The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

การบช.ชั้นกลาง2-สอน2.64

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by นางนภลดา อินภูษา, 2021-10-31 09:02:19

การบช.ชั้นกลาง2-สอน2.64

การบช.ชั้นกลาง2-สอน2.64

หน่วยการเรยี นรูท้ ี่ 1 หน้ีสินหมุนเวยี น 42

4.8 ภาษีเงินได้หัก ณ ท่ีจ่าย และเงินประกันสังคมค้างจ่าย (Withholding Taxes Payable
and Social Security) ตามประมวลรัษฎากรกร มาตรา 50 กําหนดให้นายจ้างหักภาษี ณ ที่จ่าย
จากเงินเดือนและค่าแรงท่ีจ่ายให้แก่พนักงานและนําส่งกรมสรรพากรภายใน 7 วันของเดือนถัดไป

ส่วนจํานวนภาษีท่ีหักนั้นขึ้นอยู่กับข้อตกลงระหว่างกิจการกับพนักงานว่าพนักงานจ่ายค่าภาษีเองทั้งหมด
หรือกิจการออกค่าภาษีใหท้ งั้ หมด หรือพนักงานจา่ ยครึ่งหน่ึงและกจิ การออกใหค้ รงึ่ หน่งึ

ส่วนกฎหมายแรงงาน กําหนดให้นายจ้างต้องหักเงินประกันสังคมจากพนักงาน

5% ของเงินเดือน และนายจ้างต้องจ่ายสมทบให้พนักงานอีก 5% ของเงินเดือน รวมทั้งหมดเป็น 10%
กิจการต้องรวบรวมนาํ ส่งสํานักงานประกันสังคม ภายในวันท่ี 15 ของเดือนถัดไป

การบนั ทกึ บัญชีภาษเี งินได้หัก ณ ทจ่ี ่ายและเงินประกนั สงั คม แยกพิจารณา 3 กรณี ดังนี้

กรณที ี่ 1 พนกั งานออกคา่ ภาษีเงินไดเ้ องท้งั จานวน บนั ทกี บัญชโี ดย

เดบติ เงนิ เดือน ××
เงนิ ประกันสงั คมจา่ ยสมทบ ××
เครดติ เงนิ สด
××
ภาษเี งินได้หกั ณ ทจี่ ่าย
เงนิ ประกนั สงั คมคา้ งจา่ ย ××
××

กรณที ี่ 2 กิจการและพนกั งานออกค่าภาษเี งินไดค้ นละครง่ึ บนั ทีกบญั ชโี ดย

เดบติ เงินเดือน ××
เงินประกนั สงั คมจ่ายสมทบ ××

ภาษีเงนิ ได้ ××
เครดิต เงินสด
××
ภาษีเงินไดห้ ัก ณ ทจี่ า่ ย ××

เงินประกนั สงั คมค้างจ่าย ××

กรณที ่ี 3 กิจการออกค่าภาษีเงินได้ใหพ้ นักงานทั้งจานวน บันทีกบญั ชโี ดย

เดบิต เงินเดอื น ××

เงนิ ประกนั สังคมจ่ายสมทบ ××
ภาษีเงนิ ได้ ××
เครดิต เงินสด
××
ภาษีเงนิ ได้หัก ณ ทจ่ี ่าย
เงนิ ประกนั สังคมค้างจ่าย ××
××

หน่วยการเรยี นรู้ที่ 1 หนี้สินหมุนเวียน 43

ตวั อย่างท่ี 1.12 บริษัท สุดเจรญิ จํากดั จา่ ยเงินเดอื นพนกั งานเดอื นธนั วาคม 2557
จํานวน 500,000 บาท ภาษเี งินได้หัก ณ ท่จี า่ ย จาํ นวน 5,000 บาท หกั ประกนั สงั คม
จาํ นวน 20,000 บาท บริษทั จ่ายสมทบเงินประกนั สงั คมอกี จาํ นวน 20,000 บาท

กรณีที่ 1 พนักงานออกค่าภาษีเงินไดเ้ องทงั้ จานวน

สมุดรายวันทว่ั ไป หนา้ 1

พ.ศ. 2557 รายการ เลขท่ี เดบิต เครดิต
เดือน วนั
บัญชี บาท สต. บาท สต.

ธ.ค. 31 เงินเดอื น 500,000 -

เงินประกันสงั คมจา่ ยสมทบ 20,000 -

เงินสด 475,000 -

ภาษเี งินไดห้ ัก ณ ท่จี า่ ย 5,000 -

เงนิ ประกันสงั คมค้างจ่าย 40,000 -

จา่ ยเงนิ เดือน หักภาษีเงนิ ได้ ณ ท่ีจา่ ย

และหกั เงนิ ประกนั สงั คม

กรณีที่ 2 กจิ การและพนกั งานออกค่าภาษเี งินได้คนละครึ่ง

สมุดรายวันทัว่ ไป หน้า 1

พ.ศ. 2557 รายการ เลขท่ี เดบิต เครดติ
เดือน วัน บญั ชี บาท สต. บาท สต.

ธ.ค. 31 เงนิ เดอื น 500,000 -
20,000 -
เงนิ ประกนั สังคมจา่ ยสมทบ 2,500 -

ภาษเี งินได้ (5,000 ÷ 2) 477,500 -
5,000 -
เงนิ สด 40,000 -

ภาษเี งินได้หกั ณ ที่จ่าย

เงินประกันสังคมค้างจา่ ย

จ่ายเงินเดือน หักเงินประกนั สงั คม

หักภาษเี งนิ ได้ ณ ท่จี า่ ยคร่งึ หน่ึง

หน่วยการเรยี นรู้ที่ 1 หนีส้ นิ หมุนเวยี น 44

กรณที ่ี 3 กิจการออกค่าภาษีเงินได้ใหพ้ นักงานท้ังจานวน

สมุดรายวนั ทั่วไป หนา้ 1

พ.ศ. 2557 รายการ เลขท่ี เดบติ เครดิต
เดือน วนั บัญชี บาท สต. บาท สต.

ธ.ค. 31 เงินเดอื น 500,000 -
20,000 -
เงินประกนั สังคมจ่ายสมทบ 5,000 -

ภาษีเงินได้ 480,000 -
5,000 -
เงินสด 40,000 -

ภาษีเงนิ ได้หัก ณ ทจี่ ่าย

เงนิ ประกันสังคมค้างจา่ ย

จา่ ยเงินเดือน หักเงินประกันสงั คม

และออกภาษเี งินไดใ้ หพ้ นักงาน

แบบฝึกหดั ที่ 1.11

จงปฏิบตั ิกิจกรรมตามท่โี จทยก์ าหนด (10 คะแนน)
บริษทั ม่งิ พร จาํ กัด มพี นกั งาน 3 คน มีเงินเดอื นคนละ 14,000 บาท 20,000 บาท
และ 30,000 บาท ตามลาํ ดับ เมือ่ วนั ที่ 31 มกราคม 2557 บริษทั จ่ายเงนิ เดือนพนกั งาน

และหกั ภาษเี งินได้ ณ ทจ่ี ่าย คนละ 300 บาท 450 บาท และ 620 บาท ตามลาํ ดบั
หกั เงินประกนั สังคม 5% ของเงนิ เดอื น และบรษิ ัทได้จ่ายสมทบอกี 5% ของเงนิ เดอื น
ให้ทา บนั ทึกรายการในสมดุ รายวนั ทวั่ ไปในกรณีตา่ ง ๆ ดงั น้ี

กรณีที่ 1 พนกั งานออกค่าภาษเี งนิ ได้เองท้งั จํานวน
กรณีท่ี 2 กิจการและพนักงานออกค่าภาษีเงินได้คนละครึง่
กรณที ี่ 3 กิจการออกค่าภาษเี งินไดใ้ หพ้ นักงานทั้งจํานวน

หนว่ ยการเรียนรู้ที่ 1 หนี้สินหมุนเวยี น 45

กรณที ่ี 1 พนักงานออกค่าภาษเี งินได้เองทงั้ จานวน

สมดุ รายวันทั่วไป หน้า 1

พ.ศ. 2557 รายการ เลขที่ เดบติ เครดิต
เดือน วัน บญั ชี บาท สต. บาท สต.

กรณที ่ี 2 กิจการและพนักงานออกคา่ ภาษเี งินได้คนละคร่ึง

สมุดรายวันทัว่ ไป หน้า 1

พ.ศ. 2557 รายการ เลขที่ เดบติ เครดิต
เดอื น วนั บัญชี บาท สต. บาท สต.

หนว่ ยการเรยี นรู้ที่ 1 หนสี้ ินหมุนเวยี น 46

กรณีที่ 3 กจิ การออกค่าภาษีเงินไดใ้ ห้พนักงานทง้ั จานวน

สมุดรายวนั ทว่ั ไป หน้า 1

พ.ศ. 2557 รายการ เลขท่ี เดบติ เครดติ
เดอื น วัน บญั ชี บาท สต. บาท สต.

4.9 ภาษเี งินได้นติ ิบุคคลค้างจา่ ย (Corporate Income Taxes Payable)
กิจการประเภทนิติบุคคล เช่น ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจํากัดและ

บริษัทจํากัด เม่ือดําเนินกิจการมีผลกําไรสุทธิถือว่ากิจการมีเงินได้ ต้องคํานวณภาษีเงินได้นิติบุคคล

จากกําไรสุทธิหลังหักค่าใช้จ่ายใด ๆ แล้วคูณด้วยอัตราภาษีเงินได้ 20% ของกําไรสุทธิประจําปี
เพื่อเสียภาษีให้แก่รัฐบาล ภายใน 150 วัน นับจากวันสิ้นงวดบัญชี ซึ่งเป็นหนี้สินหมุนเวียน
ในงบแสดงฐานะการเงิน

การบนั ทกึ บัญชีภาษเี งินไดน้ ติ ิบุคคล บนั ทีกบญั ชีโดย

เดบิต ภาษเี งินได้นติ ิบุคคล ××
เครดติ ภาษีเงนิ ได้นติ บิ ุคคลค้างจ่าย ××

ตัวอย่างท่ี 1.13 บริษทั กมลพร จาํ กดั มีกาํ ไรสทุ ธิ จาํ นวน 720,000 บาท อตั ราภาษีเงนิ ไดน้ ิตบิ ุคคล

20% ของกาํ ไรสุทธิ ในวันท่ี 31 ธันวาคม 2557 บรษิ ทั ยังไม่ไดน้ าํ ส่งภาษีเงินไดน้ ิตบิ คุ คล

การบนั ทกึ บัญชี

สมุดรายวนั ทว่ั ไป หน้า 1

พ.ศ. 2557 รายการ เลขท่ี เดบิต เครดิต
เดือน วัน
บัญชี บาท สต. บาท สต.

ธ.ค. 31 ภาษีเงนิ ได้นติ บิ ุคคล (720,000×20%) 144,000 -

ภาษีเงนิ ได้นติ ิบุคคลค้างจา่ ย 144,000 -

บนั ทกึ ภาษีเงนิ ไดน้ ติ บิ ุคคลคา้ งจา่ ย

หนว่ ยการเรียนร้ทู ่ี 1 หน้สี นิ หมุนเวียน 47

แบบฝึกหดั ท่ี 1.12

จงปฏิบัติกิจกรรมตามทโี่ จทยก์ าหนด (10 คะแนน)

เมือ่ วนั ท่ี 31 ธันวาคม 2557 บรษิ ทั ก้องภพ จํากดั มีกาํ ไรสุทธิ จาํ นวน 420,000 บาท

อัตราภาษีเงินไดน้ ิติบุคคล 20% ของกาํ ไรสุทธิ

ให้ทา บนั ทึกรายการในสมดุ รายวนั ทัว่ ไป

สมุดรายวนั ท่ัวไป หนา้ 1

พ.ศ. 2557 รายการ เลขที่ เดบติ เครดติ
เดอื น วนั
บัญชี บาท สต. บาท สต.

4.10 โบนัสพนักงานค้างจ่าย (Employee Bonus Payable) โบนัสเป็นค่าตอบแทนพิเศษ
ท่ีกิจการจ่ายให้พนักงานเพิ่มเติมจากเงินเดือน จํานวนโบนัสที่จะจ่ายให้มากน้อยเพียงใดน้ันขึ้นอยู่กับ

กําไรสุทธิประจําปีของกิจการ โบนัสมีลักษณะเป็นการแบ่งกําไร จะคํานวณให้หลังจากทราบกําไรสุทธิ
ประจาํ ปีแลว้ กิจการจะประกาศจา่ ยโบนัสตอนสน้ิ ปี จึงถือเป็นหน้ีสนิ หมุนเวียน

การบันทึกบัญชโี บนัสพนักงานคา้ งจา่ ย บนั ทกี บัญชโี ดย

เดบติ โบนัสพนกั งาน ××
เครดิต โบนสั พนกั งานคา้ งจา่ ย ××

ในขณะท่ีประมวลรัษฎากรกรมาตรา 65 ตรี โบนัสไม่ถือเป็นค่าใช้จ่ายในการคํานวณกําไร
เพอ่ื เสยี ภาษีเงินได้นิตบิ คุ คล จากหลกั เกณฑท์ ีแ่ ตกต่างกนั น้ี นักบัญชีจะต้องให้ความระมัดระวังเป็นพิเศษ

นอกจากนี้การคาํ นวณโบนสั กย็ งั มีปญั หาเนอื่ งจากการคํานวณโบนสั ขน้ึ อยูก่ ับข้อตกลงวา่ ให้คํานวณเงนิ โบนสั
จากกาํ ไรยอดใด ดังตอ่ ไปนี้

1) กาํ ไรก่อนหกั โบนสั และภาษีเงนิ ได้

2) กาํ ไรหลงั หกั ภาษเี งินได้ แต่ก่อนหกั โบนัส
3) กาํ ไรหลงั หักโบนสั แต่ก่อนหักภาษีเงนิ ได้
4) กําไรหลังหักโบนสั และภาษเี งินได้

หน่วยการเรยี นร้ทู ี่ 1 หนีส้ นิ หมุนเวยี น 48

ตวั อย่างท่ี 1.14 บริษัท กนกทิพย์ จํากัด มีข้อตกลงให้โบนัสพนักงาน 20% ของกําไรสุทธิประจําปี
ในปี 2557 บรษิ ทั มกี าํ ไรก่อนหักโบนสั และภาษีเงินได้ จาํ นวน 300,000 บาท
อตั ราภาษีเงนิ ได้นติ บิ คุ คล 30% ของกําไรสุทธิ การคํานวณโบนสั และภาษีเงินได้แตล่ ะวิธี แสดงดังน้ี

กําหนดให้ B = โบนสั
T = ภาษเี งนิ ไดน้ ิตบิ ุคคล

กรณีที่ 1 คานวณโบนัสจากกาไรกอ่ นหักโบนัสและภาษีเงนิ ได้

B = 20% (300,000)
ดงั นัน้ B = 60,000 บาท

T = 30% (300,000 – B)

T = 30% (300,000 – 60,000)
ดงั นน้ั T = 72,000 บาท

กรณีที่ 2 คานวณโบนัสจากกาไรหลังหกั ภาษเี งินได้ แต่กอ่ นหักโบนัส

B = 20% (300,000 - T) ..............(1)

T = 30% (300,000 – B) ..............(2)

แทนคา่ สมการ (2) ใน (1)

B = 20% [300,000 – 30% (300,000 – B)]

B = 20% (300,000 – 90,000 + 0.30B)

B = 20% (210,000 + 0.30B)

B = 42,000 + 0.06B

B – 0.06B = 42,000

0.94B = 42,000

B = 42,000/0.94

ดงั นั้น B = 44,680.85 บาท

แทนค่า B ในสมการท่ี (2)

T = 30% (300,000 – 44,680.85)

ดังนั้น T = 76,595.75 บาท

หนว่ ยการเรียนรทู้ ี่ 1 หนีส้ นิ หมุนเวียน 49

กรณีท่ี 3 คานวณโบนสั จากกาไรหลงั หักโบนัส แตก่ ่อนหักภาษีเงนิ ได้
B = 20% (300,000 - B)
B = 60,000 – 0.20B

B + 0.20B = 60,000
1.20B = 60,000
B = 60,000/1.20

ดงั นั้น B = 50,000 บาท
T = 30% (300,000 – B)
T = 30% (300,000 – 50,000)

ดังนั้น T = 75,000 บาท

กรณีท่ี 4 คานวณโบนสั จากกาไรหลังหักโบนัสและภาษีเงนิ ได้

B = 20% (300,000 – B - T) ..............(1)

T = 30% (300,000 – B) ..............(2)

แทนค่าสมการ (2) ในสมการที่ (1)

B = 20% [300,000 – B - 30% (300,000 – B)]

B = 20% (300,000 – B – 90,000 + 0.30B)

B = 20% (210,000 – 0.70B)

B = 42,000 – 0.14B

B + 0.14B = 42,000

1.14B = 42,000

B = 42,000/1.14

ดังนัน้ B = 36,842.10 บาท

แทนคา่ B ในสมการท่ี (2)

T = 30% (300,000 – 36,842.10)

ดงั นนั้ T = 78,947.37 บาท

หน่วยการเรยี นร้ทู ี่ 1 หนส้ี นิ หมุนเวียน 50

การบันทึกบัญชี จากตัวอย่างกรณีที่ 4 การบนั ทกึ บัญชโี บนสั และภาษีเงินได้ แสดงดงั นี้

สมดุ รายวันท่วั ไป หน้า 1

พ.ศ. 2557 รายการ เลขที่ เดบติ เครดติ
เดือน วนั
บญั ชี บาท สต. บาท สต.

ธ.ค. 31 โบนัสพนกั งาน 36,842 10

โบนสั พนกั งานคา้ งจ่าย 36,842 10

บนั ทกึ โบนสั พนกั งานคา้ งจ่าย

ภาษเี งนิ ไดน้ ิตบิ ุคคล 78,947 37

ภาษเี งินได้นิตบิ ุคคลคา้ งจ่าย 78,947 37

บันทกึ ภาษเี งินได้นิติบคุ คลค้างจา่ ย

แบบฝกึ หดั ท่ี 1.13

จงปฏิบตั กิ จิ กรรมตามท่โี จทยก์ าหนด (10 คะแนน)
บรษิ ัท กนกนาถ จาํ กดั มีกาํ ไรกอ่ นหักโบนสั และภาษีเงนิ ไดป้ ระจาํ ปี 2557 จํานวน 500,000 บาท
บริษทั มีนโยบายให้โบนสั แกพ่ นกั งาน 10% ของกําไรสทุ ธิ ภาษีเงินได้นติ บิ ุคคล 20% ของกาํ ไรสทุ ธิ
ใหท้ า 1. คาํ นวณโบนัสท่ตี อ้ งจา่ ยใหพ้ นกั งานในแตล่ ะกรณดี งั น้ี
กรณที ี่ 1 คํานวณโบนสั จากกําไรก่อนหกั โบนสั และภาษีเงนิ ได้
กรณที ี่ 2 คํานวณโบนสั จากกาํ ไรหลงั หักภาษเี งินได้ แตก่ อ่ นหกั โบนสั
กรณที ี่ 3 คาํ นวณโบนสั จากกําไรหลงั หกั โบนสั แต่กอ่ นหกั ภาษีเงนิ ได้
กรณที ี่ 4 คํานวณโบนัสจากกาํ ไรหลงั หักโบนสั และภาษเี งินได้
2. บนั ทึกรายการในสมุดรายวันท่ัวไป กรณีท่ี 4

กรณที ่ี 1 คานวณโบนสั จากกาไรก่อนหักโบนัสและภาษเี งินได้
B=

ดงั นั้น B =
T=
T=

ดงั นนั้ T =

หนว่ ยการเรียนรู้ที่ 1 หนีส้ นิ หมุนเวียน 51

กรณที ่ี 2 คานวณโบนสั จากกาไรหลังหักภาษีเงินได้ แตก่ ่อนหักโบนัส
B=
T=

แทนค่าสมการ (2) ใน (1)
B=
B=
B=
B=

B – 0.02B =
0.98B =
B=

ดงั นั้น B =
แทนคา่ B ในสมการท่ี (2)

T=
ดังน้ัน T =

กรณที ี่ 3 คานวณโบนัสจากกาไรหลงั หกั โบนสั แต่ก่อนหักภาษีเงนิ ได้
B=
B=

B + 0.10B =
1.10B =
B=

ดังน้ัน B =
T=
T=

ดังนนั้ T =

หนว่ ยการเรียนรทู้ ี่ 1 หนีส้ ินหมุนเวยี น 52

กรณที ี่ 4 คานวณโบนสั จากกาไรหลงั หกั โบนัสและภาษเี งินได้
B=
T=

แทนค่าสมการ (2) ใน (1)
B=

B=
B=
B=

B + 0.08B =
1.08B =

B=
ดังนั้น B =
แทนค่า B ในสมการที่ (2)

T=
ดังน้นั T =

2. บันทึกรายการในสมุดรายวนั ทว่ั ไป กรณที ่ี 4

สมุดรายวนั ทวั่ ไป หนา้ 1

พ.ศ. 2557 รายการ เลขท่ี เดบิต เครดิต
เดอื น วัน บญั ชี บาท สต. บาท สต.

หน่วยการเรยี นรู้ท่ี 1 หนี้สนิ หมุนเวียน 53

4.11 รายไดร้ ับลว่ งหนา้ (Unearned Revenues)
รายได้รับล่วงหน้า หมายถึง เงินที่กิจการได้รับจากลูกค้าก่อนที่จะมีการส่งมอบสินค้า

หรือให้บริการ ณ วันที่ได้รับเงินสด ยังไม่ถือเป็นรายได้ของกิจการ แต่จะถือเป็นหนี้สินหมุนเวียน

เพราะเปน็ ภาระผกู พันท่ีกจิ การจะต้องสง่ มอบสินค้าหรือให้บริการแก่ลูกค้าภายใน 1 ปีนับจากวันที่รับเงิน
เม่ื อกิ จ กา ร ส่ง ม อบ สิ นค้ า หรื อ ให้ บ ริก า รแ ก่ ลูก ค้ าแ ล้วห นี้ สิ น หมุ น เวี ย นก็ จ ะถื อ เป็ น รา ย ได้ ข อง กิ จก า ร
เชน่ ค่าเช่ารับล่วงหน้า ค่าสมาชิกวารสารรบั ล่วงหนา้ เปน็ ต้น

การบันทึกบญั ชีรายได้รับล่วงหน้า เป็นดงั นี้
1) เม่อื กจิ การไดร้ ับรายได้ล่วงหน้า บันทีกบัญชโี ดย

เดบติ เงินสด ××

เครดติ รายได้รับล่วงหน้า (ระบปุ ระเภทของรายได)้ ××

2) เมือ่ กิจการสง่ มอบสนิ ค้าหรอื ให้บริการแกล่ กู ค้า บนั ทกี บญั ชีโดย

เดบติ รายไดร้ ับลว่ งหนา้ (ระบปุ ระเภทของรายได้) ××
เครดิต รายได้ (ระบปุ ระเภทของรายได)้ ××

ตัวอยา่ งท่ี 1.15 วนั ท่ี 1 ตุลาคม 2557 บรษิ ทั กรกนก จํากัด ไดร้ ับเงนิ คา่ เชา่ จาํ นวน 12,000 บาท

ซึ่งเปน็ คา่ เช่าของระยะเวลาสาํ หรบั 1 ปี บรษิ ัทปดิ บญั ชีทกุ วนั สิน้ ปี

การบนั ทึกบญั ชี

สมดุ รายวนั ทั่วไป หน้า 1

พ.ศ. 2557 รายการ เลขท่ี เดบติ เครดิต
เดือน วัน
บัญชี บาท สต. บาท สต.

ต.ค. 1 เงินสด 12,000 -

รายไดค้ ่าเชา่ รับล่วงหน้า 12,000 -

ไดร้ ับเงนิ ค่าเชา่ รบั ล่วงหนา้

ธ.ค. 31 รายไดค้ ่าเช่ารบั ลว่ งหน้า 3,000 -

รายไดค้ ่าเช่า (12,000 x 3/12) 3,000 -

ปรับปรงุ รายได้ค่าเช่ารบั ลว่ งหนา้

เป็นรายได้ค่าเช่า

หน่วยการเรยี นรู้ที่ 1 หน้สี นิ หมุนเวยี น 54

แบบฝกึ หดั ท่ี 1.14

จงปฏิบัตกิ ิจกรรมตามท่โี จทยก์ าหนด (10 คะแนน)
บริษทั นําสขุ จาํ กดั มีรายการคา้ บางส่วนในปี 2557 ดงั น้ี
2557
ก.ค. 1 ไดก้ เู้ งนิ จํานวน 20,000 บาท อตั ราดอกเบ้ีย 10% ตอ่ ปี ระยะเวลา 1 ปี
โดยเรยี กเกบ็ ดอกเบี้ยไวล้ ่วงหน้าแล้วในวนั ทใี่ ห้กเู้ งนิ
ส.ค. 1 ไดร้ ับเงนิ คา่ สมาชกิ วารสารรายปี จาํ นวน 60,000 บาท
ก.ย. 1 ได้รับเงินคา่ เชา่ สาํ นักงานลว่ งหนา้ จาํ นวน 80,000 บาท
สาํ หรบั ระยะเวลาการเช่า 8 เดอื น
ธ.ค. 31 บริษัทปิดบญั ชปี ระจําปี

ให้ทา บนั ทกึ รายการในสมดุ รายวันทว่ั ไป

สมุดรายวนั ทัว่ ไป หน้า 1
รายการ
พ.ศ. เลขที่ เดบติ เครดิต
เดือน วนั
บัญชี บาท สต. บาท สต.

หน่วยการเรยี นรู้ท่ี 1 หนีส้ ินหมุนเวยี น 55

5. การแสดงรายการหน้สี ินหมนุ เวยี นในงบการเงนิ

หนี้สินหมุนเวียนให้แสดงในงบแสดงฐานะการเงิน โดยเรียงลําดับรายการย่อที่ต้องมีตามรูปแบบ
ที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้าประกาศใช้ (กรมพัฒนาธุรกิจการค้า. 2558 : เว็บไซต์) ซึ่งเป็นประกาศ
ท่ีได้มีการปรับปรุงให้สอดคล้องกับมาตรฐานการบัญชี ฉบับท่ี 1 (ปรับปรุง 2558) เร่ือง การนําเสนอ

งบการเงิน และต้องเปิดเผยข้อมูลเพ่ิมเติมในหมายเหตุประกอบงบการเงินเพื่อให้รายละเอียด
แกผ่ ู้ใช้งบการเงนิ

การแสดงรายการหนีส้ นิ หมุนเวียนในงบแสดงฐานะการเงินที่กําหนดในแบบ 2 เนื่องจากตัวอย่าง

ทีอ่ ธิบายตามหนว่ ยการเรียนรู้ที่ 1 สว่ นใหญ่เปน็ รปู แบบบริษทั จาํ กดั ดงั นี้

งบการเงนิ แบบ 2
ของ บริษัทจากัด
--------------------------- หนว่ ย : บาท
งบแสดงฐานะการเงนิ (บางส่วน) 25x1 25x0

หมายเหตุ ×× ××
หนีส้ ินและสว่ นของผู้ถือหุ้น ×× ××
×× ××
3. หนี้สินหมุนเวียน ×× ××
3.1 เงนิ เบกิ เกินบัญชีและเงนิ กูย้ มื ระยะสั้นจากสถาบนั การเงนิ ×× ××
3.2 เจ้าหนกี้ ารคา้ และเจ้าหน้อี ื่น ×× ××
3.3 สว่ นของหนีส้ นิ ระยะยาวทถี่ ึงกําหนดชําระภายในหน่งึ ปี ×× ××
3.4 เงินกู้ยืมระยะส้นั ×× ××
3.5 ภาษีเงนิ ได้คา้ งจ่าย
3.6 ประมาณการหนสี้ ินระยะสน้ั
3.7 หนสี้ ินหมนุ เวียนอ่นื
รวมหนสี้ ินหมนุ เวยี น

หน่วยการเรียนรทู้ ่ี 1 หนสี้ นิ หมุนเวยี น 56

ความหมายของรายการยอ่ ในงบการเงนิ แบบ 2
ของ บริษัทจากัด

----------------------------

งบแสดงฐานะการเงิน

หน้สี ินและสว่ นของผู้ถือหุ้น
3. หน้สี ินหมุนเวยี น (Current Liabilities)

3.1 เงินเบกิ เกินบัญชีและเงนิ กูย้ ืมระยะสั้นจากสถาบันการเงิน (Bank Overdrafts and

Short-term Borrowing from Financial Institutions)
หมายถึง เงนิ เบกิ เกินบัญชีธนาคาร หนี้สนิ ทเ่ี กิดขน้ึ จากการกูย้ มื ระยะสน้ั จากธนาคารพาณชิ ย์

หรอื สถาบนั การเงนิ อ่นื รวมท้งั การขายหรือขายช่วงลดตั๋วเงินกบั สถาบันการเงนิ ซง่ึ จดั เปน็ หนี้สนิ หมุนเวียน

3.2 เจา้ หน้กี ารคา้ และเจา้ หน้ีอนื่ (Trade and Other Payables)
เจา้ หนกี้ ารคา้ หมายถงึ เงินท่ีกจิ การคา้ งชําระคา่ สินคา้ หรือค่าบรกิ ารท่ซี ้อื มาเพือ่ ขาย หรอื

เพอื่ ใชใ้ นการผลติ สินค้า หรอื ใหบ้ รกิ ารตามปกตแิ ละตั๋วเงินจา่ ยท่ีกจิ การออกให้เพื่อชําระค่าสินค้า

หรือบริการดังกลา่ ว
เจ้าหนี้อื่น หมายถึง เจ้าหน้ีอื่นท่ีมิใช่เจ้าหนี้การค้า เช่น ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย รายได้รับล่วงหน้า

เปน็ ตน้

3.3 สว่ นของหนสี้ ินระยะยาวท่ีถึงกาหนดชาระภายในหนึ่งปี (Current Portion of Long-term
Liabilities)

หมายถึง หนี้สินระยะยาวท่ีจะถึงกําหนดชําระคืนภายในหนึ่งปีนับจากวันส้ินรอบ

ระยะเวลารายงาน
3.4 เงินกยู้ ืมระยะส้นั (Short-term Borrowings)
หมายถึง เงินกู้ยมื ระยะสน้ั รวมทงั้ หนส้ี นิ ในลักษณะอ่นื ใด นอกจากหน้ีสินท่เี กดิ จากการซื้อสินค้า

หรือบริการและเจา้ หนอ้ี ื่น ซ่งึ กาํ หนดใหแ้ สดงไว้ในรายการท่ี 3.2
3.5 ภาษเี งินไดค้ า้ งจา่ ย (Current Income Tax Payable)
หมายถงึ คา่ ใช้จา่ ยภาษีเงินไดน้ ติ ิบุคคลคา้ งจา่ ย

3.6 ประมาณการหนส้ี นิ ระยะสน้ั (Short-term Provisions)
หมายถึง หนี้สินท่ีคาดว่าจะถึงกําหนดชําระภายในหน่ึงปีนับจากวันสิ้นรอบระยะเวลารายงาน

และมคี วามไมแ่ น่นอนเกี่ยวกับจงั หวะเวลาหรอื จาํ นวนทจี่ ะต้องจ่ายชาํ ระ ทง้ั น้ี ใหเ้ ปน็ ไปตามทก่ี ําหนด

ในมาตรฐานการรายงานทางการเงนิ ทีเ่ กยี่ วขอ้ ง
3.7 หน้สี ินหมุนเวียนอื่น (Other Current Liabilities)
หมายถงึ หนส้ี นิ หมุนเวียนอ่นื ใด นอกจากที่กาํ หนดให้แสดงไวใ้ นรายการท่ี 3.1 ถงึ 3.6 ทงั้ นี้

หากรายการใดมสี าระสําคญั ให้แยกแสดงออกมาตา่ งหาก

หน่วยการเรยี นรทู้ ่ี 1 หนี้สินหมุนเวยี น 57

ตัวอยา่ งท่ี 1.16 การแสดงรายการหนี้สนิ หมุนเวยี นในงบแสดงฐานะการเงนิ (บางส่วน)

บริษัท ร่งุ เจริญ จากดั
งบแสดงฐานะการเงนิ (บางส่วน)

ณ วันท่ี 31 ธันวาคม 2557

หนี้สินและสว่ นของผูถ้ อื หุ้น หมายเหตุ หน่วย : บาท
2557
หน้สี ินหมนุ เวียน 3
เงินเบกิ เกนิ บญั ชีและเงินกู้ยมื ระยะส้นั จากสถาบันการเงนิ 4 75,000
เจ้าหนก้ี ารค้าและเจา้ หนอี้ น่ื 5 250,700
6 50,000
สว่ นของหนส้ี นิ ระยะยาวทีถ่ ึงกําหนดชําระภายในหนึ่งปี 7 10,000
เงินกู้ยืมระยะส้ัน 20,000
ภาษเี งินได้ค้างจ่าย
2,000
หนสี้ นิ หมุนเวยี นอน่ื 407,700
รวมหน้ีสินหมุนเวยี น

บรษิ ัท รงุ่ เจรญิ จากดั

หมายเหตุประกอบงบการเงิน (บางส่วน)

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2557

1. ขอ้ มลู ทั่วไป

บรษิ ทั รงุ่ เจรญิ จํากดั จัดต้ังขน้ึ เปน็ บริษทั และมภี ูมิลําเนาในประเทศไทย ดําเนินธุรกจิ ....โดยมที อ่ี ยู่

ตามท่จี ดทะเบยี นคือ..................

2. สรุปนโยบายบัญชีท่สี าคัญ

นโยบายการบญั ชที ีน่ าํ เสนอดงั ต่อไปนไี้ ดถ้ ือปฏิบตั โิ ดยสมํา่ เสมอสําหรับงบการเงินทกุ รอบระยะเวลา

ทรี่ ายงาน .................

3. เงนิ เบกิ เกินบัญชีและเงนิ ก้ยู มื ระยะส้ันจากสถาบันการเงนิ ประกอบด้วย

เงินเบิกเกินบญั ชี 25,000

เงินกยู้ มื ระยะส้นั จากสถาบันการเงนิ 30,000

ต๋วั เงินจ่าย-ธนาคาร 20,000

รวม 75,000

หนว่ ยการเรยี นรทู้ ่ี 1 หน้ีสินหมุนเวียน 58

4. เจ้าหนกี้ ารค้าและเจา้ หน้ีอืน่ ประกอบด้วย

เจ้าหนก้ี ารคา้ 15,000

ตว๋ั เงนิ จ่าย-การคา้ 12,000 27,000

ตั๋วเงนิ จ่าย-ธนาคาร 80,000

หกั สว่ นลดในตั๋วเงนิ จ่าย 17,500 62,500

ต๋วั เงนิ จา่ ย-อปุ กรณ์สาํ นกั งาน 50,000

หกั ส่วนลดในต๋ัวเงินจ่าย 12,500 37,500

ดอกเบีย้ คา้ งจา่ ย 1,000

เงนิ สดปันผลคา้ งจา่ ย 18,000

ภาษมี ูลคา่ เพ่มิ คา้ งจา่ ย 12,500

ภาษีเงินได้หัก ณ ท่จี า่ ย 17,500

เงินประกันสังคมคา้ งจ่าย 24,200

โบนสั พนกั งานค้างจา่ ย 34,500

รายไดค้ ่าเชา่ รบั ลว่ งหน้า 16,000

รวม 250,700

5. สว่ นของหนี้สนิ ระยะยาวท่ีถงึ กาหนดชาระภายในหน่ึงปี

บรษิ ทั ทาํ สญั ญากู้ยมื เงนิ ระยะยาวกบั ธนาคารพาณิชย์ จํานวน 200,000 บาท เม่อื วันท่ี 1 มกราคม

2557 ระยะเวลาการกู้ 4 ปี โดยชาํ ระงวดละ 50,000 บาท กาํ หนดชําระคนื เงนิ ตน้ ทกุ วนั ที่ 1 มกราคม

ของแต่ละปี

6. เงินกู้ยมื ระยะสัน้ ประกอบด้วย

เงนิ ก้ยู มื กรรมการบรษิ ัท 10,000

7. ภาษเี งนิ ได้คา้ งจา่ ย ประกอบด้วย

ภาษเี งินได้นิติบคุ คลค้างจ่าย 20,000

หนว่ ยการเรียนรู้ที่ 1 หนส้ี ินหมุนเวยี น 59

แบบฝกึ หดั ท่ี 1.15

จงปฏิบตั ิกิจกรรมตามทโ่ี จทย์กาหนด (10 คะแนน)

ตอ่ ไปนีเ้ ป็นข้อมลู ของบรษิ ทั สุขเจรญิ จาํ กดั มยี อดคงเหลือ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2557 ดงั นี้

เจ้าหนก้ี ารค้า 13,000 บาท

เงนิ เบิกเกินบญั ชี 20,000 บาท

ตั๋วเงนิ จ่าย-เครอื่ งจกั ร 50,000 บาท

ส่วนลดในตว๋ั เงนิ จา่ ย 8,000 บาท

เงินมดั จาํ ลกู ค้า 2,000 บาท

รายไดค้ ่าสมาชกิ รบั ลว่ งหนา้ 15,000 บาท

หุ้นกู้ทถี่ ึงกําหนดชําระในหน่ึงปี 100,000 บาท

เงนิ ประกนั สงั คมคา้ งจ่าย 9,000 บาท

ภาษีเงินได้นิตบิ ุคคลคา้ งจ่าย 20,000 บาท

โบนสั พนกั งานคา้ งจ่าย 35,000 บาท

ดอกเบ้ยี คา้ งจา่ ย 2,700 บาท

ให้ทา 1. จดั ทํางบแสดงฐานะการเงิน ณ วนั ที่ 31 ธันวาคม 2557 โดยแสดงเฉพาะหนส้ี นิ หมุนเวียน
2. เปิดเผยขอ้ มูลเพิ่มเติมในหมายเหตุประกอบงบการเงนิ

บรษิ ัท สุขเจรญิ จากัด
งบแสดงฐานะการเงิน (บางส่วน)

ณ วันท่ี 31 ธันวาคม 2557

หมายเหตุ หน่วย : บาท
2557

หน้ีสินและสว่ นของผถู้ อื หุ้น
หนี้สินหมนุ เวียน
เงนิ เบกิ เกินบญั ชแี ละเงนิ กยู้ มื ระยะสั้นจากสถาบนั การเงิน
เจา้ หนกี้ ารคา้ และเจ้าหนอ้ี ืน่
สว่ นของหนส้ี ินระยะยาวทถี่ ึงกําหนดชาํ ระภายในหนงึ่ ปี
ภาษเี งนิ ได้คา้ งจา่ ย
หน้สี นิ หมนุ เวยี นอ่ืน
รวมหนี้สินหมนุ เวยี น

หนว่ ยการเรยี นร้ทู ่ี 1 หนี้สินหมุนเวียน 60

บริษัท สขุ เจรญิ จากดั
หมายเหตุประกอบงบการเงิน (บางสว่ น)

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2557
1. ขอ้ มูลท่ัวไป

บรษิ ัท สขุ เจริญ จาํ กัด จดั ตง้ั ขึน้ เป็นบรษิ ทั และมภี มู ลิ าํ เนาในประเทศไทย ดาํ เนินธุรกจิ ....โดยมที อ่ี ยู่
ตามทจ่ี ดทะเบียนคือ..................
2. สรปุ นโยบายบัญชที ีส่ าคัญ

นโยบายการบญั ชที ี่นาํ เสนอดงั ตอ่ ไปนไี้ ด้ถอื ปฏบิ ัตโิ ดยสม่ําเสมอสําหรับงบการเงนิ ทุกรอบระยะเวลา
ท่ีรายงาน .................
3. เจ้าหน้กี ารค้าและเจา้ หน้อี ่ืน ประกอบดว้ ย

4. ส่วนของหนสี้ นิ ระยะยาวที่ถงึ กาหนดชาระภายในหน่ึงปี
บริษทั ออกหุ้นกู้ จาํ นวน 500,000 บาท เมอ่ื วนั ที่ 1 มกราคม 2557 เปน็ หนุ้ กชู้ นิดไถ่ถอน

เป็นงวด ๆ ละ 100,000 บาท ไถ่ถอนทุกวันที่ 1 มกราคมของแต่ละปี ระยะเวลา 5 ปี
5. ภาษีเงนิ ได้ค้างจา่ ย ประกอบดว้ ย

6. หนีส้ ินหมุนเวยี นอื่น ประกอบดว้ ย

หน่วยการเรยี นรูท้ ่ี 1 หนีส้ นิ หมุนเวียน 61

สรปุ

กรอบแนวคิดสาํ หรบั การรายงานทางการเงนิ (ปรับปรุง 2558) ให้ความหมายคําวา่ หน้สี ิน หมายถึง
ภาระผูกพันในปัจจุบันของกิจการ ซึ่งเป็นผลของเหตุการณ์ในอดีต โดยการชําระภาระผูกพันนั้น
คาดว่าจะส่งผลให้กจิ การสญู เสยี ทรัพยากรท่ีมีประโยชน์เชิงเศรษฐกจิ

การรับรหู้ นีส้ ินหรือการบนั ทกึ รายการหน้สี ินและรวมไว้เป็นส่วนหนงึ่ ของงบแสดงฐานะการเงนิ
เมอื่ เข้าเกณฑก์ ารรับรรู้ ายการ 2 ขอ้ คอื

1. มีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ที่กิจการจะสูญเสียประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคต
เพ่ือชาํ ระภาระผูกพันในปจั จบุ นั

2. มูลคา่ ของภาระผูกพันท่ตี อ้ งชาํ ระสามารถวัดไดอ้ ยา่ งนา่ เช่อื ถือ
การวดั มลู ค่าหนสี้ นิ คอื การกาํ หนดจาํ นวนทเ่ี ป็นตัวเงิน เพอ่ื รับร้หู นส้ี ินในงบแสดงฐานะการเงิน
หลกั เกณฑก์ ารวดั มลู ค่าหนี้สินมี 4 วิธี ดงั น้ี

1. ราคาทุนเดมิ
2. ราคาทนุ ปัจจบุ ัน
3. มูลค่าที่จะจา่ ยคนื
4. มูลค่าปจั จบุ ัน
การจดั ประเภทของหนส้ี ินทีจ่ ําแนกตามกาํ หนดระยะเวลาการชําระหน้ี แบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่
1. หนส้ี ินหมุนเวียน หมายถึง หนสี้ นิ ทเ่ี ป็นไปตามเงอื่ นไขขอ้ ใดข้อหน่ึงต่อไปน้ี

1) คาดวา่ จะมีการชําระภายในรอบระยะเวลาดําเนนิ งานตามปกติของกจิ การ
2) มีวตั ถุประสงคเ์ บอ้ื งตน้ คือถอื ไวเ้ พ่อื ค้า
3) ถงึ กําหนดชําระภายใน 12 เดือนนบั จากรอบระยะเวลารายงาน
4) กิจการไม่มสี ทิ ธิอันปราศจากเงอ่ื นไขใหเ้ ล่ือนการชําระหน้ีออกไปอีกเป็นเวลาไม่น้อยกว่า
12 เดือนนับจากรอบระยะเวลารายงาน
2. หนส้ี นิ ไม่หมุนเวียน หมายถึง หนสี้ ินที่ไม่เป็นไปตามเง่ือนไขของหนีส้ ินหมุนเวียนดงั ทกี่ ลา่ ว
มาแล้วในข้อ 1
หน้สี นิ จําแนกตามความแนน่ อนของหนส้ี นิ แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ไดแ้ ก่
1. หนส้ี นิ ทีก่ ําหนดมลู ค่าได้แนน่ อน
2. ประมาณการหนสี้ ิน
3. หนี้สินท่ีอาจเกิดขนึ้
การแสดงรายการหนี้สินหมุนเวียนในกําหนดมูลค่าได้แน่นอนและประมาณการหน้ีสินหมุนเวียน
ใหร้ บั รูแ้ ละแสดงรายการในงบแสดงฐานะการเงินตามประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เร่ือง การกําหนด
รายการย่อที่ตอ้ งมใี นการเงิน พ.ศ. 2554

หนว่ ยการเรยี นรู้ท่ี 1 หนสี้ นิ หมุนเวยี น 62

คาศพั ทท์ างการบญั ชี

คาศัพท์ ความหมาย
Bank Notes Payable ตวั๋ เงนิ จา่ ยธนาคาร
Bank Overdrafts and Short-term borrowing- เงนิ เบกิ เกินบญั ชแี ละเงนิ กู้ยมื ระยะสั้น
from Financial Institutions จากสถาบันการเงนิ
Bill of exchange ต๋ัวแลกเงิน
Cash Discount ส่วนลดเงินสด
Cash Dividends Payable เงนิ สดปนั ผลค้างจ่าย
Contingent Current Liabilities หนี้สินหมุนเวียนทอี่ าจเกิดข้ึน
Contingent Liabilities หนส้ี ินทอ่ี าจเกดิ ข้นึ
Corporate Income Taxes Payable ภาษเี งนิ ไดน้ ติ บิ คุ คลคา้ งจ่าย
Current Cost ราคาทุนปจั จบุ นั
Current Liabilities หน้สี ินหมุนเวียน
Current Portion of Non-current Liabilities หนส้ี ินไมห่ มุนเวยี นทีถ่ งึ กาํ หนดชาํ ระภายในหนง่ึ ปี
Determinable Current Liabilities หนี้สนิ หมุนเวยี นท่กี าํ หนดมูลค่าได้แนน่ อน
Determinable Liabilities หนส้ี ินทกี่ ําหนดมูลคา่ ได้แนน่ อน
Discount on Note Payable ส่วนลดในต๋ัวเงนิ จา่ ย
Employee Bonus Payable โบนัสพนกั งานคา้ งจา่ ย
Gross Method วธิ ยี อดเต็ม
Historical Cost ราคาทุนเดิม
Interest-Bearing Note ตั๋วเงินจ่ายชนิดระบดุ อกเบยี้
Liabilities หน้ีสนิ
Measurement of Liabilities การวดั มลู ค่าหนสี้ นิ
Net Method วิธียอดสทุ ธิ
Non-current Liabilities หนี้สนิ ไมห่ มุนเวยี น
Notes Payable ตว๋ั เงนิ จา่ ย
Other Current Liabilities หนี้สินหมุนเวยี นอน่ื
Other Notes Payable ตั๋วเงนิ จ่ายอ่ืน ๆ
Present Value มูลค่าปจั จบุ ัน
Promissory Note ตว๋ั สัญญาใชเ้ งิน
Provision Current Liabilities ประมาณการหนีส้ ินหมนุ เวยี น
Provision Liabilities ประมาณการหนส้ี ิน

หนว่ ยการเรยี นร้ทู ี่ 1 หนี้สนิ หมุนเวยี น 63

คาศพั ทท์ างการบญั ชี (ตอ่ )

คาศัพท์ ความหมาย
Purchase Discount ส่วนลดรบั
Purchase Discount Lost ส่วนลดรบั ทสี่ ูญไป
Recognition of Liabilities การรบั รหู้ น้สี นิ
Returnable Deposits and Agency Obligations เงนิ มดั จําและเงนิ ประกัน
Settlement Value มลู ค่าทจี่ ะจ่ายคนื
Short-term Borrowings เงนิ กยู้ ืมระยะส้ัน
Short-term Provisions ประมาณการหนี้สนิ ระยะสน้ั
Social Security เงนิ ประกันสงั คมคา้ งจา่ ย
Trade Accounts Payable เจา้ หนก้ี ารค้า
Trade Notes Payable ตั๋วเงนิ จ่ายการค้า
Unearned Revenues รายได้รบั ลว่ งหน้า
Value Added Taxes Payable ภาษีมูลค่าเพม่ิ ค้างจ่าย
Withholding Taxes Payable ภาษีเงินได้หัก ณ ทจ่ี า่ ย
Zero-Interest-Bearing Notes ตั๋วเงินจ่ายชนิดไมร่ ะบุดอกเบี้ย

หนว่ ยการเรยี นรู้ที่ 1 หนีส้ ินหมุนเวียน 64

แบบทดสอบหลงั เรยี น
หนว่ ยการเรียนร้ทู ี่ 1 หน้ีสนิ หมุนเวียน

คาชแ้ี จง
1. ใหเ้ ลอื กคาํ ตอบท่ีถูกต้องที่สดุ เพียงขอ้ เดยี ว และทาํ เครอื่ งหมายกากบาท (×) ลงในระดาษคําตอบ
2. แบบทดสอบ จาํ นวน 19 ขอ้ รวม 19 คะแนน ใชเ้ วลา 19 นาที

1. รายไดร้ บั ลว่ งหน้า จดั เป็นหนี้สนิ หมนุ เวยี นตามขอ้ ใด (จดุ ประสงค์การเรยี นรู้ข้อที่ 7)
ก. Contingent Current Liabilities
ข. Determinable Current Liabilities
ค. Estimated Current Liabilities
ง. Monetary Current Liabilities
จ. Other Current Liabilities

2. การแสดงหนส้ี นิ ด้วยจํานวนเงินที่ไดร้ ับจากการกอ่ ภาระผกู พนั ทค่ี าดว่าจะต้องจ่ายเพื่อชําระหนส้ี นิ
เป็นการวัดมลู คา่ หนส้ี ินตามเกณฑ์ขอ้ ใด (จดุ ประสงคก์ ารเรยี นรขู้ อ้ ท่ี 5)
ก. Current Cost
ข. Fair Value
ค. Historical Cost
ง. Present Value
จ. Settlement Value

3. ความหมายของหนส้ี นิ ตามกรอบแนวคดิ สาํ หรับการรายงานทางการเงนิ (ปรบั ปรงุ 2558) ตรงกบั ขอ้ ใด
(จุดประสงคก์ ารเรียนรู้ข้อท่ี 1)
ก. ภาระผกู พนั ทก่ี จิ การจะตอ้ งชาํ ระคืนในอนาคต
ข. ภาระผูกพนั ในอดตี ทเี่ กดิ จากการซือ้ สินค้าเปน็ เงินเช่อื
ค. ภาระผกู พันในปัจจุบันทีก่ จิ การต้องชาํ ระคืนดว้ ยเงินสด
ง. ภาระผกู พันท่กี ิจการต้องเสียทรัพยากรที่มีประโยชนเ์ ชิงเศรษฐกจิ ในอนาคต
จ. ภาระผกู พนั ในปัจจบุ ันของกจิ การที่เกดิ ข้นึ ในอดตี และตอ้ งชาํ ระภาระผกู พนั ด้วยทรัพยากร
ท่มี ีประโยชนเ์ ชงิ เศรษฐกจิ

4. ขอ้ ใดเปน็ ลกั ษณะของหนสี้ ิน (จุดประสงค์การเรียนร้ขู อ้ ที่ 2)
ก. เปน็ หน้าท่ีหรอื ความรบั ผดิ ชอบทก่ี ิจการต้องปฏบิ ตั ติ าม
ข. ภาระผูกพนั เกดิ จากรายการหรอื เหตกุ ารณท์ างบัญชใี นอดีต
ค. เป็นภาระผูกพนั ที่มีการกาํ หนดจาํ นวนหน้ที จี่ า่ ยชําระแน่นอน
ง. เป็นภาระผูกพันในปจั จุบันท่ีกจิ การต้องจ่ายชาํ ระเปน็ เงนิ สดเท่านน้ั
จ. เป็นภาระผูกพนั ในอนาคตที่กิจการต้องจา่ ยชําระดว้ ยเงนิ สดหรอื สนิ ทรพั ยอ์ ่นื

หนว่ ยการเรยี นร้ทู ่ี 1 หน้สี นิ หมุนเวียน 65

5. มาตรฐานการบญั ชี ฉบบั ท่ี 1 (ปรบั ปรุง 2558) เรือ่ ง การนาํ เสนองบการเงนิ จดั ประเภทหนส้ี นิ

ตรงกบั ขอ้ ใด (จดุ ประสงคก์ ารเรยี นรขู้ อ้ ท่ี 3)

ก. Current Liabilities and Non-current Liabilities

ข. Current Liabilities and Determinable Liabilities

ค. Determinable Liabilities and Estimated Liabilities

ง. Estimated Liabilities and Non-current Liabilities

จ. Contingent Liabilities and Current Liabilities

6. เมือ่ วนั ท่ี 10 มกราคม 2557 บริษทั กรองจติ จํากดั ก้เู งนิ จากธนาคาร จาํ นวน 30,000 บาท

ระยะเวลา 6 เดือน อตั ราดอกเบยี้ 10% ตอ่ ปี การบนั ทึกบญั ชเี งินกยู้ มื ระยะส้นั จากสถาบันการเงนิ

เมือ่ ครบกําหนด ตรงกบั ข้อใด (จดุ ประสงค์การเรียนรูข้ ้อที่ 8)

ก. เดบิต เงนิ สด 30,000

เครดติ เงินฝากธนาคาร 30,000

ข. เดบติ เงนิ ฝากธนาคาร 30,000

เครดิต เงินก้ยู มื ธนาคาร 30,000

ค. เดบติ เงนิ กยู้ มื ธนาคาร 31,500

เครดิต เงินฝากธนาคาร 31,500

ง. เดบิต เงนิ ก้ยู ืมธนาคาร 30,000

ดอกเบย้ี จา่ ย 1,500

เครดิต เงนิ สด 31,500

จ. เดบิต เงินฝากธนาคาร 30,000

ดอกเบ้ยี คา้ งจ่าย 1,500

เครดติ เงนิ กยู้ มื ธนาคาร 31,500

7. คาํ วา่ “หนี้สินหมนุ เวยี น” มีความหมายตรงกบั ขอ้ ใด (จุดประสงค์การเรยี นรู้ข้อที่ 6)

ก. หนี้สินทช่ี ําระด้วยจํานวนท่ีแน่นอน ภายใน 12 เดือน

ข. หนส้ี ินทีช่ ําระด้วยสินทรพั ยห์ มุนเวียน ภายใน 1 ปี

ค. หนี้สินที่ชาํ ระภายในรอบระยะเวลาดําเนินงานตามปกตขิ องกิจการ

ง. หนส้ี นิ ทตี่ อ้ งชาํ ระคนื ภายใน 1 ปี ดว้ ยการก่อหน้ีสนิ ระยะสนั้ อืน่ แทน

จ. หนส้ี ินทม่ี รี ะยะเวลาการชาํ ระคืนภายใน 12 เดอื น นบั จากรอบระยะเวลารายงาน

8. หน้ีสินของกจิ การจะรบั รรู้ ายการในงบแสดงฐานะการเงินตามข้อใด (จดุ ประสงค์การเรียนรู้ขอ้ ท่ี 4)

ก. เมอ่ื หนส้ี นิ นนั้ มีผลบังคับตามกฎหมาย

ข. เมื่อกจิ การสามารถวัดมูลค่าได้อยา่ งน่าเชื่อถือ

ค. เม่อื รายการหนีส้ ินน้ันได้รบั อนมุ ัติจากฝ่ายบรหิ าร

ง. เมอ่ื มีความเป็นไปได้คอ่ นขา้ งแนว่ า่ กจิ การต้องจ่ายชาํ ระ

จ. เมื่อมีความเป็นไปได้ค่อนขา้ งแนว่ า่ กจิ การต้องจา่ ยชําระและกาํ หนดมลู ค่าไดอ้ ย่างน่าเช่อื ถอื

หนว่ ยการเรียนรูท้ ่ี 1 หน้สี นิ หมุนเวียน 66

9. เม่ือวนั ท่ี 1 สงิ หาคม 2557 บริษทั สุขใจ จาํ กัด กู้ยืมเงนิ จากธนาคารโดยออกตวั๋ สญั ญาใชเ้ งิน

ชนดิ ไม่ระบุดอกเบ้ยี จํานวน 100,000 บาท อายุ 6 เดือน ธนาคารหกั สว่ นลด 15% ตอ่ ปี

การบนั ทึกบญั ชีตว๋ั เงินจา่ ยในวนั ที่ 1 สิงหาคม 2557 ตรงกบั ขอ้ ใด (จดุ ประสงค์การเรียนรู้ขอ้ ท่ี 10)

ก. เดบิต เงนิ สด 92,500

สว่ นลดในตั๋วเงนิ จา่ ย 7,500

เครดติ ตัว๋ เงนิ จ่าย 100,000

ข. เดบติ เงนิ สด 85,000

สว่ นลดในตว๋ั เงินจา่ ย 15,000

เครดิต ตั๋วเงนิ จ่าย 100,000

ค. เดบิต เงนิ สด 93,750

ดอกเบยี้ จ่าย 6,250

เครดิต สว่ นลดในตัว๋ เงนิ จ่าย 100,000

ง. เดบิต เงินสด 100,000

เครดิต ตวั๋ เงนิ จา่ ย 92,500

สว่ นลดในตวั๋ เงินจา่ ย 7,500

จ. เดบติ ตัว๋ เงินจ่าย 100,000

เครดติ เงินสด 100,000

10. เมือ่ วนั ที่ 1 มิถนุ ายน 2557 บรษิ ัท สขุ จิต จํากดั กูย้ มื เงนิ จากสถาบันการเงนิ จํานวน 500,000 บาท

มีเง่ือนไขการผอ่ นชําระเป็นงวด งวดละเท่า ๆ กัน เป็นเวลา 5 ปี จ่ายชาํ ระทกุ วันที่ 1 มิถนุ ายนของปี

ณ วนั ที่ 31 ธนั วาคม 2557 การแสดงรายการส่วนของหนส้ี นิ ระยะยาวทีถ่ งึ กําหนดชาํ ระภายในหนง่ึ ปี

ในงบแสดงฐานะการเงิน ตรงกับข้อใด (จุดประสงค์การเรียนรูข้ ้อที่ 11)

ก. เงนิ กยู้ มื ระยะยาว 100,000 บาท แสดงเปน็ หนส้ี ินหมนุ เวยี น

ข. เงินกู้ยมื ระยะยาว 400,000 บาท แสดงเปน็ หนสี้ นิ ไมห่ มุนเวยี น

ค. เงนิ ก้ยู มื ระยะยาว 500,000 บาท แสดงเปน็ หนส้ี นิ ไมห่ มุนเวยี น

ง. เงนิ กยู้ มื ระยะยาวท่ถี งึ กาํ หนดชาํ ระภายในหน่ึงปี 100,000 บาท แสดงเป็นหน้สี นิ หมุนเวยี น

จ. เงนิ ก้ยู ืมระยะยาวทถี่ งึ กําหนดชําระภายในหนึ่งปี 400,000 บาท แสดงเป็นหน้สี นิ หมนุ เวยี น

หน่วยการเรยี นรทู้ ่ี 1 หน้สี ินหมุนเวียน 67

11. บริษัท โอบกิจ จาํ กัด ซอ้ื สนิ คา้ เปน็ เงินเช่ือ วนั ท่ี 1 มนี าคม 2557 จํานวน 100,000 บาท

เง่อื นไข 2/10, n/30 ตอ่ มาบริษทั ได้จา่ ยชาํ ระหนบ้ี างสว่ นในวันท่ี 10 มีนาคม 2557

จํานวน 50,000 บาท ส่วนที่เหลอื จ่ายชาํ ระในวันสิ้นเดือน การบนั ทึกบัญชีเจา้ หนีก้ ารคา้

ในวนั ที่ 10 มนี าคม 2557 วธิ ียอดเต็ม (Gross Method) ตรงกับขอ้ ใด

(จดุ ประสงค์การเรยี นรู้ข้อที่ 9)

ก. เดบิต เจ้าหนี้การค้า 49,000

เครดิต เงินสด 49,000

ข. เดบติ เจา้ หน้ีการคา้ 50,000

เครดติ เงินสด 50,000

ค. เดบิต เจ้าหนี้การคา้ 50,000

เครดติ เงนิ สด 49,000

สว่ นลดรบั 1,000

ง. เดบิต เจา้ หนก้ี ารค้า 50,000

เครดติ สว่ นลดรับท่ีสูญไป 49,000

เงนิ สด 1,000

จ. เดบิต เจ้าหน้ีการคา้ 49,000

ส่วนลดรบั ทีส่ ญู ไป 1,000

เครดติ เงินสด 50,000

12. บรษิ ทั ชัยพร จํากดั เปน็ กจิ การที่จดทะเบียนภาษีมลู ค่าเพมิ่ 7% มยี อดขายสินค้า

เดือนกรกฎาคม 2557 จาํ นวน 500,000 บาท และมียอดซื้อประจาํ เดือนทง้ั ส้ิน 300,000 บาท

การบันทึกบญั ชีภาษมี ูลคา่ เพิม่ คา้ งจ่าย ตรงกบั ขอ้ ใด (จดุ ประสงค์การเรียนรขู้ อ้ ที่ 14)

ก. เครดติ ภาษีมลู ค่าเพ่มิ ค้างจา่ ย 7,000 บาท

ข. เครดติ ภาษมี ูลค่าเพิ่มคา้ งจา่ ย 14,000 บาท

ค. เครดิต ภาษีมูลคา่ เพม่ิ ค้างจา่ ย 21,000 บาท

ง. เครดติ ภาษีมลู คา่ เพิม่ ค้างจา่ ย 28,000 บาท

จ. เครดิต ภาษมี ูลค่าเพ่มิ ค้างจา่ ย 35,000 บาท

13. เม่อื วนั ท่ี 1 กันยายน 2557 ห้องเส้อื ชอ่ ลดั ดา รบั จ้างตัดสทู ใหล้ กู ค้ารายหนง่ึ ในราคา 15,000 บาท

โดยเรียกเกบ็ เงินมดั จําไว้ลว่ งหน้า 5,000 บาท และจะส่งมอบสูทใหล้ กู ค้าวันที่ 15 กันยายน 2557

การบันทกึ บญั ชีเงนิ มัดจาํ ค่าบริการ ตรงกบั ขอ้ ใด (จุดประสงค์การเรียนรู้ขอ้ ท่ี 12)

ก. เดบติ เงนิ มัดจาํ คา่ บรกิ าร 5,000 บาท

ข. เครดติ เงินมัดจําคา่ บรกิ าร 5,000 บาท

ค. เครดติ เงินมัดจาํ คา่ บรกิ าร 10,000 บาท

ง. เดบิต เงินมัดจําค่าบรกิ าร 15,000 บาท

จ. เครดิต เงนิ มดั จาํ คา่ บริการ 15,000 บาท

หนว่ ยการเรียนรู้ที่ 1 หนี้สินหมุนเวยี น 68

14. กจิ การแหง่ หน่ึงประกาศจ่ายเงินปนั ผล จาํ นวน 200,000 บาท ในวันที่ 20 กมุ ภาพนั ธ์ 2557

และจา่ ยเงินปันผลในวันท่ี 10 มนี าคม 2557 การบนั ทึกบญั ชเี งนิ ปนั ผลค้างจา่ ย ตรงกบั ขอ้ ใด

(จดุ ประสงคก์ ารเรียนรขู้ ้อท่ี 13)

ก. เดบิต กําไรสะสม เครดิต เงินปันผลค้างจา่ ย 200,000

ข. เดบิต เงินปนั ผลจา่ ย เครดติ เงินปันผลคา้ งจ่าย 200,000

ค. เดบิต เงนิ ปันผลคา้ งจ่าย เครดติ กําไรสะสม 200,000

ง. เดบติ เงินปันผลคา้ งจ่าย เครดติ เงินปนั ผลจ่าย 200,000

จ. เดบิต กําไรสะสม เครดติ เงนิ ปันผลจ่าย 200,000

15. รายการใดต่อไปน้คี วรแสดงในงบแสดงฐานะการเงนิ ก่อนรายการอนื่

(จุดประสงคก์ ารเรยี นร้ขู ้อท่ี 19)

ก. เจา้ หนกี้ ารค้า

ข. ตั๋วเงินจา่ ย

ค. รายไดร้ บั ลว่ งหน้า

ง. เงนิ เบกิ เกนิ บญั ชธี นาคาร

จ. ค่าใชจ้ า่ ยค้างจา่ ย

16. เมอ่ื วันที่ 25 ธนั วาคม 2557 บริษัท สุขฤดี จํากดั จ่ายเงนิ เดือนใหพ้ นกั งาน จํานวน 150,000 บาท

ภาษเี งนิ ได้หกั ณ ท่ีจา่ ย จาํ นวน 22,500 บาท พนกั งานจา่ ยภาษเี องท้งั หมด และหักเงินประกนั สงั คม

อตั รา 5% ของเงนิ เดอื น บริษทั จา่ ยสมทบอีก 5% ของเงนิ เดอื น การบันทึกบัญชภี าษเี งินได้

หกั ณ ท่จี ่ายและบญั ชีเงินประกันสงั คมคา้ งจ่าย ตรงกบั ขอ้ ใด (จดุ ประสงคก์ ารเรียนรู้ข้อท่ี 15)

ก. เครดติ ภาษเี งินได้หัก ณ ทจ่ี า่ ย 11,250 เงินประกันสังคมจา่ ย 7,500

ข. เครดิต ภาษีเงินไดห้ กั ณ ที่จา่ ย 11,250 เงินประกันสงั คมค้างจ่าย 7,500

ค. เครดติ ภาษเี งนิ ไดห้ กั ณ ทจี่ า่ ย 11,250 เงินประกันสังคมจา่ ยสมทบ 7,500

ง. เครดติ ภาษีเงินได้หัก ณ ทจ่ี ่าย 22,500 เงนิ ประกันสังคมคา้ งจา่ ย 15,000

จ. เครดติ ภาษเี งนิ ได้หกั ณ ทจี่ า่ ย 22,500 เงินประกนั สงั คมจา่ ยสมทบ 15,000

17. เม่อื วันที่ 1 กนั ยายน 2557 บริษัท สุขฤทัย จํากดั ได้รบั เงินค่าเชา่ หอพักลว่ งหนา้ 6 เดอื น

จาํ นวน 30,000 บาท การบันทกึ บญั ชีคา่ เช่ารับลว่ งหน้า ตรงกบั ข้อใด

(จุดประสงคก์ ารเรียนร้ขู อ้ ที่ 18)

ก. เครดิต คา่ เช่ารับล่วงหนา้ 10,000

ข. เครดิต คา่ เชา่ รบั ล่วงหน้า 20,000

ค. เครดติ ค่าเช่ารบั ล่วงหนา้ 30,000

ง. เดบติ ค่าเช่ารับลว่ งหนา้ 20,000

จ. เดบิต ค่าเช่ารบั ลว่ งหนา้ 30,000

หนว่ ยการเรียนรทู้ ี่ 1 หนีส้ ินหมุนเวยี น 69

18. บรษิ ัทแหง่ หน่งึ มกี ําไรสทุ ธิก่อนหกั โบนสั และภาษีเงนิ ไดป้ ระจําปี 2557 จาํ นวน 500,000 บาท
อตั ราโบนสั 10% ของกาํ ไรสทุ ธิ และอตั ราภาษีเงินไดน้ ิติบคุ คล 30% ของกาํ ไรสทุ ธิประจาํ ปี
บรษิ ัทคํานวณโบนสั จากกาํ ไรหลงั หักโบนสั และภาษี การบนั ทึกบัญชโี บนสั พนักงานคา้ งจา่ ยและ
ภาษเี งนิ ไดน้ ติ บิ คุ คลคา้ งจา่ ย ตรงกับข้อใด (จุดประสงค์การเรียนรู้ขอ้ ที่ 17)
ก. เครดิตโบนสั พนกั งานคา้ งจา่ ย 32,710.28 ภาษีเงนิ ได้นิตบิ ุคคลค้างจา่ ย 139,175.25
ข. เครดิตโบนสั พนกั งานค้างจ่าย 32,710.28 ภาษเี งนิ ไดน้ ติ ิบคุ คลคา้ งจา่ ย 140,186.92
ค. เครดติ โบนสั พนกั งานค้างจ่าย 36,082.47 ภาษีเงนิ ได้นติ ิบุคคลค้างจ่าย 139,175.25
ง. เครดิตโบนสั พนกั งานค้างจ่าย 45,454.55 ภาษเี งนิ ได้นติ ิบุคคลคา้ งจา่ ย 136,363.64
จ. เครดติ โบนัสพนกั งานคา้ งจ่าย 50,000.00 ภาษีเงนิ ได้นติ บิ ุคคลคา้ งจา่ ย 135,000.00

19. บริษัท ชมจนั ทร์ จาํ กัด มกี าํ ไรสทุ ธิประจําปี 2557 จาํ นวน 520,000 บาท อตั ราภาษีเงินได้
นติ บิ ุคคลท่วั ไป 20% ของกําไรสทุ ธิ การบนั ทึกบญั ชีภาษเี งินได้นติ บิ คุ คลค้างจา่ ย ตรงกับขอ้ ใด
(จุดประสงคก์ ารเรยี นรูข้ ้อท่ี 16)
ก. เครดติ ภาษีเงนิ ไดน้ ติ บิ ุคคลคา้ งจา่ ย 104,000
ข. เครดิต ภาษเี งินไดน้ ิตบิ ุคคลคา้ งจา่ ย 130,000
ค. เครดติ ภาษเี งินได้นิตบิ คุ คลคา้ งจ่าย 156,000
ง. เดบติ ภาษเี งินไดน้ ติ บิ คุ คลคา้ งจ่าย 104,000
จ. เดบิต ภาษเี งินได้นติ ิบคุ คลคา้ งจ่าย 130,000

หน่วยการเรยี นรู้ท่ี 2 ประมาณการหนีส้ ินและหน้สี ินทอี่ าจเกดิ ข้ึน 70

หนว่ ยการเรยี นรูท้ ่ี 2
ประมาณการหนี้สินและหนี้สนิ ท่ีอาจเกดิ ข้นึ
(Provisions and Contingent Liabilities)

สาระการเรียนรู้

1. ประมาณการหนีส้ ิน
2. หน้สี นิ ทอ่ี าจเกิดขน้ึ

จดุ ประสงคก์ ารเรียนรู้

1. บนั ทึกบญั ชีประมาณการหนี้คา่ สมนาคณุ ลูกคา้ ได้
2. บนั ทึกบัญชีประมาณการหนค้ี า่ รบั ประกันสนิ คา้ ได้
3. บนั ทกึ บญั ชปี ระมาณการหน้ีค่าบัตรโดยสารและบตั รกานลั ได้

4. บอกความหมายของหนสี้ ินทอี่ าจเกิดขนึ้ ได้
5. ปฏบิ ัตงิ านดว้ ยความรบั ผดิ ชอบ มีความสนใจใฝ่รู้ ซื่อสัตยส์ จุ ริต ตรงต่อเวลาและสุภาพเรยี บร้อย

สมรรถนะประจาหน่วย

บันทึกบญั ชีประมาณการหนส้ี นิ และแสดงรายการหนส้ี นิ ทอี่ าจเกิดขึ้นในงบการเงนิ ไดถ้ ูกตอ้ ง

ตามมาตรฐานการบญั ชี

ผังมโนทศั น์ (Concept Map) 1. ประมาณการหนส้ี นิ

ประมาณการหนส้ี นิ และ 1.1 ประมาณการหนคี้ า่ สมนาคณุ ลูกคา้
หนีส้ นิ ทอ่ี าจเกิดขนึ้ 1.2 ประมาณการหนี้ค่ารบั ประกันสนิ คา้
1.3 ประมาณการหนี้คา่ บตั รโดยสารและบตั รกานลั

2. หนส้ี ินที่อาจเกิดขน้ึ
2.1 ความหมายของหนี้สินทอ่ี าจเกิดข้ึน

หน่วยการเรียนรูท้ ี่ 2 ประมาณการหนีส้ ินและหนสี้ ินทีอ่ าจเกดิ ขึ้น 71

แบบทดสอบกอ่ นเรยี น
หนว่ ยการเรียนรทู้ ่ี 2 ประมาณการหนส้ี นิ และหน้สี นิ ท่ีอาจเกดิ ขนึ้

คาชีแ้ จง

1. ใหเ้ ลอื กคาตอบทถี่ ูกตอ้ งที่สดุ เพียงขอ้ เดียว และทาเครอื่ งหมายกากบาท (×) ลงในระดาษคาตอบ
2. แบบทดสอบ จานวน 4 ข้อ รวม 4 คะแนน ใช้เวลา 4 นาที

1. บริษัท อิม่ ดี จากดั ผลิตและจาหน่ายขนมปงั ในวันที่ 1 มนี าคม 2557 ได้จัดรายการสมนาคุณลกู คา้

โดยให้ลูกค้านาซองเปล่าขนมปัง 5 ชิ้น พร้อมเงินสด 50 บาท มาแลกกระติกน้าได้ 1 ใบ

หมดเขตการจัดรายการวันท่ี 30 มิถุนายน 2558 ในปี 2557 บริษัทซ้ือกระติกน้ามาเพื่อเป็น

สินค้าสมนาคุณจานวน 3,000 ใบ ๆ ละ 75 บาท บริษัทขายขนมปังได้ จานวน 50,000 ห่อ

ห่อละ 25 บาท และมีลูกค้านาซองเปล่าขนมปังมาแลก 10,000 ชิ้น บริษัทประมาณว่าจะมีลูกค้า

นาซองเปล่าขนมปังมาแลกสินค้าสมนาคุณ 30% ของยอดขาย การบันทึกบัญชีประมาณการหน้ี

คา่ สมนาคณุ ลูกค้า ในวนั ที่ 31 ธันวาคม 2557 ตรงกบั ขอ้ ใด (จดุ ประสงค์การเรยี นรู้ขอ้ ที่ 1)

ก. เดบติ คา่ สมนาคุณลูกค้า 15,000

เครดิต ประมาณการหน้ีคา่ สมนาคุณ 15,000

ข. เดบิต ประมาณการหนคี้ า่ สมนาคณุ 20,000

เครดติ คา่ สมนาคุณลูกคา้ 20,000

ค. เดบิต ค่าสมนาคณุ ลกู ค้า 25,000

เครดติ ประมาณการหนี้คา่ สมนาคณุ 25,000

ง. เดบิต ประมาณการหน้คี า่ สมนาคณุ 50,000

เครดิต ค่าสมนาคุณลกู ค้า 50,000

จ. เดบติ ค่าสมนาคณุ ลกู คา้ 75,000

เครดิต ประมาณการหนี้ค่าสมนาคุณ 75,000

หนว่ ยการเรยี นรู้ท่ี 2 ประมาณการหนส้ี ินและหนี้สินท่อี าจเกดิ ขึ้น 72

2. วันที่ 15 มกราคม 2557 บริษัท กอบกิจ จากดั จาหน่ายเตาอบไฟฟ้าเปน็ จานวนเงนิ 500,000 บาท

โดยบริษทั มีนโยบายรับประกนั คณุ ภาพสนิ คา้ 2 ปี จากประสบการณ์ทผี่ ่านมาพบว่าค่าใช้จ่ายท่ีเกิดข้ึน

จากการรับประกนั คณุ ภาพมจี านวน 5% ของยอดขาย ในระหวา่ งปี 2557 บรษิ ัทจา่ ยคา่ ใช้จ่าย

ในการซ่อมแซมเป็นเงิน 10,000 บาท การบันทึกบัญชีประมาณการหนี้ค่ารับประกันสินค้า

ณ วันท่ี 31 ธันวาคม 2557 ตรงกบั ข้อใด (จุดประสงค์การเรียนรู้ขอ้ ท่ี 2)

ก. เดบติ ค่าใชจ้ า่ ยในการรับประกัน 10,000

เครดิต ประมาณการหนี้คา่ รับประกนั 10,000

ข. เดบิต ค่าใชจ้ ่ายในการรบั ประกัน 15,000

เครดติ ประมาณการหนค้ี า่ รบั ประกัน 15,000

ค. เดบติ ประมาณการหนี้ค่ารบั ประกัน 20,000 20,000
เครดติ เงนิ สด 25,000 25,000
30,000 30,000
ง. เดบติ ประมาณการหน้คี า่ รบั ประกัน

เครดติ ค่าใช้จา่ ยในการรับประกนั
จ. เดบิต เงนิ สด

เครดติ ประมาณการหนี้คา่ รบั ประกัน

3. วนั ที่ 14 มีนาคม 2557 บริษทั ขนส่งดี จากัด จาหน่ายบตั รโดยสารทง้ั หมด 2,000 บัตร
ราคาบัตรละ 540 บาท บัตรโดยสารมีอายุ 1 ปี ในปี 2557 มีลกู ค้ามาใชบ้ ัตรโดยสาร
จานวน 648,000 บาท เมอื่ บัตรโดยสารหมดอายมุ ีลกู ค้านาบตั รมาใชอ้ ีก 80% ของบตั รทีเ่ หลอื

การบันทกึ บัญชปี ระมาณการหนคี้ า่ บตั รโดยสาร วธิ ีบนั ทึกเปน็ รายได้ ณ วันท่ี 31 ธันวาคม 2557

ตรงกับขอ้ ใด (จุดประสงค์การเรยี นรู้ข้อที่ 3)

ก. เดบติ รายไดค้ ่าบัตรโดยสาร 432,000

เครดิต ประมาณการหนี้คา่ บัตรโดยสาร 432,000

ข. เดบติ รายไดค้ า่ บัตรโดยสาร 540,000

เครดติ ประมาณการหน้ีคา่ บัตรโดยสาร 540,000

ค. เดบติ ประมาณการหน้ีคา่ บัตรโดยสาร 648,000

เครดติ เงินสด 648,000

ง. เดบติ ประมาณการหน้ีค่าบัตรโดยสาร 810,000

เครดิต รายไดค้ า่ บตั รโดยสาร 810,000

จ. เดบิต เงินสด 1,080,000

เครดติ ประมาณการหนี้ค่าบตั รโดยสาร 1,080,000

หนว่ ยการเรยี นรทู้ ี่ 2 ประมาณการหน้สี ินและหน้สี ินทีอ่ าจเกดิ ขึ้น 73

4. หน้ีสินทอ่ี าจเกิดขน้ึ มคี วามหมายตรงกบั ข้อใด (จดุ ประสงค์การเรียนรู้ข้อท่ี 4)
ก. ภาระผูกพนั ในปัจจุบนั อนั เกิดจากการอนมุ าน
ข. ภาระผูกพันในปจั จบุ ันซ่งึ เกดิ ขึ้นจากเหตกุ ารณใ์ นอดตี
ค. ภาระผกู พนั ท่ีมกี ารกาหนดจานวนหนท้ี ่ีจ่ายชาระแน่นอน
ง. ภาระผกู พันในปจั จบุ นั ที่สามารถวดั มลู ค่าได้จากการประมาณการ
จ. ภาระผกู พนั เน่ืองจากเหตุการณใ์ นอดตี ซึง่ เหตกุ ารณ์ยังมคี วามไมแ่ นน่ อน
และไมอ่ ยใู่ นความควบคมุ ของกจิ การ

หน่วยการเรียนรทู้ ี่ 2 ประมาณการหน้สี ินและหนสี้ ินที่อาจเกดิ ขึ้น 74

เนื้อหาสาระ

หนี้สนิ (Liabilities) ความหมายตามกรอบแนวคิดสาหรับการรายงานทางการเงนิ (ปรบั ปรุง 2558)
ของสภาวิชาชีพบัญชี หมายถึง ภาระผูกพันในปัจจุบันของกิจการ ซ่ึงเป็นผลของเหตุการณ์ในอดีต
โดยการชาระภาระผูกพันนั้นคาดว่าจะส่งผลให้กิจการสูญเสียทรัพยากรท่ีมีประโยชน์เชิงเศรษฐกิจ
หากรายการที่เกิดขึ้นเป็นไปตามความหมาย รายการน้ันถือเป็นหน้ีสิน ท้ังน้ีกิจการจะบันทึกหนี้สิน
ในงบแสดงฐานะการเงินได้เมื่อมีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ท่ีกิจการจะสูญเสียประโยชน์เชิงเศรษฐกิจ
เพอื่ ชาระภาระผกู พันในอนาคตและภาระผกู พนั มีมูลคา่ ท่ีสามารถวัดไดอ้ ย่างน่าเชื่อถือ

ในกรณีทมี่ คี วามนา่ จะเป็นค่อนข้างแน่ท่ีกิจการจะต้องสูญเสียทรัพยากรที่มีประโยชน์เชิงเศรษฐกิจ
เพ่ือชาระภาระผกู พัน แต่ยังมีความไม่แน่นอนว่าจะเกิดข้ึนเมื่อใดหรือมีจานวนเท่าใด หนี้สินน้ันเรียกว่า
ประมาณการหนี้สิน (Provisions) เช่น การขายสินค้าโดยมีสัญญารับประกันหลังการขาย หรือ
การส่งเสริมการขายด้วยการแจกของสมนาคุณ ภาระผูกพนั ทีเ่ กิดขึน้ น้ีเป็นหนี้สินท่ีต้องอาศัยประมาณการ
เพื่อจ่ายชาระในอนาคต สาหรบั หน้สี ินท่ีในปจั จุบนั ยงั ไม่มีความแน่นอนวา่ จะเกดิ ข้ึนหรอื ไม่ แตจ่ ะขึ้นอย่กู บั
เหตุการณ์ในอนาคต หนีส้ นิ ประเภทน้เี รียกวา่ หนส้ี ินท่อี าจเกิดข้ึน (Contingent Liabilities)

1. ประมาณการหนส้ี นิ (Provisions)

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 37 (ปรับปรุง 2558) เร่ือง ประมาณการหนี้สิน หน้ีสินท่ีอาจเกิดข้ึน
และสินทรพั ย์ท่อี าจเกิดข้ึน ได้ให้ความหมาย ประมาณการหน้ีสิน หมายถึง หนี้สินท่ีมีความไม่แน่นอน
เกีย่ วกับจังหวะเวลาทภ่ี าระผกู พันนัน้ จะเกิดขึ้นและจานวนเงินทีต่ ้องจ่ายชาระ

การรบั รู้ประมาณการหน้สี นิ ในงบแสดงฐานะการเงินเม่ือเปน็ ไปตามเง่ือนไขท้งั 3 ขอ้ ต่อไปนี้
1. กิจการมีภาระผูกพนั ในปจั จบุ ันซงึ่ เป็นผลจากเหตุการณใ์ นอดตี ภาระผูกพนั นนั้ อาจจะเปน็
ภาระผูกพันตามกฎหมาย หมายถึง ภาระผูกพันที่เกิดจากสัญญา (ตามเงื่อนไขท่ีระบุไว้

อยา่ งชดั แจง้ หรอื โดยนัย) จากกฎหมายท่ใี ช้บังคับหรือจากผลบังคับตามกฎหมายอ่นื เชน่ การขายสินค้า
โดยมกี ารรบั ประกนั สนิ คา้ ไว้ในสญั ญาการขาย

ภาระผกู พนั จากการอนมุ าน หมายถึง ภาระผูกพันท่ีเกิดจากการกระทาของกิจการท่ีทาให้
กิจการจะตอ้ งปฏิบัติตามภาระผูกพันน้ัน เช่น นโยบายการรับคืนสินค้าหรือคืนเงินหากลูกค้าไม่พอใจ
ในสนิ ค้า ซึง่ กิจการไม่มีภาระตามกฎหมาย แต่นโยบายดงั กลา่ วเปน็ ที่รู้โดยทว่ั ไป

2. มีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ ที่กิจการจะสูญเสียทรัพยากรท่ีมีประโยชน์เชิงเศรษฐกิจ
ของกิจการเพอื่ จา่ ยชาระภาระผูกพันดงั กลา่ ว

3. สามารถประมาณจานวนของภาระผูกพันได้อย่างนา่ เช่อื ถอื

หน่วยการเรียนรูท้ ่ี 2 ประมาณการหนี้สินและหน้สี ินท่ีอาจเกิดขึ้น 75

การวดั มลู ค่าประมาณการหนี้สนิ
กิจการต้องรับรู้ประมาณการหนี้สินด้วยจานวนประมาณการที่ดีท่ีสุดของรายจ่ายท่ีต้องนาไป

จ่ายชาระภาระผูกพันในปัจจุบัน ณ วันส้ินรอบระยะเวลารายงาน หลักฐานท่ีใช้ในการระบุว่า

สามารถประมาณมลู ค่าหนี้สินได้อย่างน่าเช่ือถืออาจขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของกิจการเอง ประสบการณ์
ของกิจการอื่นในอุตสาหกรรม ความเห็นจากฝ่ายกฎหมาย เป็นต้น กิจการต้องกาหนดจานวน
ประมาณการหน้ีสิน โดยใช้มูลค่าปัจจุบันของรายจ่ายท่ีคาดว่าจะต้องนามาจ่ายชาระภาระผูกพัน

การคิดลดประมาณการหน้ีสิน หากมูลค่าของเงินตามเวลามีผลกระทบต่อจานวนประมาณการหน้ีสิน
อย่างมีนัยสาคัญ โดยใช้อัตราคิดลดก่อนหักภาษี จากความหมายและการรับรู้ประมาณการหน้ีสิน
สามารถแสดงดงั ภาพท่ี 2.1

ภาระผูกพนั

ภาระผกู พันตามกฎหมาย ภาระผูกพนั จากการอนมุ าน
เกดิ จากสญั ญาตามเงื่อนไขทรี่ ะบุไว้ เกดิ จากการกระทาของกจิ การท่ีทาให้

กจิ การตอ้ งปฏบิ ตั ติ ามภาระผกู พนั นัน้

ภาระผกู พนั ในปัจจบุ นั
เกดิ จากเหตกุ ารณใ์ นอดตี

มีความเป็นไปไดค้ อ่ นข้างแน่
ที่จะสูญเสยี ทรัพยากรท่ีมี
ประโยชนเ์ ชงิ เศรษฐกิจ

สามารถประมาณจานวนของ
ภาระผูกพันได้อยา่ งน่าเช่อื ถือ

รับร้ปู ระมาณการหนี้สนิ

ภาพที่ 2.1 การรับรปู้ ระมาณการหนส้ี นิ

หน่วยการเรยี นรู้ที่ 2 ประมาณการหน้ีสินและหน้สี ินทอ่ี าจเกดิ ข้ึน 76

ประมาณการหน้ีสินหมุนเวียนที่จะศึกษาต่อไปน้ี ได้แก่ ประมาณการหน้ีค่าสมนาคุณลูกค้า
ประมาณการหน้ีค่ารับประกันสินค้า ประมาณการหน้ีค่าบัตรโดยสารและบัตรกานัล โดยมีวิธีการ
บนั ทกึ บัญชแี ละแสดงรายการในงบแสดงฐานะการเงิน ดงั นี้

1.1 ประมาณการหนีค้ ่าสมนาคุณลูกค้า (Provision on Customer Premium)
การส่งเสริมการขายถูกนามาใช้เป็นเคร่ืองมือในการช่วยกระตุ้นยอดขายและสร้างรายได้

ให้กับแต่ละกิจการมากข้ึน ด้วยการแจกแถมสินค้าหรือของขวัญให้ลูกค้า ซึ่งบางครั้งอาจให้ฟรี หรือ
อาจจะให้ลูกค้าจ่ายเงินเพ่ิมบางส่วนเพียงเล็กน้อย หรืออาจจะนาชิ้นส่วนของสินค้ามาแลกของรางวัล
หรือแจกเป็นคูปองสะสมแสตมป์ (Trading Stamp) เพื่อแลกสินค้ารางวัลตามเง่ือนไขที่กาหนดไว้
สิง่ เหล่าน้ีเป็นภาระผูกพันที่กิจการจะต้องจ่ายสินค้าสมนาคุณให้แก่ลูกค้า แต่จานวนที่ลูกค้าจะนาคูปอง
มาใช้สิทธิมีจานวนไม่แน่นอน จึงจาเป็นต้องมีการประมาณค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นและถือเป็นหน้ีสิน
ในงวดบญั ชถี ดั ไป การประมาณจานวนคา่ ใชจ้ า่ ยและประมาณการหนี้สนิ กจิ การจะตอ้ งอาศัยประสบการณ์
ในอดีตท่ผี ่านมา เพ่ือใหไ้ ดจ้ านวนที่ใกลเ้ คยี งกับความเปน็ จรงิ มากท่สี ดุ

การบันทึกบญั ชปี ระมาณการหน้คี า่ สมนาคณุ ลกู คา้ เป็นดังนี้

1) บันทกึ ขายสนิ ค้าโดยมีเงอื่ นไขใหส้ นิ คา้ สมนาคุณลูกค้า บันทกี บญั ชีโดย

เดบิต เงินสด ××
เครดิต ขาย ××

2) บันทกึ ซ้ือสินคา้ สมนาคณุ ลกู คา้ บันทีกบญั ชีโดย

เดบติ สนิ คา้ สมนาคณุ - (ระบปุ ระเภท) ××
เครดิต เงนิ สด ××

3) บันทึกแลกสนิ ค้าสมนาคุณ เงื่อนไขการใหส้ ินคา้ สมนาคณุ ลกู คา้ แบ่งเป็น 2 กรณี คือ
(1) การแลกสนิ คา้ สมนาคณุ โดยไมค่ ิดมลู ค่าใด ๆ บนั ทีกบญั ชีโดย

เดบติ ค่าสมนาคณุ ลูกคา้ ××
เครดิต สนิ คา้ สมนาคณุ - (ระบปุ ระเภท) ××

(2) การแลกสนิ ค้าสมนาคุณโดยเรยี กเก็บเงนิ จากลูกค้าบางสว่ น บันทีกบัญชโี ดย

เดบิต เงนิ สด ××
ค่าสมนาคุณลูกค้า ××

เครดิต สินค้าสมนาคุณ - (ระบปุ ระเภท) ××

หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 ประมาณการหนี้สินและหน้สี ินท่ีอาจเกิดขึ้น 77

4) ณ วันส้ินงวดบญั ชี ให้พจิ ารณาและบันทึกรายการปรบั ปรงุ ดังนี้
(1) ถา้ ระยะเวลาการแลกสินค้าสมนาคุณหมดเขตในงวดบญั ชีถดั ไป

กิจการต้องประมาณมูลค่าสนิ คา้ สมนาคณุ ทค่ี าดว่าลกู คา้ จะมาขอแลกสนิ ค้าสมนาคณุ บันทึกบัญชโี ดย

เดบติ ค่าสมนาคุณลูกคา้ ××
เครดิต ประมาณการหนคี้ ่าสมนาคณุ ××

(2) ถา้ ระยะเวลาการใหส้ นิ ค้าสมนาคณุ หมดเขตภายในวันสิน้ งวดบัญชี

กิจการไมต่ อ้ งบนั ทกึ รายการปรบั ปรงุ ประมาณการหนี้คา่ สมนาคุณ เน่ืองจากไมม่ ภี าระผูกพันใด ๆ
ทอ่ี าจจะเกดิ ขึน้ จากการขายสินคา้ โดยใหส้ ินค้าสมนาคณุ ที่ผา่ นมาแลว้

5) บันทึกกลับรายการปรบั ปรุงในวันต้นงวดบัญชี บันทกี บัญชีโดย

เดบติ ประมาณการหนคี้ ่าสมนาคุณ ××
เครดิต ค่าสมนาคุณลกู ค้า ××

ตัวอย่างท่ี 2.1 บรษิ ทั กง่ิ เพชร จากดั เป็นผผู้ ลติ และจาหน่ายสบู่ วันท่ี 1 มกราคม 2557

ไดจ้ ัดกจิ กรรมสมนาคุณลกู ค้า โดยใหล้ ูกคา้ นากล่องสบเู่ ปลา่ 10 กลอ่ ง มาแลกแกว้ นา้ 1 ใบ

หมดเขตการจัดรายการในวนั ที่ 30 กนั ยายน 2558 แก้วนา้ ทเ่ี หลือบริษัทนาออกจาหนา่ ย

ในราคาใบละ 15 บาท

ขอ้ มูลเก่ียวกับการสง่ เสรมิ การขาย มดี ังน้ี

ปี 2557 ปี 2558

ขายสบู่ (กล่องละ 80 บาท) 50,000 กลอ่ ง 80,000 กล่อง

ซ้ือแกว้ น้า (ใบละ 20 บาท) 5,000 ใบ 6,000 ใบ

จานวนกลอ่ งสบ่เู ปลา่ ทลี่ กู คา้ นามาแลกสินค้าสมนาคุณ 30,000 กล่อง 75,000 กล่อง

บริษทั ประมาณการวา่ จะมลี กู ค้ามาแลกสินค้าสมนาคณุ 80% ของยอดขาย

การบันทกึ บญั ชีแยกเป็น 2 กรณี ดังนี้

กรณีที่ 1 ลูกค้านากลอ่ งสบเู่ ปลา่ 10 กลอ่ ง แลกแก้วน้า 1 ใบ

กรณที ่ี 2 ลูกคา้ นากลอ่ งสบเู่ ปล่า 10 กลอ่ ง พรอ้ มเงินสด 3 บาท แลกแก้วนา้ 1 ใบ

หนว่ ยการเรยี นรทู้ ่ี 2 ประมาณการหนี้สินและหนส้ี ินที่อาจเกิดข้ึน 78

กรณที ี่ 1 ลูกคา้ นากล่องสบเู่ ปล่า 10 กลอ่ ง แลกแกว้ น้า 1 ใบ

สมุดรายวันทัว่ ไป หน้า 1
เครดติ
พ.ศ. 2557 รายการ เลขท่ี เดบิต บาท สต.
เดือน วนั บัญชี บาท สต. 4,000,000 -

ม.ค. 1 เงนิ สด 4,000,000 - 100,000 -

ธ.ค. 31 ขาย (50,000 × 80) 60,000 -

ขายสบู่ 50,000 กล่อง ๆ ละ 80 บาท 20,000 -

สนิ ค้าสมนาคณุ -แกว้ นา้ 100,000 -

เงินสด (5,000 × 20)

ซ้อื แกว้ นา้ 5,000 ใบ ๆ 20 บาท

ค่าสมนาคุณลกู ค้า 60,000 -

สินค้าสมนาคณุ -แกว้ นา้

บนั ทึกการแลกสินคา้ สมนาคณุ

(30,000/10) × 20

คา่ สมนาคณุ ลกู ค้า 20,000 -

ประมาณการหนี้คา่ สมนาคุณ

บนั ทึกประมาณการหน้ีคา่ สมนาคณุ

คานวณโดย

ยอดขายสบู่ในปี 2557 จานวน 50,000 กลอ่ ง

ประมาณการวา่ จะมลี กู ค้านากลอ่ งสบู่เปลา่ มาแลก 80% ของยอดขาย (50,000 x 80%) = 40,000 กล่อง

ในปี 2557 ลูกคา้ นากล่องสบเู่ ปล่ามาแลกสนิ คา้ สมนาคณุ แล้ว = 30,000 กลอ่ ง

ประมาณการว่าในปี 2558 จะมีลกู คา้ นากลอ่ งสบเู่ ปลา่ มาแลกอีก = 10,000 กลอ่ ง

ดังน้ัน ประมาณการหนีค้ า่ สมนาคุณ (10,000/10) × 20 = 20,000 บาท

การแสดงรายการประมาณการหนี้คา่ สมนาคณุ ในงบแสดงฐานะการเงนิ ณ วันท่ี 31 ธนั วาคม 2557

บรษิ ัท กงิ่ เพชร จากัด (หน่วย : บาท)
งบแสดงฐานะการเงนิ (บางสว่ น)

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2557

หน้สี ินและส่วนของผ้ถู ือหุ้น

หน้ีสินหมุนเวยี น 20,000
ประมาณการหนีค้ า่ สมนาคณุ

หน่วยการเรยี นรู้ท่ี 2 ประมาณการหนีส้ ินและหนสี้ ินที่อาจเกิดข้ึน 79

การบันทกึ บญั ชีในปี 2558

สมุดรายวันทว่ั ไป หน้า 1
เครดติ
พ.ศ. 2558 รายการ เลขที่ เดบิต บาท สต.
เดอื น วัน บญั ชี บาท สต. 20,000 -
20,000 -
ม.ค. 1 ประมาณการหน้คี า่ สมนาคณุ 6,400,000 -
6,400,000 -
คา่ สมนาคุณลกู คา้ 120,000 -
120,000 -
กลับรายการปรับปรงุ 150,000 -
150,000 -
เงนิ สด 10,000 -
7,500 -
ขาย (80,000 × 80) 2,500 -

ขายสบู่ 80,000 กล่อง ๆ ละ 80 บาท

สนิ ค้าสมนาคณุ -แก้วน้า

เงินสด (6,000 × 20)

ซอื้ แก้วน้า 6,000 ใบ ๆ ละ 20 บาท

ก.ย. 30 ค่าสมนาคุณลกู ค้า (75,000/10)×20

สนิ คา้ สมนาคุณ-แก้วนา้

บนั ทึกแลกสนิ ค้าสมนาคณุ

ต.ค. 1 เงนิ สด (500 × 15)

คา่ สมนาคณุ ลกู คา้ (500 × 5)

สินคา้ สมนาคุณ-แก้วน้า

ขายแกว้ นา้ ที่เหลือ 500 ใบ ๆ 15 บาท

การคานวณ

แกว้ นา้ ทีซ่ ้ือ (5,000 + 6,000) = 11,000 ใบ

แกว้ นา้ ท่ีใหล้ ูกค้า (3,000 + 7,500) = 10,500 ใบ

คงเหลือ = 500 ใบ

หนว่ ยการเรียนรูท้ ่ี 2 ประมาณการหนีส้ ินและหนี้สินท่อี าจเกิดขึ้น 80

กรณีที่ 2 ลูกคา้ นากลอ่ งสบเู่ ปลา่ 10 กล่อง พรอ้ มเงินสด 3 บาท แลกแก้วน้า 1 ใบ

สมุดรายวันทว่ั ไป หน้า 1
เครดิต
พ.ศ. 2557 รายการ เลขที่ เดบิต บาท สต.
เดอื น วัน บญั ชี บาท สต. 4,000,000 -

ม.ค. 1 เงนิ สด 4,000,000 - 100,000 -

ธ.ค. 31 ขาย (50,000 × 80) 60,000 -

ขายสบู่ 50,000 กล่อง ๆ ละ 80 บาท 17,000 -

สินคา้ สมนาคณุ -แกว้ น้า 100,000 -

เงินสด (5,000 × 20)

ซอ้ื แกว้ นา้ 5,000 ใบ ๆ 20 บาท

เงนิ สด (30,000/10) × 3 9,000 -

คา่ สมนาคณุ ลูกค้า (3,000 × 17) 51,000 -

สนิ คา้ สมนาคณุ -แก้วนา้

ลูกคา้ นากลอ่ งสบู่เปลา่ 30,000 กลอ่ ง

และเงินสด 3 บาท มาแลกแกว้ นา้

ค่าสมนาคุณลกู คา้ (1,000 × 17) 17,000 -

ประมาณการหนคี้ ่าสมนาคุณ

บนั ทึกประมาณการหนคี้ ่าสมนาคณุ

คานวณโดย = 40,000 กลอ่ ง

ยอดขายสบู่ในปี 2557 จานวน 50,000 กล่อง = 30,000 กลอ่ ง
ประมาณการว่าจะมีลกู คา้ นากล่องสบเู่ ปลา่ มาแลก 80% ของยอดขาย (50,000 x 80%)
= 10,000 กล่อง
ในปี 2557 ลูกคา้ นากลอ่ งสบูเ่ ปล่ามาแลกสินคา้ สมนาคณุ แล้ว = 17,000 บาท

ประมาณการวา่ ในปี 2558 จะมลี กู คา้ นากลอ่ งสบเู่ ปลา่ มาแลกอีก
ดงั นัน้ ประมาณการหนคี้ ่าสมนาคุณ (10,000/10) × 17

การแสดงรายการประมาณการหน้คี ่าสมนาคุณในงบแสดงฐานะการเงิน ณ วันท่ี 31 ธันวาคม 2557

บรษิ ทั กิ่งเพชร จากดั (หน่วย : บาท)
งบแสดงฐานะการเงิน (บางส่วน)

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2557

หนีส้ ินและส่วนของผถู้ อื ห้นุ

หนส้ี ินหมนุ เวียน 17,000
ประมาณการหนค้ี ่าสมนาคุณ

หน่วยการเรียนรู้ท่ี 2 ประมาณการหนี้สินและหน้สี ินทอี่ าจเกดิ ขึ้น 81

การบนั ทกึ บัญชใี นปี 2558

สมดุ รายวันทัว่ ไป หน้า 1
เครดติ
พ.ศ. 2558 รายการ เลขที่ เดบิต บาท สต.
เดือน วนั บัญชี บาท สต. 17,000 -
6,400,000 -
ม.ค. 1 ประมาณการหน้ีคา่ สมนาคุณ 17,000 - 120,000 -

ค่าสมนาคุณลูกคา้ 150,000 -

กลับรายการปรับปรุง 10,000 -

เงนิ สด 6,400,000 -

ขาย (80,000 × 80)

ขายสบู่ 80,000 กลอ่ ง ๆ ละ 80 บาท

สินคา้ สมนาคณุ -แก้วนา้ 120,000 -

เงนิ สด (6,000 × 20)

ซือ้ แกว้ นา้ 6,000 ใบ ๆ ละ 20 บาท

ก.ย. 30 เงินสด (75,000/10)×3 22,500 -

ค่าสมนาคุณลูกคา้ (75,000/10)×17 127,500 -

สนิ คา้ สมนาคุณ-แก้วน้า

ลกู คา้ นากล่องสบูเ่ ปลา่ 75,000 กล่อง

และเงินสด 3 บาท มาแลกแก้วน้า

ต.ค. 1 เงนิ สด (500 × 15) 7,500 -

คา่ สมนาคณุ ลกู คา้ (500 × 5) 2,500 -

สินคา้ สมนาคณุ -แกว้ นา้

ขายแกว้ น้าทีเ่ หลอื 500 ใบ ๆ 15 บาท

การคานวณ

แกว้ น้าทซ่ี อื้ (5,000 + 6,000) = 11,000 ใบ

แกว้ น้าที่ให้ลกู คา้ (3,000 + 7,500) = 10,500 ใบ

คงเหลอื = 500 ใบ

หนว่ ยการเรยี นรู้ที่ 2 ประมาณการหนี้สินและหนี้สินทอี่ าจเกดิ ขึ้น 82

แบบฝกึ หดั ท่ี 2.1

จงปฏิบัตกิ จิ กรรมตามท่โี จทย์กาหนด (10 คะแนน)

บริษัท มงิ่ กมล จากดั ไดจ้ ัดสมนาคุณลกู คา้ ในการซื้อสนิ คา้ บะหมี่ “อ่ิมจัง” โดยใหล้ ูกค้านา

ซองเปลา่ บะหมี่ จานวน 100 ซอง มาแลกซือ้ ชุดเซรามิคไดใ้ นราคาชุดละ 20 บาท

บริษทั ประมาณการว่าจะมลี กู ค้ามาแลกของสมนาคณุ 60% ของยอดขาย รายการค้ามดี งั น้ี

ปี 2557

ส.ค. 1 ซือ้ ชุดเซรามิค จานวน 2,000 ชดุ ราคาชดุ ละ 30 บาท

ส.ค.-ธ.ค. ขายบะหม่ี “อม่ิ จงั ” ได้ 300,000 ซอง ราคาซองละ 4 บาท

และลกู คา้ นาซองเปล่าบะหมี่ จานวน 150,000 ซอง มาแลกซ้ือสนิ คา้ สมนาคุณ

ปี 2558

ม.ค. 31 ลูกคา้ นาซองเปล่าบะหม่ี จานวน 20,000 ซอง มาแลกซอื้ สินค้าสมนาคุณ

หมดเขตการแลกซอื้ สนิ ค้าสมนาคณุ บรษิ ัทไดน้ าสินค้าสมนาคุณที่เหลือ

ออกจาหนา่ ยในราคาชุดละ 5 บาท

ให้ทา บันทกึ รายการในสมุดรายวันทวั่ ไป

สมดุ รายวันทวั่ ไป หนา้ 1

พ.ศ. 2557 รายการ เลขท่ี เดบิต เครดิต
เดอื น วนั
บัญชี บาท สต. บาท สต.

หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 ประมาณการหนส้ี ินและหนส้ี ินท่ีอาจเกดิ ขึ้น 83

สมุดรายวนั ท่ัวไป หน้า 1
รายการ
พ.ศ. 2558 เลขท่ี เดบติ เครดติ
เดอื น วนั
บัญชี บาท สต. บาท สต.

1.2 ประมาณการหน้คี า่ รบั ประกันสินค้า (Warranty Provisions)

การขายสินค้าโดยมีการรับประกันคุณภาพสินค้าน้ัน ผู้ขายจะออกใบรับประกัน (Warranty)
ซง่ึ ใบรบั ประกนั จะเปน็ สญั ญาของผขู้ ายในการรบั รองคุณภาพของสนิ คา้ ตอ่ ผู้ซ้อื ภาระผกู พนั นีต้ ้องจ่ายชาระ
ด้วยการให้บริการซ่อมแซมหรือเปลี่ยนแทนสิ่งท่ีบกพร่อง ซ่ึงลูกค้าไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น

ภายในระยะเวลาการรับประกันสนิ คา้
ค่าใช้จ่ายในการรับประกันคุณภาพสินค้าจะบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายของงวดบัญชีท่ีมีการขายสินค้า

และบางคร้ังระยะเวลาการรับประกันสินค้ าเก่ียวข้องกันสองงวดบัญชี จะต้องมีการประมาณ

หนสี้ ินทีอ่ าจเกิดขน้ึ จากท่ลี ูกค้าจะมาใช้บริการตามสัญญารบั ประกนั เพ่อื ใหง้ บแสดงฐานะการเงนิ ถูกตอ้ ง
การบันทึกบญั ชีประมาณการหนีค้ ่ารับประกันสนิ ค้า เป็นดงั นี้
1) บันทึกขายสนิ คา้ บันทกึ บัญชีโดย

เดบิต เงินสด ××
เครดิต ขาย ××

หนว่ ยการเรยี นรู้ที่ 2 ประมาณการหน้ีสินและหนี้สินที่อาจเกิดข้ึน 84

2) เมือ่ ลกู ค้านาสินคา้ มาซ่อมแซม บนั ทึกบญั ชีโดย ××
××
เดบติ ค่าใช้จา่ ยในการรบั ประกัน
เครดิต เงนิ สด

3) วันสิ้นงวดบัญชี บันทกึ บญั ชีประมาณการหนี้คา่ รบั ประกันสินคา้ ในงวดที่มีการขาย

เดบติ ค่าใช้จา่ ยในการรบั ประกัน ××
เครดิต ประมาณการหน้ีค่ารับประกันสนิ คา้ ××

4) ในงวดบัญชีถัดไป ลกู คา้ นาสินค้ามาซอ่ มในระยะเวลาการรับประกนั

เดบิต ประมาณการหนค้ี ่ารบั ประกนั สินคา้ ××
เครดิต เงนิ สด
××

5) เมอื่ หมดเขตการรับประกันสินคา้ บันทกี บญั ชีโดย ××
××
เดบติ ประมาณการหนี้ค่ารบั ประกนั สินค้า
เครดติ รายได้จากการหมดเขตการรบั ประกนั

ตัวอยา่ งที่ 2.2 เมื่อวนั ที่ 1 มนี าคม 2557 บรษิ ัท ชัยเจรญิ จากดั จาหนา่ ยตเู้ ย็นได้ทัง้ หมด

700,000 บาท บริษัทมีนโยบายรบั ประกนั ซอ่ มฟรแี กล่ กู คา้ ทซ่ี ้ือตู้เยน็ ภายใน 1 ปี จากประสบการณ์
ทผี่ า่ นมาพบว่าค่าใชจ้ า่ ยท่ีเกิดขึน้ จากการรบั ประกนั คุณภาพ มีจานวน 5% ของยอดขาย
ในระหวา่ งปี 2557 ลูกคา้ นาตู้เย็นมาซ่อมซงึ่ บรษิ ัทตอ้ งจ่ายคา่ แรง 11,000 บาท

ม.ค. – ม.ี ค. 2558 ลูกค้านาตู้เย็นมาซอ่ มบริษัทตอ้ งจ่ายคา่ แรง จานวน 15,000 บาท
ม.ี ค. 2558 หมดเขตการรบั ประกนั คุณภาพสนิ ค้า

หน่วยการเรยี นรทู้ ี่ 2 ประมาณการหน้สี ินและหน้ีสินที่อาจเกิดขึ้น 85

การบนั ทึกบญั ชี

สมดุ รายวนั ทวั่ ไป หนา้ 1
เครดติ
พ.ศ. 2557 รายการ เลขท่ี เดบิต บาท สต.
เดอื น วนั บญั ชี บาท สต. 700,000 -
700,000 -
ม.ี ค. 1 เงินสด 11,000 -
11,000 -
ขาย 24,000 -
24,000 -
บนั ทกึ ขายตู้เยน็ เป็นเงินสด

ค่าใช้จา่ ยในการรบั ประกนั

เงินสด

บนั ทึกค่าใชจ้ า่ ยรบั ประกันสนิ ค้า

ธ.ค. 31 ค่าใชจ้ า่ ยในการรับประกนั

ประมาณการหน้ีค่ารับประกันสนิ ค้า

บนั ทกึ ประมาณการหน้ีค่ารบั ประกนั

การคานวณ = 700,000 บาท
= 35,000 บาท
ยอดขายสินคา้ = 11,000 บาท
ประมาณการหนค้ี ่ารบั ประกนั สนิ คา้ (700,000 × 5%)
ในระหว่างปีลกู คา้ มาใช้บรกิ ารรบั ประกนั = 24,000 บาท

ดงั นั้น สว่ นทยี่ งั ไมม่ าใช้บรกิ าร

การแสดงรายการประมาณการหนี้ค่ารับประกันสินค้าในงบแสดงฐานะการเงนิ ณ วันที่ 31 ธนั วาคม 2557

บรษิ ัท ชยั เจริญ จากัด (หน่วย : บาท)
งบแสดงฐานะการเงนิ (บางสว่ น) 24,000

ณ วันท่ี 31 ธันวาคม 2557

หนสี้ ินและส่วนของผู้ถอื หุ้น
หนสี้ ินหมนุ เวยี น

ประมาณการหนค้ี ่ารับประกันสินคา้

หน่วยการเรยี นรูท้ ่ี 2 ประมาณการหน้ีสินและหนส้ี ินที่อาจเกิดข้ึน 86

การบนั ทึกบัญชใี นปี 2558

สมดุ รายวนั ท่วั ไป หน้า 1
เครดติ
พ.ศ. 2558 รายการ เลขท่ี เดบิต บาท สต.
เดอื น วัน บญั ชี บาท สต.
15,000 - 15,000 -
ม.ค. 1 ประมาณการหนี้ค่ารับประกนั สนิ ค้า
9,000 - 9,000 -
ม.ี ค. เงนิ สด

บนั ทกึ คา่ ใชจ้ า่ ยในการรับประกัน

ประมาณการหนค้ี า่ รับประกันสินคา้

รายไดจ้ ากการหมดเขต-

การรับประกนั (24,000-15,000)

บันทึกการหมดเขตการรบั ประกัน

แบบฝึกหดั ท่ี 2.2

จงปฏิบัตกิ จิ กรรมตามท่โี จทย์กาหนด (10 คะแนน)
เม่อื วนั ท่ี 1 มิถุนายน 2557 บริษัท สินทรพั ย์ จากัด เป็นผผู้ ลติ และจาหนา่ ยโทรทศั น์
โดยมนี โยบายการรบั ประกนั คุณภาพสินคา้ 1 ปีหลงั การขาย ในปี 2557 ขายโทรทศั นไ์ ด้
300 เคร่ือง ราคาเคร่อื งละ 17,000 บาท บรษิ ทั คาดว่าจะมีค่าใช้จ่ายในการซอ่ มแซม
เคร่ืองละ 1,000 บาท ในปี 2557 มีลูกค้านาโทรทศั นม์ าซอ่ มแซมเสียคา่ ใชจ้ ่าย 100,000 บาท
ม.ค. – มิ.ย. 2558 มลี ูกคา้ นาโทรทัศน์มาซอ่ มแซมเสยี คา่ ใชจ้ า่ ย 95,000 บาท
มิ.ย. 2558 หมดเขตการรบั ประกันคณุ ภาพสนิ ค้า
ใหท้ า บันทึกรายการในสมดุ รายวันทัว่ ไปปี 2557 และ ปี 2558

หน่วยการเรียนรทู้ ่ี 2 ประมาณการหนี้สินและหนี้สินที่อาจเกดิ ข้ึน 87

การบันทกึ บญั ชีในปี 2557

สมุดรายวันทว่ั ไป หนา้ 1

พ.ศ. 2557 รายการ เลขท่ี เดบิต เครดิต
เดือน วนั
บญั ชี บาท สต. บาท สต.

การบนั ทึกบญั ชใี นปี 2558

สมดุ รายวันทั่วไป หนา้ 2

พ.ศ. 2558 รายการ เลขที่ เดบติ เครดิต
เดือน วนั
บัญชี บาท สต. บาท สต.

หนว่ ยการเรียนรทู้ ี่ 2 ประมาณการหน้ีสินและหนส้ี ินทอี่ าจเกดิ ข้ึน 88

1.3 ปร ะมาณกา รหนี้ค่าบั ตรโดยส าร และบั ตรกานัล (Provisions on Tickets and
Gift Certificates Outstanding) กิจการท่ีให้บริการทางการคมนาคมอาจจะจาหน่ายบัตรโดยสาร
ประเภทตั๋วไปล่วงหน้าและระบุวันท่ีผู้โดยสารมารับบริการ เช่น ต๋ัวเคร่ืองบิน เพื่ออานวยความสะดวก

แก่ผู้ใช้บริการ หรือกิจการค้าบางแห่งมีการจาหน่ายบัตรกานัลให้ลูกค้าสาหรับใช้เป็นของขวัญ
เน่ืองในโอกาสต่าง ๆ ซ่ึงผู้ถือบัตรกานัลมีสิทธิที่จะนามาแลกสินค้าได้ตามมูลค่าท่ีกาหนดไว้ในบัตรกานัล
ในวันสิ้นงวดกิจการต้องปรับปรุงหน้ีสินท่ีมีภาระผูกพันต่อผู้โดยสาร และผู้มีสิทธิใช้บัตรกานัล

ทจ่ี าหน่ายไปแล้ว แต่ยงั ไม่ไดม้ าใชบ้ ริการหรอื แลกสนิ คา้
การบันทกึ บญั ชปี ระมาณการหนีค้ า่ บตั รโดยสารและบัตรกานัล แบง่ เป็น 2 วธิ ี คือ
วิธีท่ี 1 วันท่ีขายบัตรบันทึกเปน็ หนสี้ นิ

วธิ ีที่ 2 วนั ที่ขายบตั รบนั ทกึ เป็นรายได้
การบันทึกบญั ชที ้งั 2 วธิ ี แสดงตามตารางท่ี 2.1 ดงั นี้

ตารางที่ 2.1 การบนั ทกึ บญั ชปี ระมาณการหนคี้ า่ บตั รโดยสารและบัตรกานลั

รายการ วนั ทข่ี ายบตั รบันทกึ เป็นหน้ีสนิ วันท่ีขายบตั รบันทกึ เป็นรายได้
1. บันทึกการขายบตั ร
Dr. เงนิ สด ×× Dr. เงินสด ××
2. เม่อื ลกู ค้านา
บตั รมาแลกหรอื ใช้ Cr. ประมาณการหน้ีค่าบตั ร Cr. รายไดค้ า่ บตั รโดยสาร

โดยสารหรือบตั รกานลั ×× หรือบตั รกานัล ××

Dr. ประมาณการหน้ีคา่ บัตร

โดยสารหรอื บตั รกานลั ×× ไม่บันทึก

Cr. รายไดค้ า่ บตั รโดยสาร

หรอื บตั รกานัล ××

3. ณ วนั ส้ินงวดบญั ชี Dr. รายได้คา่ บัตรโดยสาร
บัตรที่อยใู่ นมือลกู คา้
และยังไมห่ มดอายุ ไมบ่ นั ทึก หรอื บตั รกานัล ××

Cr. ประมาณการหนค้ี า่ บตั ร

โดยสารหรอื บตั รกานลั ××

4. ต้นงวดบัญชีถัดไป Dr. ประมาณการหน้คี า่ บัตร
บนั ทึกกลับรายการ
ไมบ่ ันทึก โดยสารหรอื บัตรกานัล ××
ปรบั ปรงุ
Cr. รายได้คา่ บัตรโดยสาร

หรือบัตรกานลั ××

5. บัตรหมดอายุ Dr. ประมาณการหนค้ี า่ บตั ร Dr. รายได้ค่าบตั รโดยสาร
โดยไม่มผี นู้ าบัตร โดยสารหรอื บัตรกานลั ××
มาใช้ Cr. รายไดจ้ ากการขายบตั ร หรือบัตรกานลั ××

ซึง่ ลกู ค้าไม่ใช้สทิ ธิ ×× Cr. รายไดจ้ ากการขายบตั ร

ซึ่งลูกคา้ ไมใ่ ชส้ ิทธิ ××

หน่วยการเรียนร้ทู ี่ 2 ประมาณการหนีส้ ินและหน้สี ินท่ีอาจเกิดขึ้น 89

กล่าวโดยสรุป กิจการจะบนั ทกึ วธิ ใี ดกต็ ามบญั ชปี ระมาณการหนีค้ า่ บัตรโดยสารหรือบัตรกานลั
เมอื่ สิน้ งวดจะมจี านวนเทา่ กนั ท้ัง 2 วิธี และแสดงภายใตห้ วั ข้อหนสี้ นิ หมนุ เวียนในงบแสดงฐานะการเงนิ

ตัวอยา่ งที่ 2.3 วันท่ี 1 ธันวาคม 2557 บรษิ ัท อวยพร จากดั จาหน่ายบัตรกานลั เพอ่ื ใหล้ กู คา้

นาไปมอบเป็นของขวญั ในชว่ งเทศกาลปีใหม่ จานวน 600,000 บาท บตั รกานัลทจ่ี าหนา่ ยสามารถ

นามาแลกสินคา้ ได้ถึงวนั ท่ี 30 มิถนุ ายน 2558 เมื่อถงึ วนั ส้นิ งวดบัญชมี ีลูกคา้ นาบัตรกานลั มาแลกสินค้า

จานวน 450,000 บาท และเมอ่ื บตั รหมดอายแุ ล้วมลี ูกค้ามาใช้สิทธิท้งั หมดเพยี ง 90% ของบัตรทขี่ ายได้

วิธีที่ 1 วันทีข่ ายบัตรบันทกึ เป็นหน้สี นิ

สมดุ รายวันทัว่ ไป หน้า 1

พ.ศ. 2557 รายการ เลขท่ี เดบิต เครดิต
เดือน วนั
บัญชี บาท สต. บาท สต.

ธ.ค. 1 เงินสด 600,000 -

ประมาณการหนี้ค่าบัตรกานัล 600,000 -

บันทึกการขายบตั รกานัล

31 ประมาณการหนีค้ า่ บัตรกานลั 450,000 -

รายไดค้ า่ บตั รกานลั 450,000 -

ลูกคา้ นาบตั รกานลั มาแลกสนิ ค้า

การแสดงรายการประมาณการหนีค้ ่าบัตรกานลั ในงบแสดงฐานะการเงิน ณ วนั ท่ี 31 ธนั วาคม 2557

บรษิ ัท อวยพร จากัด (หนว่ ย : บาท)
งบแสดงฐานะการเงิน (บางส่วน) 150,000

ณ วันท่ี 31 ธันวาคม 2557

หน้สี ินและส่วนของผู้ถือหุ้น
หนี้สินหมุนเวยี น

ประมาณการหนีค้ ่าบัตรกานัล (600,000 - 450,000)

หน่วยการเรียนรทู้ ี่ 2 ประมาณการหน้สี ินและหนีส้ ินทอี่ าจเกดิ ขึ้น 90

การบนั ทกึ บญั ชใี นงวดบัญชถี ัดไป

สมดุ รายวนั ทว่ั ไป หนา้ 2
เครดิต
พ.ศ. 2558 รายการ เลขที่ เดบิต บาท สต.
เดอื น วัน บญั ชี บาท สต.
90,000 -
ม.ิ ย. 30 ประมาณการหน้คี า่ บัตรกานัล 90,000 -

รายไดค้ า่ บตั รกานลั

ลูกคา้ นาบตั รกานัลมาแลกสินคา้

ประมาณการหนีค้ า่ บตั รกานลั 60,000 -

รายได้จากการขายบตั รซ่ึงลูกค้า

ไม่ใชส้ ิทธิ 60,000 -

บันทึกบตั รกานลั หมดอายเุ ป็นรายได้

(600,000 - 450,000 - 90,000)

การคานวณ = 540,000 บาท
บตั รกานัล 600,000 บาท = 450,000 บาท
= 90,000 บาท
ลูกคา้ ใชส้ ิทธิแลกสนิ คา้ 90% (600,000×90%)

ลูกคา้ นาบตั รกานลั มาใชส้ ทิ ธแิ ลกสนิ คา้ ปี 2557

มลู คา่ บตั รกานัลทล่ี กู คา้ ยังไมใ่ ชส้ ทิ ธิ ปี 2558

วิธที ่ี 2 วันท่ขี ายบตั รบันทึกเป็นรายได้

สมดุ รายวันท่ัวไป หนา้ 1

พ.ศ. 2557 รายการ เลขท่ี เดบิต เครดติ
เดือน วัน
บญั ชี บาท สต. บาท สต.

ธ.ค. 1 เงินสด 600,000 -

รายไดค้ า่ บตั รกานลั 600,000 -

บนั ทกึ การขายบตั รกานัล

31 รายไดค้ ่าบัตรกานลั 150,000 -

ประมาณการหนีค้ า่ บัตรกานัล 150,000 -

บนั ทึกประมาณการหนี้ค่าบตั รกานัล

ทีล่ ูกค้ายงั ไม่นาบตั รมาใช้

(600,000 – 450,000)

หน่วยการเรยี นรูท้ ี่ 2 ประมาณการหนีส้ ินและหนี้สินท่อี าจเกิดขึ้น 91

การแสดงรายการประมาณการหนค้ี า่ บัตรกานลั ในงบแสดงฐานะการเงนิ ณ วนั ท่ี 31 ธนั วาคม 2557

บริษัท อวยพร จากัด (หน่วย : บาท)
งบแสดงฐานะการเงิน (บางสว่ น) 150,000

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2557

หน้สี ินและส่วนของผู้ถอื หุ้น
หนสี้ ินหมุนเวยี น

ประมาณการหนี้คา่ บัตรกานัล

การบนั ทึกบัญชใี นงวดบัญชถี ัดไป

สมดุ รายวันทั่วไป หนา้ 2

พ.ศ. 2558 รายการ เลขที่ เดบติ เครดิต
เดอื น วัน
บญั ชี บาท สต. บาท สต.

ม.ค. 1 ประมาณการหน้ีคา่ บัตรกานลั 150,000 -

รายไดค้ ่าบัตรกานัล 150,000 -

กลบั รายการปรับปรงุ

ม.ิ ย. 30 รายไดค้ ่าบตั รกานลั 60,000 -

รายได้จากการขายบตั รซึง่ ลูกคา้

ไมใ่ ชส้ ทิ ธิ (150,000 – 90,000) 60,000 -

บนั ทึกบัตรกานลั หมดอายเุ ป็นรายได้

แบบฝกึ หดั ท่ี 2.3

จงปฏิบตั กิ จิ กรรมตามท่โี จทย์กาหนด (10 คะแนน)
วันที่ 15 พฤศจกิ ายน 2557 บริษทั เป่ยี มสขุ จากดั ขายบัตรกานลั 300 ฉบบั ๆ ละ 2,000 บาท
บัตรกานลั สามารถนามาแลกสินคา้ ภายในระยะเวลา 2 เดอื นนับจากวนั ที่ขาย
ต่อมาวันที่ 20 ธนั วาคม 2557 ลูกคา้ นาบัตรกานัลมาแลกสินค้า 150 ฉบับ
และเมอื่ หมดอายมุ ผี ูน้ าบตั รมาใช้อกี 80% ของบัตรทเ่ี หลอื
ใหท้ า บันทกึ รายการขายบตั รกานลั การใชบ้ ัตรกานัลและบัตรกานลั หมดอายุ
กรณีที่ 1 วนั ทข่ี ายบตั รบันทกึ เปน็ หนสี้ ิน
กรณที ี่ 2 วนั ท่ขี ายบตั รบันทกึ เปน็ รายได้


Click to View FlipBook Version