The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

การพัฒนาศูนย์การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์พันธุ์กล้วย จังหวัดสุพรรณบุรี

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by ddttgr1125, 2021-01-29 23:32:01

การพัฒนาศูนย์การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์พันธุ์กล้วย จังหวัดสุพรรณบุรี

การพัฒนาศูนย์การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์พันธุ์กล้วย จังหวัดสุพรรณบุรี

51

โดยมีทอ่ นำ้ ท่ออาหาร (vascular bundle) จํานวนมากเป็นตวั เชอ่ื มระหวา่ งสว่ นท้ังสอง
นนั้ เนอ้ื เยอ่ื ของลําต้นประกอบด้วยเซลพาเรนไคมาซึ่งมีแป้งบรรจุอยภู่ ายใน (starchy parenchyma)
เม่อื ผา่ ตามยาวจะเห็นจดุ เจริญเปน็ รูปสามเหลยี่ มและมีใบหุ้มช้อน ๆ กนั อยู่ ข้างล่างของจุดเจรญิ เป็น
แคมเบยี ม (Cambium) มีความหนาประมาณ ๓ เซนตเิ มตร ท่ีจดุ เจรญิ นม้ี ีการสร้างใบและลาํ ตน้ เทียม
(psuedostem) เหนอื ดิน สําหรับลาํ ตน้ ใต้ดนิ เรียกว่า Corm และมที ่อนำ้ ท่ออาหารเปน็ เซลเดย่ี ว

การกําเนดิ ดอก

Barker & Steward (๑๙๖๒); Ram et al. (๑๙๖๒); Fahn et al. (๑๙๖๓) bla: Gany
(๑๙๘๐) ได้ทําการศึกษาทางกายวภิ าคของเนอ้ื เย่ือจดุ เจริญของกลว้ ยในช่วงการเปลยี่ นแปลงจากการ
เจรญิ ทาง ดา้ นลาํ ตน้ ใบ ไปเป็นดอก พบว่าช่วงการเจริญของลําตน้ เทยี มและใบนัน้ จะมกี ารนูนข้นึ
เล็กน้อยทจ่ี ุด เจริญและมีการแบง่ เซลภายใน ท่ีบริเวณ Corpus ซงึ่ เนื้อเย่อื เจรญิ กาํ ลงั ทํางานอยจู่ ะมี
ช้ันของ tunica ปกคลุมอยู่ ๑-๒ ชัน้ ซึ่งท่นี ่จี ะมีการเกดิ ใบขึ้นทีละใบ ๆ สาํ หรบั แกนกลางของเน้ือเยื่อ
เจรญิ นั้นจะอย่ลู ึก ลงไปในใจกลางของส่วนทีน่ ูนและมีหนา้ ทหี่ ลกั คือการสร้างช่อดอกซ่งึ จะเกิดขน้ึ ที่
หลังการสร้างใบ โดยที่ ใบนนั้ มกี ารเจริญอย่างปกตจิ ากสว่ นนอกของ tunica สว่ นจดุ กําเนิดของใบนนั้
ต่อมาจะกลายเปน็ ท่ีอยู่ ของกาบใบ

ในชว่ งที่มกี ารเปลย่ี นแปลงเป็นตาดอกนี้ จะมีการเปลย่ี นแปลงเกดิ ข้นึ ท่ีจุดเจรญิ เซลท่จี ุด
เจริญจะมลี กั ษณะอวบน้ำและมีการแบ่งเซลแบบไมโทซสิ (mitosis) ทาํ ให้มีการเกดิ เป็นชอ่ ดอกโดย
บรเิ วณเนอ้ื เยอ่ื เจรญิ นนั้ นูนสงู ขน้ึ เหนอื ฐานใบท่อี ย่ลู ้อมรอบและมกี ารแทงช่อดอกขึน้ เกดิ ใบประดับ
(bract) หลาย ๆ ใบทีบ่ รเิ วณทีเ่ กดิ ใบ ทฐ่ี านของใบประดบั จะบวมและขยายใหญ่แลว้ เปลย่ี นเป็นดอก
ตวั เมยี และดอกตวั ผู้ต่อมา

เมือ่ มีการเกิดตาดอกแลว้ จะมีการเกดิ ลําตน้ เหนือดนิ (aerial stem) เจริญขน้ึ มาในส่วน
กลางของลาํ ตน้ เทยี มเพื่อชูชอ่ ดอกข้นึ มาบนอากาศโดยแทงโผลข่ นึ้ ท่ปี ลายของลําต้นเทยี ม ส่วนของ ลํา
ต้นเหนือดินนี้มสี ขี าวเม่อื อยู่ภายในลําต้นเทยี ม และเมื่อโผลข่ น้ึ สัมผัสกับอากาศจะเปลี่ยนเป็นสีเขยี ว
เม่ือผา่ ดลู กั ษณะภายในของลําตน้ เหนอื ดินนีจ้ ะเห็นว่าเหมือนกับลาํ ตน้ ใต้ดนิ แตข่ นาดของลําต้นจะเลก็
และระบบท่อนำ้ ทอ่ อาหารเล็กกว่าและจะเหน็ ข้อ (node) ซึ่งเป็นทเ่ี กดิ ใบและพบเซลเทรขีด
(tracheids) มีความยาว ๔ – ๖ เซนตเิ มตร ลาํ ตน้ เหนือดนิ น้ีมกี าบใบท่เี ปน็ ลาํ ต้นเทยี มอยู่ลอ้ มรอบเป็น
ตัวชว่ ยพยุง ไมใ่ ห้ลําตน้ เหนอื ดนิ และเครือกล้วยล้ม สาํ หรบั ท่อน้ำท่ออาหารของลําต้นเหนอื ดินนจี้ ะ
ติดตอ่ ระหวา่ งใบ เครือกล้วย ลําตน้ และต่อไปทร่ี ากดว้ ย

กาบใบและใบ

52

การเรียงของใบและกาบใบบนลําต้นแท้ใต้ดินจะเกิดเรียงกันเป็นวงกลมและช้อน ๆ กันท่ี
ส่วนโคน ส่วนด้านปลายจะไม่ซ้อนกัน ส่วนปลายนี้จะเป็นจุดกําเนิดของใบซึ่งเจริญมาจากส่วนกลาง
ของลําต้นเทียม กาบใบเรียงกันแน่นเพราะขอบของกาบใบแบนและบางไม่หนาเหมือนตรงกลางของ
กาบใบ การเรียงแบบนี้จะทําให้เกิดลําตน้ เทียมแน่นและแข็งแรงซึ่งจะเป็นตัวพยุงลําต้นเหนือดินและ
เครือกลว้ ยใหย้ นื ทรงตัวอยู่ได้

การจัดเรียงของใบ (phyllotaxy) จะแตกต่างกันไปตามอายุของต้นกล้วย ถ้าหน่ออายุ
น้อย การจัดเรียงของใบเป็นแบบ ๑/๓ และเป็นแบบ ๒/๕ ๓๗ และ ๔/๙ ในต้นที่มีอายุมากขึ้นซ่งึ ผล
ของการ จัดเรียงนที้ าํ ให้เกิดมมุ ของใบต่อใบเปน็ มุม ๑๒๐ - ๑๖๐ องศา และทาํ ให้การเรียงของใบเป็น
แบบหมนุ โดยหมนุ วนไปทางซา้ ย คือเมือ่ หันหน้าเข้าหาตน้ กล้วยจะเห็นการเรียงของใบไปทางขวา

ถ้าตัดตามขวางกาบใบดูจะเห็นวา่ องค์ประกอบภายในประมาณคร่ึงหน่ึงของพื้นท่ีเป็นช่อง
อากาศ (air space) ซึ่งจะต่อกันเป็นท่อยาวโดยมีเซลพาเรนไคมากั้นและมีท่อน้ำท่ออาหารซ่ึง
ประกอบด้วยท่ออาหารและถุงน้ำยาง (latex vessel) และที่ท่ออาหารนี้มีเซลสเคลอเรนไคมา
(sclerenchyma) ทอ่ น้ำทอ่ อาหารเหล่านเี้ รียงขนานกนั ไปอยา่ งต่อเน่อื ง

ผิวด้านนอกทั้งสองข้างของกาบใบมีลักษณะเป็นเงามัน ผนังเซลของอิพิเดอมิ ส
(epidermis) จะหนาซึ่งประกอบด้วยเซลลูโลส ส่วนของ hypodermis นั้น ในตอนแรก มีสารพวก
Suberin มา เคลือบและต่อมากลายเป็นลิกนิน (lignin) การเปลี่ยนแปลงนี้เพื่อป้องกันส่วนที่อยู่
ภายใน นอกจาก นยี้ งั พบปากใบ (stomata) บนพน้ื ผวิ ทง้ั ข้างบนและขา้ งลา่ ง โดยพบวา่ มปี ระมาณ ๗-
๑๒ เซลต่อพื้นที่ ๑ ตารางมิลลิเมตร ส่วนปลายยอดของกาบใบจะเป็นส่วนที่อยู่ติดกับก้านใบ
(petiole) ซึ่งมีลักษณะกลมมน ส่วนทางด้านบนเป็นร่องซึ่งต่อมาจากส่วนเว้าหรือด้านในของกาบใบ
นั่นเอง ส่วนของก้านใบประกอบ ด้วยช่องอากาศ เรียงไปตามยาวเป็นท่อและมีผนังกั้นเช่นเดียวกับท่ี
กาบใบ ผนังด้านบน epidermis ของก้านใบจะหนาเพราะประกอบด้วยเซลลูโลส และชั้นของ
hypodermis มีสาร ignin เคลือบอยู่ ทางด้านล่างของก้านใบจะมีท่อน้ำท่ออาหาร และเป็นส่วนที่
รองรับนำ้ หนักของแผน่ ใบ

แผน่ ใบประกอบดว้ ยส่วนของเส้นใบซ่ึงมีลักษณะทางกายวิภาคเหมือนกับก้านใบ ส่วนของ
แผ่นใบทั้งสองข้างมาบรรจบกันที่เส้นกลางใบที่ขอบของเส้นกลางใบทั้งสองข้างจะเห็นแถบpulvinar
band ซงึ่ มีสเี ดียวกับเสน้ กลางใบคือ มีสีเขียวอ่อน แถบน้ีจะเห็นชดั เจนเมอื่ ตน้ กลว้ ยขาดน้ำ ปลายของ
ใบมี ลักษณะมน ฐานใบกลมหรอื เปน็ สิง่ ย่ืนแบบ auriculate ลักษณะฐานใบน้ีจะแตกตา่ งไปตามอายุ
แผ่นใบจะหนาที่บริเวณกลาง ๆ ใบ และมาบางที่ปลายและขอบใบ ส่วนของเส้นใบ (vein) ขนาน กัน
ไปโดยเริ่มจากเส้นกลางใบไปยังขอบ เส้นใบของกล้วยไมม่ ีการแตกแขนง ในแผ่นใบข้างหนึ่งจะมี เส้น
ใบประมาณ ๑๗,๐๐๐ เสน้

53

ปากใบ (stomata) ปรากฏอยูบ่ นแผ่นใบท้ังด้านบนและดา้ นลา่ ง จํานวนปากใบของ แผ่น
ใบด้านบนจะมีมากกว่าด้านลา่ ง โดยพบว่าแผ่นใบดา้ นบนจะมีปากใบอยู่ประมาณ ๕ ส่วน และพบ ๓
ส่วนในแผน่ ใบดา้ นล่าง สาํ หรบั กล้วยในประเทศไทย ไดม้ ีการศกึ ษาในเรื่องนี้เชน่ กันพบวา่ จํานวนปาก
ใบของแผ่นใบด้านบนมี ๔.๗ - ๕๑.๘ เซล ต่อตารางมิลลิเมตร ส่วนแผ่นใบด้านล่างพบว่ามี ๒.๓ -
๓๒.๙ เซล ต่อตารางมิลลิเมตร โดยวัดจากส่วนกลางใบ นอกจากจํานวนปากใบจะแตกต่างกันท่ี
ด้านบนและด้าน ล่างแล้ว ยังพบว่าที่บริเวณปลายใบ กลางใบ และฐานใบ ยังมีความแตกต่างกันด้วย
โดยพบว่าทฐี่ านใบ มจี าํ นวนปากใบน้อยทส่ี ุด ซ่ึงจากการศกึ ษากล้วยในประเทศไทยพบว่าเซลปากใบท่ี
บริเวณปลายของ แผ่นใบด้านล่างหรือฐานใบมี ๗๗.๖ เซล ต่อตารางมิลลเิ มตร และ ๒๐๘.๒ เซล ต่อ
ตารางมิลลิเมตรที่ บริเวณปลายใบด้านบน นอกจากนี้ยังพบว่าจํานวนและขนาดของปากใบยัง
แตกต่างกันตามจํานวนชุด ของโครโมโซมอีกด้วย สําหรับขนาดของปากใบนั้นพบว่ามีขนาดประมาณ
๐.๐๓๑ – ๐.๐๓๔ ตารางมิลลเิ มตร

ลักษณะภายในของแผ่นใบจะเห็นช่องอากาศอยู่ประมาณ ๕๐% ซึ่งคล้ายกับก้านใบและ
กาบใบ และมีผนังบาง ๆ กัน ส่วนของท่อน้ำ ท่ออาหารจะพบอยู่ทางด้านที่เป็นร่อง ท่อน้ำท่ออาหาร
ประกอบด้วยเนื้อเยื่อพวก fibrous tissue มาก ทางด้านบนและด้านล่างของท่อน้ำ ท่ออาหารจะมี
เซลโปรเซนไคมาและมีสารพวกซูเบอรนิ หุ้มอยู่ทางด้านบน และลิกนินหุม้ ทางดา้ นลา่ ง จะสังเกตได้ว่า
ส่วน ที่มลี กิ นนิ นนั้ จะมเี นื้อเยอื่ อดั กนั แน่น นอกจากนย้ี งั พบว่าใต้ชั้นของอิพิเดอมิส มเี ซลอยู่ ๒ ชั้น ซ่ึง
ไม่มี คลอโรฟิล และถัดลงมาเป็นเซลพาไลเชด (palisade tissue) ที่มีลักษณะยาว และเซลทาง
ด้านล่าง เป็นเซลพาเรนไคมา ภายในเซลพาเรนไคมาประกอบด้วยคลอโรฟิล ที่ด้านนอกของเซลช้ัน
อิพิเดอมิสจะ มีคิวดิน (cutin) เคลือบอยู่หนา คิวตินนี้จะเคลือบแผ่นใบด้านบนมากกว่าแผ่นใบ
ด้านล่าง (ภาพท่ี ๓)

ภาพที่ ๒.๓ แสดงการตัดตามขวางของใบกลว้ ย
การพฒั นาของแผ่นใบ

54

เน้อื เยื่อเจรญิ ท่ีจะเจรญิ เปน็ แผน่ ใบน้ันอยู่ใต้เส้นใบของสว่ นตอ่ ระหวา่ งใบกับก้านใบ ดังนั้น
จึง พบว่าแผ่นใบครึ่งหน่ึงจะมีอายุมากกว่าอีกครึ่งหนึ่งเพราะได้มีการเจริญก่อน ก่อนที่จะเห็นแผ่นใบ
ทั้ง สองข้างจะเห็นแผ่นใบนั้นม้วน (cigar leaf) อยู่โดยแผ่นด้านซ้ายม้วนรอบเส้นกลางใบและมีแผ่น
ด้าน ขวาม้วนรอบแผ่นด้านชายที่ม้วนอยู่ เมื่อใบแก่ กาบใบจะชูแผ่นใบขึ้นจากลําต้นเทียม แผ่นใบมี
ขนาดโต เตม็ ท่แี ละมีสเี ขียว ดังนน้ั เม่ือแผ่นใบโผล่ออกมาจากลําต้นเทียมแลว้ จะไม่มีการเพ่ิมขนาดข้ึน
อกี เม่ือ แผน่ ใบโผล่ออกมาในชว่ งแรกจะยงั มว้ นแน่นอยโู่ ดยสว่ นขวามวั นทบั สว่ นซา้ ยซึง่ ม้วนอยูภ่ ายใน
การคลี จะเริ่มที่ส่วนปลายของใบและค่อย ๆ เลื่อนมาทางโคนใบ ช่วงการคลี่ของใบพบว่าจะเกิด
ภายในเวลา ประมาณ ๔ วันในฤดูร้อน และประมาณ ๑๔ วัน ในฤดูหนาว สําหรับใบธง (spade leaf
หรือ flag leaf) พบว่าจะเกิดเมื่อต้นกล้วยมีอายุประมาณ ๖ - ๙ เดือน ต้องการเวลา ๗ – ๑๐ วันใน
การคลี่ ส่วนการ เจริญของใบพบว่ามีการยึดยาวประมาณช่ัวโมงละ ๐.๒ เซนติเมตร และพบว่าการ
เจรญิ ของใบมมี ากใน ตอนกลางคืนมากกว่ากลางวนั

ตําแหน่งของใบที่โผล่พ้นจากลาํ ต้นเทียมมาแลว้ น้นั ภายหลงั จากใบคล่ีแลว้ ใบกลว้ ยบาง
ชนดิ จะตัง้ (verticle) บางชนิดจะมีขนานกบั พ้นื ดนิ (horizontal) และบางชนิดจะเอนลงจากแนว
ขนานเล็กน้อย ท้ังน้ีขน้ึ อยู่กบั จาํ นวนชดุ ของโครโมโซม ถา้ ใบดั้ง ใบจะมีขนาดเล็กและเรียวยาว ก้านใบ
สามารถรับน้ำหนกั ทาํ ให้ใบชูอยู่ได้ ใบชนดิ น้ีเปน็ ใบของกล้วยทมี่ โี ครโมโซม ๒ ชดุ สว่ นพวกทีม่ ีแผน่ ใบ
ใหญ่ ก้านใบไม่สามารถรบั นำ้ หนักได้มากจงึ ทําใหเ้ อนลง กลว้ ยชนดิ น้มี จี ํานวนโครโมโซม ๓ – ๕ ชุด ใบ
กลว้ ยปกตมิ ีอายุ ๗๑ - ๒๘๑ วนั ถา้ อากาศร้อนอาจมอี ายสุ ้ันลงเหลือ ๑๐๐ - ๑๕๐ วัน เมอ่ื ใบแกก่ ้าน
ใบจะหกั ลง ทําใหใ้ บห้อยตดิ กับต้นและตายไป ซ่ึงสมควรตัดทิ้ง เพราะจะเป็นแหล่งอาศยั ของโรค
สําหรบั กา้ นใบ กาบใบจะยังคงอยู่หลังจากทกี่ ้านใบและแผ่นใบตายและจะมีอายุตอ่ มาอกี ไม่นานนักก็
จะเร่ิมแห้งตาย เช่นกัน จึงควรดงึ ออก

แผ่นใบเมื่อปะทะกับลมมักจะแตก ถ้าใบไม่แตกมากนักจะยังคงทําหน้าที่ได้อยู่เช่นเดียว
กับใบของปาล์ม ใบที่ฉีกจะมีสารซูเบอริน (Suberin) เป็นตัวช่วยป้องกันการคายน้ำ Taylor (๑๙๖๙)
พบว่าในใบที่ฉีกขนาด ๑๐ เซนติเมตร มีการคายน้ำน้อยและมีการสังเคราะห์แสงมากกว่าใบที่ใหญ่
และพบอกี วา่ ใบทีฉ่ ีกมีอณุ หภูมติ ่ำกว่าใบที่ไม่ฉีก และลดการคายนำ้ ลงไปเหลอื เพียง ๑/๓ ของใบเต็ม

ความสูงและเส้นรอบวงของลําต้นเทียมจะสัมพันธ์กับการเจริญของใบ ทั้งนี้เพราะลําต้น
เทียมประกอบไปด้วยกาบใบที่ซ้อน ๆ กันอยู่ การเจริญของใบของหน่อที่ติดตั้งอยู่กับต้นแม่นั้นมักจะ
ได้ รับความกดดันจากต้นแม่ทําให้มีการเจริญช้า จึงทําให้หน่อใบแคบยังไม่มีแผ่นใบเหมือนปกติ
โดยทั่วไป หน่อใบแคบนี้ควรมีใบแคบอยู่ ๑ - ๑๑ ใบ แต่ยังไม่มีแผ่นใบ หลังจากใบแคบเกิดขึ้น ๘ -
๑๐ ใบ หน่อ จะมีความสูงประมาณ ๕๐ -๗๐ เซนติเมตร พื้นที่ใบและความกว้างของใบจะเพิ่มข้ึน

55

อย่างรวดเร็ว ชว่ ง เวลาการเจริญนี้ใชเ้ วลาประมาณ ๑๕๖ วนั ในฤดหู นาว และประมาณ ๗๒ - ๙๑ วนั
ในพืน้ ทที่ ่มี อี ากาศรอ้ น

ในขณะที่ลําต้นเทียมมีการเจริญนั้น จํานวนใบจะเพิ่มขึ้นและมีขนาดใหญ่ขึ้นการเจรญิ จะ
เปน็ ไปเร่ือย ๆ จนถงึ ใบท่ี ๓๓ ตอ่ มาใบจะเริ่มเล็กลง หรือใบจะเรมิ่ เล็กลงในช่วง ๖ - ๘ใบกอ่ นการออก
ดอก ซึ่งช่วงนั้นการเจริญของลําต้นเทียมจะยังคงสูงขึ้น แต่เริ่มช้าลงและหยุดเจริญเมื่อแทงช่อดอก
(แทงปล)ี

รูปร่างของใบเป็นรูปไข่ที่ยาวและมีขอบขนานกัน ก้านใบมีความยาวประมาณ ๕๐
เซนติเมตรหรือยาวมากกว่า ๗๐ เซนติเมตรเล็กน้อย สําหรับแผ่นใบมีความยาวประมาณ ๑.๗ เมตร
ถึง มากกว่า ๒.๕ เมตร แผ่นใบกว้างประมาณ ๗๐ เซนติเมตร ถึง มากกว่า ๙๐ เซนติเมตร ความยาว
ต่อ ความกว้างของใบประมาณ ๒ ถึงมากกว่า ๓ เท่า ก้านใบของกล้วยบางชนิดเปิด เช่นในกล้วยป่า
และ บางชนดิ ปดิ เชน่ ในกลว้ ยตานี ทข่ี อบของก้านใบมีแผ่นบาง ๆ ในบางพันธุ์ที่ก้านใบเปิดเรียกว่าปีก
(wing) ปีกนีม้ กั จะมีสเี ขียว ชมพู ชมพูอมมว่ ง แผน่ ใบมกั จะมสี ีเขยี ว เขยี วเข้ม เขียวอมเหลอื ง เขียวอม
แดง ส่วนใหญ่จะเห็นแผ่นใบเป็นเงาและบางครั้งมีนวลหรือไข (wax) ปลายใบเป็นรูปแบบตัด
(truncate) ฐานของแผ่นใบทั้งสองข้างไม่เท่ากัน และรูปร่างอาจต่างกัน โดยทั้งสองข้างอาจจะมน
เหมือนกนั หรือ ขา้ งหนึ่งมนอกี ข้างเรียว หรอื เรียวท้งั สองขา้ ง ดงั ภาพท่ี ๔

ภาพท่ี ๒.๔ แสดงรูปรา่ งของฐานใบ (จาก IPGRINIBAPICIRAD.๑๙๙๖)
ดอก
ดอกออกเป็นช่อ (inflorescence) แต่ละช่อมีใบประดับหรือเรียกว่ากาบปลี (bract) มี
รูปร่างคล้ายท้องเรือ (spath) ระหว่างกลุ่มดอก ดอกแต่ละดอกไม่มีใบประดับ การเจริญของช่อ ดอก
จะเจริญจากขวาไปซ้ายและมีการพฒั นาสลับกันไประหวา่ ง ๒ แถว โดยหันหน้าเข้าหาแกนท่อนำ้ ท่อ
อาหารมีแนวทางการเกิดเชน่ เดียวกับการเกิดดอก ชอ่ ดอกหรือกลุ่มของดอก นเี้ รียกวา่ hand ช่อดอก
เป็นรูปแบบ cymose การเรียงของดอกเป็น ๒ ตอน (bi-seriate) ปกติจะมี ๑๒ - ๒๐ ดอกต่อ ๑ ตา

56

ดอก ดอกที่อยู่ล่างสุดเป็นช่อดอกตัวเมีย ส่วนตอนบนเป็นดอกตัวผู้และอาจจะมีหรือไม่มีดอก กระเท
ยอยรู่ ะหว่างกลางเปน็ สว่ นแบ่งของดอกตัวเมียและดอกตวั ผู้ กาบปลีทอี่ ย่รู ะหว่างดอกจะต้ังข้ึน ก่อนที่
ดอกจะทาํ หน้าท่ีตดิ เปน็ ผลเพยี งเลก็ นอ้ ย บางชนดิ มีการม้วนงอข้ึนจากปลาย บางชนิดจะไม่มีการ ม้วน
งอ เช่น กาบปลีของกล้วยตานี ปกติแล้วกาบปลีจะเปิดหรือตั้งขึ้นอยู่ประมาณ ๑ วัน ในช่วงนั้น รังไข่
ของดอกตวั เมยี จะมีการพฒั นาเป็นผลและมีการเจริญไปเรื่อย ๆ การทกี่ าบปลีตงั้ ขน้ึ กเ็ พื่อท่จี ะให้ ดอก
ตวั ผู้ชูข้ึนทําให้ก้านยาวข้ึน การหมุ้ ของกาบปลีไมเ่ หมอื นการห้มุ ของกาบใบคอื จะห้มุ ก้านไมห่ มด

การติดผลขึ้นอยู่กับจํานวนของกลุม่ ดอกท่ีอยู่ท่ีโคนหรอื ด้านล่างของช่อดอกปกติมีการติด
ผล๕ -๑๕ หวี (hand) แตส่ าํ หรบั กลว้ ยบางชนดิ อาจมจี าํ นวนมากขึ้นทีป่ ลายของชอ่ ดอกอาจจะยังมีจุด
เจริญอยู่หรือไม่มี ถ้าหากยังมีจุดเจริญอยู่จะเห็นดอกตัวผู้มีการเจริญต่อไป ในกล้วยหอมแกรนด์เนน
ถ้าปล่อยให้มีการเจริญของดอกตัวผู้ต่อไปโดยไม่มีการตัดจะพบว่ามีดอกตัวผู้อยู่ประมาณ ๑๕๐ -
๑๖๕ ตาดอก ในกล้วยตานีพบ ๓๕๐ ตาดอก บางพันธุ์ช่อดอกตัวผู้มีชีวิตสั้นและจะหยุดเจริญทันที
หลงั จาก การติดผลในหวีสุดท้าย

การเกิดช่อดอกนั้นเกิดที่จุดเจริญซึ่งอยู่ที่ยอดของลําต้นซึ่งอยู่สูงจา กพื้นดิน๒๐-๓๕
เซนติเมตร ตา (bud) ที่จะเจริญเป็นช่อดอกนี้มีขนาด ๑ – ๒.๕ เซนติเมตร การเจริญของตาใช้เวลา
หลังจากใบสุดท้ายเกิด ๑๘ – ๒๒ วัน การแทงหรือการเจริญของลําต้นเหนือดินจะสูง ๓๐๐ - ๓๕๐
เซนติเมตร ใน กล้วยพันธุ์โปโย ซึ่งเป็นกลว้ ยในกลุ่มคาเวนดชิ ท่ีมตี ้นสูง มีอัตราการเจริญประมาณ ๑๕
เซนติเมตร ตอ่ วัน ในบางพันธก์ุ ารเจรญิ อาจเร็วหรอื ช้ากว่าน้ี

เม่อื ช่อดอกโผล่ขึ้นสู่อากาศหรือท่ีเรียกว่าแทงปลีได้ ๑๒ วนั ใบประดับจะร่วงหมดก้านช่อ
ดอกจะยึดยาวใช้เวลา ๑๒ วัน ในส่วนของดอกตัวเมียและดอกตัวผู้เช่นในกล้วยพันธุ์ โปโย สําหรับ
รูปร่างของเครือหรือช่อดอกที่มีการพัฒนาเป็นผลแล้วขึ้นอยู่กับ ๒ สาเหตุคือแรงดึงดูดของโลกและ
น้ำหนัก กล้วยในหมู่ Australimusa ช่อดอกทั้งหมดจะเจริญในทางตรงกันข้ามกับแรงดึงดูดของโลก
คือจะมี เครือตั้งขึ้น (negative geotropic) กล้วยในกลุ่มนี้มีก้านช่อที่แข็งแรงพอที่จะรองรับน้ำหนัก
ของ เครอื กลว้ ยให้ต้ังตรงอยู่ได้ ส่วนดอกตัวผกู้ ็ยงั มีชวี ติ อยู่ ซงึ่ บางที่ทําให้ช่อเร่ิมโคง้ ในช่วงของดอกตัว
ผู้ ดัง เช่นในภาพที่ ๕ ส่วนกล้วยที่อยู่ในหมู่ Eumusa หรือกล้วยที่รับประทานกันอยู่นั้น เครือจะไม่
ห้อยลง ตามแรงดึงดูดของโลกแต่จะค่อนข้างขนานกับแนวพื้นดิน ซึ่งถ้าหากไม่มีแสงพอในการเจริญ
ของเครือ เครืออาจจะชูขึ้นเล็กน้อย สําหรับดอกตัวผู้ต่างกับดอกตัวเมียคือช่อดอกจะห้อยลงมาตาม
แรงดงึ ดดู ของ โลก (geotropic) ในชว่ งแรกจะพุ่งตัง้ ฉาก (ageotropic) ก่อนแล้วจึงหกั ลง ในบางพันธุ์
สว่ นของ ดอกตัวเมยี จะหอ้ ยลงตามแรงดงึ ดูดของโลกและดอกตัวผูจ้ ะหักข้ึน

57

ภาพท่ี ๒.๕ แสดงการชูเครือกลว้ ย (จาก IPGRI/INIBAP/CIRAD.๑๙๙๖)
การพฒั นาของดอก
ดอกแต่ละดอกมีจดุ กําเนิดเป็นรปู ทรงกรวยควํ่า (dome) และมีการแบ่งเซลขยายใหญ่ขึ้น
เป็น รูปสี่เหลี่ยมและพัฒนาเป็นรูปห้าเหลี่ยมในเวลาต่อมาเพราะเกิดจากการบีบอัดของเนื้อเย่ือ
ข้างเคียง ใน ช่วงการพัฒนาแรก ๆ จึงเห็นส่วนยอดบวมขึ้นและวงของเนื้อเยื่อจะมีการเปลี่ยนแปลง
เป็นกลีบดอกซึ่ง ปกติเรียกว่า perianth แต่ในกล้วยเรียกว่า tepal หรือ กลีบรวม ซึ่งหมายถึงกลีบ
ดอกมีการพัฒนา ร่วมกับกลีบเลี้ยง ๓ กลีบ หลังจากนั้นจึงเกิดเกสรตัวผู้ (stamen) ๕ อัน และเกิด
กลีบดอกทางด้านล่าง โดยไม่ได้อยู่ติดกับ ๓ กลีบแรกแต่อย่างใด จึงเรียกว่ากลีบรวมเดี่ยว (free
tepal) ในกล้วยกรอสมเิ ซล มีเกสรตัวผู้ ๖ อัน รังไขม่ ี ๓ พู (carpel) โดยมีผนงั กนั้ (placenta) ท่ีผนัง
ก้ันระหว่างชอ่ งของรงั ไข่จะมี ไข่ตดิ อยู่ ท่ีรงั ไข่มีเนื้อเยื่อรวมกนั และพัฒนาเป็นกา้ นเกสรตัวผู้และเกสร
ตัวเมยี ซงึ่ มี ๓ พู (lobe)
รูปร่างของดอกตัวผู้และดอกตัวเมียไม่สามารถแยกได้ในระยะแรก จนกว่าจุดเจริญของ
ดอกจะเจริญสูงขึ้นประมาณ ๑๕๐ เซนติเมตรจากพื้นดินและช่อดอกยาวประมาณ ๑๒ เซนติเมตร
ระยะ นีอ้ าจดูไดจ้ ากการพัฒนาของรงั ไข่ ในกลว้ ยหอมค่อม ช่อดอกตอ้ งยาวกวา่ ๒๐ เซนตเิ มตร จึงจะ
บอก ได้ ถ้าช่อดอกสั้นกว่านั้นไม่สามารถบอกได้ หรือจะบอกได้ก็ต่อเมื่อช่อดอกนั้นมีการเจริญ
ประมาณครง่ึ หนึง่ ของความสงู ของลําตน้
จากการตรวจสอบทางชีวเคมีในช่วงการเกิดดอกนี้อาจจะประมาณจํานวนหวีได้และ
จํานวนผลที่เกิดในระยะแรกของการพัฒนาช่อดอก แต่จํานวนจริง ๆ อาจจะลดลงเล็กน้อย ขึ้นอยู่กับ
สภาพในช่วงการเปล่ียนแปลง ระยะเวลาท่ีชอ่ ดอกโผล่ขนึ้ มา ๑๔ - ๓๐ วนั รังไขข่ ยายใหญ่และยาวข้ึน
จาก ๕ มิลลิเมตรเป็น ๑๙๕ มิลลิเมตร อัตราการเจริญประมาณ ๓ - ๗.๕ มิลลิเมตรต่อวัน อัตราการ
เจริญ ของดอกได้แสดงดังตารางท่ี ๑

58

ตารางที่ ๑ แสดงอัตราการเจริญของรงั ไข่ ตัง้ แต่ก่อนแทงช่อดอกถงึ หลงั แทงช่อดอกแลว้

เวลา(วัน) ความยาว(มม.) เพม่ิ ขนึ้ วนั ละ (มม.) เส้นผ่านศูนย์กลาง เพิ่มขน้ึ วนั ละ (มม.)
(มม.)

-๑๔ ๕ - ๐.๕ ๐.๓

-๔ ๓๕ ๓.๐ ๓.๕ ๐.๙

๔ ๙๕ ๗.๕ ๑๒.๖ -

๓๐ ๑๙๕ ๓.๘ ๒๐.๐ ๐.๓

ท่มี า Lassoudiers (๑๙๗๗)

จํานวนของผลต่อเครือขึ้นอยู่กับสภาพของสิ่งแวดล้อมในช่วงของการพัฒนาใบที่ ๓ - ๔
ใบ สุดท้าย ซึ่งหลังจากนั้นประมาณ ๑ เดือนจะมีการแทงปลีหรือแทงช่อดอกออกมา การเกิดผลดู
เหมือน ว่าจะเกิดขึ้นในช่วงแรก ๆ ของการพัฒนาช่อดอก และอาจจะมีการลดจํ านวนลง ถ้า
สภาพแวดลอ้ มไม่เหมาะสม

รูปรา่ งของดอกที่เจรญิ เตม็ ทแ่ี ลว้ อาจเขยี นไดเ้ ป็นสตู รดังน้ี

% [(๓) + (๒] + ๑), (๓) + (๓ − ๑), ̅ ̅̅[̅(̅๓̅)̅̅]
( ) หมายถงึ common membership of a whorl

[ ] หมายถงึ ติดกนั (fusion)

59

ภาพท่ี ๒.๖ ส่วนประกอบของปลีดอกตวั ผ้แู ละดอกย่อย จาก IPGR/INIBAP/CIRAD, ๑๙๙๖)
กลีบดอกและกลีบเล้ียงติดกันเรียกว่า กลบี รวม (perianth หรอื tepal) วงของกลีบรวมมี

รูปร่างแบบ Zygomorphic คอื มีส่วนของข้างซ้ายและข้างขวาเท่ากัน วงของกลีบรวมน้ี แบ่งออกเป็น
๒ สว่ นใหญ่ ๆ คอื กลบี รวมใหญ่ (compound tepal) อยทู่ างดา้ นบนของดอก กลบี รวมใหญ่เกิดจาก
กลีบรวม ๕ กลบี ตดิ กนั เป็นแผน่ โดยแบ่งเปน็ ๒ ส่วน ส่วนใหญ่ ประกอบด้วยกลีบรวม ๓ กลบี อยู่ตรง
กลาง จะมีกลีบรวมเล็กอยู่ข้างละกลีบ สําหรับด้านล่างของดอกเป็นที่อยู่ของกลีบรวมอิสระ (free
tepal) กลีบรวมอิสระมีลักษณะเป็นแผ่นใสขนาดเล็กและไม่มีสี หรือมีสีม่วงเรื่อ ๆ ขนาดเล็กและสั้น
กว่ากลีบ รวมใหญ่ (ภาพที่ ๖)

วงของเกสรตัวผู้ มีเกสรตัวผู้อยู่ ๕ อนั แตม่ ี ๑ อนั ทลี่ ดรปู แบบ (staminode) เกสรตัวผู้ท่ี
ลดรูปไปนี้อยู่ทางด้านล่าง ตรงกันกับด้านของกลีบรวมอิสระ วงของเกสรตัวผู้ประกอบด้วยเกสรตัวผู้
๒ วง ๆ ละ ๓ อัน และมี ๑ อันที่ลดรูปหายไป (ภาพที่ ๗)

ภาพท่ี ๒.๗ แสดงรูปแบบองค์ประกอบของดอก

ภาพท่ี ๒.๘ แสดงการจดั เรยี งของไข่ (จาก IPGR/INIBAPICIPAD, ๑๙๙๖)

60

เกสรตัวเมียมีสีขาวหรือขาวนวล มีรังไข่อยู่ใต้วงกลีบดอก รังไข่แบ่งออกเป็น ๓ พู มีไข่
หรอื โอวุลเรยี งกนั อยา่ งมรี ะเบยี บ ๒ หรือ ๔ แถว หรอื กระจดั กระจายแลว้ แตช่ นดิ ดงั ภาพที่ ๘

ดอกตัวผู้และดอกตัวเมียจะมีขนาดต่างกันคือ ดอกตัวเมียขนาดใหญ่กว่าดอกตัวผู้ เพราะ
ดอกตัวเมียมีรังไข่ที่มีการพัฒนาดีและเร็วจนมีความยาวเท่ากับความยาวของกลีบรวมใหญ่ มี ก้าน
เกสรตวั เมียและเกสรตัวเมียที่แขง็ แรง แตม่ กี ารลดรปู ของเกสรตวั ผู้

สาํ หรบั ดอกตัวผู้นั้นจะมีส่วนของรงั ไข่อยูแ่ ตร่ ังไข่จะฝอ่ ก้านเกสรตัวเมียและดอกตวั เมียจะ
มี ขนาดเล็กผอม และมีอับละอองเกสรตัวผู้ที่มีการพัฒนาดี (แต่ในดอกตัวผู้ของกล้วยหลายชนิดไม่
ค่อยมี ละอองเกสร) นอกจากนี้ดอกตัวผู้และดอกตัวเมียยังมีความแตกต่างกันในทางพฤติกรรม ดอก
ตัวผู้จะ หลุดร่วงไปหลังจากดอกบานได้ ๑ วัน และมีการฟุ้งกระจายของละอองเกสรไปแล้ว แต่ดอก
ตัวเมยี จะ ไม่มกี ารหลดุ แม้ว่าดอกนัน้ จะฝอ่ กต็ าม ท้ังนเ้ี พราะทฐ่ี านของรงั ไข่ไมม่ ชี ้ัน abscission layer
ซึง่ ทาํ ให้ส่วนต่าง ๆ ของพชื หลุดไปเมื่อแก่ ปกติรังไข่จะติดแน่นกับชนั้ ของกลบี รวมและชนั้ ของเกสรตัว
ผู้ ดังนั้นจะเห็นก้านของเกสรตัวผู้ติดอยู่ที่ปลายรังไข่จึงมักเกิดเป็นแผลหรืออาจจะติดอยู่ การคลุมถุง
จะ ทําให้ความช้นื ในถงุ สูงอาจทําใหก้ ้านเกสรนั้นหลดุ ได้

ดอกตัวเมียมีต่อมนำ้ หวานที่อยู่ท่ีปลายของเกสรตัวเมีย ซึ่งอยู่ที่ปลายของรงั ไข่และมี การ
รวบรวมไว้ที่บริเวณฐานของกลีบรวมมีลักษณะเป็นเมือกหรือเจลาติน ละอองเกสรมีลักษณะเหนียว
การผสมเกสรเกดิ ขนึ้ ไดใ้ นธรรมชาตโิ ดยมี ค้างคาว นก และแมลง เป็นพาหะ

การพฒั นาและการเจริญของผล

กล้วยป่าต้องการการผสมเกสรเพื่อใหม้ ีการเจริญของผล และผลที่แก่จะมีเมล็ดสีดําและมี
เนือ้ หมุ้ ล้อมรอบ มีรสหวาน เน้อื น้เี จรญิ มาจากผนังของรังไข่ และผนงั กน้ั รังไข่ (septa) ถา้ ไข่ไม่ได้ รับ
การผสมเกสรก็จะไม่มีการพัฒนา ในทางตรงข้าม กล้วยรับประทานหรือกล้วยที่ปลูกเพื่อกินผลมีการ
พัฒนาของผลแบบ vegetative parthenocarpic คือมีการพัฒนาการเกิดเนื้อไดโ้ ดยไม่ตอ้ งมีการผสม
พันธุ์ เนื้อส่วนใหญ่เกิดจากขอบนอกของร่องของรังไข่ การขยายตัวของผนังกั้นรังไข่และแกนกลาง
และ มีการขยายไปทั่วรังไข่จนกระทั่งผลแก่ ไข่หรือโอวุลมีการหดตัวลงในระยะแรกและจะเห็นเป็น
เมล็ด สีน้ำตาลเลก็ ๆ ฝังอยูใ่ นเนอื้ เมอ่ื ผลแก่ (ภาพที่ ๙)

ได้มีการศึกษาการเจริญของผลกล้วยที่มีจํานวนโครโมโซม ๒ ชุด คือกล้วย Pisang Lin
พบว่า หลงั จากทด่ี อกได้รับการผสม ๒ - ๔ อาทิตย์ มีการแบ่งเซลท่เี ซลชัน้ ในของรงั ไข่ เซลมีการขยาย
ใหญข่ นึ้ และมกี ารเจริญขน้ึ ประมาณ ๔ อาทติ ย์ แป้งทีอ่ ยู่ในเนือ้ ทีเ่ ปน็ เซลพาเรนไคมาจะลดลงเม่ือใกล้
แก่ การเจรญิ นไ้ี ม่เป็นรูปแบบท่แี น่นอน แต่ประมาณ ๘ - ๑๒ อาทิตย์ ทงั้ รังไข่จะมีเนอ้ื เต็มไปหมด

61

กล้วยส่วนใหญ่ไม่มีเมล็ดทั้งนี้เพราะการเกิดผลกล้วยเกิดขึ้นได้ด้วยขบวนการ
parthenocarpy นอกจากนี้ยังมียีนที่เป็นหมันทางดอกตัวเมียและกล้วยส่วนใหญ่มีจาํ นวนโครโมโซม
๓ ชุด และมีรูปร่างของโครโมโซมเปลี่ยนแปลง กล้วยที่ปลูกเพื่อกินผลไม่ใช่ไม่มีเมล็ดเสียทั้งหมด
เพราะการเกิดเมล็ด นอกจากจะขึ้นอยู่กับสภาพของต้นแม่แล้วยังขึ้นอยู่กับจํานวนของละอองเกสรที่
มากพอในการผสมอีกดว้ ย สาํ หรับกลว้ ยพันธุ์ทป่ี ลกู เพื่อการส่งออกน้ัน จะต้องเปน็ พันธุ์ท่ีเป็นหมัน ซ่ึง
หมายถึงจะต้องไม่มีเมล็ด มี ความเป็นหมันในดอกตัวเมียสูง ดังเช่นกล้วยในกลุ่มคาเวนดิช กล้วยใน
กล่มุ น้ไี ดม้ ีการทดลองปลูก และผสมเกสรดูเป็นพัน ๆ ครงั้ ก็ไมพ่ บวา่ เกิดเมล็ดแต่อยา่ งใด แต่ในกล้วย
กลุ่มกรอสมิเซล แม้จะปลูก เป็นการค้าแต่พบว่าถ้าได้รับละอองเกสรที่มากพอก็สามารถติดเมล็ดได้
แม้จะเป็นจํานวนน้อย คืออาจ จะได้เมล็ดเพยี ง ๑ - ๒ เมล็ดต่อเครือ หรืออาจจะไดม้ ากถงึ ๖๐ เมล็ด
ต่อเครือ ถ้าได้รับละอองเกสรมาก ดังนั้นแสดงว่ากล้วยหอมกรอสมิเซลมีดอกตัวเมียที่มิได้เป็นหมัน
สามารถผสมพันธุ์ได้ ผลที่ไมม่ เี มลด็ นั้นมิใชเ่ ปน็ เพราะมีจาํ นวนโครโมโซม ๓ ชุด หรอื เพราะมียีนที่เป็น
หมันทางดอกตวั เมยี แตเ่ ป็นเพราะมี ละอองเกสรไม่เพียงพอ กลว้ ยกรอสมเิ ซลจึงสามารถติดเมล็ดได้ถ้า
นําไปปลูกในแหล่งท่ีมีละอองเกสร มากก็จะมีเมล็ดได้ กล้วยที่ปลูกเพื่อกินผลในประเทศไทยที่เห็นมี
เมล็ดมากได้แก่กลว้ ยน้ำว้า บางครัง้ จะเห็นว่ากลว้ ยน้ำว้ามีเมล็ด แตบ่ างครั้งก็ไม่มีเมล็ด กล้วยน้ำว้ามี
จํานวนโครโมโซม ๓ ชุด แต่มีความสามารถผสมติดได้ ถ้าหากไม่มีละอองเกสรมาผสมก็จะไม่มีเมล็ด
กล้วยน้ำวา้ จะให้เมล็ดมาก ถ้า หากปลกู ปะปนกับกล้วยที่มีจํานวนโครโมโซม ๒ ชุด หรือกล้วยป่าซ่ึงมี
ละอองเกสรมาก แสดงให้ เห็นว่ากล้วยน้ำว้ามีดอกตัวเมียที่ไม่เป็นหมัน จึงอาจกล่าวได้ว่าดอกตัวเมีย
ของกลว้ ยมีทง้ั เปน็ หมนั และไม่เป็นหมัน ถ้าหากดอกน้นั ไมเ่ ป็นหมันกจ็ ะพบเมลด็ เม่ือเกิดการผสมพันธุ์
และจะไม่พบเมล็ดถ้าไม่ ได้รับการผสมพันธุ์ เพราะผลกล้วยสามารถเกิดขึ้นได้จากการพัฒนาแบบ
parthenocarpy

สรีระวิทยาของการพัฒนาเปน็ ผลโดยไม่ได้รับการผสมพันธุ์นัน้ สามารถเป็นไปได้เพราะมี
การผลิตออกซินในรังไข่ที่แก่ นอกจากนี้อาจเกิดจากสารไซโตไคนินที่อยู่ภายในรังไข่ ทําให้มีการ
พฒั นาของผลกลว้ ยท่ปี ราศจากเมลด็ (ภาพท่ี ๙) ซงึ่ กิจกรรมดงั กล่าวจะเกิดเชน่ เดียวกบั การเกิดผลที่มี
เมล็ด โดยเมลด็ จะเปน็ ตวั สร้างสารดังกลา่ วและชว่ ยกระตุ้นการเจริญของผล ทาํ ให้ผลทมี่ ีเมล็ดมีขนาด
ใหญ่กว่าผลของกล้วยชนดิ เดียวกนั แต่ไม่มีเมล็ด

62

ภาพที่ ๒. ๙ แสดงการพฒั นาของผลกล้วยที่ไมม่ ีเมล็ด
ผลของกล้วยเป็นแบบมีเนื้อมีหลายเมล็ด (berry) มีรูปร่างกลมยาว ทรงกระบอก มีความ
ยาวตั้งแต่ต่ำกว่า ๑๐ เซนติเมตรจนกระทั่งยาวกว่า ๓๐ เซนติเมตร ผลมีรูปร่างตรง โค้ง บางชนิดโคง้
เป็นรูปตัว S ถ้าตัดตามขวางของผลที่เต็มวัยจะพบว่าบางพันธ์ุกลม บางพันธุ์มีเหลี่ยมก็จะเห็นเป็นมมุ
ซึ่งมากน้อยแล้วแต่ชนิดพันธุ์ (ภาพที่ ๑๐) ปลายผลก็มีความแตกต่างกันกลา่ วคือ บางพันธุ์มีจุกสั้น ๆ
บาง พนั ธุ์จุกยาวและแหลม บางพนั ธ์มุ จี กุ เหมือนคอขวด บางพนั ธไุ์ ม่มีจุกและหัวมน (ภาพท่ี ๑๑) และ
ที่ ปลายผลหรือที่จุกน้ีบางที่จะเห็นมีก้านเกสรตัวเมียตดิ อยู่ บางพันธุ์กไ็ ม่มี หรือมีเฉพาะโคนของก้าน
เกสรตวั เมยี ตดิ เทา่ นน้ั (ภาพท่ี ๑๒) สําหรบั ก้านของผลหรือสว่ นที่เจริญมาจากก้านของดอกน้ันมีความ
ยาวนอ้ ยกว่า ๑๐ มม. หรอื ยาวกวา่ ๒๐ มม. แล้วแตช่ นดิ ของกลว้ ยและยีโนมของกลว้ ย

ภาพท่ี ๒.๑๐ รปู ร่างของผลกล้วยแบบต่าง ๆ(จาก IPGRI/INIBAP/CIRAD.๑๙๙๖)

63

ภาพที่ ๒.๑๑ แสดงรปู ร่างของปลายผลกล้วย
(จาก IPGRI/INIBAP/CIRAD.๑๙๙๖)

ภาพท่ี ๒.๑๒ แสดงลักษณะปลายผลท่บี างครงั้ มีกา้ นเกสรตัวเมยี ตดิ อยู่(จาก
IPGRIVINIBAP/CIRAD.๑๙๙๖)

เมล็ด
จากการศึกษาเมล็ดพันธุ์ของกล้วยตานีโดย McGahan (๑๙๖๑) พบว่าเมล็ดที่แก่แล้วมี
เซล สเครอรีด (sclereids) ประกอบอยู่ที่ชั้นนอกของ integument อยู่ ๔ ชั้น เซลเหล่านี้แข็งไม่มี
ลิกนนิ สว่ น integument ชัน้ ในมเี ซลท่ีมี cutin ท่ีหนาอีก ๒ ช้ัน สว่ นของ integument ช้นั นอกหนา
อยู่ล้อมรอบเมล็ด มีรู microplye ที่รูนี้มีเนื้อเยื่อมาปิดทําให้เกิดการอุดตันและที่ integument จะมี
เซล abscission layer อยู่ด้วย ซึ่งจะทําให้บริเวณนั้นบางลง ในขณะที่มีการพัฒนา ส่วนของรู
micropyle เองนั้นประกอบ ดว้ ยช่องเล็ก ๆ แคบ ๆ

64

สว่ นภายในเมลด็ พบเนื้อเยอ่ื ชั้นนูเซลล่า (nucelar) ทห่ี ลงเหลืออยูข่ อง archeosporium
ทําให้เกิด chalazal mass ซึ่งเป็นสารคล้ายเจลาติน (gelatin) ทางด้านปลายของเมล็ด นอกจากน้ี
พบ ว่าภายในเมล็ดประกอบด้วยเอนโดสเปอรม์ (endosperm) ที่มีขนาดใหญ่เป็นที่สะสมอาหาร มีสี
ขาวและเมื่อแห้งจะมีลักษณะเป็นผงคล้ายแปง้ เป็นส่วนใหญแ่ ละโปรตีนพวก single protein crystal
loid และมีท่อน้ำ ท่ออาหารผ่านจากผนังกั้นไปยัง funicle และ remifying ไปยัง chalazal mass
และส่วนของ micropyle กย็ ังคงมจี ุกคอร์กอดุ อยู่ (ภาพที่ ๑๓)

ในการงอกของเมล็ด เมล็ดงอกแบบไฮโปเจียล (hypogeal) คือชใบเลี้ยงเหนือพื้นดิน สิ่ง
แรกที่จะเห็นในช่วงการงอกคือ จะมีการผลักดันเอาของเหลวสีน้ำตาลออกมาที่รู micropyle จุก
คอร์กที่อุดรู micropyle ไว้จะหลุดออกและมีแรดิเคิล (radicle) ออกมา สําหรับใบเลี้ยงมีลักษณะ
คลา้ ยกบั หนอ่ คอื มีใบเกดิ ข้นึ คล้ายกบั กาบใบ ใบที่ ๓ ทีเ่ กิดจะแผ่คลื่ออก ช่วงการเกดิ นีเ้ กิดมาจาก จุด
เจรญิ ที่อย่ใู นชน้ั ทนู ิคา (tunica) ซ่งึ เป็นเซลชนั้ เดียวและสามารถมองเหน็ ได้

ภาพที่ ๒.๑๓ กายวภิ าคของเมลด็
ราก
ได้มีการศึกษาระบบและการกระจายของรากในประเทศฮอนดูรัส (Hondurus) กวาดูลปู
(Guadeloupe) ไอวอรี่โคท (Ivory Coast) และคามิรูน (Cameroon) ซึ่งแต่ละแห่งมีดินต่างชนิดกัน
พบว่า รากจะหยงั่ ลึกลงไปในดนิ ได้มากน้อยเท่าใด ขึน้ อยกู่ บั ชนดิ ของดนิ และการระบายน้ำของดิน ดิน
ที่ แน่นเช่นดินเหนียว ซ่ึงชั้นของดินแน่นและมีน้ำมากจะทําให้การเจริญของรากน้อย แต่ถ้าดินมีช่อง
อากาศมาก ดินเกาะกันอย่างหลวม ๆ จะทําให้การเจริญของรากดี การหยั่งลึกของรากจะลึกและ
รวดเร็ว ซึ่งเป็นเครื่องชี้ให้เห็นถึงผลผลิตที่ตามมาจะดีด้วยถ้าระบบรากอยู่ในช่วงลึกประมาณ ๔๐
เซนตเิ มตร กลว้ ย จะใหผ้ ลผลติ ประมาณ ๔๖ ตัน ต่อไรต่ ่อปี ซ่ึง Lassaudiere (๑๙๗๘) ไดช้ ใ้ี ห้เห็นถึง

65

ความสัมพันธ์ ระหว่าง น้ำหนักเครือกับปริมาณรากว่า กล้วยที่ปลูกในดินปนทราย (aluvial) ว่าจะมี
การเจริญของรากดีที่สดุ

ปกติรากที่เจริญออกมาครั้งแรก (primary roots) ที่เกิดที่ต้นกล้ากล้วยจะมีอายุสั้นและ
จะตายไป และมีการสร้างรากอากาศ (adventitous) ขึ้นแทน สําหรับต้นที่เกิดจากหน่อ รากจะเป็น
รากอากาศตั้งแต่เริ่มต้น โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลง รากเกิดครั้งละ ๓ – ๔ เส้นในชั้นของ margin
layer ซ่ึงอยทู่ ่ีผิวของลําต้นหรือหวั (corm) รากมีความหนาประมาณ ๕ - ๘ มลิ ลิเมตร มลี ักษณะอวบ
นำ้ สีขาวถ้ารากนั้นแขง็ แรง ตอ่ มารากนัน้ จะเปลี่ยนเป็นสนี ำ้ ตาล มเี ซลเรยี งตัวกนั อยู่อย่างหลวมๆ เสน้
ผ่านศูนย์กลางของรากจะมีขนาดใหญ่หรือเล็กขึ้นอยู่กับชุดของโครโมโซม ซึ่ง Monnet และ
Charpentier (๑๙๖๕) ได้ศึกษาพบว่าถ้ากล้วยมีจํานวนโครโมโซม ๓ ชุด (๒n = ๓๓ หรือ ๓X) ราก
จะมเี สน้ ผา่ น ศนู ย์กลางประมาณ ๖.๒ - ๘.๕ มิลลิเมตร ถา้ มีโครโมโซม ๒ ชุด จะมเี ส้นผ่านศูนย์กลาง
ประมาณ ๕.๑ - ๕.๗ มิลลิเมตร และถ้ามีจํานวนโครโมโซม ๔ ชุด (๒n = ๔๔ หรือ ๔X) จะมีเส้นผ่าน
ศูนยก์ ลางประมาณ ๗.๔ มิลลเิ มตร

ในการปลูกกล้วยในช่วงแรก ๆ จะมีรากใหม่เกิดขึ้น ๑๔ - ๒๐ เส้น ซึ่งมีความยาว ๑๐ –
๑๕ เซนติเมตร รากเหล่านี้เกิดหลังจากปลูกประมาณ ๑๕ วัน เรียกรากเหล่านี้ว่า preformed root
ราก เหล่านี้มีจุดกําเนิดจากใจกลางของลําต้นและเริ่มเกิดตั้งแต่ก่อนปลูกและเจริญออกมาจากลําต้น
หลังจากปลูกลงดินแล้ว รากเหล่านี้จะทําหน้าที่ในช่วงแรก ๆ และหลังจากปลูก ๗๕ – ๙๐ วัน หรือ
ขณะท่ีมใี บ ๖ - ๑๐ ใบ จงึ จะมีรากใหมเ่ กดิ ขนึ้ จํานวนของรากขึน้ อยู่กบั ความแขง็ แรงของลาํ ต้น ถ้าลาํ
ต้นแข็งแรงจะมี รากตั้งแต่ ๒๐๐ – ๓๐๐ เส้น แต่ถ้านับรวมถึงหน่อที่เกิดขึ้นด้วยแล้วอาจพบว่ามรี าก
๕๐๐ - ๑๐๐๐ เสน้ ซึ่งรากเหลา่ น้ีสามารถเจรญิ ออกทางด้านข้างกระจายออกไปได้ถึง ๕.๒ เมตรและ
ลึกประมาณ ๗๕ เซนติเมตร ประมาณ ๕๐% ของรากจะพบอยู่ใตด้ ินลึก ๒๐ เซนตเิ มตร แต่ถ้าดินน้ัน
ระบายน้ำดอี าจพบรากลกึ ถงึ ๕๐ เซนติเมตร

รากของกล้วยแตกออกเป็นรากแขนงอีกมาก (lateral roots) รากเหล่านีจ้ ะมี ขนาด เล็ก
กว่ารากชุดแรก และรากเหล่านี้จะมีรากซึ่งมีขนาดเล็กและสั้น อ่อนนุ่ม เรียกว่า รากขน (root hair)
ทําหน้าที่ดูดน้ำและแร่ธาตุให้กับต้นกล้วย บางครั้งเรียกรากเหล่านี้ว่า “feeding roots” รากแขนงมี
จุดกาํ เนดิ จาก protoxylem ซึง่ อยบู่ รเิ วณปลายราก หา่ งจากปลายรากข้นึ มาประมาณ ๑๕ เซนตเิ มตร
เมอ่ื ปลายรากไดร้ ับอันตรายจะมีการแตกแขนงรากออกมาได้ การแตกรากใหมจ่ ะหยุดลงหลังจากต้น
มกี าร แทงช่อดอกหรือแทงปลี แต่รากมีการทาํ งานตามปกติ

จากการศึกษาถึงอัตราการเจริญของรากและใบ พบว่ารากเจริญได้ดีที่อุณหภูมิกลางวัน/
กลางคืน ที่ ๒๕/๑๘ องศาเซลเซียส ส่วนใบเจริญได้ดีที่อุณหภูมิ กลางวัน/กลางคืน ที่ ๓๓/๒๖ องศา
เซลเซียส

66

สรุป กล้วยมีลําต้นอยู่ใต้ดินเรียกว่า rhizome และมีการเจริญคล้ายการเจริญแบบชิมโป
เดียล ที่ลําต้นของกล้วยมีตาอยู่ทางด้านข้าง โดยมีกาบใบหุ้มอยู่ ใจกลางของลําต้นแบ่งออกเป็น ๒
ส่วน คอื ส่วนของ Central cylinder และ cortex โดยมที ่อนำ้ ท่ออาหารเป็นตวั เชื่อม เนอ้ื เยื่อของลํา
ต้น ประกอบด้วยเซลพาเรนไคมาซึง่ บรรจดุ ้วยแป้งอยู่เต็ม ส่วนล่างเป็นจุดเจริญซึ่งเป็นจดุ ทีส่ ร้างดอก
และใบ ในการสรา้ งใบก่อใหเ้ กิดลําต้นเทียมเหนือดนิ หรือคือสว่ นของกาบใบที่อัดแนน่ สําหรับการเกิด
ชอ่ ดอก จะมีการเปลย่ี นแปลงเซลท่ีจุดเจริญ โดยมีการแบง่ เซลแบบไมโทซิสเกดิ เป็นช่อดอกแทงข้ึนมา
สู่เบื้องบน โดยส่วนที่ชูช่อดอกขึ้นมานั้นจะเป็นตัวพยุงลําต้นเหนือดินไม่ให้เครือกล้วยล้ม การจัดเรียง
ของกาบใบ เปน็ ลําต้นเทียมนั้นเกิดซ้อนๆ กันท่ีบรเิ วณโคนตน้ สว่ นปลายไม่ซ้อน แต่จะมีการเรียงของ
ใบ (phylotaxy) แตกต่างตามอายขุ องต้นกลว้ ย

องค์ประกอบของกาบใบกล้วยพบว่า มีช่องอากาศประมาณครึ่งหนึ่งของพื้นที่และต่อกัน
เป็นท่อยาว มีท่อน้ำทอ่ อาหารเรยี งขนานกันอย่างต่อเน่ือง ผวิ ด้านนอกของกาบใบเปน็ เงา เพราะมีสาร
ลิกนินเคลือบอยู่ นอกจากนี้ยังพบมีปากใบอยู่บนกาบใบอีกด้วย ส่วนของก้านใบมีลักษณะกลมมน
และเป็นร่องทางด้านบนทางด้านล่างของแผ่นใบจะมีท่อน้ำท่ออาหารและที่ผิวมีสารลิกนินเคลือบอยู่
เช่นกนั

แผ่นใบประกอบด้วยเส้นกลางใบและเส้นใบที่ขนานกันเป็นจํานวนมาก ปลายใบมน ฐาน
ใบ "กลมหรือมีสิ่งยื่นมา ลักษณะของรากฐานใบแดกต่างตามอายุของใบ บริเวณกลางแผ่นใบมีความ
หนา มากกว่าปลายใบและฐานใบ ปากใบปรากฏอยู่ท้งั ด้านบนและดา้ นล่างของแผน่ ใบ โดยพบวา่ ปาก
ใบทาง ด้านบนของแผ่นใบมีประมาณ ๕ ส่วน และด้านล่างของแผ่นใบประมาณ ๓ ส่วน ลักษณะ
ภายในของแผ่นใบพบว่ามีช่องอากาศมากเช่นเดียวกับกาบใบและก้านใบ แผ่นใบมีคิวตินเคลือบทั้ง
ด้านบนและด้านล่าง การเจริญของแผ่นใบเมื่อแทงพ้นจากลําต้นเทียมจะตั้งขึ้นและเอนขนานกับ
พื้นดิน บางชนิดจะเอนลงมาจากแนวขนานเล็กน้อย การตั้งหรือเอนขึ้นอยู่กับจํานวนโครโมโซมของ
กลว้ ยด้วย กล้วยท่มี ีจาํ นวนโครโมโซมหลายชุดมักจะเอนลงมาเน่อื งจากมนี ้ำหนักมากขนาดของใบก็จะ
มีขนาดใหญ่ ขนึ้ และจะเจรญิ ลดขนาดลงเม่อื เจรญิ ถึงใบที่ ๓๓ การเจรญิ หยดุ ลงเม่อื แทงช่อดอก

ช่อดอกแต่ละช่อประกอบด้วยกลุ่มดอก กลุ่มดอกแต่ละกลุ่มมีใบประดับ การเจริญของ
กลุ่มดอกจะเจริญจากทางซา้ ยไปขวาและมี ๒ แถว ส่วนบนสุดของชอ่ ดอกเป็นดอกตัวเมีย ส่วนปลาย
สุดเป็นดอกตัวผู้ และมีดอกกระเทยอยู่กลาง ใบประดับจะหลุดล่วงไปเม่ือใบประดับเปิดและตั้งขึ้น
ประมาณ ๑ วนั

ผลของกล้วยมีรูปร่างได้หลายแบบแล้วแต่พันธุ์และมีปลายผลต่างกันด้วย ผลของกล้วย
บางพันธ์มุ กี ้านของเกสรตัวเมียติดอยแู่ มเ้ มื่อสกุ

67

เมล็ดกล้วยมีเปลือกที่แข็งจึงทําให้งอกยาก การงอกของเมล็ดเป็นแบบ hypogeal คือชู
ใบเลี้ยงเหนือพื้นดินและมีรากงอกลงดิน รากของกล้วยเป็น adventitious root และมีการสร้าง
lateral root ซ่งึ มี root hair เพ่อื ดดู น้ำและอาหาร

สภาพทั่วไปของกลว้ ย

ประเทศไทยมกี ารปลูกกลว้ ยกันมาช้านาน กลว้ ยทป่ี ลกู มีมากมายหลายชนิด พันธ์ุกล้วยท่ี
ใช้ปลูกในประเทศไทยมาตั้งแต่สมัยโบราณน้ัน มีทั้งพันธุ์พื้นเมืองดั้งเดิม และนำเข้ามาจากประเทศ
ใกล้เคียง กล้วยที่รู้จักกันในสมัยสุโขทัยคือ กล้วยตานี และปัจจุบันในจังหวัดสุโขทัยก็ยังมีการปลูก
กล้วยตานีมากที่สุด แต่เรากลับไม่พบกล้วยตานีในป่า ทั้งๆ ที่กล้วยตานีก็เป็นกล้วยป่าชนดิ หนึ่ง มีถ่ิน
กำเนิดอยู่ทางตอนใต้ของประเทศอินเดีย จีน และพม่า ดังนั้นจึงสันนษิ ฐานว่า กล้วยตานีน่าจะนำเข้า
มาปลูกในประเทศไทยตงั้ แต่สมัยสโุ ขทยั ตอนตน้ หรือช่วงการอพยพของคนไทยมาตั้งถิ่นฐานทีส่ โุ ขทัย

ในสมัยอยุธยา เดอลาลูแบร์ (De La Loub`ere) อัครราชทูตชาวฝรั่งเศสที่เดินทางมา
เมืองไทยในรชั สมัยสมเด็จพระนารายณม์ หาราช เมอ่ื พ.ศ. ๒๒๓๐ ได้เขียนบนั ทกึ ถงึ ส่งิ ที่เขาได้พบเห็น
ในเมืองไทยไว้ว่า ได้เห็นกล้วยงวงช้าง ซึ่งก็คือ กล้วยร้อยหวีในปัจจุบัน ที่ส่วนใหญ่ปลูกไว้เพื่อเป็นไม้
ประดับนั่นเอง นอกจากนี้ยังมีตำนานเล่ากันมาว่า มีการค้าขายกล้วยตีบอีกด้วย แสดงให้เห็นว่า ได้มี
การปลกู กล้วยท้งั เพ่ือความสวยงาม และเพ่อื การบริโภคกนั มาช้านานแล้ว

ตอ่ มาเม่ือ พ.ศ. ๒๔๒๗ ในรชั กาลที่ ๕ แห่งกรุงรัตนโกสนิ ทร์ พระยาศรีสนุ ทรโวหาร (น้อย
อาจารยางกูร) ซึ่งเป็นปรมาจารย์ทางด้านภาษาไทย ได้เขียนหนังสือ พรรณพฤกษากับสัตวาภิธาน
เพื่อเป็นแบบเรียนภาษาไทยสำหรบั ใช้ในโรงเรียน กล่าวถึงชื่อของพรรณไม้และสัตว์ชนิดต่างๆ ที่มีอยู่
ในเมืองไทย โดยเรียบเรียงเป็นกาพย์ฉบัง ๑๖ เพื่อให้ไพเราะและจดจำได้ง่าย ในหนังสือดังกล่าวมี
ขอ้ ความทพี่ รรณนาถงึ ชือ่ กลว้ ยชนดิ ต่างๆไว้

จากกาพย์ดังกล่าว ทำให้เราได้ทราบชนิดของกล้วยมากขึ้น แสดงให้เห็นถึงความนิยมใน
การปลูกกล้วยในสมัยนั้น ทั้งนี้เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จประพาส
ประเทศต่างๆ หลายประเทศ จึงได้มกี ารนำกล้วยบางชนิดเขา้ มาปลูกในรัชสมัยของพระองค์

หลงั จากที่นักวชิ าการชาวตะวนั ตกไดเ้ รม่ิ จำแนกชนดิ ของกลว้ ยตามลักษณะทางพนั ธุกรรม
โดยใช้จีโนมของกล้วยเป็นตัวกำหนดในการแยกชนดิ ตามวธิ ีของซิมมอนดส์ และเชบเฟิร์ด ดังได้กล่าว
แล้วข้างต้น จึงกล่าวได้ว่า กล้วยที่บริโภคกันอยู่ในปัจจุบันมีบรรพบุรุษอยู่เพียง ๒ ชนิดเท่านั้น คือ
กล้วยป่า และกล้วยตานี กล้วยที่มีกำเนิดจากกล้วยป่ามีจีโนมทางพันธุกรรมเป็น AA ส่วนกล้วยที่มี
กำเนดิ จากกล้วยตานมี ีจีโนม เปน็ BB และกลว้ ยลกู ผสมของท้งั ๒ ชนิด มจี ีโนมเป็น AAB, ABB, AABB
และ ABBB นอกจากนี้ ซมิ มอนดสย์ งั ไดจ้ ำแนกชนิดของกล้วยในประเทศไทยว่ามีอยู่ ๑๕ พันธุ์

68

ต่อมา นกั วิชาการไทยได้ทำการศึกษาค้นควา้ เก่ียวกับพันธแุ์ ละชนิดของกล้วย คอื ใน พ.ศ.
๒๕๑๐ วัฒนา เสถียรสวัสดิ์ และปวิณ ปุณศรี ได้ทำการรวบรวมพันธุ์กล้วยที่พบในประเทศได้ ๑๒๕
สายพันธุ์ และจากการจำแนกจัดกลุ่มแล้ว พบว่ามี ๒๐ พันธุ์ หลังจากนั้นในระหว่าง พ.ศ. ๒๕๒๓ -
๒๕๒๖ เบญจมาศ ศิลาย้อย และฉลองชัย แบบประเสริฐ แห่งภาควิชาพืชสวน
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ทำการสำรวจพันธุ์กล้วยในประเทศไทย และรวบรวมพันธุ์ไว้ที่สถานี
วิจัยปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา โดยรวบรวมได้ทั้งหมด ๓๒๓ สายพันธุ์ แต่เมื่อจำแนกชนิดแล้ว
พบวา่ มีอยู่เพียง ๕๓ พันธุ์ หลังจากส้นิ สดุ โครงการ ยังไดท้ ำการรวบรวมเร่ือยมาจนถงึ ปจั จุบัน พบว่ามี
อยู่ ๗๑ พันธุ์ รวมทั้งกล้วยป่าและกล้วยประดับ ทั้งนี้ไม่นับรวมพันธุ์กล้วยที่ได้มีการนำเข้ามาจาก
ต่างประเทศ ซึ่งมีอีกหลายพันธุ์ ปจั จบุ นั กลว้ ยในเมืองไทย ซ่งึ จำแนกชนดิ ตามจีโนม มีดงั น้ี

๑. กลุ่ม AAที่พบในประเทศไทยมี กล้วยป่า สำหรับกล้วยกินได้ในกลุ่มนี้มีขนาดเล็ก รส
หวาน กลิ่นหอม รับประทานสด ได้แก่ กล้วยไข่ กล้วยเล็บมือนาง กล้วยหอมจันทร์ กล้วยไข่ทองร่วง
กล้วยไข่จนี กลว้ ยนำ้ นม กลว้ ยไล กลว้ ยสา กล้วยหอม กล้วยหอมจำปา กลว้ ยทองกาบดำ

๒. กลุ่ม AAA กล้วยกลุ่มน้ีมีจำนวน โครโมโซม ๒n = ๓๓ ผลจึงมีขนาดใหญก่ ว่ากลุ่มแรก
รูปร่างผลเรียวยาว มีเนื้อนุ่ม รสหวาน กลิ่นหอม รับประทานสดเช่นกันได้แก่ กล้วยหอมทอง กล้วย
นาก กล้วยครั่ง กลว้ ยหอมเขียว กลว้ ยกงุ้ เขียว กลว้ ยหอมแม้ว กล้วยไข่พระตะบอง กล้วยคลองจงั

๓. กลุ่ม BB ในประเทศไทยจะมีแต่กล้วยตานี ซึ่งเป็นกล้วยป่าชนิดหนึ่ง แต่ไม่ได้มีถิ่น
กำเนิดในประเทศไทย รบั ประทานผลอ่อนได้ โดยนำมาใสแ่ กงเผด็ ทำสม้ ตำ ไม่นิยมรับประทานผลแก่
เพราะมีเมลด็ มาก แต่คนไทยและคนเอเชยี ส่วนใหญ่รับประทานปลีและหยวก ไม่มีกล้วยกินได้ในกล่มุ
BB ในประเทศไทย แต่พบวา่ มที ่ีประเทศฟลิ ิปปนิ ส์

๔. กลุ่ม BBB กล้วยในกลุ่มนี้เกิดจากกล้วยตานี (Musa balbisiana) เนื้อไม่ค่อยนุ่ม
ประกอบด้วยแป้งมาก เม่ือสกุ ก็ยังมแี ป้งมากอยู่ จงึ ไม่คอ่ ยหวาน ขนาดผลใหญ่ เม่อื นำมาทำให้สุกด้วย
ความร้อน จะทำให้รสชาติดขี ึน้ เนอ้ื เหนยี วนุ่ม เช่น กล้วยเล็บชา้ งกุด

๕. กลุ่ม AAB กล้วยกลุ่มนี้เกิดจากการผสมระหว่างกล้วยป่ากับกล้วยตานี เมื่อผลสุก มี
รสชาติดีกว่ากลว้ ยกลมุ่ ABB ไดแ้ ก่ กล้วยน้ำ กล้วยนำ้ ฝาด กล้วยนมสวรรค์ กล้วยนว้ิ มือนาง กล้วยไข่
โบราณ กล้วยทองเดช กล้วยศรีนวล กล้วยขม กล้วยนมสาว แต่มีกล้วยกลุ่ม AAB บางชนิดที่มีความ
คลา้ ยกับ ABB กลา่ วคือ เน้อื จะคอ่ นขา้ งแข็ง มแี ปง้ มาก เม่ือสุกเนื้อไม่นุ่ม ทั้งนีอ้ าจไดร้ ับเชื้อพันธุกรรม
ของกล้วยป่าที่ต่าง sub species กัน จึงทำให้ลักษณะต่างกัน กล้วยในกลุ่มนี้เรียกว่า plantain
subgroup ซึ่งจะต้องทำให้สุกโดยการต้ม ปิ้ง เผา เช่นเดียวกับกลุ่ม ABB ได้แก่ กล้วยกล้าย กล้วย
งาช้าง กลว้ ยนวิ้ จระเข้ กล้วยหนิ กลว้ ยพม่าแหกคุก

69

๖. กลมุ่ ABB กล้วยกลุ่มนี้เปน็ ลกู ผสมระหวา่ งกล้วยป่ากับกล้วยตานี มีแป้งมาก ขนาดผล
ใหญ่ ไม่นิยมรับประทานสด เพราะเม่ือสกุ รสไมห่ วานมาก บางคร้งั มรี สฝาด เมื่อนำมาต้ม ปิ้ง ย่าง และ
เชื่อม จะทำให้รสชาติดีขึ้น ได้แก่ กล้วยหักมุกเขียว กล้วยหักมุกนวล กล้วยเปลือกหนา ก ล้วยส้ม
กล้วยนางพญา กล้วยนมหมี กล้วยน้ำว้า สำหรับกล้วยน้ำว้าแบ่งออกเป็น ๓ ชนิด ตามสีของเนื้อ คือ
น้ำว้าแดง น้ำว้าขาว และน้ำว้าเหลือง คนไทยรับประทานกล้วยน้ำว้า ทั้งผลสด ต้ม ปิ้ง และนำมา
ประกอบอาหาร นอกจากนี้ยังมีกล้วยน้ำว้าดำ ซึ่งเปลือกมีสีครั่งปนดำ แต่เนื้อมีสีขาว รสชาติอร่อย
คลา้ ยกลว้ ยนำ้ วา้ ขาว สำหรับกลว้ ยตีบ เหมาะทจี่ ะรับประทานผลสด เพราะเมื่อนำไปย่าง หรอื ตม้ จะมี
รสฝาด

๗. กลุ่ม ABBB กล้วยในกลุ่มนี้เป็นลูกผสมเช่นกัน จึงมีแป้งมาก และมีอยู่พันธุ์เดียวคือ
กล้วยเทพรส หรือกล้วยทิพรส ผลมีขนาดใหญ่มาก บางทีมีดอกเพศผู้หรือปลี บางทีไม่มี ถ้าหากไม่มี
ดอกเพศผู้ จะไม่เห็นปลี และมีผลขนาดใหญ่ ถ้ามีดอกเพศผู้ ผลจะมีขนาดเล็กกว่า มีหลายหวีและ
หลายผล การมีปลีและไม่มีปลีนี้เกิดจากการกลายพันธุ์แบบกลับไปกลับมาได้ ดังนั้นจะเห็นว่า ในกอ
เดียวกันอาจมีทั้งกล้วยเทพรสมีปลี และไม่มีปลี หรือบางครั้งมี ๒ - ๓ ปลี ในสมัยโบราณเรียกกล้วย
เทพรสที่มีปลีวา่ กล้วยทิพรส กลว้ ยเทพรสท่ีสกุ งอมจะหวาน เมือ่ นำไปต้มมรี สฝาด

๘. กลุม่ AABB เปน็ ลูกผสมมเี ชือ้ พนั ธกุ รรมของกลว้ ยปา่ กับกล้วยตานี กล้วยในกลุ่มน้ีมีอยู่
ชนิดเดียวในประเทศไทย คือ กล้วยเงิน ผลขนาดใหญ่ รูปร่างคล้ายกล้วยไข่ เมื่อสุกผิวสีเหลืองสดใส
เนอ้ื ผลสสี ม้ มแี ปง้ มาก รับประทานผลสด

นอกจากกล้วยดงั ท่ีได้กล่าวแล้ว ยังมกี ล้วยปา่ ท่ีเกดิ ในธรรมชาตซิ ึ่งมีเมล็ดมาก ท้ังกล้วยใน
สกุล Musa acuminata และ Musa itinerans หรือที่เรียกวา่ กลว้ ยหก หรอื กลว้ ยอ่างขาง และกล้วย
ปา่ ท่เี ปน็ กล้วยประดบั เช่น กลว้ ยบัวสสี ม้ และกลว้ ยบวั สีชมพู

ประวัติกล้วย

ชาวอาหรับชื่อ Alphonse de Candolla (๑๘๘๕) เขียนหนังสือเกีย่ วกับกําเนิดของพันธ์ุ
พืชปลกู ไว้ที่ประเทศกรีก กล่าวว่ากลว้ ยเปน็ ผลไมข้ องชาวอินเดีย และพบเปน็ จํานวนมากในเอเชยี ตอน
ใต้ โดยมกี ารปลกู กันมากในแถบประเทศจนี อินเดีย และมีการกระจายไปยังเกาะต่าง ๆ ในมหาสมุทร
แปซิฟิก และทางฝั่งตะวันตกของทวีปอาฟริกา กล้วยแต่ละพันธุ์มีชื่อเป็นภาษาท้องถิ่นของประเทศ
ดังเช่น แถบเอเชียมีชื่อเป็นภาษาจีน สันสกฤต และมาเลย์ ซึ่งเป็นสิ่งบ่งชัดถึงความเก่าแก่และ แสดง
ให้เห็นว่ากล้วยเป็นพืชดั้งเดิมของเอเชียและมีการกระจายพันธุ์ไปยังที่อื่นโดยมนุษย์นอกจากนี้ ยัง
พบว่าในคาํ ภรี ข์ องพระมะหะหมดั ในหนังสอื Koran เม่ือปี คศ. ๑๘๔๐ กลา่ วว่ากล้วยถอื เปน็ ต้นไม้ ๐
บนสวรรค์ (paradise tree) นอกจากนี้ Popenoe (๑๙๑๔) ซงึ่ เขียนถงึ ต้นกําเนดิ ของกลว้ ยวา่ “กลว้ ย

70

เป็นอาหารชนิดแรกของมนุษย์ และเป็นพืชชนิดแรกที่มีการปลูกเลี้ยงไว้ตามบ้าน ” (Reynold,
๑๙๒๙)

ถนิ่ กาํ เนดิ ของกล้วย (First Home)

กล้วยเป็นพืชที่ชอบอากาศรอ้ นชื้น ถิ่นแรกของกล้วยอยูใ่ นแถบเอเซียตอนใต้ ซึ่งประกอบ
ด้วยทางเหนือของอินเดีย พม่า เขมร ไทย ลาว และจีนตอนใต้ และแถบหมู่เกาะอินโดนีเซีย เกาะบอ
เนียว ฟิลิปปินส์ และไต้หวันในประเทศเหล่านี้จะพบกล้วยพื้นเมืองที่ไม่มีเมล็ดและปลูกแบบปล่อย
ปละละเลย ไมค่ ่อยมีการดูแล เปรยี บเสมอื นพืชป่า มิไดม้ กี ารดแู ลดงั เช่นพืชปลูกทวั่ ๆ ไป กล้วยท่ปี ลูก
กันแถบนี้มี อยู่หลายชนิดทั้งที่มีเมล็ดและไม่มีเมล็ด และปลูกกระจัดกระจายอยู่ทั่วไปจากผลการ
เคลื่อนย้ายของ ประชากร จากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง เนื่องจากมีการสูญเสียผืนดินในการทํามาหากิน
ในสมัยโบราณ ทําให้เกิดการอพยพของประชากร ในเอเชียตอนใต้ไปยังหมู่เกาะต่าง ๆ ในมหาสมุทร
แปซิฟิก ซึ่งการ อพยพนี้ได้มีมาหลายศตวรรษ ตั้งแต่ต้นคริสต์ศักราช เป็นต้นมา ในการอพยพแต่ละ
คร้งั ไดม้ ีการนําเอา เสบียงอาหาร ดงั เชน่ มกี ารนาํ เอาหน่อกลว้ ยและผลผลิตอย่างอ่ืนทางการเกษตรไป
ด้วย ดังนั้นในการ สํารวจในระยะแรกสุดพบว่ามีการปลูกกล้วยกันในแถบเกาะฮาวาย และหมู่เกาะ
ทางดา้ นตะวนั ออก ซึ่ง หมู่เกาะเหลา่ นอ้ี ยู่ห่างจากที่ ๆ มปี ระชากรส่วนใหญอ่ าศัยอยู่ถงึ ๒,๐๐๐ ไมล์

จากการสํารวจในแถบหมู่เกาะโปลินีเชีย ซึ่งอยู่ในมหาสมุทรแปซฟิ ิก Says Seemann ได้
กล่าวว่าในช่วงที่มีชาวยุโรปเดินทางไปที่เกาะตาฮิติ พบว่าเฉพาะในเกาะตาฮิติแห่งเดียวมีกล้วยอยู่ถึง
๒๘ ชนิด และกล่าวว่ากล้วยและกล้วยกล้าย (banana and plantain) เป็นที่รู้จักกันดีในหมู่เกาะฟิจิ
ในชอ่ื ว่า "Vudi”

สําหรับประเทศทางตะวันออก พบเอกสารกล่าวถึงกล้วยในหนังสือเกี่ยวกับศาสนา โดย
พบ ว่ามีภาพของต้นกล้วยอยู่ในศิลปะระยะต้น ๆ ของพุทธศาสนาเป็นภาพที่ใช้กล้วยในการสักการะ
พระเจ้ากาละ สําหรับในประเทศจีน มีเอกสารของจีนโบราณได้กล่าวว่า ได้มีการเพาะปลูกกล้วยมา
นานแล้ว และจากสารานุกรม ฉบับที่ ๑๔๙ ของจีน (Great Chinese Encyclopedia) ได้บันทึกไว้
การบันทึกใน สารานุกรมฉบับนี้เป็นงานของจักรพรรดิ์กางไช (Kang Hsi ๑๖๖๒ - ๑๗๒๓) แห่งราช
วงค์แมนจู ซึ่งได้ ระดมผู้มคี วามสามารถช่วยกนั ทําและนําเสนอในปี ค.ศ. ๑๗๖๒ โดยพิมพ์ออกมาบน
แผ่นทองแดงและ ขณะนี้ได้เก็บไว้ที่พิพิธภัณฑ์ ของประเทศอังกฤษ ในสารานุกรมนั้นได้กล่าวว่า “มี
กล้วยอยู่ ๑๒ ชนิด ปลูก อยู่ในประเทศจีน มชี อื่ วา่ ปารกู ันเชียวยาเชียวปาเชียวน้ันเชียว เทียนเชียวชี
เชียวชุงเชียว เมเจนเชียว โปโชวเชียว ยังเชียวเชียว ยูฟูเชียว กล้วยเหลา่ นีส้ ่วนใหญป่ ลูกอยู่ในจังหวดั
กวางตุ้ง ฟูเกียง กวางไช และ ไชนาน กล้วยดังกล่าวมีความแตกต่างกัน ผลมีลักษณะคล้ายเขาแพะ
ยาวประมาณ ๗-๘ นิ้ว มีเนื้อสีขาว เหลืองอ่อน มีรสหวาน ส่วนอีกชนิดหนึ่งมีผลยาวกวา่ ผลมีเหลี่ยม
เห็นชัดเจน รสไม่หวานและยังมีอีก ชนิดหนึ่ง ผลรีเป็นรูปไข่ เนื้อมีสีขาวคล้ายน้ำนม มีรสหวาน”

71

นอกจากนย้ี ังได้กลา่ วอีกว่า “พชื ในวงศ์ กล้วยนมี้ อี ยเู่ กอื บทกุ ภาคของประเทศจีน แตบ่ างแห่งไม่มีดอก
และผล” ในประเทศอียิปต์และชีเรีย มีภาพแกะสลักกล้วยและกล้วยกล้าย แต่รูปร่างไม่ค่อยเหมือน
ของจริงมากนัก ในประเทศกรีก Pilny ได้เขียนว่าในสมัยอเล็กซานเดอร์ มีชาวกรีกเคยเดิน ทางไปยัง
ประเทศอินเดีย เมื่อประมาณ ๓๒๗ ปี ก่อนคริสต์ศักราชและกล่าวว่า ชาวกรีกมีความประทับใจ
รสชาติของกล้วยมาก

กล้วยในอาหรบั (Arab)

มีผู้เขียนหลายท่านยืนยันว่า คําว่า Musa มาจากภาษาอาหรับว่า muz ซึ่งหมายถึง ทั้ง
กลว้ ยและกล้วยกลา้ ย คําน้ีเข้าใจว่ามาจากภาษาสนั สกฤตมาก่อน และได้มีผู้อธบิ ายว่าชื่อ Musa นี้ต้ัง
โดย ลินเนียสเพื่อเป็นเกียรติกับ Antonius Musa ซึ่งเป็นแพทย์ประจําพระองค์ของ Octavius
Augustus จกั รพรรด์อิ งค์แรกของโรม หรือประเทศอติ าลี (ประมาณ ๒๐๐๐ ปีมาแล้ว หรอื ๑๔ - ๖๓
ปี ก่อนค ริสตศักราช) แต่เป็นชาวอาหรับและเขาได้รับผลกล้วยมาจากประเทศอินเดียและนํามาไว้ท่ี
เมืองHolyland ซึ่งอยู่ทางเหนือของประเทศอียิปต์และเป็นเมืองที่ไม่มีใครรู้จักมาก่อน จนกระทั่งปี
ค.ศ. ๖๕๐ ที่พระเจ้า Mohammedun ได้รับชัยชนะจึงได้มีผู้รู้จักเมือง Holyland กันมากขึ้นเม่ือ
ประมาณปี ค.ศ. ๙๖๕ หรือใน สมัยอาหรับช่วงแรก ได้มีโคลงกลอนกล่าวถึงกล้วย แต่งโดย Masudi
เขาได้กล่าวว่า อาหารสําหรับเก่า แก่ของชาวอาหรับ มีชื่อว่า Kalaif อาหารชนิดนี้เป็นที่ชื่นชอบของ
เขามาก และเป็นอาหารท่ีรู้จักกันดีใน อาหรบั อาหารชนดิ น้ีประกอบด้วย อลั มอนด์ น้ำผึ้ง และกล้วย
ผสมกับน้ำมนั นัท

นอกจากนี้มีชาวอาหรับอีกหลายท่าน และ Garcia de Ortta ซึ่งเป็นหมอชาวปอร์ตุเกส
และเปน็ นักพฤกษศาสตร์ดว้ ย ได้กล่าววา่ กล้วย นอกจากเปน็ อาหารแล้วยังเปน็ ยาอกี ดว้ ย

ชาวอาหรบั เรียกกล้วยว่า Musa และชาวอาหรับแถบไคโรดามาคัสหรือเยรูซาเล็ม เรยี กวา่
Anusa หรอื Musay

กลว้ ยในอาฟริกา (Africa)

เนื่องจากอาฟริกามีการค้ากับประเทศอาหรับ อาหรับจึงเป็นตัวกลางในการกระจายพันธุ์
กลว้ ยไปยังยโุ รป และถกู นาํ ไปยังอาฟรกิ าตะวันตกตอ่ ไป

การนํากล้วยเข้าสู่ยุโรปนั้น อาจเป็นด้วยมีทูตของสเปน ชื่อว่า Peter Matyo ได้ไปพักอยู่
ที่เวนิช และอียิปต์ ในปี ค.ศ. ๑๖๐๑ ได้บันทึกไว้ว่า กล้วยกล้ายเป็นอาหารที่กินกันอยู่ประจําตั้งแต่
สมัย อเลก็ ซานเดอร์ และมีการเรยี กกันวา่ Musa ในศตวรรษท่ี ๑๕ ต่อมาประมาณปี ค.ศ. ๑๘๓๑ ได้
มที ูต ประจํากรงุ ไคโร ชื่อ Disraeli ได้เขียนจดหมายถึงน้องสาวท่ีอยู่อังกฤษว่า ในบรรดาผลไม้ที่อร่อย

72

ๆ ทั้ง หลายที่มีอยู่ที่ไคโร จนถึงซีเรีย มีส้ม มะนาว pomegranali แต่สิ่งที่อร่อยที่สุดในโลกคือกล้วย
ซึง่ มี คณุ ค่ามากกวา่ แอปเปลิ เสยี อีก

ถ้าพูดถึงอาฟริกาตะวันออก โดยเฉพาะมาดากัสการ์ ในพื้นที่นี้พบว่ามีผลไม้คล้ายทาง
อาหรับ ซึ่งในระยะแรกไม่มี คือเผือก สาเก กล้วย แต่ประเทศในภาคพื้นนี้มีการค้ากับชาวอินเดียมา
ตั้งแต่ช่วง แรกของคริสต์ศักราช (๑๐๐๐ ปีแรก) การค้าระหว่าง Zamiziban ของอาหรับกับ
Mozambique ของ อนิ เดียตะวันออกได้มีมาก่อนการค้นพบทวีปอเมริกา พลเมอื งของมาดากัสการ์มี
ความสัมพันธ์ทางเชื้อสายกับชาวชะวา จึงไม่เป็นที่น่าสงสัยว่าพืชอาหารที่มีประโยชน์จะต้องมีการ
ลําเลียงไปสู่อาฟริกา ตะวันออก และในบรรดาพืชเหล่านี้จะต้องมีกล้วยและกล้วยกล้ายรวมอยู่ด้วย
ชาวอาฟริกาตะวันออกจึงรู้จักกล้วยกันมาหลายศตวรรษ และได้มีการนําเข้าไปยังฝั่งตะวันตกอย่าง
รวดเรว็ หรือในชว่ งทีช่ าวปอร์ตุเกสคน้ พบฝงั่ กนิ ี ในปี ค.ศ. ๑๔๖๙-๑๔๗๔

ที่มาของคําว่า Banana

Von Diedrich Westmann ซึ่งเป็นนักภาษาศาสตร์ของอาฟริกาได้กล่าวว่า คําว่า
banana นั้นมาจากรากศัพท์ของภาษาในอาฟริกาตะวันตกโดยพบว่าที่อ่าวกินีใช้คําว่า banema,
banama, benema ซึ่ง Sir Hary Johnston ได้ลองเปรียบเทียบกับภาษาอื่น ๆ ก็พบว่าไม่ค่อย
ตรงกันนัก และเขายังได้พบ อีกว่าบางแห่งในแถบฝั่งกินีใช้คําว่า bana และ banana และพบว่าชาว
ยุโรป ได้ใชช้ ื่อน้ีเชน่ กัน โดย เรยี กตามชาวปอรต์ ุเกส

จากการศกึ ษารากศัพท์คําว่า banana น้ี พบวา่ ท่ีไลเบอเรยี มเี รียกตา่ ง ๆ กันตามภูมิภาค

ดังนี้ ตะวนั ออกของไลเบอเรยี เรียก Band

ตะวนั ตกเฉียงใต้ของไลเบอเรีย เรียก Bana

ตะวนั ตกของไลเบอเรีย เรียก Gbana

ทางใต้กินี เรียก Abana

ทางเหนอื ของกินี เรียก Funana

เมอื ง Kongagi ทางเหนอื ของแกมเบยี เรียก Banane

ที่ไลเบอเรีย Sir Hary Johnson กล่าวว่ามีการใช้กล้วยกันมานาน และไม่พบกล้วยป่าใน
พ้ืนทนี่ ั้นเลย ถึงแม้วา่ พื้นท่ีน้นั จะมีอากาศเหมาะสมในการเจริญเติบโต ไม่พบแหล่งปลูกกล้วยที่สําคัญ
เช่นพืชอืน่ ในขณะเดยี วกัน Garcia de Orta ซ่งึ เป็นหมอชาวปอรต์ ุเกสและไดไ้ ปใชช้ ีวิตในบัน้ ปลาย ท่ี
อินเดีย เขาเป็นผู้ตั้งชื่อผลไม้ของอินเดียตะวันตก และผลไม้ในอาฟริกาที่กินี และในบรรดาชื่อผลไม้
เหล่านน้ั มีช่ือของ banana อยูด่ ว้ ย (รวมทง้ั bonana และ bonano) ซึง่ เขาได้ตีพิมพ์ลงหนังสือเม่ือปี
ค.ศ. ๑๕๖๓ และก่อนหน้านั้นเขาได้ไปอาฟริกา ๑ ครั้ง เมื่อประมาณปี ค.ศ. ๑๕๓๔ ดังนั้นเขาจึงพูด
ไดว้ ่าเขาได้ รจู้ ักกล้วยก่อนท่จี ะเดินทางไปถงึ ถิ่นกําเนิดของกลว้ ยคือประเทศอินเดยี เสยี อีก เขาได้กลา่ ว

73

ว่ากล้วย เป็นผลไม้ที่มขี นาดใหญ่ มีชื่อพื้นเมืองวา่ banana ซึ่งเข้าใจวา่ เป็นผลไม้ชนิดเดียวกับผลไมท้ ่ี
ช่อื ว่า Musa ในสมัย อเลก็ ซานเดรีย

ชื่อของกล้วยว่า banana ได้ถูกนําไปใช้กันอย่างแพร่หลายก็เพราะชาวปอร์ตุเกส ซึ่งเป็น
นกั เดนิ เรือ และพ่อคา้ ที่มีโอกาสเดนิ ทางไปทต่ี า่ ง ๆ นน่ั เอง

การนํากลว้ ยสูห่ ม่เู กาะแคนารี่ (Canary Islands)

ดังได้กล่าวว่าชาวปอร์ตุเกสเป็นนักเดินเรือ และเป็นพ่อค้าที่เดินทางไปยังที่ต่าง ๆ ดังนั้น
แม้หมู่เกาะแคนารี่ ซึ่งเป็นเกาะเล็ก ๆ อยู่ทางเหนือของกินี และอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของอาฟ
ริกาจะขาดการติดต่อกับแผ่นดินใหญ่ เมื่อมีการค้นพบหมู่เกาะนี้เมื่อปี ค.ศ. ๑๓๔๑ ชาวพื้นเมืองของ
เกาะนี้รู้จักพืชอาหาร คือ ข้าวบาเลย์ แต่ยังไม่รู้จักกล้วย หลังจากที่เป็นเมืองขึ้นของปอร์ตุเกสในปี
ค.ศ. ๑๔๐๒ Leopole von Buck ได้กล่าวว่า กล้วยได้ถูกนําเข้ามาหมู่เกาะนี้พร้อม ๆ กับทาสที่
อพยพมาจากกินี

นี่เป็นจุดเริ่มต้นของการปลูกกล้วยหมู่เกาะนี้ ซึ่งก็ไม่ใช่สิ่งสําคัญมากนัก แต่ที่น่าสนใจคือ
ปจั จุบันที่หมเู่ กาะนี้ มกี ารปลกู กล้วยเป็นอาชีพท่สี ําคัญ และทเี่ กาะแห่งนีย้ ังเปน็ ประวัติศาสตร์ว่า เป็น
จดุ เริ่มของการนาํ กล้วยเขา้ มาสูซ่ ีกโลกใหม่ (New World)

การนํากล้วยเข้าสู่ซีกโลกใหม่ (New World) ซึ่งหมายถึงทวีปอเมริกานั้น ยังไม่ค่อย
กระจา่ งนัก แตจ่ าก หลกั ฐานทาํ ให้เข้าใจไดว้ า่

๑. เกิดในช่วงก่อนโคลัมบัสพบทวีปอเมริกา ซึ่ง Alexander von Hombaldt ได้เขียน
เป็น หลักฐานไว้เมื่อปี ค.ศ. ๑๕๙๐ และค.ศ.๑๖๐๙ แต่ข้อความของเขาได้ถูกลบลา้ งด้วยหนงั สอื ของ
Alphonse de Condola ซงึ่ เขยี นลงใน Botanical Geography และ Origin of Cultivated Plants
ว่าข้อความที่เขาเขียนนั้นผิด ซึ่งต่อมาก็ได้มีอีกหลายท่านได้กล่าวไว้ และในปี ค.ศ. ๑๙๒๐ Heinrich
Harmo ได้เขียนในหนังสือ Study on the remains of plants in Peruvian ซึ่งไม่มีการกล่าวถึง
กล้วยหรือกล้วยกล้ายเลยในอเมรกิ ายคุ แรก นอกจากน้ี Hans Stade ยงั ได้กล่าววา่ ทางภาคตะวนั ออก
ของ บราซลิ ไม่มกี ารใช้กลว้ ยในชว่ งปี ค.ศ. ๑๕๔๗ - ๑๕๕๕

ดังนั้นความเชื่อที่ว่ามีการนําเข้ากล้วยสู่ทวีปอเมริกาก่อนโคลัมบัสพบอเมริกาจึงยังมี
สาเหตทุ ีไ่ มเ่ พียงพอ

๒. ช่วงหลงั จากที่โคลมั บัสพบทวปี อเมรกิ า คอื หลงั จากโคลมั บัสได้ไปเยอื นประเทศ West
Indies และอเมริกากลาง ได้มีการเขียนไว้ในประวัติศาสตร์ว่า ได้มีการนําผลไม้ชนิดหนึ่งที่เรียกว่า
“Platanos” ไปยังเกาะแกรนแคนารี (Grand Canary) ในปี ค.ศ. ๑๕๑๖ โดย Predecadons สั่งให้

74

Reverend Father Friar Tomas de Bertanga เป็นผู้นําไปยังเมือง Santo Domingo หลังจากนั้น
ไดม้ กี ารกระจายพนั ธไ์ุ ปยังทตี่ ่าง ๆ บนเกาะน้ีและหมู่เกาะอน่ื ๆ โดยมิชชันนารีที่สอนศาสนาคริสต์

ดงั น้ันจึงเปน็ ทเี่ ขา้ ใจกันว่ากล้วยเข้าสู่ซีกโลกใหม่จากหมูเ่ กาะแคนารี จาก Grand Canary
ไปยังเมือง Santo Domingo ในปี ค.ศ. ๑๕๑๖ และจากการศึกษาประวัติของกล้วยซึ่งมีมานานปี
ส่วน ใหญ่ได้มาจากการศึกษาจากภาพ พบว่าในช่วงทีพ่ วกมชิ ชันนารี หรือที่เรียกว่า หมอสอนศาสนา
ชุดแรก ๆ ไดอ้ อกไปสอนศาสนาได้มีการต้ังหลกั แหล่งอยู่ในที่ใหม่ ๆ ได้มีการนาํ เอาพชื ท่เี ปน็ อาหารติด
ตัวไปด้วย เพื่อเป็นอาหารของตัวเอง และเพื่อแจกจ่ายให้แก่ชาวบ้าน ดังนั้น กล้วยจึงเป็นพืชที่หมอ
ศาสนานําไป ด้วยและมีการแพร่กระจายในซีกโลกใหม่ ต่อมาในเขตร้อนทวีปอเมริกากลาง ดังเช่นใน
รายงานของ ประเทศปานามาในปี ค.ศ. ๑๖๐๗ ว่า ผลไม้ที่มีความสําคัญมากที่สุดคือ Platano เป็น
ผลไม้ทม่ี ีความ ทนทานและรับประทานสดก็ได้ ต้ัม เผา ป้ิง หรอื ทาํ สตกู ็ได้

การปลูกกล้วยในระยะต่อมาคือในศตวรรษที่ ๑๙ นี้อเมริกากลางและอเมรกิ าใต้ ได้มีการ
ปลูกกล้วยกนั อยา่ งมากและเปน็ พืชเศรษฐกิจทที่ ํารายได้เข้าสปู่ ระเทศสงู

ภาพที่ ๒.๑๓ แสดงแหล่งกําเนดิ และการกระจายพันธ์ุของกล้วย
ประวตั กิ ล้วยในประเทศไทย
กล้วยถือเป็นพืชเก่าแก่ของประเทศไทยผลใช้รับประทานส่วนใบใช้ห่อของกันมาตั้งแต่
โบราณ ใบกลว้ ยมคี วามทนทานตอ่ ความรอ้ นมาก ดังนน้ั จะเห็นว่าขนมทหี่ อ่ ด้วยใบตองสามารถปิ้งหรือ
ต้ม หรือนึ่งได้โดยที่อาหารที่อยู่ข้างในไม่เสียหาย ในพิธีต่าง ๆ ทางศาสนาจะมีการใช้ส่วนต่าง ๆ ของ
กล้วยเพื่อ ประกอบในพิธีนั้น ๆ เช่น ผล ใบ กาบลําต้น เป็นต้น พิธีต่าง ๆ ที่ใช้กล้วย มีตั้งแต่เกิดจน
ตาย การ ใช้ใบตองนั้นส่วนใหญ่ใช้เป็นงานฝมี ือ การทําบายสี กระทง และบางครั้งใชโ้ ดยไม่ต้องนํามา

75

ประดิษฐ์ เชน่ ใชใ้ บตองวางบนกระดังรองตัวเด็กอ่อนท่ีออกมาจากท้องแม่ใหม่ ๆ และในพธิ ีศพก็จะใช้
ใบตอง ประมาณ ๓ ใบวางรองศพที่จะนําไปเผาหรือฝัง เป็นต้น สําหรับกาบลําต้นนั้นใช้ในการ
แกะสลกั หรือ เรียกว่าการแทงหยวกในพิธีเผาศพ ส่วนการใช้ตน้ และผลน้ันก็มีการใช้เช่นกันในพิธีทาง
ศาสนา พิธี ขึ้นบ้านใหม่ พิธีแต่งงานซ่ึงจะมีการนําต้นกล้วยและต้นอ้อยเข้าในพิธีแห่ขันหมาก
จุดประสงค์ของพธิ ีก็ เพ่ือให้คบู่ ่าวสาวนาํ ไปปลกู เพ่อื ใชผ้ ลนาํ ไปเลย้ี งบตุ รในเวลาตอ่ ไป

ประเทศไทยเป็นประเทศที่อยู่ทางเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และอยู่ในแถบอัสสัม ซึ่งเป็น
ถิ่นกาํ เนดิ ของกล้วยปา่ (Musa acuminata Colla) ดงั นจี้ งึ พบกลว้ ยป่าอยู่ทั่วประเทศไทย กล้วยป่าท่ี
พบใน ประเทศไทย มีอยู่ ๔ sub species คือ

Musa acuminata Colla ssp. malaccensis (Ridl) Simmonds

Musa acuminata Colla ssp. microcarpa (Beccari) Simmonds

Musa acuminata Colla ssp. burmanica Simmonds

Musa acuminata Colla ssp. siamea Simmonds (Valmayor, ๒๐๐๒)

นอกจากมีกล้วยป่าที่พบแล้ว ตามประวัติกล่าวว่า พบกล้วยกินได้แถบแหลมมาลายู ซ่ึง
หมายถงึ ภาคใตข้ องประเทศไทยรวมอยูด่ ้วย กลว้ ยกินไดท้ ่พี บเปน็ กลว้ ยทเ่ี กิดจากกล้วยป่า ซึ่งมีชดุ ของ
โครโมโซมเป็น AA และ AAA หรือที่เรียกว่า acuminata cultivars ซึ่งได้แก่ กล้วยไข่ทองร่วง กล้วย
เล็บมือนาง เป็นต้น ดังนั้นจะเห็นได้ว่าทางภาคใต้ของประเทศไทย มีกล้วยกินได้อยู่มากมาย สําหรับ
กล้วยลูกผสมระหว่างกล้วยป่าและกล้วยตานีนั้นเข้าใจว่ามีการนําเข้ามากกว่าที่จะเกิดขึ้นในประเ ทศ
ไทย เพราะกล้วยป่าตานีนั้น ไม่พบในประเทศไทย พบแต่เป็นพืชปลูกอยู่ทั่วไปเพื่อใช้ใบ และ
แหล่งกําเนิด ของกล้วยป่าตานี กล้วยลูกผสมระหว่างกล้วยป่าและกล้วยตานีนั้น พบมากในแถบ
ประเทศอินเดีย กลว้ ยลูกผสมดงั กล่าวน้ัน สว่ นใหญ่เปน็ กล้วยที่มีโครโมโซม ๓ ชุด คอื AAB และ ABB
สําหรับกล้วยที่ มีโครโมโซม ๔ ชุด นั้น พบว่ามีกําเนิดในประเทศไทยอยู่ ๑ ชนิด คืออาจเกิดขึ้น
หลังจากที่กล้วยที่มีชุด ของโครโมโซม AAB และ ABB ปลูกอยู่ท่ัวไปในประเทศไทยแล้วมีการผสมกบั
กล้วยตานีเปน็ กล้วย เทพรสหรือกล้วยทพิ รส หรือกล้วยปลหาย และมีชุดโครโมโซมเป็น ABBB การท่ี
กล่าวว่า กล้วยนี้ กําเนิดในประเทศไทยก็เพราะช่ือของกล้วยนี้เปน็ ชื่อไทยและเป็นชื่อที่เรียกกันทั่วไป
ของ กล้วยชุด ABBB ในต่างประเทศเรียกว่า Tiprod, Pisang Abu Siam และกล่าวว่ากล้วยชนิดนี้มี
ถิน่ กําเนดิ แถบอนิ โดจนี

การนาํ เขา้ ของกล้วยทม่ี ีชดุ โครโมโซมเปน็ BB คือกล้วยตานี และ ABB หรอื AAB น้ัน
ไมม่ กี ารกล่าวไวใ้ นประวตั ศิ าสตร์ แต่คนไทยนัน้ กล่าวกนั วา่ มีการอพยพมาต้ังถิน่ ฐานทางจงั หวัดสุโขทัย
โดยมาจากทางใต้ของประเทศจนี แถบสิบสองปันนา ซึ่งอย่ใู กลก้ บั ตอนเหนือของประเทศอินเดีย ดงั นั้น

76

การเคลื่อนย้ายของกล้วยเหล่านี้อาจจะมีการนําเข้ามาพร้อม ๆ กัน ในช่วงเวลาดังกล่าว เพราะ การ
อพยพถิ่นฐานของมนุษย์มักจะต้องนําอาหารหรือพืชที่เป็นอาหารติดตัวไปด้วย อนึ่งกล้วยเป็นพืช
อาหารที่มีประโยชน์รสชาติดีและปลูกเลี้ยงง่าย จึงทําให้มีการแพร่หลายขึ้นในประเทศไทย ทําให้
ประเทศไทยมีกล้วยมากมายหลายชนิดมาต้ังแต่โบราณ ซึ่งตามประวัติศาสตร์ เขียนโดย De
LaLovbers (๑๖๙๓) เมื่อประมาณปี พ.ศ. ๒๒๓๖ ว่า เขาได้เดินทางมาประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ.
๒๕๒๐ ไดบ้ นั ทึกถึงพธิ ีตา่ ง ๆท่ีพบและได้บันทึกว่าพบกล้วยงวงช้างในสมัยนัน้ ดังนั้นจะเห็นได้ว่าคําว่า
กล้วยได้มีการใช้มานานมากแล้ว สําหรับกล้วยงวงช้างนั้น คือกล้วยร้อยหวี ในปัจจุบันนั่นเอง
นอกจากนี้ยังมีคํากลอนของเจ้าคุณศรี สุนทรโวหาร (น้อย อาจารยกูร) ได้แต่งไว้เมื่อประมาณ พ.ศ.
๒๔๒๗ อา้ งโดย หลวงบุเรศบํารุงการ ใน หนังสอื การทาํ ไรก่ ลว้ ย ดงั น้ี

“กลว้ ยกลา้ ยมหี ลายกระบวน กลว้ ยกรนั จันนวล อกี นำ้ ละวา้ นำ้ ไทย

กล้วยนำ้ กาบดํา ก้านใบ คล้ายกับน้ำไทย ผลใหญแ่ ละยาวกวา่ กัน

กล้วยกเุ รยี กกล้วยสั้นผัน เพีย้ นนามจาํ น้นั จะหนที ีค่ าํ หยาบคาย

ตนื่ เตา่ ต่ืนตานีกลาย กลว้ ยนำ้ เชียงราย กลว้ ยส้มหากมุกมูลมี

กล้วยนำ้ นมราชสหี ์ อกี กลว้ ยรอ้ ยหวี บายสีก็เรียกนามสอง

หอมเขยี วกล้วยค่อมหอมทอง หอมจันนวลลออง อกี กลว้ ยที่เรยี กเปลือกบาง

นี่คือกลว้ ยไข่คาํ กลาง ท่านจัดแบบวาง กล้วยกระกลว้ ยพระก็มี

กล้วยครัง่ ดจุ คร่งั ยอ้ มสี แดงจดั รจู ี ทงั้ หวีทั้งเครอื เจอื แดง

กล้วยนากเพียงนากเปล่งแสง กลว้ ยกรามแรดแดง หนงึ่ นามวา่ กรามคชสาร

กลว้ ยสีสะโตโวหาร เรียกแต่โบราณ อีกกล้วยประจําพาน

หนงึ่ เลบ็ มอื นางนามกร ตีบหอมขจร บ้างเรยี กว่ากล้วยกรบรู

นางเงยส่ิงามจํารญู กนิ ดีมีมลู ภิมเสรแลสมนมสวรรค์

หอมวาตานีอารัญ อบุ ลปนกัน กบั ตาละปตั รฤาษี

กล้วยแข้หนงึ่ เรียกกทั ลี กาบก็มักมี ข้างแดนละวา้ ป่าไกล

มลอิ ่องผิวออ่ งอาํ ไพ นางนวลยวลใจ กลว้ ยไรก่ ระเหรยี่ งเรยี กนาม

พรรณกลว้ ยมีหลากมากตาม ประเทศเขตคาม นคิ มและเขตดงดอน

เหลือจะนามกร ลดั บทลดทอน แต่ที่รู้แจ้งแหง่ นาม”

77

(คดั ตวั สะกดตรงตามตน้ ฉบับ)

จากคาํ กลอนขา้ งต้นจะเห็นได้ว่ามีกล้วยปา่ และกล้วยปลูกอยู่หลายชนิดท่ีรู้จักกันดีในสมัย
นน้ั ตอ่ มาในปี พ.ศ. ๒๔๘๔ ขุนณรงคช์ วนกจิ (ชวน ณรงคช์ วนะ) ได้ทาํ การรวบรวมพันธุก์ ลว้ ยไว้หลาย
ชนิด แต่ไม่ได้บ่งว่ามีพันธุ์อะไรบ้าง ผู้ที่รวบรวมพันธุ์ต่อมาคือ อาจารย์อรุณ ทรงมณี แห่ง
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้รวบรวมพันธุ์ไว้ที่สถานีกสิกรรมบางกอกน้อย และต่อมาได้สูญพันธุ์ไป
อาจารย์ท่านนี้ ได้เป็นผู้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องกล้วยในประเทศไทย แก่ Dr. N.W. Simmonds
(๑๙๖๖) ซึ่งกล้วยขณะ นั้นมีประมาณ ๑๕ ชนิด นอกจากอาจารย์อรุณ ทรงมณี แล้วยังมีผู้สนใจ
รวบรวมพันธุ์กล้วยไว้อีกคือ พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าเฉลิมพลทิฆัมพร หลวงสมานวรกิจ อดีต
คณบดี คณะกสกิ รรมและ สัตวบาล มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ หลวงบุเรศบาํ รงุ การ และอาจารย์โชติ
สวุ ัตถิ

ในปี พ.ศ. ๒๕๑๐ ศาสตราจารย์ วัฒนา เสถียรสวัสดิ์ และศาสตราจารย์ ปวิน ปุณศรี ได้
ทําการรวบรวมพันธ์ุกล้วยในประเทศไทย และปลูกรวบรวมไว้ท่ีสถานีวจิ ัยปากชอ่ ง โดยการสนับสนุน
จากสภาวิจัยแห่งชาติการรวบรวมในครั้งนั้นได้ประมาณ ๑๒๕ สายพันธุ์รวมทั้งที่สั่งเข้าจาก
ต่างประเทศด้วย แต่แปลงรวบรวมพันธุ์นั้นเกือบจะสูญพันธุ์ ทั้งนี้เพราะขาดแคลนทุนทรัพย์ในการ
ดูแลในระยะต่อมา แต่ บางส่วนของพันธุ์ที่รวบรวมไว้ กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและ
สหกรณ์ได้นาํ ไปปลกู ไว้ทีส่ ถานี พืชสวน อําเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย ดังนั้นพันธุ์กล้วยที่ปลกู ไวท้ ี่
สถานีวิจัยปากช่องเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๐ นั้น จึงยังคงมีเชื้อพันธุ์อยู่ที่สถานีวิจัยปากช่อง และสถานีพืช
สวนสวรรคโลกบ้าง

ปี พ.ศ. ๒๕๒๓-๒๕๒๖ เบญจมาศ ศิลายอ้ ย และฉลองชัย แบบประเสริฐ แหง่ ภาควชิ าพืช
สวน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้รับทุนจาก IBPGR (International Board of Plant Genetic
Resources) ซงึ่ เป็นหน่วยงานในองคก์ ารอาหารโลก (FAO) ได้เล็งเหน็ คุณค่าของการรวบรวมเชื้อพันธ์ุ
กล้วยว่า ประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีพันธุ์กล้วยมากจึงควรทําการ
รวบรวมเชื้อ พันธุ์ไว้เพื่อไม่ให้สูญหาย และเพื่อประโยชน์ในการปรับปรุงพันธุ์ ดังนั้นการสํารวจและ
รวบรวมพันธุ์ กล้วยในประเทศไทย จึงได้เกิดขึ้นอีกครั้ง ซึ่งจากการสํารวจและรวบรวมพันธุ์กล้วยท้ัง
กล้วยป่าและ กล้วยปลูกในประเทศไทย สามารถรวบรวมไว้ได้ ๓๒๓ สายพันธุ์และเมื่อได้ทําการ
จําแนกชนิดของกล้วย แล้วพบว่าพันธุ์กล้วยในประเทศไทยมีประมาณ ๕๙ สายพันธุ์ โดยแยกตามชดุ
ของโครโมโซม ซ่ึงจะได้กล่าวตอ่ ไป และแปลงรวบรวมพันธ์ุน้ี ขณะนี้ทางมหาวทิ ยาลยั เกษตรศาสตร์ได้
พยายามรักษาไว้ทส่ี ถานีวจิ ยั ปากชอ่ ง จังหวดั นครราชสมี า

ปัจจุบันมีผู้รวบรวมพันธุ์กล้วยอีกหลายราย หลายจังหวัดทั้งรวบรวมเป็นส่วนบุคคลและ
ของส่วนราชการ ซึ่งเป็นการดีเพราะจะได้ช่วยกันอนุรักษ์พันธุ์ไม่ให้สูญหายไป หรือการช่วยกันปลูก

78

กล้วยในสวนหลังบ้าน ๆ ละ ๒-๓ ต้นหรือ ๒-๓ พันธุ์ นอกจากจะเอาไว้รับประทานผลแล้วยังช่วยกนั
รกั ษาพันธกุ รรมกลว้ ยไว้ดว้ ย

สรุป Reynold (๑๙๒๙) ได้กล่าวถึงถิ่นกําเนิดของกล้วยว่า กล้วยเป็นพืชที่ชอบอากาศ
ร้อนชื้นถิ่น แรกของกล้วยจึงอยู่แถบเอเชียตอนใต้ ซึ่งจะพบกล้วยพื้นเมืองทั้งที่มีเมล็ดและไม่มีเมล็ด
และจากผล ของการย้ายถิ่นฐานในการทํามาหากิน มีการอพยพประชากรจากเอเชียตอนใต้ไปยังหมู่
เกาะใน มหาสมุทรแปซิฟิก ตั้งแต่ต้นคริสต์ศักราชเป็นต้นมา ในการอพยพแต่ละครั้งจะต้องมีการ
นําเอาเสบียงอาหารติดตัวไปด้วย ดังนั้นจึงได้มีการนําเอาหน่อกล้วยไปปลูกแถบหมู่เกาะฮาวายและ
หมู่เกาะทางด้าน ตะวันออก หมู่เกาะตาฮิติ หมู่เกาะฟิจิ ซึ่งในช่วงที่มีการสํารวจหมู่เกาะโปลีนิเซีย
พบว่าเกาะตาฮา ติมีกล้วยอยู่ถึง ๒๘ ชนิด นอกจากนี้ยังพบสารานุกรมจีนบันทึกว่ามีกล้วย ๑๒ ชนดิ
ที่ปลูกอยู่ในประเทศ จีนในระหว่าง ค.ศ. ๑๖๖๒ - ๑๗๒๖ และกล่าวว่า พบว่ามีกล้วยอยู่ในทุกภาค
ของประเทศจีน ซง่ึ มดี อก บ้างและไมม่ ีดอกบา้ ง

ประมาณก่อนคริสต์ศักราช ๓๒๗ ปี ได้มีการนํากล้วยจากประเทศอินเดียไปยังอาหรับ
และเปน็ ทช่ี ืน่ ชอบของชาวอาหรบั มากและเรียกช่ือกันว่า muz ซงึ่ เขา้ ใจว่ามาจากภาษาสันสกฤต และ
ลินเนียสได้ตั้งชื่อว่า Musa เพื่อเป็นเกียรติกับ Antonius Musa ซึ่งเป็นแพทย์ประจําพระองค์ของ
จักรพรรดิ์กรุงโรม และเป็นผู้นํากล้วยจากอินเดียไปยังอาหรับและเนื่องจากอาหรับทําการค้ากับ
ประเทศแถบอาฟริกา ดังนั้นจากอาหรับกลว้ ยจึงได้แพร่เข้าไปยังอาฟริกาตะวันออกและตะวันตกตาม
ลําดับ ในช่วงดังกล่าวเป็นช่วงเดียวกับที่ชาวปอร์ตุเกสค้นพบฝั่งกินี คือในช่วง ค.ศ. ๑๔๖๙ - ๑๔๗๔
ชาว อาฟริกากล่าวว่า คําว่า banana น่าจะมาจากรากศัพท์ของภาษาในอาฟริกาตะวันตก คือคําว่า
banena, banana และคําว่า banana ได้มีการใช้กันอย่างแพร่หลายโดยชาวปอร์ตุเกสที่ส่วนใหญ่มี
อาชีพเป็น พ่อค้าและได้เดินทางไปค้าขายในอาฟริกา จึงได้มีการนําเอากล้วยจากอาฟริกาไปยังหมู่
เกาะแคนารี่ และทนี่ เี่ ป็นจุดสําคัญต่อมา และเข้าใจกันวา่ การนํากล้วยเข้าสู่ทวปี อเมริกาเกิดข้ึนในช่วง
หลังจาก โคลัมบัสค้นพบทวีปอเมริกา และการปลูกกล้วยได้เพิ่มปริมาณขึ้นอย่างรวดเร็วจนเป็นพืช
เศรษฐกิจใน ศตวรรษท่ี ๑๙

สําหรับประวัติกล้วยในประเทศไทย เข้าใจว่าประเทศไทยเป็นแหล่งกําเนิดของกล้วยป่า
และต่อมาได้มีการนําเข้ากล้วยตานี และกล้วยชนิดอื่นในช่วงที่มีการอพยพของคนไทยในการตั้ง ถิ่น
ฐานอยทู่ ี่จงั หวดั สุโขทัย มีเอกสารเขยี นโดย De la Lovbere (๑๖๙๓) กล่าววา่ ในสมยั อยุธยาที่ เขาได้
เดินทางมาเขาพบว่ามีกล้วยร้อยหวี ต่อมาเจ้าคุณศรีสุนทรโวหาร (๒๔๒๗) ได้กล่าวถึงกล้วย หลาย
ชนิดเป็นคํากลอน ในช่วงปี พ.ศ. ๒๔๘๔ เป็นต้นมา ได้มีการรวบรวมพันธ์ุกล้วยไว้บ้าง ในบางส่วน
และสูญหายไป และได้มีการรวบรวมพันธุ์อีกครั้งหนึ่งด้วยทุน เBPGRIFAO ในปี ๒๕๒๓-๒๕๒๖ และ

79

ได้มีการรวบรวมเพิ่มขึ้นอีก พันธุ์ดังกล่าวมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้รวบรวมพันธุ์ไว้ที่สถานีวิจัย
ปากช่อง อาํ เภอปากชอ่ ง จังหวัดนครราชสมี า

๒.๖ บริบทพ้ืนที่การวจิ ยั

ศนู ยก์ ารเรยี นรกู้ ารอนุรักษ์กล้วยไทย (Conservation)

กล้วยและผักพื้นบ้านจัดเป็นพืชอาหารที่มีคุณค่า อยู่คู่กับคนไทยมาช้านานแล้ว มี
คุณประโยชนท์ างด้านโภชนาการ มีวิตามินแรธ่ าตุมากมาย เปน็ อาหารประจำวันของมนุษย์ทุกคน ที่
สำคัญมีสรรพคุณทางยาและบำรุงร่างกายได้เป็นอย่างดี ตลาดมีความต้องการสูงสามารถจำหน่าย
เป็นรายได้ประจำวันให้กับครอบครัว การปลูกดูแลรักษาง่ายไม่ยุ่งยาก ปลอดภัยจากสารพิษ
ตอบสนองแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

มีความจำเป็นจะต้องส่งเสริมให้ทุกครอบครัวปลูกกล้วยและผักพื้นบ้านไว้เพื่อเป็นพืชที่
เพิ่มรายได้ ลดรายจ่ายในครัวเรือน ลดการพึ่งพาจากตลาดภายนอกซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ
ของคนในครอบครัว

ฉะนั้นจึงจำเป็นต้องมีการพัฒนาศูนย์การเรียนรู้เพื่ออนุรักษ์พันธุ์กล้วยไม่ให้ส่วนไปจาก
ประเทศไทย เรา เท่าที่มีในปัจจุบันส่วนมากเป็นพันธุ์ผสมเสียมากและการอนุรักษ์และรวบรวมพันธ์ุ
กล้วยจึงมีความสำคัญทั้งในแง่การศึกษาทางพันธุกรรมการปรับปรุงพันธุ์ในแง่การอนุรักษ์สายพันธ์ุ
ไม่ให้สูญหายไปตลอดจนเพือ่ เปน็ แนวทางในการพฒั นาเปน็ พืชเศรษฐกจิ ส่เู กษตรกรชมุ ชนต่อไป

ศูนย์การเรียนรู้และการอนุรักษ์พันธุ์กล้วย – ชุมชนวัดป่าเลไลยก์วรวิหาร จังหวัด
สุพรรณบุรี

ภาพศนู ยก์ ารเรียนรูแ้ ละการอนรุ กั ษ์พนั ธุ์
กลว้ ย

80

สภาพทั่วไปจังหวดั สุพรรณบรุ ี

๖.๑ สภาพโดยทัว่ ไปของจังหวัดสุพรรณบุรี
ทต่ี ้งั
สภาพท่ัวไปของพื้นทจ่ี งั หวดั สุพรรณบรุ ี39
เป็นจังหวัดหนึง่ ในเขตภาคกลางด้านทิศตะวักตกของประเทศไทย ตั้งอยู่บนพื้นที่ราบลุ่ม
แม่น้ำท่าจีน หรือแมน่ ้ำสุพรรณบุรีไหลผ่านตามแนวยาวของจังหวัดจากเหนือ จรดใต้ araba จังหวัด
สุพรรณบุรีตั้งอยู่ระหว่างเส้นรุ้งที่ ๑๔ องศา ๔ ลิปดา ถึง ๑๕ องศา ๕ ลิปดาเหนือ และระหว่าง
เส้นแวง ๙๙ องศา ๑๗ ลิปดา ถึง ๑๐๐ องศา ๑๖ ลิปดา ตะวันออก อยู่สูงจากระดับน้ำทะเลปาน
กลาง ๓-๑๐ เมตร มพี ้นื ทที่ งั้ หมดประมาณ ๕,๓๕๘.๐๑ ตารางกโิ ลเมตร หรอื ประมาณ ๓.๓ ลา้ นไร่
คดิ เปน็ รอ้ ยละ ๕.๒ ของพื้นทีภ่ าคกลาง อยูห่ ่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ ๑๐๗ กโิ ลเมตร (ตาม
ทางหลวงแผน่ ดินหมายเลข ๓๔๐) โดยทางรถไฟประมาณ ๑๔๒ กโิ ลเมตร
มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวดั ใกล้เคียง ดงั นี้ สำนักงานจงั หวดั สพุ รรณบรุ ี ศาลากลางจังหวดั
ถนนสุพรรณบุรี-ชัยนาท อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี ๗๒๐๐๐ (จัดทำโดย กลุ่มงานข้อมูล
สารสนเทศและการสื่อสาร โทร. และโทรสาร ๐-๓๕๔๐-๘๒๐๐ และ ๐-๓๕๕๓-๕๓๗๗© Copyright
๒ ๐ ๐ ๙ All Rights Reserved.E-mail : [email protected] Website :
http://www.suphan buri.go.th)
ทศิ เหนือ ตดิ จงั หวดั อุทัยธานแี ละชยั นาท
ทิศตะวันออก ติดจงั หวดั สิงห์บรุ อี ่างทองและพระนครศรอี ยุธยา
ทศิ ใต้ ติดจังหวัดนครปฐมและกาญจนบุรี
ทิศตะวนั ตก ติดจังหวัดกาญจนบรุ แี ละอทุ ัยธานี
มีลักษณะคล้ายคลึงกับจังหวัดอื่นๆ ในภาคกลาง กล่าวคือ ฤดูร้อนได้รับอิทธิพลจากลม
มรสมุ ตะวันออกเฉยี งใต้จากทะเลจีนใต้พัดผา่ นเข้ามาในชว่ งเดือนกุมภาพันธ์ ถงึ กลางเดือนพฤษภาคม
ทำให้อากาศร้อนอบอ้าวโดยทั่วไป ฤดูฝนลมมรสุม ตะวันตกเฉียงใต้จากมหาสมทุ รอินเดยี พัดผ่านมา
ในช่วงเดือนพฤษภาคม ถึงกลางเดือนตุลาคม ทำให้อากาศมีความชุ่มชื้นมีฝนตกโดยทั่วไป ฤดูหนาว

39 [email protected] Website : http://www.suphan buri.go.th)

81

ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดผ่านเข้ามาในช่วงเดือนตุลาคม ถึงกลางเดือน
กุมภาพนั ธ์ ทำให้อากาศหนาวเย็นโดยท่วั ไป อณุ หภมู ิสงู สดุ ๓๙.๓ องศาเซลเซียส ในเดือนพฤษภาคม
อณุ หภูมติ ่ำสดุ ๑๕.๗ องศาเซลเซียส ในเดอื นธนั วาคม

การปกครองและประชากร

การปกครองจังหวัดสุพรรณบรุ ี แบ่งส่วนราชการออกเปน็ ๒ ส่วน คือการบรหิ ารราชการ
ส่วนภูมิภาคและการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น การบริหารราชการส่วนภูมิภาค แบ่งเขตการ
ปกครองออกเป็น ๑๐ อำเภอ ๑๑๐ ตำบล และ ๑๐๐๗ หมบู่ ้าน โดยมีอำเภอดังนี้ อาทิเช่น

อำเภอเมอื งสุพรรณบรุ ีมีพืน้ ที่ ๕๔๐.๙๑๗ ตารางกโิ ลเมตร ๑๙ ตำบล ๑๒๓ หมบู่ า้ น

การบริหารราชการส่วนท้องถิ่น แบ่งการปกครองออกเป็น องค์การบริหารส่วนจังหวัด
เทศบาลเมือง ๒ แห่งคือ เทศบาลเมืองสุพรรณบุรี และเทศบาลเมืองสองพี่น้อง เทศบาลตำบล ๔๓
แห่งและองค์การบรหิ ารสว่ นตำบล ๘๑ แหง่ (จากสถติ ขิ องสำนักบริหารการทะเบียนกรมการปกครอง
กระทรวงมหาดไทย ณ เดือนธันวาคม ๒๕๕๙ จังหวัดสุพรรณบรุ ี) มีประชากร ทง้ั ส้ิน ๘๔๘,๕๖๗ คน
เปน็ ชาย ๔๑๐,๖๑๗ คน และหญงิ ๔๓๗,๙๕๐ คน

ทรพั ยากรและแหล่งน้ำ

ดิน หากพิจารณาคุณสมบัติของดินทั้งทางกายภาพและเคมี เชน่ เนอ้ื ดนิ ความลกึ ของดิน
ความสามารถในการอุ้มน้ำของดิน ชนดิ ของแรธ่ าตุและปรมิ าณแรธ่ าตุ อาหารของดนิ จะพบว่า สภาพ
ของดิน ในเขตจังหวัดสุพรรณบุรี เหมาะสมกับการปลูกพืช ดังนี้ การทำนาข้าว การเพาะปลูกพืชไร่
การเพาะปลูกไม้ยืนต้น ไม้ผลต่าง ๆ การปลูกหญ้าเลี้ยงสัตว์ ทำทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ถาวรสำหรับการ
ปศุสตั ว์

แหลง่ นำ้ ประกอบด้วยแม่นำ้ ลำคลองต่างๆ มีแมน่ ำ้ สายใหญ่ ๆ ทสี่ ำคัญและเป็นประโยชน์
ตอ่ ความเป็นอยู่ และเศรษฐกิจของประชากร ได้แก่ แม่นำ้ ท่าจีน หรือแมน่ ้ำสุพรรณบรุ ี เข่อื นกระเสียว
ซึ่งเป็นสาขาที่สำคัญของแม่น้ำสุพรรณบุรี นอกนั้นเป็นแม่น้ำสายเล็กซึ่งส่วนใหญ่ จะไหลลงแม่น้ำท่า
จีนเกือบทั้งสิ้น ป่าไม้ ลักษณะป่าไม้ของจังหวัดสุพรรณบุรี เดิมเป็นป่าไม้เบญจพรรณ ได้แก่ เต็ง
มะคา่ โมง ซาก มะค่าแต้ ชิงชัน ตะเคยี นทอง ยมหอม แต่สภาพปจั จบุ ันได้ถูกราษฎรบุกรุกเข้าทำกิน
ในเขต ป่าสงวนหลายแห่ง ถูกเปลี่ยนเป็นไร่อ้อย และใช้ทำนา เป็นต้น แร่ธาตุ จากการสำรวจของ
กรมทรพั ยากรธรณี พบวา่ จงั หวัดสุพรรณบุรีมีปริมาณแร่ ไมม่ ากนกั พบแรม่ คี า่ บางชนิดเท่าน้ัน ได้แก่
ดีบุก พบบริเวณเขาโดดตุงกุง ทางตอนเหนือ อำเภอด่านช้าง นอกจากนี้ยังพบใยหินแกรนิต และ
หินปูน ใช้ในการก่อสร้าง บริเวณ เขาใหญ่ทางตะวันตก เขาทางตะวันออกและตะวันตกระหว่าง
เส้นทางอู่ทอง ถึงพนมทวนและบริเวณเขื่อนกระเสียว อำเภอด่านช้าง และยังขุดพบน้ำมันดิบใน

82

บริเวณตำบลสวนแตง อำเภอเมืองสุพรรณบุรี ซึ่งปัจจุบันได้ทำการขุดเจาะแล้ว การกสิกรรม จาก
การที่พื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรีส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุม่ มีการชลประทาน อย่างทั่วถึง ประกอบกับสภาพ
ดินเหมาะสมแก่การเพาะปลูก โดยเฉพาะการปลูกข้าว การเพาะปลูกพืชไร่ เช่น อ้อยเพื่อผลิตน้ำตาล
มันสมั ปะหลงั ข้าวโพดเลย้ี งสัตว์ ขา้ วฟา่ ง และพชื อน่ื ปศุสตั ว์ เปน็ แหล่งเลีย้ งโค สกุ ร เป็ด ไก่ กระบือ
ซง่ึ เปน็ สัตวเ์ ศรษฐกจิ ที่สำคญั มาก โดยการเลีย้ งจะกระจายอย่ทู ั่วไปทกุ พ้นื ท่ีของจังหวัดอุตสาหกรรม

อุตสาหกรรมส่วนใหญ่ เป็นอุตสาหกรรมการเกษตร ซึ่งได้แก่ โรงสี นึ่ง อบ เป็นต้นแและ
อุตสาหกรรมอาหาร ไดแ้ ก่ โรงงานผลติ น้ำตาล ผลติ ภัณฑ์นม และแปรรปู เนื้อสัตว์ พืช ผัก ผลไม้ เป็น
ต้น โดยมีโรงงานน้ำตาลขนาดใหญ่ ๓ แห่ง คือที่อำเภออู่ทอง อำเภอสามชุก และอำเภอด่านช้าง
ทำให้มีเงินหมุนเวียนภายในจังหวัดสูง ในอนาคตอุตสาหกรรมของจังหวัดสุพรรณบุรีจะมีบทบาท
สำคัญเนื่องจากมีการตั้งโรงงานขนาดใหญ่ ประกอบกับ มีการจัดตั้งศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาค
ตะวันตก ที่อำเภอเมืองสุพรรณบุรี เพราะในจังหวัดสุพรรณบุรีมีอุตสาหกรรมแปรรูปผลิตผล
การเกษตรโดยเฉพาะแบบง่าย ๆ เช่น ผลิตหน่อไม้- กระป๋อง (หน่อไม้ฝรั่ง หน่อไม้ไผ่) ผลไม้กระป๋อง
เช่น แห้วกระป๋อง กระจับกระป๋อง ว่านหางจรเข้ และลูกตาลกระป๋อง แม้กระทั่งอุตสาหกรรมท่ี
เกี่ยวเน่ืองกบั การเกษตร อยา่ งครบวงจรของจังหวัดสุพรรณบุรี คือการผลิตยอดอ้อยตากแหง้ และซัง
ข้าวโพดบด เพ่ือนำไปใชเ้ ปน็ วัสดุ อาหารสตั ว์ และใชเ้ พาะเห็ดฟางในตา่ งประเทศซ่ึงมีโรงงานผลิตอยู่
๒ แห่ง ที่อำเภอสองพี่น้อง และอำเภอหนองหญ้าไซ จากการรายงานของสำนักงานคณะกรรมการ
พัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปรากฎว่า ในปี ๒๕๔๕ P จังหวัดสุพรรณบุรี มีมูลค่ารวม
ผลติ ภัณฑจ์ ังหวัด GPP ตามราคาประจำปี ๓๙,๔๗๗ ล้านบาท และมูลคา่ ผลติ ภัณฑ์เฉลี่ยต่อหวั ( Per
Capita GPP ) ๔๔,๗๐๘ บาท รายไดเ้ ฉลีย่ ต่อหวั อยูใ่ นลำดับท่ี ๖ ของภาคตะวันตก และอยู่ในอันดับ
ที่ ๔๓ ของประเทศ อัตราร้อยละของสาขาการผลิตต่างๆ ในผลิตภัณฑ์จังหวัดสุพรรณบุรี ประจำปี
๒๕๔๕ P ประกอบด้วยสาขาการผลิตต่างๆ ดังนี้ ภาคเกษตรกรรม ๒๗.๓ % ซึ่งได้แก่ เกษตรกรรม
การล่าสัตว์และการป่าไม้ ๒๕.๙ % และ การประมง ๑.๔ % ส่วนนอกภาคเกษตร ๗๒.๗ % ได้แก่
การทำเหมอื นแรแ่ ละย่อยหิน ๔.๐ % การผลติ อุตสาหกรรม ๑๖.๒ % การไฟฟา้ ,ก๊าซ และการประปา
๑.๙ % การกอ่ สร้าง ๓.๒ % การขายส่ง ขายปลีก ซอ่ มแซมยานยนต์ จักรยานยนต์ ของใช้ส่วนบุคคล
และของใช้ในครัวเรือน ๒๒.๑ % โรงแรมและภัตตาหาร ๐.๕% การขนส่ง,สถานทีเ่ ก็บสินค้าและการ
คมนาคม ๓.๖ % ตัวกลางทางการเงิน ๓.๒ % บริการด้านอสังหาริมทรัพย์ การใหเ้ ช่าและบริการทาง
ธุรกิจ ๔.๒ % การบริหารราชการแผน่ ดินและการป้องกันประเทศรวมทั้งการประกันสังคมภาคบงั คับ
๓.๖ % การศึกษา ๕.๙ % การบริการด้านสุขภาพและงานสังคมสงเคราะห์ ๓.๔% การให้บริการ
ชมุ ชน สงั คมและบริหารสว่ นบคุ คลอ่ืนๆ ๐.๘ % ลูกจ้างในครวั เรือนสว่ นบุคคล ๐.๑ %

83

การคมนาคม ขนสง่ และการสอื่ สาร

ระบบการคมนาคมเปน็ โครงสรา้ งขัน้ พ้ืนฐานทางเศรษฐกจิ ท่สี ำคัญย่ิงอย่างหนึ่งของจังหวัด
การคมนาคมที่สะดวกทำให้เกิดความคล่องตัวทั้งด้านการผลิตและการตลาด ก่อให้เกิดการขยายตัว
ทางเศรษฐกิจและยังเป็นการยกฐานะความเป็นอยู่ของประชาชนให้ดียิ่งขึ้น เส้นทางการคมนาคม
ภายในจังหวัด และจังหวัดใกล้เคยี งแบ่งเปน็ ๒ ทางดว้ ยกัน คอื

การคมนาคมทางรถยนต์ ในปัจจุบันภายในจังหวัดสามารถติดต่อถึงกันได้ทุกอำเภอ
สภาพของทางสว่ นใหญ่ลาดยาง

สภาพองคป์ ระกอบท่วั ไปของศนู ยอ์ นรุ กั ษ์พนั ธกุ์ ล้วยสุพรรณบุรี

ศูนย์วิจัยด้านการศึกษา–ชุมชนวัดป่าเลไลยก์วรวิหาร จังหวัดสุพรรณบุรี มีพื้นที่เป็นราบ
ลุ่มอยรู่ ิม่ ทางรถไฟทางตะวันตกของประเทศหลงั วดั ป่าเลไลยกว์ รววหิ าร หา่ งจากกรงุ เทพมหานครเป็น
ระยะทางประมาณ ๙๗ กิโลเมตรและใกล้กับห่างจังหวัดกาญจนบุรีเป็นระยะทางประมาณ ๒๕
กโิ ลเมตร มพี น้ื ท่ที งั้ หมดโดยรวม ประมาณ ๑๒ ไร่ ที่อยู่ ๘/๓ ถนนสถานรี ถไฟ ตำบลร้วั ใหญ่ อำเภอ
เมืองสพุ รรณบรุ ี จังหวัดสุพรรณบุรี เทศบาลเมอื งสุพรรณบุรี ๗๒๐๐๐

84
สถานท่ปี ลกู กลว้ ย บรเิ วณพนื้ ท่ี 12 ไร่
ภาพถา่ ยจากดา้ นบนในพนื้ ท่ศี นู ยก์ ารเรยี นรู้ รวม12 ไร่

85

ตราสัญลักษณ์
นักท่องเที่ยวเรียกว่า“บานาน่า สุพรรณบุรี” อยู่ใน เทศบาลเมืองสุพรรณบุรี ตำบล ร่ัว
ใหญ่ มีจำนวน ๑๖ ชุมชน ในเขตรับผิดชอบ ประกอบด้วยชุมชนเทศบาลเมืองสุพรรณบุรี๑๖ ชุมชน
ได้แก่ ชุมชนน้เี ปน็ ชุมชนวดั ปา่ เลไลยก์ มนี างวราณี คงสงค์ เป็นประธานชมุ ชนสภาพภมู พิ น้ื ทศ่ี นู ย์
สภาพภูมปิ ระเทศโดยท่ัวไปของชุมชนวดั ป่าเลไลยก์อำเภอเมืองสุพรรณบุรี
ขอ้ มูลพ้นื ฐานของชุมชนวัดปา่ เลไลยก์40
๑. พนื้ ท่ี ๑.๖๓๗ ตารางกโิ ลเมตร จำนวนประชากรตามทะเบียนราษฎร ๒,๑๘๒ คน ๕๘๑
ครัวเรือน จำนวนครัวเรือนท่ีมีไฟฟ้าใช้ ๘๑ ครวั เรอื น จำนวนครัวเรือนทีม่ นี ำ้ ประปาใช้ ๕๘๑ ครวั เรอื น
๒. จำนวนประชากร ชาย ๑,๐๐๕ คน หญิง ๑,๑๗๗ คน ผสู้ ูงอายุ ๓๑๘ คน เดก็ เล็ก
๔๒๒คน
๓. อายุชุมชน ๒๑ ปี
๔. ประวัติศาสตร์ความเป็นมาชุมชน ชุมชนวัดป่าเลไลยก์ สมัยก่อนเรียกหมู่บ้านวัดป่าฯ
เรียกตามชื่อวัด ต่อมาเทศบาลเมืองสุพรรณบุรีได้กำหนดเขตชุมชน และให้มีการเลือกตั้ง
คณะกรรมการชมุ ชน เม่ือปี พ.ศ ๒๕๓๗ โดยรวมชมุ ชนบา้ นดอนจนั ทร์ บา้ นทางรถไฟและบ้านคูเมือง
เหนือเข้ารวมด้วยกัน จัดตั้งเป็นศนู ย์สาธารณชุมชน (ศ.ส.ม.ช)และจัดต้ังเป็นชุมชนวัดป่าเลไลยก์ เปิด
ทำการเมื่อวันที่ ๒๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๓๗ ที่ทำการตั้งอยู่ด้านซ้ายของวิหารหลวงพ่อโต วัดป่าเล
ไลยก์ ต่อมาทางวัดได้ทำการปรับปรุงอาณาบริเวณวัด และทำการก่อสร้างพระวิหาร คต รอบพระ
วิหารหลวงพ่อโต จึงได้ย้ายที่ทำการชุมชนวัดป่าเลไลยก์ มาตั้งที่ใหม่ในที่ปัจจุบัน โดยได้ รับความ
อนุเคราะห์จากท่านเจ้าอาวาสวัดป่าเลไลยก์พระธรรมมหาวีรานุวัฒเจ้าคณะจังหวัด ให้ใช้สถาน ที่
ก่อสร้างที่ทำการชุมชนใหม่ และได้รับเงินอุดหนุน จากเทศบาลเมืองสุพรรณบุรี จำนวน ๓๐๐,๐๐๐
บาท (-เงินสามแสนบาทถ้วน) ร่วมกับคณะกรรมการ และอสม. ได้ทำการก่อสร้างเสร็จเม่ือปี พ.ศ.
๒๕๔๑ โดยมีพื้นที่ติดต่อ ดังนี้ ทิศเหนอื ติดตอ่ กับ อบต.รั้วใหญ่ ทิศใต้ ติดต่อกับ อบต. ดอนกำยาน
ทิศตะวันตะออกติดต่อกับชุมชนคูเมืองสุพรรณทิศตะวันตกติดต่อคลองวัดป่าฯ
(http://www.suphancity.go.th/chum๑๖.html๗

40http://www.suphancity.go.th/chum๑๖.html๗

86

อาณาเขต

พ้ืนที่ศนู ย์วิจยั ด้านการศึกษา–ชมุ ชนวดั ปา่ เลไลยกว์ รวิหาร จังหวัดสุพรรณบรุ มี ีพืน้ ท่ีมีพน้ื
ท่ีท้งั หมดโดยรวม ประมาณ ๑๒ ไร่ ดว้ ยแบง่ เปน็ ๔ สว่ น คือ

๑. ดา้ นการเกษตร ปลูกพืชนานาชนดิ ปลกู กลว้ ยเป็นหลัก ๕ ไร่
๒. ด้านน้ำเปน็ แหลง่ อาศยั ของปลานานาชนิด จำนวน ๒ ไร่
๓. ดา้ นสถานทีพ่ ัก แหล่งทอ่ งเทีย่ วร้านค้า ๒ ไร่
๔. ดา้ นพนื้ ท่ีแหลง่ เรยี นร้ขู องศูนยอ์ นรุ กั ษพ์ ันธุ์กล้วยสพุ รรณบรุ ี ๒ ไร่

๑.๑ ด้านการเกษตร ปลกู พืชนานาชนิด ปลกู กลว้ ยเป็นหลัก ๕ ไร่ ประกอบด้วย

๑. ดิน หากพิจารณาคณุ สมบัติของดินท้งั ทางกายภาพและเคมเี ช่น เนือ้ ดนิ ความ
ลกึ ของดนิ ความสามารถในการอุ้มน้ำของดิน ชนิดของแร่ธาตุและปริมาณแรธ่ าตุ อาหารของดนิ จะ
พบว่า สภาพของดิน ในเขตน้ี เหมาะสมกบั การปลูกพชื ไร่ ไม้ผลตา่ ง ๆ

๒. แหล่งน้ำ ประกอบด้วยแม่น้ำลำคลองต่างๆ มีแม่น้ำสายใหญ่ ๆ ที่สำคัญและ
เป็นประโยชน์ต่อความเป็นอยู่ และเศรษฐกิจของประชากร ได้แก่ แม่น้ำท่าจีน หรือแม่น้ำสุพรรณบุรี
เขื่อนกระเสียวซึ่งเป็นสาขาที่สำคัญของแม่น้ำสุพรรณบุรี นอกนั้นเป็นแม่น้ำสายเล็กซึ่งส่วนใหญ่ จะ
ไหลลงแมน่ ำ้ ทา่ จีนเกือบทั้งสน้ิ แรธ่ าตุ จากการสำรวจของกรมทรัพยากรธรณี พบว่า มีปริมาณแร่ ไม่
มากนัก พบแร่มีค่าบางชนิดเท่านั้น จากการที่พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่มมีการชลประทาน อย่าง
ทั่วถึง ประกอบกับสภาพดินเหมาะสมแก่การเพาะปลูก โดยเฉพาะการปลูกข้าว การเพาะปลูกพืชไร่
เช่น ออ้ ยเพ่ือผลิตนำ้ ตาล มนั สมั ปะหลงั ข้าวโพดเลย้ี งสัตว์ ข้าวฟา่ ง และพืชอ่ืนปศุสัตว์ เปน็ แหล่งเลยี้ ง
โค สกุ ร เปด็ ไก่ กระบอื ซึ่งเป็นสัตว์เศรษฐกิจ ทีส่ ำคญั มาก โดยการเล้ยี งจะกระจายอยู่ทั่วไปทุกพ้ืนที่
ของอุตสาหกรรม อตุ สาหกรรมส่วนใหญ่ เป็นอตุ สาหกรรมการเกษตร ซึง่ ได้แก่ โรงสี นึ่ง อบ เป็นต้น
แและอุตสาหกรรมอาหาร ไดแ้ ก่ โรงงานผลติ นำ้ ตาล ผลิตภัณฑน์ ม และแปรรปู เนอ้ื สัตว์ พชื ผัก ผลไม้
เป็นต้น ประกอบกับ มีการจัดตั้งศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคตะวันตก ที่อำเภอเมืองสุพรรณบุรี
เพราะในจังหวัด สุพรรณบุรีมีอุตสาหกรรมแปรรูปผลิตผลการเกษตรโดยเฉพาะแบบงา่ ย ๆ เช่น ผลิต
หน่อไม้- กระป๋อง (หน่อไม้ฝรั่ง หน่อไม้ไผ่) ผลไม้กระป๋อง เช่น แห้วกระป๋อง กระจับกระป๋อง ว่าน
หางจรเข้ และลกู ตาลกระป๋อง แม้กระท่ังอตุ สาหกรรมทเ่ี กี่ยวเน่ืองกับการเกษตร อยา่ งครบวงจร

๓. พนั ธ์ุกล้วยในศนู ย์อนรุ กั ษพ์ นั ธ์ุกล้วยน้ี ประกอบด้วยประมาณ ๑๖๐ สาย
พันธุ์ ซ่งึ เปน็ พนั ธก์ุ ล้วยนำ้ ว้าท่ีพบในไทยและต่างประเทศ รจู้ กั อยา่ งกว้างขวาง ได้แก่ กลว้ ยไข่ กล้วย
เลบ็ มอื นาง กลว้ ยหอมจันทร์ กลว้ ยไข่ทองรว่ ง กล้วยไขจ่ นี กล้วยน้ำนม กล้วยไลกล้วยสา กล้วยหอม
กลว้ ยหอมจำปา กล้วยทองกาบดำ กลว้ ยหอมทอง กลว้ ยนาก กลว้ ยครั่ง กล้วยหอมเขียว กลว้ ยกุ้ง
เขยี ว กล้วยหอมแมว้ กล้วยไข่พระตะบอง กลว้ ยคลองจัง กลว้ ยน้ำกลว้ ยนำ้ ฝาด กล้วยนมสวรรค์ กล้วย

87

น้วิ มอื นาง กลว้ ยไขโ่ บราณ กลว้ ยทองเดช กล้วยศรนี วล กลว้ ยขมกล้วยนมสาว กล้วยงาช้าง กลว้ ยนว้ิ
จระเข้ กล้วยหิน กลว้ ยพม่าแหกคกุ กล้วยน้ำว้ากาบขาว กล้วยนำ้ วา้ ค่อม กลว้ ยนำ้ ว้าแดง กลว้ ยน้ำว้า
เขยี และกลว้ ยนำ้ ว้ามะลิอ่อง กล้วยหอมทอง กล้วยหอมทองคอ่ ม กล้วยหอมเขยี ว กลว้ ยหอมเขียวค่อม
กล้วยหอมวิลเลียม กลว้ ยหอมพจมาน กล้วยหอมกระเหร่ียง กลว้ ยหอมแกรนดเ์ นน และกล้วยหอม
จันทน์

กล้วยหอมคาเวนดนิ และกรอสไมเคิล (Gros Michael) กลว้ ยหอมเขยี ว กล้วยไขพ่ ระ
ตะบอง กลว้ ยไข่โบราณ กล้วยไขเ่ ลก็ ยโสธร กลว้ ยนาก กล้วยนากแดง กลว้ ยน้ำครั่ง กลว้ ยครง่ั กล้วย
กุง้ แดง กล้วยหิน กล้วยหกั มกุ กล้วยหักมกุ สุก . กลว้ ยเล็บมือนาง กล้วยหมาก กลว้ ยทองหมาก กล้วย
เลบ็ มือ . กลว้ ยเทพรส หรอื เรียกกันว่า กลว้ ยสน้ิ ปลี หรอื กลว้ ยปลีหาย . กล้วยน้ำไท กลว้ ยน้ำว้าแดง–
กลว้ ยน้ำว้าค่อม– กลว้ ยนำ้ วา้ เหลอื ง – กล้วยนำ้ วา้ ขาว – กล้วยน้ำว้านวล เป็นต้น

ดังรปู ภาพด้านลา่ ง

88

89

๔. ชนิดของกลว้ ย
กล้วยนำ้ ไท
พบทางภาคกลาง ลำต้นสูงประมาณ ๒.๕ เมตร เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ ๑๕
เซนติเมตร กาบลำต้นด้านนอกมีประดำหนา ที่โคนมีชมพูอมแดง ด้านในสีชมพูอมแดง ใบ ก้านใบ
ตั้งขึ้น มีร่องกว้าง ครีบมีสีชมพู เส้นใบ สีชมพูอมแดง ดอก ก้านช่อดอกมีขน ปลีรูปไข่ค่อนข้าวยาว
ปลายแหลม ด้านบนสีม่วงอมแดง ด้านล่างสซี ีดผล เครือหนึ่งมปี ระมาณ ๕ หวี หวหี นง่ึ มี ๑๒ - ๑๘ ผล
ผลมีขนาดใกล้เคียงกับกล้วยหอมจันทน์ ผลไม่โค้งงอเท่า และเมื่อสุกสีเหลืองส้มกว่า มีจุดดำเล็ก ๆ
คลา้ ยจดุ ของกล้วยไข่ กลิ่นหอม เนือ้ สสี ม้ เหลอื ง รสหวาน ผลใชร้ ับประทานสด

กลว้ ยตานี
พบทั่วไป ต้น ลำตน้ สงู ๓.๕ - ๔ เมตร เสน้ ผ่านศนู ย์กลางประมาณ ๒๐ เซนตเิ มตร ใ บ
เส้นกลางใบสีเขยี วดอก กา้ นช่อดอกสีเขียวไม่มขี น ปลีรูปร่างปอ้ ม ปลายมน ดา้ นบนสีแดงอมม่วง มี
นวล ดา้ นลา่ งสแี ดงเขม้ สดใส เมอ่ื กาบปลีกางขนึ้ จะไม่ม้วนงอ กาบปลแี ตล่ ะใบซ้อมกันลึกผล เครือหนึ่ง
มปี ระมาณ ๘ หวี หวีหน่งึ มี ๑๐ - ๑๔ ผล ผลป้อมขนาดใหญ่มีเหล่ียมชดั เจน ปลายทู่ กา้ นผลยาว ผล

90

ออ่ นมที ั้งสีเขียวออ่ นและเขียวเขม้ ผลสกุ มสี ีเหลือง เน้ือมีรสหวาน เมลด็ มีจำนวนมาก สีดำ ผนังหนา
แขง็ ใบใช้ทำงานฝีมือ ปลีใชป้ รงุ อาหาร (เป็นปลที อ่ี ร่อยกวา่ กล้วยใด ๆ) เหง้าใชท้ ำแกงคัว่ ได้ ผลออ่ นใช้
ทำสม้ ตำ ผลแกใ่ ช้นำมาทำนำ้ ส้ม

กลว้ ยเล็บมือนาง
พบแถบภาคใต้ และภาคกลาง แถบกรุงเทพ กลว้ ยเลบ็ มือนาง กล้วยเลบ็ มือนาง บาง
ท้องถิ่นเรียกวา่ กลว้ ยข้าว กล้วยเลบ็ มือ กล้วยทองดอกหมาก ลำต้นมคี วามสงู ไมเ่ กนิ ๒.๕ เมตรกาบ
ลำตน้ ดา้ นนอก สชี มพูอมแดง เครอื หนึง่ มี ๗-๘ หวี หวหี นงึ่ มีประมาณ ๑๕-๑๘ ผล ผลเรยี วเลก็ รปู โค้ง
งอ เปลอื กหนา เมื่อสุกสีกลว้ ยจะเปลี่ยนเปน็ สเี หลอื งทอง รสชาติจะคล้ายกล้วยไข่ แต่เนอื้ นอ้ ยกวา่ มี
ปลูกมากแถบภาคใต้ โดยเฉพาะจังหวดั ชุมพร ์ ผลใช้รบั ประทานสด หรือแปรรปู เปน็ กล้วยตาก กล้วย
อบน้ำผ้ึง
กลว้ ยหักมุก
พบได้ท่ัวไป ต้น ลำตน้ สงู ๒.๕ - ๓.๕ เมตร เส้นผ่านศูนย์กลางมากกว่า ๑๕ เซนติเมตร
กาบลำต้นด้านนอกมีประดำเล็กน้อย ดา้ นในมสี เี ขยี วอ่อนใบ ก้านใบมรี ่องค่อนข้างแคบ และมคี รีบ
เสน้ กลางใบสเี ขยี วมีนวลทางด้านล่างดอก ช่อดอกไม่มีขน ปลรี ูปไข่ค่อนขา้ งปอ้ ม ม้วนงอข้ึน ด้านบน
ป่านมีนวลหนา ด้านลา่ งมสี แี ดงเข้มผล เครือหน่ึงมีประมาณ ๗ หวี หวหี นงึ่ มี ๑๐ - ๑๖ ผล ผลใหญ่
ก้านผลยาว ปลายผลลีบลง มเี หลยี่ มชดั เจน เปลือกหนา เมื่อสกุ สเี หลืองอมน้ำตาล มนี วลหนา เนอื้ สสี ม้
ผลใชแ้ ปรรูป ผลสุกนำมาป้ิง รับประทานได้รสชาตดิ ี หรือนำไปเชอ่ื ม

91

กลว้ ยหนิ
พบมากทางภาคใต้ ตน้ ลำต้นสูง ๓ - ๔ เมตร เสน้ ผา่ นศนู ย์กลางประมาณ ๑๕ เซนติเมตร
กาบดา้ นนอกเขียวมีนวล ใบ กา้ นใบคอ่ นข้างสน้ั รอ่ งใบเปิด ดอกปลีรปู รา่ งค่อนข้างป้อมสน้ั รปู รา่ ง
คล้ายดอกบวั ตมู ดา้ นนอกสแี ดงอมมว่ ง ดา้ นในสีแดง เม่ือกาบเปิดจะไมม่ ้วนงอผล เครอื หน่ึงมี ๗ - ๑๐
หวี หวีหนึ่งมี ๑๐ - ๑๕ ผล ผลเป็นรปู หา้ เหล่ียมเปลอื กหนา ผลเรียงกนั แน่นเป็นระเบยี บ ชอ่ งวา่ ง
ระหวา่ งหวีนอ้ ย ปลายจกุ ป้าน เมือ่ สกุ สีเหลืองเน้ือสขี าวอมเหลอื ง ผลใชร้ ับประทานสด หรอื นำไปตม้
ปิ้ง

กล้วยนำ้ วา้
พบได้ทุกภาคของไทยกลว้ ยน้ำว้ากล้วยชนิดนี้จะมีข้นึ ทว่ั ไปทกุ ภาคของประเทศไทย ด้วย
ความแพร่หลายของกลว้ ยพนั ธ์ุน้จี ึงมีชอื่ เรียนต่างกันไปตามท้องถิ่น อย่างเชน่ ทางเหนือจะเรียกวา่
กล้วยใต้ คนจันทบุรเี รียกวา่ กลว้ ยมะลิอ่อง คนอุบลเรียก กลว้ ยตานีอ่องลำตน้ ของกลว้ ยน้ำว้าจะมี
ความสงู ไมเ่ กนิ ๓.๕ เมตร กา้ นใบมีร่องคอ่ นขา้ งแคบก้านชอ่ ดอกไมม่ ขี น เครอื หนึ่งมี ๘-๑๐ หวี หวหี น่ึง
มี ๑๓-๑๖ ผล ผลและเปลอื กหนากวา่ กลว้ ยไข่แตค่ วามยาวใกลเ้ คยี งกับกล้วยไข่ เนอ้ื กล้วยมสี ขี าว
แกนกลางเรียกวา่ ไสก้ ลาง มสี ีเหลือง ขาวหรือชมพู ซึ่งทำใหก้ ลว้ ยแบ่งเป็น กล้วยน้ำว้าเหลอื ง กลว้ ย
นำ้ ว้าแดง กลว้ ยนำ้ วา้ ขาวกล้วยนำ้ ว้ามปี ระโยชนม์ าก ใชเ้ ป็นอาหารของเด็กอ่อน เดก็ ทารกวัย ๓ เดอื น
ทุกคนต้องผ่านการกินกลว้ ยนำ้ วา้ ครูดมาแล้วท้ังสิน้ นอกจากเปน็ อาหารของทารกแลว้ ยังนิยมนำมา
บรโิ ภคสดและทำขนมอีกดว้ ย

92

กล้วยไข่
พบได้ทกุ ภาคของประเทศ กลว้ ยไขก่ ล้วยไข่มีชือ่ เรยี กอีกอย่างหน่งึ ว่า กล้วยกระ ลำต้นมี
ความสงู ไมเ่ กิน ๒.๕ เมตร กาบกลว้ ยด้านในมสี เี ขยี วอมเหลือง โคนก้านใบมีปกี สีชมพู กา้ นชอ่ ดอกมีขน
ออ่ น ใบประดบั รปู ไข่เครือหน่ึงมีประมาณ ๖-๗ หวี หวหี นง่ึ มปี ระมาณ ๑๒-๑๔ ผล ลกั ษณะของผล
ค่อนข้างเล็กเวลาสกุ จะมีสีเหลืองทอง กลว้ ยไขท่ ่ีอร่อยและมีชื่อเสยี งมากทสี่ ดุ กค็ ือ กลว้ ยไข่
กำแพงเพชร นอกจากกินเล่นแลว้ กล้วยไข่ยงั เปน็ พนั ธุ์กลว้ ยทีน่ ำมาประกอบพิธีเดอื นสิบ หรอื สารท
ไทยอีกดว้ ย ถา้ จะกนิ กล้วยไข่ใหอ้ รอ่ ยแลว้ ตอ้ งกินควบคู่กับกระยาสารท

93

กล้วยหอมทอง
พบทวั่ ไปกล้วยหอมทองกลว้ ยหอมจะมอี ยู่กลายพันธุ์ ทงั้ กล้วยหอมเขียว กลว้ ยหอมจนั ทน์
กลว้ ยหอมเขยี วค่อมแต่ทนี่ ยิ มมากทส่ี ดุ คือกลว้ ยหอมทอง เพราะว่ามีกลิน่ หอม รสหวาน กลว้ ยหอม
ทองจะมลี ำต้นสงู ประมาณ ๓.๕ เมตร เครือหน่ึงจะมี ๕-๖ หวี หวหี น่งึ จะมีประมาณ ๑๐-๑๕ ผล ปลาย
ผลจะมจี กุ ยืน่ ออกมาใหเ้ หน็ ได้ชัดเจน เปลอื กบาง เมื่อผลกล้วยสุก จะเปลย่ี นเป็นสีเหลอื งทอง แหลง่
ปลูกส่วนใหญ่จะอยู่แถบภาคกลาง โดยเฉพาะจงั หวัดแถบภาคกลางโดยเฉพาะจงั หวัดแถบปทุมธานี
และรอบ ๆ เขตปริมณฑล

๕.วธิ กี ารปลูกกลว้ ย
กล้วยเปน็ พืชทปี่ ลกู ง่าย เจริญเตบิ โตไดใ้ นทุกสภาพดนิ แต่ชอบดินรว่ น มอี ินทรยี ว์ ัตถุ และ
ความชนื้ สงู ระบายน้ำดี ไมช่ อบนำ้ ขัง หลังจากการปลกู กล้วยแล้วจะใหผ้ ลผลติ คร้งั แรกเม่ือปลกู ได้ ๘-
๑๐ เดอื น และสามารถแตกหนอ่ เติบโตใหผ้ ลผลติ ทง้ั ปี
๖.การเตรยี มแปลงและหลมุ ปลูก
– พืน้ ที่ใชป้ ลกู หรือแปลงปลูกควรไถพรวนดิน และตากดนิ นาน ๑-๒ อาทิตย์ และกำจดั
วัชพชื ก่อนปลกู หากปลูกเพยี งไม่กต่ี ้นให้เตรยี มไดเ้ ลย
– วางแนว และขดุ หลุมปลูกในระยะ ๒×๒ เมตร หรือมากกวา่ หากทรี่ ะยะถก่ี ว่าน้ีจะทำให้
ตน้ ท่ีแตกใหม่เบยี ดกันแนน่ ในปีที่ ๒ ข้นึ ไป
– ขุดหลุมปลกู กวา้ ง x ยาว x ลกึ ท่ี ๕๐x๕๐x๕๐ ซม. หรอื เกอื บ ๒ ไมบ้ รรทัด ดงั รูปภาพ
ดา้ นล่าง

94

95

– กลบหรอื โรยปุย๋ คอก อตั รา ๒-๓ กก./หลมุ ปยุ๋ ยูเรยี อัตรา ๕๐-๑๐๐ กรมั /หลุม พรอ้ ม

96

ปรบั ดนิ ผสมดนิ ให้สูงประมาณครึ่งหน่งึ ของหลมุ
– คลกุ ผสมดนิ กบั ปยุ๋ ให้เขา้ กัน
๗. การดแู ลรักษากลว้ ย
การให้นำ้ การปลูกลว้ ย หรือการปลกู กล้วย จะปล่อยใหไ้ ดร้ ับนำ้ จากนำ้ ฝนบา้ ง มรี ะบบบ่อ
เก็บนำ จะสบู น้ำเข้าแปลงเปน็ ระยะ โดยเฉพาะในชว่ งฤดแู ล้ง แต่ท่ีศูนย์น้มี ีน้ำเพียงพอขดุ เป็นบ่อ
ล้อมรอบ พนื้ ทีป่ ลูกกลว้ ยจงึ สะดวกต่อการรดน้ำกลว้ ย
การใส่ปุ๋ย แบง่ เป็น ๓ ระยะ คอื
– ระยะเตรยี มหลมุ ปลกู ด้วยการรองพื้นดว้ ยป๋ยุ คอก อัตรา ๒-๓ กก./หลุม ปยุ๋ ยูเรีย อัตรา
๕๐-๑๐๐ กรัม/หลุม หรอื ประมาณ ๑-๒ กำมือ
– ปุย๋ คอก หลงั การปลูกประมาณ ๑-๓ เดือน แรก ควรใหป้ ุ๋ยคอกหรือปยุ๋ หมักบริเวณโคน
ต้น อตั รา ๒-๓ กก./หลมุ รว่ มกับปยุ๋ เคมสี ูตร ๑๕-๑๕-๑๕ อัตรา ๑๐๐-๒๐๐ กรมั /หลุม
– ปยุ๋ เคมี ระยะหลงั ปลูกเดือนที่ ๕ และ ๗ หรอื ระยะกอ่ นออกปลี ใสป่ ยุ๋ เคมีสูตร ๑๒-๒๔-
๒๔ อตั รา ๑๐๐-๒๐๐ กรัม/หลมุ โดยการหวา่ นรอบๆกอ
๘. การเพาะขยายพันธ์ุกล้วย
๑. การเพาะเลย้ี งเนื้อเย่ือ
จะนยิ มปลูกจากเหง้าพนั ธท์ุ ข่ี ุดจากกอกลว้ ยเปน็ หลกั
๒. การแยกหนอ่ หรือเหงา้ ปลูก เป็นวิธีการดั้งเดิมทีใ่ ช้กันมาตงั้ แต่สมัยโบราณ และปัจจุบัน
ยังเป็นที่นิยม ซึ่งอาจหาซื้อเหง้าพันธุ์จากแปลงเกษตรกรอื่นท่ีปลูกกล้วยอยู่แล้วหรือขุดเหง้าพันธุจ์ าก
แปลงตัวเองออกขยายปลูกเปน็ กอใหม่
๙. สรรพคุณกล้วย
ปลีกลว้ ย
– ชว่ ยเพม่ิ นำ้ นมแมห่ ลงั คลอดบตุ ร
– ช่วยป้องกนั โรคลำไสอ้ ักเสบ
– ช่วยลดน้ำตาลในเลือด
– ปลกี ล้วยมีสารท่อี อกฤทธ์ิเป็นด่าง ชว่ ยลดกรดในกระเพาะอาหาร และชว่ ยปอ้ งกันโรค
แผลในกระเพาะอาหาร

97

– ปอ้ งกนั โรคท้องร่วง ทำหนา้ ทีต่ า้ นเชอ้ื แบคทีเรยี ในระบบทางเดนิ อาหาร
–มสี ารตา้ นอนุมูลอสิ ระออกฤทธิ์ตา้ นการออกซิเดชันจากสารในกลุ่มฟีนอลิก (Phenolics)

๑๐.การนำกลว้ ยในศูนย์มาใชป้ ระโยชน์
เนื่องจากกลว้ ยมีลักษณะลำต้น และใบมาใช้ประโยชน์ในหลายด้าน ไดแ้ ก่

๑. กล้วยน้ำว้าสกุ
– กล้วยนำ้ ว้าสกุ นำมารบั ประทานเปน็ ผลไม้
– กลว้ ยน้ำวา้ สุกใช้ทำเปน็ ขนม ของหวานต่างๆ อาทิ กล้วยเชอ่ื ม กล้วยบวชชี มี
ลักษณะสเี หลืองทั้งเปลอื ก และเนอ้ื มีรสหวาน เหนยี วน่มุ นำมารบั ประทานเปน็ ผลไม้ และทำขนม
หวาน แปรรูปเป็นผลติ ภณั ฑ์ต่างๆ เชน่ กล้วยตาก หรือ ข้ามต้มมัด เปน็ ต้น
– นำมาใช้สำหรับการประกอบพิธีกรรมทางศาสนา เช่น ทำบญุ บา้ น พิธีเข้าพาขวัญ/
ส่ขู วญั เป็นต้น
– กล้วยดบิ หรือกล้วยห่าม นำมาปอกเปลอื ก และนำผลไปตากแห้ง แลว้ บดเป็นผง
กลว้ ยสำหรับใช้ประกอบอาหารหรอื ทำขนมหวาน
๒. กล้วยน้ำว้าดบิ
– นำมาแปรรูปเป็นกลว้ ยฉาบ ทอด และโรยนำ้ ตาลหรือน้ำเช่ือม
– ผลกล้วยน้ำว้าดิบนำมาปอกเปลือก ห่ันผลบางๆ แล้วนำมาตำรวมกับมะยม
๓. ลำต้นหรือหยวกกล้วยออ่ น
– นำมาปรงุ อาการ เช่น หมกหยวกกล้วย แกงหยวกกล้วย เป็นตน้
– นำมาใชเ้ ลย้ี งสตั ว์ ที่ส่วนมากนิยมใชเ้ ลย้ี งสกุ รแตท่ น่ี ่ีนำผสมกับสารอาหารนำไป
เลย้ี งปลาท่ีเลย้ี งไว้
๔. ปลกี ลว้ ย
– ปลกี ล้วย นำมาประกอบอาหาร เช่น ยำหวั ปลี แกงหวั ปลใี สป่ ลา ห่อหมกหัวปลใี ส่
ไก่ เป็นต้น
– ผลออ่ นที่ได้จากการตัดปลีกลว้ ย ใช้จิม้ นำ้ พริกหรือรับประทานสดเป้นเครื่องเคียง
๕. ใบกล้วยหรือใบตอง

98

– นำมาห่ออาหารหรือห่อปรงุ อาหาร เช่น หอ่ หมกต่างๆ
– ใบกล้วยทีเหลอื จากการตัดเครอื หรือไม่ไดใ้ ช้ประโยชน์ นำมาเป็นอาหารสตั ว์ เชน่
ใชเ้ ลี้ยงสุกร และโค เป็นตน้
– ใบกลว้ ยใช้ทำเครื่องเลน่ เด็ก
– ใบกลว้ ยใช้ทำเครอื่ งพิธีกรรมทางศาสนา เช่น ใช้ทำพานบายศรีสขู่ วญั หรือ ใชห้ ่อ
กระทง เป็นตน้
– ใบกลว้ ยทแี่ ห้งคาต้น คนในชนบทนิยมในปจั จุบนั นำมาใช้มวนยาสบู
๖. กาบกลว้ ย
– กาบกล้วยสด นำมาฉกี แบง่ เปน็ เสน้ เลก็ ๆ สำหรบั ใช้แทนเชอื กรดั ของและหากนำมา
ตากแห้งแลว้ นำมาเข้าเคร่อื งอักด้วยความรอ้ น กจ็ ะเปน็ ภาชนะถว้ ยชาม ชว่ ยอนรุ ักษธ์ รรมชาติ
สิ่งแวดล้อมเปน็ ตน้ ยกตวั อยา่ งของศนู ยน์ ี้ ดังรปู ภาพ

99

๗. ก้านกล้วย

– ใชท้ ำเครอ่ื งเลน่ ให้แก่เด็ก เชน่ มา้ กา้ นกล้วย

๑๑. การขยายพนั ธุ์

ในการผลติ กลว้ ยเป็นการคา้ นั้น นยิ มทำการขยายพนั ธกุ์ ล้วยสำหรบั การเพาะปลกู ๓ วธิ ี
ดงั นี้

๑. การขยายพันธุ์จากหน่อ หน่อที่เกิดจากต้นแม่ที่ได้ทำการปลูกกล้วยต้นแรกไปแล้ว
ได้แก่ หน่ออ่อน หนอ่ ใบคาบ หน่อแก่ หนอ่ ใบกลา้ จะมวี ิธกี ารดงั นี้

เตรียมอุปกรณ์ขดุ ไดแ้ ก่ เสียมหรอื ชะแลงหนา้ กว้างทค่ี มสำหรบั ขุดตัดแยกหนอ่ จากต้นแม่
และขณะเดียวกันก็สามารถใช้งัดหน่อที่ตัดแยกจากต้นแม่แล้วนำหน่อมาตัดรากออกด้วยมีดโต้ แล้ว
กลบดนิ ไวต้ ามเดมิ หน่อกลว้ ย

๒. การขยายพันธุ์ด้วยเหง้า วิธีการนี้ไม่ค่อยเป็นที่นิยมของเกษตรกรผู้ปลูกกล้วยของไทย
นัก เพราะเป็นขบวนการขยายพันธุ์ทีค่ ่อนข้างยุ่งยากเสียเวลานานในการเลี้ยงกล้าทีเ่ กิดใหม่ มีวิธีการ
ดังน้ี

ขดุ เหงา้ กล้วยทตี่ ัดเครือใบแลว้ นำมาผ่าใบลงตามยาวเปน็ ๒ หรอื มากกว่า ๒ แลว้ แตข่ นาด
และความสมบูรณ์ของเหง้า และนำไปชำในวัสดุเพาะชำ จนได้ต้นกล้าขนาดพร้อมที่จะปลูกได้ จึงทำ
การย้ายปลูกได้ตอ่ ไป

๓. การขยายพันธุ์โดยวิธีเพาะเล้ียงเน้ือเยื่อ ซึ่งในการผลิตกล้วยในหลาย ๆ ประเทศ นิยม
ใช้วิธีนี้มาก เพราะในการผลิตกล้วยเพื่อส่งตลาดในครั้งละมาก ๆ จะต้องมีการวางแผนการผลิตให้
ได้ผลผลิตคุณภาพดีส่งตลาดในเวลาเดียวกันเป็นช่วง ๆ ไป เหมาะสำหรับการผลิตกล้วยเป็นการค้า
แบบแปลงใหญ่ ขอ้ ดกี ลว้ ยท่ขี ยายพนั ธด์ุ ้วยวธิ นี ้ีคือ กล้วยจะตกเครือในเวลาเดียวกัน แต่เกษตรกรต้อง
เสยี เวลาในการเพาะปลกู ยาวนานกวา่ วิธกี ารแยกหน่อ หนอ่ พันธกุ์ ลว้ ยสำหรับการเพาะปลูก

หนอ่ กลว้ ยที่เกดิ จากต้นกลว้ ยต้นแมส่ ามารถจำแนกตามรูปรา่ งและลกั ษณะตา่ ง ๆ ดังนี้

๑. หน่ออ่อน เป็นหน่ออายุน้อย ขนาดเล็กมีเพียงใบเกล็ดอยู่เหนือผิวดิน ซึ่งไม่นิยม
นำไปเพาะปลกู หนอ่ ชนิดตา่ ง ๆ

๒. หน่อใบดาบ เป็นหน่อที่เกิดจากตาของเหง้า ใบเลี้ยงเล็กขนาดสูงประมาณ ๗๕
เซนติเมตร มเี หง้าขนาดประมาณ ๑๕ เซนตเิ มตร เหมาะสำหรบั การแยกไปเพาะปลูก

100

๓. หน่อแก่ เป็นหน่อที่เจริญมาจากหนอ่ ใบดาบ ใบเริ่มแผ่กว้างขึน้ อายุประมาณ ๕-
๘ เดือน มีเหง้าขนาดใหญ่ เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๒๕ เซนติเมตร เหง้าของหน่อแก่อาจมีตาท่ี
สามารถเจรญิ เปน็ หนอ่ ใหมไ่ ดห้ ลายหน่อ

๔. หน่อใบกว้าง เป็นหน่อที่เกิดจากตาของเหง้าแก่หรือเหง้าที่ไม่แข็งแรงสมบูรณ์
ลักษณะใบแผก่ วา้ งตงั้ แต่ยงั มอี ายุน้อย ซึ่งไม่นิยมนำไปเพาะปลกู

การเลือกหน่อกล้วยเพ่อื การเพาะปลกู

๑. ต้องเป็นหน่อที่เหง้าใหญ่สมบูรณ์ ความสูงของหน่อไม่มากเกินไป ส่วนใหญ่อยู่
ประมาณ ๗๕ เซนติเมตร

๒. เป็นหน่อที่ได้จากต้นแม่สมบูรณ์ ไม่เป็นโรคตายพราย หรือมีแมลงเข้าทำลาย
โดยเฉพาะดว้ งงวงเข้าทำลายมาก่อน

๓. ส่วนเหง้าตอ้ งไม่ถูกโรคแมลงทำลาย

๔. เป็นแหลง่ พันธท์ุ เี่ ช่ือถือได้ ซ่งึ เกษตรกรได้มีการตรวจสอบประวตั ิของสวนแล้ว ไม่
เคยมีโรคระบาดมาก่อน

๕. กรณีเป็นหน่อที่มีวางจำหน่าย ต้องพิจารณาความสดใหม่เหง้าใหญ่ไม่บอบช้ำอีก
ด้วย

๑๒.การใสป่ ุย๋

เนื่องจากกล้วยเป็นพชื ทม่ี ีอายุส้นั จงึ ทำใหม้ ีการเจรญิ เติบโตอย่างรวดเรว็ หลังจากกลว้ ย
ตั้งตัวไดแ้ ล้ว เกษตรกรควรรบี ใสป่ ุ๋ยให้แก่กลว้ ย เพื่อการเจรญิ เตบิ โตทางลำต้น และการตกเครือที่มี
คุณภาพ ชนิดป๋ยุ มดี ังน้ี

๑. ปุ๋ยคอก ใส่ขณะเตรียมหลุมปลูกแล้ว อัตรา ๕ กิโลกรัม/ต้น และหลังกล้วย
เจริญเติบโตเต็มที่กอ่ นออกปลี อตั รา ๕-๑๐ กิโลกรัม/ตน้

๒. ปุ๋ยไนโตรเจน ที่นิยมใช้คือ โซเดียมไนเตรทหรือแอมโมเนียมซัลเฟต ใช้วิธีการ
หวา่ นลงดนิ ปรมิ าณ ๖๐ กรัม/ตน้ แลว้ ให้น้ำทนั ที (การใช้ปุย๋ แอมโมเนียมซลั เฟตบ่อย และมากเกินไป
จะทำให้ดนิ เป็นกรด และเป็นอนั ตรายตอ่ กลว้ ย)

๓. ปุ๋ยเคมี สูตร ๑๓-๑๓-๒๑ ปุ๋ยนี้ควรให้หลังติดผลแล้ว อัตรา ๕๐๐ กรัม/ต้น โดย
แบง่ ใส่ ๒ คร้ัง - ครัง้ แรกหลังตัดปลีแลว้ - ครั้งที่ ๒ หลังจากครัง้ แรก ๑ เดอื น


Click to View FlipBook Version