The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

รวมคำพิพากษาศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษ แผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by achirapong.art, 2022-09-22 05:57:14

รวมคำพิพากษาศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษ แผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ

รวมคำพิพากษาศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษ แผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ

หลักเกณฑตามที่บัญญัติไวในพระราชบัญญัติเครื่องหมายการคา พ.ศ. ๒๕๓๔ แตอยางใด
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๙๖ (๑) แหงพระราชบัญญัติเครื่องหมายการคา พ.ศ. ๒๕๓๔
แกไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติเครื่องหมายการคา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๓ คณะกรรมการ
เครอ่ื งหมายการคาจงึ มีมติในการประชุมครัง้ ท่ี ๒๕/๒๕๖๑ เมือ่ วันท่ี ๕ เมษายน ๒๕๖๑ ยนื ตาม
คำสง่ั ปฏเิ สธของนายทะเบยี นเครอ่ื งหมายการคา รายละเอยี ดปรากฏตามสำเนาคำวนิ จิ ฉยั อทุ ธรณ
ของคณะกรรมการเครอ่ื งหมายการคา ท่ี ๖๗๓/๒๕๖๑ พรอ มสำเนาหนงั สอื แจง คำวนิ จิ ฉยั อทุ ธรณ

คดมี ปี ญ หาตอ งวนิ จิ ฉยั ตามอทุ ธรณข องโจทกใ นประการแรกวา เครอ่ื งหมายการคา คำวา
“HI-PERF” ตามคำขอเลขท่ี ๙๓๒๐๙๓ ซง่ึ ใชก บั สนิ คา ในจำพวกท่ี ๔ ทไ่ี ดม กี ารแกไ ขแลว รายการ
สินคา น้ำมันหลอลน่ื ทีใ่ ชใ นอุตสาหกรรม จาระบี น้ำมนั หลอ ล่นื กา ซทเ่ี ปน เช้ือเพลิงเหลว กา ซที่
เปน เชอ้ื เพลงิ แขง็ กา ซทเ่ี ปน เชอ้ื เพลงิ นำ้ มนั เครอ่ื งยนต สารเตมิ ในนำ้ มนั หลอ ลน่ื ทไ่ี มใ ชส ารเคมี
สารเตมิ ในนำ้ มนั เชอ้ื เพลงิ สำหรบั เครอ่ื งยนตท ไ่ี มใ ชส ารเคมี สารเตมิ ในนำ้ มนั เชอ้ื เพลงิ ทไ่ี มใ ชส าร
เคมี มลี กั ษณะบง เฉพาะหรอื ไม เหน็ วา แมค ำวา “HI-PERF” จะเปน คำประดษิ ฐซ ง่ึ ไมม คี วามหมาย
ใด ๆ ก็ตาม แตคำดังกลาวประกอบไปดวยคำสองคำไดแก คำวา “HI” และคำวา “PERF” ซึ่ง
แตล ะคำอาจสอ่ื ความหมายอนั ทำใหส าธารณชนทว่ั ไปเขา ใจถงึ ความหมายของคำสองคำทน่ี ำมา
ใชป ระกอบกนั ได แมค ำทง้ั สองจะมคี วามหมายหลากหลายนยั ดงั ทโ่ี จทกอ ทุ ธรณ แตค วามหมาย
อน่ื ๆ ทโ่ี จทกอ า งมานน้ั ไมไ ดม คี วามหมายธรรมดาทบ่ี คุ คลทว่ั ไปจะเขา ใจไดห รอื เปน คำทร่ี จู กั กนั
ความหมายสำคัญที่สามารถจะสื่อสารหรือทำใหเขาใจกันไดมากกวาคำอื่น คือคำวา “High
Performance” ซึ่งแปลวา สมรรถนะสูง แมโจทกจะอุทธรณตอไปวา ความหมายนี้ไมไดทำใหรู
หรอื เขา ใจไดใ นทนั ทโี ดยไมต อ งจนิ ตนาการ (No Imagination Rule) วา สนิ คา ภายใตเ ครอ่ื งหมาย
การคาดังกลา วเปน สินคาใด มีลักษณะหรอื คณุ สมบตั เิ ชนใด แตม เี พยี งความหมายในเชิงแนะนำ
(Suggestive) ใหตองมีการจินตนาการวาสินคาใดที่มีประสิทธิภาพสูง ซึ่งอาจเปนสินคาใน
รปู แบบใดกไ็ ด ไมใ ชเ ฉพาะสนิ คา นำ้ มนั หลอ ลน่ื หรอื กา ซเชอ้ื เพลง ซง่ึ ในปญ หาน้ี เมอ่ื พจิ ารณาแลว
คำวา “High Performance” หรอื “ประสทิ ธภิ าพสงู หรอื สมรรถนะสงู ” เปน คำทอ่ี ธบิ ายโดยเฉพาะ
ถึงคุณภาพหรือการทำงานที่ดีหรือโดดเดน (Positive or Appealing Quality or Function) ของ
สินคานั้น ๆ โดยไมมีประเด็นเจาะจงวาจะตองเปนสินคาชนิดหนึ่งชนิดใดดังที่โจทกอุทธรณ
เนอ่ื งจากความหมายของคำนเ้ี ปน คำทว่ั ไปทส่ี อ่ื ถงึ คณุ สมบตั ขิ องสนิ คา โดยตรง ไมว า จะเปน สนิ คา
แบบใด สำหรับสินคาของโจทกซึ่งเปนสินคาประเภทที่ใชกับเครื่องยนตและยานพาหนะ ดังนั้น
คำวา “High Performance” หรือความมีประสิทธิภาพสูงหรือสมรรถนะสูง จึงสื่อความหมายวา
น้ำมันหลอลื่นหรือกาซเชื้อเพลิง โดยเฉพาะสารเติมในน้ำมันหลอลื่นหรือน้ำมันเชื้อเพลิงอันเปน

๔๑

สินคาของโจทกมีคุณภาพดี มีประสิทธิภาพสูงหรือสมรรถนะสูง หรือทำใหเครื่องยนตหรือ
ยานพาหนะทใ่ี ชสินคา นัน้ มสี มรรถนะสงู ซ่งึ ก็ไมพ น ไปจากความหมายท่แี สดงวา สนิ คา ของโจทก
มีคุณภาพดีนั่นเอง ลูกคาหรือผูบริโภคที่ใชสินคาของโจทกยอมรูและเขาใจไดทันทีและตรง ๆ
(Immediate and direct) ถึงคุณสมบัติของสินคาวาเปนอยางไร ไมจำตองใชจิตนาการใด ๆ อีก
ประกอบกับเมื่อพิจารณาพฤติการณการใชเครื่องหมายการคาของโจทก ก็ไดความวาโจทกมี
เครื่องหมายการคาหลักที่ใชอยูแพรหลายทั่วไปแลว คือ เครื่องหมายการคาคำวา “TOTAL”
หรอื หรอื แตเ มอ่ื โจทกน ำมาใชก บั สนิ คา ทเ่ี กย่ี วขอ งกบั นำ้ มนั หลอ ลน่ื หรอื กา ซเชอ้ื เพลงิ
โจทกกใ็ ชค ำวา “HI-PREF” คกู บั เคร่อื งหมายหลักของโจทก ดงั น้ี
ลกั ษณะของการใชเ ครอ่ื งหมายการคา เชน นแ้ี สดงใหเ หน็ ไดถ งึ เจตนาของการใชค ำวา “HI-PERF”
ในเชิงอธิบายถึงคุณสมบัติของสินคามากกวา ดังนั้น เมื่อคำวา “HI-PERF” สื่อความหมายถึง
“High Performance” ซง่ึ เปน คำทอ่ี ธบิ ายถงึ คณุ สมบตั ขิ องสนิ คา คำดงั กลา วจงึ ไมส ามารถแยกแยะ
ใหเห็นวา สินคานั้น ๆ แตกตางไปจากสินคาอื่น ๆ อยางไร ประชาชนหรือผูใชสินคายอมทราบ
และเขาใจเพียงวา สินคาที่ใชเครื่องหมายการคาดังกลาวมีความหมายวาสมรรถนะสูงแตกตาง
ไปจากสนิ คา อน่ื เครอ่ื งหมายการคา คำวา “HI-PERF” ตามคำขอเลขท่ี ๙๓๒๐๙๓ ซง่ึ ใชก บั สนิ คา
จำพวกที่ ๔ รายการสินคาน้ำมันหลอลื่นที่ใชในอุตสาหกรรม จาระบี น้ำมันหลอลื่น กาซที่เปน
เชื้อเพลิงเหลว กาซที่เปนเชื้อเพลิงแข็ง กาซที่เปนเชื้อเพลิง น้ำมันเครื่องยนต สารเติมในน้ำมัน
หลอลื่นที่ไมใชสารเคมี สารเติมในน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับเครื่องยนตที่ไมใชสารเคมี สารเติมใน
นำ้ มนั เชอ้ื เพลงิ ทไ่ี มใ ชส ารเคมี จงึ ไมม ลี กั ษณะบง เฉพาะ ตามมาตรา ๗ วรรคหนง่ึ และวรรคสอง (๒)
แหง พระราชบญั ญตั เิ ครือ่ งหมายการคา พ.ศ. ๒๕๓๔ อุทธรณข องโจทกฟง ไมขน้ึ

คดีมีปญหาตองวินิจฉัยตามอุทธรณของโจทกในประการตอมาวา เครื่องหมายการคา
คำวา “HI-PERF” เปน เครอ่ื งหมายทม่ี กี ารจำหนา ย เผยแพร หรอื โฆษณาในสนิ คา ทใ่ี ชเ ครอ่ื งหมาย
นนั้ จนแพรห ลาย อนั ใหถือวา มลี กั ษณะบง เฉพาะหรือไม เห็นวา ตามประกาศกระทรวงพาณชิ ย
เรื่อง หลักเกณฑการพิสูจนลักษณะบงเฉพาะตามมาตรา ๗ วรรคสาม แหงพระราชบัญญัติ
เครอ่ื งหมายการคา พ.ศ. ๒๕๓๔ แกไ ขเพม่ิ เตมิ โดยพระราชบญั ญตั เิ ครอ่ื งหมายการคา (ฉบบั ท่ี ๒)
พ.ศ. ๒๕๔๓ ในขอ ๒ และขอ ๓ ของประกาศฉบับดังกลาว โจทกตองพิสูจนใหเห็นไดวา มีการ
จำหนา ย เผยแพร หรือโฆษณาสินคาภายใตเคร่ืองหมายการคาคำวา “HI-PERF” อยางตอเน่ือง
เปนระยะเวลานานพอสมควร จนทำใหสาธารณชนทั่วไปหรือสาธารณชนในสาขาที่เกี่ยวของใน
ประเทศไทยรจู กั และเขา ใจวา สนิ คา ของโจทกแ ตกตา งไปจากสนิ คา หรอื บรกิ ารอน่ื แตจ ากหลกั ฐาน
ที่ซึ่งโจทกไดนำสืบถึงการโฆษณาสินคาทางเว็บไซตหลักของโจทก https://www.total.com,

๔๒

https://www.lubricants.total.com และ https://www.total.com/en/worldwide-presence รวมทง้ั
เวบ็ ไซตข องบรษิ ทั โททาล ออยล (ประเทศไทย) จำกดั ซง่ึ เปน บรษิ ทั สาขาของโจทกใ นประเทศไทย
ที่กอตั้งมากวา ๓๐ ป มีทุนจดทะเบียนมากถึงหนึ่งรอยลานบาทและเปนผูดูแลดานการโฆษณา
การตลาดใหแ กโ จทกใ นประเทศไทย ตามเวบ็ ไซต https://www.total.co.th/th, https://tota.co.th/
en/product/automitive-lubricants/motorcycles/total-“HI-PERF” และการทำแผนโฆษณา
ภาพถา ยรา นคา ทจ่ี ำหนา ยสนิ คา ของโจทก เหน็ ไดว า เครอ่ื งหมายการคา ของโจทกท ร่ี จู กั กนั เปน ท่ี
แพรหลายและปรากฏอยูในการโฆษณาประชาสัมพันธต ามหลักฐานท้ังหมดที่โจทกนำสืบมานั้น
คือ เครื่องหมายการคาคำวา “TOTAL” หรือ หรือ ซึ่งเปนเครื่องหมายหลัก (Parent
Brand) ของโจทก ในขณะเดยี วกนั โจทกก ใ็ ชเ ครอ่ื งหมายรอง (Sub-Brand) กบั สนิ คา แตล ะประเภท
เพอ่ื อธบิ ายการใชง านดว ย ดงั จะเหน็ ไดว า โจทกใ ชเ ครอ่ื งหมายรองหลายเครอ่ื งหมาย เชน “QUARTZ”
หรอื “27 MAX multi” หรอื “RUBIA” หรอื “FLUIDMATIC” หรอื “TRANSMISSION” หรอื “HBF3”
หรือเครื่องหมายรองในคดีนี้ คือ “HI-PERF” โดยโจทกใชเครื่องหมายหลักกับเครื่องหมาย
รองควบคูกันไป (Dual Branding) เสมอ สำหรับในคดีนี้ โจทกใชเครื่องหมายควบคูกัน
ดงั น้ี การใชเ ครอ่ื งหมายการคา ทม่ี ลี กั ษณะดงั กลา วเปน การใช
เครอ่ื งหมายหลกั กบั สนิ คา จำพวกเดยี วกนั (เกย่ี วกบั นำ้ มนั เครอ่ื งและนำ้ มนั หลอ ลน่ื ) ทห่ี ลากหลาย
ประเภทการใชงาน (Umbrella Branding) สาธารณชนยอมรูจักและเขาใจไดวาสินคาของ
โจทกมีเครื่องหมายการคาคำวา “TOTAL” หรือ หรอื เปนเครื่องหมายการคาหลักท่ี
แสดงความแตกตางของสินคาของโจทกจากสินคาของผูอื่น สวนเครื่องหมายรองเปนการแยก
สินคาแตละประเภทการใชงานของโจทกเทานั้น ดังนั้นเครื่องหมายคำวา “HI-PERF” ซึ่งเปน
เครอ่ื งหมายรองจงึ ไมไ ดท ำหนา ทแ่ี ยกแยะใหส าธารณชนทว่ั ไปรจู กั และเขา ใจไดว า เปน สนิ คา ของ
โจทกต า งไปจากสนิ คา ของผอู น่ื อยา งแทจ รงิ ดงั นน้ั แมโ จทกจ ะมกี ารโฆษณาประชาสมั พนั ธส นิ คา
ของโจทกใ นเวบ็ ไซตต า ง ๆ ทท่ี ำใหส าธารณชนเขา ถงึ ไดท ว่ั โลก หรอื จะมยี อดขายสนิ คา ของโจทก
ในประเทศไทยผานบริษัทในเครือและผูจัดจำหนายทั่วภูมิภาคของประเทศไทยตั้งแตป ๒๕๕๖
จำนวน ๑๗๕,๐๐๐ ดอลลารสหรัฐ และเพิ่มขึ้นในป ๒๕๖๑ เปนเงิน ๒๘๐,๐๐๐ ดอลลารสหรัฐ
ก็ตาม ก็ยังไมอาจทำใหรับฟงไดวา เครื่องหมายการคาคำวา “HI-PERF” เปนเครื่องหมายที่มี
การจำหนา ย เผยแพรห รอื โฆษณาในสนิ คา ทใ่ี ชเ ครอ่ื งหมายนน้ั จนแพรห ลาย จนทำใหส าธารณชน
ทั่วไปหรือสาธารณชนในสาขาที่เกี่ยวของในประเทศไทยรูจักและเขาใจวาสินคาของโจทกที่ใช
เครื่องหมายการคาคำวา “HI-PERF” แตกตางไปจากสินคาอื่น กรณีจึงไมถือวาเครื่องหมายนี้มี

๔๓

ลกั ษณะบง เฉพาะทจ่ี ะรบั จดทะเบยี นไดท ศ่ี าลทรพั ยส นิ ทางปญ ญาและการคา ระหวา งประเทศกลาง
พพิ ากษามานน้ั ตอ งดวยความเหน็ ของศาลอุทธรณค ดชี ำนัญพเิ ศษ อทุ ธรณข องโจทกฟง ไมขึน้

พพิ ากษายืน คาฤชาธรรมเนยี มช้ันอุทธรณใ หเ ปน พบั .
(จกั รกฤษณ เจนเจษฎา - พัฒนไชย ยอดพยุง - จมุ พล ภิญโญสนิ วฒั น)

ธนวรรณ นราวิรยิ ะกลุ - ยอ
นิภา ชัยเจรญิ - ตรวจ

หมายเหตุ คดีถงึ ท่สี ุด

๔๔

คำพิพากษาศาลอทุ ธรณคดชี ำนัญพเิ ศษที่ ๖๙ - ๗๐/๒๕๖๕ เอชพี ฮิวเล็ตต แพ็คการด กรุป

แอลแอลซี กับพวก โจทก

กรมทรพั ยส ินทางปญ ญา

กบั พวก จำเลย

พ.ร.บ. เครอ่ื งหมายการคา พ.ศ. ๒๕๓๔ มาตรา ๖, ๗, ๘๐

ในการพิจารณาวาเครื่องหมายการคาหรือเครื่องหมายบริการใดมีลักษณะ

บง เฉพาะหรอื ไมน น้ั ตอ งพจิ ารณาจากความรบั รขู องประชาชนหรอื ผใู ชส นิ คา หรอื บรกิ าร

นน้ั วา เครอ่ื งหมายการคา หรอื เครอ่ื งหมายบรกิ ารนน้ั มลี กั ษณะทท่ี ำใหป ระชาชนหรอื ผใู ช

สินคาหรือบริการทราบและเขาใจไดวาสินคาที่ใชเครื่องหมายการคาหรือเครื่องหมาย

บริการนั้นแตกตางไปจากสินคาอื่น สำหรับเครื่องหมายการคาและเครื่องหมายบริการ

ของโจทกทั้งสอง รูป มีลักษณะรูปทรงเรขาคณิตซึ่งมองเห็นไดวามาจากรูปทรง

สี่เหลี่ยมผืนผา โดยนำความหนารวมถึงสีมาใช เพื่อทำใหเกิดความแตกตาง โดยไมได

เปลี่ยนแปลงไปจากรปู ทรงเรขาคณติ ดังกลา ว ซง่ึ เปนความแตกตา งเพียงเลก็ นอย ไมถงึ

ขนาดที่จะทำใหสาธารณชนเห็นไดถึงความแตกตางกับรูปทรงเรขาคณิตอื่นทั่ว ๆ ไป

อนั จะถอื ไดว า เปน ภาพทป่ี ระดษิ ฐข น้ึ อกี ทง้ั ภาพประดษิ ฐใ นลกั ษณะทม่ี เี สน ขอบหนาเพม่ิ ขน้ึ

เชนนี้ไมมีลักษณะโดดเดนเปนเอกลักษณอยางใดในอันที่จะทำใหสาธารณชนหรือ

ผูใ ชส ินคา หรอื บรกิ ารจดจำหรอื แยกแยะความแตกตางระหวางสินคาหรอื บรกิ ารได โดย

เฉพาะหากนำไปใชโดยลำพัง ดังนี้ รูป จึงไมมีลักษณะบงเฉพาะตามมาตรา ๗

วรรคสอง (๖) และมาตรา ๗ วรรคหนง่ึ แหง พ.ร.บ. เครอ่ื งหมายการคา พ.ศ. ๒๕๓๔ แกไ ข

เพิ่มเติมโดย พ.ร.บ. เครื่องหมายการคา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๓ คำสั่งของนายทะเบียน

เครื่องหมายการคาที่สั่งใหแสดงปฏิเสธวาไมขอถือเปนสิทธิของตนแตผูเดียวในอันที่

จะใชรูป ในเครื่องหมายการคาและเครื่องหมายบริการพิพาทตามมาตรา ๑๗

แหง พ.ร.บ. เครอ่ื งหมายการคา พ.ศ. ๒๕๓๔ จึงชอบแลว

อกั ษรโรมนั HPE ซ่งึ เปนภาคสวนหน่ึงของเคร่อื งหมายการคาและเครื่องหมาย

บริการ เปนการนำอักษรโรมันที่เปนพยัญชนะตนของคำวา Hewlett Packard

Enterprise มาใชร ว มกนั ลักษณะการนำอกั ษรโรมันทเ่ี ปน พยัญชนะตวั แรกของแตละคำ

มาเรียงตอกันจนเกิดเปนคำใหมเชนนี้เปนการใชความนึกคิดหรือจินตนาการของโจทก

ท่ี ๑ ทจ่ี ะคดิ ประดษิ ฐค ำดงั กลา ว ถอื ไดว า เปน คำทป่ี ระดษิ ฐข น้ึ แมอ กั ษรโรมนั H, P และ E

๔๕

ดังกลาวเปนเพียงอักษรโรมันตัวพิมพใหญทั่วไป ไมใชอักษรโรมันที่มีลักษณะประดิษฐ
เปนพิเศษก็ตาม ดังนี้ ภาคสวนอักษรโรมัน HPE จึงมีลักษณะบงเฉพาะตามมาตรา ๗
วรรคสอง (๓) แหง พ.ร.บ. เครื่องหมายการคา พ.ศ. ๒๕๓๔ แกไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.
เครอื่ งหมายการคา (ฉบบั ท่ี ๒) พ.ศ. ๒๕๔๓

สว นทจ่ี ำเลยทง้ั สองอทุ ธรณว า เครอ่ื งหมายการคา และเครอ่ื งหมายบรกิ ารทโ่ี จทก
ทง้ั สองยน่ื คำขอจดทะเบยี นไมม ลี กั ษณะบง เฉพาะอนั เกดิ จากการใชจ นแพรห ลายแลว นน้ั
เห็นวา ศาลทรัพยสินทางปญญาและการคาระหวางประเทศกลางมิไดวินิจฉัยประเด็น
ขอนี้ใหตามขอกลาวอางในคำฟองของโจทกทั้งสอง และโจทกทั้งสองยื่นคำแกอุทธรณ
วา คดไี มม ปี ระเดน็ ขอ พพิ าทในเรอ่ื งน้ี ซง่ึ เทา กบั โจทกท ง้ั สองสละประเดน็ ขอ นแ้ี ลว จำเลย
ทง้ั สองไมไ ดถ กู โตแ ยง สทิ ธิ จำเลยทง้ั สองจงึ ไมม สี ทิ ธอิ ทุ ธรณ ศาลอทุ ธรณค ดชี ำนญั พเิ ศษ
ไมรบั วินิจฉยั

______________________________

คดีสองสำนวนนี้ ศาลทรัพยสินทางปญญาและการคาระหวางประเทศกลางพิจารณา

พพิ ากษาคดรี วมกนั โดยใหเ รยี กโจทกใ นสำนวนแรกวา โจทกท ่ี ๑ โจทกใ นสำนวนหลงั วา โจทกท ่ี ๒

และเรยี กจำเลยท่ี ๑ และที่ ๒ ทงั้ สองสำนวนวาจำเลยที่ ๑ และที่ ๒ ตามลำดับ

ในสำนวนแรก โจทกท ่ี ๑ ฟอ ง ขอใหเ พกิ ถอนคำสง่ั ของนายทะเบยี นเครอ่ื งหมายการคา

ที่สั่งใหโจทกแสดงปฏิเสธวาไมขอถือเปนสิทธิของตนแตผูเดียวในอันที่จะใชรูปสี่เหลี่ยมผืนผา

ประดิษฐใ นเคร่อื งหมายการคาและเครือ่ งหมายบริการ , และ

และทส่ี ง่ั ปฏเิ สธการรบั จดทะเบยี นเครอ่ื งหมายการคา และเครอ่ื งหมายบรกิ าร ของโจทกท ่ี ๑

เพิกถอนคำวินิจฉัยอุทธรณของคณะกรรมการเครื่องหมายการคาที่วินิจฉัยยืนตามคำสั่งของ

นายทะเบยี นเครอ่ื งหมายการคา ทใ่ี หโ จทกท ่ี ๑ แสดงปฏเิ สธวา ไมข อถอื เปน สทิ ธขิ องตนแตผ เู ดยี วในอนั ท่ี

จะใชร ปู สี่เหล่ยี มผืนผาในเคร่อื งหมายการคา และเคร่ืองหมายบริการ ,

และ รวมทัง้ เพกิ ถอนคำวินิจฉัยอุทธรณข องคณะกรรมการเครือ่ งหมายการคาทวี่ นิ ิจฉัย

ยืนตามคำสั่งปฏิเสธของนายทะเบียนเครื่องหมายการคามิใหรับจดทะเบียนเครื่องหมายการคา

และเครอ่ื งหมายบรกิ าร ของโจทกท ่ี ๑ และใหจ ำเลยท่ี ๑ ดำเนนิ การเกย่ี วกบั คำขอจดทะเบยี น

เครอ่ื งหมายการคา และเครอ่ื งหมายบรกิ ารตามคำขอตา ง ๆ รวม ๓๒ คำขอ ของโจทกท ่ี ๑ ตอ ไป

ในสำนวนแรก จำเลยท้ังสองใหการ ขอใหยกฟอ ง

ในสำนวนหลงั โจทกท ่ี ๒ ฟอ ง ขอใหเ พกิ ถอนคำสง่ั ของนายทะเบยี นเครอ่ื งหมายการคา

ที่ปฏิเสธการรับจดทะเบียนเครื่องหมายการคาและเครื่องหมายบริการ ของโจทกที่ ๒

๔๖

เพิกถอนคำวินิจฉัยของคณะกรรมการเครื่องหมายการคาที่วินิจฉัยยืนตามคำสั่งปฏิเสธของ

นายทะเบยี นเครอ่ื งหมายการคา มใิ หร บั จดทะเบยี นเครอ่ื งหมายการคา และเครอ่ื งหมายบรกิ าร

ของโจทกที่ ๒ และใหจำเลยที่ ๑ ดำเนินการเกี่ยวกับคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการคาและ

เครอ่ื งหมายบรกิ ารตามคำขอตา ง ๆ รวม ๘ คำขอ ของโจทกท ี่ ๒ ตอไป

ในสำนวนหลงั จำเลยทงั้ สองใหก าร ขอใหยกฟอ ง

ศาลทรพั ยส นิ ทางปญ ญาและการคา ระหวา งประเทศกลาง พพิ ากษาวา ใหเ พกิ ถอนคำสง่ั

ของนายทะเบียนเครื่องหมายการคาที่สั่งใหโจทกที่ ๑ แสดงเจตนาวาไมขอถือเปนสิทธิของตน

แตเพียงผูเดียวทจ่ี ะใชรูปส่ีเหลย่ี มผนื ผา สำหรบั เครอื่ งหมายการคา ,

และ ตามคำสั่งนายทะเบียนเครื่องหมายการคาตามหนังสือที่ พณ ๐๗๐๔/๓๗๙๕๕,

ท่ี พณ ๐๗๐๔/๓๗๙๖๓, ท่ี พณ ๐๗๐๔/๓๗๙๖๑, ท่ี พณ ๐๗๐๔/๓๗๙๖๒, ท่ี พณ ๐๗๐๔/๓๗๙๕๖,

ท่ี พณ ๐๗๐๔/๓๗๙๖๐, ท่ี พณ ๐๗๐๔/๓๗๙๕๗ ท่ี พณ ๐๗๐๔/๓๗๙๕๘, ท่ี พณ ๐๗๐๔/๑๖๐๑๕๖,

ท่ี พณ ๐๗๐๔/๑๖๐๑๕๘, ท่ี พณ ๐๗๐๔/๑๖๐๑๖๐, ท่ี พณ ๐๗๐๔/๑๖๐๑๖๒, ท่ี พณ ๐๗๐๔/๑๖๐๑๖๓,

ท่ี พณ ๐๗๐๔/๑๖๐๑๖๔, ท่ี พณ ๐๗๐๔/๑๖๐๑๖๖, ท่ี พณ ๐๗๐๔/๑๖๐๑๖๘, ท่ี พณ ๐๗๐๔/๕๓๒๐๕,

ท่ี พณ ๐๗๐๔/๕๓๒๐๖, ท่ี พณ ๐๗๐๔/๕๓๒๐๗, ท่ี พณ ๐๗๐๔/๕๓๒๐๘,ท่ี พณ ๐๗๐๔/๕๓๒๑๘,

ที่ พณ ๐๗๐๔/๕๓๒๑๙, ที่ พณ ๐๗๐๔/๕๓๒๒๐ และที่ พณ ๐๗๐๔/๕๓๒๒๑ ใหเพิกถอน

คำวินิจฉัยอุทธรณของคณะกรรมการเครื่องหมายการคาที่ ๕๐๔/๒๕๖๒, ที่ ๕๐๕/๒๕๖๒,

ท่ี ๕๐๖/๒๕๖๒, ท่ี ๕๐๗/๒๕๖๒, ท่ี ๕๐๘/๒๕๖๒, ท่ี ๕๐๙/๒๕๖๒, ท่ี ๕๑๐/๒๕๖๒, ท่ี ๕๑๑/๒๕๖๒,

ท่ี ๔๙๖/๒๕๖๒, ท่ี ๔๙๗/๒๕๖๒, ท่ี ๔๙๘/๒๕๖๒, ท่ี ๔๙๙/๒๕๖๒, ท่ี ๕๐๐/๒๕๖๒, ท่ี ๕๐๑/๒๕๖๒,

ท่ี ๕๐๒/๒๕๖๒, ท่ี ๕๐๓/๒๕๖๒, ท่ี ๕๑๒/๒๕๖๒, ท่ี ๕๑๓/๒๕๖๒, ท่ี ๕๑๔/๒๕๖๒, ท่ี ๕๑๕/๒๕๖๒,

ที่ ๕๑๖/๒๕๖๒, ที่ ๕๑๗/๒๕๖๒, ที่ ๕๑๘/๒๕๖๒ และที่ ๕๑๙/๒๕๖๒ ใหเพิกถอนคำสั่งของ

นายทะเบียนเครื่องหมายการคาที่ปฏิเสธไมรับจดทะเบียนเครื่องหมายการคาและเครื่องหมาย

บริการ ตามคำสั่งนายทะเบียนเครื่องหมายการคาตามหนังสือที่ พณ ๐๗๐๔/๔๘๒๓๑,

ท่ี พณ ๐๗๐๔/๔๘๒๓๔, ท่ี พณ ๐๗๐๔/๔๘๒๓๐, ท่ี พณ ๐๗๐๔/๔๘๒๒๙, ท่ี พณ ๐๗๐๔/๔๘๒๓๓,

ที่ พณ ๐๗๐๔/๔๘๒๓๒, ที่ พณ ๐๗๐๔/๔๘๒๓๗ และที่ พณ ๐๗๐๔/๔๘๒๒๘ และเพิกถอน

คำวินิจฉัยอุทธรณของคณะกรรมการเครื่องหมายการคาที่ ๔๘๘/๒๕๖๒, ที่ ๔๘๙/๒๕๖๒,

ที่ ๔๙๐/๒๕๖๒, ที่ ๔๙๑/๒๕๖๒, ที่ ๔๙๒/๒๕๖๒, ที่ ๔๙๓/๒๕๖๒, ที่ ๔๙๔/๒๕๖๒ และ

ท่ี ๔๙๕/๒๕๖๒ ใหจ ำเลยท่ี ๑ ดำเนนิ การเกย่ี วกบั คำขอจดทะเบยี นเครอ่ื งหมายการคา และคำขอ

จดทะเบยี นเครอ่ื งหมายบรกิ าร คำขอเลขท่ี ๙๘๗๖๖๔, ๙๘๗๖๖๕, ๙๘๗๖๖๖, ๙๘๗๖๖๗,

๙๘๗๖๖๘, ๙๘๗๖๖๙, ๙๘๗๖๗๐ และ ๙๘๗๖๗๑ คำขอจดทะเบยี นเครอ่ื งหมายการคา และคำขอ

๔๗

จดทะเบียนเครื่องหมายบรกิ าร คำขอเลขที่ ๙๙๒๔๘๕, ๙๙๒๔๘๖, ๙๙๒๔๘๗,

๙๙๒๔๘๘, ๙๙๒๔๘๙, ๙๙๒๔๙๐, ๙๙๒๔๙๑ และ ๙๙๒๔๙๒ คำขอจดทะเบียนเครื่องหมาย

การคา และคำขอจดทะเบยี นเครอ่ื งหมายบรกิ าร คำขอเลขท่ี ๑๐๑๓๘๓๒, ๑๐๑๓๘๓๓,

๑๐๑๓๘๓๔, ๑๐๑๓๘๓๕, ๑๐๑๓๘๓๖, ๑๐๑๓๘๓๗, ๑๐๑๓๘๓๘ และ ๑๐๑๓๘๓๙ และคำขอ

จดทะเบียนเครอื่ งหมายการคาและคำขอจดทะเบยี นเคร่ืองหมายบริการ คำขอเลขท่ี ๙๙๒๔๙๓,

๙๙๒๔๙๔, ๙๙๒๔๙๕, ๙๙๒๔๙๖, ๙๙๒๔๙๗, ๙๙๒๔๙๘, ๙๙๒๔๙๙ และ ๙๙๒๕๐๐ ของโจทก

ที่ ๑ ตอไป กับใหเพิกถอนคำสั่งของนายทะเบียนเครื่องหมายการคาที่ปฏิเสธไมรับจดทะเบียน

เครื่องหมายการคาและเครื่องหมายบริการ ตามคำสั่งนายทะเบียนเครื่องหมายการคา

ตามหนงั สอื ท่ี พณ ๐๗๐๔/๑๖๐๐๗๑, ท่ี พณ ๐๗๐๔/๑๖๐๐๗๒, ท่ี พณ ๐๗๐๔/๑๖๐๐๗๓, ท่ี พณ

๐๗๐๔/๑๖๐๐๗๔, ท่ี พณ ๐๗๐๔/๑๖๐๐๗๕, ท่ี พณ ๐๗๐๔/๑๖๐๐๗๖, ท่ี พณ ๐๗๐๔/๑๖๐๐๗๗

และท่ี พณ ๐๗๐๔/๑๖๐๐๗๘ และเพกิ ถอนคำวนิ จิ ฉยั อทุ ธรณข องคณะกรรมการเครอ่ื งหมายการคา

ท่ี ๔๘๐/๒๕๖๒, ท่ี ๔๘๑/๒๕๖๒, ท่ี ๔๘๒/๒๕๖๒, ท่ี ๔๘๓/๒๕๖๒, ท่ี ๔๘๔/๒๕๖๒, ท่ี ๔๘๕/๒๕๖๒,

ท่ี ๔๘๖/๒๕๖๒ และท่ี ๔๘๗/๒๕๖๒ ใหจ ำเลยท่ี ๑ ดำเนนิ การเกย่ี วกบั คำขอจดทะเบยี นเครอ่ื งหมาย

การคาและคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายบริการ คำขอเลขที่ ๑๐๐๘๘๖๗, ๑๐๐๘๘๖๘,

๑๐๐๘๘๖๙, ๑๐๐๘๘๗๐, ๑๐๐๘๘๗๑, ๑๐๐๘๘๗๒, ๑๐๐๘๘๗๓ และ ๑๐๐๘๘๗๔ ของโจทกท ่ี ๒

ตอไป คา ฤชาธรรมเนียมใหเ ปนพับ

จำเลยทัง้ สองท้งั สองสำนวนอทุ ธรณ

ศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษแผนกคดีทรัพยสินทางปญญาและการคาระหวางประเทศ

วนิ จิ ฉยั วา ขอ เทจ็ จรงิ ทค่ี คู วามไมโ ตแ ยง กนั ในชน้ั นฟ้ี ง ไดว า โจทกท ง้ั สองเปน นติ บิ คุ คลตามกฎหมาย

สหรฐั อเมรกิ า และเปน บรษิ ทั ในเครอื ของ HP INC ซง่ึ เดมิ ชอ่ื Hewlett-Packard Company โจทก

ทั้งสองและบริษัทในกลุมประกอบธุรกิจเกี่ยวกับผลิตภัณฑและบริการดานไอที (Information

Technology) ภายใตชื่อทางการคาวา “Hewlett Packard” และ “Hewlett Packard Enterprise”

จำเลยท่ี ๑ เปน นติ บิ คุ คลประเภทสว นราชการ มฐี านะเปน กรมในรฐั บาล สงั กดั กระทรวงพาณชิ ย

สว นจำเลยท่ี ๒ เปน ประธานกรรมการในคณะกรรมการเครอ่ื งหมายการคา เมอ่ื วนั ท่ี ๒๘ พฤษภาคม

๒๕๕๘ Hewlett-Packard Development Company, L.P. ซึ่งตอมาไดโอนสิทธิใหแกโจทกที่ ๑

ยืน่ คำขอจดทะเบยี นเคร่อื งหมายการคาและเครื่องหมายบริการ เพ่ือใชก บั สนิ คา และ

บริการตาง ๆ จำพวกที่ ๙, ๑๖, ๓๕, ๓๖,๓๗, ๓๘, ๔๑ และ ๔๒ ตามคำขอเลขที่ ๙๘๗๖๖๔,

๙๘๗๖๖๕, ๙๘๗๖๖๖, ๙๘๗๖๖๗, ๙๘๗๖๖๘, ๙๘๗๖๖๙, ๙๘๗๖๗๐ และ ๙๘๗๖๗๑ รวม ๘ คำขอ

เมอ่ื วนั ท่ี ๓๐ มถิ นุ ายน ๒๕๕๘ Hewlett-Packard Development Company, L.P. ซง่ึ ตอ มาไดโ อนสทิ ธิ

๔๘

ใหแ กโ จทกท่ี ๑ ย่ืนคำขอจดทะเบยี นเครอ่ื งหมายการคา และเครื่องหมายบริการ

เพอ่ื ใชก บั สนิ คา และบรกิ ารตา ง ๆ จำพวกท่ี ๙, ๑๖, ๓๕, ๓๖, ๓๗, ๓๘, ๔๑ และ ๔๒ ตามคำขอ

เลขที่ ๙๙๒๔๘๕, ๙๙๒๔๘๖, ๙๙๒๔๘๗, ๙๙๒๔๘๘, ๙๙๒๔๘๙, ๙๙๒๔๙๐, ๙๙๒๔๙๑ และ

๙๙๒๔๙๒ รวม ๘ คำขอ เมื่อวันที่ ๑๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ โจทกที่ ๑ ยื่นคำขอจดทะเบียน

เครื่องหมายการคาและเครื่องหมายบริการ เพื่อใชกับสินคาและบริการตาง ๆ จำพวก

ท่ี ๙, ๑๖, ๓๕, ๓๖, ๓๗, ๓๘, ๔๑ และ ๔๒ ตามคำขอเลขท่ี ๑๐๑๓๘๓๒, ๑๐๑๓๘๓๓, ๑๐๑๓๘๓๔,

๑๐๑๓๘๓๕, ๑๐๑๓๘๓๖, ๑๐๑๓๘๓๗, ๑๐๑๓๘๓๘ และ ๑๐๑๓๘๓๙ รวม ๘ คำขอ เมอ่ื วนั ท่ี ๓๐

มิถุนายน ๒๕๕๘ Hewlett-Packard Development Company, L.P. ซึ่งตอมาไดโอนสิทธิใหแก

โจทกที่ ๑ ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการคาและเครื่องหมายบริการ เพื่อใชกับสินคา

และบรกิ ารตา ง ๆ ในจำพวกท่ี ๙, ๑๖, ๓๕, ๓๖, ๓๗, ๓๘, ๔๑ และ ๔๒ ตามคำขอเลขท่ี ๙๙๒๔๙๓,

๙๙๒๔๙๔, ๙๙๒๔๙๕, ๙๙๒๔๙๖, ๙๙๒๔๙๗, ๙๙๒๔๙๘, ๙๙๒๔๙๙ และ ๙๙๒๕๐๐ รวม ๘

คำขอ และเมือ่ วนั ท่ี ๑๓ ตุลาคม ๒๕๕๘ โจทกท่ี ๒ ย่นื คำขอจดทะเบยี นเครื่องหมายการคา และ

เครื่องหมายบริการ เพื่อใชกับสินคาและบริการตาง ๆ จำพวกที่ ๙, ๑๖, ๓๕, ๓๖, ๓๗,

๓๘, ๔๑ และ ๔๒ ตามคำขอเลขท่ี ๑๐๐๘๘๖๗, ๑๐๐๘๘๖๘, ๑๐๐๘๘๖๙, ๑๐๐๘๘๗๐, ๑๐๐๘๘๗๑,

๑๐๐๘๘๗๒, ๑๐๐๘๘๗๓ และ ๑๐๐๘๘๗๔ รวม ๘ คำขอ นายทะเบียนเครื่องหมายการคามี

คำส่งั วา เครือ่ งหมายการคาและเครอื่ งหมายบรกิ าร , และ

ยังไมสามารถรับจดทะเบียนได เวนแตผูขอจะแสดงเจตนาวาไมขอถือเปนสิทธิของตนแตเพียง

ผูเดียวที่จะใชอักษรโรมันคำวา Enterprise และรูปสี่เหลี่ยมผืนผา และมีคำสั่งปฏิเสธการรับจด

ทะเบยี นเครอ่ื งหมายการคา และเครอ่ื งหมายบรกิ าร โดยเหตผุ ลวา คำวา HPE ไมไ ดป ระดษิ ฐ

ใหม ลี ักษณะพิเศษ และรปู สีเ่ หลี่ยมผืนผาเปนเพยี งรปู ทรงเรขาคณติ ธรรมดาไมสามารถนำมาใช

เปน เครอ่ื งหมายได กบั มคี ำสง่ั ปฏเิ สธการรบั จดทะเบยี นเครอ่ื งหมายการคา และเครอ่ื งหมายบรกิ าร

เนอ่ื งจากเครอ่ื งหมายดงั กลา วไมม ลี กั ษณะบง เฉพาะ เพราะเครอ่ื งหมายดงั กลา วเปน รปู ทรง

ธรรมดาทไ่ี มม คี วามแตกตา งจากผอู น่ื โจทกท ่ี ๑ แสดงปฏเิ สธวา ไมข อถอื เปน สทิ ธขิ องตนแตผ เู ดยี ว

ในอนั ทจ่ี ะใชอ กั ษรโรมนั คำวา Enterprise ตามคำสง่ั ของนายทะเบยี นเครอ่ื งหมายการคา แลว และ

โจทกท ่ี ๑ อทุ ธรณค ำสง่ั ใหแ สดงปฏเิ สธวา ไมข อถอื เปน สทิ ธขิ องตนแตผ เู ดยี วในอนั ทจ่ี ะใชภ าคสว น

รปู สเ่ี หลย่ี มผนื ผา กบั อทุ ธรณค ำสง่ั ปฏเิ สธการรบั จดทะเบยี นเครอ่ื งหมายการคา และเครอ่ื งหมาย

บริการ สวนโจทกที่ ๒ อุทธรณคำสั่งที่ปฏิเสธการรับจดทะเบียนเครื่องหมายการคาและ

เครอ่ื งหมายบรกิ าร ตอ คณะกรรมการเครอ่ื งหมายการคา คณะกรรมการเครอ่ื งหมายการคา

มีคำวินิจฉัยอุทธรณในแตละคำขอของโจทกทั้งสองไปในแนวเดียวกัน โดยวินิจฉัยยืนตามคำสั่ง

ปฏเิ สธของนายทะเบียนเครอ่ื งหมายการคา

๔๙

คดีมีปญหาที่ตองวินิจฉัยตามอุทธรณของจำเลยทั้งสองขอแรกวา เครื่องหมายการคา

และเคร่ืองหมายบริการ , และ ของโจทกท ี่ ๑ และรูป

ของโจทกท ่ี ๒ มลี กั ษณะบง เฉพาะหรอื ไม เหน็ วา แมข อ เทจ็ จรงิ รบั ฟง ไดต ามพยานหลกั ฐานทโ่ี จทก

ทั้งสองนำสืบมาวา รูป ที่เรียกชื่อวา The Element Logo ซึ่งมีที่มาจากงานออกแบบ

(drawing design) โดยบริษัทออกแบบชื่อ Siegel+Gale ตามการวาจางของบริษัท Hewlett

Packard Company และมีแนวคิดในการออกแบบที่มุงหมายใหเครื่องหมายรูปดังกลาวเปน

สญั ลกั ษณแ หง โอกาสของความเปน หนุ สว นทางธรุ กจิ ระหวา งบรษิ ทั Hewlett Packard Enterprise

กับลูกคาของบริษัทก็ตาม แตในการพิจารณาวาเครื่องหมายการคาหรือเครื่องหมายบริการใด

มีลักษณะบงเฉพาะหรือไมนั้นตองพิจารณาจากความรับรูของประชาชนหรือผูใชสินคาหรือ

บริการนัน้ วา เคร่อื งหมายการคา หรือเครอื่ งหมายบริการน้นั มีลกั ษณะทท่ี ำใหป ระชาชนหรือผูใช

สินคาหรือบริการทราบและเขาใจไดวาสินคาที่ใชเครื่องหมายการคาหรือเครื่องหมายบริการนั้น

แตกตางไปจากสินคาอื่น สำหรับเครื่องหมายการคาและเครื่องหมายบริการของโจทกทั้งสอง

รปู มลี กั ษณะรปู ทรงเรขาคณติ ซง่ึ มองเหน็ ไดว า มาจากรปู ทรงสเ่ี หลย่ี มผนื ผา โดยนำความ

หนารวมถึงสี (กรณีเครื่องหมายการคาและเครื่องหมายบริการ ) มาใช เพื่อทำใหเกิด

ความแตกตา ง โดยไมไ ดเ ปลย่ี นแปลงรปู ทรงไปจากรปู ทรงเรขาคณติ ดงั กลา ว ซง่ึ เปน ความแตกตา ง

เพยี งเลก็ นอ ย ไมถ งึ ขนาดทจ่ี ะทำใหส าธารณชนเหน็ ไดถ งึ ความแตกตา งระหวา งเครอ่ื งหมายการคา

หรอื เครอ่ื งหมายบรกิ ารของโจทกท ง้ั สองกบั รปู ทรงเรขาคณติ อน่ื ทว่ั ๆ ไป อนั จะถอื ไดว า เปน ภาพ

ที่ประดิษฐขึ้น อีกทั้งภาพประดิษฐในลักษณะที่มีเสนขอบหนาเพิ่มขึ้นเชนนี้ไมมีลักษณะโดดเดน

เปนเอกลักษณอยางใดในอันที่จะทำใหสาธารณชนหรือผูใชสินคาหรือบริการจดจำหรือแยกแยะ

ความแตกตางระหวางสินคาหรือบริการได โดยเฉพาะหากนำไปใชโดยลำพัง รูปสี่เหลี่ยมผืนผา

ของโจทกทั้งสองยอมไมอาจทำใหสาธารณชนหรือผูใชสินคาหรือบริการทราบและเขาใจไดวา

สินคาหรือบริการที่ใชเครื่องหมายดังกลาวแตกตางไปจากสินคาหรือบริการอื่นเชนใด ดังนี้

รปู จงึ ไมมีลกั ษณะบง เฉพาะตามมาตรา ๗ วรรคสอง (๖) และมาตรา ๗ วรรคหนง่ึ แหง

พระราชบญั ญัตเิ ครื่องหมายการคา พ.ศ. ๒๕๓๔ แกไขเพม่ิ เตมิ โดยพระราชบญั ญัติเคร่ืองหมาย

การคา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๓ คำสั่งของนายทะเบียนเครื่องหมายการคาที่สั่งใหโจทกที่ ๑

แสดงปฏเิ สธวา ไมข อถอื เปน สทิ ธขิ องตนแตผ เู ดยี วในอนั ทจ่ี ะใชร ปู ในเครอ่ื งหมายการคา

และเครื่องหมายบริการ , และ ตามมาตรา ๑๗ แหง

พระราชบญั ญตั เิ ครอ่ื งหมายการคา พ.ศ. ๒๕๓๔ และทส่ี ง่ั ปฏเิ สธการรบั จดทะเบยี นเครอ่ื งหมาย

การคาและเครื่องหมายบริการ ของโจทกที่ ๒ กับคำวินิจฉัยอุทธรณของคณะกรรมการ

๕๐

เครอ่ื งหมายการคา ทว่ี นิ จิ ฉยั ยนื ตามคำสง่ั ของนายทะเบยี นเครอ่ื งหมายการคา ดงั กลา วจงึ ชอบแลว
ที่ศาลทรัพยสินทางปญญาและการคาระหวางประเทศกลางวินิจฉัยวาเครื่องหมายการคาและ
เครื่องหมายบริการ มีลักษณะบงเฉพาะนั้น ศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษไมเห็นพองดวย
อทุ ธรณข องจำเลยท้งั สองขอ นฟ้ี ง ขนึ้

คดมี ปี ญ หาทต่ี อ งวนิ จิ ฉยั ตามอทุ ธรณข องจำเลยทง้ั สองขอ ตอ ไปวา สำหรบั เครอ่ื งหมาย
การคาและเครื่องหมายบริการ ภาคสวนอักษร HPE มีลักษณะบงเฉพาะหรือไม เห็นวา
ขอเท็จจริงไดความตามทางนำสืบของโจทกทั้งสองซึ่งจำเลยทั้งสองมิไดนำสืบใหเห็นเปน
อยา งอน่ื วา อกั ษรโรมนั HPE ซง่ึ เปน ภาคสว นหนง่ึ ของเครอ่ื งหมายการคา และเครอ่ื งหมายบรกิ าร

ของโจทกที่ ๑ เปนการนำอักษรโรมันที่เปนพยัญชนะตนของคำวา Hewlett Packard
Enterprise มาใชรวมกัน ลักษณะการนำอักษรโรมันที่เปนพยัญชนะตัวแรกของแตละคำมาเรียง
ตอ กนั จนเกดิ เปน คำใหมเ ชน นเ้ี ปน การใชค วามนกึ คดิ หรอื จนิ ตนาการของโจทกท ่ี ๑ ทจ่ี ะคดิ ประดษิ ฐ
คำดังกลาว ถือไดวาเปนคำที่ประดิษฐขึ้น แมอักษรโรมัน H, P และ E ดังกลาวเปนเพียงอักษร
โรมนั ลกั ษณะตวั พมิ พใ หญท ว่ั ไป ไมใ ชอ กั ษรโรมนั ทม่ี ลี กั ษณะประดษิ ฐเ ปน พเิ ศษกต็ าม ดงั น้ี ภาค
สวนอักษรโรมัน HPE จึงมีลักษณะบงเฉพาะตามมาตรา ๗ วรรคสอง (๓) แหงพระราชบัญญัติ
เครอ่ื งหมายการคา พ.ศ. ๒๕๓๔ แกไ ขเพม่ิ เตมิ โดยพระราชบญั ญตั เิ ครอ่ื งหมายการคา (ฉบบั ท่ี ๒)
พ.ศ. ๒๕๔๓ คำสั่งของนายทะเบียนเครื่องหมายการคาที่ปฏิเสธการรับจดทะเบียนเครื่องหมาย
การคาและเครื่องหมายบริการ ของโจทกที่ ๑ และคำวินิจฉัยอุทธรณของคณะกรรมการ
เครื่องหมายการคาที่ยืนตามคำสั่งปฏิเสธดังกลาว จึงไมชอบดวยกฎหมาย ที่ศาลทรัพยสินทาง
ปญญาและการคาระหวางประเทศกลางวินิจฉัยวาเครื่องหมายการคาและเครื่องหมายบริการ

มลี กั ษณะบง เฉพาะนน้ั ศาลอทุ ธรณค ดชี ำนญั พเิ ศษเหน็ พอ งดว ย อทุ ธรณข องจำเลยทง้ั สอง
ขอนฟ้ี ง ไมขึ้น

สว นทจ่ี ำเลยทง้ั สองอทุ ธรณว า เครอ่ื งหมายการคา และเครอ่ื งหมายบรกิ ารทโ่ี จทกท ง้ั สอง
ยื่นคำขอจดทะเบียนไมมีลักษณะบงเฉพาะอันเกิดจากการใชจนแพรหลายแลวนั้น เห็นวา ศาล
ทรัพยสินทางปญญาและการคาระหวางประเทศกลางมิไดวินิจฉัยประเด็นขอนี้ใหตามขอกลาว
อา งในคำฟองของโจทกท ั้งสอง และโจทกท้ังสองยื่นคำแกอ ุทธรณว าคดไี มม ีประเดน็ ขอ พิพาทใน
เรื่องนี้ ซึ่งเทากับโจทกทั้งสองสละประเด็นขอนี้แลว จำเลยทั้งสองไมไดถูกโตแยงสิทธิ จำเลย
ทงั้ สองจงึ ไมมสี ทิ ธิอทุ ธรณ ศาลอทุ ธรณค ดชี ำนญั พเิ ศษไมร ับวนิ ิจฉยั

พิพากษาแกเปนวา ใหนายทะเบียนเครื่องหมายการคาดำเนินการเกี่ยวกับคำขอ
จดทะเบียนเครื่องหมาย ตามคำขอเลขที่ ๙๙๒๔๙๓, ๙๙๒๔๙๔, ๙๙๒๔๙๕, ๙๙๒๔๙๖,

๕๑

๙๙๒๔๙๗, ๙๙๒๔๙๘, ๙๙๒๔๙๙, และ ๙๙๒๕๐๐ โดยใหโจทกที่ ๑ แสดงปฏิเสธวาไมขอถือ
เปน สทิ ธขิ องตนแตผ เู ดยี วในอนั ทจ่ี ะใชภ าคสว นเครอ่ื งหมายรปู สเ่ี หลย่ี มผนื ผา และใหย ก
คำขอของโจทกท ่ี ๑ สำหรบั คำขอเลขท่ี ๙๘๗๖๖๔, ๙๘๗๖๖๕, ๙๘๗๖๖๖, ๙๘๗๖๖๗, ๙๘๗๖๖๘,
๙๘๗๖๖๙, ๙๘๗๖๗๐, ๙๘๗๖๗๑, ๙๙๒๔๘๕, ๙๙๒๔๘๖, ๙๙๒๔๘๗, ๙๙๒๔๘๘, ๙๙๒๔๘๙,
๙๙๒๔๙๐, ๙๙๒๔๙๑, ๙๙๒๔๙๒, ๑๐๑๓๘๓๒, ๑๐๑๓๘๓๓, ๑๐๑๓๘๓๔, ๑๐๑๓๘๓๕,
๑๐๑๓๘๓๖, ๑๐๑๓๘๓๗, ๑๐๑๓๘๓๘ และ ๑๐๑๓๘๓๙ กบั ใหย กฟอ งสำหรบั โจทกท ่ี ๒ สำหรบั
คำขอเลขที่ ๑๐๐๘๘๖๗, ๑๐๐๘๘๖๘, ๑๐๐๘๘๖๙, ๑๐๐๘๘๗๐, ๑๐๐๘๘๗๑, ๑๐๐๘๘๗๒,
๑๐๐๘๘๗๓ และ ๑๐๐๘๘๗๔ นอกจากทแ่ี กใ หเ ปน ไปตามคำพพิ ากษาของศาลทรพั ยส นิ ทางปญ ญา
และการคา ระหวา งประเทศกลาง คาฤชาธรรมเนยี มชั้นอุทธรณใ หเ ปน พบั .

(ธารทพิ ย จงจกั รพันธ - สุวทิ ย รตั นสุคนธ - ววิ ัฒน วงศกติ ตริ กั ษ)

ณฐั จริ า ขนั ทอง - ยอ
นภิ า ชัยเจริญ - ตรวจ

๕๒

คำพพิ ากษาศาลอทุ ธรณค ดีชำนัญพิเศษที่ ๕๒๑/๒๕๖๐ แซนฟอรด แอล. พี โจทก
กรมทรพั ยสินทางปญญา จําเลย

พ.ร.บ. เคร่อื งหมายการคา พ.ศ. ๒๕๓๔ มาตรา ๖, ๗ วรรคสอง (๒), ๑๓

เครอ่ื งหมายการคา ของโจทกเ ปน อกั ษรโรมนั แมจ ะไมใ ชค ำทว่ั ไป แตป รากฏชดั
ตามรูปลักษณะและเสียงอานวาเปนการนำอักษรโรมันคำวา INK และ JOY มารวมกัน
รปู แบบของอกั ษร (Font) กป็ รากฏอยทู ว่ั ไป เครอ่ื งหมายการคา ของโจทกจ งึ ไมใ ชค ำประดษิ ฐ
ดังนั้น ตองพิจารณาตอไปวา ความหมายของแตละคำในเครื่องหมายการคานี้เปนคำที่
เลง็ ถงึ ลกั ษณะหรอื คณุ สมบตั ขิ องสนิ คา ปากกาหรอื ไม คำแปลทป่ี รากฏในพจนานกุ รมวา
INK แปลวา หมกึ หมกึ แผน หรอื สหี มกึ วาด สว น JOY แปลวา ความสขุ สบาย ความปต ยิ นิ ดี
แมวาโดยปกติหมึกจะมีความเกี่ยวของกับปากกาในการใชงานแตหมึกก็ไมไดใชเฉพาะ
กบั ปากกาหรอื เกย่ี วขอ งกบั ปากกาโดยตรงเพยี งอยา งเดยี ว โทรสารกด็ ี เครอ่ื งพมิ พล กั ษณะ
ตาง ๆ ก็ดี รวมทั้งตราประทับก็ดี ลวนเกี่ยวของหรือใชหมึกในการทำงานทั้งสิ้น คำวา
INK ยังไมอาจนับวาเปนคำที่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของปากกา สวนคำวา ยินดี
ก็เปนคำที่ใชกันอยูทั่วไป มุงถึงอารมณความรูสึกของบุคคล ไมใชคำพรรณาถึงลักษณะ
หรอื คณุ สมบตั ขิ องสนิ คา คำวา JOY จงึ ไมอ าจนบั วา เปน คำทเ่ี ลง็ ถงึ คณุ สมบตั ขิ องปากกา

โดยตรงไดเชนกัน เครื่องหมายการคาของโจทกคำวา INKJOY จึงเปนคำที่มีลักษณะ

บงเฉพาะตาม พ.ร.บ. เคร่ืองหมายการคา พ.ศ. ๒๕๓๔ มาตรา ๗ วรรคสอง (๒)
เครื่องหมายการคาของโจทกแมจะเขียนติดกัน แตก็เปนเพียงการนำคำ ๒ คำ

มาเขยี นตดิ กนั ไมใ ชค ำประดษิ ฐข น้ึ ใหม และไมท ำใหเ กดิ ความแตกตา งไมว า จะนำคำ ๒ คำน้ี
มาเรียงหรือแยกออกจากกัน นอกจากนี้ เอกสารของโจทกเกี่ยวกับผลิตภัณฑของโจทก
ในเว็บไซต รวมทั้งหลักฐานการจดทะเบียนเครื่องหมายการคาของโจทกในหลาย ๆ
ประเทศจะเห็นวาบางครั้งโจทกก็ใชเครื่องหมายการคาในลักษณะแยกเปน ๒ คำ และ
ใชรูปแบบของอักษร (Font) แตกตางจากเครื่องหมายการคาของโจทก เมื่อพิจารณาวา

เครอ่ื งหมายการคา ของโจทกค ำวา INKJOY กบั เครอ่ื งหมายการคา ทไ่ี ดจ ดทะเบยี นไวแ ลว

คำวา INK BOY ตางใชรูปแบบตัวอักษร (Font) ที่มีอยูทั่วไป ไมมีลักษณะพิเศษใดๆ
เมื่อตางเปนภาษาตางประเทศใชอักษรโรมันเหมือนกัน มี ๒ คำ เหมือนกัน คำแรกเปน

๕๓

คำเดียวกันและออกเสียงเหมือนกัน สวนคำหลังเครื่องหมายการคาของโจทก ใชคำวา
JOY มีตัวอักษร ๓ ตัว อานออกเสียงเปนภาษาไทยวา จอย สวนอีกเครื่องหมายหนึ่งใช
คำวา BOY มีตัวอักษร ๓ ตัว เหมือนกัน และตางจากคำของโจทกเพียงอักษรตัวแรก
อานออกเสียงเปนภาษาไทยวา บอย เห็นไดวาเครื่องหมายการคาดังกลาวมีตัวอักษร
๖ ตัว เทากัน ตางกันเพียงอักษรตัวเดียว เสียงเรียกขานที่ใกลเคียงกันมาก เมื่อใชกับ
สนิ คา จำพวกและประเภทเดยี วกนั ผบู รโิ ภคกเ็ ปน กลมุ เดยี วกนั เครอ่ื งหมายการคา ของโจทก
จึงมีลักษณะคลายกับเครื่องหมายการคาของบุคคลอื่นที่ไดจดทะเบียนไวแลวจนอาจ
ทำใหส าธารณชนสบั สนหรอื หลงผดิ ในความเปน เจา ของของสนิ คา หรอื แหลง กำเนดิ ของ
สนิ คา

วตั ถปุ ระสงคข องการจดทะเบยี นเครอ่ื งหมายการคา เปน เรอ่ื งทร่ี ฐั ตอ งการควบคมุ
และกำกบั ดแู ลเครอ่ื งหมายการคา วา เปน เครอ่ื งหมายการคา อนั พงึ รบั จดทะเบยี นหรอื ไม
ทั้งนี้ เพื่อรักษาผลประโยชนของประชาชนผูบริโภคมิใหเกิดความสับสนหรือหลงผิด
ในความเปนเจาของของสินคาหรือแหลงกำเนิดของสินคา ดังนั้น แมโจทกจะยื่นขอ
จดทะเบยี นโดยสจุ รติ แตถ า เครอ่ื งหมายการคา ของโจทกค ลา ยกบั เครอ่ื งหมายการคา ของ
บุคคลอื่นที่ไดจดทะเบียนไวแลว จนทำใหสาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเปน
เจาของของสินคาหรือแหลงกำเนดิ ของสนิ คา ก็ไมอ าจรับจดทะเบยี นใหได

การทเ่ี ครอ่ื งหมายการคา ของโจทกไ ดร บั การจดทะเบยี นในประเทศตา งๆ ทว่ั โลก
นั้น เปนเรื่องของหลักเกณฑการพิจารณาและดุลพินิจของพนักงานเจาหนาที่ในแตละ
ประเทศดังกลาว ไมเปนเหตุใหเครื่องหมายการคาของโจทกจะไดรับการจดทะเบียนใน
ประเทศไทยโดยไมต อ งพจิ ารณาตามหลกั เกณฑท ก่ี ำหนดไวใ น พ.ร.บ. เครอ่ื งหมายการคา
พ.ศ. ๒๕๓๔

(ไชยยศ วรนันทศ ิริ - จุมพล ภิญโญสนิ วัฒน - สุรพล คงลาภ)

สุดธิดา ธรรมชุตพิ ร - ยอ
สจุ นิ ต เจนพาณชิ พงศ - ตรวจ

หมายเหตุ คดถี ึงทส่ี ุด

(รายละเอยี ดอยูใ นหวั ขอ ๑.๑ ลกั ษณะบงเฉพาะ)
๕๔

คําพพิ ากษาศาลอทุ ธรณค ดชี ำนัญพิเศษที่ ๖๖๔/๒๕๖๐ นทู วิ า, อิงค. โจทก

กรมทรพั ยสนิ ทางปญญา จําเลย

พ.ร.บ. เคร่อื งหมายการคา พ.ศ. ๒๕๓๔ มาตรา ๑๓, ๒๗ วรรคหนึง่

เครอ่ื งหมายการคาคำวา ของโจทกก บั เครอื่ งหมายการคาคำวา

ของบุคคลอื่นที่ไดจดทะเบียนไวแลว เปนเครื่องหมายการคาประเภทคำ

เหมอื นกนั ประกอบดว ยตวั อกั ษรโรมนั เชน เดยี วกนั เครอ่ื งหมายการคา ของโจทกป ระกอบ

ดวยตัวอักษรโรมัน ๖ ตัว เขียนดวยตัวพิมพใหญทั้งหมด สวนเครื่องหมายการคาของ

บคุ คลอน่ื ทไ่ี ดจ ดทะเบยี นไวแ ลว ประกอบดว ยตวั อกั ษรโรมนั ๘ ตวั ตวั อกั ษรโรมนั ตวั แรก

เขียนดว ยตัวพมิ พใ หญ สวนตัวอกั ษรที่เหลอื เขยี นดว ยตวั พมิ พเ ลก็ ทัง้ หมด เมื่อพจิ ารณา

ดวยสายตาแลวเครื่องหมายการคาทั้งสองดังกลาวนับไดวามีความแตกตางกัน แตเมื่อ

พิจารณาสวนคําเรียกขาน เครื่องหมายการคา ของโจทกระบุคําอานไววา

นู-ทิ-วา สวนเครื่องหมายการคา ของบุคคลอื่นที่ไดจดทะเบียนไวแลว

เรียกขานวา นู-ทริ-วา มีเสียงเรียกขานใกลเคียงกันมาก ผูบริโภคอาจเกิดความสับสน

ในการเรยี กขานเครอ่ื งหมายการคา ทง้ั สอง และโจทกข อจดทะเบยี นกบั สนิ คา จาํ พวกท่ี ๕

จำพวกที่ ๒๙ และจำพวกที่ ๓๒ เปรียบเทียบกับรายการสินคาที่ไดจดทะเบียนไวกับ

เครื่องหมายการคาของบุคคลอื่น สำหรับสินคาจำพวกที่ ๓๒ รายการสินคา เครื่องดื่ม

ธญั พชื จงึ นบั ไดว า เปน รายการสนิ คา ทอ่ี าจมคี วามเกย่ี วขอ งสมั พนั ธก นั อยู กลมุ ผบู รโิ ภค

อาจเกดิ ความสบั สนและไมส ามารถแยกแยะความแตกตา งระหวา งสนิ คา ทใ่ี ชเ ครอ่ื งหมาย

การคา ของโจทกก บั สนิ คา ทใ่ี ชเ ครอ่ื งหมายการคา ของบคุ คลอน่ื ทไ่ี ดจ ดทะเบยี นไวแ ลว ได

เครื่องหมายการคาตามคําขอจดทะเบียนของโจทกจึงคลายกับเครื่องหมายการคาของ

บุคคลอื่นที่จดทะเบียนไวแลวจนอาจทำใหสาธารณชนสับสน หรือหลงผิดในความเปน

เจา ของของสนิ คา หรือแหลง กำเนดิ ของสนิ คา

เครื่องหมายการคาของโจทกมีที่มาจากชื่อนิติบุคคลของโจทก เปนคำที่โจทก

ประดิษฐขึ้นและมิไดลอกเลียนมาจากผูใด และเปนชื่อที่โจทกไดใชมาเปนเวลานาน ทั้ง

โจทกยังไดผลิตสินคาภายใตเครื่องหมายการคาตามคําขอจดทะเบียนวางจําหนายใน

หลายประเทศ รวมทง้ั ไดโ ฆษณาเผยแพรเ ครอ่ื งหมายการคา ตามคำขอจดทะเบยี นในสอ่ื

ตา ง ๆ รวมทง้ั สอ่ื ออนไลน สำหรบั การจำหนา ยและการโฆษณาสนิ คา ภายใตเ ครอ่ื งหมาย

๕๕

การคาตามคําขอจดทะเบยี นของโจทกใ นประเทศไทย ฟงไดว า โจทกไดใ ชเ คร่อื งหมาย
การคา มาโดยสุจรติ ชอบที่นายทะเบียนจะรบั จดทะเบียนเครือ่ งหมายการคาของโจทก

______________________________

โจทกฟ อ ง ขอใหเ พกิ ถอนคำสง่ั ของนายทะเบยี นเครอ่ื งหมายการคา และคำวนิ จิ ฉยั ของ

คณะกรรมการเครื่องหมายการคา ตามคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการคาเลขที่ ๘๕๔๐๗๒,

๘๕๔๐๗๓ และ ๘๕๔๐๗๔ ของโจทกและดำเนินการรับจดทะเบียนเครื่องหมายการคาทั้งสาม

คำขอของโจทกตอ ไป

จำเลยใหการ ขอใหย กฟอ ง

ศาลทรัพยสินทางปญญาและการคาระหวางประเทศกลางพิพากษาใหเพิกถอนคำสั่ง

ของนายทะเบียนเครื่องหมายการคาและคำวินิจฉัยของคณะกรรมการเครื่องหมายการคาและ

ใหจำเลยดำเนินการเกี่ยวกับการรับจดทะเบียนเครื่องหมายการคาตามคำขอเลขที่ ๘๕๔๐๗๒,

๘๕๔๐๗๓ และ ๘๕๔๐๗๔ ของโจทกตอไป คา ฤชาธรรมเนยี มใหเปน พับ

จำเลยอทุ ธรณ

ศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษแผนกคดีทรัพยสินทางปญญาและการคาระหวางประเทศ

วนิ จิ ฉยั วา ขอ เทจ็ จรงิ ทค่ี คู วามไมโ ตเ ถยี งกนั ในชน้ั น้ี ฟง ไดว า โจทกเ ปน เจา ของเครอ่ื งหมายการคา

อา นวา น-ู ท-ิ วา โดยประกอบกจิ การผลติ และจำหนา ยสนิ คา เกษตรกรรมทท่ี ำจาก

พืชที่ไมดัดแปลงพันธุกรรมมาตั้งแตป ๒๕๔๒ ไดจดทะเบียนเครื่องหมายการคาแลวในประเทศ

สหรัฐอเมริกาและในประเทศอื่นอีกหลายประเทศ เมื่อวันที่ ๑๑ กรกฎาคม ๒๕๕๕ โจทกไดยื่น

คำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการคา อานวา นู-ทิ-วา ตอจำเลย รวมสามคำขอ

คำขอเลขท่ี ๘๕๔๐๗๒ กบั สนิ คา จำพวกท่ี ๕ รายการสนิ คา อาหารเสรมิ และอาหารทใ่ี ชใ นการควบคมุ

น้ำหนักที่ดัดแปลงใชในการรักษาโรค อาหารเสริมโปรตีนใชในการรักษาโรค โปรตีนจากปอใช

เปนสวนประกอบคุณคาทางโภชนาการในรูปของผงและเครื่องดื่มพรอมดื่มใชในการรักษาโรค

คำขอเลขที่ ๘๕๔๐๗๓ กับสินคาจำพวกที่ ๒๙ รายการสินคา น้ำนมจากเมล็ดปอใชแทนนม

เมลด็ ปอใชเ ปน อาหาร เมลด็ เชยี ใชเ ปน อาหาร นำ้ มนั ทร่ี บั ประทานได นำ้ มนั มะพรา วใชเ ปน อาหาร

น้ำมันเมล็ดปอใชเปนอาหาร มะพราวที่ผานกรรมวิธี และคำขอเลขที่ ๘๕๔๐๗๔ กับสินคา

จำพวกท่ี ๓๒ รายการสนิ คา เครอ่ื งดม่ื ทท่ี ำจากมะพรา วเปน หลกั ทไ่ี มม แี อลกอฮอล นายทะเบยี น

เครื่องหมายการคาปฏิเสธไมรับจดทะเบียนเครื่องหมายการคาของโจทกทั้งสามคำขอ โจทก

อทุ ธรณค ำสง่ั ของนายทะเบยี นเครอ่ื งหมายการคา คณะกรรมการเครอ่ื งหมายการคา มคี ำวนิ จิ ฉยั

๕๖

ยนื ตามคำสง่ั ของนายทะเบยี นเครอ่ื งหมายการคา ทง้ั สามคำขอ โดยวนิ จิ ฉยั วา เครอ่ื งหมายการคา

ของโจทกคลายกับเครื่องหมายการคาคำวา ของบุคคลอื่นที่ไดจดทะเบียนไวแลว

จนอาจทำใหสาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเปนเจาของหรือแหลงกำเนิดของสินคาได

มปี ญ หาตอ งวนิ จิ ฉยั ตามอทุ ธรณข องจำเลยวา เครอ่ื งหมายการคา ของโจทกค ลา ยกบั

เครอ่ื งหมายการคา คำวา ของบคุ คลอน่ื ทไ่ี ดจ ดทะเบยี นไวแ ลว จนทำใหส าธารณชน

สบั สนหรอื หลงผิดในความเปนเจา ของหรือแหลงกำเนิดของสนิ คาหรือไม

พิเคราะหแลว เห็นวา เมื่อเปรียบเทียบเครื่องหมายการคาคำวา ของ

โจทกกับเครื่องหมายการคาคำวา ของบุคคลอื่นที่ไดจดทะเบียนไวแลว พบวา

เครื่องหมายการคาของโจทกและเครื่องหมายการคาของบุคคลอื่นที่ไดจดทะเบียนไวแลวเปน

เครื่องหมายการคาประเภทคำเหมือนกัน ประกอบดวยตัวอักษรโรมันเชนเดียวกัน เครื่องหมาย

การคา ของโจทกป ระกอบดว ยตวั อกั ษรโรมนั ๖ ตวั เขยี นดว ยตวั พมิ พใ หญท ง้ั หมด สว นเครอ่ื งหมาย

การคา ของบคุ คลอน่ื ทไ่ี ดจ ดทะเบยี นไวแ ลว ประกอบดว ยตวั อกั ษรโรมนั ๘ ตวั ตวั อกั ษรโรมนั ตวั แรก

เขียนดวยตัวพิมพใหญ สวนตัวอักษรที่เหลือเขียนดวยตัวพิมพเล็กทั้งหมด เมื่อพิจารณาดวย

สายตาแลวเครื่องหมายการคาทั้งสองดังกลาวนับไดวามีความแตกตางกัน แตเมื่อพิจารณาสวน

คำเรียกขานเครื่องหมายการคา ของโจทกระบุคำอานไวในคำขอจดทะเบียน

เครื่องหมายการคาวา นู-ทิ-วา สวนเครื่องหมายการคา ของบุคคลอื่นที่ได

จดทะเบยี นไวแ ลว นน้ั ในชน้ั นายทะเบยี นเครอ่ื งหมายการคา และชน้ั คณะกรรมการเครอ่ื งหมายการคา

ไดเ รยี กขานเครอ่ื งหมายการคา ของบคุ คลอน่ื วา น-ู ทร-ิ วา ซง่ึ โจทกน ำสบื โตแ ยง วา เสยี งเรยี กขาน

เครอ่ื งหมายการคา ของบคุ คลอน่ื ตอ งอา นวา นวิ -ทร-ิ วา แตจ ำเลยกม็ ไิ ดน ำสบื ใหเ หน็ วา ในคำขอ

จดทะเบยี นเครอ่ื งหมายการคา ของผอู น่ื นน้ั ไดร ะบคุ ำอา นไวว า อยา งไร ยอ มเหน็ ไดว า เครอ่ื งหมาย

การคาทั้งสองมีเสียงเรียกขานใกลเคียงกันมาก ผูบริโภคอาจเกิดความสับสนในการเรียกขาน

เครอ่ื งหมายการคา ทง้ั สอง โดยเฉพาะอยา งยง่ิ ผบู รโิ ภคทไ่ี มส นั ทดั ในการออกเสยี งคำภาษาองั กฤษ

ยอมเปนการยากที่จะออกเสียงคำวา นู-ทิ-วา คำวา นู-ทริ-วา หรือ นิว-ทริ-วา ใหเปนเสียงที่มี

ความแตกตา งไดอ ยา งชดั เจน และเมอ่ื พจิ ารณารายการสนิ คา ตามคำขอจดทะเบยี นทง้ั สามคำขอ

ของโจทกซึ่งขอจดทะเบียนกับสินคาจำพวกที่ ๕ รายการสินคา อาหารเสริมและอาหารที่ใชใน

การควบคมุ น้ำหนกั ท่ดี ัดแปลงใชในการรักษาโรค อาหารเสริมโปรตีนใชในการรกั ษาโรค โปรตีน

จากปอใชเปนสวนประกอบคุณคาทางโภชนาการในรูปของผงและเครื่องดื่มพรอมดื่มใชในการ

รักษาโรค จำพวกที่ ๒๙ รายการสินคา น้ำนมจากเมล็ดปอใชแทนนม เมล็ดปอใชเปนอาหาร

เมลด็ เชยี ใชเ ปน อาหาร นำ้ มนั ทร่ี บั ประทานได นำ้ มนั มะพรา วใชเ ปน อาหาร นำ้ มนั เมลด็ ปอใชเ ปน

๕๗

อาหาร มะพราวที่ผานกรรมวิธี และจำพวกที่ ๓๒ รายการสินคา เครื่องดื่มที่ทำจากมะพราว
เปนหลักที่ไมมีแอลกอฮอล เปรียบเทียบกับรายการสินคาที่ไดจดทะเบียนไวกับเครื่องหมาย
การคา ของบคุ คลอน่ื สำหรบั สนิ คา จำพวกท่ี ๓๒ รายการสนิ คา เครอ่ื งดม่ื ธญั พชื จงึ นบั ไดว า เปน
รายการสินคาที่อาจมีความเกี่ยวของสัมพันธกันอยู กลุมผูบริโภคจึงอาจเกิดความสับสนและ
ไมสามารถแยกแยะความแตกตางระหวางสินคาที่ใชเครื่องหมายการคาของโจทกตามคำขอจด
ทะเบียนทั้งสามคำขอ กับสินคาที่ใชเครื่องหมายการคาของบุคคลอื่นที่ไดจดทะเบียนไวแลวได
เครื่องหมายการคาตามคำขอจดทะเบียนของโจทกทั้งสามคำขอจึงคลายกับเครื่องหมายการคา
ของบคุ คลอน่ื ทจ่ี ดทะเบยี นไวแ ลว จนอาจทำใหส าธารณชนสบั สนหรอื หลงผดิ ในความเปน เจา ของ
ของสนิ คา หรอื แหลง กำเนดิ ของสนิ คา ทศ่ี าลทรพั ยส นิ ทางปญ ญาและการคา ระหวา งประเทศกลาง
วินิจฉัยวา เครื่องหมายการคาตามคำขอจดทะเบียนทั้งสามคำขอของโจทกและของบุคคลอื่น
ทไ่ี ดจ ดทะเบยี นไวแ ลว ไมเ หมอื นหรอื คลา ยกนั จนอาจทำใหส าธารณชนสบั สนหรอื หลงผดิ ในความ
เปน เจา ของหรอื แหลง กำเนดิ ของสนิ คา นน้ั ศาลอทุ ธรณค ดชี ำนญั พเิ ศษไมเ หน็ พอ งดว ย อทุ ธรณ
ของจำเลยขอ นีฟ้ งขึน้

ปญ หาท่ตี อ งวินิจฉยั ตามอุทธรณข องจำเลยประเด็นตอไปมีวา เคร่อื งหมายการคาตาม
คำขอเลขที่ ๘๕๔๐๗๒ คำขอเลขที่ ๘๕๔๐๗๓ และคำขอเลขที่ ๘๕๔๐๗๔ ของโจทกเปน
เครื่องหมายการคาซึ่งตางเจาของตางไดใชมาแลวดวยกันโดยสุจริต หรือมีพฤติการณพิเศษที่
นายทะเบยี นเหน็ สมควรรบั จดทะเบยี นตามมาตรา ๒๗ วรรคหนง่ึ แหง พระราชบญั ญตั เิ ครอ่ื งหมาย
การคา พ.ศ. ๒๕๓๔ หรือไม เห็นวา เครื่องหมายการคาทั้งสามคำขอของโจทกนั้นมีที่มาจาก
ชื่อนิติบุคคลของโจทก ซึ่งเปนคำที่โจทกประดิษฐขึ้นและมิไดลอกเลียนมาจากผูใด และเปนชื่อ
ที่โจทกไดใชมาเปนเวลานานแลว ทั้งโจทกยังไดผลิตสินคาภายใตเครื่องหมายการคาตามคำขอ
จดทะเบยี นวางจำหนา ยในหลายประเทศ รวมทง้ั ไดโ ฆษณาเผยแพรเ ครอ่ื งหมายการคา ตามคำขอ
จดทะเบียนในสื่อตาง ๆ รวมทั้งสื่อออนไลน สำหรับการจำหนายและการโฆษณาสินคาภายใต
เครื่องหมายการคาตามคำขอจดทะเบียนของโจทกในประเทศไทยเอง นายกฤชวัชรพยานโจทก
กใ็ หถ อ ยคำวา มกี ารวางจำหนา ยสนิ คา และโฆษณาเผยแพรส นิ คา ทใ่ี ชเ ครอ่ื งหมายการคา ของโจทก
ในประเทศไทยทง้ั ตามเอกสารหมาย จ.๑๙ ซง่ึ เปน เอกสารทแ่ี สดงรายชอ่ื ประเทศทจ่ี ำหนา ยสนิ คา
ภายใตเครื่องหมายการคาของโจทกก็ปรากฏวามีประเทศไทยรวมอยูในรายชื่อประเทศดังกลาว
ยง่ิ ไปกวา นน้ั ตามภาพถา ยจากหนา เวบ็ ไซตจ ำหนา ยสนิ คา กแ็ สดงถงึ ชอ งทางการจำหนา ยสนิ คา ทใ่ี ช
เครอ่ื งหมายการคา ของโจทกใ นประเทศไทยและการรบั ชำระราคาเปน เงนิ บาท สว นพยานจำเลย
ทม่ี าใหถ อ ยคำเพยี งแตย นื ยนั วา พยานหลกั ฐานโจทกท เ่ี สนอในชน้ั คณะกรรมการเครอ่ื งหมายการคา

๕๘

ไมเ พยี งพอทจ่ี ะแสดงวา โจทกใ ชเ ครอ่ื งหมายการคา ของโจทกม าเปน เวลานานหรอื มกี ารจำหนา ย
แพรหลายในประเทศไทย แตไมมีพยานหลักฐานมาโตแยงหรือหักลางพยานหลักฐานที่โจทกได
เสนอตอ ศาลในชน้ั พจิ ารณาวา ไมเ ปน ความจรงิ หรอื ไมอ าจรบั ฟง ไดต ามทน่ี ายกฤชวชั รพ ยานโจทก
ใหถ อ ยคำประกอบพยานเอกสารอยา งไร พยานหลกั ฐานโจทกใ นประเดน็ นจ้ี งึ มนี ำ้ หนกั ดกี วา พยาน
หลกั ฐานจำเลย และรบั ฟง ไดว า โจทกไ ดใ ชเ ครอ่ื งหมายการคา ตามคำขอดงั กลา วมาโดยสจุ รติ ชอบ
ที่นายทะเบียนจะรับจดทะเบียนเครื่องหมายการคา ตามคำขอเลขที่ ๘๕๔๐๗๒ ในจำพวกที่ ๕
คำขอเลขท่ี ๘๕๔๐๗๓ ในจำพวกที่ ๒๙ และคำขอเลขที่ ๘๕๔๐๗๔ ในจำพวกที่ ๓๒ ของโจทก
โดยกำหนดเงื่อนไขและขอจำกัดเกี่ยวกับวิธีการใชและเขตแหงการใชเครื่องหมายการคานั้นได
ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการคา พ.ศ. ๒๕๓๔ มาตรา ๒๗ วรรคหนึ่ง อุทธรณขอนี้ของ
จำเลยฟง ไมข น้ึ

พิพากษาแกเปนวา ใหนายทะเบียนเครื่องหมายการคาดำเนินการรับจดทะเบียน
เครอ่ื งหมายการคา ตามคำขอเลขท่ี ๘๕๔๐๗๒ คำขอเลขท่ี ๘๕๔๐๗๓ และคำขอเลขท่ี ๘๕๔๐๗๔
ของโจทก โดยกำหนดเงื่อนไขและขอจำกัดเกี่ยวกับวิธีการใชและเขตแหงการใชเครื่องหมาย
การคานั้นตามที่นายทะเบียนเครื่องหมายการคาเห็นสมควร ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมาย
การคา พ.ศ. ๒๕๓๔ มาตรา ๒๗ วรรคหนึ่ง คาฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณใหเปนพับ นอกจาก
ท่ีแกค งใหเปนไปตามคำพิพากษาศาลทรพั ยส ินทางปญ ญาและการคาระหวา งประเทศกลาง.

(พมิ ลรตั น วรรธนะหทยั - นพรตั น ชลวทิ ย - วราคมน เลยี้ งพนั ธ)ุ

สุดธิดา ธรรมชตุ พิ ร - ยอ
สจุ ินต เจนพาณิชพงศ - ตรวจ

หมายเหตุ คดถี งึ ที่สดุ

๕๙

คำพพิ ากษาศาลอทุ ธรณค ดีชำนญั พเิ ศษที่ ๗๔๒/๒๕๖๐ นายองอาจ วงศเจริญใหญ โจทก

หลุยส วีตตอง

มาลเลอดิเย ผูรองสอด

กรมทรพั ยสินทางปญ ญา

กับพวก จําเลย

พ.ร.บ. เครอื่ งหมายการคา พ.ศ. ๒๕๓๔ มาตรา ๘ (๙) (๑๐), ๑๓

เครอ่ื งหมายการคา ของโจทกต ามคำขอเลขท่ี ๖๕๖๙๕๘ เปน รปู เครอ่ื งหมาย
การคา ทะเบียนเลขท่ี ค ๑๑๓๔๘๗ เปนรูป และทะเบยี นเลขที่ ค ๑๖๑๓๔๔ เปนรูป

สวนเคร่ืองหมายการคาทะเบียนเลขท่ี ค ๑๖๔๖๕๔ ของผูรองสอด เปน รปู
แมอ ักษรโรมนั มีลักษณะประดษิ ฐจ ริง เพราะเปน การจดั วางรูปแบบตัวอกั ษรท่ตี าง
จากอกั ษรโรมนั ปกตทิ ว่ั ไป แตเ ปน การประดษิ ฐท ม่ี ลี กั ษณะคลา ยกบั อกั ษรโรมนั ของ
ผูรองสอดอยางมาก เนื่องจากเสนตรงของตัวอักษรโรมันมีแนวเฉียงและแนวนอนใน
ลกั ษณะเดยี วกนั ตา งกนั เพยี งของผรู อ งสอดจะมเี สน เฉยี งเพม่ิ ขน้ึ ๑ เสน กบั เสน แนวนอน
ที่มองแทบไมเห็นอีก ๑ เสน ดังนั้น หากไมพิจารณาอยางละเอียด ก็อาจไมเห็นความ
แตกตางนี้ สวนรายละเอียดในเครื่องหมายการคาพิพาทที่มีรูปวงกลม สี่เหลี่ยม และ
กากบาท นั้น รูปแบบรวมทั้งตำแหนงที่จัดวางมีแถวและระยะหางคลายกับเครื่องหมาย
การคาของผรู องสอดเปน อยา งมาก สำหรบั คำวา Jo Louis ในเคร่ืองหมายการคา พิพาท
จะมีขนาดใหญบาง เล็กบาง ทั้งคําวา Louis เปนชื่อและภาคสวนสําคัญของเครื่องหมาย
การคา ของผรู อ งสอด วญิ ชู นอาจไมส งั เกตเหน็ ความแตกตา งหรอื กระทง่ั คาดเดาวา เปน
เครอ่ื งหมายการคา ของเจา ของสนิ คา เดยี วกนั นอกจากน้ี โจทกป ระสงคจ ะใชเ ครอ่ื งหมาย
การคา พพิ าทโดยไมไดน ําเคร่ืองหมายการคา ทีจ่ ดทะเบยี นไวแ ลว ตามเอกสารหมาย จ.๘
ในสว นรปู ไขแ ละคำวา “Jo Louis” มาใชท ำใหค ลา ยกบั รปู กากบาทในเครอ่ื งหมายการคา
ของผรู อ งสอด ประการสาํ คญั โจทกเ องกย็ อมรบั ในอทุ ธรณว า ภาคสว นทเ่ี ปน คลา ยกบั

ที่เปนภาคสวนสำคัญในเครื่องหมายการคาของผูรองสอด อีกทั้ง มีการจัดวาง
รปู แบบของลวดลายคลา ยกบั เครอ่ื งหมายการคา ของผรู อ งสอด เมอ่ื โจทกป ระกอบอาชพี
คา ขายสนิ คา ประเภทเดยี วกบั สนิ คา ของผรู อ งสอด จงึ เปน ไปไดว า โจทกเ คยเหน็ เครอ่ื งหมาย
การคาของผูรองสอดมากอน แลวนำแนวคิดมาใชกับเครื่องหมายการคาพิพาททำให
เคร่อื งหมายการคา พิพาทคลา ยกับเครือ่ งหมายการคาของผรู อ งสอด

๖๐

สำหรับเสียงเรียกขานที่โจทกอุทธรณนั้น โจทกไมไดโตแยงการพิจารณาของ
ศาลทรัพยส นิ ทางปญญาและการคา ระหวางประเทศกลางทวี่ าไมต องยึดถือคำเรยี กขาน
ตามทร่ี ะบใุ นคำขอ เสยี งเรยี กขานของเครอ่ื งหมายการคา ทง้ั สองฝา ยสำหรบั วญิ ชู นโดย
ทว่ั ไปจงึ อาจคลา ยกนั ได ตามทศ่ี าลทรพั ยส นิ ทางปญ ญาและการคา ระหวา งประเทศกลาง
วินิจฉัยเพราะมีคำวา “Louis” เหมือนกัน และคำดังกลาวเปนภาคสวนสำคัญของ
เครื่องหมายการคาทั้งสองฝาย เสียงเรียกขานของเครื่องหมายการคาจึงมีโอกาสคลาย
กันได

การพจิ ารณาความคลา ยกนั ของเครอ่ื งหมายการคา ทอ่ี าจทำใหส าธารณชนสบั สน
หรือหลงผิดในความเปนเจาของของสินคาหรือแหลงกำเนิดของสินคานี้ ตองพิจารณา
ตามความคิดเห็นของวิญูชน ไมใชบุคคลใดบุคคลหนึ่ง ทางนำสืบของโจทกเปนเพียง
ความเหน็ ของบุคคลใดบคุ คลหน่งึ เทา นน้ั

_____________________________

โจทกฟ อ ง ขอใหเ พกิ ถอนคำวนิ จิ ฉยั ของคณะกรรมการเครอ่ื งหมายการคา ท่ี ๗๘๓/๒๕๕๖
และใหมีคำพิพากษาหรือคำสั่งใหจำเลยทั้งสองรวมกันหรือแทนกันดำเนินการรับจดทะเบียน
เครอื่ งหมายการคาของโจทก คำขอเลขท่ี ๖๕๖๙๕๘ ตามขน้ั ตอนการจดทะเบยี นตอ ไป

จำเลยทงั้ สองใหก าร ขอใหยกฟอ ง
ระหวางพิจารณา หลุยส วีตตอง มาลเลอดิเย ยื่นคำรองขอเขาเปนคูความอางวาเปน
เจา ของเครอ่ื งหมายการคา ทไ่ี ดจ ดทะเบยี นไวแ ลว หากศาลพพิ ากษาใหเ ปน ไปตามฟอ งของโจทก
จะเกดิ ความเสยี หายอยา งมาก ศาลทรพั ยส นิ ทางปญ ญาและการคา ระหวา งประเทศกลางมคี ำสง่ั
อนุญาตใหผูรองสอดเขามาเปนคูความตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพยสินทางปญญาและ
การคาระหวางประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพยสินทางปญญาและการคาระหวางประเทศ
พ.ศ. ๒๕๓๙ มาตรา ๒๖ ประกอบประมวลกฎหมายวธิ พี ิจารณาความแพง มาตรา ๕๗ (๑)
ผูรองสอดใหการวา โจทกไมมีอำนาจฟองคดีนี้ เครื่องหมายการคาพิพาทไมอาจรับ
จดทะเบยี นไดต ามพระราชบญั ญตั เิ ครอ่ื งหมายการคา พ.ศ. ๒๕๓๔ มาตรา ๘ (๙) (๑๐) คำวนิ จิ ฉยั
ของคณะกรรมการเครื่องหมายการคาถึงที่สุดแลว บุคคลในเครือญาติของโจทกเคยยื่นคำขอจด
ทะเบยี นเครอ่ื งหมายการคา ทเ่ี หมอื นหรอื คลา ยกบั เครอ่ื งหมายการคา ของบคุ คลอน่ื ทไ่ี ดจ ดทะเบยี น
ไวแ ลว
โจทกยื่นคำใหการแกคำรองสอดวา เครื่องหมายการคาพิพาทไมขัดตอกฎหมายแต
อยา งใด คำวนิ ิจฉยั ของคณะกรรมการเคร่ืองหมายการคา ยังไมถ งึ ท่สี ดุ

๖๑

ศาลทรัพยสินทางปญญาและการคาระหวางประเทศกลางพิพากษายกฟอง คาฤชา
ธรรมเนียมใหเปน พับ

โจทกอ ุทธรณ
ศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษแผนกคดีทรัพยสินทางปญญาและการคาระหวางประเทศ
วนิ จิ ฉยั วา ขอ เทจ็ จรงิ รบั ฟง ในเบอ้ื งตน ตามทค่ี คู วามไมโ ตแ ยง กนั วา โจทกร บั โอนคำขอจดทะเบยี น
เครื่องหมายการคาพิพาทจากนายวีรชัย เปนเครื่องหมายการคาตามคำขอเลขที่ ๖๕๖๙๕๘
ใชก บั สนิ คา จำพวกท่ี ๑๘ รายการสนิ คา กระเปา เดนิ ทาง นายทะเบยี นเครอ่ื งหมายการคา เหน็ วา
เครื่องหมายการคาพิพาทเหมือนหรือคลายกับเครื่องหมายการคาของบุคคลอื่นที่ไดจดทะเบียน
ไวแ ลว นายวรี ชยั ยน่ื อทุ ธรณ คณะกรรมการเครอ่ื งหมายการคา มมี ตใิ หน ายทะเบยี นเครอ่ื งหมาย
การคาพิจารณาดำเนินการตามขั้นตอนตอไป ผูรองสอดยื่นคำคัดคาน นายวีรชัยยื่นคำโตแยง
โดยอา งเครอ่ื งหมายการคา ทไ่ี ดร บั จดทะเบยี นไวแ ลว ทะเบยี นเลขท่ี ค ๑๑๓๔๘๗ และ ค ๑๖๑๓๔๔
นายทะเบยี นเครอ่ื งหมายการคา มคี ำวนิ จิ ฉยั ยกคำคดั คา นและดำเนนิ การจดทะเบยี นเครอ่ื งหมาย
การคาพิพาทตอไป ผูรองสอดอุทธรณ คณะกรรมการเครื่องหมายการคาวินิจฉัยใหระงับการจด
ทะเบยี นเครอ่ื งหมายการคา พพิ าทแลว แจง ใหโ จทกท ราบ เครอ่ื งหมายการคา คำขอเลขท่ี ๖๕๖๙๕๘
เปน รปู เครอ่ื งหมายการคา ทะเบยี นเลขท่ี ค ๑๑๓๔๘๗ เปน รปู และทะเบยี นเลขท่ี
ค ๑๖๑๓๔๔ เปนรูป สว นเคร่อื งหมายการคา ทะเบยี นเลขท่ี ค ๑๖๔๖๕๔ เปน รูป
ปญหาที่ตองวินิจฉัยตามอุทธรณของโจทกมีวา เครื่องหมายการคาพิพาทคลายกับ
เครื่องหมายการคาของผูรองสอดที่ไดจดทะเบียนไวแลว จนอาจทำใหสาธารณชนสับสนหรือ
หลงผดิ ในความเปนเจา ของของสนิ คา หรอื แหลง กำเนดิ ของสินคา หรือไม เห็นวา อักษรโรมนั
มีลักษณะประดิษฐจริง เพราะเปนการจัดวางรูปแบบตัวอักษรที่ตางจากอักษรโรมันปกติทั่วไป
แตเปนการประดิษฐที่มีลักษณะคลายกับอักษรโรมัน ของผูรองสอดอยางมาก เนื่องจาก
เสน ตรงของตวั อกั ษรโรมนั มแี นวเฉยี งและแนวนอนในลกั ษณะเดยี วกนั ตา งกนั เพยี งของผรู อ งสอด
จะมเี สน เฉยี งเพม่ิ ขน้ึ ๑ เสน กบั เสน แนวนอนทม่ี องแทบไมเ หน็ อกี ๑ เสน ดงั นน้ั หากไมพ จิ ารณา
อยางละเอียดก็อาจไมเห็นความแตกตางนี้ สวนรายละเอียดในเครื่องหมายการคาพิพาทที่มี
รปู วงกลม สเ่ี หลย่ี มและกากบาท นน้ั รปู แบบรวมทง้ั ตำแหนง ทจ่ี ดั วางมแี ถวและระยะหา งคลา ยกบั
เครื่องหมายการคาของผูรองสอดเปนอยางมาก สำหรับคำวา Jo Louis ในเครื่องหมายการคา
พิพาทจะมีขนาดใหญบางเล็กบาง ทั้งคำวา Louis เปนชื่อและภาคสวนสำคัญของเครื่องหมาย
การคา ของผรู อ งสอด วญิ ชู นอาจไมส งั เกตเหน็ ความแตกตา งหรอื กระทง่ั คาดเดาวา เปน เครอ่ื งหมาย
การคาของเจาของสินคาเดียวกัน นอกจากนี้ โจทกประสงคจะใชเครื่องหมายการคาพิพาทโดย

๖๒

ไมไดนำเครื่องหมายการคาที่จดทะเบียนไวแลวตามเอกสารหมาย จ.๘ ในสวนรูปไขและคำวา
“Jo Louis” มาใชท ำใหค ลา ยกับรูปกากบาทในเคร่ืองหมายการคาของผรู องสอด ประการสำคญั
โจทกเองก็ยอมรับในอุทธรณวา ภาคสวนที่เปน คลายกับ ที่เปนภาคสวนสำคัญใน
เครื่องหมายการคาของผูรองสอด อีกทั้งมีการจัดวางรูปแบบของลวดลายคลายกับเครื่องหมาย
การคา ของผรู อ งสอด เมอ่ื โจทกป ระกอบอาชพี คา ขายสนิ คา ประเภทเดยี วกบั สนิ คา ของผรู อ งสอด
จึงเปนไปไดวาโจทกเคยเห็นเครื่องหมายการคาของผูรองสอดมากอน แลวนำแนวคิดมาใชกับ
เครอ่ื งหมายการคา พพิ าททำใหเ ครอ่ื งหมายการคา พพิ าทคลา ยกบั เครอ่ื งหมายการคา ของผรู อ งสอด
สำหรับเสียงเรียกขานที่โจทกอุทธรณนั้น โจทกไมไดโตแยงการพิจารณาของศาลทรัพยสิน
ทางปญญาและการคาระหวางประเทศกลางที่วาไมตองยึดถือคำเรียกขานตามที่ระบุในคำขอ
เสยี งเรยี กขานของเครอ่ื งหมายการคา ทง้ั สองฝา ยสำหรบั วญิ ชู นโดยทว่ั ไปจงึ อาจคลา ยกนั ไดต ามท่ี
ศาลทรพั ยส นิ ทางปญ ญาและการคา ระหวา งประเทศกลางวนิ จิ ฉยั เพราะมคี ำวา “Louis” เหมอื นกนั
และคำดังกลาวเปนภาคสวนสำคัญของเครื่องหมายการคาทั้งสองฝาย เสียงเรียกขานของ
เครอ่ื งหมายการคา จงึ มโี อกาสคลา ยกนั ได อนง่ึ การพจิ ารณาความคลา ยกนั ของเครอ่ื งหมายการคา
ที่อาจทำใหสาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเปนเจาของของสินคาหรือแหลงกำเนิดของ
สนิ คา น้ี ตอ งพจิ ารณาตามความคดิ เหน็ ของวญิ ชู น ไมใ ชบ คุ คลใดบคุ คลหนง่ึ ทางนำสบื ของโจทก
เปนเพียงความเห็นของบุคคลใดบุคคลหนึ่งเทานั้น ดังนี้ ที่ศาลทรัพยสินทางปญญาและการคา
ระหวางประเทศกลางวินิจฉัยมานั้นจึงชอบแลว อุทธรณของโจทกขอนี้ฟงไมขึ้น กรณีไมจำตอง
วินจิ ฉัยอุทธรณขออน่ื ของโจทกอีกตอไป เพราะไมทำใหผลคดีเปลย่ี นแปลง

พพิ ากษายนื คาฤชาธรรมเนียมชน้ั อทุ ธรณใ หเปนพบั .

(ไชยยศ วรนนั ทศ ิริ - สรุ พล คงลาภ - พรี พล พชิ ยวฒั น)

ปญ ญา วชริ ะญาณศิ - ยอ
สุจนิ ต เจนพาณชิ พงศ - ตรวจ

หมายเหตุ คดถี ึงทสี่ ดุ

๖๓

คำพพิ ากษาศาลอุทธรณคดีชำนญั พเิ ศษที่ ๑๑๓๗/๒๕๖๐ เอกซอน โมบิล

คอรปอเรช่ัน โจทก

กรมทรัพยสนิ ทางปญญา จำเลย

พ.ร.บ. เครือ่ งหมายการคา พ.ศ. ๒๕๓๔ มาตรา ๖, ๑๓

การรับจดทะเบียนเครอื่ งหมายการคา นั้น นายทะเบียนเครอื่ งหมายการคาตอง
ไมรับจดเครื่องหมายการคาที่มีความเหมือนหรือคลายกันของเครื่องหมายการคาที่ได
จดทะเบียนไวแลวจนอาจทำใหสาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเปนเจาของของ
สนิ คา หรอื แหลง กำเนดิ ของสนิ คา ไมว า จะใชก บั สนิ คา จำพวกเดยี วกนั หรอื ตา งจำพวกกนั
ที่มีลักษณะอยางเดียวกัน เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบเครื่องหมายการคาของโจทกและ
ของบริษัท ม. มีความใกลเคียงกัน ๒ เครื่องหมาย คือ เครื่องหมายการคา MOBIL และ
เครื่องหมายรูปมาประดิษฐมีปกบนพื้นทึบ ๑ ตัว โดยเครื่องหมายการคาของบริษัท ม.
เปนภาพประดิษฐในวงกลม มีสวนเดนชัดคืออักษรโรมันคำวา MOBIL-AG ขนาดใหญ
คาดกลางเครื่องหมาย นอกนั้นพื้นที่สวนบนของคำวา MOBIL-AG เปนรูปมาประดิษฐ
บนพื้นทึบ ๓ ตัว โดยเครื่องหมายมีคำวา MOBIL ซ้ำกับเครื่องหมายการคาจดทะเบียน
ของโจทก ซง่ึ ไมใ ชภ าษาไทยแตเ ปน คำตา งประเทศ โดยเมอ่ื เปน คำภาษาตา งประเทศแลว
ทำใหความสามารถในการเขาใจและจดจำของประชาชนในเครื่องหมายจึงมีจำกัด และ
คำวา MOBIL เปนคำที่ไมมีความหมายในพจนานุกรมเปนคำที่ถูกสรางขึ้นเพื่อใชเปน
เครอ่ื งหมายการคา ของโจทก ถงึ แมว า เครอ่ื งหมายการคา ของบรษิ ทั ม. มคี ำวา AG ตอ ทา ย
กไ็ มไ ดเ พม่ิ ความแตกตา งหรอื ทำใหค วามคลา ยและความสบั สนลดลง อกี ทง้ั รปู มา ประดษิ ฐ
บนพน้ื ทบึ ๓ ตวั ในเครอ่ื งหมายการคา ของบรษิ ทั ม. กค็ ลา ยกบั เครอ่ื งหมายการคา รปู มา
มปี ก บนพน้ื ทบึ อนั เปน เครอ่ื งหมายการคา ของโจทกอ กี ดว ย แมว า เครอ่ื งหมายการคา ของ
บรษิ ทั ม. จะมขี นาดเลก็ อยใู นสว นครง่ึ วงกลมกต็ าม และเมอ่ื พจิ ารณาถงึ ชอ่ื ทใ่ี ชเ รยี กขาน
กค็ ลา ยกนั หรอื อาจเรยี กสน้ั จนกลายเปน คำเดยี วกนั ได นอกจากนแ้ี มส นิ คา ของโจทกแ ละ
บรษิ ทั ม. จะจดทะเบยี นเครอ่ื งหมายการคา ตา งจำพวกกนั คอื โจทกจ ดทะเบยี นเครอ่ื งหมาย
การคาในจำพวก ๔ และ ๕ และบริษัท ม. จดทะเบียนรายการสินคาจำพวก ๑ แตเมื่อ
พจิ ารณาถงึ ลกั ษณะรายการสนิ คา แลว นบั ไดว า มลี กั ษณะอยา งเดยี วกนั คอื ตา งเปน สนิ คา
ประเภทสารเคมีที่นำไปใชกับพืชและเกษตรกรรมเหมือนกัน เครื่องหมายการคาของ

๖๔

บริษัท ม. จึงคลายกับเครื่องหมายการคาของโจทกจนอาจทำใหสาธารณชนสับสนหรือ
หลงผดิ ในความเปน เจา ของของสนิ คา หรอื แหลง กำเนดิ ของสนิ คา ได เครอ่ื งหมายการคา
ของบริษทั ม. จึงเปน เครอื่ งหมายการคา ทไี่ มพ งึ รับจดทะเบียน

______________________________

โจทกฟองขอใหพิพากษาวาคำสั่งของนายทะเบียนเครื่องหมายการคาและคำวินิจฉัย

ของคณะกรรมการเครอ่ื งหมายการคา ไมช อบดว ยกฎหมายและใหเ พกิ ถอน กบั ขอใหพ พิ ากษาวา

เครื่องหมายการคาตามคำขอเลขที่ ๗๓๔๓๖๐ เปนเครื่องหมายการคาที่ไมมีลักษณะอันพึงรับ

จดทะเบียน ใหจ ำเลยดำเนนิ การไมรบั จดทะเบยี นเครอ่ื งหมายการคาคำขอดงั กลา ว

จำเลยใหก ารขอใหยกฟอง

ศาลทรัพยสินทางปญญาและการคาระหวางประเทศกลางพิพากษายกฟอง คาฤชา

ธรรมเนียมใหเปน พับ

โจทกอุทธรณ

ศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษแผนกคดีทรัพยสินทางปญญาและการคาระหวางประเทศ

วินิจฉัยวา คดีมีปญหาตองวินิจฉัยตามอุทธรณของโจทกวา เครื่องหมายการคาตามคำขอเลขที่

๗๓๔๓๖๐ เปนเครื่องหมายการคาที่ไมมีลักษณะอันพึงรับจดทะเบียนหรือไม ในคดีนี้ โจทกมี

นายศรีลา ซึ่งเปนผูรับมอบอำนาจโจทกยื่นบันทึกถอยคำยืนยันขอเท็จจริงหรือความเห็นวา

โจทกจดทะเบียนเครื่องหมายการคา อานวา โมบิล และ ซึ่งเปนภาพมาบิน

ประดิษฐในประเทศไทยและตางประเทศทั่วโลก สำหรับประเทศไทย โจทกจดทะเบียนเครื่องหมาย

การคา ๑๒ เครื่องหมาย สำหรับสินคาจำพวก ๔, ๕ และ ๓๗ ปรากฏตามรายการจดทะเบียน

เครื่องหมายการคาของโจทก โจทกเห็นวาเครื่องหมาย ของบริษัทโมบิล-แอ็ก จำกัด มี

คำวา MOBIL เปนสาระสำคัญประกอบดวยรูปมาประดิษฐ มีความคลายกับเครื่องหมายการคา

ของโจทกจนเกิดความสับสนหลงผิดในแหลงที่มาและการเปนเจาของสินคา คำวา MOBIL เปน

คำที่ถูกประดิษฐขึ้นเพื่อใชเปนเครื่องหมายการคาของโจทกตั้งแต พ.ศ. ๒๔๔๙ เปนคำที่ไมมี

ความหมายในพจนานุกรม คำวา AG ในเครื่องหมายของบริษัทโมบิล-แอ็ก จำกัด เปนคำยอ

ของคำภาษาเยอรมันวา “Aktiengesellschaft” ซึ่งใชสำหรับบริษัทจำกัดโดยกรรมสิทธิ์ในหุน

เมอ่ื นำมารวมกบั คำวา MOBIL จงึ อาจเขา ใจไปไดว า เปน บรษิ ทั สาขาหรอื มคี วามเกย่ี วขอ งกบั โจทก

นอกจากนั้นบริษัทโมบิล-แอ็ก จำกัด ยังใชรูปมาประดิษฐดวย แมรูปมาไมเหมือนกัน แตเห็นชัด

วามีเจตนาเลียนแบบเครื่องหมายของโจทก สวนเสียงเรียกขานนั้น เครื่องหมายการคาของ

๖๕

โจทกเ รยี กขานไดว า “ตรามา ” และ “ตราโมบลิ ” เครอ่ื งหมายของบรษิ ทั โมบลิ -แอก็ จำกดั เรยี กขาน

ไดวา “ตรามา” “ตราโมบิล เอจี” หรือ “ตราโมบิล แอ็ก” ซึ่งคลายใกลเคียงกับของโจทก สำหรับ

จำพวกสินคา บริษัทโมบิล-แอ็ก จำกัด ยื่นจดทะเบียนกับสินคาจำพวก ๑ ไดแก ปุยเคมี ซึ่งเปน

รายการสินคาที่ใกลเคียงกับสินคาที่โจทกไดใชและสัมพันธกับรายการสินคาจำพวก ๕ ซึ่งเปน

สินคาอันเกี่ยวดวยการเกษตร ไดแก น้ำยากำจัดเชื้อโรคในพืช สารเคมีกำจัดวัชพืช ตาม

เครื่องหมายการคาของโจทกทะเบียนเลขที่ ค๙๙๗๕๖ จึงเปนสินคาลักษณะอยางเดียวกัน กอน

คดีนี้บริษัทโมบิล-แอ็ก จำกัด ขอจดทะเบียนเครื่องหมายการคา “รูปฉลาก MOBIL-AG และ

รูปมาประดิษฐ” คำขอเลขที่ ๗๐๐๙๗๖ สำหรับสินคาจำพวก ๕ ไดแก สารกำจัดศัตรูพืช

มากอน ซึ่งเหมือนเครื่องหมายที่ขอจดในคดีนี้ แตมีสวนแตกตางคือรูปมาประดิษฐใน

คำขอเลขที่ ๗๐๐๙๗๖ เปนมามีปก ๑ ตัว ซึ่งกรมทรัพยสินทางปญญาปฏิเสธการจดทะเบียน

เมื่อบริษัทโมบิล-แอ็ก จำกัด ดัดแปลงมาประดิษฐเพิ่มอีก ๒ ตัว กรมทรัพยสินทางปญญา

รบั จดทะเบยี นโดยไมไ ดพ จิ ารณาประเดน็ การใชส ทิ ธโิ ดยไมส จุ รติ เลย ดว ยเหตผุ ลทง้ั หมดดงั กลา ว

มา คำสง่ั ของนายทะเบยี นเครอ่ื งหมายการคา และคำวนิ จิ ฉยั ของคณะกรรมการเครอ่ื งหมายการคา

ทย่ี กคำคดั คา นของโจทกจ งึ ไมช อบดว ยกฎหมายฝา ยจำเลยมนี ายวชั ระ ซง่ึ เปน ผอู ำนวยการสำนกั

เครื่องหมายการคา นางสาวอรรถพร ซึ่งเปนนิติกรชำนาญการ และนายกนก ซึ่งเปนนิติกร

ชำนาญการยื่นบันทึกถอยคำยืนยันขอเท็จจริงหรือความเห็นทำนองเดียวกันวา คำสั่งของนาย

ทะเบยี นเครอ่ื งหมายการคา ทย่ี กคำคดั คา นของโจทกแ ละคำวนิ จิ ฉยั ของคณะกรรมการเครอ่ื งหมาย

การคา ทย่ี กอทุ ธรณข องโจทกเ กย่ี วกบั การรบั จดทะเบยี นเครอ่ื งหมายการคา ตามคำขอเลขท่ี ๗๓๔๓๖๐

สำหรับสินคาจำพวก ๑ รายการสินคาปุยเคมี นั้นชอบดวยกฎหมายแลว สำหรับคำขอนี้เดิม

นายทะเบียนเครื่องหมายการคาเห็นวาเหมือนหรือคลายกับเครื่องหมายการคาของบุคคลอื่น

๒ เครอ่ื งหมาย และบรษิ ทั โมบลิ -แอก็ จำกดั อทุ ธรณค ำสง่ั ตอ มาคณะกรรมการเครอ่ื งหมายการคา

วินิจฉัยวา เครื่องหมายการคาของบริษัทโมบิล-แอ็ก จำกัด ไมคลายกับเครื่องหมายการคาของ

บุคคลอื่นที่จดทะเบียนไวแลว ใหกลับคำสั่งปฏิเสธของนายทะเบียนเครื่องหมายการคาและให

นายทะเบยี นเครอ่ื งหมายการคา พจิ ารณาดำเนนิ การตอ ไป นายทะเบยี นเครอ่ื งหมายการคา มกี าร

ประกาศโฆษณาคำขอจดทะเบยี นเลขท่ี ๗๓๔๓๖๐ โจทกย น่ื คดั คา นการขอจดทะเบยี น นายทะเบยี น

เครอ่ื งหมายการคา มคี ำสง่ั ใหย กคำคดั คา นของโจทก โจทกจ งึ ยน่ื อทุ ธรณค ำวนิ จิ ฉยั ของนายทะเบยี น

เครื่องหมายการคาตอคณะกรรมการเครื่องหมายการคาซึ่งไดวินิจฉัยวา เครื่องหมายการคา

ของบรษิ ทั โมบลิ -แอก็ จำกดั มภี าคสว นอกั ษรโรมนั คำวา MOBIL เชน เดยี วกบั เครอ่ื งหมายการคา

ของโจทก แมเครื่องหมายการคาของบริษัทโมบิล-แอ็ก จำกัด มีอักษรโรมัน AG คำวา

๖๖

บริษัท โมบิล-แอ็ก จำกัด และ MOBIL-AG CO.,LTD และรูปมา ๓ ตัว กับรูปคลายใบไม

ประดิษฐอยูภายในรูปวงกลมประกอบอยูดวย เมื่อพิจารณาเสียงเรียกขานเครื่องหมายการคา

ของบริษัทโมบิล-แอ็ก จำกัด วา โมบิล เอจี นับวาเครื่องหมายการคาทั้งสองฝายมีรูปลักษณะ

และเสียงเรียกขานใกลเคียงกัน แตเนื่องจากเครื่องหมายของบริษัทโมบิล-แอ็ก จำกัด ใชกับ

สินคา จำพวก ๑ เครอ่ื งหมายการคา ของโจทกใ ชกับสินคา จำพวก ๔ ซึง่ ตางจำพวก และรายการ

สนิ คา ไมม ลี กั ษณะอยา งเดยี วกนั จงึ ไมอ าจทำใหส าธารณชนสบั สนหรอื หลงผดิ ในความเปน เจา ของ

หรอื แหลง กำเนดิ ของสนิ คา ได สว นเครอ่ื งหมายรปู มา ประดษิ ฐน น้ั แมม ภี าคสว นรปู มา เชน เดยี วกบั

เครื่องหมายการคาของโจทกทะเบียนเลขที่ ค๙๙๗๕๖ ทะเบียนเลขที่ ค๒๒๙๕๘๗ ทะเบียน

เลขที่ ค๗๓๐๒๑ ทะเบียนเลขที่ ค๗๑๔๔๐ ทะเบียนเลขที่ ค๖๒๐๓๙ ทะเบียนเลขที่ ค๙๗๖๙๓

ทะเบียนเลขที่ ค๙๙๗๐๕ ทะเบียนเลขที่ ค๖๕๓๙๓ และมีภาคสวนคำวา MOBIL เชนเดียวกับ

เครื่องการคาของโจทกทะเบียนเลขที่ ค๑๒๗๗๗๖ ทะเบียนเลขที่ ค๑๒๐๔๐๑ ทะเบียนเลขที่

ค๒๗๔๒๑๓ ทะเบียนเลขที่ ค๒๘๔๖๐๖ ทะเบียนเลขที่ ค๒๙๐๐๕๓ ทะเบียนเลขที่ ค๓๐๓๘๖๔

ทะเบียนเลขที่ ค๖๓๑๙๘ ก็ตาม แตการประดิษฐรูปมาแตกตางกัน โดยของบริษัทโมบิล-แอ็ก

จำกัด เปนรูปมา ๓ ตัว สวนของโจทกเปนมาบิน ๑ ตัว นอกจากนั้นมีอักษรโรมันที่แตกตางกัน

บางสวน เครื่องหมายการคาของทั้งสองฝายจึงมีรูปลักษณะแตกตางกันและยังนับวามีเสียง

เรียกขานแตกตางกัน จึงไมทำใหสาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเปนเจาของหรือแหลง

กำเนดิ ของสินคา

ดงั น้ี เหน็ วา การรบั จดทะเบยี นเครอ่ื งหมายการคา ตามมาตรา ๑๓ แหง พระราชบญั ญตั ิ

เครื่องหมายการคา พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งในคดีนี้เปนกรณีของมาตรา ๑๓ (๒) นั้น นายทะเบียน

เครื่องหมายการคาตองไมรับจดเครื่องหมายการคาที่คลายกับเครื่องหมายการคาของบุคคลอื่น

ทไ่ี ดจ ดทะเบยี นไวแ ลว จนอาจทำใหส าธารณชนสบั สนหรอื หลงผดิ ในความเปน เจา ของของสนิ คา

หรือแหลงกำเนิดของสินคา ไมวาจะใชกับสินคาจำพวกเดียวกันหรือตางจำพวกกันที่มีลักษณะ

อยางเดียวกัน สำหรับเครื่องหมายการคาของบริษัทโมบิล-แอ็ก จำกัด กับเครื่องหมาย

การคาของโจทกที่มีความใกลเคียงกัน ๒ เครื่องหมายคือ เครื่องหมายการคา

ทะเบยี นเลขท่ี ค๖๓๑๙๘ และเครอ่ื งหมายการคา ทะเบยี นเลขท่ี ค๙๙๗๕๖ เมอ่ื เปรยี บเทยี บ

กันเห็นไดชัดวา เครื่องหมายการคาของบริษัทโมบิล-แอ็ก จำกัด เปนภาพประดิษฐในวงกลม

สวนที่เดนชัดคืออักษรโรมันคำวา MOBIL-AG ขนาดใหญคาดกลางเครื่องหมาย นอกนั้นพื้นที่

สว นบนของคำวา MOBIL-AG เปน รปู มา ประดษิ ฐบ นพน้ื ทบึ ๓ ตวั พน้ื ทด่ี า นลา งเปน ลายประดษิ ฐ

แยกอีกชิน้ หนง่ึ ในขณะท่เี ครอ่ื งหมายการคา ทะเบยี นเลขที่ ค๖๓๑๙๘ ของโจทกเปนอกั ษรโรมัน

๖๗

คำวา MOBIL สวนเครื่องหมายการคาทะเบียนเลขที่ ค๙๙๗๕๖ เปนรูปมาประดิษฐมีปกบน
พน้ื ทบึ ๑ ตวั คำวา MOBIL ทซ่ี ำ้ กนั ดงั กลา วไมใ ชภ าษาไทย แตเ ปน คำภาษาตา งประเทศ ซง่ึ โดย
ทว่ั ไปหากไมใ ชค ำทใ่ี ชก นั จนคนุ เคยมากขนาดทส่ี ามารถเทยี บเปน ความหมายภาษาไทยได ความ
สามารถในการเขา ใจและจดจำเครอ่ื งหมายทเ่ี ปน ภาษาตา งประเทศดงั กลา วสำหรบั ผบู รโิ ภคทว่ั ไป
ยอ มจำกดั สง่ิ สำคญั ในคดนี ค้ี อื คำวา MOBIL ไมม คี วามหมายในพจนานกุ รม ซง่ึ นายศรลี า ยนื ยนั
วาเปนคำที่ถูกสรางขึ้นเพื่อใชเปนเครื่องหมายการคาของโจทกตั้งแต พ.ศ. ๒๔๔๙ และเปนคำ
สำคัญที่โจทกนำไปใชจดทะเบียนเครื่องหมายการคาทั่วโลก โดยนำไปรวมกับคำอื่นดวย การที่
เครื่องหมายการคาของบริษัทโมบิล-แอ็ก จำกัด ใชคำ MOBIL เปนคำสำคัญของเครื่องหมาย
การคาเชนเดียวกันดังที่วินิจฉัยมาแลว จึงเปนการใชคำภาษาตางประเทศคำเดียวกันกับ
เครื่องหมายการคาของโจทกในเครื่องหมายการคาที่ขอจดทะเบียน สวนที่มีคำวา AG ตอทาย
ดวยนั้น นายศรีลายืนยันวาคำวา AG ในเครื่องหมายการคาของบริษัทโมบิล-แอ็ก จำกัด เปน
คำยอของคำภาษาเยอรมันวา “Aktiengesellschaft” ซึ่งใชสำหรับบริษัทจำกัดโดยกรรมสิทธิ์ใน
หุนคำวา AG ดังกลาวจึงไมไดเพิ่มความแตกตางแกเครื่องหมายการคาของบริษัทโมบิล-แอ็ก
จำกดั หรอื ทำใหค วามคลา ยและความสบั สนลดลงแตอยางไร นอกจากน้นั ในเคร่อื งหมายการคา
ของบริษัทโมบิล-แอ็ก จำกัด พื้นที่สวนบนของคำวา MOBIL-AG เปนรูปมาประดิษฐบนพื้นทึบ
๓ ตวั ซึ่งคลายกบั เครื่องหมายการคารูปมาบินประดิษฐของโจทกในเครือ่ งหมายการคาทะเบียน
เลขที่ ค๙๙๗๕๖ อีก แมวารูปมาประดิษฐในเครื่องหมายการคาของบริษัทโมบิล-แอ็ก จำกัด
มีขนาดเล็กอยูในสวนครึ่งบนของวงกลม แตเมื่อเครื่องหมายการคาของบริษัทโมบิล-แอ็ก จำกัด
นำคำวา MOBIL ที่เปนคำเดียวกับเครื่องหมายของโจทกกับรูปมาประดิษฐบนพื้นทึบคลาย
เครื่องหมายการคาของโจทกมารวมเขาไวดวยกัน อีกทั้งชื่อที่ใชเรียกขานก็คลายกันหรืออาจจะ
เรียกสั้นจนกลายเปนคำเดียวกันได เชน อาจเรียกชื่อเครื่องหมายการคาของบริษัทโมบิล-แอ็ก
จำกัด สั้น ๆ วา “โมบิล” เชนนี้ เครื่องหมายการคาของบริษัทโมบิล-แอ็ก จำกัด จึงคลายกับ
เครื่องหมายการคาของโจทกที่ไดจดทะเบียนไวแลวจนอาจทำใหสาธารณชนสับสนหรือหลงผิด
ในความเปนเจาของของสินคาหรือแหลงกำเนิดของสินคาได ประเด็นที่ตองพิจารณาประกอบ
ดว ยกนั คอื จำพวกสนิ คา เพราะเครอ่ื งหมายการคา ทค่ี ลา ยกนั แตห ากเจา ของตา งใชก บั สนิ คา ตา ง
จำพวกที่ไมเกี่ยวของกัน ก็อาจเปนเครื่องหมายการคาที่ตางฝายตางใชได ในคดีนี้ นายศรีลา
ยนื ยนั วา โจทกจ ดทะเบยี นเครอ่ื งหมายการคา คำวา MOBIL และรปู มา บนิ ประดษิ ฐใ นประเทศไทย
สำหรบั สนิ คา จำพวก ๔, ๕ และ ๓๗ ปรากฏตามรายการจดทะเบยี นเครอ่ื งหมายการคา ของโจทก
โดยเครื่องหมายการคาทะเบียนเลขที่ ค๖๓๑๙๘ รายการสินคาจำพวก ๔ ไดแก น้ำมันหลอลื่น
นำ้ มนั กา ด เปน ตน เครอ่ื งหมายการคา ทะเบยี นเลขท่ี ค๙๙๗๕๖ รายการสนิ คา จำพวก ๕ ไดแ ก

๖๘

น้ำยากำจัดเชื้อโรคในพืช สารเคมีกำจัดวัชพืช สวนบริษัทโมบิล-แอ็ก จำกัด ขอจดทะเบียน
เครื่องหมายการคาตามคำขอเลขที่ ๗๓๔๓๖๐ สำหรับสินคาจำพวก ๑ ไดแก ปุยเคมี ซึ่งเปน
สินคาตางจำพวกกัน แตเมื่อพิจารณาลักษณะรายการสินคาของโจทกในจำพวก ๕ คือ น้ำยา
กำจัดเชื้อโรคในพืชและสารเคมีกำจัดวัชพืช กับรายการสินคาของบริษัทโมบิล-แอ็ก จำกัด คือ
ปุยเคมแี ลว นับไดวา มีลักษณะอยางเดยี วกัน เพราะตางเปน สนิ คา ประเภทสารเคมที นี่ ำไปใชก บั
พืชและเกษตรกรรมเหมือนกัน ซึ่งสอดคลองกับที่นายศรีลายืนยันวาโจทกสำรวจรานจำหนาย
สินคาสารเคมีที่ใชในการเกษตร ๑ ราน ที่จังหวัดนครปฐมและพบวาสินคาจำพวกปุยเคมีและ
น้ำยากำจัดเชื้อโรคในพืชและสารเคมีกำจัดวัชพืชเปนสินคาที่วางขายอยูรวมกันปรากฏตาม
ภาพถาย เมื่อรายการสินคาของโจทกกับบริษัทโมบิล-แอ็ก จำกัด ที่โตแยงกันในคดีนี้เปน
สินคาลักษณะอยางเดียวกันและเครื่องหมายการคาของบริษัทโมบิล-แอ็ก จำกัด คลายกับ
เครื่องหมายการคาของโจทกที่ไดจดทะเบียนไวแลวจนอาจทำใหสาธารณชนสับสนหรือหลงผิด
ในความเปน เจา ของของสนิ คา หรอื แหลง กำเนดิ ของสนิ คา ได เครอ่ื งหมายการคา ตามคำขอเลขท่ี
๗๓๔๓๖๐ ของบริษัทโมบิล-แอ็ก จำกัด จึงเปนเครื่องหมายการคาที่ไมพึงรับจดทะเบียนได
ตามมาตรา ๖ (๓) และมาตรา ๑๓ (๒) แหงพระราชบัญญัติเครื่องหมายการคา พ.ศ. ๒๕๓๔
คำสั่งของนายทะเบียนเครื่องหมายการคาที่ใหยกคำคัดคานของโจทกและคำวินิจฉัยของ
คณะกรรมการเครอ่ื งหมายการคา ทใ่ี หย กอทุ ธรณข องโจทกแ ละรบั จดทะเบยี นเครอ่ื งหมายการคา
ของผูขอจดทะเบียนจึงไมชอบ ที่ศาลทรัพยสินทางปญญาและการคาระหวางประเทศกลาง
วินิจฉัยวาเครื่องหมายการคาของบริษัทโมบิล-แอ็ก จำกัด ไมเหมือนคลาย (ที่ถูก คลาย) กับ
เครอ่ื งหมายการคา ของโจทกท จ่ี ดทะเบยี นแลว เนอ่ื งจากไมต อ งหา มตามพระราชบญั ญตั เิ ครอ่ื งหมาย
การคา พ.ศ. ๒๕๓๔ มาตรา ๘ (๙) (๑๐), ๑๓ นั้นไมถ ูกตอง ศาลอทุ ธรณคดีชำนัญพิเศษไมเห็น
พอ งดว ย อทุ ธรณข องโจทกใ นขอ นฟ้ี ง ขน้ึ กรณไี มจ ำตอ งวนิ จิ ฉยั อทุ ธรณข อ อน่ื ของโจทกอ กี ตอ ไป
เพราะไมท ำใหผ ลแหงคดเี ปลยี่ นแปลง

พิพากษากลับ ใหเพิกถอนคำสั่งของนายทะเบียนเครื่องหมายการคาที่ ๙๓/๒๕๕๖
และคำวินิจฉัยของคณะกรรมการเครื่องหมายการคาที่ ๗๕๓/๒๕๕๗ คำขออื่นนอกจากนี้ใหยก
คา ฤชาธรรมเนียมท้ังสองศาลใหเ ปน พบั .

(จุมพล ภญิ โญสนิ วัฒน - ไชยยศ วรนนั ทศ ริ ิ - สุรพล คงลาภ)

วิวฒั น วงศก ติ ริ ักษ - ยอ
ปรานี เสฐจินตนิน - ตรวจ

หมายเหตุ คดีถึงทส่ี ดุ

๖๙

คำพิพากษาศาลอุทธรณคดชี ำนัญพิเศษท่ี ๑๗๕๔/๒๕๖๐ แอสเพน ฟารมาแคร โจทก
โฮลดิ้งส ลมิ เิ ต็ด
กรมทรพั ยสินทางปญญา จำเลย

พ.ร.บ. เครื่องหมายการคา พ.ศ. ๒๕๓๔ มาตรา ๖, ๑๓

การรับจดทะเบียนเครื่องหมายการคานั้น นายทะเบียนเครื่องหมายการคาตอง
ไมรับจดเครื่องหมายการคาที่มีความเหมือนหรือคลายกันกับเครื่องหมายการคาของ
บุคคลอื่นที่ไดจดทะเบียนไวแลวจนอาจทำใหสาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเปน
เจาของสินคาหรือแหลงกำเนิดของสินคาไมวาจะใชกับสินคาจำพวกเดียวกันหรือตาง
จำพวกกันที่มีลักษณะอยางเดียวกัน แตเมื่อพิจารณาเปรียบเทียบเครื่องหมายการคา
ของโจทกและ ของบุคคลอื่นที่ไดจดทะเบียนไวแลว แมวา
เครื่องหมายการคาทั้งสองจะมีขอคลายกันตรงที่เปนคำสะกดดวยอักษรหรือตัวหนังสือ
โรมนั แตก แ็ ตกตา งกนั ตรงทเ่ี ครอ่ื งหมายการคา ของบคุ คลอน่ื ไมม ภี าคสว นอน่ื ใดประกอบ
โดยของโจทกประกอบดวย ๒ ภาคสวน ไดจัดวางเรียงเปนลำดับ คือ ลำดับแรกเปนภาพ
ประดษิ ฐ และลำดบั ตอ มามคี ำวา aspen ทใ่ี ชอ กั ษรโรมนั ตวั พมิ พเ ลก็ และอยกู ง่ึ กลางของ
ภาพซึ่งมีลักษณะโดดเดนทั้งสองภาคสวน ในขณะเครื่องหมายการคาบุคคลอื่นที่ไดจด
ทะเบียนไวแ ลว มีเพียงภาคสว นเดยี ว และเมอ่ื พิจารณาสินคาแมจ ะเปน สินคา
จำพวกที่ ๕ เหมือนกัน แตสินคาของบุคคลอื่นที่จดทะเบียนไวแลว มีเพียงรายการเดียว
คือยาบรรเทาปวด บรรเทาอักเสบ ลดไข และไมมีสินคาชนิดอื่น แตของโจทกมีทั้งยา
รักษาโรคและสินคาชนิดอื่นเกี่ยวของกันถึง ๑๗ รายการ อาทิเชน สารหลอลื่นอนามัย
สำหรับรางกายที่ใชในทางการแพทย ผาอนามัย พลาสเตอรปดแผล วัสดุตกแตงแผล
ตลอดจนยาที่ใชในการรักษาก็มีถึงสามอยาง ไดแก ยารักษาอาการผิดปกติของระบบ ๕
ระบบ (ระบบหวั ใจและหลอดเลือด ระบบยอ ยอาหาร ระบบหายใจ ระบบกระเพาะอาหาร
กับลำไส และระบบประสาทสวนกลาง) ยารักษาโรคติดเชื้อ และยาฆาเชื้อโรค แตไมมียา
บรรเทาปวด บรรเทาอกั เสบ ลดไข รายการสนิ คา จงึ มคี วามแตกตา งอยา งชดั เจนซง่ึ ผบู รโิ ภค
สามารถใชเปนที่สังเกตแยกใหเห็นความแตกตางไดโดยงายไมอาจเกิดความสับสนหรือ
หลงผดิ แตอยา งใด นอกจากนโี้ จทกยงั มีประวัติและธรุ กิจในดา นผูผลติ ยาและผลิตภณั ฑ
ดูแลสุขภาพมายาวนานและจดทะเบียนเครื่องหมายการคาโดยสุจริตในตางประเทศ
เครอ่ื งหมายการคา ของโจทกไ มอ าจทำใหส าธารณชนสบั สนหรอื หลงผดิ ในความเปน เจา ของ
ของสินคาหรือแหลงกำเนิดสินคาได เครื่องหมายการคาของโจทกจึงเปนเครื่องหมาย
การคา ทพ่ี งึ รบั จดทะเบยี นตาม มาตรา ๖ (๓) และไมต อ งหา มตามมาตรา ๑๓ แหง พ.ร.บ.
เครื่องหมายการคา พ.ศ. ๒๕๓๔
______________________________

๗๐

โจทกฟ อ ง ขอใหศ าลพพิ ากษาวา เครอ่ื งหมายการคา ของโจทกต ามคำขอ

เลขท่ี ๘๔๗๖๘๖ ไมเ หมอื นหรอื คลา ยกบั เครอ่ื งหมายการคา ของบคุ คลอน่ื ใหเ พกิ ถอนคำสง่ั ของ

นายทะเบียนเครื่องหมายการคาตามหนังสือสำนักเครื่องหมายการคา กรมทรัพยสินทางปญญา

ท่ี พณ ๐๗๐๔/๖๒๙๒ และคำวนิ จิ ฉยั อทุ ธรณข องคณะกรรมการเครอ่ื งหมายการคา ท่ี ๑๓๖๓/๒๕๕๘

กับใหจำเลยดำเนินการเกี่ยวกับคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการคา ของโจทก

ดังกลาวตอ ไป

จำเลยใหก ารขอใหยกฟอ ง

ศาลทรัพยสินทางปญญาและการคาระหวางประเทศกลางพิพากษายกฟอง คาฤชา

ธรรมเนียมใหเ ปน พับ

โจทกอ ุทธรณ

ศาลอทุ ธรณค ดชี ำนญั พเิ ศษแผนกคดที รัพยสินทางปญญาและการคาระหวา งประเทศ

วนิ จิ ฉยั วา พเิ คราะหแ ลว ปญ หาตอ งวนิ จิ ฉยั ตามอทุ ธรณข องโจทกม วี า เครอ่ื งหมายการคา

ของโจทกเ ปน เครอ่ื งหมายการคา ทไ่ี มต อ งหา มมใิ หร บั จดทะเบยี นตามมาตรา ๑๓ แหง พระราชบญั ญตั ิ

เครือ่ งหมายการคา พ.ศ. ๒๕๓๔ หรือไม เหน็ วา การพิจารณาวาเคร่อื งหมายการคา ใดคลา ยกบั

เคร่อื งหมายการคา อน่ื จนอาจทำใหสาธารณชนสับสนหรอื หลงผิดในความเปน เจา ของหรอื แหลง

กำเนดิ ของสนิ คา อนั จะเปน ขอ ตอ งหา มมพิ งึ ใหร บั จดทะเบยี นเครอ่ื งหมายการคา ตามปญ หาดงั กลา ว

หรือไมนั้น ตองพิจารณาภาพรวมทั้งหมดหรือองคประกอบรวมของเครื่องหมายการคาทั้งสอง

เปรยี บเทยี บกนั ไมอ าจพจิ ารณาเฉพาะภาคสว นใดภาคสว นหนง่ึ ของเครอ่ื งหมายการคา ทง้ั สองได

และตอ งพจิ ารณาวา เครอ่ื งหมายการคา ทง้ั สองใชก บั สนิ คา จำพวกเดยี วกนั หรอื ตา งจำพวกกนั ทม่ี ี

ลกั ษณะอยา งเดียวกนั หรอื ไมอีกดวย เมือ่ เปรยี บเทยี บเครือ่ งหมายการคา ของโจทก

กับ ของบุคคลอื่นที่ไดจดทะเบียนไวแลว แมเครื่องหมายการคาทั้งสองจะมีขอ

คลายกันตรงที่เปนคำสะกดดวยอักษรหรือตัวหนังสือโรมัน แตก็แตกตางกันตรงที่เครื่องหมาย

การคา ของบคุ คลอน่ื ทไ่ี ดจ ดทะเบยี นไวแ ลว เปน อกั ษรหรอื ตวั หนงั สอื โรมนั ตวั พมิ พใ หญ

เพียงภาคสวนเดียว ไมมีภาคสวนอื่นใดประกอบอีกเลย สวนเครื่องหมายการคา

ของโจทกป ระกอบดวย ๒ ภาคสว น ไดจ ดั วางเรยี งเปน ลำดบั กนั คือ ลำดบั (๑) เปนภาพ

ที่ประดิษฐขึ้น (เปนภาพคลายวงกลมที่เขียนดวยเสนหนาเริ่มตนจากดานบนสุดเวียนลงมาใน

ทิศทางทวนเข็มนาิกาถึงดานลางสุดและวกกลับขึ้นไปดวยเสนคอย ๆ บางเรียวเล็กลงจนเปน

ปลายแหลม แตไปไมถึงหรือไมบรรจบกับตำแหนงเดิมที่เริ่มตน คงเวนระยะหางและอยูดานลาง

หรอื ใตตำแหนงท่เี ริ่มตน โดยภาพคลา ยวงกลมนน้ั มีจดุ วงกลมทบึ อกี วงหนึ่งซอ นอยูภ ายในพืน้ ท่ี

วางตรงกลาง) และลำดับ (๒) เปนคำ ที่ใชอักษรหรือตัวหนังสือโรมันตัวพิมพเล็ก โดย

ภาคสว นคำ อยกู ง่ึ กลางของภาคสว นภาพ และภาคสว นภาพ นน้ั มคี วามสงู มาก

กวา ภาคสว นคำ อยปู ระมาณหนง่ึ เทา ตวั ยอ มทำใหภ าคสว นภาพ กม็ ลี กั ษณะโดดเดน

อกี แหง หนง่ึ ดจุ กนั หาใชค วามเดน หรอื สาระสำคญั มงุ ไปอยทู ภ่ี าคสว นคำ เพยี งแหง เดยี ว

๗๑

เทานั้นดังคำวินิจฉัยอุทธรณของคณะกรรมการเครื่องหมายการคาที่ ๑๓๖๓/๒๕๕๘ ไม เพราะ

มิฉะนน้ั โจทกก ค็ งจดทะเบียนภาคสวนคำ เพียงอยางเดยี วเปนอันพอแลว ไมจ ำเปน ที่จะ

ตองคิดหรือประดิษฐภาคสวนภาพ ประกอบไวขางหนาภาคสวนคำ เปนอีกภาค

สว นหนง่ึ ตา งหากดว ย เครอ่ื งหมายการคา ของโจทกท ป่ี ระกอบดว ยลกั ษณะโดดเดน

ทง้ั สองภาคสว นดงั กลา วจงึ มจี ดุ แตกตา งกบั ลกั ษณะคำ ทเ่ี ปน เพยี งภาคสว นเดยี วของ

เครื่องหมายการคาของบุคคลอื่นที่ไดจดทะเบียนไวแลวอยางเห็นไดชัดเจนซึ่งผูบริโภคสามารถ

ใชเ ปน ทส่ี งั เกตแยกใหเ หน็ ความแตกตา งไดโ ดยงา ย เมอ่ื พจิ ารณาสนิ คา ภายใตเ ครอ่ื งหมายการคา

ทง้ั สอง แมจ ะเปน สนิ คา ในจำพวกท่ี ๕ เหมอื นกนั แตส นิ คา ภายใตเ ครอ่ื งหมายการคา

ของบคุ คลอน่ื ทไ่ี ดจ ดทะเบยี นไวแ ลว มเี พยี งรายการเดยี ว คอื ยาบรรเทาปวดบรรเทาอกั เสบลดไข

ซง่ึ เหน็ ไดว า ขอ ๑. เปน สนิ คา ยาเพยี งชนดิ เดยี ว ไมม สี นิ คา ชนดิ อน่ื ดว ย ขอ ๒. วธิ กี ารทส่ี รรพคณุ

ของยานำไปใชใ นการรกั ษามเี พยี ง ๒ วธิ ี ไดแ ก บรรเทากบั ลดอาการเจบ็ ปว ย และขอ ๓. อาการ

เจ็บปวยที่ยานำไปใชในการรักษามีเพียง ๓ อาการ ไดแก ปวด อักเสบและไข เปรียบเทียบกับ

สนิ คา ภายใตเ ครอ่ื งหมายการคา ของโจทกม ี ๑๘ รายการ ซง่ึ ภายหลงั โจทกข อแกไ ข

เปลี่ยนแปลงโดยตัดสินคารายการที่ ๙ ออก คงเหลือเพียง ๑๗ รายการแลว สินคาของโจทก

ขอ ๑. เปนสินคา ๔ ชนิด ไดแก (๑) ชนิดยา (แปดรายการดังจะไดกลาวตอไป) (๒) ชนิดสาร

(สามรายการ ไดแ ก สารทเ่ี ตรียมขน้ึ ใชฆ าเชือ้ แบบสเตอริไลสเ พือ่ สุขอนามยั สารหลอลน่ื อนามยั

สำหรับรางกายที่ใชในทางการแพทย และสารควบคุมน้ำหนักที่ปรับใชในทางการแพทย)

(๓) ชนดิ อาหาร (อาหารสำหรบั ทารก) และ (๔) ชนดิ วสั ดุ (หา รายการ ไดแ ก ผา อนามยั พลาสเตอร

ปด แผล วสั ดตุ กแตง แผล วสั ดสุ ำหรบั อดุ ฟน และขผ้ี ง้ึ ใชใ นทางทนั ตกรรม) ขอ ๒. วธิ กี ารทส่ี นิ คา

ของโจทกน ำไปใชก ม็ ถี งึ ๘ วธิ ี ไดแ ก ใชใ นการรกั ษา ใชฆ า เชอ้ื ใชซ บั ระดู ใชห ลอ ลน่ื อนามยั สำหรบั

รางกาย ใชควบคุมน้ำหนัก ใชเกี่ยวกับแผล ใชในทางทันตกรรม และใชเปนอาหาร และขอ ๓.

อาการเจ็บปวยเฉพาะกรณีสรรพคุณของสินคาชนิดยาแปดรายการในขอ ๑. ที่ใชในการรักษา

กม็ ถี งึ ๓ อยา ง ไดแ ก (๑) ยารกั ษาอาการผดิ ปกตขิ องระบบ ๕ ระบบ (ระบบหวั ใจและหลอดเลอื ด

ระบบยอ ยอาหาร ระบบหายใจ ระบบกระเพาะอาหารกบั ลำไส และระบบประสาทสว นกลาง) (๒)

ยารักษาโรคติดเชื้อที่ใช ๒ ทาง (ทางการแพทยและทางการสัตวแพทย) และ (๓) ยาฆาเชื้อโรค

สนิ คา ของโจทกห าใชย าทร่ี กั ษาดว ยวธิ กี ารเพยี งบรรเทาหรอื ลดอาการเจบ็ ปว ยเฉพาะอาการปวด

อกั เสบและไขด งั รายการสนิ คา ภายใตเ ครอ่ื งหมายการคา ของบคุ คลอน่ื ทไ่ี ดจ ดทะเบยี น

ไวแ ลว ไมเ ชน น้ี รายการสนิ คา ภายใตเ ครอ่ื งหมายการคา ของโจทกท ม่ี หี ลากหลายรายการ หลากหลาย

ชนดิ หลากหลายวธิ กี ารรกั ษา และหลากหลายอาการเจบ็ ปว ยนน้ั จงึ มขี อ แตกตา งกบั รายการสนิ คา

“ยาบรรเทาปวดบรรเทาอกั เสบลดไข” ภายใตเครื่องหมายการคา ของบคุ คลอื่นท่ไี ด

จดทะเบยี นไวแ ลว อยา งเหน็ ไดช ดั เจนโดยเฉพาะอยา งยง่ิ สนิ คา ภายใตเ ครอ่ื งหมายการคา

ของโจทกไมมีรายการสินคา “ยาบรรเทาปวดบรรเทาอักเสบลดไข” ดวย ซึ่งผูบริโภคสามารถใช

๗๒

เปนที่สังเกตแยกใหเห็นความแตกตางไดโดยงายไมอาจเกิดความสับสนหรือหลงผิดแตอยางใด

ดังนั้น รายการสินคาภายใตเครื่องหมายการคาทั้งสองยอมมีลักษณะแตกตางกัน และมุงใชกับ

ผบู รโิ ภคสนิ คา คนละกลมุ กนั จงึ หาใชม ลี กั ษณะอยา งเดยี วกนั ดงั คำวนิ จิ ฉยั อทุ ธรณข องคณะกรรมการ

เครื่องหมายการคาที่ ๑๓๖๓/๒๕๕๘ ไม นอกจากนี้ (๑) โจทกยังนำสืบถึงประวัติและธุรกิจของ

โจทกวาโจทกเปนนิติบุคคลตามกฎหมายแหงประเทศสาธารณรัฐแอฟริกาใต กับเปนผูผลิตยา

และผลติ ภณั ฑด แู ลสขุ ภาพมายาวนานกวา ๑๖๐ ป ประกอบกบั (๒) โจทกน ำสบื ถงึ ความเปน มา

ของเครื่องหมายการคา วาโจทกนำมาจากเครื่องหมาย อันเปนชื่อ

บรษิ ทั โจทก โดยคำวา อนั เปน สว นหนง่ึ ของชอ่ื โจทกพ อ งกบั ชอ่ื สวนสาธารณะ “แอสเพน”

(Aspen Park) ทบ่ี รษิ ทั โจทกต ง้ั อยใู นบรเิ วณยา นเดยี วกนั และโจทกน ำสว นหนง่ึ ของเครอ่ื งหมาย

ชอ่ื บรษิ ทั โจทกเ ฉพาะสองภาคสว นแรก (ภาพ รวมกบั คำ โดยตดั คำ HOLDINGS ออก)

ไปจดทะเบยี นเปนเคร่อื งหมายการคาในตางประเทศโดยสุจริตแมเคร่ืองหมายการคา

ของโจทก ซึ่งเปนอักษรโรมัน อาจเรียกขานวา “แอสเพน” คลายกับเครื่องหมายการคาของ

บคุ คลอน่ื ทไ่ี ดจ ดทะเบยี นไวแ ลว คำวา “แอสเพนท” แตเ นอ่ื งจากโจทกผ ขู อจดทะเบยี น

เครื่องหมายการคา ดังกลาวมีชื่อวา “บริษัทแอสเพน ฟารมาแคร โฮลดิ้งส จำกัด”

(แอสเพน ฟารม าแคร โฮลดง้ิ ส ลมิ เิ ตด็ หรอื Aspen Pharmacare Holdings Limited) สาธารณชน

ยอ มเรยี กขานเครอ่ื งหมายการคา วา “แอสเพน” อนั พอ งกบั ชอ่ื นติ บิ คุ คลโจทกซ ง่ึ เปน

เจา ของสนิ คา เชน กนั จงึ ไมส บั สนหรอื หลงผดิ ในความเปน เจา ของของสนิ คา หรอื แหลง กำเนดิ ของ

สนิ คา ถือวา โจทกมิไดม ุงอางองิ หรือแสวงหาประโยชนจากเคร่ืองหมายการคา ของ

บุคคลอื่นที่ไดจดทะเบียนไวแลว สวนจำเลยไมสืบพยานหลักฐานใด ๆ (๑) เพื่อใหรับฟงไดวา

ผูบริโภคจะเกิดความสับสนหรือหลงผิดในความเปนเจาของหรือแหลงกำเนิดของสินคาวาเปน

สินคาของโจทกหรือของบุคคลอื่นที่ไดจดทะเบียนไวแลว และ (๒) เพื่อหักลางเรื่องความสุจริต

ของโจทก จะเหน็ วา โจทกย น่ื คำขอจดทะเบยี นเครอ่ื งหมายการคา โดยสจุ รติ อนั เปน

เรอ่ื งความสจุ รติ ของโจทกอ กี กรณหี นง่ึ ประกอบกรณกี ารใชเ ครอ่ื งหมายการคา ซง่ึ ตา งเจา ของตา ง

ไดใ ชม าแลว ดว ยกนั โดยสจุ รติ ตามมาตรา ๒๗ แหง พระราชบญั ญตั เิ ครอ่ื งหมายการคา พ.ศ. ๒๕๓๔

หาใชดังที่คณะกรรมการเครื่องหมายการคาหยิบยกขึ้นในคำวินิจฉัยอุทธรณที่ ๑๓๖๓/๒๕๕๘

หรือดังที่จำเลยหยิบยกขึ้นตอสูในคำใหการและในคำแกอุทธรณนั้นไม ดังนี้ เครื่องหมายการคา

ของโจทกจ งึ เปน เครอ่ื งหมายการคา ทพ่ี งึ รบั จดทะเบยี นตามมาตรา ๖ (๓) และไมต อ ง

หา มตามมาตรา ๑๓ แหง พระราชบญั ญตั เิ ครอ่ื งหมายการคา พ.ศ. ๒๕๓๔ กรณมี เี หตเุ พกิ ถอนคำสง่ั

ของนายทะเบยี นเครอ่ื งหมายการคา และคำวนิ จิ ฉยั อทุ ธรณข องคณะกรรมการเครอ่ื งหมายการคา

๗๓

ที่ ๑๓๖๓/๒๕๕๘ ที่ปฏิเสธไมรับจดทะเบียนเครื่องหมายการคา ของโจทก

การทศ่ี าลทรพั ยส นิ ทางปญ ญาและการคา ระหวา งประเทศกลางวนิ จิ ฉยั วา ไมม เี หตเุ พกิ ถอนคำสง่ั

และคำวินิจฉัยอุทธรณดังกลาว แลวพิพากษายกฟองมานั้น ศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษไมเห็น

พองดวย อุทธรณของโจทกฟ งข้นึ

พพิ ากษากลบั เปน วา เครอ่ื งหมายการคา ของโจทกต ามคำขอเลขท่ี ๘๔๗๖๘๖

ไมเหมือนหรือคลายกับเครื่องหมายการคา ของบุคคลอื่นที่ไดจดทะเบียนไวแลว

ใหเพิกถอนคำสั่งของนายทะเบียนเครื่องหมายการคาตามหนังสือสำนักเครื่องหมายการคา

กรมทรพั ยส นิ ทางปญ ญาท่ี พณ ๐๗๐๔/๖๒๙๒ และคำวนิ จิ ฉยั อทุ ธรณข องคณะกรรมการเครอ่ื งหมาย

การคาที่ ๑๓๖๓/๒๕๕๘ กับใหจำเลยดำเนินการเกี่ยวกับการจดทะเบียนเครื่องหมายการคา

ตามคำขอเลขท่ี ๘๔๗๖๘๖ ของโจทกต อ ไป คา ฤชาธรรมเนยี มชน้ั อทุ ธรณใ หเ ปน พบั .

(วราคมน เลยี้ งพันธุ - จักรกฤษณ เจนเจษฎา - กรกันยา สุวรรณพานิช)

ฐติ ิ สุเสารัจ - ยอ
ปรานี เสฐจนิ ตนนิ - ตรวจ

หมายเหตุ คดีถึงที่สุด

๗๔

คำพิพากษาศาลอทุ ธรณคดชี ำนัญพิเศษท่ี ๒๓๓๗/๒๕๖๐ สเคชเชอร ย.ู เอส.เอ.,
องิ ค II โจทก
กรมทรัพยส ินทางปญญา จำเลย

พ.ร.บ. เครอื่ งหมายการคา พ.ศ. ๒๕๓๔ มาตรา ๑๓, ๑๖
รปู ลกั ษณะและองคป ระกอบของเครอ่ื งหมายการคา ของโจทกก บั ของบคุ คลอน่ื

ทีจ่ ดทะเบียนไวแลว แตกตางกนั และเปน ความแตกตางในสาระสำคญั ทีจ่ ะชว ยแยกแยะ
ระหวา งเครอ่ื งหมายการคา ดงั กลา วแลว สว นเสยี งเรยี กขานนน้ั บคุ คลทจ่ี ะซอ้ื สนิ คา อาจ
เรยี กชอ่ื สนิ คา ตามชอ่ื เจา ของเครอ่ื งหมายการคา ดงั นน้ั แมม อี กั ษร เอส เหมอื นกนั แตก ็
อาจมีเสียงเรียกขานแตกตางกันจนไมทำใหสาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเปน
เจา ของของสนิ คา หรอื แหลง กำเนดิ ของสนิ คา ประกอบกบั สนิ คา ภายใตเ ครอ่ื งหมายการคา
ของโจทกเ ปน สนิ คา ประเภทรองเทา กลมุ ลกู คา ของโจทกจ ำกดั เฉพาะผทู ป่ี ระสงคจ ะเลอื ก
ซื้อรองเทา แตกตางจากสินคาภายใตเครื่องหมายการคาของบุคคลอื่นที่ไดจดทะเบียน
ไวแ ลว เปน สนิ คา ประเภทชดุ กฬี าสำหรบั ปน จกั รยาน เลน สกี เลน กอลฟ เลน กฬี าทางนำ้
กลุมลูกคาหลักเปนผูซื้อชุดแตงกายสำหรับเลนกีฬา แมมีการจดทะเบียนเครื่องหมาย
การคาเพื่อใชกับสินคาจำพวก ๒๕ ซึ่งมีรายการสินคาที่รวมถึงรองเทากีฬาดวย แตกลุม
ลกู คาของโจทกและของบคุ คลอืน่ ที่ไดจดทะเบียนไวแ ลว รวมทัง้ สาธารณชนทว่ั ไปยอ ม
สามารถแยกแยะสนิ คา ของโจทกแ ละของบุคคลอ่นื ทีไ่ ดจดทะเบียนไวแ ลวไดโดยงา ย

______________________________
โจทกฟอง ขอใหศาลพิพากษาวาคำสั่งของนายทะเบียนเครื่องหมายการคาที่
พณ ๐๗๐๔/๕๙๖๔ และคำวนิ จิ ฉยั อทุ ธรณข องคณะกรรมการเครอ่ื งหมายการคา ท่ี ๙๓๐/๒๕๕๗
ตามฟอ งไมช อบดว ยกฎหมายและใหเ พกิ ถอนคำสง่ั และคำวนิ จิ ฉยั ดงั กลา ว กบั ขอใหศ าลพพิ ากษา
วาเครื่องหมายการคาของโจทกตามคำขอเลขที่ ๘๔๓๕๘๑ เปนเครื่องหมายการคาที่ไมเหมือน
หรือคลายกับเครื่องหมายการคาของบุคคลอื่นที่จดทะเบียนไวแลวและใหจำเลยดำเนินการรับ
จดทะเบียนเครื่องหมายการคาของโจทกตอไป หากจำเลยเพิกเฉยไมปฏิบัติตาม ขอใหถือเอา
คำพพิ ากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลย
จำเลยใหก าร ขอใหย กฟอ ง
ศาลทรัพยสินทางปญญาและการคาระหวางประเทศกลาง พิพากษาใหเพิกถอนคำสั่ง
ของนายทะเบยี นเครอ่ื งหมายการคา ท่ี พณ ๐๗๐๔/๕๙๖๔ และคำวนิ จิ ฉยั อทุ ธรณข องคณะกรรมการ
เครื่องหมายการคาที่ ๙๓๐/๒๕๕๗ ซึ่งปฏิเสธไมรับจดทะเบียนเครื่องหมายการคาของโจทก
ใหจำเลยดำเนินการเกี่ยวกับคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการคาตามคำขอเลขที่ ๘๔๓๕๘๑
ของโจทกต อ ไป คาฤชาธรรมเนยี มใหเปนพบั สวนคำขออืน่ ใหยก

๗๕

จำเลยอทุ ธรณ

ศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษแผนกคดีทรัพยสินทางปญญาและการคาระหวางประเทศ

วนิ จิ ฉยั วา ขอ เทจ็ จรงิ ทโ่ี จทกแ ละจำเลยมไิ ดโ ตแ ยง กนั ในชน้ั อทุ ธรณร บั ฟง ไดว า โจทกเ ปน นติ บิ คุ คล

ตามกฎหมายของมลรฐั เดลาแวร สหรฐั อเมรกิ า จำเลยเปน นติ บิ คุ คลประเภทสว นราชการ มฐี านะ

เปนกรมในรัฐบาล สังกัดกระทรวงพาณิชย จำเลยมีหนาที่ปฏิบัติงานตามกฎหมายวาดวย

เครื่องหมายการคา เมื่อวันที่ ๒๐ เมษายน ๒๕๕๕ โจทกยื่นขอจดทะเบียนเครื่องหมายการคา

เพอื่ ใชก ับสินคา จำพวก ๒๕ รายการสนิ คา รองเทา (ยกเวน รองเทา กีฬา) รองเทา กีฬา

รองเทาผาใบ รองเทาแตะ รองเทาแตะสวมในบาน รองเทาบูต ตามสำเนาคำขอจดทะเบียน

เครอ่ื งหมายการคา คำขอเลขท่ี ๘๔๓๕๘๑ นายทะเบยี นเครอ่ื งหมายการคา มคี ำสง่ั วา เครอ่ื งหมาย

การคา ของโจทกเ หมอื นหรอื คลา ยกบั เครอ่ื งหมายการคา ของบคุ คลอน่ื ทไ่ี ดจ ดทะเบยี นไวแ ลว คอื

เครื่องหมายการคาตามคำขอเลขที่ ๗๕๔๓๘๐ ทะเบียนเครื่องหมายการคาเลขที่ ค๓๓๘๙๔๗

ของสกินส อินเตอรเนชั่นแนล เทรดดิ้ง เอจี ตามสำเนาหนังสือของสำนักเครื่องหมายการคา

กรมทรัพยสินทางปญญา ที่ พณ ๐๗๐๔/๕๙๖๔ ลงวันที่ ๔ ตุลาคม ๒๕๕๕ และสำเนารายการ

จดทะเบยี น โจทกอ ทุ ธรณค ำสง่ั ดงั กลา วตอ คณะกรรมการเครอ่ื งหมายการคา ตามสำเนาคำอทุ ธรณ

คณะกรรมการเครื่องหมายการคาพิจารณาแลวเห็นวา เครื่องหมายการคาของโจทกมีอักษร S

ในลักษณะประดิษฐใกลเคียงกันกับเครื่องหมายการคา ที่จดทะเบียนไวแลว แมวากรอบ

ทล่ี อ มรอบเครอ่ื งหมายจะแตกตา งกนั อยบู า งกต็ าม แตก เ็ ปน ความแตกตา งกนั เพยี งเลก็ นอ ยเทา นน้ั

รปู ลกั ษณะของเครอ่ื งหมายการคา ทง้ั สองฝา ยจงึ คลา ยกนั เมอ่ื พจิ ารณาถงึ การเรยี กขาน เครอ่ื งหมาย

การคาของทั้งสองฝายเรียกขานไดวา เอส เชนเดียวกัน เครื่องหมายการคาของโจทกจึงเปน

เครอ่ื งหมายทค่ี ลา ยกนั กบั เครอ่ื งหมายของบคุ คลอน่ื ทจ่ี ดทะเบยี นไวแ ลว จนอาจทำใหส าธารณชน

สบั สนหรอื หลงผดิ ในความเปน เจา ของหรอื แหลง กำเนดิ ของสนิ คา ได เมอ่ื ยน่ื ขอจดทะเบยี นสำหรบั

สินคาจำพวกเดียวกันและรายการสินคามีลักษณะอยางเดียวกัน จึงตองหามมิใหรับจดทะเบียน

ตามมาตรา ๑๓ แหงพระราชบญั ญัตเิ ครือ่ งหมายการคา พ.ศ. ๒๕๓๔ สวนหลักฐานที่นำสืบการ

ใชเ ครอ่ื งหมายการคา มาแลว ดว ยกนั โดยสจุ รติ หรอื มพี ฤตกิ ารณพ เิ ศษยงั ไมอ าจรบั ฟง ได คณะกรรมการ

เครื่องหมายการคาจึงมีมติยืนตามคำสั่งปฏิเสธของนายทะเบียนเครื่องหมายการคาตามสำเนา

คำวินิจฉัยอุทธรณของคณะกรรมการเครื่องหมายการคา ที่ ๙๓๐/๒๕๕๗ มีปญหาที่ตองวินิจฉัย

ตามอทุ ธรณข องจำเลยวา เครอ่ื งหมายการคา ของโจทกเ ปน เครอ่ื งหมายการคา ทค่ี ลา ยกบั

เครื่องหมายการคา ของบุคคลอื่นที่ไดจดทะเบียนไวแลว จนอาจทำใหสาธารณชนสับสน

หรอื หลงผดิ ในความเปน เจา ของของสนิ คา หรอื แหลง กำเนดิ ของสนิ คา หรอื ไม เหน็ วา เครอ่ื งหมาย

๗๖

การคา ของโจทกม ลี กั ษณะเปน ภาพประดษิ ฐ มกี รอบเปน สเ่ี หลย่ี มดา นขนาน มมุ ทง้ั สด่ี า นโคง มน

ภายในมีอักษรโรมัน S เอียงไปทางดานขวา ลายเสนของอักษรขนานกับกรอบทั้งสี่ดาน ปลาย

ของเสน อกั ษรดา นหนง่ึ ทม่ี มุ ซา ยลา งตดิ กบั กรอบสว นปลายของเสน อกั ษรอกี ดา นหนง่ึ ทม่ี มุ ซา ยบน

มีระยะหางจากกรอบ สวนเครื่องหมายการคาของบุคคลอื่นที่ไดจดทะเบียนไวแลว กรอบเปน

วงกลม แตเ สน รอบวงไมบรรจบกัน ที่มุมซายบนเวนเปน ชอ งวาง ปลายเสน รอบวงดา นหนงึ่ เปน

ปลายตรง อีกดานหนึ่งเปนหัวลูกศร ภายในมีอักษรโรมัน S ลักษณะตั้งตรง ปลายของตัวอักษร

ดานหนึ่งติดกับเสนรอบวงที่มุมซายลางโดยเวนระยะหางที่ใตตัวอักษร สวนปลายของตัวอักษร

อีกดานหนึ่งติดกับเสนรอบวงที่มุมขวาบนโดยเวนระยะหางที่เหนือตัวอักษร ดังนั้นรูปลักษณะ

และองคประกอบของเครื่องหมายการคาของโจทกกับของบุคคลอื่นที่จดทะเบียนไวแลวจึง

แตกตางกันและเปนความแตกตางในสาระสำคัญที่จะชวยแยกแยะระหวางเครื่องหมายการคา

ของโจทกก บั ของบคุ คลอน่ื ทไ่ี ดจ ดทะเบยี นไวแ ลว มใิ ชเ ปน ความแตกตา งในรายละเอยี ดปลกี ยอ ย

สำหรับเสียงเรียกขานที่จำเลยอุทธรณวาเครื่องหมายการคาของทั้งสองฝายยอมเรียกขานไดวา

เอส นน้ั เหน็ วา แมพ จิ ารณาเฉพาะตวั อกั ษร s ในภาพประดษิ ฐอ าจเรยี กขานเครอ่ื งหมายการคา

วา เอส ตามทจ่ี ำเลยอทุ ธรณไ ดก ต็ าม แตป รากฏวา ตามสำเนารายการจดทะเบยี น ซง่ึ จดทะเบยี น

เพอ่ื ใชก บั สนิ คา จำพวก ๒๕ มเี ครอ่ื งหมายการคา ทเ่ี ปน รปู ประดษิ ฐล กั ษณะเปน อกั ษรโรมนั ตวั เอส

๑๒ เครอ่ื งหมาย ซง่ึ นายทะเบยี นเครอ่ื งหมายการคา รบั จดทะเบยี นไวแ ลว แสดงวา ในทางปฏบิ ตั ิ

ไมมีปญหาเรื่องเสียงเรียกขานที่อาจทำใหสาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเปนเจาของ

ของสนิ คา หรอื แหลง กำเนดิ ของสนิ คา ขอ เทจ็ จรงิ ปรากฏจากบนั ทกึ ถอ ยคำยนื ยนั ขอ เทจ็ จรงิ หรอื

ความเหน็ ของนายเดวดิ ประธานเจา หนา ทฝ่ี า ยการเงนิ บรษิ ทั โจทกซ ง่ึ สรปุ ไดว า โจทกเ ปน บรษิ ทั

ยอยของ สเคชเชอร ยู.เอส.เอ., อิงค. ผูผลิตรองเทาคุณภาพสูง ผลิตภัณฑของโจทกแบงเปน

กลุมผลิตภัณฑที่มุงเนนการใชในชีวิตประจำวันและผลิตภัณฑที่มีประสิทธิภาพสูง (Skechers

Performance) เครอ่ื งหมาย เรยี กวา S Design (GO) อกั ษร S มาจากอกั ษรตวั แรกของ

คำวา Skechers อันเปนชื่อโจทก เครื่องหมายดังกลาวแสดงถึงสายการผลิตรองเทาสเคชเชอร

GO Series ซง่ึ มกี ารโฆษณาและสง เสรมิ การขายจนไดร บั ความสนใจจากผคู นทว่ั โลก จากขอ เทจ็ จรงิ

ดังกลาวในกรณีที่มีเครื่องหมายการคาหลายเครื่องหมายที่ใชตัวอักษรเอส บุคคลที่ตองการซื้อ

สนิ คา ของโจทกจ งึ อาจเรยี กขานเครอ่ื งหมายการคา ของโจทกว า สเคช-เชอร หรอื สเคช-เชอร- โก

สวนบุคคลที่ตองการซื้อสินคาภายใตเครื่องหมายการคา ของสกินส อินเตอรเนชั่นแนล

เทรดดง้ิ เอจี อาจเรยี กขานเครอ่ื งหมายการคา ดงั กลา ววา สกนิ ส ตามชอ่ื เจา ของเครอ่ื งหมายการคา

ดงั นน้ั เครอ่ื งหมายการคา ของโจทกแ ละของบคุ คลอน่ื ทไ่ี ดจ ดทะเบยี นไวแ ลว แมม อี กั ษรเอสเหมอื นกนั

๗๗

แตก อ็ าจมเี สยี งเรยี กขานแตกตา งกนั จนไมท ำใหส าธารณชนสบั สนหรอื หลงผดิ ในความเปน เจา ของ
ของสนิ คา หรอื แหลง กำเนดิ ของสนิ คา ประกอบกบั สนิ คา ภายใตเ ครอ่ื งหมายการคา ของโจทกเ ปน
สินคาประเภทรองเทา กลุมลกู คาของโจทกจ ำกดั เฉพาะผูท ่ปี ระสงคจ ะเลือกซ้อื รองเทา แตกตาง
จากสินคาภายใตเครื่องหมายการคาของบุคคลอื่นที่ไดจดทะเบียนไวแลว ซึ่งตามสำเนารายการ
จดทะเบียน เปนสินคาประเภทชุดกีฬาสำหรับปนจักรยาน เลนสกี เลนกอลฟ เลนกีฬาทางน้ำ
กลุมลูกคาหลักเปนผูซื้อชุดแตงกายสำหรับเลนกีฬา แมมีการจดทะเบียนเครื่องหมายการคา

เพื่อใชกับสินคาจำพวก ๒๕ ซึ่งมีรายการสินคาที่รวมถึง รองเทา (ยกเวนรองเทากีฬา)
รองเทา กฬี าดว ย แตก ลมุ ลกู คา ของโจทกแ ละของบคุ คลอน่ื ทไ่ี ดจ ดทะเบยี นไวแ ลว รวมทง้ั สาธารณชน
ทั่วไปยอมสามารถแยกสินคาของฝายโจทกและฝายบุคคลอื่นที่ไดจดทะเบียนไวแลวไดโดยงาย
และถงึ แมส นิ คา ของโจทกแ ละบคุ คลอน่ื ทไ่ี ดจ ดทะเบยี นไวแ ลว จะวางจำหนา ยในสถานทเ่ี ดยี วกนั
ก็ไมท ำใหเ กิดความสบั สนหรอื หลงผดิ สว นท่จี ำเลยอทุ ธรณว า กรณีทเี่ ครอ่ื งหมายการคา ของโจทก
และของบคุ คลอน่ื ทจ่ี ดทะเบยี นไวแ ลว ตา งเปน เครอ่ื งหมายการคา ทไ่ี ดร บั การจดทะเบยี นในสหรฐั
อเมรกิ า แตก ารไดร บั การจดทะเบยี นเครอ่ื งหมายการคา ในประเทศใด ๆ ยอ มขน้ึ อยกู บั การพจิ ารณา
ของนายทะเบียนเครื่องหมายการคาตามกฎหมายประเทศนั้น ๆ ไมอาจนำมาผูกมัดใหตอง
จดทะเบยี นเครอ่ื งหมายการคา ใหแ กโ จทกน น้ั ตามบนั ทกึ ถอ ยคำยนื ยนั ขอ เทจ็ จรงิ หรอื ความเหน็
ของนายกฤชวชั ร ผรู บั มอบอำนาจโจทกไ ดค วามวา ในสหรฐั อเมรกิ า โจทกจ ดทะเบยี นเครอ่ื งหมาย
การคา เพื่อใชกับสินคาจำพวก ๒๕ เมื่อวันที่ ๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๔ สวนสกินส
อนิ เตอรเ นชน่ั แนล เทรดดง้ิ เอจี จดทะเบยี นเครอ่ื งหมายการคา เพอ่ื ใชก บั สนิ คา จำพวก ๒๕
เมื่อวันที่ ๕ กันยายน ๒๕๕๖ ตามสำเนาทะเบียนเครื่องหมายการคา ผูตรวจสอบเครื่องหมาย
การคา แหง สหรฐั อเมรกิ ามไิ ดป ฏเิ สธการรบั จดทะเบยี นในเรอ่ื งคลา ยกนั จนอาจทำใหส าธารณชน
สับสนหรือหลงผิดในความเปนเจาของของสินคาหรือแหลงกำเนิดของสินคา อีกทั้งโจทกและ
สกนิ สอ นิ เตอรเ นชั่นแนล เทรดด้ิง เอจี มลี กั ษณะการประกอบธุรกจิ ที่ตางกนั อยา งชดั เจน มกี ลมุ
ลกู คา คนละกลมุ ทำใหก ลมุ ลกู คา และสาธารณชนทว่ั ไปสามารถแยกแยะสนิ คา ภายใตเ ครอ่ื งหมาย
การคา ของโจทกแ ละของสกนิ ส อนิ เตอรเ นชน่ั แนล เทรดดง้ิ เอจี ได โดยไมม โี อกาสทจ่ี ะเกดิ ความ
สบั สนหรอื หลงผดิ ในความเปน เจา ของของสนิ คา หรอื แหลง กำเนดิ อกี ทง้ั ตา งประกอบธรุ กจิ ทง้ั ใน
ประเทศไทยและตางประเทศควบคกู ันมาโดยยังไมเคยมกี ารสับสนหลงผดิ เก่ยี วกบั สินคา ภายใต
เครอ่ื งหมายการคา ของทง้ั สองฝา ย ทง้ั โจทกแ ละสกนิ ส อนิ เตอรเ นชน่ั แนล เทรดดง้ิ เอจี ตา งเปน
บรษิ ทั ทม่ี ชี อ่ื เสยี งและเปน ทร่ี จู กั ทว่ั โลก ตามสำเนาขอ มลู การประกอบธรุ กจิ จากเวบ็ ไซตส ำนกั ขา ว
บลมู เบริ ก จากขอ เทจ็ จรงิ ตามบนั ทกึ ถอ ยคำยนื ยนั ขอ เทจ็ จรงิ หรอื ความเหน็ ดงั กลา ว ศาลทรพั ยส นิ

๗๘

ทางปญ ญาและการคา ระหวา งประเทศกลางจงึ วนิ จิ ฉยั วา เชอ่ื ไดว า โจทกป ระสงคท จ่ี ะขอจดทะเบยี น

เครอ่ื งหมายการคา เพอ่ื ใหไ ดร บั ความคมุ ครองตามกฎหมายโดยสจุ รติ เปน การวนิ จิ ฉยั

ในเรื่องความสุจริตของโจทก หาไดวินิจฉัยวานายทะเบียนเครื่องหมายการคาตองพิจารณารับ

จดทะเบียนเครื่องหมายการคาของโจทกตามนายทะเบียนเครื่องหมายการคาของตางประเทศ

แตอยางใด ขอเท็จจริงรับฟง ไดวาเครอ่ื งหมายการคา ของโจทกเ ปน เคร่อื งหมายการคา

ไมค ลา ยกบั เครอ่ื งหมายการคา ของบคุ คลอน่ื ทไ่ี ดจ ดทะเบยี นไวแ ลว จนอาจทำใหส าธารณชน

สับสนหรือหลงผิดในความเปนเจาของของสินคาหรือแหลงกำเนิดของสินคา ที่ศาลทรัพยสิน

ทางปญ ญาและการคา ระหวา งประเทศกลางพพิ ากษาใหเ พกิ ถอนคำสง่ั ของนายทะเบยี นเครอ่ื งหมาย

การคาที่ พณ ๐๗๐๔/๕๙๖๔ และคำวินิจฉัยอุทธรณของคณะกรรมการเครื่องหมายการคา

ท่ี ๙๓๐/๒๕๕๗ ซง่ึ ปฏเิ สธไมร บั จดทะเบยี นเครอ่ื งหมายการคา ของโจทก และใหจ ำเลยดำเนนิ การ

เกย่ี วกบั คำขอจดทะเบยี นเครอ่ื งหมายการคา ตามคำขอเลขท่ี ๘๔๓๕๘๑ ของโจทกต อ ไป จงึ ตอ ง

ดว ยความเหน็ ของศาลอุทธรณค ดชี ำนัญพเิ ศษ อทุ ธรณข องจำเลยฟงไมข น้ึ

พิพากษายนื คาฤชาธรรมเนียมชน้ั อทุ ธรณใ หเปนพับ.

(สรุ พล คงลาภ - ไชยยศ วรนันทศ ิริ - จุมพล ภิญโญสนิ วัฒน)

จนั ทรกระพอ ตอ สุวรรณ สนิ ธวถาวร - ยอ
ปรานี เสฐจนิ ตนนิ - ตรวจ

๗๙

คำพพิ ากษาศาลอุทธรณคดีชำนัญพเิ ศษท่ี ๒๔๒๘/๒๕๖๐ คาบชู กิ ิ ไกชา ซงั โคชา
(ซงั โคชา คอรป อเรชั่น) โจทก
กรมทรัพยสินทางปญญา จำเลย

พ.ร.บ. เครอื่ งหมายการคา พ.ศ. ๒๕๓๔ มาตรา ๖, ๑๓

การพิจารณาวาเครื่องหมายการคาใดคลายกับเครื่องหมายการคาอื่นจนอาจ
ทำใหส าธารณชนสบั สนหลงผดิ ในความเปน เจา ของหรอื แหลง กำเนดิ ของสนิ คา นอกจาก
จะตองพิจารณาภาพรวมทั้งหมดหรือองคประกอบรวมของเครื่องหมายการคาทั้งสอง
เปรียบเทียบกันแลว ยังตองพิจารณาวาเครื่องหมายการคาทั้งสองเครื่องหมายใชกับ
สินคาจำพวกเดยี วกนั หรือตา งจำพวกกนั ทม่ี ลี กั ษณะอยา งเดยี วกันหรอื ไมอกี ดวย

รายการสนิ คา ภายใตเ ครอ่ื งหมายการคา ของโจทกเ ปน สนิ คา เกย่ี วกบั ไฟฟา และ
งานอตุ นุ ยิ มวทิ ยา สว นสนิ คา ภายใตเ ครอ่ื งหมายการคา ของบคุ คลอน่ื ทจ่ี ดทะเบยี นไวแ ลว
เปน สนิ คา เครอ่ื งคอมพวิ เตอรแ ละอปุ กรณต อ พว งกบั เครอ่ื งคอมพวิ เตอร อนั เปน อปุ กรณ
อเิ ลก็ ทรอนกิ สห รอื ผลติ ภณั ฑเ ทคโนโลยดี า นขอ มลู ขา วสาร รายการสนิ คา ภายใตเ ครอ่ื งหมาย
การคา ทงั้ สองจึงมคี วามแตกตา งกัน และมุงใชก บั ผูบ ริโภคคนละกลุมกนั

______________________________

โจทกฟ อ ง ขอใหศ าลพพิ ากษาวา เครอ่ื งหมายการคา ของโจทกต ามคำขอเลขท่ี ๘๒๗๒๕๐
ไมเหมือนหรือคลายกับเครื่องหมายการคาของบุคคลอื่นที่ไดจดทะเบียนไวแลว และมีลักษณะ
บงเฉพาะอันพึงรับจดทะเบียนได คำสั่งของนายทะเบียนเครื่องหมายการคา (ที่ถูก คำสั่งของ
นายทะเบยี นเครอ่ื งหมายการคา ตามหนงั สอื สำนกั เครอ่ื งหมายการคา กรมทรพั ยส นิ ทางปญ ญา)
ท่ี พณ ๐๗๐๔/๓๐๗๐ และคำวนิ จิ ฉยั อทุ ธรณข องคณะกรรมการเครอ่ื งหมายการคา ท่ี ๙๕๒/๒๕๕๘
ไมชอบดวยกฎหมาย ใหเพิกถอนคำสั่งและคำวินิจฉัยอุทธรณดังกลาว กับใหจำเลยดำเนินการ
รบั จดทะเบยี นเคร่อื งหมายการคาของโจทกต อ ไป

จำเลยใหการ ขอใหยกฟอง
ศาลทรัพยสินทางปญญาและการคาระหวางประเทศกลางพิพากษาใหเพิกถอนคำสั่ง
ของนายทะเบยี นเครอ่ื งหมายการคา (ทถ่ี กู คำสง่ั ของนายทะเบยี นเครอ่ื งหมายการคา ตามหนงั สอื
สำนกั เครอ่ื งหมายการคา กรมทรพั ยส นิ ทางปญ ญา) ท่ี พณ ๐๗๐๔/๒๑๖๓ และคำวนิ จิ ฉยั (ทถ่ี กู

๘๐

คำวินิจฉัยอุทธรณ) ของคณะกรรมการเครื่องหมายการคาที่ ๙๕๒/๒๕๕๘ ซึ่งปฏิเสธไมรับจด
ทะเบยี นเครอ่ื งหมายการคา ของโจทก กบั ใหจ ำเลยดำเนนิ การเกย่ี วกบั การจดทะเบยี นเครอ่ื งหมาย
การคา ตามคำขอเลขท่ี ๘๒๗๒๕๐ ของโจทกต อ ไป สว นคำขออน่ื ใหย ก คา ฤชาธรรมเนยี มใหเ ปน พบั

จำเลยอทุ ธรณ
ศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษแผนกคดีทรัพยสินทางปญญาและการคาระหวางประเทศ
วนิ จิ ฉยั วา ขอ เทจ็ จรงิ ทค่ี คู วามไมไ ดโ ตแ ยง กนั ในชน้ั นร้ี บั ฟง ไดว า เมอ่ื วนั ท่ี ๒๔ พฤศจกิ ายน ๒๕๕๔
โจทกยื่นคำขอเลขที่ ๘๒๗๒๕๐ ใหจำเลยจดทะเบียนเครื่องหมายการคา ใชกับสินคาใน
จำพวกท่ี ๙ รายการสนิ คา ๑. เครอ่ื งควบคมุ หรอื จา ยไฟฟา ๒. เครอ่ื งเฝา สงั เกตทางดา นอตุ นุ ยิ มวทิ ยา
๓. เครอ่ื งลอ ฟา ๔. เครอ่ื งปอ งกนั ไฟฟา กระโชก ๕. เครอ่ื งแปลงไฟฟา ๖. เครอ่ื งปอ งกนั ไฟฟา จาก
ฟา ผา ๗. อเิ ลก็ โทรดสำหรบั พน้ื ดนิ ๘. เครอ่ื งทำใหไ ฟฟา ลงดนิ ๙. สายดนิ ๑๐. สายเคเบลิ ไฟฟา
๑๑. สายเคเบิลใยแกว นำแสง ๑๒. ตคู วบคมุ สาขาไฟฟา ๑๓. ขว้ั ปลายสายไฟฟา ๑๔. เครื่องตดั
วงจรไฟฟา ๑๕. แผงจายพลังงานไฟฟา ๑๖. เครื่องใหสัญญาณเตือนโดยการเปลงแสงไฟฟา
๑๗. เครอ่ื งควบคมุ ความรอ น ๑๘. เครอ่ื งวดั แรงดนั ไฟฟา ๑๙. เครอ่ื งวดั กระแสไฟฟา ๒๐. เครอ่ื ง
วัดไฟฟา กระโชก ๒๑. เครื่องนับจำนวนไฟฟา กระโชก ๒๒. เครอ่ื งตรวจจบั กระแสไฟฟา กระโชก
๒๓. เซ็นเซอรระบบไฟฟา ๒๔. เซ็นเซอรระบบแมเหล็ก ๒๕. เครื่องวัดสายอากาศระบบไฟฟา
๒๖. เครอ่ื งวดั สายอากาศระบบแมเ หลก็ ๒๗. เครอ่ื งวดั นำ้ ฝน ๒๘. เรดารใ ชใ นงานอตุ นุ ยิ มวทิ ยา
และ ๒๙. กลองใชในงานอุตุนิยมวิทยา แตนายทะเบียนเครื่องหมายการคามีคำสั่งปฏิเสธตาม
หนังสือสำนักเครื่องหมายการคา กรมทรัพยสินทางปญญา รวม ๕ ฉบับ ไดแก (๑) หนังสือที่
พณ ๐๗๐๔/๑๑๕๕๙๐๐ ลงวันที่ ๗ พฤษภาคม ๒๕๕๖ แจงวา “ใหสงหลักฐานนำสืบลักษณะ
บง เฉพาะ...ภายใน ๖๐ วนั ...เพราะรปู เครอ่ื งหมายดงั กลา ว ( ) เปน รปู สญั ลกั ษณข องสายฟา
หรือกระแสไฟฟา ซึ่งมาใชกับสินคาที่ขอยอมเล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินคาโดยตรง
จงึ ไมม ลี กั ษณะบง เฉพาะตามมาตรา ๗” (๒) หนงั สอื ท่ี พณ ๐๗๐๔/๒๑๖๓ ลงวนั ท่ี ๗ พฤษภาคม
๒๕๕๖ แจงวา “เหมือนหรือคลายกับเครื่องหมายของบุคคลอื่นที่ไดจดทะเบียนไวแลวตาม
มาตรา ๑๓ คือคำขอเลขที่ ๕๙๐๒๖๑ ทะเบียนเลขที่ ค ๒๓๔๙๖๘...” (ซึ่งหมายถึงเครื่องหมาย
การคา ของบริษัท ส.) (๓) หนงั สือท่ี พณ ๐๗๐๔/๑๓๐๘๕ ลงวนั ท่ี ๗ พฤษภาคม ๒๕๕๖
แจง วา “มขี อ บกพรอ งตามมาตรา ๙ เพราะไมร ะบรุ ายการสนิ คา ทป่ี ระสงคจ ะไดร บั ความคมุ ครอง
แตล ะอยา งโดยชดั แจง (เวน แตจ ะไดย น่ื คำขอ...เพอ่ื แกไ ขใหถ กู ตอ งภายใน ๙๐ วนั ...) และใหแ กไ ข
ไดไ มเ กนิ ๒๙ รายการเทา นน้ั ...” (๔) หนงั สอื ท่ี พณ ๐๗๐๔/๓๕๒๔๗ ลงวนั ท่ี ๑๕ ตลุ าคม ๒๕๕๖
แจงวา “ไมมีลักษณะบงเฉพาะตามมาตรา ๗ เพราะรูปเครื่องหมายดังกลาว ( ) เปนรูป

๘๑

สญั ลักษณข องสายฟาหรือกระแสไฟฟา ซงึ่ มาใชก ับสนิ คาที่ขอยอมเล็งถงึ ลกั ษณะหรอื คุณสมบตั ิ
ของสนิ คา โดยตรง จงึ ไมม ลี กั ษณะบง เฉพาะตามมาตรา ๗ (หลกั ฐานทส่ี ง มาไมเ พยี งพอ สว นใหญ
เปน รปู สนิ คา ทไ่ี มไ ดแ สดงเครอ่ื งหมายการคา น้ี ( ))” และ (๕) หนงั สอื ท่ี พณ ๐๗๐๔/๓๐๗๐
ลงวันที่ ๑๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๖ แจงวา “เหมือนหรือคลายกับเครื่องหมายของบุคคลอื่น ซึ่ง
นายทะเบยี นไดม คี ำสง่ั ใหท า น (โจทก) และผขู อจดทะเบยี นรายอน่ื แกไ ขขอ บกพรอ งและอยรู ะหวา ง
ดำเนนิ การ...” ครน้ั โจทกอ ทุ ธรณค ำสง่ั นายทะเบยี นเครอ่ื งหมายการคา ตอ คณะกรรมการเครอ่ื งหมาย
การคา โดยยน่ื อทุ ธรณร วม ๒ ฉบบั ไดแ ก (๑) ฉบบั ลงวนั ท่ี ๒๑ มถิ นุ ายน ๒๕๕๖ เปน กรณอี ทุ ธรณ
ตามมาตรา ๑๓ และ (๒) ฉบบั ลงวนั ท่ี ๑๐ มกราคม ๒๕๕๗ เปน กรณอี ทุ ธรณต ามมาตรา ๗ แต
คณะกรรมการเครื่องหมายการคาไดมีคำวินิจฉัยอุทธรณที่ ๙๕๒/๒๕๕๘ โดยมีมติยืนตามคำสั่ง
ปฏิเสธของนายทะเบียนเครื่องหมายการคานั้นโดยใหเหตุผลมีใจความวา เครื่องหมายการคา

ของโจทกไดประดิษฐตัวอักษรโรมัน S เปนตัวหนา ไมมีเสนขอบลอมรอบ ใหตัวอักษร
ดานปลายหัวเรียวแหลมลากลงมาเปนคูขนานตัวหนาพื้นทึบ แลวโคงซายโคงขวาและลากลงมา
ถงึ ดา นปลายหางเรยี วแหลมเชน กนั จงึ มลี กั ษณะแตกตา งกบั รปู สญั ลกั ษณข องสายฟา หรอื กระแส
ไฟฟา เมอ่ื นำมาใชก บั สนิ คา ในจำพวกท่ี ๙ รายการสนิ คา ทง้ั ยส่ี บิ เกา รายการดงั กลา วขา งตน แลว
ยังไมน ับวา เปนรปู ทเี่ กย่ี วของกบั สินคานัน้ ๆ ถือวา มลี ักษณะบงเฉพาะตามมาตรา ๗ วรรคหนงึ่
แหง พ.ร.บ. เครื่องหมายการคา พ.ศ. ๒๕๓๔ แตเนื่องจากเครื่องหมายการคา ของโจทกมี
อักษรโรมัน S ( ) คลา ยกบั S ( ) ในเครื่องหมายการคา ของบุคคลอ่ืน (บริษทั ส.)
ทไ่ี ดจ ดทะเบยี นเลขท่ี ค ๒๓๔๙๖๘ ไวแ ลว ตามคำขอเลขท่ี ๕๙๐๒๖๑ แมเ ครอ่ื งหมายการคา
ทไ่ี ดจ ดทะเบยี นไวแ ลว จะมกี รอบรปู วงรปี ระกอบอยดู ว ยกต็ าม แตเ มอ่ื พจิ ารณาเสยี งเรยี กขานแลว
เครื่องหมายการคาของทั้งสองฝายอาจเรียกขานไดวา “เอส” เชนเดียวกัน เครื่องหมายการคา

ของโจทกจ ึงเปน เครอ่ื งหมายการคาทคี่ ลายกันกับเครือ่ งหมายการคา ของบุคคลอื่นที่
ไดจดทะเบียนไวแลวจนอาจทำใหสาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเปนเจาของหรือแหลง
กำเนิดของสินคาได เมื่อยื่นขอจดทะเบียนสำหรับสินคาในจำพวกเดียวกันและรายการสินคามี
ลักษณะอยางเดียวกัน จึงตองหามมิใหรับจดทะเบียนตามมาตรา ๑๓ แหง พ.ร.บ. เครื่องหมาย
การคา พ.ศ. ๒๕๓๔

พิเคราะหแลว ปญ หาตองวนิ ิจฉยั ตามอุทธรณของจำเลยมวี า เคร่ืองหมายการคา
ของโจทกเปนเครื่องหมายการคาที่ไมพึงรับจดทะเบียนและตองหามมิใหรับจดทะเบียนตาม
มาตรา ๖ (๓) และมาตรา ๑๓ แหง พ.ร.บ. เครื่องหมายการคา พ.ศ. ๒๕๓๔ หรือไม เห็นวา

๘๒

การพิจารณาวาเครื่องหมายการคาใดคลายกับเครื่องหมายการคาอื่นจนอาจทำใหสาธารณชน

สับสนหลงผิดในความเปนเจาของหรือแหลงกำเนิดของสินคา อันจะเปนขอตองหามมิพึงใหรับ

จดทะเบยี นเครอ่ื งหมายการคา ตามปญ หาดงั กลา วหรอื ไมน น้ั ตอ งพจิ ารณาภาพรวมทง้ั หมดหรอื

องคป ระกอบรวมของเครอ่ื งหมายการคา ทง้ั สองเปรยี บเทยี บกนั ไมอ าจพจิ ารณาเฉพาะภาคสว นใด

ภาคสวนหนึ่งของเครื่องหมายการคาทั้งสองได และตองพิจารณาวาเครื่องหมายการคาทั้งสอง

ใชกับสินคาจำพวกเดียวกันหรือตางจำพวกกันที่มีลักษณะอยางเดียวกันหรือไมอีกดวย เมื่อ

เปรียบเทียบเครอื่ งหมายการคา ของโจทกก ับ ของบุคคลอ่ืนที่ไดจ ดทะเบียนไวแ ลว

แมเ ครอ่ื งหมายการคา ทง้ั สองจะมขี อ เหมอื นกนั ตรงทเ่ี ปน อกั ษรโรมนั ตวั เดยี วกนั คอื S และใชต วั S

เพยี งตวั เดยี วเทา นน้ั แตค นทว่ั ไปกส็ ามารถนำอกั ษรโรมนั ตวั ใดตวั หนง่ึ รวมถงึ S ดงั กลา วดว ยมา

ใชไดเปนปกติอยูแลว ดังนั้น แมบริษัท ส. จะนำอักษรโรมัน S ไปจดทะเบียนเปนเครื่องหมาย

การคา ไวก อ น กไ็ มถ งึ กบั มสี ทิ ธโิ ดยเดด็ ขาดทจ่ี ะหวงกนั ไมใ หผ อู น่ื ใชอ กั ษรโรมนั S ตวั นไ้ี ด

เพยี งแตผ ทู จ่ี ะนำอกั ษรโรมนั S ไปใชเ ปน เครอ่ื งหมายการคา ของตนในภายหลงั ตอ งทำใหเ ครอ่ื งหมาย

การคานั้นมีลักษณะแตกตางกับเครื่องหมายการคา ของบุคคลอื่นที่ไดจดทะเบียนไวแลว

และไมทำใหสาธารณชนสับสนหลงผิดได เมื่อพิจารณาเครื่องหมายการคา ของบุคคลอื่น

ทไ่ี ดจ ดทะเบยี นไว มลี กั ษณะเปน อกั ษรโรมนั S ทป่ี ระดษิ ฐใ หเ ปน สขี าวอยตู รงกลางภายในกรอบ

เสน วงรแี นวนอนสที บึ เวน ขอบสขี าวไวร อบ ๆ เสน วงรชี น้ั ใน โดยอกั ษรโรมนั S เปน ตวั แบง พน้ื ท่ี

วงรีทั้งหมดออกเปนสองสวน ดานซายสีออน สวนดานขวาสีเขม (ในเครื่องหมายการคา

เปน รปู ถายสี พนื้ ทีว่ งรดี า นซายเปน สีเขยี ว ขอบซายสุดเปน สีเขียวจาง ๆ สว นพนื้ ท่ีวงรดี านขวา

เปนสีน้ำเงิน ขอบขวาสุดเปนสีน้ำเงินจาง ๆ) แตเครื่องหมายการคา ของโจทก เปนอักษร

โรมนั S ทเ่ี พยี งประดษิ ฐใ หอ ยลู อย ๆ เทา นน้ั ไมม สี ว นประกอบอน่ื ใด ไมว า จะเปน กรอบหรอื เสน

หรือพื้นที่ลอมรอบ จึงมีจุดแตกตางกับเครื่องหมายการคา ของบุคคลอื่นที่ไดจดทะเบียน

ไวแ ลว อยา งเหน็ ไดช ดั เจนซง่ึ ผบู รโิ ภคสามารถใชเ ปน ทส่ี งั เกต แยกใหเ หน็ ความแตกตา งไดโ ดยงา ย

สวนขอที่จำเลยกลาวอางในอุทธรณวาเครื่องหมายการคา ของบุคคลอื่นที่ไดจดทะเบียน

ไวแลวมีลักษณะเดนที่อักษรโรมัน S เปนสาระสำคัญนั้น เห็นวา ลักษณะเดนของอักษรโรมัน S

ดังกลาวเกิดขึ้นเนื่องจากตำแหนงที่ตั้งของอักษรโรมัน S อยูตรงกลางภายในรูปวงรีลอมรอบซึ่ง

เจา ของเคร่อื งหมายการคา ไดเจตนาออกแบบประดิษฐพื้นทีร่ ปู วงรีนนั้ ใหม ีรายละเอยี ด

๘๓

ไมว า จะเปน รปู ทรงวงรแี นวนอนกด็ ี ความทบึ ของสพี น้ื ทว่ี งรใี หแ ตกตา งและตดั กนั กบั ความสวา ง
ของอกั ษรโรมนั S กด็ ี การเวน ขอบสขี าวไวร อบ ๆ เสน วงรชี น้ั ในกด็ ี การไลร ะดบั เฉดสพี น้ื ทใ่ี หม ี
ความเขมความจางก็ดี เหลานี้ยอมทำใหพื้นที่รูปวงรีที่ลอมรอบอักษรโรมัน S นั้นก็มีลักษณะ
โดดเดนอีกแหงหนึ่งดุจกัน หาใชความเดนหรือสาระสำคัญไปมุงอยูที่อักษรโรมัน S ที่ตั้งอยูใน
ตำแหนง ตรงกลางดงั กลา วเพยี งแหง เดยี วดงั ขอ อทุ ธรณไ ม เพราะมฉิ ะนน้ั ผขู อจดทะเบยี นเครอ่ื งหมาย
การคา กค็ งวาดเสน วงรลี อ มรอบอกั ษรโรมนั S เพยี งเสน เดยี วกพ็ อแลว ไมจ ำเปน ทจ่ี ะตอ ง
คิดหรือประดิษฐใหเปนรูปวงรีที่มีรายละเอียดตาง ๆ ดังกลาว นอกจากนี้แมเครื่องหมายการคา

ของบคุ คลอน่ื ทไ่ี ดจ ดทะเบยี นไวแ ลว และเครอ่ื งหมายการคา ของโจทกจ ะเปน อกั ษร
โรมนั S ซง่ึ โดยทว่ั ไปอา นวา “เอส” เชน เดยี วกนั แตก ารเรยี กขานสนิ คา ใด ๆ ยอ มขน้ึ อยกู บั ผบู รโิ ภค
แตละคนที่จะเรียกขานสินคานั้น ๆ วาอยางไร ทั้งยังจะสันนิษฐานวาผูบริโภคในสังคมเรียกขาน
สนิ คา ภายใตเ ครอ่ื งหมายการคา ทง้ั สองวา “เอส” ดงั คำวนิ จิ ฉยั อทุ ธรณข องคณะกรรมการเครอ่ื งหมาย
การคา ที่ ๙๕๒/๒๕๕๘ หาไดไมอีกดวย เมื่อพิจารณาสินคาภายใตเครื่องหมายการคาทั้งสอง
แมจะเปนสินคาในจำพวกที่ ๙ เหมือนกัน แตรายการสินคาภายใตเครื่องหมายการคา
ของบคุ คลอน่ื ทไ่ี ดจ ดทะเบยี นไวแ ลว ไดแ ก เครอ่ื งคอมพวิ เตอร เครอ่ื งพมิ พใ ชก บั เครอ่ื งคอมพวิ เตอร
จอภาพเครอ่ื งคอมพวิ เตอร คยี บ อรด เครอ่ื งคอมพวิ เตอร เมา สใ ชก บั เครอ่ื งคอมพวิ เตอร แผงวงจรหลกั
(เมนบอรด) ฮารดดิสกไดรฟ (หนวยขับสื่อขอมูลในรูปจานบันทึกแบบแข็ง) เครื่องจายไฟ
แผนซีดีรอม แผนซีดี-อารดับบลิว (แผนคอมแพ็กตดิสกชนิดเขียนใหมได) และลำโพง ซึ่งเห็น
ไดวาเปนสินคาเครื่องคอมพิวเตอรและอุปกรณตอพวงกับเครื่องคอมพิวเตอร อันเปนอุปกรณ
อิเล็กทรอนิกส (electronic devices) หรือผลิตภัณฑเทคโนโลยีดานขอมูลขาวสาร (information
technology products) เพยี งอยา งเดยี ว เปรยี บเทยี บกบั รายการสนิ คา ภายใตเ ครอ่ื งหมายการคา

ของโจทก จำนวน ๒๙ รายการ เปนสินคาเกี่ยวกับไฟฟาและงานอุตุนิยมวิทยา รวมสินคา
สองอยา ง โดยเฉพาะอยา งยง่ิ เอกสารระบสุ รปุ รายการสนิ คา ของโจทกว า เปน อปุ กรณท ใ่ี ชป อ งกนั
เฝาระวังและเตือนภัยจากฟาผา (lightening protection solutions) ซึ่งเห็นไดวารายการสินคา
ของโจทกเ ปน อปุ กรณไ ฟฟา (electrical devices) มใิ ชอ ปุ กรณอ เิ ลก็ ทรอนกิ ส (electronic devices)
หรือผลิตภัณฑเทคโนโลยีดานขอมูลขาวสาร (information technology products) แตอยางใด
รายการสินคาภายใตเ ครือ่ งหมายการคา ทั้งสองยอมมีลักษณะแตกตา งกนั และมุง ใชกับผูบ รโิ ภค
สินคาคนละกลุมกัน จึงหาใชมีลักษณะอยางเดียวกันดังคำวินิจฉัยอุทธรณของคณะกรรมการ
เครื่องหมายการคา ที่ ๙๕๒/๒๕๕๘ ไม ทั้งโจทกยังนำสืบถึงประวัติและธุรกิจของโจทกวาโจทก

๘๔

เปน นติ บิ คุ คลตามกฎหมายแหง ประเทศญป่ี นุ กอ ตง้ั เมอ่ื ป ๒๔๗๓ ประกอบธรุ กจิ ผลติ และจำหนา ย

สินคาอุปกรณเกี่ยวกับระบบไฟฟา อุปกรณระบบโทรคมนาคม อุปกรณปองกันฟาผา อุปกรณ

เกย่ี วกบั งานอตุ นุ ยิ มวทิ ยา และเทคโนโลยใี ยแกว นำแสง ประกอบกบั โจทกน ำสบื ถงึ ความเปน มา

ของเครอ่ื งหมายการคา วา โจทกน ำมาจาก (อกั ษรโรมนั S ประดษิ ฐ ( ))

ทโ่ี จทกใ ชเ ปน สว นหนง่ึ นำหนา ชอ่ื บรษิ ทั โจทก ( ) และ/หรอื จดทะเบยี นเปน เครอ่ื งหมาย

การคา ในตา งประเทศโดยสจุ รติ อนั ถอื วา โจทกม ไิ ดม งุ อา งองิ หรอื แสวงหาประโยชนจ ากเครอ่ื งหมาย

การคา ของบคุ คลอนื่ ทีไ่ ดจ ดทะเบียนไวแ ลว สว นจำเลยนอกจากจะไมมีพยานหลกั ฐานให

รับฟงไดวาผูบริโภคจะเกิดความสับสนหรือหลงผิดในความเปนเจาของหรือแหลงกำเนิดของ

สนิ คา วา เปน สนิ คา ของโจทกห รอื ของบคุ คลอน่ื ทไ่ี ดจ ดทะเบยี นไวแ ลว จำเลยยงั ไมม พี ยานหลกั ฐาน

หักลางเรื่องความสุจริตของโจทกเปนอยางอื่นอีกดวย ยอมตองถือวาโจทกยื่นคำขอจดทะเบียน

เครอ่ื งหมายการคา โดยสจุ รติ สว นขอ ทจ่ี ำเลยกลา วอา งในอทุ ธรณว า สนิ คา ภายใตเ ครอ่ื งหมาย

การคา ของโจทก รายการสินคา “เครื่องควบคุมหรือจายไฟฟา” กับ “เครื่องแปลงไฟฟา”

เปนสินคาที่มีลักษณะเดียวกันกับ “เครื่องจายไฟ” ภายใตเครื่องหมายการคา ของบุคคล

อื่นที่ไดจดทะเบียนไวแลวนั้น เปนขอที่ไมมีปรากฏในคำใหการของจำเลย ยอมเปนขอที่มิไดยก

ขึ้นวากันมาแลวโดยชอบในศาลทรัพยสินทางปญญาและการคาระหวางประเทศกลาง จึงเปน

อุทธรณตองหามตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลทรัพยสินทางปญญาและการคาระหวางประเทศและ

วธิ พี จิ ารณาคดที รพั ยส นิ ทางปญ ญาและการคา ระหวา งประเทศ พ.ศ. ๒๕๓๙ มาตรา ๓๘ ประกอบ

ป.วิ.พ. มาตรา ๒๒๕ แมศาลทรัพยสินทางปญญาและการคาระหวางประเทศกลางจะมีคำสั่งให

รับอุทธรณขอนี้ของจำเลย แตก็ไมมีผลทำใหอุทธรณซึ่งไมชอบดวยกฎหมายนั้นกลับกลายเปน

อทุ ธรณท ช่ี อบดว ยกฎหมายไปได ศาลอทุ ธรณค ดชี ำนญั พเิ ศษจงึ ชอบทจ่ี ะปฏเิ สธไมร บั วนิ จิ ฉยั ให

ดงั น้ี เครอ่ื งหมายการคา ของโจทก จงึ เปน เครอ่ื งหมายการคา ทพ่ี งึ รบั จดทะเบยี นตามมาตรา ๖

(๓) และมาตรา ๑๓ แหง พ.ร.บ. เครอ่ื งหมายการคา พ.ศ. ๒๕๓๔ การทศ่ี าลทรพั ยส นิ ทางปญ ญา

และการคาระหวางประเทศกลางวินิจฉัยวา คำสั่งของนายทะเบียนเครื่องหมายการคาที่ปฏิเสธ

ไมร บั จดทะเบยี นเครอ่ื งหมายการคา ของโจทกก ด็ ี และคำวนิ จิ ฉยั อทุ ธรณข องคณะกรรมการ

เครื่องหมายการคา ที่ ๙๕๒/๒๕๕๘ ที่มีมติยืนตามคำสั่งปฏิเสธของนายทะเบียนเครื่องหมาย

การคาก็ดี ลวนเปนไปโดยไมชอบดวยกฎหมาย แลวพิพากษาใหเพิกถอนคำสั่งและคำวินิจฉัย

อุทธรณดังกลาวมานั้น ศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษเห็นพองดวยในผล อุทธรณของจำเลย

ฟงไมขึ้น กรณีไมจำตองวินิจฉัยประเด็นอื่น ๆ อีกตอไป เพราะไมทำใหผลแหงคดีเปลี่ยนแปลง

๘๕

พิพากษายืน คา ฤชาธรรมเนียมชน้ั อุทธรณใหเ ปนพบั .
(วราคมน เล้ียงพันธุ - นพรตั น ชลวิทย - กรกันยา สวุ รรณพานิช)

จันทรกระพอ ตอ สวุ รรณ สนิ ธวถาวร - ยอ
ปรานี เสฐจินตนนิ - ตรวจ

หมายเหตุ คดีถึงทส่ี ดุ

๘๖

คำพิพากษาศาลอทุ ธรณคดชี ำนัญพิเศษท่ี ๒๔๘๖/๒๕๖๐ อาลบี าบา กรุป โฮลดงิ้
ลมิ เิ ตด็ โจทก
กรมทรัพยสินทางปญญา จำเลย

พ.ร.บ. เครอ่ื งหมายการคา พ.ศ. ๒๕๓๔ มาตรา ๖, ๑๓

การพิจารณาวาเครื่องหมายการคาที่ยื่นขอจดทะเบียนกับเครื่องหมายการคา

ท่บี คุ คลอนื่ ไดจ ดทะเบยี นไวแลว คลา ยกันจนอาจทำใหสาธารณชนสบั สนหรอื หลงผดิ ใน

ความเปนเจาของหรือแหลงกำเนิดของสินคาหรือไม ตองพิจารณาจากภาพรวมของ

เครอ่ื งหมายการคา ทง้ั หมด ลกั ษณะเดน ของเครอ่ื งหมายการคา การเรยี กขาน ตลอดจน

ตอ งพจิ ารณาวา สนิ คา ภายใตเ ครอ่ื งหมายการคา ทง้ั สองเปน สนิ คา จำพวกเดยี วกนั มรี ายการ

สินคาลักษณะอยางเดียวกัน จนอาจทำใหสาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเปน

เจาของหรอื แหลงกำเนดิ ของสนิ คาหรอื ไม

เครื่องหมายการคา ของโจทกที่ขอจดทะเบียนเปนอักษรโรมัน

ตัวพิมพใหญทั้งหมด รูปแบบลักษณะตัวอักษรตั้งตรงเปนเสนหนาเทากันทั้งหมด ไมมี

กรอบหรอื ลวดลายอ่ืนเปน สว นประกอบ ตัวอักษรท่ีเปนเครื่องหมายการคา จึงมลี ักษณะ

เดน สวนเครื่องหมายการคา ของบุคคลอื่นที่จดทะเบียนไวแลวเปนอักษร

โรมันแบบตัวเขียนทั้งหมด โดยเปนตัวใหญเฉพาะตัวอักษรแรก รูปแบบตัวอักษรเปน

ตวั เอยี งใชเ สน หนกั เบา ตวั อกั ษรทง้ั หมดอยภู ายในเสน กรอบสเ่ี หลย่ี ม ตวั อกั ษรจงึ มลี กั ษณะ

เดน นอ ยกวา เครอ่ื งหมายการคา ของโจทก แตเ ครอ่ื งหมายการคา ทง้ั สองเปน คำเดยี วกนั

เสยี งเรยี กขานเหมอื นกนั ในภาพรวมจงึ มสี ว นทเ่ี ปน สาระสำคญั คลา ยกนั สว นความคลา ยกนั

ดังกลาวจะถึงขนาดจะทำใหสาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเปนเจาของหรือ

แหลง กำเนดิ ของสนิ คา หรอื ไม ตอ งพจิ ารณาตอ ไปวา มโี อกาสทส่ี าธารณชนผบู รโิ ภคสนิ คา

ของโจทกหรือของผูที่ไดจดทะเบียนเครื่องหมายการคาไวแลวจะสับสนหรือหลงผิดใน

เครอ่ื งหมายการคา ทง้ั สองหรอื ไม ซง่ึ ตอ งพจิ ารณาจากสาธารณชนผบู รโิ ภคหรอื ผใู ชส นิ คา

เปนสำคัญ แมวาโจทกจะขอจดทะเบียนเครื่องหมายการคาเพื่อใชกับสินคาจำพวกที่ ๙

เชนเดียวกับเครื่องหมายการคาของบุคคลอื่นที่จดทะเบียนไวแลว แตรายการสินคาไม

ปรากฏวามีรายการสินคาตรงกัน สินคาของโจทกเปนอุปกรณที่ใชกับคอมพิวเตอรหรือ

ระบบเครือขายคอมพิวเตอร สวนสินคาของบุคคลอื่นที่จดทะเบียนไวแลวเปนอุปกรณ

๘๗

ที่ใชกับระบบไฟฟา สินคาของเครื่องหมายการคาทั้งสองไมใชสินคาที่สาธารณชนใช
อุปโภคบริโภคโดยทั่วไป แตมีลักษณะเฉพาะตามความตองการของผูบริโภคบางกลุม
เทานั้น บุคคลผูมีความประสงคจะซื้อสินคาทั้งสองประเภทยอมตองพินิจพิเคราะหดวย
ความระมัดระวัง และสถานที่วางจำหนายไมใชสถานที่เดียวกัน โอกาสที่สาธารณชน
จะสับสนหรือหลงผิดในความเปนเจาของหรือแหลงกำเนิดของสินคาจึงเกิดขึ้นไดยาก

_______________________________

โจทกฟ อ ง ขอใหเ พกิ ถอนคำสง่ั ของนายทะเบยี นเครอ่ื งหมายการคา ท่ี พณ ๐๗๐๔/๑๐๓๓,
ท่ี พณ ๓๔๐๖ (ทถ่ี กู ท่ี พณ ๐๗๐๔/๓๔๐๖) และคำวนิ จิ ฉยั อทุ ธรณข องคณะกรรมการเครอ่ื งหมาย
การคาที่ ๘๘๗/๒๕๕๘ กับพิพากษาวาเครื่องหมายการคาของโจทกตามคำขอจดทะเบียนเลขที่
๘๐๔๔๗๘ ไมเหมือนหรือคลายกับเครื่องหมายการคาของบุคคลอื่นที่จดทะเบียนไวแลว และให
จำเลยดำเนินการจดทะเบียนเครื่องหมายการคาของโจทกตอไป หากจำเลยไมปฏิบัติตามใหถือ
เอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนา

จำเลยใหก ารขอใหยกฟอ ง
จำเลยอุทธรณ
ศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษแผนกคดีทรัพยสินทางปญญาและการคาระหวางประเทศ
วนิ จิ ฉยั วา มปี ญหาตองวนิ จิ ฉัยตามอุทธรณของจำเลยวา เครื่องหมายการคา ของโจทกค ลายกับ
เคร่อื งหมายการคา ของบคุ คลอ่ืนท่จี ดทะเบียนไวแ ลว จนอาจทำใหสาธารณชนสับสนหรอื หลงผดิ
ในความเปน เจา ของหรอื แหลง กำเนดิ ของสนิ คา หรอื ไม เหน็ วา การพจิ ารณาวา เครอ่ื งหมายการคา
ท่โี จทกย ่นื ขอจดทะเบียนกบั เครือ่ งหมายการคาที่บคุ คลอน่ื ไดจดทะเบยี นไวแลว คลายกันจนอาจ
ทำใหสาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเปนเจาของหรือแหลงกำเนิดของสินคาหรือไมนั้น
ตองพิจารณาจากภาพรวมของลักษณะเครื่องหมายการคาทั้งสองดังกลาวทั้งหมด ลักษณะเดน
ของเครอ่ื งหมายการคา การเรยี กขานเครอ่ื งหมายการคา ตลอดจนตอ งพจิ ารณาวา สนิ คา ภายใต
เครอ่ื งหมายการคา ทง้ั สองเปน สนิ คา จำพวกเดยี วกนั มรี ายการสนิ คา ลกั ษณะอยา งเดยี วกนั รวมถงึ
มีชองทางหรือสถานที่จำหนายสินคาแหงเดียวกัน จนอาจทำใหสาธารณชนสับสนหรือหลงผิด
ในความเปน เจา ของหรอื แหลง กำเนดิ ของสนิ คา หรอื ไม เมอ่ื พจิ ารณาเปรยี บเทยี บเครอ่ื งหมายการคา

กับ แลว เห็นวา เครื่องหมายการคาของโจทกที่ขอจดทะเบียน
เปน อกั ษรโรมนั ตวั พมิ พใ หญท ง้ั หมด รปู แบบลกั ษณะตวั อกั ษรตง้ั ตรงเปน เสน หนาเทา กนั ทง้ั หมด
ไมมีกรอบหรือลวดลายอื่นเปนสวนประกอบ ตัวอักษรที่เปนเครื่องหมายการคาจึงมีลักษณะเดน

๘๘

สวนเครื่องหมายการคาของบุคคลอื่นที่จดทะเบียนไวแลวเปนอักษรโรมันแบบตัวเขียนทั้งหมด
โดยเปนตัวใหญเฉพาะอักษรตัวแรก แตอักษรอื่นที่เหลืออีก ๖ ตัว เปนตัวเล็ก รูปแบบลักษณะ
อักษรเปนตัวเอียงใชเสนหนักเบา ตัวอักษรทั้งหมดอยูภายในเสนกรอบสี่เหลี่ยม ตัวอักษรจึงมี
ลกั ษณะเดน นอ ยกวา เครอ่ื งหมายการคา ของโจทก แตเ ครอ่ื งหมายการคา ทง้ั สองเปน คำคำเดยี วกนั
และมีเสียงเรียกขานวา อา-ลี-บา-บา เหมือนกัน แมตัวอักษรที่เปนเครื่องหมายการคาของ
โจทกจ ะมลี กั ษณะเดน มากกวา ตวั อกั ษรทเ่ี ปน เครอ่ื งหมายการคา ของบรษิ ทั กดู วลิ แมชชนิ จำกดั
แตคำวา ALIBABA ในเครื่องหมายการคาของโจทก และคำวา Alibaba ในเครื่องหมายการคา
ของบริษัท กูดวิล แมชชิน จำกัด ก็เปนลักษณะเดนของเครื่องหมายการคาเชนเดียวกัน ดังนั้น
แมเ ครอ่ื งหมายการคา ของโจทกก บั เครอ่ื งหมายการคา ของบรษิ ทั กดู วลิ แมชชนิ จำกดั ทจ่ี ดทะเบยี น
ไวแลวจะมีความแตกตางกันอยูบาง แตก็ถือไดวาในภาพรวมมีสวนที่เปนสาระสำคัญคลายกัน
สวนความคลายกันดังกลาวจะถึงขนาดทำใหสาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเปนเจาของ
หรอื แหลง กำเนดิ ของสนิ คา หรอื ไม ยอ มตอ งพจิ ารณาตอ ไปวา มโี อกาสทส่ี าธารณชนผบู รโิ ภคสนิ คา
ของโจทกห รอื ของผทู ไ่ี ดจ ดทะเบยี นเครอ่ื งหมายการคา ไวแ ลว จะสบั สนหรอื หลงผดิ ในเครอ่ื งหมาย
การคาทั้งสองหรือไม ซึ่งการพิจารณาปญหานี้ตองพิจารณาจากสาธารณชนผูบริโภคหรือผูใช
สินคาเปนสำคัญ แมวาโจทกจะขอจดทะเบียนเครื่องหมายการคาเพื่อใชกับสินคาจำพวกที่ ๙
เชนเดียวกับที่บริษัทกูดวิล แมชชิน จำกัด ไดรับการจดทะเบียนเครื่องหมายการคาไวตาม
ทะเบยี นเลขท่ี ค.๒๒๕๐๑๕ แตร ายการสนิ คา ทง้ั ๓๕ รายการ ทโ่ี จทกข อจดทะเบยี นเครอ่ื งหมาย
การคา และไดม กี ารแกไ ข ตามคำขอแกไ ขเปลย่ี นแปลงรายการจดทะเบยี นฉบบั วนั ท่ี ๑๓ สงิ หาคม
๒๕๕๖ ไมป รากฏวา มรี ายการใดตรงกบั รายการสนิ คา ๑๒ รายการ ทบ่ี รษิ ทั กดู วลิ แมชชนิ จำกดั
ไดร บั การจดทะเบยี นเครอ่ื งหมายการคา ไว รวมทง้ั รายการสนิ คา ของโจทก ไดแ ก อปุ กรณบ นั ทกึ
สง หรือทำซำ้ เสยี งหรอื ภาพ หูฟง อปุ กรณควบคมุ ระยะไกล กับสินคาภายใตเครอื่ งหมายการคา
ของบริษัทกูดวิล แมชชิน จำกัด ที่จดทะเบียนไวแลว ไดแก เวอรเนีย (อุปกรณใชในการวัด)
สายไฟฟา สายลำโพง ก็หาไดเปนสินคาที่มีลักษณะอยางเดียวกันตามที่จำเลยใหการโตแยง
ไวไม เพราะสินคาของโจทกเปนอุปกรณที่ใชกับคอมพิวเตอรหรือระบบเครือขายคอมพิวเตอร
สวนสินคาของบริษัทกูดวิล แมชชิน จำกัด เปนอุปกรณที่ใชกับระบบไฟฟา เมื่อรายการสินคา
ภายใตเครื่องหมายการคาของโจทกมีลักษณะแตกตางกับสินคาภายใตเครื่องหมายการคาของ
บุคคลอื่นที่จดทะเบียนไว วัตถุประสงคในการใชสินคาของผูบริโภคยอมแตกตางกันทั้งการที่
สินคาของเครื่องหมายการคาทั้งสองไมใชสินคาที่สาธารณชนใชอุปโภคบริโภคโดยทั่วไปแตมี
ลักษณะเฉพาะตามความตองการของผูบริโภคบางกลุมเทานั้น บุคคลผูมีความประสงคจะซื้อ

๘๙

สนิ คา ทง้ั สองประเภทยอ มตอ งพนิ จิ พเิ คราะหด ว ยความระมดั ระวงั และสถานทว่ี างจำหนา ยสนิ คา

ไมใชสถานที่เดียวกัน โอกาสที่สาธารณชนจะสับสนหรือหลงผิดในความเปนเจาของหรือแหลง

กำเนิดของสินคาจึงเกิดขึ้นไดยาก กรณียังไมอาจถือไดวาเครื่องหมายการคา

ที่โจทกขอจดทะเบียนตามคำขอเลขที่ ๘๐๔๔๗๘ คลายกับเครื่องหมายการคา ที่

บริษัทกูดวิล แมชชิน จำกัด ไดจดทะเบียนไวแลวตามทะเบียนเลขที่ ค.๒๒๕๐๑๕ จนอาจทำให

สาธารณชนสบั สนหรอื หลงผดิ ในความเปน เจา ของหรอื แหลง กำเนดิ ของสนิ คา อนั จะเปน เครอ่ื งหมาย

การคา ทไ่ี มม ลี กั ษณะอนั พงึ รบั จดทะเบยี นได ตามพระราชบญั ญตั เิ ครอ่ื งหมายการคา พ.ศ. ๒๕๓๔

มาตรา ๖ (๓) ประกอบมาตรา ๑๓ ตามทจ่ี ำเลยอทุ ธรณแ ตอ ยา งใด และเมอ่ื วนิ จิ ฉยั ดงั นแ้ี ลว กรณี

จึงไมจำตองวินิจฉัยวาพยานหลักฐานที่โจทกนำสืบและอางสงเปนพยานหลักฐานมานั้นรับฟง

ไดวาโจทกไดใชเครื่องหมายการคามาแลวโดยสุจริตหรือมีพฤติการณพิเศษที่นายทะเบียน

เครื่องหมายการคาเห็นสมควรรับจดทะเบียนเครื่องหมายการคาตามมาตรา ๒๗ หรือไม ตาม

อุทธรณของจำเลยตอไป เพราะไมทำใหผลแหงคดีเปลี่ยนแปลงไป ที่ศาลทรัพยสินทางปญญา

และการคาระหวางประเทศกลางวินิจฉัยวาเครื่องหมายการคา ของโจทกตาม

คำขอจดทะเบยี นเครอ่ื งหมายการคา เลขท่ี ๘๐๔๔๗๘ ไมเ หมอื นหรอื คลา ยกบั เครอ่ื งหมายการคา

ของบุคคลอื่นที่จดทะเบียนไวแลว ตามทะเบียนเลขที่ ค.๒๒๕๐๑๕ จนอาจทำให

สาธารณชนสบั สนหรอื หลงผดิ ในความเปน เจา ของหรอื แหลง กำเนดิ ของสนิ คา คำสง่ั ของนายทะเบยี น

เครื่องหมายการคาและคำวินิจฉัยของคณะกรรมการเครื่องหมายการคาที่ไมรับจดทะเบียน

เครอ่ื งหมายการคา ของโจทกจ งึ เปน คำสง่ั และคำวนิ จิ ฉยั ทไ่ี มช อบดว ยกฎหมายอนั สมควรเพกิ ถอนนน้ั

ศาลอุทธรณคดชี ำนญั พเิ ศษเห็นพอ งดว ย อทุ ธรณข องจำเลยฟง ไมขนึ้

พพิ ากษายืน คาฤชาธรรมเนียมชน้ั อุทธรณใ หเปน พบั .

(กรกนั ยา สวุ รรณพานชิ - จกั รกฤษณ เจนเจษฎา - วราคมน เลย้ี งพนั ธ)ุ

จนั ทรกระพอ ตอสวุ รรณ สินธวถาวร - ยอ
ปรานี เสฐจินตนิน - ตรวจ

หมายเหตุ คดีถึงทส่ี ดุ

๙๐


Click to View FlipBook Version