The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by เอกสารเผยแพร่, 2019-10-19 21:57:53

-7

-7

เราจะจัดการ
กับปญั หาได้ดที ส่ี ดุ
ก็คอื
การทดลองลงมือท�ำ

201

202

5

ยาํ  อีกครั้งว่า ใครมีโอกาสเขา้ ไปในโรงเรยี นสตรวี ิทยา อยา่ ลมื แวะไปที่โถง
ทางเดนิ เลก็ ๆ หนา้ หอ้ งปฏบิ ตั ิการทางวิทยาศาสตร์
ไม่ต้องสนใจส่ิงประดิษฐ์คดิ ค้นทางวทิ ยาศาสตร์กไ็ ด้
ไมต่ อ้ งเปน็ คนท่ชี ่นื ชอบเครื่องไม้เครื่องมือในเชงิ ช่างกไ็ ด้
แต่รบั รองวา่ จะได้บางอยา่ งกลบั มา
บางอยา่ งทีว่ ่านน้ั อาจมคี า่ ถงึ ขัน้ เปล่ียนทศั นคตใิ หเ้ ราไปทั้งชวี ิต

203

ทัศนคติที่ว่าปัญหาไม่ใช่สิ่งแปลกปลอมของชีวิตและเราต้องวิ่งหนีหรือ
รังเกยี จมัน หากทว่า เราจะจัดการกบั ปญั หาไดด้ ีทส่ี ุดกค็ อื การทดลองลงมือท�ำ
ทางเดินสายสนั้ ๆ เลก็ ๆ และแสนธรรมดานั้น อาจเปล่ียนชวี ติ เราไปทั้งชีวติ
กเ็ ป็นได้
เหมอื นท่ีมนั ไดเ้ ปลีย่ นชีวติ และทัศนคตใิ ห้สาวๆ หน้าใสกล่มุ นนั้ มาแลว้ นั่น
อยา่ งไรเลา่

204

205

ปัจจุบันร้านอาหารขนาดเล็กหรอื ร้านอาหารที่ให้บริการตนเอง นิยมประกอบ
อาหารที่ใช้ไข่ตม้ ปอกเปลือก ทงั้ ไข่ไก่และไขเ่ ป็ด
ซึง่ ต้องใช้เวลามาก อกี ทั้งการจำ�หน่ายอาหารบางชนดิ จะต้องปอกเปือกไข่ท้งิ
ไว้นาน เมือ่ ไขท่ ี่ปอกเปลือกแล้วมาสัมผัสกับอากาศโดยตรง จะทำ�ใหไ้ ขต่ ม้ นั้นสกปรก
มีสคี ลํา้ ไม่น่ารบั ประทาน และเน่าเสยี งา่ ย

ดงั นนั้ ทางคณะผูป้ ระดษิ ฐจ์ งึ มีแนวคดิ ทจ่ี ะประดิษฐ์เครือ่ งปอกไขต่ ้ม โดย
อาศัยความแตกต่างระหว่างความดันอากาศระหว่างภายในกับภายนอกตัวเครื่อง
โดยผู้ประดษิ ฐ์ไดเ้ พ่มิ ความดันในตัวเคร่ือง ดา้ นท่ีมีความดันอากาศมากกวา่ จะดันไข่
ตม้ ออกจากเปลอื กผา่ นเบา้ ยาง ซงึ่ เบ้ายางจะท�ำ หน้าทก่ี นั เปลือกไข่ไว้
หลังจากที่มีการทดสอบประสิทธิภาพโดยการเปรียบเทียบเวลาและสภาพ
ของไขท่ ีป่ อกกับเครอื่ งปอกเปลือกไข่และปอกดว้ ยมอื โดยจบั เวลาในการปอกแล้ว
นบั จำ�นวนไข่ทไ่ี ด้ ผลทดลองพบว่า เมือ่ ปอกเปลอื กไข่ต้มจะได้ไข่ต้มเฉลีย่ 11 ฟอง
ซ่งึ ใกล้เคียงกบั การปอกด้วยมือ ได้สภาพสมบรู ณแ์ ละสะอาด



1

ฝันและหวัง

คุณภาพของเดก็ ไมไ่ ด้ข้ึนกบั ขนาดของโรงเรียน แตข่ นึ้ อยกู่ บั ขนาดของหัวใจ
ของผู้ใหญท่ ี่เข้าไปสมั ผสั สัมพันธ์กับชวี ติ พวกเขา วา่ มีขนาดกวา้ งขวางพอสำ�หรับจะ
บรรจุความรกั ความใส่ใจ ความเช่ือมน่ั ในตัวเดก็ คนนัน้ ได้มากนอ้ ยแค่ไหน
โรงเรียนวัดสังวรพมิ ลไพบูลย์ (จันทรานกุ ลู ) อ.บางใหญ่ จ.นนทบุรี และคณะ
ครโู รงเรยี นนี้คือรปู ธรรมทชี่ ว่ ยยืนยันความคิดน้ไี ดเ้ ปน็ อย่างดี ทง้ั นี้เพราะโรงเรยี นแหง่

209

สงิ่ ประดษิ ฐ์ : อปุ กรณช์ ว่ ยเจาะแนวตั้ง
โรงเรียนวัดสงั วรพมิ ลไพบลู ย์ (จนั ทานุกูล) สพป.นนทบรุ ี

210

น้เี ปน็ โรงเรยี นทีม่ ขี นาดเลก็ มาก มีนักเรยี นเพยี ง 140 คน มรี ะดับช้นั การศกึ ษา
เพียงระดับละ 1 หอ้ งเรียน หากทว่าสามารถสร้างผลงานสิ่งประดษิ ฐ์ทเ่ี รยี กเสียง
ฮือฮาได้ทุกคร้ังไป
โรงเรยี นวดั สงั วรฯ อยหู่ ่างจากกรุงเทพฯ ไม่ถงึ หา้ สิบกโิ ลเมตร แตแ่ ค่
ขา้ มมาอกี ฟากของแมน่ าํ  เจ้าพระยา กเ็ หมือนไดเ้ ดนิ ทางไปยงั ต่างจงั หวัดทอ่ี ยู่
ไกลแสนไกล
ไกลไปจากความขวกั ไขว่ของรถรา
ไกลไปจากตกึ รามบา้ นชอ่ งทีแ่ นน่ ขนัด
ไกลจากมลพษิ ของฝนุ่ ควัน
เป็นเพียงโรงเรียนขนาดเล็กท่ีแทรกตัวอยู่ท่ามกลางสวนมะพร้าวเก่าแก่
ของเมอื งนนทบรุ ี ท่ีพน้ื ทร่ี ายรอบโรงเรียนยงั คงสภาพชมุ ชนคลา้ ยกับชุมชนใน
ชนบทดั้งเดมิ ผู้คนทอ่ี ิงอาศัยอยูก่ ม็ ที ั้งคนสวนทเ่ี ปน็ คนทอ้ งถ่ินดัง้ เดมิ และคน
ตา่ งถิน่ ทอ่ี พยพเขา้ มาขายแรงงานในกรงุ เทพฯ

211

212

ชาวชมุ ชนยังนยิ มใช้เรือเปน็ พาหนะหลกั ในการสญั จรเข้าสู่เมอื ง โดยการนัง่
เรอื จากคลองสาขา ไปสทู่ ่านาํ  นนท์ อนั เป็นทา่ นาํ  ทใ่ี หญ่สุดของจังหวดั นนทบุรีแห่งนี้

เดก็ ๆ ทม่ี าเรยี นโรงเรยี นวัดสังวรฯ สว่ นใหญ่ เป็นลกู ของคนเลก็ คนน้อย มผี ู้
ปกครองหาเช้ากนิ คํ่า เพราะพอ่ แม่ผ้ปู กครองทพ่ี อมฐี านะ มีทางเลอื ก มกั จะมองข้าม
โรงเรียนเล็กๆ ไรช้ อ่ื เสียงเรยี งนามอุโฆษใดๆ ผปู้ กครองท่พี อมีก�ำ ลงั ทางเศรษฐกจิ จึง
หาทางสรา้ งโอกาสทางการศกึ ษาใหล้ ูก โดยสง่ ไปเรียนโรงเรยี นดงั ๆ ในกรงุ เทพฯ เปน็
สว่ นใหญ่
เดอื นฉาย และสุธิดา นักประดิษฐร์ ุน่ เยาวส์ องคนที่สามารถคว้ารางวลั เหรยี ญ
ทองจากการประกวดผลงานสิ่งประดิษฐ์ทางวิทยาศาสตร์ในเวทีนานาชาติในงาน
International Exhibition for Young Inventors 2013 (IEYI) และ Asian Young
Inventors Exhibition 2013 (AYIE) ระหว่างวันท่ี 8 – 12 พฤษภาคม 2556 ณ กรงุ
กวั ลาลมั เปอร์ ประเทศมาเลเซยี
สาวนอ้ ยท้งั คู่กม็ ฐี านะทางบ้านไมไ่ ด้ดเี ด่ มผี ู้ปกครองหาเช้ากนิ คํา่ เชน่ เดยี วกบั
เพ่อื นๆ สว่ นใหญ่ในโรงเรยี น

213

หากทวา่ เด็กธรรมดาๆ สามัญทีม่ บี ้านและครอบครัวคอ่ นไปทางชนชัน้ ลา่ ง
กลบั มีความเกง่ กาจในทางวิทยาศาสตร์ และสามารถสรา้ งสงิ่ ประดิษฐ์ไดร้ างวลั ใน
ระดบั อาเซียนได้อยา่ งไร ส่งิ ใดกันหนอท่หี ลอ่ และหลอมใหพ้ วกเธอมาถงึ วันน้ี
วิธีคิดแบบไหนกันที่ส่งเสริมให้เด็กน้อยสองคนกลายเป็นนักประดิษฐ์ต้ังแต่
เยาว์วยั มคิ วรปลอ่ ยให้ความสงสยั ค้างคา
ข้ามฟากเจ้าพระยาไปเรียนรู้คุณค่าการเป็นนักประดิษฐ์จากพวกเธอกันดี
กวา่

214

2

หนง่ึ สาวนักประดษิ ฐ์มีนามวา่ เดอื นฉาย อิสรเสนา ณ อยุธยา นักเรยี นช้ัน
ป.4 ซ่ึงมี บคุ ลิกรบั ผดิ ชอบสงู มีความมั่นใจ และพดู จาฉลาดเกินวัย ส่วนอกี หน่งึ มี
นามว่าเดก็ หญงิ สุธิดา ยอดบตุ ร์ หรือนอ้ งแจมนักเรียนชนั้ ป.5 สาวนอ้ ยตัวเลก็ กลา้
หาญ กลา้ แสดงออก
น้องแจมและเดอื นฉายออกตัวว่า ผลงานนี้เป็นของสมาชกิ ทกุ คนในชมรม
นกั ประดษิ ฐ์ จิตอาสา พวกเธอเป็นเพียงผู้อยู่เบ้อื งหนา้ น�ำ เสนอผลงาน สว่ นเบ้อื ง
หลงั ยงั มเี พื่อนๆ พ่ีๆ และคณะครูอกี กล่มุ ใหญ่ท่ีชว่ ยกนั ท�ำ และช่วยกันลุน้

215

216

คนทีเ่ ปน็ ทง้ั ครแู ละโคช้ ของชวี ติ ใหย้ ุวชนนักประดษิ ฐ์กลุ่มน้ีคอื อ.กลั ยา จลุ
เดชะ ครูแนะแนว ผ้มู ีความเชือ่ มั่นเสมอมาว่าเดก็ ทกุ คนมศี ักยภาพ และครมู ีหนา้ ที่
หาวิธสี ่งเสรมิ ให้เด็กแสดงศักยภาพของตนเองออกมา
“ตอนเดก็ ๆ พกี่ เ็ รียนโรงเรียนน้ี เลยมคี วามตอ้ งการทีจ่ ะทำ�อะไรใหก้ บั
โรงเรียนนบ้ี า้ ง แลว้ แฟนพ่ี อ.ประพจน์ จุลเดชะ (ครหู ม)ู เขาเป็นครูช่างอยู่ท่ีวิทยาลัย
เทคนคิ ดอนเมือง เขาจะมีเดก็ โรงเรยี นของเขามาคลกุ คลี ท�ำ งานงานประดิษฐ์สง่
ประกวดตลอด เราก็ไปดูเวลาประกวด ครหู มกู บ็ อกว่าเด็กประถมอย่างโรงเรียนเธอ
กท็ �ำ ได้”
อาจารยก์ ลั ยาเล่าดว้ ยนาํ  เสยี งร่าเรงิ
เมื่อถกู กระตุ้นและสนบั สนุนโดยค่ชู ีวิต อาจารยก์ ลั ยากน็ ำ�ความคิดดังกล่าว
มาหารอื กับผู้บริหารโรงเรยี นซึง่ เหน็ ดว้ ยกบั ความคดิ น้ี แต่โรงเรยี นก็มีเงอื่ นไขจำ�กดั
ตรงที่ไม่สามารถบรรจุเป็นวิชาสอนโดยตรงได้

217

เดก็ ๆ น่ะ มีความเปน็ นักประดษิ ฐ์
อยใู่ นตัวทุกคนอยู่แล้ว
เพราะเขาชอบเล่น ชอบลอง
และมีความซนอันเป็นธรรมชาติ
ของเขา เราก็อยา่ ไปสกัดกั้น
แปรเปลีย่ นใหม้ ันเปน็ ศักยภาพ
ทส่ี ร้างสรรค์

218

จงึ หาทางออกโดยการกอ่ ตง้ั ชมรมนกั ประดิษฐจ์ ิตอาสาขึ้นในปี 2552 และ
มคี รหู มซู งึ่ เกษียณอายรุ าชการอาสามาเป็นวิทยากร นำ�เรือ่ งสนกุ ๆ มาให้เดก็ ๆ เรยี น
ร้สู ัปดาห์ละ 1 วนั
“เด็กๆ น่ะมีความเป็นนกั ประดิษฐอ์ ยใู่ นตวั ทุกคนอยแู่ ล้ว เพราะเขาชอบ
เล่น ชอบลอง และมีความซนอนั เป็นธรรมชาตขิ องเขา เราก็อย่าไปสกดั กัน้ แปร
เปล่ียนใหม้ ันเป็นศกั ยภาพท่ีสรา้ งสรรค์ เราก็ใหเ้ ขาประดษิ ฐ์อะไรกไ็ ด้จากวสั ดใุ กลต้ วั
เขา ฝึกให้เขามีใจรักก่อน ใหเ้ ขาน�ำ เสนอผลงาน คดิ อะไร ท�ำ ไมถึงทำ� วสั ดเุ ป็นอะไร
ท�ำ อยา่ งไร มปี ระโยชน์อะไรบา้ ง คอยต้ังค�ำ ถาม คอยกระตุ้นใหเ้ ขาคดิ เดก็ ก็จะได้
ทั้งเรอ่ื งความคดิ สรา้ งสรรค์ และกล้าแสดงออก จากน้นั กห็ ากจิ กรรมทเี่ ขาสามารถ
ท�ำ ได้มาใหล้ อง เช่น ฝกึ ท�ำ ผา้ บาติก เดก็ กถ็ ามว่าท�ำ ผา้ บาตกิ แลว้ จะเกิดสิง่ ประดิษฐ์
ไดย้ งั ไง เรากถ็ ามเขากลับว่า ท�ำ ผ้าบาตกิ ยากตรงขนั้ ตอนไหน เขากบ็ อกว่า ลงเทยี น
เวลาใชจ้ นั ตง้ิ ตกั เทยี นจากหม้อตม้ มือก็ชนกัน หกเลอะเทอะ เราก็บอกว่าตรงไหน
ยากก็ประดิษฐเ์ คร่ืองมือมาช่วย”
ครหู มู โค้ชและครู ผู้ใหญใ่ จดขี องเดก็ ๆ เลา่ ใหฟ้ ังด้วยนาํ  เสียงเปย่ี มเมตตา

219

220

3

เด็กๆ นะ่ มคี วามเปน็ นักประดษิ ฐ์อยใู่ นตวั ทุกคนอยู่แล้ว เพราะเขาชอบเล่น
ชอบลอง และความซนอนั เปน็ ธรรมชาติของเขา เรากอ็ ย่าไปสกัดกัน้ แปรเปล่ยี นให้
มันเปน็ ศกั ยภาพที่สรา้ งสรรค์
หากทว่าจุดเด่นของที่นี่ไม่ได้มีเพียงการมีส่ิงประดิษฐ์หลากหลายแค่นั้น
หากมกี ระบวนการทีน่ ่าสนใจ ยง่ิ ยวดท่ีวธิ ีการ ในการกระตนุ้ ให้เด็กๆ ร้จู กั สรปุ ความ
คิด สงั เคราะห์ความคิด และมีความกล้าหาญ กลา้ แสดงออก โดยให้เดก็ ๆ มกี ารน�ำ
เสนอผลงานทต่ี นเองประดษิ ฐ์ตอ่ หน้าเพอื่ นๆ

221

คนที่ออกไปนำ�เสนอจะตอ้ งอธิบายใหเ้ หน็ ถงึ กลไกการทำ�งาน ประโยชน์
ขอ้ ดี ข้อดอ้ ย รวมท้งั ประสบการณ์ ความรู้สึกท่ีได้จากการทำ�งานแตช่ ิ้น

แม้เปน็ เพียงวธิ กี ารธรรมดาๆ ไมต่ ้องอาศยั เคร่อื งมอื ทซ่ี ับซอ้ น แต่นี่เปน็ ก
ระบวนการส�ำ คญั อย่างยง่ิ ยวดท่ีช่วยฝกึ ให้เดก็ ๆ สามารถสงั เคราะห์ความคดิ ได้
อธบิ ายส่ิงทตี่ นเองรูอ้ ย่างเป็นระบบ อกี ทัง้ ยังช่วยฝกึ บุคลิกภาพให้กลา้ แสดงออก
และมคี วามเช่ือมนั่ ในตนเองอกี ดว้ ย
“ครูจะไม่ท้ิงผลงานของเขาเลยนะ เก็บทกุ ช้นิ ให้เขาเหน็ วา่ ผลงานของ
เขามคี า่ ” ครูกลั ยาอวดผลงานประดิษฐ์สารพัดอย่างของนักเรียน
“เราเหน็ พัฒนาการของเดก็ เชน่ เด็กบางคนไมค่ อ่ ยพดู แต่พอได้น�ำ เสนอ
ก็พดู เก่งขึ้น เด็กบางคนมองไม่ออกเลยวา่ มีทักษะเชงิ ช่าง พอเหน็ เขาทำ�งานสกั
ระยะหน่ึงกเ็ ห็นว่ามที ักษะเรือ่ งการใช้เครอ่ื งมอื ”
ครหู มเู ล่าเสรมิ
นกั เรยี นบางกลุม่ ที่พลังเหลือเฟือ ก็สามารถคดิ ประดษิ ฐผ์ ลงานช้นิ ใหญ่ ท่ี

222

สามารถประกวดแขง่ ขันสง่ิ ประดิษฐ์ได้ เชน่ จกั รยานเครอ่ื งซักผ้า ตอู้ บพลังงานแสง
อาทติ ย์ โคมไฟพลงั งานแสงอาทิตย์ อุปกรณเ์ กบ็ ลกู ปงิ ปอง จนั ต้งิ ไฟฟ้า และอปุ กรณ์
ชว่ ยเจาะแนวตงั้ ชนิ้ งานแตล่ ะชิน้ เกิดจากความคิดอยากท�ำ ของเดก็ โดยมีครหู มูเปน็
ผ้ชู ว่ ยสานฝนั และเปน็ โคช้ ประคับประคองให้เปน็ จรงิ
สว่ นผลงานช้ินเอกอุท่ไี ดร้ บั รางวลั คืออุปกรณ์ช่วยเจาะแนวตงั้ นน้ั หาไดม้ ี
กระบวนการวางแผนท่มี าท่ีไปซบั ซ้อนแต่อย่างใดไม่
ตรงขา้ ม มนั มีทีม่ าจากความบังเอิญแทๆ้
หากทว่าจุดเด่นของท่ีน่ีไม่ได้มีเพียบการมีสิ่งประดิษฐ์หลากหลายแค่นั้น
แต่มกี ระบวนการที่น่าสนใจย่ิงยวดที่วิธีการ ในการกระตุน้ ให้เด็กๆ รูจ้ ักสรปุ ความ
คดิ สังเคราะหค์ วามคดิ และมีความกลา้ หาญ กล้าแสดงออก โดยใหเ้ ดก็ ๆ มีการน�ำ
เสนอผลงานทต่ี นเองประดษิ ฐต์ อ่ หน้าเพ่อื นๆ

223

224

สง่ิ ท่โี รงเรียนเลก็ ๆ กลางดงมะพรา้ ว
แห่งนกี้ �ำ ลงั ท�ำ จึงถือเปน็ นวตั กรรม
และวิธีการเรยี นการสอนท่ีทันสมยั
กวา่ โรงเรยี นหรหู ราตดิ แอรเ์ ย็นฉ่าํ
เพยี บพรอ้ มดว้ ยอุปกรณ์การเรียน
การสอนท่ที นั สมยั แต่นกั เรียนกลบั
มีความทรงจำ�และอธบิ ายการเรยี น
การสอนแบบท่องจำ�ซะด้วยซา

225

4

มากกวา่ อ่นื ใด ในการคิดคน้ ส่ิงประดิษฐข์ องนักเรยี นไมไ่ ดเ้ ป็นเร่ืองเฉพาะ
ตวั ของภาควิชาวทิ ยาศาสตร์ หรอื ชมรมนักประดิษฐจ์ ิตอาสาเท่าน้นั ทว่าคุณครูทัง้
โรงเรยี นตา่ งกย็ ินดีและเต็มใจช่วยเหลอื นกั ประดิษฐ์ตัวน้อยอย่างเตม็ ที่
อาทิ กลุ่มสาระภาษาไทยช่วยตรวจสอบขัดเกลารายงาน ฝ่ายภาษาตา่ ง
ประเทศช่วยฝกึ ปรือภาษา และแปลเอกสารเปน็ ภาษาอังกฤษ ฝา่ ยคอมพวิ เตอร์
ชว่ ยออกแบบจดั ท�ำ เอกสารและบอรด์ นำ�เสนอผลงาน กลุ่มสาระวทิ ยาศาสตรต์ วิ
เขม้ การตอบค�ำ ถาม

226

ถ้าเปรียบเป็นบุญละก็เรียกว่าการทำ�ส่ิงประดิษฐ์ของนักเรียนเป็นงานบุญที่ทุก
คนยนิ ดมี ารว่ มลงแขกกันอย่างอุ่นหนาฝาคัง่ เลยทเี ดยี ว
“คณุ ครูทุกกลมุ่ สาระมาชว่ ยตงั้ คำ�ถาม นั่งกนั เป็นวงเลยครบั สว่ นผมกถ็ ามให้
เขาคิดในเชิงวทิ ยาศาสตร์ว่าผลงานของเขาใชห้ ลกั การวิทยาศาสตร์ตรงไหนบ้าง ให้เขา
คิดไปหาตอบมาในสิง่ ทเ่ี ขาท�ำ นนั่ แหละ คำ�ถามของเรามหี ลากหลายมากครบั ”
คณุ ครูปรชี า ข�ำ วงศ์ คณุ ครูวทิ ยาศาสตรเ์ ล่า
สว่ นเดือนฉายและนอ้ งแจมก็ทมุ่ เทฝึกซ้อมน�ำ เสนอผลงาน ฝกึ พดู โตต้ อบ
ภาษาองั กฤษ แมจ้ ะเปน็ เด็กๆ แต่พวกเขาก็มคี วามรบั ผิดชอบเกินวยั ไม่ได้คิดวา่ นีง่ าน
ตวั เอง แต่กลบั คิดวา่ กำ�ลังแบกเอาความหวงั ความฝนั ของทุกคนในโรงเรียนไวก้ บั ตัวเอง
ดังน้ันเธอทง้ั ค่คู อื ตัวแทนทีจ่ ะนำ�พาส่งิ ที่ทกุ คนหวงั ไปใหถ้ ึงฝง่ั ฝันใหไ้ ด้
“เดือนฉายเขาพดู เก่ง จ�ำ งา่ ยอยู่แล้ว เราไมห่ ว่ งเลย แต่แจมเขาเปน็ เด็กเงยี บๆ
ไมค่ อ่ ยพดู เขาตอ้ งใช้ความพยายามมากกวา่ เดือนฉายหลายเท่า แตเ่ ขาอยากเกง่ เขาก็
ทมุ่ เท ปญั หาอกี อย่างหน่งึ คือเขาขาดโรงเรยี นบ่อยเพราะทางบา้ นไม่พร้อม เรากบ็ อก
เขาวา่ หนูต้องมาโรงเรียนนะ หนูจะไดฝ้ ึกซอ้ มให้เกง่ ๆ โครงการน้ีกเ็ ลยเป็นตวั กระตุ้น

227

ใหเ้ ขาอยากมาโรงเรียนดว้ ย และการทเี่ ขาไดไ้ ปแสดงความสามารถ ไดน้ ง่ั เคร่อื งบนิ ไป
ต่างประเทศ มันเปล่ียนชีวิตเดก็ ทอ่ี าจจะมโี อกาสน้อยคนหน่ึงได้มากคะ่ ”
ครกู ัลยาเล่า

เดก็ ๆ วัดสังวรฯ หลายคนเลา่ ใหฟ้ งั วา่ เขารกั โรงเรียนแห่งนีม้ าก เพราะมา
โรงเรียนแล้วเขารู้สกึ สบายตวั สบายใจ ในการอยู่ในโรงเรียนมากกว่าอย่ใู นบา้ นด้วย
ซาํ  เพราะคุณครทู ่นี ี่ทำ�ใหพ้ วกเขารสู้ ึกไดว้ า่ ไมว่ า่ ฐานะทีบ่ ้านจะเปน็ อยา่ งไร จะเรยี นดี
เรยี นดอ้ ยเพยี งไหน พวกเขาจะเปน็ คนส�ำ คญั ของคณุ ครเู สมอ
ย่งิ เปน็ นกั เรียนในโครงการประดิษฐ์ฯ ด้วยแลว้ เรียกไดว้ า่ มกี ำ�ลงั ใจกอง
พะเนนิ ทพ่ี วกเขานกึ ถึงทีไรกซ็ าบซง้ึ ใจทุกครง้ั
พวกเขาเล่าว่าในวนั แขง่ แต่ละรอบ ดร.ขตั ติยา ดว้ งสำ�ราญ ผ้อู �ำ นวยการ
โรงเรยี น จะปิดโรงเรยี นเพือ่ นำ�เพอ่ื นนักเรยี นและคุณครูทกุ คนไปรว่ มเชียร์
“เราต้องสร้างวัฒนธรรมชนื่ ชมใหก้ ำ�ลงั ใจกนั ค่ะ เวลาคณุ ครูของเราได้รางวลั
เรากไ็ ปใหก้ �ำ ลังใจกันท้ังโรงเรียน แลว้ เวลานำ�เด็กเขาไปดูเพอ่ื นแขง่ ขันแบบนี้ มนั ก็

228

เปน็ ตัวอยา่ งใหเ้ ขาอยากพัฒนาตัวเองใหเ้ กง่ ข้ึนเหมอื นพีๆ่ หลงั จากนัน้ เราคอ่ ยมาเรยี น
ชดเชยกไ็ ด้”
ดร.ขตั ตตยิ าเล่าอย่างภาคภูมิใจ
นอกจากนี้โรงเรยี นยงั ได้รบั กำ�ลงั ใจ และถกู ให้ความส�ำ คญั จากหัวหน้าส�ำ นักงาน
เขตพืน้ ท่แี ละจากชมุ ชนเสมอ ทั้งการไปรว่ มเชียร์นักเรยี น ให้โอกาสน�ำ ผลงานไปจดั แสดง
ร่วมกบั หนว่ ยงาน การมอบรางวัลใหก้ บั นกั เรยี น และใหง้ บประมาณในการน�ำ เด็กๆ ไป
แขง่ ขัน
หลงั จากผ่านเวทกี ารประกวดในรอบต่างๆ เด็กจะไดร้ ับค�ำ แนะนำ�ท่มี ีประโยชน์
จากคณะกรรมการแข่งขนั พวกเขาน�ำ มาปรกึ ษาครหู มู เพ่ือปรับปรงุ ผลงานของตนเอง
เสมอ เช่นเพ่ิมสเกลวัดบนช้นิ งาน เพิ่มอปุ กรณ์ชว่ ยกดสว่านแทนการใช้มือกด ซ่งึ เดก็ ๆ
ดดั แปลงจากลกู กลงิ้ ลอกลายของเพือ่ นที่มแี มร่ ับจ้างเยบ็ ผา้
แล้วผลงานอุปกรณ์ช่วยเจาะแนวต้ังของพวกเขาก็ได้เป็นตัวแทนระดับชาติไป
ประกวดระดับนานาชาติ และไดร้ บั รางวลั ชนะเลิศเหรียญทองมาฝากทกุ คน

229

“หนภู ูมใิ จมากค่ะถึงเราจะเปน็ โรงเรียนเลก็ ๆ กส็ ามารถท�ำ ผลงานทีย่ ่ิงใหญไ่ ด้”
เดอื นฉายย้มิ อย่างภาคภมู ใิ จ
“มีอยคู่ ร้งั หนึ่ง กรรมการเขาเห็นน้องอธบิ ายอยคู่ นเดียว เขาก็เลยบอกใหน้ ้อง
หยดุ พดู บา้ ง แล้วชีม้ าท่ีหนูบอกว่าเอา้ เธอพดู ซิ หนกู ต็ ่ืนเตน้ มากคะ่ พอหนูพดู อธบิ ายได้
หนกู ภ็ ูมใิ จมากค่ะ”
นอ้ งแจมย้ิมแกม้ ปริ
“ดิฉันอยากใหร้ ฐั บาลมีนโยบายสง่ เสริมเดก็ ทม่ี คี วามสามารถเหลา่ นี้ ไมใ่ ช่แขง่
เสร็จรับรางวลั แลว้ จบกนั ไป อย่างในชมรมนกั ประดิษฐ์ เด็กเขาเกง่ ด้านวิทยาศาสตร์
มาก แตเ่ ขายากจน เขาไม่มโี อกาสได้เรยี น อยากใหร้ ฐั บาลส่งเสรมิ คนที่เกง่ ดา้ นอน่ื ๆ ท่ี
ไม่จำ�เปน็ ตอ้ งเกง่ วชิ าการ เรยี นไดเ้ กรดสูงๆ อย่างเดยี ว แต่คนทมี่ ีทกั ษะทางดา้ นอนื่ ก็
ควรดูแลเขาบ้าง สนบั สนนุ ส่งเสริมใหเ้ ป็นรูปธรรม เช่นการให้ทนุ การศึกษาให้เขาได้
เรยี นจนจบปริญญาตรี”
ดร.ขัตตยิ าพูดถึงลูกศิษย์อยา่ งห่วงใย

230

5

ชว่ งฤดฝู นทีผ่ า่ นมา โรงเรยี นวดั สังวรฯ มีเร่อื งต่นื เตน้ เรม่ิ ตน้ ขน้ึ อกี แลว้
“ผอ.คะ รม่ หนหู ายอีกแลว้ คะ่ เป็นเพราะ ผอ. น่นั แหละไม่ยอมให้พวกหนู
เอารม่ ขนึ้ ไปบนหอ้ งเรียน พอตากข้างล่างลมกพ็ ัดปลิว บางคนั เจา้ หมากค็ าบไปเลน่
พงั หมดเลย”
ลูกศษิ ย์ตวั น้อยโอดครวญกบั ผอ.ขตั ติยา ในวนั ฝนตกวนั หน่ึง
“อา้ วก็ร่มพวกหนูมนั เปียกนี่ค่ะ ถ้าเอาขน้ึ ไป ห้องเรียนกเ็ ปยี กเลอะเทอะ
หมด ดไี ม่ดีลน่ื หกลม้ เกิดอนั ตรายได”้ ผอ.ชี้แจง

231

“แล้วหนูคดิ ว่าเราจะแก้ปญั หาอยา่ งไรดีคะ”
ผอ.สบตากบั ลูกศิษย์
“ท�ำ ยังไงดี....เด๋ียวหนจู ะไปปรกึ ษากับเพอ่ื นชมรมนกั ประดิษฐจ์ ิตอาสาดูค่ะ”
เด็กๆ ว่ิงจอ๋ี อกไป
วนั รุ่งขนึ้ ...
“ผอ.ขา”
เสียงใสๆ ดงั ขน้ึ อีกแล้ว
“หนปู รกึ ษากนั แลว้ พวกเราจะประดิษฐเ์ ครื่องสะบดั รม่ ใหแ้ ห้งค่ะ เดี๋ยวผอ.รอ
ดูนะคะ”
เดก็ ๆ ย้มิ นัยน์ตาเป็นประกาย
ผอ.ยิ้มอย่างเช่อื ม่นั และรอคอยผลงานของศษิ ยร์ กั ของตนเอง

232

“ดิฉนั อยากจะบอกว่าครหู รอื ผู้ใหญท่ ุกคนอย่าคดิ ใหเ้ ด็กเอง เพราะถ้าเราบอก
เขา เราหา้ มเขา เขาจะไม่คิด ไมค่ ้นหา เขาจะรอค�ำ ตอบอยา่ งเดียว ขอให้ผู้ใหญ่ อดทน
ถามคำ�ถามให้เขาคดิ รบั ฟังส่ิงที่เขาพดู อย่างต้งั อกต้งั ใจ คอยกระตุน้ ให้เขาคิดตอ่ หยดุ
รอเขา อยา่ ใจรอ้ น แล้วเราจะเหน็ ผลลัพธ์วา่ เด็กเขาจะฉลาดแหลมคมข้นึ ค่ะ”
ดร.ขตั ติยา ดว้ งส�ำ ราญ กล่าว

นีค่ อื ผลงานจากความรกั ความใส่ใจท่ผี ใู้ หญ่และครูมใี ห้กบั เดก็ ๆ แมเ้ ด็กจะมี
พน้ื ฐานธรรมดา มาจากครอบครัวท่ไี ม่มคี วามพรอ้ มใดๆ มีก็เพียงความฝันและความมุ่ง
มั่น
เด็กมคี วามฝัน ครกู ็มคี วามหวัง
แม้เพียงหวังเล็กๆ จากชีวติ นอ้ ยๆ จากโรงเรียนกระจอ้ ยรอ่ ย
แต่เมอ่ื พลังแห่งฝนั และหวังมาบรรจบกัน พลานุภาพที่เกิดขึน้ จะสรา้ งสรรคผ์ ล
งานและเปล่ียนชีวิตให้คนคนหน่ึงได้รับรู้ว่าตัวเองมีคุณค่าและมีความหมายต่อชีวิตอื่นๆ
มากเพยี งได

233

จากคนหนึ่งส่อู กี คนหนง่ึ สู่อีกคนหน่งึ สู่อกี คนหนึ่ง
ความฝันและความหวัง เหมือนกระเพอื่ มและรวิ้ คลนื่ ในนาํ  แผข่ ยายต่อไป
เรื่อยๆ ไมร่ ู้จบ

234



ส่งิ ประดิษฐ์ อปุ กรณ์ชอ่ งเจาะแนวตง้ั (Vertical Drilling Equipment)
ท่ีจัดท�ำ ข้นึ เพ่อื เป็นอุปกรณ์อ�ำ นวยความสะดวกในการใช้งาน และความปลอดภยั
ของผทู้ ป่ี ฏิบัตงิ าน

ลักษณะการท�ำ งานมีเสาสองเสาท่สี ามารถปรับระดับข้นึ ลงได้ มีระบบราง
เลอื่ นปรบั ตวั สว่านใหเ้ คลอื่ นท่ีในแนวแกน X Y Z ตามตำ�แหนง่ ตอ้ งการ

การเจาะของสว่านมสี ปริงเปน็ ตวั ดึงสว่านขึ้นลงขณะทำ�การเจาะ มีคาน
รองรับด้วยเสาเป็นตัวรับอุปกรณ์ทั้งหมดผลจากการสร้างอุปกรณ์ช่วยเจาะแนวต้ัง
ท่สี ร้างขนึ้ สามารถชว่ ยเจาะอย่างแม่นยำ� เจาะไดใ้ นพื้นทีก่ วา้ ง และไมต่ อ้ งใช้กำ�ลงั
ในการประคองตัวสวา่ น ท�ำ ให้ผู้ปฏิบตั ิงานไดร้ ับความปลอดภยั



1

มองให้ง่าย แล้วจะเห็น ปน้ั ให้เป็นแลว้ จะเจอ

ถา้ มเี ด็กจอมซนอยใู่ กล้ๆ เราจะมวี ิธจี ัดการอยา่ งไรดี
ก. ดุ และบอกให้เขานง่ั น่ิงๆ เรยี บร้อยตามท่ผี ูใ้ หญอ่ ยากใหเ้ ปน็
ข. แสดงท่าทีรงั เกียจ เพ่อื ให้เขารู้วา่ เขาก�ำ ลังสร้างความร�ำ คาญใหก้ บั คนอ่นื
ค. ซักถามและรว่ มเล่นสนุกไปกบั พวกเขาเพื่อลว้ งลกึ ไปในจนิ ตนาการของพวกเขา

ว่าก�ำ ลงั คดิ อะไรอยู่
ง. ปล่อยให้เขาซนใหเ้ ตม็ ท่ี ไม่ตอ้ งไปใสใ่ จ

เพยี งแตท่ ำ�ความเข้าใจวา่ นนั่ คอื ธรรมชาติของเด็ก

239

สง่ิ ประดษิ ฐ์ : งับล็อค (Ngub Lock)
โรงเรียนหาดใหญ่รฐั ประชาสรรค์

240

เม่ือลองโยนค�ำ ถามนไี้ ปกับผ้ปู กครองทีอ่ ยู่ในสงั คมตะวนั ออก เชน่ ชาวเอเชีย
หรือสงั คมไทย สว่ นใหญม่ ักจะเลอื กขอ้ ก. และ ข. สว่ นสงั คมตะวันตก หรือสงั คมทีม่ ี
นักประดษิ ฐเ์ ยอะๆ พบวา่ ผู้ปกครองมักเลอื กขอ้ ค. และ ง .
เอ...ง้ันก็น่าจะพอเป็นสมมติฐานได้นะว่าความซนมีผลกับการสร้างนัก
ประดษิ ฐ์หรอื นกั วทิ ยาศาสตร์
ทง้ั ยงั มคี ำ�กล่าวอยู่เนืองๆ ว่า “เดก็ ซนคือเด็กฉลาด” ท่ชี ่วยส�ำ ทบั ว่าสมมติฐาน
ดังกลา่ วไมน่ า่ จะผดิ จากความจรงิ
ยง่ิ เมื่อลองอ่านค้นขอ้ มูลต้นก�ำ เนดิ ของสิ่งประดิษฐแ์ ละอุปกรณ์ต่างๆ ในโลก
ใบนี้ ล้วนเกิดมาจากความช่างคดิ ความซน ของคนทไ่ี ม่ยอมปล่อยให้สมองไหลเอือ่ ย
เฉอื่ ยทิ้งขวา้ งไปวันๆ
มนษุ ยต์ ่างจากสง่ิ มชี ีวติ ชนดิ อื่นกต็ รงน้แี หละ เพราะสิ่งมีชวี ิตอ่ืนๆ มีชีวติ ไป
ตามสัญชาตญาณ ไม่มีฝนั ไม่มจี ินตนาการ และไรซ้ ่งึ ความซน

241

ฉะน้ันเพราะ ความซน ความชา่ งคิด ความกล้าท้าทายขอ้ จำ�กดั ต่างๆ นเี่ อง
ทที่ ำ�ใหม้ นษุ ย์ซ่ึงเป็นสัตว์โลกไร้ปีกแต่สามารถบนิ ได้เร็วกว่านก
ไม่มเี หงือกแตด่ �ำ ดิง่ ลงสู่ใตน้ าํ  ลึกในมหาสมุทรไดเ้ ปน็ เวลานานๆ
มนุษย์สามารถก้าวขา้ มขอ้ จำ�กดั ทางสรรี ะเหลา่ นีไ้ ด้ มิใชด่ ว้ ยเวทยม์ นตร์
หรือพลงั พิเศษอื่นใด
แต่เปน็ พลังของจนิ ตนาการและความกล้าหาญ ที่จะท้าทายขอ้ จำ�กดั ท่ตี นเอง
มีอยู่
และบอ่ ยคร้งั ท่คี วามชา่ งคิด ความซน ในเรือ่ งเล็กๆ กลายเปน็ จดุ เร่ิมต้นสำ�คญั
ในการสรา้ งสรรคน์ วัตกรรรมใหมๆ่ ทีท่ ำ�ให้มนุษย์ใช้ชวี ิตได้งา่ ยและสะดวกสบายมาก
ขึ้น
ดังเชน่ ในปี 2479 มารว์ นิ สโตน คณุ พอ่ ผนู้ ่ารักได้ประดษิ ฐ์หลอดดูดทง่ี อ
ได้เพือ่ ให้ลกู สาวตวั นอ้ ยของเขาดูดนาํ  ได้สะดวกข้ึน หลอดงอไดย้ ังชว่ ยใหผ้ ู้ป่วยทีไ่ ม่
สามารถลุกข้ึนจากเตียง สามารถดมื่ นาํ  ไดโ้ ดยไมต่ ้องลุกข้ึนน่งั

242

เพราะความอยากสนุกทำ�ให้ เจมส์ พลมิ ปต์ ัน ผลิตรองเท้าสเกต็ ติดลอ้ สลี่ ้อ
ทำ�ใหเ้ ขาสามารถรู้สกึ เหมือนไดเ้ ลน่ สกตี ลอดเวลา โดยไมต่ อ้ งรอหนา้ หนาว....
เหลา่ นี้คอื ตัวอยา่ งของส่งิ ประดษิ ฐ์ทมี่ องการแก้ปญั หาดว้ ยวธิ ีงา่ ยๆ ซึ่งหลาย
คนอาจคาดไม่ถึง

เอาละ่ ๆ อยา่ ไปมองอนื่ มองไกลคนละฟากโลกเลย เพราะความคิดของคน
ซนๆ และอยากแกป้ ัญหาจากเรือ่ งราวงา่ ยๆ ใกลๆ้ ตวั ในชวี ติ ประจำ�วันเชน่ น้ี ได้
บังเกิดข้นึ ในประเทศไทย ของเราเชน่ กัน
ความซน และคนชา่ งคิดวยั เยาว์ทีค่ ดิ คน้ สงิ่ ประดิษฐบ์ างอยา่ งข้ึนตง้ั แต่ครั้ง
ยงั เรียนอยู่ในระดบั มัธยมศกึ ษาปที ีส่ องเท่านัน้
อะ๊ ๆๆๆ ชักสนละ่ สิ ว่าจอมซนกลุม่ นี้คิดอะไร
งนั้ อย่ารีรอ ลอ่ งใต้ตามหน้ากระดาษมาเลย

243

2

...เปิดเทอมใหม่ต้นพะยอมผลิดอกบานต้อนรับนักเรียนโรงเรียนหาดใหญ่
รฐั ประชาสรรค์ หรือ ญ.ร.ส. โรงเรียนท่ีตัง้ อยู่ชานเมอื ง อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา กลบั สู่
รั้วโรงเรียนเหมือนปกติ
นักเรียนส่วนใหญซ่ ง่ึ อยใู่ นชว่ งวัยรนุ่ ก็มกั จะใหค้ วามส�ำ คัญกับการเลา่ เรยี น
หนังสอื ในหลักสูตร หรือไม่กใ็ หน้ าํ  หนกั ไปกับการเลน่ หวั หยอกล้อ พูดคุย กับเพ่ือนๆ
ประสาวัยที่จัดให้เพือ่ นเปน็ ความส�ำ คญั อันดับหนึ่งของชวี ติ

244

ทวา่ สำ�หรับนกั เรยี นช้ันมธั ยมศึกษาปีท่ีสองกลุม่ หนึง่ แลว้ พวกเขากลับต้อง
ครุ่นคิดและใหค้ วามส�ำ คัญกับโจทย์ที่ทา้ ทาย จากการคดิ โครงงานวิทยาศาสตร์สง่
คณุ ครู
“ทกุ คนลองคิดดนู ะ มีอะไรรอบตวั ทพี่ วกเธออยากปรับปรุงใหด้ ีข้ึน อาจ
เปน็ ส่ิงทช่ี ว่ ยคนดอ้ ยโอกาส หรือเปลย่ี นวสั ดุ ลดค่าใช้จา่ ย หรือคดิ วิธีทุ่นแรง ทุน่
เวลา ลองไปใช้เวลาคดิ ดนู ะ ”
อาจารยว์ รทั ยา สุวฒั นะ หรือครดู วง กระตนุ้ ใหเ้ ดก็ ๆ คดิ สง่ิ ประดิษฐ์ โดย
เนน้ จากจากเร่ืองราวใกล้ๆ ตัว เพราะคิดว่าหากตัง้ โจทย์ทยี่ ากและไกลตวั ไกลจาก
ชีวติ ประจ�ำ วนั เกินไปจะเป็นยาขมสำ�หรบั เดก็ ๆ นอกจากจะช่วยแนะวธิ คี ดิ เบ้ืองต้น
แล้ว อาจารย์ยังคน้ ขอ้ มูลสิ่งประดิษฐต์ ่างๆ ที่มที มี่ าจากเรอ่ื งงา่ ยๆ ใกล้ๆ ตัว ให้เด็กๆ
ดูเปน็ ตวั อยา่ ง และเกิดแรงบนั ดาลใจในการคิดค้น
“บางคนเขากค็ ดิ ได้เรว็ บางคนก็คิดไดช้ ้า เราคอยท�ำ หนา้ ท่ีกระตุ้น จดุ
ประกายให้เขาอยากรู้ อยากลอง อยากท�ำ ที่โรงเรียนก็มเี ครือ่ งมอื พร้อมใหเ้ ขาค้นหา
อยู่แลว้ ”

245

คณุ ครดู วงบอกเคล็ดลบั นกั ปัน้ มอื ทองไม่น้อยหน้าพีเ่ อ ศุภชัย ของตนเอง
โจทยใ์ หมน่ ้สี ะกิดต่อมซนของเด็กชายฟนั ด้ี หะเต๊ะ ให้ลุกโชนขนึ้ อกี คร้งั
ความซนอยูค่ ่กู บั เขามานาน และพ่อแมผ่ ปู้ กครองก็มเิ คยดุหรอื ขดั ซนไปซนมา หาได้
ซนเปล่าๆ ปลๆี้ หากกอ่ ให้เกดิ อปุ นสิ ัยชอบคดิ ชอบทดลอง
มวี ีรกรรมจากความช่างซนชา่ งคดิ มากมาย อาทิ เคยทดลองปลูกเห็ดแครง
บนขอนไม้ เคยน�ำ ลกู หวา้ ซ่ึงผลไมพ้ ื้นบ้านทก่ี นิ แลว้ ปากดำ�ฟนั ด�ำ มาทำ�เปน็ นาํ  ยาขดั
รองเท้า แมก้ ารคิดคน้ เหล่านน้ั ไม่ได้ผลเป็นรปู ธรรม แต่เด็กชายตัวไมเ่ ล็กคนน้ีกม็ ีใจ
ท่ใี หญพ่ อท่จี ะไม่ทอ้ ถอย
“ทอ้ ได้แตอ่ ย่าถอย”
ค�ำ ขวัญทา้ ยรถประจำ�ทาง อาจผา่ นตาคนหลายคน แตส่ ำ�หรับฟนั ด้เี ขาไม่
ปลอ่ ยใหผ้ ่านตาเฉยๆ หากยดึ ถือเป็นคาถาไว้สรา้ งความเพยี รใหต้ นเอง
เดก็ ชายจึงไม่เคยหยุดคดิ ทดลองโนน่ นนี่ น่ั ทัง้ ยังต้ังมนั่ กบั ตัวเองวา่ สกั วนั รั้วโรงเรียน
แห่งนจ้ี ะต้องข้ึนปา้ ยประกาศเกียรตคิ ุณผลงานท่ีเขาคิดคน้ ขึน้ มา

246

ทอ้ ได้
แต่
อย่าถอย

247

“สกั วนั เถอะ สกั วนั ...”
เดนิ ผา่ นรวั้ โรงเรียนทไี ร ฟนั ดเี้ กดิ ฮกึ เหิมขน้ึ มาทีน้ัน
คูห่ อู กี คนหน่งึ ของฟันดี้คอื เดก็ หญิงกฤตพิ ร เชอ้ื บุญ หรือ ปงิ ปอง ซึง่ เป็นเด็ก
เรียนเกง่ และชอบวชิ าวทิ ยาศาสตรม์ าตั้งแต่เด็ก ปิงปองชอบดสู ารคดี อ่านการต์ ูน
โดเรมอน ชอบคน้ ควา้ ขอ้ มลู เรียกง่ายๆ ประสาศัพท์ของวัยจา๊ บไดว้ ่า “เดก็ เนิรด์ ”
เม่อื ไดร้ บั โจทยจ์ ากอาจารยส์ องสหายร่วมกันคิดโครงงานวทิ ยาศาสตรด์ ้วยกัน
“จะท�ำ อะไรดีนา้ ” ทัง้ สองคดิ วนเวียนเรื่องนต้ี ลอดเวลา และมองหาจาก
เรื่องใกล้ๆ ตวั ดังทอ่ี าจารยด์ วงแนะน�ำ
แตล่ ะวันผา่ นไปๆ ท้ังสองก็ยังคงนึกไมอ่ อกว่าจะท�ำ อะไรดี ท�ำ ได้เพียงบ่น
กนั เองว่า “เซง็ จงุ เบย” และเชน่ กนั วนั นี้ก็ก�ำ ลงั จะผา่ นไปอีกเช้า โดยท่พี วกเขายัง
ไมม่ ีอะไรคบื หน้า พวกเขามาโรงเรียนตามปกติ
ทุกเช้าท่โี รงเรียนหาดใหญ่รัฐประชาสรรค์ จะคลาคล่าํ ไปดว้ ยมอเตอรไ์ ซค์
ท่นี ักเรียนใช้เดินทางมาโรงเรียน ไมต่ ่างจากโรงเรียนมัธยมในตา่ งจงั หวัดท่วั ๆ ไป

248

มอเตอรไ์ ซค์หลายย่หี อ้ หลายรุน่ จึงจอดเรียงรายอยภู่ ายในรวั้ โรงเรยี น ปงิ ปองกเ็ ปน็
คนหน่งึ ทีซ่ อ้ นท้ายมอเตอร์ไซค์พอ่ มาโรงเรียนต้งั แตค่ รั้งยังเรยี นอนุบาลจนถึงทุกวนั น้ี
โรงเรยี นหาดใหญ่รัฐประชาสรรคม์ พี ืน้ ท่กี ว้างขวาง ร่มรืน่ ช่วงเวลาว่างเวน้
จากคาบเรยี น เดก็ ๆ มักพากันนงั่ เล่นกนั เมา้ ท์มอยกนั ที่ลานใต้ตน้ พะยอม อนั เป็นต้น
ไม้สัญลกั ษณข์ องโรงเรียน
และระหว่างท่ีสองสหายกำ�ลังน่ังปรับทุกข์อยู่ใต้ต้นพยอมเพราะคิดส่ิง
ประดษิ ฐไ์ ปเสนออาจารยด์ วงไม่ออกนนั้ วนั น้ีฟนั ดแ้ี ละปิงปองได้ยินข่าวร้ายของเพ่ือน
ในหอ้ งอกี ครั้ง
“มอเตอรไ์ ซคข์ องเราหาย เราจอดซ้ือของท่ีเซเวน่ ในตลาดแป๊บเดยี วเอง ท้งั ๆ
ที่จอดตอนเย็นไมใ่ ช่คํา่ คนกเ็ ยอะแยะ ท่กี ไ็ มไ่ ด้เปล่ยี วเลย”
นทั เล่าด้วยเสยี งเศรา้ สรอ้ ย
“แล้วนัทไม่ได้ล็อครถเหรอ” เพอ่ื นอกี คนถาม
“ตอนนัน้ รถจอดกนั แน่น มันลอ็ คล้อยาก เรากเ็ ลยล็อคคออย่างเดยี ว ไมไ่ ด้

249

เรมิ่ ต้น
เร่ืองง่ายๆ
ใกลๆ้ ตวั

250


Click to View FlipBook Version