The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

แผนหลักเศรษฐศาสตร์

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by อรอุมา พงษ์ธนู, 2022-11-12 04:54:26

หลักเศรษฐศาสตร์30200-1001

แผนหลักเศรษฐศาสตร์

บุคคลใดให้พ้นจากการบริโภคได้ เพราะมีผู้บริโภคจำนวนมากจึงไม่สามารถกีดกันได้ เช่น ถนน สะพาน
สวนสาธารณะ โรงพยาบาล เปน็ ต้น
2) สนิ คา้ ไร้ราคา (Free Goods) หมายถึง สินคา้ และบริการที่มีอยู่อย่างไม่จำกัดจงึ เป็นสนิ คา้ ทไี่ มม่ ตี ้นทนุ จึง
ไม่มีราคาท่ีต้องจา่ ย ได้แก่ อากาศ นา้ํ ฝน นํ้าทะเล สายลม แสงแดด เป็นตน้
3.2 ประวัติของวิชาเศรษฐศาสตร์ เมื่อเทียบกับสาขาวิชาบางแขนง ได้แก่ ปรัชญา รัฐศาสตร์ และนิติศาสตร์
แล้ว เศรษฐศาสตร์ยังนับเป็นสาขาวิชาที่ค่อนข้างใหม่ บุคคลแรกที่วางรากฐานของวิชาเศรษฐศาสตร์ คือ อดัม
สมิธ (Adam Smith,1723 - 1790) เปน็ นักเศรษฐศาสตร์ชาวองั กฤษ เขาได้เขียนตำราเศรษฐศาสตรเ์ ล่มแรกของ
โลกขึ้น ชื่อว่าAn Inquiry the Nature and Causes of the Wealth of Nations (ตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อ ค.ศ.
1776) ซึ่งได้กล่าวถึงการพัฒนาเศรษฐกิจ และเรื่องทั่วไปทางเศรษฐศาสตร์ ได้แก่ มูลค่าของเศรษฐทรัพย์ต่างๆ
การสะสมทนุ การออม การค้าระหว่างประเทศ การคลงั สาธารณะ และการเกบ็ ภาษอี ากร ซ่งึ นกั เศรษฐศาสตร์รุ่น
ต่อมาได้ใช้ประโยชน์จากตำราเล่มนี้ในการปรับปรุงเนื้อหาวิชาเศรษฐศาสตร์ให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นนักเศรษฐศาสตร์
ชาวอังกฤษอีก 2 ท่านที่มีส่วนสำคัญในการวางรากฐานวิชาเศรษฐศาสตร์ คือ เดวิด ริคาร์โด (David Ricardo,
1772 - 1823) ซึ่งเป็นนักเศรษฐศาสตร์ในกลุ่มสำนักคลาสสิก (Classical School) แนวคิดที่สำคัญของกลุ่มน้ี
ได้แก่ ความเชื่อมั่นในระบบเศรษฐกิจแบบเสรีนยิ ม (Laissez Faire) ที่ให้ความสำคัญกับบทบาทของภาคเอกชน
โดยรัฐไม่ควรเข้าไปยุ่งเกี่ยวในกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ปล่อยให้เอกชนดำเนินธุรกิจต่าง ๆ โดยเสรี และยังให้
ความสำคัญกบั ปัญหาในระยะยาว เช่น อตั ราการเพม่ิ ขึน้ ของพลเมือง การสะสมทนุ ผลตอบแทนของเงินทนุ เปน็
ตน้ และอัลเฟรด มาร์แชลล์ (Alfred Marshall, 1842 - 1924) เป็นนักเศรษฐศาสตร์ในกลุม่ นโี อคลาสสิก (Neo-
Classical School) ซึ่งได้รับช่วงแนวคิดของกลุ่มคลาสสิกมาปรับปรุง โดยเน้นให้เห็นถึงการมีอยู่อย่างจำกัดของ
ทรัพยากร และการใช้ทรัพยากรให้ได้ประโยชน์สูงสุดทั้งในระดับบุคคล หน่วยผลิต และประเทศสำหรับนัก
เศรษฐศาสตร์คนสำคัญที่เป็นผู้ปฏิรูปและวางรากฐานให้กับสาขาเศรษฐศาสตร์มหภาค คือ จอห์น เมย์นาร์ด
เคนส์ (John Maynard Keynes, 1883 - 1946) เขาเปน็ ผู้เขียนหนังสือเศรษฐศาสตร์มหภาคท่ีสมบูรณ์แบบเล่ม
แรกชื่อ The General Theory of Employment, Interest and Money ซึ่งอธิบายถึงสาเหตุของภาวะสินค้า
ล้นตลาด การวา่ งงานทัว่ ไป และวธิ ีแก้ปัญหาเศรษฐกิจตกต่ําโดยใชน้ โยบายการเงนิ และการคลงั
ในช่วงต่อมาจนถึงปัจจุบันก็ยังมีนักเศรษฐศาสตร์อีกหลายท่านที่ได้พัฒนาแนวคิดและทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์
ทำให้หลักวิชาเศรษฐศาสตร์ได้รับการพัฒนาให้สามารถวิเคราะห์ปัญหาทางเศรษฐกิจในรูปแบบต่าง ๆ รวมทั้ง
การหาแนวทางในการแกไ้ ขปัญหาเหลา่ น้ันไดอ้ ย่างเหมาะสมยง่ิ ขน้ึ
4. ครใู ช้วธิ ีการบรรยายแขนงของวชิ าเศรษฐศาสตร์ และความสมั พนั ธร์ ะหวา่ งเศรษฐศาสตร์กบั วิชาอ่ืนๆ
4.1 แขนงของวิชาเศรษฐศาสตร์
ในปัจจบุ นั นกั เศรษฐศาสตรไ์ ดจ้ ำแนกวิชาเศรษฐศาสตร์ออกเป็น 2 สว่ นใหญ่ๆ คอื
1) เศรษฐศาสตรจ์ ุลภาค (Microeconomics) เป็นการศึกษาพฤติกรรมทางเศรษฐกิจของหน่วยยอ่ ยๆ ในสังคม
เช่น การผลิต การลงทุน การกำหนดราคาในตลาดของธุรกิจใดธุรกิจหนึ่ง การบริโภคของครัวเรือน ผลตอบแทน
ของเจ้าของปัจจัยการผลติ เป็นต้น ทฤษฎีที่ใช้ในการศกึ ษาและวิเคราะห์ ได้แก่ ทฤษฎีผู้บริโภค ทฤษฎีผู้ผลิต และ
ทฤษฎกี ารกำหนดราคาของปจั จยั การผลติ หรอื รวมเรียกว่า ทฤษฎีราคา (Price Theory)
2) เศรษฐศาสตร์มหภาค (Macroeconomics) เป็นการศึกษาพฤติกรรมทางเศรษฐกิจของส่วนรวมหรือ
ระดับประเทศ เช่น รายได้ประชาชาติ ระดับราคาสินค้าและบริการโดยทั่วไป การบริโภค การออมและการลงทุน
ภาวะเงนิ เฟอ้ การคลัง การเงิน การค้าระหว่างประเทศ การพฒั นาเศรษฐกิจ เป็นต้น

การศึกษาเศรษฐศาสตร์จุลภาคและเศรษฐศาสตร์มหภาคในบางครั้งเป็นเรื่องเดียวกัน แต่เป็นการศึกษาคนละ

แบบ เช่น ถ้ากลา่ วถงึ ราคาในเศรษฐศาสตรจ์ ุลภาค จะหมายถึงราคาของสินค้าและบริการชนดิ ใดชนิดหน่ึง ในขณะ

ที่เศรษฐศาสตร์มหภาค จะหมายถึงราคาโดยเฉลี่ยของสินค้าในระบบเศรษฐกิจทั้งหมด ดังนั้น เศรษฐศาสตร์สอง

แขนงน้ีจงึ ไม่สามารถแยกออกจากกันไดอ้ ยา่ งเดด็ ขาด มีความเกีย่ วพันกันและสำคัญไมย่ งิ่ หย่อนไปกว่ากัน

4.2 ความสัมพันธ์ระหว่างเศรษฐศาสตร์กบั วิชาอื่นๆ เศรษฐศาสตร์ถือวา่ เป็นแขนงหนึ่งสังคมศาสตร์ (Social

Science) ที่ศึกษาถึงพฤติกรรมทางเศรษฐกิจของมนุษย์ เศรษฐศาสตร์จึงมีความสัมพันธ์กับสาขาวิชาต่าง ๆ

ดงั ต่อไปนี้

1) เศรษฐศาสตร์กับการบริหารธุรกิจ วิชาทั้งสองมีความสัมพันธ์กันอยู่มาก การดำเนินธุรกิจ จะประสบ

ความสำเร็จได้ ผู้ประกอบการก็ต้องมีความรู้ ความเข้าใจในหลกั การหรือทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ติดตามสภาวะ

เศรษฐกิจของประเทศหรอื ของโลก เพื่อคาดการณ์ในอนาคตรวมทั้งสามารถนำความรู้ เทคนิคและเครื่องมือทาง

เศรษฐศาสตร์มาประยุกต์ใชเ้ พื่อให้ธรุ กจิ ของตนกา้ วไปสูเ่ ปา้ หมายได้

2) เศรษฐศาสตรก์ ับรัฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์นับว่ามีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับการเมืองมากแต่เดมิ กิจกรรม

ต่างๆ ทางเศรษฐกิจของรัฐ เรียกว่า “เศรษฐศาสตร์การเมือง (Political Economy)” กิจกรรมต่างๆ ทาง

เศรษฐกจิ การดำเนินการหรอื การตดั สินใจต่างๆ อาจไม่เป็นไปตามหลักการหรือแนวคิดของเศรษฐศาสตร์ แต่มัก

มีปัจจัยของการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้อง ตลอดจนผู้บริหารประเทศต้องใช้ความรู้ทางเศรษฐศาสตร์มาช่วยในการ

วางแผนกำหนดนโยบายของเศรษฐกจิ หรือจัดสรรทรัพยากรให้เกดิ ประโยชน์ตอ่ ประเทศ

3) เศรษฐศาสตร์กับสงั คมแขนงอน่ื เศรษฐศาสตร์ยงั มคี วามเกยี่ วข้องสมั พนั ธ์กับสงั คมศาสตรแ์ ขนงอืน่ ดว้ ย เช่น

นิติศาสตร์ เปน็ เรอ่ื งของกฎเกณฑ์ท่ีมนุษยร์ ว่ มกนั กำหนดขนึ้ เรียกว่า “กฎหมาย” มีผลบงั คบั ใหท้ ุกคนปฏิบัติตาม

เพอื่ ใหม้ นุษย์อย่รู ว่ มกันอย่างสันตสิ ุข ในการตรากฎหมายใช้บังคบั น้ันเราจะใช้ความรู้ทางเศรษฐศาสตร์สนับสนุน

เพ่ือป้องกนั ไม่ใหส้ ังคมต้องเดอื ดร้อน เชน่ เมอ่ื เกดิ ภาวะเงนิ เฟอ้ ราคาสนิ คา้ โดยทวั่ ไปสงู ขึน้ ทำใหผ้ ู้มีรายไดป้ ระจำ

เดือดรอ้ น รัฐบาลอาจแกไ้ ขไดโ้ ดยการออกกฎหมายการควบคุมราคาสนิ คา้ เป็นตน้

ประวัติศาสตร์ เป็นการศึกษาถึงความเป็นมาของเหตุการณ์ต่าง ๆ ในอดีตที่เกี่ยวกับสังคมมนุษย์ ดังนั้น

ประวัติศาสตร์จึงเป็นเครื่องมือที่จะช่วยในการศึกษาเศรษฐศาสตร์ให้เข้าใจได้ดีขึ้นเพราะเศรษฐศาสตร์ก็มี

ววิ ัฒนาการมาตามยคุ ตามสมยั

สงั คมวิทยา เปน็ การศึกษาพฤติกรรมของมนุษยใ์ นด้านต่าง ๆ ทั้งทางการเมอื ง การปกครองและเศรษฐกจิ สังคม

วิทยาช่วยให้นักเศรษฐศาสตร์เข้าใจพฤติกรรมของมนุษย์เกี่ยวกับมูลเหตุจูงใจบทบาทของสถาบันการศึกษา

ศาสนา วฒั นธรรม ในสว่ นทเี่ ก่ยี วพนั กบั พฤติกรรมทางเศรษฐกิจ

จิตวิทยา เป็นการศึกษาถึงสิ่งจูงใจที่ทำให้มนุษย์แสดงพฤติกรรมต่าง ๆ ออกมาเศรษฐศาสตร์ก็สนใจที่จะศึกษา

พฤติกรรมของมนุษยใ์ นสังคมเช่นกัน เชน่ ศกึ ษาพฤติกรรมของผบู้ รโิ ภคพฤติกรรมของผู้ผลิต เป็นต้น

นอกจากนี้เศรษฐศาสตร์ยงั มคี วามสมั พนั ธ์กบั ศาสตรอ์ นื่ ๆ เช่น คณติ ศาสตร์ สถิติ เป็นตน้ การศกึ ษา ทำ

ความเข้าใจกับเศรษฐศาสตร์ในปัจจุบัน นิยมนำหลักคณิตศาสตร์และสถิติมาเป็นเครื่องมือช่วยอธิบายและทำ

ความเขา้ ใจทฤษฎีเศรษฐศาสตรม์ ากข้ึน

5. ครใู ชส้ อื่ PowerPoint ประกอบเทคนคิ การบรรยายวธิ กี ารศึกษาทางเศรษฐศาสตร์

5.1 วิธีการศึกษาทางเศรษฐศาสตร์ ดังที่กล่าวมาแล้วว่าเศรษฐศาสตรเ์ ปน็ แขนงหนึ่งของสังคมศาสตร์ เป็นเรื่อง

เกี่ยวข้องกับพฤตกิ รรมทางเศรษฐกิจของมนษุ ย์ ดังนั้น ปัญหาทางเศรษฐศาสตร์จึงยากแก่การแก้ปัญหามากกวา่

ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ การทดลองทางวิทยาศาสตร์สามารถแยกสิง่ ที่ต้องการศึกษาออกจากสิ่งอื่นๆ แล้วนำมา

ทดลองเป็นการเฉพาะได้ แต่การแก้ปัญหาเศรษฐศาสตร์ไม่สามารถแยกสิ่งที่ต้องการศึกษาออกจากสิ่งอื่นๆ ได้

ดังนั้น การตั้งข้อสมมติฐาน (Hypothesis) จึงเป็นสิ่งที่มีความสำคัญในการศึกษาเศรษฐศาสตร์ จึงมักพบข้อ
สมมตทิ ่กี ำหนดให้ปจั จัยอน่ื ๆ นอกเหนือจากส่งิ ท่สี นใจศกึ ษาคงท่ีไมเ่ ปลยี่ นแปลงเสมอ
ด้วยเหตุนี้การนำทฤษฎีไปใช้ในทางปฏิบัติผู้ใช้ต้องสังเกตสภาพแวดล้อมว่า สอดคล้องกับข้อสมมติของทฤษฎี
หรอื ไม่เพียงใด ถ้าไมเ่ หมือนกัน การอธบิ ายปรากฏการณ์ท่เี กิดข้ึนจะต้องใช้ความระมดั ระวงั ให้มากหรือพยายาม
หาทางแก้ไข ทำให้สภาพที่เกิดขึ้นจริงมีลักษณะใกล้เคียงกับข้อสมมติมากที่สุด เพื่อไม่ให้เกิดคำกล่าวที่ว่า
“ทฤษฎีนำมาใช้ปฏิบัติไม่ได้” ดังนั้น ผู้ศึกษาเศรษฐศาสตร์จึงต้องให้ความสนใจข้อสมมติของแต่ละทฤษฎีโดย
จะตอ้ งทำการศึกษาให้เขา้ ใจเสียก่อน ซึ่งโดยทัว่ ไปวิธีการในการศึกษาเศรษฐศาสตร์แบ่งออกได้ 3 วธิ ี คอื
1) สังเกตจากประวัติศาสตร์ (Historical Method) การสังเกตภาวการณ์ทางเศรษฐกิจที่ผ่านมาจะช่วยให้
สามารถวิเคราะหป์ ัญหาทเ่ี กิดขน้ึ ใหม่ได้ เพราะประวตั ิศาสตร์มักจะซํ้ารอยเดิมแตก่ ารใชว้ ิธนี ี้อาจเกิดข้อผิดพลาด
ได้ง่าย เนื่องจากสภาพแวดล้อมในอดีตและปจั จุบนั ไม่เหมอื นกัน อย่างไรก็ตามการศึกษาวิธีนีย้ งั มีประโยชนแ์ ละ
นยิ มทำกนั
2) วิธีหาผลจากเหตุ (Deductive Method) เป็นการกำหนดข้อสมมติฐาน (Hypothesis) เกี่ยวกับ
ความสัมพันธ์ของปัจจัยต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเป็นไวก้ ่อนแล้ว จึงทำการศึกษาพสิ จู น์ข้อสมมติฐานโดยทำการสงั เกต
ปรากฏการณ์ และทดลองว่าข้อสมมติฐานนั้นใช้ได้หรือไม่ และทำการเก็บข้อมูลที่เก่ียวข้องมาทำการศกึ ษาผลที่
เกิดขึ้นจริงทำซํ้า ๆ หลาย ๆ ครั้ง ถ้าผลส่วนใหญ่ที่ได้จากข้อเท็จจริงตรงกับข้อสมมติฐานที่ตั้งไว้ ก็แสดงว่าข้อ
สมมตฐิ านน้นั ถูกตอ้ งสามารถนำมาตง้ั เป็นทฤษฎีเพื่อใช้ประโยชน์ตอ่ ไปได้ ถา้ ไมต่ รงกย็ กเลกิ ไป
3) วิธีหาเหตุจากผล (Inductive Method) เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลจากเหตุการณ์ต่างๆ เฉพาะรายมา
วิเคราะห์หาสาเหตุเพื่อสรุปเป็นทฤษฎี เป็นการศึกษาจากเรื่องเฉพาะที่เป็นส่วนย่อยเพื่อสรุปเป็นเรื่องของ
สว่ นรวมหรือใชเ้ ป็นทฤษฎีท่วั ไป
โดยปกตกิ ารศึกษาเศรษฐศาสตร์จะไม่ใช้วิธใี ดวธิ หี นงึ่ ดังท่ีกลา่ วมาแล้วข้างตน้ เปน็ การเฉพาะ แตจ่ ะใช้หลาย ๆ วิธี
รว่ มกนั เพราะการต้งั ข้อสมมติฐานโดยปราศจากเร่ืองในอดตี กระทำได้ยาก จะตอ้ งมกี ารรวบรวมข้อมูลบางอย่าง
ก่อนเพื่อเป็นแนวทางในการตั้งสมมติฐาน และการรวบรวมข้อมูลก็ต้องมีความคิดอยู่ก่อนแล้วว่าอะไรมี
ความสัมพันธ์กัน
6. ครูใชส้ ่ือ PowerPoint ประกอบเทคนิคการบรรยายหน่วยเศรษฐกจิ และวงจรในระบบเศรษฐกจิ
หน่วยเศรษฐกิจ (Economic Units) หมายถึง หน่วยที่ทำหน้าที่ทางด้านการผลิต การบริโภคและการจำแนก
แจกจ่ายสินค้าและบริการทีม่ ีอยู่ในระบบเศรษฐกิจ เพื่อให้ทุกคนอยู่ดกี ินดี หน่วยเศรษฐกจิ ของทุกประเทศไม่วา่
จะอยู่ในระบบเศรษฐกิจแบบใดจะประกอบด้วยภาคเศรษฐกิจต่าง ๆ ได้แก่ ภาคครัวเรือน ภาคธุรกิจ และ
ภาครฐั บาล ซง่ึ แต่ละหน่วยเศรษฐกิจจะมหี นา้ ท่ตี ่าง ๆ ดงั ตอ่ ไปนี้
1) ภาคครัวเรือน (Household Sector) มีฐานะเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตและผู้บริโภค ในฐานะที่เป็น
เจ้าของปัจจัยการผลิต ภาคครัวเรือนจะเสนอขายปัจจัยการผลิต ได้แก่ ที่ดิน แรงงาน ทุน และผู้ประกอบการ
ให้กับผู้ผลิตเพื่อใชใ้ นการผลิตสินค้าและบริการ โดยผู้ผลิตจะจ่ายผลตอบแทนให้กับเจ้าของปัจจัยการผลิตในรปู
ของค่าเช่า ค่าจ้าง ดอกเบี้ย และกำไร เมื่อเจ้าของปัจจัยการผลิตได้รับรายได้ก็จะนำไปซื้อสินค้าและบริการ
ดงั น้ัน ภาคครวั เรือนจงึ มีฐานะเปน็ ทัง้ เจา้ ของปัจจยั การผลติ และเปน็ ผู้บริโภค
2) ภาคธุรกิจ (Business Sector) เป็นผู้ที่ทำการผลิตสินค้าและบริการเพื่อตอบสนองความต้องการของ
ผู้บริโภค โดยใช้ปัจจัยการผลิตที่มีอยู่ให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด ภาคธุรกิจจะประกอบด้วยหน่วยธุรกิจต่างๆ ที่
ทำการผลิตเพื่อมุ่งแสวงหากำไรสูงสุด

3) ภาครัฐบาล (Government Sector) รัฐบาลในระบบเศรษฐกิจแบบต่าง ๆ จะมีบทบาทแตกต่างกัน เชน่
ในระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม รัฐบาลไมม่ ีบทบาททางเศรษฐกิจเลย ในขณะที่ระบบเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์
รัฐบาลมีบทบาทอย่างมาก รัฐบาลจะเป็นผู้ตัดสินใจเกี่ยวกับระบบเศรษฐกิจทั้งหมด ดังน้ัน ในระบบเศรษฐกิจท่ี
ต่างกนั รัฐบาลจะมบี ทบาททตี่ ่างกนั แตโ่ ดยท่ัวไปในระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมรัฐบาลไมม่ ีบทบาททางเศรษฐกิจ
เลย ในขณะทรี่ ะบบเศรษฐกิจแบบคอมมิวนสิ ต์ รฐั บาลมบี ทบาทอยา่ งมาก
รัฐบาลจะเปน็ ผ้ตู ัดสินใจเก่ยี วกบั ระบบเศรษฐกจิ ทัง้ หมด ดงั นนั้ ในระบบเศรษฐกจิ ทีต่ า่ งกันรัฐบาลจะมบี ทบาท
ที่ต่างกัน แต่โดยทั่วไปรัฐบาลจะเข้ามามีบทบาทในระบบเศรษฐกิจโดยทำหน้าที่วางระเบียบ กฎเกณฑ์เพื่อให้
เศรษฐกจิ มีความเจริญเติบโตและสามารถดำเนินกจิ กรรมได้อย่างสะดวก นอกจากนร้ี ัฐบาลยังทำหน้าที่ให้บริการ
ประชาชน เพื่อให้ประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดีโดยไม่หวังผลกำไร แต่ภาคธุรกิจจะทำการผลิตสินค้าและบริการ
เพื่อประชาชนโดยหวังผลกำไร ในการหารายได้ของรัฐบาลจากการเก็บภาษีอากรจากประชาชนนั้นก็เพื่อนำไป
พฒั นาประเทศนนั่ เอง เพราะฉะนั้น รัฐบาลจึงเปรยี บเสมอื นผ้บู ริโภคด้วยเช่นกัน
สามารถแสดงความสมั พันธข์ องกิจกรรมทางเศรษฐกจิ ของหน่วยเศรษฐกิจทั้ง 3 ส่วนไดด้ ังรูป

ภาคครัวเรือน ตลาดปจั จัย ภาคธุรกจิ
ปจั จยั การผลิต
คา่ ตอบแทนปจั จัย

การผลติ
ภาคการเงนิ

ภาครัฐบาล

คา่ ใช้จ่ายในการบรโิ ภค
สนิ คา้ และบรกิ าร

ตลาดสินคา้ และบริการ

วงจรกจิ กรรมทางเศรษฐกิจ

จากรูป ความสมั พันธ์ในวงจรกจิ กรรมทางเศรษฐกิจข้างตน้ สามารถแยกอธิบายไดเ้ ป็น 2 ช่วง ดงั นี้

1) ความสัมพันธ์ในช่วงล่าง ครัวเรือนซึ่งเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต ได้แก่ ที่ดิน แรงงาน ทุนและ
ผู้ประกอบการ จะนำปัจจัยไปขายให้ภาคธุรกิจและภาครัฐบาลในตลาดปัจจัยการผลิต โดยที่อุปสงค์
(Demand) สำหรับปัจจัยการผลิตขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของภาคธุรกิจและภาครัฐบาล ซึ่งอุปสงค์นี้จะ
สง่ ผลต่อราคาของปจั จัยการผลติ ประเภทตา่ ง ๆ ดว้ ย ครัวเรือนซ่ึงเป็นเจา้ ของปัจจัยการผลิตก็สนองตอบ
ต่อราคาดังกล่าว และทำการเลือกว่าควรจะเสนอขายปัจจัยที่ไหนอย่างไร การเลือกเช่นนี้จะเป็น
ตัวกำหนดอุปทาน (Supply) ของปัจจัยการผลิต และจะมีผลกระทบต่อราคาของปัจจัยการผลิต
ค่าใช้จ่ายตา่ ง ๆ ที่ภาคธุรกิจและภาครัฐบาลจ่ายให้แก่เจ้าของปจั จัยการผลิตในรูปแบบต่าง ๆ กัน ได้แก่
ค่าจ้าง (Wage) ค่าเช่า (Rent) ดอกเบี้ย (Interest) และกำไร (Profit) ก็จะกลายเป็นรายได้ของเจ้าของ
ปจั จัยการผลิตหรอื ครัวเรือน

2) ความสัมพันธ์ในช่วงบน เมื่อภาคธุรกจิ และภาครัฐบาลรวบรวมปัจจัยการผลิตได้ แล้วก็นำมาผลิตเป็นสินค้า
และบริการ จากนนั้ นำไปขายใหแ้ กภ่ าคครวั เรือนในตลาดสินค้าและบริการ โดยทค่ี รัวเรือนซ่งึ เปน็ เจ้าของเงินจะมี
อุปสงคส์ ำหรบั สินค้าและบริการชนดิ ใดเป็นเทา่ ใด ขนึ้ อย่กู บั การตดั สินใจของครัวเรือนในขณะเดียวกันภาคธุรกิจ
ต้องอาศัยราคาสินค้าและบริการในตลาดเป็นเครื่องมือในการตัดสินใจว่าจะทำการผลิตสินค้ าและบริการ
อะไรบ้างที่จะก่อให้เกิดกำไร ซึ่งก็คืออุปทานของสินค้านั่นเอง สำหรับภาครัฐบาลเมื่อผลิตสินค้าและบริการ
สาธารณะแล้ว ก็จะจำแนกแจกจ่ายไปยังประชาชนทั้งหมดในประเทศ ทั้งที่อยู่ในภาคครัวเรือนและธุรกิจโดย
ไดร้ ับคา่ ตอบแทนในรปู ของภาษีอากร (tax)
7. ครูใช้วิธีบรรยายปัญหาพื้นทางเศรษฐกิจ โดยกล่าวว่า ทุกสังคมจะประสบกับปัญหาอย่างเดียวกัน คือ ผลิต
อะไร อย่างไร และเพื่อใคร เนื่องจากทรัพยากรมีจำนวนจำกัด จึงไม่สามารถตอบสนองความต้องการของทุกคน
ในสังคมได้ ปญั หาท่เี ผชญิ อยู่นัน้ รวมเรียกวา่ ปัญหาพนื้ ฐานทางเศรษฐกิจ
1) ผลิตอะไร (What) เมื่อทรัพยากรที่มอี ยู่ในโลกมีจำนวนจำกัดและไม่สามารถสนองความต้องการทั้งหมดของ
ทุกคนในสังคมมนุษย์ได้ จึงต้องมีการคำนวณและวางแผนเพื่อให้รู้ว่าสิ่งใดควรจะผลิตและสิ่งใดไม่ควรผลิต และ
สงิ่ ทค่ี วรผลิตน้นั ควรจะผลติ ในปริมาณเท่าใด จงึ จะเพียงพอกับความต้องการและความจำเป็น เพ่ือให้การจัดสรร
ทรัพยากรอันจำกัดนั้นเกิดประโยชน์มากท่ีสุด เพื่อให้ไดส้ ่ิงท่ีมีคนต้องการมากทส่ี ุด กลา่ วโดยสรุป ปัญหาพื้นฐาน
ทางเศรษฐกจิ ขอ้ แรกก็คอื จะผลติ สินค้าหรอื บริการอะไร(what to Produce?)
2) ผลิตอย่างไร (How) เมื่อได้กำหนดหรือตัดสินใจแน่ว่าจะเลือกผลิตสินค้าหรือบริการอะไร และผลิตใน
จำนวนเทา่ ไร เพ่ือใหเ้ พียงพอต่อความต้องการของทุกคนในสังคมแล้ว ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจข้อต่อไปก็คือ
จะผลิตสินค้าหรือบริการที่เลือกนั้นด้วยวิธีใด จึงจะได้ประสิทธิภาพที่ดีที่สุด ในแง่ที่ว่าเสียต้นทุนการผลิตต่อ
หน่วยตํ่าที่สุดหรือใช้จำนวนปัจจัยการผลิตเท่าเดิม แต่ผลิตสินค้าหรือบริการได้เพิ่มขึ้น ย่อมก่อให้เกิดผลดีแก่
หน่วยเศรษฐกิจทุกหน่วยที่เกี่ยวข้อง หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง จะผลิตสินค้าหรือบริการอย่างไร ( How to
Produce?)
3) ผลิตเพื่อใคร (For Whom) เมื่อได้กำหนดหรือตัดสินใจว่าจะเลือกผลิตสินค้าหรือบริการอะไรผลิตใน
จำนวนเท่าไร และผลติ ด้วยกรรมวิธีใดทจ่ี ะเสียต้นทุนการผลติ ตํา่ ที่สดุ ปญั หาพื้นฐานทางเศรษฐกิจข้อที่สามก็คือ
สินค้าหรอื บรกิ ารทผ่ี ลิตขน้ึ นั้นจะผลติ เพอื่ ใคร (For Whom to Produce?) จงึ จะเปน็ การแบง่ สินคา้ และบริการที่
ผลติ ไดด้ ้วยทรัพยากรอันจำกัดน้ันไปยงั บุคคลต่าง ๆ อย่างเหมาะสม เสมอภาคและยตุ ิธรรม
8. ครูให้ผู้เรียนวิเคราะห์สภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน พร้อมให้ผู้เรียนร่วมกันอธิปรายว่าควรจะผลิตสินค้าหรือ
บรกิ ารใดทส่ี อดคล้องกบั สภาพเศรษฐกิจ พรอ้ มทัง้ บอกวา่ ผลิตผลติ อะไร ผลิตอย่างไร และผลิตเพอ่ื ใคร

9. ครูบรรยายระบบเศรษฐกิจแบบต่างๆ กับการแก้ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ การแก้ปัญหาพื้นฐานทาง
เศรษฐกิจท้งั 3 ประการนี้ ขน้ึ อยูก่ บั ลักษณะของระบบเศรษฐกิจแต่ละแบบวา่ มีลกั ษณะของระบบเศรษฐกิจเป็น
อยา่ งไร โดยท่ัวไประบบเศรษฐกจิ (Economic System) สามารถแบ่งออกไดเ้ ป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ คอื
9.1 ระบบเศรษฐกิจแบบทนุ นิยม (Capitalism Economic System) ซึ่งมีลกั ษณะสำคัญดังนี้
1) การมกี รรมสิทธ์ใิ นทรพั ย์สนิ หนว่ ยเศรษฐกจิ ซง่ึ ประกอบดว้ ยหน่วยครวั เรอื นและหน่วยธุรกจิ น้นั จะเปน็ เจ้าของ
ปจั จัยการผลิต จงึ มีสทิ ธิและเสรภี าพในการจัดการกับปัจจัยการผลติ ตามความเหมาะสม
2) การมเี สรีภาพในธุรกจิ ผู้ท่เี ป็นเจา้ ของปัจจยั การผลิตมีเสรภี าพในการเลือกประกอบธรุ กิจหนว่ ยครัวเรือนเองก็
มเี สรภี าพในการขายปัจจัยการผลติ ของตนให้แกห่ นว่ ยธรุ กจิ ตามตอ้ งการ
3) การมกี ำไรเปน็ ส่ิงจูงใจ รายไดจ้ ากการขายปัจจยั การผลิตจะเป็นสิ่งจูงใจให้มีการนำปจั จยั การผลิตที่มีอยู่มาใช้
ประโยชน์ในการผลิตสินค้าและบริการ และพยายามหาวิธีที่จะลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มกำไรให้มากขึ้น
ผู้บริโภคจะเปรียบเทียบราคากับความพอใจที่จะได้รับจากการบริโภคสินค้านั้นและจะเลือกซื้อสิ นค้าที่ทำให้ตน
ไดร้ ับความพอใจมากทีส่ ดุ โดยจา่ ยในราคาตาํ่ สุด
4) ราคา การแก้ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจในระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมจะใช้ราคาเป็นเกณฑ์ในการตัดสิน
ราคาตลาดจะกำหนดจากอุปสงค์และอุปทานของสินค้าและบริการนั้น ถ้าปริมาณซื้อและปริมาณขายเท่ากัน
ราคาสินค้าก็จะไม่เปลี่ยนแปลง แต่ถ้าปริมาณซื้อและปริมาณขายไม่เท่ากัน ราคาสินค้าจะเปลี่ยนแปลงทันที
กล่าวคือ ราคาสินค้าจะสูงขึ้นหากปริมาณซื้อมากกว่าปริมาณขาย และราคาสินค้าจะลดลงหากปริมาณซื้อน้อย
กว่าปริมาณขาย
กลไกสำคัญของการแก้ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ คือ การกำหนดราคาและการเคลื่อนไหวของราคา ซึ่งระบบ
เศรษฐกจิ แบบทนุ นยิ มจะใช้กลไกราคาในการแก้ปญั หาพ้ืนฐานทางเศรษฐกจิ ดงั นี้
1. ปัญหาผลิตอะไร ผู้บริโภคจะมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจผลิตสินค้าและบริการของผู้ผลิตผู้ผลิตจะทราบความ
ตอ้ งการของผ้บู ริโภคจากจำนวนเงินท่ีผู้บริโภคนำมาใช้จ่าย โดยปกติถา้ ผู้บรโิ ภคต้องการสนิ ค้าและบริการใดมาก
ก็ยินดีจ่ายเงินซื้อสินค้าและบริการนั้นมากและในราคาที่สูงด้วย ผู้ผลิตจึงนำราคาสินค้าและบริการนั้นมา
เปรียบเทยี บกับตน้ ทนุ การผลิตเพื่อดูว่าจะกำไรหรือขาดทุน ถา้ ไดก้ ำไรก็จะพิจารณาว่าควรจะผลิตเท่าใดจึงจะได้
กำไรสูงสุด ถา้ ขาดทนุ ก็จะไมท่ ำการผลิต
2. ปญั หาผลติ อย่างไร ผ้ผู ลติ ตอ้ งเลือกวธิ กี ารผลิตท่ีเสยี ตน้ ทนุ ต่ําสดุ เพ่ือให้ได้กำไรมากทส่ี ุด ดงั นนั้ ผู้ผลิตจะเลือก
วธิ กี ารผลติ ใดน้ันตอ้ งดจู ากราคาสินค้าและราคาปจั จัยการผลติ ร่วมกนั
3. ปัญหาผลิตเพื่อใคร ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมจะใช้ราคาสินค้าและบริการเป็นเกณฑ์ในการแจกจ่ายสินค้า
และบริการให้แก่คนในสังคม เมือ่ สนิ ค้าและบริการมจี ำนวนจำกัด ผู้บริโภคจึงตอ้ งแขง่ ขันกนั ซ้ือสินค้าและบริการ
ที่ตนต้องการ ผู้บริโภคทีม่ ีรายไดม้ ากจะมอี ำนาจซื้อมาก สินค้าจะถูกจัดสรรไปยังผู้บรโิ ภคทีต่ ้องการและมีรายได้
พอทีจ่ ะซ้อื สนิ คา้ นนั้ ตามราคาตลาด
ขอ้ ดีและขอ้ เสยี ของระบบเศรษฐกิจแบบทุนนยิ ม
ข้อดี มดี งั น้ี

1. คล่องตัว ระบบเศรษฐกิจมีความคล่องตัวและมีความสามารถในการปรับตัวได้มากหรอื มีความสามารถ
ในการจัดการหรือกระตนุ้ ให้มีการดำเนนิ การเพ่ือผลิต หรือใหบ้ รกิ ารสนิ คา้ ท่ีประชาชนส่วนใหญ่ต้องการ

2. เสรีภาพ หน่วยเศรษฐกิจมีเสรีภาพในการใช้ทรัพยากรหรือประกอบกิจการใดที่ต้องการ ถ้าไม่ขัดต่อความ
สงบหรือกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่น ระบบเศรษฐกิจแบบนี้จะมีการจัดสรรทรัพยากรอย่างมี
ประสิทธิภาพโดยอาศัยกลไกราคาและการทำงานของระบบตลาด เพราะระบบเศรษฐกิจนี้มีผู้ซื้อและผู้ ขาย
จำนวนมากที่แต่ละคนมีความรู้ในสถานการณ์ของตลาดและสินค้าที่ตนเกี่ยวข้องมาก และสามารถที่จะเข้าหรือ
ออกจากตลาดน้นั
3. ประสิทธิภาพ ทรพั ยากรสามารถหมุนเวียนเคลือ่ นไหวไปยงั ทีต่ ่าง ๆ ได้คลอ่ งและรวดเรว็ โดยอาศัยกลไกราคา
เป็นเครื่องช่วย เช่น เจ้าของปัจจัยการผลิตสามารถเคลื่อนย้ายทรัพยากรของตนเองได้ หรือผลิตสินค้าที่ให้
ผลตอบแทนมากกวา่ ได้ ซึ่งการเคล่อื นย้ายทรพั ยากรนีจ้ ะกระทำไปจนกระท่งั การจัดสรรทรัพยากรหรือปัจจัยการ
ผลิตได้ดลุ ยภาพ
ขอ้ เสีย มีดงั น้ี
1. ประสิทธิภาพ ในระบบเศรษฐกิจนี้การจัดสรรทรัพยากรอาจไม่มีประสิทธิภาพที่ดีพอ ถ้าบุคคลมีสิทธิและ
เสรีภาพในการดำเนินการและประกอบกจิ การต่างๆ จนนำไปส่กู ารผกู ขาด
2. ความเสมอภาค ระบบเศรษฐกจิ น้ีอาจมกี ารสบื ทอดทรัพย์สนิ ซ่ึงอาจมผี ลใหเ้ กิดความไม่เสมอภาค
ในการจัดสรรรายไดแ้ ละความมั่งคง่ั หรือการจดั สรรทรพั ยากร เชน่ การผลิตสินค้า ซึง่ อาจทำเพ่ือส่วนน้อยโดยไม่
คำนึงถงึ ความต้องการของคนส่วนใหญ่
3. ความมีเสถียรภาพและปัญหาสังคมและสิ่งแวดล้อม ระบบเศรษฐกิจนี้อาจก่อให้เกิดความไม่มีเสถียรภาพ
ทางเศรษฐกิจ เช่น การผันแปรรวดเรว็ ในตลาดหุน้ และตลาดทุน อันเนื่องมาจากการเก็งกำไร หรืออาจก่อใหเ้ กิด
ปัญหาสังคมและสิ่งแวดล้อมขึ้น อันเนื่องมาจากการผลิตสนิ คา้ และบรกิ ารที่ไมค่ ำนึงถึงผลกระทบต่อส่ิงแวดล้อม
และสังคมในระยะยาว การพฒั นาอะไรกต็ ามถา้ สามารถหลีกเลี่ยงการทำลายสิ่งแวดลอ้ มได้ย่อมเป็นผลดแี กท่ ุก ๆ
ฝ่าย นอกจากนี้การพัฒนาเศรษฐกิจยังเน้นทางด้านวัตถุมากกว่าทางด้านศีลธรรมของประชาชน แม้จะทำให้
ประเทศมีความก้าวหน้าและประชาชนได้รับความสะดวกสบาย แต่อาจก่อให้เกิดปัญหาสังคมที่รุนแรงและก่อ
ความไม่สงบสุขให้แก่ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศได้
9.2 ระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม (Socialist Economic System) หรือระบบเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์
(Communism) เป็นระบบเศรษฐกิจที่มีการวางแผนจากส่วนกลาง (Central Planning) มีลักษณะสำคัญคือ
รฐั บาลเขา้ ควบคมุ การผลติ ในส่วนสำคัญและในบางกรณรี ฐั บาลอาจเข้ายึดถือกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินแทนเอกชนก็
ได้ เสรีภาพในการผลิตของเอกชนถูกจำกัด รัฐบาลเป็นผู้กำหนดชนดิ ของสินคา้ ที่จะทำการผลิต ตลอดจนวิธกี าร
ผลิตและอน่ื ๆ รวมทง้ั เปน็ ผู้พจิ ารณาว่าจะใช้ผลผลติ อย่างไร โดยทำการจัดสรรผลผลิตตามหลักแหง่ การผลิตเพ่ือ
ใช้ ไม่ให้แสวงหากำไร ในระบบเศรษฐกิจแบบนี้แรงงานอาจได้ค่าจ้างเป็นเงินและมีทรัพย์สินส่วนตัวสำหรับ
ดำเนนิ ธรุ กจิ ขนาดย่อมได้ แตก่ ารควบคุมการผลิตส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับรฐั บาล ประชาชนมเี สรีภาพท่ีจะเลือกอาชีพ
และเลือกใช้สิ่งของใด ๆ ตามความต้องการได้บ้าง แต่ระบบราคามิได้เป็นส่วนสำคัญ ระบบเศรษฐกิจแบบนี้อาจ
เรียกวา่ ระบบเศรษฐกจิ แบบคอมมวิ นสิ ตห์ รือสังคมนยิ ม
การแก้ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจจะดำเนินการตามแผนที่ได้วางไว้ ซึ่งแผนคือเอกสารที่ระบุรายละเอียดของ
การดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจในด้านต่าง ๆ เริ่มตั้งแต่การจัดสรรทรัพยากร การผลิต การลงทุนและการ
จดั สรรผลผลิตไปสผู่ ู้บริโภค รัฐจึงต้องใช้แผนเปน็ เครอ่ื งมอื ในการแก้ปญั หาพ้นื ฐานทางเศรษฐกิจ

นักวางแผนจะต้องกำหนดเป้าหมายและความต้องการของรฐั ในดา้ นเศรษฐกิจและไมใ่ ช่เศรษฐกจิ ใหช้ ัดเจน ต้อง
มีรายละเอียดของข้อมูลที่สมบูรณ์และถูกต้อง เช่น ปริมาณแรงงาน ประเภทของแรงงานปริมาณวัตถุดิบ กำลัง
การผลิต ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ความต้องการและรสนิยมของผู้บริโภค เป็นต้น รายละเอียดของข้อมูล
เหล่านี้จะช่วยแก้ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจได้อย่างเหมาะสม ผู้ผลิตและผู้บริโภคจะต้องปฏิบัติตามแผนที่นัก
วางแผนไดจ้ ัดทำไว้
ข้อดแี ละขอ้ เสียของระบบเศรษฐกจิ แบบสงั คมนิยม
ข้อดี มดี ังน้ี
ผู้ที่นิยมระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนยิ ม มีความเห็นว่าการดำเนินงานบางอย่างมีความคล่องตัว เช่น การยึดกิจการ
บางอย่างเขา้ เป็นของรัฐอาจเป็นประโยชน์ในการขจัดการแขง่ ขนั ทางด้านการโฆษณาท่ีไร้ประโยชน์ และการล้มเลิก
ระบบการผูกขาดโดยเอกชนในธุรกิจบางชนิด นอกจากนี้การที่รัฐบาลเข้ามาดำเนินกิจการบางอย่างอาจช่วยให้มี
การจัดสรรทรัพยากรและมีการกระจายรายได้ที่ดี เพราะรัฐบาลมีเงินเพียงพอที่จะดำเนินโครงการต่าง ๆ ที่มี
ประโยชนต์ ่อประชาชนสว่ นใหญ่ ซ่ึงกจิ การเหล่านี้ต้องใช้เงินลงทุนมหาศาล เอกชนจงึ ไม่ยนิ ดีทจี่ ะเข้ามาดำเนินการ
เพราะอาจประสบกับการขาดทุนได้
ขอ้ เสยี มีดังน้ี
1. ประสิทธิภาพ การวางแผนจากส่วนกลางมักจะไม่มีประสิทธิภาพและอาจผิดพลาดได้ง่าย เนื่องจากการรวม
อำนาจไวแ้ หลง่ เดียว หากผูว้ างนโยบายเป็นผู้ทีไ่ มม่ คี วามสามารถอาจทำให้การตัดสนิ ใจและการจัดสรรทรัพยากรไม่
เป็นไปตามหลักทีจ่ ะก่อให้เกิดประโยชน์มากที่สุดและอาจเกิดการสูญเปล่าได้ อันมีผลทำให้เศรษฐกิจเกิดการชะงัก
งันได้
2. เสรภี าพ การทป่ี ระชาชนไม่มีกรรมสิทธ์ิในทรัพย์สนิ และปัจจัยการผลิต ตลอดจนขาดเสรภี าพในการดำเนินการ
อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้ประชาชนขาดกำลังใจที่จะปรับปรุงให้กิจการมีประสิทธิภาพมากขึ้น การทำงานของกลไก
ราคาหรือระบบตลาดไม่มีประสิทธิภาพ เพราะการผลิตสินค้าและบริการส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของผู้วาง
นโยบายจากส่วนกลาง ซ่งึ ประชาชนอาจไม่ไดส้ ินค้าหรอื บริการที่ตนต้องการ
3. ความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ ขึ้นอยู่กับนโยบายของรัฐบาลเป็นหลัก ทำให้ระบบเศรษฐกิจนี้อาจจะมี
ปัญหาในการพัฒนาเศรษฐกจิ ถา้ รฐั บาลควบคมุ กจิ การต่าง ๆ มากเกนิ ไปและบางคร้งั ไม่สามารถควบคุมได้ท่ัวถึงจึง
เกิดช่องว่างหรือการสูญเปล่าทางเศรษฐกิจ ตลอดจนการดำเนินการที่ไม่มีประสิทธิภาพ ซึ่งมีผลทำให้ระบบ
เศรษฐกิจไมเ่ จริญก้าวหน้า
4. แรงจงู ใจ การขาดแรงจูงใจทจ่ี ะกระตุ้นให้ทำการผลิตหรือคิดค้นสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ เพราะเอกชนไม่มีกรรมสิทธ์ิ
ในทรัพย์สินหรือปัจจัยการผลิตที่จำเป็นในการผลิตสินค้าและบริการ ตลอดจนไม่สามารถแสวงหากำไรจากการ
ดำเนินงานของตน
5. การผลติ สินคา้ และบริการ การผลิตหรือการจดั สรรสินคา้ และบริการใหแ้ ก่ผูบ้ รโิ ภคอาจไม่ตรงกับความต้องการ
เพราะรัฐบาลอาจจะเห็นว่าสินค้าที่ผลิตน้ันเป็นสินค้าฟุ่มเฟือย จึงจำกัดปริมาณการผลิตและหันไปผลิตสินค้าอื่นท่ี
รัฐบาลเห็นว่ามีความจำเป็นแทน เช่น เสื้อผ้า ยารักษาโรค เป็นต้น ซึ่งสินค้าเหล่านี้อาจเป็นสินค้าที่ผู้บริ โภคไม่
ตอ้ งการกไ็ ด้
9.3 ระบบเศรษฐกิจแบบผสม (Mixed Economy System) เป็นระบบเศรษฐกิจที่มีลักษณะผสมผสาน
ระหว่างระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมกับระบบเศรษฐกิจแบบวางแผนจากส่วนกลาง ทั้งรัฐบาลและเอกชนมีส่วน
รว่ มในการแกป้ ญั หาพ้ืนฐานทางเศรษฐกิจ รัฐบาลและเอกชนจะมกี รรมสทิ ธใ์ิ นทรพั ย์สินกลไกราคาจะมบี ทบาท

ในการจดั สรรทรพั ยากรและจดั สรรผลผลติ แตจ่ ะมีบทบาทน้อยกว่าระบบเศรษฐกจิ แบบทนุ นิยมเนอ่ื งจากมีการ
รวมกลมุ่ ทางเศรษฐกจิ หลายฝ่าย เชน่ สหภาพแรงงาน สมาคมการค้าและธรุ กจิ กลุ่มเหล่านีม้ อี ิทธพิ ลและอำนาจ
ผูกขาดบางสว่ น ซ่งึ มผี ลต่อการตัดสนิ ใจผลติ การลงทุน การจดั สรรทรัพยากร เป็นต้น
ระบบเศรษฐกิจแบบผสมเป็นระบบทม่ี ีความยืดหยนุ่ และเปดิ โอกาสใหม้ ีการเลอื กเครื่องมือเพือ่ ใช้ในการแก้ปัญหา
พน้ื ฐานทางเศรษฐกิจท่เี หมาะสมกับกจิ กรรม เพราะเปน็ ระบบที่ใชท้ ั้งกลไลราคาและการวางแผนจากสว่ นกลาง
ขอ้ ดแี ละขอ้ เสียของระบบเศรษฐกิจแบบผสม
ข้อดี มีดังนี้
การดำเนินการมีความคล่องตัว เพราะสามารถปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ของสภาพเศรษฐกิจได้การอาศัย
กลไกราคาเพื่อจูงใจให้เอกชนทำการลงทุนและทำการผลิตสินค้าและบริการเพื่อลดภาระของรัฐบาล แต่ถ้าการ
ดำเนินการของเอกชนไปถงึ ระยะหน่ึงที่รฐั บาลเหน็ ว่าถา้ ยงั คงใหเ้ อกชนดำเนินการต่อไปอย่างอสิ ระอาจเกิดปัญหา
และความเดือดรอ้ นแก่ประชาชนได้ รัฐบาลก็จะเขา้ มาดำเนนิ การควบคุมหรือออกกฎข้อบงั คบั หรือกฎหมาย และ
เมอื่ ใดท่ีรัฐบาลเห็นว่าไมม่ ีความจำเปน็ ทีต่ อ้ งเขา้ ไปกำกบั ก็จะปลอ่ ยให้เอกชนดำเนินการต่อไป
ข้อเสยี มีดงั น้ี
เอกชนอาจขาดแรงจงู ใจในการดำเนินการ เพราะเอกชนมีความรู้สึกว่าการเข้ามาดำเนนิ การต้องเสย่ี งกับความไม่
แน่นอนจากนโยบายของรัฐบาล เนื่องจากรัฐบาลเปน็ ผกู้ ำหนดนโยบายและการใช้อำนาจตา่ ง ๆ ทำให้เอกชนขาด
ความมั่นใจในการลงทุน การดำเนินการผลิตขนาดใหญ่ของรัฐบาลมักจะขาดประสิทธิภาพเมื่อเทียบกับเอกชน
กล่าวคอื คุณภาพจะไม่เท่าเทียมกับทีเ่ อกชนผลิตข้ึน
10. ครูใช้วธิ ีการเขียนกระดานพร้อมท้ังเทคนิคการบรรยาย เครื่องมือประกอบการศึกษาวิชาเศรษฐศาสตร์ ใน
การศึกษาทฤษฎีเศรษฐศาสตร์เพื่อให้ง่ายแก่การเข้าใจที่ตรงกัน นักเศรษฐศาสตร์จำเป็นต้องใช้เครื่องมือทาง
คณิตศาสตร์บางอย่างเข้ามาช่วย นอกเหนือจากการอธิบายโดยวิธีพรรณนา ดังนั้น จึงควรทำความเข้าใจ
เครอ่ื งมอื ทางคณิตศาสตร์ ไดแ้ ก่ ฟงั กช์ นั สมการ กราฟ ความชนั คา่ รวม คา่ เฉลย่ี และคา่ หน่วยเพมิ่
รวมทั้งค่าสูงสุด-ค่าตํ่าสุด ก่อนที่จะได้ทำการศึกษาต่อไป ในที่นี้จะอธิบายเครื่องมือต่าง ๆ คร่าว ๆ โดยเฉพาะ
ความสมั พันธ์ของตัวแปรเพยี งสองตัวเทา่ นัน้ เพอ่ื ไมใ่ ห้ยงุ่ ยากเกนิ ไปและสามารถเข้าใจทฤษฎใี นบทต่อ ๆ ไปได้
10.1 ฟังก์ชัน (Function) หมายถึง ความสัมพันธ์ของตัวแปรตั้งแต่ 2 ตัวขึ้นไปโดยสามารถแสดงในรูป
คณิตศาสตร์ได้ เช่น

Y = f(X)
นั่นคือ Y เป็นฟังก์ชันของ X หมายความว่า ค่าของ Y ขึ้นอยู่กบั ค่าของ X เมื่อค่าของ X เปลี่ยนแปลงไปจะทำให้
ค่าของ Y เปลี่ยนแปลงตามไปด้วย จึงเรียกตัวแปร Y ว่าตัวแปรตาม (Dependent Variable)เพราะมีค่า
เปล่ยี นแปลงตามคา่ ของ X และเรยี กตัวแปร X ว่าตัวแปรอสิ ระ (Independent Variable)เพราะไม่ได้ข้ึนอยู่กับ
ค่าของตวั แปรใดๆ
การใช้ฟังก์ชันแสดงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต่างๆ ทางเศรษฐกิจ เช่น ฟังก์ชันอุปสงค์แสดงความสัมพันธ์
ระหว่างจำนวนสินค้าชนิดหนึ่งที่ต้องการซื้อ (Qx) และปัจจัยอื่น ๆ เช่น ราคาสินค้าชนิดอื่น (PY) รายได้ (Y)
รสนยิ ม (T) เป็นตน้ สามารถเขยี นเป็นฟังกช์ ันอุปสงค์ได้ดงั นี้

Qx = f(Px, Py, Y, T)

ความสัมพันธ์ดังกล่าวจะบอกเพียงว่า ค่าของตัวแปรใดขึ้นอยู่กับค่าของตัวแปรใด หากต้องการแสดง
ความสัมพนั ธ์ท่ีแน่นอนจะต้องแสดงความสัมพนั ธใ์ นรูปของสมการเพ่ือถอดหาค่า เช่น Y = 4X หมายความว่า ค่า
ของ Y จะเป็น 4 เทา่ ของค่า X เสมอ
10.2 สมการ (Equation) ฟังก์ชันจะแสดงให้เห็นว่าตัวแปรใดมีความสัมพันธ์กันเท่านั้น แต่ไม่ได้แสดงให้เห็น
ถึงความสัมพันธ์ที่เฉพาะเจาะจง กล่าวคือ ถ้าต้องการแสดงความสัมพันธ์ของตัวแปรต่างๆอย่างแน่ชัดต้องแสดง
โดยใช้สมการ ในที่นี้จะอธิบายเฉพาะสมการเส้นตรง (Linear Equation) เท่านั้น รูปทั่วไปของสมการเส้นตรง
เมื่อ Y = f(X) คอื

Y = a + bX
เมือ่ a คือ ค่าของ Y เมอ่ื X มคี า่ เท่ากับศนู ย์ หรอื อาจเรียกว่าสว่ นตัดแกนต้งั หรอื แกน Y
b คอื คา่ การเปลยี่ นแปลงของ Y เมื่อ X เปลย่ี นแปลงไป 1 หนว่ ย โดยเครือ่ งหมายข้างหน้า b จะเปน็ เคร่ืองหมาย
แสดงความสัมพันธ์ของ X และ Y ถ้าเครื่องหมายบวก แสดงว่า X และ Y มีความสัมพันธ์ไปในทางเดียวกัน
กล่าวคือ เมื่อค่าของ X เพิ่มขึ้นค่าของ Y จะเพิ่มขึ้นด้วย และถ้าค่าของ X ลดลงค่าของ Y ก็จะลดลง แต่ถ้า
เคร่ืองหมายลบ แสดงวา่ X และ Y มคี วามสมั พนั ธไ์ ปในทางตรงขา้ มกัน กล่าวคือ เม่ือค่าของ X เพิ่มขน้ึ คา่ ของ Y
จะลดลง และถ้าค่าของ X ลดลง ค่าของ Y จะเพิม่ ขึ้น
สมมติวา่ สมการการบริโภค คือ

C = 100 + 0.75Yd
เมอื่ C = รายจา่ ยในการบริโภค

Yd = รายไดส้ ุทธิสว่ นบุคคลท่ีสามารถนำไปใช้จา่ ยได้
จากสมการแสดงความสัมพันธ์ระหวา่ งรายจ่ายในการบริโภคและรายได้สุทธิขา้ งตน้ ทำให้ทราบวา่ รายจ่ายในการ
บรโิ ภคจะมากน้อยแค่ไหนข้ึนอยู่กับรายได้สทุ ธิ รายจ่ายคงที่ในการบริโภคจะมีคา่ เท่ากบั 100 หน่วย (คอื ค่าตัว a
ในสมการทั่วไป) และความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรทั้งสองเป็นไปในทางเดียวกันโดยถ้ารายได้สุทธิเพิ่มขึ้น 1
หน่วย จะทำให้รายจ่ายในการบริโภคเพิ่มขึ้น 0.75 หน่วย และในทางตรงข้าม ถ้ารายได้สุทธิลดลง 1 หน่วย จะ
ทำให้รายจ่ายในการบริโภคลดลง 0.75 หน่วยดว้ ย (คือคา่ ตัว b ในสมการรปู ทัว่ ไป)
10.3 กราฟ (Graph) ใช้แสดงความสัมพันธ์ของตัวแปรตั้งแต่ 2 ตัวขึ้นไปในลักษณะรูปกราฟทีพ่ บเสมอในทาง
เศรษฐศาสตร์ใช้แสดงความสัมพันธข์ องตัวแปรเพียง 2 ตัวบนกราฟที่มี 2 แกน คือ แกนตั้งและแกนนอนทั้งสอง
แกนนี้จะตั้งฉากกัน โดยจุดตัดเรียกว่า จุดกำเนิด (Origin) ณ จุดนี้ค่าของแกนตั้งและแกนนอน มีค่าเท่ากับศูนย์
การอ่านค่า จากกราฟบนแกนตั้งที่อยู่เหนือจุดกำเนิด จะมีค่าเป็นบวก ค่าที่อยู่ใต้จุดกำเนิดจะมีค่าติดลบ ส่วน
แกนนอนน้ันค่าที่อยู่ทางขวาของจุดกำเนดิ จะมีค่าเปน็ บวก และคา่ ทอ่ี ยู่ทางซ้ายของจุดกำเนิดจะมีค่าติดลบ และ
โดยปกตนิ ยิ มกำหนดใหแ้ กนนอนแสดงคา่ ของตัวแปรอสิ ระ และบนแกนตัง้
แสดงค่าของตัวแปรตาม ดังรูป

แสดงแกนตั้งและแกนนอนของกราฟ

จากสมการการบริโภค C = 100 + 0.75Yd ถ้าแทนคา่ ของ Yd ลงในสมการ และเปลี่ยนไปเร่ือยๆ จะไดค้ า่ ของ C
ชดุ หนงึ่ ที่มคี วามสมั พันธก์ ับคา่ ของ Yd ดังตาราง

ตารางแสดงรายจ่ายในการบริโภค ณ ระดบั รายไดส้ ุทธริ ะดับต่างๆ

รายได้สุทธิ (Yd) รายจา่ ยในการบริโภค (C)
0 100
100 175
120 190
160 220
200 250

จากตาราง เมื่อนำค่าของ C และ Yd มาเขียนกราฟ โดยให้แกนต้ังแสดงค่าของ C และแกนนอนแสดงค่าของ Yd
นำค่าของ C และ Yd แต่ละคู่มาเขียนเป็นกราฟเส้นตรง ซึ่งแสดงความสัมพันธ์ของ C และ Yd ซึ่งมีลักษณะ
ความสัมพันธ์ดังสมการ C = 100 + 0.75Yd ดงั รูป

เส้นแสดงการบริโภค
งการบรโิ ภค

10.4 ความชนั (Slope) คอื อัตราส่วนการเปล่ียนแปลงของค่าตัวแปรบนแกนตั้งต่อการเปลย่ี นแปลงของค่าตัว
แปรบนแกนนอน หรอื สามารถเขียนในรปู คณติ ศาสตรไ์ ดด้ งั น้ี

เมอื่ ΔY คอื คา่ การเปลีย่ นแปลงของตัวแปรบนแกนตง้ั
ΔX คอื คา่ การเปลีย่ นแปลงของตวั แปรบนแกนนอน

และวธิ กี ารหาค่าความชันพิจารณาได้ ดงั รูป

แสดงการหาค่าความชนั ของกราฟเส้นตรง
งการบริโภค

จากรูปทว่ั ไปของสมการเส้นตรง Y = a + bX คา่ b คอื ค่าการเปลยี่ นแปลงของ Y เมือ่ X

มีการเปลย่ี นแปลงไป 1 หน่วย หรอื สามารถเขียนรปู คณติ ศาสตร์ คอื b=

น่นั คือ ความชัน (Slope) = b นน่ั เอง

ในกรณีกราฟเส้นตรงค่าความชัน ณ จุดตา่ ง ๆ จะมีคา่ เทา่ กนั ตลอดทงั้ เส้น สว่ นการหาค่าความชนั บนเส้น

โค้งตอ้ งลากเส้นตรงสัมผสั จุดที่ตอ้ งการหาคา่ ความชัน ซึ่งคา่ ความชนั ของเสน้ ตรงทล่ี ากมาสัมผัสนจ้ี ะเปน็ ค่าความ

ชันของเส้นโคง้ ณ จดุ ที่ตอ้ งการหา โดยจดุ ตา่ ง ๆ บนเสน้ โค้งจะมีความชนั ไม่เท่ากัน ดังรูป

แสดงการหาค่าความชันของกราฟเสน้ โคง้

ทั้งน้ี ค่าความชันอาจมีคา่ เปน็ ได้ท้งั คา่ บวก คา่ ลบ ศงนูกายร์บหริโรภือคอินฟนิ ติ ี้ก็ได้ ดังรูป

แสดงกราฟเสน้ ตรงท่มี ีคา่ ความชนั แบบตา่ งๆ
งการบรโิ ภค

จากรูป (ก) แสดงค่าความชันซง่ึ มีค่าเป็นลบ แสดงคา่ ของ X และ Y เปล่ยี นแปลงไปในทางตรงขา้ มกนั ค่าของ X
เพมิ่ ขนึ้ คา่ ของ Y จะลดลง หรอื ถา้ ค่าของ X ลดลง คา่ ของ Y จะเพม่ิ ขนึ้ สมการท่ัวไปของเส้นตรงแบบน้ี คอื Y =
a – bX
จากรูป (ข) แสดงคา่ ความชนั ซ่งึ มคี า่ เปน็ บวก แสดงว่าค่าของ X และ Y เปลย่ี นแปลงไปในทางเดียวกนั ถา้ ค่าของ
X เพิ่มขึ้น ค่าของ Y จะเพิ่มขึ้นด้วย ในทำนองเดียวกัน ถ้าค่าของ X ลดลง ค่าของ Yจะลดลงด้วย สมการทั่วไป
ของเส้นตรงแบบนี้ คือ Y = a + bX

จากรูป (ค) แสดงค่าความชนั ซง่ึ มีค่าเป็นศูนย์ แสดงว่าไม่วา่ ค่าของ X จะเปล่ียนแปลงไปอยา่ งไรคา่ ของ Y จะไม่
เปล่ียนแปลงตามไปด้วย คา่ ของ Y จะมคี ่าคงที่ สมการทัว่ ไปของเสน้ ตรงแบบน้ี คือ Y = a
จากรปู (ง) แสดงค่าความชนั ซึ่งมคี า่ เป็นอินฟนิ ติ ้ี หมายความวา่ ไม่ว่าคา่ ของ Y จะเปลย่ี นแปลงไปอย่างไร คา่ ของ
X จะไมเ่ ปลยี่ นแปลงตามไปดว้ ยและมีคา่ คงท่ีตลอด สมการทัว่ ไปของเสน้ ตรงแบบนี้ คอื X = d
ในกรณีเส้นตรงลากออกจากจุดกำเนิดค่าจุดตัดแกนต้ัง หรือ a จะมีค่าเป็นศูนย์ สมการทั่วไปของเส้นตรงแบบนี้
จึงมีลักษณะเป็นดังนี้ Y = bX และในกรณีที่เส้นตรงลากจากจุดกำเนิดทำมุม 45 องศากับแกนตั้งและแกนนอน
ค่าความชันของเส้นตรงนีจ้ ะมีค่าเท่ากับ 1 โดยมีสมการทั่วไป คือ Y = X นั่นคือ ทุกๆ จุดบนเส้นตรงเส้นนี้ให้คา่
X และ Y ที่เทา่ กัน ดังรูป

แสดงกราฟเส้นตรงทล่ี ากจากจุดกำเนิด

10.5 ค่ารวม ค่าเฉลี่ย และคา่ หน่วยเพม่ิ (Total, Aงกvาeรบrรaิโภgคe and Marginal Value) เม่ือเราทราบแล้ววา่ การ

เปลี่ยนแปลงของตัวแปรตามมักเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของตัวแปรอิสระ เราจึงต้องศึกษาต่อไปว่าความ

เปลี่ยนแปลงท่ีเกดิ ขึน้ สามารถวดั ออกมาเป็นตัวเลขได้เท่าไร โดยทัว่ ไปอาจวดั คา่ ออกมาได้ 3 แบบ คือ

1) คา่ รวม (Total Value) คือ ยอดรวมทัง้ หมด เชน่ ตน้ ทุนรวม รายได้รวม กำไรรวม เป็นตน้

2) ค่าเฉลี่ย (Average Value) อตั ราสว่ นของยอดรวมตวั แปรตามกับยอดรวมของตวั แปรอิสระ เช่น ต้นทุนเฉล่ีย

ต่อหน่วย รายไดเ้ ฉลยี่ ต่อวนั กำไรเฉลีย่ เปน็ ต้น

3) ค่าหน่วยเพิ่ม (Marginal value) เป็นวิธีวัดค่าที่นิยมกันมากในทางเศรษฐศาสตร์ค่าหน่วยเพิ่ม คือ การ

พจิ ารณาวา่ ตวั แปรตามจะเปลย่ี นแปลงไปเท่าไร เม่ือตัวแปรอิสระเปล่ยี นแปลงคา่ ไป
สว่ นเปล่ียนของตัวแปรตาม Y
จากเดิม 1 หน่วย สูตรของหน่วยเพ่ิม = สว่ นเปลีย่ นของตัวแปรอสิ ระ X

งการบริโภค

10.6 ค่าสูงสุดและตํ่าสุด (Maximum and Minimum Value) ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์มักให้ความสำคัญกับ

การหาคา่ สงู สดุ และตํา่ สุด การหาค่าดังกล่าวสามารถทำไดโ้ ดยวธิ ีแคลคูลสั และโดยอาศัยรปู กราฟ

นอกจากน้ีการศกึ ษาทางเศรษฐศาสตร์ยังได้อาศยั การอธิบายภาวะดลุ ยภาพ (Equilibrium) เพอ่ื ประโยชน์ในการ

อธิบายสภาวะทเ่ี ปน็ ไปในทา้ ยที่สดุ ของการปรับตัว และเปน็ หลกั ในการคาดคะเนทิศทางการเปลีย่ นแปลงของตัว

แปรทางเศรษฐกิจ โดยดุลยภาพในทางทฤษฎีหมายถึง สภาวะบางส่วนหรือทังหมดของระบบเศรษฐกิจที่ปัจจัย

ต่าง ๆ ที่เคยก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงมีความพอดี อยู่ในภาวะสมดุลโดยตัวแปรต่าง ๆ ไม่มีการเปลี่ยนแปลง

ในช่วงเวลาหนึง่ แต่โดยท่วั ไปตวั แปรดังกล่าวจะมีการเปล่ียนแปลงอยา่ งช้า ๆ ตลอดเวลา ดังนัน้ ระบบเศรษฐกิจ

ที่เปน็ จรงิ จึงมักไมอ่ ยใู่ นภาวะสมดลุ เปน็ แตเ่ พยี งการว่ิงเขา้ หาภาวะสมดุลท่ผี ันแปรอยู่เสมอเท่านั้น

11. ครูใช้วิธีบรรยาย ประโยชน์ของวิชาเศรษฐศาสตร์ วิชาเศรษฐศาสตร์เป็นวิชาที่มีความสำคัญและมี
ประโยชน์ ทำใหท้ ราบถงึ วิธีการแกไ้ ขปญั หาทางเศรษฐกจิ ได้อย่างมเี หตุผล ดังนน้ั วชิ านี้จงึ มักเป็นวิชาพื้นฐานของ
การศึกษาในแขนงวชิ าอ่ืน ๆ ประโยชนข์ องวิชาเศรษฐศาสตรส์ ามารถสรปุ ไดด้ งั น้ี
1. ช่วยให้การดำรงชีวิตประจำวันเป็นไปอย่างมีหลักเกณฑ์และมีเหตุมีผล เพราะมนุษย์จะต้องตัดสินใจใน
กิจกรรมทางเศรษฐกิจตลอดเวลา เช่น ซื้อสินค้าอะไรมาบริโภค จำนวนเท่าใด ซื้ออะไรก่อนอะไรหลัง การ
ตัดสินใจอยา่ งมีหลกั เกณฑ์จะชว่ ยใหก้ ารดำรงชวี ติ ประจำวนั เป็นปกตสิ ขุ
2. เป็นความรู้ขั้นพื้นฐานที่จำเป็นแก่ผู้ประกอบอาชีพธุรกิจและอาชีพอิสระ เช่น นักการธนาคาร นักบัญชี นัก
ปกครอง ผจู้ ดั การบริษัท ทนายความ นักหนังสอื พิมพ์ เป็นต้น
3. หน่วยธุรกิจสามารถนำความรู้ไปใช้ในการตัดสินใจทางธุรกิจได้ดีขึ้น สามารถคาดการณ์ภาวะเศรษฐกิจใน
อนาคตไดถ้ กู ตอ้ ง ทำใหก้ ารวางแผนเกยี่ วกบั การลงทุน การผลิต การกำหนดราคาเปน็ ไปอย่างมีประสทิ ธิภาพ
4. ในแง่ของส่วนรวม ถ้าประชาชนมีความรู้ด้านเศรษฐศาสตร์ก็จะสามารถประกอบอาชีพในอันที่จะก่อให้เกิด
ความเจรญิ กา้ วหน้าแก่ตนเองและสว่ นรวม หรือในกรณที ่ีประเทศประสบปัญหาเศรษฐกิจรัฐบาลก็จะได้รับความ
ร่วมมอื ในการแก้ไขปัญหาอย่างดี ทำใหป้ ัญหาท่เี กดิ ข้ึนผ่อนคลายไปในทางที่ดไี ด้รวดเรว็ ขน้ึ
5. เข้าใจพฤติกรรมของมนุษย์ เข้าใจกฎเกณฑ์และสถาบันทางเศรษฐกิจที่มนุษย์ตั้งขึ้น ทำให้เกิดแนวทางการ
เปลี่ยนแปลงและพฒั นาสงั คมเศรษฐกจิ ทต่ี นอาศยั อยู่ใหม้ ีความเจริญย่ิงขึ้น
6. ในแง่ของรัฐบาล ทำให้ผู้บริหารประเทศเข้าใจถึงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับปัจจัย สภาวะแวดล้อมและสภาวะทาง
เศรษฐกจิ ท่ีดำรงอยู่ โดยจะตอ้ งใช้ความรู้ความเขา้ ใจทางเศรษฐศาสตร์ไปแก้ไขในส่วนท่ีเป็นปัญหาทางเศรษฐกิจ
รวมทั้งวางแผนสง่ เสรมิ และพฒั นาใหร้ ะบบเศรษฐกจิ ของประเทศเจรญิ ก้าวหนา้ และมเี สถยี รภาพตอ่ ไป
สรุป วิชาเศรษฐศาสตร์ คือ วิชาที่ศึกษาถึงการเลือกทรัพยากรการผลิตที่มีอยู่อย่างจำกัดมาใช้ในการผลิตสินค้า
และบริการอยา่ งประหยัดและมีประสิทธภิ าพมากท่สี ดุ และหาทางแจกจ่ายหรอื กระจายสินคา้ และบริการออกไป
เพื่อสนองความต้องการของมนุษย์ที่มีความต้องการไม่จำกัดให้ได้รับความพอใจสูงสุดและมีประสิทธิภาพมาก
ที่สุด บิดาของวิชาเศรษฐศาสตร์ คือ อดัม สมิธ วิชาเศรษฐศาสตร์แบ่งการศึกษาออกเป็นเศรษฐศาสตร์จุลภาค
และเศรษฐศาสตร์มหภาค โดย
เศรษฐศาสตร์จุลภาคเปน็ การศึกษาพฤติกรรมทางเศรษฐกิจในสว่ นย่อยของระบบเศรษฐกจิ แต่เศรษฐศาสตร์มห
ภาคเป็นการศึกษาเศรษฐกิจในภาพรวมทั้งระบบในการวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์มีเครื่องมือที่นิยมนำมาใช้
อธบิ ายทฤษฎีทางดา้ นเศรษฐศาสตร์ ได้แก่ ขอ้ ความบรรยาย ฟงั กช์ ัน สมการ และกราฟ
12. ครูสอนนักเรียนเพิ่มเติมเรื่องการประพฤติตนเพื่อประโยชน์ส่วนรวมและหน้าที่การเป็นพลเมืองที่ดีของ
สงั คม
ขั้นสรปุ และการประยุกต์
13. ครสู รุปบทเรยี น โดยใชส้ ่อื PowerPoint และเปดิ โอกาสใหน้ ักเรยี นไดซ้ กั ถามขอ้ สงสยั
14. ผู้เรยี นทำกิจกรรมใบงาน และแบบประเมนิ ผลการเรยี นรู้
ส่อื และแหลง่ การเรยี นรู้
1. หนงั สือเรียนหลกั เศรษฐศาสตร์ รหัสวชิ า 30200-1001 ของสำนักพมิ พเ์ อมพนั ธ์
2. ส่อื PowerPoint
3. แบบประเมนิ ผลการเรียนรู้
4. กิจกรรมการเรยี นการสอน5. แบบประเมินกิจกรรมใบงาน

หลกั ฐาน
1. บันทึกการสอนของผู้สอน
2. ใบเช็ครายชอ่ื
3. แผนจดั การเรียนรู้
4. การตรวจประเมนิ ผลงาน
การวัดผลและการประเมนิ ผล
วิธวี ดั ผล
1. สงั เกตพฤติกรรมรายบุคคล
2. ตรวจกจิ กรรมส่งเสริมคณุ ธรรมนำความรู้
3. ตรวจแบบประเมินผลการเรยี นรู้ แบบฝึกปฏบิ ตั ิ
4. ตรวจใบงาน
เคร่ืองมือวดั ผล
1. แบบสังเกตพฤติกรรมรายบคุ คล
2. แบบประเมนิ ผลการเรยี นรู้ และแบบฝึกปฏบิ ัติ
3. แบบประเมนิ กจิ กรรมใบงาน
เกณฑก์ ารประเมินผล
1. เกณฑ์ผา่ นการสงั เกตพฤติกรรมรายบุคคล ต้องไมม่ ชี ่องปรบั ปรุง
2. แบบประเมนิ ผลการเรยี นรมู้ ีเกณฑผ์ า่ น และแบบฝึกปฏิบัติ 50%
3. แบบประเมินกิจกรรมใบงานมเี กณฑ์ผ่าน 50%
กจิ กรรมเสนอแนะ

1. แนะนำให้ผเู้ รยี นอ่านทบทวนเน้ือหาเพ่ิมเตมิ
2. ควรศกึ ษาข้อมลู เพิม่ เติมจากสือ่ อนิ เทอรเ์ นต็

แบบประเมนิ ผลการเรียนรู้หน่วยการเรยี นรทู้ ี่ 1

ตอนท่ี 1 จงตอบคำถามตอ่ ไปนี้

1. อธิบายความหมายของเศรษฐศาสตร์

......................................................................................................................................................................

2. ปัจจัยการผลิตในทางเศรษฐศาสตร์แบ่งออกเป็นกี่ประเภท อะไรบ้าง และเจ้าของปัจจัยการผลิตแต่ละ

ประเภทได้ ผลตอบแทนในรูปใด

....................................................................................................................................................................

3. เศรษฐศาสตร์จุลภาคและเศรษฐศาสตรม์ หภาคมีความแตกต่างกนั อยา่ งไร

........................................................................................................................................................ ............

4. ผู้เรียนคดิ ว่าการศึกษาทางเศรษฐศาสตร์มวี ัตถุประสงค์อย่างไรบ้าง

......................................................................................................................................................................

5. “เศรษฐศาสตร์ไมม่ ีส่วนเกี่ยวขอ้ งกับชวี ิตความเปน็ อยู่ของนายซี หากนายซีอยู่คนเดยี วบนเกาะหนู”

ท่านเห็นดว้ ยหรือไม่ เพราะเหตใุ ด อธิบาย

................................................................................................................................ .....................................

6. หนว่ ยเศรษฐกจิ ในระบบเศรษฐกิจประกอบด้วยอะไรบ้าง

......................................................................................................................................................................

7. ปัญหาพนื้ ฐานทางเศรษฐกิจท่ที กุ ระบบเศรษฐกิจตอ้ งเผชญิ มอี ะไรบา้ ง

......................................................................................................................................................................

8. ระบบเศรษฐกิจแบบทนุ นิยมแตกตา่ งจากระบบเศรษฐกจิ แบบสงั คมนิยมอย่างไร

......................................................................................................................................................................

9. ท่านคดิ ว่าการเรียนวิชาเศรษฐศาสตร์มปี ระโยชนอ์ ยา่ งไร

.....................................................................................................................................................................

10. ภาวะดุลยภาพในทางเศรษฐศาสตรห์ มายถงึ อะไร

......................................................................................................................................................................

ตอนที่ 2 จงเลือกข้อทถี่ ูกต้องที่สดุ เพียงข้อเดียว

1. ในปจั จบุ นั นกั เศรษฐศาสตรไ์ ดจ้ ำแนกวชิ าเศรษฐศาสตร์อยา่ งไรบ้าง

ก. เศรษฐศาสตรว์ ิเคราะหแ์ ละเศรษฐศาสตร์นโยบาย

ข. เศรษฐศาสตรก์ ารเงนิ และเศรษฐศาสตร์การคลัง

ค. เศรษฐศาสตร์จุลภาคและเศรษฐศาสตรม์ หภาค

ง. เศรษฐศาสตร์ภายในประเทศและเศรษฐศาสตร์ระหวา่ งประเทศ

จ. เศรษฐศาสตร์วิเคราะหแ์ ละเศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศ

2. วตั ถุประสงค์ในการศกึ ษาทางเศรษฐศาสตร์เพ่ือควบคุมสถานการณ์ทางเศรษฐกิจให้เป็นไปตามที่ตอ้ งการ

เป็นการศึกษา

เศรษฐศาสตรใ์ นแนวทางใด

ก. เศรษฐศาสตร์วเิ คราะห์ ข. เศรษฐศาสตรน์ โยบาย

ค. เศรษฐศาสตร์การเงิน ง. เศรษฐศาสตร์การคลัง

จ. เศรษฐศาสตร์จุลภาค

3. วธิ ีการศกึ ษาทางเศรษฐศาสตร์มกี ว่ี ธิ ี อะไรบ้าง

ก. 2 วธิ ี คือ วิธีหาผลจากเหตุ และวธิ หี าเหตุจากผล

ข. 2 วิธี คอื วิธีสงั เกตจากประวตั ศิ าสตร์ และวิธศี กึ ษาจากสภาพปจั จุบนั

ค. 3 วิธี คือ วิธีสงั เกตจากประวตั ิศาสตร์ วิธหี าผลจากเหตุ และวธิ หี าเหตุจากผล

ง. 3 วิธี คือ วธิ ศี ึกษาสภาพปัจจบุ ัน วิธหี าผลจากเหตุ และวธิ ีหาเหตุจากผล

จ. 4 วธิ ี คือ ประสบการณ์ ประวัติศาสตร์ วธิ ีหาผลจากเหตุ และวิธหี าเหตจุ ากผล

4. ปญั หาขอ้ ใดเปน็ ปญั หาทางดา้ นเศรษฐศาสตรจ์ ลุ ภาค

ก. ปญั หาความยากจน ข. ปัญหาการว่างงาน

ค. เนื้อหมขู าดตลาด ง. ปญั หาภาวะเงนิ เฟ้อ

จ. การขาดดลุ การคา้ และดุลการชำระเงิน

5. เนอื้ หาสาระเรอื่ งใดต่อไปนที้ ีจ่ ดั อยู่ในเศรษฐศาสตร์มหภาค

ก. พฤตกิ รรมของหนว่ ยผลิต ข. การศึกษารายได้ประชาชาติ

ค. อปุ สงค์ในการซอ้ื เนอ้ื สัตว์ ง. ความตอ้ งการซื้อรถยนต์

จ. การผูกขาดในหนว่ ยผลิตตา่ ง ๆ

6. ปัจจัยการผลติ ทางเศรษฐศาสตรป์ ระกอบดว้ ยอะไร

ก. ทีด่ ิน โรงงาน ทุน และวัตถุดบิ ข. ทด่ี นิ โรงงาน เงินทนุ และผูป้ ระกอบการ

ค. ทดี่ นิ แรงงาน ทนุ และผปู้ ระกอบการ ง. ที่ดนิ แรงงาน เงินทุน และเคร่อื งจักร

จ. ท่ดี นิ วัตถุดบิ แรงงาน และโรงงาน

7. ปญั หาพนื้ ฐานใดในทางเศรษฐกจิ ทท่ี กุ ระบบเศรษฐกิจจะต้องเผชิญ

ก. ผลติ อะไร ผลิตอย่างไร และผลิตเพอื่ ใครข. ผลิตอะไร ผลติ จำนวนเท่าใด และผลิตอยา่ งไร

ค. ผลติ อะไร ผลิตจำนวนเทา่ ใด และผลติ เพอื่ ใครง. ผลิตอะไร ผลติ อย่างไร และผลิตจำนวนเท่าใด

จ. ผลติ เพอ่ื ใคร ผลติ จำนวนเท่าใด และผลติ เพือ่ อะไร

8. ปญั หาพื้นฐานทางเศรษฐกิจเกิดขึน้ เนือ่ งจากสาเหตใุ ด

ก. ประชากรยากจน ข. การผูกขาดทางเศรษฐกิจ

ค. ความตอ้ งการของมนุษยม์ จี ำกัด ง. การนำสนิ ค้าเขา้ มากกวา่ การส่งสินคา้ ออก

จ. ทรัพยากรมไี มเ่ พยี งพอกับความต้องการของมนษุ ย์

9. ประโยชน์ของการเรยี นวิชาเศรษฐศาสตรค์ ืออะไร

ก. ทำใหเ้ จ้าของธรุ กจิ ราํ่ รวย ข. ทำให้เศรษฐกจิ ไม่ตกต่าํ

ค. ทำให้บา้ นเมืองมีความสงบ ง. ทำให้บุคคลในสงั คมเขา้ ใจระบบเศรษฐกจิ มากข้นึ

จ. ทำให้ผ้บู ริโภคตดั สินใจซื้อสนิ คา้ และบริการไดถ้ กู ต้อง

10. จากสมการ Y = f(X) Y คอื อะไร
ก. Y คอื ตวั แปรตาม X คือ ตัวแปรอสิ ระ ข. Y คอื ตวั แปรอิสระ X คือ ตวั แปรตาม
ค. Y คอื ตัวแปรภายนอก X คือ ตวั แปรภายใน ง. Y คือ ตัวแปรภายใน X คือ ตัวแปรภายนอก
จ. Y คือ ตวั แปรคงท่ี X คือ ตัวแปรภายนอก
ตอนท่ี 3 จงใส่เครอื่ งหมาย ✓ หรอื × หน้าข้อความทเี่ หมาะสม
..................... 1. ในทางเศรษฐศาสตร์ได้แบง่ สินค้าออกเป็น 2 ชนดิ คือ สนิ ค้ามีคุณภาพ และสนิ คา้ ไม่มีราคา
..................... 2. แนวคดิ ทางเศรษฐศาสตรท์ ี่สำคญั มี 3 สำนัก คอื คลาสสกิ นีโอคลาสสิก และเคนส์
..................... 3. เศรษฐศาสตร์เป็นสาขาวชิ าทางสงั คมศาสตรท์ ี่ใชว้ ิธีการทางวิทยาศาสตรม์ าศกึ ษา
..................... 4. ภาคครัวเรอื น เป็นหน่วยเศรษฐกจิ ที่ทำไดท้ ้ังการผลิต การบริโภค และการเกบ็ ภาษี
..................... 5. ประเทศไทยใชร้ ะบบเศรษฐกจิ แบบสังคมนยิ ม
..................... 6. เคร่ืองมือทใี่ ช้ทฤษฎเี ศรษฐศาสตร์ ไดแ้ ก่ ฟังกช์ ัน สมการ กราฟ ความชัน คา่ ต่ําสุด-สงู สดุ
..................... 7. แกนต้งั ของกราฟวิชาเศรษฐศาสตร์แทนคา่ ตัวแปรอสิ ระ สว่ นแกนนอนแทนคา่ ตัวแปรตาม
..................... 8. คา่ ของหน่วยเพมิ่ เปน็ วธิ ีวัดคา่ ทนี่ ิยมกนั มากทางเศรษฐศาสตร์
..................... 9. อปุ สงค์สว่ นเกนิ เป็นภาวะที่ความต้องการซ้อื มากกว่าปริมาณขาย
10. ความรู้ทางเศรษฐศาสตร์ทำให้ผู้บริหารประเทศเข้าใจปัญหาทางเศรษฐกิจและทราบแนวทางแก้ไขที่
เหมาะสม

ใบงานท่ี 1
“เราไม่ถือว่าแรงงานสัตว์เปน็ ปจั จยั การผลติ ประเภทแรงงาน แต่อนโุ ลมใหเ้ ปน็ ปจั จัยทุน” ผ้เู รียน เหน็ ด้วย
หรอื ไม่ เพราะเหตุใด
......................................................................................................................................................................

ใบงานท่ี 2

ในบรรดาปัจจัยการผลิตทั้ง 4 ประเภท ผู้เรียนเห็นว่า “ปัจจัยการผลิตใดมีความสำคัญที่สุดในการสร้าง
ความเจรญิ เติบโตทางเศรษฐกิจ” เพราะเหตุใด อธบิ ายเหตุผล
......................................................................................................................................................................

ใบงานที่ 3

ผเู้ รยี นคดิ วา่ “ประเทศไทยมีระบบเศรษฐกจิ แบบใด” อธบิ ายและยกประเด็นสำคญั ให้เหน็ ชัดเจน
......................................................................................................................................................................

บนั ทึกหลังการสอน

ข้อสรปุ หลังการสอน
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
ปญั หาทีพ่ บ
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
แนวทางแก้ปญั หา
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................

แผนการจัดการเรยี นรู้แบบบรู ณาการที่ 3 หน่วยท่ี 2
รหัส 30200-1001 หลักเศรษฐศาสตร์ สอนคร้ังท่ี 3
ชื่อหน่วย อุปสงค์ อปุ ทาน และภาวะดุลยภาพของตลาด
จำนวน 4 ช่ัวโมง

สาระสำคัญ
ในระบบเศรษฐกิจที่มีการแข่งขัน กลไกราคาหรือระบบตลาดจะมีบทบาทสำคัญในการกำหนดราคาและปริมาณ
การซื้อขายสินค้าและบริการ ซึ่งเกิดขึ้นจากความต้องการซื้อของผู้บริโภคหรืออุปสงค์ และการเสนอขายจาก
ผู้ผลิตหรืออุปทานโดยทั้งอุปสงค์และอุปทานมีการเปลี่ยนแปลงไปตามปัจจัยที่กำหนด และมีการปรับตัวเข้าหา
จุดสมดลุ หรือจุดดุลยภาพในที่สุด
จุดประสงคก์ ารเรยี นรู้

1. อธบิ ายความหมาย ชนดิ ของอปุ สงค์ ตัวกำหนดอุปสงค์ และกฎของอปุ สงค์และเสน้ อุปสงคไ์ ด้
2. อธบิ ายการเปล่ยี นแปลงปรมิ าณซ้ือและการเปลีย่ นแปลงอปุ สงค์
3. อธิบายความหมายของอุปทาน ตัวกำหนดอปุ ทาน และกฎของอุปทานและเสน้ อปุ ทานได้
4. อธบิ ายการเปลีย่ นแปลงปริมาณขายและการเปล่ียนแปลงอุปทานได้
5. อธบิ ายดุลยภาพของตลาดและการเปล่ียนแปลงของดลุ ยภาพตลาดได้
สมรรถนะประจำหนว่ ย
1. แสดงความรู้เกยี่ วกบั การเปล่ยี นแปลงอปุ สงค์
2. แสดงความรู้เกี่ยวกบั การเปลยี่ นแปลงอุปทาน
สาระการเรยี นรู้
1. อุปสงค์
2. การเปลีย่ นแปลงปริมาณซอ้ื และการเปลยี่ นแปลงอุปสงค์
3. อปุ ทาน
4. การเปล่ยี นแปลงปรมิ าณขายและการเปล่ยี นแปลงอปุ ทาน
5. ดลุ ยภาพของตลาดและการเปล่ียนแปลงของดลุ ยภาพตลาด
กิจกรรมการเรยี นการสอน

ข้ันนำเข้าส่บู ทเรียน
1. ครูกล่าวว่า โดยทั่วไปผู้ซื้อและผู้ขายแต่ละฝ่ายจะตัดสินใจโดยคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของตน การ
ตัดสินใจของทั้งผู้ซื้อและผู้ขายนี่เองที่ร่วมกันกำหนดราคาสินค้าและบริการในตลาด การตัดสินใจของผู้ซื้อจะ
เกย่ี วขอ้ งกับอุปสงค์ (Demand) สว่ นการตดั สินใจของผขู้ ายจะเกยี่ วข้องกับอุปทาน (Supply) ดังนนั้ ราคาสินค้า
และบรกิ ารในตลาดจึงถกู กำหนดจากอุปสงค์และอปุ ทานรว่ มกนั
2. ครูกล่าววา่ หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 นี้ ผู้เรียนจะได้เรียนรู้ถึงหลักการเลือกซือ้ สนิ ค้าหรอื บริการ โดยการใช้หลกั
อุปสงคแ์ ละอปุ ทาน เพื่อนำความรู้ไปประยกุ ต์ใชใ้ นชวี ิตประจำวนั ในการเลือกซื้อสินค้าหรือบรกิ าร
ข้นั สอน
3. ครูใช้สื่อ Power Point ประกอบเทคนิคการบรรยาย อุปสงค์ และยกตัวอย่างประกอบตามความ
เหมาะสมของเนื้อหาเพื่อให้ผูเ้ รยี นเข้าใจได้มากยงิ่ ขึน้

3.1 ความหมายและชนิดของอุปสงค์
อุปสงค์ (Demand) หมายถึง ปริมาณของสินค้าและบริการชนิดใดชนิดหนึ่งที่ผู้บริโภคมีความต้องกาซื้อใน
ระยะเวลาหน่ึง ณ ระดบั ราคาต่าง ๆ ของสนิ ค้าและบริการน้ันคำวา่ “ความต้องการซอื้ ” ท่ีปรากฏในความหมาย
ข้างต้นไม่ได้ หมายถึง ความต้องการธรรมดา (Want)แต่เป็นความต้องการที่มีอำนาจซื้อ (Purchasing Power)
กำกับอยู่ด้วย คือ ผู้บริโภคจะต้องมีเงินเพียงพอที่จะจ่ายซื้อสินค้าและบริการนั้น ๆ ได้ เช่น (ยกตัวอย่าง) นาย
นภดลต้องการซื้อเครื่องเสียงติดรถยนต์ และนายนภดลมีเงินเพียงพอที่จะซื้อเครื่องเสียงนั้น ความต้องการ ของ
นายนภดลนี้เปน็ สิง่ ท่นี ายนภดลสามารถทำให้เปน็ จริงขึน้ ได้ จึงถอื ว่าเปน็ อปุ สงค์ ในกรณีตรงข้าม หากนายนภดล
ไม่มเี งินทจี่ ะจา่ ยซ้อื เครื่องเสียงความต้องการทปี่ ราศจากอำนาจซ้ือน้จี ะไมถ่ ือว่าเป็น อุปสงค์
3.2 ปจั จยั ท่ีเปน็ ตัวกำหนดอุปสงค์
ตัวกำหนดอุปสงค์ หมายถงึ ตัวแปร (Variable) หรอื ปัจจยั ต่าง ๆ ทมี่ อี ิทธิพลต่อปริมาณสินค้าที่ผู้บริโภคมีความ
ต้องการที่จะซื้อ (Quantity Demanded) ปัจจยั เหลา่ น้ีจะมีอิทธิพลตอ่ ปริมาณซื้อมากน้อยไม่เท่ากัน ท้ังน้ีขึ้นอยู่
กบั พฤตกิ รรมของผู้บรโิ ภคแตล่ ะคน และกาลเวลา ปัจจยั ตา่ ง ๆ มดี ังตอ่ ไปน้ี
1. ราคาของสินค้า ด้วยเหตุที่ผู้บริโภคมีรายได้จำกัด เมื่อราคาสินค้าและบริการเพิ่มสูงขึ้นปริมาณซื้อจะมี
น้อยลง แตถ่ า้ ราคาสนิ ค้าและบริการลดตํ่าลง ปริมาณซือ้ จะมมี ากขน้ึ
2. ราคาของสินค้าอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ตามปกติความตอ้ งการของผูบ้ ริโภคอาจถูกตอบสนองได้ดว้ ยสินค้าหลาย
ชนิด ถ้าสินค้าชนิดหนึ่งมีราคาสูงขึ้น ผู้บริโภคก็จะซื้อสินค้าชนิดนั้นน้อยลง และหันไปซื้อสินค้าอีกชนิดที่ใช้
ทดแทนกันได้ เช่น (ยกตัวอย่าง) เนื้อหมูกับเนื้อไก่ ผักบุ้งกับผักคะน้า เป็นสินค้าที่สามารถใช้ทดแทนกันได้เมื่อ
ราคาผักคะน้าสูงขึ้นในขณะที่ราคาผักบุ้งไม่เปลี่ยนแปลง ผู้บริโภคอาจจะบริโภคผักบุ้งเพิ่มขึ้นโดยลดการบริโภค
ผักคะน้าลง ทำให้ปริมาณซื้อเปลี่ยนแปลง สำหรับกรณีของสินค้าที่ต้องใช้ประกอบกัน เช่น กาแฟกับนํ้าตาล
รถยนตก์ บั นาํ้ มนั เป็นตน้ เมอื่ ผูบ้ รโิ ภคต้องการบริโภคกาแฟมากขึ้น ก็ตอ้ งบริโภคนำ้ ตาลเพิม่ ข้ึน
3. รายได้เฉลี่ยของผู้บริโภค โดยทั่วไปเมื่อประชากรมีรายได้เฉลี่ยสูง ความต้องการสินค้าและบริการจะ
เปลี่ยนไป กล่าวคือ มักจะลดการบริโภคสินค้าด้อย (Inferior Goods) ขณะเดียวกันก็หันไปบริโภคสินค้าปกติ
(Normal Goods) มากขนึ้
4. รสนิยมของผู้บริโภค ปัจจัยท่ีกำหนดรสนิยมของผู้บรโิ ภค ได้แก่ อายุ เพศ ค่านิยม การศึกษา แฟชั่น และ
อทิ ธิพลการโฆษณา เมือ่ ใดก็ตามทรี่ สนิยมของผบู้ ริโภคเกิดการเปลีย่ นแปลงจะทำใหป้ ริมาณซื้อสินค้าและบริการ
เปลี่ยนแปลงไปด้วย กล่าวคือ สินค้าและบริการใดเป็นที่นิยมของคนส่วนใหญ่ในสังคมจะทำให้ปริมาณซื้อสินคา้
และบริการชนดิ น้ันเพม่ิ ขึ้น ในทางตรงข้าม ปริมาณซื้อสินคา้ และบริการชนิดนั้นจะลดลงเม่ือมผี ู้นยิ มน้อยลง เช่น
เสื้อผ้า ภาพยนตร์ เทปเพลง รถยนต์ รองเท้า เป็นต้น ด้วยเหตุนี้ หน่วยธุรกิจจึงยอมทุ่มเงินจำนวนมหาศาลใน
การโฆษณาเพอื่ หวงั ผลในการเปลีย่ นแปลงหรอื รกั ษารสนยิ มของผบู้ ริโภค
5. จำนวนประชากร ตามปกติเมื่อประชากรเพิ่มจำนวนมากขึ้น ความต้องการสินค้าและบริการจะเพิ่มสูงข้ึน
ตามไปดว้ ย โดยมีขอ้ แม้ว่าประชากรเหล่านี้จะตอ้ งมอี ำนาจซ้ือดว้ ย จึงจะสามารถซอื้ สินค้าและบรกิ ารได้มากขึน้

6. การคาดคะเนของผู้บริโภค นอกจากผู้บริโภคจะดูราคาปัจจุบันแล้ว ยังคาดคะเนราคาในอนาคตด้วย เช่น
(ยกตัวอย่าง) ราคาน้าํ มันจะเพิม่ ข้นึ ในวนั พร่งุ นี้ ผใู้ ช้รถยนตจ์ ะรบี นำรถไปเตมิ นาํ้ มนั ในวนั นเี้ พ่ือประหยัดค่าใช้จ่าย
ในทางตรงข้าม ถ้าคาดว่าราคาในอนาคตจะลดลง ผู้บริโภคจะชะลอการซื้อ อุปสงค์ในปัจจุบันลดลงหรือเคลื่อน
ไปทางซ้ายมอื ท้งั เส้น
7. สภาพดินฟ้าอากาศหรือฤดูกาล การเปลี่ยนแปลงสภาพดินฟ้าอากาศหรือฤดูกาลส่งผลต่อปริมาณซื้อสินค้า
และบริการตามไปด้วย เช่น ในฤดูหนาวปริมาณซื้อเครื่องนุ่งห่มกันหนาวจะเพิ่มมากขึ้นหรือในฤดูร้อนปริมาณ
การซือ้ เคร่อื งปรบั อากาศ พดั ลม ไอศกรีม เปน็ ต้น จะมมี ากขนึ้
นอกจากปัจจัยต่าง ๆ ดังกล่าวมาแล้ว ยังมีปัจจัยอื่นที่มีผลกระทบต่อปริมาณอุปสงค์ของสินค้าและบริการ เช่น
ระดับการศึกษา การโฆษณา และการเลียนแบบ เป็นต้น แต่การศึกษาอุปสงค์ในทางเศรษฐศาสตรม์ ักจะอธิบาย
เฉพาะความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณซื้อสินค้าและบริการชนิดใดชนิดหนึ่งกับราคาสินค้าและบริการชนิดน้ัน
เท่านั้น โดยกำหนดให้ปัจจัยทีเ่ ป็นตัวกำหนดอปุ สงค์อ่ืน ๆ อยู่คงที่ไม่เปล่ียนแปลง เพื่อให้ง่ายและสะดวกแกก่ าร
หาความสัมพนั ธ์
3.3 กฎของอุปสงค์และเส้นอปุ สงค์
กฎของอปุ สงค์ (Law of Demand) อธิบายไวว้ ่า “เมอื่ กำหนดใหป้ ัจจัยอ่นื ๆ คงที่ ปริมาณของสินค้าและ
บรกิ ารชนดิ ใดชนิดหน่งึ ที่ผบู้ ริโภคต้องการซ้ือย่อมเปล่ียนแปลงในทางตรงกันขา้ มกบั ราคาของสนิ คา้ และบริการ
ชนดิ นนั้ เสมอ” หมายความวา่ เมอื่ ราคาสนิ ค้าสงู ขึ้น ผู้บรโิ ภคจะซ้ือสินค้าชนดิ นนั้ ในปริมาณน้อยลง และเม่ือ
ราคาลดลงผบู้ รโิ ภคจะซอ้ื สินค้าในปริมาณมากข้นึ ทั้งนโ้ี ดยสมมติให้ปัจจยั อนื่ ๆ คงที่
ความสมั พันธร์ ะหว่างราคากบั ปรมิ าณสนิ คา้ นอกจากแสดงเป็นฟังก์ชนั อุปสงค์แล้ว ยังอาจแสดงได้ในรูปสมการ
อุปสงค์ ตารางอปุ สงค์ และเส้นอุปสงค์ ไดด้ ังนี้
สมการอุปสงค์ คือ การแสดงความสมั พันธ์ระหว่างราคากบั ปรมิ าณซื้อในรูปของสมการ ซ่ึงอาจเป็นสมการ
เสน้ ตรงหรอื เสน้ โค้ง แต่ส่วนมากเปน็ สมการเสน้ ตรง เชน่ Qd = 10 – 2P จากสมการอปุ สงค์ ดังกลา่ วสามารถ
สรา้ งเปน็ ตารางอุปสงค์ โดยสมมตคิ ่าต่างๆ ของ P แลว้ คำนวณคา่ Q ได้ ดังตาราง

ตาราง แสดงปรมิ าณซื้อเงาะของผู้บรโิ ภคคนหนง่ึ ณ ระดบั ราคาต่างๆ

ราคาต่อหนว่ ย (บาท) ปริมาณซื้อ (กก.)

50

42

34

26

18

จากตาราง แสดงความสัมพันธร์ ะหวา่ งราคาต่อหน่วยกับปรมิ าณเงาะทผ่ี ูบ้ รโิ ภคต้องการซือ้ ในระยะเวลาหนึง่ จาก

ตัวเลขทั้งหมดในตารางสามารถแสดงเป็นรูปกราฟเส้นได้ด้วย การหาจุดต่าง ๆ บนกราฟแต่ละจุดจะแทนด้วย

ราคาเงาะระดับหนึ่งกับปริมาณเงาะที่ตรงคู่กัน เมื่อลากเส้นเชื่อมจุดเหล่านี้แล้วจะได้เส้นอุปสงค์ของเงาะ ( D)

เส้นอปุ สงคม์ ลี ักษณะทอดตา่ํ ลงจากซ้ายมาขวา และมีค่าความชันเปน็ ลบ ดังรปู

ลกั ษณะของเสน้ อุปสงค์ (Demand Curve)

3.4 อุปสงคร์ ายบคุ คลและอปุ สงค์ของตลาด
เสน้ อปุ สงคย์ ังสามารถแบง่ ออกไดเ้ ปน็ 2 ประเภท คือ
1. อุปสงค์รายบุคคล (individual demand) คือ เป็นปริมาณความต้องการซื้อสินค้าชนิดใดชนิดหนึ่งของ
ผู้บริโภครายใดรายหน่งึ ณ ระดับราคาตา่ ง ๆ ในช่วงเวลาหนง่ึ
2. อุปสงคข์ องตลาด (market demand) เป็นปรมิ าณความตอ้ งการรวมของผูบ้ ริโภคทกุ รายในตลาด
ในทนี่ ีจ้ ะไดก้ ลา่ วถึงอุปสงค์รายบุคคลและอุปสงคข์ องตลาด เนอื่ งจากปริมาณสินคา้ แตล่ ะชนดิ ท่ผี ู้บริโภคแต่ละคน
ซอ้ื (individual demand) ณ ระดบั ราคาต่าง ๆ เมอื่ รวมกนั จะเทา่ กบั ปริมาณซื้อรวมณ ระดับราคานั้น ๆ ดังนั้น
อุปสงค์ของตลาด (market demand) สำหรับสินค้าชนิดใด จึงหาได้จากการรวมอุปสงค์สำหรับสินค้าชนิดนั้น
ของผบู้ รโิ ภคแต่ละคน ดงั ตาราง

ตาราง แสดงอุปสงค์ของบคุ คลและอุปสงคข์ องตลาดนำ้ ผลไม้

ราคา ปริมาณซอ้ื ปริมาณซ้อื ปรมิ าณซ้ือ ปริมาณซือ้
(บาท/ขวด)
ของนาย ก (ขวด) ของนาย ข (ขวด) ของนาย ค (ขวด) ของตลาด (ขวด)
0
1 7 5 4 16
2
3 5 3 2 10
4
3205

2002

0000

จากตาราง การหาอุปสงค์ของตลาดนํ้าผลไม้ชนิดหนึ่ง สมมติว่าในตลาดนี้มีผู้ซื้อเพียง 3 ราย คือ นาย ก นาย ข
และนาย ค วิธกี ารคอื รวมปรมิ าณซ้ือของคนทงั้ 3 ในแต่ละระดบั ราคา ผลรวมของปรมิ าณซ้ือของตลาด ณ ราคา
นน้ั เมื่อได้ปรมิ าณของตลาด ณ ทกุ ระดบั ราคาแลว้ กน็ ำตวั เลขเหลา่ นน้ั ไปหาจุดบนกราฟลากเสน้ เชอ่ื มจุดเหล่านี้
เข้าด้วยกัน เส้นทีเ่ กิดข้นึ คือ เส้นอุปสงค์ของตลาดนา้ํ ผลไม้ชนดิ นัน้ ดังรปู

แสดงการหาเสน้ อุปสงค์ของตลาดจากเส้นอุปสงคข์ องบคุ คล

4. ครูใชว้ ิธีการเขยี นกระดานในการวาดกราฟ ประกอบกับเทคนคิ การบรรยาย การเปลีย่ นแปลงปริมาณซ้ือและ
การเปล่ียนแปลงอปุ สงค์
4.1 การเปลี่ยนแปลงปรมิ าณซือ้
การเปล่ียนแปลงปริมาณซ้ือ (Change in Quantity Demand) เปน็ การเปลี่ยนแปลงปรมิ าณอุปสงค์บนเส้น
อุปสงค์เดียวกัน หมายถึง การที่ตัวกำหนดโดยตรงคือราคาสินค้าได้เปลี่ยนแปลงไปอันมีผลทำ ให้ปริมาณซื้อ
เปลี่ยนแปลงไปด้วยตามกฎของอุปสงค์ส่วนตัวกำ หนดโดยอ้อมทั้งหลายสมมติว่าอยู่คงที่ การเปลี่ยนแปลง
ปริมาณซื้อจึงเป็นการย้ายตำแหน่งจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งบนเส้นอุปสงค์เดิม เช่น เมื่อกำหนดให้สิ่งอื่นคงท่ี
หากรถโดยสาร ขสมก. เพิ่มค่าโดยสารขึ้นการใช้บริการรถโดยสาร ขสมก. จะลดลง ซึ่งเป็นการวิเคราะห์ภายใน
เส้นอปุ สงค์ (Move Along the Demand Curve) ดงั รปู

แสดงการเปลย่ี นแปลงปริมาณซ้ือ

จากรูป สมมติว่าเดิมค่าโดยสารอยู่ ณ ระดับ P1 บาท ปริมาณการใช้บริการจะเท่ากับ Q1 หน่วยต่อมาราคาค่า
โดยสารเพิ่มขึ้นไปอยู่ที่ P2 บาท ปริมาณการใช้บริการจะลดลงเป็น Q2 หน่วย ซึ่งจะเห็นได้ว่ามีการเคลื่อนย้าย
จากจดุ a ไปยังจุด b บนเส้นอุปสงค์เส้นเดมิ
4.2 การเปลยี่ นแปลงอปุ สงค์
การเปลีย่ นแปลงอุปสงค์ (Change In Demand) เป็นการเปล่ียนย้ายของเส้นอุปสงค์ไปท้ังเส้น หมายถึง การ
ทีต่ ัวกำหนดอุปสงคโ์ ดยออ้ ม เช่น รายได้ รสนยิ ม ราคาของสนิ คา้ อ่ืน เปน็ ต้น ตวั ใดตัวหน่ึงหรอื หลายตวั

เปลี่ยนแปลงไปและมีผลทำให้ปริมาณซื้อเพิ่มขึน้ หรือลดลง ณ ระดับราคาเดิม เช่น อุปสงค์ต่อการใช้บริการรถ
โดยสาร ขสมก. จะเพิ่มขึ้นถ้าค่าโดยสารของรถแท็กซี่เพิ่มขึ้น หรือรายได้เฉลี่ยของประชาชนลดลง ในทางตรง
ข้าม อุปสงค์ต่อการใช้บริการรถโดยสาร ขสมก. ลดลง ถ้ารายได้เฉลี่ยของประชาชนเพิ่มขึ้น หรือมีการลดค่า
โดยสารของรถแท็กซ่ีลง หรอื มเี หตกุ ารณจ์ ีผ้ ้โู ดยสารบนรถแท็กซี่ลดลง เป็นต้น
จากเหตุการณด์ งั กลา่ วจะเห็นไดว้ ่าการใช้บรกิ ารรถโดยสาร ขสมก. จะเพม่ิ ขน้ึ หรือลดลง ทั้ง ๆ ที่ราคาค่าโดยสาร
ยังคงเดิม ในกรณีเช่นนี้จะทำให้มีการเคลื่อนย้ายของเส้นอุปสงค์ของรถโดยสาร ขสมก. ไปทั้งเส้นโดยจะย้ายไป
อยู่ทางขวาหรือทางซ้ายของเส้นเดิมขึน้ อยู่กับตวั กำหนดอุปสงค์โดยอ้อมที่เปลีย่ นแปลงไปทำให้การใช้บริการรถ
โดยสารเพิ่มขึ้นหรือลดลงจากเดิม ณ ราคาเดิม กล่าวคือ ถ้าทำให้ปริมาณซื้อเพิ่มขึ้น หรืออุปสงค์เพิ่มข้ึน
(Increase in Demand) เส้นอุปสงค์จะย้ายไปอยู่ทางขวาของเส้นเดิม ในทางตรงข้ามถ้าทำให้ปริมาณซื้อลดลง
หรอื อุปสงค์ลดลง (Decrease in Demand) เส้นอปุ สงคจ์ ะยา้ ยไปอยทู่ างซ้ายของเสน้ เดมิ ดงั รปู

แสดงการเปลยี่ นแปลงอุปสงค์

จากรูป สมมติวา่ สนิ คา้ ชนดิ หน่ึงทก่ี ำลงั พิจารณาอยู่ คือ การใช้บริการรถโดยสาร ขสมก. และเส้นอุปสงค์ของการ
ใช้บริการรถโดยสาร ขสมก. คือ เส้น D1 ต่อมาถ้าค่าบริการรถแท็กซี่ ซึ่งเป็นราคาของสินค้าชนิดอื่นที่เกี่ยวข้อง
แพงขน้ึ โดยท่คี า่ บริการรถโดยสาร ขสมก. ไม่เปล่ยี นแปลง จะมีผลทำให้อุปสงค์ของการใช้บริการรถโดยสาร ขส
มก. เพิม่ ขนึ้ กลา่ วคือ เสน้ อุปสงคข์ องการใช้บรกิ ารรถโดยสาร ขสมก. เดิม D1 ย้ายไปทางขวามือของเส้นอุปสงค์
ใหม่ คอื D2 ทง้ั นเี้ นื่องจากการใชบ้ รกิ ารรถโดยสาร ขสมก.และการใชบ้ รกิ ารรถแทก็ ซี่เปน็ สินค้าทใี่ ช้ทดแทนกันได้
ดังนั้น ถ้าค่าบริการรถแท็กซี่เพิ่มขึ้น ผู้บริโภคจะหันไปใช้บริการรถโดยสาร ขสมก. แทน ในทางตรงข้าม ถ้า
ค่าบริการรถแท็กซีล่ ดลง ปริมาณการใช้บริการรถโดยสาร ขสมก.จะลดลง เส้นอุปสงค์ของการใช้บริการโดยสาร
ขสมก. จะย้ายไปทางซา้ ยมอื ของเสน้ อปุ สงค์เสน้ เดิม
5. ครูใช้สื่อ Power Point ประกอบเทคนิคการบรรยาย อุปทาน และยกตัวอย่างประกอบตามความเหมาะสม
ของเนือ้ หาเพ่อื ใหผ้ ูเ้ รียนเข้าใจไดม้ ากย่ิงขนึ้
5.1 ความหมายของอปุ ทาน
อุปทาน (Supply) คือ ปรมิ าณของสนิ ค้าและบริการชนิดใดชนิดหน่ึงท่ผี ผู้ ลิตพร้อมที่จะเสนอหรือผลิตออกขาย
ณ ระดับราคาตา่ ง ๆ กันภายในระยะเวลาท่กี ำหนด
5.2 ปจั จัยท่เี ป็นตวั กำหนดอุปทาน
ตัวกำหนดอปุ ทาน หมายถึง ตวั แปรหรอื ปจั จัยต่าง ๆ ที่มอี ทิ ธิพลตอ่ จำนวนสินค้าและบรกิ าร ซงึ่ ผูผ้ ลติ ต้องการที่
จะผลิตออกขาย ปัจจยั เหลา่ นจี้ ะมอี ิทธิพลต่อปรมิ าณขายมากน้อยไมเ่ ท่ากนั ซงึ่ ปจั จยั ต่าง ๆ เหล่านี้ มหี ลายอยา่ ง
แยกพิจารณาไดด้ ังนี้

1. ราคาของสินค้านั้น โดยทั่วไปถ้าราคาสินค้าและบริการสูงขึ้น ผู้ผลิตยินดีที่จะผลิตมากขึ้นแต่ถ้าราคาสินค้า
และบริการลดลง ผผู้ ลติ กจ็ ะลดปรมิ าณการผลติ ลง
2. ราคาของสนิ ค้าชนดิ อืน่ ท่ีเกี่ยวข้อง เมื่อสินคา้ และบริการชนิดหน่ึงมีราคาสูงขึ้นย่อจูงใจให้ผู้ผลิตทำการผลิต
สินค้าและบริการชนิดนั้นเพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้เพราะผู้ผลิตต่างก็หวังกำไรเป็นสำคัญ เช่น (ยกตัวอย่าง) การผลิตใน
ด้านเกษตรกรรม เมื่อราคาของพืชไร่บางชนิดสูงขึ้น เกษตรกรก็มักจะหันมาเพาะปลูกพืชไร่ชนิดนั้นแทนพืชไร่
ชนิดที่เพาะปลกู มากอ่ นหรือถ้าเป็นพชื ไร่ชนิดเดียวกบั ทเ่ี พาะปลกู อยแู่ ลว้ ก็จะปลูกมากข้นึ กว่าเดิม
โดยการเพม่ิ พืน้ ท่ีเพาะปลกู
3. ราคาของปัจจัยการผลิต การเปลี่ยนแปลงราคาของปัจจัยการผลิต ซึ่งได้แก่ ที่ดิน แรงงาน ทุนและ
ผู้ประกอบการ จะมีผลกระทบต่อต้นทุนการผลิต ซึ่งจะส่งผลต่อกำไรที่ผู้ผลิตจะได้รับ กล่าวคือ เมื่อราคาของ
ปัจจัยการผลติ สงู ข้นึ จะทำใหต้ น้ ทนุ การผลิตเพิม่ ขน้ึ กำไรของผ้ผู ลิตทจี่ ะได้รับกจ็ ะลดลง ดงั น้นั ปริมาณการผลิต
เพอื่ ขายจึงลดลง ในทางตรงกันข้าม ถ้าราคาของปัจจัยการผลิตลดต่าํ ลง จะทำให้ตน้ ทุนการผลติ ลดลง กำไรของ
ผผู้ ลิตท่จี ะได้รับก็จะเพ่มิ ขนึ้ ผู้ผลติ ก็จะทำการผลติ เพ่อื เสนอขายมากขึน้
4. จำนวนของผู้ผลิตหรือผู้ขายในตลาด ในกรณีที่ตลาดมีผู้ผลิตจำนวนมาก ปริมาณขายทั้งหมดในตลาด
ยอ่ มจะมีมากขน้ึ ในทางตรงกันขา้ ม หากจำนวนผผู้ ลิตลดลง สง่ ผลให้อปุ ทานของตลาดลดลงด้วยเช่นกนั
5. เป้าหมายของธุรกิจหรือผู้ผลิต เช่น บริษัทผลิตยาและเวชภัณฑ์มีความพอใจที่จะผลิตยารกั ษาโรคแทนการ
ผลติ ยาลดความอว้ นปอ้ นสทู่ ้องตลาด ก็จะทำให้ตลาดมียารักษาโรคซึง่ จำเป็นมากกว่ายาลดความอ้วนเพ่มิ ขน้ึ
6. สภาพเทคโนโลยีที่ใช้ในการผลิต เมื่อวิทยาการต่าง ๆ เจริญก้าวหน้าข้ึนและสามารถนำมาประยุกต์ใช้เพื่อ
การผลติ ได้ จะทำใหป้ รมิ าณเสนอขายสินค้าและบริการบางประเภทเพม่ิ ข้ึน ในทางตรงขา้ มถ้านำเอาเทคโนโลยีท่ี
ล้าสมยั มาใชใ้ นการผลิตสนิ ค้าและบรกิ ารแลว้ จะทำให้ประสิทธิภาพการผลติ ลดลงย่อมจะทำใหป้ ริมาณเสนอขาย
สินค้าและบรกิ ารบางประเภทลดลง
7. สภาพดินฟ้าอากาศหรือฤดูกาล การเปลี่ยนแปลงสภาพดินฟ้าอากาศหรือฤดูกาล จะส่งผลให้ปริมาณขาย
สินค้าและบริการเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย โดยเฉพาะการผลิตสินค้าและบริการที่ต้องอาศัยสภาพดินฟ้าอากาศ
เชน่ (ยกตัวอย่าง) ในปใี ดฝนแล้งการทำนาจะไม่ได้ผล ผลผลติ ขา้ วในปีนั้นจะน้อยลง ส่งผลให้ปริมาณข้าวท่ีเสนอ
ขายลดนอ้ ยลงไปดว้ ย
นอกจากปัจจัยต่าง ๆ ดังกล่าวแล้ว ยังมีปัจจัยอื่นที่มีผลกระทบต่อจำนวนอุปทานของสินค้าหรือบริการได้ เช่น
การคาดคะเนราคาสินค้าหรือบริการในอนาคต ตลอดจนภาวะสงครามและการเมือง เป็นต้น แต่ในทาง
เศรษฐศาสตร์มักจะอธิบายเฉพาะความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณขายสินค้าและบริการชนิดใดชนิดหนึ่งกับราคา
สนิ คา้ และบริการชนดิ น้นั เท่านั้น โดยกำหนดให้ปจั จัยที่เป็นตัวกำหนดอปุ ทานอ่ืน ๆ คงท่ไี ม่เปลย่ี นแปลง

Qx = f(Px)

5.3 กฎของอุปทานและเสน้ อุปทาน
กฎของอุปทาน (Law of Supply) อธิบายไว้ว่า “เมื่อกำหนดให้ปัจจัยอื่น ๆ คงที่ ปริมาณขาย ของสินค้าและ
บริการชนิดใดชนิดหนึ่งที่ผู้ผลิตเสนอขายย่อมเปลี่ยนแปลงไปในทางเดียวกันกับราคาของสินค้าและบริการชนิด
นั้นเสมอ” หมายความว่า เมื่อราคาสินค้าสูงขึ้น ผู้ผลิตมีความเต็มใจที่จะผลิตสินค้าออกขายมากขึ้น แต่ถ้าราคา
สินคา้ ลดลง ผูผ้ ลิตจะผลิตเพอื่ เสนอขายในปริมาณน้อยลง ทั้งนีโ้ ดยสมมตใิ หป้ ัจจัยอน่ื ๆ คงที่

ความสมั พันธ์ระหว่างราคากับปริมาณเสนอขายสนิ ค้า นอกจากแสดงเปน็ ฟังก์ชันอุปทานแล้วยังอาจแสดงได้ใน
รปู สมการอุปทาน ตารางอปุ ทาน และเส้นอุปทาน ไดด้ งั นี้
สมการอุปทาน คือ การแสดงความสัมพันธ์ระหว่างราคากับปริมาณขายในรูปของสมการ ซึ่งอาจเป็นสมการ
เสน้ ตรงหรือเส้นโคง้ แตส่ ่วนมากเป็นสมการเส้นตรง เชน่ Qs = 5 + P จากสมการอุปทานดังกล่าว สามารถสร้าง
เป็นตารางอปุ ทาน โดยสมมตคิ า่ ต่าง ๆ ของ P แลว้ คำนวณค่า Q ไดด้ งั ตารางต่อไปน้ี

ตาราง แสดงจำนวนสม้ ที่ผผู้ ลติ คนหน่งึ ยินดีจะนำออกขาย ณ ระดบั ราคาตา่ งๆ

ราคาต่อหนว่ ย (บาท) ปรมิ าณขาย (กก.)
5 10
4 9
3 8
2 7
1 6

จากตารางข้างตน้ เป็นตัวเลขทีแ่ สดงความสัมพนั ธ์ระหวา่ งราคากับปริมาณของส้มทีผ่ ู้ผลิตยินดขี ายในระยะเวลา
หน่งึ จากตวั เลขเหล่านี้นำมาหาจุดต่าง ๆ บนกราฟ เม่ือลากเสน้ เชื่อมต่อจุดเหลา่ นี้จะไดเ้ ส้นอุปทานของส้ม ซึ่งมี
ลักษณะทอดลงจากขวามาซา้ ยและมีค่าความชันเปน็ บวก ดังรูป

ลักษณะของเส้นอปุ ทาน (Supply Curve)

เนื่องจากปริมาณสินค้าแต่ละชนิดที่ผู้ผลิตแต่ละคนเสนอขาย ณ ระดับราคาต่าง ๆ เมื่อรวมกันเข้าจะเท่ากับ
ปริมาณขายรวม ณ ระดับราคานั้น ๆ ดังนั้น อุปทานของตลาด (Market Supply) สำหรับสินค้าใดจึงหาได้จาก
การรวมอปุ ทานสำหรบั สนิ ค้าชนิดนัน้ ของผผู้ ลิตแต่ละราย ดังตารางต่อไปนี้

ตาราง แสดงอปุ ทานของบุคคลและอุปทานของตลาดยางพารา

ราคา ปรมิ าณขาย ปรมิ าณขาย ปรมิ าณขาย ปริมาณขาย
(บาท/กก.) ของนาย ก (กก.) ของนาย ข (กก.) ของนาย ค (กก.) ของตลาด (กก.)

5 50 40 30 120
4 40 30 20 90
3 30 20 10 60
2 20 10 5 35
1 10 5 1 16

จากตาราง การหาอุปทานของตลาดยางพาราแห่งหนึ่ง สมมติว่าในตลาดนี้มีผู้ขายเพียง 3 ราย คือ นาย ก นาย
ข และนาย ค วิธีการคือ รวมปริมาณขายของคนทั้งสามในแต่ละระดับราคา ผลรวมของปริมาณขาย ณ ระดับ
ราคาใด กค็ ือปริมาณขายของตลาด ณ ราคาน้ัน (ทำนองเดยี วกบั การหาอปุ สงคข์ องตลาดดงั กลา่ วแล้ว) ดังรปู

แสดงการหาเสน้ อปุ ทานของตลาดจากเส้นอปุ ทานของผู้ผลิตแต่ละราย

6. ครูใช้วิธีเขียนกระดานในการเขียนกราฟ ประกอบเทคนิคการบรรยาย การเปลี่ยนแปลงปริมาณขายและการ
เปลย่ี นแปลงอุปทาน
6.1 การเปล่ยี นแปลงปริมาณขาย
การเปลี่ยนแปลงปริมาณขาย (Change in Quantity Supply) เกิดจากราคาสินค้าเปลี่ยนแปลงไปทำให้
ปริมาณขายหรือจำนวนผลผลิตเปลีย่ นแปลงไปด้วยตามกฎของอุปทาน โดยสมมติให้ตวั กำหนดอุปทานโดยอ้อม
อยู่คงที่ การเปลี่ยนแปลงปริมาณขายเป็นการย้ายจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งบนเส้นอุปทานเส้นเดิม เช่น เม่ือ
ราคาข้าวเปลือกลดลง เกษตรกรจะลดพื้นที่เพาะปลูกลง ปริมาณขายข้าวเปลือกที่เสนอขายก็จะลดลง ซึ่งเป็น
การวเิ คราะหภ์ ายในเส้นอปุ ทาน (Move Along the Supply Curve) ดงั รูป

แสดงการเปล่ียนแปลงปริมาณขาย

จากรูป สมมติว่าเดิมราคาข้าวเปลือกอยู่ ณ ระดับ P1 ปริมาณขายจะเท่ากับ Q1 ต่อมาราคาข้าวเปลือกลดลงมา
อยู่ที่ P2 ปริมาณขายจะลดลงเปน็ Q2 ซึ่งจะเห็นได้ว่ามีการเคลือ่ นย้ายจากจุด A ไปยังจุด B1 บนเส้นอุปทานเสน้
เดิม
6.2 การเปล่ียนแปลงอปุ ทาน
การเปล่ียนแปลงอปุ ทาน (Change in Supply) หมายถึง การท่ีตัวกำหนดอปุ ทานโดยอ้อม เชน่ เทคโนโลยีทีใ่ ช้
ในการผลิต ราคาของปัจจัยการผลิต สภาพดินฟ้าอากาศหรือฤดูกาล เป็นต้น ตัวใดตัวหนึ่งหรือหลายตัว
เปลี่ยนแปลงไป และมีผลทำให้ปริมาณขายเพิ่มขึ้นหรือลดลง ณ ระดับราคาเดิม เช่น การผลิตข้าวเปลือกของ
เกษตรกรจะลดลง หากเกิดภาวะฝนแล้ง ค่าจ้างแรงงานหรือปุย๋ มีราคาสูงข้ึน ในทางตรงข้ามการผลิตข้าวเปลอื ก
ของเกษตรกรจะเพิ่มข้นึ หากสภาพดินฟา้ อากาศเออื้ อำนวย คา่ จ้างแรงงานหรอื ป๋ยุ ราคาถูกลง

จะเห็นได้ว่าปริมาณขายข้าวเปลือกของเกษตรกรจะเพิ่มขึ้นหรือลดลงทั้ง ๆ ที่ราคาข้าวเปลือกคงเดิมในกรณี
เช่นนี้จะทำให้มีการเคลื่อนย้ายของเส้นอุปทานของข้าวเปลือกไปทั้งเส้น โดยจะย้ายไปอยู่ทางขวาหรือทางซ้าย
ของเสน้ เดิมข้ึนอยู่กบั ตวั กำหนดอปุ ทานโดยอ้อมทเ่ี ปลยี่ นแปลงไป อันจะมีผลทำใหป้ ริมาณขายเพิ่มขึ้นหรือลดลง
ณ ระดบั ราคาเดมิ กลา่ วคือ ถ้าทำใหป้ รมิ าณขายเพม่ิ ขึน้ หรืออุปทานเพิ่มขนึ้ เสน้ อปุ ทานจะยา้ ยไปทางขวามือของ
เส้นเดิม ในทางตรงข้าม ถา้ ทำใหป้ ริมาณขายลดลงหรืออปุ ทานลดลงเสน้ อุปทานจะยา้ ยไปอยู่ทางซา้ ยมือของเส้น
เดมิ ดงั รปู

แสดงการเปลีย่ นแปลงอปุ ทาน

จากรูป สมมติว่า S คือ เส้นอุปทานเดิมของเกษตรกรรายหนึ่งในการผลิตข้าวเปลือก ถ้าราคาข้าวเปลือกอยู่ ณ
ระดบั ราคา P เกษตรกรจะขายข้าวเปลอื ก ณ ระดับ 0Q ในปตี อ่ มาสภาพดินฟ้าอากาศเอื้ออำนวยเกษตรกรจะทำ
นาเพิ่มมากขึ้น ทำให้ปริมาณข้าวเปลือกที่นำออกขายเพิ่มขึ้นเป็น 0Q1 ทั้ง ๆ ที่ราคาข้าวเปลือกยังอยู่ ณ ระดับ
ราคา P เมื่อปริมาณขายเพิม่ ขนึ้ หรอื อปุ ทานเพิม่ ข้นึ จะเปน็ ผลทำให้เส้นอุปทานเดิม S ยา้ ยไปทางขวาเปน็ เส้น S1
7. ครูใช้สื่อ PowerPoint ประกอบเทคนิคการบรรยาย ดุลยภาพของตลาดและการเปลี่ยนแปลงของดุลยภาพ
ตลาด
7.1 ดลุ ยภาพของตลาด (Market Equilibrium)
โดยเหตุที่ทั้งอุปสงค์และอุปทานต่างก็มีความสัมพันธ์หรือขึ้นอยู่กับราคาของสินค้าและบริการ ดังนั้นปริมาณ
สินค้าที่ผู้บริโภคต้องการซื้อและผู้ขายต้องการขายจะปรับตัวไปตามระดับราคาสินค้าและบริการที่เปลี่ยนแปลง
ไป แตเ่ นื่องจากการปรบั ตัวของปรมิ าณซอ้ื และปริมาณขายเท่ากนั พอดี ณ ระดับราคาใดราคาหนึง่ ซ่ึงหมายความ
ว่า ณ ระดบั ราคานั้นปริมาณสินค้าที่ผบู้ รโิ ภคต้องการซื้อจะเท่ากับปริมาณสินค้าที่ผผู้ ลิตต้องการจะผลิตออกขาย
ในขณะเดียวกันพอดี มีผลทำให้เกิดราคาดุลยภาพ (Equilibrium Price) และปริมาณดุลยภาพ (Equilibrium
Quantity) เรียกสภาวะดังกล่าวนี้ว่า “ดุลยภาพตลาด (Market Equilibrium)”ราคาดุลยภาพและปริมาณดุลย
ภาพนี้ เมื่อเกิดขึ้นแล้วจะคงอยู่เช่นนั้นตราบใดที่อุปสงค์และอุปทานไม่เปลี่ยนแปลง เหตุผลคือ ถ้าราคา
เปลี่ยนแปลงไปจากดุลยภาพด้วยเหตุใดก็ตาม จะทำให้อุปสงค์และอุปทานขาดความสมดุล ราคาท่ีเปลี่ยนแปลง
ไปจากดลุ ยภาพจึงดำรงอยู่ไม่ได้ตอ้ งเปลี่ยนแปลงอยู่เรือ่ ย ๆจนเกิดราคาดลุ ยภาพอีกครั้งหนึง่ จงึ จะหยุดน่ิง ดงั รปู

ดุลยภาพตลาดและการปรบั ตวั เขา้ สู่ดลุ ยภาพ

จากรูป ถ้าเรานำอุปสงค์และอุปทานตลาดมาพิจารณาร่วมกัน จะเห็นได้ว่า ที่ราคาสูง ๆ ปริมาณซ้ือจะน้อยแต่
ปริมาณเสนอขายจะมีมาก เช่น ที่ราคา 0P1 บาท ปริมาณซื้อจะเท่ากับ 0Q1 ปริมาณเสนอขายจะมีมากถึง 0Q2
ณ ราคาที่ปริมาณเสนอขายมากกว่าปริมาณซื้อ จะก่อให้เกิด “อุปทานส่วนเกิน (Excess Supply)” ในที่น้ี
อุปทานส่วนเกินเท่ากับ Q1 Q2 แสดงว่า ถ้าผู้ผลิตยืนยันว่าจะขาย ณ ราคานี้จะขายได้เพียง 0Q1 เท่านั้น ถ้า
ผู้ผลิตไม่ต้องการให้มีสินค้าเหลือ เขาจะต้องลดราคาลงมา ในทางตรงข้ามที่ราคาต่ำ ๆ ปริมาณซื้อจะมีมากแต่
ปริมาณเสนอขายจะมีน้อย เช่น ที่ราคา 0P2 ปริมาณซื้อมีสูงถึง 0Q2 แต่ปริมาณเสนอขายมีเพียง 0Q1 เท่านั้นที่
ราคา 0P2 นี้ ปริมาณซื้อมากกว่าปริมาณเสนอขาย ก่อให้เกิด “อุปสงค์ส่วนเกิน (Excess Demand)” ในที่น้ี
อุปสงค์ส่วนเกินเท่ากับ Q1 Q2 ถ้าราคาที่ซือ้ ขายกันอยูท่ ี่ระดับนี้ จะด้วยเหตุผลใดก็ตาม จำนวนสินค้าที่ผูบ้ รโิ ภค
สามารถซื้อได้จริง คือ 0Q1 ความต้องการซื้อจึงยังไม่ได้รับการตอบสนองทั้งหมด เพราะสินค้าขาดแคลนถ้า
ผบู้ รโิ ภคต้องการจะใหม้ ีสินค้ามาตอบสนองมากกวา่ นี้ เขาจะตอ้ งเสนอราคาท่สี ูงกว่าน้ีเพ่อื จูงใจให้ผูผ้ ลติ เสนอขาย
ในจำนวนที่มากขึ้น สรุปได้ว่า ณ ราคาใดก็ตาม หากปริมาณซื้อไม่เท่ากับปริมาณเสนอขาย จะก่อให้ เกิด
แรงผลักดันจากผู้บริโภคและผู้ผลิต จนกระทั่งราคาสินค้าที่ตกลงซื้อขายกันกลับมาอยู่ตรงที่ทำให้ไม่มีอุปทาน
ส่วนเกินและอุปสงค์ส่วนเกิน นั่นคือ ราคาที่ปริมาณซื้อเท่ากับปริมาณเสนอขายพอดี เราเรียกภาวะนี้ว่า “ดุลย
ภาพ (Equilibrium)” จากรูปข้างต้น ดุลยภาพของตลาดจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อราคาที่ซื้อขายกันเท่ากับ 0P0
เท่านั้นเพราะราคานี้ปริมาณซื้อเท่ากับปริมาณเสนอขายพอดี คือ 0Q0 จึงไม่มีอุปทานส่วนเกินและอุปสงค์
ส่วนเกินราคาที่ก่อให้เกิดดุลยภาพของตลาดนี้เรียกว่า “ราคาดุลยภาพ (Equilibrium Price)” ส่วนปริมาณ
การซอ้ื ขายท่ีเกดิ ข้ึนจริง ณ ราคาดุลยภาพนี้เรยี กวา่ “ปรมิ าณดุลยภาพ (Equilibrium Quantity)” ในที่น้ีคือ
0Q0 ถ้าพิจารณาจากกราฟ จะเห็นว่า ทั้งราคาดุลยภาพและปริมาณดุลยภาพก็คือ ราคาและปริมาณของสินค้า
ตรงจุดตัดระหว่างเส้นอุปสงค์และเส้นอุปทาน หรือที่เรียกว่า “จุดดุลยภาพ (Equilibrium Point)” ในที่นี้คือ
จุด E ดุลยภาพทีเ่ กิดขึ้นจะคงอย่เู ช่นนตี้ ลอดไป ตราบใดทอี่ ุปสงค์และอปุ ทานไมเ่ ปลยี่ นแปลง
7.2 การเปลย่ี แปลงของดุลยภาพตลาด
อย่างไรก็ตามภาวะดุลยภาพนี้อาจเปลี่ยนแปลงไปได้ ถ้าอุปสงค์และอุปทานอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่า ง
เปลย่ี นแปลงไป การเปลีย่ นแปลงของอุปสงค์และอุปทานเกิดจากตัวกำหนดอุปสงค์และอุปทานโดยอ้อมชนิดต่าง
ๆ เปลี่ยนแปลงไปดังที่ได้อธิบายมาแล้ว ดังนั้น เมื่อไรก็ตามที่ปัจจัยเหล่านี้เปลี่ยนแปลงจนทำให้ปริมาณซื้อและ
ปริมาณขายเปลี่ยนตามไปด้วย ณ ทุกระดับราคา จะทำให้ตำแหน่งดุลยภาพเปลี่ยนแปลงไป เพื่อความเข้าใจจะ
แสดงตัวอย่างการปรับตวั เขา้ สดู่ ุลยภาพ โดยสมมติกรณีตัวอยา่ งตา่ ง ๆ กันดงั น้ี
1. อุปสงค์เปลี่ยนแปลงในขณะที่อุปทานคงที่ สมมติว่า D และ S เป็นเส้นอุปสงค์และอุปทานของ
เคร่ืองปรบั อากาศ ซึ่งเกดิ ภาวะดุลยภาพที่จุด E ตอ่ มาการไฟฟ้านครหลวงได้ประกาศลดอัตราคา่ กระแสไฟฟ้าลง
เนื่องจากไฟฟ้าและเครื่องปรับอากาศเป็นสินค้าที่ใชร้ ่วมกัน เมื่ออัตราค่ากระแสไฟฟ้าลดลงยอ่ มส่งผลให้อุปสงค์
ของเคร่อื งปรบั อากาศเพิ่มขึ้น เสน้ อปุ สงค์ใหม่จะยา้ ยมาทางขวามือและเกดิ ภาวะดุลยภาพใหม่ณ จดุ E1 ทั้งราคา
และปริมาณใหม่ต่างเพิ่มขึ้น ดังรูป ในทางตรงข้าม ถ้าหากการไฟฟ้านครหลวงประกาศขึ้นอัตราค่ากระแสไฟฟา้
จะทำให้อุปสงค์ของเคร่ืองปรับอากาศลดลง เส้นอุปสงค์ใหม่จะย้ายมาทางซ้ายมือและเกิดภาวะดุลยภาพ ณ จุด
E2 ทงั้ ราคาและปรมิ าณใหมต่ า่ งลดลง

การเปลี่ยนแปลงภาวะดลุ ยภาพ กรณอี ปุ สงคเ์ ปลย่ี นแปลงในขณะท่อี ปุ ทานคงที่

2. อุปทานเปลี่ยนแปลงในขณะที่อุปสงค์คงที่ สมมติว่า D และ S เป็นเส้นอุปสงค์และอุปทานของที่พักตาก
อากาศบนเกาะหลีเป๊ะ ภาวะดุลยภาพอยู่ที่จุด E ต่อมามีนักลงทุนไปลงทุนสร้างทีพ่ ักตากอากาศเพิ่มมากขึ้น ทำ
ให้เส้นอุปทานย้ายมาทางขวามือเกิดภาวะดุลยภาพใหม่ ณ จุด E1 เมื่อมีที่พักเพิ่มมากขึ้นทำให้ราคาที่พักตาก
อากาศลดลง ในทางตรงขา้ ม ถา้ เกดิ ภาวะเศรษฐกิจตกตาํ่ จะทำใหน้ ักลงทุนลงทุนน้อยลงหรือปดิ กิจการไป ทำให้
เสน้ อปุ ทานยา้ ยมาทางซา้ ยมือของเสน้ อปุ ทานเส้นเดมิ จะเกิดภาวะดุลยภาพใหม่ณ จดุ E2 ราคาทีพ่ ักตากอากาศ
จะเพม่ิ ขึน้ เน่อื งจากปริมาณท่ีพักลดนอ้ ยลงนนั่ เอง

การเปล่ียนแปลงภาวะดุลยภาพ กรณีอปุ ทานเปลี่ยนแปลงในขณะทอ่ี ุปสงคค์ งที่

3. อปุ สงคแ์ ละอุปทานเปลี่ยนแปลง สมมตใิ ห้ D และ S เป็นอุปสงคแ์ ละอปุ ทานของไก่แชแ่ ขง็ ซึง่ เกิดภาวะดุลย
ภาพ ณ จดุ E เมอ่ื เวลาผา่ นไปรายไดเ้ ฉล่ยี ของผูบ้ ริโภคเพิ่มสูงขึ้น ทำให้มีอปุ สงค์ตอ่ ไก่แช่แขง็ ส่งผลให้เส้นอุปสงค์
ใหม่ย้ายไปทางขวามือ ขณะเดียวกันราคาอาหารสำหรับเลี้ยงไก่สูงขึ้นด้วย ต้นทุนการเลี้ยงไก่จึงสูงขึ้น ท ำให้
อุปทานของไกแ่ ช่แข็งลดลง สง่ ผลให้เสน้ อปุ ทานใหมย่ ้ายมาทางซา้ ยมอื เกิดภาวะดุลยภาพใหม่ ณ จุด E1 ราคาไก่
แชแ่ ข็งสูงขน้ึ และปรมิ าณไก่แชแ่ ขง็ จะลดลง ดังรปู

การเปลย่ี นแปลงภาวะดลุ ยภาพ กรณีอปุ สงคแ์ ละอปุ ทานเปล่ียนแปลง

สรุป อุปสงค์ คือ ปริมาณซื้อสินค้าและบริการชนิดหนึ่งในทุกระดับราคาที่เป็นไปได้ณ ช่วงเวลาใดเวลาหน่ึง
กฎของอปุ สงค์กล่าววา่ เม่ือกำหนดให้สิ่งอื่น ๆ คงที่ ถา้ ราคาของสนิ คา้ และบริการชนิดหนงึ่ ลดลง ปริมาณซื้อของ
สินค้าและบริการชนิดนั้นจะเพิ่มขึ้น ในทางตรงกันข้ามถ้าราคาสินค้าและบริการชนิดหนึ่งเพิ่มขึ้น จะทำให้
ปริมาณซื้อของสินค้าและบริการชนิดนั้นลดลงปัจจัยที่กำหนดอุปสงค์ ได้แก่ ราคาสินค้าชนิดนั้น รายได้ของ
ผู้บริโภค ราคาสินค้าชนิดอื่นที่เกี่ยวข้องรสนิยมของผู้บริโภค จำนวนผู้บริโภค และการคาดคะเนราคาสินค้าใน
อนาคตของผ้บู ริโภค
อุปทาน คือ ปริมาณขายสินค้าและบริการชนิดหนึ่งในทุกระดับราคาที่เป็นไปได้ ณ ช่วงเวลาใดเวลาหน่ึง
กฎของอุปทานกล่าวว่า เมื่อกำหนดให้สิ่งอื่น ๆ คงที่ ถ้าราคาของสินค้าและบริการชนิดหนึ่งถูกลง ปริมาณขาย
ของสนิ ค้าและบรกิ ารชนิดน้ันจะลดลง ในทางตรงกนั ขา้ มถ้าราคาสินค้าและบริการชนิดหน่ึงแพงขน้ึ ปริมาณขาย
ของสินค้าและบริการชนิดนั้นจะมากขึ้นปัจจัยที่กำหนดอุปทาน ได้แก่ ราคาสินค้าชนิดนั้น ราคาของปัจจัยการ
ผลติ ราคาของสินค้าชนดิ อ่นื ทผี่ ผู้ ลิตสามารถผลติ ได้ จำนวนผู้ผลิต เทคโนโลยีการผลิต และการคาดคะเนเก่ยี วกับ
ราคาในอนาคตของผผู้ ลติ
ดุลยภาพตลาด คือ สภาวะท่ีปรมิ าณซ้ือเท่ากับปริมาณขายพอดี หากเมอ่ื ใดท่ีอุปสงค์และอปุ ทาน หรือทั้งอุปสงค์
และอุปทานเกิดการเปลย่ี นแปลง จะทำให้ดุลยภาพตลาดเปล่ยี นแปลงไปดว้ ย
ขนั้ สรปุ และการประยกุ ต์
8. ครสู รปุ บทเรยี น โดยใช้สือ่ PowerPoint และเปิดโอกาสใหน้ ักเรียนได้ซักถามข้อสงสัย
9. ผ้เู รียนทำกิจกรรมใบงาน และแบบประเมินผลการเรยี นรู้
สอื่ และแหลง่ การเรยี นรู้
1. หนังสือเรียนหลกั เศรษฐศาสตร์ รหัสวิชา 30200-1001 ของสำนกั พมิ พ์เอมพันธ์
2. ส่ือ PowerPoint
3. แบบประเมินผลการเรียนรู้
4. กจิ กรรมการเรยี นการสอน
5. แบบประเมนิ กิจกรรมใบงาน
หลักฐาน
1. บันทึกการสอนของผสู้ อน 2. ใบเช็ครายช่ือ
3. แผนจัดการเรียนรู้ 4. การตรวจประเมนิ ผลงาน
การวัดผลและการประเมินผล
วิธวี ัดผล
1. สงั เกตพฤติกรรมรายบุคคล
2. ตรวจกจิ กรรมสง่ เสรมิ คณุ ธรรมนำความรู้
3. ตรวจแบบประเมนิ ผลการเรยี นรู้ แบบฝึกปฏิบตั ิ
4. ตรวจใบงาน
เครือ่ งมือวดั ผล
1. แบบสังเกตพฤติกรรมรายบุคคล
2. แบบประเมนิ ผลการเรยี นรู้ และแบบฝึกปฏบิ ตั ิ
3. แบบประเมนิ กิจกรรมใบงาน

เกณฑก์ ารประเมนิ ผล
1. เกณฑผ์ ่านการสงั เกตพฤติกรรมรายบคุ คล ต้องไมม่ ชี ่องปรบั ปรุง
2. แบบประเมนิ ผลการเรยี นรมู้ ีเกณฑ์ผ่าน และแบบฝึกปฏิบตั ิ 50%
3. แบบประเมินกจิ กรรมใบงานมีเกณฑผ์ า่ น 50%
กจิ กรรมเสนอแนะ

1. แนะนำใหผ้ เู้ รียนอ่านทบทวนเนื้อหาเพ่มิ เติม
2. ควรศกึ ษาข้อมูลเพมิ่ เตมิ จากสอื่ อนิ เทอรเ์ น็ต

แบบประเมินผลการเรยี นรู้หนว่ ยการเรยี นรทู้ ี่ 2
ตอนท่ี 1 จงตอบคำถามต่อไปนี้
1. อธบิ ายความหมายของอุปสงคแ์ ละกฎของอุปสงค์
............................................................................................................................. .........................................
2. อุปสงคแ์ บง่ ออกเป็นกช่ี นิด อะไรบ้าง
............................................................................................................................. .......................................
3. ตวั กำหนดอุปสงค์มีอะไรบ้าง อธิบาย
...................................................................................................................................................................
4. อธิบายการเปลี่ยนแปลงปรมิ าณซื้อ และการเปลีย่ นแปลงอุปสงค์
...................................................................................... ................................................................................
5. อธิบายความหมายของอุปทานและกฎของอุปทาน
............................................................................................................................. .........................................
6. ตัวกำหนดอุปทานมีอะไรบ้าง อธิบาย
............................................................................................................................. .........................................
7. ปจั จยั ตัวใดทเี่ ป็นตัวกำหนดอุปทานโดยตรง
............................................................................................................................. ........................................
8. อธิบายการเปล่ยี นแปลงปรมิ าณขายและการเปลย่ี นแปลงอุปทาน
...................................................................................................................................... ................................
9. อธบิ ายภาวะดลุ ยภาพของตลาด พร้อมวาดรูปประกอบคำอธิบาย
......................................................................................................................................................................
10. ยกตวั อย่างการเปลยี่ นแปลงภาวะดุลยภาพของกรณีใดกรณหี นงึ่ พร้อมทง้ั วาดรปู ประกอบคำอธิบาย
....................................................................................................................................................................

ตอนท่ี 2 จงเลอื กข้อท่ถี กู ตอ้ งทส่ี ุดเพยี งข้อเดยี ว
1. เมือ่ ราคาสินคา้ สงู ขึน้ ผ้บู ริโภคจะซื้อสนิ คา้ มาบรโิ ภคในจำนวนท่ีนอ้ ยลง แตถ่ า้ ราคาสินคา้ ลดลงผบู้ รโิ ภคจะซ้ือ
สนิ คา้ เพมิ่ ขึน้ แสดงใหเ้ ห็นถึงข้อใด
ก. กฎของอปุ สงค์ ข. กฎของอุปทาน ค. กฎวา่ ดว้ ยการมีจำกดั ง. กฎวา่ ดว้ ยการลดนอ้ ยถอยลง
จ. กฎวา่ ด้วยการเปลี่ยนแปลงการผลติ หนว่ ยสดุ ทา้ ย
2. เมื่อราคาสินค้าสูงขึ้นผู้ผลิตเต็มใจที่จะผลิตสินค้าออกขายมากขึ้น แต่ถ้าราคาสินค้าลดลงผู้ผลิตจะผลิต
สนิ คา้ ออกขายลดลงแสดงใหเ้ หน็ ในข้อใด
ก. กฎของอุปสงค์ ข. กฎของอปุ ทานค. กฎวา่ ดว้ ยการมีจำกดั ง. กฎวา่ ด้วยการลดนอ้ ยถอยลง
จ. กฎว่าดว้ ยการเปลี่ยนแปลงการผลติ หน่วยสุดท้าย
3. ข้อใดกลา่ วถกู ต้องเกี่ยวกับการแบ่งชนิดของอุปสงค์
ก. 2 ชนิด คือ อปุ สงคต์ ่อรายได้ และอุปสงค์ตอ่ ปัจจยั การผลติ
ข. 2 ชนดิ คือ อปุ สงค์ตอ่ ราคา และอปุ สงคต์ ่อรายได้
ค. 2 ชนดิ คอื อปุ สงคต์ อ่ ราคา และอปุ สงคต์ อ่ ราคาสินค้าชนิดอน่ื
ง. 3 ชนดิ คอื อปุ สงคต์ ่อราคา อุปสงค์ต่อรายได้ และอปุ สงค์ต่อราคาสนิ ค้าชนิดอ่ืน
จ. 3 ชนดิ คือ อุปสงคต์ อ่ ราคา อุปสงค์ตอ่ คา่ ใช้จ่าย และอุปสงคต์ อ่ ราคาสนิ ค้าชนดิ อืน่
จากตารางต่อไปนีจ้ งตอบคำถามขอ้ 4 – 7

4. ราคาดลุ ยภาพเท่ากับข้อใด ง.
ก. 4 บาท ข. 5 บาท ค. 6 บาท ง. 7 บาท จ. 8 บาท
5. ปริมาณดุลยภาพคือข้อใด
ก. 100 หนว่ ย ข. 90 หนว่ ย ค. 80 หนว่ ย ง. 70 หนว่ ย จ. 60 หนว่ ย
6. ณ ระดับราคา 11 บาท จะเกดิ อะไรขึ้น
ก. ราคาตลาด ข. อปุ สงค์ส่วนเกนิ เท่ากบั 80 หน่วย ค. อปุ สงค์ส่วนเกนิ เทา่ กบั 180 หน่วย
อุปทานสว่ นเกินเท่ากับ 80 หน่วย จ. อปุ ทานส่วนเกินเท่ากับ 180 หน่วย
7. ณ ราคา 1 บาท จะเกดิ อะไรขึน้
ก. สนิ ค้าล้นตลาด ข. อุปสงคส์ ่วนเกนิ มคี ่าเทา่ กับ 120 บาท ค. อุปสงคส์ ว่ นเกินมีค่าเทา่ กบั 180 บาท
ง. อปุ ทานส่วนเกนิ มีคา่ เทา่ กับ 120 บาท จ. อุปทานส่วนเกินมคี า่ เทา่ กับ 180 บาท
8. ตัวกำหนดโดยตรงของอปุ สงค์และอุปทานของสินค้าชนิดใดชนดิ หนึ่งคือข้อใด
ก. เป้าหมายของผผู้ ลิตสนิ คา้ ชนดิ นน้ั ข. เทคโนโลยที นี่ ำมาใชใ้ นการผลติ สนิ ค้าชนิดน้ัน
ค. จำนวนผ้ผู ลิตที่ผลิตสนิ ค้าชนดิ นัน้ ออกขาย ง. ราคาสินคา้ ชนดิ น้ัน จ. ราคาของสินคา้ ชนิดอนื่
9. การท่เี ส้นอุปสงคเ์ คล่ือนย้ายไปทางขวามือทัง้ เส้นอาจเกิดจากข้อใด
ก. ตน้ ทนุ การผลติ ลดลง ข. เทคโนโลยที น่ี ำมาใชใ้ นการผลติ สนิ ค้าดขี ึน้
ค. จำนวนผูผ้ ลิตทผี่ ลติ สนิ คา้ ชนดิ นั้นเพิ่มขนึ้ ง. จำนวนผ้บู ริโภคเพม่ิ ขน้ึ จ. ราคาปัจจยั การผลติ ลดลง

10. รัฐบาลได้ประกาศให้ประชาชน “บริโภคอาหารประเภทปลาจะให้โปรตีน และมีไขมันตํ่ากว่าการบริโภค
เน้ือสัตว์ ประเภทเนอื้ หมูและเน้ือวัว” ผลจะเป็นอยา่ งไร
ก. เส้นอุปสงค์ของเน้ือปลาจะเคลอ่ื นย้ายไปทางซ้ายมือท้งั เสน้
ข. เส้นอปุ สงค์ของเนือ้ ปลาจะเคล่อื นยา้ ยไปทางขวามือท้งั เส้น
ค. เสน้ อุปสงคข์ องเนอ้ื หมจู ะเคล่อื นย้ายไปทางขวามือทงั้ เส้น
ง. เสน้ อปุ สงคข์ องเนื้อววั จะเคลือ่ นยา้ ยไปทางขวามือท้งั เสน้
จ. เส้นอปุ สงค์ของเนอื้ หมูจะเคลอ่ื นยา้ ยไปทางขวามอื
ตอนที่ 3 วเิ คราะห์การเพ่ิมอุปทานของสนิ คา้ เกษตรกรรม ทำให้เกษตรกรมีฐานะยากจนลง ผูเ้ รยี นคดิ ว่า
จะมแี นวทางชว่ ยเกษตรกรได้อยา่ งไร
ใบงานที่ 1 ตามกฎของอุปสงคร์ ะบุว่า “ปรมิ าณสินค้าและบริการชนิดใดชนดิ หนงึ่ ที่ผู้บริโภคต้องการซื้อ
ย่อมแปรผกผันกับราคาสินคา้ และบริการชนดิ นัน้ เสมอ” ความสมั พนั ธ์ดงั กล่าวมสี าเหตุมาจากอะไร อธบิ าย

ใบงานที่ 2
ในนยิ ามของอปุ สงค์ต่อราคา ความตอ้ งการซ้ือและความต้องการธรรมดาแตกตา่ งกนั อยา่ งไร อธิบาย

ใบงานที่ 3

การเปลี่ยนแปลงอุปสงคแ์ ละการเปลย่ี นแปลงปรมิ าณซื้อมีสาเหตุแตกต่างกนั อย่างไร
............................................................................................................................. ............................................

บันทึกหลังการสอน

ข้อสรปุ หลังการสอน
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
ปญั หาทีพ่ บ
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
แนวทางแกป้ ญั หา
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................

แผนการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการท่ี 4 หน่วยท่ี 3
รหัส 30200-1001 หลักเศรษฐศาสตร์ สอนครงั้ ท่ี 4
ชอ่ื หนว่ ย ความยดื หยุ่นของอุปสงค์และอุปทาน
จำนวน 3 ช่ัวโมง

สาระสำคญั
จากการศึกษาเรื่องอุปสงค์และอุปทานทำให้ทราบว่าเมื่อราคาสินค้าและบริการ และปัจจัยอื่น ๆ ที่กำหนดอุป
สงค์และอุปทานเปลี่ยนแปลงไปจะทำให้ปริมาณเสนอซื้อหรือปริมาณเสนอขายเปลี่ยนแปลงไป เมื่อราคาสินค้า
และบริการ รายได้ของผู้บริโภค ราคาสินค้าและบริการชนิดอื่นที่ใช้ทดแทนกันหรือประกอบกันเปลี่ยนแปลงไป
ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงใน อปุ สงค์และอปุ ทาน แต่การเปลี่ยนแปลงจะมากน้อยเพียงใดข้ึนอยู่กับประเภทของ
สินค้าและบริการนั้น ๆ เช่น สินค้า และบริการที่ต้องใช้บริโภคประจำ สินค้าฟุ่มเฟือย สินค้าเกษตรกรรม สินค้า
อุตสาหกรรม เป็นต้น ซึ่งค่าที่คำนวณออกมาได้ของสัดส่วนการเปลี่ยนแปลงของปริมาณเสนอซื้อหรือปริมาณ
เสนอขายทีต่ อบสนองต่อการเปล่ียนแปลงของราคาและปัจจัยอน่ื ๆ คอื คา่ ความยืดหยนุ่
จดุ ประสงค์การเรียนรู้
1. อธิบายความหมายของความยืดหยุ่นได้
2. บอกความยดื หยุ่นของอปุ สงคต์ อ่ ราคา ความยดื หยุ่นของอุปสงค์ต่อรายไดแ้ ละความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อ

ราคาของสินคา้ อืน่ ที่เกย่ี วขอ้ งได้
3. อธิบายความยืดหยุ่นของอปุ ทานได้
4. ระบคุ ่าความยืดหยนุ่ ของอปุ ทาน และอธิบายลกั ษณะของเสน้ อปุ ทานได้
5. บอกประโยชนข์ องความยืดหยนุ่ ของอุปสงค์และอปุ ทาน และวิเคราะหป์ ญั หาทางเศรษฐกจิ ได้
สมรรถนะประจำหนว่ ย

แสดงความร้ใู นเร่ืองความยดื หยนุ่ ของอปุ สงค์และอุปทาน
สาระการเรียนรู้

1. ความหมายของความยดื หยนุ่ 2. ความยดื หยุ่นของอุปสงค์

3. ความยดื หยนุ่ ของอุปทาน 4. ประโยชนข์ องความยืดหยุ่นของอปุ สงคแ์ ละอุปทาน
กิจกรรมการเรียนการสอน

ขนั้ นำเขา้ สู่บทเรยี น

1. ครูกล่าวว่า จากการศึกษาอุปสงค์และอุปทานในหน่วยการเรียนรู้ที่ 2 ทำให้ทราบว่าปริมาณซื้อและ
ปริมาณเสนอขายจะเปลี่ยนแปลงไปเมื่อปัจจัยหรือตัวกำหนดอุปสงค์และอุปทานเปลี่ยนแปลงไป การ

เปล่ยี นแปลงจะมีมากนอ้ ยเพยี งใดข้นึ อยูก่ ับคา่ ความยดื หยนุ่ ซึ่งเป็นเครอ่ื งมอื ทน่ี กั เศรษฐศาสตรส์ ร้างข้ึนเพื่อใช้วัด

ดูปฏิกิริยาตอบสนองของปริมาณซื้อหรือปริมาณเสนอขายที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงของตัวกำหนดต่าง ๆ ว่ามี
ความไวมากน้อยเพียงใด

ความยืดหยุ่นนี้ใช้วัดได้ทั้งอุปสงค์และอุปทาน เนื่องจากแบ่งอุปสงค์ออกเป็น 3 ชนิด คือ อุปสงค์ต่อราคา

อุปสงค์ต่อรายได้ และอุปสงค์ต่อราคาสินค้าชนิดอื่น ส่วนความยืดหยุ่นของอุปทานมีความหมายเช่นเดียวกับ
ความยดื หยนุ่ ของอปุ สงคต์ ่างกนั ทีต่ ้องเปล่ียนปรมิ าณซื้อเปน็ ปริมาณเสนอขายเทา่ น้ัน

2. ครูกล่าวว่า หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 นี้ ผู้เรียนจะได้ความรู้เกี่ยวกับความยืดหยุ่นในหน่วยการเรียนรู้นี้สามารถ

นำไปใช้เป็นเครื่องมืออธิบายและวิเคราะห์เศรษฐกิจที่เกิดขึ้นได้ ได้แก่ การแทรกแซงราคาโดยรัฐบาล และการ

เก็บภาษสี นิ ค้า

ขน้ั สอน
3. ครูใชว้ ิธบี รรยาย ความหมายของความยดื หย่นุ
ความยืดหยุ่น (Elasticity) หมายถึง การวัดการตอบสนองของตัวแปรหนึ่งต่ออีกตัวแปรหนึ่ง ดังนั้น ความ
ยืดหยุ่นเป็นการวัดสัดส่วนหรือเปอร์เซ็นต์การเปลี่ยนแปลงในตัวแปรตัวหนึ่งซึ่งมีความสัมพันธ์กับสัดส่วนการ
เปลี่ยนแปลงของอีกตัวแปรหนึ่ง ความยืดหยุ่นทางเศรษฐศาสตร์ เป็นการอธิบายถึงสัดส่วนการเปลี่ยนแปลงใน
ปริมาณสินค้าที่มีความสัมพันธ์กับสัดส่วนการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้า หรือสัดส่วนการเปลี่ยนแปลงของ
ปัจจัยอื่นทก่ี ำหนด เชน่ รายได้ ราคาสนิ ค้าชนดิ อน่ื เป็นต้น
4. ครใู ช้สอ่ื PowerPoint ประกอบเทคนคิ การเขียนกระดานและการบรรยาย ความยดื หยุน่ ของอุปสงค์
ความยืดหยุ่นของอุปสงค์ (Elasticity of Demand: Ed) หมายถึง เปอร์เซ็นต์หรืออัตราการเปลี่ยนแปลงของ
ปริมาณสินค้าที่มีผู้ต้องการซื้อในขณะใดขณะหนึ่ง เมื่อตัวแปรที่เป็นปัจจัยกำหนดปริมาณเสนอซื้อนั้น ๆ
เปลี่ยนแปลงไปหนึ่งเปอร์เซ็นต์ ในการศึกษาเรื่องความยืดหยุ่นของอุปสงค์จะแยกพิจารณาตามลักษณะของอุป
สงค์ คือ ความยืดหยุ่นของอุปสงค์ตอ่ ราคา ความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อรายได้ และความยืดหยุ่นของอุปสงค์ตอ่
ราคาสินคา้ ชนิดอ่ืนหรอื ความยืดหย่นุ ไขว้
4.1 การคำนวณหาค่าความยดื หยนุ่ ของอปุ สงค์ตอ่ ราคา
ความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อราคาเป็นการศึกษาเบ้ืองต้นว่า เมื่อราคาสินค้าชนิดหนึ่งชนิดใดเปลี่ยนแปลงไปแลว้
จะมีผลทำให้ปริมาณซื้อสินค้าและบริการเปลี่ยนแปลงไปเท่าใด เพื่อให้ง่ายต่อการอธิบายจึงสมมติให้อัตราการ
เปลี่ยนแปลงของราคาเป็น 1% และคำตอบที่ได้คือ อัตราการเปลี่ยนแปลงของปริมาณซื้อสินค้าและบริการ
มากกว่า 1% หรือน้อยกว่า 1% หรือเท่ากับ 1% โดยไม่สามารถให้คำตอบเป็นตัวเลขท่ีแน่นอนได้วา่ ตัวเลขที่ได้
มากกว่าหรือน้อยกว่า 1% นั้นคือเท่าไร โดยทั่วไปแล้ว เราสามารถสรุปความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อราคาในรูป
สมการได้วา่
ความยืดหยุ่นของอุปสงคต์ ่อราคา (EPd) = เปอร์เซ็นต์การเปล่ยี นแปลงของปริมาณซ้ือสนิ ค้าชนิดหน่ึง
0

เปอร์เซน็ ตก์ ารเปล่ยี นแปลงของราคาสนิ ค้าชนดิ น้นั 000
ดังนั้น เมอ่ื ต้องการทราบอัตราการเปลย่ี นแปลงของปริมาณซ้ือที่ตอบสนองต่ออตั ราการเปลี่ยนแปลงของราคาให้
เป็นตัวเลขที่แน่นอน เพื่อจะนำไปใช้เป็นข้อมูลในการวิเคราะห์ต่อไปว่าสินค้าชนิดนั้น ๆ มีความยืดหยุ่นมาก
(Elastic) หรือมคี วามยดื หยุ่นน้อย (Inelastic) เพียงใดก็สามารถทราบได้โดยการคำนวณหาค่าความยืดหยุ่นจาก
สูตร การวัดความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อราคา สามารถทำได้ 2 วิธี คือ การวัดความยืดหยุ่นแบบจุดและการวัด
ความยืดหยุ่นแบบชว่ ง ดังน้ี
1. การวัดความยืดหยุ่นแบบจุด (Point Elasticity of Demand) เป็นการวัดความยืดหยุ่นของอุปสงค์ ณ
จุดใดจุดหนึ่งบนเส้นอุปสงค์ นิยมใช้ในกรณีที่ราคาสินค้ามีการเปลี่ยนแปลงไปเล็กน้อยจนแทบจะสังเกตไม่เห็น
สตู รการคำนวณหาความยดื หยนุ่ แบบจดุ มดี งั น้ี

โดยที่ EP d (แบบจดุ ) = ความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อราคา ณ จุดจุดหนึ่งบนเส้นอุป
สงค์
ΔQ
ΔP = สว่ นเปลี่ยนแปลงของปรมิ าณซ้อื หรอื Q2 – Q1
Q1 = สว่ นเปลี่ยนแปลงของราคาสินคา้ หรือ P2 – P1
P1 = ปรมิ าณซือ้ ก่อนการเปลี่ยนแปลง
= ราคาสินค้ากอ่ นการเปลยี่ นแปลง

แสดงการหาค่าความยดื หยุ่นของอุปสงคต์ ่อราคาแบบจดุ

ตัวอย่าง กำหนดให้ Qx = 500 – 20Px ถ้าราคาสินค้า X เปลี่ยนแปลงจากชิ้นละ 10 บาท เป็น 15 บาท

ความยดื หยุ่นของอปุ สงคต์ อ่ สินคา้ X เม่อื ราคาเปลีย่ นแปลงไปจะมีค่าเท่าไร

วธิ ีทำ ณ ระดบั ราคา Px1 = 10 บาท : Qx1 = 500 – 20(10)

= 500 – 200 = 300

ณ ระดับราคา Px2 = 15 บาท : Qx2 = 500 - 20(15)

= 500 – 300 = 200

จากสตู ร EP d = Q2 – Q1 X P1

P2 – P1 Q1
= 200 -300X 10
300
15 -10

= - 0.67

ค่าความยืดหยุ่นที่คำนวณได้ติดลบ หมายความว่า เมื่อราคาสินค้าเปลี่ยนแปลงไปจะมีผลให้ปริมาณซื้อ

เปลี่ยนแปลงไปในทิศทางตรงข้าม ตัวอย่างเช่น ความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อราคามีค่าเท่ากับ 0.67(ไม่คิด

เครื่องหมายลบ) แสดงให้เห็นว่า เมื่อราคาสินค้า X เปลี่ยนแปลงไปหนึ่งเปอร์เซ็นต์จะมีผลให้ปริมาณซื้อสินค้า

เปล่ียนแปลงไป 0.67 เปอรเ์ ซน็ ต์ในทิศทางตรงขา้ ม

2. การวดั ความยืดหยนุ่ แบบชว่ ง (Arc Elasticity of Demand) เปน็ การวัดความยืดหยนุ่ ของอปุ สงคใ์ นช่วง
ใดช่วงหนึ่งบนเส้นอุปสงค์ หรือวัดจากจุด 2 จุดบนเส้นอุปสงค์ ค่าความยืดหยุ่นที่คำนวณได้จะเป็นค่าเฉลี่ยของ
ช่วงดังกล่าว การวัดความยืดหยุ่นแบบช่วงนี้นิยมใช้วัดในกรณีที่ราคามีการเปลี่ยนแปลงมากจนสังเกตเห็นได้
สามารถเขยี นเปน็ สูตรได้ดังน้ี

โดยท่ี EP d (แบบช่วง) = ความยืดหยุ่นของอปุ สงค์ตอ่ ราคาในชว่ งใดช่วงหน่งึ บนเส้นอุปสงค์

Q1 = ปริมาณซอื้ กอ่ นการเปลี่ยนแปลง

Q2 = ปรมิ าณซอ้ื หลังการเปลีย่ นแปลง

P1 = ราคาสินคา้ ก่อนการเปลีย่ นแปลง

P2 = ราคาสินคา้ หลังการเปลย่ี นแปลง

ตัวอย่าง สมมติให้ราคาสินค้า X ลดลงจาก 15 บาท เป็น 10 บาท ปริมาณซื้อที่ผู้บริโภคมีต่อสินค้า X เพิ่มข้ึน

จาก 1,600 หน่วย เป็น 2,000 หน่วย สามารถหาค่าความยืดหยุ่นของอุปสงค์จากราคา 15 บาท เป็น 10 บาท

ไดด้ ังน้ี

วธิ ีทำ EP d(แบบชว่ ง) = Q2 – Q1 PX1 + P2
P2 – P1 Q1 + Q2

= 2,000-X1,600 15+10
10-15 2,000+1,600

= - 0.56

ความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อราคาเท่ากับ -0.56 หมายความว่า ในช่วงที่ราคาสินค้าลดลงจาก 15 บาท เป็น

10 บาท โดยเฉล่ยี การเปลี่ยนแปลงของราคาสินคา้ X ร้อยละ 1 จะมีผลทำให้อปุ สงคต์ ่อสินค้า X เปลยี่ นแปลงไป

ในทศิ ทางตรงกนั ข้ามเท่ากับรอ้ ยละ 0.56 เมื่อกำหนดใหป้ จั จยั อ่นื ๆ คงที่

4.2 ชนิดของความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อราคา โดยปกติค่าความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อราคาจะมีค่าเป็นลบ

เพราะราคากับปริมาณซื้อจะผันแปรในทิศทางตรงกันข้ามตามกฎของอุปสงค์ ความยืดหยุ่นของอุปสงคต์ ่อราคา

แบ่งออกเป็น 5 ลักษณะ คอื 1) มีความยดื หยนุ่ มาก 2) มีความยืดหยุ่นน้อย 3) มคี วามยดื หยุ่นเท่ากับหนึ่ง 4) ไม่

มคี วามยืดหยุน่ เลย และ 5) มคี วามยืดหยุน่ อยา่ งสมบูรณ์ มรี ายละเอยี ดของความยดื หยนุ่ ดังนี้

1. อปุ สงค์มีความยดื หยนุ่ มาก (Relatively Elastic) |Ed| > 1 หมายความวา่ เปอรเ์ ซน็ ตก์ ารเปลย่ี นแปลงของ
ปริมาณเสนอซ้ือมากกวา่ เปอรเ์ ซ็นต์การเปล่ียนแปลงของราคาเส้นอปุ สงค์ในกรณนี ี้จะมีลักษณะค่อนข้างลาด ดัง

รปู

แสดงเสน้ อุปสงค์ต่อราคาทม่ี คี วามยดื หยุ่นมาก

เส้นอุปสงค์ทมี่ คี วามยดื หยุ่นมาก หมายถึง เส้นอุปสงค์ท่ีมีความยืดหยนุ่ มากกวา่ 1 แตน่ อ้ ยกว่าอนิ ฟนิ ติ ี้ (∞) ส่วน
ใหญ่ได้แก่ สินคา้ ประเภทฟมุ่ เฟอื ย เชน่ เครอื่ งประดบั สุราจากต่างประเทศ เครื่องสำอาง รถยนต์ราคาแพง เป็น
ตน้ ลักษณะของเส้นอุปสงค์ในกรณนี จ้ี ะค่อนข้างลาด ดังรปู จะเห็นได้วา่ เปอรเ์ ซน็ ตก์ ารเปลี่ยนแปลงของปริมาณ
ซื้อมากกว่าเปอร์เซ็นต์การเปลี่ยนแปลงของราคา กล่าวคือ เมื่อราคาเปลี่ยนแปลงไป 1%จะทำให้ปริมาณซ้ือ
เปลีย่ นแปลงไปมากกว่า 1%
2. อุปสงค์มีความยืดหยุ่นน้อย (Relatively Inelastic) |Ed| < 1 หมายความว่า เปอร์เซ็นต์การเปลีย่ นแปลง
ของปริมาณซื้อน้อยกว่าเปอร์เซ็นต์การเปลี่ยนแปลงของราคาเส้นอุปสงค์ ในกรณีนี้จะมีลักษณะค่อนข้างชัน ดัง
รปู

แสดงเสน้ อุปสงค์ต่อราคาท่ีมคี วามยืดหยุน่ น้อย

เส้นอุปสงค์ที่มีความยืดหยุ่นน้อย คือ อุปสงค์ที่มีค่ามากกว่า 0 แต่น้อยกว่า 1 มักเป็นสินค้าที่มีความจำเป็นต่อ
การครองชพี เช่น อาหาร และยารักษาโรค เป็นตน้
3. อุปสงค์มีความยืดหยุ่นเท่ากับหนึ่ง (Unitary Elastic) |Ed| =1 หมายความว่าเปอร์เซ็นต์การเปลี่ยนแปลง
ของปรมิ าณซื้อเท่ากับเปอรเ์ ซ็นต์การเปล่ียนแปลงของเสน้ ราคา กรณนี เี้ สน้ อปุ สงคจ์ ะมีลกั ษณะเป็นเส้นโค้ง ทกุ ๆ
จดุ บนเสน้ อปุ สงคม์ คี า่ ความยดื หยุ่นเทา่ กับ 1 ตลอดทั้งเส้น ดังรูป

แสดงเส้นอุปสงคต์ อ่ ราคาทม่ี คี วามยดื หยนุ่ เทา่ กบั หนึ่ง

เส้นอุปสงค์ที่มีความยืดหยุ่นเท่ากับหนึ่ง หมายถึง เส้นอุปสงค์ที่มีความยืดหยุ่นเท่ากับหนึ่งตลอดทั้งเส้น เส้นอุป
สงค์ในกรณีนี้จะมีลักษณะเป็นเส้นโค้งแบบ Rectangular Hyperbolar ดังรูป จะเห็นได้ว่าเปอร์เซ็นต์การ
เปลี่ยนแปลงของปริมาณซื้อเท่ากับเปอร์เซ็นต์การเปลี่ยนแปลงของราคา กล่าวคือรายจ่ายมวลรวมของผู้บริโภค
และรายรับรวมของผผู้ ลติ เทา่ เดิมเสมอ ไม่วา่ ราคาจะลดลงหรือสูงขนึ้ ก็ตาม

4. อุปสงคไ์ มม่ คี วามยืดหย่นุ เลย (Perfectly Inelastic) |Ed| = 0 หมายความว่า ปริมาณซอ้ื ไมเ่ ปล่ียนแปลง
เลย แม้ว่าราคาจะเปลี่ยนแปลงไปก็ตาม กรณีนี้เส้นอุปสงค์จะมีลักษณะเป็นเส้นตรงตั้งฉากกับแกนนอน ทุก ๆ
จดุ บนเสน้ อุปสงคจ์ ะมีคา่ ความยืดหยุ่นตอ่ ราคาเทา่ กับศนู ย์ตลอดท้งั เส้น ดังรปู

แสดงเส้นอุปสงคต์ อ่ ราคาที่ไมม่ คี วามยืดหยุ่นเลย

สินค้าที่อุปสงค์มีความยืดหยุ่นเท่ากับศูนย์ ได้แก่ สินค้าที่มีความจำเป็นมากที่สุด สำหรับกรณีใดกรณีหน่ึง
โดยเฉพาะ เส้นอุปสงค์ในกรณีนี้จะมีลักษณะเป็นเส้นตรงตั้งฉากกับแกนนอน ดังรูป ในกรณีนี้การเปลี่ยนแปลง
ของราคาไม่ว่าจะสูงขึ้นหรือลดลงก็ตาม จะไม่มีผลทำให้ปริมาณซื้อสินค้าและบริการเปล่ียนแปลงไปแต่ประการ
ใด เชน่ โลงศพ ไม่วา่ ราคาจะสงู หรือถกู ลง ผูซ้ ้ือกจ็ ำเปน็ ตอ้ งซ้อื เพียง 1 โลงเทา่ นน้ั เมือ่ มคี วามจำเป็นต้องใช้
5. อุปสงค์มีความยืดหยุ่นอย่างสมบูรณ์ (Perfectly Elastic) |Ed| = ∞ หมายความว่า ณ ระดับราคานั้น ๆ
ผู้บริโภคจะซื้อสนิ ค้าไมจ่ ำกดั จำนวน แต่ถ้าราคาสินค้าสงู ข้ึนเพียงเล็กนอ้ ยจะไม่ซ้ือสินค้านั้นเลย เส้นอุปสงค์จะมี
ลกั ษณะเปน็ เสน้ ตรงต้ังฉากกับแกนต้ัง ทกุ ๆ จดุ บนเสน้ อุปสงคจ์ ะมีความยดื หย่นุ ต่อราคาเทา่ กับ ∞ ตลอดทงั้ เสน้
ดังรูป

แสดงเสน้ อุปสงค์ต่อราคาท่ีมีความยืดหยนุ่ อยา่ งสมบูรณ์

สินค้าทีอ่ ุปสงค์มคี วามยืดหยุ่นอย่างสมบรู ณ์หรือมคี วามยืดหยุ่นเท่ากับอินฟินติ ี้ ได้แก่ สินค้าที่มีการแข่งขันอยา่ ง
สมบูรณ์ เช่น พืชผลทางการเกษตร เป็นต้น เส้นอุปสงค์ในกรณีนี้จะมลี ักษณะเป็นเส้นตรงขนานกับแกนนอน ดัง
รูป จะเห็นได้ว่า ณ ราคา 0P1 ปริมาณซื้อขายจะมีโดยไม่จำกัดจำนวน แต่ถ้าผู้ขายรายใดขึ้นราคาสินค้าสูงกว่า
0P1 แมเ้ พียงเล็กน้อยผซู้ ื้อจะไม่ซื้อสินค้าจากผู้ขายรายน้ันเลย ปริมาณซือ้ จะเท่ากบั ศูนย์ท่ีเปน็ เช่นน้ีเพราะว่าผู้ซ้ือ
สามารถเลอื กซื้อสนิ คา้ ชนิดเดียวกนั ในราคา 0P1 จากผู้ขายรายอื่น ๆ ในตลาดได้
ความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อรายได้ (Income Elasticity of Demand: Ei) เป็นการวัดการตอบสนองของ
ปริมาณซื้อต่อการเปล่ียนแปลงในรายได้ของผู้บริโภค เมื่อกำหนดให้ปัจจัยอื่น ๆ ที่กำหนดให้คงที่ ทั้งนี้พิจารณา
ไดจ้ ากอตั ราส่วนของเปอรเ์ ซน็ ต์การเปลี่ยนแปลงของปริมาณซ้ือกบั เปอร์เซน็ ตก์ ารเปลย่ี นแปลงของรายได้
ดังสตู รตอ่ ไปนี้

ความยดื หย่นุ ของอปุ สงคต์ ่อรายได้ (Ei) = เปอรเ์ ซน็ ต์การเปลีย่ นแปลงของปรมิ าณซือ้ สินค้าชนิดหน่ึง
เปอร์เซน็ ตก์ ารเปลี่ยนแปลงในรายไดข้ องผูบ้ รโิ ภค

การวดั ความยดื หยนุ่ ของอปุ สงคต์ อ่ รายได้มอี ยู่ 2 วธิ ี คือ การวดั ความยดื หยนุ่ ของอุปสงค์ตอ่ รายได้ ไดแ้ ก่ การวัด
ความยืดหยุ่นแบบจุด และการวัดความยืดหยนุ่ แบบช่วง
1. การวดั ความยืดหยุ่นแบบจดุ สามารถคำนวณหาความยดื หยนุ่ แบบจดุ ได้ดว้ ยสตู รตอ่ ไปน้ี

โดยที่ E1 (แบบจุด) = ความยืดหยนุ่ ของอุปสงค์ต่อรายได้ ณ ระดบั รายได้หนง่ึ

ΔQ = ส่วนเปลีย่ นแปลงของปรมิ าณซือ้ หรอื Q2 – Q1

ΔY = ส่วนเปลย่ี นแปลงของรายไดผ้ ู้บริโภค หรือ Y2 – Y1

Q1 = ปรมิ าณซ้อื ก่อนการเปล่ียนแปลง

Y1 = รายไดข้ องผู้บริโภคก่อนการเปลีย่ นแปลง

2. การวดั ความยืดหยุน่ แบบช่วง สามารถเขียนเป็นสูตรไดด้ งั น้ี

โดยที่ E1 (แบบช่วง) = ความยดื หยนุ่ ของอปุ สงคต์ อ่ รายไดใ้ นชว่ งหนงึ่ ของรายได้
Q1 = ปรมิ าณซอื้ กอ่ นการเปลย่ี นแปลง
Q2 = ปริมาณซ้ือหลังการเปลย่ี นแปลง
Y1 = รายไดก้ ่อนการเปลยี่ นแปลง
Y2 = รายไดห้ ลงั การเปลย่ี นแปลง

ตัวอย่าง สมมตวิ ่าผบู้ ริโภครายหนึ่งมีรายได้ 5,000 บาท เขาจะซอ้ื สนิ ค้า X จำนวน 2 หนว่ ย ตอ่ มารายไดข้ องเขา

เพิม่ ขึ้นเป็น 10,000 บาท เขาจะซ้อื สนิ ค้า X เพมิ่ ข้ึนเป็น 6 หน่วย จงหาความยดื หยุ่นของอปุ สงค์ต่อรายได้

วธิ ที ำ จากสูตร Ei = Q2 – Q1 Y1 X+ Y2
Ei Y2 – Y1
Q1 + Q2

= 6-2 X 5,000 + 10,000
10,000 - 5,000 6+2

Ei = 4X 15,000
8
5,000

= 0.5 x 3

= 1.5

คา่ ท่ีไดน้ ีแ้ สดงให้เหน็ วา่ ถ้ารายไดข้ องผูบ้ ริโภคสงู ขน้ึ 1 เปอรเ์ ซ็นต์ จะมผี ลทำใหป้ รมิ าณซอื้ สินค้า Xเพ่มิ ขนึ้ 1.5

เปอรเ์ ซ็นต์

การแบ่งค่าของความยืดหย่นุ ของอปุ สงค์ต่อรายได้ เหมือนกบั การแบ่งชนดิ ของความยืดหยนุ่ ของอุปสงค์ต่อราคา
ทุกประการ เพยี งแต่เปลี่ยนจากราคาเปน็ รายไดเ้ ท่านั้น สำหรบั คา่ ความยืดหยุ่นของอุปสงคต์ อ่ รายได้ มโี อกาส
เป็นได้ทัง้ คา่ บวกและคา่ ลบขึ้นอย่กู ับประเภทของสินค้า ดังน้ี
1. เครอ่ื งหมายลบที่หน้าค่าความยืดหยนุ่ แสดงวา่ สินค้าประเภทนนั้ เปน็ สนิ คา้ ด้อยคุณภาพซึง่ ผบู้ ริโภคมักจะ
บรโิ ภคจำนวนนอ้ ยเม่อื มรี ายได้เพ่มิ ขึน้
2. เคร่อื งหมายบวกท่หี น้าคา่ ความยืดหยนุ่ แสดงวา่ สนิ คา้ ประเภทน้ันเป็นสนิ คา้ ปกติ ได้แก่ สนิ คา้ ทัว่ ไป และสินคา้
คณุ ภาพดี ซึ่งผู้บรโิ ภคมกั จะบรโิ ภคเพ่มิ ขน้ึ เม่ือมรี ายได้เพ่ิมข้นึ
ความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อราคาสินค้าชนิดอื่นที่เกี่ยวข้อง (Cross Elasticity of Demand: Ec)หรือความ
ยืดหยุ่นไขว้ คือ อัตราการเปลี่ยนแปลงปริมาณซื้อของสินค้าชนิดใดชนิดหนึ่งที่ผู้บริโภคต้องการซื้อในขณะใด
ขณะหนึง่ ซึง่ ตอบสนองต่ออตั ราการเปล่ยี นแปลงของราคาสินค้าชนดิ อื่นท่เี กีย่ วข้องโดยสมมติให้ส่งิ อ่ืน ๆ คงท่ี
ในการศกึ ษาความยดื หยุ่นของอุปสงค์ต่อราคาสนิ ค้าชนดิ อื่นที่เกยี่ วข้องจะต้องพิจารณาสินค้าจำนวน 2 ชนิด คือ
สินค้าที่ใช้ทดแทนกันหรือใช้ประกอบกัน เมื่อราคาสินค้าที่เกี่ยวข้องเปลี่ยนแปลงไป มักมีผลกระทบต่อปริ มาณ
ซือ้ ของสนิ คา้ ที่กำลังพจิ ารณาอย่เู สมอ จึงจำเปน็ ต้องศกึ ษาว่าปรมิ าณซอื้ สนิ คา้ ชนิดหน่ึงจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร
เมือ่ ราคาสนิ ค้าชนิดอ่ืนท่เี ก่ียวขอ้ งเปล่ยี นแปลงไป นน่ั คอื

ความยดื หย่นุ ของอปุ สงค์ตอ่ ราคาสินค้าชนิดอ่นื (Ec)= เปอร์เซ็นต์การเปลี่ยนแปลงของปรมิ าณซ้ือสินคา้ ชนิดหน่ึง
เปอร์เซ็นตก์ ารเปล่ียนแปลงของราคาสนิ ค้าชนิดอน่ื

การวัดความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อราคาสินค้าชนิดอื่นที่เกี่ยวข้องมีอยู่ 2 วิธี คือ การวัดความยืดหยุ่นแบบจุด
และการวัดความยืดหย่นุ แบบชว่ ง
1. การวัดความยืดหยุ่นแบบจดุ สามารถคำนวณหาความยดื หย่นุ แบบจุดไดด้ ้วยสตู รต่อไปน้ี

โดยที่ Ec (แบบจุด) = ความยดื หยุ่นของอุปสงค์ต่อราคาสินค้าชนดิ อน่ื ท่เี ก่ยี วข้อง
ณ ระดับราคาหน่ึงของสินคา้ ชนิดอ่ืน (สนิ ค้า Y)
ΔQx
ΔPy = ส่วนเปลย่ี นแปลงของปริมาณซอื้ หรอื Q2 – Q1
Qx1 = สว่ นเปลย่ี นแปลงของราคาสนิ คา้ หรอื Py2 – Py1
PY1 = ปริมาณซอื้ กอ่ นการเปลีย่ นแปลง
= ราคาสนิ คา้ กอ่ นการเปล่ยี นแปลง

2. การวัดความยืดหยุ่นแบบช่วง สามารถเขยี นเปน็ สตู รได้ดงั น้ี

โดยที่ Ec (แบบช่วง) = ความยดื หยุ่นของอุปสงคต์ ่อราคาสนิ ค้าชนิดอื่นทีเ่ ก่ียวข้อง

ในช่วงหนึ่งของรายได้

Qx1 = ปรมิ าณซ้อื ก่อนการเปล่ียนแปลง

Qx2 = ปริมาณซือ้ หลังการเปล่ยี นแปลง

Py1 = ราคาสินค้ากอ่ นการเปล่ยี นแปลง
Py2 = ราคาสินคา้ หลังการเปล่ียนแปลง

5. ครูใช้สือ่ PowerPoint ประกอบเทคนิคการเขียนกระดานและการบรรยาย ความยดื หยนุ่ ของอปุ ทาน

ความยดื หยนุ่ ของอุปทาน (Elasticity of Supply: Es) หมายถงึ การวดั การตอบสนองของปริมาณขายต่อการ
เปลี่ยนแปลงของราคาสินคา้ เมื่อกำหนดให้ปัจจัยอื่น ๆ ที่กำหนดอุปทานคงที่จากความหมายดังกล่าวจะเห็นว่า

การเปลยี่ นแปลงของราคาเป็นสาเหตุท่ีทำใหป้ ริมาณเสนอขายเปล่ยี นแปลงไป จงึ เรยี กความยืดหยุ่นของอุปทาน

ว่า ความยดื หยนุ่ ของอปุ ทานต่อราคา (price elasticity of supply) ซ่งึ เขยี นเปน็ สูตรไดด้ ังน้ี

ความยืดหยนุ่ ของอปุ ทาน (Es) = เปอรเ์ ซ็นต์การเปล่ียนแปลงของปรมิ าณเสนอขายสินค้าชนดิ หนึ่ง

เปอร์เซน็ ต์การเปล่ียนแปลงของราคาสนิ คา้ ชนดิ นั้น

ความยดื หย่นุ ของอุปทานตอ่ ราคาจะมมี ากน้อยเพยี งใดนัน้ ขนึ้ อยูก่ ับความยากง่ายในการผลิตสินค้าเป็นหลกั ดงั น้ี

1. สินค้าชนิดใดเมื่อมีความต้องการเพิ่มขึ้นแล้วสามารถทำการผลิตออกมาตอบสนองความต้องการได้อย่าง

ทนั ทว่ งที แสดงวา่ สนิ ค้าชนิดนั้นเป็นสนิ คา้ ทีผ่ ลติ ได้ง่าย กรณเี ช่นนีค้ วามยืดหยนุ่ ของอปุ ทานต่อราคาจะมีค่ามาก

หมายความว่า อัตราการเปลี่ยนแปลงของปริมาณขายมีมากกว่าอัตราการเปลี่ยนแปลงของราคา ได้แก่ สินค้า

อุตสาหกรรมทั่วไป เมื่อราคาไหวตัวเพียงเล็กน้อยจะทำให้ปริมาณขายของสินค้าดังกล่าวเปลี่ยนแปลงไปอย่าง

มาก

2. สินคา้ ทผี่ ลติ ได้ยากในการผลิตต้องอาศัยระยะเวลา จงึ ไมส่ ามารถผลิตสนิ ค้าออกมาตอบสนองความต้องการได้

ทันต่อเหตุการณ์ สินค้าที่ผลิตได้ยากจะมีค่าความยืดหยุ่นของอุปทานต่อราคาน้อย ได้แก่ สินค้าเกษตรกรรม

สนิ คา้ อตุ สาหกรรมประเภทเคร่ืองมือ เครอ่ื งจักร ที่มลี ักษณะเฉพาะเจาะจงสำหรับใชป้ ระโยชน์ ดังนั้น สินค้าที่มี

ความยืดหยุ่นของอุปทานต่อราคาน้อยจะมีอัตราการเปลี่ยนแปลงของปริมาณเสนอขายน้อยกว่าอัตราการ

เปลย่ี นแปลงของราคา

5.1 การคำนวณหาคา่ ความยืดหยนุ่ ของอุปทาน

การคำนวณหาค่าความยืดหยุ่นของอุปทาน มีวิธีการคำนวณ 2 แบบ คือ การคำนวณค่าความยืดหยุ่นแบบจุด

และการคำนวณค่าความยืดหยุ่นแบบชว่ ง ดังตอ่ ไปนี้

1. การวัดความยืดหยุ่นแบบจดุ (Point Elasticity of Supply) เป็นการวัดความยืดหยุ่นของอุปทาน ณ จุด

ใดจุดหนึ่งบนเส้นอุปทาน ซึ่งนิยมใช้ในกรณีที่ราคาสินค้ามีการเปลี่ยนแปลงน้อยมากจนแทบจะสังเกตไม่เห็น

สามารถเขียนเป็นสูตรไดด้ งั นี้

โดยที่ Es (แบบจดุ ) = ความยืดหยุ่นของอุปทานต่อราคา ณ จุดจุดหนึ่งบนเส้น

อุปทาน

ΔQ = สว่ นเปลี่ยนแปลงของปริมาณเสนอขาย หรอื Q2 – Q1

ΔP = ส่วนเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้า หรือ P2 – P1

Q1 = ปรมิ าณเสนอขายกอ่ นการเปล่ยี นแปลง

P1 = ราคาสนิ ค้าก่อนการเปล่ยี นแปลง

ค่าความยืดหยนุ่ ของอปุ ทานจะมคี า่ เป็นบวกเสมอ เปน็ ไปตามกฎของอปุ ทานท่อี ธบิ ายว่าปรมิ าณเสนอขายจะแปร

ผันตามราคาสนิ ค้า ดงั น้นั คา่ ความยืดหยุ่นท่ีเป็นบวกแสดงถงึ การเปลยี่ นแปลงในทิศทางเดยี วกนั ระหว่างปริมาณ

เสนอขายกับราคาสินคา้

แสดงการหาคา่ ความยดื หย่นุ ของอปุ ทานแบบจุด

ตัวอย่าง การคำนวณค่าความยืดหยุ่นของอุปทาน ณ จุด A โดยสมมติให้เดิมอยู่ ณ จุด A ต่อมาราคา

เปล่ียนแปลงไปจาก 30 บาท เปน็ 50 บาท ปริมาณขายจะเพมิ่ ขนึ้ จาก 200 หน่วย เป็น 350 หน่วยณ จุด B เม่ือ

นำคา่ มาแทนในสูตรจะไดด้ งั น้ี

วธิ ีทำ Es = ΔQ P1 X
ΔP
Q1

= 350-200 X 30
50-30 200

= 150 X 30
20 200

= 1.125
ค่าความยืดหยุ่นของอปุ ทานจะมีคา่ เปน็ บวกเสมอ ค่าความยืดหยุ่นของอุปทานเทา่ กับ 1.125 หมายความว่า ถ้า
ราคาสินค้าเปลี่ยนแปลงไป 1% จะมีผลทำให้ปริมาณขายสินค้าเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางเดียวกันเท่ากับ
1.125% กล่าวคือ ถ้าราคาสินค้าเพิ่มขึ้น 1% ปริมาณขายสินค้าจะเพิ่มขึ้น 1.125% และในทางตรงกันข้าม ถ้า
ราคาสินค้าลดลง 1% ปริมาณขายสนิ คา้ จะลดลง 1.125%
2. การวัดความยดื หยนุ่ แบบช่วง (Arc Elasticity of Supply) เป็นการวัดความยืดหยนุ่ ของอุปทานในช่วงใด
ช่วงหนึ่งบนเส้นอุปทาน การวัดความยืดหยุ่นแบบช่วงนี้นิยมใช้วัดในกรณีที่ราคามีการเปลี่ยนแปลงมากจน
สงั เกตเห็นได้ สามารถเขยี นเป็นสูตรได้ดงั นี้

โดยที่ Ec (แบบชว่ ง) = ความยดื หย่นุ ของอปุ ทานในชว่ งใดชว่ งหนงึ่ บนเสน้ อุปทาน
Q1 = ปรมิ าณเสนอขายกอ่ นการเปลย่ี นแปลง
Q2 = ปริมาณเสนอขายหลังการเปลยี่ นแปลง
P1 = ราคาสนิ คา้ ก่อนการเปล่ียนแปลง
P2 = ราคาสินคา้ หลงั การเปลีย่ นแปลง

ตัวอย่าง สมมติให้ราคาสินค้าเพิ่มขึ้นจาก 30 บาท เป็น 50 บาท ปริมาณเสนอขายที่ผู้ขายยินดีขายเพิ่มขึ้นจาก
200 หน่วย เป็น 350 หน่วย สามารถหาคา่ ความยืดหยุ่นของอปุ ทานไดด้ ังน้ี
วธิ ีทำ Es = Q2- Q1 P1+XP2

P2- P1 Q1+ Q2

= 350-200 X 30+50
50-30 200+350

= 150 X 80
20 550

= 1.09
5.2 ชนิดความยืดหยุ่นของอุปทาน
จากกฎของอปุ ทานระบวุ า่ ปริมาณเสนอขายเปลีย่ นแปลงไปในทศิ ทางเดียวกันกบั ราคาสนิ คา้ ค่าความยืดหยุ่นของ
อุปทานที่คำนวณได้ เส้นอุปทานเป็นเส้นที่ทอดขึ้นจากซ้ายไปขวา มีความชันเป็นบวกซึ่งแสดงความสัมพันธ์
ระหว่างราคากับปริมาณเสนอขายสนิ ค้าและบรกิ ารเปน็ ไปในทิศทางเดียวกันดังน้ัน ค่าความยืดหยุ่นของอุปทาน
จะมีค่าเป็นบวก ซึ่งเป็นไปตามกฎของอุปทาน ความยืดหยุ่นของอุปทานแบ่งออกเป็น 5 ลักษณะตามค่าความ
ยดื หยุน่ ทีแ่ ตกต่างกัน ดังนี้
1. อุปทานที่มีความยืดหยุ่นมาก (Relatively Elastic) Es > 1 หมายความว่า เปอร์เซ็นต์การเปลี่ยนแปลง
ของปริมาณเสนอขายมากกว่าเปอร์เซ็นต์การเปลี่ยนแปลงของราคา กล่าวคือถ้าราคาเปลี่ยนแปลงหน่ึง
เปอรเ์ ซ็นต์ จะมผี ลทำใหป้ ริมาณเสนอขายเปลย่ี นแปลงไปมากกวา่ หน่ึงเปอรเ์ ซน็ ต์
ตวั อย่างสนิ คา้ คือ สนิ ค้าอตุ สาหกรรม ในกรณนี เี้ สน้ อปุ ทานจะมีลกั ษณะค่อนขา้ งลาด ดงั รูป

แสดงเสน้ อุปทานทมี่ ีความยดื หยุ่นมาก

2. อุปทานมีความยืดหยุ่นน้อย (Relatively Inelastic) Es < 1 หมายความว่า เปอร์เซ็นต์การเปลี่ยนแปลง
ของปริมาณเสนอขายน้อยกว่าเปอร์เซ็นต์การเปลี่ยนแปลงของราคา กล่าวคือ ถ้าราคาเปลี่ยนแปลงหน่ึง
เปอร์เซน็ ต์ จะมีผลทำใหป้ รมิ าณเสนอขายเปลยี่ นแปลงไปน้อยกวา่ หนง่ึ เปอร์เซ็นต์
ตวั อย่างสินคา้ คือ สนิ คา้ เกษตรกรรม ในกรณนี ้เี สน้ อุปทานจะมลี ักษณะค่อนข้างชัน ดงั รปู

แสดงเส้นอปุ ทานทีม่ ีความยืดหยนุ่ นอ้ ย

3. อปุ ทานทม่ี คี วามยืดหยุน่ เท่ากับหนึง่ (Unitary Elastic) Es =1 หมายความว่า เปอร์เซน็ ต์การเปลีย่ นแปลง
ของปรมิ าณเสนอขายเท่ากบั เปอร์เซ็นตก์ ารเปล่ียนแปลงของราคา กล่าวคือ ถ้าราคาเปล่ยี นแปลงหนง่ึ เปอร์เซ็นต์
จะมีผลทำให้ปริมาณเสนอขายเปลี่ยนแปลงไปเท่ากับหนึ่งเปอร์เซ็นต์ ในกรณีนี้เส้นอุปทานจะเริ่มต้นจากจุด
กำเนดิ (origin) ดงั รูป

แสดงเสน้ อปุ ทานท่มี คี วามยดื หยุน่ เท่ากบั หนึ่ง

4. อุปทานไม่มีความยืดหยุ่นเลย (Perfectly Inelastic) Es = 0 หมายความว่า ปริมาณเสนอขายไม่
เปลี่ยนแปลงเลย แม้ว่าราคาจะเปลี่ยนแปลงไปก็ตาม กล่าวคือ ไม่ว่าราคาจะเปลี่ยนแปลงสูงขึ้นหรือลดลง
ปริมาณเสนอขายสินค้าจะไม่เปลี่ยนแปลง ตัวอย่างสินค้าคือ วัตถุโบราณ กรณีนี้เส้นอุปทานจะมีลักษณะเป็น
เสน้ ตรงตัง้ ฉากกับแกนนอน ดงั รูป

แสดงเส้นอปุ ทานท่ีไม่มคี วามยืดหยุ่นเลย

5. อุปทานที่มีความยืดหยุ่นอย่างสมบูรณ์ (Perfectly Elastic) Es = ∞ หมายความว่า ณ ระดับราคานั้น ๆ
ผู้ขายยินดีเสนอขายสินค้าอย่างไม่จำกัดจำนวน แต่ถ้าราคาสินค้าสูงขึ้นเพียงเล็กน้อยจะไม่ขายสินค้านั้นเลย
กล่าวคือ ปริมาณเสนอขายจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรก็ตาม ราคาสินค้าจะไม่เปลี่ยนแปลงเลย เส้นอุปทานจะมี
ลักษณะเป็นเสน้ ตรงต้งั ฉากกับแกนต้ัง ดังรูป

แสดงเสน้ อปุ ทานที่มีความยืดหยุ่นอยา่ งสมบูรณ์

6. ครูใช้วธิ บี รรยาย ประโยชน์ของความยดื หยุ่นของอปุ สงค์และอปุ ทาน
การศกึ ษาเร่อื งความยดื หยุ่นของอปุ สงค์และอุปทานจะช่วยใหเ้ กิดประโยชน์หลายประการ ดังนี้
1. ทำให้ทราบถึงปริมาณซื้อและปริมาณเสนอขายที่เปลี่ยนแปลงไป อันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงปัจจัยท่ี
กำหนดอปุ สงคแ์ ละปัจจัยที่กำหนดอุปทาน
2. ทำใหผ้ ขู้ ายสามารถทราบถงึ รายรบั รวมทเี่ ปล่ียนแปลงไป อนั เนอ่ื งมาจากราคาสินคา้ เปลี่ยนแปลงเช่น ถา้ ผ้ขู าย
ทราบวา่ ความยืดหยุ่นของอุปสงค์ตอ่ ราคาของสนิ ค้ามีคา่ มาก ผู้ขายสามารถตดั สินใจไดว้ า่ ควรใชน้ โยบายลดราคา
สินค้า เนอ่ื งจากจะทำให้มียอดจำหน่ายสูงขึน้ แมว้ า่ กำไรต่อหนว่ ยจะลดลงก็ตามแตเ่ ม่ือขายสนิ ค้าได้มากข้ึนจะทำ
ให้รายไดร้ วมของผู้ขายสงู ขึน้

3. ทำให้ทราบถึงความจำเป็นของสินค้าต่าง ๆ ที่มีต่อผู้บริโภค สินค้าที่มีความจำเป็นในชีวิตประจำวันจะมีค่า
ความยดื หยนุ่ ตํ่า
4. สามารถนำความรู้เรื่องนี้ไปประยุกต์ใช้ในการวิเคราะห์เรื่องอื่น ๆ ได้ เช่น ผลกระทบของการส่งออกจาก
นโยบายการลดค่าเงิน ผลกระทบของการเก็บภาษีอากรจากการขายสินค้าและภาระภาษีของทั้งผู้ขายและ
ผู้บริโภค เป็นตน้
สรุป ความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อราคา เป็นการวัดการตอบสนองของปริมาณซื้อต่อการเปลี่ยนแปลงของราคา
สินคา้ ความยดื หยุ่นของอุปสงค์ต่อราคา แบง่ ออกเปน็ 5 ลกั ษณะ คอื 1) อปุ สงค์ทมี่ คี วามยดื หยุ่นมาก 2) อุปสงค์
ท่มี คี วามยืดหยุ่นน้อย 3) อปุ สงค์ท่ีมคี วามยืดหยนุ่ เทา่ กับหนึ่ง 4) อุปสงค์ที่ไม่มคี วามยืดหยุ่นเลย และ 5) อุปสงค์
ท่มี คี วามยืดหยนุ่ อยา่ งสมบูรณ์ อปุ สงค์ตอ่ ราคาของสนิ ค้าแตล่ ะชนิดมีคา่ ไม่เทา่ กนั เพราะผลของความสามารถใน
การใช้ทดแทนกันของสินค้า มลู คา่ สินคา้ คิดเป็นสัดสว่ นของรายได้ ความสำคัญก่อนการตอบสนองความต้องการ
สนิ คา้ ขัน้ พืน้ ฐาน และระยะเวลานบั ต้ังแตร่ าคาสนิ คา้ เปล่ียนแปลง
ความยืดหยุ่นของอุปทาน เป็นการวัดการตอบสนองของปริมาณเสนอขายต่อการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้า
ความยืดหยุ่นของอุปทานแบ่งออกเป็น 5 ลักษณะ คือ 1) อุปทานที่มีความยืดหยุ่นมาก 2) อุปทานที่มีความ
ยดื หยุ่นน้อย 3) อุปทานทมี่ คี วามยืดหยนุ่ เทา่ กบั หนึง่ 4) อปุ ทานทไ่ี มม่ ีความยดื หยุ่นเลย และ 5) อุปทานทมี่ ีความ
ยืดหยุ่นอย่างสมบูรณ์ ปัจจยั ทท่ี ำใหอ้ ุปทานมีความยืดหยุ่นต่อราคาแตกตา่ งกัน คือ ระยะเวลา ความเป็นไปได้ใน
การผลติ ความเปน็ ไปได้ในการเกบ็ รักษาผลผลติ และต้นทุนการผลิต
7. ครูให้ผ้เู รียนรว่ มกนั อภปิ รายถึงประโยชนข์ องความยดื หย่นุ ของอุปสงคแ์ ละอุปทาน
8. ครูสอนผู้เรียนเพิ่มเติมในเรื่องของการพลเมืองที่ดีของสังคมและการปฏิบัติตนให้เหมาะสมตามบริบททาง
สังคม
ขน้ั สรปุ และการประยุกต์
9. ครูสรุปบทเรียน โดยใชส้ อ่ื PowerPoint และเปดิ โอกาสใหน้ กั เรยี นได้ซกั ถามข้อสงสัย
10. ผู้เรียนทำกิจกรรมใบงาน และแบบประเมนิ ผลการเรยี นรู้
ส่ือและแหล่งการเรียนรู้
1. หนงั สือเรยี นหลักเศรษฐศาสตร์ รหสั วชิ า 30200-1001 ของสำนกั พิมพเ์ อมพนั ธ์
2. สือ่ PowerPoint 3. แบบประเมินผลการเรยี นรู้
4. กิจกรรมการเรียนการสอน 5. แบบประเมินกจิ กรรมใบงาน
หลกั ฐาน
1. บันทกึ การสอนของผู้สอน
2. ใบเช็ครายช่ือ
3. แผนจดั การเรยี นรู้
4. การตรวจประเมนิ ผลงาน
การวดั ผลและการประเมนิ ผล
วธิ วี ดั ผล
1. สังเกตพฤติกรรมรายบุคคล
2. ตรวจกจิ กรรมสง่ เสรมิ คุณธรรมนำความรู้
3. ตรวจแบบประเมินผลการเรียนรู้ แบบฝึกปฏิบตั ิ
4. ตรวจใบงาน


Click to View FlipBook Version