The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

แผนหลักเศรษฐศาสตร์

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by อรอุมา พงษ์ธนู, 2022-11-12 04:54:26

หลักเศรษฐศาสตร์30200-1001

แผนหลักเศรษฐศาสตร์

ตาราง แสดงค่าใช้จ่ายรฐั บาล จำแนกตามลกั ษณะงานและลกั ษณะเศรษฐดิจ 1/ พ.ศ. 2559-2563
ตาราง แสดงโครงสร้างงบประมาณปี 2562-2563

สรุป การคลงั มคี วามสำคญั ในการวางแผน ดำเนินนโยบายเพ่ือหารายได้และรายจ่าย โดยจะใชค้ วบคมุ การจดั สรรทรัพยากร การ

กระจายรายได้ และรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ และเครื่องมือที่สำคัญของรัฐบาลก็คือ นโยบายการคลัง ซึ่งเป็นนโยบายที่

รฐั บาลใช้เปน็ เคร่ืองมือ ในการรกั ษาเสถียรภาพทางเศรษฐกจิ เนอื่ งจากการใช้จ่าย การเก็บภาษอี ากร มผี ลกระทบ

ต่อรายได้ประชาชาติ การจ้างงานและระบบเศรษฐกิจของประเทศและสร้างความเจรญิ เติบโตทาง เศรษฐกิจ โดยทั่วไปนโยบาย

การคลงั มี 2 แบบ คือ นโยบายการคลังที่แบง่ ตามลักษณะการทำงานและการแบ่งตามปญั หาทตี่ ้องแก้ไข

8. ครูใหผ้ เู้ รยี นรว่ มกนั อภิปรายในหวั ขอ้ “การเรียนรเู้ รื่องงบประมาณแผน่ ดนิ นนั้ มีประโยชน์อย่างไรตอ่ ผู้เรียน”

ข้ันสรุปและการประยกุ ต์
9. ครูสรุปบทเรียน โดยใชส้ ่ือ PowerPoint และเปิดโอกาสให้นักเรยี นได้ซกั ถามข้อสงสัย
10. ผู้เรยี นทำกจิ กรรมใบงาน และแบบประเมินผลการเรียนรู้

สอ่ื และแหลง่ การเรยี นรู้

1. หนงั สือเรยี นหลักเศรษฐศาสตร์ รหัสวชิ า 30200-1001 ของสำนกั พิมพ์เอมพนั ธ์
2. สื่อ PowerPoint
3. แบบประเมินผลการเรียนรู้
4. กจิ กรรมการเรยี นการสอน
5. แบบประเมินกจิ กรรมใบงาน

หลกั ฐาน

1. บนั ทึกการสอนของผู้สอน
2. ใบเชค็ รายช่อื
3. แผนจัดการเรียนรู้
4. การตรวจประเมนิ ผลงาน

การวดั ผลและการประเมินผล

วธิ ีวัดผล
1. สงั เกตพฤตกิ รรมรายบคุ คล
2. ตรวจกิจกรรมสง่ เสรมิ คุณธรรมนำความรู้
3. ตรวจแบบประเมนิ ผลการเรยี นรู้ แบบฝกึ ปฏบิ ตั ิ
4. ตรวจใบงาน
เครอื่ งมือวดั ผล
1. แบบสงั เกตพฤตกิ รรมรายบุคคล
2. แบบประเมินผลการเรยี นรู้ และแบบฝึกปฏบิ ตั ิ
3. แบบประเมนิ กจิ กรรมใบงาน

เกณฑก์ ารประเมินผล
1. เกณฑ์ผ่านการสังเกตพฤติกรรมรายบุคคล ต้องไมม่ ชี อ่ งปรบั ปรุง
2. แบบประเมนิ ผลการเรยี นรู้มเี กณฑผ์ า่ น และแบบฝกึ ปฏิบตั ิ 50%
3. แบบประเมนิ กจิ กรรมใบงานมเี กณฑผ์ ่าน 50%

กิจกรรมเสนอแนะ

1. แนะนำใหผ้ ู้เรียนอ่านทบทวนเนอื้ หาเพมิ่ เตมิ
2. ควรศึกษาขอ้ มูลเพ่มิ เตมิ จากส่อื อินเทอร์เน็ต

แบบเรยี นรูห้ น่วยการเรียนรูท้ ี่ 11

ตอนที่ 1 จงตอบคำถามต่อไปน้ี
1. รายได้ของรฐั บาลประกอบดว้ ยอะไรบ้าง
.....................................................................................................................................................................................
2. การคลงั สาธารณะประกอบดว้ ยอะไรบ้าง
.....................................................................................................................................................................................
3. อัตราภาษีแบง่ ออกเปน็ ก่ีประเภท อะไรบา้ ง
.....................................................................................................................................................................................
4. หนสี้ าธารณะหมายถงึ อะไร และมวี ตั ถปุ ระสงค์อย่างไร
.....................................................................................................................................................................................
5. ภาษที างตรงหมายถงึ อะไร

.....................................................................................................................................................................................
6. การกอ่ หน้ีสาธารณะจะมีผลกระทบต่อระบบเศรษฐกจิ อยา่ งไร

.....................................................................................................................................................................................
7. นโยบายงบประมาณแผ่นดินคอื อะไร และมคี วามสำคัญอย่างไร

.....................................................................................................................................................................................
8. การจดั ทำงบประมาณแผ่นดนิ โดยท่วั ไปมีลกั ษณะอย่างไร

.....................................................................................................................................................................................
9. นโยบายการคลังคอื อะไร และมีความสำคัญตอ่ การแก้ปญั หาของเศรษฐกจิ อยา่ งไร

.....................................................................................................................................................................................
10. รายจา่ ยของรัฐบาลประกอบด้วยอะไรบ้าง

.....................................................................................................................................................................................
ตอนท่ี 2 จงเลอื กขอ้ ที่ถกู ต้องทสี่ ุดเพยี งขอ้ เดยี ว
1. อตั ราภาษเี งนิ ได้บคุ คลธรรมดาโดยทัว่ ไปมกี ารจดั เก็บแบบใด
ก. อตั ราถอยหลงั ข. อัตราคงที่
ค. อัตราก้าวหน้า ง. อตั ราตามสดั สว่ น
จ. มีอตั ราไม่แน่นอน
2. อตั ราภาษสี รรพสามติ โดยท่วั ไปมกี ารจัดเกบ็ แบบใด
ก. อัตราถอยหลัง ข. อตั ราคงที่
ค. อตั ราก้าวหน้า ง. อตั ราตามสดั สว่ น
จ. มอี ัตราไม่แนน่ อน
3. อัตราภาษกี ารค้าโดยทัว่ ไปมกี ารจัดเก็บแบบใด
ก. อัตราถอยหลัง ข. อตั ราคงท่ี
ค. อัตรากา้ วหนา้ ง. อตั ราตามสดั ส่วน จ. มีอัตราไม่แน่นอน
4. รฐั บาลอาจขอกเู้ งินจากธนาคารกลางโดยวิธใี ด
ก. พมิ พ์ธนบัตรเพม่ิ ขน้ึ ข. จำหน่ายพันธบัตรรฐั บาล
ค. ออกตว๋ั เงนิ คงคลัง ง. ออกตัว๋ สัญญาใช้เงนิ จ. กูจ้ ากตา่ งประเทศ

5. ปงี บประมาณของประเทศไทยเร่มิ เดอื นใด

ก. เริ่มตน้ วนั ที่ 1 มกราคม และสนิ้ สุดวันท่ี 31 ธันวาคม ของปเี ดียวกัน

ข. เริ่มตน้ วันที่ 1 กันยายน และสน้ิ สดุ วันที่ 31 ตลุ าคม ของปถี ดั ไป

ค. เริม่ ต้นวันที่ 1 ตลุ าคม และส้นิ สดุ วนั ที่ 30 กนั ยายน ของปถี ัดไป

ง. เริ่มตน้ วันที่ 1 พฤศจกิ ายน และส้ินสดุ วนั ที่ 31 ธนั วาคม ของปถี ัดไป

จ. เรม่ิ ต้นวนั ท่ี 30 สิงหาคม และสน้ิ สุดวนั ที่ 30 กันยายน ของปีถัดไป

6. งบประมาณเกนิ ดลุ หมายถึงอะไร

ก. งบประมาณรายจา่ ยมากกว่างบประมาณรายได้

ข. งบประมาณรายจ่ายนอ้ ยกว่างบประมาณรายได้

ค. งบประมาณรายจ่ายเท่ากับงบประมาณรายได้

ง. งบประมาณท่ีมปี ระสทิ ธภิ าพ

จ. งบประมาณรายจา่ ย

7. ในกรณีทีเ่ กิดภาวะเงนิ เฟอ้ รฐั บาลควรจดั ทำงบประมาณแบบใด

ก. งบประมาณขาดดลุ ข. งบประมาณเกนิ ดลุ

ค. งบประมาณสมดลุ ง. งบประมาณเพิม่ เตมิ

จ. งบประมาณประจำปี

8. ในกรณีท่ีเกิดภาวะเงนิ ฝดื รฐั บาลควรจดั ทำงบประมาณแบบใด

ก. งบประมาณขาดดลุ ข. งบประมาณเกนิ ดลุ

ค. งบประมาณสมดลุ ง. งบประมาณเพิ่มเตมิ

จ. งบประมาณประจำปี

9. นโยบายการคลังโดยการใชจ้ า่ ยสาธารณะเพมิ่ ขึ้นเพ่ือวัตถปุ ระสงคข์ อ้ ใด

ก. การใชง้ บประมาณแบบสมดุล ข. การใชง้ บประมาณแบบขาดดุล

ค. การใชง้ บประมาณแบบเกนิ ดุล ง. การใช้งบประมาณเพมิ่ เตมิ

จ. การใชง้ บประมาณฉกุ เฉนิ

10. นโยบายการคลังแบบหดตวั หมายถึงอะไร

ก. การใช้งบประมาณแบบสมดุล ข. การใช้งบประมาณแบบขาดดุล

ค. การใชง้ บประมาณแบบเกนิ ดุล ง. การใช้งบประมาณเพิ่มเตมิ

จ. การใช้งบประมาณฉกุ เฉนิ

ตอนท่ี 3 จงใส่เคร่ืองหมาย ✓ หรอื × หนา้ ข้อความทเี่ หมาะสม

.............. 1. การจดั เกบ็ รายได้และการใชจ้ ่ายของรัฐบาลจะส่งผลกระทบตอ่ รายไดป้ ระชาชาตโิ ดยตรง

.............. 2. การจดั เกบ็ ภาษีสามารถใช้เปน็ เครือ่ งมอื ในการบรรเทาปญั หาเงินเฟอ้ ได้

.............. 3. รายจา่ ยของรฐั บาลแยกตามลกั ษณะงานไดเ้ ป็นรายจา่ ยดา้ นเศรษฐกจิ และรายจา่ ยประจำ

.............. 4. ในกรณที ่ียังไม่มีการจ้างงานเตม็ ท่ี การเพ่มิ การใช้จา่ ยของรฐั บาลจะไปแย่งทรัพยากรจาก ภาคเอกชนทำใหต้ ้อง

ลดการผลิตลง

.............. 5. หน้ีตา่ งประเทศของไทยสว่ นใหญใ่ นปี 2540 คอื หนี้กองทุนการเงนิ ระหวา่ งประเทศ

.............. 6. งบประมาณรายจา่ ยสว่ นใหญ่ของประเทศ เป็นงบประมาณทางด้านการศกึ ษา

.............. 7. รายได้ของรฐั บาลไทยส่วนใหญ่มาจากการกู้ยมื จากตา่ งประเทศ

.............. 8. นโยบายงบประมาณแบบขาดดุล เหมาะทจ่ี ะใช้ในยามท่ีเศรษฐกิจตกต่ำ การลงทุนและ การบริโภคในประเทศ

ลดลง

.............. 9. การก่อหน้ขี องรฐั บาลไทยเปน็ ข้อผูกพันของรัฐบาลที่เกิดจากการกู้โดยตรงและการคำ้ ประกันเงินกู้

.............. 10. การใช้นโยบายการคลงั แบบหดตัวเพื่อต้องการเพม่ิ การใชจ้ ่ายมวลรวม

ใบงานที่ 1

การใชน้ โยบายการคลงั แบบอัตโนมตั จิ ะชว่ ยบรรเทาปญั หาในขณะทเ่ี กดิ ภาวะเศรษฐกิจเฟ่อื งฟูไดด้ กี วา่ ปัญหาในขณะที่เกดิ
ภาวะเศรษฐกจิ ตกตำ่ เพราะเหตใุ ด อธิบาย
.....................................................................................................................................................................................
.....................................................................................................................................................................................
.....................................................................................................................................................................................
.....................................................................................................................................................................................

ใบงานท่ี 2

วิเคราะหผ์ ลกระทบทม่ี ตี อ่ รายได้ประชาชาติจากการใช้นโยบายการคลังต่อไปนี้
(ก) รัฐบาลเพ่ิมการใช้จ่าย โดยรายได้ของรฐั บาลยังคงเดิม
.....................................................................................................................................................................................
.....................................................................................................................................................................................
.....................................................................................................................................................................................
.....................................................................................................................................................................................

(ข) รฐั บาลเพ่มิ รายได้ โดยทกี่ ารใชจ้ ่ายของรฐั บาลยังคงเดมิ
.....................................................................................................................................................................................
.....................................................................................................................................................................................
.....................................................................................................................................................................................
.....................................................................................................................................................................................

ใบงานที่ 3

มีผู้กลา่ ววา่ “การใชน้ โยบายการคลงั แบบต้งั ใจ เพือ่ แกป้ ญั หาเศรษฐกิจตกต่ำ อาจก่อใหเ้ กดิ ปญั หา เงนิ เฟอ้ ได”้ ใหผ้ ู้เรียน
แบ่งกลุ่มเพ่อื อธิบายและแสดงเหตผุ ลประกอบ จากนน้ั นำเสนอหนา้ ชั้นเรยี น
.....................................................................................................................................................................................
.....................................................................................................................................................................................
.....................................................................................................................................................................................
....................................................................................................................................................................................

บนั ทกึ หลังการสอน

ขอ้ สรปุ หลงั การสอน
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
ปญั หาท่พี บ
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
แนวทางแก้ปัญหา
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................

แผนการจดั การเรยี นรู้แบบบูรณาการที่ 14 หน่วยที่ 12

รหสั 30200-1001 หลกั เศรษฐศาสตร์ สอนครงั้ ที่ 14
ชือ่ หนว่ ย เงนิ เฟอ้ เงนิ ฝืด การว่างงาน
จำนวน 4 ชั่วโมง
และการแกไ้ ขปญั หาเศรษฐกจิ มหภาค

สาระสำคญั

ปัญหาทางเศรษฐกิจมหภาคสามารถเกิดขึน้ ได้ เมื่อระบบเศรษฐกิจขาดเสถยี รภาพ ซึ่งจะส่งผลต่อความมั่นคง และการขยายตวั
ทางเศรษฐกิจของประเทศ เมื่อระบบเศรษฐกิจมีความผันผวน จะส่งผลต่อระดับราคาสินค้าและบริการ เช่น ในช่วงที่เศรษฐกจิ
ขยายตัว ระดับราคาสินค้าและบริการต่าง ๆ จะสูงขึ้น แรงงานมีงานทำ ปัญหาที่ตามมาในช่วงนี้คือ ปัญหาเงินเฟ้อ แต่ในช่วงที่
เศรษฐกิจซบเซา ระดับราคาสินคา้ และบรกิ ารตา่ ง ๆ จะลดลง ทำใหก้ ารจ้างงานลดลง ปญั หาที่ เกิดข้ึนในช่วงนีค้ อื ปญั หาเงินฝืด
และปญั หาการว่างงาน ซึง่ ปัญหาเงนิ เฟอ้ เงินฝดื และการว่างงาน ต่างเป็นปัญหาสำคญั ทกี่ ระทบตอ่ ความเปน็ อย่ขู องประชาชน

จดุ ประสงค์การเรียนรู้

1. อธิบายความหมายของเงนิ เฟ้อ ดชั นรี าคา สาเหตุของการเกดิ เงินเฟอ้ ประเภทของเงินเฟ้อ ผลกระทบของ เงินเฟอ้
และแกป้ ญั หาเงนิ เฟ้อได้
2. อธบิ ายความหมายของเงนิ ฝดื สาเหตทุ ที่ ำให้เกดิ เงินฝืด ผลของภาวะเงินฝืด และแกไ้ ขภาวะเงินฝดื ได้
3. อธบิ ายความหมายของการวา่ งงาน สาเหตุที่ทำให้เกิดการว่างงาน ประเภทของการวา่ งงาน ผลกระทบของ การว่างงาน และ
แก้ปัญหาการวา่ งงานโดยใชน้ โยบายตา่ ง ๆ ได้

สมรรถนะประจำหนว่ ย

1. แสดงความร้เู กย่ี วกบั เงินเฟ้อ เงนิ ฝดื และการว่างงาน
2. แสดงความรเู้ กยี่ วกบั การแกไ้ ขปัญหาเศรษฐกจิ มหภาค

สาระการเรยี นรู้

1. เงนิ เฟอ้
2. เงนิ ฝืด
3. การว่างงาน

กิจกรรมการเรยี นการสอน

ขน้ั นำเขา้ สบู่ ทเรียน

1. ครูกล่าวว่า ปัญหาทางเศรษฐกิจในระดับมหภาคที่ก่อให้เกิดความไม่มั่นคงทางเศรษฐกิจมีหลายประการ เช่น
ปัญหาเงินเฟ้อ ปัญหาเงินฝืดและปัญหาการว่างงาน ปัญหาทั้งสามประการนี้เป็นปัญหาที่พบได้บ่อยครั้ง และ
กระทบต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนเป็นอย่างมาก รัฐบาลสามารถใช้นโยบายการเงิน นโยบายการคลัง และ
นโยบายอนื่ ๆ ในการแก้ปัญหาระดับมหภาคเหลา่ น้ี

2. ครกู ล่าววา่ ในหน่วยการเรียนร้ทู ่ี 12 น้ี ผู้เรียนจะได้เรียนรเู้ งนิ เฟ้อ เงินฝดื การวา่ งงานและการแก้ไขปญั หาเศรษฐกิจมหภาค
เพื่อนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ในชีวิตประจำวันรวมไปถึงทำให้ผู้เรียนสามารถวิเคราะห์และคาดการณ์เศรษฐกิจได้เบื้องต้นจาก
สถานการณ์ทางการเงนิ และการตลาดของประเทศชาติ

ขนั้ สอน
2. ครใู ช้สอ่ื PowerPoint ประกอบเทคนิคการบรรยาย เงินเฟอ้

3.1 ความหมายของเงินเฟ้อ
เงินเฟ้อ (Inflation) หมายถึง ภาวะที่ระดับราคาสินค้าโดยทั่ว ๆ ไปเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ อย่างต่อเนื่อง หากสินค้ามีระดับราคา
สินค้าสงู ณ เวลาใดเวลาหน่งึ ก็ยงั ไม่ถือว่าเกิดเงินเฟ้อ จำเปน็ ตอ้ งสงู ขน้ึ เร่อื ย ๆ โดยอาจมีสนิ ค้าบางชนิดราคาสูงขึ้น ขณะท่ีราคา
สินค้าบางชนิดคงท่ีหรือลดต่ำลง แต่เมื่อรวมราคาสินค้า ทั้งหมดโดยเฉล่ียแล้วสูงขึ้น เครื่องมือที่ใช้วัดการเปลี่ยนแปลงของราคา
คอื “ดัชนรี าคา (Price Index)” ซง่ึ นิยมวัดในรปู ดชั นรี าคาผูบ้ รโิ ภค และดัชนีราคาขายสง่
ดัชนีราคา คือ เครื่องวัดราคาเฉลี่ยของสินคา้ และบริการจำนวนหนึ่งหรอื ตะกร้าหนึ่งของปีใดปีหนึ่ง เปรียบเทียบกับราคาเฉลย่ี
ของสนิ ค้าและบริการจำนวนหน่งึ หรอื ตะกรา้ เดยี วกนั ในปีทอ่ี า้ งองิ หรอื ทเี่ รียกว่า ปีฐาน (Base Year)
สำหรับดัชนรี าคานัน้ มีหลายประเภท เชน่ ดชั นรี าคาผบู้ ริโภค ดัชนรี าคาผู้ผลติ และดชั นรี าคา ขายส่ง แตส่ ่วนใหญ่จะนิยมใช้ดัชนี
ราคาผู้บริโภค (Consumer Price Index) และดัชนีราคาที่ใช้ปรับลด ผลิตภัณฑ์ภายในประเทศเบื้องต้น (GDP Deflator) เรา
สามารถคำนวณหาดัชนรี าคาในแต่ละปไี ดจ้ าก

ดชั นรี าคาผู้บริโภค = ระรดะับดรับารคาาคสาินสคินา้คแ้าลแะลบะรบิกรากิ ราปรปี จัฐี จานบุ ัน X 100

GDP Deflator = ผลติ ภณั ฑ์ภายในประเทศเบอื้ งต้นปปี ัจจุบัน X 100
ผลติ ภณั ฑภ์ ายในประเทศเบือ้ งตน้ ปฐี าน

ตัวอย่าง สมมติให้มกี ารผลิตมะม่วง 5 แสนผลในปีฐาน และราคาตลาดผลละ 3 บาท มูลค่ามะม่วง ใน GDP เท่ากับ 1,500,000
บาท และให้ผู้บริโภคซื้อมะม่วงเพื่อการบริโภคเพียง 50,000 ผล หรือคิดเป็นสัดส่วน ในตะกร้าสินค้าเทา่ กับ 0.1 อีก 2 ปีต่อมา
ประเทศประสบกับภาวะภัยแล้ง ทำให้ผลผลิตมะม่วงเท่ากับศูนย์ มูลค่ามะม่วงใน GDP จะเท่ากับศูนย์ด้วย แต่ราคาตลาดของ
มะม่วงเท่ากับ 10 บาทต่อผล (เพราะต้องนำเข้า จากต่างประเทศ) เนื่องจากไมม่ ีผลผลิตมะม่วงในการคำนวณ GDP ทำให้ราคา
มะม่วงที่สงู ข้ึนมากนี้ไมม่ ีผล ตอ่ คา่ ตัวปรบั ลดผลติ ภัณฑ์ แต่จะทำให้เกิดผลกระทบอยา่ งมากตอ่ ดชั นรี าคาผู้บรโิ ภค เพราะจะทำให้
ดัชนี ราคาผบู้ รโิ ภคสงู ขน้ึ อยา่ งมาก เพราะราคามะมว่ งสงู ขึ้นจากผลละ 3 บาท เปน็ ผลละ 10 บาท
สง่ิ ทเ่ี กิดขึ้นควบคกู่ ับภาวะเงินเฟอ้ ในทิศทางตรงกันข้าม คือ อำนาจซ้อื ของเงิน กลา่ วคอื เมือ่ ราคา สินคา้ สูงข้ึนและเกิดภาวะเงิน
เฟ้อ อำนาจซื้อของเงนิ จะยิง่ ลดลง เงินแต่ละหน่วยจะมอี ำนาจซื้อสนิ ค้าลดลง หรือเงินจำนวนเทา่ เดิมจะแลกเปลี่ยนกับสนิ ค้าได้
เป็นจำนวนนอ้ ยลงกว่าเดิม
3.2 สาเหตขุ องการเกิดเงินเฟ้อ
สาเหตุที่ทำให้เกิดเงินเฟ้อที่สำคัญมี 2 ประการ คือ สาเหตุที่เกิดจากแรงดึงของอุปสงค์ สาเหตุที่ เกิดจากแรงผลักดันทางด้าน
อปุ ทาน
สาเหตุที่เกดิ จากแรงดงึ ของอุปสงค์ ได้แก่ การที่อุปสงค์มวลรวมสำหรับสินคา้ และบริการ มีมากกว่าอุปทานมวลรวมของสินค้า
และบริการ เงนิ เฟ้อท่ีมีสาเหตุมาจากด้านอปุ สงคส์ ำหรบั สินค้า บางคร้งั เรยี กวา่ “เงินเฟ้อทเ่ี กิดจากแรงดงึ ของอุปสงค์”
สาเหตุที่เกิดจากแรงผลักดันทางด้านอุปทาน ได้แก่ การที่อุปทานมวลรวมสำหรับสินค้า และบริการลดลง เนื่องจากแรงงาน
เรียกร้องเอาค่าแรงสูงขึ้น ทำให้ต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้น เมื่อต้นทุน การผลิตเพิ่มขึ้น ผู้ผลิตจะลดปริมาณการผลิตลง หรือผู้ผลติ
ต้องการกำไรสูงขึ้น จึงบวกกำไรเข้าไว้เป็น ส่วนหนึ่งของต้นทุนการผลิต ซึ่งทำให้ต้นทุนการผลิตเพิ่ มสูงขึ้น และผู้ผลิตจะลด
ปริมาณการผลิตลง เงนิ เฟอ้ ทมี่ สี าเหตมุ าจากด้านอปุ ทานบางคร้ังเรยี กวา่ “เงินเฟอ้ จากแรงดันของต้นทนุ ”
นอกจากสาเหตุทั้ง 2 ประการดังกล่าวแล้ว ยังมีภาวะเงินเฟ้อที่เกิดขึ้นจากสาเหตุอื่น ๆ อีก เช่น เงินเฟ้อที่เกิดขึ้นจากการ
เปลี่ยนแปลงในโครงสร้างของอุปสงค์ เงินเฟ้อที่เกิดขึ้นจากการติดต่อกับ ต่างประเทศ เป็นต้น ในที่นี้ขอกล่าวถึงสาเหตุของการ
เกิดเงินเฟ้อท่ีเกดิ จากแรงดงึ ของอุปสงค์ และ เงนิ เฟ้อที่เกิดจากแรงผลักดันทางดา้ นอปุ ทาน ดังนี้
1. เงินเฟ้อที่เกิดจากแรงดึงของอุปสงค์ (Demand Pull Inflation) หมายถึง เงินเฟ้อที่เกิดขึ้น จากอุปสงค์มวลรวมสำหรับ
สนิ คา้ ของประเทศเพิ่มสูงขึ้น ในขณะทอ่ี ุปทานมวลรวมของสินค้าเพม่ิ ข้นึ ได้ คอ่ นขา้ งจำกดั ทำใหเ้ กิดภาวะสินคา้ ขาดแคลน ระดับ
ราคาสินค้าจึงเพมิ่ สูงขนึ้ เรอ่ื ย ๆ การทอ่ี ุปทานมวลรวม ของสนิ ค้าเพิ่มขนึ้ ไดจ้ ำกดั อาจเป็นเพราะว่า ปัจจยั การผลติ ถกู นำมาใชง้ าน
เกอื บเตม็ ทแ่ี ล้ว ดงั นนั้ การขยายการผลติ จงึ ทำไดอ้ ีกเพียงเล็กน้อย หรอื ถา้ ปจั จัยการผลติ ถูกใช้งานเตม็ ที่แล้ว การขยายการผลิต
ก็ไมส่ ามารถทำไดอ้ ีก ความไมส่ มดุลระหว่างอุปสงค์และอปุ ทานจะผลักดนั ใหร้ ะดบั ราคาสินคา้ สงู ข้ึน

ภาวะเงนิ เฟ้อ = AD>AS ราคาสนิ คา้ (P) รายไดท้ ่แี ท้จริง

เมื่ออุปสงค์มวลรวมเพิ่มสูงขึ้น แต่ปริมาณสินค้าและบริการของประเทศไม่สามารถทำให้เพิม่ ข้ึนได้ เนื่องจากอยู่ในภาวะท่มี ีการ
จ้างงานเต็มท่แี ล้ว ผู้ขายจึงถอื โอกาสข้นึ ราคาสินค้า ซง่ึ จะสง่ ผลใหร้ ายได้ ทแี่ ทจ้ รงิ ลดลง
สาเหตทุ ีท่ ำใหอ้ ุปสงค์มวลรวมเพม่ิ ขึ้นอาจเกดิ จากสาเหตุต่าง ๆ ดังน้ี
1) การเพิ่มขึ้นของปัจจัยที่เป็นองค์ประกอบของรายจ่ายประชาชาติ กล่าวคือ ผู้ผลิตคาดว่า เศรษฐกิจไม่ดี จึงทำให้แข่งขันกัน
ลงทุนเพิ่มขึ้น หรือประชาชนใช้จ่ายเพื่อการบริโภคเพิ่มขึ้น การออมลดลง หรือรัฐบาลใช้จ่ายเพิ่มขึน้ งบประมาณของรัฐบาลจะ
เปน็ แบบขาดดลุ หรอื ประเทศสามารถส่งออกสินคา้ ไป จำหนา่ ยตา่ งประเทศไดม้ ากข้นึ ราคาสินค้าในตลาดโลกสงู ขึน้ ทำใหร้ ายได้
สุทธิจากการส่งออกเพิ่มขึ้น ผลของการเพ่ิมข้ึนของปัจจยั ต่าง ๆ เหล่านีท้ ำให้อุปสงคม์ วลรวมเพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยที่ประเทศไม่
สามารถ ขยายการผลติ สินคา้ และบรกิ ารเพิ่มขึน้ ได้ ก็จะส่งผลให้ราคาสูงข้นึ แต่เพยี งอยา่ งเดยี ว
2) การเพิ่มขึ้นของปริมาณเงิน กล่าวคือ ปริมาณเงินในมือของประชาชนจะเพิ่มขึ้น เนื่องจาก ธนาคารกลางเพิ่มปริมาณเงินใน
ระบบเศรษฐกจิ หรือธนาคารกลางรบั ซ้อื คืนพนั ธบตั รจากประชาชน หรอื ธนาคารพาณิชยแ์ ขง่ ขนั กนั ปล่อยสนิ เช่ือให้ภาคเอกชน
เมื่อปริมาณเงินในมือประชาชนเพิ่มขึ้น ทำให้ การใช้จ่ายรวมเพิ่มขึ้น โดยที่ประเทศไม่สามารถเพิ่มปริมาณการผลิตสินค้าและ
บริการได้ ราคาสินคา้ จึงสูงข้นึ เกิดภาวะเงินเฟอ้ ในทสี่ ดุ
2. เงินเฟ้อที่เกิดจากแรงผลักดันทางด้านอุปทาน หรืออาจเรียกได้อีกอย่างหนึ่งว่า “เงินเฟ้อ ที่เกิดจากต้นทุนการผลิต (Cost
Push Inflation)” เปน็ เงินเฟอ้ ที่เกิดจากต้นทุนการผลติ เพ่ิมขึน้ เมอื่ ตน้ ทนุ การผลิตเพิ่มขน้ึ เช่น แรงงานเรยี กร้องค่าจ้างแรงงาน
เพิ่มขึ้น ทำให้อัตราค่าจ้างแรงงานถกู กำหนดขึ้น โดยมิได้เป็นไปตามกฎของอุปสงค์และอุปทาน หรือกรณีทีก่ ลุ่มโอเปกขึน้ ราคา
น้ำมนั เปน็ ตน้ ผผู้ ลติ อาจลดปรมิ าณการผลติ สนิ ค้าและบรกิ ารลง หรอื ทำการผลิตเทา่ เดิม แต่เพิ่มราคาสนิ คา้ และบริการให้สงู ขนึ้
ทำให้ราคาสินค้าและบริการโดยทัว่ ๆ ไปสูงขึ้นอย่างรวดเรว็ จนเกิดอุปสงคส์ ่วนเกิน (Excess Demand) ของสินค้าและบริการ
ทำใหร้ ะดบั ราคาสนิ คา้ และบรกิ ารโดยท่ัวไปสูงขน้ึ จนเกดิ ภาวะเงนิ เฟ้อในท่ีสุด
สาเหตทุ ่ที ำให้ต้นทุนการผลติ สงู ข้ึน อาจเนือ่ งมาจากสาเหตุใดสาเหตหุ น่ึงหรือหลายสาเหตุ ประกอบกัน ดังนี้
1) ค่าจ้างแรงงานเพิ่มสูงขึ้น คือ ภาวะเงินเฟ้อที่เกิดขึ้นเนื่องจากการที่สหพันธ์กรรมกรเรียกร้อง ค่าจ้างแรงงานเพิ่มสูงขึ้น
กล่าวคือ อัตราค่าจ้างแรงงานไม่ได้กำหนดขึ้นโดยกลไกของตลาดแรงงาน แต่ถูก กำหนดขึ้นโดยบุคคลบางกลุ่ม เช่น สหพันธ์
กรรมกร เป็นต้น เมื่อสหพันธ์กรรมกรเรียกร้องค่าจ้างสูงขึ้น ทำให้ต้นทุนในการผลิตสินค้าสูงขึ้น ผู้ผลิตจึงลดปริมาณการผลิต
สนิ คา้ ลง ซึง่ มผี ลทำให้อุปทานมวลรวม ของสนิ ค้าลดลง และระดบั ราคาสนิ คา้ เพมิ่ สูงข้นึ
2) ผูผ้ ลิตกำหนดส่วนของกำไรเพิม่ ขน้ึ คือ ภาวะเงินเฟ้อทเ่ี กดิ จากการที่ผู้ผลิตกำหนดส่วนของกำไร สงู ขึน้ ภาวะเงินเฟ้อชนิดนี้จะ
เกิดขึน้ ไดใ้ นตลาดสินคา้ และบริการทม่ี กี ารแขง่ ขันไมส่ มบูรณ์ โดยที่ผู้ขายสินคา้ สามารถ ที่จะกำหนดราคาสนิ คา้ ได้ ซงึ่ อาจเป็นไป
ได้ที่ผู้ผลิตจะบวกกำไรที่ต้องการเข้าไปในต้นทุนการผลิต ทำให้ต้นทุน การผลิตสูงขึ้น การเพิ่มขึ้นของต้นทุนการผลิต ทำให้
อปุ ทานมวลรวมของสนิ ค้าลดลง และราคาสินคา้ เพ่มิ สูงขน้ึ
3) การเพ่ิมขึ้นของราคาน้ำมันเช้ือเพลิง พลังงานและวตั ถุดิบที่สำคัญ ต้นทุนการผลิตจะสูงขึ้น อย่างเห็นได้ชดั ในกรณีทีร่ าคานำ
มันเชื้อเพลิง ราคากระแสไฟฟ้า หรือราคาวัตถุดิบที่ต้องนำ เข้าจาก ต่างประเทศสูงขึ้นอย่างมาก เป็นผลจากราคาน้ำมันใน
ตลาดโลกสูงขึ้น หรืออัตราแลกเปล่ียนเปลี่ยนแปลง ทำให้ค่าเงินสกุลของประเทศอ่อนตัวลงมากเมื่อเทียบกับค่าเงินสกุลของ
ต่างประเทศ เหล่านลี้ ้วนมผี ลทำให้ ต้นทุนการผลติ สูงขนึ้ ผผู้ ลิตจึงตอ้ งเสนอขายสนิ ค้าในราคาที่สงู ข้นึ
3.3 ประเภทของเงนิ เฟอ้
เงินเฟอ้ ไมว่ า่ จะเกิดจากสาเหตทุ างด้านอปุ สงคห์ รอื อุปทานก็ตาม สามารถแบ่งออกได้ 3 ประเภท ดังน้ี
1. เงนิ เฟอ้ อย่างอ่อน (Mild Inflation) เปน็ ภาวะทรี่ ะดบั ราคาสนิ คา้ โดยทัว่ ไปค่อย ๆ สูงขึ้น ประมาณร้อยละ 1 – 5 ต่อปี เงิน
เฟ้อในระดับนี้ถือว่าเป็นผลดีต่อเศรษฐกิจของประเทศ เพราะในระยะนี้ ราคาสินค้าและบริการเริ่มสูงขึ้น จึงเป็นการกระตุ้นให้
ผู้ผลติ ขยายการลงทุนมากข้ึน เมื่อมีการลงทุนมากข้ึน มีการใช้ปัจจยั การผลิต เช่น การจา้ งแรงงานทำงานมากขึน้ มีการก้ยู ืมเงิน
มาลงทุนเพิ่มขึ้น มีการซื้อขาย วัตถุดิบมากขึ้น จะเป็นผลให้ประชาชนมีงานทำและเจ้าของปัจจัยการผลิตมีรายได้มากขึ้น แต่
อย่างไร กต็ าม เมือ่ ประเทศมีเงินเฟอ้ อย่างอ่อนเกิดขึน้ รฐั บาลไมเ่ ขา้ ไปควบคมุ อาจเกดิ เงนิ เฟอ้ อยา่ งปานกลางได้

2. เงินเฟอ้ อยา่ งปานกลาง (Moderate Inflation) เปน็ ภาวะทรี่ ะดับราคาสนิ คา้ โดยท่ัวไปสงู ขึน้ ประมาณร้อยละ 6 – 20 ตอ่
ปี เงินเฟ้อในระดับนี้จะทำให้ประชาชนเดือดร้อน ผู้บริโภคจะไม่เชื่อมั่นในภาวะเศรษฐกิจ ทำให้เกิดการกักตุนสินค้า แรงงาน
เรียกรอ้ งขอขึน้ ค่าจา้ ง จนนำไปสภู่ าวะเงนิ เฟอ้ อย่างรุนแรงในท่ีสดุ
3. เงนิ เฟอ้ อยา่ งรนุ แรง (Hyper Inflation) เป็นภาวะท่รี ะดับราคาสนิ ค้าโดยทัว่ ไปสูงข้ึน อย่างรวดเร็วมาก อาจเกินกว่ารอ้ ยละ
20 ต่อปี หรืออาจมากถึง 100 เปอร์เซ็นต์ก็ได้ ส่วนใหญ่มักจะเกิดขึ้น ในภาวะสงคราม ซึ่งเงินเฟ้อในระดับนี้จะทำให้เศรษฐกิจ
ชะงักงันและอาจนำความเสียหายมาส่ปู ระเทศได้
3.4 ผลกระทบของเงินเฟ้อ
เมอ่ื เกดิ ภาวะเงินเฟ้อ จะมีผลกระทบตอ่ หน่วยเศรษฐกิจในลักษณะต่าง ๆ กัน และผลกระทบจะมมี ากน้อยเพยี งใด ข้ึนอยู่กับการ
คาดคะเนเกี่ยวกบั เงินเฟ้อที่จะเกิดขึ้น ถ้าหน่วยเศรษฐกิจคาดคะเนเงินเฟ้อ ได้ถูกต้อง ผลกระทบของเงนิ เฟอ้ อาจจะไม่ก่อให้เกดิ
ปญั หารนุ แรงนัก เพราะวา่ หน่วยเศรษฐกจิ อาจจะหา วิธีป้องกันความสูญเสียท่ีอาจจะเกิดข้นึ จากภาวะเงินเฟ้อได้ ในทางตรงข้าม
ถ้าการคาดคะเนเงินเฟ้อของ หน่วยเศรษฐกิจผิดพลาด ผลกระทบของเงนิ เฟ้อจะมีมากจนเกดิ การไดเ้ ปรียบเสียเปรียบขึ้น ดังน้นั
ผลกระทบของเงนิ เฟอ้ อาจจะเปน็ ไปไดใ้ นลักษณะต่าง ๆ ดังน้ี
1. อำนาจซือ้ ของเงินลดลง เมื่อเกิดภาวะเงนิ เฟ้อ ราคาสนิ ค้าสูงขึ้น อำนาจซ้ือของเงนิ จะลดลง เช่นอัตราเงินเฟ้อเท่ากบั ร้อยละ
10 เงนิ 100 บาทจะมอี ำนาจซ้อื ลดลงเหลือเพยี ง 90 บาทเทา่ นั้น เมอ่ื การเกดิ เงนิ เฟอ้ ทำให้อำนาจซอื้ ของเงนิ ลดลง ประชาชนจะ
รบี ใชจ้ ่ายเงินซื้อสินคา้ และบรกิ ารต่างๆ จะยงิ่ ทำใหอ้ ปุ สงค์มวลรวมเพิม่ ขน้ึ และทำให้เกิดภาวะเงนิ เฟ้อรุนแรงขน้ึ ไปอกี
2. การกระจายรายได้เหลื่อมล้ำ เมื่อเกิดเงินเฟ้อขึ้นประชาชนที่ไม่ได้คาดการณ์ล่วงหน้า จะทำให้ บุคคลบางกลุ่มได้ประโยชน์
ในขณะทีบ่ คุ คลบางกลุ่มจะเสียประโยชน์ การกระจายรายไดจ้ ะเหล่อื มล้ำมากข้นึ กลุม่ บคุ คลทไ่ี ดร้ ับประโยชนท์ างเศรษฐกจิ ได้แก่
กลุ่มบุคคลที่ได้รบั รายได้ที่เป็นตัวเงินสูงขึน้ ในอัตรา ที่สูงกว่าอัตราเงินเฟ้อ เช่น ผู้ผลติ ผู้เก็งกำไร ซึ่งได้รับผลตอบแทนท่ีเป็นตัว
เงินค่อนข้างสูง ผู้กักตุนสินค้า ไว้ขายเพื่อเก็งกำไร ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อเท่ากับร้อยละ 10 ต่อปีเท่านั้นผู้ที่เป็นลูกหนี้ที่ได้ทำ
สัญญากู้ยืมระยะยาวที่ได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้แล้ว หากภายหลังเศรษฐกิจเกิดเงินเฟ้อ อัตราดอกเบี้ยและค่าเช่า ในตลาด
สูงขึ้น แต่สัญญากู้ยืมหรือสัญญาเช่ายงั คงเดิม ลูกหนี้และผู้เช่าจะได้รับประโยชน์ เนื่องจาก จำนวนเงินที่ต้องชำระได้กำหนดไว้
ตายตวั น้ันจะต่ำกว่าราคาตลาด และยังไดร้ บั ประโยชนจ์ ากกรณีทีอ่ ำนาจซือ้ ของเงินลดลง จึงเปรยี บเสมือนว่าลกู หนี้หรือผเู้ ช่าเสีย
ค่าใช้จ่ายที่แทจ้ ริงต่ำลง กลมุ่ บุคคลทเี่ สยี ประโยชน์ทางเศรษฐกิจ ไดแ้ ก่ กลุ่มบุคคลที่ได้รับรายได้ท่เี ป็นตัวเงินคงท่ี หรือ เพิ่มขึ้น
ในอัตราทีต่ ำ่ กวา่ อตั ราเงินเฟ้อ เชน่ ผ้ทู ี่ไดร้ ับเงนิ บำนาญเปน็ รายเดอื น ผูใ้ ห้เช่าอสังหาริมทรัพย์ทไี่ ด้ทำสัญญาเช่าระยะยาวไว้โดย
ไมส่ ามารถเปล่ยี นแปลงอัตราคา่ เชา่ ได้ หรือเจ้าหน้ไี ม่สามารถปรบั อตั ราดอกเบย้ี ให้สงู ขึน้ ได้ เพราะสญั ญากยู้ มื ยังไม่ครบกำหนด
ผ้ทู ่ีอาศยั รายไดจ้ ากดอกเบย้ี เงินฝากประจำ ผู้ท่อี อมโดยการ ถือเงนิ สดหรือเงินฝากธนาคาร แรงงานและข้าราชการอาจจะได้รับ
การปรับค่าแรงและเงินเดือนสูงขึ้น แต่ค่อนข้างล่าช้าและได้รบั การปรับในอัตราที่ต่ำกว่าอัตราเงินเฟ้อ กลุ่มบุคคลเหล่านั้นก็ยัง
เสยี ประโยชน์ เพราะรายได้ที่แท้จรงิ ต่ำลง ดังน้ัน เมอื่ เกิดเงินเฟอ้ ท่ีไม่ไดค้ าดการณล์ ว่ งหนา้ ทำใหก้ ารกระจายรายไดเ้ หลอ่ื มล้ำกัน
มากขึ้น เพราะกลุม่ บุคคลทีไ่ ด้รับประโยชน์ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มบุคคลที่มฐี านะดี มีอำนาจการตอ่ รองสงู ในขณะที่กลุม่ บุคคลทีเ่ สยี
ประโยชน์เป็นบุคคลท่ีค่อนข้างมีฐานะยากจน ขาดอำนาจการต่อรอง ผลของ เงินเฟ้อจึงยิ่งทำให้คนรวยท่ีมีทรัพย์สินมากยิ่งรวย
ขน้ึ แต่คนจนผูด้ อ้ ยโอกาสจะย่งิ จนลง
3. อัตราดอกเบี้ยที่เปน็ ตัวเงินสูงขึ้น เมื่อเกิดเงินเฟ้อ อัตราดอกเบี้ยท่ีเป็นตัวเงินจะสูงขึ้น เพราะ ผู้ออมต้องปกป้องตนเองไม่ให้
ได้รับความเสยี หายจากการสูญเสียอำนาจซือ้ ของเงิน จึงต้องเรียกร้องดอกเบี้ย ในอัตราทีส่ ูงขึ้นเป็นการชดเชย หรือผู้ออมจะหัน
ไปออมทรพั ยใ์ นรูปอื่น เช่น การนำเงินไปซื้อที่ดิน เครื่องประดับ ท่มี คี า่ หรอื ทองคำ ทำให้การออมในรูปตัวเงินลดลง และย่ิงทำให้
อัตราดอกเบย้ี ทเ่ี ปน็ ตัวเงินสงู ข้นึ อีก
4. ผลที่มีต่อการคลังของรัฐบาล เมื่อเกิดเงินเฟ้อ รายได้ที่เป็นตัวเงินของประชาชนทั่ว ๆ ไปสูงขึ้น การใช้จ่ายซื้อสินค้าและ
บริการมีมากขึ้น รัฐบาลจัดเก็บภาษีรายได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม ตลอดจนภาษีอื่น ๆ ได้มากขึ้น ถ้ารัฐบาลจัดเก็บภาษีเงินได้ส่วน
บุคคลและภาษีเงนิ ไดน้ ิตบิ คุ คลในอตั รากา้ วหนา้ รายไดข้ อง รัฐบาลจากการเก็บภาษจี ะย่ิงสูงขึน้ ส่วนทางดา้ นรายจ่ายของรัฐบาล
นี้ รายจ่ายบางประเภทอาจจะลดลงได้ เชน่ รายจ่ายทจ่ี า่ ยให้กบั คนวา่ งงาน รายจ่ายในการพยงุ ราคาสนิ คา้ บางชนดิ รายจ่ายบาง
ประเภท อาจจะเพิ่มขึ้นค่อนข้างต่ำกว่าอัตราเงินเฟ้อ เช่น รายจ่ายเงินเดือนข้าราชการและลูกจ้าง แต่อย่างไรก็ตาม รัฐบาลยัง
ไดร้ ับประโยชนจ์ ากการทอี่ ำนาจซื้อของเงินลดลง ฐานะการคลงั รัฐบาลจะดขี ้นึ ในกรณีทร่ี ัฐบาล เปน็ ต้นเหตุทีท่ ำให้เกดิ เงินเฟอ้

กล่าวคือ รัฐบาลใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้น โดยการกู้ยมื เงินจากประชาชนมาใช้จ่าย ทำให้อุปสงค์มวลรวมเพ่ิมขึ้นมาก ราคาสินค้าจะ
สูงขึน้ เกิดเงินเฟ้อ ทำให้อำนาจซือ้ ของเงินลดลง เงินที่ ประชาชนถือไวจ้ ะมีอำนาจซอ้ื ลดลง ประชาชนจงึ เปน็ ผู้สูญเสีย ในขณะท่ี
รัฐบาลได้รับประโยชน์เพราะ ได้เงินมาใช้จ่าย การสูญเสียอำนาจซื้อของประชาชนให้แก่รัฐบาล เปรียบเสมือนว่าประชาชนเสีย
ภาษใี หร้ ฐั บาล จงึ เรียกว่าภาษเี งินเฟ้อ ดงั นนั้ เงินเฟ้อที่เกิดจากรฐั บาลเป็นตน้ เหตนุ ยี้ ิ่งทำให้รัฐบาลได้รบั ประโยชน์มากยิง่ ขึ้น
5. ผลท่ีมตี อ่ ดุลการชำระเงินของประเทศ ถ้าหากเกิดเงินเฟ้อขึ้นในประเทศใดประเทศหนึ่ง โดยท่รี ะดบั ราคาสนิ ค้าในประเทศอน่ื
ๆ ค่อนข้างคงท่ีหรือเพิ่มข้ึนน้อยกว่า จะมีผลทำให้ระดับราคาสินค้า ในประเทศน้ันโดยเปรียบเทียบแลว้ สูงกว่าระดับราคาสินคา้
ในประเทศอื่น ๆ ทำให้การสง่ ออกของประเทศนั้น มีน้อยลง และมีการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศมากข้ึน ดังนั้น เงินเฟ้อจะมี
ผลทำให้มีการลดลงในยอดสุทธิ ของสินค้าและบริการที่ส่งออกไปจำหน่ายต่างประเทศ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อดุลการชำระเงิน
ของประเทศ โดยอาจทำให้ดุลการชำระเงนิ ขาดดุลมากขึน้ หรือเกนิ ดลุ น้อยลง
6. ผลที่มีต่อเศรษฐกจิ และสังคมของประเทศ เมื่อเกิดภาวะเงนิ เฟ้อจะทำให้ธรุ กิจต่าง ๆ เกิดความไม่แน่ใจต่อสถานะเศรษฐกิจ
ของประเทศ เพราะเงินเฟ้อไม่ได้เกิดขึ้นในอัตราที่สม่ำเสมอ หน่วยธุรกิจ จะเกิดความลังเลใจที่จะลงทุน เพราะจะต้องได้กำไร
อัตราทีส่ ูงขึ้นถึงจะคุ้มคา่ ในการลงทุน ดังนั้น หน่วยธุรกิจต่าง ๆ อาจหันไปลงทุนในกจิ กรรมท่ีไม่เปน็ ประโยชน์ในการพัฒนาทาง
เศรษฐกิจของประเทศ เช่น อาจจะลงทุน ในการเก็งกำไร กักตุนสินค้าซึ่งก่อให้เกิดปัญหาในการพัฒนาเศรษฐกิจและเกิดการ
ว่างงานได้ นอกจากนี้ ประชาชนมักจะไม่ลงทุนในสินทรัพย์ระยะยาว เช่น พันธบัตรรัฐบาลหรือหุ้นกู้รัฐบาล การสะสมทุนจึงมี
น้อย อัตราดอกเบี้ยในระยะยาวจะเพิ่มสูงขึ้นและการลงทุนจะมีน้อยลง ทำให้อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ลดน้อยลงไป
ด้วย สำหรับปัญหาทางด้านสังคม เมื่อระดับราคาสินค้าและบริการเพิ่มสูงขึ้น ทำให้ผู้ที่มีรายได้ประจำมีรายได้ไม่เพียงพอกับ
รายจ่ายที่เพิม่ ข้ึน อาจจะก่อให้เกิดพลังผลักดันทางการเมือง มีการนัดหยุดงาน เพื่อเรียกร้องค่าจ้างแรงงานเพิ่มขึ้นและเงินเฟอ้
อาจกอ่ ใหเ้ กดิ ปัญหาอาชญากรรมหรือสุขภาพจติ เสอ่ื มโทรม เนอ่ื งจากประชาชนมีรายได้ไม่เพยี งพอกบั รายจา่ ยท่เี พ่ิมข้ึน
3.5 การแก้ปญั หาเงนิ เฟอ้
1. เงินเฟอ้ โดยมีสาเหตุมาจากอุปสงคม์ วลรวมเพ่มิ ข้นึ รฐั บาลหรอื ธนาคารกลางอาจแก้ไขดังน้ี
1.1 นโยบายการเงิน ธนาคารกลางสามารถลดอุปสงค์มวลรวมได้โดยใช้นโยบายการเงิน แบบเข้มงวด โดยการลดปริมาณเงินที่
หมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ เพื่อให้สภาพคล่องในตลาดลดลง ธนาคารกลางใช้มาตรการตา่ ง ๆ ในการลดปรมิ าณเงิน ได้แก่ การ
เพิ่มอัตราเงินสดสำรอง ตามกฎหมาย เพื่อให้ธนาคารพาณิชย์สร้างเงินฝากได้น้อยลง การเพิ่มอัตราส่วนลดเพื่อให้ธนาคาร
พาณิชยก์ ้เู งิน จากธนาคารกลางได้น้อยลง และสามารถสรา้ งเงินฝากได้น้อยลง การขายหลักทรพั ย์ของรัฐบาลเพือ่ ดึงเงิน ออกมา
จากระบบเศรษฐกิจและการขอความร่วมมือจากสถาบันการเงนิ อืน่ ๆ ให้ลดการใหเ้ ครดิตและสินเช่ือ ซ่ึงมาตรการตา่ ง ๆ ที่กล่าว
มานี้จะมีผลทำให้ปริมาณเงินที่หมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจลดลง การลดลงของ ปริมาณเงินจะมีผลทำให้อัตราดอกเบี้ยสูงขึ้น
เมอื่ อัตราดอกเบีย้ สูงขึ้น การลงทนุ จะลดลง เนอื่ งจากการลงทนุ เป็นส่วนประกอบของอุปสงคม์ วลรวม ดงั นั้นจะทำใหอ้ ุปสงค์มวล
รวมลดลงไปด้วย หรือการที่การลงทุน ลดลง ทำให้การจ้างงานลดลง ซึ่งมีผลทำให้รายได้ของคนงานลดลง ดังนั้นจะมีผลทำให้
คา่ ใช้จ่ายใน การซ้อื สนิ คา้ และบริการลดนอ้ ยลงด้วย
1.2 นโยบายการคลัง รัฐบาลลดอปุ สงคม์ วลรวมโดยใช้นโยบายการคลังแบบหดตัว กลา่ วคือ รฐั บาลพยายามลดรายจา่ ย หรอื เพม่ิ
รายได้ของรฐั บาล หรอื จดั ทำงบประมาณรายจา่ ยแบบเกินดลุ หรือ ลดการขาดดลุ ของงบประมาณ
ทางด้านรายจ่าย รัฐบาลควรหาทางลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็น ลดรายจ่ายการลงทุนในบางโครงการ ท่ีสามารถยกเลิกได้ ในความ
เป็นจริง การลดรายจ่ายเป็นเรื่องที่ยากมาก เพราะมีรายจ่ายหลายประเภท ที่รัฐไม่สามารถลดลงได้ เช่น รายจ่ายเงินเดือน
ข้าราชการและลูกจ้าง รายจ่ายชำระค่าดอกเบี้ยพันธบัตร รายจ่ายในการชำระหนี้ รายจ่ายตามงบผูกพันจากปีก่อน ๆ เป็นต้น
การปรบั ลดงบประมาณรายจ่ายจำเป็น ต้องใชเ้ วลานาน แตก่ ารลดรายจ่ายของรัฐบาลจะสง่ ผลให้อุปสงคม์ วลรวมลดลงได้ทันที
ทางด้านรายได้ รัฐบาลหาทางลดการใช้จ่ายของประชาชนโดยการเพ่มิ ภาษี เชน่ ภาษีเงินได้ ภาษี ทางออ้ ม อาทิ ภาษีมูลค่าเพ่ิม
ภาษสี รรพสามติ เปน็ ต้น การเพม่ิ อัตราภาษีเงนิ ได้ จะสง่ ผลให้รายไดส้ ุทธิ ส่วนบุคคลลดลง ทำให้การใช้จา่ ยเพอื่ การบริโภคลดลง
ส่วนการเพิ่มภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือภาษีสรรพสามิต จะทำให้สินค้ามีราคาสูงขึ้น ประชาชนจะซื้อสินค้าลดลง การใช้จ่ายมวลรวม
ของประชาชนลดลง ผูผ้ ลิต ขายสนิ ค้าไดล้ ดลง เขาตอ้ งลดราคาสนิ คา้ ลง และลดการใชจ้ ่ายเพือ่ ซื้อสนิ คา้ มากกั ตนุ ไว้ เพอ่ื เก็งกำไร
ผลของการข้ึนภาษคี อื ทำใหก้ ารใชจ้ ่ายมวลรวมลดลง อุปสงค์มวลรวมลดลงและราคาสนิ คา้ ลดลง แต่ในความเปน็ จรงิ เมอ่ื เกิด

เงนิ เฟอ้ สินคา้ มีราคาแพง คา่ ครองชพี สงู ประชาชนเดอื ดร้อนมาก ถา้ รฐั บาล ขน้ึ อตั ราภาษี ประชาชนจะไมเ่ ห็นด้วยและอาจจะ
ต่อต้านนโยบายของรัฐได้ เพื่อเป็นการชะลอการ เพิ่มขึ้นของราคาสินค้า รัฐอาจจะต้องลดภาษีขาเข้าสนิ ค้าและวัตถดุ ิบทีจ่ ำเป็น
จากต่างประเทศ เพอ่ื ให้ สินคา้ จากต่างประเทศเข้ามาขายในประเทศมากข้นึ เป็นการชะลอการเพิ่มขนึ้ ของราคาสินคา้
จงึ กลา่ วไดว้ า่ การแกป้ ัญหาเงนิ เฟ้อ รฐั บาลตอ้ งดำเนินนโยบายการคลงั แบบหดตัว เพือ่ ลด อปุ สงคม์ วลรวมและลดปริมาณเงินท่ี
หมนุ เวียนอยใู่ นระบบเศรษฐกิจลง
2. เงนิ เฟอ้ ที่เกดิ จากแรงดันของต้นทนุ
2.1 การใช้มาตรการควบคุมสินค้าโดยตรง เพื่อไม่ให้ราคาสินค้าและบริการภายในประเทศ มีราคาสูงมากเกินไป โดยเฉพาะการ
ควบคุมราคาสินค้าจำเปน็ เพ่ือไมใ้ ห้ประชาชนเดอื ดรอ้ น
2.2 หากตน้ ทนุ การผลติ สูงขึน้ เนื่องจากขาดแคลนวตั ถุดิบภายในประเทศ สนบั สนุนให้มีการนำเข้า วัตถดุ ิบหรอื ปจั จยั การผลิตท่ีมี
ต้นทนุ ไมส่ งู เชน่ ลดอตั ราภาษีการนำเข้า การนำเขา้ ท่สี ะดวกและง่าย หรอื ใหเ้ งนิ อุดหนนุ วตั ถุดิบที่จำเปน็ เปน็ ต้น
2.3 การเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต เพื่อเพิ่มให้อุปทานมวลรวมหรือผลผลิตรวมของประเทศ มากขึ้นให้เพียงพอกับความ
ตอ้ งการ หรืออุปสงค์มวลรวมของประเทศจะทำใหร้ าคาสินคา้ และบริการ ปรับตัวลดลงได้
2.4 การคิดค้นวิธีการใช้วัตถุดิบหรือปัจจัยการผลิตอื่นที่มีตน้ ทุนต่ำกว่าหรือมีปริมาณมากพอ มาทดแทนวัตถุดิบหรือปัจจัยการ
ผลิตท่มี ตี น้ ทนุ สูงกว่า หรอื ขาดแคลนกว่า เพ่อื เป็นการลดตน้ ทุนการผลติ
4. ครูใชส้ ่อื PowerPoint ประกอบเทคนคิ การบรรยาย เงินฝดื
4.1 ความหมายของเงินฝดื
เงินฝดื (Deflation) คอื ภาวะทรี่ ะดับราคาสนิ ค้าและบริการโดยทว่ั ๆ ไปลดลงเร่อื ย ๆ และตอ่ เนือ่ ง ผลของภาวะเงนิ ฝดื จะตรง
ข้ามกบั ภาวะเงินเฟ้อ กลา่ วคือ ผูท้ ี่มรี ายได้ประจำและเจ้าหน้จี ะไดร้ บั ประโยชน์ ส่วนพ่อคา้ นกั ธุรกจิ และผ้ถู อื ห้นุ จะเสยี เปรยี บ ใน
ภาวะเช่นนีท้ ำให้ผผู้ ลติ ขายสินค้าไมอ่ อก การผลติ การลงทนุ และการจา้ งงานลดลง ทำใหเ้ กดิ การวา่ งงานเพม่ิ ข้ึน การวดั การ
เปลี่ยนแปลงของระดับราคาจะใชด้ ชั นรี าคา เปน็ ตัวช้ีวดั เชน่ เดียวกบั เงินเฟอ้
4.2 สาเหตุที่ทำให้เกดิ เงนิ ฝดื
สาเหตุท่ีทำใหเ้ กดิ เงินฝดื คือ ความตอ้ งการซอ้ื สนิ ค้าและบรกิ ารมีนอ้ ยกวา่ ปรมิ าณสนิ คา้ และบรกิ าร ที่ผลติ ได้ หรืออุปสงคม์ วลรวม
น้อยกว่าอุปทานมวลรวม (AD < AS) ซึ่งทำใหเ้ กิดอปุ ทานส่วนเกิน (Excess Supply) หรือสินค้าขายไมอ่ อก นอกจากนีย้ งั ส่งผล
ใหธ้ ุรกจิ ลดปรมิ าณการผลติ ลง เกิดปญั หาการว่างงาน และทำให้ รายได้ประชาชาติลดลงในทส่ี ุด น่ันคอื

ภาวะเงินฝืด = AD<AS ราคาสนิ คา้ (P) การลงทนุ การวา่ งงาน

4.3 ผลของภาวะเงินฝดื
ภาวะเงินฝืด เป็นภาวะที่ประชาชนมีความสามารถที่จะจ่ายเงินซ้ือสินคา้ และบริการได้นอ้ ยกว่าปริมาณ สินค้าและบริการที่มีอยู่
เมื่อสินค้าที่ผลิตได้ขายไม่ออก ผู้ผลิตจะต้องลดราคาสินค้าและบริการจนขาดทุน หรือได้รับกำไรน้อยลงไม่คุ้มกับทุน ผู้ผลิต
บางสว่ นอาจเลิกการผลติ หรือลดปรมิ าณการผลิตลง จนเกดิ ปัญหา การว่างงานจำนวนมาก และเมื่อมคี นว่างงานจำนวนมาก คน
เหล่านั้นไม่มีรายได้พอที่จะจับจ่ายใช้สอย ตามปกติได้ สินค้าและบริการที่ผลิตได้ก็จะขายไม่ออก ทำให้ระดับการผลิตและการ
จ้างงานลดต่ำลงไปอีก ในภาวะเช่นนี้ รายได้ของคนส่วนรวมจะลดต่ำลงกว่าเป้าหมายที่รัฐบาลกำหนดไว้ในแผนพัฒนาประเทศ
ภาวะเงินฝดื จึงมีผลกระทบตอ่ ประชาชนแต่ละอาชพี ดงั นี้
1 เกษตรกร ในภาวะเงินฝืด ราคาสนิ ค้าเกษตรกรรมจะลดลงอย่างรวดเร็วกวา่ สนิ ค้าอย่างอน่ื เกษตรกรจงึ อยูใ่ นฐานะเสียเปรียบ
เมอื่ ประเทศมภี าวะเงนิ ฝดื เกิดขน้ึ
2. พอ่ ค้าและนักธุรกิจ ในภาวะเงนิ ฝดื ท่เี กิดจากประชาชนมอี ำนาจซ้ือต่ำลงจนสินค้าท่ีผลิตได้ ขายไม่ออก จนต้องลดราคาสินค้า
ให้ต่ำลง แต่ผู้ผลิตไม่สามารถจะลดต้นทุนการผลิตให้ต่ำลงได้ พ่อค้าและ นักธุรกิจจึงเป็นผู้เสียเปรียบ เพราะได้รับกำไรน้อยลง
หรือบางรายอาจขาดทุนจนต้องเลิกกจิ การไป

3. ผมู้ ีรายได้ประจำเม่ือราคาสินค้าโดยทั่ วๆ ไปลดต่ำลงอำนาจซือ้ ของประชาชนสงู ขึ้นผมู้ รี ายได้ประจำ เช่น ขา้ ราชการ ลูกจา้ ง
คนงาน ผู้มีรายได้จากบำนาญ ผู้มีรายได้จากดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาล เป็นต้น จะอยู่ในฐานะได้เปรยี บ เพราะเงินในปรมิ าณเท่า
เดมิ แตเ่ ขาจะซือ้ สินค้าได้ในปริมาณท่ีมากข้ึน
4. ลูกหนี้และเจ้าหนี้ เมื่อราคาสินค้าโดยทั่ว ๆ ไปลดต่ำลงและอำนาจซื้อของประชาชนสงู ขึ้นนั้น ลูกหนี้จะเป็นฝ่ายเสียเปรียบ
และเจ้าหนี้จะเป็นฝ่ายได้เปรียบ เพราะลูกหนี้อาจมีรายได้น้อยทำใหห้ าเงิน มาชำระหนี้ยากขึน้ และค่าของเงินที่จะนำมาชำระก็
สงู ข้ึน
5. รัฐบาล ในภาวะเงินฝืด รัฐบาลอาจเก็บภาษีเพื่อพัฒนาประเทศได้น้อยลง แต่รัฐบาลอาจต้อง ใช้จ่ายเงินงบประมาณเพ่ือ
แกป้ ัญหาการวา่ งงานมากขนึ้ เพราะในภาวะเงินฝืดจะมกี ารเลกิ จ้างงาน ทำให้มีการวา่ งงานมากขึ้น เมอ่ื คนส่วนมากว่างงาน ไม่มี
รายได้ ครัวเรือนยากจนเดือดร้อนและอาจมีผลกระทบต่อ เสถียรภาพและความมั่นคงของประเทศชาติ รัฐบาลจึงต้องรีบแก้ไข
ปญั หาการว่างงานโดยเรว็
4.4 การแกไ้ ขภาวะเงินฝดื
เมื่อเกิดภาวะเงินฝืดสามารถแก้ไขได้ด้วยนโยบายการเงินและนโยบายการคลังเช่นกัน เพราะนโยบาย ทั้งสองนี้ นอกจากจะมี
มาตรการในการลดการใช้จ่ายมวลรวมแล้ว (ในกรณีแก้ไขภาวะเงนิ เฟ้อ) ก็ยังมมี าตรการในการชว่ ยใหก้ ารใช้จ่ายมวลรวมเพิ่มข้ึน
ซง่ึ สามารถขจัดอุปทานส่วนเกนิ ใหห้ มดไปได้ ภาวะเงนิ ฝืดกจ็ ะส้นิ สดุ ลง มาตรการท่ีแกไ้ ขภาวะเงนิ ฝดื มีดังนี้
1. การใช้มาตรการของนโยบายการเงิน ธนาคารกลางสามารถเพมิ่ อปุ สงคม์ วลรวมไดโ้ ดยการใช้ นโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย
โดยการเพิ่มปริมาณเงินที่หมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจให้มากขึ้น เพื่อให้ สภาพคล่องในตลาดเพิ่มขึ้น ธนาคารกลางสามารถใช้
มาตรการต่าง ๆ ในการเพิ่มปริมาณเงิน ได้แก่ การลด อัตราเงินสดสำรองตามกฎหมาย เพื่อให้ธนาคารพาณิชย์สร้างเงินฝาก
ได้มากขึ้น การลดอัตราส่วนลด เพื่อให้ธนาคารพาณิชย์ปล่อยกู้ได้เพิ่มขึ้น การซื้อหลักทรัพย์ของรัฐบาลเพื่อเพิ่มปริมาณเงินใน
ระบบเศรษฐกจิ และการขอความร่วมมือจากสถาบันการเงินอ่ืน ๆ ให้เพิ่มการให้เครดิตหรือสินเชื่อ ซึ่งมาตรการต่าง ๆ จะมีผล
ทำให้ปริมาณเงินที่หมุนเวยี นในระบบเศรษฐกิจเพิม่ ข้ึน การเพิ่มปริมาณเงินจะมีผลทำให้อัตราดอกเบี้ยลดลง เมื่ออัตราดอกเบี้ย
ลดลง การลงทุนจะเพ่ิมขึ้น อุปสงค์มวลรวมเพิม่ ขน้ึ หรอื การท่กี ารลงทุนเพ่ิมขน้ึ จะทำให้ การจ้างงานเพิม่ ข้ึน ซึ่งมีผลทำให้รายได้
ของคนงานเพิม่ ขนึ้ ดงั นั้น จะมผี ลทำใหค้ ่าใช้จา่ ยในการซอื้ สนิ ค้า และบริการเพม่ิ ขน้ึ ด้วย
2. การใช้มาตรการของนโยบายการคลัง รัฐบาลสามารถแก้ปัญหาเงนิ ฝืดด้วยการเพิ่มอุปสงค์ มวลรวมโดยใช้นโยบายการคลัง
แบบผ่อนคลาย กล่าวคือ รัฐบาลสามารถเพิ่มรายจ่ายหรือลดรายได้ของ รัฐบาลลง หรือจัดทำงบประมาณแบบขาดดุล ทางด้าน
รายจ่าย รัฐบาลควรเพิ่มรายจ่ายของรัฐบาล จะส่งผลให้ อุปสงค์มวลรวมเพิ่มขึ้นได้ทันที หรือรัฐบาลอาจเพิ่มการใช้จ่ายของ
ประชาชนได้โดยการลดภาษี เช่น ภาษีเงินได้ ภาษีทางอ้อม เป็นต้น การลดอัตราภาษีเงินได้จะส่งผลให้รายได้สุทธิส่วนบุคคล
เพมิ่ ขน้ึ ทำใหก้ ารใช้จา่ ย เพอื่ การบรโิ ภคเพ่ิมข้ึน การลดภาษสี รรพสามิตจะทำใหส้ นิ คา้ มีราคาถกู ลง ประชาชนจะซอื้ สินคา้ เพมิ่ ขน้ึ
ทำให้การใช้จ่ายของประชาชนเพิ่มขึ้น ผู้ผลิตสามารถขายสินค้าได้เพิ่มขึ้น ผลของการลดภาษี คือ ทำให้ การใช้จ่า ยมวลรวม
เพิ่มขึ้น อุปสงค์มวลรวมเพิ่มขึ้น และราคาสินค้าเพิ่มขึ้น ซึ่งจูงใจให้ผู้ผลิตผลิตสินค้า เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค
ไดม้ ากขนึ้
5. ครูใชส้ ่อื PowerPoint ประกอบเทคนคิ การบรรยาย การวา่ งงาน
5.1 ความหมายของการวา่ งงาน
การว่างงาน หมายถงึ การทีบ่ คุ คลซง่ึ อยใู่ นวัยทำงานหรือมีอายุ 15 ปขี นึ้ ไป มคี วามสามารถ ทจี่ ะทำงานและตอ้ งการทำงาน แต่
ไม่ได้รับการว่าจ้างให้ทำงาน หรือรอฤดกู าลเพาะปลูกใหม่ หรือรองานใหม่ หรือไม่สามารถหางานทเี่ หมาะสมกบั ตนเองได้ เป็นตน้
จึงทำให้ไม่มีงานทำ การว่างงานก่อให้เกิดผลกระทบ ที่สำคัญต่อเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ เพราะว่าการว่างงานจะ
ก่อให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจ เพราะแรงงานไม่ได้ถูกนำมาใช้ในการผลิตอย่างเต็มที่ นอกจากนี้ การว่างงานยังทำให้
แรงงานทว่ี า่ งงานตอ้ งขาดรายไดท้ ่ีจำเป็นในการยังชพี ซ่งึ มีผลทำใหก้ ารกระจายรายได้เหลอ่ื มล้ำมากข้ึน และยังกอ่ ใหเ้ กดิ ปัญหา
ทางสังคมอกี ดว้ ย
5.2 ประเภทของการวา่ งงาน
การจำแนกประเภทของการว่างงานจะช่วยให้เกิดความเข้าใจถึงสาเหตุของการว่างงานได้มากขึ้น และสามารถหามาตรการท่ี
เหมาะสมมาแก้ปญั หาการวา่ งงานนั้น ๆ ได้ การวา่ งงานสามารถจำแนกออกได้ ดงั นี้

1. การว่างงานเนื่องจากวัฏจกั รเศรษฐกิจ การว่างงานประเภทน้ีเกิดขึ้นเน่ืองจากอุปสงค์มวลรวม มีไมเ่ พียงพอทีจ่ ะก่อให้เกิด
งานจำนวนมากพอที่จ้างแรงงานทั้งหมด กล่าวคือ ณ ค่าจ้างที่เป็นอยู่ในขณะน้ัน จำนวนผู้ว่างงานจะมีมากกว่าจำนวนตำแหนง่
งานที่ว่าง การว่างงานประเภทนี้จะเกิดขึ้นในช่วงเศรษฐกิจตกต่ำอำนาจซื้อของประชาชนน้อยลง สินค้าที่ผลิตได้ขายไม่ออก
ผู้ผลิตจะลดการผลติ พรอ้ มกับลดค่าใชจ้ ่าย ตา่ ง ๆ ลงรวมท้งั การเลกิ จ้างแรงงานบางส่วน ทำให้แรงงานบางสว่ นตอ้ งว่างงาน การ
ว่างงานน้ีบางคร้งั เรียกวา่ การวา่ งงานเพราะอปุ สงคม์ วลรวมมไี ม่เพียงพอ
2. การว่างงานช่ัวคราว การว่างงานประเภทน้ีเกิ ดขึ้ นเนื่ องจากการที่ คนงานไม่มีข้อมูลเกีย่ วกบั ตลาดแรงงานเพียงพอ ทั้ง ๆ
ท่ีมีตำแหน่งงานว่างในตลาดแรงงาน แต่คนงานซงึ่ มคี ณุ สมบตั ิเหมาะสมและมคี วามต้องการทำงานกลบั หางานทำไมไ่ ด้ ณ ค่าจ้าง
ที่เป็นอยู่ การที่คนงานไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับตลาดแรงงาน พอเพียง ทำให้คนงานไม่รู้ว่าแหล่งใดต้องการรับคนงานเข้าทำงานบ้าง
หรือบางที่คนงานรู้แหล่งที่จะมีงานให้ทำ แต่ไม่สามารถโยกย้ายไปได้เพราะขาดค่าใช้จ่ายในการโยกย้าย หรืออยู่ระหว่างการ
เจ็บป่วย หรืออาจ อยู่ระหว่างการโยกย้ายไปทำงานในแหล่งใหม่ หรืออาจต้องใช้ระยะเวลานานพอสม ควรกว่าที่จะบรรลุใน
ตำแหน่งใหมไ่ ด้ สาเหตุต่าง ๆ เหล่านท้ี ำให้เกดิ การวา่ งงานช่วั คราวได้
3. การว่างงานตามฤดกู าล การว่างงานประเภทน้เี กดิ ข้นึ เน่อื งจากการผลิตสินคา้ บางชนิด ตอ้ งทำการผลิตเปน็ ฤดกู าล เนื่องจาก
การผลิตสินค้าดังกล่าวถูกกำหนดโดยอิทธิพลของสภาพภูมิอากาศ เช่น การผลิตทางการเกษตร การก่อสร้าง เป็นต้น ในช่วง
ระยะเวลาทีส่ ภาพดินฟ้าอากาศอำนวย การผลิตก็จะ ดำเนินไปด้วยดี แต่ในระยะทส่ี ิ้นสุดฤดูการผลติ เช่น เมื่อส้ินฤดูกาลการทำ
นา การผลติ ทางการเกษตรจะ น้อยลง หรอื เมอ่ื อย่ใู นชว่ งฤดูฝน การก่อสร้างก็อาจมนี ้อยลง ดังน้ัน จึงทำใหก้ ารจา้ งงานลดนอ้ ยลง
และ จำนวนคนว่างงานก็จะเพม่ิ มากขึ้น
4. การวา่ งงานเนอ่ื งจากโครงสร้างของระบบเศรษฐกิจ การวา่ งงานประเภทน้ีเกดิ ข้นึ จาก หลาย ๆ ปจั จัย เชน่ การเปล่ยี นแปลง
ในรสนิยมของผู้บริโภค การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีการผลิต การเพิ่มขึ้นของประชากร เป็นต้น กล่าวคือ เมื่อรสนิยมของ
ผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงจากสินค้าที่เคยใช้อยู่เดิม ไปยังสินค้าชนิดใหม่ ทำให้การผลิตสินค้าชนิดเดิมและการจ้างงานต้องลดลง
คนงานท่ีเคยทำงานอยใู่ น อตุ สาหกรรมเหลา่ นนั้ ต้องกลายเปน็ คนว่างงาน แม้วา่ อตุ สาหกรรมทผ่ี ลิตสนิ ค้าชนิดใหม่จะขยายตัวแต่
คนงานเหล่านัน้ อาจไม่มีความสามารถทีจ่ ะทำงานในอุตสาหกรรมใหม่ได้ เพราะขาดความรแู้ ละความชำนาญในด้ นก รผลติ จงึ
ตอ้ งกล ยเป็นคนว่ งง นในทส่ี ุด ก รเปล่ยี นแปลงท งเทคโนโลยกี รผลติ ท ให้ ก รผลติ สนิ ค้ ต้องใชค้ นง นทม่ี คี ว ม
ช น ญ หรอื มฝี ีมอื ในก รผลติ ดงั นนั้ คนง นทค่ี นุ้ เคยกบั ก รผลติ ทใ่ี ชเ้ ทคโนโลยกี รผลติ สมยั เก่ อ จไม่มคี ว มส ม รถ
ทจ่ี ะท ก รผลติ ทใ่ี ชเ้ ทคโนโลยกี รผลติ สมยั ใหมไ่ ด้ กจ็ ะตอ้ งถกู ปลดออกจ กง นจนกล ยเป็นคนว่ งง น ก รเพมิ่ ขน้ึ ของ
ประช กรกม็ ผี ลกระทบต่อ ก รว่ งง นเช่นเดยี วกนั กล่ วคอื ถ้ อตั ร ก รเพม่ิ ขน้ึ ของประช กรสูงกว่ อตั ร ก รเพม่ิ ขน้ึ
ของก รจ้ งง น อตั ร ก รว่ งง นกจ็ ะเพม่ิ สูงขน้ึ นอกจ กน้ีก รว่ งง นประเภทน้ีอ จจะเกดิ ขน้ึ จ กก รกดี กนั ท งด้ น
เพศ ผวิ เชอ้ื ช ติ ท ใหก้ รเคล่อื นย้ ยแรงง นจ กทอ้ งถนิ่ หน่งึ ไปสอู่ กี ทอ้ งถน่ิ หน่ึง ท ใหใ้ นบ งทอ้ งท่ี หรอื บ งอ ชพี ข ด
แคลนแรงง น แตใ่ นบ งทอ้ งทห่ี รอื บ งอ ชพี มกี รว่ งง นเกดิ ขน้ึ
5. การว่างงานแอบแฝง การว่างงานประเภทน้ีสว่ นมากเกิดขน้ึ ในประเทศที่มปี ระชากรหนาแน่น หรื อในระบบของการผลิตทาง
การเกษตร ซึ่งมีคนงานมากเกินความจำเป็นการว่างงานประเภทนี้ โดยปกติ จะไม่แสดงออกให้เห็นว่ามีการว่างงาน แต่จะดู
เสมอื นวา่ ทกุ คนมงี านทำ คอื ทุกคนตา่ งชว่ ยกันทำงาน แตถ่ ้ามกี ารโยกยา้ ยคนงานออกจำนวนหนึ่งแล้วผลผลิตรวมที่ได้ยังคงเท่า
เดิม แสดงว่าคนงานที่โยกย้าย ออกมามิได้ช่วยเพิ่มผลผลิตแต่อย่างใดเลย หรือมีผลิตผลทางกายภาพหน่วยสุดท้ายเท่ากับศูนย์
เท่ากับว่า มีการว่างงานประเภทแอบแฝงเกิดขึ้น ตัวอยา่ งเชน่ ครอบครวั ชาวนาครอบครัวหน่ึง มีสมาชิกในครอบครัวท่ี อยู่ในวยั
ทำงาน 5 คน ตา่ งช่วยกนั ปลกู ข้าวในผืนที่นาของตน ไดข้ ้าวปลี ะ 7 เกวียน ตอ่ มาสมาชิกในครอบครวั 2 คน ยา้ ยเข้าไปทำงานใน
ตวั เมือง ทำใหเ้ หลอื สมาชกิ ในครอบครัวทท่ี ำการปลกู ข้าวเพียง 3 คน แต่ก็ยังคง ปลกู ขา้ วได้ปลี ะ 7 เกวียนเช่นเดมิ ถา้ เปน็ เช่นนี้ก็
แสดงว่า การปลูกข้าวในผืนที่นาแปลงนั้นโดยใช้คนงาน 5 คนนั้นมากเกินไป เพราะมีคนงาน 2 คนที่มิได้ช่วยทำให้ผลผลิตเพ่ิม
สงู ข้ึน ดังนั้น เทา่ กับว่ามีคนท่ีวา่ งงาน แอบแฝงอยู่ 2 คน
5.3 ผลกระทบของการว่างงาน
การวา่ งงานกอ่ ให้เกดิ ผลเสียทงั้ ในแงข่ องบุคคลที่ว่างงานและในแงเ่ ศรษฐกจิ สว่ นรวม ผลเสียตอ่ เศรษฐกิจส่วนรวม สรปุ ไดด้ ังนี้
1. การกระจายรายไดเ้ หล่ือมล้ำเมื่อมีการว่างงานเกิดขึ้น ผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนโดยตรงคอื บุคคลที่ไม่มีทักษะหรอื ไมม่ ีความ
ชำนาญพิเศษ ซึ่งมกั จะถูกปลดจากงานกอ่ นบุคคลที่มีความรหู้ รอื มีทักษะ บุคคลท่ีเปน็ แรงงานรับจา้ งในโรงงานอตุ สาหกรรมซ่ึง

ตอ้ งปดิ โรงงานหรือกจิ การ เปน็ ตน้ บุคคลเหล่าน้ี เปน็ ผ้ทู ี่ยากจน และมีรายได้จากการทำงานเท่านน้ั ดงั นน้ั เมือ่ ถูกปลดออกจาก
งาน ทำใหข้ าดรายไดท้ ่ีจะ เลี้ยงดูตนเองและครอบครวั จงึ ยิ่งมฐี านะยากจนยง่ิ ขึน้ และเดอื ดร้อนย่งิ กวา่ บคุ คลท่ียังพอมีรายได้จาก
ทรัพย์สินบ้าง เชน่ รายไดจ้ ากดอกเบีย้ รายได้จากอสงั หารมิ ทรัพย์ เปน็ ต้น ผ้วู ่างงานทีไ่ มม่ รี ายได้จากทางอ่ืน จึงจำเปน็ ตอ้ งก่อหน้ี
เพื่อการบริโภคและถ้าว่างงานนานภาระหน้ีสินอาจจะสงู มาก โอกาสที่จะหลุดพ้น จากความยากจนจึงค่อนข้างน้อย ผู้ที่มีฐานะ
ยากจนเมื่อกลายเปน็ ผู้วา่ งงาน จึงยิ่งทำให้ฐานะยากจนลงไปอีก คนจนยิง่ จนมากข้ึน จึงยิ่งทำให้การกระจายรายได้เหล่ือมล้ำกนั
มากขนึ้
2. การใช้ประโยชนจ์ ากทรัพยากรแรงงาน เมือ่ เกิดการว่างงาน ทำใหป้ ระเทศไมส่ ามารถใช้ ทรพั ยากรแรงงานท่ีประเทศมีอยู่ให้
เกิดประโยชน์ได้อย่างเต็มที่และเมื่อได้คำนึงถึงการที่ว่า บุคคล ได้เจริญเติบโตจนมีอายุอยู่ในวัยทำงานมีสุขภาพดีและมี
ความสามารถทจ่ี ะทำงานได้ท้ังเอกชนและรัฐบาล จะต้องเสียคา่ ใช้จา่ ยอยา่ งมากในการใหก้ ารศกึ ษาและฝกึ อบรมตา่ ง ๆ ซ่ึงนบั ว่า
เป็นการลงทุนในทรัพยากรมนุษย์ แต่เมื่อบุคคลนั้นกลายเป็นคนว่างงานไม่มีงานทำไม่ได้ใช้ความรู้ความสามารถของตนให้เกิด
ประโยชน์แก่ ตนเองและประเทศชาติแล้ว ก็นับได้ว่าเอกชนและประเทศไม่ได้รับประโยชน์จากการลงทุนดังกล่าว หรือ ได้รับ
ประโยชนน์ ้อยกวา่ ท่ีควรจะเปน็
3. การกอ่ ใหเ้ กดิ ปัญหาสังคมต่าง ๆ เมือ่ บุคคลวา่ งงานไมม่ รี ายไดจ้ ะตอ้ งดิ้นรนหาเงนิ มาใช้จ่ายดว้ ยวิธีการต่าง ๆ อาจไม่ถูกต้อง
ตามกฎหมาย เช่น การลักขโมย การปล้นจี้ชิงทรัพย์ การค้าขายสิ่งผิดกฎหมาย การหลอกลวง เป็นต้น ทำให้เกิดปัญหา
อาชญากรรมต่าง ๆ ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินมีน้อยลง บุคคลที่ว่างงานจะมีภาวะความเครียดทางด้านจิตใจ สูญเสีย
ความเชื่อมั่นและยังก่อให้เกิดปัญหาครอบครัว เมื่อไม่สามารถเลี้ยงดูสมาชิกในครอบครัวได้ ทำให้เกิดภาวะครอบครัวแตกแยก
เมื่อพ่อแม่ต้องเดินทางไป หางานทำที่อื่น ทิ้งบุตรหลานให้อยู่กับญาติพี่น้อง ทำให้ขาดความอบอุ่น มีพฤติกรรมก้าวร้าว เกิด
ปัญหา ตดิ ยาเสพติด หลงผดิ ในอบายมุขตา่ ง ๆ ซ่ึงทำให้เดก็ เหลา่ นั้นเติบโตเปน็ ผใู้ หญท่ ่ีมปี ัญหา ดงั น้นั ปัญหาการวา่ งงานในอัตรา
สูงและเป็นเวลานาน จึงก่อใหเ้ กิดปญั หาสงั คมตามมาอีกมากมาย
4. ฐานะการคลังของรัฐบาลเลวลง เมอื่ รายได้ท่ีแทจ้ ริงของประเทศลดลง เพราะคนว่างงานมากข้ึน รฐั บาลจะเกบ็ ภาษเี งินได้ได้
ลดลง ไม่ว่าจะเป็นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหรือภาษีเงินได้นติ ิบุคคล ในภาวะ ที่มีคนว่างงานมาก การใช้จ่ายเพ่ือการบริโภคจะ
ลดลง ทำใหร้ ฐั บาลจดั เกบ็ ภาษชี นดิ อืน่ ๆ ไดล้ ดลงเช่นกัน เชน่ ภาษีมูลค่าเพม่ิ ภาษสี รรพสามติ เปน็ ต้น รายไดจ้ ากภาษอี ากรของ
รฐั จงึ ลดลงมาก แต่รฐั บาลจะต้อง มรี ายจา่ ยเพิ่มขน้ึ ในการชว่ ยเหลอื ผู้ที่ว่างงาน รายจา่ ยสงเคราะห์ผู้มีรายได้น้อยและรายจ่ายใน
การรักษาความสงบเรียบร้อยในประเทศ เช่น รายจ่ายเพื่อการปราบปรามอาชญากรรม การกระทำที่ผิดกฎหมาย เป็นต้น
งบประมาณของรัฐจึงอาจเป็นงบประมาณขาดดุล ทำให้รัฐบาลต้องกู้ยืมเงินมาใช้จ่าย ตามงบประมาณ ซึ่งถ้าการว่างงานเป็น
ปัญหาที่รุนแรงและยืดเยื้อยาวนาน รัฐบาลอาจจำเป็นต้องกู้ยืมมา ใช้จ่ายแทบทุกปีงบประมาณ ก็จะส่งผลให้หนี้ของรัฐบาล
เพมิ่ พนู ข้นึ อนั เปน็ ภาระทตี่ ้องชดใชต้ ่อไป
5. การสั่นคลอนในเสถียรภาพของรัฐบาล การที่ประชาชนว่างงานมาก รัฐบาลต้องแก้ปัญหา การว่างงาน แต่ถ้ารัฐบาลไม่
สามารถแก้ปัญหาการว่างงานได้ จะเกิดปัญหาต่าง ๆ ทางสังคมที่รุนแรงมากขึ้น อาจจะทำให้ประชาชนไม่พอใจการบริหาร
ประเทศของรัฐบาล อาจจะทำให้มีการประท้วงรัฐบาล หรือ เรียกร้องให้รัฐบาลลาออก จนถึงขั้นขับไล่รัฐบาล ทำให้ต้องมีการ
เปล่ยี นแปลงรัฐบาลก็ได้
6. การบริโภคและการลงทุนลดลง เมื่ออัตราการว่างงานสูงขึ้น รายได้ของแรงงานลดลง ทำให้คนที่ว่างงานเหล่านั้นต้องลด
รายจ่ายในการบริโภคและความสามารถในการออมก็ลดลง เมื่อรายจา่ ยใน การบริโภคลดลง ก็จะมีผลทำให้ปริมาณสินค้าท่ขี าย
ไม่ออกมมี ากข้ึน ผู้ผลิตตอ้ งผลิตลดลง ลดการลงทุน และการจา้ งงานลง ทำให้การว่างงานรุนแรงมากขึ้น อุปสงคม์ วลรวมจงึ ลดลง
ไปอกี ทำใหภ้ าวะเศรษฐกิจ ซบเซาหนกั ขน้ึ การวา่ งงานยิ่งรุนแรงมากขน้ึ
5.4 การแก้ปัญหาการว่างงาน
1. แนวทางการแก้ปัญหาการวา่ งงานในระยะสน้ั
1.1 การแก้ปัญหาการว่างงานโดยใช้นโยบายการเงิน การแก้ปัญหาการว่างงานโดยใช้นโยบายการเงินแบบขยายตัว เพื่อเพิ่มอปุ
สงค์มวลรวม ธนาคารกลางจะเพิ่มปริมาณเงิน ลดอัตราดอกเบี้ย ให้แก่ธนาคารพาณิชย์และบริษัทเงินทุน ผ่อนคลายการจำกัด
การใหส้ ินเชือ่ ของธนาคารพาณิชย์ เป็นตน้

ธนาคารกลางเพิ่มปริมาณเงินโดยใช้มาตรการต่าง ๆ ได้แก่ การรับซือ้ พันธบัตรจากสถาบัน การเงินและเอกชน ลดอัตราเงนิ สด
สำรองตามกฎหมายและลดอัตรารับช่วงซื้อลดตั๋วสัญญาใช้เงิน เป็นต้น เมื่อปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น ทำให้อัตรา
ดอกเบ้ยี ในตลาดเงินลดลง การลงทุนของหน่วยธรุ กจิ เพม่ิ ข้ึน การจา้ งงานเพ่มิ ขนึ้ และการว่างงานลดลง
เมอื่ เปรยี บเทียบระหวา่ งนโยบายการเงินกับนโยบายการคลงั แลว้ นโยบายการคลงั สามารถ แก้ปญั หาการวา่ งงานในชว่ งเศรษฐกจิ
ตกต่ำไดม้ ากกวา่ นโยบายการเงิน เพราะการใช้นโยบายการเงิน อาจเผชิญกับดกั สภาพคล่อง (การเปล่ยี นแปลงของปรมิ าณเงินไม่
ทำให้อัตราดอกเบี้ยเปลี่ยนแปลง) แต่การใช้นโยบายการคลังโดยการเพิ่มการใช้จ่ายของรัฐบาลจะเป็นการเพิ่มอุปสงค์มวลรวม
โดยตรง จงึ ทำให้นโยบายการคลงั แบบขยายตวั มีประสิทธภิ าพในการเพิม่ อปุ สงคม์ วลรวม และแก้ปญั หาการวา่ งงาน ได้ดี ในช่วง
ท่เี ศรษฐกิจตกตำ่
1.2 การแก้ปญั หาการวา่ งงานโดยใช้นโยบายการคลัง รฐั บาลสามารถใช้นโยบายการคลงั ในการแกป้ ญั หาการว่างงานอนั เกิดจาก
อุปสงคม์ วลรวมลดลง การใชน้ โยบายการคลังในการแก้ปญั หา การวา่ งงาน หมายถึง การเพ่มิ การใชจ้ า่ ยและการลดการเก็บภาษี
ของรัฐบาล การดำเนินนโยบายงบประมาณ แบบขาดดุล การกูเ้ งนิ มาใช้จ่ายทงั้ จากในประเทศและต่างประเทศ
ทางด้านการใชจ้ ่ายของรัฐบาล รัฐบาลควรเพิ่มการใช้จ่ายที่ทำให้เกิดการจ้างงานเพิ่มข้ึน อาจกระทำโดยการเพิ่มการใช้จ่ายใน
ด้านการก่อสร้างสิ่งสาธารณูปโภค และเพิ่มรายจ่ายประเภทเงินโอน เป็นต้น การสร้างสิ่งสาธารณูปโภค ได้แก่ การสร้างถนน
เขื่อน ทางระบายน้ำ สวนสาธารณะ การไฟฟ้า การประปา เป็นต้น การเพิ่มการใช้จ่ายในการสร้างสิ่งสาธารณูปโภค ทำให้ผู้
วา่ งงานมีงานทำและมีรายได้มากขน้ึ ซึง่ จะนำไปใชจ้ า่ ยในการซือ้ สนิ คา้ และบริการทำใหอ้ ุปสงคม์ วลรวมเพมิ่ ขนึ้ ในทีส่ ุดจะมีผลทำ
ให้ผู้ผลติ เพิ่ม การผลิตและการจ้างงานมากขึ้น ส่วนรายจ่ายประเภทเงินโอน ได้แก่ เงินสงเคราะห์คนชรา คนพิการ เป็นต้น การ
เพิ่มการใชจ้ ่ายประเภทเงนิ โอนเป็นการเพ่มิ รายรบั และอำนาจซ้ือให้แกบ่ คุ คลผไู้ ด้รับการสงเคราะห์และเมือ่ บคุ คลเหลา่ นน้ั จับจา่ ย
ใช้สอยเงินที่ได้รับจากการสงเคราะห์ก็จะทำให้อุปสงค์มวลรวมสำหรับสินค้าและบริการเพิ่มมากขึ้น ทำให้ผู้ผลิตขยายการผลติ
และจ้างงานมากข้นึ
ทางด้านรายได้ การที่รัฐบาลลดการจัดเก็บภาษี อาทิ การลดภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจะส่งผลให้ประชาชนมีรายได้สุทธิส่วน
บุคคลมากข้ึน ประชาชนมีเงินจบั จ่ายใชส้ อยเพื่อการบริโภคเพิ่มข้ึนทำใหม้ ีความต้องการในการซื้อสินค้าและบรกิ ารมากขึ้น การ
ลดภาษีเงินได้นิติบุคคล อัตราภาษี นำเข้าวัตถุดิบ เป็นการเพิ่มแรงจูงใจให้กับผู้ผลิตมาผลิตสินค้าเพิ่มขึ้น การลดอัตราภาษี
สรรพสามิต อัตราภาษี มูลค่าเพิ่ม จะทำให้ราคาสินค้าและบริการต่าง ๆ ถูกลง กระตุ้นให้ผู้บริโภคซื้อสินค้ามากขึ้น ผู้ผลิตเพม่ิ
การผลิต และมีการจ้างงานมากขน้ึ ทำให้อุปสงคม์ วลรวมเพ่มิ ขึ้น ปัญหาการวา่ งงานจะบรรเทาลง
2. แนวทางแก้ปัญหาการว่างงานในระยะยาว การแก้ปัญหาการว่างงานโดยการเพิ่ม อุปสงค์มวลรวมที่กล่าวมาข้างต้นเป็น
มาตรการแก้ปัญหาการว่างงานในระยะสั้น การแก้ไขปัญหาการว่างงาน จะได้ผลดีต้องมีมาตรการแก้ปัญหาการว่างงานในระยะ
ยาวควบคูไ่ ปด้วย เช่น การฝึกอบรมแรงงานให้มี ประสิทธิภาพในการผลิตสูงขึ้น เพื่อสอดคล้องกับความก้าวหน้าของเทคโนโลยี
การผลิต การจัดระบบการศึกษา เพื่อให้ผู้สำเร็จการศกึ ษามีฝมี ือและความชำนาญสอดคล้องกบั ความตอ้ งการของตลาดแรงงาน
การพัฒนา ท้องถ่นิ ต่าง ๆ เพ่ือให้มีความเจรญิ ท่ไี มแ่ ตกต่างกันมากข้ึน อันจะลดอตั ราการเคล่อื นย้ายของแรงงาน จากแหล่งหน่ึง
ไปยังอกี แหล่งหน่ึง ท่ีอาจก่อให้เกิดปัญหาการวา่ งงานในบางทอ้ งทไี่ ด้ เช่น การพัฒนาชนบท เพ่ือปอ้ งกนั มิใหแ้ รงงานอพยพเข้าสู่
ตัวเมือง ซึ่งอาจก่อให้เกิดปัญหาการว่างงานในตัวเมืองได้ นอกจากนี้ ก็ต้องจัดหาข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับตลาดแรงงานเพื่อทำให้
แรงงานมีโอกาสทีจ่ ะไดร้ บั บรรจตุ ำแหน่งงานทีว่ ่างอยู่
สรุป เงินเฟ้อ หมายถึง ภาวะที่ราคาสินค้าโดยทั่ว ๆ ไปเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ อย่างต่อเนื่อง เครื่องมือที่ใช้วัดการเปลี่ยนแปลงของ
ราคา คอื ดัชนีราคา ซง่ึ เปน็ เครอ่ื งมือวดั ราคาเฉล่ยี ของสนิ คา้ จำนวนหน่งึ ของปใี ดปีหนงึ่ เปรยี บเทยี บกบั ราคาเฉลี่ยของสินค้าในปี
ฐาน สำหรับสาเหตุของการเกิด เงินเฟ้อแบ่งได้ 2 ประการ คือ เกิดจากแรงดึงของอุปสงค์ และเกิดจากแรงผลักดันทางด้าน
อุปทาน ในการแก้ปัญหานี้ สามารถใช้นโยบายการเงิน นโยบายการคลัง และนโยบายอื่น ๆ เช่น การใช้ นโยบายการเงินแบบ
เขม้ งวด หรือใชน้ โยบายการคลงั แบบหดตวั เพื่อลดปริมาณเงินในระบบ เศรษฐกิจให้นอ้ ยลง เปน็ ต้น
เงินฝืด เป็นภาวะที่ระดับราคาสินค้าโดยทั่ว ๆ ไปลดลงเรื่อย ๆ และต่อเนื่อง สาเหตุ ที่ทำให้เกิดก็คือ อุปสงค์มวลรวมน้อยกว่า
อุปทานมวลรวม สินค้าเกิดล้นตลาด ผู้ผลิตจึงลดปริมาณ การผลิตให้น้อยลง จึงเกิดปัญหาการว่างงานตามมา การแก้ปัญหานี้
สามารถทำได้โดยการใช้ นโยบายการเงินแบบผอ่ นคลาย หรือใชน้ โยบายการคลงั แบบผอ่ นคลาย เปน็ ต้น

ส่วนปญั หาการวา่ งงานเกิดขึ้นในระบบเศรษฐกจิ จะทำใหเ้ กิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจข้ึน สาเหตุของการว่างงาน มี 3 สาเหตุ
คือ การว่างงานตามปกติ การว่างงานตามโครงสร้าง และ การว่างงานตามวฏั จักรธุรกิจ ในการแก้ปัญหาโดยใชน้ โยบายการเงนิ
การใช้นโยบายการคลัง หรือนโยบายอื่น ๆ เช่น การลดค่าเงิน การเพิ่มอุปสงค์มวลรวม หรือการฝึกอบรมแรงงานให้มี
ประสทิ ธภิ าพในการผลติ เปน็ ต้น
6. ครูให้ผู้เรยี นร่วมกนั อภิปรายในหวั ขอ้ “แนวทางการแกป้ ญั หาของการว่างงาน”

ขน้ั สรุปและการประยุกต์
7. ครสู รุปบทเรียน โดยใชส้ อ่ื PowerPoint และเปิดโอกาสให้นกั เรียนได้ซกั ถามข้อสงสยั
8. ผ้เู รียนทำกิจกรรมใบงาน และแบบประเมนิ ผลการเรยี นรู้

สอื่ และแหลง่ การเรยี นรู้

1. หนังสอื เรียนหลกั เศรษฐศาสตร์ รหสั วิชา 30200-1001 ของสำนกั พมิ พเ์ อมพนั ธ์
2. สื่อ PowerPoint
3. แบบประเมนิ ผลการเรยี นรู้
4. กิจกรรมการเรยี นการสอน
5. แบบประเมินกิจกรรมใบงาน

หลกั ฐาน

1. บันทึกการสอนของผ้สู อน
2. ใบเช็ครายชือ่
3. แผนจดั การเรียนรู้
4. การตรวจประเมินผลงาน

การวดั ผลและการประเมินผล

วธิ วี ดั ผล
1. สังเกตพฤติกรรมรายบุคคล
2. ตรวจกิจกรรมสง่ เสรมิ คณุ ธรรมนำความรู้
3. ตรวจแบบประเมนิ ผลการเรยี นรู้ แบบฝกึ ปฏิบตั ิ
4. ตรวจใบงาน
เคร่ืองมอื วัดผล
1. แบบสังเกตพฤติกรรมรายบุคคล
2. แบบประเมนิ ผลการเรยี นรู้ และแบบฝึกปฏบิ ตั ิ
3. แบบประเมินกจิ กรรมใบงาน

เกณฑก์ ารประเมินผล
1. เกณฑ์ผา่ นการสงั เกตพฤตกิ รรมรายบุคคล ตอ้ งไมม่ ีช่องปรับปรงุ
2. แบบประเมนิ ผลการเรยี นรมู้ เี กณฑผ์ า่ น และแบบฝกึ ปฏิบตั ิ 50%
3. แบบประเมินกิจกรรมใบงานมเี กณฑผ์ ่าน 50%

กจิ กรรมเสนอแนะ

1. แนะนำใหผ้ ู้เรยี นอา่ นทบทวนเนอ้ื หาเพมิ่ เตมิ
2. ควรศกึ ษาขอ้ มูลเพม่ิ เติมจากส่ืออินเทอร์เนต็

แบบเรยี นรหู้ น่วยการเรยี นรู้ที่ 12

ตอนท่ี 1 จงตอบคำถามตอ่ ไปนี้

1. ภาวะเงินเฟอ้ หมายความวา่ อย่างไร

.....................................................................................................................................................................................

.....................................................................................................................................................................................

2. เงินเฟ้อมหี ลายระดบั ถ้าแบ่งตามขนาดของความรนุ แรงมีกรี่ ะดบั อะไรบา้ ง

.....................................................................................................................................................................................

3. อธบิ ายสาเหตุของการเกดิ เงนิ เฟอ้

.....................................................................................................................................................................................

4. เม่ือเกดิ เงนิ เฟ้อจะทำให้ฐานะของคนบางกลมุ่ ไดป้ ระโยชน์ บางกลุ่มเสยี ประโยชน์ บอกกลุ่มทไ่ี ด้ ประโยชน์

.....................................................................................................................................................................................

.....................................................................................................................................................................................

5. ภาวะเงินฝดื หมายความวา่ อย่างไร

.....................................................................................................................................................................................

6. อธบิ ายสาเหตขุ องการเกดิ ภาวะเงินฝดื

.....................................................................................................................................................................................

7. เมือ่ เกิดภาวะเงนิ ฝืดกลุ่มท่ีเสยี ประโยชนค์ ือใคร

.....................................................................................................................................................................................

8. เคร่อื งมือทใ่ี ชว้ ดั การเปล่ียนแปลงของราคาคอื สิ่งใด

.....................................................................................................................................................................................

9. อธิบายมาตรการในการแกป้ ัญหาเงินเฟ้อ

.....................................................................................................................................................................................

.....................................................................................................................................................................................

10. อธบิ ายมาตรการในการแกป้ ัญหาเงินฝืด

.....................................................................................................................................................................................

ตอนท่ี 2 จงเลือกข้อทีถ่ กู ต้องทีส่ ุดเพยี งข้อเดยี ว

1. การวัดอัตราเงินเฟอ้ วัดจากสิ่งใด

ก. ระดับราคาสนิ คา้ โดยทวั่ ไป

ข. ดัชนรี าคาของผบู้ รโิ ภค

ค. ดัชนรี าคาขายสง่

ง. ดัชนีราคาที่ใช้ปรับผลติ ภณั ฑ์ภายในประเทศเบ้อื งต้น

จ. ถูกทกุ ขอ้

2. การที่ราคาสนิ คา้ จำเปน็ ต่อการบรโิ ภคเพม่ิ สูงขึ้นอย่างต่อเน่ืองและรวดเรว็ จะเกิดปัญหาขอ้ ใด

ก. เพ่มิ คา่ เงนิ บาท ข. เงินเฟอ้ ด้านอุปสงค์

ค. เงนิ เฟอ้ ง. เงนิ เฟอ้ ด้านอปุ ทาน

จ. เงินเฟอ้ ด้านตน้ ทนุ

3. การพจิ ารณาว่าระบบเศรษฐกิจเกิดภาวะเงนิ เฟ้อด้านอุปทานพจิ ารณาจากการเปลีย่ นแปลงข้อใด

ก. ดัชนีสินเชอื่ ข. ดัชนกี ารลงทุน

ค. ดชั นรี าคาสนิ ค้าผผู้ ลติ ง. ดัชนรี าคาสนิ คา้ ผู้บรโิ ภค

จ. อตั ราแลกเปลย่ี นเงินตรา

4. ดชั นรี าคาผูบ้ ริโภค ณ ปีท่เี ป็นปีฐานจะมีค่าเท่าใด

ก. 115.0 ข. 100.0

ค. 110.0 ง. 1.00

จ. 0.00

5. เงินเฟอ้ ประเภทใดท่ีช่วยกระตนุ้ ระบบเศรษฐกจิ

ก. เงนิ เฟอ้ อย่างปานกลาง ข. เงนิ เฟ้ออยา่ งออ่ น

ค. เงินเฟอ้ อย่างรุนแรง ง. เงนิ เฟ้อดา้ นอปุ สงค์

จ. เงนิ เฟอ้ ด้านอปุ ทาน

6. ในภาวะท่รี ะบบเศรษฐกิจมกี ารวา่ งงานสงู การเพิม่ ข้นึ ของอุปสงคม์ วลรวมจะมผี ลตอ่ ราคาอย่างไร

ก. ราคาสนิ คา้ เพิม่ ขนึ้ อย่างมาก ข. ราคาสนิ คา้ เพ่ิมขนึ้ ปานกลาง

ค. ราคาสินค้าอาจไม่เปล่ียนแปลง ง. ราคาสนิ ค้าลดลงอยา่ งมาก

จ. ราคาสินค้าลดลงเพยี งเล็กนอ้ ย

7. การลดการผลิตลงอยา่ งมากอาจมผี ลให้เกดิ ส่งิ ใด

ก. เงนิ ฝดื ข. เงนิ เฟอ้ ด้านอปุ สงค์

ค. เงินเฟอ้ ด้านอปุ ทาน ง. ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ

จ. ภาวะเศรษฐกิจหดตัว

8. เม่อื เกิดภาวะเงนิ เฟอ้ ผทู้ ไ่ี ดร้ บั ประโยชนค์ ือกลุม่ คนในข้อใด

ก. ผมู้ รี ายไดป้ ระจำและพอ่ ค้า ข. ผูม้ ีรายได้ประจำและเกษตรกร

ค. รัฐบาลและข้าราชการ ง. ลูกหน้ีและเกษตรกร

จ. เจา้ หนแี้ ละผฝู้ ากเงนิ

9. ในขณะท่ีเศรษฐกิจเกดิ เงินเฟ้อควรใช้นโยบายการเงินแบบใด
ก. แบบผ่อนคลาย เพือ่ ลดปรมิ าณเงิน ข. แบบผ่อนคลาย เพือ่ เพิม่ ปรมิ าณเงิน
ค. แบบเข้มงวด เพอ่ื ลดปริมาณเงนิ ง. แบบเขม้ งวด เพ่อื เพิม่ ปริมาณเงนิ
จ. แบบสมดลุ

10. เพือ่ กระตุ้นใหร้ ะบบเศรษฐกจิ ขยายตวั เพิม่ ขึ้น รฐั บาลควรดำเนนิ นโยบายในขอ้ ใด

ก. นโยบายการเงนิ ข. นโยบายการคลัง

ค. นโยบายสง่ เสรมิ การลงทุน ง. นโยบายการคา้ ระหว่างประเทศ

จ. ถกู ทกุ ขอ้

ตอนท่ี 3 หาข่าวเกีย่ วกับการเกิดเงินเฟ้อ และวิเคราะห์มาตรการท่ีรัฐบาลนำมาใชใ้ นการแก้ปัญหา
ดงั กลา่ ว (15 – 20 บรรทดั )

.....................................................................................................................................................................................
.....................................................................................................................................................................................
.....................................................................................................................................................................................

ใบงานที่ 1

ใหแ้ บง่ กลุม่ เพื่อทำการวิเคราะหเ์ รอ่ื ง “การแก้ไขภาวะเงนิ เฟ้อจำเปน็ ต้องศึกษาตน้ เหตขุ องเงินเฟ้อ ใหถ้ กู ต้อง จงึ จะเลือกใช้
มาตรการแกไ้ ขให้บรรลผุ ลและไมส่ ร้างความเสยี หาย” ผเู้ รียนเห็นดว้ ยหรอื ไม่กบั ข้อความดังกล่าว จากนั้นนำเสนอหนา้ ชน้ั
เรียน
.....................................................................................................................................................................................
.....................................................................................................................................................................................
.....................................................................................................................................................................................
.....................................................................................................................................................................................

ใบงานที่ 2

ให้ผู้เรียนแบ่งกลุ่มเพื่อทำการวิเคราะห์ “ผลกระทบของการเพิ่มขึ้นของปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจ ว่ามีผลกระทบต่อ
ระบบเศรษฐกิจอยา่ งไร” จากนัน้ นำเสนอหนา้ ชัน้ เรยี น.
....................................................................................................................................................................................
.....................................................................................................................................................................................
.....................................................................................................................................................................................
.....................................................................................................................................................................................

ใบงานท่ี 3

“เศรษฐกิจไทยในปีนี้คาดว่าจะมีอัตราการเติบโต 8.5% และคาดว่าจะเกิดภาวะเงินเฟ้อในอัตรา ไม่ต่ำกว่า 5% ให้
เสนอแนะรฐั บาลในการควบคุมภาวะเงินเฟอ้ และใชม้ าตรการทางการเงิน” ให้ผเู้ รียนช่วย กันวิเคราะหข์ อ้ ความข้างตน้ และ
สง่ ครผู ู้สอนในช้ันเรยี น
.....................................................................................................................................................................................
.....................................................................................................................................................................................
.....................................................................................................................................................................................
....................................................................................................................................................................................

บนั ทึกหลังการสอน

ข้อสรุปหลังการสอน
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
ปญั หาทพ่ี บ
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
แนวทางแก้ปญั หา
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................

แผนการจัดการเรียนรแู้ บบบูรณาการท่ี 15 หน่วยที่ 13

รหัส 30200-1001 หลกั เศรษฐศาสตร์ สอนครัง้ ท่ี 15
ชอื่ หนว่ ย การค้าระหวา่ งประเทศ
จำนวน 4 ชั่วโมง

สาระสำคญั

ในระบบเศรษฐกิจแบบเปิดประเทศจะมีการติดต่อค้าขายและดำเนนิ กจิ กรรมทางเศรษฐกิจร่วมกัน ไม่วา่ จะเป็น การส่งออก การ
นำเข้าสินค้า การลงทุนจากต่างประเทศ การเดินทางไปทำงานในต่างประเทศ หรือการเดินทางไปท่องเที่ยว ต่างประเทศ
กิจกรรมทางเศรษฐกิจเหล่านี้เปน็ ผลเน่ืองมาจากนโยบายการค้าต่างประเทศ อัตราแลกเปลี่ยน อัตราดอกเบี้ย และยังก่อใหเ้ กิด
ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกจิ อีกด้วย

จดุ ประสงคก์ ารเรียนรู้

1. อธบิ ายความหมายและความสำคญั ของการค้าระหวา่ งประเทศได้
2. อธิบายเกี่ยวกบั ตลาดเงินตราตา่ งประเทศและการกำหนดอตั ราแลกเปลย่ี นเงินตราระหวา่ งประเทศได้
3. อธิบายพัฒนาการการกำหนดอตั ราแลกเปล่ยี นเงนิ ตราต่างประเทศของไทยได้
4. อธบิ ายเก่ยี วกบั การแก้ไขปญั หาดลุ การชำระเงินได้

สมรรถนะประจำหน่วย

แสดงความรูใ้ นเร่อื งการค้าระหว่างประเทศ

สาระการเรยี นรู้

1. ความหมายและความสำคญั ของการคา้ ระหว่างประเทศ
2. ประโยชนข์ องการค้าระหวา่ งประเทศ
3. ตลาดเงินตราตา่ งประเทศและการกำหนดอัตราแลกเปลยี่ นเงินตราต่างประเทศ
4. การกำหนดอตั ราแลกเปลี่ยนเงนิ ตราตา่ งประเทศของไทย
5. ดลุ การชำระเงินระหวา่ งประเทศ

กิจกรรมการเรยี นการสอน

ขัน้ นำเข้าสูบ่ ทเรียน
1. ครูกล่าวว่า การค้าระหว่างประเทศเป็นช่องทางที่ทำให้ประเทศได้รับสินค้าและบริการ วัตถุดิบต่าง ๆ และ เทคโนโลยีการ
ผลิตทีท่ ันสมัยที่ประเทศไม่สามารถผลิตได้ หรือผลิตได้ไมท่ ัดเทียมกบั คู่ค้า หรือสินค้าท่ีผลิต ได้ไม่เพยี งพอกับความต้องการของ
คนในประเทศ นอกจากนี้ยังเป็นชอ่ งทางทีท่ ำใหป้ ระเทศได้กระจาย สินค้าตา่ ง ๆ ที่ประเทศผลิตได้เกินความตอ้ งการในประเทศ
การคา้ ระหวา่ งประเทศจะเก่ียวข้องกบั การแลกเปลี่ยนเงินตราตา่ งประเทศ เพอ่ื การชำระเงินระหวา่ งประเทศ
2. ครูกล่าวว่า ในหน่วยการเรียนรู้ที่ 13 นี้ ผู้เรียนจะได้เรียนรู้การค้าระหว่างประเทศ เพื่อนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใน
ชีวติ ประจำวนั

ขน้ั สอน
3. ครใู ชส้ ือ่ PowerPoint ประกอบเทคนคิ การบรรยายความหมายและความสำคัญของการคา้ ระหวา่ งประเทศ
3.1 ความหมายของการค้าระหว่างประเทศ
การค้าระหว่างประเทศ หมายถึง การซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการระหว่างประเทศหนึ่ง กับอีกประเทศหนึ่ง โดยแตล่ ะ
ประเทศมีทรัพยากรและความชำนาญในการผลิตสินค้าและบริการ แตกต่างกัน และจำเป็นต้องติดต่อพ่ึงพาอาศัยซึ่งกันและกนั
การค้าระหว่างประเทศจะประกอบดว้ ย ผูซ้ ้อื และผขู้ าย โดยผู้ซอ้ื เป็นผูต้ ดิ ต่อนำสนิ ค้าและบริการเข้าประเทศ สว่ นผู้ขายเป็นผู้

ติดต่อส่งสินค้าและบริการ ออกนอกประเทศ ทั้งผู้ซื้อและผู้ขายจะได้รับผลประโยชน์ร่วมกัน การซื้อขายแลกเปลี่ยนนี้อาจ
กระทำโดย รฐั บาลหรือเอกชนกไ็ ด้ การคา้ ระหวา่ งประเทศทำใหเ้ กดิ การแลกเปลย่ี นเงินตราตามอตั ราการแลกเปล่ยี น ของแต่ละ
ประเทศ
3.2 ความสำคญั ของการคา้ ระหว่างประเทศ
ในปัจจุบันการค้าระหว่างประเทศมีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจของทุก ๆ ประเทศ เนื่องจาก ทรัพยากรและวัตถุดิบที่จะ
นำมาใช้ในการผลติ ของแต่ละประเทศไม่เหมือนกนั จงึ ต้องมีการติดตอ่ ซ้อื ขาย แลกเปล่ียนกนั เพ่ือให้ประชากรมีทางเลือกในการ
บริโภคสินค้าที่หลากหลายและการดำเนินงานของ เศรษฐกิจเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้การค้าขายระหว่าง
ประเทศอย่างเสรีจะทำใหผ้ ูบ้ ริโภค ภายในประเทศได้รับประโยชน์จากราคาสินค้าในประเทศต่ำกว่าราคาสินคา้ จากต่างประเทศ
และผลักดัน ให้มกี ารพฒั นาคณุ ภาพและราคาของผูผ้ ลติ ในประเทศให้สามารถแข่งขนั กับตลาดโลกได้ อยา่ งไรกต็ าม ประเทศต่าง
ๆ ยังใชน้ โยบายการกดี กนั ทางการค้า หรือข้อจำกัดในการส่งสินค้าออกจำหนา่ ย ทำให้ประโยชน์ ของการคา้ เสรีลดน้อยลง ดงั น้ัน
ประเทศคู่ค้าจึงต้องร่วมมือกันเพื่อให้การดำเนินงานทางด้านการค้าบรรลุผล ตามเป้าหมาย การค้าระหว่างประเทศจึงมี
ความสำคญั ตอ่ เศรษฐกจิ ของทุก ๆ ประเทศ
ความสำคัญของการคา้ ระหวา่ งประเทศ สามารถสรปุ ได้ดงั นี้
1. ทำใหป้ ระชากรของประเทศต่าง ๆ มีสนิ ค้าและบริการไวบ้ ริโภคหลากหลายชนดิ มากข้ึน
2. มีความชำนาญในการผลิตสินค้าท่ีตนถนัดมากขึ้น ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนวิธีการในการผลิต เพื่อให้สามารถผลิตได้มากขึน้
ขยายปริมาณการผลิตสินคา้ เพอ่ื ส่งออกได้มากขึ้น
3. มีผลต่อการพฒั นาเทคโนโลยี เนือ่ งจากการติดตอ่ คา้ ขายทำให้ประชากรของประเทศนั้น ๆ มีความรมู้ ากขึ้น ซงึ่ เป็นผลดตี อ่ การ
พัฒนาความรแู้ ละเทคโนโลยีใหม่ ๆ ประเทศเกษตรกรรมหลายประเทศ ไดป้ รบั ปรงุ วิธกี ารผลิต จัดตั้งนิคมอตุ สาหกรรม พัฒนาที่
อยอู่ าศยั ปรบั ปรงุ วตั ถดุ ิบทางการเกษตรในประเทศ ให้ดีข้นึ
4. การค้าเสรกี อ่ ให้เกิดการแข่งขันของผู้ผลิตในตลาดโลก ทำใหร้ าคาสินคา้ ลดต่ำลงสำหรับ การบริโภคภายในประเทศ
5. การพัฒนาสนิ ค้าเพอื่ การส่งออก สง่ ผลใหเ้ กิดการขยายตวั ทางเศรษฐกจิ และทำใหเ้ กิดการเพมิ่ ขึน้ ของความร่ำรวยของประเทศ
และการพฒั นาทางเศรษฐกจิ และสงั คม
4. ครูใชส้ อ่ื PowerPoint ประกอบเทคนคิ การบรรยายประโยชน์ของการค้าระหว่างประเทศ
การดำเนินนโยบายการค้าระหว่างประเทศโดยเสรี นอกจากจะก่อให้เกิดผลผลิตหรือรายได้ที่แท้จริงเพิ่มขึ้นแล้ว ยังสามารถ
ก่อให้เกิดประโยชนต์ อ่ ประเทศค่คู ้า ดงั นี้
1. ผลต่อแผนการบริโภคและราคาสินค้า เนื่องจากการค้าขายระหว่างประเทศทำให้ จำนวนสินค้าที่อุปโภคและบริโภคมีเพิ่ม
มากขึ้น ความเป็นอยู่ของผู้บริโภคดีขึ้น ทั้งนี้ประเทศต่าง ๆ จะพากัน ผลิตสินค้าที่ตนได้เปรียบมากขึ้นและหันไปนำเข้าสินคา้ ท่ี
ตนไม่มีความถนัดจากประเทศอื่นแทน ทำให้จำนวนสินค้านำเข้ามีมากข้ึน อุปทานของสินค้าเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้ราคาสินค้า
ลดลง
2. ผลต่อคุณภาพและมาตรฐานสินค้า การค้าระหว่างประเทศนอกจากจะทำให้ปริมาณ การผลิตสินค้าและบริการเพื่อสนอง
ความตอ้ งการของผู้บรโิ ภคเพมิ่ ขน้ึ ยงั ทำให้ผ้บู รโิ ภคได้บริโภคสนิ ค้าท่มี ีคุณภาพและมาตรฐานสงู ขึ้นเพราะมกี ารแขง่ ขนั ในด้านการ
ผลติ สูง ทำใหผ้ ู้ผลิตและผสู้ ง่ ออกเขม้ งวด ในคุณภาพและมาตรฐานของสินค้า เน่ืองจากต้องเผชิญกับคแู่ ข่ง ทำให้ต้องพัฒนาการ
ผลติ โดยใชเ้ ทคนคิ และวิทยาการใหก้ ้าวหน้าและทนั สมัย
3. ผลต่อความชำนาญเฉพาะอยา่ ง การค้าระหวา่ งประเทศทำให้ประเทศต่าง ๆ หันมาผลิตสนิ ค้าท่ตี นไดเ้ ปรยี บโดยเปรยี บเทยี บ
แต่เนื่องจากปัจจัยการผลิตมีจำนวนจำกัดจึงต้องดึงปัจจัยการผลิตจากการผลิตสินค้าชนิดอื่น เพราะฉะนั้นปัจจัยการผลิตจะมี
ความชำนาญเฉพาะอยา่ งมากขึน้ เกดิ การประหยดั ต่อขนาด มผี ลให้ต้นทุนตอ่ หนว่ ยลดต่ำลง
4. ผลต่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ การดำเนินนโยบายการค้าระหว่างประเทศที่ สนับสนุนให้ประเทศผลิต
สินค้าที่ตนเองมีความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบนั้น มีผลให้หลาย ๆ ประเทศอาจต้อง ซื้อสินค้าเข้าประเทศเป็นมูลค่ามากกว่า
มูลค่าสินค้าส่งออก ทำให้ดุลการค้าขาดดุลและผลของการขาดดุล เงินตราต่างประเทศ มีสาเหตุสำคัญมาจากอัตราการค้าของ
ประเทศคูค่ า้ ไมเ่ ท่ากนั ในกรณีของประเทศกำลังพัฒนาโดยทั่วไป สนิ ค้าส่งออกมักจะเปน็ สนิ คา้ เกษตรกรรม ซึ่งราคามกั จะตำ่

และขาดเสถยี รภาพ เม่ือเทียบกบั ราคาสินค้านำเขา้ มกั จะเปน็ สินค้าต้นทนุ และสินค้าอุตสาหกรรม ผลทต่ี ามมากค็ ืออัตราการค้า
ของประเทศกำลังพัฒนามีแนวโน้มลดลง นั่นคือมูลค่าจากการส่งสินค้าออกน้อยกว่ามูลค่าของสินค้านำเข้า ส่งผลให้เกิดปัญหา
เสถียรภาพทางเศรษฐกิจของประเทศ คือ ปญั หาดุลการคา้ และดุลการชำระเงนิ ขาดดลุ ในทสี่ ุด
5. ผลต่อประสิทธิภาพของนโยบายทางเศรษฐกิจ การค้าระหว่างประเทศมีขนาดใหญ่ขึ้นเพียงใด การดำเนินนโยบายทาง
เศรษฐกิจภายในประเทศจะมีประสิทธิภาพน้อยลง เช่น เมื่อเกิดปัญหาเงินเฟ้อ นโยบายทางเศรษฐกิจจะมีความยุ่งยากมากขน้ึ
ดังนั้นรัฐบาลต้องมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับเศรษฐกิจและนโยบายทางเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าด้วย ว่ามีผลกระ ทบ
อย่างไรต่อระบบเศรษฐกจิ ภายในประเทศ ทำใหก้ ลไกแกไ้ ขปญั หาดังกล่าวซับซ้อนขึน้
6. ผลต่อรายได้และการจ้างงาน ประเทศที่ต้องพึ่งพาการค้าระหว่างประเทศสูง หากรายได้จาก การส่งออกลดลง แต่รายจ่าย
จากการนำเขา้ สนิ ค้าเพ่ิมขึ้นผลสทุ ธขิ องการนำเข้าสงู กวา่ การสง่ ออกยอ่ มทำให้รายไดแ้ ละการจา้ งงานของประเทศลดลง
5. ครใู ช้ส่อื PowerPoint ประกอบเทคนิคการบรรยายตลาดเงินตราตา่ งประเทศและการกำหนดอัตราแลกเปลีย่ นเงนิ ตรา
ตา่ งประเทศ นอกจากประเทศตา่ ง ๆ จะมคี วามสมั พนั ธ์ในการคา้ ขายสินค้าและบรกิ ารกันแลว้ ยังมีความ สมั พนั ธ์เรอ่ื งอน่ื ๆ
ได้แก่ การให้ความชว่ ยเหลอื หรอื การไดร้ บั ความชว่ ยเหลือทางเศรษฐกจิ จากตา่ งประเทศ การลงทุนระหวา่ งประเทศ การกยู้ มื
และการชำระหนสี้ ิน สง่ิ เหล่านีท้ ำใหเ้ กดิ การชำระเงินระหวา่ งประเทศขึ้น โดยท่ัวไปแลว้ การชำระเงนิ ระหวา่ งประเทศมักจะใช้
เงินตราตา่ งประเทศเป็นเงินสกลุ หลกั เชน่ เงินดอลลาร์ สหรัฐฯ เงนิ ยโู รของสหภาพยุโรป เปน็ ต้น และมักชำระผา่ นธนาคารโดยใช้
เครือ่ งมอื ทเ่ี รยี กวา่ “เครดิต” ได้แก่ ต๋วั แลกเงิน ดราฟต์ธนาคาร เปน็ ต้น ด้วยเหตทุ ่ีแตล่ ะประเทศมีหนว่ ยเงนิ ตราแตกตา่ งกนั เชน่
ไทยมีหน่วยเงินเป็น “บาท” ญปี่ นุ่ มีหน่วยเงนิ เป็น “เยน” สหรฐั อเมรกิ ามหี น่วยเงนิ เป็น “ดอลลาร”์ ประเทศในสหภาพยโุ รปมี
หนว่ ยเงนิ เป็น “ยูโร” เป็นตน้ เมอื่ ทำการตดิ ต่อคา้ ขายกนั จะตอ้ งมกี ารกำหนด อัตราแลกเปล่ียนระหว่างมูลค่าเงินของประเทศ
ตา่ ง ๆ กบั มลู คา่ ของเงินตราสกลุ หลัก ซึ่งเป็นทยี่ อมรบั กัน โดยท่วั ไปในการชำระเงินระหว่างประเทศจึงตอ้ งมกี ารแลกเปลยี่ น
เงินตราจากสกลุ หนึง่ ไปเปน็ อกี สกลุ หนงึ่ ตามความต้องการของผรู้ บั ผรู้ ับก็จะนำเงินตราสกลุ หลกั ที่ได้รบั ไปแลกเป็นเงินตรา
ภายในประเทศในตลาดเงินตราตา่ งประเทศ ซง่ึ โดยปกตติ ลาดนม้ี ักนำเงินตราตา่ งประเทศทีร่ บั ซอื้ มาไปแลกเปน็ เงินตราใน
ประเทศจากธนาคารกลางอีกต่อหนงึ่ และธนาคารกลางกจ็ ะเก็บเงนิ ตราตา่ งประเทศเหลา่ นไี้ วส้ ำหรบั ผตู้ อ้ งการใช้ในภายหลัง
ตลาดเงินตราตา่ งประเทศ หมายถึง องค์กรท่ีทำหน้าทใี่ นการซ้ือขายเงนิ ตราและการชำระหนีต้ ่างประเทศระหว่างเอกชน หน่วย
ธุรกิจและธนาคารพาณิชย์ ตลาดนี้จะแตกต่างจากตลาดซื้อขายสินค้าโดยทั่ว คือ ไม่จำกัดประเทศที่เกี่ยวข้อง ไม่มีกฎเกณฑ์ท่ี
เคร่งครัด ไมม่ เี วลาเปดิ และปิดตลาดทแี่ นน่ อน ตลาดเงินตราตา่ งประเทศจะมีอยใู่ นเมืองใหญ่ ๆ ทวั่ โลกโดยผู้สง่ ออก ผู้นำเข้า นัก
ลงทุนและนกั ท่องเทย่ี วมักจะซือ้ ขายเงินตราตา่ งประเทศกับธนาคารพาณิชยม์ ากกวา่ ท่จี ะซ้อื ขายระหวา่ งกนั เองเนื่องจากสะดวก
กว่า
5.1 ประเภทของตลาดเงินตราตา่ งประเทศ
ตลาดเงนิ ตราตา่ งประเทศ แบ่งตามลกั ษณะการซื้อขายออกเปน็ 2 ประเภท ดงั นี้
1. ตลาดที่มีการซื้อขายเงินตราต่างประเทศทันที (Spot Market) หมายถึง ตลาดที่มีการชำระเงิน และส่งมอบเงินตรา
ต่างประเทศสกุลที่ต้องการทันที การซื้อขายก็จะเป็นไปตามราคาตลาดในขณะนั้น ที่เรียกว่า “อัตราแลกเปลี่ยนทันที ( Spot
rate)” หนา้ ท่ีหลักของตลาดประเภทนค้ี อื การโอนหรอื หกั บญั ชี ซง่ึ เกดิ จากการตดิ ต่อทางเศรษฐกจิ ระหว่างประเทศ โดยจะมีการ
ชำระเงนิ ติดตามมา และหน้าท่ีในการ จัดหาสินเชื่อ เพื่อเป็นหลักประกนั ในการชำระหนี้ระหวา่ งประเทศ ซึ่งหน้าที่นี้มีบทบาทที่
ทำใหก้ ารค้า ระหวา่ งประเทศขยายตัวอยา่ งรวดเร็ว
2. ตลาดเงินตราต่างประเทศแบบซื้อขายล่วงหน้า (Forward Market) หมายถึง ตลาดที่มี การซื้อขายเงินตราต่างประเทศ
โดยการชำระเงนิ และสง่ มอบเงนิ ตราตา่ งประเทศสกุลทต่ี กลงซ้ือขายกันใน อนาคตข้างหนา้ ตามอตั ราทีไ่ ด้ตกลงกนั ไว้ ซ่ึงเรียกว่า
“อัตราแลกเปลี่ยนล่วงหน้า (Forward Rate)” หน้าที่หลัก ของตลาดประเภทนี้ คือ การลดความเสี่ยง อันเนื่องมาจากการ
เปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลยี่ น
5.2 การกำหนดอตั ราการแลกเปลีย่ นเงนิ ตราระหว่างประเทศ
อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราสกุลหนึ่ง จะถูกกำหนดโดยอุปสงค์และอุปทานเงินตราสกุลนั้น เช่น อัตรา แลกเปลี่ยนเงินดอลลาร์
สหรัฐฯ กับเงนิ บาทจะเปล่ียนแปลงทุกวัน อัตราแลกเปลย่ี นแต่ละวนั ถกู กำหนด โดยอปุ สงค์และอปุ ทานของเงนิ สองสกลุ อุปสงค์
ของเงนิ ตราตา่ งประเทศสกลุ ใดสกลุ หนึ่งจะมมี ากหรอื น้อย ข้ึนอยูก่ บั ความต้องของการเงนิ ตราสกลุ นัน้ เชน่ เพอื่ ชำระเปน็ คา่

สินค้าและบริการที่ซื้อจากต่างประเทศเพื่อให้กูย้ ืมหรือซื้อหลักทรัพย์ต่างประเทศ หรือลงทุนในต่างประเทศเพ่ือเก็งกำไร หรือ
เพื่อส่งเงินทุน ออกนอกประเทศ เป็นต้น ส่วนอุปทานเงินตราต่างประเทศสกุลใดสกุลหนึ่งจะมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับ ปริมาณ
สินค้าและบริการที่ส่งออกไปขายยังต่างประเทศ การลงทุนในประเทศจากต่างประเทศและปริมาณ เงินช่วยเหลือจาก
ตา่ งประเทศ ในระบบอตั ราแลกเปล่ยี นเสรี อตั ราแลกเปลยี่ นเงินตราตา่ งประเทศ คือ ราคาของเงินตราต่างประเทศ ซง่ึ เหมอื นกบั
ราคาของสินค้าและบริการโดยทั่วไป คือ กำหนดจากอุปสงค์และอุปทานของเงินตรา ต่างประเทศ โดยเส้นอุปทานและอุปสงค์
ของเงินตราตา่ งประเทศมลี กั ษณะดงั น้ี
1. อุปสงค์ของเงินตราต่างประเทศ (Demand for Foreign Exchange) หรือความต้องการ เงินตราต่างประเทศเป็นผลสบื
เนื่องมาจากความต้องการสินค้าและบริการต่างประเทศ รวมทั้งการลงทุนและ การบริจาคระหว่างประเทศ โดยทั่วไปความ
ต้องการเงินตราต่างประเทศขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ เช่น ราคาหรืออัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ซึ่งมีผลโดยตรง ส่วน
ปัจจัยที่มีผลทางอ้อม ได้แก่ ผลต่าง ของอัตราดอกเบี้ยภายในและนอกประเทศ รสนิยมในการบริโภคสินค้าต่างประเทศ รายได้
สว่ นบุคคลและ รายได้ประชาชาติ สรุปได้ว่า
1) อุปสงค์ของเงินตราต่างประเทศสกุลใด ๆ คือ จำนวนของเงินตราต่างประเทศสกุลนั้นที่ผู้ซื้อ ต้องการได้ซื้อ ณ ระดับอัตรา
แลกเปลี่ยนตา่ ง ๆ ในระยะเวลาท่ีกำหนด
2) ความสัมพันธ์จะเป็นไปตามกฎของอุปสงค์ (Law of Demand) คือ ปริมาณเงินตราต่างประเทศสกุลใด ๆ ย่อมแปรผันกับ
อัตราแลกเปลี่ยนของเงินตราต่างประเทศ หมายความว่า เมื่ออัตราแลกเปลี่ยนสูงขึ้นราคาสินค้าน ำเข้าจะสูงขึ้นทำให้ความ
ต้องการสนิ ค้าเข้าและเงินตราต่างประเทศลดลงในทางตรงขา้ มเม่ืออัตราแลกเปลยี่ นลดลงราคาสินค้าเขา้ จะถูกลง ความต้องการ
สนิ ค้าเขา้ จะเพิม่ ขน้ึ ทำใหค้ วามตอ้ งการเงนิ ตราต่างประเทศเพิม่ ข้นึ ดว้ ย ความสัมพนั ธด์ งั กลา่ วแสดงดงั รูปตอ่ ไปนี้

แสดงความสมั พนั ธ์ระหว่างอุปสงค์ของเงนิ ตราต่างประเทศกบั อตั ราแลกเปล่ียนเงนิ ตราตา่ งประเทศ

จากภาพ ถ้ากำหนดให้แกนตั้งแสดงอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างเงินบาทและดอลลาร์สหรัฐฯ ส่วนแกนนอนแสดงถึงปริมาณเงิน
ดอลลาร์ที่มีผู้ต้องการซื้อ จะเห็นว่า เส้นอุปสงค์ของเงินดอลลาร์สหรัฐฯ จะมีลักษณะเป็นเส้นที่ลาดลงจากซ้ายไปขวาและมีคา่
ความชันเปน็ ลบ ซง่ึ หมายความวา่ เมอื่ อัตราแลกเปล่ียน เงนิ ตราตา่ งประเทศสูงข้ึนจาก 32.79 บาท ตอ่ $1 เปน็ 38.00 บาท ต่อ
$1 อปุ สงค์ของเงนิ ตราต่างประเทศ
จะลดลงจาก $10 เหลือ $4 แต่ถ้าอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศลดลง อุปสงค์ของเงินตราต่างประเทศ จะสูงขึ้น
เพราะฉะน้ันอุปสงคข์ องเงินตราต่างประเทศจงึ เป็นอปุ สงค์สืบเนอ่ื ง (Derived Demand)
2. อปุ ทานของเงินตราต่างประเทศ (Supply of Foreign Exchange) อปุ ทานของเงนิ ตรา ต่างประเทศได้มาจากการดำเนิน
กิจกรรมทางเศรษฐกิจต่าง ๆ ที่ก่อให้เกิดรายได้ในรูปของเงินตราต่างประเทศ เช่น การส่งออกสินค้า การรับบริจาค การลงทุน
จากต่างประเทศ เป็นต้น ปัจจัยที่กำหนดอุปทานของ เงินตราต่างประเทศก็คือ ปัจจัยที่มีผลต่อการส่งออกสินค้าและดึงดูดการ
ลงทุนจากต่างประเทศ ซึ่งได้แก่ ต้นทุนการผลิตเปรยี บเทยี บระหวา่ งประเทศ ภาษีศุลกากร มาตรการกีดกันทางการค้า รสนิยม
การบริโภค อัตราดอกเบ้ียระหวา่ งประเทศ บรรยากาศส่งเสรมิ การลงทุน และความกา้ วหน้าทางเทคโนโลยี
ความสัมพันธข์ องปริมาณอปุ ทานและอตั ราแลกเปลีย่ นจะเปน็ ไปตามกฎของอุปทาน คอื ปรมิ าณ เงินตราตา่ งประเทศท่ีจะหามา
ได้ ย่อมแปรผันโดยตรงกับอัตราแลกเปลี่ยน กล่าวคือ เมื่ออัตราแลกเปลี่ยน สูงขึ้น ราคาสินค้าจะถูกลง ปริมาณอุปทานของ
เงินตราต่างประเทศจะมากขึ้น ในทางตรงข้าม ถ้าอัตรา แลกเปลี่ยนลดลง ราคาสินค้าจะแพงขึ้น การส่งออกมีแนวโน้มลดลง
ปริมาณอุปทานของเงินตราต่างประเทศ จะลดลงเชน่ กัน ดังรปู

แสดงความสมั พนั ธ์ระหวา่ งอปุ ทานของเงินตราต่างประเทศกับอตั ราแลกเปล่ยี นเงนิ ตราต่างประเทศ

3. อัตราแลกเปลี่ยนดุลยภาพ ในกรณีที่การซื้อขายเงินตราต่างประเทศเป็นไปอย่างเสรี อัตรา แลกเปลี่ยนจะถูกกำหนดโดยอุป
สงค์และอุปทานของตลาดเงินตราต่างประเทศ ราคาและปริมาณดุลยภาพ จะเกิดขึ้นพร้อมกัน ณ ระดับที่ปริมาณซื้อเท่ากับ
ปริมาณขายพอดี เรียกจุดนี้ว่า “จุดดุลยภาพของตลาด” อัตรา แลกเปลีย่ นดุลยภาพ ดังรูปลา่ ง เมื่อเกิดข้ึนแล้วจะคงอยู่เชน่ นัน้
ตราบเท่าที่อุปสงค์และอุปทานยังไม่เคลื่อนย้าย แต่ถ้าปัจจัยที่นอกเหนือจากอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งเป็นตัวกำหนดอุปสงค์และ
อุปทานโดยอ้อมเปลี่ยนแปลง ก็จะทำให้เส้นอุปสงค์หรือเส้นอุปทานเส้นใดเส้นหนึ่งเคลื่อนย้ายไป ทำให้เกิดดุลยภาพตลาด ณ
ตำแหน่งใหม่

ดุลยภาพของตลาดเงนิ ตราต่างประเทศและการเปลี่ยนแปลงดุลยภาพ

จากรูป เดมิ เส้นอุปสงค์ D และเส้นอปุ ทาน S ตัดกันทจ่ี ดุ E ซง่ึ เปน็ อัตราแลกเปลยี่ นดลุ ยภาพ ตอ่ มา สมมติว่าตวั กำหนดโดยอ้อม
ทเ่ี กยี่ วขอ้ งกบั อุปสงค์มีการเปลีย่ นแปลง ทำใหเ้ ส้นอปุ สงค์เปล่ียนเปน็ D' ก่อให้เกิดดุลยภาพของตลาดที่ E' อัตราแลกเปลยี่ นดุลย
ภาพใหมเ่ ปน็ P' และปริมาณดุลยภาพใหม่เป็น Q'
6. ครูใชเ้ ทคนคิ การบรรยายการกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศของไทย
การกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศของไทย ได้มีการเปลี่ยนแปลงมาเป็นลำดับ กล่าวคอื เมื่อสิ้นสงครามโลกครัง้ ท่ี
2 ได้มีการก่อตั้งระบบการเงินระหว่างประเทศระบบใหม่ขึ้นมา มีชื่อเรียก หลายชื่อดังนี้ ระบบมาตราปริวรรตทองคำ ( Gold
Exchange Standard System) ระบบอัตราแลกเปลี่ยน คงที่ (Fixed Exchange Rate System) และระบบกองทุนการเงิน
ระหว่างประเทศ (International Monetary Fund System) ซึ่งกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ทำหน้าที่กำกับดูแลให้
ประเทศสมาชกิ ปฏิบัตติ าม กฎระเบยี บท่กี ำหนด ลักษณะสำคญั ของระบบน้คี ือ มีการกำหนดค่าของเงนิ ตราสกลุ ตา่ ง ๆ เทยี บเท่า
กับทองคำจำนวนหนึ่ง เงินตราสกุลต่าง ๆ จึงมีอัตราแลกเปลี่ยนที่กำหนดไว้เป็นทางการซึ่งเรียกว่า ค่าเสมอภาค ( Par Value)
และประเทศสมาชิก IMF จะต้องพยายามรักษาค่าเสมอภาค อย่างไรก็ตามในทางปฏิบัติปรากฏว่า ค่าเสมอภาคกั บอั ตราแลก
เปล่ี ยนตลาดมั กแตกต่างกัน และในกรณี ที่ อั ตราทั้ งสองนี้ มี ความแตกต่างกั นมาก การปล่อยทิ้งไว้จะส่งผลกระทบต่อ
ดลุ การชำระเงินระหวา่ งประเทศอย่างมาก หากรฐั บาลปรับอตั รา ค่าเสมอภาคให้ตรงกันหรือใกล้เคียงกบั อัตราแลกเปล่ียนตลาด
กจ็ ะถูกกลมุ่ บคุ คลทเี่ สยี ประโยชน์โจมตี

ดงั นั้น ใน พ.ศ. 2514 ได้มกี ารยกเลิกระบบมาตราปรวิ รรตทองคำ ประเทศตา่ ง ๆ จงึ มีอสิ ระใน การเลือกระบบอัตราแลกเปลย่ี น
ตามที่เห็นสมควร สำหรับประเทศไทยโดยธนาคารแห่งประเทศไทยได้มี การเลือกใช้รูปแบบต่าง ๆ ตามลำดับดังนี้ ระยะแรก
ยงั คงใช้ระบบกำหนดคา่ เงนิ บาทเทียบกบั เงนิ ดอลลาร์ สหรฐั ฯ ต่อมาในชว่ งปี 2524-2527 ใชร้ ะบบการกำหนดอตั ราแลกเปลี่ยน
โดยอาศัยกลไกตลาด แต่วิธีนี้ มีความยุ่งยากบางประการจึงได้ยกเลิกและเปลี่ยนไปใช้วิธีการกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนที่เรียกวา่
“อัตราแลกเปลี่ยนแบบตะกร้า (Basket Currency)” โดยธนาคารแห่งประเทศไทยจะนำข้อมูลอัตราแลกเปลี่ยน เงินตราสกุล
สำคัญ ๆ ที่ประเทศไทยทำการค้าขายด้วย และกำหนดความสำคัญตามสัดส่วนของการคา้ ที่ชำระด้วยเงินสกุลนั้น โดยในแตล่ ะ
วันเจ้าหน้าที่ธนาคารแห่งประเทศไทยจะนำข้อมูลอัตราแลกเปลี่ยน เงินตราสกุลต่าง ๆ ใน “ตะกร้า” แทนค่าลงในสูตรและ
คำนวณค่าอตั ราแลกเปล่ียนระหว่างเงนิ บาทกับ เงินสกุลต่าง ๆ ออกมา จากนั้นนำผลการคำนวณไปพิจารณาและตดั สินใจว่าจะ
เปล่ยี นแปลงหรอื ไม่ มากนอ้ ยเพียงใด
วิธีน้ีเป็นทีน่ ิยมใช้ในประเทศต่าง ๆ ทว่ั ไป ซ่งึ มีทง้ั ข้อดแี ละขอ้ เสีย ขอ้ ดีคอื ช่วยปอ้ งกันมใิ ห้อตั รา แลกเปลี่ยนมีการผนั ผวนมากนัก
ส่วนข้อเสยี ที่อาจจะเกดิ ข้ึนคือ หากพยายามควบคมุ อัตราแลกเปลี่ยน ให้อยู่คงที่จนอยู่ห่างไกลจากสภาพที่เป็นจริง ดังเช่นท่เี กดิ
กับประเทศไทยในช่วง พ.ศ. 2539-2540ก็จะเกิดปัญหาลักษณะเดียวกับระบบมาตราปริวรรตทองคำ กล่าวคือ ค่าที่ประกาศ
ออกมาไมต่ รงกับค่าจริง หรือไม่ตรงกับอตั ราแลกเปลีย่ นท่ีกำหนดโดยอุปสงค์และอุปทาน ทำให้ต้องมกี ารปรับคา่ เกิดข้นึ
จากการที่ค่าเงินบาทมีค่าสงู กว่าความเป็นจริง ในช่วงปี 2539 ถึงต้นปี 2540 ทำให้รัฐบาลไทย ต้องประกาศเปลีย่ นแปลงระบบ
อัตราแลกเปลี่ยนให้เป็นระบบ “การลอยตัวที่มีรัฐบาลกำกับ (Managed Float Exchange Rate)” เมื่อวันท่ี 2 กรกฎาคม พ.ศ.
2540 ผลจากการเปลีย่ นแปลงดังกล่าวทำให้คา่ เงินบาท ลดลง และเรม่ิ สะทอ้ นคา่ ทใ่ี กล้เคยี งกบั ความเปน็ จรงิ มากข้นึ

7. ครูใชเ้ ทคนิคการบรรยายการดลุ การชำระเงินระหว่างประเทศ
ดุลการชำระเงินระหว่างประเทศ (Balance of International Payment) หมายถึง บัญชี ที่บันทึกรายการรายรับและ
รายจ่ายเงินตราต่างประเทศ สืบเนื่องจากการดำเนินธุรกรรมระหว่างผู้ที่มี ภูมิลำเนาของประเทศหนึ่งกับผู้ที่มีภูมิลำเนาใน
ประเทศอื่น ๆ ในรอบระยะเวลาหนึ่งๆ โดยปกติมักจะกำหนด ให้เป็น 1 ปี เพื่อแลกเปลี่ยนทางเศรษฐกิจและกิจกรรมทาง
เศรษฐกจิ อ่ืน ๆ ทเ่ี กิดข้นึ ระหวา่ งผู้พำนักอาศยั ของประเทศหน่งึ กบั ผพู้ ำนกั อาศัยในประเทศอื่น ๆ ทวั่ โลก
ผู้ที่มีภูมิลำเนา หมายถึง ผู้พำนักอาศยั อยู่ในอาณาเขตของประเทศหนึ่ง หรือเป็นผู้ที่เรียกได้ว่าเปน็ ผู้ที่มีภูมิลำเนาเป็นการถาวร
อย่ใู นประเทศนั้น เชน่ ผทู้ ่มี ีถ่ินฐานของประเทศไทยก็คือผูท้ มี่ ภี ูมิลำเนาถาวร ในประเทศไทย โดยทั่วไปคือ ประชาชนที่มีเช้ือชาติ
ไทยหรือสญั ชาติไทย รวมทั้งองค์กรนติ ิบคุ คล ห้างร้าน บริษัท ที่ประกอบอาชีพอยู่ในประเทศไทย ส่วนนักท่องเที่ยว ข้าราชการ
สถานทูตต่างประเทศ บรษิ ทั ทีเ่ ป็น สาขาของบรษิ ทั ตา่ งชาติ เปน็ ต้น ไม่ถูกจดั วา่ เปน็ ผู้มภี ูมิลำเนาในประเทศไทย
บัญชีที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างรายรับและรายจ่ายของประเทศกับต่างประเทศ เรียกว่า “ดุลการชำระเงนิ ระหว่างประเทศ”
จะประกอบด้วยบัญชีย่อย ๆ 4 บัญชี ดังน้ี
1. บัญชีเดินสะพัด (Current Account) เป็นบัญชแี สดงรายการการแลกเปลีย่ นสนิ ค้าและ บริการ ส่วนใหญ่จะเป็นรายการท่ี
เกดิ ข้นึ เน่ืองจากมกี ารซือ้ ขายสนิ คา้ และบรกิ ารในรอบปี รายการในบญั ชี ประกอบด้วย
1) บัญชีของสินค้า เป็นรายการเก่ียวกับสินค้านำเข้าและสนิ ค้าส่งออก และเมื่อรวมรายการ ในส่วนของสินค้าทัง้ หมดจะเรียกว่า
“ดุลการค้า (Balance of Trade)” ซึ่งดุลการค้ามี 3 ลักษณะ คือ ดุลการค้าสมดุล หมายถึง มูลค่าสินค้าส่งออกเท่ากับมูลค่า
สินค้านำเข้า ซึ่งแสดงว่า รายรับจากการส่งออก มีมูลค่าเท่ากับรายจ่ายในการสั่งสินค้าเข้า ดุลการค้าขาดดุล หมายถึง มูลค่า
สินค้าสง่ ออกน้อยกวา่ มลู คา่ สนิ ค้านำเขา้ ซ่งึ แสดงว่า รายรับจากการสง่ ออกมีนอ้ ยกวา่ รายจา่ ยในการสงั่ สินค้าเขา้ และดลุ การค้า
เกินดุล หมายถงึ มูลค่าสินคา้ สง่ ออกมากกว่ามูลค่าสินคา้ นำเขา้ ซ่งึ แสดงว่า รายรบั จากการส่งออกมีคา่ มากกว่ารายจา่ ยในการสั่ง
สนิ ค้าเขา้
2) บัญชีของบริการหรือดุลบริการ เป็นรายการเกี่ยวกับบริการระหว่างประเทศ เช่น ค่าขนส่ง สินค้า ค่าระวางการเดินทาง
ระหวา่ งประเทศ เป็นต้น
ทั้งนี้ ดุลบัญชเี ดินสะพดั จะเป็นตัวชศ้ี ักยภาพในการแสวงหารายไดข้ องประเทศ

2. บัญชีเงินโอนหรือเงินบริจาค (Transfer Account) รายการที่นำมาบันทึกในบัญชีนี้เป็นการให้เปล่า โดยที่เอกชนหรือ
รัฐบาลของประเทศหนึง่ ให้กับเอกชนหรือรฐั บาลของประเทศอืน่ ๆ บัญชีการโอน จะประกอบด้วยรายการ ต่าง ๆ ทั้งที่
เป็นสินคา้ บรกิ าร ของขวัญ หรอื เงนิ ตราต่างประเทศกไ็ ด้ เช่น คนงานไทย ไปทำงานท่ตี ะวันออกกลาง สง่ เงนิ ตราต่างประเทศมา
ให้แก่ญาติพี่น้องในประเทศไทย หรือการบริจาค ช่วยเหลือระหว่างรัฐบาลต่อรัฐบาล เช่น รัฐบาลไทยบริจาคข้าวให้องค์การ
สหประชาชาติ เพื่อนำไปช่วยเหลือ ผู้ลี้ภัยในค่ายอพยพ หรือการที่รัฐบาลสหรัฐอเมริกาบริจาคเงินช่วยเหลือในโครงการอีสาน
เขียวให้กับ รัฐบาลไทย เป็นต้น เพราะฉะนั้นถ้าประเทศที่ให้ความช่วยเหลือแก่ต่างประเทศรายการนั้นจะปรากฏอยู่ใน
ดุลการชำระเงินทางด้านเดบิต แต่ถา้ ประเทศทไ่ี ด้รบั ความชว่ ยเหลอื รายการนนั้ จะปรากฏอยทู่ างดา้ นเครดติ
3. บญั ชีทนุ เคลื่อนยา้ ย (Capital Account) เป็นบัญชที ่บี ันทกึ รายการเกี่ยวกบั การเคล่อื นยา้ ย เงินทุนทั้งโดยตรงและโดยอ้อม
การลงทุนโดยตรง คือ การลงทุนระยะยาว (มากกว่า 1 ปี) หมายถึง การลงทุนหรือเงินกู้ที่มีกำหนดไถ่ถอนนานเกินกว่า 1 ปี
ได้แก่ การไปตั้งบริษัท สาขา หรือโรงงานใน ต่างประเทศ เพื่อทำการค้าหรือการผลิตสินค้า เช่น บริษัทต่างประเทศเข้ามาตั้ง
โรงงานอตุ สาหกรรม ในประเทศไทย โดยท่ีเจา้ ของทนุ นำเงินทุนและผู้ประกอบการเป็นบคุ คลกลมุ่ เดยี วกนั เพราะฉะนน้ั จะได้ รบั
ผลตอบแทนในรูปของกำไร ในปัจจุบันประเทศกำลังพัฒนาได้ใหค้ วามสนใจและมีความต้องการ การลงทุนประเภทนี้ มากส่วน
การลงทุนโดยออม คือ การลงทุนระยะสั้น หมายถึง การลงทุนที่มี กำหนดระยะ เวลาน้อยกว่า 1 ปี การลงทุนระยะส้ัน
ประกอบด้วยรายการต่าง ๆ เช่น การซื้อขายพันธบัตร หรือการให้กู้ ยืมเงิน หรือการซื้อขายสินเชื่อ ซึ่งระยะเวลาชำระเงินนอ้ ย
กว่า 1 ปี ยอดเงินฝากธนาคารที่มีอยู่กับธนาคาร ในต่างประเทศ หรือที่ต่างประเทศมีฝากกับธนาคารในประเทศ จำนวนหนี้ซ่ึง
พ่อค้าของประเทศเป็นลูกหนี้ หรือเจ้าหนี้กับพ่อค้าต่างประเทศก็อยู่ในรายการลงทุนระยะสั้น ผู้ลงทุนทางอ้อมจะได้รับ
ผลตอบแทนในรูปดอกเบี้ยแบบรับสินเชื่อจากผู้ขายและอื่น ๆ หรือการซื้อขายหลักทรัพย์หรือพันธบัตรของต่างประเทศ โดยผู้
ลงทุนจะได้รับผลตอบแทนในรปู ของดอกเบ้ียหรอื เงินปนั ผล
4. บัญชีทุนสำรองระหว่างประเทศ (International Reserve Account) ประกอบด้วยรายการที่เป็นหลักทรัพย์ ได้แก่
ทองคำ เงนิ ตราต่างประเทศ หลกั ทรัพยท์ งั้ ระยะสัน้ และระยะยาว เงนิ ฝากธนาคารพาณชิ ย์ ในตา่ งประเทศและสทิ ธิถอนเงินพิเศษ
ซึ่งเป็นเงินที่กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) สร้างขึ้นเพื่อให้ ประเทศสมาชิกกู้ยืมหรือนำไปชำระหนี้ ระหว่างประเทศ
สมาชิก บัญชีทุนสำรองระหว่างประเทศมีลักษณะแตกต่างจากบัญชีอื่น ๆ ของดุลการชำระเงิน เพราะเป็นรายการประเภทที่
เกิดขึ้นเพื่อปรับหรือชดเชย ความแตกต่างระหว่างยอดรวมทางด้านรายรับและรายจ่ายเงินตราต่างประเทศในบัญชีเดินสะพัด
บญั ชีทนุ เคลอื่ นย้ายและการบริจาคใหเ้ ขา้ สู่ภาวะสมดุล ถา้ ประเทศมดี ลุ การชำระเงนิ ขาดดลุ จะทำให้ ทนุ สำรองระหวา่ งประเทศ
ลดลง หรือถ้าประเทศมีดุลการชำระเงนิ เกนิ ดลุ จะทำใหท้ นุ สำรองระหวา่ งประเทศ เพิ่มขน้ึ
ในกรณีที่ดุลการชำระเงินขาดดุล กล่าวคือ รายรับจากต่างประเทศน้อยกว่ารายจ่ายของประเทศ ที่ต้องจ่ายให้กับต่างประเทศ
ประเทศนั้นจะต้องนำเอาส่วนประกอบใดส่วนประกอบหนึ่งมาชดเชย ซึ่งจะมีผลทำให้เงินทุนสำรองระหว่างประเทศลดลงจาก
เดมิ ในทางตรงขา้ ม ถา้ ดุลการชำระเงนิ เกนิ ดุล แสดงวา่ รายรับจากต่างประเทศมากกว่ารายจา่ ยที่ให้กับต่างประเทศ รัฐบาลหรือ
ธนาคารกลางก็จะ โอนเงินตราสว่ นที่เกินดุล ไปรวมเข้ากบั เงนิ ทนุ สำรองระหว่างประเทศเพือ่ เกบ็ สะสมไว้
สาเหตขุ องดุลการชำระเงนิ ระหว่างประเทศขาดดุล อาจเกิดในแต่ละบัญชีดังนี้
1. การขาดดุลบญั ชเี ดินสะพัด องค์ประกอบดลุ บญั ชเี ดนิ สะพดั คอื ดุลการคา้ และดลุ บริการ
1) สาเหตุการขาดดุลการค้า คือ การที่ประเทศใดประเทศหนึ่งส่งสินค้าไปขายยังตา่ งประเทศ ซึ่งมีมูลค่าน้อยกว่าสินค้านำเขา้
สาเหตสุ ำคญั ท่ีมีผลให้ดลุ การคา้ ขาดดลุ ได้ แก่ (1) โครงสรา้ งและปัญหาจากการสง่ ออกสินค้า โดยเฉพาะประเทศเกษตรกรรมจะ
ไม่สามารถควบคุมปริมาณการผลิตและการส่งออก สินค้าเกษตรกรรมได้ ทำให้ไม่สามารถวางแผนการผลิตล่วงหน้าได้ (2)
โครงสรา้ งและปัญหาจากการนำเข้า ประเทศเกษตรกรรมมคี วามต้องการนำเข้าสนิ ค้าอตุ สาหกรรม เพอื่ ใช้ในการพฒั นาเศรษฐกิจ
ของประเทศ แต่ราคาสินค้านำเข้ามักมีราคาสูงกว่าราคาสินค้าเกษตรกรรม จึงเป็นเหตุให้รายจ่ายเพื่อนำเข้าสินค้าจาก
ต่างประเทศมากกว่ารายได้จากการส่งออก (3) การเปล่ียนแปลงรายได้ประชาชาติ การเคลื่อนไหวข้ึนลงของ รายได้ประชาชาติ
ย่อมสง่ ผลให้ประเทศประสบกบั ปญั หาดลุ การชำระเงินขาดดลุ ประเทศทสี่ ่งออกสินคา้ เกษตรกรรมไปจำหนา่ ยยงั ต่างประเทศมกั
มีรายไดจ้ ากการส่งออกน้อยกวา่ เม่ือเทียบกับประเทศท่ีส่งออก สินค้าอุตสาหกรรม (4) เมื่อเกิดภาวะเงินเฟ้อ มีผลให้ราคาสนิ ค้า
ส่งออกมีแนวโน้มสูงขึ้น อาจทำให้ประเทศนั้น สูญเสียตลาดในต่างประเทศไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งนำไปสู่การขาดดุลการค้าและ
ดุลการชำระเงนิ ในทสี่ ดุ

2) สาเหตุการขาดดุลบริการ สาเหตุที่สำคัญของการขาดดุลบริการ คือ การที่นักท่องเที่ยว ภายในประเทศหันไปเที่ยวยัง
ต่างประเทศมากขึ้น กิจการของธุรกิจชาวต่างประเทศ (หากมีการส่งรายได้ กำไร หรือเงินปันผล ตลอดจนค่าดอกเบี้ยและ
ค่าลิขสิทธิ์กลับต่างประเทศมาก ย่อมส่งผลตอ่ ดุลการชำระเงิน ของไทยได้) ประชาชนภายในและต่างประเทศนิยมใช้การขนส่ง
ระหว่างประเทศของบรษิ ัทต่างชาติ มากกว่าบริษัทของคนในประเทศ มีผลให้รายจ่ายประเภทค่าระวางและคา่ ประกนั ภัยสินค้า
ตลอดจนค่าใช้จ่าย ในการขนสง่ อื่น ๆ สงู กวา่ รายรับ
2. การขาดดุลบัญชีทุนเคลื่อนย้าย การเปลยี่ นแปลงในโครงสรา้ งการเคล่ือนยา้ ยเงินลงทุน ระหวา่ งประเทศ การหยุดชะงักของ
เงินทุนระยะยาวที่ไหลเข้าเป็นประจำ รัฐบาลมีนโยบายไม่ชัดเจน ในการลงทุน การขาดแคลนแรงงาน ย่อมเป็นเหตุให้
ดลุ การชำระเงินขาดดุลได้
3. การขาดดลุ บัญชีการโอนและบรจิ าค การทีป่ ระเทศได้รบั เงินโอนเข้ามาน้อยกว่าเงนิ โอนที่ออกไป โดยเฉพาะความช่วยเหลือ
แบบให้เปล่าจากต่างประเทศ นอกจากน้ถี ้าประเทศต้องชดใชห้ น้สี นิ หรอื ค่าเสยี หาย ตลอดจนใหค้ วามช่วยเหลือแกป่ ระเทศ
อื่น ๆ มากขึ้น ย่อมทำให้เงินตราต่างประเทศไหลออกทำให้เกิดการเสียเปรียบทางด้านการเงิน และการขา ดดุลการชำระเงิน
ระหวา่ งประเทศ
การแก้ไขปัญหาดลุ การชำระเงินและดลุ การคา้ ระหวา่ งประเทศขาดดลุ มแี นวทางแก้ไข 4 แนวทาง ดังนี้
1. แนวทางแก้ไขการขาดดุลบัญชเี ดนิ สะพดั มีดังน้ี
1) แนวทางเพิ่มการส่งออก การพยายามส่งเสริมให้มีสินค้าออกให้มากขึ้น เป็นวิธีการที่ให้ได้มาซึ่งเงินตราต่างประเทศ วิธีการ
ส่งเสริมอาจทำได้โดย (1) ลดราคาสินค้าที่ส่งไปจำหน่ายยังต่างประเทศ ถ้าสินค้าที่ส่งออกไปขายยังต่างประเทศมีราคาลดลง
ชาวต่างชาติก็จะซื้อสินค้าจากประเทศนั้นมากขึ้น แต่การลดราคาสินค้าจะได้ผลมากน้อยแค่ไหนขึ้นอยู่กับต้นทุนการผลิต ถ้า
ต้นทุนการผลิตสงู ก็ไม่สามารถ ลดราคาได้มากนัก เว้นเสียแต่รัฐบาลจะให้เงินอุดหนุนแก่ผู้สง่ ออก เช่น การงดหรือลดภาษอี ากร
บางชนิด ยกเวน้ ภาษีวัตถดุ บิ ท่ีส่ังจากตา่ งประเทศ การใหเ้ งนิ ชว่ ยเหลือพิเศษ เป็นต้น (2) การสนับสนนุ การผลิต เพ่ือการส่งออก
อาจทำได้หลายวธิ ี เช่น การกระจายสินค้าส่งออกให้มากชนิดขึ้น เพื่อลดความผันผวนจากรายได้ จากการส่งออกและการกดี กนั
ทางการคา้ จากประเทศคู่คา้ และเพ่ิมแหล่งรายไดจ้ ากการสง่ ออกใหม้ ากยิ่งขน้ึ ดังนน้ั รัฐบาลควรมแี นวทางสนบั สนุนการผลิตเพอื่
การส่งออก เช่น รัฐบาลควรจัดหาข้อมูลที่เป็นประโยชน์ แก่ผู้ส่งออก ส่งเสริมการวิจัยและการพัฒนา เจรจากับประเทศต่าง ๆ
เพอ่ื จัดสรรโควตาการส่งออกใหม้ ากขึน้
2) แนวทางการลดการนำเข้า วิธีการควบคมุ คอื การตงั้ กำแพงภาษี คอื การเกบ็ ภาษีสินคา้ นำเขา้ ใหส้ ูงข้ึน เม่อื ราคาสนิ ค้าสูงข้ึน
ย่อมมผี ลให้พ่อค้าสง่ั ซื้อสนิ ค้าจากตา่ งประเทศนอ้ ยลงหรือปรมิ าณ
การบริโภคสินคา้ ชนดิ นนั้ ลดต่ำลง หรือการกำหนดโควตา ซ่ึงเป็นการกำหนดปรมิ าณสินค้านำเขา้ ของรฐั บาล สามารถเพิม่ หรือลด
ให้เหมาะสมกบั สถานการณ์ได้
3) การลดค่าของเงิน จะทำให้มีการส่งออกมากขึ้น ส่วนการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ จะลดลง กล่าวคือการส่งออกจะ
เพิ่มขึ้น เนื่องจากการลดค่าเงินบาท จะทำให้ราคาสง่ ออกสินค้าของไทย ในตลาดต่างประเทศถูกลง ทำให้ชาวต่างชาติซื้อสินค้า
ไทยมากขึ้น ส่วนการที่สินค้านำเข้าลดลง เนื่องจาก ผู้นำเข้าต้องชำระเงินบาทเพิ่มข้ึน เพื่อใช้ซื้อสินค้าและบริการเป็นเงินตรา
ตา่ งประเทศมากข้นึ เพราะ หลงั ลดคา่ เงนิ บาทแลว้ เขาจะตอ้ งจ่ายเงินเพิม่ ข้นึ ทำให้ต้นทนุ และราคาสนิ ค้านำเขา้ สงู ข้นึ ประชาชน
ภายใน ประเทศจะซื้อสนิ คา้ จากตา่ งประเทศลดลง
2. แนวทางแก้ไขการขาดดุลบัญชีทุนเคลื่อนย้าย การส่งเสริมการลงทุนทั้งภายในและภายนอก ประเทศเป็นมาตรการแก้ไข
ปญั หาการขาดดุลการชำระเงนิ แนวทางส่งเสรมิ การลงทนุ ทส่ี ำคญั มีดังน้ี
1) นโยบายรักษาเสถียรภาพการเงนิ ของประเทศ พยายามควบคุมไม่ให้มีความผันผวนใน เรื่องของอัตราดอกเบีย้ เสถียรภาพ
ของอัตราแลกเปลี่ยน เพราะจะมีผลให้นักลงทุนไม่กล้าตัดสินใจเข้า มาลงทุนทั้งการลงทุนโดยตรงและการลงทุนในหลักทรัพย์
เนื่องจากขาดความมน่ั ใจในเรือ่ งผลตอบแทน
2) นโยบายและหลักประกนั รฐั บาลควรใหห้ ลักประกันว่ารัฐจะไมโ่ อนกจิ การของเอกชนมา เป็นของรฐั หรอื ไมป่ ระกอบกิจการท่ี
จะแข่งขันกับกิจการที่เอกชนได้รับการส่งเสริมและอนญุ าตให้นำผลกำไรออกนอกประเทศ อนุญาตใหถ้ ือกรรมสิทธิ์ที่ดินและนำ
ช่างฝีมือและผบู้ ริหารงานจากต่างประเทศ เข้ามาทำงานได้

3) นโยบายภาษีและแรงจูงใจ รัฐบาลควรมนี โยบายและมาตรการทางด้านภาษีและแรงจูงใจ เช่น ยกเว้นอากรหรอื ลดหยอ่ น
ภาษีขาเข้าและภาษีการค้าสำหรับเครื่องจักร วัตถุดิบทีน่ ำเข้าหรือมีใช้ ภายในประเทศ เพื่อส่งเสริมกิจการลงทุนโดยเฉพาะการ
ผลิตเพื่อการส่งออก การให้สิทธิประโยชน์ดังกล่าว สามารถลดต้นทุนการผลิตได้มาก ทำให้ราคาสินค้าต่ำลงได้สามารถส่งออก
และแข่งขันกับต่างประเทศได้ ขณะเดียวกนั มีผลให้ประชาชนหันมาซื้อสินค้าภายในประเทศแทนการซื้อสินค้าจากต่างประเทศ
นอกจากน้ี มาตรการสง่ เสรมิ การลงทนุ ทางดา้ นภาษีอากรอีกประเภทหนึ่งคือ การตั้งกำแพงภาษี การควบคุม การนำเข้า เป็นต้น
ข้อควรระวังในการใชน้ โยบายภาษเี พือ่ สนบั สนนุ อตุ สาหกรรมที่ยงั ตอ้ งพึ่งพาวัตถดุ ิบ ตลอดจนเครอื่ งจักรจากตา่ งประเทศ อาจจะ
ทำให้มูลคา่ การนำเข้าสินค้าเหลา่ น้ันเพิม่ ขึน้ ดุลการค้าและ ดุลการชำระเงินย่ิงขาดดลุ มากขึ้น ดังนั้น นโยบายส่งเสรมิ การลงทุน
ควรสนับสนนุ ให้ธรุ กิจใชว้ ตั ถุดิบทมี่ ีอยู่ ภายในประเทศแทนการนำเขา้ จากตา่ งประเทศเป็นสำคัญ
4) ส่งเสริมบรรยากาศการลงทุนภายในประเทศ แนวทางการส่งเสริมการลงทุนจะลุล่วง ไปได้ด้วยดี ประเทศจะต้องมี
บรรยากาศการลงทุนที่เอื้ออำนวยและจูงใจนักลงทุนจากต่างประเทศและ ภายในประเทศไม่ให้ไปลงทุนในต่างประเทศ มี
บรรยากาศการลงทุนทดี่ ี เช่น มีเสถียรภาพทางการเมอื ง และการปกครอง มีความมัน่ คงปลอดภัยในชีวติ และทรัพย์สนิ เป็นตน้
3. แนวทางแกไ้ ขการขาดดลุ บัญชีเงนิ โอนและเงินบรจิ าค แมว้ ่าดลุ บญั ชเี งนิ โอนและเงินบรจิ าค จะสามารถแกไ้ ขได้ยาก เพราะ
อยู่นอกเหนือปัจจยั การควบคมุ เช่น เป้าหมายของประเทศทใ่ี หค้ วามช่วยเหลอื การเมอื งระหว่างประเทศ นโยบายของรัฐบาลที่มี
ต่อประเทศต่าง ๆ หากประเทศใดได้รับเงินโอนเข้ามา มากกว่าเงินโอนที่ออกไป ย่อมช่วยให้ดุลการชำระเงินระหว่างประเทศ
ไดเ้ ปรียบ
4. แนวทางเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการผลิตและการค้าระหว่างประเทศ การเปลี่ยนแปลง โครงสร้างการผลิตและการค้า
ระหว่างประเทศจะต้องเปล่ียนแปลงโครงสร้างการผลิต โดยมุ่งลดการนำเข้า สินค้าฟุ่มเฟือยและพยายามประหยัดการใช้สินคา้
หรอื ทรพั ยากรบางประเภททตี่ ้องใช้จา่ ยเงินตรา ตา่ งประเทศเปน็ จำนวนมาก พยายามหาช่องทางส่งสินคา้ ออกที่ประเทศมีความ
ได้เปรยี บโดยเปรยี บเทยี บ และสนับสนุนให้มีการใช้เทคโนโลยี ตลอดจนการวจิ ัยเพอื่ พัฒนาสนิ คา้ สง่ ออก
การคา้ ระหวา่ งประเทศและดุลการชำระเงนิ ระหวา่ งประเทศของประเทศไทย
การคา้ ระหว่างประเทศของประเทศไทย
การติดต่อค้าขายกับต่างประเทศของประเทศไทยมีบทบาทที่สำคัญมาก เพราะการค้าระหว่างประเทศ มีผลกระทบต่อธุรกิจ
ภายในประเทศอย่างมาก ซึ่งเห็นได้จากการวางแผนพัฒนาจะมีนโยบายส่งเสริมการส่งออก เพราะการส่งออกมีความสำคัญต่อ
เศรษฐกิจของไทยมาก เนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม จึงมักเสียเปรียบประเทศอุตสาหกรรม ทำให้ประสบกับ
ปัญหาการขาดดุลการค้ามาโดยตลอด แม้รัฐบาลไทย จะพยายามแกไ้ ขปญั หาดังกล่าวก็ตาม
โครงสร้างการค้าระหวา่ งประเทศของไทย
ประเทศไทยมีความจำเป็นเหมือนประเทศในภูมิภาคต่าง ๆ ของโลกที่ต้องพึ่งพาการติดต่อซือ้ ขาย แลกเปลี่ยนสินค้าและบรกิ าร
ระหวา่ งประเทศ สำหรบั การค้าระหวา่ งประเทศของไทยมีโครงสรา้ งสินคา้ ออก และสินค้าเขา้ ดงั น้ี
1. โครงสร้างสินค้าส่งออก สินค้าส่งออกส่วนใหญ่เป็นผลผลิตทางการเกษตรและเป็นสินค้าขั้น ปฐมภูมิ ในระยะหลังมีการ
ส่งออกสินคา้ อุตสาหกรรมเพ่มิ มากขน้ึ สนิ คา้ สง่ ออกของไทย ประกอบดว้ ย
1) สินค้าทางการเกษตร ได้แก่ ข้าว ยางพารา ขา้ วโพด ผลติ ภณั ฑม์ ันสำปะหลงั และ ผลติ ผลเกษตรอื่น ๆ สินคา้ ส่งออกเหลา่ นี้เปน็
สนิ ค้าทปี่ ระเทศไทยส่งออกมาเป็นเวลานาน และปจั จบุ นั เป็นสินคา้ หลักท่ีทำรายไดใ้ หแ้ กป่ ระเทศเป็นจำนวนมาก
2) สนิ ค้าส่งออกชนิดใหม่ ได้แก่ ก้งุ สดแช่แข็ง เนือ้ ไก่ ปลาหมกึ ปลา ผลไม้ และผลผลติ อื่น ๆ
3) สินค้าอุตสาหกรรม ไดแ้ ก่ คอมพิวเตอรแ์ ละชิน้ สว่ นคอมพิวเตอร์ แผงวงจรไฟฟา้ อัญมณี เส้อื ผ้าสำเรจ็ รูป ผลิตภณั ฑ์เหลก็ และ
เหลก็ กล้า ผลิตภัณฑน์ ้ำมนั และสนิ คา้ อตุ สาหกรรมอ่ืน ๆ
สินค้าส่งออกของไทยเหลา่ นีน้ ำเงินตราตา่ งประเทศมาส่ปู ระเทศ มลู ค่าและปริมาณสนิ คา้ ออก ของแต่ละปนี ้ันแตกตา่ งกันออกไป
และมีปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการส่งสินค้าออกก็เปลี่ยนไปเสมอ ปัญหาของสินค้าส่งออกในแต่ละปีไม่เหมือนกับปีก่อน ๆ
ดังนั้น เพื่อขจัดความยุ่งยากและความสับสน ในการวิเคราะห์สินค้าส่งออกในแต่ละปี จะช่วยให้ได้เนื้อหาที่ละเอียดและไม่
ผดิ พลาด

2 โครงสรา้ งสินคา้ นำเขา้ สินค้านำเขา้ ของไทยมแี นวโน้มสูงขึน้ โครงสร้างสนิ ค้านำเขา้ มี 4 รายการ ดังน้ี
1) สินค้าอุปโภคบริโภค ได้แก่ สินค้าประเภทอาหาร เครื่องดื่ม ผลิตภัณฑ์นม เครื่องใช้ในบ้าน สินค้าเหล่านี้เป็นสินค้าประเภท
สน้ิ เปลืองและประเภทถาวร
2) สนิ ค้าก่ึงสำเร็จรูปและวัตถดุ บิ เปน็ สนิ ค้าที่ใช้ในการผลิตสนิ คา้ อุปโภคบริโภคและใช้เพอ่ื ผลติ สนิ คา้ ทุน
3) สินคา้ ประเภททนุ ไดแ้ ก่ เคร่ืองจักร เคร่ืองมอื ปุ๋ยเคมี และสนิ คา้ ประเภททุนอื่น ๆ
4) สนิ ค้าอืน่ ๆ ไดแ้ ก่ รถยนต์ เชอ้ื เพลิง อะไหล่รถยนต์ สินคา้ เบด็ เตล็ด และทองคำแท่ง
ปัจจุบัน ประเทศไทยมีการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศมากกว่าการส่งออกไปขายต่างประเทศ ทั้งนี้เนื่องจากสาเหตุหลาย
ประการ ดังนี้
1. ประเทศอยูใ่ นระหว่างการเรง่ รัดพัฒนาเศรษฐกิจและสงั คม มีความจำเปน็ ต้องสง่ั สนิ ค้า ประเภททนุ เข้ามาเพิม่ ขน้ึ อย่างรวดเร็ว
2. ประเทศไทยรบั เงนิ ตราต่างประเทศเพิ่มขึ้นในรูปของเงนิ กู้ เงินช่วยเหลือและเงินทุนของ ต่างประเทศ ซึ่งมีเงื่อนไขและความ
กดดนั ใหม้ กี ารส่งั สินคา้ เข้าทั้งทางตรงและทางออ้ ม
3. อิทธพิ ลจากการเลยี นแบบในการบรโิ ภคจากต่างประเทศ เกดิ ความต้องการในการบรโิ ภคสนิ ค้า เพ่อื การอุปโภคบรโิ ภคเพิ่มข้ึน
อยา่ งรวดเร็ว
4. ประเทศไทยส่งเสรมิ ให้เอกชนทำการคา้ โดยเสรี มีการควบคมุ การนำเขา้ เพยี งเลก็ นอ้ ยเท่านนั้ จึงมกี ารส่งั สนิ คา้ เขา้ เพิ่มขึ้นอยา่ ง
รวดเรว็

ตาราง แสดงดุลการชำระเงินระหว่างประเทศของประเทศไทย ปีงบประมาณ พ.ศ. 2559-2563

สรุป การได้เปรียบโดยเปรียบเทียบ ถึงแม้ว่าประเทศหนึ่งจะอยู่ในฐานะเสียเปรียบอีกประเทศหนึ่ง ในการผลิตสินค้าทุกชนิดก็
ตาม ประเทศทั้งสองย่อมทำการค้าต่อกันได้โดยแต่ละประเทศจะเลือกผลิต เฉพาะสินค้าที่ตนได้เปรียบ จะทำให้ประเทศตน
สามารถผลิตสินค้าได้ด้วยตน้ ทุนต่ำสุด แล้วนำไปแลกเปล่ียน กับอีกประเทศหนึ่ง ทั้งสองประเทศก็จะได้รับประโยชน์จากการค้า
ระหว่างประเทศ สำหรับนโยบายการค้า ระหว่างประเทศมี 2 นโยบายใหญ่ ๆ คือ นโยบายการค้าเสรี เป็นนโยบายการค้าที่ไม่
สนับสนุนการเก็บภาษี ศุลกากรในอัตราที่สูงและพยายามขจัดข้อจำกัดต่าง ๆ ที่ขัดขวางการค้าระหว่างประเทศและนโยบาย
การค้า คุ้มกัน เป็นนโยบายที่คุม้ ครองเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งมีความสามารถไม่เท่ากนั การใช้นโยบายคุ้มกนั ก็เพื่อ ช่วยเหลือ
อุตสาหกรรมโดยการตั้งกำแพงภาษี ซึ่งจะช่วยให้รัฐมีรายได้จากภาษีนำเข้า มีอำนาจต่อรองและ ความมั่นคงทางการเมือง
ระหวา่ งประเทศ

อตั ราแลกเปล่ยี นเงินตราต่างประเทศ ใช้เปน็ สือ่ กลางในการซือ้ ขายแลกเปลยี่ นในการติดต่อทำการค้า ระหว่างประเทศ ประเทศ
คู่ค้าจะบันทึกรายการการค้าที่เกิดขึ้น เพื่อทราบผลการค้าที่ได้ดำเนินไปในแต่ละปี ซึ่งมี 2 ลักษณะ คือ ดุลการค้าและ
ดุลการชำระเงิน ในกรณีที่ประเทศมีดุลการชำระเงินขาดดุลอาจเกิดจากภัยธรรมชาติ มีการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานของ
ประเทศเปน็ จำนวนมาก
8. ครูสอนผู้เรียนเพ่ิมเติมถงึ การดำเนนิ ชวี ิตประจำวันแบบพอเพยี ง รจู้ กั การประหยดั อดออม
ขัน้ สรปุ และการประยกุ ต์
9. ครสู รปุ บทเรียน โดยใช้สื่อ PowerPoint และเปดิ โอกาสใหน้ กั เรยี นไดซ้ กั ถามข้อสงสัย
10. ผเู้ รยี นทำกิจกรรมใบงาน และแบบประเมินผลการเรยี นรู้

ส่ือและแหล่งการเรียนรู้

1. หนังสือเรยี นหลักเศรษฐศาสตร์ รหัสวชิ า 30200-1001 ของสำนักพิมพ์เอมพันธ์
2. สอ่ื PowerPoint
3. แบบประเมนิ ผลการเรียนรู้
4. กจิ กรรมการเรียนการสอน
5. แบบประเมนิ กจิ กรรมใบงาน

หลกั ฐาน

1. บันทึกการสอนของผูส้ อน
2. ใบเชค็ รายช่ือ
3. แผนจัดการเรยี นรู้
4. การตรวจประเมินผลงาน

การวดั ผลและการประเมินผล

วิธีวดั ผล
1. สังเกตพฤตกิ รรมรายบุคคล
2. ตรวจกจิ กรรมส่งเสรมิ คณุ ธรรมนำความรู้
3. ตรวจแบบประเมินผลการเรยี นรู้ แบบฝกึ ปฏบิ ตั ิ
4. ตรวจใบงาน
เครื่องมอื วดั ผล
1. แบบสงั เกตพฤตกิ รรมรายบุคคล
2. แบบประเมนิ ผลการเรยี นรู้ และแบบฝกึ ปฏบิ ัติ
3. แบบประเมินกจิ กรรมใบงาน

เกณฑก์ ารประเมินผล
1. เกณฑผ์ ่านการสงั เกตพฤตกิ รรมรายบุคคล ตอ้ งไมม่ ชี ่องปรับปรงุ
2. แบบประเมนิ ผลการเรยี นรมู้ เี กณฑผ์ า่ น และแบบฝึกปฏบิ ตั ิ 50%
3. แบบประเมนิ กิจกรรมใบงานมเี กณฑผ์ ่าน 50%

กิจกรรมเสนอแนะ

1. แนะนำให้ผู้เรยี นอา่ นทบทวนเน้ือหาเพิม่ เตมิ
2. ควรศึกษาขอ้ มูลเพมิ่ เตมิ จากสื่ออนิ เทอรเ์ นต็

แบบเรยี นรู้หนว่ ยการเรยี นรู้ที่ 13

ตอนท่ี 1 จงตอบคำถามต่อไปนี้
1. ทำไมการค้าระหวา่ งประเทศจึงมีความจำเปน็ ตอ่ ประเทศต่าง ๆ บนโลกใบน้ี
.....................................................................................................................................................................................
.....................................................................................................................................................................................
2. การคา้ ระหว่างประเทศมเี หมอื นหรอื ต่างจากการคา้ ภายในประเทศอย่างไร
.....................................................................................................................................................................................
3. อธิบายผลดขี องการมีการค้าระหว่างประเทศ
.....................................................................................................................................................................................
4. การค้าระหวา่ งประเทศก่อใหเ้ กดิ ปัญหาใดตอ่ เศรษฐกิจภายในและภายนอกประเทศ
.....................................................................................................................................................................................
5. ในปัจจบุ ันประเภทของการกำหนดอัตราแลกเปลย่ี นเงินตราต่างประเทศมอี ะไรบา้ ง

.....................................................................................................................................................................................
6. ดลุ การค้าแตกต่างจากดลุ การชำระเงินอยา่ งไร

.....................................................................................................................................................................................
.....................................................................................................................................................................................
7. มาตรการการแกไ้ ขดุลการชำระเงนิ และดุลการค้าระหวา่ งประเทศขาดดลุ มีอะไรบา้ ง

.....................................................................................................................................................................................
8. อัตราแลกเปลยี่ นดุลยภาพเกิดขึ้นไดอ้ ยา่ งไร

.....................................................................................................................................................................................
9. เคร่อื งมอื ของนโยบายค้มุ กันมอี ะไรบ้าง

.....................................................................................................................................................................................

ตอนที่ 2 จงเลือกขอ้ ทถี่ กู ต้องที่สดุ เพียงข้อเดยี ว
1. เพราะเหตใุ ดแตล่ ะประเทศจงึ ตอ้ งมีการค้าระหว่างประเทศ
ก. ทรพั ยากรธรรมชาตติ า่ ง ๆ มีมากนอ้ ยแตกต่างกนั
ข. สภาพของภมู ปิ ระเทศและภมู ิอากาศแตกต่างกัน
ค. แรงงานมีความชำนาญงานแตกต่างกัน
ง. การพฒั นาเทคโนโลยแี ตกตา่ งกนั
จ. ถูกทกุ ขอ้

2. การตัง้ กำแพงภาษเี ปน็ นโยบายประการหน่ึงของการค้าแบบใด
ก. การคา้ ภายในประเทศ
ข. การค้าระหวา่ งประเทศ
ค. การค้าขายจากภาคกลางไปยงั ภาคใต้
ง. การค้าขายจากจังหวดั หน่ึงไปยงั อีกจงั หวัดหนึ่ง
จ. การค้าขายระหวา่ งชุมชนท่มี คี วามเขม้ แข็ง

3. ปจั จบุ นั อตั ราแลกเปลย่ี นของเงนิ บาทกบั ดอลลาร์สหรัฐฯ ประมาณ 1$ = 32 บาท ขอ้ ใดเปน็ การลดค่าเงิน
บาท

ก. 1$ = 29 บาท ข. 1$ = 35 บาท
ค. 1$ = 32 บาท ง. อยู่ท่ีผซู้ ้อื และผู้ขายตกลงกนั
จ. ไมม่ ขี ้อใดถกู

4. คา่ เสมอภาคคืออะไร

ก. ค่าของเงนิ ทถ่ี ูกกำหนดโดยอปุ สงค์และอปุ ทานเงนิ ตราสกลุ นั้น

ข. การกำหนดคา่ ของเงินตราสกลุ ตา่ ง ๆ เทยี บเทา่ กบั ทองคำจำนวนหนง่ึ

ค. คา่ ของเงินท่ีใช้ซื้อสนิ ค้าและบรกิ ารระหวา่ งกนั

ง. อัตราแลกเปลี่ยนดลุ ยภาพ

จ. 1 ดอลลารส์ หรัฐฯ เท่ากับ 32 บาท

5. หน่วยงานที่ควบคุมค่าเงินตราตา่ งประเทศคอื หน่วยงานใด

ก. สำนักหกั บญั ชี ข. กองทนุ การเงนิ ระหว่างประเทศ

ค. กระทรวงการคลัง ง. ธนาคารแหง่ ประเทศไทย

จ. กรมเศรษฐกิจการพาณชิ ย์

6. หน่วยงานใดเปน็ ผู้ท่เี กบ็ ทนุ สำรองระหว่างประเทศ

ก. ธนาคารกลาง ข. ธนาคารพาณิชย์

ค. ธนาคารออมสนิ ง. บรษิ ทั เงนิ ทนุ

จ. สถาบนั การเงิน

7. รายไดจ้ ากการทอ่ งเทย่ี วจะเป็นรายการทอี่ ยใู่ นบญั ชีใด

ก. บญั ชที นุ ข. บญั ชีเงินโอน

ค. บัญชีเงนิ บรจิ าค ง. บัญชเี ดนิ สะพัด

จ. บญั ชีดลุ การชำระเงิน

8. ดลุ การคา้ ขาดดลุ หมายถึงอะไร

ก. มลู ค่าสนิ ค้าออกมากกวา่ มลู ค่าสนิ คา้ เขา้

ข. มูลค่าสินค้าออกน้อยกว่ามูลคา่ สนิ คา้ เขา้

ค. รายได้จากนกั ทอ่ งเท่ียวชาวต่างประเทศเพิ่มขึ้น

ง. รายไดจ้ ากนกั ท่องเที่ยวชาวตา่ งประเทศลดลง

จ. ผิดทกุ ข้อ

9. การลดค่าของเงินของประเทศใดประเทศหน่งึ มีแนวโน้มท่จี ะทำใหเ้ กิดส่ิงใดตอ่ ไปนีข้ น้ึ

ก. สินคา้ เขา้ และสินค้าออกเพมิ่ ขนึ้ ข. สินคา้ เข้าลดลง สนิ คา้ ออกเพิม่ ขึ้น

ค. สนิ ค้าเขา้ เพ่ิมข้นึ สินค้าออกลดลง ง. สินคา้ เข้าและสินคา้ ออกลดลง

จ. ผดิ ทกุ ข้อ

0. มาตรการกดี กันทางการค้าทีป่ ระเทศพฒั นาแลว้ นิยมใชใ้ นปัจจบุ นั คอื อะไร

ก. กำหนดโควตา ข. หา้ มนำเข้า

ค. การตงั้ กำแพงภาษี ง. ขอ้ กำหนดดา้ นสขุ อนามัย

จ. ผิดทุกข้อ

ตอนที่ 3 หาขา่ วเก่ยี วกับการคา้ ระหว่างประเทศ เช่น การส่งออกสินคา้ การนำเข้าสินคา้ ราคาน้ำมัน ราคา
พืชผลทางการเกษตร เป็นต้น โดยวเิ คราะห์สาเหตุ การแกป้ ัญหา และผลท่มี ตี ่อดลุ การค้า
และดลุ การชำระเงิน

.....................................................................................................................................................................................
.....................................................................................................................................................................................
.....................................................................................................................................................................................
.....................................................................................................................................................................................
.....................................................................................................................................................................................
.....................................................................................................................................................................................
.....................................................................................................................................................................................
.....................................................................................................................................................................................
.....................................................................................................................................................................................
.....................................................................................................................................................................................
.....................................................................................................................................................................................
.....................................................................................................................................................................................

ใบงานที่ 1

ให้ผู้เรียนแบ่งกลุ่มเพื่อวิเคราะห์เรื่อง “สถานการณ์โรคระบาด COVID-19 มีผลกระทบด้านการค้า และการท่องเที่ยวของ
ประเทศไทยกับสาธารณรัฐประชาชนจนี อย่างไร ส่งผลต่อดุลการชำระเงนิ หรอื ไม่ อยา่ งไร” จากนน้ั ทำสง่ ครผู ู้สอน
.....................................................................................................................................................................................
.....................................................................................................................................................................................
.....................................................................................................................................................................................
.....................................................................................................................................................................................
.....................................................................................................................................................................................
.....................................................................................................................................................................................
.....................................................................................................................................................................................
.....................................................................................................................................................................................

.....................................................................................................................................................................................
.....................................................................................................................................................................................
.....................................................................................................................................................................................
.....................................................................................................................................................................................
.....................................................................................................................................................................................
.....................................................................................................................................................................................

บนั ทึกหลังการสอน

ข้อสรุปหลงั การสอน
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
ปญั หาทพ่ี บ
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
แนวทางแก้ปัญหา
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................

แผนการจัดการเรยี นรูแ้ บบบรู ณาการท่ี 16 หน่วยท่ี 14

รหัส 30200-1001 หลกั เศรษฐศาสตร์ สอนคร้งั ที่ 16
ช่อื หน่วย การพัฒนาเศรษฐกิจและวัฏจกั รของเศรษฐกิจ
จำนวน 4 ช่ัวโมง

สาระสำคัญ

การพัฒนาเศรษฐกิจ เป็นการเพิ่มรายไดแ้ ละคุณภาพชีวิตให้กบั ประชาชน เพื่อแก้ไขปัญหาด้านการเจริญเติบโต ทางเศรษฐกจิ
เสถยี รภาพทางเศรษฐกจิ ความยากจน การกระจายรายได้และปญั หาสังคมในด้านต่าง ๆ การพัฒนาเศรษฐกจิ มักดำเนนิ ไปตาม
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแหง่ ชาตทิ ่วี างไว้

จุดประสงค์การเรียนรู้

1. อธิบายความหมายและความสำคญั ของการพัฒนาเศรษฐกจิ ได้
2. อธิบายหลกั เกณฑใ์ นการวัดและปจั จัยพนื้ ฐานในการพฒั นาเศรษฐกิจได้
3. อธบิ ายบทบาทของรฐั บาลกับการพฒั นาเศรษฐกจิ ได้
4. อธิบายเกยี่ วกบั วัตถุประสงคแ์ ละวธิ กี ารในการวางแผนพฒั นาเศรษฐกิจได้

สมรรถนะประจำหน่วย

1. แสดงความรูเ้ กย่ี วกบั การพฒั นาเศรษฐกิจ
2. แสดงความรู้เกยี่ วกับวัฏจักรเศรษฐกิจ

สาระการเรยี นรู้

1. ความหมายและความสำคญั ของการพฒั นาเศรษฐกิจ
2. หลักเกณฑ์ในการวดั และปจั จยั พื้นฐานในการพฒั นาเศรษฐกิจ
3. บทบาทของรัฐบาลกับการพฒั นาเศรษฐกจิ
4. การวางแผนพฒั นาเศรษฐกจิ

กจิ กรรมการเรยี นการสอน

ขน้ั นำเข้าสบู่ ทเรยี น
1. ครูกล่าวว่า การพัฒนาเศรษฐกิจนับเป็นวัตถุประสงค์ของประเทศต่าง ๆ ในโลก ที่จะทำให้ประชาชนในประเทศ มีรายได้
เพมิ่ ขึน้ มีมาตรฐานการครองชีพท่ีสูงข้ึนและเพ่มิ ความสามารถในทางเศรษฐกจิ ของประชาชนซ่ึงเปน็ การเพ่ิมคณุ ภาพชีวิต ในแต่
ละปจี ะมีการจดั ทำแผนงานต่าง ๆ เพ่ือใหบ้ รรลุเป้าหมายท่กี ำหนดไว้ ดังน้ัน การพัฒนาเศรษฐกจิ ที่ดจี ะชว่ ยให้รายได้ประชาชาติ
ที่แท้จริงของประเทศเพิ่มขี้นในระยะยาว เมื่อประชาชน ในประเทศมีรายได้เพิ่มขึ้น การปรับปรุงคุณภาพของชีวิตให้ดีขึ้นก็จะ
ตามมา ความเป็นอยขู่ องประชาชน ส่วนใหญ่จะดีข้ึน ความเหลอื่ มลํา้ ในการกระจายรายไดแ้ ละความยากจนจะหมดไป เมอื่ ไดร้ ับ
ส่งิ จำเป็น ต่อการดำรงชีวติ
2. ครูกล่าวว่า ในหน่วยการเรียนรู้ที่ 14 นี้ ผู้เรียนจะได้เรยี นรู้การพัฒนาเศรษฐกิจและวัฏจักรเศรษฐกิจ เพื่อนำความรูท้ ี่ได้ไป
ประยกุ ต์ในชีวิตประจำวันรวมถงึ ผูเ้ รียนสามารถนำความรไู้ ปใช้ในการวเิ คราะหเ์ ศรษฐกจิ และพฒั นาเศรษฐกิจ

ขัน้ สอน
3. ครูใชส้ อื่ PowerPoint ประกอบเทคนคิ การบรรยายความหมายและความสำคัญของการพฒั นาเศรษฐกิจ
3.1 ความหมายของการพฒั นาเศรษฐกจิ
ประเทศต่าง ๆ ทว่ั โลกสามารถแบง่ การพฒั นาเศรษฐกิจของประเทศออกเปน็ 3 กล่มุ คือ
1. กลมุ่ ประเทศท่ีพฒั นาแล้ว (Developed Country) 2. กลุม่ ประเทศกำลังพัฒนา (Developing Country)
3. กลุม่ ประเทศด้อยพัฒนา (Underdeveloped Country) หรือกลมุ่ ประเทศพัฒนานอ้ ยทส่ี ุด (Least Developed Country)

ความแตกต่างของทัง้ สามกลุม่ นี้จะพิจารณาอย่างง่าย ๆ จากรายได้เฉลีย่ ต่อคน ประเทศที่พัฒนา แล้วจะเป็นประเทศที่รํ่ารวย
ส่วนประเทศกำลังพัฒนาเป็นประเทศที่ยังยากจน เนื่องจากการกระจายรายได้ ไม่เสมอภาคกัน ดังนั้น ประเทศกำลังพัฒนาจึง
หมายถึงประเทศที่ประชากรส่วนใหญ่ยากจนมาเป็นเวลานาน ซึ่งความยากจนไม่ได้เกิดจากการขาดแคลนทรัพยากรธรรมชาติ
หรือแรงงาน แต่เกิดจากความไม่สามารถ ที่จะนำทรัพยากรที่ประชากรมอี ยู่มาใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างเต็มทีไ่ ด้และยังมีวธิ ีที่จะ
นำทรัพยากรมาใช้ให้เกิด ประโยชน์อย่างเต็มที่เพื่อยกระดับความเป็นอยู่ของประชากรให้ดีขึ้น สำหรับประเทศด้อยพัฒนา
ประชากร มีความยากจนมาก การลงทุนจึงมนี ้อย ขาดแคลนเคร่ืองมือเครื่องจกั รท่ีจะประกอบการผลติ ทำใหค้ วามสามารถในการ
ผลิตสินค้าและบริการตํ่า ประชากรมีรายได้เฉลี่ยต่อคนตํ่าและการที่ประชากรยากจน มีเหตุผล 2 ประการ คือ ตลาด
ภายในประเทศแคบ เพราะประชากรมีความต้องการซื้อสินค้านอ้ ย และรายได้เฉลี่ยต่อคนน้อย การออมจึงตํา่ การลงทุนจึงน้อย
ตามไปด้วย
การพัฒนาเศรษฐกิจ (Economic Development) หมายถึง กระบวนการทีท่ ำใหร้ ายได้ท่แี ทจ้ ริง ตอ่ คนเพ่ิมข้ึนติดต่อกันเป็น
เวลานาน เพือ่ ให้มาตรฐานความเป็นอยู่ของประชากรส่วนใหญส่ งู ขึ้นและ ประชากรส่วนใหญ่ไดร้ ับประโยชน์จากรายได้ท่ีเพิ่มข้ึน
อยา่ งเท่าเทยี มกัน
3.2 ความสำคญั ของการพฒั นาเศรษฐกจิ
ประเทศต่าง ๆ ยอมรับการพัฒนาเศรษฐกิจว่า สามารถทำใหท้ ุกคนอยูด่ ีกินดี โดยเฉพาะประเทศ ด้อยพัฒนา เพื่อวัตถุประสงค์
ดังนี้
1. เพื่อยกระดับมาตรฐานการครองชีพของประชากรให้สูงขึน้ เพราะกระบวนการการพัฒนา เศรษฐกิจทำให้รายได้ต่อบคุ คล
สงู ข้นึ และมีอตั ราเพม่ิ ของรายได้ต่อบุคคลคอ่ นข้างสูง ตลอดจนกระจาย ความมัง่ คัง่ ร่าํ รวยไปสู่คนสว่ นใหญข่ องประเทศ
2. เพ่อื ป้องกนั การแทรกแซงทางเศรษฐกจิ และการเมือง ความยากจนของประชากรใน ประเทศดอ้ ยพัฒนาเปน็ สาเหตุสำคัญที่
ทำให้เกดิ ความขดั แยง้ ในสังคม การพฒั นาเศรษฐกิจจึงเปน็ มาตรการ สำคญั ในการป้องกนั สทิ ธิ
3. เพ่ือสามารถช่วยเหลือตนเองไดท้ ั้งทางเศรษฐกิจและการเมือง หากประเทศมีเศรษฐกิจ เจริญก้าวหน้า ย่อมทำให้รัฐบาลมี
เงนิ ไปใชจ้ า่ ยในโครงการพัฒนาต่าง ๆ ไดม้ าก เชน่ โครงสร้างพนื้ ฐาน การศึกษา การสาธารณสุข การสาธารณูปโภค การป้องกัน
ประเทศ เปน็ ต้น
4. เพ่ือชว่ ยใหเ้ ศรษฐกิจโลกขยายตัว เม่ือการพัฒนาเศรษฐกิจทำใหป้ ระชากรมีรายได้สูงข้นึ ความตอ้ งการซื้อสินค้าและบริการ
จากต่างประเทศกจ็ ะเพิ่มสูงขึน้ ในขณะเดยี วกันประชากรในประเทศ พัฒนาแล้วก็จะมรี ายได้สูงขึ้น เนื่องจากขายสินค้าประเภท
ทุนได้มาก ทำให้ความต้องการซื้อสินค้าประเภท อาหาร และวัตถุดิบทางการเกษตรจากประเทศด้อยพัฒนามากขึ้น ดังนั้น ผล
ของการพฒั นาเศรษฐกิจ จะทำใหก้ ารค้าของโลกขยายตวั จะชว่ ยใหเ้ ศรษฐกิจของโลกเจริญรงุ่ เรืองขึ้น
5. เพือ่ รกั ษาเสถยี รภาพดา้ นราคา รัฐบาลจะตอ้ งควบคมุ ปริมาณเงินใหเ้ หมาะสมกบั ภาวะ เศรษฐกจิ ไมใ่ ห้เกิดภาวะเงนิ เฟ้อหรือ
เงินฝืด เพราะจะส่งผลกระทบตอ่ การลงทุน การจ้างงาน การผลิต และการสง่ ออก
4. ครใู ช้ส่อื PowerPoint ประกอบเทคนิคการบรรยายหลักเกณฑใ์ นการวดั และปจั จัยพนื้ ฐานในการพัฒนาเศรษฐกจิ
การท่ีจะวัดวา่ ประเทศใดมีการพฒั นาเศรษฐกิจไปไดม้ ากหรอื นอ้ ยเพียงใด จะอาศยั หลกั เกณฑ์ดงั น้ี
1. หลักเกณฑท์ างเศรษฐกิจ หลักเกณฑ์ทางเศรษฐกจิ ในการวัดระดบั การพัฒนา ประกอบด้วย
เกณฑ์ตา่ ง ๆ ดงั น้ี
1) รายได้ต่อบุคคล เป็นเครื่องมือที่นิยมใช้กัน การเปรียบเทียบจะต้องเปลี่ยนค่าเงิน ในประเทศนั้น ๆ ให้อยู่ในรูปของดอลลาร์
สหรฐั ฯ เช่น สหรัฐอเมรกิ ามีรายได้ตอ่ บคุ คล 20,000 ดอลลาร์ สหรัฐฯ ต่อปี ไทยมรี ายไดต้ ่อบคุ คล 1,000 ดอลลารส์ หรัฐฯ ต่อปี
แสดงว่า สหรฐั อเมริกามีระดบั การพฒั นาเศรษฐกิจท่สี งู กว่าไทย อย่างไรก็ตามจะต้องพิจารณาถึงการกระจายรายได้และค่าครอง
ชพี ของประเทศ ประกอบดว้ ย เพราะถ้าประเทศหนึง่ มกี ารกระจายรายไดเ้ หล่อื มลาํ้ มาก มคี า่ ครองชพี สงู แม้จะมรี ายได้ ตอ่ บุคคล
สูง ประชากรของประเทศเหลา่ นัน้ อาจยงั ยากจนอยกู่ ็ได้
2) โครงสร้างทางเศรษฐกิจ ประเทศด้อยพัฒนาส่วนใหญ่จะเป็นประเทศที่ผลิตสินค้า เกษตรกรรม และมีกรรมวิธีในการผลิตท่ี
ค่อนข้างล้าสมยั กล่าวคือ ใช้ที่ดินและแรงงานเป็นปัจจยั การผลิตหลัก ส่วนการผลิตภาคอุตสาหกรรมจะมีสัดส่วนน้อย ประเทศ
พัฒนาแล้วประชากรส่วนใหญ่ของประเทศ จะประกอบอาชีพทางอุตสาหกรรมและบริการ อย่างไรก็ตามยังมีบางประเทศแมว้ ่า
จะมโี ครงสรา้ งทาง เศรษฐกิจเปน็ แบบเกษตรกรรม แตก่ ม็ รี ะดับการพฒั นาเศรษฐกิจทส่ี ูงมาก เช่น เดนมารก์ นิวซแี ลนด์ เป็นตน้

3) ประสิทธิภาพของปจั จัยการผลติ ประเทศด้อยพัฒนามปี ระสิทธภิ าพของปจั จยั การผลติ ต่าํ ทัง้ นเ้ี นื่องจากการผลติ ส่วนใหญใ่ ช้
เทคโนโลยีทล่ี ้าสมัย ในทางตรงข้าม ประเทศพัฒนาแลว้ ประสิทธภิ าพ ของปัจจัยการผลติ จะสงู
4) สถาบนั การเงินและการใชเ้ ครื่องมอื เครดติ ประเทศพัฒนาแลว้ จะมธี นาคารและสถาบัน การเงนิ จำนวนมาก มีการใช้เคร่ืองมือ
เครดิตหลายชนดิ และนยิ มใช้กันมาก สว่ นประเทศดอ้ ยพัฒนา มีการใช้เคร่อื งมอื เครดติ เพยี งไมก่ ีช่ นิด เช่น เช็ค ตว๋ั แลกเงิน ใช้กัน
เฉพาะบางกลมุ่ และในเมืองใหญ่ ๆ
5) การมีโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจ ประเทศด้อยพัฒนาจะขาดแคลนโครงสร้างพื้นฐาน ที่อำนวยความสะดวกในการผลติ
การขนส่งและการจำหนา่ ย เพราะประเทศดอ้ ยพัฒนามกั จะขาดแคลน เงนิ ทุน ขาดความรูค้ วามสามารถทางวชิ าการสมัยใหม่
2. หลักเกณฑ์อื่น ๆ ที่ไม่ใช่ทางเศรษฐกิจ เนื่องจากการพัฒนาเศรษฐกิจจะครอบคลุมถึง การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและ
สงั คม ดังน้นั ในการวดั ระดบั ของการพฒั นาเศรษฐกิจจำเปน็ ต้อง พิจารณาหลกั เกณฑ์อ่นื ๆ ทไ่ี มใ่ ชท่ างเศรษฐกิจดว้ ย ดังนี้
1) คณุ ภาพของประชากร ประเทศท่ีพัฒนาแล้วประชากรจะมีคุณภาพสงู เพราะไดร้ บั การศึกษาและการอบรมเป็นอย่างดี
2) ทัศนคติและความเชื่อมั่นในตนเอง ประชากรในประเทศที่พัฒนาแล้วจะมีความเชื่อมั่นใน ตนเองสูง มีหลักเกณฑ์ในการ
ตัดสนิ ใจ มีความมมุ านะทจ่ี ะทำงานเพอ่ื ใหไ้ ด้ประโยชนส์ ูงสดุ สว่ นประชากร ในประเทศดอ้ ยพัฒนามกั ขาดความเชอื่ มั่นในตนเอง
ไมม่ หี ลักเกณฑ์ทช่ี ่วยในการตดั สินใจมกั กระทำตามผอู้ ื่น
3) โครงสร้างทางครอบครัว ประชากรในประเทศที่พัฒนาแลว้ จะมขี นาดครอบครัวเล็ก จะชว่ ย ส่งเสรมิ การเป็นผู้นำร้จู กั เก็บออม
รูจ้ ักดน้ิ รนเพ่อื ตวั เอง สว่ นประเทศด้อยพัฒนาจะมลี ักษณะตรงกันขา้ ม
4) โครงสรา้ งของชนชัน้ ต่าง ๆ ในสังคม ชนชั้นทางสังคมแบ่งออกเป็นชนชั้นสูง ชนชั้นกลาง และชนชั้นตํ่า ประเทศที่พัฒนาแล้ว
จะมีชนชนั้ กลาง (ผู้ทม่ี อี าชีพทางพาณชิ ยกรรม อุตสาหกรรม นกั วชิ าการ ช่างฝมี ือ) เปน็ จำนวนมาก ส่วนประเทศด้อยพฒั นาจะมี
ชนชนั้ ตํ่า (เกษตรกร แรงงานไรฝ้ มี ือ ข้าราชการ ชน้ั ผนู้ ้อย เสมยี น) เป็นจำนวนมาก
5) ลกั ษณะของสังคม สังคมของประเทศพฒั นาแล้วจะมีการแบ่งหนา้ ทกี่ ารงานและ ความรบั ผิดชอบระหวา่ งสถาบนั ตา่ ง ๆ อย่าง
ชัดเจน สว่ นประเทศด้อยพัฒนาจะไมม่ ีการแบ่งหนา้ ที่ อย่างชดั เจน เช่น พระสงฆ์ในชนบทจะทำหน้าทีเ่ ผยแพร่พระธรรมคำสอน
ของพระพทุ ธเจา้ เปน็ พระ นักพัฒนาทอ้ งถน่ิ เป็นครู และเปน็ หมอในบางคราวดว้ ย
6) ความเหลื่อมลํ้าระหว่างเมืองกับชนบท ประเทศพัฒนาแล้ว ความเจริญในเมืองจะแผ่ขยาย ไปยังชนบทอย่างรวดเร็ว เพราะ
การติดต่อสื่อสารสะดวกและคนในชนบทยอมรับการเปลี่ยนแปลงและ เทคโนโลยีสมัยใหม่ ทำให้ความเหลื่อมลํ้าระหว่างเมือง
และชนบทมีนอ้ ย ตรงขา้ มกับประเทศดอ้ ยพฒั นา ซงึ่ มีความเหลอื่ มลา้ํ ระหว่างเมืองกบั ชนบทมาก
7) ขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรม ประเทศพัฒนาแล้ว ขนบธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรมจะมีไม่มากนักและมี
ลักษณะที่ส่งเสริมความเจริญก้าวหน้าแก่ส่วนรวม ส่วนประเทศด้อยพัฒนา มักมีขนบธรรมเนียมปร ะเพณีและวัฒนธรรมที่ไม่
สง่ เสริมให้ประเทศเจริญกา้ วหน้ามากนกั
8) ระบบการปกครอง ประเทศพฒั นาแลว้ จะมกี ารปกครองในระบบประชาธปิ ไตย ประชากร ส่วนใหญ่มีสิทธิบรหิ ารประเทศโดย
วิธีเลือกตั้งผู้แทน มีสิทธิในการแสดงความคิดเห็นอย่างเสรี แต่ในประเทศ ด้อยพัฒนาจะปกครองในระบบเผด็ จการหรือ
ประชาธิปไตยไม่สมบรู ณ์แบบ อำนาจในการบรหิ ารประเทศ จะตกอยูก่ ับคนเพียงกลมุ่ เดยี ว
4.1 ลกั ษณะสำคัญของประเทศดอ้ ยพัฒนา
ลกั ษณะทางสงั คม การเมอื งและเศรษฐกิจของประเทศด้อยพฒั นา สว่ นใหญม่ ลี ักษณะดงั นี้
1. ลักษณะทางด้านสังคม ได้แก่ ระดับความเจริญของตัวเมือง ระดับการพัฒนาของชุมชน นักสังคมวิทยาเห็นว่าสภาพทาง
เศรษฐกิจของชุมชนที่ยังไม่พัฒนาเท่าที่ควร เป็นผลของขนบธรรมเนียมประเพณี และสถาบันทางสังคมที่เป็นอยู่ขณะนั้น คือ
ลกั ษณะของเกษตรกรรมเปน็ แบบด้ังเดมิ มีรายได้ตอ่ คนตา่ํ ผลผลิตสว่ นใหญ่เปน็ สินคา้ เกษตรกรรมซง่ึ ผลิตข้นึ เพื่อเป็นสินค้าใช้ใน
ท้องถิ่น การค้าและการติดต่อ กับตลาดภายนอกยังมีจำกัด การจะหลุดพ้นจากลักษณะเช่นนี้จะต้องทำการผลิตเพิ่มขึ้น การ
ตดิ ต่อหรือ การอยรู่ ่วมกันจะเป็นไปเพอ่ื ธรุ กิจซ่งึ แสวงหากำไร ไม่ใชเ่ พือ่ ความเหน็ อกเหน็ ใจแบบดั้งเดิม
2. ช่องว่างของภาคการเกษตรกับภาคอุตสาหกรรม ประเทศด้อยพัฒนามีลักษณะคล้าย ๆ กัน เห็นได้ชัดคือ โครงสร้างทาง
เศรษฐกิจและสงั คม ประกอบด้วย ภาคการผลิตที่ล้าหลัง ใช้วิธีการผลิต แบบดั้งเดิม แต่อีกภาคการผลิตเป็นการผลิตที่ทันสมยั
ทดั เทียมกบั ประเทศทพ่ี ฒั นาแล้ว มีการขยายตวั อย่างรวดเร็วของกจิ กรรมทางเศรษฐกิจและทีส่ ำคัญคือ ภาคการผลติ ทง้ั สองไม่มี
ความเช่อื มโยง ซ่งึ กันและกัน เมอ่ื ระยะเวลาผา่ นไปยงิ่ ทำให้เกดิ ชอ่ งวา่ งทางเศรษฐกิจและสังคมมากขน้ึ

3. ขนาดของความเจริญในตัวเมือง ขนาดของความเจริญเติบโตในตัวเมืองจะมีความสัมพันธ์ กับการขยายตัวของ
ภาคอตุ สาหกรรม กล่าวคือ เมืองใหญ่จะมีกิจกรรมอตุ สาหกรรมเปน็ แหล่งทรพั ยากร เชน่ ทนุ คนงานท่มี ีฝมี อื เปน็ ตน้ สงิ่ ทีส่ ำคัญ
คือเมอื งใหญ่ ๆ มสี งิ่ แวดลอ้ มทางเศรษฐกจิ และสังคมทีช่ ่วย เสริมสรา้ งคณุ สมบตั ิของผู้ประกอบการ
4. ลักษณะของสถาบันทางสังคมขั้นมลู ฐาน สถาบันครอบครัวในสังคมจะมผี ลกระทบตอ่ การพัฒนาเศรษฐกิจ นักสังคมวิทยา
เห็นว่าความสัมพันธ์ของบุคคลในครอบครัวจะมีผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ ที่แตกต่างกัน เป็นสมมติฐานจากข้อเท็จจริงที่ว่า
ครอบครวั เด่ียวยอ่ มทำให้เกดิ กิจกรรมทางเศรษฐกิจ มากกว่าครอบครวั ขยาย
5. ความสำคญั ของกลมุ่ อทิ ธพิ ลท่ีเปน็ ชาวเมอื ง ประชากรทมี่ อี าชพี ค้าขาย ชา่ งฝีมอื นักวชิ าการ ซ่งึ คนพวกน้ีรวมเรยี กวา่ ชนชนั้
กลาง แต่ในประเทศด้อยพัฒนากลุ่มชนชั้นกลางมักเป็นลูกจ้างของรัฐมากกว่า เป็นผู้ประกอบการทางธุรกิจและผู้ประกอบการ
มักจะเปน็ คนต่างดา้ ว
6. ความคล่องตัวในการเล่ือนฐานะทางสังคม การเลื่อนฐานะทางสังคมจะมีความสัมพนั ธ์กบั การเลื่อนฐานะทางเศรษฐกิจ ใน
ประเทศพฒั นาแล้วจะมที ศั นคติทยี่ กย่องและยอมรับผ้ทู ป่ี ระกอบธุรกจิ เอกชน แตใ่ นประเทศดอ้ ยพัฒนาจะยกย่องข้าราชการชั้น
ผ้ใู หญ่ เจา้ หนา้ ทีข่ องรฐั วา่ เป็นบคุ คลท่มี ฐี านะสูง จงึ ไม่มสี ิ่งจูงใจให้เอกชนประกอบธุรกิจของตนเอง ทำใหป้ ระเทศดอ้ ยพัฒนาขาด
แคลนผปู้ ระกอบการ
4.2 ลกั ษณะสำคญั ของประเทศกำลงั พฒั นา
ประเทศกำลงั พัฒนา คือ ประเทศท่มี เี ศรษฐกิจอยใู่ นวัฏจกั รแหง่ ความยากจน ประชากรของประเทศ มรี ายได้เฉลย่ี ตอ่ คนทแ่ี ท้จรงิ
ตอ่ ปตี ่าํ ประชากรสว่ นใหญม่ ีรายได้ต่ํา ช่องว่างระหวา่ งคนรวยกับคนจนสูง คนรวย เปน็ คนกล่มุ น้อยของประเทศ ลกั ษณะสำคัญ
โดยทว่ั ไปของประเทศกำลังพฒั นามดี ังนี้
1. ลักษณะทางเศรษฐกิจ ประชากรสว่ นใหญ่เป็นเกษตรกร ผลผลติ จะเป็นสินคา้ ขั้นปฐม การผลิต ขึ้นอยู่กับธรรมชาติ หากเกิด
ภยั พบิ ตั ิผลผลิตจะลดลง เกษตรกรจะไดร้ บั ความเดือดรอ้ น มปี ญั หาหน้ีสนิ ล้นพน้ ตวั รายไดป้ ระชาตจิ ะลดต่ําลง
2. ลกั ษณะประชากร คุณภาพชีวติ ตา่ํ สว่ นใหญ่ขาดแคลนอาหาร มสี ขุ ภาพอนามยั ไม่ดี เนอื่ งจาก ขาดสารอาหาร คา่ ครองชีพตํ่า
อตั ราการเกดิ สูง การดำรงชวี ติ ต้องอาศัยครอบครัว เปน็ ครอบครวั แบบขยาย ส่วนใหญอ่ ยู่ในชนบทและยากจน
3. ลักษณะทางเทคโนโลยี เทคโนโลยี ที่ ใช้ ในการผลิ ตไม่ ทั นสมั ยเน่ื องจากขาดการศึ กษาอบรม ผลผลิตจึงมีประสิทธิภาพ
ตํ่า เช่น ใช้แรงงานคนในการผลิต ไม่ว่าจะเป็นการปลูก การดูแลรักษา การเก็บเกี่ยวผลผลิต หรือการใช้ฝักบัวรดน้ำต้นไม้ ไม่มี
หลักการประหยัด เทคโนโลยีที่ใช้ในการผลิต มีคุณภาพตํา่ รายได้ของผู้ผลติ จงึ ต่ำ
4. ลักษณะของวัฒนธรรมและการเมือง มีประเพณีความเชื่อสืบทอดติดต่อกันมาเป็นเวลานาน เชื่อเรื่องโชคลาง ไสยศาสตร์
ขาดการพัฒนา ไมย่ อมรับการเปลยี่ นแปลง
5. ลกั ษณะการออมและการลงทุน เนอื่ งจากประชากรมีรายได้ต่าํ รายไดส้ ว่ นใหญ่จะใช้เพ่อื การอุปโภคบริโภคหมด จึงไม่มีการ
ออม ทำใหก้ ารลงทนุ มจี ำกดั ผลผลิตทไี่ ด้จงึ นอ้ ยและประสทิ ธภิ าพการผลติ ตํา่ เนื่องจากขาดแคลนปจั จยั การผลิต เมอ่ื ส่งสินคา้ ไป
จำหนา่ ยยงั ต่างประเทศจึงเป็นสนิ ค้าด้อยคุณภาพ ทำใหไ้ ม่สามารถแข่งขันกบั ประเทศค่แู ข่งได้ สินค้าจงึ ขายได้นอ้ ย รายได้จงึ ต่าํ
4.3 ปัจจัยพื้นฐานในการพฒั นาเศรษฐกิจ
การพัฒนาเศรษฐกิจโดยทั่วไปขึ้นอยู่กับปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญ คือ ทรัพยากรมนุษย์ ทรัพยากรธรรมชาติ ทรัพยากรทุน ความ
เจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและปัจจัยอื่น ๆ ถ้าประเทศใดประเทศหนึ่งมีปัจจัยพื้นฐาน อย่างครบถ้วนและเหมาะสม ประเทศ
น้ันจะสามารถพัฒนาเศรษฐกิจได้อย่างรวดเร็ว ความเหมาะสมของ ปจั จัยพน้ื ฐานพอสรุปได้ดงั น้ี
1. ทรัพยากรมนษุ ย์ มนุษย์เป็นปัจจัยการผลติ หลักในทางเศรษฐกิจ ถ้ามนุษย์มีคณุ ภาพ มีจริยธรรม และคุณธรรมสูง แสดงว่ามี
ความรู้ ความเชีย่ วชาญ ความรับผดิ ชอบ ซือ่ สตั ย์ ตรงต่อเวลาและมวี นิ ยั ย่อมมีผลงานหรอื ผลผลติ ทม่ี คี ุณภาพสงู ถา้ เป็นแรงงาน
กจ็ ะเป็นแรงงานท่ีมผี ลติ ภาพในการผลติ สงู การศึกษา การฝึกอบรมและสขุ ภาพอนามัย กเ็ ปน็ ปัจจัยสำคญั ทชี่ ว่ ยเพิ่มผลิตภาพใน
การผลิตของแรงงาน ทรัพย์สิน ทางปัญญาส่งผลต่อผลิตภัณฑ์ภายในประเทศที่แท้จริงหรอื ความเจริญทางเศรษฐกจิ ในทางบวก
หรอื ทางลบ
2. ทรัพยากรธรรมชาติ ประเทศใดมที รัพยากรอุดมสมบรู ณย์ ่อมก่อให้เกิดความเจรญิ ทางเศรษฐกจิ โดยมนษุ ย์รู้จักนำทรัพยากร
นั้น ๆ มาใช้ให้เกิดประโยชน์มากกว่าประเทศที่ขาดแคลน ทรัพยากรธรรมชาติ หรือมีทรัพยากรแต่ขาดคุณภาพ หรือไม่รู้จัก
นำมาใช้ให้เกดิ ประโยชน์

3. ทรพั ยากรทนุ ประเทศท่ีมอี ุปกรณก์ ารผลติ ทท่ี ันสมยั และมปี ริมาณมาก ยอ่ มมีผลต่อการเพิม่ ขน้ึ ของผลิตภัณฑ์ประชาชาติที่
แท้จริงของประเทศ ในทางตรงข้าม ถ้าประเทศที่มีอุปกรณ์การผลิตที่ล้าสมัย และมีปริมาณน้อยย่อมกระทบต่อความเจริญทาง
เศรษฐกิจในทางลบได้
4. ความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ประเทศใดมีเทคโนโลยีและเทคนิคการผลิตที่มีคุณภาพสูง ย่อมผลิตสินค้าที่มีคุณภาพ
ไดม้ าก ทำใหต้ น้ ทุนการผลติ เฉลย่ี ต่อหน่วยตํา่ และราคาสนิ คา้ ถกู ลง ส่งออก ได้มากข้นึ มีผลตอ่ การขยายความเจริญทางเศรษฐกจิ
ในทางตรงข้าม ถ้าขาดแคลนเทคโนโลยแี ละเทคนคิ การผลิตที่ทันสมยั จะทำให้ต้นทุนการผลติ สูงข้ึน เพราะต้นทนุ การผลิตเฉล่ีย
ต่อหน่วยสูง ผลท่ีตามมาคอื ราคาสนิ คา้ แพงขึ้น ซึง่ สง่ ผลให้การส่งออกลดนอ้ ยลง ความเจรญิ ทางเศรษฐกจิ จะหดตวั ลง
5. ปัจจัยอื่น ๆ เช่น ทัศนคติ ประเพณี วัฒนธรรม การเมือง การปกครอง เป็นต้น นอกจากนี้ ระบบเศรษฐกิจของประเทศยังมี
ผลตอ่ ความเจรญิ ทางเศรษฐกิจในการขยายตวั หรอื หดตวั
5. ครูใช้สือ่ PowerPoint ประกอบเทคนิคการบรรยายบทบาทของรฐั บาลกบั การพัฒนาเศรษฐกจิ
รัฐบาลมีนโยบายในการส่งเสรมิ ให้มกี ารพัฒนาเศรษฐกิจ สามารถชว่ ยให้เกดิ การพัฒนา อยา่ งรวดเร็วไดด้ งั น้ี
1. การจัดโครงสร้างของตลาด ให้มีลักษณะการแข่งขันอย่างเสรีเพื่อสะดวกในการโยกย้าย ทรัพยากรระหว่างภาคการผลิต
ไมใ่ หม้ ีการสูญเสยี เกิดข้นึ ส่วนเกนิ ของผู้ผลิตภาคเกษตรจะสามารถเคลื่อนยา้ ย สู่ภาคอตุ สาหกรรมได้อยา่ งเต็มที่ โดยไมม่ คี นกลาง
หรือผูผ้ ูกขาดคอยเอารัดเอาเปรียบ
2. การพยายามใช้ส่วนเกินของผลผลิตให้เป็นประโยชน์อย่างเต็มท่ี คือ เกษตรลงทุน ในการผลิตสินค้ามากเกินความต้องการ
ของผู้บริโภคในตลาดรั ฐบาลจึ งต้ องเขา้ มามี บทบาทในการรวบรวม ส่วนเกินของผลผลิตด้วยการเกบ็ ภาษจี ากภาคเกษตร โดย
ภาษที เ่ี ก็บได้น้ันมาจากส่วนเกนิ ของผลผลิตน่ันเอง ภาษที จ่ี ดั เก็บอาจเป็นภาษที างตรงหรือภาษที างอ้อมกไ็ ด้ เช่น ภาษีท่ีดิน ภาษี
การค้า ภาษีรายได้ ภาษีที่เก็บจาก การส่งออกและนำเข้า เป็นต้น นอกจากนี้รัฐบาลยังอาจเป็นผู้รับซื้อและจำหน่ายผลิตผล
ทางการเกษตรเอง
3. การอำนวยความสะดวกใหม้ กี ารลงทนุ ในอตุ สาหกรรม โดยเฉพาะในทอ้ งถ่ินทีเ่ ป็น ภาคเกษตรกรรม เพ่ือใหภ้ าคการผลิตทั้ง
สองมีความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจต่อกันอย่างใกล้ชิด คนงานที่ล้นงาน ทางภาคเกษตรสามารถเคลื่อนย้ายไปทำงานใน
ภาคอุตสาหกรรมไดท้ ันที โดยไมต่ ้องย้ายภูมิลำเนาเขา้ ไป อยใู่ นเมือง
4. การพัฒนาอุตสาหกรรม ในระยะแรกควรเป็นไปในลักษณะที่ให้ความสำคัญกับอุตสาหกรรม ที่ใช้แรงงาน เพื่อเป็นการ
ส่งเสริมให้รองรับคนงานจากภาคเกษตรได้มากที่สุด ในระยะต่อไปควรเน้น อุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานฝีมือ เพื่อเพิ่มมูลค่าของ
สนิ คา้ ให้สูงขน้ึ
5. การส่งเสริมวิทยาการทางด้านการเกษตร เพื่อทำให้ภาคเกษตรมีความสามารถในการผลิต สูงขึ้น เพื่อป้องกันไม่ให้อัตรา
คา่ จ้างแรงงานสูงข้นึ อยา่ งรวดเรว็ ซ่ึงจะเปน็ อุปสรรคต่อการขยายงานและ การจา้ งงานในภาคอุตสาหกรรม
6. ครูใช้สอื่ PowerPoint ประกอบเทคนิคการบรรยายการวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจ
การวางแผนพฒั นาเศรษฐกจิ หมายถึง กระบวนการของการกำหนดแผนงานล่วงหนา้ ในการกำหนดโครงการ แผนงาน วิธีการ
ในการจัดสรรทรพั ยากรเพอ่ื ให้บรรลุเป้าหมายท่กี ำหนดไว้ แผนพัฒนาเศรษฐกจิ ทดี่ คี วรประกอบด้วย
1. ลักษณะในอนาคตของแผน
2. กำหนดเปา้ หมายใหช้ ัดเจน รวมถงึ ข้นั ตอนของกระบวนการเพอ่ื ใหบ้ รรลุเปา้ หมาย
3. เครอ่ื งมอื ทกุ ชนดิ ต้องประสานกันเพื่อใหบ้ รรลเุ ป้าหมายทก่ี ำหนดไว้
ในการวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศใดประเทศหนึ่ง จะมีวัตถุประสงค์ที่สำคัญ 2 ประการ คือ ความมั่งคั่ง และความ
ม่นั คงของชาติ
1. เพ่อื ความมงั่ ค่งั ของชาติ เป็นวตั ถุประสงค์ทางเศรษฐกจิ ซ่ึงประกอบดว้ ย
1. ใหร้ ายได้ประชาชาติทแ่ี ท้จริงต่อบคุ คลสูงข้นึ
2. ใหร้ ายไดข้ องประชากรไมแ่ ตกตา่ งกนั มากนกั
3. ให้ความเจรญิ แผก่ ระจายไปทว่ั ทุกทอ้ งถ่ิน
4. ใหจ้ ำนวนคนวา่ งงานลดลง

5. ให้มีดุลการชำระเงนิ ระหว่างประเทศที่เหมาะสม
6. ใหม้ ีเสถียรภาพทางเศรษฐกจิ หรอื สรุปไดว้ า่ ให้มคี วามเจรญิ ก้าวหนา้ ทางเศรษฐกิจและมเี สถียรภาพทางเศรษฐกิจ
2. เพอื่ ความมั่นคงของชาติ ประกอบดว้ ย
1. เพอื่ สนบั สนุนการรักษาความมนั่ คงทัง้ ในด้านเศรษฐกจิ การเมืองและสังคม
2. เพ่อื สนบั สนุนการสรา้ งความมนั่ คงทงั้ ด้านการเตรยี มความพรอ้ ม การเผชิญภาวะวิกฤติ และสร้างเสถียรภาพหลังภาวะวกิ ฤติ
สำหรับวธิ กี ารในการวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจโดยทว่ั ไปมี 2 วธิ ี คือ
การวางแผนจากส่วนบนสู่ส่วนล่าง คือ การกำหนดเค้าโครงของแผนให้สอดคล้องกัน โดยหน่วยงานระดับสูงหรือในระดับ
รัฐบาล เพื่อเป็นกรอบหรือเค้าโครงในรูปของการประมาณการตัวเลข ทางเศรษฐกิจต่าง ๆ เช่น เป้าหมายของการผลิตในสาขา
ต่าง ๆ การเกบ็ ภาษีอากร การใชจ้ ่ายของรัฐบาล ดุลการค้า ดุลการชำระเงิน เปน็ ต้น
การวางแผนจากส่วนลา่ งข้ึนสู่ส่วนบน คือ การวางโครงการและกำหนดการพฒั นาตา่ ง ๆ โดยสว่ นราชการในระดับต่ําเพื่อเสนอ
ขึ้นไปตามลำดบั มายงั กรม กระทรวง เจ้าสังกัด แล้วส่งตอ่ ไป ยังสำนักงานคณะกรรมการพฒั นาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
(สศช.) เพื่อพิจารณาตัดทอน แก้ไขและรวบรวมขึ้นเป็นแผนให้สอดคล้องกับเค้าโครงเศรษฐกิจที่ได้วางไว้ ตามวิธีวางแผนจาก
สว่ นบนสูส่ ว่ นล่างดังท่กี ล่าวมาแลว้ เมอ่ื วิธกี ารทั้งสองได้บรรจบกันโดยเรียบร้อย กจ็ ะจัดทำเป็น แผนพฒั นาเศรษฐกจิ ข้นึ
7. ครูให้ผู้เรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 4-5 คน ร่วมกันคิด วิเคราะห์ ร่วมกันแสดงความคิดเห็นภายในกลุม่ ในหัวข้อ “แนวทางการ
พฒั นาเศรษฐกจิ เพอื่ ประชากร” และร่วมกนั อภิปรายภายในชน้ั เรยี น
ขน้ั สรุปและการประยุกต์
8. ครสู รุปบทเรียน โดยใช้สอื่ PowerPoint และเปิดโอกาสให้นักเรียนได้ซักถามข้อสงสยั
9. ผเู้ รียนทำกจิ กรรมใบงาน และแบบประเมินผลการเรียนรู้

สอ่ื และแหลง่ การเรียนรู้

1. หนงั สอื เรียนหลกั เศรษฐศาสตร์ รหสั วชิ า 30200-1001 ของสำนักพิมพ์เอมพันธ์
2. สอื่ PowerPoint 3. แบบประเมินผลการเรยี นรู้
4. กิจกรรมการเรยี นการสอน 5. แบบประเมินกิจกรรมใบงาน

หลกั ฐาน

1. บนั ทึกการสอนของผู้สอน 2. ใบเชค็ รายชื่อ
3. แผนจดั การเรียนรู้ 4. การตรวจประเมินผลงาน

การวัดผลและการประเมนิ ผล

วิธวี ดั ผล
1. สังเกตพฤตกิ รรมรายบคุ คล 2. ตรวจกจิ กรรมสง่ เสรมิ คุณธรรมนำความรู้
3. ตรวจแบบประเมนิ ผลการเรยี นรู้ แบบฝกึ ปฏิบตั ิ 4. ตรวจใบงาน
เครอ่ื งมือวัดผล
1. แบบสงั เกตพฤตกิ รรมรายบคุ คล 2. แบบประเมินผลการเรียนรู้ และแบบฝึกปฏิบัติ
3. แบบประเมนิ กจิ กรรมใบงาน
เกณฑก์ ารประเมินผล
1. เกณฑ์ผา่ นการสงั เกตพฤติกรรมรายบคุ คล ต้องไม่มชี ่องปรบั ปรงุ
2. แบบประเมนิ ผลการเรยี นรู้มเี กณฑ์ผา่ น และแบบฝกึ ปฏิบตั ิ 50%
3. แบบประเมนิ กิจกรรมใบงานมเี กณฑผ์ า่ น 50%

กิจกรรมเสนอแนะ

1. แนะนำให้ผ้เู รียนอ่านทบทวนเน้ือหาเพม่ิ เตมิ
2. ควรศกึ ษาข้อมลู เพมิ่ เตมิ จากสอ่ื อินเทอร์เน็ต

แบบเรยี นรหู้ น่วยการเรยี นรทู้ ่ี 14

ตอนที่ 1 จงตอบคำถามตอ่ ไปนี้
1. การพัฒนาเศรษฐกิจหมายถงึ อะไร และมีวัตถุประสงค์อะไรบ้าง
.....................................................................................................................................................................................

2. อธบิ ายลักษณะสำคญั ของประเทศดอ้ ยพัฒนา
.....................................................................................................................................................................................
3. หลักเกณฑ์ทางด้านเศรษฐกจิ มีอะไรบ้าง
.....................................................................................................................................................................................
4. อธิบายปัจจัยพ้นื ฐานในการพัฒนาเศรษฐกิจ
.....................................................................................................................................................................................
5. รฐั บาลควรจะมีบทบาทอย่างไรในการสง่ เสริมใหม้ ีการพัฒนาเศรษฐกิจ

.....................................................................................................................................................................................
6. การวางแผนพฒั นาเศรษฐกจิ หมายความว่าอย่างไร และมีวิธใี นการวางแผนพฒั นาเศรษฐกิจกว่ี ธิ ี อธบิ าย

.....................................................................................................................................................................................

บันทึกหลังการสอน

ขอ้ สรปุ หลังการสอน
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
ปัญหาท่ีพบ
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
แนวทางแก้ปญั หา
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................

แผนการจดั การเรียนรู้แบบบูรณาการท่ี 17 หน่วยที่ 14

รหัส 30200-1001 หลกั เศรษฐศาสตร์ สอนครง้ั ท่ี 17
ช่อื หนว่ ย การพฒั นาเศรษฐกิจและวัฏจักรของเศรษฐกิจ
จำนวน 4 ช่ัวโมง

สาระสำคัญ

การพัฒนาเศรษฐกิจ เป็นการเพิ่มรายได้และคุณภาพชีวิตให้กบั ประชาชน เพื่อแก้ไขปัญหาด้านการเจริญเติบโต ทางเศรษฐกิจ
เสถยี รภาพทางเศรษฐกจิ ความยากจน การกระจายรายไดแ้ ละปญั หาสังคมในดา้ นต่าง ๆ การพฒั นาเศรษฐกจิ มกั ดำเนินไปตาม
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติท่ีวางไว้

จดุ ประสงค์การเรยี นรู้

1. เขา้ ใจถงึ การวางแผนการพฒั นาเศรษฐกจิ ของประเทศไทย
2. อธิบายความเปน็ มาและสามารถประยุกต์ใช้ปรชั ญาของเศรษฐกจิ พอเพยี งได้
3. อธบิ ายการเปล่ียนแปลงภาวะเศรษฐกิจตามวฏั จักรธรุ กิจได้

สมรรถนะประจำหน่วย

1. แสดงความรเู้ กยี่ วกบั การพฒั นาเศรษฐกิจ
2. แสดงความรเู้ กย่ี วกับวัฏจักรเศรษฐกิจ

สาระการเรยี นรู้

1. การพัฒนาเศรษฐกจิ และสงั คมของประเทศไทย
2. ความเปน็ มาและการประยุกตใ์ ช้ปรชั ญาของเศรษฐกิจพอเพยี ง
3. วฏั จกั รเศรษฐกจิ

กจิ กรรมการเรียนการสอน

ขน้ั นำเข้าสูบ่ ทเรียน
1. ครูกล่าวว่า การพัฒนาเศรษฐกิจนับเป็นวัตถุประสงค์ของประเทศต่าง ๆ ในโลก ที่จะทำให้ประชาชนในประเทศ มีรายได้
เพ่ิมข้นึ มีมาตรฐานการครองชพี ทีส่ ูงข้ึนและเพม่ิ ความสามารถในทางเศรษฐกิจของประชาชนซึ่งเป็น การเพมิ่ คุณภาพชีวิต ในแต่
ละปจี ะมกี ารจัดทำแผนงานตา่ ง ๆ เพอื่ ใหบ้ รรลุเป้าหมายทีก่ ำหนดไว้ ดงั น้นั การพัฒนาเศรษฐกจิ ท่ดี ีจะชว่ ยให้รายได้ประชาชาติ
ที่แท้จริงของประเทศเพิ่มขี้นในระยะยาว เมื่อประชาชน ในประเทศมีรายได้เพิ่มขึ้น การปรับปรุงคุณภาพของชีวิตให้ดีขึ้นก็จะ
ตามมา ความเป็นอยขู่ องประชาชน ส่วนใหญ่จะดขี นึ้ ความเหลื่อมลํ้าในการกระจายรายได้และความยากจนจะหมดไป เม่อื ได้รับ
สิ่งจำเปน็ ต่อการดำรงชีวติ
2. ครูกล่าวว่า ในหน่วยการเรียนรู้ที่ 14 นี้ ผู้เรียนจะได้เรียนรูก้ ารพัฒนาเศรษฐกิจและวัฏจักรเศรษฐกิจ เพื่อนำความรู้ที่ได้ไป
ประยุกตใ์ นชวี ติ ประจำวนั รวมถงึ ผเู้ รยี นสามารถนำความร้ไู ปใชใ้ นการวเิ คราะห์เศรษฐกิจและพัฒนาเศรษฐกิจ

ขั้นสอน
3. ครูใช้สื่อ PowerPoint ประกอบเทคนิคการบรรยายความหมายและความสำคัญของการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของ
ประเทศไทย
การจัดทำแผนพฒั นาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทย มปี ระวตั ิความเปน็ มาดงั นี้
พ.ศ. 2493 รัฐบาลได้ตราพระราชบัญญัติจัดตั้งสภาเศรษฐกจิ แห่งชาติขึ้น ทำหน้าที่วิเคราะห์วิจยั ภาวะทางเศรษฐกจิ และเป็นที่
ปรึกษารัฐบาลในการดำเนินการทางด้านการเงิน การคลังและทางเศรษฐกิจ พ.ศ. 2494 รัฐบาลแต่งตัง้ “คณะกรรมการร่วมมือ
ทางเศรษฐกิจและวชิ าการกับตา่ งประเทศ” ทำหน้าที่ประสานงานรบั ความช่วยเหลือทางเศรษฐกจิ และวชิ าการจากประเทศ

สหรัฐอเมรกิ า ให้เลขาธกิ าร สภาเศรษฐกจิ แห่งชาติ ทำหนา้ ท่ีเป็นกรรมการและเลขานกุ ารของคณะกรรมการฯ อกี ตำแหนง่ หนงึ่
พ.ศ. 2500 คณะสำรวจภาวะเศรษฐกิจของธนาคารโลก ได้ทำการสำรวจภาวะเศรษฐกิจ ของประเทศไทยตามคำขอร้องของ
รัฐบาลไทย โดยใชเ้ วลาสำรวจประมาณ 11 เดอื น คือ ระหว่างเดอื น กรกฎาคม 2500 ถงึ เดือนมถิ ุนายน 2501 เป็นรายงานแสดง
เศรษฐกิจไทย รายงานที่เสนอชื่อ “โครงการ พัฒนาภาครัฐบาลสำหรับประเทศไทย” เสนอแนวทางและชี้ถึงปัญหาการพัฒนา
เศรษฐกิจของไทย และเสนอแนะวิธีจัดสรรงบประมาณการกำหนดนโยบายและมาตรการต่าง ๆ เพื่อให้การใช้จ่ายเงิน เกิด
ประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศมากที่สุด ซึ่งรัฐบาลได้ใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาเศรษฐกิจ พ.ศ. 2502 รัฐบาลจัดตั้ง “สภา
พัฒนาการเศรษฐกิจแห่งชาติ” มีฐานะเทียบเท่ากรมในสังกัด สำนักนายกรัฐมนตรี ต่อมาเปลี่ยนเปน็ “สำนักงานคณะกรรมการ
พัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ”ประเทศไทยประกาศใช้แผนพัฒนาการเศรษฐกิจแห่งชาติเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2504
แผนพัฒนา การเศรษฐกิจแห่งชาติ ฉบับท่ี 1 แบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ระยะแรก พ.ศ. 2504-2506 เป็นระยะเวลา 3 ปี ระยะที่ 2
พ.ศ. 2507-2509 เปน็ เวลา 3 ปี รวมระยะเวลาของแผนพฒั นาฯ ฉบบั ที่ 1 เปน็ 6 ปี
พ.ศ. 2510-2514 ใช้แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 2 โดยเรยี กช่อื วา่ “แผนพฒั นาการเศรษฐกจิ และ สงั คมแหง่ ชาต”ิ และไดใ้ ช้ชื่อน้ีตลอด
มาจนถึงปจั จุบนั ผลจากการพฒั นาตามแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 1-11 สรุปไดด้ งั น้ี

ตาราง สรปุ แผนพัฒนาเศรษฐกจิ และสังคมแหง่ ชาติ ฉบับท่ี 1–11

แผนฯ ฉบบั ที/่ พ.ศ. วัตถุประสงค์ ผลการดำเนินงานตามแผนฯ

แผนพฒั นาศรษฐกิจแห่งชาติ มงุ่ พฒั นาอตุ สาหกรรมและการลงทุน ประสบความสำเรจ็ ด้านการขยายตวั

ฉบบั ที่ 1 (พ.ศ. 2504-2509) เรง่ พฒั นาการเกษตร การศกึ ษา และ ทางเศรษฐกจิ

พฒั นาชุมชน

แผนพฒั นาเศรษฐกจิ และสงั คม มุ่งพัฒนากำลงั คน นำทรัพยากร ไม่ประสบความสำเรจ็ เท่าทีค่ วร

แห่งชาติ และทนุ มาใช้ใหเ้ กดิ ประโยชน์ทาง เพราะเกดิ ความผนั ผวนในตลาด

ฉบับท่ี 2 (พ.ศ. 2510-2514) เศรษฐกจิ อยา่ งเตม็ ที่ ตา่ งประเทศ ราคาข้าว ยางพารา

ดบี ุกตกตาํ่ ทำใหอ้ ตั ราการเติบโต

ทางเศรษฐกิจตา่ํ กว่าเปา้ หมาย

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม มุง่ พัฒนาคน และการวางแผน ประสบอปุ สรรค เกดิ ความผันผวน

แห่งชาติ ครอบครัว เน้นการพฒั นาสังคม ในตลาดตา่ งประเทศ ราคาขา้ ว

ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2515-2519) ควบคกู่ ับการพฒั นาเศรษฐกจิ ยางพารา ดบี ุกตกตาํ่ อตั ราการ

เตบิ โตทางเศรษฐกจิ ตำ่ กว่าเปา้ หมาย

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม มุ่งสร้างความเป็นธรรมทางสังคมลด ประสบความสำเร็จน้อย เพราะได้

แหง่ ชาติ ความเหลื่อมลํ้าทางเศรษฐกิจสร้าง รับผลกระทบจากวกิ ฤตการณ์

ฉบบั ที่ 4 (พ.ศ. 2520-2524) สวสั ดภิ าพทางสังคม น้าํ มัน และความผันผวนทางการ

เงนิ ของโลก

แผนฯ ฉบับท/่ี พ.ศ. วตั ถุประสงค์ ผลการดำเนินงานตามแผนฯ
ตอ้ งประสบกบั ขอ้ จำกดั จากความ
แผนพฒั นาเศรษฐกจิ และสงั คมแหง่ ชาติ -เนน้ การพัฒนาเสถยี รภาพทาง ผนั ผวนทางการเงินของตลาดโลก
ทำให้การขยายตัวของภาคเกษตร
ฉบบั ที่ 5 (พ.ศ. 2525-2529) การเงนิ เป็นพิเศษ และอุตสาหกรรมตาํ่ กวา่ เปา้ หมาย
เกิดปัญหาการว่างงานสงู
- เน้นความสมดุลในการแก้ปญั หา
เศรษฐกิจขยายตวั อย่างม่นั คง
เศรษฐกจิ และสังคมของประเทศ และมเี สถียรภาพ ฐานะทางการเงนิ
การคลงั ดีข้ึน ชีวิตความเปน็ อยู่
- เน้นการแกไ้ ขปัญหาความยากจน ของประชากรดขี นึ้ กว่าเดมิ แต่การ
ขยายตัวทางเศรษฐกิจในอตั ราสูง
ในชนบท ล้าหลังและยังยดึ พืน้ ที่ ทีผ่ ่านมากอ่ ให้เกิดความไมส่ มดลุ
หลายดา้ น เช่น รายได้คนรวย
เป็นหลักในการวางแผน กบั คนจน เมืองกับชนบท เกษตร
กบั อุตสาหกรรม
แผนพัฒนาเศรษฐกจิ และสงั คมแหง่ ชาติ เน้นการพัฒนาเศรษฐกิจควบคู่ เศรษฐกจิ ขยายตวั อย่างต่อเนอื่ ง
แต่มาชะงักช่วงปี 2535-2536
ฉบับที่ 6 (พ.ศ. 2530-2534) ไปกบั การพฒั นาสงั คม เสรมิ สร้าง เน่ืองจากปญั หาทางดา้ นการเมอื ง
ทำใหไ้ มเ่ ป็นทนี่ า่ เช่ือถอื ของ
ความเปน็ ธรรม พฒั นาคณุ ภาพชีวิต นกั ลงทนุ ชาวตา่ งชาติ

ให้ทวั่ ถงึ และแกป้ ัญหา

ความเสอื่ มโทรมของ

ทรพั ยากรธรรมชาติและส่งิ แวดล้อม

แผนพฒั นาเศรษฐกิจและสงั คม รักษาอัตราการเจรญิ เตบิ โตทาง
แหง่ ชาติ ฉบบั ท่ี 7 (พ.ศ. 2535-2539) เศรษฐกิจอย่างต่อเน่ือง กระจาย
รายได้
และการพฒั นาสู่ภมู ภิ าค เร่งพฒั นา
ทรพั ยากรมนษุ ย์ คณุ ภาพชีวติ และ
ส่ิงแวดลอ้ ม และทรพั ยากรธรรมชาติ
ลดอตั ราเพม่ิ ประชากรใหเ้ หลอื 1.2

แผนฯ ฉบบั ท่/ี พ.ศ. วตั ถปุ ระสงค์ ผลการดำเนนิ งานตามแผนฯ
- ในชว่ งปที ี่ 1-2 แผนฯ ได้เกดิ
แผนพฒั นาเศรษฐกิจและสงั คม 1. พัฒนาเศรษฐกจิ ใหเ้ จรญิ เติบโต วิกฤตการณท์ างเศรษฐกิจอย่าง
รุนแรง ทำใหต้ อ้ งปรับเป้าหมาย
แห่งชาติ ฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2540-2544) อยา่ งมเี สถยี รภาพ ม่ันคง และ ของแผนฯ หลายครง้ั
- ในชว่ งทา้ ยของแผนฯ เศรษฐกจิ
สมดลุ ควบคู่กบั การพัฒนาสงั คม เร่มิ ฟืน้ ตั
- เศรษฐกิจไทยเริม่ ฟืน้ ตัว และมี
2. เร่งพัฒนาทรพั ยากรมนษุ ย์และ การขยายตวั คอ่ นขา้ งดี คอื
รอ้ ยละ 4.8 และ 6.7 ในปี 2545
คณุ ภาพชวี ิตอยา่ งตอ่ เนอ่ื ง โดยเนน้ และ 2546 ตามลำดบั
- มีการนำแนวทางเศรษฐกจิ พอเพยี ง
ให้คนเป็นศนู ยก์ ลางของการพฒั นา มาใชน้ ำทางในการพฒั นาประเทศ
-สามารถผลกั ดนั ให้เศรษฐกิจ
แผนพฒั นาเศรษฐกจิ และสงั คม 1. สรา้ งระบบบริหารจัดการทีด่ ี ขยายตวั อยา่ งมเี สถยี รภาพ ฐานะ
เศรษฐกิจมคี วามหลากหลายมากข้นึ
แห่งชาติ ฉบบั ท่ี 9 (พ.ศ. 2545-2549) ในสังคมไทย การจ้างงานคอ่ นขา้ งเต็มท่ี รายได้
เฉล่ยี ต่อหวั ของคนไทยเพ่ิมขึ้น
2. เสริมสรา้ งรากฐานของสงั คม ทำให้ความยากจนลดลง และ
ความเหลอื่ มลาํ้ ทางรายได้
ใหเ้ ขม้ แข็ง ระหวา่ งคนรวยกบั คนจนดีข้นึ
ตลอดจนการบรกิ ารด้านโครงสรา้ ง
3. ปรบั โครงสรา้ งทางเศรษฐกิจให้ พ้ืนฐานและบริการทางสงั คมอ่ืน ๆ
ทว่ั ถงึ มากข้ึน ส่งผลให้ความอยดู่ ี
สมดลุ และย่ังยนื มีสขุ ของคนไทยดีข้ึน
- นำแนวทางเศรษฐกิจพอเพยี ง
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสงั คม 1. สร้างบทบาทการมสี ่วนร่วมของ มาใช้นำทางในการพัฒนาประเทศ

แหง่ ชาติ ฉบับท่ี 10 (พ.ศ. 2550- ทกุ ภาคี

2554) 2. ปรบั ระบบการจดั สรรทรัพยากร

และงบประมาณ

3. ปรับปรุงและพฒั นากฎหมาย

ใหบ้ ังเกิดผลในทางปฏบิ ตั ิ

4. วจิ ัยพัฒนาองค์ความรูแ้ ละสรา้ ง

กระบวนการเรียนรู้

แผนฯ ฉบับที/่ พ.ศ. วตั ถุประสงค์ ผลการดำเนินงานตามแผนฯ
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม 1. เพ่อื เสริมสรา้ งสงั คมที่เป็นธรรม - การพัฒนาคนและสังคมไทยยังไม่
แหง่ ชาติ 2. เพอ่ื พฒั นาคนและสังคมไทยสู่ ไปสสู่ ังคมทม่ี คี ณุ ภาพมากนัก
ฉบับท่ี 11 (พ.ศ. 2555-2559) สงั คมท่มี คี ณุ ภาพ - เศรษฐกจิ ไทยมเี สถยี รภาพมาก
3. เพอ่ื พฒั นาเศรษฐกิจใหเ้ ติบโต ขนึ้ เช่น เสถียรภาพด้านราคา โดย
อยา่ งมีเสถียรภาพ คณุ ภาพและยงั่ ยืน อตั ราเงินเฟ้อโดยเฉล่ยี ร้อยละ
4. เพื่อบริหารจัดการทรพั ยากรธรรมชาติ 1.64 ลดลงตลอดชว่ งแผนฯ 11
และสิ่งแวดลอ้ มให้เพยี งพอตอ่ การ การวา่ งงานมี
รกั ษาสมดลุ ของระบบนิเวศ อัตราวา่ งงานนับวา่ คอ่ นขา้ งต่ำ
โดยเฉลีย่ รอ้ ยละ 0.82 ดลุ การคา้
ดลุ บญั ชีเดินสะพัดและดลุ การ
ชำระเงนิ ค่อนขา้ งมีเสถยี รภาพ
- ทรัพยากรธรรมชาตสิ ่วนใหญถ่ ูก
นำไปใช้ในการพัฒนาจำนวนมาก
กอ่ ให้เกิดความเสื่อมโทรมอยา่ ง
ตอ่ เน่ืองพ้ืนท่ปี า่ ลดลง ป่าชายเลน
ลดลงอยา่ งมาก ความหลากหลาย
ทางชวี ภาพไม่สมบรู ณด์ ังเดมิ
ด้านมลพิษคณุ ภาพอากาศยังมี
ปญั หาอยบู่ า้ ง

แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 - 2564) ได้น้อมนำหลัก “ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” มาเป็นปรัชญานำทางในการ
พฒั นาประเทศอย่างตอ่ เนอ่ื งจากแผนฯ ฉบับที่ 9 - 11 และการจัดทำแผนฯ ฉบบั น้ี ได้จดั ทำบนพืน้ ฐานของกรอบยทุ ธศาสตรช์ าติ
20 ปี (พ.ศ. 2560 - 2579) โดยร่วมกนั กำหนดวสิ ัยทศั น์ และทศิ ทางการพัฒนาประเทศเพ่ือมงุ่ สู่ “ความมัน่ คง มง่ั ค่งั และย่งั ยนื ”
จุดเน้นและประเด็นพฒั นาหลกั ได้แก่ การพัฒนานวัตกรรมและการนำมาใช้เป็นปจั จัยขับเคล่อื น การพัฒนาในทุกมติ ิ การเตรียม
ความพร้อมของประเทศในด้านการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การเตรียมความพร้อมด้านกำลังคนและเพิ่มศักยภาพ
ประชากรดา้ นความเปน็ ธรรมและลดความเหล่ือมลำ้ การสรา้ งความเขม้ แข็งทางเศรษฐกจิ และแข่งขนั ได้อย่างยง่ั ยืน การเติบโตท่ี
เปน็ มิตรกบั ส่ิงแวดลอ้ ม เพ่อื การพฒั นาท่ีย่งั ยืน
แนวทางการสร้างภูมคิ ุ้มกันในแผนพฒั นา ฯ ฉบบั ท่ี 11 มสี าระสำคญั ดังน้ี
1. การพัฒนาคนและสังคมไทยสู่สังคมคุณภาพ โดยมุ่งสร้างภูมิคุ้มกันตั้งแต่ระดับปัจเจกชน ครอบครัวและชุมชน สู่สังคมที่มี
คุณภาพ สามารถจัดการความเสี่ยงและปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลง ตลอดจนมีส่วนร่วมในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมและ
การเมอื งของประเทศได้อย่างมปี ระสิทธภิ าพ
2. การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจสู่ทิศทางการเติบโตในรูปแบบใหม่ มุ่งพัฒนาเศรษฐกิจภายใน ประเทศให้เข้มแข็ง เพื่อลดการ
พ่งึ พาปจั จัยภายนอก โดยการสร้างความเขม้ แขง็ ใหก้ ับผปู้ ระกอบการใน ภาคการผลิตและบริการ โดยเฉพาะวสิ าหกจิ ขนาดกลาง
และขนาดย่อม ผู้ประกอบการหน่ึงตำบล หนึ่งผลิตภณั ฑ์และผู้ประกอบการในภาคเกษตร ใหใ้ ช้ภมู ปิ ัญญาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี
นวัตกรรม และความคดิ สร้างสรรค์ เพือ่ ยกระดบั สู่การผลิตและการใหบ้ รกิ ารบนฐานความรู้และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รวมท้ัง
มีการเชื่อมโยงกับประเทศในภูมิภาคต่าง ๆ บนพื้นฐานการพึ่งพาซึ่งกันและกัน สร้างภูมิคุ้มกันต่อกระแส การเปลี่ยนแปลงจาก
ภายนอก

3. การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ให้ความสำคัญกับการบริหาร จัดการทรัพยากรธรรมชาติและ
สิ่งแวดล้อมให้เพียงพอต่อการรักษาสมดุลของระบบนิเวศบนพื้นฐานของ การมีส่วนร่วมของชุมชนในการดูแลรักษาและใช้
ประโยชน์ การเตรียมความพร้อมรองรับการเปลี่ยนแปลง ภูมิอากาศและภัยพิบัติทางธรรมชาติ สร้างภูมิคุ้มกันด้านการค้าจาก
เงื่อนไขด้านสิ่งแวดล้อมและเพิ่มบทบาท ของไทยในเวทีประชาคมโลกเพื่อให้สังคมมีภูมิคุ้มกัน สามารถสนับสนุนการพัฒนา
เศรษฐกิจและยกระดบั คณุ ภาพชวี ติ ใหค้ นในสงั คมไทย
4. ครใู ช้สือ่ PowerPoint ประกอบเทคนิคการบรรยายความเป็นมาและการประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกจิ พอเพียง
4.1 ความเป็นมาของปรชั ญาของเศรษฐกจิ พอเพียง
ระบบเศรษฐกิจไทยมคี วามไม่สมดลุ ในหลายดา้ น เช่น ความไมเ่ ท่าเทียมกนั ในดา้ นการกระจาย รายได้ ซงึ่ การกระจายรายได้ของ
คนในประเทศแย่ลง ในขณะที่เศรษฐกิจมีการขยายตัวสูงขึ้น กลุ่มคนรวย และกลุ่มที่มีรายได้น้อยมีรายได้เพิ่มขึ้น แต่รายได้ท่ี
เพิ่มขึ้นน้ีคนรวยจะมีอัตราการเพิ่มของรายได้ สูงกว่า ความแตกตา่ งของรายได้และความเจริญระหว่างเมืองและชนบท ความไม่
สมดลุ ของการใช้ ทรพั ยากรธรรมชาติและส่งิ แวดล้อมกบั การเจรญิ เตบิ โต ทำให้เกดิ ความเสอ่ื มโทรมของทรพั ยากรธรรมชาติ และ
สิ่งแวดล้อม ความไม่พอดีของโครงสร้างการผลิตและการจ้างงาน ความไม่สมดุลของโครงสร้างการผลิต และการศึกษาของ
คนงาน เป็นต้น กล่าวได้ว่า การพัฒนาเศรษฐกิจของไทยมีความสำเร็จในหลายด้าน แต่ไม่มคี วามสมดุลในโครงสร้าง หลายด้าน
โดยเฉพาะการมพี ฤติกรรมท่ีไมพ่ อดีทำใหเ้ กดิ ปญั หาวิกฤต สงั คมไทยมีการใช้จา่ ยเกนิ พอดี ท้ังภาคครัวเรอื นและภาคธุรกิจ ทำให้
เศรษฐกจิ มหภาคไม่สมดุล จึงทำให้ประเทศไทยมีการขาดดลุ บัญชีเดินสะพดั อย่างต่อเน่ือง จากที่การออมในประเทศมีน้อยกวา่
การลงทนุ นอกจากน้ยี ังมปี ัญหาทางจรยิ ธรรม มกี ารทจุ รติ ในการดำเนนิ ธุรกจิ โดยเฉพาะสถาบันการเงิน มกี ารปลอ่ ยสินเชื่อให้กับ
กลมุ่ ผลประโยชน์ การปล่อยสินเชื่อโดยไม่มกี ารคา้ํ ประกนั ทพ่ี อเพยี ง ทำใหฐ้ านะ ของธุรกจิ มีความไมม่ ่นั คง ความเปราะบางทาง
เศรษฐกจิ ไทย ทำใหข้ าดความเช่ือมน่ั ในระบบเศรษฐกจิ มกี ารโอนเงินจากสถาบันการเงนิ อยา่ งมากและรวดเร็ว นักลงทนุ ตา่ งชาติ
ขาดความมนั่ ใจถงึ ความสามารถ ในการชำระหนีต้ า่ งประเทศ เงนิ ทุนจากตา่ งประเทศไหลออกอยา่ งรวดเรว็ ทำให้มคี วามไม่ม่นั ใจ
ในเสถียรภาพ ของค่าเงินบาท มีแรงกดดันให้อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศมีการปรับตัว ความพยาย ามในการรักษา
ค่าเงินบาท ทำให้เงินสำรองระหว่างประเทศลดลงอย่างมาก จนตอ้ งเปล่ยี นระบบอัตราแลกเปลย่ี นเงนิ ตรา ตา่ งประเทศเป็นระบบ
ลอยตัว คา่ เงนิ บาทลดลงอยา่ งมากเมื่อเทียบกับเงินตราต่างประเทศสกุลตา่ ง ๆ ทำให้ ประเทศเขา้ สู่วกิ ฤตมิ ภี าระต่อการชำระหนี้
ต่างประเทศอย่างมาก สถาบันการเงินและธุรกิจจำนวนมาก ล้มละลาย ประเทศเข้าสู่ภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรง
ประเทศไทยจึงตอ้ งเขา้ สู่โครงการชว่ ยเหลอื ของกองทนุ การเงนิ ระหวา่ งประเทศ
พระบาทสมเดจ็ พระบรมชนกาธิเบศร มหาภมู พิ ลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ไดม้ ีพระราชดำรัสในวันท่ี 4 ธันวาคม 2540
ว่า “การเป็นเสือนั้นไม่สำคัญสำคัญอยู่ที่เรามีเศรษฐกิจแบบ พอมีพอกิน แบบพอมีพอกินนั้นหมายความว่า อุ้มชูตัวเองได้ ให้มี
พอเพียงกับตนเอง อันนี้ก็เลยบอกว่า ความพอเพยี งไม่ได้หมายความว่าทุกครอบครวั ต้องผลิตอาหารของตัวเอง จะต้องทอผา้ ใส่
เอง อย่างนัน้ มนั เกนิ ไป แต่ว่าในหม่บู า้ นหรือในอำเภอ จะต้องมีความพอเพียงพอสมควร บางส่งิ บางอยา่ งทีผ่ ลิตไดม้ ากกวา่ ความ
ตอ้ งการก็ขายได้ แต่ขายในทไ่ี มห่ า่ งไกลเทา่ ไหร่ ไมต่ ้องเสยี คา่ ขนส่งมากนกั ...”
ทุกฝ่ายมีความสนใจที่จะนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นแนวทางใหม่ในการพัฒนาประเทศ ในที่นี้ได้สรุปหลักปรัชญาของ
เศรษฐกิจพอเพียงไวด้ ังน้ี ปรชั ญาของเศรษฐกิจพอเพยี ง เปน็ ปรชั ญาช้ีถงึ แนวทางการดำรงอยู่และปฏบิ ตั ิตนของประชาชนในทุก
ระดับตั้งแต่ระดับครอบครัวระดับชุมชนจนถึงระดับรัฐทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลาง
โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์ ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ (Moderation)
ความมีเหตุมีผล (Reasonableness) รวมถึงความจำเป็น ที่จะต้องมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควร (Self-Immunity) ต่อการมี
ผลกระทบใด ๆ อันเกิดจาก การเปลี่ยนแปลงทั้งภายในและภายนอก ทั้งนี้จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบและความ
ระมัดระวัง อย่างยิ่งในการนำวิชาการต่าง ๆ มาใช้ในการวางแผนและการดำเนินการทุกขั้นตอน และขณะเดียวกัน จะต้อง
เสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎีและนักธุรกิจในทุกระดับ ให้มีสำนึกในคุ ณธรรม
ความซื่อสัตย์สุจริตและให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติปัญญาและความรอบคอบ
เพอื่ ให้สมดลุ และพร้อมต่อการรองรับการเปล่ยี นแปลงอย่างรวดเร็วและ กวา้ งขวางทัง้ ดา้ นวตั ถุ สังคม สิง่ แวดลอ้ มและวฒั นธรรม
จากโลกภายนอกไดเ้ ป็นอยา่ งดี


Click to View FlipBook Version