The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

แมนมิตร-อาจหาญ-ดุษฎีนิพนธ์-สมบูรณ์

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by man Wee, 2022-10-17 08:10:12

ดุษฎีนิพนธ์ฉบับสมบูรณ์-แมนมิตร อาจหาญ

แมนมิตร-อาจหาญ-ดุษฎีนิพนธ์-สมบูรณ์

โปรแกรมออนไลน์เพื่อพฒั นาอาจารย์สู่การเสรมิ สร้างทักษะการปรับตัว
ของนกั ศึกษา

แมนมิตร อาจหาญ

ดษุ ฎีนิพนธ์นีเ้ ปน็ สว่ นหนงึ่ ของการศึกษาตามหลกั สูตรศกึ ษาศาสตรดษุ ฎบี ณั ฑิต
สาขาวชิ าการบรหิ ารการศกึ ษา

คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกฏุ ราชวิทยาลัย
พทุ ธศกั ราช 2565

โปรแกรมออนไลน์เพื่อพฒั นาอาจารย์สู่การเสรมิ สร้างทักษะการปรับตัว
ของนกั ศึกษา

แมนมิตร อาจหาญ

ดษุ ฎีนิพนธ์นีเ้ ปน็ สว่ นหนงึ่ ของการศึกษาตามหลกั สูตรศกึ ษาศาสตรดษุ ฎบี ณั ฑิต
สาขาวชิ าการบรหิ ารการศกึ ษา

คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกฏุ ราชวิทยาลัย
พทุ ธศกั ราช 2565

ONLINE PROGRAM TO DEVELOP TEACHERS TO ENHANCE
STUDENTS’ ADAPTABILITY SKILLS

MANMIT ATHAN

A DISSERTATION SUBMITTED IN PARTIAL FULFILLMENT OF THE REQUIREMENTS
FOR THE DOCTOR DEGREE OF EDUCATION

PROGRAM IN EDUCATIONAL ADMINISTRATION
FACULTY OF EDUCATION

MAHAMAKUT BUDDHIST UNIVERSITY
2022







บทคดั ย่อ

หัวข้อดษุ ฎีนพิ นธ์ : โปรแกรมออนไลน์เพื่อพัฒนาอาจารย์สู่การเสริมสร้างทักษะการ
ปรบั ตัวของนกั ศึกษา
ช่อื นกั ศกึ ษา
ชือ่ ปริญญา : แมนมติ ร อาจหาญ
สาขาวิชา : ศกึ ษาศาสตรดุษฎบี ณั ฑิต
ปีพทุ ธศักราช : การบรหิ ารการศกึ ษา
อาจารยท์ ป่ี รึกษาหลัก : 2565
: ผชู้ ่วยศาสตราจารย์ ดร.วิทลู ทาชา

การวิจัยน้ีมจี ุดมุ่งหมายเพ่ือพัฒนา “โปรแกรมออนไลน์เพื่อพัฒนาอาจารย์สู่การเสริมสรา้ ง
ทักษะการปรับตัวของนักศึกษา” ที่ประกอบด้วยคู่มือเพื่อการเรียนรู้ของอาจารย์ และคู่มือเพื่อเป็น
แนวการปฏิบัติสำหรับอาจารย์พัฒนานกั ศึกษา โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยการวิจยั และพัฒนา (Research
and Development : R&D) ซึ่งผลจากการดำเนนิ งานข้ันตอน R1&D1 ถึง R4&D4 ทำให้ได้คู่มือเพอ่ื
การเรียนรู้ของอาจารย์ 6 ชุด และคู่มือเชิงปฏิบัติการ 1 ชุด และจากขั้นตอนที่ R5&D5 ซึ่งเป็นการ
วิจัยเชิงทดลองรูปแบบการทดสอบก่อนและหลังการพัฒนา กับอาจารย์ 15 ราย และนักศึกษา 324
ราย ในคณะศึกษาศาสตร์ ของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน ที่ได้รับการสุ่มให้
เป็นตัวแทนของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยส่วนกลางและวิทยาเขตอื่น ๆ พบว่า โปรแกรม
ออนไลน์ที่พัฒนาขึ้น ส่งผลให้อาจารย์มีคะแนนจากการทดสอบหลังการพัฒนาเป็นไปตามเกณฑ์
มาตรฐาน 90/90 และมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าก่อนการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนนักศึกษามีผล
การประเมิน ทักษะการปรับตัว หลังการพัฒนาสูงกว่าก่อนการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ซึ่ง
แสดงให้เห็นว่าโปรแกรมออนไลน์ที่พัฒนาขึ้นถือว่าเป็นนวัตกรรมทางการศึกษาที่มีประสิทธิภาพ จึง
สามารถนำไปเผยแพร่เพื่อใช้ประโยชน์ในประชากรกลุ่มเป้าหมาย คือ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราช
วิทยาลัยส่วนกลางและวิทยาเขตแหง่ อ่ืนได้

คำสำคัญ : โปรแกรมออนไลน์, ทกั ษะการปรบั ตวั , การเรยี นรดู้ ว้ ยตนเอง, การวจิ ัยและพัฒนา



ABSTRACT

Dissertation Topic : Online Program to Develop Teachers to Enhance
Students’ Adaptability Skills
Students’ Name
Degree Sought : Manmit Athan
Program : Doctor Degree of Education
Anno Domini : Educational Administration
Advisor : 2022
: Asst. Prof. Dr. Witoon Thacha

This research aimed to develop an online program for the development of
the teachers' skills to enhance the students' adaptability. The research materials
consisted of the teacher's learning manuals and a practical student development guide
for teachers. After the implication of the R1 and D1 and the R4 and D4 steps of the
Research and Development (R&D) methodology, six sets of teacher's learning manuals
and one workshop manual were obtained. Then the R5 and D5, the one group pretest-
posttest experimental research methodology, were used with 15 teachers and 324
students in the Faculty of Education of Mahamakut Buddhist University, Isan Campus.
These groups of samples were randomized to adequately represent the population of
Mahamakut Buddhist University and its other campuses. It was observed that the
online lessons developed for this research could significantly increase the teacher's
post-test scores with the statistical standard of 90/90. As for the students, their post-
test scores on the adaptability skills were significantly higher than the scores observed
in the pre-test. This shows that the online programs developed in this research are
effective educational innovations. Therefore, it can be disseminated for the benefit of
the target population from all campuses of Mahamakut Buddhist University.

Keywords : Online program, Adaptability skills, Self-learning, Research, and
Development

กติ ติกรรมประกาศ

ดุษฎีนิพนธ์เล่มนี้ ประสบความสำเร็จลลุ ่วงได้ดว้ ยดี ด้วยความกรุณาอย่างยิง่ จากท่านอาจารย์
ทีป่ รึกษา ผ้ชู ว่ ยศาสตราจารย์ ดร.วทิ ลู ทาชา ท่ใี หค้ ำปรึกษาแนะนำ และอบรมสั่งสอนความรู้ ช่วยเหลือ
ทุกขั้นตอนของการทำวิจัยตั้งแต่เริ่มจนกระทั่งสำเร็จ ผู้วิจัยรู้สึกซาบซึ้งและกราบขอบพระคุณในความ
เมตตาของท่านอาจารย์เปน็ อย่างสงู

ผู้วิจัยขอกราบขอบพระคุณอธิการบดี คณบดีคณะศึกษาศาสตร์ ที่ได้อำนวยความสะดวก
ในการศึกษาตลอดหลักสูตร และขอกราบขอบพระคุณคณาจารย์ทุกท่าน พระครูสุธีจริยวัฒน์, ผู้ช่วย
ศาสตราจารย์ ดร. พระครูธรรมาภิสมัย, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. พระมหาศุภชัย สุภกิจฺโจ, ผู้ช่วย
ศาสตราจารย์ ดร. และรองศาสตราจารย์ ดร.วิโรจน์ สารรัตนะ ที่เป็นแรงบันดาลใจจุดประกาย
แนวคิดในการศึกษา พร้อมทั้งคอยให้กําลังใจ ให้คำแนะนํา สนับสนุนส่งเสริม และผลักดันให้ฝ่าฟัน
อุปสรรคทั้งปวง ผู้วิจัยขอขอบพระคุณผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ไพศาล สุวรรณน้อย ที่กรุณาเป็น
ประธานคณะกรรมการสอบ ให้ความอนุเคราะห์เมตตาให้คำปรึกษาตลอดจนตรวจสอบข้อบกพร่อง
ต่าง ๆ ในการปรับปรุงแก้ไขเนื้อหางานวิจัย ขอบคุณบุคลากรทุกท่าน เจ้าหน้าที่งานบัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน ที่คอยดูแล ให้คำแนะนำและช่วยเหลือตลอด
ระยะเวลาท่ศี ึกษาท่ีมหาวิทยาลัยแห่งน้ี

งานวิจัยนี้จะสำเร็จมิได้หากมิได้รับความอนุเคราะห์จากท่านผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เชี่ยวชาญและ
คณะอาจารย์ผู้ทรงเกียรติทุกท่านที่เข้าร่วมทุกกิจกรรมการตรวจสอบเครื่องมือวิจัย ที่ช่วยสะท้อนและ
ชี้แนะในการปรับปรุงจนได้เครื่องมือที่มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น ขอบพระคุณผู้บริหารและคณาจารย์
มหาวทิ ยาลยั มหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอสี านทุกท่านที่ได้อำนวยความสะดวก และเสยี สละเวลาให้
ความร่วมมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นอย่างดียิ่ง ขอบคุณมิตรภาพจากเพื่อนร่วมรุ่นสาขาวิชาการ
บริหารการศึกษา รุ่นที่ 6 ทุกท่าน เป็นกัลยาณมิตรทั้งยามทุกข์และยามสุขตลอดการเรียนในหลักสูตร
และกัลยาณมติ รพ่นี ้องท่านอืน่ ท่ีมิได้เอย่ นามทั้งหมดที่ให้กำลังใจ ช่วยเหลอื ทกุ อย่างด้วยดีตลอดมา

ทา้ ยทีส่ ุดน้ี ขอกราบขอบพระคุณบิดา มารดา ผ้ใู ห้กำเนิด และญาติพนี่ ้องครอบครัวอาจหาญ
ทุกคน ผู้มอบโอกาสทางการศึกษา เป็นกำลังใจสำคัญในการดำเนินชีวิตและการศึกษาต่อจนถึงระดับ
ดุษฎีบัณฑิตจนประสบความสำเร็จ หากดุษฎีนิพนธ์เล่มนี้ก่อให้เกิดคุณประโยชน์ คุณงามความดีทั้งปวง
ผวู้ ิจยั ขอมอบแดผ่ มู้ ีพระคุณทุกท่าน

แมนมติ ร อาจหาญ

สารบญั

หนา้
บทคัดย่อภาษาไทย.............................................................................................. ง
บทคดั ยอ่ ภาษาอังกฤษ......................................................................................... จ
กติ ติกรรมประกาศ............................................................................................... ฉ
สารบัญ................................................................................................................ ช
สารบญั ตาราง...................................................................................................... ญ
สารบัญภาพ........................................................................................................ ฏ
บทท่ี
1 บทนำ........................................................................................................ 1

1.1 ความเป็นมาและความสำคัญของปญั หา………………………………..….……………….. 1
1.2 คำถามการวจิ ัย................................................................................................... 7
1.3 วตั ถุประสงค์การวจิ ัย.......................................................................................... 7
1.4 สมมตฐิ านการวจิ ยั ............................................................................................. 7
1.5 ขอ้ ตกลงเบอื้ งต้น…………………………………………………………………………………….. 8
1.6 ขอบเขตการวิจยั ................................................................................................ 10
1.7 นยิ ามศพั ท์เฉพาะ................................................................................................ 11
1.8 ประโยชน์ที่คาดวา่ จะไดร้ บั .................................................................................. 13

2 เอกสาร และงานวจิ ัยที่เกย่ี วข้อง................................................................. 15

2.1 หลักธรรมเพือ่ คุณภาพและความสำเรจ็ ของงานวิจัย…………………………….…….. 15
2.2 การวจิ ัยและพัฒนา : แนวคดิ และแนวปฏิบตั เิ พอื่ การวจิ ยั ...………………….………. 19
2.3 แนวคดิ เชงิ ทฤษฎเี กย่ี วกบั ทักษะการปรบั ตวั ……………………………….……..…..…. 25
2.4 บริบทของมหาวทิ ยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย : ประชากร (Population)

ท่ีเปน็ กลมุ่ เป้าหมายในการนำผลการวิจยั ไปใช้………………………...……………..... 86
2.5 บรบิ ทของมหาวทิ ยาลยั มหามกุฏราชวทิ ยาลัย วทิ ยาเขตอีสาน อำเภอเมือง

ขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น : พนื้ ทที่ ดลอง (Experimental Area) ในการ
วจิ ัย.................................................................................................................... 92
2.6 กรอบแนวคดิ เพ่อื การวจิ ัย.................................................................................. 96

3 วธิ ดี ำเนินการวิจัย……………………………………………………………………..……… 104

3.1 ขน้ั ตอนท่ี 1 การจดั ทำค่มู อื ประกอบโครงการ................................................... 106
3.2 ขั้นตอนท่ี 2 การตรวจสอบคุณภาพของค่มู ือและการปรบั ปรุงแก้ไข.................. 107
3.3 ข้ันตอนที่ 3 การสรา้ งเครอ่ื งมือเพอื่ การพัฒนาในภาคสนาม.............................. 108
3.4 ขน้ั ตอนที่ 4 การทดลองในภาคสนาม (Trial)……………………………………..…..…. 116



สารบัญ (ตอ่ )

บทที่ หน้า

3.5 ข้ันตอนท่ี 5 การเขียนรายงานผลการวจิ ัยและการเผยแพรผ่ ลงานวิจัย............. 119
3.6 แผนดำเนนิ การวิจยั โดยภาพรวม……………………………………………………………… 119

4 ผลการวเิ คราะห์ขอ้ มลู ……………………………………………………………….………. 121

4.1 ขน้ั ตอนท่ี 1 ผลการจัดทำคู่มือประกอบโครงการ............................................... 121
4.2 ข้นั ตอนท่ี 2 ผลการตรวจสอบคุณภาพของคู่มือและการปรบั ปรงุ แก้ไข.............. 124
4.3 ข้นั ตอนที่ 3 ผลการสร้างเคร่ืองมือเพือ่ การทดลองในภาคสนาม........................ 128
4.4 ขนั้ ตอนที่ 4 ผลการทดลองในภาคสนาม (Trial)................................................ 140

5 โปรแกรมออนไลน์เพอื่ พัฒนาอาจารยส์ กู่ ารเสริมสร้างทักษะการปรับตัว
ของนกั ศกึ ษา : นวัตกรรมจากการวจิ ัยและพฒั นา...................................... 168

5.1 คมู่ ือชดุ ท่ี 1 ทัศนะเกยี่ วกบั นิยามของทักษะการปรับตัว.................................... 174
5.2 คมู่ ือชุดที่ 2 ทัศนะเกย่ี วกับความสำคัญของทักษะการปรับตัว.......................... 182
5.3 คมู่ อื ชุดที่ 3 ทัศนะเก่ยี วกับลักษณะทแ่ี สดงถงึ ทกั ษะการปรบั ตวั ………........................ 190
5.4 คมู่ อื ชุดท่ี 4 ทัศนะเกยี่ วกบั แนวทางการพฒั นาทักษะการปรบั ตัว……................ 197
5.5 คู่มือชุดท่ี 5 ทัศนะเก่ยี วกบั ขนั้ ตอนการพฒั นาทักษะการปรบั ตัว....................... 207
5.6 คมู่ ือชดุ ที่ 6 ทัศนะเกยี่ วกบั การประเมนิ ทักษะการปรบั ตวั ……........................... 213
5.7 คู่มอื ประกอบโครงการอาจารย์นำความรูส้ กู่ ารพัฒนานกั ศกึ ษา........................ 231

6 สรปุ อภปิ รายผลและขอ้ เสนอแนะ............................................................... 240

6.1 สรปุ ผลการวิจยั .................................................................................................. 241
6.2 อภปิ รายผล…….................................................................................................. 246
6.3 ข้อเสนอแนะ……………….................................................................................... 249

บรรณานุกรม............................................................................................ 251
ภาคผนวก................................................................................................. 260

ภาคผนวก ก รายช่อื และสถานภาพของอาจารย์ทเี่ ปน็ กลมุ่ เปา้ หมายในการตรวจ
ค่มู ือ ครงั้ ท่ี 1......................................................................................................... 261

ภาคผนวก ข หนงั สอื ของบัณฑติ วิทยาลยั เพ่ือขอความรว่ มมือจากอาจารย์ท่เี ป็น
กลมุ่ เป้าหมายในการตรวจคู่มือ ครง้ั ที่ 1............................................................... 263

ภาคผนวก ค รายช่อื และสถานภาพของอาจารย์ทีเ่ ป็นกลมุ่ เป้าหมายในการตรวจ
คมู่ อื ครงั้ ท่ี 2......................................................................................................... 265

ภาคผนวก ง หนังสอื ของบณั ฑิตวิทยาลัยเพ่ือขอความร่วมมอื จากอาจารย์ที่เป็น
กลุ่มเป้าหมายในการตรวจคู่มือ คร้ังท่ี 2............................................................... 267



สารบญั (ตอ่ )

บทท่ี หน้า

ภาคผนวก จ รายชอ่ื และสถานภาพของผทู้ รงคุณวฒุ ใิ นการตรวจสอบความ
สอดคล้องของข้อคำถามกับวตั ถุประสงค์การเรยี นรใู้ นแบบทดสอบผลการ
เรียนรู้ของอาจารย์................................................................................................ 269

ภาคผนวก ฉ หนงั สือของบัณฑติ วิทยาลยั เพื่อขอความร่วมมอื จากผู้ทรงคุณวฒุ ิ
เพอ่ื ตรวจสอบความสอดคล้องของข้อสอบกับวตั ถุประสงค์การเรียนร้ใู น
แบบทดสอบผลการเรียนร้ขู องอาจารย์................................................................. 271

ภาคผนวก ช แบบตรวจสอบความสอดคล้องของขอ้ สอบกับวัตถุประสงค์การ
เรียนรู้ในแบบทดสอบผลการเรยี นรู้อาจารย์.......................................................... 273

ภาคผนวก ซ แบบทดสอบผลการเรยี นรู้ของอาจารย์ทเี่ ป็น Google Form.............. 283
ภาคผนวก ฌ หนงั สอื จากบัณฑติ วทิ ยาลัยถึงมหาวทิ ยาลยั เพือ่ ขออนุญาตทดลอง

ใชแ้ บบทดสอบผลการเรียนรขู้ องอาจารย์กับอาจารย์ในมหาวทิ ยาลยั ................... 289
ภาคผนวก ญ รายชอ่ื และสถานภาพของผู้ทรงคุณวฒุ ิในการตรวจสอบความ

สอดคลอ้ งของข้อคำถามกบั วตั ถุประสงคก์ ารพฒั นาในแบบประเมนิ ทักษะ
การปรบั ตัวของนักศกึ ษา...................................................................................... 292
ภาคผนวก ฎ หนงั สือของบัณฑิตวิทยาลยั เพื่อขอความร่วมมอื จากผู้ทรงคุณวฒุ ิ
เพอ่ื ตรวจสอบความสอดคล้องของข้อคำถามกับวัตถุประสงค์การพฒั นา
ในแบบประเมินทักษะการปรับตัวของนักศกึ ษา.................................................... 294
ภาคผนวก ฏ แบบตรวจสอบความสอดคล้องของข้อคำถามกบั วตั ถปุ ระสงค์การ
พฒั นาในแบบประเมินทกั ษะการปรบั ตัวของนกั ศกึ ษา......................................... 296
ภาคผนวก ฐ แบบประเมนิ ตนเองของนักศกึ ษาทเ่ี ปน็ กลุ่มเป้าหมายในการพฒั นา
Google Form...................................................................................................... 301
ภาคผนวก ฑ หนังสือของบณั ฑิตวทิ ยาลัยเพ่ือขอความรว่ มมอื จากสถานศึกษา
เพ่อื การทดลองใช้แบบประเมินทกั ษะการปรบั ตัวของนักศึกษา............................ 307
ภาคผนวก ฒ ผลการวเิ คราะห์คา่ สัมประสทิ ธิ์สหสัมพนั ธข์ องความเช่ือม่นั โดย
ใชว้ ิธีของครอนบาคของแบบประเมนิ ทักษะการปรับตวั ของนกั ศึกษา.................. 309
ภาคผนวก ณ หนงั สือของบณั ฑิตวิทยาลัยเพ่ือขอความรว่ มมอื จากสถานศึกษา
ท่ีเป็นพื้นท่ีในการวิจัยเชงิ ทดลอง.......................................................................... 313
ภาคผนวก ด รายช่ือและสถานภาพของอาจารย์ที่เปน็ กลุม่ ทดลอง............................ 315
ภาคผนวก ต ผลการวิเคราะห์เปรยี บเทยี บผลการทดสอบผลการเรียนรู้ของอาจารย์
ท่ีเป็นกลุ่มทดลองก่อนและหลังการพัฒนาโดยใช้การทดสอบที (t-test)…………….. 317
ภาคผนวก ถ ผลการวิเคราะห์เปรยี บเทียบผลการประเมนิ ทักษะการปรบั ตวั
ของนักศึกษากอ่ นและหลังการพฒั นาโดยใชก้ ารทดสอบที (t-test)...................... 319

ประวตั ิผูว้ จิ ัย.............................................................................................. 321

สารบัญตาราง

ตารางท่ี หน้า

2.1 หลกั สูตรและจำนวนนกั ศึกษา....................................................................................... 94

2.2 อาจารยแ์ ละบุคลากร.................................................................................................... 95

2.3 แนวคดิ เชงิ ระบบของข้อเสนอทางเลือกท่หี ลากหลายในเชิงวชิ าการหรอื ทฤษฎี

(Academic or theoretical Alternative Offerings) ทไี่ ด้จากการศึกษา

วรรณกรรมท่ีเกยี่ วข้องของผูว้ ิจยั : กรอบแนวคดิ ในการวิจยั ........................................ 99

3.1 เกณฑ์การพิจารณาคา่ ความยากง่าย ( p ) ของขอ้ สอบ................................................ 111

3.2 เกณฑ์การพิจารณาค่าอำนาจจำแนก ( r ) ของข้อสอบ................................................. 112

3.3 แสดงกจิ กรรมและระยะเวลาในโครงการพฒั นาอาจารย์.............................................. 116

3.4 แสดงกิจกรรมและระยะเวลาในโครงการอาจารย์นำผลการเรียนรู้สกู่ ารพฒั นา

นกั ศกึ ษา....................................................................................................................... 117

4.1 ผลการตรวจสอบความสอดคลอ้ งของข้อสอบกบั วตั ถปุ ระสงค์การเรยี นรู้ใน

แบบทดสอบผลการเรยี นรขู้ องอาจารย์......................................................................... 130

4.2 คะแนนจากการทดลองใช้ (Try-Out) แบบทดสอบผลการเรียนรู้ของอาจารย์กบั

อาจารย์ท่ีเป็นกลุ่มตัวอยา่ งจำนวน 30 ราย เพ่ือวิเคราะหค์ วามยากงา่ ย การกระจาย

ความเชือ่ มนั่ ค่าอำนาจจำแนกรายข้อ และค่าสมั ประสิทธ์ิความเชอื่ มนั่ ด้วยวิธีการ

ของ Kuder Richardson............................................................................................. 132

4.3 เกณฑ์การพิจารณาคา่ ความยากง่าย (p) ของข้อสอบ................................................... 134

4.4 เกณฑ์การพจิ ารณาคา่ อำนาจจำแนก ( r ) ของข้อสอบ................................................ 134

4.5 แสดงคา่ ความยากงา่ ย (p) คา่ อำนาจจำแนก (r) และผลการพิจารณาคณุ ภาพ

ของขอ้ สอบรายข้อ....................................................................................................... 135

4.6 ผลการตรวจสอบความสอดคลอ้ งของข้อคำถามกบั วตั ถุประสงคก์ ารพฒั นาในแบบ

ประเมินทักษะการปรบั ตัวของนักศึกษา....................................................................... 138

4.7 ผลการวิเคราะห์คา่ สัมประสทิ ธิ์แอลฟาของความเชื่อมั่นของแบบประเมินทักษะการ

ปรบั ตัวของนักศึกษาจำแนกเป็นรายด้านและโดยรวม................................................. 140

4.8 ผลการทดสอบผลการเรยี นรู้ของอาจารย์ท่ีเปน็ กลมุ่ ทดลองก่อนการพัฒนา (Pre-test).... 142

4.9 ผลการทดสอบผลการเรียนรู้ของอาจารยท์ ี่เป็นกลมุ่ ทดลองหลงั การพัฒนา(Post-test)... 145

4.10 ผลการทดสอบค่าที (t-test) เปรียบเทียบความแตกต่างอย่างมีนยั สำคญั ทางสถิติ

ระหวา่ งคะแนน “ก่อน” และ “หลงั ” การพฒั นาเพ่ือการเรียนรูข้ องอาจารย์............. 147

4.11 ผลการวิเคราะห์ผลการทดสอบผลการเรยี นรู้ของอาจารย์ตามเกณฑม์ าตรฐาน

90/90....................................................................................................................... 149

4.12 ค่าเฉลี่ย (Mean : ) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation : S.D.)

จากผลการประเมินทักษะการปรับตวั ของนกั ศึกษาก่อนการพัฒนา (Pre-test).................. 151



สารบญั ตาราง (ต่อ)

ตารางท่ี หนา้

4.13 ผลการประเมินตนเองของอาจารย์ที่เป็นกลมุ่ ทดลองในการนำข้อเสนอทางเลือก

ที่เป็นหลกั การ / แนวคดิ / เทคนิค / วิธีการ / กจิ กรรมไปใชใ้ นการพฒั นาทักษะ

การปรบั ตัวให้แก่นักศึกษา............................................................................................ 155

4.14 ผลการประเมินตนเองของอาจารย์ท่ีเปน็ กลมุ่ ทดลองในการนำข้อเสนอทางเลือก

ที่เปน็ ขนั้ ตอนการพฒั นาไปใชใ้ นการพัฒนาทักษะการปรบั ตัวให้แก่นักศึกษา................ 159

4.15 ค่าเฉล่ีย (Mean : ) และค่าสว่ นเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation : S.D.)

จากผลการประเมนิ ทักษะการปรับตัวของนกั ศึกษาหลังการพัฒนา (Post-test)................. 163

4.16 ผลการทดสอบค่าที (t-test) เปรียบเทียบความแตกต่างอยา่ งมนี ัยสำคัญทางสถติ ิ

ระหว่างคะแนน “ก่อน” และ “หลัง” การพัฒนา........................................................ 165

สารบญั ภาพ

ภาพท่ี หนา้

2.1 หลักธรรมเพอ่ื คุณภาพและความสำเร็จของงานวจิ ยั .................................................... 19
2.2 แนวคิดและขนั้ ตอนการวิจัยและพฒั นาตามทัศนะของวโิ รจน์ สารรตั นะ..................... 21
2.3 ตราสัญลกั ษณ์ของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวทิ ยาลยั ................…………………………… 87
2.4 โครงสรา้ งมหาวิทยาลยั มหามกฏุ ราชวิทยาลัย…………………………..........................……. 90
3.1 ข้นั ตอนของการวจิ ยั และพัฒนาในงานวิจัย................................................................... 105
3.2 กรอบแนวคิดในการจัดทำคู่มือเพื่อพฒั นาทักษะการปรับตัว………................................ 107
4.1 แสดงค่มู ือโปรแกรมออนไลน์และปกของค่มู ือประกอบโครงการพัฒนา

เพ่ือการเรียนร้ขู องอาจารย์เก่ียวกบั การพัฒนาทกั ษะการปรับตัว................................... 123
4.2 แสดงปกของค่มู ือประกอบโครงการอาจารย์นำผลการเรียนร้สู กู่ ารเสริมสรา้ งทกั ษะ

การปรบั ตวั ใหแ้ กน่ ักศึกษา............................................................................................ 124
4.3 การตรวจสอบคุณภาพของคมู่ ือและการปรบั ปรุงแกไ้ ข ณ มหาวทิ ยาลยั มหามกฏุ

ราชวิทยาลัย วทิ ยาลยั ศาสนศาสตรย์ โสธร..................................................................... 125
4.4 การตรวจสอบคุณภาพของคู่มือและการปรับปรุงแก้ไข ณ มหาวทิ ยาลยั มหามกฏุ ราช

วิทยาลัย วิทยาลัยศาสนศาสตรเ์ ฉลมิ พระเกียรติกาฬสินธุ์............................................. 127
4.5 การตรวจสอบคุณภาพของค่มู ือและการปรับปรุงแกไ้ ข ณ มหาวิทยาลัยมหามกฏุ

ราชวิทยาลัย วทิ ยาเขตศรลี า้ นช้าง................................................................................ 127
4.6 การประชุมชแี้ จงรายละเอยี ดโครงการวจิ ัย และการทดสอบผลการเรยี นรู้

ของอาจารย์ ท่เี ปน็ กลุ่มทดลองก่อนการพัฒนา (Pre-test) ณ มหาวิทยาลยั
มหามกุฏราชวทิ ยาลยั วิทยาเขตอีสาน......................................................................... 141
4.7 อาจารย์ที่เปน็ กลมุ่ ทดลองศึกษาคู่มือประกอบโครงการท้งั สองโครงการโดย
หลักการเรยี นรดู้ ว้ ยตนเอง (Self-Learning).................................................................. 143
4.8 การประชมุ ช้แี จงระเบียบวธิ วี ิจยั ให้กับอาจารย์ท่ีเปน็ กลุ่มทดลอง................................. 151
4.9 อาจารย์ทีเ่ ป็นกลุ่มทดลองนำผลการเรียนรูส้ กู่ ารพัฒนานักศกึ ษา.................................. 155

บทท่ี 1
บทนำ

1.1 ความเปน็ มาและความสำคญั ของปัญหา

ปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงอันเกิดจากเทคโนโลยีดิจิทัลอย่างรวดเร็ว การทำงานและหลาย
อุตสาหกรรมต้องเผชิญสภาวะการพลิกผันทางดิจิทัล (Digital Disruption) ความเจริญก้าวหน้าทาง
วิทยาการในโลกยุคปัจจบุ นั ส่งผลกระทบต่อการเปลีย่ นแปลงในด้านต่าง ๆ แต่ละประเทศจึงมีการเรียนรู้
เพอ่ื ปรับตวั ให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดข้ึนอยตู่ ลอดเวลาและเตรียมพร้อมท่ีจะเผชิญต่อปัญหาต่าง ๆ
ที่จะส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของมนุษย์ ชีวิตก็ถูกกำหนดจากการเปลี่ยนแปลง ความใหม่ และความไม่
แน่นอน ซึ่งคนเราก็ได้มีการพัฒนาทั้งด้านร่างกาย สติปัญญา และอารมณ์ในช่วงเวลาต่าง ๆ ของชีวิต
การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นตลอดเวลานี้ยังเกี่ยวข้องกับหลายช่วงเวลาสำคัญในชีวิต เช่น การไป
โรงเรียน การแต่งงาน หรือการมีบุตร และยังเกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตในทุก ๆ วันอีกด้วย
ตัวอย่างเช่น การเจ็บป่วย การเปลี่ยนหน้าที่การงาน หรือแม้แต่เหตุการณ์รถเสีย ความสามารถใน
การตอบโต้และตอบสนองอย่างมีประสิทธิภาพต่อสถานการณ์เหล่านี้เป็นที่รู้จักกันว่า การปรับตัว
(Collie & Martin, 2016) องค์กรส่วนใหญ่หันมามุ่งเน้นเรื่องความสำคัญของการมีความสามารถใน
การปรับตัวในหมู่พนักงาน และแนวโน้มเช่นน้ีจะยังคงมีต่อไปเรื่อย ๆ ในอนาคต ผู้เช่ียวชาญด้านการ
พัฒนาบุคลากรร้อยละ 91 ต่างเชื่อว่าภายในปี 2018 เกณฑ์หลักในการรับพนักงานใหม่จะเน้นเรื่อง
ของความสามารถในการปรับตัว การมีความสามารถในการปรับตัวจะช่วยขยายขีดความสามารถใน
การรับมือกับการเปลี่ยนแปลง ไม่ว่ามันจะหนักหนาสักแค่ไหนก็ตาม แทนที่จะทุ่มเทพลังงานไปกับ
การพยายามเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ แต่เป็นการเปลี่ยนแปลงตัวเองจากภายใน ซึ่งนี่จะทำให้
ประสบความสำเร็จไม่ว่าในสถานการณ์ใดก็ตาม (ERM Academy, n.d.) และในวงการการศึกษา
เองก็ย่อมเป็นหนึ่งในนั้นด้วยเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นการนำอุปกรณ์สื่อการเรียนการสอนรูปแบบใหม่ ๆ
เข้ามาใช้ในโรงเรียน การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และการพัฒนาครู อาจารย์
และบุคลากรทางการศึกษาให้มีทักษะในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อปรับตัวให้ทันกับการ
เปลี่ยนแปลง การปรับตัวนั้นจึงมีความเกี่ยวข้องอย่างมากกับครู เนื่องจากงานสอนนั้นเกี่ยวข้องกับ
การตอบสนองและการจัดการการเปลี่ยนแปลงที่เกิดข้ึนตลอดเวลา ประสิทธิภาพในการปรับตัวเพื่อ
การจัดการการเปลี่ยนแปลงอย่างมีประสิทธิภาพเป็นสิ่งสำคัญสำหรับครูที่ทั้งต้องทำการสอนใน
ห้องเรียน ทำงานในห้องพักครู และอื่น ๆ (Collie & Martin, 2016) นอกจากนี้การปรับตัวยังช่วย
ขยายขีดความสามารถกำลังคนในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต และกระบวนการนี้เป็น
กระบวนการสร้างความคิดใหม่ ๆ พัฒนา ประยุกต์ ส่งเสริม ทำฝันให้เป็นจริง และปรับปรุง ซึ่งเกิด
จากผู้ทำงานในฝ่ายปฏิบัติการ เพื่อยกระดับความสามารถในการปฏิบัติงาน ครูอาจารย์จึงเป็นผู้ท่มี ี
ความเหมาะสมที่จะใช้นวัตกรรมเพื่อยกระดับการสอนของตนเอง แน่นอนว่ามีความคล้ายคลึงกัน
เล็กน้อยระหว่างพฤติกรรมการสร้างนวัตกรรมและพฤติกรรมการปรับตัว เนื่องจากพฤติกรรมท้ังสอง
แบบเกี่ยวข้องกับการปรับ หรือการแก้ไขความคิด พฤติกรรม และการกระทำ อย่างไรก็ตาม สิ่งที่

2

แตกต่างกันคือทักษะการปรับตัวนั้นเกิดขึ้นเพื่อตอบสนองต่อสถานการณ์ความเปลี่ยนแปลงหรือ
สถานการณท์ ไี่ มแ่ น่นอน ในขณะท่ีพฤติกรรมการสรา้ งนวตั กรรมมีจุดประสงค์เพ่ือพฒั นาสถานการณ์ที่
เป็นอยู่ (Thurlings, Evers, and Vermeulen, 2015) การมีความสามารถในการปรับตวั จึงเปน็ หัวใจ
สำคัญในยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เพราะเป็นทักษะที่ไม่ตายตัว สามารถนำไปปรับใช้ใน
สถานท่ที ำงานไดใ้ นหลายแบบ (Robert Half, n.d.)

สภาวะการศึกษาของประเทศไทยในปัจจุบัน เมื่อเปรียบเทียบกับนานาชาติพบว่าอยู่ใน
ภาวะวิกฤต มีปัญหาที่จะต้องได้รับการแก้ไขและพิจารณาในหลายประเด็น กล่าวคือ ประเทศไทย
กำลังเผชิญกับแรงผลักดันทั้งจากภายนอกและภายในประเทศที่ทำให้ต้องเร่งปฏิรูปการศึกษาอย่าง
จริงจังและต่อเนื่อง แรงผลักดันที่สำคัญในยุคนี้ประการแรก คือ การปฏิวัติดิจิทัล ( Digital
Revolution) ซง่ึ เทคโนโลยดี จิ ทิ ัลไดเ้ ขา้ มามีบทบาทสำคัญทัง้ ในชวี ิตประจำวนั และในโลกธรุ กจิ ไมต่ ่าง
จากการปฏิวตั ิอุตสาหกรรมในอดีต พรอ้ มกันนัน้ “อินเทอร์เนต็ ในทุกส่ิง” (Internet of Things - IoT)
หรือการทอ่ี ุปกรณต์ ่าง ๆ และทุกสิ่งทุกอยา่ งถูกเชอ่ื มโยงสูโ่ ลกอินเทอรเ์ น็ต ทำให้มนษุ ย์สามารถสง่ั การ
ควบคุมการใช้งานอุปกรณ์ต่าง ๆ ผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ส่งผลให้รูปแบบการใช้ชีวิตและการ
ทำธุรกรรมตา่ ง ๆ เปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงและรวดเรว็ ดา้ นอุตสาหกรรมจะมีการนำหุ่นยนต์มาใช้ใน
อุตสาหกรรมมากขึ้น โดยเฉพาะหุ่นยนต์ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence - AI) จะเข้ามามี
บทบาททำงานแทนมนุษย์รูปแบบของอุตสาหกรรมและพลังงานจะเปลี่ยนไป ด้านเศรษฐกิจ การเงิน
และการลงทุน การค้าปลีกจะเปลี่ยนไปเป็น e-commerce มากขึ้น และมีธุรกิจรูปแบบใหม่ เช่น
SME, Start Up หลายประเทศเริ่มทดลองใช้เงินสกุลดิจิทัล ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในระบบ
การเงินการธนาคารอย่างมาก ด้านการเมืองและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ มีการรวมกลุ่มทาง
เศรษฐกจิ ระหว่างประเทศทงั้ ในระดับทวภี าคแี ละพหุภาคีในระดบั ภูมิภาค เช่น ประชาคมอาเซียน จะ
สง่ ผลให้การเคลื่อนย้ายตลาดเงินและตลาดทุนเป็นไปอยา่ งรวดเร็วและเสรีการค้าและการแข่งขันจะมี
ความรุนแรงขึ้น การจัดการศึกษาจึงต้องปรับตัวให้ทัน เพราะอาชีพบางอาชีพจะหายไปและมีอาชีพ
ใหม่ขนึ้ มาแทน รปู แบบการเรียนกจ็ ะเปลี่ยนไปเช่นกัน ทง้ั การเรียนการสอน การประเมินผล เป็นการ
เรยี นรู้ดว้ ยตนเองมากข้ึน และเรียนรตู้ ลอดชวี ิต คนไทยจึงต้องมีทักษะสำคัญที่จำเป็นสำหรับศตวรรษ
ท่ี 21 คือ ทักษะในการเรยี นร้แู ละสรา้ งสรรค์นวตั กรรม ทักษะในการใช้ส่ือและเทคโนโลยี ทกั ษะอาชีพ
และการดำรงชีวิต (สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา, 2561) และทักษะที่สำคัญอกี ประการหน่งึ คือ
ทกั ษะการปรบั ตัว เพ่อื รบั มอื กบั การเปล่ียนแปลง ทัง้ นี้ เพอื่ เป็นการเตรียมการด้านการศึกษาให้พร้อม
รองรับนโยบายประเทศไทย 4.0 ที่รัฐบาลใช้เป็นโมเดลในการพัฒนาและขับเคลื่อนเศรษฐกิจของ
ประเทศให้ก้าวพ้นจากกับดักประเทศที่มีรายได้ปานกลางไปสู่ประเทศที่มีรายได้สูง และเตรียมพร้อม
รองรับความเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีที่กำลังก้าวเข้าสู่ยุคของการปฏิวัติดิจิทัล ( Digital
Revolution) ที่มีการพัฒนาและการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีสารสนเทศแบบก้าวกระโดด และ
สง่ ผลใหเ้ กดิ การเปลี่ยนแปลงในทุกวงการ รวมทงั้ วงการศกึ ษาอยา่ งหลกี เล่ยี งไม่ได้ สอดคลอ้ งกับความ
จำเป็นในการจัดทำแผนการศึกษาแห่งชาติ คือ ความท้าทายทีเ่ ป็นพลวัตของโลกศตวรรษที่ 21 ทั้งใน
สว่ นทีเ่ ป็นแรงกดดันภายนอก ไดแ้ ก่ การเปลย่ี นแปลงของบริบทเศรษฐกจิ และสังคมโลก อันเน่ืองจาก
การปฏิวัติดิจิทัล (Digital Revolution) นวัตกรรมและความก้าวหน้าของเทคโนโลยีดิจิทัลอย่างก้าว
กระโดด ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีอย่างฉับพลัน (Disruptive technology) ซึ่งนอกจาก

3

จะสง่ ผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจแล้ว ยงั สง่ ผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของประชาชนในประเทศต่าง ๆ
ทั่วโลกที่ต้องเผชิญกับเทคโนโลยีดิจิทัลในชีวิตประจำวันมากมาย ทั้งด้านการเรียนการสอนใน
สถานศึกษา เทคโนโลยีสารสนเทศจึงเกี่ยวข้องกับทุกเรื่องในชีวิตประจำวัน ดังนั้น เยาวชนรุ่นใหม่จึง
ควรเรียนรู้และเข้าใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีดจิ ิทัล เพื่อให้รู้เท่าทันและนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อตนเอง
สังคมและประเทศต่อไป ซึ่งเป็นบทบาทของการศึกษาที่ต้องพัฒนาเด็กและเยาวชนให้มีทักษะและ
ความรู้ในเรื่องดังกล่าว ถือเป็นความท้าทายต่อระบบการศึกษา การจัดการเรียนการสอนและ
กระบวนการเรยี นรู้ตลอดชีวติ ทีต่ อ้ งปรับให้อยู่บนฐานของนวัตกรรมและเทคโนโลยดี ิจิทลั รวมทั้งเออ้ื
ต่อคนทุกกลุ่มให้สามารถเข้าถึงสื่อการเรียนรู้ที่หลากหลาย ในสภาวการณ์ปัจจุบันของประเทศไทย
การผลิตและพัฒนากำลังคนในภาคการศึกษายังคงเป็นไปตามศักยภาพและความพร้อมของแต่ละ
สถาบันการศึกษา มงุ่ เนน้ ปริมาณมากกวา่ คุณภาพผู้เรยี นและผสู้ ำเร็จการศึกษาส่วนใหญ่ยังขาดทักษะ
ทีส่ ำคัญจำเป็น เชน่ ทักษะการใช้ภาษาอังกฤษ และทักษะดิจทิ ัล (สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา,
2560) รวมถึงทักษะการปรับตัว จากความสำคัญที่ได้กล่าวถึงในแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-
2579 ดงั น้นั งานวิจยั น้จี ึงได้นำเสนอวธิ ีการเพ่ือเพม่ิ ทักษะด้านการปรับตวั รูปแบบการเรียนการสอนที่
เน้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมและมีปฏิสัมพันธ์ เพื่อปรับตัวให้สอดคล้องกับอุตสาหกรรมการศึกษาไทย
พลิกโฉมการจัดการศึกษา ยกระดับคุณภาพ และสร้างความสามารถ พัฒนาการศึกษาให้ ได้
มาตรฐานสากลและสามารถแข่งขันได้

จากแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560-2564 และแนวคิด
ประเทศไทย 4.0 เป็นโมเดลขับเคลื่อนสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ได้มีการกล่าวถึงการนำ
เทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้เป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาระบบเศรษฐกิจที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของการใช้
นวัตกรรม การปฏิรูปกระบวนการทางธุรกิจ การผลิต การค้า และการบริการ การปรับปรุง
ประสิทธิภาพการบริหารราชการแผ่นดิน และการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน (สำนักงาน
พัฒนาเศรษฐกจิ และสังคมแห่งชาติ, 2560) ดงั น้ัน เพ่อื พัฒนาคนให้สอดคลอ้ งกบั แผนพัฒนาเศรษฐกิจ
และสงั คมแห่งชาติ จึงจำเปน็ ต้องเร่ิมตงั้ แต่การศึกษา ซงึ่ งานวิจัยน้ีได้สง่ เสริมให้เกิดทักษะการปรับตัว
ในการจดั การเรยี นการสอน

ประเทศไทย โดย สศช. จึงปรบั แนวทางการพัฒนาประเทศใหส้ อดคลอ้ งกบั “ชีวติ วิถีใหม่”
(New Normal) ด้วยคำนึงถึงประเด็นสำคัญ คือ สร้างสมดุลของมนุษย์และธรรมชาติ รวมท้ัง
ปฏสิ มั พนั ธร์ ะหวา่ งกันของมนุษย์ในสังคม ตลอดจนสรา้ งการเตบิ โตอย่างพอเพียง ดว้ ยเหตนุ ้ี แนวทาง
ใหม่ของการพัฒนาประเทศช่วงครึ่งหลังของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 และ
เชอื่ มโยงไปสู่การพัฒนาในแผนฯ ฉบับที่ 13 จงึ ประกอบดว้ ยการปรับจดุ อ่อน เปลี่ยนวกิ ฤตเป็นโอกาส
เพ่อื สนับสนุนการปรบั โครงสรา้ งทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศใหส้ ามารถรองรบั ชีวิตวิถใี หม่ ลด
ความเหลื่อมล้ำ ก่อให้เกิดความยั่งยืน และเสริมจุดแข็งเดิม สร้างจุดแข็งใหม่ เพื่อสร้างโอกาสการ
เติบโตทางเศรษฐกิจ รวมทั้งยกระดับคุณภาพชีวิตของคนไทยให้ดีขึ้น ภายใต้แนวคิด “Resilience”
(ความยืดหยุ่น) จึงจำเป็นต้องมีการพัฒนาความสามารถของประเทศ 3 ด้าน คือ Cope: พร้อมรับ
เป็นความสามารถในการต้านทาน เยียวยา และฟื้นสภาพจากวิกฤต Adapt : ปรับตัว ความสามารถ
ในการปรบั เปล่ียนใหด้ ีขน้ึ Transform : เปล่ยี นแปลง เพอ่ื พรอ้ มเติบโต ความสามารถในการพลิกโฉม
หน้าประเทศให้ก้าวหนา้ หากประเทศมีความสามารถทั้ง 3 ด้าน จะช่วยให้เป็นประเทศที่พรอ้ มเผชญิ

4

สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ไม่ว่าจะรวดเร็วหรือรุนแรงเพียงใดก็ตาม และสามารถที่จะก้าว
เดินต่อไปด้วยความระมัดระวังและรอบคอบ สู่จุดหมายการพัฒนาที่เหมาะสม มีความสมดุล มั่นคง
มั่งคั่ง อย่างยั่งยืน (กระทรวงศึกษาธิการ, 2563) ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยนี้ที่ได้นำเสนอ การพัฒนา
แพลตฟอร์มการจัดการเรียนการสอนเพื่อเพิ่มทักษะการปรับตัวให้มีประสิทธิภาพในการเรียนรู้ และ
งานวิจัยนี้ยังแสดงให้เห็นประสิทธิภาพและประโยชน์ในการมีความสามารถในการปรับตัวในการ
จัดการเรยี นการสอน

การศกึ ษาเป็นปจั จัยทส่ี ำคัญในการพัฒนาทรัพยากรมนุษยท์ ี่มีคณุ ค่าย่ิง คุณภาพของมนุษย์
เป็นสิ่งที่มีบทบาทต่อความเจริญก้าวหน้าของประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศที่มีทรัพยากรอนั
จำกดั หากแต่มพี ลเมอื งทม่ี ีคณุ ภาพประเทศนัน้ ยอ่ มจะเจรญิ กา้ วหน้าไดอ้ ย่างรวดเรว็ และคุณภาพของ
มนุษย์ย่อมขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพในการจัดการศึกษา ซึ่งโลกแห่งยุคในปัจจุบันนั้นได้มีความ
เจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศไปอย่างรวดเรว็ แต่ละประเทศก็มีการปรับกลยทุ ธ์เพื่อพัฒนา
ให้ทันกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา และเตรียมพร้อมที่จะเผชิญกับความท้าทาย การ
จัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคนให้มีคุณภาพ ทำให้ศักยภาพทีม่ ีในตัวบุคคลนั้นไดร้ บั การพัฒนาอยา่ งเตม็ ท่ี
รู้จักคิด วิเคราะห์แก้ปัญหา ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์เรียนรู้ไดด้ ว้ ยตนเอง และสามารถที่จะปรบั ตวั ให้
ทันสมัยกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วพึ่งตนเอง มีคุณธรรมจริยธรรม และสามารถ
ดำรงชีวิตอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ สำนัก
นายกรัฐมนตรี, 2542) ทั้งนี้ การปรับตัวทางสังคมเป็นทักษะพื้นฐานที่สำคัญของบุคคล ซึ่งควรได้รับ
การฝึกฝนปลูกฝังตั้งแต่เด็ก ๆ เพื่อให้ทุกคนซึ่งเป็นหน่วยหนึ่งของสังคมสามารถดำรงชีวิตอยูใ่ นสงั คม
ไดอ้ ย่างมสี ุข (กรมวชิ าการ, 2546) ทา่ มกลางสภาพแวดล้อมโลกท่เี ปลีย่ นแปลงไป คนรุ่นใหม่จึงต้องมี
ความยดื หย่นุ และสามารถปรบั เปล่ียนตัวเองได้ ซง่ึ เป็นทกั ษะทีจ่ ำเป็นอยา่ งมาก

ดังนน้ั การพฒั นาการปรับตัวทางสังคมจึงเป็นการพัฒนาความสามารถ การแสดงพฤติกรรม
ต่อบุคคลอื่นและสิ่งแวดล้อมให้สอดคล้องกับแบบแผนที่สังคมยอมรับได้ พฤติกรรมแสดงออกจะบ่ง
บอกให้เห็นถงึ เจตคตแิ ละคา่ นยิ มเฉพาะตนของบคุ คลคนน้นั ผูท้ ่ีมกี ารพัฒนาการปรับตวั ทางสังคมดีจะ
มีสัมพันธ์ที่ดีต่อผู้อื่นเข้าใจความรู้สึกของผู้อื่นเช่นเดียวกับตนเอง (เพ็ญประภา ลูกอินทร์, อรนุช ศรี
สะอาด และ ปรีชา จันทวี, 2559)

จากผลการศึกษาความสำคัญของทักษะการปรับตัว (Adaptability Skills) จากทัศนะของ
นักวิชาการและแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ดังนี้คือ Robert Half (n.d.), ERM Academy (n.d.), Agrawal
(2016), Ferguson (2011), Collie & Martin (2016), Thurlings, Evers, and Vermeulen (2015),
Reid (2018), และ The Conversation (2018) ได้กลา่ วถงึ ทกั ษะการปรับตัว (Adaptability Skills)
ว่ามีความสำคัญมาก เนื่องจากเป็นทักษะที่ไม่ตายตัว สามารถนำไปปรับใช้ในสถานที่ทำงานที่มีการ
เปลี่ยนแปลงตลอดเวลาได้ในหลายแบบ สามารถรับมือกับความท้าทายได้ดียิ่งขึ้น เพราะสามารถ
ทำงานได้โดยไม่มีขีดจำกัด และเป็นผู้ที่เปิดใจให้กับการค้นหาวิธีการแก้ไขปัญหา คนที่ปรับตัวเก่งจะ
สามารถเข้ากบั คนไดห้ ลายประเภทดว้ ยทักษะมากมายที่มีเพ่ือให้การทำงานสำเรจ็ ลุลว่ ง สามารถสร้าง
เครือขา่ ยทใ่ี หญ่ข้ึนและได้พบกับคนท่ีมีความสามารถมากมาย คณุ คา่ ในที่ทำงานจะมากขึ้น จะไม่กลัว
การเปลี่ยนแปลง แต่จะวางแผนสำคัญในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงเป็นอันดับแรก หนึ่งในสิ่งที่
เห็นไดช้ ดั ก็คือการมคี วามสุขในชวี ิตมากข้นึ เพราะความสุข ความพอใจ และความสามารถในการสร้าง

5

ความสัมพันธ์ที่มีคุณภาพนั้น ขึ้นอยู่กับทักษะความสามารถในการปรับตวั อย่างมากทีเ่ ดียว ทำให้ก้าว
ผ่านการเปล่ยี นแปลงในอาชีพได้อยา่ งราบรื่น เมอื่ ลม้ สามารถลกุ ข้ึนใหม่ได้ไมย่ าก เพราะหลายครั้งใน
ชีวิตทเี่ ราตอ้ งพบเจอกบั เหตกุ ารณ์เลวร้ายท่ีไมค่ าดคิด การมีความสามารถในการปรับตัวทำให้สามารถ
ลอยตัวจากความยากลำบากในชีวิตที่พยายามดึงเราให้จมลง ช่วยขยายขีดความสามารถในการรับมอื
กับการเปลี่ยนแปลง จะไม่วติ กกงั วลและไมเ่ ปน็ ทกุ ข์กบั แผนทวี่ างไว้แตไ่ มส่ ำเร็จด่ังใจหวงั ท้ายที่สุดจะ
ได้รับการยอมรับมากขึ้น ทำให้เติบโตขึ้น ได้รับการยอมรับมากขึ้น คนที่ประสบความสำเร็จส่วนใหญ่
นั้นล้วนแล้วแต่เสาะหาโอกาสที่จะช่วยให้เติบโตอยู่เสมอไม่ว่าที่ไหนและเมื่อไรก็ตามที่ทำได้ จะไม่
ปรับตัวเฉพาะเมื่อถึงเวลาต้องปรับ แต่จะปรับตัวอยู่เสมอ ทุกที่ทุกเวลา และสำหรับการเรียนรู้ การ
ปรับตัวช่วยให้ครูอาจารย์จัดการงานที่อยู่ตรงหน้าได้ดี เนื่องจากงานสอนนั้นเกี่ยวข้องกับการ
ตอบสนองและการจัดการการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นตลอดเวลา ประสิทธิภาพในการปรับตัวเพื่อการ
จัดการการเปลย่ี นแปลงเป็นส่ิงสำคัญสำหรบั ครูอาจารย์ท่ีท้ังต้องศึกษานวัตกรรมการเรียนรใู้ หม่ ๆ ทำ
การสอนในห้องเรียน ทำงานในห้องพักครู และอน่ื ๆ ครอู าจารย์ทม่ี ีการปรับตวั ดีกว่า จึงมีแนวโน้มจะ
ปฏิบัติงานไดด้ ีกวา่

จากการศึกษาเปรียบเทียบการปรับตัวทางสังคมของนักเรียนระหว่างกลุ่มที่ได้รับการจัด
กจิ กรรมเสรมิ สรา้ งการปรับตวั ทางสังคมกบั กิจกรรมตามปกติในชั้นมธั ยมศึกษาปีท่ี 1 สังกัดสำนักงาน
เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 2 (เพ็ญประภา ลูกอินทร์ และคณะ, 2559) พบว่า
นักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมเสริมสร้างการปรับตัวทางสังคมมีการปรับตัวทางสังคมหลังการจัด
กิจกรรมเสริมสรา้ งการปรับตวั ทางสังคม อยู่ในระดับดี มีค่าเฉลี่ยคะแนนการปรับตัวทางสังคมสูงกวา่
ก่อนการจัดกิจกรรมเสริมสร้างการปรับตัวทางสังคม และมีการปรับตัวทางสังคมสูงกว่านักเรียนท่ี
ได้รับการจดั กจิ กรรมตามปกติ

จากการศึกษาผลการปรับตัวของสถานศึกษาระดับประถมศึกษาสังกั ดองค์การปกครอง
ส่วนท้องถิ่นในภาคตะวันออกสู่คุณภาพการบริหารสถานศึกษาที่จัดการเรียนการสอนเป็น
ภาษาอังกฤษ (วันวิภา เทียนขาว, สิทธิพร นิยมศรีสมศักดิ์ และ สมโภชน์ อเนกสุข, 2555) พบว่า
ผ้บู ริหารสถานศึกษาเกิดความรู้สึกเหน็ ใจครแู ละนักเรยี นท่เี ปน็ ฝ่ายได้รับผลกระทบและตอ้ งปรับตัวต่อ
การเรยี นการสอนมากทีส่ ดุ จงึ ได้ดำเนนิ การแบบค่อยเป็นคอ่ ยไปเพ่ือลดแรงต่อต้านและเกิดการยอมรับ
การเปลี่ยนแปลงในท่สี ุด

จากการศึกษาแนวทางการพัฒนาทกั ษะการปรับตัว (Adaptability Skills) จากทัศนะของ
นักวิชาการและแหล่งต่าง ๆ ดังนี้คือ Baker (2014), Robert Half (n.d.), Life Zemplified (n.d.),
Oyster Connect (n.d.), Prince (2019), Ccl (n.d), Quick Base (2012), Reddy (n.d.), Williams
(2017) และ Vanderbloemen (2013) ได้กล่าวถึงแนวทางในการพัฒนาทักษะการปรับตัวว่าต้อง
รู้จักยอมรับ (Accepting) เรียนรู้ (Learning) สร้างสรรค์ (Creating) เป็นผู้มีความยืดหยุ่น (Being
Flexible) เ ป ิ ด ก ว ้ า ง Being Receptive) เ ป ็ น ธ ร ร ม ช า ต ิ ( Being Spontaneous) ล ง ม ื อ ท ำ
(Embracing) เปลี่ยนแปลง (Altering) อาสา (Volunteering) จัดลำดับความสำคัญ (Prioritizing
What’s Important to You) ตั้งคำถาม (Ask Questions) และ สร้างเครือข่ายสนับสนุน (Create
Support Systems)

6

จากสภาพปัญหาของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ที่กำลังประสบปัญหาด้านการ
การเปลี่ยนแปลงในมิติต่าง ๆ โดยเฉพาะด้านเทคโนโลยีดิจิทัล ทักษะการปรับตัวให้เข้ากับการ
เปลีย่ นแปลงจงึ สำคญั เป็นทกุ สงิ่ ทุกอย่างในปจั จุบัน

จากปัญหาและความสำคัญที่กล่าวมาข้างต้น จึงทำให้ผู้วิจัยสนใจงานวิจัยและพัฒนา
(Research and Development : R&D) การพัฒนาโปรแกรมออนไลน์เพื่อพัฒนาอาจารย์สู่การ
เสริมสร้างทักษะการปรับตัวของนักศึกษา โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยและพัฒนา ( Research and
Development : R&D) ตามทัศนะของวิโรจน์ สารรัตนะ (2561) ที่เห็นว่า นวัตกรรมที่พัฒนาขึน้ โดย
กระบวนการวิจัยและพัฒนามีจุดมุ่งหมายเพื่อนำไปใช้พัฒนาบุคลากรสู่การพัฒนาคุณภาพของงานที่มี
ปรากฏการณ์หรอื ขอ้ มูลเชิงประจกั ษ์แสดงใหเ้ หน็ วา่ มีความจำเปน็ เกิดขึน้ เช่น เป็นผลสบื เน่อื งจากการ
กำหนดความคาดหวังใหม่ที่ท้าทายของหน่วยงาน หรือการเปลี่ยนแปลงในกระบวนทัศน์การทำงาน
จากเก่าสู่ใหม่ที่บุคลากรขาดความรู้ความเข้าใจและทักษะในกระบวนทัศน์ใหม่ และในปัจจุบันมี
หลักการ แนวคิด ทฤษฎีที่ถือเป็นนวัตกรรมใหม่ทางการบริหารการศึกษาเกิดขึ้นมากมาย ที่คาดหวัง
ว่าหากบุคลากรทางการศึกษามีความรู้ (Knowledge) แล้วกระตุ้นให้พวกเขานำความรู้เหล่านี้สู่การ
ปฏิบัติ (Action) ก็จะก่อให้เกิดพลัง (Power) ให้การปฏิบัติงานในหน้าที่เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
และประสิทธิผลยิ่งขึ้น ตามแนวคิด “Knowledge + Action = Power” หรือตามคำกล่าวที่ว่า
“ Make Them Know What To Do, Then Encourage Them Do What They Know” ห รื อ
“Link To On-The-Job Application”

จากลักษณะสำคัญของการวิจัยและพัฒนา (Research and Development : R&D)
ดงั กล่าว ผวู้ จิ ยั เชอื่ ว่าจะสามารถตอบสนองต่อความเป็นมาและความสำคัญของปัญหาดังกล่าวข้างต้น
เพราะการวิจัยและพัฒนาจะช่วยพัฒนานวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้แบบออนไลน์ในยุคสังคมดิจิทัลให้
เกิดการเรียนรู้และการนำไปปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งในยุคสมัยดิจิทัลในปัจจุบัน มี
ความสำคัญจำเป็นมากและเป็นเรื่องใหม่ที่ครูอาจารย์ (Teachers) จะต้องเรียนรู้และทำความเข้าใจ
เกี่ยวกับทักษะการปรับตัว (Adaptability Skills) ซึ่งเป็นทักษะสำคัญประการหนึ่งสำหรับการศึกษา
ในศตวรรษที่ 21 เพื่อนำไปสู่การพัฒนานักศึกษา (Students) ซึ่งเป็นเป้าหมายสุดท้าย (Ultimate
Goal) ของการจัดการศึกษาได้อย่างมปี ระสิทธภิ าพ เพราะโปรแกรมออนไลน์เพอื่ พฒั นาอาจารย์สู่การ
เสริมสร้างทักษะการปรบั ตัวของนักศึกษาทเี่ ป็นผลจากการวิจัยและพัฒนาจาก “กลุ่มทดลอง” ท่ีใช้ใน
การวิจัย คือ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน จังหวัดขอนแก่น สามารถจะนำไป
เผยแพร่เพื่อใช้ให้เกิดประโยชน์ในกลุ่มประชากร (Population) ซึ่งเป็นเป้าหมายอ้างอิงในการนำ
ผลการวิจัยไปเผยแพร่เพื่อใช้ให้เกิดประโยชน์หลังการวจิ ัยและพัฒนา คือ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราช
วิทยาลัย “ทุกวิทยาเขตทั่วประเทศ” ได้ ตามหลักการของการวิจัยและพัฒนา (Research and
Development : R&D) ที่วิจัยและพัฒนานวตั กรรมใด ๆ ขึ้นมา แล้วนำนวัตกรรมนั้นไปทดลองใช้ใน
พื้นที่ทดลองแห่งใดแห่งหนึ่งที่มีคุณลักษณะเป็นตัวแทนของประชากร เมื่อผลจากการทดลองพบว่า
นวัตกรรมนั้นมีคุณภาพหรือมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด ก็แสดงว่า สามารถเผยแพร่เพื่อการ
นำไปใช้ประโยชน์กับประชากรที่เป็นกลุ่มอ้างอิงในการวิจัยได้ และยิ่งเป็นโปรแกรมแบบออนไลน์
(Online Program) ที่พัฒนาขึ้นตามยุคสมัยดิจิทัลแบบใหม่ ไม่เป็นโปรแกรมแบบเอกสาร
(Document Based Program) แบบยุคสมัยการพิมพ์แบบดั้งเดิม จะยิ่งทวีความเป็นประโยชน์ต่อ

7

การนำนวัตกรรมที่พฒั นาขึ้นไปเผยแพร่เพือ่ ใช้ประโยชนข์ องประชากรที่เป็นกลุม่ อ้างองิ ในการวิจยั ได้
อยา่ งกวา้ งขวาง อย่างประหยดั อยา่ งมีประสิทธภิ าพ และเกดิ ประสิทธิผลได้มากกวา่

1.2 คำถามการวิจยั

การพัฒนาโปรแกรมออนไลน์เพื่อพัฒนาอาจารย์สู่การเสริมสร้างทักษะการปรับตัวของ
นักศกึ ษา (Online Program to Develop Teachers to Enhance Students’ Adaptability Skills)
ที่พัฒนาขึ้นโดยกระบวนการวิจัยและพัฒนาด้วยแนวคิด “Knowledge + Action = Power”
ประกอบด้วยโครงการ 2 โครงการ คือ 1) โครงการพัฒนาเพื่อการเรียนรู้ของอาจารย์เกี่ยวกับการ
พฒั นาทกั ษะการปรบั ตวั 2) โครงการอาจารย์นำผลการเรียนรสู้ ู่การเสริมสรา้ งทักษะการปรับตัวให้แก่
นักศึกษา มีคู่มือประกอบแตล่ ะโครงการทีม่ ีเน้ือหาสาระอะไรบ้าง และหลังการใช้คูม่ ือประกอบแต่ละ
โครงการในภาคสนามด้วยระเบียบวิธีวิจัยเชิงทดลอง อาจารยท์ เ่ี ปน็ กลุ่มทดลองหลังการดำเนินงานใน
โครงการแรกได้คะแนนจากการทดสอบความรู้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน 90/90 หรือไม่ และมีผล
การเรียนรู้หลังการพัฒนาสูงกว่าก่อนการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติหรือไม่ ผลการประเมิน
ทักษะการปรับตัวของนักศึกษาหลังการดำเนินงานในโครงการที่สองมีค่าเฉลี่ยของคะแนนหลัง การ
พัฒนาสูงกว่าก่อนการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติหรือไม่ และมีข้อเสนอแนะจากอาจารย์ที่เป็น
กลุม่ ทดลองเพ่ือการปรับปรงุ แกไ้ ขเนื้อหาสาระในคู่มืออะไรอีก

1.3 วัตถุประสงคก์ ารวิจัย

การวิจัยในครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อวิจัยและพัฒนาโปรแกรมออนไลน์เพื่อพัฒนาอาจารย์สู่
การเสริมสร้างทกั ษะการปรบั ตัวของนกั ศกึ ษา มีวัตถุประสงค์ดงั นี้

1.3.1 เพื่อพัฒนาโปรแกรมออนไลน์ตามแนวคิด “Knowledge + Action = Power” ท่ี
ประกอบด้วยโครงการ 2 โครงการ คือ 1) โครงการพัฒนาเพื่อการเรียนรู้ของอาจารย์เกี่ยวกับการ
พฒั นาทักษะการปรับตวั 2) โครงการอาจารยน์ ำผลการเรยี นรสู้ ู่การเสริมสร้างทักษะการปรับตัวให้แก่
นักศกึ ษา โดยมคี มู่ ือประกอบแตล่ ะโครงการ

1.3.2 เพื่อประเมินความมปี ระสิทธิภาพของโปรแกรมออนไลน์จากผลการวิจัยเชงิ ทดลอง
ในภาคสนาม 2 ระยะ คอื การพัฒนาอาจารย์ และอาจารยพ์ ฒั นานกั ศกึ ษา

1.3.3 เพื่อระดมสมองของอาจารย์ที่เป็นกลุ่มทดลองให้ทราบถึงข้อเสนอแนะเพื่อการ
ปรับปรงุ แกไ้ ขโปรแกรมออนไลน์

1.4 สมมติฐานการวจิ ยั

การวิจยั และพัฒนาโปรแกรมออนไลน์เพื่อพฒั นาอาจารย์สูก่ ารเสรมิ สร้างทักษะการปรับตัว
ของนักศึกษา ใช้ระเบียบวิธีวิจยั และพัฒนา (Research and Development : R&D) ตามทัศนะของ
วิโรจน์ สารรัตนะ (2561) ที่เห็นว่า นวัตกรรมที่พัฒนาขึ้น โดยกระบวนการวิจัยและพัฒนามี
จุดมุ่งหมายเพื่อนำไปใช้พัฒนาบุคลากรสู่การพัฒนาคุณภาพของงานที่มีปรากฏการณ์หรือข้อมูลเชิง
ประจักษแ์ สดงให้เหน็ ว่ามีความจำเป็นเกิดข้นึ เชน่ เป็นผลสบื เนอื่ งจากการกำหนดความคาดหวงั ใหม่ที่
ท้าทายของหน่วยงาน หรือการเปลี่ยนแปลงในกระบวนทัศน์การทำงานจากเก่าสู่ใหม่ที่บุคลากรขาด

8

ความรู้ความเข้าใจและทักษะในกระบวนทัศน์ใหม่ และในปัจจุบันมีหลักการ แนวคิด ทฤษฎีที่ถือเป็น
นวัตกรรมใหม่ทางการบริหารการศึกษาเกิดขึ้นมากมาย ที่คาดหวังว่าหากบุคลากรทางการศึกษามี
ความรู้ (Knowledge) แล้วกระตุ้นให้พวกเขานำความรู้เหล่านี้สู่การปฏิบัติ (Action) ก็จะก่อให้เกิด
พลัง (Power) ให้การปฏิบัติงานในหน้าที่เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลยิ่งขึ้น ตาม
แนวคิด “Knowledge + Action = Power” หรือตามคำกล่าวที่ว่า “Make Them Know What
To Do, Then Encourage Them Do What They Know” ห ร ื อ “ Link To On- The- Job
Application” และด้วยแนวคิดที่ว่าการศึกษาวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องในบทที่ 2 ถือเป็นจุดเริ่มต้นท่ี
สำคัญของการวจิ ยั และพฒั นา เพราะจะทำให้ได้โปรแกรมออนไลน์เพ่ือพัฒนาอาจารยส์ ู่การเสริมสร้าง
ทกั ษะการปรบั ตวั ของนักศึกษาที่มคี ุณภาพและประสทิ ธภิ าพ

ผลจากการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องในบทที่ 2 ผู้วิจัยได้กำหนดกรอบแนวคิด
เพื่อพัฒนาอาจารย์สู่การเสริมสร้างทักษะการปรับตัวของนักศึกษา ที่ประกอบด้วยโครงการ 2
โครงการ คอื 1) โครงการพัฒนาเพ่ือการเรยี นรู้ของอาจารยเ์ กยี่ วกับการพัฒนาทักษะการปรับตัว และ
2) โครงการอาจารย์นำผลการเรยี นรู้สูก่ ารเสรมิ สร้างทักษะการปรบั ตัวใหแ้ ก่นักศึกษา

ในการดำเนินการวิจัย ผู้วิจัยได้ดำเนินการจัดทำโครงการ จัดทำคู่มือ ตรวจสอบคุณภาพ
ของคู่มือ สร้างเครื่องมือเพื่อใช้ในการวิจัย และทดลองในภาคสนาม จากขั้นตอนต่าง ๆ ของการวิจัย
คือ ขั้นตอนการจัดทำคู่มือประกอบโครงการ ขั้นตอนการตรวจสอบคุณภาพคู่มือและการปรับปรุง
แก้ไข 2 ระยะ ขัน้ ตอนการสร้างเคร่ืองมอื เพ่อื การทดลอง และขั้นตอนการทดลองในภาคสนาม ซึ่งเปน็
ขั้นตอนการวิจัยที่เชื่อว่าจะทำให้ได้ผลการวิจัยที่มีคุณภาพ ดังนั้น จึงกำหนดสมมติฐานการวิจัยว่า
โปรแกรมออนไลน์เพื่อพัฒนาอาจารย์สู่การเสริมสร้างทักษะการปรับตัวของนักศึกษา ที่ผ่านการ
พฒั นาในภาคสนามแลว้ จะมีประสิทธิภาพจากผลการประเมิน 2 กรณี ดังน้ี

1.4.1 ผลการทดสอบความรู้ของอาจารย์ทเ่ี ป็นกลุ่มทดลองหลังการดำเนินงานในโครงการ
พัฒนาเพื่อการเรียนรู้ของอาจารย์เกี่ยวกับการพัฒนาทักษะการปรับตัวเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน
90/90 และมผี ลการเรยี นรู้หลังการพฒั นาสงู กว่าก่อนการพฒั นาอยา่ งมนี ยั สำคัญทางสถิติหรือไม่

1.4.2 ผลการประเมินทกั ษะการปรับตัวของนกั ศกึ ษาตามโครงการอาจารย์นำความรู้สู่การ
เสริมสร้างทกั ษะการปรบั ตวั ให้แก่นักศึกษามคี ่าเฉลย่ี ของคะแนนหลังการพฒั นาสูงกวา่ ก่อนการพัฒนา
อยา่ งมนี ยั สำคัญทางสถติ ิ

1.5 ข้อตกลงเบอ้ื งตน้

กรอบแนวคิดของการวจิ ัยในสาขาวชิ าการบรหิ ารการศึกษา
การวจิ ยั เรอื่ ง “โปรแกรมออนไลน์เพ่ือพฒั นาอาจารย์สู่การเสริมสรา้ งทกั ษะการปรับตัวของ
น ั ก ศ ึ ก ษ า ( Online Program to Develop Teachers to Enhance Students’ Adaptability
Skills)” นี้เป็นการวิจัยในหลักสูตรศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการศึกษา
มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน ใช้ระเบียบวิธีวิจัยและพัฒนา (Research and
Development: R&D) มีจดุ มุ่งหมายเพ่ือให้ได้นวัตกรรมทางการศึกษาท่ีเป็นโปรแกรมอบรมออนไลน์
ดว้ ยตนเองท่ีประกอบด้วย 2 โครงการ คือ 1) โครงการพฒั นาเพ่ือการเรียนรู้ของครู และ 2) โครงการ
ครูนำผลการเรียนสู่การพัฒนาผู้เรียน โครงการแรกมีคู่มือเพื่อการอบรมด้วยตนเอง (Self-Training)

9

ของครู โครงการที่สองมีคู่มือเชิงปฏิบัติการเพื่อครูนำไปใช้เป็นแนวการพัฒนาผู้เรียน โดยคาดหวังว่า
นวัตกรรมทางการศึกษานี้ เมื่อผ่านกระบวนการวิจัยและพัฒนาหลายขั้นตอน (Ri&Di) แล้วนำไป
ทดลองใชใ้ นพื้นที่ที่เป็นตัวแทนของประชากร เมือ่ ผลการทดลองพบว่านวัตกรรมน้ันมปี ระสิทธิภาพ ก็
สามารถนำไปเผยแพร่ให้กับประชากรที่เป็นพื้นที่เป้าหมายได้ใช้ประโยชน์ในวงกว้างได้อย่างมี
ผลการวิจยั รองรบั

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยในสาขาวิชาการบริหารการศึกษา ดังนี้ 1) ในเชิงวิชาการ มีหลาย
ประการ แต่ขอนำมากล่าวถึงที่สำคัญ ดังน้ี (1) งานวิจัยนี้ให้ความสำคัญกับประเด็นที่เป็นการศึกษา

ศตวรรษที่ 21 ซ่ึงมคี วามสำคญั เพราะเป็นการให้การศึกษาท่ีสง่ ผลสุดท้ายใหผ้ ู้เรยี นมีทักษะที่จำเป็นใน
การประสบความสำเร็จในโลกใหม่น้ี (Driscoll, 2022) (2) งานวิจัยนี้มุ่งพัฒนาคุณภาพการศึกษาใน

ระดับสถานศึกษา ที่นักวิชาการให้ความเห็นว่า การบริหารการศึกษาเกิดขึ้นในระดับต่าง ๆ ตั้งแต่
ส่วนกลางถึงระดับสถานศึกษา แต่การบริหารการศึกษาระดับสถานศึกษา (คือ โรงเรียน วิทยาลัย
มหาวิทยาลัย หรือชื่อเรียกอื่น ๆ) มีความสำคัญเพราะเป็นฐานปฏิบัติที่จะทำให้การระดมทรัพยากร
บุคคลและทรัพยากรวัตถุให้เกิดประโยชน์ที่ใช้งานได้จริง เป็นฐานปฏิบัติที่จะช่วยเสริมสร้างการสอน
และการเรียนรู้ท่ีจะส่งผลให้นักเรียนไดร้ บั การศกึ ษาที่ถูกต้องจากครูที่ถูกต้อง และเป็นฐานปฏิบัติที่จะ
สร้างอิทธิพลที่ส่งผลต่อนักเรียนให้เติบโตไปสู่เป้าหมายที่กำหนดโดย มีครูเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง
(Kashyap, n.d.) สอดคล้องกับแนวคิดการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน (School-Based
Management : SBM) ซึ่งเป็นรูปแบบการกระจายอำนาจให้โรงเรียนท่ีเป็นหน่วยหลักในการจัด
การศกึ ษา (Edge, 2000) (3) การวจิ ยั น้ใี ช้หลกั การ “พฒั นาครู แล้วครูนำผลที่ได้รับไปพฒั นาผู้เรียน”

ถือเป็นหลักการที่เป็นจุดเน้นของการบริหารการศึกษา คือ การเสริมสร้างการสอนและการเรียนรู้
(The Focus of Educational Administration is the Enhancement of Teaching and Learning)
(Amadi, 2008) เป็นกระบวนการช่วยให้นักเรียนได้รับการศึกษาที่ถูกต้องจากครูที่ถูกต้อง (Enables
the Right Pupils to Receive the Right Education from the Right Teachers) (Dhammei,
2022) เป็นการกระตนุ้ การพัฒนาโปรแกรมท่เี หมาะสมสำหรบั การสอนและการเรียนรู้ (Bamte, n.d.)
เป็นไปตามหน้าที่ของการบริหารการศึกษาตามทัศนะของ Amadi (2008) ที่กล่าวถึงหน้าที่เกี่ยวกับ
หลักสูตร/การสอน (The Curriculum/Instructional Functions) หน้าที่เกี่ยวกับบุคลากร (The
Staff Personnel Functions) และหน้าที่เกี่ยวกับนักเรียน (The Student Personnel Functions)
และเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการบริหารการศึกษา คือ เพื่อให้การศึกษาที่เหมาะสมแก่นักเรียน
(To Provide Proper Education to Students) เพื่อให้แน่ใจว่ามีการพัฒนาวิชาชีพของครู (To
Ensure Professional Development among Teachers) และเพื่อความมั่นใจในการพัฒนา
คุณภาพการศึกษา (To Ensure Qualitative Improvement of Education) (Kashyap, n.d.) อัน
เน่อื งจากหลักการ “พัฒนาครู แล้วครนู ำผลที่ไดร้ บั ไปพัฒนาผู้เรยี น” เปน็ หลกั การส่งเสรมิ บทบาทการ
เปน็ ผู้นำทางการศึกษาให้กับครูตามทัศนะของ Speck (1999) และ Seyfarth (1999) ส่งเสริมต่อการ
ทำหน้าที่ของผู้บริหารการศึกษาที่จะต้องสนับสนุนคณะครูด้วยการฝึกอบรมและให้คำแนะนำตาม
ทัศนะของ University of Bridgeport (2022) และ Target Jobs (n.d.) และส่งเสริมต่อแนวคิด
พัฒนาวิชาชีพของครูที่ให้คำนึงถึงการส่งผลต่อการพัฒนาผู้เรียนซึ่งเป็นเป้าหมายสูงสุด (Ultimate
Goal) ของการศกึ ษาตามทศั นะของ Gusky (2000) และ Hoy and Miskel (2001) 2) ในเชิงวชิ าชพี

10

การวิจัยนี้คำนึงถึงมาตรฐานวิชาชีพของผู้บริหารสถานศึกษาและผู้บริหารการศึกษาที่ คุรุสภากำหนด
ตามมาตรฐานด้านความรู้ ในกรณีสามารถพัฒนาครูและบุคลากรให้สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมี
ประสิทธิภาพ สามารถนำความรู้ความเข้าใจในหลักการและทฤษฎีไปประยุกต์ใช้ สามารถวิเคราะห์
สังเคราะห์และสร้างองค์ความรู้ในการบริหารจัดการการศึกษา สามารถนำกระบวนการทางการวิจัย
การวัดและประเมินผล ไปใช้ในการบริหารจัดการการศึกษาได้ สามารถส่งเสริมสนับสนุนการใช้
เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา และสามารถบริหารจัดการข้อมูลข่าวสารไปสู่ผู้เรียน ครู และ
บุคลากรในสถานศึกษา และตามมาตรฐานการปฏิบัติงาน ในกรณีปฏิบัติโดยคำนึงถึงผลที่จะเกิด
ขึ้นกับการพัฒนาของบุคลากร ผู้เรียน และชุมชน พัฒนาผู้ร่วมงานให้สามารถปฏิบัติงานได้เต็ม
ศักยภาพ พฒั นาและใช้นวัตกรรมการบริหารจนเกิดผลงานที่มีคุณภาพสูง และสรา้ งโอกาสการพัฒนา
ไดท้ กุ สถานการณ์ (The Teachers Council of Thailand, n.d.)

1.6 ขอบเขตการวจิ ัย

ดังกล่าวในตอนต้นวา่ โปรแกรมออนไลน์ท่เี ปน็ ผลจากการวิจัยและพัฒนาจากกลุ่มทดลองท่ี
ใช้ในการวิจัยสามารถจะนำไปเผยแพร่เพื่อใช้ให้เกิดประโยชน์ในกลุ่มประชากรเป้าหมาย (Target
Population) ได้ทั่วประเทศ ตามหลักการของการวิจัยและพัฒนาที่วิจัยและพัฒนานวัตกรรมใด ๆ
ขึน้ มา แล้วนำนวัตกรรมนัน้ ไปทดลองใชใ้ นพนื้ ท่ีทดลองแห่งใดแหง่ หนงึ่ ทม่ี ีคุณลักษณะเปน็ ตวั แทนของ
กลุ่มประชากรเป้าหมายในการเผยแพร่นวัตกรรม เมอื่ ผลจากการทดลองพบวา่ นวัตกรรมนน้ั มีคุณภาพ
หรือมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด ก็แสดงว่า สามารถนำนวัตกรรมนั้นไปเผยแพร่เพื่อการ
นำไปใช้ประโยชน์กับกลุ่มประชากรเป้าหมายเพื่อการเผยแพร่ได้ ดังนั้น ในการวิจัยนี้จึงกำหนด
ขอบเขตของการวจิ ยั ดังนี้

1.6.1 พื้นที่ทดลอง (Experimental Area) ในการวิจัยและพัฒนาโปรแกรมออนไลน์
เพื่อพัฒนาอาจารย์สู่การเสริมสร้างทักษะการปรับตัวของนักศึกษา คือ มหาวิทยาลัยมหามกุ ฏราช
วิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับ
ของรัฐ ในการวิจัยนี้กำหนดโดยวิธีการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เป็นอาจารย์ประจำ
หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาไทย จำนวน 5 คน สาขาวิชาการสอน
ภาษาอังกฤษ จำนวน 5 คน และสาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา จำนวน 5 คน รวม 15 คน เป็นกลุ่ม
ทดลอง (Experimental Group) มนี ักศึกษาท่ีเป็นเปา้ หมายในการพฒั นาระดับปรญิ ญาตรี สาขาวิชา
การสอนภาษาไทย จำนวน 90 คน สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ จำนวน 171 คน และสาขาวิชา
การสอนสังคมศึกษา จำนวน 63 คน รวม 324 คน ระยะเวลาดำเนินการทดลองในภาคสนาม คือ
ภาคเรยี นท่ี 2 ปีการศึกษา 2564

1.6.2 พื้นที่ของประชากรเป้าหมายเพื่อการเผยแพร่นวัตกรรมจากการวิจัย (Target
Population for Dissemination of Research Innovation) ซึ่งเป็นเป้าหมายอ้างอิงในการนำ
ผลการวิจัยไปเผยแพร่ เพื่อใช้ให้เกิดประโยชน์หลังการวิจัยและพัฒนา คือ สาขาวิชาการสอน
ภาษาไทย สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ และสาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา ของ 7 วิทยาเขต/
วิทยาลยั ของมหาวทิ ยาลัยมหามกฏุ ราชวทิ ยาลยั

11

1.7 นิยามศพั ท์เฉพาะ

เพื่อให้เกดิ ความเข้าใจถูกต้องและตรงกนั ผู้วิจัยได้กำหนดนิยามศัพทเ์ ฉพาะท่ีใช้ในการวิจัย
ครั้งนี้ ดงั นี้

1.7.1 โปรแกรมออนไลน์ หมายถึง สื่อดิจิทัลที่เป็นเครื่องมือในการปฏิบัติการทางสงั คม
(Social Tool) เพื่อใช้สื่อสารระหว่างกันในเครือข่ายทางสังคม (Social Network) ผ่านทางเว็บไซต์
โดยนำเอาคู่มือประกอบโครงการพฒั นาความรู้ 2 โครงการ คอื 1) โครงการพัฒนาความร้ขู องอาจารย์
เก่ยี วกบั การพัฒนาทักษะการปรบั ตวั 2) โครงการอาจารย์นำความรู้สู่การเสริมสร้างทักษะการปรับตัว
ให้แก่นักศึกษา ลงเว็บไซต์เพื่อให้ง่ายต่อการเข้าถึงคู่มือประกอบโครงการ และใช้โปรแกรม Zoom
Cloud เป็นโปรแกรมที่ใชใ้ นการเรียนการสอนและการประชุมแบบออนไลน์ เพอื่ ใหง้ ่ายและสะดวกต่อ
การประชุม พูดคุย ติดต่อประสานงาน และเพื่อให้ง่ายต่อการรับ - ส่งข้อมูล ความคิดเห็น
ข้อเสนอแนะต่าง ๆ มีการสร้างกลุ่ม Messenger ขึ้นมาเพื่อให้สะดวก มีการสร้างข้อสอบออนไลน์
พรอ้ มตรวจคำตอบดว้ ยผา่ น Google Form

1.7.2 ทักษะการปรับตัว (Adaptability Skills) หมายถึง ความสามารถของบุคคล ทีม
หรือ องค์กร ในการปรับความคิด อารมณ์ และ พฤติกรรมของตนเอง เพื่อให้เกิดวิถีทางบวกต่อ
ปรากฏการณ์เชิงบวก เช่น การเรียนรู้ และ ความสำเร็จ เป็นทักษะในการเปลีย่ นแปลงตัวเองหรอื ทีม
ทางดา้ นข้นั ตอนการทำงานใหม่ เป้าหมายใหม่ หรอื การใชเ้ ทคโนโลยีใหม่ ใหต้ รงกบั ความตอ้ งการของ
สถานการณ์หรือสภาพแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอด ทักษะการปรับตัวช่วยให้ทำสิ่งต่าง ๆ ได้
ง่ายขึ้น สร้างโอกาสที่มากกว่าด้วยการฝึกฝนจนเข้าถึงความเป็นมืออาชีพและประสบผลสำเร็จตาม
เป้าหมายที่ตัง้ ไว้ อีกทั้งช่วยเสรมิ ให้สนับสนุนทีมได้อย่างมีประสิทธิภาพและจัดการกับผลกระทบท่มี า
กับการเปลี่ยนแปลงได้ดียิ่งขึ้นอีกด้วย จึงเป็นทักษะที่ช่วยให้คนเรามีความสุขและมีความพึงพอใจ
มากกว่าผู้อื่น เพราะไม่ต้องดิ้นรนหรือต้องพยายามต่อต้านเมื่อสิ่งต่าง ๆ เปลี่ยนแปลง ทักษะการ
ปรบั ตวั ในยคุ ปจั จุบนั จงึ เปรียบเสมือนทุกสิ่งทุกอยา่ ง ในงานวิจัยนี้ไดก้ ำหนดทักษะเพื่อการประเมินผล
จากการพฒั นา 6 ทักษะ แตล่ ะทกั ษะมนี ยิ ามศัพทเ์ ฉพาะดงั นี้

1.7.3 การเรียนรู้ (Learning) หมายถึง การบอกกับตัวเองว่าต้องเป็นผู้เรียนรู้อย่าง
สม่ำเสมอ สนกุ กบั การเรียนรูแ้ นวทางใหมจ่ ากกจิ กรรมของมหาวิทยาลยั มักจะเรยี นรขู้ ้อมูลและทักษะ
ใหม่ ๆ เพื่อนำหน้าเพื่อนร่วมชั้น กำลังเรียนรู้ทักษะใหม่ ๆ ในมหาวิทยาลัยอย่างต่อเนื่องเพ่ือ
เตรียมพร้อมทำงานในอนาคต สามารถจินตนาการสิ่งใหม่ ๆ จากความคิดเดิม ๆ ได้อย่างรวดรวดเร็ว
และอา่ นตำราเรยี นลว่ งหนา้ กอ่ นเรยี นในชน้ั

1.7.4 การรับรู้ตนเอง (Self-Awareness) หมายถึง การมคี วามภาคภมู ิใจในตนเองและ
รู้สึกดีกับตัวเอง รู้ว่าอะไรสำคัญสำหรับตัวเองและใช้ความรู้ประกอบการตัดสินใจ มีวิสั ยทัศน์ที่มี
ความหมายและมีจุดมุ่งหมายสำหรับชีวิตของตน เข้าใจว่าชีวิตจะมีการเปลี่ยนแปลงและไม่เป็นไป
ตามที่ฉันต้องการ เมื่อสูญเสยี ความม่ันใจช่ัวคราว ฉันรู้ว่าฉนั ตอ้ งทำอย่างไรเพือ่ ฟื้นฟูความม่ันใจ และ
สามารถแยกแยะและบอกใหท้ ราบถงึ จดุ อ่อนของตนและแนวทางท่ฉี นั ทำงานกับคนรอบขา้ ง

1.7.5 ทศั นคติ (Attitude) หมายถงึ การดำเนินชีวิตในแงด่ ี เชื่อว่าตนเองมที างเลือกและ
ตัวเลือกเสมอแม้ในสถานการณ์ทีย่ ากลำบาก มีอารมณ์ขัน และสามารถหาสิ่งที่จะทำให้หัวเราะแม้ใน

12

เวลาท่ีมปี ัญหา เขา้ ใจว่าประสบการณ์ใหม่ ๆ จะทำเตบิ โตและสนุกกับการเรยี นรู้ ไม่เสียเวลากังวลกับ
ส่งิ ทอี่ ยู่นอกเหนอื การควบคมุ ของตน และความลม้ เหลวให้โอกาสฉันในการสรา้ งสรรคน์ วตั กรรม

1.7.6 ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล (Interpersonal) หมายถึง การเปิดใจกว้างในการ
ติดตอ่ กับผู้อื่น เชอ่ื วา่ การมีความยดื หยุ่นในการติดต่อกับผู้อ่ืนเปน็ สิ่งสำคญั สามารถอ่านใจคนอ่ืนและ
เข้าใจว่าเขารู้สึกอย่างไรตลอดเวลา ใช้ความเข้าใจผู้อื่นในการมีปฏิสัมพันธ์ ปรับพฤติกรรมของตนให้
เข้ากับคนอ่นื และยอมรับสมาชิกใหม่และรปู แบบการทำงานของทีมเสมอ

1.7.7 การแก้ปัญหาและการตัดสินใจ (Problem Solving and Decision making)
หมายถึง การเรียนรู้วิธีการใหม่ ๆ ในการแก้ปัญหาอย่างรวดเร็ว มีทางเลือกที่หลากหลายในการ
แก้ปัญหา สามารถจัดระเบียบสภาพแวดล้อมและจัดลำดับความสำคัญของงานแม้ในเวลาที่เครียด
สามารถเรียนรู้กลยุทธส์ ว่ นตัวเพื่อรบั มอื กับความเปลี่ยนแปลงเนื่องจากความไม่แน่นอนในการดำเนิน
ชีวิต เมื่อประสบความเครียดในด้านใดด้านหนึง่ ของชวี ิต ฉันสามารถควบคุมอารมณ์กับเรื่องนั้น ๆ ได้
และสามารถค้นหาและระดมทรพั ยากรทจ่ี ำเป็นในภาวะวิกฤตหรือสถานการณใ์ หม่ ๆ

1.7.8 ความรู้เกี่ยวกับความสามารถพิเศษ (Knowledge of Special Abilities)
หมายถึง การสามารถพูดได้อย่างชัดเจนถึงพรสวรรค์และความสามารถพิเศษของตน ทักษะที่จำเป็น
สำหรับอาชีพของตนในอนาคต รู้ว่าคนอื่น ๆ ในมหาวิทยาลัยคาดหวงั อะไรจากฉัน รู้ว่าทักษะของตน
เปน็ อย่างไร ร้วู า่ พฤติกรรมและทัศนคติใดเหมาะสมในมหาวิทยาลัย และไมเ่ คยหยดุ อยู่กับความสำเร็จ
และคน้ หาความทา้ ทายตอ่ ไปในเชิงรุก

1.7.9 คู่มือประกอบโครงการพัฒนาความรู้ของอาจารย์เกี่ยวกับการพัฒนาทักษะการ
ปรับตัว หมายถึง ชุดของข้อมูลท่ีนำเสนอเนื้อหาเกีย่ วกับนิยาม ความสำคญั ลักษณะหรือคุณลักษณะ
และแนวการพัฒนาทกั ษะการปรับตัว โดยมีช่ือของคู่มอื คำแนะนำการใชค้ ่มู ือ วตั ถปุ ระสงคก์ ารเรียนรู้
ที่คาดหวังจากคู่มือ เนื้อหาที่นำเสนอในรูปแบบเพื่อการศึกษาด้วยตนเอง (Self-Study) แบ่งเนื้อหา
เป็นช่วง ๆ แตล่ ะชว่ งมีกิจกรรมให้ทบทวน เช่น การต้ังคำถามใหต้ อบ การให้ระบขุ ้อสงั เกต การใหร้ ะบุ
คำแนะนำเพอ่ื การปรับปรุงแกไ้ ข มแี บบประเมินผลตนเองท้ายชุด และรายช่อื เอกสารอา้ งอิง เปน็ ต้น

1.7.10 คู่มือประกอบโครงการอาจารย์นำความรู้สู่การเสริมสร้างทักษะการปรับตัว
ให้แก่นักศึกษา หมายถึง ชุดของข้อมูลที่เสนอเนื้อหาเกี่ยวกับคำแนะนำ และการกำหนดงานให้กับ
อาจารย์ในการนำความรู้เกี่ยวกับนิยาม ความสำคัญ ลักษณะหรือคุณลักษณะ และแนวการพัฒนา
ทักษะการปรบั ตวั สู่การพัฒนาทักษะการปรบั ตัวให้แก่นกั ศกึ ษา

1.7.11 เกณฑ์มาตรฐาน 90/90 (The 90/90 Standard) หมายถงึ เกณฑ์ที่ใช้วัดความ
มีประสิทธิภาพของคู่มือต่อการเสริมสร้างความรู้ในโครงการพัฒนาความรู้ให้กับอาจารย์สอนที่เป็น
กลุ่มทดลอง โดย 90 ตัวแรก หมายถงึ รอ้ ยละของคะแนนเฉลี่ยของผู้เรียนท้ังกลุ่มท่ีได้จากการวัดด้วย
แบบทดสอบวัดความรอบรู้หลังจากเรียนจากบทเรียนที่สร้างขึ้นจบลง 90 ตัวหลัง หมายถึง ร้อยละ
ของจำนวนผู้เรียนที่สามารถทำแบบทดสอบ (วัดความรอบรู้หลังการเรียนจากบทเรียนที่สร้างขึ้นจบ
ลง) โดยสามารถทำแบบทดสอบไดผ้ ่านตามเกณฑว์ ตั ถุประสงค์ทุกวัตถุประสงค์

13

1.8 ประโยชนท์ ค่ี าดวา่ จะได้รบั

1.8.1 การวิจัยนี้ส่งเสริมต่อแนวคิดการเป็นแผนงานวิจัยและชุดโครงการวิจัย
มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน มีนโยบายส่งเสริมการทำวิทยานิพนธ์ของ
นกั ศกึ ษาในหลกั สูตรศกึ ษาศาสตรดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการศึกษา ภายใต้ร่มหรือกรอบของ
แผนงาน “การศึกษาศตวรรษที่ 21 (21St Century Education)” โดยประยุกตใ์ ชแ้ นวคิดของการ
จัดทำแผนงานวจิ ัยหรือชุดโครงการวจิ ัยมาใชเ้ ป็นการภายในของหลักสตู ร โดยเชอ่ื วา่ “การส่งเสริมให้
ทำงานวิจัยเป็นแผนงานวิจยั หรือชดุ โครงการวจิ ยั จะมปี ระโยชน์ตอ่ การพฒั นาทางวิชาการหรือต่อการ
นำไปปฏิบัติทด่ี ีกว่าการทำงานวจิ ัยในลักษณะเปน็ โครงการเด่ียว” ซ่ึงจะก่อใหเ้ กดิ ประโยชน์ดงั คำกล่าว
ของ โยธิน แสวงดี (ม.ป.ป.) อาจารย์ประจำสถาบนั วิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ที่วา่
ชุดโครงการวิจัยเป็นการกลุ่มรวมของโครงการวิจัยย่อยที่ค้นหาองค์ความรู้ในสิ่งที่เอื้อต่อกันและกัน
สามารถนำไปใช้ในการผลักดันใหเ้ กิดสิ่งที่ต้องการให้เกิดขึ้นได้ เป็นชุดความรู้รวมทัง้ หมดที่เมื่อบูรณา
การกันแล้วจะสามารถได้ความรู้เปน็ องค์รวม (Holistic) ที่นำไปใชเ้ ป็นพ้ืนฐานในการคิดและประดิษฐ์
ตามเป้าหมาย เพราะหากทำโครงการเดี่ยว โครงการเดียวอาจได้แต่ความรู้โดด ๆ นำไปพัฒนาหรือ
ประดิษฐ์ไม่ได้ เพราะขาดองค์ความรู้บางอย่างบางตอนที่ไม่ทราบเพราะไม่ได้ตรวจสอบหรือทำวิจัย
ดังนั้น งานวิจัยเรื่อง “โปรแกรมออนไลน์เพื่อพัฒนาอาจารย์สู่การเสริมสร้างทักษะการปรับตัวของ
นกั ศึกษา” ซ่งึ ประเดน็ สำคัญของงานวจิ ัยน้ีคือ “ทักษะการปรบั ตวั (Adaptability Skills)” เปน็ ทักษะ
หนึ่งของการศึกษาศตวรรษท่ี 21 ทม่ี นี ักศึกษาคนอน่ื ๆ ในหลกั สูตรไดท้ ำกนั ในลกั ษณะ 1 นักศกึ ษาต่อ
1 ทักษะศตวรรษที่ 21 หรอื ตอ่ 1 ประเด็นการศึกษาศตวรรษที่ 21

1.8.2 การวิจัยนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยที่ส่งเสริมต่อแนวคิดของแผนงานวิจัยหรือชุด
โครงการวจิ ัยซึง่ จะกอ่ ใหเ้ กิดประโยชน์ดังทัศนะของ โยธนิ แสวงดี (ม.ป.ป.) ท่กี ล่าวว่าการทำวิจัยแบบ
แผนงานวิจัยหรือชุดโครงการวิจัยส่วนมากจะเป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and
Development) เพราะต้องมีการค้นหาชุดความรู้และการวัดสถานะการเบื้องต้น (Formative
Evaluation) ที่มีตัวชี้วัดยืนยัน มีการพัฒนา การสร้าง การทดลองใช้ การวัดและการติดตาม การ
สังเกตการเปลี่ยนแปลงในตัวชี้วัด และมีการประเมินผล (Summative Evaluation) ตามตัวชี้วัด
นำไปสู่การเปลี่ยนแปลง (แตกต่าง เช่น ใช้ t-test เปรียบเทียบ) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเม่ือ
เปรียบเทยี บก่อนและหลังการปฏิบตั งิ าน

1.8.3 การวิจัยนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยที่ให้สำคัญต่อแนวคิดการพัฒนาและประยุกต์
(Development) ซึ่งจะก่อให้เกิดประโยชน์ดังทัศนะของสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
(2563) ที่กล่าวถึงงานวิจัยพัฒนาและประยุกต์ว่า เป็นการศึกษาค้นคว้าเพื่อหาความรู้ใหม่ ๆ และมี
วัตถุประสงค์เพื่อนำความรู้นั้นไปใช้อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือเป็นการนำเอาความรู้และวิธีการต่าง ๆ ที่
ได้จากการวิจัยขั้นพื้นฐานมาประยุกต์อีกต่อหนึ่ง หรือหาวิธีใหม่ ๆ เพื่อบรรลุเป้าหมายที่ได้ระบุไว้แน่
ชัดลว่ งหนา้ เพ่อื สร้างวสั ดุ ผลติ ภณั ฑ์และเคร่ืองมือใหม่ เพื่อตดิ ต้งั กระบวนการ ระบบและบริการใหม่
หรือเพื่อการปรับปรุงสิ่งต่าง ๆ เหล่านั้นให้ดีขึ้น และตอบสนองต่อแนวคิดการขยายผลงานวิจัย
(Implementation) ที่หมายถึงการนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปสู่การปฏิบัติ ให้สามารถประยุกต์
กบั งานหรอื ขยายผลไดอ้ ยา่ งเหมาะสม

14

การวิจัยนี้จะก่อประโยชน์กับการวิจัยในสาขาวิชาการบริหารการศกึ ษา ดังนี้ 1) ในเชิง
วิชาการ คอื ใหค้ วามสำคัญกับประเดน็ ที่เป็นการศึกษาศตวรรษท่ี 21 ม่งุ พฒั นาคุณภาพการศึกษาใน
ระดับสถานศึกษา และใช้หลักการ “พัฒนาครู แล้วครูนำผลที่ได้รับไปพัฒนาผู้เรียน” 2) ในเชิง
วิชาชีพ คำนึงถึงมาตรฐานวิชาชีพของผู้บริหารสถานศึกษาและผู้บริหารการศึกษาที่คุรุสภากำหนด
ตามมาตรฐานด้านความรูแ้ ละตามมาตรฐานการปฏิบัตงิ าน ดังมรี ายละเอยี ดกล่าวไว้ในหัวข้อ 1.5 ของ
บทท่ี 1 นี้

บทที่ 2
เอกสาร และงานวจิ ยั ทเ่ี กีย่ วขอ้ ง

การวจิ ัยเรอ่ื ง “โปรแกรมออนไลน์เพ่อื พฒั นาอาจารย์ส่กู ารเสรมิ สรา้ งทกั ษะการปรับตัวของ
นักศึกษา” มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อ 1) พัฒนาโปรแกรมออนไลน์ตามแนวคิด “Knowledge +
Action = Power” ที่ประกอบด้วยโครงการและคู่มือประกอบโครงการ 2) ประเมินความมี
ประสิทธิภาพของโปรแกรมออนไลน์จากผลการวิจัยเชิงทดลองในภาคสนาม 2 ระยะ คือ การพัฒนา
อาจารย์ และอาจารย์พัฒนานักศึกษา 3) ระดมสมองของอาจารย์ที่เป็นกลุ่มทดลองให้ทราบถึง
ข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุงแก้ไขโปรแกรมออนไลน์ ดังนั้น เพื่อให้ได้ข้อมูลสารสนเทศที่เป็น
ประโยชน์ต่อการวิจัยและพัฒนาการวิจัย ผู้วิจัยได้ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องตามลำดับ
ดังน้ี

2.1 หลักธรรมเพื่อคณุ ภาพและความสำเร็จของงานวิจัย
2.2 การวจิ ยั และพัฒนา : ระเบียบวธิ ีทีใ่ ชใ้ นการวิจัย
2.3 แนวคิดเชงิ ทฤษฎเี กี่ยวกบั ทักษะการปรับตวั
2.4 บริบทของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย-ประชากรเป้าหมายในการเผยแพร่
นวัตกรรมจากการวจิ ัย
2.5 บรบิ ทของมหาวิทยาลัยมหามกฏุ ราชวิทยาลยั วิทยาเขตอสี าน-พนื้ ทที่ ดลองในการวจิ ัย
2.6 กรอบแนวคิดในการวจิ ัย

2.1 หลกั ธรรมเพ่ือคณุ ภาพและความสำเร็จของงานวจิ ยั

ตามที่มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ได้กำหนดปรัชญาของมหาวิทยาลัยไว้ว่า
“ความเป็นเลิศทางวิชาการตามแนวพระพุทธศาสนา” (Academic Excellence based on
Buddhism) และเนื่องจากในงานวิจัยนี้เป็นการวิจัยที่ใช้การวิจัยและพัฒนา (Research and
Development : R&D) มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนานวัตกรรม โดยนวัตกรรมที่พัฒนาขึ้นมีจุดมุ่งหมาย
เพื่อนำไปใช้ในการพัฒนาคนกลุ่มเป้าหมายสู่การพัฒนาคุณภาพของงาน มีกระบวนการในรูปแบบ
R1D1..R2D2..R3D3..RiDi มีขั้นตอนสุดท้ายเป็นการวิจัยเชิงทดลองในภาคสนามจริง มีจุดมุ่งหมาย
หลักเพื่อทดสอบคุณภาพของนวัตกรรมในลักษณะ If X…Then Y และเพื่อการปรับปรุงแก้ไข
ข้อบกพร่องของนวัตกรรมนั้นด้วย ดังนั้น ในการดำเนินการวิจัยนี้ ผู้วิจัยเห็นว่าควรมีหลักธรรมที่เป็น
ข้อคดิ เตอื นใจตลอดระยะเวลาในการดำเนนิ งานวิจัย โดยเชื่อว่าการนำหลักธรรมทจี่ ะกลา่ วถึงมาใช้จะ
ช่วยตอบสนองต่อปรัชญาของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยดังกล่าวข้างต้น และช่วยเสริมสร้าง
ให้การดำเนินงานวิจัยเป็นไปอย่างมีคุณภาพและบรรลุผลสำเร็จ จึงขอนำหลักธรรมที่จะเป็นข้อคิด
เตือนใจเพอื่ การวจิ ยั มากล่าวถงึ ดังน้ี

16

2.1.1 ธรรมค้มุ ครองโลก 2
พระครูปลัดธรรมจริยวัฒน์ (2558) ได้กล่าวถึงธรรมคุ้มครองโลก 2 ประการ ได้แก่ 1) หิริ
ความละอายแกใ่ จตัวเองต่อการทำความช่วั ความผิด ต่อการประพฤติทจุ รติ ทงั้ หลาย และความละอาย
ใจตัวเองที่จะละเว้นไม่ทำความดีซึ่งควรจะทำให้เกิดมีในตน 2) โอตตัปปะ แปลว่าความเกรงกลัว
หมายถึง ความสะดุ้งกลัวต่อผลของความชั่ว ต่อผลของความทุจริตที่ทำไว้ โอตตัปปะเป็นอาการของ
จิตที่หวั่นไหวเมื่อจะทำความชั่ว เพราะกลัวความผิดที่จะตามให้ผลในภายหลัง เกิดขึ้นได้เพราะคิดถึง
โทษหรือความทุกข์ท่จี ะเกิดข้ึนจากการทำความช่ัว จากการประพฤติทจุ ริตของตน
ผู้วิจัยได้ใช้หลักของธรรมคุ้มครองโลกดังกล่าวข้างต้น มาช่วยเป็นข้อคิดเตือนใจเพื่อให้
งานวิจัยนี้มีคุณภาพและประสบความสำเร็จ ดังนี้ 1) ขณะที่ทำงานวิจัยผู้วิจัยดำเนินตามขั้นตอนด้วย
ความเที่ยงตรง ตามจรรยาบรรณนักวิจัย นำข้อมูลมาจากแหล่งใดก็มีการอ้างอิงแหล่งข้อมูล
สารสนเทศท่เี กี่ยวข้องตามรูปแบบมาตรฐานของสถาบัน 2) ผวู้ จิ ยั ไม่กระทำหรือดำเนินการใด ๆ ท่ีผิด
จรรยาบรรณของนักวิจัย อันจะส่งผลกระทบต่อการทำวิจัยในภายหลัง ดังนั้น หลักธรรมทั้งสอง
ประการดังกล่าว จึงช่วยส่งเสริมและคุ้มครองงานวิจัยให้ดำเนินไปตามขั้นตอนอย่างมีอุปสรรคน้อย
ทส่ี ุด
2.1.2 ประโยชน์ 3
ป.อ. ปยุตโต (2524) ได้กล่าวถึง ประโยชน์ หรือจุดหมายที่สำคัญทางพระพุทธศาสนา
กล่าวคือเป็นเรื่องของการดำเนินชีวิต หรือหลักการและวธิ ีปฏบิ ัติเพื่อเข้าสู่จุดหมาย แบ่งตามระดบั ได้
3 อย่าง คือ 1) ทิฏฐธัมมิกัตถะ คือ ประโยชน์ปัจจุบัน หรือประโยชน์อย่างที่เห็น ๆ เพราะทิฏฐธัมมะ
แปลว่า เรื่องทเ่ี ห็น ๆ กนั อยู่ เรอ่ื งทมี่ องเหน็ ได้ในแง่กาละ ก็คอื ปจั จบุ นั หรอื ถ้าพดู ในแง่ของเรื่องราวก็
คือเรื่องทั่ว ๆ ไป เรื่องการดำเนินชีวิต 2) สัมปรายิกัตถะ คือ ประโยชน์ที่เลยออกไปหรือต่อออกไป
สมั ปราย แปลวา่ เลยออกไป กห็ มายถงึ เบื้องหน้า 3) ปรมัตถะ กค็ ือประโยชน์สงู สุด ถา้ พูดกนั ง่าย ๆ ก็
คือเรื่องนิพพาน หรือความมีใจเป็นอิสระ ความมีจิตหลุดพ้น มีจิตใจปลอดโปร่งผ่องใสเบิกบานอยู่ได้
ตลอดเวลา เพราะปราศจากกเิ ลส
ในงานวิจัยนี้ ผู้วิจัยได้ใช้หลักของประโยชน์หรือจุดหมาย 3 ประการดังกล่าวข้างต้น มา
ช่วยเป็นข้อคิดเตือนใจเพื่อให้งานวิจัยนี้มีคุณภาพและประสบความสำเร็จ ดังนี้ 1) เมื่อผู้วิจัยกำลังทำ
วิจัยอยูก่ ็ตระหนักถึงหน้าที่ ที่ต้องทำให้เรียบร้อย ทำให้ดีทีส่ ดุ ไปตามลำดับ เพื่อให้ผลงานสำเร็จลุล่วง
ในปจั จุบนั 2) ผทู้ ำงานวจิ ยั ไดท้ ำงานใหเ้ สร็จเรียบร้อย ตรวจทาน ปรบั ปรุง ให้ผดิ พลาดนอ้ ยท่สี ุด เพ่ือ
จะได้ไม่ต้องตามแก้ข้อผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต 3) เมื่อผู้วิจัยตั้งใจทำงานให้ออกมาดีตาม
ขั้นตอน งานวิจัยก็เสร็จสิ้นเรียบร้อยตามเป้าหมาย ดังนั้น การนำหลักธรรมดังกล่าวมานี้มาช่วยเสริม
หลักการทำวิจัยของการปฏิบัติงานของผู้วิจัย จะส่งผลให้งานวิจัยสำเร็จตามเป้าหมายในแต่ละระดับ
ทั้งนี้เพราะเริ่มต้นทำปัจจุบันให้ดี ก็จะส่งผลไปถึงวันหน้าที่ส่งงานให้อาจารย์ตรวจ ข้อผิดพลาดก็จะ
น้อย เพราะได้ทำเรียบรอ้ ยถี่ถ้วน และท้ายท่สี ุดงานวิจยั ของเรากจ็ ะสำเรจ็ ลุลว่ งด้วยดี
2.1.3 บญุ กริ ยิ าวตั ถุ 3
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยตุ ฺโต). (2559) ได้อธบิ าย บญุ กิรยิ าวตั ถุ 3 ไว้วา่ ท่ีตัง้ แหง่ การ
ทำบุญ เรื่องที่จัดเป็นการทำความดี หลักการทำความดี, ทางทำความดี มี 3 ประการคือ 1) ทานมัย
บุญกริยาวัตถุ ทำบุญด้วยการให้ปันสิ่งของ 2) สีลมัยบุญกริยาวัตถุ ทำบุญด้วยการรักษาศีลหรือ

17

ประพฤติดีมีระเบียบวินัย 3) ภาวนามัย บุญกิริยาวัตถุ ทำบุญด้วยการเจริญภาวนา คือฝึกอบรมจิตใจ
เจรญิ ปญั ญา

ผู้วิจัยได้ใช้หลักของบุญกิริยาวัตถุ 3 ดังกล่าวข้างต้น มาช่วยเป็นข้อคิดเตือนใจเพื่อให้
งานวิจัยนี้มีคุณภาพและประสบความสำเร็จ ดังนี้ 1) เมื่อผู้ร่วมวิจัยเกิดปัญหาก็ให้คำปรึกษาหรือ
คำแนะนำ รวมถึงให้ความร่วมมือกับผู้ร่วมวิจัยในทุกขั้นตอนการวิจัย 2) เมื่องานวิจัยของตนเอง
เรียบร้อย ผ่านอาจารย์ที่ปรึกษาแล้วก็นำคำแนะนำไปเสนอแนะเพื่อน เพื่อให้จัดรูปแบบงานวิจัยให้
ถูกต้องเพื่อให้เป็นระเบียบเรียบร้อย เป็นมาตรฐาน และสำเร็จไปพร้อมเพรียงกัน 3) ตรวจทาน
งานวิจัยของตนเองและแลกเปลี่ยนกันตรวจงานวิจัยเพื่อหาข้อผิดพลาดหรือข้อเสนอแนะจากเพื่อน
ร่วมวิจัย ดังนั้น หลักบุญกิริยาวัตถุ 3 ประการดังกล่าว จึงช่วยให้งานวิจัยสำเร็จได้ด้วยการชว่ ยเหลือ
เกื้อกูลกัน ช่วยกันตรวจทานงานวิจัยของกันและกัน แนะนำให้ข้อเสนอแนะ เพื่อให้งานวิจัยของ
ตนเองและเพอ่ื นรว่ มวิจยั สำเร็จไปด้วยกัน

2.1.4 สัมมปั ปธาน 4
พระพรหมบณั ฑติ (ประยูร ธมฺมจิตโฺ ต) (2561) ได้กล่าวถงึ หลักสัมมปั ปธาน 4 ประกอบด้วย
1) สังวรปธาน หรือการพึงระวังไม่ให้เกิดการกระทำผิด หลักธรรมในข้อนี้จำเป็นอย่างยิ่งสำหรับ
โรงเรียนหรือสถาบันการศึกษาที่จะต้องป้องกันไม่ให้มีสิ่งยั่วยุหรือต้นแบบที่ไม่ดีเกิดขึ้น ต่อเนื่องถึง
ระมดั ระวังไม่ให้เกดิ กเิ ลส โทสะ โลภะ โมหะ ขึน้ ในใจของแต่ละบคุ คล 2) ปหานปธาน หรือ การเพียร
ละบาป ทุกคนในสถานศึกษาจะต้องช่วยกันชำระสิ่งท่ีทำพลาด การประคบั ประคองช่วยเหลือผู้ท่ีหลง
ผิดพร้อมฉุดรั้งให้ทำในสิง่ ที่ถูกตอ้ ง เพราะการหลงผิดเปรียบเสมือนช้างที่ตกหล่มไม่สามารถขึ้นเองได้
3) ภาวนาปธาน หรือการเพียรทำสิ่งที่เป็นกุศลให้กับผู้ที่ไม่เคยทำ โดยทุกสถานศึกษาจะต้องหมั่นหา
หรือสร้างกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ให้กับเยาวชนตั้งแต่ระดับเล็ก ๆ จนถึงระดับที่ยิ่งใหญ่ และเมื่อทุก
คนได้ทำส่งิ ดี ๆ เหล่านัน้ สำเรจ็ กย็ ง่ิ จะเกิดความภาคภมู ิใจทั้งยังจะนำไปสู่อุปนิสัยที่จะขยันหมั่นเพียร
การสรา้ งสง่ิ ทดี่ ีงามให้กับตนเองและสงั คม 4) อนรุ ักขนาปธาน หรอื การเพียรรกั ษาส่ิงดงี าม เม่ือบุคคล
ใดที่ไดเ้ รม่ิ กระทำความดี สร้างสรรคส์ ิ่งทีม่ ีประโยชน์แล้ว ก็ยังจำเป็นทจี่ ะต้องหมั่นรักษาความดี ความ
มีชื่อเสียงเหล่านั้นให้เหมือนเกลือที่รักษาความเค็มไม่ให้สิ้นสูญไป โดยไม่ว่าจะน้อยหรือมากก็ขอให้
เพียรทำไว้ เพราะเมอ่ื ใดกต็ ามท่ีไดท้ ำดีได้ระลึกถึงเรื่องเหล่านั้น จติ ใจก็จะแชม่ ชนื่ ยินดีไปด้วย
ผู้วิจัยได้ใช้หลักของสัมมัปปธาน 4 ดังกล่าวข้างต้น มาช่วยเป็นข้อคิดเตือนใจเพื่อให้
งานวิจัยนี้มีคุณภาพและประสบความสำเร็จ ดังนี้ 1) ผู้วิจัยทำงานวิจัยด้วยความเอาใจใส่ใน
รายละเอยี ดทกุ ขัน้ ตอนตามท่ีอาจารย์แนะนำ เพ่ือไม่ใหเ้ กิดความผิดพลาดหรือเกดิ ความผิดพลาดน้อย
ที่สุด 2) เมื่อเกิดความผิดพลาดขึ้น ก็ปรับปรุงแก้ไขตามที่อาจารย์ท่านแนะนำ 3) ผู้วิจัยค้นคว้าหา
ข้อมูล แนวทางหรือนวัตกรรมทางการวิจัยที่เกี่ยวข้องอยู่เสมอ เพื่อพัฒนางานวิจัยให้เป็นผลงานที่มี
คุณภาพ 4) เมื่อได้ข้อมูล แนวทางหรือนวัตกรรมที่ดีเป็นประโยชน์ต่องานวิจัยของตนเองและเพื่อน
ร่วมวิจัย ก็เอาไปต่อยอดงานวิจัยชิ้นอื่น ๆ แชร์ให้เพื่อนนักวจิ ัยเพื่อให้เกิดประโยชนใ์ นวงกวา้ ง ดังนนั้
การปฏิบัติงานของผู้วจิ ัย จึงนำหลกั ธรรมดงั กลา่ วมาน้ี มาชว่ ยเสรมิ หลักการทำวิจัย โดยเอาความเพียร
เปน็ ทต่ี ้งั เพยี รทำวจิ ัยไม่ใหเ้ กิดข้อบกพร่อง เมื่อเกิดข้อบกพร่องข้ึนก็รีบปรับปรุงเนื้อหาตามท่ีอาจารย์
ทป่ี รึกษาแนะนำ นอกจากน้ีก็พยายามคน้ คว้าแหล่งขอ้ มูล แนวทาง ทเ่ี ป็นประโยชน์ต่อการทำงานวิจัย
พฒั นาทักษะการทำวจิ ัยให้มคี ณุ ภาพ และแบ่งปันสาระแนวทางท่ีดีใหก้ ับนักวิจัยท่านอ่นื อีกดว้ ย

18

2.1.5 อิทธิบาท 4
พระธรรมโกศาจารย์ (ปัญญานันทภิกข)ุ ไดอ้ ธิบายถึงอทิ ธิบาทธรรมว่า อิทธิบาท คอื ทางที่
จะไปสู่ความสำเร็จ 4 ประการ คือ 1) ฉันทะ ความพอใจ 2) วิริยะ ความเพียร 3) จิตตะ ความเอาใจ
ใส่และ 4) วิมังสา ไตร่ตรองค้นคว้าในสิ่งนั้น ๆ ถ้าเรารักสิ่งนั้น เอาใจใส่สิ่งนั้น มันก็ก้าวหน้า การคิด
การทำก็กา้ วหน้าตอ่ ไป เพราะเรารักสง่ิ น้ัน ถ้าไมร่ กั มนั กไ็ ปไม่ได้
ในงานวิจัยนี้ ผู้วิจัยได้ใช้หลักของอิทธิบาท 4 ดังกล่าวข้างต้น มาช่วยเป็นข้อคิดเตือนใจ
เพื่อให้งานวิจัยนี้มีคุณภาพและประสบความสำเร็จ ดังน้ี 1) ผู้วิจัยพร้อมที่จะทำงานวิจัย โดยมีฉันทะ
เป็นที่ตั้ง พอใจที่จะค้นคว้า รับคำสอน คำแนะนำจากอาจารย์ที่ปรึกษา พอใจที่จะศึกษาค้นคว้า
2) เมื่อได้แนวทาง หรือวิธกี ารที่ทา่ นอาจารยแ์ นะนำก็เพียรพยายามดำเนินงานตามกรอบวิจัยท่วี างไว้
เพราะการทำงานวิจัยต้องอาศัยความเพียรอย่างมาก 3) นอกจากความเพียรแล้วก็เอาใจใส่ในทุก
ขน้ั ตอน เพอ่ื ให้งานวจิ ัยมคี ุณภาพ 4) ตรวจทาน อ่านทบทวนข้อบกพรอ่ ง ปรบั ปรงุ ใหเ้ รยี บรอ้ ย เพอื่ ให้
เป็นงานวิจัยที่สมบูรณ์ตามต้องการ ดังนั้น ผู้วิจัยจึงนำหลักอิทธิบาทธรรมนี้มาช่วยเสริมการทำงาน
วิจยั ตัง้ แต่ขั้นตอนแรกของการทำวิจัยจนกระทัง่ ขน้ั ตอนสดุ ทา้ ย โดยเปิดใจ เตรียมพรอ้ ม ใช้ความเพียร
และความเอาใจใส่ ตรวจทานทบทวนข้อบกพร่อง ปรับปรุงจนเป็นงานวิจัยที่เสร็จสมบูรณ์และมี
คุณภาพ
2.1.6 ฆราวาสธรรม 4
พทุ ธทาสภกิ ขุ (2537) ได้กลา่ วถึงฆราวาสธรรม 4 ประการ คอื 1) สจั จะ คอื ความจรงิ ใจ น้ี
คือความตัง้ ใจจริง ๆ ทีจ่ ะปฏิบตั อิ ยา่ งนั้น 2) ทมะ บังคับตัวเอง บงั คับใจตวั เอง ส่งิ ท่เี รียกว่าจิตใจนี้มัน
บงั คับยาก 3) ขนั ติ แปลว่า ความอดทน นีจ้ ำเปน็ จะต้องเขา้ มารบั ช่วงอีกที เพราะวา่ ในการบงั คบั จติ ใจ
น้นั มนั โกลาหลวุ่นวาย มนั เจ็บปวด มนั ต้องทน 4) น้ีเป็นการระบายออกของส่ิงท่ีต้องทน จาคะแปลว่า
ให้ หรอื บรจิ าคออกไป
ผู้วิจยั ได้ใช้หลักของฆราวาสธรรมดังกลา่ วข้างต้น มาช่วยเป็นข้อคิดเตือนใจเพื่อให้งานวิจยั
นี้มีคุณภาพและประสบความสำเร็จ ดังนี้ 1) การทำงานวิจัยต้องใช้ความจริงใจ ไม่โลเล
ผัดวันประกันพรุ่งหรือวา่ ขี้เกียจ ผู้วิจัยกำหนดหรืออธิษฐานไว้ในลักษณะว่าจากวันนี้ ถึงวันนี้ หัวข้อน้ี
บทนี้ต้องเสร็จให้ได้ 2) เมื่อเกิดความเกียจคร้านขึ้นในช่วงเวลาการทำงานวิจัย ก็บังคับตนเอง ข่มใจ
ตัวเองให้ได้ตามที่ตั้งใจไว้แต่แรก 3) ในการทำงานวิจัยให้มีคุณภาพหนักแน่น นอกจากการอาศัยการ
ขม่ ใจซึง่ เปน็ เรอื่ งทถี่ ือวา่ ยาก ตอ้ งอาศยั ความหนักแนน่ อดทนอดกลัน้ มารองรบั 4) ผวู้ ิจัยทำงานวิจยั ซึ่ง
เป็นงานที่ทำเพื่อแก้ปัญหาแต่ขั้นตอนบางอย่างอาจผิดพลาด ก็ต้องเริ่มขั้นตอนใหม่ วิธีการหรือ
แนวทางใหม่ ไม่ฝนื เกินไปเป็นการละหรือสละแนวทางเก่าเพือ่ ไปสแู่ นวทางใหม่ในการทำงานวิจัย เมื่อ
ทำผลงานสมบูรณ์เรียบร้อยมีคุณภาพ ก็เผยแพร่ผลงานสู่เวทีวิชาการ ดังนั้น ผู้วิจัยจึงใช้หลักฆราวาส
ธรรมในการส่งเสริมให้งานวิจัยประสบความสำเร็จ โดยมีสัจจะต่อตนเอง ฝึกตนข่มใจไม่วอกแวกใน
การทำงาน ใชค้ วามอดทนประคบั ประคอง และลดละเลิกพฤติกรรมที่เป็นอปุ สรรคต่อการทำงานวจิ ัย
โดยสรุป ในการดำเนินงานวิจัยนี้ ผู้วิจัยได้นำเอา 6 หลักธรรมดังกล่าวข้างต้น มาใช้เป็น
ขอ้ คิดเครื่องเตือนใจ ตลอดระยะเวลาในการดำเนนิ งานวจิ ยั ต้งั แตจ่ ุดเรม่ิ ต้นของการวิจัย จนถึงส้ินสุด
การวิจัย เพื่อให้การดำเนินงานวิจัยตามหลักการ แนวคิด และลักษณะของการวิจัยเชิงปฏิบัติแบบมี

19
ส่วนร่วมเป็นไปอย่างมีคุณภาพและบรรลุผลสำเร็จ และเพื่อตอบสนองต่อปรัชญาของมหาวิทยาลัย
มหามกุฏราชวทิ ยาลยั ทีไ่ ดก้ ล่าวไวข้ ้างต้น ดังแสดงภาพประกอบของ 6 หลักธรรมในภาพที่ 2.1

ภาพท่ี 2.1 หลักธรรมเพ่ือคณุ ภาพและความสำเรจ็ ในการทำวิจัย

2.2 การวจิ ยั และพัฒนา : แนวคิดและแนวปฏบิ ัตเิ พ่ือการวิจัย

ในการวิจัยนี้ ผู้วิจัยใช้แนวคิด แนวปฏิบัติ และกรณีศึกษาเพื่อการวิจัยและพัฒนา
(Research and Development: R&D) ตามทัศนะของวิโรจน์ สารรัตนะ (2561) โดยเนื้อที่จะ
นำเสนอต่อไปขา้ งลา่ งน้ี ได้รับอนญุ าตจากผูเ้ ขยี นแล้ว ดงั นี้

การวิจัยและพัฒนา (Research and Development: R&D) มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนา
ผลผลิต (Product) ในทางธุรกจิ อาจเรยี กว่า“ผลิตภัณฑ์”ท่ีเป็นตวั สินค้า ในทางการศกึ ษาอาจเรียกว่า
“นวัตกรรม” ที่อาจเป็นวัตถุ (Material) หลักการ (Principle) แนวคิด (Concept) หรือทฤษฎี
(Theory) ทส่ี ะท้อนใหเ้ หน็ ถงึ เทคนิค กระบวนการ หรือวิธีการเพอ่ื การปฏบิ ตั ิ

นวตั กรรมท่พี ัฒนาขนึ้ โดยกระบวนการวจิ ัยและพัฒนามจี ุดมุ่งหมายเพ่ือนำไปใช้พัฒนาคนสู่
การพัฒนาคุณภาพของงาน ที่มีปรากฏการณ์หรือข้อมูลเชิงประจักษ์แสดงให้เห็นว่ามีความจำเป็น
(Need) เกิดขน้ึ ซง่ึ อาจเป็นผลสืบเน่ืองจากการกำหนดความคาดหวังใหม่ทท่ี ้าทายของหน่วยงาน หรือ
เกิดการเปลี่ยนแปลงในกระบวนทัศน์การทำงานจากเก่าสู่ใหม่ที่บุคลากรขาดความรู้ความเข้าใจและ
ทักษะในกระบวนทัศน์ใหม่ หรือเกิดจากการปฏิบัติงานที่ไม่บรรลุผลสำเร็จตามที่คาดหวังมาอย่าง
ยาวนาน จงึ ต้องการนวัตกรรมใหม่มาใช้ หรอื อาจเป็นผลสบื เนือ่ งจากปัจจยั อืน่ ๆ แล้วแตก่ รณี

การวิจัยและพัฒนา มีกระบวนการในรูปแบบ R1D1..R2D2..R3D3..RiDi มีขั้นตอนสุดทา้ ย
เป็นการวิจัยกอ่ นทดลอง (Pre-Experiment) หรือกึ่งทดลอง (Quasi-Experiment) ในภาคสนามจรงิ
มีจุดมุ่งหมายหลักเพื่อทดสอบคุณภาพของนวัตกรรมในลกั ษณะ If X…Then Y และเพื่อการปรับปรุง

20

แก้ไขข้อบกพร่องของนวัตกรรมนั้นด้วย จากนั้นจึงนำไปเผยแพร่ในวงกว้างต่อไป โดยนวัตกรรมนั้น
ผู้เขียนเห็นว่าอาจเป็นการนำมาจากที่อื่น (Adopt) หรือมีการปรับมาจากที่อื่น (Adapt) หรือมีการ
รเิ รม่ิ สร้างสรรค์ขนึ้ ใหม่ (Create)

แนวคดิ และข้นั ตอนการวิจัยและพฒั นา
ดังกล่าวข้างต้นว่าการวจิ ัยและพัฒนามีจุดมุ่งหมายเพือ่ พัฒนานวัตกรรม มีจุดมุ่งหมายเพอ่ื
นำไปใช้พัฒนาคนสู่การพัฒนาคุณภาพของงาน ที่มีปรากฏการณ์หรือข้อมูลเชิงประจักษ์แสดงให้เห็น
ว่ามีความจำเป็น (Need) เกิดขึ้น ซึ่งอาจเป็นผลสืบเนื่องจากการกำหนดความคาดหวังใหม่ที่ท้าทาย
ของหน่วยงาน หรือเกิดการเปลี่ยนแปลงในกระบวนทัศน์การทำงานจากเก่าสู่ใหม่ หรือเกิดจากการ
ปฏิบัติงานที่ไม่บรรลุผลสำเร็จตามที่คาดหวังมาอย่างยืดเยื้อยาวนาน จึงต้องการนวัตกรรมใหม่มาใช้
หรืออาจเปน็ ผลสบื เนอ่ื งจากปจั จยั อ่ืน ๆ แล้วแตก่ รณี
ในปัจจุบันมีหลักการ แนวคิด ทฤษฎีที่ถือเป็นนวัตกรรมใหม่ทางการบริหารการศึกษา
เกดิ ขึน้ มากมาย ท่ีคาดหวังว่า หากบุคลากรทางการศึกษามีความรู้ (Knowledge) แล้วกระตุ้นให้พวก
เขานำความรูเ้ หลา่ นี้ไปสู่การปฏบิ ัติ (Action) ก็จะก่อให้เกิดพลัง (Power) ให้การปฏิบัติงานในหนา้ ท่ี
เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ตามแนวคิด “Knowledge + Action = Power” หรือ
ตามคำกล่าวที่ว่า “Make Them Know What To Do, Then Encourage Them Do What They
Know” หรือ “Link To On-The-Job Application” และด้วยแนวคิดที่ว่าการศึกษาวรรณกรรมท่ี
เกี่ยวข้องในบทที่ 2 ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญของการวิจัยและพัฒนาเพราะจะทำให้ได้ “โปรแกรม
พัฒนา......” ที่ประกอบด้วยโครงการอย่างน้อย 2 โครงการ คือ โครงการพัฒนาความรู้ให้กับ
กลุ่มเป้าหมายในการทดลอง และโครงการนำความรู้สู่การปฏิบัติดังนั้น วิธีดำเนินการวิจัยในบทที่ 3
จงึ จะเรมิ่ ต้นด้วยการนำเอา “โปรแกรมพฒั นา...ทถี่ อื เป็นกรอบแนวคิดเพอื่ การวจิ ัย” น้ัน เป็นตัวตั้งต้น
ตามด้วยขัน้ ตอนการวิจยั อื่น ๆ ดังภาพประกอบขา้ งลา่ ง

21

ข้ันตอนที่ โปรแกรมพัฒนา..... ทีถ่ อื เปน็ กรอบแนวคดิ เพือ่ การวิจัย ทีพ่ ัฒนาได้จากบทที่ 2
1
การตรวจสอบ “โปรแกรมพฒั นา..... ที่ถอื เปน็ กรอบแนวคิดเพอ่ื การวจิ ัย”
ขัน้ ตอนท่ี ท่พี ัฒนาได้จากบทท่ี 2 และการปรบั ปรุงแกไ้ ขตามข้อเสนอแนะ
2
การจดั ทาํ คู่มอื ประกอบโปรแกรมใน 2 โครงการ คอื
ขนั้ ตอนท่ี ▪ ค่มู อื ประกอบโครงการพฒั นาความรู้ใหก้ บั กลุ่มเป้าหมายในการทดลอง
3 ▪ คู่มอื ประกอบโครงการนําความรู้สูก่ ารปฏิบัติ

ขั้นตอนท่ี การตรวจสอบคณุ ภาพคมู่ อื ประกอบโปรแกรมและการปรบั ปรุงแก้ไข
4 ▪ การตรวจสอบภาคสนามเบอื้ งตน้ และการปรับปรงุ แกไ้ ข
▪ การตรวจสอบภาคสนามคร้งั สําคัญและการปรบั ปรงุ แก้ไข
ข้ันตอนท่ี
5 การสร้างเครือ่ งมอื เพ่อื การทดลองโปรแกรมในภาคสนามใน 2 โครงการ คอื
▪ เคร่ืองมือประกอบโครงการพัฒนาความรูใ้ ห้กับกลุม่ เป้าหมายในการทดลอง
ขั้นตอนที่ ▪ เครอื่ งมอื ประกอบโครงการนาํ ความรสู้ กู่ ารปฏิบตั ิ
6
การทดลองโปรแกรมในภาคสนาม
▪ โครงการพัฒนาความรใู้ ห้กบั กล่มุ เป้าหมายในการทดลอง
▪ โครงการนําความรู้ส่กู ารปฏิบตั ิ
สรปุ ผลการทดลอง และปรังปรุงแก้ไขโปรแกรมในโครงการทง้ั สอง

การเขียนรายงานการวิจัย
การเผยแพร่ผลการวิจัย

ภาพที่ 2.2 แนวคิดและขัน้ ตอนการวิจยั และพัฒนาตามทัศนะของวิโรจน์ สารรัตนะ

คำอธบิ าย
ขั้นตอนที่ 1 การตรวจสอบกรอบแนวคิดเพื่อการวิจัยและการปรับปรุงแก้ไข อาจใช้
เกณฑ์เพื่อประกอบการพิจารณาอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง เช่น ความสอดคล้อง
(Congruency) ความถูกต้อง (Accuracy) ความเป็นประโยชน์ (Utility) เป็นต้น ประกอบด้วย 2
กิจกรรมหลกั คอื
1. การตรวจสอบ “โปรแกรมพัฒนา... ที่ถือเป็นกรอบแนวคิดเพื่อการวิจัย” ที่พัฒนาได้
จากบทท่ี 2 อาจดำเนนิ การโดยวธิ กี ารใดวิธีการหนึ่ง หรอื หลายวธิ ผี สมกันตามศักยภาพท่ีจะทำได้ เช่น
1) การสัมภาษณ์เชงิ ลกึ (In-depth Interview) ผู้ทรงคุณวุฒิ ทั้งทางวิชาการและทางการปฏิบัติ เป็น
ใครและจำนวนเท่าไรขึ้นกับเกณฑ์ที่จะกำหนด 2) การอภิปรายกลุ่มเป้าหมาย (Focus Group
Discussion) เป็นกลุ่มเป้าหมายที่มีจุดมุ่งหมายจะนำโปรแกรมไปเผยแพร่และใช้ประโยชน์ 3) การ
วิจัยเชิงสำรวจ (Survey Study) เพื่อสอบถามความเห็นจากกลุ่มตัวอย่างของประชากรที่เป็น
กลมุ่ เป้าหมายที่จะนำโปรแกรมไปเผยแพรแ่ ละใช้ประโยชน์
2. การปรับปรงุ แกไ้ ขโปรแกรมตามขอ้ เสนอแนะทไี่ ดร้ ับ
ขัน้ ตอนท่ี 2 การจดั ทำคูม่ ือประกอบโปรแกรม ในโครงการอย่างนอ้ ย 2 โครงการ คือ
1. คู่มือประกอบโครงการพัฒนาความรู้ให้กับกลุ่มเป้าหมายในการทดลองเป็นความรู้
เกี่ยวกับ “นวัตกรรม” ที่จะพัฒนาขึ้น และความรู้เกี่ยวกับ “งาน” ที่จะให้ปฏิบัติ จึงเป็นโครงการที่มี

22

กิจกรรมเกี่ยวกับการฝึกอบรม การสัมมนา การศึกษาดูงานต้นแบบ การศึกษาด้วยตนเอง การศึกษา
เปน็ กลุ่ม หรอื อน่ื ๆ

2. คู่มอื ประกอบโครงการนำความรสู้ ู่การปฏิบัตขิ องกลุ่มเป้าหมายในการทดลอง เป็นคู่มือ
ที่แสดงให้เห็นถึงการวางแผนเพื่อการปฏิบัติไว้ล่วงหน้า มีการกำหนดจุดมุ่งหมายที่ชัดเจน มีกิจกรรม
ดำเนินงาน มีการกำหนดระยะเวลาและขอบเขตของเวลา มีการบริหารจัดการ มีการติดตามและ
ประเมินผลท่ีหลากหลายมติ ิ

ขั้นตอนนถ้ี ือเป็นภาระงานที่หนักสำหรบั ผู้วิจยั ต้องใช้เวลาและความพยายามสูง อย่างน้อย
ก็ประมาณ 1 ภาคเรียน แต่ก็ขึ้นกับผลการทำงานในระยะที่ผ่านมาของผู้วิจัยด้วย หากในบทที่ 2
ผู้วิจัยได้ศึกษาวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องไว้ได้ดีก็จะทำให้มี “สารสนเทศ/ความรู้” ที่จะนำมาจัดทำเป็น
คู่มือประกอบโปรแกรมทีเ่ พียงพอ ทั้งในส่วนที่เกี่ยวกับ “นวัตกรรม” และเกี่ยวกับ “งาน” และขอให้
ข้อสังเกตด้วยว่า “คู่มือประกอบโปรแกรม” นี้ อาจเป็นคู่มือที่เป็นเอกสารตามที่นิยมใช้กันโดยทั่วไป
หรืออาจเป็นคู่มือเพื่อ E-Learning เช่น แผ่นซีดีเพื่อศึกษาจากคอมพิวเตอร์ เป็นต้น หรืออาจผสมกนั
หลากหลายลกั ษณะ

สำหรับรูปแบบการเขียนโครงการ อาจเป็นรูปแบบเหตุผลสัมพันธ์ (Logical Framework)
หรือที่เรียกกันสั้น ๆ ว่า Log Frame หรืออาจเป็นรูปแบบปกติ (Traditional) ที่ใช้กันโดยทั่วไปใน
หนว่ ยงานราชการ มีหวั ข้อเกี่ยวกับหลักการและเหตุผล วัตถปุ ระสงค์ของโครงการ เป้าหมาย กจิ กรรม
กลมุ่ เปา้ หมาย ระยะเวลา ทรัพยากร และอื่น ๆ

ขั้นตอนที่ 3 การตรวจสอบโปรแกรมและการปรับปรุงแก้ไข 2 ระยะ ประกอบด้วย 2
กิจกรรมหลัก ซึ่งไม่ตายตัว ผู้วิจัยอาจปรับเปลี่ยนตามความเหมาะสม โดยยึดจุดมุ่งหมายเพื่อการ
ตรวจสอบและการปรบั ปรงุ แก้ไข

1. การตรวจสอบภาคสนามเบื้องต้นและการปรับปรุงแก้ไข ( Preliminary Field
Checking and Revision) กับกลุ่มเป้าหมาย ผู้มีส่วนได้เสียและอื่น ๆ แล้วแต่ความเหมาะสมกับ
งานวิจัย จำนวนหนึ่งประมาณ 5-10-15 ราย อาจด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview)
การอภิปรายกลุ่มเป้าหมาย (Focus Group Discussion) หรืออื่น ๆ แล้วแต่ความเหมาะสมมี
จดุ มงุ่ หมายเพือ่ ตรวจสอบคุณภาพของโปรแกรมท่อี าจใช้เกณฑค์ วามสอดคล้อง (Congruency) ความ
ถกู ตอ้ ง (Accuracy) ความเปน็ ประโยชน์ (Utility) เปน็ ต้น

2. การตรวจสอบภาคสนามครั้งสำคัญและการปรับปรุงแก้ไข (Main Field Checking
and Revision) กับกลุ่มเป้าหมาย ผู้มีส่วนได้เสีย และอื่น ๆ แล้วแต่ความเหมาะสมกับงานวิจัย
จำนวนหนึ่งที่ไม่ซ้ำกับข้อ 1 ประมาณ 10-15-20 ราย อาจด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth
Interview) การอภิปรายกลุ่มเป้าหมาย (Focus Group Discussion) หรืออื่น ๆ แล้วแต่ความ
เหมาะสม มีจุดมุ่งหมายเพื่อตรวจสอบคุณภาพของโปรแกรม ที่อาจใช้เกณฑ์พิจารณาเช่นเดยี วกับข้อ
1 คือ ความสอดคลอ้ ง (Congruency) ความถูกต้อง (Accuracy) และความเป็นประโยชน์ (Utility)

ขั้นตอนที่ 4 การสร้างเครื่องมือเพื่อการพัฒนาโปรแกรมในภาคสนาม ควรมีแบบ
ประเมิน 6 ประเภท คอื

1. แบบประเมินปฏิกิริยา (Reaction) ของกลุ่มเป้าหมายในการพัฒนา ในช่วงหลังสิ้นสุด
การดำเนินงานของโครงการหนึ่ง ๆ เพ่ือดปู ระสิทธผิ ลของโครงการและหาข้อบกพร่องในการปรับปรุง

23

แก้ไข โดยอาจใช้วิธีการสัมภาษณ์ การระดมสมอง การถอดบทเรียน หรืออื่น ๆ เพื่อให้ได้ข้อมูล
สะทอ้ นกลับ (Reflection) ตามความเหมาะสม

2. แบบประเมินความรู้ (Knowledge) หลังการดำเนินงานโครงการพัฒนาความรู้ของ
กลุ่มเป้าหมายในการพัฒนาเพื่อให้ทราบว่ามีมากเพียงพอที่จะนำไปสู่การปฏิบัติได้หรือไม่หลังจากมี
การดำเนินงานตามโครงการน้ีแลว้ อาจใช้เกณฑ์มาตรฐาน 80/80 เป็นตัวช้ีวัดว่าผา่ นหรือไม่ผา่ น โดย
80 แรกหมายถงึ บุคคลน้ัน ๆ ทำแบบประเมินความรู้ผ่าน 80% สว่ น 80 หลงั หมายถึงทั้งกลุ่มทำแบบ
ประเมินความร้ผู ่าน 80%

3. แบบประเมินการนำความรู้สู่การปฏิบัติ (From Knowledge to Action) ของ
กลุ่มเป้าหมายในการพัฒนา ประเมินหลังจากดำเนินงานตามโครงการนำความรู้สู่การปฏิบัติไปแล้ว
ระยะหนึ่ง โดยอาจมีการประเมินเปน็ ระยะ ๆ หรือเมอื่ ส้ินสดุ โครงการในตอนทา้ ยของการวิจยั

4. แบบประเมินการเปลี่ยนแปลง (Change) อาจใช้แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ แบบ
สงั เกต แบบบันทกึ ขอ้ มูล ภาพถ่าย หรอื อนื่ ๆ ทแี่ สดงให้เหน็ ถึงการเปลีย่ นแปลงในมติ ิต่าง ๆ เชน่ การ
เปลี่ยนแปลงในงานที่ปฏิบัติ การเปลี่ยนแปลงในบรรยากาศองค์การ การเปลี่ยนแปลงในเทคนิคหรือ
วธิ กี ารทำงาน และอน่ื ๆ

5. แบบประเมินผลการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นกับนักศึกษา (Student Learning Outcome) ใน
กรณีที่โปรแกรมนั้นส่งผลถึงนักศึกษาด้วย อาจเป็นแบบประเมินความรู้ ความเข้าใจ ทักษะ ทัศนคติ
หรืออื่น ๆ รวมทั้งความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นจากการวิจัย แล้วแต่กรณี
แตห่ ากโปรแกรมน้นั ไมส่ ่งผลถงึ นกั ศึกษา กไ็ ม่ต้องมแี บบการประเมินนี้

6. แบบประเมนิ ข้อบกพร่องของนวัตกรรมที่พฒั นาขึ้น เพอื่ นำผลจากการประเมินไปใช้ใน
การปรับปรุงแก้ไขนวัตกรรมในช่วงท้ายของการวิจัย อาจใช้เครื่องมือที่หลากหลาย เช่น แบบ
สมั ภาษณ์ แบบสังเกต แบบบันทึก แบบอภิปรายกลุ่ม เป็นตน้

เหตุผลที่สร้างเครื่องมือในขั้นตอนนี้ ก็เพื่อให้ได้เครื่องมือการประเมินที่มีความตรงเชิง
เนื้อหากับโปรแกรมท่ีได้รับการตรวจสอบยนื ยันแลว้ จากขัน้ ตอนที่ 3 โดยเคร่ืองมือทีส่ ร้างขึ้นจะตอ้ งมี
กระบวนการพัฒนาคุณภาพเชน่ เดียวกับการวิจัยประเภทอืน่ ดว้ ยเช่นกัน เช่น การตรวจสอบความตรง
เชิงเนื้อหา โดยการสอบถามความเห็นจากผู้เชี่ยวชาญหรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง แล้ววิเคราะห์หาค่า IOC
รวมทง้ั การนำไปทดลองใช้เคร่อื งมอื (Try Out) เพือ่ หาค่าความเช่อื ม่ัน (Reliability) เป็นต้น

ขั้นตอนท่ี 5 การทดลองโปรแกรมในภาคสนาม (Trial) มี 2 กจิ กรรมหลัก คือ
1. ดำเนินการทดลองใช้โปรแกรมกับกลุ่มเป้าหมายการทดลองในภาคสนาม เป็นการ
วิจัยก่อนทดลอง (Pre-Experiment) หรือกึ่งทดลอง (Quasi-Experiment) รูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง
เชน่ แบบกลุม่ ควบคุมไมไ่ ด้สุ่มแต่มีการทดสอบก่อนและหลังการพฒั นา (Nonrandomized Control-
Group Pretest-Posttest Design) แบบวิจัยอนุกรมเวลา (Time Series Design) แบบอนุกรมเวลา
มีกลุ่มควบคุม (Control-Group Time Series Design) เป็นต้น แล้วแต่ความเหมาะสม ผู้วิจัยก็ควร
ศึกษาระเบียบวิธีวิจัยของรูปแบบที่เลือกนำมาใช้ และมีการดำเนินงานตามระเบียบวิธีวิจัยนั้นซึ่งการ
ทดลองนวตั กรรมท่ีผู้วิจัยพัฒนาข้นึ ในสาขาบรหิ ารการศึกษา ควรเป็นการทดลองในหนว่ ยงานหนว่ ยใด
หน่วยหนึ่ง หากเป็นโรงเรียนก็ควรเป็น “โรงเรียนใดโรงเรียนหนึ่ง” เพราะสามารถควบคุมตัวแปร
แทรกซ้อนต่าง ๆ ได้ดีกว่าการทดลองกับกลุ่มเป้าหมายที่กระจายในวงกว้าง เช่น ครูหรือผู้บริหาร

24

โรงเรียนที่กระจายทั้งเขตพื้นที่การศึกษา เป็นต้น การทดลองโปรแกรมในภาคสนามนี้ ควรใช้
ระยะเวลา 1 ภาคเรยี น เพือ่ ให้มเี วลาเพยี งพอตอ่ การดำเนนิ งานในโครงการ 2 ประเภท คอื

- โครงการพัฒนาความรู้ของกลุ่มเป้าหมายในการทดลองในระยะเริ่มแรก ในขั้นตอนนี้
ผู้วิจัยควรคำนึงการใช้รูปแบบการพัฒนาบุคลากรที่หลากหลายวิธี ไม่จำกัดเฉพาะเรื่องการฝึกอบรม
หรือสัมมนาเท่านั้น เช่น การศึกษาด้วยตนเอง การศึกษาร่วมกันเป็นกลุ่ม การระดมสมอง การ
นำเสนอและการอภิปราย การเป็นพี่เลี้ยง การศึกษาดูงาน เป็นต้นและควรใช้เวลาประมาณ 1 ใน 4
ของเวลาใน 1 ภาคเรียน

- โครงการนำความรู้สู่การปฏิบัติสืบเนื่องจากโครงการแรก ในอดตี สำหรบั ศตวรรษท่ี 20
ด้วยความเชื่อที่ว่า “Knowledge Is Power” จึงมีอิทธิพลต่อแนวคิดการพัฒนาบุคลากรใน
กระบวนการวจิ ัยและพฒั นาด้วย โดยกระทำในสิ่งท่ีเรียกวา่ “Train and Hope” มงุ่ เน้นใหบ้ คุ ลากรมี
ความรู้อย่างเดียว แล้วหวังว่าพวกเขาจะนำความรู้นั้นไปสู่การปฏิบัติ โดยที่ผลจากการวิจัยพบว่ามี
โอกาสน้อยมากที่จะเป็นเช่นนั้น ดังนั้น การวิจัยและพัฒนาในอดีตและอาจยังมีอยู่บ้างในปัจจุบัน จึง
มักจบลงในระยะการพัฒนาความรู้ของกลุ่มเป้าหมายในการทดลองเท่านั้น แต่ในปัจจุบันสำหรับ
ศตวรรษที่ 21 แนวคิดดังกล่าวได้เปลี่ยนไป จาก “Knowledge Is Power” เป็น “Knowledge +
Action = Power” หรือ “Make Them Know What To Do, Then Encourage Them Do What
They Know” หรือ “Link To On-The-Job Application” ซึ่งส่งผลต่อการกำหนดแนวคิดในการ
วิจัยและพัฒนาให้มีโครงการนำความรู้สู่การปฏิบัติด้วย เป็นโครงการที่ผู้วิจัยจะต้องมีการวางแผน
ล่วงหน้า จัดทำคู่มือประกอบล่วงหน้า มีการกำหนดจุดมุง่ หมายที่ชัดเจน มีกิจกรรมดำเนินงาน มีการ
บรหิ ารจัดการ มีการตดิ ตามและประเมินผลทีห่ ลากหลายมติ ิ มกี ารกำหนดระยะเวลาและขอบเขตของ
เวลา โดยเวลาท่ใี ชค้ วรประมาณ 3 ใน 4 ของเวลาใน 1 ภาคเรียน

2. สรปุ ผลการพฒั นา และปรงั ปรงุ แก้ไขโปรแกรม โดยการสรปุ ผลนน้ั มจี ุดมงุ่ หมายเพื่อ
ดูว่าโปรแกรมท่ีพัฒนาขน้ึ นน้ั มีคณุ ภาพส่งผลต่อการเปล่ยี นแปลงทดี่ ขี นึ้ ตามเกณฑ์ทผ่ี วู้ ิจยั กำหนดในมิติ
ตา่ ง ๆ ตามเครอ่ื งมือการประเมินทีส่ รา้ งขน้ึ ในขน้ั ตอนท่ี 5 หรือไม่? ในกรณีการปรับปรุงแก้ไขนั้น เป็น
การปรับปรุงแก้ไขโปรแกรมโดยพิจารณาข้อมูลจากการนำไปปฏิบัติจริง การสังเกต การบันทึก การ
สมั ภาษณ์ การถอดบทเรียน และอืน่ ๆ ทผ่ี วู้ จิ ยั ใชใ้ นทกุ ระยะของการดำเนินการพัฒนา

ขั้นตอนที่ 6 การเขียนรายงานการวิจัยและการเผยแพร่ผลงานวิจัย การเขียนรายงาน
ผลการวิจยั (บทท่ี 4) ควรมีดังน้ี

1. ผลการตรวจสอบกรอบแนวคิดเพอ่ื การวิจัยและการปรับปรงุ แกไ้ ข
2. ผลการจัดทำคู่มือประกอบโปรแกรม
- คมู่ อื ประกอบโครงการพฒั นาความรู้ของกลุ่มเปา้ หมายการทดลอง
- คมู่ ือประกอบโครงการนำความรสู้ ู่การปฏิบัติ
3. ผลการตรวจสอบโปรแกรมและการปรับปรงุ แกไ้ ข
- ผลการตรวจสอบภาคสนามเบอื้ งต้นและการปรบั ปรุงแก้ไข
- ผลการตรวจสอบภาคสนามครง้ั สำคัญและการปรับปรุงแกไ้ ข
4. ผลการสร้างเคร่ืองมอื เพอื่ การทดลองในภาคสนาม
- เครื่องมอื สำหรบั โครงการพัฒนาความรู้ของกลุ่มเปา้ หมายการทดลอง

25

- เครอ่ื งมือสำหรับโครงการนำความรู้สูก่ ารปฏิบัติ
- เครอื่ งมือประเมินข้อบกพร่องของนวัตกรรมที่พฒั นาขึน้
5. ผลการทดลองโปรแกรมในภาคสนาม (trial) เป็นการบรรยายถึงเหตุการณ์ทดลองใน
ภาคสนาม แสดงผลจากแบบประเมินตา่ ง ๆ ทีใ่ ช้
- ผลการทดลองโครงการพฒั นาความรู้ของกลมุ่ เป้าหมายการทดลอง
- ผลการทดลองโครงการนำความรู้สกู่ ารปฏบิ ตั ิ
- ผลการประเมนิ ข้อบกพรอ่ งของนวัตกรรมท่พี ัฒนาขึน้
6. ผลผลิตสุดท้าย (final product) จากการวิจัย คือ นวัตกรรมที่เป็น “โปรแกรมพัฒนา
....” ที่ได้รับการปรับปรุงแก้ไขจากผลการประเมินข้อบกพร่องของนวัตกรรมที่พัฒนาขึ้น กรณีการ
เผยแพร่ผลงานวิจัย อาจดำเนินการได้หลายวิธี เช่น การนำเสนอผลงานวิจัยในการสัมมนาวิชาการ
การตีพมิ พ์ในวารสาร การจัดพิมพค์ มู่ อื ประกอบโปรแกรมเปน็ เอกสารหรือตำรา เปน็ ต้น

2.3 แนวคิดเชงิ ทฤษฎีเกย่ี วกับทักษะการปรับตัว (Adaptability Skills)

ตามทัศนะของวิโรจน์ สารรัตนะ (2561) ที่นำมากล่าวถึงในข้อ 2.2 กล่าวว่า การวิจัยและ
พัฒนามีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนานวัตกรรม แล้วนำนวัตกรรมนั้นไปพัฒนาคนสู่การพัฒนาคุณภาพของ
งาน ทม่ี ปี รากฏการณ์หรอื ขอ้ มูลเชิงประจักษแ์ สดงให้เหน็ ว่ามีความจำเป็น (Need) เกดิ ขึน้ ซ่งึ อาจเป็น
ผลสืบเนื่องจากการกำหนดความคาดหวังใหม่ที่ท้าทายของหน่วยงาน หรือเกิดการเปลี่ยนแปลงใน
กระบวนทัศน์การทำงานจากเก่าสู่ใหม่ หรือเกิดจากการปฏิบัติงานที่ไม่บรรลุผลสำเร็จตามที่คาดหวัง
มาอย่างยืดเยื้อยาวนาน จึงต้องการนวัตกรรมใหม่มาใช้ หรืออาจเป็นผลสืบเนื่องจากปัจจัยอื่น ๆ
แลว้ แต่กรณี

ในปัจจุบันมีหลักการ แนวคิด ทฤษฎีที่ถือเป็นนวัตกรรมใหม่ทางการบริหารการศึกษา
เกดิ ข้นึ มากมาย ทคี่ าดหวงั วา่ หากบุคลากรทางการศึกษามีความรู้ (Knowledge) แล้วกระตุ้นให้พวก
เขานำความรู้เหล่านีไ้ ปสู่การปฏิบตั ิ (Action) ก็จะก่อให้เกิดพลงั (Power) ให้การปฏิบัติงานในหนา้ ที่
เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ตามแนวคิด “Knowledge + Action = Power” หรือ
ตามคำกล่าวที่ว่า “Make them know what to do, Then Encourage them do what they
know” หรือ Link to on-the-Job Application” และด้วยแนวคิดที่ว่าการศึกษาวรรณกรรมที่
เกี่ยวข้องในบทที่ 2 ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญของการวิจัยและพัฒนาเพราะจะทำให้ได้ “โปรแกรม
พัฒนา” ที่ประกอบด้วยโครงการอย่างน้อย 2 โครงการ คือ โครงการพัฒนาความรู้ให้กับ
กลุ่มเป้าหมายในการทดลอง และโครงการนำความรู้สู่การปฏิบัติ ด้วยการวิจัยและพัฒนา ซึ่งมี
กระบวนการในรูปแบบ R1D1..R2D2..R3D3..RiDi มีขั้นตอนสุดท้ายเป็นการวิจัยแบบก่อนทดลอง
(Pre-Experiment) หรือแบบกึ่งทดลอง (Quasi-Experiment) ในภาคสนามจริง มีจุดมุ่งหมายหลัก
เพื่อทดสอบคุณภาพของนวัตกรรมในลักษณะ If X…Then Y และเพื่อการปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่อง
ของนวัตกรรมน้ันดว้ ย จากน้นั จงึ นำไปเผยแพรใ่ นวงกวา้ งตอ่ ไป

สำหรับโครงการพัฒนาความรู้ให้กับกลุ่มเป้าหมายในการทดลอง ผู้วิจัยจะต้องจัดทำคู่มือ
ประกอบโครงการขึ้นมาจำนวนหนึ่ง เป็นคู่มือที่นำเสนอความรู้เกี่ยวกับ “นวัตกรรม” ที่จะพัฒนาข้ึน
และความรู้เกี่ยวกับ “งาน” ทจ่ี ะใหป้ ฏิบตั ิ รวมทั้งโครงการนำความร้สู ู่การปฏิบัติของกลุ่มเป้าหมายใน

26

การทดลอง ผู้วิจัยก็จะต้องจัดทำคู่มือเพื่อเป็นแนวทางให้มีการวางแผนเพื่อการปฏิบัติของ
กลุ่มเป้าหมายในการทดลอง ซึ่งการจัดทำคู่มือประกอบโครงการทั้ง 2 โครงการดังกล่าวนี้ ถือเป็น
ภาระงานที่หนักท่ีผู้วิจัยจะต้องใช้เวลาและความพยายามสูง อย่างน้อยก็ประมาณ 1 ภาคเรียน แต่
หากในบทที่ 2 ผู้วิจัยได้ศึกษาวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องไว้ได้ดีก็จะทำให้มี “สารสนเทศ/ความรู้” ที่จะ
จัดทำเปน็ คู่มอื ประกอบท่ีเพียงพอ

ดังนั้น การศึกษาวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องในหัวข้อนี้ จึงมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ได้ทัศนะของ
นักวิชาการและหน่วยงานต่าง ๆ ที่ถือเป็นแนวคิดเชิงทฤษฎี (Theoretical Perspectives) เกี่ยวกับ
ทักษะการปรับตัว.(Adaptability Skills) จากหลากหลายทัศนะ อันจะเป็น “สารสนเทศ/ความรู้” ท่ี
จะนำไปสู่การจัดทำ “คู่มือ” ประกอบโครงการพัฒนาความรู้ให้กับกลุ่มเป้าหมายในการทดลอง และ
โครงการนำความรู้สู่การปฏิบัติ ได้อย่างมีคุณภาพและอย่างมีประสิทธิผล โดยมีผลการศึกษาแนวคิด
เชงิ ทฤษฎี (Theoretical Perspectives) เกีย่ วกบั ทักษะการปรบั ตวั (Adaptability Skills) ดังต่อไปน้ี
ตามลำดับ

2.3.1 ทัศนะเกี่ยวกับนิยามของทักษะการปรับตัว (The Definition of Adaptability
Skills)

Esoft Skills Team (n.d.) กล่าวถึง ทักษะการปรับตัว (Adaptability Skills) คือ
ความสามารถของบุคคล ทมี หรอื องคก์ ร ในการปรับหรอื เปลีย่ นแปลงตวั เองให้ตรงกบั ความต้องการ
ของสถานการณ์หรือสภาพแวดล้อม ดังนัน้ หากการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นบุคคลหรือทีมที่ปรับเปล่ียนได้
จะสามารถปรับและค้นหาวธิ ที ่ีดีท่ีสุดในการดำเนินการในสถานการณ์ใหมด่ ว้ ยตนเองได้

Smith, Sorokac & Widmaier (n.d.) กล่าวถึง ทักษะการปรับตัว (Adaptability Skills)
คือความสามารถในการปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลง โดยทั่วไปจะสามารถปรับตัวเองให้เข้ากับ
การเปลี่ยนแปลงทาง บทบาท ความรับผิดชอบต่องาน วัสดุอุปกรณ์ และ ตารางงาน หากคุณไม่
สามารถเอ้ืออำนวยการสอนในแง่มุมต่างเหล่านี้ได้ อาจจะเป็นเรื่องยากที่จะทำให้นักเรียนได้รับ
ประสบการณก์ ารเรยี นรู้ที่ดที ี่สุด และแนน่ อนว่าน่ันคอื เป้าหมายเสมอมา!

Cleverism (n.d.) กล่าว ถึง ทักษะการป รั บตัว (Adaptability Skills) หมาย ถึ ง
ความสามารถของบุคคลในการเปลี่ยนแปลงการกระทำของเขาหลักสูตรหรือแนวทางในการทำสิ่งต่าง ๆ
เพื่อให้เหมาะกับสถานการณ์ใหม่ เราเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของเราตลอดเวลาเพราะโลกของเรา
เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ เมื่อมีการขาดแคลนสินค้าในตลาดเราเปลี่ยนความต้องการของเราไปยังสินค้า
ทดแทน นนั่ คือตวั อย่างของการปรบั ตวั

Prince (2012) กล่าวถึง ทักษะการปรับตัว (Adaptability Skills) คำจำกัดความใน
พจนานุกรมที่พบคือ ความสามารถในการเปลี่ยนแปลง (หรือถูกเปลี่ยนแปลง) เพื่อให้เหมาะสมกับ
สถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง "ฉันชอบสิ่งนี้เพราะสำหรับฉันถ้ามันเป็นความสามารถนั่นหมายความว่า
มันสามารถถูกถ่ายทอดและเรียนรู้ได้ ทุกคนมีความสามารถขั้นพื้นฐานที่สามารถปรับได้ - หาก
ปราศจากสง่ิ นี้เราจะไมส่ ามารถทำงานในโลกน้ีได้

Martin (2012) กล่าวถึงทักษะการปรับตัว (Adaptability Skills) ถูกนิยามอย่างเป็น
ทางการว่า ความสามารถในการควบคุม การรับ รู้อารมณ์ และพฤติกรรมในการตอบสนองต่อสิ่งใหม่
การเปลยี่ นแปลงและ / หรือ เง่ือนไขทท่ี ้าทายและสถานการณใ์ หม่ ดังนน้ั บคุ คลทีส่ ามารถปรับเปลี่ยน

27

ได้ถูกเสนอให้มคี วามสามารถในการปรับ ความคิด อารมณ์ และ พฤติกรรมของพวกเขาเพื่อให้เกิดวิถี
ทางบวกต่อปรากฏการณ์เชงิ บวก เชน่ การเรียนรู้ และ ความสำเรจ็

Reddy (n.d.) กล่าวถึง ทักษะการปรับตัว (Adaptability Skills) คือธรรมชาติของการ
เปลี่ยนแปลงหรือการสร้างการปรับเปลี่ยนในตัวเองเพื่อให้เหมาะกับสภาพแวดล้อมใหม่ สำหรับ
วัฒนธรรมในที่ทำงานหมายความว่า บุคคลจะต้องเปิดรับแนวคิดใหม่หรือการเปลี่ยนแปลง ต้อง
สามารถทำงานได้อย่างอิสระ หรอื เป็นทีม หรือ ทำงานทไ่ี ม่ได้มไี ว้สำหรับบคุ คลเดียวเทา่ นน้ั

Robert Half (n.d.) กล่าวว่ามีคนหรือองค์กรที่ประสบความสำเร็จน้อยมากที่ไปถึงตามที่
ฝันโดยทำสิ่งเดียวซ้ำ ๆ ในความเป็นจริง ผู้นำที่ยิ่งใหญแ่ สวงหาการเปล่ียนแปลงและดำเนนิ การอย่าง
จริงจัง เข้าใจนวัตกรรมอย่างแท้จริง และ นำหน้าความทันสมัย คุณต้องยอมรับการเปลี่ยนแปลง แต่
การปรับตัวไม่ได้เป็นเพียงแค่การยอมรับการเปลี่ยนแปลง ดังนั้น ทักษะการปรับตัว (Adaptability
Skills) หมายถึงการเป็นคนมองโลกในแง่ดีตลอดเวลาและแสดงความยืดหยุ่นเป็นพิเศษ ทักษะการ
ปรบั ตวั สามารถมไี ด้ท้งั ในทัศนคติและการกระทำและไม่มีใครสามารถอยู่ได้โดยปราศจากผู้อน่ื

Cjones Skills Weekly (n.d.) ความยืดหย่นุ คอื ความสามารถในการรบั หนา้ ท่ีและงานใหม่
โดยไม่ต้องแจง้ ใหท้ ราบลว่ งหนา้ การปรบั ตัว (Adaptability) เกยี่ วข้องกับความสามารถในการเปลี่ยน
แผนหรือความคดิ ข้นึ อยกู่ ับแผนงานและสถานการณ์

การมีความยืดหยนุ่ และปรับตวั ได้ในที่ทำงานเป็นสิ่งทส่ี ำคัญเพราะจะชว่ ยให้นายจ้างทราบ
ว่าพนักงานยินดีรับความรับผิดชอบและงานใหม่เมื่อจำเป็น ทักษะเหล่านี้ช่วยให้พนักงานค้นหา
วิธีแก้ไขปัญหาที่สร้างสรรค์เมื่อเกิดปัญหาขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยให้พนักงานคิดในรูปแบบใหม่และ
แตกต่างเพื่อปรับให้เข้ากับสถานการณ์ใหม่ นอกจากนี้ทักษะนี้ช่วยให้หลายคนเรียนรู้ที่จะทำงานกับ
ผอู้ ืน่ ท่ีคิดแตกตา่ งกนั

สำหรับนักเรียนมัธยมปลายที่มีทักษะความยืดหยุ่นและทักษะการปรับตัว เมื่อทำงานเป็น
กลมุ่ สมาชกิ บางคนอาจไมท่ ำงานดังน้นั นกั เรียนควรสามารถคิดได้ว่าจะทำโครงการให้เสรจ็ ทันเวลาได้
อย่างไร นักเรียนสามารถเรียนรู้ที่จะปรับตัวได้ดีขึ้นหากพวกเขาสงบสติอารมณ์ เมื่อพวกเขามีปัญหา
อีกวิธีหนึ่งที่นักเรียนสามารถแสดงความยืดหยุ่นและความสามารถในการปรับตัวของพวกเขาคือการ
จัดลำดับความสำคัญเม่อื มสี ิง่ สำคญั เกิดขน้ึ

Collie & Martin (2016) กล่าวว่า คุณลักษณะที่สำคัญของการสอนเกี่ยวข้องกับความ
แปลกใหม่ การเปลี่ยนแปลงและความไม่แน่นอนในชีวติ ประจำวัน ความสามารถในการตอบสนองต่อ
การเปล่ียนแปลงน้ีได้อย่างมีประสทิ ธิภาพเรยี กวา่ การปรับตวั

Oliver & Lievens (2014) กล่าวว่า เรานิยามความสามารถในการปรับตัวระหว่างบุคคล
ว่า คือ ความพอดีทางด้านพฤติกรรมความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ความคิดและอารมณ์ของแต่ละ
บุคคลในการปฏิสัมพันธร์ ะหว่างบุคคลเพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามความต้องการสถานการณ์ของการมี
ปฏิสัมพันธ์ คำนิยามนี้เน้นห้าองค์ประกอบหลักของคำจำกัดความของการปรับตัวระหว่างบุคคลของ
เรา 1. การปรับตวั ระหวา่ งบุคคลเปน็ โครงสรา้ งท่ีใชง้ านได้ 2. การปรับตัวระหวา่ งบุคคลน้ันมีหลายมิติ
3. การปรับตัวระหว่างบุคคลเกิดขึ้นภายในการปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล 4. ความต้องการตาม
สถานการณ์สามารถกำหนดแนวคิดโดยเป้าหมายที่พวกเขามุ่งมั่น 5. การปรับตัวระหว่างบุคคลเป็น
ตัวชวี้ ัดของความเหมาะสม

28

สำหรับองค์ประกอบแรกในฐานะโครงสร้างการทำงานการปรับตัวระหว่างบุคคลจะ
ประเมินกระบวนการและทักษะระหว่างบุคคลภายในบริบทของความต้องการสถานการณ์ เราสร้าง
กรอบความคิดต่อความสามารถในการปรับตัวระหว่างบุคคลในฐานะที่เป็นหน้าที่ทั้งทักษะ
ความสมั พนั ธร์ ะหว่างบุคคลและกระบวนการระหว่างบุคคลเชน่ การรบั รู้สถานการณ์และการประเมิน
และการเลือกกลยุทธ์ สิ่งนี้สอดคล้องกับกรอบของ Klein และเพื่อนร่วมงาน (2006) ของทักษะ
ความสัมพันธร์ ะหว่างบุคคลซึ่งยังกำหนดแนวคิดกระบวนการรับรู้และการรับรู้ทางความคิดซึ่งเป็นตวั
แปรกลางท่ีสำคญั สำหรับการดำเนนิ การทกั ษะความสมั พันธร์ ะหวา่ งบุคคล

สำหรับองค์ประกอบที่สองการปรับตัวระหว่างบุคคลนั้นมีหลายมิติ จากแนวคิดของ
Ployhart & Bliese (2006) สำหรับการปรับตัวของแต่ละบุคคล เราให้กรอบแนวคิดว่าการปรับตัว
ระหว่างบุคคลเปน็ หน้าที่ของทั้งทกั ษะความสัมพันธร์ ะหว่างบุคคลและกระบวนการระหว่างบุคคลเช่น
การรับรู้สถานการณ์และการประเมินและการเลือกกลยุทธ์ สิ่งนี้สอดคล้องกับกรอบของ Klein และ
เพื่อนร่วมงาน (2006) ของทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลซึ่งยังกำหนดแนวคิดการรับรู้และ
กระบวนการกรององค์ความรู้ซึ่งเป็นตัวแปรหลักที่เป็นสื่อกลางสำหรับการดำเนินการทักษะ
ความสมั พนั ธ์ระหว่างบุคคล

กล่าวโดยสรุป ทักษะการปรับตัว (Adaptability Skills) คือ ความสามารถของบุคคล ทีม
หรือ องค์กร ในการปรับความคิด อารมณ์ และ พฤติกรรมของตนเอง เพื่อให้เกิดวิถีทางบวกต่อ
ปรากฏการณ์เชิงบวก เช่น การเรียนรู้ และ ความสำเร็จ เป็นทักษะในการเปลี่ยนแปลงตัวเองหรอื ทีม
ทางด้านข้นั ตอนการทำงานใหม่ เป้าหมายใหม่ หรอื การใช้เทคโนโลยใี หม่ ใหต้ รงกบั ความตอ้ งการของ
สถานการณ์หรือสภาพแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอด ทักษะการปรับตัวช่วยให้ทำสิ่งต่าง ๆ ได้
ง่ายขึ้น สร้างโอกาสที่มากกว่าด้วยการฝึกฝนจนเข้าถึงความเป็นมืออาชีพและประสบผลสำเร็จตาม
เป้าหมายท่ีตั้งไว้ อีกทั้งช่วยเสรมิ ให้สนับสนุนทีมได้อย่างมปี ระสทิ ธิภาพและจัดการกับผลกระทบท่มี า
กับการเปลี่ยนแปลงได้ดียิ่งขึ้นอีกด้วย จึงเป็นทักษะที่ช่วยให้คนเรามีความสุขและมีความพึงพอใจ
มากกว่าผู้อื่น เพราะไม่ต้องดิ้นรนหรือต้องพยายามต่อต้านเมื่อสิ่งต่าง ๆ เปลี่ยนแปลง ทักษะการ
ปรบั ตัวในยุคปัจจุบันจึงเปรียบเสมอื นทกุ สิง่ ทุกอย่าง

2.3.2 ทัศนะเกี่ยวกับความสำคัญของทักษะการปรับตัว (The Importance of
Adaptability Skills)

ในเว็บไซต์ของ Robert Half (n.d.) กล่าวถึงความสำคัญของทักษะการปรับตัวว่า การท่ี
คนเราสามารถปรับตัวไดน้ ้ันสำคญั มากแค่ไหน? กต็ อบได้เลยสนั้ ๆ ว่าสำคญั มาก เนอ่ื งจากเป็นทักษะที่
ไมต่ ายตัว สามารถนำไปปรบั ใช้ในสถานที่ทำงานได้ในหลายแบบ ตอ่ ไปนีค้ ือข้อดี 3 ประการจากการที่มี
ทักษะการปรับตวั ท่ดี เี ยีย่ ม

1. เราสามารถรับมือกับความท้าทายได้ดียิ่งขึ้น (You’ll Embrace Challenges Better)
การปรับตัวได้หมายถึงการทำงานได้โดยไม่มีขีดจำกัด และเป็นผู้ท่ีเปิดใจให้กับการค้นหาวิธีการแก้ไข
ปัญหาและรับมือกับความท้าทายที่หลากหลายและไม่เคยคาดคิดมาก่อนในที่ทำงาน การมีความคิด
และการลงมือทำอะไรสักอย่างแบบไร้ขีดจำกัดทำให้ความทา้ ทายกลายเปน็ สิ่งที่ไม่นา่ กลัว แต่เป็นการ
คว้าโอกาสและได้เพลิดเพลินกับการเอาชนะมัน จะเห็นได้ว่าคนที่ปรับตัวเก่งจะสามารถเข้ากับคนได้

29

หลายประเภทด้วยทักษะมากมายที่เขามีเพื่อให้การทำงานสำเร็จลุลว่ ง สามารถสร้างเครือข่ายที่ใหญ่
ขึน้ และไดพ้ บกับคนที่มีความสามารถมากมาย

2. เราจะกลายเป็นผู้นำที่ดียิ่งกว่า (You’ll Become a Better Leader) ผู้นำที่ดีย่อม
เข้าใจดีกว่าการเปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้และจะไม่ละเลยกับการเปลี่ยนแปลงท่ี
เกิดขึ้น ผู้นำที่ดียังสามารถคงทัศนคติเชิงบวกในการยอมรับความเป็นไปนี้ และสามารถนำพาและ
ผลักดันทีมและพนักงานให้ทำงานผ่านพ้นช่วงเวลาที่แย่นี้ไปได้ ผู้นำที่ดียังเป็นผู้ที่เปิดใจ มีความคิด
และรู้ดีว่าวิธีการแก้ปัญหาและสติปัญญาสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายแห่ง พวกเขาจะไม่เพิกเฉยต่อ
วิธีแก้ไขปัญหาที่อาจเปน็ ไปได้ คุณสมบัติของผู้นำทีด่ ีเหล่าน้ีมาจากความสามารถในการปรับตัวที่เปน็
หลกั สำคัญ และเชอ่ื มั่นในความสามารถในการปรบั ตัว และพร้อมรบั การเปลี่ยนแปลง

3. เราจะมีความเกี่ยวข้องเสมอ (You’ll Always be Relevant) คนที่พร้อมรับความ
เปลี่ยนแปลงหรือกล้าที่จะทำสิ่งต่าง ๆ ด้วยวิธีการที่ต่างไปจากธรรมดาจะเป็นผู้มีความเกี่ยวข้องตลอด
ชีวิตการทำงานเพราะว่าพวกเขาสบายใจที่จะลองเสี่ยง ไม่ว่าจะเป็นการทดลองระบบการจัดการโปรเจค
แบบใหมเ่ พอ่ื การปรับปรงุ ให้องค์กรเตบิ โตขึ้น หรอื การปรับร้อื ระบบการจัดการทีมใหม่ทั้งระบบ หรือการ
เต็มใจที่จะทดลองอุปกรณ์ กลยุทธ์และเทคนิคใหม่ ๆ เพื่อให้ผลงานออกมาอย่างดีที่สุดก็ตาม สถานที่
ทำงานเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาและเร็วกว่าเมื่อก่อน หากไม่พร้อมที่จะรับการเปลี่ยนแปลง ก็จะตาม
คนอื่นไมท่ ัน

ในเว็บไซต์ของ ERM Academy (n.d.) กล่าวถึงความสำคัญของทักษะการปรับตัวว่า มี
ข้อดีมากมายหากเราเป็นคนที่ยืดหยุ่นและปรับตัวเก่ง ถ้าหากเราใช้ชีวิตไปสู่จุดที่รู้สึกว่าการปรับตัว
เป็นเรื่องจำเป็น อยากให้รู้ไว้ว่าเราจะได้ประโยชน์อีกมากมาย มันอาจเป็นเรื่องยากในตอนแรก แต่
ขอใหอ้ ดทนและฝกึ ฝนแล้วจะปรบั ตัวได้เอง

1. คุณค่าในที่ทำงานจะมากขึ้น (Your Value will Increase at Your Workplace) ใน
ยุคสมัยใหม่นี้ การมีความสามารถในการปรับตัวกลายมาเป็นคำขวัญแห่งการทำธุรกิจ ซึ่งหมายความ
ว่าในฐานะพนกั งานแล้วเราจะต้องเต็มใจท่ีจะปรับตวั เช่นกัน

ความสามารถในการปรับตัวจะช่วยให้เปิดใจให้กับแนวคิดใหม่ ๆ ทำให้เราตั้งคำถามกับ
สถานภาพที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน และทำให้กล้าที่จะทำอะไรที่แหวกแนวออกไป คนที่ปรับตัวได้จะไม่
กลัวการเปลี่ยนแปลง แต่พวกเขาจะวางแผนสำคัญในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงเป็นอันดับแรก

ในปัจจุบันองค์กรส่วนใหญ่หันมามุ่งเน้นเรื่องความสำคัญของการมีความสามารถในการ
ปรับตัวในหมู่พนักงาน และแนวโน้มเช่นนี้จะยังคงมีต่อไปเรื่อย ๆ ในอนาคต ผู้เชี่ยวชาญด้านการ
พัฒนาบุคลากรร้อยละ 91 ต่างเชื่อว่าภายในปี 2018 เกณฑ์หลักในการรับพนักงานใหม่จะเน้นเรื่อง
ของความสามารถในการปรับตัว หากอยากที่จะโดดเด่นในตลาดแรงงานแล้วล่ะก็ การฉายแววด้าน
ทกั ษะความสามารถในการปรบั ตวั ถือเป็นเรอ่ื งสำคัญมาก การทำเชน่ นน้ั จะทำใหเ้ อาตวั รอดได้เสมอใน
สภาพแวดล้อมทางธรุ กจิ ท่ีมีการเปลี่ยนแปลงอย่ตู ลอดเวลา

2. การปรับตัวเป็นทักษะที่ผู้นำทุกคนควรมี (Adaptability is a Skill Every Leader
Must Have) การจะเป็นผู้นำที่ดีได้นั้น ทักษะการปรับตัวเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้เลย ผู้นำที่มีทักษะการ
ปรับตัวที่ดีจะเป็นที่เคารพของบรรดาเพื่อนร่วมงานและสามารถผลักดันพวกเขาให้พร้อมรับการ
เปลยี่ นแปลง ทำใหก้ ารดำเนินธรุ กิจเป็นไปอยา่ งราบรนื่ มากท่สี ดุ เท่าท่จี ะทำได้

30

ในบทความเรื่อง ทำไมความเป็นผู้นำที่ยืดหยุ่นและปรับตัวได้จึงสำคัญ รูบินา มาห์ซูด (Rubina
Mahsud) และแกรี่ ยูคล์ (Gary Yukl) กล่าวว่า “ภัยคุกคามที่ไม่เคยคาดคิดมาก่อนมักจะเกิดขึ้นและ
ทำให้องค์กรล่มจม ทรพั ยส์ นิ เสียหาย และทำให้ชีวิตตกต่ำเสมอ ทางเดยี วทีจ่ ะเอาชนะภัยคุกคามที่ว่า
นี้คือการตอบโต้อย่างทันควนั เมื่อมีภัยปรากฏข้ึน ทุกองค์กรย่อมต้องการผูน้ ำที่มีทักษะในการปรับตวั
เม่อื เผชิญกบั ปญั หาเหลา่ น้ี เพือ่ จะได้นำพาใหอ้ งคก์ รผา่ นพน้ วิกฤตไปได”้

ผู้นำองค์กรมักจะต้องเผชิญหน้ากับความท้าทายซึ่งพวกเขาต้องมีความเด็ดเดี่ยวในการ
รับมือกับความเปลี่ยนแปลงนั้น หากตัดสินใจอย่างล่าช้าเกินไปอาจทำให้องค์กรตกต่ำลงได้อย่าง
รวดเร็ว

3. การมีความสามารถในการปรับตัวจะทำให้เป็นผู้ที่มีความสุขและพึงพอใจกับชีวิต
(Adaptability Creates more Happiness and Overall Life Satisfaction) ก า ย ว ิ น ซ ์ ( Guy
Winch) ได้กล่าวไวว้ า่ เราจะได้รับประโยชน์มากมายหากเราเต็มใจท่จี ะปรบั ตัว หนึง่ ในประโยชน์ท่ีเห็น
ได้ชัดก็คือการมีความสุขในชีวิตมากขึ้น “เราทุกคนจะต้องได้เผชิญหน้ากับความท้าทายด้านจิตใจอยู่
เสมอในชีวิต บางคนเจอเหตุการณ์คลื่นความสิ้นหวังถาโถม บางคนยอมรับความพ่ายแพ้อย่างกล้า
หาญ ให้เราเรียนรู้บทเรียนจากชีวิตและดำเนินชีวิตต่อไป ความจริงอย่างหนึ่งที่ไม่สามารถปฏิเสธได้
เลยคือความสขุ ของเรา ความพอใจ และความสามารถในการสร้างความสัมพันธ์ท่ีมีคณุ ภาพน้ัน ขึ้นอยู่
กบั ทักษะความสามารถในการปรบั ตวั ของเราอย่างมากทีเ่ ดยี ว”

4. ทำให้สามารถก้าวผ่านการเปลี่ยนแปลงในอาชีพได้อย่างราบรื่น (Makes it Possible for
You to Smoothly Go Through Career Changes) ให้เราลองคิดภาพตัวเองกำลังหางานใหม่หลังจาก
ที่บริษัทลดขนาดองค์กรลง สิ่งแรกที่เราจะทำคืออะไร? ยอมแพ้แล้วจมอยู่กับความสิ้นหวังในการหางาน
อย่างนั้นหรือ? หรือจะพิจารณาทางเลือกที่มี แล้วดูว่าเรามีจุดแข็งอะไรบ้าง จากนั้นลองหางานใน
อุตสาหกรรมทีไ่ มเ่ คยทำมาก่อน?

หากมีความสามารถในการปรับตัว การหางานใหม่ไม่ใช่เรื่องยาก และเมื่อได้งานใหม่แล้ว
นั้น การจัดการกับภาระงานก็เป็นสิ่งที่ไม่ต้องใช้ความพยายามมากมายอะไร การเอาชนะการ
ผัดวันประกันพรุ่งจะกลายเป็นเรื่องที่ง่ายดาย เพราะเราจะอัปเดตเรซูเม่ของตัวเองอยู่เสมอ การมี
ความสามารถในการปรับตัวจะช่วยเพิ่มโอกาสประสบสำเร็จให้กับเรา เพราะเราจะพบว่าตัวเอง
พยายามลองทำงานหลายประเภทในขณะทห่ี างานใหม่อยู่นน่ั เอง

5. เมื่อไรก็ตามที่เราล้ม การลุกขึ้นใหม่ไม่ใช่เรื่องยาก (Whenever Life Knocks You
Down, Bouncing Back will Become Easy) หลายครั้งในชีวิตที่เราต้องพบเจอกับเหตุการณ์
เลวร้ายที่ไม่คาดคิด การมีความสามารถในการปรับตัวทำให้สามารถลอยตัวจากความยากลำบากใน
ชวี ติ ที่พยายามดึงเราให้จมลง แทนทีเ่ ราจะวิ่งหนคี วามเปน็ จรงิ เราจะยอมรับและใชช้ ีวิตไปไปกบั มนั

คนที่สามารถปรับตัวได้เป็นผู้ที่มีความยืดหยุ่น ดีน เบคเกอร์ (Dean Becker) ผู้เชี่ยวชาญ
ดา้ นความยืดหยุน่ กลา่ วว่าความสำเร็จในชีวิตของคนเราสร้างขนึ้ ไดจ้ ากความสามารถในการปรับตัว

เขายังพูดอีกว่า “ความสำเร็จของแต่ละบุคคลไม่ได้ขึ้นอยู่กับระดับการศึกษา สติปัญญา
และประสบการณ์ของพวกเขา แต่ขึ้นอยู่กับระดับความยืดหยุ่นของแต่ละบุคคล นี่คือจุดสำคัญที่
แทจ้ รงิ ทัง้ ในเรอื่ งของการกฬี า การแพทย์ การทำธรุ กิจและเร่ืองอ่นื ๆ”

31

การมีความสามารถในการปรับตัวจะช่วยขยายขีดความสามารถในการรับมือกับการ
เปลี่ยนแปลง ไม่ว่ามันจะหนักหนาสักแค่ไหนก็ตาม แทนที่จะทุ่มเทพลังงานไปกับการพยายาม
เปลยี่ นแปลงสถานการณ์ เราจะเปล่ยี นแปลงตวั เองจากภายใน ซึง่ น่ีจะทำให้เราประสบความสำเร็จไม่
วา่ ในสถานการณ์ใดก็ตาม

Agrawal (2016) กล่าวถงึ ความสำคญั ของทักษะการปรับตัวว่า การปรับตวั ให้เขา้ กับสภาพ
ที่เปลี่ยนแปลงเป็นส่วนสำคัญในการดำเนินชีวิต และธุรกิจของเราด้วย ธุรกิจมีการเปลี่ยนแปลง
ตลอดเวลาและเราจะต้องพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงนั้น หากไม่มีทักษะความสามารถในการปรับตัว
เลย เรากจ็ ะพบว่าตวั เองกำลงั ตกทน่ี ัง่ ลำบาก

ความสามารถในการปรับตัวไม่ได้เป็นเพียงปัญหาสำหรับเรา แต่เป็นปัญหาของคนทั้ง
ประเทศ ตอ้ งการข้อพสิ ูจน์หรือ? เรามีสถติ ทิ ่นี ่าตกใจจากนิตยสารฟอร์บส์ - ผูบ้ ริโภคในสหรัฐอเมริกา
จ่ายค่ามันฝรั่งทอดเป็นจำนวนเงินที่มากกว่างบประมาณที่รัฐบาลสหรัฐฯ จัดสรรให้กับการวิจัยและ
พฒั นาด้านพลังงาน ซึง่ เปน็ ลำดับความสำคัญทผ่ี ิดท้งั หมด และนัน่ เปน็ เพราะผูค้ นยังไม่ทราบถึงคุณค่า
ของความสามารถในการปรบั ตัว

แนวทางต่อไปนี้จะช่วยให้ตระหนักถึงข้อดีของการเป็นคนมีความสามารถในการปรับตัว
ได้มากขนึ้

1. ได้รับการยอมรับมากขึ้น (Get more Recognition) ไม่ว่าจะเป็นในที่ทำงานหรือการ
เปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ที่บ้านก็ตาม เราจะได้รับการยอมรับมากขึ้นหากตอบสนองอย่างถูกวิธี มันสำคัญ
อยา่ งไร? โดยหลักแล้วเพราะว่าความสามารถในการปรับตวั เป็นทักษะลับท่ีซ่อนอย่ภู ายใน ผู้คนมีแนวโน้ม
จะเชื่อถือเราเมื่ออยู่ในสถานการณ์ที่คับขัน เขาจะรู้ว่าเราสามารถปรับตัวกับสถานการณ์ต่าง ๆ ได้ดีแค่
ไหน ไม่มีใครให้ความสนใจกับคนที่ไม่ทำอะไรเลยนอกจากหวั่นวิตกอยู่ตลอดเวลา การได้รับการยอมรับ
มากข้นึ กห็ มายความว่าไดร้ ับความเช่ือถือมากขึน้ และก็ยงั รวมไปถึงความรับผิดชอบท่เี พิ่มขึ้นอีกดว้ ย

2. อยา่ วติ กกงั วล (Don’t Panic) เราอาจรายล้อมไปดว้ ยเพื่อนทดี่ ี คนทส่ี ามารถช่วยเตือน
ได้ในเรื่องนั้น ๆ แต่อย่างไรก็ตามพฤติกรรมแบบนี้ไม่ใช่พฤติกรรมของคนที่มีอิสระและพร้อมที่จะ
เผชิญโลก หากเราเรียนรู้ท่ีจะปรับตัวก็จะสามารถตอบสนองต่อการเปลีย่ นแปลงในชีวิตได้ดยี ่ิงข้ึน จะ
ไม่วติ กกงั วลและไม่เปน็ ทกุ ขก์ บั แผนทวี่ างไวแ้ ตไ่ ม่สำเรจ็ ดั่งใจหวงั

3. เราจะเติบโตขึ้น (You Will Grow) เหตุผลอันดับหนึ่งที่ว่าทำไมผู้คนไม่เติบโตก็
เพราะว่าพวกเขาไม่สามารถหรือไมเ่ ต็มใจทจี่ ะเปล่ียนแปลงไปสู่สิ่งใหม่ ๆ ทางเดยี วทีผ่ ู้คนจะเติบโตขึ้น
ได้กค็ ือการยอมรบั ความทา้ ทายใหม่ ๆ ในบางกรณนี ้นั เราอาจจะเตบิ โตโดยไมร่ ้ตู ัวเพราะว่ากำลังเผชิญ
กับการเปลี่ยนแปลง แต่ส่วนใหญ่แล้วก็สามารถเลือกท่ีจะปรับตัวหรือเลือกที่จะใช้ชีวิตไปตาม
สถานภาพในปัจจุบันก็ได้ คนที่ประสบความสำเร็จส่วนใหญ่นัน้ ล้วนแล้วแต่เสาะหาโอกาสที่จะช่วยให้
พวกเขาเติบโตอยู่เสมอไม่ว่าที่ไหนและเมื่อไรก็ตามที่ทำได้ พวกเขาไม่ปรับตัวเฉพาะเมื่อถึงเวลาต้อง
ปรบั แต่พวกเขาปรับตัวอย่เู สมอ ทกุ ทท่ี ุกเวลา

Ferguson (2011) กล่าวถึงความสำคัญของทกั ษะการปรับตวั ว่า การเปลี่ยนแปลงไมใ่ ชส่ ่งิ
ที่ทำให้ทุกคนมีความสุข นอกเสียจากว่าพวกเขาเริ่มต้นอยากที่จะเปลี่ยนแปลง พวกเราทุกคนเกิดมา
พรอ้ มความสามารถในการปรบั ตัว ลองพจิ ารณาตนเองในวยั เด็กดูวา่ เราผ่านมาไดอ้ ยา่ งไร ทำไมจึงเป็น
เรื่องยากสำหรับผู้คนที่ต้องปรับตวั เข้ากับการเปลีย่ นแปลงองค์กร? เราไม่เคยชอบเลยเวลาที่นายจ้าง

32

ประกาศว่าจะมีการเปลีย่ นแปลง เมื่อโบสถ์และชุมชนของเราแจง้ ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลง หรือแม้แต่
การเปลี่ยนแปลงในครอบครัวที่ส่งผลต่อเราไม่ว่าจะเป็นการเกิด การเสียชีวิต การแต่งงาน หรือ เม่ือ
ลกู ๆ เขา้ เรียนมหาลัย

ตามข้อมูลที่ปรากฏในวิกิพีเดีย ความสามารถในการปรับตัวในการจัดการองค์กรหมายถึง
การมีความสามารถในการเปล่ียนแปลงบางส่งิ บางอย่างหรือตนเองให้เขา้ กบั การเปล่ยี นแปลงที่เกิดขึ้น
และยังหมายถงึ ความสามารถในการจัดการกบั สง่ิ รบกวนที่ไม่คาดคิดในสภาพแวดลอ้ มนน้ั อีกด้วย

สิ่งที่ไม่คาดคิดและสิ่งรบกวนคือคำสำคัญสองคำที่เราจะมาพิจารณากันที่นี้ ไม่มีใครหรือ
องค์กรใดเลยจะรู้สกึ มีความสขุ กบั คำเหล่าน้ี

แต่องค์กรต่าง ๆ ก็ยังต้องจัดการกับห้วงแห่งสิง่ ที่ไม่คาดคิดและสิ่งรบกวนอยูเ่ สมอ บางคน
อาจคิดว่าองคก์ รพร้อมทีจ่ ะตอบสนองต่อส่ิงที่ไม่คาดคิดและสิ่งรบกวนมากมายท่ีเข้ามา ซ่งึ ส่งิ น้ีเรยี กว่า
การวางแผน แตม่ นั เปน็ ไปไมไ่ ดเ้ ลยทจี่ ะวางแผนรับมือกบั ทกุ เร่ืองได้

ไม่ว่าจะวางแผนไว้มากมายแค่ไหนก็ยังคงมีปัญหา เหตุการณ์ และสถานการณ์ใหม่ ๆ ผุด
ขึ้นมาเสมอซึง่ อยูน่ อกแผนทว่ี างไว้ ฉะนน้ั เราจะเตรยี มพร้อมรบั มือมันได้อยา่ งไร?

องค์กรที่มีความสามารถในการปรับตัวฝังอยู่ในดีเอ็นเอจะสามารถตอบสนองตอ่ เหตุการณ์
ที่ไม่คาดคิดและแก้ไขให้ดีขึ้นได้ในระยะยาว องค์กรเหล่านั้นเข้าใจถึงข้อดีของความสามารถในการ
ปรับตัว การเพิ่มความสามารถในการปรับตัวให้เป็นคุณค่าหลักอย่างชัดเจนหรืออย่างเป็นนัยก็ล้วน
แลว้ แต่เปน็ สว่ นสำคัญในการช่วยพัฒนาองค์กรอยา่ งยง่ั ยืนในระยะยาว

อยากให้ลองพิจารณาวิทยาลัยชั้นนำ ซึ่งยกให้ความสามารถในการปรับตัวเป็นคุณค่าหลัก
ของวทิ ยาลัย ได้แก่ วิทยาลยั เภสัชกรรมและสาธารณสขุ ศาสตรแ์ ห่งรัฐแมสซาชเู ซตต์ ซึง่ ก่อตัง้ ขนึ้ เมื่อปี
ค.ศ.1823 และยงั เปน็ สถาบนั ระดบั อุดมศกึ ษาที่เก่าแก่ท่ีสุดในเมืองบอสตันอีกดว้ ย ทางวิทยาลัยเข้าใจ
ดีว่านักศกึ ษาจะต้องใชช้ ีวติ และเติบโตท่ามกลางสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงอยตู่ ลอดเวลา และทาง
วทิ ยาลัยกย็ ินดที ่ีจะให้ความชว่ ยเหลือด้วยการสนบั สนุนส่ิงท่ีจำเป็นให้แกน่ กั ศึกษาเพื่อความสำเร็จของ
พวกเขา สิง่ นเี้ องทีท่ างวิทยาลยั สามารถพดู ไดว้ า่ พวกเขาไดเ้ ตรียมความพร้อมใหก้ ับบุคลากรผู้ประกอบ
วชิ าชพี ด้านเภสชั กรรมมากกว่าสถาบนั การศกึ ษาอ่นื ๆ ในโลก

ส่วนบางองค์กรก็ได้สรา้ งทกั ษะความสามารถในการปรับตวั เอาไว้ในแบรนด์ของตน บริษัท
ที่ชื่อว่า Liquid Spoke ซึ่งตั้งอยู่ที่ฟิลลาเดเฟีย ผู้ซึ่งให้บริการและวางระบบไอทีก็ได้นำเอาทักษะ
ความสามารถในการปรบั ตัวรวมเข้าเป็นหนึ่งในคุณค่าหลักขององค์กร พวกเขาใชค้ วามสามารถในการ
ปรบั ตัวเพ่ือส่งเสรมิ ด้านนวัตกรรม การแก้ปัญหาโดยใช้ความคิดสรา้ งสรรค์และความยืดหย่นุ ส่วนหนึ่ง
ในการพยายามในการสร้างภาพลักษณ์ใหม่ให้กับแบรนด์ ทางบริษัทเลือกใช้ชื่อใหม่โดยเลือกใช้คำว่า
‘ลิขวิด(liquid)’ เพื่อสะท้อนให้เห็นว่ากระบวนการและการแก้ปัญหาทางไอทีอันซับซ้อนนั้นมีการ
เปลย่ี นแปลงอยู่ตลอดเวลา ดงั นนั้ แลว้ พวกเขาจึงได้เพม่ิ ทักษะความสามารถในการปรับตัวเป็นหนึ่งใน
คุณค่าหลักเพื่อสร้างจุดเน้นให้กับพนักงานทุกคนในบริษัทเพื่อให้ตระหนักถึงการเตรียมพร้อมรับการ
เปลีย่ นแปลงอยู่เสมอ

การเรียนรู้อย่างต่อเนื่องก็เป็นส่วนสำคัญในการปรับตัวเพื่อรับการเปลี่ยนแปลง บทความ
บนเว็บไซต์ MedScape.com เกี่ยวกับเรื่องอนาคตของอายุรศาสตร์ทั่วไปก็ได้ชี้แจงว่าความสามารถ
ในการปรับตัวได้ถูกรับรองให้เป็นมาตรฐานคุณค่าหลักสำหรับอายุรศาสตร์ทั่วไป ตัวอย่างการให้

33

คุณค่าในทางปฏิบัติก็คือการที่นักอายุรแพทย์ทั่วไปเต็มใจที่จะให้บริการด้านการแพทย์คลินิกใหม่ ๆ
เช่นการดูแลผลู้ ภ้ี ยั และการดูแลผู้ติดเชื้อเอชไอวี ผู้เขียนได้แนะนำว่าหลกั สำคัญตรงนค้ี ือคุณค่าท่ีจะอยู่
ในการศึกษาและการเรยี นร้ตู ลอดชีวติ

และตัวอย่างสุดท้ายได้แก่ ระบบสมัครเรียนต่อกลางในสหราชอาณาจักร UCAS ซึ่งได้
แนะนำว่าผู้ที่ประสบความสำเร็จในการพัฒนาความสามารถในการปรับตัวคือผู้ที่สามารถ “คง
ประสิทธิภาพของตนได้เสมอแม้ในสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป” นี่คือรูปแบบที่น่าสนใจสำหรับ
การประเมินความสามารถในการปรับตัวขององค์กร ว่าองค์กรสามารถดำเนินการต่อได้หรือไม่หากมี
การเปล่ยี นแปลงเกดิ ขน้ึ

ตัวอย่างเหล่านี้สนับสนุนประโยชน์ของการปรับตัวเนื่องจากช่วยให้มีชีวิตยืนยาวที่ดี
ส่งเสรมิ นวตั กรรม และผลักดนั ใหเ้ กิดการเรยี นรู้ตลอดชีวติ และความสามารถในการปรับตัวนั้นต่างไป
จากคุณคา่ อ่ืน ๆ กค็ ือเป็นคุณค่าท่ีสามารถวัดระดับได้ชัดเจน หากประโยชน์เหลา่ น้ีสะท้อนตัวเราและ
องค์กรแล้วละ่ ก็ ก็ควรเพิม่ ทักษะความสามารถในการปรับตวั ใส่ในรายการคุณค่าหลักของเราดว้ ย

Collie & Martin (2016) กล่าวถึงความสำคัญของทักษะการปรับตัวว่า ความสามารถใน
การปรับตัว คือความสามารถที่สำคัญสำหรับครูที่มีประสิทธิภาพ ความสามารถในการปรับตัวคือ
อะไร? ชวี ิตของคนเราถกู กำหนดจากการเปลี่ยนแปลง ความใหม่ และความไม่แนน่ อน ซ่งึ คนเราก็ได้มี
การพัฒนาทั้งด้านร่างกาย สติปัญญา และอารมณ์ในช่วงเวลาต่าง ๆ ของชีวิต การเปลี่ยนแปลงท่ี
เกดิ ขึน้ ตลอดเวลานีย้ ังเกีย่ วขอ้ งกับหลายช่วงเวลาสำคญั ในชีวติ เชน่ การไปโรงเรียน การแตง่ งาน หรือ
การมีบุตร และยังเกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตประจำวันใน “ทุก ๆ วัน” อีกด้วย ตัวอย่างเช่นการ
เจ็บป่วย การเปลี่ยนหน้าที่การงาน หรือแม้แต่เหตุการณ์รถเสีย ความสามารถในการตอบโต้และ
ตอบสนองอย่างมีประสิทธิภาพต่อสถานการณ์เหล่าน้เี ป็นทรี่ จู้ ักกนั วา่ การปรบั ตัว

เหตุใดการปรับตัวจึงสำคัญต่อครู? เรายืนยันว่าการปรับตัวนั้นมีความเกี่ยวข้องอย่างมาก
กับครูเนื่องจากงานสอนนั้นเกี่ยวข้องกับการตอบสนองและการจัดการการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
ตลอดเวลา ประสิทธิภาพในการปรับตัวเพื่อการจัดการการเปลี่ยนแปลงอย่างมีประสิทธิภาพเป็นส่ิง
สำคัญสำหรบั ครูท่ีทั้งต้องทำการสอนในห้องเรียน ทำงานในห้องพักครู และอน่ื ๆ เราได้ยกตัวอย่างไว้
ด้านล่าง

1. ครูควรตอบสนองต่อความต้องการของนักเรียนที่มีความแตกต่างและเปลี่ยนแปลงอยู่
ตลอดเวลาโดยการปรับปรุงบทเรียน การปรับปรุงใช้กิจกรรมที่แตกต่างกันสำหรับนักเรียนแต่ละคน
หรือหาแหลง่ ความรใู้ หม่ ๆ มาไวอ้ ธิบายประเดน็ สำคญั ให้นกั เรียนเขา้ ใจไดด้ ียิง่ ข้นึ

2. ในการสอนในห้องเรียน ครูต้องมีการปรับตัวเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการเผชิญ
เหตุการณ์ไมป่ กติท่ีอาจเกิดข้ึนได้เสมอเม่ืออยู่ในห้องเรียน สิ่งที่ต้องทำคอื ควบคมุ อารมณ์ เช่นอารมณ์
แหง่ ความผิดหวัง โกรธ สนกุ สนาน ตอ้ งมคี วามอดทน รวมถึงมองหาทางเลอื กในการแก้ปญั หา

3. ครูควรมีความสามารถในการสื่อสาร โต้ตอบกับเพื่อนร่วมงานภายใต้เงื่อนไขที่
เปลี่ยนแปลง ตัวอย่างเช่น เมื่อเกิดการเปลีย่ นแปลงในงานทีท่ ำอยู่ พวกเขาต้องการทรัพยากรเพิ่มข้นึ
ในการสอนส่ิงทแ่ี ตกต่างออกไป บางทีครอู าจต้องการส่ิงทชี่ ว่ ยในการสรา้ งความท้าทายให้กับนกั เรียน

34

4. เมื่อครูได้รับบทบาทใหม่ หรือแม้กระทั่งโรงเรียนใหม่ ครูก็จะต้องปรับตัวกับเพื่อน
ร่วมงานใหม่ ลำดับความสำคัญในการทำงานก็จะต้องเปลี่ยนใหม่ หลักเกณฑ์ใหม่ และเพื่อนร่วมงาน
ชุดใหม่ และแนน่ อนส่ิงท่ีตอ้ งเจอก็คอื อุปกรณ์ในการทำการสอนแบบใหม่ที่อยู่ในหอ้ งเรยี น

5. การเปลี่ยนแปลงส่วนใหญ่ในโรงเรียนก็คือการเปลี่ยนแปลงเวลาทำงาน ซึ่งเกิดขึ้นอยู่
บ่อย ๆ เป็นประจำในโรงเรียน บางครั้งการเปลี่ยนตารางเวลาสอนเกิดขึ้นในนาทีสุดท้ายก่อนที่ครู
จะต้องเขา้ สอนเลยด้วยซ้ำ

6. ครูจะต้องเตรียมพร้อมสำหรับการหยุดการสอนกลางคันด้วย รวมถึงการเปลี่ยนแปลง
ตารางเวลาในการสอน หรือการลดความเข้มข้นของเนื้อหาระหว่างการสอนหากสถานการณ์ใน
ห้องเรยี นมีความเคร่งเครียดเกินไป

7. สุดท้ายนี้ ครูต้องทำการเรียนรู้ด้วยตัวเองในฐานะมืออาชีพคนหนึ่ง เช่นการมองหา
ความรู้เกี่ยวกับการสอนใหม่ ๆ อย่างต่อเนื่อง สิ่งหนึ่งที่ครูต้องปรับตัวคือการเปลี่ ยนแปลงทั้งด้าน
โปรแกรมการสอนและการเปล่ยี นแปลงนโยบายของฝ่ายบริหาร

ดังนั้น การตอบสนองอย่างเป็นธรรมชาติต่อการเปลี่ยนแปลงและตอบสนองต่อความไม่
แนน่ อนสำหรับครนู ้ันเป็นสิ่งทม่ี ีความสำคญั อยา่ งยิ่ง ปฏกิ ิรยิ าการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงท่ีดีน้ัน
Martin et al.’s (2012) ได้แนะนำวิธีการไว้ เรียกว่า วิธีการไตรภาคีสำหรับการปรับตัว (ซึ่งเกี่ยวข้อง
กับการปรับความคิด พฤติกรรม และอารมณ์) ยกตัวอย่างเช่น หากครูได้รับมอบหมายให้สอนวิชาใหม่
ซึ่งตัวครูเองไม่ถนัด การปฏิบัติต่อสถานการณ์เช่นนี้ครูต้องมีทักษะการควบคุมความคิด และพยายาม
หาความเชื่อมโยงระหว่างวิชาใหม่กับสิ่งที่ครูถนัด (การปรับตัวทางความคิด) ต่อมาคือการควบคุม
พฤติกรรมตนเอง เช่น การพยายามหาความช่วยเหลือจากคนที่มีความถนัดในด้านวิชาใหม่ที่ครูต้องไป
รับผิดชอบ (การปรับตัวทางพฤติกรรม) และสุดท้ายคือการควบคุมอารมณ์ เช่นการควบคุมความวิตก
กังวลหรือความตื่นเต้น ในการที่ต้องมีสมาธิกับกับสถานการณ์ตรงหน้า แสดงออกอย่างถูกต้องและ
เหมาะสม (การปรับตัวทางอารมณ์) ในหัวข้อต่อไปจะมีความสำคัญสำหรับการปรับตัวคือ พฤติกรรม
ของครูผูท้ ่ีมนี วัตกรรมในมือ

Thurlings, Evers, and Vermeulen (2015) อธิบายวา่ “กระบวนการนี้เปน็ กระบวนการ
สร้างความคิดใหม่ ๆ พัฒนา ประยุกต์ ส่งเสริม ทำฝันให้เป็นจริง และปรับปรุง กระบวนการเหล่าน้ี
เกิดจากผู้ทำงานในฝ่ายปฏิบัติการ เพื่อยกระดับความสามารถในการปฏิบัติงาน” ตามที่คำกล่าวนี้
แนะนำไว้ ครูจึงเป็นผู้ที่มีความเหมาะสมที่จะใช้นวัตกรรมเพื่อยกระดับการสอนของตนเอง จริง ๆ
แล้วมีความคล้ายคลึงกันเล็กน้อยระหว่างพฤติกรรมการสร้างนวัตกรรมและพฤติกรรมการปรับตัว
เนื่องจากพฤติกรรมทั้งสองแบบเกี่ยวข้องกับการปรับ หรือการแก้ไขความคิด พฤติกรรม และการ
กระทำ อย่างไรก็ตาม สิ่งที่แตกต่างกันคือทักษะการปรับตัวนั้นเกิดขึ้นเพื่อตอบสนองต่อสถานการณ์
ความเปลี่ยนแปลงหรือสถานการณ์ท่ีไม่แน่นอน ในขณะที่พฤติกรรมการสร้างนวัตกรรมมีจุดประสงค์
เพื่อพัฒนาสถานการณ์ที่เป็นอยู่ มีรายงานว่าครูที่มีพฤติกรรมที่เป็นนวัตกรรมสามารถเรียนรู้
พฤติกรรมการปรับตัวไดง้ ่าย

Thurlings et al. (2015) แนะนำว่า พฤติกรรมแห่งนวัตกรรมของครูนั้นมีความสำคัญ
เพราะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยี เทคโนโลยีการสอน รวมถึงส่งผลดีต่อสังคมโดยรวม
ด้วย ในรายงานยงั ระบวุ ่าพฤตกิ รรมของครูท่ีมีนวตั กรรม จะส่งผลดีตอ่ เนื่องไปยังโรงเรยี นและนักเรียน

35

ด้วยและแน่นอนตัวครูเองยังเปน็ ศูนย์กลางของการส่งผา่ นนวัตกรรรมไปยังสังคมส่วนรวม พฤติกรรม
แห่งนวัตกรรมสามารถประยุกต์กับพฤติกรรมการปรับตัว ซึ่งส่งผลดีต่อครูเมื่อครูเผชิญกับการ
เปลีย่ นแปลงใหม่ ๆ หรอื สถานการณใ์ หม่ ๆ

ในเว็บไซต์ของ The Conversation (2018) กล่าวถึงความสำคัญของทักษะการปรับตัววา่
ในแต่ละเดือน มีรายงานมากมายที่เกี่ยวกับความเป็นอยู่และสภาพการทำงานที่ย่ำแย่ของครู ใน
รายงานกลา่ วว่าครรู ้อยละ 8 มีความเครียดสูงและไร้ซงึ่ แรงบันดาลใจ ในแตล่ ะปีมีครูรอ้ ยละ 30 เลือก
ทีจ่ ะละทง้ิ อาชีพน้ีไป

นอกจากปัญหาเหล่านี้แล้วยังมีปัญหาที่ต้องดูแลต่อเนื่องเกี่ยวกับการดูแลคุณภาพของครู
ในสถานทีต่ ง้ั ทางภูมิศาสตร์ที่แตกต่างกนั (ยกตัวอยา่ งเช่นครูในพ้ืนทีห่ า่ งไกล) ครูเหล่านี้ต้องได้รับการ
ดแู ลในรายวชิ าอย่างเช่นวทิ ยาศาสตร์

ในการศึกษาล่าสุด พบว่ามีปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความสามารถในการปรับตัวของครู ซึ่ง
ขยายผลไปสกู่ ารช่วยเหลอื ครใู หม้ ีความเปน็ อยูท่ ีด่ ีขึ้น และเพ่มิ คณุ ภาพชวี ิตของครดู ว้ ย

การปรับตวั คืออะไร ?
การเจอกับการเปลี่ยนแปลง สิ่งใหม่ ๆ หรือสถานการณ์ที่ไม่แน่นอนเป็นเรื่องปกติของ
มนุษย์ เหตุการณ์เหล่านี้จะเกิดขึ้นบ่อย ๆ ในช่วงสำคัญของชีวิตมนุษย์ เช่น การไปโรงเรียนวันแรก
การต้องจากบ้านไปไกล การเริ่มงานใหม่ นอกจากการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวแล้วก็จะมีการ
เปลี่ยนแปลงอีกประเภทหนึ่งซึ่งอาจเกิดขึ้นในชีวิตประจำวันได้ เช่นเปลี่ยนตำแหน่งการทำงานใหม่
การเปลี่ยนแปลงแผนการเดินทางระหว่างวันเนื่องจากแบตเตอรี่รถยนต์มีปัญหา หรือแม้กระทั่งการ
พบเจอคนรูจ้ กั โดยบังเอญิ ระหวา่ งการออกไปทานม้ืออาหารคำ่
สิ่งทเ่ี ราสามารถปรับความคดิ การกระทำ และอารมณข์ องเราเพื่อให้สามารถตอบสนองต่อ
สถานการณ์เหล่าน้ีได้อย่างเหมาะสม นั่นแหละเรียกว่าการปรับตัว การปรับตวั อาจจะรวมถงึ การปรบั
วิธีคิดต่อสถานการณ์นั้น ๆ ใหม่ เพื่อพิจารณาตัวเลือกในการรับมือกับสถานการณ์ และการกระทำใด ๆ
ก็ตามที่ทำให้สถานการณ์นั้นดีขึ้น ลดอารมณ์ที่ทำให้สถานการณ์แย่ลง เช่น ความกังวลหรือความสิ้น
หวัง ซ่ึงนน้ั ไมไ่ ดม้ ีประโยชนต์ อ่ สถานการณ์ในขณะนนั้
ทำไมทักษะการปรบั ตัวถึงมีความสำคัญตอ่ ครู?
ในชีวิตมนุษย์มีการเปลี่ยนแปลงมากมาย ต้องพบเจอกับสถานการณ์ใหม่ ๆ ความไม่
แน่นอน นั่นคือชีวิตของการทำงาน โดยเฉพาะชีวิตการทำงานของครู ครูต้องพบเจอเรื่องประเภทน้ี
ตลอดชวี ิตการทำงาน
ทักษะการปรับตัวเป็นสิ่งพื้นฐานที่ครูจำเป็นต้องมี เพราะทักษะนี้มีบทบาทสำคัญในการ
ช่วยให้ครูจัดการงานที่อยู่ตรงหน้าได้ดี ในงานวิจัยก่อนหน้า เราพบว่ามีความสอดคล้องกันของทักษะ
การปรบั ตัวตอ่ การทำงานของครู เราพบวา่ ครทู ี่มกี ารปรับตวั ดีกวา่ มีแนวโนม้ จะปฏิบตั งิ านไดด้ กี ว่า
ในงานวิจัยยังได้ทดลองตอ่ ด้วยการหาความเชื่อมโยงระหว่างความสำเร็จของนักเรียนด้วย
ผลการวิจัยพบว่าครูที่มีการปรับตัวที่ดี มีชีวิตที่ดีกว่า และนั่นส่งผลต่อเนื่องไปยังนักเรียน ทำให้
นกั เรยี นมีผลการเรยี นทีด่ ีกวา่ ดว้ ย และสงิ่ เหลา่ น้ีคือสถานการณท์ ่ีครูตอ้ งเจอ เพ่อื ใช้ทกั ษะการปรบั ตัว
1. ครตู ้องพบเจอกบั นักเรียนหลากหลายรูปแบบ ซึง่ ครตู อ้ งตอบสนองตอ่ นกั เรยี นต่างกัน

36

2. พบกบั สถานการณ์ท่ีไม่คาดคดิ ในห้องเรียน หรอื มีการเปลย่ี นแปลงตารางเวลา ครูเองก็
ต้องมีการจดั การกบั เรอื่ งน้ี

3. ครูตอ้ งมปี ฏสิ มั พันธก์ บั เพื่อนรว่ มงานใหม่ นักเรยี นใหม่ ครอบครวั ใหม่
4. การตอ้ งใสค่ วามร้ใู หมห่ รือวิธีการสอนใหมเ่ ขา้ ไปในการสอนจริง
สถานการณ์เหล่านีต้ อ้ งการให้ครูเปน็ ผปู้ รับตวั เข้าหา เพอื่ ใหป้ ระสบความสำเร็จในการสอน
การปรับตัวอาจรวมไปถึงการเว้นช่วงของการเรียนบางช่วง เพื่อให้นักเรียนได้ปรับตัวเข้ากับบทเรียน
ลดความรู้สึกท้อแท้ในเวลาที่การสอนไม่เป็นไปตามแผน การปรับตัวเพื่อทำงานใดงานหนึ่งร่วมกับ
เพอื่ นรว่ มงานใหม่ นนั่ ก็สามารถเรียกวา่ ทักษะการปรับตวั
พวกเราค้นพบอะไร?
ในรายงานการค้นพบใหม่ ๆ เราได้ส่งแบบสอบถามให้กับครูระดับมัธยมชาวออสเตรเลีย
164 คน แบบสอบถามมีคำถามเกี่ยวกับการปรับตัวตลอดชีวิตการทำงานของพวกเขา ประสบการณ์
ทำงานที่เก่ียวกับการอยากเลกิ ทำงานบางอย่าง และการต้งั ใจทำงานบางอย่าง
การอยากจะยกเลิกทำงานบางอย่างเกิดขึ้นเมื่อครูทำอะไรอย่างหนึ่งอยู่แต่ไม่ได้ใส่ความ
ความพยายามเขา้ ไป น่นั ทำใหเ้ กิดการ “ยอมแพ้” นเ่ี ปน็ ประสบการณ์เชิงลบสำหรับครู และมกั เกดิ ขึ้น
เมื่อครูรู้สึกว่าสิง่ ทเ่ี ขาทำอย่สู ง่ ผลน้อยมากตอ่ องค์กร
ความมุ่งมั่นในงานของครู มักจะมีความเช่ือมโยงกับงานสว่ นบคุ คลทีไ่ ด้รบั มอบหมายให้ทำ
ในที่ทำงาน เมื่อครูได้รับมอบหมายงานที่สำคัญ พวกเขามีแนวโน้มจะทุ่มเทกับงานและพยายาม
มากกว่าปกติ และมแี นวโน้มการอยากออกจากงานนอ้ ยกวา่
ในรายงานสรุประบุว่า เมื่อครูปรับตัวได้ดี พวกเขามีแนวโน้มจะไม่พอใจในงานน้อยกว่า
ในทางตรงกันข้าม กลับมีรายงานว่ามีความมุ่งมั่นในการทำงานท่ีมากกวา่ จากการค้นพบนี้ เป็นไปได้
ว่าครูที่มีทักษะการปรับตัวสามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลงอย่างถาวรได้ และสามารถรับมือกับ
สถานการณใ์ หม่ รวมถึงความไม่แนน่ อนที่เกิดขึน้ ในงานด้านการสอนได้ ทกั ษะการปรบั ตัวช่วยให้พวก
เขาลดความรู้สึกของการทำอะไรไม่ถูก ซึ่งนั่นนำไปสู่การท้อถอยในการทำงาน เพราะหากเกิด
ความรสู้ ึก “ยอมแพ้” ขึน้ มาแล้วละก็ ครจู ะรู้สึกวา่ ไมม่ ีความผกู พันกบั ภาระงานที่รับผิดชอบอยู่รวมถึง
ไม่รู้สึกวา่ มตี ัวตนในงานทีท่ ำอยเู่ ลย
ในงานวิจัยของเรามีการเพิ่มคำถามเข้าไปอีกประเด็นหนึ่ง เราสนใจในประเด็นของการ
สนับสนนุ ของบทบาทในการทำงาน เราถามครูเก่ียวกบั การทผ่ี บู้ รหิ ารโรงเรียนรบั ฟังความคิดเห็นและ
มุมมองของครูผู้ปฏิบัติงาน (ยกตัวอย่างเช่น การเชิญครูมามีส่วนร่วมในการตัดสินใจของฝ่ายบริหาร)
รวมถึงการสนับสนุนความคิดริเริ่มของครู และนวัตกรรมของครู (เช่นการให้ครูเลือกว่าจะออกแบบ
การทำงานอย่างไร) ผลการวจิ ยั แสดงให้เห็นว่าครทู ่ีได้รับการสนับสนนุ มากกวา่ มีความสามารถในการ
ปรับตวั มากกว่า
เราจะสนบั สนนุ ทกั ษะการปรบั ตวั ให้กบั ครไู ด้อย่างไร
ทักษะการปรับตัวเป็นทักษะที่สำคัญสำหรับครู เนื่องจากงานด้านการสอนมีการ
เปล่ยี นแปลงอยู่ตลอดเวลา งานวิจยั เราแสดงใหเ้ ห็นว่า ทกั ษะการปรับตวั ชว่ ยให้ครลู ดความรู้สึกอยาก
หลีกหนีจากการทำงาน และทำให้ครูมีความทุ่มเทและผูกพันกับงานมากยิ่งขึ้น ดังนั้นทักษะการ


Click to View FlipBook Version