The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

รายงานประจำปี 2566 มรย Ebook

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by Alisa daoh, 2023-09-30 20:48:58

รายงานประจำปี 2566 มรย Ebook

รายงานประจำปี 2566 มรย Ebook

“….. ข้าพเจ้าได้ไปพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏต่อเนื่องมาเป็นเวลากว่า 30 ปีแล้ว ท�ำให้รู้สึกมีความสุขและผูกพันกับมหาวิทยาลัยราชภัฏ ทั้งหลายอย่างมาก ไปทุกครั้งก็มีความสุข อยากให้ทุกคนมีก�ำลังใจที่จะท�ำให้มหาวิทยาลัยราชภัฏ ของเราเป็นประโยชน์กับประชาชน เป็นประโยชน์ต่อภูมิภาค และท้องถิ่นจริง ๆ จัง ๆ ในเรื่องการด�ำรงชีวิต ในเรื่อง ความรู้ทั่วไป และข้อส�ำคัญคือผลิตคนดี ผลิตคนดีที่เป็น ประโยชน์ ต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และสังคม คิดว่ามหาวิทยาลัยราชภัฏเป็นสถาบันที่เป็นประโยชน์และ เป็นกลไกที่พัฒนาประเทศได้อย่างยิ่ง ถ้าหากตั้งใจร่วมกัน และคุยกันมาก ๆ จะเป็นสถาบันหลักที่พัฒนาประเทศและ ประชาชนได้อย่างมาก…..” พระราชด�ำรัสของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ครั้งพระราชทานพระราชวโรกาสให้อธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏ 38 แห่ง เข้าเฝ้าฯ ณ พระที่นั่ง อัมพรสถาน พระราชวังดุสิต เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม (ที่มา : มติชนออนไลน์ วันที่ 27 กรกฎาคม 2561)


รายงานประจ�ำปี 2566 4


มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา 5


ชื่อหนังสือ : รายงานประจ�ำปี 2566 มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา เลขมาตรฐานสากลประจ�ำหนังสือ : 978 6164 790 131 พิมพ์ครั้งแรก : กันยายน 2566 จ�ำนวนพิมพ์ : 500 เล่ม คณะที่ปรึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา : บรรณาธิการบริหาร : นายชุมศักดิ์ นรารัตน์วงศ์ ผศ.ดร.ฐานกุล กุฏิภักดี คณะบรรณาธิการ : นายอนุสรณ์ ศรีค�ำขวัญ นางปัทมา เนียมบดี นางสาววิภาดา ซาชา นางสาวโสภิญญา ขุนภักดี นายสุรพล คลาดแคล้ว นางสาวโนรี แสงรายา นายสุรศักดิ์ โภชน์พันธ์ ภาพประกอบ : นายอรรณพ เจ๊ะสุโหลง ปราณชลี ฝ่ายประชาสัมพันธ์มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ออกแบบปก - รูปเล่ม : นางสาวอลิษา ดาโอ๊ะ นายอนุสรณ์ ศรีค�ำขวัญ พิสูจน์อักษร : นางสาวพัชรินทร์ เวชสิทธิ์ พิมพ์ที่ : เอส.เค.เอส.อินเตอร์พริ้น จ�ำกัด 16 ซอยมาเจริญ 1 แยก 3 แขวงหนองค้างพลู เขตหนองแขม กรุงเทพฯ 10160 โทร. 02-8120597, 098- 2577319 จัดพิมพ์โดย : มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา (มรย.) 133 ถ.เทศบาล 3 ต.สะเตง อ.เมือง จ.ยะลา 95000 โทรศัพท์ 073-299699 โทรสาร 073-299610, 073-299611, 073-299601 ติดต่อรับข้อมูล : [email protected], [email protected] เว็บไซต์ : https://yru.ac.th/th/ เว็บเพจ : https://www.facebook.com/yrupage ผศ.ดร.ศิริชัย นามบุรี รักษาราชการแทน อธิการบดี ผศ.ดร.บุญสิทธิ์ ไชยชนะ รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนานักศึกษาและมวลชนสัมพันธ์ อ.ดร.สุรเดช สุวรรณชาตรี รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร กิจการสภา และกฎหมาย ผศ.ดร.เกสรี ลัดเลีย รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม ผศ.ดร.นิรันดิ์เกียรติ ลิ่วคุณูปการ รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนาชุมชนท้องถิ่นและกิจการพิเศษ รศ.ดร.ลิลลา อดุลยศาสน์ รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการและคุณภาพบัณฑิต


รายงานประจ�ำปี 2566 8 ยุทธศาสตร์ 20 ปีของมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา (มรย.) แบ่งการด�ำเนินงาน เป็น 4 ระยะ โดยระยะแรกตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 – 2565 ระยะที่ 2 ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 – 2570 ระยะที่ 3 ปีงบประมาณ พ.ศ. 2571 – 2575 และระยะที่ 4 ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2576 - 2580 หนังสือรายงานประจ�ำปี 2566 มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาเล่มนี้นับเป็นผล จากการด�ำเนินงานปีแรก ระยะที่ 2 ตามยุทธศาสตร์ 20 ปีของมหาวิทยาลัย ราชภัฏยะลา สะท้อนการบริหารจัดการที่มีการจัดวางยุทธศาสตร์อย่างเป็น ระบบ ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงสังคมโลกยุคดิจิทัลและเศรษฐกิจใหม่ (new economy) การก้าวผ่านพ้นสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด–19 และการเปลี่ยนผ่านผู้บริหารตามกรอบเวลาและอ�ำนาจหน้าที่ สภามหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิหลากหลาย สาขา ด�ำเนินการตามข้อบังคับของสภามหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา มีหน้าที่ คอยก�ำกับตรวจสอบและประเมินผลงานของมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาประจ�ำ ปีงบประมาณ ทั้งการพิจารณา คัดเลือกผู้สมควรด�ำรงต�ำแหน่งกรรมการ ผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการชุดต่าง ๆ พิจารณาการเปลี่ยนแปลงอาจารย์ ผู้รับผิดชอบหลักสูตร พิจารณาการปรับแผนรับนักศึกษาและรายรับรายจ่าย สารจาก รศ.ดร.ช่วงโชติ พันธุเวช


มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา 9 การพิจารณาการปรับปรุงหลักสูตร หรือพิจารณาผู้สมควรได้รับปริญญา กิตติมศักดิ์ประจ�ำปีการศึกษา ฯลฯ การด�ำเนินงานจึงเป็นทั้งผู้ตรวจสอบและ ส่งเสริมสนับสนุนการด�ำเนินงานของมหาวิทยาลัยอย่างคู่ขนาน จึงหวังว่า หนังสือรายงานประจ�ำปี 2566 มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา (มรย.) จักท�ำให้ได้เห็นมุมมองการพัฒนาในมิติต่าง ๆ ที่ก่อให้เกิดความมั่นใจ ใน มรย. ที่ก�ำลังขับเคลื่อนตามยุทธศาสตร์ 20 ปี เพื่อเป็นไปตามวิสัยทัศน์ “มหาวิทยาลัยคลังปัญญาแห่งชายแดนใต้ เป็นเลิศในการพัฒนาชุมชนท้อง ถิ่นอย่างยั่งยืนสู่สากล” (รศ.ดร.ช่วงโชติ พันธุเวช) นายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา


รายงานประจ�ำปี 2566 10 ในเอกสาร “แบบประมวลประวัติ ผลงาน และวิสัยทัศน์ ของผู้ได้รับ การเสนอชื่อเข้ารับการสรรหาผู้มีคุณสมบัติสมควรด�ำรงต�ำแหน่งอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา” ซึ่งน�ำเสนอต่อคณะกรรมการสรรหาอธิการบดี ผมได้เสนอประมวลประวัติ ผลงาน และกรอบแนวคิดในการพัฒนาและ การบริหารมหาวิทยาลัย ที่สอดคล้องกับสภาพและบริบทของมหาวิทยาลัย ราชภัฏยะลา ตลอดจนภารกิจของมหาวิทยาลัย ไว้อย่างชัดเจน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ได้น�ำเสนอวิสัยทัศน์และและยุทธศาสตร์การพัฒนา มหาวิทยาลัย เป็นกรอบคิดการพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาตามวิสัยทัศน์ ที่ก�ำหนดไว้ คือ “มหาวิทยาลัยคลังปัญญาแห่งชายแดนใต้ เป็นเลิศใน การพัฒนาชุมชนท้องถิ่นอย่างยั่งยืนสู่สากล” น�ำเสนอเป็นยุทธศาสตร์การ พัฒนามหาวิทยาลัย ระยะ 4 ปี (พ.ศ. 2566 - 2569) ตามวาระการด�ำรง ต�ำแหน่งอธิการบดี ระยะเวลา 4 ปี เน้นความสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2561 - 2580) ในระยะที่ 2 (พ.ศ. 2566 - 2570) รวมถึงแผนหรือยุทธศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้ง ยุทธศาสตร์พื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้และระดับประเทศ นอกจากนี้ ยังค�ำนึงถึงสถานะปัจจุบันและบริบทของมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาอีกด้วย สารจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศิริชัย นามบุรี


มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา 11 ทั้งนี้ ภายใต้แนวทางนโยบายการบริหารองค์กร “สานต่อ ก่องานใหม่ ให้ยั่งยืน ยึดหลักคุณภาพ” โดยจะพัฒนามหาวิทยาลัยต่อยอดจากแผนงาน และผลงานเด่นของมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาในระยะที่ผ่านมา ซึ่งมีจุดแข็ง และความโดดเด่น มุ่งเน้นการสร้างสรรค์นวัตกรรม สิ่งใหม่ ๆ เพื่ออนาคตองค์กร เร่งรัดการยกระดับคุณภาพบัณฑิต บุคลากร งานวิจัย นวัตกรรม การบริหาร จัดการให้เป็นองค์กรดิจิทัล มุ่งเน้นการให้บริการแก่ลูกค้าด้วยความประทับใจ และจะร่วมกับประชาคมชาว มรย. สร้างสรรค์มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาให้ โดดเด่นสืบต่อไป หนังสือรายงานประจ�ำปี 2566 มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา (มรย.) เล่มนี้ คือผลการด�ำเนินงานปีแรก ระยะที่ 2 ตามยุทธศาสตร์ 20 ปีของมหาวิทยาลัย ราชภัฏยะลา ซึ่งจักสะท้อนเจตนารมณ์ในการบริหารงานของผู้บริหาร ทุกยุคสมัย ภายใต้การผนึกก�ำลังของบุคลากรทุกคนทุกฝ่าย เพื่อเป็นก้าวแรก ที่จะน�ำไปสู่ก้าวแห่งความส�ำเร็จตามแผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580) ในที่สุด (ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศิริชัย นามบุรี) รักษาราชการแทนอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา


รายงานประจ�ำปี 2566


มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา 13 ภาคแรก ยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2566 – 2570) - ข้อมูลพื้นฐานของมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา - บทน�ำ - ข้อมูลพื้นฐาน - แผนปฏิบัติราชการระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2566 - 2570) ภาคสอง ผลการด�ำเนินงานของมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ปีงบประมาณ 2565 ผลความส�ำเร็จที่เกิดขึ้นตามประเด็นยุทธศาสตร์ หัวใจส�ำคัญของการด�ำเนินงาน ภาคสาม ทิศทางด�ำเนินงานตามยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัย - ยุทธศาสตร์และนโยบายการพัฒนา มรย. 5 ปี ผลการประเมินคุณภาพภายใน มรย. ภาคผนวก ประมวลภาพโครงการ กิจกรรม และสถานที่ส�ำคัญ 14 17 25 35 49 82 94 96 104 150 256 258 สารบัญ


รายงานประจ�ำปี 2566 14


มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา 15 ภาคแรก ยุทธศาสตร์การพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2566 – 2570)


รายงานประจ�ำปี 2566 16


มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา 17 มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา เป็นมหาวิทยาลัยของรัฐ จัดตั้งขึ้นตาม พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547 ให้ไว้ ณ วันที่ 10 มิถุนายน 2547 เป็นปีที่ 59 ในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2547 เดิมสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ และต่อมาในปี พ.ศ. 2562 ได้เปลี่ยนมาเป็น มหาวิทยาลัยของรัฐสังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและ นวัตกรรม (อว.) ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงการ อุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2562 โดยประวัติความเป็นมา และพัฒนาการของมหาวิทยาลัย แบ่งได้เป็น 4 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 โรงเรียนฝึกหัดครู (พ.ศ. 2477 - 2504) เริ่มจากวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2477 ก่อตั้งเป็นโรงเรียนอาชีพประจ�ำจังหวัด และต่อมา ผู้ว่าราชการจังหวัดยะลาได้จัดตั้งขึ้นเป็นโรงเรียนฝึกหัดครูที่หมู่บ้านมลายู บางกอก โดยเป็นโรงเรียนตามพระราชบัญญัติประถมศึกษาพุทธศักราช 2464 เปิดสอนในระดับชั้นประถมปีที่ 4 และประโยคประถมบริบูรณ์ ชั้นประถมปีที่ 6 ล่วงถึงปี พ.ศ. 2477 จัดตั้งเป็นโรงเรียนฝึกหัดครูชั้นต้น ปีที่ 1 - 2 ข้อมูลพื้นฐานของมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา


รายงานประจ�ำปี 2566 18 ต่อมาวันที่ 17 พฤษภาคม 2478 ได้ย้ายโรงเรียนมาตั้งที่ข้างวัดพุทธภูมิ อ.เมือง จ.ยะลา ในปัจจุบัน เป็นโรงเรียนฝึกหัดครูประกาศนียบัตร 2 ชั้น คือชั้นปีที่ 1 และชั้นปีที่ 2 โดยต่อมาปี พ.ศ. 2483 ขยายถึงชั้นปีที่ 3 ใน ปี พ.ศ. 2484 ต่อมาปี พ.ศ. 2486 เปลี่ยนเป็นชั้นฝึกหัดครูประชาบาล (ป.ป.) ปีที่ 1 - 3 เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2486 และได้ย้ายโรงเรียนไปตั้งที่ บ้านสะเตง และในปี พ.ศ. 2493 เปิดชั้นฝึกหัดครูมูล และปี พ.ศ. 2494 เปิดชั้นฝึกหัดครูประกาศนียบัตร ปี พ.ศ. 2498 ยุบเลิกชั้นประถมประโยค ครูมูล เปิดชั้นฝึกหัดครูประกาศนียบัตรวิชาการศึกษา ปี พ.ศ. 2504 โรงเรียนฝึกหัดครูยะลา ย้ายจากศาลากลางเก่า ที่บ้านสะเตงมาอยู่ ณ ที่ตั้งปัจจุบัน ถ.เทศบาล 3 ต.สะเตง อ.เมือง จ.ยะลา เริ่มจากการก่อสร้างอาคารเรียน 1 หลัง หอนอน 1 หลัง และโรงอาหาร ชั่วคราว 1 หลัง และยังใช้สถานที่เดิมอยู่ด้วยเพราะสถานที่สร้างใหม่ไม่เพียงพอ สถานที่ปัจจุบันนี้ของมหาวิทยาลัยฯ ฯพณฯ ศาสตราจารย์ ม.ล.ปิ่น มาลากุล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการในสมัยนั้น ได้ก�ำหนดแผนผังการ ใช้พื้นที่ไว้ไห้อย่างเหมาะสม สวยงาม ตั้งอยู่กลางใจเมืองยะลา ตั้งแต่ครั้งแรก ที่ได้ที่ดินมาด�ำเนินการก่อสร้าง ในระยะนี้นับได้ว่าเป็นการสร้างรากฐานของ ความเชี่ยวชาญในการผลิตครู ระยะที่ 2 วิทยาลัยครู (พ.ศ. 2505 - 2538) ในปี พ.ศ. 2505 กรมการ ฝึกหัดครูประกาศยกฐานะโรงเรียนฝึกหัดครูยะลาเป็น “วิทยาลัยครูยะลา” ปีการศึกษา 2506 ได้เปิดชั้นประกาศนียบัตรวิชาการศึกษา (ป.กศ.) และ ขยายการเปิดสอนชั้นประกาศนียบัตรวิชาการศึกษาชั้นสูง (ป.กศ.สูง) มี วิชาเอกต่าง ๆ อย่างหลากหลาย และในวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2518 ได้ มี “พระราชบัญญัติวิทยาลัยครู พ.ศ. 2518” จึงมีผลให้วิทยาลัยครูทั่ว ประเทศสามารถเปิดสอนถึงระดับปริญญาตรีได้ โดยวิทยาลัยครูยะลาเปิด สอนระดับปริญญาตรีรุ่นแรก สาขาวิชาเอกภาษาอังกฤษ และวิชาโทภาษา ไทย ต่อมาได้เปิดสอนและผลิตบัณฑิตสายครุศาสตร์อีกหลายสาขาวิชา เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่นและความเชี่ยวชาญ และ


มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา 19 ในปี พ.ศ. 2528 ได้ขยายการเปิดหลักสูตรตามที่กรมการฝึกหัดครูพัฒนาขึ้น มีการเปิดสอนหลักสูตรระดับปริญญาตรีทั้งด้านวิทยาศาสตร์ บริหารธุรกิจ และศิลปศาสตร์ ในระยะนี้นับเป็นยุคทองของการ “ผลิตครู” วิทยาลัยครู ยะลาจึงเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย และมีชื่อเสียงในนาม “ว.ค.ยะลา” มาจนถึงปัจจุบัน ระยะที่ 3 สถาบันราชภัฏยะลา (พ.ศ. 2538 - 2547) วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2535 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนาม ว่า “สถาบันราชภัฏ” และมี “พระราชบัญญัติสถาบันราชภัฏ พ.ศ. 2538” ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 112 ตอนที่ 4 ก. วันที่ 24 มกราคม 2538 ท�ำให้ “วิทยาลัยครูยะลา” มีนามใหม่ว่า “สถาบันราชภัฏยะลา” มีผลให้สามารถเปิดสอนในระดับที่ สูงกว่าปริญญาตรีได้ ปี พ.ศ. 2544 เริ่มเปิดรับนักศึกษาภาคปกตินักศึกษา โครงการการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่น (กศ.พท.) และนักศึกษาโครงการ การศึกษาส�ำหรับบุคลากรประจ�ำการ (กศ.บป.) โดยบางส่วนจัดการเรียน การสอน ณ ศูนย์การเรียนรู้แม่ลาน อ�ำเภอแม่ลาน จังหวัดปัตตานี ในพื้นที่ กว่า 200 ไร่ พร้อมก่อสร้างอาคารอ�ำนวยการและอาคารเรียนชั่วคราว เน้นการพัฒนาพื้นที่ส�ำหรับสาขาเทคโนโลยีการเกษตรและการพัฒนาชุมชน เพื่อตอบสนองความต้องการของชุมชนท้องถิ่น


รายงานประจ�ำปี 2566 20 ระยะที่ 4 มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา (15 มิถุนายน 2547 - ปัจจุบัน) เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2547 สถาบันราชภัฏยะลาได้รับการยกฐานะเป็น นิติบุคคลตาม “พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547” เป็น มหาวิทยาลัยของรัฐสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ประกอบด้วย 7 ส่วนราชการ ได้แก่ คณะครุศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและการเกษตร คณะวิทยาการจัดการ ส�ำนักงานอธิการบดี ส�ำนัก วิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ และสถาบันวิจัยและพัฒนาจังหวัด ชายแดนภาคใต้ การจัดตั้งมหาวิทยาลัยมีพันธกิจและบทบาท คือ จัดการ ศึกษาระดับอุดมศึกษาเพื่อพัฒนาชุมชนท้องถิ่น มหาวิทยาลัยมีความคล่องตัว ในการบริหารจัดการ สามารถด�ำเนินการตามที่ก�ำหนดไว้ในพระราชบัญญัติ มหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547 มีบทบาทเป็น “สถาบันอุดมศึกษาเพื่อ การพัฒนาท้องถิ่น” จนถึงปัจจุบัน ต่อมา มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ย้ายมาสังกัด กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ตั้งแต่วันที่ 2 พฤษภาคม 2564 ตามพระราชบัญญัติระเบียบ บริหารราชการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2562


มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา 21 ข้อมูลนักศึกษาปีการศึกษา 2565 มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา เปิดสอน ระดับปริญญาตรีทั้งหมด 51 หลักสูตร ระดับบัณฑิตศึกษาปริญญาโท จ�ำนวน 3 หลักสูตร และเปิดสอนระดับปริญญาเอก จ�ำนวน 1 หลักสูตร ได้แก่ หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) สาขาวิชาการจัดการ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีนักศึกษาทั้งหมด 9,293 คน โดย จัดการเรียนการสอนใน 4 คณะ ได้แก่ 1) คณะครุศาสตร์ มีจ�ำนวนนักศึกษาทั้งหมด 1,587 คน คิดเป็นร้อยละ 17.08 ของนักศึกษาทั้งหมด ประกอบด้วยนักศึกษาระดับปริญญาตรี จ�ำนวน 1,457 คน นักศึกษาระดับปริญญาโท จ�ำนวน 130 คน 2) คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มีจ�ำนวนนักศึกษาทั้งหมด 3,799 คน คิดเป็นร้อยละ 40.88 ของนักศึกษาทั้งหมด ประกอบด้วย นักศึกษาระดับปริญญาตรีทั้งหมด จ�ำนวน 3,799 คน 3) คณะวิทยาการจัดการ มีจ�ำนวนนักศึกษาทั้งหมด 2,239 คน คิดเป็น ร้อยละ 24.09 ของนักศึกษาทั้งหมด ประกอบด้วยนักศึกษาระดับปริญญาตรี ทั้งหมด จ�ำนวน 2,239 คน 4) คณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร มีจ�ำนวนนักศึกษา ทั้งหมด 1,668 คน คิดเป็นร้อยละ 17.95 ของนักศึกษาทั้งหมด ประกอบ ด้วยนักศึกษาระดับปริญญาตรี จ�ำนวน 1,605 คน นักศึกษาปริญญาโท จ�ำนวน 50 คน และนักศึกษาระดับปริญญาเอก จ�ำนวน 13 คน การประเมินคุณภาพการศึกษาภายในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 มหาวิทยาลัยมีบุคลากร จ�ำนวน 590 คน เป็นบุคลากรสายวิชาการ จ�ำนวน 323 คน มีคุณวุฒิปริญญาเอกหรือเทียบเท่า จ�ำนวน 123 คน คิดเป็นร้อยละ 38.02 และคุณวุฒิปริญญาโทหรือเทียบเท่า จ�ำนวน 199 คน คิดเป็นร้อยละ 61.67 คุณวุฒิปริญญาตรี 1 คน คิดเป็นร้อยละ 0.31 มีผลงานและต�ำแหน่ง ทางวิชาการระดับรองศาสตราจารย์ จ�ำนวน 6 คน คิดเป็นร้อยละ 1.92 ผู้ ช่วยศาสตราจารย์ จ�ำนวน 88 คน คิดเป็นร้อยละ 28.12 และอาจารย์ จ�ำนวน 219 คน คิดเป็นร้อยละ 69.97 และมีคะแนนผลการประเมินคุณภาพภายใน ทุกองค์ประกอบเท่า 4.65 อยู่ในระดับดีมาก


รายงานประจ�ำปี 2566 22 จากพัฒนาการของมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาในอดีตสู่ปัจจุบัน ทั้ง 4 ระยะ รวมระยะเวลาเกือบจะ 90 ปี และเป็นระยะเวลาเกือบ 20 ปีในบทบาท ของการเป็น “มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา” ที่มีฐานะเป็นองค์กรนิติบุคคล เป็นสถาบันอุดมศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่น จึงจ�ำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้อง ก�ำหนดทิศทางอนาคต รวมทั้งบทบาท พันธกิจ และแนวทางในการพัฒนา มหาวิทยาลัย ให้สอดรับกับบริบทปัจจุบันและในอนาคต เพื่อให้ต�ำแหน่ง ของมหาวิทยาลัย (Positioning) มีความเด่นชัด โดดเด่น มีความมั่นคง เป็นที่ยอมรับ เป็นมหาวิทยาลัยที่มุ่งให้บริการพัฒนาเชิงชุมชนท้องถิ่น เป็น ขุมพลังปัญญา เป็นที่พึ่งทางวิชาการ และเป็นที่ต้องการของชุมชนท้องถิ่น สามจังหวัดชายแดนใต้ต่อไป โดยเฉพาะในพื้นที่บริการหลักสามจังหวัด ชายแดนภาคใต้ ได้แก่ ยะลา ปัตตานี และนราธิวาส ซึ่งปัจจุบันมหาวิทยาลัย มี “ยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา 20 ปี (พ.ศ. 2561 - 2580)” เป็น กรอบแนวทางด�ำเนินการพัฒนาในระยะยาว ก�ำหนดปรัชญาของ มหาวิทยาลัย คือ “สร้างพลังปัญญาเพื่อพัฒนาท้องถิ่นชายแดนใต้” และ ก�ำหนดวิสัยทัศน์ขององค์กร คือ “มหาวิทยาลัยคลังปัญญาแห่งชายแดนใต้ เป็นเลิศในการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นอย่างยั่งยืนสู่สากล” ปัจจุบันนี้ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา อยู่ในช่วงของการด�ำเนินการ ขับเคลื่อนตามแผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา 20 ปี ระยะ ที่ 2 โดยถ่ายทอดจากแผนยุทธศาสตร์ฯ จัดท�ำเป็นแผนปฏิบัติราชการ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา 5 ปี (พ.ศ. 2566 - 2570) และน�ำมาสู่การจัด ท�ำเป็นแผนปฏิบัติราชการประจ�ำปีงบประมาณแต่ละปี รวมทั้งการจัดท�ำ แผน แผนปฏิบัติการเชิงกลยุทธ์ (Strategic Action Plan) ในแต่ละด้านที่ สอดคล้องและมุ่งเน้นความส�ำเร็จที่ส�ำคัญ โดยจัดท�ำเป็นแผนที่ความส�ำเร็จ (Road Map) ในช่วงระยะ 5 ปีต่อไป ได้แก่ แผนปฏิบัติการในโครงการ ส�ำคัญทางยุทธศาสตร์ (Flagship) ของมหาวิทยาลัย แผนปฏิบัติการพัฒนา คุณภาพบัณฑิตด้านทักษะภาษาอังกฤษ แผนปฏิบัติการบริหารจัดการและ จัดหารายได้ เป็นต้น


มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา 23


รายงานประจ�ำปี 2566 24


มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา 25 บทน�ำ แผนปฏิบัติราชการระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2566 - 2570) เป็นแผนที่ดาเนินการ ํ ตามกฎหมายที่กําหนดให้ส่วนราชการ ต้องจัดทําก่อนปฏิบัติภารกิจ ทั้งนี้ มีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการดาเนินการเรื่องนี้หลายฉบับ อาทิ รัฐธรรมนูญ ํ แห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 มาตรา 65 พระราชกฤษฎีกาว่าด้วย การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 และพระราชกฤษฎีกาว่าด้วย การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2562 มาตรา 16 และ 17 มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา (มรย.) ให้ความสําคัญกับการจัดทําแผน ปฏิบัติราชการระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2566 - 2570) เป็นอย่างมาก ทั้งในด้านการ จัดทําแผน การรับฟังความคิดเห็นจากภาคส่วนต่าง ๆ เพราะตระหนักดีว่า แผนปฏิบัติราชการเป็นเครื่องมือสําคัญในการปฏิบัติงานตามภารกิจของ มหาวิทยาลัย ทั้งในเชิงเป้าหมายการปฏิบัติงาน การจัดสรรงบประมาณ และ ผลสัมฤทธิ์ของงาน อันจะเป็นกลไกในการขับเคลื่อนและพัฒนามหาวิทยาลัย ไปสู่ทิศทางที่พึงประสงค์ต่อไป


รายงานประจ�ำปี 2566 26 ทั้งนี้ จากสถานการณ์โลกที่ส่งผลกระทบต่อการอุดมศึกษาในช่วงที่ ผ่านมา ทั้งการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่กระทบต่อการด�ำรงชีวิต โดย เฉพาะด้านธุรกิจต้องปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง อีกทั้งสถานการณ์ ของสงครามรัสเซีย-ยูเครน ที่กระทบในเรื่องสงครามการค้า ความรู้ในด้าน ดิจิทัล ฯลฯ ซึ่งล้วนเป็นเรื่องที่มีความส�ำคัญมาก เนื่องจากส่งผลกระทบต่อ ทุกภาคส่วนที่จ�ำเป็นต้องเร่งปรับตัวให้สอดคล้องกับสถานการณ์แวดล้อม ที่เปลี่ยนไป ปัจจัยต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น นอกจากกระทบต่อภาคธุรกิจในไทย แล้ว ยังส่งผลมาถึงด้านอุดมศึกษา ที่ต้องปรับรูปแบบให้ตอบรับกับโลก ที่เปลี่ยนแปลง การแพร่ระบาดของโควิดเป็นตัวกระตุ้น เร่งให้เกิดการ เปลี่ยนแปลงอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นในวงการอุดมศึกษามาก่อน ทั้งนิสิต นักศึกษา อาจารย์ ต้องมีการปรับตัวอย่างมาก วิกฤตที่เกิดขึ้นท�ำให้เห็น แสงสว่างในอนาคตว่าการอุดมศึกษาไทยสามารถปรับเปลี่ยนอะไรได้อีกมาก และเห็นโอกาสที่จะปรับตัวตอบสนองกับความต้องการของภาคเอกชน ซึ่งมีความยากล�ำบากในการหาคน ที่ต้องค�ำนึงทั้งเรื่องแนวคิด (Mindset) และทักษะทางสังคม (Soft skills) รวมถึงการเพิ่มประสิทธิภาพของทักษะ ที่มีอยู่เดิม แต่ไม่ตรงกับความต้องการใหม่ จึงต้องเพิ่มการมีส่วนร่วมของ ภาคเอกชนหรือภาคธุรกิจเข้ามาในระบบการผลิตก�ำลังคน นอกจากนี้ ปัจจัยภายในประเทศที่กระทบกับคนไทยและการ อุดมศึกษาไทยคือเรื่องของการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากร การเปลี่ยนแปลงอาชีพ ท�ำให้คนต้องย้ายอาชีพจากอุตสาหกรรมหนึ่งไป อีกอุตสาหกรรมหนึ่ง ดังนั้น ผู้ที่ต้องการการเสริมทักษะหรือองค์ความรู้ใหม่ ๆ จึงไม่ได้จ�ำกัดอยู่แค่ในกลุ่มนักเรียน นักศึกษาอีกต่อไป แต่ยังมีกลุ่มคนที่ อยู่ในอาชีพที่ต้องมีการปรับเปลี่ยนทักษะ (Reskill) เพิ่มทักษะ (Upskill) เพื่อน�ำไปใช้ในภาคธุรกิจ เกิดการปรับเข้าสู่รูปแบบความหลากหลายของ ขั้นชีวิต (Multi-stage life) เมื่อเรียนจบแล้วออกไปท�ำงานแล้วสามารถ กลับมาเรียนใหม่ เพิ่มเติมทักษะใหม่ ระบบการศึกษาไทยจึงต้องปรับ ให้มีความยืดหยุ่น เพื่อเตรียมพร้อมรองรับและเปิดโอกาสให้คนทุกช่วงวัย เข้าสู่ระบบการศึกษาได้


มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา 27 จากสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงข้างต้น มหาวิทยาลัยตระหนักและได้ แต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อทบทวน ปรับทิศทาง เป้าหมาย และจัดทาแผนํ ยุทธศาสตร์เพื่อยกระดับคุณภาพมาตรฐานมหาวิทยาลัยให้มีจุดเน้นจุดเด่น และมีอัตลักษณ์ที่โดดเด่นชัดเจน อันจะนําไปสู่การพัฒนาและยกระดับ คุณภาพมาตรฐานชีวิตของประชาชนในชุมชนและท้องถิ่นอย่างแท้จริง มีการประชุมและระดมสมองของผู้เกี่ยวข้องและคณะกรรมการจัดทํา ร่างแผนยุทธศาสตร์ มีการศึกษาวิเคราะห์สภาพภายในมหาวิทยาลัยทั้ง ด้านบุคลากร ด้านการเงินและงบประมาณด้านนักศึกษา ด้านหลักสูตร และการเรียนการสอน ด้านการวิจัย ด้านการบริการวิชาการ และ การดาเนินงานตามพันธกิจในมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัย ํ ราชภัฏ พ.ศ. 2547 และการบรรยายพิเศษเพื่อการปรับทิศทางการดํา เนินงานและอนาคตของมหาวิทยาลัย นอกจากนี้ยังได้ศึกษาวิเคราะห์ ปัจจัยภายนอกที่ส่งผลกระทบต่อการพัฒนามหาวิทยาลัย ได้แก่ นโยบาย กระทรวง ศักยภาพและความต้องการของชุมชน ท้องถิ่น สังคมและ ประเทศทั้งด้านสังคม เศรษฐกิจ การเมือง เทคโนโลยี และการแข่งขัน ในระดับอุดมศึกษา เป็นต้น


รายงานประจ�ำปี 2566 28 มหาวิทยาลัยยังได้มีการวางตําแหน่ง (positioning) เป้าหมาย ทิศทาง และพันธกิจ การผลิตบัณฑิต วิจัย บริการวิชาการ และทํานุ บํารุงศิลปวัฒนธรรม โดยกําหนดให้มีจุดเน้นอัตลักษณ์ที่โดดเด่นใน 4 กลุ่มสาขาวิชา (cluster) เพื่อการพัฒนาและยกระดับคุณภาพมาตรฐาน ของชุมชนและท้องถิ่น ดังนี้ 1. กลุ่มการผลิตและพัฒนาวิชาชีพครู 2. กลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร การเกษตรทันสมัย และพลังงานทดแทน 3. กลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพ การท่องเที่ยว และการบริการ 4. กลุ่มภาษา ศาสนา ปรัชญา ศิลปะ วัฒนธรรม ดนตรี นาฏศิลป์ การแสดง การบันเทิง และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา เป็นมหาวิทยาลัยกลุ่ม 3 กลุ่มพัฒนาชุมชน ท้องถิ่นหรือชุมชนอื่น ที่มีทิศทางและเป้าหมายที่ส�ำคัญ คือ การพัฒนา และยกระดับคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนในชุมชนและท้องถิ่น โดยเฉพาะในจังหวัดชายแดนใต้ ให้มีความเข้มแข็งอย่างยั่งยืน และ ตอบสนองนโยบายการพัฒนามหาวิทยาลัยกลุ่มใหม่ของประเทศ ที่มุ่งเน้น คุณภาพมาตรฐานและการมีจุดเน้นจุดเด่นที่ชัดเจน จึงได้กําหนดวิสัย ทัศน์ เป้าหมาย พันธกิจ วัตถุประสงค์และยุทธศาสตร์ในการพัฒนาและ แก้ปัญหาของชุมชนและท้องถิ่นในระยะ 20 ปี ไว้เป็นกรอบแนวทาง ในการพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา เพื่อการยกระดับคุณภาพ มาตรฐานสู่ความเป็นเลิศ นอกจากนี้ ยังตอบสนองนโยบายและความต้องการ กําลังคนในการพัฒนาประเทศในอนาคต โดยกําหนดกลุ่มสาขาวิชาไว้ 4 กลุ่ม ที่จะสร้างให้เป็นจุดเน้น จุดเด่น และการพัฒนาสู่ความเป็นเลิศ ของมหาวิทยาลัยต่อไป ยุทธศาสตร์ 20 ปีของมหาวิทยาลัย จะแบ่งการดําเนินงานเป็น 4 ระยะ ระยะแรกตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 - 2565 ระยะที่ 2 ตั้งแต่ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 - 2570 ระยะที่ 3 ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2571 - 2575 และระยะที่ 4 ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2576 - 2580


มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา 29 ซึ่งในระยะที่ 2 มหาวิทยาลัยจะดําเนินการในประเด็นยุทธศาสตร์ทั้ง 5 ประเด็น ประกอบด้วย ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาคุณภาพการศึกษา ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2 การวิจัยและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 การส่งเสริมและพัฒนาท้องถิ่นเพื่อความ ยั่งยืน ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 4 การศึกษาและการพัฒนาเพื่อความมั่นคง ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 5 การพัฒนาระบบบริหารจัดการให้มี ประสิทธิภาพ ความเชื่อมโยงสอดคล้องกับแนวนโยบายของรัฐบาลในการบริหาร ราชการแผ่นดินยุทธศาสตร์ชาติ เพื่อให้ประเทศไทยสามารถยกระดับการพัฒนาให้บรรลุตาม วิสัยทัศน์“ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศพัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” และเป้าหมาย การพัฒนาประเทศข้างต้น จึงจําเป็นต้องกําหนดยุทธศาสตร์การพัฒนา ประเทศระยะยาว ที่จะทําให้ประเทศไทยมีความมั่นคงในเอกราช และอธิปไตย มีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงจากปัจจัยภายในและ ภายนอกประเทศในทุกมิติทุกรูปแบบและทุกระดับ ภาคเกษตรกรรม ภาคอุตสาหกรรม และภาคบริการของประเทศได้รับการพัฒนายกระดับ ไปสู่การใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมในการสร้างมูลค่าเพิ่ม และพัฒนา กลไกที่สําคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจใหม่ที่จะสร้างและเพิ่มศักยภาพ ในการแข่งขันของประเทศ เพื่อยกระดับฐานรายได้ของประชาชนใน ภาพรวมและกระจายผลประโยชน์ไปสู่ภาคส่วนต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม คนไทยได้รับการพัฒนาให้เป็นคนดี เก่ง มีวินัย คํานึงถึงผลประโยชน์ ส่วนรวม และมีศักยภาพในการคิดวิเคราะห์สามารถ “รู้รับ ปรับใช้” เทคโนโลยีใหม่ได้อย่างต่อเนื่อง สามารถเข้าถึงบริการพื้นฐาน ระบบ


รายงานประจ�ำปี 2566 30 สวัสดิการ และกระบวนการยุติธรรมได้อย่างเท่าเทียมกัน โดยไม่มีใครถูก ทิ้งไว้ข้างหลัง การพัฒนาประเทศในช่วงระยะเวลาของยุทธศาสตร์ชาติจะมุ่ง เน้นการสร้างสมดุลระหว่าง การพัฒนาความมั่นคง เศรษฐกิจ สังคม และ สิ่งแวดล้อม โดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในรูปแบบ “ประชารัฐ” โดยประกอบด้วย 6 ยุทธศาสตร์ ได้แก่ ยุทธศาสตร์ชาติด้านความมั่นคง ยุทธศาสตร์ชาติ ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน ยุทธศาสตร์ ชาติด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพ ทรัพยากรมนุษย์ ยุทธศาสตร์ ชาติด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม ยุทธศาสตร์ ชาติด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และยุทธศาสตร์ชาติด้านการปรับสมดุล และพัฒนาระบบการบริหาร จัดการภาครัฐ โดยแต่ละยุทธศาสตร์มีเป้าหมายและประเด็นการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาซึ่งเป็นส่วนราชการจึงต้องด�ำเนินการจัดท�ำ แผนปฏิบัติการให้สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ชาติดังนี้


มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา 31 ยุทธศาสตร์ที่ 1 ยุทธศาสตร์ชาติด้านความมั่นคง มีเป้าหมายการ พัฒนาที่สําคัญ คือ ประเทศชาติมั่นคง ประชาชนมีความสุข เน้นการ บริหารจัดการสภาวะแวดล้อมของประเทศให้มีความมั่นคง ปลอดภัย เอกราช อธิปไตยและมีความสงบเรียบร้อยในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับชาติ สังคม ชุมชน มุ่งเน้นการพัฒนาคน เครื่องมือ เทคโนโลยีและระบบฐาน ข้อมูลขนาดใหญ่ให้มีความพร้อมสามารถรับมือกับภัยคุกคามและภัยพิบัติ ได้ทุกรูปแบบ และทุกระดับความรุนแรง ควบคู่ไปกับการป้องกันและแก้ไข ปัญหา ด้านความมั่นคงที่มีอยู่ในปัจจุบันและที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต ใช้กลไกการแก้ไขปัญหาแบบบูรณาการทั้งกับส่วนราชการ ภาคเอกชน ประชาสังคมและองค์กรที่ไม่ใช่รัฐ รวมถึงประเทศเพื่อนบ้าน และมิตร ประเทศทั่วโลกบนพื้นฐานของหลักธรรมาภิบาล เพื่อเอื้ออานวยประโยชน์ ํ ต่อการดําเนินการของยุทธศาสตร์ชาติด้านอื่น ๆ ให้สามารถขับเคลื่อน ไปได้ตามทิศทางและเป้าหมายที่กําหนด


รายงานประจ�ำปี 2566 32 ยุทธศาสตร์ที่ 2 ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน มีเป้าหมายการพัฒนาที่มุ่งเน้นการยกระดับศักยภาพของประเทศใน หลากหลายมิติบนพื้นฐานแนวคิด 3 ประการ ได้แก่ (1) “ต่อยอดอดีต” โดยมองกลับไปที่รากเหง้าทางเศรษฐกิจ อัตลักษณ์วัฒนธรรม ประเพณีวิถีชีวิต และจุดเด่นทางทรัพยากรธรรมชาติที่หลากหลาย รวมทั้งความได้เปรียบ เชิงเปรียบเทียบของประเทศ ในด้านอื่น ๆ นํามาประยุกต์ผสมผสานกับ เทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อให้สอดรับกับบริบทของเศรษฐกิจและสังคม โลกสมัยใหม่ (2) “ปรับปัจจุบัน” เพื่อปูทางสู่อนาคต ผ่านการพัฒนา โครงสร้างพื้นฐานของประเทศในมิติต่าง ๆ ทั้งโครงข่ายระบบคมนาคมและ ขนส่ง โครงสร้างพื้นฐานวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและดิจิทัล และการปรับ สภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมและบริการอนาคต และ (3) “สร้างคุณค่าใหม่ในอนาคต” ด้วยการเพิ่มศักยภาพของผู้ประกอบการ พัฒนาคนรุ่นใหม่ รวมถึงปรับรูปแบบธุรกิจ เพื่อตอบสนองต่อความต้องการ ของตลาด ผสมผสานกับยุทธศาสตร์ที่รองรับอนาคตบนพื้นฐานของ การต่อยอดอดีตและปรับปัจจุบัน พร้อมทั้งการส่งเสริมและสนับสนุนจาก ภาครัฐให้ประเทศไทยสามารถสร้างฐานรายได้และการจ้างงานใหม่ ขยาย โอกาสทางการค้าและการลงทุนในเวทีโลก ควบคู่ไปกับการยกระดับรายได้ และการกินดีอยู่ดีรวมถึงการเพิ่มขึ้นของคนชั้นกลาง และลดความเหลื่อม ล�้ำของคนในประเทศได้ในคราวเดียวกัน ยุทธศาสตร์ที่ 3 ยุทธศาสตร์ชาติด้านการพัฒนาและเสริมสร้าง ศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ มีเป้าหมาย การพัฒนาที่สําคัญเพื่อพัฒนาคน ในทุกมิติและในทุกช่วงวัยให้เป็นคนดี เก่ง และมีคุณภาพ โดยคนไทย มีความพร้อมทั้งกาย ใจ สติปัญญา มีพัฒนาการที่ดีรอบด้านและมีสุขภาวะ ที่ดีในทุกช่วงวัย มีจิตสาธารณะ รับผิดชอบต่อสังคมและผู้อื่น มัธยัสถ์ อดออม โอบอ้อมอารีมีวินัย รักษาศีลธรรม และเป็นพลเมืองดีของชาติ มีหลักคิดที่ถูกต้อง มีทักษะที่จาเป็นในศตวรรษที่ 21 มีทักษะสื่อสารภาษา ํ อังกฤษและภาษาที่สามและอนุรักษ์ภาษาท้องถิ่น มีนิสัยรักการเรียนรู้และ


มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา 33 การพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต สู่การเป็นคนไทยที่มีทักษะสูง เป็นนวัตกร นักคิด ผู้ประกอบการ เกษตรกรยุคใหม่ และอื่น ๆ โดยมี สัมมาชีพตามความถนัดของตนเอง ยุทธศาสตร์ที่ 4 ยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างโอกาสและความเสมอ ภาคทางสังคม มีเป้าหมาย การพัฒนาที่ให้ความสําคัญกับการดึงเอาพลัง ของภาคส่วนต่าง ๆ ทั้งภาคเอกชน ประชาสังคม ชุมชน ท้องถิ่น มาร่วม ขับเคลื่อน โดยการสนับสนุนการรวมตัวของประชาชนในการร่วมคิดร่วมทา ํ เพื่อส่วนรวม การกระจายอํานาจและความรับผิดชอบไปสู่กลไกบริหาร ราชการแผ่นดินในระดับท้องถิ่น การเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน ในการจัดการตนเองและการเตรียมความพร้อมของประชากรไทย ทั้งในมิติ สุขภาพ เศรษฐกิจ สังคมและสภาพแวดล้อมให้เป็นประชากรที่มีคุณภาพ สามารถพึ่งตนเองและทําประโยชน์แก่ครอบครัว ชุมชนและสังคมให้นาน ที่สุด โดยรัฐให้หลักประกันการเข้าถึงบริการและสวัสดิการที่มีคุณภาพ อย่างเป็นธรรมและทั่วถึง


รายงานประจ�ำปี 2566 34 ยุทธศาสตร์ที่ 6 ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการ ภาครัฐ มีเป้าหมายการพัฒนาที่สําคัญเพื่อปรับเปลี่ยนภาครัฐที่ยึดหลัก “ภาครัฐของประชาชนเพื่อประชาชน และประโยชน์ส่วนรวม” โดยภาครัฐ ต้องมีขนาดที่เหมาะสมกับบทบาทภารกิจ แยกแยะบทบาท หน่วยงาน ของรัฐที่ทําหน้าที่ในการกํากับหรือในการให้บริการในระบบเศรษฐกิจที่มี การแข่งขัน มีสมรรถนะสูง ยึดหลักธรรมาภิบาล ปรับวัฒนธรรมการทางานํ ให้มุ่งผลสัมฤทธิ์และผลประโยชน์ส่วนรวม มีความทันสมัยและพร้อม ที่จะปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกอยู่ตลอดเวลา โดยเฉพาะ อย่างยิ่งการนํานวัตกรรม เทคโนโลยีข้อมูลขนาดใหญ่ ระบบการทํางาน ที่เป็นดิจิทัลเข้ามาประยุกต์ใช้อย่างคุ้มค่า และปฏิบัติงานเทียบได้กับ มาตรฐานสากลรวมทั้งมีลักษณะเปิดกว้าง เชื่อมโยงถึงกันและเปิดโอกาส ให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมเพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชน ได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และโปร่งใส โดยทุกภาคส่วนในสังคมต้องร่วม กันปลูกฝังค่านิยมความซื่อสัตย์สุจริต ความมัธยัสถ์และสร้างจิตสํานึกใน การปฏิเสธไม่ยอมรับการทุจริตประพฤติมิชอบอย่างสิ้นเชิง นอกจากนั้น กฎหมายต้องมีความชัดเจน มีเพียงเท่าที่จาเป็น มีความทันสมัย เป็นสากล ํ มีประสิทธิภาพและนําไปสู่การลดความเหลื่อมล�้ำและเอื้อต่อการพัฒนา โดยกระบวนการยุติธรรมมีการบริหารที่มีประสิทธิภาพ เป็นธรรม ไม่เลือก ปฏิบัติและการอํานวยความยุติธรรมตามหลักนิติธรรม


มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา 35 ข้อมูลพื้นฐาน ข้อมูลบุคลากร จ�ำนวนบุคลากรทั้งหมด ปีงบประมาณ 2566 มีบุคลากร จ�ำนวน 620 คน เป็นบุคลากร สายวิชาการ จ�ำนวน 358 คน คิดเป็นร้อยละ 57.74 เป็นบุคลากรสายสนับสนุน จ�ำนวน 262 คน คิดเป็นร้อยละ 42.25 ตารางแสดงจ�ำนวนบุคลากรระหว่างปีงบประมาณ พ.ศ.2562-2565 ประเภท ปี 2562 ปี 2563 ปี 2564 ปี 2565 ปี 2566 สายวิชาการ 326 346 367 323 358 สายสนับสนุน 357 296 256 267 262 รวม 683 642 623 590 620


รายงานประจ�ำปี 2566 36 จ�ำนวนบุคลากรจ�ำแนกตามประเภทบุคลากร ปีงบประมาณ 2566 จ�ำนวนบุคลากรจ�ำแนกตามประเภทบุคลากร ดังนี้ ข้าราชการ จ�ำนวน 62 คน คิดเป็นร้อยละ 10 พนักงานมหาวิทยาลัย จ�ำนวน 414 คน คิดเป็นร้อยละ 66.77 พนักงานราชการ จ�ำนวน 25 คน คิดเป็นร้อยละ 4.03 ลูกจ้างประจ�ำ จ�ำนวน 8 คน คิดเป็นร้อยละ 1.29 พนักงาน สัญญาจ้าง จ�ำนวน 85 คน คิดเป็นร้อยละ 14.35 อาจารย์พิเศษ 26 คน คิดเป็นร้อยละ 4.19 จะเห็นได้ว่าตั้งแต่ปีงบประมาณ 2562 - 2566 นั้นจ�ำนวนบุคลากรภาพรวม ลดลงทุกปี โดยเฉพาะบุคลากรสายสนับสนุนที่มีอัตราที่ลดลง 3 ปีติดต่อกัน ในขณะที่บุคลากรสายวิชาการนั้นเพิ่มขึ้นทุกปียกเว้นปีงบประมาณ 2565 ที่มีอัตราลดลง ทั้งนี้ เป็นไปตามนโยบายตรึงกรอบอัตราก�ำลังของมหาวิทยาลัย แผนภูมิแสดงจ�ำนวนบุคลากรระหว่างประมาณ พ.ศ.2562-2566


มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา 37 ประเภท วิชาการ สนับสนุน รวม ข้าราชการ 57 5 62 พนักงานมหาวิทยาลัย 247 167 414 พนักงานราชการ 11 14 25 ลูกจ้างประจ�ำ 0 8 8 พนักงานสัญญาจ้าง 17 68 85 อาจารย์พิเศษ 26 0 26 รวม 358 262 620 จะเห็นได้ว่าพนักงานมหาวิทยาลัยเป็นประเภทบุคลากรที่มีจ�ำนวนมากที่สุด หรือเป็นบุคลากรหลักของมหาวิทยาลัย รองลงมาคือพนักงานสัญญาจ้างที่มี การต่อสัญญาปีต่อปี เป็นบุคลากรที่ยังไม่มีความมั่นคงจึงอาจมีอัตราการ เข้า-ออกสูง และข้าราชการที่มีอัตราลดลงทุก ๆ ปีจากการเกษียณอายุราชการ การโอนย้าย และการลาออก ตารางแสดงจ�ำนวนบุคลากรจ�ำแนกตามประเภทบุคลากร ปีงบประมาณ 2566 แผนภูมิแสดงอัตราส่วนของบุคลากรจ�ำแนกตามประเภทของบุคลากร พนักงานมหาวิทยาลัย 66.77% พนักงานสัญญาจ้าง 14.35% พนักงานราชการ 4.03% ลูกจ้างประจ�ำ 1.29% ข้าราชการ 10% อาจารย์พิเศษ 4.19%


รายงานประจ�ำปี 2566 38 จ�ำนวนบุคลากรสายวิชาการจ�ำแนกตามต�ำแหน่งทางวิชาการ ปีงบประมาณ 2566 จ�ำนวนบุคลากรสายวิชาการจ�ำนวน 304 คน จ�ำแนก ตามต�ำแหน่งทางวิชาการ ดังนี้ อาจารย์ จ�ำนวน 186 คน คิดเป็นร้อยละ 69.96 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ จ�ำนวน 112 คน คิดเป็นร้อยละ 28.11 รองศาสตราจารย์ จ�ำนวน 6 คน คิดเป็นร้อยละ 1.91 ตารางแสดงต�ำแหน่งวิชาการของบุคลากรทั้งหมด คณะ/สถาบัน/ส�ำนัก อาจารย์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ รวม ข้าราชการ 16 36 5 57 คณะครุศาสตร์ 3 8 1 12 คณะมนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ 6 5 0 11 คณะวิทยาการจัดการ 4 8 4 16 คณะวิทยาศาสตร์ เ ท ค โ น โ ล ยี แ ล ะ การเกษตร 3 15 0 18 พนักงานมหาวิทยาลัย 170 76 1 247 คณะครุศาสตร์ 26 13 0 39 คณะมนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ 54 23 0 77 คณะวิทยาการจัดการ 39 10 0 49 คณะวิทยาศาสตร์ เ ท ค โ น โ ล ยี แ ล ะ การเกษตร 51 30 1 82 รวมทั้งสิ้น 186 112 6 304 ร้อยละ 61.19 36.84 1.97 100.00


มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา 39 จะเห็นได้ว่าปีงบประมาณ 2566 มีบุคลากรสายวิชาการที่มีต�ำแหน่งทาง วิชาการเพียงร้อยละ 38.81 เท่านั้น ซึ่งยังไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานที่ก�ำหนด มหาวิทยาลัยจึงควรส่งเสริมและสนับสนุนบุคลากรสายวิชาการให้มีต�ำแหน่ง ทางวิชาการเพิ่มขึ้น ข้อมูลนักศึกษา ปีการศึกษา 2565 มหาวิทยาลัยมีนักศึกษา จ�ำนวนทั้งสิ้น 9,293 คน จ�ำแนก ตามคณะและระดับการศึกษา ได้ดังนี้ คณะครุศาสตร์ มีจ�ำนวนนักศึกษาทั้งหมด 1,587 คน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มีจ�ำนวนนักศึกษาทั้งหมด 3,799 คน คณะวิทยาการจัดการ มีจ�ำนวนนักศึกษาทั้งหมด 2,239 คน คณะวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและการเกษตร จ�ำนวน 1,668 คน ตารางแสดงจ�ำนวนนักศึกษาทั้งหมดในปีการศึกษา 2561-2565 คณะ ปี 2561 ปี 2562 ปี 2563 ปี 2564 ปี 2565 ครุศาสตร์ 942 842 1,189 1,507 1,587 วิทยาศาสตร์ 1,808 1,401 1,688 1,757 1,668 มนุษยศาสตร์ 3,065 2,679 3,377 3,780 3,799 วิทยาการจัดการ 2,132 2,139 2,295 2,468 2,239 รวม 7,947 7,061 8,549 9,512 9,293 แผนภูมิแสดงต�ำแหน่งทางวิชาการของบุคลากร ปีงบประมาณ 2566 อาจารย์ 61.19% ผู้ช่วยศาสตราจารย์ 36.84% รองศาสตราจารย์ 1.97%


รายงานประจ�ำปี 2566 40 จะเห็นได้ว่า จ�ำนวนนักศึกษาในระหว่าง ปีการศึกษา 2562 - 2564 นั้น จ�ำนวนนักศึกษาเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ในปีการศึกษา 2565 จ�ำนวนนักศีกษา ลดลงอย่างเห็นได้ชัดประมาณร้อยละ 10 จากปีการศึกษา 2564 มหาวิทยาลัย จึงควรตระหนัก เนื่องจากแนวโน้มจ�ำนวนนักศึกษาทั้งในประเทศและ ต่างประเทศมีอัตราที่ลดลงอย่างมีนัยส�ำคัญ ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยได้เตรียม วางแผนในการรับมือกับสถานการณ์ดังกล่าวที่อาจเกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม เช่น การท�ำความร่วมมือกับวิทยาลัยชุมชนจังหวัดยะลา และวิทยาลัยชุมชน ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ท�ำความร่วมมือกับวิทยาลัยอาชีวศึกษายะลา เพื่อรับนักศึกษาต่อเนื่องมาเรียนระดับปริญญาตรี รวมถึงมหาวิทยาลัย มีการพัฒนาและปรับปรุงหลักสูตรใหม่ ๆ ที่ตอบสนองความต้องการ ของตลาดแรงงานด้วย แผนภูมิแสดงจ�ำนวนนักศึกษาระหว่างปีการศึกษา 2561 - 2565


มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา 41 ข้อมูลหลักสูตร ปีการศึกษา 2565 มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลามีหลักสูตรที่เปิดสอน ทั้งหมด จ�ำนวน 55 หลักสูตร เป็นหลักสูตรระดับปริญญาตรี จ�ำนวน 51 หลักสูตร หลักสูตรระดับปริญญาโท จ�ำนวน 3 หลักสูตร และหลักสูตรระดับ ปริญญาเอก จ�ำนวน 1 หลักสูตร จะเห็นได้ว่ามหาวิทยาลัยยังคงเปิดสอนในระดับปริญญาตรีเป็นหลัก ซึ่งจากสถานการณ์โลกที่เปลี่ยนไปนั้น ผู้รับบริการมีแนวโน้มเปลี่ยนรูปแบบ ในการศึกษา หาความรู้ เช่น การศึกษาหาความรู้ในหลักสูตรระยะสั้นที่มีความสนใจ และเน้นในการพัฒนาสมรรถนะหรือทักษะในแต่ละด้านโดยเฉพาะ เนื่องจาก สถานประกอบการปัจจุบันเริ่มมีแนวโน้มรับพนักงานที่มีทักษะเฉพาะด้าน มากกว่าการสนใจใบปริญญา และชนวัยแรงงานเริ่มสร้างอาชีพด้วยตนเอง มากกว่าการเข้าท�ำงานในหน่วยงาน มหาวิทยาลัยจึงควรเร่งปรับตัวในการพัฒนา หลักสูตรระยะสั้น เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น แผนภูมิแสดงหลักสูตรที่เปิดสอนทั้งหมด


รายงานประจ�ำปี 2566 42 ข้อมูลอาคารสถานที่ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ตั้งอยู่เลขที่ 133 ถนนเทศบาล 3 ต�ำบลสะเตง อ�ำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา โดยมีเนื้อที่ทั้งหมด จ�ำนวน 110 ไร่ 2 งาน 74 ตารางวา เนื้อที่ทั้งหมดแบ่งออกเป็นอาคารเรียนและอาคารประกอบ ดังนี้ ประเภท จ�ำนวน ห้อง 1. อาคารเรียน อาคารเรียน 1 11 อาคารเรียน 3 วิทยาศาสตร์ฮาลาล 1 อาคารเรียน 4 สถาบันวิจัยและพัฒนาชายแดนใต้ 9 อาคารเรียน 5 คณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร 3 อาคารเรียน 6 สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ 1 อาคาร 10 A และ B สาขาวิชาศิลปะ 5 อาคารเรียน 15 สาขาวิชาเกษตรศาสตร์ และสาขาวิชาสัตวศาสตร์ 2 อาคารเรียน 16 สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร 3 อาคาร 17 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ฝ่ายประถมศึกษา 2 อาคารเรียน 18 อาคารเรียนวิชาศึกษาทั่วไป 4 อาคารเรียน 20 อาคารเฉลิมพระเกียรติ 50 พรรษา มหาวชิราลงกรณ 40 อาคาร 23 คณะวิทยาการจัดการ 16 อาคาร 24 อาคารสังคมสงเคราะห์ 18 อาคาร 25 อาคารเทคโนโลยีสารสนเทศ 2. อาคารประกอบ (ห้องประชุม หอพัก และอื่น ๆ) หอประชุมเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 1 หอประชุมเล็ก 1 อาคารประกอบ 1 1


มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา 43 ประเภท จ�ำนวน ห้อง อาคารประกอบ 2 1 ห้องประชุมกาน เฉ่า 1 ห้องประชุมติง เซียง 1 ห้องประชุมเซอรา 1 ห้องมังกีส 1 ห้องนังกา 1 ห้องประชุมซาลัด (400 ที่นั่ง) 1 ห้องประชุมหลาน ซา 1 ห้องประชุมลาดา 1 ห้องประชุมกลาดี 1 ห้องประชุมเวิ่ง ช่าย 1 ห้องประชุมสุ่ย เจีย 1 ห้องประชุม หยางถาว (วิทยาการจัดการ) 1 ห้องประชุมหลิว เหลียน 1 ห้องประชุมปิง หลาง ชิง (50 ที่นั่ง) 1 ห้องประชุมซานถัวร์ (20 ที่นั่ง) 1 ห้องประชุมนานัส 1 ห้องประชุม 1 คณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร 1 ห้องประชุม 2 คณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร 1 ห้องประชุมกะมูดู (IT) 1 ห้องประชุมจ�ำปูรี (สังคม) 1 ห้องประชุมบาราแง (สังคม) 1 อาคารศูนย์แสดงและจ�ำหน่ายสินค้า (YRU Fresh mart) 1


รายงานประจ�ำปี 2566 44 ประเภท จ�ำนวน ห้อง ห้องประชุมส�ำนักงานคณะ (10 ที่นั่ง) วจก. 1 ห้องประชุมเซียน ตาน ฮวา 1 3. ห้องปฏิบัติการ 3.1 อาคารเทคโนโลยีสารสนเทศ ห้องปฏิบัติการด้านคอมพิวเตอร์ 14 ห้องปฏิบัติการด้านศูนย์ภาษา 8 3.2 ศูนย์วิทยาศาสตร์ ห้องปฏิบัติการเคมีวิเคราะห์ 1 ห้องปฏิบัติการเคมีทั่วไป 1 ห้องปฏิบัติการเคมีอินทรีย์ 1 ห้องปฏิบัติการเคมีอนินทรีย์ 1 ห้องปฏิบัติการวิจัยทางเคมี2 1 ห้องปฏิบัติการวิจัยทางเคมี1 1 ห้องปฏิบัติการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช 4 ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม 1 ห้องบริการน�้ำกลั่น 1 ห้องปฏิบัติการมาตรฐานทางวิทยาศาสตร์ 1 ห้องปฏิบัติการเคมีวิเคราะห์ 1 ห้องฝึกอบรมบริการวิชาการ 1 ห้องตรวจวิเคราะห์ตัวอย่างทางจุลินทรีย์ 1 ห้องเตรียมสารเคมีและสารอาหารเลี้ยงเชื้อ 1 ห้องปฏิบัติการมาตรฐานทางฟิสิกส์ 1


มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา 45 ประเภท จ�ำนวน ห้อง ห้องปฏิบัติการ GC-MS 1 ห้องปฏิบัติการ FT-IR 1 ห้องตรวจวิเคราะห์ตัวอย่างทางจุลินทรีย์ 1 ห้องเครื่องมือทางชีววิทยา 1 3.3 คณะครุศาสตร์ ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ 2 ห้องปฏิบัติการตัดต่อภาพ 1 ห้องปฏิบัติบัติการเทคโนโลยี 1 ห้องปฏิบัติการผลิตสื่อปฐมวัย 1 ห้องปฏิบัติการผลิตสื่อประถม 1 ห้องปฏิบัติการผลิตสื่อการสอน 1 ห้องปฏิบัติการไมโครทีชิ่ง (ห้องช่วยสอน) 1 ห้องปฏิบัติการด้านโภชนาการ 1 3.4 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ห้องปฏิบัติการสาขาวิชา 3 ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ 3 3.5 คณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ 7 ห้องปฏิบัติการสุขภาพและความงาม 3 ห้องปฏิบัติการดูแลผู้สูงอายุ 1 ศูนย์การเรียนรู้ด้านการแพทย์วิถีไทย 1 ห้องปฏิบัติการแปรรูป 1


รายงานประจ�ำปี 2566 46 ประเภท จ�ำนวน ห้อง ห้องปฏิบัติการเครื่องพิเศษ 1 ห้องปฏิบัติการเคมี 1 ห้องปฏิบัติการจุลชีวอาหาร 1 ห้องปฏิบัติการฮาลาล 1 ห้องปฏิบัติการ sensiry 1 ห้องปฏิบัติการสรีรวิทยาทางสัตว์ แม่ลาน 1 ห้องปฏิบัติการโภชนศาสตร์สัตว์ (แม่ลาน) 1 ห้องปฏิบัติการทางด้านสัตว์ปีก แม่ลาน 1 ห้องปฏิบัติการทางด้านสัตว์เคี้ยวเอื้อง (แม่ลาน) 1 ห้องปฏิบัติการปฐพีวิทยา แม่ลาน 1 ห้องปฏิบัติการเห็ดและการผลิตเห็ด (แม่ลาน) 1 ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม 1 ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม 1 ห้องปฏิบัติการคณิตศาสตร์ 1 3.6 คณะวิทยาการจัดการ ห้องฉายภาพยนตร์ 1 ห้องปฏิบัติการสตูดิโอ (นิเทศศาสตร์) 1 ห้องปฏิบัติการวิทยุ (นิเทศศาสตร์) 1 ห้องปฏิบัติการอัดเสียงและตัดต่อ (นิเทศศาสตร์) 1 ห้องปฏิบัติการตลาดหุ้นจ�ำลอง 1 ห้องปฏิบัติการด้านวิชาชีพบัญชี 1 ห้องปฏิบัติการท่องเที่ยว 1 ห้องปฏิบัติการค้าปลีกสมัยใหม่ (YRU Biz) 1


มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา 47 ประเภท จ�ำนวน ห้อง ห้องประชุมปฏิบัติการ (60 ที่นั่ง) 1 ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ 1 ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ 1 ห้องปฏิบัติการนวัตกรรม (25 ที่นั่ง) 1 ศูนย์วิทยาศาสตร์การกีฬาเพื่อสุขภาพ 1 3.8 อาคาร @Inn YRU (ปฏิบัติการด้านโรงแรม) 1 3.9 อาคาร YRU Freshmart 1


รายงานประจ�ำปี 2566 48


Click to View FlipBook Version