The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by เอกสารเผยแพร่, 2019-10-19 21:57:53

-7

-7

"ย่ิงไปกว่าน้ัน คือก่อนทเ่ี ดก็ ทั้งสองจะข้นึ น�ำ เสนอ ไฟในหอ้ งเกิดดับ เรียกวา่
ทดสอบกันจนหยดสุดท้ายเลยทีเดยี วครบั ”

ฉะนัน้ เมื่อไปถึงฝัง่ ฝนั ทงั้ ครูและศษิ ย์ตา่ งก็ตักตวงช่วงเวลาอันมคี ่าของการได้
อย่ใู นงาน International Exhibition for Young Inventors (IEYI-2013)  ณ กรุง
กัวลาลมั เปอร์ ประเทศมาเลเซีย อย่างเต็มท่ี บู๊ททุกบทู๊ ซุม้ ทกุ ซุ้ม เป็นทส่ี นอกสนใจ
ของพวกเขาอย่างยิ่ง ต่างพากันเดินดู ตกั ตวง จด บนั ทึก ถา่ ยภาพ ทำ�ทุกอยา่ งที่
สามารถท�ำ ได้ พวกเขาไม่ละเวน้

พวกเขาบอกว่าไฟแห่งความสร้างสรรค์ท่ีถูกจุดติดข้ึนมาแล้วจะไม่มีวันมอด
กลบั มาจากงานคร้งั น้นั แลว้ แตล่ ะคนตา่ งมุ่งมน่ั ทจ่ี ะยืนยนั ความเป็นนกั ประดษิ ฐ์ต่อไป

ยิ่งไปกว่าน้ันพวกเขายังปวารณาตัวเองคนต้นแบบที่ดีในการเป็นนักประดิษฐ์
ให้รุ่นน้องๆ ดว้ ย

เวลาใครคดิ จะทำ�สงิ่ ประดิษฐห์ รอื อยา่ วา่ แต่สิ่งประดษิ ฐ์เลย คิดจะทำ�อะไร
ใหมๆ่ ที่ยากๆ ท่ีไมเ่ คยมีใครท�ำ มากอ่ น มักพา่ ยแพ้ต่อคำ�ว่า อยา่ เลย ไม่เอาดีกว่า เดย๋ี ว

51

มปี ัญหา เดย๋ี วยงุ่ ยาก มเี หตุผลรอ้ ยแปดพันประการทจ่ี ะลม้ เลกิ หรือไมแ่ ม้กระท่ังคิด
จะทำ�

หากส�ำ หรับนักประดิษฐ์แลว้ พวกเขาเปรยี บเสมอื นนกั บุกเบกิ ท่ีไม่เคยสน
วา่ ทางข้างหนา้ จะยากเย็นเพยี งใด

กลุ่มนักประดิษฐ์จากโรงเรียนวัดช่างเค่ียนกลุ่มน้ีทำ�ให้เราเห็นแล้วใช่ไหมว่า
บางคนอาจเลือกเกิดไม่ได้ บางคนมเี งอื่ นไขเตม็ ไปหมดท่ีท�ำ ให้ชวี ิตตอ้ งล�ำ บากยาก
แคน้ แตจ่ นิ ตนาการ ความฝัน ความหวัง ของมนษุ ยน์ นั้ เหมอื นเมลด็ พนั ธ์ขุ องตน้ ไม้
วิเศษท่ีงอกงามได้เสมอ แมช้ วี ติ นั้นจะเปน็ เสมอื นผืนดินทไี่ ร้ซึง่ ความสมบรู ณ์พูนสุข
เพยี งใดกต็ าม

ปิ่นโตเถานน้ั นอกจากจะชว่ ยบรรจอุ าหารใหอ้ ุ่น สร้างความฉํ่าเยน็ แลว้ ยงั
อัดแนน่ ไปดว้ ยเมล็ดพนั ธทุ์ ม่ี ชี ่ือวา่ จินตนาการ ความฝัน ความหวงั ไวอ้ กี ด้วย หรอื
ใครจะเถยี งว่าไมจ่ ริง

52

ป่นิ โตอเนกประสงค์ 3 in 1 เปน็ ส่ิงประดษิ ฐ์ทางวิทยาศาสตร์ ทีช่ ่วยอำ�นวย
ความสะดวกในการใช้งาน สามารถประหยัดเวลาและประหยดั พลังงาน ซึง่ ประกอบ
ด้วยแผ่นความรอ้ น (Thermoelectric Module) โดยด้านหนง่ึ ใหค้ วามร้อน อีกด้าน
หน่งึ ให้ความเย็น สามารถน�ำ ไปใชป้ ระโยชน์ได้ 3 อย่าง ในเวลาเดยี วกันคือใช้บรรจุ
ส่งิ ของเหมือนป่นิ โตทว่ั ไป ขณะเดียวกันดา้ นรอ้ น ใชอ้ ุน่ อาหาร ส่วนดา้ นเยน็ ใชแ้ ช่
อาหาร ผลไมห้ รอื นาํ  เยน็



1

ของฝากจากพอ่

กลบั มาจากการไปใหก้ ำ�ลงั ใจลกู ชายไดเ้ พยี งประมาณหน่ึงเดือนใหห้ ลงั พอ่
ก็สน้ิ ลมหายใจ ราวกบั วา่ ส่งิ ท่พี ่อห่วงได้คลายลงแลว้ ส่ิงท่ีพอ่ ฝนั จะเห็นก็ได้เห็นแลว้

ลกู ชายสามารถควา้ รางวัลจากงาน International Exhibition for Young
Inventors (IEYI-2013) ณ กรงุ กัวลาลมั เปอร์ ประเทศมาเลเซยี มาครองสมดังทพี่ ่อ
อยากจะเหน็

55

ส่ิงประดษิ ฐ์ : เครอ่ื งมือวดั ทางวทิ ยาศาสตร์ส�ำ หรบั ผูท้ ่ีมีความบกพร่องทางการมองเหน็
โรงเรียนขอนแกน่ วทิ ยายน จ.ขอนแกน่
56

พ่อจากไปอย่างสงบ เงยี บ และเรยี บงา่ ย ด้วยโรคหวั ใจ ท้ิงเพยี งความ
อาวรณ์ไว้กบั ลูกชาย

แมว้ ันนจ้ี ะไม่มพี อ่ อยขู่ ้างๆ แต่ ด.ช.ภทั ร์ นกิ ร หรอื ปุ๊ก บอกว่าเขาจะยังคง
มุ่งมน่ั ตัง้ ใจ กับการประดิษฐค์ ดิ ค้นตอ่ ไปเหมือนกับตอนท่ีพ่อยังอยู่ เพราะเขารู้วา่ น่ี
คอื สิ่งท่พี ่อของเขาปรารถนาจะเห็นและอยากใหเ้ ขาเป็น
และทีเ่ ขาได้ชอบการประดิษฐ์คิดคน้ มาตัง้ แตเ่ ดก็ ๆ น่นั เปน็ เพราะเขาได้เหน็
แบบอยา่ งจากพ่อ

พอ่ ของเขาเปน็ นกั ประดิษฐ์ ภาพที่พ่อประดิษฐ์โน่นนัน่ นี่ คิดท�ำ โน่นท�ำ นี่
เปน็ ส่ิงท่เี ขาคนุ้ ตามาต้งั แตอ่ อ้ นแตอ่ อก
“พเ่ี คยเหน็ เครือ่ งระบายอากาศ ระบายความรอ้ นที่เป็นกลมๆ หมนุ ๆ ตดิ
บนหลังคาพวกโรงเรือน โรงอาหารใหญ่ๆ ไหม นั่นล่ะพอ่ ผมประดิษฐ์ส่ิงนี้ขายละ่ ”
นอ้ งปุ๊กเล่าด้วยความภาคภมู ใิ จ

57

“ปุ๊กเขาได้รับอิทธิพลจากพ่อมาเต็มๆ เพราะคุณพ่อเขาเปน็ นกั ประดิษฐ์ แต่
ดว้ ยเกิดต่างยุคต่างสมยั กัน พ่อของปุก๊ อาจจะคิดเครอ่ื งไม้เครอ่ื งมอื ในเชิงชา่ ง ตาม
ยคุ สมยั ทีพ่ ่อคุ้นเคย

“แตเ่ ด็กยคุ ไอทอี ย่างปุ๊ก ส่ิงทีเ่ ขาลมุ่ หลงคือคอมพวิ เตอร์ และอุปกรณไ์ อที
ตา่ งๆ” อาจารย์อารศิ สา อรรคษร หรือครูแจนของเดก็ ๆ เลา่ บา้ ง
อีกหนง่ึ หนุ่มท่รี ว่ มทมี่ ารว่ มแก๊งประดษิ ฐ์คร้ังนี้คอื ธนิยะ บญุ บตุ ร หรอื นนท์
นนทเ์ ปน็ เดก็ ข้อี าย ค่อนขา้ งเงียบถงึ เงียบมาก

ครแู จนบอกวา่ นนท์กเ็ ป็นคนลมุ่ หลงในคอมพ์พวิ เตอรไ์ มต่ ่างจากปุ๊ก ย่งิ กว่า
นั้นคุณสมบตั ิอีกอยา่ งที่นนทอ์ าจจะมีมากกว่าเพือ่ นในวัยเดยี วกันคอื ความมวี ินัย
ความรับผดิ ชอบ และความม่งุ หวังต้งั ใจจะทำ�สง่ิ ประดษิ ฐท์ ี่มปี ระโยชน์กับคนอื่น
เมือ่ หนมุ่ เนริ ์ดและหนุ่มมวี ินัย มงุ่ ม่นั มาเจอกนั ความไม่ธรรมดาย่อมบงั เกดิ
ขึน้ มาอย่างแนน่ อน

58

59

2

เมือ่ คนสามคน อนั หมายถงึ ครูแจน ปุ๊ก และนนท์ ซึ่งคลั่งใคลใ้ หลหลงใน
เร่อื งราวของวิทยาศาสตร์ ผนวกกับคณุ สมบัตเิ ฉพาะตวั ตา่ งๆ ทค่ี นสามคนนม้ี ี มา
หลอมรวมกัน จงึ เกดิ เปน็ ท่ีมาของสิ่งประดิษฐไ์ ม่ธรรมดา นามวา่ เคร่อื งมือวดั ทาง
วิทยาศาสตร์ สำ�หรับผ้ทู ม่ี ีความบกพร่องทางการมองเหน็

“เพราะเราเรยี นสายวิทยค์ รบั และในห้องเรยี นของผมมนี กั เรยี นเรยี นรว่ ม
ทีเ่ ปน็ คนพกิ ารเขามีสายตาเลือนราง หรอื LOW VISION ผมก็เลยเกดิ ปงิ๊ ขน้ึ มา วา่
น่าจะมเี คร่อื งมอื ที่ ALL IN ONE สำ�หรับเพอ่ื นจะได้ใช้สะดวกๆ” ปุ๊กบอกท่มี า

60

“เมอ่ื ปกุ๊ ว่าง้ัน ผมรบี สนับสนุนเลย เพราะผมอยากทำ�สิง่ ประดิษฐท์ ีม่ ีประโยชน์
ต่อคนอืน่ อยแู่ ล้ว อาจารย์แจนกส็ นับสนนุ เพราะทา่ นยาํ  เสมอวา่ ถ้าเรารูจ้ กั คดิ จะท�ำ
อะไรเพื่อคนอ่ืน เราจะไมเ่ หนอื่ ยและยอมแพง้ ่ายๆ หรอก...” นนท์กลา่ วเสรมิ
“...เราชอบอะไรท่ีดูแล้วสะดวกใช้ ชอบไปร้านโดโซะ (ร้านสินคา้ ทเ่ี นน้ ขาย
ของใช้ในชีวติ ประจำ�วัน ราคายอ่ มเยาของญี่ปุ่น ท่ีมาเปดิ ในเมอื งไทย) และบางทกี ช็ อบ
ซือ้ ของร้านนี้มาเป็นตวั อย่างใหเ้ ด็กๆ ดู เพ่ือให้เขาเกดิ ไอเดยี

เราจะกระตนุ้ ใหเ้ ขาเห็นว่าสงิ่ ประดิษฐไ์ ม่จำ�เปน็ ต้องย่ิงใหญอ่ ลงั การ ไมจ่ �ำ เปน็
ต้อง ซับซ้อน แตเ่ นน้ ใหม้ ไี อเดยี เนน้ ความคดิ สรา้ งสรรค์ ซึ่งสินคา้ ในรา้ นไดโซะจะมี
ตวั อย่าง ของสิง่ ประดษิ ฐ์ มีรายละเอยี ดปลกี ยอ่ ยให้สะดวกกับการใชง้ าน ซอ้ื มาแล้วเรา
มกั จะร�ำ พงึ กับตัวเองเสมอวา่ คิดไดไ้ งวะเน่ีย (หวั เราะร่วน)...” ครแู จนกล่าว
ทว่ากวา่ สงิ่ ประดิษฐ์ชนิ้ นี้จะออกมาเป็นรปู เป็นร่างอยา่ งน้ี แก๊งเดก็ เนิร์ด และ
หัวหนา้ แกง๊ คก์ ต็ ้องทมุ่ เทแรงกายแรงใจกันแทบกระอกั เลอื ด
“ดีนะคะวา่ บา้ นเราทัง้ สามคนอย่ใู กลก้ ัน เลยงา่ ยหนอ่ ย บางทีสามส่ที ุม่ กย็ ัง

61

ถ้าเรารู้จกั คดิ
จะท�ำ อะไรเพือ่ คนอื่น
เราจะไมเ่ หนอ่ื ย
และยอมแพ้งา่ ยๆ หรอก...

62

สมุ หวั กนั อยู่บ้านคนใดคนหนง่ึ ” อาจารย์แจนซงึ่ จะวา่ ไปก็เหมอื นหวั หน้าแกง๊ คเ์ ด็ก
เนริ ด์ ไปโดยปริยาย กล่าวกล้วั หวั เราะ
“ปัญหาเยอะฮะ คอื บางทแี ค่แสงเปล่ียน ค่าเฉดสมี นั ก็ต่างไป ทำ�ให้เฉดสซี ่งึ
เปน็ ตัววัดและเปน็ เซน็ เซอรท์ จ่ี ะส่งไปยังเสียงทต่ี งั้ ไว้แปรผัน ว่นุ กันไปอกี ต้องแกแ้ ลว้
แกเ้ ลา่ กว่าจะได้
“ท่สี ำ�คัญเราไม่ได้แกแ้ ลว้ วดั ความสมบูรณแ์ บบจากเราเอง ซง่ึ ไมไ่ ดเ้ ป็นคน
พกิ ารนะฮะ พวกเราเอาไปเทสต์ เอาไปทดลองใช้จรงิ กบั ศูนย์พฒั นาคนตาบอดที่
เพชรบุรีเลยนะฮะ เพราะพ่อผมเปน็ คนแนะนำ�ว่า ท�ำ อะไรแลว้ ตอ้ งวัดว่ามันดจี ริง
และใชไ้ ด้จรงิ กับผใู้ ช้โดยตรง”
พอ่ ปุก๊ ตวั ป๊กุ ครแู จน และนนท์ อาจไมร่ วู้ า่ ส่งิ ทีพ่ วกเขาก�ำ ลงั ทำ�อย่นู ั้น
เป็นผลงาน ประดิษฐ์ทีเ่ ขา้ ข่ายตามแนวคดิ ที่นกั ออกแบบ หรือกระแสการออกแบบ
ของโลกกำ�ลังรณรงคอ์ ยู่
แนวคดิ ท่ีเรียกวา่ Universal Design หรอื UD อันหมายถึง การออกแบบ

63

64

เพือ่ มวลชน เป็นแนวคิดในการออกแบบทีค่ ํานึงถงึ การใชง้ าน มีความคุ้มค่า สม
ประโยชน์ ครอบคลมุ สําหรับทกุ คน และไมต่ อ้ งดดั แปลงพิเศษหรอื เฉพาะเจาะจง
เพื่อบุคคลกลุ่มใดกลุ่มหน่งึ
การออกแบบเพอื่ มวลชนเปน็ การออกแบบโดยเร่มิ ต้นจากการคิดว่า ทาํ
อย่างไรคนประเภทต่างๆ ไมว่ า่ จะตาบอด หูหนวก แขนขารา่ งกายพิการ คนพิการ
ทางปัญญา คนทอี่ ่านหนังสือไมอ่ อก เปน็ ตน้ เพ่ือใหเ้ ขาสามารถอยใู่ นสังคมรว่ ม
กับบคุ คลท่วั ไปไดอ้ ยา่ งเปน็ ปกติสุข (Nicole Del Castillo, 2009)

แต่ต่อมาแนวคิดนี้ถูกพัฒนาต่อไปว่าแทนที่จะออกแบบเฉพาะเพื่อกลุ่ม
คนประเภทใดควรออกแบบแล้วสามารถใช้ได้ครอบคลุมกับคนทุกกลุ่มจะเหมาะ
สม และประหยดั กว่า อกี ทั้งยังไมเ่ ป็นการเลอื กปฏิบัตดิ ้วย

ในขณะทนี่ กั ออกแบบชั้นน�ำ ในประเทศนีย้ ังไมร่ ู้ ไมส่ นใจ และละเลย
แนวคดิ นี้ดว้ ยซาํ 
แตจ่ ะเชอื่ หรอื ไม่เชือ่ กต็ ามแต่ แนวคิดนีถ้ ูกน�ำ มาใช้จริงแล้วบนแผ่นดิน

65

ทร่ี าบสูงของประเทศไทย แผน่ ดินที่ถูกประทบั ตราว่าเปน็ พ้นื ท่ีของคนท่มี ักจะ “โง่ จน
เจบ็ ”
แกง๊ เด็กเนิรด์ กลุม่ นี้กำ�ลังทลายมายาคตเิ หลา่ นนั้ ดว้ ยสิ่งประดิษฐเ์ ลก็ ๆ ชิน้ น้ี

66

3

ปกุ๊ และนนทเ์ ล่าว่าการจัดงานประกวด International Exhibition for
Young Inventors (IEYI-2013) ณ กรุงกวั ลาลมั เปอร์ ประเทศมาเลเซยี สร้างความ
เปลี่ยนแปลงให้กับชวี ิตหลายประการ

เพราะลำ�พงั แค่การนัง่ เครื่องบนิ ไปกรุงเทพฯ กเ็ ป็นเรอ่ื งตืน่ เตน้ นกั หนาแลว้
สำ�หรบั เด็กตา่ งจงั หวัดในวยั นี้ แตค่ ราวน้หี นักกวา่ นนั้ เพราะมนั เป็นการนงั่ เคร่ืองบิน
ขา้ มนาํ  ข้ามทะเลไปตา่ งประเทศเป็นครง้ั แรก
แม้จะเป็นประเทศบ้านใกล้เรือนเคยี งอยา่ งมาเลเซยี กต็ ามทีเถอะ การได้ไป
ตา่ งบ้านตา่ งเมอื งอย่างนั้นชว่ ยเปิดโลกทัศนใ์ หพ้ วกเขาได้มากกวา่ มาก

67

“โธพ่ ี่ แค่ไดเ้ ดนิ ทางก็ตืน่ เต้นแลว้ นีไ่ ด้ไปเหน็ ไปดูว่าเพือ่ นๆ ในวยั เดียวกนั
กบั เรา เขาคดิ อะไรออกมา สงิ่ ทเี่ ขาประดษิ ฐข์ นึ้ มาเปน็ อยา่ งไรบา้ ง ความคิดเขาไปถึง
ไหน และสิ่งประดษิ ฐ์ทแี่ ตล่ ะประเทศนำ�มาเปน็ อยา่ งไร แคน่ ้ผี มกต็ น่ื เต้นจะแยแ่ ล้ว”
ปุก๊ เลา่ เสยี งตนื่ เต้น
“ไม่เพยี งต่นื เต้นนะครบั การไดเ้ หน็ บางชนิ้ ทำ�ให้เรารู้วา่ สง่ิ ประดิษฐ์ท่ดี ไี ม่
ตอ้ งยาก ขอให้งา่ ย ใชไ้ ดจ้ ริง และมีไอเดยี ทีเ่ จ๋งๆ ก็พอแลว้

“สำ�หรับผมการได้เห็นแนวคิดของส่ิงประดิษฐ์จากประเทศญี่ปุ่นน่าทึ่ง
มาก สง่ิ ละอนั พันละนอ้ ย เรอ่ื งนดิ ๆ หน่อยๆ เขาก็เก็บรายละเอียดและนำ�มาคิดเปน็
เครือ่ งมือเครอ่ื งใช้ ทล่ี ้วนแลว้ แตท่ �ำ ใหใ้ ชง้ ่ายข้นึ สะดวกข้ึน

“ผมดูแล้วก็ได้แต่ทึ่งและสงสัยว่าประเทศเขาทำ�อย่างไรนะถึงผลิตคนท่ีมี
ความคิดสร้างสรรค์อย่างนี้ออกมาได้ เขาเลี้ยงกันมาอยา่ งไร กินอะไรจะได้กนิ ตาม
ม่ัง” นนทพ์ ดู จบเสียงหัวเราะก็ดงั ล่ันห้อง
“...การที่เดก็ ๆ ได้ไปอยา่ งนีถ้ ือเปน็ เร่อื งดมี ากเลยค่ะ ไมเ่ ฉพาะเด็กเทา่ นน้ั ดี

68

กับครดู ว้ ยคะ่ เพราะมนั ชว่ ยเปิดโลกทัศนท์ ั้งครแู ละเด็ก
“ยิ่งไปกว่านั้นมันฝึกให้เด็กโตขึ้นแบบก้าวกระโดดเลยท้ังเร่ืองการต้องใช้ภาษา

เร่ืองความรบั ผิดชอบตัวเอง และเร่ืองของการไดไ้ ปเหน็ ไอเดีย เห็นความสรา้ งสรรคจ์ าก
ผลงานประเทศอน่ื ๆ ปุ๊ก นนท์ ทั้งสองคนพอกลับมาแล้วก็พดู แตว่ า่ ปหี น้าจะท�ำ อกี จะ
คดิ อะไรใหม่ๆ ออกมาอีก เพราะอยากไปตา่ งประเทศอกี ...” ครแู จนกลา่ วเสยี งใส
ผลจากการประกาศศกั ดาของสองหนมุ่ น้อย ทำ�ให้มเี พ่ือนๆ และเด็กรุน่ นอ้ ง
ฝนั ใฝอ่ ยากจะเป็นนกั ประดิษฐ์อย่างสองหนุม่ บา้ ง

แมจ้ ะเขา้ สูช่ ่วงปดิ เทอมแลว้ ก็ตาม ยามน้ีสมาชิกบางคนในชมรมวทิ ยาศาสตร์
ต่างพากันคิดค้นส่งิ ประดษิ ฐ์ไว้แตเ่ นิน่ ๆ พวกเขาบอกวา่ “เตรยี มตัวก่อนไดเ้ ปรยี บกอ่ น”
ไมแ่ น่นะ ในปหี นา้ เด็กท่รี าบสูงกลมุ่ น้อี าจสรา้ งชอ่ื ใหป้ ระเทศอีกกเ็ ปน็ ได้

69

4

วนั น้.ี ..
หนุม่ ปกุ๊ ผา่ นพ้นมรสุมครง้ั หนกั หน่วงของชีวติ จากการสญู เสียพ่อมาไดแ้ ลว้
กระนัน้ ก็ตามในบางครัง้ ท่ไี ดเ้ อ่ยถึงพ่อผู้เปน็ ทรี่ ัก ผูส้ นทนาแอบเห็นเด็ก

หน่มุ หลบตาวบู เพอ่ื บดบังความเศรา้ แตไ่ มเ่ พียงชว่ั วินาทีจากน้ัน เขาก็จะส่งสายตา
มุ่งม่นั จากดวงตาคมกริบน้ันคืนมาดงั เดิม

เรามิอาจลว่ งรู้วา่ ในใจหนุ่มน้อยคดิ อะไร
เขามวี ิธีรบั มือกับความสญู เสียแบบไหน

70

ความช่างประดษิ ฐค์ ดิ ค้น
ความมุ่งมน่ั กล้าทำ�ตามความฝัน
ความกลา้ ผิดแผกแตกต่าง
ความมุ่งมนั่ ตงั้ ใจ อดทนคณุ สมบัติ
เหลา่ น้ีของพอ่ ถูกส่งผ่าน
และสะสมไวใ้ นตวั ลกู ชายแล้ว

71

แตส่ ำ�หรับคนที่ได้ผ่านพบ รจู้ กั เขา อาจได้ตระหนกั ว่าบางส่งิ ท่จี ากไปแตไ่ ม่
สญู สลายไปไหน พอ่ ยังอยู่ในปุ๊ก ปุ๊กยงั คงมพี อ่

ความชา่ งประดษิ ฐค์ ิดค้น ความมงุ่ มนั่ กล้าท�ำ ตามความฝนั ความกล้า
ผิดแผกแตกต่าง ความม่งุ มั่น ต้ังใจ อดทน คณุ สมบตั ิเหลา่ นข้ี องพ่อ ถกู สง่ ผ่านและ
สะสมไว้ในตัวลกู ชายแลว้ จากการเป็นนกั ประดิษฐ์ และสามารถฝา่ ด่านความกดดัน
ตลอดจนเงื่อนไขตา่ งๆ นานามาได้อยา่ งสงา่ งาม

ปกุ๊ ยังคงเกบ็ ของฝากอนั หมายถึงคณุ สมบตั ิเหลา่ น้ีจากพอ่ ไว้อยา่ งครบถ้วน
ทุกอย่างทพี่ อ่ สอนอยูใ่ นกาย ในใจ และแม้เวลาจะผ่านไปนานแค่ไหน
ป๊กุ ยืนยนั วา่
“โตขึน้ ผมอยากเปน็ นักประดิษฐ์เหมอื นพ่อผมครบั ”

72



เคร่ืองมือวัดทางวิทยาศาสตร์สำ�หรับผู้ท่ีมีความบกพร่องทางการมอง
เหน็ เป็นส่ิงประดิษฐ์ทที่ �ำ ขึน้ เพอ่ื ใหผ้ ทู้ ีม่ ีความบกพร่องทางการมองเห็นนัน้ มคี วาม
สะดวกในการทดลองวทิ ยาศาสตร์ โดยเป็นเคร่อื งมือท่สี ามารถวัดอุณหภูมขิ องน�้ำ
อุณหภมู ิของอากาศ ความช้นื สัมพัทธ์ (Relative Humidity ; RH) และวเิ คราะหส์ ี
ของวัตถุ

เมือ่ นำ�ส่ิงประดิษฐ์ไปทดสอบกบั ผทู้ ี่มคี วามบกพรอ่ งทางการมองเหน็ พบวา่
อปุ กรณ์มคี วามสะดวกในการใชง้ าน สามารถบอกค่าอณุ หภมู ขิ องนาํ  อณุ หภมู ิของ
อากาศ ความชนื้ สมั พัทธ์ และวิเคราะห์สขี องวัตถุได้อย่างถูกตอ้ ง ท�ำ ใหผ้ ู้ที่ใชอ้ ปุ กรณ์
สามารถทราบข้อมลู จากการทดลองทางวิทยาศาสตร์ไดด้ ว้ ยตัวเอง



1

แรงบันดาลใจคอื พลังงานอย่างหนึ่ง

ถา้ อยู่ในเมอื ง ร้านสะดวกซอ้ื ช่อื ดังคงไม่กลายเป็นเหยอื่ เอ้ย ห้องทดลอง
เหมอื นมนิ มิ าร์ทละแวกโรงเรยี นบา้ นปอบิดเชน่ นี้

เพราะรา้ นสะดวกซอื้ เหลา่ นั้น ไม่มีสายสมั พันธ์ระหวา่ งผขู้ ายและผูซ้ ้อื
เหมอื นร้านท่นี ี่ ผู้ขายเปน็ เจ๊ เฮยี พ่ี ป้า นา้ อา ที่อยากเห็น ผซู้ อ้ื คอื เดก็ ๆ โรงเรยี น
บ้านปอบดิ สนกุ กบั การเรียน มคี วามรู้

77

ส่งิ ประดษิ ฐ์ : เครือ่ งแยกเหรียญ
โรงเรียนบ้านปอบดิ จ.นครราชสมี า

78

และมากกวา่ นัน้ คอื พวกเขาตา่ งคิดตรงกันวา่ การสรา้ งพ้ืนที่ทีเ่ อ้อื ต่อการ
เรียนรู้ใหเ้ ดก็ ๆ เกดิ ขน้ึ ได้ในทุกๆ ท่ีนั้น จะเกดิ ประโยชน์มากกวา่ ปล่อยให้พวกเขาไป
หมกมุ่นกบั ปัญหาและยาเสพตดิ

“…(หวั เราะ)…ไมร่ ูจ้ ะถอื เป็นความโชคดหี รอื โชครา้ ยนะฮะ ท่เี ราอยูใ่ นพนื้ ที่
ไกลปืนเทยี่ ง 7-11 ยังมาไมถ่ งึ

“ฉะนั้นเวลาเราคิดสง่ิ ประดษิ ฐ์ขนึ้ มาได้ โดยเฉพาะเคร่ืองแยกเหรีญญเนีย่ ฮะ
เราเอาไปให้มินิมารท์ รอบๆ ชุมชน ทดลองใชจ้ รงิ เพือ่ จะไดร้ ูว้ า่ ส่ิงท่ีเราคดิ ขึน้ มาดีไม่ดี
อยา่ งไร สะดวกใช้หรือมขี ้อติดขัดประการใดบา้ งครบั ”...”

อาจารยไ์ พโรจน์ เดชโนนสงั ข์ อาจารย์ประจ�ำ ชมรมวิทยาศาสตร์ และยงั มี
ตำ�แหน่ง กติ ิมศักด์เิ ป็นท่ปี รกึ ษา ในการทำ�ผลงานสงิ่ ประดิษฐท์ างวิทยาศาสตร์ของ
เด็กๆ บ้านปอบดิ กล่าวอยา่ งอารมณด์ ี

ตน้ กำ�เนิดของส่ิงประดษิ ฐช์ นิดนี้ มอี ยูว่ ่า โรงเรยี นบา้ นปอบิด เป็นโรงเรียน
ขนาดเลก็ เดก็ ๆ ส่วนใหญ่มฐี านะยากจน ทางโรงเรียนจงึ ได้สนบั สนุนใหเ้ ด็กๆ ทำ�

79

การสรา้ งพื้นที่
ทีเ่ อือ้ ต่อการเรียนร้ใู หเ้ ด็กๆ
เกิดขึ้นไดใ้ นทุกๆ ทน่ี นั้
จะเกิดประโยชน์มากกว่า
ปลอ่ ยให้พวกเขาไปหมกมนุ่
กบั ปญั หา และยาเสพตดิ

80

สหกรณ์ร้านคา้ ข้ึนมา เพอื่ เปน็ การออมทรพั ย์ให้นกั เรียน อีกท้งั ยงั ฝกึ ใหร้ ู้จักรบั ผดิ
ชอบและการทำ�ธรุ กิจเบ้อื งตน้

เดก็ ๆ กย็ นิ ดีปรดี า สนับสนุนกจิ การในสหกรณ์เปน็ อยา่ งดี
หากทว่า ดว้ ยปริมาณของลกู คา้ ทลี่ น้ หลาม ด้วยสภาพฐานะของสมาชิก ซ่งึ
ส่วนใหญแ่ ลว้ ถือเงินเหรียญมาซอ้ื สินค้ากนั เปน็ สว่ นใหญ่
น้อยคนหรอกทจี่ ะมเี งนิ แบงก์มาจบั จา่ ยใช้สอย
ฉะนัน้ กว่าจะหยบิ เหรยี ญทอนเงิน กว่าจะนับเงนิ เหรียญหมดในแตล่ ะวนั
เลน่ เอาผูจ้ ดั การสหกรณแ์ ต่ละอาทติ ยป์ วดเศียรเวยี นเกล้าไม่ใช่น้อย
“...เฮ้อ...เฮอ้ ...เฮอ้ ...”
เปลา่ นะ สามสาวนอ้ ยนัท (นภสั สร ยง่ิ นอก), บึ๋น (กมลพรรณ จริ าณวุ ัฒน)์
และ มนี (ธดิ า ชนะชยั ) ไม่ได้ก�ำ ลังซ้อมเพลง “หายใจเป็นเธอ” ของโฟร์ มด แต่กำ�ลงั
หนักใจกับปัญหาเรอ่ื งการแยกเหรยี ญในสหกรณ์ตา่ งหากเล่า
“เฮอ้ เฮอ้ เฮ้อ...” สามสาวถอนหายใจพรอ้ มกันอกี หลายๆ ครัง้ ...

81

82

2

แต่ถา้ หากใครมโี อกาสไปเยอื นโรงเรียนบ้านปอบิดตอนน้ี คงหมดโอกาสจะ
ไดย้ ินท่อน “เฮอ้ ” ในเพลงหายใจเป็นเธอ โฟร-์ มด แลว้ ล่ะ เพราะจะมเี สียงดงั สนั่น
ของเครอื่ งร่อนตะแกรงและเหรียญท่ีรว่ งหลน่ ไปตามชัน้ แยกมาแทนท่ี

เสียงนี้ดงั ข้ึนเพราะการท�ำ งานของสง่ิ ประดิษฐ์นามว่า “เครื่องแยกเหรยี ญ”
น่ันเอง

เครอ่ื งแยกเหรยี ญที่ นทั บึ๋น มีน เป็นคนคดิ คน้ ขึน้ มา โดยมหี วั โจกคือ
อาจารย์ไพโรจน์ และอาจารย์จันทร์เพ็ญ เดชโนนสงั ข์ อาจารยส์ องสามภี รรยาท่ี

83

ทมุ่ เทชีวติ ไวก้ ับการสอนงานประดิษฐ์
ทั้งยงั เป็นผปู้ ลกุ ป้ัน และกระตนุ้ ให้เดก็ ๆ ชว่ ยกันประดษิ ฐ์เคร่อื งแยกเหรยี ญ

น้ขี ึ้นมาจนเปน็ รูปเป็นรา่ ง และไดร้ ับรางวลั จนเป็นที่กลา่ วขวญั ขจร ขจายไปทั่วทั้ง
อำ�เภอคงกนั เลยทีเดยี ว

“พอกลับมา มีการรบั ขวัญเด็กๆ ท�ำ บายศรีสู่ขวญั ผูกขอ้ ไม้ข้อมือกันยกใหญ่
เลย และ เออ่ ท่ีส�ำ คญั เดก็ ๆ ได้เงนิ ไปหยอดกระปกุ กันคนละไมน่ ้อย กลายเปน็ เถ้า
แกเ่ น้ยี กันไปเลยใชม่ ย้ั ...”

กล่าวจบอาจารย์จันทร์เพ็ญกับอาจารย์ไพโรจน์ก็พาหัวเราะและหันไปถาม
สองสาวที่นั่งอย่ตู รงหนา้ แบบลอ้ ๆ เดก็ น้อยสองคนก็ยมิ อายๆ ประสาเด็กต่างจังหวัด
ทไ่ี ม่ชินกบั การแสดงออกต่อหนา้ แขกแปลกหนา้

“การอดุ หนนุ ให้เงนิ ทองกเ็ ป็นเรอ่ื งดนี ะฮะ เราไมไ่ ด้รังเกียจหรือปฏิเสธ
แตผ่ มว่าจะดกี วา่ มาก ถา้ เราสามารถท�ำ ใหม้ พี ้นื ทสี่ �ำ หรบั งานประดิษฐ์อยา่ งนีเ้ ปิด
กว้าง มีเวทใี ห้เด็กๆ ได้แสดงศักยภาพของเขา เพราะเดก็ ของเราล�ำ บากยากจน ส่งิ
ประดษิ ฐน์ ส้ี ามารถน�ำ ทางไปเขาเข้าสโู่ อกาสดา้ นอืน่ ๆ”

84

คราวนี้อาจารย์ไพโรจน์พูดจริงจงั
และสิ่งทอ่ี าจารย์ไพโรจน์กล่าวคงไมไ่ กลจากความจริงเลย เพราะทง้ั นัท บน๋ึ
และมีน บอกวา่ หลงั จากท่ีพวกเธอไดร้ บั รางวลั ทำ�ให้รสู้ ึกมน่ั ใจในตวั เองมากขึ้น
ทส่ี �ำ คัญทีบ่ ้านซ่งึ ไมใ่ ครใ่ ห้ความสำ�คญั กบั การเรียนเท่าใดนกั กเ็ รม่ิ ตระหนกั
วา่ การเรียน การศึกษานน้ั หาได้สูญเปลา่ หรอื ไรค้ ่าอยา่ งท่เี คยคดิ
แตม่ ันสามารถทำ�ใหล้ กู หลานของพวกเขากา้ วไปไกลกวา่ ท่พี วกเขาฝนั มาก
นกั
“...ตอนที่ได้ไปนำ�เสนอผลงานและประกวดระดบั ประเทศท่กี รุงเทพฯ พวก
หนกู ต็ ืน่ เต้นจะแย่แล้วคะ่ ต่ืนเตน้ มากกกกก (ลากเสยี งยาว)
“กวา่ จะเจอโรงแรมท่ีพักเราหลงกันหลายรอบ อาจารย์ต้องจ้างมอเตอร์ไซค์
นำ�หน้ารถทเ่ี ราเช่าไปเลยค่ะ...” บน๋ึ เล่าแจ๋วๆ ด้วยแววตาใสซอื่ จนคนในวงสนทนา
หัวเราะร่วนไปตามๆ กัน

85

ถา้ เราสามารถทำ�ให้มีพื้นที่
สำ�หรบั งานประดิษฐ์อยา่ งน้ี
เปดิ กว้าง มีเวทีให้เดก็ ๆ
ไดแ้ สดงศกั ยภาพของเขา
เพราะเด็กของเราลำ�บากยากจน
สง่ิ ประดษิ ฐ์นี้สามารถนำ�ทางเขา
เข้าสู่โอกาสด้านอนื่ ๆ

86

“ยงิ่ พอได้ไปตา่ งประเทศ แมจ้ ะเปน็ ประเทศไม่ไกลอย่างมาเลเซียก็ตาม ตื่น
เตน้ กนั ท้ังครูท้ังเด็กเลยครบั ไมใ่ ชเ่ ฉพาะเด็กนะครับที่เพง่ิ น่งั เคร่อื งบินครัง้ แรก แต่ครู
กค็ ร้งั แรกเหมอื นกัน โอ้โห เสรจ็ งาน IEYI 2013 น่ี สำ�หรับผมชวี ิตเปลย่ี นเลยนะครับ”

ไมต่ า่ ง คุณครูเทา่ ใดนัก เดก็ ๆ บอกว่าการได้ไปงานประกวดสง่ิ ประดิษฐ์ ทง้ั
ในระดบั ประเทศและในระดบั ชาตนิ ้นั เปลี่ยนชวี ติ ของพวกเขา ได้สมั ผัสการเดินทาง
ทางอากาศท่รี วดเรว็ ไดเ้ หน็ โลกอ่นื ๆ ทพี่ ้นไปจากทงุ่ นา ทงุ่ ข้าวโพด และภูมทิ ศั น์ โลก
ทศั น์เดมิ ๆ ในละแวกบ้าน

“ขณะที่ไปที่นนั่ เราไดเ้ หน็ ความคดิ และสิ่งประดิษฐ์ของเพอ่ื นๆ จากประเทศ
อนื่ ๆ ทท่ี �ำ ใหเ้ ราทงึ่ มากเลยค่ะ คณุ ครูกพ็ าเราไปดูแทบทกุ บู๊ทเลย ถา่ ยรปู กลบั มาดว้ ย”

คุณครไู พโรจนเ์ ลา่ ว่าเขาทำ�อยา่ งนนั้ เพราะการไปงาน IEYI 2013 ถือเป็น
โอกาสสำ�คัญย่งิ ของชวี ิต

ไม่ใช่เพียงแค่การได้เดินทางทางอากาศครั้งแรกแต่การได้ไปเห็นสิ่งประดิษฐ์
จากหลากหลายประเทศทำ�ให้รสู้ กึ ทงึ่ การไดเ้ หน็ แนวคิดต่างๆ ในการปลกู ฝงั ให้เดก็ ๆ

87

โตขน้ึ เป็นนักประดษิ ฐ์ หลายๆ แนวคิด กเ็ ป็นประสบการณ์ทีแ่ สนพิเศษของอาจารย์
ในชนบทอยา่ งเขา

“อยา่ งเช่นสิ่งประดษิ ฐจ์ ากประเทศญป่ี ุ่นน่ะครบั สว่ นใหญ่จะเรียบง่ายๆ ไม่
ซับซอ้ น แต่เป็นเรื่องสำ�คญั ใกล้ๆ ตัว เป็นความไม่สะดวกในชีวติ ประจำ�วนั และยงั
เนน้ การเกบ็ รายละเอียดเลก็ ๆ นอ้ ยๆ ไมน่ า่ แปลกใจเลยครบั ว่าเหตใุ ดประเทศเขาจงึ
เป็นมหาอำ�นาจทางการประดษิ ฐ์คิดคน้ เพราะแนวคิดนมี้ ันมมี าตั้งแตเ่ ดก็ ตวั น้อยๆ
นน่ั เอง”

“หนูฝนั อยากใหเ้ มอื งไทยมงี านอยา่ งน้ีบา้ ง และมีทุกๆ ปีเลย และไมใ่ ช่จัด
เฉพาะในกรุงเทพฯ แต่จดั แตล่ ะภาคไปเลย รนุ่ นอ้ งๆ คงจะสนกุ ไม่น้อย”

มนี กลา่ วจบทำ�ตาลอย

88



3

หลายคนอาจคิดว่า ไม่นา่ ประหลาดใจหากเดก็ ๆ จากประเทศทีพ่ ัฒนาแลว้
หรอื เด็กในโรงเรียนดังๆ ท่มี ีความพร้อมจะได้รบั รางวัลจากการคิดค้นสง่ิ ประดษิ ฐ์
เพราะความพรอ้ มน่าจะเปน็ ส่วนส�ำ คญั ทที่ �ำ ให้พวกเขาสามารถคิดสรา้ งสรรค์ได้
แต่ความจริงไมเ่ ปน็ เช่นน้นั เสมอไป

หลายๆ โรงเรียนทีต่ งั้ อยู่ในแดนกันดาร และเด็กที่คิดคน้ สิ่งประดิษฐ์ได้
กลบั เป็นเดก็ ทลี่ ำ�บากยากจน เช่นเดยี วกับเดก็ ๆ ที่โรงเรียนบ้านปอบิด และเช่น

90

เดียวกับ ชวี ิตของนักประดิษฐส์ าวนอ้ ยทัง้ สามคน พวกเธอล้วนมสี ถานะไม่ต่างกันคอื อยู่
ในครอบครวั ทลี่ �ำ บากยากจน ครอบครวั ไม่สมบรู ณ์ บา้ งพอ่ แมห่ ยา่ รา้ ง บา้ งเกดิ มาไมเ่ คย
เหน็ หน้าแม่ บา้ งมพี ่อปว่ ยดว้ ยอัมพาตทีต่ ้องดแู ล บ้างไม่มีเงินมาโรงเรยี น

ทง้ั หมดน้ีคือความไมพ่ รอ้ มทงั้ ส้นิ
แตเ่ งื่อนไขดงั กลา่ วกลับไมเ่ ป็นอุปสรรคใดๆ ทจี่ ะมาขดั ขวางความคิดสรา้ งสรรค์
ของพวกเธอ เพราะเธอมีคุณสมบตั สิ ำ�คัญอยใู่ นตัว นัน่ คือความชา่ งสังเกต การชอบ
คน้ ควา้ ทดลอง และความไม่กลวั กับความยากลำ�บาก
สามสิง่ นต้ี ่างหากเล่าทเี่ ป็นส่วนสำ�คญั ผลกั ดันให้คนคน หนง่ึ จะเปน็ นกั ประดษิ ฐ์
ได้หรือไม่ ความจนความรวยไมใ่ ช่เง่อื นไขทจ่ี ะมีผลต่อการชว้ี ดั
“คิดๆ ดเู ครอื่ งร่อนเหรยี ญนีม่ ที มี่ าจากความไม่ทนั สมยั ของเราเหมอื นกนั นะคะ
คือในชมุ ชนของเรายังใช้โรงสีขา้ วแบบโบราณเปน็ ทสี่ ขี ้าวประจ�ำ ชมุ ชน
“เกย่ี วข้าวเสร็จแล้ว เดก็ ๆมกั จะมีหนา้ ทนี่ ำ�ขา้ วไปสใี นโรงสนี ั้น หนูกเ็ หมือน

91

กัน ถูกท่บี ้านมอบหมาย ให้เปน็ คนเอาขา้ วไปสีเสมอ วนั น้นั ขณะท่หี นคู ิดไม่ออก ว่า
จะทำ�เคร่ืองแยกเหรยี ญอย่างไรดี ขณะกำ�ลงั ยืนเหม่อลอย คดิ ๆๆๆ ตาก็มองไปท่ี
เคร่อื งร่อนขา้ ว ซง่ึ เปน็ กลไกหน่งึ ของโรงสี

“เคร่ืองนี้สามรถแยกร�ำ หยาบ รำ�ละเอยี ด ทีม่ ขี นาดตา่ งกนั ออกจากกนั หนู
กเ็ ลยน�ำ หลักการนั้นมาใชก้ ับการประดษิ ฐเ์ คร่ืองแยกเหรยี ญบา้ ง กเ็ ลยน�ำ ความคดิ นี้
มาเลา่ ให้ครูฟังคะ่ …”

มีนเลา่ จอ๋ ยๆ
“เมอื่ เขาต้งั ต้นความคิดมาได้แล้ว ผมกบั ครูจันทร์เพญ็ ก็มีหนา้ ทีก่ ระตนุ้ ตอ่
หน้าทนี่ ักกระต้นุ ทำ�อยา่ งไร คอื ทำ�โดยการคอยปอ้ นคำ�ถาม ดงึ ความคดิ เขาออกมา
ถามเขาว่าท�ำ ไมถงึ คดิ อยา่ งน้ัน อยา่ งนี้ และเราจะไม่มคี �ำ ตอบให้ว่าดหี รือไม่ดี แต่ตัง้
คำ�ถามใหเ้ ขาคดิ ต่อไปเรอ่ื ยๆ ใหเ้ ขาได้รู้จักสังเคราะห์ความคดิ ท่ีกลั่นออกมาจากเขา
จริงๆ”
เด็กๆ เลา่ ตอ่ ว่าเมอื่ เคร่ืองแยกเหรียญชิ้นแรกออกมาเปน็ รูปรา่ งแล้ว กพ็ บ
จดุ บกพรอ่ งมากมายที่ท�ำ ใหพ้ วกเขาตอ้ งแก้ไขปรบั ปรงุ ตอ่ อกี หลายครง้ั หลายหน

92

บางอย่างท่เี ป็นอปุ สรรค เชน่ การใช้เครือ่ งมอื ชา่ งบางชนดิ ไมม่ ีในแดน
กนั ดารอย่างบ้านปอบดิ แห่งน้ี ต้องประยกุ ตใ์ ชจ้ ากเครอ่ื งมือทีม่ อี ยู่ ต้องไปตามชา่ ง
ฝีมอื ในชุมชนมาช่วย มาออกความเหน็ กนั ตอนน้ีสาวๆ อย่างพวกเธอสามารถใช้
เคร่อื งมอื ช่างได้คลอ่ งแคล่ว ไม่แพผ้ ูช้ ายอกสามศอกเลยทเี ดยี ว

“น้องบน๋ึ นะ่ ค่ะ เขามีทักษะในการใช้เครือ่ งมืออย่างน่าทง่ึ เขาชอบเล่น
เครอื่ งมอื ชา่ ง เขาชอบประดิษฐโ์ น่นนี่นนั่ ของเขาเอง เวลาได้ทำ�ได้เลน่ นะ เขาจะมี
ความสขุ มากกกก”

อาจารยจ์ ันทร์เพ็ญกลา่ วจบลากเสยี งยาว
“ผมวา่ ครกู ็เหมือนโคช้ นะครับ เด็กแต่ละคนถนัดไมเ่ หมือนกัน มีทักษะตอ่
วิชาแต่ละวชิ าไม่เหมอื นกนั เรามีหนา้ ทก่ี ระตุ้น ดึง ศกั ยภาพทีเ่ ขามอี ยูอ่ อกมา จน
ทำ�ใหเ้ ขาเกดิ ความรูส้ กึ เช่ือม่นั ในตัวเอง เม่ือก้าวขา้ มความหวาดกลัวไปได้ จากนน้ั
อะไรๆ กไ็ มย่ ากแลว้ ล่ะครับ”

93

94

4

อาจารยไ์ พโรจน์บอกเคลด็ ลบั การเป็นทั้งครูและโคช้ ของตวั เองอย่างภาคภูมใิ จ
แดดฤดรู ้อนส่องให้ทอ้ งฟ้ามสี ีชดั สดใส

ผนื นาในอำ�เภอคงยามน้ีเหมือนผนื ผา้ ใบสนี าํ  ตาลผืนใหญ่ตดั กับฟา้ สีครามเข้ม
โรงเรียนบ้านปอบดิ ตง้ั โดดเด่นมองเห็นชดั มาแต่ไกล

95

คนละแวกน้รี ดู้ วี ่า อาคารไมห้ ลงั สฟี ้าหลังนั้นมเี สียงแว่วเจี๊ยวจ๊าวอยูเ่ สมอ ไม่วา่
โรงเรยี นจะปดิ เทอมหรือเปิดเทอม เพราะช้ันบนของอาคารหลังนนั้ เป็นที่ตง้ั ของชมรม
วิทยาศาสตร์ และเปน็ ชมรมทีเ่ ปดิ กว้างอยู่เสมอสำ�หรบั เดก็ ๆ

ภายในหอ้ งเลก็ ๆ เตม็ ไปดว้ ยสงิ่ ประดิษฐ์มากมาย และยงั มหี นงั สือตำ�รา
วิทยาศาสตรท์ ่อี าจารย์ไพโรจนท์ ำ�ข้นึ มาดว้ ยตวั เอง 6 เลม่ ประหนึ่งเปน็ คมู่ ือเบ้อื งตน้
สำ�หรับนกั ประดิษฐ์ตวั นอ้ ยๆ

เนอื้ หาในน้นั จะประกอบไปด้วยวิชาต่างๆ อาทิ ทกั ษะของนกั ประดิษฐ์ แหล่ง
พลังงานที่ใชท้ ำ�งานประดิษฐ์ หลกั การใช้เคร่อื งมอื ช่าง เปน็ ตน้

ตำ�ราเหล่านวี้ างอยู่ในห้องของชมรม ใครใครอ่ า่ น อา่ น ใครอยากพากลับบ้านก็
เชิญ อาจารย์ไพโรจนท์ า่ นไม่หวง

เพราะหลังจากท่ีเด็กประกวดจนได้รับรางวัลแล้วคุณครูคิดว่าการถอดบทเรียน
จากประสบการณ์ดังกล่าวส�ำ คัญและจ�ำ เป็นมาก เพราะจะช่วยย่นย่อประสบการณท์ ี่นัก
ประดิษฐ์เบื้องต้นจำ�เปน็ ต้องรู้ อกี ทั้งยังเป็นคู่มอื ในการฝึกคดิ และฝึกทำ�

96

ทัง้ นี้เมือ่ ไดอ้ า่ นแล้ว อาจารยย์ ังมุง่ หวังให้เด็กๆ ได้เกิดแรงบนั ดาลใจทจ่ี ะเป็น
นักประดษิ ฐ์เหมือนอย่างรุ่นพๆ่ี บา้ ง

“...เม่ือมเี ดก็ สนใจแล้ว ผมจะพยายามดึงความคดิ ของพวกเขาออกมา โดย
การตง้ั คำ�ถาม และใหเ้ ดก็ ๆ ลองหันไปมองส่งิ ที่อยรู่ อบๆ ตัว แลว้ ตงั้ ค�ำ ถามง่ายๆ วา่
สถานการณ์ตอนนี้เปน็ อยา่ งไร มีปญั หาอะไรเกดิ ขึน้ บ้าง และถ้าแก้ไดอ้ ยากแก้อะไร

แตล่ ะกลุ่มอาจเลือกมาสกั หน่งึ ปัญหาผ่านกระบวนการท�ำ Mind Map เมื่อได้
แลว้ ก็ลองสเกต็ ช์เป็นภาพวาด

เมอ่ื ไดภ้ าพร่างครา่ วๆ ที่คล้ายพมิ พ์เขยี วแลว้ ก็แยกย้ายกันไปคน้ คว้าข้อมลู
เร่ืองทฤษฎีหลักการทางวทิ ยาศาสตร์ เรื่องแรงต่างๆ พรอ้ มทั้งหาข้อมลู ทางอินเทอรเ์ น็ต
ว่า ส่ิงทตี่ นคิดจะประดษิ ฐ์คิดคน้ ขึ้นมาน้ัน มีคนท�ำ หรือยงั และถา้ ทำ�แลว้ มจี ุดบกพรอ่ ง
อะไรบ้าง

จากนัน้ จึงสร้างสง่ิ ประดษิ ฐ์ขึ้นมาจากกระดาษ ไม้ หรือวัสดุท่ีหางา่ ยในท้องถิ่น
เพ่อื ทดลอง กอ่ นจะสรา้ งส่ิงประดษิ ฐ์โดยใช้วสั ดุจรงิ ”

97

อาจารยไ์ พโรจนเ์ ล่าดว้ ยเสยี งดงั ฟังชัด
อาจารย์ไพโรจน์ยาํ  ว่ากระบวนการเหล่านมี้ ไิ ดเ้ คร่งเครียด แต่ปลอ่ ยให้เด็กๆ
ท�ำ ไปอยา่ งสนุกสนานเป็นธรรมชาติ ทกุ อย่างถกู ซมึ เขา้ ไปในใจเดก็ โดยท่เี ขาอาจไม่รู้
ตวั วา่ สง่ิ ประดษิ ฐน์ ้นั ไมไ่ ด้ยากเกนิ และไม่ได้เป็นเรอ่ื งไกลตวั ใครๆ ก็สามารถท�ำ ได้
หอ้ งเรยี นเล็กๆ ชนั้ สองบนอาคารไม้หลังสฟี ้า จึงมหี วั บนั ไดไมแ่ ห้ง มีเด็กๆ
วนเข้าวนออกตลอดเวลา
ยง่ิ หลงั จากท่ีไดเ้ หน็ พี่ๆ ไปตา่ งประเทศมาด้วยแล้ว ความฝนั ของนอ้ งรุ่นตอ่ ๆ
มากค็ โุ ชนขึน้ ด้วยแรงบนั ดาลใจถูกส่งผา่ นเป็นทอดๆ กระเพื่อมเหมือนวงนาํ 
“แรงบันดาลใจ”
อาจไม่ได้รวมอยู่ในชนิดของพลังงานที่อาจารย์ไพโรจน์บอกไว้ในคู่มือการ
เป็นนักประดิษฐ์เบอ้ื งตน้

98

แตส่ �ำ หรับเด็กๆ แหง่ โรงเรยี นบ้านปอบดิ แรงบันดาลใจท่ไี ดเ้ หน็ ความสำ�เรจ็
จากการคิดค้นสิ่งประดษิ ฐ์เครอ่ื งแยกเหรียญนัน้ นา่ จะเปน็ พลังงานทท่ี รงพลานุภาพ

ประหน่งึ นวิ เคลียรใ์ นใจ ระเบดิ สง่ ตอ่ ไปจากพส่ี ่นู อ้ ง จากรุน่ สู่รุ่น
มริ จู้ บ...

99

จากการจัดกิจกรรมสหกรณ์โรงเรียน กจิ กรรมออมทรพั ยน์ ักเรียน หรอื
แม้แต่รา้ นค้าในชมุ ชนเอง เมือ่ ส้นิ สุดการขายในแตล่ ะวนั จะตอ้ งท�ำ การนบั เงนิ
เหรียญเป็นสว่ นมาก
และจากการสังเกต กอ่ นทำ�การนับจะตอ้ งแยกเหรยี ญ ท�ำ ใหเ้ สยี เวลาใน
การนับซึ่งในบางครั้งถ้าแยกเหรยี ญผดิ ก็จะทำ�ใหก้ ารนับผิดพลาดด้วย


Click to View FlipBook Version