The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by iprd.pic, 2023-09-19 04:15:14

รวมย่อคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่น่าสนใจ พ.ศ. ๒๕๕๖ - ๒๕๖๕

29. winijchai66_A

คดีพิพาทเกี่ยวกับ เขตอำนาจของศาลปกครอง รวมย่อคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่น่าสนใจ พ.ศ. ๒๕๕๖ - ๒๕๖๕ 141 ส่วนกรณีที่ผู้ฟ้องคดีขอให้ผู้ถูกฟ้องคดีรังวัดแบ่งแยกที่ดินตามโฉนดที่ดินเลขที่ ๖๑๙๔๕ ให้แก่วัด อ. จำนวน ๖ ไร่ แต่ผู้ถูกฟ้องคดีไม่ดำเนินการให้ ก็เนื่องจากวัด อ. และสำนักงาน พระพุทธศาสนาจังหวัดขอนแก่นได้คัดค้านการรังวัดแบ่งแยกที่ดินตามโฉนดที่ดินเลขที่ ๖๑๙๔๕ โดยอ้างว่าวัด อ. เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินตามโฉนดที่ดินพิพาทตามคำพิพากษาของศาล ผู้ถูกฟ้องคดีจึงไม่อาจจดทะเบียนเปลี่ยนชื่อผู้ฟ้องคดีในฐานะผู้จัดการมรดกเป็นผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ ในโฉนดที่ดินดังกล่าว และรังวัดแบ่งแยกที่ดินตามคำขอของผู้ฟ้องคดีได้ จึงให้ผู้ฟ้องคดีไปใช้สิทธิ ทางศาล ดังนั้น จึงเห็นได้ว่าเมื่อศาลจังหวัดขอนแก่นมีคำพิพากษาว่า นิติกรรมการยกให้ที่ดิน ตามโฉนดเลขที่ ๖๑๙๔๕ ตามฟ้องเนื้อที่ ๒๑ ไร่ ๓ งาน ๖๑ ตารางวา ซึ่งนาย ฮ. ยกให้แก่วัด อ. เป็นนิติกรรมที่สมบูรณ์ และคดีถึงที่สุดแล้ว การที่ผู้ฟ้องคดีอ้างว่าเป็นผู้จัดการมรดกของนาย ฮ. ยื่นคำขอให้ผู้ถูกฟ้องคดีรังวัดและแบ่งแยกที่ดินตามโฉนดที่ดินเลขที่ ๖๑๙๔๕ ให้แก่วัด อ. จำนวน ๖ ไร่ โดยอ้างว่าที่ดินอีกกึ่งหนึ่งเป็นสินสมรสของนาง น. ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงที่ต่างจากคำพิพากษา ที่ถึงที่สุดของศาลยุติธรรม และเป็นปัญหาที่เกี่ยวเนื่องกับชั้นบังคับคดี อันเป็นเหตุขัดข้อง ที่ผู้ถูกฟ้องคดีไม่อาจจดทะเบียนเปลี่ยนชื่อผู้ฟ้องคดีเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์โฉนดที่ดินเลขที่ ๖๑๙๔๕ และแบ่งแยกที่ดิน ๖ ไร่ ให้แก่วัด อ. ได้ เพราะจะเป็นการขัดแย้งต่อคำพิพากษาที่ถึงที่สุด กรณี ตามคำฟ้องในส่วนนี้จึงเป็นข้อพิพาทที่เกี่ยวเนื่องกับการบังคับคดีตามคำพิพากษาของศาลยุติธรรม ที่ต้องยื่นต่อศาลที่มีอำนาจในการบังคับคดีและมีอำนาจทำคำวินิจฉัยชี้ขาดหรือทำคำสั่งในเรื่องใด ๆ อันเกี่ยวด้วยการบังคับคดี ข้อพิพาทในส่วนนี้จึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม เช่นเดียวกัน คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๑๔/๒๕๕๙ คดีที่เอกชนฟ้องหน่วยงานทางปกครอง ขอให้เพิกถอนที่ดินสาธารณประโยชน์และ โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินคืนให้แก่ผู้ฟ้องคดี จากการที่ผู้ฟ้องคดีได้เคยจดทะเบียนแบ่งหักที่ดินบางส่วน ให้แก่ผู้ถูกฟ้องคดีเพื่อใช้เป็นถนนสาธารณประโยชน์ แต่ผู้ถูกฟ้องคดีไม่เคยใช้ประโยชน์ในที่ดิน เห็นว่า พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๒) บัญญัติให้ศาลปกครองมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครอง หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติ หรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว ล่าช้าเกินสมควร เมื่อกรณีตามคำฟ้องไม่มีกฎหมายใดกำหนดหน้าที่ของหน่วยงานทางปกครอง ในการเพิกถอนที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินหรือเป็นทรัพย์สินของแผ่นดินคืนให้แก่ผู้อุทิศ ให้ตามคำร้องขอ เนื่องจากสาธารณสมบัติของแผ่นดินนั้นจะโอนแก่กันมิได้ เว้นแต่อาศัยอำนาจ แห่งบทกฎหมายเฉพาะหรือพระราชกฤษฎีกา ทั้งการถอนสภาพหรือโอนที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติ ของแผ่นดินต้องกระทำโดยพระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกาแล้วแต่กรณี ทั้งนี้ ตามประมวล กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๓๐๕ ประกอบประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา ๘ วรรคสอง คดีที่มิใช่คดีพิพาทเกี่ยวกับการละเลยต่อหน้าที่หรือปฏิบัติหน้าที่ล่าช้าเกินสมควร อยู่ในเขตอำนาจของศาลยุติธรรม


142 กรณีจึงมิใช่คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐละเลยต่อหน้าที่ ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๒) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ เมื่อไม่เข้าลักษณะคดีพิพาทที่กฎหมายบัญญัติให้อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองแล้ว คดีนี้จึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรมซึ่งเป็นศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษา คดีทั้งปวงที่ไม่มีกฎหมายบัญญัติให้อยู่ในอำนาจศาลอื่น คดีที่มิใช่คดีพิพาทเกี่ยวกับการละเลยต่อหน้าที่หรือปฏิบัติหน้าที่ล่าช้าเกินสมควร อยู่ในเขตอำนาจของศาลยุติธรรม


คดีพิพาทเกี่ยวกับ เขตอำนาจของศาลปกครอง รวมย่อคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่น่าสนใจ พ.ศ. ๒๕๕๖ - ๒๕๖๕ 143 การกระทําละเมดิจากการใชอ้ ํานาจตามกฎหมาย หรอืจากกฎ คําสงั�ทางปกครอง หรอืคําสงั�อนื�ตามพระราชบญัญตัจิดั ตัง�ศาลปกครอง และวธิพี ิจารณาคดปีกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๙ วรรคหนงึ� (๓) อยใู่นเขตอํานาจของศาลปกครอง การกระทําละเมดิ ทเี�กดิจากการใชอ้ ํานาจตามกฎหมายหรอืคําสงั� ทางปกครอง รวมย่อคําวินิจฉัย คดีพิพาทเกี�ยวกับการกระทําละเมิด ของฝ�ายปกครอง คดเีกยี�วกบัการกระทําละเมดิ ทอี�ยใู่นเขตอํานาจของศาลปกครอง


144 คดีเกี่ยวกับการกระทำละเมิดที่อยู่ในเขตอำนาจของศาลปกครอง - การกระทำละเมิดที่เกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมายหรือคำสั่งทางปกครอง คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๘๑/๒๕๖๕ คดีที่โจทก์เป็นเอกชนยื่นฟ้องบริษัท อ. จำเลย ว่า จำเลยติดตั้งเสาส่งสัญญาณโทรศัพท์ เคลื่อนที่บนที่ดินข้างเคียงกับที่ดินของโจทก์ มีความสูง ๓๕.๖ เมตร และติดตั้งใกล้ชิดบ้านของโจทก์ จนน่าหวาดกลัวในเรื่องภัยอันตรายจากคลื่นสัญญาณ เสียงรบกวน การโค่นล้มหรือฟ้าผ่า มลภาวะ ทางสายตาที่ไม่สวยงาม ทำให้สุขภาพจิตเศร้าหมอง ไม่มีสมาธิในการทำงานและทำให้ราคาที่ดิน ของโจทก์ด้อยราคาลง โจทก์คัดค้านการติดตั้งเสาดังกล่าว แต่จำเลยเพิกเฉย ทำให้ได้รับความเสียหาย ขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าเสียหายพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยว่าคดีนี้เป็นคดีพิพาท เกี่ยวกับการกระทำละเมิดที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองหรือไม่ เห็นว่า คดีนี้ แม้บริษัท อ. จำเลย เป็นบริษัทจำกัดซึ่งเป็นนิติบุคคลเอกชน แต่อย่างไรก็ตาม จำเลยเป็นผู้ได้รับใบอนุญาต จากคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) ให้ประกอบกิจการโทรคมนาคม ตามพระราชบัญญัติ การประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. ๒๕๔๔ จำเลยจึงอาจเป็น “หน่วยงานทางปกครอง” ประเภท หน่วยงานที่ได้รับมอบหมายให้ใช้อำนาจทางปกครองหรือให้ดำเนินกิจการทางปกครอง ตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ได้ หากได้ใช้อำนาจ ทางปกครองหรือได้ดำเนินกิจการทางปกครองตามที่ได้รับมอบหมาย และโดยที่พระราชบัญญัติ การประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. ๒๕๔๔ มาตรา ๑๗ กำหนดให้คณะกรรมการกิจการ โทรคมนาคมแห่งชาติมีหน้าที่จัดให้มีการบริการโทรคมนาคมพื้นฐาน โดยทั่วถึง และให้มีอำนาจ กำหนดให้ผู้รับใบอนุญาตต้องจัดให้มีการบริการโทรคมนาคม ซึ่งรวมถึงการจัดให้มีบริการโทรคมนาคม ในพื้นที่ชนบทหรือพื้นที่ที่มีผลตอบแทนการลงทุนต่ำ หรือท้องที่หนึ่งท้องที่ใดที่ยังไม่มีผู้ให้บริการ หรือมีแต่ไม่ทั่วถึงหรือไม่เพียงพอแก่ความต้องการของผู้ใช้บริการในท้องที่ ภายใต้ประกาศ ที่คณะกรรมการกำหนด อันเป็นการจัดทำบริการสาธารณะในการบริการโทรคมนาคม เมื่อจำเลย เป็นผู้ได้รับใบอนุญาตจากคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) ให้ประกอบกิจการ โทรคมนาคม จึงถือว่าจำเลยเป็นหน่วยงานที่ได้รับมอบหมายให้ใช้อำนาจทางปกครองหรือ ให้ดำเนินกิจการทางปกครองและเป็นหน่วยงานทางปกครองตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ และโดยที่มาตรา ๓๙ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. ๒๕๔๔ บัญญัติว่า ในการดำเนินการ ให้บริการโทรคมนาคม ถ้าผู้รับใบอนุญาตมีเหตุต้องปักหรือตั้งเสา หรือเดินสาย วางท่อ หรือติดตั้ง อุปกรณ์ประกอบใดและจำเป็นต้องใช้สิทธิตามมาตรานี้ ให้ผู้รับใบอนุญาตจัดทำแผนผังแสดง คดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดของฝ่ายปกครอง การกระทำละเมิดที่เกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมายหรือคำสั่งทางปกครองที่อยู่ในเขตอำนาจของศาลปกครอง


คดีพิพาทเกี่ยวกับ เขตอำนาจของศาลปกครอง รวมย่อคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่น่าสนใจ พ.ศ. ๒๕๕๖ - ๒๕๖๕ 145 รายละเอียดของลักษณะทิศทาง และแนวเขตในการปักหรือตั้งเสา เดินสาย วางท่อ และการติดตั้ง อุปกรณ์ประกอบใด เสนอต่อคณะกรรมการเพื่อให้ความเห็นชอบก่อนดำเนินการ และวรรคสอง บัญญัติว่า เมื่อคณะกรรมการได้ให้ความเห็นชอบตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้ผู้รับใบอนุญาตมีสิทธิปัก หรือตั้งเสา เดินสาย วางท่อ หรือติดตั้งอุปกรณ์ประกอบใดในการให้บริการโทรคมนาคมในที่ดิน ของบุคคลอื่น การที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยติดตั้งเสาสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่ มีความสูง ๓๕.๖ เมตร อยู่ห่างจากตัวบ้านโจทก์ ๗ เมตร มีสายดิน อยู่ห่างจากขอบเขตรั้วบ้านเพียง ๐.๕ เมตร จนน่าหวาดกลัว ในเรื่องภัยอันตรายที่จะเกิดขึ้น รวมทั้ง มลภาวะทางสายตา ทัศนียภาพไม่สวยงาม และราคาที่ดินลดลง ขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าเสียหายพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ อันเกิดจากการกระทำดังกล่าว กรณี จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐอันเกิด จากการใช้อำนาจตามกฎหมาย ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครอง และวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๔๑/๒๕๖๔ คดีที่ บริษัท ฤ. ยื่นฟ้อง จังหวัดสมุทรปราการ ผู้ถูกฟ้องคดี อ้างว่าผู้ฟ้องคดีเป็นผู้ชนะการเสนอราคา ตามประกาศรายชื่อผู้ชนะการประมูลในการประกวดราคาจ้างก่อสร้างอาคารพักเจ้าหน้าที่ ๗ ชั้น ๙๖ ห้อง โรงพยาบาล บ. จังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งผู้ฟ้องคดีได้ลงนามฝ่ายเดียวในสัญญาจ้าง พร้อมมอบหนังสือค้ำประกันให้กับผู้ถูกฟ้องคดี แต่ต่อมาผู้ถูกฟ้องคดีได้ออกคำสั่งยกเลิก ผลการประกาศรายชื่อผู้ชนะการประมูลดังกล่าวโดยไม่ชอบด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนด ในพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖๐ และเอกสารประกวดราคา จ้างก่อสร้างด้วยการประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding) เลขที่ ๘/๒๕๖๑ ตามประกาศ ของผู้ถูกฟ้องคดี ทั้งยังไม่ให้โอกาสผู้ฟ้องคดีชี้แจงข้อเท็จจริง และแสดงพยานหลักฐานเพิ่มเติม ตามมาตรา ๓๐ แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ ก่อนที่จะออกคำสั่ง ยกเลิกประกาศรายชื่อผู้ชนะการประมูล เป็นเหตุให้ผู้ฟ้องคดีเสียสิทธิในการทำสัญญา และได้รับความเสียหาย ขอให้พิพากษาหรือมีคำสั่งให้ผู้ถูกฟ้องคดีคืนหนังสือค้ำประกันซอง กับให้ผู้ถูกฟ้องคดีชดใช้ค่าเสียหายเป็นค่าธรรมเนียมในการจัดทำหนังสือค้ำประกันซอง การประกวดราคาจ้างก่อสร้าง ค่าวิเคราะห์สินเชื่อในการต่ออายุหนังสือค้ำประกันซองการ ประกวดราคาจ้างก่อสร้าง และค่าธรรมเนียมหนังสือค้ำประกันสัญญาจ้างก่อสร้าง รวมถึง ค่าธรรมเนียมในการจัดทำหนังสือค้ำประกันซองการประกวดราคาจ้างก่อสร้างพร้อมดอกเบี้ยให้แก่ ผู้ฟ้องคดี กรณีตามคำฟ้องจึงเป็นการฟ้องว่า การออกคำสั่งยกเลิกผลการประกาศรายชื่อผู้ชนะ การประมูลของผู้ถูกฟ้องคดีเป็นไปโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ผู้ถูกฟ้องคดีเป็นราชการส่วนภูมิภาค ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔ จึงเป็นหน่วยงานทางปกครอง ตามบทนิยาม “หน่วยงานทางปกครอง” ในมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและ วิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ เมื่อเหตุพิพาทตามคำฟ้องยังอยู่ในขั้นตอนกระบวนการคัดเลือก การกระทำละเมิดที่เกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมายหรือคำสั่งทางปกครองที่อยู่ในเขตอำนาจของศาลปกครอง


146 เอกชนเข้าเป็นคู่สัญญากับหน่วยงานของรัฐ ยังมิได้ทำสัญญาผูกพันกัน และคำสั่งยกเลิกผลการประกาศ รายชื่อผู้ชนะการประมูลดังกล่าวมีลักษณะเป็นคำสั่งยกเลิกกระบวนการพิจารณาคำเสนอหรือ การดำเนินการอื่นใดในลักษณะเดียวกันซึ่งมีผลเป็นการสร้างนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคลในอันที่ จะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน ระงับหรือมีผลกระทบต่อสถานภาพของสิทธิและหน้าที่ของบุคคล อันเป็นคำสั่งทางปกครอง ตามมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ ประกอบข้อ ๑ (๓) ของกฎกระทรวง ฉบับที่ ๑๒ (พ.ศ. ๒๕๔๓) ออกตามความในพระราชบัญญัติ วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ ข้อพิพาทเกี่ยวกับคำสั่งยกเลิกผลการประกาศรายชื่อ ผู้ชนะการประมูลดังกล่าวจึงเป็นข้อพิพาทเกี่ยวกับคำสั่งทางปกครอง แม้ผู้ฟ้องคดีจะไม่ได้มีคำขอให้ ศาลเพิกถอนคำสั่งยกเลิกผลการประกาศรายชื่อผู้ชนะการประมูลดังกล่าว แต่คำขอท้ายฟ้อง ของผู้ฟ้องคดีล้วนเป็นคำขอที่อ้างถึงความเสียหายอันเกิดจากคำสั่งยกเลิกผลการประกาศรายชื่อ ผู้ชนะการประมูลของผู้ถูกฟ้องคดี กรณีจึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดของหน่วยงาน ทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐอันเกิดจากคำสั่งทางปกครอง ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ซึ่งอยู่ในอำนาจ พิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๑๐๙/๒๕๖๓ ผู้ฟ้องคดีเป็นเอกชนยื่นฟ้องกรมชลประทานซึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครอง ตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ อ้างว่า ผู้ฟ้องคดี เป็นเจ้าของที่ดินตามโฉนดที่ดินเลขที่ ๙๙๑๐๔ เนื้อที่ ๑ ไร่ ๑ งาน ๗ ตารางวา พร้อมบ้าน ๑ หลัง ติดคลองส่งน้ำชลประทาน มีหลักเขตคลองส่งน้ำชลประทานของผู้ถูกฟ้องคดีปักอยู่นอกกำแพงบ้าน ต่อมาเจ้าหน้าที่ของผู้ถูกฟ้องคดีนำหลักเขตคลองส่งน้ำชลประทานมาปักใหม่ในที่ดินของผู้ฟ้องคดี บริเวณที่ระยะ ๒ เมตร จากจุดเดิม และทุบทำลายหลักเขตชลประทานเดิมออก ทำให้ผู้ฟ้องคดี ได้รับความเสียหาย ขอให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้ผู้ถูกฟ้องคดีย้ายหลักเขตชลประทานดังกล่าว กลับที่เดิมและขอให้ชดใช้ค่าเสียหาย รวม ๒๗๐,๘๔๒ บาท ส่วนผู้ถูกฟ้องคดีให้การว่า เหตุที่ผู้ถูกฟ้องคดี ทุบทำลายหลักเขตเดิมและปักหลักเขตใหม่เนื่องจากมีการซ่อมแซมเขตชลประทานดังกล่าว โดยเขตคลองชลประทานฝั่งขวาต้องกว้าง ๑๐ เมตร แต่หลักเขตเก่าที่ปักอยู่ติดกำแพงบ้านผู้ฟ้องคดี มีความกว้างประมาณ ๘ เมตร ซึ่งไม่ตรงกับระยะเขตคลองของโครงการ จึงต้องปักหลักเขตใหม่ ที่ระยะ ๑๐ เมตร และทำลายหลักเขตเดิม เห็นว่า กรณีตามคำฟ้องเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำ ละเมิดของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยว่า คดีพิพาทเกี่ยวกับ การกระทำละเมิดของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐตามคำฟ้องนี้ เป็นคดีที่อยู่ในอำนาจ พิจารณาพิพากษาของศาลปกครองหรือศาลยุติธรรม เมื่อมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ซึ่งบัญญัติว่า ศาลปกครองมีอำนาจ พิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่งในเรื่องดังต่อไปนี้ (๓) คดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดหรือ การกระทำละเมิดที่เกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมายหรือคำสั่งทางปกครองที่อยู่ในเขตอำนาจของศาลปกครอง


คดีพิพาทเกี่ยวกับ เขตอำนาจของศาลปกครอง รวมย่อคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่น่าสนใจ พ.ศ. ๒๕๕๖ - ๒๕๖๕ 147 ความรับผิดอย่างอื่นของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐอันเกิดจากการใช้อำนาจ ตามกฎหมาย หรือจากกฎ คำสั่งปกครอง หรือคำสั่งอื่น หรือจากการละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมาย กำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร เห็นว่า การปักหลักเขตคลองส่งน้ำ ชลประทานเพื่อดำเนินการตามโครงการอ่างเก็บน้ำหนองสำโรง จังหวัดอุดรธานีเป็นการจัดทำบริการ สาธารณะตามอำนาจหน้าที่ของผู้ถูกฟ้องคดีในเรื่องการจัดให้ได้มาซึ่งน้ำ หรือกัก เก็บรักษา ควบคุม ส่ง ระบาย หรือจัดสรรน้ำเพื่อการเกษตร การพลังงาน การสาธารณูปโภคหรือการอุตสาหกรรม ตามกฎหมายว่าด้วยการชลประทาน กฎหมายว่าด้วยคันและคูน้ำ และกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ตามข้อ ๒ ของกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พ.ศ. ๒๕๕๗ การกระทำของผู้ถูกฟ้องคดีจึงเป็นการกระทำโดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อจัดให้ได้มา ซึ่งอ่างเก็บน้ำตามโครงการดังกล่าว เมื่อผู้ฟ้องคดีฟ้องว่าการที่ผู้ถูกฟ้องคดีทุบทำลายหลักเขตคลอง ส่งน้ำเดิมที่อยู่นอกรั้วบ้านของผู้ฟ้องคดีและปักหลักเขตใหม่เข้ามาในที่ดินของผู้ฟ้องคดี ทำให้ผู้ฟ้องคดี ได้รับความเสียหาย กรณีตามคำฟ้องจึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดของหน่วยงาน ทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐอันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมาย ที่อยู่ในอำนาจพิจารณา พิพากษาของศาลปกครองตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครอง และวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ประกอบกับคดีนี้ผู้ถูกฟ้องคดีรับว่าได้ทำลายหลักเขตเดิม และปักหลักเขตใหม่ เพื่อให้เขตคลองส่งน้ำฝั่งขวามีความกว้าง ๑๐ เมตร โดยไม่ได้ให้การโต้แย้งว่า ที่ดินดังกล่าวไม่ใช่ของผู้ฟ้องคดี ทั้งยังให้การว่าเมื่อวันที่ ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๒ หลังจากฟ้องคดี ผู้ถูกฟ้องคดีได้มีหนังสือถึงเจ้าพนักงานที่ดินเพื่อส่งช่างรังวัดมารังวัดสอบเขตที่ดินเพื่อให้ทราบ ข้อเท็จจริงในเรื่องแนวเขตของกรมชลประทานกับแนวเขตที่ดินของผู้ฟ้องคดี ประเด็นข้อพิพาทในคดีนี้ จึงมีว่า การที่ผู้ถูกฟ้องคดีทำลายหลักเขตเดิมและปักหลักเขตใหม่รุกล้ำเข้ามาในที่ดินของผู้ฟ้องคดี โดยที่ยังไม่มีการตรวจสอบแนวเขตที่ดินอย่างชัดแจ้งนั้น เป็นการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมายและ เป็นละเมิดแก่ผู้ฟ้องคดีหรือไม่ ทั้งผู้ฟ้องคดีชี้แจงข้อเท็จจริงตามคำสั่งศาลปกครองอุดรธานี ตามข้อ ๑๗ ของข้อบังคับคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอํานาจหน้าที่ระหว่างศาล ว่าด้วยวิธีการเสนอเรื่อง การพิจารณา และวินิจฉัย พ.ศ. ๒๕๔๔ ว่า ผู้ฟ้องคดีไม่ต้องการพิสูจน์ว่าที่ดินพิพาทเป็นของผู้ใด แต่ต้องการเรียกร้อง ค่าเสียหาย คดีนี้จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ ของรัฐอันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมาย มิใช่คดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๗๑/๒๕๖๒ คดีนี้ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) จำเลย เดิมเป็นรัฐวิสาหกิจที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติ การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๑ มีวัตถุประสงค์ในการประกอบและส่งเสริมธุรกิจ ปิโตรเลียม รวมถึงการดำเนินธุรกิจอื่นที่เกี่ยวกับหรือต่อเนื่องกับการประกอบธุรกิจปิโตรเลียม เพื่อให้เกิดประโยชน์มากที่สุดแก่เศรษฐกิจและความมั่นคงของประเทศโดยคำนึงถึงประโยชน์ของรัฐ และประชาชน แม้ต่อมาได้แปรสภาพไปเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทมหาชนจำกัดตามพระราชบัญญัติ การกระทำละเมิดที่เกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมายหรือคำสั่งทางปกครองที่อยู่ในเขตอำนาจของศาลปกครอง


148 ทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. ๒๕๔๒ เป็นเหตุให้บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ไม่ใช่รัฐวิสาหกิจที่จัดตั้งขึ้น โดยพระราชบัญญัติอันจะถือเป็น “หน่วยงานทางปกครอง” โดยแท้ตามพระราชบัญญัติจัดตั้ง ศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ แต่อย่างไรก็ตาม บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) จำเลย อาจเป็นหน่วยงานทางปกครอง ประเภทหน่วยงานที่ได้รับมอบหมายให้ใช้อำนาจทางปกครอง หรือให้ดำเนินกิจการทางปกครอง ตามพระราชบัญญัติดังกล่าวได้ หากได้ใช้อำนาจทางปกครอง หรือได้ดำเนินกิจการทางปกครองตามที่ได้รับมอบหมาย และโดยที่มาตรา ๒๖ แห่งพระราชบัญญัติ ทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. ๒๕๔๒ บัญญัติว่า ในกรณีที่กฎหมายจัดตั้งรัฐวิสาหกิจมีการเปลี่ยนทุนเป็นหุ้น ของบริษัทหรือกฎหมายอื่นมีบทบัญญัติให้อำนาจรัฐวิสาหกิจดำเนินการใด ๆ ต่อบุคคล ทรัพย์สิน หรือสิทธิของบุคคล หรือมีบทบัญญัติให้การดำเนินการของรัฐวิสาหกิจนั้นได้รับยกเว้นไม่อยู่ภายใต้ บังคับกฎหมายว่าด้วยการใด หรือได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามกฎหมายในเรื่องใด หรือมีบทบัญญัติ ให้สิทธิพิเศษแก่รัฐวิสาหกิจนั้นเป็นการเฉพาะ หรือมีบทบัญญัติคุ้มครองกิจการ พนักงานหรือลูกจ้าง ของรัฐวิสาหกิจ ให้ถือว่าบทบัญญัตินั้นมีผลใช้บังคับต่อไป โดยบริษัทมีฐานะอย่างเดียวกับรัฐวิสาหกิจ ตามกฎหมายดังกล่าว... อันเป็นบทบัญญัติรับรองอำนาจหน้าที่ของรัฐวิสาหกิจเดิมที่เปลี่ยนสถานะ จากรัฐวิสาหกิจตามที่มีกฎหมายจัดตั้งมาสู่รูปแบบบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัด ดังนั้น อำนาจ ของ ปตท. ตามมาตรา ๓๐ แห่งพระราชบัญญัติการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๑ จึงมีผลใช้บังคับอยู่ตามนัยมาตรา ๒๖ แห่งพระราชบัญญัติทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. ๒๕๔๒ จำเลย จึงเป็นหน่วยงานที่ได้รับมอบหมายให้ใช้อำนาจทางปกครองหรือให้ดำเนินกิจการทางปกครอง และมีฐานะเป็นหน่วยงานทางปกครอง ตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและ วิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ เมื่อโจทก์ฟ้องว่า จำเลยวางท่อส่งก๊าซธรรมชาติลงใต้พื้นดิน ที่โจทก์ครอบครองตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ เลขที่ ๔๘ โดยไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์ ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ขอให้ศาลพิพากษาหรือมีคำสั่งให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายและขนย้าย ทรัพย์สินของจำเลยออกไปจากที่ดินของโจทก์ จึงเป็นการกล่าวอ้างว่า การดำเนินการของจำเลย ในการใช้อำนาจตามพระราชบัญญัติการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๑ เป็นการกระทำ ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายและก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ คดีนี้ จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำ ละเมิดของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐอันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมาย ซึ่งอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ * คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๗๐/๒๕๖๒ วินิจฉัยทำนองเดียวกัน การกระทำละเมิดที่เกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมายหรือคำสั่งทางปกครองที่อยู่ในเขตอำนาจของศาลปกครอง


คดีพิพาทเกี่ยวกับ เขตอำนาจของศาลปกครอง รวมย่อคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่น่าสนใจ พ.ศ. ๒๕๕๖ - ๒๕๖๕ 149 คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๑๑๐/๒๕๕๙ คดีที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลฟ้องขอให้จำเลย ทั้งห้าซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐชดใช้ค่าสินไหมทดแทน อันเนื่องมาจากการที่ศาลอุทธรณ์ภาค ๓ มีคำสั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่ เมื่อการใช้อำนาจของจำเลยทั้งห้าในการจัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิก สภาองค์การบริหารส่วนตำบล เป็นการใช้อำนาจตามพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๔๕ อันเป็นการใช้อำนาจในทางปกครองหรือดำเนินกิจการทางปกครอง จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดของเจ้าหน้าที่ของรัฐอันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมาย ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๗๓/๒๕๕๘ คดีพิพาทระหว่างเอกชนกับกรมที่ดินที่มีประเด็นแห่งคดีเป็นกรณีพิพาทเกี่ยวกับ การกระทำละเมิดและเรียกค่าเสียหาย เมื่อข้อเท็จจริงตามคำฟ้องและคำขอท้ายฟ้อง โจทก์กล่าวอ้าง แต่เพียงว่าจำเลยออก น.ส. ๓ ก. โดยผิดพลาด ทับซ้อนกับที่ดินมีโฉนดของบุคคลภายนอก ขอให้ บังคับจำเลยชดใช้ค่าเสียหาย ทั้งยังกล่าวอ้างคำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๑๐๙๐๐/๒๕๕๖ ที่พิพากษา ให้ขับไล่โจทก์ออกจากที่ดินที่ทับซ้อนกันว่าข้อเท็จจริงยุติแล้วว่าที่ดิน น.ส. ๓ ก. ของโจทก์ทับซ้อน กับที่ดินมีโฉนดของผู้มีชื่อ ส่วนจำเลยให้การโดยสรุปว่าไม่ได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ ทั้งมิใช่กรณี ที่โจทก์ฟ้องคดีโดยมุ่งประสงค์ให้ศาลมีคำพิพากษารับรองคุ้มครองสิทธิในที่ดินว่าที่ดิน น.ส. ๓ ก. ดังกล่าวเป็นของโจทก์ และมิใช่กรณีที่คู่ความยังโต้แย้งกันเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน ดังนั้น เมื่อการออก น.ส. ๓ ก. ของพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ในสังกัดจำเลย เป็นการดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ ที่ประมวลกฎหมายที่ดินกำหนดให้อำนาจไว้ และการออก น.ส. ๓ ก. ดังกล่าวเป็นคำสั่งทางปกครอง ดังนั้น การที่โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยจึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิด ของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐอันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมาย หรือจากกฎ คำสั่งทางปกครอง หรือคำสั่งอื่น ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครอง และวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๑๒๕/๒๕๕๖ คดีที่เอกชนยื่นฟ้องกรมการขนส่งทางบก ที่ ๑ สำนักงานมาตรฐานงานทะเบียนและ ภาษีรถยนต์ ที่ ๒ จำเลย กรณีได้รับความเดือดร้อนเสียหายจากการถูกกรมการขนส่งทางบก ไม่ทำการจดทะเบียนเปลี่ยนชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์ในใบคู่มือจดทะเบียนรถยนต์ (แท็กซี่) โดยอ้างว่า โจทก์ ไม่ใช่ผู้มีกรรมสิทธิ์ เพราะรถยนต์ (แท็กซี่) เป็นทรัพย์มรดกของผู้มีชื่อต้องให้ทายาทของผู้มีชื่อดำเนินการ ขอให้มีคำสั่งหรือคำพิพากษาให้จำเลยทั้งสองจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์ในสมุดคู่มือ การกระทำละเมิดที่เกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมายหรือคำสั่งทางปกครองที่อยู่ในเขตอำนาจของศาลปกครอง


150 จดทะเบียนมาเป็นชื่อโจทก์ หรือตามคำสั่งของโจทก์ และให้จำเลยทั้งสองร่วมกันหรือแทนกันรับผิด ชดใช้ค่าเสียหาย กับค่าขาดประโยชน์ เห็นว่า การจดทะเบียนรถยนต์เป็นเพียงหลักฐานที่กำหนดขึ้น เพื่อความสะดวกในการควบคุมการใช้รถและการเสียภาษีของเจ้าพนักงานเท่านั้น ซึ่งในการจดทะเบียน รถยนต์นายทะเบียนจะต้องดำเนินการไปตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องอันเป็นการใช้อำนาจ ทางปกครอง เมื่อคดีนี้ไม่มีประเด็นพิพาทเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในรถยนต์พิพาทระหว่างโจทก์กับทายาท ของผู้มีชื่อ ข้อพิพาทในคดีนี้จึงมีเพียงประเด็นเรื่องการปฏิบัติหน้าที่ของนายทะเบียนตามกฎหมาย ว่าด้วยรถยนต์ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ในสังกัดจำเลยที่ ๑ ว่ากระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายและ เป็นละเมิดต่อโจทก์หรือไม่ คดีนี้จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดของหน่วยงานทางปกครอง หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐอันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมาย ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) แห่ง พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ อันอยู่ในอำนาจพิจารณา พิพากษาของศาลปกครอง การกระทำละเมิดที่เกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมายหรือคำสั่งทางปกครองที่อยู่ในเขตอำนาจของศาลปกครอง


คดีพิพาทเกี่ยวกับ เขตอำนาจของศาลปกครอง รวมย่อคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่น่าสนใจ พ.ศ. ๒๕๕๖ - ๒๕๖๕ 151 การกระทําละเมดิจากการละเลยตอ่หนา้ทตี�ามทกี�ฎหมายกําหนดใหต้อ้ง ปฏบิตั ิหรอืปฏบิตัหินา้ทลี�า่ชา้เกนิสมควร ตามพระราชบญัญติ ัจดั ตัง�ศาลปกครอง และวธิพี ิจารณาคดปีกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๙ วรรคหนงึ� (๓) อยใู่นเขตอํานาจของศาลปกครอง การกระทําละเมดิทเี�กดิจากการละเลย ตอ่หนา้ทหี�รอืปฏบิตัหินา้ทลี�า่ชา้เกนิสมควร


152 - การกระทำละเมิดที่เกิดจากการละเลยต่อหน้าที่หรือปฏิบัติหน้าที่ล่าช้าเกินสมควร คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๑๘/๒๕๖๕ คดีที่ บมจ. ค. ผู้ฟ้องคดี ยื่นฟ้อง เทศบาลเมืองเพชรบุรี ผู้ถูกฟ้องคดี อ้างว่าผู้ฟ้องคดี เป็นผู้รับประกันภัยรถยนต์จากผู้เอาประกันภัย ได้รับความเดือดร้อนเสียหายจากการที่ต้นไม้ของ ผู้ถูกฟ้องคดีซึ่งปลูกไว้บนทางเท้าหรือบาทวิถีริมถนนภูมิรักษ์หักโค่นตกลงมาใส่รถยนต์คันที่ผู้ฟ้องคดี รับประกันภัยได้รับความเสียหาย ผู้ฟ้องคดีได้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันภัยแล้ว จึงใช้สิทธิไล่เบี้ยฟ้องผู้ถูกฟ้องคดีต่อศาล ขอให้ศาลมีคำพิพากษาให้ผู้ถูกฟ้องคดีชดใช้ค่าเสียหาย พร้อมดอกเบี้ย มีปัญหาต้องวินิจฉัยว่า คดีนี้เป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดของหน่วยงาน ทางปกครองที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองหรือไม่ เห็นว่า พระราชบัญญัติจัดตั้ง ศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๙ วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า “ศาลปกครอง มีอำนาจพิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่งในเรื่องดังต่อไปนี้ (๓) คดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิด หรือความรับผิดอย่างอื่นของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐอันเกิดจากการใช้อำนาจ ตามกฎหมาย หรือจากกฎ คำสั่งทางปกครอง หรือคำสั่งอื่น หรือจากการละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมาย กำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร” เมื่อ เทศบาลเมืองเพชรบุรี ผู้ถูกฟ้องคดี มีฐานะเป็นราชการส่วนท้องถิ่นตามมาตรา ๗๐ (๒) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบ บริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔ จึงเป็นหน่วยงานทางปกครอง ตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ โดยมีอำนาจหน้าที่ตามมาตรา ๕๓ (๑) ประกอบมาตรา ๕๐ (๒) แห่งพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. ๒๔๙๖ ในการจัดให้มีและบำรุงทางบก และทางน้ำ ดังนั้น ผู้ถูกฟ้องคดีมีหน้าที่ตามกฎหมายที่ต้องดูแลบำรุงรักษาต้นไม้ซึ่งปลูกไว้บนทางเท้า หรือบาทวิถีริมถนนเพื่อให้เกิดความปลอดภัยแก่ประชาชนผู้ใช้รถใช้ถนน เมื่อคดีนี้ผู้ฟ้องคดีฟ้องว่า ผู้ถูกฟ้องคดีมีหน้าที่ตามกฎหมายที่ต้องดูแล บำรุงรักษาต้นไม้บนถนนภายในเขตพื้นที่ความรับผิดชอบ เพื่อให้เกิดความความปลอดภัยอย่างเพียงพอแก่ประชาชนผู้ใช้รถใช้ถนน แต่ผู้ถูกฟ้องคดีกลับปล่อยปละ ละเลยให้มีต้นไม้ริมถนนขนาดใหญ่แตกกิ่งก้านสาขาออกเป็นจำนวนมาก เป็นเหตุให้ต้นไม้หักโค่น ตกใส่รถยนต์คันที่ผู้ฟ้องคดีรับประกันภัย และผู้ฟ้องคดีได้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันภัย แล้วใช้สิทธิไล่เบี้ยแก่ผู้ถูกฟ้องคดี คดีนี้จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดของหน่วยงาน ทางปกครองอันเกิดจากการละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง * คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๒/๒๕๖๕ วินิจฉัยทำนองเดียวกันในเรื่องการกระทำ ละเมิดจากการละเลยต่อหน้าที่ไม่ดูแล มิได้ตรวจ ตัดหรือแต่งกิ่งต้นไม้ในเขตทางหลวงให้อยู่ ในสภาพเรียบร้อยและปลอดภัยต่อผู้ใช้ทางหลวง การกระทำละเมิดที่เกิดจากการละเลยต่อหน้าที่หรือปฏิบัติหน้าที่ล่าช้าเกินสมควรที่อยู่ในเขตอำนาจของศาลปกครอง


คดีพิพาทเกี่ยวกับ เขตอำนาจของศาลปกครอง รวมย่อคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่น่าสนใจ พ.ศ. ๒๕๕๖ - ๒๕๖๕ 153 * คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๗๒/๒๕๖๔ วินิจฉัยทำนองเดียวกันในเรื่องการกระทำ ละเมิดจากการละเลยต่อหน้าที่ไม่ตรวจสอบดูแลรักษาสายไฟฟ้าที่ชำรุดและปฏิบัติหน้าที่ล่าช้า เกินสมควรในการแก้ไขกระแสไฟฟ้ารั่วภายในโรงเรียน * คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๕๕/๒๕๖๔ วินิจฉัยทำนองเดียวกันในเรื่องการกระทำ ละเมิดจากการละเลยต่อหน้าที่ในการตรวจสอบดูแลและรักษาความปลอดภัยในการใช้และ รักษาทรัพย์สินที่ใช้ในการจัดทำสาธารณูปโภคตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติ * คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๔๒/๒๕๖๔ วินิจฉัยทำนองเดียวกันในเรื่องการกระทำ ละเมิดจากการละเลยต่อหน้าที่มิได้ดูแลเครื่องรับเสียงตามสายอันเป็นเครื่องมือหรืออุปกรณ์ ในการจัดทำบริการสาธารณะให้มีความมั่นคงแข็งแรงและปลอดภัยเป็นเหตุให้ร่วงหล่นใส่ศีรษะ ของผู้ฟ้องคดี * คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๗๘/๒๕๖๓ วินิจฉัยทำนองเดียวกันในเรื่องการกระทำ ละเมิดจากการละเลยต่อหน้าที่ไม่บำรุงรักษาเสาเหล็กและป้ายบอกทางให้มีความมั่นคงแข็งแรง เพื่อให้เกิดความปลอดภัยอย่างเพียงพอแก่ประชาชนผู้ใช้รถใช้ถนน * คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๗๒/๒๕๖๓ วินิจฉัยทำนองเดียวกันในเรื่องการกระทำ ละเมิดจากการละเลยต่อหน้าที่ไม่ตรวจสอบ บำรุงรักษาการติดตั้งและดูแลรักษาสายสื่อสาร บนเสาไฟฟ้าให้อยู่ในสภาพเรียบร้อย * คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๙๓/๒๕๖๒ วินิจฉัยทำนองเดียวกันในเรื่องการกระทำ ละเมิดจากการละเลยต่อหน้าที่ในการบำรุงรักษาและป้องกันอันตรายจากความเสียหายที่เกิด จากท่อประปาขนาดใหญ่แตก * คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๘๘/๒๕๖๒ วินิจฉัยทำนองเดียวกันในเรื่องการกระทำ ละเมิดจากการละเลยต่อหน้าที่ในการอำนวยความปลอดภัยในการเดินทางโดยไม่ติดสัญญาณ ไฟเตือนหรือสัญลักษณ์ * คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๑๖/๒๕๖๒ วินิจฉัยทำนองเดียวกันในเรื่องการกระทำ ละเมิดจากการละเลยต่อหน้าที่ไม่จัดให้มีสัญญาณเตือนภัยก่อนที่จะถึงจุดเกิดเหตุเพื่อแสดง ให้รู้ว่ามีซากต้นไม้ล้มขวางทาง หรืออาจหาสิ่งกีดขวางมาตั้งวางเพื่อเตือนผู้สัญจร * คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๑๔๗/๒๕๖๑ วินิจฉัยทำนองเดียวกันในเรื่องการกระทำ ละเมิดจากการละเลยต่อหน้าที่ไม่ตัดกิ่งไม้แห้งริมถนน * คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๙/๒๕๖๑ วินิจฉัยทำนองเดียวกันในเรื่องการกระทำ ละเมิดจากการละเลยต่อหน้าที่ในการดูแลรักษาต้นไม้ในเขตทางหลวง * คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๑๙๒/๒๕๖๐ วินิจฉัยทำนองเดียวกันในเรื่องการกระทำ ละเมิดจากการละเลยไม่ตรวจสอบ ไม่ดูแล ไม่บำรุงรักษา และจัดให้มีไฟฟ้าหรือแสงสว่าง อย่างเพียงพอบนถนน และจัดวางถังขยะในลักษณะที่ปลอดภัย การกระทำละเมิดที่เกิดจากการละเลยต่อหน้าที่หรือปฏิบัติหน้าที่ล่าช้าเกินสมควรที่อยู่ในเขตอำนาจของศาลปกครอง


154 * คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๕๘/๒๕๕๘ วินิจฉัยทำนองเดียวกันในเรื่องการกระทำ ละเมิดจากการละเลยมิได้ใช้ความระมัดระวังตรวจตราดูแลสายไฟฟ้าแรงสูงให้อยู่ในสภาพเรียบร้อย * คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๑๑๐/๒๕๕๗ วินิจฉัยทำนองเดียวกันในเรื่องการกระทำ ละเมิดจากการละเลยต่อหน้าที่มิได้แสดงเครื่องหมายสัญญาณหรือจัดให้มีแสงสว่างเพียงพอ * คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๘๕/๒๕๕๗ วินิจฉัยทำนองเดียวกันในเรื่องการกระทำ ละเมิดจากการละเลยต่อหน้าที่ไม่จัดให้มีเครื่องหมายหรือสัญญาณไฟในบริเวณที่เปิดฝาบ่อพักทิ้งไว้ คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๙๙/๒๕๖๔ องค์การบริหารส่วนตำบลสามพี่น้อง จำเลยที่ ๓ เป็นราชการส่วนท้องถิ่น มีฐานะเป็น หน่วยงานทางปกครอง ตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลสามพี่น้อง จำเลยที่ ๒ เป็นผู้ปฏิบัติงานในหน่วยงาน ทางปกครอง จึงเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว การที่จำเลยที่ ๓ โดยจำเลยที่ ๒ ทำสัญญาจ้างจำเลยที่ ๑ ซึ่งเป็นเอกชนให้ก่อสร้างถนนคอนกรีตเสริมไม้ไผ่ สายหนองแช่กลอย-หนองปลาซิว (รหัสสายทาง จบ.ถ.๗๘-๐๐๒) จึงเป็นการดำเนินการตามหน้าที่ ของจำเลยที่ ๓ ที่ต้องทำในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล ตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การ บริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ มาตรา ๖๗ และตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอน การกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๖ นอกจากนี้ ตามพระราชบัญญัติทางหลวง พ.ศ. ๒๕๓๕ มาตรา ๑๐ บัญญัติให้ทางหลวงท้องถิ่น คือ ทางหลวง ที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้ดำเนินการก่อสร้าง ขยาย บูรณะและบำรุงรักษา และได้ลงทะเบียนไว้ เป็นทางหลวงท้องถิ่น และมาตรา ๒๑ บัญญัติให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเป็นเจ้าหน้าที่กำกับ ตรวจตรา และควบคุมทางหลวงและงานทางที่เกี่ยวกับทางหลวงท้องถิ่นด้วย ดังนั้น การดำเนินการ ก่อสร้างถนนคอนกรีตเสริมไม้ไผ่สายหนองแช่กลอย-หนองปลาซิว (รหัสสายทาง จบ.ถ.๗๘-๐๐๒) ของจำเลยที่ ๑ จึงเป็นการดำเนินการที่ได้รับมอบหมายจากจำเลยที่ ๓ ซึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครอง ให้ดำเนินกิจการทางปกครองที่อาศัยอำนาจตามกฎหมายในการจัดทำบริการสาธารณะของจำเลยที่ ๓ ดังกล่าว เมื่อโจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ ๑ กระทำการโดยประมาทเลินเล่อในการก่อสร้างถนนคอนกรีต เสริมไม้ไผ่สายหนองแช่กลอย-หนองปลาซิว (รหัสสายทาง จบ.ถ.๗๘-๐๐๒) และจำเลยที่ ๒ และที่ ๓ ละเลยต่อหน้าที่ตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้างถนนดังกล่าว ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย และขอให้ร่วมกันชดใช้ค่าเสียหาย กรณีตามคำฟ้องจึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิด ของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐอันเกิดจากการละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนด ให้ต้องปฏิบัติ ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณา คดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง การกระทำละเมิดที่เกิดจากการละเลยต่อหน้าที่หรือปฏิบัติหน้าที่ล่าช้าเกินสมควรที่อยู่ในเขตอำนาจของศาลปกครอง


คดีพิพาทเกี่ยวกับ เขตอำนาจของศาลปกครอง รวมย่อคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่น่าสนใจ พ.ศ. ๒๕๕๖ - ๒๕๖๕ 155 คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๗๓/๒๕๖๔ คดีนี้ โจทก์ได้รับความเดือดร้อนเสียหายจากการที่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดิน แต่ไม่อาจใช้ทางสาธารณะผ่านเข้าออกสู่ที่ดินของตนเองได้ เนื่องจากคณะกรรมการหมู่บ้านได้สร้าง รั้วลวดหนามปิดกั้นไม่ให้โจทก์ใช้ทางสาธารณะดังกล่าว และยังสร้างรั้วขึ้นรุกล้ำที่ดินของโจทก์ โจทก์ได้มีหนังสือร้องเรียนจังหวัดลพบุรี จำเลยที่ ๒ และเทศบาลตำบลโคกตูม จำเลยที่ ๓ ไปหลายครั้ง แต่ก็ไม่อาจแก้ปัญหาให้โจทก์ใช้ทางสาธารณประโยชน์ผ่านหมู่บ้าน เพื่อเข้าใช้ประโยชน์ในที่ดิน ของโจทก์ได้ เมื่อเทศบาลตำบลโคกตูม จำเลยที่ ๓ เป็นราชการส่วนท้องถิ่นซึ่งมีหน้าที่โดยตรง ในการดูแลและคุ้มครองป้องกันที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน และที่สาธารณะ ตามมาตรา ๑๒๒ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พระพุทธศักราช ๒๔๕๗ และมาตรา ๑๖ (๒๗) แห่งพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๔๒ ประกอบข้อ ๖ วรรคหนึ่ง ของระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการดูแลรักษาและคุ้มครองป้องกันที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมือง ใช้ร่วมกัน พ.ศ. ๒๕๕๓ การที่มีผู้กล่าวอ้างว่ามีการปิดกั้นทางสาธารณะและสร้างรั้วในทางสาธารณะนั้น รุกล้ำเข้ามาในที่ดินของผู้อื่น ทั้งคณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ได้มีคำวินิจฉัยอุทธรณ์วินิจฉัยให้เพิกถอน คำสั่งสำนักงานเทศบาลตำบลโคกตูมที่ให้รื้อถอนอาคาร (รั้วลวดหนาม) โดยให้เหตุผลว่า สำนักงาน ที่ดินจังหวัดลพบุรีตรวจสอบแล้วแจ้งว่า ตำแหน่งรั้วลวดหนามไม่ได้มีแนวเขตก่อสร้างอยู่บน ทางสาธารณประโยชน์แต่อย่างใด แต่มีแนวเขตก่อสร้างในโฉนดที่ดินเลขที่ ๘๕๓๐๙ ซึ่งที่ดินดังกล่าว เป็นที่ดินของโจทก์ การที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสามปล่อยให้คณะกรรมการหมู่บ้านดำเนินการ สร้างรั้วลวดหนามในที่ดินสาธารณะปิดกั้นทางเข้าออกที่ดินของโจทก์ เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับ ความเสียหาย ทั้งเพิกเฉยไม่แก้ไขปัญหาให้แก่โจทก์ตามที่ร้องเรียน โดยโจทก์มีคำขอให้จำเลยทั้งสาม ร่วมกันรื้อถอนรั้วพิพาทที่ปิดกั้นที่ดินของโจทก์และชดใช้ค่าเสียหาย กรณีจึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับ การกระทำละเมิดของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐอันเกิดจากการละเลยต่อหน้าที่ ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ซึ่งอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๓๑/๒๕๖๔ โจทก์ทั้งสองเป็นเอกชน ยื่นฟ้อง มหาวิทยาลัย ท. ที่ ๑ นาย ส. ที่ ๒ สถาบันการบิน แห่งมหาวิทยาลัย ท. ที่ ๓ นาย ฤ. ที่ ๔ จำเลย อ้างว่า เมื่อกลางปี ๒๕๕๙ จำเลยที่ ๓ ประกาศรับสมัครบุคคลทั่วไปเข้าศึกษาในหลักสูตรช่างซ่อมบำรุงอากาศยานตามมาตรฐาน EASA part ๖๖ CaT B ๑.๑ ซึ่งผู้ผ่านการฝึกอบรมจะได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพสามารถ นำไปใช้ประกอบการขอรับใบอนุญาต โดยหลักสูตรนี้ใช้ภาษาอังกฤษในการเรียนการสอนระยะเวลา ๑๘ - ๒๔ เดือน โจทก์ทั้งสองสมัครเข้ารับการฝึกอบรมกับจำเลยที่ ๓ แต่ปรากฏว่าจำเลยที่ ๓ การกระทำละเมิดที่เกิดจากการละเลยต่อหน้าที่หรือปฏิบัติหน้าที่ล่าช้าเกินสมควรที่อยู่ในเขตอำนาจของศาลปกครอง


156 ไม่จัดการเรียนการสอนให้เป็นไปตามที่ได้ประกาศไว้ โจทก์ทั้งสองแจ้งต่อจำเลยทั้งสี่ว่าไม่ประสงค์ จะศึกษาต่อ และขอค่าใช้จ่ายทางการศึกษาคืน แต่จำเลยทั้งสี่เพิกเฉยเป็นเหตุให้โจทก์ทั้งสอง ได้รับความเสียหาย ขอให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันหรือแทนกันชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ทั้งสอง ดังนี้ เมื่อจำเลยที่ ๑ เป็นสถาบันอุดมศึกษาด้านวิชาชีพและเทคโนโลยี ซึ่งตั้งขึ้นตามมาตรา ๗ แห่งพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล พ.ศ. ๒๕๔๘ เป็นส่วนราชการของกระทรวง การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ตามมาตรา ๘ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหาร ราชการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. ๒๕๖๒ และจำเลยที่ ๓ เป็นส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นมีฐานะเทียบเท่าคณะเป็นส่วนราชการของจำเลยที่ ๑ ตามมาตรา ๗ แห่งพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล พ.ศ. ๒๕๔๘ จำเลยที่ ๑ และจำเลยที่ ๓ จึงเป็น หน่วยงานทางปกครองตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณา คดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ส่วนจำเลยที่ ๒ เป็นอธิการบดีของจำเลยที่ ๑ และจำเลยที่ ๔ เป็นผู้อำนวยการ สถาบันจำเลยที่ ๓ จึงเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐตามพระราชบัญญัติเดียวกัน เมื่อคดีนี้โจทก์ทั้งสองฟ้องว่า จำเลยทั้งสี่ไม่จัดการเรียนการสอนในหลักสูตรช่างซ่อมบำรุงอากาศยาน ตามมาตรฐาน EASA part ๖๖ CaT B ๑.๑ ให้เป็นไปตามมาตรฐาน เป็นเหตุให้โจทก์ทั้งสองไม่เชื่อมั่นในคุณภาพการศึกษา และไม่ประสงค์จะศึกษาต่อ โดยขอให้คืนค่าใช้จ่ายทางการศึกษาที่ได้ชำระไว้แล้วและค่าเสียหาย เมื่อการจัดการศึกษาของจำเลยทั้งสี่เป็นการจัดทำบริการสาธารณะด้านการศึกษาของรัฐ อันเป็น การใช้อำนาจรัฐจัดทำภารกิจของรัฐในด้านการศึกษา กรณีตามคำฟ้องของโจทก์ทั้งสองจึงเป็นการฟ้องว่า จำเลยทั้งสี่ไม่จัดการศึกษาให้มีมาตรฐาน เป็นเหตุให้โจทก์ทั้งสองได้รับความเสียหาย จึงเป็นคดีพิพาท เกี่ยวกับการกระทำละเมิดของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐอันเกิดจากการละเลย ต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ซึ่งอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง * คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๙๘/๒๕๖๓, ๘๑/๒๕๖๓, ๑๒๓/๒๕๖๐ และ ๕๓/๒๕๖๐ วินิจฉัยทำนองเดียวกัน คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๖๙/๒๕๖๒ คดีที่โจทก์ยื่นฟ้องสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ จำเลย กรณีมีคำสั่งให้โจทก์ ออกจากงานเนื่องจากเกษียณอายุ แต่ไม่จ่ายค่าชดเชยกรณีเลิกจ้างเนื่องจากเกษียณอายุให้แก่โจทก์ อันเป็นการไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ และพระราชบัญญัติหลักประกัน สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๕ มาตรา ๒๔ วรรคสอง ขอให้บังคับจำเลยให้ปฏิบัติตามกฎหมายคุ้มครอง แรงงานโดยจ่ายค่าชดเชยพร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันเลิกจ้างเป็นต้นไปจนกว่าชำระเสร็จ เห็นว่า จำเลย เป็นหน่วยงานทางปกครอง ความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับจำเลยซึ่งเป็นไปเพื่อให้โจทก์เข้าเป็น การกระทำละเมิดที่เกิดจากการละเลยต่อหน้าที่หรือปฏิบัติหน้าที่ล่าช้าเกินสมควรที่อยู่ในเขตอำนาจของศาลปกครอง


คดีพิพาทเกี่ยวกับ เขตอำนาจของศาลปกครอง รวมย่อคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่น่าสนใจ พ.ศ. ๒๕๕๖ - ๒๕๖๕ 157 ผู้ปฏิบัติงานในหน่วยงานจำเลยอันเป็นการจัดทำบริการสาธารณะ จึงเป็นความสัมพันธ์ตามกฎหมาย ซึ่งได้แก่ พระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๕ และข้อบังคับสำนักงานหลักประกัน สุขภาพแห่งชาติ ว่าด้วยการบริหารงานบุคคล พ.ศ. ๒๕๔๖ (ที่ใช้บังคับขณะที่โจทก์เกษียณอายุ) มิใช่ความสัมพันธ์อันเกิดจากสัญญาจ้างแรงงาน ดังนั้น เมื่อโจทก์ฟ้องว่าจำเลยไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติ คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ และพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๕ มาตรา ๒๔ วรรคสอง ขอให้บังคับจำเลยปฏิบัติตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน จึงเป็นกรณีที่โจทก์ ฟ้องว่าจำเลยละเลยต่อหน้าที่ในการจ่ายค่าชดเชยตามที่กฎหมายกำหนดให้แก่โจทก์ ข้อพิพาทในคดีนี้ จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดอันเกิดจากการละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ ต้องปฏิบัติตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณา คดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ซึ่งอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง * คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๒๑ - ๒๒/๒๕๖๒ และ ๙/๒๕๖๒ วินิจฉัยทำนองเดียวกัน คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๕๙/๒๕๖๑ จำเลยที่ ๑ เป็นรัฐวิสาหกิจที่จัดตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติการรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๔๙๔ จำเลยที่ ๑ จึงเป็นหน่วยงานทางปกครอง ตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้ง ศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ส่วนจำเลยที่ ๒ เป็นพนักงานของจำเลยที่ ๑ จึงเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติเดียวกัน และโดยที่มาตรา ๖ แห่งพระราชบัญญัติการรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๔๙๔ กำหนดอำนาจหน้าที่ของจำเลยที่ ๑ ในการดำเนินกิจการรถไฟและธุรกิจซึ่งเป็นประโยชน์แก่กิจการรถไฟ และมาตรา ๙ (๔) กำหนดให้ จำเลยที่ ๑ จัดระเบียบเกี่ยวกับความปลอดภัยการใช้รถไฟ บริการ และความสะดวกต่าง ๆ ของกิจการรถไฟ จึงเป็นกรณีที่มีกฎหมายกำหนดหน้าที่ของจำเลยที่ ๑ ในการจัดระเบียบเกี่ยวกับความปลอดภัยไว้ เมื่อคดีนี้โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ ๑ ละเลยไม่ดำเนินการจัดให้มีการควบคุม ดูแลความปลอดภัยบริเวณ จุดตัดทางรถไฟ ไม่จัดให้มีพนักงานมาดำเนินการกั้นทางรถไฟ กรณีไม่เปิดใช้งานเครื่องกั้นอัตโนมัติ และไม่ดูแลรักษาแนวเขตทางรถไฟปล่อยให้มีต้นไม้วัชพืชปกคลุม และติดตั้งตู้ควบคุมเครื่องกั้น ทางรถไฟใกล้กับรางรถไฟบดบังทัศนียภาพการมองเห็น ทำให้ลูกจ้างของโจทก์ซึ่งขับรถโดยสาร ไม่ประจำทางมาตามถนน ขณะเกิดเหตุไม่ทราบว่ามีรถไฟกำลังแล่นมา เป็นเหตุให้รถไฟที่จำเลยที่ ๒ ขับมาด้วยความเร็วสูง พุ่งชนรถโดยสาร ทำให้รถโดยสารได้รับความเสียหาย จึงเป็นกรณีที่โจทก์ ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการที่จำเลยทั้งสองละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติ จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐอันเกิด จากการละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติ ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ อันอยู่ในอำนาจ พิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง การกระทำละเมิดที่เกิดจากการละเลยต่อหน้าที่หรือปฏิบัติหน้าที่ล่าช้าเกินสมควรที่อยู่ในเขตอำนาจของศาลปกครอง


158 คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๑๖๒/๒๕๖๐ คดีที่เอกชนยื่นฟ้องเรียกค่าเสียหายจากกรุงเทพมหานคร จำเลย ซึ่งเป็นหน่วยงาน ทางปกครองว่า โจทก์และสมาชิกกลุ่มคนพิการได้รับความเสียหายจากการที่จำเลยได้ทำสัญญา สัมปทานระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานครกับบริษัทเอกชนในการให้บริการขนส่งมวลชนโดยรถราง หรือ “บีทีเอส” โดยไม่มีการจัดทำลิฟท์ และสิ่งอำนวยความสะดวกทั้ง ๒๓ สถานี หรือมีการจัดทำ แต่ไม่แล้วเสร็จและไม่อาจใช้งานได้ ไม่เป็นไปตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิต คนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๐ และคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่พิพากษาให้จำเลยจัดทำลิฟท์ อุปกรณ์ และสิ่งอำนวยความสะดวกที่สถานีทั้ง ๒๓ สถานี ให้เสร็จภายใน ๑ ปี นับแต่มีคำพิพากษา จึงเป็น การจงใจละเมิดและขัดขวางการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ เลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม ต่อโจทก์และสมาชิกกลุ่มคนพิการ ขอให้ชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์และสมาชิกกลุ่ม เห็นว่า มาตรา ๒๒ แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๐ บัญญัติ “ให้หน่วยงาน ของรัฐที่ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับเรื่องใด มีหน้าที่ให้การส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิต คนพิการตามอำนาจหน้าที่นั้น” และมาตรา ๑๕ แห่งพระราชบัญญัติเดียวกัน บัญญัติว่า “การกำหนด นโยบาย กฎ ระเบียบ มาตรการ โครงการหรือวิธีปฏิบัติของหน่วยงานของรัฐ องค์กรเอกชน หรือ บุคคลใดในลักษณะที่เป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อคนพิการจะกระทำมิได้” จึงเป็นกรณี ที่กฎหมายกำหนดหน้าที่ของหน่วยงานทางปกครองในเรื่องที่เกี่ยวกับการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิต คนพิการและคุ้มครองคนพิการเพื่อมิให้มีการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมเพราะเหตุสภาพทางกาย หรือสุขภาพ รวมทั้งให้คนพิการมีสิทธิได้รับสิ่งอำนวยความสะดวกอันเป็นสาธารณะและความช่วยเหลือ จากรัฐ เมื่อตามคำฟ้องโจทก์กล่าวหาว่า การดำเนินโครงการให้บริการขนส่งมวลชนโดยรถรางหรือ “บีทีเอส” ซึ่งเป็นการจัดระบบการบริการสาธารณะในอำนาจหน้าที่ของจำเลย ตามมาตรา ๘๙ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ และมาตรา ๑๖, ๑๗ ประกอบมาตรา ๑๘ แห่งพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๔๒ ไม่เป็นไปตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิต คนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๐ และการที่จำเลยไม่เร่งรัดให้มีการดำเนินการตามคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด คดีหมายเลขแดงที่ อ. ๖๕๐/๒๕๕๗ เพื่อให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติดังกล่าว เป็นเหตุให้โจทก์ และสมาชิกกลุ่มคนพิการได้รับความยากลำบากในการดำเนินชีวิต ขาดประโยชน์ในการใช้บริการ ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ อันเป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อโจทก์และสมาชิกกลุ่มคนพิการ โดยมีคำขอให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหาย จึงเป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหายอันเนื่องมาจากการกระทำละเมิด อันเกิดจากการละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้า เกินสมควรในการจัดทำระบบบริการสาธารณะ ซึ่งเข้าลักษณะเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิด ของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐอันเกิดจากการละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมาย กำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) การกระทำละเมิดที่เกิดจากการละเลยต่อหน้าที่หรือปฏิบัติหน้าที่ล่าช้าเกินสมควรที่อยู่ในเขตอำนาจของศาลปกครอง


คดีพิพาทเกี่ยวกับ เขตอำนาจของศาลปกครอง รวมย่อคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่น่าสนใจ พ.ศ. ๒๕๕๖ - ๒๕๖๕ 159 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ซึ่งอยู่ในอำนาจ พิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๑๑๙/๒๕๖๐ คดีที่เอกชนยื่นฟ้องกรมส่งเสริมสหกรณ์ ที่ ๑ และกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ ที่ ๒ ผู้ถูกฟ้องคดี ซึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครองว่า ผู้ฟ้องคดีเป็นสมาชิกและทำสัญญาฝากเงินกับสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน คลองจั่น จำกัด ได้รับความเสียหายจากการที่กรมส่งเสริมสหกรณ์และกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ละเลย ต่อหน้าที่ในการกำกับดูแลสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น จำกัด และปฏิบัติหน้าที่ล่าช้าเกินสมควร ในการแก้ไขปัญหาของสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น จำกัด เป็นเหตุให้มีการทุจริตยักยอกเงิน ของสหกรณ์ทำให้สหกรณ์มียอดขาดทุน และเป็นเหตุให้ผู้ฟ้องคดีไม่อาจได้คืนเงินฝากจากสหกรณ์ โดยมีคำขอให้ชดใช้เงินให้แก่ผู้ฟ้องคดี จึงเป็นการฟ้องว่าผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองละเลยต่อหน้าที่ตามที่ มีกฎหมายกำหนดหน้าที่ให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควรในการกำกับดูแล สหกรณ์จนเป็นเหตุให้คณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์บริหารงานไม่เป็นไปตามกฎหมาย ข้อบังคับ และระเบียบของสหกรณ์ ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ฟ้องคดี ซึ่งเข้าลักษณะคดีพิพาทเกี่ยวกับ การกระทำละเมิดของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐอันเกิดจากการละเลยต่อหน้าที่ ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ซึ่งอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง * คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๑๑๓ - ๑๑๘/๒๕๖๐, ๑๑๒/๒๕๖๐, ๑๑๑/๒๕๖๐, ๖๕ - ๗๐/๒๕๖๐ และ ๖๔/๒๕๖๐ วินิจฉัยทำนองเดียวกัน การกระทำละเมิดที่เกิดจากการละเลยต่อหน้าที่หรือปฏิบัติหน้าที่ล่าช้าเกินสมควรที่อยู่ในเขตอำนาจของศาลปกครอง


160 คดเีกยี�วกบัการกระทําละเมดิทางแพ่ง และละเมดิทวั�ไป ทอี�ยใู่นเขตอํานาจของศาลยตุธิรรม การกระทําละเมดิของฝา�ยปกครองทมี�ใิชเ่ปน�การกระทําละเมดิ ตามพระราชบญัญตัจิดัตงั�ศาลปกครองและวธิพี ิจารณาคดปีกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๙ วรรคหนงึ� (๓) เปน�การกระทําละเมดิทางแพ่ง/ละเมดิทวั�ไป อยใู่นเขตอํานาจของศาลยตุธิรรม


คดีพิพาทเกี่ยวกับ เขตอำนาจของศาลปกครอง รวมย่อคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่น่าสนใจ พ.ศ. ๒๕๕๖ - ๒๕๖๕ 161 คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๖๙/๒๕๖๕ คดีที่เอกชนยื่นฟ้องคณะกรรมการ ป.ป.ช. ที่ ๑ กับพวกรวม ๑๕ คน ว่าได้รับความเดือดร้อน เสียหายจากการที่จำเลยที่ ๑ ถึงที่ ๑๐ แต่งตั้งจำเลยที่ ๑๒ ถึงที่ ๑๕ เป็นคณะกรรมการไต่สวน กรณีมีเหตุอันควรสงสัยว่า นาย บ. ร่ำรวยผิดปกติและมีคำสั่งอายัดเงินในบัญชีเงินฝากของโจทก์ ทั้งที่โจทก์ทั้งสามไม่ได้เกี่ยวข้องกับนาย บ. และไม่ได้ถือแทนนาย บ. จึงเป็นการออกคำสั่งยึด หรืออายัดโดยไม่มีสิทธิ เห็นว่า การใช้อำนาจของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ตามมาตรา ๖๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. ๒๕๖๑ มีลักษณะเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการยุติธรรม ในคดีที่มีการร้องขอให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดิน ซึ่งอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง การที่โจทก์ทั้งสามฟ้องขอให้ตรวจสอบการใช้อำนาจของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ในการสั่งยึดหรือ อายัดบัญชีเงินฝากของโจทก์ทั้งสามที่ต้องสงสัยว่าเป็นทรัพย์สินของนาย บ. ที่ร่ำรวยผิดปกติ ตามมาตรา ๖๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว และเรียกค่าเสียหายจากการใช้อำนาจดังกล่าว จึงเป็นการฟ้องขอให้ตรวจสอบและเรียกค่าเสียหายจากการใช้อำนาจของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ที่เป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินคดีเพื่อประโยชน์แก่การบังคับคดีตามผลของคำพิพากษาของศาลฎีกา แผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองซึ่งเป็นศาลยุติธรรม คดีนี้จึงเป็นคดีพิพาท ที่อยู่ในอำนาจของศาลยุติธรรม คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๑๑๓/๒๕๖๔ คดีที่เอกชนฟ้องผู้อำนวยการเขตห้วยขวาง ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และกรุงเทพมหานคร ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ว่ากระทำละเมิด ขอให้เพิกถอนคำคัดค้านการรังวัดของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และที่ ๒ ที่อ้างว่า ที่ดินของผู้ฟ้องคดีบางส่วนเป็นทางสาธารณประโยชน์ และห้ามคัดค้านการรังวัดที่ดินตามโฉนด ของผู้ฟ้องคดีตามสัญญาซื้อขายที่ดินเพื่อส่งมอบให้กับการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย และให้ดำเนินการรังวัดแบ่งแยกที่ดินตามโฉนดของผู้ฟ้องคดี แม้ผู้อำนวยการเขตห้วยขวาง ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ กรุงเทพมหานคร ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ จะเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐและหน่วยงานทางปกครอง ตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ และมีหน้าที่จัดให้มีและบำรุงรักษาทางบก ทางน้ำและทางระบายน้ำ ตามมาตรา ๘๙ วรรคหนึ่ง (๖) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ ก็ตาม แต่การคัดค้าน และไม่รับรองแนวเขตที่ดินพิพาทของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และที่ ๒ ที่เป็นมูลเหตุแห่งการฟ้องคดี เป็นการกระทำของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และที่ ๒ ในฐานะผู้ดูแลที่สาธารณะ ซึ่งเป็นที่ดินข้างเคียงของที่ดิน ที่ผู้ฟ้องคดียื่นคำขอรังวัด เพื่อระวังแนวเขตอันเนื่องมาจากมีการรังวัดสอบเขตที่ดิน ตามมาตรา ๖๙ ทวิ คดีเกี่ยวกับการกระทำละเมิดทางแพ่งและละเมิดทั่วไปที่อยู่ในเขตอำนาจของศาลยุติธรรม คดีเกี่ยวกับการกระทำละเมิดทางแพ่งและละเมิดทั่วไปที่อยู่ในเขตอำนาจของศาลยุติธรรม


162 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน การคัดค้านการรังวัดดังกล่าวจึงเป็นการกระทำที่มีลักษณะเช่นเดียวกับ การใช้สิทธิตามกฎหมายของผู้มีสิทธิในที่ดินข้างเคียง มิได้เป็นการใช้อำนาจตามกฎหมาย กรณีจึงไม่ใช่คดีพิพาทตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและ วิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ อันจะอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง ข้อพิพาท ในคดีนี้จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดของเจ้าหน้าที่ของรัฐที่อยู่ในอำนาจพิจารณา พิพากษาของศาลยุติธรรม คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๓/๒๕๖๔ คดีที่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเป็นโจทก์ ยื่นฟ้องบริษัท ท. เป็นจำเลย โดยอ้างว่า จำเลย กระทำละเมิดกรณีพาดสายสื่อสารโทรคมนาคมบนเสาไฟฟ้าของโจทก์โดยไม่ได้รับอนุญาต ขอให้ บังคับจำเลยชำระค่าเสียหายพร้อมดอกเบี้ย กับให้จำเลยรื้อถอนสายสื่อสารโทรคมนาคมออกจาก เสาไฟฟ้าของโจทก์ แม้โจทก์จะเป็นรัฐวิสาหกิจที่จัดตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค พ.ศ. ๒๕๐๓ จึงเป็นหน่วยงานทางปกครอง ตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครอง และวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ แต่เหตุแห่งการฟ้องคดีสืบเนื่องมาจากจำเลยพาดสายสื่อสาร โทรคมนาคมบนเสาไฟฟ้าของโจทก์โดยไม่ได้รับอนุญาต เนื้อหาในคดีจึงเป็นกรณีที่โจทก์ฟ้องขอให้ จำเลยรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนและให้รื้อถอนสายสื่อสารโทรคมนาคมที่พาดบนเสาไฟฟ้าของโจทก์ โดยไม่ได้รับอนุญาต อันเนื่องมาจากการกระทำละเมิดและเป็นกรณีที่โจทก์ใช้สิทธิเรียกร้อง เอาแก่จำเลยในฐานะเอกชนทั่วไปซึ่งไม่เข้าลักษณะคดีพิพาทซึ่งอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษา ของศาลปกครอง ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณา คดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ แต่เป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการเรียกให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนและงดเว้น กระทำการอันเกิดจากมูลละเมิด ซึ่งอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม * คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๒/๒๕๖๔, ๑/๒๕๖๔ และ ๑๒๗/๒๕๖๓ - ๑๓๐/๒๕๖๓ วินิจฉัยทำนองเดียวกัน คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๑๑๙/๒๕๖๓ คดีที่ผู้ฟ้องคดีเป็นเอกชนยื่นฟ้องผู้อำนวยการสำนักงานบังคับคดีจังหวัดปัตตานี ที่ ๑ อธิบดีกรมบังคับคดี ที่ ๒ ผู้ถูกฟ้องคดี ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐว่า ผู้ฟ้องคดีเป็นผู้รับมอบอำนาจจากเจ้าหนี้ ตามคำพิพากษาคดีหมายเลขแดงที่ ผบ. ๒๙๘๒/๒๕๖๒ ของศาลจังหวัดปัตตานี โดยเมื่อผู้ฟ้องคดี ยื่นคำร้องขอให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ อายัดเงินปันผลสหกรณ์ออมทรัพย์ครูปัตตานี จำกัด ของลูกหนี้ ตามคำพิพากษาดังกล่าว ซึ่งผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ มีหน้าที่อำนวยความสะดวก ให้บริการแก่ประชาชน ด้วยความรวดเร็วและเป็นธรรม ตรวจสอบความถูกต้องครบถ้วนของเอกสาร และแนะนำผู้ฟ้องคดี ให้ทราบถึงเอกสารที่จำเป็นต้องนำมายื่นพร้อมกับคำร้อง แต่กลับไม่กระทำตามหน้าที่และปฏิบัติหน้าที่ คดีเกี่ยวกับการกระทำละเมิดทางแพ่งและละเมิดทั่วไปที่อยู่ในเขตอำนาจของศาลยุติธรรม


คดีพิพาทเกี่ยวกับ เขตอำนาจของศาลปกครอง รวมย่อคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่น่าสนใจ พ.ศ. ๒๕๕๖ - ๒๕๖๕ 163 ล่าช้า ประวิงเวลา ทำให้ผู้ฟ้องคดีได้รับความเสียหายต่อสิทธิที่จะได้รับบริการอย่างรวดเร็ว ถูกต้อง และเป็นธรรม อันเป็นการกระทำละเมิดต่อผู้ฟ้องคดี ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ในฐานะหน่วยงานของรัฐ ต้นสังกัดของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ละเลยไม่ตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ให้เกิด ประสิทธิภาพ จึงต้องรับผิดต่อผู้ฟ้องคดีแทนผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ขอให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้ ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองร่วมกันหรือแทนกันชดใช้ค่าเสียหายแก่ผู้ฟ้องคดีพร้อมดอกเบี้ย คดีนี้จึงเป็นคดีที่ ผู้ฟ้องคดีใช้สิทธิฟ้องคดีในเรื่องความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับ การบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลยุติธรรม ซึ่งมาตรา ๒๘๕ วรรคสอง แห่งประมวล กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง บัญญัติให้อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๘๗/๒๕๖๓ คดีที่โจทก์เป็นเอกชนยื่นฟ้อง กรมที่ดิน จำเลย อ้างว่า โจทก์นำคำพิพากษาคดีถึงที่สุด ของศาลฎีกาไปแสดงต่อเจ้าพนักงานที่ดินซึ่งเป็นข้าราชการในสังกัดจำเลย เพื่อให้ดำเนินการ ตามคำพิพากษาศาลฎีกา แต่เจ้าหน้าที่ของจำเลยได้ให้คำแนะนำแก่โจทก์ผิดพลาดด้วยความประมาท เลินเล่ออย่างร้ายแรง ทำให้โจทก์เสียหายไม่สามารถขายที่ดินดังกล่าวได้ ขอให้ศาลพิพากษา หรือมีคำสั่งให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ ส่วนจำเลยให้การว่า การดำเนินการ ดังกล่าวเป็นความเข้าใจที่ผิดพลาดคลาดเคลื่อนของโจทก์ ข้อความที่เจ้าพนักงานที่ดินแจ้งต่อโจทก์ เป็นเพียงความเห็นส่วนตัวที่ไม่มีสภาพบังคับตามกฎหมายและไม่มีผลผูกพันจำเลย จึงไม่เป็นละเมิด ต่อโจทก์ ขอให้ยกฟ้อง มีปัญหาต้องวินิจฉัยว่า คดีนี้เป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดของ หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐอันจะอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง หรือไม่ เห็นว่า พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๙ วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า ศาลปกครองมีอำนาจพิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่งในเรื่องดังต่อไปนี้ (๓) คดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดหรือความรับผิดอย่างอื่นของหน่วยงานทางปกครอง หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐอันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมาย หรือจากกฎ คำสั่งทางปกครอง หรือคำสั่งอื่น... คดีนี้แม้จำเลยจะมีฐานะเป็นนิติบุคคลและเป็นหน่วยงานของรัฐ ตามพระราชบัญญัติ ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔ จึงเป็นหน่วยงานทางปกครอง ตามมาตรา ๓ แห่ง พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ก็ตาม แต่เหตุ แห่งการฟ้องคดีนี้สืบเนื่องมาจากโจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยโดยอ้างว่า เจ้าหน้าที่ของจำเลย กระทำละเมิดให้คำแนะนำแก่โจทก์ผิดพลาดด้วยความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงทำให้โจทก์ เสียหายไม่สามารถขายที่ดินให้แก่ผู้อื่นได้ โดยคดีพิพาทเป็นเพียงการให้คำแนะนำซึ่งเป็นความเห็น ของเจ้าหน้าที่ของจำเลยเท่านั้น มิใช่เป็นการวินิจฉัยสั่งการตามกฎหมายที่มีผลกระทบต่อสิทธิ หรือหน้าที่ของโจทก์ที่จะถือว่าเป็นคำสั่งทางปกครอง ตามมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติ ราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ และมิใช่กรณีที่จำเลยใช้อำนาจตามกฎหมายหรือจากกฎ หรือคำสั่งอื่น เพื่อให้โจทก์ต้องปฏิบัติตามแต่อย่างใด คดีนี้จึงมิใช่คดีพิพาทจากการกระทำละเมิดหรือความรับผิด คดีเกี่ยวกับการกระทำละเมิดทางแพ่งและละเมิดทั่วไปที่อยู่ในเขตอำนาจของศาลยุติธรรม


164 อย่างอื่นของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐอันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมาย หรือจากกฎ คำสั่งทางปกครอง หรือคำสั่งอื่น ที่จะอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง ตามนัยมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ แต่เป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของ ศาลยุติธรรม คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๕/๒๕๖๓ คดีที่โจทก์เป็นลูกจ้างของสำนักงานเทศบาลตำบลพนมสารคาม จำเลย ยื่นฟ้องจำเลย ซึ่งมีฐานะเป็นราชการส่วนท้องถิ่น ตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. ๒๔๙๖ อันเป็นหน่วยงานของรัฐ ตามมาตรา ๔ แห่งพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๙ และเป็นหน่วยงาน ทางปกครองตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ขอให้รับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนจากการที่ลูกจ้างของจำเลย ตำแหน่งคนสวน สังกัดกองช่าง ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงขับรถชนโจทก์ซึ่งกำลังตัดเก็บหญ้าบริเวณเกาะกลางถนน ได้รับอันตรายสาหัส กรณีจึงเป็นการฟ้องขอให้หน่วยงานของรัฐรับผิดในผลแห่งละเมิดอันเกิดจาก การที่เจ้าหน้าที่ของตนได้กระทำในการปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติ ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๙ อย่างไรก็ตาม ก่อนการฟ้องคดีนี้ โจทก์ได้ยื่นคำขอ ให้จำเลยพิจารณาชดใช้ค่าสินไหมทดแทนสำหรับความเสียหายที่เกิดแก่โจทก์แล้ว ตามมาตรา ๑๑ แห่งพระราชบัญญัติเดียวกัน แต่จำเลยปฏิเสธ ซึ่งบทบัญญัติดังกล่าวกำหนดว่า เมื่อหน่วยงานของรัฐ มีคำสั่งเช่นใดแล้ว หากผู้เสียหายยังไม่พอใจผลการวินิจฉัย ให้มีสิทธิร้องทุกข์ต่อคณะกรรมการวินิจฉัย ร้องทุกข์ตามกฎหมายว่าด้วยคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่ตนได้รับแจ้ง ผลการวินิจฉัย และมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติเดียวกันบัญญัติว่า เมื่อได้มีการจัดตั้งศาลปกครอง ขึ้นแล้ว สิทธิร้องทุกข์ต่อคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ตามมาตรา ๑๑ ให้ถือว่าเป็นสิทธิฟ้องคดี ต่อศาลปกครอง โดยเมื่อพิจารณามาตรา ๑๐๖ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธี พิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ที่บัญญัติว่า สิทธิร้องทุกข์ต่อคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ ตามมาตรา ๑๑ แห่งพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๙ ในคดีที่ ไม่อยู่ในอำนาจของศาลปกครองตามพระราชบัญญัตินี้ให้ถือว่าเป็นสิทธิฟ้องคดีต่อศาลยุติธรรม ดังนี้ เมื่อปรากฏว่าขณะที่โจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้ ศาลปกครองเปิดทำการแล้ว และพระราชบัญญัติจัดตั้ง ศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๙ วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า “ศาลปกครอง มีอำนาจพิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่งในเรื่องดังต่อไปนี้ (๓) คดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิด หรือความรับผิดอย่างอื่นของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐอันเกิดจากการใช้อำนาจ ตามกฎหมาย หรือจากกฎ คำสั่งทางปกครอง หรือคำสั่งอื่น หรือจากการละเลยต่อหน้าที่ตามที่ กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร” เมื่อเหตุแห่งการฟ้องคดีนี้ เกิดจากการกระทำละเมิดในการขับรถยนต์ของทางราชการเพื่อเก็บหญ้าซึ่งลูกจ้างของเทศบาล คดีเกี่ยวกับการกระทำละเมิดทางแพ่งและละเมิดทั่วไปที่อยู่ในเขตอำนาจของศาลยุติธรรม


คดีพิพาทเกี่ยวกับ เขตอำนาจของศาลปกครอง รวมย่อคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่น่าสนใจ พ.ศ. ๒๕๕๖ - ๒๕๖๕ 165 ตัดแต่งบริเวณเกาะกลาง อันเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยทั่วไป หาใช่เป็นการกระทำละเมิดอันเกิดจาก การใช้อำนาจตามกฎหมาย หรือจากกฎ คำสั่งทางปกครอง หรือคำสั่งอื่น หรือจากการละเลยต่อหน้าที่ ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร แต่อย่างใดไม่ ดังนั้น ข้อพิพาทในคดีนี้จึงมิใช่คดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดที่จะอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษา ของศาลปกครองตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธี พิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ แต่เป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดของเจ้าหน้าที่ที่อยู่ ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม * คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๑๔๒/๒๕๖๐, ๑๒๘/๒๕๖๐, ๑๒๐/๒๕๖๐, ๑๑/๒๕๖๐ และ ๒๗/๒๕๕๗ วินิจฉัยทำนองเดียวกัน คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๘/๒๕๖๒ คดีนี้ กองทุนสงเคราะห์ กระทรวงศึกษาธิการ โจทก์ จัดตั้งขึ้นตามมาตรา ๕๔ แห่งพระราชบัญญัติ โรงเรียนเอกชน พ.ศ. ๒๕๕๐ แม้วรรคสองของมาตราดังกล่าวกำหนดว่า โจทก์ไม่เป็นส่วนราชการ หรือรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ แต่การที่พระราชบัญญัติดังกล่าวกำหนด ให้โจทก์มีวัตถุประสงค์ในการสงเคราะห์ผู้อำนวยการ ครู และบุคลากรทางการศึกษา และมาตรา ๕๕ (๔) กำหนดให้กระทรวงศึกษาธิการต้องส่งเงินสมทบเพื่อการดำเนินงานของโจทก์ โจทก์จึงเป็น “หน่วยงานอื่นของรัฐ” อันเป็นหน่วยงานทางปกครองตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้ง ศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ จำเลยทั้งหกซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของโจทก์จึงเป็น “เจ้าหน้าที่ของรัฐ” ตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติเดียวกัน อย่างไรก็ดี โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหาย จากจำเลยทั้งหกโดยอ้างว่าจำเลยทั้งหกกระทำละเมิดในการตรวจรับงานและการอนุมัติจ่ายค่าจ้าง ตามสัญญาโครงการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการระบบฐานข้อมูลสมาชิกและจัดทำ บัตรสมาร์ทการ์ดซึ่งไม่ใช่การใช้อำนาจในการสงเคราะห์ผู้อำนวยการ ครู และบุคลากรทางการศึกษา อันเป็นหน้าที่โดยตรงของโจทก์ จึงเป็นการปฏิบัติหน้าที่ทั่วไป คดีนี้จึงมิใช่คดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำ ละเมิดของเจ้าหน้าที่ที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง ตามพระราชบัญญัติจัดตั้ง ศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) แต่เป็นคดีพิพาท เกี่ยวกับการกระทำละเมิดของเจ้าหน้าที่ที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม คดีเกี่ยวกับการกระทำละเมิดทางแพ่งและละเมิดทั่วไปที่อยู่ในเขตอำนาจของศาลยุติธรรม


166 คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๖๔/๒๕๖๑ คดีที่ผู้ฟ้องคดีทั้งสองเป็นเอกชน ยื่นฟ้องกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ ผู้ถูกฟ้องคดี ซึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครอง เพื่อเรียกคืนเงินค่าใช้จ่ายในการคุ้มครองพยานที่ผู้ฟ้องคดีทั้งสอง ได้สำรองจ่ายไป อันเนื่องมาจากการที่ผู้ถูกฟ้องคดีมีคำสั่งแจ้งสิ้นสุดการคุ้มครองผู้ฟ้องคดีทั้งสอง ในฐานะพยานในคดีอาญา ซึ่งเป็นการฝ่าฝืนคำสั่งของศาลจังหวัดเพชรบุรีที่เห็นว่ายังมีความจำเป็น จะต้องให้ความคุ้มครองผู้ฟ้องคดีทั้งสองในฐานะพยานในคดีอาญาต่อไป เห็นว่า การคุ้มครองพยาน ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองพยานในคดีอาญา พ.ศ. ๒๕๔๖ เป็นเพียงมาตรการของรัฐในการคุ้มครองพยาน ในคดีอาญาให้มีความปลอดภัย มีการปฏิบัติที่เหมาะสม และได้รับค่าตอบแทนที่จำเป็นและสมควร จากรัฐ เพื่อประโยชน์ในการพิสูจน์ความจริงและเกิดประสิทธิภาพต่อกระบวนการยุติธรรม ซึ่งการเข้าสู่กระบวนการคุ้มครองพยานตามพระราชบัญญัตินี้ พนักงานผู้มีอำนาจสืบสวนคดีอาญา พนักงานผู้มีอำนาจสอบสวนคดีอาญา พนักงานผู้มีอำนาจฟ้องคดีอาญา ศาล หรือสำนักงาน คุ้มครองพยาน อาจจัดให้พยานอยู่ในความคุ้มครองตามที่เห็นสมควร หรือตามที่พยานหรือบุคคลอื่นใด ซึ่งมีประโยชน์เกี่ยวข้องร้องขอก็ได้ จึงเห็นได้ว่าการใช้มาตรการคุ้มครองพยานตามพระราชบัญญัตินี้ มิใช่การใช้อำนาจตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่ในการที่จะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน ระงับ หรือ มีผลกระทบต่อสถานภาพหรือสิทธิหน้าที่ของบุคคล อันจะถือว่าเป็นคำสั่งทางปกครอง ตามบทนิยาม มาตรา ๕ ของพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ แต่เป็นเพียงมาตรการ ของรัฐในการที่จะจัดให้พยานอยู่ในความคุ้มครองตามที่เห็นสมควรหรือตามความจำเป็น ดังนั้น การที่ผู้ถูกฟ้องคดีมีคำสั่งให้สิ้นสุดการคุ้มครองพยานตามพระราชบัญญัตินี้ จึงมิใช่คำสั่งทางปกครอง ประกอบกับมาตรา ๒๐ แห่งพระราชบัญญัตินี้ บัญญัติว่า ในกรณีผู้ที่ได้รับคำสั่งตามมาตรา ๖ มาตรา ๗ มาตรา ๙ มาตรา ๑๐ มาตรา ๑๑ มาตรา ๑๒ มาตรา ๑๖ มาตรา ๑๗ หรือมาตรา ๑๙ อันมิใช่คำสั่งของศาล ไม่พอใจคำสั่งดังกล่าว ให้มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งนั้น โดยยื่นเป็นคำร้องต่อศาลยุติธรรม ชั้นต้นซึ่งมิใช่ศาลแขวงและมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีอาญาหรือศาลทหารชั้นต้นที่มีเขตอำนาจ เหนือคดีนั้น หรือที่บุคคลเหล่านั้นมีที่อยู่ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่ง อันแสดงให้เห็นว่า คำสั่งให้คุ้มครองพยาน คำสั่งให้สิ้นสุดการคุ้มครองพยาน และคำสั่งอื่น ๆ ที่สั่งโดยอาศัยอำนาจ ตามพระราชบัญญัตินี้ ไม่ใช่คำสั่งทางปกครอง และกฎหมายประสงค์ที่จะให้ศาลยุติธรรมหรือศาลทหาร แล้วแต่กรณีเป็นศาลที่มีอำนาจตรวจสอบการใช้อำนาจตามพระราชบัญญัตินี้ ดังนั้น ปัญหาว่า ผู้ถูกฟ้องคดีจะต้องจ่ายเงินค่าใช้จ่ายในการคุ้มครองพยานภายหลังจากที่ผู้ถูกฟ้องคดีมีคำสั่งให้สิ้นสุด การคุ้มครองพยานคืนแก่ผู้ฟ้องคดีทั้งสองหรือไม่ จึงต้องพิจารณาคำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ให้สิ้นสุด การคุ้มครองพยานว่าชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ซึ่งมาตรา ๒๐ แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว บัญญัติ ให้ยื่นคำร้องต่อศาลยุติธรรมชั้นต้น ข้อพิพาทในคดีนี้จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิด ของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม คดีเกี่ยวกับการกระทำละเมิดทางแพ่งและละเมิดทั่วไปที่อยู่ในเขตอำนาจของศาลยุติธรรม


คดีพิพาทเกี่ยวกับ เขตอำนาจของศาลปกครอง รวมย่อคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่น่าสนใจ พ.ศ. ๒๕๕๖ - ๒๕๖๕ 167 คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๖๓/๒๕๖๑ คดีนี้ โจทก์เป็นเอกชนยื่นฟ้องการไฟฟ้านครหลวง ที่ ๑ บริษัท ก. ที่ ๒ บริษัท ข. ที่ ๓ ผู้ถูกฟ้องคดี ให้รับผิดชดใช้ค่าเสียหายจากการที่ผู้รับจ้างและผู้รับจ้างช่วง ก่อสร้างบ่อพักและ ท่อร้อยสายไฟฟ้าใต้ดิน นำเครื่องจักรหนักจำนวนมากมาตั้งปิดหน้าร้านของผู้ฟ้องคดี เป็นเหตุให้ ไม่อาจใช้ประโยชน์จากหน้าร้านได้ และการทำงานของเครื่องจักรทำให้ผู้ฟ้องคดีเสียสุขภาพอนามัย กรณีมีปัญหาต้องวินิจฉัยว่า ข้อพิพาทตามฟ้องเป็นคดีละเมิดที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษา ของศาลปกครองหรือศาลยุติธรรม เห็นว่า พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณา คดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๙ วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า ศาลปกครองมีอำนาจพิจารณาพิพากษา หรือมีคำสั่งในเรื่องดังต่อไปนี้ (๓) คดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดหรือความรับผิดอย่างอื่น ของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐอันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมาย หรือจากกฎ คำสั่งทางปกครอง หรือคำสั่งอื่น หรือจากการละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติ หรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร อันเป็นการจำกัดประเภทคดีที่อยู่ในอำนาจพิจารณา พิพากษาของศาลปกครองเฉพาะการกระทำละเมิดของเจ้าหน้าที่หรือหน่วยงานทางปกครองที่เกิด จากการใช้อำนาจทางปกครอง หรือการละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือ ปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควรเท่านั้น ไม่รวมถึงการกระทำละเมิดที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ ทั่วไป คดีนี้แม้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ เป็นรัฐวิสาหกิจ จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติการไฟฟ้านครหลวง พ.ศ. ๒๕๐๑ จึงเป็นหน่วยงานทางปกครอง ตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครอง และวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ แต่เมื่อพิจารณาข้อเท็จจริงตามคำฟ้อง ผู้ฟ้องคดี เรียกค่าเสียหายจากผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ โดยกล่าวหาว่า ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสามกระทำละเมิด โดยวาง เครื่องจักรหนักปิดหน้าร้านค้าของผู้ฟ้องคดีและเครื่องจักรทำงานเสียงดัง เป็นเหตุให้ผู้ฟ้องคดี เสียสุขภาพ ซึ่งความเสียหายดังกล่าวมิได้เกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมายของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ หรือเกิดจากการละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้า เกินสมควร อันจะเข้าหลักเกณฑ์ความรับผิดทางละเมิดของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ ของรัฐ ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ คดีนี้จึงเป็นคดีพิพาทที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม ซึ่งเป็นศาลที่ มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีทั้งปวงที่รัฐธรรมนูญหรือกฎหมายไม่ได้บัญญัติให้อยู่ในอำนาจ ของศาลอื่น คดีเกี่ยวกับการกระทำละเมิดทางแพ่งและละเมิดทั่วไปที่อยู่ในเขตอำนาจของศาลยุติธรรม


168 คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๔๖/๒๕๖๑ เมื่อคดีนี้ กรมชลประทาน จำเลยที่ ๕ เป็นกรมสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์จึงเป็น หน่วยงานทางปกครองตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณา คดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ แต่เนื่องจากการกระทำละเมิดของเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือหน่วยงานทางปกครอง ที่จะอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองตามบทบัญญัติดังกล่าวต้องเป็นการกระทำละเมิด ที่เกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมายหรือการละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติ หรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควรเท่านั้น โดยในส่วนของการกระทำละเมิดอันเกิดจาก การละเลยต่อหน้าที่ที่จะอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองนั้น จะต้องเป็นกรณีที่มี กฎหมายกำหนดหน้าที่ของฝ่ายปกครองไว้แต่ฝ่ายปกครองละเลยไม่ปฏิบัติหน้าที่นั้น แม้ข้อ ๒ ของกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการ กรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พ.ศ. ๒๕๕๗ กำหนดให้จำเลยที่ ๕ มีภารกิจเกี่ยวกับการพัฒนาแหล่งน้ำตามศักยภาพของลุ่มน้ำให้เพียงพอ และจัดน้ำให้กับผู้ใช้น้ำทุกประเภทตลอดจนป้องกันความเสียหายอันเกิดจากน้ำโดยมีอำนาจหน้าที่ ตามกฎหมายในการดำเนินการเกี่ยวกับการชลประทานก็ตาม แต่การกระทำซึ่งเป็นเหตุ แห่งการฟ้องคดีนี้ โจทก์อ้างว่าเกิดจากการที่จำเลยที่ ๑ ซึ่งเป็นลูกจ้างของห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. จำเลยที่ ๒ ผู้รับจ้างจำเลยที่ ๕ ขุดรื้อคันดินกั้นน้ำออกโดยไม่มีการแจ้งเตือนให้โจทก์หรือผู้ใช้ประโยชน์ ในแหล่งน้ำทราบล่วงหน้า ทำให้น้ำเน่าเสียท่วมขังจากลำห้วยใหญ่ไหลลงสู่แม่น้ำพองจนขุ่นและสกปรก มีค่าแอมโมเนีย - ไนโตรเจน สูงเกินมาตรฐาน เป็นเหตุให้ปลาของโจทก์ซึ่งเพาะเลี้ยงในกระชังตายทั้งหมด โดยมีจำเลยที่ ๒ ที่ ๓ ที่ ๕ เป็นผู้สั่งการ จำเลยที่ ๑ ถึงที่ ๓ และที่ ๕ จึงต้องร่วมกันรับผิดต่อโจทก์ โดยโจทก์มิได้ฟ้องว่าจำเลยที่ ๕ ละเลยไม่ดำเนินการตามภารกิจตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงดังกล่าว ดังนั้น การกระทำตามที่ปรากฏในฟ้องจึงมิใช่คดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งเกิดจากการละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติตามความหมายของมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ทั้งโจทก์มีคำขอบังคับให้จำเลยที่ ๑ ถึงที่ ๓ ซึ่งเป็นเอกชนและจำเลยที่ ๕ ร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ อันเป็นกรณีที่โจทก์มุ่งประสงค์ให้จำเลยทั้งหมดร่วมกันรับผิดในความเสียหายที่เกิดจากมูลละเมิด เดียวกัน เมื่อเหตุแห่งการฟ้องคดีประการสำคัญเกิดจากการกระทำของจำเลยที่ ๑ ซึ่งเป็นเอกชน และการที่จำเลยที่ ๒ ที่ ๓ ที่ ๕ จะต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ ๑ ด้วยหรือไม่ เพียงใดก็ย่อมเกี่ยวพัน กับการวินิจฉัยความรับผิดของจำเลยที่ ๑ ซึ่งเป็นข้อพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดทางแพ่ง คดีนี้จึงเป็นคดีพิพาทที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม * คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๑๐/๒๕๖๑ วินิจฉัยทำนองเดียวกันในเรื่องการขุดรื้อ คันดินกั้นน้ำออกโดยไม่มีการแจ้งเตือนให้ทราบล่วงหน้า คดีเกี่ยวกับการกระทำละเมิดทางแพ่งและละเมิดทั่วไปที่อยู่ในเขตอำนาจของศาลยุติธรรม


คดีพิพาทเกี่ยวกับ เขตอำนาจของศาลปกครอง รวมย่อคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่น่าสนใจ พ.ศ. ๒๕๕๖ - ๒๕๖๕ 169 คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๑๑๒/๒๕๕๙ การที่จำเลยซึ่งเป็นอดีตเจ้าหน้าที่ของรัฐเพิกเฉยไม่ยอมคืนเงินค่าตอบแทนตำแหน่ง ผู้ใหญ่บ้านที่ได้รับไปโดยไม่มีสิทธิ อันเนื่องมาจากการที่โจทก์มีคำสั่งให้เพิกถอนคำสั่งที่แต่งตั้งจำเลย เป็นผู้ใหญ่บ้าน และมีคำสั่งให้จำเลยพ้นจากตำแหน่งผู้ใหญ่บ้าน โดยให้มีผลย้อนไปถึงวันที่โจทก์ มีคำสั่งแต่งตั้งจำเลยเป็นผู้ใหญ่บ้าน เป็นเหตุให้จำเลยต้องนำเงินค่าตอบแทนตำแหน่งผู้ใหญ่บ้าน ที่ได้รับไปโดยไม่มีสิทธิคืนให้แก่โจทก์ โจทก์ซึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครองทวงถามแล้ว แต่จำเลยเพิกเฉย กรณีจึงเป็นเรื่องที่จำเลยซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐโต้แย้งสิทธิของโจทก์ ไม่ใช่การกระทำละเมิด ของจำเลยที่เกิดจากการใช้อำนาจทางกฎหมาย หรือการละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนด ให้ต้องปฏิบัติ อันจะเข้าหลักเกณฑ์ของมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครอง และวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ แต่เป็นกรณีที่โจทก์ต้องใช้สิทธิฟ้องคดีเพื่อเรียกให้จำเลย ชดใช้เงินคืนต่อศาลยุติธรรม ซึ่งเป็นศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีทั้งปวงที่ไม่อยู่ในอำนาจ ของศาลอื่น คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๙๗/๒๕๕๙ คดีนี้ผู้ฟ้องคดีฟ้องว่า เจ้าหน้าที่ของรัฐทำละเมิดโดยการตรวจค้น ควบคุมตัวบุตรของ ผู้ฟ้องคดีเป็นเหตุให้บุตรของผู้ฟ้องคดีถึงแก่ความตาย ขอให้ชดใช้ค่าเสียหาย ผู้ถูกฟ้องคดีให้การว่า เป็นการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ เห็นว่า ขณะเกิดเหตุพิพาทคดีนี้ผู้ถูกฟ้องคดีทำการตรวจค้น ควบคุมตัวบุตรของผู้ฟ้องคดีโดยใช้อำนาจ ตามพระราชกำหนดดังกล่าว ซึ่งมาตรา ๑๖ บัญญัติให้ข้อกำหนด ประกาศ คำสั่ง หรือการกระทำ ตามพระราชกำหนดนี้ไม่อยู่ในบังคับของกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองและกฎหมาย ว่าด้วยการจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง และมาตรา ๑๗ บัญญัติว่า พนักงาน เจ้าหน้าที่และผู้มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชกำหนดนี้ไม่ต้องรับผิด ทั้งทางแพ่ง ทางอาญา หรือทางวินัย เนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่ในการระงับหรือป้องกันการกระทำผิด กฎหมาย หากเป็นการกระทำที่สุจริต ไม่เลือกปฏิบัติ และไม่เกินสมควรแก่เหตุหรือไม่เกินกว่ากรณี จำเป็น แต่ไม่ตัดสิทธิผู้ได้รับความเสียหายที่จะเรียกร้องค่าเสียหายจากทางราชการตามกฎหมาย ว่าด้วยความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ ดังนี้จึงเป็นกรณีที่กฎหมายบัญญัติไว้โดยชัดแจ้งไม่ให้ ศาลปกครองมีอำนาจในการควบคุมตรวจสอบ จึงเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจศาลยุติธรรม ส่วนมาตรา ๑๗ เป็นบทบัญญัติในเรื่องการเยียวยาผู้ที่ได้รับความเสียหายจากการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ เมื่อการพิจารณาว่าการกระทำตามมาตรา ๑๖ นั้น เป็นละเมิดหรือไม่อยู่ในอำนาจศาลยุติธรรม การพิจารณาความรับผิดและการเยียวยาตามมาตรา ๑๗ จึงต้องได้รับการพิจารณาโดยศาลเดียวกัน คดีเกี่ยวกับการกระทำละเมิดทางแพ่งและละเมิดทั่วไปที่อยู่ในเขตอำนาจของศาลยุติธรรม


170 คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๗๘/๒๕๕๘ คดีที่โจทก์ทั้งหกเป็นนักศึกษาระดับปริญญาโทหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต ยื่นฟ้องมหาวิทยาลัยเอกชนและผู้บริหารมหาวิทยาลัยเป็นจำเลยทั้งสี่และจำเลยร่วม ขอให้บังคับ จำเลยทั้งสี่และจำเลยร่วม ร่วมกันหรือแทนกันรับผิดชดใช้เงินค่าลงทะเบียนและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เกี่ยวกับ การเรียนการสอนทั้งหมดที่โจทก์ทั้งหกจ่ายให้แก่มหาวิทยาลัย และค่าเสียหายอื่น ๆ พร้อมดอกเบี้ย เห็นว่า แม้จำเลยที่ ๑ จะเป็นมหาวิทยาลัยเอกชนที่ได้รับมอบอำนาจจากรัฐให้จัดบริการสาธารณะ ด้านการศึกษาระดับอุดมศึกษาตามพระราชบัญญัติสถาบันอุดมศึกษาเอกชน พ.ศ. ๒๕๔๖ แต่มูลเหตุ ที่โจทก์ทั้งหกฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสี่และจำเลยร่วมนั้น มิได้เกิดจากการที่มหาวิทยาลัย ไม่พิจารณาอนุมัติปริญญาให้แก่โจทก์ หรือฟ้องว่าจำเลยที่ ๒ ถึงที่ ๔ ไม่จัดการศึกษาให้มีมาตรฐาน ตามที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนด แต่เป็นกรณีที่โจทก์ทั้งหกฟ้องเรียกค่าเสียหายอันเกิดจากการจงใจ หรือประมาทเลินเล่อในการบริหารจัดการกิจการของมหาวิทยาลัยผิดพลาดจนกระทรวงศึกษาธิการ มีคำสั่งให้อยู่ในความควบคุมของคณะกรรมการการอุดมศึกษาและมีคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตซึ่งส่งผล ให้โจทก์ทั้งหกไม่ได้รับวุฒิการศึกษาในระดับปริญญาโทหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต ของมหาวิทยาลัยตามกำหนดเวลาที่ได้ให้คำมั่นไว้ กรณีจึงมิใช่เป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหายที่เกิด จากการใช้อำนาจตามกฎหมาย หรือจากกฎ คำสั่งทางปกครอง หรือจากการละเลยต่อหน้าที่ตามที่ มีกฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร ตามพระราชบัญญัติจัดตั้ง ศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) อันจะอยู่ในอำนาจ พิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง แต่เป็นคดีละเมิดทั่วไปซึ่งอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษา ของศาลยุติธรรม คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๓๒/๒๕๕๘ วันเวลาที่เกิดเหตุมีผู้ก่อความรุนแรงใช้อาวุธเครื่องยิงลูกระเบิด ยิงใส่ฐานปฏิบัติการ ร้อย.ทพ.๔๓๐๒ และมีการยิงตอบโต้กัน เป็นเหตุให้ผู้ฟ้องคดีทั้งห้าซึ่งอยู่ในรถยนต์กระบะ ได้รับ ความเดือดร้อนเสียหายจากการกระทำละเมิดของเจ้าหน้าที่ในสังกัดของผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสอง เห็นว่า ขณะเกิดเหตุพิพาทมีการประกาศใช้กฎอัยการศึก ตามพระราชบัญญัติกฎอัยการศึก พระพุทธศักราช ๒๔๕๗ และขณะเดียวกันรัฐบาลประกาศใช้พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ซึ่งมาตรา ๑๖ แห่งพระราชกำหนดดังกล่าวบัญญัติให้ ข้อกำหนด ประกาศ คำสั่ง หรือการกระทำตามพระราชกำหนดนี้ไม่อยู่ในบังคับของกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง และกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง อันเป็นกรณีที่กฎหมาย บัญญัติไว้โดยชัดแจ้ง ไม่ให้ศาลปกครองมีอำนาจในการควบคุมตรวจสอบข้อกำหนด ประกาศ คำสั่ง และการกระทำของเจ้าหน้าที่ตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ส่วนมาตรา ๑๗ เป็นบทบัญญัติในเรื่องการเยียวยาผู้ที่ได้รับความเสียหายจาก การถูกกระทำละเมิด ซึ่งจะต้องพิจารณาให้ได้ความเสียก่อนว่าการกระทำนั้นเป็นละเมิดหรือไม่ คดีเกี่ยวกับการกระทำละเมิดทางแพ่งและละเมิดทั่วไปที่อยู่ในเขตอำนาจของศาลยุติธรรม


คดีพิพาทเกี่ยวกับ เขตอำนาจของศาลปกครอง รวมย่อคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่น่าสนใจ พ.ศ. ๒๕๕๖ - ๒๕๖๕ 171 เมื่อการพิจารณาว่าการกระทำตามมาตรา ๑๖ นั้น เป็นละเมิดหรือไม่ อยู่ในอำนาจศาลยุติธรรม การพิจารณาความรับผิดผู้ที่กระทำละเมิดและการเยียวยาผู้ที่ได้รับความเสียหายตามมาตรา ๑๗ จึงต้องได้รับการพิจารณาโดยศาลเดียวกัน ดังนั้น การที่โจทก์ทั้งห้าฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการกระทำ ของเจ้าหน้าที่ตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ซึ่งเป็น การกระทำของเจ้าหน้าที่ตามที่กฎหมายได้บัญญัติยกเว้นอำนาจของศาลปกครองในการควบคุม ตรวจสอบไว้ จึงไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง แต่เป็นคดีที่อยู่ในอำนาจพิจารณา พิพากษาของศาลยุติธรรม * คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๒๔/๒๕๕๘ และ ๑๙/๒๕๕๘ วินิจฉัยทำนองเดียวกัน คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๖๔/๒๕๕๗ คดีที่กรมสอบสวนคดีพิเศษเป็นโจทก์ยื่นฟ้องเจ้าหน้าที่ในสังกัดเป็นจำเลยให้รับผิด ทางละเมิด โดยอ้างว่าจำเลยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงนำเครื่องคอมพิวเตอร์แบบพกพา ของทางราชการออกนอกสถานที่ราชการแล้วเก็บเครื่องคอมพิวเตอร์พกพาดังกล่าวไว้ในรถยนต์ ซึ่งจอดอยู่ริมถนนสาธารณะเป็นเหตุให้ถูกโจรกรรม เห็นว่า เมื่อโจทก์เป็นหน่วยงานทางปกครอง และจำเลยเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ การพิจารณาความรับผิดทางละเมิดของโจทก์และจำเลยจะต้อง พิจารณาตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๙ เมื่อข้อเท็จจริง ปรากฏว่าโจทก์บรรยายฟ้องขอให้จำเลยต้องรับผิดทางละเมิดที่มิใช่การกระทำในการปฏิบัติหน้าที่ ตามมาตรา ๖ แห่งพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๙ และขอให้ จำเลยรับผิดชดใช้เป็นการเฉพาะตัว แต่จำเลยไม่ยอมชำระ เหตุละเมิดคดีนี้จึงไม่ใช่คดีที่เกิดจาก การใช้อำนาจทางปกครองตามกฎหมายแต่อย่างใด ดังนั้น ข้อพิพาทในคดีนี้จึงมิใช่คดีพิพาทเกี่ยวกับ การกระทำละเมิดอันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมาย อันมีลักษณะเป็นคดีละเมิดทางปกครอง ที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและ วิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) แต่เป็นคดีละเมิดทางแพ่งที่อยู่ในอำนาจ พิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๑๒/๒๕๕๗ คดีที่โจทก์ทั้งห้าซึ่งเป็นเอกชนกล่าวอ้างว่าได้รับความเสียหายจากการที่บริษัท บ. ที่ ๑ กองทัพบก ที่ ๒ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) ที่ ๓ จำเลย ผู้ดำเนินการกระจายเสียงและกิจการ โทรทัศน์สื่อสารมวลชนที่ประชาชนสามารถรับชมรายการโทรทัศน์สาธารณะทางสถานีโทรทัศน์ ช่อง ๓ ช่อง ๕ และช่อง ๙ โดยไม่เสียค่าบริการ ได้ระงับการส่งสัญญาณภาพและเสียงผ่านระบบ สัญญาณดาวเทียมรายการถ่ายทอดสดการแข่งขันฟุตบอลยูโร ๒๐๑๒ ตามที่จำเลยที่ ๔ ผู้จัดจำหน่าย กล่องรับสัญญาณดาวเทียม GMMZ และเจ้าของลิขสิทธิ์การถ่ายทอดสดการแข่งขันฟุตบอลดังกล่าว คดีเกี่ยวกับการกระทำละเมิดทางแพ่งและละเมิดทั่วไปที่อยู่ในเขตอำนาจของศาลยุติธรรม


172 มีหนังสือขอความร่วมมือ ทำให้โจทก์ทั้งห้าไม่อาจรับชมการถ่ายทอดสดผ่านระบบสัญญาณดาวเทียมได้ ขอให้บังคับจำเลยทั้งสี่ดำเนินการแพร่ภาพและกระจายเสียงรายการถ่ายทอดสดการแข่งขันฟุตบอล ดังกล่าว ให้ชำระค่าเสียหายแก่โจทก์ทั้งห้าในจำนวนเงินเท่ากับราคากล่องรับสัญญาณดาวเทียม และให้จำเลยทั้งสี่ชำระค่าเสียหายเชิงลงโทษ กับให้มีคำแนะนำไปถึงรัฐบาลให้เร่งดำเนินการผลักดัน ให้เกิดองค์กรอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๖๑ เห็นว่า แม้จำเลยที่ ๒ มีฐานะเป็นหน่วยงานทางปกครอง แต่ตามคำฟ้องของโจทก์ทั้งห้าเป็นการฟ้อง จำเลยที่ ๑ ถึงที่ ๓ ในฐานะผู้ประกอบกิจการโทรทัศน์ซึ่งเข้ามาใช้คลื่นความถี่อันเป็นทรัพยากร สื่อสารของชาติ แต่การดำเนินกิจการดังกล่าวก็เป็นการดำเนินธุรกิจในเชิงพาณิชย์โดยได้รับ ผลประโยชน์ตอบแทนจากการขายเวลาในช่วงโฆษณาให้แก่เอกชนเจ้าของสินค้าและบริการ อันเป็น การประกอบกิจการเพื่อการค้า มิได้ใช้อำนาจทางปกครอง นิติสัมพันธ์ระหว่างจำเลยที่ ๑ ถึงที่ ๓ กับโจทก์ทั้งห้าที่มิได้มีการใช้อำนาจทางปกครองดังกล่าวจึงเป็นไปตามหลักกฎหมายแพ่ง ข้อพิพาท ในคดีนี้จึงเป็นคดีพิพาททางแพ่ง ซึ่งอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๑๐๗/๒๕๕๖ โจทก์ฟ้องจำเลยที่ ๑ เจ้าหน้าที่ของรัฐและกระทรวงสาธารณสุข จำเลยที่ ๒ กล่าวหาว่า จำเลยที่ ๑ จงใจมีคำสั่งให้โจทก์ไปช่วยปฏิบัติราชการอ้างว่าโจทก์กระทำผิดวินัยตามที่มีข้อร้องเรียน เรื่องทุจริต แต่ต่อมาจำเลยที่ ๑ ได้ยกเลิกคำสั่งดังกล่าว ซึ่งผู้บังคับบัญชามีหนังสือตักเตือนจำเลยที่ ๑ พร้อมทั้งแจ้งโจทก์ว่าการออกคำสั่งของจำเลยที่ ๑ ไม่มีกฎหมายบัญญัติให้กระทำได้ แล้วจำเลยที่ ๑ ยังนำเรื่องตามที่อ้างในการออกคำสั่งไปร้องทุกข์ดำเนินคดีอาญาแก่โจทก์ และจงใจกล่าวและไขข่าว แพร่หลายด้วยวาจาและด้วยเอกสารว่าโจทก์ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ทางราชการ ทำผิดวินัยร้ายแรง อันเป็นการกลั่นแกล้งโจทก์ ประเด็นแห่งคดีจึงเป็นเรื่องที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองให้รับผิดชดใช้ เงินค่าเสียหายเพื่อความเสียหายที่เกิดแก่ชื่อเสียงเกียรติคุณ ทางทำมาหาได้ หรือทางเจริญ ในการประกอบอาชีพของโจทก์กรณีที่จำเลยที่ ๑ จงใจกลั่นแกล้งโจทก์ด้วยการออกคำสั่งให้โจทก์ ไปช่วยปฏิบัติราชการทั้งที่ไม่มีอำนาจ แล้วนำเรื่องตามที่อ้างในการออกคำสั่งไปร้องทุกข์ดำเนินคดี อาญาแก่โจทก์ ทั้งยังจงใจกล่าวและไขข่าวแพร่หลายด้วยวาจาและด้วยเอกสารเพื่อให้โจทก์ได้รับ ความเสียหาย อันเป็นเรื่องความรับผิดของบุคคลในทางแพ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มิใช่ความรับผิดอันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมายหรือจากคำสั่งทางปกครอง โดยที่ประเด็น เรื่องคำสั่งให้ไปช่วยปฏิบัติราชการนั้น ข้อเท็จจริงเป็นที่ยุติตามคำฟ้องโจทก์แล้วว่าได้ถูกยกเลิก เนื่องจากเป็นการออกคำสั่งโดยไม่มีอำนาจ จึงไม่มีประเด็นที่จะตรวจสอบเกี่ยวกับความชอบ ด้วยกฎหมายของคำสั่งดังกล่าวอีก ข้อพิพาทในคดีนี้จึงไม่ใช่คดีปกครอง แต่เป็นคดีแพ่งอันอยู่ในอำนาจ พิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม คดีเกี่ยวกับการกระทำละเมิดทางแพ่งและละเมิดทั่วไปที่อยู่ในเขตอำนาจของศาลยุติธรรม


คดีพิพาทเกี่ยวกับ เขตอำนาจของศาลปกครอง รวมย่อคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่น่าสนใจ พ.ศ. ๒๕๕๖ - ๒๕๖๕ 173 คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๘๐/๒๕๕๖ คดีที่คณะอนุกรรมการสวัสดิการกองบิน ๒ โจทก์ ยื่นฟ้องจำเลยทั้งสามซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ ของรัฐและบุคคลภายนอก โดยอ้างว่าได้รับความเสียหายกรณีจำเลยทั้งสามร่วมกันกระทำละเมิด ทุจริตเงินค่าจำหน่ายน้ำมันให้แก่ลูกค้าของโจทก์ เห็นว่า กิจการสถานีบริการจำหน่ายเชื้อเพลิง เป็นกิจการในเชิงธุรกิจและผู้ดำเนินการจัดสวัสดิการจะเป็นข้าราชการหรือผู้ที่มิใช่ข้าราชการก็ได้ การที่โจทก์แต่งตั้งจำเลยที่ ๑ ซึ่งเป็นข้าราชการสังกัดกองบิน ๒ เป็นผู้จัดการสถานี การปฏิบัติงาน ตามหน้าที่และความรับผิดชอบของจำเลยที่ ๑ ที่ได้รับแต่งตั้ง จึงมิใช่การปฏิบัติราชการในตำแหน่ง หน้าที่ราชการโดยตรง แต่เป็นเพียงหน้าที่บริหารจัดการกิจการสถานีในเชิงธุรกิจการค้ากับบุคคลทั่วไป เพื่อให้มีผลกำไรเข้ากองทุนสวัสดิการของกองบิน ๒ เท่านั้น ดังนั้น เมื่อโจทก์ฟ้องจำเลยที่ ๑ ให้รับผิด ในมูลละเมิดในฐานะเป็นเจ้าหน้าที่ได้รับการแต่งตั้งให้ปฏิบัติงานในกิจการสถานีบริการจำหน่าย เชื้อเพลิง จึงมิใช่กรณีเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำละเมิดอันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมายตาม พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) คดีพิพาทระหว่างโจทก์และจำเลยที่ ๑ จึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม ส่วนจำเลย ที่ ๒ เป็นลูกจ้างในกิจการสถานีฯ และจำเลยที่ ๓ เป็นลูกค้าจึงต่างเป็นเอกชน กรณีมูลละเมิด ตามฟ้องที่กระทำโดยจำเลยที่ ๒ และที่ ๓ จึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรมเช่นกัน คดีนี้จึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๕๘/๒๕๕๖ คดีที่โจทก์เป็นเอกชนยื่นฟ้องมหาวิทยาลัยราชภัฏ จำเลย โดยอ้างว่าได้รับความเสียหาย จากการที่จำเลยผิดคำโฆษณาหรือคำมั่นที่ปรากฏตามแผ่นพับและเอกสารหลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต ของจำเลย โดยโจทก์ทราบภายหลังเข้าศึกษาว่าหลักสูตรดังกล่าวไม่สามารถศึกษาอบรมต่อในระดับ องค์กรวิชาชีพทางกฎหมายได้ ขอให้ชดใช้ค่าเสียหาย เห็นว่า แม้จำเลยเป็นหน่วยงานทางปกครอง แต่ข้อเท็จจริงคดีนี้เป็นกรณีที่โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายที่เกิดจากหลักสูตรของจำเลยไม่เป็นไปตามที่ โฆษณาหรือให้คำมั่นไว้ มิใช่การฟ้องเรียกค่าเสียหายที่เกิดจากการจัดหรือกำหนดหลักสูตรของจำเลย ว่าเป็นไปโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย อันจะเป็นเรื่องการใช้อำนาจทางปกครองในการจัดทำบริการ สาธารณะด้านการศึกษาโดยตรง ข้อพิพาทในคดีนี้จึงมิใช่คดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดของ หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐอันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมาย อันจะอยู่ในอำนาจ พิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง แต่เป็นคดีซึ่งอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม คดีเกี่ยวกับการกระทำละเมิดทางแพ่งและละเมิดทั่วไปที่อยู่ในเขตอำนาจของศาลยุติธรรม


174 คดเีกยี�วกบัการกระทําละเมดิ ทอี�ยใู่นเขตอํานาจ ของศาลปกครองและศาลยตุธิรรม คดทีเี�กยี�วกบัการกระทําละเมดิของฝา�ยปกครองทสี�ว่นหนงึ�อยใู่น เขตอํานาจของศาลปกครองและสว่นหนงึ�อยใู่นเขตอํานาจของศาลยติุธรรม


คดีพิพาทเกี่ยวกับ เขตอำนาจของศาลปกครอง รวมย่อคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่น่าสนใจ พ.ศ. ๒๕๕๖ - ๒๕๖๕ 175 คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๔๔/๒๕๖๑ คดีที่อดีตนายกรัฐมนตรีเป็นโจทก์ยื่นฟ้องจำเลยที่ ๑ ในฐานะนายกรัฐมนตรีและประธาน คณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าว (นบข.) จำเลยที่ ๒ ในฐานะรองนายกรัฐมนตรีผู้รับผิดชอบ ในการแต่งตั้งสรรหา กำกับ และควบคุมดูแลการทำงานของคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิด ทางละเมิดและคณะกรรมการพิจารณาความรับผิดทางแพ่งในการพิจารณาทบทวนค่าเสียหาย ที่เรียกจากโจทก์ จำเลยที่ ๓ ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง จำเลยที่ ๔ ในฐานะรองปลัด สำนักนายกรัฐมนตรีและประธานคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิด จำเลยที่ ๕ ในฐานะอธิบดีกรมบัญชีกลาง จำเลยที่ ๖ ในฐานะรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง และจำเลยที่ ๗ ในฐานะปลัดกระทรวงการคลัง โดยอ้างว่าได้รับความเดือดร้อนเสียหายจากการกระทำละเมิด ของจำเลยทั้งเจ็ด ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายต่อสิทธิ ชื่อเสียงและสุขภาพอนามัย ชื่อเสียง วงศ์ตระกูล ถูกดูหมิ่นเกลียดชังว่าโจทก์ในฐานะนายกรัฐมนตรีและประธานกรรมการนโยบายข้าว แห่งชาติไม่ปฏิบัติตามกฎหมายหรือระเบียบ จนเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายในโครงการรับจำนำข้าว ขอให้บังคับจำเลยทั้งเจ็ดร่วมกันหรือแทนกันชดใช้ค่าเสียหาย กับให้จำเลยทั้งเจ็ดร่วมกันหรือ แทนกันลงโฆษณาคำพิพากษาของศาลในหนังสือพิมพ์รายวัน เห็นว่า คำฟ้องในส่วนที่บรรยายถึง การกระทำของจำเลยที่ ๑ และที่ ๒ ว่าจงใจกลั่นแกล้ง ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายต่อชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นถูกเกลียดชัง และขาดความเชื่อมั่นต่อทางทำมาหาได้ของโจทก์ เหตุละเมิดตามฟ้องในส่วนนี้ มิใช่การกระทำละเมิดที่เกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมายของจำเลยที่ ๑ และที่ ๒ แต่เป็น การบรรยายฟ้องที่มีลักษณะเป็นการกระทำละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๔๒๐ มาตรา ๔๒๑ มาตรา ๔๒๒ และมาตรา ๔๒๓ จึงมิใช่คดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดของหน่วยงาน ทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐอันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมาย หรือจากกฎ คำสั่งทางปกครอง หรือคำสั่งอื่น ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณา คดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ที่จะอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง ทั้งการที่โจทก์มีคำขอให้ บังคับจำเลยชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ กับให้จำเลยร่วมกันหรือแทนกันลงโฆษณาคำพิพากษา ของศาลเพื่อให้ชื่อเสียงของโจทก์กลับคืนมาในหนังสือพิมพ์รายวัน ก็เป็นคำขอที่ศาลปกครองไม่อาจ กำหนดคำบังคับได้ตามมาตรา ๗๒ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ข้อพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ ๑ และที่ ๒ ในส่วนนี้จึงเป็นข้อพิพาททางแพ่งที่อยู่ ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม สำหรับคำฟ้องในส่วนที่โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งเจ็ด จงใจกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายและมีเจตนากลั่นแกล้งโจทก์ เลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม ในกระบวนการพิจารณาความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ ตามพระราชบัญญัติความรับผิด ทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๙ และกระทำการโดยฝ่าฝืนต่อขั้นตอนตามกฎหมายและระเบียบ คดีเกี่ยวกับการกระทำละเมิดที่อยู่ในเขตอำนาจของศาลปกครองและศาลยุติธรรม คดีเกี่ยวกับการกระทำละเมิดที่อยู่ในเขตอำนาจของศาลปกครองและศาลยุติธรรม


176 ที่เกี่ยวข้อง จนเป็นเหตุให้กระทรวงการคลังมีคำสั่งให้โจทก์รับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนกรณีโครงการ รับจำนำข้าวให้แก่กระทรวงการคลัง ตามมาตรา ๑๒ แห่งพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิด ของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๙ เมื่อลักษณะฟ้องของโจทก์ส่วนนี้เป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำ ละเมิดของเจ้าหน้าที่ของรัฐอันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมาย หรือจากกฎ คำสั่งทางปกครอง หรือคำสั่งอื่น ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณา คดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ทั้งโจทก์ได้ยื่นฟ้องคดีต่อศาลปกครองกลาง ขอให้เพิกถอนคำสั่งกระทรวง การคลังดังกล่าวแล้ว ข้อพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งเจ็ดในส่วนนี้จึงอยู่ในอำนาจพิจารณา พิพากษาของศาลปกครอง คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๔๕/๒๕๕๙ คดีที่เอกชนเจ้าของที่ดินข้างเคียงได้รับความเดือดร้อนเสียหายจากการที่จำเลยที่ ๑ และที่ ๒ ซึ่งเป็นเอกชนเจ้าของและผู้ประกอบกิจการโรงงานได้ก่อสร้างอาคารเพิ่มเติมนอกเหนือ จากที่ได้รับอนุญาต และมิได้เว้นที่ว่างรอบอาคารตามที่กฎหมายกำหนด และร่วมกันประกอบกิจการ โรงงานก่อให้เกิดมลพิษและเป็นแหล่งกำเนิดมลพิษ โดยมีคำขอให้ชดใช้ค่าเสียหายและให้จำเลยที่ ๑ เว้นที่ว่างอันปราศจากหลังคาโดยรอบอาคารไม่น้อยกว่า ๑๐ เมตร เป็นข้อพิพาทระหว่างเอกชนด้วยกัน เกี่ยวกับการกระทำละเมิดและเหตุเดือดร้อนรำคาญ ทั้งจำเลยที่ ๑ และที่ ๒ ไม่โต้แย้งเขตอำนาจศาลว่า คดีระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ ๑ และที่ ๒ ไม่อยู่ในอำนาจศาลยุติธรรม คดีในส่วนของโจทก์กับจำเลยที่ ๑ และที่ ๒ จึงอยู่ในอำนาจศาลยุติธรรม คดีในส่วนของจำเลยที่ ๓ ถึงที่ ๕ ซึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครอง โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ ๓ ออกใบอนุญาตก่อสร้างอาคารให้แก่จำเลยที่ ๑ โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ทั้งปล่อยให้ก่อสร้างนอกเหนือจากที่ได้รับอนุญาต และจำเลยที่ ๔ โดยได้รับมอบหมายจากจำเลยที่ ๕ ออกใบอนุญาตให้ขยายโรงงานทั้งที่เป็นแหล่งกำเนิดมลพิษ ขอให้ร่วมกันชดใช้ค่าเสียหาย ให้จำเลยที่ ๓ รื้อถอนอาคารโรงงานที่ได้รับอนุญาตโดยไม่ถูกต้องและส่วนที่ต่อเติมโดยไม่ได้รับอนุญาต ให้จำเลยที่ ๔ และที่ ๕ มีคำสั่งห้ามจำเลยที่ ๑ ขยายโรงงาน เพิ่มกำลังการผลิต เพิ่มกำลังเครื่องจักร และสั่งให้จำเลย ที่ ๑ และที่ ๒ หยุดการกระทำที่ก่อให้เกิดมลพิษ จึงเป็นการฟ้องว่า จำเลยที่ ๓ ถึงที่ ๕ กระทำละเมิด อันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมายในการออกคำสั่งทางปกครอง และละเลยต่อหน้าที่ตามที่ กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติ ซึ่งเป็นคดีพิพาทตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ คดีในส่วนของจำเลยที่ ๓ ถึงที่ ๕ จึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง ทั้งข้อเท็จจริงปรากฏว่าโจทก์ได้ฟ้องจำเลยที่ ๓ และที่ ๔ ต่อศาลปกครองกลางให้เพิกถอนใบอนุญาตก่อสร้างอาคารและคำสั่งอนุญาตให้ขยายโรงงาน ซึ่งเป็นคำสั่งเดียวกับที่โจทก์กล่าวอ้างในคดีนี้ จึงเป็นกรณีที่มูลความแห่งคดีเกี่ยวพันกับคดีที่โจทก์ ฟ้องจำเลยที่ ๓ และที่ ๔ ต่อศาลปกครองกลาง คดีของโจทก์ในส่วนของจำเลยที่ ๓ ถึงที่ ๕ จึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง คดีเกี่ยวกับการกระทำละเมิดที่อยู่ในเขตอำนาจของศาลปกครองและศาลยุติธรรม


คดีพิพาทเกี่ยวกับ เขตอำนาจของศาลปกครอง รวมย่อคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่น่าสนใจ พ.ศ. ๒๕๕๖ - ๒๕๖๕ 177 คดเีกยี�วกบัความรบัผดิอยา่งอนื�ของหนว่ยงานทางปกครอง หรอืเจา้หนา้ทขี�องรฐัตามพระราชบญัญตัจิดั ตัง�ศาลปกครองและวธิพี ิจารณา คดปีกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๙ วรรคหนงึ� (๓) อยใู่นเขตอํานาจ ของศาลปกครอง รวมย่อคําวินิจฉัย คดีพิพาทเกี�ยวกับความรับผิดอย่างอ�นื คดีเกี�ยวกับความรับผิดอย่างอื�น ที�อยู่ในเขตอํานาจของศาลปกครอง


178 คดีเกี่ยวกับความรับผิดอย่างอื่นที่อยู่ในเขตอำนาจของศาลปกครอง คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๙๙/๒๕๖๒ หลักกฎหมายว่าด้วยความรับผิดอย่างอื่นของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ มีเจตนารมณ์ในการคุ้มครองและเยียวยาความเสียหายให้แก่เอกชนจากการใช้อำนาจของหน่วยงาน ทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ อันเนื่องมาจากการดำเนินกิจการทางปกครองหรือบริการสาธารณะ แล้วก่อให้เกิดความเสียหายแก่เอกชนเป็นพิเศษ แม้จะเป็นการกระทำโดยชอบด้วยกฎหมายก็ตาม คดีนี้โจทก์ทั้งเจ็ดเป็นเอกชนยื่นฟ้องจำเลยทั้งหกซึ่งมีฐานะเป็นหน่วยงานทางปกครอง ตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ อ้างว่า โจทก์ทั้งเจ็ด ยอมยกที่ดินของตนให้แก่ทางราชการคือจำเลยทั้งหกตามโครงการแก้มลิงหนองขี้แต้ โดยในการประชุม ประชาคมรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ตัวแทนของจำเลยที่ ๖ แจ้งว่าจะมีการจัดที่ดินชดเชย เพื่อเป็นการเยียวยาความเสียหายกับผู้ได้รับผลกระทบจากการสละที่ดิน แต่ปรากฏว่าโครงการดังกล่าว ไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้และไม่มีการจัดที่ดินชดเชยให้กับโจทก์ทั้งเจ็ด โจทก์ทั้งเจ็ดขอให้บังคับจำเลย ทั้งหกร่วมกันหรือแทนกันคืนที่ดินของโจทก์ทั้งเจ็ดที่มอบให้หรือยกให้เพื่อทำแหล่งน้ำสาธารณะ (แก้มลิงหนองขี้แต้) แก่โจทก์ทั้งเจ็ด หากคืนไม่ได้ให้จำเลยทั้งหกร่วมกันหรือแทนกันจ่ายเงินชดเชย หรือค่าเสียหายแก่โจทก์ทั้งเจ็ด จำเลยที่ ๒ ซึ่งเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบในการก่อสร้างโครงการ ดังกล่าวปฏิเสธการจ่ายเงินชดเชยให้แก่โจทก์ทั้งเจ็ด โดยอ้างว่าโครงการแก้มลิงหนองขี้แต้เป็นโครงการ พัฒนาแหล่งน้ำขนาดเล็กและไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่จะต้องจ่ายเงินชดเชยให้แก่ราษฎรที่ได้รับผลกระทบ จากการสละที่ดินของตน เห็นว่า โจทก์ทั้งเจ็ดสมัครใจสละสิทธิครอบครองในที่ดินให้แก่ทางราชการ เพื่อนำไปทำโครงการแก้มลิงหนองขี้แต้ และประสงค์จะได้รับการชดเชยจากทางราชการ โดยมิได้ มีข้อเท็จจริงว่าทางราชการทำโครงการแก้มลิงหนองขี้แต้โดยไม่ได้รับความยินยอม กรณีจึงไม่มีประเด็น ที่จะต้องพิจารณาว่าโจทก์ทั้งเจ็ดเป็นผู้มีสิทธิในที่ดินพิพาทหรือไม่ เมื่อจำเลยที่ ๒ ซึ่งเป็นหน่วยงาน ทางปกครองได้ดำเนินการก่อสร้างโครงการแก้มลิงหนองขี้แต้ในที่ดินพิพาทโดยชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากได้รับอนุญาตให้ใช้ที่ดินแล้ว จึงมีประเด็นที่ต้องพิจารณาว่าการก่อสร้างโครงการแก้มลิง หนองขี้แต้ดังกล่าว จำเลยที่ ๒ จะต้องจัดหาที่ดินหรือจ่ายเงินชดเชยให้แก่ประชาชนที่ได้รับผลกระทบ หรือไม่ อันเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับความรับผิดอย่างอื่นของหน่วยงานทางปกครองอันเกิดจาก การใช้อำนาจตามกฎหมาย ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครอง และวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๕๒ คดีนี้จึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง คดีพิพาทเกี่ยวกับความรับผิดอย่างอื่น คดีเกี่ยวกับความรับผิดอย่างอื่นที่อยู่ในเขตอำนาจของศาลปกครอง


คดีพิพาทเกี่ยวกับ เขตอำนาจของศาลปกครอง รวมย่อคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่น่าสนใจ พ.ศ. ๒๕๕๖ - ๒๕๖๕ 179 คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๕๑ - ๕๒/๒๕๕๙ การที่คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติมีมติให้ยุบเลิกทุนหมุนเวียนข่าวสาร การพาณิชย์ เป็นเหตุให้กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ผู้ถูกฟ้องคดีต้องมีคำสั่งให้ลูกจ้างประจำ รวมทั้งผู้ฟ้องคดีพ้นจากราชการ เนื่องจากทางราชการเลิกหรือยุบตำแหน่งนั้น โดยผู้ถูกฟ้องคดี ได้จ่ายเงินช่วยเหลือเป็นเงินบำเหน็จตามระเบียบฯ เงินช่วยเหลือเยียวยาและเงินช่วยเหลือค่าที่อยู่อาศัย ให้แก่ผู้ฟ้องคดีแล้ว แต่ผู้ฟ้องคดีเห็นว่าไม่เพียงพอจึงฟ้องเรียกร้องให้ผู้ถูกฟ้องคดีจ่ายเงินเพิ่มเติม เป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับความรับผิดอย่างอื่นของหน่วยงานทางปกครอง อันเกิดจากคำสั่งทางปกครอง ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง * คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๔๐/๒๕๕๙ วินิจฉัยทำนองเดียวกัน คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๔๐/๒๕๕๘ คดีที่ผู้ฟ้องคดีซึ่งเป็นเอกชนยื่นฟ้องกรมสรรพสามิต ผู้ถูกฟ้องคดี ซึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครอง กรณีผู้ฟ้องคดียื่นใช้สิทธิขอรับเงินช่วยเหลือตามนโยบายรัฐบาลตามโครงการรถยนต์ใหม่คันแรก ซึ่งผู้ถูกฟ้องคดีมีอำนาจหน้าที่ตรวจสอบคำขอและเอกสารประกอบเพื่อดำเนินการเบิกจ่ายให้แก่ ผู้มีสิทธิตามมติคณะรัฐมนตรีและแนวทางการตรวจสอบการจ่ายเงิน แต่ผู้ถูกฟ้องคดีแจ้งว่าผู้ฟ้องคดี ขาดคุณสมบัติและไม่มีสิทธิรับเงินตามมาตรการดังกล่าว ขอให้ผู้ถูกฟ้องคดีจ่ายเงินตามโครงการ รถยนต์ใหม่คันแรกให้แก่ผู้ฟ้องคดีพร้อมดอกเบี้ย เห็นว่า เงินที่รัฐให้คืนแก่ผู้ซื้อรถยนต์ใหม่คันแรก ในจำนวนเท่ากับภาษีสรรพสามิตของรถยนต์ที่ซื้อตามโครงการดังกล่าวเป็นเงินช่วยเหลือเพื่อเป็น การลดภาระการลงทุนหรือค่าใช้จ่ายในการได้มาซึ่งรถยนต์ใหม่คันแรกของประชาชนตามที่ได้แถลงไว้ ในนโยบายของรัฐบาล เงินดังกล่าวไม่มีลักษณะเป็นเงินภาษีสรรพสามิตของรถยนต์ใหม่คันแรกที่รัฐ เรียกเก็บจากผู้ประกอบอุตสาหกรรมซึ่งเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีสรรพสามิตโดยตรงตามที่บัญญัติไว้ ในพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. ๒๕๒๗ ข้อพิพาทในคดีนี้จึงไม่ใช่ข้อพิพาทเกี่ยวกับการประเมิน หรือการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตระหว่างผู้ประกอบอุตสาหกรรมกับรัฐ อันเป็นคดีภาษีอากร ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. ๒๕๒๘ ซึ่งอยู่ในอำนาจ พิจารณาพิพากษาของศาลภาษีอากร แต่เป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับความรับผิดอย่างอื่นของหน่วยงาน ทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐอันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมายที่อยู่ในอำนาจพิจารณา พิพากษาของศาลปกครอง ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครอง และวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ * คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๒๘/๒๕๕๘ ถึง ๓๑/๒๕๕๘ วินิจฉัยทำนองเดียวกัน คดีเกี่ยวกับความรับผิดอย่างอื่นที่อยู่ในเขตอำนาจของศาลปกครอง


180 คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๑๑๑/๒๕๕๗ คดีที่เอกชนผู้ได้รับความเดือดร้อนเสียหายจากสถานการณ์ความไม่สงบจังหวัดชายแดน ภาคใต้ยื่นฟ้องผู้ว่าราชการจังหวัดยะลาซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ กรณีคณะกรรมการประเมิน ความเสียหายมีมติให้ชะลอการจ่ายเงินชดเชยเยียวยา ขอให้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งเพิกถอนมติ คณะกรรมการประเมินความเสียหายที่ให้ชะลอการจ่ายเงินช่วยเหลือเพิ่มเติม เพิกถอนหนังสือ จังหวัดยะลาที่แจ้งชะลอการจ่ายเงินช่วยเหลือเพิ่มเติม และให้ผู้ถูกฟ้องคดีจ่ายเงินช่วยเหลือเพิ่มเติม ดังกล่าว เห็นว่า การที่ผู้ถูกฟ้องคดีโดยคณะกรรมการประเมินความเสียหายของทรัพย์สินจังหวัดยะลา มีมติอนุมัติจ่ายเงินช่วยเหลือให้แก่ผู้ฟ้องคดีสืบเนื่องจากมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๔๘ ในการให้ความช่วยเหลือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ความไม่สงบจังหวัด ชายแดนภาคใต้ การอนุมัติจ่ายเงินช่วยเหลือเยียวยาให้แก่ผู้ฟ้องคดี จึงเป็นคำสั่งทางปกครอง เมื่อผู้ถูกฟ้องคดีถูกคัดค้านการจ่ายเงินเยียวยา ผู้ถูกฟ้องคดีโดยคณะกรรมการประเมินความเสียหาย จึงมีมติให้ชะลอการจ่ายเงินช่วยเหลือเยียวยาเพิ่มเติมไปก่อนจนกว่าคดีเรื่องการตั้งผู้จัดการมรดก จะถึงที่สุด มติการให้ชะลอการจ่ายเงินดังกล่าวจึงเป็นคำสั่งทางปกครองเช่นกัน ดังนั้น การที่ผู้ฟ้องคดี ไม่เห็นด้วยกับคำสั่งดังกล่าว แล้วยื่นฟ้องขอให้ศาลพิพากษาหรือมีคำสั่งให้เพิกถอนมติคณะกรรมการ ประเมินความเสียหายที่ให้ชะลอการจ่ายเงินช่วยเหลือเยียวยาเพิ่มเติม และให้จ่ายเงินช่วยเหลือ เยียวยาเพิ่มเติมแก่ผู้ฟ้องคดี จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับความรับผิดอย่างอื่นของเจ้าหน้าที่รัฐอันเกิด จากการใช้อำนาจตามกฎหมาย หรือจากกฎ คำสั่งทางปกครอง หรือคำสั่งอื่น ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ อันอยู่ในอำนาจ พิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๑๑๘/๒๕๕๖ คดีที่เอกชนยื่นฟ้องหน่วยงานทางปกครองว่า ผู้ฟ้องคดีเป็นเจ้าของที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิ ซึ่งเดิมอยู่ในเกณฑ์ที่จะได้รับค่าชดเชยที่ดินกรณีได้รับผลกระทบจากโครงการฝายราษีไศล แต่เมื่อ ปักหลักแนวเขตใหม่กลับไม่อยู่ในแนวเขตชลประทาน และผู้ถูกฟ้องคดีถมดินเพื่อสร้างอาคาร สำนักงานรุกล้ำที่ดินพิพาท ขอให้จ่ายค่าเสียหายและค่าชดเชยที่ดิน ผู้ถูกฟ้องคดีโต้แย้งว่าที่ดิน อยู่นอกเขตอ่างเก็บน้ำทั้งแปลงและอยู่ในเขตที่สาธารณประโยชน์ อีกทั้งผู้ฟ้องคดีไม่ได้เข้าทำประโยชน์ ในที่ดิน จึงไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่จะได้รับค่าชดเชยตามมติคณะรัฐมนตรี เห็นว่า ความมุ่งหมาย ในการฟ้องคดีของผู้ฟ้องคดีประสงค์เรียกเงินค่าชดเชยในฐานะที่เป็นผู้ได้รับผลกระทบจาก โครงการเป็นสำคัญ มิได้มีคำขอให้ศาลพิพากษาแสดงสิทธิความเป็นเจ้าของที่ดินโต้แย้งกับรัฐ แม้ผู้ถูกฟ้องคดีจะให้การโต้แย้งว่าที่ดินเป็นที่สาธารณประโยชน์จึงไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ผู้ฟ้องคดี ผู้ฟ้องคดีไม่ได้ทำประโยชน์ในที่ดินซึ่งไม่อยู่ในหลักเกณฑ์การได้รับค่าชดเชย การอ้างเรื่องความเป็น ที่สาธารณประโยชน์ของผู้ถูกฟ้องคดีจึงเป็นเหตุผลส่วนหนึ่งประกอบกับหลักเกณฑ์ข้ออื่นที่ผู้ถูกฟ้องคดี คดีเกี่ยวกับความรับผิดอย่างอื่นที่อยู่ในเขตอำนาจของศาลปกครอง


คดีพิพาทเกี่ยวกับ เขตอำนาจของศาลปกครอง รวมย่อคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่น่าสนใจ พ.ศ. ๒๕๕๖ - ๒๕๖๕ 181 ยกขึ้นอ้างเพื่อปฏิเสธไม่จ่ายเงินค่าชดเชยตามที่ผู้ฟ้องคดีเรียกร้องมาในคำฟ้องเท่านั้น ประเด็น แห่งคดีจึงต้องวินิจฉัยเกี่ยวกับคุณสมบัติของผู้ฟ้องคดีว่าเข้าหลักเกณฑ์การจ่ายค่าชดเชยตามมติ คณะรัฐมนตรีซึ่งอยู่ในอำนาจพิจารณาและมีคำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีหรือไม่ จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับ ความรับผิดอย่างอื่นของหน่วยงานทางปกครองอันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมาย หรือจากกฎ คำสั่งทางปกครอง หรือคำสั่งอื่น ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง คดีเกี่ยวกับความรับผิดอย่างอื่นที่อยู่ในเขตอำนาจของศาลปกครอง


182 คดทีมี�ใิชค่ดพี ิพาทเกยี�วกบัความรบัผดิอยา่งอนื� เปน�คดทีอี�ยใู่นเขตอํานาจของศาลยตุธิรรม คดทีมี�ใิชค่ดพี ิพาทเกยี�วกบัความรบัผดิอยา่งอนื�ของหนว่ยงาน ทางปกครองหรอืเจา้หนา้ทขี�องรฐัตามพระราชบญัญติ ัจดั ตัง�ศาลปกครอง และวธิพี ิจารณาคดปีกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๙ วรรคหนงึ� (๓) เปน�คดี ทอี�ยใู่นเขตอํานาจของศาลยตุธิรรม


คดีพิพาทเกี่ยวกับ เขตอำนาจของศาลปกครอง รวมย่อคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่น่าสนใจ พ.ศ. ๒๕๕๖ - ๒๕๖๕ 183 คดีที่มิใช่คดีพิพาทเกี่ยวกับความรับผิดอย่างอื่นเป็นคดีที่อยู่ในเขตอำนาจของศาลยุติธรรม คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๙/๒๕๖๔ คดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดหรือความรับผิดอย่างอื่นของหน่วยงานทางปกครอง หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่จะอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ต้องเป็นคดี ที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ถูกฟ้องให้รับผิดเยียวยาความเสียหายให้แก่ผู้ฟ้องคดี โดยการชดใช้เงิน ส่งมอบทรัพย์สิน กระทำการหรืองดเว้นกระทำการ เป็นผู้ใช้อำนาจตามกฎหมาย ออกกฎ คำสั่งทางปกครองหรือคำสั่งอื่น หรือกระทำการอื่นใด หรือละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมาย กำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร โดยกฎ คำสั่งทางปกครองหรือ คำสั่งอื่น หรือการกระทำอื่น หรือการละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติ หน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควรนั้น ก่อความเสียหายให้แก่ผู้ฟ้องคดี เมื่อคดีนี้โจทก์ซึ่งเป็นหน่วยงาน ทางปกครองฟ้องขอให้จำเลยคืนเงินเดือน เงินวิทยฐานะและเงินค่าตอบแทนที่จำเลยได้รับไป โดยไม่มีสิทธิให้แก่โจทก์ โดยการที่จำเลยรับเงินดังกล่าวจากโจทก์ไปนั้น มิใช่กรณีที่จำเลยใช้อำนาจ ตามกฎหมายออกกฎ คำสั่งทางปกครอง หรือคำสั่งอื่น หรือกระทำการอื่นใด ทั้งมิใช่กรณีที่จำเลย ละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร แต่อย่างใด คดีนี้จึงไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง แต่อยู่ในอำนาจพิจารณา พิพากษาของศาลยุติธรรม * คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๑๑๗/๒๕๖๓ วินิจฉัยทำนองเดียวกันในเรื่องการฟ้อง ขอให้จำเลยคืนเงินค่าเช่าบ้านที่จำเลยได้รับไปโดยไม่มีสิทธิพร้อมดอกเบี้ย * คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๔๙ - ๕๐/๒๕๖๓ วินิจฉัยทำนองเดียวกันในเรื่อง การฟ้องขอให้คืนเงินประโยชน์ตอบแทนอื่นเป็นกรณีพิเศษอันมีลักษณะเป็นเงินรางวัลประจำปี ที่จำเลยได้รับไปโดยไม่มีสิทธิ * คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๑๖๓/๒๕๖๑ วินิจฉัยทำนองเดียวกันในเรื่องการฟ้อง ขอให้คืนเงินค่าลงทะเบียนที่ได้รับไปโดยไม่มีสิทธิพร้อมดอกเบี้ย * คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๘๑/๒๕๖๑ วินิจฉัยทำนองเดียวกันในเรื่องการฟ้อง ขอให้คืนเงินสะสม เงินสมทบและผลประโยชน์ตอบแทนเงินดังกล่าวที่ได้รับไปโดยไม่มีสิทธิ * คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๕๘/๒๕๖๑ วินิจฉัยทำนองเดียวกันในเรื่องการฟ้อง ขอให้คืนเงินสมทบและผลประโยชน์ตอบแทนเงินดังกล่าวที่ได้รับไปโดยไม่มีสิทธิ * คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๒๙/๒๕๖๐ วินิจฉัยทำนองเดียวกันในเรื่องการฟ้อง ขอให้คืนเงินเดือน เงินประจำตำแหน่งและเงินค่าตอบแทนพิเศษที่ได้รับโดยไม่มีสิทธิ คดีที่มิใช่คดีพิพาทเกี่ยวกับความรับผิดอย่างอื่นเป็นคดีที่อยู่ในเขตอำนาจของศาลยุติธรรม


184 * คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๙๘/๒๕๕๙ วินิจฉัยทำนองเดียวกันในเรื่องการฟ้อง ขอให้คืนเงินเดือนและเงินตอบแทนพิเศษที่จำเลยได้รับไปเกินสิทธิแก่โจทก์ * คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๑๙/๒๕๕๙ วินิจฉัยทำนองเดียวกันในเรื่องการฟ้อง ขอให้คืนเงินค่ารักษาพยาบาลที่เบิกเกินสิทธิแก่โจทก์ คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๙๙/๒๕๖๓ คดีที่สำนักงานศาลปกครอง โจทก์ ซึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครอง ยื่นฟ้องจำเลยซึ่งเป็น ข้าราชการในสังกัดคืนเงินค่าเช่าบ้านที่ได้รับไปโดยไม่มีสิทธิพร้อมดอกเบี้ย สืบเนื่องมาจากการที่ ศาลปกครองสูงสุดมีคำพิพากษาในคดีหมายเลขแดงที่ อ. ๔๒๔/๒๕๖๑ วินิจฉัยว่า ตามระเบียบ คณะกรรมการข้าราชการฝ่ายศาลปกครอง ว่าด้วยค่าเช่าบ้านข้าราชการฝ่ายศาลปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๕ กำหนดให้ข้าราชการที่มีสิทธิเบิกค่าเช่าบ้านได้นั้นจะต้องเป็นข้าราชการซึ่งได้รับคำสั่งให้เดินทางไป ปฏิบัติหน้าที่ที่สำนักงานในต่างท้องที่กับท้องที่เริ่มรับราชการครั้งแรก และท้องที่ที่เริ่มรับราชการ ครั้งแรกจะต้องเป็นท้องที่ที่สำนักงานได้เปิดทำการแล้ว โดยพบว่าจำเลยเป็นผู้ได้รับอนุมัติสิทธิ การเบิกจ่ายค่าเช่าบ้านโดยไม่ชอบตามแนวคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุดดังกล่าว มิใช่คดีพิพาท เกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยมิชอบด้วยกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นการออกกฎ คำสั่ง หรือการกระทำอื่นใด ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ แต่เป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิด หรือความรับผิดอย่างอื่นของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ อย่างไรก็ตาม คดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดหรือความรับผิดอย่างอื่นของหน่วยงาน ทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่จะอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองตาม มาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ต้องเป็นคดีที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ถูกฟ้องให้รับผิดเยียวยา ความเสียหายให้แก่ผู้ฟ้องคดีโดยการชดใช้เงิน ส่งมอบทรัพย์สิน กระทำการหรืองดเว้นกระทำการ เป็นผู้ใช้อำนาจตามกฎหมายออกกฎ คำสั่งทางปกครองหรือคำสั่งอื่น หรือกระทำการอื่นใด หรือ ละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร โดยกฎ คำสั่งทางปกครองหรือคำสั่งอื่น หรือการกระทำอื่น หรือการละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมาย กำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร นั้น ก่อความเสียหายให้แก่ผู้ฟ้องคดี เมื่อคดีนี้โจทก์ซึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครองฟ้องขอให้จำเลยคืนเงินค่าเช่าบ้านที่จำเลยได้รับไป โดยไม่มีสิทธิพร้อมดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ โดยการที่จำเลยรับเงินดังกล่าวจากโจทก์ไปนั้น มิใช่กรณีที่ จำเลยใช้อำนาจตามกฎหมายออกกฎ คำสั่งทางปกครองหรือคำสั่งอื่น หรือกระทำการอื่นใด ทั้งมิใช่ กรณีที่จำเลยละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้า เกินสมควรแต่อย่างใด คดีนี้จึงไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง แต่อยู่ในอำนาจ พิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม คดีที่มิใช่คดีพิพาทเกี่ยวกับความรับผิดอย่างอื่นเป็นคดีที่อยู่ในเขตอำนาจของศาลยุติธรรม


คดีพิพาทเกี่ยวกับ เขตอำนาจของศาลปกครอง รวมย่อคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่น่าสนใจ พ.ศ. ๒๕๕๖ - ๒๕๖๕ 185 คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๖๖/๒๕๕๙ คดีที่กองทัพบกฟ้องจำเลยซึ่งเป็นอดีตข้าราชการในสังกัด เพื่อเรียกคืนเงินเบี้ยหวัด เงินบำนาญ เงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ช.ค.บ.) และเงินบำเหน็จดำรงชีพ ที่ได้รับไป โดยไม่มีสิทธิหรือเกินสิทธิพร้อมดอกเบี้ย เห็นว่า คดีพิพาทเกี่ยวกับความรับผิดอย่างอื่นของหน่วยงาน ทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครอง และวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ นั้น เป็นหลักกฎหมายเกี่ยวกับความรับผิดของรัฐโดยปราศจาก ความผิด ซึ่งมีเจตนารมณ์ในการคุ้มครองและเยียวยาความเสียหายให้แก่เอกชนจากการใช้อำนาจ ของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ อันเนื่องมาจากการดำเนินกิจการทางปกครอง หรือบริการสาธารณะแล้วก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชนเป็นพิเศษ แม้จะเป็นการกระทำ โดยชอบด้วยกฎหมายก็ตาม บทบัญญัตินี้จึงให้สิทธิเฉพาะเอกชนเท่านั้นในการฟ้องขอให้รัฐรับผิด เมื่อคดีนี้โจทก์ซึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครองฟ้องขอให้จำเลยคืนเงินเบี้ยหวัด เงินบำนาญ ช.ค.บ. และเงินบำเหน็จดำรงชีพที่ได้รับไปโดยไม่มีสิทธิหรือเกินสิทธิแก่โจทก์ จึงเป็นกรณีที่รัฐฟ้องคดี โดยใช้สิทธิเรียกร้องเอาแก่อดีตข้าราชการของตนในฐานะเอกชนคนหนึ่งซึ่งไม่เข้าหลักเกณฑ์ ของคดีพิพาทเกี่ยวกับความรับผิดอย่างอื่นของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) เมื่อตามคำฟ้องของโจทก์ไม่เข้าลักษณะคดีพิพาท อันอยู่ในอำนาจพิจารณา พิพากษาของศาลปกครอง ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและ วิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ กรณีจึงเป็นเรื่องที่โจทก์ซึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครองต้องใช้สิทธิ ฟ้องเรียกเงินคืนจากจำเลยต่อศาลยุติธรรมซึ่งเป็นศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีทั้งปวงที่ไม่มี กฎหมายบัญญัติให้อยู่ในอำนาจของศาลอื่น * คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๑๘/๒๕๕๙ และ ๘๑/๒๕๕๘ ถึง ๘๓/๒๕๕๘ วินิจฉัยทำนองเดียวกัน คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๑๖/๒๕๕๙ คดีที่บริษัทท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) โจทก์ ยื่นฟ้องเอกชน จำเลย ขอให้ชำระ ค่าธรรมเนียมในการขึ้นลงของเครื่องบินและค่าธรรมเนียมที่เก็บเครื่องบินตามข้อตกลงใช้ทรัพย์สิน บริการ และสิ่งอำนวยความสะดวก เลขที่ ๑๒/๒๕๔๗ เห็นว่า โจทก์เคยเป็นรัฐวิสาหกิจที่ได้จัดตั้งขึ้น ตามพระราชบัญญัติ แต่ต่อมาได้ผ่านการแปลงสภาพตามกฎหมายว่าด้วยทุนรัฐวิสาหกิจ ให้กลายมา เป็นบริษัทมหาชนจำกัด โจทก์จะเป็นหน่วยงานทางปกครองได้ก็ต่อเมื่อโจทก์ได้กระทำกิจการบางอย่าง ตามที่กฎหมายมอบหมายให้ใช้อำนาจทางปกครองหรือการดำเนินกิจการทางปกครองเท่านั้น เมื่อพิจารณาข้อตกลงการใช้ทรัพย์สิน บริการและสิ่งอำนวยความสะดวกพิพาท มีลักษณะเป็นสัญญา อย่างหนึ่งที่โจทก์ตกลงให้จำเลยได้รับบริการและใช้ทรัพย์สินของโจทก์ โดยจำเลยยินยอมชำระ ค่าตอบแทน อันเป็นการประกอบกิจการเชิงพาณิชย์ของโจทก์ ทั้งการกำหนดแบบและรายละเอียด คดีที่มิใช่คดีพิพาทเกี่ยวกับความรับผิดอย่างอื่นเป็นคดีที่อยู่ในเขตอำนาจของศาลยุติธรรม


186 ของข้อตกลงก็เป็นการผูกนิติสัมพันธ์บนพื้นฐานความเท่าเทียมกันของคู่สัญญา การทำข้อตกลงดังกล่าว ของโจทก์จึงมิได้มีลักษณะเป็นการใช้อำนาจทางปกครองหรือดำเนินกิจการทางปกครองตามที่ได้รับ มอบหมาย จึงไม่ใช่การกระทำในฐานะที่เป็นหน่วยงานทางปกครองตามบทนิยามของมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ข้อตกลงการใช้ ทรัพย์สิน บริการ และสิ่งอำนวยความสะดวกพิพาท จึงมิใช่สัญญาที่คู่สัญญาอย่างน้อยฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง เป็นหน่วยงานทางปกครองหรือเป็นบุคคลซึ่งกระทำการแทนรัฐ และมีลักษณะเป็นสัญญาสัมปทาน สัญญาที่ให้จัดทำบริการสาธารณะ หรือจัดให้มีสิ่งสาธารณูปโภคหรือแสวงประโยชน์จากทรัพยากร ธรรมชาติ ตามบทนิยามสัญญาทางปกครอง ตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครอง และวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ อันจะอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง หากแต่เป็นสัญญาทางแพ่งที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม นอกจากนี้ ข้อตกลงดังกล่าวเป็นเพียงเงื่อนไขในการตกลงเรื่องค่าธรรมเนียมระหว่าง ผู้ให้บริการและผู้ใช้บริการ ไม่มีผลเปลี่ยนแปลงสาระสำคัญของข้อพิพาทตามสัญญาทางแพ่ง ให้กลายเป็นเรื่องการกระทำทางปกครองไปได้ การเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการใช้บริการของโจทก์ ในคดีนี้ จึงเป็นการใช้สิทธิตามข้อตกลงของคู่สัญญามิได้เป็นการใช้อำนาจตามกฎหมาย ทั้งข้อเท็จจริง ในคดีนี้เป็นเรื่องการฟ้องให้เอกชนรับผิดจากการผิดข้อตกลง จึงไม่เข้าหลักเกณฑ์ความรับผิดอย่างอื่น ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ คดีที่มิใช่คดีพิพาทเกี่ยวกับความรับผิดอย่างอื่นเป็นคดีที่อยู่ในเขตอำนาจของศาลยุติธรรม


คดีพิพาทเกี่ยวกับ เขตอำนาจของศาลปกครอง รวมย่อคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่น่าสนใจ พ.ศ. ๒๕๕๖ - ๒๕๖๕ 187 รวมย่อคําวินิจฉัย คดีพิพาทเกี�ยวกับสัญญา คดพี ิพาทเกยี�วกบัสญัญาทางปกครอง ตามพระราชบญัญตัจิดั ตัง� ศาลปกครองและวธิพี ิจารณาคดปีกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๙ วรรคหนงึ� (๔) อยใู่นเขตอํานาจของศาลปกครอง คดพี ิพาทเกยี�วกบัสญัญาทางปกครอง อยใู่นเขตอํานาจของศาลปกครอง


188 คดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง อยู่ในเขตอำนาจของศาลปกครอง คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๗๘/๒๕๖๕ คดีนี้ บริษัท อ. โจทก์ ยื่นฟ้อง บริษัท ส. ที่ ๑ การทางพิเศษแห่งประเทศไทย ที่ ๒ จำเลย ขอให้จำเลยทั้งสองรับผิดในมูลหนี้ตามสัญญาโอนสิทธิการชำระหนี้ในงานติดตั้งระบบเก็บเงิน ค่าผ่านทางแบบเงินสด (Manual) ทางพิเศษบูรพาวิถีและทางเชื่อมต่อ และสัญญาซื้อขายสินค้า ศาลแพ่งและศาลปกครองกลางมีความเห็นพ้องกันว่า คดีในส่วนที่ฟ้องให้รับผิดตามมูลหนี้สัญญา ซื้อขายสินค้าระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ ๑ เป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางแพ่งซึ่งอยู่ในอำนาจ พิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม คำฟ้องในข้อหานี้จึงไม่เป็นกรณีเขตอำนาจศาลขัดแย้งกัน ตามมาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ ที่คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลจะรับวินิจฉัย คดีคงมีปัญหาต้องวินิจฉัยเฉพาะคำฟ้องเกี่ยวกับสัญญาโอนสิทธิการชำระหนี้ของจำเลยที่ ๑ ในฐานะผู้รับจ้างงานติดตั้งระบบเก็บเงินค่าผ่านทางแบบเงินสด (Manual) ทางพิเศษบูรพาวิถี และทางเชื่อมต่อที่จะได้รับเงินค่าจ้างจากจำเลยที่ ๒ ซึ่งโจทก์อ้างว่า จำเลยที่ ๑ ได้ทำสัญญาโอนสิทธิ การชำระหนี้ โดยกำหนดให้จำเลยที่ ๑ ยอมให้โจทก์เป็นผู้มีสิทธิเรียกร้องจากจำเลยที่ ๒ โดยตรง ซึ่งจำเลยที่ ๑ ได้ทำหนังสือบอกกล่าวแจ้งการโอนสิทธิรับเงินไปยังผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทย ทราบแล้ว แต่จำเลยที่ ๒ ไม่ชำระเงินให้แก่โจทก์ตามหนังสือสัญญาโอนสิทธิ กรณีจึงเป็นข้อพิพาท เกี่ยวด้วยสัญญาจ้างเหมาติดตั้งระบบเก็บเงินค่าผ่านทาง ในงานติดตั้งระบบเก็บเงินค่าผ่านทาง แบบเงินสด (Manual) ทางพิเศษบูรพาวิถีและทางเชื่อมต่อ ระหว่างจำเลยที่ ๑ และจำเลยที่ ๒ แต่โดยที่พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๔) บัญญัติให้ศาลปกครองมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครองเท่านั้น กรณีมีปัญหาต้องพิจารณาว่า สัญญาดังกล่าวเป็นสัญญาทางปกครองหรือไม่ เห็นว่า คดีนี้ การทางพิเศษ แห่งประเทศไทย จำเลยที่ ๒ เป็นนิติบุคคลประเภทรัฐวิสาหกิจ จัดตั้งขึ้นตามมาตรา ๖ แห่งพระราชบัญญัติ การทางพิเศษแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๕๐ เรียกโดยย่อว่า กทพ. มีวัตถุประสงค์ในการสร้าง หรือจัดให้มีทางพิเศษด้วยวิธีใด ๆ ตลอดจนบำรุงและรักษาทางพิเศษ รวมทั้งดำเนินงานหรือธุรกิจ เกี่ยวกับทางพิเศษ และธุรกิจอื่นที่เกี่ยวเนื่องกับทางพิเศษหรือที่เป็นประโยชน์แก่ กทพ. ตามมาตรา ๘ แห่งพระราชบัญญัติเดียวกัน จึงมีฐานะเป็น “หน่วยงานทางปกครอง” ตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ สัญญาจ้างเหมาติดตั้งระบบเก็บเงิน ค่าผ่านทางฯ ระหว่างจำเลยที่ ๑ และจำเลยที่ ๒ จึงเป็นสัญญาที่มีคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งเป็นหน่วยงาน ทางปกครอง การที่จำเลยที่ ๒ ตกลงทำสัญญากับจำเลยที่ ๑ โดยมีวัตถุประสงค์ให้จำเลยที่ ๑ คดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญา คดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง อยู่ในเขตอำนาจของศาลปกครอง


คดีพิพาทเกี่ยวกับ เขตอำนาจของศาลปกครอง รวมย่อคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่น่าสนใจ พ.ศ. ๒๕๕๖ - ๒๕๖๕ 189 เข้าดำเนินการติดตั้งระบบเก็บเงินค่าผ่านทางแบบเงินสด (Manual) ทางพิเศษบูรพาวิถีและ ทางเชื่อมต่อ ซึ่งถือว่าเป็นสาธารณูปโภคที่รัฐจัดให้มีขึ้นเพื่ออำนวยประโยชน์แก่ประชาชน และประชาชน สามารถเข้าใช้ประโยชน์ได้โดยตรง สัญญาจ้างเหมาติดตั้งระบบเก็บเงินค่าผ่านทางฯ ระหว่างจำเลยที่ ๑ และจำเลยที่ ๒ จึงเป็นสัญญาที่จัดให้มีสิ่งสาธารณูปโภคสาธารณะ สัญญาดังกล่าวจึงเป็นสัญญา ทางปกครองตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ดังนั้น เมื่อข้อพิพาทตามสัญญาโอนสิทธิเรียกร้องระหว่างโจทก์และจำเลยที่ ๑ เป็นข้อพิพาทอันเกี่ยวด้วยสัญญาจ้างงานติดตั้งระบบเก็บค่าผ่านทางแบบเงินสด (Manual) ทางพิเศษบูรพาวิถีและทางเชื่อมต่อ ระหว่างจำเลยที่ ๑ และจำเลยที่ ๒ ซึ่งเป็นสัญญาทางปกครอง ข้อพิพาทในคดีนี้จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครองตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๔) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ที่อยู่ในอำนาจ พิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๖๔/๒๕๖๕ คดีนี้ การเคหะแห่งชาติ โจทก์ ยื่นฟ้อง บริษัท ร. ที่ ๑ ธนาคาร ก. ที่ ๒ จำเลย ว่า โจทก์ ได้ทำสัญญาให้จำเลยที่ ๑ เช่าเหมาอาคารและบริหารชุมชน จำเลยที่ ๒ เข้าทำสัญญาค้ำประกัน การเช่าเหมาของจำเลยที่ ๑ โดยจำเลยที่ ๒ ยินยอมร่วมรับผิดกับจำเลยที่ ๑ ในหนี้ตามสัญญาเช่าเหมา หลังสัญญาสิ้นสุดลงจำเลยที่ ๑ ยังคงครอบครองทรัพย์สินที่เช่าและใช้ประโยชน์ในทรัพย์สินนั้น ตลอดมาอันเป็นการผิดสัญญาเช่า ขอให้บังคับขับไล่จำเลยที่ ๑ และบริวารออกจากที่ดินและ อาคารพิพาท โดยให้จำเลยที่ ๑ ส่งมอบที่ดินและอาคารพิพาทคืนในสภาพเรียบร้อยปราศจาก การชำรุดบกพร่องและการรอนสิทธิ คดีนี้จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญา มีปัญหาต้องวินิจฉัยว่า คดีนี้ เป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาที่อยู่ในอำนาจของศาลยุติธรรมหรือศาลปกครอง เห็นว่า การเคหะแห่งชาติ โจทก์ เป็นรัฐวิสาหกิจจัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติการเคหะแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๓๗ จึงเป็นหน่วยงาน ทางปกครองตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ซึ่งมาตรา ๖ แห่งพระราชบัญญัติการเคหะแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๓๗ บัญญัติให้โจทก์ มีวัตถุประสงค์และอำนาจหน้าที่ทั้งในลักษณะที่เป็นการใช้อำนาจทางปกครอง และในลักษณะของ การดำเนินการที่เป็นการประกอบกิจการในเชิงธุรกิจซึ่งเป็นเรื่องทางแพ่งและการจัดให้มีเคหะเพื่อให้ ประชาชนได้มีที่อยู่อาศัย รวมตลอดถึงจัดให้มีสาธารณูปโภค สาธารณูปการ และสิ่งอำนวยความสะดวก แก่ผู้อยู่อาศัย ทำนุบำรุง ปรับปรุง และพัฒนาบรรดาเคหะดังกล่าว รวมทั้งพัฒนาผู้อยู่อาศัยให้มี คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ทั้งในทางสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม เป็นการจัดทำบริการสาธารณะ ของโจทก์ การที่โจทก์ตกลงทำสัญญาให้จำเลยที่ ๑ เช่าเหมาอาคารและบริหารชุมชน เพื่อให้จำเลยที่ ๑ นำไปบรรจุผู้เช่าช่วงเพื่อการอยู่อาศัย และให้จำเลยที่ ๑ บริหารจัดการชุมชนรวมถึงดูแลระบบ สาธารณูปโภคภายในโครงการ เพื่อให้ประชาชนที่อยู่อาศัยภายในโครงการมีสภาพความเป็นอยู่ สิ่งแวดล้อมและสังคมที่ดี โดยสัญญามีข้อกำหนดให้จำเลยที่ ๑ ผู้เช่านำทรัพย์สินออกให้ผู้เช่าช่วง คดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง อยู่ในเขตอำนาจของศาลปกครอง


190 เช่าได้ในอัตราสูงสุดไม่เกินอัตราที่โจทก์ผู้ให้เช่ากำหนด อันเป็นข้อตกลงที่จำกัดเสรีภาพของเอกชน คู่สัญญาในการกำหนดราคาค่าเช่าได้โดยเสรี ซึ่งแตกต่างจากสัญญาเช่าระหว่างเอกชนกับเอกชน ทั้งนี้เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของโจทก์ในการจัดให้ประชาชนมีที่อยู่อาศัยในราคาถูก และพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้เช่าช่วงให้อยู่อาศัยในชุมชนที่มีมาตรฐานและมีสภาพแวดล้อม ที่เหมาะสม ซึ่งเป็นภารกิจในการจัดทำบริการสาธารณะของโจทก์ สัญญาพิพาทจึงเป็นการให้จำเลยที่ ๑ เข้าร่วมจัดทำบริการสาธารณะกับโจทก์ อันมีลักษณะเป็นสัญญาทางปกครอง ตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ที่อยู่ในอำนาจ พิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง ส่วนสัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ ๒ เกี่ยวกับการค้ำประกัน ซึ่งเป็นสัญญาอุปกรณ์ของสัญญาเช่าเหมาอาคารและบริหารชุมชน สัญญาประธานซึ่งอยู่ในอำนาจ พิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง สัญญาค้ำประกันระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ ๒ จึงอยู่ในอำนาจ พิจารณาพิพากษาของศาลปกครองเช่นเดียวกัน คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๖๒/๒๕๖๕ คดีที่โจทก์ยื่นฟ้อง มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย จำเลย ว่า โจทก์เป็นลูกจ้างจำเลย ตำแหน่งเจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป อัตราเงินเดือนสุดท้ายเดือนละ ๑๕,๑๘๔ บาท จำเลยไม่ต่อสัญญาจ้าง และให้โจทก์หยุดปฏิบัติหน้าที่ โดยมิได้กระทำความผิด และไม่มีการบอกกล่าวล่วงหน้าในเวลาอันควร เป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ขอให้บังคับจำเลยชำระค่าจ้าง ค่าชดเชย และค่าเสียหายจากการเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรมพร้อมดอกเบี้ย คดีนี้จึงเป็นคดีพิพาท เกี่ยวกับสัญญา คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยว่าคดีนี้เป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาที่อยู่ในอำนาจของ ศาลยุติธรรมหรือศาลปกครอง เห็นว่า มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย จำเลย เป็นมหาวิทยาลัย ของรัฐ มีฐานะเป็นนิติบุคคล และมีวัตถุประสงค์ตามมาตรา ๖ และมาตรา ๗ แห่งพระราชบัญญัติ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๔๐ อันเป็นการจัดทำบริการสาธารณะด้านการศึกษา จำเลยจึงเป็นหน่วยงานทางปกครองตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและ วิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ เมื่อสัญญาพิพาทในคดีนี้เป็นสัญญาที่จำเลยว่าจ้างโจทก์ ให้ปฏิบัติหน้าที่สนับสนุนการศึกษาด้านธุรการ ในตำแหน่งเจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไปของวิทยาลัย ศาสนศาสตร์ยโสธร ซึ่งเป็นวิทยาเขตของจำเลย โดยมีข้อบังคับมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ว่าด้วยการบริหารงานบุคคล พ.ศ. ๒๕๔๑ และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ แห่งพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๔๐ กำหนดหลักเกณฑ์เรื่องการบริหาร งานบุคคลของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยไว้เป็นการเฉพาะ ซึ่งแสดงให้เห็นเจตนารมณ์ ของกฎหมายในการจัดระบบการบริหารงานบุคลากรภาครัฐอันเป็นความสัมพันธ์ตามกฎหมายมหาชน ออกจากการบริหารงานบุคคลภาคเอกชน ทั้งนี้ เพื่อให้บรรลุผลภารกิจของหน่วยงานทางปกครอง ในเรื่องการบริการสาธารณะ สัญญาดังกล่าวจึงเป็นสัญญาที่มีคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งเป็นหน่วยงาน ทางปกครองและมีวัตถุประสงค์แห่งสัญญาเป็นการให้โจทก์เข้าร่วมจัดทำบริการสาธารณะด้านการศึกษา คดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง อยู่ในเขตอำนาจของศาลปกครอง


Click to View FlipBook Version