The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by Omb_Library, 2022-01-05 22:57:23

annual report_2560

annual report_2560

4 รายงานประจ�ำปี ๒๕๖๐

ตราสัญลักษณ์

ลักษณะของสญั ลักษณ์

เป็นดวงตรารปู อารม์

องค์ประกอบของสัญลกั ษณ์

ช้นั ใน
ตรงกลางมีรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ประดษิ ฐานอยบู่ นพานสองชั้น
มชี อ่ ชัยพฤกษป์ ระกอบอย่ดู า้ นขา้ งท้งั สอง
ชนั้ นอก
ใต้พานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย เป็นแถบแพรมีอักษรข้อความว่า
“สำ� นักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน” มซี ้มุ บุษบกประกบอยดู่ ้านบน

สี

สแี ดงชาด
ใช้เป็นสีพื้น หมายถึง อ�ำนาจอันชอบธรรม ภายในพระปรมาภิไธยพระมหา
กษัตราธิราช อันทรงไว้ ซึ่งพระบรมเดชานุภาพและทศพิธราชธรรมจริยา ตาม
บทบัญญตั ิแหง่ รัฐธรรมนญู
สที อง
ใชเ้ ป็นสสี �ำหรับองค์ประกอบของสญั ลักษณ์ หมายถึง ความร่งุ เรือง มีศกั ดศ์ิ รี
สง่างามสูงส่ง

หมายเหตุ : ประกาศในราชกจิ จานุเบกษา เลม่ ๑๒๔ ตอนพิเศษ ๑๔๗ ง วนั ท่ี ๓ ตลุ าคม ๒๕๕๐
หน้า ๑๗

ผตู้ รวจการแผ่นดิน 5

สารจาก

ประธานสภานิตบิ ัญญัตแิ ห่งชาติ

ผู้ตรวจการแผ่นดินเป็นหน่วยงานที่มีความส�ำคัญในการตรวจสอบการกระท�ำของ
หน่วยงานของรัฐซึ่งใช้อ�ำนาจตามกฎหมายในการกระท�ำการใด ๆ ที่อาจเป็นการกระทบ
กระเทอื นตอ่ สทิ ธแิ ละเสรภี าพของประชาชน โดยประชาชนจะไดร้ บั การรบั รองและคมุ้ ครอง
ตามวถิ ที างของการปกครองในระบอบประชาธปิ ไตย ทงั้ นี้ ความมงุ่ หมายตามกฎหมายทจี่ ะ
ให้การรับรองและคุ้มครองประชาชนน้ี กฎหมายได้ให้อ�ำนาจผู้ตรวจการแผ่นดินแสวงหา
ข้อเท็จจริงท่ีกระทบกับความเดือดร้อนของประชาชน พร้อมท้ังเสนอแนะแนวทางในการ
ปรับปรงุ แกไ้ ขกฎหมาย ขอ้ บงั คบั ระเบียบ หรอื คำ� สงั่ ต่าง ๆ เพื่อนำ� ไปสูห่ นทางแกไ้ ขปญั หา
ตลอดจนเสนอแนะใหค้ ณะรฐั มนตรไี ดท้ ราบถงึ สภาพปญั หาหรอื การไมป่ ฏบิ ตั ติ ามคำ� แนะนำ�

6 รายงานประจำ� ปี ๒๕๖๐

ตลอดระยะเวลาทผ่ี า่ นมานน้ั ผตู้ รวจการแผน่ ดนิ ไดท้ มุ่ เทกำ� ลงั บคุ ลากร งบประมาณ
ระยะเวลาในการด�ำเนินการ จนเป็นท่ีประจักษ์ว่า การด�ำเนินการของผู้ตรวจการแผ่นดิน
ทำ� ใหห้ นว่ ยงานของรฐั ไดแ้ กไ้ ขกระบวนการหรอื กระทำ� การใด ๆ ทแี่ ตกตา่ งไปจากบทบญั ญตั ิ
แห่งกฎหมายที่มุ่งคุ้มครองประชาชน ในการปฏิบัติงานของผู้ตรวจการแผ่นดินได้มีการ
ประสานกับทุก ๆ ภาคส่วน เพ่ือแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน ด�ำเนินการ
ตรวจสอบความชอบดว้ ยกฎหมายในการกระทำ� ของหนว่ ยงานของรฐั จากภาคประชาสงั คม
และบคุ คลทว่ั ไป อนั เปน็ หลกั การสำ� คญั อกี ประการหนง่ึ ของการปกครองระบบประชาธปิ ไตย
ที่ให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังและตรวจสอบการกระท�ำของหน่วยงาน
ของรฐั ซง่ึ จะส่งเสรมิ ให้การปกครองประเทศเป็นไปตามหลักธรรมาภบิ าล หลกั นติ ริ ัฐ และ
หลกั นิติธรรม
ด้วยโอกาสท่ีส�ำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน ได้จัดท�ำรายงานผู้ตรวจการแผ่นดิน
ประจ�ำปี ๒๕๖๐ เพ่ือเสนอต่อรัฐสภา และคณะรัฐมนตรี นับเป็นโอกาสอันดีที่ส�ำนักงาน
ผู้ตรวจการแผ่นดินจะได้เผยแพร่ผลการด�ำเนินงานตามบทบาทหน้าที่ และอ�ำนาจ
ที่เป็นประโยชน์แก่ประเทศชาติและประชาชน ในโอกาสน้ีผมขอแสดงความช่ืนชม
ผู้ตรวจการแผ่นดิน และบุคลากรของส�ำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินที่ได้เสียสละทั้งเวลา
แรงกาย และแรงใจอย่างเตม็ ท่ี ผมจงึ ของอญั เชิญส่งิ ศักดิ์สิทธท์ิ ้งั หลาย โปรดดลบนั ดาลพร
อันประเสริฐให้ผู้ตรวจการแผ่นดิน และบุคลากรของส�ำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน
ประสบแตค่ วามเจรญิ สขุ ดว้ ยจตรุ พธิ พรชยั สมบรู ณพ์ นู ผลในสง่ิ ทพี่ งึ ปรารถนา มคี วามกา้ วหนา้
ในหน้าที่การงาน เพื่อเป็นก�ำลังในกรพัฒนาบ้านเมือง และเป็นรากฐานในการเสริมสร้าง
ความสขุ ให้แกป่ ระชาชนและประเทศชาติสืบไป

(ศาสตราจารยพ์ เิ ศษพรเพชร วิชติ ชลชยั )
ประธานสภานิตบิ ญั ญตั แิ ห่งชาติ

ผู้ตรวจการแผ่นดนิ 7

สารจาก

ผ้ตู รวจการแผ่นดิน

ตลอดระยะเวลาการด�ำเนินงานในหลายปีท่ีผ่านมา ผู้ตรวจการแผ่นดินยึดถือ
เจตนารมณข์ องการกอ่ ตงั้ องคก์ รผตู้ รวจการแผน่ ดนิ ในการทจ่ี ะแกไ้ ขปญั หาความเดอื ดรอ้ น
ของประชาชนด้วยความรวดเร็วและอ�ำนวยความเป็นธรรมให้แก่ทุกฝ่ายท่ีเกี่ยวข้อง
ตามปรัชญาขององค์กรท่ีว่า “ความล่าช้า คือความไม่เป็นธรรม” เป็นส�ำคัญ ถึงแม้ว่า
องค์กรผู้ตรวจการแผ่นดินจะอยู่ท่ามกลางการเปล่ียนแปลงทางการเมืองของประเทศไทย
มาโดยตลอด แต่ด้วยผลการด�ำเนินงานของผู้ตรวจการแผ่นดินที่ผ่านมาก็พอจะเป็น
ภาพสะทอ้ นใหเ้ หน็ ถงึ ความมงุ่ มนั่ ตงั้ ใจของผตู้ รวจการแผน่ ดนิ ในการเปน็ องคก์ รทเ่ี ปน็ ทพ่ี ง่ึ
ของประชาชนอยา่ งแท้จรงิ

8 รายงานประจำ� ปี ๒๕๖๐

ในปงี บประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๐ ถอื เปน็ ชว่ งเวลาทกี่ า้ วผา่ นไปสกู่ ารเปลยี่ นแปลงทสี่ ำ� คญั
ขององค์กรผู้ตรวจการแผ่นดิน ด้วยมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พทุ ธศักราช ๒๕๖๐ เมื่อวนั ที่ ๖ เมษายน ๒๕๖๐ ทีไ่ ดม้ ีบทบญั ญัติกำ� หนดเกยี่ วกับผู้ตรวจการ
แผ่นดิน โดยให้มีหน้าที่และอ�ำนาจในด้านการเสนอแนะต่อหน่วยงานของรัฐที่เก่ียวข้อง
เพือ่ ให้มีการปรับปรงุ กฎหมาย กฎ ข้อบังคับ ระเบยี บหรือคำ� สั่ง หรือข้นั ตอนใด ๆ บรรดา
ทกี่ อ่ ใหเ้ กดิ ความเดอื ดรอ้ นหรอื ไมเ่ ปน็ ธรรมแกป่ ระชาชนโดยไมเ่ ปน็ ธรรม หรอื เปน็ ภาระแก่
ประชาชนโดยไม่จ�ำเป็นหรือเกินสมควรแก่เหตุ และแสวงหาข้อเท็จจริงเม่ือเห็นว่าผู้ได้รับ
ความเดือดร้อนหรือความไม่เป็นธรรมอันเน่ืองมาจากการปฏิบัติตามกฎหมายหรือปฏิบัติ
นอกเหนือหน้าท่ีและอ�ำนาจตามกฎหมายของหน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ
เพื่อเสนอแนะต่อหน่วยงานของรัฐที่เก่ียวข้องให้ด�ำเนินการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อน
ดังกล่าว นอกจากน้ี ผู้ตรวจการแผ่นดินสามารถเสนอต่อคณะรัฐมนตรีให้ทราบถึงการที่
หน่วยงานของรัฐยังมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องครบถ้วน ตามหมวด ๕ หน้าท่ีของรัฐ ท้ังน้ี
หากหน่วยงานของรัฐที่เก่ียวข้องไม่ด�ำเนินการตามข้อเสนอแนะของผู้ตรวจการแผ่นดิน
โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร ผู้ตรวจการแผ่นดินสามารถแจ้งให้คณะรัฐมนตรีทราบ
เพ่ือพิจารณาสั่งการตามที่เห็นสมควรต่อไป ซึ่งเป็นหน้าที่และอ�ำนาจที่มีการเปล่ียนแปลง
ไปจากเดิม และช่วงเวลาหลังจากน้ัน เป็นการจัดท�ำพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ
ว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๖๐ เพื่อให้สอดคล้องกับหน้าท่ีและอ�ำนาจตามท่ี
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ ได้บัญญัติไว้โดยคณะกรรมการ
ร่างรัฐธรรมนูญ ดังนั้น ในส่วนการด�ำเนินการของผู้ตรวจการแผ่นดินจึงยังคงด�ำเนินการ
ภายใตอ้ ำ� นาจและหนา้ ทตี่ ามพระราชบญั ญตั ปิ ระกอบรฐั ธรรมนญู วา่ ดว้ ยผตู้ รวจการแผน่ ดนิ
พ.ศ. ๒๕๕๒ ซึง่ เป็นกฎหมายทใี่ ชบ้ ังคับอยใู่ นวันก่อนประกาศใชร้ ัฐธรรมนญู ซ่ึงเปน็ ไปตาม
บทเฉพาะกาลของรัฐธรรมนญู มาตรา ๒๗๓ ผู้ตรวจการแผน่ ดนิ จงึ มีหน้าทใี่ นการพิจารณา
ตรวจสอบเรอื่ งรอ้ งเรยี นเพอ่ื แกไ้ ขปญั หาความทกุ ขร์ อ้ นของประชาชน การดำ� เนนิ การเกย่ี วกบั
จรยิ ธรรมของผดู้ ำ� รงตำ� แหนง่ ทางการเมอื งและเจา้ หนา้ ทขี่ องรฐั การตดิ ตามและประเมนิ ผล
การปฏิบตั ิตามรฐั ธรรมนูญ ซ่ึงไดด้ ำ� เนนิ การมาตอ่ เน่ือง

ผ้ตู รวจการแผ่นดนิ 9

ในการดำ� เนนิ การตลอดระยะเวลาทผ่ี า่ นมา ไมอ่ าจบรรลผุ ลตามเจตนารมณข์ า้ งตน้ ได้
หากปราศจากความร่วมมือเป็นอย่างดีของภาคสว่ นตา่ ง ๆ ท้ังในสว่ นของหน่วยงานของรัฐ
ที่เก่ียวข้องที่ตระหนักในความส�ำคัญของการแก้ไขปัญหาเพื่อประชาชนและการปรับปรุง
และพัฒนาหน่วยงานเพื่อป้องกันปัญหาในระยะยาวอย่างย่ังยืน ประชาชนท่ีตระหนัก
และใชส้ ทิ ธใิ นการรอ้ งเรยี นเพอื่ ใหม้ กี ารตรวจสอบขอ้ เทจ็ จรงิ อนั มสี ว่ นสำ� คญั ในการพฒั นา
และปรับปรุงระบบบรหิ ารราชการแผน่ ดนิ ใหม้ คี วามโปรง่ ใส ตรวจสอบไดแ้ ละมรี บั ผิดชอบ
ตอ่ ประชาชนตามหลกั การบรหิ ารบา้ นเมอื งทด่ี ี รวมถงึ สอื่ มวลชนทที่ ำ� หนา้ ทเี่ ปน็ กระบอกเสยี ง
สะท้อนปญั หาความเดือดรอ้ นต่าง ๆ จนนำ� มาส่กู ระบวนการแก้ไขปัญหาทม่ี ีประสิทธิภาพ
นอกจากน้ี ผตู้ รวจการแผน่ ดนิ ตอ้ งขอขอบคณุ สมาชกิ สภานติ บิ ญั ญตั แิ หง่ ชาตทิ ไี่ ดม้ ขี อ้ สงั เกต
และข้อเสนอแนะต่อการด�ำเนินงานขององค์กรผู้ตรวจการแผ่นดินท่ีผ่านมา ตลอดจน
เสียงสะท้อนของประชาชนผู้ร้องเรียนในแง่มุมต่าง ๆ ท่ีจะเป็นแนวทางในการปรับปรุง
การด�ำเนินงานของผู้ตรวจการแผ่นดินให้สามารถตอบสนองความต้องการของประชาชน
อยา่ งมีประสทิ ธิภาพ และเกิดประโยชน์สูงสดุ ตอ่ ประเทศชาตสิ บื ไป

พลเอก นายบูรณ์ ฐาปนดลุ ย์
วิทวัส รชตะนันทน์ ผูต้ รวจการแผ่นดิน

ผู้ตรวจการแผ่นดิน ปฏบิ ัตหิ นา้ ทีแ่ ทน
ประธานผู้ตรวจการแผ่นดนิ

(ต้งั แต่วนั ท่ี ๑๘ กนั ยายน ๒๕๕๙ ถึงปจั จุบนั )

10 รายงานประจำ� ปี ๒๕๖๐

สารบญั

ตราสญั ลักษณ ์ ๒

สารจากประธานสภานิติบญั ญตั แิ ห่งชาติ ๔

สารจากผู้ตรวจการแผ่นดนิ ๖

บทสรุปผบู้ ริหาร ๑๒

สว่ นท่ี ๑ ผ้ตู รวจการแผ่นดนิ ๑๙

สว่ นที่ ๒ ผลการพิจารณาสอบสวนข้อเทจ็ จริงตามค�ำรอ้ งเรยี น พรอ้ มขอ้ สังเกต ๖๑

หรือขอ้ เสนอแนะที่เสนอตอ่ หนว่ ยงานราชการ หนว่ ยงานของรฐั
รฐั วิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น

๒.๑ ผลการดำ� เนนิ งานดา้ นการสอบสวนขอ้ เทจ็ จริงตามค�ำรอ้ งเรยี น ๖๒
๒.๒ ผลการสำ� รวจความพงึ พอใจของผู้รอ้ งเรยี นตอ่ การใหบ้ ริการ ๗๕
เก่ยี วกบั เรื่องร้องเรียน ประจ�ำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๐
๒.๓ ตัวอย่างผลการด�ำเนนิ งานดา้ นการพิจารณาสอบสวนหาขอ้ เทจ็ จรงิ ๘๑
ตามค�ำร้องเรียน

ส่วนที่ ๓ ผลการปฏิบตั ิของหน่วยงานราชการ หนว่ ยงานของรัฐ รัฐวสิ าหกจิ ๑๕๑
หรือราชการสว่ นท้องถ่ิน หรอื เจ้าหน้าทข่ี องรัฐทีไ่ ด้ดำ� เนนิ การหรอื
ไมด่ ำ� เนนิ การตามขอ้ สังเกตหรอื ข้อเสนอแนะของผ้ตู รวจการแผ่นดิน

๓.๑ ผลการปฏิบัติของหนว่ ยงานราชการ หนว่ ยงานของรัฐ รัฐวิสาหกจิ ๑๕๒
หรอื ราชการส่วนท้องถ่นิ หรอื เจา้ หน้าทข่ี องรฐั ทดี่ ำ� เนินการ
ตามข้อสงั เกตหรือขอ้ เสนอแนะของผู้ตรวจการแผ่นดิน
๓.๒ ผลการปฏิบตั ขิ องหน่วยงานราชการ หนว่ ยงานของรัฐ รัฐวิสาหกจิ ๑๘๒
หรอื ราชการสว่ นทอ้ งถิน่ หรอื เจ้าหนา้ ทข่ี องรัฐ ที่ไม่ด�ำเนนิ การ
ตามข้อสงั เกตหรอื ขอ้ เสนอแนะของผู้ตรวจการแผน่ ดิน

สารบญั (ตอ่ )

ส่วนที่ ๔ ความรว่ มมอื ของหนว่ ยงานในการชีแ้ จงขอ้ เท็จจรงิ ๑๘๗
และแก้ไขปัญหาเรอื่ งร้องเรียน

ส่วนท่ี ๕ ผลการด�ำเนนิ งานดา้ นจรยิ ธรรมของผดู้ �ำรงต�ำแหน่งทางการเมือง ๑๙๕
ขา้ ราชการและเจา้ หนา้ ทีข่ องรฐั

๕.๑ ภารกจิ ด้านการสอบสวนหาขอ้ เทจ็ จรงิ ตามค�ำร้องเรยี นที่ปรากฏ ๑๙๖
ลกั ษณะการฝ่าฝืน หรือไมป่ ฏบิ ตั ิตามมาตรฐานทางจริยธรรม
ของผดู้ �ำรงต�ำแหนง่ ทางการเมอื ง และเจ้าหนา้ ทข่ี องรฐั
๕.๒ ภารกจิ ดา้ นการเสนอแนะหรือใหค้ ำ� แนะน�ำในการจัดทำ� หรือ ๑๙๘
ปรับปรุงประมวลจรยิ ธรรมของผดู้ �ำรงต�ำแหน่งทางการเมอื ง
และเจ้าหน้าท่ีของรฐั แตล่ ะประเภท
๕.๓ ภารกิจดา้ นการส่งเสริมให้ผู้ดำ� รงตำ� แหนง่ ทางการเมอื ง ๒๐๐
และเจา้ หน้าทีข่ องรัฐทุกประเภทมีจิตส�ำนึกในด้านจรยิ ธรรม

สว่ นท่ี ๖ ผลการด�ำเนินงานด้านการติดตาม ประเมินผลการปฏิบัติตาม ๒๑๑
รัฐธรรมนญู แห่งราชอาณาจกั รไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐

๖.๑ ผลการดำ� เนินงานด้านการตดิ ตาม ประเมินผลการปฏิบัติตาม ๒๑๒
รฐั ธรรมนูญ ประจำ� ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๐
๖.๒ การเตรยี มความพร้อมเพ่ือรองรับการปฏิบัติตามหน้าท่ีและอ�ำนาจ ๒๑๗
ของผตู้ รวจการแผน่ ดินตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พุทธศักราช ๒๕๖๐ มาตรา ๒๓๐ (๓)
๖.๓ สรปุ ผลการด�ำเนินการติดตาม ประเมินผลการปฏิบัตติ าม ๒๑๙
รฐั ธรรมนญู ในภาพรวม ตัง้ แต่ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ – ๒๕๕๙

สว่ นที่ ๗ ปญั หาและอุปสรรคในการปฏิบัตหิ น้าท่ีของผ้ตู รวจการแผน่ ดนิ ๒๓๕

๗.๑ ขอ้ จ�ำกัดเกย่ี วกับงบประมาณรายจา่ ยประจ�ำปีทีไ่ ดร้ บั จดั สรร ๒๓๖
๗.๒ การดำ� เนนิ การดา้ นการพจิ ารณาสอบสวนหาขอ้ เทจ็ จริง ๒๓๗
ตามค�ำรอ้ งเรยี น
๗.๓ การด�ำเนินการเกยี่ วกบั จรยิ ธรรมของผดู้ ำ� รงต�ำแหนง่ ทางการเมือง ๒๓๙
และเจา้ หน้าทีข่ องรฐั
๗.๔ การตดิ ตามประเมนิ ผลการปฏบิ ตั ติ ามรฐั ธรรมนญู ๒๔๑

ส่วนที่ ๘ การด�ำเนินงานเพื่อสนบั สนุนการปฏิบตั หิ น้าท่ีของผู้ตรวจการแผ่นดนิ ๒๔๓

๘.๑ การบรหิ ารจัดการของส�ำนกั งานผตู้ รวจการแผน่ ดิน ๒๔๔

๘.๒ บทบาทของผู้ตรวจการแผน่ ดนิ ในเวทีระหวา่ งประเทศ ๒๕๓

ภาคผนวก ๒๗๗

- หนังสือสำ� นกั พระราชวัง เรือ่ ง ขอพระราชทานพระราชานญุ าต ๒๗๙
- รายงานของผสู้ อบบญั ชแี ละงบการเงนิ ส�ำหรับปีสิ้นสดุ ๒๘๐
๓๐ กันยายน ๒๕๕๙
- งบการเงนิ สำ� หรบั ปสี นิ้ สุดวันที่ ๓๐ กนั ยายน ๒๕๖๐ ๒๘๘
- พระราชบัญญตั ิประกอบรัฐธรรมนญู วา่ ด้วยผูต้ รวจการแผน่ ดิน ๒๙๔
พ.ศ. ๒๕๖๐
- ค�ำสั่งส�ำนักงานผตู้ รวจการแผน่ ดิน ท่ี ๕๐/๒๕๕๙ เรือ่ งแต่งตง้ั ๓๑๖
คณะทำ� งานเพอ่ื จัดท�ำรายงานผตู้ รวจการแผ่นดนิ ประจำ� ปี ๒๕๖๐

บทสรปุ

ผู้บริหาร

ในช่วงปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๐ การดำ� เนนิ การของผตู้ รวจการแผ่นดิน ภายใต้
รฐั ธรรมนญู แหง่ ราชอาณาจกั รไทย (ฉบบั ชว่ั คราว) พทุ ธศกั ราช ๒๕๕๗ ตอ่ มา มกี ารประกาศ
ใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ เม่ือวันท่ี ๖ เมษายน ๒๕๖๐
ซ่ึงในช่วงระยะเวลาดังกล่าวเป็นช่วงเวลาที่คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญอยู่ระหว่าง
ด�ำเนินการจัดท�ำร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดิน
ฉบบั ใหม่ เพอ่ื เสนอตอ่ สภานติ บิ ญั ญตั แิ หง่ ชาตพิ จิ ารณาใหค้ วามเหน็ ชอบ ตามมาตรา ๒๖๗
ของรฐั ธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พทุ ธศกั ราช ๒๕๖๐ ในขณะเดียวกันผตู้ รวจการแผ่นดิน
จงึ ไดม้ กี ารวางแผนการดำ� เนนิ งานเพอ่ื เตรยี มความพรอ้ มในการปรบั เปลยี่ นโครงสรา้ งภายใน
ส�ำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินเพ่ือรองรับกับหน้าที่และอ�ำนาจตามที่รัฐธรรมนูญแห่งราช
อาณาจักรไทย พทุ ธศักราช ๒๕๖๐ ก�ำหนด ซงึ่ เปน็ หนา้ ทแี่ ละอำ� นาจใหม่ทม่ี ีความทา้ ทาย
และเปน็ ทค่ี าดหวงั ของสงั คมในการทจ่ี ะใหอ้ งคก์ รผตู้ รวจการแผน่ ดนิ เปน็ องคก์ รทเี่ ปน็ ทพ่ี งึ่
ใหก้ บั ประชาชนในการทจ่ี ะตรวจสอบการปฏบิ ตั หิ นา้ ทข่ี องหนว่ ยงานภาครฐั ตา่ ง ๆ แสวงหา
ข้อเท็จจริงเม่ือเห็นว่ามีผู้ได้รับความเดือดร้อนหรือความไม่เป็นธรรม อันเนื่องมาจาก
การปฏบิ ตั หิ รอื ไมป่ ฏบิ ตั ติ ามกฎหมาย หรอื ปฏบิ ตั นิ อกเหนอื หนา้ ทแ่ี ละอำ� นาจตามกฎหมาย
ของหน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าท่ีของรัฐ เพ่ือเสนอแนะต่อหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง
ใหข้ จดั หรอื ระงบั ความเดอื ดรอ้ นหรอื ความไมเ่ ปน็ ธรรมนนั้ อยา่ งไรกต็ าม ในปงี บประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๐ ผตู้ รวจการแผน่ ดนิ ยงั คงปฏบิ ตั หิ นา้ ทตี่ ามพระราชบญั ญตั ปิ ระกอบรฐั ธรรมนญู
วา่ ดว้ ยผตู้ รวจการแผน่ ดนิ พ.ศ. ๒๕๕๒ ซงึ่ เปน็ กฎหมายทใี่ ชบ้ งั คบั อยใู่ นวนั กอ่ นวนั ประกาศใช้
รัฐธรรมนูญก�ำหนด ซึ่งมีผลการด�ำเนินงานของผู้ตรวจการแผ่นดินประจ�ำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๐ ดังนี้

ผู้ตรวจการแผ่นดิน 15

ภารกิจดา้ นการพิจารณาและสอบสวนหาข้อเท็จจรงิ ตามคำ� รอ้ งเรยี น

ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๐ ผู้ตรวจการแผ่นดินมเี ร่อื งรอ้ งเรยี นทีต่ อ้ งด�ำเนินการ
พิจารณาสอบสวนหาข้อเท็จจริง จ�ำนวนท้ังสิ้น ๕,๓๓๙ เร่ือง แบ่งเป็นเร่ืองท่ีประชาชน
ไดย้ น่ื เรอื่ งรอ้ งเรยี นมายงั ผตู้ รวจการแผน่ ดนิ ในปงี บประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๐ จำ� นวน ๒,๕๓๙ เรอ่ื ง
และเรอ่ื งรอ้ งเรยี นทอี่ ยรู่ ะหวา่ งดำ� เนนิ การจากปงี บประมาณกอ่ นหนา้ อกี จำ� นวน ๒,๘๐๐ เรอื่ ง
ในจำ� นวนนผี้ ตู้ รวจการแผน่ ดนิ ไดด้ ำ� เนนิ การชว่ ยเหลอื แกไ้ ขปญั หาความทกุ ขร์ อ้ นของประชาชน
จนแลว้ เสรจ็ ทัง้ สน้ิ จำ� นวน ๓,๒๔๒ เรือ่ ง หรือคดิ เปน็ ร้อยละ ๖๐.๗๒ ของเรื่องร้องเรยี น
ทต่ี อ้ งดำ� เนนิ การทงั้ สน้ิ และเมอ่ื พจิ ารณาจำ� นวนเรอ่ื งรอ้ งเรยี นทผี่ รู้ อ้ งเรยี นไดย้ น่ื เรอ่ื งรอ้ งเรยี น
มายังผู้ตรวจการแผ่นดิน ต้ังแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๓ ท่ีองค์กรผู้ตรวจการแผ่นดิน
ได้ก่อตั้งขึ้น พบว่า มีจ�ำนวนทั้งส้ิน ๔๒,๔๓๑ เร่ือง ในจ�ำนวนนี้แบ่งเป็นเร่ืองร้องเรียนที่
ผตู้ รวจการแผน่ ดนิ ไดพ้ จิ ารณาสอบสวนหาขอ้ เทจ็ จรงิ ตลอดจนใหค้ วามชว่ ยเหลอื เพอื่ แกไ้ ข
ปัญหาความทุกข์ร้อนของประชาชนแล้วทั้งส้ิน จ�ำนวน ๔๐,๓๓๔ เรื่อง คิดเป็นร้อยละ
๙๕.๐๖ และมเี รอ่ื งที่อยรู่ ะหวา่ งการพิจารณา จ�ำนวน ๒,๐๙๗ เรอ่ื ง คดิ เป็นร้อยละ ๔.๙๔
โดยมเี รอ่ื งรอ้ งเรยี นทดี่ ำ� เนนิ การแลว้ เสรจ็ ภายในระยะเวลา ๖ เดอื น คดิ เปน็ รอ้ ยละ ๗๓.๔๗
ทั้งน้ี หน่วยงานท่ีถูกร้องเรียนมากท่ีสุดคือกระทรวงมหาดไทย ส�ำนักงานต�ำรวจแห่งชาติ
และองค์กรปกครองส่วนทอ้ งถิน่ ตามล�ำดับ
นอกจากน้ี ผู้ตรวจการแผ่นดินยังให้ความส�ำคัญกับความพึงพอใจของประชาชน
ผู้รับบริการ ที่มายื่นเร่ืองร้องเรียนต่อผู้ตรวจการแผ่นดิน จึงได้มอบหมายให้ส�ำนักงาน
ผู้ตรวจการแผ่นดินด�ำเนินการส�ำรวจข้อมูลความพึงพอใจของผู้ร้องเรียนต่อการให้บริการ
เก่ียวกับเรื่องรอ้ งเรยี น โดยท�ำการประเมนิ ระดับความพึงพอใจในดา้ นต่าง ๆ ได้แก่
๑. ความพึงพอใจต่อการยน่ื และรบั เรื่องรอ้ งเรียน
๒. ความพงึ พอใจตอ่ การพจิ ารณาสอบสวนหาขอ้ เทจ็ จรงิ ตามคำ� รอ้ งเรยี น
๓. ความพงึ พอใจตอ่ การพจิ ารณาวินจิ ฉยั เรื่องร้องเรียน
๔. ความพึงพอใจต่อการดำ� เนนิ การหลงั การพิจารณาวนิ จิ ฉยั เรื่องรอ้ งเรียน และ
๕. ความพงึ พอใจในภาพรวม

16 รายงานประจำ� ปี ๒๕๖๐

ผลการวเิ คราะหข์ ้อมูลในสว่ นของความพงึ พอใจของผู้ร้องเรียน พบวา่ ผรู้ อ้ งเรยี น
มคี วามพงึ พอใจตอ่ การใหบ้ รกิ ารเกย่ี วกบั เรอ่ื งรอ้ งเรยี นในทกุ ดา้ นอยใู่ นระดบั มาก กลา่ วคอื
มีความพึงพอใจในด้านการย่ืนและรับเรื่องร้องเรียน ร้อยละ ๘๑.๖๐ ด้านการพิจารณา
สอบสวนหาข้อเท็จจริงตามค�ำร้องเรียน ร้อยละ ๘๐.๘๐ ด้านการพิจารณาวินิจฉัย
เรือ่ งร้องเรยี น ร้อยละ ๘๐.๖๐ ดา้ นการดำ� เนนิ การหลังการพิจารณาวินิจฉัยเรอ่ื งร้องเรียน
ร้อยละ ๗๗.๐๐ ท้ังนี้ ในภาพรวม ผู้ร้องเรียนมีความพึงพอใจต่อการพิจารณาสอบสวน
เร่อื งร้องเรียนในภาพรวมอย่ใู นระดับมาก ร้อยละ ๘๑.๔๐
ปจั จยั ท่มี อี ทิ ธพิ ลตอ่ ความพงึ พอใจของผรู้ อ้ งเรยี น พบวา่ อาชพี คา้ ขาย/ธรุ กจิ ส่วนตวั
การได้รับค�ำแนะน�ำเก่ียวกับข้ันตอนการพิจารณาเร่ืองร้องเรียนจากส�ำนักงานผู้ตรวจการ
แผน่ ดนิ การรายงานความกา้ วหนา้ เกย่ี วกบั การพจิ ารณาเรอ่ื งรอ้ งเรยี น ความคดิ เหน็ เกยี่ วกบั
การได้รับบริการที่เท่าเทียมกับผู้ร้องเรียนรายอ่ืน ความคิดเห็นต่อภาพลักษณ์และ
การให้บริการของส�ำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน และความเช่ือมั่นต่อผู้ตรวจการแผ่นดิน
เกี่ยวกับการแก้ไขความเดือดร้อนจากการไม่ได้รับความเป็นธรรม หลังจากที่ได้มีการยื่น
เรอ่ื งรอ้ งเรยี น เปน็ ปัจจยั ที่มอี ทิ ธิพลต่อความพงึ พอใจของผู้ร้องเรียนเก่ยี วกบั การใหบ้ รกิ าร
ของส�ำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินท่ีระดับความเช่ือม่ัน ร้อยละ ๙๐ และในภาพรวม
ผรู้ อ้ งเรยี นมคี วามคดิ เหน็ วา่ ภาพลกั ษณข์ องสำ� นกั งานผตู้ รวจการแผน่ ดนิ อยใู่ นระดบั ดมี าก
(รอ้ ยละ ๘๒.๒๐) เมื่อท�ำการสอบถามผรู้ ้องเรยี นเก่ียวกบั ความตอ้ งการเสนอเรือ่ งรอ้ งเรยี น
ตอ่ สำ� นกั งานผตู้ รวจการแผน่ ดนิ ในอนาคต ผรู้ อ้ งเรยี นสว่ นใหญม่ คี วามคดิ เหน็ วา่ ในอนาคต
หากมปี ญั หาเกดิ ขน้ึ จะมายนื่ เรอ่ื งรอ้ งเรยี นตอ่ สำ� นกั งานผตู้ รวจการแผน่ ดนิ แนน่ อน คดิ เปน็
ร้อยละ ๗๐.๕๐ และในส่วนของความเชื่อมั่นหลังทราบผลการพิจารณาเร่ืองร้องเรียน
พบวา่ ผู้ร้องเรียนมีความเช่อื ม่นั ตอ่ ผู้ตรวจการแผน่ ดนิ อยูใ่ นระดับมาก (ร้อยละ ๗๕.๖๐)

ผู้ตรวจการแผ่นดิน 17

ภารกิจด้านจรยิ ธรรมของผดู้ �ำรงตำ� แหน่งทางการเมืองและเจา้ หนา้ ท่ขี องรัฐ

ตามทพี่ ระราชบัญญตั ิประกอบรฐั ธรรมนูญวา่ ด้วยผ้ตู รวจการแผน่ ดิน พทุ ธศกั ราช
๒๕๕๒ ได้แบ่งภารกิจด้านจริยธรรมของผู้ตรวจการแผ่นดินออกเป็น ๓ ประการ คือ
ด้านการเสนอแนะหรือให้ค�ำแนะน�ำในการจัดท�ำมาตรฐานทางจริยธรรม หรือปรับปรุง
ประมวลจริยธรรมของผู้ด�ำรงต�ำแหน่งทางการเมือง หรือเจ้าหน้าท่ีของรัฐแต่ละประเภท
ดา้ นการสง่ เสรมิ ใหผ้ ดู้ ำ� รงตำ� แหนง่ ทางการเมอื งและเจา้ หนา้ ทข่ี องรฐั มจี ติ สำ� นกึ ดา้ นจรยิ ธรรม
และด้านการพิจารณาและสอบสวนหาข้อเท็จจริงตามค�ำร้องเรียนที่ปรากฏลักษณะ
การฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามประมวลจริยธรรมของผู้ด�ำรงต�ำแหน่งทางการเมืองและเจ้าหน้าที่
ของรัฐ
ต่อมา รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ ได้ประกาศใช้
เมื่อวันที่ ๖ เมษายน ๒๕๖๐ มิได้มีบทบัญญัติให้ผู้ตรวจการแผ่นดินมีหน้าท่ีและอ�ำนาจ
ในการด�ำเนินภารกิจด้านจริยธรรมของผู้ด�ำรงต�ำแหน่งทางการเมืองและเจ้าหน้าท่ีของรัฐ
อีกต่อไป ภารกิจในการด�ำเนินการด้านจริยธรรมของผู้ด�ำรงต�ำแหน่งทางการเมืองและ
เจา้ หนา้ ทข่ี องรฐั ของผตู้ รวจการแผน่ ดนิ จงึ สนิ้ สดุ ลง อยา่ งไรกด็ ี ในปงี บประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๐
ผู้ตรวจการแผ่นดินจึงได้ด�ำเนินภารกิจด้านจริยธรรมของผู้ด�ำรงต�ำแหน่งทางการเมืองและ
เจา้ หน้าทีข่ องรัฐ ในลักษณะของการสง่ เสรมิ ให้ผูด้ ำ� รงตำ� แหนง่ ทางการเมอื งและเจา้ หน้าที่
ของรัฐมีจิตส�ำนึกในด้านจริยธรรมโดยการด�ำเนินการจัดการประชุม สัมมนา และด�ำเนิน
โครงการต่าง ๆ ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ เพื่อเป็นการส่งเสริมจิตส�ำนึกด้านจริยธรรม
แกก่ ลุ่มเป้าหมายตา่ ง ๆ อาทิ โครงการเครือขา่ ยผู้ตรวจการแผน่ ดินเสริมสร้างธรรมาภบิ าล
ตอ่ ตา้ นการทจุ รติ การขยายผลโรงเรยี นสอู่ งคก์ รคณุ ธรรม โครงการรณรงคส์ ง่ เสรมิ คณุ ธรรม
จรยิ ธรรม : กจิ กรรมสมั มนา “เหลยี วหนา้ แลหลงั จรยิ ธรรมตามรฐั ธรรมนญู ” และโครงการ
ติดตามประเมินผลประสิทธิภาพการส่งเสริมจิตส�ำนึกด้านจริยธรรมให้ผู้ด�ำรงต�ำแหน่ง
ทางการเมืองระดบั ทอ้ งถิน่ เป็นตน้

18 รายงานประจำ� ปี ๒๕๖๐

อนงึ่ ภารกจิ ดา้ นการเสนอแนะหรอื ใหค้ ำ� แนะนำ� ในการจดั ทำ� มาตรฐานทางจรยิ ธรรม
หรือปรับปรุงประมวลจริยธรรมของผู้ด�ำรงต�ำแหน่งทางการเมือง หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ
แตล่ ะประเภท จากการดำ� เนนิ การของผตู้ รวจการแผน่ ดนิ ในชว่ งทผี่ า่ นมา พบวา่ หนว่ ยงาน
ของรัฐได้จัดท�ำประมวลจริยธรรมตามการเสนอแนะและการให้ค�ำแนะน�ำของผู้ตรวจการ
แผน่ ดินแล้วเสรจ็ และมปี ระมวลจรยิ ธรรมเพื่อบงั คับใช้แลว้ มากกวา่ รอ้ ยละ ๙๘ แต่ยังคงมี
หน่วยงานของรัฐที่ต้ังใหม่ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีการเปล่ียนแปลงสภาพ
อีกจ�ำนวนหนึ่ง ที่อยู่ระหว่างการจัดท�ำประมวลจริยธรรม ซึ่งผู้ตรวจการแผ่นดินยินดี
ท่ีจะเป็นหน่วยงานสนับสนุนและประสานงานข้อมูลด้านการจริยธรรมแก่หน่วยงาน
ที่เก่ียวข้องเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้หน่วยงานของรัฐตระหนักถึงความส�ำคัญในการ
ปฏิบตั ิตามประมวลจรยิ ธรรมของแต่ละหน่วยงานต่อไป

ภารกจิ ดา้ นการตดิ ตามประเมนิ ผลการปฏบิ ตั ติ ามรฐั ธรรมนญู แหง่ ราชอาณาจกั รไทย
พทุ ธศกั ราช ๒๕๕๐

ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๐ ผู้ตรวจการแผ่นดินได้ด�ำเนินการด้านการติดตาม
ประเมนิ ผลการปฏบิ ตั ติ ามรฐั ธรรมนญู แหง่ ราชอาณาจกั รไทย พทุ ธศกั ราช ๒๕๕๐ โดยผลการ
ติดตามการตรากฎหมายและการด�ำเนินงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีกฎหมายที่ต้อง
ด�ำเนนิ การทงั้ ส้ิน จ�ำนวน ๓๑๒ ฉบบั ผตู้ รวจการแผน่ ดนิ ไดต้ ิดตามใหม้ ีการตรากฎหมาย
จนดำ� เนินการเสร็จ และประกาศในราชกจิ จานุเบกษาแล้ว จำ� นวน ๒๕๕ ฉบบั ท้ังน้ี ยังมี
กฎหมายทอ่ี ยรู่ ะหวา่ งดำ� เนนิ การ จำ� นวน ๕๗ ฉบบั ในส่วนของการติดตามมาตรการตา่ ง ๆ
ทรี่ ฐั ตอ้ งตอ้ งดำ� เนนิ การทง้ั สน้ิ จำ� นวน ๒,๓๓๐ งาน/โครงการ ผตู้ รวจการแผน่ ดนิ ไดต้ ดิ ตาม
ใหห้ นว่ ยงานของรฐั ดำ� เนนิ ตามมาตรการตา่ ง ๆ จนแลว้ เสรจ็ จำ� นวน ๑,๗๔๐ งาน/โครงการ
และอยู่ระหว่างด�ำเนินการ ๕๙๐ งาน/โครงการ นอกจากนี้ ในส่วนของภารกิจด้าน
การประเมินผลการปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐
ผตู้ รวจการแผน่ ดนิ ไดด้ ำ� เนนิ การวดั ผลการปฏบิ ตั ติ ามรฐั ธรรมนญู ของหนว่ ยงานทเ่ี กย่ี วขอ้ ง
ว่าหน่วยงานไดจ้ ัดทำ� กฎหมายและมาตรการหรอื โครงการครบถว้ น และเปน็ ไปตามกรอบ
ระยะเวลาที่รัฐธรรมนูญก�ำหนดหรือไม่ และเม่ือกฎหมายมีผลใช้บังคับหรือได้ด�ำเนิน

ผตู้ รวจการแผ่นดนิ 19

มาตรการหรอื โครงการแลว้ ประสบปญั หาในทางปฏบิ ตั หิ รอื ไม่ อยา่ งไร โดยในปงี บประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๐ ผตู้ รวจการแผน่ ดนิ ไดท้ ำ� การศกึ ษาและจดั ทำ� รา่ งกฎหมาย คอื รา่ งพระราชบญั ญตั ิ
คมุ้ ครองผใู้ หข้ อ้ มูลทเี่ ป็นประโยชน์ต่อการตรวจสอบและการดำ� เนินคดี พ.ศ. ....
อยา่ งไรก็ดี เมอ่ื รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจกั รไทย พทุ ธศักราช ๒๕๖๐ ประกาศใช้
ส่งผลให้ผู้ตรวจการแผ่นดินมีหน้าท่ีและอ�ำนาจตามมาตรา ๒๓๐ (๓) ของรัฐธรรมนูญ
ในการเสนอต่อคณะรัฐมนตรีให้ทราบถึงการท่ีหน่วยงานของรัฐยังมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง
ครบถว้ นตามหมวด ๕ หนา้ ท่ขี องรฐั โดยก�ำหนดให้ “รัฐมีหนา้ ทต่ี ่อประชาชน” เพ่ือใหร้ ฐั
ตอ้ งดำ� เนนิ การในเรอ่ื งทกี่ ำ� หนดใหแ้ กป่ ระชาชน “ทกุ คน” หรอื “ทกุ ชมุ ชน” เปน็ การทวั่ ไป
ทง้ั นหี้ มวดหนา้ ทข่ี องรฐั เปน็ เรอื่ งทส่ี ำ� คญั และจำ� เปน็ ซงึ่ รฐั ตอ้ งดำ� เนนิ การใหค้ รบถว้ นเหมาะสม
กับสถานะทางการเงินการคลัง โดยมีสาระส�ำคัญเบื้องต้นที่รัฐต้องด�ำเนินการจัดการ
สวัสดิการในเร่ืองต่าง ๆ ให้แก่ประชาชน เช่น การศึกษา การสาธารณสุข การคุ้มครอง
ผบู้ ริโภค การรับรขู้ อ้ มลู ข่าวสาร เปน็ ต้น
ผู้ตรวจการแผ่นดินจึงได้เตรียมความพร้อมเพื่อรองรับภารกิจใหม่ของผู้ตรวจการ
แผ่นดินตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ มาตรา ๒๓๐ (๓)
โดยท�ำการวิเคราะห์บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญหมวด ๕ หน้าที่ของรัฐ และก�ำหนด
ประเดน็ หลกั ทส่ี ำ� คญั ได้ จำ� นวน ๑๒ ประเดน็ เพอื่ ใชเ้ ปน็ กรอบและแนวทางในการปฏบิ ตั งิ าน
และเน้นการท�ำงานเชิงรุกและการแก้ไขปัญหาเชิงระบบอย่างเป็นรูปธรรมเพื่อให้เกิด
ประโยชนต์ อ่ ประชาชนและสังคมในวงกว้าง ซ่งึ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๐ ผู้ตรวจการ
แผ่นดินได้พิจารณาประเด็นส�ำคัญท่ีส่งผลกระทบต่อปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน
และสังคมในวงกว้างขึ้นมาท�ำการศึกษาเพ่ือจัดท�ำข้อเสนอแนะในการป้องกัน กล่าวคือ
ในเรื่องการเกิดอุบัติเหตุทางถนนในช่วงวันหยุดเทศกาลสงกรานต์ ซึ่งผู้ตรวจการแผ่นดิน
ได้เล็งเห็นถึงความรุนแรงของปัญหาและความสูญเสียที่เกิดขึ้น และพิจารณาเห็นว่า
รัฐควรจะต้องด�ำเนินการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนดังกล่าวอย่างเร่งด่วน
และจรงิ จงั จงึ ไดด้ ำ� เนนิ โครงการศกึ ษาเพอื่ จดั ทำ� ขอ้ เสนอแนะในการปอ้ งกนั และลดอบุ ตั เิ หตุ
ทางถนนอย่างมีประสิทธิภาพข้ึน เพ่ือเสนอความเห็นต่อคณะรัฐมนตรี และหน่วยงาน
ทเี่ ก่ียวข้องพจิ ารณาด�ำเนินการต่อไป

20 รายงานประจำ� ปี ๒๕๖๐

ส่วนท่ี

ผตู้ รวจการแผ่นดิน

ผู้ตรวจการแผน่ ดิน 21

พลเอก วิทวสั รชตะนันทน์

ผ้ตู รวจการแผ่นดนิ ปฏิบัติหนา้ ที่แทนประธานผู้ตรวจการแผน่ ดนิ

ประวัตกิ ารศึกษา

- โรงเรียนเตรียมทหาร รุ่นท่ี ๑๑
- โรงเรียนนายรอ้ ยพระจลุ จอมเกลา้ (วิทยาศาสตรบ์ ัณฑติ ) รนุ่ ท่ี ๒๒
- โรงเรียนเสนาธกิ ารทหารบก หลักสูตรหลักประจ�ำ ชุดที่ ๖๑
- รฐั ศาสตรมหาบณั ฑิต (สาขาการปกครอง) มหาวทิ ยาลัยธรรมศาสตร์
- ประกาศนียบัตร หลกั สตู ร Senior International Defense Resource Management (รนุ่ ปี ๑๙๙๙)
สถาบัน DEFENSE RESOURCE MANAGEMENT INSTITUTE สหรฐั อเมรกิ า
- ปรญิ ญาบัตร วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจกั ร (วปอ. ๒๕๔๘)
- ประกาศนียบตั ร หลกั สูตรผู้บรหิ ารกระบวนการยตุ ธิ รรมระดับสงู สำ� นกั งานศาลยุตธิ รรม (ร่นุ ท่ี ๑๗)

ประวัตกิ ารทำ� งาน

พ.ศ. ๒๕๑๘ ผบู้ ังคับหมวด กองพันทหารราบที่ ๑ กรมผสมที่ ๒
พ.ศ. ๒๕๒๑ นายทหารขา่ วกรอง กองทัพภาคที่ ๑
พ.ศ. ๒๕๒๖ ราชการกองอ�ำนวยการรกั ษาความม่ันคงภายในราชอาณาจกั ร
พ.ศ. ๒๕๒๙ นายทหารฝ่ายเสนาธกิ าร ประจ�ำเสนาธิการทหารบก
พ.ศ. ๒๕๓๓ ผู้อำ� นวยการกองประชาสัมพนั ธ์ สำ� นักงานเลขานุการ
ส�ำนกั งานปลดั กระทรวงกลาโหม
พ.ศ. ๒๕๓๔ ผอู้ �ำนวยการกองนโยบายและแผน กรมการพลังงานทหาร
ศนู ย์การอตุ สาหกรรมป้องกนั ประเทศและพลงั งานทหาร
พ.ศ. ๒๕๓๕ รองเลขานุการสำ� นักงานปลัดกระทรวงกลาโหม
พ.ศ. ๒๕๓๙ นายทหารประสานภารกจิ ทางทหารกบั ส�ำนกั งานสภาความมนั่ คงแห่งชาติ
ราชองครกั ษ์เวร
พ.ศ. ๒๕๔๐ ผชู้ ่วยผู้อ�ำนวยการส�ำนักนโยบายและแผนกลาโหม
ตุลาการศาลทหารกรงุ เทพ
พ.ศ. ๒๕๔๒ รองผูอ้ �ำนวยการศนู ย์พฒั นากจิ การอวกาศกลาโหม
พ.ศ. ๒๕๔๔ รองผอู้ �ำนวยการส�ำนักนโยบายและแผนกลาโหม
ตุลาการศาลทหารกลาง
พ.ศ. ๒๕๔๗ ผูอ้ �ำนวยการศูนย์พฒั นากิจการอวกาศกลาโหม
พ.ศ. ๒๕๕๑ เจา้ กรมเทคโนโลยีสารสนเทศและอวกาศกลาโหม
พ.ศ. ๒๕๕๑ ผูอ้ ำ� นวยการส�ำนกั นโยบายและแผนกลาโหม และเลขาธกิ ารสภากลาโหม
ตลุ าการศาลทหารสูงสุด
ราชองครกั ษพ์ เิ ศษ
พ.ศ. ๒๕๕๓ รองปลดั กระทรวงกลาโหมและสมาชกิ สภากลาโหม
พ.ศ. ๒๕๕๕ รองปลัดกระทรวงกลาโหม รักษาราชการแทนปลัดกระทรวงกลาโหม
๑๘ พฤศจกิ ายน ๒๕๕๗ - ปจั จบุ นั ผ้ตู รวจการแผ่นดิน
๑๘ กนั ยายน ๒๕๕๙ - ปัจจบุ นั ผตู้ รวจการแผ่นดนิ ปฏิบัติหนา้ ทีแ่ ทนประธานผูต้ รวจการแผ่นดิน

22 รายงานประจ�ำปี ๒๕๖๐



นายบูรณ์ ฐาปนดลุ ย์

ผู้ตรวจการแผ่นดนิ

ประวตั ิการศกึ ษา

- นติ ศิ าสตรบัณฑิต จฬุ าลงกรณ์มหาวิทยาลยั
- เนตบิ ณั ฑิตไทย ส�ำนักอบรมและศึกษากฎหมายแหง่ เนตบิ ัณฑติ ยสภา
- รัฐประศาสตรมหาบัณฑิต สถาบนั บัณฑิตพัฒนบรหิ ารศาสตร์
- ประกาศนยี บตั ร หลกั สูตรผู้บรหิ ารระดบั สงู สถาบนั วทิ ยาการตลาดทุน (รนุ่ ที่ ๖)
- ประกาศนียบตั ร หลักสูตรผู้บรหิ ารระดบั สงู ด้านการค้าและการพาณิชย์ สถาบนั วทิ ยาการค้า (TEPCOT) (รุ่นท่ี ๒)
- ประกาศนียบตั ร หลกั สูตรผบู้ ริหารกระบวนการยตุ ิธรรมระดบั สูง สำ� นกั งานศาลยตุ ธิ รรม (ร่นุ ท่ี ๑๔)
- ประกาศนียบัตร หลักสูตรการพัฒนาการเมืองและการเลือกตงั้ ระดบั สงู (รุ่นที่ ๖)
- ประกาศนยี บัตร หลกั สตู รนิติธรรมเพือ่ ประชาธปิ ไตย (ร่นุ ท่ี ๔)

ประวัติการทำ� งาน ผู้ชว่ ยผู้พพิ ากษากระทรวงยุติธรรม
ผพู้ ิพากษาศาลจงั หวดั เบตง
พ.ศ. ๒๕๒๓ ผพู้ พิ ากษาศาลจังหวดั ตรัง
พ.ศ. ๒๕๒๔ ผพู้ พิ ากษาศาลจงั หวดั นครศรธี รรมราช
พ.ศ. ๒๕๒๕ ผู้พิพากษาศาลจงั หวัดสงขลา
พ.ศ. ๒๕๒๙ ผพู้ ิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดนราธวิ าส
พ.ศ. ๒๕๓๓ ผพู้ ิพากษาหวั หนา้ คณะในศาลแพ่งธนบรุ ี
พ.ศ. ๒๕๓๖ ผู้พพิ ากษาศาลอทุ ธรณภ์ าค ๓
พ.ศ. ๒๕๓๗ ผู้พิพากษาหวั หน้าคณะในศาลอุทธรณ์ภาค ๘
พ.ศ. ๒๕๔๔ ผู้พพิ ากษาหัวหน้าคณะในศาลอทุ ธรณภ์ าค ๑
พ.ศ. ๒๕๔๗ ประธานแผนกคดีส่ิงแวดล้อมในศาลอทุ ธรณ์ภาค ๑
พ.ศ. ๒๕๔๙ อธิบดผี ูพ้ ิพากษาศาลแรงงานกลาง
พ.ศ. ๒๕๕๐ อธบิ ดผี ู้พพิ ากษาศาลอาญา
พ.ศ. ๒๕๕๑ ประธานศาลอุทธรณภ์ าค ๙
พ.ศ. ๒๕๕๓ ประธานศาลอุทธรณภ์ าค ๓
พ.ศ. ๒๕๕๔ ผู้พพิ ากษาหัวหนา้ คณะในศาลฎกี า
ผู้พพิ ากษาอาวุโสในศาลฎกี า
พ.ศ. ๒๕๕๕ ผตู้ รวจการแผน่ ดนิ
พ.ศ. ๒๕๕๖
๒๔ มนี าคม ๒๕๕๘ - ปัจจุบัน

24 รายงานประจ�ำปี ๒๕๖๐



ผ้ตู รวจการแผน่ ดนิ

26 รายงานประจ�ำปี ๒๕๖๐

ผู้ตรวจการแผ่นดิน ก�ำหนดข้ึนเป็นครั้งแรกโดยใช้ชื่อว่า “ผู้ตรวจการแผ่นดิน
ของรัฐสภา” จัดตั้งขึ้น ตามบทบัญญัติ มาตรา ๑๙๖ - ๑๙๘ ของรัฐธรรมนูญแห่ง
ราชอาณาจกั รไทย พทุ ธศักราช ๒๕๔๐ ต่อมาเกิดการเปล่ยี นแปลงทางการเมอื ง เมอ่ื วันท่ี
๑๙ กันยายน ๒๕๔๙ ทำ� ให้มีการประกาศยกเลกิ รัฐธรรมนูญฉบบั ดังกล่าวข้างตน้ แตย่ งั คง
พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๔๒
ให้มีผลบังคับใช้ต่อไป และเม่ือมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พุทธศักราช ๒๕๕๐ ในวันท่ี ๑๙ สิงหาคม ๒๕๕๐ ได้เปลี่ยนชื่อ “ผู้ตรวจการแผ่นดิน
ของรัฐสภา” เปน็ “ผ้ตู รวจการแผน่ ดนิ ” โดยใหม้ ีอำ� นาจหนา้ ทพี่ จิ ารณาและสอบสวนหา
ข้อเท็จจริงตามคำ� รอ้ งเรยี นในกรณกี ารไมป่ ฏิบัติหนา้ ท่ตี ามกฎหมาย หรือปฏิบตั นิ อกเหนือ
อำ� นาจหนา้ ทต่ี ามกฎหมายของขา้ ราชการ พนกั งาน หรอื ลกู จา้ งของหนว่ ยราชการ หนว่ ยงาน
ของรฐั รฐั วสิ าหกจิ หรอื ราชการสว่ นทอ้ งถน่ิ การปฏบิ ตั หิ รอื ละเลยไมป่ ฏบิ ตั ขิ องขา้ ราชการ
พนกั งาน หรอื ลกู จา้ งของหนว่ ยราชการ หนว่ ยงานของรฐั รฐั วสิ าหกจิ หรอื ราชการสว่ นทอ้ งถน่ิ
ทก่ี อ่ ใหเ้ กดิ ความเสยี หายแกผ่ รู้ อ้ งเรยี นหรอื ประชาชนโดยไมเ่ ปน็ ธรรม ไมว่ า่ การนน้ั จะชอบ
ดว้ ยอำ� นาจหนา้ ท่ีหรอื ไม่ชอบด้วยอ�ำนาจหนา้ ท่ีกต็ าม การตรวจสอบการละเลยการปฏบิ ัติ
หนา้ ทหี่ รอื การปฏบิ ตั หิ นา้ ทโี่ ดยไมช่ อบดว้ ยกฎหมายขององคก์ รตามรฐั ธรรมนญู และองคก์ ร
ในกระบวนการยตุ ธิ รรม ทงั้ นี้ ไมร่ วมถงึ การพจิ ารณาพพิ ากษาอรรถคดขี องศาล ดำ� เนนิ การ
เกยี่ วกบั จรยิ ธรรมของผดู้ ำ� รงตำ� แหนง่ ทางการเมอื งและเจา้ หนา้ ทข่ี องรฐั ตามบทบญั ญตั ขิ อง
รฐั ธรรมนญู การตดิ ตาม ประเมินผล และจดั ท�ำขอ้ เสนอแนะในการปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ
รวมตลอดถึงข้อพิจารณาเพื่อแก้ไขเพ่ิมเติมรัฐธรรมนูญในกรณีที่เห็นว่ามีความจ�ำเป็น
รายงานผลการตรวจสอบและผลการปฏิบัติหน้าที่พร้อมท้ังข้อสังเกตต่อคณะรัฐมนตรี
สภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภาทุกปี นอกจากน้ี การใช้อ�ำนาจตามท่ีกล่าวมาข้างต้น
รัฐธรรมนูญยังก�ำหนดให้ผู้ตรวจการแผ่นดินสามารถด�ำเนินการได้แม้ไม่มีการร้องเรียน
ในกรณีที่ผู้ตรวจการแผ่นดินเห็นว่าการกระท�ำดังกล่าวมีผลกระทบต่อความเสียหายของ
ประชาชนส่วนรวม หรอื เพ่อื คมุ้ ครองประโยชนส์ าธารณะผู้ตรวจการแผ่นดนิ อาจพจิ ารณา
และสอบสวนโดยไมม่ กี ารร้องเรียนได้

ผตู้ รวจการแผ่นดิน 27

ต่อมา เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองโดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติได้มี
ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๕ เร่ือง การสน้ิ สุดชั่วคราวของรฐั ธรรมนูญ
แห่งราชอาณาจักรไทย เม่ือวันท่ี ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๕๗ และได้มีประกาศคณะรักษา
ความสงบแหง่ ชาติ ฉบับที่ ๑๑/๒๕๕๗ เมื่อวันท่ี ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๕๗ เรอ่ื ง การส้ินสดุ
รัฐธรรมนญู แหง่ ราชอาณาจักรไทย เพือ่ ความสงบเรยี บร้อยในการปกครองประเทศ จึงให้
ยกเลกิ ประกาศคณะรกั ษาความสงบแหง่ ชาติ ฉบบั ที่ ๕/๒๕๕๗ ลงวนั ท่ี ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๕๗
เรื่อง การสิ้นสุดชั่วคราวของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และได้มีบทบัญญัติให้
องค์กรอิสระและองค์กรอ่ืนตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. ๒๕๕๐ ยังคงปฏิบัติหน้าที่ต่อไป
ผู้ตรวจการแผ่นดินจึงยังคงปฏิบัติหน้าที่ด้านการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติตาม
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ ตามมาตรา ๔๐ ๔๑ และ ๔๒
แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๕๒ ต่อไป
ตามอำ� นาจหนา้ ทท่ี รี่ ะบไุ วใ้ นพระราชบญั ญตั ปิ ระกอบรฐั ธรรมนญู วา่ ดว้ ยผตู้ รวจการแผน่ ดนิ
พ.ศ. ๒๕๕๒ จนถงึ ปจั จบุ นั โดยในปงี บประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๐ ผ้ตู รวจการแผ่นดนิ ประกอบดว้ ย
๑. พลเอก วทิ วสั รชตะนนั ทน์ ตำ� แหนง่ ผตู้ รวจการแผน่ ดนิ ไดร้ บั การโปรดเกลา้ ฯ
แต่งตัง้ เปน็ ผ้ตู รวจการแผ่นดนิ เม่อื วนั ที่ ๑๘ พฤศจกิ ายน ๒๕๕๗ และปฏบิ ัตหิ น้าทีแ่ ทน
ประธานผตู้ รวจการแผ่นดนิ เม่ือวนั ท่ี ๑๘ กันยายน ๒๕๕๙ เปน็ ตน้ มา
๒. นายบูรณ์ ฐาปนดุลย์ ต�ำแหน่ง ผู้ตรวจการแผ่นดิน ได้รับการโปรดเกล้าฯ
แตง่ ตั้งเป็นผ้ตู รวจการแผ่นดิน เม่ือวนั ที่ ๒๔ มีนาคม ๒๕๕๘

หนา้ ทแ่ี ละอ�ำนาจของผ้ตู รวจการแผ่นดนิ

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ ซึ่งประกาศใช้เมื่อวันที่
๖ เมษายน ๒๕๖๐ มบี ทบญั ญตั ิเกย่ี วกบั ผู้ตรวจการแผน่ ดนิ ในส่วนที่ ๓ ดังน้ี
มาตรา ๒๒๘ “ผูต้ รวจการแผ่นดนิ มจี ำ� นวนสามคนซ่งึ พระมหากษัตรยิ ์ทรงแตง่ ต้ัง
ตามคำ� แนะน�ำของวฒุ สิ ภา จากผูซ้ ่งึ ได้รับการสรรหาโดยคณะกรรมการสรรหา

28 รายงานประจ�ำปี ๒๕๖๐

ผู้ซึ่งได้รับการสรรหาต้องเป็นผู้มีความซ่ือสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์ และมีความรู้
ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์เกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดินไม่ต่�ำกว่าอธิบดีหรือ
หวั หนา้ สว่ นราชการทเ่ี ทยี บเทา่ หรอื หวั หนา้ หนว่ ยงานของรฐั ทเ่ี ทยี บไดไ้ มต่ ำ่� กวา่ กรมตามที่
คณะกรรมการสรรหาประกาศกำ� หนด โดยต้องดำ� รงตำ� แหนง่ ดงั กล่าวเปน็ เวลาไม่น้อยกว่า
หา้ ปี จำ� นวนสองคน และเปน็ ผมู้ ปี ระสบการณใ์ นการดำ� เนนิ กจิ การอนั เปน็ สาธารณะมาแลว้
ไมน่ อ้ ยกวา่ ยีส่ ิบปี จำ� นวนหน่งึ คน”
มาตรา ๒๒๙ “ผู้ตรวจการแผ่นดินมีวาระการด�ำรงต�ำแหน่งเจ็ดปีนับแต่วันที่
พระมหากษตั รยิ ท์ รงแต่งตั้ง และให้ดำ� รงต�ำแหนง่ ไดเ้ พยี งวาระเดยี ว”
มาตรา ๒๓๐ “ผู้ตรวจการแผน่ ดนิ มีหนา้ ทแี่ ละอ�ำนาจ ดังตอ่ ไปนี้
(๑) เสนอแนะต่อหน่วยงานของรัฐท่ีเกี่ยวข้องเพื่อให้มีการปรับปรุงกฎหมาย
กฎ ข้อบังคับ ระเบียบหรือค�ำสั่ง หรือขั้นตอนการปฏิบัติงานใด ๆ บรรดาที่ก่อให้เกิด
ความเดือดร้อนหรือความไม่เป็นธรรมแก่ประชาชน หรือเป็นภาระแก่ประชาชนโดย
ไมจ่ ำ� เปน็ หรอื เกนิ สมควรแกเ่ หตุ
(๒) แสวงหาข้อเท็จจริงเม่ือเห็นว่ามีผู้ได้รับความเดือดร้อนหรือความไม่เป็นธรรม
อันเนื่องมาจากการไม่ปฏิบัติตามกฎหมายหรือปฏิบัตินอกเหนือหน้าที่และอ�ำนาจ
ตามกฎหมายของหนว่ ยงานของรฐั หรอื เจา้ หนา้ ทขี่ องรฐั เพอ่ื เสนอแนะตอ่ หนว่ ยงานของรฐั
ที่เกยี่ วข้องใหข้ จัดหรอื ระงบั ความเดือดร้อนหรอื ไม่เปน็ ธรรมนนั้
(๓) เสนอต่อคณะรัฐมนตรีให้ทราบถึงการท่ีหน่วยงานของรัฐยังมิได้ปฏิบัติ
ให้ถกู ตอ้ งครบถ้วน ตามหมวด ๕ หน้าทขี่ องรฐั
ในกรณที หี่ นว่ ยงานของรฐั ทเ่ี กย่ี วขอ้ งไมด่ ำ� เนนิ การตามขอ้ เสนอแนะของผตู้ รวจการ
แผ่นดินตาม (๑) หรือ (๒) โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร ให้ผู้ตรวจการแผ่นดินแจ้งให้
คณะรัฐมนตรีทราบเพือ่ พจิ ารณาสั่งการตามทีเ่ ห็นสมควรต่อไป
ในการด�ำเนนิ การตาม (๑) หรอื (๒) หากเปน็ กรณีทเี่ กย่ี วกับการละเมิดสิทธิมนุษยชน
ให้ผู้ตรวจการแผน่ ดินสง่ เรื่องให้คณะกรรมการสทิ ธมิ นุษยชนแห่งชาตดิ ำ� เนนิ การต่อไป”

ผู้ตรวจการแผน่ ดนิ 29

มาตรา ๒๓๑ “ในการปฏิบัติหน้าท่ีตามมาตรา ๒๓๐ ผู้ตรวจการแผ่นดินอาจ
เสนอเรือ่ งต่อศาลรัฐธรรมนญู หรอื ศาลปกครองได้เม่อื เหน็ มีกรณี ดังตอ่ ไป
(๑) บทบัญญัติแห่งกฎหมายใดมีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ
ใหเ้ สนอเรอ่ื งพรอ้ มดว้ ยความเหน็ ตอ่ ศาลรฐั ธรรมนญู และใหศ้ าลรฐั ธรรมนญู พจิ ารณาวนิ จิ ฉยั
โดยไม่ชักช้า ทั้งนี้ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของ
ศาลรฐั ธรรมนูญ
(๒) กฎ ค�ำสั่ง หรือการกระท�ำอื่นใดของหน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ
มปี ญั หาเกย่ี วกบั ความชอบดว้ ยรฐั ธรรมนญู หรอื กฎหมาย ใหเ้ สนอเรอื่ งพรอ้ มดว้ ยความเหน็
ตอ่ ศาลปกครองและใหศ้ าลปกครองพจิ ารณาวนิ จิ ฉยั โดยไมช่ กั ชา้ ทงั้ น้ี ตามกฎหมายวา่ ดว้ ย
การจัดตั้งศาลปกครองและวิธพี ิจารณาคดปี กครอง”
อนึ่ง บทเฉพาะกาลของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐
ได้บัญญัติเกี่ยวกับการด�ำรงต�ำแหน่งและการด�ำเนินการของผู้ตรวจการแผ่นดินในช่วง
ระหวา่ งการจดั ท�ำพระราชบัญญตั ิประกอบรัฐธรรมนูญว่าดว้ ยผู้ตรวจการแผ่นดินฉบบั ใหม่
ท่ีสอดคล้องกับบทบัญญัตขิ องรัฐธรรมนญู ไว้ ดังน้ี
มาตรา ๒๗๓ “ให้ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ผู้ด�ำรงต�ำแหน่งในองค์กรอิสระ และ
ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน ซึ่งด�ำรงต�ำแหน่งอยู่ในวันก่อนวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ยังคง
อยู่ในต�ำแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าท่ีต่อไป และเมื่อพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ
ท่ีเกี่ยวข้องที่จัดท�ำข้ึนตามมาตรา ๒๖๗ ใช้บังคับแล้ว การด�ำรงต�ำแหน่งต่อไปเพียงใด
ให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญดังกล่าว ในระหว่างเวลาท่ียังไม่มี
พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญที่จดั ท�ำข้ึนตามมาตรา ๒๖๗ การพน้ จากต�ำแหน่งของ
ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ผู้ด�ำรงต�ำแหน่งในองค์กรอิสระ และผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน
ให้เป็นไปตามรฐั ธรรมนูญแหง่ ราชอาณาจกั รไทย พทุ ธศกั ราช ๒๕๕๐ และพระราชบัญญัติ
ประกอบรัฐธรรมนญู หรอื กฎหมายท่ีเก่ยี วขอ้ ง

30 รายงานประจ�ำปี ๒๕๖๐

การดำ� เนนิ การของศาลรฐั ธรรมนญู หรอื องคก์ รอสิ ระ และผวู้ า่ การตรวจเงนิ แผน่ ดนิ
ให้เป็นไปตามกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญน้ีเท่าที่ไม่ขัดหรือ
แย้งตอ่ บทบัญญัติแหง่ รฐั ธรรมนญู นี”้
ด้วยผลของบทบัญญัติข้างต้น ดังน้ัน ในช่วงปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๐ ซ่ึงเป็น
ช่วงเวลาท่ีคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญอยู่ระหว่างด�ำเนินการจัดท�ำร่างพระราชบัญญัติ
ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดินฉบับใหม่ เพ่ือเสนอต่อสภานิติบัญญัติ
แหง่ ชาตพิ ิจารณาใหค้ วามเห็นชอบ ตามมาตรา ๒๖๗ ของรฐั ธรรมนูญ อ�ำนาจหนา้ ทีข่ อง
ผู้ตรวจการแผ่นดินจึงยังคงเป็นไปตามท่ีพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย
ผู้ตรวจการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๕๒ ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันประกาศใช้
รัฐธรรมนูญก�ำหนด ซ่ึงพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าว ก�ำหนดให้
ผู้ตรวจการแผน่ ดินมีอ�ำนาจหน้าท่ี ดงั นี้
มาตรา ๑๓ “ผู้ตรวจการแผ่นดนิ มีอ�ำนาจหนา้ ท่ดี งั ตอ่ ไปน้ี
(๑) พิจารณาและสอบสวนหาข้อเท็จจริงตามคำ� รอ้ งเรยี นในกรณี
(ก) การไมป่ ฏบิ ตั ติ ามกฎหมาย หรอื ปฏบิ ตั นิ อกเหนอื อำ� นาจหนา้ ทตี่ ามกฎหมาย
ของข้าราชการ พนักงาน หรอื ลกู จา้ งของหน่วยราชการ หนว่ ยงานของรัฐ หรอื รัฐวิสาหกจิ
หรอื ราชการสว่ นทอ้ งถนิ่
(ข) การปฏบิ ตั หิ รอื ละเลยไมป่ ฏบิ ตั หิ นา้ ทขี่ องขา้ ราชการ พนกั งาน หรอื ลกู จา้ ง
ของหนว่ ยราชการ หนว่ ยงานของรฐั หรือรัฐวิสาหกิจ หรอื ราชการส่วนทอ้ งถิน่ ทก่ี อ่ ใหเ้ กิด
ความเสยี หายแกผ่ รู้ อ้ งเรยี นหรอื ประชาชนโดยไมเ่ ปน็ ธรรม ไมว่ า่ การนน้ั จะชอบหรอื ไมช่ อบ
ดว้ ยอำ� นาจหนา้ ที่กต็ าม
(ค) การตรวจสอบการละเลยการปฏิบัติหน้าท่ีหรือการปฏิบัติหน้าท่ี
โดยไม่ชอบด้วยกฎหมายขององค์กรตามรัฐธรรมนูญ และองค์กรในกระบวนการยุติธรรม
ทั้งน้ี ไมร่ วมถงึ การพิจารณาพิพากษาอรรถคดขี องศาล
(ง) กรณีอนื่ ตามที่กฎหมายบญั ญตั ิ

ผูต้ รวจการแผน่ ดนิ 31

(๒) ด�ำเนินการเก่ียวกับจริยธรรมของผู้ด�ำรงต�ำแหน่งทางการเมืองและเจ้าหน้าท่ี
ของรฐั ตามบทบญั ญตั ขิ องรฐั ธรรมนูญ
(๓) ติดตาม ประเมินผล และจัดท�ำข้อเสนอแนะในการปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ
รวมตลอดถงึ ข้อพจิ ารณาเพือ่ แก้ไขเพ่มิ เตมิ รฐั ธรรมนูญในกรณีท่เี ห็นวา่ จ�ำเป็น
(๔) รายงานผลการตรวจสอบและผลการปฏิบัติหน้าที่ พร้อมข้อสังเกตต่อ
คณะรัฐมนตรี สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาทุกปี ทั้งน้ี ให้ประกาศรายงานดังกล่าวใน
ราชกจิ จานุเบกษาและเปดิ เผยต่อสาธารณะดว้ ย
การใช้อ�ำนาจหน้าที่ตาม (๑) (ก) (ข) และ (ค) ให้ผู้ตรวจการแผ่นดินด�ำเนินการ
เมื่อมีการร้องเรียน เว้นแต่เป็นกรณีท่ีผู้ตรวจการแผ่นดินเห็นว่า การกระท�ำดังกล่าว
มีผลกระทบต่อความเสียหายของประชาชนส่วนรวมหรือเพ่ือคุ้มครองประโยชน์สาธารณะ
ผตู้ รวจการแผน่ ดินอาจพิจารณาและสอบสวนโดยไมม่ กี ารรอ้ งเรยี นได้”
มาตรา ๑๔ “ผตู้ รวจการแผน่ ดนิ อาจเสนอเรอื่ งตอ่ ศาลรฐั ธรรมนญู หรอื ศาลปกครอง
ไดเ้ มอ่ื เหน็ วา่ มีกรณี ดังต่อไปน้ี
(๑) บทบัญญัติแห่งกฎหมายใดมีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ
ให้เสนอเร่ืองพร้อมความเห็นต่อศาลรัฐธรรมนูญ และให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัย
โดยไม่ชักชา้ เพื่อให้ศาลรัฐธรรมนญู พิจารณาวนิ จิ ฉยั
(๒) กฎ ข้อบังคบั ระเบียบ คำ� สงั่ หรอื การกระทำ� อ่นื ใดของบคุ คลใดตามมาตรา
๑๓ (๑)(ก) มปี ญั หาเกย่ี วกบั ความชอบดว้ ยรฐั ธรรมนญู หรอื กฎหมาย ใหเ้ สนอเรอื่ งพรอ้ มดว้ ย
ความเห็นตอ่ ศาลปกครองโดยไมช่ กั ชา้ เพอ่ื ใหศ้ าลปกครองพิจารณาวนิ จิ ฉยั ”
มาตรา ๓๖ “การด�ำเนินการเก่ียวกับจริยธรรมของผู้ด�ำรงต�ำแหน่งทางการเมือง
หรือเจา้ หนา้ ทีข่ องรัฐแต่ละประเภทให้ผ้ตู รวจการแผ่นดนิ มีอ�ำนาจหน้าท่ี ดังต่อไปน้ี
(๑) เสนอแนะหรอื ใหค้ ำ� แนะนำ� ในการจดั ทำ� มาตรฐานทางจรยิ ธรรมหรอื ปรบั ปรงุ
ประมวลจรยิ ธรรมของผดู้ ำ� รงต�ำแหน่งทางการเมือง หรือเจา้ หน้าทขี่ องรฐั แตล่ ะประเภท

32 รายงานประจำ� ปี ๒๕๖๐

(๒) สง่ เสรมิ ใหผ้ ดู้ ำ� รงตำ� แหนง่ ทางการเมอื งและเจา้ หนา้ ทข่ี องรฐั มจี ติ สำ� นกึ ในดา้ น
จรยิ ธรรม
(๓) รายงานการกระทำ� ที่มีการฝ่าฝืนประมวลจริยธรรม ด�ำเนินการบังคับให้เป็น
ไปตามประมวลจรยิ ธรรม
เพื่อประโยชนแ์ หง่ การดำ� เนนิ การตามหมวดน้ี ให้หน่วยราชการ หนว่ ยงานของรัฐ
รัฐวิสาหกิจ และราชการส่วนท้องถ่ิน ส่งประมวลจริยธรรมท่ีได้จัดท�ำข้ึนไปยังส�ำนักงาน
ผู้ตรวจการแผน่ ดินภายในหกสบิ วันนบั แตว่ นั ที่จดั ทำ� ประมวลจริยธรรมดังกล่าวแลว้ เสร็จ
มาตรา ๔๐ “ในการตดิ ตามประเมนิ ผลและการจดั ทำ� ขอ้ เสนอแนะในการปฏบิ ตั ติ าม
รฐั ธรรมนญู ผตู้ รวจการแผน่ ดนิ อาจขอใหห้ นว่ ยราชการ หนว่ ยงานของรฐั รฐั วสิ าหกจิ หรอื
ราชการสว่ นทอ้ งถนิ่ ทเ่ี กยี่ วขอ้ งชแ้ี จงและรายงานผลการดำ� เนนิ การเพอ่ื ประกอบการพจิ ารณา
เมื่อผู้ตรวจการแผ่นดินได้ติดตามและประเมินผลการปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ
แลว้ พบวา่ หนว่ ยงานใดยงั ไมป่ ฏบิ ตั ใิ หเ้ ปน็ ไปตามรฐั ธรรมนญู ในเรอ่ื งใด ใหผ้ ตู้ รวจการแผน่ ดนิ
จัดท�ำข้อเสนอแนะในการปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญแล้วแจ้งไปยังผู้ควบคุมหรือก�ำกับดูแล
หน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถ่ินน้ัน เพ่ือให้สั่งการ
ตามควรแก่กรณี และให้รายงานผลการดำ� เนินการใหผ้ ูต้ รวจการแผน่ ดินทราบ”
มาตรา ๔๑ “ให้ผู้ตรวจการแผ่นดินท�ำการประเมินผลการปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ
ของหนว่ ยราชการ หน่วยงานของรฐั รฐั วสิ าหกจิ หรอื ราชการสว่ นท้องถ่ินเปน็ ประจ�ำทกุ ปี
ท้ังนี้ ตามหลกั เกณฑ์การประเมนิ ผลทีป่ ระธานผู้ตรวจการแผ่นดินกำ� หนด
เมื่อผู้ตรวจการแผ่นดินประเมินผลการปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญตามวรรคหน่ึงแล้ว
ใหร้ ายงานต่อคณะรัฐมนตรี สภาผแู้ ทนราษฎร และวุฒิสภาเพ่อื ทราบตามมาตรา ๔๓”

ผู้ตรวจการแผน่ ดนิ 33

มาตรา ๔๒ “ในการประเมนิ ผลการปฏบิ ตั ติ ามรฐั ธรรมนญู หากผตู้ รวจการแผน่ ดนิ
เห็นว่ามีข้อพิจารณาเพ่ือแก้ไขเพ่ิมเติมรัฐธรรมนูญ ให้ประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน
โดยความเหน็ ชอบรว่ มกนั ของผตู้ รวจการแผน่ ดนิ เสนอตอ่ คณะรฐั มนตรี สภาผ้แู ทนราษฎร
และวุฒสิ ภาเพื่อพิจารณาด�ำเนินการตามควรแกก่ รณ”ี
ตอ่ มา พระราชบญั ญตั ปิ ระกอบรฐั ธรรมนญู วา่ ดว้ ยผตู้ รวจการแผน่ ดนิ พ.ศ. ๒๕๖๐
ไดป้ ระกาศใช้เมอ่ื วันท่ี ๒๗ ธนั วาคม ๒๕๖๐ แต่อยา่ งไรก็ดี การดำ� เนนิ การของผูต้ รวจการ
แผ่นดินในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๐ เป็นการด�ำเนินการที่ภายใต้บังคับของรัฐธรรมนูญ
แหง่ ราชอาณาจกั รไทย (ฉบบั ชวั่ คราว) พทุ ธศกั ราช ๒๕๕๗ รฐั ธรรมนญู แหง่ ราชอาณาจกั รไทย
พุทธศักราช ๒๕๖๐ และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดิน
พ.ศ. ๒๕๕๒ ดังน้ันการรายงานผลการตรวจสอบและผลการปฏิบัติหน้าที่ในรายงาน
ผตู้ รวจการแผน่ ดนิ ประจำ� ปี ๒๕๖๐ จงึ ยงั ถอื ตามอำ� นาจหนา้ ทท่ี ก่ี ำ� หนดไวใ้ นพระราชบญั ญตั ิ
ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๕๒ ซ่ึงรวมถึงการด�ำเนินการ
ด้านจริยธรรมของผู้ด�ำรงต�ำแหน่งทางการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐ และการติดตาม
ประเมินผลการปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ ซึ่งจะ
ปรากฏในส่วนท่ี ๔ และสว่ นท่ี ๕ นอกจากน้ี เนือ้ หาของรายงานฉบบั นี้ ยังครอบคลมุ ถงึ
การเตรยี มการรองรบั การปฏบิ ตั ติ ามภารกจิ ทก่ี ำ� หนดไวใ้ นรฐั ธรรมนญู แหง่ ราชอาณาจกั รไทย
พุทธศักราช ๒๕๖๐ ท่ีผู้ตรวจการแผ่นดินได้ดำ� เนินการในช่วงระยะเวลาเดียวกัน ก่อนท่ี
พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดินฉบับใหม่จะมีผลบังคับใช้
อีกดว้ ย

การพิจารณาและสอบสวนหาข้อเทจ็ จริงตามค�ำร้องเรียน

ผู้มีสทิ ธริ ้องเรยี น
บุคคล คณะบุคคล และชุมชน ย่อมมีสิทธิร้องเรียนต่อผู้ตรวจการแผ่นดิน
ได้ตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดิน
พ.ศ. ๒๕๕๒ โดยไมต่ ดั สทิ ธิผูร้ ้องเรียนที่จะด�ำเนินการตามกฎหมายนั้น

34 รายงานประจำ� ปี ๒๕๖๐

รปู แบบการร้องเรยี น
๑. รอ้ งเรยี นเปน็ หนงั สอื หรอื สอ่ื อเิ ลก็ ทรอนกิ สโ์ ดยลงชอื่ ผรู้ อ้ งเรยี น ทอี่ ยู่ หมายเลข
โทรศพั ท์ทสี่ ามารถติดตอ่ ได้ ชื่อ - สกลุ บุคคล หรอื ชือ่ หน่วยงานผู้ถกู รอ้ งเรยี น และเหตทุ ี่
ร้องเรียน ในกรณีที่ผู้ร้องเรียนประสงค์จะปกปิดช่ือผู้ร้องเรียนเป็นความลับสามารถแสดง
ความจ�ำนงในหนงั สือรอ้ งเรยี นและสง่ เร่อื งรอ้ งเรยี นได้ท่ี
๑.๑ ร้องเรียนเป็นหนังสือท่ีส�ำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน ศูนย์ราชการ
เฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐ อาคารรัฐประศาสนภักดี ชั้น ๕
เลขที่ ๑๒๐ หมทู่ ี่ ๓ ถนนแจง้ วัฒนะ แขวงทุ่งสองหอ้ ง เขตหลักส่ี กรุงเทพฯ ๑๐๒๑๐
๑.๒ รอ้ งเรยี นทางโทรสาร หมายเลข ๐ ๒๑๔๓ ๘๓๔๑
๑.๓ รอ้ งเรยี นผา่ นสมาชกิ สภาผแู้ ทนราษฎร หรอื สมาชกิ วฒุ สิ ภา ในเขตพน้ื ท่ี
ของผู้รอ้ งเรยี น
๑.๔ รอ้ งเรยี นผา่ นระบบอนิ เทอร์เนต็ ที่ www.ombudsman.go.th
๑.๕ ร้องเรียนผ่านเครือข่ายของผู้ตรวจการแผ่นดิน ได้แก่ สภาทนายความ
และส�ำนักงานสาขาของสภาทนายความทั่วประเทศ หรือส�ำนักงานคุ้มครองสิทธิ
และชว่ ยเหลอื ทางกฎหมายแก่ประชาชน ณ ท่ที �ำการสำ� นกั งานอยั การจังหวดั ทั่วประเทศ
และรอ้ งเรียนผา่ นศูนยก์ ารเรียนรไู้ อซที ชี มุ ชน
๒. ร้องเรียนด้วยวาจา หรือร้องเรียนทางโทรศัพท์หมายเลข ๑๖๗๖ (โทรฟรี
ทั่วประเทศ) หรือหมายเลข ๐ ๒๑๔๑ ๙๑๐๐ หรือร้องเรียนด้วยตนเองท่ี ส�ำนักงาน
ผู้ตรวจการแผ่นดิน ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐
อาคารรัฐประศาสนภักดี ชั้น ๕ เลขที่ ๑๒๐ หมู่ท่ี ๓ ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง
เขตหลักสี่ กรงุ เทพฯ ๑๐๒๑๐
๓. กรณีท่ีคณะกรรมาธิการของสภาผู้แทนราษฎรหรือคณะกรรมาธิการ
ของวุฒิสภาได้สอบสวนหรือพิจารณาเร่ืองใดและเห็นว่าเป็นเร่ืองที่อยู่ในอ�ำนาจหน้าที่ของ
ผู้ตรวจการแผ่นดินท่ีจะด�ำเนินการได้ คณะกรรมาธิการจะส่งเรื่องให้ผู้ตรวจการแผ่นดิน
พจิ ารณาด�ำเนินการและแจ้งผลการพจิ ารณาต่อคณะกรรมาธิการตอ่ ไป

ผ้ตู รวจการแผ่นดนิ 35

เรอ่ื งทก่ี ฎหมายกำ� หนดไมใ่ หผ้ ตู้ รวจการแผน่ ดนิ รบั ไวพ้ จิ ารณา หรอื ใหย้ ตุ กิ ารพจิ ารณา๑

๑. เร่ืองที่เป็นนโยบายซ่ึงคณะรัฐมนตรีแถลงต่อรัฐสภา เว้นแต่การปฏิบัติตาม
นโยบายดังกล่าวอาจมีการไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย หรือปฏิบัตินอกเหนืออ�ำนาจหน้าที่
การปฏิบัติหรือละเลยไม่ปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการ พนักงาน หรือลูกจ้างของหน่วยงาน
ราชการ หนว่ ยงานของรฐั รฐั วสิ าหกจิ หรอื ราชการสว่ นทอ้ งถน่ิ ทกี่ อ่ ใหเ้ กดิ ความเดอื ดรอ้ น
เสยี หายแกป่ ระชาชนอยา่ งไมเ่ ปน็ ธรรม หรอื เกยี่ วกบั จรยิ ธรรมของผดู้ ำ� รงตำ� แหนง่ ทางการเมอื ง
และเจา้ หน้าท่ีของรัฐตามบทบญั ญัติของรัฐธรรมนูญ
๒. เรอื่ งทฟ่ี อ้ งรอ้ งเปน็ คดอี ยใู่ นศาลหรอื เรอื่ งทศี่ าลมคี ำ� พพิ ากษาหรอื คำ� สง่ั เดด็ ขาดแลว้
๓. เร่อื งที่มไิ ด้เปน็ ไปตามมาตรา ๑๓ (๑) หรือ (๒) ของพระราชบัญญตั ปิ ระกอบ
รฐั ธรรมนูญวา่ ด้วยผู้ตรวจการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๕๒ ได้แก่ เร่ืองท่ไี ม่เกยี่ วกับข้าราชการหรอื
พนักงานของรัฐหรือเป็นเรื่องท่ีเก่ียวกับข้าราชการหรือพนักงานของรัฐแต่เป็นเร่ืองส่วนตัว
ไม่ใช่การปฏิบัติหน้าที่ราชการตามอ�ำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย เรื่องท่ีเกี่ยวกับกรณีพิพาท
ระหวา่ งเอกชนดว้ ยกนั เอง รวมทงั้ เรอ่ื งทไ่ี มม่ ปี ระเดน็ เกยี่ วกบั จรยิ ธรรมของผดู้ ำ� รงตำ� แหนง่
ทางการเมอื งและเจ้าหนา้ ทข่ี องรฐั
๔. เร่ืองท่ีเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลหรือการลงโทษทางวินัยของข้าราชการ
พนกั งาน หรอื ลกู จา้ งของหนว่ ยราชการ หนว่ ยงานของรฐั รฐั วสิ าหกจิ หรอื ราชการสว่ นทอ้ งถน่ิ
เว้นแตเ่ ป็นกรณีตามนยั มาตรา ๑๓ (๒) คือ ประเดน็ เกีย่ วกบั จริยธรรมของผ้ดู �ำรงตำ� แหน่ง
ทางการเมืองและเจ้าหน้าท่ขี องรัฐ
๕. เรื่องที่ผู้ร้องเรียนไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย
ผู้ตรวจการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๕๒ ตามนยั มาตรา ๒๔ คือ เรื่องทผี่ ้รู ้องเรยี นไมป่ ฏบิ ัตติ ามวธิ กี าร
ยนื่ เรอ่ื งร้องเรียน เช่น ไมร่ ะบชุ ื่อและท่อี ยขู่ องผู้รอ้ งเรียน ไมร่ ะบุเหตทุ ที่ �ำใหต้ อ้ งร้องเรยี น
พรอ้ มดว้ ยขอ้ เทจ็ จรงิ หรอื พฤตกิ ารณท์ เี่ กย่ี วกบั เรอ่ื งรอ้ งเรยี นตามสมควร ใชถ้ อ้ ยคำ� ไมส่ ภุ าพ
ในการร้องเรยี น และไม่ลงลายมือชอ่ื ของผู้รอ้ งเรียน ทงั้ นี้ ผรู้ ้องเรยี นสามารถขอให้ปกปิดชื่อ
และท่อี ยู่ได้ แต่จ�ำเปน็ ตอ้ งแจ้งแสดงตัวตนของบคุ คลผรู้ ้องเรยี นให้ผู้ตรวจการแผน่ ดนิ ทราบ

๑ ตามนยั มาตรา ๒๘ ของพระราชบัญญตั ิประกอบรฐั ธรรมนูญวา่ ดว้ ยผู้ตรวจการแผน่ ดนิ พ.ศ. ๒๕๕๒

36 รายงานประจ�ำปี ๒๕๖๐

เรื่องรอ้ งเรียนท่ีผู้ตรวจการแผน่ ดนิ อาจไมร่ ับพจิ ารณา หรอื ยตุ ิการพิจารณา๒

ผตู้ รวจการแผน่ ดินอาจไม่รับพจิ ารณาหรืออาจยุตกิ ารพิจารณาเรื่อง ดังตอ่ ไปนี้
๑. เรอ่ื งท่ีเกี่ยวกบั การทุจรติ หรือประพฤตมิ ชิ อบในวงราชการ๓
๒. เร่ืองที่ผู้ร้องเรียนมิได้มีส่วนได้เสียและการพิจารณาจะไม่เป็นประโยชน์ต่อ
ประชาชนโดยสว่ นรวม
๓. เร่ืองท่ีผู้ร้องเรียนได้ย่ืนเมื่อพ้นก�ำหนดสองปีนับแต่วันที่รู้หรือควรรู้ถึงเหตุ
แห่งการรอ้ งเรยี น และการพิจารณาจะไมเ่ ป็นประโยชนต์ อ่ ประชาชนโดยสว่ นรวม
๔. เร่ืองท่ีผู้ร้องเรียนได้รับการแก้ไขความเดือดร้อนหรือความไม่เป็นธรรม หรือ
ไดร้ บั การชดใชค้ วามเสยี หายอยา่ งเหมาะสมแลว้ และการพจิ ารณาตอ่ ไปจะไมเ่ ปน็ ประโยชน์
ต่อประชาชนโดยสว่ นรวม
๕. เร่ืองท่ีผู้ร้องเรียนไม่มาให้ถ้อยค�ำ ไม่แสดงพยานหลักฐาน หรือไม่ด�ำเนินการ
ตามหนังสือท่ีได้รับจากผู้ตรวจการแผ่นดิน ทั้งน้ี ภายในระยะเวลาที่ก�ำหนดโดยไม่มีเหตุ
อนั สมควร
๖. เรื่องที่ผู้ร้องเรียนตายโดยท่ีไม่มีทายาทเข้าแทนท่ี และการพิจารณาต่อไป
จะไม่เป็นประโยชนต์ ่อประชาชนโดยรวม
๗. เรอ่ื งทผ่ี ตู้ รวจการแผน่ ดนิ เคยสรปุ ผลการพจิ ารณาแลว้ เวน้ แต่ จะปรากฏพยาน
หลกั ฐานหรอื ข้อเทจ็ จรงิ ใหมอ่ ันอาจทำ� ใหผ้ ลการพจิ ารณาเปล่ยี นแปลงไป
ท้ังน้ี ส�ำหรับเรื่องที่ผู้ตรวจการแผ่นดินไม่รับหรืออาจไม่รับไว้พิจารณาตาม
รายละเอียดข้างตน้ ผ้ตู รวจการแผน่ ดนิ จะส่งเรอ่ื งนน้ั ไปใหห้ น่วยราชการ หนว่ ยงานของรัฐ
รฐั วสิ าหกิจ หรอื ราชการสว่ นทอ้ งถ่ินทีเ่ กี่ยวข้อง เพือ่ ด�ำเนนิ ต่อไปตามสมควรแกก่ รณีก็ได้

๒ ตามนัยมาตรา ๒๙ ของพระราชบญั ญัติประกอบรฐั ธรรมนูญว่าดว้ ยผ้ตู รวจการแผ่นดนิ พ.ศ. ๒๕๕๒
๓ กรณีการทุจริตตามข้อ (๑) เพ่ือมิให้เป็นการซ�้ำซ้อนและส้ินเปลืองงบประมาณของแผ่นดิน ผู้ตรวจการแผ่นดินจึงมีนโยบายว่า
หากผรู้ อ้ งเรยี นไดย้ นื่ เรอ่ื งรอ้ งเรยี นโดยตรงตอ่ คณะกรรมการปอ้ งกนั และปราบปรามการทจุ รติ แหง่ ชาตไิ วแ้ ลว้ ผตู้ รวจการแผน่ ดนิ จะไมส่ ง่ เรอื่ ง
ไปอกี เว้นแต่มกี รณที ่อี าจจะตอ้ งมีการประสานขอ้ มูลเพ่มิ เติม

ผู้ตรวจการแผน่ ดิน 37

38 รายงานประจำ� ปี ๒๕๖๐ แผนภมู แิ สดงกระบวนการปฏบิ ตั ิงานของผ้ตู รวจการแผน่ ดนิ ในงานเรือ่ งร้องเรยี น

ผรู้ ้องเรียน กรณีไมร่ ับเร่ืองไวพ้ จิ ารณา ผรู้ ้องเรียน
คณะกรรมาธกิ าร
ผตู้ รวจการแผ่นดนิ หน่วยงานทร่ี ับผดิ ชอบ
ส.ส./ส.ว. ด�ำเนินการตามสมควรแก่กรณี
กรณีรับเร่ืองไว้พิจารณา กรณีหนว่ ยงาน/ขา้ ราชการ
ผู้ตรวจการแผ่นดนิ กรณไี มช่ แี้ จง ผ้ตู รวจการแผน่ ดนิ ปฏบิ ตั ติ ามกฎหมาย
จะขอค�ำช้ีแจง หรือกรณพี บขอ้ มลู เพิม่ เตมิ
ทอ่ี ย่ใู นเกณฑ์จะยตุ ิเรอื่ ง
หนว่ ยงาน/บุคคล กรณชี แ้ี จง ผตู้ รวจการแผ่นดิน ผรู้ อ้ งเรยี น

ทเี่ ก่ยี วขอ้ ง วินจิ ฉยั หน่วยงาน

กรณกี ฎหมาย กฎ กรณีหน่วยงาน/ขา้ ราชการไมป่ ฏบิ ัตติ ามกฎหมาย
ขอ้ บังคับ ระเบียบหรือ
ดำ� เนนิ การ รายงานตอ่ มติของคณะรฐั มนตรี แจ้งหนว่ ยงานแกไ้ ข ผ้ตู รวจการ ผูร้ ้องเรยี น
ตามกฎหมาย สภาผู้แทนราษฎร/ ดำ� เนินการตาม แผน่ ดิน
ก่อใหเ้ กิด ความเหน็ ของ
วุฒสิ ภา ความไม่เปน็ ธรรมหรือ ผตู้ รวจการแผน่ ดนิ

ผ้ตู รวจการแผน่ ดนิ ไมด่ �ำเนนิ การ ความไม่เสมอกนั ไม่ดำ� เนินการตามความเห็น ด�ำเนนิ การตาม
ในเวลาอันควร ในกฎหมาย หรือ ของผู้ตรวจการแผน่ ดิน ความเห็นของ
เปน็ การเลอื กปฏบิ ัติ ผตู้ รวจการแผน่ ดนิ
ผตู้ รวจการแผน่ ดนิ
หรอื ล้าสมัย
แจ้งหน่วยงานปรบั ปรุง

แกไ้ ขกฎระเบยี บ

รฐั มนตรี/นายกรัฐมนตรี

เสนอองค์กรเพื่อ เสนอคณะรัฐมนตรี ไม่ด�ำเนินการตามความเห็น รายงานตอ่ รฐั สภา
การปฏริ ปู กฎหมาย สภาผู้แทนราษฎร และ ของผตู้ รวจการแผ่นดิน และเปิดเผย
ตามรัฐธรรมนูญ ผูต้ รวจการแผน่ ดนิ ต่อสาธารณะ
วฒุ ิสภา เพอื่ ทราบ
เพ่อื ดำ� เนนิ การ เป็นกรณเี รง่ ดว่ น

กระบวนการทำ� งานของผู้ตรวจการแผ่นดิน

เมอ่ื ประชาชนมปี ญั หาจากการปฏบิ ตั หิ นา้ ทขี่ องเจา้ หนา้ ทขี่ องรฐั หรอื เกดิ ความขดั แยง้
ระหว่างรัฐกับประชาชนข้ึน ประชาชนทุกคนย่อมมีสิทธิที่จะแสวงหาความเป็นธรรม
เพ่ือเยียวยาแก้ไขข้อขัดข้องหรือความทุกข์ร้อนของตน ซ่ึงช่องทางที่ประชาชนสามารถ
ใช้สิทธิในการแสวงหาความเป็นธรรมมีหลายช่องทาง อาทิ การร้องเรียนต่อหน่วยงาน
ราชการทเ่ี กย่ี วขอ้ ง การรอ้ งเรยี นตอ่ คณะกรรมาธกิ ารของสภาผแู้ ทนราษฎรหรอื ของวฒุ สิ ภา
การรอ้ งเรยี นต่อองค์กรอสิ ระ หรอื ฟ้องคดีตอ่ ศาล
ผู้ตรวจการแผ่นดินเป็นกลไกหน่ึงในการตรวจสอบการใช้อ�ำนาจรัฐท่ีประชาชน
สามารถใชส้ ิทธใิ นการแสวงหาความเปน็ ธรรม โดยมีลกั ษณะเฉพาะบางประการท่ีแตกตา่ ง
จากหนว่ ยงานตรวจสอบอน่ื ของทางราชการ กลา่ วคอื ผตู้ รวจการแผน่ ดนิ เปน็ องคก์ รอสิ ระ
ตามรฐั ธรรมนญู ทไ่ี มส่ งั กดั ฝา่ ยบรหิ ารโดยมสี ำ� นกั งานผตู้ รวจการแผน่ ดนิ ทำ� หนา้ ทสี่ นบั สนนุ
งานของผู้ตรวจการแผ่นดิน ท�ำให้การด�ำเนินงานของผู้ตรวจการแผ่นดินมีความเป็นอิสระ
ปราศจากการแทรกแซงจากรัฐบาลหรือฝ่ายบริหาร จึงเช่ือมั่นได้ว่าการพิจารณาวินิจฉัย
เรอ่ื งรอ้ งเรยี นของผตู้ รวจการแผน่ ดนิ นนั้ มคี วามเปน็ ธรรมกบั ทกุ ฝา่ ยทเี่ กย่ี วขอ้ งไมว่ า่ จะเปน็
ผรู้ อ้ งเรยี น หรอื ผถู้ กู รอ้ งเรยี นกต็ าม โดยตง้ั อยบู่ นพน้ื ฐานของหลกั ธรรมาภบิ าลและหลกั การ
บริหารกิจการบ้านเมืองทด่ี ี
ในขั้นตอนการพิจารณาสอบสวนหาข้อเท็จจริงน้ัน ผู้ตรวจการแผ่นดินสามารถ
ดำ� เนนิ การตามกฎหมายได้ดงั น้ี
๑. ให้หน่วยงานราชการ หน่วยงานของรฐั รัฐวิสาหกิจ หรือราชการสว่ นทอ้ งถนิ่
มหี นังสอื ชี้แจงข้อเท็จจรงิ หรือใหค้ วามเหน็ ในการปฏบิ ตั ิงาน หรอื ส่งวัตถุ เอกสาร หลกั ฐาน
หรอื พยานหลกั ฐานอื่นทเ่ี กย่ี วขอ้ งเพื่อประกอบการพิจารณา

ผตู้ รวจการแผ่นดนิ 39

๒. ให้หัวหน้าหน่วยงานหรือเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานราชการ หน่วยงานของรัฐ
รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น พนักงานอัยการ พนักงานสอบสวน หรือบุคคลใด
มีหนังสือช้ีแจงข้อเท็จจริง หรือมาให้ถ้อยค�ำหรือส่งวัตถุ เอกสาร หลักฐาน หรือพยาน
หลกั ฐานอนื่ ทเ่ี กย่ี วขอ้ ง เพอื่ ประกอบการพจิ ารณา “ผใู้ ดฝา่ ฝนื หรอื ไมป่ ฏบิ ตั ติ าม ตอ้ งระวางโทษ
จ�ำคกุ ไม่เกินหกเดือน หรือปรับไมเ่ กนิ หนึง่ หม่นื บาท หรือท้งั จ�ำท้งั ปรบั ”๔
๓. ตรวจสถานทที่ เ่ี กย่ี วกบั เรอื่ งทม่ี กี ารรอ้ งเรยี น โดยแจง้ ใหเ้ จา้ ของหรอื ผคู้ รอบครอง
สถานท่ีทราบล่วงหน้าในเวลาอันควร “ผู้ใดต่อสู้หรือขัดขวางการปฏิบัติหน้าท่ีดังกล่าว
ต้องระวางโทษจ�ำคกุ ไม่เกนิ หนง่ึ ปี หรอื ปรับไมเ่ กนิ สองหมน่ื บาท หรือท้ังจ�ำทั้งปรบั ”๕
กระบวนการทำ� งานของผตู้ รวจการแผน่ ดนิ จงึ แตกตา่ งจากศาลทผ่ี ลของคำ� พพิ ากษา
จะมีฝ่าย แพ้ - ชนะ มีการเผชิญหน้าและมีค่าใช้จ่าย ส่วนผู้ตรวจการแผ่นดินมุ่งเน้น
การแก้ไขปัญหามากกว่าการมุ่งชี้ความผิด โดยการพัฒนาระบบให้ประชาชนสามารถ
ร้องเรียนได้สะดวกไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการร้องเรียน และกระบวนการพิจารณาโดยเร็ว
เพ่อื ให้ความเป็นธรรมแก่ทกุ ฝา่ ยโปรง่ ใสและตรวจสอบได้
อย่างไรก็ดี เมื่อผู้ตรวจการแผ่นดินสอบสวนและมีค�ำวินิจฉัยแล้วแม้ค�ำวินิจฉัย
ของผู้ตรวจการแผ่นดินไม่มีผลบังคับต่อบุคคลหรือหน่วยงานโดยตรง แต่จะท�ำเป็น
ความเห็นหรือข้อเสนอแนะให้บุคคลหรือหน่วยงานด�ำเนินการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อน
ของผู้ร้องเรียนต่อไป ซ่ึงกระบวนการข้ันตอนการท�ำงานตามอ�ำนาจหน้าท่ีของผู้ตรวจการ
แผน่ ดินหลงั จากมีข้อสรุปจากการสอบสวน มีดังนี้

๔ มาตรา ๔๕ ของพระราชบัญญัตปิ ระกอบรัฐธรรมนูญว่าดว้ ยผ้ตู รวจการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๕๒
๕ มาตรา ๔๖ ของพระราชบญั ญัตปิ ระกอบรัฐธรรมนูญวา่ ด้วยผู้ตรวจการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๕๒

40 รายงานประจ�ำปี ๒๕๖๐

๑. หากผลการสอบสวนข้อเท็จจริงแล้ว พบว่า ผู้ถูกร้องเรียนได้ปฏิบัติหน้าที่
โดยถูกต้องแล้ว ผู้ตรวจการแผ่นดินจะยุติเร่ืองและแจ้งให้ผู้ร้องเรียนทราบ พร้อมเหตุผล
อยา่ งไรกต็ าม ยงั เปดิ โอกาสใหผ้ รู้ อ้ งเรยี นโตแ้ ยง้ คำ� วนิ จิ ฉยั ของผตู้ รวจการแผน่ ดนิ ได้ ซง่ึ หาก
มีข้อมูลหรือข้อเท็จจริงใหม่ ผู้ตรวจการแผ่นดินจะพิจารณาเร่ืองร้องเรียนดังกล่าวใหม่
อีกคร้ังหน่งึ
๒. หากปรากฏว่าการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ถูกร้องเรียน แม้จะกระท�ำถูกต้อง
ตามกฎหมายแล้ว แต่ด้วยเหตุแห่งความล้าสมัยของกฎหมาย หรือกฎ ระเบียบต่าง ๆ
กอ่ ใหเ้ กดิ ความเดอื ดรอ้ นเสยี หายแกป่ ระชาชนหรอื ผรู้ อ้ งเรยี นอยา่ งไมเ่ ปน็ ธรรม ผตู้ รวจการ
แผ่นดินจะมีข้อเสนอแนะไปยังหน่วยงานท่ีเกี่ยวข้องให้พิจารณาด�ำเนินการปรับปรุงแก้ไข
เพม่ิ เตมิ กฎ ขอ้ บังคับ ระเบยี บ หรือกฎหมาย ใหม้ คี วามทันสมัยเหมาะสมสอดคล้องกับ
สถานการณ์ หากเร่ืองดังกล่าวมีความเก่ียวข้องกับมติคณะรัฐมนตรี ผู้ตรวจการแผ่นดิน
อาจรายงานให้คณะรฐั มนตรที ราบเพอ่ื พจิ ารณาตอ่ ไปดว้ ย
ในกรณีท่ีผู้ตรวจการแผ่นดินเสนอให้หน่วยงานข้างต้นปรับปรุงหรือแก้ไข
เพม่ิ เตมิ กฎหมาย กฎ ขอ้ บงั คบั และระเบยี บ หากหนว่ ยงานนนั้ ไมด่ ำ� เนนิ การตามขอ้ เสนอแนะ
ดังกล่าวในเวลาอันควร ให้ผู้ตรวจการแผ่นดินเสนอไปยังองค์กรเพื่อการปฏิรูปกฎหมาย
ตามรฐั ธรรมนญู เพอื่ ดำ� เนนิ การตอ่ ไป และรายงานเรอ่ื งนน้ั เสนอตอ่ คณะรฐั มนตรี สภาผแู้ ทน
ราษฎร และวุฒิสภาเพือ่ ทราบเป็นกรณีเร่งด่วน
๓. หากผลการสอบสวนพบว่าการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ถูกร้องเรียนเป็นจริง
ตามคำ� รอ้ งเรยี น แมผ้ ตู้ รวจการแผน่ ดนิ จะไมม่ อี ำ� นาจในการลงโทษ แตส่ ามารถมคี วามเหน็
และข้อเสนอแนะไปยังหน่วยงานที่ถูกร้องเรียนให้พิจารณาด�ำเนินการแก้ไข ปรับปรุง
เพ่ือเยียวยาความทุกขร์ ้อนใหแ้ ก่ผู้รอ้ งเรยี นได้
๔. ในกรณีท่ีหน่วยงานของรัฐไม่ปฏิบัติตามความเห็นหรือข้อเสนอแนะของ
ผู้ตรวจการแผ่นดินเร่ืองใดในเวลาอันควร ผู้ตรวจการแผ่นดินอาจส่งเรื่องดังกล่าวไปยัง
รฐั มนตรที ค่ี วบคมุ หรอื กำ� กบั ดแู ลหนว่ ยงานนน้ั ๆ เพอื่ สงั่ การตามควรแกก่ รณกี ไ็ ด้ และหาก
รัฐมนตรียังเพิกเฉย ผู้ตรวจการแผ่นดินก็สามารถส่งเรื่องให้นายกรัฐมนตรีพิจารณาส่ังการ
ตอ่ ไปได้

ผู้ตรวจการแผ่นดนิ 41

๕. เมื่อระยะเวลาได้ล่วงเลยไปพอสมควรแล้ว ผู้ถูกร้องเรียน/หน่วยงานของรัฐ
ยังไม่ปฏบิ ัติตามความเหน็ หรอื ขอ้ เสนอแนะดังกล่าวโดยไมม่ เี หตุอนั ควร และเร่อื งดังกล่าว
เป็นเร่ืองส�ำคัญหรือเก่ียวกับประโยชน์สาธารณะหรือเก่ียวข้องกับประชาชนจ�ำนวนมาก
ผูต้ รวจการแผ่นดนิ จะจดั ท�ำรายงานเร่อื งนน้ั เสนอต่อคณะรัฐมนตรี สภาผู้แทนราษฎรและ
วุฒสิ ภาเป็นกรณเี ร่งดว่ น และเปดิ เผยรายงานใหป้ ระชาชนไดร้ บั ทราบโดยผ่านส่อื ต่าง ๆ
นอกเหนอื จากภารกจิ ในการพจิ ารณาและสอบสวนขอ้ เทจ็ จรงิ ตามคำ� รอ้ งเรยี นแลว้
รัฐธรรมนูญแหง่ ราชอาณาจักรไทย พุทธศกั ราช ๒๕๕๐ ยงั ได้บญั ญตั ิให้ผตู้ รวจการแผ่นดนิ
มีอ�ำนาจเพ่ิมเติมในการด�ำเนินการเก่ียวกับจริยธรรมของผู้ด�ำรงต�ำแหน่งทางการเมืองและ
เจ้าหน้าท่ีของรัฐอีกด้วย โดยมีหน้าท่ีเสนอแนะหรือให้ค�ำแนะน�ำในการจัดท�ำมาตรฐาน
ทางจรยิ ธรรม หรอื ปรบั ปรงุ ประมวลจรยิ ธรรมของผดู้ ำ� รงตำ� แหนง่ ทางการเมอื ง หรอื เจา้ หนา้ ที่
ของรฐั แตล่ ะประเภท สง่ เสรมิ ใหผ้ ดู้ ำ� รงตำ� แหนง่ ทางการเมอื งและเจา้ หนา้ ทข่ี องรฐั มจี ติ สำ� นกึ
ในด้านจริยธรรม พร้อมทั้งรายงานการกระท�ำท่ีมีการฝ่าฝืนประมวลจริยธรรมเพื่อให้ผู้ท่ี
รบั ผดิ ชอบในการบงั คบั การใหเ้ ปน็ ไปตามประมวลจรยิ ธรรมดำ� เนนิ การบงั คบั ใหเ้ ปน็ ไปตาม
ประมวลจริยธรรม และให้หน่วยงานราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจและราชการ
สว่ นท้องถ่นิ สง่ ประมวลจรยิ ธรรมทไ่ี ด้จัดท�ำขน้ึ มายังสำ� นักงานผตู้ รวจการแผ่นดนิ

การดำ� เนนิ การเกยี่ วกบั จรยิ ธรรมของผดู้ ำ� รงตำ� แหนง่ ทางการเมอื งและเจา้ หนา้ ทข่ี องรฐั

ตามรฐั ธรรมนญู แหง่ ราชอาณาจกั รไทย พทุ ธศกั ราช ๒๕๕๐ ไดม้ บี ทบญั ญตั เิ กย่ี วกบั
การด�ำเนินการเกี่ยวกับจริยธรรมของผู้ด�ำรงต�ำแหน่งทางการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐ
ไวเ้ ป็นการเฉพาะ ดังนี้
มาตรา ๒๗๙ “มาตรฐานทางจรยิ ธรรมของผดู้ ำ� รงตำ� แหนง่ ทางการเมอื ง ขา้ ราชการ
หรือเจ้าหนา้ ทขี่ องรัฐแตล่ ะประเภทใหเ้ ป็นไปตามประมวลจริยธรรมท่ีกำ� หนดขน้ึ
มาตรฐานทางจริยธรรมตามวรรคหน่ึง จะต้องมีกลไกและระบบในการด�ำเนินงาน
เพื่อให้การบังคับใช้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ รวมท้ังก�ำหนดขั้นตอนการลงโทษตาม
ความร้ายแรงแห่งการกระท�ำ

42 รายงานประจำ� ปี ๒๕๖๐

การฝา่ ฝนื หรอื ไมป่ ฏบิ ตั ติ ามมาตรฐานทางจรยิ ธรรมตามวรรคหนงึ่ ใหถ้ อื วา่ เปน็ การ
กระทำ� ผดิ วนิ ยั ในกรณที ผ่ี ดู้ ำ� รงตำ� แหนง่ ทางการเมอื งฝา่ ฝนื หรอื ไมป่ ฏบิ ตั ติ ามใหผ้ ตู้ รวจการ
แผน่ ดนิ รายงานตอ่ รฐั สภา คณะรฐั มนตรี หรอื สภาทอ้ งถนิ่ ทเ่ี กย่ี วขอ้ ง แลว้ แตก่ รณี และหาก
เปน็ การกระทำ� ผดิ รา้ ยแรงใหส้ ง่ เรอื่ งใหค้ ณะกรรมการปอ้ งกนั และปราบปรามการทจุ รติ แหง่ ชาติ
พิจารณาดำ� เนนิ การ โดยให้ถือเป็นเหตุท่จี ะถกู ถอดถอนจากต�ำแหน่งตามมาตรา ๒๗๐
การพจิ ารณา สรรหา กลนั่ กรอง หรอื แตง่ ตงั้ บคุ คลใด เขา้ สตู่ ำ� แหนง่ ทม่ี สี ว่ นเกยี่ วขอ้ ง
ในการใชอ้ ำ� นาจรฐั รวมทง้ั การโยกยา้ ย การเลอื่ นตำ� แหนง่ การเลอื่ นเงนิ เดอื น และการลงโทษ
บคุ คลนน้ั จะตอ้ งเปน็ ไปตามระบบคณุ ธรรมและคำ� นงึ ถงึ พฤตกิ รรมทางจรยิ ธรรมของบคุ คล
ดังกล่าวด้วย”
มาตรา ๒๘๐ “เพ่ือประโยชน์ในการด�ำเนินการตามหมวดน้ใี ห้ผูต้ รวจการแผน่ ดนิ
มีอ�ำนาจหน้าท่ีเสนอแนะหรือให้ค�ำแนะน�ำในการจัดท�ำหรือปรับปรุงประมวลจริยธรรม
ตามมาตรา ๒๗๙ วรรคหนงึ่ และส่งเสรมิ ใหผ้ ูด้ ำ� รงต�ำแหน่งทางการเมอื ง ขา้ ราชการ และ
เจา้ หนา้ ทข่ี องรฐั มจี ติ สำ� นกึ ในดา้ นจรยิ ธรรม รวมทง้ั มหี นา้ ทร่ี ายงานการกระทำ� ทม่ี กี ารฝา่ ฝนื
ประมวลจริยธรรมเพื่อให้ผู้ท่ีรับผิดชอบในการบังคับการให้เป็นไปตามประมวลจริยธรรม
ดำ� เนนิ การบงั คบั ให้เปน็ ไปตามประมวลจรยิ ธรรมตามมาตรา ๒๗๙ วรรคสาม
ในกรณีท่ีการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมมีลักษณะร้ายแรง
หรือมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าการด�ำเนินการของผู้รับผิดชอบจะไม่เป็นไปด้วยความเป็นธรรม
ผ้ตู รวจการแผน่ ดนิ จะไต่สวนและเปดิ เผยผลการไต่สวนต่อสาธารณะก็ได”้
จากบทบญั ญตั ดิ งั กลา่ ว ผตู้ รวจการแผน่ ดนิ มภี ารกจิ หลกั ในการดำ� เนนิ การเกย่ี วกบั
จรยิ ธรรมของผดู้ ำ� รงตำ� แหนง่ ทางการเมอื ง ขา้ ราชการและเจา้ หนา้ ทข่ี องรฐั ใน ๓ มติ ิ สำ� คญั
คอื การขอ้ เสนอแนะหรอื ใหค้ ำ� แนะนำ� เพอ่ื ใหห้ นว่ ยงานของรฐั ทกุ ประเภท จดั ทำ� มาตรฐาน
ทางจรยิ ธรรมหรอื ปรบั ปรงุ จรยิ ธรรมของผดู้ ำ� รงตำ� แหนง่ ทางการเมอื งและเจา้ หนา้ ทขี่ องรฐั
ในแตล่ ะประเภท โดยการดำ� เนินการท่ีผา่ นมา เมื่อหนว่ ยงานจดั ท�ำมาตรฐานทางจรยิ ธรรม
เสร็จสมบูรณ์แล้ว จะจัดส่งเป็นประมวลจริยธรรมมายังส�ำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน
ซง่ึ เปน็ ศนู ยก์ ลางในการรวบรวมขอ้ มลู ประมวลจรยิ ธรรมของประเทศ จดั ทำ� เปน็ ฐานขอ้ มลู

ผตู้ รวจการแผน่ ดนิ 43

เพอ่ื การศกึ ษาและใชใ้ นการไตส่ วนและการตรวจสอบ กรณกี ารฝา่ ฝนื หรอื การไมป่ ฏบิ ตั ติ าม
มาตรฐานทางจรยิ ธรรมด้วย
ภารกิจด้านจริยธรรมของผู้ด�ำรงต�ำแหน่งทางการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐ
ประการต่อมา คอื การสง่ เสริมใหผ้ ูด้ ำ� รงต�ำแหนง่ ทางการเมือง ขา้ ราชการ และเจ้าหนา้ ท่ี
ของรัฐ มีจิตส�ำนึกในด้านจริยธรรม ซ่ึงผู้ตรวจการแผ่นดินได้เน้นกิจกรรมการส่งเสริม
จรยิ ธรรมกบั ผดู้ ำ� รงตำ� แหนง่ ทางการเมอื งและเจา้ หนา้ ทข่ี องรฐั ในเชงิ รกุ โดยการรว่ มมอื กบั
หนว่ ยงานภาครฐั ตา่ ง ๆ ประชมุ ระดมความคดิ เหน็ เพอ่ื กำ� หนดทศิ ทางในการปลกู ฝงั คณุ ธรรม
จริยธรรมแก่ประชาชนในประเทศ เผยแพร่คุณธรรม จริยธรรมพื้นฐานในสังคมไทย
พรอ้ มทง้ั เผยแพรบ่ ทบาท อำ� นาจหนา้ ทขี่ องผตู้ รวจการแผน่ ดนิ ผา่ นโครงการตา่ ง ๆ ประการ
สุดท้าย ผู้ตรวจการแผ่นดินมีหน้าที่รายงานการกระท�ำที่มีการฝ่าฝืนประมวลจริยธรรม
เพื่อให้ผู้ท่ีรับผิดชอบในการบังคับการให้เป็นไปตามประมวลจริยธรรม ด�ำเนินการบังคับ
ให้เปน็ ไปตามประมวลจริยธรรม
ในกระบวนการไตส่ วน กรณมี กี ารรอ้ งเรยี นวา่ ผดู้ ำ� รงตำ� แหนง่ ทางการเมอื ง ขา้ ราชการ
หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานจริยธรรมตามประมวลจริยธรรม
ผู้ตรวจการแผ่นดินจะด�ำเนินการพิจารณาและสอบสวนหาข้อเท็จจริง ซึ่งในแต่ละกรณี
ผตู้ รวจการแผ่นดนิ ไดก้ ำ� หนดแนวทางการปฏบิ ัติเพอื่ ใหเ้ กดิ ความเป็นธรรมแกก่ รณี ดงั นี้
๑. กรณีที่ผู้ด�ำรงต�ำแหน่งทางการเมืองฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐาน
ทางจริยธรรมตามประมวลจริยธรรมด้วย หากภายหลังจากการสอบสวนแล้ว ปรากฏ
ข้อเท็จจริงว่าการกระท�ำดังกล่าวของผู้ด�ำรงต�ำแหน่งทางการเมืองเป็นการฝ่าฝืนหรือ
ไมป่ ฏบิ ตั ติ ามมาตรฐานทางจรยิ ธรรมของประมวลจรยิ ธรรม ผตู้ รวจการแผน่ ดนิ จะรายงาน
ตอ่ รัฐสภา คณะรฐั มนตรี หรอื สภาทอ้ งถ่ินท่ีเก่ยี วข้อง แลว้ แต่กรณี เพอ่ื ดำ� เนินการบงั คบั ให้
เป็นไปตามประมวลจริยธรรม หากการกระท�ำของผู้ด�ำรงต�ำแหน่งทางการเมืองดังกล่าว
เปน็ การกระทำ� ผดิ รา้ ยแรง ผตู้ รวจการแผน่ ดนิ กจ็ ะสง่ เรอ่ื งดงั กลา่ วใหค้ ณะกรรมการปอ้ งกนั
และปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ พิจารณาด�ำเนินการถอดถอนบุคคลในกรณีดังกล่าว
จากตำ� แหนง่ ตอ่ ไป ๖

๖ ตามนยั มาตรา ๓๗ ของพระราชบัญญตั ปิ ระกอบรัฐธรรมนูญวา่ ด้วยผตู้ รวจการแผ่นดนิ พ.ศ. ๒๕๕๒

44 รายงานประจ�ำปี ๒๕๖๐

๒. กรณีเจ้าหน้าที่ของรัฐฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรม
ตามประมวลจริยธรรม ผู้ตรวจการแผ่นดินจะส่งเร่ืองให้ผู้ท่ีรับผิดชอบในการบังคับการให้
เปน็ ไปตามประมวลจรยิ ธรรม เพอ่ื ดำ� เนนิ การบงั คบั ใหเ้ ปน็ ไปตามประมวลจรยิ ธรรมตอ่ ไป๗
อน่ึง ในกรณีที่ผู้ตรวจการแผ่นดินเห็นว่า การฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐาน
ทางจรยิ ธรรมมลี กั ษณะรา้ ยแรง หรอื มเี หตอุ นั ควรเชอ่ื ไดว้ า่ การดำ� เนนิ การของผทู้ ร่ี บั ผดิ ชอบ
จะไม่เป็นไปด้วยความเป็นธรรม ผู้ตรวจการแผ่นดินอาจด�ำเนินการไต่สวนและเปิดเผย
ผลการไต่สวนนน้ั ตอ่ สาธารณะกไ็ ด๘้
ผตู้ รวจการแผน่ ดนิ ไดด้ ำ� เนนิ ภารกจิ ดา้ นการสอบสวนหาขอ้ เทจ็ จรงิ ตามคำ� รอ้ งเรยี น
ท่ีปรากฏลักษณะการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมของผู้ด�ำรงต�ำแหน่ง
ทางการเมอื ง และเจา้ หนา้ ทีข่ องรัฐ และภารกจิ ด้านการเสนอแนะหรือใหค้ �ำแนะน�ำในการ
จัดท�ำหรือปรับปรุงประมวลจริยธรรมของผู้ด�ำรงต�ำแหน่งทางการเมืองและเจ้าหน้าที่
ของรัฐแต่ละประเภท ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดิน
พ.ศ. ๒๕๕๒ จนกระท่ังรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจกั รไทย พทุ ธศักราช ๒๕๖๐ ได้มกี าร
ประกาศใช้เมือ่ วนั ท่ี ๖ เมษายน ๒๕๖๐ และมไิ ดบ้ ัญญัติใหห้ นา้ ทีแ่ ละอ�ำนาจแก่ผู้ตรวจการ
แผ่นดินในการด�ำเนินการด้านจริยธรรมของผู้ด�ำรงต�ำแหน่งทางการเมืองและเจ้าหน้าท่ี
ของรฐั อีกต่อไป อนึง่ แม้รัฐธรรมนูญแหง่ ราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ จะมิไดม้ ี
บทบัญญัติให้หน้าท่ีและอ�ำนาจแก่ผู้ตรวจการแผ่นดินในประเด็นดังกล่าว แต่ด้วย
ประสบการณก์ ารดำ� เนนิ งานดา้ นการตรวจสอบจรยิ ธรรมของผดู้ ำ� รงตำ� แหนง่ ทางการเมอื ง
และเจา้ หนา้ ทขี่ องรฐั แตล่ ะประเภท ทผ่ี ตู้ รวจการแผน่ ดนิ และสำ� นกั งานผตู้ รวจการแผน่ ดนิ
ได้สั่งสมมายาวนานกว่า ๑๐ ปี ย่อมเป็นประสบการณ์ที่มีประโยชน์และมีคุณค่าท่ีจะได้
นำ� มาชว่ ยเหลอื สนบั สนนุ และประสานงานขอ้ มลู ดา้ นจรยิ ธรรม เพอื่ สานตอ่ การดำ� เนนิ การ
ดา้ นจริยธรรมรว่ มกบั องคก์ รต่าง ๆ และภาคสว่ นท่เี กยี่ วขอ้ งตอ่ ไป

๗ มาตรา ๓๘ ของพระราชบญั ญัติประกอบรัฐธรรมนูญวา่ ด้วยผตู้ รวจการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๕๒
๘ มาตรา ๓๙ ของพระราชบัญญตั ปิ ระกอบรัฐธรรมนูญวา่ ด้วยผตู้ รวจการแผ่นดนิ พ.ศ. ๒๕๕๒

ผู้ตรวจการแผ่นดิน 45

การติดตาม ประเมินผล และจัดท�ำข้อเสนอแนะในการปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ
แหง่ ราชอาณาจกั รไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐

ภารกิจด้านการติดตาม ประเมินผลและจัดท�ำข้อเสนอแนะในการปฏิบัติตาม
รฐั ธรรมนญู แหง่ ราชอาณาจกั รไทย พทุ ธศกั ราช ๒๕๕๐ ตามทรี่ ฐั ธรรมนญู แหง่ ราชอาณาจกั รไทย
พทุ ธศกั ราช ๒๕๕๐ ไดส้ น้ิ สดุ ลงตามประกาศคณะรกั ษาความสงบแหง่ ชาติ ฉบบั ท่ี ๕/๒๕๕๗
ต่อมา ได้มีประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับท่ี ๑๑/๒๕๕๗ เร่ือง การส้ินสุด
รัฐธรรมนญู แหง่ ราชอาณาจักรไทย เพ่อื ความสงบเรยี บรอ้ ยในการปกครองประเทศ จงึ ให้
ยกเลกิ การประกาศคณะรกั ษาความสงบแหง่ ชาติ ฉบบั ท่ี ๕/๒๕๕๗ ลงวนั ที่ ๒๒ พฤษภาคม
๒๕๕๗ เรอื่ ง การสน้ิ สดุ ชว่ั คราวของรฐั ธรรมนญู แหง่ ราชอาณาจกั รไทย และไดม้ บี ทบญั ญตั ิ
ให้องค์กรอิสระ และองค์กรอื่น ตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. ๒๕๕๐ ยังคงปฏิบัติหน้าท่ีต่อไป
ผู้ตรวจการแผ่นดินจึงยังคงปฏิบัติหน้าที่ด้านการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติตาม
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ ตามมาตรา ๔๐ ๔๑ และ ๔๒
แห่งพระราชบญั ญัติประกอบรฐั ธรรมนญู ว่าด้วยผ้ตู รวจการแผน่ ดนิ พ.ศ. ๒๕๕๒ และตาม
พระราชบญั ญัตปิ ระกอบรัฐธรรมนญู วา่ ด้วยผูต้ รวจการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๕๒ กำ� หนดต่อไป
ตามประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับท่ี ๑๑/๒๕๕๗ อย่างไรก็ตาม ผู้ตรวจการ
แผ่นดินได้มีการประสานงานและช้ีแจงท�ำความเข้าใจกับหน่วยงานท่ีเกี่ยวข้อง ว่าแม้
รฐั ธรรมนญู จะสน้ิ สดุ ลงแลว้ แตพ่ ระราชบญั ญตั ปิ ระกอบรฐั ธรรมนญู วา่ ดว้ ยผตู้ รวจการแผน่ ดนิ
พ.ศ. ๒๕๕๒ ยังมีผลบงั คบั ใชต้ ่อไป
ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๐ ผู้ตรวจการแผ่นดินได้ด�ำเนินการดา้ นการติดตาม
ประเมินผลการปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ และ
เตรยี มความพรอ้ มในการดำ� เนนิ การของผตู้ รวจการแผน่ ดนิ เพอ่ื รองรบั ภารกจิ ตามรฐั ธรรมนญู
แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ มาตรา ๒๓๐ (๓) ท่บี ญั ญตั ิให้ผตู้ รวจการแผน่ ดนิ
มีหน้าที่และอ�ำนาจในการเสนอต่อคณะรัฐมนตรีให้ทราบถึงการท่ีหน่วยงานของรัฐยังมิได้
ปฏิบัติให้ถกู ตอ้ งครบถ้วนตามหมวด ๕ หนา้ ท่ีของรฐั โดยได้มกี ารวิเคราะหบ์ ทบญั ญัติของ
รัฐธรรมนูญ หมวด ๕ หนา้ ทข่ี องรัฐ จ�ำนวน ๑๓ มาตรา ต้ังแต่มาตรา ๕๑ ถึง มาตรา ๖๓

46 รายงานประจำ� ปี ๒๕๖๐

ก�ำหนดประเดน็ หลกั ทส่ี �ำคญั ได้ จ�ำนวน ๑๒ ประเด็น เพื่อใชเ้ ป็นกรอบและแนวทางในการ
ปฏบิ ตั งิ านและเนน้ การทำ� งานเชงิ รกุ และการแกไ้ ขปญั หาเชงิ ระบบอยา่ งเปน็ รปู ธรรมเพอ่ื ให้
เกดิ ประโยชนต์ อ่ ประชาชนและสงั คมในวงกวา้ ง ซงึ่ ในปงี บประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๐ ผตู้ รวจการ
แผ่นดินได้ด�ำเนินการรวมรวบข้อมูลจากหน่วยงานต่าง ๆ แล้วน�ำข้อมูลมาวิเคราะห์ว่า
การด�ำเนินการดังกล่าวก่อให้เกิดผลดีผลเสียต่อส่วนรวมอย่างไร ในปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๐ ซ่ึงในปีงบประมาณนี้ผู้ตรวจการแผ่นดินได้หยิบยกปัญหาความเดือนร้อน
ของประชาชน โดยได้ด�ำเนินโครงการจัดท�ำข้อเสนอแนะในการป้องกันและลดอุบัติเหตุ
ทางถนนอยา่ งมปี ระสทิ ธภิ าพ และไดด้ ำ� เนนิ การจดั ทำ� รา่ งพระราชบญั ญตั คิ มุ้ ครองผใู้ หข้ อ้ มลู
ทีเ่ ป็นประโยชนต์ ่อการตรวจสอบและการด�ำเนินคดี พ.ศ. ....
นอกจากน้ี ยังได้ด�ำเนินการสรุปผลการด�ำเนินงานด้านการติดตามประเมินผล
การปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญในภาพรวมต้ังแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ - ๒๕๕๙
โดยเป็นการสรุปผลการศึกษาวิจัยที่มีผลกระทบต่อประโยชน์สาธารณะและได้จัดท�ำ
ข้อเสนอแนะและแนวทางการแก้ไขปัญหา พร้อมท้ังรายงานผลการศึกษาวิจัยต่อ
คณะรฐั มนตรแี ละเปดิ เผยผลการวจิ ยั ตอ่ สาธารณะทราบ ตวั อยา่ งเชน่ การสรปุ ผลการศกึ ษา
และจัดท�ำนโยบายการผังเมืองและการใช้ประโยชน์ในท่ีดินของประเทศ และสรุปผล
การศกึ ษาเพอ่ื ปฏริ ปู การศกึ ษาชาตทิ ้งั ระบบ เป็นต้น

ผตู้ รวจการแผน่ ดนิ 47

ส�ำนักงานผู้ตรวจการแผน่ ดนิ

ผู้ตรวจการแผ่นดินมีส�ำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินท�ำหน้าท่ีเก่ียวกับกิจการทั่วไป
ของผตู้ รวจการแผน่ ดินและมอี �ำนาจหน้าทดี่ งั ต่อไปน๙ี้

๑. รบั ผดิ ชอบงานธรุ การของผ้ตู รวจการแผน่ ดนิ

๒. ศึกษา รวบรวม วิเคราะห์ข้อมูลและสนับสนุนให้มีการวิจัยเก่ียวกับงานของ
ผูต้ รวจการแผ่นดิน

๓. เผยแพร่วิชาการ ให้ความรู้และการศึกษาแก่ประชาชนเก่ียวกับสิทธิท่ีจะ
ร้องเรียนตามกฎหมาย อ�ำนาจหน้าท่ีของผู้ตรวจการแผ่นดินและประมวลจริยธรรมของ
ผดู้ ำ� รงตำ� แหนง่ ทางการเมือง ขา้ ราชการและเจา้ หนา้ ทีข่ องรัฐ

๔. ประสานงานกบั หนว่ ยราชการ หนว่ ยงานของรฐั รฐั วสิ าหกจิ ราชการสว่ นทอ้ งถนิ่
องคก์ รอืน่ และประชาชนเกี่ยวกับการด�ำเนินการตามอำ� นาจหน้าที่ของผ้ตู รวจการแผน่ ดิน

๕. ปฏิบัตงิ านอ่ืนตามทผี่ ู้ตรวจการแผน่ ดนิ มอบหมาย

ปจั จบุ นั สำ� นักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน มีผู้บรหิ ารส�ำนกั งานผูต้ รวจการแผน่ ดิน ดังนี้

๑. นายรักษเกชา แฉฉ่ าย ตำ� แหนง่ เลขาธิการส�ำนักงานผู้ตรวจการแผน่ ดิน
๒. นายสงัด ปัถวี ตำ� แหน่ง รองเลขาธิการสำ� นักงานผูต้ รวจการแผ่นดนิ
๓. นายธาวนิ อินทรจ์ ำ� นงค ์ ตำ� แหนง่ รองเลขาธิการสำ� นกั งานผ้ตู รวจการแผ่นดิน
๔. นางสาวจงดี หมายดี ตำ� แหน่ง รองเลขาธิการสำ� นักงานผตู้ รวจการแผ่นดนิ

๙ มาตรา ๕ พระราชบญั ญัติส�ำนกั งานผูต้ รวจการแผ่นดนิ พ.ศ. ๒๕๕๒

48 รายงานประจำ� ปี ๒๕๖๐

นายรักษเกชา แฉ่ฉาย

เลขาธกิ ารส�ำนกั งานผูต้ รวจการแผน่ ดิน

นายสงัด ปถั วี นายธาวิน อนิ ทรจ์ �ำนงค์ นางสาวจงดี หมายดี

รองเลขาธกิ าร รองเลขาธิการ รองเลขาธิการ

ส�ำนกั งานผตู้ รวจการแผ่นดิน สำ� นักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน ส�ำนกั งานผ้ตู รวจการแผน่ ดิน

ผ้ตู รวจการแผ่นดนิ 49

โดยมีผู้อ�ำนวยการส�ำนักต่าง ๆ ก�ำกับดูแลกิจการภายในส�ำนักตามหน้าที่ท่ีได้
รบั ผดิ ชอบในแตล่ ะสว่ นงาน มอี ำ� นาจหนา้ ทข่ี องสว่ นงานภายในสำ� นกั งานผตู้ รวจการแผน่ ดนิ
ตามประกาศผตู้ รวจการแผน่ ดนิ เรอ่ื ง การจดั แบง่ ส่วนงานและขอบเขตหน้าท่ขี องสว่ นงาน
ในส�ำนกั งานผู้ตรวจการแผน่ ดิน พ.ศ. ๒๕๕๖ ประกาศ ณ วันที่ ๑ มนี าคม ๒๕๕๖ และ
ประกาศลงในราชกิจจานุเบกษา เล่มท่ี ๑๓๐ ตอนท่ี ๒๒ ก หนา้ ๓ - ๑๑ มดี ังนี้
ส�ำนักสอบสวน ๑
มีหน้าท่ีด�ำเนินการเก่ียวกับการพิจารณาและสอบสวนหาข้อเท็จจริงเก่ียวกับ
เรื่องท่ีร้องเรียน รวบรวมและตรวจสอบพยานหลักฐานท่ีเก่ียวข้อง รวมถึงจัดท�ำรายงาน
ผลการพิจารณาและสอบสวนเร่ืองที่ร้องเรียน พร้อมความเห็นและข้อเสนอแนะเพ่ือให้
ผตู้ รวจการแผน่ ดนิ พจิ ารณาวนิ จิ ฉยั ประสานงานและดำ� เนนิ การตามกฎหมายและระเบยี บ
ท่ีเก่ียวกับการพิจารณาและสอบสวนหาข้อเท็จจริง ติดตามและรายงานผลการติดตาม
การปฏบิ ตั ติ ามคำ� วนิ จิ ฉยั ของผตู้ รวจการแผน่ ดนิ ในความรบั ผดิ ชอบ ปฏบิ ตั งิ านรว่ มกบั หรอื
สนับสนุนการปฏิบัติงานของสว่ นงานอืน่ ท่ีเกย่ี วขอ้ ง หรอื ตามที่ได้รับมอบหมาย หนว่ ยงาน
ในความรบั ผดิ ชอบของส�ำนักสอบสวน ๑ มดี ังนี้
(๑) การบริหารราชการส่วนกลางและรัฐวิสาหกิจหรือองค์การมหาชนในสังกัด
(กลุ่มกระทรวงด้านเศรษฐกิจ) ประกอบด้วย กระทรวงการคลัง กระทรวงการท่องเที่ยว
และกีฬา กระทรวงคมนาคม กระทรวงดิจิทัลเพ่ือเศรษฐกิจและสังคม กระทรวงพลังงาน
กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงวทิ ยาศาสตร์และเทคโนโลยี และกระทรวงอุตสาหกรรม
(๒) การบริหารราชการในเขตพื้นท่ีจังหวัด ๒๖ จังหวัด ประกอบด้วย ชัยนาท
นนทบุรี ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี สมุทรปราการ สระบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง
เชียงราย เชียงใหม่ น่าน พะเยา แพร่ แม่ฮ่องสอน ล�ำปาง ล�ำพูน ก�ำแพงเพชร ตาก
นครสวรรค์ พจิ ติ ร พิษณุโลก เพชรบรู ณ์ สุโขทัย อตุ รดติ ถ์ และอทุ ัยธานี

50 รายงานประจ�ำปี ๒๕๖๐


Click to View FlipBook Version