The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by chtsan6, 2021-12-17 05:16:58

ครูเพื่อศิษย์ สร้างการเชื่อมโยง

ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช

ครูเพอื่ ศษิ ย ศ.นพ. วิจารณ พานิช
วิมลศรี ศษุ ิลวรณ
สรา งการเรยี นรู รว มสะทอ นคิดโดย
สรู ะดบั เชื่อมโยง
รศ.ดร. สุธรี ะ ประเสริฐสรรพ

ครเู พื่อศิษย์
สร้างการเรยี นร้สู ู่ระดับเชอื่ มโยง

ครเู พือ่ ศษิ ย์ สรา้ งการเรียนร้สู รู่ ะดับเชอ่ื มโยง

ขอ้ มลู ทางบรรณานกุ รมของส�ำนกั หอสมุดแห่งชาติ
วิจารณ์ พานชิ .
ครเู พอื่ ศษิ ย์ สรา้ งการเรยี นรสู้ รู่ ะดบั เชอ่ื มโยง.-- กรงุ เทพฯ : มลู นธิ สิ ยามกมั มาจล, 2563.
304 หนา้ .
1. ครู. 2. การเรียนแบบมสี ่วนร่วม. 3. ระบบการเรยี นการสอน I. วมิ ลศรี ศษุ ิลวรณ,์
ผแู้ ต่งร่วม. II. ชอ่ื เร่ือง.
371.1
ISBN 978-616-8000-33-5

ผ้แู ตง่ วจิ ารณ์ พานิช, วิมลศรี ศุษิลวรณ์
ภาพปกหน้า เดก็ ชายศกั ดิพฒั น์ พุทธมิ า
บรรณาธกิ ารศลิ ปกรรม วมิ ลศรี ศษุ ลิ วรณ์
พสิ ูจน์อักษร วิมลศรี ศุษิลวรณ์
พมิ พ์คร้ังแรก พฤศจิกายน ๒๕๖๓
จำ� นวนพมิ พ ์ ๔,๕๐๐ เล่ม
ออกแบบและพิมพ ์ บรษิ ัท ภาพพิมพ์ จ�ำกัด

จดั พิมพ์และเผยแพร่
มลู นิธิสยามกมั มาจล
ส�ำนกั งานใหญ่ธนาคารไทยพาณชิ ย์ จำ� กดั (มหาชน) อาคารพลาซ่า อีสต์
๑๙ ถนนรชั ดาภเิ ษก แขวงจตุจกั ร เขตจตจุ กั ร กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐
www.scbf.or.th
รว่ มกบั
กองทนุ เพื่อความเสมอภาคทางการศกึ ษา
๓๘๘ อาคารเอส.พ.ี ชนั้ ๑๓ ถนนพหลโยธิน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรงุ เทพฯ ๑๐๔๐๐
www.eef.or.th
และ
กองทนุ จิตตปญั ญาเพื่อครเู พลนิ พฒั นา
๓๓/๓๙-๔๐ ถ.สวนผัก แขวงศาลาธรรมสพน์ เขตทววี ัฒนา กรงุ เทพฯ ๑๐๑๗๐
www.plearnpattana.ac.th

เร่อื งจากปก

ในช่ัวโมงโฮมรูมของนักเรียนช้ันประถมปีท่ี ๖ คุณครูประจ�ำช้ันเร่ิมกิจกรรมด้วยการใช้เสียงของระฆัง
แห่งสติ น�ำพาใหน้ กั เรยี นวางจากความคิด เพอ่ื กลับมาอย่กู ับตวั เอง
จากนน้ั ครูเปดิ เพลงบรรเลงเบาๆ แลว้ ให้นกั เรยี นจรดปลายดินสอลงบนกระดาษเปล่าทีว่ างอยู่ตรงหน้า
อย่างเบามือ สร้างให้เป็นเส้นสายท่ีเชื่อมโยงระหว่างจังหวะของหัวใจกับจังหวะของเสียงเพลง โดยไม่ต้อง
วางแผนใดๆ และไม่ต้องยกมือข้ึนจากกระดาษ เพียงแค่ปล่อยให้ใจกับมือท�ำงานสอดประสานกันไป
เมื่อเสยี งเพลงบรรเลงจบลง ครไู ด้บอกใหท้ ุกคนมองดูเส้นบนกระดาษว่าเห็นเปน็ รปู ร่างของสตั ว์ชนดิ ใด
ทมี่ มุ หนง่ึ ของชน้ั เรยี น เบสท์ - ศกั ดพิ ฒั น์ พทุ ธมิ า มองเหน็ ลายเสน้ ทเี่ กดิ ขนึ้ มาจากอารมณผ์ อ่ นคลาย
และบรรยากาศที่แสนสบายในยามเช้า เป็นรูปร่างของสัตว์หลากหลายชนิดท่ีทับซ้อนกันอยู่ในลายเส้นที่
เชอื่ มโยงกนั เขาจงึ บรรจงลงสใี หส้ ตั วต์ วั แลว้ ตวั เลา่ คอ่ ยๆ ปรากฏขน้ึ บนหนา้ กระดาษทลี ะตวั อยา่ งรนื่ รมย์

หลายปีผ่านไปภาพเดียวกันน้ี ได้ปรากฏตัวขึ้นบนปกหนังสือ ครูเพื่อศิษย์ สร้างการเรียนรู้
สรู่ ะดบั เชอื่ มโยง เพอ่ื มาทำ� หนา้ ทเี่ ชอื้ เชญิ ใหผ้ อู้ า่ นเปดิ เขา้ ไปสมั ผสั กบั การเรยี นรู้ ทเี่ กดิ ขน้ึ จากการ
“มองเหน็ ” การเรียนรู้ของท้ังครแู ละศิษยไ์ ปพรอ้ มๆ กัน
วันนแี้ มลงเตา่ ทองตวั เดมิ ในบทบาทใหม่ ได้มาทำ� หน้าท่ีเชอ่ื มร้อยเรอื่ งราวจากปกหน้าเขา้ มายงั
เน้ือหาภายในเล่ม และน�ำผู้อ่านสู่ค�ำถามสะท้อนคิดของ รศ. ดร.สุธีระ ประเสริฐสรรพ์ ผู้ก่อต้ัง
โครงการเพาะพันธุ์ปัญญา ที่ท่านมักเน้นอยู่เสมอว่า ครูต้องมีประสบการณ์ทางจิตตปัญญา เพ่ือ
การก้าวข้ามอุปสรรคนานาประการที่เกิดข้ึนระหว่างเส้นทางชีวิตของความเป็นครู ร่วมไปกับ
การแนะใหค้ รใู ชก้ ารตงั้ คำ� ถามเพอ่ื กอ่ การเรยี นรใู้ หก้ บั ผเู้ รยี น แทนการบอกหรอื สอนความรู้ ดงั เชน่
ตวั อยา่ งค�ำถามเก่ียวกับเตา่ ทอง ท้งั ๙ ข้อ ตอ่ ไปน้ี
(๑) ทำ� ไมต้องมีแมลงเต่าทอง
(๒) จะเป็นอยา่ งไรถา้ ไม่มแี มลงเต่าทอง
(๓) ให้บอกข้อเสยี ๒ ขอ้ ของแมลงเตา่ ทอง
(๔) ให้บอก ๓ อย่างทแ่ี มลงเตา่ ทองและจกั รยานเหมือนกนั
(๕) ระหวา่ งผง้ึ กบั แมลงเต่าทองทา่ นจะเลอื กตัวใด เพราะอะไร
(๖) ถ้าเอาแมลงเต่าทองมาทำ� เป็นของใชใ้ นบา้ น ทา่ นจะเอามาทำ� อะไร
(๗) ขาวตรงขา้ มกบั ด�ำ สตั ว์ท่ีอย่ตู รงข้ามกบั แมลงเต่าทองคืออะไร เหตุผลคอื อะไร
(๘) ใหต้ ัง้ ค�ำถาม ๓ ข้อ ทไี่ มส่ ามารถตอบเปน็ อยา่ งอื่นไดเ้ ลยนอกจากแมลงเต่าทอง
(๙) ทา่ นคิดว่าแมลงเต่าทองควรปรบั ปรุงหนา้ ตาอยา่ งไร วาดลงกระดาษ

คำ� ตอบและเรื่องราวของแมลงเตา่ ทองจะเปน็ เชน่ ไร แมลงเต่าทองตัวนี้
จะสร้างแรงบันดาลใจได้มากแคไ่ หน โปรดตดิ ตามตอนต่อไปไดจ้ ากชั้นเรยี นของทุกท่าน

........................



คำ� นำ� มลู นิธิสยามกัมมาจล

หนังสือ ครูเพ่ือศิษย์ สร้างการเรียนรู้สู่ระดับเช่ือมโยง เล่มท่ีท่านถืออยู่ในมือขณะนี้ เป็นหนังสือท่ี
ศ.นพ.วจิ ารณ์ พานชิ ไดต้ คี วามจากหนงั สอื Visible Learning for Literacy, Grades K-12 : Implementing
the Practices That Work Best to Accelerate Student Learning (2016) เขียนโดย Douglas
Fisher, Nancy Frey, และ John Hattie ซึง่ เปน็ หนงั สอื ทนี่ �ำเอาหลกั การ Visible Learning ที่พัฒนาขน้ึ
อย่างต่อเน่ืองโดย John Hattie ในชว่ งเวลาเกอื บ ๔๐ ปี สู่ภาคปฏิบัติ เปน็ หนังสืออีกเลม่ ทีเ่ กี่ยวข้องกบั
วงการศึกษาไทยโดยตรง ซึ่ง ศ. นพ.วิจารณ์ พานิช ได้กรุณาเขียนไว้ให้แก่วงการศึกษาไทย เพ่ือเป็น
การสอ่ื สารโดยตรงตอ่ คณุ ครู และผอู้ ำ� นวยการทม่ี สี ว่ นรว่ มในการขบั เคลอื่ นวงการศกึ ษาไทยใหต้ ระหนกั ถงึ
การศกึ ษาไทย ที่ตอ้ งก้าวให้ทันต่อการเปลีย่ นแปลงของโลก
หลงั จากทไ่ี ดอ้ า่ นหนงั สอื ครเู พอ่ื ศษิ ยฯ์ เลม่ นจี้ บลง มคี วามรสู้ กึ เสมอื นไดค้ น้ พบคำ� ตอบสว่ นหนง่ึ ทหี่ ายไป
จากการทำ� งานรว่ มกบั ผเู้ ชยี่ วชาญในการพฒั นาครแู ละผเู้ รยี นหลายแหง่ ทม่ี เี ครอื่ งมอื มากมายในการชว่ ยครู
สร้างการเรียนรู้ให้ผู้เรียนได้สนุกกับการเรียนรู้ และลงมือปฏิบัติการเรียนรู้ของตนเอง ท้ังท่ีเป็นโครงงาน
โครงการ และโจทย์ปัญหา ตลอดจนเครอ่ื งมือชว่ ยคิดชว่ ยจ�ำอีกมากมายที่ผทู้ อ่ี ยู่ในวงการศกึ ษาคงทราบดี
ซ่ึงหนงั สอื เล่มน้ี กไ็ ดน้ �ำเสนอเครื่องมืออีกหลายตัวใหค้ ณุ ครไู ดน้ �ำไปทดลองใชอ้ กี เช่นกนั
สว่ นความพเิ ศษของหนงั สอื เลม่ นที้ ดี่ ฉิ นั เกรน่ิ ไวว้ า่ เปน็ การเสนอคำ� ตอบทหี่ ายไปคอื “คำ� ตอบทหี่ ายไป”
ก็คอื หนงั สือได้ใหข้ ้อคดิ ว่า “ครทู ี่ด”ี หมายถงึ ครูทมี่ ีคุณลกั ษณะอย่างไร และมบี ทบาทอยา่ งไรในการสรา้ ง
การเรยี นรใู้ หผ้ เู้ รยี น ดฉิ นั ไดข้ อ้ สรปุ จากการอา่ นหนงั สอื เลม่ นว้ี า่ เครอ่ื งมอื ชว่ ยสรา้ งการเรยี นรนู้ น้ั มอี ยอู่ ยา่ ง
หลากหลาย แตค่ วามสำ� คญั อยทู่ ผี่ สู้ อนแตล่ ะคนจะนำ� เอาเครอื่ งมอื เหลา่ นม้ี าใชเ้ ปน็ หรอื ไม่ ถกู ที่ ถกู จงั หวะ
และเวลาหรือไม่ ซึ่งจะส่งผลกับ “คุณภาพ” การเรียนรู้ของผู้เรียน อีกท้ังยังได้แนะน�ำให้เห็นบทบาทของ
ครทู ที่ ำ� หนา้ ทเ่ี ปน็ ครฝู กึ ใหผ้ เู้ รยี นฝกึ คดิ ฝกึ ตงั้ คำ� ถาม และสะทอ้ นคดิ ไดด้ ว้ ยตนเอง ซง่ึ เปน็ ทกั ษะทสี่ ำ� คญั
ของท้งั ครแู ละผเู้ รียน
หนงั สอื เลม่ นจี้ ะชว่ ยใหค้ ณุ ครู ไดท้ บทวนบทบาทของตนเอง และมแี นวทางในการจดั การเรยี นการสอนที่
คณุ ครแู นวใหมก่ ำ� ลงั มองหา เมอ่ื นำ� แนวทางของหนงั สอื เลม่ นไี้ ปทดลองใช้ หรอื เมอื่ คณุ ครไู ดอ้ า่ นแลว้ คณุ ครู
พบวา่ มหี ลายแนวทางในหนงั สือท่ตี นไดป้ ฏบิ ตั เิ กดิ ความปติ ิในใจ ท่ีได้รู้วา่ ตนได้เดนิ มาถูกทางแล้วเชน่ กัน
ในขณะเดยี วกนั ทา่ น ศ.นพ.วจิ ารณ์ พานชิ กไ็ ดม้ องเหน็ ขอ้ จำ� กดั ของหนงั สอื วา่ ถงึ แมห้ นงั สอื จะเขยี นไว้
ดเี พยี งไร กย็ งั คงเปน็ เพยี งทฤษฏที มี่ องเหน็ เปน็ ตวั หนงั สอื และอยใู่ นการจนิ ตนาการของผอู้ า่ นเทา่ นนั้ ดงั นน้ั
ทา่ นจงึ มแี นวคดิ ทจ่ี ะนำ� แนวทางในหนงั สอื มาเชอ่ื มโยงเขา้ การปฏบิ ตั จิ รงิ ของครใู นหอ้ งเรยี น เพอ่ื ใหห้ นงั สอื

มชี วี ติ และครเู หน็ แนวทางการนำ� ใชไ้ ดอ้ ยา่ งชดั เจนมากยง่ิ ขนึ้ จงึ เกดิ เปน็ โครงการครเู พอ่ื ศษิ ย์ สรา้ งการเรยี นรู้
สู่ระดบั เชื่อมโยงออนไลน์ ทม่ี กี ารน�ำเนอื้ หาในหนังสอื มาใชเ้ ปน็ เครื่องมอื ในการเรียนรูข้ อง “ครู”
โครงการนเี้ รมิ่ ตน้ ทโ่ี รงเรยี นในเครอื ขา่ ยของสองหนว่ ยงานคอื กองทนุ เพอื่ ความเสมอภาคทางการศกึ ษา
(กสศ.) และมลู นธิ สิ ยามกมั มาจล ทม่ี เี ปา้ หมายในการพฒั นาศกั ยภาพครเู ชน่ เดยี ว เปน็ การจดั เวทแี ลกเปลยี่ น
เรียนรู้ของผู้อ�ำนวยการและครูข้ามเครือข่ายที่มีขนาดใหญ่ผ่านระบบออนไลน์ (ระบบ ZOOM) ในเวที
Online PLC Coaching เป็นเวลา ๓ ชั่วโมง ที่จัดขึ้นทุก ๒ สัปดาห์ โดยมีผู้อ�ำนวยการและครูแกนน�ำ
(๓ ท่านตอ่ โรงเรยี น) จาก ๒๓ โรงเรยี น เข้ารว่ มในวงแลกเปลีย่ นเรยี นรูน้ ี้ และมผี ทู้ รงคุณวุฒิ ตลอดจน
ผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษามาร่วมกัน ตีความจากภาคปฏิบัติของครูต้นเร่ืองในการเล่ากระบวนการเรียน
การสอนในแตล่ ะครงั้ รว่ มไปกบั การตคี วามและแลกเปลย่ี นแนวทางปฏบิ ตั ขิ องแตล่ ะโรงเรยี นดว้ ยเรอื่ งเลา่
จากการปฏบิ ตั จิ รงิ ของผู้อ�ำนวยการและเพือ่ นครูจากโรงเรยี นต่างๆ
ขณะน้ีเวที PLC ได้ด�ำเนินมาแล้วครึ่งทาง ในขณะที่ครูใหม่ - วิมลศรี ศุษิลวรรณ์ จากโรงเรียน
เพลินพัฒนา ก็ได้ท�ำงานบรรณาธิการให้กับหนังสือเล่มที่ ๑ ของโครงการฯ คู่ขนานกันไป ซ่ึงในหนังสือ
เล่มนี้ประกอบไปด้วยเนื้อหาภาคทฤษฎี และเรื่องเล่าจากห้องเรียนของโรงเรียนแกนน�ำท้ัง ๓ โรงเรียน
ได้แก่ โรงเรียนรุ่งอรุณ โรงเรียนล�ำปลายมาศพัฒนา และโรงเรียนเพลินพัฒนา มาเช่ือมโยงกับแนวทาง
ในหนังสือว่า เม่ือน�ำไปใช้จริงในห้องเรียนแล้วจะเกิดเป็นภาคปฏิบัติได้อย่างไร เพ่ือให้เพ่ือนครูท่ีได้น�ำ
หนังสือเล่มนี้ไปอ่านสามารถน�ำไปใช้กับลูกศิษย์ของตนได้จริง อีกทั้งยังช่วยให้ครูผู้น้ันสามารถพัฒนา
ศักยภาพตนเองไปตามระบบสากลโดยไม่รู้ตัวอีกด้วย แต่ทั้งนี้ทั้งน้ันสิ่งช้ีวัดความส�ำเร็จของหนังสือเล่มน้ี
คือ ครูสามารถพาศษิ ยท์ ุกคนในหอ้ งเรียนเรยี นรูไ้ ปพรอ้ มๆ กันได้
หนังสือเล่มน้ีจะเป็นประโยชน์ก็ต่อเมื่อท่านผู้อ�ำนวยการในฐานะผู้บริหารได้อ่านแล้ว น�ำไปใช้ใน
การบรหิ ารการออกแบบแผนการเรยี นการสอนในโรงเรยี น และคอยใหค้ ำ� ชแี้ นะแกค่ ณุ ครใู นโรงเรยี นตนเอง
แล้วคุณครูได้น�ำไปปรับใช้ให้เข้ากับบริบทในห้องเรียนของตน จนเกิดความปิติสุขในการเห็นศิษย์บรรลุ
เปา้ หมายการเรยี นรตู้ ามท่ตี นไดอ้ อกแบบวางแผนไว้
มลู นธิ ฯิ คาดหวงั วา่ หนงั สอื เลม่ นจี้ ะเปน็ เพอื่ นคคู่ ดิ ของคณุ ครทู กุ ทา่ นใหส้ ามารถพฒั นาศกั ยภาพตนเอง
พฒั นาการเรยี นรขู้ องศษิ ย์ และกอ่ ใหเ้ กดิ ความปติ สิ ขุ ในอาชพี แมพ่ มิ พข์ องชาติ ดว้ ยความหวงั เปน็ อยา่ งยง่ิ
ว่าท่านจะส่งต่อผลของปิตสิ ขุ นีไ้ ปสู่ครูรนุ่ นอ้ งสืบตอ่ ๆ ไป

คำ� นำ� กองทุนเพอ่ื ความเสมอภาค
ทางการศกึ ษา

“สถานการณ์ในปจั จบุ นั ทมี่ กี ารเปลย่ี นแปลงดา้ นความกา้ วหนา้ ของเทคโนโลยดี า้ นการสอ่ื สาร สง่ิ แวดลอ้ ม
ภูมิอากาศโลก ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงการใช้ชีวิตและพฤติกรรมของคนในสังคมกระทบต่อเศรษฐกิจ
โดยรวม การเปลยี่ นแปลงนเี้ กดิ ขน้ึ อยา่ งรวดเรว็ คาดไมถ่ งึ คนรนุ่ ใหมท่ จ่ี ะใชช้ วี ติ ในปจั บุ นั และอนาคต จะตอ้ ง
มีทักษะและสมรรถนะท่ีแตกต่างจากคนในอดีต” เป็นอารัมภบทหนึ่งเมื่อเริ่มต้นโครงการ “โครงการ
ครเู พอื่ ศษิ ย์ สรา้ งการเรยี นรสู้ รู่ ะดบั เชอื่ มโยงออนไลน”์ ทมี่ ลู นธิ สิ ยามกมั มาจล ดำ� เนนิ การรว่ มกบั กองทนุ
เพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) โดยมี “โครงการพัฒนาครูและโรงเรียนเพื่อยกระดับคุณภาพ
การศกึ ษาอยา่ งตอ่ เนอื่ ง” หรอื ทร่ี จู้ กั กนั ในชอื่ “โครงการโรงเรยี นพฒั นาคณุ ภาพตนเอง” ดำ� เนนิ งานมาแลว้
ก่อนหน้าเป็นเวลาเกือบหน่ึงปีจ�ำนวน ๒๙๐ โรงเรียน มีเครือข่ายร่วมสนับสนุนการพัฒนาจ�ำนวน ๕
เครอื ขา่ ย
หนังสอื ครูเพื่อศิษย์ สร้างการเรียนรู้สู่ระดบั เช่อื มโยง เปน็ หนงั สือที่ ศ.นพ.วจิ ารณ์ พานชิ ไดต้ ีความ
จากหนงั สอื Visible Learning for Literacy, Grades K-12 : Implementing the Practices That Work
Best to Accelerate Student Learning (2016) เขียนโดย Douglas Fisher, Nancy Frey, และ John
Hattie ซ่ึงพัฒนาข้ึนตามหลักการ Visible Learning มาอย่างต่อเน่ืองในช่วงเวลาเกือบ ๔๐ ปี ที่ลงสู่
ภาคปฏิบัติ โดยน�ำมาประยุกต์เป็นเครื่องมือในกระบวนการแลกเปล่ียนเรียนรู้ประกอบกับเทคโนโลยี
ทนั สมยั ทำ� ใหเ้ กดิ พน้ื ทก่ี ารเรยี นรู้ (Platform Learning) ผา่ นระบบออนไลน์ไดด้ งั ภาคปฏบิ ตั ขิ องโครงการนี้
จงึ ทำ� ใหว้ ธิ กี ารเขยี นหนงั สอื ครเู พอ่ื ศษิ ย์ สรา้ งการเรยี นรสู้ รู่ ะดบั เชอื่ มโยง เปน็ สาระและเรอื่ งราวจากภาค
ปฏบิ ตั ทิ เ่ี กดิ ขน้ึ จรงิ เปน็ เรอ่ื งจรงิ และประสบการณจ์ รงิ ๆ ของครผู เู้ ปน็ นกั จดั การเรยี นรเู้ พอ่ื ลกู ศษิ ยข์ องตน
โดยความกรุณาของทีมมูลนิธิสยามกัมมาจลที่ชวนกันต้ังวงแลกเปล่ียนเรียนรู้ของผู้บริหารโรงเรียนและ
ครขู า้ มเครอื ขา่ ยทมี่ ขี นาดใหญผ่ า่ นระบบออนไลน์ (zoom meeting) ในทกุ ๆ สองสปั ดาห์ โดยมผี อู้ ำ� นวยการ
และครูแกนน�ำจาก ๒๓ โรงเรียน เข้าร่วมโครงการ และมีผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้เช่ียวชาญด้านการศึกษา
มาร่วมกันแลกเปล่ียนเรียนรู้ ตีความจากภาคปฏิบัติของครูต้นเรื่องในการเล่ากระบวนการเรียนการสอน
ในแต่ละครั้ง พร้อมกันน้ี ผู้อ�ำนวยการและเพื่อนครู ยังได้ร่วมตีความและแลกเปล่ียนแนวทางปฏิบัติ
ของตนไปพร้อมๆ กนั ดว้ ย โดยมเี ปา้ หมายในการพัฒนาศักยภาพของครูเปน็ สำ� คัญ
เรอ่ื งเลา่ จากหอ้ งเรยี นทป่ี รากฏอยขู่ องหนงั สอื เลม่ น้ี จงึ เปน็ เนอ้ื หาสาระทเ่ี กดิ จากตกผลกึ ของการรว่ มคดิ
ร่วมสะท้อน และร่วมเติมเต็มจากเรื่องเล่าของครูแกนน�ำ ๓ โรงเรียนที่ลงมือปฏิบัติมาแล้ว ได้แก่
๑) โรงเรยี นรงุ่ อรณุ กรงุ เทพมหานคร ๒) โรงเรยี นลำ� ปลายมาศพฒั นา จงั หวดั บรุ รี มั ย์ และ ๓) โรงเรยี น

เพลินพัฒนา กรุงเทพมหานคร มาเป็นทีมผู้จุดประกายความคิด ท�ำให้ผู้เข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้
เปิดมุมมองใหม่ๆ หรือย้อนคิดทบทวนในสิ่งท่ีตนท�ำมาแล้วในอดีตเพ่ือพัฒนาต่อ หนังสือเล่มนี้จึงเป็น
หนงั สอื ท่มี คี ณุ คา่ อย่างย่งิ
ขอขอบคุณ ศ. นพ.วิจารณ์ พานิช ผู้ท่ีมองเห็นคุณค่าชีวิตและวิถีปฏิบัติของครูและผู้บริหารท่ีท�ำ
เพื่อลกู ศิษย์ หรือ “คนเอาถา่ น” ทุกคนจนก่อเกิดเรือ่ งราวอนั สำ� คัญในคร้งั นข้ี ึน้ และขอขอบคุณ “ครูใหม”่
วิมลศรี ศุษิลวรรณ์ ผู้เรียบเรียงเน้ือหา และดูแลออกแบบองค์ประกอบของหนังสือเล่มนี้ได้อย่างดีเยี่ยม
ไปจนกระทัง่ ถงึ กระบวนการจดั พิมพต์ ้นฉบบั
กสศ. หวงั เปน็ อยา่ งยงิ่ วา่ สง่ิ ทเ่ี กดิ ขน้ึ ในทกุ ๆ ขนั้ ตอนของการทำ� หนงั สอื เลม่ นจ้ี ะเปน็ กระบวนการเรยี นรู้
ทสี่ ำ� คญั ตอ่ วชิ าชพี ครไู ดอ้ ยา่ งกวา้ งขวางและเปน็ แนวทางไปสกู่ ารปฏบิ ตั ขิ อง “ครแู กนนำ� ” โครงการโรงเรยี น
พัฒนาตนเองในปีท่ี ๒ จ�ำนวน ๗๓๓ โรงเรียน ท่ีมีเครือข่ายร่วมสนับสนุนจ�ำนวน ๑๑ เครือข่าย และ
คณุ ปู การของ หนงั สอื ครเู พอ่ื ศษิ ย์ สรา้ งการเรยี นรสู้ รู่ ะดบั เชอ่ื มโยง เลม่ นี้ ไมเ่ พยี งแตจ่ ะเกดิ ขน้ึ กบั เฉพาะ
ตัวครูในฐานะท่ีน�ำไปเป็นเครื่องมือเพื่อพัฒนาศักยภาพตนเองเท่านั้น แต่การน�ำไปใช้ได้จริงในห้องเรียน
แล้วสามารถต่อยอดการพัฒนาการเรียนรู้ของศิษย์ได้อย่างมีพลัง มีความมั่นใจ และสอดคล้องกับบริบท
ของตน ยังทำ� ใหค้ รทู ุกทา่ นได้รว่ มเป็นส่วนหน่งึ ของการปฏริ ูปการจัดการศึกษาของประเทศอีกด้วย

สำ� นกั พัฒนาคณุ ภาพครู นักศกึ ษาครู และสถานศกึ ษา
กองทุนเพอื่ ความเสมอภาคทางการศกึ ษา (กสศ.)



ค�ำนำ� ของผเู้ ขียน

หนงั สอื ครเู พอ่ื ศษิ ย์ สรา้ งการเรยี นรสู้ รู่ ะดบั เชอื่ มโยง เลม่ นต้ี คี วาม (ไมใ่ ชแ่ ปล) และจนิ ตนาการตอ่ เนอ่ื ง
จากหนงั สอื Visible Learning for Literacy, Grades K-12 : Implementing the Practices That Work Best
to Accelerate Student Learning (2016) เขยี นโดย Douglas Fisher, Nancy Frey, และ John Hattie
ซง่ึ เปน็ หนงั สอื ทนี่ ำ� เอาหลกั การ Visible Learning ทพ่ี ฒั นาขน้ึ อยา่ งตอ่ เนอ่ื งโดย John Hattie ในชว่ งเวลา
เกือบ ๔๐ ปี สูภ่ าคปฏบิ ัติ
สาระสำ� คญั คอื การสื่อความและสื่อวธิ ีการเรยี นรูท้ ่ปี ระจกั ษ์ชดั ในสองมมุ คือมุมนักเรียนทเี่ รยี นอย่าง
ชัดเจนในเป้าหมาย ในความก้าวหน้าของตน ท้ังในการเรียนวิชาและวิธีเรียน และมุมของครูที่สอนอย่าง
ประจักษ์ในผลที่เกิดข้ึนต่อนักเรียน และโดยใช้การกระตุ้นสายตาของนักเรียนด้วยเป้าหมายการเรียน
เพอื่ ชว่ ยใหน้ กั เรยี นเรยี นรอู้ ยา่ งมเี ปา้ หมายอยตู่ ลอดเวลา ซงึ่ จะนำ� ไปสกู่ ารบรรลุ “การเรยี นรรู้ ะดบั เชอื่ มโยง”
ในที่สดุ
การวางรากฐานครู และนักเรียน ให้เป็นผูเ้ รยี นร้รู ะดบั เชอ่ื มโยง ไม่หลงอยูท่ ก่ี ารเรยี นรู้ระดบั ตน้ื หรอื
ระดบั ผวิ เผนิ เปน็ เรอื่ งสำ� คญั ยงิ่ ของการศกึ ษาไทย ทงั้ ในระดบั การผลติ ครู ความตระหนกั เรอื่ งนใ้ี นกลมุ่ ครู
ของครู ผบู้ รหิ ารการศึกษา ครู ผปู้ กครอง นักเรียน และผู้เกยี่ วข้องกับการศกึ ษาทั้งมวล
หากครูด�ำเนินการจัดการเรียนรู้ให้แก่ศิษย์ตามแนวทางในหนังสือเล่มน้ี ครูจะกลายเป็น “ผู้เรียน”
โดยเรียนรู้ไปพร้อมๆ กันกับศิษย์ ทั้งครูและศิษย์ เรียนอย่างมีเป้าหมาย ท่ีเป็นเป้าหมายที่ชัดเจน และ
มเี กณฑว์ ดั ทต่ี นกำ� หนดขน้ึ เอง โดยเปา้ หมายการเรยี นรขู้ องครคู อื วธิ กี ารจดั การเรยี นรทู้ ช่ี ว่ ยใหศ้ ษิ ยท์ กุ คน
บรรลุผลลัพธ์การเรียนร้ตู ามทก่ี �ำหนดในหลักสตู ร
ย่ิงถ้าทางโรงเรียนจัดให้ครูแต่ละคนน�ำแนวทางน้ีไปปรับใช้ แล้วน�ำเอาปฏิกิริยา ความก้าวหน้า หรือ
การเปลี่ยนแปลงของนักเรียน มาแลกเปล่ียนเรียนรู้กันในวง PLC การท�ำหน้าท่ีครูจะสนุกสนานและ
เกิดการเรียนรู้มาก โดยท่ีครูจะเกิดการเรียนรู้ในระดับเชื่อมโยง เกิดการสร้างความรู้ว่าด้วยการเป็นครู
ในบรบิ ทไทยไดส้ ารพัดประเด็น
ผมเขยี นหนงั สอื นอี้ ยา่ งสนกุ สนาน ในชว่ งกอ่ นวนั หยดุ สน้ิ ปี ๒ สปั ดาห์ และใชว้ นั หยดุ ขนึ้ ปใี หม่ ๒๕๖๓
รวม ๕ วนั มงุ่ มน่ั เขยี นใหเ้ สรจ็ และทำ� ไดส้ ำ� เรจ็ ตามเปา้ หมายทกี่ ำ� หนด ทำ� ใหผ้ มมคี วามสขุ มาก ยง่ิ เมอื่ เขยี น
“บทส่งท้าย...ฝันใหญ่ เพื่อ transform การศึกษาไทย” ผมย่ิงมีความสุข เพราะเกิดความหวังว่า จะมี
มาตรการเปลี่ยนแปลงการศึกษาไทยอย่างได้ผลจริง

มองจากมมุ หนง่ึ นคี่ อื การจดั การเรยี นรแู้ บบทเี่ รยี กวา่ child - centered กไ็ ด้ หรอื เรยี กวา่ result - based
education ก็ได้ หรือเรียกว่า high performance education ก็ได้ โดยหัวใจคอื ลมหายใจเข้าออกของครู
อยู่ที่ความก้าวหน้าและผลลัพธ์การเรียนรู้ของศิษย์ทุกคน โดยครูตระหนักว่านักเรียนแต่ละคนมี
ความแตกต่างกัน เป็นความท้าทายของครูที่จะต้องด�ำเนินการให้ศิษย์ทุกคนบรรลุผลลัพธ์การเรียนรู้
อยา่ งไดม้ าตรฐาน โดยศษิ ยบ์ างคนตอ้ งไดร้ บั บทเรยี นทแ่ี ตกตา่ งจากนกั เรยี นคนอนื่ ๆ คอื การเรยี นการสอน
ต้องมีความยืดหยุ่น และครูต้องร่วมกันหาทางปรับปรุงอยู่ตลอดเวลา โดยที่กระบวนการร่วมกันปรับปรุง
การเรียนการสอนของครู เป็นกระบวนการเรียนรู้หรือพัฒนาครู (professional development) ไปในตัว
หรอื กลา่ วใหมว่ า่ กระบวนการพฒั นาครปู ระจำ� การตอ้ งบรู ณาการอยกู่ บั การพฒั นาการเรยี นการสอนประจำ� วนั
นั้นเอง
ความก้าวหน้าของครู ต้องผูกอยู่กับความก้าวหน้าของศิษย์ ท้ังในระบบที่เป็นทางการ และท่ีไม่เป็น
ทางการ พลเมืองไทยจงึ จะมีคุณภาพสูง น�ำพาให้ชาตเิ จรญิ
ผมเขียนหนังสือเล่มนี้ ส่วนหน่ึงเพ่ือร่วมเป็นก�ำลังน้อยๆ ในขบวนการน�ำพาประเทศไทยสู่ประเทศ
รายไดส้ ูง สงั คมดี
ทีมงานจัดท�ำหนังสือเล่มน้ี คือ ครูใหม่ (วิมลศรี ศุษิลวรณ์) และทีมงานของมูลนิธิสยามกัมมาจล
ได้ส่งต้นฉบับของหนังสือเล่มน้ีไปให้คุณครูของโรงเรียนเพลินพัฒนา โรงเรียนรุ่งอรุณ และโรงเรียน
ลำ� ปลายมาศพฒั นา อา่ นและนำ� ไปทดลองใช้ แลว้ เขยี นเรอื่ งเลา่ จากหอ้ งเรยี นสง่ มาใหค้ รใู หมพ่ จิ ารณานำ� ลง
ในหนังสือด้วย โรงเรียนแกนน�ำของโครงการฯ (ดังรายช่ือข้างต้น) เป็นโรงเรียนที่มีแนวทางในการจัด
การศกึ ษาทสี่ อดคลอ้ งกบั หนงั สอื เลม่ นเี้ ปน็ ทนุ เดมิ อยแู่ ลว้ เมอื่ ไดอ้ า่ นตน้ ฉบบั ชดุ นจี้ บลง จงึ ไดท้ ำ� การมองหา
กระบวนการเรียนรู้ท่ีมีความเหมาะสมต่อการสร้างความเข้าใจให้กับภาคทฤษฎี ส่งเป็นเร่ืองเล่าจาก
ห้องเรียนมาให้ครใู หม่ทำ� บรรณาธิการกิจ พจิ ารณาคดั สรรเร่ืองราวลงในหนังสอื
ด้วยเหตุนี้ ตัวอย่างท่ีปรากฏในหนังสือเล่มนี้ จึงเป็นเรื่องราวท่ีเกิดข้ึนกับชั้นเรียนในบริบทของ
โรงเรียนไทย และยังคงด�ำเนินอยู่อย่างต่อเนื่อง ย่ิงเมื่อได้รับแนวคิดที่คมชัดจากภาคทฤษฎีแล้ว คุณครู
ผสู้ อนของแต่ละโรงเรียนกจ็ ะยิ่งสามารถน�ำเอาแนวคิด และวธิ กี ารท่ไี ดเ้ รียนรูเ้ พ่มิ เตมิ จากหนังสือเล่มนี้ไป
ปรบั พัฒนากระบวนการเรียนรใู้ ห้มคี วามกา้ วหนา้ และเกดิ ผลลพั ธ์ท่ดี ีต่อศษิ ย์มากย่ิงขนึ้ ไปอีก
หนังสือเล่มน้ียังมีลักษณะพิเศษอีกอย่างหน่ึง คือมีเชิงอรรถเป็นข้อสะท้อนคิดของ รศ. ดร.สุธีระ
ประเสริฐสรรพ์ หลังจากอ่านต้นฉบับ ท�ำให้ผู้อ่านได้เข้าใจสาระในหนังสือได้ลึกขึ้น หรือบางครั้งก็ได้เห็น
การมองตา่ งมมุ ผมขอขอบคณุ รศ.ดร.สธุ รี ะ ไว้ ณ ทนี่ ด้ี ว้ ย ทก่ี รณุ าอนญุ าตใหน้ ำ� ขอ้ สะทอ้ นคดิ นมี้ าลงไว้
ในหนังสอื

นอกจากนั้น มูลนิธิสยามกัมมาจล โดยการสนับสนุนของส�ำนักงานกองทุนเพ่ือความเสมอภาคทาง
การศกึ ษา ไดจ้ ัดวง Online PLC ทม่ี ีกิจกรรม Online Coaching ควบคไู่ ปด้วย เพือ่ ให้ครู ๒๓ โรงเรยี น
ทอี่ า่ นตน้ ฉบับ น�ำไปใช้ แล้วน�ำผลมาเลา่ ในวง Online PLC เกดิ การเรยี นรู้สงู มาก
ขอขอบคณุ ครใู หมท่ เ่ี ปน็ บรรณาธกิ ารจดั การตน้ ฉบบั อยา่ งประณตี และสวยงามเชน่ เดยี วกนั กบั หนงั สอื
เล่มก่อนๆ ขอขอบคุณคุณปิยาภรณ์ มัณฑะจิตร ผู้จัดการมูลนิธิสยามกัมมาจล และทีมงานของมูลนิธิฯ
ท่ีสนับสนุนการจดั พมิ พห์ นังสือเล่มนอ้ี อกเผยแพรเ่ พอ่ื ยกระดับคณุ ภาพการศกึ ษาไทย ขอทุกท่านจงได้รับ
ปิติสขุ จากการได้ท�ำประโยชนแ์ กส่ งั คมไทยรว่ มกนั ในครั้งน้ี

วิจารณ์ พานิช
๑ มกราคม ๒๕๖๓ ปรับปรุง ๘ ตุลาคม ๒๕๖๓



คำ� น�ำของผูเ้ ขียนร่วม

การได้มารับหน้าท่ีเป็นบรรณาธิการและผู้เขียนร่วมในหนังสือ ครูเพื่อศิษย์ สร้างการเรียนรู้สู่ระดับ
เช่ือมโยง คือโอกาสส�ำคัญคร้ังหนึ่งในชีวิตที่จะได้ลงมือท�ำในสิ่งที่มีความหลงใหลและใฝ่ฝันมาเนิ่นนาน
นน่ั คอื การทำ� หนงั สอื เกย่ี วกบั วธิ กี ารนำ� พาใหเ้ ดก็ เกดิ ความสามารถในการอา่ นเขยี นเรยี นรู้ แตท่ เี่ หนอื ไปกวา่
ความคาดหมายคอื นอกจากหนงั สอื เลม่ นจี้ ะตง้ั ตน้ จากบนั ทกึ ทม่ี คี ณุ คา่ ของ ศ.นพ.วจิ ารณ์ พานชิ จำ� นวน
๙ บทแลว้ เนอื้ หาแตล่ ะบทยงั ประกอบไปดว้ ยขอ้ สะทอ้ นคดิ ดๆี จาก รศ.ดร.สธุ รี ะ ประเสรฐิ สรรพ์ ผกู้ อ่ ตง้ั
โครงการเพาะพันธุ์ปัญญา ท่ีอยู่ในส่วนของเชิงอรรถซ่ึงท�ำหน้าที่ช่วยขยายความเข้าใจและกระตุ้นให้เกิด
การคิดต่อยอดอย่างรอบด้าน จากประสบการณ์ตรงของอาจารย์ท่ีขลุกอยู่กับการพัฒนาครูในโครงการ
เพาะพันธ์ุปัญญามา ๖ ปีเตม็
ส่วนส�ำคัญอีกส่วนหนึ่งของหนังสือเล่มน้ี ที่ไม่เคยปรากฏในหนังสือเล่มใดๆ มาก่อนก็คือ เร่ืองเล่า
จากห้องเรียนของโรงเรียนที่ได้ช่ือว่ามีนวัตกรรรมการเรียนรู้ และมีครูที่มุ่งมั่นท�ำงานเพื่อการเรียนรู้ของ
ศิษย์ถึงสามโรงเรยี นด้วยกนั
ในฐานะนักเรียนรู้คนหนึ่ง การได้เห็นวิธีการท�ำงานในรายละเอียดจากตัวอย่างดีๆ ของการ
จดั กระบวนการเรยี นรเู้ พอ่ื สรา้ งสมรรถนะใหเ้ กดิ ขน้ึ กบั ทงั้ ครแู ละศษิ ยน์ นั้ เปน็ เรอื่ งทนี่ า่ ตน่ื ตาตนื่ ใจอยา่ งยงิ่
ในฐานะบรรณาธิการ ดิฉันมองว่าหน้าที่ของหนังสือเล่มน้ีคือ การเรียบเรียงหลักคิดและน�ำเสนอวิธี
การสอนการอ่านเขียน ซึ่งเกิดจากการท่ีนักเรียนเรียนอย่างชัดเจนในเป้าหมาย และครูสอนอย่าง
ประจักษ์ชัดในผลลัพธ์ท่ีเกิดข้ึนกับนักเรียนทุกคน อันเป็นเหตุให้นักเรียนได้เรียนรู้อย่างมีความสุข และ
ครไู ดร้ บั ปติ ิสุขจากการสร้างศิษยใ์ หส้ ามารถบรรลุการเรยี นรู้ในระดับเชือ่ มโยง
ทุกเร่ืองเล่าที่ปรากฏอยู่ภายในเล่มจึงต้องน�ำเสนอความเข้าใจที่เพียงพอต่อการน�ำไปขยายผล และ
สามารถท�ำให้ผู้อ่านเข้าใจได้ว่าต้นทางของความคิดท่ีครูใช้ในการออกแบบคืออะไร อะไรคือหัวใจของ
การเรียนรู้ในเรื่องนั้นๆ ครูท�ำอะไร เพ่ือให้เกิดผลเช่นไร และจะท�ำอย่างไรท่ีจะน�ำเสนอเร่ืองราวเหล่าน้ี
ให้ผู้อ่านเห็นถึงความเป็นไปได้ จากการได้เห็นภาพตัวอย่างของชั้นเรียนที่เกิดขึ้นได้จริงในสังคมไทย
ประเด็นเหล่านี้ คอื เรื่องที่อยใู่ นความคดิ ค�ำนึงของดฉิ นั ตลอดระยะเวลา ๑๐ เดอื น ทไ่ี ดล้ งแรงลงใจเพอื่ ให้
หนังสือเล่มน้ีส�ำเร็จลงอย่างสมบูรณ์สวยงาม และมีคุณค่าพอท่ีผู้อ่านจะหยิบขึ้นมาอ่านแล้วอ่านอีกอย่าง
ไม่ร้เู บ่อื

ความหมายพิเศษของหนังสือเล่มนี้ท่ีมีต่อดิฉัน คือ การได้รับรู้ความเป็นไปในการพัฒนาการเรียน
การสอนของโรงเรยี นรงุ่ อรณุ และโรงเรยี นลำ� ปลายมาศพฒั นา ซงึ่ ดฉิ นั ถอื วา่ เปน็ กลั ยาณมติ ร รว่ มเสน้ ทาง
สายการศึกษาทางเลือกด้วยกันมาอย่างไม่ย่อท้อต่ออุปสรรคใดๆ และเป็นความอบอุ่นใจท่ีได้ร่วมงานกัน
อีกครง้ั ผา่ นการทำ� ต้นฉบับหนงั สอื เลม่ นี้
ดฉิ นั ขอกราบขอบพระคุณ ศ. นพ.วจิ ารณ์ พานิช ท่ีไดก้ รุณาตคี วามต้นฉบบั ภาษาอังกฤษใหก้ ลายเป็น
บนั ทกึ ทเ่ี ปน็ จดุ ตงั้ ตน้ ใหก้ บั หนงั สอื ตลอดจนเปน็ หลกั ใหก้ บั การเรยี นรรู้ ว่ มกนั ของชมุ ชนเรยี นรคู้ รเู พอื่ ศษิ ย์
สรา้ งการเรยี นรสู้ รู่ ะดบั เชอื่ มโยงออนไลน์ ทด่ี ำ� เนนิ การอยา่ งตอ่ เนอื่ งจำ� นวน ๑๒ ครง้ั ดว้ ยกนั ซงึ่ ทงั้ หนงั สอื
เล่มน้ีและวงแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่เกิดข้ึนเน่ืองด้วยการน�ำต้นฉบับชุดนี้ไปตีความให้กลายเป็นความรู้ปฏิบัติ
ก็ลว้ นมีที่มาจากแนวคดิ ของท่านอาจารย์ทัง้ สน้ิ
งานขับเคล่ือนคุณภาพการเรียนรู้ในครั้งน้ี เกิดขึ้นได้ก็เพราะมีมูลนิธิสยามกัมมาจล และกองทุน
เพ่ือความเสมอภาคทางการศึกษา ตลอดจนเจ้าหน้าที่ผู้เก่ียวข้องทุกท่านจากท้ังสองหน่วยงาน คอยเป็น
กองหน้าและกองหนุนท่ีแข็งขัน หากปราศจากความต้ังใจจริงของทุกท่านแล้ว ความปรารถนาท่ีดีงาม
ทง้ั หลายคงไมอ่ าจสำ� เรจ็ ลงได้

วมิ ลศรี ศษุ ิลวรณ์
๒๒ ตุลาคม ๒๕๖๓



สารบญั

บทท่ี

บทน�ำ
หนา้ ๓๑-๔๑

บทท่ี

หลักการของการเรียนอย่างประจกั ษ์ชัด
หน้า ๔๓-๗๓

บทที่

ปพู น้ื ฐานสู่ผลการเรยี นระดบั สงู
หนา้ ๗๕-๑๐๙

บทที่

เรยี นรรู้ ะดับผิว (ตอนท่ี ๑)
หน้า ๑๑๑-๑๓๗

บทที่

เรียนรรู้ ะดบั ผวิ (ตอนท่ี ๒)
หน้า ๑๓๙-๑๗๗

บทท่ี

เรียนร้รู ะดบั ลกึ
หน้า ๑๗๙-๒๑๖

บทที่

เรียนรู้ระดบั เช่ือมโยง
หนา้ ๒๑๙-๒๕๗

บทท่ี

ประเมนิ ผลกระทบ
หนา้ ๒๕๙-๒๗๑

บทที่

บทส่งทา้ ย
หน้า ๒๗๓-๒๗๗

ผภนาวคก ภาคผนวก
หนา้ ๒๗๙-๓๐๔

สารบัญ QR CODE

บทท่ี ๗

หน้า ๒๔๕ แฟ้มรวบรวมผลงาน “หนังสอื ภาพเลม่ เล็ก”

ภาคผนวก

หนา้ ๓๐๑ ไปเปดิ ชนั้ เรยี นที่ร่งุ อรณุ (๑) หนา้ ๓๐๑ ไปเปิดช้นั เรยี นทร่ี ุ่งอรุณ (๒)
ภาษากบั ความร้สู กึ

หน้า ๓๐๑ ไปเปดิ ชน้ั เรยี นทรี่ งุ่ อรณุ (๓) หน้า ๓๐๑ ไปเปิดช้นั เรียนท่ีรุ่งอรณุ (๔)
เพลงดๆี ค�ำกวสี ัน้ ๆ ดนตรีกวีรส

หน้า ๓๐๑ ไปเปดิ ช้นั เรียนทรี่ งุ่ อรณุ (๕)
สุขท่ไี ด้สร้าง
หนา้ ๓๐๓ การใช้วง PLC เพือ่ พัฒนากระบวนการเรียนรูข้ องโรงเรยี นรุ่งอรุณ
หน้า ๓๐๓ การใช้วง PLC เพอื่ พัฒนากระบวนการเรียนรขู้ องโรงเรยี นล�ำปลายมาศพัฒนา
หน้า ๓๐๓ การใช้วง PLC เพอื่ พฒั นากระบวนการเรียนรู้ของโรงเรียนเพลินพัฒนา



นักเรียนตอ้ งไปโรงเรยี นอย่างมีความสุข
บทเรียนต้องกอ่ ผลลพั ธ์การเรยี นร้อู ย่างมีระดับผลกระทบสูง

ครตู ้องมคี วามรู้สึกรับผิดชอบว่างานทที่ ำ� ก่อผลดี

เจา้ ของผลงาน : เด็กชายปญั จพล หริ ญั พนาวิวฒั น์

ครทู ส่ี อนแล้วนักเรยี นเกดิ การเรียนรู้ท่มี ี Effect Size สงู
(Visible Teaching)

ส่ือสารเป้าหมายของการเรียนที่ชดั เจน
มเี กณฑ์ความส�ำเร็จท่ที า้ ทาย
สอนวธิ ีเรียนหลากหลายแบบ
รบั รูส้ ภาพท่นี กั เรยี นมปี ัญหาการเรยี น
ให้ค�ำแนะนำ� ปอ้ นกลับ
ตัวครไู ดเ้ รยี นรอู้ ย่างเหน็ ได้ชัด

ลกั ษณะของครทู ี่มคี วามรบั ผดิ ชอบสูง

เตรยี มการสอนและจัดระบบการสอน
เปิดกวา้ งตอ่ แนวคดิ ใหม่ๆ พรอ้ มทีจ่ ะลองวธิ กี ารใหมๆ่
อดทน มานะพยายาม และยืดหยนุ่ ในสภาพที่มีปญั หา
ไมต่ �ำหนินกั เรยี นท่ที ำ� งานผดิ พลาด
คิดหาทางช่วยเหลือนกั เรียนทม่ี ปี ญั หาในการเรยี นด้วยตวั เองกอ่ น

เจา้ ของผลงาน : เด็กหญงิ ณชิ ชาวีณ์ โสภณไชยวฒั น์

เจา้ ของผลงาน : เดก็ หญิงกณั ตชิ า โกเมนพชิ ยั

บทเรยี นทดี่ ี

มีเปา้ หมายการเรียนร้ทู ่ชี ดั เจน
แต่ละเป้าหมายมีเกณฑค์ วามสำ� เรจ็ ชัดเจน
เกณฑ์ความส�ำเรจ็ ระบุระดบั คณุ ภาพชัดเจน
นกั เรยี นรบั รู้วา่ ตนอยตู่ รงไหนของเกณฑ์ความสำ� เรจ็



ดวงตา หมายเลข ๑ เจา้ ของผลงาน : เดก็ หญงิ ปวริศา มรุ ธาทพิ ย์



บทนำ�

บันทึกชุด ครูเพอ่ื ศษิ ย์ สอนสรู่ ู้เชอื่ มโยง ตคี วาม (ไมใ่ ช่แปล) จากหนงั สอื Visible
Learning for Literacy, Grades K - 12 : Implementing the Practices That
Work Best to Accelerate Student Learning (2016) เขยี นโดย Douglas Fisher,
Nancy Frey, และ John Hattie ซง่ึ เปน็ หนงั สอื ทน่ี �ำเอาหลกั การ Visible Learning
ที่พัฒนาข้ึนอย่างต่อเนื่องโดย John Hattie ในช่วงเวลาเกือบ ๔๐ ปี สู่ภาคปฏิบัติ
โดยที่ Visible Learning พงุ่ เปา้ ไปทผี่ ลกระทบ (impact) ทเ่ี กดิ ขนึ้ ตอ่ นกั เรยี น บนั ทกึ
ชุดนีจ้ ึงเป็นบนั ทกึ เพื่อสือ่ สารตอ่ “ครเู พอ่ื ศษิ ย์”

สาระในบันทึกชุดนี้ ส่ือวิธีการเรียนรู้ท่ีประจักษ์ชัดในสองมุม คือมุมนักเรียน
ที่เรียนอย่างชัดเจนในเป้าหมาย ในความก้าวหน้าของตน ทั้งในการเรียนวิชาและ
วธิ เี รยี น และมมุ ของครู ทส่ี อนอยา่ งประจกั ษใ์ นผลทเ่ี กดิ ขนึ้ ตอ่ นกั เรยี น และโดยใช้
การกระตุ้นสายตาของนักเรียนด้วยเป้าหมายการเรียน เพ่ือช่วยให้นักเรียนเรียนรู้
อยา่ งมเี ป้าหมายอยู่ตลอดเวลา
หนังสือเล่มน้ีเดินเร่ืองด้วยการ “เรียนหนังสือ” (literacy) คือการพัฒนาด้าน
การอา่ น เขยี น ฟงั พดู เทา่ นนั้ ไมไ่ ดแ้ ตะวชิ าความรดู้ า้ นอน่ื ๆ แตก่ ระบวนการเรยี น
การสอนตามขั้นตอนไปสู่การเรียนรู้อย่างเชื่อมโยง (transfer) ท�ำให้หนังสือเล่มนี้
เปน็ การ “สอนคดิ ” ทงั้ เลม่ นอกจากนนั้ ยงั เกดิ การพฒั นาคณุ ลกั ษณะ (character)
และสมรรถนะ (competency) ส�ำคัญแห่งศตวรรษที่ ๒๑ ไปในตัว

• 32 •

เม่ืออ่านและใคร่ครวญหาคุณค่าของหนังสือเล่มนี้ในบริบทของระบบการศึกษา
ไทย ผมตีความว่า คุณค่าหลักน่าจะอยู่ท่ีชื่อท่ีผมตั้งให้ใหม่ คือ “สอนสู่การเรียนรู้
ระดับเชื่อมโยง” คือการเรยี นรดู้ ำ� เนินจากระดบั ผิว (surface) ส่รู ะดับลึก (deep)
และระดับตีความน�ำไปใชใ้ นสถานการณอ์ น่ื (transfer) ท่ีผมเรียกว่า เรยี นรู้ระดบั
เชื่อมโยง หากหนังสือเล่มน้ีสามารถท�ำหน้าท่ีปลุกให้ครูและนักการศึกษาไทย
มีความชัดเจนในเป้าหมายของการเรียนรู้ ว่าต้องน�ำพานักเรียนทุกคนสู่การเรียนรู้
ในระดับ transfer ผมก็จะมีความสขุ อยา่ งยิ่ง(๑)
เพ่ือบรรลุเป้าหมายการเรียนรู้ระดับ transfer ต้องมีการปูพ้ืนฐานการเรียนรู้
อย่างเป็นข้ันเป็นตอน หนังสือเล่มนี้ว่าด้วยเทคนิควิธีการท่ีเสนอให้ครูใช้ ในการ
น�ำพานักเรยี นสู่การบรรลุเปา้ หมาย
ผมตีความจากการอ่านหนังสือเล่มนี้ว่า การเรียนรู้ประกอบด้วยสองกระบวนการ
ทีด่ �ำเนนิ การไปพรอ้ มๆ กนั และเสรมิ สง่ ซ่ึงกันและกัน คอื การสงั่ สมความรู้ ทักษะ
สมรรถนะ และบคุ ลกิ กับการเพมิ่ ความฉลาด หรอื ปญั ญา (intelligence)(๒)

(๑) เมอ่ื กลา่ วถงึ ๓ ระดบั ทำ� ใหผ้ มคดิ วา่ ระดบั ผวิ คอื “ร”ู้ ระดบั ลกึ คอื “เขา้ ใจ” และระดบั ตคี วามเอาไปใช้
คอื “ประยกุ ต”์ ซง่ึ ตรงกบั ๓ ขน้ั แรกของการไดป้ ญั ญาตาม cognitive domain ของ Bloom อยา่ งไรกต็ าม
Bloom ยงั มกี ารคดิ ขน้ั สงู อกี ๓ ระดบั ตอ่ ยอดขนึ้ ไป คอื คดิ วเิ คราะห์ สงั เคราะห์ ประเมนิ ซงึ่ ไดจ้ ากการทำ�
วจิ ยั คอื ไดส้ รา้ งความรขู้ นึ้ มาเอง (โรงเรยี นลำ� ปลายมาศพฒั นา เรยี ก K1) หรอื การศกึ ษาแบบผสู้ รา้ งความรู้
ซงึ่ สามารถจดั ใหเ้ กดิ ไดใ้ นทกุ ระดบั ชนั้ ถา้ เทยี บเปน็ ๒ ชนั้ คดิ วเิ คราะหค์ อื ระดบั ผวิ คดิ สงั เคราะหค์ อื ระดบั ลกึ
และคดิ ประเมนิ คอื ระดบั ของการนำ� เอาไปใช้ ดงั นนั้ “สอนสกู่ ารเรยี นรเู้ ชอื่ มโยง” จงึ มี ๒ ระดบั คอื เรยี น
เพ่อื เอาความรไู้ ปใช้ในชวี ิต และวจิ ยั สรา้ งความรูใ้ หป้ ญั ญากา้ วหน้า
(๒) ซ่ึงเปน็ การผสมกันระหวา่ ง learning outcome พสิ ยั ท้ัง ๓ ของ Bloom และ competency (ASK)
education quality จะแยก education outcome ออกเป็น ๒ ก่ิง คือ learning กับ performance
โดยกิ่ง learning จะอิง Bloom ๓ domain ก่ิง performance จะ competence (ASK) อย่างไรก็ตาม
ทงั้ ๒ ก่ิงก็จะไปจบท่ีเดียวกนั คือ feel do think

• 33 •

กระบวนการแรกเปรยี บไดก้ บั การสรา้ ง “คลงั ขอ้ มลู ” (database) กระบวนการหลงั
เปรียบเสมือนการฝึก operating system ในสมอง ให้มีปัญญา (intelligence)
เพิ่มข้ึน ซ่ึงจะเกิดข้ึนได้เม่ือมีการน�ำข้อมูลจากคลังข้อมูลไปใช้ แล้วเก็บข้อมูลเพ่ิม
น�ำมาตกผลึก (reflect) เกิดเป็นปัญญาเพิ่มพูนข้นึ เรอื่ ยๆ(๓)
ครูจะต้องฝึกทักษะความสามารถให้ “มองเห็น” พัฒนาการทั้งสองด้านนั้น
ในตัวศิษย์ รวมท้ังให้มีวิธีการวัดผลกระทบของวิธีการที่ตนใช้ในการจัดการเรียน
การสอน ที่เรียกว่า การวัด effect size (ES) เพราะมีหลักฐานมากมายว่า
วิธีการที่มีผู้อ้างว่าได้ผลดีนั้น เมื่อตรวจสอบด้วยวิธีการทางสถิติเชิงลึกจากผลงาน
วิจัยจ�ำนวนมาก (meta-analysis) แล้ว วิธีการนั้นได้ผลน้อยต่อการเรียนรู้ของ
นักเรียน ไมค่ มุ้ คา่ (๔)
ในสมัยน้ีหนังสือได้พัฒนาขนึ้ เปน็ “สอื่ ผสม” (multimedia) ดงั ตัวอย่างหนังสอื
Visible Learning for Literacy, Grades K-12 เลม่ นี้ มวี ดี ทิ ศั นป์ ระกอบคำ� อธบิ าย
ในหนังสือเป็นช่วงๆ เข้าถึงได้โดยการสแกนคิวอาร์โค้ดท่ีให้ไว้ ซึ่งเมื่อเข้าไปดู
จะเข้าใจและไดว้ ธิ ีปฏิบตั ทิ ่ชี ัดเจนข้ึนมาก

(๓) มันคอื intellectual spiral ซ่งึ เกดิ เมอื่ เอาความรู้ออกจากตัว (คลัง) มาแกป้ ญั หาในสถานการณจ์ ริง
แล้วเกิดการเรียนรู้จากประสบการณ์ ท�ำให้สะสมฝังเป็น tacit knowledge เมื่อสะสมมากเข้าจะเกิด
การรู้/ เข้าใจโดยไม่คิด ซ่ึงน่าจะเรียก metacognition (อภิปัญญา) หรือหากจะคิดก็จะเป็นการถอด
ความคดิ ตนเองจนเขา้ ใจกระบวนการคดิ ของตนอยา่ งละเอยี ด จากนน้ั ครจู ะสามารถ backward กระบวนการ
เกิดความคดิ ของศิษย์แล้วใชก้ ระบวนการ coaching ไดค้ ล่อง
(๔) จะท�ำให้ได้ข้อค้นพบส�ำคัญท่ีครูเอามา PLC แต่เราต้องพัฒนาครูให้ “มองเห็น” และตีความ
(แบบ KM และทฤษฎีภูเขาน้�ำแข็ง) ลึกลงจากปรากฏการณ์ท่ีเห็นเพ่ือให้ PLC เป็นวงจรคล้ายวิจัยหรือ
PDCA ไม่ตดิ อยู่กบั practice เดิมที่ไดฟ้ ังจาก PLC แปลวา่ เม่อื ดำ� เนินการทำ� วง PLC แลว้ ต้องนำ� ความรู้
ทไี่ ดร้ บั ไปสรา้ งสรรคข์ น้ึ ใหมใ่ หต้ รงกบั บรบิ ทของตน ซง่ึ ตามนยั ยะนจ้ี ะแปลวา่ PLC ดว้ ยความเขา้ ใจบรบิ ท
ไมใ่ ช่เน้อื หาปฏิบัติอย่างเดยี ว

• 34 •

หลักการหรือแนวทางตามในหนงั สือเลม่ นี้ เม่ือน�ำไปใช้จะตอ้ งปรบั ให้เหมาะสม
ต่อบริบทสังคมวัฒนธรรมไทย และสภาพในแต่ละท้องถ่ิน การใช้ให้ได้ผลดี
จงึ ตอ้ งการทกั ษะและประสบการณข์ องครู ในการปรบั ใชใ้ หเ้ หมาะสม หนงั สอื เลม่ น้ี
จงึ ไดน้ ำ� เอาประสบการณใ์ นการจดั การเรยี นการสอนของโรงเรยี นรงุ่ อรณุ โรงเรยี น
ล�ำปลายมาศพัฒนา และโรงเรียนเพลินพัฒนา มาประกอบไว้ในแต่ละบท เพ่ือให้
ผู้อ่านได้รับประสบการณ์จากโรงเรียนที่มีความมุ่งมั่นในการจัดกระบวนการเรียนรู้
ที่สอดคล้องกับหลักการท่ีหนังสือเล่มน้ีกล่าวไว้ และในบทสุดท้าย คือบทที่ ๙
ผมจึงได้เสนอแนะวิธีการจัดการส่งเสริมระดับประเทศ ในการใช้หนังสือเล่มน้ี
พฒั นาคณุ ภาพของระบบการศกึ ษาไทย ใหเ้ ดก็ ไทยเรยี นรสู้ รู่ ะดบั เชอ่ื มโยงอยา่ งเปน็
เร่ืองธรรมดาๆ ซง่ึ จะส่งผลตอ่ การสอบ PISA 2021 โดยไมต่ อ้ งติว

วิจารณ์ พานิช
๓๑ ธ.ค. ๖๒

• 35 •

เรื่องเลา่ จากโรงเรยี น

โรงเรยี นร่งุ อรณุ

“เมอ่ื ดวงอาทติ ย์อทุ ยั อยู่
ย่อมมแี สงอรณุ ข้นึ มากอ่ น เปน็ บุพนมิ ติ ฉันใด
ความมกี ลั ยาณมติ รกเ็ ปน็ ตัวน�ำเป็นบพุ นิมิต
แห่งการเกิดข้ึนของอริยอษั ฎางคกิ มรรคฉนั นัน้ ”

“เมอื่ ดวงอาทติ ย์อุทยั อยู่
ย่อมมแี สงอรณุ ขนึ้ มากอ่ น เปน็ บุพนมิ ิตฉนั ใด

ความถึงพร้อมดว้ ยโยนิโสมนสิการ
กเ็ ป็นตัวนำ� เปน็ บพุ นมิ ติ

แหง่ การเกิดขน้ึ ของอรยิ อษั ฎางคกิ มรรคฉนั นั้น”
– สมเด็จพระพทุ ธโฆษาจารย์ (ประยุทธ์ ปยตุ โฺ ต) –

โรงเรยี นรงุ่ อรณุ เปน็ องคก์ รไมแ่ สวงหาผลกำ� ไร (Not for Profit Organization) ภายใต้
มลู นธิ โิ รงเรยี นรงุ่ อรณุ กอ่ ตง้ั และไดร้ บั การรบั รองจากสำ� นกั งานคณะกรรมการการศกึ ษา
เอกชนในปี พ.ศ. ๒๕๔๐ ซง่ึ เปน็ หว้ งเวลาแหง่ การปฏริ ปู การศกึ ษาของสงั คมไทยในยคุ แรก
จากคุณูปการทางความคิดของ รศ.ประภาภัทร นิยม ผู้ก่อต้ัง และปูชนียบุคคลส�ำคัญ
ในวงการศกึ ษาของไทย เชน่ ศาสตราจารยน์ ายแพทยป์ ระเวศ วะสี ศาสตราจารยก์ ติ ตคิ ณุ
สุมน อมรวิวัฒน์ ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.เอกวิทย์ ณ ถลาง พร้อมท้ังนักการศึกษา
และปราชญ์ชาวบ้าน อีกหลายต่อหลายท่าน ฯลฯ โดยได้รับการสนับสนุนจากพ่อแม่
ครอบครัวไทยในยุคน้ันท่ีมุ่งม่ันแสวงหาทางแก้ไขปัญหาการศึกษาของชาติ พันธมิตร
ทงั้ ปวงจงึ ประสานความคดิ และความตงั้ ใจอยา่ งแทจ้ รงิ ดว้ ยศรทั ธาในการเรยี นรขู้ องมนษุ ย์
ท่ีไม่มีขีดจ�ำกัด บนแนวคิดทางการศึกษาไทยที่มีรากฐานมาจากภูมิปัญญาส�ำคัญของ
สังคมไทย คือ หลักพุทธธรรม ซึ่งสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
ได้อธิบายขยายความโดยละเอียดลึกซ้ึงสู่ความหมายของการพัฒนาการเรียนรู้ของชีวิต
มนุษยต์ ามหลกั ของไตรสิกขา คอื ศลี สมาธิ ปัญญา เพ่ือบ่มเพาะเมลด็ พนั ธุค์ วามดงี าม
ของเยาวชนใหห้ ย่งั รากและเติบโตย่งั ยืน เพอื่ กา้ วส่กู ารเป็นมนษุ ยท์ ส่ี มบูรณ์

• 36 •

โรงเรยี นตง้ั อยทู่ ถ่ี นนพระราม ๒ แขวงทา่ ขา้ ม เขตบางขนุ เทยี น จงั หวดั กรงุ เทพมหานคร
จัดการเรียนการสอนตั้งแต่ระดับช้ันอนุบาล ๑ - ช้ันมัธยมปีที่ ๖ ปีการศึกษาปัจจุบัน
มีนกั เรียน ๑,๔๗๕ คน
โรงเรยี นรงุ่ อรณุ จดั การศกึ ษาแบบองคร์ วม (holistic learning) บรู ณาการการเรยี นรู้
สชู่ วี ติ ดว้ ยกระบวนการเรยี นรไู้ ปบนกจิ วตั รประจำ� วนั บม่ เพาะลกั ษณะนสิ ยั ทด่ี ใี นวถิ ขี อง
การรู้อยู่ รู้กิน และรู้ประมาณตนอย่างพอเหมาะ พอดี การเรียนรู้ผ่านการลงมือปฏิบัติ
การเรยี นรจู้ ากสถานการณจ์ รงิ ในสงั คม จนเขา้ ถงึ คณุ คา่ ทแี่ ทจ้ รงิ ของทกุ สงิ่ ทเ่ี รยี น มคี วามรู้
ความเข้าใจอย่างเช่ือมโยงตนเอง สังคมและโลก ประยุกต์ใช้ความรู้อย่างสร้างสรรค์
ขยายศกั ยภาพและสรา้ งดลุ ยภาพแห่งมนษุ ยท์ ่สี มบรู ณ์
การเรียนรู้ตามแนวทางของวิถีรุ่งอรุณ…เป็นวิถีชีวิตแห่งการเรียนรู้ท่ีครู นักเรียน
พอ่ แม่ เรยี นรแู้ ละเตบิ โตรว่ มกนั มชี มุ ชนทม่ี กี ลั ยาณมติ รคอยโอบลอ้ ม ทกุ คนเปน็ ผเู้ รยี นรู้
เป็นตวั อย่างในการฝกึ ฝนตนเอง จนเป็นท่ีพง่ึ ของตนเองและผ้อู ื่นได้

• 37 •

โรงเรียนลำ� ปลายมาศพฒั นา

“การศกึ ษาเพ่อื การพฒั นามนุษยท์ ี่สมบรู ณ์”
ด้วยกรอบความคิดของการศึกษาที่เอาความรู้เป็นตัวตั้ง และเป็นระบบแพ้คัดออก
ทำ� ใหม้ เี ดก็ เพยี งจำ� นวนหนงึ่ เทา่ นน้ั ทจี่ ะสามารถเรยี นตอ่ ไปในระดบั สงู ขนึ้ ได้ โอกาสแคบลง
ในบางกระบวนการยังเป็นการย�่ำยีคุณค่าความเป็นมนุษย์ในตัวเด็กโดยการเปรียบเทียบ
หรือตีค่า การใช้ความกลัวกับความอยากเป็นเคร่ืองล่อคนไปสู่เป้าหมายย่ิงท�ำให้เด็ก
อ่อนแอในกระแสบริโภคนิยม วตั ถุนยิ ม หรือคา่ นิยมตามอยา่ ง เด็กอีกส่วนหนงึ่ ทีไ่ ม่เก่ง
ด้านวิชาการจึงถูกทิ้งระหว่างทางทั้งท่ีพวกเธอเหล่านั้นต่างก็มีศักยภาพด้านอ่ืนๆ ท่ีรอ
การงอกงาม
มลู นธิ ลิ ำ� ปลายมาศพฒั นาซง่ึ เปน็ มลู นธิ เิ พอ่ื การกศุ ล จงึ กอ่ ตงั้ โรงเรยี นลำ� ปลายมาศพฒั นา
ขึ้นเม่ือปี พ.ศ. ๒๕๔๕ ท่ีมีทั้งระดับอนุบาล ประถมศึกษา และมัธยมศึกษา เพ่ือเป็น
โรงเรียนตัวอย่างในการจัดการศึกษาที่เอาชีวิตเป็นตัวตั้ง อันจะเป็นที่ท่ีมนุษย์ได้สร้าง
การเรียนรู้ส�ำหรับมนุษย์โดยไม่ละท้ิงใครแม้แต่คนเดียว ซ่ึงจะมีครู พ่อแม่ และชุมชน
รว่ มมอื กนั ในการเกอื้ หนนุ ใหเ้ ดก็ ทกุ ๆ คนไดม้ โี อกาสทจี่ ะประสบความสำ� เรจ็ และงอกงาม
ไดต้ ามศักยภาพ ตามความถนดั และตามความปรารถนาของตน
โรงเรียนตั้งอยู่ท่ีต�ำบลโคกกลาง อ�ำเภอล�ำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ จัดการเรียน
การสอนต้งั แตร่ ะดบั อนบุ าล - มัธยมปีที่ ๓ ปีการศกึ ษาปจั จบุ ันมีนักเรียน ๑๖๗ คน
คุณภาพการศึกษาขึ้นอยู่กับคุณภาพครูเป็นส่วนใหญ่ ครูส่วนใหญ่ที่มาเข้าร่วมงาน
กับโรงเรียนล�ำปลายมาศพัฒนา มีประสบการณ์การสอนน้อย พวกเขามักมาจากภาค
ตะวนั ออกเฉยี งเหนอื และมวี ฒุ กิ ารศกึ ษาไทยธรรมดา ครบู างคนมคี วามเชยี่ วชาญในเรอื่ งใด
เรอ่ื งหนง่ึ แตไ่ มม่ พี น้ื ฐานการสอนเลย การพฒั นาครจู งึ มคี วามสำ� คญั อยา่ งยงิ่ สำ� หรบั โรงเรยี น
หัวใจหลักของแนวทางการพัฒนาครูสอนพิเศษของโรงเรียนคือวัฒนธรรมองค์กร มี
สามสว่ นที่สำ� คญั
ส่วนแรกคือความรู้สึกของจุดประสงค์ร่วมกัน โรงเรียนมีวิสัยทัศน์ท่ีชัดเจนเก่ียวกับ
จุดมุ่งหมายของการศึกษาและเป้าหมายของโรงเรียน ท�ำให้แน่ใจว่าครูเข้าใจเป้าหมาย
อยา่ งถ่องแท้และพยายามใหค้ รูแบง่ ปนั เป้าหมายเหลา่ นัน้

• 38 •

สว่ นทส่ี องคอื การปรบั ปรงุ อยา่ งตอ่ เนอื่ ง วฒั นธรรมคอื มขี อบเขตในการปรบั ปรงุ และ
สรา้ งสรรคอ์ ยเู่ สมอและนค่ี อื สง่ิ ทค่ี วรเกดิ ขนึ้ ตลอดเวลา การพฒั นาครเู ปน็ สว่ นพนื้ ฐานของ
การด�ำเนินงานประจ�ำวันของโรงเรียนไม่ใช่ส่ิงที่สงวนไว้ส�ำหรับโอกาสพิเศษ นอกจากน้ี
ครูทุกคนไม่ว่าจะอาวุโสแค่ไหนก็ต้องได้รับการพัฒนาอย่างมืออาชีพต่อไป ครูท่ีได้รับ
การพัฒนาทักษะการสอนท่ีแข็งแกร่งคาดว่าจะพัฒนาความสามารถในการถ่ายทอด
ทักษะเหลา่ นนั้ ใหก้ บั ผู้อนื่
ส่วนท่ีสามคือการท�ำงานเป็นทีม ลักษณะของการสอนของโรงเรียนได้สร้างแนวโน้ม
ให้ครูแต่ละคนท�ำงานอย่างอิสระ ในขณะที่วัฒนธรรมของโรงเรียนท่ัวไปพยายามที่จะ
ต่อต้านส่ิงนี้ แต่ท่ีโรงเรียนล�ำปลายมาศพยายามกระตุ้นให้ครูร่วมมือกันในการวางแผน
การสอนและพฒั นาตนเองในฐานะครู ขนั้ ตอนการวางแผนบทเรยี นโดยละเอยี ดเปน็ หนงึ่ ใน
กลไกส�ำคัญในการอ�ำนวยความสะดวกในการท�ำงานร่วมกันระหว่างครู การท�ำงาน
เป็นทีมไดร้ บั การสนับสนนุ โดยการสร้างบรรยากาศแบบเพ่อื นรว่ มงาน : ไมจ่ ัดล�ำดบั ชนั้
ไมเ่ ปน็ ระบบราชการ เปน็ มติ รและใหเ้ กยี รติ การสอ่ื สารกม็ คี วามสำ� คญั เชน่ กนั ครทู กุ คน
ต้องรู้และสนใจในสิ่งท่คี รคู นอนื่ กำ� ลงั ท�ำอยู่
โรงเรียนให้ความส�ำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาความเข้าใจร่วมกันกับผู้ปกครอง
เป้าหมายท่ีค่อนข้างแปลกใหม่ของโรงเรียนท�ำให้ส่ิงนี้ท้าทายเป็นพิเศษ ข้ันตอนแรกคือ
การชว่ ยผปู้ กครองทสี่ มคั รเขา้ เรยี นเพอื่ ประเมนิ วา่ โรงเรยี นจะจดั การศกึ ษาแบบทตี่ อ้ งการ
ให้กับบุตรหลานของตนหรือไม่ ขั้นตอนต่อไปคือการประชุมเชิงปฏิบัติการเต็มวัน
ภาคบังคับซึ่งจัดขึ้นส�ำหรับผู้ปกครองใหม่ทุกปี โรงเรียนพยายามอย่างย่ิงท่ีจะเข้าใจ
สถานการณส์ ว่ นบคุ คลของเดก็ ทกุ คน ครไู ปเยยี่ มบา้ นของเดก็ ทกุ คนในชว่ งปหี รอื สองปแี รก
โรงเรียนพยายามสร้างความเข้าใจกับผู้ปกครองตลอดช่วงเวลาท่ีเด็กอยู่ที่โรงเรียน
ขอแนะนำ� อยา่ งยง่ิ ใหผ้ ปู้ กครองพาบตุ รหลานไปโรงเรยี นดว้ ยตนเองเพอื่ ใหพ้ วกเขามโี อกาส
พบปะพูดคุยกับครูเป็นประจ�ำทุกวัน นอกจากน้ีครูยังให้ข้อมูลอัปเดตเป็นลายลักษณ์
อักษรแก่ผู้ปกครองอย่างน้อยสัปดาห์ละคร้ัง มีการประชุมผู้ปกครองของแต่ละชั้น
ทุกสองเดือน จุดประสงค์หลักประการหน่ึงของการประชุมเหล่านี้คือการแลกเปลี่ยน
ความคิดเห็นเก่ียวกับพฤตกิ รรมของเดก็ นอกโรงเรียน
ผู้ปกครองยังมีส่วนส�ำคัญในการเช่ือมต่อโรงเรียนกับชุมชน ไม่ใช่เร่ืองแปลกท่ีจะมี
แงม่ มุ ของวถิ ชี วี ติ ชมุ ชนทเี่ กย่ี วขอ้ งกบั โครงการของนกั เรยี นทผ่ี ปู้ กครองมคี วามเชย่ี วชาญ
มากกว่าครู ในกรณีเช่นน้ีครูจะเชิญผู้ปกครองมาที่โรงเรียนเพ่ือแบ่งปันความเชี่ยวชาญ
ของพวกเขากับเด็กๆ ตัวอย่างเช่น หากนักเรียนก�ำลังท�ำโครงงานเกี่ยวกับข้าว การได้มี
ปฏสิ มั พนั ธก์ ับชาวนาโดยตรงกม็ คี ่ามาก

• 39 •

โรงเรียนเพลนิ พัฒนา

“ชุมชนแหง่ การเรยี นรทู้ ม่ี ุ่งสร้างผูเ้ รียนใหบ้ รรลุศักยภาพสงู สุดของตนเองรว่ มกัน
เพื่อความสขุ อย่างยัง่ ยนื ของชวี ติ และสังคม”

โรงเรยี นเพลนิ พฒั นา กอ่ ตง้ั ขน้ึ ในปี พ.ศ. ๒๕๔๕ จากผรู้ ว่ มเจตนารมณก์ วา่ ๗๐ ราย
ประกอบด้วย ผปู้ กครอง นักวชิ าการ นกั การศกึ ษา ครู องคก์ รธุรกจิ สร้างสรรค์ ในช่วง
บรรยากาศของการปฏิรูปการศึกษา และการก่อเกิดข้ึนของโรงเรียนทางเลือกหลายแห่ง
ในประเทศไทย ด้วยความมุ่งหวังจะสร้างคนดีของสังคมไทยท่ีเป็นคนเก่งของสังคมโลก
ใหพ้ รอ้ มทจี่ ะดแู ลชวี ติ ของตน ตลอดจนมจี ติ สำ� นกึ รว่ มดแู ลและนำ� พาสงั คมไทยใหพ้ ฒั นา
ก้าวหนา้ ไปอย่างยั่งยนื
ในวนั ทอ่ี ฐิ กอ้ นแรกในมอื ของ “ผกู้ อ่ การด”ี กอ่ กองขน้ึ บนทงุ่ โลง่ เพอื่ วางรากฐานของ
โรงเรยี นเพลนิ พฒั นา ทกุ คนมคี วามฝนั และมคี วามหวงั บนความเชอ่ื หลกั ชดุ เดยี วกนั คอื
เชื่อในคุณค่าของมนุษย์ทุกคนว่า ล้วนมีเมล็ดพันธุ์นานาที่พร้อมงอกงามด้วยกันท้ังสิ้น...
เมล็ดพันธแุ์ ห่งการเรียนรู้ เมลด็ พันธแุ์ ห่งความสุข เมล็ดพันธแ์ุ หง่ ความดีงาม เมลด็ พนั ธ์ุ
แห่งอิสรภาพ เมล็ดพันธุ์แห่งวินัยและรับผิดชอบ...ฯลฯ หากได้รับพื้นท่ีและโอกาส
ก็สามารถพัฒนาเตบิ โตเปน็ มนุษย์ที่สมบูรณ์ข้ึนได้
โรงเรยี นเพลนิ พัฒนาจดั การศกึ ษาด้วยยุทธศาสตร์ “ก้าวพอด”ี ซงึ่ เป็นทางสายกลาง
ในการพัฒนาเยาวชนอย่างพอเหมาะพอดี สอดคล้องกับพัฒนาการของช่วงวัย บริบท
ของสังคมที่แวดล้อมและบริบทของสังคมโลก เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างเพลิดเพลิน
และเตบิ โตอยา่ งมีความสุข
โรงเรียนตั้งอยู่ที่ถนนสวนผัก แขวงศาลาธรรมสพน์ เขตทวีวัฒนา จังหวัด
กรุงเทพมหานคร จัดการเรียนการสอนตั้งแต่ระดับชั้นเตรียมอนุบาล - มัธยมปีที่ ๖
ปกี ารศึกษาปจั จุบันมนี ักเรียนจ�ำนวน ๑,๓๖๘ คน เปน็ โรงเรียนท่ีมีความพิถพี ถิ ันในการ
จัดประสบการณ์ในการเรียนรู้ ทั้งในห้องเรียน และนอกห้องเรียนให้มีความแตกต่าง
หลากหลาย เพือ่ สรา้ งและหล่อหลอมผเู้ รียนให้

• 40 •

• เหน็ คณุ คา่ ของตนเอง
• เห็นคณุ คา่ ของผอู้ ื่น
• มจี ิตสำ� นกึ ของการร่วมดูแลสังคมไทย
• นำ� การเรยี นร้เู ข้าสชู่ วี ติ เปดิ การเรียนรู้ออกสสู่ ังคม
• ทำ� ทกุ ช่วงเวลาของชวี ิตใหเ้ ป็นการเรียนรู้
โรงเรยี นเพลนิ พฒั นาไดอ้ อกแบบหนว่ ยวชิ าเพอื่ ใหผ้ เู้ รยี นมตี น้ ทนุ ทางปญั ญา มตี น้ ทนุ
ทางสงั คม มที กั ษะชวี ติ ทกั ษะการเรยี นรู้ และทกั ษะการทำ� งานทดี่ เี พยี งพอตอ่ การใชช้ วี ติ
อยใู่ นศตวรรษท่ี ๒๑ หนว่ ยวชิ าเหลา่ นี้ ไดแ้ ก่ หนว่ ยวชิ าแสนภาษา ดนตรชี วี ติ ภมู ปิ ญั ญา
ภาษาไทย จนิ ตทศั น์ มานษุ กบั โลก ธรรมชาตศิ กึ ษาและประยกุ ตว์ ทิ ยา เปน็ ตน้ และไดน้ ำ�
หลกั ธรรมมาสรา้ งวถิ กี ารเรยี นรโู้ ดยจดั ภาคเรยี นออกเปน็ ๔ ภาค ภาคเรยี นละ ๑๐ สปั ดาห์
ซ่ึงมีช่ือภาคเรียนตามล�ำดับ ดังน้ี ภาคท่ี ๑ ภาคฉันทะ ภาคท่ี ๒ ภาควิริยะ ภาคท่ี ๓
ภาคจิตตะ และภาคที่ ๔ ภาควิมังสา เน่ืองจากช่วงเวลาดังกล่าวมีความเหมาะสม
ในการสร้างกระบวนการเรียนรู้หรือโครงงานท่ีมีความกระชับ รัดกุม และยังสามารถ
ขยายผลเปน็ กระบวนการหรอื โครงงานใหญ่ โดยการผนวกกระบวนการเรยี นรหู้ รอื โครงงาน
เป็น ๒ ภาค ๓ ภาค หรือ ๔ ภาค ได้ตามความเหมาะสม อีกทั้งยังช่วยให้นักเรียน
ไดม้ กี ารประมวล สรปุ สงั เคราะห์ การเรยี นรไู้ ดเ้ รว็ ขนึ้ พฒั นาตวั เองไดเ้ รว็ ขนึ้ จากกำ� ลงั ใจ
และค�ำช่ืนชมในความก้าวหน้าที่ได้รับจากเพ่ือน ครูผู้สอน และผู้ปกครอง นอกจากน้ี
การแบง่ ภาคเรยี นออกเปน็ ๔ ภาค ยงั สง่ ผลใหร้ อบของการประเมนิ ผลพฒั นาการนกั เรยี น
มีความถ่ีมากขึ้น และยังเอื้อให้การพัฒนานักเรียนด้วยความร่วมมือของ ๓ ฝ่าย คือ
ตวั นกั เรียน ครผู ูส้ อน และผู้ปกครอง มปี ระสทิ ธิภาพสงู ขน้ึ ดว้ ย

• 41 •



ดวงตา หมายเลข ๒ เจา้ ของผลงาน : เดก็ หญงิ ปวริศา มรุ ธาทพิ ย์



หลอักยก่าางรปขรอะงจกกั าษรช์ เรัดียน

บันทึกชุดนี้ สื่อวิธีการเรียนรู้ท่ีประจักษ์ชัดในสองมุม คือมุมนักเรียนที่เรียน
อย่างชัดเจนในเป้าหมาย ในความก้าวหน้าของตน ท้ังในการเรียนวิชาและวิธีเรียน
และมุมของครูที่สอนอย่างประจักษ์ในผลท่ีเกิดข้ึนต่อนักเรียน และโดยใช้การกระตุ้น
สายตาของนักเรียนด้วยเป้าหมายการเรียน เพ่ือช่วยให้นักเรียนเรียนรู้อย่างมี
เป้าหมายอยู่ตลอดเวลา ครูดีคือครูท่ีมีทักษะในการออกแบบการเรียนรู้ให้แก่ศิษย์
ให้เหมาะต่อเป้าหมายการเรียนรู้ และตัวครูเองเรียนรู้และปรับตัวจากการท�ำงาน
ของตน จนเกดิ การเรยี นรู้สกู่ ารเปล่ยี นแปลง
ครดู ี
นักเรียนทุกคนอยากได้ และควรได้ครูดี ซ่ึงหมายถึงครูที่ท�ำให้นักเรียนเกิด
การเรยี นรู้อยา่ งประจกั ษ์ชดั (visible learning) อันไดแ้ ก่ (๑) มคี วามกา้ วหนา้ ใน
ผลลพั ธก์ ารเรยี นรทู้ วี่ ดั ได้ (๒) มคี วามชดั เจนและเหน็ คณุ คา่ ตอ่ เปา้ หมายการเรยี นรู้
ของตน (๓) ตระหนักในวิธีการเรียนของตน (๔) รู้จักปรับปรุงวิธีการเรียน และ
(๕) กำ� กับการเรียนรขู้ องตนเองได้ หรืออาจกลา่ วว่า เปน็ ครูของตนเองได้ จะเห็น
วา่ ครูดคี ือครทู ่ีมุ่งมน่ั ท�ำงานเพ่อื การเรยี นรูข้ องศิษย์ หรือ “ครูเพอื่ ศษิ ย”์ นนั่ เอง(๑)

(๑) ถา้ ขอ้ ๑ หมายความวา่ ผเู้ รยี นตรวจสอบความกา้ วหนา้ ทง้ั ๔ ขอ้ แปลวา่ การเรยี นรเู้ กดิ จากการทำ� ให้
ผู้เรียนจัดการตนเองในกระบวนการเรียนรู้เป็น ข้อ ๑ และ ๔ มีความสัมพันธ์กันเอง คืออยู่ร่วมกัน
เป็นวงจรพัฒนา อาจกล่าวว่าทั้ง ๔ ข้อท�ำให้เกิด growth mindset หรือ growth mindset ท�ำให้เกิด
๔ ขอ้ กไ็ ด้ เปน็ ส่งิ ท่เี อ้อื การเกิดและพัฒนาต่อกัน

• 44 •

ครดู ตี อ้ งไมต่ กหลมุ พรางของความรคู้ วามเขา้ ใจผดิ ๆ ในเรอื่ งหลกั การและวธิ กี าร
จดั การเรียนรู้ John Hattie ตพี ิมพห์ นังสือ Visible Learning (2009) ช้ใี ห้เหน็ ว่า
หลายวิธีการท่ีมีผู้แนะน�ำให้ใช้นั้น ก่อผลลบต่อการเรียนรู้ของนักเรียน บางวิธีการ
ไม่ดีไม่ร้าย และมีวิธีการท่ีได้ผลดี และวิธีการท่ีให้ผลดีมาก โดยเขาคิดวิธีวัดผล
เรยี กวา่ effect size ดังจะกลา่ วถงึ ตอ่ ไป
เขาเสนอกรอบความคดิ ของครูดี ๑๐ ประการ ดงั น้ี
๑. ฉันรว่ มมือกบั ครคู นอืน่ ๆ
๒. ฉันใช้สนุ ทรยี เสวนา (dialogue) ไม่ใช่พูดฝ่ายเดยี ว (monologue)
๓. ฉนั สรา้ งความทา้ ทาย
๔. ฉันเอาใจใส่การเรียน ไม่ใช่การสอน
๕. ฉันพูดคุยกับนักเรียนและผู้เกี่ยวขอ้ ง เร่อื งหลักการเรียนรู้
๖. ฉนั มองการเรยี นรวู้ า่ ตอ้ งการการทำ� งานหนกั (แตผ่ มเถยี งวา่ สามารถทำ� ให้
การเรยี นรเู้ ป็นเรือ่ งสนุกได้)
๗. การประเมินเป็นการให้ข้อมูลป้อนกลับแก่ตัวฉัน ว่าฉันปฏิบัติหน้าท่ีครู
อย่างไร
๘. ฉันเปน็ ผนู้ ำ� การเปล่ียนแปลง
๙. ฉันเป็นผู้ประเมินผล โดยเฉพาะอย่างย่ิง ประเมิน impact ของการสอน
ของตน(๒)
๑๐. ฉันสร้างปฏสิ มั พันธ์เชิงบวก
ผมขอเพมิ่ เติมกรอบความคดิ ของครูดีประการที่ ๑๑ ทห่ี นังสอื บอกว่า เลยจาก
๑๐ ประการข้างต้นไปอีกหน่ึงก้าว คือ “ฉันจะสร้างสภาพแวดล้อม หรือเงื่อนไข
ให้นักเรียนกลายเป็นครูของตนเอง” หรือกล่าวได้ว่า นักเรียนเกิดทักษะในการ
กำ� กบั การเรยี นรขู้ องตนเองได้ ทใ่ี นภาษาองั กฤษ (ในหนงั สอื เลม่ อน่ื ) ใชค้ ำ� วา่ self -
regulated learner ทำ� ใหน้ กั เรยี นเรยี นรไู้ ดด้ กี วา่ และมากกวา่ ซง่ึ การเรยี นรบู้ างสว่ น
จะอย่นู อกหอ้ งเรียน

(๒) ข้อ ๙ รวมกับข้อ ๗ (ความจริงทั้ง ๑๐ ข้อ) คือวิจัยชั้นเรียนที่ครูวิจัยกระบวนการของตนเอง
เพื่อปรับ process ของตนให้ได้ outcome ที่ศิษย์ ต่างจากวิจัยชั้นเรียนท่ัวไปท่ีมักจะเห็นว่านักเรียนเป็น
subject การวจิ ยั แลว้ พยายามไปแกท้ นี่ กั เรยี น นอ้ ยครง้ั ทจ่ี ะเหน็ ปฏสิ มั พนั ธข์ องครกู บั นกั เรยี นในเปา้ หมาย
เชิงพฤติกรรมครูท้ัง ๑๐ ขอ้ น้ี

• 45 •

ครดู คี อื ครทู เี่ อาใจใสศ่ ษิ ยท์ กุ คน ตง้ั เปา้ หมายใหศ้ ษิ ยท์ กุ คนไดบ้ รรลเุ ปา้ หมายขนั้ ตำ�่
ของการเรยี นรตู้ ามทก่ี ำ� หนด และหาวธิ สี ง่ เสรมิ สนบั สนนุ ใหศ้ ษิ ยบ์ รรลเุ ปา้ หมายนนั้
โดยมกี ารเรยี นรอู้ ยา่ งสนกุ สนาน และใหค้ วามสขุ ทง้ั ความสขุ ทน่ี กั เรยี น และทตี่ วั ครู
แต่อย่าเข้าใจผิดว่า ชีวิตการเป็นครูดีจะราบรื่น คนเราไม่ว่าจะประกอบกิจการ
งานอะไร มคี วามทา้ ทาย หรอื ความยากลำ� บากเจอื ปนอยเู่ สมอ มากบา้ งนอ้ ยบา้ ง ครดู ี
ตอ้ งมีทักษะในการพลกิ กลบั ความทา้ ทายเหล่านั้นใหเ้ ปน็ เครอ่ื งมอื ของการเรียนรู้
ครดู คี อื ครทู มี่ ที กั ษะในการออกแบบการเรยี นรใู้ หแ้ กศ่ ษิ ย์ ใหเ้ หมาะตอ่ เปา้ หมาย
การเรียนรู้ และตัวครูเองเรียนรู้และปรับตัวจากการท�ำงานของตน เพื่อ...เรียนรู้
ส่กู ารเปล่ียนแปลง (ดาวน์โหลดหนังสือเลม่ น้ีไดท้ ่ี https://goo.gl/V5Wkfu)

คณุ ค่าของการอา่ นออกเขียนได้ (literacy)

ค�ำว่า literacy แปลตรงตัวว่า “อ่านออกเขียนได้” แต่มักหมายรวมเอา
“คิดเลขเป็น” (numeracy) เข้าไปด้วย และในยุคการเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ ๒๑
มกี ารเพม่ิ ประเดน็ เรยี นรเู้ ขา้ ไปอกี หลายมติ ิ เชน่ รวู้ ทิ ยาศาสตร์ (scientific literacy)
รู้เทคโนโลยีการสื่อสารและสารสนเทศ (ICT literacy) รู้เร่ืองการเงิน (financial
literacy) รเู้ รอ่ื งวฒั นธรรมและความเปน็ พลเมอื งหรอื การอยรู่ ว่ มกนั (cultural and
civic literacy) รู้เรอื่ งสขุ ภาพ (health literacy) เปน็ ต้น ทั้งหมดนั้นผมตคี วามวา่
เป็น “พ้ืนความรู้” ซึ่งหมายความว่า เป็นความรู้ส�ำหรับใช้ช่วยให้เกิดการเรียนรู้
ในมิติท่ีซับซ้อน หรือลึกและเช่ือมโยงยิ่งข้ึนในโอกาสต่อไป แต่หนังสือเล่มน้ี
จับเฉพาะเรือ่ งพื้นความรู้ด้านอา่ นออกเขยี นได้เท่านัน้
หนงั สอื บอกวา่ พ้ืนความรู้นม้ี ีคุณคา่ อย่างนอ้ ย ๕ ประการ
1. แก้ความยากจน(๓)
2. ทำ� ให้ชวี ิตดขี ้นึ
3. น�ำไปสอู่ สิ รภาพในชีวติ มีทางเลอื กในชีวติ มากขนึ้
4. สอนใหค้ ดิ เปน็ ขนั้ เปน็ ตอน
5. เปน็ พื้นฐานตอ่ การเรยี นขนั้ ต่อไป

(๓) เพราะฉลาดรู้ (literacy) หลายมติ ขิ องชวี ติ จงึ มภี มู คิ มุ้ กนั ทางความคดิ ทำ� ใหไ้ มต่ กเปน็ เหยอ่ื เศรษฐกจิ
ของผอู้ นื่ ซงึ่ นำ� ไปสกู่ ารถกู เอาเปรยี บทางเศรษฐกจิ ความเหลอื่ มลำ้� และความยากจน กลา่ วคอื ภมู คิ มุ้ กนั
ทางความคิดท�ำให้ไดข้ ้อ ๓ ๔ และ ๕ ทีส่ ่งผลตอ่ ๒ และ ๑

• 46 •

หลักฐานเชิงประจกั ษ์

Meta-Analysis
นโยบายหรอื มาตรการจดั การเรยี นรู้ ในหลายกรณอี า้ งองิ หลกั ฐานเชงิ ประจกั ษ์
ที่มาจากผลงานวิจัยชิ้นเดียว ที่บอกว่าวิธีการนั้นได้ผลดีกว่าวิธีอ่ืนอย่างมีนัยส�ำคัญ
ทางสถิติ แต่ผลการด�ำเนินการพิสูจน์ในภายหลังว่าไม่ได้ผลตามท่ีต้ังเป้าหมายไว้
สภาพเช่นนี้เกิดขึ้นคร้ังแล้วคร้ังเล่า ต่อมาจึงมีผู้บอกว่า ต้องอย่าเชื่อผลงานวิจัย
ชิ้นเดียว ต้องตรวจสอบกับผลงานวิจัยอื่นๆ ด้วย จึงเกิดวิธีการทางสถิติ น�ำเอา
ผลการวิจัยเรื่องเดียวกันจ�ำนวนมากท่ีมีการตีพิมพ์และตรวจสอบแล้วว่ากระบวน
วิธีวิจัยน่าเช่ือถือ เอามาวิเคราะห์ร่วมกัน เพ่ือหา pattern ของผลการวิจัย
เหลา่ นน้ั อนั จะนำ� ไปสกู่ ารตอบคำ� ถามอยา่ งแมน่ ยำ� วธิ กี ารนเ้ี รยี กวา่ meta - analysis
ในผลของ meta - analysis จะพบวา่ สามารถ map ผลสำ� คญั ของการวจิ ยั จำ� นวนมาก
ลงบนแผนผังท่ีระบุผลลัพธ์เปรียบเทียบกัน เปรียบเทียบกระบวนวิธีวิจัยจุดแข็ง
จุดอ่อน แล้วกันผลงานท่ีไม่น่าเช่ือถือออกไป คงไว้เฉพาะส่วนที่น่าเชื่อถือ น�ำมา
สงั เคราะห์ผลในภาพรวมออกมา
John Hattie ทำ� งานวจิ ยั โดยใชว้ ธิ กี ารรวบรวมผล meta - analysis ตอ่ มาตรการ
(intervention) หลากหลายวิธี เพ่ือยกระดับการเรียนรู้ของนักเรียน ในการท�ำ
วทิ ยานพิ นธร์ ะดับปรญิ ญาเอกในปี ค.ศ. 1981 และเสนอใหใ้ ชค้ า่ effect size ใน
การตรวจสอบผลกระทบท่ีแทจ้ ริงของมาตรการพัฒนานักเรียน
John Hattie จงึ เปน็ เจา้ สำ� นกั เรือ่ ง effect size ของมาตรการ (intervention)
ทางการศกึ ษา โดยไดร้ วบรวมรายงาน meta - analysis ของผลงานวจิ ยั ทางการศกึ ษา
เปน็ ฐานขอ้ มลู ทใ่ี หญม่ าก คอื ๘๐๐ ผลงาน meta - analysis จากทวั่ โลก มรี ายงาน
วิจัย ๕๐,๐๐๐ ช้ิน เก่ียวข้องกับนักเรียน ๒๕๐ ล้านคน เสนอในหนังสือเล่มแรก
ในปี ค.ศ. 2009 ฐานขอ้ มลู นเี้ พม่ิ ขน้ึ เรอื่ ยๆ จนถงึ ตอนทเ่ี ขยี นหนงั สอื เลม่ นี้ (นา่ จะ
ราวๆ ปี ค.ศ. 2015) มีถงึ ๑,๒๐๐ meta - analysis รายงานวจิ ยั ๗๐,๐๐๐ ช้ิน
นกั เรยี น ๓๐๐ ลา้ นคน ทำ� ใหก้ ารค�ำนวณ effect size มีความน่าเชอ่ื ถอื สูงมาก

• 47 •

Effect Size
effect size เป็นค่าท่ีได้จากการเปรียบเทียบ ๒ แบบ คือ (๑) เปรียบเทียบ
before - after ในนกั เรียนกลมุ่ เดยี วกนั และ (๒) เปรยี บเทียบนกั เรยี นต่างกลุ่ม
แบบ case - control จะเห็นว่า ค่า effect size อาจติดลบได้ หากผลสอบของ
นกั เรยี นชว่ งกอ่ นดำ� เนนิ มาตรการสงู กวา่ ผลสอบหลงั ดำ� เนนิ มาตรการ หรอื ผลสอบ
ของกลุ่ม control สูงกว่ากลุ่ม case ค่า effect size = ๑ หากผลต่างน้ันเท่ากับ
ค่า SD ของคะแนนทั้งสองกลุ่ม Hattie เสนอว่า ค่า effect size ท่ีสะท้อนว่า
มาตรการนน้ั ให้ผลดีอยา่ งมีน้ำ� หนักคอื ๐.๔ ข้นึ ไป แตท่ ัง้ นี้ขน้ึ อยกู่ บั เปา้ หมายของ
ระดับการเรียนรดู้ ว้ ย ดงั จะกล่าวถึงตอ่ ไป
Hattie ชี้ให้เห็นว่า ค่า effect size ที่มากกว่าศูนย์นั้น ไม่ได้หมายความว่า
มาตรการทใ่ี ชก้ อ่ ผลดตี อ่ การเรยี นนกั เรยี นเสมอไป เพราะทดี่ ขี น้ึ นน้ั สว่ นหนง่ึ มาจาก
พฒั นาการของนกั เรยี นเอง (developmental effect) และอกี สว่ นหนง่ึ เกดิ จากการสอน
ตามปกติของครู (teacher effect) แต่หาก effect size มีค่าตั้งแต่ ๐.๔ ขึ้นไป
(ค่า ๐.๔ เรียกว่า hinge point) ก็น่าจะเชื่อได้ว่ามาตรการน้ันก่อผลดีต่อการ
เรยี นรจู้ รงิ คอื มาตรการนน้ั กอ่ ผลดมี ากกวา่ การเรยี นรตู้ ามปกติ ๑ ปี และ คา่ effect
size ๑.๐ บอกว่า เกิดการเรียนรู้เท่ากับการเรียนรู้ตามปกติ ๒ - ๓ ปี ดู effect
size barometer ในภาพที่ ๑
ค่า effect size ของมาตรการทางการศึกษารวม ๑๙๕ มาตรการ ดูได้ที่
https://visible-learning.org/hattie-ranking-backup-195-effects/ และของ ๒๕๒
มาตรการท่ี https://visible-learning.org/hattie-ranking-influences-effects-sizes-
learning-achievement เม่ือเข้าไปดูค่าที่เสนอไว้ จะพบว่าค่าของหลายมาตรการ
แตกต่างไปจากความคาดหวังของเรา เช่น extracurricular program มี effect
size ๐.๒๐ lack of stress มี effect size เพยี ง ๐.๑๗ เปน็ ตน้ ซงึ่ อาจเปน็ เพราะ
ผลวิจัยท�ำในบริบทของต่างประเทศ ที่มีสภาพแวดล้อมต่างจากบ้านเรา การศึกษา
Effect Size ของมาตรการที่วงการศึกษาไทยก�ำหนดเป็นนโยบาย จึงเป็นงานที่
ควรทำ� ในบริบทของเราเองดว้ ย(๔)

(๔) จากประสบการณท์ รี่ กู้ นั เปน็ ๒ effect ทไ่ี มน่ า่ ใชไ้ ดใ้ นประเทศไทย Extracurricular (ทไ่ี มน่ บั โรงเรยี นตวิ )
เปน็ ขวั้ ตรงขา้ มกบั การเรยี นในหอ้ งเรยี น ปจั จบุ นั การเรยี นในหอ้ งเรยี นของไทยเปน็ เรอื่ งนา่ เบอ่ื มี stress มาก
นา่ จะทำ� ให้ “Before” มคี า่ นอ้ ยมาก เมอื่ เอา Extracurricular มาใชก้ จ็ ะทำ� ให้ “After” กระโดดขน้ึ คา่ ES นา่ จะมาก
นา่ สงสยั วา่ ทง้ั สอง effect ท่ีกล่าวถงึ นนี้ ่าจะมคี วามสัมพนั ธก์ ันดว้ ย

• 48 •

ภาพที่ ๑ effect size barometer ดาวน์โหลดจาก https://blog.tcea.org/tag/
effect-size/ เมือ่ วันท่ี ๑๖ ธนั วาคม ๒๕๖๒

ปัจจัยด้านตัวครู ต่อผลลัพธ์การเรียนรขู้ องศษิ ย์

หนงั สอื เลม่ นเ้ี นน้ ผลการเรยี นดา้ นการอา่ น เขยี น พดู ฟงั สงั เกตดว้ ยตา และคดิ
แต่การเรียนรู้เหล่านี้บูรณาการอยู่กับระบบนิเวศน์ของการเรียนรู้ในภาพรวม ซึ่ง
ครูต้องเอาใจใส่ประเด็นส�ำคัญต่อไปนี้ เพ่ือผลการเรียนของนักเรียนทั้งในด้านที่
หนังสือเล่มนเ้ี นน้ และผลการเรยี นด้านอนื่ ๆ(๕)
ความน่าเชื่อถือของครู (ES = ๐.๙๐) นักเรียนสามารถรับรู้ได้ว่า
ครูคนไหนจะสามารถสรา้ งความเปลย่ี นแปลงใหก้ บั พวกเขาได้ ความน่าเชอื่ ถอื เปน็
คณุ สมบตั เิ ชงิ ซอ้ น ประกอบดว้ ย ความเชอ่ื มน่ั (trust) ความสามารถ (competence)
ความเปน็ พลวตั (dynamism) ความใกลช้ ดิ (immediacy) และความจรงิ ใจ (sincerity)
ปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับศิษย์ (ES = ๐.๗๒) ซ่ึงต้องการมากกว่า
ความนา่ เชอื่ ถอื ของครู และปฏสิ มั พนั ธเ์ ชงิ บวกระหวา่ งครกู บั ศษิ ย์ คอื การทน่ี กั เรยี น
มีความเช่ือมั่น หรือศรัทธา (trust) ต่อครู ประเด็นส�ำคัญคือ ครูต้องพัฒนา
ปฏิสัมพันธ์นี้ต่อนักเรียนทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน ผลการเรียนของนักเรียนท้ังช้ัน
จะดีข้ึน หากนักเรียนมีความเชื่อม่ัน และศรัทธาครู หนังสือแนะน�ำให้ดูวีดิทัศน์
ที่ http://qrs.ly/gm51z59

(๕) นา่ แปลกที่ไม่รวมการเรียนรจู้ ากการลงมือทำ�

• 49 •


Click to View FlipBook Version