The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by chtsan6, 2021-12-17 05:16:58

ครูเพื่อศิษย์ สร้างการเชื่อมโยง

ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช

ความยากอยู่ที่นักเรียนบางคนท่ีมีปัญหาทางอารมณ์หรือพฤติกรรม หากครู
จดั การไมเ่ ปน็ กจ็ ะมผี ลทำ� ใหบ้ รรยากาศการเรยี นรขู้ องทง้ั ชน้ั รวนไปหมด เขาแนะนำ�
หลกั การ restorative practices ดเู พม่ิ เติมไดท้ ่ี https://www.gettingsmart.com
/2017/03/implementing-restorative-practices-in-the-classroom/ ซ่ึงผมคิดว่า
คอื การใชจ้ ติ วทิ ยาเชงิ บวก (positive psychology) นนั่ เอง นอกจากนนั้ ผมขอแนะนำ�
ให้ดูวีดิทัศน์ใน YouTube เรื่อง Classroom Management Strategies To Take
Control of Noisy Students โดย Rob Plevin ทม่ี ผี เู้ ขา้ ไปชมถึง ๒.๖ ลา้ นครงั้
ความคาดหวังของครู (ES = ๐.๔๓) ซ่ึงหมายความว่า ครูต้องมี
ความคาดหวังสูงต่อผลลัพธ์การเรียนรู้ของศิษย์ หลักการท่ีใช้กันท่ัวไปคือ High
Expectation, High Support โปรดอ่าน https://www.gotoknow.org/
posts/658248 จะเหน็ ว่าความรสู้ กึ ของนกั เรยี นวา่ ครคู าดหวงั หรือเหน็ แววของตน
ในเรือ่ งใดเรื่องหนง่ึ มีผลกระต้นุ ความมุ่งมั่นของนักเรียนเพยี งใด(๖)
ผมขอเพมิ่ เตมิ วา่ ความกระตอื รอื รน้ เหน็ คณุ คา่ และสนกุ กบั เรอ่ื งราวทคี่ รสู อน
จะสง่ ตอ่ ไปยังศิษย์ และมผี ลดตี อ่ การเรียนรขู้ องศษิ ยไ์ ปโดยปริยาย(๗)

(๖) มีบางกรณีที่น่าเชื่อว่าความคาดหวังสูงของผู้อื่น (ครู ผู้ปกครอง) กลับสร้าง fixed mindset ให้
นกั เรยี นไมก่ ลา้ ทำ� งานทย่ี ากขน้ึ กวา่ เดมิ (กลวั ทำ� ไมส่ ำ� เรจ็ และผอู้ นื่ ทต่ี นเคารพจะผดิ หวงั ) กรณที ห่ี นงั สอื นี้
ยกมาคาดวา่ จะพจิ ารณาของทง้ั หอ้ ง ไม่ใชร่ ายคน จงึ ตอ้ งระมดั ระวงั การนำ� ไปใชว้ า่ ความคาดหวงั ของครนู น้ั
ไดส้ ร้าง growth mindest หรอื ไม่
(๗) ขอขยายความว่าคือ active learning ท่ีประกอบไปด้วยความตื่นตัวทางกาย (เพื่อเปิดการรับรู้
ของประสาทรับข้อมูล) ทางสมอง (ถูกกระตุ้นให้คิดเชื่อมโยงไปสู่สังเคราะห์) ทางใจ (เพ่ือจิตพิสัยหรือ
เป้าหมาย transformation)

• 50 •

การเรียนรู้ต้องไปให้ถงึ รเู้ ชอ่ื มโยง

หนังสอื บอกวา่ การเรยี นรู้มี ๓ ระดับ คอื (๑) ระดับผวิ (surface learning)
(๒) ระดบั ลึก (deep learning) และ (๓) ระดับทนี่ �ำไปใช้ในสถานการณอ์ ื่นๆ ได้
(transfer) ทผี่ มเสนอคำ� ว่า รเู้ ชื่อมโยง โดยทค่ี รูตอ้ งออกแบบการเรยี น ให้เร่มิ จาก
งา่ ยไปยาก หรอื จากเปา้ หมายรผู้ วิ ๆ ไปสรู่ ลู้ กึ และในทสี่ ดุ รเู้ ชอื่ มโยง ซงึ่ หมายความวา่
การเรียนต้องไตร่ ะดับอยา่ งเป็นขน้ั เป็นตอน(๘)
ในที่สุดต้องให้นักเรียนได้ไต่ระดับขึ้นไปถึงรู้เชื่อมโยง และการสอบไล่ควรสอบ
ความรู้ความเข้าใจในระดับรู้เช่ือมโยง ซึ่งเป็นการเตรียมนักเรียนให้พร้อมต่อการ
นำ� ความรไู้ ปใชใ้ นชวี ติ จรงิ ยำ�้ วา่ การเรยี น literacy กต็ อ้ งบรรลใุ นระดบั รเู้ ชอื่ มโยง(๙)
น่าเสียดายท่ีการสอบระดับชาติของเรา ข้อสอบส่วนใหญ่สอบเพียงความรู้
ระดบั ผิว(๑๐)

(๘) ทงั้ ๓ ระดบั เทยี บกบั รเู้ ขา้ ใจ เอาไปใช้ ของ Bloom’s cognitive domain ผมใชก้ ารเดนิ ขนึ้ ตกึ มาอธบิ ายวา่
ทง้ั ๓ ขนั้ มนั ตอ่ เนอ่ื งกนั เราไมส่ ามารถขน้ึ ถงึ ตกึ ชนั้ ๓ ไดโ้ ดยไมผ่ า่ นชนั้ ๒ หมายความวา่ การเอาความรู้
ไปใช้ (ระดบั ๓) ตอ้ งมคี วามเขา้ ใจในความรนู้ นั้ (ระดบั ลกึ หรอื ระดบั “เขา้ ใจ” ของ Bloom) การสอนและประเมนิ
ตอ้ งวดั ทเ่ี ขา้ ใจใหไ้ ดก้ ่อน จึงจะไปสอบ PISA ทเ่ี ป็นระดบั เชื่อมโยงได้
(๙) คือการท�ำโจทย์ PISA ครูจึงต้องมีความสามารถออกข้อสอบประยุกต์ความรู้ได้ ซึ่งหมายความว่า
ครูตอ้ งเห็นการประยกุ ต์ความร้ไู ด้ดว้ ยตนเองก่อน
(๑๐) แลว้ ติว PISA เพือ่ หาทางโชวช์ าวโลกวา่ เด็กเรารรู้ ะดับ ๓ ซ่ึงเป็นตรรกะท่ผี ิดอย่างมาก จึงไมเ่ คย
สำ� เร็จ

• 51 •

เร่อื งเล่าจากหอ้ งเรยี นวิจยั

ภาควิริยะ - ภาคจิตตะ ปีการศึกษา ๒๕๖๑ คุณครูปาด - ศีลวัต ศุษิลวรณ์
รองผู้อ�ำนวยการฝ่ายวิชาการ โรงเรียนเพลินพัฒนา ได้ท�ำการศึกษาวิจัยในหัวข้อ “การ
พัฒนาวงจรการเรียนรู้ของผู้เรียนที่มองเห็นได้ ด้วยการประยุกต์วิธีการสอนแบบเปิด :
กรณีศึกษานักเรียนชั้นประถมปีที่ ๑” เพ่ือพัฒนาครูให้สามารถจัดการเรียนรู้แบบเปิด
(open approach) ท่ีขยายการมองเห็นการเรียนรู้ของผู้เรียน (visible learning)
ทเ่ี ปน็ การสรา้ งจดุ เรม่ิ ตน้ ของการพฒั นาคณุ ภาพการเรยี นรดู้ ว้ ยนวตั กรรมการจดั การเรยี น
การสอนที่จะช่วยให้ครูเกิดศักยภาพในการประจักษ์ถึงการเรียนรู้ของผู้เรียน และเพ่ือ
ให้เกิดการสร้างความรู้ในเร่ืองการจัดท�ำแผนการจัดการเรียนการสอนแบบเปิดท่ีขยาย
การมองเหน็ จากการลงมือปฏบิ ตั ิจริงของครูผสู้ อน รวมระยะเวลาของการท�ำการทดลอง
ทั้งส้นิ ๑๐ สปั ดาห์

นยิ ามศัพท์
๑. การจัดการเรียนรู้แบบเปิดท่ีขยายการมองเห็น หมายถึง การจัดการเรียนรู้ที่มีผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของ
การเรียนรู้ โดยมีขั้นตอนการเรียนรู้ท่ีประกอบด้วย ๖ ขั้นตอน ได้แก่ ๑) ขั้นภาวะพร้อม/ แรงบันดาลใจ
๒) ข้ันเสริมความพร้อม ๓) ข้ันก่อเกิดโจทย์ ๔) ข้ันสร้างสรรค์แก้ปัญหา ๕) ขั้นปฏิสัมพันธ์ ๖) ข้ันสรุป
ซ่ึงเป็นการเรียนรู้แบบเปิดในแนวทางของเพลินพัฒนาที่มีการปรับปรุงและยกระดับการมองเห็นการเรียนรู้ของ
ผเู้ รียน
๒. มองเหน็ การเรยี นรขู้ องผเู้ รยี น หมายถงึ การทป่ี ระจกั ษถ์ งึ การเรยี นรขู้ องผเู้ รยี นผา่ นการมองเหน็ ไดย้ นิ และ
เข้าใจการเรียนรู้ของผู้เรียน มองเห็นแรงขับในการเรียนรู้ วิธีการเรียนรู้ การรับรู้ ความเข้าใจ ความรู้สึกนึกคิด
ของผเู้ รยี นในขณะทเ่ี รยี นรู้ มองเหน็ กระบวนการเรยี นรทู้ คี่ รเู ออื้ อำ� นวยใหเ้ กดิ ขนึ้ และมองเหน็ ผลของกระบวนการ
เรียนรนู้ ั้นทมี่ ีต่อผเู้ รยี นอยา่ งชัดเจนเพียงพอตอ่ การประเมนิ เพ่อื พัฒนาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
๓. การเรยี นรขู้ องผเู้ รยี นทม่ี องเหน็ ได้ หมายถงึ การเรยี นรขู้ องผเู้ รยี นทค่ี รมู องเหน็ ได้ ผเู้ รยี นมองเหน็ ได้ และมี
การสง่ - รบั ข้อมูลปอ้ นกลับระหวา่ งครกู บั ผูเ้ รียนและผู้เรียนกบั ผู้เรยี นอย่างชัดเจน สม่ำ� เสมอ

• 52 •

การวจิ ยั นเ้ี ลอื กกรณศี กึ ษา คอื ครหู นว่ ยวชิ าภมู ปิ ญั ญาภาษาไทย ซง่ึ เคยทำ� งานในระบบ
lesson study ในแนวทางของโรงเรยี นเพลนิ พฒั นามากอ่ น จ�ำนวน ๒ คน และนกั เรยี น
ชั้นประถมปีท่ี ๑ โรงเรียนเพลินพัฒนา จ�ำนวน ๑๒๐ คน เน่ืองจากช้ันประถมปีท่ี ๑
เป็นปที ผี่ ้เู รยี นเรมิ่ เรยี นรู้การอา่ นเขียนอยา่ งจริงจงั เปน็ ปีแรก และเป็นชว่ งเวลาทยี่ ากท่สี ุด
ส�ำหรับครู ในการจัดการเรียนการสอนเขียนอ่านให้กับผู้เรียนอย่างมีประสิทธิผล และมี
ความสุข อีกท้ังยังเป็นจุดเร่ิมต้นที่ส�ำคัญอย่างยิ่งยวดส�ำหรับผู้เรียนในการสร้างรากฐาน
ของการเขยี นอา่ นท่ีจะงอกงามต่อไปจนตลอดชวี ิตด้วย

ข้อคน้ พบท่มี มี าก่อนการท�ำงานวจิ ยั

ปกี ารศึกษา ๒๕๕๗
คุณครูใหม่ - วิมลศรี ศุษิลวรณ์ ลงสอนหน่วยวิชาภูมิปัญญาภาษาไทย ห้อง ๖/๒
และไดต้ งั้ กลมุ่ lesson study หนว่ ยวชิ าภูมปิ ัญญาภาษาไทยข้นึ มา เพอ่ื ยกระดบั คณุ ภาพ
การจัดการเรียนการสอนของคุณครู และพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียนชั้น ๖ ท้ังระดับ
โดยในปีการศึกษานั้นคุณครูใหม่ได้คิดแผนการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นให้ผู้เรียน
เข้าถึงความดี ความงาม ความจริง ของส่ิงที่เรียน และได้สร้างกระบวนการเรียนรู้ท่ี
ผเู้ รยี นจะไดใ้ ชส้ นุ ทรยี สมั ผสั ของตน เพอ่ื การเขา้ ถงึ การเรยี นรดู้ ว้ ยตนเอง ตลอดจนรอ้ ยเรยี ง
เนอ้ื หาทงั้ หมดใหต้ ง้ั ตน้ จากการสรา้ งแรงบนั ดาลใจ และการสรา้ งประสบการณก์ ารเรยี นรู้
จากระดับผิว ไปสู่ระดับลึก จนกระท่ังผู้เรียนสามารถเช่ือมโยงการเรียนรู้ท่ีเกิดข้ึนกับ
ตนเองได้อย่างคล่องแคล่ว ผลลัพธ์ท่ีเกิดข้ึนคือ ค่าเจตคติท่ีผู้เรียนมีต่อการเรียนรู้ของ
หน่วยภูมิปัญญาภาษาไทย พลิกจากลบเป็นบวกตลอดปีการศึกษา ซ่ึงเป็นปรากฏการณ์
ทีไ่ ม่เคยเกดิ ข้ึนมาก่อน

๔. หน่วยวิชาภูมิปัญญาภาษาไทย หมายถึง การจัดการเรียนการสอนลักษณะหน่ึงของโรงเรียนเพลินพัฒนา
ซงึ่ มกี ารบรู ณาการสาระยอ่ ยตา่ งๆ ในกลมุ่ สาระวชิ าภาษาไทย แกน่ สาระของภมู ปิ ญั ญาไทยแขนงตา่ งๆ ศลิ ปะวจิ กั ษ์
และสุนทรยี ศาสตร์เขา้ ดว้ ยกันซึ่งมเี ป้าหมายใหผ้ ้เู รยี นเขา้ ถึงคุณค่า แก่นสาระของความรู้ และทกั ษะตา่ งๆ ท่นี ำ�
มาบรู ณาการ เขา้ ถงึ สภาวะของการบรู ณาการนน้ั ซงึ่ เปน็ รากฐานของภมู ปิ ญั ญาไทย และเกดิ เจตคติ ความรแู้ ละทกั ษะ
ในการใชภ้ าษาไทยอย่างมีคุณคา่
๕. ระบบ lesson study แบบเพลินพัฒนา หมายถึง ระบบการพัฒนาแผนการจัดการเรียนการสอน การจัด
การเรยี นการสอน การพฒั นาผู้เรยี น และการพัฒนาครู ท่ีบรู ณาการอยูใ่ นงานเดียวกัน โดยการร่วมคดิ รว่ มท�ำ
ร่วมสังเกต ร่วมสะท้อนของกลุ่มครูที่กระท�ำอย่างต่อเน่ืองเป็นวงจรต้ังแต่ก่อนการเรียนการสอน ระหว่าง
การเรียนการสอน และหลังการเรียนการสอน ซ่ึงมีท้ังรอบท่ีมีความถี่สั้น และรอบที่มีความถ่ียาว อีกท้ังยังต้อง
ปฏบิ ัติรว่ มกบั การจัดการเรียนรู้แบบเปิดในแนวทางของเพลินพฒั นาดว้ ย

• 53 •

ในชน้ั เรียนภมู ปิ ัญญาภาษาไทยของนักเรยี นชัน้ ประถมปที ี่ ๖ ท่คี ณุ ครใู หม่ - วมิ ลศรี
ศุษิลวรณ์ เป็นครูผู้สอนจะมีบรรยากาศของการช่ืนชมกันให้เห็นอยู่เสมอ ทั้งค�ำขอบคุณ
ของครูเมื่อนักเรียนตอบค�ำถามที่เป็นประโยชน์ต่อการด�ำเนินไปของชั้นเรียน ค�ำชื่นชม
ของเพื่อนที่เขียนใส่กระดาษโนต้ แผน่ เลก็ ๆ ใหร้ วู้ า่ ผลงานแตล่ ะช้นิ ดอี ย่างไร
นอกจากนคี้ รมู กั มคี ำ� ชมทน่ี กั เรยี นเจา้ ของผลงานเองกค็ าดไมถ่ งึ มาชนื่ ชมดว้ ย เพราะ
ครใู หมใ่ ชเ้ วลาตรวจงานแตล่ ะชน้ิ อยา่ งพถิ พี ถิ นั ในขณะทต่ี รวจงานกค็ ดิ ไปดว้ ยวา่ นกั เรยี น
แตล่ ะคนมพี ฒั นาการอะไร ขณะนน้ี กั เรยี นสว่ นใหญม่ พี ฒั นาการอยทู่ ร่ี ะดบั ใด สมรรถนะ
ท่ีเกิดขึ้นเป็นไปตามเป้าหมายของแผนการเรียนรู้ท่ีครูตั้งไว้หรือไม่ ถ้ายังไม่ถึง จะท�ำ
กจิ กรรมอะไรเพม่ิ เตมิ บา้ ง และถา้ หากสมรรถนะไปถงึ ระดบั ทต่ี อ้ งการแลว้ ในคาบเรยี นหนา้
ครูจะต่อยอดกจิ กรรมการเรียนรู้ไปอย่างไรไดอ้ ีก

ปฏิสัมพันธ์ระหว่าง ในคาบเรยี นในครั้งถัดไป เม่อื ได้รบั สมดุ คืน พวกเขาทกุ คน
ครูกับศิษย์ ES ๐.๗๒ กระตือรือร้นที่จะเปิดอ่านการเขียนสะท้อนผลที่ครูเขียนไว้ใน
ความนา่ เช่อื ถอื ของครู สมุดงานทุกเล่ม ด้วยข้อความช่ืนชมท่ีสื่อสารมาถึงนักเรียน
ES ๐.๙๐ เป็นรายบุคคล เพ่ือให้นักเรียนแต่ละคนได้เห็นความก้าวหน้า
ของตวั เอง เหน็ ขอ้ ดี ขอ้ ทคี่ วรพฒั นาตอ่ ไป สว่ นมากแลว้ นกั เรยี น
กจ็ ะเอามาแลกกันอ่านกบั เพ่อื นทีน่ ่งั ขา้ งๆ กนั ดว้ ย
หลังจากนั้นครูจะน�ำเสนอถ่ายภาพช้ินงานที่น่าสนใจท่ีครู
เลือกไว้ตอนที่ตรวจการบ้าน กลับมาเรียนรู้ร่วมกันในช้ันเรียน
อีกครั้ง ในขั้นตอนนี้จะมีการฉายข้ึนจอให้นักเรียนทั้งห้องได้
เรยี นรรู้ ว่ มกนั พรอ้ มทงั้ กลา่ วชนื่ ชมและปรบมอื ใหก้ บั ความสำ� เรจ็
ของเพอ่ื นด้วย
การทคี่ ำ� ชน่ื ชมของครสู ง่ ผลตอ่ นกั เรยี นไดเ้ ชน่ นี้ เพราะครมู ี
ฉนั ทะทจี่ ะตดิ ตามความกา้ วหนา้ ของนกั เรยี นแตล่ ะคนผา่ นงาน
แตล่ ะชนิ้ เพอ่ื พฒั นาพวกเขาไปทลี ะกา้ วอยา่ งไมร่ บี รอ้ น เมอื่ อยู่
ในช้ันเรียนจิตใจของครูก็จดจ่ออยู่กับการเรียนรู้ของนักเรียน
ตลอดเวลา

• 54 •

วิธีการสะท้อนผลท่ีครูใหม่ใช้มีท้ังการสะท้อนผลรายบุคคล การสะทอ้ นผล
การสะทอ้ นผลรายกลมุ่ และการสะทอ้ นผลใหเ้ หน็ ภาพรวมของ การเรียนรู้ ES ๐.๗๕
ทง้ั หอ้ ง สงั เกตไดช้ ดั วา่ นกั เรยี นจะรอใหถ้ งึ ชว่ งเวลาทค่ี รจู ะกลา่ วถงึ การตัง้ เป้าหมาย
การท�ำงานของนักเรียนแต่ละคนแล้วครูน�ำไปต่อภาพสะท้อน การเรียนรู้ ES ๐.๕๐
ใหเ้ หน็ เปน็ การเรยี นรทู้ เี่ กดิ ขนึ้ ในภาพรวมของทงั้ หอ้ งดว้ ยความ
ตน่ื เตน้ ทกุ ครงั้
นอกจากนค้ี รใู หมย่ งั ใชย้ ทุ ธศาสตร์ “รกั ษาขอ้ ดเี ดมิ เพมิ่ เตมิ
ขอ้ ดใี หม”่ ในการรกั ษาระดบั การเรยี นรขู้ องนกั เรยี นทงั้ หอ้ งเอาไว้
น่ันคือเมื่อนักเรียนแต่ละคนรับรู้ข้อดีของตนเองจากท่ีเพ่ือน
และครสู ะทอ้ นผลแลว้ ทกุ คนจะตอ้ งบนั ทกึ เอาไวใ้ นสมดุ วา่ ขอ้ ดี
ในการท�ำงานชิ้นที่แล้วของตนคืออะไร พร้อมกับเลือกข้อดีอีก
ข้อเพิ่มเข้ามาเป็นเป้าหมายใหม่ในการท�ำงานคร้ังต่อไป และ
เมอื่ ทำ� งานสำ� เรจ็ แลว้ ครจู ะใหน้ กั เรยี นอา่ นงานของตนแลว้ ยอ้ น
กลับไปประเมินเป้าหมายที่ตั้งเอาไว้ว่าสามารถท�ำได้หรือไม่
เพราะเหตใุ ด

ด้วยเหตุน้ีการเรียนรู้จึงยกระดับขึ้นไปเรื่อยๆ นักเรียนที่อยู่ในช้ันเรียนน้ีจึงไม่มีใคร
คา้ งงาน ไมม่ ใี ครไดใ้ บ “ป” หรอื ปรบั ปรงุ เพราะสง่ งานลา่ ชา้ กวา่ กำ� หนด เนอ่ื งจากครใู หม่
ดูแลทุกคนอย่างใกล้ชิด และหากพบว่านักเรียนส่งงานไม่ครบก็จะติดตามไปถามปัญหา
พร้อมท้งั ชว่ ยเหลอื ใหน้ กั เรียนกา้ วข้ามอปุ สรรคไปดว้ ยกัน ทำ� ให้ทกุ คนเกิดความรว่ มแรง
ร่วมใจ ชวนกันสง่ งานกนั อยา่ งพรอ้ มเพรยี ง
เมอ่ื จบคาบเรยี นทกุ ครงั้ หลงั จากทน่ี กั เรยี นกลา่ วขอบคณุ แลว้ ครจู ะกลา่ วขอบคณุ และ
ชืน่ ชมนกั เรียนด้วยสายตา หรือด้วยวาจาเสมอ
ปีการศกึ ษา ๒๕๕๘
ท�ำการขยายผลแนวทางการจัดการเรียนการสอนดังกล่าวลงสู่ครูผู้สอนหน่วยวิชา
ภูมปิ ัญญาภาษาไทย ชน้ั ๑ - ๖ ซ่ึงไดผ้ ลลพั ธเ์ ปน็ ท่ีน่าพอใจเช่นเดยี วกัน

• 55 •

โครงงานชมไมล้ ายไทย เจ้าของผลงาน : เด็กหญิงรดา เจษฎาวรานนท ์ นกั เรียนช้นั ประถมปีท่ี ๒

• 56 •

โครงงานชมไมล้ ายไทย เจา้ ของผลงาน : เด็กหญงิ นภทั ร น่มิ วชริ ะสุนทร นกั เรยี นชั้นประถมปที ่ี ๒

• 57 •

สถานการณ์ก่อนหน้านี้

คณุ ครตู อ้ ง - นฤตยา ถาวรพรหม บนั ทกึ การใครค่ รวญตวั เองเอาไวว้ า่ ในปกี ารศกึ ษา
๒๕๕๗ ก่อนที่จะย้ายมาเป็นครูสอนหน่วยภูมิปัญญาภาษาไทยอย่างเต็มตัวฉันได้รับ
มอบหมายให้ท�ำหน้าที่สอนในหน่วยวิชาภูมิปัญญาภาษาไทยควบคู่ไปกับการสอนหน่วย
วชิ ามานษุ กบั โลกของนักเรียนหน่งึ หอ้ งเรียนในระดบั ช้ันประถมปที ่ี ๒
การสอนทั้งสองวิชาไปพร้อมกันท�ำให้พบความส�ำเร็จและข้อจ�ำกัดอยู่พอสมควร
ในดา้ นทปี่ ระสบความสำ� เรจ็ คอื เมอ่ื ไดส้ อนทงั้ สองวชิ าทม่ี คี วามแตกตา่ งกนั ทำ� ใหไ้ ดเ้ หน็
วิธีการเรียนรู้ของนักเรียนคนเดียวกันที่มีความแตกต่างกันออกไป เม่ือเขาเปลี่ยนหน่วย
วชิ าทเี่ รยี น อกี ทงั้ ไดพ้ บเหน็ วธิ กี ารสอนและการเตรยี มการสอนทมี่ คี วามแตกตา่ งกนั ของ
หน่วยวชิ าทั้งสองด้วย
ปัญหาและอุปสรรคที่พบในการเรียนการสอนหน่วยวิชาภูมิปัญญาภาษาไทยนั้น
เร่ิมจากการท่ีนักเรียนในห้องเรียนบางคนท่ีมีปัญหาด้านการอ่าน การเขียน และการใช้
ภาษาซงึ่ จะสง่ ผลตอ่ การเรยี นรใู้ นวชิ าอนื่ ๆ ตามไปดว้ ย สว่ นปญั หาทสี่ ำ� คญั อกี ประการหนง่ึ
ท่ีพบในการเรียนก็คือ เด็กๆ ส่วนใหญ่ในห้องเรียนไม่ค่อยชอบการเรียนวิชาน้ีเท่าไรนัก
โดยเด็กๆ มักให้เหตุผลสั้นๆ เช่น ไม่ชอบเขียนเยอะๆ ไม่ชอบอ่าน และไม่อยากเรียน
เพราะไมส่ นกุ เปน็ ตน้ เมอื่ ไดฟ้ งั เหตผุ ลของนกั เรยี น ทำ� ใหค้ รไู ดก้ ลบั ไปทบทวนการสอน
ของตนเอง ทำ� ใหไ้ ดพ้ บวา่ การสอนวชิ าภมู ปิ ญั ญาภาษาไทยในภาคเรยี นทผี่ า่ นมามลี กั ษณะ
ดงั นี้
- แผนการสอนท่ีมีความมุ่งเน้นด้านการอ่านออกเขียนได้ ฉันพบว่าวิธีการสอน
ในตอนนนั้ มคี วามเรง่ เรา้ ใหน้ กั เรยี นอา่ นออก และเขยี นไดม้ ากจนเกนิ ไป เรอื่ งราวทใ่ี ชส้ อน
กเ็ ปน็ สงิ่ ทไี่ กลตวั มากเกนิ ไป จนทำ� ใหน้ กั เรยี นไมส่ ามารถเชอื่ มโยงความรเู้ ขา้ กบั หลกั ภาษาได้
การท�ำกิจกรรมในห้องเรียนส่วนใหญ่จะเน้นการอ่านจากหนังสือและการเขียน ส่ือที่ใช้
กม็ กั จะเป็นรูปภาพ สารคดี หนงั สอื เปน็ สว่ นใหญ่
- ความไมพ่ รอ้ มของผสู้ อน ทง้ั ในดา้ นความรเู้ ชงิ ภาษาและการออกแบบวธิ กี ารเรยี นรู้
ของผูเ้ รยี น
- สภาพแวดล้อมและบรรยากาศในการเรียนรู้ ฉันพบว่าการเรียนรู้ของนักเรียน
ในห้องเรียนมีความแตกต่างกันอยู่มากพอสมควร คือ มีท้ังนักเรียนที่เขียนภาษาไทยได้

• 58 •

อย่างคล่องแคล่วใช้ภาษาถูกต้อง สามารถสะกดค�ำได้เอง ส่วนอีกกลุ่มหนึ่งคือกลุ่มท่ี
สามารถสือ่ สารด้วยการพูดไดด้ ีแต่การเขยี นถ่ายทอดความร้นู ัน้ ยงั ไมค่ ล่องแคล่วมากนกั
และกลุ่มสุดท้ายคือ นักเรียนท่ีมีปัญหาด้านการอ่านและการเขียน ทั้งการออกเสียง
ไม่ชดั เจน เขียนและสะกดคำ� ไม่ได้
- ความแตกต่างของนักเรียนสง่ ผลต่อความยากในการออกแบบการสอน บอ่ ยครั้ง
ที่พบว่าในแผนการสอนเดียวกันมีนักเรียนที่สามารถเรียนรู้ได้ นักเรียนท่ีท�ำได้เสร็จ
ในเวลาอนั รวดเร็วและคดิ ว่าบทเรยี นนัน้ งา่ ยจนเกินไป และนักเรียนอีกกลุ่มหน่ึงรู้สึกว่า
สิ่งท่ีครูให้ท�ำน้ันยากเกินความสามารถของเขา บรรยากาศของห้องเรียนเช่นนี้ท�ำให้
ท้งั ครแู ละเด็กเกดิ ความรสู้ กึ ถึงความยากลำ� บากทั้งผูส้ อนและผู้เรียน
- การตรวจงานของนกั เรยี นไมท่ นั เวลาของครู สง่ ผลใหไ้ มส่ ามารถสงั เกตเหน็ ปญั หา
ของผูเ้ รียนและไม่สามารถพัฒนาการเรียนรูข้ องผู้เรียนเปน็ รายบุคคลได้อย่างทนั ทว่ งที
เมื่อได้ทบทวนปัญหาและอุปสรรคที่เกิดข้ึนในภาคเรียนสุดท้ายของปีการศึกษา
๒๕๕๗ แล้ว ในต้นปีการศึกษา ๒๕๕๘ จึงมีการน�ำปัญหาและอุปสรรคท่ีพบเจอใน
การเรียนการสอนมาพัฒนากระบวนการเรียนรู้ของนักเรียนและครูกันใหม่อีกครั้งหนึ่ง
โดยมีคุณครใู หม่ - วิมลศรี ศษุ ลิ วรณ์ เข้ารว่ มอยใู่ นทีมด้วย
การยกเครื่องกระบวนการเรียนรู้ใหม่ในคร้ังนี้ ท�ำให้ฉันได้พบว่าในการออกแบบ
การสอนนั้น ครูจะต้องรู้จักพื้นฐานด้านความรู้และทักษะในการฟัง การพูด การอ่าน
และการเขยี นของนกั เรยี นเสยี กอ่ น เพอื่ ทจ่ี ะไดเ้ หน็ พฒั นาการของผเู้ รยี นและสง่ิ ทตี่ อ้ งพฒั นา
เพม่ิ เตมิ ตอ่ ไป เมอื่ เราหยงั่ ถงึ พน้ื ฐานความรแู้ ละสมรรถนะทนี่ กั เรยี นมอี ยไู่ ดแ้ ลว้ ขนั้ ตอ่ ไป
คอื การทเี่ ราจะตอ้ งออกแบบกระบวนการเรยี นรตู้ ามเปา้ หมายทเ่ี ราไดต้ งั้ ไวอ้ ยา่ งเปน็ ลำ� ดบั
ข้นั ตอน จากง่ายไปยาก จากเล็กไปใหญ่ จากใกล้ตัวไปไกลตัว คอ่ ยๆ ร้อยเรยี งเรือ่ งราว
เข้าด้วยกัน โดยบูรณาการหลักการทางภาษา สอดแทรกคุณค่าและคุณธรรมในการ
ด�ำรงชีวิตในการอยู่ร่วมกันเข้าไปด้วย ผ่านการท�ำกิจกรรมในรูปแบบต่างๆ เช่น การได้
สังเกตจากของจริง การฟังเรื่องเล่านิทานต่างๆ ที่ช่วยส่งเสริมจินตนาการ การเรียนรู้
และแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างเพ่ือนกับเพ่ือน เป็นต้น ฉันได้เรียนรู้ว่าการออกแบบ
แผนการสอนทจ่ี ะทำ� ใหผ้ เู้ รยี นเกดิ ความเขา้ ใจไดอ้ ยา่ งลกึ ซงึ้ และแมน่ ยำ� นนั้ เดก็ ๆ จะตอ้ ง
เรียนรู้อย่างเป็นธรรมชาติ โดยสิ่งท่ีเรียนรู้น้ันจะต้องมีความสัมพันธ์และเชื่อมโยงกับ
การใช้ชีวติ ของเขาด้วย

• 59 •

ปกี ารศึกษา ๒๕๕๙
มีการน�ำความรู้เรื่องของรอยเช่ือมต่อระหว่างช้ันอนุบาลและช้ันประถมปีที่ ๑
เขา้ มาใช้ในช้นั เรียน ด้วยการให้เดก็ ๆ สอ่ื สารดว้ ยภาษาภาพ พร้อมๆ ไปกับภาษาเขยี น
เพื่อสร้างฉันทะ และสร้างกระบวนเรียนรู้ที่ผู้เรียนแต่ละคนจะสามารถถ่ายทอด
ประสบการณ์ที่ตนรู้จักและเข้าใจได้จริงๆ ด้วยสุนทรียสัมผัสและการเข้าถึง “คุณค่า”
ความดี ความงาม ความจรงิ ของส่งิ ทีเ่ รียนรู้

ครสู รา้ งกระบวนการเรียนรทู้ หี่ ล่อเลย้ี งให้จินตนาการ
และความฝัน

เดนิ ทางมาบรรจบกบั ความเปน็ จริง
ตวั อย่างความรูช้ ดุ คนื วันผนั เปล่ยี นหมนุ เวยี นชวี ติ ท่เี ปน็ ต้นทางของการเรียนรู้

• 60 •

• 61 •

งานเขียนเรือ่ ง กลางวนั เจา้ ของผลงาน : เด็กชายกญั จน์ภูมิ เตชปัญญากลุ นกั เรยี นชั้นประถมปที ่ี ๑

• 62 •

ปกี ารศึกษา ๒๕๖๐
คณุ ครเู รมิ่ นำ� คลงั คำ� ทส่ี ะทอ้ นถงึ ความรสู้ กึ และคลงั คำ� ทแี่ สดงถงึ ความงามและสนุ ทรยี ภาพ เขา้ ไป
สรา้ งการเรียนร้ใู นชน้ั เรียน เพม่ิ พนู ความประณตี ละเมยี ดละไมในการใชค้ �ำทใ่ี ห้มายิง่ ขน้ึ ไปอีก

งานเขยี นเรอื่ ง กลางคนื เจา้ ของผลงาน : เดก็ ชายพนั วิทย์ ศุภวีระเสถยี ร นักเรียนชั้นประถมปที ี่ ๑

• 63 •

นอกจากนย้ี งั มกี ารสรา้ งความความสนกุ สนานจากการ “เลน่ กบั คำ� ” และความหมาย
ของค�ำซึ่งมีท่ีมาจากส�ำนวนสุภาษิตที่มีความเชื่อมโยงกับวิถีชีวิตอย่างเป็นล�ำดับ เช่น
ในการเรียนเรื่องข้าว เช่ือมโยงไปสู่ค�ำว่า กินข้าวกินปลา ที่เด็กๆ ได้รู้จักข้าวแต่ละชนิด
และปลาน้�ำจืดชนิดต่างๆ มีการเล่นเกมทายสุภาษิตไทยท่ีมีค�ำว่าปลา จากน้ันให้เด็กๆ
เลือกสุภาษิตที่ตนชื่นชอบแล้ววาดภาพประกอบ ซ่ึงเป็นกิจกรรมท่ีน�ำพาชั้นเรียนไปสู่
การสรา้ งการเรยี นรใู้ นระดบั เชอ่ื มโยง
ตัวอย่างชิ้นงานสุภาษติ ไทยของนกั เรยี นชน้ั ประถมปีที่ ๑

งานเขยี นเรอื่ ง สุภาษติ ไทย เจ้าของผลงาน : เดก็ หญิงวินติ า วราปกรณ ์ นักเรยี นชัน้ ประถมปีที่ ๑

• 64 •

งานเขยี นเรื่อง สภุ าษติ ไทย เจ้าของผลงาน : เด็กหญงิ ณมน มศี ริ ิ นักเรียนช้นั ประถมปีท่ี ๑

งานเขียนเร่อื ง สุภาษติ ไทย เจา้ ของผลงาน : ไมท่ ราบชื่อเจ้าของผลงาน นักเรยี นชั้นประถมปที ่ี ๑

• 65 •

งานเขยี นเร่อื ง สภุ าษติ ไทย เจา้ ของผลงาน : เด็กหญิงอมนิ ฎา อม่ิ ผล นักเรียนชัน้ ประถมปีท่ี ๑

งานเขียนเรื่อง สุภาษติ ไทย เจา้ ของผลงาน : เดก็ หญงิ ณิชชา ก่อสุวรรณสกลุ นักเรยี นช้นั ประถมปที ่ี ๑

• 66 •

งานเขยี นเรือ่ ง สุภาษิตไทย เจ้าของผลงาน : ไมท่ ราบชอื่ เจา้ ของผลงาน นักเรียนชั้นประถมปีที่ ๑

งานเขียนเรอ่ื ง สุภาษิตไทย เจ้าของผลงาน : ไมท่ ราบชื่อเจา้ ของผลงาน นกั เรียนชน้ั ประถมปที ี่ ๑

• 67 •

งานเขยี นเรื่อง สุภาษติ ไทย เจ้าของผลงาน : ไมท่ ราบชอ่ื เจ้าของผลงาน นักเรยี นชนั้ ประถมปีที่ ๑

งานเขียนเร่อื ง สภุ าษิตไทย เจ้าของผลงาน : เด็กหญงิ นารา สทุ ธิยุทธ์ นกั เรยี นชน้ั ประถมปที ี่ ๑

• 68 •

ปีการศกึ ษา ๒๕๖๑
ฝ่ายวิชาการเร่ิมต้นท�ำการวิจัยเพ่ือสร้างการเรียนรู้ท่ีมีลักษณะส�ำคัญของ visible
learning ดว้ ยการสรา้ งแผนการเรยี นรขู้ องหนว่ ยวชิ าภมู ปิ ญั ญาภาษาไทยชนั้ ประถมปที ่ี ๑
สำ� หรบั ใชใ้ นภาควริ ยิ ะ - ภาคจติ ตะจำ� นวน ๒๐ แผน โดยการประยกุ ตว์ ธิ กี ารสอนแบบเปดิ
และใช้กระบวนการ lesson study สร้างการเรยี นรูใ้ หก้ ับคุณครผู ้สู อนทั้ง ๒ ทา่ น และ
โคช้ ๒ ทา่ น
แผนการเรียนรู้แบบเปิดท่ีขยายการมองเห็นท่ีสร้างข้ึนนี้ ใช้เวลาด�ำเนินการแผนละ
๙๐ นาทตี ดิ ต่อกัน สปั ดาห์ละ ๒ แผน โดยมลี �ำดบั ข้ันตอนดงั นี ้
๑. ขน้ั นำ� เป็นการสร้างภาวะพร้อมเรียนและการซมึ ซบั และการสร้างแรงบันดาลใจ
และจุดมงุ่ หมายในการเรยี นรู้
๒. ข้ันเสริมความพร้อม เป็นข้ันการให้ประสบการณ์และเง่ือนไขท่ีเหมาะสม และ
การสง่ เสริม ดแู ล เอาใจใส่ ให้ผเู้ รียนสร้างความรู้ขนึ้ เองผ่านการลองผิดลองถกู
๓. ขั้นก่อเกดิ โจทย์ เป็นข้ันการใหเ้ ง่ือนไขหรอื สถานการณ์ปัญหาท่เี หมาะสม
๔. ขน้ั สรา้ งสรรค์ / แกป้ ญั หา เปน็ ขนั้ การสง่ เสรมิ ดแู ล เอาใจใส่ ใหผ้ เู้ รยี นสรา้ งความรู้
ขึ้นเองผ่านการลองผิดลองถูก ครูประเมินการเรียนรู้ของผู้เรียนในขณะเรียนรู้
ตอบสนองต่อผลการประเมินอย่างเหมาะสมและทันเวลา ขับเคลื่อน และปรับ
พฤติกรรมผเู้ รียนดว้ ยวิธกี ารเชงิ บวกและการสะท้อนทีส่ ร้างสรรค์
๕. ขนั้ ปฏสิ มั พนั ธท์ างความรู้ เปน็ ขนั้ การนำ� เสนอผลงานการเรยี นรทู้ งั้ เดย่ี วและกลมุ่
และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ครูประเมินการเรียนรู้ของผู้เรียนในขณะเรียนรู้
ตอบสนองต่อผลการประเมินอย่างเหมาะสมและทันเวลา ขับเคลื่อนและ
ปรับพฤตกิ รรมผเู้ รยี นดว้ ยวิธีการเชงิ บวกและการสะทอ้ นทสี่ รา้ งสรรค์
๖. ขั้นประมวลสรปุ / สังเคราะห์ / ตอ่ ยอดและประเมนิ ตนเอง เปน็ ขั้นการส่งเสรมิ
ให้ผู้เรียนประมวล สรุป สังเคราะห์ความรู้ และสร้างสรรค์ต่อยอดด้วยตนเอง
และด้วยการท�ำงานร่วมกันของกลุ่ม และการส่งเสริมให้ผู้เรียนประเมินตนเอง
ตง้ั เป้าหมายการเรียนรขู้ องตนเองในครัง้ ถัดไป

• 69 •

จากการวิจัยพบว่า แผนการจัดการเรยี นรู้ทีอ่ อกแบบใหผ้ เู้ รียนเปน็ ผูส้ ร้างความเขา้ ใจ
ในสิ่งที่ได้เรียนรู้ด้วยตนเอง ได้เรียนรู้ส่ิงใหม่จากความรู้และความเข้าใจเดิมท่ีมีอยู่
เช่ือมเข้ากับประสบการณ์ที่ได้รับในการจัดสภาพแวดล้อมในการเรียนรู้ ที่มีกลุ่มเพื่อน
ร่วมเรียนรู้และแบ่งปันประสบการณ์ นี่เองท่ีน�ำพาให้ผู้เรียนเข้าถึงความหมายของสิ่งท่ี
ก�ำลังเรียนรู้ และได้กลายเป็นปัจจัยความส�ำเร็จของการแก้ไขปัญหา การอ่านไม่ออก
เขียนไม่ได้ ท่ีแก้ไขได้ด้วยการสร้างผู้เรียนให้มีความสามารถในการก�ำกับตนเอง และ
การสะทอ้ นตนเองในการเรียนรู้ ซึง่ ท�ำให้ผู้เรียนเกิดแรงจูงใจในการเรยี นรู้อย่างต่อเน่อื ง
ครมู ที ักษะในการจดั การเรยี นรตู้ ามแผนไดด้ ี สามารถจดั การเรียนการสอนไดอ้ ยา่ ง
มีประสิทธิภาพ เห็นได้จากการประเมินตนเองหลังสอนในคร้ังแรก เปรียบเทียบกับ
พฒั นาการทีเ่ กิดข้นึ ในครง้ั ต่อมา
ขอ้ คน้ พบสำ� คญั คอื การจดั การเรยี นรแู้ บบเปดิ ทขี่ ยายการมองเหน็ น้ี สามารถนำ� พา
ผู้เรียนไปสัมผัสกับคุณค่าแท้ของสิ่งที่เรียน และคุณค่าแท้ของการเรียนรู้ นอกจากนี้
ยงั สรา้ งใหผ้ เู้ รยี นเกดิ ความเปน็ เจา้ ของการเรยี นรู้ (ownership) สามารถเรยี นรดู้ ว้ ยการนำ�
ตัวเอง (self - directed learning) ติดตามด้วยความสามารถในการสะท้อนการเรียนรู้
และความสามารถในการพัฒนาตนเอง อันเป็นคุณลักษณะท่ีจ�ำเป็นของการเรียนรู้
ในศตวรรษที่ ๒๑ ซึ่งเกิดข้ึนได้จากการจัดการเรียนรู้ท่ีมีผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของ
การเรียนรู้อย่างแท้จริง นอกจากนี้ยังพบว่า แผนการจัดการเรียนรู้แบบเปิดที่ขยาย
การมองเห็น เป็นวิธีการในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ท่ีสามารถน�ำไปใช้แก้ปัญหา
ในเรื่องการ “อ่านไม่ออก เขียนไม่ได้” ในระดับชั้นประถมปีท่ี ๑ และเป็นการสร้าง
รอยเชอ่ื มตอ่ ระหวา่ งการเรยี นรใู้ นระดบั ชน้ั อนบุ าลและชนั้ ประถมศกึ ษา ใหม้ คี วามราบรน่ื
และเชื่อมโยงได้เป็นอย่างดี

• 70 •

ตวั อยา่ งงานเขยี นสะทอ้ นตนเองของผเู้ รยี น เมอ่ื ส้ินสดุ ปกี ารศกึ ษา
• 71 •

• 72 •

• 73 •



ดวงตา หมายเลข ๓ เจ้าของผลงาน : เดก็ หญงิ ภรภัทร เจนศิริกลุ และ
เด็กหญิงณัฐชานันท์ สุวฒั นพิมพ์



ปพู ืน้ ฐานสู่ผลการเรียนระดับสงู

บันทึกน้ี ตีความจากบทท่ี 1 Laying the Groundwork for Visible Learning
for Literacy ส่วนหัวข้อย่อย General Literacy Learning Practices ในหนังสือ
หนา้ 21 - 34
สาระสำ� คญั ของบนั ทกึ น้ี คอื ๓ ปจั จยั หลกั สกู่ ารเรยี นรู้ ไดแ้ ก่ (๑) ความทา้ ทาย
(๒) บรรลุเป้าหมายด้วยตนเอง (๓) มีเป้าหมายการเรียนรู้ โดยมีเกณฑ์บอก
ความสำ� เรจ็ สามปจั จยั นม้ี ีผลต่อการเรยี นรใู้ นเด็กทุกวยั (๑)
ความท้าทาย (Challenge)
เด็กมีธรรมชาติชอบความท้าทาย และยินดีท�ำงานหนักเพ่ือความส�ำเร็จใน
การเรยี นซง่ึ นำ� ไปสคู่ วามสำ� เรจ็ ในชวี ติ โดยความทา้ ทายนนั้ ตอ้ งพอดี ไมง่ า่ ยเกนิ ไป
จนน่าเบ่ือ และไม่ยากเกินไปจนท้อถอย ในประเด็นยากน้ี ผมมีความเห็นต่าง
ว่านักเรียนต้องได้รับโจทย์ที่ยากมากเป็นครั้งคราว เพ่ือฝึกให้เป็นคนสู้ส่ิงยาก
ไม่ท้อถอยง่าย โดยครูต้องคอยหนุน ให้ก�ำลังใจให้ฟันฝ่า (High Expectation,
High Support) ประสบการณเ์ ผชญิ ความยากลำ� บากจนจวนเจยี นจะถอดใจ แลว้ ครู
เขา้ ไปหนนุ ไมใ่ หถ้ อดใจ มกี ารฟนั ฝา่ สจู้ นสำ� เรจ็ เปน็ ประสบการณท์ มี่ คี ณุ คา่ ในชวี ติ

(1) ข้อ 1 และ 2 เกิดจาก growth mindset ในตัวเด็ก ซึ่งเป็นผลจากปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับเด็ก
ในบันทึกตอนที่ ๒ การเปล่ียนแปลงตัวครูตามบทท่ี ๒ จึงส�ำคัญมาก ส่วนข้อ ๓ คือการท่ีนักเรียนรู้สึก
ไม่เล่ือนลอย ทำ� ไดส้ ำ� เรจ็ เพ่อื ครูเริ่มตน้ ด้วยการโยงบทเรยี นเขา้ กบั บรบิ ทใกล้ตวั นกั เรยี น

• 76 •

ชว่ ยฝกึ ความมงุ่ มนั่ และมมุ านะซงึ่ เปน็ การพฒั นาอทิ ธบิ าท ๔ ทภี่ าษาองั กฤษเรยี กวา่
grit (ดเู พม่ิ เตมิ ไดท้ ี่ https://www.gotoknow.org/posts/613528) เปน็ คณุ ลกั ษณะ
ส�ำหรับชวี ติ ทปี่ ระสบความสำ� เร็จสงู (๒)
ครตู อ้ งจดั การความทา้ ทายเปน็ โดยตอ้ งปรบั ตามบรบิ ทและตามแตล่ ะสถานการณ์
หน้าท่ีหลักของครูแห่งศตวรรษที่ ๒๑ คือ ช่วยให้นักเรียนรู้สึกสนุกกับความ
ท้าทายในการเรียน ไม่ใช่ท้อถอย(๓) สาระในหนังสือเล่มน้ีว่าด้วยเร่ืองนี้ท้ังสิ้น แต่
ในตอนน้ีจะวา่ ดว้ ยเปา้ หมายระดับของการเรียนรู้
เป้าหมายระดบั ของการเรียนรู้ : ผวิ ๆ ลกึ และนำ� ไปใช้ในบรบิ ทอน่ื ได้
ครูต้องรู้ว่าในขณะนั้นต้องจัดการเรียนรู้ในระดับผิว ลึก หรือน�ำไปใช้ในต่าง
บริบทได้ (transfer) ในสัดส่วน หรือส่วนผสมอย่างไร และต้องให้นักเรียนทราบ
เป้าหมายนน้ั โดย
ใหน้ กั เรยี นทำ� ความรจู้ กั ชนิ้ งาน ก ข ค และทำ� ความเขา้ ใจวา่ ชน้ิ งานทงั้ สาม
แตกต่างกนั อย่างไร
ใหน้ ักเรียนท�ำความร้จู กั ตารางให้คะแนนแบบ rubrics
ใหน้ กั เรยี นไดเ้ หน็ ผลงาน และคะแนนของนกั เรยี นรนุ่ กอ่ นทเ่ี รยี นวชิ าเดยี วกนั
เพอื่ ใหน้ กั เรียนเขา้ ใจวา่ ระดับคณุ ภาพของผลงานเป็นอยา่ งไร
สรา้ ง concept map ของวชิ าท่ีจะเรยี นร่วมกับนักเรยี น เพอ่ื ท�ำความเข้าใจ
ช้ินสว่ นย่อย หรือองคป์ ระกอบของบทเรยี นนน้ั ๆ
ทงั้ หมดนนั้ กเ็ พอื่ ใหน้ กั เรยี นเขา้ ใจวา่ ผลงานทด่ี เี พยี งพอเปน็ อยา่ งไร ความสำ� เรจ็
ในการเรยี นเป็นอย่างไร รู้ได้อย่างไรวา่ บรรลแุ ล้ว

(2) อิทธิบาท 4 ข้อสุดท้าย วิมังสาเทียบได้กับ reflection สะท้อนคิดคือเรียน ความยากจนจวนเจียน
ถอดใจ แล้วครูหนุนดีๆ พร้อมท�ำวิมงั สาเชือ่ มโยงตัวเด็กกับโลกภายนอก เด็กจะเกิด transformation ได้
ในโครงการเพาะพันธุ์ปัญญาพบหลาย case ครูต้องเก่งในการปลุกพลังให้เด็กฮึดสู้ ถ้าครูไม่เก่ง
ในกระบวนการปลุกพลังแล้วเด็กล้มเหลวกับโจทย์ยาก เด็กน้ันจะถอดใจ โดยเฉพาะถ้าเป็นเด็กที่เก่งๆ
ท่ีเคยประสบความส�ำเรจ็ ในการเรยี นมาก่อน
(๓) หมายความว่าครจู ัดความทา้ ทายให้เกดิ active learning และบรหิ ารความรสู้ กึ เด็กใหเ้ ขารูส้ ึกวา่ เปน็
เจา้ ของการเรียนรู้น่ันเอง

• 77 •

ปฏสิ ัมพันธ์ระหว่างนกั เรยี น
นกั เรยี นควรไดร้ บั การสง่ เสรมิ ใหเ้ ลน่ ดว้ ยกนั คยุ กนั และทำ� งานรว่ มกนั เพราะ
ปฏสิ มั พนั ธร์ ะหวา่ งนกั เรยี นกอ่ ใหเ้ กดิ การเรยี นรู้ ซง่ึ ธรรมชาตขิ องนกั เรยี นกต็ อ้ งการ
มเี พื่อนอยู่แลว้ โรงเรยี นควรจดั สภาพแวดล้อมท่ีส่งเสริมปฏิสมั พันธ์เชิงบวก
ปฏสิ ัมพันธ์เหล่านสี้ ่งเสรมิ การใชภ้ าษา ท้ังดา้ นการพูด การฟงั อ่าน และเขียน
เครื่องมือส�ำคัญคือการจัดให้มีการเรียน หรือท�ำงานเป็นทีม มีการร่วมมือกัน
(collaboration) และท�ำตามข้อตกลง (cooperation) ซ่ึงเป็นการเรียนที่ซับซ้อน
น�ำไปสู่การเรียนรู้ระดับลึก (deep learning) ครูต้องท�ำความชัดเจนในเป้าหมาย
การเรยี นรู้ของแต่ละกจิ กรรม และวางกตกิ าในการทำ� งานรว่ มกัน(๔)
การที่นักเรียนเรียนแบบร่วมมือกัน น�ำไปสู่การที่นักเรียนสอนกันเอง (peer
tutoring) มี ES = ๐.๕๕ การท�ำงานแบบร่วมมือกัน (cooperative learning)
มี ES = ๐.๔๒
คำ� แนะน�ำปอ้ นกลับ (feedback)
เมอ่ื ใหน้ กั เรยี นทำ� กจิ กรรมทท่ี า้ ทาย นกั เรยี นจะตอ้ งการไดร้ บั คำ� แนะนำ� ปอ้ นกลบั
โดยปรยิ าย การสรา้ งนสิ ยั ตง้ั เปา้ ความมงุ่ มน่ั ลงมอื ทำ� และแสวงหาคำ� แนะนำ� ปอ้ นกลบั
ส�ำหรับใช้ปรับปรุงกิจกรรมและเป้าหมายของตน เป็นการสร้างทักษะการเรียนรู้
(learning skills) และสรา้ งนสิ ัยความเปน็ ผูเ้ รียนร้ตู ลอดชีวติ (lifelong learning)

(๔) โครงการเพาะพันธุ์ปัญญาเรียนการเรียนรู้จากการกระแทกไหล่กัน กติกาการท�ำงานร่วมกัน เป็น
การสร้างวินัยและความรับผิดชอบ ส่วนหน่ึงเกิดจาก peer preasure ความท้าทายคือจัดกระบวนการ
ให้เรียนเป็นกลุ่ม โดยนักเรียนท�ำหน้าท่ี “ผู้กระท�ำ” “ผู้สังเกต” จากนั้นครูเป็น coach ให้ผู้กระท�ำ
ถอดความรู้สึกระหว่างกระท�ำ ให้ผู้สังเกตเช่ือมโยงสิ่งที่สังเกตเห็นกับความรู้สึกของผู้กระท�ำ ต้องฝึกครู
อีกมาก และคิดว่านา่ จะเหมาะกับประถมปลายถงึ มัธยมต้น

• 78 •

หลักการของการใหค้ ำ� แนะนำ� ปอ้ นกลับคอื ค�ำแนะนำ� ป้อนกลับตอ่ ส่งิ ท่นี กั เรียน
รู้อยู่แล้วมีคุณค่าน้อย ค�ำแนะน�ำป้อนกลับที่มีคุณค่าสูงโฟกัสท่ีส่ิงที่นักเรียนท�ำ
ผดิ พลาด โดยการใหค้ �ำแนะน�ำปอ้ นกลับทด่ี ีเปน็ การคยุ กับเด็กแบบสนุ ทรยี สนทนา
(dialogue) เพ่ือให้เด็กจับหลักการในเร่ืองท่ีตนท�ำผิดพลาดได้ ไม่ใช่แค่เพ่ือให้เด็ก
แกส้ ่งิ ที่ท�ำผิดเปน็ ท�ำไดถ้ ูกต้องเท่าน้นั (๕)
ปจั จยั ทท่ี ำ� ให้งานเป็นส่งิ ทา้ ทาย
ครตู อ้ งแยกแยะระหวา่ ง งานหนกั หรอื มากหรอื ยาก (difficulty) กบั งานทซ่ี บั ซอ้ น
(complexity) อยา่ ใหน้ กั เรยี นทำ� งานหนกั โดยไมจ่ ำ� เปน็ เชน่ ใหก้ ารบา้ นมากขอ้ ในระดบั
ความยากและในประเดน็ เรยี นรเู้ ดยี วกนั ซงึ่ จะไมท่ า้ ทาย หรอื ทำ� ใหน้ า่ เบอ่ื ครคู วรจดั ให้
เดก็ ไดท้ ำ� งานหรอื แกป้ ญั หาจากงา่ ยไปยากซงึ่ กค็ อื จากซบั ซอ้ นนอ้ ยไปสซู่ บั ซอ้ นมาก
เด็กกจ็ ะร้สู ึกวา่ ถกู กระตนุ้ ดว้ ยความทา้ ทายทมี่ รี ะดบั พอดีๆ อยู่ตลอดเวลา
งานทซี่ บั ซอ้ น หมายถงึ งานทต่ี อ้ งใชค้ วามคดิ หลายขน้ั ตอน และตอ้ งใชค้ วามคดิ
เชงิ นามธรรม กลยทุ ธสำ� คญั ของครคู อื ตอ้ งจดั บทเรยี นใหน้ กั เรยี นไดเ้ รมิ่ ทำ� กจิ กรรม
ทน่ี กั เรยี นรสู้ กึ วา่ ทงั้ งา่ ยและซบั ซอ้ นนอ้ ย ไปสกู่ จิ กรรมทนี่ กั เรยี นเผชญิ ความซบั ซอ้ น
แต่ท�ำได้งา่ ย แลว้ จงึ ไปสูข่ นั้ ตอนท่ีทง้ั ยากและซบั ซ้อนตอ่ นกั เรยี น(๖)

(๕) ตรงน้ีสลับกับ KM ท่ีแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากความส�ำเร็จ (ใช้ successs storysharing) หัวใจอยู่ที่
การ “จบั หลกั การ” ทท่ี �ำให้ผดิ พลาด นอกจากให้เขา้ ใจหลกั การแล้ว ควร feedback ให้เหน็ วา่ process
เชื่อมต่อมาจากหลักการอย่างไร เพื่อเข้าใจแลว้ จดั process ใหม่ จะเกดิ meta - cognition การเรยี นรู้
ท่คี วามผดิ พลาดทมี่ พี ลังคอื การเรยี นรทู้ ี่ครูตง้ั ค�ำถามถอยจากผลไปหาเหตุ จากน้ันวเิ คราะหเ์ หตุทค่ี วบคุม
ได/้ ไมไ่ ด้ และ scale นยั ยะสำ� คญั ของเหตุ (ทม่ี ตี อ่ ผล) วธิ นี เี้ ดก็ จะรทู้ ง้ั เหตแุ ละ priority ของการแกป้ ญั หา
เราอาจให้เด็กเรยี นรู้บางเรื่องจาก SWOT เทคนคิ กอ่ นซึง่ จดั การเรยี นแบบกลุม่ เป็น active learning ได้
(๖) น่าสนใจความคิดนามธรรม เพราะท�ำให้เกิดการ generalize ความรู้สร้างเป็นหลักการได้ ปัญหา
ที่ผมพบคือครูขาดทักษะการ generalize ความรู้ ดังนั้นจึงไม่สามารถส่ง-รับ PLC ท่ีระดับหลักการได้
พอขาดความเขา้ ใจเงอ่ื นไขของบรบิ ทกย็ ง่ิ ทำ� ใหส้ งิ่ ทไี่ ดจ้ าก PLC ใชไ้ มไ่ ดเ้ ตม็ ที่ PLC จงึ เปน็ การ “แลก+รบั ”
เทา่ ทม่ี ีอยู่ ยากทจ่ี ะหมนุ วนยกระดบั ผมวิเคราะหส์ าเหตุว่าเกิดจากวฒั นธรรมการสั่งให้ครูท�ำตามคมู่ ือ

• 79 •

ผมขอเสนอวา่ รายละเอยี ดของขนั้ ตอนกจิ กรรม ทสี่ ลบั ระหวา่ ง งา่ ย - ซบั ซอ้ นนอ้ ย
งา่ ย - ซบั ซอ้ นมาก ยาก (งานมาก) - ซบั ซอ้ นนอ้ ย และยาก - ซบั ซอ้ นมาก กอ่ ผลดี
ต่อการเรียนรู้ของนักเรียนแตกต่างกันอย่างไร มีความแตกต่างกันในนักเรียนท่ีมี
คณุ ลกั ษณะแตกต่างกัน อยา่ งไร เป็นประเดน็ วจิ ัยชั้นเรียนที่นา่ สนใจมาก โดยอาจ
ทำ� เปน็ วทิ ยานพิ นธป์ รญิ ญาเอกได้

บรรลุเป้าหมายไดด้ ้วยตนเอง (self - efficacy)

เพอื่ บรรลผุ ลสำ� เรจ็ ในการเรยี น นกั เรยี นตอ้ งมคี วามคดิ และความเชอื่ วา่ ตนเอง
สามารถบรรลุเป้าหมายของการเรียนรู้ได้ ฟันฝ่าความยากล�ำบากสู่ความส�ำเร็จได้
โดยปจั จยั สำ� คญั ทสี่ ดุ คอื ตนเอง โรงเรยี นและครตู อ้ งหลอ่ หลอมปลกู ฝงั ความเชอ่ื หรอื
อดุ มการณน์ ้ีขึน้ ในนกั เรยี น ซง่ึ จะเปน็ คณุ ต่อตัวเด็กไปตลอดชวี ติ
นักเรียนทีม่ ีคณุ สมบัตินมี้ ีลกั ษณะ
มองกิจกรรมหรืองานที่ซับซ้อนเป็นความท้าทายให้เอาชนะ ไม่ใช่คอย
หลกี เลย่ี งสงิ่ ยาก คำ� สน้ั ๆ ทร่ี เิ รมิ่ ขนึ้ โดยสมเดจ็ พระพทุ ธโฆษาจารย์ (ประยทุ ธ
ปยุตฺโต) คอื “สสู้ ่งิ ยาก”
มองความล้มเหลวเป็นโอกาสเรียนรู้ โดยที่อาจต้องใช้ความพยายาม การ
แสวงหาข้อมูล การแสวงหาความช่วยเหลือ เวลา และอ่ืนๆ เป็นตัวช่วย
ครูตอ้ งรู้จังหวะและวิธีเขา้ ไปหนุน
ฟื้นความมน่ั ใจตนเองอยา่ งรวดเร็ว ภายหลงั ความล้มเหลว
นักเรียนจะกล้าสู้ส่ิงยาก หากมั่นใจว่ามีคนคอยเตรียมช่วย มีความปลอดภัย
ทางสังคม ไม่ถูกดูหม่ินดูแคลนเยาะเย้ย หากล้มเหลว นั่นคือหน้าท่ีของครูในการ
จัดบรรยากาศในโรงเรียน และในชั้นเรียน(๗)

(๗) growth mindset ที่เกิดจากการจัดบรรยากาศการเรียน ซ่ึงเกิดจากกระบวนการท่ีครูเป็น coach
ดังน้นั เทคนิค (reflective) coaching จึงส�ำคัญกบั ครูยุคน้ี

• 80 •

วิธีการทค่ี รูใชห้ ลอ่ หลอมมีดงั ต่อไปนี้
สอนวชิ าความรู้ โดยมตี วั อยา่ งทช่ี ดั เจนและตรงกบั บรบิ ทวถิ ชี วี ติ ของนกั เรยี น
เร่ิมตน้ ชน้ั เรยี นหรือบทเรียนที่มีพลังสง่ เสริมความมั่นใจฮกึ เหิมใหส้ ู้
ใหค้ ำ� แนะน�ำป้อนกลบั ที่เนน้ ตรงความมานะพยายามของตัวนักเรียน
ช่วยให้นักเรียนเข้าใจปัญหาหรือโจทย์ชัดเจน และแนะน�ำเทคนิคส�ำหรับ
แก้ปัญหานั้น
แนะนำ� เทคนคิ ในการแก้ปัญหา หรอื โจทย์ทีน่ กั เรยี นต้งั เอง
สรา้ งความนา่ เชอื่ ถอื ตอ่ ครู โดยแสดงความเอาใจใสน่ กั เรยี นอยา่ งเทา่ เทยี มกนั
ใหน้ กั เรยี นมนั่ ใจวา่ ครพู รอ้ มจะใหค้ วามชว่ ยเหลอื เพอ่ื ใหน้ กั เรยี นบรรลเุ ปา้ หมาย
สร้างความไว้เน้ือเชื่อใจกันในระดับสูงระหว่างครูกับนักเรียน และระหว่าง
นกั เรยี นกับนักเรียน
ทำ� ตวั เปน็ ตวั อยา่ ง วา่ ใหค้ ณุ คา่ ตอ่ ความผดิ พลาดลม้ เหลว เพอ่ื ใชเ้ ปน็ โอกาส
ในการเรียนรู้
ครูท่ีดี คือครูที่มุ่งม่ันเปล่ียนตัวตนของนักเรียน ให้มีความม่ันใจว่าตนเองบรรลุ
ผลสำ� เร็จในการเรยี นร้ไู ด(้ ๘)

เป้าหมายการเรียนรู้ (learning intention) ท่ีมีเกณฑ์บอกความส�ำเร็จ
(success criteria)

ความกระจ่างชัดของครูในเรื่องเป้าหมายการเรียนรู้ และวิธีวัดเป้าหมายน้ัน
มี ES = ๐.๗๕ ความกระจ่างชัด ต้องถ่ายทอดไปยังนักเรียนด้วย โดยนักเรียน
ตอ้ งตอบสามคำ� ถามต่อไปนไ้ี ด้
๑. วันนีฉ้ ันก�ำลงั จะเรียนอะไร
๒. ท�ำไมฉันจงึ เรยี นส่ิงน้ี
๓. ฉันจะรู้ได้อยา่ งไร ว่าฉันเรยี นร้แู ลว้

(๘) คำ� กลา่ ว “ใหม้ คี วามมนั่ ใจวา่ ตนเองบรรลคุ วามสำ� เรจ็ ในการเรยี นรไู้ ด”้ คอื การสรา้ ง growth mindset
โดยเฉพาะกับนักเรียนท่ีมี fixed mindset ไม่เชื่อมั่นในศักยภาพของตนเอง (นักเรียนที่เรียนอ่อน)
ครูท�ำอย่างน้ีได้ต้องเปล่ียนตัวเองก่อน จิตตปัญญาศึกษาคือเคร่ืองมือ และต้องมีพ่ีเล้ียงเข้าไป coach
ตอ่ เนอ่ื งครับ ไม่เช่นนั้นครูเผลอกลับไปทีจ่ ุดเดมิ (เพราะระบบและบรรยากาศการทำ� งาน)

• 81 •

การมถี อ้ ยคำ� ระบเุ ปา้ หมายการเรยี นรู้ มี ES = ๐.๕๐ เปา้ หมายการเรยี นรู้ที่ดี
เขียนดว้ ยถอ้ ยคำ� ทีเ่ ขา้ ใจง่าย เป็นเป้าหมายของวชิ าหรือโมดุลการเรยี นรู้ ไมใ่ ช่ของ
ทงั้ หลกั สตู ร และไมใ่ ชเ่ ปน็ การลอกมาตรฐานหลกั สตู ร การเขยี นเปา้ หมายการเรยี นรู้
บนกระดานหน้าช้นั แลว้ ให้นักเรียนอา่ นออกเสียงดงั ๆ พร้อมกนั จะช่วยได้
จากเปา้ หมายการเรยี นรขู้ องวชิ าหรอื โมดลุ ครนู ำ� มาทอนเปน็ เปา้ หมายของการ
เรียนรู้แต่ละวนั หรือแต่ละชัว่ โมง
เป้าหมายการเรียนรู้ น�ำไปสู่เกณฑ์ของความส�ำเร็จในการเรียน โดยต้องเป็น
เกณฑ์ที่สูงอย่างเหมาะสม ในการท�ำกิจกรรมการเรียนรู้หน่ึง อาจช่วยการบรรลุ
เป้าหมายการเรียนรู้หลายเป้า และในท�ำนองเดียวกัน เป้าหมายการเรียนรู้หน่ึง
จะบรรลุได้อาจตอ้ งท�ำหลายกิจกรรม
เป้าหมายและเกณฑ์ความส�ำเร็จน�ำไปสู่การให้ข้อมูลสะท้อนกลับ (feedback)
โดยครู ซ่ึงจะชว่ ยการบรรลุเปา้ หมายการเรียนของนกั เรียน
ครูควรให้นักเรียนร่วมกันก�ำหนดเป้าหมายการเรียนรู้ รวมทั้งเกณฑ์บอก
ความสำ� เรจ็ ในการเรยี นรนู้ น้ั โดยอาจมกี ศุ โลบายในการดำ� เนนิ การไดห้ ลากหลายวธิ ี
เช่น ครูยกร่างโดยจงใจร่างให้ไม่ชัดเจน ให้นักเรียนช่วยกันต่อเติมแก้ไขให้ชัดเจน
เข้าใจง่าย เม่ือมองจากมุมของนักเรียน เป้าหมายและเกณฑ์บอกความส�ำเร็จก็จะ
ชดั เจนแจม่ แจง้ ตอ่ นกั เรยี น และทสี่ �ำคญั ย่งิ กวา่ คอื นักเรยี นเป็นเจา้ ของเปา้ หมาย
การเรยี นรู้ รวมทงั้ นักเรยี นประเมนิ ความส�ำเรจ็ หรือไมส่ �ำเร็จของตนได(้ ๙)

(๙) วิชาที่มีความเป็นนามธรรมมากๆ เช่น คณิตศาสตร์มธั ยมยิง่ ตอ้ งกำ� หนดเป้าหมายที่การประยุกต์ใช้
ไมเ่ ชน่ นน้ั เดก็ จะเบอื่ มาก และเปน็ คำ� พดู ตดิ ปากวา่ “เรยี นไปกไ็ มไ่ ดใ้ ชง้ าน” เกดิ เปน็ norm ทางความคดิ
ส่งตอ่ รนุ่ ตอ่ รุ่น

• 82 •

ซับซอ้ นมาก

ง่าย ยาก ยาก
ซบั ซ้อนมาก ซับซอ้ นมาก
ง่าย
ยาก
งา่ ย ซับซ้อนนอ้ ย
ซับซ้อนนอ้ ย

ซบั ซ้อนน้อย

รปู ท่ี ๓.๑ ตาราง ๒ x ๒ แสดงความยากงา่ ย และความซับซอ้ น(๑๐)

เครื่องมอื ช่วยการประเมนิ อยา่ งงา่ ยๆ มี ๒ อย่างคือ
1. ตาราง ๒x๒ ด้านความยากง่าย และความซับซ้อนมากซับซ้อนน้อย
(ดูรปู ที่ ๓.๑)
2. Rubrics แสดงประเด็นเป้าหมายการเรียนรู้ และลักษณะของการบรรลุ
เป้าหมายระดบั ต�่ำไปจนถงึ สูง

(๑๐) ความยากน่าจะอยู่ที่คนมักจะรวม “ยาก” ว่าเป็นสิ่งเดียวกับ “ซับซ้อนมาก” ดังน้ัน ๒ แกนน้ี
ตอ้ งเข้าใจว่าแยกกนั ไม่เชน่ นั้นจะไปกองท่ี quadrant ๑ และ ๓ กันหมด

• 83 •

ตาราง ๒ x ๒ บอกความยากง่ายและความซับซ้อนของบทเรียน มีประโยชน์
หลายดา้ น หากวาดรปู ตารางไวท้ กี่ ระดานหนา้ ชน้ั หรอื บน flip chart เมอ่ื จบคาบเรยี น
ใหน้ กั เรยี นเขยี นบอกสภาพการเรยี นรขู้ องตนลงบนกระดาษหลงั เหนยี ว นำ� ไปแปะท่ี
ชอ่ งใดชอ่ งหนง่ึ ทตี่ รงกบั สภาพของตน จะชว่ ยใหค้ รแู ละนกั เรยี นรวู้ า่ จะเขา้ ไปชว่ ยเหลอื
นกั เรยี นคนไหน นำ� ไปสกู่ ารเรยี นแบบ peer tutoring collaborative learning และ
student - centered teaching
เมอื่ มกี ารระบเุ กณฑข์ องความสำ� เรจ็ อยา่ งชดั เจนกจ็ ะชว่ ยใหเ้ หน็ ความผดิ พลาด
ได้ชัดเจนข้ึนด้วย ครูต้องบอกให้นักเรียนช่วยกันหาข้อผิดพลาดเพ่ือน�ำมาเป็น
ขุมทองของการเรยี นรู้ คอื ตอ้ งไม่ให้นักเรยี นทีท่ �ำผดิ พลาดรู้สกึ อบั อายหรือเสียหนา้
ให้ถือว่าการท�ำผิดพลาดเป็นเร่ืองธรรมดา เป็นขั้นตอนสู่การเรียนรู้ เมื่อเห็น
ข้อผิดพลาดชัดเจน การให้ค�ำแนะน�ำป้อนกลับของครูก็จะยิ่งมีพลังต่อการเรียนรู้
การให้ค�ำแนะนำ� ปอ้ นกลับทดี่ ีมี ES = ๐.๗๕(๑๑)
การให้ค�ำแนะน�ำป้อนกลับที่ดีต้องถูกกาละ จ�ำเพาะต่อนักเรียนแต่ละคน และ
ถูกบริบทที่จะช่วยให้ก่อผลดีมากที่สุด ค�ำแนะน�ำป้อนกลับต้องเหมาะสมในด้าน
กาละ ปริมาณ วิธีการ และผ้รู ับ ดังแสดงในตารางท่ี ๓.๑(๑๒)

(๑๑) การป้อนกลับต้องสาวไปถึงสาเหตุ เช่น ความเข้าใจผิดบางอย่าง และถ้าสาวไปผิดที่เป้าหมาย/
หลักการด้วยจะย่ิงเกิดการเรียนรู้ที่สูงข้ึน เด็กเรียนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงถ้าจับว่าผิดที่ ๓ ห่วง
๒ เงื่อนไข จะเรียนรู้น้อยกว่าผิดท่ี “ไม่สมดุลและย่ังยืน” และถ้ารู้ว่า “สมดุลเป็นเหตุ ย่ังยืนเป็นผล”
ก็จะได้เรยี นรูม้ ากข้นึ วา่ ต้องจัดการเหตเุ พอ่ื ให้ได้ผล
(๑๒) สมเด็จพระพทุ ธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยตุ โต) ทา่ นให้ “สมบัติ ๔” คือ ผกู้ ระท�ำ การกระท�ำ กาละ
เทศะ วา่ ตอ้ งสอดคลอ้ งกนั งานจงึ สำ� เรจ็ (ถา้ สง่ิ ใดสงิ่ หนง่ึ ตดิ ขดั จะเปลย่ี นสมบตั ิ ๔ เปน็ วบิ ตั ิ ๔) ในกรณนี ี้
ครูเป็นผู้กระท�ำ feedback แต่เมื่อเป็นปฏิสัมพันธ์กับนักเรียน ฝ่ายผู้รับจึงต้องมีสมบัติ ๔ ด้วย การจัด
ให้เกดิ สมบตั ิ ๔ ทั้ง ๒ ฝา่ ยน้เี ป็นหน้าทีค่ รู ผมเชอ่ื ว่ากาละในที่นี้เก่ยี วขอ้ งกบั “อารมณค์ วามรสู้ กึ ” ของ
ทง้ั ครแู ละเด็กท่ีตอ้ งอยใู่ นสภาวะทเี่ อือ้ กนั เหมอื นเครือ่ งสง่ - รับคล่ืนวทิ ยุ

• 84 •

ตารางท่ี ๓.๑ ลกั ษณะของค�ำแนะนำ� ป้อนกลบั ทดี่ ี

การใหค้ ำ�แนะนำ� ในประเด็น ลักษณะของคำ�แนะนำ�ปอ้ นกลบั ทดี่ ี
ปอ้ นกลบั

แตกต่างกันดา้ น

กาละ - เม่ือไร - บอกทันทวี า่ ทำ�ถกู หรือผดิ
ปรมิ าณ - บ่อยแคไ่ หน - ย้ังการใหค้ ำ�แนะนำ�ปอ้ นกลับไวช้ ัว่ ครู่ เพื่อให้ครูมเี วลา
วิธีการ ตรวจสอบความคิดของเด็ก
- บอกก่ีประเด็น - อยา่ ร้งั รออยูน่ านจนคำ�แนะนำ�ปอ้ นกลบั ไมช่ ่วยให้ก่อผลดี
ผู้รับ - แตล่ ะประเดน็ - ให้คำ�แนะนำ�ป้อนกลบั บอ่ ยตามความเหมาะสมกบั งานท่ี
บอกมากแค่ไหน มอบหมาย
- บอกด้วยวาจา
- เขียน - จัดลำ�ดับความสำ�คญั เลอื กประเด็นท่ีสำ�คญั
- สาธติ ให้ดู - เลอื กประเดน็ ทีส่ อดคล้องกบั เปา้ หมายสำ�คญั
- ให้ตามระดับพัฒนาการเด็ก
- เฉพาะบคุ คล
- เป็นกลุ่ม/ ท้ังชัน้ - เลอื กวิธกี ารสือ่ สาร บอกตอนเดนิ ผา่ นโต๊ะนักเรียน
เพยี งพอไหม ตอ้ งการการประชุมปรกึ ษาหารอื หรอื ไม่
- การใหค้ ำ�แนะนำ�ปอ้ นกลับแบบปฏิสัมพนั ธส์ องทาง
(คยุ กบั นักเรียน) เปน็ วธิ ีที่ดที ส่ี ดุ หากทำ�ได(้ ๑๓)
- ใหค้ ำ�แนะนำ�ปอ้ นกลับเปน็ ลายลักษณ์อกั ษรทช่ี นิ้ งานเขียน
หรอื ทีป่ กของชนิ้ งาน อาจตอ้ งใหโ้ ดยสาธติ ให้ดู หากนักเรยี น
ต้องการตวั อยา่ งวธิ ที ำ�

- การให้คำ�แนะนำ�ป้อนกลับเฉพาะบุคคล ทำ�ใหน้ กั เรยี น
รู้สึกวา่ “ครูเอาใจใส่การเรยี นรู้ของฉนั ”
- การให้คำ�แนะนำ�เป็นกลมุ่ / ทั้งชนั้ มีประโยชนเ์ มื่อ
นกั เรยี นไม่เข้าใจเกือบท้งั ชัน้ โดยอาจตอ้ งสอนใหม่

(๑๓) โครงการเพาะพนั ธ์ุปญั ญาใช้ “ถามคอื สอน” ป้อนกลบั แบบ coaching ทำ� เดยี่ วหรือกลมุ่ ก็ได้ แตท่ �ำเป็นกลุม่ สนกุ กวา่

• 85 •

สรุปไดว้ า่ นักเรยี นจะเกดิ การเรยี นร้รู ะดบั สูง ต้องไต่ระดบั การเรียนร้จู ากเรยี น
ผวิ เผนิ สเู่ รยี นลกึ และเรยี นเอาไปใชใ้ นสถานการณอ์ น่ื ๆ ได้ โดยการเรยี นการสอน
ต้องมีความท้าทาย ช่วยให้นักเรียนบรรลุเป้าหมายด้วยตนเอง และมีเป้าหมาย
การเรียนรู้ โดยมีเกณฑ์บอกความส�ำเร็จ ปัจจัยพ้ืนฐานท้ังสามน�ำไปสู่การเรียน
การสอนท่ีดปี ระการอ่ืนๆ

• 86 •

เรื่องเล่าจากหอ้ งเรยี น

เรอ่ื งเลา่ ทหี่ ยบิ ยกขนึ้ มาเลา่ ครงั้ น้ี เปน็ กจิ กรรมการเรยี นรทู้ เี่ กดิ ขนึ้ ในชว่ งภาคเรยี นท่ี ๒
ปีการศึกษา ๒๕๖๒ ในหน่วยโครงงานบูรณาการ ระดับชั้นประถมปีท่ี ๑ ของโรงเรียน
รุ่งอรุณ หน่วยการเรียนรู้น้ีมีชื่อว่า “เที่ยวกิน เที่ยวเล่น ในสวนป่ารุ่งอรุณ” คุณครูเก๋ -
นษิ ฐา มง่ิ มงคลรศั มี เรม่ิ ตน้ จากการพาเดก็ ๆ ใหส้ งั เกตสงิ่ รอบตวั เขา้ ใจธรรมชาติ ปรบั ตวั
ในการใช้ชีวิตให้เป็นปกติ โดยพ้ืนท่ีในการเรียนรู้ครั้งน้ีเริ่มจากสวนป่าในโรงเรียนที่มี
พชื พรรณ ตน้ ไมห้ ลากหลายชนดิ เดก็ ๆ ไดเ้ รยี นรผู้ า่ นการสำ� รวจ สงั เกต เทยี่ วชม เทย่ี วชมิ
ล้มิ ลองพชื ผักทีไ่ ม่เคยลองมาก่อน สงิ่ ที่เดก็ ๆ สนใจมากเลย คอื ใบมะขาม ท่เี ขาไมเ่ คย
คิดมาก่อนว่ามันกินได้ และเม่ือได้ลองชิม ก็ย่ิงตื่นเต้นกับรสชาติที่ได้ลิ้มลอง เด็กๆ
พยายามบอกเล่ารสชาติที่ตนเองได้รับออกมา มีท้ัง เปร้ียว ขม บางคนบอกว่า ฝาด
ครูจึงถามต่อว่า ฝาดเป็นอย่างไร เขาก็อธิบายต่อว่า มันจะกินแล้วติดอยู่ในปาก ฝืดๆ
เสียวฟัน จะกลืนไม่ลงต้องกินน้�ำถึงจะหาย บางคนบอกว่ารสชาติแปลกๆ ตอนแรก
จะเปร้ียวต่อมารสชาติจะเปล่ียนเป็นขมนิดหน่อยตอนท้าย และทุกคนลงความเห็นว่า
ใบมะขามมีรสเปร้ียวคล้ายมะขามที่เขาเคยทาน การท่ีเด็กๆ ได้ชิมรสชาติ ล้ิมรสจาก
ของจริง ท�ำให้ภาษาทถ่ี า่ ยทอดออกมามคี วามชดั เจน จากความเข้าใจของตนเอง
การสำ� รวจธรรมชาตใิ นโรงเรยี นดำ� เนนิ ไปควบคกู่ บั การสงั เกตและบนั ทกึ สภาพอากาศ
ประจำ� วนั สงิ่ นจี้ ะเปน็ กจิ กรรมทฝี่ กึ ใหเ้ ดก็ ๆ ไดร้ บั รโู้ ดยละเอยี ดกบั ความเปลย่ี นแปลงทาง
ธรรมชาตทิ เ่ี กดิ ขนึ้ กค็ อื เรอื่ งของฤดกู าลทใี่ นแตล่ ะฤดกู าลเองกม็ คี วามแตกตา่ งกนั ในเรอื่ ง
ของสงิ่ แวดลอ้ ม ลักษณะตน้ ไม้ อากาศ ทอ้ งฟ้า และดนิ ซง่ึ ทง้ั หมดน้ีเป็นเร่ืองทที่ ้าทาย
ส�ำหรับเด็กประถม ๑ มากที่จะต้องคอยสังเกต และท�ำความเข้าใจธรรมชาติที่เกิดข้ึน
รับรู้มันให้เป็นเร่ืองปกติธรรมดาว่า ในแต่ละวัน ไม่มีสิ่งใดไม่เปล่ียนแปลง เด็กๆ เอง
จะตอ้ งปรบั ตัวในการดำ� เนินชวี ติ ประจ�ำวันใหเ้ หมาะสมกบั สภาพอากาศท่เี กิดขึ้น และใน
การสงั เกตสภาพอากาศประจำ� วนั นท้ี ำ� ใหเ้ ดก็ ๆ ไดใ้ ชค้ ำ� ในการระบสุ งิ่ ตา่ งๆ ทเ่ี หน็ ไดล้ บั คม
สะสมชดุ คำ� ศพั ทเ์ กยี่ วกบั สภาพอากาศ ฟา้ โปรง่ แดดจา้ ฟา้ ครม้ึ มเี มฆมาก อากาศรอ้ น
อบอ้าว หนาว และเด็กๆ จะเป็นผู้ที่เลือกใช้ภาษามาระบุในแต่ละเหตุการณ์ได้อย่าง
มคี วามหมาย ชดั เจน สอื่ สารได้ตรงกบั ส่งิ ท่ตี นเองคิดและตอ้ งการบอกเล่า

• 87 •

นอกจากการสังเกตสภาพอากาศในแต่ละวันแล้ว อีก มถี อ้ ยค�ำระบเุ ปา้ หมาย
กจิ กรรมหนงึ่ ซงึ่ เปน็ กจิ กรรมทท่ี า้ ทายและโดนใจเดก็ ๆ มากเลย การเรยี นรู้ ES ๐.๕๐
คือ “การท�ำของเล่นในฤดูหนาว” ช่วงนั้นเด็กๆ ได้เรียนรู้
ธรรมชาติในฤดูฝนมาแล้ว เม่ือถึงฤดูหนาวสภาพสิ่งแวดล้อม
ที่เปล่ียนแปลงไป เมื่อเปรียบเทียบกับฤดูฝนน้ันแตกต่างกัน
อย่างเห็นได้ชัด เป็นสิ่งที่ย่ิงย�้ำเตือนให้ ได้ตระหนักถึงว่า
การเปลยี่ นแปลงเกดิ ขน้ึ อยตู่ ลอดเวลา คราวนหี้ นา้ ทต่ี อ่ ไปของครู
จงึ เกดิ ขน้ึ วา่ แลว้ เราจะจดั การเรยี นรอู้ ยา่ งไรตอ่ ใหเ้ ดก็ ยงิ่ ไดเ้ รยี นรู้
มากขึ้นไปอีกจึงเกิดเป็นคาบเรียน “ท�ำของเล่นในฤดูหนาว”
ขึ้นมา ซึ่งเป็นคาบเรียนที่มีเป้าหมายให้นักเรียนได้พิสูจน์ว่า
ลักษณะต้นไม้ในฤดูหนาวเปล่ียนไปแล้ว นอกจากการมองเห็น
ดว้ ยตา การสมั ผัสและลงมอื ท�ำ เปน็ อกี เคร่ืองมือสำ� คัญทที่ ำ� ให้
การเรียนรู้ครั้งนีเ้ กดิ ขึ้นจากตัวเดก็ ๆ เอง

การท�ำของเล่นในฤดูหนาว เร่ิมต้นข้ึนด้วยการท่ีเด็กๆ ได้ไปส�ำรวจธรรมชาติ
รอบโรงเรยี นอกี ครง้ั ทำ� ใหเ้ หน็ วา่ ตน้ ไมเ้ รมิ่ มใี บไมร้ ว่ ง กงิ่ ไม้ ใบไมแ้ หง้ บางตน้ มใี บไมถ้ งึ
๓ สี สงั เกตมาถงึ พนื้ ดนิ จะเหน็ วา่ ดนิ แหง้ แตก ไมเ่ หมอื นเดมิ เดก็ ๆ จงึ เหน็ ความเชอ่ื มโยง
ที่ว่า เมื่อน�้ำน้อยลง ต้นไม้จึงต้องลดการใช้น้�ำ ใบไม้จึงร่วง ความเข้าใจเหล่านี้เด็กๆ
ได้รู้และเห็นโดยประจักษ์ และในการส�ำรวจคร้ังน้ีเอง เด็กๆ ได้ฝึกการเลือกใช้ค�ำโดย
การระบสุ ภาพแวดลอ้ มทเี่ หน็ พดู อธบิ ายจนเพอื่ นและครเู ขา้ ใจ ไดเ้ กบ็ สะสมคลงั คำ� ศพั ท์
ของตนเองเพม่ิ ขึน้ ท้งั จากการระบุคำ� จากความเข้าใจของตนเอง และเรียนรคู้ ำ� จากเพื่อน
นอกจากการเล่าแล้ว เด็กๆ ยังได้เลือกถ่ายภาพความเปลี่ยนแปลงที่ตนเองเห็นน้ัน
น�ำกลับมาบันทึกเป็นความรู้ของตนเอง และยิ่งมั่นใจได้ว่าเด็กๆ เข้าใจความหมายของ
คำ� น้นั ๆ ด้วยตนเองอยา่ งแทจ้ ริง

• 88 •

ภาพใบไมส้ ามสที ี่นกั เรียนถ่ายไวด้ ว้ ยตนเอง ภาพพ้ืนดินแหง้ แตกเพราะขาดนำ�้

จากนน้ั ครจู งึ ใหโ้ จทยต์ อ่ วา่ “ใหน้ กั เรยี นประดษิ ฐข์ องเลน่ จากวสั ดธุ รรมชาติ ทใี่ ชเ้ วลา
ไม่เกิน ๓๐ นาที”
ทกุ คนตอ้ งเลอื กหาวสั ดจุ ากธรรมชาตติ ามฤดกู าล (ฤดหู นาว) มาประดษิ ฐเ์ ปน็ ของเลน่
จากการท่ีเด็กๆ ได้สังเกตและเข้าใจธรรมชาติในฤดูหนาวแล้วว่า ลักษณะต้นไม้จะแห้ง
ใบไมร้ ว่ ง แหง้ กรอบ กงิ่ ไมร้ ว่ ง ฉะนนั้ ในการเลอื กหาวสั ดจุ ากธรรมชาตจิ ะพบ ใบไมแ้ หง้
ก่ิงไม้แห้งเป็นส่วนใหญ่ และในการน�ำก่ิงไม้แห้งมาใช้ในการประดิษฐ์ของเล่นจะต้อง
ระวังเร่ืองของความเปราะของก่ิงไม้ ฉะนั้น นักเรียนจะต้องเริ่มคิดและวางแผนแล้วว่า
ในการประดษิ ฐข์ องเลน่ ทว่ี สั ดแุ หง้ เปราะ นำ้� หนกั เบา จะประดษิ ฐเ์ ปน็ อะไรไดบ้ า้ ง รวมถงึ
การวางแผน ออกแบบในการเลือกอุปกรณ์เสริมในการมัด รัด ติด วัสดุต่างๆ เช่น
หนังยาง ไหมพรม เชือก หรือกาว เขาต้องเลอื กว่าจะใชอ้ ะไรจึงจะเหมาะสม
การเลอื กวสั ดแุ ละการประดษิ ฐข์ องเลน่ ของนกั เรยี นดำ� เนนิ ไปบนความเปน็ หว่ งของครู
ว่าเขาจะท�ำได้ไหม ซ่ึงท่าที ความสนุกสนาน กระตือรือร้นในการหาของ การประดิษฐ์
ของเลน่ รวมถึงสหี น้าทีย่ มิ้ แยม้ ในการบอกเล่าถงึ ของเลน่ ทต่ี นเองท�ำของเดก็ ๆ ในวันน้ัน
เป็นบทพิสูจน์ท่ีท�ำให้ครูรู้ว่าในโลกของเด็กๆ ความท้าทายจากการทำ� งาน การให้โอกาส
การยอมรับแนวคิด และการช่วยเหลืออย่างพอดี จะดึงความคิดสร้างสรรค์ และการ
แก้ปัญหาของเขาออกมา และทา้ ยทส่ี ดุ แลว้ “เขาท�ำได”้ และได้ดีดว้ ย

• 89 •

ยกตวั อยา่ งนกั เรยี นคนหนงึ่ ของหอ้ ง ไจป่ ู่ (เดก็ ชายณเดชน์ รตั นธรรมมาศ) ไจป่ เู่ ปน็
เดก็ ทสี่ ่ือสารนอ้ ย มกั ใชภ้ าษากายในการสื่อสาร เน่ืองจากพูดไม่ค่อยชดั นัก ครูจึงเข้าใจ
วา่ เขามคี ำ� ศพั ทไ์ มเ่ พยี งพอ เมอ่ื ไดร้ บั โจทยใ์ นการประดษิ ฐข์ องเลน่ ครพู บวา่ ไจป่ สู่ ามารถ
เลอื กไมซ้ ง่ึ เปน็ วสั ดจุ ากธรรมชาตแิ ละเชอื ก มาลงมอื ทำ� ของเลน่ ไดด้ ว้ ยตวั เอง โดยไมล่ งั เล
ใดๆ ทง้ั สน้ิ เขาเลอื กทจ่ี ะนำ� ความสามารถในการผกู เชอื กของตนเองมาใช้ ขณะพนั เชอื ก
ใบหนา้ ของเขามรี อยยม้ิ อยตู่ ลอด เมอ่ื ครเู ขา้ ไปสอบถาม ไจป่ เู่ องกพ็ ยายามทจี่ ะพดู อธบิ าย
ให้ครูเข้าใจว่าเขาประดิษฐ์อะไร เลือกไม้อย่างไร และของเล่นที่เขาเลือกท�ำก็คือ ปืน
ที่สามารถเปลี่ยนเป็นดาบได้ ท�ำให้ครูเข้าใจได้อย่างชัดเจนว่าการเป็นคนพูดน้อยไม่ได้
แปลว่าเขาไม่มีค�ำในการส่ือสาร แต่การที่ครูจัดกิจกรรมท่ีท้าทายในการคิดและลงมือท�ำ
ซงึ่ เปน็ สงิ่ ทไ่ี จป่ ชู่ อบ เขาจงึ คดิ และพดู สอื่ สารเรอื่ งราวทเี่ กดิ ขน้ึ ออกมาไดอ้ ยา่ งละเอยี ดและ
ไม่มีความกลัวทีจ่ ะบอกครู การลงมือท�ำอยา่ งมีฉันทะได้ท�ำใหเ้ ขาใชภ้ าษาในการบอกเล่า
ถ่ายทอดความรูส้ ึก ความเขา้ ใจและความภูมใิ จของตนเองออกมาได้

รอยยม้ิ ทเ่ี กดิ ขนึ้ ขณะทำ� ของเล่น ปืนในจนิ ตนาการที่สามารถเปล่ียนเปน็ ดาบได้

สิ่งส�ำคัญอีกหนึ่งอย่างท่ีครูได้พบคือ การลงมือท�ำจากโจทย์ที่ท้าทาย นอกจากจะท�ำ
ให้เด็กๆ ได้น�ำเอาความสามารถของตนเองออกมาแล้วยังเป็นพ้ืนท่ีแสดงออกถึงตัวตน
ของตนเอง เหน็ ไดจ้ ากของเลน่ ทเ่ี ดก็ ๆ ประดษิ ฐ์ ทม่ี พี น้ื ฐานมาจากความชอบ ความสนใจ
ส่วนตัวของเด็กๆ เอง เด็กผู้ชายมักประดิษฐ์ของเล่นประเภท ปืน ดาบ ธนู
ส่วนเด็กผู้หญิงจะเปน็ ธนู เรือ และของตกแต่งน่ารักๆ

• 90 •

การให้คำ� แนะน�ำ เม่ือจบคาบเรียนครูได้จัดกระบวนการให้เด็กๆ ได้เล่าถึง
ป้อนกลบั ทด่ี ี ของเล่นที่ตัวเองประดษิ ฐ์ โดยครูมีประเดน็ ให้ ๓ ขอ้ คือ บอก
ES ๐.๗๕ ชื่อของเล่น บอกวัสดุท่ีเลือกใช้และเหตุผลที่เลือก และให้บอก
วิธีการเล่น ครูให้เวลาเด็กๆ ได้เรียบเรียงและซักซ้อมส่ิงท่ีจะ
พดู กอ่ น เมอ่ื ถงึ เวลาบอกเลา่ ปรากฏว่าทุกคนสามารถบอกเลา่
เรื่องราวของเล่นของตนเองได้ ไม่เพียงบอกเล่าตามประเด็น
๓ ข้อท่ีครูให้ พวกเขายังบอกถึงขั้นตอนการท�ำ ต้ังแต่เลือก
วัสดุ บอกเทคนิคในการเลอื กใหเ้ พ่อื นรไู้ ด้ เพราะในการทำ� งาน
คร้ังนี้มีการเรียนรู้ การแก้ปัญหาท่ีเด็กๆ เกิดความรู้น้ันข้ึนมา
ด้วยตนเองแล้ว แม้บางคนจะมีข้อติดขัดบ้างในการใช้อุปกรณ์
รดั หนงั ยาง หรอื มดั เชอื กไมถ่ นดั แตเ่ มอ่ื ครแู นะนำ� วธิ กี าร เดก็ ๆ
กส็ ามารถทำ� ตอ่ ไดด้ ว้ ยตนเอง จนเกดิ ความภมู ใิ จในผลงาน และ
ถึงบางวัสดุที่เลือกมาจะเปราะมากจนเล่นแล้วหัก แต่เขาก็ได้
เกิดการเรียนรู้ว่า ครั้งต่อไปจะต้องเลือกไม้แบบไหนของเล่น
จงึ จะแข็งแรงคงทน

ทา้ ยทส่ี ดุ เดก็ ๆ ไดม้ โี อกาสไดป้ ระมวลความรู้ เขยี นบนั ทกึ ความเขา้ ใจสภาพแวดลอ้ ม
เกบ็ ภาพความประทบั ใจจากการทำ� ของเลน่ รวมถงึ วธิ ที ำ� มาแปะตดิ ไวใ้ นใบงานของตนเอง
เม่ือท�ำจนถึงข้ันตอนสุดท้าย ก็เรียกได้ว่าคาบเรียนนี้ครูได้น�ำพาเด็กๆ น�ำสมรรถนะของ
ตนเองออกมาใชแ้ ละได้เรียนรู้ดว้ ยตนเองอย่างแท้จริง
ภายหลงั การรว่ มแลกเปลย่ี นเรอ่ื งเลา่ จากหอ้ งเรยี น ในการประชมุ โครงการครเู พอ่ื ศษิ ย์
สร้างการเรียนรู้ระดับเชื่อมโยงออนไลน์ เมื่อวันที่ ๒๓ มิถุนายน ๒๕๖๓ ซ่ึงประกอบ
ไปดว้ ยผ้ทู รงคุณวฒุ ิ ไดแ้ ก่ ศ.นพ.วิจารณ์ พานชิ รศ.ประภาภัทร นยิ ม และทมี ผู้บรหิ าร
โรงเรยี นรงุ่ อรณุ คณุ ปยิ าภรณ์ มณั ฑะจติ ร ผจู้ ดั การมลู นธิ สิ ยามกมั มาจลและคณะทำ� งาน
โครงการครูเพื่อศิษย์สร้างรู้สู่ระดับเช่ือมโยง ก็ท�ำให้ได้รับค�ำแนะน�ำเพ่ือพัฒนาคุณภาพ
การสอนทส่ี ำ� คญั มาก คอื เรอ่ื งการชอ้ นความรจู้ ากเดก็ เกยี่ วกบั ชดุ คำ� ศพั ทต์ า่ งๆ ทเี่ กดิ ขนึ้
ระหว่างการเรียนรู้ เพิ่มเติมข้ึนไปจากกระบวนการท่ีได้เล่าไปแต่ละขั้นตอน เด็กๆ ได้มี
การพดู สอื่ สาร ถา่ ยทอดชดุ คำ� อยตู่ ลอด เรม่ิ ตงั้ แตก่ ารเดนิ สำ� รวจ ไดล้ ม้ิ ชมิ รสของพชื พรรณ
ทเี่ ดก็ ๆ ไดร้ ว่ มกนั ระบรุ สชาตใิ บมะขาม ชว่ งทรี่ ะบสุ ภาพอากาศ ลกั ษณะตน้ ไม้ ทอ้ งฟา้

• 91 •

ดิน และช่วงท่ีเลือกเก็บวัสดุจากธรรมชาติไปประดิษฐ์ของเล่น ค�ำศัพท์ใหม่ๆ เกิดข้ึน
อยู่ตลอดเวลาท่ีเกิดขึ้นในสถานการณ์จริง ท่ีสัมผัสได้จริง แต่กลับกลายเป็นครูเองท่ี
ให้ความส�ำคัญกับชุดค�ำท่ีเกิดขึ้นแต่ละหมวดน้อยเกินไป โดยอาจจะมุ่งเน้นเพียงชุดค�ำ
สำ� คญั ทไ่ี ดว้ างแผนไวใ้ นคาบเรยี น ซง่ึ กค็ อื การบอกเลา่ สมบตั วิ สั ดุ วธิ กี ารเลอื ก และวธิ ที ำ�
ของเลน่ ทำ� ใหช้ ดุ คำ� ในหมวดของรสชาติ และสภาพอากาศทถ่ี กู ระบอุ อกมาโดยเดก็ ๆ นน้ั
หายไปโดยไมม่ ีการบันทึกเอาไว้
จากคำ� แนะนำ� ทไี่ ดร้ บั ทำ� ใหเ้ กดิ ความเขา้ ใจเกยี่ วกบั การใหค้ วามหมายและความสำ� คญั
ของค�ำและภาษาที่เกิดขึ้นของเด็กๆ มากข้ึน จึงจะน�ำไปปรับปรุงแผนการสอนในครั้ง
ตอ่ ไป ดังนี้
๑. จัดกิจกรรมการเรียนรู้เป็นกิจกรรมย่อยท่ีเด็กๆ ได้มีโอกาสบันทึกความรู้ใหม่
หรือชุดค�ำศัพท์ที่เกิดข้ึน เช่น ให้บันทึกรสชาติของใบมะขามที่เมื่อกลับมาดูอีก
กี่คร้ังก็นึกรสชาติได้ทันที อาจใช้วิธีวาดภาพใบหน้าขณะชิม ที่จะสื่อให้เห็นถึง
รสชาติ และให้เดก็ ๆ บนั ทกึ คำ� เก่ียวกบั รสชาติน้ันๆ ลงในใบงาน
๒. ให้เด็กๆ เขียนค�ำที่ได้พูดระบุในแต่ละหมวด และน�ำชุดค�ำที่ได้มาจัดบอร์ดใน
หอ้ งเรยี น เมอื่ พบเจอหรอื รจู้ กั คำ� อน่ื ในหมวดเดยี วกนั เดก็ ๆ สามารถนำ� ไปเขยี น และ
น�ำมาเติมลงในบอร์ดได้ มีช่วงเวลาให้ได้อ่าน ได้ทวนกัน เพ่ือให้ชุดค�ำเหล่านั้น
ไม่หายไป และมีความหมายให้เด็กๆ ได้เลือกน�ำไปใช้เพิ่มข้ึน นอกจากนั้นน่าจะ
ใหเ้ ดก็ ๆ ได้บนั ทึกค�ำต่าง ๆ ลงในสมุดค�ำศพั ทป์ ระกอบภาพ
๓. จัดกิจกรรมให้เด็กๆ ได้คิดและลงมือท�ำ แก้ปัญหาด้วยตนเองมากขึ้น โดยต้อง
วางใจ ไม่คิดว่าเขาเป็นเพียงเด็กประถม ๑ แต่ครูจะคิดโจทย์ท่ีท้าทายสมรรถนะ
ของวัย ป.๑ ให้เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเองได้มากท่ีสุด เพ่ือให้เด็กๆ ได้มีโอกาส
นำ� สมรรถนะท่ตี นเองมี ทั้งดา้ นการฟงั และท�ำความเข้าใจโจทย์ การคดิ วางแผน
ในการพิชิตโจทย์ การพูดส่ือสาร ถ่ายทอดส่ิงที่ได้เรียนรู้ ท้ายท่ีสุดจะน�ำไปสู่
การอา่ นและการเขยี น ซ่ึงจะใช้มากในการบนั ทกึ ความรู้ท่เี กดิ ขน้ึ ของตนเอง
๔. เพิ่มการให้เด็กๆ อ่านหนังสือเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ ในธรรมชาติให้มากขึ้น เช่น
เรื่องเล่นในธรรมชาติ หรือนิทานเกี่ยวกับฤดูกาล รวมถึงการที่ครูเลือกหนังสือ
เกี่ยวกับธรรมชาติ การประดิษฐ์ส่ิงของมาอ่านให้เด็กๆ ฟัง เพิ่มมากข้ึนเพ่ือการ
เพิ่มพูนคลังค�ำ

• 92 •

เลือกอปุ กรณท์ ี่ใชป้ ระดษิ ฐข์ องเลน่

• 93 •

ของเล่นแบบต่างๆ ที่นกั เรียนประดษิ ฐ์ข้นึ

• 94 •

เร่ืองเลา่ จากหอ้ งเรียน

ในปีการศึกษา ๒๕๖๓ นักเรียนชั้นประถมปีท่ี ๑ ของโรงเรียนเพลินพัฒนา ตั้งต้น
การเรียนรู้ในภาคจิตตะจากสมรรถนะในการอ่านเขียนที่สะสมมาจากภาคเรียนฉันทะ
น่ันคือ ความสามารถในการอ่านและเขียนค�ำท่ีประสมด้วยสระอะ สระอา สระอิ สระอี
สระอุ และสระอู สว่ นสมรรถนะทต่ี อ้ งสรา้ งขนึ้ ใหมใ่ นสปั ดาหแ์ รกของภาคจติ ตะคอื ความ
สามารถในการจำ� แนกสระอแี ละสระอาไดอ้ ยา่ งแมน่ ยำ� ในแผนการเรยี นรนู้ คี้ ณุ ครมู เี วลา
๒ คาบ (๙๐ นาที) ที่จะท�ำให้นักเรียนเกิดความสามารถในการจ�ำแนกสระอี สระอา
และเกดิ ความเขา้ ใจจนสามารถนำ� ไปประยุกตใ์ ช้ในบรบิ ทตา่ งๆ ไดอ้ ยา่ งคล่องแคล่ว
คณุ ครนู งิ้ - นนั ท์ณิชา พดั เกร็ด คุณครนู ุ่น - จรญิ ญา จนั ทะดวง และคุณครตู อ้ ง -
นฤตยา ถาวรพรหม คณุ ครผู สู้ อนหนว่ ยวชิ าภมู ปิ ญั ญาภาษาไทย ชน้ั ประถมปที ี่ ๑ ไดร้ ว่ มกนั
คดิ กระบวนการเรยี นรโู้ ดยอาศยั เคา้ โครงแผนการเรยี นรจู้ ากหอ้ งเรยี นวจิ ยั ทไ่ี ดท้ ำ� ขนึ้ เมอื่
ปกี ารศึกษาทีแ่ ล้ว ซ่งึ ผลลัพธท์ ่ีไดก้ ท็ ำ� ให้คณุ ครทู ้ัง ๓ คนตอ้ งยมิ้ แก้มปรไิ ปตามๆ กนั

ล�ำดบั ขั้นของกระบวนการเรยี นรู้

๑. ขัน้ น�ำ (๑๕ นาที)
๑.๑ ครูเคาะระฆังแห่งสติให้นักเรียนท�ำสมาธิก่อนเร่ิมเรียน จากนั้นให้นักเรียนชม
ภาพถ่ายผลงานช้ินล่าสุดของทุกคนท่ีเพ่ิงท�ำส�ำเร็จไปเมื่อภาคฉันทะ พร้อมท้ังชื่นชม
นักเรียนทุกคนที่มีความเพียรพยายามในการสร้างรูปภาพตัวฉันข้ึนมาด้วยความตั้งใจ
จากนน้ั ใหน้ กั เรยี นลองสงั เกตชน้ิ งานของเพอื่ นๆ วา่ ชนิ้ งานของใครใชค้ วามเพยี รพยายาม
เชน่ ไร ชนิ้ งานแบบใดจึงจะเรยี กวา่ เพยี รพยายาม
จากนนั้ ครชู วนนกั เรยี นทบทวนคำ� สระอา และสระอใู นชน้ิ งานของเพอื่ นวา่ มคี ำ� ใดบา้ ง
นักเรยี นร่วมแลกเปล่ียนคลังค�ำ ครใู หน้ กั เรยี นสังเกตค�ำทมี่ สี ระอ่นื ๆ ในช้นิ งานเพ่ิมเติม

• 95 •

ชิ้นงานตัวฉนั เจา้ ของผลงาน : เดก็ ชายพรี นันท์ พนั ธุวดธี ร นกั เรียนช้นั ประถมปีท่ี ๑

• 96 •

๒. ข้ันก่อเกดิ โจทยง์ าน (๑๐ นาที)
๒.๑ ครทู บทวนถงึ สตั วต์ วั หนงึ่ ทเี่ ดก็ ๆ ไดร้ จู้ กั และไดว้ าดลงไปในคาบเรยี นลายไทยแลว้
เขานั้นมีสดี ำ� ปิด๊ ปี๋ เขาคือ อกี า ครูตดิ ภาพอกี าไวบ้ นกระดาน
๒.๒ ใหเ้ ดก็ ๆ ลองออกเสยี งค�ำวา่ อี - กา พร้อมกนั และลองสงั เกตว่า มเี สยี งสระ
อะไรเพม่ิ ขนึ้ มาจากทเี่ ดก็ ๆ ไดเ้ รยี นรไู้ ปแลว้ (สระอ)ี จากนน้ั ครลู องชวนเดก็ ๆ ออกเสยี ง
สระ อี ให้ยาวที่สุด และเมอ่ื ทำ� เสียงสระอี ใหส้ ั้นจะกลายเป็นเสยี งสระ อิ
๒.๓ ครูชวนเด็กๆ หาค�ำท่ีออกเสียง อี อา เหมือนค�ำว่า อีกา และลองกลับค�ำ
หาคำ� ทอ่ี อกเสยี ง อา อี รวมถงึ คำ� สระอี และคำ� อนื่ ๆ ทน่ี า่ สนใจ ทพ่ี บในผลงานของเพอื่ นดว้ ย
โดยครูชว่ ยบนั ทกึ คำ� เหล่านัน้ ลงบนกระดาน
๓. ข้ันทำ� งาน (สร้างสรรค์/ แกป้ ญั หา) (๓๐ นาที)
๓.๒ นกั เรยี นบนั ทกึ คำ� ทม่ี เี สยี ง อี อา และ อา อี ลงในสมดุ ของตนเอง แลว้ วาดภาพ
ตกแต่งใหส้ วยงามได้ตามชอบใจ
๔. ขน้ั อภปิ รายสกู่ ารสรปุ (ปฏสิ มั พนั ธท์ างความร)ู้ (๒๐ นาที)
๔.๑ นักเรียนออกมาน�ำเสนอคลังค�ำของตนเอง และบันทึกคลังค�ำท่ีตนสนใจลงไปที่
ด้านหลังของสมุด
๕. ข้ันบริบรู ณ์ (บนั ทกึ การเรียนรแู้ ละ AAR) (๑๕ นาท)ี
สรุปการเรียนรู้ในวันนี้ โดยครูถามนักเรียนว่า ๑) จากการท�ำกิจกรรมในวันนี้
นักเรียนรูส้ กึ อยา่ งไร ๒) นักเรยี นให้คะแนนความเพยี รพยายามของตนเองในวนั นก้ี ่ีดาว
๓) นักเรยี นสามารถน�ำค�ำบนกระดานท่ีได้เรยี นรู้รว่ มกันในวันไปท�ำอะไรได้บ้าง

ครตู อ้ งเลา่ วา่ เดก็ ๆ สนกุ กบั คำ� ถามสดุ ทา้ ยมาก พวกเขาสนกุ มถี อ้ ยค�ำระบเุ ป้าหมาย
กบั การแลกเปลย่ี นจนไมอ่ ยากลกุ ไปทานอาหารกลางวนั กนั เลย การเรยี นรู้ ES ๐.๕๐
เด็กคนหนึ่งเสนอว่าจะลอกค�ำท่ีอยู่บนกระดานลงในสมุด อีก
คนหนง่ึ เสนอวา่ จะเอาคำ� มาแตง่ เปน็ เรอ่ื งราว มอี กี คนหนง่ึ เสนอวา่
เราเอามาเขยี นใหเ้ สยี งสลบั ไปมาได้ ในขณะทอี่ กี คนหนงึ่ เสนอวา่
จะเอาคำ� มาเขยี นแล้ววาดภาพประกอบ

• 97 •

เด็กคนหนงึ่ เสนอวา่ จะลอกคำ� ท่อี ยูบ่ นกระดานลงในสมุด
อีกคนหน่งึ เสนอวา่ จะเอาคำ� มาแตง่ เปน็ เรื่องราว

• 98 •

มีอกี คนหนึ่งเสนอวา่ เราเอามาเขียนใหเ้ สียงสลับไปมาได้
ในขณะท่อี ีกคนหนึ่งเสนอวา่ จะเอาคำ� มาเขียนแลว้ วาดภาพประกอบ

• 99 •


Click to View FlipBook Version