The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by fineartbuu, 2021-06-11 04:10:23

IADCE 2021 Exhibition Book22

IADCE 2021 Exhibition Book22

PHATTARAPORN LEANPANIT / The 3rd IADCE 2021, 21-28 May 2021 / 185

5. สรปุ (Conclusion)
1. ผลท่ีได้จาการสร้างสรรค์ สามารถนำไปพัฒนาการสร้างสรรค์ศิลปะร่วมสมัย โดยเทคนิคสีน้ำ และ

เทคนิคอืน่ ๆ ท่ใี ชน้ ้ำในการสรา้ งสรรค์ และสามารถเผยแพร่ให้ผ้สู นใจตอ่ ไป
2. สามารถสร้างสรรค์ เอกลักษณ์ของสีน้ำออกมาให้เกิดเป็นสุนทรียภาพ จากอารมณ์ความรู้สึก

ออกมาเป็นภาษาภาพได้

เอกสารอ้างองิ (References)
ชลูด น่ิมเสมอ. (2557). องค์ประกอบของศิลปะ. พมิ พค์ รง้ั ที่ 9. กรงุ เทพฯ: สำนักพิมพ์อัมรนิ ทร์.
ชัยยศ อิษฎ์วรพันธ.์ุ (2551). วารสารอาษา.
สุภางค์ จันทวานิช. (2551). ทฤษฎีสงั คมวิทยา. กรงุ เทพฯ: สำนกั พิมพแ์ หง่ จุฬาลงกรณม์ หาวิทยาลยั .
ประภาส ชลศรานนท์. (2555). ยักษ์. กรงุ เทพฯ: สำนกั พิมพ์ฟูลสต๊อป.

PHATTARAPORN LEANPANIT / The 3rd IADCE 2021, 21-28 May 2021 / 186

PIYANGKOON TANVICHIEN (THAI)
The symbol of faith 3
Collagraph & Cyanotype, 44 x 66 cm

IADCE2021
http://www.fineartbuu.org

The 3rd International Art & Design Collaborative Exhibition 2021
Arts Gallery, Faculty of Fine and Applied Arts, Burapha University, Chonburi, Thailand

21-28 May 2021

THE SYMBOL OF FAITH 3

สญั ญะใหมแ่ ห่งความเช่อื 3

ปยิ ังกูร ตนั วิเชยี ร*

PIYANGKOON TANVICHIEN**

คณะมนุษยศาสตรแ์ ละสงั คมศาสตร์ มหาวิทยาลยั ราชภฏั วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถมั ภ์ ปทมุ ธานี 13180***

[email protected]

บทคดั ยอ่

การสร้างสรรค์ผลงาน “สัญญะใหม่แห่งความเชื่อ 3” ผู้สร้างสรรค์ต้องการสะท้อนให้เห็นถึงการ
เปล่ียนแปลงความเช่ือของสงั คมไทยทยี่ ังดำรงอยู่ในปัจจบุ ันท่ีเกิดการยอมรบั ทผี่ ่านการพจิ ารณา ไตร่ตรองจาก
บคุ คลหรือกลุ่มคนท่เี ช่ือว่าสามารถสรา้ งปรากฏการณ์บางอย่างอนั เหนือธรรมชาติที่เรียกว่า “ปาฏิหาริย์” โดย
นำมาตีความใหม่ภายใต้จินตาการตามหลักสุนทรียภาพ ผู้สร้างสรรค์ได้นำรูปเคารพหรือศิลปวัตถุนำมาสร้าง
สัญลักษณ์ใหม่ โดยนำเสนอผลงานภาพพิมพ์เทคนิคผสมระหว่างการอัดภาพไซยาโนไทป์ (Cyanotype) และ
ภาพพิมพ์วัสดุปะติด (Cyanotype) โดยมีจุดประสงค์ผลิตผลงานสร้างสรรค์ให้เกิดจากองค์ความรู้เพื่อนำไปสู่
การพฒั นาเทคนคิ ทางศิลปะภาพพิมพ์

คำสำคัญ: ไซยาโนไทป์, คตคิ วามเชื่อ, สตั ว์หิมพานต์

Abstract

The creator wants to reflect the change of belief in Thai society that still occupy in
the present time, which is accepted and has been considered from the person or the group
of people who believe it could create some supernatural phenomenon that called “miracle”.
To do that, the creator uses the sacred sculpture or art object to create a symbol by Thai
people’s belief combine with the creator's imagination. Presented the printmaking with mix-
technic between cyanotype and intaglio printing. The purpose is to create the art work from
knowledge that lead to printmaking technique development.

Keywords: Cyanotype, Belief, Himmapan creatures

*อาจารย์
**Lecturer
***Faculty of Humanities and Social Sciences, Valaya Alongkorn Rajabhat University under the Royal Patronage, Thailand.

PIYANGKOON TANVICHIEN / The 3rd IADCE 2021, 21-28 May 2021 / 189

1. ความสำคัญหรือความเป็นมาของปญั หา (The Importance or Problem’s Background)

ในอดีตกาลนับตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ มนุษย์รู้จักการวาดภาพโดยใช้วัสดุจากธรรมชาติอย่างสีที่ได้
จากดินและพืช หรือการสร้างพู่กันอย่างง่ายด้วยวัสดุจากก้านอ้อโดยนำมาทุบส่วนปลายให้มีลักษณะคล้ายเส้นขน
เพื่อใช้สำหรับวาดภาพ จากข้อสันนิฐานของนักโบราณคดีพบว่า ผู้สร้างสรรค์ได้พยายามบอกเล่าประสบการณ์ผ่าน
เน้ือหาวถิ ชี ีวติ ความเป็นอยูข่ องคนสมัยน้นั เราจะเห็นไดว้ ่าภาพวาดเหล่านีไ้ ด้ปรากฏบริเวณผนังและเพดานถ้ำต่าง ๆ
อย่าง ถ้ำ Lascaux ในประเทศฝรั่งเศส หรือถ้ำ Altamira ที่ประเทศสเปน นักโบราณคดีได้ตีความ วิเคราะห์เหตุผล
ของการสร้างสรรค์จากภาษาภาพที่พวกเขาเหล่านั้นเขียนขึ้น โดย ศาสตราจารย์ Ernst Gombrich นักเขียนและ
อาจารยด์ ้านศิลปะชาวอังกฤษ ไดส้ นั นฐิ านเหตุผลของเหล่าชนเผ่าท่ีวาดผนังถ้ำในสมัยน้ันว่า มคี ติความเช่ือของการ
นำไปใช้มากกว่าการประดับตกแต่งภายในถ้ำเพียงเพื่อความสวยงาม กล่าวคือพวกเขาคิดว่าการวาดภาพสัตว์อย่าง
ม้า วัวไบซัน หรือกวางเรีนเดียร์ที่พวกเขาล่านั้น ถ้านำของมีคมอย่างหอกหรือมีด นำมากรีด ทุบตีลงบนภาพสัตว์
อาจทำให้พวกเขาสามารถทำเช่นนั้นกับสัตว์จริง ๆ ได้ หรือในสมัยสุดท้ายของชาวแอ็ซแทค (Aztec Empire)
นักวิชาการค้นพบรูปปั้นในแม็กซิโก มีอายุราวศตวรรษที่ 14 – 15 เป็นรูปปั้นเทพแห่งฝน นามว่า Tlaloc ซึ่งพื้นที่
ในสมัยนน้ั เป็นเขตโซนร้อนฝน ชาวบ้าวนคิดว่าหากปราศจากฝนพืชผลจะไมเ่ ติบโตและผู้คนจะอดตาย ด้วยเหตุน้ีจึง
สร้างเทพเจ้าแห่งสายฝนที่มีรูปลักษณ์เหมือนปีศาจดูยิ่งใหญ่และน่าเกรงขาม โดยการประกอบรูปทรงงูหางกระด่ิง
ซึ่งชาวบ้านในสมัยนั้นจิตนาการว่ามีรูปทรงคล้ายสายฟ้า นำไปสู่การบูชาเทพเจ้าแห่งสายฝนเพื่อให้นำความอุดม
สมบูรณ์มาแก่พวกเขา เราจะเห็นว่างานศิลปกรรมในอดีตล้วนมีจุดเริ่มต้นจากความเชื่อภายใต้การจิตนาการของ
มนุษย์ ถึงแม้ว่าการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะโดยส่วนใหญ่ในอดีตได้ถูกกำหนดไปในทิศทางที่คล้ายกัน กล่าวคือเพ่ือ
การนำไปใช้มากกว่าการประดับตกแต่ง แต่ภายใต้เหตุผลหรือจุดประสงค์เหล่านั้นได้แฝงความงามทางสุนทรียภาพ
ในตวั ของมนั

ในสังคมไทยคติความเช่ือมีอิทธิพลมาอยา่ งยาวนาน นับตั้งแต่คนไทยโบราณมีการนับถือผีก่อนท่ีพุทธ
ศาสนาจะเข้ามาเผยแพร่ ความเชื่อเรื่องจิตวิญาณ และผีบรรพบุรุษของแต่ละชนเผ่า โดยเชื่อว่าพวกเขาได้รับ
การปกป้องจากสิง่ ล้ีลับเหนอื ธรรมชาติ เราจะเหน็ ได้วา่ การเคารพนับถือบางส่ิงอาจเกดิ ขนึ้ จากการประดิษฐ์ของ
มนุษยห์ รอื เกิดขน้ึ ตามธรรมชาติ เพอ่ื นำไปบชู าใหเ้ กดิ การหวงั ผล เกดิ โชคลาภแก่บคุ คลนน้ั อย่างเช่นรูปป้ันสัตว์
มงคลชนิดต่าง ๆ หรือต้นไม้ที่มีรูปร่างผิดปกติ ถึงแม้ปัจจุบันการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมและการพิสูจน์
ข้อเทจ็ จริงตามหลักวิทยาศาสตร์นัน้ จะเขา้ มามีอิทธิพลในสังคม แตค่ วามเชือ่ และความศรัทธาของคนไทยยังคง
มีอยแู่ ละฝังลกึ จนถงึ ปัจจบุ ัน

PIYANGKOON TANVICHIEN / The 3rd IADCE 2021, 21-28 May 2021 / 190

2.แนวคิด / ทฤษฎที เ่ี ก่ียวข้อง (Concept / Related Theories)
ผลงานสร้างสรรค์ “สัญญะใหม่แห่งความเชื่อ 3” ได้รับแรงบันดาลใจจากแนวคิดของความเชื่อใน

สังคมไทยท่ีแสดงออกอย่างเป็นรปู ธรรมดงั นี้

กรอบแนวคิดในการสรา้ งสรรค์

ขอ้ มลู ด้านเนือ้ หา ข้อมลู การสรา้ งสรรค์

1. วัตถมุ งคล รปู เคารพ 1. การบันทกึ ภาพจากสถานท่ีที่ไดร้ ับความนยิ ม
นำรูปป้ันสตั วไ์ ปถวาย
2. รูปร่าง ลักษณะ และรูปทรง เรอื่ งราวของ
สตั ว์หมิ พานต์ 2. ศึกษารูปผลงานศลิ ปนิ

3. องค์ประกอบศลิ ป์ การใช้ทัศนธาตุ หลัก 3. นำขอ้ มลู ที่ได้นำมาวิเคราะหส์ รา้ งภาพรา่ ง
สนุ ทรียภาพ ตน้ แบบและผลติ ผลงานสร้างสรรค์

3.กระบวนการในการสร้างสรรค์ (Creative Process)
3.1 สร้างสรรค์ผลงานด้วยกระบวนการอัดภาพภาพไซยาโนไทป์ (Cyanotype) โดยตัดทอนรูปทรง

ของสัตว์ที่มนุษยต์ ีความว่าให้โชคลาภตามความเชอื่ สงั คมไทย

ภาพที่ 1 กระบวนการอัดภาพไซยาโนไทป์

3.2 สร้างกระบวนการแม่พิมพ์ร่องลึก (Intaglio Printing) ด้วยเทคนิคภาพพิมพ์วัสดุ (Collagraph)
เพื่อให้เกิด เสน้ จุด น้ำหนกั และพ้นื ผิว แล้วนำไปเขา้ กระบวนการพิมพ์ด้วยแท่นพิมพ์ร่องลกึ (Intaglio press)

PIYANGKOON TANVICHIEN / The 3rd IADCE 2021, 21-28 May 2021 / 191

ภาพที่ 2 ขัน้ ตอนการสร้างพ้นื ผวิ บนแม่พิมพ์

ภาพท่ี 3 กระบวนการอดุ หมึกและการพมิ พ์ด้วยแท่นพิมพร์ ่องลึก

ภาพที่ 4 ผลงานสร้างสรรค์ “สัญญะใหมแ่ หง่ ความเชื่อ 3”, ขนาด 44 x 66 เซนตเิ มตร,
ภาพพิมพ์วัสดุปะตดิ และไซยาโนไทป์

PIYANGKOON TANVICHIEN / The 3rd IADCE 2021, 21-28 May 2021 / 192

4. การวิเคราะหผ์ ลงาน (Results Analysis)

ผลงานสร้างสรรค์ “สัญญะใหม่แห่งความเชื่อ 3” เป็นการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะภาพพิมพ์ใน
ลักษณะสื่อผสม เพื่อการพัฒนาเทคนิคศิลปะภาพพิมพ์ ด้วยการผสมผสานระหว่างศิลปะภาพพิมพ์วัสดุปะตดิ
(Collagraph) และกระบวนการอัดภาพไซยาโนไทป์ (Cyanotype) ซึ่งเป็นกระบวนการอัดภาพแบบสีเอกรงค์
นำมาสร้างรูปทรงของสัตว์ที่ถูกกำหนดให้เป็นวัตถุมงคลหรือนิยมนำไปสัการะบูชา ด้วยกระบวนการอัดภาพ
ไซยาโนไทป์ในลักษณะเรือนรางโดยยังคงสภาพของรูปทรงไว้ ความไม่ชัดเจนของรูปทรงได้เติมเต็มด้วยการ
เพิ่มเติมทัศนธาตุได้แก่ พื้นผิวที่แสดงความขรุขระจากวัสดุ ลวดลายของเส้นที่อิสระ สีที่นำมาใช้มีความ
ใกล้เคียงกับสีเอกรงค์เพื่อให้เกิดความเป็นเอกภาพ และค่าน้ำหนักที่เข้าไปทดแทนรายละเอียดที่ขาดหายไป
ท้ังน้ีเพือ่ ให้ผลงานมีความหนักแน่นช่วยสร้างความสมบูรณม์ ากยิง่ ขน้ึ

ด้านรูปแบบผู้สร้างสรรค์ได้นำรูปทรงของสัตว์ที่นิยมนำมาแทนสิ่งศักดิ์สิทธิ์ตามคติความเชื่อของคน
ไทย นำมาเพิ่มลด ตัดทอน ให้มีลักษณะที่ดูแปลกตาให้ความรู้สึกพิเศษราวกับว่าเป็นสิ่งมีชีวิตเหนือจริง
สามารถถ่ายทอดแทนการบอกเล่าด้วยภาษาภาพ อันเกิดจากจินตนาการด้วยสัญญะใหม่ภายใต้การประสาน
ระหวา่ งคตคิ วามเชื่อและจินตนาการของผสู้ รา้ งสรรค์

5. สรุป (Conclusion)

การสร้างสรรค์ผลงานนับเป็นผลสำเร็จของผู้สร้างสรรค์ที่ได้บรรลุเป้าหมายตามวัตถุประสงค์ ภายใต้
แนวคิดคติความเชื่อของสังคมไทยที่มีผลต่อศิลปวัตถุที่เปลี่ยนไปตามยุคสมัย ภายใต้การตีความใหม่จาก
จินตนาการผู้สร้างสรรค์ อีกทั้งเกิดองค์ความรู้ทางศิลปะภาพพิมพ์จากการบูรณาการระหว่างศิลปะภาพพิมพ์
วสั ดปุ ะตดิ (Collagraph) และกระบวนการอัดภาพไซยาโนไทป์ (Cyanotype)

เอกสารอา้ งอิง (References)

ชลูด นิ่มเสมอ. (2557). องค์ประกอบของศิลปะ. (พิมพค์ ร้งั ที่ 9). กรุงเทพฯ: สำนกั พิมพ์อมั รินทร์พริน้ ติ้งแอนด์พบั ลซิ ช่งิ .
พงศ์เดช ไชยคุตร. (2557). ศิลปะภาพพิมพแ์ ละกระดาษ. (พิมพค์ รั้งที่ 1). เชยี งใหม่: สำนักพมิ พ์สยามพิมพ์นานา.
รตพิ ร ชัยปิยะพร. (2561). ว่าดว้ ยเร่ืองศิลปะ. (พิมพ์คร้งั ที่ 2). กรุงเทพฯ: เดอะเกรทไฟนอ์ าร์ท.
วภิ าวี บริบูรณ.์ (2556). ศิลปะการเขยี นสัตวห์ มิ พานต์. (พมิ พ์ครง้ั ท่ี 1). กรงุ เทพฯ: สำนกั พิมพไ์ ทยควอลิตบ้ี คุ๊ ส์
สชุ าติ เถาทอง. (2559). ศิลปวิจยั สรา้ งวชิ าการแบบการปฏิบัตสิ รา้ งสรรค์ศิลปะ. (พมิ พ์คร้ังที่ 1). กรุงเทพฯ:

สำนกั พิมพ์จรัลสนทิ วงศ์การพิมพ.์
สบื สกุล ศรณั พฤฒ.ิ (2556). การทดลองเทคนิคการสรา้ งภาพดว้ ยกระบวนการไซยาโนไทป.์ วารสารศลิ ป์

พีระศรี, 1(1), 19-31.

PORNYOS MANEECHOTPEETI (THAI)
Bound
Digital Painting, 42 x 59.4 cm

IADCE2021
http://www.fineartbuu.org

The 3rd International Art & Design Collaborative Exhibition 2021
Arts Gallery, Faculty of Fine and Applied Arts, Burapha University, Chonburi, Thailand

21-28 May 2021

BOUND

ผูกพนั

พรยศ มณีโชตปิ ีติ*

PORNYOS MANEECHOTPEETI**

คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวทิ ยาลยั ศลิ ปากร กรุงเทพมหานคร***

[email protected]

บทคัดยอ่

ผลงานช้ินนี้ต้องการสะท้อนให้เห็นถึงวิธีชีวิตของคนชนบทที่ต้องเข้ามาทำงานในเมือง ทำให้เกิด
ระยะห่างของครอบครัว แต่ด้วยเทคโนโลยี ทำให้เราสามารถเชือ่ มต่อความผูกพันถึงคนที่อยู่ห่างไกลได้ ภาพท่ี
ใช้ต้องการผสมผสานภาพวาดการ์ตูนสมัยใหม่กับพื้นหลังที่มีลักษณะเป็นงานลงลักษณ์ปิดทอง เพื่อสื่อถึงการ
ปรับเปล่ยี นของยุคสมยั แต่ยงั คงวฒั นธรรมครอบครัวทดี่ งี ามเอาไว้

คำสำคัญ: ครอบครัว เทคโนโลยี ความผูกพัน

Abstract

This work wants to reflect ways of life of rural people who have to come to work in
the city causing a distance of family but with technology It allows us to connect our bond
with people who are far away. The images used want to combine modern cartoon drawings.
Against A background that looks like a Thai gilded work. To reflect the changing of the era,
but still maintain a good family culture.

Keywords: Family Technology Bound

1. ความสำคัญหรือความเป็นมาของปญั หา (The Importance or Problem’s Background)

“ผกู พัน” (Bound) ถูกนำเสนอจากสภาพเศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบนั ที่ทำใหผ้ ู้คนต้องห่างไกลจาก
ครอบครัว เพ่ือย้ายถ่ินฐานเข้ามาทำงานในเมืองหลวงหรือเมืองใหญ่ สภาพครอบครัวไทยที่เคยอยู่ร่วมกันเป็น
ครอบครัวขยาย (Extended Family) จึงต้องแยกออก กลายเป็นครอบครัวเดี่ยว (Nuclear Family) สง่ ผลให้
เกดิ ความหา่ งไกล (Distance) ในความสัมพันธ์ ทั้งทางกายภาพ ระยะทาง และความผกู พัน แตด่ ้วยการพฒั นา
ที่ก้าวไกลของเทคโนโลยี ก่อให้เกิดสิ่งท่ีเรยี กวา่ “ส่ือสังคมออนไลน์” ท่ีสามารถช่วยลดระยะห่างระหว่างคนใน
ครอบครัวได้

*อาจารย์
**Lecturer
*** Faculty of Information and Communication Technology, Silpakorn University, Bangkok, Thailand.

PORNYOS MANEECHOTPEETI / The 3rd IADCE 2021, 21-28 May 2021 / 195

งานลงรักปิดทอง ถือเป็นงานศิลปหัตถกรรมไทยแขนงหน่ึงที่จัดอยู่ในงานช่างสิบหมู่ประเภทช่างรัก
โดยการใช้วัสดุสำคัญ คือ ยางรักที่ได้จากการเจาะยางของต้นรัก หรือต้นน้ำเกล้ียง ทาเคลือบเพ่ือการตกแต่ง
สถาปัตยกรรมไทย ทั้งช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ ซุ้มประตูหน้าต่าง เป็นต้น รวมท้ังทาเคลือบผิวพระพุทธรูปใน
โบสถ์ วหิ าร ศาลาการเปรียญ เพื่อให้มีผิวเรียบตึงเป็นมันวาว แล้วปิดทับด้วยทองคำเปลว มีความวิจติ รเปรียบ
ดังผลงานท่ีถกู สรา้ งด้วยทองคำเปลวจึงเรียกโดยรวมวา่ “งานลงรกั ปิดทอง”

ส่วนงานเขียนลายรดน้ำ ท่ีมีการเขียนลวดลายด้วยน้ำยาหรดาล ลงรัก ปิดทอง รดน้ำ เพ่ือเพ่ิมความ
วจิ ิตรมากยิ่งขึ้นท่ีเรยี กว่า “ลายรดนำ้ ” นน้ั นับเป็นงานช่างประณีตศิลป์ชั้นสูงของไทยเช่นเดยี วกันกับงานลงรัก
ปิดทอง ถือเป็นงานประณีตศิลป์ท่ีเป็นเอกลักษณ์ และมีการสืบทอดเทคนิควิธีการตามแบบอย่างโบราณจนถึง
ปัจจุบัน มีการพัฒนารูปแบบการตกแต่งสิ่งของเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน รวมท้ังใช้ตกแต่งงานเคร่ืองเขินให้มี
ความวิจติ ร และมีคุณค่ามากยิ่งขึน้

จากแนวคิดดังที่กล่าวมา ผู้สร้างสรรค์จึงต้องการสะท้อนความรู้สึกของครอบครัวที่ต้องเผชิญความ
ห่างไกล แต่สามารถเชื่อมต่อกันได้ผ่านสายใยของเทคโนโลยี ด้วยการนำเสนอผลงานผ่านเทคนิค ดิจิทัล เพ้นท์ติ้งที่
มีลายเส้นแบบภาพประกอบ และนำเอกลักษณ์ของความเป็นไทยของการลงรักปิดทองมาผสมผสาน จึงทำให้
เกดิ ผลงานที่ชือ่ ว่า “ผกู พนั ” (Bound)

2. แนวคดิ / ทฤษฎีท่เี ก่ียวข้อง (Concept / Related Theories)
1. ครอบครวั
กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว (2562) ให้นิยามคำว่าครอบครัวไว้ว่า คือ บุคคลต้ังแต่สองคน

ขึน้ ไปที่ใช้ชวี ิตร่วมกันฉันสามีภริยา หรือมีความผูกพันทางสายโลหิต หรือทางกฎหมาย หรือเก่ียวดองเป็นเครือ
ญาติ ซ่ึงสมาชิกในครอบครัวต่างมีบทบาทหน้าท่ีต่อกัน และมีความสัมพันธ์ท่ีเกื้อกูลกัน โดยรูปแบบของ
ครอบครัวในทางมานุษยวิทยา ยศ สันตสมบัติ (2559) กล่าวไว้ว่า ครอบครัวประกอบด้วย 2 รูปแบบใหญ่
ได้แก่ ครอบครัวเดี่ยว (Nuclear Family) และครอบครัวขยาย (Extended Family) ครอบครัวเดี่ยวจะ
ประกอบไปด้วย พ่อแม่และลูก หรือคน 2 รุ่นอยู่อาศัยในครัวเรือนเดียวกัน ในขณะที่ครอบครัวขยายจ ะ
ประกอบดว้ ยคนมากกว่า 2 รนุ่ ข้นึ ไป เชน่ อาจมปี ยู่ า่ ตายาย ลกู และหลานอาศยั อยใู่ นครวั เรอื นเดยี วกัน

แต่ในปัจจุบัน เนื่องจากเหตุผลทางเศรษฐกิจและสังคมจึงทำให้รูปแบบของครอบครัวส่วนใหญ่เป็นไป
ในรูปแบบครอบครัวเด่ียว (Nuclear Family) ท่ีปู่ย่าตายายอาศยั อยู่ในต่างจงั หวัด สว่ นคนรุ่นลูกเข้ามาทำงาน
และสร้างครอบครวั ในเมืองหลวงหรอื เมืองใหญ่ ทำใหเ้ กิดระยะหา่ งทางกายภาพและความสัมพันธ์

ผลงานชิ้นนี้จึงสะท้อนความห่างไกล (Distance) ของระยะทางและวิถีชีวิต โดยแสดงให้เห็นผ่านเครอ่ื งแต่ง
กายทีแ่ ตกต่างกันของคนในครอบครัว และภาพร่างบรรยากาศท่แี ตกต่างกันระหว่างในเมืองและต่างจังหวัด

2. เทคโนโลยสี ่อื ใหมแ่ ละสื่อสังคมออนไลน์ (Technology and social network)
ในปัจจุบันนี้เทคโนโลยีการส่ือสารได้เปล่ียนแปลงพัฒนาไปอย่างมาก อินเตอร์เน็ตได้เข้ามามีบทบาท
ในวิถีชีวิตประจำวันของคนทั่วไป และเนื่องจากความสะดวกในการใช้งาน และเข้าถึง อินเตอร์เน็ตจึงนำพา
โปรแกรม หรือแอพลิเคชั่นต่าง ๆ ที่ก่อให้เกิดแพลทฟอร์มใหม่ ๆ (Platform) ที่ได้รับความนิยม เพราะมีทั้ง
ความสะดวก และความรวดเร็ว ส่ือใหม่โดยเฉพาะส่ือสังคมออนไลน์ท่ีเปิดโอกาสให้ผู้รับและส่งสารได้อย่าง
อสิ ระนัน้ เป็นหน่งึ กรณที ่ีน่าสนใจทเี่ ข้ามามีบทบาทในการส่อื สารระหว่างคนในครอบครวั
สำหรับสื่อใหม่และสื่อสังคมออนไลน์ ในงานของโรเจอร์ (อ้างอิงจาก กาญจนา แก้วเทพ และคณะ, 2553)
โรเจอร์ได้นิยามการสื่อสารใหม่ (New Communication Technologies) หรือ ส่ือใหม่ (New Media) ว่าเป็น

PORNYOS MANEECHOTPEETI / The 3rd IADCE 2021, 21-28 May 2021 / 196

เทคโนโลยีหรือสื่อที่เอื้ออำนวยให้เกิด การแลกเปล่ียนข้อมูลข่าวสารบนฐานของคนจำนวนมาก (many to many
basis) ผา่ นระบบการสื่อสารท่มี ีคอมพวิ เตอร์เป็นศูนย์กลาง (computer-based communication systems)

โดยเอกลักษณ์ท่ีสำคัญเฉพาะของส่ือใหม่ในรูปแบบน้ี คือการเปิดกว้างให้ผู้รับสารสามารถโต้ตอบ
มีปฏิสัมพันธ์ได้อย่างทันที การตอบโต้ได้อย่างทันทีนั้นเป็นการสร้างให้เกิดการมีส่วนร่วม โดยถูกเรียกว่าการมี
ส่วนร่วมแบบเสมือนจริง เช่น การใช้วีดีโอคอล (Video Call) ในการสื่อสารผ่านการเห็นใบหน้าและท่าทาง
พร้อมกับเสยี งของคู่สนทนา หรือการโต้ตอบกนั ดว้ ยขอ้ ความผ่านทางไลน์ (LINE) เป็นตน้

ผลงานชิ้นน้ีจึงหยิบยกการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ เช่น แทปเลต (Tablet) ท่ีถูกนำมาใช้เพื่อช่วยลด
ความห่างไกล (Distance) ของคนในครอบครัว แม้จะไม่ได้ใกล้กันทางกายภาพ แต่เทคโนโลยีก็สามารถสร้าง
ความผูกพนั ให้เกดิ ขึ้นได้ โดยแสดงใหเ้ ห็นผา่ นสญั ญะของ “สายใย” ที่เชื่อมครอบครัวเข้าไว้ด้วยกัน

3. ทฤษฎลี งรกั ปิดทองและการเขยี นลายรดนำ้
ศูนยส์ ่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (2562) ได้อธิบายรูปแบบงานลงรักปิดทองวา่ เป็นภมู ิปัญญาท่ี
สะท้อนทักษะเชิงช่างการลงรักปิดทองลง บนวัสดุ มีวิธีการและเทคนิคจำเพาะ ตัวอย่างเช่น งานลงรัก
ปิดทองล่องชาด คือการลงรักปิดทองลงบนลวดลายท่ีเกิดจากการป้ัน แกะสลัก ให้เกิดเป็นลายนูนขึ้น และมี
ร่องลึกเปน็ พ้ืนหลัง ชา่ งรักจะลงรักปดิ ทองลวดลายสว่ นท่ีนูนสูงขึน้ แลว้ ทาสีแดงลงในร่องลึกเพอ่ื ให้เป็นพื้นหลัง
ของลวดลาย สีแดงท่ีใช้ทาน้ัน สมัยโบราณช่างจะใช้ชาด หรือหางผสมกับยางรักใส จึงเป็นท่ีมาของคำว่า
ปิดทองลอ่ งชาด กลา่ วคอื ลวดลายจะเป็นสีทอง มีพน้ื หลงั เป็นสแี ดง

ภาพท่ี 1 งานลงรกั ปดิ ทองล่องชาด
ทมี่ า : ศูนย์ส่งเสรมิ ศลิ ปาชพี ระหวา่ งประเทศ, 2562

งานลงรักปิดทองลายฉลุ ใช้วิธีการตอกลาย เจาะกระดาษเป็นต้นแบบลวดลายต่าง ๆ แล้วนำแบบที่
ตอกฉลุไปทาบนพ้ืนสีต่าง ๆ ท่ีมีความเหนียวพอเหมาะต่อการปิดทองคำเปลว แล้วปิดทองคำเปลวไปตาม
ช่องวา่ งของตัวลายที่ออกแบบไว้ วิธีการปิดทองประเภทนี้นิยมทำในพื้นท่ีสูง เช่น เพดาน อาคาร โบสถ์ วิหาร
ในพ้ืนท่ีท่ีทำงานประณีตได้ยาก ลักษณะของลวดลายท่ีได้จะเป็นลายกลุ่มตัวลายแต่ละตัวแยกออกจากกัน
เนื่องจากการตอกลายต้องใช้เอ็นกระดาษยึดต้นแบบตัวลายแต่ละตัว เพื่อเสริมความแข็งแรงของต้นแบบที่จะ
นำไปใชซ้ ้ำ ๆ หลายครงั้

ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (2562) ได้กล่าวถึงการเขียนลายรดน้ำว่า จะต้องใช้ทักษะเชิง
ช่างในการเขียนงานลวดลายด้วยน้ำยาหรดาล เขียนรายละเอียดของภาพ ถมพ้ืนในส่วนท่ีไม่ต้องการให้
ทองคำเปลวติด แล้วจึงจะนำไปลงรัก คือ การเช็ดรักด้วยยางรกั ที่เคี่ยวต้ังไฟเพื่อขับน้ำออกจากยางรักจนหมด
เรียกว่า “รักเช็ด” และถอนยางรักที่เป็นส่วนเกินออกให้เหลือตามต้องการ จึงจะปิดทองคำเปลวลงไปบน
ช้ินงาน กดทองคำเปลวให้แน่นจนท่ัวจึงนำไปรดน้ำ คือ การล้างเอาน้ำยาหรดาลท่ีเขียนและถมพ้ืนไว้ออก
คงเหลือทองคำเปลวที่อยู่บนพ้ืนรักติดเป็นลวดลาย หรือภาพต่าง ๆ ตามที่เขียนไว้โดยทั่วไปจะเรียกว่า “งานเขียน
น้ำยาหรดาล ลงรักปิดทองรดน้ำ” หรอื เรยี กสัน้ ๆ ว่า “ลายรดน้ำ”

PORNYOS MANEECHOTPEETI / The 3rd IADCE 2021, 21-28 May 2021 / 197

ภาพท่ี 2 งานเขียนลายรดนำ้
ท่มี า : ศนู ยส์ ่งเสรมิ ศลิ ปาชีพระหวา่ งประเทศ, 2562

ผลงานช้ินน้ีจึงหยิบยกการใช้รูปแบบงานลงรักปิดทองและงานเขียนลายรดน้ำ มาประยุกต์ใช้กับ
ผลงานภาพประกอบ โดยลดทอนรายละเอียดแต่ยังคงลักษณะเฉพาะของงานลงรัก เพื่อแสดงถึงศิลปะความ
เป็นไทยในผลงานช้นิ น้ี
3. กระบวนการในการสร้างสรรค์ (Creative Process)

แรงบันดาลใจเกิดจากภาพของวิถีชีวิตครอบครัวไทยสมัยใหม่ ที่บางครอบครัวจะแยกตัวออกมาจาก
พอ่ แม่ท่ีอาศัยอยู่ในชนบท เขา้ มาทำงานและสร้างครอบครวั ของตนเองในเมือง แต่ก็ยังมคี วามผูกพัน และยังคง
ดแู ลพ่อแม่อยู่ถงึ แม้จะไม่ได้อยูด่ ้วยกัน
ข้ันตอนท่ี 1

นำมาร่างเป็นภาพตน้ แบบท่ีแสดงใหเ้ ห็นถงึ ลกู ท่ีอยู่ในตัวเมือง และพอ่ แม่ที่อยู่ในชนบท

ภาพท่ี 3 ขนั้ ตอนการรา่ งภาพผลงาน

ขน้ั ตอนที่ 2

ตัดเส้นเก็บรายละเอยี ดของภาพ โดยท้งิ ขอบวงกลมพื้นหลงั ใหเ้ ปิดออก เพื่อไม่ใหภ้ าพพืน้ หลงั ดหู นกั และแยง่ ความ
เด่นของครอบครัวในภาพ

ภาพที่ 4 ขั้นตอนการตดั เสน้

PORNYOS MANEECHOTPEETI / The 3rd IADCE 2021, 21-28 May 2021 / 198

ข้นั ตอนที่ 3
ลงสีรองพืน้ โดยใชพ้ ้ืนหลังเป็นสมี ่วงเข้ม และลงสีภาพครอบครัวด้วยสที อี่ อ่ นกวา่ พ้ืนหลังเพ่อื ให้มีความ

เด่นชดั มากขนึ้ แต่ยงั คงกลมกลนื กับสีของพื้นหลงั อยู่

ภาพท่ี 5 ขน้ั ตอนการลงสรี องพ้ืน

ขั้นตอนท่ี 4
ในส่วนของพ้ืนหลังต้องการให้ภาพออกมาดูคล้ายงานลงรักปิดทองผสมผสานกับตัวการ์ตูนสไตล์

ภาพประกอบ โดยใช้สีทองบนพ้ืนสีม่วงเพ่ือทำให้งานมีความหรูหรา และเจือสีส้มลงไปเพ่ือให้เกิดความอบอุ่น
ในภาพ สำหรับพ้ืนที่ในวงกลมบนพ้ืนหลังเป็นภาพลวดลายท่ีแสดงถึงสภาพบรรยากาศของสังคมเมืองและ
สังคมชนบท

ภาพท่ี 6 ขั้นตอนการลงสพี ้ืนหลัง

ข้นั ตอนที่ 5
จากน้ันจึงทำการลงแสงเงาเพอื่ เพม่ิ มติ ิให้กบั ภาพครอบครวั เพอ่ื ใหภ้ าพครอบครัวมีชีวิตชีวามากข้ึน

ภาพท่ี 7 ขัน้ ตอนการลงแสงเงา

ข้นั ตอนท่ี 6

ใช้เส้นแสงในการส่ือถึง การเชื่อมต่อของเทคโนโลยีการส่ือสาร สร้างความผูกพันให้กับครอบครัว
ถงึ แม้จะอยู่ห่างไกลกนั แต่สายใยความผกู พันยังเชือ่ มโยงถงึ กันได้เสมอ

PORNYOS MANEECHOTPEETI / The 3rd IADCE 2021, 21-28 May 2021 / 199

ภาพท่ี 8 ภาพผลงานท่ีเสรจ็ สมบรู ณส์ ่อื ถึงความผกู พนั ผา่ นสายใยแห่งเทคโนโลยกี ารสื่อสารในปัจจบุ นั

4. การวเิ คราะห์ผลงาน (Results Analysis)
จากแนวคิดในการออกแบบที่ส่ือถึงระยะทางและการอยู่ร่วมกัน ผู้สร้างสรรค์ได้ทำการทบทวน

วรรณกรรมใน 3 กลุ่ม ได้แก่ แนวคิดท่ีเก่ียวข้องกับครอบครัว แนวคิดที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี และแนวคิดที่
เก่ียวข้องกับศิลปะ งานลงรักปิดทองและลายรดน้ำ ผู้สร้างสรรค์จึงได้แนวคิดของผลงานท่ีชื่อว่า “ผูกพัน”
(Bound) ที่ต้องการนำเสนอความผูกพนั ในครอบครวั ผ่านเทคโนโลยีการสอ่ื สาร และผสมผสานให้เขา้ กับความ
เป็นไทย และสุดท้ายผู้สร้างสรรค์เลือกใช้เทคนิค ดิจิทัล เพ้นท์ต้ิง ผสมกับการใช้ลายเส้นแบบการ์ตูน ในการ
สรา้ งสรรค์ผลงาน

5. สรุป (Conclusion)
ผลงาน “ผูกพัน” (Bound) ถูกนำเสนอเพ่ือแสดงความผูกพันระหว่างคนในครอบครัวท่ีห่างไกลกัน

และสามารถเชื่อมต่อความผูกพันได้ด้วยเทคโนโลยี ผลงานน้ีจึงสะท้อนให้ผู้ชมฉุกคิดถึงสภาพความผูกพันของ
ครอบครัวตนเอง ส่วนการนำเสนอผ่านลายเส้นแบบการ์ตูนยังสามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่เป็นวัยรุ่น ให้หัน
มาสนใจงานศิลปะท่ีสอดแทรกความเป็นไทย และสามารถนำกระบวนการสร้างสรรค์ผลงานนี้ไปต่อยอดเพ่ือ
สอนนกั ศกึ ษาในอนาคต

เอกสารอ้างอิง (References)
กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว กระทรวงการพฒั นาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2562). นิยาม

และประเภทครอบครัว. เข้าถึงไดจ้ าก http://intranet.dop.go.th/intranet_older/fls/fls_
uploads/52747/นิยามและประเภทครอบครัว.pdf
กาญจนา แก้วเทพ, กิตติ กันภัย และ ปารชิ าติ สถาปิตานนท์. (2543). มองส่ือใหม่ มองสงั คมใหม่.
กรุงเทพ: เอดสิ ัน เพรส โพรดักส.์
ยศ สันตสมบัติ. (2559). มนุษย์กบั วฒั นธรรม (พมิ พ์ครง้ั ท่ี 4). กรงุ เทพ: สำนักพมิ พม์ หาวิทยาลัยธรรมศาสตร.์
ศูนยส์ ง่ เสรมิ ศิลปาชีพระหวา่ งประเทศ (องคก์ ารมหาชน) (2562). ลงรักปิดทอง. เข้าถึงไดจ้ าก
https://www.sacict.or.th/uploads/items/attachments/cdeb62ca10f63c94f575fa8f7f7a2
b1f/_2b017d2593959b9b50b5d33f353487f2.pdf

PORNYOS MANEECHOTPEETI / The 3rd IADCE 2021, 21-28 May 2021 / 200

PORRAWAN DOUNGRAT (THAI)
Beauty in the withering 2,
Photography and Photoshop, 46.17 x 61.58 cm

IADCE2021
http://www.fineartbuu.org

The 3rd International Art & Design Collaborative Exhibition 2021
Arts Gallery, Faculty of Fine and Applied Arts, Burapha University, Chonburi, Thailand

21-28 May 2021

BEAUTY IN THE WITHERING

ความงามในความร่วงโรย

ปรวรรณ ดวงรัตน์*

PORRAWAN DOUNGRAT**

คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลยั ธรุ กิจบัณฑติ ย์ 110/1-4 ถนนประชาชน่ื แขวงทุง่ สองหอ้ งเขตหลักส่ี กรงุ เทพฯ 10210***
[email protected]

บทคดั ยอ่

“ความงามในความร่วงโรย” มีแรงบันดาลใจมาจากความงามของดอกไม้ที่แห้งเหี่ยวไปตามกาลเวลา
เชื่อมโยงแนวคิดกับความงามในความสูงอายุของมนุษย์ ผลงานชุดน้ีประกอบด้วยภาพถ่ายเชิงสร้างสรรค์
จำนวน 4 ภาพ นำเสนอภาพการจัดวางดอกไม้ท่ีเหี่ยวเฉาเข้ากับสภาพแวดล้อมใหม่ สร้างสรรค์ด้วยเทคนิค
ถ่ายภาพและโปรแกรม Photoshop ใช้หลักการวิเคราะห์การรับรู้ความงามตามทฤษฎีเกสตัลท์ และการ
ตีความความหมายของดอกไม้เชื่อมโยงกบั ความงามในความสูงอายุของมนุษยใ์ นแงม่ ุมต่าง ๆ ผลการวเิ คราะห์
พบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อการรับรู้ความงาม ได้แก่ ปัจจัยด้านความใกล้ชิด ความคล้ายคลึง การสร้างความ
ตอ่ เน่ือง และการปกปดิ ส่วนท่ีไม่สมบรู ณ์ ซง่ึ มผี ลตอ่ การสรา้ งเสริมให้เกิดความเปล่ยี นแปลงบนพื้นที่วา่ งอยา่ งมี
เอกภาพ ในด้านการตีความความหมายของดอกไม้ที่เช่ือมโยงกับความงามในความสูงอายุ พบว่า มีแง่มุมที่
เกี่ยวข้องกับวัฏจักรของชีวิต ทัศนคติเชิงบวกท่ีมีต่อตนเองและสังคม และการยกระดับจิตใจของผู้สูงอายุ
ผลงานชุดน้ชี ้ีให้เห็นวา่ ในความร่วงโรยของดอกไม้หากได้มีการแต่งเติมสีสันก็สามารถทำให้เกดิ ความสวยงามได้
เช่นเดียวกบั ผสู้ งู อายถุ า้ ได้รับการเสรมิ สรา้ งพลงั บวกย่อมสง่ ผลใหเ้ กิดพลงั ในการใชช้ วี ติ ได้อย่างงดงามตามวัย

คำสำคัญ: ภาพถ่ายเชิงสรา้ งสรรค,์ ดอกไมท้ ีเ่ หยี่ วเฉา, ความคดิ สรา้ งสรรค,์ ความงาม, ผู้สูงอายุ

Abstract

“ Beauty in the Withering” is inspired by the beauty of flowers that withered over
time, linking the concept with the beauty of human aging. This series of works consists of 4
creative photographs; they were presented a withered flower arrangement in a new
environment by photography techniques and Photoshop programs. Apply the analysis of
beauty perception according to the Gestalt theory, and the interpretation of the flower’ s
meaning is linked to the beauty of human aging in various aspects. The results of the

*อาจารย์
**Lecturer
***Faculty of Fine and Applied Arts, Dhurakij Pundit University, Bangkok, Thailand.

PORRAWAN DOUNGRAT / The 3rd IADCE 2021, 21-28 May 2021 / 203

analysis of these works showed that the factors affecting the perception of artistic beauty
were: the factor of proximity, similarity, continuation, and the factor of Closure. These were
effected to create changing on the empty space with unity. In the interpretation of the
flower’s meaning that linked to beauty of the elderly, it was found that there were aspects
related to the cycle of life, the positive attitude towards themselves and the other, and
enhancing the elderly’s minds. These works showed that in the withering of flowers, if the
colors are added, they can make them beautiful, as if the elderly are positive
empowerment, inevitably resulted in the power to live a beautiful life according to the age.

Keywords: Creative Photography, Flower in the Withering, Creativity, Beauty, The Elderly

1. ความสำคญั หรือความเป็นมาของปญั หา (The Importance or Problem’s Background)

“ดอกไม้” เป็นสัญลักษณ์แหง่ ความสขุ และความงดงามทีธ่ รรมชาติมอบใหก้ บั โลก ความสมั พันธ์ระหวา่ ง
มนุษย์และดอกไม้เป็นสิ่งพิเศษ มนุษย์มักหลงใหลเสน่ห์ของดอกไม้อย่างแปลกประหลาดแม้ว่าดอกไม้จะไม่ได้
เป็นปัจจัยสำคัญในการยังชีพ แต่มนุษย์ก็ยังคงแสวงหาความเพลิดเพลินกับการช่ืนชมความงามและให้
ความหมายของดอกไม้ด้วยมุมมองท่ีแตกต่างกันออกไป ในวัฒนธรรมต่าง ๆ ท่ัวโลกเมื่อย้อนกลับไปใน
ประวัติศาสตร์ พบว่ามีการบันทึกข้อมูลด้วยการวาดภาพดอกไม้ไว้อยา่ งมากมายมหาศาล ยกตัวอย่างเช่น เมื่อ
ราว 5000 ปีก่อนคริสตกาล ชาวอียิปต์โบราณนิยมเขียนภาพดอกปาปิรัสประดับไว้ตามผนังสุสานและ หัวเสา
ในวิหารต่าง ๆ เพอื่ ตกแต่งให้เกิดความสวยงามและใช้เป็นสัญลกั ษณแ์ ทนเครื่องเซน่ สรวงบูชาเทพเจา้ ชาวมโิ น
อันในอารยธรรมกรีก ที่เมือง Akrotiri บนเกาะ Santorini เขียนภาพสีปูนเปียกบนฝาผนังที่ต่อมามีชื่อเรยี กว่า
“Spring Fresco” เป็นภาพภูเขาท่ีเต็มไปด้วยดอกลิลลี่และนกนางแอ่นสองตัวเริงร่าอยู่ท่ามกลางหมู่ดอกไม้
แสดงให้เห็นถึงสวยงาม สนุกสนาน และเต็มไปด้วยชีวิตชีวา จากบันทึกทางประวัติศาสตร์พบว่า ชาวมิโนอันยกย่อง
ดอกไมใ้ หเ้ ปน็ ตวั แทนของพลังอำนาจของธรรมชาติที่ส่งผลต่อมนษุ ย์ นอกจากน้ยี ังพบการใช้ภาพดอกไมใ้ นอารยธรรม
ต่าง ๆ ทั่วโลก ซ่ึงเป็นสิ่งท่ีสะท้อนให้เห็นว่า ดอกไม้เป็นธรรมชาติที่ส่งอิทธิพลให้กับมนุษย์ท้ังทางร่างกายและจิตใจ
มาแต่อดีตจนถงึ ปัจจุบัน

ศิลปะภาพถ่ายเชิงสร้างสรรค์ ชุด “ความงามในความร่วงโรย” นำเสนอภาพการจัดวางดอกไม้ที่เหี่ยวเฉา
เขา้ กบั สภาพแวดล้อมใหม่ มีแนวความคดิ ที่เชื่อมโยงกับความเปล่ียนแปลงไปตามวัยของมนุษยท์ ี่มิได้เป็นไปแต่
ในทางเสื่อมถอยลงไปตามวัยอย่างที่คนทั่วไปเข้าใจ หากในความเป็นจริงแล้วในความร่วงโรยน้ันยังคงมีความ
งามบางอย่างซุกซอ่ นอยู่ แม้ภาพลักษณ์ภายนอกที่ดูชราภาพไปตามวัย แต่ถา้ ได้รับการส่งเสริมให้เห็นถงึ คณุ ค่า
ของความเป็นผู้ผ่านการเรียนรู้มาตลอดทั้งชีวิต เป็นผู้มีความเข้าใจในความเปล่ียนแปลงของโลก มองเห็นความจริง
ของชีวิตภายใต้กฎเกณฑ์ของธรรมชาติ ผู้ท่ีกำลังก้าวเข้าสู่วัยสูงอายุสามารถเรียนรู้ในความจริงน้ีได้ ด้วยการหมั่น
ค้นหาความงดงามในชีวิตและสร้างเสริมกำลังใจให้กับตนเอง เพื่อเตรียมความพร้อมท่ีจะกา้ วเข้าสู่วัยสูงอายุได้อย่าง
ภาคภมู ิ

2. แนวคดิ / ทฤษฎีทีเ่ กี่ยวข้อง (Concept / Related Theories)

ผลงานชุดนี้นำทฤษฎีจิตวิสัย หรือ อัตวิสัย (Subjectivism) ท่ีเช่ือว่า คุณค่าทางสุนทรียะของงาน
ศิลปะเป็นเรื่องของปัจเจกบุคคล ดังที่ กำจร สุนพงษ์ศรี (2555) กล่าวไว้ว่า “บุคคลล้วนมีอัตตา (Ego)
เป็นองค์ประกอบหนึ่งของความเป็นมนุษย์ เป็นส่ิงเท่ียงแท้ถาวรท่ีทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางแห่งการรับรู้และ
แสดงความเป็นปัจเจกของแต่ละคน” โดยคุณค่าทางสุนทรียะดังกล่าวไม่ได้ข้ึนอยู่ท่ีคุณสมบัติของวัตถุ แต่มา
จากมนุษย์เกิดความรู้สึกให้คุณค่าต่อวัตถุน้ัน นอกเหนือจากการนำเสนอแนวคิดดังกล่าว ผลงานชุดน้ียัง

PORRAWAN DOUNGRAT / The 3rd IADCE 2021, 21-28 May 2021 / 204

ต้องการสื่อถึงความงามและอารมณ์ (Beauty and Mood) ผ่านภาพถ่ายและเทคนิคการแต่งภาพด้วย
โปรแกรม Photoshop ใช้องค์ประกอบของศิลปะในเร่ืองการซ้ำ ความเคลื่อนไหว และความมีเอกภาพ ผ่านการใช้
ทัศนธาตุทางศิลปะ เส้น สี น้ำหนัก รูปร่าง รูปทรง พื้นท่ีว่าง และพ้ืนผิว เพื่อแสดงออกมาเป็นภาพที่สามารถ
กระตุ้นประสาทสัมผัสของผู้รับสารให้เกิดความหมายในการสื่อสารและมีผลต่อการรับรู้ (Perception) โดยให้
ความสำคัญกับการรับรู้ภาพของมนุษย์ ซึ่งสอดคล้องกับทฤษฎีเกสตัลต์ (Gestalt Theory) ท่ีอธิบายเรื่อง
จิตวิทยาการรบั ร้ภู าพว่า มนษุ ยม์ กี ารจดั ระบบระเบยี บสิ่งที่มองเห็นเพอ่ื ทำให้เกดิ การรบั รแู้ บบองค์รวมและรับรู้
ความหมายมากกว่าการดูจากส่วนย่อย ผู้วิจัยได้นำทฤษฎีดังกล่าวมาพัฒนาร่วมกับการมองความงามในงาน
ศิลปะ ทำให้ได้แนวคิดเกี่ยวกับการรับรคู้ วามงามทางศิลปะวา่ เกดิ ขนึ้ จากปัจจัยต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อการรับร้คู วาม
งามทางศิลปะ ดังนี้ 1) ปัจจัยความใกล้ชิด (The Factor of Proximity) 2) ปัจจัยจากความคล้ายคลึงกัน
(The Factor of Similarity) 3) ปัจจัยจากการเปลี่ยนแปลงที่เหมือนกัน (The Factor of Common Fate)
4) ปัจจัยการจัดเตรียมการรับรู้ (The Factor of Objective Set) 5) ปัจจัยความต่อเนื่อง (The Factor of
Good Continuation) 6) ปัจจัยจากการปิดส่วนท่ีไม่สมบูรณ์ (The Factor of Closure) และ 7) ปัจจัยจาก
ประสบการณ์เดมิ (The Factor of Past Experience)

จากการศึกษางานวิจัยที่เก่ียวข้องกับการให้ความหมายของดอกไม้ท่ีมีความเชื่อมโยงกับวิถีชีวิตของ
มนุษย์ พบว่า มีข้อค้นพบท่ีน่าสนใจในงานวิจัยเร่ือง “ The Meaning of Flowers: A Cultural and
Perceptual Exploration of Ornament Flowers” ของ Efrat Huss และคณะ (2017) ศึกษาความหมาย
ของดอกไม้ จากการสำรวจการรับรู้เก่ียวกับดอกไม้ในประเด็นทางสังคมวัฒนธรรม ด้วยการสัมภาษณ์กลุ่ม
ตวั อยา่ งชาวอิสราเอล 150 คน โดยให้แต่ละคนไดม้ องดูดอกไม้ 4 ชนดิ ดว้ ยกัน คือ ดอกลลิ ลี่ ดอกเยอบีร่า ดอก
หน้าวัว และดอกกุหลาบป่า และแสดงความคิดเห็นเก่ียวกับความรู้สึกท่ีมีต่อดอกไม้แต่ละชนิด ผลการศึกษา
พบว่า ดอกไม้ให้ความหมายต่อการรับรู้ทางสังคมและวัฒนธรรมของมนุษย์ใน 5 ด้าน คือ 1) ดอกไม้เป็น
สัญลักษณ์ของความสัมพันธ์ของการแยกจากกัน 2) ดอกไม้เป็นส่ิงที่แสดงออกถึงความรู้สึกเชิงบวกท่ีมีต่อตัว
บคุ คลและสังคม 3) ดอกไม้เป็นสิ่งท่ีเชื่อมโยงความสัมพนั ธเ์ ชิงบวกให้กับกจิ กรรมในสงั คมชุมชน 4) ดอกไม้เป็น
ส่งิ แทนการกระทำท่ีพิเศษสำหรับบุคคลพิเศษหรือโอกาสอันพิเศษ และ 5) ดอกไมเ้ ป็นเคร่ืองมือที่ช่วยยกระดับ
ความรู้สึกทางอารมณ์ Efrat Huss และคณะยังได้ศึกษาถึงรูปทรงของดอกไม้ว่ามีผลต่อการรับรู้ของมนุษย์
ยกตัวอยา่ งเช่น ดอกไม้ที่รูปทรงกลมอย่างดอกเยอบีรา่ มีรูปทรงและการคลี่กลบี ดอกท่ีมีการกระจายตวั ออกไป
อย่างเป็นระเบียบ ใหค้ วามรู้สกึ ถึงความสงบ ความสขุ ทมี่ าจากความเป็นอยู่อย่างเรียบง่าย ดอกลลิ ล่ี มีรปู ทรง
อย่ใู นแนวต้ัง ใหค้ วามรูส้ กึ ถงึ ความสงู สง่ สงา่ งาม และมอี ำนาจ เป็นตน้

นอกจากน้ีในประเด็นของการเชื่อมโยงการรับรู้เกี่ยวกับดอกไม้ไปสู่ผู้สูงอายุ พบว่า ในงานวิจัยเรื่อง
“ An Environmental Approach to Positive Emotion: Flower” โด ย Jeannette Haviland-Jones
และคณะ (2005) ศึกษาความเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ที่มีผลมาจากดอกไม้ในผู้สูงอายุท่ีมีอาการซึมเศร้า
พบว่า ผู้สูงอายุเมื่อได้เห็นภาพและสัมผัสดอกไม้ รู้สึกมีความสุข แสดงออกมาด้วยรอยยิ้ม และเมื่อได้พูดคุย
เก่ียวกับประสบการณ์ต่าง ๆ ที่เก่ียวกับดอกไม้ ผู้สูงอายุต่างสะท้อนประสบการณ์เชิงบวกที่ส่งผลต่อชีวิตเป็น
ความทรงจำท่ีเต็มไปด้วยความสุข และเมื่อได้ดูภาพและรับดอกไม้อย่างต่อเน่ือง ผู้สูงอายุจะมีความ
เปล่ียนแปลงทางอารมณ์ทด่ี ีขน้ึ เกิดกำลงั ใจ และพลังบวกในตนเอง

จากแนวคิดและทฤษฎีดังกล่าว นำมาพัฒนาเป็นกรอบแนวคิดเพ่ือใช้ในการวิเคราะห์ผลงาน
สรา้ งสรรค์ ดงั นี้

PORRAWAN DOUNGRAT / The 3rd IADCE 2021, 21-28 May 2021 / 205

ภาพที่ 1 กรอบแนวคิดการสร้างสรรคง์ าน

3. กระบวนการในการสร้างสรรค์ (Creative Process)
ภาพถา่ ยเชิงสรา้ งสรรค์ ชดุ “ความงามในความร่วงโรย” ผ้วู จิ ยั ดำเนินตามข้นั ตอน ดังน้ี
3.1 ศกึ ษาองค์ความรู้ท่ีเก่ียวขอ้ งและสรปุ แนวคดิ ท่ีใช้ในการสรา้ งสรรค์ นอกเหนือจากความรู้ทางด้าน

ศิลปะและการออกแบบ ผู้วิจัยศึกษาทฤษฎีเกสตัลต์ (Gestalt Theories) และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการ
ตีความความหมายของดอกไม้ (Meaning of Flowers) ประกอบกับความสนใจศาสตร์ด้านผู้สูงอายุบวกกับ
ความชื่นชอบการถ่ายภาพต้นไม้และดอกไม้ จึงได้ทำการศึกษาเชิงลึกผสมผสานกับมุมมองทางศิลปะ นำมาใช้
เป็นแรงบันดาลใจนำเสนอแนวคิดเชิงเปรียบเทียบระหว่างดอกไม้และผู้สูงอายุ ในด้านที่เหมือนกันคือ ท้ังสอง
ส่งิ เปลยี่ นแปลงไปส่คู วามรว่ งโรย แตใ่ นความร่วงโรยนนั้ มคี วามงดงามอยา่ งเป็นธรรมชาติซอ่ นอยู่

3.2 รวบรวมภาพถ่ายที่ใช้ในการสร้างสรรค์ผลงาน การรวบรวมข้อมูลเพื่อสร้างสรรค์ผลงานชุด
“ความงามในความรว่ งโรย” ผู้วิจัยดำเนินการถ่ายภาพดอกไม้ ตน้ ไม้ และสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติมมุ มอง
ต่าง ๆ ในพื้นท่ีกรุงเทพมหานคร และภูเก็ต ในช่วงเดือนมกราคม ถึงเดือนมีนาคม 2564 ได้ภาพถ่ายจำนวน
มากกว่า 100 ภาพ และดำเนินการคัดเลือกภาพถ่ายเหล่าน้ัน ภายใต้แนวคิดที่เก่ียวกับความงามท่ีอยู่ในความ
ร่วงโรยของธรรมชาติ จากการคัดเลือกได้ภาพถ่ายจำนวน 20 ภาพที่สามารถจะสื่อสารถึงแนวคิด ภาพถ่าย
เหลา่ น้ัน ภายใตแ้ นวคดิ ทเ่ี ก่ียวกบั ความงามที่อยใู่ นความร่วงโรยของธรรมชาติ

PORRAWAN DOUNGRAT / The 3rd IADCE 2021, 21-28 May 2021 / 206

ภาพที่ 2 ภาพถา่ ยดอกไม้และใบไม้ทใี่ ช้สร้างสรรคผ์ ลงาน

3.3 การสร้างสรรค์ผลงานศิลปะภาพถ่ายเชิงสร้างสรรค์ชุด “ความงามในความร่วงโรย” เม่ือได้
ภาพถ่ายของดอกไม้และธรรมชาติ ตามที่ต้องการแล้ว ผู้วิจัยใช้ Program Photoshop ในการสร้างสรรค์ให้
เป็นไปตามแนวทางท่ีต้องการ ด้วยการกำหนดให้ดอกไม้และธรรมชาติเป็นทัศนธาตุทางศิลปะ จัดวางลงใน
พนื้ ที่ว่าง ยกตัวอย่างเช่น การใช้เส้นท่ีเกิดข้ึนจากการเรียงตัวของใบสนที่ร่วงหล่นอยู่บนผืนทราย เป็นแนวทาง
การกำหนดทิศทางการเคลอ่ื นไหวของภาพ ใช้กลุ่มของดอกไม้แห้งเป็นรูปทรงจดั วางเรียงตัวกนั ในรูปแบบต่าง ๆ
มีทั้งการรวมกลุ่มกันตรงก่ึงกลางภาพ และการเรียงตัวกันเป็นแนวเส้นโค้ง เพื่อทำให้เห็นถึงการเคล่ือนไหว
ภายในภาพ ในด้านของการใช้สี กำหนดให้พ้ืนหลังมีความเข้ม เพื่อผลักระยะรูปทรงด้านหน้าให้โดดเด่นข้ึน
และในขณะเดียวกันได้ทำการปรับแต่งสีสันของดอกไม้แห้ง ให้มีความนุ่มนวล และตัดทอนร่องรอยที่เห่ียวเฉา
ลงในบางพ้ืนที่ ใช้ลักษณะความแตกต่างกันของพ้ืนผิวของดอกไม้และพื้นหลังช่วยผลักระยะ เพื่อสร้างความ
กลมกลืนและความขัดแย้งกันภายในภาพ ในด้านของการใช้หลักการองค์ประกอบทางศิลปะ มุ่งเน้นการใช้
หลักการซ้ำ (Repetition) เพื่อให้เกิดจังหวะ (Rhythm) ขึ้นภายในภาพ ท่ีส่งผลให้ภาพมีความรู้สึกถึงความ
เคลื่อนไหวอยา่ งน่มุ นวล นอกจากน้ีหลักการสำคัญทใ่ี ช้ในการสร้างสรรค์ คือ เอกภาพ (Unity) ความมีเอกภาพ
ในผลงานชุดนี้ เกิดข้ึนจากการจัดวางรูปทรงในตำแหน่งที่สมดุลแบบ Asymmetry Balance เพื่อทำให้ภาพ
เกดิ มุมมองท่ีมคี วามแปลกตา ถึงแม้ว่าทุกภาพจะมีการจดั วางท่ีเร่ิมต้นจากจดุ ศูนยก์ ลางของภาพ แต่เพ่ือให้เกิด
การเคลอ่ื นไหวจงึ ไดจ้ ัดวางรูปทรงใหม้ ีทศิ ทางที่แตกตา่ งกนั ออกไป

จากตัวอย่างวิธีการทำงานดังกล่าว ผู้วิจัยขอนำเสนอผลงานสร้างสรรค์ในชุด “ความงามในความร่วงโรย”
จำนวน 4 ภาพ ดงั ภาพ ภาพที่ 3 ผลงานภาพถ่ายเชิงสรา้ งสรรค์ ชดุ “ความงามในความร่วงโรย”

ภาพที่ 3 ผลงานภาพถา่ ยเชงิ สร้างสรรค์ ชดุ “ความงามในความรว่ งโรย”

PORRAWAN DOUNGRAT / The 3rd IADCE 2021, 21-28 May 2021 / 207

4. การวิเคราะห์ผลงาน (Results Analysis)

ผวู้ ิจัยทำการวิเคราะห์ผลงานตามกรอบแนวคิดการสร้างสรรค์ผลงานศลิ ปะภาพถ่ายชุด “ความงามใน
ความร่วงโรย” ท่ีกำหนดไว้ โดยจำแนกเป็น 2 ประเด็น คือ ประเด็นที่ 1 ปัจจัยท่ีส่งผลต่อการรับรู้ความงาม
ทางศิลปะตามทฤษฎีของเกสตลั ท์ และประเด็นท่ี 2 ความหมายของดอกไม้ ปรากฏผลการวิเคราะห์ ดังนี้

ตารางท่ี 1 แสดงผลการวิเคราะหป์ ัจจยั ทส่ี ่งผลตอ่ การรบั รู้ความงามทางศิลปะ

ปัจจยั ท่ีส่งผลต่อการรบั รู้ ผลการวเิ คราะห์ ผลงานภาพถา่ ยเชงิ สร้างสรรค์
ความงามทางศลิ ปะ
การจัดวางองค์ประกอบทกุ ภาพใช้รูปทรงตา่ ง ๆ จัดวางให้
ปจั จยั ความใกลช้ ดิ ใกล้กัน บางรปู ทรงก็วางให้ทับซ้อนกัน โดยเน้นให้เห็นการ
เชื่อมต่อกัน พิจารณาภาพพ้ืนหลังจัดวางเป็นลายเส้นท่ี
สลับซับซ้อน ทำให้เกิดเป็นพ้ืนผิวที่ใกล้เคยี งกบั จุดเด่น ทำให้
เกดิ เอกภาพท่ีกลมกลืนข้นึ

ปจั จยั จากความคล้ายคลงึ กนั ผลงานทุกภาพใช้ความคล้ายคลงึ กนั ในด้านของรปู ทรงและ
ลักษณะของพื้นผิว แตภ่ าพที่แสดงให้เห็นถึงความกลมกลืนที่
เกิดขึ้นจากโครงสร้างขององค์ประกอบที่มีความคล้ายคลึงกัน
มากที่สุดคือ ภาพท่ี 1 มีโครงสร้างของการจัดวางรูปทรงด้วย
รปู ทรงวงรีทง้ั ภาพ

ปจั จัยจากการเปลยี่ นแปลงท่ี ตามทฤษฎีของเกสตัลท์ กล่าวถึงการสร้างการรับรู้ร่วมกัน
เหมอื นกัน ด้วยการกำหนดให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางใด
ทิศทางหน่ึง ดังตัวอย่างงานในภาพที่ 1 และภาพที่ 2
แสดงให้เห็นทิศทางการเคลื่อนไหวจากด้านล่างไปสู่
ดา้ นบน

ปัจจัยการจดั เตรียมการรับรู้ การเช่ือมต่อของแต่ละรูปทรงในผลงาน เกิดขึ้นจากการ
กำหนดเป้าหมายท่ีชัดเจน สื่อแนว ความคิดถึงความงาม
ในความร่วงโรย โดยใช้ดอกไม้ที่กำลังเหี่ยวเฉา จัดวาง
องคป์ ระกอบให้สวยงาม เพอื่ โน้มนำให้ผู้ชมรบั รูไ้ ด้

ปจั จยั ความต่อเน่อื ง ผลงานท้ังส่ีภาพแสดงให้เห็นถึงความต่อเนื่องกันทั้งของ
รูปร่างรูปทรง ค่าน้ำหนัก พ้ืนผิว และทิศทางของ
องค์ประกอบในภาพ

PORRAWAN DOUNGRAT / The 3rd IADCE 2021, 21-28 May 2021 / 208

ปัจจยั ที่ส่งผลต่อการรับรู้ ผลการวเิ คราะห์ ผลงานภาพถา่ ยเชิงสรา้ งสรรค์
ความงามทางศลิ ปะ
ทุกภาพเกดิ ขึ้นจากการใชร้ ปู ทรงทีไ่ มส่ มบูรณ์ คือ ดอกไม้ที่
ปัจจยั จากการปิดสว่ นทไ่ี ม่ เหี่ยวเฉา และซากเศษใบไม้บนผืนทราย ถูกนำมาจัดวาง
สมบูรณ์ ท้ังเปิดเผยรูปทรง และปิดบางส่วน เพื่อให้เกิดมุมมองที่
แปลกตายิ่งข้ึน สามารถทำให้ผู้ชมได้ใช้จินตนาการของ
ตนเองได้อย่างเตม็ ท่ี

ปัจจยั จากประสบการณ์เดมิ ผู้วิจัยใช้ประสบการณ์เดิมจากการเดินทางและถ่ายภาพ
ธรรมชาติ ดอกไม้ ต้นไม้ในสภาพที่ไม่สมบูรณ์ เป็นเศษ
ซากของธรรมชาติท่ีถูกท้ิงไว้อย่างไร้คุณค่า ทำให้เกิด
ความคิดเช่ือมโยงกับความสูงอายุของคน ท่ีเริ่มแสดงให้
เห็นถึงความเส่ือมถอยทางร่างกายและสภาพจิตใจที่อ่อน
ล้า แต่ในความสูงอายุขึ้นน้ันก็ยังคงมีความงามและพลัง
ชีวติ บางอย่างซอ่ นอยู่

ตารางที่ 2 แสดงผลการวิเคราะห์ความหมายของดอกไม้ในมุมมองของผู้วจิ ยั

ความหมาย ผลการวิเคราะห์ ผลงานภาพถ่ายเชิงสร้างสรรค์

1. ดอกไมเ้ ปน็ สัญลักษณ์ของ การแสดงออกถึงการอำลา หรือการแยกจากกนั ของมนุษย์

ความสัมพนั ธข์ องการแยกจากกนั เป็นประสบการณ์ท่ีผู้สูงอายุคุ้นชิน รูปทรงการจัดวาง

ดอกไม้ ผู้วิจัยใช้รูปทรงของพวงหรีด เป็นแรงบันดาลใจ

ทำให้มองเห็นถึงการแยกจากกันอย่างชัดเจน ดังแสดงใน

ภาพ “ความงามในความร่วงโรย 4” โดยเน้นโครงสร้าง

ทางองค์ประกอบของภาพเป็นรูปวงกลม ท่ีมีจุดศนู ย์กลาง

ลอยข้ึนด้านบนเล็กน้อย ทำให้รู้สึกถึงความเคล่ือนไหวช้า

ๆ และเป็นไปอย่างเรียบง่าย ในขณะเดียวกันพ้ืนหลังใช้สี

ส้มผลักระยะกับลายเส้นสีดำท่ีดูเหมือนกองไฟ เพื่อส่ือถึง

การเดินทางส่เู ชงิ ตะกอน เป็นการแยกจากกนั ตลอดกาล

2. ดอกไม้เป็นส่ิงท่แี สดงออก ในภาพ “ความงามในความร่วงโรย 1” ผู้วิจัยใช้ตัวอักษร

ถงึ ความรูส้ ึกเชงิ บวกท่มี ตี ่อตัว เขีย น ค ำว่า “ Always in my memory” เพื่ อส่ื อ ถึง Always in my memory

บคุ คลและสังคม ความร้สู กึ เชิงบวกทม่ี ตี ่อผูค้ นทผี่ า่ นมาในชีวิตของผสู้ ูงอายุ

PORRAWAN DOUNGRAT / The 3rd IADCE 2021, 21-28 May 2021 / 209

ความหมาย ผลการวเิ คราะห์ ผลงานภาพถา่ ยเชงิ สร้างสรรค์

3. ดอกไมเ้ ปน็ สิง่ ทีเ่ ช่ือมโยง ในภาพ “ความงามในความร่วงโรย 3” ผู้วิจัยใช้การจดั วาง
ความสัมพนั ธเ์ ชิงบวกใหก้ บั ให้กลุ่มดอกไม้เรียงตัวขยายออกไปจากกลางภาพไปสู่
กิจกรรมในสังคมชุมชน ด้านล่าง ดูคล้ายกับการคลี่ตัวบานออกของกระโปรงยาว
ในขณะเตน้ รำ ภาพนี้ผู้วิจัยใชป้ ระสบการณ์ตรงที่ได้พบกับ
กล่มุ ผสู้ งู อายุทมี่ คี วามสขุ ในขณะเต้นรำกันอย่างรา่ เริง

4. ดอกไมเ้ ป็นส่งิ แทนการ ในภาพ “ความงามในความร่วงโรย 1” และ “ความงามใน
กระทำทพ่ี เิ ศษสำหรับบคุ คล ความร่วงโรย 2” ใช้แรงบันดาลใจจากช่อดอกไม้ สิ่งแทน
พเิ ศษหรอื โอกาสอันพเิ ศษ ใจที่มอบให้กับคนพิเศษ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้สูงอายุ จาก
ประสบการณ์ตรงที่ได้ทำงานวิจัยเกี่ยวกับผู้สูงอายุพบว่า
ในวันพิเศษ เช่น วันพระ ไปวัดทำบุญ ผู้สูงอายุในชุมชน
ทอ้ งถิน่ มักจดั ช่อดอกไม้เลก็ ๆ และปักไว้ท่ีผม หรอื ติดไวท้ ี่
เสอ้ื แสดงความงามอยา่ งเรยี บง่ายเปน็ ธรรมชาติ

5. ดอกไมเ้ ป็นเครอ่ื งมือทชี่ ่วย ผลงานภาพถ่ายเชิงสร้างสรรค์ทั้ง 4 ภาพ ใช้วิธีการจัดวาง
ยกระดบั ความรสู้ ึกทางอารมณ์ องค์ประกอบให้มีมุมมองจากด้านล่างข้ึนสู่ด้านบน ใช้
ความต่อเน่ืองของรูปทรง สี และพ้ืนผิว เช่ือมต่อทิศทาง
เพ่ือที่จะสื่อความคิดที่ว่า ดอกไม้เป็นสิ่งที่ช่วยยกระดับ
จติ ใจ และอารมณ์ความรสู้ กึ ของผสู้ งู อายุได้อย่างดี

5. สรปุ (Conclusion)

ศิลปะภาพถ่ายเชงิ สร้างสรรค์ ชดุ “ความงามในความรว่ งโรย” เป็นผลงานที่ผู้วิจัยนำเสนอภาพความ
งามของดอกไม้ที่อยู่ในสภาพเหี่ยวเฉาบนพื้นหลังของกลมุ่ ใบไม้แหง้ ผ่านเทคนิคการตกแต่งภาพด้วย Program
Photoshop ประกอบกับทฤษฎีเกสตัลท์ที่กล่าวถึงจิตวิทยาการรับรู้ความงามในงานศิลปะ ผสมผสานกับ
การศกึ ษาความหมายของดอกไมท้ ่ีเชื่อมโยงกบั ความเปน็ ผสู้ งู อายุ สรุปสาระสำคัญทปี่ รากฏในผลงานชุดนี้ คอื

1. ความงามของงานศลิ ปะภาพถา่ ยเชิงสรา้ งสรรค์ เกิดขึ้นจากปจั จัยสำคัญ คือ การจัดวางทัศนธาตุ
ทางศิลปะ ได้แก่ เส้น รูปร่าง รูปทรง พ้ืนที่ว่าง ค่าน้ำหนัก และพ้ืนผิว ประกอบกับการใช้หลักการจัด
องค์ประกอบของศิลปะ เร่ืองความมีเอกภาพ ท่ีเกิดขึ้นจากการสร้างความสมดุล ความกลมกลืน ความขัดแย้ง
และใช้การซำ้ เพ่ือสรา้ งจังหวะทีส่ ่งผลให้เกดิ การเคลือ่ นไหวไปในทิศทางทีต่ ้องการ

2. การตีความ “ความงามในความร่วงโรย” อาศัยมุมมองความเข้าใจในความเป็นจริงของมนุษย์ ที่อยู่
ภายใต้กฎเกณฑ์ธรรมชาติ คือ การเกิดข้ึน ตั้งอยู่ และดับไป ความเป็นจริงนี้ ผลงานชุดน้ีต้องการสะท้อนให้เห็นว่า
แม้ในความใกล้ดับสูญ หรือ การเข้าสู่วัยชรา ก็ยังคงปรากฏให้เห็นความงามซ่อนอยู่ เป็นความงามท่ีมีอยู่จริง ถึงแม้

PORRAWAN DOUNGRAT / The 3rd IADCE 2021, 21-28 May 2021 / 210

จะเป็นเพียงความงามที่เกิดขึ้นจากการปรุงแต่งภายนอก แต่หากส่งผลให้เกิดความสุข ความอิ่มเอมใจแล้ว
ก็สามารถสร้างเสริมให้เกิดความงามภายในข้ึนมากได้เช่นเดียวกัน

สิ่งสำคัญคือ การเรียนรู้ที่จะทำความเข้าใจกับความเปล่ียนแปลงท่ีเกิดขึ้น ไม่ยึดติดอยู่กับกรอบ
ความคิดของตนเอง ดำรงตนอยู่อย่างแจ่มใสและเบิกบาน แม้ในความร่วงโรยของวัยท่ีกำลังจะก้าวเข้ามา ก็ไม่
สามารถ ทำให้ชีวิตปราศจากความงามไปได้อย่างแน่นอน

เอกสารอ้างองิ (References)
กำจร สุนพงษ์ศร.ี (2555). สุนทรียศาสตร์ หลักปรัชญาศลิ ปะ ทฤษฎีทัศนศลิ ป์ ศิลปวจิ ารณ์. กรงุ เทพฯ:

สำนกั พิมพจ์ ุฬาลงกรณ์มหาวทิ ยาลัย.

Efrat H., Kfir Bar Y., Michele Z. (2017). The Meaning of Flowers: A Cultural and Perceptual
Exploration of Ornament Flowers. The Open Psychology Journal, 2017, 10, 140-153.
DOI: 10.2174/1874350101710010140 .

Haviland-Jones, J.M., Rosario H. H., Wilson P., McGuire, T.R. (2005). An Environmental
Approach to Positive Emotion: Flower. Evolutionary Psychology human-
nature.com/ep-2005.3: 104-132.

PRAMOTE SRIPLUNG (THAI)
Abstract in the beauty rhythm of mixed culture patterns

in the southern Thai border provinces No. 3
Mixed media painting, 100 x 120 cm

IADCE2021
http://www.fineartbuu.org

The 3rd International Art & Design Collaborative Exhibition 2021
Arts Gallery, Faculty of Fine and Applied Arts, Burapha University, Chonburi, Thailand

21-28 May 2021

MIXED MEDIA PAINTING: ABSTRACT IN THE BEAUTY RHYTHM OF MIXED
CULTURE PATTERNS IN THE SOUTHERN THAI BORDER PROVINCES

จติ รกรรมสื่อผสม : นามธรรมในจังหวะความงามของลวดลายวฒั นธรรมผสมชายแดนใต้

ปราโมทย์ ศรีปลัง่ *

PRAMOTE SRIPLUNG**

คณะมนุษยศาสตรแ์ ละสงั คมศาสตร์ มหาวทิ ยาลยั ราชภฏั ยะลา ตำบลสะเตง อำเภอเมอื งยะลา จงั หวัดยะลา 95000***

[email protected]

บทคดั ย่อ

การวิจัยสร้างสรรค์คร้ังนี้ มีแนวคิดและแรงบันดาลใจ จากลวดลายทางวัฒนธรรมชายแดนใต้ เช่น
ลวดลายจากผ้าปาเต๊ะ ลายเรือกอและ ลายว่าวบุหลัน ลายอักษรอาหรับ ลวดลายตกแต่งทางสถาปัตยกรรม
และลวดลายมลายูหรือลวดลายอ่ืน ๆ ที่สัมพันธ์กันในบริบทของพื้นที่ ผ่านการส่ือสารและแสดงออกทางภาษาภาพ
ภาษาเขียน และลวดลายในเชิงสัญลักษณ์และการตกแต่ง โดยเฉพาะรูปแบบของจังหวะลวดลาย ที่ปรากฏ
ร่องรอยแห่งกาลเวลาท่ีผ่านยุคสมัย มีความชำรุดเสียหาย เส่ือมโทรม ขาดความสมบูรณ์ดังเดิม ซ่ึงลวดลายที่
คงเหลืออยู่น้ัน ได้สร้างการรับรู้ทางความงามใหม่ ให้เกิดข้ึนในสภาวะนามธรรมจากความไม่สมบูรณ์แบบ
ที่เปิดมุมมองทางความคดิ และจินตนาการให้กับผู้สร้างสรรค์ ได้เข้าไปเตมิ เตม็ จากความรู้สึกภายใน โดยการจัด
องค์ประกอบความงามจากทัศนธาตุทางศิลปะ ผสมผสานลวดลายทางวฒั นธรรมชายแดนใต้ และลวดลายผสม
ร่วมสมัย ร่วมกับการใช้เทคนิคสร้างสรรค์ที่หลากหลาย สร้างความสัมพันธ์ทางอารมณ์ในการรับรู้ความงาม
ที่เป็นเอกภาพที่สมบูรณ์ ของการแสดงออกเฉพาะตน ในรูปแบบชุดผลงานจิตรกรรมสื่อผสม “นามธรรมใน
จังหวะความงามของลวดลายวฒั นธรรมผสมชายแดนใต้”

คำสำคัญ : จิตรกรรมสอื่ ผสม นามธรรม วฒั นธรรมผสม ชายแดนใต้

Abstract

This creative research has been concept and inspired from the cultural patterns of
the southern border provinces, such as batik motifs, Kolae boat motifs, Wau Bulan (Moon
kite) motifs, Arabic letters motifs, Architectural decorative motifs and Melayu or other motifs
that are related to each other in the context of the area, through communication and
expressions of visual, written language and patterns in symbolism and decoration. Especially
the pattern of motifs rhythm that appear traces of time through the ages, has been
damaged, deteriorate lack of perfection as before which the remaining motifs have created a
new perception of beauty in the abstract state of imperfection that opens up the perspective

*อาจารย์
**Lecturer
***Faculty of Humanities and Social Sciences, Yala Rajabhat University, Yala, Thailand.

PRAMOTE SRIPLUNG / The 3rd IADCE 2021, 21-28 May 2021 / 213

of thought and imagination to the creator to fill from the inner feelings. By arranging beauty
elements from visual elements of art mixed of southern border culture and contemporary
patterns with the use of various creative techniques to create emotional relationships in the
perception of beauty as a complete unity of self-expression in a series of mixed media painting
“Abstract in the beauty rhythm of mixed culture patterns in the southern Thai border provinces”

Keywords : Mixed media painting, Abstract, Mixed culture, Southern Thai border provinces

1. ความสำคญั หรอื ความเป็นมาของปัญหา (The Importance or Problem’s Background)
ทัศนศิลป์เป็นภาษาภาพแห่งการส่ือสาร หรือภาษาภาพแห่งการมองเห็น ซึ่งต้องอาศัยการรับรู้และ

ตีความหมาย เพื่อสร้างความเข้าใจในภาพท่ีเห็นออกมา การสื่อสารทางภาษาภาพ มีระดับของความซับซ้อน
ต้ังแต่การรับรู้แบบง่ายสุด จนถึงขั้นสลับซับซ้อนมากที่สุด ซึ่งการจะเข้าใจภาษาภาพหรืองานทัศนศิลป์ ในระดับท่ี
มากหรือน้อยน้ัน ขึ้นอยู่กับระดับความรู้ ความเข้าใจ และประสบการณ์ที่ส่ังสมมาของผู้รับรู้ ว่ามีมากน้อยเพียงใด
เพราะถ้าเราเข้าใจภาษาภาพที่เราเห็นนั้น พลังหรืออิทธิพลของภาพ จะมีอำนาจมากกว่าภาษาอื่นใดที่จะมาแทนได้
ดังคำกลา่ วท่วี า่ “หนึ่งภาพดี มคี วามหมายมากกว่าพันคำพูด”

ภาพเขียนนามธรรมได้กลายเป็นภาษาทางศิลปะ ท่ีใช้ในการแสดงออก ถึงอารมณ์ ความรู้สึก และจิต
วิญญาณทางสุนทรียภาพ ท่ีไม่ต้องการส่ือสาร หรือแสดงความหมายออกมาให้เข้าใจว่าหมายถึงอะไร ซึ่งพูด
แบบเข้าใจง่าย ๆ คือภาพทด่ี ูไม่รู้เรื่องนั่นเอง โดยศิลปะนามธรรมมีลักษณะรูปแบบที่หลากหลายและแตกต่าง
กันไป ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ที่สร้างสรรค์และผู้ที่รับรู้ ได้มีอิสระในความคิดและการแสดงออก ได้อย่างไร้
ขดี จำกัด สามารถส่งผ่านอารมณ์และความรูส้ ึก ในการตีความหมายและความเข้าใจ ในตวั ผลงานท่ีแตกต่างกัน
ไปตามนานาทัศนะ ซ่ึงเป็นเร่ืองปกติท่ีควรจะเป็น และสำหรับการตัดสินก็เพียงแค่เรารู้สึกอย่างไรกับสิ่งนั้น
ส่ันสะเทือนทางอารมณ์กับส่ิงนั้นอย่างไร ชอบ ไม่ชอบ สวยงามลงตัวหรือไม่ หรือรู้สึกเฉย ๆ ก็เป็นไปได้ใน
คำตอบทจ่ี ะเกิดขึ้น ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าศิลปะนามธรรมเป็นสุนทรียภาพท่ีไมต่ ้องการคำตอบ เพราะตัวผลงานได้
ทำหนา้ ที่เปน็ คำตอบอย่ใู นนน้ั แล้ว ใครจะรู้สึกอย่างไรกแ็ ล้วแต่

โดยความรู้สึกส่วนตัว สภาวะนามธรรมได้สร้างความส่ันสะเทือนทางอารมณ์ ในการรับรู้ถึงความงาม
จากความสัมพันธ์ ที่เป็นเอกภาพท่ีสมบูรณ์ในงานศิลปะนามธรรม ที่ไม่ต้องการหาข้อสรุปถึงกฎเกณฑ์และ
ความหมายใด ๆ ซึ่งรู้สึกมีความสุขกับความเป็นนามธรรมมาโดยตลอด ท้ังในฐานะผู้รับรู้และผู้สร้างสรรค์
ผลงานข้ึนมา ซึ่งทีผ่ ่านมาแนวทางในการสร้างสรรค์ของตนเองส่วนใหญ่ ได้เช่ือมโยงกับรปู แบบทั้งกึ่งนามธรรม
และแบบนามธรรมมาตลอด โดยได้ให้ความสำคัญกับการแสดงออกภายในอารมณ์ และความรู้สึกของตน
ผ่านรูปทรงและเนื้อหาทเี่ กี่ยวข้องกับวถิ ีวฒั นธรรมผสมชายแดนใตม้ าอย่างตอ่ เนอื่ ง และสำหรบั การสรา้ งสรรค์
คร้ังนี้ ได้มีแนวคิดและแรงบันดาลใจจากลวดลายทางวัฒนธรรมชายแดนใต้ เช่น ลวดลายจากเรือกอและ
หัวกริซ ผา้ ปาเต๊ะ ลายว่าวบุหลนั ลายอกั ษรอาหรบั ลวดลายตกแตง่ ทางสถาปัตยกรรม และลวดลายมลายูหรือ
ลวดลายอน่ื ๆ ท่สี ัมพันธ์กันในบรบิ ทของพืน้ ท่ี

ลวดลายดังกล่าวได้แสดงอัตลักษณ์ในวิถีวัฒนธรรมชายแดนใต้ ผ่านการส่ือสารและแสดงออกทาง
ภาษาภาพ ภาษาเขียน และลวดลายในเชิงสัญลักษณ์และการตกแต่ง โดยเฉพาะรปู แบบของจังหวะลวดลายท่ี
ปรากฏร่องรอยแห่งกาลเวลา ท่ีผ่านยุคสมัยและยังคงเหลืออยู่บ้าง ชำรุด สูญหาย หรือเสียหาย ขาดความ
สมบูรณ์ดังเดิม ซ่ึงลวดลายท่ีคงเหลืออยู่น้ัน กลับสร้างการรับรู้ทางความงามใหม่ ให้เกิดให้เกิดขึ้นในสภาวะ
นามธรรมจากความไม่สมบรู ณ์แบบ คอื ไดส้ ร้างมุมมองท่ีเปดิ โอกาสใหค้ วามคิดและจินตนาการของผู้สรา้ งสรรค์
ได้จัดองค์ประกอบทางความงามจากทัศนธาตุทางศิลปะ ผ่านทักษะและการแสดงออกของตนเองเข้าไปเติม
เต็ม โดยผสมผสานลวดลายทางวัฒนธรรมชายแดนใต้ และลวดลายในกระแสสังคมร่วมสมัย กับเทคนิค
สรา้ งสรรค์ที่หลากหลาย ส่งผ่านอารมณ์และความรู้สึกภายใน ในรูปแบบของงานจิตรกรรมสื่อผสม นามธรรม
ในจงั หวะความงามของลวดลายวฒั นธรรมผสมชายแดนใต้ ในรปู แบบลกั ษณะเฉพาะตน

PRAMOTE SRIPLUNG / The 3rd IADCE 2021, 21-28 May 2021 / 214

2. แนวคดิ / ทฤษฎที ี่เกี่ยวข้อง (Concept / Related Theories)
การสร้างสรรค์ ผลงานจิตรกรรมส่ือผสม : นามธรรมในจังหวะความงามของลวดลายวัฒนธรรมผสม

ชายแดนใต้ คร้ังนี้ ได้นำข้อมูลที่เก่ียวข้องและมีอิทธิพลต่อแนวคิดและการสร้างสรรค์ มาสร้างเป็นกรอบ
แนวคดิ ในการวจิ ัยสรา้ งสรรค์ได้ดังน้ี

กรอบแนวคดิ ในการวจิ ยั สร้างสรรค์

ศกึ ษาขอ้ มูลทมี่ าและความสำคัญ กระบวนการสรา้ งสรรค์ศิลปะ

- กระบวนการคิดและสรา้ งสรรค์งานทศั นศิลป์ - ศกึ ษาตวั อยา่ งผลงานรปู แบบต่าง ๆ ตาม
- ภาษาศลิ ปะ สัญลักษณแ์ ละการส่อื ความหมาย แนวความคดิ ที่ตง้ั ไว้
- ศิลปะนามธรรม
- ศลิ ปะการปะติดและศลิ ปะสอ่ื ผสม - สร้างแบบร่าง (sketch)
- การจัดองค์ประกอบทางศลิ ปะ - พัฒนาแบบร่าง
- แนวคดิ สัญวทิ ยาและการสร้างความหมาย - คัดสรรแบบรา่ งและสรา้ งความสมบูรณเ์ พื่อ
- ลวดลายวัฒนธรรมในพ้นื ที่ชายแดนใต้
- วฒั นธรรมผสมผเส ในยคุ โลกาภวิ ัตน์ นำไปเป็นตน้ แบบในการสร้างสรรค์

- อิทธิพลทางด้านรูปแบบของงานศิลปะปอ็ ปอารต์ (pop ศกึ ษาคน้ ควา้ และทดลองกลวิธีเพอื่ การ
art) ศิลปะนามธรรม (abstract art) และศิลปะสอ่ื ผสม สรา้ งสรรค์ในลกั ษณะเฉพาะตน
(mixed media art) จากศลิ ปินตา่ ง ๆ ทเี่ ก่ียวข้อง
ปฏิบตั ิสรา้ งสรรคผ์ ลงานจริง
รูปแบบกลวธิ แี ละกระบวนการสรา้ งสรรค์
- รปู แบบกึง่ นามธรรม และนามธรรม จดั ทำเลม่ เอกสารรายงานการวจิ ัยสรา้ งสรรค์
- เทคนคิ จิตรกรรม / สีอาครีลคิ , สสี เปรย์ ประกอบผลงานสร้างสรรค์ เพือ่ การตพี มิ พ์
- เทคนิคการปะติด / ผ้าปาเตะ๊ บนผา้ ใบ และเผยแพรส่ สู่ าธารณะ
- เทคนิคการพิมพ์ / ซลิ คส์ กรีน, เศษวัสดุ
พัฒนาและแก้ปญั หาเพ่ือความสมบรู ณ์ลงตวั
เพือ่ การจัดแสดงนิทรรศการทางศลิ ปะ

ผลงานวจิ ัยสร้างสรรค์
จิตรกรรมสอ่ื ผสม : นามธรรมในจังหวะความงามของลวดลายวัฒนธรรมผสมชายแดนใต้

PRAMOTE SRIPLUNG / The 3rd IADCE 2021, 21-28 May 2021 / 215

3. กระบวนการในการสรา้ งสรรค์ (Creative Process)
กระบวนการในการสรา้ งสรรคผ์ ลงานมขี ัน้ ตอนการดำเนนิ งานดงั น้ี

1. ขัน้ ตอนการพฒั นาขอ้ มลู สู่การสรา้ งสรรค์

1.1 ศกึ ษาอารมณ์และความร้สู ึกของตนเองท่ีเกิดขน้ึ เพื่อถา่ ยทอดมุมมองทางจังหวะของความงาม
จากลวดลายทางวฒั นธรรม ทผ่ี สมผสานกนั ในบรบิ ททางพ้ืนท่ีชายแดนใต้ เพื่อสรา้ งผลลัพธ์ทางสนุ ทรียภาพที่มี
คณุ ค่าทางศลิ ปะ และทศั นคตเิ ชิงบวกทางความงาม ทีแ่ สดงออกมาในรปู แบบนามธรรม

1.2 ศึกษาข้อมูล ที่มา เน้ือหา และรูปแบบของลวดลายทางวัฒนธรรม และผลงานศิลปะของ
ศิลปินท่ีเก่ียวข้อง และข้อมูลอื่น ๆ ท่ีสัมพันธ์กัน ตลอดจนเทคนิคต่าง ๆ ของการสร้างสรรค์ในงานจิตรกรรม
ส่ือผสม ที่มีความน่าสนใจในมุมมองของตนเอง เพื่อเช่ือมโยงแนวคิด เนื้อหา และกลวิธีการสร้างสรรค์ ท่ีเหมาะสม
กับการแสดงออก

1.3 ทดลองสรา้ งภาพร่างผลงาน หรือสรา้ งภาพสเกต็ ซ์ (sketch) เพอ่ื หาจงั หวะท่ีเหมาะสม ในการ
จดั วางองคป์ ระกอบของภาพ ให้ลงตวั ตามแนวคดิ และอารมณ์ท่ตี ้องการ

2. การเตรียมวสั ดุและอปุ กรณ์ในการทำงาน

2.1 เฟรมผา้ ใบขนาด 100 x 120 ซม. จำนวน 4 ช้ิน
2.2 สีอะคริลิค สีสเปรย์ สีสกรีน จานสี พู่กัน เกรียงปาดสี กรรไกร กาวลาเท็กซ์ กระบอกฉีดน้ำ
กาวอัด น้ำยาไวแสง บลอ็ กสกรีน ยางปาดสี และวสั ดุอน่ื ๆ ทีเ่ กย่ี วขอ้ ง
2.3 บลอ็ กสกรนี ลวดลายต่าง ๆ ท่เี ก่ยี วขอ้ ง
2.4 ใช้วัสดุประเภทผ้าปาเต๊ะพิมพล์ ายแบบตา่ ง ๆ

3. การสรา้ งสรรคผ์ ลงาน

3.1 สร้างแบบร่างของการจัดวางองค์ประกอบของทัศนธาตุ จากแนวคิดและเนื้อหาที่วางแผนไว้
ด้วยการใช้ลวดลายทางวัฒนธรรมชายแดนใต้ เช่น ลวดลายผา้ ปาเต๊ะ ลายบนเรือกอและ ลวดลายประกอบอื่น
ๆ เป็นเนื้อหาหลักในการสร้างสรรค์ และทัศนธาตุต่าง ๆ เช่นเส้น สี รูปร่าง รูปทรง น้ำหนัก พื้นผิว และพื้นท่ี
ว่าง สร้างความขัดแย้งและการประสานความกลมกลืนร่วมกนั อย่างมีเอกภาพ

3.2 พิจารณาวัสดุผา้ ปาเตะ๊ พมิ พ์ลายทเี่ หมาะสมกบั เนื้อหา และแนวการสรา้ งสรรค์ผลงานจรงิ
3.3 ในการสร้างสรรค์ผลงานจริงอาจมีการปรับเปล่ียนรูปทรง วัสดุ เทคนิค และรูปแบบการจัดวางไป
บา้ ง เพอื่ แก้ปญั หาทางความงามใหด้ เู หมาะสม ตามความคิดในการส่ือสาร และอารมณ์ความรู้สึกของผู้สรา้ งสรรค์
3.4 ร่างภาพโครงสร้างคร่าว ๆ บนเฟรมผ้าใบ เพื่อเป็นแนวในการวางตำแหน่งรูปทรง การใช้สี
และการสร้างพนื้ ผิวในผลงาน

PRAMOTE SRIPLUNG / The 3rd IADCE 2021, 21-28 May 2021 / 216

3.5 พ่นสีสเปรยบ์ นผ้าใบที่ราดน้ำไว้บนผิวระนาบในภาพรวม เพ่ือสร้างน้ำหนักสีและจังหวะพื้นผิว
บนพ้ืนที่ว่างในลักษณะต่าง ๆ ตามที่วางแผนไวค้ ร่าว ๆ และไดป้ รับเปล่ยี นเพิ่มเติมในการแกป้ ญั หาระหวา่ งการ
ปฏิบัตงิ านตามความเหมาะสม

3.6 ตัดผ้าปาเต๊ะลายพิมพ์ในแบบต่าง ๆ ตามที่เราต้องการ นำไปปะติดบนระนาบสีและพ้ืนท่ีว่าง
บนผ้าใบ จัดวางสีและลวดลายของผ้า โดยการตัดผ้าในลักษณะต่าง ๆ เพื่อจัดวางองค์ประกอบทางศิลปะ
รว่ มกนั อย่างเปน็ เอกภาพ ตามการรบั ร้ขู องตนเอง

3.7 นำแบบบล็อคสกรีนลวดลายท่ีเกี่ยวข้อง นำมาพิมพ์สีทับ เพ่ือสร้างลวดลายเฉพาะ และสร้าง
พื้นผิวในแบบต่าง ๆ บนพื้นท่ีเน้นหลักและพ้ืนท่ีย่อยโดยรวม จัดพิมพ์บนพื้นผ้าใบและหรือบนผ้าปาเต๊ะอีกที
สำหรับการสกรีนอาจจะทำก่อนหรือหลังการพ่นสี หรือการวาดรูประบายสีก็ได้ตามความเหมาะสมในการ
สร้างสรรค์ภาพ ซ่ึงบางภาพอาจใช้การระบายสีและเทคนิคอื่น ๆ ทับซ้อนและเพ่ิมเติม หรือปิดทับแยกส่วน
ตามแนวความคิดที่ตั้งไว้ รวมถึงจากการแก้ปัญหาทางความงาม ในการจัดองค์ประกอบศิลป์ให้เหมาะสมและ
ลงตวั ตามที่ต้องการ

3.8 วาดภาพระบายสีลวดลาย ให้ซ้อนทับหรือจัดวางในตำแหน่งท่ีเหมาะสมลงตัว บนพ้ืนผิวและ
หรือลวดลายท่ีเตรียมไว้ โดยคำนึงถึงการใช้รปู แบบและลักษณะเฉพาะของลวดลาย เช่น ขนาด รปู ร่าง สัดส่วน
น้ำหนัก และสี ท่ีสัมพันธ์กับแนวคิด เน้ือหา จังหวะการจัดวาง และอารมณ์ร่วมในการส่ือสาร และการ
แสดงออกทางความรสู้ ึก ในลกั ษณะเฉพาะของแต่ละภาพซึ่งแตกต่างกนั

3.9 พิจารณาภาพรวมของผลงานทั้งหมด เพ่ือตกแต่งรายละเอียดในส่วนต่าง ๆ เพิ่มเติมเข้าไป
เช่นการปะทับ การพิมพ์ลวดลายเพิ่ม การใช้เส้น พ้ืนผิว และการใช้สีในลักษณะต่าง ๆ ท่ีเหมาะสม ลงตัว และ
สวยงามตามการรบั รู้ของตน สุดท้ายนำผลงานทง้ั หมดไปเคลอื บสี และนำไปตกแต่งประกอบรปู ภาพให้สวยงาม
และเหมาะสม เพ่ือนำไปเป็นส่ือผลงานในการบูรณาการด้านการเรียนการสอน ในรายวิชาสอนของตนเองที่
เกี่ยวข้อง และการนำผลงานไปจัดแสดงนิทรรศการทางศิลปะออกสู่สาธารณชน รวมถึงจัดเผยแพร่ผลงาน
สรา้ งสรรค์ผา่ นส่อื ทางสังคมออนไลน์

PRAMOTE SRIPLUNG / The 3rd IADCE 2021, 21-28 May 2021 / 217

รปู ผลงานสรา้ งสรรค์ ชดุ “นามธรรมในจังหวะความงามของลวดลายวัฒนธรรมผสมชายแดนใต”้

ภาพที่ 1 นามธรรมในจงั หวะความงามของลวดลายวัฒนธรรมผสมชายแดนใต้ No. 1.
เทคนคิ จิตรกรรมสอ่ื ผสม ขนาด 120 x 100 ซม.

ภาพท่ี 2 นามธรรมในจังหวะความงามของลวดลายวฒั นธรรมผสมชายแดนใต้ No. 2.
เทคนคิ จติ รกรรมสื่อผสม ขนาด 120 x 100 ซม.

PRAMOTE SRIPLUNG / The 3rd IADCE 2021, 21-28 May 2021 / 218

ภาพที่ 3 นามธรรมในจังหวะความงามของลวดลายวฒั นธรรมผสมชายแดนใต้ No. 3.
เทคนคิ จิตรกรรมสือ่ ผสม ขนาด 100 x 120 ซม.

ภาพท่ี 4 นามธรรมในจงั หวะความงามของลวดลายวฒั นธรรมผสมชายแดนใต้ No. 4.
เทคนิค จติ รกรรมสอื่ ผสม ขนาด 100 x 120 ซม.

PRAMOTE SRIPLUNG / The 3rd IADCE 2021, 21-28 May 2021 / 219

4. การวเิ คราะห์ผลงาน (Results Analysis)
จากการวิจัยสร้างสรรค์คร้ังน้ี ได้ผลงานสร้างสรรค์ท่ีมีลักษณะของการแสดงออก ในเนื้อหาของ

ลวดลายวัฒนธรรมผสมชายแดนใต้ ทมี่ ีความเป็นเอกภาพอย่างน่าสนใจ ทั้งในความกลมกลืนและความขัดแย้ง
ท่ีเชื่อมโยงสัมพันธ์กันท้ังในภาพรวม และในรายละเอียดส่วนย่อยต่าง ๆ ท้ังในด้านแนวคิดและเน้ือหาในการ
แสดงออก ผ่าน รูปรา่ ง รปู ทรง สัดส่วน และสีสันของลวดลายวัฒนธรรมผสมในลักษณะต่าง ๆ รวมถึงรูปแบบ
ของการจัดวางองค์ประกอบ เทคนิคการสร้างสรรค์ และรายละเอยี ดบางสว่ น ท่มี ที งั้ ความเหมือนและความตา่ ง
ที่เช่ือมโยงกันได้ ในลักษณะของผลงานท่ีเป็นชุดสรา้ งสรรค์เดียวกัน ซ่ึงสำหรับการรับรู้ในรูปแบบของภาพนั้น
ได้เช่ือมโยงถึงความสัมพันธ์ในจังหวะความงามของเส้น สี ของลวดลาย กับระนาบของพื้นท่ีว่างและลักษณะ
พื้นผิว ท่ีส่ือสารอารมณ์และความรู้สึกในสภาวะนามธรรม ซึ่งไม่จำเป็นที่จะต้องไปตีความถึงความหมายใด ๆ
ในแตแ่ ตล่ ะภาพ

ในส่วนของการใช้วัสดุและเทคนิคสื่อผสมในการสร้างสรรค์ผลงานท้ังหมดนั้น ได้เน้นการสร้างพ้ืนผิว
ในลักษณะต่าง ๆ จากเทคนิคการพ่นสีสเปรย์บนผิวน้ำ พ้ืนผิวจากการหยดไหลสี เทคนิคการปะติดด้วยผ้า
ปาเต๊ะพิมพ์ลายในรปู แบบต่าง ๆ และการพิมพ์สกรีนลวดลายมลายู และลายตัวอักษรอาหรับรวมถึงการเขียน
ลวดลาย และระบายสีผสมใส่เข้าไปบนภาพ ซ่ึงพ้ืนผิวจากลวดลายต่าง ๆ จากผ้าปาเต๊ะ และลวดลายจากการ
พิมพ์สกรีน และจากการเขียนสีทับลงไปน้ัน เป็นการส่ือสารแทนค่าความหมายเชิงสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
มลายูท้องถ่นิ ที่ผสมผสาน เชื่อมโยง และทับซอ้ นกัน อย่างกลมกลืนและขัดแย้งกันในท่าทีของการรับรู้ และใน
สว่ นของพ้ืนผวิ ในลักษณะคราบล่ืนไหลจากการพ่นสีน้ัน เปน็ การสอื่ แทนความหมายทางอารมณ์และความรู้สึก
ที่เคลื่อนไหว โดยเช่ือมโยงความสมั พันธ์ทางจิตวิทยาของสีและพน้ื ผิวจากลวดลายวฒั นธรรมผสม ที่สร้างสิง่ เร้า
ในการรับรู้ถึงสภาวะนามธรรมในจังหวะความงามของลวดลายวัฒนธรรมผสมชายแดนใต้ ที่มีรูปแบบใน
ลกั ษณะเฉพาะตน

5. สรุป (Conclusion)
การสรา้ งสรรคช์ ุดผลงานจิตรกรรมสื่อผสม : นามธรรมในจงั หวะความงามของลวดลายวัฒนธรรมผสม

ชายแดนใต้ ครั้งนี้ เป็นการนำเสนอรูปแบบในลักษณะเฉพาะตนของผู้สร้างสรรค์ เพ่ือถ่ายทอดมุมมองทาง
ความคิดในจังหวะความงามของลวดลายทางวัฒนธรรม ท่ีผสมผสานกันในบริบทของพ้ืนท่ีชายแดนใต้ ภายใต้
สภาพสังคมทีม่ ีความหลากหลายทางวัฒนธรรม และวถิ ีสงั คมร่วมสมัยทผ่ี สมผเส คละปน เช่อื มโยง และขดั แย้ง
ที่หลากหลายรูปแบบ ในความสัมพันธ์จากความเจริญทางเทคโนโลยี และวิถีวัฒนธรรมชายแดนใต้ ผ่านการ
รับรู้ทางความคิด ทักษะชั้นเชิงในการสร้างสรรค์ทางศลิ ปะ และจินตนาการจากสภาวะจิตซ่ึงถูกปรุงแต่งข้ึนมา
เปน็ งานจติ รกรรมสอ่ื ผสม ท่ีผสมผสานในหลายเทคนิคส่ือสร้างสรรค์ ท้ังจากการวาดระบายสี การพ่นสี การปะ
ติด และการพิมพ์ลวดลายต่าง ๆ ท่ีผสมจัดวางเข้าด้วยกัน เพ่ือสร้างผลลัพธ์ทางสุนทรียภาพท่ีมีคุณค่าทาง
ศิลปะ และทัศนคติเชิงบวกทางความงามในความไม่สมบูรณ์แบบ และสัจธรรมแห่งความไม่เที่ยงในสรรพส่ิง
จากการตัดทอนรูปทรงและเน้ือหา เพ่ือสร้างสรรค์รูปทรงของลวดลายในมุมมองใหม่ ทีแตกต่างจากภาพจำใน
รูปแบบเดิมที่คุ้นชิน โดยมุ่งหวังท่ีจะสร้างความสมบูรณ์ในการรับรู้ท่ีถูกปรุงแต่งเอาเองของผู้ดู ท่ีสร้าง
จินตนาการ และความรู้สึกทางความงาม ที่แตกต่างในแต่ละบุคคล จากสภาวะนามธรรมในจังหวะลวดลาย
และการจัดวางทศั นธาตุทปี่ รากฏ

PRAMOTE SRIPLUNG / The 3rd IADCE 2021, 21-28 May 2021 / 220

การวิจัยสร้างสรรค์ผลงานครั้งน้ี ได้บรรลุวัตถุประสงค์ท่ีตั้งไว้ คือได้ชุดผลงานสร้างสรรค์ จิตรกรรม
ส่ือผสม : นามธรรมในจังหวะความงามของลวดลายวัฒนธรรมผสมชายแดนใต้ จำนวน 4 ชิ้น ตามการรับรู้ใน
ลักษณะเฉพาะตน โดยได้นำเสนอและเผยแพร่ผลงานสร้างสรรค์ ในรูปแบบของการจัดแสดงนิทรรศการ และ
การเผยแพร่ผ่านส่ือสังคมออนไลน์ต่าง ๆ สู่สาธารณะให้บุคคลทั่วไปได้รับชม เพ่ือสร้างมุมมองทางความคิด
และการรบั รู้ทางความงาม ในมิตทิ างวัฒนธรรมของพ้ืนทีช่ ายแดนใต้ในอกี รูปแบบหนึ่ง รวมถึงได้บูรณาการงาน
สรา้ งสรรคก์ ับกระบวนการเรยี นการสอนของตนเอง ในรายวิชาทางทัศนศิลป์และการออกแบบทเ่ี ก่ียวขอ้ ง และ
การนำภาพผลงานท่ีสร้างสรรค์ไปพิมพ์ลวดลายบนเส้อื กระเป๋า หรือ ผ้าพันคอ เพื่อต่อยอดเชิงพาณิชยใ์ นการ
พัฒนาต่อไป

เอกสารอา้ งองิ (References)

กรมส่งเสริมวฒั นธรรม, กระทรวงวฒั นธรรม. (2559). วฒั นธรรม วิถชี ีวิตและภมู ิปัญญา. กรงุ เทพฯ

ชลดู นิม่ เสมอ. (2544). องค์ประกอบของศิลปะ. (พิมพค์ ร้ังที่ 6). กรุงเทพฯ: ไทยวฒั นาพานชิ .
ดาเนยี ล มารโ์ ซนา. (2552). Conceptual Art. อณิมา ทัศจนั ทร์ แปล. คอนเซ็ปชวลอาร์ต. กรุงเทพฯ: เดอเกรทไฟน์

อาร์ต จำกัด.
เดวิด คอตติงตัน. (2554). Modern Art : A Very Short Introduction. จณญั ญา เตรยี มอนรุ กั ษ์ แปล.

ศลิ ปะสมยั ใหม:่ ความรฉู้ บับพกพา. กรุงเทพฯ : open house.
วโิ ชค มุกดามณี. (2545). สื่อประสมและศลิ ปะแนวจดั วางในประเทศไทย. กรงุ เทพฯ: อมรนิ ทรพ์ ริ้นตงิ้ แอนด์

พบั ลชิ ชงิ่ จำกัด(มหาชน).

อารยา ราษฎร์จำเรญิ สขุ (2552). ประเด็นทัศนศิลป์. กรุงเทพฯ: คำสมัย.

อทิ ธิพล ตง้ั โฉลก. (2550). แนวทางการสอนและสร้างสรรค์จติ รกรรมข้ันสูง. กรุงเทพฯ: อมรนิ ทร์ พรน้ิ ตง้ิ แอน
พบั ลิช่ิง.

Unknown. (2559). เรือกอและ…จิตรศิลปพ์ หุวัฒนธรรม. [ออนไลน์]. เข้าถงึ เม่อื 23 สงิ หาคม 2563. เขา้ ถึง
จาก https://www. southdeepoutlook.com/ShowAllDetails/detail_south_ editorial/75/

สำนกั งานวฒั นธรรมจังหวัดยะลา. (2563). ประวัตจิ งั หวดั ยะลา. สบื คน้ เมื่อ 20 กนั ยายน 2563. เข้าถงึ จาก
https://www.m-culture.go.th/yala/ewt_news.php?nid=28&filename=index

PRASHYA PIRATRAKUL (THAI)
Patchwork Design Loincloth of Had Seaw Hand Weaving Group
Patchwork/Woven fabric, 580 x 720 cm

IADCE2021
http://www.fineartbuu.org

The 3rd International Art & Design Collaborative Exhibition 2021
Arts Gallery, Faculty of Fine and Applied Arts, Burapha University, Chonburi, Thailand

21-28 May 2021

PATCHWORK DESIGN LOINCLOTH OF HAD SEAW HAND WEAVING GROUP

การออกแบบลวดลายตัดตอ่ ผา้ ขาวมา้ ชมุ ชนทอผ้าบ้านหาดเสย้ี ว

ปรัชญา พริ ะตระกูล*
PRASHYA PIRATRAKUL**

คณะศลิ ปกรรมศาสตร์ มหาวทิ ยาลยั ธุรกิจบัณฑิตย์ 110/1-4 ถนนประชาชน่ื แขวงทุ่งสองหอ้ งเขตหลักส่ี กรงุ เทพฯ 10210***
[email protected]

บทคัดย่อ

ผลงานสร้างสรรค์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหลักการ รูปแบบและกรรมวิธีในการตัดต่อผ้า การเก็บ
รวบรวมข้อมูลเพื่อนำมาวิเคราะห์ถึงกรรมวิธีที่เหมาะสมในการนำมาใช้ออกแบบสร้างสรรค์ลวดลายตัดต่อ
ผ้าขาวม้าของชุมชนทอผ้าบ้านหาดเสี้ยว โดยผสมผสานผ้าขาวม้าและผ้าสีพ้ืนของชุมชนเข้าด้วยกัน ผลการ
สร้างสรรค์แสดงให้เห็นว่าลวดลายมีลักษณะเป็นรูปทรงเรขาคณิต ซึ่งเหมาะสมท่ีจะนำไปใช้ตัดเย็บเป็นเคร่ือง
แต่งกายสำหรับสุภาพบุรุษจึงนำผลงานไปออกแบบตัดเย็บเป็นเส้ือแจ็คเกตสำหรับสุภาพบุรุษ เพ่ือสร้างความ
แปลกใหม่และน่าสนใจให้แก่ผ้าขาวม้าของชุมชนทอผ้าบ้านหาดเสี้ยว เพื่อเป็นต้นแบบท่ีชุมชนสามารถนำไป
พัฒนาต่อยอดในอนาคต

คำสำคัญ: การตดั ต่อผา้ , ผ้าขาวม้า, ชุมชนทอผ้าบ้านหาดเสี้ยว

Abstract

The purpose of this research were to study the pattern and the principle of
patchwork the fabric. The process for using designs to create new patterns by combining two
types of Loincloth from Had Seaw Hand Weaving Group. The findings of this research
disclosed that the geometric shape. Which is suitable to be used as a garment for
gentlemen, to create new and interesting patterns for the fabric of Had Seaw Hand Weaving
Group to be a model that the group can develop in the future.

Keywords: patchwork, Loincloth, Had Seaw Hand Weaving Group

*อาจารย์
**Lecturer
***Faculty of Fine and Applied Arts, Dhurakij Pundit University, Bangkok, Thailand.

PRASHYA PIRATRAKUL / The 3rd IADCE 2021, 21-28 May 2021 / 223

1. ความสำคญั หรอื ความเป็นมาของปญั หา (The Importance or Problem’s Background)
กลุ่มชุมชนทอผ้าบ้านหาดเสยี้ ว ตั้งอยูท่ ่ตี ำบลหาดเสย้ี ว อำเภอศรสี ชั นาลัย จังหวัดสุโขทยั ผา้ ทอที่ผลิต

ในบริเวณหมู่บ้านเหล่านี้มกั เป็นที่รู้จักกันทั่วไปว่า ผา้ หาดเส้ียว ชาวหาดเสี้ยวส่วนใหญ่เป็นคนเชอื้ สายลาวพวน
ทถี่ ูกกวาดต้อนมาจากเมืองพวนตอนใต้ ของเมืองหลวงพระบางในประเทศสาธารณรัฐประชาธปิ ไตยประชาชน
ลาวในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระน่ังเกล้าเจ้าอยหู่ ัว บางกลุ่มไปต้ังถ่ินฐานอยู่ในบางทอ้ งทข่ี องจังหวดั ปราจีนบรุ ี
มหาสารคาม และที่อำเภอบางปลาม้า จังหวดั สพุ รรณบุรี อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี

กลุ่มชมชนทอผ้าบ้านหาดเสี้ยวเป็นกลุ่มชนท่ียังคงรักษาวัฒนธรรมและประเพณี ดั้งเดิมของตนไว้
โดยเฉพาะวัฒนธรรมการทอผ้า เป็นประเพณีที่มีการถ่ายทอดสืบต่อกันตลอดมาในหมู่ผู้หญิง เพราะถือว่าการ
ทอผ้าเป็นคุณสมบัตขิ องผู้หญิงทุกคนที่จะต้องหัดทอผ้าให้เป็นก่อนอายุ 16 ปี โดยเริม่ ด้วยการหัดกรอด้ายแล้ว
เร่ิมทอผ้าตนี จก ซ่ึงถือว่าเป็นผา้ ทอที่มีกรรมวิธียงุ่ ยากที่สดุ เพราะซิ่นตีนจกเป็นผ้าสำคัญสำหรบั นงุ่ ในพิธีตา่ ง ๆ
นอกจากนี้ลักษณะทางสังคมยังกำหนดให้ผู้หญิงที่จะออกเรือนแต่งงานเป็นผู้เตรียมเครอื่ งใช้ไมส้ อยในการออก
เรือนที่เก่ียวเนื่องกับผ้าแทบท้ังสิ้น เช่น ที่นอน ผ้าหลบนอน ผ้าห่ม ผ้าเช็ดหน้า ย่าม และผ้าขาวม้า เป็นต้น
ครน้ั เม่อื สภาพทางเศรษฐกจิ และสงั คมเปลยี่ นแปลงไป ผา้ ทอพืน้ บา้ นที่เคยผลติ ใชใ้ นครอบครัวกเ็ ปลย่ี นเปน็ การ
ผลติ เพ่ือจำหน่าย จนในปจั จบุ ันชาวหาดเส้ียวจำนวนไมน่ อ้ ยทีย่ ึดการทอผ้าเปน็ อาชพี หลกั โดยเฉพาะผา้ ขาวม้า
กลายเป็นสนิ คา้ ท่ไี ด้รบั ความนิยมจากกลมุ่ ลกู คา้ และจำหนา่ ยได้เป็นจำนวนมาก

จากการศึกษาข้อมูลเบ้ืองต้นและการลงพ้ืนที่ชุมชนทอผ้าขาวม้าบ้านหาดเสี้ยว จังหวัดสุโขทัย พบว่า
ชุมชนมีศักยภาพในการทอผ้าขาวม้ามีลักษณะเป็นตาส่ีเหลี่ยมสลับสี โดยสืบทอดจากบรรพบุรุษ และมีอัตลักษณ์ที่
โดดเด่นคือ ลายจกรูปช้าง แต่คู่สีที่ใช้ผลิตเป็นผ้าขาวม้าจะยังคงเป็นคู่สีด้ังเดิม อาทิ ดำขาว น้ำเงินขาว แดงขาว
และคสู่ ที คี่ อ่ นข้างฉดู ฉาด ซ่งึ ลวดลายของผา้ ขาวม้าจะมีลกั ษณะท่ีคลา้ ยกับหลาย ๆ ชมุ ชนทอผา้ ในประเทศไทย

ภาพที่ 1 ผ้าขาวม้าชุมชนทอผา้ บา้ นหาดเสย้ี ว
ทีม่ า: https://sukhothai.cdd.go.th/2016/11/02/

ผู้ออกแบบจึงมีแนวคิดท่ีจะนำเสนอแนวทางสร้างสรรค์ลวดลายผ้าขาวม้าลักษณะใหม่ ๆ โดยการใช้
ผา้ ขาวม้าท่ีเป็นเอกลักษณ์ของชุมขนทอผ้าบ้านหาดเส้ยี ว นำมาผสมผสานกับผ้าสีพื้นท่ีมีจำหน่ายในท้องตลาด
เพื่อนำมาสร้างลวดลายใหม่ด้วยเทคนิควิธีการตัดต่อผ้า ซึ่งจะผสมผสานผ้าท้ังสองชนิดเข้าด้วยกัน และสร้าง
ลวดลายท่ีมีมิติน่าสนใจมากขึ้น นอกจากนั้นยังสามารถนำไปตัดเย็บเป็นเสื้อผ้าเคร่ืองแต่งกายท่ีสร้างความ
แปลกตา แปลกใหมแ่ ละเป็นทจ่ี ดจำสำหรับผู้บรโิ ภคทีพ่ บเห็นในทอ้ งตลาด

PRASHYA PIRATRAKUL / The 3rd IADCE 2021, 21-28 May 2021 / 224

2. แนวคดิ / ทฤษฎีทเ่ี ก่ียวขอ้ ง (Concept / Related Theories)
หลักการท่ีใช้ในการสร้างสรรค์ผลงานชิ้นนี้ คือ หลักการตัดต่อผ้า (Patchwork) งานฝีมือที่ใช้ผ้าชิ้น

เล็ก ๆ มาตัดเป็นรูปร่างต่าง ๆ และเย็บต่อกันให้เกิดเป็นลวดลายใหม่ ในยุโรปจะเรียกว่า Patchwork ใน
สหรฐั อเมรกิ า และ ประเทศไทยนยิ มเรียกว่า Quilt

Patchwork คอื การนำผ้ามาตัดเป็นรูปต่าง ๆ ทรงเรขาคณิต เช่น สามเหล่ียม สี่เหลี่ยม สีเ่ หล่ียมขนม
เปียกปนู ห้าเหลยี่ ม วงกลม ฯลฯ แล้วนำมาเย็บต่อกันเป็นลวดลายต่าง ๆ (เสาวลกั ษณ์ คงคาฉยุ ฉาย, 2545, 10)
3. กระบวนการในการสร้างสรรค์ (Creative Process)

1. ศกึ ษาความหมาย หลักการและลักษณะรปู แบบกรรมวิธขี องการเย็บตดั ต่อผ้า ซึ่งกรรมวิธีการตดั ต่อ
ผ้าแบง่ ได้เปน็ 3 ประเภท ดังนี้

- Traditional patchwork คอื การตดั ผ้าเผอ่ื เยบ็ โดยรอบ1/4 นว้ิ เย็บต่อกันดว้ ยจักรหรอื มือ
- Paper pieces patchwork คือ การลงลายบนกระดาษบาง ๆ แลว้ เย็บผ้าต่อกัน โดยการเย็บติดกับ
กระดาษ ซึ่งกระดาษจะชว่ ยควบคุมให้แนวตอ่ ผา้ ตรงกนั ง่ายต่อการเยบ็
- Crazy patchwork คือ การนำผ้าขนาดต่าง ๆ นำมาเย็บต่อกันโดยไม่กำหนดรูปทรง และขนาด
ตกแต่งรอยตอ่ ด้วยลกู ไมห้ รือการปักแบบซิกแซ็ก
2. ศึกษาลักษณะรูปแบบกรรมวิธีการตัดต่อผ้าโดยเลือกการตัดต่อแบบ Traditional patchwork ซ่ึง
จะเลือกศึกษาวิธีการตัดต่อแบบ Quarter Square Triangles ซึ่งเป็นหนึ่งในกรรมวิธีการตัดต่อผ้าแบบ
Traditional patchwork ซึ่งเป็นการตัดต่อผ้าแบบสามช้ิน โดยกรรมวิธีคือ จะเร่ิมจากตัดผ้าเป็นรูปส่ีเหล่ียม
จัตุรัสสองชิ้นเย็บประกบกนั จากน้นั ตัดแบ่งคร่ึงและนำผ้าสเี่ หล่ียมจตั ุรสั มาเย็บประกบอีกช้ิน ตัดคร่ึงอีกคร้ังจะ
ไดผ้ า้ ท่ีมลี ักษณะเยบ็ ตดั ตอ่ สามช้ิน ดงั รูป

ภาพท่ี 2 ข้นั ตอนการตัดต่อผา้ แบบ Quarter square triangles patchwork basics pattern

ทีม่ า: https://www.bonjourquilts.com/quarter-square-triangles/

3. รวบรวมข้อมูลท่ีได้จากการศึกษา กรรมวิธีการตัดต่อแบบ Quarter Square Triangles มา
วิเคราะห์และทดลองปฏิบัติช้ินงานจริงโดยเลือกผ้าขาวม้าสีขาวดำจากชุมชนทอผ้าบ้านหาดเสี้ยวตัดต่อกับ
ผา้ พนื้ สีขาวดำ เพอื่ นำไปสรา้ งสรรคเ์ ป็นลวดลายในการตดั ตอ่ ผา้ ตอ่ ไป

PRASHYA PIRATRAKUL / The 3rd IADCE 2021, 21-28 May 2021 / 225

ภาพท่ี 3 การลงมือปฏบิ ัตงิ านตามกรรมวธิ ที ศี่ กึ ษา

4. การวิเคราะหแ์ ละออกแบบลวดลายด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ด้วยลกั ษณะลวดลายของการตดั ต่อ
แบบ Quarter Square Triangles น้ันสามารถนำผลการปฏิบัติงานมาออกแบบเป็นแบบร่างของลวดลายที่จะ
เยบ็ ตัดต่อไดห้ ลากหลายรูปแบบ โดยลกั ษณะลวดลายน้ันจะนำผ้าที่เยบ็ ติดกนั โดยจดั เรยี งสลับการจัดวางทำให้
เกดิ ลักษณะลวดลายที่แตกต่าง ลวดลายทับซอ้ นกัน และต่อเป็นแนวทแยงมมุ ทำใหด้ มู ีมิติมากยง่ิ ข้นึ

แบบรา่ ง 1-1 แบบร่าง 1-2 แบบรา่ ง1-3

ภาพที่ 4 แบบรา่ งการวางรูปแบบลวดลายการตดั ต่อ

5. เลือกแบบร่างที่ 1-1 มาลงมือปฏิบัติช้ินงานสร้างสรรค์เนื่องจากลวดลายจะมีลักษณะท่ีมีมิติ
ซับซอ้ นและน่าสนใจกว่าลายทีอ่ อกแบบอ่ืน ๆ ซง่ึ จะมีลักษณะที่มีมิติทับซ้อนสลับไปมาคลา้ ยลวดลายเคร่ืองจัก
สาน โดยประกอบผ้าแต่ละชิ้นเข้าด้วยกันตามแบบร่าง

PRASHYA PIRATRAKUL / The 3rd IADCE 2021, 21-28 May 2021 / 226

ภาพท่ี 5 ปฏิบตั งิ านสร้างสรรค์ตามแบบรา่ ง

4. การวเิ คราะห์ผลงาน (Results Analysis)
จากการศึกษาและรวบรวมข้อมูลลักษณะกรรมวิธีพ้ืนฐานการตัดต่อแบบ Traditional patchwork

ซ่งึ มีหลากหลายแบบ ผอู้ อกแบบเห็นว่าการใชร้ ูปแบบกรรมวิธี แบบ Quarter Square Triangles เป็นรูปแบบ
ที่เหมาะสมเนอ่ื งจากรูปแบบนี้สามารถผสมผสานดัดแปลงให้เกิดลวดลายได้หลากหลายรูปแบบ ซ่ึงสามารถนำ
ผ้าท้ังสองประเภทของชุมชนทอผ้าบ้านหาดเส้ียวเมาผสมผสานเข้าด้วยกันได้ ซ่ึงตรงตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
และรูปแบบ Quarter Square Triangles นั้นยังสามารถนำไปสร้างสรรค์เป็นรูปแบบลวดลายที่มีลักษณะ
แตกต่างจากผ้าตดั ต่อแบบอื่น ๆ ได้ โดยผ้อู อกแบบได้นำผ้าทีเ่ ย็บตดิ กันเรียบรอ้ ยมาต่อใหม่ให้เกิดรปู แบบท่ีทับ
ซอ้ นเหมือนการจักสาน ซ่ึงจะแตกต่างจากงานตัดตอ่ ผ้าทวั่ ไป นอกจากนนั้ ผ้อู อกแบบมีความต้องการใหผ้ ลงาน
ท่ีเสรจ็ สมบูรณ์แสดงออกมาซ่ึงความรู้สึกมีมิติ สร้างความรู้สกึ แปลกตาแกผ่ ู้ท่ีพบเห็น และยังคงรักษาความเป็น
ธรรมชาติของผา้ ทอไว้ใหไ้ ด้มากทส่ี ดุ

PRASHYA PIRATRAKUL / The 3rd IADCE 2021, 21-28 May 2021 / 227

ภาพท่ี 6 ผลงานสร้างสรรคล์ วดลายการตดั ตอ่ ผา้ ขาวม้าชมุ ชนทอผา้ บ้านหาดเสย้ี ว

5. สรุป (Conclusion)
จากผลงานสร้างสรรค์ท่ีเสร็จสมบูรณ์ ผู้ออกแบบมีความเห็นว่าลวดลายของผลงานมีลักษณะเป็น

รูปร่างเรขาคณิตมีความทับซ้อน สลับซับซ้อนและมีมิติ เหมาะสมที่จะนำไปใช้ตัดเย็บเป็นเส้ือผ้าสำหรับ
สุภาพบุรุษ ผู้ออกแบบจึงได้นำผลงานสร้างสรรค์ไปออกแบบสำหรับใช้เป็นส่วนประกอบในการตัดเย็บเส้ือแจ็คเกต
สำหรับสุภาพบุรุษ ซึ่งจะสร้างรูปแบบท่ีแตกต่างและแปลกตา เพ่ือที่จะตอบสนองความตอ้ งการของกลมุ่ ทอผ้า
บ้านหาดเสี้ยวท่ีมีความต้องการสร้างความแปลกใหม่และน่าสนใจเพิ่มมากย่ิงข้ึนให้แก่เส้ือผ้าที่กลุ่มทอผ้าผลิต
และจำหน่ายในท้องตลาด นอกจากนั้นกลุ่มทอผ้ายังสามารถนำไปใช้เพื่อเป็นต้นแบบและพัฒนาต่อยอดต่อไป
ในอนาคต

PRASHYA PIRATRAKUL / The 3rd IADCE 2021, 21-28 May 2021 / 228

ภาพท่ี 7 เสอ้ื แจ็คเกตสภุ าพบรุ ษุ

เอกสารอ้างองิ (References)
เสาวลกั ษณ์ คงคาฉยุ ฉาย. (2545). ศลิ ปะการต่อผา้ . (พิมพค์ รัง้ ที่ 1). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ โอเดยี นสโตร์.
Heather. (2015). Half Square Triangles | Quilting Basics. Retrieved March 20, 2020, from
Prichard Sue. (2010). Patchwork for Beginners (1st ed). English, V&A Publishing.
Vivika DeNegre. (2 0 1 8 ). Modern Patchwork Home: Dynamic Quilts and Projects for Every

Room (1st ed). United States, Interweave Press Inc.

PRASITCHAI JIRAPASITTINON (THAI)
Human Body Form in Modern Art Context. no.4
Acrylic Color pencil on paper, 30 x 40 cm

IADCE2021
http://www.fineartbuu.org

The 3rd International Art & Design Collaborative Exhibition 2021
Arts Gallery, Faculty of Fine and Applied Arts, Burapha University, Chonburi, Thailand

21-28 May 2021

HUMAN BODY FORM IN MODERN ART CONTEXT. NO.4
รูปทรงของเรือนร่างมนุษย์ในบรบิ ทของศิลปะสมยั ใหม่ หมายเลข 4

ประสทิ ธ์ิชัย จิรปสิทธินนท์*
PRASITCHAI JIRAPASITTINON**

สาขาทศั นศลิ ป์ คณะอกั ษรศาสตร์ มหาวทิ ยาลยั ศลิ ปากร***
[email protected]

1. แนวความคิด
ร่างกายและเรือนร่างมนุษย์ ถือเป็นตัวแบบอย่างหนึ่งท่ีสามารถแสดงให้เห็นถึง แง่มุมที่เก่ียวข้องกับ

“ความงาม”หรืออุดมคติต่างๆที่ได้นำมาสู่การสร้างสรรค์ตลอดจน “มุมมอง” ท่ีมีความหลากหลายเป็นการ
ค้นคว้าและสร้างสรรค์เพ่ือนำเสนอเรือนร่างด้วยวิธีการท่ีเป็นการผสมผสานในเร่ืองความงามตามแนวคิดแบบ
ศิลปะสมัยใหม่ โดยการศึกษาเอกภาพของรูปทรง (Formal Order) ผ่านรูปลักษณ์ของเรือนร่างที่มีลักษณะ
“อ้วน”และไม่สมบูรณ์แบบในเรื่องสัดส่วน หากแต่เป็นต้นแบบความสมบูรณ์และเอกภาพของเส้น รูปทรง
พืน้ ผิวและองค์ประกอบศลิ ปข์ องทัศนธาตุท่นี ิยมอีกท้ังแสดงถงึ ความงามท่มี คี วามยอ้ นแย้ง ซึ่งเปน็ มิตขิ องความงาม

1. Concept
The human body is the subject that can represent a viewpoint that associated with

"beauty" or other ideal and brought to creation, as well as various viewpoint from
researching and creating for the human body by formal order studies in modern art concept
through the appearance of a “fat” body and imperfect in proportion, for representing type
of integrity and unity of lines, shapes, textures and elements of art composition on the other
side. Lastly, to representing the beauty from contradiction of beauty definition.

*อาจารย์
**Lecturer
***Visual Arts, Faculty of Arts, Silpakorn University, Nakhon Pathom, Thailand.

PRATANA JIRAPASITTINON (THAI)
I’m a Unicorn
Epoxy Putty/Acrylic, 15 x 11 cm

IADCE2021
http://www.fineartbuu.org

The 3rd International Art & Design Collaborative Exhibition 2021
Arts Gallery, Faculty of Fine and Applied Arts, Burapha University, Chonburi, Thailand

21-28 May 2021

I’M A UNICORN
ยูนิคอรน์

ปรารถนา จริ ปสิทธนิ นท์*
PRATANA JIRAPASITTINON**

สาขาคอมพวิ เตอรแ์ อนเิ มชันและวชิ อลเอฟเฟกต์ คณะดจิ ิตอลมเี ดีย มหาวทิ ยาลยั ศรีปทุม***
[email protected]

1. แนวความคิด
มนษุ ย์เราทุกคนมีเสรภี าพได้ท้ังในทางกาย ทางสังคม และทางจิตใจ แต่ละคนมีอสิ ระทีจ่ ะตัดสนิ ใจ

เลือกทางเดนิ ของชวี ิตของตัวเองได้โดยไม่ต้องทาตามคนอน่ื ๆ หรอื สงั คม ขา้ พเจ้าจงึ นาเสนอแนวความคิด
ผ่านภาพวัยเด็กท่ีมีความซ่ือสัตยต์ ่อความต้องการ มคี วามเชือ่ ในสิง่ ที่ตนรกั มีความอสิ ระในการแสดงออก และ
ยนู ิคอรน์ ท่ีถือเปน็ ตัวแทนทางความเปิดกว้างทางความคดิ อตั ลักษณ์ อีกทง้ั ยงั รวมถึงความอิสระเสรีทางเพศ

1. Concept
From the belief that human are not developed from monkey species, the creative

work was created to declare the world that belief. The work brought up the feeling of angry
when there are misunderstanding in the form of fire as a symbol. The fire is burning on a
monkey to communicate that there are too much misunderstanding.

*อาจารย์
**Lecturer
*** Program in Computer Animation and Visual Effects, School of Digital Media, Sripatum University, Bangkok, Thailand.

SHIAN-HENG LEE (TAIWAN)
The Double Faces

Mixed media / Image creations, 42 x 59.4 cm

IADCE2021
http://www.fineartbuu.org

The 3rd International Art & Design Collaborative Exhibition 2021
Arts Gallery, Faculty of Fine and Applied Arts, Burapha University, Chonburi, Thailand

21-28 May 2021

THE DOUBLE FACES
ใบหน้าคู่

เซียน - เฮงหลี*
SHIAN-HENG LEE**

วทิ ยาลยั นานาชาติ CHINA-ASEAN มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑติ ***
[email protected]

Concept
The Double Faces: For the conflicts and contradictions within the spirit, it is

manifested in the outer clothing creation- Image creations

*อาจารย์
**Lecture
*** Arts and Design Program, CHINA-ASEAN International Colleges, Dhurakij Pundit University, Bangkok, Thailand.


Click to View FlipBook Version