The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

การพัฒนาศูนย์การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์พันธุ์กล้วย จังหวัดสุพรรณบุรี

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by ddttgr1125, 2021-01-29 23:32:01

การพัฒนาศูนย์การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์พันธุ์กล้วย จังหวัดสุพรรณบุรี

การพัฒนาศูนย์การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์พันธุ์กล้วย จังหวัดสุพรรณบุรี

รายงานการวิจัย

เรือ่ ง

การพฒั นาศูนย์การเรียนรู้แบบมีสว่ นรว่ มในการอนุรกั ษพ์ นั ธก์ุ ลว้ ย

จงั หวัดสพุ รรณบรุ ี

Development of participatory learning center for banana conservation
in Suphanpuri province

โดย

พระครโู สภณวรี านุวัตร, ดร.
พระครูวบิ ูลเจติยานรุ ักษ์, ดร.

พระครูใบฎกี าศกั ด์ดิ นยั
นายเอกมงคล เพ็ชรวงษ์
มหาวทิ ยาลยั มหาจฬุ าลงกรณราชวิทยาลัย
วิทยาลัยสงฆส์ พุ รรณบุรีศรสี วุ รรณภมู ิ

พ.ศ. 2563
ไดร้ บั ทนุ อุดหนุนการวจิ ัย จากวสิ าหกจิ ชมุ ชนศูนยอ์ นรุ ักษ์พันธุ์กล้วยสุพรรณบุรี

2

รายงานการวจิ ยั

เรอ่ื ง
การพัฒนาศูนยก์ ารเรยี นรู้แบบมสี ่วนร่วมในการอนุรกั ษพ์ ันธก์ุ ล้วย

จังหวดั สุพรรณบรุ ี
Development of participatory learning center for banana conservation

in Suphanpuri province
โดย

พระครโู สภณวรี านวุ ตั ร, ดร.
พระครวู ิบูลเจติยานุรกั ษ์, ดร.

พระครูใบฎีกาศกั ดดิ์ นัย
นายเอกมงคล เพช็ รวงษ์

มหาวทิ ยาลยั มหาจฬุ าลงกรณราชวทิ ยาลยั
วทิ ยาลยั สงฆส์ พุ รรณบุรศี รีสุวรรณภูมิ
พ.ศ. 2563

ไดร้ ับทนุ อดุ หนนุ การวิจยั จากวิสาหกจิ ชุมชนศูนย์อนุรักษพ์ นั ธุ์กลว้ ยสพุ รรณบุรี
(ลิขสทิ ธ์เป็นของวทิ ยาลยั สงฆ์สพุ รรณบรุ ีศรีสวุ รรณภมู )ิ

3

Research Report

Development of participatory learning center for banana conservation
in Suphanpuri province

By
Phrakrusoponweeranuwat, Dr.
Phrakhru wiboonjetiyanurak, Dr.

Phrakhubaidika Sakdanai
Aekmongkol Phetchawong
Mahachulalongkornrajavidyalaya University
Suphanburi Srisuwannaphumi Buddhist College

B.E. 2563

Research Projects Funded by Wat Palelai Community Enterprise
(Copyright Mahachulalongkornrajavidyalaya University)

4

บทคัดย่อ

หวั ข้อการคน้ ควา้ อสิระ : การพฒั นาศนู ย์การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมในการอนรุ กั ษ์พนั ธ์ุกลว้ ย

จังหวดั สุพรรณบรุ ี

ชือ่ ผู้วิจัย : พระครูโสภณวีรานวุ ัตร,ดร.

พระครวู บิ ูลเจตยิ านรุ ักษ์, ดร.,

พระครูใบฎีกาศักดด์ิ นัย

นายเอกมงคล เพ็ชรวงษ์

คณะ/มหาวทิ ยาลยั : มหาวทิ ยาลยั มหาจฬุ าลงกรณราชวทิ ยาลัย, วิทยาลยั สงฆส์ พุ รรณบรุ ี

ศรสี ุวรรณภมู ิ จงั หวัดสพุ รรณบรุ ี.

ปีการศึกษา : พ.ศ. ๒๕๖๓

บทคดั ยอ่

การวจิ ัยครั้งนี้ มวี ัตถปุ ระสงคเ์ พื่อศึกษา ๑) การพฒั นามาตรฐานคุณภาพศนู ย์การเรียนรู้แบบ
มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์พันธุ์กล้วย ๒) กลยุทธ์การตลาดด้านบริการที่มีผลต่อการพัฒนาศูนย์การ
เรียนรู้แบบมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์พันธุ์กล้วยให้มีมาตรฐานคุณภาพ และ ๓) ความสัมพันธ์ระหว่าง
กลยุทธ์การตลาดด้านบริการกับการพัฒนามาตรฐานคุณภาพศูนย์การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมในการ
อนุรักษ์พันธุ์กล้วย จังหวัดสุพรรณบุรี เครื่องมือการวิจัยใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลจากกลุ่ม
ตัวอย่างแบบบังเอิญ จำนวน ๓๒๗ ชุด และแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ
จำนวน ๑๕ ชุด ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณา โดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วน
เบ่ยี งเบนมาตรฐาน และค่าสมั ประสทิ ธ์สิ หสัมพันธ์แบบเพียรส์ นั

ผลการวจิ ัย พบว่า ๑) กลมุ่ ตัวอยา่ ง มีความคิดเหน็ ตอ่ การพัฒนามาตรฐานคุณภาพศูนย์การ
เรียนรู้แบบมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์พันธุ์กล้วย ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุดเท่ากับ
๔.๒๖ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ ๐.๓๖ เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านสภาพทั่วไปของ
ศูนย์ฯมีค่าเฉลี่ยสูงสุดเท่ากับ ๔.๓๗ ๒) กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นต่อกลยุทธ์การตลาดด้านบริการ
การพัฒนาศูนย์ฯ ให้มีมาตรฐานคุณภาพ ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุดเท่ากับ ๔.๒๕ ค่า
เบ่ียงเบนมาตรฐานเท่ากับ ๐.๔๑ เมอ่ื พจิ ารณาเปน็ รายด้านพบวา่ การพัฒนาดา้ นภาพลักษณ์และการ
นำเสนอลักษณะ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในลำดับสูงสุดเท่ากับ ๔.๓๕ และ ๓) ความสัมพันธ์ระหว่างกลยุทธ์
การตลาดด้านบริการกับการพัฒนามาตรฐานคุณภาพศูนย์การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์

5

พันธุ์กล้วย มีระดับความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับปานกลาง และเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับการ
พัฒนามาตรฐานคุณภาพศูนย์การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์พันธุ์กล้วย โดยมี่ค่า r เท่ากับ
๐.๔๔๓ มีค่า Sig < ๐.๐๕ สอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้ สามารถอธิบายได้ว่า กลยุทธ์การตลาด
ด้านการบริการส่งผลให้การพัฒนาศูนย์การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์พันธุ์กล้วย จังหวัด
สุพรรณบรุ ีมีมาตรฐานคณุ ภาพ

ผลสรุปจากการประชุมกลุ่ม (Focus Group) เสนอแนวทางการพัฒนาศูนย์การเรียนรู้แบบ
มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์พันธุ์กล้วย จังหวัดสุพรรณบุรีให้มีมาตรฐานคุณภาพเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิง
เกษตร ได้แก่ ผลิตภัณฑ์สินค้าเกษตร ผลิตให้สอดคล้องกับความจำเป็น มีคุณค่าจริง ราคาไม่สูงมาก
นัก มีความโดดเด่น มีเอกลักษณ์ มีการประชาสัมพันธ์หลายช่องทาง มีวิทยากรที่มีความเชี่ยวชาญ
ถ่ายทอดความรู้เรื่องการอนุรักษ์พันธุ์กล้วย มีสิ่งอำนวยความสะดวก เพิ่มที่นั่ง เพิ่มห้องน้ำ สำหรับผู้
สูงวัย และคนพิการ รวมทั้งใหก้ ารต้อนรบั อย่างกัลยาณมิตร มีระบบเทคโนโลยแี ละมีพื้นทีร่ องรับผู้มา
เข้าเย่ยี มชมศนู ย์ฯอย่างพอเพยี ง

คำสำคัญ การพัฒนาศนู ย์การเรียนรู้, มสี ่วนร่วม, อนรุ ักษ์พนั ธุก์ ล้วย

6

Research Title : Development of participatory learning center for banana

conservation in Suphanpuri province

Researchers : Phrakhrusophonweeranuwat,Dr.,

Phrakhru wiboonjetiyanurak,Dr.,

Phrakhubaidika Sakdanai and Aekmongkol Phetchawong

Department : Mahachulalongkornrajavidyalaya University SuphanBuri

Sri Suvarnabhum Buddhist College

Fiscal Year : 2563

Research Scholarship Sponsor : Wat Palelai Community Enterprise

Abstract

This research The objectives of this study are to study 1) development of
quality standards for a participatory learning center for conservation of banana
varieties; 2) marketing strategies for services affecting the development of a
participatory learning center for conservation of banana varieties. There are quality
standards, and 3) the relationship between service marketing strategy and the
development of quality standards for participatory learning centers in banana
conservation. Suphanburi The research tool used questionnaires to collect data from
327 random samples and structured interviews from 15 key informants. The data were
analyzed by descriptive statistics. By finding the percentage, mean and standard
deviation And the Pearson correlation coefficient

The research results were as follows: 1) the sample Opinion on the
development of quality standards in the learning center with participation in the
conservation of banana varieties. In the overall picture, the mean was at the highest
level, which was 4.26, standard deviation equal to 0.36. The general condition of the
center had the highest average of 4.37 2) The sample group had opinions on the
marketing strategy of the center development service To have quality standards In the
overall picture, the mean was at the highest level, which was 4.25 standard deviation
equal to 0.41. Image development and characterization Having the highest ranking

7

mean of 4.35 and 3) Relationship between service marketing strategy and development
of quality standards for participatory learning centers in banana conservation. Have a
moderate level of positive correlation And in the same direction as the development
of quality standards for a participatory learning center in the conservation of banana
varieties with a r value of 0.443 with a Sig <0.05 in line with the assumptions
established. Can be described as Service marketing strategy resulted in the
development of a learning center with participation in banana conservation.
Suphanburi province has quality standards.

Conclusions from the Focus Group proposed a guideline for developing a
participatory learning center for banana conservation. Suphanburi province to have
quality standards as an agricultural tourism destination, namely agricultural products.
Produced in accordance with the necessity, the real value, the price is not very high.
It is distinctive, unique and has many public relations channels. There is a lecturer who
has the expertise to pass on knowledge about the conservation of banana varieties.
There are additional seating facilities, additional toilets for the elderly and disabled, as
well as providing a warm welcome. There is a technology system and sufficient space
for visitors to visit the center.

Keywords Development of participatory, learning center, banana conservation

8

กิตตกิ รรมประกาศ

งานวิจยั ฉบับนี้ สำเรจ็ ได้ดว้ ยดีเพราะได้รบั ความเมตตาอนเุ คราะห์ชว่ ยเหลือเป็นอย่างดีย่ิง
จากคณาจารยผ์ ู้ทรงคณุ วฒุ ิ และผู้มีพระคุณท้ังหลาย ผู้วิจยั ขอจารึกนามให้ปรากฏเพ่ือเป็นเกียรติ บาง
ทา่ นดงั ต่อไปน้ี

ขอกราบ ขอบพระคุณพระเดชพระคุณพระธรรมพุทธิมงคล สิรินันโท มีนามเดิมว่า สอิ้ง
อาจสน์สถิตย์ เป็นผู้ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดสุพรรณบุรีและวิทยาลัยสงฆ์สุพรรณบุรีศรีสุวรรณภูมิ
จังหวัดสุพรรณบุรี และพระครูวิบูลเจติยานุรักษ์,ดร. (เป็นผู้อำนวยการวิทยาลัยสงฆ์สุพรรณบุรีศรี
สุวรรณภูมิ/ตำแหน่งรองเจ้าคณะจังหวัดสุพรรณบุรี) ซึ่งแต่ละท่านเป็นกรรมการที่ปรึกษางานวิจัย
เป็นผู้ให้กำลังใจสนับสนุนช่วยเหลือด้านแนวคิด ความคิดเห็น ด้านวิชาการ และข้อมูลอื่นๆ ท่ี
เกี่ยวข้องกบั การพัฒนาศูนยก์ ารเรยี นรู้แบบมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์พันธ์ุกลว้ ย

ขอกราบขอบคุณท่านผู้อำนวยการสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ พระเดชพระคุณพระสุธีรัตน
บัณฑิต (สุทิตย์ อาภากโร/อบอุ่น เจ้าอาวาสวัดสุทธิวราราม รวมทั้งคณาจารย์ในสถาบันวิจัยทุกรูป/
คน ได้กรณุ าเปน็ อาจารย์ท่ีปรกึ ษาให้คำแนะนำช้ีแนะตรวจแก้ไขตามระเบียบวธิ ีวิจยั จนทำให้งานวิจัย
ฉบับน้ี ดำเนินไปไดโ้ ดยสมบูรณ์

ขอขอบคุณผู้บริหารและคณาจารย์ประจำหลักสูตรและคณาจารย์ทุกท่าน ของวิทยาลัย
สงฆ์สุพรรณบุรีศรีสุวรรณภูมิจังหวัดสุพรรณบุรี ที่ให้ความช่วยเหลือในด้านวิชาการ แนวคิด ที่เป็น
ประโยชน์ต่อการทำวิจัย โดยเฉพาะคณะทำงานท้ังหมดที่ให้ความร่วมมือสนับสนุนในการจัดทำ
งานวิจัยคร้งั นี้ ทกุ อย่างทุกประการเป็นอยา่ งดีเย่ียม

ขอขอบคุณ ท่านผู้ทรงคุณ ผู้ชำนาญการ นักวิชาการทางด้านการเกษตร อุตสาหกรรม
การตลาด เป็นต้น ร่วมทั้งผู้ร่วมโครงการทั้งหมด ทุกๆท่าน อานิสงส์ คุณูปการที่เกิดจากการทำงาน
วจิ ัยน้ี ผู้วิจัย ขอน้อมถวายเปน็ สักการบชู าแด่คุณพระศรีรัตนตรัย ผู้ให้ขอ้ มูลทุกท่าน ทา่ นเจ้าของตำรา
ข้อมูลจากทุกส่วนงาน ผู้วิจัยนำมาใช้เพื่อการศึกษาค้นคว้า ตลอดถึงผู้มีอุปการคุณทุกท่านและขอ
อทุ ศิ กุศลผลบุญท่ี เกิดจากการวิจัยนีแ้ กบ่ พุ การชี นผู้ลว่ งลับแต่ หากว่ามขี อ้ บกพรอ่ งใดๆ ท่ีเกดิ จากการ
วิจัยนี้ ผวู้ จิ ัยขอรับไวแ้ ตเ่ พยี งผเู้ ดยี ว

พระครโู สภณวีรานวุ ัตร, ดร.
8 พฤศจิกายน 2563

9

สารบญั

หนา้
บทที่ ๑ บทนำ

ความเปน็ มาและความสำคัญของปญั หา....................................................................... ๑
๑.๒ คำถามเพ่ือการวจิ ยั ...........................................................................................
๑.๓ วัตถปุ ระสงค์ในการวิจัย........................................................................................... ๔
๑.๔ ขอบเขตการวิจยั ...................................................................................................... ๔
๑.๕ สมมตฐิ านการวิจยั ............................................................................................... ๕
๑.๖ นยิ ามศัพท์เพื่อการวิจัย........................................................................................... ๕
๑.๗ ประโยชนท์ ่ีคาดวา่ จะได้รับจากการวจิ ยั .................................................................. ๗
บทที่ ๒ แนวคิด ทฤษฎแี ละงานวิจัยที่เกย่ี วข้อง ..................................................................... ๙
๒.๑ แนวคิดและทฤษฎเี กี่ยวกับการพัฒนา...................................................................... ๙
๒.๒ แนวคดิ เกี่ยวกับศูนย์การเรียนรู้ชุมชน .................................................................... ๑๖
๒.๓ แนวคดิ ทฤษฎีเกี่ยวกับการมสี ่วนร่วม........................................................................ ๒๓
๒.๔ แนวคิดทฤษฎเี กย่ี วกับกลยทุ ธ์การตลาด ............................................... ๒๘
๒.๕ แนวคิดทฤษฏพี ัฒนาการและลักษณะทางพฤกษศาสตร์กล้วย................................ ๓๔
๒.๖ บรบิ ทพืน้ ทก่ี ารวจิ ยั ........................................................................................... ๘๖
๒.๗ งานวิจัยทเ่ี ก่ียวข้อง........................................................................................ ๑๑๓
๒.๘ กรอบแนวคดิ ในการวิจัย........................................................................................... ๑๑๖

บทที่ ๓ วิธีดำเนนิ การวจิ ัย

๓.๑ รูปแบบการวจิ ยั .................................................................................................... ๑๑๘

๓.๒ ประชากรและกล่มุ ตัวอย่างและผ้ใู ห้ข้อมูลสำคัญ...................................................... ๑๒๐

๓.๓ เครอื่ งมอื ทใ่ี ช้ในการวจิ ัย........................................................................................ ๑๒๑

๓.๔ การเก็บรวบรวมข้อมูล…………….............................................................................. ๑๒๒

๓.๕ การวิเคราะห์ขอ้ มูล ............................................................................................. ๑๒๓

บทที่ ๔ ผลการศึกษา............................................................................................. ๑๒๗

10

บทที่ ๕ สรุปผล อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ........................................................................... ๑๗๔

๕.๑. สรุปผลการวจิ ยั ........................................................................... ๑๗๔

๕.๒ อภปิ รายผล........................................................................... ๑๗๖

บรรณานกุ รม ...................................................................................................................... ๑๘๐

ภาคผนวก ๑๘๙

ภาคผนวก ก บทความวิชาการ ๑๙๑

ภาคผนวก ข กจิ กรรมทเ่ี กยี่ วขอ้ งกับการนำผลจากโครงการวิจัยไปใชป้ ระโยชน์…….. ๒๐๕

ภาคผนวก ค ตารางเปรยี บเทยี บกจิ กรรมทีไ่ ด้ดำเนนิ การและผลทไ่ี ดจ้ ากการวจิ ัย ............๒๐๘

ภาคผนวก ง เครอ่ื งมอื เพอ่ื การวิจัย………………………………………………………….................๒๑๑

ภาคผนวก จ รูปภาพกจิ กรรมที่ดำเนินการวิจยั ………………………………………………………..๒๒๘

ภาคผนวก ฉ แบบสรปุ โครงการวจิ ัย ...............................................................................๒๓๗

ประวัตผิ ู้วิจยั …………………………………………………………………………………………………… ๒๔๓

11

บทที่ ๑

บทนำ

๑.๑ ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา

สภาพปัจจุบันเศรษฐกิจโลก ส่งผลให้ประเทศไทยยังคงเผชิญกับความเสี่ยงจากความ
เปราะบางหรือความผันผวนของเศรษฐกิจ มีผลกระทบต่อภาคการเกษตรของประเทศ รวมถึงปัญหา
ภายในประเทศทั้งด้านการเมือง ด้านสังคม ยังเป็นข้อจำกัดสำคัญต่อการพัฒนาการเกษตรของ
ประเทศ ในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๒ (พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๖๔) จึงเน้น
ความต่อเนื่องกับแผนพัฒนาการเกษตรในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๑๑ (พ.ศ. ๒๕๕๕ - ๒๕๕๙) โดย
เนน้ “เกษตรกร” เป็นศนู ย์กลางการพฒั นาอย่างสมดลุ มีส่วนร่วมในรูปแบบชมุ ชน ใหค้ วามสำคัญกับ
การรวมกลุ่มเกษตรกร เพื่อผลักดันให้สามารถดำเนินการในรูปของธุรกิจเกษตร โดยน้อมนำหลัก
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ มาขยายผลและ
ประยุกต์ใช้ต่อเนื่องจากแผนที่ผ่านมา เพื่อให้เกษตรกรสามารถพึ่งพาตนเองได้ อันจะเป็น ส่วนหนึ่งท่ี
ผลักดันให้ประเทศไทยสามารถบรรลุวิสัยทัศน์ “มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” โดยมีประเด็นสำคัญที่ควร
พิจารณาเพอ่ื นำไปสู่การพฒั นาและแกไ้ ขในอนาคต

ในอดีตสังคมไทยมีความผูกพันกับธรรมชาติเป็นอย่างมาก ดังจะเห็นได้จากลักษณะการ
ปรบั ตวั เขา้ หาธรรมชาติและใช้ประโยชน์จากธรรมชาติ ไดแ้ ก่ การต้ังถนิ่ ฐานท่ีอยู่อาศัย การเพาะปลูก
ทำการเกษตร รวมไปถึงการพัฒนาวิถีชีวิต ความคิดความเชื่อ ประเพณี วัฒนธรรม และศาสนาที่
สอดคล้องกับทรัพยากรหรอื ถิ่นฐานที่ตนอาศัยอยู่ วิถีการดำเนินชีวิตของมนุษยใ์ นสมัยกอ่ นจงึ มีความ
เกื้อกูลกับการพัฒนาสภาพแวดล้อมที่ตนอยู่อาศัย มีความใกล้ชิดผูกพันกับธรรมชาติ โดยเฉพาะด้าน
การเกษตรมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม สังคมและวัฒนธรรมของประเทศไทยไม่วาจะเป็น
ในอดีตหรือปัจจุบัน โดยเฉพาะต่อประชากรในระดับรากหญ้าซึ่งเป็นบุคลากรกลุ่มใหญ่ของประเทศ
ดังนั้น ภาคการเกษตรของไทยจึงเป็นตัวขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศ เป็น
รากฐานของการสรา้ งความมั่นคงทางอาหารของประเทศและของโลก ประชากรส่วนใหญ่ของประเทศ
อยู่ในภาคการผลิตทางการเกษตร และยังเป็นการเกษตรที่ต้องอาศัยต้นทุนทางธรรมชาติอยู่มาก ดั้ง
นั้นสภาพแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ กิจกรรมการเกษตร วิธีการผลิตทางการเกษตร ตลอดจน
เทคโนโลยีและนวัตกรรมในการสนับสนุนการเกษตรย่อมส่งผลต่อการพัฒนาการเกษตรในอนาคตไม่
ว่าจะเป็นเรื่องปริมาณผลผลิตหรือต้นทุนการผลิตทางการเกษตรฯลฯ สิ่ง ต่าง ๆ เหล่านี้ส่งผลท้ังใน
ระดับครัวเรือน อาทิ รายได้ครัวเรือน ความมั่นคงทางอาหารต้ังแต่ระดับครัวเรือน ระดับประเทศ

12

ภูมิภาคและระดับโลก1 การปรับเปลี่ยนวิธีการทำการเกษตรหรือกิจกรรมการเกษตรท่ีมีความมั่นคง
จะส่งผลต่อความย่ังยืนในระยะยาว ดังนัน้ การจดั ต้งั ศนู ยก์ ารเรียนรู้ในการอนุรักษ์พนั ธุ์กลว้ ยซึ่งเป็นพืช
เศรษฐกิจและผูกพันกับวิถชี วี ิตของสังคมไทยมายาวนาน จงึ เป็นวธิ หี น่งึ ทีจ่ ะส่งเสริมให้เกษตรกรมีการ
รวมกลมุ่ เกดิ การเรยี นรทู้ ้งั การอนุรกั ษ์และการตลาด

การตลาดนับว่าเป็นกลยุทธ์ที่สำคัญในการพัฒนาศูนย์การเรียนรู้และการอนุรักษ์พันธ์ุ
กล้วย เพราะศูนย์ฯ จะมีรายได้หลักจากการจำหน่ายสินค้าทางการเกษตร จากการท่องเที่ยวเชิง
เกษตร เพื่อนำไปส่งเสริมกิจกรรมการเรียนรู้ การพัฒนาศูนย์ฯ ให้มีมาตรฐานคุณภาพ เป็นสิ่งดึงดูด
นักท่องเที่ยว สร้างสถานที่ให้มีความโดดเด่นในด้านภูมิทัศน์ ดังนั้น การพัฒนาศูนย์ฯ ควรใช้กลยุทธ์
ส่วนประสมทางการตลาด (Marketing Mix) ซึ่งเป็นปัจจัยหลักการในการส่งเสริมการตลาดที่มี
ความสำคัญ นักการตลาดส่วนใหญ่ได้นำมาใช้เป็นกลยุทธ์ทางการตลาด เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ใน
การดำเนินธุรกิจการตลาด แต่ในการทำตลาดของศูนย์การเรียนรู้และการอนุรักษ์พันธุ์กล้วยนั้นเป็น
การตลาดแบบด้านการบริการ การสร้างแรงจูงใจใหผ้ ู้บรโิ ภคตัดสินใจมาใช้บริการจำเป็นต้องใช้ทฤษฏี
แนวคิดส่วนประสมทางการตลาดเป็นกรอบในการพัฒนาเพื่อให้สัมพันธ์กับบริบทของพื้นที่ จังหวัด
สุพรรณบุรี ซึ่งนอกจากจะมีแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ การท่องเที่ยวทางธรรมชาติแล้ว การ
สรา้ งแหล่งท่องเทย่ี วเชงิ เกษตรในรปู แบบการเรียนรู้ การอนรุ ักษ์ และการจำหน่ายสินค้าเกษตร นา่ จะ
สอดคลอ้ งกับพืน้ ทแี่ ละสรา้ งรายได้ให้กับเกษตรกรเพิ่มขน้ึ เพราะมีพื้นที่ทเ่ี หมาะสมกบั การเกษตร เช่น
การปลูกข้าว การทำไร่ ทำสวน การใช้พื้นทีว่ ่างตามหัวไร่ปลายนา พื้นที่ว่างรอบ ๆ บ้าน หรือตามคนั
นา ปลูกผักผลไม้เพื่อการบริโภค ส่วนผลผลิตที่เหลือจากการบริโภคในครัวเรือนแล้วก็จำหน่ายจ่าย
แจกตามญาติมิตร ในการเพาะปลูกพืชผักแต่ละรอบปีจะพบปัญหาเรื่องการตลาดเป็นด้านหลัก เช่น
ปัญหาผลผลิตล้นตลาด ผลผลิตไม่ได้มาตรฐาน ราคาตกต่ำ ไม่มีสถานที่จำหน่าย กลุ่มผู้บริโภคอยู่ใน
เขตจำกดั การสรา้ งรูปลกั ษณ์ผลติ ภณั ฑ์ไม่นา่ สนใจ ไมม่ ีความหลากหลายในการแปรรูปผลติ ภณั ฑ์ เป็น
ต้น การเลือกใช้กลยุทธ์ทางการตลาดที่เรียกว่า“ส่วนประสมทางการตลาด ๗ P’s”2 ประกอบด้วย
ผลิตภัณฑ์ ราคา ช่องทางการจำหน่าย การส่งเสริมการตลาด เจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการ ภาพลักษณ์ของ
สถานที่ และการให้บริการ น่าจะเป็นปัจจัยสนับสนุนให้ศูนย์การเรียนรู้และการอนุรักษ์พันธุ์กล้วย

1 ย่ิงลกั ษณ์ กาญจนฤกษ์และคณะ, รายงานวิจยั ฉบบั สมบรู ณ,์ โครงการ “การยกระดบั ความย่งั ยนื ทางการเกษตร
ของเกษตรรายย่อย อ.แจห้ ม่ จ.ลาปาง, 2560 หนา้ 24

2 ภัทราพร อาวชั นาการ, ปจั จัยทางการตลาดและพฤตกิ รรมของนกั ทอ่ งเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน
ในเขตอำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์, หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี
มหาวิทยาลยั ธรรมศาสตร์, 2558 : 17-19.

13

จงั หวัดสพุ รรณบรุ ี มสี มรรถนะในการสร้างแรงจูงใจให้กลุ่มผู้บรโิ ภคเกิดความสนใจและตัดสินใจเข้ามา
ศึกษา เยยี่ มชม ซื้อสนิ คา้ การเกษตรอ่ืนๆ รวมทั้งผลผลติ จากกล้วย

กล้วยจัดเป็นไม้ผลชนิดหนึ่ง ที่มีความผูกพันและมีความสำคัญต่อชีวิตคนไทยมาช้านาน ซึ่ง
สามารถพบเห็นกล้วยโดยทั่วไปตามภูมิภาคต่าง ๆ แต่ผู้คนส่วนใหญ่กลับมองข้ามความสำคัญของ
กล้วย ทั้ง ๆ ที่มีคุณค่าในเชิงวัฒนธรรม วิถีชีวิต พิธีกรรม มีคุณค่าทางด้านอาหาร สุขภาพ ร่างกาย
แม้กระทั่งในเชงิ เศรษฐกิจ ตลอดจนการใช้ประโยชน์จากส่วนต่าง ๆ ของลำต้นกล้วย ในผลกล้วยอดุ ม
ด้วยนำตาลจากธรรมชาติ คอื ซโู ครส ฟรกุ โทส และกลูโคส รวมท้ังเสน้ ใย กากอาหาร กลว้ ยช่วยเสริม
เพิ่มพลังงานให้กับร่างกายได้ทันที นอกจากนั้น การรับประทานกล้วยยังช่วยป้องกันโรคต่าง ๆ ที่จะ
เกิดขึ้นกับร่างกาย เช่น โรคโลหิตจาง เนื่องจากมีธาตุเหล็กสูง โรคความดันโลหิตสูง บำรุงสมอง โรค
ท้องผูก แก้อาการเมาค้าง แก้อาการเสียดท้อง รักษาโรคลำไส้เป็นแผล3 เป็นต้น การจะสร้างความ
ตระหนักใหเ้ กิดการรับรู้ได้อยา่ งกวา้ งขวางและยั่งยืนนนั้ การจัดตง้ั ศนู ย์การเรียนรู้ในชุมชนแบบมีส่วน
ร่วม การเปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนของชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในด้านการวิเคราะห์ปัญหาและสาเหตุ
ของปัญหา การมีส่วนร่วมในการวางแผน การมีส่วนรว่ มในการดำเนินงาน/กจิ กรรม การมีส่วนร่วมใน
การติดตามและประเมินผล และการมีส่วนร่วมในการรับประโยชน์ การพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ในการ
อนุรักษ์พันธุ์กล้วย น่าจะยังประโยชน์สุขแก่กลุ่มฐานรากของสังคม เพราะศูนย์การเรียนรู้ มีลักษณะ
เปน็ แหล่งใหบ้ รกิ ารความรู้ ขา่ วสาร ขอ้ มลู ใหก้ ับประชาชนในชุมชน มเี จา้ หนา้ ทปี ฏิบัติงานในลักษณะ
ประจำ เป็นศูนย์กลางการติดต่อจากภายนอก เป็นเครือข่ายในการจัดการเรียนรู้ในสังคม บทบาของ
ศูนย์การเรียนรู้โดยทั่วไปอาจประกอบด้วย การทำงานร่วมกับชุมชน การบริหารศูนย์การเรียนรู้ และ
การพฒั นาหลกั สูตร4

ด้วยมีความตระหนักในความสำคัญและเกิดประโยชน์สุขแก่กลุ่มเกษตรกร จึงร่วมกับกลุ่ม
วิสาหกจิ ชมุ ชนจัดตง้ั “ศนู ย์อนุรักษ์พันธ์ุกลว้ ย จังหวัดสุพรรณบุร”ี ขึน้ ต้งั อยู่ทางด้านทิศใต้ของวัดป่า
เลไลก์วรวหิ าร ในพื้นที่ ๑๒ ไร่ แบ่งเป็นพื้นที่เพาะปลูก อาคารจัดแสดงพันธุ์กล้วย ห้องการเรียนรู้ ระบบ
การเพาะปลูกกล้วย อาคารจำหน่ายผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรจากวิสาหกิจชุมชน แหล่งท่องเที่ยวทางน้ำ
ทำพิธีเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ ๑๕ เดือน มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๓ ในการบริหารจัดการศูนย์ฯ มี
คณะกรรมการคำเนินการ ประกอบด้วยผู้แทนจากผู้นำชุมชน กลุ่ม/องค์กร เครือข่ายองค์กรชุมชน
ปราชญช์ าวบา้ น อาสาสมคั ร ฯลฯ ได้มาจากการคัดเลือกของชาวบ้าน และชาวบา้ นใหก้ ารยอมรับ ซ่ึง

3นิคม วงศ์นนั ตา, วทิ ยา เจรญิ อรณุ รัตน,์ รายงานผลโครงการวิชาการ เรือ่ งเรยี นรกู้ ารอนุรักษ์?และ
รวบรวมพันธกุ์ ล้วย, สำนกั วจิ ัยและสง่ เสรมิ วิชาการเกษตร, มหาวทิ ยาลยั แมโ่ จ้, ๒๕๕๗, หน้า ๑.

4สุพรรณี ไชยอําพร, คมพล สวุ รรณกูฏ, รายงานฉบับสมบรู ณ์ การศึกษาศูนยก์ ารเรียนร้ดู ้านการพัฒนา
สังคมและสวัสดิการระดบั ชมุ ชน: กรณีศึกษาชมุ ชนแมร่ ะกา ตำบลแม่ระกา อำเภอวงั ทอง จงั หวัดพิษณโุ ลก
,๒๕๕๐ หน้า 2- 5.

14

คณะกรรมการจะร่วมมือกันวางแผน และดำเนินตามแผนยุทธศาสตร์ที่ได้ร่วมกันกำหนด เพื่อระดม
พลังให้เกิดการเรียนรู้และบริหารจัดการในศูนย์อนุรักษ์พันธุ์กล้วยให้สามารถดำเนินการได้อย่างมี
ประสิทธิภาพ มีที่ปรึกษา เป็นภาคีการพัฒนาภาครัฐ เช่น พัฒนาชุมชน การศึกษานอกโรงเรียน
เกษตร สาธารณสุข อุตสาหกรรม พาณิชย์ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จัดทำระเบียบ
ข้อบังคับ ซึ่งคณะกรรมการฯ ได้จัดทำขึ้นเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อเป็นแนวทางในการบริหารศูนย์
งบประมาณในการจัดสร้างศนู ยฯ์ และการบริหารศูนย์ฯได้รับการสนับสนุนจากวดั ป่าเลไลยก์วรวิหาร
มีบทบาทและหน้าที่ ได้แก่ การจัดให้เป็นศูนย์อนุรักษ์พันธุ์กล้วย เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ตลอดชีวิต
ทุกด้านทุกรูปแบบของประชาชนในการจัดการความรู้ที่ดำเนินการโดยประชาชนและเพื่อประชาชน
ยุคไทยแลนด์ ๔.๐ เป็นศูนย์ประสานและบูรณาการการทำงานของทุกวิสาหกิจชุมชน และสถานท่ี
จำหน่ายผลิตผลทางการเกษตร รวมทั้งเป็นศูนย์รวมของข้อมูล ข่าวสาร สาระความรู้ ที่เอื้อต่อการ
เรียนรู้เท่าทันสถานการณ์โลก รวบรวมภูมิปัญญาท้องถิ่น องค์ความรู้ของปราชญ์ชาวบ้าน จัดให้เป็น
หมวดหมู่ มีความชัดเจนเป็นรูปธรรม เปิดโอกาสให้ทุกคนสามารถเข้ามาเรียนรู้ ค้นคว้าหาความรู้
แลกเปลี่ยนความรแู้ ละประสบการณ์ รวมทั้งการพบปะสังสรรค์ เพื่อสร้างความเข้าใจ ความร่วมมือใน
การพัฒนาตนเองและชุมชน จัดให้มีกิจกรรมการเรียนรู้ การถ่ายทอด การแลกเปลี่ยนประสบการณ์
ตลอดจนการสืบทอดภูมิปัญญาท้องถน่ิ และการเรยี นรู้ดา้ นต่าง ๆ ของประชาชนในชมุ ชน

ประเด็นปัญหาที่ผูว้ ิจัยต้องการศึกษาคือ ในการพัฒนาศูนย์การเรยี นรู้และการอนุรกั ษ์พันธุ์
กล้วยให้มีมาตรฐานคุณภาพ นั้น ศูนย์อนุรักษ์พันธุ์กล้วย ได้มีการวางแผนพัฒนาเพื่อให้ เป็นแหล่ง
เรยี นรูใ้ นการอนุรักษร์ วบรวมพันธกุ์ ล้วย ให้มีการเก้อื หนนุ ต่อกลุ่มเกษตรกร ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิง
เกษตรที่มีมาตรฐานคุณภาพ ให้บริการวิชาการสู่เกษตรกรและบุคคลทั่วไป และขยายผลสู่เกษตรกร
เพื่อผลิตเชิงพาณิชย์อย่างไรบ้าง คณะผู้วิจัยจึงมีความสนใจศึกษาโดยเลือกกลยุทธ์การตลาดด้าน
บรกิ ารมาเปน็ แกนหลักในการพัฒนาศูนย์การเรียนรู้และการอนรุ ักษ์พันธุก์ ล้วย จังหวดั สุพรรณบรุ ี

๑.๒ คำถามเพื่อการวิจยั

๑) การพัฒนามาตรฐานคุณภาพศนู ย์การเรียนรแู้ บบมีสว่ นรว่ มในการอนรุ ักษ์พันธ์ุกลว้ ย
จงั หวัดสพุ รรณบรุ ี ควรมลี ักษณะอยา่ งไร

๒) กลยุทธ์การตลาดด้านบริการที่มีผลต่อการพัฒนาศูนย์การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมในการ
อนรุ กั ษพ์ ันธก์ุ ล้วย จงั หวัดสุพรรณบุรี ใหม้ มี าตรฐานคุณภาพ ควรมลี ักษณะอย่างไร

๒) กลยุทธ์ทางการตลาดด้านบรกิ ารมีปัจจัยใดบ้างที่มีความสัมพันธ์ในเชิงบวกและเปน็ ไปใน
ทิศทางเดียวกันกับการพัฒนามาตรฐานคุณภาพศูนย์การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์พันธุ์
กลว้ ย จงั หวัดสพุ รรณบุรี

15

๑.๓ วตั ถปุ ระสงคใ์ นการวจิ ัย

๑) เพื่อศึกษาการพัฒนามาตรฐานคุณภาพศูนย์การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์พนั ธุ์
กล้วย จงั หวัดสุพรรณบุรี

๒) เพ่อื ศึกษากลยทุ ธ์การตลาดดา้ นบริการทมี่ ีผลต่อการพัฒนาศนู ย์การเรยี นรู้แบบมีส่วนร่วม
ในการอนรุ กั ษพ์ นั ธ์กุ ลว้ ย จงั หวดั สพุ รรณบรุ ี ให้มมี าตรฐานคณุ ภาพ

๓) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างกลยุทธ์การตลาดด้านบริการกับการพัฒนามาตรฐาน
คณุ ภาพศูนย์การเรยี นรู้แบบมสี ว่ นร่วมในการอนรุ กั ษพ์ ันธุ์กลว้ ย จงั หวดั สุพรรณบรุ ี

๑.๔ ขอบเขตการวิจัย

๑.๔.๑ รปู แบบการวิจัย ประกอบด้วย
๑) เป็นการวิจยั เชงิ ปฏิบตั กิ าร ซึ่ง Kemmis and McTaggart ได้นำแนวคิดของ เลวนิ

มาพัฒนาเป็นการวิจัยปฏิบัติการแบบบันไดเวียน (Spiral of Steps) ประกอบด้วย การวางแผน
(Plan) การปฏบิ ตั ิและการสังเกต (Act & Observe) การสะทอ้ นกลับ (Reflection)5

๒) เปน็ การวจิ ัยแบบผสานวิธี ทั้งเชิงปรมิ าณและเชิงคุณภาพ

๑.๔.๒ ขอบเขตด้านเน้ือหา
ผู้วิจัยกำหนดเนื้อหาในประเด็นท่ีเกี่ยวข้องกับการพัฒนาศูนย์การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมใน
การอนุรกั ษ์พันธุก์ ลว้ ย ไดแ้ ก่ ความคิดเห็นทีเ่ ป็นข้อมูลเชิงลึกในด้านตา่ งๆของชุมชน อันประกอบด้วย
ด้านบริบทของชุมชน ได้แก่ สภาพทั่วไปของศูนย์ฯ ลักษณะโครงสร้างของศูนย์ฯ และบทบาทของ
เจ้าหน้าที่ของศูนย์ ศักยภาพการบริหารจัดการของศูนย์ ศักยภาพการรองรับผู้มาเยี่ยมชมของศูนย์ฯ
ศกั ยภาพการให้บริการของศูนย์ฯ และศักยภาพการดงึ ดดู ผู้มาเยี่ยมชมของศนู ย์ฯ6 ด้านพฤติกรรมของ
ผู้บริโภค ด้านการมีส่วนร่วมของวิสาหกิจชุมชน และงานวิจัยท่ีเกีย่ วข้อง ทำการผสมผสานหลอมรวม
เป็นรูปแบบการพัฒนาศูนยก์ ารเรยี นรู้แบบมีสว่ นรว่ มในการอนรุ ักษ์พันธ์ุกลว้ ย จงั หวดั สพุ รรณบรุ ี
๑.๔.๓ ขอบเขตด้านประชากร

5ฬฏิ า สมบรู ณ,์ วจิ ัยเชงิ ปฏบิ ัตกิ าร(4) [ออนไลน์] เขา้ ถึงได้จาก https://www.
gotoknow.org/posts/34875 สืบค้นเม่อื วนั ท่ี ๑๔ กรกฎาคม ๒๕๖๓.

6กรมการทอ่ งเทยี่ ว. คมู่ ือการประเมนิ มาตรฐานการทอ่ งเท่ยี วเชงิ เกษตร. (สำนักพฒั นาแหล่งทอ่ งเทย่ี ว
: กระทรวงการทอ่ งเท่ยี วและกฬี า.๒๕๕๓), หน้า ๒

16

ผู้วิจัยกำหนดประชากรที่จะทำการศึกษา ประกอบด้วยการสัมภาษณ์สมาชิกของกลุ่ม
วิสาหกิจชุมชน คณะกรรมการบริหารศูนย์ฯ ที่ปรึกษาศูนย์ฯ พัฒนาชุมชนอำเภอ เกษตรอำเภอ
อุตสาหกรรมจังหวัด พาณิชย์จังหวัด ผู้นำชุมชน และการตอบแบบสอบถามของผู้มาเยี่ยมชม/
ทอ่ งเท่ยี วศูนย์ฯ

๑.๔.๔ พื้นที่ในการศึกษาวิจัย ได้แก่ ศูนย์อนุรักษ์พันธุ์กล้วย ตำบลรั้วใหญ่ อำเภอเมือง
จงั หวัดสพุ รรณบุรี

๑.๔.๕ ขอบเขตด้านระยะเวลา เริ่มตั้งแต่ เดือนเมษายน ๒๕๖๓ – สิงหาคม ๒๕๖๓ รวม
ระยะเวลา ๕ เดือน

๑.๔.๖ ขอบเขตดา้ นตวั แปร

ตวั แปรท่ศี กึ ษา ประกอบดว้ ย
๑) ตวั แปรตน้ ได้แก่ การพัฒนามาตรฐานคุณภาพศูนย์การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมใน

การอนรุ กั ษ์พนั ธ์ุกลว้ ย จังหวดั สุพรรณบรุ ี
๒) ตัวแปรตาม ได้แก่ ศูนย์การเรียนรู้และอนุรักษ์พันธุ์กล้วย จังหวัดสุพรรณบุรี

เป็นแหลง่ ทอ่ งเทยี่ วเชงิ เกษตรที่มีมาตรฐานคุณภาพ

๑.๕ สมมติฐานการวิจัย

กลยุทธ์ทางการตลาดด้านการบริการมีความสัมพนั ธ์ต่อการพัฒนามาตรฐานศนู ย์การเรียนรู้
แบบมีส่วนรว่ มในการอนุรักษ์พันธก์ุ ลว้ ย จังหวัดสุพรรณบุรี

๑.๖ นิยามศัพทเ์ พื่อการวจิ ยั

การพฒั นา ในงานวิจัยฉบับน้ี หมายถึง กระบวนการเปลี่ยนแปลงปจั จัยทางการบรหิ าร
จัดการรวมถึงกลยุทธ์ทางการตลาดดา้ นบริการใหเ้ ปน็ ระบบทมี่ กี ารกระทำทง้ั ด้านคุณภาพ ปริมาณ
และสง่ิ แวดลอ้ มใหด้ ขี น้ึ ไปพร้อม ๆ กนั

กลยุทธ์การตลาดด้านบรกิ าร หมายถึง กิจกรรมการให้บริการด้านต่าง ๆ ประกอบด้วย
๑) ด้านผลิตภัณฑ์ (Product) หมายถึงการบริการสำหรับตอบสนองความต้องการ

แก่ผู้มาเรียนรู้ หรือเยี่ยมชมศูนย์การเรียนรู้และการอนุรักษ์พันธ์กล้วย รวมทั้งหมายถึง ผลิตภัณฑ์ท่ี
อาจจับต้องได้ เช่นผลผลติ แปรรปู ทางการเกษตร และ ผลิตภัณฑ์ท่ีจบั ต้องไม่ได้ เช่น การใหบ้ รกิ าร

๒) ด้านการจัดจำหน่าย (Place or Distribution) หมายถึงสถานที่ในการนำเสนอ
หรือ สำหรับใชใ้ นการให้บรกิ ารแก่ผูม้ าเรยี นรู้ หรือเยี่ยมชมศูนย์การเรียนรู้และการอนุรักษ์พันธ์กลว้ ย
สามารถเดนิ ทางสัญจรไดอ้ ยา่ งสะดวกรวดเร็ว มีระบบการตดิ ต่อสือ่ สารทดี่ ีในบรเิ วณนัน้ ๆ

17

๓) ด้านการกำหนดราคา (Price) หมายถึง มีความเหมาะสมของราคา ในการ
ให้บรกิ ารแก่ผู้มาเรยี นรู้ หรอื เยยี่ มชมศนู ย์การเรียนรู้และการอนรุ ักษ์พนั ธ์กล้วย กับคุณคา่ (Value) ที่
ผู้ใช้บริการ จะได้รับ มีความสัมพันธ์กับความเมาะสมของราคา กับคุณค่าที่ผู้มาเรียนรู้ หรือเย่ียมชม
ศูนย์การเรยี นรู้และการอนรุ กั ษพ์ ันธ์กล้วย เมือ่ เปรียบเทยี บกับคแู่ ข่งขันอื่นๆ

๔) ดา้ นการส่งเสรมิ การตลาด (Promotion) หมายถงึ การสง่ เสริมการตลาด การ
ประชาสัมพันธ์ การส่งเสรมิ แหล่งท่องเท่ยี วประวตั ิศาสตร์ แก่ผูม้ าเรยี นรู้ หรอื เยีย่ มชมศูนยก์ ารเรยี นรู้
และการอนุรักษพ์ นั ธ์กล้วย

๕) ดา้ นบคุ คล (People) หรอื พนักงาน (Employee) หมายถึงบคุ คล หรอื พนักงาน
ของศูนย์การเรียนรู้และการอนุรักษ์พันธุ์กล้วย มีความสามารถในการตอบสนองแก่ผู้มาเรียนรู้ หรือ
เยี่ยมชมศูนย์การเรียนรูแ้ ละการอนุรักษ์พันธ์กล้วย มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และมีความสามารถใน
การแกป้ ญั หาตา่ งๆ

๖) ด้านกายภาพและการนำเสนอ (Physical Evidence/Environment and
Presentation) หมายถึง การแสดงความเป็นมืออาชีพของการให้บริการแก่ผู้มาเรียนรู้ หรือเยี่ยมชม
ศูนยก์ ารเรยี นรแู้ ละการอนรุ กั ษ์พันธก์ ล้วย ให้มมี าตรฐานความสะอาดและปลอดภัย

๗) ดา้ นกระบวนการ (Process) หมายถึง กระบวนการทำงานการให้บริการแก่ผมู้ า
เรียนรู้ หรอื เยี่ยมชมศนู ย์การเรียนรู้และการอนรุ กั ษพ์ ันธก์ ล้วย มกี ารออกแบบกระบวนการทำงานไป
ในทิศทางเดยี วกนั

ผบู้ รโิ ภค หมายถงึ ผู้ท่ีเคยเข้ามาเย่ยี มชม/ เขา้ มาเรียนรู้ /เขา้ มาซ้อื /เคยซื้อสินค้าผลิตภัณฑ์
จากผลผลิตทางการเกษตรที่ผลติ โดยกลุ่มวิสาหกิจชุมชน อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี ณ ศูนย์การ
เรยี นร้แู ละการอนุรกั ษพ์ นั ธก์ ลว้ ย จงั หวัดสพุ รรณบรุ ี

ศูนย์การเรียนรู้ ในงานวิจัยฉบับนี้ หมายถึง ศูนย์อนุรักษ์พันธุ์กล้วยจังหวดั สุพรรณบุรี เป็น
สถานที่ศึกษา/อบรม/ดูงาน และรวบรวมข้อมูล สารสนเทศ ที่เกี่ยวกับกล้วย รวมถึงการเข้าถึงข้อมูล
พนื้ ฐานทจี่ ำเป็นผา่ นระบบอนิ เตอร์เน็ต

การมีส่วนร่วม ในงานวิจัยฉบับนี้ หมายถึง การมีส่วนร่วมในด้านการวิเคราะห์ปัญหา
และสาเหตุของปัญหา การมีส่วนร่วมในการวางแผน การมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน/
กิจกรรม การมีส่วนร่วมในการติดตามและประเมินผล และการมีส่วนร่วมในการรับ
ประโยชน์

ศนู ยอ์ นุรักษ์ ในงานวิจัยฉบบั นี้ หมายถงึ ศนู ย์การเรยี นรูใ้ นการรกั ษา/ปกป้องและการ
ถา่ ยทอดภูมิปญั ญา/ขยายพันธุ/์ การดแู ล /บำรงุ รกั ษา/การรวบรวมพันธ์ุกล้วย/เทคนิคการแปรรปู
ผลผลติ การเกษตร ใหเ้ ปน็ ศนู ย์การเรยี นรู้และอนรุ ักษพ์ ันธ์ุกลว้ ย จังหวัดสุพรรณบรุ ี

18

มาตรฐานคุณภาพ หมายถึง การกำหนด แนวทางการพัฒนา การบริหารจัดการ การ
บริการและความปลอดภัย เพื่อการยกระดับคุณภาพของศูนย์การเรียนรู้และการอนุรักษ์พันธุ์กล้วย
จงั หวดั สุพรรณบุรใี หเ้ ปน็ แหลง่ ท่องเทย่ี วเชงิ เกษตร ทม่ี อี งคป์ ระกอบครบ ๔ ประการ คือ ๑) ศกั ยภาพ
การบริหารจัดการศูนย์การเรียนรู้และการอนุรักษ์พันธุ์กล้วย จังหวัดสุพรรณบุรี ๒). ศักยภาพการ
รองรบั ขอศนู ย์การเรยี นรู้และการอนรุ ักษ์พันธุ์กล้วย จังหวัดสพุ รรณบุรี ๓) ศักยภาพการให้บริการของ
ศูนยก์ ารเรยี นรู้และการอนุรักษ์พันธุ์กล้วย จังหวดั สุพรรณบุรี และ ๔). ศกั ยภาพการดึงดูดใจของศูนย์
การเรยี นรแู้ ละการอนุรกั ษ์พันธกุ์ ล้วย จงั หวดั สุพรรณบุรี โดยคำนึงถึงการสรา้ งจิตสำนึกและการมีส่วน
รว่ มรับผิดชอบ ต่อสงั คม ทรพั ยากร และสง่ิ แวดล้อม

พันธ์ุกล้วย ในงานวจิ ยั ฉบับน้ี หมายถงึ กลว้ ยสายพนั ธ์ุตา่ ง ๆ ทม่ี อี ยู่ในประเทศไทยจำแนก
ชนดิ ตามจีโนม มีท้ังหมด ๘ กลุ่ม7 ประกอบดว้ ย

๑) กลุ่ม AA ได้แก่ กลว้ ยปา่ กลว้ ยไข่ กล้วยเล็บมือนาง กล้วยหอมจนั ทร์ กลว้ ยไข่
ทองร่วง กลว้ ยไขจ่ ีน กล้วยนำ้ นม กล้วยไล กลว้ ยสา กล้วยหอม กล้วยหอมจำปา กล้วยทองกาบดำ

๒) กลุ่ม AAA ได้แก่ กล้วยหอมทอง กล้วยนาก กล้วยคร่ัง กล้วยหอมเขียว กลว้ ยกุ้ง
เขียว กล้วยหอมแม้ว กลว้ ยไข่พระตะบอง กลว้ ยคลองจัง

๓) กลุ่ม BB ได้แก่ กลว้ ยตานี
๔) กลุ่ม BBB ไดแ้ ก่ กล้วยเล็บช้างกุด
๕) กล่มุ AAB ไดแ้ ก่ กลว้ ยน้ำ กลว้ ยน้ำฝาด กลว้ ยนมสวรรค์ กลว้ ยน้ิวมือนาง กล้วย
ไข่โบราณ กล้วยทองเดช กล้วยศรีนวล กล้วยขม กลว้ ยนมสาว
๖) กล่มุ ABB ไดแ้ ก่ กลว้ ยหกั มุกเขียว กลว้ ยหกั มุกนวล กล้วยเปลือกหนา กลว้ ยสม้
กลว้ ยนางพญา กล้วยนมหมี กลว้ ยน้ำวา้ สำหรบั กลว้ ยน้ำวา้ แบง่ ออกเปน็ ๓ ชนิด ตามสีของเนื้อ คือ
นำ้ ว้าแดง น้ำวา้ ขาว และน้ำว้าเหลอื ง
๗) กลมุ่ ABBB ไดแ้ ก่ กล้วยเทพรส หรอื กลว้ ยทิพรส
๘) กลมุ่ AABB ได้แก่ กล้วยเงิน

วิสาหกิจชุมชน ในงานวิจัยฉบับนี้ หมายถึง กลุ่มผู้ประกอบการผลิตสินค้า การแปรรูป
จากผลผลิตการเกษตรหรือสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ในเขตอำเภอเมือง
จังหวัดสุพรรณบุรี

๑.๗ ประโยชน์ทีค่ าดว่าจะไดร้ บั จากการวิจยั

7สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ, เรอ่ื งท่ี ๖ กล้วย/พนั ธกุ์ ลว้ ยในประเทศไทย เลม่ ที่ ๓๐ [ออนไลน]์
เข้าถงึ ไดจ้ าก http://saranukromthai.or.th/sub/book/book.php?book=30&chap=6&page=t30-6-info
detail05.html สืบคน้ เมือ่ วันท่ี ๑๔ กรกฎาคม ๒๕๖๓.

19

๑.๗.๑ เด็ก/เยาวชน/เกษตรกรมีแหลง่ เรียนรู้เร่อื งพันธุ์กลว้ ยในประเทศไทย
๑.๗.๒ เป็นศูนย์รวมผลผลิตทางการเกษตรเพอ่ื การจำหนา่ ยแก่ผบู้ รโิ ภค
๑.๗.๓ เป็นศูนยอ์ นรุ กั ษพ์ ันธ์กุ ล้วยและเป็นแหล่งทอ่ งเทีย่ วเชิงเกษตรจังหวดั
สุพรรณบุรี

20

บทที่ ๒

แนวคดิ ทฤษฎีและงานวิจยั ที่เกยี่ วข้อง

การนำเสนอแนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายที่จะทำให้เกิด
ความเข้าใจในหลักการสำคัญเกี่ยวกับแนวคิด ทฤษฎี การพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ การมีส่วนร่วม การ
อนุรักษ์ กลยุทธ์การตลาดบริการ รวมทั้งรายละเอียดของหลักการที่นำมากำหนดเป็นกรอบแนวคิด
ของการทำการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ค้นคว้าจากเอกสารตำราและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง โดยนำเสนอ
ตามลำดบั ดังน้ี

๒.๑ แนวคิดและทฤษฎเี กี่ยวกับการพัฒนา
๒.๒ แนวคิดเกย่ี วกบั ศูนยก์ ารเรียนรูช้ ุมชน
- แนวทางการดำเนินงานศูนย์การเรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้า
เกษตร
- มาตรฐานแหลง่ ท่องเทย่ี วเชิงเกษตร
๒.๓ แนวคิดการมสี ่วนรว่ ม
๒.๔ แนวคดิ ทฤษฎเี กย่ี วกบั กลยุทธก์ ารตลาด

- กลยทุ ธ์การตลาดดา้ นบริการ
- พฤติกรรมของผูบ้ ริโภค
- ความพงึ พอใจของลูกคา้

๒.๕ แนวคิดทฤษฏีพฒั นาการและลกั ษณะทางพฤกษศาสตร์กลว้ ย
๒.๖ บริบทพน้ื ท่ีการวจิ ยั
๒.๗ งานวจิ ยั ท่เี ก่ยี วข้อง
๒.๘ กรอบแนวคดิ ในการวจิ ัย
๒.๑ แนวคดิ และทฤษฎีเกี่ยวกับการพฒั นา

๑) ความหมายของการพฒั นา

คำว่า การพัฒนาใช้ในภาษาอังกฤษว่า Development นำมาใช้เป็นคำเฉพาะและใช้
ประกอบคำอื่นก็ได้เช่น การพัฒนาประเทศ การพัฒนาชนบท การพัฒนาเมือง และการพัฒนา
ข้าราชการ การพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ เป็นตน้ การพฒั นาจงึ ถูกนำไปใช้กันโดยทวั่ ไปและมีความหมาย
แตกต่างกันออกไปดังกล่าวแล้ว เกี่ยวกบความหมายของการพัฒนานั้นได้มีนักวิชาการให้ความหมาย
ไว้หลายความหมายท้ังความหมายท่คี ลา้ ยคลงึ กันและแตกตางกัน ดงั น้ี

21

(๑) ความหมายโดยทว่ั ไป

พัฒนาที่เข้าใจโดยทั่วไป มีความหมายใกล้เคียงกับความหมายจากรูปศัพท์ คือ หมายถึง
การทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจากสภาพหนึ่งไปสู่อีกสภาพหนึ่งที่ดีกว่าเดิมอย่างเป็นระบบ หรือการ
ทำให้ดีขึ้นกว่าสภาพเดิมที่เป็นอยู่อย่างเป็นระบบ8 ซึ่งเป็นการเปรียบเทียบทางด้านคุณภาพระหว่าง
สภาพการณ์ของสิ่งใดสิ่งหนึ่งในช่วงเวลาที่ต่างกัน กล่าวคือ ถ้าในปัจจุบัน สภาพการณ์ ของสิ่งน้ัน
ดีกว่า สมบรู ณ์กว่ากแ็ สดงวา่ เปน็ การพัฒนา9

การพัฒนา ในความหมายโดยทั่วไป จึงหมายถึงการเปลี่ยนแปลงสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้เกิด
คุณภาพดีขึ้นกว่าเดิม ความหมายน้ี นบั วา่ เป็นความหมายท่ีร้จู ักกันโดยท่ัวไป เพราะนำมาใช้ มากกว่า
ความหมายอน่ื ๆ แม้วา่ จะไม่เปน็ ท่ยี อมรบั ของนักวชิ าการกต็ าม10

(๒) ความหมายทางพระพทุ ธศาสนา

สมเดจ็ พระพทุ ธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยตุ ฺโต) ไดใ้ หค้ วามหมายและอธบิ ายไวว้ า่

ในทางพุทธศาสนา ุ การพัฒนา มาจากคำภาษาบาลีวา่ วฒั นะ แปลวา่ เจริญ แบง่ ออกได้
เปน็ ๒ ส่วน คอื การพฒั นาคน เรยี กวา่ ภาวนา กับการพฒั นาสง่ิ อื่นๆ ท่ีไม่ใชค่ น เชน่ วตั ถุ
สง่ิ แวดล้อมตา่ ง ๆ เรยี กว่า พัฒนา หรือวัฒนา เช่น การสรา้ งถนน บ่อน้ำ อา่ งเก็บนำ้ ซง่ึ เป็นเรอ่ื งของ
การเพ่ิมพูนขยาย ทำให้มากหรอื ทำให้เติบโตขึ้นทางวัตถแุ ละได้เสนอข้อคดิ ไวว้ า่ คำวา่ การพัฒนา
หรอื คำว่าเจริญ นั้นไม่ได้แปลวา่ ทำให้มากข้ึน เพ่ิมพูนขึ้นอย่างเดยี วเทา่ นั้น แต่มีความหมายว่าตดั หรอื
ท้งิ เช่น เจรญิ พระเกศา คือตัดผม มีความหมายว่า รก เชน่ นสิ ยา โลกวฑฒโฺ น แปลวา่ อยา่ เปน็ คน
รกโลก ดังน้นั การพฒั นาจึงเป็นส่ิงที่ทำแล้วมคี วามเจริญจรงิ ๆ คอื ต้องไมเ่ กดิ ปญั หาติดตามมาหรือไม่
เสอื่ มลงกว่าเดิม ถ้าเกดิ ปญั หาหรอื เสอ่ื มลง ไม่ใชเ่ ปน็ การพัฒนา แตเ่ ป็นหายนะซึ่งตรงกันขา้ มกบั การ
พัฒนา11

สนธยา พลศรี กล่าวว่า การพัฒนา ในทางพระพทุ ธศาสนา หมายถงึ การพัฒนาคนให้มี
ความสขุ มีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม การพัฒนาในความหมายนี้ มลี ักษณะเดียวกันกับการพัฒนาใน
ความหมายทางดา้ นการวางแผน คอื เป็นเรอ่ื งของมนุษย์เท่าน้นั แตกต่างกนั เพยี งการวางแผนใหค้ วามสำคัญ

8 ยุวัฒน์ วฒุ ิเมธี, หลักการพัฒนาชุมชนและการพฒั นาชนบท,(กรงุ เทพมหานคร:ไทยอนเุ คราะหไ์ ทย.
9 ปกรณ์ ปรยี ากร, ทฤษฎแี ละแนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาในการบริหารการพัฒนา,:(
กรุงเทพมหานคร: สามเจรญิ พานชิ ,.๒๕๓๘), หน้า ๕.
10 สนธยา พลศร,ี ทฤษฎแี ละหลกั การพฒั นาชุมชน. (พิมพ์ครงั้ ที่๕),:( กรงุ เทพมหานคร: โอเดียนส
โตร์.๒๕๔๗, หน้า ๒.
11 สมเดจ็ พระพุทธโฆษาจารย์ ( ป.อ. ปยตุ โฺ ต), การพฒั นาท่ยี ง่ั ยืน,:( กรงุ เทพมหานคร: มลู นิธิโกมลคมี
ทอง.๒๕๓๐), หนา้ ๑๖-๑๘.

22

ท่วี ธิ กี ารดำเนนิ งาน สว่ นพุทธศาสนามงุ่ เน้นผลทเ่ี กดิ ข้ึน คือ ความสขุ ของมนุษยเ์ ทา่ น้นั 12
(๓) ความหมายทางพัฒนบริหารศาสตร์

นักพัฒนาบริหารศาสตร์ได้ให้ความหมายของการพัฒนา เป็น ๒ ระดับ คือ ความหมาย
อย่างแคบและความหมายอย่างกวา้ ง

ความหมายอย่างแคบ การพัฒนา หมายถึง การเปลี่ยนแปลงในตัวระบบการกระทำการ
ใหด้ ีขึน้ อันเปน็ การเปล่ยี นแปลงในดา้ นคณุ ภาพเพยี งดา้ นเดยี ว

ความหมายอย่างกว้าง การพัฒนา เป็นกระบวนการของการเปลี่ยนแปลงในตวั ระบบการ
กระทำทั้งดา้ นคุณภาพ ปริมาณและสิ่งแวดล้อมใหด้ ีข้ึนไปพร้อม ๆ กัน ไม่ใช่ดา้ นใดดา้ นหนึ่งเพียงด้าน
เดียว การพัฒนา ในความหมายของนักพัฒนาบริหารศาสตร์จะมีขอบข่ายกว้างขวางกว่า ความหมาย
จากรูปศัพท์ ความหมายโดยทั่วไป และความหมายทางเศรษฐศาสตร์ที่กล่าวมาแล้ว เพราะหมายถึง
การเปลี่ยนแปลงของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ทั้งในด้านคุณภาพ (ดีขึ้น) ปริมาณ (มากขึ้น) และสิ่งแวดล้อม (มี
ความเหมาะสม) ไมใ่ ช่การเปลยี่ นแปลงด้านใดดา้ นหนึง่ เพียงด้านเดยี ว13

๒) แนวคิดและทฤษฎเี กย่ี วกับการพัฒนา แบ่งออกเปน็

(๑)ทฤษฎคี วามทันสมยั

แนวทางการพัฒนาโดยอาศัยทฤษฎีความทันสมัย(Modernization Theory) นับว่าได้รบั
ความนิยมอย่างสูงในประเทศตะวันตกในช่วงปลายสงครามโลกครั้งที่สอง เนื่องจากเมื่อใช้วิธีการ
วเิ คราะห์ทางประวัติศาสตร์การพฒั นาทางเศรษฐกจิ ของประเทศตา่ งๆ แล้วเห็นวา่ ประเทศแถบยุโรป
และประเทศสหรัฐอเมริกาซึ่งพฒั นาแลว้ ได้ใช้แนวทางในการฟนื้ ฟูประเทศของตนเป็นผลสำเรจ็ ดังน้ัน
แนวคิดการพัฒนาตามแบบจำลองดังกล่าวได้แพร่กระจายได้รับการนำไปใช้เป็ นกระแสหลักในการ
พัฒนาประเทศด้อยพัฒนาต่างๆ ผลงานด้านวิชาการที่เกี่ยวกับการพัฒนาในช่วงระยะเวลาดังกล่าว
ส่วนใหญ่ เน้นการนำเอาแบบจำลองความทันสมัยเป็นองค์ความรู้ที่สำคัญในการประยุกต์ใช้เพื่อการ
พัฒนาด้านตา่ งๆ ของประเทศ

(๒) ทฤษฎกี ารพฒั นาแบบพงึ่ พา

ในเวลาเดียวกัน กลุ่มประเทศยุโรปและอเมริกาได้มีการใช้แนวคิดการพัฒนาในด้านการ
สร้างความทันสมัยเป็นกระแสหลักในการกำหนดแนวทางการพัฒนาประเ ทศและได้รับความสำเร็จ
เปน็ ท่นี ิยมอย่างกว้างขวางน้ัน นกั วชิ าการกลุ่มประเทศด้อยพฒั นาในกลุ่มประเทศลาตินอเมริกากลับมี

12 สนธยา พลศร,ี เร่อื งเดยี วกัน หนา้ ๔.
13 เรอ่ื งเดยี วกนั , หน้า ๓

23

แนวคิดคดั คา้ นการพัฒนาดว้ ยการสรา้ งภาวะความทันสมัยดงั กล่าวท้ังน้เี ปน็ ผลจากความล้มเหลวและ
วิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจซึ่งกลุ่มประเทศเหล่านี้เผชิญนั่นเอง ความล้มเหลวที่เกิดในประเทศบราซิล
อาร์เจนตินา และหลายประเทศในกลุ่มลาตนิ อเมริกา นบั เป็นปรากฏการณส์ ำคัญอันเป็นที่มาของการ
เสนอทฤษฎีการพึ่งพา (dependency theory) ในเวลาต่อมา แนวทางที่ใช้ในการพัฒนาเศรษฐกิจ
ของประเทศที่พัฒนาแล้วไม่น่าจะมีความเหมาะสม และใช้ได้กับประเทศด้อยพัฒนา ทั้งนี้เพราะผล
การพัฒนาที่เกิดจากแนวคิดของการพัฒนากระแสหลัก เช่นแนวคิดหลักขั้นตอนการเติบโตทาง
เศรษฐกิจของรอสโทวไ์ ม่เป็นไปตามเป้าหมาย ความเติบโตทีเ่ กิดขึน้ กับประเทศด้อยพัฒนาส่วนใหญม่ ี
น้อยมาก ยิ่งกว่านั้นความเติบโตทางเศรษฐกิจทำให้เกิดความร่ำรวยกับคนเพียงบางกลุ่ม เกิดปัญหา
ตามมาทั้งด้านปัญหาสังคมและสิ่งแวดล้อม การพัฒนาทำให้ประเทศด้อยพัฒนากลายเป็นส่วนหนึ่ง
ของระบบทนุ นยิ มโลกอยา่ งไม่มีทางหลกี เลยี่ ง

ซานโทส14 (T. Dos Santos) นักวิชาการซึ่งมีแนวคิดจัดอยู่ในกลุ่มทฤษฎีการพึ่งพากล่าว
ว่า สาเหตุที่แท้จริงของความด้อยพัฒนาหรือการต้องพึ่งพาในกลุ่มประเทศลาตินอเมริกานั้นมิได้เกิด
จากเพียงแค่ความสัมพันธ์ทางประวัติศาสตร์ และความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและการเมืองระหว่าง
ประเทศศูนย์กลางและประเทศบริวาร แต่เกิดจากการที่โครงสร้างภายในของประเทศเหล่านี้ถูก
กำหนดโดยความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่ต้องพึ่งพากันในทางเศรษฐกิจโลก การพึ่งพาเป็น
สถานการณ์เงื่อนไขเมื่อเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศหนึ่งจะเติบโตหรือไม่ ต้องขึ้นกับการขยายตัวและ
การพัฒนาผ่านระบบการคา้ หรอื ระบบเศรษฐกจิ โลกของประเทศผู้ท่ีมอี ิทธิพลอ่นื ๆ

แนวทางในการพัฒนาประเทศได้เริ่มต้นขนึ้ ในประเทศตะวันตกซึง่ ในอดีตเป็นท่ียอมรับกัน
วา่ มีความสำคัญและมีศักยภาพทางเศรษฐกิจสูงจึงเรียกตนเองว่าเป็น ประเทศท่ีพัฒนาแล้ว และเรียก
ประเทศที่ล้าหลังกว่าตนว่าประเทศด้อยพัฒนา ประเทศที่พัฒนาแล้ว มักจะหยิบยื่นความช่วยเหลือ
ใหแ้ ก่ประเทศด้อยพฒั นา ในลกั ษณะของ “ผู้มอี ำนาจ” หยบิ ยนื่ ให้ “ผดู้ อ้ ยโอกาส” แนวความคดิ แบบ
Modernization เน้นความเจริญทางวัตถุ โดยผู้มีอำนาจให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ด้อยโอกาสเพื่อให้เกดิ
การขยายตัวทางเศรษฐกิจตามแนวทางที่ผู้มีอำนาจซึ่งก็คือประเทศที่พัฒนาแล้วต้องการ เช่น การ
พัฒนาใหเ้ ปน็ ประเทศอุตสาหกรรม (Industrialization) โดยเชอื่ ว่าการพัฒนาเชน่ นจ้ี ะก่อให้เกิดความ
มั่นคง และความสมบรู ณ์ทางเศรษฐกจิ

ส่วนแนวคิดสังคมนิยม (Socialism) เป็นแนวคิดอีกกลุ่มหนึ่งที่ให้ความสำคัญกับการ
เปลี่ยนแปลงทางสังคมอันเนื่องมาจากช่องว่างระหว่างชนชั้น โดยมองว่า การมุ่งเน้นความเจริญทาง
วัตถุเป็นการใหค้ วามสำคัญกับทุนนยิ ม (Capitalism) ซงึ่ ทำใหย้ งิ่ พฒั นาประเทศยิ่งยากจนลง มองว่าผู้

14 T. Dos Santos, อา้ งใน บวั พันธ์ พรหมพักพงิ , “ความอยดู่ ีมสี ขุ ,”แนวคดิ และประเด็นการ
ศึกษาวจิ ัย ปที ่ี ๒๓ ฉบบั ท่ี ๒ (๒๕๔๙), ๑-๓๑

24

ที่มีอำนาจน่าจะเป็นประชาชนส่วนใหญค่ ือชนช้ันกรรมาชพี และไม่ควรให้โอกาสแก่รัฐบาลในระบอบ
เผด็จการมามบี ทบาทในการบริหารประเทศ

แนวคิดในการพัฒนาประเทศของตะวันตกทั้งสองสำนักที่กล่าวมานี้มีอิทธิพลเป็นอย่าง
มากต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทยในระยะแรก เพราะนักวิชาการส่วนใหญ่และผู้
ที่มีบทบาทในการบริหารประเทศเคยได้รับการศึกษามาจากประเทศตะวันตกจึงนำแนวคิดเหล่านี้ซ่ึง
กำลังแพร่หลายและเปน็ แนวโน้มสำคัญของการพัฒนาประเทศตะวันตกในคริสต์ศตวรรษที่ ๒๐ มาใช้
ในการบริหารประเทศ การวิเคราะห์แนวความคิดและทฤษฎีดงั กล่าวจึงมีความจำเป็นอย่างย่ิงต่อการ
มองภาพรวมการพฒั นาของประเทศไทย ซึง่ เร่มิ ต้นตัง้ แตม่ ีแผนพฒั นาเศรษฐกิจแห่งชาติ (พ.ศ.๒๕๐๔)
เป็นตน้ มา แนวคดิ ดงั กลา่ วสามารถจำแนกกวา้ ง ๆ ไดเ้ ปน็ ๒ สำนกั คือ แนวคดิ การทำให้ทนั สมยั อย่าง
ตะวันตก (Modernization) และแนวคดิ สงั คมนยิ ม (Socialism)

แนวคดิ การพฒั นานมี้ ีนกั ทฤษฎีที่สำคญั คอื

Moore15 มองว่าการเปลยี่ นแปลงทางสังคมในประเทศกำลงั พัฒนาเปน็ กระบวนการไปสู่
ความทนั สมยั (Modernization) Moore ได้ให้ความหมายว่า Modernization หมายถึงการ
เปลีย่ นแปลงโดยสิน้ เชงิ ของสังคมดงั้ เดิม ไปสรู่ ปู แบบของประเทศทางตะวนั ตก มลี ักษณะสำคญั คือ มี
การใช้เทคนิควทิ ยาการ ใช้การจดั องค์กรทางสงั คมที่ก้าวหนา้ มีเศรษฐกิจท่เี ฟื่องฟู และค่อนข้างจะมี
เสถียรภาพทางการเมือง

Smelser16 เห็นวา่ การเปล่ียนแปลงทางสงั คมในประเทศกำลังพฒั นาเป็นกระบวนการ
ไปสูค่ วามทันสมยั ซ่ึงเกยี่ วข้องกับ ๔ กระบวนการทีแ่ ตกตา่ งกันแตม่ ีความเก่ียวเน่อื งกัน คือ

๑. ทางด้านเทคโนโลยี เปลี่ยนจากการใช้เทคนิคง่ายๆ และดั้งเดิมไปสู่การใช้ความรู้ทาง
วทิ ยาศาสตร์

๒. ทางดา้ นเกษตรกรรม เปลยี่ นจากการทำการเกษตรเพ่อื ยังชีพ ไปส่กู ารผลิตเพ่ือการค้า

๓. ทางด้านอุตสาหกรรม เปลี่ยนจากการใช้แรงงานมนุษย์และสัตว์ ไปสู่อุตสาหกรรมอย่าง
แทจ้ ริง

๔. ทางดา้ นการจดั การทางนเิ วศน์วทิ ยา เปลี่ยนจากสังคมชนบทเป็นสงั คมเมอื งนอกจากนี้
ในกระบวนการไปสู่ความทนั สมัยมอี งคป์ ระกอบท่ีเกี่ยวขอ้ ง ๓ ประการคือ

15 Moore, อ้างใน บวั พันธ์ พรหมพักพิง, “ความอยู่ดีมีสขุ ,”แนวคิดและประเด็นการศกึ ษาวิจยั
ปที ี่ ๒๓ ฉบบั ที่ ๒ (๒๕๔๙), ๑-๓๑.

16 Smelser, อ้างใน บวั พนั ธ์ พรหมพกั พงิ , “ความอยดู่ มี สี ขุ ,”แนวคดิ และประเดน็ การ
ศกึ ษาวิจยั ปที ่ี ๒๓ ฉบบั ท่ี ๒ (๒๕๔๙), ๑-๓๑.

25

๔.๑ การแยกย่อยของโครงสร้างและหน้าท่ี (Differentiation) ในสังคมท่ีพัฒนาแล้ว
จะมีระดับของการแยกย่อยของโครงสร้างและหนา้ ทส่ี ูง สว่ นสังคมท่ียังไม่พฒั นาจะมีระดับของการ
แยกยอ่ ยต่ำ

๔.๒ การผสมผสานของส่วนตา่ ง ๆ ในระบบ (Integration) เนื่องจากในขณะท่ีสงั คม
มีการแยกย่อยเพิม่ ข้นึ จะต้องมกี ารเพมิ่ กลไกท่จี ะทำการผสมผสานและส่งเสรมิ ความสัมพันธร์ ะหว่าง
บคุ คลท่ีมีความสนใจแตกตา่ งกันออกไป

๔.๓ ความระส่ำระสายในสังคม (Social Disturbance) เนือ่ งจากมีการเปลี่ยนแปลง
โครงสร้างสังคมที่มอี ยู่เดมิ มีการเรียกร้องให้มีการสร้างสิ่งใหม่ ๆ เพื่อที่จะ ผสมผสานส่วนที่แยกย่อย
ออกไป ซงึ่ จะสรา้ งความขดั แยง้ กับแบบแผนเก่า ๆในสงั คม สร้างความไม่พอใจใหก้ บั ผคู้ นในสงั คมด้วย

หากพิจารณาแนวความคิดเหล่านี้แล้วจะเห็นว่าประเทศไทยเองก็ได้ปรับโฉมหน้าของ
ประเทศไปตามกระแสความคิดดังกล่าว การพัฒนาประเทศตามแนวคิด Modernization เริ่มขึ้นใน
รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. ๒๔๑๑-๒๔๕๓) โดยการเปิดประตูสู่โลก
ตะวันตก จากการทพ่ี ระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกลา้ เจ้าอยู่หวั ไดเ้ สด็จพระราชดำเนนิ เยือนประเทศใน
ยุโรปตะวนั ตกถงึ ๒ ครัง้ และมพี ระราชดำรวิ า่ การทำประเทศให้ทันสมยั อย่างตะวันตกจะทําให้เป็นที่
ยอมรับของ อารยประเทศ อันจะเปน็ หนทางเดียวท่จี ะนำพาประเทศให้รอดพ้นจากการล่าอาณานิคม
การตัดสินพระทัยในครั้งนั้นทำให้ประเทศไทยเป็นประเทศเดียวในภูมิภาค ที่รอดพ้นจากการตกเป็น
อาณานิคมของประเทศตะวันตก นอกจากนี้ยังทรงริเร่ิมใหม้ ีการเลิกทาสอันเป็นรากฐานแห่งความเท่า
เทียมกันในสังคม (Social Equity) โดยนําแนวคิดของตะวันตกมาปรบั ใช้ให้เหมาะสมกับสงั คมไทยใน
ขณะนั้น จึงทำให้การเลิกทาสในเมืองไทยไม่สูญเสียเลือดเน้ือดังเช่นที่เคยเกิดขึ้นในประเทศที่เป็น
ต้นแบบ ต่อมาเมื่อประชากรของประเทศเพิ่มมากขึ้น การพัฒนาตามแนวคิด Modernization
จำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับภาวะทางเศรษฐกิจและสังคมที่ได้ทวีความสลับซับซ้อน
ข้ึน แมว้ ่าการพัฒนาตามแนวคดิ Modernization ท่ีผา่ นมาตั้งแตเ่ รมิ่ มแี ผนพัฒนาเศรษฐกจิ และสังคม
แห่งชาติ (พ.ศ. ๒๕๐๔) เป็นต้นมาจะทำให้เศรษฐกิจโดยรวมของประเทศขยายตัวมาโดยตลอด ใน
รอบสบิ ปีทผี่ า่ นมามีการขยายตัวเกิดขึน้ ในอัตราท่ีเรว็ มาก แต่อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจรวมศูนย์
อยูท่ ี่เมอื ง แทนท่ีจะกระจายไปในชนบท สง่ ผลให้ความแตกต่างระหวา่ งสังคมเมอื งและสังคมชนบทยิ่ง
เด่นชัดขึน้ ประชากรท่ีมีฐานะดอี ยู่แล้วยงิ่ ร่ำรวยมากข้ึน ส่วนประชากรท่ียากจนกลับจนลงกว่าเดิม ผล
ที่ได้จากการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยกค็ ือบุคคลที่รวยที่สุด ๒๐% ในประเทศได้ขยายทรัพย์สินของ
ตนเองจนควบคมุ รายได้เกินคร่ึงหน่ึงของชาติ ส่วนบคุ คลที่จนทีส่ ุด ๒๐% ควบคุมเพยี ง ๔.๖% เท่านั้น
ตรงตามปรัชญาของการพัฒนาชนบทที่ว่า แม้ว่าในภาพรวมรัฐบาลจะประสบผลสำเร็จในการเพ่ิม
ผลผลิตและกระจายรายได้ แต่ถ้าประชาชนไม่สามารถเพิ่มผลผลิตและรายได้ที่จำเป็นเกี่ยวกับ

26

ปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิตแล้ว ก็ยังถือว่าชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนในชนบทไม่ดีขึ้นและมิ
อาจกลา่ วได้ว่าเป็นการพฒั นาชนบททแ่ี ทจ้ รงิ ได้

Marx17 กล่าวว่า “สังคมนิยมเป็นระบบการปกครองและเศรษฐกิจที่ได้มาจากชนช้ัน
กรรมาชีพเอง เพื่ออิสรภาพของประชาชน ไม่ใช่ระบบที่คนอื่นหรือผู้นำใด ๆ จะเอามาให้ประชาชน
ได้” ประเทศทางตะวันตกได้พยายามที่จะเรียกรอ้ งความเสมอภาคทางสังคม และนำมาสู่การยอมรบั
ในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (Universal Declaration of Human Rights) เมื่อวันที่ ๑๐
ธนั วาคม พ.ศ. ๒๔๙๑

แม้ว่าแนวความคิดสังคมนิยมจะตอกย้ำความผิดพลาดในการมุ่งเน้นความเจริญทางวัตถุ
โดยการให้ความสำคัญกับทุนนยิ มจนนำไปสูค่ วามขัดแย้งระหว่างชนช้ัน สังคมนิยมให้ความสำคัญกบั
ประชากรสว่ นใหญ่ ซง่ึ ในยโุ รปหมายถึงชนชั้นกรรมาชีพ แตส่ ังคมนยิ มกม็ ีสว่ นถูกในการให้ความหมาย
ต่อกลุ่มชนท่ีควรไดร้ ับการพัฒนา ในประเทศไทยกลุ่มชนน้ีไดแ้ กป่ ระชากรผ้ยู ากไร้ในชนบท“กลุ่มชน”
ของทฤษฎีตะวันตก และตะวันออกจึงแตกต่างกัน และบางครั้งไม่สามารถนำทฤษฎีเดียวกันมาใช้
ปฏิบัติในต่างพื้นที่ได้โดยไม่มีการประยุกต์ใช้ ชาวชนบทในประเทศไทยแม้จะหมายถึงประชากรส่วน
ใหญ่ของประเทศซึง่ จำเป็นต้องได้รบั ความช่วยเหลือจากผู้มีศักยภาพสงู กว่า อัน หมายถึงนายทุนและ
รัฐบาล การพัฒนาตามแนวนี้จะสัมฤทธิผลถ้าประชากรส่วนใหญ่ ตามทฤษฎีของ Marx ได้รับความ
ชว่ ยเหลอื ดว้ ยความเห็นใจและเขา้ ใจ มโี อกาสเรียนรู้ ท่จี ะดํารงชีพได้อย่างผาสกุ รฐั บาลที่มีบทบาทใน
การบริหารประเทศต้องยอมรับในภูมิปัญญาของเขาเหล่านั้น การพัฒนาร่วมกันในลักษณะการพึ่งพา
อาศยั กันจงึ จะธำรงอยู่ได้

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) อธิบายความหมายของการพัฒนาที่ยั่งยนื
วา่ มีลักษณะเป็น การพฒั นาทเ่ี ป็นบูรณาการ (integrated) คือทำใหเ้ กดิ เป็นองค์รวม (holistic) และ
มดี ุลยภาพ (balanced) ระหวา่ งการพทิ ักษร์ กั ษาทรัพยากรธรรมชาติและการแก้ไขกำจัดความยากจน
ทำใหเ้ กดิ สภาพที่เรียกว่าเป็นภาวะย่ังยืนทั้งในทางเศรษฐกจิ และในทางสภาพแวดล้อม หรือคือการทำ
ใหก้ ิจกรรมของมนษุ ยส์ อดคลอ้ งกบั กฎเกณฑข์ องธรรมชาติ18

การพัฒนาโดยทั่วไปเป็นการปรับเปลี่ยนให้สภาพเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตดีข้ึน
การพัฒนาชนบทที่ยั่งยืนเป็นการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตของประชากรในชนบท ก่อให้เกิดกระแสรายได้
เพิ่มพูนทุนทรัพย์ พัฒนาเทคโนโลยี ทำให้สินทรัพย์ในการลงทุนงอกเงยขึ้นทั้งในด้านกายภาพและ

17 Marx, อ้างใน บัวพันธ์ พรหมพกั พิง, “ความอยู่ดีมสี ุข,”แนวคดิ และประเดน็ การศึกษาวิจัย ปที ี่
๒๓ ฉบบั ท่ี ๒ (๒๕๔๙), ๑-๓๑.

18 สมเดจ็ พระพุทธโฆษาจารย์ (ประยทุ ธ์ ปยุตฺโต), พทุ ธศาสนากับสงั คมไทย, (พมิ พค์ รัง้ ท๓ี่ ),
(กรงุ เทพมหานคร : มลู นธิ ิ โกมลคมี ทอง,๒๕๓๒).

27

ทรัพยากรมนุษย์ การพัฒนาที่ยั่งยืนจะต้องพัฒนาให้เกิดการเติบโตทางเศรษฐกิจเพื่อสนองความ
ต้องการขั้นพื้นฐานให้ได้ก่อน แต่ลำพังการเติบโตทางเศรษฐกิจเพียงอย่างเดียวไม่อาจบรรลุถึงการ
พัฒนาที่ยั่งยืนได้ ด้วยเหตุนี้การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ควบคู่ไปกับการพัฒนาทางเศรษฐกิจจึงเป็น
ปัจจัยสำคัญ ดังที่ Javier Perez de Cuellar19 อดีตเลขาธิการองค์การสหประชาชาติได้ใหข้ ้อสังเกต
ในการประชุม World Decade for Cultural Development (๑๙๘๘-๑๙๙๗) ว่า “ความล้มเหลว
ในการพัฒนาส่วนใหญ่นั้นมีสาเหตุเนื่องมาจากการที่โครงการพัฒนาส่วนมาก ไม่ให้ความสำคัญต่อ
ปัจจัยทางด้านทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งเกี่ยวโยงอย่างสลับซับซ้อนในเรื่องสัมพันธภาพระหว่างความเชื่อ
ค่านิยม และแรงจูงใจอันหลายหลากที่ประกอบกันเข้าเป็นหัวใจของวัฒนธรรม “ซึ่งการศึกษาจะเป็น
เครื่องมือที่ช่วยให้มนุษย์เรียนรู้เกี่ยวกับเทคนิคได้ดีและลึกซึ้งขึ้น สามารถประดิษฐ์คิดค้น หาสิ่ง
ทดแทนท่ีไม่ทำลายสภาพแวดล้อมได้ ปจั จุบันการรกั ษาสภาพแวดล้อมเปน็ เรื่องทมี่ นุษย์ให้ความสนใจ
ที่จะบำรุงรักษา ทรัพยากรแวดล้อมเปรียบได้กับต้นทุนเดิมทางเศรษฐกิจซึ่งไม่ต้องมีการลงทุน เช่น
อทุ ยานแห่งชาติ น้ำตก เปน็ ต้น

วิฑูรย์ ปัญญากุล กล่าวว่า “การพัฒนาแบบยั่งยืนจะต้องมีลักษณะที่หลากหลาย ท่ี
สอดคล้องกบั สภาพแวดล้อม และเง่ือนไขเฉพาะของแต่ละชุมชนในแต่ละภูมิภาค โดยแนวทางสำหรับ
การพัฒนาแบบยั่งยืนนั้นต้องตั้งอยู่บนพื้นฐาน ๓ ประการ คือ การมีประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจ มี
ความเหมาะสมกับสภาพแวดล้อม และมีความยุติธรรมทางสังคม จากหลักการพัฒนาแบบยั่งยืน
ดงั กล่าว โครงการพัฒนาควรจะมลี ักษณะทส่ี ำคัญ ๓ ประการ คือ

๑. เปน็ โครงการขนาดเลก็ ทตี่ ้งั อยู่บนพน้ื ฐานของภมู ปิ ัญญาท้องถิ่น

๒. มคี วามสอดคลอ้ งกับระบบนเิ วศน์ท้องถนิ่

๓. ประชาชนต้องมีส่วนร่วมในกระบวนการพัฒนา การพัฒนาที่ยั่งยืนจึงเป็นรูปแบบที่
ได้รับความนิยมในปัจจุบัน มีการผสมผสานส่วนที่ดีของแนวคิดแต่ละทฤษฎีที่ได้วิเคราะห์วิจัยแล้วว่า
เหมาะสมที่จะนำมาประยุกต์ใช้กับการพัฒนาชนบทของประเทศไทยได้ ทั้งยังนำเอาภูมิปัญญา
ชาวบ้านซึ่งเป็นผลของการใช้สติปัญญาในการปรับตัวเข้ากับสภาวะต่างๆ ในพื้นที่ที่ตนอยู่อาศัยมา
ประยุกต์ใช้ด้วย เพื่อให้ประชาชนในชนบทสามารถบริหารและจัดการได้ด้วยตนเอง ตามวิถีและ
ครรลองท่เี หมาะสมกบั สภาพท้องถิ่นของตน ไม่จำเปน็ ต้องพ่ึงผู้เช่ียวชาญ เทคโนโลยี หรือแนวคิดจาก
ต่างประเทศเสมอไป และหนั มาใหค้ วามสนใจกบั ระบบเกษตรกรรมท่ยี ัง่ ยืน20

19 Javier Perez de Cuellar, อ้างใน บัวพันธ์ พรหมพักพิง, “ความอยู่ดมี สี ุข,”แนวคิดและประเดน็
การศึกษาวจิ ยั ปที ี่ ๒๓ ฉบับที่ ๒ (๒๕๔๙), ๑-๓๑

20 วฑิ รู ย์ ปญั ญากลุ , การพัฒนาต้องมาจากประชาชนชาวบ้านเวที ๓๔.(พิมพ์ครัง้ ท่ี ๒),.
กรุงเทพมหานคร : สถาบนั ชุมชนทอ้ งถน่ิ พฒั นา, ๒๕๓๕.

28

๒.๒ แนวคิดเกี่ยวกับศูนย์การเรยี นรชู้ มุ ชน

ความหมายของศูนย์การเรียนรู้ชุมชน (สำนักงานพัฒนาชุมชนขามสะแกแสง, ๒๕๖๐
หน้า ๓๒)21 ศูนย์เรียนรู้ชุมชน เป็นศูนย์กลางรวบรวมข้อมูลข่าวสารความรู้ของชุมชนที่จะนำไปสู่
การส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้สำหรับประชาชน ในชุมชน เป็นแหล่งเสริมสร้างโอกาสในการเรียนรู้
การถา่ ยทอด การแลกเปล่ยี นประสบการณ์ การสบื ทอดภูมปิ ัญญา วฒั นธรรม ค่านิยม และเอกลักษณ์
ของชุมชน อีกท้ังเป็นแหลง่ บริการชุมชนด้านต่าง ๆ เช่น การจัดกิจกรรมที่สอดคลอ้ งกบั ความต้องการ
เรียนรู้ ของชุมชน โดยเน้นการกระบวนการเรียนรู้เพื่อวิถีชีวิตของคนในชุมชน เพื่อให้ทันกับการ
เปลี่ยนแปลงของสังคม ก่อให้เกิดชุมชนแห่ง เรียนรู้ และมุ่งการพัฒนาแบบพึง่ ตนเอง เป็นศูนย์ฯ ของ
ประชาชน ทีด่ ำเนนิ การโดยประชาชน และเพือ่ ประชาชน ทจี่ ะก่อใหเ้ กดิ ความเข้มแขง็ ของชมุ ชนอย่างยั่งยืน

จากความหมายขา้ งต้นจะเห็นไดว้ า่ ศูนยเ์ รยี นร้ชู ุมชนในความคาดหวังของกรมการพัฒนา
ชุมชน ไมใ่ ช่ศูนย์ฝึกอบรมประจำหมู่บ้านท่ีรอรบั การนัดหมายจากวิทยากรภายนอก แตจ่ ะเป็นสถานท่ี
ทจ่ี ะสรา้ งความผกู พนั ระหว่างคนในชมุ ชนกบั เร่อื งราวของเขาเองเป็นสำคญั

หลกั การสำคญั ของศูนย์เรียนรชู้ มุ ชน

เป็นแหล่งเรียนรู้ทุกด้าน ทุกรูปแบบไม่เน้นการเรียนการสอนในห้องเรียน
เป็นศูนย์กลางที่ประชาชนทุกคนสามารถเข้ามาเรียนรู้ ค้นคว้าหาความรู้ แลกเปลี่ยนความรู้และ
ประสบการณ์ รวมท้ังการพบปะ สงั สรรค์ เพื่อสรา้ งความเข้าใจ ความรว่ มมือในการพัฒนาตนเองและ
ชุมชนเปน็ ศูนย์กลางการเรียนรู้ตลอดชีวิตของประชาชน โดยประชาชนและเพ่ือประชาชน

ภารกิจของศูนย์เรียนรชู้ มุ ชน

จดั ให้มกี จิ กรรมการเรียนรู้ การถา่ ยทอด การแลกเปลย่ี นประสบการณ์ ตลอดจนการสืบทอด
ภูมิปัญญาท้องถิ่นและการเรียนรู้ด้านต่าง ๆ ของประชาชนในชุมชนเป็นศูนย์รวมของข้อมูล รวมทั้ง
ข่าวสาร สาระความรู้ ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ เท่าทันสถานการณ์โลกรวบรวม ภูมิปัญญาท้องถ่ิน
องค์ความรู้ของปราชญ์ชาวบ้าน องค์ความรู้ที่มีอยู่กระจัดกระจายในชุมชน และจัดการให้เป็น
หมวดหมู่ มีความชัดเจนเป็นรูปธรรม ที่ประชาชนสามารถเข้าไปสืบค้นศึกษาและ เรียนรู้ได้ทุกเวลา
เป็นศูนย์กลางในการจัดการความรู้ ที่ดำเนินการโดยประชาชนและเพื่อประชาชน
เป็นศูนย์ประสานและบูรณาการการทำงานของทุกภาคส่วน ภาคประชาชน ได้แก่ ผู้นำ กลุ่ม/องค์กร
เครือข่าย ภาคเอกชน และภาคีการพัฒนาภาครัฐเป็นสถานที่แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ของปราชญ์

21สำนกั งานพัฒนาชมุ ชนอำเภอขามสะแกแสง, ศูนยเ์ รยี นรชู้ มุ ชน, (ออนไลน)์ , แหล่งทีม่ า
http://district.cdd.go.th/khamsakaesaeng/services/. (๑๙ มกราคม ๒๕๖๑).

29

ชาวบา้ น เปน็ สถานท่ีท่ีมีโครงสรา้ งเป็นอาคาร หรือสถานทใ่ี ด ๆ ก็ได้ ที่มอี งคค์ วามรู้ สามารถให้การเรยี นรู้ แก่
ประชาชนทีต่ ้องการความรู้ สามารถเข้าถงึ ได้

องค์ประกอบ/รปู แบบองค์ประกอบศนู ยเ์ รียนรูช้ ุมชน

๑) วิธกี ารกอ่ เกดิ

ศูนย์เรียนรู้ชุมชน จะเกิดขึ้นได้ต้องเป็นความต้องการของประชาชนในชุมชน เพราะจะ
เป็นสมบัติของชุมชน จึงควรนำแนวคิดเข้าเวที ประชุมประชาคมของหมู่บ้าน เผยแพร่ความคิด
โน้มน้าวสร้างการยอมรับ และชี้ให้เห็นความสำคัญของการมีแหล่งเรียนรู้ของชุมชน การจัดเก็บองค์
ความรู้ ประวัติชุมชน และภูมิปัญญาของชุมชนอย่างเปน็ ระบบ การแสดงข้อมูลข่าวสารของชุมชนให้
ได้เรียนรู้กันอย่างท่ัวถึง รวมทั้งการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้สม่ำเสมอ โดยเริ่มจากการจัดระเบียบ
แหล่งเรียนรู้ที่มีอยู่ในชุมชน และให้เป็นไปตามกำลังที่ชุมชนจะสามารถดำเนินการได้ อีกทั้งให้มี
ขอบเขต และลกั ษณะตามความเห็นของชุมชน

๒) โครงสรา้ ง ของศนู ย์เรยี นรู้ชมุ ชน ประกอบดว้ ย

คณะกรรมการ ประกอบด้วยผู้แทนจากผู้นำชุมชน กลุ่ม/องค์กร เครือข่ายองค์กรชุมชน
ปราชญ์ชาวบ้าน อาสาสมัคร ฯลฯ โดยมาจากการคัดเลือกของชาวบ้านเอง และชาวบ้านให้การ
ยอมรับ ซึ่งคณะกรรมการจะร่วมมือกันวางแผน และดำเนินตามแผนยุทธศาสตร์ที่ได้ร่วมกันกำหนด
เพื่อระดมพลังให้เกิดการเรียนรู้และบริหารจัดการในศูนย์เรียนรู้ให้สามารถดำเนินการได้อย่างมี
ประสิทธภิ าพ

ที่ปรึกษา เป็นภาคีการพัฒนาภาครัฐ เช่น พัฒนาชุมชน การศึกษานอกโรงเรียน เกษตร
สาธารณสขุ และองค์กรปกครองสว่ นทอ้ งถ่ิน

ระเบียบข้อบังคับ ซึ่งคณะกรรมการฯ ได้จัดทำขึ้นที่เป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อเป็น
แนวทางในการบริหารศนู ย์

สถานที่ เลก็ ใหญ่ไม่สำคัญ อาจจะอยู่ในห้องของอาคาร อบต. บ้านผู้ใหญ่บ้าน บ้านผู้นำ บ้าน
ปราชญ์ชาวบ้าน ศาลาวัด ใต้ต้นไม้ ศาลากลางบ้าน ซึ่งเป็นสถานที่ให้พบปะ ประชุม ทำงานกันได้
ตลอดเวลา ให้เป็นสถานที่ที่เป็นสัญลักษณ์ของการรวมตัวกัน เพื่อการเรียนรู้ ไม่จำเป็นต้องหา
งบประมาณมากอ่ สรา้ งศนู ย์ใหม่

การบริหารจัดการศนู ยฯ์ คณะกรรมการฯ ท่ไี ด้รับการคัดเลอื ก มกี ารบรหิ ารจัดการเพือ่ ให้
ศนู ยฯ์ สามารถบริหารจดั การได้อยา่ งเปน็ รปู ธรรม

30

งบประมาณ เพื่อพัฒนาคณะกรรมการของศูนย์เรียนรู้ชุมชนให้สามารถทำงานได้อย่างมี
ประสิทธ ิภาพ และจัดซื้อว ัสดุ อุปกรณ์ที่จำเป็นในการพัฒนาศูนย์เรียนรู้ชุมชน
โครงสร้างทั้งหมดนี้ ไม่จำเป็นต้องเกิดขึ้นมาครบถ้วนในระยะเริ่มแรก ขอให้ศึกษาเพิ่มเติมในแนว
ทางการดำเนินงาน ซงึ่ อยู่ในบทต่อไป

๓) กจิ กรรมการเรยี นรู้ แบง่ เป็น ๒ ลักษณะ ดังนี้

๓.๑ สถานที่จัดกิจกรรมเรียนรู้ อาจดำเนินการได้ทั้งในอาคารศูนย์ฯ และนอกอาคาร
ศูนย์ฯ โดยมีการจัดกจิ กรรมการเรียนรู้ในชุมชน เช่น บ้านปราชญช์ าวบา้ น ในไร่นา เพื่อสาธิตกิจกรรม
การเรยี นรู้ เชน่ การปลูกผัก การเลี้ยงสัตว์ ฯลฯ

๓.๒ กิจกรรมการเรียนรู้ ได้แก่ การเรียน/การสอน การจัดการความรู้เกี่ยวกับ
ประวัติความเป็นมาของชาติพันธุ์ ขนบประเพณี วัฒนธรรม การรับความรู้จากปราชญ์ชาวบ้าน การ
จัดเวทีประชาคมเพื่อการเรียนรู้และการตัดสินใจร่วมกัน การเรียนรู้ผ่าน E-Learning การสาธิต การ
จัดนทิ รรศการ การจดั สัมมนา อภปิ ราย ฯลฯ

สรุปได้ว่า การถ่ายทอดความรู้ หมายถึง การถ่ายทอดความรู้เป็นวิธีการหนึ่งเพื่อการ
พัฒนาประชาชนและชุมชนท้องถิ่น เป็นการเรียกกระบวนการแบ่งปันความรู้ถูกถ่ายทอดจากคนหนงึ่
ไปยังอีกคน กลุ่มหนึ่งไปยังอีกกลุ่ม หรือจะเป็นจากองค์กรหนึ่งไปยังอีกองค์กร กล่าวคือเป็นการ
ถ่ายทอดความรูจ้ ากผ้รู ู้ไปยังผทู้ ่ีต้องการความรหู้ รือการได้มาซึ่งความรู้ของผูท้ ่ีตอ้ งการความรู้

๒.๒.๑ แนวทางการดำเนนิ งานศนู ย์เรยี นรกู้ ารเพ่มิ ประสิทธภิ าพการผลติ สินค้าเกษตร
กรมสง่ เสรมิ การเกษตรได้มีการปรับปรงุ ระบบส่งเสริมการเกษตร ให้สามารถรองรบั การ
เปลีย่ นแปลงและภารกิจตา่ ง ๆ ขับเคล่ือนการดำเนินงานด้วยกระบวนการเรียนรแู้ ละการมีส่วนร่วม
และใชว้ ธิ ีการทำงานรูปแบบ MRCF system ท่ีมจี ดุ มุง่ หมายทช่ี ัดเจนทำใหเ้ กิดการพฒั นาท่ีตรงจุด
และยั่งยืน

ในปี ๒๕๕๗ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีนโยบายให้กรมส่งเสรมิ การเกษตรในฐานะท่ี
เป็นหน่วยงานหลักในการส่งเสริมและพัฒนาเกษตรกร ครอบครัวเกษตรกร องค์กรเกษตรกร และ
วิสาหกิจชุมชน ให้มีความเข้มแข็ง พึ่งพาตนเองได้ ดำเนินการจัดตั้งศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพ
การผลติ สินคา้ เกษตรในระดบั ชุมชนอำเภอละ ๑ ศูนย์ รวม ๘๘๒ ศูนย์ การคดั เลอื กศูนย์เรยี นรู้ฯ เน้น
จุดนำร่องการปฏบิ ัตงิ านสง่ เสริมการเกษตรตามรูปแบบ MRCF ทมี่ กี ารวเิ คราะห์ พื้นที่ คน สินค้า ตาม
หลักการ Zoning ซึ่งมีการจำแนกพื้นที่ ที่มีความเหมาะสมมาก (S๑) เหมาะสมปานกลาง (S๒)
เหมาะสมน้อย (S๓) และไม่เหมาะสม (N) ร่วมกับความต้องการของเกษตรกรในชุมชน จึงมีประเด็น
การเรียนรู้ทั้งจากการพัฒนาและการปรับเปลี่ยนกิจกรรมตามหลักของ Zoning เพื่อเป็นแหล่งศึกษา

31

และเรียนรู้ของเกษตรกรและประชาชนที่สนใจในด้านการเกษตรจากถานที่จริง เรียนรู้จากเกษตรกร
ต้นแบบที่ทำอาชพี การเกษตรและประสบความสำเร็จ สามารถลดต้นทุนการผลิต ผลผลิตทีไ่ ด้เพิม่ ขึ้น
และมีคุณภาพมากยิ่งขึ้น โดยเน้นการใช้เทคโนโลยีการผลิตที่เหมาะสม การปรับปรุงบำรุงดิน การใช้
น้ำอย่างรู้คุณค่า พร้อมทั้งการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ให้เกิด
ประโยชนส์ งู สุด เพอ่ื นำไปสู่กระบวนการผลิตทีเ่ ป็นมิตรกับส่งิ แวดลอ้ ม

จากการดำเนินงานที่ผ่านมาเกษตรกรที่เรียนรู้จากศูนย์เรียนรู้ได้รับความรูแ้ ละนำไปปรบั
ใช้ในพ้ืนที่ของตนเองจนเกิดการเปลีย่ นแปลงในการผลติ สินค้าเกษตรที่ดีขึน้ ดังนั้นจึงเห็นสมควรทีจ่ ะ
ให้มีการดำเนินงานต่อในปีงบประมาณ ๒๕๕๘ โดยพัฒนาการดำเนินงานศูนย์เรียนรู้การเพ่ิม
ประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตรให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เน้นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ตลอด
ฤดูกาลเพาะปลูก (เช่น แนวทางโรงเรียนเกษตรกร) กับเกษตรกรต้นแบบ ในเรื่องการเพิ่ม
ประสิทธิภาพในการผลิตสินค้าเกษตรที่เหมาะสมกับบริบท หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง การทำ
บัญชีครัวเรือน ฯลฯ ซึ่งจะช่วยใหเ้ กษตรกรเกิดจติ สำนึกและนำความรู้ท่ีไดร้ ับจากการเรียนรูจ้ ากศนู ย์
เรียนรู้ฯไปปรับใช้ในพื้นที่ของตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันจะส่งผลให้เกษตรกรสามารถพึ่งพา
ตนเองไดอ้ ยา่ งยัง่ ยนื ต่อไป โดยมีวตั ถุประสงคเ์ พ่อื ๑) พัฒนาศูนย์เรียนรูก้ ารเพม่ิ ประสิทธิภาพการผลิต
สนิ คา้ เกษตร ใหเ้ ป็นต้นแบบในการเรียนรู้ของชุมชนในการผลิตสินค้าเกษตรอยา่ งมปี ระสิทธิภาพ โดย
ยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และสอดคล้องกับบริบทของชุมชน ๒) ให้เกษตรกรได้
แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเกษตรกรต้นแบบ ในการสร้างความรู้ ความเข้าใจ และเกิดจิตสำนึกในการเพ่ิม
ประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร โดยการใช้ปัจจัยการผลิตได้อย่างเหมาะสม โดยคำนึงถึง
สภาพแวดล้อม และ ๓) ให้เกษตรกรปรับเปลยี่ นระบบการผลติ ให้สามารถพ่งึ พาตนเองได้

นิยามศัพท์
ศูนย์เรยี นรู้การเพ่ิมประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร หมายถึง ศนู ย์เรียนรู้ท่ีมีคุณสมบัติ
ดงั นี้
๑) มอี งค์ความรู้และกจิ กรรมทางการเกษตรท่ีมีความโดดเดน่ เปน็ ต้นแบบได้
๒) นอ้ มนำหลกั ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการประกอบอาชพี และการดำรงชวี ติ
๓) มีกิจกรรมทางการเกษตรที่เหมาะสมสอดคล้องกับศักยภาพของพื้นที่ตามหลักการ
บริหารจัดการพ้นื ทีเ่ กษตรกรรม (Zoning) และความตอ้ งการของชุมชน
๔)เกษตรกรต้นแบบเจ้าของศูนย์เรียนรู้ฯ มีจิตอาสาและมีความพร้อมที่จะแลกเปลี่ยน
เรยี นรู้ร่วมกบั เกษตรกรรายอนื่ ๆ

แนวทางการดำเนินงาน
๑) องคป์ ระกอบของศูนยเ์ รยี นรู้
องค์ประกอบของศูนยก์ ารเรียนรู้การเพมิ่ ประสทิ ธิภาพการผลิตสนิ ค้าเกษตร ประกอบดว้ ย

32

ทีม่ า: กรมสง่ เสรมิ การเกษตร (กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘)
(๑) เกษตรกรต้นแบบ เป็นเกษตรกรเจ้าของแปลงเรียนรู้ฯ ที่ประสบความสำเร็จในเพ่ิม
ประสทิ ธิภาพการผลิตทางการเกษตร ทีส่ ามารถเปน็ ตน้ แบบให้กับเกษตรกรรายอนื่ ๆ ในชมุ ชน และมี
ความรู้ ทักษะและความพรอ้ มในการถ่ายทอดความรู้
(๒) แปลงเรยี นรู้ เปน็ แปลงของเกษตรกรต้นแบบที่ดำเนินการเพ่ิมประสิทธิภาพการผลิต
สินค้าเกษตร (ลดต้นทุนการผลิต เพิ่มผลผลิต และพัฒนาคุณภาพผลผลิต) ซึ่งเป็นการดำเนินการที่ได้
จากการวเิ คราะหข์ อ้ มลู ของแตล่ ะพื้นที่
(๓) หลักสูตรการเรียนรู้ โดยสำนักงานเกษตรอำเภอและเกษตรกรต้นแบบร่วมกัน
กำหนดหลักสูตรและแผนการเรียนรู้ โดยเน้นประเด็นหลักในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้า
เกษตร (ลดต้นทุนการผลิต เพิ่มผลผลิต และพัฒนาคุณภาพผลผลิต) และเป็นหลักสูตรที่เน้น
กระบวนการเรียนรูแ้ บบมสี ว่ นร่วมและต่อเนื่องตลอดฤดูการผลติ
(๔) ฐานการเรียนรู้ ต่าง ๆ ในการเพิ่มประสิทธภิ าพการผลติ สินค้าเกษตร (ลดต้นทนุ การ
ผลิต เพิ่มผลผลิต และพัฒนาคุณภาพผลผลิต) ซึ่งฐานการเรียนรู้จะสอดคล้องกับหลักสูตรการเรียนรู้
โดยใหม้ ีขอ้ มูลประกอบในแตล่ ะฐานการเรียนรู้ ด้วย22

22กรมสง่ เสรมิ การเกษตร. แนวทางการดำเนินงานศนู ยเ์ รยี นรกู้ ารเพ่ิมประสทิ ธภิ าพการผลิตสนิ ค้า
เกษตร : (กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, ๒๕๕๘, หนา้ ๑-๕.

33

สรุป ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร เป็นศูนย์การแลกเปลี่ยน
เรียนรู้ของกลุ่มเกษตรกร เพอ่ื ให้เกดิ การเพม่ิ ประสิทธภิ าพการผลติ สนิ ค้าเกษตร ให้มีความหลากหลาย
ตรงตามกลมุ่ ผ้บู ริโภค

สำหรับงานวิจัยฉบับนี้ ได้นำกรอบศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินคา้ เกษตร
ของกรมส่งเสริมการเกษตรและหลักการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ชุมชนของกรมการพัฒนาชุมชนมา
ประยุกต์รวมกันแล้วจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์พันธุ์กล้วย โดยร่วมกันพัฒนา
ศูนย์ฯให้มีมาตรฐานคุณภาพตามเกณฑ์แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร เพื่อสร้างความมั่นคง มั่งคั่ง และ
ยั่งยืนแกก่ ลุ่มเกษตรกร สบื ไป

๒.๒.๒ มาตรฐานแหลง่ ทอ่ งเทยี่ วเชงิ เกษตร

ในประเทศไทย ถือไดว่าเริ่มมีการพัฒนาการทองเที่ยวให้เป็นรูปแบบและเป็นระบบมาก
ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อเป็นการเพิ่มทางเลือกให้กับนักท่องเที่ยว และเพิ่มรูปแบบทางการ
ทอ่ งเทยี่ วเพ่ือสง่ เสรมิ ให้ประเทศไทยเปน็ แหลง่ ท่องเท่ยี วท่ีสำคญั สามารถเดนิ ทางท่องเท่ียวได้ตลอดปี
และเพอื่ เพิม่ การกระจายตัวไปทั่งภูมิภาค

การท่องเที่ยวเชิงเกษตรเป็นส่วนหนึ่งของการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ที่เปิดโอกาสให้
นักท่องเที่ยวได้มีส่วนร่วมกับการเข้าไปสัมผัสกับธรรมชาติโดยมีกระบวนการเรียนรู้ด้วยวิธีต่าง ๆ ซึ่ง
ทำให้นักท่องเที่ยวเกิดจิตสำนึกที่จะอนุรักษ์และตระหนักถึงความสำคัญของธรรมชาติและการรักษา
สิ่งแวดล้อมให้ดำรงอยู่ได้ โดยไมมีการทำลาย เพื่อยกระดับมาตรฐานในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวให
ยั่งยืน รวมทั้งกำหนดแนวทางในการบริหารจัดการคุณภาพของแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร ให้เป็นไป
ตามไปตามระดับมาตรฐานคณุ ภาพแหลง่ ทอ่ งเทยี่ วเทยี่ วเชงิ เกษตร ท่ีกำหนดไว้ต่อไป

มาตรฐานคุณภาพแหล่งท่องเที่ยวเที่ยวเชิงเกษตร หมายถึง การกำหนดแนวทางการ
พัฒนา การบริหารจัดการ การบริการและความปลอดภัย เพื่อการยกระดับคุณภาพของ แหล่ง
ทอ่ งเทีย่ วเชงิ เกษตร ประกอบดว้ ย ๔ องค์ประกอบหลัก ไดแก

๑) ศักยภาพการบรหิ ารจัดการของแหล่งทอ่ งเทย่ี วเทยี่ วเชิงเกษตร

๒) ศกั ยภาพการรองรบั ของแหลง่ ท่องเท่ียวเชงิ เกษตร

๓) ศักยภาพการให้บริการของแหลง่ ท่องเท่ียวเชิงเกษตร

๔) ศกั ยภาพการดงึ ดดู ใจของแหล่งท่องเท่ยี วเที่ยวเชิงเกษตร

โดยคำนึงถึงการสร้างจิตสำนึกและการมีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อสังคม ทรัพยากร และ
ส่งิ แวดล้อม เพ่ือใหเ้ กดิ การพฒั นาแหล่งท่องเท่ยี วอย่างย่ังยืน

34

การกำหนดกรอบแนวคิดและกำหนดเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพแหล่งทองเท่ียวเชิงเกษตร
พิจารณาจากองค์ประกอบของอุตสาหกรรมการทองเที่ยว ๕ ปัจจัยร่วมกับมุมมองด้านการพัฒนา
อยา่ งยัง่ ยืน ๕ ปจั จัย ดงั น้ี •

องคป์ ระกอบของอตุ สาหกรรมการทองเท่ยี ว
๑) ปจั จัยดา้ นความดึงดดู ของแหลง่ ท่องเท่ียว (Attraction)
๒) ปัจจยั ดา้ นส่งิ อำนวยความสะดวก (Amenities)
๓) ปจั จยั ดา้ นการเขา้ ถงึ แหลง่ ท่องเทีย่ ว (Accessibility)
๔) ปจั จัยดา้ นความหลากหลายของกิจกรรม (Activities)
๕) ปจั จัยดา้ นท่ีพัก (Accommodation) •
มุมมองด้านการพัฒนาอย่างย่งั ยืน
๑) ปัจจยั ด้านการจดั การแหล่งท่อง (Site Management)
๒) ปัจจัยดา้ นแหล่งเรยี นรู้ทางการเกษตร (Knowledge Management)
๓) ปัจจัยด้านการมีส่วนร่วมของชุมชนและความเขมแข็ง (Community Participations
and Community Strength)
๔) ปัจจยั ดา้ นความมไี มตรีจติ (Hospitality)
๕) ปัจจัยด้านความปลอดภยั (Safety)23

๒.๓ แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับการมสี ว่ นรว่ ม

การมีส่วนร่วม “Participation” หมายถึง การมีส่วนร่วมของสมาชิกผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
(Stakeholders) ในชุมชนหรือประชาชนในการเข้ามาร่วมมีบทบาทในการดำเนินงานพัฒนาของ
ภาครฐั

๒.๓.๑ ความหมายการมีส่วนรว่ ม
การมีส่วนร่วม (Public Participation) หมายถึง การกระจายโอกาสให้ประชาชนมีส่วน
ร่วมทางการบริหารเกี่ยวกับการตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆ ร่วมทั้ง การจัดสรรทรัพยากรของชุมชนและ
ของชาติ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตและความเป็นอยู่ของประชาชน โดยการให้ข้อมูล แสดงความ

23 อ้างแลว้ . กรมการท่องเทีย่ ว. คูม่ อื การประเมนิ มาตรฐานการท่องเทยี่ วเชงิ เกษตร. หน้า ๑-๓

35

คิดเห็น ให้คำแนะนำปรึกษา ร่วมวางแผน ร่วมปฏิบัติ รวมตลอดจนการควบคุมโดยตรงจาก
ประชาชน24

การมีส่วนร่วม (Participation) ตามพจนานุกรมอังกฤษฉบับอ๊อกฟอร์ด ได้ให้คำนิยามไว้
ว่า “เป็นการมีส่วน (ร่วมกับคนอื่น) ในการกระทำบางอย่างหรือบางเรื่อง” คำว่า การมีส่วนร่วม
โดยมากมกั จะใช้ในความหมายตรงข้ามกบั คำว่า “การเมนิ เฉย (Apathy)” ฉะนัน้ คำวา่ การมีส่วนร่วม
ตามความหมายข้างต้น จงึ หมายถึง การที่บคุ คลกระทำการในเรื่องใดเรือ่ งหน่ึงหรือในประเด็นท่ีบุคคล
นั้นสนใจ ไม่ว่าเขาจะได้ปฏิบัติการเพื่อแสดงถึงความสนใจอย่างจริงจังหรือไม่ก็ตาม และไม่จำเป็นท่ี
บุคคลนั้นจะต้องเข้าไปเกี่ยวข้องกับกิจกรรมนั้นโดยตรงก็ได้ แต่การมีทัศนคติ ความคิดเห็น ความ
สนใจ ห่วงใย ก็เพียงพอแลว้ ทจี่ ะเรียกวา่ เป็นการมสี ่วนรว่ มได้25

เสาวนิตย์ ชัยมุสิก ได้กล่าวถึงการมีส่วนร่วม หมายถึง การที่ปัจเจกบุคคลก็ดี กลุ่มคน
หรือองค์กรประชาชนได้อาสาเข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจการดำเนินโครงการ การแบ่งปัน
ผลประโยชน์และการประเมินผลโครงการพัฒนาด้วยความสมัครใจโดยปราศจากข้อกำหนดที่มาจาก
บุคคลภายนอกและเปน็ ไปเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของสมาชิกในชุมชน รวมท้งั ท่ี อำนาจอิสระ
ในการแบ่งปนั ผลประโยชนท์ ีเ่ กิดจากการพัฒนาให้กับสมาชกิ ดว้ ยความพึงพอใจและผ้เู ข้ามามสี ่วนร่วม
มีความรสู้ กึ เปน็ เจา้ ของโครงการดว้ ย26

การมีส่วนร่วม หมายถึง “กระบวนการที่ความกังวล ความต้องการ และคุณค่าของ
ประชาชน ไดร้ บั การบรู ณาการในกระบวนการตดั สินใจของภาครัฐ ผา่ นกระบวนการสื่อสารแบบ สอง
ทาง โดยมีเป้าหมายโดยรวมเพื่อที่จะทำให้เกิดการตัดสินใจที่ดีขึ้นและได้รับการสนับสนุนจาก
ประชาชน” การมีสว่ นรว่ มนนั้ จะหมายถึงการที่ประชาชนมีโอกาสแสดงความคิดเหน็ ก่อนการตัดสินใจ
จะเกิดขึ้น หรือหมายความว่า ผู้มีอำนาจตัดสินใจจะสามารถตัดสินใจใดๆ ที่อาจส่งผลกระทบต่อ
ประชาชนได้ก็ตอ่ เมอื่ ไดร้ ับความเห็นชอบ จากประชาชนก่อนเทา่ นัน้ Creighton ต้ังคำถามถงึ ประเด็น
ผู้มีอำนาจตัดสินใจ โดยพิจารณาว่าทำไม เจ้าหน้าที่ของรัฐจึงเป็นผู้มีอำนาจตัดสินใจได้เท่าน้ัน
ถึงแม้ว่าปัจจุบันเจ้าหน้าที่ของรัฐมีแนวโน้มที่จะทำกระบวนการตัดสินใจให้เปิดเผย และมีความ

24 คะนึงนิจ ศรีบัวเอีย่ ม และคณะ. แนวทางการเสรมิ สรา้ งประชาธิปไตยแบบมีส่วนรว่ มตาม
รัฐธรรมนญู แหง่ ราชอาณาจักรไทย พ.ศ.๒๕๔๐ : ปัญหา อุปสรรค และทางออก, (กรงุ เทพฯ : ธรรมดาเพลส,
๒๕๔๕).

25 เกยี รตขิ จร วัจนะสวสั ด,ิ์ การมสี ่วนร่วมของประชาชนต่อการดำเนนิ นโยบายของรัฐบาลดา้ นการ
บรกิ ารจัดหางาน, (กรุงเทพฯ : กองแผนงานและสารสนเทศ กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน, ๒๕๕๐), หน้า ๑.

26 เสาวนิตย์ ชยั มสุ ิก, การบริหารโรงเรียนเป็นฐานเพ่อื การประกนั คณุ ภาพการศึกษา,
(กรงุ เทพมหานคร : โรงพมิ พ์บุคพอยท์ , ๒๕๔๒), หน้า ๔๑.

36

โปร่งใสมากขึ้น แต่ในหลายกรณีหรือสถานการณ์ โดยอำนาจการตัดสินใจขั้นสุดท้ายก็ยังคงเป็นของ
เจา้ หนา้ ทภ่ี าครฐั อยนู่ ั่นเอง27

ตามความหมายของนกั วชิ าการที่ให้ขา้ งต้นสรปุ ไดว้ ่า การมีสว่ นรว่ ม หมายถึง การทีบ่ คุ คล
มสี ่วนร่วมในการคดิ การวางแผน การตดั สนิ ใจ การแก้ไขปัญหาและมสี ว่ นร่วมในการปฏบิ ัติ เพ่ือแก้ไข
ปรับปรงุ วางแผน และประเมินผลงานน้ันๆ

๒.๓.๒ ทฤษฎกี ารมีสว่ นร่วม

แบ่งออกเป็น ๒ กลุ่มใหญ่ คอื

๑) ทฤษฎีความเป็นผู้แทน (Representative) ทฤษฎนี ้เี นน้ ความเปน็ ผู้แทนของผู้นำ และ
ถือว่าการมีส่วนร่วมในการเลือกตั้งหรือถอดถอนผู้นำเป็นเครื่องหมายของการที่จะให้หลักประกันกับ
การบริหารงานที่ดี อย่างไรก็ตามทฤษฎีน้ี เน้นเฉพาะการวางโครงสร้างสถาบัน เพื่อเป็นเครื่องมือใน
การใหผ้ ู้ตามเข้ามามสี ว่ นร่วมในการตัดสินใจขององค์กรอยา่ งแท้จริง ผู้ท่ีมสี ว่ นร่วมอยา่ งแท้จริงในการ
ตัดสินใจ ได้แก่ บรรดาผู้นำต่างๆ ที่เสนอตัวเข้ามาสมัครรับเลือกตัง้ ส่วนผูต้ ามน้ันเป็นเพียงไม้ประดับ
เทา่ นน้ั

๒) ทฤษฎปี ระชาธิปไตยแบบมสี ่วนร่วม (Participatory democracy) ทฤษฎีน้ีการมีส่วน
ร่วม มีวัตถุประสงค์ไม่เฉพาะแค่การเข้าไปพิจารณาเลือกตั้ง หรือถอดถอนผู้นำเท่านั้น แต่ยังรวมไป
ถึงการเข้าไปมีส่วนร่วมในทุกขั้นตอนของการวางนโยบาย ยิ่งกว่านั้นทฤษฎีนี้ ยังมองการมีส่วนร่วม
เป็นการให้การศึกษา และพัฒนาการกระทำทางการเมืองและสังคมที่มีความรับผิดชอบนั้นคือการไม่
ยอมให้มีส่วนร่วมที่นับว่าเป็นการคุกคามต่อเสรีภาพของผู้ตาม ลักษณะการมีส่วนร่วมของประชาชน
ในการพฒั นา ดงั นี้

๑. ร่วมทำการศึกษา ค้นคว้าปัญหา และสาเหตุของปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชน ตลอดถึง
ความต้องการของชุมชน

๒. ร่วมคิดและสร้างรูปแบบและวิธีการพัฒนาเพื่อแก้ไขและลดปัญหาของชุมชน หรือ
สรา้ งสรรค์สิ่งใหม่ทเี่ ป็นประโยชนต์ ่อชมุ ชนหรือสนองความตอ้ งการของชุมชน

๓. ร่วมวางนโยบายหรือแผนงานหรือโครงการหรือกิจกรรมเพื่อขจดั และแก้ไขปัญหาและ
สนองความตอ้ งการของชุมชน

27 ศ.นพ.วันชยั วัฒนศัพท,์ คมู่ อื การมสี ่วนรว่ มของประชาชนในการตัดสินใจของชุมชน,
(กรงุ เทพมหานคร : สถาบนั พระปกเกลา้ และ มูลนธิ อิ าเซยี , ๒๕๕๒), หน้า ๗.

37

๔. ร่วมตัดสินใจการใช้ทรัพยากรที่มีจำกัดให้เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม ร่วมจัดหรือ
ปรับปรุง ระบบการบรหิ ารงานพฒั นาใหม้ ปี ระสิทธิภาพและประสิทธผิ ล

๕. ร่วมลงทุนในกจิ กรรมโครงการของชุมชนตามขีดความสามารถของตนเอง

๖. ร่วมปฏิบตั ติ ามนโยบาย แผนงาน โครงการ และกิจกรรมให้บรรลุตามเป้าหมาย

๗. ร่วมควบคุม ติดตาม ประเมินผล และร่วมบำรุงรักษาโครงการ และกิจกรรมที่ได้ทำไว้
โดยเอกชน และรัฐบาลใหใ้ ชป้ ระโยชนไ์ ดต้ ลอดไป

กลุ่มผู้เชี่ยวชาญที่ให้ข้อเสนอแนะ เกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการประชุม ณ
องค์การสหประชาชาติ เคยระบุไว้ว่า การมีส่วนร่วมของประชาชนเป็นคำที่ไม่อาจกำหนด นิยาม
ความหมายเดียวที่ครอบคลุมได้ เพราะความหมายของการมีส่วนร่วมอาจแตกต่างกันไปในแต่ละ
ประเทศ หรือแมแ้ ต่ในประเทศเดียวกันกต็ าม หากจะให้เข้าใจชดั และมกี ารนยิ ามความหมายของการมี
ส่วนร่วมของประชาชนควรมีลักษณะจำกัดเฉพาะในระบบเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองหนึ่งๆ น้ัน
อย่างไรก็ดีกลุ่มผู้เชี่ยวชาญดังกล่าวได้ขยายความการมีส่วนร่วมของประชาชนว่า ครอบคลุมประเด็น
ดังนี้

๑. การมีส่วนร่วมของประชาชนครอบคลุมการสร้างโอกาสที่เอื้อให้สมาชิกทุกคนของ
ชุมชน และของสังคมได้ร่วมกิจกรรม ซึ่งนำไปสู้และมีอิทธพิ ลตอ่ กระบวนการพัฒนา และเอื้อใหไดรับ
ประโยชนจ์ ากการพฒั นาโดยเท่าเทียมกัน

๒. การมีส่วนร่วมสะท้อนการเขย่าเกี่ยวข้อง โดยสมัครใจและเป็นประชาธิปไตยในกรณี
ดังตอ่ ไปนี้

๒.๑ การเอ้อื ให้เกดิ การพยายามพฒั นา

๒.๒ การแบ่งสรรผลประโยชนจากการพัฒนาโดยเท่าเทยี มกัน

๒.๓ การตัดสินใจเพื่อกำหนดเป้าหมายกำหนดนโยบายการวางแผนดำเนินการโครงการ
พัฒนาทางเศรษฐกิจและสงั คม

๓. เมื่อพิจารณาในแง่นี้การมีส่วนร่วมเป็นตัวเชื่อมโยงระหว่างสาวนที่ประชาชนลงแรง
และ ทรัพยากรเพื่อพัฒนา กับประโยชน์ที่ได้รับจากการลงทุนลงแรงดังกล่าว กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ
การมี

ส่วนรวมของประชาชนในการตดั สินใจ ไม่ว่าระดับท้องถิน่ ภูมิภาค และระดับชาติจะชว่ ย
ก่อใหเ้ กดิ ความเชอื่ มโยงระหว่างสง่ิ ท่ีประชาชนลงทุนลงแรงกับประโยชนท์ ไ่ี ด้

38

๔. การมีส่วนร่วมของประชาชนอาจผิดแผกแตกต่างกันไปตามสภาพเศรษฐกิจของ
ประเทศ นโยบายและโครงสร้างการบริหาร รวมทั้งลักษณะเศรษฐกิจสังคมของประชากรการมีส่วน
ร่วมของ ประชาชนมิได้เป็นเพียงเทคนิควิธีการแต่เป็นปัจจัยสำคัญในการประกันให้เกิ ด
กระบวนการพฒั นา ท่ีมงุ่ ประโยชนต์ อ่ ประชาชน

๕. การพิจารณาการมีส่วนร่วมในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาอาจนำไปสู่ข้อสรุปที่ว่า
การมีสว่ นรว่ มเป็นกระบวนการปลดปล่อยมนุษยจ์ ากโซ่ตรวนผูกพันให้เป็นอสิ ระในการกำหนดวิถีชีวิต
ของตนเอง ดังมีผู้นิยามว่า โดยพื้นฐานแล้ว การมีส่วนรว่ มหมายถึง การปลดปล่อยประชาชนให้ หลุด
พน้ จากการเป็นผู้รบั ผลจากการพฒั นาและให้กลายเปน็ ผู้กระทำในกระบวนการเปลี่ยนแปลง และการ
เขา้ สูภ่ าวะทันสมัย ดังนั้น การมีส่วนร่วม ของประชาชนจึงหมายถึง กระบวนการกระทำที่ประชาชนมี
ความสมคั รใจเข้ามามสี ่วนในการกำหนดการเปลี่ยนแปลงเพื่อประชาชนเอง โดยให้ประชาชนได้มีส่วน
ในการตดั สนิ ใจเพอื่ ตนเอง28

๒.๓.๓ ทฤษฎีการมสี ่วนร่วมของประชาชน มีดังนี้

๑) ทฤษฎีการเกลี้ยกล่อมมวลชน (Mass Persuation Theory) กล่าวถึงการใช้ คำพูด
หรือการเขียนเพ่ือให้เกิดความเช่ือถือและการกระทำโดยใช้หลักพฤติกรรมของมนุษย์ การเกล้ียกล่อม
ต้องอาศัยชนส่วนใหญ่ และใช้เวลามาก ในการเกลี้ยกล่อมต้องอาศัยพฤติกรรม สัญชาตญาณ
การศึกษาอบรมและความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งแวดล้อมรอบตัว การเกลี้ยกล่อมจะให้ ผลดีต้องสร้าง
ความสนใจในเร่อื งท่จี ะเกล้ยี กล่อมให้เขา้ ใจแจม่ แจง้ ใหเ้ กดิ ศรทั ธาตรงกบั

๒) ทฤษฎีการระดมสร้างขวัญของชนในชาติ (National Morale Theory) กล่าวถึงการ
สร้างกำลังใจหรือการสร้างขวัญขึ้นมาเพื่อให้คนเกิดกำลังใจในการทำงานในการฝ่าฟัน อุปสรรค ต่าง
ๆ คนที่มีขวัญในการทำงานดีจะเกิดความรู้สึกรับผิดชอบต่อส่วนรวมมากกว่าคนที่ ไม่มีขวัญและ
กำลงั ใจ เมอ่ื คนมสี ำนึกรับผิดชอบต่อส่วนรวม ก็จะทำให้เขามีความคิดที่จะเข้าไป มีส่วนร่วมกับสังคม
ในด้านตา่ ง ๆ เพ่อื ที่จะพทิ กั ษร์ ักษาทรัพย์สมบัติของสว่ นรวมเอาไว้

๓) ทฤษฎีการสร้างผู้นำ (Leadership Theory) ทฤษฎีนี้กล่าวถึงการจูงใจให้ คนทำงาน
ด้วยความเต็มใจ เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ร่วมกัน ชนหมู่มากจำเป็นจะต้องมีผู้นำที่มี ความสามารถใน
การตัดสินใจ รู้จักประนีประนอม รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น และอดทน ต่อคำวิพากษ์วิจารณ์ ผู้นำ
ช่วยให้เกิดความร่วมมือในการปฏิบัติงานกันอย่างมีขวัญและกำลังใจ ทำให้คนหมู่มากเข้ามาร่วมคิด

28 พันธทพิ ย รามสูตร, การวิจยั เชิงปฏิบตั กิ ารอยางมีสวนรวม, (กรุงเทพฯ: สถาบนั พัฒนาการ
สาธารณสขุ อาเซยี น มหาวทิ ยาลยั มหดิ ล, ๒๕๔๐), หนา ๒.

39

ร่วมทำกิจกรรมตา่ ง ๆ ให้สำเร็จลุล่วงไปได้ การสร้างผู้นำจึงเป็น การส่งเสริมการมีส่วนรว่ มอยา่ งหนง่ึ
เพราะผนู้ ำทด่ี ี สามารถจงู ใจใหค้ นคลอ้ ยตาม และเตม็ ใจทีจ่ ะ ให้ความรว่ มมอื ด้วยดี

๔) ทฤษฎีการใช้วิธีและระบบทางการบริหาร (Administrative System and Method
Theory) กล่าวว่าการใช้ระบบการบริหารเป็นวิธีการในการระดมความร่วมมือที่ง่ายที่สุด เพราะใช้
กฎหมายระเบียบแบบแผนในการดำเนินการ แต่ผลของการร่วมมือยังไม่มีระบบใดดีที่สุด ระบบการ
บริหารแบบกระจายอำนาจ ถือว่าเป็นหัวใจสำคัญของแนวการพัฒนาที่มุ่งให้ประชาชน มีส่วนร่วมใน
การกำหนดนโยบาย ในการตัดสินใจ การประเมินผลโครงการและอื่น ๆ ไม่ว่า ประชาชนจะเข้าร่วม
โดยตรง หรอื เขา้ ร่วมโดยออ้ ม ผ่านผู้แทนหรอื ไมก่ ็ตาม

๕) ทฤษฎแี รงจูงใจ (Theory of Human Motivation) มาสโลว์ ได้อธิบายว่า การท่ีจะจูง
ใจคนนั้น จะต้องรูค้ วามต้องการตามลำดับขั้นของคน และการปฏิบตั ิการเพ่ือสนองตอบความต้องการ
เหลา่ นั้น มาสโลว์ แบง่ ลำดับความตอ้ งการ ของคนออกเปน็ ๕ ระดบั

๒.๓.๔ หลักการสร้างการมีส่วนรว่ มของประชาชน

การเปิดโอกาสให้ประชาชนและผู้ที่เกี่ยวข้องทุกภาคสว่ นของสังคมได้เข้ามามีส่วนร่วมกับ
ภาคราชการนั้น International Association for Public Participation ได้แบ่งระดับของการสร้าง
การมีส่วนรว่ มของประชาชนเป็น ๕ ระดับ29 ดงั น้ี

๑. การให้ข้อมูลข่าวสาร ถือเป็นการมีส่วนร่วมของประชาชนในระดับต่ำที่สุด แต่เป็น
ระดับที่สำคัญที่สุด เพราะเป็นก้าวแรกของการที่ภาคราชการจะเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้าสู่
กระบวนการมีส่วนร่วมในเรื่องต่าง ๆ วิธีการให้ข้อมูลสามารถใช้ช่องทางต่าง ๆ เช่น เอกสารสิ่งพิมพ์
การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารผ่านทางสื่อต่าง ๆ การจัดนิทรรศการ จดหมายข่าว การจัดงานแถลงข่าว
การตดิ ประกาศ และการให้ข้อมลู ผ่านเวบ็ ไซต์ เป็นต้น

๒. การรับฟังความคิดเห็น เป็นกระบวนการที่เปิดให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการให้ข้อมูล
ข้อเท็จจรงิ และความคิดเหน็ เพ่ือประกอบการตัดสินใจของหนว่ ยงานภาครัฐด้วย วิธตี า่ ง ๆ เช่น การ
รับฟังความคิดเห็น การสำรวจความคิดเห็น การจัดเวทีสาธารณะ การแสดงความคิดเห็นผ่าน
เว็บไซต์ เป็นต้น

๓. การเกี่ยวข้อง เป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการปฏิบัติงาน หรือร่วม
เสนอแนะแนวทางที่นำไปสู่การตัดสินใจ เพื่อสร้างความมั่นใจให้ประชาชนว่าข้อมูลความคิดเห็นและ

29 กลุม่ พฒั นาระบบบริหาร, การมสี ว่ นรว่ มของประชาชน, กรุงเทพมหานคร : สำนกั งาน
ปลดั กระทรวงสาธารณสุข, ๒๕๔๙, (อัดสำเนา).

40

ความต้องการของประชาชนจะถูกนำไปพิจารณาเป็นทางเลือกในการบรหิ ารงานของภาครัฐ เชน่ การ
ประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อพิจารณาประเด็นนโยบายสาธารณะ ประชาพิจารณ์ การจัดตั้งคณะทำงาน
เพ่อื เสนอแนะประเด็นนโยบาย เป็นตน้

๔. ความร่วมมือ เป็นการให้กลุ่มประชาชนผู้แทนภาคสาธารณะมีส่วนร่วม โดย
เปน็ หนุ้ สว่ นกบั ภาครฐั ในทุกข้ันตอนของการตัดสนิ ใจ และมกี ารดำเนินกิจกรรมรว่ มกันอย่างต่อเนื่อง
เช่น คณะกรรมการท่มี ีฝา่ ยประชาชนรว่ มเป็นกรรมการ เป็นต้น

๕. การเสริมอำนาจแก่ประชาชน เป็นขั้นที่ให้บทบาทประชาชนในระดับสูงที่สุด โดยให้
ประชาชนเป็นผูต้ ัดสินใจ เช่น การลงประชามติในประเด็นสาธารณะต่าง ๆ โครงการกองทุนหมู่บ้านที่
มอบอำนาจใหป้ ระชาชนเป็นผ้ตู ดั สินใจท้ังหมด เป็นตน้

๒.๓.๕ การส่งเสริมการมีสว่ นรว่ มของประชาชน

หลกั การสำคญั ของการส่งเสริมการมสี ว่ นรว่ มของประชาชนมดี งั น้ี30

๑. หลักการสรา้ งความสมั พนั ธท์ ดี่ ีต่อกนั ระหวา่ งทางราชการกบั ประชาชน โดยยดึ ถือ
ความศรัทธาของประชาชนที่มีต่อหนว่ ยงานหรือตอ่ บุคคล

๒. หลกั การขจดั ความขดั แรง ความขดั แยง้ ในเรื่องผลประโยชนแ์ ละความคดิ จะมีอิทธิพล
ตอ่ การดำเนินงานพัฒนาเปน็ อยา่ งมากเพราะจะทำให้งานหยุดชะงักและลมเหลว

๓. หลักการสร้างอุดมการณ์และค่านิยมในด้านความขยัน ความอดทน การร่วมมือ การ
ซื่อสัตย์ และการพึ่งตนเอง เพราะอุดมการณ์เป็นเรื่องที่จะจูงใจประชาชนให้ร่วมสนับสนุนนโยบาย
และเป้าหมายการดำเนนิ งาน และอาจก่อใหเ้ กิดขวญั และกำลังใจ ในการปฏิบตั ิงาน

๔. การใหก้ ารศึกษาอบรมอย่างต่อเนื่องเปน็ การส่งเสรมิ ใหค้ นมีความรู้ความคิดของตนเอง
ช่วยให้ประชาชนมั่นใจในตนเองมากขึ้น การให้การศึกษาอบรมโดยให้ประชาชนมีโอกาสทดลองคิด
ปฏิบัติ จะช่วยให้ประชาชนสามารถคุ้มครองตนเองได้ รู้จักวิเคราะห์เห็นคุณค่าของงาน และนำไปสู่
การเขา้ รว่ มในการพฒั นา

๕. หลักการทำงานเปน็ ทมี สามารถนำมาใช้ในการแสวงหาความรว่ มมือในการพฒั นาได้สิ

๖. หลกั การสรา้ งพลังชุมชน การรวมกลมุ่ กันทำงานจะทำให้เกิดพลังในการทำงานและทำ
ใหง้ านเกดิ ประสทิ ธิภาพ

30 ชิต นิลพานิช และกลุ ธน ธนาพงศธร. การมีสว่ นร่วมของประชาชนในการพัฒนาชนบท. เอกสาร
การสอนชุดวิชาความร้ทู ัว่ ไปสำหรบั การพัฒนาระดับตำบล หมูบ่ า้ น (พิมพ์คร้ังท่ี ๓, หน่วยท่ี ๘), (นนทบรุ ี : โรงพิมพ์
มหาวทิ ยาลยั สุโขทยธรรมาธิราช, ๒๕๓๒), หน้า ๓๖๒.

41

๒.๓.๖ กรรมวธิ ใี นการมีส่วนรว่ มของประชาชน
กรรมวิธกี ารมสี ว่ นร่วมของประชาชนสามารถทำได้หลายวธิ ที ่ีสำคญั 31 มดี งั ต่อไปนี้
๑. การเข้าร่วมประชุมอภิปราย เป็นการเข้าร่วมถกปัญหาหรือเนื้อหาสาระของ แผนงาน
หรือโครงการพฒั นา เพอื่ สอบถามความคิดเหน็ ของประชาชน
๒. การถกเถียง เปน็ การแสดงความคดิ เหน็ โตแ้ ยง้ ตามวถิ ีทางประชาธิปไตยเพ่ือใหท้ ราบถึง
ผลดี ผลเสียในกรณีต่างๆ โดยเฉพาะประชาชนในท้องถิ่นที่มีผลกระทบทั้งทางบวกและทางลบต่อ
ความเปน็ อยู่ของเขา
๓. การให้คำปรึกษาแนะนำ ประชาชนต้องร่วมเป็นกรรมการในคณะกรรมการบริหาร
โครงการเพื่อให้ความมั่นใจว่ามีเสียงของประชาชนที่ถูกผลกระทบเข้ามีส่วนร่วม รับรู้และร่วมในการ
ตัดสินใจและการวางแผน
๔. การสำรวจ เปน็ วิธีการให้ประชาชนได้มีส่วนรว่ มแสดงความคิดเหน็ ในเรื่อง ต่างๆ อยา่ ง
ทั่วถึง
๕. การประสานงานร่วมเป็นกรรมวิธีที่ประชาชนเข้าร่วมตั้งแต่การคัดเลือกตัวแทนของ
กลุ่มเข้าไปเป็นแกนนำในการจดั การหรอื บริหาร
๖. การจัดทัศนศึกษาเป็นการให้ประชาชนได้เข้าร่วมตรวจสอบข้อเท็จจริง ณ จุด
ดำเนนิ การกอ่ นใหม้ ีการตดั สินใจอย่างใดอยา่ งหนึง่
๗. การสัมภาษณ์หรือพูดคุยอย่างไม่เป็นทางการกับผู้นำ รวมทั้งประชาชนที่ได้รับ
ผลกระทบเพื่อหาขอ้ มูลเกีย่ วกับความคดิ เหน็ และความต้องการทแ่ี ทจ้ รงิ ของท้องถิน่
๘. การไต่สวนสาธารณะเป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนทุกกลุ่มเข้าร่วมแสดงความ
คดิ เหน็ ตอ่ นโยบาย กฎ ระเบยี บในประเด็นต่างๆ ที่จะมีผลกระทบต่อประชาชนโดยรวม
๙. การสาธิต เป็นการใช้เทคนิคการสื่อสารทุกรูปแบบเพื่อเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร ให้
ประชาชนรบั ทราบอยา่ งทัว่ ถงึ และชัดเจนอันจะเปน็ แรงจงู ใจให้เข้ามามีสว่ นรว่ ม
๑๐. การรายงานผล เป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนทบทวนและสะท้อนผลการตัดสินใจ
ตอ่ โครงการอีกครง้ั หน่ึง หากมีการเปล่ียนแปลงจะได้แก้ไขได้ทนั ท่วงที
๒.๔ แนวคิดทฤษฎีดา้ นกลยทุ ธ์การตลาด

31 โกวทิ ย์ พวงงาม. การเสริมสร้างความเขม้ แขง็ ของชมุ ชน. (ม.ป.ท, ๒๕๔๕), หนา้ ๑๑.

42

การจดั การดา้ นการตลาด คือ การท่ธี รุ กจิ ต้องการทำให้ผบู้ ริโภคมีความต้องการและ
เกดิ ความพึงพอใจในตวั สินคา้ ได้รับความสะดวกในการซื้อสนิ คา้ ตลอดจนทราบรายละเอียดเก่ียวกับ
สินค้า ธุรกิจหรือองค์กรต้องทำการวางแผนการจัดการด้านส่วนประสมทางการตลาด (Marketing
Mix) ในขั้นต้นธุรกิจต้องกำหนดตลาดเป้าหมายและระบุตำแหน่งทางการตลาดให้ชัดเจนโดยอาศัย
กระบวนการ STP marketing (Segmenting, Targeting, Positioning) 32 ซงึ่ ประกอบด้วย

๑. การแบ่งส่วนตลาด (Segmenting หรือ Market Segmentation) หมายถึง การ
แบ่งตลาด ของผลิตภัณฑ์ชนิดใดชนิดหนึ่งออกตามลักษณะความต้องการที่คล้ายคลึงกันออกเป็นตลาดย่อย
(Sub Market) หรือ ส่วนตลาด (Market Segment) เพื่อที่จะเลือกตลาดใดตลาดหนึ่งเป็นตลาด
เปา้ หมายแลว้ ใช้สว่ นประสมทางการตลาดเฉพาะอย่าง เพอ่ื ใหเ้ ข้าถึงลูกค้าตามตลาดเป้าหมาย

๒. การกำหนดตลาดเป้าหมาย (Targetingหรือ Market Targeting) หมายถึง การประเมิน
และเลือกหนึ่งส่วนตลาดหรือมากกว่าเป็นเป้าหมาย เป็นงานที่ต้องทำเมื่อมีการแบ่งส่วนตลาดแล้ว
ซ่ึงประกอบดว้ ยสว่ นของการประเมนิ สว่ นตลาดและการเลือกสว่ นตลาด

๓. การกำหนดตำแหน่งผลิตภัณฑ์ (Positioning หรือ Market Positioning)
หมายถึง กิจกรรมการออกแบบผลิตภัณฑ์ของธุรกิจและภาพลักษณ์ของสิ่งที่นำเสนอเพื่อให้เป็น
ตำแหน่งที่มี ความสำคัญและตำแหน่งในการแข่งขันทีแ่ ตกต่างในจิตใจของลูกค้าที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย
การจัดการเกี่ยวกับส่วนประสมทางการตลาด หมายถึง การจัดการเครื่องมือทางการตลาด ที่ควบคุม
ไดแ้ ละนำมาใช้รว่ มกัน เพ่อื ตอบสนองความพงึ พอใจของกลมุ่ เป้าหมาย เพอ่ื ใหบ้ รรลุ วัตถุประสงค์ทาง
การตลาดท่ีกำหนดไว้ สว่ นประสมทางการตลาดประกอบดว้ ย

๑. ผลิตภัณฑ์ (Product) หมายถึง สิ่งที่เสนอขายโดยธุรกิจเพื่อสนองความต้องการ
ของ ลูกค้าให้พึงพอใจ ผลิตภัณฑ์ท่ีเสนอขายอาจจะมีตัวตนหรือไม่มีตัวตนก็ได้ ผลิตภัณฑ์ (Product)
นี้ ประกอบด้วย สินค้า บริการ ความคิด สถานท่ี องค์กรหรือบุคคล ผลิตภัณฑ์ต้องมีอรรถประโยชน์
หรือมีมลู ค่าในสายตาลูกค้า จงึ มผี ลทำให้ผลติ ภณั ฑ์สามารถขายได้

๒. ราคา (Price) หมายถึง มูลค่าผลิตภัณฑ์ในรูปตัวเงิน ราคาเป็นต้นทุนของลูกค้า
โดย ลูกค้าจะเปรียบเทียบระหว่างมูลค่าผลิตภัณฑ์กับราคาผลิตภัณฑ์ ถ้ามูลค่าสูงกว่าราคา ลูกค้าจึง
ตัดสนิ ใจซ้ือ การกำหนดราคาควรจะเป็นท่ียอมรบั ของลกู ค้าโดยควรคำนึงถึงต้นทนุ และการแขง่ ขัน

๓. การจัดจำหน่าย (Place หรือ Distribution) หมายถึง โครงสร้างของช่องทาง ซึ่งประกอบด้วย
สถาบันและกิจกรรม ใช้เพ่ือเคลื่อนย้ายผลิตภัณฑ์และการบริการจากองค์กรไปยังตลาด สถาบันที่นำ

32 เสรรี ตั น์ และคณะ. องค์การและการจดั การ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพธ์ รรมสาร. ๒๕๔๕หนา้ ๑๘

43

ผลิตภัณฑอ์ อกสูต่ ลาดเป้าหมาย ซึ่งก็คือ สถาบันตลาด ส่วนกิจกรรมเป็นกิจกรรมที่ช่วยในการกระจาย
ตวั สนิ ค้า ประกอบดว้ ย การขนสง่ การคลงั สินคา้ และการเก็บรักษาสินค้า คงคลัง

๔. การสง่ เสริมการตลาด (Promotion) เปน็ การติดต่อสอ่ื สารเก่ยี วกบั ข้อมลู ระหว่าง
ผู้ขายกับผู้ซื้อ เพื่อสร้างทัศนคติและพฤติกรรมการซื้อ การติดต่อสื่อสารอาจเป็นการขายโดยใช้
พนักงานขาย (Personal Selling) และการติดต่อสื่อสารโดยใช้สื่อ (Non Personal Selling) โดยมี
รายละเอยี ด ดังนี้

๔.๑ การโฆษณา (Advertising) เป็นกิจกรรมในการเสนอข่าวสารเกี่ยวกับ
องค์กรและ ผลิตภัณฑ์ บริการ หรือแนวความคิด ที่ต้องการจ่ายเงินโดยผู้อุปถัมภ์รายการ เช่น การ
โฆษณาสินค้า หรือบริการผ่านสอื่ โทรทัศน์ วทิ ยุ หนังสอื พมิ พ์ นติ ยสาร ฯลฯ

๔.๒ การขายโดยใช้พนักงานขาย (Personal Selling) เป็นกิจกรรมการ
แจง้ ขา่ วสารและ จูงใจตลาดโดยใช้บคุ คล

๔.๓ การให้ข่าวและการประชาสมั พนั ธ์ (Publicity and Public Relation)
การให้ข่าว เป็นการเสนอความคิดเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการที่ไม่ต้องมีการจ่ายเงิน ส่วนการ
ประชาสัมพันธ์ หมายถึง การพยายามที่มีการวางแผนโดยองค์กรหนึง่ เพื่อสร้างทัศนคติทีด่ ีต่อองค์กร
ใหเ้ กิดกับกล่มุ ใดกลุ่มหนึ่ง

๔.๔ การส่งเสริมการขาย (Sales Promotion) หมายถึง กิจกรรมการ
ส่งเสริมที่ นอกเหนือจากการโฆษณา การขายโดยใช้พนักงาน และการให้ข่าวและการประชาสัมพันธ์
ซึ่งสามารถกระตุ้นความสนใจ ทดลองใช้หรือการซื้อโดยลูกค้าขั้นสุดท้ายหรือบุคคลอื่นช่องทาง การ
ส่งเสริมการขายอาจมุ่งผู้บริโภค เช่น การแจกของแถม ลดราคา แจกของตัวอย่าง ฯลฯ หรือ อาจจะ
มุ่งที่คนกลาง เช่น การให้ส่วนลด การให้คูปองการค้า ฯลฯ หรืออาจจะมุ่งที่พนกั งานขาย เช่น การให้
รางวลั การประชุมพนกั งานขาย ฯลฯ

๒.๓.๑ กลยทุ ธ์การตลาดด้านบริการ

ทฤษฎีสว่ นประสมทางการตลาดสำหรับธรุ กิจบรกิ าร (๗P’s)

ในอดีตนั้นจะมีการกล่าวถึงแค่ส่วนประสมทางการตลาดสำหรับสินค้า(๔P’s) ซึ่งจะ
ประกอบไปด้วย ๔ องค์ประกอบ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ ราคา ช่องทางการจัดจำหน่าย และการส่งเสริม
การตลาด แต่ปัจจุบันได้เกิดธุรกิจบริการเพิ่มมากขึ้นและการขายสินค้านั้นจะประกอบไปด้วยการ
บริการเพิ่มขึ้นมา จึงทำให้เกิดแนวคิดใหม่ คือ ส่วนประสมทางการตลาดสำหรับธุรกิจบริการ (๗P’s)
ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้กับทุกธุรกิจ โดยเพิ่มในส่วนของพนักงาน กระบวนการในการใหบ้ รกิ าร
และส่ิงแวดล้อมทางกายภาพ

44

ส่วนประสมทางการตลาดสำหรับธุรกิจบริการของ Philip Kotle (๗P’s)33 มีรายละเอียด
ดงั ต่อไปน้ี

๑) ผลิตภณั ฑ์ (Product)

สำหรับธุรกิจบริการนั้น ผลิตภัณฑ์ไม่มีตัวตน ไม่สามารถจับต้องได้ มีลักษณะเป็นการ
กระทำ ซง่ึ คณุ ภาพของการบริการจะมาจากหลายปจั จยั เช่น ความร้คู วามสามารถ และการให้บริการ
ทดี่ ีของพนักงาน ความพร้อมของเครื่องมือหรืออปุ กรณ์ที่ใช้ในการให้บริการ ความสะอาดของสถานท่ี
ที่ใหบ้ ริการ เปน็ ตน้

๒).ราคา (Price)

การตั้งราคาเป็นสิ่งที่กำหนดรายได้ของกิจการ แต่ก็ไม่สามารถตั้งราคาตามใจชอบได้
ขึ้นอยู่กับสภาวะการแข่งขันภายในตลาดและความต้องการของลูกค้า โดยการตั้งราคาจะมีผลต่อการ
ตัดสินใจซ้อื บริการของลูกคา้ และเป็นตัวบ่งบอกคุณภาพของการให้บริการ กลา่ วคือ ถ้าตั้งราคาสูงจะ
สะท้อนถึงคุณภาพการให้บริการที่ดี และลูกค้าก็จะมีความคาดหวังทีส่ ูงตามไปด้วย ทั้งนี้ การที่ลูกค้า
ตอ้ งจ่ายเงนิ มากข้ึน ก็จะมีการเปรยี บเทยี บกับคู่แขง่ และความคุ้มค่ากับสงิ่ ที่จะได้รับ แต่ถ้าตั้งราคาต่ำ
ลกู ค้าบางสว่ นมักคิดวา่ จะได้รบั บริการทไ่ี มด่ ี ทำให้ไมต่ ดั สนิ ใจใช้บรกิ ารกไ็ ด้ ดังนั้น จะเหน็ ได้ว่าการตั้ง
ราคาสำหรับธรุ กจิ บรกิ ารนนั้ เปน็ เรื่องทีม่ ีความซับซ้อนมากกวา่ การตง้ั ราคาสนิ คา้ ทว่ั ไป

๓) การจัดจำหนา่ ย (Place)

ในการให้บริการนั้นจะแบง่ เป็น ๔ รปู แบบด้วยกนั ดังนี้

(๑) การให้บริการผ่านร้าน (Outlet) คือ การให้บริการด้วยการเปิดร้านตามชุมชน
ห้างสรรพสินค้า หรือสถานที่ต่างๆ และอาจจะมีการขยายสาขา เพื่อให้บริการลูกค้าไดม้ ากขึ้นโดยจะ
เป็นการทำให้ผูท้ ่ีต้องการใช้บรกิ ารและผู้ที่ให้บริการมาพบกนั ณ สถานที่แห่งหนึง่ เช่น ร้านเสริมสวย
ร้านอาหาร ธนาคาร เปน็ ต้น

(๒) การให้บริการถึงสถานที่ที่ลูกค้าต้องการ (Delivery) การให้บริการถึงสถานที่ท่ี
ลูกค้าต้องการ คือ การส่งพนักงานไปให้บริการยังสถานที่ที่ลูกค้าต้องการ เช่น บริการจัดส่งอาหาร
การสง่ พนกั งานไปทำความสะอาดอาคาร การจา้ งวทิ ยากรมาอบรมพนักงานยังสถานที่ทำงาน เป็นต้น
ซึง่ การใหบ้ ริการในรปู แบบนีอ้ าจจะไม่จาเป็นตอ้ งตัง้ สำนกั งานก็ได้

33ภัทราพร อาวชั นาการ. ปจั จยั ทางการตลาดและพฤตกิ รรมของนกั ทอ่ งเท่ยี วเชิงวฒั นธรรมอยา่ ง
ยง่ั ยนื ในเขตอำเภอลับแล จังหวดั อุตรดติ ถ์. บรหิ ารธรุ กจิ มหาบณั ฑติ คณะพาณชิ ยศาสตรแ์ ละการบญั ชี มหาวิทยา
ลันธรรมศาสตร์,๒๕๕๘, หนา้ ๑๗-๑๙.

45

(๓) การให้บริการผ่านตัวแทน (Agent) คือ การบริการที่มีการขายแฟรนไชส์
(Franchise) หรือจัดตั้งตัวแทนในการให้บริการ เช่น ร้านแมคโดนัลด์ที่ขยายธุรกิจไปทั่วโลกผ่านการ
ขายแฟรนไชส์ เปน็ ต้น

(๔) การให้บริการผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce) คือ การใช้เทคโนโลยใี น
การให้บริการ เพื่อให้ผู้ใช้บริการเกิดความสะดวกสบาย เช่น การบริการตู้เอทีเอ็ม การทำาธุรกรรม
ตา่ งๆ ผ่านเวบ็ ไซต์ ซง่ึ ผใู้ ช้บริการสามารถใช้บรกิ ารได้ตลอดเวลา ๒๔ ชว่ั โมง

๔) การสง่ เสริมการตลาด (Promotion)

การส่งเสริมการตลาดของธุรกิจบริการจะมีลักษณะคล้ายคลึงกับธุรกิจขายสินค้า โดย
สามารถทำไดห้ ลากหลายรูปแบบ เช่น การโฆษณาและประชาสัมพนั ธ์ การลดแลกแจกแถม การตลาด
ผ่านสอ่ื สังคมออนไลน์ การสมัครสมาชกิ เปน็ ตน้

๕) พนักงาน (People)

พนักงาน หมายถึง ทุกคนในองค์กร โดยพนักงานจะประกอบไปด้วย ๒ ส่วน ได้แก่
พนักงานส่วนหน้า คือ พนักงานทีใ่ หบ้ ริการลูกคา้ โดยตรง และพนกั งานสว่ นหลัง คอื พนักงานทที่ ำงาน
สนับสนุนพนักงานส่วนหน้า เพื่อให้บริการอย่างดีที่สุดแก่ลูกค้า ซึ่งจะต้องมีการประสานงานอย่างดี
เพราะหากเกิดปัญหากับลูกค้า ลูกคา้ ยอ่ มตำหนิพนักงานส่วนหน้า โดยไม่สนใจว่าจะเกิดจากพนักงาน
ส่วนไหนก็ตาม ดังนน้ั การบรหิ ารจัดการพนักงานจึงมีสว่ นสำคัญอย่างมาก เพือ่ ให้เกิดประสิทธิภาพที่
ดใี นการให้บรกิ าร

๖) กระบวนการให้บรกิ าร (Process)

กระบวนการให้บริการ หมายถึง เมื่อลูกค้าเข้ามาใช้บริการแล้วจะต้องมีขั้นตอนการ
ให้บริการอย่างไรบ้างตั้งแต่ต้นจนจบ เพราะธุรกิจบริการจะประกอบไปด้วยหลายขั้นตอน เช่น การ
ต้อนรับ การสอบถามข้อมูล การให้บริการการชำระเงิน เป็นต้น ซึ่งในแต่ละขั้นตอนจะต้องมีการ
ประสานงานและเชอ่ื มโยงกันเปน็ อยา่ งดี เพราะถา้ มีขั้นตอนใดท่ไี ม่ดีย่อมส่งผลใหล้ ูกคา้ เกดิ ความไม่พึง
พอใจตอ่ การใหบ้ ริการท้ังหมดได้

๗) สิง่ แวดลอ้ มทางกายภาพ (Physical Evidence)

ส่ิงแวดลอ้ มทางกายภาพ ไดแ้ ก่ สถานทีข่ องธรุ กจิ บรกิ ารการตกแต่งเคร่ืองมือและอุปกรณ์
ต่างๆ ที่ใหบ้ ริการ เปน็ ต้น ซึ่งส่ิงตา่ งๆ เหล่าน้เี ปน็ สิง่ ทล่ี ูกค้าสามารถมองเห็นได้ง่าย จึงเป็นปัจจัยหนึ่ง
ในการเลือกใช้บริการ ดังนั้น ถ้าสิ่งเหล่านี้ดูดีและสวยงามจะสะท้อนให้เห็นถึงการบริการที่น่าจะมี
คณุ ภาพทดี่ ดี ้วย

46

๒.๔.๒ พฤตกิ รรมของผู้บริโภค

แนวคดิ ท่เี ก่ยี วข้องกบั พฤติกรรมผู้บรโิ ภค

Belch and Belch34 ให้ความหมายของพฤติกรรมผู้บริโภค ไว้ว่า พฤติกรรมผู้บริโภค
หมายถึง กระบวนการและกิจกรรมต่าง ๆ ที่บุคคลได้มีการเสาะแสวงหา การเลือก การซ้ือ การใช้ การ
ประเมินผล รวมถึงการกำจัดผลิตภัณฑ์และบริการหลังการใช้ เพื่อตอบสนองความต้องการของตนเอง
และทำใหต้ นเองไดค้ วามพึงพอใจ

คอทเลอร์ (Kotler)35 ได้ใหค้ วามหมายของพฤติกรรมผูบ้ รโิ ภควา่ พฤติกรรมผูบ้ ริโภคเป็น
การกระทำของบุคคลใดบคุ คลหน่งึ ซึ่งเก่ยี วขอ้ งโดยตรงกบั การจัดหาใหไ้ ดม้ าซง่ึ สินค้าและบรกิ าร ซึ่งรวมถงึ
กระบวนการตัดสินใจ และการกระทำของบคุ คลที่เกยี่ วกบั การซอ้ื และการใชส้ ินค้า

ธงชัย สันติวงษ์36 กล่าวว่า พฤติกรรมผู้บริโภค หมายถึง การกระทำของบุคคลซึ่งเกี่ยวข้อง
โดยตรงในการจดั หาให้ได้มาซ่ึงสินค้าและบริการ โดยกระบวนการตัดสนิ ใจนน้ั มีมาก่อน และเป็นส่วน
ในการกำหนดใหม้ ีการกระทำ

สรุปได้ว่า พฤติกรรมผู้บริโภค หมายถึง การแสดงออกของแต่ละบุคคลที่เกี่ยวข้องโดยตรง
กับการใช้สินค้าและบริการ ซึ่งผู้บริโภคมีความคาดหวังที่สินค้า และบริการเหล่านั้นจะสามารถ
ตอบสนองความต้องการ และความพึงพอใจของตนเองภายใต้กระบวนการตัดสินใจที่มีมาก่อนการ
ตดั สินใจซ้อื ดังนน้ั เมอ่ื ธรุ กิจทราบถึงพฤติกรรมของผบู้ ริโภคแลว้ จะสามารถนำมาวเิ คราะห์ เพ่ือทราบ
ถึงพฤติกรรมที่แท้จริงของผู้บริโภค เพื่อให้แต่ละธุรกิจสามารถนำเสนอสินค้าและการบริการที่ดีในการ
ตอบสนองความต้องการของผบู้ รโิ ภค และมคี วามสอดคล้องกับพฤติกรรมของผบู้ ริโภค โดยพฤติกรรม
ของผ้บู รโิ ภคสามารถวิเคราะห์ได้ดังน้ี

๒.๔.๓ การวเิ คราะห์พฤตกิ รรมผบู้ ริโภค

34Belch, George E. and Belch, Michael A. Introduction to Advertising and Promotion
: An Integrated Marketing Communications Perspective. ๒nd ed. Boston, Mass. : Richard D.
Irwin, Inc., ๑๙๙๓, p. ๑๐๓.

35คอทเลอร์ (Kotler), อ้างถงึ ใน ศิริวรรณ เสรีรตั น์ และคณะ, กลยุทธก์ ารตลาดสำหรับธุรกจิ บริการ,
(กรงุ เทพมหานคร: บรษิ ทั ธนวชั การพิมพ์ จำกัด ๒๕๔๑), หนา้ ๑๒๔-๑๒๕.

36ธงชยั สันตวิ งษ์. พฤตกิ รรมการบริโภคทางการตลาด. (พมิ พ์ครัง้ ท่ี๙).กรุงเทพมหานคร, ไทยวฒั นา
พานชิ , ๒๕๔๐, หน้า ๒๙.

47

สมจิตร ล้วนจำเริญ37 กล่าวว่า ลักษณะพฤติกรรมของผู้บริโภคตามลักษณะ
ประชากรศาสตร์น้นั มีลักษณะทีแ่ ตกต่างกัน โดยสามารถแบง่ กลมุ่ ผ้บู ริโภคออกเป็น ๖ ลกั ษณะดงั น้ี

๑) กลุ่มผู้บริโภคตามช่วงอายุ พฤติกรรมในการซื้อของผู้บริโภคนั้นมีความแตกต่างกัน
ในแต่ละช่วงอายุ โดยผู้บริโภคทมี่ ีช่วงอายตุ ้ังแต่ ๑๖-๓๕ ปี จะมพี ฤติกรรมในการเลือกซ้ือสินค้าที่เป็น
สมัยนิยม และมีการใช้จ่ายเงินที่ฟุ่มเฟือย เนื่องจากคนกลุ่มนี้มีการรับวัฒนธรรมใหม่ ๆ เข้ามาเป็น
ปัจจัยในการเลือกซื้อสินค้า อีกทั้งมีพฤติกรรมการเลือกซื้อสินค้าที่เปลี่ยนแปลงค่อนข้างเร็วอีกด้วย
ในขณะท่ีกลมุ่ ผู้บรโิ ภคทม่ี าอายุตงั้ แต่ ๓๖-๕๕ ปี คนกลุ่มน้มี อี าชีพการทำงานทม่ี นั่ คง จึงมกี ำลังในการ
เลอื กซ้ือสนิ ค้าที่ค่อนข้างสงู และนยิ มซือ้ สินค้าทม่ี ีราคาแพง ได้แก่ บ้าน หรอื รถยนต์ เป็นต้น สำหรับ
กลมุ่ ผบู้ ริโภคที่มาอายุตง้ั แต่ ๕๖ ปขี ึ้นไปน้นั เปน็ กลมุ่ คนทใี่ กลเ้ กษียณอายกุ ารทำงาน คนกลุม่ นจ้ี งึ มอง
หาความสุข บั้นปลายของชีวิต และมีพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพให้แข็งแรงมากกว่าการเลือกซ้ือ
สนิ ค้าเพ่อื ตอบสนองความต้องการของตนเอง

๒) กลุ่มผู้บริโภคตามเพศ กลุ่มผู้บริโภคเพศหญิงจะมีพฤติกรรมการซื้อสินค้าโดยมี
แรงจูงใจในการเลือกซื้อทางด้านอารมณ์มากกว่าด้านเหตุผล ในขณะท่ีเพศชายเป็นเพศที่ไม่ใช้อารมณ์
ในการซื้อสินค้ามากนัก ทั้งนี้ลักษณะการซื้อสินค้าของเพศหญิงจะมีพฤติกรรมในการซื้อสินค้าที่เน้น
รูปทรงที่มีความบอบบาง กะทัดรัด ซึ่งให้ความรู้สึกที่นุม่ นวล และมีสีสันที่สดใส ในขณะที่เพศชายนนั้
จะเน้นที่รปู ทรงทด่ี ูบกึ บึน มขี นาดกว้างใหญ่ และมสี ีสนั ท่เี รยี บงา่ ย

๓) กลุ่มผู้บริโภคตามสถานะทางสังคม กลุ่มผู้บริโภคที่แต่งงานแล้ว จะมีความ
ต้องการซื้อสินค้าที่สามารถใชร้ ว่ มกันภายในครอบครัวได้ โดยเฉพาะกลุ่มครอบครัวทีม่ ีบุตร ในขณะที่
กล่มุ ผ้บู รโิ ภคทีเ่ ป็นโสด จะมีความต้องการซือ้ สนิ คา้ ทีเ่ ปน็ สว่ นตวั มากกว่า

๔) กลุ่มผู้บริโภคตามรายได้ กลุ่มผู้บริโภคที่มีรายได้สูง ได้แก่ ประธานบริษัท เป็น
ต้น จะมีพฤติกรรมในการจับจ่ายใช้สอยที่ค่อนข้างมาก เนื่องจากคนกลุ่มนี้จะเป็นกลุ่มที่หาความสุข
ใหก้ บั ชีวติ โดยเลอื กซ้ือสินค้าเพ่ือแสดงถึงภาพลักษณข์ องตนเอง ดังนนั้ การตดั สนิ ใจซ้ือของคนกลุ่มน้ี
นิยมซื้อสินค้า ฟุ่มเฟือย โดยไม่คำนึงถึงปัจจัยทางด้านราคา และในขณะที่กลุ่มผู้บริโภคที่มีระดับ
เงินเดือนสูง ได้แก่ นักธุรกิจระดับบริหาร นักธุรกิจขนาดเล็ก ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ เป็นต้น แม้ว่าคน
กลุ่มนี้ จะมีอำนาจในการซื้อสินค้า แต่ผู้บริโภคกลุ่มนี้จะใช้เหตุผลประกอบการซื้อมากกว่าทางด้าน
อารมณ์ เนื่องจากคนกลุ่มนี้ใช้จ่ายเงินตามเงินเดือนหรือรายได้ที่ตนเองได้รับ อย่างไรก็ดี คนกลุ่มนี้
ยงั คงนิยมใชส้ นิ คา้ ทีไ่ ด้รับความนยิ มเป็นหลัก แตส่ ำหรบั ผูบ้ ริโภคทเ่ี ป็นพนกั งานบริษทั หรอื ขา้ ราชการ

37 สมจิตร ลว้ นจำเรญิ . (2541). พฤติกรรมผบู้ รโิ ภค. (กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.สม
จติ ร ล้วนจำเรญิ , ๒๕๔๑), หน้า ๓๒๕

48

ระดับกลาง เป็นต้น คนกลุ่มนี้จะตัดสินใจซื้อสินค้าโดยจะคำนึงถึงราคาสินคา้ ที่มีราคาถูก และมองหา
สนิ ค้าท่ีทำสำเร็จรูปแล้วมากกว่าการสัง่ ทำสินคา้ พิเศษ

๕) กลุ่มผู้บริโภคตามระดับการศึกษา ผู้บริโภคที่มีการศึกษาจะมีพฤติกรรมการซ้ือ
สินค้าที่คำนึงถึงเหตุผลในการซื้อ รวมถึงปัจจัยทางด้านความคุ้มค่า และความต้องการยกระดับ
มาตรฐาน เพอื่ สรา้ งภาพลักษณ์ท่ีดใี หก้ บั ตนเอง

๖) กลมุ่ ผบู้ ริโภคตามเชอ้ื ชาติ พฤติกรรมการซื้อนน้ั ข้นึ อยู่กบั กลุ่มเช้ือชาติของตนเป็น
ใหญ่ ไดแ้ ก่ ผู้บรโิ ภคทีม่ เี ชื้อชาตจิ ีนจะมพี ฤตกิ รรมการซื้อที่บ่งบอกถึงความมั่งค่ัง เชน่ การซือ้ สินค้าท่ีมี
สีแดง และ สีทอง เป็นต้น ในขณะที่ผู้บริโภคที่มีเชื้อชาติตะวันตก จะนิยมซื้อสินค้าที่ช่วยรักษา
ทรพั ยากรของโลก และผู้บริโภคท่มี ีเช้ือชาตไิ ทยจะนยิ มซอื้ สนิ คา้ จากต่างประเทศ เป็นตน้

๒.๔.๕ ความพงึ พอใจของลกู คา้
การให้บริการแก่ลกู ค้าหรือผ้รู บั บรกิ าร ควรจัดใหเ้ หมาะสมและตรงตามความต้องการของ
ลูกค้าหรือผู้รับบริการ โดยผู้ให้บริการควรที่จะคำนึงถึงความพึงพอใจของลูกค้าหรือผู้รับบริการเป็น
หลัก เพื่อให้ลูกค้าหรือผู้รับบริการเกิดความพึงพอใจ และกลับมารับบริการอีก โดยความพึงพอใจ
สามารถแบ่งไดเ้ ปน็ ๓ ระดับ38 คือ

๑. ลูกค้าไม่พอใจถา้ ประสทิ ธิภาพของผลติ ภัณฑท์ ่ีไดร้ บั ต่ำกว่าความคาดหวงั
๒. ลูกค้าพอใจเมือ่ ผลิตภณั ฑม์ ปี ระสทิ ธภิ าพใกล้เคยี งกับความคาดหวงั
๓. ลูกค้าพอใจมากเมื่อประสิทธภิ าพของผลิตภัณฑ์ท่ีได้รับสูงกว่าความคาดหวังและ
ความพอใจมาก เป็นสิ่งสร้างความผูกพันทางจิตใจให้กับลูกค้ามีความจงรักภักดีในตราผลิตภัณฑ์
โดยการบริหารความพึงพอใจของลูกค้า องค์กรธุรกิจต้องตรวจสอบวัดระดับความพอใจของลูกค้า
อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ได้ข้อมูลมาปรับปรุงประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ให้ตรงกับความต้องการของ
ลกู ค้า โดยวธิ วี ัดระดับความพอใจของลกู คา้ มีหลายวธิ ี ดังนี้

๑. การพิจารณาข้อร้องเรียนและข้อเสนอแนะของลูกค้า (Complaint an
suggestion systems) องค์กรธุรกิจกับทุกความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากลูกค้า ผ่านศูนย์รับข้อ
รอ้ งเรียนหรอื ตง้ั กลอ่ งรบั ความคดิ เห็นหรอื ผา่ นเว็บไซด์หรอื ส่งมาทางอเี มล์โดยตรง

38ปราณี เอีย่ มลออ, การบรหิ ารการตลาด, (กรุงเทพมหานคร: โรงพมิ พธ์ นาเพลส, ๒๕๕๑),หนา้ ๒๔-
๒๕.

49

๒. การสำรวจความพึงพอใจของลูกค้า (Customer satisfaction surveys)
ปญั หาสำคัญของการรบั รู้ความพอใจของลูกค้า คอื ลกู คา้ ไม่ร้องเรียนเก่ียวกับความไม่พอใจ ดังนนั้ การ
สำรวจความพึงพอใจของลกู คา้ โดยการสอบถามกลมุ่ ตวั อยา่ งลูกคา้ เปน็ วิธีหนึง่ ที่ใหท้ ราบสถานะความ
ไมพ่ อใจ

๓ การปลอมตัวเป็นลูกค้า (Ghost shopping) การให้บุคคลปลอมตัวแสร้ง
ว่ามาซื้อผลิตภัณฑ์ขององค์กรธุรกิจและซื้อผลิตภัณฑ์ของคู่แข่ง โดยรายงานผลเปรียบเทียบกับการ
บริหารงานขององค์การธุรกิจคู่แข่ง เป็นการทดสอบพนักงานขายในด้านความสามารถแก้ไข
สถานการณ์ต่างๆ

๔. การวิเคราะห์ผลของการสูญเสียลูกค้า (Lost customer analysis) การ
มุ่งเน้นการศึกษากลุ่มลูกค้าท่ีเปลี่ยนไปใช้ผลติ ภัณฑ์ของคู่แข่ง เพื่อให้ทราบถึงสาเหตุที่แท้จริงที่ส่งผล
ใหล้ ูกค้าไม่พอใจเพ่อื เป็นข้อเสนอแนะในการปรบั ปรุงสว่ นประสมผลิตภณั ฑ์ในทุกด้าน

ความพึงพอใจของลูกค้าเปน็ อีกส่วนสำคญั ที่ผู้ผลติ หรือผู้จาหน่ายจำเป็นที่จะตอ้ งคำนงึ ถึง
เนื่องจากเมื่อลูกค้าเกิดความพึงพอใจ ลูกค้าก็จะกลับมาใช้บริการในครั้งต่อไป ความพึงพอใจของ
ลูกค้าควรทีจ่ ะแสดงในรายการพึงพอใจในคณุ ภาพของสินคา้ และบริการจากทางร้านจัดจาหน่าย และ
ควรที่จะมีการหาวิธีตรวจวัดความพึงพอใจของลูกค้า เพื่อนาผลที่ได้นั้นมาพัฒนาหรือปรับปรุงให้ตรง
ตามความตอ้ งการของลกู ค้า

๒.๕ แนวคดิ ทฤษฏพี ัฒนาการและลกั ษณะทางพฤกษศาสตรก์ ลว้ ย

ลําต้น ลําต้นแทข้ องกล้วยมีลักษณะเป็นหวั อยู่ใต้ดนิ (Corm) ทเ่ี รียกวา่ ไรโซม (rhizome)
ไรโซม มีการเจริญคลา้ ยซิมโปเดยี ล (symbodial like) ซง่ึ เปน็ ลักษณะโดยท่ัวไปของพชื ใบเลย้ี งเดย่ี วที่
มลี าํ ตน้ แบบไรโซม ในกลว้ ยเกอื บทุกชนิดการเจรญิ ของหน่อ (sucker) จะอยู่ขนานกับพ้ืนดนิ และแทง
ขึ้นสู่ อากาศซ่ึงจะมองเหน็ ได้อย่างชดั เจน เม่ือมกี ารแทงหน่อมากข้นึ เราเรียกวา่ การแตกกอ ในกล้วย
สว่ น ใหญ่มกี ารแตกกอและแน่น แตบ่ างชนดิ มีการแตกกอห่างหรือกระจาย เชน่ กล้วยหก และกล้วย
บัวสีสม้ ซง่ึ แตกกอห่างไกลจากตน้ แม่มาก นอกจากนี้ยงั พบวา่ กล้วยในสกุล กลว้ ยผา ไม่มีการแตกกอ
และกลว้ ย สกลุ นี้ต้องขยายพันธ์ุโดยใช้เมล็ด

50

ภาพที่ ๒.๑ แสดงลกั ษณะต้นและการแตกกอของกลว้ ย
ทห่ี ัวหรอื ทีล่ ําต้นแท้ของกล้วยจะเห็นตา (bud) เจริญอยูท่ างด้านขา้ ง ตาน้จี ะอยรู่ ะหวา่ ง
กึ่งกลางของฐานใบและมีฐานกาบใบหุม้ อยู่ ดงั น้ันจึงมองไม่ค่อยเหน็ ในช่วงแรกของการเจรญิ ของตา
จะเหน็ ตาเป็นรปู หา้ เหลย่ี ม และเมื่อมีการเจรญิ ขนึ้ รูปรา่ งของตาคอ่ ย ๆ ขยายกลายเป็นสเ่ี หลีย่ ม ตา
เหลา่ นี้จะเกิดรอบ ๆ ต้น เม่ือมกี ารเจรญิ เตบิ โตจะมกี ารแทงหน่อต้งั ขึ้นและมีการเจรญิ อยา่ งรวดเร็ว
เมือ่ ผ่าหัว หรือลําตน้ ใตด้ ิน (corm) ดู จะพบว่าหัวแบง่ ออกเป็น ๒ ส่วน คือ สว่ นใจกลาง
เรียกว่า central cylinder และสว่ นลอ้ มรอบของ cortex ดงั แสดงในภาพท่ี ๒

ภาพท่ี ๒.๒ แสดงสว่ นภายในของหวั เม่ือผา่ ตามยาว (จาก Simmonds, ๑๙๖๖)


Click to View FlipBook Version