เอกสารประกอบการสอน
วชิ าการบญั ชีชน้ั กลาง 2 รหัสวิชา 3201-2002
หลักสตู รประกาศนียบตั รวิชาชีพชัน้ สงู พทุ ธศกั ราช 2557
ประเภทวิชาบรหิ ารธุรกิจ สาขาวิชาการบญั ชี
เรียบเรียงโดย
นางนภลดา อนิ ภษู า
ตำแหน่ง ครู วทิ ยฐานะครชู ำนาญการพิเศษ
แผนกวิชาการบัญชี วิทยาลัยเทคนคิ หนองบัวลำภู
สำนกั งานคณะกรรมการการอาชวี ศกึ ษา
กระทรวงศึกษาธิการ
ก
คำนำ
เอกสารประกอบการสอน วชิ าการบญั ชชี ้นั กลาง 2 รหัสวิชา 3201-2002 เลม่ นี้ไดเ้ รยี บเรยี งขึ้น
ตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพช้ันสูง พุทธศักราช 2557 โดยรวบรวมองค์ความรู้จากนักวิชาการ
และประสบการณ์สอน เพื่อจัดการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับเนื้อหาสาระให้เป็นไปตามหลักสูตร
ประกาศนียบัตรวิชาชีพช้ันสูง พุทธศักราช 2557 ของสานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ซึ่งได้
วิเคราะห์จุดประสงค์รายวิชา สมรรถนะรายวิชา และคาอธิบายรายวิชา โดยแบ่งเน้ือหาวิชาออกเป็น
11 หนว่ ยการเรียนรู้ ประกอบด้วย
หนว่ ยการเรยี นรู้ท่ี 1 หนี้สินหมนุ เวียน
หน่วยการเรยี นรทู้ ่ี 2 ประมาณการหนีส้ นิ และหนสี้ นิ ท่ีอาจเกิดขนึ้
หน่วยการเรยี นรู้ท่ี 3 หนีส้ ินไมห่ มนุ เวยี น
หนว่ ยการเรียนรูท้ ี่ 4 การจดั ต้ังห้างหนุ้ ส่วนและการแบ่งกาไรขาดทนุ
หนว่ ยการเรียนรทู้ ่ี 5 การเปล่ยี นแปลงสว่ นของผู้เปน็ หุ้นส่วน
หน่วยการเรยี นรู้ที่ 6 การเลิกหา้ งหุ้นส่วนและการชาระบญั ชี
หนว่ ยการเรียนรทู้ ่ี 7 การจดั ตัง้ บริษัทและเงินทนุ ของบรษิ ทั
หนว่ ยการเรียนร้ทู ่ี 8 การเปล่ยี นแปลงในสว่ นของผถู้ อื หุ้น
หน่วยการเรียนรทู้ ี่ 9 กาไรสะสมและเงนิ ปันผล
หน่วยการเรียนรทู้ ่ี 10 ราคาตามบญั ชีต่อห้นุ และกาไรตอ่ หุ้น
หนว่ ยการเรียนรูท้ ่ี 11 การเลกิ บรษิ ัทและการชาระบัญชี
เอกสารประกอบการสอนในแต่ละหน่วยการเรียนรู้ ประกอบด้วย วิธีการใช้เอกสาร
ประกอบการสอน สาระการเรียนรู้ จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม สมรรถนะประจาหน่วย ผังมโนทัศน์
แบบทดสอบก่อนเรียน เนื้อหาสาระ ตัวอย่าง แบบฝึกหัด สรุป คาศัพท์ทางการบัญชี แบบทดสอบ
หลังเรียน บรรณานุกรม ภาคผนวก เฉลยแบบทดสอบก่อนเรียน หลังเรียน เฉลยแบบฝึกหัด
แบบประเมนิ ผลการเรียนรู้ และแบบประเมินคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมและคุณลักษณะอันพึงประสงค์
เพ่อื ให้ผู้เรยี นเกดิ การเรยี นรู้ เกิดทักษะในการบันทกึ บัญชี และนาไปประยกุ ต์ใช้ในงานอาชีพได้
ผู้จัดทาหวงั เป็นอยา่ งยิ่งวา่ เอกสารประกอบการสอนเลม่ น้ี จะเป็นประโยชน์แกค่ รูผ้สู อน นักเรยี น
นักศึกษา ตลอดจนผู้สนใจศึกษาทุกท่าน หากมีคาแนะนาใด ๆ ขอความอนุเคราะห์ส่งข้อเสนอแนะ
ของทา่ นไปท่ี E-mail : [email protected] เพ่อื ทจี่ ะได้นามาปรบั ปรุงใหส้ มบูรณ์ย่ิงขน้ึ ต่อไป
นภลดา อินภูษา
วทิ ยาลัยเทคนิคหนองบัวลาภู
ข
ลักษณะรายวชิ า
วิชาการบญั ชีชนั้ กลาง 2 รหสั วชิ า 3201-2002
(Intermediate Accounting 2) หนว่ ยกติ (ชว่ั โมง) 3(4)
วชิ าบงั คบั กอ่ น : การบญั ชหี า้ งหุ้นส่วน
จุดประสงคร์ ายวชิ า เพือ่ ให้
1. เข้าใจเก่ียวกบั การรบั รรู้ ายการ การวดั มลู คา่ หนสี้ นิ สว่ นของเจา้ ของประเภทหา้ งหนุ้ สว่ นจากดั
และบริษทั จากัด การแสดงรายการและเปดิ เผยขอ้ มลู ในงบการเงิน ตามมาตรฐานการบญั ชี
2. มีทักษะในการบนั ทกึ บญั ชแี ละแสดงรายการเปิดเผยข้อมลู ในงบการเงนิ เกย่ี วกบั หนสี้ ิน
สว่ นของเจ้าของประเภทหา้ งหุ้นสว่ นจากดั และบรษิ ัทจากดั ตามมาตรฐานการบญั ชี
3. มคี ุณลกั ษณะนสิ ยั ท่ีพึงประสงค์ และมเี จตคตทิ ดี่ ีในการประกอบอาชีพ
สมรรถนะรายวชิ า
1. แสดงความรเู้ ก่ยี วกบั หนี้สนิ ส่วนของเจา้ ของ ประเภทหา้ งหนุ้ สว่ นจากดั และบรษิ ทั จากดั
2. ปฏิบัตงิ านบญั ชเี กี่ยวกบั หนสี้ นิ สว่ นของเจ้าของ ประเภทหา้ งห้นุ ส่วนจากดั และบรษิ ทั จากัด
ตามมาตรฐานการบญั ชี
คาอธบิ ายรายวชิ า
ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับการรับรู้รายการ การวัดมูลค่าหนี้สินหมุนเวียน ประมาณการหน้ีสิน
หน้ีสินท่ีอาจเกิดข้ึน และหนี้สินไม่หมุนเวียน การบัญชีส่วนของเจ้าของประเภทห้างหุ้นส่วนจากัด
และบริษัทจากัด ตั้งแต่การจัดต้ัง การดาเนินงาน การเปลี่ยนแปลงในส่วนผู้ถือหุ้น การจัดสรรกาไร
การเลิกกจิ การและการชาระบัญชี การแสดงรายการและเปิดเผยขอ้ มลู ในงบการเงิน
ค
วเิ คราะหห์ ัวขอ้ เรือ่ ง
วชิ าการบัญชีชนั้ กลาง 2 รหัสวชิ า 3201-2002 หนว่ ยกิต (ชว่ั โมง) 3(4)
หลกั สตู รประกาศนยี บตั รวชิ าชพี ช้ันสงู พทุ ธศกั ราช 2557
หัวขอ้ เรอื่ ง (Topic) แหล่งขอ้ มูล
ABCDE
1. หน้ีสินหมุนเวียน √√√√√
2. ประมาณการหนี้สินและหนสี้ ินทอ่ี าจเกดิ ขึน้ √√√√√
3. หนส้ี นิ ไมห่ มนุ เวยี น √√√√√
4. การจัดตง้ั หา้ งหุน้ สว่ นและการแบ่งกาไรขาดทนุ √√√√√
5. การเปลี่ยนแปลงสว่ นของผเู้ ปน็ หนุ้ ส่วน √√√√√
6. การเลิกห้างหุ้นส่วนและการชาระบัญชี √√√√√
7. การจัดตงั้ บริษัทและเงินทุนของบรษิ ัท √√√√√
8. การเปล่ียนแปลงในสว่ นของผู้ถือหุ้น √√√√√
9. กาไรสะสมและเงินปนั ผล √√√√√
10. ราคาตามบัญชีตอ่ หุ้นและกาไรต่อหนุ้ √√√√√
11. การเลิกบริษทั และการชาระบญั ชี √√√√√
หมายเหตุ A : คาอธิบายรายวิชา
B : ผเู้ ชีย่ วชาญ
C : ผ้ชู านาญงาน
D : ประสบการณ์ของครผู สู้ อน
E : เอกสาร/ตารา/ค่มู ือ
ง
รายละเอยี ดหัวข้อเรื่อง
วิชาการบัญชีชัน้ กลาง 2 รหัสวิชา 3201-2002 หนว่ ยกิต (ชว่ั โมง) 3(4)
หลกั สูตรประกาศนียบตั รวชิ าชพี ชน้ั สงู พทุ ธศกั ราช 2557
หัวข้อหลกั (Main Element) / หัวข้อย่อย (Element)
หนว่ ยการเรียนรู้ (Learning Unit)
1. หน้สี ินหมุนเวยี น 1.1 ความหมาย ลักษณะและประเภทของหนส้ี ิน
1.2 การรับรหู้ นส้ี ินและการวัดมลู คา่ หนีส้ ิน
2. ประมาณการหนส้ี ินและหนสี้ นิ ท่ีอาจเกดิ ขึน้ 1.3 ความหมายและประเภทของหนสี้ ินหมนุ เวียน
3. หนี้สนิ ไมห่ มนุ เวยี น 1.4 การบนั ทกึ บญั ชเี กยี่ วกบั หนสี้ นิ หมุนเวยี น
4. การจัดตง้ั หา้ งหุน้ สว่ น ท่ีกาหนดมูลคา่ ไดแ้ น่นอน
และการแบง่ กาไรขาดทนุ 1.5 การแสดงรายการหนส้ี นิ หมุนเวยี นในงบการเงนิ
2.1 ประมาณการหน้ีสิน
2.2 หนสี้ ินที่อาจเกิดขึ้น
3.1 ความหมายของหนสี้ นิ ไมห่ มุนเวียน
3.2 ความหมายของหนุ้ กู้
3.3 การคานวณราคาจาหนา่ ยหนุ้ กู้
3.4 การบันทกึ บญั ชเี ก่ียวกบั ห้นุ กู้ที่ออกจาหน่าย
3.5 การตดั บญั ชสี ว่ นเกนิ และส่วนลดมลู ค่าหุ้นกู้
3.6 คา่ ใช้จ่ายในการออกหุ้นกู้
3.7 การปรบั ปรงุ ดอกเบีย้ หุ้นกู้
3.8 การจาหนา่ ยหุน้ กู้พรอ้ มออกใบสาคัญแสดงสิทธิ
ซอ้ื หนุ้ ทนุ
3.9 การไถ่ถอนห้นุ กู้
3.10 การบนั ทกึ บัญชตี ว๋ั เงนิ จ่ายระยะยาว
3.11 การแสดงรายการหนีส้ ินไมห่ มุนเวยี นในงบการเงิน
4.1 ลกั ษณะและประเภทของหา้ งหนุ้ สว่ น
4.2 สัญญาการจดั ตง้ั หา้ งห้นุ ส่วน
4.3 การบญั ชีของห้างหนุ้ ส่วน
4.4 การแบ่งกาไรขาดทนุ ให้ผเู้ ป็นหุน้ ส่วน
4.5 งบการเงินของห้างหุน้ สว่ น
จ
รายละเอียดหวั ข้อเรอื่ ง (ต่อ)
วชิ าการบญั ชีชน้ั กลาง 2 รหัสวิชา 3201-2002 หน่วยกติ (ชั่วโมง) 3(4)
หลกั สตู รประกาศนียบตั รวชิ าชพี ช้นั สูง พทุ ธศกั ราช 2557
หวั ข้อหลัก (Main Element) / หวั ขอ้ ย่อย (Element)
หนว่ ยการเรยี นรู้ (Learning Unit)
5. การเปลย่ี นแปลงส่วนของผเู้ ป็นหุ้นสว่ น 5.1 การรับผเู้ ป็นหนุ้ ส่วนใหม่
6. การเลิกห้างหนุ้ สว่ นและการชาระบญั ชี 5.2 การลาออกของผเู้ ป็นหนุ้ ส่วน
7. การจัดต้งั บรษิ ทั และเงินทุนของบรษิ ัท 5.3 การตายของผู้เปน็ หุ้นส่วน
6.1 สาเหตุของการเลิกห้างหุ้นส่วน
8. การเปล่ียนแปลงในสว่ นของผถู้ อื หุ้น 6.2 การชาระบญั ชีโดยจา่ ยคืนทนุ คร้ังเดียว
6.3 การชาระบญั ชีโดยจ่ายคืนทนุ เป็นงวด
9. กาไรสะสมและเงนิ ปนั ผล 7.1 ประเภทของบริษัท
10. ราคาตามบัญชีต่อหุ้นและกาไรตอ่ หุ้น 7.2 การจดั ต้งั บริษัท
11. การเลกิ บรษิ ัทและการชาระบัญชี 7.3 เงนิ ทนุ ของบรษิ ทั
7.4 การบัญชีเก่ียวกบั การออกหุ้นทุน
8.1 ใบสาคัญแสดงสิทธทิ จ่ี ะซอ้ื หุ้น
8.2 การแปลงสภาพหุ้นบุรมิ สทิ ธิ
8.3 การแตกหุน้ และการรวมหุ้น
8.4 ห้นุ ทุนไดร้ บั คืน
8.5 การไถ่คืนห้นุ บรุ มิ สิทธิ
9.1 กาไรสะสม
9.2 การคานวณเงนิ ปนั ผล
9.3 การบนั ทึกบญั ชีเกีย่ วกบั เงินปนั ผล
10.1 ราคาตามบญั ชีต่อหุ้น
10.2 กาไรต่อหุน้
11.1 สาเหตขุ องการเลกิ บริษทั
11.2 อานาจหนา้ ท่ีของผ้ชู าระบญั ชี
11.3 การบัญชเี กี่ยวกบั การชาระบญั ชเี ลกิ บริษทั
ฉ
กาหนดการเรียนรู้
วิชาการบญั ชชี น้ั กลาง 2 รหสั วชิ า 3201-2002 หนว่ ยกติ (ช่วั โมง) 3(4)
หลกั สตู รประกาศนียบตั รวชิ าชีพชั้นสงู พทุ ธศักราช 2557
หนว่ ยที่ ชือ่ หนว่ ยการเรียนรู้ สัปดาหท์ ี่ ชวั่ โมงท่ี
1 หนสี้ ินหมนุ เวยี น 1-3 1 - 12
4 13 - 16
2 ประมาณการหนี้สนิ และหนสี้ ินทอี่ าจเกดิ ข้นึ 5-7 17 - 28
8-9 29 - 36
3 หน้สี นิ ไมห่ มุนเวยี น 10 37 - 40
11 41 - 44
4 การจัดตงั้ ห้างหนุ้ ส่วนและการแบ่งกาไรขาดทุน 12 - 13 45 - 52
14 – 15 53 - 60
5 การเปล่ียนแปลงสว่ นของผเู้ ป็นหนุ้ สว่ น 16 61 – 64
17 65 – 68
6 การเลิกห้างห้นุ ส่วนและการชาระบญั ชี 18 69 - 72
7 การจัดตงั้ บริษทั และเงนิ ทุนของบรษิ ทั
8 การเปลีย่ นแปลงในสว่ นของผู้ถือหุ้น
9 กาไรสะสมและเงนิ ปนั ผล
10 ราคาตามบญั ชตี อ่ ห้นุ และกาไรต่อหุ้น
11 การเลิกบรษิ ัทและการชาระบญั ชี
รวม 18 72
สารบญั
คานา.......................................................................................................................................................................................................... หนา้
ลักษณะรายวชิ า.................................................................................................................................................................................... ก
วเิ คราะหห์ วั ขอ้ เรอ่ื ง............................................................................................................................................................................ ข
รายละเอยี ดหวั ข้อเรอ่ื ง...................................................................................................................................................................... ค
กาหนดการเรียนรู้................................................................................................................................................................................ ง
หนว่ ยการเรียนรู้ท่ี 1 หนส้ี ินหมุนเวียน..................................................................................................................... ฉ
หนว่ ยการเรยี นรทู้ ี่ 2 ประมาณการหน้ีสินและหนีส้ ินที่อาจเกิดข้ึน........................................................ 1
หน่วยการเรียนรู้ท่ี 3 หนสี้ ินไม่หมนุ เวยี น................................................................................................................ 70
หน่วยการเรยี นรู้ที่ 4 การจดั ตง้ั ห้างหนุ้ สว่ นและการแบง่ กาไรขาดทนุ ............................................... 101
หน่วยการเรยี นรทู้ ี่ 5 การเปลี่ยนแปลงส่วนของผเู้ ปน็ หุน้ ส่วน................................................................. 198
หน่วยการเรียนรทู้ ่ี 6 การเลิกบรษิ ัทและการชาระบัญชี............................................................................... 248
หนว่ ยการเรยี นรทู้ ่ี 7 การจดั ตง้ั บริษทั และเงนิ ทุนของบริษัท.................................................................... 298
หนว่ ยการเรียนรทู้ ี่ 8 การเปล่ยี นแปลงในสว่ นของผู้ถอื หนุ้ ........................................................................ 355
หนว่ ยการเรยี นรู้ที่ 9 กาไรสะสมและเงนิ ปนั ผล.................................................................................................. 412
หน่วยการเรยี นรูท้ ่ี 10 ราคาตามบัญชีต่อหนุ้ และกาไรต่อห้นุ ...................................................................... 508
หนว่ ยการเรียนรู้ที่ 11 การเลิกห้างหนุ้ ส่วนและการชาระบัญชี.................................................................. 560
595
บรรณานุกรม..................................................................................................................................................................................
639
หน่วยการเรยี นรทู้ ี่ 1 หนี้สินหมนุ เวียน (Current Liabilities)
สาระการเรยี นรู้
1. ความหมาย ลกั ษณะและประเภทของหนส้ี นิ
2. การรบั รู้หนส้ี ินและการวัดมลู คา่ หนส้ี นิ
3. ความหมายและประเภทของหนส้ี ินหมุนเวียน
4. การบนั ทึกบญั ชเี กย่ี วกบั หนสี้ นิ หมุนเวยี นทก่ี าํ หนดมลู คา่ ได้แน่นอน
5. การแสดงรายการหนส้ี ินหมนุ เวียนในงบการเงิน
จดุ ประสงคก์ ารเรยี นรู้
1. บอกความหมายของหนี้สินได้
2. บอกลกั ษณะของหนี้สินได้
3. จาํ แนกประเภทของหนส้ี ินได้
4. บอกการรบั รหู้ นสี้ นิ ได้
5. บอกหลกั เกณฑก์ ารวัดมลู ค่าหนสี้ นิ ได้
6. บอกความหมายของหน้สี ินหมนุ เวียนได้
7. จําแนกประเภทของหน้สี ินหมนุ เวยี นได้
8. บนั ทึกบัญชเี งนิ เบกิ เกินบญั ชีและเงนิ ก้ยู ืมระยะส้นั จากสถาบันการเงนิ ได้
9. บันทึกบัญชีเจา้ หนกี้ ารค้าได้
10. บนั ทกึ บัญชีตั๋วเงินจา่ ยได้
11. แสดงรายการหนสี้ นิ ไมห่ มนุ เวยี นที่ถงึ กาํ หนดชาํ ระภายในหนึ่งปไี ด้
12. บนั ทกึ บญั ชีเงินมดั จาํ และเงินประกนั ได้
13. บนั ทึกบัญชีเงินปนั ผลคา้ งจา่ ยได้
14. บนั ทกึ บัญชีภาษมี ลู ค่าเพมิ่ ค้างจา่ ยได้
15. บันทึกบัญชีภาษีเงนิ ไดห้ กั ณ ที่จา่ ยและบญั ชเี งนิ ประกนั สงั คมคา้ งจา่ ยได้
16. บนั ทึกบัญชีภาษีเงินไดน้ ติ ิบคุ คลคา้ งจา่ ยได้
17. บันทึกบัญชโี บนสั พนกั งานค้างจา่ ยได้
18. บนั ทกึ บัญชรี ายไดร้ บั ลว่ งหน้าได้
19. แสดงรายการหนีส้ นิ หมุนเวียนในงบแสดงฐานะการเงินได้
20. ปฏบิ ตั ิงานดว้ ยความรบั ผิดชอบ มคี วามสนใจใฝร่ ู้ ซ่อื สตั ย์สจุ ริต ตรงต่อเวลาและสุภาพเรยี บรอ้ ย
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 หนสี้ ินหมุนเวยี น 2
สมรรถนะประจาหนว่ ย
1. ปฏบิ ัติตามหลักเกณฑก์ ารรบั รู้และการวัดมลู คา่ หนีส้ นิ ไดต้ ามกรอบแนวคดิ สาํ หรบั การรายงาน
ทางการเงนิ
2. บันทกึ บัญชหี นสี้ นิ หมุนเวียนทกี่ ําหนดมลู ค่าได้แนน่ อนและแสดงรายการหนสี้ ินหมุนเวียน
ในงบการเงนิ ได้ตามมาตรฐานการบญั ชี
ผังมโนทัศน์ (Concept Map)a
1. ความหมาย ลกั ษณะและประเภทของหนีส้ ิน
1.1 ความหมายของหนส้ี ิน
1.2 ลกั ษณะของหน้สี นิ
1.3 ประเภทของหนส้ี ิน
หนี้สนิ หมนุ เวยี น 2. การรับรู้หน้ีสินและการวัดมูลค่าหนส้ี ิน
5. การแสดงรายการหน้ีสนิ หมุนเวยี นในงบการเงิน 2.1 การรับรู้หนส้ี ิน
2.2 การวัดมลู ค่าหนี้สนิ
3. ความหมายและประเภทของหน้สี ินหมุนเวยี น
3.1 ความหมายของหนี้สินหมนุ เวยี น
3.2 ประเภทของหนสี้ นิ หมนุ เวยี น
4. การบนั ทกึ บัญชเี กย่ี วกับหน้ีสนิ หมุนเวียน
ท่ีกาหนดมลู คา่ ไดแ้ นน่ อน
4.1 เงินเบกิ เกนิ บัญชีและเงนิ กูย้ ืมระยะสน้ั จากสถาบันการเงนิ
4.2 เจ้าหนีก้ ารคา้
4.3 ต๋ัวเงินจ่าย
4.4 หนี้สนิ ไมห่ มุนเวียนทถี่ งึ กาหนดชาระภายในหน่ึงปี
4.5 เงินมดั จาและเงนิ ประกนั
4.6 เงนิ ปนั ผลค้างจา่ ย
4.7 ภาษีมลู ค่าเพมิ่ คา้ งจา่ ย
4.8 ภาษเี งินไดห้ กั ณ ท่จี ่ายและเงนิ ประกนั สงั คมคา้ งจา่ ย
4.9 ภาษีเงนิ ไดน้ ิติบุคคลคา้ งจ่าย
4.10 โบนสั พนักงานค้างจ่าย 4.11 รายได้รับลว่ งหน้า
หน่วยการเรยี นร้ทู ่ี 1 หนสี้ ินหมุนเวยี น 3
แบบทดสอบกอ่ นเรียน
หนว่ ยการเรยี นรทู้ ี่ 1 หนส้ี นิ หมนุ เวยี น
คาช้แี จง
1. ใหเ้ ลือกคําตอบทถ่ี ูกต้องที่สุดเพียงข้อเดยี ว และทําเครือ่ งหมายกากบาท (×) ลงในระดาษคาํ ตอบ
2. แบบทดสอบ จาํ นวน 19 ข้อ รวม 19 คะแนน ใช้เวลา 19 นาที
1. ความหมายของหนส้ี ินตามกรอบแนวคิดสาํ หรับการรายงานทางการเงิน (ปรับปรงุ 2558) ตรงกับขอ้ ใด
(จดุ ประสงค์การเรยี นรู้ขอ้ ที่ 1)
ก. ภาระผูกพนั ที่กิจการจะต้องชาํ ระคืนในอนาคต
ข. ภาระผกู พนั ในอดีตที่เกิดจากการซื้อสินค้าเป็นเงนิ เชอื่
ค. ภาระผูกพันในปจั จบุ ันทกี่ จิ การต้องชาํ ระคนื ด้วยเงนิ สด
ง. ภาระผกู พันที่กจิ การต้องเสยี ทรพั ยากรทีม่ ปี ระโยชน์เชงิ เศรษฐกิจในอนาคต
จ. ภาระผกู พันในปัจจุบนั ของกจิ การที่เกดิ ข้ึนในอดีตและต้องชาํ ระภาระผูกพนั ดว้ ยทรัพยากร
ที่มีประโยชนเ์ ชงิ เศรษฐกจิ
2. ข้อใดเป็นลกั ษณะของหนสี้ นิ (จุดประสงค์การเรยี นรู้ข้อท่ี 2)
ก. เปน็ หนา้ ทหี่ รือความรับผิดชอบที่กิจการตอ้ งปฏบิ ัตติ าม
ข. ภาระผกู พนั เกิดจากรายการหรอื เหตกุ ารณ์ทางบัญชีในอดตี
ค. เปน็ ภาระผูกพันท่มี ีการกําหนดจํานวนหนท้ี ่ีจา่ ยชําระแน่นอน
ง. เป็นภาระผกู พนั ในปัจจบุ นั ทก่ี จิ การต้องจา่ ยชําระเปน็ เงนิ สดเทา่ น้ัน
จ. เป็นภาระผกู พนั ในอนาคตท่กี ิจการต้องจา่ ยชาํ ระดว้ ยเงินสดหรือสนิ ทรพั ย์อนื่
3. มาตรฐานการบญั ชี ฉบบั ที่ 1 (ปรบั ปรุง 2558) เร่อื ง การนาํ เสนองบการเงนิ จดั ประเภทหนส้ี นิ
ตรงกบั ข้อใด (จดุ ประสงค์การเรยี นรู้ข้อที่ 3)
ก. Current Liabilities and Non-current Liabilities
ข. Current Liabilities and Determinable Liabilities
ค. Determinable Liabilities and Estimated Liabilities
ง. Estimated Liabilities and Non-current Liabilities
จ. Contingent Liabilities and Current Liabilities
4. หนสี้ ินของกิจการจะรบั รรู้ ายการในงบแสดงฐานะการเงนิ ตามขอ้ ใด (จดุ ประสงค์การเรียนรู้ขอ้ ท่ี 4)
ก. เมื่อหนส้ี ินนัน้ มีผลบังคบั ตามกฎหมาย
ข. เม่อื กิจการสามารถวดั มูลคา่ ไดอ้ ย่างนา่ เชอ่ื ถือ
ค. เมื่อรายการหนส้ี นิ น้ันไดร้ บั อนมุ ตั จิ ากฝ่ายบรหิ าร
ง. เม่ือมคี วามเป็นไปไดค้ อ่ นขา้ งแนว่ ่ากจิ การตอ้ งจา่ ยชาํ ระ
จ. เม่ือมีความเป็นไปไดค้ ่อนข้างแนว่ า่ กิจการตอ้ งจา่ ยชาํ ระและกําหนดมลู คา่ ไดอ้ ยา่ งน่าเชื่อถอื
หนว่ ยการเรียนรู้ท่ี 1 หน้สี ินหมุนเวยี น 4
5. การแสดงหนส้ี ินดว้ ยจํานวนเงินที่ไดร้ บั จากการก่อภาระผกู พนั ที่คาดวา่ จะตอ้ งจ่ายเพอ่ื ชําระหนส้ี นิ
เปน็ การวัดมลู ค่าหนี้สินตามเกณฑข์ อ้ ใด (จดุ ประสงค์การเรยี นรู้ข้อท่ี 5)
ก. Current Cost
ข. Fair Value
ค. Historical Cost
ง. Present Value
จ. Settlement Value
6. คําวา่ “หน้ีสินหมนุ เวยี น” มีความหมายตรงกบั ขอ้ ใด (จุดประสงค์การเรียนรู้ขอ้ ท่ี 6)
ก. หนีส้ นิ ท่ชี าํ ระดว้ ยจํานวนที่แนน่ อน ภายใน 12 เดอื น
ข. หน้ีสินทีช่ ําระด้วยสนิ ทรัพยห์ มนุ เวยี น ภายใน 1 ปี
ค. หนส้ี นิ ที่ชําระภายในรอบระยะเวลาดําเนนิ งานตามปกตขิ องกจิ การ
ง. หนส้ี นิ ทต่ี อ้ งชาํ ระคืนภายใน 1 ปี ด้วยการกอ่ หนี้สินระยะสน้ั อ่นื แทน
จ. หนส้ี ินทม่ี ีระยะเวลาการชําระคืนภายใน 12 เดือน นับจากรอบระยะเวลารายงาน
7. รายไดร้ บั ลว่ งหนา้ จัดเปน็ หนีส้ นิ หมนุ เวียนตามขอ้ ใด (จดุ ประสงค์การเรยี นรู้ขอ้ ท่ี 7)
ก. Contingent Current Liabilities
ข. Determinable Current Liabilities
ค. Estimated Current Liabilities
ง. Monetary Current Liabilities
จ. Other Current Liabilities
8. เม่อื วันท่ี 10 มกราคม 2557 บรษิ ัท กรองจิต จํากัด ก้เู งินจากธนาคาร จํานวน 30,000 บาท
ระยะเวลา 6 เดือน อัตราดอกเบี้ย 10% ตอ่ ปี การบนั ทึกบญั ชเี งินกูย้ มื ระยะสน้ั จากสถาบนั การเงนิ
เม่อื ครบกาํ หนด ตรงกบั ข้อใด (จุดประสงค์การเรยี นรู้ขอ้ ที่ 8)
ก. เดบติ เงินสด 30,000
เครดิต เงนิ ฝากธนาคาร 30,000
ข. เดบติ เงินฝากธนาคาร 30,000
เครดิต เงนิ กยู้ มื ธนาคาร 30,000
ค. เดบติ เงินกยู้ ืมธนาคาร 31,500
เครดติ เงนิ ฝากธนาคาร 31,500
ง. เดบิต เงินกยู้ มื ธนาคาร 30,000
ดอกเบย้ี จา่ ย 1,500
เครดติ เงินสด 31,500
จ. เดบิต เงนิ ฝากธนาคาร 30,000
ดอกเบ้ยี ค้างจ่าย 1,500
เครดิต เงนิ กยู้ ืมธนาคาร 31,500
หน่วยการเรยี นรู้ที่ 1 หนี้สินหมุนเวียน 5
9. บริษทั โอบกจิ จํากัด ซอื้ สินค้าเปน็ เงินเชอื่ วนั ท่ี 1 มนี าคม 2557 จํานวน 100,000 บาท
เงื่อนไข 2/10, n/30 ตอ่ มาบรษิ ัทไดจ้ า่ ยชําระหนบ้ี างสว่ นในวันที่ 10 มีนาคม 2557
จํานวน 50,000 บาท สว่ นทเี่ หลอื จา่ ยชาํ ระในวนั สนิ้ เดือน การบนั ทึกบญั ชเี จ้าหนี้การคา้
ในวนั ท่ี 10 มีนาคม 2557 วธิ ียอดเตม็ (Gross Method) ตรงกับข้อใด
(จุดประสงค์การเรยี นรู้ขอ้ ที่ 9)
ก. เดบติ เจา้ หน้กี ารคา้ 49,000
เครดิต เงินสด 49,000
ข. เดบิต เจ้าหนี้การค้า 50,000
เครดติ เงนิ สด 50,000
ค. เดบติ เจ้าหน้กี ารค้า 50,000
เครดติ เงนิ สด 49,000
สว่ นลดรับ 1,000
ง. เดบิต เจา้ หนี้การค้า 50,000
เครดิต ส่วนลดรบั ที่สญู ไป 49,000
เงินสด 1,000
จ. เดบติ เจา้ หนก้ี ารค้า 49,000
ส่วนลดรบั ทสี่ ูญไป 1,000
เครดิต เงนิ สด 50,000
10. เมอ่ื วนั ท่ี 1 สิงหาคม 2557 บริษัท สุขใจ จาํ กัด กู้ยืมเงนิ จากธนาคารโดยออกต๋ัวสญั ญาใชเ้ งนิ
ชนดิ ไม่ระบุดอกเบ้ยี จํานวน 100,000 บาท อายุ 6 เดือน ธนาคารหักสว่ นลด 15% ตอ่ ปี
การบนั ทึกบญั ชีตวั๋ เงนิ จา่ ยในวันท่ี 1 สิงหาคม 2557 ตรงกบั ข้อใด (จุดประสงค์การเรยี นรู้ข้อท่ี 10)
ก. เดบิต เงนิ สด 92,500
สว่ นลดในตั๋วเงินจา่ ย 7,500
เครดติ ตั๋วเงินจ่าย 100,000
ข. เดบิต เงนิ สด 85,000
สว่ นลดในต๋ัวเงนิ จา่ ย 15,000
เครดิต ตั๋วเงินจา่ ย 100,000
ค. เดบิต เงนิ สด 93,750
ดอกเบ้ียจา่ ย 6,250
เครดติ สว่ นลดในตั๋วเงนิ จ่าย 100,000
หน่วยการเรียนรู้ท่ี 1 หน้สี นิ หมุนเวยี น 6
10. (ต่อ)
ง. เดบติ เงนิ สด 100,000
เครดิต ตว๋ั เงินจ่าย 92,500
ส่วนลดในตวั๋ เงนิ จ่าย 7,500
จ. เดบิต ตัว๋ เงินจา่ ย 100,000
เครดิต เงนิ สด 100,000
11. เม่ือวันท่ี 1 มถิ ุนายน 2557 บรษิ ัท สุขจิต จาํ กดั กยู้ มื เงินจากสถาบันการเงนิ จํานวน 500,000 บาท
มเี งือ่ นไขการผอ่ นชําระเปน็ งวด งวดละเท่า ๆ กนั เป็นเวลา 5 ปี จา่ ยชาํ ระทกุ วันท่ี 1 มถิ นุ ายนของปี
ณ วนั ท่ี 31 ธันวาคม 2557 การแสดงรายการส่วนของหนส้ี นิ ระยะยาวท่ีถึงกําหนดชาํ ระภายในหนง่ึ ปี
ในงบแสดงฐานะการเงิน ตรงกบั ข้อใด (จุดประสงค์การเรียนรู้ข้อท่ี 11)
ก. เงนิ กู้ยมื ระยะยาว 100,000 บาท แสดงเป็นหนสี้ นิ หมุนเวยี น
ข. เงินกู้ยมื ระยะยาว 400,000 บาท แสดงเป็นหนส้ี ินไมห่ มนุ เวยี น
ค. เงนิ กยู้ ืมระยะยาว 500,000 บาท แสดงเป็นหนสี้ นิ ไม่หมนุ เวยี น
ง. เงินกูย้ มื ระยะยาวทถ่ี งึ กําหนดชําระภายในหน่งึ ปี 100,000 บาท แสดงเป็นหนส้ี นิ หมุนเวียน
จ. เงนิ กู้ยมื ระยะยาวทีถ่ งึ กําหนดชาํ ระภายในหนึ่งปี 400,000 บาท แสดงเป็นหน้ีสนิ หมนุ เวียน
12. เมื่อวนั ท่ี 1 กนั ยายน 2557 ห้องเสื้อ ช่อลัดดา รบั จ้างตัดสทู ใหล้ กู ค้ารายหนงึ่ ในราคา 15,000 บาท
โดยเรียกเกบ็ เงินมดั จําไวล้ ่วงหน้า 5,000 บาท และจะสง่ มอบสูทใหล้ ูกค้าวนั ท่ี 15 กันยายน 2557
การบนั ทกึ บญั ชีเงนิ มัดจาํ คา่ บรกิ าร ตรงกบั ข้อใด (จดุ ประสงค์การเรยี นรู้ขอ้ ท่ี 12)
ก. เดบิต เงินมดั จาํ คา่ บรกิ าร 5,000 บาท
ข. เครดติ เงนิ มดั จาํ คา่ บริการ 5,000 บาท
ค. เครดิต เงินมดั จําคา่ บรกิ าร 10,000 บาท
ง. เดบติ เงินมัดจาํ ค่าบรกิ าร 15,000 บาท
จ. เครดติ เงินมัดจาํ ค่าบรกิ าร 15,000 บาท
13. กจิ การแหง่ หนง่ึ ประกาศจ่ายเงินปันผล จาํ นวน 200,000 บาท ในวันท่ี 20 กมุ ภาพนั ธ์ 2557
และจ่ายเงินปันผลในวนั ท่ี 10 มีนาคม 2557 การบนั ทึกบญั ชเี งนิ ปนั ผลคา้ งจ่าย ตรงกบั ขอ้ ใด
(จุดประสงค์การเรยี นรู้ข้อที่ 13)
ก. เดบติ กําไรสะสม เครดิต เงินปนั ผลค้างจ่าย 200,000
ข. เดบิต เงนิ ปนั ผลจ่าย เครดติ เงินปันผลค้างจา่ ย 200,000
ค. เดบิต เงินปันผลค้างจา่ ย เครดิต กาํ ไรสะสม 200,000
ง. เดบิต เงนิ ปนั ผลค้างจ่าย เครดิต เงินปนั ผลจา่ ย 200,000
จ. เดบิต กําไรสะสม เครดิต เงินปนั ผลจา่ ย 200,000
หนว่ ยการเรียนรู้ที่ 1 หนสี้ นิ หมุนเวยี น 7
14. บรษิ ัท ชยั พร จํากัด เป็นกจิ การท่จี ดทะเบยี นภาษีมลู ค่าเพมิ่ 7% มยี อดขายสนิ ค้า
เดอื นกรกฎาคม 2557 จาํ นวน 500,000 บาท และมยี อดซอ้ื ประจําเดือนทง้ั ส้ิน 300,000 บาท
การบันทึกบญั ชีภาษีมูลค่าเพิม่ คา้ งจ่าย ตรงกบั ข้อใด (จดุ ประสงค์การเรยี นรู้ข้อท่ี 14)
ก. เครดิต ภาษมี ลู คา่ เพม่ิ ค้างจา่ ย 7,000 บาท
ข. เครดิต ภาษมี ูลค่าเพม่ิ ค้างจา่ ย 14,000 บาท
ค. เครดติ ภาษมี ลู ค่าเพิม่ คา้ งจา่ ย 21,000 บาท
ง. เครดติ ภาษีมูลค่าเพ่ิมค้างจ่าย 28,000 บาท
จ. เครดิต ภาษีมูลค่าเพิม่ คา้ งจา่ ย 35,000 บาท
15. เมอื่ วนั ท่ี 25 ธนั วาคม 2557 บรษิ ทั สขุ ฤดี จาํ กัด จา่ ยเงินเดือนให้พนกั งาน จาํ นวน 150,000 บาท
ภาษีเงนิ ได้หัก ณ ท่จี ่าย จาํ นวน 22,500 บาท พนักงานจา่ ยภาษเี องท้งั หมด และหกั เงนิ ประกันสงั คม
อตั รา 5% ของเงนิ เดอื น บรษิ ทั จา่ ยสมทบอกี 5% ของเงนิ เดือน การบันทึกบญั ชภี าษเี งินได้
หัก ณ ท่ีจ่ายและบญั ชีเงินประกันสงั คมคา้ งจ่าย ตรงกบั ข้อใด (จดุ ประสงค์การเรยี นรู้ขอ้ ท่ี 15)
ก. เครดิต ภาษเี งินได้หัก ณ ท่ีจ่าย 11,250 เงินประกันสังคมจา่ ย 7,500
ข. เครดิต ภาษีเงนิ ไดห้ กั ณ ที่จ่าย 11,250 เงินประกนั สงั คมคา้ งจา่ ย 7,500
ค. เครดิต ภาษเี งนิ ได้หัก ณ ทจ่ี ่าย 11,250 เงินประกนั สังคมจา่ ยสมทบ 7,500
ง. เครดิต ภาษีเงนิ ได้หกั ณ ท่ีจ่าย 22,500 เงนิ ประกนั สังคมคา้ งจ่าย 15,000
จ. เครดติ ภาษีเงนิ ไดห้ กั ณ ทจี่ า่ ย 22,500 เงนิ ประกนั สงั คมจ่ายสมทบ 15,000
16. บริษทั ชมจันทร์ จาํ กัด มีกาํ ไรสทุ ธิประจําปี 2557 จํานวน 520,000 บาท อัตราภาษเี งนิ ได้
นติ ิบคุ คลทวั่ ไป 20% ของกาํ ไรสุทธิ การบันทกึ บญั ชภี าษเี งินไดน้ ิติบคุ คลค้างจา่ ย ตรงกับขอ้ ใด
(จุดประสงค์การเรียนรู้ขอ้ ที่ 16)
ก. เครดิต ภาษเี งนิ ได้นิตบิ ุคคลค้างจา่ ย 104,000
ข. เครดิต ภาษเี งนิ ได้นติ ิบคุ คลค้างจ่าย 130,000
ค. เครดติ ภาษเี งินไดน้ ติ บิ คุ คลคา้ งจา่ ย 156,000
ง. เดบติ ภาษีเงินไดน้ ติ ิบุคคลคา้ งจ่าย 104,000
จ. เดบติ ภาษีเงินไดน้ ิตบิ ุคคลค้างจา่ ย 130,000
17. บริษัทแห่งหน่ึงมกี าํ ไรสทุ ธกิ ่อนหกั โบนสั และภาษีเงินไดป้ ระจาํ ปี 2557 จํานวน 500,000 บาท
อัตราโบนสั 10% ของกาํ ไรสทุ ธิ และอัตราภาษีเงินได้นติ บิ คุ คล 30% ของกาํ ไรสทุ ธิประจาํ ปี
บริษทั คาํ นวณโบนสั จากกาํ ไรหลงั หักโบนสั และภาษี การบนั ทึกบญั ชโี บนัสพนักงานคา้ งจ่ายและ
ภาษีเงนิ ไดน้ ิติบุคคลคา้ งจ่าย ตรงกบั ข้อใด (จดุ ประสงค์การเรยี นรู้ขอ้ ที่ 17)
ก. เครดิตโบนสั พนกั งานคา้ งจ่าย 32,710.28 ภาษเี งินได้นติ บิ คุ คลค้างจา่ ย 139,175.25
ข. เครดติ โบนสั พนกั งานค้างจา่ ย 32,710.28 ภาษีเงินไดน้ ิติบุคคลคา้ งจ่าย 140,186.92
ค. เครดิตโบนัสพนกั งานคา้ งจ่าย 36,082.47 ภาษเี งินไดน้ ติ บิ ุคคลคา้ งจา่ ย 139,175.25
ง. เครดติ โบนสั พนกั งานค้างจ่าย 45,454.55 ภาษเี งนิ ไดน้ ิตบิ คุ คลคา้ งจา่ ย 136,363.64
จ. เครดิตโบนัสพนกั งานคา้ งจ่าย 50,000.00 ภาษเี งนิ ไดน้ ติ บิ คุ คลคา้ งจ่าย 135,000.00
หน่วยการเรียนรู้ท่ี 1 หนส้ี นิ หมุนเวียน 8
18. เมือ่ วันท่ี 1 กันยายน 2557 บริษทั สุขฤทยั จํากดั ไดร้ ับเงินค่าเช่าหอพักลว่ งหนา้ 6 เดอื น
จาํ นวน 30,000 บาท การบันทกึ บญั ชคี า่ เชา่ รับลว่ งหน้า ตรงกบั ขอ้ ใด
(จดุ ประสงค์การเรยี นรู้ขอ้ ท่ี 18)
ก. เครดติ คา่ เชา่ รบั ลว่ งหน้า 10,000
ข. เครดติ ค่าเชา่ รบั ล่วงหนา้ 20,000
ค. เครดติ ค่าเช่ารับลว่ งหนา้ 30,000
ง. เดบิต ค่าเชา่ รับล่วงหนา้ 20,000
จ. เดบิต ค่าเชา่ รับล่วงหน้า 30,000
19. รายการใดต่อไปน้คี วรแสดงในงบแสดงฐานะการเงนิ ก่อนรายการอื่น
(จุดประสงค์การเรยี นรู้ขอ้ ที่ 19)
ก. เจา้ หนกี้ ารค้า
ข. ตว๋ั เงินจ่าย
ค. รายได้รบั ลว่ งหน้า
ง. เงินเบิกเกินบญั ชีธนาคาร
จ. ค่าใช้จ่ายค้างจา่ ย
หน่วยการเรียนรูท้ ี่ 1 หนส้ี นิ หมุนเวียน 9
เนื้อหาสาระ
การประกอบธุรกิจน้ันจําเป็นต้องมีเงินทุนเพ่ือใช้ในการดําเนินงาน แหล่งท่ีมาของเงินทุน
มาจากสองแหล่งด้วยกัน คือ จากหนี้สิน (Liability) และจากหุ้นส่วนหรือส่วนของเจ้าของ (Equity)
ซึ่งเงินทุนท้ังสองแหล่งนี้ประกอบกันเป็นโครงสร้างทางการเงินของกิจการ โดยเฉพาะแหล่งเงินทุน
จากหนสี้ นิ ถือเป็นแหลง่ เงินทนุ สําคญั เน่ืองจากกิจการมคี วามจําเป็นตอ้ งก่อหนสี้ ินข้นึ อยา่ งไม่มีทางเลี่ยงได้
เช่น การซ้ือสินค้าหรือใช้บริการเป็นเงินเชื่อ การกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงินหรือบุคคลภายนอก
การได้รับเงินแต่ยังไม่ได้ส่งสินค้าหรือให้บริการ การค้างชําระค่าใช้จ่ายต่าง ๆ รายการเหล่านี้
เป็นภาระผูกพันที่กิจการต้องชําระหน้ีในอนาคตให้หมดไป ซ่ึงการชําระหน้ีสินอาจชําระด้วยเงินสด
สินทรพั ย์อน่ื ทีไ่ ม่ใชเ่ งินสดหรอื บริการก็ได้
1. ความหมาย ลกั ษณะและประเภทของหนส้ี นิ
1.1 ความหมายของหนี้สนิ
สภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้ให้ความหมายของหน้ีสิน ไว้ในกรอบแนวคิด
สําหรับการรายงานทางการเงิน (ปรับปรุง 2558) ไว้ว่า “หน้ีสิน (Liabilities) หมายถึง ภาระผูกพัน
ในปัจจุบันของกิจการ ซ่ึงเป็นผลของเหตุการณ์ในอดีต โดยการชําระภาระผูกพันน้ันคาดว่าจะส่งผลให้
กจิ การสูญเสยี ทรัพยากรท่มี ปี ระโยชนเ์ ชงิ เศรษฐกิจ”
1.2 ลักษณะของหนีส้ นิ จากความหมายข้างต้น สามารถสรปุ ลกั ษณะของหนส้ี ินได้ดงั นี้
1) หนี้สินเปน็ ภาระผกู พันในปัจจุบันของกิจการ เป็นหน้าที่หรือความรับผิดชอบท่ีต้องปฏิบัติ
ตามข้อตกลงที่ทําไว้ อาจมีผลบังคับตามกฎหมายเน่ืองจากเป็นสัญญาผูกมัด หรือเป็นข้อบังคับ
ตามกฎหมาย เช่น กิจการซื้อสินค้าหรือใช้บริการแต่ยังไม่ได้ชําระเงิน ทําให้กิจการมีภาระ
ต้องจ่ายชําระค่าสินค้าหรือค่าบริการ เป็นต้น หนี้สินต้องเป็นภาระผูกพันในปัจจุบันเท่านั้น
ไม่ใช่ภาระผูกพันในอนาคต ซ่ึงภาระผูกพันจะเกิดข้ึนเม่ือกิจการได้รับมอบสินทรัพย์ หรือเม่ือได้ทําสัญญา
จัดหาสินทรัพย์ที่ไม่สามารถยกเลิกได้ หากกิจการไม่ปฏิบัติตามสัญญาจะเกิดความเสียหายต่อกิจการ
เช่น ต้องจ่ายค่าปรับ เป็นต้น นอกจากนี้ภาระผูกพันอาจเกิดจากการดําเนินงานตามปกติของกิจการ
จากประเพณีการค้า หรือจากความต้องการท่ีจะรักษาความสัมพันธ์เชิงธุรกิจกับลูกค้า เช่น มีนโยบาย
รับประกนั คณุ ภาพสินคา้ กิจการต้องบนั ทกึ จาํ นวนเงนิ ทีค่ าดวา่ จะต้องจ่ายเพื่อแก้ไขข้อบกพร่องของสินค้า
ทชี่ ํารดุ เป็นหน้ีสนิ จะวดั ค่าไดจ้ ากการประมาณ เรยี กหนีส้ ินประเภทหนวี้ า่ “ประมาณการหนีส้ นิ ” เปน็ ต้น
หนว่ ยการเรียนรทู้ ่ี 1 หนสี้ นิ หมุนเวียน 10
2) เป็นรายการทางธุรกิจของกิจการท่ีเกิดข้ึนในอดีต เช่น กิจการได้รับสินค้าหรือบริการ
โดยทย่ี ังไมไ่ ด้จา่ ยชาํ ระทันทที ี่สง่ มอบสนิ ค้าหรือบรกิ าร ทําใหก้ จิ การมภี าระผูกพันท่ีต้องจ่ายชําระค่าสินค้า
หรือบริการให้กับผู้ขายสินค้าหรือเจ้าหนี้การค้า หรือกิจการได้รับเงินกู้จากธนาคาร ทําให้กิจการ
มภี าระผูกพันทีต่ ้องจ่ายดอกเบี้ยและคืนเงนิ กใู้ หก้ ับธนาคารหรือเจ้าหนเี้ งนิ กู้ เปน็ ต้น
3) การชาระภาระผูกพันน้ันจะส่งผลให้กิจการต้องสูญเสียทรัพยากรท่ีมีประโยชน์
เชิงเศรษฐกิจ กิจการสามารถชําระภาระผูกพันในปัจจุบันได้หลายลักษณะแล้วแต่เง่ือนไขข้อตกลง
ที่ได้สัญญาไว้ คือ การจ่ายชําระเป็นเงินสด ชําระด้วยสินทรัพย์ เช่น สินค้า การชําระด้วยบริการ
การเปล่ียนภาระผูกพันเดิมเป็นภาระผูกพันใหม่ เช่น การชําระเงินกู้ยืมระยะสั้นด้วยการออกตั๋วเงินจ่าย
ระยะสั้นที่มีอายุไม่เกิน 12 เดือน การแปลงหน้ีให้เป็นทุน นอกจากนี้ภาระผูกพันท่ีมีอยู่อาจสิ้นสุดลง
ด้วยการทเ่ี จ้าหนี้ยกหนี้ให้จากการปรบั โครงสร้างหนี้ เปน็ ต้น
1.3 ประเภทของหน้สี นิ
หนีส้ นิ สามารถจําแนกประเภทตามลกั ษณะของหนสี้ นิ ได้ 2 วิธี คือ
1.3.1 จาแนกตามกาหนดระยะเวลาการชาระหน้ี
โดยพิจารณาจากข้อกําหนดตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับท่ี 1 (ปรับปรุง 2558)
เรื่อง การนาํ เสนองบการเงิน สามารถแบง่ หนส้ี ินออกเป็น 2 ประเภท ไดแ้ ก่
1) หนี้สินหมุนเวียน (Current Liabilities) เป็นหน้ีสินท่ีมีกําหนดระยะเวลา
การชาํ ระหนภ้ี ายใน 12 เดอื น หรอื 1 ปีนบั จากรอบระยะเวลารายงาน หรือรอบระยะเวลาการดําเนินงาน
ตามปกตขิ องกิจการดว้ ยสนิ ทรัพย์หมนุ เวียนหรือดว้ ยการก่อหนส้ี นิ ระยะสน้ั อื่นข้นึ มาแทน
2) หนส้ี นิ ไมห่ มุนเวียน (Non-current Liabilities) เป็นหนี้สินที่มีกําหนดระยะเวลา
การชําระหนี้เกินกว่า 12 เดือน หรือ 1 ปีนับจากรอบระยะเวลารายงาน หรือเกินกว่ารอบระยะเวลา
การดําเนินงานตามปกตขิ องกิจการ
1.3.2 จาแนกตามความแนน่ อนของหน้ีสิน
โดยพิจารณาจากความแน่นอนเกีย่ วกับกาํ หนดเวลาและจํานวนเงนิ ท่ตี ้องจ่ายชาํ ระ
สามารถแบ่งหนสี้ ินออกเปน็ 3 ประเภท ไดแ้ ก่
1) หน้ีสินที่กาหนดมูลค่าได้แน่นอน (Determinable Liabilities) เป็นหน้ีสิน
ที่กิจการสามารถกําหนดจํานวนเงินและช่วงเวลาที่ต้องชําระได้แน่นอน เนื่องจากเป็นสัญญาข้อตกลง
ทางการคา้ หรือประเพณกี ารปฏบิ ตั ิโดยท่วั ไปของธุรกิจ เช่น เจ้าหน้ีการค้า ตั๋วเงินจ่าย เงินเดือนค้างจ่าย
และรายไดร้ ับล่วงหน้า เปน็ ต้น
2) หน้ีสินท่ีไม่ทราบจานวนหน้ีที่แน่นอนหรือประมาณการหน้ีสิน (Provision
Liabilities) เป็นภาระผูกพันท่ีเกิดข้ึนแล้ว แต่กิจการไม่ทราบจํานวนเงินและวันที่ต้องชําระ
ดงั นนั้ กิจการจะตอ้ งใช้ประสบการณ์ในอดีตประมาณจาํ นวนหน้สี นิ ที่คาดวา่ จะเกิดขึ้นใหไ้ ด้ใกลเ้ คียงตามจริง
เพ่ือแสดงภาระผูกพันในงวดบัญชีปัจจุบัน เช่น ประมาณการหน้ีสินจากการรับประกันคุณภาพสินค้า
ประมาณการหน้ีสนิ ค่าบัตรโดยสารและบัตรกํานลั เปน็ ตน้
หนว่ ยการเรยี นร้ทู ่ี 1 หน้สี นิ หมุนเวียน 11
3) หนี้สินที่อาจเกิดข้ึน (Contingent Liabilities) เปน็ ภาระผกู พนั ทอี่ าจเกดิ ขึ้น
ในอนาคตอนั เนอื่ งมาจากการดาํ เนินงานตามปกติของกจิ การในปจั จบุ นั ซง่ึ ภาระผกู พนั ในอนาคต
เป็นเหตกุ ารณ์ทย่ี งั มคี วามไม่แน่นอน เช่น หนี้สนิ ที่อาจเกดิ ขึน้ เน่อื งจากการแพ้คดคี วาม เปน็ ต้น
การจําแนกประเภทของหนส้ี นิ แสดงดังภาพท่ี 1.1 ดังน้ี
ความแนน่ อนของหน้สี นิ ประเภทของหนี้สิน
กาหนดระยะเวลาการชาระหนี้
หนีส้ นิ ทกี่ าหนดมลู ค่า หนี้สินหมุนเวียน
ได้แนน่ อน สามารถกําหนด
ระยะเวลาชาํ ระหน้ีภายใน 12 เดอื น
จาํ นวนเงินและช่วงเวลา นบั จากรอบระยะเวลารายงาน หรือ
ทต่ี อ้ งชําระไดแ้ น่นอน
รอบระยะเวลาการดําเนินงาน
ประมาณการหน้ีสนิ ตามปกตขิ องกิจการ
ไมท่ ราบจาํ นวนเงนิ และวนั ท่ี หนสี้ นิ ไม่หมุนเวยี น
ตอ้ งชาํ ระ ต้องประมาณจาํ นวน
ระยะเวลาชาํ ระหน้ีเกนิ กวา่ 12 เดือน
หนสี้ ินทค่ี าดวา่ จะเกดิ ขึ้น นบั จากรอบระยะเวลารายงาน หรอื
หนี้สนิ ทีอ่ าจเกิดขึ้น รอบระยะเวลาการดาํ เนนิ งาน
ตามปกตขิ องกิจการ
ภาระผูกพันในอนาคต
เปน็ เหตุการณ์ท่ยี ัง
มคี วามไม่แน่นอน
ภาพท่ี 1.1 การจาํ แนกประเภทของหนส้ี ิน
หนว่ ยการเรียนรทู้ ี่ 1 หน้สี ินหมุนเวยี น 12
แบบฝึกหดั ที่ 1.1
จงตอบคาถามต่อไปนใ้ี หส้ มบูรณ์ (ข้อละ 2 คะแนน)
1. หนีส้ นิ ตามกรอบแนวคดิ สาํ หรบั การรายงานทางการเงิน (ปรับปรงุ 2558) หมายถึงอะไร
............................................................................................................................. ........................................
........................................................................................................................................ .............................
2. จงบอกลกั ษณะของหนสี้ ิน
............................................................................................................................. ........................................
.....................................................................................................................................................................
............................................................................................................................. ........................................
........................................................................................................................................ .............................
.....................................................................................................................................................................
............................................................................................................................. ........................................
................................................................................................................................................... ..................
.....................................................................................................................................................................
............................................................................................................................. ........................................
3. หนี้สนิ จําแนกตามกําหนดระยะเวลาการชาํ ระหน้ี แบง่ ได้กป่ี ระเภท อะไรบา้ ง
............................................................................................................................. ........................................
............................................................................................................................. ........................................
.....................................................................................................................................................................
4. หนี้สินจําแนกตามความแนน่ อนของหน้สี ิน แบง่ ไดก้ ปี่ ระเภท อะไรบา้ ง
............................................................................................................................. ........................................
.....................................................................................................................................................................
............................................................................................................................. ........................................
........................................................................................................................................ .............................
.....................................................................................................................................................................
............................................................................................................................. ........................................
หนว่ ยการเรยี นร้ทู ่ี 1 หน้ีสินหมุนเวยี น 13
2. การรบั รู้หนี้สินและการวดั มลู ค่าหนี้สนิ
2.1 การรับรูห้ น้สี ิน (Recognition of Liabilities)
กรอบแนวคดิ สําหรบั การรายงานทางการเงิน (ปรบั ปรุง 2558) ไดก้ ลา่ วถึงการรับร้หู นส้ี ิน
และการวดั มลู ค่าหนสี้ ิน ไว้ดังนี้
การรับรหู้ นสี้ ิน หมายถึง การรวมรายการหนส้ี ินเข้าเปน็ ส่วนหนึ่งในงบแสดงฐานะการเงนิ
เม่อื เขา้ เง่อื นไขท้ัง 2 ข้อ คือ
1) มีความเปน็ ไปได้ค่อนขา้ งแนท่ ก่ี จิ การจะสูญเสียประโยชน์เชงิ เศรษฐกิจในอนาคต
เพื่อชาระภาระผูกพนั ในปัจจุบัน พิจารณาจากแนวคดิ ความนา่ จะเปน็ ในการอา้ งองิ ระดบั ความแน่นอน
ทก่ี ิจการจะสญู เสยี ประโยชนเ์ ชิงเศรษฐกจิ ในอนาคต โดยอาศยั หลักฐานที่มอี ยใู่ นขณะทเี่ กิดรายการค้า
หรือในขณะจดั ทํางบการเงนิ
2) ภาระผกู พันทีต่ ้องชาระสามารถวัดได้อยา่ งนา่ เชื่อถอื รายการที่จะรับรู้ได้ตอ้ งมรี าคาทนุ
หรือมลู ค่าทส่ี ามารถวดั ไดอ้ ย่างน่าเชอื่ ถอื
เช่น กิจการได้รับเงินกู้จากธนาคารจะต้องทําสัญญาการกู้ยืมและระบุเงื่อนไข
การจ่ายคืนเงนิ ต้นและดอกเบย้ี เมอ่ื ถงึ กาํ หนดชําระ ดงั นน้ั ณ วนั กู้เงนิ กจิ การจงึ ตอ้ งรบั รู้เงนิ กู้เป็นหน้ีสิน
ในงบแสดงฐานะการเงนิ เน่ืองจากเปน็ ไปตามเกณฑ์การรบั รู้หน้สี นิ ทง้ั 2 ข้อ
กิ จ ก า ร ไ ม่ ต้ อ ง รั บ รู้ ภ า ร ะ ผู ก พั น ภ า ย ใ ต้ สั ญ ญ า เ ป็ น ห น้ี สิ น ใ น ง บ แ ส ด ง ฐ า น ะ ก า ร เ งิ น
หากค่สู ญั ญายงั ไมไ่ ด้ปฏบิ ัตติ ามภาระผูกพันในสัญญา เช่น ถ้ากิจการยังไม่ได้รับสินค้าที่ได้ส่ังซื้อไปแล้ว
กิจการไม่ตอ้ งรับรูร้ ายการสงั่ ซ้อื สินคา้ ทย่ี ังไมไ่ ด้รบั มอบเปน็ หนสี้ นิ ในงบแสดงฐานะการเงนิ เปน็ ตน้
2.2 การวดั มูลค่าหนส้ี นิ (Measurement of Liabilities)
การวดั มลู ค่าหนีส้ ิน หมายถงึ การกําหนดจํานวนเงินเพอ่ื รบั รหู้ นส้ี นิ ในงบแสดงฐานะการเงนิ
กรอบแนวคดิ สาํ หรบั การรายงานทางการเงิน (ปรบั ปรงุ 2558) กําหนดหลกั เกณฑ์การวดั มลู คา่ หนสี้ ิน
มี 4 วธิ ี ดงั น้ี
1) ราคาทนุ เดมิ (Historical Cost)
การบันทึกหน้ีสินด้วยจํานวนเงินท่ีได้รับจากการก่อภาระผูกพันหรือบันทึกด้วยจํานวน
เงนิ สดหรือรายการเทยี บเท่าเงนิ สด ทคี่ าดวา่ จะตอ้ งจา่ ยเพอื่ ชาํ ระหนี้สินท่ีเกิดจากการดําเนนิ งานตามปกติ
ของกจิ การ
2) ราคาทนุ ปัจจบุ ัน (Current Cost)
การบนั ทกึ หนสี้ นิ ดว้ ยจํานวนเงินสดหรือรายการเทียบเท่าเงนิ สดที่ต้องใช้ชาํ ระภาระผกู พัน
ในขณะนน้ั โดยไมต่ ้องคิดลด
3) มลู ค่าที่จะจา่ ยคืน (Settlement Value)
การบนั ทึกหนสี้ ินดว้ ยมลู ค่าทีจ่ ะตอ้ งจ่ายคืนด้วยเงินสดหรอื รายการเทียบเทา่ เงนิ สดที่คาดวา่
จะต้องจา่ ยเพอื่ ชําระหนสี้ ินทเี่ กดิ จากการดาํ เนนิ งานตามปกติโดยไมต่ ้องคิดลด
หนว่ ยการเรียนรู้ที่ 1 หนส้ี ินหมุนเวียน 14
4) มูลค่าปัจจุบัน (Present Value)
การบันทึกหนส้ี นิ ดว้ ยมลู คา่ ปจั จบุ ันของกระแสเงนิ สดจา่ ยสทุ ธซิ ่ึงคาดว่าจะตอ้ งจา่ ยชําระหนส้ี ิน
ในการดาํ เนินงานตามปกตขิ องกิจการ
จากการรับรู้หน้ีสินและการวัดมูลค่าหนี้สินข้างต้น สรุปได้ว่า กิจการ ต้องรับรู้หน้ีสิน
ในงบแสดงฐานะการเงิน เมอ่ื มคี วามแนน่ อนทกี่ จิ การจะสูญเสียประโยชน์เชิงเศรษฐกจิ เพือ่ ชําระภาระผกู พนั
ในปัจจุบันและสามารถวัดภาระผูกพันที่เป็นตัวเงินได้อย่างน่าเช่ือถือ กิจการต้องวัดมูลค่าหน้ีสินด้วย
มลู คา่ ปจั จุบนั ของกระแสเงินสดจา่ ยสุทธิที่กิจการต้องชําระหน้ี ส่วนหนี้สินหมุนเวียนท่ีจะถึงกําหนดชําระ
ในปีหน้า ความแตกต่างระหว่างมูลค่าปัจจุบันกับราคาทุนเดิมมีน้อยมาก นักบัญชีจึงใช้ราคาทุนเดิม
ในการบนั ทกึ บัญชี
แบบฝึกหดั ท่ี 1.2
จงตอบคาถามต่อไปนใ้ี ห้สมบูรณ์ (ขอ้ ละ 2 คะแนน)
1. การรบั รหู้ น้สี ิน ตามกรอบแนวคดิ สาํ หรบั การรายงานทางการเงนิ (ปรบั ปรุง 2558) มีเงอื่ นไขอย่างไร
............................................................................................................................. ........................................
........................................................................................................................................... ..........................
.....................................................................................................................................................................
............................................................................................................................. ........................................
2. กรอบแนวคิดสาํ หรบั การรายงานทางการเงิน (ปรบั ปรงุ 2558) กําหนดหลักเกณฑก์ ารวดั มลู คา่ หนสี้ นิ
ไว้อย่างไร
............................................................................................................................. ........................................
............................................................................................................................. ........................................
.....................................................................................................................................................................
............................................................................................................................. ........................................
........................................................................................................................................ .............................
หน่วยการเรยี นร้ทู ่ี 1 หน้สี นิ หมุนเวยี น 15
3. จงพจิ ารณารายการตอ่ ไปนี้วา่ เปน็ หน้สี ินตามหลกั การบัญชที รี่ ับรองทว่ั ไปหรอื ไม่ หากรายการใด
เปน็ หนสี้ ินใหร้ ะบชุ ือ่ บญั ชีและจาํ นวนเงนิ ด้วย
1) บรษิ ทั ประกาศจา่ ยเงนิ ปันผลใหผ้ ูถ้ ือห้นุ จาํ นวน 20,000 บาท ซึ่งจะจา่ ยใหอ้ ีก 1 เดอื นขา้ งหนา้
2) บริษัทไดร้ ับเช็คจากการกเู้ งินจากธนาคาร 100,000 บาท มรี ะยะเวลาชาํ ระคืน 1 ปี
อตั ราดอกเบ้ีย 10% ต่อปี
3) บรษิ ัทรบั เงนิ ค่าเชา่ อาคารจากลกู คา้ จํานวน 20,000 บาท สําหรบั ระยะเวลา 1 ปี
4) บรษิ ัทตกลงทจ่ี ะปรบั ปรงุ ระบบไฟฟ้าภายในอาคารกบั ผรู้ บั เหมาในราคา 20,000 บาท
5) บริษทั มีโครงการซื้อเครอ่ื งจกั รใหม่ในปหี น้า จาํ นวน 1 เคร่ือง มลู ค่า 300,000 บาท
รายการท่ี รับรหู้ น้ีสนิ ชอื่ บญั ชี จานวนเงิน (บาท)
ได้ ไมไ่ ด้
3.1
3.2
3.3
3.4
3.5
หนว่ ยการเรียนรู้ที่ 1 หน้ีสนิ หมุนเวยี น 16
3. ความหมายและประเภทของหน้สี นิ หมุนเวียน
3.1 ความหมายของหนส้ี ินหมุนเวยี น
ชลธิชา พิเชษฐวณิชย์โชค (2556 : 6) ได้ให้ความหมายไว้วา่ หนี้สินหมุนเวยี น หมายถงึ
หน้ีสนิ ซ่ึงมรี ะยะเวลาการชาํ ระคนื ภายใน 1 ปี หรือภายในระยะเวลาการดําเนินงานตามปกตขิ องกจิ การ
และตอ้ งชาํ ระด้วยสนิ ทรพั ย์หมนุ เวียน หรอื ด้วยการกอ่ หนสี้ นิ ระยะส้ันอน่ื แทน
พลู สิน กลน่ิ ประทมุ (2557 : 1-5) ไดใ้ ห้ความหมายไวว้ า่ หน้ีสนิ หมุนเวยี น หมายถงึ
หนี้สนิ ทม่ี กี ําหนดระยะเวลาการชาํ ระหนภี้ ายใน 12 เดือน หรอื 1 ปนี บั จากรอบระยะเวลารายงาน
มาตรฐานการบัญชี ฉบับท่ี 1 (ปรับปรงุ 2558) เรื่อง การนําเสนองบการเงนิ ไดก้ ําหนดวา่
หนีส้ ินจะจดั ประเภทเป็นหนส้ี นิ หมุนเวยี นเมื่อหนส้ี ินน้ันเปน็ ไปตามเงอื่ นไขขอ้ ใดขอ้ หนึง่ ดงั นี้
1) คาดว่าจะมีการชําระภายในรอบระยะเวลาดําเนินงานตามปกติของกิจการ หากกิจการ
ไม่สามารถระบุรอบระยะเวลาดําเนินงานของกิจการได้อย่างชัดเจนให้ถือว่าวงจรการดําเนินงาน
มรี ะยะเวลา 12 เดือน
2) มีวัตถปุ ระสงคเ์ บื้องตน้ คือถือไวเ้ พ่อื ค้า
3) ถงึ กาํ หนดชําระภายใน 12 เดอื น นบั จากรอบระยะเวลารายงาน
4) กิจการไม่มสี ทิ ธอิ นั ปราศจากเงอ่ื นไขให้เล่ือนการชาํ ระหนีอ้ อกไปอกี เป็นเวลา
ไม่นอ้ ยกวา่ 12 เดือนนบั จากรอบระยะเวลารายงาน
หากไมเ่ ป็นไปตามเงื่อนไขข้างต้นให้จดั ประเภทหน้สี นิ นั้นเป็น “หนสี้ ินไม่หมนุ เวยี น”
สรุปได้ว่า หนี้สินหมุนเวียน หมายถึง หนี้สินท่ีมีระยะเวลาการชําระคืนภายใน 12 เดือน
นั บ จ า ก ร อ บ ร ะ ย ะ เ ว ล า ร า ย ง า น ห รื อ ภ า ย ใ น ร อ บ ร ะ ย ะ เ ว ล า ก า ร ดํ า เ นิ น ง า น ต า ม ป ก ติ ข อ ง กิ จ ก า ร
ซงึ่ ต้องชําระด้วยสนิ ทรัพยห์ มุนเวียนหรือด้วยการกอ่ หนี้สินหมุนเวียนชนดิ อ่นื ขึน้ มาแทน
รอบระยะเวลาการดาเนินงานตามปกติของกิจการ หมายถึง ระยะเวลาที่กิจการใช้ใน
การดําเนินงาน เริ่มต้ังแต่ได้รับสินทรัพย์มาผ่านกระบวนการต่าง ๆ จนกระท่ังได้รับประโยชน์
ในรูปของเงินสดหรือรายการเทียบเท่าเงินสด เช่น กิจการอุตสาหกรรมเริ่มต้ังแต่การซ้ือวัตถุดิบ
มาผ่านกระบวนการผลิตเป็นสินค้าสําเร็จรูป นําสินค้าสําเร็จรูปไปขายและการรับชําระหน้ีจากลูกหน้ี
สําหรับกจิ การค้า จะเรมิ่ ต้งั แต่การซอ้ื สินคา้ นําสนิ คา้ ไปขายและรับชําระหนีจ้ ากลกู หน้ี เป็นตน้
3.2 ประเภทของหนสี้ นิ หมุนเวยี น จาํ แนกตามความแน่นอนของหนส้ี นิ แบ่งออกเปน็ 3 ประเภท ดังน้ี
1) หน้ีสินหมุนเวียนท่ีกาหนดมูลค่าได้แน่นอน (Determinable Current Liabilities)
เป็นหน้สี ินที่เกิดขึ้นแล้วโดยสามารถระบุจํานวนเงินของหนี้สินและระยะเวลาของการจ่ายชําระท่ีแน่นอน
เน่ืองจากการทําสัญญาหรือการดําเนินการทางกฎหมาย เช่น เงินเบิกเกินบัญชี เงินกู้ยืมจากธนาคาร
เจ้าหนี้ก ารค้า ตั๋วเงิน จ่าย ส่ วนของ หนี้สิน ไม่ หมุนเวี ยนที่ถึงกํ าหนดชํ าระภาย ในหน่ึง ปี
เงนิ มัดจาํ และเงินประกัน คา่ ใชจ้ า่ ยค้างจ่ายและรายได้รับลว่ งหนา้ เปน็ ต้น
หน่วยการเรยี นรทู้ ี่ 1 หน้สี นิ หมุนเวยี น 17
2) ประมาณการหนี้สินหมุนเวียน (Provision Current Liabilities) เป็นหน้ีสินที่เกิดขึ้นแล้ว
ในงวดปัจจุบันแต่ไม่อาจกําหนดมูลค่าท่ีจะเกิดขึ้นได้อย่างถูกต้องในขณะน้ันต้องอาศัยการประมาณ
จํานวนหน้ีสินที่คาดว่าจะเกิดข้ึนให้ได้ใกล้เคียงตามจริง เพ่ือแสดงมูลค่าหนี้สินหมุนเวียนใน
งบแสดงฐานะการเงิน เช่น ประมาณการหน้ีค่าสมนาคุณลูกค้า ประมาณการหนี้ค่ารับประกันสินค้า
และประมาณการหนี้ค่าบตั รกาํ นลั เปน็ ตน้
3) หน้ีสินหมุนเวียนท่ีอาจเกิดขึ้น (Contingent Current Liabilities) เป็นหนี้สินที่กิจการ
ยังไม่แน่ใจว่าหน้ีสินดังกล่าวจะเกิดขึ้นหรือไม่แต่มีเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หน่ึงทําให้กิจการเห็นว่า
อาจเกิดหนี้สนิ จํานวนนไ้ี ด้ เช่น เกดิ คดคี วามซึ่งอยใู่ นระหว่างการพิจารณาคดีในศาล เปน็ ตน้
แบบฝึกหดั ท่ี 1.3
จงตอบคาถามต่อไปนใ้ี หส้ มบูรณ์ (ข้อละ 2 คะแนน)
1. Current Liabilities หมายถงึ อะไร
............................................................................................................................. ........................................
.....................................................................................................................................................................
............................................................................................................................. ........................................
2. รอบระยะเวลาการดาํ เนินงานตามปกตขิ องกิจการ หมายถึงอะไร
............................................................................................................................. ........................................
.....................................................................................................................................................................
............................................................................................................................. ........................................
3. หน้สี ินหมนุ เวียนจาํ แนกตามความแน่นอนของหน้สี ิน แบ่งไดก้ ีป่ ระเภท อะไรบ้าง
............................................................................................................................. ........................................
............................................................................................................................. ........................................
.....................................................................................................................................................................
............................................................................................................................. ........................................
หน่วยการเรยี นร้ทู ี่ 1 หน้สี นิ หมุนเวยี น 18
4. การบนั ทกึ บญั ชีเกยี่ วกบั หนส้ี นิ หมนุ เวียนทก่ี าหนดมูลค่าได้แน่นอน มรี ายละเอยี ดดังน้ี
4.1 เงินเบกิ เกินบัญชีและเงินกยู้ ืมระยะส้ันจากสถาบันการเงิน (Bank Overdrafts and
Short-term borrowing from Financial Institutions)
เงนิ เบิกเกินบัญชี เปน็ หนสี้ ินทกี่ จิ การจะต้องเปดิ บญั ชเี งินฝากกระแสรายวนั ไว้ท่ีธนาคาร
และไดม้ กี ารทําสญั ญาตกลงกับธนาคารเก่ยี วกับวงเงนิ ทจี่ ะเบิกเกนิ บญั ชีไว้แลว้ เมือ่ กจิ การไดส้ ง่ั จ่ายเชค็
เกินบญั ชไี ปแล้ว บัญชีเงนิ ฝากกระแสรายวนั จะมียอดคงเหลือทางด้านเครดติ ซ่งึ กิจการจะตอ้ งรีบนําเงนิ
เขา้ บัญชีเพอ่ื ชําระยอดเบิกเกินบัญชีธนาคาร
การบันทกึ บัญชีเงินเบิกเกนิ บัญชี เป็นดังนี้
1) เมอื่ กจิ การเปดิ บัญชเี งนิ ฝากกระแสรายวัน บนั ทกี บญั ชโี ดย
เดบติ เงินฝากกระแสรายวัน ××
เครดิต เงนิ สด ××
2) เม่อื กิจการส่งั จ่ายเชค็ เกนิ บญั ชีธนาคาร บนั ทีกบญั ชีโดย
เดบติ คา่ ใช้จ่ายหรอื สนิ ทรัพย์ (ระบุประเภท) ××
เครดิต เงนิ ฝากกระแสรายวนั ××
ตัวอย่างท่ี 1.1 เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2557 บริษัท ทวีสุข จํากัด ได้นําเงินฝากธนาคารประเภท
กระแสรายวัน จํานวน 30,000 บาท กับธนาคารไทยออม จํากัด (มหาชน) และได้ทําสัญญา
เงินเบกิ เกินบัญชีกบั ธนาคารไว้ไมเ่ กิน 50,000 บาท ตอ่ มาวันท่ี 15 ตุลาคม 2557 บริษัทได้สั่งจ่ายเช็ค
ชาํ ระหนี้คา่ ไฟฟ้า จํานวน 55,000 บาท
การบนั ทกึ บญั ชี
สมดุ รายวันทวั่ ไป หน้า 1
พ.ศ. 2557 รายการ เลขที่ เดบิต เครดติ
เดอื น วัน
บัญชี บาท สต. บาท สต.
ต.ค. 1 เงินฝากกระแสรายวนั 30,000 -
เงินสด 30,000 -
นําเงินฝากธนาคาร
และทาํ สญั ญาเบกิ เกนิ บญั ชี
15 ค่าไฟฟา้ 55,000 -
เงินฝากกระแสรายวัน 55,000 -
บันทกึ การจา่ ยคา่ ไฟฟา้
หนว่ ยการเรียนรทู้ ่ี 1 หนี้สินหมุนเวยี น 19
จากตัวอย่างข้างต้น ณ วันท่ี 15 ตุลาคม 2557 บัญชีเงินฝากกระแสรายวันมียอดคงเหลือ
ด้านเครดิตจํานวน 25,000 บาท เป็นหน้ีสินเงินเบิกเกินบัญชี บริษัทสามารถส่ังจ่ายเช็คได้อีก
แตย่ อดเครดิตของบญั ชีต้องไม่เกนิ 50,000 บาท
เงินกู้ยืมระยะส้ันจากสถาบันการเงิน เป็นหนี้สินที่เกิดจากกิจการกู้ยืมเงินจากธนาคาร
โดยมีกาํ หนดระยะเวลาชําระไม่เกนิ 12 เดอื น
การบนั ทกึ บัญชีเงินกู้ยมื ระยะสั้นจากสถาบันการเงนิ เปน็ ดังน้ี
1) เมอื่ กิจการก้ยู มื เงินจากธนาคาร บนั ทกี บญั ชีโดย
เดบติ เงนิ สด ××
เครดิต เงนิ กู้ยืมธนาคาร ××
2) เมื่อกิจการชาระคืนเงินก้ยู ืมและดอกเบีย้ เงนิ กู้ยืมใหธ้ นาคาร บันทีกบญั ชโี ดย
เดบิต เงนิ ก้ยู ืมธนาคาร ××
ดอกเบ้ยี จ่าย ××
เครดิต เงนิ สด
××
ตัวอย่างท่ี 1.2 เมอื่ วันท่ี 1 มนี าคม 2557 บริษัท โชคดี จาํ กดั กู้เงนิ จากธนาคารมงั่ มี จํากัด (มหาชน)
จาํ นวน 200,000 บาท อัตราดอกเบยี้ 8% ตอ่ ปี กาํ หนดระยะเวลาชาํ ระคืน 6 เดอื น
การบันทึกบญั ชี
สมดุ รายวนั ทว่ั ไป หน้า 1
พ.ศ. 2557 รายการ เลขที่ เดบิต เครดติ
เดือน วัน
บญั ชี บาท สต. บาท สต.
มี.ค. 1 เงินสด 200,000 -
เงนิ ก้ยู มื ธนาคาร 200,000 -
กูย้ มื เงินจากธนาคาร อตั ราดอกเบี้ย
8% ตอ่ ปี ระยะเวลา 6 เดอื น
ก.ย. 1 เงนิ กยู้ ืมธนาคาร 200,000 -
ดอกเบี้ยจ่าย (200,000×8%×6/12) 8,000
เงนิ สด 208,000 -
ชําระหนี้เงินกยู้ มื ระยะสนั้
พร้อมดอกเบยี้
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 หนี้สนิ หมุนเวยี น 20
แบบฝึกหดั ที่ 1.4
จงปฏิบัติกิจกรรมตามท่โี จทยก์ าหนด (ขอ้ ละ 5 คะแนน)
1. เมอ่ื วันท่ี 5 มกราคม 2557 บรษิ ัท จอมใจ จํากัด ไดน้ ําเงนิ ฝากธนาคารประเภทกระแสรายวัน
จาํ นวน 20,000 บาท กบั ธนาคารรวมไทย จํากัด (มหาชน) และได้ทาํ สัญญาเงนิ เบกิ เกินบัญชี
กบั ธนาคารไวไ้ ม่เกิน 50,000 บาท ต่อมาวันที่ 15 มกราคม 2557 บริษทั ไดส้ ง่ั จา่ ยเชค็ ชําระหน้ี
แก่เจา้ หน้ี จํานวน 40,000 บาท
ใหท้ า บนั ทกึ รายการในสมุดรายวันทวั่ ไป
สมุดรายวนั ทัว่ ไป หน้า 1
รายการ
พ.ศ. เลขท่ี เดบิต เครดิต
เดือน วัน
บัญชี บาท สต. บาท สต.
2. เมื่อวนั ท่ี 2 กุมภาพันธ์ 2557 บริษทั พอดี จาํ กัด กเู้ งินจากธนาคารรกั ไทย จํากัด (มหาชน)
จํานวน 100,000 บาท อัตราดอกเบยี้ 10% ต่อปี กําหนดระยะเวลาชําระคนื 6 เดอื น
ให้ทา บันทกึ รายการในสมุดรายวันทั่วไป
สมุดรายวนั ท่วั ไป หนา้ 1
รายการ
พ.ศ. เลขที่ เดบติ เครดิต
เดือน วนั
บัญชี บาท สต. บาท สต.
หนว่ ยการเรยี นร้ทู ่ี 1 หนส้ี ินหมุนเวียน 21
4.2 เจ้าหน้ีการคา้ (Trade Accounts Payable) เป็นภาระผกู พันท่ีกจิ การมีตอ่ บุคคลภายนอก
เน่อื งจากการซอื้ สินคา้ หรอื บริการเป็นเงนิ เชือ่ การชาํ ระหนอี้ ยทู่ เ่ี งอื่ นไขการชาํ ระเงิน เชน่ 2/10, n/30
หรือ 1/15, E.O.M. ซง่ึ เป็นเงอื่ นไขท่รี ะบุสว่ นลดไว้ เรยี กว่า สว่ นลดเงนิ สด (Cash Discount)
มคี วามหมายดังนี้
เงื่อนไข 2/10, n/30 หมายความว่า กจิ การจะตอ้ งจ่ายชําระหนีภ้ ายใน 30 วัน นับแต่วันท่ี
ในใบกาํ กบั สนิ ค้า แตถ่ ้าชาํ ระหนีภ้ ายใน 10 วนั นบั แตว่ ันที่ในใบกาํ กบั สนิ คา้ กจิ การจะได้รบั สว่ นลดเงินสด
2% ของยอดหนที้ ่ีชําระ
เง่ือนไข 1/15, E.O.M หมายความว่า กิจการต้องชําระหน้ีภายในส้ินเดือน นับแต่วันท่ี
ในใบกํากับสินค้า แต่ถ้าชําระหน้ีภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ในใบกํากับสินค้า กิจการจะได้รับ
สว่ นลดเงนิ สด 1% ของยอดหน้ีท่ีชําระ
การบันทึกบญั ชีเจ้าหนี้การค้า
จะบนั ทึกด้วยราคาตามใบกํากบั สนิ ค้า แต่ถ้าผขู้ ายให้สว่ นลดเงนิ สดแก่ผซู้ ือ้ กจิ การสามารถ
บันทึกบัญชีได้ 2 วิธี ได้แก่ (ชลธชิ า พเิ ชษฐวณชิ ยโ์ ชค. 2556 : 7)
1) วธิ ียอดเต็ม (Gross Method) กจิ การจะบนั ทกึ บญั ชีเจา้ หนก้ี ารค้าดว้ ยจํานวนเงิน
ท่ียงั ไมห่ กั ส่วนลดเงินสด เม่อื ชาํ ระหนี้ภายในกําหนดเวลาและได้รับสว่ นลดจะบันทกึ ในบญั ชีสว่ นลดรบั
(Purchase Discount) ซึง่ จะนาํ ไปหกั จากบญั ชีซอ้ื ในงบกาํ ไรขาดทุน วธิ ีนีเ้ ป็นวธิ ีท่นี ยิ ม
2) วิธียอดสุทธิ (Net Method) กิจการจะบันทึกบัญชีเจ้าหน้ีการค้าด้วยจํานวนเงิน
ที่หกั สว่ นลดเงนิ สดที่คาดวา่ จะไดร้ ับ และหากกิจการชําระหน้ีเกินกําหนดเวลาจะบันทึกส่วนลดท่ีไม่ได้รับ
ในบัญชสี ่วนลดรบั ท่ีสูญไป (Purchase Discount Lost) ถอื เป็นคา่ ใชจ้ ่ายในการบริหาร
การบนั ทกึ บญั ชีเจ้าหนีก้ ารคา้ และการชําระคา่ สินค้าภายในระยะเวลาการไดร้ บั ส่วนลด
แสดงดงั ตารางที่ 1.1 ดงั นี้
ตารางท่ี 1.1 การบนั ทึกบญั ชีเจ้าหน้กี ารค้าและการชําระคา่ สินคา้ ภายในระยะเวลาการได้รบั ส่วนลด
กรณีกิจการบนั ทกึ บญั ชีสินค้าแบบสนิ้ งวด (Periodic Inventory System)
รายการ วธิ ยี อดเตม็ (Gross Method) วิธียอดสุทธิ (Net Method)
1. บนั ทึกซ้ือสนิ ค้า
เดบติ ซ้ือ ×× เดบิต ซื้อ ××
เป็นเงินเชือ่
เครดิต เจ้าหน้กี ารคา้ ×× เครดติ เจ้าหนก้ี ารค้า ××
2. ชําระค่าสนิ ค้า
ภายในระยะเวลา เดบิต เจ้าหนีก้ ารค้า ×× เดบิต เจา้ หนีก้ ารคา้ ××
การไดร้ ับสว่ นลด
เครดติ เงนิ สด ×× เครดติ เงนิ สด ××
3. ชําระค่าสินค้า
เกินระยะเวลา ส่วนลดรับ ××
การไดร้ ับสว่ นลด
เดบติ เจ้าหนก้ี ารคา้ ×× เดบติ เจา้ หนี้การคา้ ××
เครดติ เงนิ สด ×× ส่วนลดรับทส่ี ญู ไป ××
เครดติ เงนิ สด ××
หนว่ ยการเรยี นรู้ท่ี 1 หน้ีสินหมุนเวยี น 22
ตัวอยา่ งที่ 1.3 เม่อื วนั ท่ี 1 เมษายน 2557 บรษิ ัท กนกลดา จาํ กดั ซ้ือสนิ คา้ จากบรษิ ทั รวมพร จาํ กัด
จํานวน 70,000 บาท เงอื่ นไข 2/10, n/30 ตอ่ มาในวันที่ 10 เมษายน 2557 บริษัทจา่ ยชําระหนี้
จํานวน 40,000 บาท ส่วนทเี่ หลือกจิ การจ่ายชําระในวันสน้ิ เดือน
การบันทกึ บัญชี วธิ ียอดเตม็ (Gross Method)
สมดุ รายวันทั่วไป หน้า 1
เครดิต
พ.ศ. 2557 รายการ เลขท่ี เดบติ บาท สต.
เดอื น วนั บัญชี บาท สต.
70,000 -
เม.ย. 1 ซ้ือ 70,000 -
เจ้าหนก้ี ารค้า
บนั ทกึ ซอื้ สนิ คา้ เปน็ เงินเชอ่ื
10 เจา้ หนกี้ ารค้า 40,000 -
เงนิ สด (40,000 – 800) 39,200 -
800 -
ส่วนลดรบั (40,000 x 2/100)
ชําระหนี้บางสว่ นและไดส้ ว่ นลด 2%
30 เจ้าหนก้ี ารคา้ (70,000 – 40,000) 30,000 -
30,000 -
เงนิ สด
บันทกึ การชาํ ระหนี้ทเ่ี หลอื
การบันทกึ บญั ชี วธิ ียอดสทุ ธิ (Net Method)
สมดุ รายวันทัว่ ไป หน้า 1
เครดติ
พ.ศ. 2557 รายการ เลขท่ี เดบิต บาท สต.
เดือน วนั บญั ชี บาท สต.
68,600 -
เม.ย. 1 ซื้อ (70,000 – (70,000×2%)) 68,600 -
เจา้ หนีก้ ารคา้
บันทึกซอื้ สินค้าเป็นเงินเชื่อ
10 เจา้ หนก้ี ารค้า 39,200 -
39,200 -
เงินสด (40,000 – (40,000×2%))
บันทึกการชําระหนี้และไดร้ บั ส่วนลด
30 เจา้ หนก้ี ารคา้ (68,600 – 39,200) 29,400 -
600 -
สว่ นลดรบั ทส่ี ญู ไป (1,400 – 800)
เงนิ สด 30,000 -
บนั ทกึ การชาํ ระหนี้ทเ่ี หลือ
หน่วยการเรยี นรทู้ ี่ 1 หนี้สินหมุนเวียน 23
แบบฝกึ หดั ที่ 1.5
จงปฏิบตั กิ จิ กรรมตามที่โจทย์กาหนด (ข้อละ 2 คะแนน)
1. กิจการซอ้ื สินค้าเปน็ เงินเช่ือ โดยมีเง่อื นไข 1/15, E.O.M. หมายความว่าอยา่ งไร
............................................................................................................................. ........................................
...................................................................................................................................... ...............................
2. กจิ การซอื้ สนิ ค้าเปน็ เงนิ เช่อื เงอื่ นไข 2/10, n/30 จาํ นวน 120,000 บาท กจิ การสามารถ
จ่ายชาํ ระหนท้ี ้งั หมดภายใน 10 วันนับแตว่ ันท่ีในใบกาํ กบั สนิ ค้า ให้บันทึกบัญชีการจา่ ยชําระหนี้
เม่อื ครบกาํ หนด ดว้ ยวิธยี อดเต็ม (Gross Method)
.................................................................................................................. ...................................................
............................................................................................................................. ........................................
................................................................................................................................................................. ....
3. เมือ่ วนั ท่ี 1 มนี าคม 2557 บรษิ ทั ภาทรพั ย์ จํากดั ซ้ือสนิ คา้ เปน็ เงนิ เชือ่ จาํ นวน 180,000 บาท
เงือ่ นไข 2/10, n/45 ตอ่ มาในวนั ที่ 10 มีนาคม 2557 บริษทั จ่ายชําระหนี้ จาํ นวน 100,000 บาท
ส่วนหนีท้ เี่ หลือ บริษัทจา่ ยชําระในวนั ที่ 15 เมษายน 2557
ให้ทา บันทกึ รายการในสมุดรายวันทั่วไปในแต่ละกรณดี งั น้ี (10 คะแนน)
กรณที ี่ 1 บนั ทกึ ดว้ ยวธิ ียอดเตม็ (Gross Method)
กรณีท่ี 2 บันทึกดว้ ยวิธียอดสทุ ธิ (Net Method)
กรณีท่ี 1 บนั ทึกด้วยวิธียอดเต็ม (Gross Method)
สมุดรายวนั ทวั่ ไป หน้า 1
พ.ศ. 2557 รายการ เลขท่ี เดบิต เครดติ
เดือน วัน บัญชี บาท สต. บาท สต.
หน่วยการเรียนรทู้ ี่ 1 หนี้สนิ หมุนเวียน 24
กรณีท่ี 2 บนั ทึกดว้ ยวิธียอดสุทธิ (Net Method)
สมุดรายวันทว่ั ไป หนา้ 1
พ.ศ. 2557 รายการ เลขที่ เดบติ เครดติ
เดือน วัน บัญชี บาท สต. บาท สต.
4.3 ตั๋วเงนิ จ่าย (Notes Payable) คือ คํามั่นสัญญาที่ทําเป็นลายลักษณ์อักษรแสดงว่ากิจการ
จะชําระหน้ีจํานวนหน่ึงท่ีแน่นอนให้แก่บุคคลหน่ึงภายในระยะเวลาท่ีกําหนด ซึ่งไม่เกิน 1 ปี
พร้อมดอกเบ้ีย (ถ้ามี) ตามอัตราที่ตกลงกัน ต๋ัวเงินจ่ายในทางบัญชีหมายถึง ต๋ัวสัญญาใช้เงิน
(Promissory Note) และตั๋วแลกเงนิ (Bill of Exchange)
ตั๋วเงินจ่าย แบง่ ออกเป็น 3 ประเภท คือ (อิงอร นาชัยฤทธิ์. 2558 : 1-8)
1) ตัว๋ เงินจ่ายการค้า (Trade Notes Payable) คือ ต๋ัวเงนิ จ่ายท่กี จิ การออกใหผ้ ูข้ าย
เพ่อื ชําระคา่ สนิ คา้ หรอื บรกิ าร
2) ตั๋วเงินจ่ายธนาคาร (Bank Notes Payable) คอื ต๋วั เงินจา่ ยท่ีกจิ การออกให้ธนาคาร
เพือ่ เป็นหลกั ฐานในการกู้ยมื เงนิ จากธนาคาร
3) ตัว๋ เงินจ่ายอื่น ๆ (Other Notes Payable) คือ ต๋ัวเงินจ่ายท่ีกจิ การออกให้แกเ่ จา้ หน้ี
เพื่อเป็นหลกั ฐานในการชาํ ระหนี้จากการซือ้ สนิ ทรพั ย์อื่น ๆ ทีม่ ใิ ชส่ ินคา้ เชน่ เครอื่ งจกั ร อปุ กรณ์ เปน็ ตน้
การบันทึกบญั ชีต๋ัวเงินจ่าย แบง่ ตามชนดิ ดอกเบย้ี ท่ีระบไุ วบ้ นตว๋ั เงนิ จา่ ยได้ 2 ประเภทดงั น้ี
1) ตั๋วเงินจ่ายชนิดระบุดอกเบี้ย (Interest-Bearing Note) กิจการจะบันทึกบัญชี
และแสดงรายการต๋ัวเงินจ่ายชนิดระบุอัตราดอกเบ้ียในงบแสดงฐานะการเงินด้วยมูลค่าปัจจุบัน
(Present Value) ซึ่งมีมูลค่าเท่ากับมูลค่าท่ีตราไว้ (Face Value) ส่วนดอกเบ้ียค้างจ่าย
จะปรับปรุงบัญชีตอนส้ินงวดและแสดงเป็นหน้ีสินหมุนเวียน เมื่อตั๋วครบกําหนดจะต้องชําระเงินตามต๋ัว
พร้อมดอกเบยี้ ตามทีร่ ะบุไว้ การบนั ทึกบญั ชเี ปน็ ดงั น้ี
หนว่ ยการเรียนรู้ท่ี 1 หนี้สินหมุนเวยี น 25
(1) บันทึกออกตวั๋ เงินจ่าย บันทีกบัญชีโดย
เดบิต เงนิ สด ××
เครดติ ตว๋ั เงนิ จ่าย ××
(2) ปรับปรงุ ดอกเบยี้ ค้างจ่ายในวันสนิ้ งวด บนั ทกี บัญชโี ดย
เดบิต ดอกเบีย้ จา่ ย ××
เครดติ ดอกเบย้ี ค้างจา่ ย ××
(3) บันทกึ กลับรายการปรบั ปรุง บนั ทีกบัญชีโดย
เดบติ ดอกเบ้ยี คา้ งจ่าย ××
เครดติ ดอกเบย้ี จ่าย ××
(4) บันทึกตว๋ั เงินจา่ ยครบกาหนดชาระ บันทีกบัญชีโดย
เดบิต ตั๋วเงินจ่าย ××
ดอกเบย้ี จ่าย ××
เครดิต เงนิ สด ××
ตัวอยา่ งที่ 1.4 วันที่ 1 ตลุ าคม 2557 บริษทั สขุ กมล จํากดั กูย้ มื เงนิ จากธนาคาร จํานวน 100,000 บาท
โดยออกตวั๋ สัญญาใชเ้ งนิ อัตราดอกเบ้ยี 12% ต่อปี อายุ 6 เดือน บรษิ ัทปิดบญั ชที กุ ส้ินปี
การคํานวณมูลคา่ ตวั๋ เงนิ จา่ ยและการบันทึกบญั ชีแสดงดงั น้ี
การคานวณ
1 ตลุ าคม 2557 31 ธันวาคม 2557 1 เมษายน 2558
100,000 บาท ปรับปรงุ 100,000 + 6,000 บาท
มูลค่าท่ตี ราไว้ เท่ากับ บัญชีดอกเบี้ยค้างจา่ ย มูลค่าเมื่อต๋ัวครบกําหนด
มูลคา่ ปจั จบุ ัน
หนว่ ยการเรียนรู้ที่ 1 หน้ีสินหมุนเวยี น 26
การบันทึกบญั ชี
สมดุ รายวันทัว่ ไป หน้า 1
พ.ศ. 2557 รายการ เลขที่ เดบติ เครดติ
เดอื น วนั
บัญชี บาท สต. บาท สต.
ต.ค. 1 เงนิ สด 100,000 -
ต๋วั เงินจา่ ย 100,000 -
กูย้ ืมเงินโดยออกต๋วั สญั ญาใชเ้ งิน
อัตราดอกเบย้ี 12% อายุ 6 เดือน
ธ.ค. 31 ดอกเบี้ยจ่าย (100,000×12%×3/12) 3,000 -
ดอกเบี้ยค้างจา่ ย 3,000 -
ปรบั ปรงุ ดอกเบย้ี คา้ งจ่าย
2558 ดอกเบย้ี คา้ งจ่าย 3,000 -
ม.ค. 1 ดอกเบ้ียจา่ ย 3,000 -
บันทึกกลับรายการปรบั ปรงุ
เม.ย. 1 ตว๋ั เงินจา่ ย 100,000 -
ดอกเบ้ียจา่ ย (100,000x12%x6/12) 6,000 -
เงนิ สด 106,000 -
จ่ายเงนิ ตามต๋ัวเงินจา่ ยและดอกเบ้ยี
2) ตัว๋ เงินจ่ายชนิดไมร่ ะบดุ อกเบยี้ (Zero-Interest-Bearing Notes) เป็นต๋ัวเงินจา่ ย
ท่ไี มไ่ ด้กําหนดอัตราดอกเบ้ยี ไว้ ในการบนั ทกึ บญั ชีแยกพจิ ารณาตามประเภทของต๋ัวเงินจา่ ย ดงั น้ี
(1) ต๋ัวเงินจ่ายการค้า ให้บันทึกบัญชีและแสดงรายการในงบแสดงฐานะการเงิน
ด้วยมูลค่าท่ีตราไว้ เน่ืองจากส่วนมากต๋ัวเงินจ่ายการค้าจะมีระยะเวลาสั้น ๆ ซ่ึงเจ้าหน้ีมักจะไม่มี
การหักส่วนลด มูลค่าท่ีตราไว้จึงมีมูลค่าเท่ากับมูลค่าปัจจุบัน หรือผลต่างระหว่างมูลค่าที่ตราไว้
กบั มลู คา่ ปจั จบุ นั มจี ํานวนน้อยซง่ึ ไมม่ นี ยั สาํ คัญ การบนั ทกึ บญั ชเี ป็นดงั น้ี
บันทึกออกต๋ัวเงินจา่ ยเพอื่ ชาระคา่ ซือ้ สินค้า บันทกี บัญชีโดย
เดบติ ซ้อื ××
เครดติ ตั๋วเงินจา่ ย ××
บันทกึ การชาระหน้ตี ามตัว๋ เงนิ จา่ ยเมือ่ ครบกาหนด บนั ทีกบัญชโี ดย
เดบติ ต๋วั เงินจา่ ย ××
เครดติ เงินสด ××
หน่วยการเรยี นรูท้ ี่ 1 หนสี้ ินหมุนเวียน 27
ตวั อย่างที่ 1.5 เมือ่ วันที่ 1 พฤศจกิ ายน 2557 บริษัท เจรญิ สขุ จาํ กดั ซ้อื สินคา้ จํานวน 200,000 บาท
จ่ายชําระดว้ ยต๋วั สญั ญาใช้เงินชนิดไม่ระบุดอกเบ้ีย อายุ 60 วัน บริษทั บนั ทกึ บัญชตี ามระบบสนิ ค้าคงเหลอื
เมื่อวนั สิ้นงวด (Periodic Inventory System)
การบนั ทกึ บัญชี
สมดุ รายวนั ทั่วไป หนา้ 1
พ.ศ. 2557 รายการ เลขท่ี เดบติ เครดติ
เดือน วัน
บญั ชี บาท สต. บาท สต.
พ.ย. 1 ซ้ือ 200,000 -
ต๋ัวเงนิ จา่ ย 200,000 -
ซื้อสินค้าโดยออกตว๋ั สัญญาใชเ้ งิน
ชนิดไม่ระบุดอกเบี้ย อายุ 60 วนั
ธ.ค. 31 ตว๋ั เงนิ จา่ ย 200,000 -
เงนิ สด 200,000 -
จ่ายชําระหน้ตี ามตวั๋ เงนิ จา่ ย
(2) ต๋ัวเงินจ่ายธนาคารและตวั๋ เงนิ จ่ายอ่ืน ๆ
กิจการจะต้องบันทึกต๋ัวเงินจ่ายตามมูลค่าที่ตราไว้ แต่จะแสดงรายการ
ในงบแสดงฐานะการเงินด้วยมูลค่าปัจจุบัน คือ มูลค่าที่ตราไว้หักด้วย บัญชีส่วนลดในต๋ัวเงินจ่าย
(Discount on Note Payable) กล่าวคือ การกู้ยืมเงินจากธนาคารโดยการออกต๋ัวเงินจ่าย
ชนิดไม่ระบุดอกเบ้ียไว้เป็นหลักฐานน้ัน ธนาคารจะหักส่วนลดจากมูลค่าตั๋วท่ีตราไว้ทันทีเสมอ ดังนั้น
วนั ท่ีกู้ยืมเงินกิจการจะได้รับเงินตํ่ากวา่ มลู คา่ ต๋ัว จาํ นวนเงนิ ท่ตี ่าํ กวา่ ตว๋ั น้นั คือ ดอกเบ้ียท่ีธนาคารคดิ ล่วงหน้า
แตใ่ นทางบัญชจี ะยังไม่ถอื เปน็ ดอกเบย้ี การบันทกึ บญั ชเี ปน็ ดงั น้ี
บันทกึ ออกต๋ัวเงินจ่าย บันทกี บญั ชโี ดย
เดบิต เงินสด หรือสินทรพั ย์ (ระบ)ุ (มลู คา่ ปจั จบุ นั ) ××
ส่วนลดในต๋ัวเงนิ จา่ ย (ผลต่าง) ××
เครดิต ตั๋วเงนิ จ่าย (มลู คา่ ทตี่ ราไว้) ××
บันทึกปรับปรุงบัญชีส่วนลดในตัว๋ เงินจา่ ยเขา้ บัญชีดอกเบี้ยจา่ ย บันทีกบัญชีโดย
เดบติ ดอกเบย้ี จา่ ย ××
เครดติ ส่วนลดในตั๋วเงินจ่าย ××
หน่วยการเรยี นร้ทู ี่ 1 หนส้ี นิ หมุนเวยี น 28
บันทึกต๋ัวเงินจ่ายครบกาหนด บนั ทีกบญั ชโี ดย ××
××
เดบิต ตัว๋ เงนิ จา่ ย
เครดิต เงนิ สด
ตวั อยา่ งที่ 1.6 เมือ่ วันที่ 1 มนี าคม 2557 บรษิ ัท กอบกลุ จาํ กดั กู้ยืมเงนิ จากธนาคาร
โดยออกตวั๋ สัญญาใชเ้ งนิ ชนิดไม่ระบดุ อกเบย้ี จํานวน 300,000 บาท อายุ 1 ปี ธนาคารหักส่วนลด
15% ต่อปี การคํานวณมลู คา่ ตวั๋ เงินจา่ ยและการบนั ทกึ บญั ชีแสดงดงั น้ี
การคานวณ = มูลค่าตว๋ั เมือ่ ครบกําหนด × อตั ราสว่ นลด × ระยะเวลา
1. สว่ นลดทธี่ นาคารคดิ = 300,000 × 15/100 × 1
= 45,000 บาท
2. จาํ นวนเงนิ ท่ีบริษทั ได้รบั
= มลู คา่ ต๋ัวเมื่อครบกําหนด - สว่ นลดทธี่ นาคารคดิ
= 300,000 - 45,000
= 255,000 บาท
การบนั ทึกบัญชี แสดงดังน้ี 1 มีนาคม 2558
1 มนี าคม 2557 31 ธันวาคม 2557
300,000
255,000 ปรบั ปรงุ บัญชี มลู ค่าท่ีตราไว้ เทา่ กับ
(300,000 - 45,000) ส่วนลดในตวั๋ เงินจ่าย มูลคา่ ตว๋ั เมื่อครบกําหนด
มูลคา่ ปัจจุบนั
หน่วยการเรยี นรทู้ ่ี 1 หนสี้ นิ หมุนเวยี น 29
สมุดรายวันทัว่ ไป หนา้ 1
พ.ศ. 2557 รายการ เลขท่ี เดบติ เครดติ
เดอื น วัน
บญั ชี บาท สต. บาท สต.
มี.ค. 1 เงินสด (300,000 – 45,000) 255,000 -
สว่ นลดในตวั๋ เงนิ จา่ ย 45,000 -
ต๋ัวเงนิ จา่ ย 300,000 -
กูเ้ งินโดยออกต๋ัวสญั ญาใชเ้ งิน
ชนดิ ไมร่ ะบดุ อกเบ้ยี อายุ 1 ปี
ธ.ค. 31 ดอกเบยี้ จ่าย (45,000 × 10/12) 37,500 -
ส่วนลดในต๋วั เงินจา่ ย 37,500 -
ปรบั ปรงุ บญั ชีส่วนลดในตวั๋ เงนิ จา่ ย
การแสดงรายการต๋ัวเงนิ จา่ ยและส่วนลดในตว๋ั เงินจ่ายในงบแสดงฐานะการเงิน
ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2557 แสดงดงั น้ี
บรษิ ัท กอบกลุ จากดั
งบแสดงฐานะการเงิน (บางส่วน)
ณ วันท่ี 31 ธันวาคม 2557
หนส้ี ินหมุนเวียน 300,000 หน่วย : บาท
7,500 285,000
ตว๋ั เงินจา่ ย
หัก สว่ นลดในตวั๋ เงินจ่าย (45,000 – 37,500)
การบนั ทกึ บญั ชี วันที่ 1 มีนาคม 2558 ชาํ ระหนีต้ ามต๋ัวเงนิ จ่ายและตดั บญั ชสี ว่ นลดในตั๋วเงินจ่าย
สมุดรายวนั ทวั่ ไป หนา้ 1
เครดิต
พ.ศ. 2558 รายการ เลขที่ เดบิต บาท สต.
เดอื น วัน บญั ชี บาท สต.
7,500 -
มี.ค. 1 ดอกเบ้ยี จา่ ย (45,000 × 2/12) 7,500 -
ส่วนลดในต๋ัวเงนิ จ่าย
โอนส่วนลดในต๋ัวเงินจา่ ยเป็นดอกเบยี้ จา่ ย
ตวั๋ เงนิ จ่าย 300,000 -
300,000 -
เงนิ สด
จา่ ยชําระหนต้ี ามตัว๋ เงนิ จา่ ย
หนว่ ยการเรยี นรทู้ ี่ 1 หนสี้ นิ หมุนเวียน 30
ตวั อย่างท่ี 1.7 เมอื่ วันท่ี 1 มถิ นุ ายน 2557 บรษิ ทั ภูมใิ จ จํากัด ซื้ออุปกรณ์สาํ นักงานเปน็ เงนิ เชื่อ
โดยออกต๋ัวสัญญาใช้เงนิ ชนดิ ไม่ระบดุ อกเบี้ย อายุ 1 ปี จาํ นวนเงินที่ตราไว้ 504,000 บาท
ณ วันออกต๋วั อัตราดอกเบี้ยในตลาด 12%
การคานวณมลู ค่าปจั จุบัน =1
อัตราดอกเบ้ียในตลาด 12%
ตั๋วเงนิ จา่ ยมมี ูลคา่ ปจั จบุ ัน = 1+( )
มูลค่า ณ วนั ครบกําหนด
= 1 + 0.12
มลู ค่าของตว๋ั เงินเมอื่ ครบกาํ หนด
มลู คา่ ปจั จบุ ันของต๋ัว ณ วันออกต๋วั = 504,000 บาท
ส่วนลดในตวั๋ เงินจ่าย = 504,000 ×
= 450,000 บาท
= 54,000 บาท (504,000 – 450,000)
1 มถิ ุนายน 2557 31 ธันวาคม 2557 1 มถิ ุนายน 2558
450,000 ปรบั ปรงุ บญั ชี 504,000
มูลค่าปัจจบุ นั ส่วนลดในตั๋วเงินจ่าย มลู คา่ ทีต่ ราไว้ เทา่ กบั
ของตว๋ั เงินจา่ ย มูลคา่ ตั๋วเมื่อครบกําหนด
หน่วยการเรียนรูท้ ี่ 1 หนีส้ ินหมุนเวยี น 31
การบนั ทกึ บญั ชี
สมดุ รายวันท่วั ไป หน้า 1
เดบิต เครดิต
พ.ศ. 2557 รายการ เลขที่ บาท สต. บาท สต.
เดอื น วนั บญั ชี 450,000 -
54,000 -
มิ.ย. 1 อปุ กรณส์ ํานกั งาน
504,000 -
ส่วนลดในต๋วั เงินจา่ ย
31,500 -
ต๋ัวเงินจ่าย 31,500 -
ซื้ออุปกรณส์ าํ นกั งาน โดยออก
ตั๋วสญั ญาใชเ้ งนิ ชนดิ ไมร่ ะบุดอกเบี้ย
มลู ค่าท่ีตราไว้ 504,000 บาท
ดอกเบ้ยี ในตลาด 12% อายุ 1 ปี
ธ.ค. 31 ดอกเบ้ยี จา่ ย (54,000×7/12)
ส่วนลดในต๋ัวเงินจ่าย
ตดั บญั ชีสว่ นลดในต๋ัวเงินจา่ ยเข้า
บัญชีดอกเบย้ี จา่ ย จาํ นวน 7 เดอื น
การแสดงรายการตั๋วเงนิ จา่ ยและส่วนลดในต๋ัวเงินจ่ายในงบแสดงฐานะการเงิน
ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2557 แสดงดังน้ี
บรษิ ัท ภมู ใิ จ จากัด
งบแสดงฐานะการเงนิ (บางส่วน)
ณ วันท่ี 31 ธันวาคม 2557
หน้ีสินหมุนเวยี น 504,000 หน่วย : บาท
22,500 481,500
ตวั๋ เงนิ จ่าย
หัก สว่ นลดในตว๋ั เงินจา่ ย (54,000 – 31,500)
หนว่ ยการเรยี นรู้ที่ 1 หนส้ี ินหมุนเวยี น 32
วนั ท่ี 1 มิถุนายน 2558 จา่ ยชําระหน้ีตามตั๋วเงินจา่ ยและปรบั ปรุงบัญชสี ว่ นลดในต๋วั เงนิ จา่ ย
การบนั ทึกบัญชี
สมดุ รายวนั ท่ัวไป หนา้ 1
พ.ศ. 2558 รายการ เลขท่ี เดบิต เครดติ
เดือน วัน
บัญชี บาท สต. บาท สต.
ม.ิ ย. 1 ดอกเบ้ียจ่าย (54,000×5/12) 22,500 -
สว่ นลดในต๋ัวเงินจา่ ย 22,500 -
ปรบั ปรงุ บญั ชสี ว่ นลดในต๋ัวเงนิ จา่ ย
ต๋ัวเงนิ จ่าย 504,000 -
เงนิ สด 504,000 -
บันทกึ จ่ายชําระหนี้ตามตว๋ั เงนิ จ่าย
แบบฝึกหดั ท่ี 1.6
จงปฏิบัตกิ ิจกรรมตามท่โี จทย์กาหนด (10 คะแนน)
บริษทั พรดี จาํ กัด มรี ายการค้าบางสว่ นในปี 2557 ดงั น้ี
ต.ค. 1 กูเ้ งินจากธนาคาร 120,000 บาท โดยออกตั๋วแลกเงนิ อตั ราดอกเบยี้ 12% ต่อปี
อายุ 4 เดอื น
พ.ย. 1 ซ้ือรถยนต์ ราคา 460,000 บาท โดยออกต๋วั สัญญาใชเ้ งนิ ชนดิ ไม่ระบดุ อกเบ้ยี อายุ 1 ปี
อัตราดอกเบ้ยี ในตลาด 15%
ธ.ค. 31 บรษิ ัทปดิ บัญชปี ระจําปี
ใหท้ า บนั ทึกรายการในสมุดรายวันทวั่ ไป ณ วนั ออกตั๋ว วนั ส้นิ งวดบญั ชแี ละวันท่ตี ว๋ั ครบกําหนด
หน่วยการเรยี นรทู้ ี่ 1 หน้สี นิ หมุนเวียน 33
สมดุ รายวันทัว่ ไป หนา้ 1
รายการ
พ.ศ. 2557 เลขที่ เดบิต เครดิต
เดือน วนั
บัญชี บาท สต. บาท สต.
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 หน้ีสนิ หมุนเวยี น 34
4.4 หนี้สินไม่หมุนเวียนท่ีถึงกาหนดชาระภายในหน่ึงปี (Current Portion of Non-current
Liabilities) เกดิ จากท่กี ิจการได้กอ่ หนี้สินไมห่ มนุ เวียนไว้ในอดีต ซึ่งจะครบกําหนดชําระภายใน 12 เดือน
หรอื 1 ปนี บั จากรอบระยะเวลารายงาน เช่น หุ้นกู้ โดยเฉพาะหุ้นกู้ไถ่ถอนเป็นงวด จํานวนที่ถึงกําหนด
ภายใน 12 เดือน หรือ 1 ปีนบั จากรอบระยะเวลารายงาน จะต้องชาํ ระดว้ ยสินทรัพย์หมุนเวียนของกิจการ
เท่าน้ัน จึงจัดประเภทเป็นหนี้สินหมุนเวียน ภายใต้รายการส่วนของหน้ีสินระยะยาวที่ถึงกําหนดชําระ
ภายในหน่ึงปี ส่วนที่เหลือให้แสดงเป็นหนี้สินไม่หมุนเวียน ภายใต้รายการเงินกู้ยืมระยะยาว
กิจการประสงคจ์ ะบนั ทกึ บัญชหี รือไม่กไ็ ด้ สว่ นมากไมบ่ นั ทกึ บัญชี เนอ่ื งจากเกดิ ความยุ่งยาก
ตัวอยา่ งที่ 1.8 เมื่อวันท่ี 1 พฤษภาคม 2557 บริษัท ขจรลาภ จํากัด ออกหุ้นกู้ชนิดไถ่ถอนเป็นงวด
มูลค่า 1,000,000 บาท หุ้นกู้จํานวน 100,000 บาท จะถูกไถ่ถอนทุกวันที่ 1 พฤษภาคมของทุกปี
กิจการปิดบญั ชที ุกวันที่ 31 ธันวาคม งบแสดงฐานะการเงิน ณ วนั ท่ี 31 ธันวาคม 2557 แสดงดงั นี้
บริษัท ขจรลาภ จากดั หน่วย : บาท
งบแสดงฐานะการเงิน (บางสว่ น)
100,000
ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2557 900,000
หนส้ี ินและสว่ นของผ้ถู ือหุ้น
หนส้ี ินหมนุ เวียน
หนุ้ กู้ท่ีถงึ กาํ หนดชําระภายในหนง่ึ ปี
หนส้ี ินไม่หมนุ เวยี น
หนุ้ กู้
หนว่ ยการเรียนรู้ที่ 1 หน้สี นิ หมุนเวยี น 35
แบบฝึกหดั ที่ 1.7
จงปฏิบัตกิ ิจกรรมตามทโ่ี จทยก์ าหนด (2 คะแนน)
เม่ือวันท่ี 1 กรกฎาคม 2557 บรษิ ัท กิ่งดาว จํากดั กู้เงินจากธนาคาร 10,000,000 บาท
ระยะเวลาการกู้ 10 ปี ต้องชาํ ระคนื เงนิ ต้นปลี ะเท่า ๆ กัน ตลอด 10 ปี โดยจ่ายคืนเงินต้น
ทุกวันท่ี 1 กรกฎาคมของแตล่ ะปี
ใหท้ า แสดงรายการหนส้ี ินในงบแสดงฐานะการเงนิ ณ วันที่ 31 ธนั วาคม 2557
บริษัท ก่ิงดาว จากัด หนว่ ย : บาท
งบแสดงฐานะการเงิน (บางส่วน)
ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2557
หนสี้ ินและสว่ นของผถู้ อื หุ้น
หน้ีสินหมนุ เวยี น
หนี้สินไม่หมุนเวยี น
4.5 เงนิ มดั จาและเงนิ ประกัน (Returnable Deposits and Agency Obligations)
หมายถึง จํานวนเงินท่ีได้รับจากลูกค้าหรอื พนักงาน เพ่อื เปน็ การประกันว่าจะมกี ารปฏิบัติ
หรือให้บริการตามสัญญาและจะจ่ายคืนเงินท้ังหมดหรือบางส่วนภายใน 12 เดือน หรือ 1 ปี
นับจากรอบระยะเวลารายงาน เมื่อได้ปฏิบัติตามสัญญาเรียบร้อยแล้ว เช่น เงินมัดจําค่าภาชนะ
เงินมัดจาํ คา่ บรกิ าร เงนิ ประกนั ความเสียหายท่อี าจเกิดขนึ้ กับทรพั ย์สินของกจิ การ เปน็ ต้น
บญั ชีเงนิ มดั จําและเงินประกัน แสดงเป็นหน้ีสินหมนุ เวยี นภายใต้รายการหน้สี ินหมนุ เวยี นอ่นื
การบันทกึ บญั ชีเงินมดั จาและเงินประกนั เป็นดงั นี้
1) เมอ่ื กจิ การรับเงินมดั จาและเงนิ ประกัน บันทีกบญั ชีโดย
เดบติ เงนิ สด ××
เครดิต เงนิ มัดจํา (ระบ)ุ หรอื เงนิ ประกัน (ระบ)ุ ××
2) เม่ือสนิ้ สดุ สัญญา บันทกี บัญชโี ดย
เดบิต เงินมัดจาํ (ระบ)ุ หรอื เงนิ ประกัน (ระบุ) ××
เครดติ เงินสด ××
หน่วยการเรยี นรู้ที่ 1 หน้ีสินหมุนเวยี น 36
3) กรณีไม่ปฏิบัตติ ามสญั ญาหรอื เง่ือนไขท่ีตกลงกัน บันทีกบญั ชโี ดย
เดบติ เงนิ มัดจํา (ระบ)ุ หรอื เงินประกนั (ระบุ) ××
เครดติ รายได้
××
ตัวอยา่ งที่ 1.9 บริษัท แกว้ ขวญั จํากัด จาํ หน่ายนํ้าดืม่ บรรจขุ วดแก้ว โดยเรียกเกบ็ เงนิ มดั จําค่าภาชนะ
จากลกู คา้ และจะจ่ายคืนเมอ่ื ลกู ค้านาํ ภาชนะมาคนื หากลูกค้าไมส่ ามารถคืนภาชนะไดค้ รบเน่อื งจากชํารดุ
หรอื สญู หาย บรษิ ัทจะรบิ เงนิ ค่าภาชนะตามสว่ นท่ีเสียหาย
รายการคา้ ทเี่ กดิ ขนึ้ ในเดอื นมีนาคม 2557 มดี งั นี้
มี.ค. 1 ซือ้ ภาชนะสําหรับบรรจุน้ําดื่ม จํานวน 3,000 ขวด ราคาขวดละ 5 บาท
5 จําหนา่ ยนํา้ ดื่มใหร้ า้ นเย็นใจ 2,000 ขวด ๆ ละ 7 บาท และเรยี กเก็บเงินมัดจาํ คา่ ภาชนะ
ขวดละ 6 บาท
7 รา้ นเยน็ ใจ นาํ ภาชนะมาคืน 1,800 ขวด ทเ่ี หลือสูญหาย
การบนั ทกึ บัญชี
สมุดรายวันท่ัวไป หนา้ 1
พ.ศ. 2557 รายการ เลขท่ี เดบิต เครดติ
เดอื น วัน
บญั ชี บาท สต. บาท สต.
ม.ี ค. 1 ภาชนะ (3,000 x 5) 15,000 -
เงินสด 15,000 -
ซอ้ื ภาชนะสาํ หรับบรรจุน้ําด่ืม
จํานวน 3,000 ขวด ๆ ละ 5 บาท
5 เงินสด 26,000 -
ขายสินค้า (2,000 x 7) 14,000 -
เงินมัดจาํ คา่ ภาชนะ (2,000x6) 12,000 -
ขายน้ําดืม่ และรบั เงินมัดจาํ ค่าขวด
7 เงินมดั จําคา่ ภาชนะ 12,000 -
เงนิ สด (1,800 x 6) 10,800 -
ภาชนะ (200 x 5) 1,000 -
รายได้จากการจําหนา่ ยภาชนะ 200 -
จ่ายคืนเงนิ มดั จําคา่ ภาชนะ
และรบิ เงนิ มดั จําค่าภาชนะ
หน่วยการเรยี นรทู้ ี่ 1 หนสี้ ินหมุนเวยี น 37
แบบฝกึ หดั ที่ 1.8
จงปฏิบตั ิกิจกรรมตามทีโ่ จทย์กาหนด (10 คะแนน)
บริษัท ครองพร จํากดั ผลติ นา้ํ แรธ่ รรมชาตจิ าํ หน่าย ไดเ้ รยี กเกบ็ เงินมัดจาํ ค่าภาชนะจากลกู ค้า
จะคืนเงินมดั จาํ ใหเ้ มอ่ื ลกู ค้านาํ ภาชนะมาคนื และจะริบเงินมดั จําจากลูกค้ากรณีที่ภาชนะชํารุด
หรือสูญหาย รายการค้าทเ่ี กิดขึน้ ระหวา่ งเดือนเมษายน 2557 มดี ังนี้
เม.ย. 1 สงั่ ซอื้ ภาชนะ (ขวดแก้ว) เพื่อบรรจนุ ํา้ แร่ จํานวน 1,000 ขวด ๆ ละ 10 บาท
7 ขายนาํ้ แร่ จาํ นวน 500 ขวด ๆ ละ 120 บาท และรบั เงนิ มดั จาํ คา่ ภาชนะ
ขวดละ 12 บาท
30 จา่ ยคืนเงนิ มัดจําใหล้ ูกคา้ ท่นี าํ ขวดมาคืน จาํ นวน 475 ขวด สว่ นท่เี หลอื ชาํ รุด
ใหท้ า บันทึกรายการในสมุดรายวันท่ัวไป
สมดุ รายวนั ทว่ั ไป หน้า 1
รายการ
พ.ศ. เลขที่ เดบติ เครดิต
เดอื น วัน
บัญชี บาท สต. บาท สต.
หนว่ ยการเรียนร้ทู ี่ 1 หนี้สนิ หมุนเวยี น 38
4.6 เงินปนั ผลคา้ งจา่ ย (Cash Dividends Payable) หมายถึง กาํ ไรส่วนที่กิจการประกาศจ่าย
ให้แก่ผู้ถือหุ้นตามมติท่ีประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้น ณ วันท่ีประกาศจ่ายเงินปันผล ถือว่ากิจการมีภาระผูกพัน
เกิดข้ึนแล้ว โดยปกติกิจการมักจะจ่ายเงินปันผลภายใน 3 เดือน หลังจากวันประกาศจ่าย
ดงั นั้น บญั ชีเงนิ ปนั ผลค้างจา่ ยจงึ แสดงเปน็ หนี้สนิ หมนุ เวียนของงวดปจั จุบัน
การบันทึกบญั ชีเงินสดปันผลคา้ งจา่ ย เป็นดงั น้ี
(1) ณ วันประกาศจ่ายเงินปันผลให้แกผ่ ้ถู ือหุ้น บันทีกบัญชโี ดย
เดบติ กําไรสะสม ××
เครดติ เงินปันผลคา้ งจา่ ย ××
(2) การจ่ายเงนิ สดปันผลให้แก่ผูถ้ อื ห้นุ บันทกี บัญชีโดย ××
××
เดบิต เงนิ ปนั ผลค้างจา่ ย
เครดติ เงนิ สด
ตัวอยา่ งท่ี 1.10 บริษทั คมุ้ ธานี จํากัด ประกาศจา่ ยเงินปันผล จาํ นวน 80,000 บาท
เม่อื วนั ที่ 31 มีนาคม 2557 โดยกําหนดจา่ ยใหใ้ นวนั ที่ 20 เมษายน 2557
การบันทกึ บญั ชี
สมดุ รายวนั ทั่วไป หน้า 1
พ.ศ. 2557 รายการ เลขที่ เดบติ เครดติ
เดอื น วัน
บญั ชี บาท สต. บาท สต.
ม.ี ค. 31 กําไรสะสม 80,000 -
เงนิ ปันผลค้างจา่ ย 80,000 -
บนั ทึกประกาศจ่ายเงินสดปนั ผล
เม.ย. 20 เงนิ ปนั ผลค้างจา่ ย 80,000 -
เงนิ สด 80,000 -
จา่ ยเงินสดปนั ผลให้แกผ่ ู้ถอื หุ้น
หน่วยการเรยี นรูท้ ่ี 1 หน้สี ินหมุนเวยี น 39
แบบฝึกหดั ที่ 1.9
จงปฏิบัติกจิ กรรมตามที่โจทยก์ าหนด (10 คะแนน)
เมื่อวันท่ี 31 มนี าคม 2557 บรษิ ัท ครองรกั จํากดั จดั ประชมุ ผู้ถอื หุ้นประจําปเี พ่อื อนุมตั งิ บการเงนิ
สําหรบั ปีสน้ิ สุดวันท่ี 31 ธนั วาคม 2556 และประกาศจ่ายเงนิ ปนั ผลใหผ้ ู้ถือห้นุ สามัญ
ในอตั ราหุ้นละ 10 บาท บรษิ ทั มีทนุ จดทะเบยี นและออกจาํ หนา่ ยแล้ว คือ หุน้ สามัญ
จํานวน 50,000 ห้นุ บรษิ ทั จ่ายเงินสดปันผลในวนั ที่ 30 เมษายน 2557
ให้ทา บนั ทกึ รายการในสมดุ รายวันทั่วไป
สมุดรายวนั ทัว่ ไป หน้า 1
พ.ศ. 2557 รายการ เลขที่ เดบิต เครดิต
เดือน วนั
บัญชี บาท สต. บาท สต.
4.7 ภาษีมลู ค่าเพิ่มคา้ งจ่าย (Value Added Taxes Payable)
ตามประมวลรัษฎากรกําหนดใหผ้ ้ปู ระกอบการท่ีมรี ายรบั เกนิ กวา่ 1.8 ล้านบาทต่อปี
ย่นื คาํ ขอจดทะเบยี นภาษีมูลคา่ เพม่ิ เพ่อื เปน็ ผปู้ ระกอบการจดทะเบียน มหี น้าทคี่ ํานวณภาษีมลู ค่าเพมิ่
ทุกสิ้นเดือน คํานวณโดยนําภาษีขายหักด้วยภาษีซ้อื หากภาษขี ายมากกว่าภาษซี ือ้ กิจการจะตอ้ งชําระ
ภาษมี ูลคา่ เพมิ่ และนาํ สง่ ใหก้ รมสรรพากรภายในวนั ท่ี 15 ของเดือนถดั ไป
การบันทกึ บญั ชีภาษีมลู ค่าเพิม่ ค้างจ่าย เป็นดงั นี้
(1) บันทึกซอ้ื สนิ คา้ หรอื ชาระคา่ บริการตา่ ง ๆ บันทกี บญั ชโี ดย
เดบิต ซ้อื /คา่ ใช้จา่ ย (ระบุประเภท) ××
ภาษซี ้ือ ××
เครดติ เงนิ สด/เจ้าหนี้การคา้ ××
(2) บันทึกขายสนิ ค้าหรือรับชาระคา่ บรกิ าร บนั ทีกบญั ชีโดย
เดบิต เงนิ สด/ลกู หนก้ี ารคา้ ××
เครดติ ขาย/รายไดค้ า่ บริการ ××
ภาษขี าย ××
หนว่ ยการเรียนรทู้ ่ี 1 หน้ีสนิ หมุนเวียน 40
(3) ปดิ บัญชภี าษขี ายและภาษซี อ้ื บนั ทีกบญั ชโี ดย ××
××
เดบติ ภาษีขาย ××
เครดิต ภาษซี อื้
ภาษมี ลู ค่าเพมิ่ คา้ งจ่าย ××
××
(4) เม่ือนาสง่ ภาษมี ลู คา่ เพ่มิ บันทีกบัญชีโดย
เดบิต ภาษมี ูลคา่ เพ่มิ คา้ งจ่าย
เครดติ เงินสด
ตัวอย่างที่ 1.11 บรษิ ทั ค้มุ ขวัญ จาํ กัด เปน็ กจิ การท่ีจดทะเบียนภาษมี ลู ค่าเพม่ิ 7%
มรี ายการคา้ เดอื นสงิ หาคม 2557 ดงั น้ี
ส.ค. 5 ซ้อื สนิ คา้ เป็นเงินสดจากบริษัท กา้ วหน้า จํากดั จํานวน 42,800 บาท (รวมภาษมี ลู ค่าเพมิ่ แลว้ )
10 ขายสนิ คา้ เป็นเงนิ สด จํานวน 54,000 บาท ภาษีมลู คา่ เพ่ิม 7%
ก.ย. 10 ชาํ ระภาษมี ลู คา่ เพ่ิมเดือนสงิ หาคม
การบนั ทึกบัญชี
สมุดรายวันท่วั ไป หน้า 1
พ.ศ. 2557 รายการ เลขที่ เดบิต เครดติ
เดอื น วัน
บญั ชี บาท สต. บาท สต.
ส.ค. 5 ซอื้ 40,000 -
ภาษซี อ้ื (42,800 x 7/107) 2,800 -
เงนิ สด 42,800 -
ซอื้ สนิ คา้ เป็นเงนิ สด
10 เงนิ สด 57,780 -
ขาย 54,000 -
ภาษขี าย (54,000 x 7%) 3,780 -
ขายสนิ คา้ เปน็ เงนิ สด
31 ภาษีขาย 3,780 -
ภาษซี อื้ 2,800 -
ภาษีมลู คา่ เพ่ิมคา้ งจ่าย 980 -
ปิดบญั ชีภาษขี ายและภาษซี ือ้
ก.ย. 10 ภาษมี ูลค่าเพิ่มค้างจา่ ย 980 -
เงินสด 980 -
นาํ สง่ ภาษมี ลู ค่าเพิม่ เดือนสงิ หาคม
หน่วยการเรยี นรู้ท่ี 1 หนส้ี ินหมุนเวียน 41
แบบฝกึ หดั ที่ 1.10
จงปฏิบตั กิ จิ กรรมตามท่ีโจทย์กาหนด (10 คะแนน)
บริษทั เอ้ือการย์ จํากดั เป็นกจิ การทจี่ ดทะเบยี นภาษีมลู คา่ เพิม่ มยี อดขายสินคา้
ประจาํ เดือนพฤศจกิ ายน 2557 จํานวน 800,000 บาท และมียอดซื้อประจาํ เดือนทงั้ สิน้
500,000 บาท อัตราภาษมี ลู คา่ เพม่ิ 7% บริษัทนาํ ส่งภาษใี หก้ รมสรรพากรวันที่ 14 ธันวาคม 2557
ใหท้ า บนั ทกึ รายการในสมดุ รายวนั ทั่วไป
สมุดรายวันทวั่ ไป หนา้ 1
รายการ
พ.ศ. 2557 เลขท่ี เดบติ เครดิต
เดอื น วนั
บญั ชี บาท สต. บาท สต.