The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by chtsan6, 2021-12-17 05:16:58

ครูเพื่อศิษย์ สร้างการเชื่อมโยง

ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช

๑. ถกู กาละ (timely) คำ� แนะนำ� ปอ้ นกลบั ทผ่ี ดิ กาละ แมด้ ว้ ยความปรารถนาดี
แทนทจี่ ะเปน็ คณุ อาจเปน็ โทษ ในการเรยี นรรู้ ะดบั ผวิ ชว่ ง “การรบั ร”ู้ (acquisition)
การให้ค�ำแนะน�ำป้อนกลับอาจมีประโยชน์น้อยกว่าการสอนซ้�ำ (reteaching)
แต่ในช่วง “หลอมรวม” (consolidation) ต้องมีการฝึก ค�ำแนะน�ำป้อนกลับ
จงึ มปี ระโยชนม์ าก
๒. ตรงประเด็น หรือจ�ำเพาะ (specific) ค�ำแนะน�ำป้อนกลับที่คนเราได้รับ
โดยทั่วไป มักเกินก�ำลังท่ีเราจะเข้าใจ หรือเป็นค�ำกล่าวลอยๆ ไม่เช่ือมโยงสู่
การปฏิบัติ จึงเป็นค�ำแนะน�ำป้อนกลับที่ไร้ประโยชน์ หรืออาจเป็นโทษ ครูจึง
ตอ้ งฝกึ ใหค้ ำ� แนะนำ� ปอ้ นกลบั ทจี่ ำ� เพาะตอ่ กรณี และตอ่ ระดบั ความสามารถของ
นกั เรียนคนน้นั
๓. ผเู้ รยี นเขา้ ใจ (understandable to the learner) หลกั การคอื ใหค้ ำ� แนะนำ�
ปอ้ นกลบั ณ เวลานนั้ และแกน่ กั เรยี นคนนนั้ และเหมาะสมตอ่ ระดบั ความสามารถ
ของนกั เรียนคนนัน้
๔. น�ำไปสู่การกระท�ำ (actionable) ค�ำแนะน�ำป้อนกลับที่กล่าวลอยๆ เช่น
“ดมี าก” ไมน่ ำ� ไปสกู่ ารกระทำ� ครตู อ้ งฝกึ ใหค้ ำ� แนะนำ� ปอ้ นกลบั ทบี่ อกวา่ ทำ� ไม
จึงดี และแนะนำ� ใหล้ องทำ� อยา่ งไร เพือ่ ให้ไดผ้ ลดยี ิ่งขน้ึ (๑๑)
ในนักเรียนมัธยม อาจใช้ระบบทดสอบออนไลน์ พร้อมให้ค�ำแนะน�ำป้อนกลับ
(online quiz with feedback) โดยมีโจทย์ให้ตอบเพียง ๓ - ๕ ข้อ นักเรียนท่ี
ตอบผดิ ขอ้ ใดขอ้ หนง่ึ จะไดร้ บั ขอ้ ความคำ� ตอบทถ่ี กู ตอ้ ง พรอ้ มกบั คำ� แนะนำ� ใหก้ ลบั ไป
อ่านสาระวิชานน้ั ตรงต�ำแหนง่ ทีเ่ กยี่ วข้อง เพ่ือความเข้าใจทีถ่ ูกตอ้ ง
คำ� แนะนำ� ป้อนกลบั ทีด่ ีให้ ES = ๐.๗๕

(๑๑) สรุปได้วา่ feedback ต้องมุง่ ไปท่ี process ไม่ใชผ่ ลสดุ ท้าย (end result)

• 150 •

เรียนแบบร่วมมอื กบั เพื่อน

การเรียนแบบร่วมมือกับเพื่อน (collaborative learning with peers) ให้
ประโยชน์ทั้งในด้านการเรียนระดับผิว ในข้ันตอนของการหลอมรวมความรู้ และ
นอกจากนั้นยังช่วยการพัฒนาสมรรถนะส�ำคัญในด้านความร่วมมือ การส่ือสาร
ความมนี ำ�้ ใจ และอื่นๆ
ครตู อ้ งเรยี นรแู้ ละพฒั นาทกั ษะการออกแบบ “ชาลา” (platform) การเรยี นแบบ
ทน่ี กั เรยี นเรยี นแบบร่วมมอื กบั เพือ่ น เชน่ สโมสรหนงั สอื (book club) หรือ กลุ่ม
อภปิ รายวรรณกรรม (literature discussion group) โดยทส่ี มาชกิ รว่ มกนั รบั ผดิ ชอบ
ผลงานของกล่มุ และนกั เรยี นแตล่ ะคนรับผิดชอบการเรยี นรขู้ องตน
ตอนตน้ ปีการศึกษา ครูอธบิ ายใหน้ กั เรยี นฟงั วา่ การเรยี นแบบร่วมมือกับเพ่ือน
จะใหค้ ุณประโยชนต์ อ่ ตวั นักเรยี นอยา่ งไร และยำ�้ ว่า นไี่ มใ่ ชแ่ คใ่ ห้นกั เรียนจับคหู่ รือ
จับกลุ่มกันเรียนภายในหน่ึงคาบเรียน แต่เป็นการท�ำงานร่วมกันตลอดเทอมหรือ
ตลอดทง้ั ปี เปา้ หมายทยี่ งิ่ ใหญค่ อื เพอ่ื ใหน้ กั เรยี นเขา้ ใจตนเอง เขา้ ใจโลก และเขา้ ใจ
ความรดู้ ้านตา่ งๆ โดยท่ีนักเรียนเปน็ ท้งั ผูเ้ รยี น และผ้ใู ห้ ใหแ้ ก่เพอื่ น
ในกรณีของการเรียนวิชาวรรณกรรม ช้ันมัธยม เพื่อให้นักเรียนตอบค�ำถาม
“โตข้ึนฉันอยากเป็นอะไร” ครูก�ำหนดเร่ืองสั้นจ�ำนวนหนึ่งให้นักเรียนเลือกอ่าน
คนละเรอื่ ง แลว้ นำ� มาอภปิ รายกนั โดยครมู กี ระดาษหนงึ่ หนา้ เปน็ บนั ทกึ การอภปิ ราย
เป็นเครอ่ื งช่วยเรยี นในแตล่ ะคาบ ดังตวั อย่างในแบบบันทกึ ท่ี ๕.๓
แบบบนั ทกึ ท่ี ๕.๓ บันทกึ การอภปิ ราย ฉนั อยากเป็นอะไร
ชือ่ .......................................................................... วันที่....................................
ชือ่ เรอื่ ง.................................................................. คาบที.่ ..................................
รายช่ือสมาชิกกลมุ่ ...............................................................................................

• 151 •

ขอให้นักเรียนเตรียมบันทึกนี้ล่วงหน้า ก่อนการประชุมกลุ่ม ใช้ค�ำถามข้างล่าง
เป็นแนวทางการบันทกึ
การอภิปราย : นกั เรยี นมคี ำ� ถามอะไรบา้ ง หลงั อา่ นเรอื่ งจบ นกั เรยี นพศิ วงเรอ่ื งอะไร
มอี ะไรที่งงหรอื เขา้ ใจไม่ชดั เจน
ขอ้ ความทม่ี พี ลงั : ขอ้ ความใดทด่ี งึ ดดู ความสนใจ โดยอาจเปน็ ทป่ี ระหลาดใจ แปลก
หรอื เปน็ ถอ้ ยคำ� ไพเราะใหจ้ ดหนา้ และขดี เสน้ ใตไ้ วอ้ า่ นใหเ้ พอื่ นฟงั
เชอื่ มโยง : ข้อความท่ีอ่านเตือนให้คิดถึงเร่ืองอะไรในชีวิตของนักเรียน มีหนังสือ
เล่มอืน่ ที่เช่ือมโยงกบั เรื่องนีไ้ หม เชือ่ มโยงอยา่ งไร
ภาพประกอบ : เขยี นภาพหรือไดอะแกรม เพ่อื แสดงความประทบั ใจของนกั เรยี น
ต่อเร่ืองท่ีอา่ น (ไมเ่ นน้ ความสวยงาม เน้นท่สี าระ)
การเรยี นแบบรว่ มมอื กบั เพอ่ื น เมอ่ื เทยี บกบั เรยี นคนเดยี ว ใหผ้ ลลพั ธก์ ารเรยี นรู้
เพิม่ ขน้ึ โดย ES = ๐.๕๙

สรปุ

ครูต้องเรียนรู้และพัฒนาทักษะในการน�ำนักเรียนเข้าสู่ความรู้และทักษะใหม่
และรู้ว่าเมื่อไรที่จะต้องเคล่ือนต่อจากการเรียนระดับผิว ขั้นรับรู้ และเข้าใจ ไปสู่
การเรียนร้ขู ัน้ ต่อไป
เมื่อการเรียนรู้เป็นสิ่งท่ีจับต้องมองเห็นได้ ท้ังต่อนักเรียนและต่อครู นักเรียน
และครูจะมีความสัมพันธ์แบบ “เช่ือมใจเป็นหน่ึงเดียว” ครูสื่อสารกับศิษย์ว่าก�ำลัง
เรยี นรอู้ ะไร สำ� คญั อยา่ งไร และวดั ความสำ� เรจ็ ในการเรยี นอยา่ งไร ครใู ชก้ ารแนะนำ�
ป้อนกลับเพ่ือให้นักเรียนท�ำความเข้าใจการเรียนรู้เบ้ืองต้น และครูต้องดูและฟัง
เพ่ือประเมินว่านักเรียนพร้อมจะเรียนในระดับต่อไปแล้ว หรือนักเรียนยังต้องการ
เวลาและการฝึกซ้อมเพ่ิมข้ึน นี่คือการวางฐานที่มั่นคงแน่นหนาของการเรียนรู้
หนงั สอื (literacy learning)

• 152 •

เรื่องเลา่ จากห้องเรียน

“ครูสอนภาษาตอ้ งไมใ่ ชแ่ ค่สอนไปตามที่หลกั สตู รกำ� หนด ตอ้ งมหี ลกั คิด
ทีช่ ่วยกำ� หนดพฤตกิ รรมการสอนของครู เพ่ือช่วยใหน้ กั เรียนไดม้ พี ืน้ ฐาน
ทางภาษาที่มั่นคงแขง็ แรง ซ่งึ จะเปน็ คุณตอ่ ชีวติ ในภายหนา้ อยา่ งมาก”
โรงเรยี นเพลนิ พฒั นา ใหช้ อ่ื หนว่ ยวชิ าภาษาไทยวา่ หนว่ ยวชิ าภมู ปิ ญั ญาภาษาไทย
ทหี่ มายถงึ การจดั การเรยี นการสอนลกั ษณะหนึ่งซึง่ มีการบรู ณาการสาระย่อยต่างๆ
ในกลุ่มสาระวิชาภาษาไทย แก่นสาระของภูมิปัญญาไทยแขนงต่างๆ ศิลปะวิจักษ์
และสนุ ทรยี ศาสตรเ์ ขา้ ดว้ ยกนั โดยมเี ปา้ หมายเพอื่ ใหผ้ เู้ รยี นเขา้ ถงึ คณุ คา่ และแกน่ สาระ
ของความรู้และทักษะต่างๆ ที่น�ำมาบูรณาการ และได้เข้าถึงสภาวะของการ
บรู ณาการนน้ั ซงึ่ เปน็ รากฐานของภมู ปิ ญั ญาไทย และเกดิ เจตคติ ความรู้ และทกั ษะ
ในการใช้ภาษาไทยอย่างมีคุณค่า ซ่ึงเป้าหมายนี้ได้กลายเป็นหลักคิดที่ช่วยก�ำหนด
พฤติกรรมการจัดการเรยี นการสอนของครูดว้ ยเช่นกนั
เนื่องจากภาษาเป็นส่วนหน่ึงของวัฒนธรรม ดังน้ันการเข้าใจในวัฒนธรรมผ่าน
การเรียนรู้ภาษา และภูมิปัญญาแขนงต่างๆ จึงเป็นส่วนส�ำคัญในการถักทอให้เกิด
ความเข้าใจในเชิงลึก ที่จะก่อเกิดเป็นความเข้าใจในสิ่งหน่ึงส่ิงใดอย่างเป็นองค์รวม
ซง่ึ จะกอ่ ใหเ้ กดิ คณุ ตอ่ ชวี ติ ของผเู้ รยี นจากการหยงั่ ถงึ ความดี ความงาม และความจรงิ
ของสิ่งทีเ่ รียนรู้ และการไดส้ มั ผสั กับสนุ ทรยี ภาพอยา่ งไทย น่ันเอง

จดหมายถึงคร ู จากเดก็ หญงิ ปัณฑา ทวีชัยทศพล นักเรียนชน้ั ประถมปที ี่ ๑

• 153 •

การเรยี นการสอนในลกั ษณะเชน่ น้ี จงึ ไมใ่ ชเ่ พยี งแคก่ ารสอนภาษาเทา่ นนั้ แตค่ อื
การกลอ่ มเกลาชวี ติ จติ ใจของผเู้ รยี น ผา่ นการเรยี นรภู้ าษาควบคไู่ ปกบั การทำ� ความรจู้ กั
กับวัฒนธรรมไทยในแขนงต่างๆ ด้วยการหยั่งลงสู่รากเหง้าของตน แล้วสร้างใหม่
ใหม้ คี วามงอกงามทง้ั ตวั ผสู้ รา้ งงานและผลงานทไ่ี ดส้ รา้ งสรรคข์ น้ึ ซง่ึ ปรากฏการณน์ ี้
เปน็ ภาพทส่ี ะทอ้ นใหเ้ หน็ วา่ ทงั้ โลกภายในและโลกภายนอกของคนๆ หนงึ่ นน้ั มคี วาม
เกย่ี วโยงสมั พันธแ์ ละถกั ทอกันอย่างแนบแนน่

ช้ินงาน มองยอ้ นสะท้อนตน เจา้ ของผลงาน : เด็กหญิงญาธปิ เสถียรภาพอยทุ ธ ์ นกั เรียนชั้นประถมปีท่ี ๒

• 154 •

ชนิ้ งาน ลายไทยจากผัก เจ้าของผลงาน : เด็กหญงิ วรรณวรนั ธร ทพิ ยะวัฒน ์ นกั เรยี นชั้นประถมปที ่ี ๒

• 155 •

การสอนทั้งการเรียนสาระวิชา และภูมิปัญญาไทยแขนงต่างๆ ควบคู่ไปกับ
การสอนวธิ เี รยี น จะทำ� ใหน้ กั เรยี นไดเ้ รยี นทงั้ สามอยา่ งไปในเวลาเดยี วกนั อยา่ งเปน็
เอกภาพ
โรงเรียนเพลินพัฒนาน�ำเอาการอ่านวรรณกรรม มาช่วยสร้างความเข้าใจใน
หลักภาษา และฝึกฝนการใช้ภาษาโดยเช่ือมโยงไปหาท่ีมาของภูมิปัญญาไทยใน
แขนงต่างๆ
ในภาคเรยี นวริ ยิ ะ ปกี ารศึกษา ๒๕๖๓ คณุ ครูปกุ๊ - จินตนา กฤตยากรนุพงศ์
และคุณครูกานต์ - บัวสวรรค์ บุญมาวงษา ได้น�ำนิทานพื้นบ้าน ๔ ภาค และ
ภูมิปัญญาไทยจากลายผ้า มาให้นักเรียนช้ันประถมปีที่ ๔ ได้เรียนรู้กันเป็นเวลา
๘ สัปดาห์ โดยเรยี นสปั ดาหล์ ะ ๕ คาบ (คาบละ ๔๕ นาที)
พ้ืนความรูเ้ ดมิ :
นักเรียนช่วงชั้นท่ี ๑ (ประถมปีที่ ๑ - ๓) เรียนรู้จักเส้นสายลายไทยจากคาบ
ภูมิปญั ญาลายไทย สปั ดาหล์ ะ ๔๕ นาที มาตลอดระยะเวลา ๓ ปี
ประสบการณใ์ หม่ :
ครนู ำ� ลกั ษณะเดน่ ของลายผา้ แตล่ ะชนดิ ไปสรา้ งเปน็ ทา่ brain gym ใหน้ กั เรยี น
ทายว่าเป็นทา่ ท่มี าจากผา้ ผืนใด

• 156 •

นักเรียนท�ำกิจกรรม “คู่ไหน...ใช่เลย” จับคู่ลายผ้ากับชื่อลาย พร้อมทั้งให้
เหตผุ ลวา่ เหตใุ ด จงึ คดิ วา่ ลายนมี้ ชี อ่ื เชน่ นนั้ รปู ลกั ษณข์ องลาย มคี วามเชอื่ มโยงกบั
ช่ืออยา่ งไร
จากนั้นให้นักเรียนเลือกลายผ้าท่ีแต่ละคนช่ืนชอบ แล้วน�ำมาถอดถ่ายให้เป็น
ลวดลายลงในตาราง เพอื่ เก็บเอาไวเ้ ปน็ ตน้ แบบในการสร้างสรรคช์ ้ินงานตอ่ ไป

• 157 •

ในวนั นน้ี กั เรยี นสว่ นใหญส่ ะทอ้ นการเรยี นรวู้ า่ สนกุ ทไี่ ดท้ ำ� กจิ กรรมการจบั คภู่ าพ
ลายไทยกับช่ือผ้าลายไทย อีกท้ังยังได้ถอดลวดจากผ้ามาวาดลงในกระดาษด้วย
ความรใู้ หมค่ อื ไดร้ บั รถู้ งึ แรงบนั ดาลใจ และทม่ี าของลวดลายตา่ งๆ ทมี่ อี ยใู่ นลายผา้
ของคนสมัยก่อน เด็กคนหน่ึงเขียนสะท้อนว่า “จากการเรียนรู้ในวันนี้ผมรู้สึกสนุก
เพราะผมไดว้ าดภาพโดยใชไ้ อเดียของตนเองเพือ่ ท�ำใหส้ วยขึ้น ความรใู้ หม่ท่เี กดิ ขึ้น
จากการเรียนภูมิปัญญาภาษาไทย คือ ช่ือของลายต่างๆ และที่มาของลายทั้งห้า
มลี ายนก ลายน�้ำไหล ลายดอกบวั ลายตน้ สน และลายตะขอ ทีส่ รา้ งและคิด โดย
คนโบราณ พวกเขาได้ไอเดยี มาจากสัตว์ พืช อาวุธ และของใช้ในชีวติ ประจำ� วนั ”
นอกจากกจิ กรรมดงั กลา่ วแลว้ ครยู งั ไดจ้ ดุ ประกายใหน้ กั เรยี นเกดิ แรงบนั ดาลใจ
ในการทำ� โครงงานปลายภาค ทจ่ี ะเกดิ ขนึ้ ในอกี ๘ สปั ดาหข์ า้ งหนา้ ตง้ั แต่วนั แรกที่
เรมิ่ เรยี นดว้ ยการนำ� เอาภาพผลงานของปที แ่ี ลว้ มาใหน้ กั เรยี นไดร้ บั ชมดว้ ย ซงึ่ ทกุ คน
ลว้ นบอกเป็นเสยี งเดยี วกนั ว่า “งานของพ่ีสวยงาม สร้างสรรค์ และประณีตมากๆ”
เมื่อนักเรียนได้เห็นผลงานของรุ่นพ่ีแล้วก็ได้ย้อนกลับมาคิดถึงหัวข้อที่ตนเอง
สนใจว่า อยากศึกษาและสร้างลายไทยตามความถนัด และความสนใจของตน
ออกมาในรูปแบบใด

หวั ข้อโครงงานปลายภาคของ เด็กหญงิ ธณั ชนก บูรณะชน นักเรียนชนั้ ประถมปที ี่ ๔

• 158 •

ภารกิจต่อมาท่ีครูมอบหมาย คือ การค้นหาลวดลายท่ีอยู่ในลายผ้าพื้นบ้าน
ภาคอสี าน ทพ่ี บไดใ้ นบา้ นของแตล่ ะคน พรอ้ มทงั้ คน้ ควา้ เพมิ่ เตมิ ใหร้ ทู้ มี่ าของผา้ ผนื นนั้
ท่ีมาของลวดลาย และรายละเอียดต่างๆ เก่ียวกับการทอผ้าชนิดน้ันๆ มาน�ำเสนอ
หรือหากใครไม่มีผ้าก็สามารถน�ำเอาสิ่งของอ่ืนๆ ท่ีได้มาจากภาคอีสานมาร่วม
แลกเปลยี่ นเรยี นรู้กนั ได้
กจิ กรรมนชี้ ว่ ยใหน้ กั เรยี นเกดิ การเรยี นรอู้ ยา่ งเชอ่ื มโยงไปถงึ วธิ กี ารทำ� ความรจู้ กั
กับวัฒนธรรมของภาคต่างๆ ในประเทศไทย ผ่านเร่ืองเล่าหลากแง่มุม ท้ังจาก
เนื้อเร่ืองท่ีได้อ่าน และการเติมเต็มด้วยประสบการณ์ของนักเรียน เพ่ือให้ทุกคนมี
บทบาทเปน็ ผขู้ บั เคลอื่ นการเรยี นรดู้ ว้ ยผา้ และสงิ่ ของทแี่ ตล่ ะคนนำ� มา เมอ่ื ประกอบ
เขา้ กบั เรอ่ื งราวทไ่ี ปคน้ ควา้ มาแบง่ ปนั กนั กจ็ ะกอ่ เกดิ เปน็ การจดั กระบวนการเรยี นรู้
โดยใช้วัตถุทางวัฒนธรรม และความรู้จักที่นักเรียนแต่ละคนมีเกี่ยวกับภาคต่างๆ
เป็นตัวเปิดไปสู่นิทานพ้ืนบ้าน ๔ ภาค ซึ่งนิทานแรกที่น�ำมาเรียนรู้กันก็คือ เรื่อง
พญาคันคาก และเมื่อนักเรียนอ่านเรื่องพญาคันคากแล้ว ก็จะต้องเขียนบันทึก
ความเข้าใจของตนออกมาเป็นความเรียง เพ่ือฝึกฝนทักษะทางภาษาทั้งการฟัง
พูด อ่าน เขยี น และคิดไปพรอ้ มกัน

• 159 •

ตลอดภาคเรียนน้ีครูปุ๊ก และครูกานต์ ใช้นิทานพื้นบ้าน ๔ ภาค เป็นส่ือใน
การเรยี นรหู้ ลกั ภาษา และการใชภ้ าษาในรปู แบบตา่ งๆ โดยครจู ะมารว่ มกนั วเิ คราะห์
ว่า นิทานเร่ืองใดมีลักษณะเหมาะสมท่ีจะน�ำไปเรียนหลักภาษา และน�ำไปฝึกฝน
ทักษะการใชภ้ าษาในเรอ่ื งใด
ยกตัวอย่าง เช่น ต�ำนานเจ้าแม่ลิ้มกอเหน่ียวที่จังหวัดปัตตานี เป็นเร่ืองราวที่
มีความซับซ้อน เมื่อนักเรียนอ่านจบ ครูจะต้ังถามค�ำถามชวนคิดว่า เพราะเหตุใด
ชาวจังหวัดปัตตานีถึงศรัทธาในเจ้าแม่ลิ้มกอเหน่ียว เด็กๆ ตอบว่าเพราะมีความ
ซ่ือสัตย์ในค�ำพูดของตน รักษาค�ำพูด อดทน พยายามในการตามหาพี่ชาย แต่
บางคนบอกว่าไม่เห็นต้องฆ่าตัวตายเลย ท�ำไมน้องสาวไม่รอให้พ่ีชายสร้างมัสยิด
ให้เสร็จก่อน แล้วค่อยกลับไปหาแม่พร้อมกันก็ได้ อีกอย่างการคิดฆ่าตัวตาย เป็น
การท�ำบาปและปล่อยให้แม่อยู่ตามล�ำพังไม่มีคนดูแล ซ่ึงก็มีท้ังคนที่เห็นด้วยและ
ไม่เห็นด้วยกับค�ำตอบของเพื่อน จึงท�ำให้เกิดบรรยากาศของการแลกเปลี่ยน
ความคิดเห็น และเหตผุ ลที่อยูเ่ บื้องหลังการกระทำ� กันอย่างรอบด้าน
ลำ� ดบั ตอ่ มาครใู หน้ กั เรยี นรว่ มกนั แบง่ เหตกุ ารณห์ ลกั ๆ ในเรอ่ื ง โดยยกขอ้ ความ
จากหน้า ๒ - ๓ ของเร่ือง ว่ามีก่ีเหตุการณ์ นักเรียนที่แบ่งเหตุการณ์ออกเป็น
เร่อื งย่อยๆ จะตอบวา่ มี ๒ - ๕ เหตกุ ารณ์ ในขณะทนี่ ักเรยี นที่อ่านจบั ประเดน็ ไดด้ ี
จะตอบว่ามี ๓ เหตกุ ารณ์ เพราะวา่ แบ่งตามย่อหนา้ เมอ่ื ครถู ามตอ่ ว่าแล้วยอ่ หน้า
มีไว้ท�ำไม นักเรียนจะตอบได้ว่า แต่ละย่อหน้ามีไว้บอกเล่าเหตุการณ์ในแต่ละฉาก
จากนั้นครูจึงน�ำพาเรียนรู้วิธีการสรุปใจความส�ำคัญของเหตุการณ์ที่ ๑ โดยให้
ชว่ ยกนั คดิ แลว้ ครชู ว่ ยเขยี นคำ� ตอบของนกั เรยี นขนึ้ บนกระดาน เพอื่ ใหท้ กุ คนชว่ ยกนั
ปรับแก้ไขภาษาให้ส้ันกระชับ สามารถสื่อความหมายชัดเจน จนกระท่ังได้ใจ
ความส�ำคัญท่สี มบูรณ์ออกมาในที่สดุ

• 160 •

จากนน้ั ครไู ดม้ อบหมายภารกจิ ใหล้ องฝกึ การเขยี นสรปุ ใจความสำ� คญั จากเหตกุ ารณ์
ต่อมา โดยมีเง่ือนไขท่ีท้าทายว่า ให้นักเรียนเขียนสรุปใจความส�ำคัญในแต่ละย่อหน้า
ไดไ้ มเ่ กนิ ๓ บรรทดั ทนั ใดนน้ั กม็ เี สยี งพดู ขน้ึ วา่ แลว้ จะทำ� ไดอ้ ยา่ งไร ครจู งึ บอกวา่ ลองทำ� ดู
แลว้ จะรู้ว่าทุกคนสามารถทำ� ได้ โดยครมู ีตัวช่วยโดยให้ท�ำงานเปน็ คู่ เพอื่ ฝึกฝนทักษะ
ร่วมกันใน ๕ เหตุการณ์แรก นักเรียนส่งเสียงดีใจท่ีไม่ต้องท�ำเพียงล�ำพัง หลายคน
รบี มองตากับเพื่อนและชวนไปน่ังทำ� งานด้วยกัน
บรรยากาศทค่ี รสู งั เกตเหน็ คอื ทกุ คตู่ า่ งชว่ ยกนั คดิ วา่ ขอ้ ความตรงไหนคอื ประเดน็
ส�ำคัญในย่อหน้า บางคู่ใช้การน�ำปากกาสีๆ มาขีดเส้นใต้หรือวงที่ข้อความส�ำคัญ
แล้วจึงมาเขียนเรียบเรียงให้ส้ันกระชับ และสามารถส่ือความหมายได้อย่างชัดเจน
ทกุ คนชว่ ยกนั คดิ ช่วยกนั ปรับภาษาใหอ้ า่ นง่ายขึน้ แล้วผลดั กนั ออกมานำ� เสนอ

เมอื่ นกั เรยี นไดฝ้ กึ ทำ� งานกบั คขู่ องตนแลว้ กถ็ งึ เวลาทท่ี กุ คน การเรยี นแบบร่วมมอื
จะต้องเขียนสรุป อีก ๕ เหตุการณ์ที่เหลือด้วยตนเอง เพื่อให้ กบั เพื่อน ES = ๐.๕๙
ครูสามารถตรวจสอบได้ว่า นักเรียนแต่ละคนความเข้าใจใน
การเขยี นสรปุ ใจความหรอื ไม่ ทำ� ไดด้ เี พยี งไร และยงั มขี อ้ ตดิ ขดั
เรอื่ งใด นกั เรยี นบางคนขอนง่ั ทำ� ขา้ งเพอ่ื นทเ่ี ปน็ คขู่ องตนเอง แต่
ต่างคนต่างท�ำ ซึ่งครูก็อนุญาต ท�ำให้นักเรียนรู้สึกมีก�ำลังใจใน
การทำ� งานมากขน้ึ ในขณะบางคนขอกลบั ไปนง่ั ทขี่ องตนเองกม็ ี

เมอ่ื จบ ๖ สปั ดาห์ นกั เรยี นจะไดเ้ รยี นรนู้ ทิ านพนื้ บา้ นครบทง้ั ๔ ภาค และชว่ งเวลา
๒ สปั ดาหส์ ุดทา้ ย คือ เวลาของการสร้างสรรคช์ ้ินงานจากลายผ้าของภาคต่างๆ ตาม
ความสนใจทนี่ กั เรยี นทกุ คนรอคอย โดยจะตอ้ งทำ� การคน้ ควา้ เรยี บเรยี งความรเู้ รอ่ื งผา้
ชนิดน้ันๆ ให้ส�ำเร็จ และต้องเขียนบันทึกขั้นตอนของการท�ำงานท้ังหมดให้เรียบร้อย
ก่อน จึงจะได้ท�ำการสร้างสรรค์ตัวช้ินงาน ซ่ึงนักเรียนแต่ละคนจะต้องจัดหาอุปกรณ์
ท่ีจะใชท้ �ำช้นิ งานมาเอง

• 161 •

• 162 •

* ผลงานการสรา้ งสรรค์ชน้ิ งานจากลายผ้า ของนักเรียนช้ันประถมปที ี่ ๔ ปกี ารศึกษา ๒๕๖๒

• 163 •

* ผลงานการสรา้ งสรรค์ชนิ้ งานจากลายผา้ ของนักเรียนช้ันประถมปที ี่ ๔ ปกี ารศกึ ษา ๒๕๖๒

• 164 •

วนั สดุ ทา้ ยของการเรยี นในภาควริ ยิ ะ นกั เรยี นไดร้ ว่ มกนั จดั แสดงนทิ รรศการผลงาน
ทส่ี ำ� เร็จได้ดว้ ยความเพยี ร ท่ผี ชู้ มจะตอ้ งเขยี นแสดงความคดิ เห็น เพอื่ ให้แนวทางหรอื
วธิ ใี นการพฒั นางานแกเ่ พอ่ื น เปน็ การเขยี น “ชน่ื ชม...เพอ่ื พฒั นา” ดว้ ยคำ� พดู ทด่ี ตี อ่ ใจ
ซึ่งพวกเขาเคยได้เรียนรู้มาแล้วจากการจัดนิทรรศการเมื่อปลายภาคเรียนฉันทะ
ที่ผา่ นมา

นักเรียนเดินชมผลงานของเพื่อนอย่างเงียบสงบด้วยความ คำ� แนะน�ำป้อนกลบั ทดี่ ี
สนใจและต้ังใจ หลายคนเขียนค�ำช่ืนชมเพื่อพัฒนาได้ดีมาก ES ๐.๗๕
เมอ่ื หมดเวลาชมนทิ รรศการ ทกุ คนกลบั มานง่ั ทข่ี องตนเองและ
อา่ นคำ� ชื่นชมท่ีเพอ่ื นเขยี นเอาไว้ให้ มนี กั เรยี นหลายคนสะทอ้ น
วา่ รสู้ กึ ภาคภมู ใิ จเมอื่ ไดอ้ า่ นคำ� “ชน่ื ชม...เพอื่ พฒั นา” ทเี่ พอ่ื นเขยี น
เพราะไม่เคยรู้มาก่อนว่าตนเองท�ำส่ิงน้ีได้ดี และขอบคุณเพ่ือน
ที่ชว่ ยแนะน�ำวิธีการท�ำงานใหด้ ยี ่งิ ขน้ึ เดมิ

เซน - รชญก์ ฤต นิลรตั นกุล เปน็ เดก็ ผูช้ ายไม่กค่ี นท่ีเลอื กทำ� งานประดษิ ฐ์ดว้ ยวธิ ี
การปักและถัก คร้ังน้ีเขาสามารถเขียนสะท้อนอารมณ์ความรู้สึกของตนเองท่ีเกิดข้ึน
ระหวา่ งการทำ� งานไดอ้ ยา่ งละเอยี ดชดั เจน ซงึ่ นบั เปน็ พฒั นาการดา้ นการเขยี นทเ่ี กดิ ขน้ึ
อย่างก้าวกระโดด จากทีเ่ ขาไม่เคยเขยี นอธบิ ายไดม้ ากขนาดนม้ี ากอ่ นเลย
“ความเปลี่ยนแปลงในงานประดิษฐ์ตอนภาคเรียนวิริยะของผม คือ ผมออกแบบ
งานประดิษฐ์ว่าจะท�ำก�ำไล แต่เจออุปสรรคที่ว่าไม่มีเอ็นที่เป็นตัวร้อย จึงต้องเปลี่ยน
วิธี ผมได้ถอดลายลงมาวาดในตาราง สนุกมากๆ เพราะได้วาดลายท่ีตนเองชอบ
ของผมเป็นลายนำ้� ไหลประยกุ ต์ ท่ีมหี ลายรปู ทรง เช่น สามเหล่ยี ม สเี่ หล่ียม เป็นต้น
พอถอดลายเสร็จก็เจอด่านต่อไป คือ การท�ำชิ้นงานลงในกระดาษเอ๓ ท่ีต้องบอก
ลกั ษณะ สี ประวตั ิของลาย ผมร้สู ึกสนุกและเหนอื่ ย สนุกมาก เพราะได้ตกแต่งลาย
ใหส้ วยงามโดยระบายสี ผมชอบระบายสมี าก เหนอื่ ยมากเหมอื นกนั ทตี่ อ้ งเขยี นเยอะ
เพราะมหี ลายโจทยแ์ ละมขี อ้ มลู เยอะ เขยี นจนมอื เมอื่ ยไปหมดเลย พอทำ� ชนิ้ งานลงใน
กระดาษเอ๓ เสรจ็ กไ็ ด้ลงมอื ทำ� ชนิ้ งาน

• 165 •

ตอนที่ต้องออกแบบเตรียมอุปกรณ์มาท�ำ ผมท�ำการถักเป็น “กระปุกออมสิน”
ผมเป็นผู้ชายไมก่ คี่ นท่ีปกั / ถัก กว่างานจะเสรจ็ ใชเ้ วลานานมาก ท�ำในคาบไมเ่ สรจ็ จงึ
ตอ้ งเอาไปทำ� ทบี่ า้ นตอ่ กวา่ จะเสรจ็ ตอ้ งพยายามอยา่ งหนกั มาก วนั เสารไ์ มไ่ ดท้ ำ� อะไรที่
อยากทำ� เพราะตอ้ งทำ� การถกั ไมง่ น้ั งานจะไมเ่ สรจ็ นอนดกึ มาก ทำ� งานเชา้ บา่ ย เยน็
เหนอื่ ยมากๆ ทำ� จนงานเสรจ็ รสู้ กึ ภมู ใิ จมากทตี่ นเองทำ� งานเสรจ็ และภมู ใิ จทเี่ พอื่ นชม
ตอนนทิ รรศการสนกุ มาก ไดด้ งู านเพือ่ นๆ ดว้ ย สนุกมากๆๆๆๆๆ
อปุ สรรคตอนทำ� ชนิ้ งาน คอื การสอดไหมพรมไมเ่ ขา้ รเู ขม็ เพราะไหมใหญเ่ กนิ รเู ขม็
ท�ำให้ตอ้ งดัดแปลงไหมให้เลก็ ลงจนลอดรเู ขม็ ได้ มันยากมาก บางทที �ำเป็น ๓๐ นาที
หรือ ๑ ช่ัวโมงเลยกว่าจะสอดเข้าไปในรูเข็มได้ ใช้เวลานานมากๆๆๆ นานจริงๆ นะ
ตอนถักก็มีอุปสรรคที่ว่าต้องถักให้ตรงกับต�ำแหน่งในตารางที่วาดไว้ ท�ำยากสุดๆ
ผมทำ� เปน็ ลายนำ�้ ไหลทยี่ ากและตอ้ งใชไ้ หมพรมหลายสมี าก เชน่ สฟี า้ แดง เขยี ว มว่ ง
เป็นต้น
ความเพียรทเี่ กิดในชน้ิ งาน ผมต้องเพยี ร คอื ต้องใชส้ มาธสิ งู มากในการสอดดา้ ย
เข้ารูเข็มที่มีรูเล็กมากๆ บางทีกว่าจะสอดเข้ารูเข็มได้ต้องใช้เวลาถึง ๑๕ - ๓๐ นาที
หรือส่วนท่ีเป็นการถักก็มีความซับซ้อน เพราะลายน้�ำไหลมีลายประกอบเยอะ เช่น
ลายจรวด เล็บมือนาง ธาตุ กาบ แมงมุม ปลาหมึก และอื่นๆ ลายที่ยากท่ีสุด คือ
ลายธาตุและกาบ
ผมประเมนิ ความเปน็ ไทยในชน้ิ งานใหต้ นเอง ๓ คะแนน เตม็ ๕ คะแนน ผมไดใ้ ช้
ลายทเี่ ปน็ ลายไทย เพราะอยากสบื สานความเปน็ ไทยของชาวไทลอื้ แตจ่ รงิ ๆ อยากจะใช้
วสั ดอุ ปุ กรณท์ เ่ี ปน็ ของคนไทย ผมใชว้ ธิ ปี กั เฟรม ทไี่ มใ่ ชค่ วามคดิ ของคนไทย (อยากใช้
ของคนไทยมากกวา่ )”

• 166 •

เรือ่ งเล่าจากห้องเรียน

ในภาคเรยี นวมิ งั สา ปกี ารศกึ ษา ๒๕๖๒ คณุ ครกู ก๊ิ - นนิ ฤนาท นาคบญุ ชว่ ย และ
คณุ ครอู นั๋ - กรวทิ ย์ ตรศี าสตร์ คณุ ครผู สู้ อนหนว่ ยภมู ปิ ญั ญาภาษาไทย โรงเรยี นเพลนิ
พัฒนา ได้นำ� เอาภมู ิปัญญาจากอาหารรมิ ทาง มาให้นักเรยี นชัน้ ประถมปที ี่ ๕ เรยี นรู้
ควบคู่กันไปกับการเรียนรู้จักคลังค�ำเกี่ยวกับอาหาร ที่เชื่อมโยงไปยังการเรียนรู้
หลกั ภาษาและการใช้ภาษาในรปู แบบตา่ งๆ
หนว่ ยทเี่ รยี นเกย่ี วกบั คำ� พอ้ งรปู และคำ� พอ้ งเสยี ง มที ง้ั หมด ๖ คาบดว้ ยกนั กจิ กรรมแรก
เริ่มต้นด้วยการให้นักเรียนเดินไปหาเพ่ือนท่ีมีค�ำพ้องเสียงในลักษณะเดียวกัน เพ่ือ
จับกลุ่มกันกับเพื่อนที่มีบัตรค�ำชุดเดียวกัน โดยนักเรียนต้องใช้การสังเกตการอ่าน
ออกเสยี งคำ� บนกระดานทเี่ พอื่ นทยอยนำ� ไปตดิ เอาไว้ อกี ทงั้ ยงั ตอ้ งคาดการณห์ ลกั การ
ตลอดจนสร้างเง่ือนไขในการจับคู่ค�ำเอง และหากใครพบว่าบัตรค�ำในมือ อยู่กลุ่ม
เดยี วกนั กบั เพอ่ื นกส็ ามารถนำ� ไปตดิ ไวด้ ว้ ยกนั บนกระดานไดเ้ ลย เชน่ คำ� วา่ “ตากลม”
กับ “ตากลม” นักเรียนเห็นว่าสะกดเหมือนกันจึงน�ำมาติดไว้ด้วยกัน แต่ไม่ม่ันใจว่า
ค�ำไหนจะอ่านออกเสียงอย่างไร ระหว่าง ตา - กลม หรือ ตาก - ลม เพราะครูมี
เพยี งคำ� มาให้โดยไม่มีภาพประกอบ
ในตอนแรกบนกระดานมคี ำ� ทแี่ ปะไวก้ ระจดั กระจายหลายกลมุ่ ครจู งึ ใหเ้ วลานกั เรยี น
สังเกตค�ำท่ีปรากฏอยู่ตรงหน้าเพื่อไขค�ำตอบว่า ค�ำแต่ละคู่หรือกลุ่มมาอยู่ด้วยกัน
ไดอ้ ย่างไร มลี ักษณะอย่างไร นกั เรยี นไดไ้ ขค�ำตอบนร้ี ่วมกัน เช่น คำ� วา่ รส รถ รด/
บาท บาตร ว่าอา่ นออกเสียงเหมือนกันแตเ่ ขยี นไมเ่ หมอื นกัน ความหมายกไ็ ม่เหมอื น
กนั คำ� วา่ สระ สระ เขียนเหมอื นกัน แต่อา่ นไมเ่ หมอื นกัน ความหมายก็ไมเ่ หมือนกนั
ขณะที่ช้ันเรียนก�ำลังพูดคุยกันอยู่น้ัน ครูได้ยินเสียงมาจากมุมหน่ึงของห้องดังข้ึน
มาวา่ “คำ� พ้อง!”

• 167 •

หลังจากนั้นครูเขียนลักษณะของค�ำท้ังสองชุดท่ีนักเรียนแลกเปล่ียนไว้บนกระดาน
แล้วท้าทายให้นักเรียนออกมาจัดการเคลื่อนย้ายคู่หรือกลุ่มค�ำต่างๆ ให้อยู่ในสองชุด
ดังตัวอย่าง และเมื่อครูถามถึงช่ือของกลุ่มค�ำที่ครูจัดนักเรียนบางคนสามารถตอบได้
ว่าเป็น “ค�ำพ้องรูปและค�ำพ้องเสียง” อีกท้ังยังช่วยกันแลกเปลี่ยนจนนักเรียนทั้งห้อง
เขา้ ใจลกั ษณะของคำ� พอ้ ง นกั เรยี นถอดนยิ าม / ความหมายของคำ� พอ้ งรว่ มกนั จากการ
สังเกตวิเคราะห์ลักษณะของค�ำโดยที่ครูเป็นเพียงแค่ผู้ช่วยจับประเด็นและบันทึกไว้
บนกระดานเทา่ นน้ั

“แล้วค�ำท่ีเหลือ (เช่น ไก่ขัน ขันน�้ำ ขันน็อต ข�ำขัน) ต้องน�ำไปอยู่ในกลุ่มไหน
ค�ำพ้องรูปหรือค�ำพ้องเสียงกันแน่คะ / ครับ” นักเรียนบางคนเร่ิมสงสัยและสังเกต
เหน็ วา่ คำ� ทเ่ี หลอื ไมส่ ามารถนำ� ไปใสใ่ นสองกลมุ่ นน้ั ไดเ้ พราะไมเ่ ขา้ นยิ าม / ความหมาย
ของคำ� พอ้ งรปู และพ้องเสยี ง ท่ีได้คุยกันไวก้ ่อนหน้านี้

“นกั เรยี นคดิ วา่ จะจดั กลมุ่ คำ� กลมุ่ นอ้ี ยา่ งไร” นกั เรยี นตอบวา่ “เขยี นเหมอื นกนั อา่ น
กเ็ หมอื นกัน ใหเ้ ป็นค�ำกลุ่มท่สี าม” ครเู ขยี นลักษณะของคำ� ชดุ น้ีตามทน่ี ักเรียนสังเกต
เหน็ บนกระดาน “เปน็ ทง้ั คำ� พอ้ งรปู และพอ้ งเสยี งคะ่ / ครบั ” ตอนนน้ี กั เรยี นเรยี กคำ� ท่ี
ปรากฏบนกระดานวา่ “คำ� พอ้ ง” และสามารถแยกออกไดเ้ ปน็ สามประเภท จากการที่
ได้ร่วมกันคิด วิเคราะห์ รวมท้ังทดลองอ่านออกเสียงค�ำที่ครูให้มา ก่อนที่จะตัดสินใจ
ว่าจะให้จัดคำ� แต่ละค�ำอย่ใู นประเภทใด

จากนั้นครูชวนนักเรียนมาตรวจสอบความถูกต้องอีกคร้ัง คำ� แนะน�ำปอ้ นกลับท่ดี ี
ตอนนน้ี กั เรยี นทกุ คนมนั่ ใจวา่ ตอนนค้ี ำ� แตล่ ะคหู่ รอื กลมุ่ จดั วางไว้ ES ๐.๗๕
ถูกประเภทแล้ว หลายคนพยายามตรวจสอบด้วยการอ่าน
ออกเสียง บอกความหมายของแต่ละค�ำ ครูจึงให้นักเรียน
ลองอ่านออกเสียงค�ำว่า “เพลา” และ “เพลา” ซ่ึงถูกจัดอยู่ใน
คำ� พอ้ งรปู และเสยี ง นกั เรยี นสว่ นใหญอ่ า่ นวา่ เพ - ลา และบอก
ความหมายไดอ้ ยา่ งถกู ตอ้ งวา่ หมายถงึ เวลา “สองคำ� นอี้ าจจะอา่ น
ไมเ่ หมอื นกนั กไ็ ด้ เพราะสระ-สระ กอ็ า่ นไมเ่ หมอื นกนั ครไู มน่ า่
จะใหค้ ำ� ทซี่ ำ้� กนั มานะ” ความชา่ งสงั เกตและชว่ ยกนั แลกเปลย่ี น
โดยที่ไม่ไดก้ งั วลถงึ ความถูก - ผิดท�ำใหน้ กั เรยี นสามารถวางค�ำ
ได้ถูกประเภทอีกคร้ัง

• 168 •

เม่ือนักเรียนเข้าใจค�ำพ้องท้ัง ๓ ประเภทแล้ว ครูฉายตัวอย่างกาพย์ห่อโคลงชม
อาหารริมทางของนักเรียนที่แต่งไว้เม่ือคาบก่อนหน้านี้ข้ึนบนจอภาพ ให้นักเรียนอ่าน
พรอ้ มกนั แลว้ คน้ หาคำ� พอ้ งใหไ้ ดม้ ากทสี่ ดุ พรอ้ มบอกวา่ เปน็ คำ� พอ้ งประเภทใด จากนนั้
ครูเขียนค�ำท่ีนักเรียนแลกเปล่ียนขึ้นกระดานตามกลุ่มค�ำพ้องที่นักเรียนแลกเปลี่ยน
ลำ� ดบั ต่อไป ครใู หค้ ้นหาค�ำทีม่ ีความพ้องกับค�ำเหลา่ น้นั มาใหม้ ากทสี่ ดุ เช่น ค�ำว่าคน
ทเี่ ปน็ ค�ำนาม กับค�ำวา่ คน ที่เปน็ คำ� กริยา เป็นตน้
ตัวอยา่ งกาพยห์ อ่ โคลงของนักเรยี น ที่ครูยกมาให้ได้เรียนรู้ร่วมกนั
ร้านอาหารรมิ ทาง อย่ทู ่ามกลางหมผู่ ้คู น
แมค่ า้ ก็รบี รน ผดั และคนกล่นิ ตามมา
กล่นิ อาหารยั่วลิ้น ตามทาง
อยทู่ ่ีริมทาง แมค่ ้า
ร้านอยูไ่ ม่หา่ ง จากเรา
รีบรนท�ำอาหาร ทุกจานอรอ่ ย ฯ

เด็กหญิงมนพร พฒั นกิตติพงศ์ และเดก็ หญงิ รดา เจยี กภาพร ผแู้ ต่ง

ข้าวแกงแรงสดุ ใจ ใครท่ีไหนตอ้ งลิ้มลอง
หมปู ง้ิ ชวนเหลียวมอง แม่กำ� ปองทำ� ผัดไทย
ข้าวแกงมีกลิ่นฟงุ้ เยา้ ยวน
ท�ำใหเ้ พ่อื นน้นั ชวน คลัง่ ไคล้
กล่ินปัน่ ป่วนรญั จวน จติ ใจ
จึงท�ำให้ใครใคร อยากล้มิ ลองแกง ฯ

เด็กชายกฤตฐา ภาวสนั ตานนท์ และเดก็ ชายราเมศ จงฤกษ์งาม ผู้แตง่

• 169 •

จากน้ันก็มาถึงช่วงเวลาที่นักเรียนต้องเป็นผู้สร้างคลังค�ำพ้องท้ัง ๓ ประเภท
ด้วยตนเอง โดยจับกลุ่มท�ำงานร่วมกับเพื่อน ๒ - ๓ คนตามความสมัครใจ และเก็บ
สะสมคลังค�ำพ้องลงในตารางพยัญชนะ ก - ฮ ตามหมวดหมู่ตัวอักษร พร้อมบันทึก
ความหมายของค�ำเหลา่ นั้นดว้ ยโจทย์ท่ีครมู อบหมายให้ นนั่ คือ... “เหน็ พ้องตอ้ งกนั ”
ครูเปิดตัวอย่างการท�ำตารางบันทึกในรูปแบบต่างๆ ให้นักเรียนดู เพื่อเป็น
แรงบนั ดาลใจในการท�ำ “ช้นิ งานตารางคำ� พอ้ ง” จากคำ� พ้องในตารางพยัญชนะ ก - ฮ
ที่นักเรียนออกแบบใหม่ให้กลายเป็นตารางค�ำพ้องท่ีสร้างสรรค์ตามจินตนาการ
ความชอบของนักเรียนแต่ละกลุ่มที่ประสานความคิดกันจนได้ตารางฉบับของกลุ่ม
ตนเอง ชิ้นงานประกอบไปด้วยช่ือตาราง ตารางค�ำพ้อง ก - ฮ พร้อมความหมาย
ของค�ำ และชื่อผู้จดั ท�ำ
เมื่อนักเรียนได้รับมอบหมายโจทย์ “เห็นพ้องต้องกัน” นักเรียนแต่ละกลุ่ม
เรมิ่ วางแผนและออกแบบการทำ� ตารางคำ� พอ้ งกนั อยา่ งขมักเขมน้ แตท่ ว่าคำ� พ้องท่อี ยู่
ในตารางพยัญชนะ ก - ฮ นั้น ยังไม่สมบูรณ์ อักษรบางตัวยังว่าง ไม่มีการเขียน
ค�ำใดๆ ครูคอยสังเกตว่านักเรียนจะท�ำอย่างไร ในเม่ือค�ำพ้องตารางแรกยังไม่ครบ
ทงั้ ๔๔ ช่อง แล้วชน้ิ งานตารางค�ำพอ้ งจะสมบูรณไ์ ดอ้ ยา่ งไร
นักเรียนบางกลุ่มเริ่มเห็นว่า หากทุกคนไปออกแบบตารางค�ำพ้องกันหมด ไม่มี
ใครค้นหาค�ำพ้องต่อให้ครบ แต่หากทุกคนมาค้นหากันต่อชิ้นงานใหม่ก็จะไม่คืบหน้า
สิ่งท่ีนักเรียนแก้ปัญหาเพื่อให้ท�ำงานไปได้อย่างต่อเน่ืองคือ แบ่งหน้าท่ีกันอีกครั้ง
เพื่อให้การค้นหาและเกบ็ สะสมคลงั คำ� พ้องสมบูรณ์ทสี่ ดุ

• 170 •

ครูเริ่มเห็นว่าเม่ือนักเรียนค้นหาค�ำพ้องไม่ได้ โดยเฉพาะ การเรียนแบบรว่ มมือ
พยัญชนะที่ไม่คุ้นเคยอย่าง ฃ ฅ มีการสอบถามกันข้ามกลุ่ม กับเพื่อน ES ๐.๕๙
และไดข้ อ้ สรปุ กนั เองวา่ อาจจะเวน้ ชอ่ งนไ้ี ว้ เนอ่ื งจากไมส่ ามารถ
ค้นหาค�ำได้ เนื่องจากเป็นพยัญชนะท่ีไม่ได้น�ำมาใช้แล้ว และ
แต่ละกลุ่มได้จ�ำนวนชุดค�ำพ้องไม่เท่ากัน ข้ึนอยู่กับคลังค�ำที่
มีมาแต่เดิม ทักษะในค้นหาคลังค�ำเพ่ิมเติม รวมถึงไหวพริบ
ในการคดิ หาคำ� ใหม่ดว้ ย

ในช่วงท้ายคาบนักเรียนแต่ละกลุ่มนำ� เสนอความคืบหน้าของตารางคำ� พ้องร่วมกัน
เพ่ือเรียนรู้วิธีการท�ำงานของเพื่อน และรับฟังแนะน�ำจากเพื่อนเพ่ือพัฒนาการท�ำงาน
ให้ดขี นึ้ กว่าเดิม
วันต่อมาครูน�ำขนมแผงหลากหลายรูปแบบมาให้นักเรียนดูว่างานท่ีนักเรียนก�ำลัง
ท�ำอยู่นี้ ครูได้รับแรงบันดาลใจมาจากรูปแบบของขนมแผง ที่พบเห็นได้ท่ัวไป
ตามร้านช�ำในสมัยก่อน นักเรียนไม่เคยเห็นมาก่อนจึงให้ความสนใจและรู้สึกช่ืนชอบ
ในความเรยี บง่ายและแปลกตาของขนมแผงเป็นอยา่ งยงิ่
ในคาบเรียนนี้นกั เรยี นแต่ละกลุม่ ได้รว่ มกนั ออกแบบและวางแผนการทำ� “ชน้ิ งาน
ตารางค�ำพ้อง” ต่อจากครั้งที่แล้ว ซ่ึงคาบน้ีแต่ละกลุ่มจะได้น�ำเสนอช้ินงานตาราง
ค�ำพ้องร่วมกัน โดยจัดพ้ืนท่ีในห้องเรียนใหม่ให้สามารถเดินชมผลงานของเพื่อนได้
อยา่ งสะดวก ไมว่ างใกลก้ ันจนผชู้ มตอ้ งยนื เบียดเสยี ดกนั

• 171 •

• 172 •

• 173 •

• 174 •

• 175 •

กติกาในการชมนิทรรศการ คือ นักเรียนทุกคนจะได้รับดาวคนละ ๓ ดวง เพื่อ
น�ำไปติดให้กับผลงานท่ีตนมีความชื่นชอบ ซึ่งจะติดให้กลุ่มละกี่ดวงก็ได้ ยกเว้น
กลมุ่ ของตวั เอง โดยพจิ ารณาจากเง่อื นไข คอื
ชุดคำ� มีความนา่ สนใจ อาจเป็นคำ� ท่ีเราคิดไมถ่ ึงหรือคน้ หาไมไ่ ด้
รปู แบบการท�ำตารางคำ� พอ้ ง มคี วามสวยงาม สร้างสรรค์ แปลกใหม่
ผลงานที่น�ำมาจัดแสดงในวนั นี้ มที งั้ กลุม่ ทท่ี ำ� ชิ้นงานเสร็จสมบูรณแ์ ล้ว และกลุ่มที่
ขอเวลาท�ำงานต่อนอกคาบเรียนเพ่ือเพ่ิมเติมให้งานมีความสมบูรณ์ และมีคุณภาพ
มากย่งิ ขึ้น ซงึ่ ครกู ็ไดย้ ืดหยุน่ ระยะเวลาในการสง่ งานให้ตามค�ำขอ
ครสู งั เกตเหน็ วา่ ทกุ กลมุ่ ตง้ั ใจในการทำ� งานนก้ี นั มาก นนั่ อาจเปน็ เพราะครมู แี รงจงู ใจ
พเิ ศษ ซงึ่ เปน็ ทมี่ าของแรงบนั ดาลใจของครใู นการออกแบบแผนกจิ กรรมการเรยี นรชู้ ดุ น้ี
มามอบให้แก่นักเรียนด้วยน่ันคือ “ขนมแผง” ซ่ึงนักเรียนกลุ่มที่ได้รับดาวจะสามารถ
นำ� ดาวมาแลกรับขนมแผงกบั ครไู ด้คนละ ๑ หอ่ เพื่อเป็นรางวลั แห่งความมุง่ มนั่ ตง้ั ใจ
ทแี่ สดงใหเ้ หน็ วา่ กลมุ่ ของเราสรา้ งผลงานไดน้ า่ สนใจ การทำ� งานกลมุ่ รว่ มกนั จนสำ� เรจ็
และเป็นทช่ี ืน่ ชมของเพื่อนๆ
ผลปรากฏว่า... นักเรียนได้รับดาวกันทุกกลุ่ม และได้เอร็ดอร่อยกับขนมแผง
กนั อยา่ งท่วั ถึง

• 176 •

• 177 •



ดวงตา หมายเลข ๖ เจา้ ของผลงาน : เดก็ หญงิ ภรภัทร เจนศิรกิ ลุ



เรียนร้รู ะดบั ลกึ

บันทึกน้ี ตีความจากบทที่ 3 Deep Literacy Learning ในหนังสือ หน้า
71 - 104

สาระส�ำคัญของบันทึกน้ีคือ ครูต้องมีทักษะในการหนุนให้การเรียนรู้ของเด็ก
เคลอ่ื นจากการเรยี นระดบั ผวิ ไปสกู่ ารเรยี นระดบั ลกึ ในเวลาและโอกาสทเ่ี หมาะสม
เพอื่ สรา้ งนสิ ยั เปน็ คนเรยี นรรู้ ะดบั ลกึ (และผมขอเพม่ิ เตมิ วา่ เปน็ คนทสี่ นกุ กบั การเรยี น
ระดบั ลกึ ) บนั ทกึ นแี้ นะนำ� หลกั การและเครอื่ งมอื สำ� หรบั ครใู ชช้ ว่ ยหนนุ ใหศ้ ษิ ยบ์ รรลุ
เปา้ หมายนี้
ผมขอเสนอว่า ประเด็นส�ำคัญท่ีสุดในการบรรลุการเรียนรู้ในมิติท่ีลึกคือ
ความเข้าใจว่าค�ำตอบต่อปัญหาหรือโจทย์ในเร่ืองต่างๆ ไม่ได้มีค�ำตอบเดียว และ
เมอื่ คนเราเรยี นรเู้ พม่ิ ขน้ึ คำ� ตอบกจ็ ะลกึ ซง้ึ ขนึ้ และเชอื่ มโยงกวา้ งขวางยงิ่ ขน้ึ มองอกี
มุมหนึง่ นีค่ ือการปลูกฝัง “กระบวนทัศน์พัฒนา” (growth mindset) นน่ั เอง(๑)

เคล่ือนจากการเรียนรูร้ ะดบั ผวิ สู่การเรียนรูร้ ะดบั ลกึ

คนที่เรียนรู้ระดับผิว เน้นเรียนโดยการท่องจ�ำ ในขณะที่คนเรียนรู้ระดับลึก
เรยี นโดยการคิด โดยคดิ เชอ่ื มโยงกับเนอ้ื หา (content) และแนวความคดิ (idea)
และด�ำเนินการเชื่อมโยงความรู้และหลกั การ (concept) ทัว่ ท้งั เนอื้ หานัน้

(๑) ท่ีไม่มีค�ำตอบเดียวเพราะค�ำตอบระดับ ๓ นี้เชื่อมโยงกับบริบท บริบทก�ำกับการเอาความรู้มาใช้
เชอ่ื มโยง

• 180 •

กล่าวให้เข้าใจง่ายข้ึนว่า คนเรียนระดับผิวเช่ือสิ่งท่ีเรียน ส่วนคนเรียนระดับลึก
ค้นหาความหมายของส่งิ ท่เี รยี น
คนเรียนลึกจะมีความคิดเก่ียวกับวิธีเรียนของตน อภิปรายความคิด ตัดสินใจ
และลงมือด�ำเนินการ โดยมีความคิดเกี่ยวกับการทำ� ผิดพลาดว่าเป็นส่วนหนึ่งของ
การเรยี นรขู้ องตน
ครสู อนดจี ะชกั นำ� ใหศ้ ษิ ยเ์ ปน็ ผเู้ รยี นรรู้ ะดบั ลกึ (และเชอ่ื มโยง) ครทู ไ่ี มเ่ อาจรงิ เอาจงั
ต่อภารกิจการเป็นครู มีแนวโน้มจะชักจูงให้ศิษย์เป็นผู้เรียนระดับผิวโดยไม่รู้ตัว
เพราะจะใช้วิธสี อนและสอบระดับผิว(๒)
ครูสอนลึกจะเน้นฝึกให้ศิษย์วางแผนการเรียน ตรวจสอบผลการเรียน และ
ปรับปรุงวิธีเรียนของตน จะย่ิงดีหากครูฝึกให้นักเรียนมียุทธศาสตร์ในการเรียนรู้
วา่ เมอ่ื ไรจะเน้นเรยี นแบบผิว เม่อื ไรจะเนน้ เรียนแบบลกึ
การสอนไม่ใช่การเอาความรู้ยัดใส่สมองเด็กแต่เป็นการจัดการให้เด็กได้เรียนรู้
อย่างเป็นข้ันเป็นตอน เร่ิมจากเรียนระดับผิว ไปสู่ระดับลึก และระดับเช่ือมโยง
การเรียนรทู้ ดี่ จี ะชา้ ตอนเร่มิ ต้นแตจ่ ะเร็วในภายหลัง(๓)
Hattie & Yates (2014) เรียกการเรียนรู้ระดับลึกว่า system 2 learning
และเรยี กการเรยี นระดับตื้นวา่ system 1 learning ซงึ่ ตรงกบั ข้อเสนอของ Daniel
Kahneman (2011) ผู้ได้รับรางวัลโนเบลว่า คนเรามีระบบ thinking fast กับ
thinking slow (ดเู พม่ิ เตมิ ไดท้ ่ี https://gotoknow.org/posts/636597) การเรยี นรู้
อย่างผิวเผนิ ใชก้ ารคดิ เร็ว สว่ นการเรียนรู้อยา่ งลึกใช้การคดิ ช้า
การสอนท่ีดีจึงต้องให้เวลาเด็กย่อยส่ิงที่เรียนโดยมีเครื่องช่วยย่อยและดูดซึม
เข้าสมอง ท่จี ะกลา่ วถงึ ในบันทกึ นี้

(๒) ผมเชอ่ื วา่ ปญั หาหลกั อยทู่ ก่ี ารประเมนิ ทคี่ รทู ำ� ตามตวั ชวี้ ดั ทห่ี นว่ ยเหนอื กำ� กบั มาอกี ทหี นงึ่ การประเมนิ
คือ กติกาที่ผูกกับความดีความชอบ ความก้าวหน้าของครู (และ ผอ.) มันเป็นระบบที่ร่วมกันเอ้ือให้
หลงทาง
(๓) เรียน fundamental จะช้า เมื่อประยุกต์ใหม่ๆ ก็ช้าครับ ต่อเม่ือมีประสบการณ์ประยุกต์จึงเร็ว
ประสบการณท์ ี่สะสมท�ำใหเ้ ชี่ยวชาญ

• 181 •

รับรแู้ ละท�ำความเขา้ ใจระดับลึก

เปา้ หมายของการเรียนร้รู ะดบั ตน้ื คอื การใหเ้ ด็กไดร้ บั และซมึ ซับความรู้ แตก่ าร
เรยี นรรู้ ะดบั ลกึ มเี ปา้ หมายฝกึ ใหเ้ ดก็ มกี ารบงั คบั ตวั เอง (self - regulation) และคยุ
กบั ตวั เอง (self - talk) เปน็ ซง่ึ จะนำ� ไปสกู่ ารตงั้ คำ� ถามกบั ตวั เอง (self - questioning)
และตระหนักต่อการเรียนรู้และวิธีเรียนรู้ของตน (metacognition) ในการเรียน
ดงั กลา่ ว นกั เรยี นตอ้ งไดร้ บั ฟงั ความเหน็ ของคนอนื่ โดยเฉพาะอยา่ งยงิ่ ความคดิ เหน็
ทไี่ มต่ รงกบั ความคดิ เหน็ ของตน และนกั เรยี นตอ้ งไดฝ้ กึ สรปุ ความเขา้ ใจเชงิ หลกั การ
ของตนออกเปน็ ขอ้ เขียน การเขียนช่วยฝึกการเชือ่ มโยงหลักการ คุณคา่ ความเชือ่
และความคิด(๔)

รบั รูก้ ารอา่ นออกเขียนได้ระดับลกึ (deep acquisition)

เปา้ หมายของการรบั รกู้ ารอา่ นออกเขยี นไดร้ ะดบั ลกึ คอื การหลอมรวม (assimilate)
ความรใู้ หมเ่ ขา้ กบั ความรเู้ ดมิ ผา่ นกระบวนการหรอื ตวั ชว่ ยหลากหลายแบบ โดยผม
ขอเพิ่มเติมวา่ เป็นการเรยี นทก่ี ่อความคดิ (๕)
หน้าที่ของครูคือ ออกแบบกิจกรรมให้นักเรียนท�ำ เพื่อให้นักเรียนได้ฝึกคิด
ฝึกแลกเปล่ียนความคิดกับผู้อ่ืน ฝึกอยู่กับความคิดที่ไม่ตรงกับความคิดของตน
ไม่ยึดม่ันถือม่ันกับความคิดของตน และไม่ยึดมั่นถือม่ันอยู่กับการคิดถูก - ผิด
ฝึกต้งั คำ� ถาม ฝกึ สนุกอยูก่ ับความไม่รู้ และฝึกแกป้ ัญหา

(๔) จริงอย่างมาก “เขียนคือคิด” แต่ครูต้องอ่านความคิดจากที่นักเรียนเขียนให้ออกด้วย เป็นการอ่าน
ระหว่างบรรทัด ซึ่งครูเราขาดทักษะนี้อย่างมาก ท่ีเขียนในบันทึกตอนท่ีแล้วว่าผมฝึกนักศึกษาให้อ่าน
สงิ่ ทเี่ หน็ ดว้ ยและไมเ่ หน็ ดว้ ยแลว้ เขยี นโตน้ นั้ นกึ ออกวา่ ขอ้ เขยี นทเ่ี หมาะมากๆ คอื บทความ อ.นธิ ิ เอยี วศรวี งศ์
ในมตชิ นสุดสปั ดาห์ครบั นกั ศึกษาได้เรียนร้มู มุ มองในมติ สิ ังคม มีความคิดท่ีคมขึน้ มาก
(๕) การหลอมรวมความรู้นี้มักจะอยู่ในนักประวัติศาสตร์สมัยใหม่ ผมว่าการอ่านข้อเขียนข้อถกเถียง
ทางประวตั ศิ าสตรน์ า่ สนใจมาก เรานา่ จะหาวธิ สี อนวชิ าประวตั ศิ าสตรก์ นั ใหม่ นอกจากไดจ้ นิ ตนาการแลว้
เดก็ ยังได้ critical thinking น่ีวา่ สำ� หรับเดก็ มธั ยม

• 182 •

สง่ิ ทน่ี กั เรยี นตอ้ งไดเ้ รยี นรู้ ได้แก่
รจู้ ักฟงั ผอู้ ่นื ทร่ี ้สู ง่ิ ทต่ี นไม่รู้
รจู้ ักตงั้ คำ� ถาม เพ่อื ให้กระจ่างในความหมาย และคุณค่าของแนวคิด
มีใจทเ่ี ปดิ รบั และเคารพต่อความคดิ แปลกใหม่ วา่ ควรสนใจ
รู้จักตง้ั คำ� ถามตอ่ ค�ำพูดท่ีกอ่ ความสับสน หรือซอ่ นสมมติฐานบางอย่างไว้
มงี านวจิ ยั ในสหรฐั อเมรกิ าในปี ค.ศ. 2015 ทเ่ี อาการบา้ นหรอื งานทค่ี รมู อบหมาย
ใหน้ กั เรยี นชน้ั ม.ตน้ ทำ� มาวเิ คราะห์ พบวา่ รอ้ ยละ ๘๕ เปน็ แบบฝกึ หดั ใหฟ้ น้ื ความจำ�
เท่าน้ัน และยังมีผลการวิเคราะห์อีกหลายข้อที่แสดงว่าการสอนส่วนใหญ่ยังอยู่ท่ี
ระดบั ผวิ เทา่ นน้ั เรอ่ื งน้ีนา่ จะมกี ารท�ำวจิ ยั ในประเทศไทยด้วย
การเรียนเพื่อหลอมรวมความรู้ใหม่เข้ากับความรู้เดิม และเกิดการคิด ต้องใช้
เครือ่ งมอื จ�ำพวกผงั มโนทศั น์ การอภปิ ราย และการค้นคว้า
ผังมโนทัศน์ (concept mapping)
ผงั มโนทัศน์ (อ่านเพิม่ เตมิ ไดท้ ่ี https://en.wikipedia.org/wiki/concept_map)
เป็นการเช่ือมโยงหลักการหรือความคิดให้เห็นด้วยตา เป็นเคร่ืองมือช่วยเสนอ
ความคดิ ในระดบั แปลกใหม่ (transformation) ไมใ่ ชใ่ นระดบั ทม่ี อี ยแู่ ลว้ (replication)
หวั ใจของการใชเ้ ครอื่ งมอื นจี้ งึ เพอื่ ใชข้ ยายความคดิ สแู่ นวทแี่ ปลกใหม่ ทเี่ ปน็ ความคดิ
ของนักเรียนเอง ไม่ลอกเลียนใคร ในการเรียนการสอนใช้เป็นเคร่ืองมือช่วย
การอภปิ รายแนวความคดิ หรอื ขยายความคดิ ออกไป หรอื กลา่ วใหมว่ า่ ใชเ้ ปน็ เครอ่ื งมอื
วางแผนการทำ� งาน ชว่ ยกระตนุ้ ความรเู้ ดมิ ของนกั เรยี น เชอื่ มออกไปสคู่ วามคดิ ใหม่
และที่ส�ำคัญท่ีสุดในมุมมองของผม ช่วยให้ครู “มองเห็น” ความคิดของศิษย์
เปดิ โอกาสใหค้ รกู ระตุ้นความคิดเชื่อมโยง หรอื แก้ไขความคิดผดิ ๆ ของศษิ ย์
มองจากมุมของการท�ำหน้าที่ครู ผังมโนทัศน์ที่นักเรียนช่วยกันคิด เป็นข้อมูล
ป้อนกลบั แกค่ รวู ่าการออกแบบบทเรียนของครูมีผลกระตนุ้ การเรยี นร้รู ะดบั ลึกของ
นกั เรยี นเพียงใด
ผมมีความเห็นว่า ทักษะของครูในการใช้ผังมโนทัศน์กระตุ้นความคิดและ
จินตนาการของศิษย์ พัฒนาได้อย่างไม่ส้ินสุดและเป็นโจทย์วิจัยช้ันเรียนได้เป็นพัน
เป็นหมืน่ โจทย์ ผังมโนทัศน์มผี ลต่อผลลพั ธ์การเรียนรใู้ นระดบั ES = 0.60

• 183 •

การอภิปรายและต้ังค�ำถาม
ปฏิสัมพันธ์ในช่วงคาบเรียน ระหว่างนักเรียนกับนักเรียนและระหว่างนักเรียน
กบั ครู เปน็ เครอ่ื งมอื สกู่ ารเรยี นรรู้ ะดบั ลกึ ทดี่ แี ละงา่ ยทส่ี ดุ ทค่ี รจู ะตอ้ งพฒั นาทกั ษะ
ในการสง่ เสริมปฏิสัมพันธ์ให้เป็นเชิงบวก และก่อผลสงู ตอ่ การเรยี นรเู้ ชิงลึก
ครูต้องชวนนักเรียน ให้ร่วมกันตั้งกติกาของการอภิปรายในช้ันเรียน ทั้งท่ีเป็น
กติกาทั่วไป และกติกาส�ำหรับคาบน้ัน เช่น กติกาทั่วไปคือ นักเรียนได้แสดง
ความคิดเห็นอย่างท่ัวถึง ไม่ใช่มีนักเรียนไม่ก่ีคนผูกขาดการพูด ต้องไม่เถียง
เอาชนะกัน ให้เกียรติแก่ทุกข้อคิดเห็น ให้ความเห็นที่แตกต่างกันได้โดยไม่แสดง
ทา่ ทีขัดแย้งกัน ต้องไม่แสดงเจตนาทจี่ ะทำ� ใหค้ นอนื่ เจบ็ ใจ(๖)
ตวั อยา่ งกตกิ าสำ� หรบั คาบนน้ั เชน่ อาจตกลงกนั วา่ ในคาบนนั้ นกั เรยี นแตล่ ะคน
แสดงขอ้ คดิ เหน็ หรอื ตง้ั คำ� ถามไดไ้ มเ่ กนิ ๔ ครง้ั ซงึ่ จะชว่ ยใหน้ กั เรยี นไดฝ้ กึ จดั ลำ� ดบั
ความส�ำคญั ของความคดิ
การอภิปรายและต้ังค�ำถามจะบรรลุเป้าหมายสูงสุดหากนักเรียนอภิปรายกัน
ไดเ้ อง โดยครไู มต่ อ้ งทำ� หนา้ ทค่ี อยชใ้ี หพ้ ดู โดยครอู าจเขา้ ไปรว่ มวงไดเ้ ปน็ ครง้ั คราว
โดยตง้ั คำ� ถามทน่ี ำ� ไปสปู่ ระเดน็ สำ� คญั ทนี่ กั เรยี นยงั ไมไ่ ดเ้ อย่ ถงึ หรอื เอย่ แบบเฉยี ดๆ
ประเด็น ยงั ไปไม่ถึงหัวใจของประเดน็
การอภิปรายจะน�ำไปสู่การเรียนรู้ท่ีชัดเจนยิ่งขึ้น หากนักเรียนรู้จักต้ังค�ำถาม
หรอื ให้ข้อคิดเห็นที่ช่วยเพิ่มความกระจ่าง ดังตวั อยา่ ง
เธอชว่ ยขยายความเร่อื งน้เี พิ่มขึน้ ได้ไหม
ขอทราบแหล่งท่มี าของข้อมลู น้ไี ดไ้ หม
ฉันเหน็ ดว้ ยกับ.....................................เพราะ.....................................
ประเด็นน้ีส�ำคญั มาก
ฉันขอเพิ่มเตมิ ประเดน็ ที่...................เพ่ิงพดู

(๖) มีวิธีหน่ึง คือ เมื่อไม่เห็นด้วยก็ปล่อยให้เถียงกลับ จากน้ันครูบอกให้มองหาข้อดีของความคิดเห็น
ของเพ่อื นท่เี ราเพ่งิ เถียงจบไป

• 184 •

หนงั สอื เรยี กขอ้ ความแบบนวี้ า่ conversation marker หรอื คำ� / ประโยคเชอ่ื มโยง
ความคิด
นักเรียนควรได้ท�ำความเข้าใจค�ำถามปลายปิด กับค�ำถามปลายเปิด ค�ำถาม
ปลายปิดน�ำไปสู่ข้อสรุป ส่วนค�ำถามปลายเปิดน�ำไปสู่การเปิดประเด็นใหม่ๆ หรือ
ข้อคิดเห็นที่แตกต่างหลากหลาย ค�ำถามปลายปิดมักขึ้นต้นด้วย อะไร (what)
ในขณะท่ีค�ำถามปลายเปดิ มักข้ึนต้นด้วย อย่างไร (how) และ ทำ� ไม (why)
เขาแนะน�ำวิธีต้ังค�ำถามเพ่ือทราบความหมาย ๔ ระดับ ต่อข้อความในหนังสือ
ได้แก่
ข้อความบอกว่าอย่างไร (บอกอะไร) เป็นค�ำถามระดับความหมายของ
ตวั หนงั สอื (literal)
ขอ้ ความทำ� หน้าทีอ่ ะไร เป็นค�ำถามเชงิ โครงสรา้ ง (structural)
ข้อความมคี วามหมายอย่างไร เปน็ คำ� ถามเชงิ สรุปความ (inferential)
ขอ้ ความสรา้ งแรงบนั ดาลใจใหเ้ ราทำ� อะไร เปน็ คำ� ถามเชงิ ตคี วาม (interpretive)
ผมมีความเห็นว่า ในระหว่างการอภิปราย หากครูช่วยเขียนผังมโนทัศน์บน
กระดานหน้าช้ัน ก็จะช่วยให้การอภิปรายคล่อง และมีประเด็นเพ่ิมขึ้น หรือลึก
และเชอ่ื มโยงยง่ิ ขน้ึ สำ� หรบั นกั เรยี นชน้ั มธั ยมทค่ี นุ้ เคยกบั การเขยี นผงั มโนทศั น์ อาจ
ให้นักเรียนหมุนเวียนกันท�ำหน้าท่ีเขียนผังมโนทัศน์ประกอบการอภิปราย และ
การตัง้ ค�ำถามก็ได(้ ๗)
effect size ต่อผลลัพธ์การเรียนรู้ของการอภิปรายในชั้นเรียน = ๐.๘๒ และ
ของการตัง้ คำ� ถาม = ๐.๔๘

(๗) ใน RBL (Research - Based Learning) คำ� ถาม how จะสนกุ มาก เพราะการหาคำ� ตอบมไี ดห้ ลายทาง
เป็นจังหวะให้นักเรียนถกเถียงกัน ผมต้ังเง่ือนไขประเด็นถกเถียงด้วยคาถา “ถูก เร็ว ดี” ถูกสตางค์
ไดค้ ำ� ตอบเรว็ และดคี อื ใชไ้ ดแ้ มน่ ยำ� ทงั้ ๓ คาถานม้ี นั จะขดั แยง้ กนั เอง เชน่ ของถกู มกั จะชา้ และไมแ่ มน่ ยำ�
เปน็ ตน้ การขดั แยง้ ทำ� ใหเ้ ดก็ ตอ้ งคดิ วเิ คราะหแ์ ละประเมนิ วา่ จะเอาทางเลอื กไหน เราตอ้ ง trade off อะไร
เพราะอะไรทำ� ใหค้ ิดไดถ้ งึ คิดประเมนิ

• 185 •

อา่ นอยา่ งพินจิ พิเคราะห์ (close reading)
การอ่านอย่างพินิจพิเคราะห์ เป็นวิธีการสอนภาษาที่ใช้กันมานานนับร้อยปี
โดยครูให้นักเรียนอ่านประโยคหรือย่อหน้าในหนังสือ แล้วหยุดท�ำความเข้าใจ
ความหมายของคำ� ความหมายของประโยค โครงสรา้ งของประโยค วธิ ใี ชค้ ำ� ความงาม
ของภาษา การใชผ้ ิดๆ ทพ่ี ึงระวัง
ในกระบวนการเรยี นการสอนแบบน้ี นักเรียนจะไดฝ้ ึก
การอา่ นซ�้ำแล้วซำ้� อกี เพ่ือให้อา่ นคลอ่ ง และเข้าใจลกึ
ฝึกท�ำเครอ่ื งหมายในหนังสอื เพื่อชว่ ยความเขา้ ใจ
ฝกึ อภปิ รายแลกเปล่ียนความเข้าใจและข้อคิดเหน็ โดยครชู ่วยตงั้ ค�ำถาม
ฝกึ อภปิ ราย และวิเคราะหป์ ระเดน็ อย่างกวา้ งขวางรว่ มกับครู
เปา้ หมายของการเรยี นแบบนค้ี อื การลงความเขา้ ใจรายละเอยี ด และความลกึ ซงึ้
ไม่เน้นจ�ำนวนหน้าหรือจ�ำนวนเล่มของหนังสือที่อ่าน บทบาทของครูแตกต่างไป
ตามระดับชั้นและพัฒนาการของนักเรียน โดยผมขอเพิ่มเติมเป้าหมายการเรียนรู้
เพ่ือสัมผัสความงามหรือสุนทรียะของเรื่องน้ันๆ ด้วย และที่ส�ำคัญนี่คือการเรียนรู้
หรือฝกึ ทักษะการเรียนรทู้ ีน่ ำ� ไปใช้ได้ตลอดชีวิต (lifelong learning skills)

หลอมรวมส่กู ารรูห้ นงั สือระดับลึก (deep consolidation)

การหลอมรวม (consolidate) ความรู้จากหลายแหล่ง หลายมิติ สู่การเรียนรู้
ระดับลึก ตอ้ งการเวลา (time) และเคร่อื งมอื (tool) ในการนีน้ ักเรยี นตอ้ งคน้ คว้า
เพ่มิ และท�ำงานรว่ มกบั เพื่อน เพ่ือบรรลเุ ป้าหมายดงั กลา่ ว
นอกจากไดเ้ พิ่มความลกึ ของการเรยี นรูแ้ ลว้ นกั เรียนจะได้พฒั นาทักษะการคดิ
ขั้นสูง ได้แก่ คิดเร่ืองวิธีการเรียนรู้ (metacognitive thinking) คิดเชิงใคร่ครวญ
สะทอ้ นคดิ หรอื คดิ ตกผลกึ (reflective thinking) และคดิ เชงิ นามธรรม (abstract
thinking)

• 186 •

ความสามารถในการคิดเก่ียวกับวิธีเรียนของตนเอง (metacognition) เร่ิม
ตั้งแต่อายุ ๓ ขวบ และพัฒนาเรื่อยไปจนเป็นผู้ใหญ่ ช่วยเสริมความเข้มแข็ง
โดยการพัฒนานิสัยใคร่ครวญสะท้อนคิดต่อกิจการต่างๆ และการได้รับค�ำแนะน�ำ
ป้อนกลับว่าวิธกี ารใดใช้ไดผ้ ลดี วิธีการใดไม่ได้ผล
เดก็ พฒั นาความสามารถดงั กลา่ วจากปฏสิ มั พนั ธก์ บั ผใู้ หญ่ โดยผใู้ หญ่ (โดยเฉพาะ
คร)ู สามารถฝกึ ฝนตนเองใหร้ จู้ กั วธิ คี ยุ กบั เดก็ ในลกั ษณะทช่ี ว่ ยสง่ เสรมิ ทกั ษะการคดิ
ระดับลึกให้แก่เด็ก ดังตัวอย่างค�ำถาม “ก�ำลังเรียนรู้อะไรอยู่” แทนท่ีจะถามว่า
“ก�ำลังท�ำอะไรอยู่” พึงตระหนักว่าค�ำถามและค�ำสนทนาของผู้ใหญ่ได้ก่อความคิด
เชิงค่านยิ มข้นึ ในตวั เดก็ อย่างไมร่ ตู้ ัว
ค�ำถามที่ครูควรใช้เป็นประจ�ำคือ “บอกครูซิว่า หนูรู้อะไรบ้างเกี่ยวกับเร่ืองน้ี”
เป็นค�ำถามเชงิ ให้เกียรติเด็กวา่ ร้เู รอื่ งที่ก�ำลงั เรียนอยแู่ ล้วไมใ่ ช่นอ้ ย(๘)
ทำ� ความเข้าใจการเรยี นรู้ (metacognitive strategies)
การท�ำความเข้าใจการเรียนรู้ของตนเองก็คือการท�ำความเข้าใจความคิดของ
ตนเองนั่นเอง มีผ้แู บง่ ทักษะความเขา้ ใจการเรียนร้อู อกเป็น ๓ ช่วง ได้แก่
ตระหนักวา่ ตนเองก�ำลงั เรียนรู้
มีความเข้าใจวา่ ตอ้ งทำ� อะไรบา้ งเพ่ือการเรยี นรู้
มที ักษะในการควบคุมตนเอง และตรวจสอบการเรียนรู้ของตนเอง
เพื่อบรรลุทักษะเข้าใจการเรียนรู้และปรับปรุงวิธีการเรียนรู้ของตนเองเป็น
นักเรยี นต้องการความชว่ ยเหลือจากครู และจากเคร่ืองมือดงั ตอ่ ไปน้ี

(๘) เรอ่ื งนผี้ มแยก “ร”ู้ ออกจาก “เรยี นรู”้ นา่ แปลกทีเ่ มอ่ื เรา workshop ครบู างชว่ งแล้วถามว่า “ครูได้
เรียนรู้อะไร” ค�ำตอบส่วนมากจะเป็นสิ่งท่ีรู้ ไม่ใช่ส่ิงท่ีได้เรียนรู้ ถ้าครูแยกไม่ออกว่าส่ิงท่ีเด็กตอบนั้นเป็น
“รู้” หรอื “เรียนรู้” ครูจะสอนลกึ ถงึ metacognition ไม่ได้

• 187 •

ถามตัวเอง (self-questioning)
เปน็ ธรรมชาตขิ องมนษุ ย์ ทเ่ี มอ่ื อา่ นเรอื่ งราวหรอื ทำ� กจิ กรรม สมองจะทำ� ความเขา้ ใจ
โดยอัตโนมัติ แต่ธรรมชาตินี้ต้องการการฝึกฝนเพ่ือให้ท�ำความเข้าใจได้ชัดเจนข้ึน
ตรงประเดน็ ขน้ึ วธิ กี ารหนง่ึ คอื ถามตวั เอง โดยครสู ามารถชว่ ยเหลอื ได้ ๒ ประการ
๑. มกี ระดาษรายการคำ� ถามให้ใช้ ในระหว่างอ่านหรอื ท�ำกจิ กรรม
๒. แนะน�ำใหน้ ักเรยี นพกั การอ่านเป็นชว่ งๆ เพ่อื ต้ังค�ำถาม
ใหค้ �ำถาม
ในระหว่างการเรียน นักเรียนจะต้องค้นคว้ามาก เพ่ือน�ำมาใช้ท�ำความเข้าใจ
เรื่องราวที่เรียน หรือเพ่ือท�ำงานท่ีครูมอบหมาย การค้นคว้าในปัจจุบันท�ำได้ง่าย
จากอินเทอร์เน็ต แต่มีประเด็นความน่าเชื่อถือของสาระที่ค้นได้ ครูต้องสร้างนิสัย
ตรวจสอบความน่าเชื่อถือของข้อมูลที่ค้นได้ให้แก่ศิษย์ (ซ่ึงจะมีคุณต่อตัวศิษย์
ไปตลอดชีวิตและถือเป็นส่วนหน่ึงของทักษะชีวิต ให้ไม่ถูกหลอกง่าย) จึงควรมี
ค�ำถามท่ีช่วยให้นักเรียนรู้จักประเมินความน่าเชื่อถือของข้อความจากอินเทอร์เน็ต
ดงั ตวั อยา่ ง
สาระของขอ้ ความในเวบ็ ไซต์น้แี ม่นย�ำไหม
ระบุสถาบนั ท่เี ป็นเจา้ ของเว็บไซต์หรอื ไม่
สาระนน้ั มีการปรบั ปรุงคร้ังสุดท้ายเมอื่ ไร
มลี ้ิงก์ไปยงั ไซตอ์ ืน่ ไหม ไซตท์ ่ีลิง้ ก์ไปมีคณุ ภาพใกล้เคยี งกันหรอื ไม่
เครอ่ื งมอื ประเมินเว็บไซต์
URL : …………………………………………………….......................................
๑. ช่อื เว็บไซต์................................................................................................
๒. เปา้ หมายหลกั ของเวบ็ ไซตค์ อื .....................................................................
ขายสนิ ค้าหรือเปล่า ขายบริการหรอื เปล่า เปน็ เวบ็ ไซต์การศึกษาหรือไม่
๓. ใครเปน็ ผสู้ รา้ งเวบ็ ไซตน์ .้ี ............................................................................
มีสถานท่ีติดต่อหรือไม่ เป็นบริษัทหรือเปล่า เป็นโรงเรียนหรือเปล่า เป็น
หนว่ ยงานรฐั หรือเปลา่ มีส่วนของข้อมลู “About Us” ไหม
๔. เวบ็ ไซตน์ เ้ี ปน็ ปจั จบุ นั แคไ่ หน ปรบั ปรงุ ขอ้ ความครง้ั หลงั สดุ เมอื่ ไร.................
................................................................................................................

• 188 •

๕. มีลิ้งกไ์ ปยงั ไซตอ์ ืน่ ไหม ลองเขา้ บางลง้ิ กท์ ใ่ี หไ้ วว้ ่าเขา้ ได้ไหม........................
................................................................................................................
๖. มกี ารอา้ งองิ หรอื ไดร้ บั การอา้ งองิ ไหม ถา้ มี คอื อะไร....................................
................................................................................................................
๗. ไดข้ อ้ มลู ใหมอ่ ะไรบา้ งจากเวบ็ ไซตน์ .ี้ ...........................................................
................................................................................................................
๘. มสี ารสนเทศอะไรบา้ งทไ่ี มไ่ ดร้ บั .................................................................
................................................................................................................
ฝกึ นักเรยี นใหต้ ง้ั ค�ำถาม
ครูต้องฝึกศิษย์ให้ต้ังค�ำถามในทุกกิจกรรมที่ท�ำเพื่อเรียนรู้ แล้วหาทางตอบ
ค�ำถามนั้น ในกรณีของการอ่านหนังสือท่ีได้รับมอบหมาย เขาแนะน�ำให้บอกเด็ก
ให้แบง่ หนังสอื ออกเป็นตอนๆ แล้วหยดุ พกั ถามตวั เองว่าเขา้ ใจว่าอยา่ งไร ตรงไหน
ไม่เข้าใจให้จดไว้ส�ำหรับไปค้นต่อ หรืออ่านซ�้ำเพ่ือท�ำความเข้าใจ หรือตรวจสอบ
รปู ภาพหรอื กราฟกิ ในเลม่ หรอื อาจถามเพอื่ น และหากทำ� อยา่ งไรกไ็ มเ่ ขา้ ใจใหถ้ ามครู
ผมขอเพม่ิ เติมวา่ เรื่องการต้งั ค�ำถามนี้ เรียนรู้ได้ไม่รู้จบ แม้คนแกอ่ ย่างผมกย็ งั
หม่ันฝึกฝนตนเองอยู่ เพราะมีคุณต่อการเรียนรู้ของตนเองมาก รวมท้ังให้รสชาติ
ในชวี ติ ดว้ ย หากการศกึ ษาไดส้ รา้ งนสิ ยั ตง้ั คำ� ถามใหแ้ กน่ กั เรยี นทกุ คน คณุ ภาพของ
พลเมืองไทยในอนาคตจะเพม่ิ ขึ้นมาก
ผลดั กนั สอน (reciprocal teaching)
เป็นเทคนิคท่ีใช้ได้ท้ังเพื่อการเรียนรู้ระดับผิว และการเรียนรู้ระดับลึก เขา
ยกตัวอย่างการเรียนวิชาวรรณกรรม ครูแนะน�ำให้นักเรียนอ่านหนังสือทีละตอน
โดยเรียนเป็นทมี ๔ คน เมือ่ ทกุ คนอา่ นจบ คนหนง่ึ ท�ำหน้าที่สรปุ (summarizing)
ว่าสาระส�ำคัญคืออะไร อีกคนหน่ึงท�ำหน้าที่ตั้งค�ำถาม (questioning) ท้ังด้าน
ความหมายของคำ� ความหมายเชงิ โครงสรา้ ง และความหมายเชงิ สรปุ ความ คนทสี่ าม
ทำ� หนา้ ทท่ี ำ� ความกระจา่ ง (clarifying) ตอ่ ประเดน็ คำ� ถาม โดยกระตนุ้ การอภปิ ราย
แลกเปล่ียนในกลุ่ม คนท่ีสี่ท�ำหน้าที่กระตุ้นการท�ำนาย (predicting) ว่าข้อความ
ตอนต่อไปจะเป็นอย่างไร

• 189 •

เมอ่ื นกั เรยี นคนุ้ เคยกบั เทคนคิ นแี้ ลว้ การทำ� หนา้ ทท่ี งั้ สขี่ น้ั ตอน และการอภปิ ราย
จะด�ำเนนิ ไปอย่างเปน็ ธรรมชาติ ไม่ตอ้ งกำ� หนดหน้าทีใ่ หส้ มาชิกแตล่ ะคนกไ็ ด้
ผมขอเพมิ่ เตมิ วา่ ตามทรี่ ะบใุ น learning pyramid (ดเู พม่ิ เตมิ ไดท้ ี่ https://education
corner.com/the-learning-pyramid.html) การสอนผอู้ นื่ เปน็ วธิ ีเรยี นรทู้ ่ใี ห้ผลสงู สดุ
และเทคนคิ นีอ้ าจเรียกว่า collaborative learning กไ็ ด้

ให้คำ� แนะน�ำปอ้ นกลับ (feedback) แก่นักเรยี น

ทกั ษะกำ� กบั ตนเอง และทกั ษะกำ� กบั การเรยี นรขู้ องตนเองของนกั เรยี นเขม้ แขง็ ขน้ึ
โดยพลงั ของคำ� แนะนำ� ปอ้ นกลบั ของครู เมอื่ ครใู หค้ ำ� แนะนำ� ปอ้ นกลบั อยา่ งเหมาะแก่
กาละ มีความจ�ำเพาะ เข้าใจง่าย และน�ำไปสู่การกระท�ำ นักเรียนจะจดจ�ำถ้อยค�ำ
ของครเู ขา้ สถู่ อ้ ยคำ� ทพ่ี รำ�่ บอกตนเอง (self - talk) คำ� ของครู และวธิ บี อก มสี ว่ นสรา้ ง
อัตลักษณ์ ความเปน็ ผู้กระท�ำ (sense of agency) และความส�ำเรจ็ ในชีวติ
ค�ำแนะนำ� ป้อนกลบั มี ๔ ระดับ ไดแ้ ก่
ค�ำแนะน�ำป้อนกลับเกี่ยวกับชิ้นงาน (feedback about the task) เป็น
คำ� กลา่ วย้�ำเป้าหมายของงาน บอกความกา้ วหนา้ และสว่ นทคี่ วรปรบั ปรุง
คำ� แนะนำ� ปอ้ นกลบั เกยี่ วกบั กระบวนการ (feedback about the process)
เป็นค�ำชวนท�ำความเข้าใจทางเลือกวิธีการหรือยุทธศาสตร์ในการบรรลุผลงานที่
นักเรยี นใช้ และครแู นะน�ำให้ลองคน้ คว้าแนวทางอ่นื วา่ เหมาะสมกว่าหรอื ไม่
คำ� แนะนำ� ปอ้ นกลบั เพอื่ สรา้ งการกำ� กบั ตนเอง (self - regulatory feedback)
เป็นค�ำแนะน�ำป้อนกลับเกี่ยวกับ soft skills หรือการท�ำความเข้าใจตนเอง เข้าใจ
คนอ่ืน เข้าใจปฏิสัมพันธ์กับคนอ่ืน โดยครูบอกพฤติกรรมของตัวนักเรียน
เป็นกระจกส่อง ใหน้ ักเรียนได้ท�ำความเข้าใจ
คำ� แนะนำ� ปอ้ นกลบั เกยี่ วกบั ตวั ตน (feedback about self) นก่ี เ็ ปน็ soft skills
เช่นเดียวกัน และเป็นค�ำแนะน�ำป้อนกลับที่ครูท�ำผิดมากท่ีสุด คือแทนท่ีจะพูดเชิง
ค�ำแนะน�ำป้อนกลับ ครูกลับพูดเชิงชมหรือสรรเสริญ (praise) ซ่ึงหากสรรเสริญ
ความเกง่ หรอื ผลงาน อาจนำ� นกั เรยี นสกู่ ารมี “กระบวนทศั นห์ ยดุ นงิ่ ” (fixed mindset)

• 190 •

ซงึ่ เปน็ ผลรา้ ย หากจะสรรเสรญิ ครคู วรสรรเสรญิ ความมานะพยายาม หยบิ เอาชว่ งท่ี
นกั เรยี นมปี ญั หา หรอื ทำ� ผดิ แลว้ แกไ้ ขได้ เอามาเปน็ ขอ้ สนทนาใหน้ กั เรยี นเลา่ วา่ รสู้ กึ
อยา่ งไร คดิ อยา่ งไรจะเปน็ การสรา้ ง “กระบวนทศั นพ์ ฒั นา” (growth mindset) ใหแ้ ก่
ศษิ ย์ คำ� แนะนำ� ปอ้ นกลบั เกยี่ วกบั การพฒั นาตวั ตน จงึ ควรเนน้ พฒั นา “กระบวนทศั น์
พัฒนา” เปน็ หลัก
คำ� แนะนำ� ปอ้ นกลบั ขนั้ ที่ ๓ เพอื่ การกำ� กบั ตนเอง มคี วามสำ� คญั ทสี่ ดุ ตอ่ การเรยี นรู้
ในขน้ั เรยี นรเู้ พอ่ื การหลอมรวมความรรู้ ะดบั ลกึ เพอื่ นำ� ไปสกู่ ารเปน็ คนมที กั ษะกำ� กบั
การเรยี นรขู้ องตนเอง โดยครตู อ้ งฝกึ ทกั ษะในการคยุ แบบไมเ่ ปน็ ทางการกบั นกั เรยี น
ดว้ ยถอ้ ยคำ� และทา่ ทเี ชงิ บวก ทชี่ ว่ ยใหน้ กั เรยี นเขา้ ใจตนเอง เขา้ ใจพฤตกิ รรมของตนเอง
เข้าใจคนอื่น และเข้าใจปฏิสัมพันธ์ของตนกับคนอื่น ในเรื่องนี้มีหลักการท่ีเรียกว่า
positive learning (ดเู พม่ิ เตมิ ที่ https://positive.fi/) ทคี่ รสู ามารถเขา้ ไปศกึ ษาและ
นำ� มาใช้ใหค้ �ำแนะนำ� ปอ้ นกลบั เชงิ บวกแกน่ กั เรียนในช้ันเรียนได(้ ๙)
คำ� แนะน�ำป้อนกลับทดี่ ี มีผลดีต่อผลลพั ธก์ ารเรียนรู้ EF = ๐.๗๕

สรปุ

เพื่อให้นักเรียนเรียนรู้ในระดับลึก การเรียนรู้ต้องเป็นสิ่งท่ีนักเรียน “เห็น”
(visible) ได้ โดยเห็นว่าที่ท�ำมาแล้วดีไม่ดี เหมาะไม่เหมาะ เพียงไร จะปรับปรุง
ตนเองอยา่ งไร และรวู้ า่ จะตอ้ งอดทนฟนั ฝา่ เมอื่ บทเรยี นยาก และเมอ่ื การเรยี นเดนิ ไป
ในทางทีผ่ ิดพลาดก็แกไ้ ขได้ ท่เี รยี กวา่ มคี วามยดื หยุ่น (resiliency)

(๙) ดังนน้ั ครตู ้องฝึก formative assessment ให้เปน็ อัตโนมตั ิ และตอ้ งท�ำพร้อมจติ ตปัญญาดว้ ย เพราะ
จติ ตปญั ญาทำ� ใหค้ รู feedback ดว้ ยจติ เชงิ บวก สรา้ งความสมั พนั ธแ์ ละบรรยากาศการเรยี นรไู้ ดด้ กี วา่ มาก

• 191 •

เร่ืองเล่าจากห้องเรยี น

“การทคี่ รตู ้องมีทักษะในการหนุนใหก้ ารเรียนรู้ของเดก็ เคลื่อนจาก
การเรยี นระดบั ผิวไปสกู่ ารเรยี นระดับลึกในเวลาและโอกาสทเ่ี หมาะสม
เพือ่ สรา้ งนสิ ัยเปน็ คนเรยี นรู้ระดบั ลกึ (และเปน็ คนทสี่ นุกกบั การเรียนระดับลึก)

ประเดน็ สำ� คญั ทสี่ ุดในการบรรลกุ ารเรียนร้ใู นมิตทิ ีล่ กึ คอื
ความเข้าใจวา่ ค�ำตอบตอ่ ปัญหาหรอื โจทยใ์ นเรอื่ งตา่ งๆ ไม่ไดม้ ีค�ำตอบเดยี ว

และเมอ่ื เราเรยี นรเู้ พมิ่ ข้นึ ค�ำตอบกจ็ ะลกึ ซงึ้ ข้ึนและเชอ่ื มโยง
กว้างขวางยิ่งขน้ึ มองอีกมุมหนง่ึ นคี่ อื การปลูกฝงั

“กระบวนทศั น์พัฒนา” (growth mindset) ใหแ้ ก่ผู้เรยี นน่ันเอง”
ต้นเดือนพฤศจกิ ายน ๒๕๖๒ คณุ ครใู หม่ - วิมลศรี ศุษิลวรณ์ พบประกาศรบั สมคั ร
ของโครงการ Mitsubishi Asian Children’s Eniki Festa 2019 - 2020 ทเ่ี ชญิ ชวนใหเ้ ดก็
และเยาวชนอายุระหว่าง ๖ - ๑๒ ปี จากทั่วประเทศ ส่งภาพวาดประกอบค�ำบรรยาย
ในหัวขอ้ “นี่คือชวี ิตของฉนั ” (Here is my life) จ�ำนวนคนละ ๕ ภาพ โดยมเี ปา้ หมาย
เพื่อการส่งเสริมการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะควบคู่ไปกับการอ่านและเขียน และเพื่อ
เสรมิ สรา้ งความสมั พนั ธอ์ นั ดรี ะหวา่ งประเทศไทยและประเทศญป่ี นุ่ รวมถงึ ประเทศอน่ื ๆ
ในอาเซยี น จงึ ไดส้ ง่ ขอ้ ความนไ้ี ปทางไลนเ์ พอื่ เชอ้ื เชญิ ใหค้ ณุ ครผู สู้ อนหนว่ ยวชิ าภมู ปิ ญั ญา
ภาษาไทย และคุณครูผู้สอนในหน่วยวิชาแสนภาษา (หรือวิชาศิลปะ) ท้ัง ๖ ระดับช้ัน
หาเวลาพูดคุยกับนักเรียนถึงความน่าสนใจของโครงการฯ และในขณะเดียวกันครูใหม่
ก็ได้พูดคุยกับหัวหน้าช่วงชั้นที่ ๑ และหัวหน้าช่วงชั้นท่ี ๒ ถึงความส�ำคัญของโอกาสที่
นักเรียนจะได้รับจากการได้ลงมือท�ำช้ินงานให้สุดศักยภาพ โดยไม่ต้องค�ำนึงถึงผลลัพธ์
ที่จะได้รับจากการประกวด แต่ให้อาศัยโจทย์ของโครงการฯ นี้ สร้างบรรยากาศ
ของการที่นักเรียนทุกคนจะได้น�ำการประมวลประสบการณ์เฉพาะตน มาตีความโจทย์
แล้วสร้างเป็นช้ินงานของแต่ละคนท่ีมีลักษณะเฉพาะตัว ท้ังการวาดและการเขียนที่
แตกตา่ งกันออกไป

• 192 •

โจทยท์ โี่ ครงการฯ ระบเุ อาไวก้ วา้ งๆ คอื “ใหผ้ สู้ นใจสง่ ผลงานภาพวาดและเรยี งความ
บอกเล่าวิถีชีวิต เหตุการณ์ประทับใจ และวัฒนธรรมของน้องๆ ให้เพ่ือนจากประเทศ
ในเอเซยี ได้เรยี นรู้”
โจทยน์ ้ีเป็นโจทยท์ ่ีเหมาะกบั นกั เรียนประถมทกุ ระดบั ของโรงเรียนเพลนิ พัฒนา และ
สิ่งที่อยู่ในใจของครูก็คือ อยากรู้เหลือเกินว่าพวกเขาจะกล่ันประสบการณ์ออกมา
ในรูปแบบใด...
ในคาบเรียนของหน่วยวิชาภูมิปัญญาภาษาไทย คุณครูเกมส์ - สาธิตา รามแก้ว
เริ่มต้นด้วยการท�ำงานจากการชวนนักเรียนพูดคุยถึงเอกลักษณ์ความเป็นไทยที่นักเรียน
ประทับใจ และอยากจะบอกเล่าให้เพ่ือนๆ ในกลุ่มประเทศอาเซียนได้รับรู้ จากนั้น
ให้นักเรียนทดลองแบ่งเร่ืองราวท่ีต้องการจะสื่อสารออกเป็น ๕ ตอน แล้วจึงออกแบบ
ภาพวาดทีส่ อดคล้องกบั เร่ืองราวท่ปี รากฏข้ึนในใจ
ในคาบเรยี นแสนภาษา คณุ ครูหนึง่ - สันตสิ ุข สุ้นกี้ ใหเ้ วลานักเรยี นวาดภาพตามท่ี
ได้รา่ งไว้ในคาบภมู ิปญั ญาภาษาไทยใหส้ �ำเร็จสวยงาม โดยใช้เทคนิควธิ ขี องการสร้างงาน
ศลิ ปะทรี่ ะบไุ วใ้ นหลกั สตู รของแตล่ ะระดบั ชนั้ และใชโ้ จทยข์ องโครงการฯ นำ� สกู่ ารเรยี นรู้
ที่ครูสามารถประเมินคุณภาพช้ินงาน และให้คะแนนนักเรียนได้ตามปกติ ก่อนจบ
คาบเรียนนักเรียนมีช่วงเวลาของการน�ำผลงานมาแลกเปล่ียนเรียนรู้ ท้ังในด้านความคิด
ในการออกแบบ และดา้ นทกั ษะทใี่ ชใ้ นการทำ� ชน้ิ งาน ซง่ึ เมอื่ เหตกุ ารณด์ ำ� เนนิ มาถงึ ตอนน้ี
นักเรียนจะได้พบว่า ค�ำตอบต่อปัญหาหรือโจทย์ในเร่ืองต่างๆ ไม่ได้มีค�ำตอบเดียว และ
เมอ่ื ไดเ้ รยี นรเู้ พม่ิ ขนึ้ จากเรอื่ งราวทเ่ี พอื่ นๆ นำ� เสนอกจ็ ะยง่ิ เกดิ ความเขา้ ใจทล่ี กึ ซงึ้ ขน้ึ และ
เชอื่ มโยงกว้างขวางยง่ิ ขน้ึ ไปอกี
ย้อนกลับไปเม่ือภาคฉันทะ นักเรียนชั้นประถมปีที่ ๖ ได้ฝึกฝนการเขียนเรียงความ
และการสร้างงานศิลปะที่สะท้อนถึงความเข้าใจในความเป็นมาของความเป็นไทย ผ่าน
การศกึ ษาเรอื่ งราวของอาณาจกั รสโุ ขทยั อยธุ ยา และรตั นโกสนิ ทร์ และการทำ� งานเขยี น
สะท้อนความเข้าใจจากประสบการณ์ จนกระทั่งพวกเขาเกิดความภาคภูมิใจในถ่ินฐาน
ของตนมาแลว้

• 193 •

ต่อมาในภาควิริยะนักเรียนได้เรียนรู้วรรณกรรมเรื่องรามเกียรต์ิผ่านการแสดงโขน
ในภาคจติ ตะไดไ้ ปภาคสนามทว่ี ดั ขนอน อ.โพธาราม จ.ราชบรุ ี เพอื่ เรยี นรกู้ ารทำ� หนงั ใหญ่
และรับชมการแสดงหนังใหญ่ท่ีปลุกจิตใจให้เริงรื่น ซ่ึงในภาคจิตตะนี้นักเรียนยังได้ไป
ภาคสนามเพอ่ื ศกึ ษาเรยี นรคู้ วามหลากหลายทางวฒั นธรรม ท่ี อ.อมั พวา จ.สมทุ รสงคราม
ในประเดน็ “เมอื ง ๓ น้�ำ ๓ นา ๓ ศาสนา” เพอื่ จะนำ� ความร้แู ละประสบการณ์ทางด้าน
ภมู สิ งั คม - วฒั นธรรม และการศกึ ษาถงึ ผลกระทบจากการทอ่ งเทย่ี วไปออกแบบโครงงาน
การทอ่ งเทยี่ วเชงิ นเิ วศ เพอ่ื เปน็ ขอ้ มลู ทเี่ ชอื่ มไปสกู่ ารเรยี นรจู้ กั ประเทศตา่ งๆ ในอาเซยี น
ทจ่ี ะเกดิ ขึน้ ในภาควมิ งั สา
หลังจากที่ครูออกแบบให้นักเรียนออกเดินทางข้ามยุคข้ามสมัยผ่านการเรียนรู้
ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม วิถีชีวิต สังคม มุ่งสู่ภูมิหลัง สู่ภูมิปัญญาท่ีหย่ังลึกไปถึง
รากเหงา้ บรรพบรุ ษุ ของตนเองดว้ ยการแกะรอยหลกั ฐานสำ� คญั ทางประวตั ศิ าสตรใ์ นยคุ สมยั
ตา่ งๆ แลว้ พวกเขากไ็ ดก้ า้ วเขา้ มาสยู่ คุ สมยั ปจั จบุ นั นนั่ คอื “กรงุ รตั นโกสนิ ทร”์ ทน่ี กั เรยี น
ทุกคนต้องน�ำเสนอ “ภาพกรุงเทพฯ ในความทรงจ�ำ” ผ่านการเขียนเล่าประสบการณ์
ความประทบั ใจของตนเองทม่ี ตี อ่ เมอื งทพ่ี วกเขาอาศยั อยอู่ ยา่ งละเอยี ด ดว้ ยการเขยี นบอก
เลา่ ถงึ ฉากหนง่ึ ในชวี ติ ของพวกเขา โดยทท่ี กุ คนจะเขยี นถงึ ฉากชวี ติ ของตนผา่ นการบรรยาย
รูป รส กลิ่น เสียง สมั ผัสท่ตี นประทับใจออกมาให้แจ่มชดั ทส่ี ุด
ภาพห้องเรียนท่ียังตรึงตราอยู่ในใจของคุณครูเกมส์มาจนถึงวันนี้คือ ทันทีที่ได้รับ
โจทย์งาน บรรยากาศในช้ันเรียนก็เต็มไปด้วยค�ำถาม ค�ำบรรยายท่ีพยายามส่ือให้ครู
และเพ่ือนร่วมห้องได้รู้ว่าตนเองมี “ภาพกรุงเทพฯ ในความทรงจ�ำ” อยู่มากมายเพียงไร
นักเรียนในห้องต่างพากันแลกเปล่ียนเร่ืองของพื้นท่ีท่ีอยากจะพูดถึง ด้วยการอธิบายให้
เพอ่ื นๆ เขา้ ใจวา่ ชวี ติ ของตนเองนนั้ เกย่ี วขอ้ งผกู พนั กบั สถานทใี่ ดบา้ ง ไมว่ า่ จะเปน็ พระทน่ี งั่
อนนั ตสมาคม สนามหลวง ปอ้ มพระเมรุ วดั พระแกว้ วดั โพธ์ิ วดั แขก (วดั ศรมี หาอมุ าเทว)ี
คลองถมเซน็ เตอร์ สะพานเหลก็ (เมกา้ พลาซา่ ) เสาชงิ ชา้ ตลาดนำ้� คลองลดั มะยม สำ� เพง็
พาหุรัด สขุ ุมวิท ฯลฯ ความประทับฉากแล้วฉากเลา่ ทไี่ ด้เล่าสกู่ นั ฟงั ในวันนั้นไดก้ ลายรูป
ไปเป็นการเขียนบรรยายในวนั ต่อมา

• 194 •

กจิ กรรมนท้ี ำ� ใหค้ รเู กมสพ์ บวา่ การสรา้ งการเรยี นรทู้ สี่ ำ� คญั คอื การสรา้ งแรงบนั ดาลใจ
ท่ีท�ำให้นักเรียนมีพลังที่อยากขับเคล่ือนการเรียนรู้ของตนเอง โดยอาศัยโจทย์ท้าทาย
ทเี่ ชื่อมโยงกับประสบการณ์เดิมทพี่ วกเขามมี าแลว้ อย่างเป็นล�ำดบั
เช่นเดียวกับคุณครูหนึ่ง ครูผู้สอนหน่วยวิชาแสนภาษาที่เม่ือได้ไปพูดคุยกับนักเรียน
เรอื่ งการภาพวาดประกอบคำ� บรรยายในหวั ขอ้ “นคี่ อื ชวี ติ ของฉนั ” (Here is my life) จำ� นวน
คนละ ๕ ภาพ แลว้ กไ็ ดพ้ บวา่ ไมเ่ พยี งแตน่ กั เรยี นเทา่ นนั้ ทเ่ี กดิ ความกระตอื รอื รน้ ตวั ครเู อง
ก็สนุกกับงานนี้เช่นกัน เพราะผลงานทุกช้ินท่ีนักเรียนสร้างขึ้น ล้วนต้องประกอบขึ้นมา
จากเส้น สี รูปทรง ซ่ึงเป็นองค์ประกอบพื้นฐานของการสร้างงานศิลปะอยู่แล้ว ท้ังครู
และนักเรียนจึงเพลิดเพลินกับงานชิ้นน้ีได้ไม่รู้เบ่ือ ในสัปดาห์น้ันนักเรียนกลุ่มท่ีนึกสนุก
อยากสง่ งานเขา้ ประกวด เปน็ กลมุ่ ทม่ี ฉี นั ทะมากเปน็ พเิ ศษ และตอ้ งการเวลาในการทำ� งาน
มากข้ึน คุณครูก็เปิดห้องศิลปะให้นักเรียนเข้าไปท�ำงานเพ่ิมเติมในช่วงเช้าก่อนเข้าเรียน
และชว่ งเย็นหลังเลกิ เรียนไดด้ ว้ ย
โจทย์อิสระของโครงการฯ ท�ำให้นักเรียนตีความประสบการณ์ออกมาอย่างได้อย่าง
นา่ ทงึ่ ทงั้ ภาพและคำ� ลว้ นพาใหผ้ ทู้ ไี่ ดร้ บั ชมเขา้ ถงึ คำ� วา่ “ความงดงามในความหลากหลาย”
ไดเ้ ปน็ อย่างดี

• 195 •

เด็กชายมีพอ นนทลีรักษ์ เร่ิมต้นการท�ำงานด้วยการน�ำช้ินงาน “ความสุขของพอ”
ที่เคยเขียนไว้ในภาคเรียนฉันทะ มาปรับปรุงให้เป็นผลงาน “ร้านพ่อฉัน” แล้ววาดภาพ
ของเมก้าพลาซ่าในสไตล์การ์ตูนท่ีเป็นเอกลักษณ์ของตัวเองประกอบ สะท้อนให้เห็นถึง
ความเปลี่ยนแปลงที่ย่างก้าวเข้ามา พร้อมๆ กับการมีสิ่งก่อสร้างใหม่ๆ ท่ีเกิดขึ้นมา
เพอื่ ทดแทนสง่ิ เดมิ จากการเปลยี่ นแปลงทางกายภาพของยา่ นคลองถมและยา่ นสะพานเหลก็
ในเขตเมอื งเกา่ ของกรงุ เทพฯ

• 196 •

หลงั จากนน้ั จงึ เรมิ่ ทำ� ชน้ิ งาน “กนิ ขา้ วดว้ ยกนั ” ทสี่ ะทอ้ นของวถิ ชี วี ติ ของพอทเ่ี ชอื่ มโยง
ไปถึงสมาชิกทุกคนในบ้านท่ีมารวมตัวกันนับเป็นการ “รวมญาติ” อย่างพร้อมหน้า
ในม้ือเย็นด้วยการรับประทานอาหารฝีมืออาม่าอย่างเอร็ดอร่อย ซึ่งพอไม่ได้ฉายแค่ภาพ
บรรยากาศท่ีอบอุ่นภายในครอบครัวท่ีบ้านหลังเก่าของอาม่าเท่านั้น แต่พอยังสามารถ
บรรยายใหผ้ ชู้ มรบั รถู้ งึ ความอรอ่ ยของอาหารในแตล่ ะเมนจู ากรสมอื อามา่ ไดอ้ ยา่ งออกรส
ออกชาติอกี ด้วย

• 197 •

ชิ้นงาน “งานกาชาด ปี ๖๑” เป็นความประทับใจของพอท่ีได้ไปเที่ยวงานน้ีเม่ือ
๒ ปที แี่ ลว้ แตค่ วามสนกุ ในวนั นนั้ ยงั ไมเ่ ลอื นไปจากใจ เชน่ เดยี วกบั คนไทยอกี นบั หมนื่ คน
ท่ีได้ไปเทยี่ วงาน

• 198 •

ชนิ้ งาน “หนงั ใหญ”่ เปน็ ประสบการณค์ วามภาคภมู ใิ จของเดก็ ไทยคนหนง่ึ ทไ่ี ดม้ โี อกาส
สัมผัสกับสุนทรียภาพอย่างไทยจากการแสดงหนังใหญ่ท่ีเปี่ยมไปด้วยมนต์ขลังร่วมกัน
กับเพอื่ นๆ ทีโ่ รงเรียน ทว่ี ัดขนอน อ.โพธาราม จ.ราชบุรี

• 199 •


Click to View FlipBook Version