The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by iprd.pic, 2023-09-19 04:15:14

รวมย่อคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่น่าสนใจ พ.ศ. ๒๕๕๖ - ๒๕๖๕

29. winijchai66_A

คดีพิพาทที่อยู่ในเขตอำนาจ ของศาลยุติธรรม รวมย่อคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่น่าสนใจ พ.ศ. ๒๕๕๖ - ๒๕๖๕ 41 อสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืนดังกล่าวทำให้ได้รับความเสียหายเป็นพิเศษ โดยรัฐจะต้องรับผิดชดใช้ ค่าเสียหายที่เกิดขึ้น ตามหลักกฎหมายเกี่ยวกับความรับผิดของรัฐโดยปราศจากความผิด เมื่อคดีนี้ โจทก์ซื้อที่ดินพิพาทภายหลังจากถูกเวนคืนแล้วมาฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองชดใช้ค่าเสียหาย จากการที่โจทก์ไม่สามารถใช้ประโยชน์ในที่ดินพิพาทเนื่องจากถูกจำเลยทั้งสองสร้างทางหลวงแผ่นดิน ทับที่ดินพิพาท มูลความแห่งคดีจึงไม่ใช่กรณีที่โจทก์ซึ่งเป็นเอกชนเจ้าของที่ดินที่ถูกเวนคืนฟ้อง เรียกค่าเวนคืนหรือไม่พอใจค่าเวนคืนจากการที่จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครองและเจ้าหน้าที่ ของรัฐใช้อำนาจตามกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อจัดทำทางหลวงแผ่นดิน อันจะ เป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับความรับผิดอย่างอื่นของหน่วยงานทางปกครองอันเกิดจากการใช้อำนาจ ตามกฎหมาย ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณา คดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ แต่เป็นกรณีที่โจทก์กับจำเลยทั้งสองโต้แย้งกันเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน ซึ่งการที่ศาลจะมีคำพิพากษาหรือคำสั่งตามที่โจทก์มีคำขอได้นั้น ศาลจำต้องพิจารณาให้ได้ความเสียก่อน ว่าที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์หรือเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน แล้วจึงจะพิจารณาประเด็นอื่น ได้ต่อไป คดีนี้จึงเป็นการฟ้องขอให้ศาลมีคำพิพากษารับรองคุ้มครองสิทธิในที่ดินของโจทก์ อันอยู่ใน อำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๑๗๓/๒๕๖๐ คดีที่ผู้ฟ้องคดีทั้งสองฟ้องสำนักงานที่ดินจังหวัดหนองคาย ที่ ๑ องค์การบริหารส่วนตำบล พระบาทนาสิงห์ ที่ ๒ ผู้ถูกฟ้องคดี ซึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครองว่า ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ บุกรุกเข้ามา ทำถนนทางเข้าออกสำนักงานของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ในที่ดินของผู้ฟ้องคดีทั้งสองซึ่งไม่ใช่ที่ดินแปลงที่ ผู้ฟ้องคดีที่ ๒ อุทิศให้ ขอให้ศาลพิพากษาหรือมีคำสั่งให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ เพิกถอนแบบการแจ้ง การครอบครองที่ดิน (ส.ค. ๑) และเพิกถอนที่ดินของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ แปลงพิพาทที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ใช้เป็นทางเข้าสำนักงานของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ และให้ผู้ฟ้องคดีได้สิทธิครอบครองในที่ดินแปลงพิพาท องค์การบริหารส่วนตำบลพระบาทนาสิงห์ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ให้การว่า ได้รับการอุทิศที่ดินดังกล่าว จากผู้ฟ้องคดีที่ ๒ ตั้งแต่ปี ๒๕๔๖ จึงไม่อาจทราบได้ว่าที่ดินดังกล่าวตรงกับที่บริจาคหรือไม่ แต่ผู้ฟ้องคดี ที่ ๒ ได้แสดงเจตนาสละการครอบครองให้แก่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ตรงกับแผนที่สังเขปที่ผู้ฟ้องคดีที่ ๒ ได้แสดงเจตนาไว้ ในระหว่างก่อสร้างอาคารที่ทำการของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ บนที่ดินบริจาคดังกล่าว ผู้ฟ้องคดีทั้งสองไม่โต้แย้งหรือดำเนินการทางศาลแต่อย่างใด จึงถือว่าผู้ฟ้องคดีที่ ๒ อุทิศที่ดินดังกล่าว เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินโดยปริยาย ดังนี้ ประเด็นข้อพิพาทที่จะต้องวินิจฉัยในคดีนี้จึงมีเพียงว่า ที่ดินที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ได้ก่อสร้างทางเข้าออกสำนักงานของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ นั้น เป็นที่ดินของผู้ฟ้องคดี ที่ ๑ หรือเป็นที่ดินที่ผู้ฟ้องคดีที่ ๒ อุทิศให้แก่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ทั้งเมื่อพิจารณาคำขอของผู้ฟ้องคดีที่ ๑ ที่ขอให้เพิกถอนที่ดินแปลงพิพาทที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ใช้เป็นทางเข้าออกสำนักงานของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ และให้ผู้ฟ้องคดีที่ ๑ ได้สิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท ก็พอเข้าใจเจตนาของผู้ฟ้องคดีที่ ๑ ในการฟ้องคดีนี้ว่า ประสงค์จะให้ศาลพิพากษารับรองสิทธิในที่ดินของตน โดยไม่ปรากฏว่าผู้ฟ้องคดีที่ ๑ มีคำขอให้ คดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน


42 ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ยุติการก่อสร้าง หรือชดใช้ค่าเสียหาย อันจะถือเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิด เมื่อคดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยว่า ที่ดินพิพาทเป็นของผู้ฟ้องคดีที่ ๑ หรือองค์การบริหารส่วนตำบล ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน ที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๑๗๐/๒๕๖๐ คดีนี้ผู้ฟ้องคดีเป็นเอกชนยื่นฟ้องเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดสุพรรณบุรี ที่ ๑ เจ้าพนักงานที่ดิน จังหวัดสุพรรณบุรี สาขาอู่ทอง ที่ ๒ อธิบดีกรมที่ดิน ที่ ๓ ผู้ถูกฟ้องคดี ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐว่า ผู้ฟ้องคดีครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิ ต่อจากเจ้าของที่ดินเดิมซึ่งครอบครอง ทำประโยชน์มาก่อนที่ประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ มีคำวินิจฉัยยืนตามคำสั่ง ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ที่ไม่รับคำขอออกโฉนดที่ดินในที่ดินพิพาทให้แก่ผู้ฟ้องคดีโดยอ้างว่าไม่ปรากฏ พยานหลักฐานว่า ผู้ฟ้องคดีครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินอยู่ก่อนวันที่ประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับ และจากการตรวจสอบพบว่าที่ดินดังกล่าวอยู่ใน น.ส.ล. เลขที่ ๑๑๘๒/๒๕๐๖ ขอให้ศาลมีคำพิพากษา เพิกถอนคำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และที่ ๒ พร้อมทั้งให้ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสามออกโฉนดที่ดินให้แก่ ผู้ฟ้องคดี และให้ศาลพิพากษาเพิกถอน น.ส.ล. เลขที่ ๑๑๘๑/๒๕๐๖ และเลขที่ ๑๑๘๒/๒๕๐๖ ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสามให้การทำนองเดียวกันว่า ผู้ฟ้องคดียื่นคำขอออกโฉนดที่ดินโดยไม่มีหลักฐาน แจ้งการครอบครองที่ดิน จึงไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่จะรับคำขอออกโฉนดที่ดินได้ การออก น.ส.ล. เลขที่ ๑๑๘๑/๒๕๐๖ และ ๑๑๘๒/๒๕๐๖ ออกโดยชอบด้วยกฎหมาย ที่ดินที่ผู้ฟ้องคดีกล่าวอ้าง เป็นส่วนหนึ่งของที่ดินตาม น.ส.ล. เลขที่ ๑๑๘๑/๒๕๐๖ และ ๑๑๘๒/๒๕๐๖ ซึ่งปัจจุบันได้มี พระราชกฤษฎีกาถอนสภาพที่ดินจากที่ทำเลเลี้ยงสัตว์อันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับ พลเมืองใช้ร่วมกันในท้องที่ตำบลอู่ทอง อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี พ.ศ. ๒๕๑๖ และมอบให้ เป็นอำนาจหน้าที่ของทบวงการเมืองคืออำเภออู่ทอง ดำเนินการจัดหาผลประโยชน์แต่ไม่ให้ได้กรรมสิทธิ์ ขอให้ยกฟ้อง เห็นว่า คดีนี้แม้ผู้ฟ้องคดีจะมีคำขอให้เพิกถอนคำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และที่ ๒ ที่ไม่ออกโฉนดที่ดินให้แก่ผู้ฟ้องคดีและขอให้เพิกถอน น.ส.ล. เลขที่ ๑๑๘๑/๒๕๐๖ และเลขที่ ๑๑๘๒/๒๕๐๖ แต่เหตุแห่งการขอให้เพิกถอนคำสั่งและ น.ส.ล. ดังกล่าว ผู้ฟ้องคดีอ้างว่าผู้ฟ้องคดี มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท และ น.ส.ล. ออกทับที่ดินที่ผู้ฟ้องคดีครอบครอง นอกจากนี้ปัจจุบัน ได้มีพระราชกฤษฎีกาถอนสภาพที่ดินจากที่ทำเลเลี้ยงสัตว์อันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ในท้องที่ดังกล่าวแล้ว จึงมีประเด็นที่ต้องวินิจฉัยว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ดินที่ผู้ฟ้องคดีมีสิทธิครอบครอง หรือยังคงเป็นที่ดินของรัฐ แม้จะมีพระราชกฤษฎีกาเพิกถอนสภาพที่ดิน จึงเป็นกรณีที่ผู้ฟ้องคดี ขอให้ศาลรับรองและคุ้มครองสิทธิในที่ดินของตน เมื่อการวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม คดีนี้จึงเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษา ของศาลยุติธรรม คดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน


คดีพิพาทที่อยู่ในเขตอำนาจ ของศาลยุติธรรม รวมย่อคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่น่าสนใจ พ.ศ. ๒๕๕๖ - ๒๕๖๕ 43 คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๑๖๘/๒๕๖๐ ผู้ฟ้องคดีเป็นเอกชนยื่นฟ้องผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสาม ซึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครอง ตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ อ้างว่า ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ว่าจ้างบริษัทเอกชนก่อสร้างท่อระบายน้ำในถนนซอยคลองหลวง ๖๐ รุกล้ำเข้ามาในที่ดินพิพาท ของผู้ฟ้องคดีและรื้อรั้วที่ผู้ฟ้องคดีล้อมไว้ออกทั้งหมด ส่วนผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ได้ปักเสาไฟฟ้ารุกล้ำ เข้ามาในที่ดินที่พิพาทของผู้ฟ้องคดีตลอดแนวที่ดิน ส่วนผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ได้ก่อสร้างห้องควบคุม เครื่องสูบน้ำและฝาตะแกรงเหล็กบ่อสูบน้ำรุกล้ำเข้ามาในที่ดินของผู้ฟ้องคดี โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย และเป็นการกระทำละเมิดต่อผู้ฟ้องคดี ขอให้ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสาม ทำให้ที่ดินและรั้วกลับคืนสู่สภาพเดิม หากไม่กระทำขอให้ชำระค่าเสียหาย ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสาม ให้การทำนองเดียวกันว่า ถนนที่พิพาท เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน ถนนที่พิพาทไม่ได้รุกล้ำที่ดินของผู้ฟ้องคดี การดำเนินการปรับปรุงถนนดังกล่าวจึงอยู่ในอำนาจหน้าที่ของผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสาม ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสาม ไม่ได้กระทำละเมิดต่อผู้ฟ้องคดี เห็นว่า ผู้ฟ้องคดีอ้างเหตุอันเป็นประเด็นสำคัญว่าผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสาม ดำเนินการปรับปรุงถนนพิพาทรุกล้ำที่ดินของผู้ฟ้องคดี แม้คำฟ้องของผู้ฟ้องคดีมีคำขอให้ผู้ถูกฟ้องคดี ทั้งสามชำระค่าเสียหายอันเนื่องมาจากการกระทำละเมิดมาด้วยก็ตาม แต่เมื่อพิจารณาคำฟ้อง ของผู้ฟ้องคดีมีความมุ่งหมายที่จะให้ศาลรับรองคุ้มครองสิทธิในที่ดินเป็นสำคัญ จึงเป็นคดีพิพาท เกี่ยวกับสิทธิในที่ดินที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๒๒/๒๕๖๐ คดีที่เอกชนยื่นฟ้องหน่วยงานทางปกครองว่า ผู้ฟ้องคดีทั้งสี่และครอบครัวเป็นเจ้าของที่ดิน มีโฉนด แต่เจ้าหน้าที่ของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ แจ้งว่าโฉนดออกทับที่ราชพัสดุ (สนามยิงเป้า) ทำให้ผู้ฟ้องคดี ทั้งสี่หลงเชื่อว่าเป็นความจริง จึงทำบันทึกคืนโฉนดที่ดินให้กลับคืนเป็นที่ราชพัสดุ ต่อมาผู้ฟ้องคดีทั้งสี่ ตรวจสอบพบว่า โฉนดที่ดินพิพาทเป็นที่ดินคนละแปลงกับที่ราชพัสดุ การคืนโฉนดที่ดินของผู้ฟ้องคดี ทั้งสี่จึงเป็นการคืนโดยสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญไม่มีผลบังคับตามกฎหมาย ขอให้คืนโฉนด ให้เพิกถอนคำสั่งเพิกถอนโฉนด และแก้ไขโฉนดที่ดินพิพาทให้เป็นเช่นเดิม หากไม่คืนหรือไม่อาจคืนได้ ขอให้ถือว่าโฉนดที่ดินพิพาทฉบับเจ้าของที่ดินสูญหาย พร้อมทั้งให้ออกโฉนดใบแทนให้แก่ผู้ฟ้องคดี ทั้งสี่ ส่วนผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสามให้การว่า ที่ดินตามโฉนดพิพาทออกทับที่ราชพัสดุ (สนามยิงเป้า) การเพิกถอนโฉนดชอบด้วยกฎหมาย ไม่มีเหตุให้เพิกถอนคำสั่ง และไม่มีเหตุที่จะต้องคืนโฉนด เห็นว่า เมื่อพิจารณาความมุ่งหมายของผู้ฟ้องคดีทั้งสี่ที่ใช้สิทธิทางศาล ก็เพื่อให้ศาลรับรองคุ้มครองสิทธิ ในที่ดินเป็นสำคัญ ดังนั้น การที่ศาลจะมีคำพิพากษาหรือคำสั่งตามคำขอได้นั้น จำต้องพิจารณาให้ ได้ความเสียก่อนว่าที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ฟ้องคดีทั้งสี่ตามที่กล่าวอ้างหรือเป็นที่ราชพัสดุ เป็นสำคัญ แล้วจึงจะพิจารณาประเด็นอื่นต่อไป จึงเป็นคดีเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน อันอยู่ในอำนาจ พิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม คดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน


44 คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๒๑/๒๕๖๐ คดีที่เอกชนเป็นโจทก์ยื่นฟ้องจำเลยที่ ๑ ซึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครองและจำเลยที่ ๒ และที่ ๓ ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐว่า ร่วมกันสร้างถนนคอนกรีตรุกล้ำที่ดินของโจทก์โฉนดเลขที่ ๑๔๐๒๖ โดยโจทก์มิได้ยินยอมยกที่ดินให้เป็นทางสาธารณะ การที่จำเลยทั้งสามทำบันทึกยินยอมชดใช้ค่าเสียหาย โดยการส่งมอบที่ดินแปลงอื่นให้ แต่จำเลยทั้งสามไม่ปฏิบัติตามข้อตกลง จึงเป็นการขอให้บังคับ จำเลยทั้งสามร่วมกันหรือแทนกันรื้อถอน ขนย้ายถนนคอนกรีตที่รุกล้ำรวมทั้งปรับปรุงที่ดินให้อยู่ใน สภาพเดิมและห้ามยุ่งเกี่ยวกับที่ดินของโจทก์ ให้นำหลักเขตที่สูญหายปักให้เรียบร้อยหรือดำเนินการ รังวัดปักหมุดบริเวณที่ก่อสร้างถนน โดยให้จำเลยทั้งสามเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายและให้ชำระค่าขาดประโยชน์ ค่าขาดประโยชน์รายวัน นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ หากไม่สามารถ ดำเนินการได้ให้ชำระค่าเสียหายเป็นค่าที่ดิน พร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ แก่โจทก์ ส่วนจำเลยทั้งสามให้การว่า โจทก์ไม่ได้โต้แย้งการก่อสร้างถนน จำเลยทั้งสามส่งมอบที่ดิน ให้แก่โจทก์ทดแทนแล้ว โจทก์ยกที่ดินมีสภาพเป็นถนนให้แก่จำเลยที่ ๑ ถนนจึงเป็นทางสาธารณประโยชน์ ประเภทพลเมืองใช้ร่วมกัน จำเลยทั้งสามจึงไม่ได้กระทำละเมิด โจทก์ไม่ได้รับความเสียหาย จึงไม่อาจเรียกค่าเสียหายได้ เห็นว่า เมื่อพิจารณาความมุ่งหมายของโจทก์ที่ฟ้องคดีต่อศาลก็เพื่อให้ ศาลรับรองหรือคุ้มครองสิทธิในที่ดินของโจทก์ แต่การที่ศาลจะมีคำพิพากษาหรือคำสั่งตามคำขอ ของโจทก์ได้นั้น จำต้องพิจารณาให้ได้ความเสียก่อนว่า ที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ตามที่ กล่าวอ้างหรือเป็นทางสาธารณประโยชน์เป็นสำคัญ แล้วจึงจะพิจารณาว่า การกระทำของจำเลยทั้งสาม เป็นการละเมิดหรือไม่ แล้วจำเลยทั้งสามต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายหรือไม่เพียงใด จึงเป็นคดีพิพาท เกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๙/๒๕๖๐ คดีที่เอกชนผู้ซื้อบ้านในโครงการหมู่บ้านจัดสรรยื่นฟ้องเอกชนเจ้าของโครงการจำเลยที่ ๑ หน่วยงานทางปกครอง จำเลยที่ ๒ ว่าได้รับความเดือดร้อนเสียหายจากการที่จำเลยที่ ๑ หลีกเลี่ยง การขออนุญาตทำการจัดสรรที่ดินในโครงการ ทำให้ไม่สามารถจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร ทั้งจำเลยที่ ๑ ทำนิติกรรมโอนที่ดินส่วนที่เป็นถนนซึ่งเป็นภาระจำยอมของโครงการให้เป็น ทางสาธารณประโยชน์ การที่เจ้าพนักงานที่ดินสังกัดจำเลยที่ ๒ รับจดทะเบียนโอนที่ดินดังกล่าว ให้เป็นทางสาธารณประโยชน์ จึงเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ขอให้เพิกถอนการโอนและ การจดทะเบียนโอนที่ดินให้เป็นทางสาธารณประโยชน์ และให้จำเลยที่ ๑ ดำเนินการดูแลสาธารณูปโภค ที่อยู่ในโครงการ จำเลยทั้งสองให้การว่า จำเลยที่ ๑ ไม่เคยตกลงไปขออนุญาตจัดสรรที่ดิน และไม่ได้ตกลงจะให้บริการสาธารณูปโภคหรือจะให้ที่ดินพิพาทตกเป็นภาระจำยอม ไม่เคยสัญญา หรือแสดงต่อสาธารณะว่าจะจัดให้โครงการเป็นหมู่บ้านจัดสรร และไม่ใช่ผู้จัดสรรที่ดิน ที่ดินพิพาท จึงไม่ตกเป็นภาระจำยอม จำเลยที่ ๑ เป็นเจ้าของที่ดินพิพาทจึงมีสิทธิโอนที่ดินให้เป็นสาธารณสมบัติ ของแผ่นดิน การโอนและการจดทะเบียนโอนชอบด้วยกฎหมาย เห็นว่า ข้อพิพาทอันเป็นประเด็น คดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน


คดีพิพาทที่อยู่ในเขตอำนาจ ของศาลยุติธรรม รวมย่อคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่น่าสนใจ พ.ศ. ๒๕๕๖ - ๒๕๖๕ 45 แห่งคดีในส่วนที่โจทก์ทั้งสามขอให้เพิกถอนการโอนและการจดทะเบียนโอนที่ดินเป็นการโต้แย้ง เกี่ยวกับที่ดินพิพาทว่า เป็นที่ดินซึ่งตกอยู่ในภาระจำยอมเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินจัดสรรตามประกาศ ของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๒๘๖ และพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. ๒๕๔๓ หรือไม่ หากที่ดิน พิพาทตกอยู่ในภาระจำยอมเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินจัดสรร ก็ต้องพิจารณาต่อไปว่าจำเลยที่ ๑ มีข้อจำกัดสิทธิในการโอนที่ดินพิพาทให้เป็นทางสาธารณประโยชน์ตามที่โจทก์ทั้งสามกล่าวอ้าง หรือไม่ ดังนั้น การที่ศาลจะพิจารณาว่า เจ้าหน้าที่สังกัดจำเลยที่ ๒ ซึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครอง รับจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทเป็นทางสาธารณประโยชน์โดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ อันจะเป็นเหตุ ให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนและการจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทตามคำขอของโจทก์ทั้งสามได้นั้น ศาลจำต้องพิจารณาให้ได้ความเสียก่อนว่า ที่ดินพิพาทตกอยู่ในภาระจำยอมเพื่อประโยชน์แก่ที่ดิน ของโจทก์ทั้งสามซึ่งมีข้อจำกัดสิทธิในการโอนให้เป็นทางสาธารณประโยชน์ตามที่โจทก์ทั้งสามกล่าวอ้าง หรือไม่เป็นสำคัญ เมื่อมูลความแห่งคดีในส่วนนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับสถานะทางกฎหมายของที่ดินพิพาท และสิทธิของจำเลยที่ ๑ ในการโอนที่ดินพิพาทอันเป็นทรัพย์สินของตน จึงเป็นข้อพิพาทเกี่ยวกับสิทธิ ในที่ดิน ซึ่งอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม ส่วนข้อพิพาทตามคำขอของโจทก์ทั้งสาม ที่ขอให้ศาลมีคำบังคับให้จำเลยที่ ๑ ดำเนินการดูแลสาธารณูปโภคที่อยู่ในโครงการนั้น เป็นข้อพิพาท ระหว่างเอกชนกับเอกชนด้วยกัน จึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรมเช่นกัน คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๑๐๗/๒๕๕๙ คดีที่วัดผู้ฟ้องคดียื่นฟ้องอ้างว่า ครอบครองที่ดินจนเป็นที่ธรณีสงฆ์ แต่ถูกเจ้าหน้าที่ และหน่วยงานทางปกครองผู้ถูกฟ้องคดีออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวง (น.ส.ล.) ทับที่ดิน โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ขอให้เพิกถอน ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสี่ให้การว่า การออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวง ชอบด้วยกฎหมายแล้ว ที่ดินพิพาทเป็นที่สาธารณประโยชน์และเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน สำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน มิใช่ที่ธรณีสงฆ์ เห็นว่า การที่ศาลจะมีคำพิพากษาหรือคำสั่งดังกล่าวได้นั้น จำต้องพิจารณาให้ได้ความเสียก่อนว่า ที่ดินพิพาทเป็นของผู้ฟ้องคดีหรือเป็นที่สาธารณสมบัติ ของแผ่นดินเป็นสำคัญ แล้วจึงจะพิจารณาประเด็นอื่นต่อไป ดังนั้นเป็นการฟ้องขอให้ศาลมีคำพิพากษา รับรองคุ้มครองสิทธิในที่ดินของผู้ฟ้องคดี อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๔๗/๒๕๕๙ เอกชนเจ้าของที่ดินตาม น.ส. ๓ ฟ้องว่าได้รับความเดือดร้อนเสียหายจากการถูกสำนักงาน การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม จำเลยที่ ๑ และเจ้าหน้าที่ของรัฐ จำเลยที่ ๒ นำที่ดินดังกล่าว ไปจัดสรรและออกเป็น ส.ป.ก. ๔-๐๑ ข จำนวน ๓ แปลงให้แก่จำเลยที่ ๓ ถึงที่ ๕ ซึ่งเป็นเอกชน ขอให้เพิกถอน ส.ป.ก. ๔-๐๑ ข ทั้งสามแปลง หากไม่สามารถดำเนินการได้ให้จ่ายค่าทดแทน ในการเวนคืนตามกฎหมาย ให้ขับไล่จำเลยที่ ๓ ถึงที่ ๕ กับส่งมอบที่ดินคืนในสภาพเดิม และ ให้ชำระค่าเสียหายพร้อมดอกเบี้ย ส่วนจำเลยที่ ๑ และที่ ๒ ให้การว่า การจัดสรรและการออก คดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน


46 ส.ป.ก. ๔-๐๑ ข ได้ดำเนินการตามกฎหมายทุกประการ โจทก์มิได้ฟ้องคดีภายในกำหนด ๑ ปี นับแต่ถูกแย่งการครอบครอง คดีจึงขาดอายุความ จำเลยที่ ๓ ถึงที่ ๕ ให้การทำนองเดียวกันว่า จำเลยที่ ๓ ถึงที่ ๕ ครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทมานานแล้ว โดยไม่มีผู้ใดโต้แย้งคัดค้าน เมื่อทางราชการมีนโยบายออก ส.ป.ก. ๔-๐๑ ข ให้แก่ราษฎรผู้ไม่มีเอกสารสิทธิในที่ดิน จึงยื่นแบบ แสดงความจำนงขอให้ออก ส.ป.ก. ๔-๐๑ ข โจทก์ไม่เคยครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาท ทั้งไม่เคยบอกกล่าวให้ออกจากที่ดินพิพาท และไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหาย เห็นว่า เป็นการฟ้องคดี เพื่อขอให้ศาลมีคำพิพากษารับรองคุ้มครองสิทธิในที่ดินของโจทก์ จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิ ในที่ดินซึ่งอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๒๒/๒๕๕๙ คดีที่เอกชนยื่นฟ้องจำเลยที่ ๑ ซึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครองและจำเลยที่ ๒ ถึงที่ ๑๐ ซึ่งเป็นเอกชนด้วยกันว่า โจทก์เป็นเจ้าของที่ดิน น.ส. ๓ ก. โดยซื้อมาจากการขายทอดตลาด แต่จำเลย ที่ ๒ ถึงที่ ๑๐ ได้ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินของโจทก์โดยอ้างว่า ได้รับการจัดสรรให้เข้าทำประโยชน์ จากจำเลยที่ ๑ ทั้งจำเลยที่ ๑ ได้ออก ส.ป.ก. ๔-๐๑ ให้แล้ว ขอให้เพิกถอน ส.ป.ก. ๔-๐๑ ในส่วนที่ออกทับที่ดินของโจทก์ ส่วนจำเลยที่ ๑ ให้การว่า ได้กรรมสิทธิ์ที่พิพาทมาโดยชอบด้วยกฎหมาย จำเลยที่ ๒ ถึงที่ ๔ ที่ ๖ ถึงที่ ๘ และที่ ๑๐ ให้การว่า เป็นผู้ครอบครองและได้รับอนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ ในที่ดินตามเงื่อนไขของกฎหมาย เห็นว่า คดีนี้ โจทก์ซึ่งเป็นผู้ซื้อที่ดินพิพาทมาจากการขายทอดตลาด ตามคำสั่งศาล แต่เข้าทำประโยชน์มิได้เนื่องจากจำเลยที่ ๒ ถึงที่ ๑๐ ได้ครอบครองทำประโยชน์ ในที่ดินของโจทก์ อันเป็นการฟ้องคดีเพื่อขอให้ศาลมีคำพิพากษารับรองคุ้มครองสิทธิในที่ดินของโจทก์ จึงเป็นคดีเกี่ยวกับสิทธิในที่ดินที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๖๓/๒๕๕๘ คดีที่เอกชนยื่นฟ้องผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ซึ่งเป็นเอกชนด้วยกัน และผู้ถูกฟ้องคดี ที่ ๑ และ ที่ ๓ เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐและหน่วยงานทางปกครองว่า ผู้ฟ้องคดีทั้งสี่เป็นผู้ได้รับอนุญาตให้ เข้าทำประโยชน์ในที่ดินตาม ส.ป.ก. ๔-๐๑ ก. คนละแปลง แต่ถูกผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสามร่วมกันออก น.ส. ๓ ก. เลขที่ ๒ ให้แก่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ทับที่ดินของผู้ฟ้องคดีทั้งสี่ ซึ่งต่อมาผู้ร้องสอดได้ซื้อที่ดิน ตาม น.ส. ๓ ก. เลขที่ ๒ ดังกล่าว การกระทำของผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสาม ทำให้ผู้ฟ้องคดีทั้งสี่ได้รับความเสียหาย ขอให้ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสามยกเลิกสิทธิในที่ดินตาม น.ส. ๓ ก. เลขที่ ๒ ที่ออกทับซ้อนกับเอกสาร ส.ป.ก. ๔-๐๑ ก. ของผู้ฟ้องคดีทั้งสี่ ส่วนผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และที่ ๓ ให้การว่า จากการตรวจสอบบัญชี ต่อเลขที่ดินเพื่อออก น.ส. ๓ ก. ระวางรูปถ่ายอากาศพบว่า น.ส. ๓ ก. เลขที่ ๒ ได้ออกสืบเนื่องมาจาก ส.ค. ๑ เลขที่ ๖๑ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และที่ ๓ ได้ปฏิบัติถูกต้องตามกฎหมายทุกประการ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ไม่ยื่นคำให้การ และผู้ร้องสอดให้การว่า น.ส. ๓ ก. เลขที่ ๒ ได้ออกสืบเนื่องมาจาก ส.ค. ๑ เลขที่ ๖๑ การออก น.ส. ๓ ก. เลขที่ ๒ ชอบด้วยกฎหมาย มีการครอบครองที่ดินก่อนการจัดสรรที่ดินที่ทำกิน คดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน


คดีพิพาทที่อยู่ในเขตอำนาจ ของศาลยุติธรรม รวมย่อคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่น่าสนใจ พ.ศ. ๒๕๕๖ - ๒๕๖๕ 47 เห็นว่า เหตุแห่งการฟ้องคดีสืบเนื่องมาจากข้ออ้างของผู้ฟ้องคดีทั้งสี่ที่ว่าการออก น.ส. ๓ ก. ให้แก่ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ทับที่ดินตาม ส.ป.ก. ๔-๐๑ ก. ของผู้ฟ้องคดีทั้งสี่ อันเป็นกรณีโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิ ในที่ดิน ทั้งความมุ่งหมายของผู้ฟ้องคดีทั้งสี่ที่ฟ้องต่อศาลก็เพื่อให้ศาลรับรองคุ้มครองสิทธิในที่ดิน ของผู้ฟ้องคดีทั้งสี่ การที่ศาลจะมีคำพิพากษาหรือคำสั่งตามคำขอของผู้ฟ้องคดีทั้งสี่ได้นั้น ศาลจำต้อง พิจารณาให้ได้ความเสียก่อนว่าที่ดินพิพาทเป็นของผู้ฟ้องคดีทั้งสี่ตามที่กล่าวอ้างหรือไม่เป็นสำคัญ แล้วจึงจะพิจารณาประเด็นอื่นได้ต่อไป จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน อันอยู่ในอำนาจ พิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๓๗/๒๕๕๘ คดีนี้แม้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และที่ ๓ จะเป็นหน่วยงานทางปกครอง แต่ผู้ฟ้องคดีอ้างว่า เป็นเจ้าของรวมในที่ดิน น.ส. ๓ ก. ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ กระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายและ กระทำละเมิดออกโฉนดที่ดินให้แก่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ (ที่ธรณีสงฆ์) ทับซ้อนที่ดินของผู้ฟ้องคดี โดยไม่ได้แจ้งให้ผู้ฟ้องคดีเข้าร่วมในการรังวัด ขอให้เพิกถอนโฉนดที่ดิน ส่วนผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และ ที่ ๓ ให้การทำนองเดียวกันว่าการออกโฉนดที่ดินดำเนินการถูกต้องตามกฎหมายแล้ว ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ไม่ได้กระทำละเมิด และผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ให้การว่า ตนเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาท แต่ผู้อื่น ออก น.ส. ๓ ก. ทับที่ดินของวัด ซึ่งตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕ มาตรา ๓๔ ห้ามมิให้ บุคคลใดยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้กับวัด ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ดำเนินการออกโฉนดที่ดินโดยชอบ ด้วยกฎหมาย เห็นว่า คดีนี้ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ให้การโต้แย้งกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาท ดังนั้น การที่ศาล จะมีคำพิพากษาหรือคำสั่งตามคำขอของผู้ฟ้องคดีได้นั้นจำต้องพิจารณาให้ได้ความเสียก่อนว่า ที่ดินพิพาทเป็นของผู้ฟ้องคดีตามที่กล่าวอ้างหรือเป็นที่ธรณีสงฆ์เป็นสำคัญ จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับ สิทธิในที่ดิน อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๑๖/๒๕๕๘ คดีนี้เป็นคดีที่เอกชนยื่นฟ้องเจ้าหน้าที่ของรัฐว่า โจทก์ซื้อที่ดินมือเปล่าและเข้าครอบครอง ทำประโยชน์ในที่ดินแปลงพิพาท โจทก์ถูกพนักงานอัยการจังหวัดเพชรบุรีฟ้องเป็นคดีอาญาข้อหา ความผิดต่อประมวลกฎหมายที่ดิน คดีถึงที่สุดตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่าโจทก์มีความผิด ตามประมวลกฎหมายที่ดิน แต่มิได้มีการร้องขอให้บังคับคดีภายใน ๑๐ ปี นับแต่วันที่มีคำพิพากษา ถึงที่สุด จึงพ้นกำหนดเวลาการบังคับคดีแล้ว เมื่อปี ๒๕๕๖ พนักงานเจ้าหน้าที่ของกรมที่ดิน ทำการรังวัดที่ดินตามโครงการเดินสำรวจออกโฉนดที่ดินทั้งตำบล ซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่เห็นว่าที่ดิน ของโจทก์นั้น รัฐสามารถทำการรังวัดและออกโฉนดที่ดินให้แก่ประชาชนผู้ครอบครองได้ แต่จำเลย ทั้งหกได้ยื่นหนังสือคัดค้านการออกโฉนดที่ดินของโจทก์ ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ขอให้ศาล มีคำสั่งห้ามจำเลยทั้งหกพร้อมบริวารเข้ามาเกี่ยวข้องในที่ดินพิพาทของโจทก์ แม้ศาลอุทธรณ์จะมี คำพิพากษาถึงที่สุดว่าโจทก์มีความผิดฐานเข้าไปยึดถือครอบครองก่นสร้างที่ดินของรัฐตามประมวล คดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน


48 กฎหมายที่ดิน แต่ในปี ๒๕๕๖ กรมที่ดินทำการรังวัดที่ดินตามโครงการเดินสำรวจออกโฉนดที่ดิน ทั้งตำบล ซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่เห็นว่าที่ดินของโจทก์สามารถทำการรังวัดและออกโฉนดที่ดินได้ ดังนั้นการที่ศาลจะพิพากษาหรือมีคำสั่งตามคำขอของโจทก์ได้นั้น จำต้องพิจารณาให้ได้ความเสียก่อนว่า ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินซึ่งโจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองตามที่กล่าวอ้าง หรือเป็นที่สาธารณสมบัติ ของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน เป็นสำคัญ แล้วจึงจะพิจารณาประเด็นอื่นต่อไป จึงเป็น คดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๑๕/๒๕๕๘ คดีที่เอกชนยื่นฟ้องหน่วยงานทางปกครองและเอกชนด้วยกันว่า โจทก์เป็นเจ้าของที่ดิน น.ส. ๓ ก. ได้ยื่นคำขอรังวัดออกโฉนดที่ดิน สำนักงานการปฏิรูปที่ดินจังหวัดศรีสะเกษคัดค้านว่าที่ดิน ของโจทก์อยู่ในเขตปฏิรูปที่ดินซึ่งจำเลยที่ ๑ จัดให้จำเลยที่ ๒ ถึงที่ ๔ เข้าทำประโยชน์ เจ้าพนักงานที่ดิน มีคำสั่งออกโฉนดที่ดินให้โจทก์แล้ว แต่จำเลยที่ ๑ ออก ส.ป.ก. ๔-๐๑ ทับที่ดินของโจทก์เต็มทั้งแปลง เป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย ขอให้เพิกถอน ส.ป.ก. ๔-๐๑ เฉพาะส่วนที่ทับที่ดินของโจทก์ ส่วนจำเลยที่ ๑ ให้การว่า ที่ดินพิพาทอยู่ในเขตปฏิรูปที่ดิน การอนุญาตให้จำเลยที่ ๒ ถึงที่ ๔ เข้าทำประโยชน์และการออก ส.ป.ก. ๔-๐๑ ชอบด้วยกฎหมายแล้ว จำเลยที่ ๓ ให้การว่า โจทก์ไม่ได้ ครอบครองทำประโยชน์เกิน ๕ ปี จึงขาดสิทธิครอบครอง คดีขาดอายุความ เห็นว่า คดีนี้ แม้มีประเด็น เกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองออก ส.ป.ก. ๔-๐๑ ทับซ้อนกับที่ดินของโจทก์ แต่โจทก์ขอให้ พิพากษาหรือมีคำสั่งให้เพิกถอน ส.ป.ก. ๔-๐๑ เฉพาะส่วนที่ทับซ้อนกับที่ดินของโจทก์ เมื่อพิจารณา ความมุ่งหมายของโจทก์ในการใช้สิทธิทางศาลก็เพื่อให้ศาลมีคำพิพากษารับรองคุ้มครองสิทธิในที่ดิน ของโจทก์ การที่ศาลจะพิพากษาหรือมีคำสั่งตามคำขอของโจทก์ได้นั้น ศาลจำต้องพิจารณาให้ได้ความ เสียก่อนว่า ที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ตามที่กล่าวอ้างหรือไม่เป็นสำคัญ จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับ สิทธิในที่ดิน อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๗๔/๒๕๕๗ คดีที่เอกชนยื่นฟ้องเจ้าหน้าที่ของรัฐว่า ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ มีคำสั่งไม่รับคำขอออกโฉนดที่ดิน โดยอ้างว่าเป็นที่สาธารณประโยชน์โนนไม้สี่ ผู้ฟ้องคดียื่นอุทธรณ์คำสั่งแต่เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดชัยภูมิ มีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ไว้พิจารณา จึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ผู้ฟ้องคดีได้ครอบครองและ ทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทจึงมีสิทธิครอบครองตามกฎหมาย ขอให้ศาลมีคำพิพากษาเพิกถอนคำสั่ง ของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ดำเนินการออกโฉนดที่ดินให้ผู้ฟ้องคดี เห็นว่า เมื่อพิจารณาความมุ่งหมาย ของผู้ฟ้องคดีที่ใช้สิทธิทางศาลขอให้มีคำพิพากษาเพิกถอนคำสั่งและดำเนินการออกโฉนดที่ดิน ให้ผู้ฟ้องคดี ก็เพื่อให้ศาลมีคำพิพากษารับรองคุ้มครองสิทธิในที่ดินที่ผู้ฟ้องคดีกล่าวอ้างว่าตนมีสิทธิ เป็นสำคัญ การที่ผู้ถูกฟ้องคดีจะดำเนินการได้ก็จะต้องดำเนินการไปตามข้อเท็จจริงที่รับฟังได้ เป็นยุติ ศาลจึงจำต้องพิจารณาให้ได้ความก่อนว่าที่ดินพิพาทเป็นของผู้ฟ้องคดีตามที่กล่าวอ้าง คดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน


คดีพิพาทที่อยู่ในเขตอำนาจ ของศาลยุติธรรม รวมย่อคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่น่าสนใจ พ.ศ. ๒๕๕๖ - ๒๕๖๕ 49 หรือเป็นที่สาธารณประโยชน์โนนไม้สี่ แล้วจึงจะพิจารณาประเด็นอื่นต่อไป จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับ สิทธิในที่ดิน อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๔๒/๒๕๕๗ คดีที่เอกชนเจ้าของที่ดินมือเปล่าฟ้องกรมที่ดิน จำเลยที่ ๒ และเอกชนด้วยกัน ซึ่งเป็นจำเลยที่ ๑ และที่ ๓ ว่าได้รับความเดือดร้อนจากการถูกจำเลยที่ ๑ ขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. ๓ ก.) ทับที่ดินของโจทก์ แล้วนำไปจดทะเบียนจำนองไว้กับจำเลยที่ ๓ จากนั้นนำไปขอออกโฉนดที่ดิน โดยไม่มีสิทธิ ขอให้พิพากษาว่าโจทก์มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทดีกว่าจำเลยที่ ๑ และที่ ๓ ห้ามจำเลยที่ ๑ และที่ ๓ และบริวารเข้าเกี่ยวข้องในที่ดิน ให้เพิกถอนเอกสารสิทธิที่ออกทับที่ดินโจทก์ และให้เพิกถอนหนังสือสัญญาจำนองและหนังสือต่อท้ายสัญญาจำนอง ส่วนจำเลยที่ ๑ ให้การว่า ที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยที่ ๑ ซึ่งบิดามารดาของจำเลยที่ ๑ ได้มาโดยการซื้อและเข้าก่อสร้างบุกเบิก ด้วยตนเองบางส่วน แล้วต่อมาจึงยกให้จำเลยที่ ๑ จำเลยที่ ๑ เข้าครอบครองและทำประโยชน์เรื่อยมา ส่วนบิดามารดาของโจทก์และโจทก์เป็นคนงานของบิดามารดาจำเลยที่ ๑ และเข้ามาขออยู่อาศัย ในที่ดินพิพาท การครอบครองของโจทก์จึงกระทำในฐานะผู้แทนของจำเลยที่ ๑ จำเลยที่ ๒ ให้การว่า ฟ้องโจทก์เคลือบคลุม โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง และจำเลยที่ ๓ ให้การว่า สัญญาจำนองชอบด้วยกฎหมาย เห็นว่า แม้คดีมีประเด็นข้อพิพาทเกี่ยวข้องกับการที่หน่วยงานทางปกครองออกเอกสารสิทธิ ในที่ดินพิพาท แต่โจทก์ก็ขอให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้โจทก์มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท ดีกว่าจำเลยที่ ๑ และที่ ๓ และห้ามจำเลยที่ ๑ และที่ ๓ พร้อมบริวารเข้าเกี่ยวข้องในที่ดินพิพาท กับให้เพิกถอนเอกสารสิทธิที่ออกเป็นชื่อบุคคลอื่นเฉพาะส่วนที่ออกทับที่ดินโจทก์ เมื่อพิจารณา ความมุ่งหมายของโจทก์ที่ใช้สิทธิทางศาลก็เพื่อให้ศาลรับรองคุ้มครองสิทธิในที่ดินที่โจทก์กล่าวอ้าง เป็นสำคัญ และในการออกเอกสารสิทธิในที่ดินของจำเลยที่ ๒ ก็เป็นไปตามอำนาจหน้าที่ที่กฎหมาย กำหนดเพื่อให้ผู้มีสิทธิในที่ดินที่แท้จริงได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย การที่จำเลยที่ ๑ ถึงที่ ๓ จะปฏิบัติตามคำขอของโจทก์ได้นั้นก็จะต้องดำเนินการไปตามข้อเท็จจริงที่รับฟังได้เป็นยุติ ศาลจึงจำต้อง พิจารณาให้ได้ความเสียก่อนว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ตามที่กล่าวอ้างหรือไม่ อันเป็นคดีพิพาท เกี่ยวกับสิทธิในทรัพย์สินระหว่างเอกชนด้วยกันว่า โจทก์หรือจำเลยที่ ๑ มีสิทธิในที่ดินพิพาทดีกว่ากัน แล้วจึงจะพิจารณาประเด็นอื่นได้ต่อไป จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน อันอยู่ในอำนาจพิจารณา พิพากษาของศาลยุติธรรม คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๑๓๖ - ๑๓๗/๒๕๕๖ คดีนี้เอกชนยื่นฟ้องเจ้าหน้าที่ของรัฐว่า เป็นผู้ครอบครองที่ดินมือเปล่าต่อเนื่องกันมา เกินกว่า ๑๐๐ ปีเศษ โดยสงบ เปิดเผย และแสดงความเป็นเจ้าของ เข้าทำประโยชน์มาก่อนประมวล กฎหมายที่ดินใช้บังคับ ไม่มีผู้คัดค้านการครอบครอง แต่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ประกาศรังวัดปักหลักเขต และเตรียมออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงทุ่งบ้านแดในที่ดินของผู้ฟ้องคดี ขอให้พิพากษาหรือ คดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน


50 มีคำสั่งให้ผู้ฟ้องคดีเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท และให้เพิกถอนคำประกาศรังวัดเพื่อปักหลักเขต และประกาศแจกหนังสือสำคัญ กับสั่งให้ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสามระงับการปักหลักเขตและการออก หนังสือสำคัญสำหรับที่ดินพิพาท ส่วนผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และที่ ๒ ให้การว่า ที่ดินพิพาทเป็นที่ดิน สาธารณประโยชน์ “ทุ่งบ้านแด” อันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน แม้ผู้ฟ้องคดีจะครอบครองที่ดิน พิพาทนานเพียงใดก็หาได้กรรมสิทธิ์ไม่ กับจะโอนให้แก่กันไม่ได้ และจะยกอายุความขึ้นต่อสู้กับ แผ่นดินมิได้ การดำเนินการออกหนังสือสำคัญเป็นการดำเนินการโดยชอบด้วยกฎหมายและระเบียบ ปฏิบัติ ขอให้ยกฟ้อง เห็นว่า การที่ศาลจะมีคำพิพากษาหรือคำสั่งตามคำขอของผู้ฟ้องคดีได้นั้น จำต้องพิจารณาให้ได้ความเสียก่อนว่า ที่ดินพิพาทผู้ฟ้องคดีเป็นผู้มีสิทธิครอบครองตามที่กล่าวอ้าง หรือเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินเป็นสำคัญ แล้วจึงจะพิจารณาประเด็นอื่นต่อไป จึงเป็นคดี เกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๑๑๑/๒๕๕๖ คดีที่เอกชนยื่นฟ้องหน่วยงานทางปกครอง เจ้าหน้าที่ของรัฐ และเอกชนด้วยกันว่า โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินตาม น.ส. ๓ เลขที่ ๕๐๕ และเลขที่ ๒๖๕ แต่ถูกนาย ศ. แจ้งข้อความอันเป็นเท็จ เป็นเหตุให้นายอำเภอ จำเลยที่ ๒ ออก น.ส. ๓ ก. เลขที่ ๒๘๑๐ ให้แก่นาย ศ. ทับซ้อนที่ดินของโจทก์ เมื่อนาย ศ. ถึงแก่ความตาย จำเลยที่ ๔ ทายาทของนาย ศ. นำ น.ส. ๓ ก. เลขที่ ๒๘๑๐ ขอออกเป็น โฉนดที่ดินและยินยอมให้จำเลยที่ ๕ ถือกรรมสิทธิ์รวมในโฉนดที่ดิน ขอให้เพิกถอน น.ส. ๓ ก. เลขที่ ๒๘๑๐ และโฉนดที่ดิน ให้กรมที่ดินจำเลยที่ ๑ และเจ้าพนักงานที่ดิน จำเลยที่ ๓ จำหน่าย น.ส. ๓ ก. เลขที่ ๒๘๑๐ และโฉนดที่ดินออกจากทะเบียนและสารบบที่ดิน และขับไล่ออกจากที่ดิน ให้เพิกถอนการจดทะเบียนรับโอนมรดกที่ดินและการจดทะเบียนให้ถือกรรมสิทธิ์รวม และพิพากษาว่า โจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดิน จำเลยที่ ๑ ถึงที่ ๓ ให้การว่า น.ส. ๓ ก. และโฉนดที่ดินออก โดยชอบด้วยกฎหมาย ส่วนจำเลยที่ ๔ และที่ ๕ ให้การว่า โจทก์ไม่ได้เข้าครอบครองและทำประโยชน์ ในที่ดินพิพาท เห็นว่า แม้คดีมีประเด็นข้อพิพาทเกี่ยวข้องกับการที่หน่วยงานทางปกครอง ออกเอกสารสิทธิในที่ดินพิพาท แต่โจทก์ขอให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งว่าโจทก์เป็นเจ้าของ และมีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท มิใช่นาย ศ. หรือจำเลยที่ ๔ และที่ ๕ เมื่อพิจารณาความมุ่งหมาย ของโจทก์ที่ใช้สิทธิทางศาลก็เพื่อให้ศาลมีคำพิพากษารับรองคุ้มครองสิทธิในที่ดินที่โจทก์กล่าวอ้างว่า ตนมีสิทธิเป็นสำคัญ และในการออกเอกสารสิทธิในที่ดินของจำเลยที่ ๑ ถึงที่ ๓ ก็เป็นไปตามอำนาจ หน้าที่ที่กฎหมายกำหนดเพื่อให้ผู้มีสิทธิในที่ดินที่แท้จริงได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย การที่จำเลย ที่ ๑ ถึงที่ ๓ จะปฏิบัติตามคำขอของโจทก์ได้ ก็จะต้องดำเนินการไปตามข้อเท็จจริงที่รับฟังได้เป็นยุติ ศาลจึงจำต้องพิจารณาให้ได้ความก่อนว่า ที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ตามที่กล่าวอ้างหรือไม่ อันเป็น คดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในทรัพย์สินระหว่างเอกชนด้วยกันว่า โจทก์หรือจำเลยที่ ๔ และที่ ๕ มีสิทธิในที่ดินพิพาทดีกว่ากันแล้วจึงจะพิจารณาประเด็นอื่นต่อไป จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิ ในที่ดิน อันอยู่ในอำนาจของศาลยุติธรรม คดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน


คดีพิพาทที่อยู่ในเขตอำนาจ ของศาลยุติธรรม รวมย่อคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่น่าสนใจ พ.ศ. ๒๕๕๖ - ๒๕๖๕ 51 คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๑๐๘/๒๕๕๖ คดีที่โจทก์ทั้งเจ็ดเป็นเอกชนยื่นฟ้องจำเลยซึ่งเป็นเอกชนด้วยกันว่า โจทก์ทั้งเจ็ด เป็นเจ้าของที่ดิน น.ส. ๓ ก. เลขที่ ๑๘๓๔ ส่วนจำเลยเป็นเจ้าของที่ดิน น.ส. ๓ ก. เลขที่ ๔๐๐๑ และเลขที่ ๑๙๑๑ โดยมีแนวเขตติดต่อกันบางส่วน เมื่อจำเลยขอออกโฉนดที่ดินทั้งสองแปลง ได้ชี้แนวเขตที่ดินรุกล้ำที่ดินของโจทก์ทั้งเจ็ด เจ้าพนักงานที่ดินสอบสวนเปรียบเทียบคู่กรณีแล้วมีคำสั่ง ออกโฉนดที่ดินให้แก่จำเลย และแจ้งให้คู่กรณีไปฟ้องคดีต่อศาลภายใน ๖๐ วัน โดยไม่ฟังคำคัดค้าน ของโจทก์ทั้งเจ็ด อันเป็นการกระทำละเมิด ขอให้มีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งสำนักงานที่ดินจังหวัดอุบลราชธานี สาขาวารินชำราบ และให้ที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ทั้งเจ็ด กับให้จำเลยไปลงชื่อรับรองแนวเขตที่ดิน ตามที่โจทก์ทั้งเจ็ดนำชี้ไว้ หากไม่ดำเนินการให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนา จำเลย ให้การว่า โจทก์ทั้งเจ็ดไม่มีอำนาจฟ้องเนื่องจากที่ดินพิพาทอยู่นอกเขตที่ดินของโจทก์ทั้งเจ็ด และอยู่ใน เขตที่ดินของจำเลย โจทก์ทั้งเจ็ดไม่เคยเข้าครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาท คดีขาดอายุความ ขอให้ยกฟ้อง เห็นว่า คดีนี้โจทก์ทั้งเจ็ดและจำเลยพิพาทกันเรื่องสิทธิในที่ดินพิพาทอันเป็นคดีพิพาท เกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน โดยเจ้าพนักงานที่ดินได้ทำการสอบสวนเปรียบเทียบคู่กรณีแล้ว โจทก์ทั้งเจ็ด ซึ่งไม่พอใจการสั่งการของเจ้าพนักงานที่ดิน จึงฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ต่อศาลตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา ๖๐ วรรคสอง คดีนี้จึงเป็นคดีพิพาทระหว่างเอกชนกับเอกชนด้วยกันที่โต้แย้งสิทธิกันในทางแพ่ง เป็นคดีที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๙๖/๒๕๕๖ คดีที่ผู้ฟ้องคดีซึ่งเป็นเอกชนยื่นฟ้องหน่วยงานทางปกครองอ้างว่ามีการออกพระราชกฤษฎีกา กำหนดเขตที่ดินให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดินทับที่ดินของผู้ฟ้องคดีรวมทั้งบังคับให้คืน ส.ป.ก. ๔-๐๑ และนำที่ดินพิพาทไปให้ผู้อื่นเช่า ต่อมาผู้ฟ้องคดียื่นขอรังวัดออกโฉนดที่ดิน กลับถูกปฏิเสธโดยอ้างว่า ที่ดินดังกล่าวเป็นเขตป่าไม้ถาวรไม่ใช่เขตเดินสำรวจ ขอให้พิพากษาหรือมีคำสั่งให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ยกเลิกสัญญาเช่าหรือห้ามมิให้ต่ออายุสัญญาเช่าที่พิพาท และให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ออกโฉนดที่ดิน ให้แก่ผู้ฟ้องคดี ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ให้การว่า ที่พิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของสำนักงานการปฏิรูปที่ดิน เพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) ผู้ฟ้องคดีขาดการครอบครองเกินหนึ่งปีหลังจากถูกเพิกถอน ส.ป.ก. ๔-๐๑ จึงไม่มีสิทธิเรียกคืนที่พิพาท ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ให้การว่า ที่ดินของผู้ฟ้องคดีอยู่ในเขตปฏิรูปที่ดิน เพราะมิได้แจ้งการครอบครองภายในระยะเวลาที่กำหนด และไม่เป็นผู้ซึ่งได้ปฏิบัติตามประมวลกฎหมาย ที่ดิน มาตรา ๒๗ ตรี ไว้ก่อนมีการกำหนดเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม จึงไม่สามารถออกโฉนดที่ดิน ให้ได้ เห็นว่า การที่ศาลจะพิพากษาหรือมีคำสั่งตามคำขอของโจทก์ได้นั้น จำต้องพิจารณาให้ได้ ความเสียก่อนว่า ที่พิพาทเป็นของผู้ฟ้องคดีตามที่กล่าวอ้างหรือเป็นที่อยู่ในเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม และเป็นกรรมสิทธิ์ของสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมเป็นสำคัญ แล้วจึงจะพิจารณา ประเด็นอื่นได้ต่อไป จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษา ของศาลยุติธรรม คดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน


52 รวมย่อคําวินิจฉัย คดีพิพาทเกี�ยวกับสิทธิในทรัพย์สิน


คดีพิพาทที่อยู่ในเขตอำนาจ ของศาลยุติธรรม รวมย่อคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่น่าสนใจ พ.ศ. ๒๕๕๖ - ๒๕๖๕ 53 คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๗๙/๒๕๖๑ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๑๙๔ และมาตรา ๑๙๗ และพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๑) มีเจตนารมณ์ ในการกำหนดเขตอำนาจในการพิจารณาพิพากษาคดีระหว่างศาลยุติธรรมและศาลปกครอง โดยให้ศาลปกครองมีอำนาจหน้าที่ตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายของการกระทำทางปกครอง ซึ่งต้องวินิจฉัยตามระบบกฎหมายมหาชน ส่วนอำนาจหน้าที่ในการคุ้มครองสิทธิของเอกชน หรือข้อพิพาทที่มีผลกระทบต่อกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองของเอกชน เป็นปัญหาที่ต้องวินิจฉัย ตามระบบกฎหมายเอกชน ซึ่งอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม เมื่อคดีนี้โจทก์ทั้งสอง เป็นเอกชนอ้างว่าเป็นผู้ครอบครองที่ดินตามแบบแจ้งการครอบครองที่ดิน (ส.ค. ๑) เลขที่ ๑๗๖ ยื่นฟ้อง จำเลยที่ ๑ และที่ ๒ ซึ่งเป็นเอกชนเจ้าของที่ดิน และองค์การบริหารส่วนตำบลผไทรินทร์ จำเลยที่ ๓ ซึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครอง และจำเลยที่ ๔ และที่ ๕ ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ว่า ร่วมกันหลอกลวงโจทก์ ทั้งสองในขณะที่โจทก์ทั้งสองนำที่ดิน ส.ค. ๑ ดังกล่าวขอออกโฉนดที่ดิน โดยให้ลงชื่อในบันทึกข้อความ ลงวันที่ ๓ มีนาคม ๒๕๕๒ แจ้งว่าเป็นการรับรองแนวเขตที่ดินข้างเคียงถนนหรือทางส่วนตัวของโจทก์ ทั้งสอง ซึ่งความจริงเป็นการลงชื่ออุทิศที่ดินพิพาทให้เป็นทางสาธารณะ การหลอกลวงดังกล่าวทำให้ โจทก์ทั้งสองหลงเชื่อและลงชื่อในบันทึกข้อความอันเป็นการสำคัญผิดในสาระสำคัญของนิติกรรม ต่อมา จำเลยที่ ๑ และที่ ๒ ได้นำที่ดินตาม ส.ค. ๑ เลขที่ ๒๐๔ ของตนไปออกโฉนดที่ดินและนำรังวัด ชี้เอาที่ดินของโจทก์ทั้งสองดังกล่าวไปเป็นทางสาธารณะ ขอให้ศาลมีคำพิพากษาให้นิติกรรม อุทิศที่ดินดังกล่าวให้เป็นทางสาธารณะตกเป็นโมฆะ ให้เพิกถอนรายการทางสาธารณประโยชน์พิพาท อันเกิดจากนิติกรรมการแสดงเจตนาโดยสำคัญผิด ตามบันทึกข้อความ ฉบับลงวันที่ ๓ มีนาคม ๒๕๕๒ และห้ามจำเลยทั้งห้าเข้าเกี่ยวข้องกับที่ดินพิพาท อันเป็นคำฟ้องที่ขอให้เพิกถอนนิติกรรมที่เกิด จากการแสดงเจตนาโดยสำคัญผิดและถูกหลอกลวงเป็นสำคัญเพื่อให้ที่ดินพิพาทกลับมาเป็นของตน ลักษณะตามคำฟ้องดังกล่าวจึงเป็นการขอให้ศาลรับรองสิทธิครอบครองที่ดินของโจทก์ทั้งสอง โดยการพิจารณาพิพากษาคดีนี้ศาลต้องวินิจฉัยเรื่องสิทธิในทรัพย์สินและความสมบูรณ์ของนิติกรรม ทางแพ่งอันเป็นไปตามหลักกฎหมายเอกชน ข้อพิพาทในคดีนี้จึงมิใช่คดีพิพาทเกี่ยวกับการขอให้ ตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายของคำสั่งทางปกครอง อันจะเข้ากรณีพิพาทตามพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๑) แต่เป็นคดีพิพาท เกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิในทรัพย์สินของเอกชนและการเพิกถอนนิติกรรมทางแพ่ง ที่อยู่ในอำนาจ พิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม คดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในทรัพย์สิน คดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในทรัพย์สิน


54 คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๖/๒๕๖๑ คดีนี้ผู้ฟ้องคดีทั้งสองเป็นผู้จัดการมรดกของนาง ส. ยื่นฟ้อง อธิบดีกรมที่ดิน ที่ ๑ เจ้าพนักงานที่ดิน กรุงเทพมหานคร ที่ ๒ ผู้อำนวยการสำนักมาตรฐานการทะเบียนที่ดิน ที่ ๓ นักวิชาการที่ดิน ชำนาญการพิเศษ ที่ ๔ นักวิชาการที่ดินชำนาญการ ที่ ๕ นาง ม. ที่ ๖ นาย จ. ที่ ๗ ผู้ถูกฟ้องคดี ขอให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งเพิกถอนคำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ที่ไม่รับจดทะเบียนแบ่งทรัพย์สิน ระหว่างคู่สมรสระหว่างนาย ก. และนาง ส. และเพิกถอนคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ที่ยืนตามคำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ พร้อมทั้งให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ถึงที่ ๕ ดำเนินการจดทะเบียน ลงชื่อผู้ฟ้องคดีทั้งสองในฐานะผู้จัดการมรดกของนาง ส. ในโฉนดที่ดินเลขที่ ๓๙๖ เลขที่ ๖๔๓๙ เลขที่ ๓๓๗๑ และเลขที่ ๑๕๔๒๐๔ เมื่อกรณียังมีข้อพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในทรัพย์มรดกตามพินัยกรรม ว่าเป็นทรัพย์สินส่วนตัวของนาย ก. หรือเป็นสินสมรสระหว่างนาย ก. กับนาง ส. ซึ่งผู้ฟ้องคดีทั้งสอง ในฐานะทายาทและผู้จัดการมรดกของนาง ส. จะมีสิทธิในทรัพย์มรดกส่วนดังกล่าว ประกอบกับเจตนา ของผู้ฟ้องคดีทั้งสองที่ฟ้องคดีนี้ก็เพื่อให้ตนมีสิทธิในทรัพย์มรดกเกินกว่าส่วนที่ตนจะได้ตามพินัยกรรม โดยอ้างว่าทรัพย์มรดกพิพาทเป็นสินสมรสซึ่งนาง ส. มารดาของผู้ฟ้องคดีทั้งสองมีสิทธิอยู่กึ่งหนึ่ง ข้อพิพาทสำคัญในคดีนี้จึงเป็นปัญหาเกี่ยวกับสินสมรส ความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยาในทางทรัพย์สิน และการสิ้นสุดแห่งการสมรสและทรัพย์มรดก แม้ผู้ฟ้องคดีทั้งสองฟ้องผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ถึงที่ ๕ ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ต่อศาลปกครอง โดยตั้งรูปเรื่องเป็นการฟ้องขอเพิกถอนคำสั่งทางปกครอง แต่เนื้อหาของคดีเป็นข้อพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในทรัพย์มรดกระหว่างผู้ฟ้องคดีทั้งสองกับผู้ถูกฟ้องคดี ที่ ๖ และที่ ๗ ซึ่งเป็นเอกชนด้วยกัน โดยผู้ฟ้องคดีทั้งสองมีคำขอให้จดทะเบียนลงชื่อผู้ฟ้องคดีทั้งสอง ในฐานะผู้จัดการมรดกของนาง ส. ลงในโฉนดที่ดินพิพาท การใช้อำนาจของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ จึงเป็น เพียงผลของการที่ศาลได้มีคำวินิจฉัยเกี่ยวกับสิทธิในทางทรัพย์สินระหว่างผู้ฟ้องคดีทั้งสองกับ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๖ และที่ ๗ เท่านั้น เมื่อกรณีเป็นข้อพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในทรัพย์สินและความสัมพันธ์ ระหว่างเอกชน คดีนี้จึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๖๑/๒๕๕๙ คดีที่ผู้ฟ้องคดีฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งของอธิบดีกรมสรรพากร ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ที่ให้ยึดและขายทอดตลาดที่ดิน ตามประมวลรัษฎากร มาตรา ๑๒ โดยอ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ดิน ของตนเองไม่ใช่ของนาย พ. ผู้ต้องรับผิดเสียภาษีอากรเนื่องจากได้รับการยกให้ตามบันทึกการหย่า โดยผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองยื่นคำให้การว่า นาย พ. ค้างชำระภาษีอากร และทราบการประเมินแล้วไม่อุทธรณ์ จึงเป็นหนี้ภาษีอากรค้างชำระยุติเด็ดขาด นาย พ. เป็นผู้มีชื่อเป็นเจ้าของในทะเบียนที่ดิน การยึดที่ดิน เพื่อบังคับชำระหนี้ภาษีอากรค้างชำระชอบด้วยกฎหมายแล้ว ข้อพิพาทดังกล่าวเป็นเรื่องการโต้แย้ง สิทธิในทรัพย์สินที่ยึด การฟ้องคดีของผู้ฟ้องคดีจึงเป็นไปเพื่อให้ศาลรับรองคุ้มครองสิทธิในทรัพย์สิน พิพาทเป็นสำคัญ โดยศาลต้องวินิจฉัยว่าสิทธิครอบครองใน น.ส. ๓ ก. ทรัพย์พิพาทตามคำสั่ง ของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ เป็นของผู้ฟ้องคดีตามบันทึกการหย่าหรือยังคงเป็นของนาย พ. ซึ่งเป็นการวินิจฉัย ในเรื่องทรัพย์สินระหว่างสามีภรรยา ตามบรรพ ๕ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จึงเป็น คดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในทรัพย์สิน ซึ่งอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม คดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในทรัพย์สิน


คดีพิพาทที่อยู่ในเขตอำนาจ ของศาลยุติธรรม รวมย่อคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่น่าสนใจ พ.ศ. ๒๕๕๖ - ๒๕๖๕ 55 รวมย่อคําวินิจฉัย คดีพิพาทเกี�ยวกับการดําเนินการ ในกระบวนการยุติธรรมทางแพ่ง


56 คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๘๙/๒๕๕๙ การขายทอดตลาดทรัพย์ในคดีนี้เป็นการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของ ศาลยุติธรรมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ภาค ๔ ลักษณะ ๒ การที่จะวินิจฉัยว่า การขายทอดตลาดทรัพย์ของเจ้าพนักงานบังคับคดี สำนักงานบังคับคดีจังหวัดภูเก็ตเป็นการกระทำ ที่ชอบด้วยกฎหมายและเป็นการกระทำละเมิดต่อผู้ฟ้องคดีหรือไม่ ศาลจำต้องพิจารณากระบวนการ บังคับคดีและขั้นตอนการขายทอดตลาดตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ซึ่งเป็นการใช้อำนาจของเจ้าพนักงานบังคับคดีในกระบวนการยุติธรรมทางแพ่งเพื่อบังคับให้เป็นไป ตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลยุติธรรม ไม่ใช่การใช้อำนาจทางปกครอง ดังนั้นการที่ผู้ฟ้องคดี ฟ้องเรียกค่าเสียหายอันเนื่องมาจากการที่เจ้าพนักงานบังคับคดีซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ในสังกัดของ กรมบังคับคดี ผู้ถูกฟ้องคดีขายทอดตลาดทรัพย์พิพาทโดยไม่ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา ความแพ่ง เป็นเหตุให้ศาลฎีกามีคำพิพากษาให้เพิกถอนการขายทอดตลาดทรัพย์พิพาท ทำให้ผู้ฟ้องคดี ไม่ได้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์นั้น จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดของเจ้าหน้าที่ของรัฐ อันสืบเนื่องมาจากการใช้อำนาจในกระบวนการยุติธรรมทางแพ่ง คดีนี้จึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษา ของศาลยุติธรรม คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๑๘/๒๕๕๘ คดีนี้เอกชนยื่นฟ้องหน่วยงานทางปกครองว่า ผู้ถูกฟ้องคดีมีคำสั่งลงโทษลดขั้นเงินเดือน ผู้ฟ้องคดี ผู้ฟ้องคดีเกษียณอายุราชการโดยได้รับเงินบำเหน็จดำรงชีพและเงินบำนาญปกติ แต่ต่อมา อ.ก.พ. กระทรวงการคลัง มีมติไล่ออกจากราชการ ผู้ฟ้องคดียื่นอุทธรณ์คำสั่ง ระหว่างนั้นผู้ถูกฟ้องคดี แจ้งให้คืนเงินบำเหน็จดำรงชีพตามคำสั่งที่ให้ไล่ผู้ฟ้องคดีออกจากราชการ แต่ผู้ฟ้องคดีคืนให้บางส่วน ผู้ถูกฟ้องคดีจึงยื่นฟ้องให้คืนเงินต่อศาลชั้นต้นและศาลมีคำพิพากษาให้ชำระเงินคืน ผู้ฟ้องคดี ยื่นอุทธรณ์ ระหว่างนั้นผู้ถูกฟ้องคดีมีคำสั่งลดโทษเป็นปลดออกจากราชการ ต่อมาศาลอุทธรณ์ มีคำพิพากษายืนตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นให้ชำระเงินคืน นอกจากนี้ผู้ฟ้องคดีถูกกองทุน กบข. ฟ้องเรียกให้คืนเงินประเดิม เงินชดเชย และผลประโยชน์ที่ผู้ฟ้องคดีได้รับไปก่อนผู้ถูกฟ้องคดีมีคำสั่ง ให้ไล่ออกจากราชการต่อศาลปกครองกลาง ต่อมาผู้ถูกฟ้องคดีได้มีคำสั่งให้ลดโทษจากไล่ออก เป็นปลดออก และศาลปกครองสูงสุดได้มีคำพิพากษาให้ผู้ฟ้องคดีมีสิทธิที่จะได้รับเงินตามที่กฎหมาย กำหนด ผู้ฟ้องคดีจึงไม่จำต้องคืนเงินประเดิม เงินชดเชย ผลประโยชน์เงินชดเชย ผลประโยชน์เงินประเดิม พร้อมดอกเบี้ยให้แก่กองทุน กบข. ขอให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้ผู้ถูกฟ้องคดีคืนเงินพร้อมดอกเบี้ย เมื่อคดีนี้ผู้ฟ้องคดีอ้างว่าได้รับความเสียหายจากการปฏิบัติตามคำพิพากษา มูลความแห่งคดีนี้สืบเนื่อง มาจากผู้ฟ้องคดีชำระหนี้ตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้น อันเป็นการดำเนินการตามคำบังคับ คดีพิพาทเกี่ยวกับการดำเนินการในกระบวนการยุติธรรมทางแพ่ง คดีพิพาทเกี่ยวกับการดำเนินการในกระบวนการยุติธรรมทางแพ่ง


คดีพิพาทที่อยู่ในเขตอำนาจ ของศาลยุติธรรม รวมย่อคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่น่าสนใจ พ.ศ. ๒๕๕๖ - ๒๕๖๕ 57 ในคดีแพ่ง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ว่าด้วยการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง อันเป็นขั้นตอนกระบวนการในทางแพ่งที่มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะ อีกทั้งข้อเท็จจริงตาม คำพิพากษาของศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ที่พิพากษาให้ผู้ฟ้องคดีต้องรับผิดตามคำขอท้ายฟ้อง ก็เนื่องจากข้อเท็จจริงว่าผู้ฟ้องคดีถูกผู้ถูกฟ้องคดีมีคำสั่งให้ออกจากราชการ เมื่อต่อมาข้อเท็จจริง เปลี่ยนไปตามข้อเท็จจริงใหม่ว่า ผู้ฟ้องคดีได้รับการลดโทษจากไล่ออกเป็นให้ปลดออก ซึ่งมีผลให้ ผู้ฟ้องคดีเป็นผู้มีสิทธิได้รับเงินตามที่กฎหมายกำหนด จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการบังคับคดี ตามคำพิพากษาของศาลยุติธรรม อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๕๖/๒๕๕๗ คดีที่เอกชนฟ้องหน่วยงานทางปกครองว่า ผู้ฟ้องคดีเข้าประมูลซื้อที่ดินตามประกาศ ของเจ้าพนักงานบังคับคดี โดยเป็นผู้เสนอราคาสูงสุดและทำสัญญาซื้อขายที่ดินพร้อมวางเงินมัดจำไว้ แต่แผนที่สังเขป (ทางไปที่ดิน) ท้ายประกาศไม่ถูกต้อง ไม่ใช่ทางไปที่ดิน ทำให้ผู้ฟ้องคดีไม่สามารถเดินทาง ไปยังที่ดินได้ อีกทั้งที่ดินอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติคลองตรอนฝั่งซ้ายและเนื้อที่บางส่วนทับซ้อนที่ดิน ของผู้อื่น ทั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ดำเนินการขายทอดตลาดที่ดินตามระเบียบกระทรวงยุติธรรม ว่าด้วยการบังคับคดีของเจ้าพนักงานบังคับคดี พ.ศ. ๒๕๒๒ ทำให้ผู้ฟ้องคดีได้รับความเสียหาย ขอให้ยกเลิกสัญญาซื้อขายและคืนเงินมัดจำ ส่วนผู้ถูกฟ้องคดีให้การว่า ได้ดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ โดยชอบด้วยกฎหมายและระเบียบแล้ว มูลความแห่งคดีนี้จึงสืบเนื่องมาจากการดำเนินการของ เจ้าพนักงานบังคับคดีสังกัดผู้ถูกฟ้องคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งว่าด้วยการบังคับคดี ตามคำพิพากษาหรือคำสั่งศาลที่บัญญัติให้เจ้าพนักงานบังคับคดีซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐเข้าไป ดำเนินการขายทอดตลาดทรัพย์สินของลูกหนี้ ตามคำพิพากษาเพื่อนำเงินที่ได้จากการขายทอดตลาด ทรัพย์สินดังกล่าวไปชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ซึ่งเป็นขั้นตอนของการดำเนินการบังคับคดี ภายหลังจากศาลได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดข้อพิพาทของคู่ความในทางแพ่งแล้ว อันเป็นขั้นตอน และกระบวนการในทางแพ่งที่กฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะเพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อยแก่ประชาชน การดำเนินการยึดที่ดิน การประกาศขายทอดตลาดที่ดิน และการจัดทำสัญญาซื้อขายที่ดินที่ผู้ฟ้องคดี เป็นผู้ประมูลได้จากการขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดี จึงเป็นส่วนหนึ่งของขั้นตอน ในการดำเนินการบังคับคดีตามคำพิพากษาตามที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งบัญญัติไว้ ให้สำเร็จลุล่วงไป แม้ข้อพิพาทในคดีนี้จะเกิดขึ้นจากการดำเนินการของเจ้าหน้าที่รัฐสังกัดกรมบังคับคดี ผู้ถูกฟ้องคดีซึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครองก็ตาม แต่เมื่อเป็นข้อพิพาทที่สืบเนื่องมาจากกระบวนวิธี บังคับคดีในทางแพ่งแล้ว ข้อพิพาทจึงไม่มีลักษณะเป็นคดีปกครอง แต่เป็นคดีที่อยู่ในอำนาจพิจารณา พิพากษาของศาลยุติธรรม คดีพิพาทเกี่ยวกับการดำเนินการในกระบวนการยุติธรรมทางแพ่ง


58 รวมย่อคําวินิจฉัย คดีพิพาทเกี�ยวกับการดําเนินการ ในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา


คดีพิพาทที่อยู่ในเขตอำนาจ ของศาลยุติธรรม รวมย่อคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่น่าสนใจ พ.ศ. ๒๕๕๖ - ๒๕๖๕ 59 คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๒๖/๒๕๖๕ คดีนี้ นาง จ. โจทก์ ยื่นฟ้อง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ จำเลย อ้างว่า โจทก์ซึ่งเป็น ผู้เสียหายไปแจ้งความร้องทุกข์ต่อพันตำรวจโท ฐ. พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรบางแก้ว ให้ดำเนินคดีกับนาย ธ. ในความผิดข้อหาฉ้อโกง ต่อมานาย ธ. ถูกจับกุมตามหมายจับและนำตัว ส่งพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรบางแก้วเพื่อดำเนินคดี แต่พันตำรวจโท ฐ. ไม่ส่งสำนวน การสอบสวนให้พนักงานอัยการเพื่อยื่นฟ้องคดีต่อศาลแขวงสมุทรปราการได้ทันภายในกำหนด ฝากขังครั้งสุดท้าย เป็นเหตุให้ศาลมีคำสั่งคืนหลักประกัน ทำให้โจทก์ในฐานะผู้เสียหายไม่สามารถ ยื่นคำร้องต่อศาลแขวงสมุทรปราการเพื่อเรียกค่าเสียหาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๔๔/๑ ได้ ดังนั้นจำเลยซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐที่พันตำรวจโท ฐ. สังกัดอยู่จึงมีหน้าที่ต้องรับผิด จากการกระทำของพันตำรวจโท ฐ. ตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๙ ขอให้บังคับจำเลยชำระเงินพร้อมดอกเบี้ย คดีนี้จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิด และมีปัญหาต้องพิจารณาว่า เป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษา ของศาลยุติธรรมหรือศาลปกครอง เห็นว่า พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณา คดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) บัญญัติให้ความรับผิดทางละเมิดของหน่วยงาน ทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่จะอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองนั้น ต้องเป็น การกระทำละเมิดของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐอันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมาย หรือจากกฎ คำสั่งทางปกครอง หรือคำสั่งอื่น หรือจากการละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนด ให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร ซึ่งเป็นการกระทำละเมิดอันเนื่องมาจาก การใช้อำนาจทางปกครอง หรือการดำเนินกิจการทางปกครอง หรือการละเลยต่อหน้าที่ในทางปกครอง เท่านั้น เมื่อคดีนี้โจทก์ฟ้องอ้างว่า พันตำรวจโท ฐ. พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบสำนวนไม่ส่งสำนวน การสอบสวนคดีอาญาให้พนักงานอัยการประจำศาลแขวงสมุทรปราการ เพื่อยื่นฟ้องต่อศาลแขวง สมุทรปราการให้ทันภายในกำหนดระยะเวลาผัดฟ้องฝากขังครั้งสุดท้าย ทำให้โจทก์ในฐานะผู้เสียหาย ไม่อาจใช้สิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทนอันเนื่องมาจากการกระทำความผิดของจำเลยตามประมวล กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๔๔/๑ ได้ ดังนั้นการกระทำละเมิดตามคำฟ้องจึงเป็น การกระทำของพนักงานสอบสวนในการสอบสวนคดีอาญาและเสนอความเห็นควรสั่งฟ้องหรือ ไม่ฟ้องผู้ต้องหาต่อพนักงานอัยการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่ง ของกระบวนการยุติธรรมทางอาญา กรณีตามคำฟ้องของโจทก์จึงเป็นการกระทำละเมิดอันเกิดจาก การละเลยต่อหน้าที่ในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา มิใช่การละเลยต่อหน้าที่ในการดำเนินกิจการ ทางปกครองหรือการใช้อำนาจทางปกครอง คดีนี้จึงมิใช่คดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดของ หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่จะอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง คดีพิพาทเกี่ยวกับการดำเนินการในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา คดีพิพาทเกี่ยวกับการดำเนินการในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา


60 ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ แต่เป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดอันสืบเนื่องจากการใช้อำนาจในกระบวนการ ยุติธรรมทางอาญา และเมื่อศาลยุติธรรมเป็นศาลซึ่งมีอำนาจพิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่งในคดีอาญา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๒ (๑) การตรวจสอบเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ ของพันตำรวจโท ฐ. ซึ่งเป็นพนักงานสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๒ (๖) สังกัดจำเลย จึงอยู่ในอำนาจของศาลยุติธรรม ซึ่งเป็นศาลที่มีอำนาจควบคุมตรวจสอบความชอบ ด้วยกฎหมายเกี่ยวกับการใช้อำนาจในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๑๗/๒๕๖๕ คดีที่ เรือโท ม. ในฐานะทายาทโดยธรรมของ นาย ก. ผู้ฟ้องคดี ยื่นฟ้อง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ผู้ถูกฟ้องคดี ซึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครองตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครอง และวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ อ้างว่า ผู้ฟ้องคดีเป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายของนาย ก. ได้รับความเดือดร้อนเสียหายจากกรณีเจ้าหน้าที่ตำรวจในสังกัดของผู้ถูกฟ้องคดี สถานีตำรวจภูธรน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง ไม่ตรวจตราหรือดูแลความสงบ เรียบร้อยของผู้ต้องหาที่อยู่ภายในห้องควบคุมบนสถานีตำรวจภูธรน้ำพอง จนเป็นเหตุให้นาย น. ซึ่งเป็นผู้ต้องหาอีกคนซึ่งอยู่ในห้องควบคุมเดียวกันใช้เท้าเตะบริเวณคางของนาย ก. จนล้มลง และเตะบริเวณใบหน้าอย่างแรงอีกหลายครั้ง จากนั้นได้ลากนาย ก. ไปที่ห้องสุขาในห้องควบคุม ดังกล่าว จนเป็นเหตุให้นาย ก. ถึงแก่ความตายด้วยสาเหตุขาดอากาศจากการบีบรัดที่คอ ขอให้ ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้ผู้ถูกฟ้องคดีชดใช้ค่าขาดไร้อุปการะเป็นสินไหมทดแทนให้แก่ผู้ฟ้องคดี เป็นเงิน ๑,๐๐๐,๐๐๐ บาท พร้อมดอกเบี้ย ผู้ถูกฟ้องคดีให้การว่า การเสียชีวิตของนาย ก. เกิดจาก การกระทำของนาย น. ซึ่งมีอาการป่วยทางจิตเวช และเป็นผู้กระทำผิดโดยตรง จากการสอบสวน และรวบรวมพยานหลักฐานนาย น. กระทำโดยเจตนาประสงค์ต่อชีวิตของนาย ก. ถือเป็นการกระทำ ความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา อันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒๘๘ เจ้าหน้าที่ ตำรวจปฏิบัติหน้าที่เป็นไปตามระเบียบและกฎหมายโดยมิได้เป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยประมาทเลินเล่อ หรือละทิ้งหน้าที่ ขอให้ยกฟ้อง เห็นว่า ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๘๔/๑ บัญญัติว่า “… ในกรณีที่ต้องส่งตัวผู้ถูกจับไปยังศาล แต่ไม่อาจส่งไปได้ในขณะนั้นเนื่องจากเป็นเวลา ที่ศาลปิดหรือใกล้จะปิดทำการ ให้พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจที่รับตัวผู้ถูกจับไว้มีอำนาจปล่อย ผู้ถูกจับชั่วคราวหรือควบคุมผู้ถูกจับไว้ได้ จนกว่าจะถึงเวลาศาลเปิดทำการ” เป็นขั้นตอนการดำเนินการ ที่กำหนดให้พนักงานสอบสวนมีอำนาจควบคุมตัวผู้ต้องหาไว้ อันเป็นอำนาจหน้าที่โดยเฉพาะ เพื่อนำไปสู่การฟ้องคดีและลงโทษผู้กระทำความผิดทางอาญา เมื่อเจ้าหน้าที่ตำรวจในสังกัดของผู้ถูกฟ้องคดี สถานีตำรวจภูธรน้ำพอง จังหวัดขอนแก่นได้รับตัวนาย ก. ผู้ต้องหาคดียาเสพติดให้โทษประเภทที่ ๑ (เมทแอมเฟตามีน) โดยผิดกฎหมายไว้ ระหว่างควบคุมตัวที่ห้องควบคุมตัวผู้ต้องหา นาย ก. ถูกนาย น. ผู้ต้องหาคดีพยายามฆ่าและเสพยาเสพติดให้โทษประเภทที่ ๑ (เมทแอมเฟตามีน) โดยผิดกฎหมาย คดีพิพาทเกี่ยวกับการดำเนินการในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา


คดีพิพาทที่อยู่ในเขตอำนาจ ของศาลยุติธรรม รวมย่อคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่น่าสนใจ พ.ศ. ๒๕๕๖ - ๒๕๖๕ 61 ซึ่งถูกควบคุมตัวไว้ในห้องควบคุมตัวเดียวกันทำร้ายร่างกายจนเป็นเหตุให้นาย ก. ถึงแก่ความตาย เหตุแห่งการฟ้องคดีนี้จึงมาจากการที่ผู้ตายถึงแก่ความตายขณะอยู่ในความควบคุมของเจ้าหน้าที่ตำรวจ เพื่อทำการสอบสวนผู้ต้องหาและนำตัวผู้กระทำความผิดไปลงโทษตามกฎหมาย ศาลยุติธรรม ซึ่งเป็นศาลที่มีอำนาจเกี่ยวกับคดีอาญา ย่อมมีอำนาจในการควบคุมตรวจสอบขั้นตอนตามกระบวนการ ยุติธรรมทางอาญา คดีนี้จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดอันสืบเนื่องจากการใช้อำนาจ ในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๗๔/๒๕๖๔ แม้สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ผู้ถูกฟ้องคดี เป็นส่วนราชการไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวงหรือทบวง แต่มีฐานะเป็นกรมตามมาตรา ๔๖ (๗) แห่งพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. ๒๕๔๕ ซึ่งเป็น “หน่วยงานทางปกครอง” ตามบทนิยามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ แต่โดยที่มาตรา ๙ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ บัญญัติให้ ศาลปกครองมีอำนาจพิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่งในเรื่องดังต่อไปนี้ (๓) คดีพิพาทเกี่ยวกับ การกระทำละเมิดหรือความรับผิดอย่างอื่นของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ อันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมาย หรือจากกฎ คำสั่งทางปกครอง หรือคำสั่งอื่น หรือจาก การละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร ซึ่งหมายความว่า ความรับผิดทางละเมิดของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐในการปฏิบัติ หน้าที่ที่จะอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองนั้น ต้องเป็นการกระทำละเมิด อันเนื่องมาจากการใช้อำนาจทางปกครอง หรือการดำเนินกิจการทางปกครอง หรือการละเลยต่อหน้าที่ ในทางปกครอง เมื่อคดีนี้ผู้ฟ้องคดีฟ้องว่า ผู้ฟ้องคดีได้รับความเสียหายจากการปฏิบัติหน้าที่ของ เจ้าพนักงานตำรวจสถานีตำรวจภูธรแม่สรวย จังหวัดเชียงราย แจ้งข้อกล่าวหาว่าผู้ฟ้องคดีเป็นผู้ใช้ อาวุธปืนยิงนาย ศ. เสียชีวิตและดำเนินคดีอาญาแก่ผู้ฟ้องคดีในข้อหาฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา พยายามฆ่า ผู้อื่น และความผิดตามพระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ. ๒๔๙๐ ต่อมาพนักงานอัยการจังหวัดเชียงรายมีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้อง ผู้ฟ้องคดี เนื่องจากคดีไม่ปรากฏพยานหลักฐานว่าผู้ฟ้องคดีมีส่วนร่วมในการฆ่านาย ศ. การกระทำ ของเจ้าพนักงานตำรวจดังกล่าว ทำให้ผู้ฟ้องคดีได้รับความเสียหาย ขอให้ศาลพิพากษาให้ผู้ถูกฟ้องคดี ซึ่งเป็นหน่วยงานที่เจ้าหน้าที่กระทำละเมิดในขณะปฏิบัติหน้าที่ชดใช้ค่าเสียหาย กรณีตามคำฟ้อง จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดในการปฏิบัติหน้าที่ แต่การปฏิบัติหน้าที่ตามฟ้อง เป็นการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะพนักงานสอบสวน โดยใช้อำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา ความอาญา ในการสอบสวนคดีอาญาและทำความเห็นเสนอพนักงานอัยการเพื่อสั่งฟ้องหรือไม่ฟ้องคดีอาญา ซึ่งเป็นการใช้อำนาจในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา ข้อพิพาทตามฟ้องจึงมิใช่การกระทำละเมิด เนื่องจากการใช้อำนาจทางปกครองหรือการดำเนินกิจการทางปกครอง ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) คดีพิพาทเกี่ยวกับการดำเนินการในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา


62 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ แต่เป็นการกระทำ ละเมิดในการใช้อำนาจในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา ที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษา ของศาลยุติธรรม ส่วนคำฟ้องที่อ้างว่าเจ้าพนักงานตำรวจกล่าวหาใส่ร้ายผู้ฟ้องคดีโดยให้ข่าวต่อ สื่อมวลชนว่าผู้ฟ้องคดีเป็นผู้กระทำผิด ทำให้ประชาชนที่ได้รับฟังข่าวเข้าใจว่าผู้ฟ้องคดีเป็นผู้กระทำ ความผิด ก็เป็นการฟ้องว่าเจ้าพนักงานตำรวจกระทำละเมิดอันเกิดจากการกล่าวหรือไขข่าวแพร่หลาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๔๒๓ ซึ่งไม่ใช่การใช้อำนาจทางปกครองเช่นกัน แต่เป็น ข้อพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดในทางแพ่ง ที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๔๐/๒๕๖๔ ผู้ฟ้องคดีซึ่งเป็นนักโทษเด็ดขาดตามคำพิพากษาคดีอาญาของศาลจังหวัดชลบุรี ยื่นฟ้อง อธิบดีกรมราชทัณฑ์ ที่ ๑ คณะกรรมการตรวจสอบอภัยโทษตามพระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษ พ.ศ. ๒๕๕๙ ของเรือนจำกลางชลบุรี ที่ ๒ คณะกรรมการตรวจสอบอภัยโทษตามพระราชกฤษฎีกา พระราชทานอภัยโทษเนื่องในโอกาสแรกนับแต่ขึ้นทรงราชย์สืบราชสันตติวงศ์ พ.ศ. ๒๕๕๙ ของเรือนจำกลางชลบุรี ที่ ๓ อ้างว่า ผู้ฟ้องคดีเป็นผู้มีสิทธิได้รับพระราชทานอภัยโทษความผิดฐาน กระทำชำเราตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒๗๖ วรรคสอง (เดิม) ไม่อยู่ในบังคับของมาตรา ๑๔ แห่งพระราชกฤษฎีกาทั้งสองฉบับที่ยกเว้นมิให้ได้รับพระราชทานอภัยโทษ ขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่ง ของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และพิพากษาให้ผู้ฟ้องคดีได้รับพระราชทานอภัยโทษ ตามพระราชกฤษฎีกา พระราชทานอภัยโทษ พ.ศ. ๒๕๕๙ และพระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษเนื่องในโอกาสแรก นับแต่ขึ้นทรงราชย์สืบราชสันตติวงศ์ พ.ศ. ๒๕๕๙ เห็นว่า แม้ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสามเป็นเจ้าหน้าที่ ของรัฐ ตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ แต่เนื้อหาของคำฟ้องและคำขอท้ายฟ้องของผู้ฟ้องคดี มุ่งประสงค์ขอให้ศาลมีคำพิพากษาให้ผู้ฟ้องคดี มีสิทธิได้รับพระราชทานอภัยโทษเป็นสำคัญ เมื่อพระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษ พ.ศ. ๒๕๕๙ และพระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษเนื่องในโอกาสแรกนับแต่ขึ้นทรงราชย์สืบราชสันตติวงศ์ พ.ศ. ๒๕๕๙ ทั้งสองฉบับ ออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๒ ของรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ และมาตรา ๒๖๑ ทวิ วรรคสองแห่งประมวล กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เห็นได้ว่าฐานอันเป็นที่มาแห่งการใช้อำนาจของผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสาม ในการตรวจสอบผู้ซึ่งจะได้รับพระราชทานอภัยโทษและส่งรายชื่อต่อศาลแห่งท้องที่เพื่อพิจารณา ออกหมายสั่งปล่อยหรือลดโทษ หรือออกคำสั่งยกเลิกการทำงานบริการสังคมหรือทำงาน สาธารณประโยชน์ ตามมาตรา ๑๕ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชกฤษฎีกาทั้งสองฉบับ เป็นการใช้อำนาจ ที่เกี่ยวเนื่องกับกระบวนการยุติธรรมทางอาญาที่มีผลต่อการบังคับโทษตามคำพิพากษา ตามมาตรา ๒๖๕ แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาซึ่งศาลยุติธรรมเป็นศาลที่มีอำนาจ ตรวจสอบการใช้อำนาจในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาและมีความเชี่ยวชาญในการพิจารณา พิพากษาคดีอาญา คดีนี้จึงเป็นคดีพิพาทที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม คดีพิพาทเกี่ยวกับการดำเนินการในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา


คดีพิพาทที่อยู่ในเขตอำนาจ ของศาลยุติธรรม รวมย่อคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่น่าสนใจ พ.ศ. ๒๕๕๖ - ๒๕๖๕ 63 คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๓๓/๒๕๖๐ การที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้ร้องทุกข์กล่าวโทษต่อพนักงานสอบสวนว่า มีผู้กระทำผิด ตามกฎหมายว่าด้วยป่าไม้ ต่อมาทราบว่าผู้ฟ้องคดีเป็นผู้ครอบครองพื้นที่บุกรุกดังกล่าว ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ จึงมีหนังสือให้ผู้ฟ้องคดีแสดงข้อเท็จจริงพร้อมเอกสารหลักฐาน จากนั้นได้มีคำสั่งพนักงานเจ้าหน้าที่ ผู้ควบคุมและรักษาป่าสงวนแห่งชาติป่าเขาภูหลวง ที่ ๑๖๐/๒๕๕๘ สั่งให้ผู้ฟ้องคดีออกจากป่าสงวน แห่งชาติและรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง จึงเป็นการกล่าวหาว่าผู้ฟ้องคดีกระทำความผิดอาญาที่พนักงาน เจ้าหน้าที่ได้ร้องทุกข์กล่าวโทษ อันเป็นการเริ่มต้นของกระบวนการยุติธรรมทางอาญาแล้ว การที่ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ อาศัยอำนาจตามมาตรา ๒๕ แห่งพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๐๗ ออกคำสั่งให้ผู้ฟ้องคดีออกจากเขตป่าสงวนแห่งชาติ และรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกจากเขตป่าสงวนแห่งชาติ จึงเป็นการออกคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวเนื่องกับกระบวนการยุติธรรมทางอาญา เพื่อจะนำ ไปสู่การบังคับให้ผู้ฟ้องคดีปฏิบัติตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๐๗ ซึ่งเป็นกฎหมาย ที่มีโทษทางอาญา หรือหากผู้ฟ้องคดีไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงาน ซึ่งเป็นการฝ่าฝืนมาตรา ๒๕ แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว ก็จะมีบทกำหนดโทษทางอาญา ตามมาตรา ๓๓ ทวิ แห่งพระราชบัญญัติ เดียวกัน ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น โดยมีระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับ ไม่เกินห้าพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ มิใช่เป็นบทกำหนดโทษในทางปกครอง ดังนั้น การออกคำสั่ง ของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ในการให้ผู้ฟ้องคดีออกจากเขตป่าสงวนแห่งชาติและรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง ออกจากเขตป่าสงวนแห่งชาติ โดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัตินี้ภายหลังจากที่มีการร้องทุกข์ กล่าวโทษแล้ว จึงเป็นการดำเนินการตามขั้นตอนที่พระราชบัญญัตินี้กำหนดไว้เป็นการเฉพาะ เพื่อการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดตามกฎหมายว่าด้วยป่าไม้ซึ่งเป็นบทกฎหมาย ที่มีโทษทางอาญา อันอยู่ในอำนาจการควบคุมตรวจสอบของศาลยุติธรรม กรณีไม่เข้าหลักเกณฑ์ เป็นคดีพิพาทตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณา คดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ การฟ้องขอให้ตรวจสอบว่าคำสั่งพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ควบคุมและรักษาป่าสงวน แห่งชาติของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ จึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม ทั้งข้อเท็จจริงปรากฏว่าผู้ฟ้องคดีโต้แย้งว่า ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินในเขตพื้นที่ปฏิรูปที่ดินป่าเขาภูหลวงมิใช่ที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ซึ่งเป็นกรณี พิพาทเกี่ยวกับสิทธิในที่ดินอีกส่วนหนึ่ง จึงเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๑๕/๒๕๖๐ คดีที่พนักงานอัยการยื่นฟ้องเจ้าหน้าที่ของรัฐสังกัดกรมควบคุมมลพิษซึ่งมีอำนาจหน้าที่ รับผิดชอบโดยตรงในการดำเนินการโครงการออกแบบก่อสร้างระบบรวบรวมและบำบัดน้ำเสีย ในเขตควบคุมมลพิษ จังหวัดสมุทรปราการ กล่าวหาว่าร่วมกันใช้อำนาจในตำแหน่งโดยทุจริตอันเป็น การเสียหายแก่รัฐ ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ และโดยทุจริต ขอให้ลงโทษตามประมวล กฎหมายอาญา มาตรา ๑๕๑, ๑๕๗ กรมควบคุมมลพิษ ผู้เสียหายยื่นคำร้องเรียกค่าเสียหายส่วนแพ่ง คดีพิพาทเกี่ยวกับการดำเนินการในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา


64 ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๔๔/๑ ว่า เป็นผู้เสียหายเนื่องจากการกระทำ ความผิดของจำเลยทั้งสาม ขอให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทน เห็นว่า คดีนี้มีมูลเหตุมาจากการกล่าวอ้างว่า โครงการก่อสร้างบ่อบำบัดน้ำเสียมีการทุจริตจนนำไปสู่การไต่สวนของคณะกรรมการป้องกัน และปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) และมีมติชี้มูลความผิดของจำเลยทั้งสามกับส่งเรื่อง ให้ผู้เสียหายออกคำสั่งเรียกร้องให้จำเลยทั้งสามชดใช้ค่าเสียหายทางละเมิด และส่งเรื่อง ให้พนักงานอัยการดำเนินคดีอาญา ผู้เสียหายใช้สำนวนของ ป.ป.ช. เป็นหลักในการพิจารณา ความรับผิดทางละเมิดจากการกระทำของจำเลยทั้งสามแล้วออกคำสั่งที่ ๑๑๗/๒๕๕๗ ให้จำเลยทั้งสาม ชดใช้ค่าเสียหายตามส่วนของแต่ละคน และศาลอาญาก็ใช้สำนวนการสอบสวนของ ป.ป.ช. ในการ พิจารณาคดีเป็นหลักเช่นเดียวกัน ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกัน และปราบปรามการทุจริต พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๙๘/๑ จนกระทั่งมีคำพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลย ทั้งสาม ดังนั้น การที่จำเลยทั้งสามถูกฟ้องเป็นคดีอาญาก็ดี การที่ผู้เสียหายออกคำสั่งเรียกให้จำเลย ทั้งสามชดใช้ค่าเสียหายก็ดี ล้วนแล้วมาจากการกระทำเดียวกันทั้งสิ้น มูลความและกระบวนการต่าง ๆ แห่งคดีนี้ จึงเป็นเรื่องมาตรการการปราบปรามการทุจริตซึ่งเป็นการกระทำความผิดทางอาญาเป็นหลัก มิใช่เป็นเรื่องเกิดจากการใช้อำนาจทางปกครอง อันจะเป็นการทำละเมิดทางปกครองซึ่งเป็นคดี ที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง เมื่อพนักงานอัยการยื่นฟ้องจำเลยทั้งสาม เป็นคดีอาญา และผู้เสียหายยื่นคำร้องว่ามีสิทธิที่จะได้รับค่าสินไหมทดแทนเพราะเหตุได้รับความเสียหาย ในทางทรัพย์สินอันเนื่องมาจากการกระทำความผิดอาญาของจำเลยทั้งสาม ข้ออ้างตามคำร้องที่อาศัย เป็นหลักแห่งข้อหา จึงเป็นเรื่องของการกระทำความผิดอาญาต้องยื่นต่อศาลที่จะพิจารณาพิพากษา คดีอาญา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๔๔/๑ ซึ่งในการพิพากษาส่วนแพ่ง ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา ตามมาตรา ๔๖ กรณีจึงเป็น การที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาบัญญัติไว้เป็นการเฉพาะ คดีนี้จึงอยู่ในอำนาจพิจารณา พิพากษาของศาลยุติธรรม คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๙๒/๒๕๕๘ การไต่สวนชันสูตรพลิกศพตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๑๕๐ เป็นการสอบสวนอย่างหนึ่งเพื่อหาตัวผู้กระทำความผิดมาลงโทษด้วยวิธีการพิเศษที่บัญญัติให้ศาล ต้องเข้าไปเกี่ยวข้องด้วยในชั้นสอบสวน เพื่อให้ศาลทำการไต่สวนและทำคำสั่งแสดงว่าผู้ตายคือใคร ตายที่ไหน เมื่อใด และถึงเหตุและพฤติการณ์ที่ตาย ถ้าตายโดยคนทำร้ายให้กล่าวว่าใครเป็นผู้กระทำร้าย เท่าที่จะทราบได้ แม้ตามคำร้องจะระบุว่าผู้ตายเป็นทหารกองประจำการและตายในระหว่างถูกคุมขัง ในเรือนจำจังหวัดทหารบกเพชรบูรณ์ ซึ่งอยู่ในความควบคุมของเจ้าพนักงานทหารก็ตาม แต่กรณี ยังเป็นการไม่อาจทราบแน่ชัดว่าผู้ตายคือใคร ตายที่ไหน เมื่อใด เหตุและพฤติการณ์ที่ตายเป็นอย่างไร ถ้าตายโดยคนทำร้ายแล้วใครเป็นผู้กระทำร้ายและผู้ที่ทำร้ายเป็นทหารซึ่งปฏิบัติราชการตามหน้าที่ ตามที่ปรากฏในคำร้องจริงหรือไม่ หากศาลไต่สวนแล้วปรากฏว่า การตายของผู้ตายมิได้เกิดจาก คดีพิพาทเกี่ยวกับการดำเนินการในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา


คดีพิพาทที่อยู่ในเขตอำนาจ ของศาลยุติธรรม รวมย่อคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่น่าสนใจ พ.ศ. ๒๕๕๖ - ๒๕๖๕ 65 การถูกเจ้าพนักงานที่เป็นทหารทำร้ายหรือเกิดจากการที่ทหารกับพลเรือนกระทำความผิดด้วยกัน หรือเป็นคดีที่เกี่ยวพันกับคดีที่อยู่ในอำนาจศาลพลเรือน หรือเป็นคดีที่ต้องดำเนินในศาลคดีเด็ก และเยาวชน คดีก็จะไม่อยู่ในอำนาจของศาลทหารตามพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. ๒๔๙๘ มาตรา ๑๔ กรณีจึงยังเป็นการไม่แน่ชัดว่าคดีจะอยู่ในอำนาจศาลใดกันแน่ ดังนั้นการไต่สวนชันสูตร พลิกศพคดีนี้ จึงอยู่ในอำนาจพิจารณาของศาลยุติธรรม คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๘๕/๒๕๕๘ กระบวนการยุติธรรมทางอาญานั้นเป็นขั้นตอนของการดำเนินคดีอาญาแก่ผู้กระทำความผิด ตามที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญากำหนดไว้เป็นการเฉพาะ เช่น การตรวจค้น การจับกุม สอบสวน ยึดสิ่งของที่มีไว้เป็นความผิดหรือที่ได้ใช้ในการกระทำความผิดหรือได้มาโดยการกระทำ ความผิด เพื่อเป็นพยานหลักฐานพิสูจน์ความผิดของผู้ต้องหาหรือจำเลยหรือสั่งคืนสิ่งของที่ได้ยึดไว้ การใช้อำนาจตามที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญากำหนดไว้ จึงมิใช่การใช้อำนาจ ทางปกครอง เพราะเป็นการมุ่งหมายเพื่อนำตัวผู้กระทำความผิดมาลงโทษทางอาญา และศาลที่มีอำนาจ เกี่ยวแก่การพิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่งในคดีอาญา ได้แก่ ศาลยุติธรรม เมื่อการขอคืนของกลาง ที่เจ้าพนักงานยึดไว้ในคดีอาญาเป็นขั้นตอนที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๘๕ วรรคสาม คำฟ้องของโจทก์ที่ฟ้องโต้แย้งการกระทำของจำเลยทั้งสองที่มีคำสั่งไม่คืน รถยนต์บรรทุกสิบล้อของกลางให้แก่โจทก์ จึงเป็นการโต้แย้งการใช้อำนาจตามประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความอาญาของเจ้าพนักงานตำรวจซึ่งอยู่ในการควบคุมตรวจสอบของศาลยุติธรรม และแม้ว่าการไม่คืนของกลางจะก่อความเสียหายให้แก่โจทก์ โดยโจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหาย อันเนื่องมาจาก การปฏิบัติหน้าที่ของจำเลยทั้งสองก็ตาม ก็เป็นการเรียกค่าเสียหายอันเนื่องมาจากการใช้อำนาจ ของเจ้าพนักงานในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา คดีจึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๘๔/๒๕๕๘ คดีที่เอกชนผู้เสียหายในคดีอาญายื่นฟ้องสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่ ๑ และพนักงานสอบสวน เจ้าของสำนวน ที่ ๒ ผู้ถูกฟ้องคดี ให้ร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายอันเนื่องมาจากการที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ปฏิบัติหน้าที่พนักงานสอบสวน ทำสำนวนการสอบสวน คดีอาญาสูญหาย ทำให้ผู้ฟ้องคดีในฐานะผู้เสียหายในคดีดังกล่าวเสียหายโดยไม่อาจดำเนินคดีใด ๆ เพื่อเรียกร้องค่าเสียหายจากผู้ต้องหาได้ เห็นว่า พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณา คดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) บัญญัติให้ความรับผิดของหน่วยงานทางปกครอง หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่จะอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองนั้น ต้องเป็นความรับผิด อันเนื่องมาจากการใช้อำนาจทางปกครอง หรือการดำเนินกิจการทางปกครอง หรือการละเลยต่อหน้าที่ ในทางปกครอง เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าสำนวนการสอบสวนคดีอาญาสูญหายขณะอยู่ในชั้น พนักงานสอบสวนและการสั่งฟ้องคดีอาญาของพนักงานอัยการ ซึ่งเป็นขั้นตอนของการรวบรวม คดีพิพาทเกี่ยวกับการดำเนินการในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา


66 พยานหลักฐาน เพื่อให้ทราบข้อเท็จจริงและพฤติการณ์ต่าง ๆ อันเกี่ยวกับความผิดที่ถูกกล่าวหา เพื่อพิสูจน์ความผิดหรือความบริสุทธิ์ของผู้ถูกกล่าวหา โดยผู้ฟ้องคดีฟ้องว่า ได้รับความเสียหาย จากการที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ละเลยต่อหน้าที่ไม่เก็บรักษาสำนวนการสอบสวนคดีอาญาเป็นเหตุ ให้สำนวนสูญหายและไม่อาจสอบสวนเพิ่มเติมตามประเด็นของพนักงานอัยการและไม่สามารถ ส่งสำนวนการสอบสวนคดีอาญาให้พนักงานอัยการสั่งฟ้องหรือไม่ฟ้องผู้ต้องหาได้ จึงเป็นการกล่าวอ้างว่า ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ละเลยต่อหน้าที่ในการรวบรวมพยานหลักฐาน และการดำเนินการทั้งหลายอื่นตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญากำหนดไว้ อันเป็นการกระทำตามหน้าที่ในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา มิใช่การละเลยต่อหน้าที่ในทางปกครอง เมื่อศาลยุติธรรมเป็นศาลซึ่งมีอำนาจพิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่งในคดีอาญาตามประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๒ (๑) ดังนั้น การตรวจสอบเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ถูกฟ้องคดี ที่ ๒ ซึ่งเป็นพนักงานสอบสวน และเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๒ (๖) จึงอยู่ในอำนาจของศาลยุติธรรม ซึ่งเป็นศาลที่มีอำนาจควบคุมตรวจสอบความชอบ ด้วยกฎหมายเกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรมทางอาญา และแม้ผู้ฟ้องคดีจะฟ้องเรียกค่าเสียหาย มาด้วย ก็เป็นการเรียกค่าเสียหายอันเนื่องมาจากการละเลยการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา คดีจึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๗๒/๒๕๕๘ โจทก์เป็นเอกชนยื่นฟ้องเอกชนและหน่วยงานทางปกครองเป็นจำเลย มูลความแห่งคดี สืบเนื่องมาจากผู้ตายถูกส่งไปควบคุมตัวในเรือนจำเพื่อเข้ารับการตรวจพิสูจน์ว่าเป็นผู้เสพหรือ ผู้ติดยาเสพติด อันเป็นไปตามขั้นตอนและวิธีการตามพระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ. ๒๕๔๕ ซึ่งระหว่างการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดดังกล่าว พนักงานสอบสวนยังมีหน้าที่ ต้องทำสำนวนการสอบสวนในความผิดที่แจ้งข้อหาแก่ผู้ตายหรือผู้เข้ารับการฟื้นฟูต่อไป เพราะในกรณี ที่ผู้เข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดผู้ใดแม้จะได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด จนครบกำหนดเวลา แต่ผลการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดยังไม่เป็นที่พอใจ ให้คณะอนุกรรมการ ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดรายงานความเห็น ไปยังพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการ แล้วแต่กรณี เพื่อประกอบการพิจารณาดำเนินคดีผู้นั้นต่อไป นอกจากนี้ยังให้ถือว่าผู้เข้ารับการฟื้นฟู สมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดเป็นผู้ถูกคุมขัง ตามประมวลกฎหมายอาญาและการปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ ให้กรรมการ อนุกรรมการและพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติดังกล่าวเป็นพนักงานฝ่ายปกครอง หรือตำรวจ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาและเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา ดังนี้การควบคุมตัวผู้ตายเพื่อเข้ารับการตรวจพิสูจน์ดังกล่าวจึงเป็นไปตามขั้นตอนและวิธีการของ กระบวนการในการยุติธรรมเพื่อนำไปสู่กระบวนการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดหรือนำไปสู่ การดำเนินคดีเพื่อลงโทษผู้กระทำความผิดทางอาญาแล้วแต่กรณี อันอยู่ในอำนาจการตรวจสอบ ของศาลยุติธรรม กรณีจึงเป็นการพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดของเจ้าหน้าที่ อันสืบเนื่องมาจาก คดีพิพาทเกี่ยวกับการดำเนินการในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา


คดีพิพาทที่อยู่ในเขตอำนาจ ของศาลยุติธรรม รวมย่อคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่น่าสนใจ พ.ศ. ๒๕๕๖ - ๒๕๖๕ 67 การใช้อำนาจในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา มิใช่การละเมิดอันเนื่องมาจากการใช้อำนาจปกครอง โดยตรง ตามความในมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) ของพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณา คดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ คดีนี้จึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๕๗/๒๕๕๘ คดีนี้โจทก์ยื่นฟ้องว่าจำเลยเป็นพลเรือนกระทำความผิดตามประกาศคณะรักษาความสงบ แห่งชาติ อันเป็นความผิดที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติประกาศให้เป็นคดีอยู่ในอำนาจพิจารณา พิพากษาของศาลทหาร จำเลยมีกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียน ท้องที่ และซุกซ่อนกระสุนปืนดังกล่าวไว้ในตะกร้าหลังตู้เสื้อผ้าโดยไม่มีเจตนาที่จะนำกระสุนปืนดังกล่าว ส่งมอบต่อนายทะเบียนท้องที่และจำเลยได้เสพเมทแอมเฟตามีน อันเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย เห็นว่า ตามประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ บัญญัติให้ความผิดตามประกาศหรือคำสั่ง คณะรักษาความสงบแห่งชาติอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีของศาลทหาร โดยให้ศาลทหารมีอำนาจ พิจารณาพิพากษาคดีอาวุธปืนที่ใช้เฉพาะการสงคราม และให้ผู้ที่มีอาวุธปืนโดยไม่ได้รับอนุญาต หรือที่มีกฎหมายห้ามออกใบอนุญาตนำส่งมอบ ความผิดฐานมีกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้ รับอนุญาตและไม่มีเจตนาที่จะนำกระสุนปืนดังกล่าวส่งมอบต่อนายทะเบียนท้องที่นั้นอยู่ในอำนาจ พิจารณาพิพากษาของศาลทหาร ซึ่งศาลมณฑลทหารบกที่ ๑๒ ได้พิจารณายกฟ้องจำเลยในความผิด ฐานดังกล่าวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๑๕๘ (๕) ประกอบพระราชบัญญัติ ธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. ๒๕๔๙ มาตรา ๔๕ ส่วนความผิดฐานเสพเมทแอมเฟตามีนนั้น ตามประกาศ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ เรื่อง คดีที่ประกอบด้วยการกระทำหลายอย่างเกี่ยวโยงกันให้อยู่ในอำนาจ ของศาลทหาร ซึ่งความผิดฐานเสพเมทแอมเฟตามีนเป็นการกระทำที่ต่างกรรมต่างวาระกับความผิด ฐานมีกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตและไม่มีเจตนาที่จะนำกระสุนปืนดังกล่าว ส่งมอบต่อนายทะเบียนท้องที่ จึงเป็นการกระทำความผิดที่ไม่อยู่ในบังคับตามประกาศคณะรักษา ความสงบแห่งชาติ ข้อหาเสพเมทแอมเฟตามีนจึงไม่ใช่คดีที่เกี่ยวโยงกันอันอยู่ในอำนาจของศาลทหาร แต่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๓๔/๒๕๕๘ คดีที่เอกชนยื่นฟ้องหน่วยงานทางปกครองว่า ผู้ต้องหาถูกจับกุมดำเนินคดีอาญาและ ถูกควบคุมในห้องขังสถานีตำรวจภูธร เจ้าหน้าที่สิบเวรผู้ปฏิบัติหน้าที่ควบคุมและเก็บรักษากุญแจ ห้องขังพบเหตุเพลิงไหม้สถานีตำรวจ ตามหน้าที่ต้องเปิดประตูห้องขังนำตัวผู้ต้องหาออกมาให้พ้น จากอันตราย แต่กลับแจ้งเหตุและรอคำสั่งผู้บังคับบัญชาแล้วจึงช่วยเหลือผู้ต้องหาในห้องขังทำให้ เพลิงไหม้ห้องขังและผู้ต้องหาถูกไฟคลอกเสียชีวิตนั้น เกิดจากการกระทำละเมิดของเจ้าหน้าที่ ในสังกัดผู้ถูกฟ้องคดีในการปฏิบัติหน้าที่ควบคุมตัวผู้ต้องหา ขอให้ศาลพิพากษาให้ผู้ถูกฟ้องคดีชำระ ค่าปลงศพ ค่าขาดไร้อุปการะและค่าเสียหายอันมิใช่ตัวเงินพร้อมดอกเบี้ย เห็นว่า มูลความแห่งคดี คดีพิพาทเกี่ยวกับการดำเนินการในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา


68 สืบเนื่องมาจากพนักงานสอบสวนจับกุมผู้ต้องหาว่ากระทำความผิดอาญาและถูกควบคุมตัวระหว่าง สอบสวนเพื่อดำเนินคดีอาญาจนถึงแก่ความตายขณะอยู่ในอำนาจควบคุมของเจ้าหน้าที่ ประมวล กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๘๔/๑ บัญญัติให้เจ้าพนักงานตำรวจเข้าทำการจับกุม และควบคุมตัวผู้ต้องหาไปยังศาล ถ้าไม่อาจส่งไปได้ในขณะนั้น เนื่องจากเป็นเวลาที่ศาลปิดหรือ ใกล้จะปิดทำการ ให้พนักงานสอบสวนที่รับตัวผู้ถูกจับไว้มีอำนาจปล่อยผู้ถูกจับชั่วคราวหรือควบคุม ผู้ถูกจับไว้ได้จนกว่าจะถึงเวลาศาลเปิดทำการ อันเป็นขั้นตอนการดำเนินการที่กำหนดให้อำนาจ พนักงานสอบสวนไว้เป็นการเฉพาะโดยตรงเพื่อนำไปสู่การฟ้องคดีและลงโทษผู้กระทำความผิดทางอาญา และตามมาตรา ๒ (๑) ก็บัญญัติว่า “ศาล” หมายความถึงศาลยุติธรรมหรือผู้พิพากษาซึ่งมีอำนาจ เกี่ยวกับคดีอาญา ดังนั้นศาลที่มีอำนาจในการควบคุมตรวจสอบการสอบสวนของพนักงานสอบสวน คือศาลยุติธรรมซึ่งมีอำนาจเกี่ยวกับคดีอาญา แม้ผู้ฟ้องจะบรรยายฟ้องในทำนองว่าผู้ถูกฟ้องคดี ละเลยต่อหน้าที่ก็ตาม แต่การปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวก็เป็นเรื่องการสอบสวนเพื่อนำตัวผู้กระทำความผิด ไปลงโทษทางอาญา เมื่อมีความเสียหายหรือข้อพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดของเจ้าหน้าที่เกิดขึ้น ศาลยุติธรรมย่อมมีอำนาจในการตรวจสอบขั้นตอนกระบวนการยุติธรรมทางอาญา คดีนี้จึงเป็น คดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดอันสืบเนื่องจากการใช้อำนาจในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา จึงอยู่ในอำนาจของศาลยุติธรรม คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๑๐/๒๕๕๘ การที่สามีของผู้ฟ้องคดีถึงแก่ความตายขณะอยู่ในอำนาจคุมขังของเจ้าหน้าที่ในสังกัด ของผู้ถูกฟ้องคดี อันเป็นการจัดการให้เป็นไปตามหมายขังของศาลยุติธรรม ที่ได้บัญญัติไว้ในประมวล กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๗๑ และมาตรา ๘๙ ฉะนั้น อำนาจคุมขังของเจ้าหน้าที่ ของผู้ถูกฟ้องคดีดังกล่าวจึงเริ่มต้นต่อเนื่องมาจากหมายขังของศาลยุติธรรมและย่อมสิ้นสุดลง เมื่อศาลยุติธรรมออกหมายปล่อยตัวผู้ถูกคุมขัง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๕๗ วรรคสอง และมาตรา ๗๕ นอกจากนี้ในกรณีที่ศาลยุติธรรมมีคำสั่งให้จำคุก ผู้ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๘๙/๒ ศาลยุติธรรม ยังอาจมีคำสั่งให้จำคุกผู้ต้องจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุดไว้ในสถานที่อื่นนอกจากเรือนจำ หรือ วิธีการอื่นที่จำกัดการเดินทางและอาณาเขตก็ได้ หรือศาลยุติธรรมอาจมีคำสั่งให้ทุเลาการบังคับ ให้จำคุกไว้ก่อน เมื่อปรากฏเหตุดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๒๔๖ ก็สามารถกระทำได้เช่นกัน ผู้ถูกฟ้องคดีและเจ้าหน้าที่ในสังกัดของผู้ถูกฟ้องคดี จึงเป็นเจ้าพนักงาน ผู้มีหน้าที่จัดการตามหมายอาญาของศาลยุติธรรม อีกทั้งพระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พุทธศักราช ๒๔๗๙ ตลอดจนกฎกระทรวงมหาดไทยที่ออกตามความในพระราชบัญญัติดังกล่าวที่บัญญัติถึงขั้นตอน และวิธีการเกี่ยวกับการควบคุมผู้ต้องขัง ย่อมเป็นกฎหมายและกฎระเบียบที่เสริมให้ผู้ถูกฟ้องคดี และเจ้าหน้าที่ในสังกัดของผู้ถูกฟ้องคดีสามารถจัดการบังคับตามหมายจำคุกและหมายปล่อย รวมถึงคำสั่งใด ๆ ของศาลยุติธรรมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาให้ลุล่วงไปด้วย คดีพิพาทเกี่ยวกับการดำเนินการในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา


คดีพิพาทที่อยู่ในเขตอำนาจ ของศาลยุติธรรม รวมย่อคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่น่าสนใจ พ.ศ. ๒๕๕๖ - ๒๕๖๕ 69 ความเรียบร้อย อันอยู่ในขั้นตอนของกระบวนการยุติธรรมทางอาญาทั้งสิ้นไม่ว่าจะเป็นการคุมขัง ก่อนมีคำพิพากษาหรือจำคุกหลังคำพิพากษาถึงที่สุดแล้วก็ตาม ดังนั้นเมื่อเหตุแห่งการฟ้องคดีมาจาก การที่ผู้ตายถึงแก่ความตายขณะอยู่ในความควบคุมของเจ้าหน้าที่อันเป็นการจัดการบังคับตามหมายขัง ของศาลยุติธรรม จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดของเจ้าหน้าที่ อันสืบเนื่องมาจาก การปฏิบัติหน้าที่ในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๑๐๐/๒๕๕๗ โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ทำสัญญาเช่าที่ดินในค่ายธนะรัชต์ซึ่งตั้งอยู่บนที่ดินราชพัสดุ เพื่อทำ การเกษตรปลูกต้นไม้สักทองตามสัญญาบนที่ดินพิพาท เมื่อโจทก์ตัดไม้สักทองที่ปลูกไว้ตามสัญญา ไปบางส่วนเจ้าหน้าที่ทหารมีหนังสือแจ้งระงับการตัดไม้สักทองกับทำการตรวจยึดรถยนต์บรรทุกพ่วง พร้อมท่อนไม้สักทองและแจ้งความดำเนินคดีอาญาในข้อหาตัดไม้ในเขตพื้นที่ทหารโดยไม่ได้รับอนุญาต ขอให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้ชดใช้ค่าเสียหาย เห็นว่า การที่เจ้าหน้าที่ทหารมีหนังสือแจ้งให้ระงับ การตัดไม้สักทองที่พิพาท และได้ทำการตรวจยึดรถยนต์บรรทุกพ่วงพร้อมท่อนไม้สักทอง รวมทั้งแจ้งความ ดำเนินคดีอาญาในข้อหาตัดไม้ในเขตพื้นที่ทหารโดยไม่ได้รับอนุญาต เป็นการใช้อำนาจตามมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยเขตต์ปลอดภัยในราชการทหาร พุทธศักราช ๒๔๗๘ ซึ่งบัญญัติห้ามมิให้ ผู้หนึ่งผู้ใดยักย้ายต้นไม้ที่ปลูกไว้แล้วอันมีสภาพเป็นอสังหาริมทรัพย์ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตเป็นหนังสือ จากกระทรวงกลาโหม และตามประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง แต่งตั้ง พนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช ๒๔๘๔ แต่งตั้งจำเลยทั้งสามซึ่งเป็น เจ้าหน้าที่ทหารให้มีอำนาจหน้าที่ในการป้องกัน จับกุม ปราบปรามผู้กระทำความผิดและยึดของกลาง ตามกฎหมาย จำเลยทั้งสามจึงมีอำนาจในการตรวจค้นและจับกุมผู้กระทำความผิดเพื่อดำเนินคดีอาญา ในข้อหาตัดไม้ในเขตพื้นที่ทหาร การที่โจทก์กล่าวอ้างว่าได้รับความเสียหายจากการดำเนินการดังกล่าว จึงเป็นกรณีพิพาทที่เกิดจากการใช้อำนาจในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา อันอยู่ในอำนาจ ของศาลยุติธรรม คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๙๙/๒๕๕๗ การที่จำเลยที่ ๒ ถึงที่ ๕ ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตำรวจสังกัดจำเลยที่ ๑ ได้ร่วมกันเข้าตรวจค้นบ้าน และจับกุมโจทก์ทั้งสองในข้อหาร่วมกันลักทรัพย์หรือรับของโจรและได้ร่วมกันยึดของกลาง กรณี เป็นขั้นตอนเพื่อนำไปสู่การลงโทษผู้กระทำความผิดในคดีอาญา การที่จำเลยที่ ๕ ได้ส่งมอบของกลาง ทั้งสามรายการในระหว่างการสอบสวนคดีให้แก่บุคคลซึ่งอ้างว่าเป็นเจ้าของทรัพย์สินและแม้ในภายหลัง พนักงานอัยการมีคำสั่งไม่ฟ้องโจทก์ทั้งสองแล้ว เมื่อมูลความแห่งคดีนี้ สืบเนื่องมาจากการใช้อำนาจ ของพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๒ (๑๖) มาตรา ๗๘ และมาตรา ๘๕ ที่ให้อำนาจพนักงานเจ้าหน้าที่จับกุมผู้กระทำความผิดและยึดของกลางไว้ จนกว่าคดีจะถึงที่สุด แม้ว่าระหว่างคดียังไม่ถึงที่สุด หากมีผู้มีสิทธิเรียกร้องขอคืนสิ่งของเรียกร้อง คดีพิพาทเกี่ยวกับการดำเนินการในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา


70 ขอคืนของนั้นและพนักงานสอบสวนเห็นว่าสิ่งของนั้น ไม่จำเป็นต้องใช้เป็นพยานหลักฐานในการ พิจารณาคดี พนักงานสอบสวนก็อาจคืนสิ่งของดังกล่าวก่อนคดีถึงที่สุดได้ จึงเป็นการดำเนินการ ของพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจตามที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญากำหนด ให้อำนาจไว้เป็นการเฉพาะโดยตรง อันอยู่ในอำนาจการควบคุมตรวจสอบของศาลยุติธรรม กรณี จึงเป็นคดีพิพาทที่เกี่ยวกับการกระทำละเมิดของเจ้าหน้าที่ อันเนื่องมาจากการใช้อำนาจในกระบวนการ ยุติธรรมทางอาญา คดีจึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๙๘/๒๕๕๗ คดีที่เอกชนฟ้องหน่วยงานทางปกครองที่มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการป้องกันและ ปราบปรามยาเสพติดตามพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับ ยาเสพติด พ.ศ. ๒๕๓๔ กรณีมีคำสั่งให้ตรวจสอบทรัพย์สินของผู้ตายและสินสมรสของโจทก์กับผู้ตาย และมีคำสั่งให้ยึดและอายัดทรัพย์สิน กระทำการโดยไม่สุจริตโอนที่ดินที่ยึดและอายัดไว้เป็นของจำเลย ทั้งหมด ขอให้เพิกถอนคำสั่งเลขาธิการของจำเลย ให้คืนทรัพย์สินที่ยึดหรืออายัดไว้ ให้เพิกถอน การโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดิน กับให้ชำระค่าขาดประโยชน์พร้อมดอกเบี้ย เมื่อการตรวจสอบทรัพย์สิน ยึดและอายัดทรัพย์สินที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด เป็นการดำเนินการ ตามพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. ๒๕๓๔ และเป็นขั้นตอนที่นำไปสู่การยื่นคำร้องของพนักงานอัยการต่อศาลยุติธรรม อันเป็นกระบวนการ ที่ต่อเนื่องกับการดำเนินกระบวนยุติธรรมทางอาญาในความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ซึ่งศาลยุติธรรม ย่อมมีอำนาจในการตรวจสอบขั้นตอนกระบวนการดังกล่าว ข้อพิพาทในคดีนี้จึงอยู่ในอำนาจพิจารณา พิพากษาของศาลยุติธรรม คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๙๗/๒๕๕๗ คดีที่โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐกรณีจำเลยมีคำสั่งมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ลงโทษทางวินัยอย่างร้ายแรงโจทก์ด้วยการไล่โจทก์ออกจากราชการ โจทก์อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าว ต่อมา ก.พ.อ. ได้แจ้งให้มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีเพิกถอนคำสั่งลงโทษไล่โจทก์ออกจากราชการ โดยให้โจทก์กลับเข้ารับราชการดังเดิม แต่จำเลยไม่ดำเนินการ โดยอ้างเหตุผลว่าคำสั่ง ก.พ.อ. ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ขอให้ชดใช้ค่าเสียหาย เห็นว่า เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้โดยกล่าวอ้างว่าได้รับ ความเสียหายจากการที่จำเลยในฐานะอธิการบดีมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีเป็นเจ้าพนักงานละเว้น การปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ โดยทุจริต เป็นการกระทำผิดอาญาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๕๗ กรณีไม่ดำเนินการ เพิกถอนคำสั่งลงโทษไล่โจทก์ออกจากราชการและให้โจทก์กลับเข้ารับราชการดังเดิมตามมติ ก.พ.อ. ขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๕๗ อันเป็นการฟ้องคดีเพื่อให้ลงโทษ ผู้กระทำความผิดทางอาญาเป็นหลัก โดยมีคำขอส่วนแพ่งขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าเสียหาย คดีพิพาทเกี่ยวกับการดำเนินการในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา


คดีพิพาทที่อยู่ในเขตอำนาจ ของศาลยุติธรรม รวมย่อคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่น่าสนใจ พ.ศ. ๒๕๕๖ - ๒๕๖๕ 71 พร้อมดอกเบี้ย ซึ่งเป็นการเรียกร้องอันมีมูลฐานเนื่องมาจากการกระทำความผิดทางอาญา ดังนั้น ข้อพิพาทในคดีนี้จึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม * คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๙๖/๒๕๕๗ วินิจฉัยทำนองเดียวกัน คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๕๕/๒๕๕๗ การที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ กับพวกซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐในสังกัดของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ซึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครอง ร่วมกันจับกุมผู้ต้องหาพร้อมยึดไม้พะยูงท่อนและรถยนต์เป็นการใช้อำนาจ ของพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจตามที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา ๒ (๑๖) มาตรา ๗๘ และมาตรา ๘๕ ประกอบพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. ๒๔๘๔ มาตรา ๖๔ และมาตรา ๖๔ ทวิ ที่ให้อำนาจพนักงานเจ้าหน้าที่จับกุมผู้กระทำความผิดและยึดของกลางไว้จนกว่าคดีจะถึงที่สุด จึงเป็นการดำเนินการตามที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญากำหนดให้อำนาจไว้เป็นการเฉพาะ โดยตรง เมื่อมูลความแห่งคดีสืบเนื่องมาจากการใช้อำนาจยึดทรัพย์ที่อาจใช้เป็นพยานหลักฐาน ในคดีอาญาได้ การขอให้เพิกถอนคำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ที่ไม่คืนรถยนต์กระบะของกลาง และ ให้มีคำสั่งคืนรถยนต์กระบะของกลาง โดยต้องร่วมรับผิดในผลละเมิดจากการปฏิบัติหน้าที่ กรณีจึงเป็น คดีพิพาทที่เกี่ยวกับการกระทำละเมิดของเจ้าหน้าที่อันเนื่องจากการใช้อำนาจในกระบวนการยุติธรรม ทางอาญา คดีจึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๑๐๓/๒๕๕๖ คดีที่เอกชนยื่นฟ้องหน่วยงานทางปกครองและเจ้าหน้าที่ของรัฐในสังกัดว่า จำเลยที่ ๓ และที่ ๔ ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตำรวจค้นบ้านพักของโจทก์ในข้อหายักยอกทรัพย์แล้วยึดวัตถุมงคล และองค์จตุคามรามเทพของโจทก์ไว้เป็นของกลาง ต่อมาคดีถึงที่สุดปรากฏว่าของกลางจำนวนหนึ่ง สูญหายไป ขอให้ร่วมกันหรือแทนกันชดใช้ค่าเสียหายพร้อมดอกเบี้ย เห็นว่า มูลความแห่งคดีนี้สืบเนื่อง มาจากการใช้อำนาจยึดทรัพย์ที่อาจใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีอาญาของเจ้าพนักงานตามประมวล กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๘๕ ดังนั้น การที่จำเลยที่ ๓ และที่ ๔ ตรวจค้นบ้านพัก พร้อมกับยึดทรัพย์ของโจทก์ เป็นการใช้อำนาจของเจ้าพนักงานตามที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา ความอาญากำหนดให้อำนาจไว้เป็นการเฉพาะ และการที่โจทก์กล่าวอ้างว่า จำเลยละเลยไม่ดูแล ทรัพย์สินของกลางทำให้สูญหาย จนไม่สามารถคืนได้ทั้งที่เสร็จคดีแล้ว กรณีจึงเป็นคดีพิพาทที่เกี่ยวกับ การกระทำละเมิดของเจ้าหน้าที่ อันเนื่องจากการใช้อำนาจในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา อยู่ในอำนาจของศาลยุติธรรม คดีพิพาทเกี่ยวกับการดำเนินการในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา


72 คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๗/๒๕๕๖ คดีที่นักโทษเด็ดขาดซึ่งถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำ และถูกอายัดตัวตามหมายจับของศาลจังหวัด เพื่อดำเนินคดีอีกคดีหนึ่ง ฟ้องพนักงานสอบสวนและผู้กำกับการสถานีตำรวจ ขอให้เร่งรัดการสอบสวน และส่งเรื่องให้พนักงานอัยการพิจารณา เห็นว่า มูลความแห่งคดีเนื่องมาจากการดำเนินการของ พนักงานสอบสวนภายหลังการอายัดตัวผู้ฟ้องคดีซึ่งต้องหาว่ากระทำความผิดอาญาตามหมายจับ ของศาล ข้อพิพาทในคดีนี้จึงเป็นเรื่องที่พนักงานสอบสวนใช้อำนาจตามประมวลกฎหมายวิธี พิจารณาความอาญาเพื่อนำไปสู่การฟ้องคดีและลงโทษผู้กระทำความผิดทางอาญาที่ให้อำนาจ พนักงานสอบสวนไว้เป็นการเฉพาะโดยตรง และตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๒ (๑) ก็บัญญัติว่า “ศาล” หมายความถึงศาลยุติธรรมหรือผู้พิพากษาซึ่งมีอำนาจเกี่ยวกับ คดีอาญา ดังนั้น ศาลที่มีอำนาจในการควบคุมตรวจสอบการสอบสวนของพนักงานสอบสวน คือ ศาลยุติธรรมซึ่งมีอำนาจเกี่ยวกับคดีอาญาเท่านั้น และเป็นศาลที่ใช้อำนาจตามประมวลกฎหมายวิธี พิจารณาความอาญาออกหมายจับผู้ฟ้องคดีไว้แล้ว ซึ่งถือได้ว่าเป็นการใช้อำนาจศาลเหนือคดีนี้แล้วด้วย แม้ผู้ฟ้องคดีจะบรรยายฟ้องในทำนองว่า ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ละเลย ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ก็ตาม แต่การปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวก็เป็นเรื่องการสอบสวนเพื่อนำตัวผู้ฟ้องคดีไปลงโทษทางอาญา มิใช่ เป็นเรื่องของการใช้อำนาจทางปกครอง ข้อพิพาทในคดีนี้จึงเป็นเรื่องกระบวนการยุติธรรมทางอาญา อันอยู่ในอำนาจศาลยุติธรรม คดีพิพาทเกี่ยวกับการดำเนินการในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา


คดีพิพาทที่อยู่ในเขตอำนาจ ของศาลยุติธรรม รวมย่อคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่น่าสนใจ พ.ศ. ๒๕๕๖ - ๒๕๖๕ 73 รวมย่อคําวินิจฉัย คดีเกี�ยวกับสิทธิในทางแพ่ง


74 คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๓๖/๒๕๖๕ คดีที่ นาย ป. กับพวกรวม ๗ คน ยื่นฟ้อง การรถไฟแห่งประเทศไทย ที่ ๑ สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) ที่ ๒ จำเลย ต่อศาลแพ่งตลิ่งชัน อ้างว่า โจทก์ทั้งเจ็ด เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินซึ่งอยู่ติดกับที่ดินของจำเลยที่ ๑ และใช้ที่ดินของจำเลยที่ ๑ เป็นทางผ่าน ออกสู่ถนนเลียบทางรถไฟสายใต้อันเป็นทางสาธารณะเรื่อยมา จนกระทั่งต่อมาจำเลยที่ ๒ เช่าที่ดิน ของจำเลยที่ ๑ เพื่อก่อสร้างบ้านพักชดเชยให้แก่ชุมชนริมทางรถไฟสายใต้ (โครงการบ้านมั่นคง) มีการสำรวจผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการก่อสร้างโครงการของจำเลยที่ ๒ ที่ประชุมลงมติยอมรับว่า โจทก์ทั้งเจ็ดมีสิทธิใช้ทางจำเป็นในที่ดินของจำเลยที่ ๑ อันเป็นที่ตั้งของโครงการดังกล่าว ต่อมาจำเลย ที่ ๑ ยอมให้จำเลยที่ ๒ ปิดกั้นทางเข้าออกที่ดิน โจทก์ทั้งเจ็ดไม่สามารถใช้เส้นทางได้ ขอให้ศาล มีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้จำเลยทั้งสองเปิดทางให้โจทก์ทั้งเจ็ดเข้าออกสู่ทางสาธารณประโยชน์ ถนนเลียบทางรถไฟสายใต้ ตามมติที่ประชุมร่วมกันเมื่อวันที่ ๑๘ เมษายน ๒๕๖๒ และให้ จำเลยทั้งสองให้ทางจำเป็นแก่โจทก์ทั้งเจ็ดเพื่อเป็นทางเดินและรถวิ่ง ขนาดความกว้าง ๔ เมตร ยาว ๒๑ เมตร ดังนี้ แม้การรถไฟแห่งประเทศไทย จำเลยที่ ๑ เป็นรัฐวิสาหกิจที่ตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติ การรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๔๙๔ ส่วนสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) จำเลยที่ ๒ เป็นองค์การมหาชนที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) พ.ศ. ๒๕๔๓ ออกตามความในมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติองค์การมหาชน พ.ศ. ๒๕๔๒ จึงเป็นหน่วยงานอื่นของรัฐ จำเลยที่ ๑ และที่ ๒ จึงมีฐานะเป็นหน่วยงานทางปกครองตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ แต่ข้ออ้างที่อาศัย เป็นหลักแห่งข้อหาในคำฟ้องของโจทก์ทั้งเจ็ดเป็นเรื่องที่โจทก์ทั้งเจ็ดซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินฟ้องขอให้ จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นเจ้าของและผู้ครอบครองที่ดินข้างเคียงเปิดทางจำเป็นเพื่อออกไปสู่ทางสาธารณะ ซึ่งเป็นการใช้สิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๓๔๙ กรณีตามคำฟ้องของโจทก์ ทั้งเจ็ดจึงไม่ใช่ข้อพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ที่จะอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง แต่เป็นคดีพิพาททางแพ่ง ที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๙๘/๒๕๖๔ คดีที่เอกชน ผู้ฟ้องคดี ยื่นฟ้องกรมที่ดิน ที่ ๑ อธิบดีกรมที่ดิน ที่ ๒ เจ้าพนักงานที่ดิน กรุงเทพมหานคร ที่ ๓ ผู้ถูกฟ้องคดี ต่อมาศาลมีคำสั่งเรียกเอกชนเข้ามาในคดี โดยกำหนดให้เป็น ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๔ อ้างว่าผู้จัดการมรดกไม่ปฏิบัติตามเจตนาของเจ้ามรดกที่ทำพินัยกรรมยกที่ดิน คดีเกี่ยวกับสิทธิในทางแพ่ง คดีเกี่ยวกับสิทธิในทางแพ่ง


คดีพิพาทที่อยู่ในเขตอำนาจ ของศาลยุติธรรม รวมย่อคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่น่าสนใจ พ.ศ. ๒๕๕๖ - ๒๕๖๕ 75 ให้แก่ผู้ฟ้องคดีและผู้มีชื่อ แต่กลับขายที่ดินทั้งสามแปลงรวมที่ดินดังกล่าวให้แก่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๔ เป็นการขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๗๑๙ ประกอบมาตรา ๑๗๒๒ ประมวล กฎหมายที่ดิน มาตรา ๘๑ และระเบียบกรมที่ดินว่าด้วยการจดทะเบียนสิทธิเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งได้มาโดยทางมรดก พ.ศ. ๒๕๔๘ ข้อ ๕๑ (๓) ผู้ฟ้องคดีร้องเรียนผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ขอให้เพิกถอน รายการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ แต่เวลาผ่านไปนาน ๓ เดือนเศษ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ก็มิได้สรุปเรื่อง ขอให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ และที่ ๓ เพิกถอนรายการจดทะเบียนขายที่ดิน เห็นว่า คดีนี้ ผู้ฟ้องคดีเป็นเอกชน ยื่นฟ้องผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ซึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครอง และผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ และที่ ๓ ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ กับผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๔ ซึ่งเป็นเอกชนด้วยกัน โดยตั้งรูปเรื่องว่าผู้ฟ้องคดีได้รับความเดือดร้อนเสียหายจากการที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ จดทะเบียนโอนขายที่ดินทรัพย์มรดก ระหว่างผู้จัดการมรดก ผู้ขาย กับผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๔ ผู้ซื้อ โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย และผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติ หรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควรในการเพิกถอนรายการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม ของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ แต่เหตุแห่งการฟ้องคดีนี้สืบเนื่องมาจากการที่ผู้ฟ้องคดีอ้างว่าผู้จัดการมรดก ไม่ปฏิบัติตามเจตนาของเจ้ามรดกที่ทำพินัยกรรมยกที่ดินให้แก่ผู้ฟ้องคดีและผู้มีชื่อ แต่กลับขายที่ดิน ทั้งสามแปลงโดยรวมที่ดินดังกล่าวให้แก่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๔ เป็นการขัดกฎหมายที่ดินและระเบียบ กรมที่ดิน ผู้ฟ้องคดีไม่ได้ฟ้องคดีนี้โต้แย้งว่าการรับจดทะเบียนของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ไม่มีอำนาจหน้าที่หรือใช้อำนาจโดยไม่ถูกต้องตามรูปแบบขั้นตอนที่กฎหมาย กำหนด อันจะเข้าลักษณะเป็นการฟ้องคดีเพื่อขอให้ตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายของการกระทำ ทางปกครอง ดังนั้น ข้ออ้างอันเป็นเหตุแห่งการฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนขายที่ดิน ระหว่างผู้จัดการมรดกของเจ้ามรดกกับผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๔ ก็ด้วยเหตุผลที่ว่า ผู้จัดการมรดกจดทะเบียน โอนขายที่ดินมรดกไม่เป็นไปตามเจตนาของเจ้ามรดก ผู้ทำพินัยกรรม ตามข้อ ๕๑ (๓) ของระเบียบ กรมที่ดินว่าด้วยการจดทะเบียนสิทธิเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ซึ่งได้มาโดยทางมรดก พ.ศ. ๒๕๔๘ ซึ่งในการที่ศาลจะพิจารณาว่า ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ รับจดทะเบียนโอนขายที่ดินมรดกที่พิพาทชอบ ด้วยกฎหมายหรือไม่ ต้องพิจารณาข้อกำหนดพินัยกรรมและการจัดการปันทรัพย์มรดกของผู้จัดการมรดก ว่าเป็นไปตามพินัยกรรมและประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ลักษณะ ๔ วิธีการจัดการและ ปันทรัพย์มรดกหรือไม่ ซึ่งเป็นข้อพิพาทในทางแพ่ง และในการวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวจะมีผลกระทบ ต่อสิทธิของทายาทที่ได้รับการแบ่งปันเงินจากการขายทรัพย์มรดก และสิทธิของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๔ ซึ่งเป็นผู้ซื้อทรัพย์มรดก ข้อพิพาทในคดีนี้จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ของบุคคล ในทางแพ่ง ยิ่งกว่าคดีที่ขอให้ตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายของการกระทำทางปกครอง จึงเป็นคดีพิพาทที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม คดีเกี่ยวกับสิทธิในทางแพ่ง


76 คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๕๕/๒๕๖๐ ผู้ฟ้องคดีเป็นเอกชนยื่นฟ้องเจ้าพนักงานที่ดิน ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ในบังคับบัญชาของอธิบดีกรมที่ดิน ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ว่า การจดทะเบียนแบ่งขายที่ดิน ตามหนังสือรับรอง การทำประโยชน์ (น.ส. ๓ ก.) เลขที่ ๑๓๖๔ เมื่อวันที่ ๑ มีนาคม ๒๕๓๖ ให้แก่นาย ย. เป็นการกระทำ โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย เห็นว่า แม้ผู้ฟ้องคดีจะอ้างว่าผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ในบังคับบัญชาของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ดำเนินการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ก็ตาม แต่ศาลจำต้องพิจารณาให้ได้ความเสียก่อนว่า ผู้ฟ้องคดีตกลงแบ่งขายที่ดินพิพาทให้แก่นาย ย. หรือไม่ อันเป็นเรื่องนิติสัมพันธ์ในทางแพ่งระหว่างเอกชนด้วยกัน กรณีจึงเป็นข้อพิพาทเกี่ยวด้วย สิทธิในทางแพ่งของบุคคล หาใช่เป็นข้อพิพาทระหว่างเอกชนกับหน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ ของรัฐโดยตรงไม่ ดังนั้นข้อพิพาทในคดีนี้จึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๗/๒๕๕๙ คดีที่ทายาทของผู้ตายยื่นฟ้องหน่วยงานทางปกครองว่า ผู้จัดการมรดกของผู้ตายทำการ เบียดบังทรัพย์มรดกด้วยการจดทะเบียนโอนโฉนดที่ดินอันเป็นทรัพย์มรดกให้แก่ตนเองแล้วนำไปขาย และขายฝากให้แก่บุคคลภายนอก ขอให้เพิกถอนคำสั่งรับจดทะเบียนโอนมรดกที่พิพาท ผู้ถูกฟ้องคดี ทั้งสองให้การว่า การจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมนั้นได้ทำการสอบสวนสิทธิในที่ดินพิพาท โดยผู้จัดการมรดกให้ถ้อยคำว่าขายเพื่อนำเงินไปชำระหนี้กองมรดกและแบ่งปันให้แก่ทายาทในฐานะ ผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาล ขอให้ยกฟ้อง เห็นว่า เหตุแห่งการฟ้องคดีนี้สืบเนื่องมาจากเจ้าหน้าที่ ของผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองทำการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมโอนที่ดินพิพาทอันเป็นทรัพย์มรดก ระหว่างผู้จัดการมรดกกับบุคคลภายนอก ดังนั้น คดีจึงมีประเด็นพิพาทเรื่องสิทธิในทรัพย์มรดก ศาลจำต้องพิจารณาให้ได้ความเสียก่อนว่าผู้จัดการมรดกใช้อำนาจและหน้าที่ดำเนินการจัดการ ทรัพย์มรดกที่พิพาทถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่เป็นสำคัญ ซึ่งหากพิจารณาได้ความว่า เป็นการ ดำเนินการโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว การจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท ย่อมชอบด้วยกฎหมาย แต่หากเป็นการดำเนินการที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ย่อมมีผลให้กรรมสิทธิ์ ในที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกที่ตกทอดแก่ทายาท ข้อพิพาทคดีนี้สืบเนื่องมาจากการใช้อำนาจ และหน้าที่ของผู้จัดการมรดกตามกฎหมายเกี่ยวกับสิทธิของบุคคลในทางแพ่ง อันอยู่ในอำนาจ พิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๖/๒๕๕๙ คดีที่เอกชน ผู้ฟ้องคดี ยื่นฟ้องอธิบดีกรมที่ดิน ผู้ถูกฟ้องคดี ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐว่า ผู้ฟ้องคดีตรวจสอบเอกสารหลักฐานเกี่ยวกับที่ดินมีโฉนดของบิดาผู้ฟ้องคดีพบว่า บิดาของผู้ฟ้องคดี ได้นำที่ดินพิพาทไปจำนองไว้กับผู้มีชื่อ แล้วต่อมาได้ไถ่ถอนจำนองและขายให้แก่ผู้มีชื่อดังกล่าว คดีเกี่ยวกับสิทธิในทางแพ่ง


คดีพิพาทที่อยู่ในเขตอำนาจ ของศาลยุติธรรม รวมย่อคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่น่าสนใจ พ.ศ. ๒๕๕๖ - ๒๕๖๕ 77 ซึ่งการซื้อขายที่ดินพิพาท เป็นการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินโดยไม่ถูกต้องและไม่ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากไม่พบเอกสารการซื้อขาย พบแต่รายงานกรรมสิทธิ์ที่ดิน (ท.ด. ๑) ประเภทขายที่ไม่มีลายมือชื่อ หรือการพิมพ์ลายนิ้วมือบิดาของผู้ฟ้องคดี มีเพียงการลงลายมือชื่อของเจ้าพนักงานที่ดิน ผู้ฟ้องคดี มีหนังสือขอให้ผู้ถูกฟ้องคดีเพิกถอนการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาท แต่ผู้ถูกฟ้องคดีแจ้งว่า การจดทะเบียนเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมาย ไม่มีเหตุเพิกถอน ผู้ฟ้องคดีอุทธรณ์ ผู้มีอำนาจพิจารณา อุทธรณ์ยกอุทธรณ์ ขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน และเพิกถอนหนังสือ แจ้งผลการพิจารณาอุทธรณ์ ส่วนผู้ถูกฟ้องคดีให้การว่า การจดทะเบียนไถ่ถอนจำนองและขายที่ดิน เป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมาย ไม่มีเหตุต้องเพิกถอน ขอให้ยกฟ้อง เห็นว่า แม้ผู้ฟ้องคดีจะฟ้องอ้างว่า เจ้าหน้าที่ ของรัฐในบังคับบัญชาของผู้ถูกฟ้องคดีจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาท โดยไม่ถูกต้องและ ไม่ชอบด้วยกฎหมายก็ตาม แต่ศาลจำต้องพิจารณาให้ได้ความก่อนว่า การจดทะเบียนไถ่ถอนจำนอง และการจดทะเบียนนิติกรรมซื้อขายระหว่างบิดาผู้ฟ้องคดีกับผู้มีชื่อถูกต้องและชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งมีผลให้กรรมสิทธิ์หรือทรัพยสิทธิในที่ดินพิพาทระหว่างบิดาผู้ฟ้องคดีกับผู้มีชื่อซึ่งเป็นเอกชนด้วยกัน เปลี่ยนแปลงไปหรือไม่ อันเป็นเรื่องสิทธิในทางแพ่งของบุคคล แล้วศาลจึงจะมีคำพิพากษาหรือ มีคำสั่งตามคำขอของผู้ฟ้องคดีได้ต่อไป ดังนั้น ข้อพิพาทในคดีนี้จึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษา ของศาลยุติธรรม คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๕/๒๕๕๙ คดีที่ผู้ฟ้องคดีเป็นเอกชนยื่นฟ้องผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ถึงที่ ๓ ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ และผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๔ ซึ่งเป็นเอกชนด้วยกัน ขอให้ศาลพิพากษาหรือมีคำสั่งเพิกถอนรายการ จดทะเบียนโอนมรดกที่ดิน น.ส. ๓ เลขที่ ๖๓๔ ที่เป็นไปโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย เห็นว่า แม้ผู้ฟ้องคดี ยื่นฟ้องผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ถึงที่ ๓ ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐที่มีอำนาจตามกฎหมายในการจดทะเบียน สิทธิและนิติกรรมอันเป็นการใช้อำนาจทางปกครองที่มีผลกระทบต่อสิทธิหน้าที่ของบุคคล โดยมี คำขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนมรดกที่ดิน น.ส. ๓ เลขที่ ๖๓๔ ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย โดยอ้างว่า เจ้าหน้าที่ไม่จดทะเบียนโอนมรดกให้ผู้ฟ้องคดีซึ่งเป็นทายาทของเจ้ามรดกด้วยก็ตาม แต่เมื่อพิจารณา เหตุผลของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ที่ไม่เพิกถอนรายการจดทะเบียนโอนมรดกที่ดินพิพาทซึ่งผู้ฟ้องคดีอ้างมา ในคำฟ้องว่า เนื่องจากข้อเท็จจริงปรากฏตามบันทึกถ้อยคำของทายาทที่แสดงเจตนาไม่รับมรดกที่ดิน ดังกล่าวว่าผู้ฟ้องคดีได้ตกลงกับผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๔ ว่าจะไม่รับมรดกที่ดินพิพาท โดยตกลงรับเงินจาก ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๔ แทน และผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๔ ได้นำหนังสือแสดงการไม่รับมรดกที่ผู้ฟ้องคดีพร้อม ทายาทอื่นแสดงเจตนาไม่ขอรับมรดกที่ดินพิพาท โดยยินยอมให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๔ เป็นผู้รับมรดก ที่ดินดังกล่าวแทนมาแสดงต่อเจ้าหน้าที่ จึงเป็นกรณีที่ผู้ฟ้องคดีและผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๔ ซึ่งเป็นทายาท ยังมีข้อพิพาทกันในเรื่องที่ว่าด้วยทรัพย์มรดกอันเกี่ยวเนื่องกับสิทธิในที่ดินพิพาทจึงเป็นคดีพิพาท เกี่ยวกับสิทธิของบุคคลในทางแพ่ง อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม คดีเกี่ยวกับสิทธิในทางแพ่ง


78 คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๖๐/๒๕๕๘ คดีที่เอกชนยื่นฟ้องจำเลยที่ ๑ และที่ ๓ ซึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครอง และจำเลยที่ ๔ เป็นเอกชนด้วยกันว่า โจทก์ถูกจำเลยที่ ๔ ซึ่งเป็นเพื่อนร่วมงานปลอมแปลงสำเนาบัตรประจำตัว ประชาชนของโจทก์และนำไปแสดงต่อเจ้าพนักงานของจำเลยที่ ๒ และที่ ๓ ที่รับจดทะเบียนการเกิด ว่าโจทก์เป็นมารดาของเด็กทั้งสาม ซึ่งไม่เป็นความจริง โจทก์ไม่เคยอยู่กินฉันสามีภริยากับจำเลยที่ ๔ การกระทำของจำเลยที่ ๔ ทำให้โจทก์เสียหาย ขอให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อมูล ทางทะเบียนของโจทก์โดยลบหรือเพิกถอนชื่อโจทก์ออกจากสถานะมารดาของเด็กทั้งสาม และให้ จำเลยที่ ๔ ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ ทั้งสองศาลเห็นพ้องกันในประเด็นที่โจทก์ฟ้องขอให้ จำเลยที่ ๔ ซึ่งเป็นเอกชนชดใช้ค่าเสียหายว่าอยู่ในอำนาจของศาลยุติธรรม คงเหลือประเด็นที่โจทก์ ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันลบหรือเพิกถอนชื่อโจทก์ออกจากสถานะมารดาในทะเบียนคนเกิด ของเด็กทั้งสาม ซึ่งทั้งสองศาลยังเห็นแย้งกันอยู่ เห็นว่า เมื่อคดีนี้โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ไม่เคยอยู่กิน ฉันสามีภริยากับจำเลยที่ ๔ และโจทก์ไม่ได้เป็นมารดาของเด็กทั้งสาม แต่จำเลยที่ ๔ ซึ่งเป็นบิดา ของเด็กทั้งสามปลอมแปลงสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของโจทก์แล้วนำไปแสดงต่อเจ้าพนักงาน ของจำเลยที่ ๒ และที่ ๓ ที่รับจดทะเบียนการเกิดของเด็กทั้งสามว่า โจทก์เป็นมารดาทั้งที่ไม่เป็น ความจริง การกระทำของจำเลยที่ ๔ ทำให้โจทก์เสียหาย ขอให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันแก้ไขเปลี่ยนแปลง ข้อมูลทางทะเบียนของโจทก์โดยลบหรือเพิกถอนชื่อโจทก์ออกจากสถานะมารดาของเด็กทั้งสาม ส่วนจำเลยที่ ๑ ที่ ๒ และที่ ๓ ให้การว่า การกระทำของเจ้าหน้าที่จำเลยที่ ๒ และที่ ๓ เป็นไป ตามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนดไว้ มิได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ ฟ้องโจทก์ขาดอายุความ ดังนั้น การที่ศาลจะมีคำพิพากษาหรือคำสั่งตามคำขอของโจทก์ได้นั้น จำต้องพิจารณาให้ได้ความเสียก่อนว่า โจทก์ไม่เคยอยู่กินฉันสามีภริยากับจำเลยที่ ๔ และโจทก์ไม่ได้เป็นมารดาของเด็กทั้งสามเป็นสำคัญ แล้วจึงพิจารณาในประเด็นอื่นได้ต่อไป ข้อพิพาทในคดีนี้จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับบิดามารดากับบุตร อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๒๕/๒๕๕๘ คดีนี้โจทก์ทั้งสองเป็นเอกชนยื่นฟ้องเอกชนทั้งสี่และหน่วยงานทางปกครองเป็นจำเลย อ้างว่า จำเลยที่ ๑ จดทะเบียนขายฝากที่ดินทั้งสี่แปลงไว้กับโจทก์ทั้งสองที่สำนักงานที่ดิน หน่วยงาน ในความรับผิดชอบของจำเลยที่ ๕ การที่จำเลยที่ ๑ ทำนิติกรรมจดทะเบียนขายฝากที่ดินระหว่าง โจทก์ทั้งสอง รวมถึงการทำนิติกรรมอื่น ขณะจำเลยที่ ๑ เป็นบุคคลล้มละลาย โจทก์ทั้งสองเชื่อว่าจำเลย ที่ ๒ ที่ ๓ และที่ ๔ ทราบว่าจำเลยที่ ๑ เป็นบุคคลล้มละลายขณะจำเลยที่ ๑ ทำนิติกรรมจดทะเบียน ขายฝากที่ดินและนิติกรรมซื้อขายสิ่งปลูกสร้างกับโจทก์ทั้งสอง ขอให้เพิกถอนนิติกรรมการซื้อขาย ที่ดินและนิติกรรมการไถ่ถอนการขายฝากที่ดินระหว่างจำเลยทั้งสี่ และนิติกรรมการขายฝากที่ดิน และนิติกรรมการซื้อขายสิ่งปลูกสร้างระหว่างโจทก์ทั้งสองกับจำเลยที่ ๑ ให้จำเลยที่ ๑ คืนเงิน แก่โจทก์ทั้งสอง จำเลยที่ ๑ ถึงที่ ๔ ให้การทำนองเดียวกันว่า จำเลยที่ ๑ ขายฝากที่ดินทั้งสี่แปลง คดีเกี่ยวกับสิทธิในทางแพ่ง


คดีพิพาทที่อยู่ในเขตอำนาจ ของศาลยุติธรรม รวมย่อคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่น่าสนใจ พ.ศ. ๒๕๕๖ - ๒๕๖๕ 79 ให้แก่โจทก์ทั้งสองโดยสุจริตและถูกต้องตามกฎหมาย จำเลยทั้งสี่ไม่ทราบมาก่อนว่าจำเลยที่ ๑ ถูกศาลสั่งให้เป็นบุคคลล้มละลาย จำเลยที่ ๕ ให้การว่าเจ้าพนักงานของจำเลยที่ ๕ ดำเนินการ จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมให้โจทก์ทั้งสองและจำเลยที่ ๑ ถึงที่ ๔ ตามระเบียบกฎหมายโดยสุจริต ไม่ได้ประมาทเลินเล่อ ขอให้ยกฟ้อง เห็นว่า เมื่อพิจารณาความมุ่งหมายของโจทก์ทั้งสองในการใช้สิทธิ ทางศาลก็เพื่อให้ศาลมีคำพิพากษารับรองคุ้มครองสิทธิของโจทก์ทั้งสอง การที่ศาลจะมีคำพิพากษา หรือคำสั่งตามคำขอของโจทก์ทั้งสองได้นั้น ศาลจำต้องพิจารณาให้ได้ความเสียก่อนว่า นิติกรรมขายฝาก ที่ดินและนิติกรรมอื่นที่จำเลยที่ ๑ ทำขึ้นตามข้อกล่าวอ้างของโจทก์ทั้งสองเป็นโมฆะหรือไม่ และโจทก์ทั้งสองจะเรียกเงินที่จ่ายไปให้กับจำเลยทั้งห้าคืนได้หรือไม่ เพียงใด แล้วจึงจะพิจารณา ประเด็นอื่นได้ต่อไป กรณีจึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิของคู่สัญญาในทางแพ่ง อันอยู่ในอำนาจ พิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๑๓๕/๒๕๕๗ โจทก์เป็นเอกชนยื่นฟ้องหน่วยงานทางปกครองเป็นจำเลย อ้างว่าจำเลยจัดการประชุมใหญ่ พิเศษเพื่อเลือกนายกสมาคม อุปนายกสมาคมและกรรมการสมาคมโดยฝ่าฝืนต่อข้อบังคับของจำเลย มติที่ประชุมใหญ่พิเศษจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย จำเลยให้การว่า การประชุมใหญ่พิเศษเป็นไปโดยชอบ ด้วยข้อบังคับแล้วขอให้ยกฟ้อง เห็นว่า แม้จำเลยจะเป็นสมาคมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่ได้รับมอบอำนาจโดยให้ใช้อำนาจทางปกครองหรือดำเนินกิจการทางปกครองจากการกีฬา แห่งประเทศไทยในกิจการที่เกี่ยวกับกีฬาฟุตบอลซึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครอง ตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ แต่การจัดประชุม ใหญ่พิเศษเพื่อจัดให้มีการเลือกตั้งนายกสมาคม อุปนายกสมาคม และกรรมการสมาคมของจำเลย เป็นเรื่องการบริหารงานภายในสมาคมของจำเลย มิได้ดำเนินกิจการใดเกี่ยวกับกีฬาฟุตบอล ตามวัตถุประสงค์ของจำเลยจึงยังไม่มีการใช้อำนาจทางปกครองเพื่อดำเนินกิจกรรมตามที่ได้รับมอบหมาย ดังนั้น การจัดการประชุมใหญ่พิเศษเพื่อให้ได้มาซึ่งกรรมการบริหารสมาคมจำเลย จึงเป็นเพียง การเปลี่ยนแปลงกรรมการของสมาคม ซึ่งกระทำตามข้อบังคับที่ได้จดทะเบียนไว้ตามประมวล กฎหมายแพ่งและพาณิชย์และเป็นการดำเนินการตามมาตรา ๙๔ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและ พาณิชย์ซึ่งเป็นการดำเนินการในทางแพ่ง ทั้งการร้องขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนมติในการประชุมใหญ่นั้น เป็นไปตามมาตรา ๑๐๐ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ กรณีตามคำฟ้องของโจทก์ว่า การประชุมใหญ่พิเศษสมาคมจำเลยไม่เป็นไปตามข้อบังคับ จึงเป็นการใช้สิทธิทางศาลในทางแพ่ง อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม คดีเกี่ยวกับสิทธิในทางแพ่ง


80 คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๑๐/๒๕๕๖ คดีที่ห้างหุ้นส่วนจำกัด โจทก์ ยื่นฟ้องหัวหน้าสำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดแพร่ จำเลย กรณีโจทก์ยื่นคำขอให้จำเลยจำหน่ายชื่อโจทก์ออกจากทะเบียนห้างหุ้นส่วนบริษัท แต่จำเลย ไม่ดำเนินการโดยอ้างว่าโจทก์จะต้องดำเนินการชำระบัญชีให้ถูกต้องตามขั้นตอนและวิธีการตามที่ กฎหมายกำหนด ขอให้พิพากษาหรือมีคำสั่งให้จำเลยจำหน่ายชื่อโจทก์ออกจากทะเบียนห้างหุ้นส่วนจำกัด เห็นว่า คดีนี้เป็นกรณีที่คู่ความโต้แย้งกันเกี่ยวกับการสิ้นสภาพของห้างหุ้นส่วนจำกัดว่าได้ดำเนินการ ตามขั้นตอนและวิธีการที่กฎหมายกำหนดไว้หรือไม่ เมื่อการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจำกัดเป็นนิติบุคคล ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เป็นไปเพื่อรับรองสิทธิว่านิติบุคคลนั้นเป็นบุคคลตามกฎหมายแพ่ง การสิ้นสภาพของนิติบุคคลโจทก์จะเปลี่ยนแปลงไปหรือไม่ เป็นไปตามความประสงค์ของหุ้นส่วน มิใช่อยู่ที่การจดทะเบียนของจำเลย ดังนั้น คดีนี้ศาลจำต้องพิจารณาถึงการเลิกห้างหุ้นส่วนจำกัด ของโจทก์ว่า ได้ดำเนินการตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยการชำระบัญชีห้างหุ้นส่วน จดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัดและบริษัทจำกัดบัญญัติไว้แล้วหรือไม่ อันเป็นกรณีพิพาทเกี่ยวกับ สภาพบุคคลของห้างหุ้นส่วนจำกัดในทางแพ่ง เมื่อศาลจำต้องพิจารณาถึงสิทธิในทางแพ่งเป็นสำคัญแล้ว คดีนี้จึงเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม คดีเกี่ยวกับสิทธิในทางแพ่ง


คดีพิพาทที่อยู่ในเขตอำนาจ ของศาลยุติธรรม รวมย่อคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่น่าสนใจ พ.ศ. ๒๕๕๖ - ๒๕๖๕ 81 รวมย่อคําวินิจฉัย คดีพิพาทเกี�ยวกับเขตอํานาจ ของศาลชํานัญพิเศษ คดทีอี�ยใู่นเขตอํานาจ ของศาลทรพัยส์นิทางปญ�ญา และการคา้ระหวา่งประเทศ


82 คดีที่อยู่ในเขตอำนาจของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๑๓๑/๒๕๖๓ คดีที่อัยการศาลมณฑลทหารบกที่ ๔๕ ยื่นฟ้อง พลทหาร บ. จำเลย ซึ่งเป็นทหาร กองประจำการ สังกัดกองพันเสนารักษ์ที่ ๘ กองพลทหารม้าที่ ๑ กองทัพบก ว่าได้กระทำความผิดอาญา ฐานมีไว้เพื่อจำหน่ายและเสนอจำหน่ายซึ่งสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมเครื่องหมายการค้า ของผู้อื่นที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วในราชอาณาจักร ขอให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. ๒๕๓๔ มาตรา ๑๐๘, ๑๑๐, ๑๑๕ มีปัญหาต้องวินิจฉัยว่าคดีนี้อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษา ของศาลทหารหรือศาลยุติธรรม เห็นว่า หลักการพิจารณาเขตอำนาจของศาลทหารในเวลาปกติ ที่ยึดหลักเขตอำนาจศาลเหนือตัวบุคคลผู้กระทำผิด ซึ่งหากปรากฏว่าจำเลยเป็นบุคคลที่อยู่ในอำนาจ ศาลทหาร ตามมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. ๒๔๙๘ ในขณะกระทำความผิด อาญาจะเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจของศาลทหารตามมาตรา ๑๓ แห่งพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. ๒๔๙๘ นั้น เป็นหลักการพิจารณาเขตอำนาจศาลทหารในกรณีที่มีการฟ้องว่าจำเลยกระทำความผิด อาญาทั่วไป ที่มิได้มีกฎหมายบัญญัติให้คดีอาญานั้น อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลอื่นใด โดยเฉพาะ เมื่อปรากฏว่า ภายหลังจากพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. ๒๔๙๘ ใช้บังคับ มีการตราพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณา คดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. ๒๕๓๙ ซึ่งมีเจตนารมณ์ให้คดีทรัพย์สิน ทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นคดีที่มีลักษณะพิเศษแตกต่างจากคดีอาญาและ คดีแพ่งทั่วไป ได้รับการพิจารณาโดยผู้พิพากษาซึ่งมีความรู้และความเข้าใจในเรื่องเกี่ยวกับทรัพย์สิน ทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ โดยมีบุคคลภายนอกที่มีความรู้และความเข้าใจในเรื่องดังกล่าว เข้ามาร่วมพิจารณาและพิพากษาคดีด้วยตามเหตุผลท้ายพระราชบัญญัติดังกล่าว โดยมาตรา ๗ บัญญัติว่า “ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดี ดังต่อไปนี้ (๑) คดีอาญาเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้า ลิขสิทธิ์และสิทธิบัตร” อันเป็นกรณีที่กฎหมาย กำหนดศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีประเภทหนึ่งประเภทใดไว้โดยเฉพาะ และเป็นบทบัญญัติ ที่ตัดอำนาจศาลอื่นไม่ให้พิจารณาพิพากษาคดีอาญาเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้า ลิขสิทธิ์และสิทธิบัตร เมื่อคดีนี้โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยซึ่งแม้จะเป็นบุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารในขณะกระทำความผิด แต่เมื่อโจทก์ยื่นฟ้องว่าจำเลยกระทำความผิดอาญาเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้าโดยมีคำขอให้ลงโทษ จำเลยฐานมีไว้เพื่อจำหน่ายและเสนอจำหน่ายซึ่งสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมเครื่องหมาย การค้าของผู้อื่นที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วในราชอาณาจักรตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. ๒๕๓๔ มาตรา ๑๐๘, ๑๑๐, ๑๑๕ ซึ่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้า คดีพิพาทเกี่ยวกับเขตอำนาจของศาลชำนัญพิเศษ คดีที่อยู่ในเขตอำนาจของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ


คดีพิพาทที่อยู่ในเขตอำนาจ ของศาลยุติธรรม รวมย่อคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่น่าสนใจ พ.ศ. ๒๕๕๖ - ๒๕๖๕ 83 ระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. ๒๕๓๙ มาตรา ๗ บัญญัติให้อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้า ระหว่างประเทศโดยเฉพาะ คดีนี้จึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม * คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๔๘/๒๕๖๓ วินิจฉัยทำนองเดียวกัน คดีที่อยู่ในเขตอำนาจของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ


84 คดทีอี�ยใู่นเขตอํานาจของศาลภาษอีากร


คดีพิพาทที่อยู่ในเขตอำนาจ ของศาลยุติธรรม รวมย่อคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่น่าสนใจ พ.ศ. ๒๕๕๖ - ๒๕๖๕ 85 คดีที่อยู่ในเขตอำนาจของศาลภาษีอากร คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๕๗/๒๕๖๕ คดีที่ นางสาว ศ. ในฐานะผู้จัดการมรดกของนาย ช. โจทก์ที่ ๑ นางสาว ศ. โจทก์ที่ ๒ ยื่นฟ้อง กรมสรรพากร จำเลย ว่า โจทก์ที่ ๑ เป็นผู้จัดการมรดกของนาย ช. โจทก์ที่ ๒ เป็นภริยา โดยชอบด้วยกฎหมายของนาย ช. ได้รับความเสียหายกรณีจำเลยได้ทำการประเมินภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดาของนาย ช. โดยมีหนังสือแจ้งการประเมินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาถึงโจทก์ที่ ๑ ในฐานะผู้จัดการมรดกให้ชำระภาษีอากรค้างชำระพร้อมเบี้ยปรับและเงินเพิ่มตามประมวลรัษฎากร มาตรา ๑๘ วรรคสอง โดยเรียกชำระจากกองมรดกของผู้ตาย แต่หนังสือดังกล่าวระบุข้อมูลหมายเลข บัตรประจำตัวประชาชนของโจทก์ที่ ๑ อันเป็นข้อมูลที่เป็นสาระสำคัญผิดพลาด เป็นการกระทำ โดยไม่ถูกต้องตามรูปแบบขั้นตอน ทำให้หนังสือแจ้งการประเมินดังกล่าวเป็นโมฆะ โจทก์ที่ ๑ ยื่นอุทธรณ์คัดค้าน แต่เจ้าพนักงานประเมินได้ยกเลิกการประเมินภาษีตามหนังสือแจ้งดังกล่าว และมีมติให้จำหน่ายคำอุทธรณ์ออกจากทะเบียน แต่ต่อมาจำเลยกลับมีคำสั่งตามมาตรา ๑๒ แห่งประมวลรัษฎากรให้ยึดและอายัดทรัพย์สินและสิทธิเรียกร้องของนาย ช. หลายรายการ และ มีหนังสือแจ้งการประเมินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ฉบับใหม่ โดยวิธีปิดหมาย ณ ภูมิลำเนาของโจทก์ที่ ๒ โดยไม่ได้ออกคำสั่งแจ้งถอนการยึดอายัดตามคำสั่งเดิมให้ถูกต้องตามระเบียบเสียก่อน แต่โจทก์ที่ ๑ ไม่ได้รับหนังสือดังกล่าว และเมื่อครบกำหนดชำระเงินตามหนังสือแจ้งการประเมินฉบับใหม่ จำเลย จึงมีคำสั่งถอนการอายัดเพื่อถอนคำสั่งอายัดฉบับเดิม พร้อมทั้งมีคำสั่งยึดและอายัดฉบับใหม่ซึ่งเป็น การยึดและอายัดทรัพย์สินของนาย ช. และโจทก์ที่ ๒ จึงเป็นการกระทำโดยไม่ถูกต้องตามกฎหมาย ขอให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้เพิกถอนคำสั่งยึดและอายัดทรัพย์สินทุกรายการและปล่อยทรัพย์ ที่ยึด ให้จำเลยคืนทรัพย์สินของนาย ช. ที่ได้ยึดหรืออายัดไว้คืนแก่กองมรดกของนาย ช. และให้คืน ทรัพย์สินในส่วนที่เป็นของโจทก์ที่ ๒ ครึ่งหนึ่ง ในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในส่วนที่ดินซึ่งขอให้ มีการแบ่งแยกก่อนทำการยึดทรัพย์ คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยว่า เป็นคดีพิพาทที่อยู่ในอำนาจของ ศาลยุติธรรมหรือศาลปกครอง เห็นว่า แม้เหตุแห่งการฟ้องคดีนี้จะสืบเนื่องมาจากจำเลยมีคำสั่ง ยึดหรืออายัดทรัพย์สินของโจทก์ทั้งสอง อันเป็นการใช้อำนาจตามประมวลรัษฎากร มาตรา ๑๒ ซึ่งเป็นมาตรการบังคับทางปกครองแก่โจทก์ทั้งสองเพื่อให้ได้รับชำระภาษีอากรค้าง ซึ่งเป็นการใช้สิทธิ เรียกร้องของรัฐในหนี้ค่าภาษีอากร เมื่อโจทก์ทั้งสองโต้แย้งว่าการใช้สิทธิเรียกร้องของรัฐดังกล่าว เป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายโดยมีคำขอให้จำเลยเพิกถอนคำสั่งยึดและอายัดทรัพย์สิน และปล่อยทรัพย์ที่ยึด และคืนทรัพย์สินของนาย ช. แก่กองมรดกของนาย ช. และในส่วนที่เป็นของโจทก์ ที่ ๒ ในฐานะเจ้าของผู้มีกรรมสิทธิ์รวม ซึ่งมาตรา ๖๓/๑๓ (๑) แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการ ทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ กำหนดให้การโต้แย้งหรือการใช้สิทธิทางศาลเกี่ยวกับการยึดหรือการอายัด ทรัพย์สิน โดยผู้อยู่ในบังคับของมาตรการบังคับทางปกครอง รวมทั้งบุคคลภายนอกผู้มีส่วนได้เสีย เกี่ยวกับทรัพย์สินที่ถูกยึดหรืออายัด ให้เสนอต่อศาลภาษีอากรซึ่งเป็นศาลที่มีเขตอำนาจในการพิจารณา คดีที่อยู่ในเขตอำนาจของศาลภาษีอากร


86 พิพากษาคดีเกี่ยวกับคำสั่งที่มีการบังคับทางปกครองนั้น กรณีจึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิ เรียกร้องของรัฐในหนี้ค่าภาษีอากรและเป็นคดีที่มีกฎหมายบัญญัติให้อยู่ในอำนาจศาลภาษีอากร ตามมาตรา ๗ (๒) และ (๕) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. ๒๕๒๘ คดีนี้จึงเป็นคดีพิพาทที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๗๐/๒๕๖๓ คดีที่องค์การบริหารส่วนจังหวัดตรัง โจทก์ หน่วยงานทางปกครองยื่นฟ้องจำเลย ซึ่งเป็น เอกชน อ้างว่า ห้างหุ้นส่วนจำกัด ญ. ทำสัญญาสัมปทานรังนกอีแอ่นกับโจทก์ โดยจำเลยทำหนังสือ สัญญาค้ำประกันการชำระอากรรังนกตามสัญญาดังกล่าว ต่อมาห้างหุ้นส่วนจำกัด ญ. ผิดนัดชำระเงิน ค่าอากรรังนกอีแอ่น คณะกรรมการพิจารณาจัดเก็บอากรรังนกอีแอ่นจังหวัดตรังจึงมีมติให้ยกเลิก สัมปทาน ขอให้บังคับจำเลยชำระเงินค่าอากรที่ค้างชำระพร้อมดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ เห็นว่า แม้โจทก์ ฟ้องขอให้จำเลยในฐานะผู้ค้ำประกันรับผิดตามสัญญาค้ำประกันการปฏิบัติตามสัญญาสัมปทาน เก็บรังนกอีแอ่นระหว่างโจทก์กับห้างหุ้นส่วนจำกัด ญ. แต่สัญญาระหว่างโจทก์กับห้างหุ้นส่วนจำกัด ญ. เป็นสัญญาที่จัดทำขึ้นตามพระราชบัญญัติอากรรังนกอีแอ่น พ.ศ. ๒๕๔๐ ซึ่งมาตรา ๗ วรรคสอง บัญญัติว่า “ให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดรับผิดชอบในการจัดเก็บเงินอากรรังนก...” และมาตรา ๑๔ วรรคสอง บัญญัติว่า “การขอรับสัมปทานในแต่ละจังหวัดให้ทำโดยการประมูลเงินอากรตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ผู้ว่าราชการจังหวัดโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการประกาศกำหนด” โดยในกรณีที่ผู้รับสัมปทานชำระเงินอากรเมื่อพ้นระยะเวลาที่กำหนดในสัมปทาน หรือชำระไม่ครบถ้วน มาตรา ๑๕ บัญญัติให้เสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ ๑.๕ ต่อเดือน หรือเศษของเดือนของเงินอากรที่ต้องชำระ และวรรคสองของมาตราเดียวกัน บัญญัติว่า “เงินเพิ่มตามวรรคหนึ่งให้ถือเป็นเงินอากร” ดังนั้น ผู้ที่จะเก็บรังนกในพื้นที่ที่พระราชบัญญัตินี้มีผลบังคับใช้ได้จะต้องเป็นผู้ที่ได้รับสัมปทานด้วยการประมูล เงินอากรและจะต้องจ่ายเงินอากรให้แก่รัฐ หากผู้รับสัมปทานชำระเงินอากรล่าช้าหรือไม่ครบถ้วน ก็จะต้องเสียเงินเพิ่ม เงินอากรรังนกจึงเป็น “อากร” ตามบทนิยามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. ๒๕๒๘ และการทำสัมปทานเป็นเพียงวิธีการ ในการให้ได้มาซึ่งเงินอากรของรัฐ เมื่อคดีนี้เป็นข้อพิพาทระหว่างองค์การบริหารส่วนจังหวัดตรัง ซึ่งเป็นราชการส่วนท้องถิ่นที่ได้รับเงินอากรจากสัมปทานรังนกตามมาตรา ๒๑ แห่งพระราชบัญญัติ อากรรังนกอีแอ่น พ.ศ. ๒๕๔๐ กับห้างหุ้นส่วนจำกัด ญ. ซึ่งเป็นเอกชนที่ได้รับสัมปทานและมีหน้าที่ ต้องชำระอากรตามพระราชบัญญัตินี้ เกี่ยวกับการเพิกเฉยไม่ชำระอากรภายในเวลาที่กำหนด ในสัมปทานหรือชำระไม่ครบถ้วน และโจทก์ได้ใช้สิทธิเรียกค่าอากรที่ค้างชำระ กรณีจึงเป็นข้อพิพาท เกี่ยวกับสิทธิเรียกร้องของรัฐในหนี้ภาษีอากรและเป็นข้อพิพาทเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ตามข้อผูกพัน ซึ่งได้ทำขึ้นเพื่อประโยชน์แก่การจัดเก็บภาษีอากร อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลภาษีอากร ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร มาตรา ๗ (๒) และ (๔) และเป็นข้อยกเว้นเขตอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง ตามมาตรา ๙ วรรคสอง คดีที่อยู่ในเขตอำนาจของศาลภาษีอากร


คดีพิพาทที่อยู่ในเขตอำนาจ ของศาลยุติธรรม รวมย่อคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่น่าสนใจ พ.ศ. ๒๕๕๖ - ๒๕๖๕ 87 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ข้อพิพาทระหว่าง โจทก์กับจำเลยซึ่งค้ำประกันการชำระเงินอากรของห้างหุ้นส่วนจำกัด ญ. อันเป็นหนี้อุปกรณ์ จึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลภาษีอากรด้วยเช่นกัน คดีนี้จึงอยู่ในอำนาจพิจารณา พิพากษาของศาลยุติธรรม คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๑๔๑/๒๕๖๐ คดีที่ผู้ฟ้องคดีเป็นเอกชนยื่นฟ้องกรมสรรพากร ที่ ๑ สรรพากรเขตพื้นที่นครปฐม ๒ ที่ ๒ ผู้ถูกฟ้องคดี ขอให้ศาลพิพากษาหรือมีคำสั่งให้ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองดำเนินการพิจารณาประเมินภาษี ธุรกิจเฉพาะใหม่ ตามมาตรา ๕๔ แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ และพิจารณาดำเนินการเพิกถอนคำสั่งยึดหรืออายัดทรัพย์สินและมีคำสั่งใหม่ภายในเวลาที่ ศาลกำหนดกับให้ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองชดใช้ค่าเสียหาย โดยข้อเท็จจริงในคดีนี้สืบเนื่องจากผู้ฟ้องคดี ได้ยื่นฟ้องต่อศาลภาษีอากรกลาง ขอให้เพิกถอนการประเมินภาษีธุรกิจเฉพาะและภาษีมูลค่าเพิ่ม และคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ และศาลภาษีอากรกลางมีคำพิพากษา ดังนี้ คดีแรก การประเมินภาษีธุรกิจเฉพาะของเจ้าพนักงานประเมินและคำวินิจฉัยของ คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ชอบแล้ว ซึ่งต่อมาศาลฎีกาพิพากษายืน คดีที่สอง การประเมินภาษีมูลค่าเพิ่ม ศาลภาษีอากรกลางพิพากษาให้เพิกถอนการแจ้ง การประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ เนื่องจากหนังสือการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่ม ไม่ได้ระบุวัน เดือนและปี ทำคำสั่ง จึงเป็นคำสั่งทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติ ราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ มาตรา ๓๖ และเมื่อหนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มดังกล่าว เป็นคำสั่งทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย กระบวนการพิจารณาในชั้นอุทธรณ์ของคณะกรรมการ พิจารณาอุทธรณ์ย่อมเสียไปทั้งหมด ผู้ฟ้องคดีเห็นว่าโดยผลของคำพิพากษาผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองต้องดำเนินการเพิกถอนการยึด หรืออายัดทรัพย์สินของผู้ฟ้องคดีที่ยึดไว้ในคดีทั้งสองเท่าที่เพียงพอแก่การชำระหนี้ตามคำพิพากษา ศาลภาษีอากรกลางเท่านั้น โดยไม่มีสิทธิที่จะยึดหรืออายัดไว้ทั้งหมด อีกทั้งการประเมินภาษีธุรกิจเฉพาะ ซึ่งมีรูปแบบและกระบวนการพิจารณาเช่นเดียวกันกับภาษีมูลค่าเพิ่มย่อมไม่ชอบด้วยกฎหมายเช่นกัน ผู้ฟ้องคดีได้เคยมีหนังสือขอให้ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองพิจารณาประเมินภาษีธุรกิจเฉพาะใหม่ตามมาตรา ๕๔ แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ และเพิกถอนคำสั่งยึดหรืออายัดทรัพย์สิน และมีคำสั่งใหม่ให้ถูกต้องแล้ว แต่ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองเพิกเฉย จึงยื่นฟ้องคดีนี้ขอให้พิพากษาหรือมีคำสั่ง ให้ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองดำเนินการพิจารณาประเมินภาษีธุรกิจเฉพาะใหม่และพิจารณาดำเนินการ เพิกถอนคำสั่งยึดหรืออายัดทรัพย์สินและมีคำสั่งใหม่ภายในเวลาที่ศาลกำหนด กับให้ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสอง ชดใช้ค่าเสียหาย ดังนั้น การยื่นฟ้องคดีนี้จึงเป็นกรณีที่ผู้ฟ้องคดีมุ่งประสงค์ให้มีการดำเนินการเกี่ยวกับ ความรับผิดในหนี้ภาษีอากรของผู้ฟ้องคดีใหม่อันมีผลต่อการบังคับสิทธิเรียกร้องของรัฐในหนี้ภาษีอากร จึงถือได้ว่าเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิเรียกร้องของรัฐในหนี้ภาษีอากร ตามมาตรา ๗ (๒) แห่ง คดีที่อยู่ในเขตอำนาจของศาลภาษีอากร


88 พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. ๒๕๒๘ ซึ่งไม่อยู่ในอำนาจ พิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง ตามมาตรา ๙ วรรคสอง (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครอง และวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ คดีนี้จึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๑๕๕/๒๕๕๖ คดีที่เอกชนผู้ฟ้องคดียื่นฟ้องกรมสรรพสามิตและเจ้าหน้าที่ในสังกัดอ้างว่า ผู้ฟ้องคดี ขอปรับลดราคาขายเบียร์สิงห์ ณ โรงงานสุรา แต่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ให้คงขายราคาเดิม ตามประกาศ กรมสรรพสามิต เรื่อง กำหนดมูลค่าของสุราที่ทำในราชอาณาจักรเพื่อถือเป็นเกณฑ์ในการคำนวณภาษี ลงวันที่ ๒๑ สิงหาคม ๒๕๔๖ และ ๗ พฤษภาคม ๒๕๕๒ ผู้ฟ้องคดีอุทธรณ์โต้แย้งว่าประกาศ ดังกล่าวเป็นคำสั่งทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ยกอุทธรณ์ ขอให้เพิกถอน คำวินิจฉัยอุทธรณ์ เพิกถอนคำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ที่ให้ผู้ฟ้องคดีคงราคาขายเบียร์สิงห์ ตามประกาศทั้งสองดังกล่าว และให้ผู้ฟ้องคดีผลิต บรรจุ และจำหน่ายเบียร์สิงห์ในราคาที่แตกต่าง ไปจากประกาศกรมสรรพสามิต ฉบับลงวันที่ ๗ พฤษภาคม ๒๕๕๒ รวมทั้งให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ออกประกาศกำหนดมูลค่าสุราใหม่ เห็นว่า แม้ประกาศทั้งสองฉบับดังกล่าวจะเป็นการออกโดยใช้อำนาจ ตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่ก็ตาม แต่ก็ออกมาเพื่อกำหนดฐานภาษี เนื่องจากเห็นว่าราคาขาย ณ โรงงานสุรา ที่ผู้ฟ้องคดีแจ้งไว้เป็นราคาที่ไม่ถูกต้องหรือไม่มีเหตุอันควร และได้ทำการประเมินราคา เพิ่มขึ้นโดยออกเป็นประกาศทั้งสองฉบับดังกล่าว จึงเป็นการประเมินภาษีรูปแบบหนึ่ง เมื่อผู้ฟ้องคดี ฟ้องขอให้ผู้ฟ้องคดีผลิต บรรจุ และจำหน่ายเบียร์สิงห์ในราคาที่เปลี่ยนแปลงแตกต่างไปจากที่กำหนดไว้ ในประกาศของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ฉบับลงวันที่ ๗ พฤษภาคม ๒๕๕๒ และให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ออกประกาศ กำหนดมูลค่าของสุราที่ทำในราชอาณาจักรเพื่อถือเป็นเกณฑ์ในการคำนวณภาษีเสียใหม่นั้น อันเป็น การไม่เห็นด้วยกับการประเมินภาษีตามประกาศกรมสรรพสามิต เรื่อง กำหนดมูลค่าของสุราที่ทำใน ราชอาณาจักรเพื่อถือเป็นเกณฑ์ในการคำนวณภาษี ลงวันที่ ๒๑ สิงหาคม ๒๕๔๖ และ ๗ พฤษภาคม ๒๕๕๒ จึงย่อมเป็นการอุทธรณ์คำวินิจฉัยของเจ้าพนักงานตามกฎหมายเกี่ยวกับภาษีอากร อันเป็น คดีที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลภาษีอากร ตามมาตรา ๗ (๑) แห่งพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. ๒๕๒๘ และย่อมไม่อยู่ในอำนาจพิจารณา พิพากษาของศาลปกครอง ตามมาตรา ๙ วรรคสอง (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครอง และวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ คดีนี้จึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม คดีที่อยู่ในเขตอำนาจของศาลภาษีอากร


คดีพิพาทที่อยู่ในเขตอำนาจ ของศาลยุติธรรม รวมย่อคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่น่าสนใจ พ.ศ. ๒๕๕๖ - ๒๕๖๕ 89 คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๘๒/๒๕๕๖ เอกชนผู้ผลิตและจำหน่ายเครื่องดื่มน้ำอัดลมได้รับความเดือดร้อนเสียหายจาก การถูกกรมสรรพสามิตออกประกาศกำหนดมูลค่าเครื่องดื่มเพื่อถือเป็นเกณฑ์ในการคำนวณภาษี ทำให้โจทก์ต้องเสียภาษีเพิ่มขึ้น จึงฟ้องขอให้เพิกถอนประกาศและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ และให้กำหนดราคา ที่เป็นฐานในการคำนวณภาษีใหม่ เห็นว่า ประกาศกรมสรรพสามิตฉบับพิพาท เป็นการกำหนดมูลค่า เครื่องดื่มของโจทก์เพื่อถือเป็นเกณฑ์ในการคำนวณภาษี โดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ (๑) วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. ๒๕๒๗ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติภาษี สรรพสามิต (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งมาตรา ๘ แห่งพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. ๒๕๒๗ เป็นบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับฐานในการคำนวณภาษีสรรพสามิตตามมูลค่า จึงเกี่ยวข้องโดยตรงกับ ฐานภาษีสรรพสามิต และแม้ประกาศฉบับพิพาทจะเป็นคำสั่งทางปกครองก็ตาม แต่ก็เพื่อกำหนด ฐานภาษี อันเป็นผลสืบเนื่องจากการวินิจฉัยของเจ้าพนักงานที่เห็นว่าราคาขายที่โจทก์แจ้งไว้เป็นราคา ที่ไม่ถูกต้องหรือไม่มีเหตุอันสมควร จึงได้ออกเป็นประกาศฉบับใหม่ ซึ่งมีผลเช่นเดียวกันกับการประเมิน ภาษี จึงถือเป็นส่วนหนึ่งของการประเมินภาษีในรูปแบบหนึ่ง เมื่อโจทก์เห็นว่าประกาศดังกล่าวมิชอบ ด้วยกฎหมาย จึงฟ้องขอให้เพิกถอนย่อมเป็นการอุทธรณ์คำวินิจฉัยของเจ้าพนักงานตามกฎหมาย เกี่ยวกับภาษีอากร เป็นคดีที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลภาษีอากรตามมาตรา ๗ (๑) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. ๒๕๒๘ คดีนี้จึงอยู่ใน อำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม คดีที่อยู่ในเขตอำนาจของศาลภาษีอากร


90 คดทีอี�ยใู่นเขตอํานาจของศาลแรงงาน


Click to View FlipBook Version