The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

แมนมิตร-อาจหาญ-ดุษฎีนิพนธ์-สมบูรณ์

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by man Wee, 2022-10-17 08:10:12

ดุษฎีนิพนธ์ฉบับสมบูรณ์-แมนมิตร อาจหาญ

แมนมิตร-อาจหาญ-ดุษฎีนิพนธ์-สมบูรณ์

227

3) เมืองที่ฉันเคยอาศัยอยู่ในวิทยาลัยก่อนหน้านี้มีกิจกรรมหลากหลายให้เข้าร่วม
มากกวา่ อยูใ่ นเมอื งอสี แลนซิง รัฐมชิ แิ กน (City I lived in prior to College had a
Greater Variety of Activities in which to Participate than East
Lansing/Lansing)

4) บ้านเกิดของฉันและเมืองอีสแลนซิง รัฐมิชิแกน มีความคล้ายคลึงกันมาก (My
Hometown and East Lansing are very Similar)

5) ฉันอยากกินอาหารจากบ้านเกิดของฉัน แต่ไม่สามารถหาได้ในที่นี่ (I crave Foods
from my Hometown I cannot find in this Area)

6) พ่อแม่ของฉันช่วยฉันจัดการเวลาในโรงเรียนมัธยม (My Parents helped me
Manage my time in High School)

7) ฉันมีความรับผิดชอบต่อการเดินทางของฉันในวิทยาลัยมากกว่าตอนเรียนมัธยม (I
am more Responsible for my own Transportation in College than I was
in High School)

3. ดา้ นอารมณ์ / สิง่ สนับสนนุ / เก่ียวกับครอบครัว (Emotional/Supportive/Familial)
1) ฉันได้รับแรงสนบั สนุนน้อยลงจากครอบครัวของฉันในขณะที่ฉันเรียนอยู่ในวิทยาลัย
(I have less Emotional Support from my Family now that I am in College)
2) ฉันได้รับกำลังใจน้อยลงจากเพื่อนของฉันในขณะที่ฉันเรียนอยู่ในวิทยาลัย (I have
less Emotional Support from my Friends now that I am in College)
3) คนท่ีฉนั เคย“ ระบาย” ไม่ไดอ้ ยู่กบั ฉันทวี่ ิทยาลัย (The Person/People I Used to
“Vent” to are not with me at College)
4) ฉันต้องเปลีย่ นวิธีจัดการกับอารมณ์ความรู้สกึ ของฉนั ในขณะท่ีฉันเรียนอยู่นี้ (I have
to change how I deal with my Emotions now that I am in College)
5) ฉันรับมือกับความเครียดแบบเดียวกับที่ฉันเรียนในโรงเรียนมัธยมแม้จะย้ายไปเรยี น
ที่วทิ ยาลยั แล้วกต็ าม (I cope with Stress the Same Way I did in High School
Despite my move to College)
6) กิจกรรมที่ฉันเคยทำเพื่อผ่อนคลายนั้น กลับยากขึ้นในวิทยาลัย (The Activities in
which I used to Engage to Relax are more Difficult in College)
7) ฉันพูดคุยเรื่องประสบการณ์ในวิทยาลัยกับพ่อแม่ของฉันยากกว่าตอนเรียนมัธยม (I
have more Experiences in College that are Difficult to Discuss with my
Parents than I had in High School)

โปรดทบทวนตวั เอง แล้วตอบในใจวา่ ทา่ นเขา้ ใจแบบประเมินผลสำเร็จจากการ
พฒั นาทกั ษะการปรบั ตวั ตามทศั นะของ Zorzie ว่าอยา่ งไร ?

228

………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………….
………………....................................................................................................................... ......................

แบบประเมินตนเอง
1) ท่านเข้าใจแบบประเมินผลสำเร็จจากการพัฒนาทักษะการปรับตัว ตามทัศนะของ Kane
ชัดเจนดแี ลว้ หรือไม่
[ ] ชัดเจนดีแล้ว [ ] ยังไม่ชัดเจนดีพอ
หากยังไม่ชัดเจนดีพอ โปรดกลับไปศึกษาใหม่อีกครั้ง แล้วตอบคำถามในใจว่า Kane
กลา่ วถึงแบบประเมนิ ผลสำเร็จจากการพัฒนาทักษะการปรับตวั วา่ อยา่ งไร?
2) ท่านเขา้ ใจแบบประเมินผลสำเรจ็ จากการพฒั นาทกั ษะการปรับตวั ตามทศั นะของ Morgan
ชัดเจนดแี ล้วหรอื ไม่
[ ] ชดั เจนดีแลว้ [ ] ยงั ไม่ชดั เจนดีพอ
หากยังไม่ชัดเจนดีพอ โปรดกลับไปศึกษาใหม่อีกครั้ง แล้วตอบคำถามในใจว่า Morgan
กลา่ วถึงแบบประเมินผลสำเร็จจากการพัฒนาทกั ษะการปรบั ตัว วา่ อย่างไร?
3) ท่านเข้าใจแบบประเมินผลสำเร็จจากการพัฒนาทักษะการปรับตัว ตามทัศนะของ
Workable ชดั เจนดีแลว้ หรือไม่
[ ] ชัดเจนดแี ล้ว [ ] ยังไมช่ ัดเจนดีพอ
หากยังไม่ชัดเจนดีพอ โปรดกลับไปศึกษาใหม่อีกครั้ง แล้วตอบคำถามในใจว่า Workable
กลา่ วถึงแบบประเมินผลสำเรจ็ จากการพฒั นาทักษะการปรบั ตวั วา่ อยา่ งไร?
4) ท่านเข้าใจแบบประเมินผลสำเร็จจากการพัฒนาทักษะการปรับตัว ตามทัศนะของ
University of Alberta ชดั เจนดแี ล้วหรือไม่
[ ] ชัดเจนดแี ลว้ [ ] ยังไมช่ ัดเจนดพี อ
หากยังไม่ชัดเจนดีพอ โปรดกลับไปศึกษาใหม่อีกครั้ง แล้วตอบคำถามในใจว่า University
of Alberta กลา่ วถึงแบบประเมนิ ผลสำเรจ็ จากการพัฒนาทกั ษะการปรบั ตวั วา่ อย่างไร?
5) ท่านเข้าใจแบบประเมินผลสำเร็จจากการพัฒนาทักษะการปรับตัว ตามทัศนะของ Zorzie
ชัดเจนดีแล้วหรือไม่
[ ] ชัดเจนดีแลว้ [ ] ยังไมช่ ัดเจนดพี อ
หากยังไม่ชัดเจนดีพอ โปรดกลับไปศึกษาใหม่อีกครั้ง แล้วตอบคำถามในใจว่า Zorzie
กล่าวถงึ แบบประเมินผลสำเรจ็ จากการพฒั นาทักษะการปรบั ตัว วา่ อยา่ งไร?

หมายเหตุ
หากตอ้ งการศกึ ษารายละเอียดของแต่ละทัศนะจากต้นฉบบั ท่ีเป็นภาษาองั กฤษ โปรด “Ctrl & Click”
เว็บไซตข์ องแต่ละแหล่งได้ ดงั น้ี
1. Kane : https://www.executiveagenda.com/resources/blog/how-adaptable-are-

you-take-adaptability-quotient-aq-test-and-find-out

229

2. Morgan : https://careersherpa.net/test-your-adaptability/
3. Workable : https://resources.workable.com/adaptability-interview-questions
4. University of Alberta : https://www.ualberta.ca/human-resources-health-safety-

environment/media-library/learning-and-development/pathways-learning-
series/adaptandflexassessmentguide2017.pdf

เอกสารอ้างองิ
Kane, N. (2019). How adaptable are you? Take this adaptability quotient (AQ) Test

and find out. Retrieved November 18, 2020, from https://bit.ly/2NfMo2Q
Morgan, H. (2011). Test your adaptability. Retrieved June 20, 2020, from

https://bit.ly/3elM3Yb
Workable. (n.d.). Adaptability interview questions. Retrieved June 20, 2020, from

https://bit.ly/3fUiv4J
University of Alberta. (n.d.). Competency assessment for demonstrating adaptability

and flexibility. Retrieved June 20, 2020, from https://bit.ly/2ZZyrxe
Zorzie M. (2012). Individual adaptability: Testing a model of its development and

outcomes. Master’s thesis, Doctor of philosophy Psychology, Graduate School,
Michigan State University.

230

231

5.7 คู่มือเชงิ ปฏิบตั ิการเพอ่ื พฒั นาทกั ษะการปรับตัวให้แกน่ ักศึกษา

วตั ถุประสงคเ์ พ่ือการปฏบิ ตั ิ
คู่มือเชิงปฏิบัติการประกอบโครงการอาจารย์นำความรู้สู่การพัฒนานักศึกษานี้ จัดทำขึ้น

เป็นให้ท่านได้ทราบถึงประเด็นต่าง ๆ ที่จะช่วยให้ท่านนำความรู้ที่ท่านได้รับจากโครงการแรก คือ
โครงการพัฒนาความรู้ของอาจารย์ผู้สอนเกี่ยวกับการพัฒนาทักษะการปรับตัว ไปสู่การปฏิบัติ คือ
การพัฒนานกั ศึกษา ได้อยา่ งมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ดงั น้ี

1. ทบทวนถงึ คณุ ลกั ษณะหรอื ทกั ษะการปรับตัว ทค่ี าดหวังใหเ้ กดิ ขน้ึ กับนกั ศกึ ษา หลงั จาก
ได้รับการพัฒนาจากท่านตามโครงการอาจารย์ผู้สอนนำความรู้สู่การพัฒนานักศึกษา ในระยะ 2-3
เดือนหลงั จากน้ี

2. ทบทวนถึงหลักการ / แนวคิด / เทคนิค / วิธีการ / กิจกรรมที่เป็นทางเลือกท่ี
หลากหลายเพื่อการพัฒนาทักษะการปรับตัว จากทัศนะของนักวชิ าการหรือหน่วยงานที่ท่านได้ศึกษา
มาจากคู่มือประกอบโครงการแรก คือ โครงการพัฒนาความรู้ของอาจารย์ผู้สอนเกี่ยวกับการพัฒนา
ทกั ษะการปรับตวั เพอ่ื ใชเ้ ปน็ แนวทางการพฒั นาของท่าน ซึ่งหากมมี ากมาย อาจเลือกใช้แนวทางการ
พัฒนาที่ทา่ นเห็นวา่ สำคญั

3. ทบทวนถึงขั้นตอนการพัฒนาทักษะการปรับตัว จากทัศนะของนักวิชาการหรือ
หน่วยงานที่ท่านได้ศึกษามาจากคู่มือประกอบโครงการแรก คือ โครงการพัฒนาความรู้ของอาจารย์
ผู้สอนเกี่ยวกับการพัฒนาทักษะการปรับตัว เพื่อใช้เป็นแนวทางการพัฒนาของท่านเอง ซึ่งอาจจะ
ยึดถือตามทัศนะใดทัศนะหนง่ึ หรือบรู ณาการขน้ึ ใหมจ่ ากหลาย ๆ ทัศนะ

4. ระบุถึงหลักการ / แนวคิด / เทคนิค / วิธีการ / กิจกรรมที่เป็นทางเลอื กที่หลากหลาย
เพื่อการพฒั นา และข้ันตอนการพัฒนาที่ทา่ นนำไปใชใ้ นการพัฒนานักศกึ ษา

5. ให้ขอ้ สังเกตถึงปัจจัยทสี่ ่งผลในทางบวก และปัญหาหรอื อุปสรรคต่อการปฏิบัติงานของ
ทา่ นในการพฒั นาทกั ษะการปรบั ตัว แกน่ ักศึกษา

6. ระบถุ งึ วิธีการท่ที า่ นนำมาใชเ้ พื่อแก้ไขปัญหาหรืออุปสรรคต่อการปฏิบัติงานของท่านใน
การพฒั นาทกั ษะการปรับตัว แกน่ กั ศกึ ษา

7. ระบุถงึ บทเรียนสำคัญทไ่ี ดจ้ ากการการพัฒนาทักษะการปรบั ตวั แก่นกั ศึกษา
8. ระบุถึงข้อเสนอแนะสำคัญเพื่อให้การพัฒนาทักษะการปรับตัว แก่นักศึกษาประสบ
ผลสำเร็จ

232

ทบทวนความรู้ความเข้าใจจากโครงการพฒั นาอาจารยผ์ สู้ อน
เพือ่ พัฒนาทกั ษะการปรบั ตวั แกน่ กั ศึกษา

1) ทบทวนคณุ ลกั ษณะหรอื ทักษะการปรบั ตวั ท่ีคาดหวังใหเ้ กดิ ขึน้ กบั นักศึกษา
1.1 ความคาดหวงั คณุ ลักษณะของนกั ศกึ ษาที่มที ักษะการปรบั ตัวจากนานาทัศนะทางวชิ าการ
ในเว็บไซต์ของ University of Bradford (n.d.) ให้ทศั นะวา่ คนทม่ี ีทักษะการปรับตัวเป็น
คนทีม่ คี ุณลกั ษณะ ดังน้ี
1. ความยืดหยุ่นดา้ นสตปิ ญั ญา (Intellectual Flexibility)
2. ความเปดิ กว้าง (Receptiveness)
3. ความคิดสรา้ งสรรค์ (Creativity)
Whitehall (2018) ให้ทัศนะว่า คนทมี่ ีทกั ษะการปรบั ตัว เปน็ คนทม่ี คี ณุ ลักษณะ ดังนี้
1. ความเตม็ ใจทีจ่ ะพิสจู น์ (A Willingness to Experiment)
2. ไมก่ ลัวความล้มเหลว (Unafraid of Failure)
3. มีไหวพรบิ (Resourcefulness)
4. ความสามารถในการมองเห็นภาพรวม (Able to See the Big Picture)
5. การพูดคยุ กับตวั เองในเชิงบวก (Engaged in Positive Self-Talk)
6. ความใครร่ ู้ (Curiosity)
7. อยูก่ ับปัจจุบนั (Being Present)
Boss (2015) ให้ทัศนะว่า คนทีม่ ที ักษะการปรบั ตวั เปน็ คนทีม่ คี ณุ ลกั ษณะ ดงั นี้
1. คนทป่ี รับตัวไดช้ อบพสิ ูจน์ (Adaptable People Experiment)
2. คนทปี่ รับตวั ได้มักเห็นโอกาสในสถานการณ์ที่คนอื่นเหน็ ความล้มเหลว (Adaptable
People See Opportunity where Others See Failure)
3. คนทป่ี รบั ตัวได้เปน็ ผู้มไี หวพรบิ (Adaptable People are Resourceful)
4. คนที่ปรบั ตวั ได้คดิ การณล์ ่วงหน้า (Adaptable People Think Ahead)
5. คนทป่ี รบั ตวั ได้ไมเ่ ปน็ คนครำ่ ครวญ (Adaptable People don't Whine)
6. คนทป่ี รบั ตวั ไดม้ กั พูดกับตัวเอง (Adaptable People Talk to Themselves)
7. คนที่ปรับตวั ไดไ้ มโ่ ทษคนอนื่ (Adaptable People don't Blame)
8. คนท่ีปรับตัวไดไ้ ม่ตอ้ งการไดห้ น้า (Adaptable People don’t Claim Fame)
9. คนท่ีปรับตัวได้มกั มคี วามใฝร่ ู้ (Adaptable People are Curious)
10.คนทป่ี รบั ตัวไดม้ กั จะปรับตวั (Adaptable People Adapt)
11.คนท่ีปรับตวั ได้มักจะเป็นท่ียอมรบั (Adaptable People Stay Current)
12.คนทป่ี รบั ตัวไดม้ ักจะมองเห็นระบบ (Adaptable People See Systems)
13.คนทปี่ รับตัวได้มักเปน็ คนทเ่ี ปิดใจ (Adaptable People Open Their Minds)
14.คนที่ปรับตัวได้มักรู้ว่าตนต้องการอะไร (Adaptable People Know What They
Stand for)

233

Alessandra (2016) ใหท้ ัศนะว่า คนทม่ี ีทักษะการปรับตวั เปน็ คนทม่ี ีคณุ ลกั ษณะ ดังนี้
1. ความยดื หยุ่น (Flexibility)
2. วสิ ยั ทศั น์ (Vision)
3. การเอาใจใส่ (Attentiveness)
4. ความสามารถเฉพาะตวั (Versatility)
5. การแกไ้ ขความผิดพลาด (Self-Correction)

Oscar (2014) ให้ทัศนะว่า คนท่มี ที ักษะการปรบั ตวั เปน็ คนที่มคี ณุ ลักษณะ ดังนี้
1. เตรยี มวิธีการแกป้ ญั หาแบบอืน่ ๆ ไวเ้ สมอ (Prepare alternative Solutions)
2. ยอมรับการเปล่ยี นแปลงได้ดี (Make easy Transitions)
3. ใจเยน็ และมีความมัน่ ใจ (Keep Calm and Confident)
4. เพิ่มทักษะใหม่ ๆ (Acquire New Skills)
5. มีความรทู้ ห่ี ลากหลาย (Diversify Your Knowledge)

Keating (2018) ให้ทัศนะว่า คนที่มีทกั ษะการปรบั ตวั เปน็ คนทม่ี ีคุณลักษณะ ดงั น้ี
1. ผู้นำที่ปรับตัวได้จะมีความคิดที่ยืดหยุ่น (Adaptable Leaders Have Flexible
Ways of Thinking)
2. ผู้นำท่ีปรบั ตวั ได้จะมแี ผนการลว่ งหน้า (Adaptable Leaders Plan Ahead)
3. ผู้นำทม่ี ที ักษะการปรบั ตัวน้ันเปน็ คนขี้สงสัย (Adaptable Leaders Are Curious)

1.2 ความคาดหวงั คุณลักษณะของนักศกึ ษาที่มีทกั ษะการปรบั ตวั จากแบบประเมนิ ผล
จากผลการศึกษาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของทักษะการปรับตัว จากทัศนะของ

University of Bradford (n.d.) Whitehall (2018) Boss (2015) Alessandra (2016) Oscar (2014)
และ Keating (2018) และจากการศึกษาแนวคิดการประเมินทักษะการปรับตัวของ Kane (2019)
Morgan (2011) Workable (n.d.) University of Alberta (n.d.) และ Zorzie (2012) ไดข้ อ้ คำถาม
เพื่อใชก้ ารประเมนิ ทักษะการปรบั ตัวของนักศึกษาในดา้ นต่าง ๆ ดงั นี้

การเรียนรู้ (Learning)
1) นักศกึ ษาบอกกับตัวเองว่าต้องเปน็ ผู้เรยี นร้อู ยา่ งสมำ่ เสมอ
2) นกั ศกึ ษาสนุกกับการเรียนร้แู นวทางใหม่จากกจิ กรรมของมหาวิทยาลยั
3) นกั ศึกษามักจะเรยี นร้ขู อ้ มูลและทักษะใหม่ ๆ เพอ่ื นำหนา้ เพ่ือนร่วมชั้น
4) นักศึกษากำลังเรียนรู้ทักษะใหม่ ๆ ในมหาวิทยาลัยอย่างต่อเนื่องเพื่อเตรียมพร้อม

ทำงานในอนาคต
5) นกั ศึกษาสามารถจินตนาการส่งิ ใหม่ ๆ จากความคิดเดมิ ๆ ได้อยา่ งรวดรวดเร็ว
6) นักศกึ ษาอา่ นตำราเรยี นล่วงหนา้ กอ่ นเรียนในชั้น
การรับรตู้ นเอง (Self-Awareness)
7) นักศกึ ษามคี วามภาคภูมิใจในตนเองและรูส้ กึ ดีกบั ตัวเอง
8) นักศกึ ษารวู้ า่ อะไรสำคัญสำหรับตวั เองและใชค้ วามรูป้ ระกอบการตดั สินใจ
9) นกั ศกึ ษามีวสิ ัยทัศน์ท่มี ีความหมายและมจี ุดมุ่งหมายสำหรบั ชวี ติ ของตน

234

10) นกั ศกึ ษาเข้าใจวา่ ชวี ิตจะมีการเปล่ียนแปลงและไม่เปน็ ไปตามท่ีนกั ศกึ ษาต้องการ
11) เมอ่ื สญู เสียความม่นั ใจชว่ั คราว นักศึกษาร้วู ่าฉันตอ้ งทำอย่างไรเพื่อฟืน้ ฟูความมนั่ ใจ
12) นักศึกษาสามารถแยกแยะและบอกให้ทราบถึงจุดอ่อนของตนและแนวทางที่

นกั ศกึ ษาทำงานกบั คนรอบข้าง
ทัศนคติ (Attitude)
13) โดยทวั่ ไปนักศกึ ษาดำเนินชีวติ ในแง่ดี
14) นกั ศกึ ษาเชอ่ื วา่ ตนเองมีทางเลอื กและตวั เลือกเสมอแม้ในสถานการณ์ท่ียากลำบาก
15) นกั ศกึ ษามอี ารมณ์ขนั และสามารถหาสง่ิ ทจ่ี ะทำให้หัวเราะแมใ้ นเวลาทมี่ ปี ญั หา
16) นกั ศกึ ษาเขา้ ใจวา่ ประสบการณใ์ หม่ ๆ จะทำเตบิ โตและสนกุ กบั การเรียนรู้
17) นักศึกษาไม่เสยี เวลากังวลกับสงิ่ ทอ่ี ยนู่ อกเหนอื การควบคมุ ของตน
18) ความลม้ เหลวให้โอกาสนักศึกษาในการสรา้ งสรรค์นวัตกรรม
ความสัมพนั ธร์ ะหว่างบคุ คล (Interpersonal)
19) นกั ศกึ ษาเปดิ ใจกวา้ งในการติดต่อกับผู้อ่ืน
20) นักศกึ ษาเช่อื ว่าการมคี วามยืดหยุ่นในการตดิ ตอ่ กบั ผอู้ ่ืนเป็นสง่ิ สำคัญ
21) โดยปกตนิ กั ศึกษาจะสามารถอา่ นใจคนอื่นและเขา้ ใจว่าเขาร้สู ึกอย่างไรตลอดเวลา
22) นกั ศึกษาใชค้ วามเขา้ ใจผู้อ่ืนในการมีปฏสิ ัมพนั ธ์
23) นกั ศึกษาปรับพฤตกิ รรมของตนให้เข้ากบั คนอนื่
24) นักศกึ ษายอมรบั สมาชิกใหม่และรูปแบบการทำงานของทีมเสมอ
การแกป้ ัญหาและการตดั สินใจ
25) นกั ศกึ ษาเรียนรูว้ ิธีการใหม่ ๆ ในการแก้ปัญหาอย่างรวดเร็ว
26) ปกตนิ กั ศึกษามีทางเลือกทหี่ ลากหลายในการแก้ปญั หา
27) นักศึกษาสามารถจัดระเบียบสภาพแวดล้อมและจัดลำดับความสำคัญของงานแม้ใน

เวลาท่เี ครยี ด
28) นักศึกษาสามารถเรียนรู้กลยุทธ์ส่วนตัวเพื่อรับมือกับความเปลี่ยนแปลงเนื่องจาก

ความไมแ่ นน่ อนในการดำเนินชวี ติ
29) เมื่อประสบความเครียดในด้านใดด้านหนึง่ ของชวี ติ นกั ศึกษาสามารถควบคมุ อารมณ์

กบั เร่ืองนน้ั ๆ ได้
30) นักศึกษาสามารถค้นหาและระดมทรัพยากรที่จำเป็นในภาวะวิกฤตหรือสถานการณ์

ใหม่ ๆ
ความรูเ้ กยี่ วกับความสามารถพเิ ศษ
31) นกั ศึกษาสามารถพูดได้อย่างชดั เจนถงึ พรสวรรค์และความสามารถพเิ ศษของตน
32) นักศึกษารทู้ ักษะที่จำเป็นสำหรับอาชพี ของตนในอนาคต
33) นกั ศกึ ษารวู้ า่ คนอื่น ๆ ในมหาวทิ ยาลัยคาดหวงั อะไรจากนักศกึ ษา
34) ในมุมมองของอาจารย์ เพื่อนร่วมชั้นและมหาวิทยาลัย นักศึกษารู้ว่าทักษะของตน

เป็นอยา่ งไร
35) นักศึกษาร้วู ่าพฤติกรรมและทศั นคติใดเหมาะสมในมหาวิทยาลยั

235

36) นกั ศึกษาไม่เคยหยุดอยกู่ ับความสำเรจ็ และค้นหาความท้าทายต่อไปในเชิงรกุ

2) ทบทวนหลักการ / แนวคิด / เทคนิค / วิธีการ / กิจกรรมที่เป็นทางเลือกที่หลากหลายเพื่อ
การพัฒนาทกั ษะการปรับตัว จากนานาทศั นะเชิงวชิ าการ
เวบ็ ไซต์ Quick Base (2012)
1) ฉกี กฎเดมิ ๆ (Quit Following the Rules)
2) คดิ ใหด้ หี ากจะปฏิเสธตนเอง (Think Twice about Saying No)
3) เร่มิ ต้นวนั ของเราดว้ ยความแตกต่าง (Start Your Day Differently)
4) เป็นผูป้ รับตัวตั้งแต่เนิน่ ๆ (Be an Early Adopter)
เวบ็ ไซต์ Vanderbloemen (2013)
1) ใชช้ วี ติ ใหเ้ ปน็ ไปตามธรรมชาติ (Be more Spontaneous)
2) ทำใจใหส้ งบและยอมรับการเปล่ยี นแปลงท่ีอาจเกดิ ขึ้นอยา่ งไม่คาดคิด (Be Calm
and Accepting When Unexpected Changes Happen)
3) เรยี นรูท้ ี่จะสับเปล่ยี นตารางเวลาของตวั เองเม่ือเกิดการเปลี่ยนแปลง (Learn How
to Alter Your Schedule When Changes Happen)
4) ให้หาคนท่ีเราชื่นชอบในดา้ นการมีความสามารถในการปรบั ตัวสูงและเรยี นร้จู าก
พวกเขา (Find Someone You Admire with High Adaptability and Learn
From Them)
5) เป็นอาสาสมคั รสำหรบั บทบาทท่ีต้องใช้ความยดื หยนุ่ มากเปน็ พเิ ศษเพื่อการเติบโต
ไปในที่แห่งนี้ (Volunteer in A Role That Requires Extra-Ordinary
Flexibility in order to Grow in this Area)
Reddy (n.d.)
1) รบั ฟงั เพื่อเขา้ ใจสถาณการณ์ (Tune in to Know The Situation)
2) ใหล้ องอยู่ในสถาณการณ์ที่แตกตา่ งกัน (Try Different Situations)
3) ฟงั ใหม้ ากขน้ึ (Listen More)
4) ฝึกความฉลาดทางอารมณ์ (Practice Emotional Intelligence)
5) สำหรับพนักงานท่มี คี วามยืดหยุ่นอยู่โดยธรรมชาติเท่านั้น (Only For Naturally
Flexible Employees)
6) สำหรับพนักงานทีม่ ีระเบียบมาก (For Very Organized Employees)
7) พิจารณาสถาณการณจ์ ากมุมมองที่กวา้ งกว่า (Consider The Bigger Picture)
8) พจิ ารณามุมมองท่ีหลากหลาย (Take Wide Variety Of Perspectives Into
Consideration)
9) สรา้ งสมดลุ ชีวติ (Create A Balanced Life)
10) เลกิ รอคอยเวลาและสถาณการณท์ ่เี หมาะสม (Just Stop Waiting for Right
Time and Situation)

236

เว็บไซต์ Ccl (n.d.)
1) เปน็ ผใู้ ฝ่รู้ (Be Curious)
2) อยา่ ยึดติดกบั แผนหรอื วธิ ีการท่ีมเี พียงหนง่ึ เดยี ว (Don’t get too Attached to A
Single Plan or Strategy)
3) สรา้ งเครอื ข่ายสนับสนุน (Create Support Systems)
4) เข้าใจปฏกิ ิริยาในการตอบสนองการเปล่ยี นแปลงของตนเอง (Understand your
own Reaction to Change)
5) ด่ืมดำ่ กบั สภาพแวดล้อมและสถาณการณ์ใหม่ ๆ (Immerse Yourself in new
Environments and Situations)

Williams (2017)
1) เป็นผู้ท่ีเปดิ ใจ (Being Open-Minded)
2) การขอความช่วยเหลอื (Asking for Help)
3) การเปรยี บเทียบข้อดีข้อเสยี (Measuring the Pros and Cons)
4) เปน็ ผู้หาทางออกได้เสมอ (Being Solution-Oriented)
5) จัดลำดับความสำคัญ (Prioritizing what’s Important to You)
6) เปน็ ผู้มีความยดื หยุ่น (Being Flexible)
เวบ็ ไซต์ Half (n.d.)
1) เรียนรูจ้ ากผู้อื่น (Learn from Others)
2) มองหาสิ่งดี ๆ ในสถาณการณ์คบั ขนั (Find the Silver Lining)
3) กล้าท่จี ะทำผดิ พลาด (Be willing to Make Mistakes)
4) ต้ังคำถาม (Ask Questions)
เว็บไซต์ Life Zemplified (n.d.)
1) ยอมรบั (Accepting)
2) เรยี นรู้ (Learning)
3) มีความคิดสรา้ งสรรค์ (Creating)
4) แนะนำ (Suggesting)
5) เป็นผู้เปดิ กวา้ ง Being Receptive)
6) เปน็ ธรรมชาติ (Being Spontaneous)
7) ลงมอื ทำ (Embracing)
8) เปลีย่ นแปลง (Altering)
9) อาสา (Volunteering)
Prince (2019)
1) มองหาโอกาสท่ีจะลองสง่ิ ใหม่ ๆ เพือ่ ทำให้ตวั เองได้เรยี นรู้ (Look for
opportunities to try new things that will keep you learning)
2) เป็นธรรมชาติของมนุษยท์ ี่จะตอ่ ตา้ นการเปลี่ยนแปลง แตเ่ ราต้องลองสร้าง
ความสามารถในการปรับตวั และตอบสนองเชิงบวกต่อการเปลี่ยนแปลง

237

(Research suggests that people who are able to come up with
solutions to a problem are better able to cope with problems than
those who can’t)
3) การวิจยั แสดงให้เห็นวา่ คนทสี่ ามารถหาวธิ แี กป้ ญั หาไดจ้ ะสามารถรับมือกับปัญหาที่
เขา้ มาได้มากกว่า (Research suggests that people who are able to come
up with solutions to a problem are better able to cope with
problems than those who can’t)
เว็บไซต์ Oyster Connect (n.d.)
1) ความยดื หย่นุ ทางปัญญา (Intellectual Flexibility)
2) มีความอ่อนไหว (Being Receptive)
3) มคี วามสร้างสรรค์ (Creativity)
4) มีพฤติกรรมการปรบั ตัว (Adapting Behavior)
Baker (2014)
1) ปรบั ทนั ทีหรอื จะรอจนจบครึง่ แรก (Adjust As You Go Versus Waiting Until
Half-Time)
2) มองให้ไกลและวางแผนระยะสัน้ (Vision Long Term and Plan Short Term)
3) รับความเสย่ี งและกา้ วไปขา้ งหน้าโดยไม่ตอ้ งมีข้อมูลท้ังหมด (Take Some Risk
and move Forward without all The Data)
4) ลดพฤติกรรมไมโ่ ตต้ อบ (Minimize the Knee-Jerk Reactions)
5) รตู้ วั วา่ เราอยทู่ ีจ่ ดุ ไหนของการเปลี่ยนแปลง (Know Where You are on The
Change Curve)
6) ใส่หน้ากากออกซิเจนใหต้ วั เองก่อน (Put the Oxygen Mask on Yourself First)
7) ปรับตวั ให้สอดคล้องกับความเปลยี่ นแปลง (Get Aligned with the Change)

3) ทบทวนโมเดลขั้นตอนทางเลือกที่หลากหลายเพื่อการพัฒนาทักษะการปรับตัว จากนานา
ทัศนะเชิงวิชาการ
Newell (2016)
1. มองเหน็ : จำเปน็ ตอ้ งเข้าใจการเปลย่ี นแปลง (See It. Acknowledge change is
Needed)
2. เปน็ เจา้ ของ : เปน็ เจา้ ของสถานการณ์ (Own It. Take Ownership of the
Situation)
3. แก้ไขปัญหา : พัฒนาแผนปฏิบตั ิการ (Solve It. Develop your Action Plan)
4. ลงมือทำ : ดำเนินการเปลยี่ นแปลง (Do It. Execute the change)
J-Pierre (2019)
1) หยดุ ครำ่ ครวญ (Stop whining)
2) ไมม่ ีคำว่า "ถูก" และ "ผิด" (There’s no ‘Right’ and ‘Wrong’)

238

3) ปรบั ปรงุ วิธีการรบั มือ (Improve your coping Mechanism)
4) เปิดใจรับการเปลี่ยนแปลง (Be open to change)
5) มีรายละเอยี ดทงั้ หมดของแผน (Have the whole Alphabet for your Plan)
6) พูดกบั ตนเองในเชงิ บวก (Engage in a Positive self-talk)
7) ยึดตดิ กับความชอบตามธรรมชาติ (Stick to your natural Inclinations)
8) คดิ การใหญ่ (Think Big)
9) อย่าโทษตัวเองและคนอืน่ (Don’t blame yourself)
10) เรยี นรวู้ ิธสี รา้ งสมดลุ ใหก้ บั ชวี ติ (Learn how to balance your Life)
11) อย่าหยดุ รอ (Stop Waiting)
David (2019)
1) สร้างแรงจูงใจใหม่ ๆ (Redefine your Motivation)
2) สังเกตและเรยี นรู้ (Observe and Learn)
3) ถามคำถาม (Ask Questions)
4) เตรยี มทางเลือกในการแก้ปญั หา (Prepare alternative Solutions)
5) ทำการเปลีย่ นแปลงให้เปน็ เรื่องงา่ ย ๆ (Make easy Transitions)
6) ใจเยน็ และม่ันใจ (Stay Calm and Confident)
7) เขา้ ถึงทักษะใหม่ ๆ (Acquire new Skills)
8) ต้งั เป้าหมายย่อย ๆ (Set small Goals)
9) คน้ หาขอ้ ดี (Find the Upside)
10) กล้าลองผดิ ลองถูก (Be willing to Make Mistakes)
Berger & Johnston (2015)
1) ถามคำถามท่แี ตกตา่ ง (Ask different Questions)
2) ยอมรับมุมมองท่ีหลากหลาย (Accept multiple Perspectives)
3) มองภาพรวม (Consider the bigger Picture)
4) การทดลองและเรียนรู้ (Experiment and Learn)
ในเวบ็ ไซตข์ อง Indeed (n.d. )
1. ตระหนักถึงการเปลีย่ นแปลงในสภาพแวดลอ้ ม (Be Aware of changes in your

Environment)
2. พฒั นาความกา้ วหนา้ ทางความคดิ (Develop a growth Mindset)
3. ตงั้ เปา้ หมายให้ตวั เอง (Set Goals for yourself)
4. ขอความคิดเหน็ (Ask for Feedback)
5. เรยี นรทู้ ี่จะรับรู้และยอมรับการเปลี่ยนแปลง (Learn to Acknowledge and

Accept change)

239

หมายเหตุ

เมื่อท่านดำเนินการพัฒนาทักษะการปรับตัว ครบตามระยะเวลาที่กำหนดแล้ว
ขอความกรณุ าทา่ นโปรดตอบแบบประเมินผลการปฏิบัติ และสะท้อนผลการปฏบิ ัติจาก
Google Form ตามลิงก์หรือ QR Code ดา้ นลา้ งน้ีด้วย จกั ขอบพระคุณย่งิ

****************

แบบสอบถาม โครงการพฒั นาอาจารย์ผู้สอนเพอ่ื พัฒนาทกั ษะการปรบั ตัวใหแ้ ก่
นกั ศกึ ษา

https://docs.google.com/forms/d/e/1FAIpQLSe9NE3QF9T-R89-
jgxJ1u03WlEsjgi8MnNv7izMjtCS8VteCw/viewform

บทที่ 6
สรุป อภปิ รายผลและขอ้ เสนอแนะ

การวิจัยเรื่องโปรแกรมออนไลน์เพื่อพัฒนาอาจารย์สู่การเสริมสร้างทักษะการปรับตัวของ
นกั ศึกษา (Online Program to Develop Teachers to Enhance Students’ Adaptability Skills)
นี้ ใช้ระเบียบวิธีวิจัยและพัฒนา (Research and Development : R&D) ตามทัศนะของวิโรจน์ สาร
รัตนะ (2561) ที่เห็นว่า นวัตกรรมที่พัฒนาขึ้นโดยกระบวนการวิจัยและพัฒนามีจุดมุ่งหมายเพ่ือ
นำไปใช้พัฒนาบุคลากรสูก่ ารพัฒนาคุณภาพของงานที่มปี รากฏการณ์หรือข้อมูลเชิงประจักษ์แสดงให้
เห็นว่ามีความจำเป็นเกิดขึ้น เช่น เป็นผลสืบเนื่องจากการกำหนดความคาดหวังใหม่ที่ท้าทายของ
หน่วยงาน หรือการเปลี่ยนแปลงในกระบวนทัศน์การทำงานจากเก่าสู่ใหมท่ ีบ่ ุคลากรขาดความรู้ความ
เขา้ ใจและทกั ษะในกระบวนทัศนใ์ หม่ และในปจั จุบันมหี ลักการ แนวคดิ ทฤษฎีทถี่ อื เปน็ นวัตกรรมใหม่
ทางการบริหารการศึกษาเกิดขึ้นมากมาย ที่คาดหวังว่าหากบุคลากรทางการศึกษามีความรู้
(Knowledge) แล้วกระตุ้นให้พวกเขานำความรู้เหล่านี้สู่การปฏิบัติ (Action) ก็จะก่อให้เกิดพลัง
(Power) ให้การปฏิบัติงานในหน้าที่เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลยิ่งขึ้น ตามแนวคิด
“Knowledge + Action = Power” หรือตามคำกล่าวที่ว่า “Make Them Know What To Do,
Then Encourage Them Do What They Know” หรอื “Link To On-The-Job Application”

การวิจัยในครั้งน้ีมีวัตถุประสงค์การวิจัย ดังนี้ 1) เพื่อพัฒนาโปรแกรมออนไลน์ตามแนวคดิ
“Knowledge + Action = Power” ท่ีประกอบด้วยโครงการ 2 โครงการ คอื 1) โครงการพฒั นาเพ่ือ
การเรียนรู้ของอาจารย์เกี่ยวกับการพัฒนาทักษะการปรับตัว 2) โครงการอาจารย์นำผลการเรียนรู้สู่
การเสริมสร้างทักษะการปรับตัวให้แก่นักศึกษา โดยมีคู่มือประกอบแต่ละโครงการ 2) เพื่อประเมิน
ความมีประสิทธิภาพของโปรแกรมออนไลน์จากผลการวิจยั เชิงทดลองในภาคสนาม 2 ระยะ คือ การ
พัฒนาอาจารย์ และอาจารยพ์ ัฒนานกั ศึกษา และ 3) เพอ่ื ระดมสมองของอาจารย์ทเี่ ปน็ กล่มุ ทดลองให้
ทราบถึงข้อเสนอแนะเพ่ือการปรบั ปรุงแก้ไขโปรแกรมออนไลน์

สมมติฐานในการวิจัย มี 2 ประการ คือ 1) ผลการทดสอบผลการเรียนรู้ของอาจารย์ท่เี ป็น
กลุ่มทดลองหลังการดำเนินงานในโครงการพัฒนาความรู้ของอาจารย์เกี่ยวกับการพัฒนาทักษะการ
ปรับตัว เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน 90/90 และค่าเฉลี่ยหลงั การพัฒนาสูงกว่ากอ่ นการพัฒนาอย่างมี
นยั สำคญั ทางสถิติ และ 2) ผลการประเมินทักษะการปรับตัวของนักศึกษาตามโครงการอาจารย์นำผล
การเรียนรู้สู่การเสริมสร้างทักษะการปรับตัวให้แก่นักศึกษามีค่าเฉลี่ยของคะแนนหลังการพัฒนาสูง
กว่าก่อนการพฒั นาอย่างมนี ัยสำคญั ทางสถิติ

ในการวจิ ยั ไดก้ ำหนดขอบเขตของการวิจัย ดงั น้ี 1) กลุม่ ทดลอง (Experiment Group) ใน
การวิจัยและพัฒนาโปรแกรมออนไลน์เพื่อพัฒนาอาจารย์สู่การเสริมสร้างทักษะการปรับตัวของ
นักศึกษา คือ มหาวิทยาลยั มหามกุฏราชวิทยาลยั วิทยาเขตอีสาน ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวดั
ขอนแก่น ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ ในการวิจัยนี้กำหนดโดยวิธีการสุ่มแบบเจาะจง
(Purposive Sampling) เป็นอาจารย์ประจำหลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสอน

241

ภาษาไทย จำนวน 5 คน สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ จำนวน 5 คน และสาขาวิชาการสอนสังคม
ศึกษา จำนวน 5 คน รวม 15 คน เป็นกลุ่มทดลอง (Experimental Group) มีนักศึกษาที่เป็น
เป้าหมายในการพัฒนาระดับปริญญาตรี สาขาวิชาการสอนภาษาไทย จำนวน 90 คน สาขาวิชาการ
สอนภาษาอังกฤษ จำนวน 171 คน และสาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา จำนวน 63 คน รวม 324 คน
ระยะเวลาดำเนินการทดลองในภาคสนาม คือ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 และ 2) กลุ่ม
ประชากร (Population) ซึ่งเป็นเป้าหมายอ้างอิงในการนำผลการวิจัยไปเผยแพร่เพื่อใช้ให้เกิด
ประโยชน์หลังการวิจัยและพัฒนา คือ สาขาวิชาการสอนภาษาไทย สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ
และสาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา จำนวน 7 วิทยาเขต/วิทยาลัยของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราช
วิทยาลัย ตามหลักการของการวิจัยและพัฒนา (Research and Development : R&D) ที่วิจัยและ
พัฒนานวัตกรรมใด ๆ ขึ้นมา แล้วนำนวัตกรรมนั้นไปทดลองใช้ในพื้นที่ทดลองแห่งใดแห่งหนึ่งที่มี
คุณลักษณะเป็นตัวแทนของประชากร เมื่อผลจากการทดลองพบว่านวัตกรรมนั้นมีคุณภาพหรือมี
ประสิทธิภาพตามเกณฑ์ท่ีกำหนด ก็แสดงว่า สามารถเผยแพร่เพื่อการนำไปใชป้ ระโยชน์กับประชากร
ทเี่ ปน็ กลุ่มอา้ งองิ ในการวิจยั ได้

การดำเนินงานวิจัย ประกอบด้วย 5 ขั้นตอนตามลำดับดังนี้ (1) การจัดทำคู่มือประกอบ
โครงการ (2) การตรวจสอบคุณภาพคู่มือ/หน่วยการเรียนรู้และการปรับปรุงแก้ไข (3) การสร้าง
เครื่องมือเพื่อใช้ในการทดลองในภาคสนาม (4) การทดลองในภาคสนาม (5) การเขียนรายงานการ
วิจยั และเผยแพร่ผลการวิจัย โดยมีผลการวิจยั ดงั นี้

6.1 สรุปผลการวจิ ยั

จากการดำเนินงานวิจัย 5 ขั้นตอนดังกล่าวข้างต้น ผู้วิจัยสรุปผลการวิจัยและพัฒนา
โปรแกรมออนไลน์เพ่อื พัฒนาอาจารย์สกู่ ารเสรมิ สรา้ งทักษะการปรับตวั ของนักศกึ ษา ไดด้ ังน้ี

6.1.1 โครงการและคมู่ ือประกอบโครงการ
6.1.1.1 โครงการพัฒนาเพื่อการเรียนรู้ของอาจารย์เกี่ยวกับการพัฒนาทักษะการ

ปรับตัว มีคู่มือประกอบโครงการ 6 ชุด โดยแต่ละชุดมีการนำเสนอเนื้อหาจากผลการศึกษา
วรรณกรรมท่เี ก่ยี วข้อง ดังนี้

1) คู่มือเพื่อการเรียนรู้เกี่ยวกับนิยามของทักษะการปรับตัว จากทัศนะของ
นักวิชาการหรือหน่วยงานต่าง ๆ ดังนี้ Adaptability & flexibility (Esoft Skills Team, n.d.),
Flexibility and adaptability (Smith, Sorokac & Widmaier, n.d.), Adaptability skills
(Cleverism, n.d.), Adaptability - a key skill we must develop in ourselves and in others
(Prince, 2012), Adaptability and learning (Martin, 2012), Define adaptability (Reddy, n.d.),
Adaptability skills and why you need it ( Robert Half, n.d.), Flexibility and adaptability
( Cjones Skills Weekly, n.d.), Adaptability: An important capacity for effective teachers
( Collie & Martin, 2 0 1 6 ), Conceptualizing and assessing interpersonal adaptability:
towards a functional framework (Oliver & Lievens, 2014)

242

2) คู่มือเพื่อการเรียนรู้เกี่ยวกับความสำคัญของทักษะการปรับตัว มีจากทัศนะของ
นักวิชาการหรือหน่วยงานต่าง ๆ ดังนี้ Adaptability skills and why you need it (Robert Half,
n.d.), Why adaptability is important in helping you manage change (ERM Academy, n.d.),
Success is the biggest benefit of being adaptable (Agrawal, 2016), What are the benefits
of adaptability? (Ferguson, 2011), Adaptability: An important capacity for effective
teachers ( Collie & Martin, 2016), Toward a model of explaining teachers’ innovative
behavior: A literature review ( Thurlings, Evers, and Vermeulen, 2 0 1 5 ) , Being able to
adapt in the classroom improves teachers’ well-being (The Conversation, 2018), How
adaptability improves teachers' well-being (Reid, 2018)

3) คู่มือเพื่อการเรียนรู้เกี่ยวกับลักษณะของทักษะการปรับตัว จากทัศนะของ
นักวิชาการหรือหน่วยงานต่าง ๆ ดังนี้ What makes a person adaptable/flexible? (University
of Bradford, n.d.), 1 4 Signs of an adaptable person (Boss, 2 0 1 5 ), The first half of the
high-adaptability formula: flexibility (Alessandra, 2 0 1 6 ), How to demonstrate
adaptability on the job (Oscar, 2014), 3 Traits of adaptable leaders (Keating, 2018)

4) คู่มือเพื่อการเรียนรู้เกี่ยวกับแนวการพัฒนาทักษะการปรับตัว จากทัศนะของ
นักวิชาการหรือหน่วยงานต่าง ๆ ดังนี้ Tips for developing an adaptability mindset (Quick
Base, 2012), Here are some tips to help you grow in your adaptability (Vanderbloemen,
2013), Tips to develop adaptability and flexibility skills (Reddy, n.d.), How to adapt to
change: 5 Tips (Ccl.Com, n.d.), 6 ways adaptability can help you succeed (Williams,
2017), How to develop your adaptability skills (Half, n.d.), Adaptability increases well-
being (Life Zemplified, n.d.), Personal development: how to increase your adaptability
(Prince, 2019), How to develop adaptability - One of the top 10 21st century skills for
graduates ( Oyster Connect, n.d.), Seven tips to build your leadership adaptability
(Baker, 2014)

5) คู่มือเพื่อการเรียนรู้เกี่ยวกับขั้นตอนการพัฒนาทักษะการปรับตัว จากทัศนะของ
นักวิชาการหรือหน่วยงานต่าง ๆ ดังนี้ 4 Steps to Develop Your AQ and Make Change
Happen (Newell, 2016), How to Be Adaptable in 11 Simple Steps (J-Pierre, 2019), How
to Demonstrate Adaptability in the Workplace (David, 2019), 4 Steps to Becoming More
Adaptable To Change (Berger & Johnston, 2 0 1 5 ), How to improve adaptability skills
(Indeed, n.d.)

6) คู่มือเพื่อการเรียนรู้เกี่ยวกับแนวการประเมินผลของทักษะการปรับตัว จากทัศนะ
ของนักวิชาการหรือหน่วยงานต่าง ๆ ดังนี้ How adaptable are you? Take this adaptability
quotient (AQ) Test and find out (Kane, 2019), Test your adaptability (Morgan, 2011),
Adaptability interview questions (Workable, n.d.), Competency assessment for
demonstrating adaptability and flexibility (University of Alberta, n.d.), Individual
adaptability: Testing a model of its development and outcomes (Zorzie, 2012)

243

6.1.1.2 โครงการอาจารย์นำผลการเรียนรู้สู่การเสริมสร้างทักษะการปรับตัวให้แก่
นักศึกษา มีคู่มือเชิงปฏิบัติการเพื่อให้อาจารยไ์ ด้ใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาทักษะการปรับตัวให้แก่
นักศึกษา นำเสนอสรุปประเด็นสำคัญเกี่ยวกับ 1) ลักษณะหรือคุณลักษณะของทักษะการปรับตัวท่ี
คาดหวงั ให้เกดิ แก่นักศกึ ษา 2) แนวทางการพัฒนาทักษะการปรับตัว และ 3) ขนั้ ตอนการพัฒนาทักษะ
การปรับตัว ในตอนท้ายของคู่มือมีแบบประเมินตนเองของอาจารย์ต่อการนำข้อเสนอแนะแนว
ทางการพัฒนาและขั้นตอนการพัฒนาเชิงวิชาการหรือเชิงทฤษฎีไปใช้ และการให้ความเห็นต่อจุดเด่น
จุดด้อยของคู่มือทุกชุด รวมทั้งความคิดเห็นในลักษณะเป็น reflection เพื่อการปรับปรุงใน
ขอ้ บกพรอ่ งของคู่มือ

6.1.2 ขอ้ บกพร่องของคู่มือทไี่ ดจ้ ากการตรวจสอบ และได้รับการปรับปรุงแกไ้ ขแล้ว มี
ดงั น้ี

6.1.2.1 การตรวจสอบภาคสนามเบื้องต้น (ระยะที่ 1) มีข้อบกพร่องที่ได้รับการ
ปรับปรุงแกไ้ ขแล้ว ดงั น้ี

-ผู้วิจัยได้ปรับปรุงในส่วนความถูกต้องของเนื้อหา มีการเรียบเรียงเนื้อหาให้มีความ
กระชับและเน้นการเป็นประโยชน์ในการนำไปใช้มากยงิ่ ข้ึน

-ด้านการปรับปรุงแก้ไขด้านภาษา ผู้วิจัยได้มีการเรียบเรียงสำนวนการแปลภาษาให้
เขา้ ใจง่ายและกระชบั ย่งิ ขน้ึ

-ด้านการปรับปรุงแก้ไขรูปแบบการนำเสนอ ผู้วิจัยได้ปรับปรุงรูปแบบการนำเสนอให้
น่าสนใจ ใช้ภาพสัญลกั ษณเ์ พือ่ ดึงดดู ความสนใจ

-ด้านอื่น ๆ ผู้วิจัยได้ปรับข้อความเน้นคำให้อ่านได้ชัดเจนมากขึ้น และตรวจสอบการ
สะกดคำ

6.1.2.2 การตรวจสอบภาคสนามครั้งสำคัญ (ระยะที่ 2) มีข้อบกพร่องที่ได้รับการ
ปรบั ปรงุ แก้ไขแลว้ ดงั น้ี

-ด้านเนื้อหาและความถูกต้อง ผู้วิจัยได้ตรวจสอบเนื้อหาในคู่มือบางส่วนว่าข้อมูลท่ี
นำมาใชก้ ารนำเสนอขอ้ มลู น้ันมปี ระโยชนต์ อ่ การนำไปใช้

-ด้านการปรับปรุงแก้ไขด้านภาษา ผู้วิจัยได้มีการปรับปรุงสำนวนภาษาแปล และเรียบ
เรียงขอ้ ความให้อา่ นเข้าใจง่ายและกระชับมากขน้ึ แกไ้ ขการใช้คำทีแ่ ตกต่างกนั และตรวจสอบคำ สระ
วรรณยุกต์ ใหถ้ ูกต้อง

-ด้านการปรับปรุงแก้ไขด้านรูปแบบการนำเสนอ ผู้วิจัยได้ตกแต่งรูปภาพปกคู่มือให้
ดึงดดู และนา่ สนใจ ใช้ขนาดตวั อกั ษรที่ใหญข่ ้ึน เพื่อให้เหน็ ได้ชัดเจน

6.1.2.3 การตรวจสอบหลังการพัฒนาความรู้ให้แก่อาจารย์ มีข้อบกพร่องที่ได้รับการ
ปรับปรุงแก้ไขแล้ว ดังนี้

-ข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุงแก้ไขด้านเนื้อหา โดยคำนึงถึงความถูกต้อง (Accuracy)
และความเปน็ ประโยชน์ (Utility) ต่อการนำไปใช้มีข้อเสนอแนะ คอื ควรปรับเน้อื หาให้กระชบั เน้อื หา
เข้าใจง่าย ครอบคลุม และทันสมัยเพื่อให้เน้ือหาดีมีสาระ มแี นวคิดและกระบวนการต่าง ๆ ท่ีสามารถ
นำมาปรับใช้ได้ในชวี ิตประจำวัน และการสะกดคำผิดควรตรวจสอบความละเอียดใหถ้ ูกต้องตามหลัก
วชิ าการ

244

-ข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุงแก้ไขด้านภาษา มีข้อเสนอแนะคือ บางข้อความใช้คำท่ี
วิชาการมากเกินไปทำให้อ่านไม่ค่อยเข้าใจ ต้องอ่านซ้ำอีกรอบเนื่องจาก เนื้อหาเป็นสำนวนภาษาที่
แปลมาจากภาษาองั กฤษ ควรมีทงั้ คำศพั ท์ภาษาไทยและภาษาอังกฤษดว้ ยในเนอื้ หาโดยเฉพาะคำศัพท์
วชิ าการเฉพาะท่คี ่อนข้างยาก ถา้ หากมคี ำแปลข้าง ๆ ก็ชว่ ยทำให้ผูศ้ กึ ษา ศกึ ษาไดเ้ ข้าใจได้งา่ ย ควรใช้
คำให้ตรงกันและเหมือนกันทั้งหมดในทุกคู่มือ และตรวจสอบการสะกดคำ และด้านเนื้อหาให้ถูกต้อง
ตามหลกั การใช้ภาษาและหลักวิชาการ

-ข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุงแก้ไขด้านรูปแบบการนำเสนอ ควรให้หลากหลายไม่ซ้ำ
เดิมในแต่ละคู่มือ ควรเพิ่มสีสันให้สวยงาม ให้ดึงดูดผู้อ่านด้วยภาพกราฟิก การ์ตูน ถ้าเพิ่มการตกแต่ง
หัวขอ้ ข้อความให้โดดเดน่ จะนา่ สนใจและดงึ ดูดผอู้ า่ นเพมิ่ มากขน้ึ รปู แบบในการนำเสนอดี มกี จิ กรรม
ถามเพอ่ื ทบทวนความรู้ความเข้าใจ เพ่ือให้ผูศ้ กึ ษาได้กระตุ้นความคิด แตค่ วรเพ่ิมส่อื รปู ภาพต่าง ๆ ที่
มคี วามหลากหลายนา่ สนใจ

-ข้อเสนอแนะอื่น ๆ มีตัวหนังสือขนาดเล็กไป ควรเน้นคำ หัวข้อ ให้โดดเด่นชัดเจน ใช้
สีสนั ตกแต่งเพม่ิ เตมิ

6.1.2.4 การตรวจสอบหลังการทดลองในภาคสนาม มีข้อบกพร่องที่ได้รับการปรบั ปรุง
แก้ไขแล้ว ดงั น้ี

-ข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุงแก้ไขด้านเนื้อหา โดยคำนึงถึงความถูกต้อง (Accuracy)
และความเป็นประโยชน์ (Utility) ตอ่ การนำไปใช้ มีขอ้ เสนอแนะโดยรวมคู่มือทง้ั 6 ชดุ มีเนอ้ื หาท่ีมสี าระ
และมีกระบวนการแนวคิดต่าง ๆ ทันสมัย เพราะทักษะการปรับตัวเป็นทักษะที่จำเป็นอย่างยิ่งในการ
เรียนรู้ในยุคปัจจุบัน เนื้อหามีประโยชน์ต่อการนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ มีการนำ
แหล่งข้อมูลความรู้จากนักวิชาการต่างประเทศมานำเสนอได้ดีมาก มีประเด็นให้คิด มีคำถามและ
ข้อเสนอแนะในแต่ละเรื่อง แต่เนื้อหาในบางคู่มือมีเนื้อหามากเกินไป ควรเรียบเรียงใหม่ให้สมบูรณ์ ให้
กระชับ ครอบคลุมและให้อ่านเข้าใจง่ายมากขึ้น และคู่มือทั้ง 6 ชุด มีการนำเสนอเรื่องแต่ละเรื่องที่
แตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นนิยาม ลักษณะ หรือแนวทางการพัฒนาของทักษะการปรับตัวถือว่าโดยรวมดี
มาก แต่มขี ้อแนะนำว่าควรมีการจัดทำให้เป็นรูปเล่มที่สวยงาม เรียบเรยี งเนอื้ หาให้กระชับและปรับปรุง
แก้ไขในบางประเด็นที่ค่อนข้างมาก หรือเสริมเพิ่มเติมในบางส่วนที่ยังขาดให้สมบูรณ์ ทำเป็นคู่มือให้
นกั ศกึ ษาเรยี นรูเ้ พ่มิ เตมิ ในห้องสมุด เว็บไซต์ และนำเสนอคมู่ ือน้ไี ปสูส่ ถาบันการศึกษาอน่ื ๆ ต่อไป

-ข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุงแก้ไขด้านภาษา เนื่องจากเป็นเนื้อหาวิชาการที่แปลมา
จากบทความ หลกั วิชาการจากต่างประเทศ การใชส้ ำนวนภาษาเมื่อแปลความถ้าเปน็ คำศัพท์วิชาการ
เฉพาะ ควรมีการกำกับข้อความต้นฉบับไว้ด้านข้างทุกคำ ซึ่งทางคณะผู้ร่วมศึกษาคู่มือแล้ว เห็นว่า
สำนวนที่ใช้แปลได้ชัดเจน สละสลวย ถือว่าอ่านแล้วเข้าใจได้ง่าย แต่มีบางประโยคหรือบางคำที่ยัง
แปลผดิ ทางคณะไดท้ ำให้เป็นตัวหนงั สือสีแดง เพอื่ ใหน้ ำไปแก้ไข โดยรวมแลว้ ใช้ภาษาได้เหมาะสมกับ
ระดับความรแู้ ละทกั ษะการปรับตวั ของบุคคลทว่ั ไป

-ด้านรปู แบบการนำเสนอ โดยรวมคมู่ อื ทง้ั 6 ชดุ น้ันมีรปู แบบการนำเสนอในรปู แบบของ
กิจกรรมถามเพื่อทบทวนความรู้ความเข้าใจ เพื่อให้ได้กระตุ้นความคิด และการมีส่วนร่วม
(Participatory Activity) เหมือนกันทั้ง 6 คู่มือ ข้อเสนอแนะให้ใช้รูปแบบการนำเสนอที่หลากหลาย
การตกแต่งหัวข้อ ข้อความให้โดดเด่น มีความน่าสนใจ มีสีสันสวยงาม ควรเพิ่มสื่อ รูปภาพต่าง ๆ ที่มี
ความหลากหลายจะทำให้งานวจิ ยั น่าสนใจมากข้ึนและดงึ ดูดผ้อู า่ นเพ่มิ ขึ้น

245

-คู่มือทั้ง 6 ชุด อาจารย์ทีเ่ ป็นกลุ่มทดลอง ได้นำไปศึกษาแลว้ เห็นว่ามีประโยชน์มากใน
ยุคปัจจุบนั นี้ ทักษะการปรับตวั สำคัญและจำเป็นต่อการพัฒนาทักษะกระบวนการเรยี นรู้ของอาจารย์
และนักศึกษา ควรนำไปปรับปรุงแก้ไขให้สมบูรณ์ ถูกต้องทั้งด้านเนื้อหา ด้านภาษาเพิ่มเติม และ
นำเสนอผ่านโซเชียล หรือระบบออนไลน์ต่าง ๆ หรือจัดทำเป็นรูปเล่มให้สวยงามแล้วตีพิมพ์ให้
หอ้ งสมดุ หรอื เผยแพร่ให้แก่นกั ศกึ ษาผ่านชอ่ งทางต่าง ๆ จะเป็นประโยชน์อยา่ งมาก

6.1.3 ประสทิ ธภิ าพของโปรแกรมออนไลนท์ ่ีส่งผลต่อการเรียนรขู้ องอาจารย์ท่เี ปน็ กลุ่ม
ทดลอง

จากผลการทดสอบผลการเรียนรู้ของอาจารย์หลังการดำเนินงานตามโครงการพัฒนาเพ่ือ
การเรียนรู้ของอาจารย์เกี่ยวกับการพัฒนาทักษะการปรับตัว เพื่อแสดงให้ทราบว่าคู่มือประกอบ
โครงการที่ใช้ในการพัฒนาอาจารย์มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 90/90 และมีผลการเรียนรู้
หลังการพัฒนาสูงกว่าก่อนการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่แสดงว่าการเสนอเนื้อหาในคู่มือ
ประกอบโครงการทุกชุดมีประสิทธิภาพที่สามารถนำไปใช้พัฒนาอาจารย์ให้เกิดการเรียนรู้ได้ตาม
เกณฑท์ ่ีกำหนด ดงั น้ี

6.1.3.1 ผลการทดสอบเปรียบเทียบกับเกณฑ์มาตรฐาน 90 ตัวแรก ผลจากการ
วิเคราะห์ข้อมูลจากการทดสอบผลการเรียนรู้ของอาจารย์ที่เป็นกลุ่มทดลองจำนวน 15 คนหลังการ
พัฒนา (Posttest) จากแบบทดสอบผลการเรียนรู้ของอาจารย์ซึ่งมี 6 วัตถุประสงค์การเรียนรู้ แต่ละ
วัตถุประสงค์การเรียนรู้มีข้อสอบ 6 ข้อ รวมข้อสอบทั้งฉบับ 36 ข้อ เพื่อเปรียบเทียบกับเกณฑ์
มาตรฐาน 90 ตัวแรกซึ่งหมายถึงจำนวนร้อยละของคะแนนเฉลี่ยของการทดสอบหลังเรียน พบว่า มี
คะแนนเฉลี่ยเทา่ กับ 33.47 คะแนนจากคะแนนเต็ม 36 คะแนน เม่อื คดิ เป็นรอ้ ยละแล้วได้ 92.96 ซง่ึ มี
ค่าร้อยละท่ีสูงกว่าเกณฑท์ ่ีกำหนดไว้รอ้ ยละ 90

6.1.3.2 ผลการทดสอบเปรียบเทียบกับเกณฑ์มาตรฐาน 90 ตัวหลัง ผลจากการ
วเิ คราะห์ขอ้ มลู จากการทดสอบผลการเรียนรูข้ องอาจารยท์ เ่ี ป็นกลุ่มทดลองหลงั การพฒั นา (Posttest)
จากแบบทดสอบซึ่งมี 6 วัตถุประสงค์การเรียนรู้ แต่ละวัตถุประสงค์การเรียนรู้มีข้อสอบ 6 ข้อ รวม
ข้อสอบทั้งฉบับ 36 ข้อ เกณฑ์การผ่านแต่ละวัตถุประสงค์การเรียนรู้จะต้องตอบข้อสอบถูกอย่างน้อย
5 ข้อจาก 6 ข้อ ซึ่งเท่ากับร้อยละ 83.33 ของคะแนนเต็มของแต่ละวัตถุประสงค์การเรียนรู้ เพื่อ
เปรียบเทียบกับเกณฑ์มาตรฐาน 90 ตวั หลังซึ่งหมายถึงร้อยละของจำนวนครูท่ีสามารถทำแบบทดสอบ
ได้ผ่านทุกวัตถุประสงค์ จากจำนวนครูทั้งหมด 15 คน พบว่า มีอาจารย์ร้อยละ 94.44 ที่สามารถทำ
แบบทดสอบไดผ้ า่ นทกุ วตั ถุประสงค์ ซึง่ มคี ่าร้อยละที่สงู กว่าเกณฑ์ท่กี ำหนดไวร้ ้อยละ 90

6.1.3.3 ผลการวเิ คราะหเ์ ปรียบเทียบผลการทดสอบผลการเรียนรู้ของอาจารย์ก่อน
และหลงั การพฒั นาด้วยการทดสอบที (T-test) พบวา่ อาจารย์ท่ีเปน็ กลุ่มทดลองทั้ง 15 คนมผี ลการ
เรยี นรู้หลังการพัฒนาสงู กวา่ กอ่ นการพฒั นาอยา่ งมนี ยั สำคัญทางสถิติทร่ี ะดับ 0.05

6.1.4 ประสิทธิภาพของโปรแกรมออนไลนท์ ี่ส่งผลต่อการเสริมสร้างทักษะการปรับตวั
ของนักศึกษา

จากผลการประเมนิ ทักษะการปรับตวั ของนกั ศึกษาหลังการดำเนินตามโครงการอาจารย์นำ
ผลการเรียนรู้สู่การพัฒนาทักษะการปรับตัวให้แก่นักศึกษา เพื่อแสดงให้เห็นว่า โดยภาพรวมของ
โปรแกรมออนไลน์ที่พัฒนาขึ้น เมื่ออาจารย์นำเอาไปปฏิบัติตามแล้ว มีประสิทธิภาพที่ส่งผลต่อการ

246

เสริมสร้างทักษะการปรับตัวของนักศึกษา “หลัง” การพัฒนาสูงกว่า “ก่อน” การพัฒนาอย่างมี
นัยสำคญั ทางสถติ ิหรือไม่นั้น ผลการทดสอบค่าที (t-test) พบว่า นักศึกษาทเี่ ปน็ กลุ่มทดลองไดค้ ะแนน
เฉลี่ยจากการทดสอบหลังการพัฒนาสูงกว่าก่อนการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
แสดงให้เห็นว่า โปรแกรมอบรมด้วยตนเองออนไลน์ทีป่ ระกอบด้วย 2 โครงการ แต่ละโครงการมีคูม่ ือ
ประกอบนั้น มีประสิทธิภาพที่สามารถจะนำไปใช้เพื่อพัฒนานักศึกษาที่เป็นกลุ่มทดลองให้เกิดทักษะ
การปรับตัวได้ และสามารถที่จะนำไปเผยแพร่ให้ประชากรที่เป็นกลุ่มเป้าหมายในการพัฒนา คือ
อาจารย์และนักศึกษาในระดับปริญญาตรี สังกัดมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ทุกวิทยาเขตท่ัว
ประเทศ ไดน้ ำไปใชไ้ ดอ้ ย่างมีผลการวจิ ยั รบั รอง

6.2 อภิปรายผล

จากรายงานผลการวจิ ยั และผลการวจิ ยั ท่สี รุปดังกลา่ วขา้ งต้น ผ้วู ิจยั ขอนำมาอภิปรายผลใน
ประเดน็ ตา่ ง ๆ ดังนี้

6.2.1 ผลการทดสอบตามสมมติฐานการวิจัยที่ตั้งไว้ พบว่า อาจารย์ที่เป็นกลุ่มทดลองมี
ความรู้หลังการดำเนินงานในโครงการพัฒนาเพื่อการเรียนรู้ของอาจารย์ผู้สอนเป็นไปตามเกณฑ์
มาตรฐาน 90/90 และอาจารย์มีผลการเรียนรู้หลังการพัฒนาสูงกว่าก่อนการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญ
ทางสถิติที่ระดับ 0.05 รวมทั้งนักศึกษาตามโครงการอาจารย์นำผลการเรียนรู้สู่การเสริมสร้างทักษะ
การปรับตวั ให้แก่นกั ศึกษามีค่าเฉล่ียของคะแนนหลงั การพฒั นาสูงกว่าก่อนการพฒั นาอย่างมีนัยสำคัญ
ทางสถิตินั้น แสดงให้เห็นว่า โปรแกรมออนไลน์เพื่อพัฒนาอาจารย์สู่การเสริมสร้างทักษะการปรับตัว
ของนักศึกษา ที่เป็นผลจากการวิจัยและพัฒนาในครั้งนี้ มีประสิทธิภาพที่สามารถนำเอาไปเผยแพร่
เพื่อใช้กับมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยส่วนกลางและวิทยาเขต ซึ่งเป็นประชากรเป้าหมาย
(Target Population) ได้ทุกวิทยาเขตทั่วประเทศ ตามหลักการของการวิจัยและพัฒนา (Research
and Development : R&D) ที่วิจัยและพัฒนานวตั กรรมใด ๆ ขึ้นมา แล้วนำนวัตกรรมนั้นไปทดลอง
ใช้ในพื้นที่ทดลองแห่งใดแห่งหนึ่งที่มีคุณลักษณะเป็นตัวแทนของประชากรเป้าหมาย เมื่อผลจากการ
ทดลองพบว่านวัตกรรมนั้นมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด ก็แสดงว่า สามารถเผยแพร่เพื่อการ
นำไปใช้ประโยชน์กับประชากรเป้าหมายในการวิจัยได้

เหตุผลที่ผลการวิจัยพบว่าโปรแกรมอบรมด้วยตนเองออนไลน์ที่เป็นผลจากการวิจัยและ
พฒั นาในคร้ังนี้ มปี ระสิทธภิ าพตามเกณฑ์ทกี่ ำหนด ท้งั กรณโี ครงการพัฒนาเพื่อการเรียนรู้ของอาจารย์
และกรณีโครงการครูนำผลการเรียนรสู้ ู่การพัฒนานักเรียน อาจเนื่องจากโปรแกรมออนไลน์เพ่ือพัฒนา
อาจารย์สู่การเสริมสร้างทักษะการปรับตัวของนักศึกษา เป็นโปรแกรมแบบออนไลน์ ( Online
Program) ที่พัฒนาขึ้นตามยุคสมัยดิจิทัลแบบใหม่ ทำให้สะดวก รวดเร็ว สามารถติดต่อสื่อสารถึงกัน
ได้จากระยะไกล มีประโยชน์ต่อการนำนวตั กรรมท่ีพัฒนาข้ึนไปเผยแพร่เพ่ือใช้ประโยชนข์ องประชากร
ที่เป็นกลุ่มอ้างอิงในการวิจัยได้อย่างกว้างขวาง อย่างประหยัด อย่างมีประสิทธิภาพ และเกิด
ประสิทธิผลได้มากกว่า สอดคลอ้ งกบั ทัศนะของ วทิ ยา วาโย, อภิรดี เจริญนุกูล, ฉัตรสุดา กานกายันต์
และจรรยา คนใหญ่ (2563) ที่กล่าวว่า การเรียนการสอนแบบออนไลน์ทำให้ผู้เรียนได้รับการพัฒนา
ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เป็นโอกาสของผู้สอนที่จะสามารถออกแบบเป้าหมายของการเรียน
เชน่ ใหผ้ ู้เรียนศึกษาเนอ้ื หาผ่านบทเรยี นออนไลน์ ร่วมกับการฝกึ ปฏบิ ตั ิทักษะร่วมกบั ผู้สอนในชั้นเรียน

247

รวมทั้งผู้สอนสามารถให้คำแนะนำกับผู้เรียนเพื่อการปรับปรุงแก้ไข ทำให้ผู้เรียนสามารถที่จะ
พัฒนาการปรับปรุงการเรียนรู้ของตนเองให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น ซึ่งถือเป็นเครื่องมือระบบการ
จัดการเรียนรู้ที่จะใช้อํานวยความสะดวกให้แก่ผู้สอน ผู้เรียน ผู้ดูแลระบบ โดยที่ผู้สอนนําเนื้อหาและ
สื่อการสอนขึ้นเว็บไซต์รายวิชาตามที่ได้ขอให้ระบบจัดไว้ให้ได้โดยสะดวก ผู้เรียนเข้าถึงเนื้อหา
กจิ กรรมตา่ ง ๆ ได้โดยผ่านเว็บไซต์ ผสู้ อนและผู้เรยี นติดต่อสื่อสารได้ผ่านทางเครื่องมือส่ือสารท่ีระบบ
จัดไว้ให้ (กอบสุข คงมนัส, 2018) เป็นการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อให้มีประสิทธภิ าพใน
การเรียนการสอน สอดคล้องกับ Plook Education (2017) ที่กล่าวว่า เทคโนโลยีสารสนเทศเป็น
เครอ่ื งมือท่ีสำคัญทชี่ ว่ ยในการจัดการเรยี นการสอนในยุคดิจิทัล และเพมิ่ ประสิทธภิ าพในการถ่ายทอด
ความรู้ไปสูผ่ ้เู รียนไดแ้ บบออนไลน์

6.2.2 กระบวนการวิจัยและพัฒนาในงานวิจัยนี้ ให้ความสำคัญกับกระบวนทัศน์ใหม่ของ
การพัฒนาครู คือ การพัฒนาวิชาชีพครูซึง่ เปน็ การทำบางอย่างเพื่อใหผ้ ูส้ อนได้รับเนื้อหามากขึ้น ให้มี
ศักยภาพที่จะทำการสอนได้อย่างมปี ระสิทธผิ ลมากข้นึ โดยเปน็ การกระทำที่คำนงึ ถึงผลที่จะเกิดข้ึนกับ
ผู้เรยี น น่ันคือ โครงการพฒั นาครจู ะต้องคำนึงถงึ ผลใหค้ รูมีพฤติกรรมการสอนไปในทางบวกที่จะส่งผล
ดีต่อนักเรียน (Heron, 1996; Ubben, Hughes, and Norris (2001) ซึ่งการวิจัยที่ให้ความสำคัญกับ
กระบวนทัศน์ใหม่ของการพัฒนาครูดังกล่าวนี้ สอดคล้องกับทัศนะของ อรรณพ จีนะวัฒน์ (2559) ท่ี
กล่าวว่า ผู้ประกอบวิชาชีพครูจำเป็นต้องพัฒนาตนเพื่อให้เท่าทันกับการเปลี่ยนแปลงที่เป็นไปอย่าง
ตอ่ เนื่อง โดยมที กั ษะการเปลี่ยนแปลงทีส่ ำคัญ คอื การสรา้ งบรรยากาศให้เกิดความรู้สึก หรือทัศนคติ
ทางบวกในการจัดการกับการเปลี่ยนแปลง การแสวงหาความรู้เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงตนเอง และ
การปรับปรุงตนเอง โดยแสวงหาการสนับสนุนจากบุคคลในอาชีพเดียวกัน ซึ่งจะส่งผลสำคัญต่อการ
พัฒนาตนที่มีประสิทธิภาพและความยั่งยืนของผู้ประกอบวิชาชีพครู เนื่องจากครูเป็นผู้ที่ใกล้ชิดและ
ถา่ ยทอดความรู้ สรา้ งรูปแบบการเรยี นการสอนให้แกน่ ักเรียน อาจกล่าวไดว้ ่า “คณุ ภาพครู” คือ ภาพ
สะท้อนจากคุณภาพนกั เรียน ครูมีความรู้ หรือกระบวนการคิดในรูปแบบลักษณะใด นักเรียนจะได้รับ
การถา่ ยทอดในลกั ษณะเดียวกัน ดังนน้ั ครูจึงเป็นหัวใจของการพัฒนานักเรยี น (พระสมหุ ์นริศ นรนิ โท,
2019) และเป็นไปตามความคาดหวังของสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (2560) ที่กล่าวไว้ใน
แผนการศึกษาแหง่ ชาติ พ.ศ.2560-2579 ยทุ ธศาสตร์ที่ 3 : การพัฒนาศกั ยภาพคนทกุ ช่วงวยั และการ
สรา้ งสงั คมแหง่ การเรียนรู้ โดยมีเปา้ หมายว่า ครู อาจารย์ และบคุ ลากรทางการศกึ ษา ได้รบั การพัฒนา
สมรรถนะตามมาตรฐาน มีตัวชี้วัดที่สำคัญ เช่น ครูอาจารย์และบุคลากรทางการศึกษาทุกระดับและ
ประเภทการศึกษาได้รับการพัฒนาตามมาตรฐานวิชาชีพ และสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมี
ประสิทธิภาพรวมทั้งได้รับการพัฒนาให้สอดคล้องกับความต้องการและยุทธศาสตร์ของหน่วยงาน
เพม่ิ ขน้ึ

6.2.3 การพฒั นาทักษะการปรับตัวสำหรับนักศึกษา มคี วามสำคญั ในศตวรรษท่ี 21 ดังผล
การศึกษาทัศนะของนักวิชาการหลายท่าน ที่กล่าวถึงความสำคัญของทักษะนี้ในศตวรรษที่ 21 เช่น
เมธวนิ ปติ ิพรววิ ฒั น์ (n.d.) กลา่ ววา่ กล่มุ ทักษะที่ใชใ้ นการจัดการตวั เองกับสภาพสังคมที่เปล่ียนแปลง
ไปอยา่ งรวดเร็ว เช่น ความอยากร้อู ยากเหน็ การรเิ ร่ิมสร้างสรรค์ ความพยายามในการบรรลุเป้าหมาย
ที่ตั้งไว้ ความสามารถในการปรับตัวเข้ากับสังคมและสภาพแวดล้อม ความเป็นผู้นำ และ ความ
ตระหนักถึงสังคมและวัฒนธรรม ด้วยเหตุว่าความรวดเร็วของสภาพสังคมที่เปลีย่ นแปลงไปทำให้เดก็

248

ยคุ ใหม่ต้องก้าวตามให้ทัน ทกั ษะเหลา่ นี้จึงมคี วามสำคัญมากขึ้น เพ่อื ที่จะได้ไม่เป็นคนท่ตี ามหลังคนอ่ืน
อยู่เสมอ และเป็นคนที่มีคุณภาพ และสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาข้ันพ้ืนฐาน (n.d.) กล่าวว่า
ความยืดหยุ่นและความสามารถในการปรับตัว เป็นทักษะเพื่อการเรียนรู้ การทำงานและการเป็น
พลเมืองในศตวรรษที่ 21 ซึ่งต้องทำเพื่อการบรรลุเป้าหมายแบบมีหลักการ และไม่เลื่อนลอยภายใต้
การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และไม่คาดคิด สอดคล้องกับทัศนะของประพิณศิริ อินทธิรา (n.d) ที่
เห็นว่า ในการดำรงชีวิตและทำงานในยุคปัจจุบันให้ประสบความสำเร็จ นักเรียนจะต้องพัฒนาทักษะ
ชีวิตท่ีสำคญั ดงั ต่อไปน้ี 1) ความยดื หยนุ่ และการปรับตัว 2) การรเิ ร่ิมสร้างสรรค์และเป็นตัวของตัวเอง
3) ทักษะสังคมและสังคมข้ามวัฒนธรรม 4) การเป็นผู้สร้างหรอื ผู้ผลิต และความรับผิดชอบเชื่อถือได้
5) ภาวะผู้นำและความรับผิดชอบ และสอดคล้องกับทัศนะของเบญจวรรณ ถนอมชยธวัช ผ่องศรี
วาณิชย์ ศุภวงศ์ วุฒิชัย เนียมเทศ และ ณัฐวิทย์ พจนตันติ (2559) ที่เห็นว่า การพัฒนานักศึกษาใน
ศตวรรษที่ 21 ที่ต้องก้าวทันกับการเปลี่ยนแปลงและความก้าวหน้าของโลกต้องเปลี่ยนจากการให้รู้
ไปสู่การพัฒนาทกั ษะแห่งอนาคตใหม่ การเรียนร้ใู นศตวรรษท่ี 21 ทสี่ ำคญั และจำเป็นต่อนกั ศกึ ษาท่ีจะ
ดำรงอยู่ได้ในศตวรรษที่ 21 นักศึกษาจะต้องปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ใหม่ ๆ เพื่อการดำรงอยู่
อย่างมีคุณภาพ จะต้องเป็นผู้ที่มีความรู้และทักษะในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้ มี
ความสามารถในการปรับตัว จึงจำเป็นต้องพัฒนาทักษะการเรียนรู้และทักษะชีวิต (ทิศนา แขมมณี,
2555; วิจารณ์พานิช, 2555) ดังนั้น การพัฒนาทักษะการปรับตัวสำหรับนักศึกษา จึงมีความสำคัญ
อยา่ งยิ่งเพอ่ื การดำรงอยอู่ ย่างมีคุณภาพในศตวรรษที่ 21 ทีม่ ีการเปลี่ยนแปลงในทุกมติ ิ

6.2.4 ทักษะการปรับตัวเป็นทักษะสำคัญทักษะหนึ่งที่คาดหวังให้เกิดขึ้นสำหรับนักศึกษา
ในศตวรรษที่ 21 มีลักษณะหลายประการ ดังผลการศึกษาทัศนะของนักวิชาการหลายท่านที่กล่าวถงึ
ลักษณะของทักษะนี้ เช่น Oscar (2014) กล่าวถึงลักษณะของทักษะการปรับตัวไว้ ดังนี้ 1) เตรียม
วิธีการแก้ปัญหาแบบอื่น ๆ ไว้เสมอ 2) ยอมรับการเปลี่ยนแปลงได้ดี 3) ใจเย็น และมีความมั่นใจ
4) เพิ่มทักษะใหม่ ๆ 5) มีความรู้ที่หลากหลาย ส่วน Boss (2015) กล่าวถึงลักษณะของทักษะการ
ปรับตัวไว้ว่า ทักษะในการปรับตัวเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในตอนนี้ เป็นความสามารถที่ผู้คน ทีม หรือ
องค์กรต่างจำเป็นต้องมีเพื่อปรับตัวให้ทันความเปลี่ยนแปลงในสภาพแวดล้อมของพวกเขา และ
Alessandra (2016) กล่าวถึงลักษณะของทักษะการปรับตัวว่า ลักษณะนิสัยห้าแบบที่ทำให้มีการ
ปรับตัวได้ดี คือ ความยืดหยุ่น, วิสัยทัศน์, ความเอาใจใส่, ความสามารถส่วนตัว และ การแก้ไขนิสัย
ตนเอง ดังนั้น ลักษณะของทักษะการปรับตัว จึงต้องมีความยืดหยุ่น มีวิสัยทัศน์ มีการวางแผนการ
ล่วงหน้า กล้าพิสูจน์ ไม่กลัวความล้มเหลว มีไหวพริบ มองภาพรวม มีความใคร่รู้ อยู่กับปัจจุบันและ
พรอ้ มทีจ่ ะปรับตวั เพอ่ื ให้ทันการเปลีย่ นแปลง

6.2.5 แนวทางในการพัฒนาทักษะการปรับตวั จากทัศนะของนักวิชาการที่นำมากล่าวถงึ
ในการวิจัยนี้ถือเป็นนานาทัศนะที่เป็นสากล เพราะได้จากการศึกษาค้นคว้าจากการที่มีผู้นำเสนอไว้
ทางอินเทอร์เน็ตจากหลากหลายประเทศ มีหลากหลายแนวทาง บางแนวทางมีข้อเสนอแนะเป็น
ขั้นตอนการพัฒนา (Steps) เช่น ทัศนะของ Newell (2016) ที่กล่าวถึง แบบจำลอง 4 ขั้นตอน
ประกอบด้วย 1) มองให้เห็น 2) เป็นเจ้าของ 3) แก้ไขปัญหาและ 4) ลงมือทำ 4 ขั้นตอนเหล่าน้ี
สามารถช่วยสร้าง AQ ที่ดีขึ้นในตัวเองและคนรอบข้างได้ บางแนวทางเสนอแนะเป็นวิธีการ (Ways)
เช่น ทัศนะของ Baker (2014) ที่กล่าวถึง 7 วิธีการสำหรับการพัฒนาและแสดงทักษะการปรับตัว ซึ่ง

249

จะชว่ ยเหลือองค์กรใหส้ ามารถปรับตวั ได้ ประกอบด้วย 1) ปรับทันที 2) มองให้ไกลและวางแผนระยะ
สั้น 3) กล้าเสี่ยงและก้าวไปข้างหน้า 4) ลดพฤติกรรมไม่โต้ตอบ 5) รู้ตัวว่าเราอยู่ที่จุดไหนของการ
เปลี่ยนแปลง 6) เริ่มต้นที่ตัวเองก่อน 7) ปรับตัวให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลง บางแนวทาง
เสนอแนะเป็นแนวคิด (Ideas) เช่น ทัศนะของ Prince (2019) ท่กี ล่าววา่ ถงึ แนวทางการพัฒนาทักษะ
การปรับตัวว่า เราเชื่อว่าวิธีการที่ดีที่สุดในการพัฒนาทักษะการปรับตัวและการเปลี่ยนแปล ง
พฤตกิ รรมน้นั เรม่ิ ต้นได้ง่าย ๆ จากกิจกรรมท่ี “ความเส่ยี งต่ำ” แต่ปฏิบัตซิ ำ้ ๆ กนั ทกุ วนั บางแนวทาง
เสนอแนะเป็นกลยทุ ธ์ (Strategies) เช่น ทัศนะของ Williams (2017) ที่กล่าวถึง แนวทางการพัฒนา
ทักษะการปรับตัวไว้ว่า ความสามารถในการปรับตัวเป็นหนึ่งในทักษะการทำงานหลักที่หลายบริษัท
ต้องการในศตวรรษที่ 21 จากข้อมูลของศูนย์บริการอาชีพและการจ้างงานแห่งมหาวิทยาลัยเคนท์
บรรดานายจ้างล้วนต้องการพนักงานที่สามารถปรับตัว เพื่อการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์และ
สภาพแวดล้อม เปิดรบั แนวคิดใหม่ ๆ และเปน็ ผู้ทก่ี ล้าได้กลา้ เสีย มีไหวพรบิ และปรบั ตัวได้อยา่ งดี และ
สามารถทำได้ในระยะเวลาอันสั้น ทั้งหมดทั้งมวลก็คือการเอาชนะอุปสรรคอย่างสง่างามและมั่นใจ
เป็นต้น ดังนั้น ในการนำเอาข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาทักษะการปรับตัวจากทัศนะของ
นักวิชาการไปใช้ให้เกิดประโยชน์ ควรจะต้องเริ่มต้นปรับตัวที่ตัวเราในทุกวันให้สอดคล้องกับการ
เปลี่ยนแปลง โดยกล้าที่ลองผิดลองถูก เพื่อก้าวไปข้างหน้า เป็นแบบอย่างในการนำไปประยุกต์ใช้
นอกจากนั้น แนวทางการพัฒนาในยคุ ของเทคโนโลยีดิจิทัลเช่นในปัจจุบัน ยังจะมีนักวิชาการนำเสนอ
แนวคิดใหม่ ๆ เพิ่มขึ้นอีก ดังนั้น การปรับตัว เป็นทักษะหนึ่งที่ต้องอาศัยการฝึกฝนและความ
รับผิดชอบ เป็นเรื่องเกี่ยวกับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องในเรื่องความสามารถที่เรามีอยู่แล้วจนเกิดเป็น
สมรรถนะ ช่วยเพิ่มศักยภาพของตนเอง ซึ่งก็ถือว่าเป็นทักษะที่สำคัญอย่างมากในปัจจุบันและใน
อนาคต การมีความสามารถในการปรับตัวจะช่วยให้เราเข้าถึงความเป็นมืออาชีพมากขึ้นและประสบ
ผลสำเร็จตามเป้าหมายท่ีตัง้ ไวเ้ พราะขณะท่ปี รบั ตัวก็จะมาพรอ้ มกับโอกาสทม่ี ากมาย

6.3 ข้อเสนอแนะ

6.3.1 ขอ้ เสนอแนะเพือ่ การนำไปใช้ มดี งั น้ี
6.3.1.1 โปรแกรมออนไลน์ที่เป็นผลจากการวิจัยและพัฒนาจากกลุ่มทดลองที่ใช้ใน

งานวิจัยนี้ สามารถนำไปเผยแพร่เพื่อใช้ให้เกิดประโยชน์ในกลุ่มประชากรเป้าหมาย ( Target
Population) คือ มหาวทิ ยาลัยมหามกฏุ ราชวทิ ยาลัย ทกุ วิทยาเขต/วิทยาลยั ได้

6.3.1.2 ผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษาควรพัฒนาตนเองพร้อมทั้งส่งเสริมสนับสนุนให้
อาจารยไ์ ด้พัฒนาตนเองอยา่ งต่อเนื่องสม่ำเสมอในการพฒั นาทักษะการปรับตัวเพ่ือเป้าหมายสูงสุดคือ
นักศึกษาที่มคี วามสามารถในการปรับตัว อนั เปน็ ท่ีตอ้ งการในทกุ บริบทการทางสังคม

6.3.1.3 อาจารยต์ อ้ งสร้างแรงจูงใจใหน้ ักศึกษาเห็นถึงความสำคัญของการปรบั ตัว และ
การนำความรู้ที่ได้รับจากการเรียนรู้และพัฒนาทักษะการปรับตัวไปปฏิบัติย่างต่อเนื่องจนเกิดเป็น
สมรรถนะท่ีสำคญั ในชีวิตประจำวนั

6.3.2 ขอ้ เสนอแนะสำหรบั การวจิ ยั ต่อไป มดี งั นี้
6.3.2.1 ในงานวิจัยนี้เป็นการพัฒนาทักษะการปรับตัว (Adaptability Skills) สำหรับ

นักศึกษาในศตวรรษที่ 21 เพื่อให้เกิดความสอดคล้องอย่างต่อเนื่อง จำเป็นต้องพัฒนาทักษะการ

250

ปรับตวั (Adaptability Skills) ต้ังแต่ระดับนักเรียนมาโดยลำดบั ดังน้นั เพ่อื ใหเ้ กิดการเรียนรู้ ปรับตัว
และเปลี่ยนแปลงในทุกระดับการศึกษาอาจทำวจิ ยั และพฒั นาโปรแกรมออนไลน์เพ่ือพัฒนาทักษะการ
ปรับตัว (Adaptability Skills) สำหรับนกั เรยี นในระดบั อน่ื ๆ ด้วย

6.3.2.2 การทำวจิ ัยและพัฒนา (Research and Development : R&D) อาจจะมีการ
เพิ่มเตมิ การนำเสนอในรูปแบบอื่น อาทิ เช่น Artificial Intelligence (AI) Augmented Reality (AR)
Virtual Reality (VR) หรือ Metaverse เป็นต้น เพื่อให้สอดคล้องกับความก้าวหน้าของเทคโนโลยีใน
ยคุ ปัจจบุ นั

6.3.2.3 ควรมีการศึกษาการวิจัยและพัฒนา (Research and Development : R&D)
เกยี่ วกับทักษะการปรับตวั ข้ามคณะและสาขาวชิ า ซ่ึงจะสอดคล้องกับการเปล่ยี นแปลงท่ีเกิดข้ึนทั่วทุก
ภาคสว่ น

6.3.2.4 ควรมีการทำวิจัยเชิงนโยบายเพื่อนำผลวิจัยมาใช้พัฒนามหาวิทยาลัย ให้
สอดคลอ้ งกับการวิจัยและพัฒนา (Research and Development : R&D) เกยี่ วกับการพัฒนาทักษะ
การปรับตัว เพ่อื ใหเ้ กดิ การพฒั นาไปในทศิ ทางเดียวกนั ท้ังผบู้ ริหาร บุคลากร อาจารย์และนกั ศกึ ษา

บรรณานุกรม

1. ภาษาไทย

กฎกระทรวงวา่ ด้วยการแบ่งระดบั และประเภทของการศึกษาข้ันพืน้ ฐาน พ.ศ. 2546. (2546).
สำนักพมิ พค์ ณะรฐั มนตรแี ละราชกิจจานเุ บกษา. เล่ม 120 ตอนที่ 36ก.

กมล รอดคล้าย. (2560). แผนการศกึ ษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. สบื ค้นเมอื่ 13 พฤษภาคม 2565,
จาก https://bit.ly/2YIO7EY.

กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). กจิ กรรมคาบแนะแนวเล่มที่ 2. (พิมพ์คร้ังที่ 2). กรุงเทพฯ :
โรงพมิ พ์การศาสนา.

กระทรวงศกึ ษาธิการ. (2564). นโยบายการจดั การศกึ ษาของกระทรวงศึกษาธกิ าร ปีงบประมาณ พ.ศ.
2564-2565. กลมุ่ สารนิเทศ สำนกั งานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.

กระทรวงศกึ ษาธกิ าร. (n.d.). ชีวติ วถิ ีใหม่ ประเทศไทยหลงั โควดิ “พรอ้ มรบั ปรบั ตวั เปลย่ี นแปลง”.
สืบคน้ เมอื่ 17 ธันวาคม 2563, จาก https://bit.ly/3mSniq1

กอบสขุ คงมนสั . (2018). เคร่ืองมือดจิ ทิ ลั เพ่อื การเรียนรู้: วิถแี หง่ การศึกษายุคดิจิทลั . Journal of
Education Naresuan University. 20(4) : 280

จกั รกฤษณ์ โพดาพล. (2563). การจัดการเรียนรู้ออนไลน์ : วถี ที เี่ ป็นไปทางการศกึ ษา. บทความ
มหาวทิ ยาลยั มหามกฏุ ราชวทิ ยาลัย. สบื คน้ เมอ่ื 8 พฤษภาคม 2565, จาก
https://bit.ly/3sjZ2Tp

ทศิ นา แขมมณี. (2555). บัณฑิตศกึ ษาในศตวรรษท่ี 21 : การปรับหลักสูตรและการสอน. เอกสารอัด
สำเนา.

นภาพร สิงหทตั . (ม.ป.ป.). คุณลักษณะที่ดีของเคร่ืองมือในการวิจัย. ค้นเมอ่ื 22 ตลุ าคม 2564, จาก
https://bit.ly/3E35x09

ประพิณศิริ อินทธริ า (n.d). ทักษะในศตวรรษที 21. สบื ค้นเมอื่ 13 พฤษภาคม 2564 จาก
https://bit.ly/3NfsSjF

เปร่ือง กุมุท. (2519). เทคนิคการเขยี นบทเรยี นโปรแกรม. กรุงเทพฯ : คณะศกึ ษาศาสตร์
มหาวิทยาลัยศรนี ครินทรวิโรฒ.

พระครูปลดั ธรรมจริยวัฒน.์ (2558). ภาวะผ้นู ำ หลักธรรมและกระบวนการเรยี นรเู้ พอื่ สรา้ งสรรค.์
ขอนแก่น : โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา.

พระธรรมโกศาจารย์ (ปญั ญานนั ทภิกข)ุ . (ม.ป.ป.). พจนานุกรมธรรมปัญญานันทะ. กรงุ เทพฯ :
ธรรมสภา.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต). (2559). พจนานุกรมพุทธศาสตรฉบับประมวลธรรม. (พิมพ์
ครั้งท่ี 34). (ม.ป.ท.).

พระพรหมบณั ฑิต (ประยรู ธมฺมจติ โฺ ต). (2561). สมั มปั ปธาน 4 หลกั ธรรมนำชีวิต. สืบค้นเม่อื 10
พฤศจิกายน 2562, จาก https://40plus.posttoday.com/dhamma/17234/

พระราชบญั ญตั ิ ระเบยี บบริหาราชการกระทรวงศึกษาธกิ าร พ.ศ. 2546. (2546). สำนกั พมิ พ์
คณะรฐั มนตรแี ละราชกจิ จานุเบกษา. เลม่ 120 ตอนท่ี 62ก.

252

พระสมหุ ์นริศ นรนิ โท. (2019). การพัฒนาครเู พ่ือคุณภาพของผเู้ รียนในศตวรรษที่ 21. Journal of
Graduate MCU Khon Kaen Campus. 6 (3) : 462

พทุ ธทาสภิกขุ. (2537). ฆราวาสธรรม. (พิมพค์ ร้ังท่ี 4). กรุงเทพฯ : สำนกั พิมพส์ ุขใจ.
เพ็ญประภา ลกู อนิ ทร์ อรนุช ศรสี ะอาด และ ปรชี า จนั ทว.ี (2559). การพฒั นาการปรบั ตวั ทางสังคม

ของนักเรียนชั้นมธั ยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้กจิ กรรมเสรมิ สร้างการปรบั ตวั ทางสังคม :
ประยกุ ต์ใชแ้ นวคิดการประเมินตนเอง. วารสารการวดั ผลการศกึ ษา มหาวทิ ยาลยั
มหาสารคาม, 22 (1):225-236
ภคพร เลกิ นอก และ เอกราช โฆษติ พิมานเวช. (2564). บทบาทผบู้ รหิ ารสถานศึกษาที่มีผลต่อการ
พฒั นาหลักสูตรและการจัดการเรียนร้.ู วารสารบณั ฑิตศกึ ษา มหาวทิ ยาลัยมหาจฬุ าลงกรณ
ราชวทิ ยาลัย วิทยาเขตขอนแกน่ . 8(4)
มนตรี แยม้ กสิกร (2551). เกณฑป์ ระสิทธภิ าพในงานวิจยั และพัฒนาสอื่ การสอน : ความแตกตา่ ง
90/90 Standard และ E1/E2 (How to use efficiency criterion in media research
and development : The Difference between 90/90 Standard and E1/E2 ).
วารสารศกึ ษาศาสตร์ มหาวทิ ยาลัยบรู พา. 19(1), 1-16
เมธวนิ ปติ พิ รววิ ฒั น์. (n.d.). 21st-Century Skill : ทกั ษะแห่งศตวรรษท่ี 21. สบื ค้นเมื่อ 13
พฤษภาคม 2564, จาก https://bit.ly/39ZSOBJ
โยธนิ แสวงดี. (ม.ป.ป.). แผนงานวจิ ยั และชุดโครงการวจิ ัย: การเขียนโครงการวจิ ยั แบบบูรณาการเพอ่ื
ขอทุนสำหรบั การวิจัยเชงิ ปฏบิ ัติการในพน้ื ท่ี (Area Based Research). สบื ค้นเมือ่ 13
พฤษภาคม 2564, จาก https://rdo.psu.ac.th/th/images/D3/PR-
news/2563/Research/YOTIN-AreaBasedResearch.ppt
วันวภิ า เทียนขาว, สทิ ธพิ ร นยิ มศรสี มศักดิ์ และ สมโภชน์ อเนกสุข. (2555). การปรบั ตัวของ
สถานศึกษาระดับประถมศึกษาสงั กัดองคก์ ารปกครองสว่ นท้องถ่ินในภาคตะวนั ออกสู่
คณุ ภาพการบรหิ ารสถานศกึ ษาท่ีจดั การเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษ. วารสารการ
บรหิ ารการศึกษา มหาวทิ ยาลัยบรู พา. 6(1): 232-246
วาณชิ ย์ ศุภวงศ์ วฒุ ชิ ยั เนยี มเทศ ณฐั วิทย์ พจนตันติ. (2559). ทกั ษะแห่งศตวรรษที่ 21 : ความท้าทาย
ในการพัฒนานักศึกษา. วารสารเครือข่ายวทิ ยาลยั พยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้.
3(2) : 214.
วิกพิ ีเดีย สารานกุ รมเสร.ี (2563). ประถมศึกษา. สบื คน้ เม่ือ 20 ธันวาคม 2563, จาก
https://bit.ly/2KWjzKM
วิจารณ์ พานชิ . (2555). วถิ สี ร้างการเรยี นรู้เพ่ือศษิ ย์ในศตวรรษ ที่ 21. กรงุ เทพฯ : มลู นธิ ิสดศรี-สฤษด์ิ
วงศ.์
วิทยา วาโย อภริ ดี เจรญิ นกุ ูล ฉัตรสดุ า กานกายนั ต์ และจรรยา คนใหญ.่ (2563). การเรียนการสอน
แบบออนไลนภ์ ายใต้สถานการณแ์ พรร่ ะบาดของไวรสั COVID-19 : แนวคิดและการ
ประยกุ ต์ใชจ้ ดั การเรยี นการสอน. Regional Health Promotion Center. 14(34) : 294.
วโิ รจน์ สารรตั นะ (2556). กระบวนทศั นใ์ หมท่ างการศึกษา: กรณีทศั นะต่อการศึกษาศตวรรษท่ี 21.
กรุงเทพฯ : ทพิ ยว์ ิสทุ ธิ์

253

วโิ รจน์ สารรัตนะ. (2561). การวจิ ยั ทางการบรหิ ารการศึกษา: แนวคิด แนวปฏบิ ัติ และกรณศี ึกษา.
(e-Book). (พิมพ์ครง้ั ที่ 4). กรงุ เทพฯ : ทิพยวิสทุ ธิ์.

ศิริชัย กาญจนวาสี, ทววี ัฒน์ ปิตยานนท์ และดิเรก ศรสี ุโข (2551). การเลอื กใชส้ ถิติทเี่ หมาะสม
สำหรับการวจิ ยั . (พมิ พ์ครัง้ ที่ 5). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลยั .

ศริ วิ รรณ วังคาํ ดน. (2559). ความหมายของการประถมศึกษา. สบื ค้นเมอ่ื 15 ธนั วาคม 2563,จาก
https://bit.ly/3hkdzYm

ศูนย์กลางข้อมลู ด้านการศึกษาสำหรบั ประชาชน กระทรวงศกึ ษาธิการ. (2562). สถติ ทิ างการศึกษา.
สืบคน้ เมอ่ื 18 ธันวาคม 2563, จาก https://edc.moe.go.th/

สมเด็จพระพทุ ธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยตุ โต). (2524). ประโยชน์ 3 ประการ. สบื ค้นเมือ่ 10 พฤศจิกายน
2563, จาก https://bit.ly/370buex

สำนกั งานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2561). นโยบาย สำนักงานคณะกรรมการการศกึ ษา
ขน้ั พื้นฐาน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2561. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาข้ันพน้ื ฐาน.

สำนักงานคณะกรรมการการศกึ ษาขน้ั พน้ื ฐาน. (2563). นโยบายสำนกั งานคณะกรรมการการศึกษาขั้น
พื้นฐาน ปงี บประมาณ พ.ศ. 2564-2565. กรงุ เทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษา

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขน้ั พื้นฐาน. (2563). ประวัติความเป็นมาและโครงสรา้ งองค์กร.
สบื ค้นเม่ือ 19 ธนั วาคม 2563, จาก https://bit.ly/2WNXGQz

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขนึ้ พนื้ ฐาน. (n.d). แนวทางการจดั การเรยี นรู้ในศตวรรษท่ี 21.
สบื คน้ เมื่อ 13 พฤษภาคม 2564, จาก https://bit.ly/3FF2Sff

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแหง่ ชาติ สำนกั นายกรฐั มนตร.ี (2542.). พระราชบัญญัตกิ ารศึกษา
แหง่ ชาติ พ.ศ. 2542 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบบั ที่ 2) พ.ศ.2545. กรงุ เทพฯ : สำนักงาน
คณะกรรมการการศกึ ษาแห่งชาติ

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ สำนกั นายกรัฐมนตรี. (2542.). พระราชบัญญัติการศึกษา
แหง่ ชาติ พ.ศ. 2542 และแก้ไขเพ่ิมเตมิ (ฉบบั ท่ี 2) พ.ศ.2545. กรุงเทพฯ : บรษิ ัทสยาม
สปอรต์ ซนิ ดิเคต จำกัด.

สำนกั งานคณะกรรมการวิจัยแหง่ ชาติ. (2563). โครงการวจิ ยั /ชุดโครงการวิจัย.
https://nriis.go.th/FileUpload/AttatchFile/News/256110291020186004256.docx

สำนกั งานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพฯ :
บริษทั พริกหวานกราฟฟคิ .

สำนกั งานเลขาธกิ ารสภาการศึกษา. (2561). สภาวะการศึกษาไทยปี 2559/2560 แนวทางการปฏริ ูป
การศึกษาไทยเพื่อกา้ วสูย่ คุ Thailand 4.0. กรุงเทพฯ : บริษัท พริกหวาน จำกัด.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศกึ ษา. (2562). มาตรฐานการศกึ ษาของชาติ พ.ศ. 2561. กรงุ เทพฯ :
กระทรวงศึกษาธิการ.

สกุ ญั ญา รอดระกำ. (2561). บทบาทผ้บู รหิ ารสถานศึกษาในยคุ ไทยแลนด์ 4.0. รายงานการประชมุ
การประชุมวิชาการเสนอผลงานวจิ ยั ระดบั ชาติ GRADUATE SCHOOL CONFERENCE
2018. สบื ค้นเมื่อ 13 พฤษภาคม 2565, จาก https://bit.ly/3KXAG8e

254

สุชาติ ประสิทธ์ิรฐั สนิ ธ์ุ. (2546). ระเบยี บวธิ กี ารวิจยั ทางสังคมศาสตร.์ (พิมพ์ครง้ั ท่ี 12). กรงุ เทพฯ :
บริษัทเฟ่ืองฟ้า พรน้ิ ติ้ง.

อรรณพ จนี ะวฒั น.์ (2559). การพัฒนาตนของผ้ปู ระกอบวชิ าชพี ครู. วารสารฉบบั ภาษาไทย สาขา
มนษุ ยศาสตร์สังคมศาสตร์และศลิ ปะ มหาวทิ ยาลัยสโุ ขทยั ธรรมาธิราช.9(2) : 1383

2. ภาษาองั กฤษ

Agrawal, AJ. (2016). Success is the biggest benefit of being adaptable. Retrieved June
17, 2019, from https://bit.ly/28PIzxV

Aiken, L. (1985). Psychological testing and assessment (5 th ed.). Baston: Allyn and

Bacon.
Alessandra, T. (2016). The first half of the high-adaptability formula: flexibility.

Retrieved June 30, 2019, from https://bit.ly/2YERPzq
Amadi, E.C. (2008). Introduction to educational administration; A module. Harey

Publications.
Baker, J. (2014). Seven tips to build your leadership adaptability. Retrieved August 7,

2019, from https://bit.ly/2MN1FsF
Bamte. (n.d.). Educational administration - Meaning, authoritarian and democratic

educational management. Retrieved from
http://bawmte.blogspot.com/2018/05/educational-administration-
meaning.html
Berger, J.G. & Johnston, K. (2015). 4 Steps to Becoming More Adaptable To Change.
Retrieved August 27, 2020, from https://bit.ly/3hzfIyL
Boss, J. (2015). 14 Signs of an adaptable person. Retrieved June 27, 2019, from
https://bit.ly/2Ovwjto
Caldwell, B.J., & Spinks, J.M. (1990). The self-managing school. London: Taylor &
Francis Ltd.
Ccl.Com (n.d.). How to adapt to change: 5 Tips. Retrieved August 7, 2019, from
https://bit.ly/2GRMqKh
Chaichanawirote U. & Vantum, C. (2017). Evaluation of Content Validity for Research
Instrument. Journal of Nursing and Health Sciences. 11 (2), 105-111.
Cjones Skills Weekly (n.d.) Flexibility and adaptability. Retrieved June 14, 2019, from
https://bit.ly/2XXDRZl.
Cleverism. (n.d.). Adaptability skills. Retrieved June 14, 2019, from
https://bit.ly/2XFc9Bc.
Collie, R.J, & Martin, A.J. (2016). Adaptability: An important capacity for effective
teachers. Retrieved June 14, 2019, from https://bit.ly/2xLKi31.

255

David, V. (2019). How to Demonstrate Adaptability in the Workplace. Retrieved
August 27, 2020, from https://bit.ly/2YHeIRP

Dhammei, T. (2022, January 15). Educational administration: Concepts of educational
administration and principles of educational administration. Retrieved from
https://onlinenotebank.wordpress.com/2022/01/15/concepts-and-principles-
of-educational-administration/

Driscoll, M. (2022, September 7). Education in the 21st century.
https://thinkstrategicforschools.com/education-21st-century/

Edge, K. (2000). School-based management. Paper for the Education Reform &
Management Thematic Group, HDNED, World Bank [August 2000].
http://web.worldbank.org/archive/website00238I/WEB/PDF/SBMQ_AF.PDF

ERM Academy. (n.d.). Why adaptability is important in helping you manage change.
Retrieved June 17, 2019, from https://bit.ly/2LW0g2Q

ESoft Skills Team. (n.d.). Adaptability & flexibility. Retrieved June 14, 2019, from
https://bit.ly/2Lkwo0e.

Ferguson, R. (2011). What are the benefits of adaptability?. Retrieved June 17, 2019,
from https://bit.ly/2Z7pZZI

Guskey, T.R. (2000). Professional development in education: in search of the optimal
mix. In T.R. Guskey, and M. Huberman (eds.), Professional development in
education: New paradigms and practices. New York: Teachers College Press.

Gusky, T.R. (2000). Evaluating professional development. CA: Corwin Press, Inc.
Gusky, T.R. (2000). Evaluating professional development. CA: Corwin Press, Inc.
Half, R. (n.d.). Adaptability skills. Retrieved June 14, 2019, from

https://bit.ly/2xOnKym
Half, R. (n.d.). How to develop your adaptability skills. Retrieved August 7, 2019, from

https://bit.ly/2xOnKym
Heron, J. (1996). Co-operative inquiry: Research into the human condition. CA: SAGE

Publication Inc.
Hopkins, K.D. & Stanley, J. C. (1983). Educstional and psychological measurement and

evaluation (6th ed.). Englewool Cliffs, N.J.: Prentice-Hall.

Hoy, W.K. & Miskel, C.G. (2001). Educational administration: Theory, research, and
practice. 6th edition. NY: McGraw-Hill.

Hoy, W.K. & Miskel, C.G. (2001). Educational administration: Theory, research, and
practice. 6th edition. NY: McGraw-Hill.

indeed. (n.d.). How to improve adaptability skills. Retrieved August 28, 2020, from
https://indeedhi.re/2QwCFGU

256

Jeansuti, R. (2021). Professional development of school administrators. วารสารครุ
ศาสตร์ปรทิ รรศน์ คณะครศุ าสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณร์ าชวทิ ยาลยั . 8(2), 375-
389.

J-Pierre, J. (2019). How to Be Adaptable in 11 Simple Steps. Retrieved August 26,
2020, from https://bit.ly/3huq9Uk

Kane, N. (2019). How adaptable are you? Take this adaptability quotient (AQ) Test
and find out. Retrieved November 18, 2020, from https://bit.ly/2NfMo2Q

Kashyap, D. (n.d.). Educational administration: Meaning, nature and other details.
Retrieved from https://www.yourarticlelibrary.com/educational-
management/educational-administration/educational-administration-
meaning-nature-and-other-details/63730

Keating, K. (2018). 3 Traits of adaptable leaders. Retrieved June 30, 2019, from
https://bit.ly/2V26mn8

Life Zemplified. (n.d.). Adaptability increases well-being. Retrieved August 7, 2019,
from https://bit.ly/2xSXRNO

Martin, A.J. (2012). Adaptability and learning. Retrieved June 14, 2019, from
https://bit.ly/2JylDWb.

Morgan, H. (2011). Test your adaptability. Retrieved June 20, 2020, from
https://www.researchgate.net/publication/256075130_Individual_Differences
_in_Multitasking_Ability_and_Adaptability

Naiyatip Teerapuk ( n.d.). Research tools. Retrieved October 25, 2021 from

http://naiyatip-research.blogspot.com/p/research-tools.html

Newell, M. (2016). 4 Steps to Develop Your AQ and Make Change Happen. Retrieved
August 27, 2020, from https://bit.ly/3htl7ax

Oliver, T., & Lievens, F. (2014). Conceptualizing and assessing interpersonal
adaptability: towards a functional framework. Retrieved June 14, 2019,
from https://bit.ly/32pS8gF.

Oscar, T. (2014). How to demonstrate adaptability on the job. Retrieved June 30,
2019, from https://bit.ly/2ZmSFy9

Oyster Connect. (n.d.). How to develop adaptability - One of the top 10 21st century
skills for graduates. Retrieved August 7, 2019, from
https://www.oysterconnect.com/blogs/how-to-develop-adaptability-one-of-
the-top-10-21st-century-skills-for-graduates/

Plook Education. (2017). “thamkhwa m ru c hak “Thai MOOC” ka nsưksa bæ p pœ t
phư a ka n ri anrutalo t chi wit”[Getting to know "Thai MOOC", open
education for lifelong learning] Retrieved August 10, 2019, from

257

https://www.trueplookpanya.com/blog/content//-newedu-new-newpr-
itcom-it
Polit, D. F. & Beck, C. T. (2012). Nursing research: Generating and assessing evidence
for nursing practice. Philadelphia, PA: Wolters Kluwer Health / Lippincott
Williams& Wilkins.
Prince, E. S. (2019). Personal development: how to increase your adaptability.
Retrieved August 7, 2019, from https://bit.ly/2PjeYQB
Prince, E.S. (2012). Adaptability-a key skill we must develop in ourselves and in
others. Retrieved June 14, 2019, from https://bit.ly/2XKp5pu.
Quick Base. (2012). Tips for developing an adaptability mindset. Retrieved August 7,
2019, from https://bit.ly/2MO2ZM3
Reddy, C. (n.d.). Define adaptability. Retrieved June 14, 2019, from
https://bit.ly/2ytwIB3
Reddy, C. (n.d.). Tips to develop adaptability and flexibility skills. Retrieved August 7,
2019, from https://bit.ly/2ytwIB3
Reid, J. (2018). How adaptability improves teachers' well-being. Retrieved June 17,
2019, from https://bit.ly/2MdERCj
Robert Half. (n.d.). Adaptability skills and why you need it. Retrieved June 17, 2019,
from https://bit.ly/2xOnKym
Rovinelli, R.J., & Hambleton, R.K. (1977). On the use of content specialists in the
assessment of criterion-referenced test item validity. Dutch Journal of
Educational Research, 2, 49-60.
Salamat, L. Ahmad, G. Bakht, M. I. & Saifi, I. L. (2018). Effects Of E–Learning On
Students’ Academic Learning At University Level. Retrieved May 8, 2022,
from https://bit.ly/38i4Sh0
Seyfarth, J.T. (1999). The Principal: New leadership for new challenges. NJ: Prentice
Hall.
Seyfarth, J.T. (1999). The Principal: New leadership for new challenges. NJ: Prentice
Hall.
Smith, A., Sorokac, K. & Widmaier, C. (n.d.). Flexibility and adaptability. Retrieved
June 14, 2019, from https://bit.ly/2JK3400.
Speck, M. (1999). The principalship: Building a learning community. NJ: Prentice Hall.
Speck, M. (1999). The principalship: Building a learning community. NJ: Prentice Hall.
Target Jobs. (n.d.). Education administrator: job description. Retrieved from

https://targetjobs.co.uk/careers-advice/job-descriptions/education-

administrator-job-description

258

The Conversation. (2018). Being able to adapt in the classroom improves teachers’
well-being. Retrieved June 17, 2019, from https://bit.ly/2rqDl3G

The Teachers Council of Thailand. (n.d.). Educational professional standards.
Retrieved from https://maekongwa.thai.ac/client-
upload/maekongwa/download/.pdf

Thesis Thailand. (2020, November 19). ความหมายของ t – test Dependent และ t – test
Independent. Retrieved October 22, 2021 from https://bit.ly/2Zec0Xa

Thurlings, M., Evers, A. T., & Vermeulen, M. (2015). Toward a model of explaining
teachers’innovative behavior: A literature review. Review of Educational
Research, 85(3), 430-471. http://dx.doi.org/10.3102/0034654314557949

Turner, R. & Carlson, L.A. (2003). Indexes of item-objective congruence for
multidimensional items. International Journal of Testing 3(2):163-171.
DOI:10.1207/S15327574IJT0302_5

Ubben, G.C., Hughes, L.W., & Norris, C.J. (2001). The principal: Creative leadership for
effective schools. 4th edition. Boston: Allyn and Bacon.

UCLA: Statistical Consulting Group. (2016, August 22). What Does Cronbach’s Alpha
Mean?. Retrieved June 30, 2021 from
https://stats.idre.ucla.edu/spss/faq/what-does-cronbachs-alpha-mean/

University of Alberta. (n.d.). Competency assessment for demonstrating adaptability
and flexibility. Retrieved June 20, 2020, from https://bit.ly/2ZZyrxe

University of Bradford. (n.d.). What makes a person adaptable/flexible?. Retrieved
June 30, 2019, from https://bit.ly/2YCTrG2

University of Bridgeport. (2022, May 19). What does an education administrator do?
Retrieved from https://www.bridgeport.edu/news/what-does-an-education-
administrator-do/

Vanderbloemen. (2013). Here are some tips to help you grow in your adaptability.
Retrieved August 7, 2019, from https://bit.ly/2Kyf19J

Whitehall, L. (2018). 7 Signs you’re an adaptable person. Retrieved June 30, 2019,
from https://bit.ly/2Kha5WD

Williams, R. S. (2017). 6 ways adaptability can help you succeed. Retrieved August 7,
2019, from https://bit.ly/2ZHKywc

Wisdom Max Center Company Limited (2015). การเรยี นรแู้ บบผูใ้ หญ่ (Adult learning) คือ
อะไร มีหลกั การอย่างไร. Retrieved June 19, 2021 from
https://www.wisdommaxcenter.com/detail.php?WP=oGA3ZRjkoH9axUF5nrO
4Ljo7o3Qo7o3Q

259

Workable. (n.d.). Adaptability interview questions. Retrieved June 20, 2020, from
https://bit.ly/3fUiv4J

Zorzie M. (2012). Individual adaptability: Testing a model of its development and
outcomes. Master’s thesis, Doctor of philosophy Psychology, Graduate
School, Michigan State University.

ภาคผนวก

261

ภาคผนวก ก
รายชือ่ และสถานภาพของอาจารยท์ ่ีเปน็ กลมุ่ เป้าหมายในการตรวจคู่มือ

ครงั้ ที่ 1

262

รายชื่อและสถานภาพของอาจารยท์ เ่ี ปน็ กลุม่ เป้าหมายในการตรวจค่มู ือครง้ั ที่ 1

ที่ ชอ่ื -ช่ือสกลุ มหาวิทยาลัย สาขาวชิ าท่สี อน
1 พระมหาจริ ายทุ ธ ปโยโค, ผศ. การสอนภาษาไทย
2 พระมหานพรัตน์ ขนฺติธมฺโม มหามกุฏราชวทิ ยาลัย การสอนภาษาไทย
3 พระชยั ชนะ อิทธิเตโช วทิ ยาลัยศาสนศาสตรย์ โสธร การสอนภาษาไทย
4 นางวภิ าษณ์ เทศน์ธรรม การสอนภาษาไทย
5 นายพีรพงษ์ แสนส่ิง มหามกุฏราชวทิ ยาลัย การสอนภาษาไทย
6 พระครูวาปีธรรมวโิ รจน์ วทิ ยาลัยศาสนศาสตร์ยโสธร การปกครอง
7 นายกัณต์ ศรีหลา้ การปกครอง
8 นายณฐั พล จินดารัมย์ มหามกุฏราชวิทยาลยั การปกครอง
9 นายวรเชษฐ์ โทอ้นื วิทยาลยั ศาสนศาสตร์ยโสธร การปกครอง
10 ดร.ธมกร ทยาประศาสน์ การปกครอง
มหามกฏุ ราชวิทยาลยั
วทิ ยาลัยศาสนศาสตรย์ โสธร

มหามกุฏราชวทิ ยาลัย
วทิ ยาลยั ศาสนศาสตร์ยโสธร

มหามกุฏราชวทิ ยาลัย
วิทยาลยั ศาสนศาสตรย์ โสธร

มหามกุฏราชวทิ ยาลยั
วทิ ยาลยั ศาสนศาสตร์ยโสธร

มหามกุฏราชวิทยาลัย
วทิ ยาลัยศาสนศาสตรย์ โสธร

มหามกุฏราชวิทยาลยั
วทิ ยาลัยศาสนศาสตร์ยโสธร

มหามกุฏราชวทิ ยาลยั
วทิ ยาลยั ศาสนศาสตรย์ โสธร

263

ภาคผนวก ข
หนังสือของบณั ฑิตวิทยาลัยเพ่อื ขอความร่วมมอื จากอาจารย์ท่เี ป็น

กลุม่ เปา้ หมาย ในการตรวจคูม่ อื ครงั้ ท่ี 1

264

265

ภาคผนวก ค
รายชือ่ และสถานภาพของอาจารยท์ ่ีเปน็ กลมุ่ เป้าหมายในการตรวจคู่มือ

ครงั้ ที่ 2

266

รายชอื่ และสถานภาพของอาจารยท์ ี่เป็นกล่มุ เป้าหมายในการตรวจคมู่ ือ คร้ังที่ 2

ที่ ช่ือ-ชือ่ สกลุ มหาวทิ ยาลัย สาขาวิชาทสี่ อน
1 นายอาทติ ย์ แวงโส การสอนภาษาไทย
2 นางสาวพรพมิ ล เพง็ ประภา มหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขต การสอนภาษาไทย
3 นางสาวประณิตา จันทรประพันธ์ ศรีล้านช้าง การสอนภาษาไทย
4 นางสาวกติ ตยิ า คุณารกั ษ์ การสอนภาษาไทย
5 นายมาโนช นันทพรม มหามกุฏราชวิทยาลยั วทิ ยาเขต การสอนภาษาไทย
6 พระมหาวัฒนา สุรจติ ฺโต, ดร. ศรลี ้านช้าง การสอนสงั คมศกึ ษา
7 พระมหาจักรพล สริ ธิ โร, ดร. การบริหารการศึกษา
8 ผศ.ดร.ชษิ ณพงศ์ ศรจันทร์ มหามกุฏราชวิทยาลยั วทิ ยาเขต การบริหารการศกึ ษา
9 ดร.จกั รกฤษณ์ โพดาพล ศรีลา้ นช้าง การบรหิ ารการศึกษา
10 นายทองคำ เกษจันทร์ การสอนภาษาไทย
11 นายประดิษฐ์ ศรีโนนยาง มหามกุฏราชวทิ ยาลยั วทิ ยาเขต การสอนภาษาองั กฤษ
12 นายยชรุ เวท หงสส์ ิริ ศรลี ้านชา้ ง การสอนภาษาอังกฤษ
13 นายกิตติพฒั น์ ทาวงศ์ษา การสอนภาษาองั กฤษ
14 นายบรรจบ โชตชิ ยั มหามกฏุ ราชวิทยาลัย วิทยาเขต การสอนภาษาอังกฤษ
15 นายพลภัทร อภยั โส ศรีล้านชา้ ง การสอนภาษาอังกฤษ

มหามกุฏราชวทิ ยาลยั วิทยาเขต
ศรีลา้ นชา้ ง

มหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขต
ศรีลา้ นชา้ ง

มหามกฏุ ราชวทิ ยาลยั วิทยาเขต
ศรีลา้ นชา้ ง

มมร. วทิ ยาลัยศาสนศาสตรเ์ ฉลมิ
พระเกียรตกิ าฬสินธุ์

มมร. วิทยาลยั ศาสนศาสตรเ์ ฉลมิ
พระเกียรติกาฬสินธ์ุ

มมร. วิทยาลัยศาสนศาสตรเ์ ฉลมิ
พระเกยี รติกาฬสนิ ธุ์

มมร. วิทยาลัยศาสนศาสตรเ์ ฉลมิ
พระเกียรตกิ าฬสินธุ์

มมร. วทิ ยาลยั ศาสนศาสตรเ์ ฉลมิ
พระเกยี รติกาฬสินธ์ุ

มมร. วิทยาลยั ศาสนศาสตรเ์ ฉลมิ
พระเกียรติกาฬสนิ ธุ์

มมร. วทิ ยาลยั ศาสนศาสตรเ์ ฉลมิ
พระเกยี รตกิ าฬสินธ์ุ

267

ภาคผนวก ง
หนังสอื ของบณั ฑิตวิทยาลยั เพอ่ื ขอความรว่ มมือจากอาจารยท์ เี่ ป็น

กลุม่ เปา้ หมาย ในการตรวจคมู่ อื ครั้งที่ 2

268

269

ภาคผนวก จ
รายชอ่ื และสถานภาพของผูท้ รงคณุ วุฒใิ นการตรวจสอบความสอดคล้องของ

ข้อคำถามกบั วตั ถุประสงค์การเรยี นรู้ ในแบบทดสอบผลการเรียนร้ขู อง
อาจารย์

270

รายชื่อและสถานภาพของผู้ทรงคุณวุฒใิ นการตรวจสอบความสอดคล้องของขอ้ คำถามกับ
วตั ถปุ ระสงค์การเรยี นรู้ ในแบบทดสอบผลการเรียนรขู้ องอาจารย์

ช่อื -สกุล คุณวฒุ ิ ตำแหน่ง-สถานทที่ ำงาน
ดร.นตั ยา หลา้ ทูนธรี กุล ค.บ. (ประถมศกึ ษา) มหาวิทยาลยั
ราชภฏั เลย ศกึ ษานิเทศก์ วิทยฐานะ
ดร.ยุทธกรณ์ กอ่ ศลิ ป์ ศษ.ม.(หลกั สตู รและการสอน) ศึกษานเิ ทศก์ชำนาญการพิเศษ
มหาวทิ ยาลัยขอนแก่น หวั หนา้ กลมุ่ งานบรู ณาการการ
ดร.พนิ ิจ อุไรรกั ษ์ ปร.ด.(หลกั สตู รและการสอน) นเิ ทศตดิ ตามและประเมนิ ผล
มหาวิทยาลัยขอนแก่น สำนักงานศึกษาธิการจังหวดั
ดร.ศิรนิ นั ทน์ ว่องโชติ ศษ.ม.(หลักสตู รและการสอน) ขอนแก่น
กลุ มหาวทิ ยาลัยขอนแก่น
ดร.เอกพล สุมานนั ทกุล ปร.ด.(หลกั สตู รและการสอน) ครวู ิทยฐานะ ครูชำนาญการ
มหาวทิ ยาลัยขอนแก่น กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศกึ ษา
ศาสนาและวฒั นธรรม
ค.ม.(การวัดและประเมนิ ผล โรงเรยี นร้อยเอด็ วทิ ยาลยั
การศึกษา) จังหวัดร้อยเอด็
จฬุ าลงกรณ์มหาวทิ ยาลยั
ปร.ด.(วจิ ยั การศกึ ษา) ครูวิทยฐานะ ครูชำนาญการ
มหาวทิ ยาลัยรามคำแหง พิเศษ
กลุ่มสาระการเรียนรูว้ ิทยาศาสตร์
ค.ม.(วิจยั และประเมนิ ผลการศกึ ษา) และเทคโนโลยี
มหาวิทยาลยั ราชภัฏอุบลราชธานี โรงเรียนลำปลายมาศ จังหวดั
กศ.ด.(หลักสตู รและการสอน) บรุ รี มั ย์
มหาวิทยาลยั บูรพา
ครวู ิทยฐานะ ครูชำนาญการ
ค.ม.(การวัดและประเมนิ ผล พเิ ศษ
การศกึ ษา) จุฬาลงกรณ์ กลมุ่ สาระการเรียนรคู้ ณิตศาสตร์
มหาวิทยาลยั โรงเรยี นบรุ ีรมั ย์พทิ ยาคม
ปร.ด.(การบริหารการศึกษา) จงั หวัดบรุ รี ัมย์
มหาวิทยาลยั บรู พา
อาจารยป์ ระจำหลักสตู ร ศษ.ด.
(การบรหิ ารการศกึ ษาและภาวะ
ผ้นู ำการเปลยี่ นแปลง)
มหาวทิ ยาลยั อสี เทิร์นเอเชีย

271

ภาคผนวก ฉ
หนงั สอื ของบัณฑติ วทิ ยาลัยเพ่ือขอความรว่ มมอื จากผ้ทู รงคุณวฒุ เิ พอ่ื
ตรวจสอบความสอดคล้องของข้อคำถามกบั วตั ถปุ ระสงคก์ ารเรยี นรู้ ใน

แบบทดสอบผลการเรยี นรูข้ องอาจารย์

272

273

ภาคผนวก ช
แบบตรวจสอบความสอดคลอ้ งของขอ้ สอบกับวตั ถปุ ระสงคก์ ารเรยี นรู้

ในแบบทดสอบผลการเรียนรู้ของอาจารย์
สำหรับผู้ทรงคณุ วุฒิ

274

แบบตรวจสอบความสอดคล้องของขอ้ สอบกับวัตถุประสงค์การเรยี นรู้
ในแบบทดสอบผลการเรียนรขู้ องอาจารย์
สำหรับผทู้ รงคุณวุฒิ

คำชแ้ี จง
ในการทำวิจัยเรื่อง “โปรแกรมออนไลน์เพื่อพัฒนาอาจารย์สู่การเสริมสร้างทักษะการ

ปรับตัวของนักศึกษา” ( Online Program to Develop Teachers to Enhance Students’
Adaptability Skills) โดยระเบยี บวธิ ีวิจยั และพฒั นา (Research and Development) ผู้วจิ ัยได้สรา้ ง
“แบบทดสอบผลการเรยี นรู้ของอาจารยเ์ กย่ี วกับการพัฒนาทกั ษะการปรับตวั ” ขึน้ โดยแบบทดสอบมี
ลกั ษณะเปน็ แบบปรนัย มี 4 ตวั เลอื ก มีจดุ มุง่ หมายเพ่ือใช้ทดสอบผลการเรียนรู้ของอาจารยท์ ี่เป็นกลุ่ม
ทดลองหลังการวจิ ัยว่ามีผลการเรียนรู้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน 90/90 หรือไม่ และมีผลการเรยี นรู้
หลังการพัฒนาสูงกว่าก่อนการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติหรือไม่ โดยข้อสอบในแบบทดสอบผล
การเรียนรู้ของอาจารย์ที่ใช้ในงานวิจัยนี้ มุ่งการวัด 6 วัตถุประสงค์การเรียนรู้ในเนื้อหาเกี่ยวกับ
1) นิยาม 2) ความสำคัญ 3) ลักษณะ 4) แนวการพัฒนา 5) ขั้นตอนการพัฒนา และ 6) การประเมิน
ทักษะการปรับตัว โดยแต่ละวัตถุประสงค์การเรียนรู้มีข้อสอบ 6 ข้อวัดทักษะการคิดขั้นต่ำกว่าไปหา
ทักษะการคิดขั้นสูงกว่า คือ ความจำ (Remembering) ความเข้าใจ (Understanding) การ
ประยุกต์ใช้ (Applying) การวิเคราะห์ (Analyzing) การประเมิน (Evaluating) และการสร้างสรรค์
(Creating) รวมขอ้ สอบท้ังฉบบั 36 ขอ้

ผู้วิจัยใคร่ขอความกรุณาท่านโปรดพิจารณาข้อสอบในแบบทดสอบข้างล่าง แล้วทำ
เครอ่ื งหมาย  ลงในช่อง +1 หรอื 0 หรือ -1 โดย

+1 หมายถึง ขอ้ ทดสอบมคี วามสอดคลอ้ งกบั วตั ถุประสงคก์ ารเรยี นร้ใู นเนื้อหาดา้ นน้นั ๆ
0 หมายถึง ไม่แน่ใจในความสอดคล้องของข้อทดสอบกับวัตถุประสงค์การเรียนรู้ในเนื้อหา

ดา้ นน้ัน ๆ
-1 หมายถงึ ขอ้ ทดสอบไม่มีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์การเรยี นรู้ในเนื้อหาดา้ นนน้ั ๆ
ขณะเดียวกัน ใคร่ขอความกรุณาท่านโปรดให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการใช้ภาษาในข้อ
ทดสอบท่ีเหน็ ว่าไม่เหมาะสม ว่าควรปรบั ปรุงแกไ้ ขเปน็ อยา่ งไร

ขอขอบคุณ
นายแมนมติ ร อาจหาญ
นกั ศกึ ษาปรญิ ญาเอกสาขาวชิ าการบริหารการศกึ ษา
มหาวิทยาลัยมหามกฏุ ราชวิทยาลัย วทิ ยาเขตอสี าน

วตั ถุประสงค์การ ขอ้ ทดสอบ
เรียนรู้

วัตถุประสงคก์ ารเรยี นรู้เกีย่ วกบั นิยามของทักษะการปรบั ตวั

ความจำ 1. ขอ้ ใดไม่ใชท่ กั ษะการปรับตวั

ก. ความสามารถในการเปลย่ี นแปลงตวั เองให้เขา้ กับสภาพแวดล้อม

ข. ความสามารถในการเปลย่ี นแปลงทีมให้ตรงกบั ความตอ้ งการของสถานการณ์

ค. ความสามารถในการเปลยี่ นแปลงองค์กรใหต้ รงกบั ความต้องการของสถานการณ์

ง. ความสามารถในการเปลยี่ นแปลงสภาพแวดลอ้ มใหเ้ ขา้ กบั ตัวเอง*

ความเข้าใจ 2.ขอ้ ใดอธิบายความหมายของทักษะการปรับตัว (Adaptability Skills) ครอบคลมุ มาก

ก. ความสามารถในการเปลย่ี นแปลง เพอื่ ใหเ้ หมาะสมกบั สถานการณท์ ่ีเปลี่ยนแปลง

ข. ทกั ษะการปรบั ตวั สามารถถกู ถา่ ยทอดและเรยี นรู้ได้ตามสถานการณต์ า่ ง ๆ

ค. หากไมม่ คี วามสามารถในการปรับตวั เราจะไมส่ ามารถทำงานในโลกน้ไี ด้

ง. ทกุ คนมคี วามสามารถขัน้ พื้นฐานที่สามารถปรับได้

การประยกุ ต์ 3. การกระทำในขอ้ ใดเปน็ การประยกุ ตใ์ ชท้ กั ษะการปรบั ตวั ได้ถูกต้อง

ก. ครกู ้อยหยดุ สอนทนั ทีท่ีผู้อำนวยการมอบหน้าทแ่ี ละงานใหม่โดยไมไ่ ดแ้ จ้งใหท้ ราบ

ข. ในขณะท่ีนักเรียนในหอ้ งทะเลาะกนั ครูจา๋ กส็ อนตามแผนการสอนเดมิ

ค. ครูแนนสอนเน้ือหาให้นักเรียนเขา้ ใจได้ดี แมไ้ มไ่ ดใ้ ช้สื่อมลั ติมีเดยี เน่อื งจากไฟดบั *

ง. ครูจ๋วิ ไมอ่ นญุ าตใหน้ กั เรยี นนำโทรศพั ทเ์ ขา้ ห้องเรียน โดยไมม่ ขี อ้ ยกเวน้

การวเิ คราะห์ 4. ขอ้ ใดเปน็ การเรียงลำดบั ขั้นตอนการปรบั ตัวไดถ้ ูกต้อง

1) การรับรูอ้ ารมณ์ของตนเองและผูอ้ ่ืน

2) ความสามารถในการปรบั ความคิด อารมณ์ และพฤตกิ รรมของตนเอง

3) การปรับเปลยี่ นตอ่ เง่ือนไขที่ท้าทายและสถานการณ์ใหม่

4) การทำใหเ้ กิดวิถที างบวกตอ่ ปรากฏการณ์เชิงบวก

ก. 1 – 2 – 3 – 4 *

ข. 2 – 4 – 1 – 3

ค. 3 – 1 – 2 – 4

ง. 4 – 1 – 2 – 3

ความเหน็ ของ 275
ผทู้ รงคุณวฒุ ิ
ข้อเสนอแนะเพื่อการปรบั ปรงุ แกไ้ ขภาษา
+1 0 -1

กทสี่ ุด
ง*

บล่วงหนา้
*


Click to View FlipBook Version