The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

ตำรากองทัพบกและเหล่าทหาร 66 (ฉบับสมบูรณ์)

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by komkrich vekchalikanon, 2023-04-19 20:54:34

ตำราวิชากองทัพบกและเหล่าทหาร 66

ตำรากองทัพบกและเหล่าทหาร 66 (ฉบับสมบูรณ์)

ว ิ ชากองท ั พบกและเหล  าทหาร กองว ิ ชาเหล  าสน ั บสน ุ นการช  วยรบ ส  วนว ิ ชาทหารโรงเร ี ยนนายร  อยพระจ ุ ลจอมเกล  า OrganizationRoyalArmy andBranchofService


สารบัญ หน้า บทที่ ๑ ประวัติและวิวัฒนาการการจัดกองทัพบกไทย ๑ -สมัยกรุงสุโขทัย ๓ -สมัยกรุงศรีอยุธยา ๔ -สมัยกรุงธนบุรี ๑๗ -สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ๒๑ บทที่ ๒ กองทัพบก ๒๘ พ.ร.บ.จัดระเบียบราชการ กระทรวงกลาโหม พ.ศ.๒๕๕๑ ๓๐ กองทัพไทย ๓๑ การจัดส่วนราชการของกองทัพบก ๓๒ -ส่วนบัญชาการ ๓๔ -กรมฝ่ายกิจการพิเศษ ๓๕ -กรมฝ่ายยุทธบริการ ๓๖ -ส่วนกำลังรบ ๓๗ -พระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการและกำหนดหน้าที่ของส่วนราชการ กองทัพบก กองทัพไทย กระทรวงกลาโหม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๕๘ -ส่วนสนับสนุนการรบ ๓๘ -ส่วนส่งกำลังบำรุง ๓๙ -ส่วนภูมิภาค มณฑลทหารบก ๔๐ -ส่วนการศึกษา ๔๑ -ส่วนพัฒนาประเทศ ๔๒ ภารกิจของกองทัพบก ๔๓ ค่ายทหาร ๔๕ ภาคที่ ๑ ภารกิจ การจัด ขีดความสามารถและข้อจำกัด (ทหารราบ) ๔๗ ตอนที่ ๑ กล่าวทั่วไป ๔๘ ตอนที่ ๒ กองพลทหารราบ ๔๙ ตอนที่ ๓ กองพลทหารราบยานเกราะ ๕๖ ตอนที่ ๔ กองพลทหารราบยานยนต์ ๖๑ ตอนที่ ๕ กองพลทหารราบเบา ๖๔ ภาคที่ ๒ การปฏิบัติการรบด้วยวิธีรุก ๖๖ คุณลักษณะของการรบด้วยวิธีรุก


หน้า แบบของการรบด้วยวิธีรุก ๖๙ ภาคที่ ๓ การปฏิบัติการรบด้วยวิธีรับ ๗๖ คุณลักษณะของการปฏิบัติการรบด้วยวิธีรับ ๗๗ ภาคที่ ๔ การปฏิบัติการรบด้วยวิธีร่นถอย ๘๔ บทที่ ๓ เหล่าทหารราบ ๙๑ ๑. กล่าวโดยทั่วไป ๒. ประวัติของเหล่าทหารราบ ๙๒ ๓. บทบาท/ภารกิจของเหล่าทหารราบ ๔. พันธกิจของเหล่าทหารราบ ๙๓ ๕. การจัดหน่วย และหน้าที่ความรับผิดชอบของเหล่าทหารราบ การจัดและการใช้หน่วยทหาร ทหารราบเบา ๙๔ ทหารราบยานยนต์ ทหารราบยานเกราะ เหล่าทหารม้า ๑๐๓ กล่าวทั่วไป หลักนิยม ภารกิจ การจัด ๑๐๔ บทบาทของทหารม้า ภารกิจของทหารม้า ๑๐๕ การแบ่งประเภทของทหารม้า ๑๐๖ คุณลักษณะของทหารม้า ๑๐๗ ขีดความสามารถของทหารม้า ๑๐๙ กองพลทหารม้า ผังการจัดกองพลทหารม้ามาตรฐาน ๑๑๑ กรมทหารม้า ๑๑๒ กองพันทหารม้า (รถถัง) ๑๑๓ กองพันทหารม้า (ยานเกราะ) กองพันทหารม้า (ลาดตระเวน) ๑๑๔ เหล่าทหารปืนใหญ่ ประวัติและความเป็นมาของ ป.สนาม ๑๑๕ ภารกิจโดยทั่วไปของทหารปืนใหญ่สนาม ๑๑๗ การจัดหน่วยปืนใหญ่สนามของกองทัพบกไทย ๑๑๘ กรมทหารปืนใหญ่ (กรม ป.) ๑๑๙ กองพลทหารปืนใหญ่ ๑๒๔ ศูนย์การทหารปืนใหญ่ (ศป.) ๑๒๗


หน้า เหล่าทหารช่าง ๑๒๘ ความเป็นมาของทหารช่าง ๑๓๑ หน่วยทหารช่างที่กระทรวงกลาโหมกำหนด หน่วยที่ ทบ.ฝากการบังคับบัญชาไว้กับ กช. ภารกิจ กรมการทหารช่าง ขอบเขตความรับผิดชอบและหน้าที่สำคัญ ๑๓๒ การแบ่งส่วนราชการ และหน้าที่ กองพลทหารช่าง ๑๓๓ ภารกิจของกองพลทหารช่าง เหล่าทหารสื่อสาร ๑๓๕ กล่าวทั่วไป ประวัติทหารสื่อสาร หน่วยสื่อสาร ๑๓๗ หน่วยทหารสื่อสาร ๑๓๘ ภารกิจหลักของหน่วยสื่อสาร และหน่วยทหารสื่อสาร การจัดและภารกิจของหมวดสื่อสารของกองพันทหารราบ ๑๓๙ กองพันทหารสื่อสารกองพล กองพันทหารสื่อสารกองทัพภาค ๑๔๐ กรมทหารสื่อสารที่ ๑ ๑๔๑ กองพันทหารสื่อสารกองบัญชาการกองทัพบก (พัน.ส.บก.ทบ.) ๑๔๒ เหล่าทหารการข่าว ๑๔๔ ประวัติกรมข่าวทหารบก ภารกิจกรมข่าวทหารบก ขอบเขตความรับผิดชอบและหน้าที่สำคัญ ๑๔๖ การจัดตั้งเหล่าทหารการข่าวของกองทัพบก ๑๔๗ เหล่าทหารพลาธิการ ๑๕๐ ตอนที่ ๑ กรมพลาธิการทหารบก กล่าวทั่วไป ภารกิจ การแบ่งมอบ ขอบเขตความรับผิดชอบ ตอนที่ ๒ ฝ่ายพลาธิการระดับต่างๆ ๑๕๒ ผังการจัดกรมพลาธิการทหารบก แผนกพลาธิการกองทัพภาค กองทหารพลาธิการกองพล ๑๕๓ สำนักงานพลาธิการมณฑลทหารบก ๑๕๒ ฝ่ายพลาธิการกองพล ๑๕๙


หน้า ศูนย์ควบคุมการส่งกำลังบำรุง (บชร.) ๑๖๓ สำนักงานส่งกำลังกองพล ๑๖๗ ตอนที่ ๓ ภารกิจ การจัด ขอบเขตความรับผิดชอบ และการดำเนินงานของ มทบ. ๑๗๑ ผังการจัด มณฑลทหารบก ๑๗๓ ตอนที่ ๔ หน่วยทหารพลาธิการ ๑๗๔ ผังการจัดกรมพลาธิการทหารบก ๑๗๖ เหล่าทหารสรรพาวุธ บทบาท ภารกิจ พันธกิจ และความรับผิดชอบของเหล่าทหารสรรพาวุธ ๑๗๗ กล่าวทั่วไป บทบาทและภารกิจของเหล่าทหารสรรพาวุธ ๑๗๘ พันธกิจของเหล่าทหารสรรพาวุธ กรมสรรพาวุธทหารบก ๑๗๙ หลักการสนับสนุน และหน่วยทหารสรรพาวุธ ๑๘๖ การสนับสนุนโดยตรง การสนับสนุนทั่วไป การสนับสนุนประจำที่ ๑๘๗ สรุปการบริการสรรพาวุธ หน่วยทหารสรรพาวุธในเขตยุทธบริเวณ หน่วยทหารสรรพาวุธประเภทต่าง ๆ ในกองทัพบก ๑๘๙ หน่วยทหารสรรพาวุธตามแนวการจัดแบบพันธกิจ ๑๙๑ ผังการจัดกรมสรรพาวุธทหารบก ๑๙๒ ผังการจัดศูนย์อุตสาหการสรรพาวุธ ๑๙๓ ศูนย์ซ่อมสร้างสิ่งอุปกรณ์สายสรรพาวุธ ผังการจัดกองสรรพาวุธเบา ๑๙๔ กองพันสรรพาวุธกระสุน บชร. ๑๙๕ ผังการจัดกองพันซ่อมบำรุง กรม สน.พล.ร.๙ ๑๙๖ กองพันส่งกำลังและบริการ บชร. ๑๙๗ กองพันซ่อมบำรุง บชร. ๑๙๘ กองพันสรรพาวุธซ่อมบำรุงเขตหลัง ๑๙๙ เหล่าทหารสารวัตร ยุคกำเนิด ๒๐๒ ยุคสร้างสรรค์ ๒๐๓ ยุคการหยุดชะงัก ๒๐๕ ยุคการวางแนวทางเหล่า ๒๐๗ ยุคการปรับปรุงเหล่า ๒๐๘ ยุคการพัฒนาเหล่า ๒๑๐


หน้า การจัดหน่วยทหารสารวัตของกองทัพบก ๒๑๓ ขอบเขตความรับผิดชอบและหน้าที่สำคัญ ๒๑๔ การแบ่งส่วนราชการและหน้าที่ ๒๑๕ ผังการจัดกรมการสารวัตรทหารบก ผังการจัดหน่วยทหารสารวัตรส่วนภูมิภาค ๒๑๖ ผังการจัดกองพันทหารสารวัตรกองทัพภาค ๒๑๘ ผังการจัดกองพันทหารสารวัตรที่ ๑๑ ๒๒๓ ผังการจัดหน่วยทหารสารวัตรในมณฑลทหารบก ๒๒๖ เหล่าทหารขนส่ง ประวัติโดยสังเขป ๒๔๐ การจัด และภารกิจกรมการขนส่งทหารบก ๒๔๑ ขอบเขตความรับผิดชอบและหน้าที่สำคัญ ๒๔๒ การจัดกรมการขนส่งทหารบก ๒๔๓ ศูนย์การเคลื่อนย้ายกองทัพบก (ศคย.ทบ.) ๒๔๔ กองพันทหารขนส่งที่ ๑ ๒๔๕ กองพันทหารขนส่งที่ ๒ (ผสม) ๒๔๖ ร้อย.ขส.เรือ เหล่าทหารแพทย์ ภารกิจ การแบ่งมอบ ๒๔๗ ขอบเขตความรับผิดชอบและหน้าที่สำคัญ การจัดหน่วย กิจการสายแพทย์ในแต่ละกองทัพภาค ๒๔๘ หน่วยสายแพทย์ในส่วนภูมิภาค หน่วยสายแพทย์ในส่วนกำลังรบ ๒๕๐ หน่วยสายแพทย์ในส่วนการศึกษา ผังการจัดกรมแพทย์ทหารบก ๒๕๒ เหล่าทหารการสัตว์ ภารกิจกรมการสัตว์ทหารบก ๒๕๓ ผังการจัดกรมการสัตว์ทหารบก หน่วยทหารการสัตว์ซึ่งมีอัตราการจัดแยกต่างหาก ๒๕๔ หน่วยทหารการสัตว์ในอัตราของหน่วยใช้ เหล่าทหารแผนที่ ประวัติกรมแผนที่ทหาร ๒๕๘ กรมแผนที่ทหาร ๒๕๙ ผังการจัดกรมแผนที่ทหาร เหล่าทหารสารบรรณ ประวัติของกรมสารบรรณทหารบก ๒๖๑


หน้า การแบ่งประเภทของเหล่าทหาร ๒๖๓ ประเภทของเหล่าทหารสารบรรณ ๒๖๕ คุณสมบัติและการปฏิบัติงานในหน้าที่สารบรรณ ๒๖๖ หน้าที่ของนายทหารสารบรรณในระดับต่าง ๆ ๒๖๙ ตำแหน่งของเหล่าทหารสารบรรณใน ทบ. ๒๗๐ นายทหารเหล่าสารบรรณในตำแหน่งระดับหน่วยต่าง ๆ ๒๗๑ เหล่าทหารการเงิน ภารกิจ หน้าที่ ๒๗๘ การจัดกรมการเงินทหารบก ๒๗๙ เหล่าทหารพระธรรมนูญ ประวัติกรมพระธรรมนูญโดยสังเขป ๒๘๑ กรมพระธรรมนูญ ๒๘๓ ผังการจัดกรมพระธรรมนูญ ๒๘๖ ภารกิจ การแบ่งส่วนราชการ และหน้าที่ กระบวนการยุติธรรม ๒๙๐ กระบวนการยุติธรรมทหาร ศาลทหาร ๒๙๑ ประวัตินายทหารพระธรรมนูญ ๒๙๒ ข้อบังคับกระทรวงกลาโหมว่าด้วยนายทหารพระธรรมนูญ ๒๙๔ เหล่าทหารดุริยางค์ ภารกิจ ๒๙๘ ขอบเขตความรับผิดชอบและหน้าที่สำคัญ การแบ่งส่วนราชการและหน้าที่ ผังการจัดกองดุริยางค์ทหารบก ๒๙๙ โรงเรียนดุริยางค์ ๓๐๒ ทหารพลร่ม กล่าวทั่วไป ๓๐๔ ประวัติ (สังเขป) ๓๐๖ ภารกิจการจัดหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ ๓๐๗ กองพลรบพิเศษ ๓๐๘ กรมรบพิเศษ (รพศ.) ๓๐๙ ศูนย์สงครามพิเศษ (ศสพ.) โรงเรียนสงครามพิเศษ (รร.สพศ.) ๓๑๐ กองพันฝึกรบพิเศษที่ ๙ กองพลาธิการส่งกำลังทางอากาศ (กอง พธ.สกอ.) กองร้อยลาดตระแวนระยะไกล (ร้อย.ลว.ไกล)


หน้า กองพันปฏิบัติการจิตวิทยา (พัน.ปจว.) การจัดและการใช้หน่วยรบพิเศษของกองทัพไทย ๓๑๑ บทบาทของหน่วยรบพิเศษ ๓๑๒ การสงครามพิเศษ ๓๑๓ ขอบเขตของการสงครามพิเศษ ๓๑๔ ทฤษฎี หลักนิยม การสงครามพิเศษ ๓๑๕ การแบ่งประเภทของสงครามพิเศษ แนวความคิดในการใช้สงครามพิเศษ ๓๑๖


๑ บทที่ ๑ ประวัติและวิวัฒนาการ การจัดกองทัพบกไทย ภาพจำหลักกองทัพ “ สยาม “ ( เสียมกุก ) ที่ระเบียงปราสาทนครวัด กัมพูชา ซึ่งกษัตริย์จากแคว้นสยามส่งไปร่วมรบที่ จามปา หรือจาม ( เวียดนาม ) ในฐานะพันธมิตรกับกัมพูชา ( เจนละ ) เป็นศิลปะขอมครึ่งหลังของพุทธศตวรรษที่ ๑๗ ประเทศไทยเป็นราชอาณาจักรเก่าแก่ ที่มีเอกราชและวัฒนธรรมประเพณีอันดีงาม สืบต่อมาแต่ โบราณกาลประเทศหนึ่งในภาคพื้นเอเซียอาคเนย์ ตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ในอดีตยอมรับกันทั่วไป ว่าชนชาติไทยได้อพยพมาหลายครั้งจนเข้ามาตั้งอาณาจักรน่านเจ้า (อยู่ในดินแดนตอนใต้ของประเทศจีน ขณะนี้) ในราว พ.ศ. ๑๒๐๐ ไทยในน่านเจ้าก็ได้มีการจัดระบบการทหารภายในอาณาจักรเป็นระเบียบ เรียบร้อยแล้ว โดยถือว่าระบบการทหารเป็นหลักการสำคัญควบคู่กันไปกับการปกครองประเทศ ภายหลังสมัย น่านเจ้าได้มีการจัดตั้งอาณาจักรขึ้นใหม่ และได้มีการเปลี่ยนแปลงย้ายที่ตั้งเมืองหลวงอีกหลายยุคหลายสมัย มาจนถึงกรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นเมืองหลวงของประเทศไทยในปัจจุบัน ถึงแม้ว่าจะได้มีการตั้งอาณาจักร ไทยขึ้นมาใหม่ และมีการย้ายเมืองหลายครั้งก็ตาม ชนชาติไทยยังยึดถือระบบการทหารเป็นหลักสำคัญในการ ปกครองประเทศ และได้วิวัฒนาการจัดตั้งกำลังป้องกันประเทศให้ดีขึ้นตามลำดับ จากหลักฐานทาง โบราณคดีนักวิชาการอีกกลุ่มหนึ่งมีความเห็นแย้งและเชื่อว่า ชนชาติไทยในปัจจุบัน คือ ชนชาวสยามที่มี พัฒนาการมาตั้งแต่ยุคหินในดินแดนสุวรรณภูมิแห่งนี้ 1 แต่การศึกษาประวัติความเป็นมาของกองทัพไทย จะ ศึกษา ๔ ยุคสมัยต่าง ๆ ดังนี้ ๑. สมัยกรุงสุโขทัย พ.ศ.๑๗๙๒ – พ.ศ.๑๙๒๑ ๒. สมัยกรุงศรีอยุธยา พ.ศ.๑๘๙๓ - พ.ศ.๒๓๑๐ ๓. สมัยกรุงธนบุรี พ.ศ.๒๓๑๐ – พ.ศ.๒๓๒๕ ๔. สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พ.ศ.๒๓๒๕ - ปัจจุบัน 1 คนไทยอยู่ที่นี่ สุจิตต์ วงษ์เทศ ศิลปวัฒนธรรม ฉบับพิเศษ ๒๕๒๙


๒ แผนที่ประเทศไทยสมัยต้นพุทธกาล แผนที่ประเทศไทย สมัยทราวดี พุทธศตวรรษที่ ๑๑


๓ สมัยกรุงสุโขทัย ( พ.ศ.๑๗๙๒ - ๑๙๒๑ ) แคว้นสุโขทัยมีพัฒนาการมาจากการเปลี่ยนแปลง ทางด้านเศรษฐกิจ และการเมือง ของ ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๖ ลงมา แคว้นสุโขทัยได้เจริญรุ่งเรืองมาก ขึ้นในพุทธศตวรรษที่ ๑๘ ความเป็นปึกแผ่นของแคว้นสุโขทัยเริ่มขึ้นใน “ ราชวงศ์พระร่วง “ ปฐมกษัตริย์ คือพ่อขุนบางกลางหาว พระนามว่า “ พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ “ จากหลักฐานศิลาจารึกครั้งกรุงสุโขทัย พ่อ ขุนศรีอินทราทิตย์ได้รวบรวมชาวไทยตั้งอาณาจักรไทยขึ้นใหม่ และได้สถาปนาพระองค์เป็นพระมหากษัตริย์ เมื่อ พ.ศ.๑๗๙๒ ด้านการทหาร ใช้หลักในการป้องกันประเทศ ที่ว่า “ ผู้ชายไทยทุกคนต้องเป็นทหาร “ ครั้งเมื่อพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ทรงขึ้นครองราชสมบัติ เมื่อ พ.ศ.๑๘๒๒ พระองค์ทรงเป็น นักรบที่เก่งกล้าสามารถเป็นอย่างยิ่ง ได้ทรงกระทำยุทธหัตถีชนะข้าศึก และได้ขยายอาณาเขตออกไปอย่าง กว้างขวาง การจัดกำลังรบในครั้งนั้น ใช้พลเดินเท้าเป็นส่วนใหญ่ อาวุธประจำกาย ได้แก่ กระบี่ ดาบ หอก แหลน หลาว และพอง อาวุธประจำหน่วย ได้แก่ ธนูและเกาทัณฑ์หน่วยเคลื่อนที่เร็ว ได้แก่ทหารม้า ใช้ อาวุธประเภทหอก ทวน แหลน หลาว เป็นต้น ส่วนกำลังรบที่ใช้โจมตีเพื่อหวังผลชัยชนะ จะมีพลช้างร่วมด้วย ในสมัยสุโขทัยเริ่มใช้ระบบทำเนียบกองทัพโดยแบ่งส่วนประชาชนออกเป็นหมู่ เป็นกอง โดยได้ จัดแบ่งกองทัพเป็น ๓ ชนิด มีขนาด และความสำคัญต่างกันไป ได้แก่ ๑. กองทัพหลวง จัดเป็นกองที่มีความสำคัญที่สุด พระมหากษัตริย์ทรงดำรงตำแหน่งจอมทัพ ส่วนกำลังพล ใช้วิธีเรียกเกณฑ์จากคนในเขตชั้นใน ๒. กองทัพหัวเมือง เป็นกองทัพหัวเมืองชั้นกลาง ซึ่งจะจัดเข้าสมทบกับกองทัพหลวงในยาม สงครามโดยเรียกกำลังจากในเมืองมาจัดเป็นกองทัพ เพื่อสะกัดกั้นข้าศึกที่ผ่านเข้ามาในทิศทางของตนหรือ อาจปฏิบัติการอย่างใดอย่างหนึ่งตามพระบรมราชโองการของจอมทัพ ๓. กองทัพประเทศราช พระมหากษัตริย์จะทรงสั่งการให้จัดกองทัพเข้าร่วมในการสงคราม หรือให้ ส่งสัตว์พาหนะ และเสบียงอาหารให้เฉพาะในกรณีเกิดสงครามขนาดใหญ่


๔ ด้านการปกครอง ทรงปกครองราษฏรแบบพ่อปกครองลูก แบ่งท้องที่ปกครองออกเป็น ๓ เขต เป็นการปกครองในลักษณะ “ การกระจายอำนาจ “ ได้แก่ ๑. เขตชั้นใน มีกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี เป็นศูนย์กลาง มีลักษณะเป็น “ เมืองหลวง “ ๒. เขตชั้นกลาง มีหัวเมืองเอกตั้งรายล้อมราชธานีทั้ง ๔ ทิศ มีลักษณะเป็น “ เมืองลูกหลวง ” เปรียบเสมือนเป็นเมืองหน้าด่าน มีพระราชวงค์ หรือขุนนางอาวุโสสูงสุดเป็นผู้ปกครอง ประกอบด้วย ทิศเหนือ คือ เมืองศรีสัชนาลัย ( สวรรคโลก ) ทิศใต้ คือ เมืองสระหลวง ( พิจิตร ) ทิศตะวันออก คือ เมืองสองแคว ( พิษณุโลก ) ทิศตะวันตก คือ เมืองชากังราว ( กำแพงเพชร ) ๓. เขตชั้นนอก ถือเป็นเมืองประเทศราช เช่น หลวงพระบาง นครศรีธรรมราช ตะนาวศรี เป็นต้น ให้เจ้านายของชนชาตินั้น ๆ ปกครองกันเอง โดยให้ส่งเครื่องราชบรรณาการมาถวายตามกำหนด เมือง ชั้นนอกนี้โดยปกติแล้วมุ่งให้ช่วยรักษาชายพระราชอาณาเขตมิให้ประเทศอื่นมารุกรานมากกว่าเพื่อเหตุผลอื่น สมัยกรุงศรีอยุธยา ( พ.ศ. ๑๘๙๓ - ๒๓๑๐ ) กรุงศรีอยุธยา หรือพระนครศรีอยุธยาเกิดจากการรวมกลุ่มแคว้นสยาม และแคว้นละโว้ ใน พุทธศตวรรษที่ ๑๘ โดยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ ( พระเจ้าอู่ทอง ) สถาปนาพระนครศรีอยุธยาขึ้นเป็น “ราชธานี” ซึ่งเอกสารจีนเรียกว่า “เสียนหลอฮกก๊ก หรือเสียนก๊ก” ด้านการทหาร ในสมัยกรุงศรีอยุธยานี้หลักการทหารเป็นระบบที่ได้รับการปรับปรุงให้รัดกุมยิ่งขึ้น ทั้งทางด้านการควบคุมไพร่พลและยุทธวิธี การจัดกำลังกองทัพยึดถือกำลังทางบกเป็นสำคัญ ในรัชสมัย สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ( สมเด็จพระราเมศวร ) ( พ.ศ.๑๙๙๑ - ๒๐๓๑ ) ได้มีการเปลี่ยนแปลงระบบ


๕ การจัดการทางทหารที่สำคัญ เช่น มีการจัดกำลังทหารตามตำราพิชัยสงคราม ซึ่งบ่งถึงวิธีจัดกองทัพ การยก ทัพ การตั้งค่าย ตลอดจนการดำเนินกลยุทธ มีการกำหนดแบ่งกิจการทหารกับพลเรือนแยกออกจากกัน และกำหนดให้ชายฉกรรจ์ชาวไทยทุกคนต้องเข้ารับราชการทหารเมื่ออายุครบ ๑๘ ปี มีการตั้งกรมพระ สุรัสวดีรับผิดชอบทะเบียนไพร่พล ( การเตรียมพล ) ครั้นเมื่อเกิดสงคราม ชายฉกรรจ์เหล่านี้จะต้องถูกระดม เข้าประจำกองทัพตามสังกัดของตน นับว่าในสมัยสมเด็จพระบรมไตรนาถโลกมีการจัดการทหารแบบใหม่ครั้งแรก โดยแบ่งส่วนราชการ ย่อยออกเป็นกรมและกองที่เป็นลักษณะ “ จตุรงคเสนา “ อันได้แก่ กรมช้าง กรมม้า กรมทหารราบ และ กรมทหารช่างต่าง ๆ กำหนดหน้าที่กรมกองและส่วนราชการออกเป็น ๒ ฝ่าย คือ ฝ่ายทหาร ให้สมุหกลา โหมเป็นผู้บังคับบัญชาตรวจตราราชการฝ่ายทหารทั่วราชอาณาจักร โดยมีแม่ทัพใหญ่สุดลงมา ๒ ตำแหน่ง คือ ออกญาสีหราชเดโชไชย ( แม่ทัพฝ่ายขวา ) กับ ออกญาสีหราชเดชไชยท้ายน้ำ ( แม่ทัพฝ่ายซ้าย ) และ แม่ทัพรองประจำเมืองที่สำคัญ นอกจากนั้นยังกำหนดตำแหน่งที่สำคัญทางทหารไว้อีก ๒ ตำแหน่ง คือ นายกองพลทหารช้าง กับ นายกองพลทหารราบ ซึ่งบุคคลทั้ง ๒ นี้จะอยู่ประจำราชธานี อีกฝ่ายหนึ่งคือ ฝ่ายพลเรือน ให้สมุหนายกเป็นหัวหน้าควบคุมบังคับบัญชางานฝ่ายพลเรือน ในยามปกติมีการแบ่งแยก อำนาจฝ่ายทหารและฝ่ายพลเรือนออกจากกันเด็ดขาด หากเกิดสงครามทั้งฝ่ายทหารและพลเรือนต่างเข้า ประจำการ ตามทำเนียบกองทัพที่เตรียมไว้ในยามปกติ ด้านการปกครอง พระองค์ทรงปฏิรูปการปกครองให้มีความเหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบันใน ขณะนั้นเป็นลักษณะ “ รวมศูนย์อำนาจ “ เพื่อให้ การเมือง การปกครองเกิดความมั่นคง มีประสิทธิภาพ ในสมัยนี้ยกเลิกราชประเพณีแต่งตั้งเจ้านายในพระราชวงศ์ให้เสด็จไปปกครองเมืองสำคัญดังแต่ก่อน ทรงตรา กฎหมายบังคับให้เจ้านายเหล่านั้นต้องอยู่ภายในพระนคร แต่โดยตั้งให้มีตำแหน่ง ชั้น ยศศักดิ์ และสิทธิ ลดหลั่นกันลงมา แบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบของบุคคลในสังคมทุกผู้ทุกเหล่า ระบบนี้ถูกเรียกว่า “ ระบบศักดินา “ เป็นเสมือนหนึ่งการวางรากฐานความมั่นคงในการสร้างบูรณาการทางการเมือง การ ปกครอง และสังคม ของประเทศสยาม การแบ่งส่วนราชการด้านการปกครองนี้ในฝ่ายพลเรือน แบ่งเป็น ๔ กรม ให้สมุหนายกเป็นหัวหน้าควบคุมบังคับบัญชา โดยมี เสนาบดีอีก ๔ คน ช่วยบัญชาการเรียกว่า “ จตุสดมภ์“ ได้แก่ เสนาบดีกรมเวียง เสนาบดีกรมวัง เสนาบดีกรมคลัง และเสนาบดีกรมนา และได้ ปรับปรุงเขตการปกครอง โดยจัดทำทำเนียบหัวเมืองใหม่แบบ รวมศูนย์เข้าสู่ส่วนกลาง คือ ๑. ยกหัวเมืองชั้นกลางมารวมไว้กับหัวเมืองชั้นใน ๒. ให้เมืองสำคัญที่อยู่ห่างไกลกรุงศรีอยุธยาเป็นเมืองพระยามหานคร และแต่งตั้งขุนนางผู้ใหญ่ไป ปกครอง ขึ้นตรงกับราชธานี ๓.เมืองประเทศราชรอบนอกปล่อยให้ปกครองกันเองเหมือนเดิม แต่ในยามสงครามต้องจัด กองทัพมาสมทบกับกองทัพราชธานีหรือไปปฏิบัติตามที่ราชธานีสั่งการออกไป กรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่า ครั้งที่ ๑ ในสมัยสมเด็จพระมหินทราธิราช เมื่อวันอาทิตย์ เดือน ๙ แรม ๑๑ ค่ำ ปีมะเส็ง จุลศักราช ๙๓๑ พ.ศ. ๒๑๑๒ ( ตามพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐ ) พระยาจักรีเป็นไส้ ศึก 2 2 ประวัติของแผ่นดินไทย อาทร จันทรวิมล ดร. ๒๕๔๘


๖ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงกระทำยุทธหัตถีกับพระมหาอุปราชา เมื่อวันที่ ๑๘ มกราคม พ.ศ.๒๑๓๕ ในสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ได้เปลี่ยนแผนยุทธศาสตร์จากเดิมที่ใช้กรุงศรีอยุธยาเป็น ที่ตั้งรับอย่างเดียว เป็นการใช้กำลังออกไปยับยั้งข้าศึกตั้งแต่ภายนอกเขต โดยใช้ยุทธวิธีการเดินทัพแบบ “ ทาง เส้นใน “ ด้วยวิธีตั้งกองโจรคอยตีเส้นทางลำเลียงเสบียงอาหารมิให้ส่งถึงกองทัพข้าศึกได้โดยสะดวก และด้วย ทุกวิธีการที่จะทำให้ข้าศึกเกิดความอ่อนแอ รวนเรระส่ำระสายก่อนการเข้าตียุทธวิธีของสมเด็จพระนเรศวร มหาราชนับเป็นวิธีการใหม่ ที่ได้ใช้เป็นแบบแผนสืบต่อมาจนถึงสมัยกรุงธนบุรีและกรุงรัตนโกสินทร์อันเป็น ที่มาของสงครามนอกแบบหรือสงครามกองโจรที่ใช้ในปัจจุบัน ในการกำหนดรูปแบบการจัดกำลัง การเลือกภูมิประเทศที่ตั้งทัพ การเคลื่อนทัพ และหลักนิยมใน การรบพระองค์ได้ยึดถือตามตำราพิชัยสงคราม จนในปีพ.ศ.๒๑๓๕ ได้ปรากฏการยุทธครั้งสำคัญคือ การ ยุทธที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงกระทำยุทธหัตถีมีชัยชนะต่อพระมหาอุปราชา เมื่อ วันที่ ๑๘ ม.ค. พ.ศ. ๒๑๓๕ ที่ตำบลหนองสาหร่าย อำเภอดอนเจดีย์จังหวัดสุพรรณบุรีซึ่งนับเป็นวันแห่งชัยชนะที่สำคัญยิ่งใน ประวัติศาสตร์ชาติไทย ซึ่งเป็นที่มาของวันกองทัพไทย และ วันกองทัพบกในปัจจุบัน พ.ศ. ๒๑๔๒ สมเด็จพระนเรศวร ฯ ทรงยกทัพไปตีเมืองหงสาวดีของพม่า พระเจ้าหงสาวดี นันทบุเรงชัยสิงห์ ทรงทิ้งเมืองหงสาวดีไปเมืองตองอู แล้วเผาเมืองหงสาวดีเสีย สมเด็จพระนเรศวร ฯ ทรงยกทัพตามไปเมืองตองอู ล้อมเมืองอยู่ ๒ เดือน กองทัพอยุธยาขาดเสบียงอาหารตีเมืองตองอูไม่ได้ต้อง ยกทัพกลับ ฝ่ายไทยสูญเสียรี้พลไปมาก และในเดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๑๔๓ พระเจ้าหงสาวดีนันทบุเรงชัย สิงห์ ก็สวรรคตที่เมืองตองอู


๗ ต่อมาในสมัยสมเด็จพระเอกาทศรถ กำลังพลที่เข้าประจำการมีน้อยลง เพราะต้องสูญเสียไพร่พล ในการรบมิใช่น้อย จนต้องยอมรับชาวต่างชาติที่มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตราชธานีเข้าเป็นทหารอาสา และจัดตั้ง เป็นกรมอาสาต่าง ๆ ขึ้น ได้แก่ - กรมอาสาญี่ปุ่น - กรมอาสาจาม - กรมอาสาแม่นปืน ( พวกโปรตุเกส ) - ทหารประจำปืนราชบรรณาการ ( พวกฮอลันดา ) สมเด็จพระเอกาทศรถ ครองราชยเ์พียง ๕ ปีก็สวรรคต พระพิมลธรรมอนนัตปรีชา ซ่ึงเป็นเช้ือพระวงศ์ องค์หนึ่งผนวชอยู่ที่วัดระฆัง ได้สึกออกมาชิงราชสมบัติได้ส าเร็จ ทรงพระนามว่า สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม ( พ.ศ.๒๑๕๓ – ๒๑๗๑ ) มีการประหารขุนนางเก่าจำนวนมาก พระองค์สวรรคตโดยอาจถูกวางยาพิษขณะ พระชนมายุ ๓๘ พรรษา จากนั้นมาก็มีการผลัดเปลี่ยนแผ่นดินเลื่อยมา ในด้านการทหารไม่มีพัฒนาการที่ สำคัญมากนัก แต่มีความเจริญรุ่งเรืองมากในด้านการค้า การต่างประเทศ มีสัมพัธภาพทางการทูตและ การค้าขายกับหลายประเทศ เช่น อังกฤษ ฝรั่งเศส ฮอลแลนด์ โปรตุเกส อิหร่าน ( เปอร์เซีย : สาย สกุลบุนนาค เป็นบุตรหลานของเฉกอะหมัด เจ้ากรมท่าขวา ดูแลการค้าขายฝั่งตะวันตก สมัยสมเด็จพระ เจ้าปราสาททอง ) ญี่ปุ่น สเปน จีน อินเดีย มาลายู จามปา ( เวียดนาม ) อินโดนีเซีย เยอรมัน กรุง ลังกา กรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่า ครั้งที่ ๒ เมื่อเวลาตี ๔ กว่า ๆ ของวันพฤหัสบดี ขึ้น ๑๑ ค่ำ เดือน เมษายน พ.ศ. ๒๓๑๐ ตรงกับปี ๑๑๒๙ ของศักราชพม่า ( สุเนตร ชุตินธรานนท์ : สงครามคราวเสียกรุง ศรีอยุธยา ครั้งที่ ๒ พ.ศ. ๒๓๑๐ ศึกษาจากพงศาวดารพม่าฉบับราชวงศ์คองบอง, สำนักพิมพ์สยาม ๒๕๔๑ ) ในสมัยของสมเด็จพระเจ้าเอกทัศ และสมเด็จพระเจ้าอุทุมพร ( ขุนหลวงหาวัด ) รวมเวลาที่อยุธยาเป็นราช ธานี ๔๑๖ ปีกับ ๓๕ วัน มีพระเจ้าแผ่นดิน ๓๓ พระองค์ ( ไม่รวมขุนวรวงศาธิราช ) ทหารอาสาญี่ปุ่น ในกองทัพสยาม


๘ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงคาบพระแสงดาบปีนค่ายทหารพม่า พ.ศ.๒๑๒๙ ขบวนพลเท้าสมัยโบราณ


๙ ขบวนพลม้าสมัยโบราณ ขบวนช้างศึกและพลช้างสมัยโบราณ


๑๐ ทหารไทยและข้าราชการฝ่ายพลเรือนในขบวนพยุหยาตราพระกฐินสถลมารคสมัยอยุธยา ทหารไทยและทหารอาสาในขบวนพยุหยาตราพระกฐินสถลมารค


๑๑ การจัดกำลังทหารตามตำราพิชัยสงคราม รูปแบบการตั้งทัพ แบบริ้วขบวนรูปคันธนู แบบริ้วขบวนรูปมังกร แบบมหิงษพยุหะ แบบครุฑพยุหะ


๑๒ ภาพการจัดทัพรูปมังกร จากตำราพิชัยสงคราม ตำราพิชัยสงครามเป็นศาสตร์การรบในเรื่องของการจัดรูปกองทัพ โดยมีแบบแผนตามหลักทางยุทธวิธี ใช้กันในอาณาจักรแถบนี้ เป็นหนึ่งในวิชาศิลปศาสตร์ที่ผู้ปกครองและผู้บริหารต้องศึกษาอย่างดี การจัดทัพตามรูปสัตว์ต่างๆโดยวางต าแหน่งให้ตรงกับ ทิศทางที่ก าหนด


๑๓ รปแบบการเคลื่อนทัพ เป็นริ้วขบวนดุจจอมประสาท เป็นริ้วขบวนรูปลำน้ำ


๑๔ การยกทัพเข้าตี ถ้าข้าศึกตั้งทัพเป็นรูปขบวนรูปเท้ากา ให้เคลื่อนเข้าตีด้วยขบวนรูปมังกร ถ้าข้าศึกตั้งทัพเป็นรูปขบวนรูปมังกร ให้เคลื่อนเข้าตีด้วยขบวนรูปเท้ากา ถ้าข้าศึกตั้งทัพเป็นรูปขบวนรูปธูป ให้เคลื่อนเข้าตีด้วยขบวนรูปปีกครุฑ ถ้าข้าศึกตั้งทัพเป็นรูปขบวนรูปปีกครุฑ ให้เคลื่อนเข้าตีด้วยขบวนรูปธูป


๑๕ ถ้าข้าศึกตั้งทัพเป็นรูปขบวนรูปรวงผึ้งย้อย ให้เคลื่อนเข้าตีด้วยขบวนรูปคันธนู ถ้าข้าศึกตั้งทัพเป็นรูปขบวนรูปคันธนู ให้เคลื่อนเข้าตีด้วยขบวนรูปรวงผึ้งย้อย ถ้าข้าศึกตั้งทัพเป็นรูปขบวนรูปก้อนเส้าสามสถาน ให้เคลื่อนเข้าตีด้วยขบวนรูปโคอุศุภราช ถ้าข้าศึกตั้งทัพเป็นรูปขบวนรูปโคอุศุภราช ให้เคลื่อนเข้าตีด้วยขบวนรูปก้อนเส้าสามสถาน


๑๖ อาวุธไทยสมัยโบราณ กั้นหยั่น ดาบ กระบี่ ปืนเล็กคาบชุดสมัยอยุธยา ทวน หอก โตมร ของ้าว ง้าวประเภทต่างๆ


๑๗ สมัยกรุงธนบุรี ( พ.ศ.๒๓๑๐ – ๒๓๒๕ ) เดือนยี่ ปีจอ อัฐศก วันที่ ๓ มกราคม พ.ศ.๒๓๐๙ ก่อนกรุงแตกราว ๓ เดือน ซึ่งขณะนั้นมี อายุ ๓๒ ปี นำทหารไทยจีน ราว ๒๐๐ คน ตีฝ่าพม่าจากวัดพิชัยนอกกำแพงกรุงศรีอยุธยา ( ปัจจุบัน คือ วัดพิชัยสงคราม ใกล้สถานีรถไฟอยุธยา ริมแม่น้ำป่าสัก ) ไปทางบ้านเม่าสำบัณฑิต บ้านพรานนก ( ทหารพระยาตาก ๕ ม้า ต่อสู้กับทหารพม่า ๒๐ ม้า ) ผ่านบ้านดง ตำบลหนองไม้ทรุงแขวงเมือง นครนายก บ้านนาเริ่งเมืองปราจีนบุรี บางปลาสร้อย บ้านนาเกลือ พัทยา นาจอมเทียน ทุ่งไก่เตี้ย สัต หีบ บ้านน้ำเก่า เมืองระยอง บ้านกล่ำ เมืองแกลง ชลบุรี ระยอง และจันทบุรี ทหารพระเจ้าตากคนที่เป็นกำลังสำคัญต่อบ้านเมืองในเวลาต่อมา คือ พระเชียงเงิน พระท้ายน้ำ


๑๘ ( ต่อมาเป็นเจ้าเมืองสุโขทัย ) หลวงชำนาญไพรสณฑ์ พะทำมะรงอิ่ม นายแสง นายอยู่ นายนาค นาย ทองดี นายบุญรอดแขนอ่อน นายชื่นบ้านค่าย หลวงพิพิธ ( ทหารจีนถือง้าว ) หลวงพิชัยราชา ( พระ ยาพิชัยดาบหัก ) ขุนจ่าเมือง เสือร้าย หลวงพรหมเสนา บุคคลสำคัญที่สุดท่านหนึ่ง คือ นายสุจินดา ( บุญมา ) ซึ่งต่อมาเป็นเจ้าพระยาสุรสีห์ ฯ และสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท การรบบนหลังม้า หกเดือนหลังจากกรุงแตก ในเดือน ๑๑ ปีกุน พ.ศ. ๒๓๑๐ พระยาตากระดมคนและอาวุธ ที่ จันทบุรี แล้วยกกำลังราว ๕,๐๐๐ คน ออกจากจันทบุรีด้วยเรือประมาณ ๑๐๐ ลำ ผ่านชลบุรีถึงปากน้ำ บางเจ้าพระยา แล้วบุกเข้าตีป้อมวิชัยประสิทธิ์ ที่เมืองธนบุรี เดินทางกลางคืนไปตีค่ายโพธิ์สามต้นของพม่า ( อยู่ในอำเภอบางปะหัน ใกล้เพนียดคล้องช้างทางเหนือของเมืองอยุธยา ) ทหารพระยาตาก นำโดยพระยา พิพิธกับพระยาพิชัยเข้าโจมตีค่ายโพธิ์สามต้น ใช้เวลาสองวันก็สำเร็จ สุกี้พระนายกองหัวหน้าทหารพม่าตาย ในที่รบ ทหารพม่าหนีกลับไปเมืองพม่า กรุงสยามหลุดพ้นจากการครอบครองของพม่า พระยาตากกู้ อิสรภาพของชาติไทยได้ ในวันศุกร์ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ ปีกุน จุลศักราช ๑๑๒๙ ตรงกับวันที่ ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๓๑๐ รวมเวลาที่ไทยตกอยู่ใต้การปกครองของพม่าเป็นเวลา ๗ เดือน การกอบกู้เอกราชของ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ทรงมีกลวิธีในการยุทธที่นอกเหนือจากตำรา เดิมประกอบกับความเอาใจใส่เข้มงวดในเรื่องการเกณฑ์คนเป็นทหาร การควบคุมบังคับบัญชา และด้วยการ ที่มีแม่ทัพนายกองที่สามารถและกล้าหาญในการศึกสงคราม ดังนั้นภายหลังจากเสียกรุงไม่นานก็สามารถขับ ไล่พม่าออกไป และสถาปนาราชธานีขึ้นใหม่ได้ภายในเวลาอันสั้น การยุทธครั้งสำคัญ เช่น การยุทธที่บ้าน พรานนก การยุทธที่บ้านบางแก้ว การตีค่ายพม่าที่ค่ายโพธิ์สามต้น การตีเมืองพุทธไธมาศ การตีและยึดนคร เวียงจันทร์ เดือน ๑๐ ปีกุน พ.ศ. ๒๓๒๒ ( เหตุ เวียงจันทร์ไม่ช่วยไทยรบพม่า ) แล้วอัญเชิญพระแก้วมรกต และพระบาง มาไว้ที่วัดอรุณราชวราราม กรุงธนบุรี การตีและยึดเมืองเขมร พ.ศ. ๒๓๒๓ แล้วแต่งตั้งพระ ยาอภัยภูเบศร์ไปครองเมือง นับแต่ปี พ.ศ. ๒๓๑๐ – พ.ศ. ๒๓๒๕ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชขึ้นเป็นกษัตริย์กรุงธนบุรี ทรงเร่งรัดปรับปรุงกิจการทหารหลายประการ โดยเฉพาะการทำบัญชีพลให้รัดกุมยิ่งขึ้น สามารถ ตรวจสอบจำนวนกำลังพลที่แน่นอน รวบรวมอาวุธยุทโธปกรณ์ซึ่งส่วนใหญ่ได้จากการสนับสนุนจากต่างชาติ และจัดซื้อเพิ่มเติมจากฮอลันดา จำนวน ๖,๐๐๐ กระบอก ๆ ละ ๑๒ บาท และโปรดเกล้าฯ ให้หล่อปืน ใหญ่ขึ้นใช้เองอีกด้วย ส่วนการจัดกำลังทางเรือก็ใช้ทหารบกบรรทุกลงเรือเวลาทำการรบก็ใช้วิธีการอย่าง ทหารบก


๑๙ พ.ศ. ๒๓๒๑ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช โปรดให้เจ้าพระยาจักรียกทัพไปตีกรุงเวียงจันทร์ และอันเชิญ “ พระแก้วมรกต ” กลับมากรุงธนบุรี สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เสด็จตีเมืองพุทไธมาศ


๒๐ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงตีค่ายพม่าที่โพธิ์สามต้น เมื่อ พ.ศ. ๒๓๑๐ เรือเจิ้งเหอใหญ่กว่าเรือโคลัมบัส ๔ เท่า


๒๑ พระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี สมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ การจัดกำลังกองทัพเป็นไปในลักษณะเดียวกับสมัยกรุงศรีอยุธยา สมัยกรุงรัตนโกสินทร์


๒๒ เจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก ทรงรับอัญเชิญจากข้าราชการและประชาชน ขึ้นเสวยราชสมบัติเป็นปฐมกษัตริย์แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ ( รัชกาลที่ ๑ ) เมื่อ พ.ศ.๒๓๒๕ ในสมัยรัชกาลที่ ๑ ( พ.ศ. ๒๓๒๕ – ๒๓๕๒ ) สงครามครั้งสำคัญ คือ สงครามเก้าทัพซึ่งไทยได้ ใช้ยุทธวิธีการตั้งรับศึกนอกกรุงแทนการตั้งรับในกรุง เช่น สมรภูมิลาดหญ้า แม้ว่าพม่าจะพยายามรุกราน ด้วยกำลังพลที่เหนือกว่ามาก พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และสมเด็จพระบวรราชเจ้า มหาสุรสิงหนาทก็ทรงสามารถป้องกันและรักษาเอกราชของชาติไว้ได้ โดยจัดตั้งกองทัพหน้าตั้งมั่นอยู่ ณ ตำบลลาดหญ้า จว.กาญจนบุรี ป้องกันข้าศึกด้านเมืองทวายมิให้รุกเลยเมืองกาญจนบุรี ให้กรม พระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท (วังหน้า) เป็นจอมทัพกองหนึ่ง จัดให้กรมพระราชวังหลังคุมอีกกองทัพหนึ่งไป ตั้งมั่นที่เมืองนครสวรรค์ เพื่อป้องกันข้าศึกมิให้รุกล้ำเลยปากน้ำโพเข้ามาได้ ส่วนทหารที่เหลือจัดเป็นกองทัพ หนุนโดยพระองค์ทรงบัญชาการเอง กำลังในส่วนนี้จะทรงใช้หนุนช่วยโจมตีด้านใดด้านหนึ่งตามที่สถานการณ์ จะเอื้ออำนวยให้ สงครามครั้งนี้เรียกว่า “ สงครามเก้าทัพ “ กองทัพพม่ายกกำลังมาประมาณ ๑๔๔,๐๐๐ คน แบ่งเป็น ๙ ทัพ เฉพาะที่ยกทัพมาทางด่าน พระเจดีย์สามองค์ ประมาณ ๘๙,๐๐๐ คน จำนวน ๕ กองทัพ กองทัพไทยจัดกำลังรบประมาณ ๗๐,๐๐๐ คน แบ่งเป็น ๔ ทัพ กองทัพที่ทุ่งลาดหญ้าประมาณ ๓๐,๐๐๐ คน โดยแบ่งเป็นกองโจร ๑,๘๐๐ คน คอยตัดเส้นทางส่งเสบียงของพม่าที่ ด่านบ้องตี้ และช่องปิล๊อก ( พงศาวดารระบุว่า “ พระองค์ เจ้าเณรคุมกองโจรไปตัดเสบียงพม่าที่พุตะไคร้ ด่านบ้องตี้ และช่องปิล๊อกจนทำให้ทัพใหญ่ของพม่าขาด แคลนเสบียงอาหาร ” ) สมรภูมิการรบในสงครามลาดหญ้า พ.ศ. ๒๓๒๘ ครั้งนี้คล้ายคลึงกับเหตุการณ์กว่า ร้อยปีก่อน ใน พ.ศ. ๒๒๐๓ แผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ที่พระเจ้าอังวะยกทัพติดตามมอญอพยพ จากเมาะตะมะเข้ามาในกรุงสยาม พระราชพงศาวดารฉบับบริติชมิวเซียมระบุว่า “ กองทัพไทยตั้งรับที่ท่ากระ ด่าน ด่านกรามช้าง และปากน้ำลำกระเพิม ส่งกองโจรไปตีตัดที่ช่องแคบ ทัพพม่าแตกหนีกลับไปเมืองสมิ” สมัยรัชกาลที่ ๒ ( พ.ศ. ๒๓๕๒ – ๒๓๖๗ ) พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงให้สร้าง ป้อมปราการต่างๆเพิ่มขึ้น เพื่อป้องกันมิให้ข้าศึกเดินทัพเข้าถึงพระนครทั้งทางน้ำและทางบก เช่น การสร้าง ป้อม จำนวน ๘ ป้อมที่เมืองนครเขื่อนขันธ์ (พระประแดง) พ.ศ.๒๓๕๗ และสร้างป้อมเพชรหึง พ.ศ. ๒๓๖๒ ขึ้นอีก สมัยรัชกาลที่ ๓ ( พ.ศ. ๒๓๖๗ – ๒๓๙๔ ) พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมอบหมาย ให้ขุนนางผู้ใหญ่เป็นแม่ทัพยกไปแทนพระองค์ เช่น ศึกทางตะวันออก(ลาว เขมร ญวน) ทรงมอบให้


๒๓ เจ้าพระยาบดินทร์เดชา (สิงห์สิงหเสนี) และภาคใต้ทรงมอบให้เจ้าพระยาศรีพิพัฒน์เป็นต้น ทั้งนี้ทรงเป็น พระมหากษัตริย์ที่รู้จักข้าราชการและขุนนางของพระองค์ดี และทรงเลือกใช้ได้อย่างเหมาะสม พ.ศ. ๒๓๖๗ อังกฤษทำสงครามกับพม่าต่อเนื่อง แต่ต้องสูญเสียอย่างมาก จึงส่งร้อยเอกเบอร์นี่มาเจรจาขอให้ไทยช่วยรบ พม่า ฝ่ายไทยส่งพระมหาโยธาคุมทหารมอญไปช่วยอังกฤษท่างด่านพระเจดีย์สามองค์ และพระยาชุมพรยก ทัพเรือไปทางระนอง พ.ศ.๒๓๗๑ เจ้าพระยาบดินเดชา ( สิงห์ สิงหเสนี ) ยกทัพไปตีกรุงเวียงจันทร์ จนราบคาบไฟไหม้ทั้งเมือง กวาดต้อนคนลาวมาสยามเป็นจำนวนมาก คล้ายเมื่อกรุงศรีอยุธยาถูกพม่ารุกราน คราวเสียกรุงครั้งที่ ๒ ในปีเดียงกันนี้ทรงให้พระยานครต่อเรือรบ แบบเรือป้อมของญวน ( ซึ่งขณะนั้นเป็นกอง เรือรบที่เข้มแข็ง ) จำนวน ๘๐ ลำ โดยจ่ายไปรักษาหัวเมืองชายทะเล ๔๐ ลำ ในสมัย ร.๓ มีที่หล่อปืนใหญ่เหล็ก ๒ กระบอก ชื่อ เจ้าพระยารักษาศาสนา และเจ้าพญา สัมมาทิฐิ ( ปืนใหญ่สมัย ร.๑ และสมัย ร.๒ หล่อได้แต่ปืนใหญ่ทองเหลืองเท่านั้น ต้องซื้อปืนใหญ่เหล็กจาก ต่างประเทศ ) พ.ศ. ๒๓๗๖ เกิดการกบฏสู้รบกันในเมืองญวน ร.๓ ทรงให้ยกทัพไปตีเขมรและญวน โดย พระยาบดินทรเดชา (ส่ง) ยกทัพบกไปทางเมืองบาพนม และพระยาพระคลัง ยกทัพเรือไปทางเมืองบันทาย มาศเข้าทางคลองขุด วิญเตไปตีเมืองโจฎก ผ่านเมืองเขมร พวกญวนปล่อยแพไฟลอยตามน้ำเพื่อเผาเรือ สยาม แต่ไม่สำเร็จ สงครามไทย –ญวน สมัย ร.๓ ยืดเยื้ออยู่ ๑๔ ปี ไม่มีฝ่ายใดชนะเด็ดขาด ต่อมาเสบียง อาหารขาดแคลน กองทัพสยามต้องถอยกลับพร้อมกวาดต้อนครอบครัวเขมร ชาวจีนและญวนที่นับถือคริสต์ เข้ามาอยู่ในสยาม สงครามเขมร ญวน สงบลงเพราะญวนถูกฝรั่งเศสรุกราน สมัยรัชการที่ ๔ ( ๒๓๙๔ – ๒๔๑๑ ) พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงให้ขุดคลองผดุง กรุงเกษม เพื่อเป็นคูเมืองชั้นนอกของกรุงเทพ ฯ มีป้อมเป็นระยะ ๆ พระองค์ทรงมีแนวความคิดริเริ่มให้มี การจัดระเบียบการทหารอย่างใหม่ ดังจะเห็นได้จากการจ้างนายทหารอังกฤษชื่อ อิมเปย์เข้ามาเป็นครูฝึกหัด จัดระเบียบทหารบกในไทยเป็นครั้งแรก และโปรดเกล้า ฯ ให้พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวกับนาย ร้อยเอก น็อกซ์ เป็นครูทหารวังหน้าฝึกทหารปืนใหญ่ ทรงฝึกทหารยิงปืนใหญ่ที่เมืองนครเขื่อนขันธ์และ สร้างป้อมที่สมุทรปราการ พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้า ฯ ทรงต่อเรือรบชื่อ วรารัตนพิไชย ซึ่งสร้างเสร็จใน สมัย ร.๕ แล้วเปลี่ยนชื่อเป็นเรืออรรคเรสรัตนาสาสน์ ทรงเป็นผู้กำกับกรมทหารปืนใหญ่ กรมทหารแม่น ปืนญวน ญวนอาสารบ อาสาจาม ในสมัย ร.๔ มีการขยายอาณาเขตเมืองหลวงและสร้างป้อมปราการ ชั้นนอกพระนคร เพิ่มอีก ๘ ป้อม พ.ศ. ๒๔๐๖ ฝรั่งเศสส่งทหารเข้ามายึดครองได้ประเทศเขมรไว้ใน อำนาจ บังคับให้พระเจ้านโรดมเซ็นสัญญายอมอยู่ใต้อารักขาของฝรั่งเศสแทนเป็นเมืองขึ้นของไทย กองทัพบกยุคปรับปรุงกิจการทหารตามแบบยุโรป พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานธงกรมทหารมหาดเล็ก แก่กรมทหารบกราบที่ ๑ รักษาพระองค์ กรมทหารบกราบที่ ๒ (ล้อมวัง) กรมทหารบกราบที่๓ (ฝีพาย)และกรมทหารบกราบที่ ๔ (ทหารหน้า) ณ พระบรมมหาราชวัง สมัยรัชกาลที่ ๕ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. ๒๔๑๑ – ๒๔๕๓) ทรงปรับ กิจการทหารตามแบบยุโรป ได้เริ่มอย่างจริงจัง รวมทั้งจัดให้มีอาวุธยุทโธปกรณ์ที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพ ไว้ป้องกันประเทศ เพราะในขณะนั้นเป็นสมัยที่ประเทศมหาอำนาจทางตะวันตกออกล่าอาณานิคมในทวีป เอเชีย ทำให้สยามประเทศต้องเสียดินแดนมากมาย เพื่อแรกกับอิสรภาพดำรงความเป็นไทยมาตราบเท่าทุก วันนี้


๒๔ พ.ศ. ๒๔๓๖ : ๒ เมษายน กองทัพฝรั่งเศส นำเรือ ๓๓ ลำพร้อมทหารเขมรมายึดเมืองเชียงแตง (สตึงเตรง หรือเมืองโขง) และด่านเสียมบก ชายแม่น้ำโขงฝั่งตะวันออกในส่วนของสยาม เพราะอ้างว่า ดินแดนฝั่งตะวันออกและเกาะต่าง ๆ ของแม่น้ำโขงเป็นของญวนซึ่งตกเป็นเมืองขึ้นของฝรั่งเศสแล้ว พ.ศ. ๒๔๓๖ : ๑๓ กรกฎาคม ฝรั่งเศส ส่งเรือรบ ๒ ลำบุกเข้ามาทางปากแม่น้ำเจ้าพระยาเกิดการ สู้รบกันจนเป็นเหตุให้ฝรั่งเศสเรียกร้องค่าเสียหายจากฝ่ายไทยด้วยเงิน ๒ ล้านฟรังค์ และเงินมัดจำการชดใช้ ค่าเสียหาย ๓ ล้านฟรังค์ ปิดปากอ่าวสยาม และยึดเมืองจันทบุรีกับตราดไว้เป็นประกัน ไทยต้องยอมเสีย ค่าปรับ โดยใช้เงินถุงแดงที่รัชกาลที่ ๓ ทรงสะสมไว้สำหรับเหตุฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๔๔๖ ไทยยกเมืองหลวงพระบาง และจำปาสักให้ฝรั่งเศส เพื่อแลกเอาเมืองจันทบุรีคืน พ.ศ. ๒๔๔๙ ไทยยกเมืองเสียมราฐ และพระตะบองให้ฝรั่งเศส เพื่อแลกเอาเมืองตราดคืน พ.ศ. ๒๔๕๑ ไทยเสียดินแดนไทรบุรี กลันตัน ตรังกานู และปะลิสให้อังกฤษ พ.ศ. ๒๔๑๕ โปรดเกล้าฯให้ปรับปรุงกองทัพขึ้นใหม่เป็นหน่วยดังนี้ กรมทหารมหาดเล็กราชวัลลภ รักษาพระองค์ กรมทหารรักษาพระองค์ กรมทหารล้อมวัง กรมทหารหน้า กรมทหารปืนใหญ่กรมทหาร ช่าง กรมทหารฝีพาย เมื่อวันที่ ๘ เมษายน พ.ศ.๒๔๓๐ มีการออกพระราชบัญญัติจัดการทหาร ตั้งกรมยุทธนาธิการ มี หน้าที่บังคับบัญชาทหารบก ทหารเรือ (ทหารบก ๗ กรม , ทหารเรือ ๒ กรม) และต่อมามีการจัดตั้งโรงเรียน สอนวิชาสำหรับทหารบกขึ้น เป็นครั้งแรก ชื่อ “ คะเด็ตสกูล” ( ๕ ส.ค. ๒๔๓๐ ถือว่าเป็น วันกำเนิดโรงเรียน นายร้อย พระจุลจอมเกล้า ) ๑ เมษายน พ.ศ.๒๔๓๗ โปรดเกล้าฯให้ยกฐานะกรมยุทธนาธิการเป็น กระทรวงยุทธนาธิการ และกรมทหารเรือ พ.ศ.๒๔๔๑ ได้จัดตั้งกรมเสนาธิการทหารบกขึ้น ซึ่งนับเป็นแบบแผนอันดีในกิจการทหารมาจนถึง ปัจจุบัน พ.ศ.๒๔๔๘ โปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชบัญญัติลักษณะเกณฑ์ทหารขึ้น ให้บรรดาชายฉกรรจ์ ต้องขึ้นทะเบียนเป็นทหารรับราชการประจำ ๒ ปี การเกณฑ์ทหารตามพระราชบัญญัติใหม่นี้ประสบ ความสำเร็จมาจนถึงปัจจุบัน สมัยรัชกาลที่ ๖ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ( พ.ศ. ๒๔๕๓ – ๒๔๖๘ ) ได้เปลี่ยน กระทรวงยุทธนาธิการเป็นกระทรวงกลาโหม เมื่อวันที่ ๑๑ ธ.ค. พ.ศ.๒๔๕๓ โดยให้บังคับบัญชาทหารบก เท่านั้น ส่วนทหารเรือแยกไปตั้งเป็นกระทรวงทหารเรือ กระทรวงกลาโหมได้แบ่งออกเป็น ๑๓ กรม ดังนี้ ๑. กรมปลัดกองทัพบก ๒. กรมยกกระบัตรทหาร ๓. กรมจเรทหารบก และกรมปืนเล็กปืนกล ๔. กรมปลัดบัญชีทหารบก ๕. กรมพระธรรมนูญทหารบก ๖. กรมสารวัตรใหญ่ทหารบก ๗. กรมเกียกกายทหารบก ๘. กรมแสงสรรพาวุธ ๙. กรมคชบาล ๑๐. กรมแพทย์สุขาภิบาลทหารบก ๑๑. กรมพยาบาลทหารกลาง


๒๕ ๑๒. กรมเสนาธิการทหารบก ๑๓. กรมราชองค์รักษ์ และได้จัดกองพลเป็นกองทัพใหม่ดังนี้ ๑. กองทัพภาคที่ ๑ มี ๓ กองพล คือ ๑.๑.กองพลที่ ๑ - มณฑลกรุงเทพ ๑.๒.กองพลที่ ๒ - มณฑลนครไชยศรี ๑.๓.กองพลที่ ๓ - มณฑลกรุงเก่า ๒. กองทัพภาคที่ ๒ มี๓ กองพล คือ ๒.๑.กองพลที่ ๖ – มณฑลนครสวรรค์ ๒.๒.กองพลที่ ๗ - มณฑลพิษณุโลก ๒.๓.กองพลที่ ๘ – มณฑลพายัพ ๓. กองทัพภาคที่ ๓ มี๓ กองพล คือ ๓.๑.กองพลที่ ๕ - มณฑลนครราชสีมา ๓.๒.กองพลที่ ๙ - มณฑลปราจีนบุรี ๓.๓.กองพลที่๑๐ - มณฑลอีสาน และอุดร ส่วนกองพลที่ ๔ เป็นกองพลอิสระไม่ขึ้นตรงต่อกองทัพภาคใดภาคหนึ่ง สงครามโลกครั้งที่ ๑ พ.ศ. ๒๔๖๐ ( ค.ศ.๑๙๖๗ ) : ๒๒ กรกฎาคม ร. ๖ ได้ประกาศสงครามให้ สยามเข้ากับฝ่ายสัมพันธมิตร ซึ่งมีอังกฤษ ฝรั่งเศส รัสเซีย และอเมริกาเป็นผู้นำ ส่งทหาร ๑,๒๐๐ คน ไปร่วมรบที่ฝรั่งเศส เสียชีวิต ๑๙ คน สงครามสงบลงเมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๑ มีการสร้างวงเวียน ๒๒ กรกฎาคม ใกล้หัวลำโพง และสร้างอนุสาวรีย์ทหารอาสาขึ้นใกล้บริเวณท้องสนามหลวงโดยบรรจุอัฐิทหารไทยที่เสียชีวิต จากการรบครั้งนี้ไว้ด้วย ทั้งนี้เพื่อเป็นอนุสรณ์วันประกาศสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง สมัยรัชกาลที่ ๗ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ( พ.ศ.๒๔๕๗ - ๒๔๖๑ ) หลังสงครามโลก ครั้งที่ ๑ เศรษฐกิจอยู่ในภาระตกต่ำทั่วโลกและส่งผลกระทบถึงประเทศไทย ทำให้กิจการทหารมีการปรับลด กำลังลง ทหารบกเหลือ ๒ กองทัพ โดยมีกำลังรบหลัก ๒ กองพล วันที่ ๘ พ.ย. ๒๔๗๔ ได้ยุบกระทรวงทหารเรือมารวมกับกระทรวงกลาโหม โดยปรับเป็นกองทัพเรือ ขึ้นตรงกับกระทรวงกลาโหม วันที่ ๙ เม.ย. ๒๔๘๐ ได้จัดตั้งกองทัพอากาศขึ้นอีก ๑ กองทัพ ดังนั้นกิจการทหารไทยจึงมี กองทัพบก กองทัพเรือและกองทัพอากาศ เป็นส่วนราชการขึ้นตรงกับกระทรวงกลาโหมครบทั้ง ๓ เหล่าทัพ เป็นต้นมา พ.ศ. ๒๔๗๑ พวกเวียดนามใต้ภายใต้การนำของ “ โฮจิมินห์ “ ซึ่งเคลื่อนไหวกู้อิสรภาพเวียดนาม ถูกฝรั่งเศสปราบปรามอย่างหนักจนโฮจิมินห์ต้องหลบหนีมาอาศัยอยู่ในประเทศไทยที่จังหวัดนครพนม ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๕ ในประเทศไทยเกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบ สมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นระบอบประชาธิปไตย โดยกลุ่มคณะราษฎร จำนวน ๑๑๕ คน ผู้ก่อการส่วน ใหญ่เป็นนักเรียนไทยในฝรั่งเศสและเยอรมนี อาทิ นายปรีดี พนมยงค์ ร.ท.แปลก ขีตตะสังคะ (จอมพล ป. พิบูลสงคราม) สมัยรัชกาลที่ ๘ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ( พ.ศ. ๒๔๗๗ – ๒๔๘๙ ) ขึ้น ครองราชย์ขณะมีพระชนมายุ ๑๐ พรรษา


๒๖ สงครามโลกครั้งที่ ๒ ( พ.ศ. ๒๔๗๙ – ๒๔๘๘ ) ในระหว่างสงครามไทยทวงดินแดนลาวส่วนที่ ฝรั่งเศสยึดไปจากไทยตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๕ แต่ไม่สำเร็จ ไทยจึงประกาศสงครามอินโดจีนกับฝรั่งเศส กองทัพไทยบุกยึดเมืองไชยบุรี และจำปาสัก ด้านลาว และยึดเมืองพระตะบองและศรีโสภณ ด้านเขมร มี การปักปันเขตแดนใหม่โดยถือเอาร่องน้ำลึกเป็นเส้นกั้นเขตแดน มีการสร้างอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิเป็น อนุสรณ์ให้แก่ผู้เสียชีวิตในสงครามครั้งนี้ ๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๔ กองทัพญี่ปุ่นยกกำลังบุกประเทศไทยทั้งทางด้านตะวันออก และทาง ภาคใต้มีการต่อสู้กันจนทั้งสองฝ่ายเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก ผลทำให้รัฐบาลไทยภายใต้การนำของจอมพล ป. พิบูลสงคราม ต้องยอมเป็นพันธมิตรกับญี่ปุ่น แล้วประกาศสงครามกับฝ่ายสัมพันธมิตร คือ อังกฤษ และ อเมริกา แต่การประกาศสงครามครั้งนี้ไม่สมบูรณ์ เพราะรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับวันที่ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๗๕ มาตรา ๕๔ ระบุว่า “ พระมหากษัตริย์ทรงไว้พระราชอำนาจในการประกาศสงคราม ” ซึ่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ มี ๓ คน แต่ลงนามในเอกสารประกาศสงครามเพียง ๒ คน จึงเป็นเหตุผล หนึ่งที่ฝ่ายไทยใช้เป็นข้ออ้างว่าการประกาศสงครามดังกล่าวเป็นโมฆะในเวลาต่อมา สงครามโลกครั้งที่ ๒ ยุติ ลงเมื่อญี่ปุ่นยอมแพ้ เพราะสหรัฐอเมริกาทิ้งระเบิดปรมาณูลงที่เมืองฮิโรชิมา และนางาสากิ เมื่อวันที่ ๑๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๘ และไทยจำเป็นต้องคืนดินแดนที่ยึดคืนได้มาจากสงครามอินโดจีน ทั้งด้านลาว และ ด้านเขมร ให้กับฝรั่งเศส เพราะฝรั่งเศสและอังกฤษจะไม่ยอมรับการประกาศสงครามโลกครั้งที่ ๒ เป็นโมฆะ ของไทย และจะไม่ยอมให้ไทยเข้าเป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติ( พ.ศ. ๒๔๘๙ สมัยนายควง อภัยวงศ์ เป็นนายกรัฐมนตรี ) สมัยรัชกาลที่ ๙ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ( พ.ศ.๒๔๘๙ – ๑๓ ต.ค.๒๕๕๙ ) ขึ้นครองราชย์ขณะมีพระชนมายุ ๑๘ พรรษา การปรับปรุงและพัฒนากองทัพในปัจจุบัน ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ ๒ ( พ.ศ.๒๔๘๒ - ๒๔๘๘ ) , สงครามเกาหลี( พ.ศ.๒๔๙๓ - ๒๔๙๖ ) และสงครามเวียดนาม ( พ.ศ.๒๕๐๘ - ๒๕๑๘ ) กองทัพ ไทยได้ร่วมรบกับมิตรประเทศโดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา และได้รับการช่วยเหลือตามโครงการทหารระหว่าง รัฐบาลอเมริกาที่มีต่อรัฐบาลไทย ทำให้การจัดส่วนราชการกองทัพมีความโน้มเอียงไปตามแนวความคิดการจัด กองทัพของอเมริกา รัฐบาลไทยได้จัดระเบียบราชการ กระทรวงกลาโหมใหม่ โดยตราเป็นพระราชบัญญัติการ จัดส่วนราชการ กระทรวงกลาโหม พ.ศ.๒๕๐๓ และกำหนดให้มีการจัดส่วนราชการขึ้นตรงกระทรวงกลาโหม ในมาตรา ๑๓ ของพระราชบัญญัติดังกล่าว ภายหลังจากการยุติสงครามอ่าวเปอร์เซีย พ.ศ.๒๕๓๔ การยุติ สงครามเย็น ( สหภาพโซเวียตรัสเซีย ล่มสลาย ) สถานการณ์ได้เปลี่ยนแปลงไป รัฐบาลไทยได้ปรับปรุงและจัดระเบียบส่วนราชการทหาร มาตามลำดับ ได้แก่ ๑. พระราชบัญญัติ จัดระเบียบส่วนราชการกระทรวงกลาโหม พ.ศ.๒๕๕๑ ๒. พระราชกฤษฎีกา พ.ศ.๒๕๕๒ ได้กำหนดแบ่งส่วนราชการและกำหนดหน้าที่ กองทัพบก ๓. พระราชกฤษฎีกา พ.ศ.๒๕๕๒ ได้กำหนดแบ่งส่วนราชการและกำหนดหน้าที่ กองทัพอากาศ ๔. พระราชกฤษฎีกา พ.ศ.๒๕๕๒ ได้กำหนดแบ่งส่วนราชการและกำหนดหน้าที่กองทัพเรือ ๕. พระราชกฤษฎีกา พ.ศ.๒๕๕๒ ได้กำหนดแบ่งส่วนราชการและกำหนดหน้าที่ สำนักงาน เลขานุการรัฐมนตรีสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม และบางหน่วยงานของกองบัญชาการทหารสูงสุดซึ่ง จัดตั้งขึ้นภายหลัง ๖. พระราชกฤษฎีกา พ.ศ.๒๕๕๗ ได้กำหนดแบ่งส่วนราชการและกำหนดหน้าที่ของส่วนราชการ หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ กระทรวงกลาโหม กองทัพไทยในปัจจุบัน ตามบทบัญญัติในหมวด ๕ แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ มาตรา ๕๒ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ กำหนดว่า


๒๗ “รัฐต้องพิทักษ์รักษาไว้ซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์ เอกราช อธิปไตย บูรณภาพ แห่งอาณา เขตและเขตที่ประเทศไทยมีสิทธิอธิปไตย เกียรติภูมิและผลประโยชน์ของชาติ ความมั่นคงของรัฐ และ ความสงบเรียบร้อยของประชาชน เพื่อประโยชน์แห่งการนี้ รัฐต้องจัดให้มีการทหาร การทูต และการ ข่าวกรองที่มีประสิทธิภาพ กําลังทหารให้ใช้เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาประเทศด้วย”


๒๘ บทที่ ๒ กองทัพบก ประวัติความเป็นมาของกองทัพบก กองทัพบกได้ถือกำเนิดขึ้นพร้อมกับการกำเนิดของชาติไทย โดยเริ่มตั้งแต่ชนเผ่าไทยได้เข้ามาตั้งถิ่น ฐานอยู่ในดินแดนแหลมทอง และรวมกลุ่มกันตั้งเป็นนครรัฐของตน ก่อนที่จะรวมตัวกันตั้งอาณาจักรสุโขทัย และได้มีการทำสงครามกับชนชาติข้างเคียง เพื่อแผ่ขยายอาณาเขตไทยมาโดยตลอด รวมทั้งต้องมีการจัดกำลัง กองทัพเพื่อเตรียมป้องกันข้าศึกศัตรูไม่ให้เข้ามารุกรานอาณาเขต และเพื่อปกป้องรักษาเอกราชอธิปไตยของ ชาติไทยให้ดำรงอยู่ กองทัพบกไทยมีวิวัฒนาการอย่างต่อเนื่องมาโดยลำดับ ตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย กรุงศรี อยุธยา กรุงธนบุรี จนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ในปัจจุบัน สมัยสุโขทัย อาณาเขตของประเทศไทยได้แผ่ขยายออกไปอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะสมัยพ่อขุนรามคำแหง มหาราช ทรงดูแลราษฎรอย่างใกล้ชิดเสมือนดั่งบิดาปกครองบุตร โดยยามปกติราษฎรต่างประกอบสัมมา อาชีพ แต่ในยามสงครามชายฉกรรจ์ทุกคนในสมัยนั้น เมื่อเกิดศึกสงครามพระมหากษัตริย์ทรงเป็นผู้นำในการ บังคับบัญชาทหารโดยตรง และทรงเป็นผู้นำกำลังไพร่พลเข้าต่อสู้กับอริราชศัตรู สมัยกรุงศรีอยุธยา มีการปรับปรุงด้านการควบคุมกำลังไพร่พล และการดำเนินการด้านยุทธวิธีให้รัดกุมยิ่งขึ้น โดย แบ่งแยกกิจการทหารกับพลเรือนออกจากกัน และจัดตั้งกรมพระสุรัสวดีรับผิดชอบทำทะเบียนไพร่พลเพื่อ ความสะดวก และรวดเร็วในการเรียกระดมพลเมื่อเกิดศึกสงคราม โดยชายไทยทุกคนต้องรายงานตัวเป็น ทหารเข้ารับราชการมีกำหนดปีละ 6 เดือน ในสมัยนี้มีการจัดทำตำราพิชัยสงครามขึ้นเป็นหลักนิยมในการรบ เพื่อใช้กำหนดรูปแบบการจัดกำลังในการรบเอาชนะกองทัพของข้าศึก สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น กองทัพบกยังคงมีการจัดกำลังในลักษณะเดียวกับสมัยกรุงศรีอยุธยาและกรุงธนบุรี แต่ต่อมาในช่วง ระหว่าง พ.ศ.๒๓๗๖ – ๒๓๙๖ ภัยคุกคามจากมหาอำนาจตะวันตกได้แผ่อิทธิพลมายังภูมิภาคนี้มากขึ้น ประเทศไทยจึงต้องเร่งสะสมอาวุธยุทโธปกรณ์สร้างปืนใหญ่ ป้อมปราการ ขุดคูคลองเพื่อป้องกันพระนครมี การสร้างเมืองหน้าด่านและต่อเรือรบขึ้นใช้ในราชการ ก้าวแรกสู่ความทันสมัย ภัยคุกคามจากลัทธิล่าอาณานิคมในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนกลาง ทำให้ประเทศไทยมีความ จำเป็นต้องสร้างความทันสมัยในทุก ๆ ด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกิจการทหาร การสร้างความทันสมัยและ การดำเนิน กุศโลบายด้านการต่างประเทศของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ช่วยให้ไทยเป็น ประเทศเดียวในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ไม่ตกเป็นอาณานิคมของประเทศตะวันตก กิจการของ กองทัพบกได้มีความเจริญก้าวหน้าสูงสุดในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ โดย มีการปรับปรุงกิจการทหารให้เป็นไปตามแบบยุโรป เพื่อให้มีความทันสมัยทัดเทียมกับนานาอารยประเทศ มี การเตรียมการทางด้านอาวุธยุทโธปกรณ์มากขึ้น เริ่มมีปฏิรูปการทหารให้เป็นแบบสากล และตรา พระราชบัญญัติจัดการทหาร ขึ้นใน พ.ศ.๒๔๓๐ ซึ่งเป็นรากฐานของการพัฒนากองทัพบกในปัจจุบัน ในสมัย นี้ได้มีการก่อตั้งสถาบันด้านการศึกษาที่สำคัญของกองทัพไทย ๒ สถาบัน คือ โรงเรียนนายร้อยพระ จุลจอมเกล้า และโรงเรียนนายเรือ


๒๙ กองทัพบกในปัจจุบัน ปัจจุบันกองทัพบกไทยมีบทบาทและภารกิจในการป้องกันประเทศ ตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.๒๕๖๐ มาตรา ๕๒ ซึ่งกำหนดว่า “รัฐต้องพิทักษ์รักษาไว้ซึ่งสถาบัน พระมหากษัตริย์ เอกราช อธิปไตย บูรณภาพ แห่งอาณาเขตและเขตที่ประเทศไทยมีสิทธิอธิปไตย เกียรติภูมิและผลประโยชน์ของชาติ ความมั่นคงของรัฐ และความสงบเรียบร้อยของประชาชน เพื่อ ประโยชน์แห่งการนี้ รัฐต้องจัดให้มีการทหาร การทูต และการข่าวกรองที่มีประสิทธิภาพ กำลังทหารให้ใช้ เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาประเทศด้วย” ดังนั้น กองทัพบกซึ่งเป็นกำลังรบหลักของประเทศ จึงจำเป็นต้องเพิ่มพูนขีดความสามารถในด้าน ต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง ทั้งในด้านการเตรียมกำลังการป้องกันประเทศ และการพัฒนาประเทศ เพื่อสามารถให้ การสนับสนุนรัฐบาลได้อย่างเต็มที่ และเป็นหลักประกันในการรักษาเอกราชอธิปไตยของชาติ และการ ปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ตลอดจนรักษาสันติภาพในภูมิภาค ส่วนนี้ไว้ให้ดำรงอยู่ตลอดไป กองทัพบก และความเป็นทหารอาชีพ (รส.๑) “....กองทัพนั้น มีทหารเป็นกำลัง มียุทโธปกรณ์เป็นเครื่องมือปฏิบัติการ แต่การใช้กำลังและ เครื่องมือให้ได้ผลเป็นประโยชน์นั้น อยู่ที่นายทหารผู้เป็นผู้บังคับบัญชาของกองทัพ จึงจำเป็นต้องมีนายทหารที่ สามารถ ยิ่งในสมัยปัจจุบันวิทยาการต่างๆ ก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็วมาก และการทำสงครามรุกรานกันก็ทำได้ ทั้งทางตรง และทางอ้อมคือทางการรุกเงียบอย่างที่ทราบกันอยู่แล้วนั้นด้วย นายทหารจึงต้องมีความรู้ ความสามารถพิเศษ ต้องหมั่นศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมอยู่เสมอให้เป็นนิสัย ต้องสังเกตความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ให้รู้เท่าทันอยู่เป็นนิตย์ เพื่อจะได้อยู่ในฐานะพร้อมที่จะเผชิญกับเหตุการณ์ทุกอย่างได้ทุกขณะ...” หลักนิยม หลักนิยมของกองทัพบก เป็นข้อความที่บ่งบอกว่า กองทัพบกเป็นผู้ปฏิบัติ และสนับสนุนต่อการ ดำเนินการในการทัพ การยุทธ์หลัก การรบ และการรบปะทะอย่างไร ซึ่งเป็นแนวทางในการปฏิบัติที่เป็นกฎซึ่ง ไม่ตายตัว แต่ไม่เปลี่ยนแปลงเร็วเกินไป หลักนิยมทำให้เกิดกรอบสำหรับการอ้างอิงในการปฏิบัติทั่วๆ ไป หลักนิยมช่วยให้การปฏิบัติการมีความเป็นมาตรฐานทั่วทั้งกองทัพบก ช่วยทำให้เกิดความพร้อมได้ ง่ายยิ่งขึ้น โดยการสร้างสรรค์วิธีการทั่วไปอันที่จะบรรลุกิจต่างๆ ทางทหาร ความเป็นมาตรฐานหมายความว่า ทหารที่โอนย้ายไปยังหน่วยอื่น ไม่จำเป็นต้องทำการเรียนรู้ต่อวิธีการใหม่ในการปฏิบัติงานที่คล้ายกับงานเดิม หลักนิยมเป็นเส้นทางเชื่อมโยง ทฤษฎี ประวัติศาสตร์ การทดลองและการฝึกหัด โดยวัตถุประสงค์ของหลัก นิยม คือ เพื่อส่งเสริมให้มีความคิดริเริ่ม และสร้างสรรค์ หลักนิยมเป็นศูนย์รวมขององค์ความรู้ที่มีมากมาย มหาศาล และเป็นการทดลองขนาดใหญ่ อันเป็นข้อความที่เชื่อถือได้ เพราะเป็นหลักฐานเกี่ยวกับเรื่องที่ว่ากอง กำลังทหารจะดำเนินการปฏิบัติการอย่างไร หลักนิยม คือ สร้างเสริมสิ่งที่สำคัญ คือ สติปัญญา ซึ่งใช้ในการ วิเคราะห์ความต้องการที่ไม่คาดการณ์ ซึ่งยังทำให้เกิดทางเลือกในการปฏิบัติบนพื้นฐานที่เกี่ยวพันกับ หลักนิยม คือ หลักพื้นฐานซึ่งกำลังทหาร หรือส่วนของกำลังรบทางทหาร ยึดถือเป็นแนวปฏิบัติเพื่อสนับสนุน วัตถุประสงค์ หรือ วัตถุประสงค์ของชาติ หลักนิยมนี้ เป็นสิ่งที่เชื่อถือได้ แต่ต้องพิจารณาในการนำมาใช้


๓๐ ประสบการณ์จากผู้นำซึ่งตระหนักรู้ได้ด้วยตนเอง และสามารถปรับตัวเองได้ สามารถสร้างเงื่อนไขของตนเอง ได้อย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ พ.ร.บ. จัดระเบียบราชการ กระทรวงกลาโหม พ.ศ.๒๕๕๑ ตามพระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการ กระทรวงกลาโหม พ.ศ.๒๕๕๑ ซึ่งได้ประกาศใน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๒๖ ก โดยมีผลบังคับใช้เป็นกฎหมาย ตั้งแต่ ๒ ก.พ.๕๑ ซึ่ง พ.ร.บ. จัด ระเบียบราชการ กระทรวงกลาโหม พ.ศ.๒๕๕๑ ดังกล่าว ได้ปรับปรุงมาจาก พ.ร.บ. จัดระเบียบราชการ กระทรวงกลาโหม พ.ศ.๒๕๐๓ ซึ่งใช้บังคับมา ๔๘ ปีและมีการแก้ไขเพิ่มเติม จำนวน ๖ ฉบับ โดยฉบับล่าสุดใน พ.ศ.๒๕๔๓ และฉบับปัจจุบัน พ.ร.บ. จัดระเบียบราชการ กห. พ.ศ.๒๕๕๑ (ฉบับที่ ๑ พ.ศ.๒๕๕๑ ,ฉบับที่ ๒ พ.ศ.๒๕๕๖ และฉบับที่ ๓ พ.ศ.๒๔๖๐ ) ในสาระสำคัญสรุปได้ดังนี้.– กระทรวงกลาโหม เป็นหน่วยงานราชการไทย ประเภท กระทรวง ในมาตรา ๘ กระทรวงกลาโหม มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้ ๑) พิทักษ์รักษาเอกราชและความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรจากภัยคุกคามทั้งภายนอก และ ภายในราชอาณาจักร ปราบปรามการกบฏ และการจลาจล โดยจัดให้มีและใช้กำลังทหาร ตามที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย หรือตามที่มีกฎหมายกำหนด ๒) พิทักษ์รักษาปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ตลอดจนสนับสนุนภารกิจของสถาบัน พระมหากษัตริย์ ๓) ปกป้องพิทักษ์รักษาผลประโยชน์แห่งชาติและการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมี พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข พัฒนาประเทศเพื่อความมั่นคงตลอดจนสนับสนุนภารกิจอื่น ของรัฐในการพัฒนาประเทศ การป้องกันและแก้ไขปัญหาจากภัยพิบัติและการช่วยเหลือ ประชาชน ๔) ศึกษา วิจัย พัฒนา และดำเนินการด้านอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ และพลังงานทหาร ด้าน วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีป้องกันประเทศ และด้านกิจการอวกาศเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร ทั้งนี้เพื่อสนับสนุนภารกิจของกระทรวงกลาโหม และความมั่นคงของประเทศ ๕) ปฏิบัติการอื่นที่เป็นการปฏิบัติการทางทหารนอกเหนือจากสงคราม เพื่อความมั่นคงแห่ง ราชอาณาจักร หรือปฏิบัติการอื่นใด ทั้งนี้ตามที่มีกฎหมายกำหนดหรือตามมติคณะรัฐมนตรี พ.ร.บ. จัดระเบียบราชการกห. พ.ศ.๒๕๕๑ ประกอบด้วย ๕ หมวดและบทเฉพาะกาล รวม ๕๓ มาตราดังนี้.- หมวดที่ ๑ บททั่วไป หมวดที่ ๒ การแบ่งส่วนราชการ หมวดที่ ๓ การจัดระเบียบราชการทั่วไป หมวดที่ ๔ การจัดระเบียบการปฏิบัติราชการทหาร หมวดที่ ๕ คณะผู้บริหาร ทหาร ประกอบด้วย ข้าราชการกระทรวงกลาโหมที่เป็นข้าราชการทหาร ทหารกองประจำการ นักเรียนในสังกัดกระทรวงกลาโหมที่ขึ้นทะเบียนกองประจำการ และบุคคลที่ถูกเรียกเข้ารับราชการทหารตาม กฎหมายว่าด้วยการนั้น สำหรับข้าราชการกระทรวงกลาโหมยังแบ่งเป็นสองประเภท คือ ข้าราชการทหาร และข้าราชการพลเรือนกลาโหม ข้าราชการทหาร หมายถึงข้าราชการทหารตามพกฎหมายว่าด้วยระเบียบ ข้าราชการทหาร


๓๑ ข้าราชการพลเรือนกลาโหม หมายถึงข้าราชการที่ได้รับการบรรจุและแต่งตั้งให้รับราชการใน กระทรวงกลาโหมในตำแหน่งที่มิใช่อัตราทหาร และไม่มีชั้นยศเพื่อปฏิบัติหน้าที่ที่ต้องใช้ความชำนาญเฉพาะ ทาง สภากลาโหม มาตรา ๔๒ ประกอบด้วยสมาชิกโดยตำแหน่งจำนวน ๒๕ ท่าน และผู้ทรงคุณวุฒิซึ่ง เป็นผู้มีความรู้และความเชี่ยวชาญเป็นที่ประจักษ์ทั่วไปในด้านการทหาร ด้านความมั่นคง ด้านการบริหาร ราชการ ด้านกฎหมาย หรือด้านอื่นที่เกี่ยวข้องกับอำนาจหน้าที่ของ กห.จำนวนไม่เกิน ๓ คน ซึ่ง รมว.กห. แต่งตั้งตามมติของสภากลาโหม ในการดำเนินการของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ที่ต้องเป็นไปตามมติ ของสภากลาโหม ประกอบด้วยเรื่องต่างดังนี้ (๑) นโยบายการทหาร (๒) นโยบายการระดมสรรพกำลังเพื่อการทหาร (๓) นโยบายการปกครองและการบังคับบัญชาภายในกระทรวงกลาโหม (๔)การพิจารณางบประมาณการทหาร และการแบ่งสรรงบประมาณของกลาทรวงกลาโหม (๕)การพิจารณาร่างกฎหมายที่เกี่ยวกับการทหาร (๖) เรื่องที่กฎหมายหรือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมกำหนดให้เสนอสภากลาโหม ๕.กระทรวงกลาโหมมีส่วนราชการดังต่อไปนี้(มาตรา ๑๐) (๑) สำนักงานรัฐมนตรี (๒) สำนักงานปลัดกระทรวง (๓) กองทัพไทย กองทัพไทย มีหน้าที่ เตรียมกำลังกองทัพไทยการป้องกันราชอาณาจักร และดำเนินการเกี่ยวกับ การใช้กำลังทหาร ตามอำนาจหน้าที่ของกระทรวงกลาโหม มีผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นผู้บังคับบัญชา รับผิดชอบ มาตรา ๑๗ กองทัพไทย มีส่วนราชการดังต่อไปนี้ (๑) กองบัญชาการกองทัพไทย (๒) กองทัพบก (๓) กองทัพเรือ (๔) กองทัพอากาศ


๓๒ (๕) ส่วนราชการอื่นตามที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา มาตรา ๑๘ กองบัญชาการกองทัพไทยมีหน้าที่ควบคุม อำนวยการ สั่งการ และกำกับดูแลการ ดำเนินงานของส่วนราชการในกองทัพไทย ในการเตรียมกำลัง การป้องกันราชอาณาจักร และการดำเนินการ เกี่ยวกับการใช้กำลังทหารตามอำนาจหน้าที่ของกระทรวงกลาโหม ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด มาตรา ๑๙ กองทัพบกมีหน้าที่ เตรียมกำลังกองทัพบกการป้องกันราชอาณาจักร และดำเนินการ เกี่ยวกับการใช้กำลังกองทัพบกตามอำนาจหน้าที่ของกระทรวงกลาโหม มีผู้บัญชาการทหารบกเป็น ผู้บังคับบัญชารับผิดชอบ มาตรา ๒๐ กองทัพเรือมีหน้าที่เตรียมกำลังกองทัพเรือ การป้องกันราชอาณาจักร และดำเนินการ เกี่ยวกับการใช้กำลังกองทัพเรือตามอำนาจหน้าที่ของกระทรวงกลาโหม มีผู้บัญชาการทหารเรือเป็น ผู้บังคับบัญชารับผิดชอบ กองทัพอากาศมีหน้าที่เตรียมกำลังกองทัพอากาศ การป้องกันราชอาณาจักร และดำเนินการ เกี่ยวกับการใช้กำลังกองทัพอากาศตามอำนาจหน้าที่ของกระทรวงกลาโหม มีผู้บัญชาการทหารอากาศเป็น ผู้บังคับบัญชารับผิดชอบ กองทัพบก การจัดส่วนราชการของกองทัพบก ตามพระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม พ.ศ.๒๕๕๑ ได้กำหนดให้กองทัพบก เป็นส่วนราชการขึ้นตรงกองทัพไทยและเพื่อให้ส่วนราชการของกองทัพบก ปฏิบัติหน้าที่อันมีกฎหมายรองรับ จึงได้มีพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการและกำหนดหน้าที่ของส่วนราชการกองทัพบก กองทัพไทย กระทรวงกลาโหม พ.ศ.๒๕๕๑ มาตรา ๑๙ กำหนดไว้ว่า “กองทัพมีหน้าที่เตรียมกำลังกองทัพบก ป้องกัน ราชอาณาจักร และดำเนินการเกี่ยวกับการใช้กำลังกองทัพบกตามอำนาจหน้าที่ของกระทรวงกลาโหม มีผู้ บัญชาการทหารบก เป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบ” แบ่งส่วนราชการกองทัพบก และกำหนดอำนาจหน้าที่ไว้ เป็นที่แน่นอน


๓๓ เพื่อให้มีความเข้าใจในการประกอบกำลังของกองทัพบกได้ดีขึ้น จึงได้จัดกลุ่มส่วนราชการที่มี ลักษณะประเภทเดียวกัน ออกเป็น ๗ ส่วน คือ ส่วนบัญชาการ, ส่วนกำลังรบ,ส่วนสนับสนุน,ส่วนส่งกำลัง บำรุง,ส่วนภูมิภาค, ส่วนการศึกษา และส่วนพัฒนาประเทศดังนี้ ส่วนบัญชาการ มีหน้าที่ควบคุมบังคับบัญชา วางแผน อำนวยการ ประสานงาน และกำกับการให้การ ดำเนินงานของกองทัพบกในยามปกติและยามสงครามเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็วส่วนบัญชาการ ประกอบด้วยส่วนราชการต่างๆดังต่อไปนี้ กองบัญชาการกองทัพบก (สำนักงานผู้บังคับบัญชา) มีหน้าที่บังคับบัญชาส่วนราชการต่าง ๆ ใน กองทัพบก ปฏิบัติภารกิจของกองทัพบกและภารกิจอื่น ๆ ที่มิได้มอบหมายให้ส่วนราชการใดโดยเฉพาะ สำนักงานเลขานุการกองทัพบก (สลก.ทบ.) มีหน้าที่ดำเนินการเกี่ยวกับงานเลขานุการและงาน ธุรการให้กับผู้บัญชาการทหารบก, รองผู้บัญชาการทหารบก,ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก, เสนาธิการทหารบก กองทัพบก ส ำนักงำนผู้บังคับบัญชำ สลก.ทบ. กพ.ทบ. ขว.ทบ. ยก.ทบ. กบ.ทบ. กร.ทบ. สปช.ทบ. นรด. กง.ทบ. สห.ทบ. จบ. สก.ทบ. สบ.ทบ. สตน.ทบ. สวพ.ทบ. กช. สส. วศ.ทบ. ยย.ทบ. สพ.ทบ. ขส.ทบ. กส.ทบ. กส.ทบ. พธ.ทบ. สส. กรมฝ่ายเสนาธิการ กรมฝ่ ายกิจการพิเศษ กรมฝ่ ายยุทธบริการ ส่วนบัญชาการ ส่วนก าลังรบ ส่วนสนับสนุนการรบ ส่วนส่งก าลังบ ารุง ส่วนภูมิภาค ส่วนการศึกษา ส่วนพัฒนาประเทศ กองทัพบก


๓๔ และผู้ดำรงตำแหน่งอื่นตามที่ผู้บัญชาการทหารบกมอบหมายตลอดจนดำเนินงานและประสานงาน เกี่ยวกับ การประชาสัมพันธ์ของกองทัพบก มีเลขานุการกองทัพบกเป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบ ๑. ส่วนบัญชาการ กรมฝ่ายเสนาธิการ มีหน้าที่ วางแผน อำนวยการ ประสานงาน กำกับการและดำเนินการเกี่ยวกับ งานนโยบายและแผนกำลังพลการเตรียมพลการจัดการกำลังพลการปกครองกำลังพลการบริการสิทธิและ ขวัญกำลังพล การพัฒนาความรู้ของกำลังพล การศึกษาที่นอกเหนือจากสายงานยุทธการ งบประมาณการ กำลังพลการสารสนเทศกำลังพลการวิเคราะห์และประเมินค่ากำลังพล และดำเนินการเกี่ยวกับกิจการกำลัง พลอื่นๆ ทั้งปวง ตลอดจนแนะนำ และกำกับดูแลฝ่ายกิจการพิเศษในสายงานกำลังพล มีเจ้ากรมกำลังพล ทหารบกเป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบ กรมกำลังพลทหารบก (กพ.ทบ.) มีหน้าที่ วางแผน อำนวยการ ประสานงาน กำกับการและ ดำเนินการเกี่ยวกับงานนโยบายและแผนกำลังพลการเตรียมพลการจัดการกำลังพลการปกครองกำลังพล การบริการสิทธิและขวัญกำลังพล การศึกษาและพัฒนาความรู้ของกำลังพล งบประมาณการกำลังพล การ สารสนเทศกำลังพลการวิเคราะห์และประเมินค่ากำลังพล และดำเนินการเกี่ยวกับกิจการกำลังพลอื่น ๆ ทั้ง ปวง ตลอดจนกำหนดความต้องการและควบคุมการแจกจ่ายแผนที่ทหาร มีเจ้ากรมข่าวทหารบก เป็น ผู้บังคับบัญชารับผิดชอบ (พระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการและกำหนดหน้าที่ของส่วนราชการ กองทัพบกกองทัพไทย กระทรวงกลาโหม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๕๘) กรมข่าวทหารบก (ขว.ทบ.) มีหน้าที่ วางแผน อำนวยการ ประสานงาน กำกับการ และดำเนินการ เกี่ยวกับงานด้านการข่าว การรักษาความปลอดภัยการข่าวลับ การทูตฝ่ายทหารบกไทยในต่างประเทศการ ติดต่อกับทูตฝ่ายทหารบกต่างประเทศในประเทศไทย การพิธีการทูตที่กองทัพบกต้องร่วมด้วย การฝึกและ ศึกษาของเจ้าหน้าที่ข่าวของกองทัพบก การเตรียมชุดเจ้าหน้าที่ข่าวกรองทางทหารสำหรับปฏิบัติงาน ตลอดจนกำหนดความต้องการและควบคุมการแจกจ่ายแผนที่ทหาร มีเจ้ากรมข่าวทหารบกเป็นผู้บังคับบัญชา รับผิดชอบ กรมยุทธการทหารบก (ยก.ทบ.) มีหน้าที่ วางแผน อำนวยการ ประสานงาน กำกับการและ ดำเนินการเกี่ยวกับงานด้านยุทธการในเรื่องการจัดเตรียมกำลังและการใช้กำลังของกองทัพบกการดำเนินงาน ประวัติศาสตร์และพิพิธภัณฑ์ทหารตลอดจนแนะนำและกำกับดูแลเกี่ยวกับการดำเนินงานด้านยุทธการของ หน่วย ต่างๆของกองทัพบก มีเจ้ากรมยุทธการทหารบกเป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบ กรมส่งกำลังบำรุงทหารบก (กบ.ทบ.) มีหน้าที่ วางแผน อำนวยการ ประสานงาน กำกับการ และ ดำเนินการเกี่ยวกับงานส่งกำลังบำรุงทั้งปวงการฝึกและศึกษาด้านการส่งกำลังบำรุงของกองทัพบกตลอดจน แนะนำและกำกับดูแลฝ่ายยุทธบริการ และฝ่ายกิจการพิเศษที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานด้านส่งกำลังบำรุง ของกองทัพบก มีเจ้ากรมส่งกำลังบำรุงทหารบกเป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบ (พระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการ และกำหนดหน้าที่ของส่วนราชการ กองทัพบกกองทัพไทยกระทรวงกลาโหม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๕๘) กรมกิจการพลเรือนทหารบก (กร.ทบ.) มีหน้าที่วางแผน อำนวยการ ประสานงาน กำกับการ และ ดำเนินการเกี่ยวกับงานกิจการพลเรือน และงานที่ได้รับมอบหมายที่ดำเนินต่อการสนับสนุนการปฏิบัติการทาง ทหารและการปกครอง การฝึกและศึกษาในหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับงานกิจการพลเรือนของกองทัพบก ตลอดจนแนะนำกำกับดูแลเกี่ยวกับการดำเนินงานกิจการพลเรือนของหน่วยต่างๆของกองทัพบก มีเจ้ากรม กิจการพลเรือนทหารบกเป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบ สำนักงานปลัดบัญชีกองทัพบก (สปช.ทบ.) มีหน้าที่ วางแผน อำนวยการ ประสานงาน กำกับการ และดำเนินการเกี่ยวกับการงบประมาณ การเงิน การบัญชีการควบคุมภายใน การพัฒนาระบบราชการการ บริหารทรัพยากร การบริหารงาน ระบบสารสนเทศ และการสำรวจหน่วยอัตราเฉพาะกิจของกองทัพบก


๓๕ อำนวยการศึกษาวิจัย และพัฒนาในสายงานปลัดบัญชีตลอดจนกำกับดูแล กรมการเงินทหารบก และ สำนักงานตรวจสอบภายในทหารบก ในการกำหนดภารกิจ การจัดระเบียบและการบริหารงาน มีปลัดบัญชี ทหารบกเป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบ กรมฝ่ายกิจการพิเศษ มีหน้าที่ วางแผน ให้ข้อเสนอแนะ กำกับการ และดำเนินการ ในเรื่องที่ เกี่ยวกับหน้าที่ของตน ตามที่กำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกาการแบ่งส่วนราชการ และกำหนดหน้าที่ของส่วน ราชการกองทัพบกกองบัญชาการทหารสูงสุดซึ่งได้แก่ส่วนราชการต่างๆ ๘ หน่วยคือ สำนักงานวิจัยและพัฒนาการทางทหารกองทัพบก (สวพ.ทบ.) หน้าที่ วางแผน อำนวยการ ประสานงาน ควบคุม กำกับการและดำเนินการเกี่ยวกับการวิจัยและพัฒนาการทางทหารทั้งในด้านหลักการ และด้านยุทโธปกรณ์ตามที่กองทัพบกกำหนดตลอดจนดำเนินการ กำหนดและรับรองมาตรฐานยุทโธปกรณ์ ภายในกองทัพบก มีผู้อำนวยการสำนักงานวิจัยและพัฒนาการทางทหารกองทัพบก เป็นผู้บังคับบัญชา รับผิดชอบ กรมการเงินทหารบก (กง.ทบ.) มีหน้าที่ดำเนินการในเรื่องการเบิก รับ จ่าย และเก็บรักษาเงิน และ การบัญชีเงินของกองทัพบก ตามระเบียบแบบแผนของทางราชการ กำหนดหลักนิยมและทำตำราตลอดจน การฝึกและศึกษาของเหล่าทหารการเงิน มีเจ้ากรมการเงินทหารบกเป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบ กรมการสารวัตรทหารบก (สห.ทบ.) มีหน้าที่วางแผน ประสานงาน และกำกับการเกี่ยวกับการรักษา วินัยการจับกุมทหารที่กระทำความผิดการเรือนจำการจราจรในกิจการทหาร การรักษาความปลอดภัย การ ฝึกและศึกษาวิชาการเหล่าทหารสารวัตร การสืบสวนและสอบสวนคดีอาญา ซึ่งอยู่ในอำนาจศาลทหาร การ ป้องกันและวิจัยอาชญากรรมในกองทัพบก และพิจารณาอำนวยการเกี่ยวกับทหารพลัดหน่วยและเชลยศึก กำหนดหลักนิยมและทำตำรา ตลอดจนการฝึกและศึกษาของเหล่าทหารสารวัตร มีเจ้ากรมการสารวัตร ทหารบกเป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบ กรมจเรทหารบก(จบ.) มีหน้าที่ดำเนินการเกี่ยวกับการตรวจราชการสืบสวน และสอบสวนในเรื่องที่ เกี่ยวกับประสิทธิภาพและราชการของหน่วยต่าง ๆ ของกองทัพบก การสืบสวน สอบสวนและพิจารณา เรื่องราวร้องทุกข์และการร้องเรียนที่เกี่ยวกับราชการหรือทหาร หรือข้าราชการของกองทัพบก มีเจ้ากรมจเร ทหารบกเป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบ กรมสวัสดิการทหารบก(สก.ทบ.) มีหน้าที่ดำเนินการเกี่ยวกับงานสวัสดิภาพและบำบัดทุกข์บำรุงสุข ทั้งในด้านทรัพย์สินและสิ่งอุปโภค บริโภคการแนะนำและส่งเสริมวิชาชีพและการศึกษา ทั้งนี้เกี่ยวกับ ทหาร ข้าราชการ และครอบครัวในกองทัพบก มีเจ้ากรมสวัสดิการทหารบก เป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบ กรมสารบรรณทหารบก (สบ.ทบ.) มีหน้าที่ดำเนินการเกี่ยวกับงานสารบรรณ งานธุรการ และพิธี การตลอดจนการดำเนินการเกี่ยวกับการสนับสนุน การจัดการกำลังพลและธุรการกำลังพลตามที่กองทัพบก กำหนดหลักนิยมและทำตำรา ตลอดจนการฝึก และศึกษาของเหล่าทหารสารบรรณ มีเจ้ากรมสารบรรณ ทหารบกเป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบ หน่วยบัญชาการรักษาดินแดน (นรด.) มีหน้าที่ วางแผน อำนวยการ ประสานงาน กำกับการ และ ดำเนินการเกี่ยวกับกิจการกำลังสำรองทั้งปวง กิจการสัสดีรวมทั้งปกครองบังคับบัญชาหน่วยทหารที่ กระทรวงกลาโหมกำหนด มีผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการรักษาดินแดน เป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบ สำนักงานตรวจสอบภายในทหารบก (สตน.ทบ.) มีหน้าที่ดำเนินการเกี่ยวกับงานตรวจสอบภายใน โดยอิสระเพื่อประเมินค่าประสิทธิผลในการควบคุม และบริหารทรัพยากรตามความมุ่งหมายของกองทัพบก มี ผู้อำนวยการสำนักงานตรวจสอบภายในทหารบก เป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบ


๓๖ กรมฝ่ายยุทธบริการ มีหน้าที่วางแผน ให้ข้อเสนอแนะ กำกับการ และดำเนินการวิจัยพัฒนา เกี่ยวกับการผลิต จัดหา การส่งกำลังการซ่อมบำรุง การบริการ กำหนดหลักนิยม และทำตำราตลอดทั้งการ ฝึกและศึกษาในสายยุทธบริการที่รับผิดชอบ ซึ่งได้แก่ส่วนราชการต่างๆ ๙ หน่วยคือ กรมการขนส่งทหารบก (ขส.ทบ.) มีหน้าที่วางแผน อำนวยการ ประสานงาน แนะนำกำกับการ ดำเนินการ วิจัยและพัฒนาเกี่ยวกับการจัดหา การส่งกำลัง การซ่อมบำรุง และการบริการสิ่งอุปกรณ์ขนส่ง กำหนดหลักนิยมและทำตำราตลอดจนการฝึกและศึกษา ทั้งนี้เกี่ยวกับกิจการและสิ่งอุปกรณ์ของเหล่าทหาร ขนส่ง มีเจ้ากรมการขนส่งทหารบก เป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบ กรมการทหารช่าง (กช.) มีหน้าที่ วางแผน อำนวยการ ประสานงาน แนะนำ กำกับการ ดำเนินการ วิจัยและพัฒนาเกี่ยวกับการผลิตการจัดหาการส่งกำลัง การซ่อมบำรุง และการบริการสิ่งอุปกรณ์ สายทหารช่างการก่อสร้างและซ่อมแซมสิ่งก่อสร้างกำหนดหลักนิยมและทำตำราตลอดจนการฝึกและศึกษา ทั้งนี้เกี่ยวกับกิจการและสิ่งอุปกรณ์ของเหล่าทหารช่าง มีเจ้ากรมการทหารช่าง เป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบ กรมการทหารสื่อสาร (สส.) มีหน้าที่ วางแผน อำนวยการ ประสานงาน แนะนำ กำกับการ ดำเนินการวิจัยและพัฒนาเกี่ยวกับการผลิต การจัดหาการส่งกำลัง การซ่อมบำรุง และการบริการในกิจการ ของเหล่าทหารสื่อสารและสิ่งอุปกรณ์สายสื่อสารกิจการโทรคมนาคม คอมพิวเตอร์และอิเล็กทรอนิกส์ทั้งปวง สนับสนุนระบบควบคุมบังคับบัญชา และการสื่อสาร การสงครามข่าวสารของกองทัพบก กำหนดหลักนิยม และทำตำราตลอดจนการฝึกและศึกษา ทั้งนี้เกี่ยวกับกิจการ และสิ่งอุปกรณ์ของเหล่าทหารสื่อสาร มีเจ้ากรม การทหารสื่อสาร เป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบ กรมการสัตว์ทหารบก (กส.ทบ.) มีหน้าที่วางแผน อำนวยการ ประสานงาน แนะนำ กำกับการ ดำเนินการวิจัยและพัฒนาเกี่ยวกับการผลิต การจัดหาการส่งกำลัง การซ่อมบำรุง การบริการการสุขาภิบาล เวชกรรมป้องกัน การรักษาพยาบาลการบำรุงรักษาและการผสมพันธุ์สัตว์และการเสบียงสัตว์สนับสนุนการ ปฏิบัติการทางทหารด้วยการใช้สัตว์และการเกษตรของกองทัพบกกำหนดหลักนิยม และทำตำราตลอดจน การฝึกและศึกษา ทั้งนี้เกี่ยวกับกิจการ และสิ่งอุปกรณ์ของเหล่าทหารการสัตว์มีเจ้ากรมการสัตว์ทหารบก เป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบ กรมพลาธิการทหารบก (พธ.ทบ.) มีหน้าที่วางแผน อำนวยการ ประสานงาน แนะนำกำกับการ ดำเนินการวิจัยและพัฒนา เกี่ยวกับการผลิต การจัดหาการส่งกำลัง การซ่อมบำรุง และการบริการ กำหนด หลักนิยมและทำตำรา ตลอดจนการฝึกและศึกษา ทั้งนี้เกี่ยวกับกิจการและสิ่งอุปกรณ์ของเหล่าทหาร พลาธิการ มีเจ้ากรมพลาธิการทหารบก เป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบ กรมแพทย์ทหารบก (พบ.) มีหน้าที่ วางแผน อำนวยการ ประสานงาน แนะนำ กำกับการ ดำเนินการวิจัยและพัฒนาเกี่ยวกับการผลิตการจัดหาการส่งกำลัง การซ่อมบำรุงการบริการพยาธิวิทยาการ ส่งเสริมสุขภาพ เวชกรรมป้องกัน ทันตกรรม และการรักษาพยาบาล ให้การศึกษา อบรม และดำเนินการฝึก นักเรียนแพทย์และนักเรียนพยาบาลตามที่กองทัพบกมอบหมายกำหนดหลักนิยม และทำตำราตลอดจนการ ฝึกและศึกษา ทั้งนี้เกี่ยวกับกิจการและสิ่งอุปกรณ์ของเหล่าทหารแพทย์มีเจ้ากรมแพทย์ทหารบก เป็น ผู้บังคับบัญชารับผิดชอบ กรมยุทธโยธาทหารบก (ยย.ทบ.) มีหน้าที่วางแผน อำนวยการ ประสานงาน แนะนำกำกับการ ดำเนินการ วิจัยและพัฒนาเกี่ยวกับการจัดหาการก่อสร้างการส่งกำลังการซ่อมบำรุงและการบริการเกี่ยวกับ สิ่งก่อสร้างและอสังหาริมทรัพย์ของกองทัพบก กำหนดหลักนิยม และทำตำรา ตลอดจนการฝึก และศึกษา ทั้งนี้เกี่ยวกับกิจการและสิ่งอุปกรณ์ของสายยุทธโยธา มีเจ้ากรมยุทธโยธาทหารบก เป็นผู้บังคับบัญชา รับผิดชอบ


๓๗ กรมสรรพาวุธทหารบก (สพ.ทบ.) มีหน้าที่วางแผน อำนวยการ ประสานงาน แนะนำกำกับ การ ดำเนินการ วิจัยและพัฒนาเกี่ยวกับการผลิต การจัดหา การส่งกำลัง การซ่อมบำรุง และการบริการ กำหนดหลักนิยมและทำตำราตลอดจนการฝึกและศึกษา ทั้งนี้เกี่ยวกับกิจการและสิ่งอุปกรณ์ของเหล่าทหาร สรรพาวุธ มีเจ้ากรมสรรพาวุธทหารบก เป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบ กรมวิทยาศาสตร์ทหารบก (วศ.ทบ.) มีหน้าที่ วางแผน อำนวยการ ประสานงาน กำกับการ ดำเนินการ วิจัยและพัฒนาเกี่ยวกับการผลิตการส่งกำลังการซ่อมบำรุงและการบริการกำหนดหลักนิยมและ ทำตำราตลอดจนการฝึกและศึกษา ทั้งนี้เกี่ยวกับการปฏิบัติการและการป้องกันทางนิวเคลียร์ชีวะเคมีและ กิจการวิทยาศาสตร์ของกองทัพบก มีเจ้ากรมวิทยาศาสตร์ทหารบก เป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบ ๒.ส่วนกำลังรบ ส่วนกำลังรบประกอบด้วย หน่วยหลักๆ ที่เป็นหน่วยขึ้นตรงกองทัพบกดังนี้ พระราชกฤษฎีกา แบ่งส่วนราชการและกำหนดหน้าที่ของส่วนราชการ กองทัพบก กองทัพไทย กระทรวงกลาโหม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๕๘ กองทัพภาคที่ ๑ มีหน้าที่วางแผน อำนวยการกำกับการและปฏิบัติหน้าที่หลักในการป้องกัน ประเทศการรักษาความมั่นคงภายใน การรักษาความสงบเรียบร้อยภายในประเทศการพัฒนาประเทศตามที่ ได้รับมอบหมาย การถวายความปลอดภัยแด่สถาบันพระมหากษัตริย์รวมถึงงานโครงการ อันเนื่องมาจาก พระราชดำริและการปฏิบัติทางทหารที่ไม่ใช่สงคราม รวมทั้งปกครองบังคับบัญชามณฑลทหารบกในพื้นที่ที่ รับผิดชอบ (มทบ.๑๑,๑๒,๑๓,๑๔,๑๕,๑๖,๑๗,๑๘ และ ๑๙) และหน่วยทหารที่กระทรวงกลาโหมกำหนด มี แม่ทัพภาคที่ ๑ เป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบ


๓๘ กองทัพภาคที่ ๒ มีหน้าที่วางแผน อำนวยการกำกับการ และปฏิบัติหน้าที่หลักในการป้องกัน ประเทศการรักษาความมั่นคงภายใน การรักษาความสงบเรียบร้อยภายในประเทศการพัฒนาประเทศตามที่ ได้รับมอบหมาย การถวายความปลอดภัยแด่สถาบันพระมหากษัตริย์รวมถึงงานโครงการอันเนื่องมาจาก พระราชดำริและการปฏิบัติทางทหารที่ไม่ใช่สงคราม รวมทั้งปกครองบังคับบัญชามณฑลทหารบกในพื้นที่ รับผิดชอบ (มทบ.๒๑,๒๒,๒๓,๒๔,๒๕,๒๖,๒๗,๒๘,๒๙ และ ๒๑๐) และหน่วยทหารที่กระทรวงกลาโหม กำหนด มีแม่ทัพภาคที่ ๒ เป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบ กองทัพภาคที่ ๓ มีหน้าที่วางแผน อำนวยการกำกับการ และปฏิบัติหน้าที่หลักในการป้องกัน ประเทศการรักษาความมั่นคงภายใน การรักษาความสงบเรียบร้อยภายในประเทศการพัฒนาประเทศตามที่ ได้รับมอบหมาย การถวายความปลอดภัยแด่สถาบันพระมหากษัตริย์รวมถึงงานโครงการอันเนื่องมาจาก พระราชดำริและการปฏิบัติทางทหารที่ไม่ใช่สงคราม รวมทั้งปกครองบังคับบัญชามณฑลทหารบกในพื้นที่ รับผิดชอบ (มทบ.๓๑,๓๒,๓๓,๓๔,๓๕,๓๖,๓๗,๓๘,๓๙ และ ๓๑๐) และหน่วยทหารที่กระทรวงกลาโหม กำหนด มีแม่ทัพภาคที่ ๓ เป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบ กองทัพภาคที่ ๔ มีหน้าที่วางแผน อำนวยการกำกับการ และปฏิบัติหน้าที่หลักในการป้องกัน ประเทศการรักษาความมั่นคงภายใน การรักษาความสงบเรียบร้อยภายในประเทศการพัฒนาประเทศตามที่ ได้รับมอบหมาย การถวายความปลอดภัยแด่สถาบันพระมหากษัตริย์รวมถึงงานโครงการอันเนื่องมาจาก พระราชดำริและการปฏิบัติทางทหารที่ไม่ใช่สงคราม รวมทั้งปกครองบังคับบัญชามณฑลในพื้นที่รับผิดชอบ (มทบ.๔๑,๔๒,๔๓,๔๔,๔๕ และ ๔๖) และหน่วยทหารที่กระทรวงกลาโหมกำหนด มีแม่ทัพภาคที่ ๔ เป็น ผู้บังคับบัญชารับผิดชอบ หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ มีหน้าที่วางแผน อำนวยการกำกับการและปฏิบัติการ เกี่ยวกับสงครามพิเศษ ดำเนินการฝึกและศึกษาเกี่ยวกับการสงครามพิเศษ การส่งกำลังทางอากาศการยุทธส่ง ทางอากาศและการปฏิบัติการพิเศษอื่นที่กองทัพบกมอบหมายการวิจัย พัฒนากำหนดหลักนิยมและทำตำรา ในทางวิทยาการที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งปกครองบังคับบัญชาหน่วยทหารที่กระทรวงกลาโหมกำหนด มีผู้บัญชาการ หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ เป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบ หน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศกองทัพบก มีหน้าที่วางแผน อำนวยการประสานงาน และดำเนินการเกี่ยวกับการป้องกันภัยทางอากาศของกองทัพบก รวมทั้งปกครองบังคับบัญชาหน่วยทหารที่ กระทรวงกลาโหมกำหนด มีผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศกองทัพบกเป็นผู้บังคับบัญชา รับผิดชอบ ๓.ส่วนสนับสนุนการรบ มีหน้าที่สนับสนุนกำลังรบ เพื่อให้บรรลุภารกิจของส่วนกำลังรบ -กองพลทหารปืนใหญ่ (พล.ป.) -กองพลทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน, ศปภอ., ทบ., ศปภอ.ทบ.๑ , ๒, ๓, ๔ - หน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศกองทัพบก (นปอ.ทบ.) -กองบินปีกหมุนที่ ๑, ๒, ๓, ๙ และกองบินเบา -กองพันปฏิบัติการจิตวิทยา นสศ. (พัน.ปจว.) -กองพลทหารช่าง (พล.ช.) -กองร้อยวิทยาศาสตร์ (ร้อย.วศ.) -กองพันป้องกันฐานบิน (พัน.ปฐบ.) -กรมทหารสื่อสารที่ ๑ (ส.๑) ประกอบด้วยส.พัน.๑๐๑ และส.พัน.๑๐๒ - หน่วยข่าวกรองทางทหารกองทัพบก (ขกท.)


๓๙ -กองพันสุนัขทหาร (พัน.สท.) ๔.ส่วนส่งกำลังบำรุง มีหน้าที่ให้การสนับสนุนทางด้านการส่งกำลังบำรุงให้กับส่วนราชการต่าง ๆ ในระดับ กองทัพบกได้แก่การส่งกำลังการซ่อมบำรุงการส่งกลับ และการรักษาผู้ป่วยเจ็บ การขนส่งและการก่อสร้าง ประกอบด้วย -กรมการทหารช่าง ให้การสนับสนุนในเรื่องการส่งกำลังและซ่อมบำรุงสิ่งอุปกรณ์สายทหาร การช่าง รวมทั้งการก่อสร้างและซ่อมแซมสิ่งก่อสร้างตามที่ได้รับมอบหมาย -กรมการทหารสื่อสาร ให้การสนับสนุนในเรื่องการส่งกำลังและซ่อมบำรุงสิ่งอุปกรณ์สาย ทหารสื่อสาร -กรมสรรพาวุธทหารบก ให้การสนับสนุนในเรื่องการส่งกำลังและซ่อมบำรุงสิ่งอุปกรณ์สาย สรรพาวุธ -กรมพลาธิการทหารบก ให้การสนับสนุนในเรื่องการส่งกำลังและซ่อมบำรุงสิ่งอุปกรณ์สาย พลาธิการ -กรมแพทย์ทหารบก ให้การสนับสนุนในเรื่องการส่งกำลังและซ่อมบำรุงสิ่งอุปกรณ์สายแพทย์ รวมทั้งการดำเนินการในเรื่องการส่งกลับและการรักษาพยาบาลผู้ป่วยเจ็บ -กรมการขนส่งทหารบก ให้การสนับสนุนในเรื่องการส่งและซ่อมบำรุงสิ่งอุปกรณ์สายทหาร ขนส่ง รวมทั้งการดำเนินการในเรื่องการขนส่งทางบกและทางน้ำ -กรมยุทธโยธาทหารบก ให้การสนับสนุนในเรื่องการส่งและซ่อมบำรุงสิ่งอุปกรณ์สายยุทธ โยธา รวมทั้งการก่อสร้างอาคารและสิ่งอำนวยความสะดวกในค่ายทหาร -กรมการสัตว์ทหารบก ให้การสนับสนุนในเรื่องการส่งกำลังและซ่อมบำรุงสิ่งอุปกรณ์สาย การสัตว์การลำเลียง สป.ด้วยสัตว์ต่าง ๆ การส่งกลับ และการรักษาพยาบาลการบำรุงรักษาและผสมพันธุ์ และการเกษตรของกองทัพบก -กรมวิทยาศาสตร์ทหารบกให้การสนับสนุนในเรื่องการส่งกำลังและซ่อมบำรุงสิ่งอุปกรณ์สาย วิทยาศาสตร์ ๕.ส่วนภูมิภาค มีหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อยในเขตพื้นที่ รวมทั้งการศาลทหารการคดีและการเรือนจำ ดำเนินการระดมสรรพกำลังในเขตพื้นที่การสนับสนุนหน่วยทหาร การดำเนินการตามแผนยุทธศาสตร์การ ต่อสู้เบ็ดเสร็จ เพื่อรักษาความสงบภายในและการป้องกันประเทศ ส่วนภูมิภาคประกอบด้วย กองทัพภาค, และมณฑลทหารบก กองทัพภาค เป็นหน่วยขึ้นตรงกองทัพบกนอกจากรับผิดชอบในส่วนกำลังรบแล้วยังจัดอยู่ในส่วน ภูมิภาค มีภารกิจดังนี้ -กองทัพภาคที่ ๑ มีหน้าที่ ปกครองบังคับบัญชา มณฑลทหารบก และหน่วยทหารที่ กระทรวงกลาโหมกำหนด มีแม่ทัพภาคที่ ๑ เป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบ -กองทัพภาคที่ ๒ มีหน้าที่ ปกครองบังคับบัญชา มณฑลทหารบก และหน่วยทหารที่ กระทรวงกลาโหมกำหนด มีแม่ทัพภาคที่ ๒ เป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบ -กองทัพภาคที่ ๓ มีหน้าที่ ปกครองบังคับบัญชา มณฑลทหารบก และหน่วยทหารที่ กระทรวงกลาโหมกำหนด มีแม่ทัพภาคที่ ๓ เป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบ -กองทัพภาคที่ ๔ มีหน้าที่ ปกครองบังคับบัญชา มณฑลทหารบก และหน่วยทหารที่ กระทรวงกลาโหมกำหนด มีแม่ทัพภาคที่ ๔ เป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบ


๔๐ กองบัญชาการช่วยรบ (บชร.) มีหน้าที่ให้การสนับสนุนทางการส่งกำลังบำรุงโดยตรงต่อหน่วยใน การบังคับบัญชาของกองทัพภาค และหน่วยของกองทัพบก (หน่วยนอกกองทัพภาค) ที่มีที่ตั้งหรือเข้า ปฏิบัติการในพื้นที่ของกองทัพภาค หรือตามที่กองทัพบกมอบหมาย จัดตั้งตำบลส่งกำลัง ตำบลจ่าย หรือ สถานการณ์ส่งกำลังบำรุงขึ้น ณ ตำบลที่เหมาะสมตามความจำเป็น อัตราการจัด ๑ บชร./ทภ. มีหน่วยขึ้นตรง จำนวน ๕ หน่วยคือ กองพันส่งกำลังและบริการ กองพันซ่อมบำรุง กองพันทหารขนส่ง กองพันทหาร เสนารักษ์และกองพันสรรพาวุธกระสุน มณฑลทหารบก เป็นการจัดแบ่งเขตการปกครองทางทหารบก เพื่อความสะดวกในการปฏิบัติ กิจการทางทหาร เช่น การเรียกพล การระดมพล การเกณฑ์ทหาร เป็นต้น แต่เดิมมีการจัดแบ่งเขตการ ปกครองออกเป็น จังหวัดทหารบก ขึ้นตรงต่อมณฑลทหารบกด้วย แต่ต่อมาในปีพ.ศ.๒๕๕๘ ได้มีการยกเลิก การจัดแบ่งเขตจังหวัดทหารบก และให้จัดตั้งเป็นมณฑลทหารบกเพียงชั้นเดียว ภารกิจของมณฑลทหารบก -บังคับบัญชาจังหวัดทหารบกในพื้นที่รับผิดชอบเดิม และกำลังประจำถิ่นของกองทัพบก ตามที่ กระทรวงกลาโหมกำหนด - รักษาความสงบเรียบร้อยในเขตพื้นที่ รวมทั้งการศาลทหาร การคดีและการเรือนจำ - ดำเนินการสัสดี การเกณฑ์ช่วยราชการทหาร และการระดมสรรพกำลังในเขตพื้นที่ - สนับสนุนหน่วยทหารที่อยู่ในเขตพื้นที่ - ดำเนินการตามแผนยุทธศาสตร์การต่อสู้เบ็ดเสร็จ เพื่อรักษาความสงบภายใน และการป้องกัน ประเทศ การจัดมณฑลทหารบก


Click to View FlipBook Version