~ 291 ~ ในการรับผิดชอบกระจายทรัพยากรคน สิ่งของ และเงินไปตามส่วนต่างๆ ของ องค์การ และสุดท้ายคือบทบาทของผู้เจรจาต่อรอง (Negotiators) เพื่อท าหน้าที่ ถกเถียงและเจรจาต่อรองกับกลุ่มอื่นๆ ซึ่งอาจจะเป็นสหภาพแรงงานผู้ถือหุ้น ฯลฯ ในการเพิ่มผลประโยชน์ให้กับองค์การที่ตนเองท างานอยู่ รูปแบบการจัดองค์กรการปกครองคณะสงฆ์ในสมัยพุทธกาล ภายหลังจาก ที่พระพุทธองค์ทรงตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว และทรงมีความประสงค์ที่จะ ประกาศหลักธรรมที่ได้ตรัสรู้ให้แก่ชาวโลก ซึ่งภายหลังจากที่พระองค์ทรงตรัสรู้แล้ว ยังไม่ถือว่าพระพุทธศาสนาเป็นสถาบันหรือองค์กร เนื่องจากว่าขณะนั้นมีพระองค์ เพียงองค์เดียวจึงไม่สามารถที่จะกล่าวได้ว่าเป็นองค์กรหรือสถาบันได้ แต่หลังจากนั้น มาอีก 2 เดือน พระพุทธองค์ก็ทรงอุปสมบทให้แก่ อัญญาโกณฑัญญะ ซึ่งในขณะนี้มี พระรัตนตรัยครบสมบูรณ์ กล่าวคือ มีพระพุทธ คือพระองค์เอง พระธรรม คือ หลักธรรมที่พระองค์ทรงแสดงเทศนา และพระสงฆ์ ก็คือพระอัญญาโกณฑัญญะที่ พระองค์ทรงอุปสมบทให้ เมื่อมีพระรัตนตรัยครบสมบูรณ์ จึงถือว่าได้ว่า พระพุทธศาสนาในสมัยนั้นเป็นองค์กรหรือสถาบันอย่างสมบูรณ์ ในการอุปสมบทให้ พระอัญญาโกณฑัณญะ พระพุทธองค์ทรงอุปสมบทให้ด้วยพระองค์เอง เรียกว่า เอหิภิกขุอุปสัมปทา ซึ่งมีพระพุทธด ารัสว่า “เธอจงเป็น ภิกษุมาเถิด ธรรมอันเรา กล่าวดีแล้ว เธอจงประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อท าที่สุดแห่งทุกข์โดยชอบเถิด” เมื่อเรา พิจารณาจากค าให้การอุปสมบทที่พระพุทธองค์ทรงตรัส จะเห็นได้ว่ามีวัตถุประสงค์ ขององค์กรอยู่ในค าที่พระองค์ทรงตรัสนั้นด้วย เมื่อมีผู้สนใจศึกษามีความศรัทธา เลื่อมใสเป็นจ านวนมาก พระองค์ก็ทรงบริหารจัดการองค์กรด้วยการกระจายอ านาจ ให้มีผู้รับผิดชอบ โดยมอบให้สาวกหรือสมาชิกขององค์กรช่วยกันบริหารจัดการ กล่าวคือ มอบหมายให้สาวกรับผิดชอบดูแลสมาชิกขององค์กรตามแต่ละสายที่ตนเอง ได้ไปสั่งสอน โดยพระองค์จะทรงด ารงต าแหน่งเป็นผู้บริหารสูงสุด ท าหน้าที่ในการ บริหารองค์กรพระพุทธศาสนา ในการบริหารจัดการองค์กรพระพุทธศาสนาในสมัย นั้น พระองค์จะทรงพิจารณาจากความรู้ ความสามารถของสาวกหรือสมาชิกว่า แต่ ละคนมีความรู้ ความสามารถในด้านใดบ้าง แล้วจึงทรงมอบหมายต าแหน่งทางการ บริหารที่เหมาะสมให้ เช่น ทรงแต่งตั้งให้พระสารีบุตรเป็นอัครสาวกเบื้องขวา ท า หน้าที่เป็นรองประธานฝ่ายวิชาการ พระโมคคัลลานะเป็นอัครสาวกเบื้องซ้าย ท า หน้าที่เป็นรองประธานบริหาร และทรงแต่งตั้งพระอานนท์เป็นพุทธอุปัฏฐาก เพื่อท า
~ 292 ~ หน้าที่คอยดูแลรับใช้พระองค์เอง ซึ่งเปรียบเทียบได้กับต าแหน่งเลขานุการส่วนตัว ท าให้มีรูปแบบโครงสร้างองค์กรทางการปกครองคณะสงฆ์ในสมัยนั้น ดังนี้ ภาพที่ 10.1 รูปแบบการจัดองค์กรการปกครองคณะสงฆ์สมัยพุทธกาล เมื่อพระพุทธศาสนาได้แผ่ขยายไปอย่างกว้างขวางและมีผู้เลื่อมใสศรัทธา นับถือเป็นจ านวนมาก พระพุทธองค์ทรงแยกสมาชิกในองค์กรออกเป็นภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา หรือเรียกว่า พุทธบริษัท 4 โดยพระองค์ทรงมอบอ านาจในการ ตัดสินใจให้แก่คณะสงฆ์เป็นผู้พิจารณา ตัดสินในการบริหารจัดการหมู่คณะหรือทรง มอบความเป็นใหญ่ให้กับคณะสงฆ์นั่นเอง กล่าวได้ว่าการบริหารจัดการองค์กร พระพุทธศาสนาในสมัยพุทธกาล พระองค์ทรงบริหารจัดการองค์กร โดยยึดหลัก ธรรมาธิปไตย ซึ่งถือได้ว่าเป็นหลักการปกครองที่ดีที่สุด ทันสมัยที่สุด ในการบริหาร จัดการองค์กรในสมัยนั้น พระพุทธเจ้า ประธานบริหารองค์กร พุทธอุปัฏฐาก (พระอานนท์) เลขานุการส่วนตัว อัครสาวกเบื้องขวา (พระสารีบุตร) รองประธานฝ่ายวิชาการ อัครสาวกเบื้องซ้าย (พระโมคคัลลานะ) รองประธานฝ่ายบริหาร พุทธบริษัท 4 (พระภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา) สมาชิกขององค์กร
~ 293 ~ เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธ์ปรินิพพานแล้ว เกิดความไม่เรียบร้อยขึ้น ภายในองค์กร จึงได้มีการท าปฐมสังคายนาขึ้นที่เมืองราชคฤห์ โดยมีพระมหากัสสปะ เป็นประธาน การบริหารคณะสงฆ์ก็เรียบร้อยมาได้ระยะหนึ่ง ต่อมาก็เกิดถือลัทธิ ต่างกัน เกิดความไม่เรียบร้อยขึ้นอีก เป็นเช่นนี้ตลอดมา เมื่อพระพุทธศาสนาล่วงมาได้ประมาณ 200 ปี เศษ พระเจ้าอโศกมหาราช ได้ครอบครองอาณาจักรอินเดียอย่างกว้างขวาง พระองค์เลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ได้ยกพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจ ารัฐ จึงท าให้องค์กรพระพุทธศาสนาในสมัย นั้นเจริญรุ่งเรื่องเป็นอย่างมาก ท าให้มีพวกเดียรถีย์ปลอมตนเข้าบวชเป็นพระภิกษุใน พุทธศาสนาเพื่อแสวงประโยชน์ส่วนตนเป็นอันมาก เกิดความไม่เรียบร้อยขึ้นในสังฆ มณฑล พระเจ้าอโศกมหาราชจึงทรงอาราธนาพระโมคคัลลีบุตร เป็นประธาน สังคายนาพระธรรมวินัยที่เมืองปาตลีบุตร เมื่อ พ.ศ. 236 วางระเบียบพระธรรมวินัย ให้รวมลงเป็นอย่างเดียวกัน สังฆมณฑลจึงเกิดความเรียบร้อยสืบต่อมา เมื่อพระพุทธศาสนาได้เผยแผ่ออกไปยังประเทศต่างๆ การบริหารสังฆ มณฑลจึงต้องอนุโลมไปตามแบบแผนประเพณีของประเทศนั้นๆ ในบางส่วน เพื่อให้ พุทธจักรและอาณาจักรเป็นไปด้วยดีทั้งสองฝ่าย สรุปแล้วพระภิกษุสงฆ์มีกฎหมายที่ พึงปฏิบัติอยู่สามประเภทคือพระวินัย จารีตและกฎหมายแผ่นดิน 10.3.2 การบริหารกิจการคณะสงฆ์ในสมัยสุโขทัย พ่อขุนรามค าแหงมหาราชเสด็จขึ้นครองราชย์ใน พ.ศ. 1822 พระองค์ทรง สดับกิตติศัพท์ของคณะสงฆ์แบบลังกาวงศ์ก็ทรงศรัทธา จึงโปรดอาราธนาพระมหา เถรสังฆราชจากเมืองนครศรีธรรมราชมาตั้งส านักเผยแผ่พระศาสนา ณ วัดอรัญญิก ในกรุงสุโขทัยตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา พระพุทธศาสนาก็เจริญรุ่งเรืองในกรุงสุโขทัย จน เป็นองค์กรหนึ่งที่มีความส าคัญยิ่งและมีการบริหารจัดการองค์กรอย่างดีและเป็น ระบบระเบียบ พระพุทธศาสนาในสมัยกรุงสุโขทัยมีการจัดรูปแบบองค์กรการปกครอง ของคณะสงฆ์ออกเป็น 2 คณะใหญ่ คือ พระสงฆ์ฝ่ายหินยานซึ่งมีอยู่เดิมตั้งแต่รัชสมัย พ่อขุนศรีอินทราทิตย์คณะหนึ่ง เรียกว่า ฝ่ายซ้าย หรืออรัญวาสี ซึ่งอยู่ในฝ่าย วิปัสสนาธุระ ท าวิปัสสนากรรมฐานเป็นหลัก กับพระสงฆ์ฝ่ายหินยานแบบลังกาวงศ์ที่ จาริกมาจากเมืองนครศรีธรรมราชอีกคณะหนึ่ง เรียกว่าฝ่ายขวา หรือคามวาสี ซึ่งอยู่ ในฝ่ายคันถธุระ ฝ่ายกิจการการเล่าเรียน อบรมสั่งสอนและเทศนาให้ประชาชนมี ความเข้าใจในพุทธศาสนามากยิ่งขึ้นตามคัมภีร์พระไตรปิฎก ซึ่งเป็นพระสงฆ์คณะ
~ 294 ~ เดิมได้ยุบรวมเป็นคณะเดียวกันกับพระสงฆ์ลังกาวงศ์ในสมัยพ่อขุนรามค าแหง มหาราช การบริหารจัดการของแต่ละคณะนั้น พบว่าจะมีคณะที่ขึ้นตรงต่อตนเอง เป็นคณะย่อยๆ และคณะใหญ่ ทั้งสองคณะจะมีหัวหน้าคณะหรือสมเด็จพระสังฆราช ของตนเองท าหน้าที่ในการปกครอง ดูแลและบริหารคณะ ในการได้มาซึ่งหัวหน้าของ แต่ละคณะนั้นได้มาโดยการที่พระมหากษัตริย์ทรงเห็นชอบในการประกาศแต่งตั้ง โดยการพิจารณาจากความเลื่อมใสศรัทธา และเป็นที่เคารพของประชาชนเป็นหลัก นอกจากนั้นก็พิจารณาจากความอาวุโสของอายุพรรษา และความรู้ความสามารถ ด้วย การปกครองของแต่ละคณะก็จะเป็นไปในรูปแบบเดียวกัน กล่าวคือผู้ปกครอง หรือประมุขสูงสุดจะพิจารณาพระภิกษุในสายของตนที่มีความรู้ความสามารถมาท า หน้าที่ช่วยสนองนโยบายของตน เช่น แต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์ เจ้าคณะผู้ปกครอง ชั้นรองลงไปจนถึงระดับเจ้าอาวาส เพื่อให้ช่วยดูแลปกครองคณะสงฆ์ในสายบังคับ บัญชาของตนให้มีความเรียบร้อย เป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของพุทธศาสนิกชน สายการบังคับบัญชาคณะสงฆ์ในสมัยกรุงสุโขทัย เริ่มจากพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นผู้ปกครองสูงสุดและแต่งตั้งสมเด็จพระสังฆราชทั้งสองคณะ นอกจากนี้ พระมหากษัตริย์ยังทรงแต่งตั้งสมเด็จพระสังฆราชในหัวเมืองส าคัญๆ ที่เป็นราชธานี อีกด้วย สมเด็จพระสังฆราชทั้งสองคณะทรงแต่งตั้งผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาเป็นพระครู โดยแยกเป็นพระครูในเมืองหลวงและพระครูในหัวเมืองชั้นนอก และแต่งตั้งเจ้า อาวาส โดยแยกเป็นเจ้าอาวาสในเมืองหลวงและเจ้าอาวาสตามหัวเมืองชั้นนอก รูปแบบองค์กรการปกครองคณะสงฆ์ในสมัยกรุงสุโขทัย จะมีรูปแบบที่เป็นไปใน แนวทางเดียวกันกับการบริหารบ้านเมือง เนื่องจากว่าพระมหากษัตริย์พระองค์ทรง เป็นประมุขทั้งฝ่ายอาณาจักร และฝ่ายศาสนจักร การบริหารในฝ่ายขวา หรือคามวาสีนั้น โดยมี“พระสังฆราช” เป็นสังฆ นายกชั้นเอก ซึ่งเป็นราชทินนามที่กษัตริย์ทรงแต่งตั้งให้พระที่มีความรู้ความสามารถ เป็นที่เลื่อมใสศรัทธาและเป็นที่เคารพของประชาชน ขึ้นมาด ารงต าแหน่งและจ า พรรษาอยู่วัดมหาธาตุ ท าหน้าที่ในการปกครองดูแลและบริหารคณะสงฆ์ฝ่ายนี้ โดยมี พระครู อีก 3 องค์เป็นสังฆนายกชั้นรอง การบริหารในฝ่ายซ้าย หรืออรัญวาสีนั้น โดยมี“พระครูธรรมราชา” เป็น สังฆนายกชั้นเอก ซึ่งเป็นราชทินนามที่กษัตริย์ทรงแต่งตั้งให้พระที่มีความรู้ ความสามารถเป็นที่เลื่อมใสศรัทธาและเป็นที่เคารพของประชาชนในฝ่ายนี้ ขึ้นมา
~ 295 ~ ด ารงต าแหน่ง และจ าพรรษาอยู่วัดไตรภูมิป่าแก้วท าหน้าที่ในการปกครองดูแลและ บริหารคณะสงฆ์ฝ่ายนี้ โดยมีพระครู อีก 2 องค์เป็นสังฆนายกชั้นรอง ภาพที่10.2 องค์กรการปกครองคณะสงฆ์ในสมัยกรุงสุโขทัย การจัดรูปแบบโครงสร้างองค์กรทางการปกครองคณะสงฆ์แบบนี้ เป็นการ จัดรูปแบบโครงสร้างแบบรวบอ านาจสูงสุดไว้ในจุดๆ เดียว กล่าวคือ พระมหากษัตริย์ พระองค์ทรงมีอ านาจสูงสุดแต่เพียงพระองค์เดียวในการบริหารจัดการองค์กรสงฆ์ รูปแบบโครงสร้างการจัดองค์กรการปกครองแบบนี้มีผลดี คือองค์กรสงฆ์มีความเป็น เอกภาพ การบริหารจัดการองค์กรเป็นไปในแนวทางเดียวกัน ส่วนปัญหาที่เกิดขึ้น จากการจัดรูปแบบโครงสร้างองค์กรแบบนี้ก็คือ ไม่สามารถด าเนินกิจกรรมของสงฆ์ ได้อย่างอิสระ เนื่องจากถูกควบคุมมาตั้งแต่ฝ่ายนโยบายจนถึงฝ่ายบริหาร พระมหากษัตริย์ คณะอรัญญวาสี คณะคามวาสี หัวเมืองส าคัญ พระครูธรรมราชา เมืองหลวง พระครูธรรมราชา เมืองหลวง สมเด็จพระสังฆราช หัวเมืองส าคัญ สมเด็จพระสังฆราช หัวเมืองชั้นนอก หัวเมืองชั้นนอก พระครู พระครู พระครู พระครู พระครู เจ้าอาวาส เจ้าอาวาส เจ้าอาวาส เจ้าอาวาส เจ้าอาวาส พระครู เจ้าอาวาส
~ 296 ~ 10.3.3 การบริหารกิจการคณะสงฆ์ในสมัยอยุธยา ในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น รูปแบบองค์กรการปกครองคณะสงฆ์ยัง เป็นไปตามแบบอย่างสมัยกรุงสุโขทัย แต่เนื่องจากคณะคามวาสีมีความเสื่อมลง พระสงฆ์เริ่มลดลงเรื่อยๆ และจากการเสื่อมลงนี้เอง ท าให้คณะพระสงฆ์ประมาณ 10 รูป ได้ไปศึกษาพระธรรมวินัยที่ลังกากับคณะสิงหลนิกายและเมื่อเดินทางกลับกรุงศรี อยุธยา ได้นิมนต์พระเถระชาวลังกามาด้วยจ านวน 2 รูป เพื่อมาเผยแผ่ศาสนาในกรุง ศรีอยุธยา กลายเป็นคณะป่าแก้วขึ้น วัดที่สงฆ์คณะป่าแก้วพ านักอาศัย มีชื่อต่อท้าย ว่า “ป่าแก้ว” เสมอ คณะสงฆ์ในสมัยอยุธยาจึงแบ่งออกเป็น 3 คณะ คือ คณะคามวาสีฝ่ายซ้าย ซึ่งหมายถึงคณะสงฆ์เดิมที่มีมาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย คณะคามวาสีฝ่ายขวา หมายถึง คณะสงฆ์ที่ไปบวชแปลงนิกายมาจากลังกา ซึ่งเป็นคณะใหม่ที่ประชาชนในกรุงศรี อยุธยารู้จักกันโดยทั่วไปว่า คณะป่าแก้ว คณะสงฆ์ทั้ง 2 คณะนี้ มุ่งเน้นการศึกษา คันถธุระ คือการศึกษาพระไตรปิฎกหรือศึกษาคัมภีร์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับ พระพุทธศาสนาให้แตกฉาน และคณะอรัญวาสี หมายถึงคณะสงฆ์เดิมที่สืบทอดมา จากคณะสงฆ์ลังกาวงศ์สมัยสุโขทัย เรียกว่าพระสายวิปัสสนาธุระหรือพระป่าที่มุ่งเน้น ปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฎฐานเป็นหลัก รูป แ บบ อง ค์ ก ร ก า ร ป ก ค ร อง คณ ะ สง ฆ์ใ น ส มั ย ก รุง ศ รี อ ยุ ธ ย า พระมหากษัตริย์ทรงสถาปนาเจ้าคณะใหญ่รูปใดรูปหนึ่งเป็น “สมเด็จพระสังฆราช” เพื่อท าหน้าที่เป็นประมุขสงฆ์และมีเจ้าคณะใหญ่ 3 รูป คือ คณะคามวาสีฝ่ายซ้าย คณะอรัญวาสี และคณะคามวาสีฝ่ายขวาหรือคณะป่าแก้ว โดยแบ่งรูปแบบการ ปกครองให้เจ้าคณะใหญ่คามาวสีฝ่ายซ้าย ปกครองดูแลกิจการคณะสงฆ์ตามหัวเมือง ฝ่ายเหนือ เจ้าคณะใหญ่คามวาสีฝ่ายขวา ปกครองดูกิจการคณะสงฆ์ในหัวเมืองฝ่าย ใต้ และเจ้าคณะใหญ่อรัญวาสี ดูแลปกครองคณะสงฆ์อรัญวาสีทั้งในหัวเมืองฝ่าย เหนือและหัวเมืองฝ่ายใต้ โดยทั้งหมดขึ้นตรงต่อสมเด็จพระสังฆราช ซึ่งเป็น ผู้บังคับบัญชาสูงสุด ล าดับการปกครองคณะสงฆ์ในสมัยกรุงศรีอยุธยา สมเด็จ พระสังฆราช ทรงเป็นประมุขสูงสุด รองลงมาคือเจ้าคณะใหญ่ทั้ง 3 คณะ พระราชา คณะรองจากเจ้าคณะใหญ่ พระครู และเจ้าอาวาส ปกครองลดหลั่นกันมา
~ 297 ~ ภาพที่ 10.3 แสดงล าดับองค์กรการปกครองคณะสงฆ์ในสมัยกรุงศรีอยุธยา การจัดรูปแบบองค์กรการปกครองคณะสงฆ์ดังกล่าว ท าให้คณะสงฆ์มี ความเป็นระเบียบเรียบร้อย แม้ว่าจะมีการแบ่งแยกการปกครองออกจากกันอย่าง เด็ดขาด แต่ก็ไม่ได้ก่อให้เกิดปัญหาใด ๆ ต่อการปกครองในสมัยนั้น เนื่องจากว่า พระมหากษัตริย์ทรงมีอ านาจเด็ดขาดในการก าหนดนโยบายทางการปกครอง และ เป็นผู้ควบคุมสั่งการ รูปแบบการด าเนินการกิจการคณะสงฆ์ก็เป็นไปในแนวทาง เดียวกัน ในส่วนของปัญหาที่เกิดขึ้นจากการจัดรูปแบบองค์กรการปกครองแบบนี้ เกิดการจ ากัดสิทธิเสรีภาพทางการปกครอง การด าเนินกิจการใด ๆ ของคณะสงฆ์ จะ เป็นไปในแนวทางใดขึ้นอยู่กับฝ่ายนโยบายเป็นหลัก ถ้าหาว่าในยุคใดสมัยใดที่ พระมหากษัตริย์ทรงให้ความสนใจกิจการงานคณะสงฆ์ ในยุคนั้นสมัยนั้นคณะสงฆ์ก็ จะมีความเจริญรุ่งเรือง มีบทบาทส าคัญต่อฝ่ายบ้านเมือง เช่น ในยุคสมัยพระบรมไตร โลกนาถ ที่พระพุทธศาสนาในสมัยกรุงศรีอยุธยาเจริญรุ่งเรืองที่สุด และมีบทบาท อย่างมากต่อการบริหารกิจการบ้านเมือง พระมหากษัตริย์ พระสังฆราช เจ้าคณะใหญ่ คามวาสิฝ่าย เจ้าคณะใหญ่ อรัญวาสิ เจ้าคณะใหญ่คามวาสิ ฝ่ายขวา/คณะป่าแก้ว พระราชาคณะ หัวเมืองฝ่ายเหนือ พระราชาคณะ หัวเมืองฝ่ายเหนือ-ใต้ พระราชาคณะ หัวเมืองฝ่ายใต้ พระครูหัวเมือง ฝ่ายเหนือ พระครูหัวเมือง ฝ่ายเหนือ-ใต้ พระครูหัวเมือง ฝ่ายใต้ เจ้าอาวาสฝ่ายเหนือ เจ้าอาวาส ฝ่ายเหนือ-ใต้ เจ้าอาวาสฝ่ายใต้
~ 298 ~ 10.3.4 การบริหารกิจการคณะสงฆ์ในรัตนโกสินทร์ตอนต้น ในช่วงสมัยกรุงธนบุรีและสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ยังคงมีการบริหาร ประเทศเช่นเดียวกันกับในสมัยกรุงศรีอยุธยา รูปแบบองค์กรการปกครองคณะสงฆ์ ในสมัยกรุงธนบุรี ภายหลังจากที่พระเจ้าตากสินมหาราช พระองค์ทรงกอบกู้เอกราช ได้แล้ว พระองค์ทรงท าการฟื้นฟูพระพุทธศาสนาด้วยการยึดถือเอารูปแบบของ พระพุทธศาสนาตามแบบสมัยกรุงศรีอยุธยา โดยพระมหากษัตริย์ทรงมีอ านาจสูงสุด ในการสถาปนาสมเด็จพระสงฆ์ราช จะเห็นได้หลังจากที่พระองค์ทรงกอบกู้เอกราชได้ แล้ว พระองค์ทรงโปรดให้มีการนิมนต์พระภิกษุต่างถิ่นที่มีความรู้ความสามารถมา พ านักในกรุงธนบุรี เมื่อได้พระภิกษุที่ต้องการแล้วพระองค์ทรงสถาปนาขึ้นเป็น สมเด็จพระสงฆ์ราช คณะสงฆ์ในสมัยกรุงธนบุรีมีทั้งหมด 3 คณะ เช่นเดียวกันกับสมัย กรุงศรีอยุธยา คือ คณะคามวาสีฝ่ายซ้าย คณะอรัญวาสี และคณะคามวาสีฝ่ายขวา ภายหลังจากสิ้นสมัยกรุงธนบุรีรูปแบบการจัดองค์กรการปกครองคณะสงฆ์ ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ยังคงยึดเอารูปแบบการปกครองตามแบบสมัยกรุง ศรีอยุธยาและกรุงธนบุรีแต่ในช่วงสมัยรัชกาลที่ 1 ถึงสมัยรัชการที่ 2 พระบาทสมเด็จ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พระองค์ทรงท าการตรากฎหมายคณะสงฆ์ขึ้นเป็น ครั้งแรก จ านวน 10 ฉบับ แต่การตรากฎหมายของพระองค์โดยส่วนมากจะเกี่ยวข้อง กับกฎ ระเบียบ ข้อบังคับของคณะสงฆ์ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการ องค์กรสงฆ์แต่อย่างใด รูปแบบองค์กรการปกครองคณะสงฆ์ในสมัยรัชกาลที่ 3 รูปแบบองค์กรการปกครองคณะสงฆ์ยังคงยึดเอารูปแบบเดิม คือ คณะคามวาสีฝ่าย ซ้ายที่ท าการปกครองคณะสงฆ์ในหัวเมืองภาคเหนือ คณะคามวาสีฝ่ายขวาท าหน้าที่ ดูแลปกครองคณะสงฆ์ในหัวเมืองทางภาคใต้ และคณะอรัญวาสีท าหน้าที่ดูแล ปกครองคณะสงฆ์ที่เป็นพระกัมมัฎฐานหรือพระนักปฏิบัติธรรมทั้งหมด สิ่งที่ เปลี่ยนแปลงในสมัยรัชกาลที่ 3 ก็คือ การเปลี่ยนชื่อเรียกคณะ กล่าวคือ จากเดิม เรียกคณะคามวาสีฝ่ายซ้าย ก็เปลี่ยนชื่อเป็นคณะเหนือ คณะคามวาสีฝ่ายขวา ก็ เปลี่ยนเป็นคณะใต้ ส่วนคณะอรัญวาสียังคงเหมือนเดิม และสิ่งที่เปลี่ยนแปลงอีก อย่างหนึ่งขององค์กรการปกครองคณะสงฆ์ในสมัยรัชกาลที่ 3 ก็คือพระองค์ทรงตั้ง คณะใหม่ขึ้นมาเพื่อท าการดูแลปกครองคณะสงฆ์ ในเขตเมืองหลวงไม่ว่าจะเป็นคณะ สงฆ์วัดหลวงหรือคณะสงฆ์วัดราษฎร์ต้องขึ้นตรงภายใต้การดูแลปกครองของคณะ ใหม่คณะนี้ คือคณะกลาง
~ 299 ~ ดังนั้น รูปแบบองค์กรการปกครองคณะสงฆ์ในปลายสมัยรัชกาลที่ 3 มีการ จัดรูปแบบองค์กรออกเป็น 4 คณะ ดังนี้ คณะเดิม 3 คณะ คือ คณะคามวสีฝ่ายซ้าย หรือคณะเหนือ ดูแลปกครองคณะสงฆ์ภาคเหนือทั้งหมด คณะคามวาสีฝ่ายขวาหรือ คณะใต้ ท าหน้าที่ดูแลปกครองคณะสงฆ์ภาคใต้ทั้งหมด คณะอรัญวาสีซึ่งเป็นคณะ เดียวที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ ท าหน้าที่ดูแลปกครองคณะสงฆ์ที่เป็นพระกัมมัฎ ฐานหรือพระนักปฏิบัติธรรม และคณะที่เพิ่มมาใหม่ 1 คณะ ก็คือคณะกลาง ท า หน้าที่ปกครองดูแลคณะสงฆ์ในเขตเมืองหลวงทั้งวัดหลวงและวัดราษฎร์ทั้งหมด รูปแบบองค์กรการปกครองคณะสงฆ์ในสมัยรัชกาลที่ 4 ไม่มีการ เปลี่ยนแปลงใดๆ ยังคงเดิมเหมือนกับสมัยรัชกาลที่ 3 แต่สิ่งที่เปลี่ยนแปลงก็คือ ได้มี คณะสงฆ์เกิดขึ้นมาใหม่ 1 คณะ คือ คณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกาย ซึ่งผู้ที่ท าการก่อตั้ง คณะสงฆ์คณะนี้ก็คือพระวิชรญาณภิกขุ หรือพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ภายหลังจากลาผนวชจึงได้เสด็จขึ้นครองราชย์ และคณะสงฆ์ใหม่ที่ เกิดขึ้นนี้ท าให้อ านาจการปกครองและการบริการกิจการคณะสงฆ์เปลี่ยนแปลงไป กล่าวคือ คณะสงฆ์คณะใหม่นี้แม้จะอยู่ภายใต้การปกครองของเจ้าคณะกลางก็ตาม แต่เจ้าคณะกลางไม่มีสิทธิ์ในการบริหารจัดการคณะสงฆ์คณะนี้ เนื่องจากคณะสงฆ์ คณะนี้มีสิทธิ์ขาดในการบริการจัดการกิจการของตนเองอย่างเด็ดขาด ด้วยเหตุนี้เอง ท าให้โครงสร้างองค์กรสงฆ์ การปกครองสงฆ์และการบริหารจัดการคณะสงฆ์ เปลี่ยนแปลงมาจนถึงปัจจุบันนี้ เมื่อสิ้นสุดสมัยรัชกาลที่ 4 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 รูปแบบองค์กรการปกครองคณะสงฆ์ยังคงเหมือนเดิมกับยุคสมัยรัชกาลที่ 4 แต่เมื่อพระองค์ทรงขึ้นครองราชย์แล้ว พระองค์ทรงพิจารณาเห็นว่าโครงสร้าง องค์กรการปกครองคณะสงฆ์มีการเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างมาก ไม่เป็นระบบระเบียบ ขาดความเป็นเอกภาพในหมู่สงฆ์ ประกอบกับพระองค์ทรงก าลังท าการปฏิรูประบบ โครงสร้างการบริหารบ้านเมือง เพื่อให้เกิดความเป็นเอกภาพในแผ่นดิน ด้วยเหตุนี้ เองพระองค์จึงทรงท าการปฏิรูปองค์กรการปกครองคณะสงฆ์ขึ้นด้วยการตรา พระราชบัญญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ์ ร.ศ. 121 เมื่อ พ.ศ. 2445
~ 300 ~ 10.4 การบริหารกิจการของคณะสงฆ์ในปัจจุบัน รูปแบบการจัดองค์กรปกครองคณะสงฆ์ไทยในปัจจุบัน นอกจากจะใช้หลัก พระธรรมวินัยในการปกครองแล้ว ยังต้องใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือในการปกครอง อีกด้วย กฎหมายที่ใช้เป็นหลักในการจัดรูปแบบองค์กรการปกครองสงฆ์ในปัจจุบัน คือ พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 และพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 นอกจากนี้ยังมีการใช้ กฎ ระเบียบ ข้อบังคับต่างๆ ของมหาเถรสมาคม ประกอบรูปแบบการจัดองค์กรการปกครองคณะสงฆ์อีกด้วย รูปแบบการจัดองค์กร การปกครองคณะสงฆ์ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 และพระราชบัญญัติ คณะสงฆ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 มีรูปแบบการจัดองค์กรการปกครองคณะสงฆ์ ออกเป็น 2 องค์กรหลัก คือ 1) องค์กรการปกครองคณะสงฆ์ส่วนกลาง มีอ านาจหน้าที่ในการ ปกครองคณะสงฆ์ทั่วราชอาณาจักร เป็นอ านาจหน้าที่ของมหาเถรสมาคม มีเจ้าคณะ ใหญ่ทั้ง 4 คณะรับผิดชอบบริหารกิจการคณะสงฆ์ 2) องค์กรการปกครองคณะสงฆ์ส่วนภูมิภาค ได้แก่ การปกครองใน ส่วนที่มีการก าหนดแบ่งเขตการปกครองเอาไว้ ซึ่งแบ่งเขตการปกครองออกเป็น ระดับภาค ระดับจังหวัด ระดับอ าเภอ ระดับต าบล และระดับเจ้าอาวาส รูปแบบการจัดองค์กรการปกครองคณะสงฆ์ในปัจจุบัน จัดตาม พระราชบัญญัติคณะสงฆ์พ.ศ. 2505 และพระราชบัญญัติคณะสงฆ์(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 รูปแบบการปกครององค์กรสงฆ์ในปัจจุบันจึงมีลักษณะของการแต่งตั้งบุคคล เข้ามาท าหน้าที่ในการปกครอง โดยใช้การแต่งตั้งพระเถระรูปใดรูปหนึ่งหรือคณะใด คณะหนึ่งขึ้นมาปกครอง เพราะรูปแบบการปกครองมีลักษณะเป็นสัดส่วน มีมหาเถร สมาคมที่มีสมเด็จพระสังฆราชทรงเป็นประธานในการปกครอง เปรียบได้กับคณะ รัฐบาลที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าคณะในการปกครอง มีเจ้าคณะหนใหญ่ทั้ง 4 หน ซึ่งในแต่ละหนมีเจ้าคณะหนใหญ่เป็นผู้ดูแล แยกออกไปเป็นส่วนของเจ้าคณะ ภาค เจ้าคณะจังหวัด เจ้าคณะอ าเภอ เจ้าคณะต าบล เจ้าอาวาสและผู้ช่วยเจ้าอาวาส เป็นล าดับสุดท้ายของส่วนการปกครอง ซึ่งครอบคลุมและเพียงพอต่อการปกครอง ของคณะสงฆ์
~ 301 ~ แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นกับการปกครองของคณะสงฆ์ในปัจจุบันนั้น กลับมาจาก การแต่งตั้งบุคคลหรือคณะบุคคลที่เข้ามาใช้อ านาจในการปกครอง เนื่องจากเป็น ลักษณะของการแต่งตั้งโดยตรง ไม่ได้มาจากคัดเลือกหรือคัดสรร ท าให้ไม่ได้บุคคลที่ เหมาะสมกับต าแหน่งหรือบุคคลที่มีความสามารถในด้านการปกครองที่แท้จริง ซึ่ง เราต้องท าความเข้าใจว่าในการแต่งตั้งนั้นมาจากบุคคลเพียงคนเดียวที่ตัดสินใจ หาก บุคคลที่แต่งตั้งเป็นคนที่ขาดหิริโอตตัปปะคือความละอายและความเกรงกลัวต่อการ ติฉินนินทาว่าร้าย หรือเห็นแก่พวกพ้องแล้วเราก็จะได้ผู้บริหารที่ขาดทั้งประสิทธิภาพ คุณภาพและคุณธรรมเข้ามาใช้อ านาจในการปกครอง ดังที่กล่าวคือในส่วนของโครงสร้างการปกครองคณะสงฆ์นั้นดีและ ครอบคลุมอยู่แล้ว เพียงแต่ถ้าเราได้บุคคลที่ควบคุมโครงสร้างที่ดีมีการบริหารงานที่ โปร่งใส เป็นผู้บริหารที่มีทักษะ เป็นผู้บริหารที่มีประสิทธิภาพ คุณภาพและคุณธรรม ซึ่งจะท าให้เรามีโครงสร้างทางการปกครองที่แข็งแรงและดียิ่งขึ้น และในกระบวนการ ของการคัดสรรบุคคลที่จะเข้ามารับต าแหน่งทางการปกครอง ก็จะเกิดความเป็น ธรรมและโปร่งใสไม่เป็นติฉินหรือครหาของบุคคลโดยทั่วไป ซึ่งเราก็จะได้คนที่ดีและ เหมาะสมกับต าแหน่งที่สุดเข้ามาบริหารจัดการ ด้านฝ่ายการปกครองควรต้องเน้น ปรับระบบการคัดสรรให้มีประสิทธิภาพ มีคุณภาพและคุณธรรมมากที่สุดอีกอย่าง หนึ่งคือ ลดบทบาทของพระสังฆาธิการระดับสูงที่ใช้อ านาจอิทธิพลหรือบารมีเข้ามา แทรกแซงการแต่งตั้งบุคคลหรือคณะบุคคลเข้ามาบริหาร เพื่อให้เกิดการชอบธรรม และความเป็นธรรม ซึ่งจะท าให้เราได้บุคคลหรือคณะบุคคลที่เหมาะสมกับต าแหน่ง และสิ่งที่ต้องเพิ่มนอกจากระบบการคัดสรรบุคคลที่มีประสิทธิภาพ คุณภาพ คุณธรรม คือการเพิ่มรูปแบบของการบริหารจัดการในรูปแบบของคณะกรรมการเข้า มาก ากับดูแลคณะสงฆ์ในหลายๆ เรื่อง เช่น ในเรื่องของการศึกษาที่ต้องตั้งเข้ามาเพื่อ ดูแลการศึกษาคณะสงฆ์ให้ครอบคลุมทั้งระบบ คือทั้งฝ่ายทางโลกและทางธรรม เพื่อ เป็นบรรทัดฐานต่อไปในภายหน้าว่าผู้ที่เข้ามารับต าแหน่งในคณะสงฆ์ มีวุฒิภาวะที่ เหมาะสมกับต าแหน่งหรือไม่เหมือนกับวุฒิภาวะของผู้บริหารฝ่ายบ้านเมือง อย่างเช่นที่เราเห็นปัจจุบันคือการบริหารฝ่ายบริหารการศึกษามักมีข้อขัดแย้งกับ ทางด้านฝ่ายปกครองของคณะสงฆ์อยู่เนืองๆ ด้วยมุมมองที่ต่างกัน ซึ่งโดยใจความ ส าคัญจึงอยากให้เน้นวุฒิการศึกษาทางโลกของพระสังฆาธิการมากกว่าในนักธรรม บาลีโดยมีวุฒิปริญญาตรีโท เอก หรือ ผ่านการอบรมหลักสูตรต่างๆ ที่เหมาะสมกับ ต าแหน่ง หรือมีคุณสมบัติที่เหมาะสมกับต าแหน่งจริงๆ
~ 302 ~ โดยรวมสภาพการปกครองของคณะสงฆ์ที่ประกอบด้วย 6 องค์กร หรือ อ านาจหน้าที่ที่เกี่ยวกับคณะสงฆ์6 ประเภท คือ 1) การปกครอง คือ อ านาจหน้าที่ในควบคุม ดูแลการบริหารจัดการ คณะสงฆ์ทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค จะต้องมีการกระจายอ านาจและคัดสรรผู้ที่มี ความรู้ความสามารถเข้ามาท าหน้าที่ 2) การศาสนศึกษา คือ การส่งเสริมและควบคุมการศึกษาของสงฆ์ จะต้องส่งเสริมและจัดการศึกษาสงฆ์ให้เหมาะสมกับสมณะวิสัย และความ เปลี่ยนแปลงของสังคม 3) การศึกษาสงเคราะห์คือ การจัดการศึกษาเพื่อช่วยเหลือเกื้อกูล ให้ การสนับสนุน อุดหนุนจุนเจือให้การอุปถัมภ์บุคคลที่ก าลังศึกษา สถาบันการศึกษา หรือสถาบันอื่นที่นอกจากศาสนศึกษาไม่ว่าจะเป็นการศึกษาทางโลกหรือทางธรรม 4) การเผยแผ่คือ การท าหน้าที่ในการอบรมสั่งสอนประชาชนให้เกิด ศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาและปฏิบัติดีปฏิบัติชอบสอนสั่งให้มีความรู้ความ เข้าใจในหลักธรรม เพื่อให้เกิดประโยชน์สุขกับมวลมนุษยชาติ 5) การสาธารณูปการ คือ การก่อสร้างและการบูรณปฏิสังขรณ์การ ก่อสร้างและการบูรณปฏิสังขรณ์ศาสนวัตถุและศาสนสถานกิจการอันเกี่ยวกับการวัด คือ การสร้างการตั้งการรวมการย้ายการยุบเลิกการขอรับพระราชทานวิสุงคามสีมา การยกวัดร้างเป็นวัดมีพระภิกษุอยู่จ าพรรษาและการยกวัดราษฎร์ขึ้นเป็นพระอาราม หลวงกิจการของวัดอื่นๆ เช่น การจัดงานวัด การเรี่ยไร การศาสนสมบัติของวัด 6) การสาธารณสงเคราะห์คือ หมายถึงการด าเนินกิจการเพื่อให้เป็น สาธารณประโยชน์ของหน่วยงานหรือของบุคคลหรือคณะบุคคลการช่วยเหลือในส่วน ที่เป็นสาธารณสมบัติ สาธารณประโยชน์ หรือการช่วยเหลือประชาชนผู้ทุกข์ยาก ประสบภัยทางธรรมชาติ เป็นต้น โดยทั้งหมดนี้ให้ปฏิบัติอยู่ในกรอบ 4 M ซึ่งประกอบไปด้วย 1) Man - บุคลากร คือ ตัวบุคคลหรือคณะบุคคลที่เหมาะสม 2) Money - เงิน คือ การจัดสรรงบประมาณอย่างเหมาะสม 3) Method - วิธีการ คือ แนวทางการใช้นโยบายและวิธีการอย่าง เหมาะสม (4) Material/Machine - วัสดุอุปกรณ์ / เครื่องมือที่มีความเหมาะสม
~ 303 ~ สิ่งที่ส าคัญก็คือพยายามอย่าให้เกิดการใช้เผด็จการทางอ านาจของบุคคล หรือคณะบุคคลเหมือนกับการปกครองของฝ่ายบ้านเมืองโดย 1) เน้นการกระจายอ านาจ 2) เน้นการตั้งคณะกรรมการเพื่อการถ่วงดุลอ านาจ โดยจะเพิ่มหรือลดแล้วแต่ลักษณะของหน่วยงานหรือต าแหน่งบริหาร และ สิ่งทีส าคัญก็คือองค์กรสงฆ์จะต้องมีส านักงานบริหารจัดการที่มีรูปแบบเหมือนกับ กระทรวง ทบวง กรมอื่นๆ เพื่อใช้เป็นสถานที่ในการปฏิบัติงาน และมีบุคลากรปฏิบัติ หน้าที่เหมือนกับส่วนราชการทั่วไป เพื่อให้การด าเนินกิจการต่างๆ มีความต่อเนื่อง และไม่ขาดช่วง ในเวลาที่มีการเปลี่ยนแปลงผู้บริหารจัดการ ในส่วนของพระราชบัญญัติ กฎ ระเบียบ ข้อบังคับต่างๆ ของคณะสงฆ์ที่ใช้ อยู่ในปัจจุบันนี้ ถ้าหากว่าจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงแก้ไข จะต้องมีการเปลี่ยนแปลง แก้ไข เพิ่มเติมให้ทันกับวิวัฒนาการของโลกปัจจุบัน เนื่องจากว่าสถานการณ์โลก ปัจจุบันนี้มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว และเปลี่ยนแปลงอยู่เรื่อยๆ เพราะฉะนั้น บรรดาพระราชบัญญัติ กฎ ระเบียบ ข้อบังคับต่างๆ ของคณะสงฆ์ จะต้องมีการ ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงให้เท่าทันกับวิวัฒนาการของโลก ยกตัวเอย่าง เช่น เรื่องการบวช มีโรคต่างๆ เกิดขึ้นมากมายเกินกว่าที่ได้บัญญัติไว้ในพระธรรมวินัย และอีกเรื่องหนึ่ง ก็คือโลกไอทีหรือโลกอินเตอร์เน็ต เมื่อพระสงฆ์มีการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่มากขึ้น ก็ อาจจะมีการท าความผิดในเรื่องใหม่ๆ มากขึ้นตามด้วยจึงจ าเป็นจะต้องมีการ เปลี่ยนแปลง เพิ่มเติมกฎ ระเบียบ ข้อบังคับต่างๆ อย่างน้อย 5 ปี หรือ10 ปี ครั้งหนึ่ง 10.4.1 ปัญหาและข้อจ ากัดในการบริหารกิจการคณะสงฆ์ปัจจุบัน 1) การไม่เปิดช่องทางหรือโอกาสให้คณะสงฆ์ได้ท างานตามกรอบของ พระราชบัญญัติคณะสงฆ์เช่น มีโอกาสศึกษาได้หลากหลายขึ้น กระจายการบริหาร ได้มากและสะดวกขึ้น มีช่องทางเผยแผ่ได้มากขึ้น โดยมีหน่วยงานมีช่องทางรองรับ จากภาครัฐ มีงบประมาณและหน่วยงานที่ดูแลจากภาครัฐโดยมีคณะสงฆ์เป็นผู้ดูแล และปฏิบัติการ 2) การขาดการกระจายอ านาจไปสู่คณะสงฆ์ระดับปฏิบัติการ และขาด เสียงสะท้อนกลับจากระดับปฏิบัติการสู่ฝ่ายปกครองหรือฝ่ายบริหารนโยบาย 3) ไม่ได้มีการปกครองให้เป็นไปตามระเบียบการปกครองคณะสงฆ์ กล่าวคือ ปัจจุบันนี้การปกครององค์กรสงฆ์ เป็นไปแบบพ่อปกครองลูก พี่ปกครอง
~ 304 ~ น้อง ไม่ยึดระเบียบว่าด้วยการปกครองท าให้การปกครองนั้นอะลุ่มอล่วย ขาด ระเบียบวินัย 4) การปกครององค์กรสงฆ์ในปัจจุบัน เป็นแบบตัวใครตัวมัน เมื่อมี ปัญหาเกิดขึ้นก็จะท าการแก้ไขกันเอง หรือเรียกว่ามาคุยกันเพื่อหาข้อตกลง ถ้าหาก ว่าตกลงกันไม่ได้ก็จะท าการร้องเรียนไปทางส่วนราชการหรือศาล การตัดสินปัญหาที่ เกิดขึ้นก็ไม่เป็นไปอย่างเด็ดขาด ต่างจากส่วนราชการที่มีเจ้าหน้าที่คอยควบคุมดูแล อย่างดีและเด็ดขาด 5) บุคลากรในองค์กรสงฆ์ขาดความรู้ ความสามารถในเรื่องการบริหาร จัดการองค์กรอย่างมืออาชีพ 6) ขาดการประชาสัมพันธ์หน่วยงาน การท างานด้านประชาสัมพันธ์ ต่างคนต่างท าไม่เป็นเอกภาพ เมื่อปัญหาในด้านลบจึงไม่สามารถท าความเข้าใจกับ ประชาชนได้ ท าให้เกิดความเสียหายอย่างมากต่อองค์กร 7) บุคลากรในองค์กรสงฆ์ขาดความรู้ความสามารถในเรื่องที่เกี่ยวกับ การเงินการบัญชีเนื่องด้วยทัศนคติที่ไม่ต้องการให้พระสงฆ์เข้ามายุ่งในเรื่องเงินเรื่อง ทอง ท าให้ขาดความรู้ความสามารถในด้านนี้ 8) ปัญหาไม่มีส านักงานบริการจัดการเกี่ยวกับองค์กรสงฆ์ที่ถาวร เนื่องจากปัจจุบันองค์กรสงฆ์ท างานโดยไม่มีส านักงานที่แน่นอน เนื่องจากว่า ส านักงานบริหารจัดการเกี่ยวกับคณะสงฆ์จะขึ้นอยู่กับผู้ที่จะมาด ารงต าแหน่งนั้นๆ ถ้าว่าหมดวาระการด ารงต าแหน่ง ส านักงานก็ถูกปิดลงด้วย ผู้ที่ได้รับต าแหน่งใหม่ ก็ จะเปิดส านักงานใหม่ขึ้นมาใหม่ ซึ่งท าให้ไม่มีความต่อเนื่องในการบริหารจัดการ องค์กรสงฆ์อย่างเป็นระบบ 10.4.2 ศึกษากรณีการจัดองค์การทางพระพุทธศาสนา วัดเป็นองค์การที่ส าคัญของพระพุทธศาสนาดัง สมเด็จพระธีรญาณมุนี กล่าวว่า “วัดเป็นเสมือนร่างกายของพระศาสนา ซึ่งต้องบ ารุงรักษา ถ้าไม่มีวัดก็ไม่มี ที่ตั้งศาสนาก็เป็นอยู่ยาก” วัดเป็นสถานที่พักอาศัยศึกษาพระธรรมวินัย และประกอบ ศาสนกิจของพระภิกษุสงฆ์ ตลอดจน เป็นที่บ าเพ็ญกุศลต่างๆ ของพุทธบริษัท โดยทั่วไป ในอดีตที่ผ่านมาวัดเป็นสถาบันหลักของชุมชน ปัจจุบันวัดเป็นส่วนหนึ่ง ของสถาบันสงฆ์ เป็นสถานที่ของพระสงฆ์ผู้ประพฤติพรหมจรรย์ เป็นสถานที่ร่มรื่น สงบ เหมาะสมแก่การบ าเพ็ญสมณธรรมของพระภิกษุสามเณร และประชาชนทั่วไป วัดเป็นสถาบันอุดมคติเพราะเป็นตัวเปลี่ยนทัศนคติพื้นฐานของมนุษย์ เปลี่ยนแปลง
~ 305 ~ พฤติกรรมทางสังคม โดยการตั้งสังคมอริยะสงฆ์ ใช้ปัญญาและกรุณาเป็นตัวน ามี ความสะอาด และบริสุทธิ์เป็นพื้นฐาน พระพุทธศาสนาเป็นสถาบันที่ส าคัญที่สุดสถาบันหนึ่ง ที่มีพระภิกษุสงฆ์ คอยให้การช่วยเหลือ ให้การบริการตามความจ าเป็น ตามความต้องการแก่ประชาชน อยู่เสมอ นับว่าสถาบันนี้มีส่วนช่วยแก้ปัญหาสังคมไทยมาโดยตลอด โดยเฉพาะใน ชนบท ซึ่งเป็นที่รวมคนส่วนใหญ่ของประเทศไทย วัดซึ่งเป็นศูนย์กลางในชีวิตทาง ศาสนาและสังคม เป็นแหล่งการสมาคม เป็นที่มาแหล่งวัฒนธรรมเป็นศูนย์กลางของ การด ารงชีวิตประจ าวัน และเป็นสถานที่แก้ปัญหาต่างๆ ของครอบครัวไทยในชนบท บทบาทของพระสงฆ์ไทยในอดีตและปัจจุบันที่ได้รับความเชื่อถือ และเป็น ที่ชื่นชมของพระพุทธศาสนิกชนทั่วไป โดยเฉพาะการเป็นผู้น าทางจิตใจที่มีส่วนช่วย กล่อมเกลาจิตใจ และลักษณะนิสัยของคนไทยให้โอบอ้อมอารี เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กับ บทบาทที่มีต่อการพัฒนาสังคมไทยในด้านต่างๆ รวมทั้งยังรับเป็นภาระในการแก้ไข ปัญหาทางสังคม เนื่องจากพระสงฆ์เป็นบุคคล ในท้องถิ่นที่ใกล้ชิดปัญหา จึงรู้ซึ้งถึง ปัญหาต่าง ๆ และสามารถแก้ปัญหาเหล่านั้นได้เป็นอย่างดีการจะให้วัดเป็น ศูนย์กลางชุมชนดังเช่นในอดีต จ าเป็นต้องพัฒนาวัดในทุกๆ ด้านโดยเฉพาะการจัด กิจกรรมเพื่อประโยชน์แก่ชุมชนนั้น พระสงฆ์เป็นผู้มีบทบาทส าคัญที่สุด เพราะถือกัน ว่า สถาบันสงฆ์เป็นสถาบันทางจริยธรรม เป็นสถาบันของผู้น าทางด้านจิตใจของ สังคม ในบรรดาพระสังฆาธิการ ซึ่งเป็นผู้ที่บริหารพระศาสนา มีหน้าที่ปกครองคณะ สงฆ์นั้น เจ้าอาวาสเป็นพระสังฆาธิการชั้นต่ าสุด และเป็นพระสังฆาธิการที่อยู่ใกล้ชิด กับประชาชนมากที่สุด พระพุทธศาสนาจะเจริญก็เพราะความเลื่อมใสของประชาชน หรือพระพุทธศาสนาจะเสื่อม ก็เพราะความไม่เลื่อมใสของประชาชน ท่านเจ้าอาวาส ย่อมเป็นตัวจักรส าคัญที่สุด ในความเจริญและความเสื่อมของพระพุทธศาสนา ความส าเร็จของวัดในการปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นที่ยอมรับของประชาชนย่อมขึ้นอยู่กับ การบริหารหมู่คณะหรือการปกครองดูแล ตลอดทั้งการแนะน าการสั่งสอนอบรม พระภิกษุสามเณรและคฤหัสถ์ ที่มาพ านักในวัดให้ประพฤติปฏิบัติอยู่ในพระธรรม วินัย ปฏิบัติตนตามกฎหมายบ้านเมืองข้อบังคับ ระเบียบ ค าสั่งและประกาศของมหา เถรสมาคมซึ่งเป็นองค์กรสูงสุดของคณะสงฆ์ไทยและผู้ปฏิบัติหน้าที่ในการบริหารหมู่ คณะเป็นหัวหน้าสงฆ์ในวัดก็คือเจ้าอาวาสนั่นเอง เจ้าอาวาสจึงมีบทบาทในการเป็น ผู้น าระดับท้องถิ่น ซึ่งมีความใกล้ชิดกับชาวบ้านมาก ชาวบ้านจะให้ความเคารพยก ย่องว่าพระสงฆ์เป็นผู้น าทางวิญญาณของชาวบ้านทุกหมู่เหล่า เพราะผู้ที่เป็นเจ้า
~ 306 ~ อาวาสได้นั้นต้องมีพรรษา 5 ขึ้นไป เป็นผู้มีความรู้ความสามารถสมควรแก่ต าแหน่ง มี ความประพฤติเรียบร้อยตามพระธรรมวินัยมีศีลจารวัตรที่น่าเคารพเลื่อมใสเป็นผู้ทรง เกียรติ เป็นที่เคารพนับถือของบรรพชิตและคฤหัสถ์ในท้องถิ่นนั้น เจ้าอาวาสเป็นพระ สังฆาธิการผู้มีหน้าที่บริหารและปกครองวัด อยู่ใกล้ชิดประชาชนมากที่สุด พระพุทธศาสนาจะเจริญก็เพราะความเลื่อมใสของประชาชน เจ้าอาวาสย่อมเป็นตัว จักรส าคัญในความเจริญของพระพุทธศาสนา ดังนั้นการพัฒนาวัดให้เป็นศูนย์กลาง ของชุมชน เจ้าอาวาสจะต้องเป็นบุคคลที่ประชาชนเคารพนับถือ เป็นที่ศรัทธาของ ประชาชน เมื่อเจ้าอาวาสเป็นผู้ที่ต้องใช้อ านาจในการปกครองดูแลกิจการต่างๆ ภายในวัดการใช้อ านาจของเจ้าอาวาสจึงต้องเป็นการกระท าโดยมีกฎหมายให้อ านาจ ไว้ เพื่อให้การบริหารและปกครองสามารถด าเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งอ านาจ ของเจ้าอาวาสนั้นได้มีบัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติคณะสงฆ์(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 มาตรา 37 และมาตรา 38 ซึ่งได้ก าหนดอ านาจหน้าที่ของเจ้าอาวาสไว้ดังนี้ มาตรา 37 เจ้าอาวาสมีหน้าที่ดังนี้ 1) บ ารุงรักษาวัด จัดกิจกรรมและศาสนสมบัติของวัดให้เป็นไปด้วยดี 2) ปกครองและสอดส่องให้บรรพชิตและคฤหัสถ์ที่มีอยู่ หรือพ านัก อาศัยอยู่ในวัดนั้นปฏิบัติตามพระธรรมวินัยกฎมหาเถรสมาคม ข้อบังคับ ระเบียบหรือ ค าสั่งของมหาเถรสมาคม 3) เป็นธุระในการศึกษาอบรมและสั่งสอนพระธรรมวินัยแก่บรรพชิต และคฤหัสถ์ 4) ให้ความสะดวกตามสมควรในการบ าเพ็ญกุศล มาตรา 38 เจ้าอาวาสมีอ านาจดังนี้ 1) ห้ามบรรพชิตและคฤหัสถ์ซึ่งมิได้รับอนุญาตของเจ้าอาวาสเข้าไปอยู่ อาศัยในวัด 2) สั่งให้บรรพชิตและคฤหัสถ์ซึ่งไม่อยู่ในโอวาทของเจ้าอาวาสออกไป เสียจากวัด 3) สั่งให้บรรพชิตและคฤหัสถ์ที่มีอยู่หรือพ านักอาศัยในวัด ท างาน ภายในวัดหรือให้ท าทัณฑ์บนหรือให้ขอขมาโทษ ในเมื่อบรรพชิตหรือคฤหัสถ์ในวัดนั้น ประพฤติผิดค าสั่ง เจ้าอาวาสซึ่งได้สั่งโดยชอบด้วยพระธรรมวินัย กฎมหาเถรสมาคม ข้อบังคับ ระเบียบหรือค าสั่งของมหาเถรสมาคม
~ 307 ~ การบริหารกิจการคณะสงฆ์ของพระสังฆาธิการในเขตปกครองคณะสงฆ์ อ าเภอเมืองล าปาง จังหวัดล าปาง นับว่ามีบทบาทส าคัญยิ่งในการบริหารกิจการคณะ สงฆ์ พระสังฆาธิการมีบทบาทน าเป็นหัวหน้าหน่วยงานบังคับบัญชาควบคุมพระภิกษุ สามเณรที่อยู่ใต้บังคับบัญชา แต่สภาพความเป็นจริงในปัจจุบันนี้จะเห็นได้ว่าบทบาท การบริหารงานของพระสังฆาธิการในเขตปกครองคณะสงฆ์อ าเภอเมืองล าปาง จังหวัดล าปาง มีเจ้าคณะอ าเภอเป็นผู้บังคับบัญชาปกครองคณะสงฆ์ในเขตอ าเภอ เมืองล าปาง มีรองเจ้าคณะอ าเภออีกสองรูปเป็นผู้ช่วยกิจการตามที่ได้รับมอบหมาย จากเจ้าคณะอ าเภอ มีเลขานุการเจ้าคณะอ าเภอและรองเจ้าคณะอ าเภอเป็นผู้รับ สนองงานคณะสงฆ์ มีเจ้าคณะต าบลปกครองในเขตต าบลต่างๆ รวม 33 ต าบล (ต าบลทางคณะสงฆ์) มีเลขานุการเจ้าคณะต าบลเป็นผู้รับสนองงานคณะสงฆ์ในเขต ปกครองคณะสงฆ์แต่ละต าบล และมีเจ้าอาวาสปกครองวัดในเขตอ าเภอเมืองล าปาง จ านวน 196 วัด โดยแบ่งออกเป็นวัดที่ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา 174 วัด ส านักสงฆ์ 10 วัด ที่พักสงฆ์ 12 แห่ง ดังนั้นเจ้าอาวาสจึงมีอ านาจสูงสุดในการ ปกครองวัดของตนเองแต่เพียงผู้เดียว มีรองเจ้าอาวาสและผู้ช่วยเจ้าอาวาส เป็น ผู้ช่วยเหลือกิจการของวัดตามที่ได้รับมอบหมายจากเจ้าอาวาส ให้ช่วยเหลือในกิจการ ด้านต่างๆ ตามความเหมาะสมเป็นการช่วยแบ่งเบาภาระของเจ้าอาวาส ในวัดที่มี พระภิกษุสามเณรมากจะมี รองเจ้าอาวาส 1 รูป และผู้ช่วยเจ้าอาวาสจะมีหลายรูปก็ ได้ ซึ่งบางวัดก็ไม่มีรองเจ้าอาวาส และผู้ช่วยเจ้าอาวาส เจ้าอาวาสจะต้องรับหน้าที่ใน การแบกรับภาระในการบริหารจัดการวัดแต่เพียงผู้เดียว ตามกฎมหาเถรสมาคมฉบับ ที่ 18 (พ.ศ. 2536) ว่าด้วยการแต่งตั้งถอดถอนไวยาวัจกร ได้ให้อ านาจแก่เจ้าอาวาส ในการที่จะแต่งตั้งคฤหัสถ์เป็นไวยาวัจกรให้มีหน้าที่เกี่ยวกับการเงินของวัด และช่วย ดูแลรักษาทรัพย์สินของวัดตามที่ได้รับมอบหมายจากเจ้าอาวาส เป็นลายลักษณ์ อักษร การรวมศูนย์อ านาจ เช่นนี้เกิดจากบทบัญญัติของพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2535 จึงท าให้การบริหารงานตามบทบาทหน้าที่ของ พระสังฆาธิการในเขตปกครองคณะสงฆ์อ าเภอเมืองล าปาง จังหวัดล าปาง มีความ บกพร่องขาดเครื่องมือ ทีมงานและกลไก ที่จะสนองงานอื่นๆ ให้ได้ผลนั้นเป็นไปได้ ยาก ทั้งในบทบาทการบริหารกิจการคณะสงฆ์อ าเภอเมืองล าปาง จังหวัดล าปาง ยัง ขาดการร่วมมือ ขาดงบประมาณ และขาดเอกภาพในการท างานอยู่ไม่น้อยจึงท าให้ พระสังฆาธิการมีงานล้นมือจึงท าให้การบริหารจัดการในส่วนที่เป็นงานของวัดและ งานคณะสงฆ์เกิดความล่าช้าเนื่องจากไม่มีการปฏิรูปโครงสร้างของคณะสงฆ์ การ
~ 308 ~ บริหารจัดการวัดมิได้เป็นไปในลักษณะองค์กรรวมของคณะสงฆ์ แต่จะเป็นเรื่องของ เจ้าอาวาสแต่เพียง ผู้เดียวซึ่งท าให้ไม่มีพลังพอที่จะท างานได้ทุกด้าน และเกิดความ บกพร่องในการด าเนินงานได้ง่าย สมาชิกในวัดและประชาชนขาดความเป็นเจ้าของ วัด การทุ่มเทเพื่อการพัฒนาวัดก็ไม่เต็มที่ การบริหารนั้นนับได้ว่าเป็นปัจจัยส าคัญใน การปกครองอย่างยิ่งวัดที่จะมีความเจริญได้นั้นจะต้องมีระบบการบริหารจัดการที่ดี จึงจะเป็นเหตุให้วัดนั้นมีการพัฒนาทั้งในด้านศาสนวัตถุ และด้านการประพฤติปฏิบัติ ของพระภิกษุสามเณรภายในวัดตลอดจนพุทธศาสนิกชนผู้ให้การอุปถัมภ์บ ารุงวัด ตามมาภายใต้เงื่อนไขดังกล่าว 10.5 การสรุป ประสิทธิภาพในการบริหารจัดการองค์กร เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานให้เกิด การประหยัดในการใช้ทรัพยากร เช่น คน เงิน วัสดุอุปกรณ์และการจัดการ เพื่อให้ เกิดประโยชน์สูงสุดในองค์การ โดยมีตัวชี้วัดประสิทธิภาพองค์การ โดยใช้หลักการ บริหารจัดการองค์กรที่ดีมีธรรมาภิบาลคือการปกครอง การบริหาร การจัดการ การ ควบคุม ดูแลกิจการต่างๆ ให้เป็นไปในครรลองธรรม และการบริหารจัดการที่ดี ส าหรับการปกครองพระสงฆ์ควรศึกษาหลักธรรมให้ถ่องแท้ทั้งปริยัติและปฏิบัติ เพื่อให้พร้อมที่จะปฏิบัติภารกิจทั้ง 6 ด้าน คือด้านการปกครอง ด้านการศาสนศึกษา ด้านการศึกษาสงเคราะห์ด้านการเผยแผ่ ด้านการสาธารณูปการ และด้านการสา ธารณสงเคราะห์รวมทั้งการจัดการดูความเรียบร้อยในคณะสงฆ์ อยู่ในความ รับผิดชอบของเจ้าคณะอ าเภอ เจ้าคณะต าบล เจ้าอาวาสวัด และพระภิกษุสงฆ์ทุกรูป ท าหน้าที่ในการดูแลให้เป็นไปตามระเบียบของการดูแลกิจการคณะสงฆ์ให้เรียบร้อย เป็นอย่างดี และกิจการคณะสงฆ์ภายใต้การดูแลของเจ้าคณะ ได้ให้มีการร่วมท า กิจกรรมต่างๆ เพื่อให้เกิดความสามัคคีปองดองกันทั่วทั้งจังหวัด เช่น การท ากิจกรรม ร่วมกันดูแลวัดในระบบ 5 ส. การปฏิบัติธรรม การส่งเสริมการเรียนทั้งภาคบาลีและ นักธรรม เป็นต้น เพื่อให้ทุกอ าเภอน าไปปฏิบัติ ในส่วนของคณะสงฆ์อ าเภอพุทธ มณฑลก็ได้นามาปฏิบัติตามมติของคณะสงฆ์โดยมีการประชุมเพื่อแจ้งการปฏิบัติงาน เป็นวาระการประชุมเพื่อให้เจ้าอาวาสทราบและน าไปแจ้งต่อ เพื่อให้พระภิกษุได้ ร่วมกันปฏิบัติตามมติที่ได้รับมาอย่างเรียบร้อย
309 บรรณานุกรม กรมการศาสนา. คู่มือพระสังฆาธิการว่าด้วยเรื่องการคณะสงฆ์ และการพระ ศาสนา. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์การศาสนา, 2540. กองแผนงาน กรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ. คู่มือพระสังฆาธิการว่าด้วย พระราชบัญญัติกฎ ระเบียบและค าสั่งของคณะสงฆ์. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์การศาสนา, 2542. กิติมา ปรีดีดิลก. ทฤษฎีบริหารองค์การ. กรุงเทพมหานคร : ห้างหุ้นส่วนจ ากัดธนะ การพิมพ์, 2529. โกวิทย์ พวงงาม. การปกครองท้องถิ่นไทย หลักการและมิติใหม่ในอนาคต. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์เดือนตุลา, 2552. คะนึงนิจ อนุโรจน์. การอ านวยการอย่างมีประสิทธิภาพ. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : http://yyoothp15.wordpress.com/2011/01/16/. [สื บ ค้ น วั น ที่ 2 8 กุมภาพันธ์ 2564]. งามตา สุขประเสริฐ. การมีส่วนร่วมของประชาชนด้านการบริหารองค์การบริหารส่วน ต าบลศึกษาเฉพาะกรณี องค์การบริหารส่วนต าบลเสม็ดอ าเภอเมือง จังหวัด ชลบุรี. รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย บูรพา, 2546. จรวยพร ธรณินทร์. การใช้ระบบคุณธรรมเพื่ออ านวยการ. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : http://webcache.googleusercontent.com/search?q=cache:. [สืบค้นวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564]. จักรพันธ์ วงษ์บูรณาวาทย์. การพัฒนาทีมที่มีประสิทธิภาพสูง. ข่าวสารกองบริการ การศึกษา, 2538. เจริญผล สุวรรณโชติ. ทฤษฎีการบริหาร. กรุงเทพมหานคร : อักษรไทย, 2544. ชัยเสฎฐ์ พรหมศรี. การปรับเงื่อนไขเพื่อจัดการความขัดแย้งในองค์การ. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : https://sites.google.com/site/mralongkotmainoy/karcadka. [สืบค้นวันที่ 5 มีนาคม 2564]. ตุลา มหาพสุธานนท์. หลักการจัดการ หลักการท่าเรือแหลมฉบัง LAEM CHABANG PORT. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ต ารวจ, 2546.
310 ถนัด แก้วเจริญไพศาล. การบริหารทีมงานที่มีประสิทธิภาพ. วารสารการจัดการ ภาครัฐและเอกชน, 2540. ทิพาวดี เมฆสวรรค์. “การปฏิรูปภาคราชการสู่สภาพที่พึงปรารถนา : ท าอย่างไร ใคร รับผิดชอบ”. วารสารข้าราชการ. ปีที่ 42 ฉบับที่ 2 (2540). ทิพวรรณ หล่อสุวรรณรัตน์. ทฤษฎีองค์การสมัยใหม่. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549. ธาดา รัท์ชะกิจ. การพัฒนาองค์การสู่ความส าเร็จ. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : https://th.hrnote.asia/orgdevelopment/190610-organizationdevelopment-od/. [สืบค้นวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564]. ธนชัย ยมจินดา และเสน่ห์ จุ้ยโต. ทฤษฎีองค์การ หน่วยที่ 4 พฤติกรรมมนุษย์ใน องค์กร เอกสารการสอนสาขาวิชาวิทยาการจัดการ มหาวิทยาสุโขทัยธรร มาธิราช. กรุงเทพมหานคร : ฝ่ายการพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2544. นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ และคณะ. รายงานผลการศึกษาความก้าวหน้าของการ กระจายอ านาจในประเทศไทย โครงการเสริมสร้างขีดความสามารถของ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อสนับสนุนการกระจายอ านาจและธรรมาภิบาล ท้องถิ่น. ส านักงานโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติประจ าประเทศไทย, 2552. นพ ศรีบุญนาค. องค์การและการจัดการ. กรุงเทพมหานคร : ส านักพิมพ์สูตรไพศาล, 2545. นฤมล อัคคพงศ์พันธุ์. การจัดการองค์การและการวางแผน. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : https://www.google.com/search?sxsrf=ALeKk03O25ZSuR3qxk4Paj. [สืบค้นวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2564]. นิตยา เพ็ญศิรินภา และสุรชาติ ณ หนองคาย. พฤติกรรมองค์การและการจัดการ ทรัพยากรมนุษย์. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2546. ปรียาพร วงค์อนุตรโรจน์. จิตวิทยาอุตสาหกรรม. กรุงเทพมหานคร : บริษัทพิมพ์ดี จ ากัด, 2553. พยอม วงศ์สารศรี. การจัดการองค์การ. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพมหานคร : ส านักพิมพ์สุภา, 2542.
311 พระธรรมวิมลโมลี. คู่มือสมภาร การปกครองวัด. กรุงเทพมหานคร : มังกรการพิมพ์ และโฆษณา, 2531. พระธรรมวโรดม. การปกครองวัด. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์การศาสนา, 2539. พระเทพปริยัติสุธี (วรวิทย์ คงฺคปญฺโญ). การคณะสงฆ์ และการพระศาสนา. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2545. พระเทพเวที (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). ความส าเร็จของพระพุทธศาสนาในฐานะศาสนา ประจ าชาติ. กรุงเทพมหานคร :กรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ, 2536. พระมหาเสริมชัย ชยมงคโล. การบริหารวัด. กรุงเทพมหานคร : วีชั่นอาร์ต คอร์ ปอเรชั่น, 2541. พระราชปริยัติวิมล (ศรีสุระ), พระมหาประภาส ปริชาโน, พระครูปลัดรังสรรค์ คุณสาโร. การบริหารกิจกาคณะสงฆ์ธรรมยุต จังหวัดร้อยเอ็ด. มหาวิทยาลัยมหามกุฎ ราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด, 2560. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : http://oknation.nationtv.tv/blog/pmprapas/2017/04/09/entry-2. [สืบค้นวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2564]. พระวิสุทธิภัทรธาดา (ประสิทธิ์ พรหมร สี). พระราชบัญญัติคณะสงฆ์และกฎมหาเถร สมาคม. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2547. พระสมรรถชัย มั่งคามี. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : http://dspace.spu.ac.th/ bitstream/123456789/4348/8/Chapter4-MPA2552.pdf. [สืบค้นวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2564]. พัชสิรี ชมพูค า. องค์การและการจัดการ (Organization and Management). กรุงเทพมหานคร : ส านักพิมพ์แมคกรอ-ฮิล, 2552. เพลิน จุ ลเ วช. เส้นท า งสู่ค วามเป็น เลิศ. [ออนไลน์]. แหล่งที่ม า : https://www.gotoknow.org/posts/322886. [สืบค้นวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564]. ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรมบัณฑิตสถาน พ.ศ. 2542. กรุงเทพมหานคร : บริษัท นานมีบุ๊คพับเคชั่นจ ากัด, 2542. รังสรรค์ ประเสริฐศรี. พฤติกรรมองค์การ Organizational Behavior. กรุงเทพมหานคร : บริษัท กรีนแอปเปิ้ล กราฟฟิค พริ้นติ้ง จ ากัด, 2556. ลภัสลดา สมบูรณ์. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : https://sites.google.com/site/ organization3001/2-kar-brihar-kar-phlit. [สืบค้น 20 กุมภาพันธ์ 2564].
312 วันชัย มีชาติ. พฤติกรรมการบริหาร. กรุงเทพมหานคร : ส านักพิมพ์จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย, 2548. วิเชียร วิทยาอุดม. องค์การและการจัดการ. กรุงเทพมหานคร : บริษัท ธนธัชการ พิมพ์ จ ากัด, 2555. วิรัช สงวนวงศ์วาน. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : https://sites.google.com/site/ aunripreya456/3-krabwnkar-cadkar-ngan-bukhkhl. [สืบค้นวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564]. วีระ เกตุหอม. ศึกษาความคิดเห็นของพระสงฆ์เกี่ยวกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมที่ ศึกษาอยู่ในระดับปริญญาโทของมหาวิทยาลัยสงฆ์. วิทยานิพนธ์ปริญญา ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหิดล, 2539. ศิริพร พงศ์ศรีโรจน์. องค์การและการจัดการ. กรุงเทพมหานคร : เทคนิค 19, 2540. สมคิด บางโม. องค์การและการจัดการ. กรุงเทพมหานคร : บริษัท วิทยพัฒน์ จ ากัด, 2558. สมเด็จพระธีรญาณมุนี. สมเด็จฯ คิด-เขียน-พูด-เทศน์. กรุงเทพมหานคร : ห้าง หุ้นส่วนจ ากัด เจริญการพิมพ์, 2527. สมยศ น าวีการ. การบริหารและพฤติกรรมอ งค์การฉบับปรับปรุงใหม่ . กรุงเทพมหานคร : ส านักพิมพ์บรรณกิจ, 2543. สมพร ศิลป์สวรรณ์. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : http://www.softbizplus.com/ general/717-management-good-performance. [สื บ ค้ น วั น ที่ 2 8 กุมภาพันธ์ 2564]. สวัสดิ์โชติ เพชรโชติวงศ์. ทฤษฎีองค์การและการจัดการ. กรุงเทพมหานคร : บริษัท จรัญสนิทวงศ์การพิมพ์ จ ากัด, 2558. สมศักดิ์ เจตสุรกานต์. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : https://dric.nrct.go.th/Search/ SearchDetail/71443. [สืบค้นวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564]. ส านักงาน ก.พ. ความขัดแย้งที่เกิดจากภายนอกองค์การ [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : https://www.google.com/search?q=ความขัดแย้งที่เกิดจากองค์การ. [สืบค้นวันที่ 5 มีนาคม 2564]. . การพัฒนาระบบบริหารทรัพยากรบุคคลภาครัฐ. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : http://www.dla.go.th/work/WebHR2/home/document/ HRSC.htm. [สืบค้นวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564].
313 ส านักงาน ก.พ.ร. แนวทางการพัฒนาบุคลากรภาครัฐ พ.ศ. 2563–2565. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : https://www.ocsc.go.th/civilservice. [สืบค้น วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564]. สุภาภรณ์ พรหมบุตร. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : file:///C:/Users/computer/ Downloads/. [สืบค้นวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2564]. อลงกต ใหม่น้อย. การปรับเงื่อนไขเพื่อจัดการความขัดแย้งในองค์การ. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : https://sites.google.com/site/mralongkotmainoy/karcadka. [สืบค้นวันที่ 5 มีนาคม 2564]. . การเพิ่มประสิทธิภาพในองค์การ. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : https://sites.google.com/site/mralongkotmainoy/kar-pheimprasiththiphaph. [สืบค้นวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2564]. อภินันท์จันตะนี. หลักการวางแผน. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : https://docs.google. com/viewer?a=v&pid=sites&srcid=ZGVmYXVsdGR. [สืบค้นวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2564]. อนิวัช แก้วจ านงค์. การประเมินผลการปฏิบัติงาน. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : http://www.thaihrwork.com/wp-content/uploads. [สืบค้นวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564]. อ าไพ ไชยแก้ว. การจัดโครงสร้างองค์การสมัยใหม่. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : https://sites.google.com/site/aunripreya456/. [สืบค้นวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2564]. อาโนล์ด และเฟล็ดแมน (Arnold and Fledman, 1982). ผลของความขัดแย้งใน องค์การ. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : https://www.google.com/search?q . [สืบค้นวันที่ 5 มีนาคม 2564]. โทมัส (Kenneth Thomas, 1968). มิติของเทคนิคการจัดการกับความขัดแย้งที่ ส ะ ท้ อ น ถึ ง ค ว า ม กั ง ว ล. [อ อ น ไ ล น์]. แ ห ล่ ง ที่ ม า : https://www.google.com/search?q. [สืบค้นวันที่ 5 มีนาคม 2564]. ก า ร ว า ง แ ผ น . [ออนไลน์]. แหล่งที่ ม า : webhost.cpd.go.th/csb8/ download/training_9_12_52/a14_52.doc. [สืบค้นวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2564].
314 ก า ร เ พิ่ ม ป ร ะ สิ ท ธิ ภ า พใ น อ ง ค์ ก า ร. [อ อ น ไ ล น์]. แ ห ล่ง ที่ ม า : http://www.l3nr.org/posts/525022. [สืบค้นวันที่22 กุมภาพันธ์2564]. ก า ร ติดต่ อ สื่ อ ส า ร เพื่ อ ก า รป ร ะ ส าน ง าน . [ออนไลน์]. แหล่งที่ม า http://www.sattahipactivity.com. [สืบค้นวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2564]. กา รบ ริห า ร งานคุณภ าพในอ งค์กา ร. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : https://sites.google.com/site/rtech603xx/unit-13. [สืบค้น วันที่ 5 มีนาคม 2564]. ก า ร พั ฒ น า บุ ค ล า ก ร ที่ มี คุ ณ ภ า พ . [อ อ น ไ ล น์]. แ ห ล่ง ที่ ม า : https://www.esso.co.th/TH/Sustainability/Social-performance/. [สืบค้นวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564]. ก า รพั ฒ น า บุ ค ล า ก รสู่ ค ว า ม เ ป็ น เ ลิ ศ . [อ อนไ ลน์]. แห ล่งที่ ม า : https://ddc.moph.go.th/uploads/ckeditor2/People_Excellence_S trategy_v.4.pdf. [สืบค้นวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564]. ก า ร ป ร ะ เ มิ น ผ ล ก า ร ป ฏิ บั ติ ง า น . [อ อ น ไ ล น์]. แ ห ล่ง ที่ ม า : https://th.hrnote.asia/orgdevelopment/th-evaluation-190115/. [สืบค้นวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564]. เ ข า เ ขี ย น แ ผ น ก ล ยุ ท ธ์ กั น อ ย่ า งไ ร. [อ อ น ไ ล น์]. แ ห ล่ง ที่ ม า : http://sci.hcu.ac.th/attach/news_1 3 1 6 6 5 8 6 1 2 _Strategic.pdf. [สืบค้นวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564]. คุณลักษณะของฝ่ายอ านวยการที่ดี. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : https:// www.gotoknow.org/posts/484923. [สืบค้นวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564]. ประโยชน์ส าคัญของการประเมินผลปฏิบัติงาน. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : https://th.hrnote.asia/orgdevelopment/th-evaluation-190115/. [สืบค้นวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564]. แผนกล ยุทธ์กับความส าเ ร็ จขอ งอ งค์ก ร. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : http://www.tsu.ac.th/health_sci/qa/files_qa/20100923160422.pdf. [สืบค้นวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564]. ลั ก ษ ณ ะก า รอ า น ว ย ก า ร . [อ อ น ไ ล น์]. แ ห ล่ ง ที่ ม า : https://sites.google.com/site/aunripreya456/3-withi-kar-xanwy-kar. [สืบค้นวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564].
315 สาเหตุความขัดแย้งส่วนหนึ่งมาจากการติดสารเสพติด. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : http://supa25.wordpress.com/category/ยาเสพติด/. [สืบค้นวันที่ 5 มีนาคม 2564]. Bandura A. Principles of Behavior Modification. New York : Holt Rinehart and Winston, 1969. Bennis Warren G. Organization Development : Its Natur Origin and Prosects Reading. Mass : Addison-Wasley Publishing Co, 1969. Blaire Kalasa J. Introduction to Behavioral Science for Business. New York : John Sons Inc, 1969. Bloom Benjamin S.J. Thomas and George F. Maduas. Handbook on Formative and Summative Evaluation of student Leahing. New York : Mcgraw-Hill Book co, 1971. Dunlop, J. T. Public management. (Working paper). Tallahassee, FL: Department of Political Science Florida State University, 1979. Edgar Shien. Organization Psychology. New York : Prentice-Hill Inc, 1969. Middlemist R.D. and Hitt M.A. Organization Behavior : Managerial Strategies forPerformance. Paul : West Publishing Company, 1988. Moorhead G. and Griffin R.W. Organization Behavior : Managing People and Organization. Boston : Houghton Mifflin Gompany, 1995. Rainey, H. G., Backoff, R. W., & Levine, c. N. Comparing public and private organizations. Public Administration Review, March-April, 1976. Robbins S.P. Organization Behavior : Concept, Controversies, and Applications. Englewood Cliffs Prentice Hall, 1993.
- 316 - ประวัติผู้เขียน ชื่อ-ฉายา-นามสกุล พระครูวิโชติสิกขกิจ, ดร. (ณรงค์ เด่นประเสริฐ) เกิด 29 พฤษภาคม 2510 สถานที่เกิด 100/4 ถนนแดงทองดี ต าบลตะพานหิน อ าเภอตะพานหิน จังหวัดพิจิตร บรรพชาอุปสมบท 12 กรกฎาคม 2535 ประวัติการศึกษา - นักธรรมเอก ส านักเรียนวัดพฤกษะวันโชติการาม จังหวัดพิจิตร - มัธยมศึกษา โรงเรียนตะพานหิน อ าเภอตะพานหิน จังหวัดพิจิตร - ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) วิทยาเขตพณิชยการ พระนคร สาขาวิชาการเลขานุการ - ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) วิทยาเขตพณิชย การพระนคร สาขาวิชาการเลขานุการ - ปริญญาตรี บริหารธุรกิจบัณฑิต (บธ.บ) สาขาวิชาการ จัดการส านักงาน สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล - ปริญญาตรีพุทธศาสตรบัณฑิต (พธ.บ.) รุ่น 48 คณะ พุทธศาสตร์ สาขาวิชาพระพุทธศาสนา มหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครสวรรค์ - ปริญญาโท พุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.) รุ่นที่ 18 คณะพุทธศาสตร์ สาขาวิชาปรัชญา มหาวิทยาลัยมหา จุฬาลงกรณราชวิทยาลัย - ปริญญาเอก พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (พธ.ด.) รุ่นที่ 12 คณะสังคมศาสตร์ สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
- 317 - การศึกษาพิเศษ / การฝึกอบรม - ประกาศนียบัตรการอบรม “โครงการอบรมหลัก จริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ สาขาสังคมศาสตร์และ พ ฤ ติ ก ร ร ม ศ า ส ต ร์” ส ถ า บั น วิ จั ย แ ล ะ พั ฒ น า มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา - วุฒิบัตรการอบรมหลักสูตรเทคนิคการเขียนบทความ ทางวิชาการ สถาบันภาษามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลง กรณราชวิทยาลัย - วุฒิบัตรการการฝึกอบรม “สร้างนักวิจัยรุ่นใหม่” รุ่นที่ 6 ส านักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ร่วมกับ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย - วุฒิบัตรการอบรมหัวข้อ “การวิจัยและพัฒนา (R&D) และการพัฒนานวัตกรรมในงานวิจัยทางการศึกษา” บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราช วิทยาลัย - เกียรติบัตรการอบรมเชิงปฏิบัติการ (KM) “โครงการ พัฒนาระบบประกันคุณภาพการศึกษา” มหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย - เกียรติบัตรการฝึกอบรม “โครงการส่งเสริมและพัฒนา บุคลากร e-Learning, e-Testing เพื่อการเรียนการ สอน” มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย - เกียรติบัตรการฝึกอบรม “หลักสูตรสถิติและการวิจัย เพื่อพัฒนาอาจารย์ที่ปรึกษาดุษฏีนิพนธ์ หลักสูตร บัณฑิตศึกษา” คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหา จุฬาลงกรณราชวิทยาลัย - เกียรติบัตรการอบรมสัมมนาเชิงปฏิบัติ “การปรับปรุง หลักสูตรสังกัดภาควิชารัฐศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์” มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
- 318 - - เกียรติบัตร “การพัฒนาศักยภาพอาจารย์สู่ความเป็น นักวิจัยมืออาชีพ” มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน ต าแหน่งการปกครองคณะสงฆ์ - พ.ศ. 2541 ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาส วัดพฤกษะ วันโชติการาม ต าบลงิ้วราย อ าเภอตะพานหิน จังหวัด พิจิตร - พ.ศ. 2546 ได้รับแต่งตั้งเป็นเลขานุการเจ้าคณะต าบล งิ้วราย อ าเภอตะพานหิน จังหวัดพิจิตร - พ.ศ. 2548 ได้รับแต่งตั้งเป็นพระวินยาธิการจังหวัด พิจิตร - พ.ศ. 2550 ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยเลขานุการเจ้าคณะ จังหวัดพิจิตร ฝ่ายการศึกษา - พ.ศ. 2551 ได้รับแต่งตั้งเป็นรองเจ้าอาวาสวัดพฤกษะ วันโชติการาม ต าบลงิ้วราย อ าเภอตะพานหิน จังหวัด พิจิตร สมณศักดิ์ ได้รับพระราชทานตั้งสมณศักดิ์ เป็นพระครูสัญญาบัตร รองเจ้าอาวาส ในราชทินนามที่ พระครูวิโชติสิกขกิจ พ.ศ. 2553 ต าแหน่งทางวิชาการ อาจารย์ประจ าหลักสูตรสาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ สังกัดหน่วยงาน วิทยาลัยสงฆ์พิจิตร 111 หมู่ 2 ต าบลบ้างบุ่ง อ าเภอเมือง จังหวัดพิจิตร 66000 โทร. 056-619-7112 ที่อยู่ติดต่อได้ วัดพฤกษะวันโชติการาม ต าบลตะพานหิน อ าเภอตะพาน หิน จังหวัดพิจิตร 66110 โทร. 081-605-9296 Email: [email protected]
- 319 - ผลงานทางวิชาการ พระครูวิโชติสิกขกิจ (ณรงค์ กิตฺติธโร). “ภาวะผู้น าเชิงพุทธในยุคโลกาภิวัฒน์”. งาน ป ระชุมวิช ากา รร ะดับน าน าช าติภูมิศ าสตร์เชิ งวัฒน ธ รรมใน พระพุทธศาสนา, ครั้งที่ 7 ประจ าปี 2558 (IBRS 2016). สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2558. พระครูวิโชติสิกขกิจ (ณรงค์ กิตฺติธโร). “การประยุกต์หลักการบริหารงานสมัยใหม่กับ ห ลั ก ก า รบ ริห า รง าน ต าม แน ว พุท ธ ธ ร ร มเพื่ อ ค ว าม ยั่ง ยืน แห่ง พระพุทธศาสนา”. งานประชุมวิชาการและน าเสนอผลงานวิจัย ระดับชาติครั้งที่ 5 ประจ าปี 2561 อาคารหอประชุม มหาวิทยาลัย ปทุมธานี, 2561. พระครูวิโชติสิกขกิจ (ณรงค์ กิตฺติธโร). “ที่ดินท ากินและที่อยู่อาศัย วิถีวัฒนธรรมกระ เหรี่ยง : โจทย์ท้าทายการอยู่ร่วมกันของรัฐและชุมชน”. การประชุม วิชาการวิทยาการสิ่งแวดล้อมระดับชาติ 2561 มหาวิทยาลัย มหาสารคาม, 2561. พระครูวิโชติสิกขกิจ (ณรงค์ กิตฺติธโร). “การจัดการเรียนรู้ของชุมชนจังหวัดพิษณุโลก ตามหลักพุทธธรรม”. วารสารวิชาการแสงอีสาน, ปีที่ 16 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม – ธันวาคม 2562). ปริญญา นิกรกุล, พระครูวิโชติสิกขกิจ (ณรงค์ กิตฺติธโร). “การจัดการป่ากันชนร่วม ของชุมชนบริเวณเขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง”. วารสาร BU Academic Review, ปีที่ 19 ฉบับที่ 1 (มกราคม – มิถุนายน 2563). พระครูวิโชติสิกขกิจ (ณรงค์ กิตฺติธโร). “การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์กลุ่มวิสาหกิจ ชุมชนจังหวัดพิจิตรตามหลักพุทธธรรม”. วารสารวิจยวิชาการ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครสวรรค์, ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 (มกราคม – มีนาคม 2564) ผลงานหนังสือและเอกสารประกอบการสอน พระครูวิโชติสิกขกิจ, ดร. (ณรงค์ เด่นประเสริฐ). ทฤษฎีองค์การและการจัดการ. กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วนจ ากัด มิราเคิลกราฟฟิค. 2564
- 320 - พระครูวิโชติสิกขกิจ, ดร. (ณรงค์ เด่นประเสริฐ). เอกสารประกอบการสอนรายวิชา การจัดการเชิงกลยุทธ. หลักสูตรพุทธศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ เชิงพุทธ วิทยาลัยสงฆ์พิจิตร, 2563. ผลงานวิจัย เรื่องที่การวิจัย ปีงบประมาณ หน้าที่รับผิดชอบ การจัดการเรียนรู้ของชุมชนจังหวัดพิษณุโลก ตามหลักพุทธธรรม 2559 หัวหน้าโครงการวิจัย การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์กลุ่มวิสาหกิจ ชุมชนในจังหวัดพิจิตรตามแนวพระพุทธ ศาสนา 2560 หัวหน้าโครงการวิจัย การจัดการป่ากันชนร่วมของชุมชนบริเวณเขต รักษาพันธ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง 2561 ผู้ร่วมวิจัย ชุมชนสีเขียว วัดสีขาว : รูปแบบการจัดการ พื้นที่สาธารณะด้านสิ่งแวดล้อมและความ โปร่งใสของวัดและชุมชนในจังหวัดพิจิตร 2562 หัวหน้าโครงการวิจัย “การมีส่วนร่วม” ความปรองดองสมานฉันท์ : พลังบวรในสังคมไทย 2563 ผู้ร่วมวิจัย