเลยที่ ๒ มีหนังสือบอกเลิกบันทึกข้อตกลงและบันทึกข้อตกลงแก้ไข เพิ่มเติมข้อความในสัญญาที่ให้โจทก์เป็นผู้จำหน่ายสินค้าและส่งวัตถุดิบให้แก่ร้าน THAI-DENMARK MILK LAND ทุกสาขา แต่เพียงผู้เดียว โดยยังไม่ครบกำหนดระยะเวลาตามบันทึกข้อตกลง ขอให้ จำเลยทั้งสองยกเลิกประกาศทั้งสองฉบับดังกล่าว และชดใช้ค่าเสียหายพร้อมดอกเบี้ย เห็นว่า ในส่วน คำฟ้องที่โจทก์ฟ้องขอให้ยกเลิกประกาศทั้งสองฉบับดังกล่าว ทั้งศาลจังหวัดสระบุรีและศาลปกครองกลาง มีความเห็นพ้องกันว่า คำฟ้องในข้อหานี้เป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือ เจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๑) แห่งพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษา ของศาลปกครอง คำฟ้องในข้อหานี้จึงไม่เป็นกรณีเขตอำนาจศาลขัดแย้งกัน ตามมาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ ที่คณะกรรมการ วินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลจะรับวินิจฉัย คดีคงมีปัญหาต้องวินิจฉัยเฉพาะคำฟ้อง ในข้อหาที่โจทก์ฟ้องว่า การที่จำเลยที่ ๒ มีหนังสือบอกเลิกบันทึกข้อตกลงและบันทึกข้อตกลงแก้ไข เพิ่มเติมข้อความในสัญญาพิพาท เป็นคดีพิพาทที่อยู่ในอำนาจศาลใด กรณีมีปัญหาต้องพิจารณาว่า บันทึกข้อตกลงและบันทึกข้อตกลงแก้ไขเพิ่มเติมข้อความในสัญญาพิพาทเป็นสัญญาทางปกครองหรือไม่ เห็นว่า เมื่อพิจารณาบันทึกข้อตกลงพิพาทระหว่างสโมสรผู้ปฏิบัติงาน อ.ส.ค. กับโจทก์ และบันทึก ข้อตกลงแก้ไขเพิ่มเติมข้อความในสัญญาพิพาทจะเห็นได้ว่า สโมสรผู้ปฏิบัติงาน อ.ส.ค. ทำบันทึกข้อตกลง ดังกล่าวในนามองค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย (อ.ส.ค.) ที่จัดตั้งขึ้นตามมาตรา ๕ แห่งพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๑๔ เป็นองค์การ ของรัฐบาลตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการจัดตั้งองค์การของรัฐบาล พ.ศ. ๒๔๙๖ ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจ โดยจำเลยที่ ๑ มอบหมายให้สโมสรผู้ปฏิบัติงาน อ.ส.ค. ไปทำบันทึกข้อตกลงกับโจทก์เพื่อตกลงให้ โจทก์เป็นผู้จำหน่ายสินค้าให้กับร้าน THAI-DENMARK MILK LAND และแฟรนไชส์ของร้านทุกสาขา คดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางแพ่ง อยู่ในเขตอำนาจของศาลยุติธรรม


220 อันเป็นวัตถุประสงค์ของจำเลยที่ ๑ ตามมาตรา ๗ แห่งพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การส่งเสริม กิจการโคนมแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๑๔ (๒) ที่มีวัตถุประสงค์ด้านธุรกิจอุตสาหกรรมโคนม ทั้งปรากฏตามหนังสือบอกเลิกบันทึกข้อตกลงที่จำเลยที่ ๑ โดยจำเลยที่ ๒ มีหนังสือถึงผู้จัดการ บริษัทโจทก์ เพื่อบอกเลิกบันทึกข้อตกลงระหว่างสโมสรผู้ปฏิบัติงาน อ.ส.ค. กับโจทก์ โดยให้มีผลทันที นับแต่วันที่โจทก์ได้รับหนังสือ และจำเลยที่ ๑ ขอสงวนสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากโจทก์ แสดงให้ เห็นว่าการกระทำของสโมสรผู้ปฏิบัติงาน อ.ส.ค. เป็นการกระทำแทนจำเลยที่ ๑ สัญญาตามบันทึก ข้อตกลงพิพาทจึงเป็นสัญญาที่มีคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครองหรือเป็นบุคคล ที่กระทำการแทนรัฐ อย่างไรก็ตาม บันทึกข้อตกลงพิพาทที่กำหนดให้โจทก์เป็นผู้จำหน่ายสินค้า ให้กับร้าน THAI-DENMARK MILK LAND และแฟรนไชส์ร้าน THAI-DENMARK MILK LAND ตามที่กำหนดไว้ในเอกสารแนบท้ายบันทึกข้อตกลง โดยสโมสรจะชำระค่าสินค้าให้กับโจทก์ภายใน ระยะเวลาที่กำหนดในใบวางบิลหรือใบแจ้งหนี้ และโจทก์ตกลงให้ส่วนลดค่าสินค้าแก่สโมสรในอัตรา อย่างน้อย ร้อยละ ๕ ของราคาที่ได้กำหนดไว้ในรายการสินค้า เป็นเพียงข้อตกลงที่มอบหมายให้โจทก์ ทำกิจการตามวัตถุประสงค์ของจำเลยที่ ๑ ด้านธุรกิจอุตสาหกรรมโคนม ซึ่งมิใช่วัตถุประสงค์ ด้านส่งเสริมกิจการโคนมตามมาตรา ๗ (๑) แห่งพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การส่งเสริมกิจการโคนม แห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๑๔ อันจะถือว่าเป็นวัตถุประสงค์ด้านการบริการสาธารณะ ลักษณะ ของสัญญาพิพาท จึงเป็นสัญญาทางแพ่ง และไม่มีลักษณะเป็นสัญญาทางปกครอง ตามบทนิยาม “สัญญาทางปกครอง” ในมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณา คดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ข้อพิพาทตามคำฟ้องในข้อหานี้จึงมิใช่คดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๔) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ที่จะอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง แต่เป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญา ทางแพ่งที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๓๒/๒๕๖๕ คดีนี้ แม้การประปาส่วนภูมิภาค ผู้ถูกฟ้องคดี จะเป็นรัฐวิสาหกิจและเป็นนิติบุคคล ที่จัดตั้งขึ้นตามมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติการประปาส่วนภูมิภาค พ.ศ. ๒๕๒๒ มีวัตถุประสงค์ ในการประกอบและส่งเสริมธุรกิจการประปาโดยการสำรวจ จัดหาแหล่งน้ำดิบ และจัดให้ได้มาซึ่งน้ำดิบ เพื่อใช้ในการผลิต จัดส่ง และจำหน่ายน้ำประปา รวมทั้งการดำเนินธุรกิจอื่นที่เกี่ยวกับหรือต่อเนื่อง กับธุรกิจการประปา เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่การให้บริการสาธารณูปโภค โดยคำนึงถึงประโยชน์ ของรัฐและสุขภาพอนามัยของประชาชนเป็นสำคัญ ผู้ถูกฟ้องคดีจึงเป็น “หน่วยงานทางปกครอง” ในมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ แต่เมื่อ พิจารณาสัญญาจ้างโครงการปรับปรุงระบบงานทางธุรกิจ (Upgrade SAP) การประปาส่วนภูมิภาค ระหว่างผู้ฟ้องคดีทั้งสี่กับผู้ถูกฟ้องคดี ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพียงเพื่อปรับปรุงระบบงานทางธุรกิจ คดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางแพ่ง อยู่ในเขตอำนาจของศาลยุติธรรม


คดีพิพาทเกี่ยวกับ เขตอำนาจของศาลปกครอง รวมย่อคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่น่าสนใจ พ.ศ. ๒๕๕๖ - ๒๕๖๕ 221 (Upgrade SAP) ที่ใช้อยู่เดิม SAP R/๓ Version ๔.๖ C และระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร SAP BW Version ๓.๐ เป็น SAP BW Version ๗.๓ รวมทั้งจัดซื้อและติดตั้งเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลอุปกรณ์เครือข่ายของระบบงานทางธุรกิจ (SAP) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ในการดำเนินธุรกิจ การตัดสินใจของผู้บริหารและสอดคล้องกับเทคโนโลยีปัจจุบัน พร้อมทั้งฝึกอบรม บุคลากรของผู้ถูกฟ้องคดี ให้สามารถใช้ระบบงานทางธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพให้บริการสนับสนุน ภายในองค์กรรองรับมาตรฐานบัญชีใหม่ (International Financial Reporting Standards : IFRS) รวมทั้งปรับปรุงระบบและวิธีการใช้งานให้สอดคล้องกับมาตรฐานที่มีอยู่ใน SAP Version ECC ๖.๐ เพื่อรองรับงานในอนาคตทั้งในด้านของความต้องการใหม่ที่อาจจะเกิดขึ้นและการปรับปรุงการบริหาร งานองค์กรต่าง ๆ เท่านั้น ลักษณะของสัญญาจ้างโครงการปรับปรุงระบบงานทางธุรกิจ (Upgrade SAP) เป็นเพียงสัญญาที่ผู้ถูกฟ้องคดีว่าจ้างให้ผู้ฟ้องคดีทั้งสี่ปรับปรุงงานทางธุรกิจของผู้ถูกฟ้องคดี ในการนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติการและการบริหาร ในรูปแบบการบูรณาการ เพื่อรองรับและสนับสนุนภารกิจการทำงานของผู้ถูกฟ้องคดีอย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ได้มีวัตถุประสงค์แห่งสัญญาเป็นการให้ผู้ฟ้องคดีทั้งสี่เข้าร่วมจัดทำบริการสาธารณะโดยตรง ทั้งมิได้มีลักษณะเป็นสัญญาสัมปทาน สัญญาจัดให้มีสิ่งสาธารณูปโภคหรือแสวงประโยชน์จาก ทรัพยากรธรรมชาติ ตามบทนิยาม “สัญญาทางปกครอง” ในมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้ง ศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ สัญญาจ้างปรับปรุงระบบงานทางธุรกิจ (Upgrade SAP) ระหว่างผู้ถูกฟ้องคดีกับผู้ฟ้องคดีทั้งสี่จึงเป็นสัญญาทางแพ่งของหน่วยงานทางปกครอง ข้อพิพาทตามคำฟ้องในคดีนี้จึงมิใช่คดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๔) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ที่จะอยู่ในอำนาจ พิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง แต่เป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางแพ่งที่อยู่ในอำนาจพิจารณา พิพากษาของศาลยุติธรรม คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๖/๒๕๖๕ คดีนี้กรุงเทพมหานคร โจทก์เป็นราชการส่วนท้องถิ่น จึงเป็นหน่วยงานทางปกครอง ตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ และการทำสัญญาซื้อขายเครื่องสูบน้ำดับเพลิง ชนิดหาบหาม จำนวน ๖๖ เครื่อง ตามฟ้อง เป็นสัญญา ที่ทำขึ้นระหว่างโจทก์โดยผู้อำนวยการสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของโจทก์ ผู้ซื้อ กับบริษัทเอกชน จำเลย ผู้ขาย สัญญาพิพาทจึงเป็นสัญญาที่มีคู่ความฝ่ายหนึ่งเป็นหน่วยงาน ทางปกครองหรือเป็นบุคคลซึ่งกระทำการแทนรัฐ แต่เมื่อพิจารณาลักษณะของสัญญาพิพาทเป็นสัญญา ซื้อขายเครื่องสูบน้ำดับเพลิง ชนิดหาบหาม จำนวน ๖๖ เครื่อง ซึ่งเป็นเพียงการจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ เพื่อนำมาใช้ในงานของโจทก์เท่านั้น โดยโจทก์มีหน้าที่ชำระเงินเมื่อได้รับมอบสินค้าที่ซื้อขายและจำเลย มีหน้าที่ส่งมอบสินค้าตามที่ตกลงซื้อขายให้ครบถ้วนตามสัญญา สัญญาดังกล่าวจึงมิใช่สัญญาที่ให้ จำเลยเข้าร่วมจัดทำบริการสาธารณะ ทั้งสัญญาพิพาทไม่มีลักษณะเป็นสัญญาสัมปทานหรือสัญญา คดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางแพ่ง อยู่ในเขตอำนาจของศาลยุติธรรม


222 จัดให้มีสิ่งสาธารณูปโภคหรือสัญญาแสวงประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ อันจะถือว่าเป็น “สัญญาทางปกครอง” ตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ดังนั้น สัญญาซื้อขายเครื่องสูบน้ำดับเพลิง ชนิดหาบหาม จำนวน ๖๖ เครื่อง ระหว่าง โจทก์กับจำเลยจึงเป็นเพียงสัญญาทางแพ่งที่มีคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครองหรือ บุคคลที่กระทำการแทนรัฐ ข้อพิพาทตามคำฟ้องในคดีนี้จึงมิใช่คดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๔) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ที่จะอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง หากแต่เป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับ สัญญาทางแพ่งที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม * คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๙๑ - ๙๒/๒๕๖๔ วินิจฉัยทำนองเดียวกัน ในเรื่องสัญญาซื้อขายรถลากจูงพร้อมรถกึ่งพ่วงแบบพื้นระวางต่ำ คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๕/๒๕๖๕ คดีนี้ นางสาว ส. เป็นโจทก์ ยื่นฟ้อง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่ ๑ นาง ก. ที่ ๒ จำเลย ว่า โจทก์เป็นพนักงานของจำเลยที่ ๑ ด้วยวิธีการสอบคัดเลือกและด้วยความเห็นชอบของคณะกรรมการ สรรหา โดยจำเลยที่ ๑ ได้ทำสัญญาจ้างโจทก์มีกำหนดระยะเวลาจ้างคราวละ ๔ ปี ดำรงตำแหน่ง รองผู้จัดการฝ่ายบริหารพื้นที่ธุรกิจ สังกัดสำนักงานจัดการทรัพย์สิน มีจำเลยที่ ๒ เป็นผู้บังคับบัญชา เมื่อวันที่ ๙ ตุลาคม ๒๕๕๖ จำเลยที่ ๒ กับพวกได้ร่วมกันกลั่นแกล้งโจทก์ด้วยการออกคำสั่งสำนักงาน จัดการทรัพย์สิน โอนย้ายโจทก์จากตำแหน่งรองผู้จัดการฝ่ายบริหารพื้นที่ธุรกิจ มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ ให้ไปปฏิบัติงานเฉพาะภาระงานที่ผู้จัดการมอบหมาย ซึ่งลักษณะงานแตกต่างจาก ที่โจทก์ได้ปฏิบัติหน้าที่เดิม จึงเป็นการเปลี่ยนแปลงหน้าที่งานและย้ายโจทก์ไปทำงานในตำแหน่งที่ ต่ำกว่าเดิม คำสั่งเปลี่ยนแปลงหน้าที่โจทก์จึงไม่เป็นธรรมอันเป็นการฝ่าฝืนต่อระเบียบข้อตกลงโดยที่ จำเลยที่ ๒ ไม่มีอำนาจ และกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายด้วยการใช้ให้นาย ภ. ออกคำสั่งให้ โจทก์ชี้แจงข้อเท็จจริง กรณีถูกร้องเรียนว่ามีการเอื้อประโยชน์ต่อบุคคลในครอบครัวในการประกอบ กิจการร้านค้าที่ตลาดนัด ศูนย์อาหารและศูนย์ประชุมธรรมศาสตร์รังสิต จากนั้นได้ออกคำสั่ง สำนักงานจัดการทรัพย์สิน แต่งตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงโจทก์โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ขอให้ศาลพิพากษาหรือมีคำสั่งให้จำเลยที่ ๑ เพิกถอนคำสั่งจำเลยที่ ๒ ที่โอนย้ายโจทก์จากตำแหน่ง รองผู้จัดการฝ่ายบริหารพื้นที่ธุรกิจ ให้ปฏิบัติงานเฉพาะภาระงานที่ผู้จัดการมอบหมาย และให้โจทก์ กลับคืนตำแหน่งรองผู้จัดการฝ่ายบริหารพื้นที่ธุรกิจ หากจำเลยทั้งสองไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษา หรือคำสั่ง ให้ถือคำพิพากษาของศาลเป็นการแสดงเจตนา คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยว่า สัญญาจ้างงานระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ ๑ เป็นสัญญาทางปกครอง หรือไม่ เห็นว่า แม้ในขณะเกิดเหตุ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จำเลยที่ ๑ เป็นสถาบันอุดมศึกษา และเป็นส่วนราชการส่วนกลาง สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ. ๒๕๓๑ มีวัตถุประสงค์ให้การศึกษา คดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางแพ่ง อยู่ในเขตอำนาจของศาลยุติธรรม


คดีพิพาทเกี่ยวกับ เขตอำนาจของศาลปกครอง รวมย่อคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่น่าสนใจ พ.ศ. ๒๕๕๖ - ๒๕๖๕ 223 ส่งเสริมวิชาการและวิชาชีพชั้นสูง ทำการสอน ทำการวิจัย ให้บริการทางวิชาการแก่สังคม และทำนุบำรุง ศิลปวัฒนธรรมของชาติ ตามมาตรา ๗ แห่งพระราชบัญญัติเดียวกัน จำเลยที่ ๑ จึงเป็นหน่วยงาน ทางปกครอง และจำเลยที่ ๒ รับราชการในหน่วยงานของจำเลยที่ ๑ ตำแหน่งรองอธิการบดีฝ่ายวางแผน และบริหารศูนย์รังสิต จำเลยที่ ๒ จึงเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้ง ศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ แต่ระเบียบมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ว่าด้วย สำนักงานจัดการทรัพย์สิน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ. ๒๕๔๒ ข้อ ๖ กำหนดให้สำนักงาน จัดการทรัพย์สินมีฐานะเป็นหน่วยงานของจำเลยที่ ๑ ที่มิใช่ส่วนราชการ ทำหน้าที่รับผิดชอบบริหารจัดการ ทรัพย์สินของจำเลยที่ ๑ ตามระเบียบนี้ โดยข้อ ๗ กำหนดให้สำนักงานเป็นผู้บริหารจัดการทรัพย์สิน ของจำเลยที่ ๑ ศูนย์รังสิต ที่เป็นอาคารและสิ่งปลูกสร้าง และที่ดินอันเป็นที่ตั้งของอาคารและ สิ่งปลูกสร้างดังกล่าว ซึ่งจำเลยที่ ๑ ได้รับมอบหมายให้ดูแลรักษาและใช้ประโยชน์ ภายหลังการแข่งขัน กีฬาเอเชี่ยนเกมส์ ครั้งที่ ๑๓ ตามมติคณะรัฐมนตรี หรือทรัพย์สินอื่นที่สภามหาวิทยาลัยมอบหมาย และข้อ ๑๐ กำหนดว่า ในการบริหารจัดการทรัพย์สิน สำนักงานอาจหาประโยชน์โดยการให้เช่า ให้ใช้ประโยชน์ในที่ดิน อาคาร หรือสิ่งปลูกสร้าง ให้อาศัยหรือให้สิทธิอย่างอื่นในทำนองเดียวกัน โดยมีค่าตอบแทนตามที่คณะกรรมการกำหนด สำนักงานจัดการทรัพย์สิน จึงมีลักษณะเป็นหน่วยงานพิเศษ ที่ตั้งขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ในการจัดหาประโยชน์จากทรัพย์สินของมหาวิทยาลัยเช่นเดียวกับเอกชน มิได้มีหน้าที่ในการจัดทำบริการสาธารณะตามวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สัญญาที่จำเลยที่ ๑ ว่าจ้างโจทก์ให้ปฏิบัติหน้าที่รองผู้จัดการฝ่ายบริหารพื้นที่ธุรกิจ สำนักงานจัดการทรัพย์สิน จึงไม่ใช่สัญญาที่จำเลยที่ ๑ มอบหมายให้โจทก์เข้าร่วมจัดทำบริการสาธารณะตามวัตถุประสงค์ ของการจัดตั้งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อันจะถือได้ว่าเป็น “สัญญาทางปกครอง” ตามบทนิยาม ในมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ข้อพิพาท ในคดีนี้จึงมิใช่คดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๔) แห่งพระราชบัญญัติ เดียวกัน ซึ่งจะอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง แต่เป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางแพ่ง ที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๑๑๐/๒๕๖๔ คดีนี้แม้กรมท่าอากาศยาน จำเลย เป็นหน่วยงานทางปกครอง แต่เมื่อพิจารณาลักษณะ ของสัญญาเช่าที่ดินราชพัสดุระหว่างโจทก์กับท่าอากาศยานอุดรธานี ซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัดจำเลย มีสาระสำคัญเป็นการให้โจทก์ได้ประโยชน์จากการใช้ที่ดินที่เช่าเพื่อประกอบกิจการบริหารลานจอดรถยนต์ สำนักงาน ร้านค้าและบริการเพื่อประโยชน์ในกิจการของโจทก์โดยตรง โดยจำเลยได้ค่าเช่าเป็น ผลประโยชน์ตอบแทนเท่านั้น มิได้มีลักษณะเป็นสัญญาสัมปทาน สัญญาจัดให้มีสิ่งสาธารณูปโภค หรือแสวงประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ และมิใช่สัญญาที่จำเลยมอบให้โจทก์เข้าดำเนินการ บริการสาธารณะโดยตรงหรือเข้าร่วมดำเนินการจัดทำบริการสาธารณะกับจำเลย อันจะถือว่าเป็นสัญญา ที่ให้จัดทำบริการสาธารณะ สัญญาพิพาทจึงไม่เป็นสัญญาทางปกครอง ตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติ คดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางแพ่ง อยู่ในเขตอำนาจของศาลยุติธรรม


224 จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ สัญญาเช่าที่ดินราชพัสดุระหว่างโจทก์ กับจำเลยจึงเป็นเพียงสัญญาทางแพ่งของหน่วยงานทางปกครอง ข้อพิพาทตามคำฟ้องในคดีนี้จึงมิใช่ คดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๔) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้ง ศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ที่จะอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของ ศาลปกครอง แต่เป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางแพ่งที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม * คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๔/๒๕๖๑ วินิจฉัยทำนองเดียวกันในเรื่องสัญญาเช่า ที่ดินราชพัสดุเพื่อที่อยู่อาศัย คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๙๗/๒๕๖๔ คดีที่ ผู้ฟ้องคดีทั้งสองเป็นเอกชน ยื่นฟ้ององค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัวศาลา ที่ ๑ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัวศาลา ที่ ๒ ผู้ถูกฟ้องคดี อ้างว่า ผู้ฟ้องคดีทั้งสองและผู้อื่นรวม ๑๑ คน ในนามกลุ่มเกษตรเสรีบ้านอ่างหนองแหน ในฐานะผู้ยืมได้ตกลงร่วมกันทำสัญญายืมเงินทุน โครงการเศรษฐกิจชุมชน กับผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ มีผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ เป็นผู้กระทำการแทนในฐานะผู้ให้ยืม แต่ไม่สามารถชำระหนี้คืนได้ตามกำหนด ผู้ฟ้องคดีที่ ๑ จึงได้ชำระคืนเงินต้นให้แก่ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสอง แต่เจ้าหน้าที่ของผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองจะหักดอกเบี้ยจากเงินต้น ทั้งผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองยังคิดดอกเบี้ย จากผู้ฟ้องคดีที่ ๒ อันเป็นการแสวงหาประโยชน์โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ขอให้ศาลบังคับให้ผู้ถูกฟ้องคดี ทั้งสองคืนเงินต้นพร้อมค่าเสียหายให้แก่ผู้ฟ้องคดีที่ ๑ และดอกเบี้ยที่ชำระไว้เกินให้แก่ผู้ฟ้องคดีที่ ๒ เมื่อพิจารณาสัญญายืมเงินทุนโครงการเศรษฐกิจชุมชน แม้สัญญาจะมีข้อกำหนดให้ผู้ฟ้องคดีทั้งสอง ปฏิบัติตามระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการดำเนินงานโครงการเศรษฐกิจชุมชน พ.ศ. ๒๕๔๑ และที่แก้ไขเพิ่มเติมทุกประการ ก็เป็นเพียงการกำหนดสิทธิหน้าที่ระหว่างคู่สัญญาอันเป็นความสัมพันธ์ ในทางแพ่งทั่วไปของผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองผู้ให้ยืมในฐานะเจ้าหนี้เร่งรัดติดตามทวงถามการชำระหนี้ และดำเนินการตามกฎหมายกับกลุ่มอาชีพเกษตรกรผู้ฟ้องคดีทั้งสองผู้ยืมในฐานะลูกหนี้ที่ผิดนัด ชำระหนี้ไม่ให้ขาดอายุความ สัญญาพิพาทจึงเป็นเพียงสัญญากู้ยืมเงินที่เอกชนผู้ยืมมุ่งผูกพันตน กับหน่วยงานทางปกครองผู้ให้ยืมด้วยใจสมัครบนพื้นฐานแห่งความเสมอภาค ไม่ได้มีวัตถุประสงค์ แห่งสัญญาเป็นการให้ผู้ฟ้องคดีทั้งสองเข้าร่วมจัดทำบริการสาธารณะโดยตรง ทั้งมิได้มีลักษณะเป็น สัญญาสัมปทาน สัญญาจัดให้มีสิ่งสาธารณูปโภคหรือแสวงประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ ตามบทนิยาม “สัญญาทางปกครอง” ในมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธี พิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ สัญญากู้ยืมเงินระหว่างผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองกับผู้ฟ้องคดีทั้งสอง จึงเป็นสัญญาทางแพ่งของหน่วยงานทางปกครอง ข้อพิพาทตามคำฟ้องในคดีนี้จึงมิใช่คดีพิพาท เกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๔) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครอง และวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ที่จะอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง แต่เป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางแพ่งที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม คดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางแพ่ง อยู่ในเขตอำนาจของศาลยุติธรรม


คดีพิพาทเกี่ยวกับ เขตอำนาจของศาลปกครอง รวมย่อคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่น่าสนใจ พ.ศ. ๒๕๕๖ - ๒๕๖๕ 225 คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๕๒/๒๕๖๔ คดีที่ บริษัททีโอที จำกัด (มหาชน) ยื่นฟ้องผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสามซึ่งเป็นเอกชนว่า ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ที่ ๒ ไม่ปฏิบัติตามบันทึกความเข้าใจโครงการทดลองการให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์ เคลื่อนที่ ๓G ระหว่างผู้ฟ้องคดีและผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ และข้อตกลงต่อท้าย ซึ่งผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ เป็นผู้รับ โอนสิทธิและหน้าที่ตามบันทึกความเข้าใจดังกล่าว โดยมีหนังสือค้ำประกันของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ เป็นหลักประกันการปฏิบัติตามบันทึกความเข้าใจ ขอให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และที่ ๒ ร่วมกันชำระเงิน ค่าบริการ ค่าธรรมเนียม และค่าใช้จ่ายอื่นพร้อมดอกเบี้ย และให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ชำระค่าเสียหาย พร้อมดอกเบี้ย เห็นว่า ผู้ฟ้องคดี เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทมหาชน จำกัด ถูกจัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติ ทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. ๒๕๔๒ โดยแปลงสภาพมาจากองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจ ที่มีอำนาจหน้าที่ประกอบกิจการโทรศัพท์ แต่ผู้ฟ้องคดีจะมีฐานะเป็นหน่วยงานทางปกครอง ประเภทหน่วยงานที่ได้รับมอบหมายให้ใช้อำนาจทางปกครองหรือให้ดำเนินกิจการทางปกครอง ตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ได้ก็ต่อเมื่อผู้ฟ้องคดีได้กระทำการเกี่ยวกับการบริการสาธารณะหรือใช้อำนาจทางปกครองในการดำเนิน บริการสาธารณะตามที่ได้รับมอบหมายจากรัฐ นอกเหนือจากนี้แล้วการกระทำของผู้ฟ้องคดี ย่อมเป็นการประกอบธุรกิจเช่นเดียวกับเอกชนทั่วไป บันทึกความเข้าใจและข้อตกลงต่อท้าย มีลักษณะเป็นสัญญาที่ผู้ฟ้องคดีซึ่งเป็นผู้ได้รับอนุญาตให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ ๓G ในระบบ Wideband Code-Division Multiple Access (WCDMA) จากคณะกรรมการกิจการ โทรคมนาคมแห่งชาติและมีโครงข่ายเป็นของตนเองตกลงกับผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และที่ ๒ ซึ่งเป็น ผู้ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการโทรคมนาคมแต่ไม่มีโครงข่ายเป็นของตนเองเพื่อให้ความร่วมมือ ดำเนินโครงการทดลองการบริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ ๓G เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ ในการให้บริการขายส่งและขายต่อบริการโทรคมนาคมเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ ๓G ภายใต้ เครื่องหมายการค้า และช่องทางการจัดจำหน่ายของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และที่ ๒ วัตถุประสงค์ ของสัญญาจึงมีลักษณะเป็นการประกอบกิจการเชิงพาณิชย์ และเมื่อพิจารณามาตรา ๒๕ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. ๒๕๔๔ ประกอบกับประกาศคณะกรรมการ กิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง การประกอบกิจการโทรคมนาคมประเภทขายส่งบริการ และบริการขายต่อบริการ กำหนดให้ผู้รับใบอนุญาตที่มีโครงข่ายโทรคมนาคมต้องยินยอม ให้ผู้รับอนุญาตรายอื่นใช้โครงข่ายโทรคมนาคมของตน โดยได้กำหนดขั้นตอนการเจรจาและการทำ สัญญาการบริการขายต่อบริการไว้ ในข้อ ๙ - ๑๘ ของประกาศดังกล่าว เห็นได้ว่า สิทธิ หน้าที่ระหว่าง ผู้ฟ้องคดีและผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และที่ ๒ ตามสัญญาอยู่ภายใต้เงื่อนไขการเจรจาตกลงในทางพาณิชย์ หรือธุรกิจในการประกอบกิจการโทรคมนาคม อันเป็นความสัมพันธ์ตามกฎหมายเอกชน บันทึกความเข้าใจ และข้อตกลงต่อท้ายบันทึกความเข้าใจฉบับพิพาทจึงมิใช่สัญญาที่มีคู่สัญญาอย่างน้อยฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง เป็นหน่วยงานทางปกครองหรือเป็นบุคคลซึ่งกระทำการแทนรัฐ และมีลักษณะเป็นสัญญาสัมปทาน สัญญาที่ให้จัดทำบริการสาธารณะ หรือจัดให้มีสิ่งสาธารณูปโภคหรือแสวงประโยชน์จากทรัพยากร คดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางแพ่ง อยู่ในเขตอำนาจของศาลยุติธรรม


226 ธรรมชาติ ตามบทนิยามสัญญาทางปกครอง ตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครอง และวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ อันจะอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง หากแต่เป็นสัญญาทางแพ่งที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม และข้อพิพาทเกี่ยวกับ สัญญาค้ำประกันระหว่างผู้ฟ้องคดีกับผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ซึ่งเป็นสัญญาอุปกรณ์จึงอยู่ในอำนาจพิจารณา พิพากษาของศาลยุติธรรมเช่นเดียวกัน คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๓๓/๒๕๖๔ แม้สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ จำเลย จะเป็นส่วนราชการและ มีฐานะเป็นนิติบุคคล อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ จัดตั้งขึ้น โดยพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๖๐ มีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบงานธุรการและดำเนินการเพื่อให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ บรรลุภารกิจและหน้าที่ตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญและตามที่พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ดังกล่าวกำหนดไว้ จึงเป็นหน่วยงานทางปกครอง ตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครอง และวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ แต่คดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาจ้างปรับปรุงสถานที่ศูนย์สารสนเทศ สิทธิมนุษยชน ณ สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ระหว่าง ห้างหุ้นส่วนจำกัด ก. โจทก์ ซึ่งเป็นผู้รับจ้างกับสำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ จำเลย ซึ่งเป็นผู้ว่าจ้าง เมื่อพิจารณา ขอบเขตงานที่โจทก์ต้องดำเนินการตามสัญญาจ้างฉบับพิพาทแล้ว โจทก์มีหน้าที่เพียงปรับปรุงสถานที่ ศูนย์สารสนเทศสิทธิมนุษยชนของจำเลย เพื่อให้จำเลยมีสถานที่ที่เหมาะสมต่อการปฏิบัติงาน และการให้บริการข้อมูลสารสนเทศตามอำนาจหน้าที่เท่านั้น สัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงไม่มี ลักษณะเป็นการว่าจ้างให้โจทก์เข้าร่วมจัดทำบริการสาธารณะ และไม่มีลักษณะเป็นสัญญาสัมปทาน สัญญาที่ให้จัดทำบริการสาธารณะ หรือจัดให้มีสิ่งสาธารณูปโภคหรือแสวงประโยชน์จากทรัพยากร ธรรมชาติ ตามบทนิยามสัญญาทางปกครองตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครอง และวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ข้อพิพาทตามคำฟ้องในคดีนี้จึงมิใช่คดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญา ทางปกครอง ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๔) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณา คดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ที่จะอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง แต่เป็นคดีที่อยู่ในอำนาจ พิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๑๙/๒๕๖๔ คดีที่เอกชนเป็นโจทก์ยื่นฟ้องมหาวิทยาลัยแม่โจ้ (คณะผลิตกรรมการเกษตร) ที่ ๑ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ร. ที่ ๒ จำเลย ซึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครองและเจ้าหน้าที่ของรัฐว่า จำเลยที่ ๑ โดยจำเลยที่ ๒ และตัวแทนของจำเลยที่ ๑ ได้สั่งซื้อสินค้าเมล็ดพันธุ์จากโจทก์เพื่อนำไปใช้ในงานวิจัย ของคณะผลิตกรรมการเกษตรของจำเลยที่ ๑ โจทก์ส่งมอบสินค้าให้แก่จำเลยทั้งสองครบถ้วนแล้ว และเรียกเก็บเงินค่าสินค้าแต่จำเลยทั้งสองเพิกเฉย ขอให้บังคับจำเลยทั้งสองชำระค่าสินค้าและ คดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางแพ่ง อยู่ในเขตอำนาจของศาลยุติธรรม


คดีพิพาทเกี่ยวกับ เขตอำนาจของศาลปกครอง รวมย่อคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่น่าสนใจ พ.ศ. ๒๕๕๖ - ๒๕๖๕ 227 ค่าขาดประโยชน์พร้อมดอกเบี้ย กรณีจึงมีปัญหาว่า ข้อตกลงซื้อขายเมล็ดพันธุ์เป็นสัญญาทางปกครอง หรือไม่ เห็นว่า ข้อตกลงการซื้อขายเมล็ดพันธุ์เป็นสัญญาที่มีคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครอง แต่ข้อตกลงดังกล่าวเป็นเพียงการจัดซื้อวัสดุทางการเกษตรเพื่อนำมาใช้ในงานของจำเลยที่ ๑ เท่านั้น โดยจำเลยที่ ๑ มีหน้าที่ชำระเงินเมื่อได้รับมอบสินค้าที่ซื้อขายและโจทก์มีหน้าที่ส่งมอบสินค้า ให้ครบถ้วนตามสัญญา ทั้งมิได้มีลักษณะเป็นสัญญาสัมปทาน สัญญาที่ให้จัดทำบริการสาธารณะ หรือจัดให้มีสิ่งสาธารณูปโภคหรือแสวงประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ ตามบทนิยามสัญญา ทางปกครองตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ ๑ จึงเป็นเพียงสัญญาทางแพ่งของหน่วยงานทางปกครอง ข้อพิพาทตามคำฟ้องในคดีนี้จึงมิใช่คดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครองตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๔) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ที่จะอยู่ในอำนาจ พิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง แต่เป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางแพ่งที่อยู่ในอำนาจพิจารณา พิพากษาของศาลยุติธรรม คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๑๐๘/๒๕๖๓ กรณีมีปัญหาต้องพิจารณาว่า ข้อตกลงเช่าอุปกรณ์วิทยุสื่อสารระหว่างโจทก์กับบริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด เป็นสัญญาทางปกครองหรือไม่ เห็นว่า บริษัทวิทยุการบิน แห่งประเทศไทย จำกัด จำเลย เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ แต่ได้รับมอบหมายจากรัฐบาลให้เป็นหน่วยงานผู้ให้บริการการเดินอากาศของประเทศ โดยรัฐบาล ได้รับโอนกิจการเข้ามาดำเนินงานในรูปแบบองค์กรของรัฐบาล และมอบหมายให้บริหารการจราจร ทางอากาศ การสื่อสารการบิน การให้บริการระบบช่วยการเดินอากาศ และระบบติดตามอากาศยาน ให้บริการข่าวสารการเดินอากาศและงานแผนที่เดินอากาศ อันเป็นภารกิจของรัฐ จำเลยจึงเป็น รัฐวิสาหกิจที่จัดตั้งขึ้นในรูปแบบบริษัทจำกัด ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ไม่ใช่รัฐวิสาหกิจ ที่จัดตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกาที่จะถือว่าเป็นหน่วยงานทางปกครอง ตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.๒๕๔๒ อย่างไรก็ตาม จำเลยอาจเป็นหน่วยงานทางปกครองประเภทหน่วยงานที่ได้รับมอบหมายให้ใช้อำนาจทางปกครอง หรือให้ดำเนินกิจการทางปกครองได้ หากจำเลยได้กระทำการตามหน้าที่หรืออำนาจที่ได้รับมอบหมาย จากรัฐ นอกเหนือจากนี้แล้ว การกระทำของจำเลยย่อมเป็นการดำเนินการในฐานะบริษัทจำกัด เช่นเดียวกับนิติบุคคลเอกชนทั่วไป เมื่อพิจารณาเนื้อหาของข้อตกลงเช่าอุปกรณ์วิทยุสื่อสารที่พิพาท มีสาระสำคัญเพียงจำเลยซึ่งเป็นผู้ให้เช่าตกลงให้ผู้เช่าเช่าอุปกรณ์วิทยุสื่อสารเพื่อใช้ในกิจการ ด้านการขนส่งสินค้าภายในเขตปลอดอากร ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ โดยจำเลยได้รับผลประโยชน์ ตอบแทนเป็นค่าเช่ารายเดือน มิใช่การให้บริการควบคุมการจราจรทางอากาศ ให้บริการสื่อสารการบิน และให้บริการเครื่องช่วยการเดินอากาศ ที่เป็นการดำเนินกิจการทางปกครอง อันจะถือได้ว่าจำเลย กระทำการในฐานะที่เป็นหน่วยงานที่ได้รับมอบหมายให้ใช้อำนาจทางปกครองหรือให้ดำเนินกิจการ คดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางแพ่ง อยู่ในเขตอำนาจของศาลยุติธรรม


228 ทางปกครอง การกระทำของจำเลยตามข้อตกลงนี้จึงไม่ทำให้จำเลยมีฐานะเป็นหน่วยงานทางปกครอง ข้อตกลงหรือสัญญาพิพาทจึงเป็นสัญญาที่มีคู่สัญญาเป็นเอกชนด้วยกัน จึงเป็นสัญญาทางแพ่งไม่ใช่ สัญญาทางปกครอง ตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ คดีนี้จึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๒๔/๒๕๖๓ องค์การคลังสินค้า โจทก์ เป็นรัฐวิสาหกิจจัดตั้งขึ้นโดยพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การ คลังสินค้า พ.ศ. ๒๔๙๘ ออกตามความในมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการจัดตั้งองค์การ ของรัฐบาล พ.ศ. ๒๔๙๖ เพื่อดำเนินกิจการอันเป็นสาธารณประโยชน์หรือเพื่อประโยชน์ในการ เศรษฐกิจ หรือช่วยเหลือในการครองชีพหรืออำนวยบริการแก่ประชาชน มีวัตถุประสงค์ทำกิจการ ทั้งปวงเกี่ยวกับสินค้าเกษตรและสินค้าอุปโภคบริโภค รวมทั้งธุรกิจบริการที่เกี่ยวข้องกับสินค้าเกษตร และสินค้าอุปโภคบริโภค โจทก์จึงเป็นหน่วยงานทางปกครองตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ สัญญาซื้อขายกุ้งพิพาทจึงเป็นสัญญา ที่มีคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครอง แต่เมื่อพิจารณาลักษณะและข้อกำหนดในสัญญา เป็นสัญญาที่โจทก์ตกลงขายกุ้งขาวแวนนาไมแช่แข็งชนิดหัว จำนวน ๔๘๙,๖๕๔.๗๐๐ กิโลกรัมเป็นเงิน ๖๘,๓๑๔,๘๒๐.๖๐ บาท ให้แก่จำเลยที่ ๑ ซึ่งเป็นบริษัทมหาชนจำกัด ผู้ประกอบกิจการค้าขาย แช่แข็งและแช่เย็น เพื่อจำหน่ายในประเทศและนำส่งออกต่างประเทศ แม้สัญญาซื้อขายดังกล่าว จะเป็นไปเพื่อระบายสินค้าที่โจทก์รับจำนำจากเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งตามโครงการแทรกแซงตลาดกุ้ง ปี ๒๕๔๘/๔๙ แต่ก็มิใช่สัญญารับจำนำกุ้งจากเกษตรกร อันจะถือเป็นมาตรการของรัฐในการช่วยเหลือ เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งโดยการพยุงราคากุ้งตามกลไกของตลาดปกติ แต่มีลักษณะเป็นสัญญาซื้อขาย เพื่อการพาณิชย์และหวังผลกำไรในการประกอบธุรกิจเช่นเดียวกับสัญญาซื้อขายในทางแพ่งทั่วไป ทั้งข้อกำหนดของสัญญาดังกล่าวไม่มีลักษณะพิเศษที่แสดงถึงเอกสิทธิ์ของรัฐ อันจะแสดงให้เห็นว่า เป็นข้อแตกต่างจากสัญญาทางแพ่ง ประกอบกับสัญญาซื้อขายดังกล่าวไม่มีลักษณะเป็นสัญญา ประเภทหนึ่งประเภทใดตามบทนิยามของสัญญาทางปกครอง ตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ สัญญาซื้อขายกุ้ง ปี ๒๕๔๘/๔๙ ตามสัญญาเลขที่ คชก.กข. (ซข.) ๐๑/๒๕๔๙ จึงไม่ใช่สัญญาทางปกครอง ข้อพิพาทในคดีนี้จึงมิใช่ คดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง ที่จะอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๔) แห่งพระราชบัญญัติเดียวกัน แต่เป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางแพ่ง ที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม ส่วนสัญญาค้ำประกันระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ ๒ เป็นการค้ำประกันการปฏิบัติตามสัญญาซื้อขายกุ้ง ปี ๒๕๔๘/๔๙ ตามสัญญาเลขที่ คชก.กข. (ซข.) ๐๑/๒๕๔๙ ซึ่งเป็นสัญญาหลัก เมื่อข้อพิพาทเกี่ยวกับสัญญาหลักอยู่ในอำนาจของศาลยุติธรรม ข้อพิพาทเกี่ยวกับ สัญญาค้ำประกันซึ่งเป็นสัญญาอุปกรณ์จึงอยู่ในอำนาจของศาลยุติธรรม คดีนี้จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับ สัญญาทางแพ่งที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม คดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางแพ่ง อยู่ในเขตอำนาจของศาลยุติธรรม


คดีพิพาทเกี่ยวกับ เขตอำนาจของศาลปกครอง รวมย่อคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่น่าสนใจ พ.ศ. ๒๕๕๖ - ๒๕๖๕ 229 คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๒๐/๒๕๖๓ คดีที่โจทก์เป็นเอกชนยื่นฟ้องจำเลยที่ ๑ ถึงที่ ๓ ซึ่งเป็นเอกชนด้วยกันและบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) จำเลยร่วม ว่ากิจการร่วมค้า ย. ตัวแทนจำเลยที่ ๑ ถึงที่ ๓ ตกลง เช่ารถยนต์จากโจทก์เพื่อนำไปใช้ในการบริหารจัดการด้านการขนส่งสำหรับธุรการทั่วไป ภายใน เขตปลอดอากรท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ แต่เมื่อถึงกำหนดชำระค่าเช่า กิจการร่วมค้า ย. ไม่ชำระค่าเช่า และบอกเลิกสัญญาเช่ารถยนต์ โดยอ้างว่าจำเลยร่วมได้บอกเลิกสัญญาจ้างผู้บริหารและจัดการ ด้านการขนส่งสินค้าภายในเขตปลอดอากร ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (สัญญาหลัก) โดยไม่ชอบด้วย กฎหมายเป็นเหตุให้สัญญาเช่ารถยนต์ต้องสิ้นสุดลง ขอให้จำเลยที่ ๑ ถึงที่ ๓ ร่วมกันชำระเงิน พร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ กรณีจึงเป็นสัญญาระหว่างเอกชนกับเอกชนที่มุ่งประสงค์ให้ผู้เช่าต้องดูแล บำรุงรถยนต์ที่ให้เช่าเพื่อให้อยู่ในสภาพดี สามารถใช้งานได้ตามวัตถุประสงค์ โดยผู้ให้เช่าได้รับ ผลประโยชน์ตอบแทนเป็นค่าเช่าจากผู้เช่า สัญญาพิพาทเป็นสัญญาทางแพ่ง คดีพิพาทตามสัญญา ดังกล่าวจึงมิใช่คดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๔) แห่งพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ แม้จะปรากฏข้อเท็จจริงในคดีว่าจำเลย ในคดีนี้ได้ยื่นฟ้องจำเลยร่วมต่อศาลปกครองกลาง ขอให้จำเลยร่วมชำระค่าเสียหายจากการบอกเลิก สัญญาจ้างผู้บริหารและจัดการด้านการขนส่งสินค้าภายในเขตปลอดอากร ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (สัญญาหลัก) โดยไม่ชอบด้วยกฎหมายเป็นเหตุให้ได้รับความเสียหาย โดยคดีอยู่ระหว่างการพิจารณา ของศาลปกครองกลางก็ตาม แต่ประเด็นแห่งคดีนี้เป็นการฟ้องให้ปฏิบัติตามสัญญาเช่ารถยนต์อันเป็น ข้อพิพาทเกี่ยวกับสิทธิหน้าที่ตามสัญญาระหว่างโจทก์ผู้ให้เช่ากับจำเลยทั้งสามผู้เช่าซึ่งเป็นเอกชน เท่านั้น อันเป็นคนละประเด็นกับคดีดังกล่าวของศาลปกครอง คดีนี้จึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษา ของศาลยุติธรรม คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๑/๒๕๖๓ คดีที่เทศบาลนครนครศรีธรรมราช ยื่นฟ้องเอกชนเป็นจำเลย โดยมีมูลเหตุมาจากการที่โจทก์ ได้ว่าจ้างจำเลยให้เก็บขยะมูลฝอยภายในเขตเทศบาลตามสัญญาจ้าง ๒ ฉบับ ซึ่งเป็นสัญญาทางปกครอง แต่ตามคำฟ้องโจทก์ฟ้องว่า โจทก์ว่าจ้างจำเลยให้เก็บขยะมูลฝอยภายในเขตเทศบาลตามสัญญาจ้าง ๒ ฉบับ โดยจำเลยเช่ารถบรรทุกขยะจากโจทก์เพื่อใช้เก็บขยะตามถนน ตรอก ซอยต่าง ๆ แต่จำเลย ผิดสัญญาเช่าไม่ซ่อมแซมรถบรรทุกขยะให้อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ตามปกติก่อนส่งคืนโจทก์ ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ขอให้ชำระค่าเสียหายพร้อมดอกเบี้ย ประเด็นพิพาทแห่งคดีนี้ จึงเป็นเพียงการฟ้องเรียกเงินตามสัญญาเช่ารถบรรทุกขยะเท่านั้น หาใช่เป็นข้อพิพาทเกี่ยวเนื่องกับ สัญญาจ้างเก็บขยะมูลฝอยไม่ เห็นว่า แม้โจทก์จะเป็นหน่วยงานทางปกครอง และมีอำนาจหน้าที่ รักษาความสะอาดของถนน หรือทางเดินและที่สาธารณะ รวมทั้งการกำจัดขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล ตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. ๒๔๙๖ มาตรา ๕๐ (๓) ประกอบมาตรา ๕๖ (๑) อันเป็นการจัดทำ บริการสาธารณะโดยตรงของโจทก์ก็ตาม แต่เมื่อสัญญาเช่ารถบรรทุกขยะระหว่างโจทก์กับจำเลย คดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางแพ่ง อยู่ในเขตอำนาจของศาลยุติธรรม


230 มีสาระสำคัญเป็นการให้จำเลยได้ประโยชน์จากการใช้รถบรรทุกขยะที่เช่าเพื่อประโยชน์ในกิจการ ของจำเลยโดยตรง ไม่มีลักษณะเป็นการให้จำเลยเข้าร่วมจัดทำบริการสาธารณะ หรือเป็นสัญญา ที่มีข้อกำหนดในสัญญาซึ่งมีลักษณะพิเศษที่แสดงถึงเอกสิทธิ์ของรัฐ ทั้งนี้เพื่อให้การดำเนินกิจการ ทางปกครองอันเป็นบริการสาธารณะบรรลุผลแต่อย่างใด และไม่มีลักษณะเป็นสัญญาสัมปทาน สัญญาที่ให้จัดทำบริการสาธารณะ หรือจัดให้มีสิ่งสาธารณูปโภคหรือแสวงประโยชน์จากทรัพยากร ธรรมชาติ อันจะถือว่าเป็นสัญญาทางปกครอง ตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครอง และวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ แต่เป็นสัญญาที่โจทก์ซึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครองมุ่งผูกพัน ตนกับจำเลยซึ่งเป็นเอกชนด้วยใจสมัครบนพื้นฐานแห่งความเสมอภาคตามหลักกฎหมายเอกชน อันเป็นลักษณะของสัญญาทางแพ่ง คดีนี้จึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๗๔/๒๕๖๒ คดีที่เอกชนยื่นฟ้อง ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สาขาบางเขน ที่ ๑ องค์การคลังสินค้า ที่ ๒ จำเลย ขอให้ชดใช้ค่าเสียหายจากการที่จำเลยที่ ๑ หักเงินตามมูลค่า สลากออมทรัพย์ทวีสินของโจทก์ที่ให้ไว้แก่จำเลยที่ ๑ เพื่อเป็นหลักประกันในการที่จำเลยที่ ๑ ออกหนังสือค้ำประกันให้ไว้ต่อจำเลยที่ ๒ เพื่อเป็นหลักประกันการปฏิบัติตามสัญญาฝากเก็บรักษา ข้าวสาร (โครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต ๒๕๕๖/๕๗) โดยโจทก์ทำหนังสือค้ำสัญญา ยอมชดใช้ความเสียหายให้ไว้แก่จำเลยที่ ๑ เห็นว่า หนังสือค้ำสัญญายอมชดใช้ความเสียหายของโจทก์ เป็นสัญญาที่โจทก์ทำต่อจำเลยที่ ๑ เพื่อค้ำประกันจำเลยร่วม หากจำเลยร่วมผิดสัญญาฝากเก็บรักษา ข้าวสาร จนเป็นเหตุให้จำเลยที่ ๑ ได้รับความเสียหายอย่างหนึ่งอย่างใดอันเนื่องมาจากการค้ำประกัน จำเลยร่วม หรือจำเลยที่ ๑ ต้องชำระหนี้แทนตามภาระผูกพันในหนังสือค้ำประกัน โจทก์ยินยอม ให้จำเลยที่ ๑ หักสลากออมทรัพย์ที่โจทก์ใช้เป็นหลักประกัน มิใช่สัญญาที่โจทก์ทำกับจำเลยที่ ๒ ว่าหากจำเลยที่ ๑ ผู้ค้ำประกันไม่ชำระหนี้แทนจำเลยร่วม โจทก์จะเข้าชำระหนี้แทน สัญญาดังกล่าว จึงมิใช่สัญญาค้ำประกันของผู้ค้ำประกันตามมาตรา ๖๘๒ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่จะเป็นสัญญาอุปกรณ์ของสัญญาฝากเก็บรักษาข้าวสาร แต่เป็นสัญญาที่โจทก์ทำกับจำเลยที่ ๑ โดยยินยอมจะชำระหนี้ให้แก่จำเลยที่ ๑ เพื่อเป็นการประกันการปฏิบัติตามสัญญาของจำเลยร่วม ที่ให้ไว้แก่จำเลยที่ ๑ ซึ่งแยกออกจากสัญญาฝากเก็บรักษาข้าวสาร และสัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่ ๑ ทำต่อจำเลยที่ ๒ ซึ่งเป็นสัญญาอุปกรณ์ เมื่อสัญญาพิพาทในคดีนี้เป็นสัญญาที่คู่สัญญาทั้งสองฝ่าย เป็นเอกชน และมีวัตถุแห่งสัญญาเป็นการค้ำประกันการปฏิบัติตามสัญญาของจำเลยร่วมที่มีต่อจำเลยที่ ๑ จึงเป็นความสัมพันธ์ของเอกชนในทางแพ่ง ไม่เข้าลักษณะเป็นสัญญาทางปกครองตามพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๓ สัญญาพิพาทจึงเป็นสัญญา ทางแพ่งที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม คดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางแพ่ง อยู่ในเขตอำนาจของศาลยุติธรรม


คดีพิพาทเกี่ยวกับ เขตอำนาจของศาลปกครอง รวมย่อคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่น่าสนใจ พ.ศ. ๒๕๕๖ - ๒๕๖๕ 231 คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๔๘/๒๕๖๒ คดีที่โจทก์เป็นเอกชน ยื่นฟ้องกรมราชทัณฑ์ จำเลย ขอให้ชำระดอกเบี้ยจากการที่จำเลย ทำสัญญาจะซื้อจะขายแบบราคาคงที่ไม่จำกัดปริมาณกับโจทก์ เพื่อซื้อเครื่องอาหารดิบสำหรับใช้เลี้ยง ผู้ต้องขัง ผู้ต้องกักขัง และผู้เข้ารับการตรวจพิสูจน์ ตามสัญญาเลขที่ ๓/๒๕๕๙ และเลขที่ ๑๐/๒๕๕๙ ซึ่งโจทก์ส่งมอบเครื่องอาหารดิบครบถ้วน และจำเลยได้ชำระเงินบางส่วนแล้ว แต่จำเลยไม่ยินยอม ชำระดอกเบี้ย แม้จำเลยเป็นหน่วยงานทางปกครอง แต่เมื่อพิเคราะห์ถึงวัตถุประสงค์และลักษณะ ของสัญญาจะซื้อจะขายทั้งสองฉบับระหว่างโจทก์กับจำเลยแล้ว มีวัตถุประสงค์เพียงกำหนดให้โจทก์ มีหน้าที่ส่งมอบเครื่องอาหารดิบและเครื่องปรุงสำหรับใช้เลี้ยงผู้ต้องขัง ผู้ต้องกักขัง และผู้เข้ารับ การตรวจพิสูจน์ให้แก่หน่วยงานของจำเลยโดยโจทก์ได้รับเงินค่าเครื่องอาหารดิบและเครื่องปรุง ตอบแทนจากจำเลยเท่านั้น สัญญาทั้งสองฉบับดังกล่าวจึงไม่มีลักษณะเป็นการให้โจทก์เข้าร่วม จัดทำบริการสาธารณะ หรือเป็นสัญญาที่มีข้อกำหนดในสัญญาซึ่งมีลักษณะพิเศษที่แสดงถึงเอกสิทธิ์ ของรัฐ ทั้งนี้เพื่อให้การดำเนินกิจการทางปกครองอันเป็นบริการสาธารณะบรรลุผลแต่อย่างใด และไม่มีลักษณะเป็นสัญญาสัมปทาน หรือจัดให้มีสิ่งสาธารณูปโภคหรือแสวงประโยชน์จากทรัพยากร ธรรมชาติอันจะถือเป็นสัญญาทางปกครองตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครอง และวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ จึงเป็นสัญญาทางแพ่งทั่วไปที่มีหน่วยงานทางปกครอง เป็นคู่สัญญาเท่านั้น ข้อพิพาทในคดีนี้จึงมิใช่คดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๔) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ อันจะอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง แต่เป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางแพ่ง ที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม * คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๔๗/๒๕๖๒ วินิจฉัยทำนองเดียวกัน คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๑๐/๒๕๖๒ คดีที่ผู้ฟ้องคดีซึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครองฟ้องเอกชน ซึ่งเป็นผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสิบเจ็ดคน ให้รับผิดตามสัญญากู้ยืมเงินและสัญญาค้ำประกันการกู้ยืมเงินตามโครงการแก้ปัญหาด้านการเงิน และสินเชื่อสำหรับคนจนในเมืองเครือข่ายกลุ่มออมทรัพย์เมืองนครปฐม เพื่อนำเงินไปใช้ในการพัฒนา ตามวัตถุประสงค์ของโครงการดังกล่าว แล้วไม่สามารถชำระหนี้นั้นมีสาระสำคัญเป็นการให้ผู้ถูกฟ้องคดี ทั้งสิบเจ็ดคนกู้ยืมเงินโดยกำหนดวิธีการใช้เงินคืน ทั้งวัตถุประสงค์แห่งสัญญาก็เป็นเงินที่นำไปให้กู้ยืม เฉพาะสมาชิกและกรรมการเครือข่ายกลุ่มออมทรัพย์เมืองนครปฐมที่เป็นสมาชิกเท่านั้น สัญญากู้ยืมเงิน ดังกล่าวจึงเป็นสัญญาทางแพ่ง มิได้มีลักษณะเป็นสัญญาอย่างหนึ่งอย่างใด ตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ และมิใช่สัญญาที่ ผู้ฟ้องคดีมอบให้ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสิบเจ็ดคนเข้าดำเนินการบริการสาธารณะโดยตรงหรือเข้าร่วมดำเนินการ จัดทำบริการสาธารณะกับผู้ฟ้องคดี อันมีลักษณะเป็นสัญญาทางปกครอง โดยเฉพาะมูลพิพาทคดีนี้ คดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางแพ่ง อยู่ในเขตอำนาจของศาลยุติธรรม


232 ก็เป็นเรื่องการบังคับชำระหนี้ตามข้อตกลงในสัญญากู้ยืมเงินซึ่งเป็นสัญญาทางแพ่ง มิได้เกี่ยวกับ การใช้อำนาจทางปกครองตามกฎหมาย จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางแพ่งที่อยู่ในอำนาจ ของศาลยุติธรรม และข้อพิพาทเกี่ยวกับสัญญาค้ำประกันซึ่งเป็นสัญญาอุปกรณ์จึงอยู่ในอำนาจ ของศาลยุติธรรมเช่นเดียวกัน คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๑๖๐/๒๕๖๑ ผู้ฟ้องคดีเป็นเอกชนยื่นฟ้องผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐและหน่วยงาน ทางปกครอง ตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ อ้างว่า การบอกเลิกสัญญาซื้อขายเครื่องนึ่งฆ่าเชื้อด้วยแรงดันไอน้ำระบบอัตโนมัติ ของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ขอให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ร่วมกัน หรือแทนกัน ใช้เงินค่าเครื่องนึ่ง รวมทั้งค่าเสียหาย พร้อมดอกเบี้ย ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และที่ ๒ ให้การว่า การซื้อขายเครื่องนึ่งไม่ตรงกับปริมาตรความจุที่ผู้ฟ้องคดีได้เสนอไว้ในการประกวดราคา และเป็นคนละรุ่นกับที่กำหนดไว้ในสัญญา การบอกเลิกสัญญาซื้อขายเครื่องนึ่งชอบด้วยกฎหมาย เห็นว่า แม้ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐและเป็นหน่วยงานทางปกครอง แต่สัญญาซื้อขาย เครื่องนึ่ง ซึ่งเป็นเพียงอุปกรณ์อำนวยความสะดวกในการดำเนินงานของผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสอง สัญญาซื้อขายมีสาระสำคัญเพียงว่า ให้ผู้ฟ้องคดีส่งมอบเครื่องนึ่งที่มีปริมาตรความจุไม่น้อยกว่า ๙๐๐ ลิตร และทำการติดตั้งจำนวน ๑ ชุด ให้แก่สถาบันบําราศนราดูร เป็นเพียงการประกอบกิจการ เพื่อหากำไรของบริษัทผู้ฟ้องคดี และการทำสัญญาซื้อขายเครื่องนึ่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ มุ่งผูกพัน ตนกับคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งด้วยใจสมัครบนพื้นฐานแห่งความเสมอภาค ไม่มีลักษณะเป็นการให้โจทก์ เข้าร่วมจัดทำบริการสาธารณะโดยตรง หรือมีลักษณะเป็นสัญญาสัมปทาน หรือจัดให้มีสิ่งสาธารณูปโภค หรือแสวงประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ ความสัมพันธ์ของผู้ฟ้องคดีและผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสอง จึงไม่ใช่ความสัมพันธ์ตามกฎหมายมหาชน แต่เป็นเรื่องสิทธิและหน้าที่ในทางแพ่งของคู่สัญญาตามหลัก กฎหมายเอกชน มิได้มีลักษณะเป็นสัญญาที่จะเข้าองค์ประกอบของสัญญาทางปกครอง ตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ดังนั้น คดีที่พิพาท เกี่ยวกับสัญญาซื้อขายเครื่องนึ่งฆ่าเชื้อด้วยแรงดันไอน้ำระบบอัตโนมัติ จึงเป็นสัญญาทางแพ่ง อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๑๔๔/๒๕๖๑ คดีที่กรมส่งเสริมสหกรณ์ เป็นโจทก์ ยื่นฟ้องสหกรณ์สตรีประโคนชัย ขอให้รับผิดตามสัญญา กู้ยืมเงินตามข้อตกลงระหว่างโจทก์และจำเลย โดยจำเลยทำหนังสือ “คำยินยอมของสหกรณ์ในการ ขอรับความช่วยเหลือด้านเงินทุนภายใต้โครงการเงินกู้เพื่อปรับโครงสร้างภาคเกษตร” ให้ไว้แก่โจทก์ และให้รับผิดตามหนังสือรับสภาพความผิดตามคำยินยอมของสหกรณ์ในการขอรับความช่วยเหลือเงินทุน ภายใต้โครงการเงินกู้เพื่อปรับโครงสร้างภาคเกษตรและสิทธิเรียกร้องเดิมนั้น แม้โจทก์เป็นส่วนราชการ คดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางแพ่ง อยู่ในเขตอำนาจของศาลยุติธรรม


คดีพิพาทเกี่ยวกับ เขตอำนาจของศาลปกครอง รวมย่อคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่น่าสนใจ พ.ศ. ๒๕๕๖ - ๒๕๖๕ 233 มีฐานะเป็นกรม สังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ตามพระราชบัญญัติปรับปรุง กระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. ๒๕๔๕ ซึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครองตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้ง ศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ แต่เมื่อพิจารณาสัญญากู้ยืมเงินหรือคำยินยอม ของสหกรณ์ในการขอรับความช่วยเหลือด้านเงินทุนภายใต้โครงการเงินกู้เพื่อปรับโครงสร้างภาคเกษตร ที่จำเลยทำไว้กับโจทก์แล้ว มีสาระสำคัญเป็นการให้จำเลยกู้ยืมเงิน แม้จะมีข้อกำหนดของสัญญา ที่เป็นการจำกัดสิทธิในการจำหน่ายจ่ายโอนทรัพย์สินก็เป็นเพียงการกำหนดสิทธิหน้าที่ระหว่างคู่สัญญา อันเป็นความสัมพันธ์ในทางแพ่งทั่วไป มิใช่ข้อกำหนดซึ่งมีลักษณะพิเศษที่แสดงถึงเอกสิทธิ์ของรัฐ สำหรับการกำหนดวัตถุประสงค์แห่งสัญญาให้จำเลยนำเงินไปใช้เพื่อดำเนินการก่อสร้างโรงสีข้าว ไซโล ฉางอเนกประสงค์ และลานตากของสหกรณ์จำเลย ก็เป็นไปเพื่อประโยชน์ของเกษตรกรซึ่งเป็น สมาชิกของจำเลยเพียงกลุ่มเดียวเท่านั้น ทั้งมิใช่สัญญาที่โจทก์มอบให้จำเลยเข้าดำเนินการบริการ สาธารณะโดยตรงหรือเข้าร่วมดำเนินการจัดทำบริการสาธารณะกับโจทก์อันจะมีลักษณะเป็นสัญญา ทางปกครอง เมื่อมูลพิพาทคดีนี้เป็นเรื่องการบังคับชำระหนี้ตามข้อตกลงในสัญญากู้ยืมเงินซึ่งเป็น สัญญาทางแพ่ง ข้อพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางแพ่งที่อยู่ใน อำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๑๒๗/๒๕๖๑ คดีที่เอกชนผู้ฟ้องคดีฟ้องขอให้บังคับการประปาส่วนภูมิภาค ผู้ถูกฟ้องคดี ชำระค่าจ้าง คืนเงินหลักประกันตามสัญญา ส่งมอบเอกสารบันทึกผลการขยายระยะเวลาของคณะกรรมการ ตรวจการจ้าง และผลการพิจารณาของฝ่ายกฎหมายของผู้ถูกฟ้องคดีที่ดำเนินการพิจารณาไปแล้ว กรณีหน่วยงานในสังกัดของผู้ถูกฟ้องคดีว่าจ้างให้ผู้ฟ้องคดีอ่านมาตรด้วยเครื่องมืออ่านมาตร และบันทึกข้อมูล พร้อมคำนวณ จัดพิมพ์ใบแจ้งหนี้โดยใช้เครื่องพิมพ์ชนิดพกพา และส่งใบแจ้งหนี้ ให้แก่ผู้ใช้น้ำในพื้นที่การประปาส่วนภูมิภาคสาขา แต่ผู้ถูกฟ้องคดีไม่ส่งมอบพื้นที่ ข้อมูลผู้ใช้น้ำ และเอกสารแผนที่เส้นทางอ่านมาตรให้แก่ผู้ฟ้องคดี ทำให้การดำเนินงานล่าช้ากว่ากำหนดในสัญญา เห็นว่า แม้ผู้ถูกฟ้องคดีเป็นหน่วยงานทางปกครอง แต่โดยที่พระราชบัญญัติการประปาส่วนภูมิภาค พ.ศ. ๒๕๒๒ กำหนดวัตถุประสงค์และอำนาจหน้าที่ของผู้ถูกฟ้องคดีไว้หลายประการ บางประการ ต้องใช้อำนาจทางปกครองในการดำเนินการ บางประการก็มิได้ใช้อำนาจทางปกครองแต่เป็นการดำเนิน ธุรกิจในเชิงพาณิชย์เช่นเดียวกับเอกชนทั่วไป นิติสัมพันธ์ระหว่างผู้ถูกฟ้องคดีกับผู้ใช้น้ำแต่ละราย ในการดำเนินธุรกิจจำหน่ายน้ำประปาของผู้ถูกฟ้องคดี จึงเป็นไปตามหลักกฎหมายแพ่ง มิได้ใช้อำนาจ ทางปกครองตามกฎหมายแต่อย่างใด เมื่อสัญญาระหว่างผู้ฟ้องคดีกับผู้ถูกฟ้องคดีเป็นกรณีที่ผู้ถูกฟ้องคดี ว่าจ้างให้ผู้ฟ้องคดีอ่านมาตรด้วยเครื่องมืออ่านมาตร และบันทึกข้อมูล พร้อมคำนวณจัดพิมพ์ใบแจ้งหนี้ โดยใช้เครื่องพิมพ์ชนิดพกพา และส่งใบแจ้งหนี้ให้แก่ผู้ใช้น้ำ เพื่อให้ผู้ถูกฟ้องคดีเรียกเก็บค่าน้ำ จากผู้ใช้น้ำแต่ละรายได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว มีลักษณะเป็นการสนับสนุนการประกอบธุรกิจ จำหน่ายน้ำประปาของผู้ถูกฟ้องคดีให้แก่ผู้ใช้น้ำซึ่งเป็นการดำเนินกิจการในทางแพ่ง ไม่มีลักษณะเป็น คดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางแพ่ง อยู่ในเขตอำนาจของศาลยุติธรรม


234 การว่าจ้างให้ผู้ฟ้องคดีเข้าร่วมจัดทำบริการสาธารณะโดยตรงและไม่มีลักษณะเป็นสัญญาสัมปทาน สัญญาที่ให้จัดทำบริการสาธารณะ หรือจัดให้มีสิ่งสาธารณูปโภคหรือแสวงประโยชน์จากทรัพยากร ธรรมชาติ จึงไม่เป็นสัญญาทางปกครอง ตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครอง และวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ที่จะอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง แต่เป็นสัญญาทางแพ่งที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๖๗/๒๕๖๑ คดีที่บริษัทขนส่ง จำกัด โจทก์ ฟ้องบริษัท ส. จำกัด จำเลยที่ ๑ ว่า จำเลยที่ ๑ ผิดสัญญา บริหารลานจอดรถยนต์ส่วนบุคคล บริเวณด้านหน้าอาคารสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร) ซึ่งสัญญาดังกล่าวเป็นสัญญาที่โจทก์ให้สิทธิจำเลยที่ ๑ ในการบริหารพื้นที่จอดรถยนต์และ รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล บริเวณด้านหน้าสถานีขนส่งผู้โดยสาร โดยจำเลยที่ ๑ ตกลงจ่ายเงิน ค่าตอบแทนให้แก่โจทก์เป็นรายเดือน ซึ่งมีลักษณะของการจัดหาผลประโยชน์ในทรัพย์สินของบริษัท เช่นเดียวกับเอกชนทั่วไป อันเป็นการประกอบกิจการเชิงพาณิชย์ของโจทก์ที่แยกออกได้จากการ ดำเนินกิจการทางปกครองตามที่ได้รับมอบหมายมาจากกรมการขนส่งทางบก ดังนั้น การที่โจทก์ ทำสัญญาอนุญาตให้จำเลยที่ ๑ เป็นผู้บริหารลานจอดรถยนต์ส่วนบุคคลจึงมิได้กระทำในฐานะ หน่วยงานทางปกครอง สัญญาพิพาทจึงไม่ใช่สัญญาทางปกครอง แต่เป็นสัญญาทางแพ่งที่อยู่ในอำนาจ พิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม และข้อพิพาทเกี่ยวกับสัญญาค้ำประกันระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ ๒ ซึ่งเป็นสัญญาอุปกรณ์จึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรมเช่นเดียวกัน คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๕๗/๒๕๖๑ คดีนี้องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ เป็นโจทก์ ยื่นฟ้องเอกชนทั้งสามเป็นจำเลยอ้างว่า จำเลยทั้งสามไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงร่วมว่าด้วยการทดสอบสมรรถนะเปลี่ยนเครื่องยนต์ดีเซลเป็น เครื่องยนต์ใช้ก๊าซธรรมชาติในรถโดยสารขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ โดยจำเลยทั้งสาม ส่งมอบรถโดยสารเกินกำหนดระยะเวลาในสภาพเสียหายไม่อาจเดินรถได้ตามปกติและไม่มีการเปลี่ยน เครื่องยนต์ตามข้อตกลงร่วม เมื่อวัตถุประสงค์แห่งสัญญาที่พิพาทคือการส่งมอบรถยนต์โดยสาร ปรับอากาศซึ่งจำเลยทั้งสามต้องทำการเปลี่ยนเครื่องยนต์ดีเซลเป็นเครื่องยนต์ใช้ก๊าซธรรมชาติ (เอ็นจีวี) อันกระทำเพื่อให้การปฏิบัติงานของโจทก์เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพเท่านั้น ไม่มีลักษณะ เป็นการให้จำเลยทั้งสามเข้าร่วมจัดทำบริการสาธารณะโดยตรง หรือมีลักษณะเป็นสัญญาสัมปทาน หรือจัดให้มีสิ่งสาธารณูปโภคหรือแสวงประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติที่จะถือว่าเป็นสัญญา ทางปกครอง ตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ อันจะอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง แต่เป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญา ทางแพ่งที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม คดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางแพ่ง อยู่ในเขตอำนาจของศาลยุติธรรม


คดีพิพาทเกี่ยวกับ เขตอำนาจของศาลปกครอง รวมย่อคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่น่าสนใจ พ.ศ. ๒๕๕๖ - ๒๕๖๕ 235 คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๒๐/๒๕๖๑ คดีที่เอกชนยื่นฟ้อง จำเลยที่ ๑ และที่ ๒ ซึ่งเป็นเอกชน และสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย จำเลยที่ ๓ ซึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครอง ว่าโจทก์ได้รับโอนสิทธิ เรียกร้องในหนี้ค่ารับจ้างก่อสร้างมาจากจำเลยที่ ๑ ในสัญญาจ้างก่อสร้างอาคารศูนย์ถ่ายทอด เทคโนโลยีลำไยเพื่อการส่งออกและห้องเย็นประกอบอาคารยืดอายุลำไยระหว่างจำเลยที่ ๑ กับจำเลยที่ ๓ แต่จำเลยที่ ๓ ไม่ยอมชำระเงินค่าประกันผลงานทั้งยังส่งสำเนาใบเสร็จรับเงินซึ่งมี จำเลยที่ ๑ โดยจำเลยที่ ๒ ลงชื่อรับเงินจำนวนดังกล่าวให้แก่โจทก์ ขอให้บังคับจำเลยทั้งสามร่วมกัน ชำระเงินค่าประกันผลงาน ประเด็นพิพาทแห่งคดีนี้จึงเป็นเพียงการฟ้องเรียกเงินตามหนังสือสัญญา โอนสิทธิเรียกร้องเท่านั้น หาใช่เป็นข้อพิพาทเกี่ยวเนื่องกับสัญญาจ้างก่อสร้างอาคารศูนย์ถ่ายทอด เทคโนโลยีลำไยเพื่อการส่งออกและห้องเย็นประกอบอาคารยืดอายุลำไยไม่ กรณีจึงต้องพิจารณา เพียงว่าสัญญาโอนสิทธิเรียกร้องดังกล่าวเป็นสัญญาทางแพ่งหรือสัญญาทางปกครอง เห็นว่า สัญญา พิพาทเป็นสัญญาโอนสิทธิเรียกร้องในการรับเงินค่าจ้างก่อสร้างอาคารและห้องเย็นประกอบอาคาร ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ ๑ ที่จัดทำขึ้นระหว่างเอกชนด้วยกัน และกระทำขึ้นด้วยใจสมัครบนพื้นฐาน แห่งความเสมอภาค มีวัตถุประสงค์เพียงเพื่อให้โจทก์มีสิทธิเรียกร้องเงินค่าจ้างจากจำเลยที่ ๓ ในฐานะลูกหนี้ของจำเลยที่ ๑ ได้โดยตรงเท่านั้น ทั้งมิได้ระบุให้โจทก์มีอำนาจหรือมีสิทธิหน้าที่ ในสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างอาคารและห้องเย็นประกอบอาคาร คงมีสิทธิเพียงแค่ได้รับเงินค่าจ้าง ที่จำเลยที่ ๑ พึงมีพึงได้เท่านั้น สัญญาดังกล่าวจึงไม่มีลักษณะเป็นการให้โจทก์เข้าร่วมจัดทำบริการ สาธารณะ และมิใช่สัญญาทางปกครองตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครอง และวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ คดีนี้จึงเป็นเพียงคดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางแพ่ง อันอยู่ ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๑๑/๒๕๖๑ คดีนี้โจทก์เป็นเอกชนฟ้องหน่วยงานทางปกครอง ขอให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่ง ให้จำเลยทั้งสองพร้อมบริวารรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างและขนย้ายทรัพย์สินออกจากโฉนดที่ดินพิพาท ชำระค่าเสียหายให้แก่โจทก์จนกว่าจำเลยทั้งสองจะรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างและขนย้ายทรัพย์สินออกไป จากที่ดินของโจทก์ จำเลยที่ ๑ เป็นหน่วยงานทางปกครอง โดยจำเลยที่ ๒ เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ได้ทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางการศึกษามีสาระสำคัญคือโจทก์อนุญาตให้จำเลยที่ ๑ เข้าทำ ประโยชน์ในที่ดินพิพาท และแม้จะมีวัตถุประสงค์เพื่อก่อสร้างโรงเรียนสอนภาษาจีน จัดสร้างศาลาขงจื๊อ อาคารแพทย์แผนไทยฝังเข็ม พิพิธภัณฑ์มวยจีน เพื่ออนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทย-จีน และเป็น แหล่งท่องเที่ยวก็ตาม แต่การที่จำเลยทั้งสองไม่ได้รับอนุมัติงบประมาณในการก่อสร้างทำให้ไม่สามารถ ปฏิบัติตามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางการศึกษาได้ อีกทั้งสาระสำคัญของบันทึกข้อตกลง ความร่วมมือทางการศึกษานั้นเป็นการอนุญาตให้จำเลยที่ ๑ เข้าทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทเป็นเวลา ๖๐ ปี เพื่อตอบแทนที่จำเลยที่ ๑ จะยกสิ่งปลูกสร้างให้แก่โจทก์ โดยจำเลยที่ ๑ เป็นผู้รับภาระภาษี คดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางแพ่ง อยู่ในเขตอำนาจของศาลยุติธรรม


236 ที่เกิดขึ้นทั้งหมด ซึ่งข้อตกลงดังกล่าวไม่มีลักษณะให้โจทก์เข้าร่วมดำเนินการจัดทำบริการสาธารณะ อันจะถือว่าเป็นสัญญาทางปกครอง ดังนั้นบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางการศึกษาจึงมีลักษณะ เช่นเดียวกันกับสัญญาทางแพ่งที่เอกชนทำกับเอกชนเท่านั้น ไม่มีลักษณะสัญญาที่ให้เข้าร่วมหรือจัดทำ บริการสาธารณะ หรือเป็นสัญญาสัมปทาน หรือจัดให้มีสิ่งสาธารณูปโภคหรือแสวงประโยชน์จาก ทรัพยากรธรรมชาติตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๔) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธี พิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ สัญญาพิพาทจึงมิใช่สัญญาทางปกครอง ข้อพิพาทระหว่างโจทก์ และจำเลยทั้งสองในคดีนี้ จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางแพ่ง อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษา ของศาลยุติธรรม คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๑๘๕/๒๕๖๐ คดีนี้ บริษัททีโอที จำกัด (มหาชน) โจทก์ ยื่นฟ้องจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นเอกชนว่า จำเลยที่ ๑ ผิดสัญญารับทุนการศึกษาต่อต่างประเทศและระเบียบองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยว่าด้วย การไปศึกษาอบรมและดูงาน พ.ศ. ๒๕๔๓ เนื่องจากไม่สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาเอกตามกำหนด ในสัญญารับทุนและภายในระยะเวลาที่ได้รับอนุมัติให้ขยายเวลา เมื่อจำเลยที่ ๑ ผิดสัญญา จำเลยที่ ๒ ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์ด้วย ขอให้ศาลพิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงิน พร้อมดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยว่า สัญญารับทุนการศึกษาระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ ๑ ในคดีนี้ เป็นสัญญาทางปกครองหรือสัญญาทางแพ่ง เห็นว่า คดีนี้ โจทก์เป็นบริษัทมหาชนจำกัด จึงมิใช่กระทรวง ทบวง กรม ส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเป็นกรม ราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจที่จัดตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกา หรือหน่วยงานอื่น ของรัฐ แม้เดิมโจทก์เคยมีฐานะเป็นรัฐวิสาหกิจ ซึ่งจัดตั้งโดยพระราชบัญญัติองค์การโทรศัพท์ แห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๔๙๗ ต่อมาได้เปลี่ยนสถานะมาเป็นบริษัทมหาชน จำกัด โดยอาศัยอำนาจ ตามพระราชบัญญัติทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. ๒๕๔๒ แต่โดยที่มาตรา ๒๒ วรรคห้า แห่งพระราชบัญญัติ ดังกล่าว บัญญัติว่า เมื่อมีการจดทะเบียนบริษัทตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้การดำเนินกิจการของบริษัท เป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หรือกฎหมายว่าด้วยบริษัทมหาชนจำกัด แล้วแต่กรณี เว้นแต่ที่มีบัญญัติไว้แล้วในพระราชบัญญัตินี้ และมาตรา ๒๕ แห่งพระราชบัญญัติเดียวกัน บัญญัติว่า ในวันจดทะเบียนบริษัทตามมาตรา ๒๒ ให้บรรดาพนักงานตามที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติเป็นลูกจ้าง ของบริษัทที่จัดตั้งขึ้นโดยการเปลี่ยนทุนของรัฐวิสาหกิจเป็นหุ้นของบริษัทนั้น ซึ่งบทบัญญัติดังกล่าว เป็นการแบ่งแยกความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารงานภายในองค์กรที่ต้องเป็นไปตามกฎหมายเอกชน ออกจากการจัดทำภารกิจในการบริการสาธารณะที่ต้องเป็นไปตามกฎหมายมหาชน ดังนั้น โจทก์อาจ เป็นหน่วยงานทางปกครองประเภทหน่วยงานที่ได้รับมอบหมายให้ใช้อำนาจทางปกครองหรือดำเนิน กิจการทางปกครองก็แต่เฉพาะกรณีที่โจทก์ได้กระทำการใดโดยใช้อำนาจทางปกครองหรือดำเนินกิจการ ทางปกครองเพื่อจัดทำบริการสาธารณะตามที่ได้รับมอบหมายจากรัฐเท่านั้น นอกเหนือจากนี้ การดำเนินการของโจทก์ย่อมเป็นเรื่องของนิติบุคคลเอกชนที่อยู่ภายใต้กฎหมายเอกชน เมื่อคดีนี้ คดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางแพ่ง อยู่ในเขตอำนาจของศาลยุติธรรม


คดีพิพาทเกี่ยวกับ เขตอำนาจของศาลปกครอง รวมย่อคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่น่าสนใจ พ.ศ. ๒๕๕๖ - ๒๕๖๕ 237 โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยที่ ๑ ซึ่งเป็นลูกจ้างของโจทก์รับผิดตามสัญญารับทุนการศึกษาระหว่างโจทก์กับ จำเลยที่ ๑ ซึ่งเป็นเรื่องการพัฒนาศักยภาพบุคลากรภายในองค์กรของโจทก์ นิติสัมพันธ์ระหว่างโจทก์ กับจำเลยที่ ๑ ในการทำสัญญารับทุนการศึกษาดังกล่าวจึงมิใช่นิติสัมพันธ์ตามกฎหมายมหาชน เพราะโจทก์มิได้ใช้อำนาจทางปกครองหรือดำเนินกิจการทางปกครอง การกระทำของโจทก์ในการ ทำสัญญาดังกล่าว จึงไม่ทำให้โจทก์มีฐานะเป็นหน่วยงานที่ได้รับมอบหมายให้ใช้อำนาจทางปกครอง หรือดำเนินกิจการทางปกครอง อันจะถือว่าเป็นหน่วยงานทางปกครอง ตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ดังนั้น สัญญารับทุนการศึกษา พิพาทในคดีนี้ จึงไม่ครบองค์ประกอบของสัญญาทางปกครอง ตามบทนิยามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ข้อพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ ๑ เกี่ยวกับสัญญารับทุนการศึกษานี้จึงมิใช่คดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๔) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ที่จะอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง แต่เป็นข้อพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางแพ่ง ที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม ส่วนสัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ ๒ นั้น เป็นสัญญาค้ำประกันการปฏิบัติตามสัญญาของจำเลยที่ ๑ จึงมีลักษณะเป็นสัญญาอุปกรณ์ เมื่อข้อพิพาท เกี่ยวกับสัญญาหลักอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม ดังนั้นข้อพิพาทเกี่ยวกับสัญญา ค้ำประกันซึ่งเป็นสัญญาอุปกรณ์จึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรมเช่นเดียวกัน คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๑๘๒/๒๕๖๐ คดีที่เอกชนเป็นโจทก์ฟ้องขอให้บังคับมหาวิทยาลัยมหิดล จำเลย ชำระเงินค่าเสียหาย กรณีผิดสัญญาจ้างบริการบำรุงรักษาและให้บริการงานระบบคอมพิวเตอร์ เครือข่ายและสื่อการเรียน การสอน จึงมีประเด็นต้องพิจารณาว่า สัญญาพิพาทดังกล่าวเป็นสัญญาทางแพ่งหรือสัญญาทางปกครอง เห็นว่า แม้จำเลยเป็นหน่วยงานทางปกครองตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครอง และวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ทำสัญญาว่าจ้างโจทก์โดยสัญญามีสาระสำคัญว่าโจทก์ มีหน้าที่ต้องบำรุงรักษาและให้บริการงานระบบคอมพิวเตอร์ เครือข่าย และสื่อการเรียนการสอน แก่เจ้าหน้าที่ อาจารย์ และนักศึกษาที่หมุนเวียนเข้าใช้บริการระบบคอมพิวเตอร์และสื่อการเรียน การสอนของวิทยาลัยการจัดการซึ่งเป็นส่วนงานของจำเลย โดยการให้บริการงานระบบคอมพิวเตอร์ และสื่อการเรียนการสอนของวิทยาลัยต้องเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพไม่ติดขัด และสามารถสนอง ความต้องการของผู้ใช้บริการให้ได้มากที่สุด โจทก์ต้องจัดให้มีเจ้าหน้าที่ของโจทก์เป็นผู้รับผิดชอบ วางแผน กำกับ ดูแลการปฏิบัติงาน โดยโจทก์ทำงานทั้งโครงการในลักษณะการทำงานแบบเบ็ดเสร็จ และครบวงจร แต่เมื่อพิจารณารายละเอียดของข้อสัญญาที่โจทก์ต้องดำเนินการให้บริการดังกล่าวแล้ว เป็นเพียงการที่จำเลยมุ่งประสงค์ให้โจทก์เข้ามาจัดการงานทางธุรการเพื่ออำนวยความสะดวก ในการจัดการเรียนการสอนตามอำนาจหน้าที่ที่เป็นการจัดทำบริการสาธารณะของจำเลยเท่านั้น ไม่ใช่ให้โจทก์เข้ามาทำหน้าที่ในการจัดทำบริการสาธารณะ เพราะจำเลยสามารถจัดทำบริการสาธารณะ คดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางแพ่ง อยู่ในเขตอำนาจของศาลยุติธรรม


238 อันเป็นภารกิจหลักได้ต่อเนื่องตลอดมาตั้งแต่ก่อนที่จะมีการจัดจ้างโจทก์เข้ามาให้บริการ และแม้ว่า ตามข้อตกลงจะมีข้อสัญญาที่ทำให้เข้าใจไปได้ว่าเป็นการที่ฝ่ายปกครองมีอำนาจเหนือเอกชนก็ตาม แต่ลักษณะอำนาจเหนือกว่าคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งเป็นไปตามอำนาจต่อรองระหว่างคู่สัญญา ส่วนการที่จำเลยจ้างพนักงานของโจทก์เป็นพนักงานของจำเลยให้ทำงานในตำแหน่งที่มีลักษณะ งานเช่นเดียวกับขณะที่เป็นพนักงานของโจทก์ และโจทก์ยกข้อความในใบเสนอราคาในส่วน Remark ข้อ ๒ ที่ว่า “ผู้ว่าจ้างยินยอมที่จะไม่ทำการว่าจ้างพนักงานของทางบริษัทฯที่ลาออกยังไม่ครบ ๑ ปี นับแต่วันที่ลาออกจากทางบริษัทฯ” ซึ่งตามสัญญาจ้าง ข้อ ๘.๓ ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของสัญญานั้น มาฟ้องว่าจำเลยผิดสัญญา ก็เป็นข้อสัญญาที่ไม่มีความเกี่ยวข้องใดกับการให้บริการตามสัญญาจ้าง ระหว่างโจทก์กับจำเลยอีกเช่นกัน ทั้งเป็นข้อสัญญาที่จำเลยซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐอยู่ในฐานะที่ต้อง ยอมรับเงื่อนไขของโจทก์ซึ่งเป็นเอกชน ไม่มีฐานะเหนือเอกชน เมื่อสัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลย ไม่มีลักษณะเป็นการว่าจ้างโจทก์เข้าร่วมในการจัดทำบริการสาธารณะโดยตรงและไม่มีลักษณะ เป็นสัญญาสัมปทาน สัญญาที่ให้จัดทำบริการสาธารณะ หรือจัดให้มีสิ่งสาธารณูปโภคหรือแสวงประโยชน์ จากทรัพยากรธรรมชาติ จึงไม่เป็นสัญญาทางปกครอง ตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้ง ศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ที่จะอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของ ศาลปกครอง สัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยในคดีนี้เป็นสัญญาทางแพ่งที่อยู่ในอำนาจพิจารณา พิพากษาของศาลยุติธรรม คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๑๒๔/๒๕๖๐ พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๙ วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า ศาลปกครองมีอำนาจพิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่งในเรื่องดังต่อไปนี้ (๔) คดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง และมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติเดียวกันให้ความหมาย ของสัญญาทางปกครอง หมายความรวมถึง สัญญาที่คู่สัญญาอย่างน้อยฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นหน่วยงาน ทางปกครองหรือเป็นบุคคลซึ่งกระทำการแทนรัฐ และมีลักษณะเป็นสัญญาสัมปทาน สัญญาที่ให้จัดทำ บริการสาธารณะ หรือจัดให้มีสิ่งสาธารณูปโภคหรือแสวงประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ โดยสัญญา ทางปกครองประเภท “สัญญาที่ให้จัดทำบริการสาธารณะ”นั้น ต้องเป็นกิจกรรมที่หน่วยงานทางปกครอง มีหน้าที่ต้องจัดทำเพื่อการบริการสาธารณะด้วยตนเอง แต่มอบอำนาจนั้นให้เอกชนเข้าร่วมดำเนินการ หรือเป็นผู้ดำเนินกิจกรรมนั้นแทน คดีนี้โจทก์ทั้งสอง ซึ่งเป็นเอกชนยื่นฟ้องจังหวัดมุกดาหาร เป็นจำเลย ต่อศาลจังหวัดมุกดาหาร ขอให้ชำระเงินส่วนที่เหลือตามสัญญาจ้างก่อสร้างองค์พระพุทธรูป เฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (ระยะที่ ๓) เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๔ พรรษา ณ วัด พ. อำเภอเมืองมุกดาหาร จังหวัดมุกดาหาร เมื่อจำเลยเป็นราชการส่วนภูมิภาค ตามมาตรา ๕๑ (๑) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔ จึงเป็น หน่วยงานทางปกครองตาม มาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณา คดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ สัญญาจ้างก่อสร้างพิพาทจึงเป็นสัญญาที่มีคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งเป็นหน่วยงาน คดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางแพ่ง อยู่ในเขตอำนาจของศาลยุติธรรม


คดีพิพาทเกี่ยวกับ เขตอำนาจของศาลปกครอง รวมย่อคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่น่าสนใจ พ.ศ. ๒๕๕๖ - ๒๕๖๕ 239 ทางปกครอง แต่เมื่อพิจารณาเนื้อหาของสัญญาจ้าง และบันทึกแนบท้ายสัญญาจ้าง ไม่มีสัญญาข้อใด ให้โจทก์ทั้งสองมีหน้าที่ดำเนินกิจกรรมอื่นในลักษณะที่จำเลยมอบหมายให้โจทก์ทั้งสองเข้าร่วม จัดทำบริการสาธารณะ ซึ่งเป็นภารกิจของจำเลย อันจะถือว่าเป็นสัญญาที่ให้จัดทำบริการสาธารณะ แม้พระพุทธรูปจะมีขนาดใหญ่ต้องใช้ระยะเวลาก่อสร้างนานถึง ๖๐๐ วัน และมีราคาค่าจ้างสูงถึง ๔๔,๗๖๗,๐๐๐ บาท แต่ข้อกำหนดของสัญญาเป็นสัญญาจ้างทำของทั่วไป ไม่ใช่การมอบหมาย ให้โจทก์ทั้งสองเข้าร่วมจัดทำบริการสาธารณะโดยตรงกับจำเลย สัญญาพิพาทจึงไม่ใช่สัญญาทางปกครอง ตามบทนิยามของมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ แต่เป็นเพียงสัญญาทางแพ่งที่มีคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครอง คดีนี้ จึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๔๒/๒๕๖๐ คดีที่องค์การตลาดเพื่อเกษตรกรซึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครอง ยื่นฟ้องจำเลยทั้งสอง ซึ่งเป็นเอกชน ขอให้บังคับจำเลยทั้งสองชดใช้ค่าเสียหายจากการที่จำเลยทั้งสองผิดข้อตกลงการเช่า พื้นที่ว่างโครงการคลังสินค้าและตลาดสินค้าเกษตรจังหวัดตรังเพื่อจำหน่ายสินค้า ให้จำเลยทั้งสอง ขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกไปและส่งมอบพื้นที่ดังกล่าวคืนให้แก่โจทก์ในสภาพที่เรียบร้อย และห้ามจำเลยทั้งสองและบริวารเข้ามาเกี่ยวข้องกับพื้นที่ดังกล่าวอีกต่อไป แม้โจทก์จะเป็นหน่วยงาน ทางปกครอง แต่ข้อตกลงระหว่างโจทก์และจำเลยทั้งสองก็เป็นเพียงการให้เช่าพื้นที่โดยโจทก์ประสงค์ เพียงค่าเช่าเป็นการตอบแทนโดยในระยะแรกอนุญาตให้ผู้เช่าเข้าใช้พื้นที่จำหน่ายสินค้าชั่วคราว โดยไม่คิดค่าเช่าซึ่งมีลักษณะของการประกอบกิจการเชิงพาณิชย์เช่นเดียวกับเอกชน ข้อตกลงระหว่าง โจทก์กับจำเลยทั้งสองในคดีนี้จึงมีลักษณะเป็นสัญญาทางแพ่งมิใช่สัญญาทางปกครอง ข้อพิพาท ระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งสองจึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางแพ่งอันอยู่ในอำนาจพิจารณา พิพากษาของศาลยุติธรรม คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๒๔/๒๕๖๐ คดีที่เอกชนซึ่งทำสัญญาจ้างเหมาบริการรักษาความปลอดภัยกับบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ผู้ถูกฟ้องคดี ได้รับความเดือดร้อนเสียหายจากการที่ผู้ถูกฟ้องคดีไม่ดำเนินการแก้ไขสัญญา ตามมติคณะรัฐมนตรีที่ให้ความช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการปรับค่าจ้างขั้นต่ำของรัฐบาล จึงฟ้องขอให้ผู้ถูกฟ้องคดีดำเนินการปรับแก้ไขสัญญาจ้างเหมาบริการด้วยการเพิ่มอัตราค่าจ้างให้แก่ ผู้ฟ้องคดีตามมติคณะรัฐมนตรี และให้ชำระเงินในส่วนที่ผู้ฟ้องคดีต้องจ่ายค่าจ้างเพิ่มให้แก่พนักงาน เพื่อให้เป็นไปตามประกาศคณะกรรมการค่าจ้างพร้อมดอกเบี้ย เห็นว่า การฟ้องว่าหน่วยงานทางปกครอง หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำละเมิดอันเกิดจากการละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติ หรือปฏิบัติหน้าที่ล่าช้าเกินสมควร ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) ซึ่งจะอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองนั้น จะต้อง คดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางแพ่ง อยู่ในเขตอำนาจของศาลยุติธรรม


240 เป็นกรณีที่มีกฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติ แต่เจ้าหน้าที่ของรัฐละเลยต่อหน้าที่ไม่กระทำการนั้น เมื่อมติคณะรัฐมนตรีที่ให้รัฐวิสาหกิจแต่ละแห่งพิจารณาแก้ไขสัญญาว่าจ้างเอกชนดำเนินงาน ของรัฐวิสาหกิจในลักษณะสัญญาจ้างเหมาบริการ โดยให้อยู่ในดุลพินิจของผู้มีอำนาจอนุมัติ ของรัฐวิสาหกิจนั้น เป็นแต่เพียงการกำหนดแนวทางปฏิบัติโดยให้ดุลพินิจของผู้มีอำนาจอนุมัติ ของรัฐวิสาหกิจที่จะพิจารณาแก้ไขสัญญาได้ มติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวจึงไม่ใช่กฎหมาย การปฏิบัติ หรือไม่ปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวจึงไม่ใช่คดีพิพาทเกี่ยวกับการละเลยต่อหน้าที่ตามที่ กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติ อย่างไรก็ตาม เมื่อคดีนี้ผู้ฟ้องคดีและผู้ถูกฟ้องคดีมีนิติสัมพันธ์กัน ตามสัญญาจ้างเหมาบริการ การที่ผู้ฟ้องคดีฟ้องขอให้ผู้ถูกฟ้องคดีปรับแก้สัญญาจ้างเหมาบริการ โดยเพิ่มอัตราค่าจ้างตามมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว จึงเป็นการฟ้องขอให้คู่สัญญาแก้ไขสัญญา ซึ่งเป็น สัญญาจัดหาบุคลากรเพื่อดูแลและรักษาความปลอดภัยในทรัพย์สินให้แก่ผู้ถูกฟ้องคดี อันเป็นการ ดำเนินกิจการของผู้ถูกฟ้องคดีที่มิได้ใช้อำนาจทางปกครองหรือดำเนินกิจการทางปกครองเกี่ยวกับ การให้บริการสื่อสารโทรคมนาคมซึ่งเป็นกิจการที่ได้รับมอบหมายจากรัฐแต่อย่างใด ดังนั้น การทำ สัญญาในคดีนี้ผู้ถูกฟ้องคดีจึงไม่ได้ทำในฐานะผู้ได้รับมอบหมายให้ดำเนินกิจการทางปกครอง ผู้ถูกฟ้องคดีจึงไม่ใช่หน่วยงานทางปกครอง สัญญาจ้างเหมาบริการรักษาความปลอดภัยดังกล่าว จึงเป็นสัญญาทางแพ่ง ไม่ใช่สัญญาทางปกครองตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครอง และวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ข้อพิพาทในคดีนี้จึงเป็นข้อพิพาททางแพ่งที่อยู่ในอำนาจ พิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๑๙/๒๕๖๐ คดีที่หน่วยงานทางปกครองฟ้องขอให้จำเลยทั้งสองร่วมกันคืนเงินบำนาญที่ได้รับไป ตามหนังสือสัญญาการใช้เงินคืนที่จำเลยที่ ๑ ซึ่งเป็นอดีตข้าราชการได้ทำสัญญาไว้กับโจทก์เพื่อขอรับ บำเหน็จบำนาญในระหว่างกระบวนการทางวินัยยังไม่ถึงที่สุดโดยมีจำเลยที่ ๒ ทำสัญญาค้ำประกัน เป็นการฟ้องขอให้ปฏิบัติตามสัญญา มิใช่เกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมาย เมื่อสัญญาดังกล่าว ไม่มีลักษณะเป็นสัญญาทางปกครองตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและ วิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ สัญญาดังกล่าวจึงเป็นสัญญาทางแพ่ง ที่อยู่ในอำนาจพิจารณา พิพากษาของศาลยุติธรรม คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๖/๒๕๖๐ สัญญาที่หน่วยงานทางปกครองให้สิทธิแก่เอกชนซื้อไพ่จากโรงงานไพ่ กรมสรรพสามิต และรับซื้อไพ่ป๊อกที่กรมสรรพสามิตนำเข้าจากต่างประเทศตามจำนวนและเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในสัญญา เพื่อนำไปจำหน่ายอันเป็นประโยชน์ในทางธุรกิจและเพื่อเป็นรายได้ของเอกชน และหน่วยงาน ทางปกครองประสงค์เพียงค่าใช้สิทธิเป็นค่าตอบแทนรายเดือนและรายปีจากเอกชนเท่านั้น วัตถุประสงค์ ของสัญญามิได้มีลักษณะเป็นการให้เอกชนเป็นผู้จัดทำบริการสาธารณะหรือเข้าร่วมจัดทำบริการ คดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางแพ่ง อยู่ในเขตอำนาจของศาลยุติธรรม


Click to View FlipBook Version