The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

สัญลักษณ์ดอกบัวในจิตรกรรมล้านนา

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by chadej9, 2020-05-14 01:15:17

สัญลักษณ์ดอกบัวในจิตรกรรมล้านนา

สัญลักษณ์ดอกบัวในจิตรกรรมล้านนา

Keywords: สัญลักษณ์ดอกบัว,จิตรกรรม,ล้านนา

THESYMBOLICMEANINGSOFLOTUSINLANNAPAINTING



สญั ลกั ษณ์ดอกบวั ในจติ รกรรมล้านนา

THE SYMBOLIC MEANINGS OF LOTUS IN LANNA PAINTING

สญั ลกั ษณ์ดอกบัว

ในจิตรกรรมล้านนา

ขอ้ มลู บรรณานกุ รมของหอสมุดแห่งชาติ
ฉลองเดช คูภานุมาต
สญั ลักษณ์ดอกบวั ในจิตรกรรมล้านนา
เชียงใหม่ : โชตนาพร้ินท์, ๒๕๖๒
๒๖๖ หน้า
๑. สัญลกั ษณ์ดอกบัว ๒. จติ รกรรมลา้ นนา I.ชอ่ื เรือ่ ง
ISBN 978-616-398-410-4

พมิ พ์ครั้งแรก กรกฎาคม ๒๕๖๒
ISBN 978-616-398-410-4
ออกแบบ/จดั รูปเลม่ STUDIO MINMEAK
พสิ จู นอ์ กั ษร สดุ ใจ สาครอร่ามเรอื ง
จดั พิมพ์โดย ฉลองเดช คภู านมุ าต
พมิ พ์ที่ บรษิ ทั โชตนาพรนิ้ ท์ จ�ำ กัด
๖๙ ซ.๗ ถ.ช้างเผอื ก ต.ศรภี ูมิ อ.เมอื ง จ.เชียงใหม่
โทร. ๐-๕๓๒๒-๕๒๓๗, ๐-๕๓๔๑-๐๑๕๐
chotanaprint@hotmail.com

“...ดอกบัวก้านมหี นาม เกดิ ในน้�ำ ไม่แปดเป้อื นด้วยน้ำ�และโคนตม ฉนั ใด
มนุ ีผู้กล่าวเรื่องความสงบ กไ็ มย่ นิ ดี ไมแ่ ปดเป้อื นในกามและโลก ฉันนั้น...”

พระไตรปฎิ กภาษาไทย ฉบับมหาจฬุ าลงกรณราชวิทยาลยั





สารบญั

๑ กลา่ วน�ำ
หน้า ๑๑-๑๕

คติความเช่ือเร่ืองดอกบวั ในพทุ ธศาสนา
หน้า ๑๗-๕๘

๒ สัญลกั ษณด์ อกบวั ในพทุ ธศาสนา
ดอกบัวเปน็ สญั ลักษณข์ องพระพทุ ธเจ้า
ดอกบวั เปน็ สัญลักษณใ์ นพุทธประวตั ิ
ดอกบัวเป็นสญั ลักษณข์ องการสกั การบูชาพระพุทธเจ้า
ดอกบัวเป็นสญั ลกั ษณเ์ ปรยี บเทยี บกับพระนิพพาน
ดอกบวั เป็นสัญลกั ษณใ์ นคติเรอ่ื งพระอดีตพทุ ธเจา้

สญั ลักษณด์ อกบวั ในศลิ ปกรรมลา้ นนา
หนา้ ๕๙-๑๐๐
๓ สถาปัตยกรรมลา้ นนา
ประตมิ ากรรมล้านนา
จติ รกรรมล้านนา

สญั ลักษณด์ อกบัวในจติ รกรรมล้านนา
หน้า ๑๐๑-๑๓๖

๔ สญั ลกั ษณด์ อกบวั ในจติ รกรรมฝาผนงั
สญั ลกั ษณด์ อกบวั ในจติ รกรรมสมดุ ภาพไตรภมู ิ
สญั ลกั ษณด์ อกบวั ในพระบฏ
สญั ลกั ษณด์ อกบวั ในลายค�ำ
สญั ลกั ษณด์ อกบวั ในลายดาวเพดาน

๕ สญั ลกั ษณด์ อกบวั กับแนวคิดในจติ รกรรมลา้ นนา
หน้า ๑๓๗-๒๔๖
สญั ลกั ษณด์ อกบวั ในแนวคดิ คตไิ ตรภมู ิ
สญั ลกั ษณด์ อกบวั ในแนวคดิ มหาปรุ สิ ลกั ษณะ
สญั ลกั ษณด์ อกบวั ในแนวคดิ พระอดตี พทุ ธเจา้
สญั ลกั ษณด์ อกบวั ในแนวคดิ พระฉพั พรรณรงั ส ี
สญั ลกั ษณด์ อกบวั ในแนวคดิ ปรู ณฆฏะ
สญั ลกั ษณด์ อกบวั ในแนวคดิ มงคล ๑๐๘ บนรอยพระพทุ ธบาท

๖ บทสรปุ
หน้า ๒๔๗-๒๕๒

๗ เชงิ อรรถ

บรรณานกุ รม

ทมี่ าของภาพประกอบ

ประวตั ิผเู้ ขียน

หน้า ๒๕๓-๒๖๖

1

2

ยถา สงฺการธานส์มึ เอวํ สงฺการภเู ตสุ
อชุ ฌฺ ติ สฺมึ มหาปเถ อนธฺ ภูเต ปุถุชชฺ เน
ปทุมํ ตตถฺ ชาเยถ อติโรจติ ปญญฺ าย
สจุ คิ นฺธํ มโนรมํ ฯ ๕๘ ฯ สมฺมาสมพฺ ทุ ธฺ สาวโก ฯ ๕๙* ฯ

ดอกบวั มกี ลน่ิ หอม รื่นรมยใ์ จ ทา่ มกลางหมู่ปถุ ชุ น ผโู้ ง่เขลา
เกดิ บนส่ิงปฏิกูล ผู้เป็นเสมือนสิง่ ปฏิกลู
ทเ่ี ขาทิ้งไว้ใกล้ทางใหญ่ ฉันใด พระสาวกของพระสมั มาสมั พุทธเจา้
ยอ่ มรงุ่ เรืองดว้ ยปญั ญา ฉันนั้น

Just as on a heap of rubbish Even so among those blinded mortals
Thrown upon he highway Who are like rubbish,
Grows the lotus sweetly fragrant The disciple of the Fully Enlightened One
And delighting the heart, Shines with exceeding glory by his wisdom.

พุทธวจนใน ธรรมบท

3

กล่าวนำ�

4

กล่าวนำ�

บัวเป็นพันธ์ุไม้ชนิดหนึ่งที่มีความสัมพันธ์เก่ียวข้องกับพุทธศาสนามากกว่าพันธ์ุไม้
ชนิดอ่ืน ๆ ชาวพุทธใช้ดอกบัวเป็นเคร่ืองสักการบูชาพระรัตนตรัยมาแต่สมัยโบราณ ด้วยเหตุน้ี
ดอกบวั จงึ มคี วามหมายและความสำ� คญั ในฐานะดอกไมอ้ นั เปน็ สญั ลกั ษณแ์ หง่ พระพทุ ธศาสนา ประวตั ิ
ความเปน็ มาของลทั ธศิ าสนาตา่ ง ๆ ในอารยธรรมของอนิ เดยี สมยั โบราณ ตา่ งยกยอ่ งใหด้ อกบวั เปน็
ดอกไมท้ ม่ี คี ณุ คา่ และมคี วามศกั ดสิ์ ทิ ธิ์ ดอกบวั เพยี งดอกเดยี วทง้ั ดอกตมู และดอกทก่ี ำ� ลงั เบง่ บานนน้ั
ลว้ นมคี วามงดงามอยา่ งลกึ ซงึ้ วฏั จกั รของดอกบวั ยงั แฝงไวด้ ว้ ยปรชั ญาทางศาสนา โดยเฉพาะใน
ปรชั ญาและคตคิ วามเชอื่ ในลทั ธศิ าสนาตา่ ง ๆ ของอารยธรรมตะวนั ออก ดว้ ยเหตนุ ้ี ชาวอนิ เดยี และ
ศรลี งั กาจงึ ยกยอ่ งดอกบวั หลวงใหเ้ ปน็ ดอกไมป้ ระจำ� ชาติ
นอกจากน้ี บวั ยงั มชี อ่ื เรยี กอกี อยา่ งหนง่ึ วา่ กมล ซง่ึ แปลวา่ ใจ มคี วามหมายวา่ การมจี ติ ใจ
ทดี่ งี าม บรสิ ทุ ธิ์ ประดจุ ดงั ดอกบวั และมกี ารนำ� รปู พรรณสณั ฐานของหวั ใจมนษุ ยม์ าเปรยี บกบั ดอกบวั ตมู
เรยี กวา่ ดวงกมล ทงั้ น้ี ใจของมนษุ ยท์ ไี่ ดร้ แู้ จง้ เหน็ จรงิ ในธรรมะของพระพทุ ธองค์ กจ็ ะไดร้ บั ความอม่ิ เอบิ
เบกิ บาน เปรยี บเสมอื นดอกบวั ทผ่ี ลบิ านรบั แสงอรณุ ดว้ ยเหตนุ ี้ รปู ทรงอนั งดงามของดอกบวั จงึ ได้
เปน็ แรงบนั ดาลใจในการสรา้ งสรรคง์ านศลิ ปะแขนงตา่ ง ๆ ยกตวั อยา่ งเชน่ ประตมิ ากรรม สว่ นฐาน
รองรบั รปู เคารพทเี่ รยี กวา่ ปทั มาสนะ หรอื กมลาสนะ สว่ นทเี่ ปน็ รปู ทรงดอกบวั และกอบวั ไดเ้ ปน็ ตน้ แบบ
ของ ปรุ ณะกลศ และปรุ ณฆฏะ คอื ลวดลายรปู ภาชนะหมอ้ นำ้ บรรจบุ วั ทงั้ กา้ น ใบ และดอก อนั เปน็
สญั ลกั ษณท์ แ่ี สดงถงึ ความอดุ มสมบรู ณ์ และการประสบความสำ� เรจ็ ในสง่ิ ทป่ี รารถนา
อาณาจกั รลา้ นนานนั้ เปน็ ดนิ แดนทอี่ ดุ มไปดว้ ยมรดกทางวฒั นธรรม ซงึ่ ลว้ นแลว้ แตม่ คี ณุ คา่
และความงดงาม ทส่ี ะทอ้ นถงึ อตั ลกั ษณข์ องทอ้ งถนิ่ โดยเฉพาะผลงานศลิ ปกรรมลา้ นนาทเี่ นอ่ื งใน
พุทธศาสนา ซึ่งสร้างขึ้นด้วยการตีความหมายจากเร่ืองราวและรูปสัญลักษณ์ดอกบัวที่ปรากฏ
อยเู่ ปน็ จำ� นวนมาก ไดแ้ ก่ สถาปตั ยกรรม จติ รกรรม ประตมิ ากรรม และงานประณตี ศลิ ปอ์ น่ื ๆ

12

หนงั สอื สญั ลกั ษณด์ อกบวั ในจติ รกรรมลา้ นนา เลม่ น้ี เปน็ ผลการศกึ ษาคน้ ควา้ รวบรวม
ขอ้ มลู ทง้ั จากภาคเอกสารและภาคสนาม โดยเฉพาะผลงานศลิ ปกรรมตามพทุ ธสถานตา่ ง ๆ ในเขต
วฒั นธรรมลา้ นนา หรอื บรเิ วณภาคเหนอื ตอนบนของประเทศไทย แลว้ จงึ นำ� มาเรยี บเรยี งขน้ึ อยา่ งเปน็
ระบบ โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะน�ำเสนอองค์ความรู้เก่ียวกับสัญลักษณ์ดอกบัวที่ปรากฏอยู่ใน
งานจิตรกรรมล้านนา ต้ังแต่ประวัติความเป็นมา คติความเชื่อ รูปแบบทางศิลปกรรมของ
งานจติ รกรรมลา้ นนา ดว้ ยการศกึ ษาขอ้ มลู จากเอกสารหนงั สอื ตำ� ราตา่ ง ๆ อาทิ พระไตรปฎิ กและ
วรรณกรรมทางพทุ ธศาสนา ตลอดจนผลงานศลิ ปกรรมลา้ นนาทสี่ ะทอ้ นความหมายจากสญั ลกั ษณ์
ดอกบวั โดยเฉพาะอยา่ งยง่ิ ในงานจติ รกรรมลา้ นนาทป่ี รากฏอยตู่ ามศาสนสถาน ซง่ึ ไดร้ บั แรงบนั ดาลใจ
ในการสรา้ งสรรคม์ าจากคตคิ วามเชอื่ และเรอื่ งราวตา่ ง ๆ ทเ่ี กย่ี วขอ้ งกบั พทุ ธศาสนาแทบทงั้ สนิ้

13

สญั ลกั ษณด์ อกบวั นนั้ พบปรากฏอยใู่ นงานจติ รกรรมทมี่ รี ปู แบบตา่ ง ๆ กนั เปน็ จำ� นวนมาก
โดยมกี รรมวธิ กี ารสรา้ งสรรคอ์ นั หลากหลาย ไดแ้ ก่ จติ รกรรมในสมดุ ภาพไตรภมู ฉิ บบั อกั ษรธรรมลา้ นนา
จติ รกรรมฝาผนงั จติ รกรรมบนผา้ (พระบฏ) จติ รกรรมลายคำ� หรอื ลายปดิ ทองรอ่ งชาด จติ รกรรม
ลายดาวเพดาน นอกจากนี้ ดอกบัวยังมีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกับแนวคิดเชิงสัญลักษณ์ต่าง ๆ
ในผลงานจติ รกรรมลา้ นนาอกี ดว้ ย เชน่ แนวคดิ คตไิ ตรภมู แิ ละจกั รวาลวทิ ยาในพทุ ธศาสนา แนวคดิ
เรื่องอนันตจักรวาล แนวคิดมหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการ แนวคิดพระอดีตพุทธเจ้า แนวคิด
พระฉพั พรรณรงั สี แนวคดิ ปรู ณฆฏะ และสญั ลกั ษณม์ งคล ๑๐๘ บนรอยพระพทุ ธบาท เปน็ ตน้
ผเู้ ขยี นหวงั เปน็ อยา่ งยง่ิ วา่ เนอ้ื หาสาระเกยี่ วกบั สญั ลกั ษณด์ อกบวั ในจติ รกรรมลา้ นนา อนั มี
บอ่ เกิดมาจากพลังความศรัทธา ความคดิ สรา้ งสรรค์และจินตนาการของชาวพทุ ธในท้องถ่นิ จะมี
สว่ นชว่ ยใหผ้ อู้ า่ นไดร้ บั ความรู้ ความเขา้ ใจ ถงึ สนุ ทรยี ภาพและวฒั นธรรมวธิ คี ดิ รวมทงั้ ยงั เปน็ การ
สร้างแรงบันดาลใจในการอนุรักษ์และสืบสานผลงานศิลปะล้านนาอันทรงคุณค่า ซ่ึงเป็นมรดก
ภมู ปิ ญั ญาทางวฒั นธรรมจากบรรพชนไดอ้ ยา่ งยงั่ ยนื สบื ไป

14

สดุ ทา้ ยน้ี ผเู้ ขยี นขอกราบขอบพระคณุ บดิ า มารดา อาจารยป์ ฐม พวั พนั ธส์ กลุ ศาสตราจารย์
เกยี รตคิ ณุ ชลดู นม่ิ เสมอ ศาสตราจารยเ์ กยี รตคิ ณุ ดร.สนั ติ เลก็ สขุ มุ ศาสตราจารยเ์ กยี รตคิ ณุ สรุ พล
ดำ� รหิ ก์ ลุ ศาสตรเมธนี นธวิ รรธน์ จนั ทนะผะลนิ ศาสตราจารยเ์ กยี รตคิ ณุ ปรชี า เถาทอง ศาสตราจารย์
วโิ ชค มกุ ดามณี ศาสตราจารยเ์ กยี รตคิ ณุ ปรญิ ญา ตนั ตสิ ขุ อาจารย์ ดร.สนุ นั ทา เอย่ี มสำ� อางค์ อาจารย์
ดร.ประมวล เพง็ จนั ทร์ และครอู าจารยท์ มี่ คี วามเมตตาทกุ ทา่ นทมี่ ไิ ดเ้ อย่ นาม ซง่ึ เปน็ ผไู้ ดถ้ า่ ยทอด
ความรู้และให้ค�ำปรึกษาแนะน�ำในการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะและการท�ำงานวิจัยแก่ผู้เขียน
ตลอดระยะเวลาทผ่ี า่ นมา ขอขอบพระคณุ คณุ มาลนิ มกุ ดา คณุ สดุ ใจ สาครอรา่ มเรอื ง คณุ นงนติ ย์
เฉลยี ว ขอขอบคณุ คณะวจิ ติ รศลิ ป์ มหาวทิ ยาลยั เชยี งใหม่ ทไ่ี ดส้ นบั สนนุ ทนุ วจิ ยั เรอ่ื ง สญั ลกั ษณ์
ดอกบวั ในจติ รกรรมลา้ นนาเพอ่ื การสรา้ งสรรคศ์ ลิ ปะรว่ มสมยั อนั เปน็ ทม่ี าของขอ้ มลู และองคค์ วามรทู้ ่ี
ผเู้ ขยี นนำ� มาใชป้ ระกอบในการเรยี บเรยี งหนงั สอื ฉบบั น้ี

รองศาสตราจารย์ ดร.ฉลองเดช คภู านมุ าต
คณะวจิ ติ รศลิ ป์ มหาวทิ ยาลยั เชยี งใหม่

15

16

คติความเชอื่ เรอ่ื งดอกบัวในพทุ ธศาสนา

17

สัญลกั ษณ์ดอกบัวในพทุ ธศาสนา

บวั เปน็ พนั ธไ์ุ มช้ นดิ หนงึ่ ทไ่ี ดร้ บั การยกยอ่ งวา่ มคี วามสำ� คญั ในประวตั ศิ าสตร์ และตำ� นาน
ในลัทธิศาสนาต่าง ๆ ของอินเดียสมัยโบราณ บัวจึงมีเรื่องราวปรากฏอยู่ในคัมภีร์พุทธศาสนา
ทงั้ ภาษาบาลแี ละภาษาสนั สกฤตในหลายความหมาย๑ พทุ ธศาสนกิ ชนชาวไทยนบั แตส่ มยั โบราณ
ไดน้ ำ� ดอกบวั มาใชส้ กั การบชู าพระพทุ ธรปู และพระภกิ ษพุ ระสงฆ์ เพราะดอกบวั เปน็ ทย่ี อมรบั กนั วา่
เปน็ สญั ลกั ษณข์ องความบรสิ ทุ ธส์ิ ะอาด ชาวพทุ ธจงึ มกั เปรยี บดอกบวั กบั พระพทุ ธเจา้ ๒ นอกจากนี้
ดอกบวั ยงั เปน็ สญั ลกั ษณข์ องพระรตั นตรยั พระพทุ ธ พระธรรม พระสงฆ์ และมคี วามเกย่ี วขอ้ งกบั
เรอื่ งราวหรอื เหตกุ ารณใ์ นพทุ ธประวตั ิ นบั ตง้ั แตป่ ระสตู ิ ตรสั รู้ จนถงึ ปรนิ พิ พาน

18

พระโพธสิ ตั ว์ปทั มปานี 19
จติ รกรรมฝาผนังภายในถ้ำ�อชันตา
เมืองออรงั กาบัด รฐั มหาราษฎร์
ประเทศอนิ เดยี

สัญลักษณ์ดอกบวั ในคัมภรี โ์ ลกสณั ฐาน
คมั ภรี โ์ ลกสณั ฐานในพทุ ธศาสนามเี นอ้ื หาเกยี่ วกบั การเกดิ โลกและจกั รวาล กลา่ ววา่ เมอื่
จกั รวาลพนิ าศจากไฟประลยั กลั ป์ นำ้ ประลยั กลั ป์ และลมประลยั กลั ปแ์ ลว้ อากาศกจ็ ะมดื มดิ และ
ปกคลมุ ไปดว้ ยหมอกควนั หนาทบึ จนเกดิ เมฆใหญ่ ซงึ่ เปน็ เมฆทจี่ ะเรม่ิ ตน้ จกั รวาลใหม่ ตอ่ จากนนั้ ได้
เกิดมีฝนตกลงมาท่ัวทุกจักรวาล และตกหนักมากข้ึนเรื่อย ๆ จนเม็ดฝนมีขนาดใหญ่เท่ากับภูเขา
จงึ ทำ� ใหเ้ กดิ นำ�้ ทว่ มจนเตม็ ทง้ั แสนโกฏจิ กั รวาล ตอ่ มาเกดิ มกี ระแสลมพดั ตะลอ่ มใหน้ ำ�้ งวดลงจนนำ้� ขน้
เปน็ ปมุ่ เปอื ก ลมไดพ้ ดั ทงั้ เบอ้ื งตำ่ และเบอ้ื งขวาง ใหป้ มุ่ เปอื กรวมตวั กนั เปน็ กอ้ นเหมอื นหยดนำ้ บน
ใบบวั แลว้ นำ�้ กแ็ หง้ งวดลงจนเกดิ เปน็ แผน่ ดนิ สวรรคต์ อนตอ่ ลงมายบุ ตวั ลงมลี กั ษณะเปน็ วนุ้ กลายเปน็
กอ้ นดนิ ทผี่ ดุ ขนึ้ คลา้ ยดอกเหด็ สง่ กลนิ่ หอมและมรี สชาตดิ ี โลกทม่ี ดื มดิ กม็ แี สงสวา่ งจากการเกดิ ของ
พระอาทติ ย์ พระจนั ทร์ ตน้ ไมท้ เ่ี กดิ ขน้ึ เปน็ ตน้ แรกกค็ อื กอบวั อนั เปน็ สญั ลกั ษณข์ องการเรม่ิ ตน้ ของ
กปั ใหม๓่

สัญลักษณด์ อกบวั บาน
ดาวเพดานไมแ้ กะสลกั
ลงรักปดิ ทองประดับกระจก
20 วัดพระฝาง จงั หวัดอตุ รดิตถ์

21

ดอกบัวเป็นสญั ลกั ษณ์ของพระพทุ ธเจา้

ดอกบวั เปน็ นมิ ติ หมายถึงจำ�นวนพระพุทธเจา้ ในกัป
ในวฒั นธรรมลา้ นนาคตคิ วามเชอ่ื เกยี่ วกบั สญั ลกั ษณด์ อกบวั ปรากฏเนอื้ หาในตำ� นานมลู
ศาสนา ตำ� นานพระมหาญาณคมั ภรี ์ และตำ� นานโสตตั ถกสี ำ� นวนลา้ นนา กลา่ วถงึ การมพี ระพทุ ธเจา้
อุบัติขึ้นในแต่ละกัปว่า เมื่อเกิดแผ่นดินขึ้นคร้ังแรกในแต่ละกัปน้ัน จะเกิดมีดอกบัวเกิดขึ้นใน
สระโบกขรณใี กลก้ บั ตน้ ไมท้ จี่ ะเปน็ โพธพิ ฤกษ์ หมายถงึ ตน้ ไมท้ พ่ี ระพทุ ธเจา้ แตล่ ะพระองคจ์ ะประทบั
แลว้ พจิ ารณาสภาวธรรม เพอ่ื ตรสั รเู้ ปน็ พระสมั มาสมั พทุ ธเจา้ ทงั้ นี้ จำ� นวนดอกบวั ทเ่ี กดิ ขนึ้ จะเปน็
นมิ ติ หมายทบ่ี ง่ บอกถงึ จำ� นวนพระพทุ ธเจา้ ทจ่ี ะทรงอบุ ตั ขิ นึ้ ในกปั นน้ั ๆ หากกอบวั ไมม่ ดี อกบวั เรยี กวา่
สญู กปั หมายความความวา่ จะไมม่ พี ระพทุ ธเจา้ มาตรสั รเู้ ปน็ พระสพั พญั ญเู พอื่ โปรดสตั วโ์ ลก แตห่ าก
มีดอกบัวหนึ่งดอกเรียกว่า สารกัป สองดอกเรียก มัณฑกัป สามดอกเรียก วรกัป ส่ีดอกเรียก
สารมณั ฑกปั สว่ นกปั ทเี่ ปน็ ชว่ งเวลานเี้ รยี กวา่ ภทั รกปั ๔ เนอ่ื งจากมดี อกบวั เกดิ ขน้ึ ๕ ดอก ปรากฏ
อยบู่ นกา้ นเดยี วกนั ดว้ ยเหตนุ ้ี จงึ มพี ระพทุ ธเจา้ มาตรสั รใู้ นกปั นจ้ี ำ� นวน ๕ พระองคด์ ว้ ยกนั โดยบงั เกดิ แลว้
๔ พระองค์ ไดแ้ ก่ พระกกสุ นั โธพทุ ธเจา้ พระโกนาคมนพทุ ธเจา้ พระกสั สปพทุ ธเจา้ และพระโคตมพทุ ธเจา้
สว่ นพระพทุ ธเจา้ ทจี่ ะมาตรสั รใู้ นภายภาคหนา้ กค็ อื พระศรอี ารยิ เมตไตรยพทุ ธเจา้

22

ดอกบวั สญั ลักษณแ์ ทนพระพทุ ธเจ้า
พุทธประวตั ิ ตอน พระพทุ ธเจา้ เสดจ็ อยูป่ า่ เลไลย์
และตอนพระโพธิสตั วท์ รงลอยถาดหลังจากเสวยขา้ วมธปุ ายาส
จิตรกรรมสมดุ ภาพไตรภูมฉิ บับกรุงธนบรุ ี
23

ดอกบัวเปรยี บกบั พระพทุ ธเจ้า
ดอกบวั ยงั เปน็ เครอื่ งหมายสำ� คญั ทป่ี รากฏอยใู่ นวฒั นธรรมประเพณขี องชาวพทุ ธ รวมทง้ั
การใชส้ ญั ลกั ษณด์ อกบวั มาเปน็ สอื่ ในการถา่ ยทอดเนอื้ หาทางธรรม ผา่ นทางงานศลิ ปกรรมแขนงตา่ ง ๆ
อยเู่ สมอ โดยเฉพาะอยา่ งยงิ่ ดอกบวั มลี กั ษณะพเิ ศษ คอื เกดิ เตบิ โต เจรญิ ในนำ้ แตไ่ มแ่ ปดเปอ้ื นนำ้
นน้ั เปรยี บเสมอื นพระพทุ ธเจา้ ทรงอบุ ตั ขิ นึ้ ในโลก แตไ่ มถ่ กู ครอบงำ� ดว้ ยโลกธรรมทง้ั ๘ ประการ
ได้แก่ ได้ลาภกับเสื่อมลาภ มียศกับเสื่อมยศ นินทากับสรรเสริญ และสุขกับทุกข์ ในคัมภีร์ทาง
พระพทุ ธศาสนามเี นอ้ื หาเรอื่ งดอกบวั โดยเปรยี บพระพทุ ธเจา้ กบั ดอกบวั ดว้ ยพระองคท์ รงพน้ ทกุ ข์
ท้ังปวง ความทุกข์ไม่อาจครอบง�ำพระองค์ได้อีก ทรงเป็นผู้ไม่หว่ันไหวในโลกธรรม ๘ ทรงเป็น
พระสพั พญั ญพู ทุ ธเจา้ ยกตวั อยา่ งเชน่
“...ดอกบวั กา้ นมหี นาม เกดิ ในนำ้ ไมแ่ ปดเปอ้ื นดว้ ยนำ้ และโคนตม ฉนั ใด มนุ ผี กู้ ลา่ วเรอื่ งความสงบ
กไ็ มย่ นิ ดี ไมแ่ ปดเปอ้ื นในกามและโลก ฉนั นน้ั ...”
“...ผเู้ ทยี่ วไปผเู้ ดยี ว มปี ญั ญา ไมป่ ระมาท ไมห่ วนั่ ไหวเพราะนนิ ทาและสรรเสรญิ ไมส่ ะดงุ้ เพราะเสยี ง
เหมอื นราชสีห์ ไม่ติดขา่ ย เหมือนลม ไม่เปียกน้�ำ เหมือนบัว เป็นผแู้ นะน�ำผอู้ ่นื ไมใ่ ช่ผอู้ น่ื แนะน�ำ
นกั ปราชญท์ ง้ั หลายประกาศวา่ เปน็ มนุ .ี ..”
“...ภกิ ษทุ งั้ หลาย ดอกอบุ ลกด็ ี ดอกปทมุ กด็ ี ดอกบณุ ฑรกิ กด็ ี เกดิ ในนำ้ เจรญิ ในนำ้ โผลพ่ น้ นำ้ แลว้
ตงั้ อยู่ แตน่ ำ้� ไมต่ ดิ แมฉ้ นั ใด ตถาคตกฉ็ นั นนั้ เหมอื นกนั เกดิ แลว้ ในโลก เจรญิ แลว้ ในโลกครอบง�ำโลกอยู่
แตไ่ มต่ ดิ โลก...”๕

24

ดอกบวั สัญลักษณ์แทนพระพุทธเจา้
พทุ ธประวัติ ตอน ผจญมาร
จิตรกรรมสมุดภาพไตรภมู ฉิ บบั กรงุ ธนบุรี 25

ดอกบวั เปน็ สญั ลกั ษณ์ในมหาปุริสลักษณะ
ดอกบัวปรากฏในลักษณะของมหาบุรุษของพระพุทธเจ้า หรือเรียกว่า
มหาปรุ สิ ลกั ษณะ ๓๒ ประการ ซง่ึ มรี ายละเอยี ดของลกั ษณะปลกี ยอ่ ยอนื่ ๆ อกี เรยี กวา่
อนพุ ยญั ชนะ ๘๐ ประการ เชน่ พระกรรณทัง้ สองขา้ งมีสณั ฐานอนั ยาวเรียวอยา่ ง
กลบี ปทมุ ชาติ พระสรรี ะกายสดชนื่ ดจุ ดอกปทมุ ชาติ กลนิ่ พระโอษฐห์ อมฟงุ้ เหมอื น
กลนิ่ ดอกอบุ ล เปน็ ตน้

พระพุทธสหิ งิ ค์
วดั พระสิงห์วรมหาวหิ าร
26 อ�ำ เภอเมือง จงั หวัดเชียงใหม่

พระบฏ 27
พระพุทธเจ้าประทบั ยนื
บนดอกบัวบาน

ดอกบวั เป็นสญั ลักษณ์ในพทุ ธประวตั ิ

พระโพธสิ ัตว์จุติจากสวรรคช์ น้ั ดสุ ติ
ประวัติความเป็นมาและคติความเชื่อเกี่ยวกับเร่ืองดอกบัวท่ีมีปรากฏอยู่ในคัมภีร์ทาง
พทุ ธศาสนาเปน็ จำ� นวนมาก ดงั เชน่ ตวั อยา่ งเนอื้ หาพทุ ธประวตั คิ รง้ั เมอื่ พระโพธสิ ตั วจ์ ตุ จิ ากสวรรค์
ชน้ั ดสุ ติ เพอ่ื เขา้ สพู่ ระครรภพ์ ระนางสริ มิ หามายาพทุ ธมารดา ในคนื นน้ั พระนางสริ มิ หามายา ทรงมี
พระสุบินนิมิตว่า ท้าวจตุมหาราชทั้ง ๔ มายกพระองค์พร้อมทั้งพระแท่นที่บรรทม เข้าไปใน
ปา่ หมิ พานตแ์ ลว้ วางลงบนแผน่ หนิ ใหญใ่ ตต้ น้ รงั และมนี างเทพธดิ ามาเชญิ เสดจ็ ไปสรงนำ้ ชำ� ระลา้ ง
พระวรกายในสระอโนดาต แลว้ เปลยี่ นอาภรณเ์ ครอ่ื งทรงเปน็ ของทพิ ย์ ลบู ไลด้ ว้ ยของหอม และ
ประดบั ดว้ ยบปุ ผชาตอิ นั เปน็ ทพิ ยท์ งั้ หมด จากนน้ั เชญิ เสดจ็ เขา้ บรรทมในวมิ านทอง อนั ประดษิ ฐาน
อยบู่ นยอดภเู ขาเงนิ มชี า้ งเผอื กเชอื กหนง่ึ ลงมาจากยอดภเู ขาทองทางดา้ นทศิ เหนอื แลว้ ชงู วงทถี่ อื
ดอกบวั หลวงขาวดอกหนงึ่ ซง่ึ เพง่ิ บานและสง่ กลน่ิ หอมมาก พลางเดนิ เขา้ มาหาพระนาง เพอ่ื กระทำ�
ประทักษิณสามรอบ จากนั้น เสมือนประหน่ึงว่าได้เข้าสู่พระอุทรทางด้านเบ้ืองขวาของพระนาง
สริ มิ หามายาพทุ ธมารดา๖

28

สัญลกั ษณด์ อกบวั ในพทุ ธประวตั ิ 29
ตอน พระโพธสิ ตั วจ์ ุติจากสวรรค์ชนั้ ดสุ ติ

พระโพธิสัตว์จตุ จิ ากสวรรคช์ ั้นดสุ ิต
เรอ่ื งราวพทุ ธประวตั คิ รง้ั เมอื่ พระโพธสิ ตั วจ์ ตุ จิ ากสวรรคช์ นั้ ดสุ ติ เพอ่ื เขา้ สพู่ ระครรภพ์ ระนาง
สริ มิ หามายาพทุ ธมารดา จากเนอื้ หาในหนงั สอื ปฐมสมโพธกิ ถา ไดพ้ รรณนาเหตกุ ารณพ์ ทุ ธประวตั ิ
ตอนนไ้ี ว๗้ ความวา่
“...แลมเี ศวตหตั ถชี า้ งหนงึ่ เทยี่ วอยบู่ นภเู ขาทองนนั้ แลว้ ลงมาจากกาญจนบรรพตขนึ้ มาบนหริ ญั ครี ี
โดยอดุ รทศิ ชซู ง่ึ งวงอนั จบั บณุ ฑรกิ ปทมุ ชาตขิ าวพงึ่ บานใหมม่ เี สาวคนธห์ อมฟงุ้ ตลบ แลว้ รอ้ งโกญจนาท
เขา้ มาภายในกนกวมิ าน แลว้ กระท�ำประทกั ษณิ พระองคอ์ นั บรรทมถว้ นครบ ๓ รอบแลว้ เหมอื นดจุ
เขา้ ไปในอทุ รประเทศ ฝา่ ยทกั ษณิ ปรศั วแ์ หง่ พระราชเทว.ี ..”

30

พระนางสิริมหามายาทรงมพี ระสุบนิ นิมติ 31
พุทธประวัติ ตอน พระโพธสิ ัตวจ์ ุติจากสวรรค์ช้ันดสุ ิต
เพื่อเขา้ สู่พระครรภพ์ ระนางสริ ิมหามายาพทุ ธมารดา

เกดิ บุพนมิ ิตข้ึน ๓๒ ประการ
ในขณะทพ่ี ระนางสริ มิ หามายาตนื่ บรรทม ไดเ้ กดิ บพุ นมิ ติ ขน้ึ ๓๒ ประการ ซงึ่ มปี ระการหนง่ึ
ที่มีเน้ือหาเก่ียวกับดอกบัว กล่าวคือ มีดอกบัวปทุมชาติหรือบัวหลวง ๕ ชนิดเกิดขึ้น อันได้แก่
สัตตบุษย์หรือบัวฉัตรขาว บัวเข็มชมพู บุณฑริกหรือบัวหลวงขาว ปทุมหรือบัวหลวงชมพู และ
สตั ตบงกชหรอื บวั หลวงปอ้ มแดง เหลา่ ปทมุ ชาตเิ กดิ ดารดาษไปในนำ้� และบนบกอยา่ งหนง่ึ ผดุ งอกขนึ้
จากแผน่ หนิ แหง่ ละเจด็ ดอกอยา่ งหนง่ึ และหอ้ ยยอ้ ยบนอากาศอกี อยา่ งหนง่ึ เหตกุ ารณต์ อ่ จากนน้ั
เมอ่ื พระบรมโพธสิ ตั วท์ รงกา้ วลงจากพระครรภย์ งั มไิ ดถ้ งึ พน้ื ปฐพี ทา้ วมหาพรหมทง้ั ๔ จากพรหมชนั้
สทุ ธาวาส นำ� ขา่ ยทองมารองรบั พระวรกาย ขณะเดยี วกนั กบ็ งั เกดิ ทอ่ นำ้ อนุ่ และนำ้ เยน็ หลงั่ ลงมา
จากอากาศโสรจสรงพระมารดาและพระมหาบุรุษ หลังจากน้ันท้าวจตุโลกบาลทั้ง ๔ รับ
องคพ์ ระโพธสิ ตั วจ์ ากทา้ วมหาพรหมแลว้ สง่ ตอ่ ใหน้ างนม

พระนางสิรมิ หามายาทรงพระสตู ิพระราชกมุ าร
ใตต้ น้ สาละ ณ สวนลมุ พนิ ีวัน
32 จติ รกรรมฝาผนัง วัดสวุ รรณนาราม ธนบุรี

33

34

ประสูติ
เมอ่ื นนั้ องคพ์ ระบรมโพธสิ ตั วเ์ สดจ็ ลกุ ขน้ึ ยนื แลว้ ทอดพระเนตรไปทว่ั ทง้ั ๑๐ ทศิ ทรงผนิ พระพกั ตรไ์ ปยงั ทศิ อดุ ร
ชพ้ี ระดรรชนขี ึน้ ฟา้ แลว้ เสด็จดำ� เนินไป ๗ กา้ ว แต่ละกา้ วมีดอกบัวผดุ ข้ึนมารองรบั และทรงเปล่งอาสภวิ าจาว่า
“เราเปน็ ผเู้ ลศิ ของโลก เปน็ ผใู้ หญท่ ส่ี ดุ ของโลก เปน็ ผปู้ ระเสรฐิ ทสี่ ดุ ของโลก นเ้ี ปน็ การเกดิ ครง้ั สดุ ทา้ ย ไมม่ กี ารเกดิ ใหม่
อกี ตอ่ ไป” ดอกบวั ทผ่ี ดุ ขน้ึ มารบั พระบาทนี้ หมายถงึ พระองคจ์ ะเปน็ ผบู้ รสิ ทุ ธิ์ ปราศจากกเิ ลสโดยสน้ิ เชงิ สว่ นจำ� นวน
ดอกบวั ทง้ั ๗ ดอก ทผ่ี ดุ ขน้ึ มารองรบั พระบาทขณะทท่ี รงพระดำ� เนนิ นน้ั เปน็ สญั ลกั ษณข์ อง โพชฌงค์ ๗ หมายถงึ ธรรม
ทเ่ี ปน็ องคแ์ หง่ การตรสั รู้ คอื สติ ธมั มวจิ ยะ วริ ยิ ะ ปติ ิ ปสั สทั ธิ สมาธิ อเุ บกขา๘ โดยหนงั สอื ปฐมสมโพธกิ ถามเี นอื้ ความ
ปรากฏ๙ ดงั นี้
“...แลพระโพธิสัตว์ทอดพระเนตรไปทั้ง ๑๐ ทิศ
มิได้เห็นผู้ใดผู้หนึ่งซึ่งเสมอด้วยพระองค์ จึงบ่าย
พระพักตร์ไปข้างทิศอุดรแล้วย่างพระบาทไป ๗
กา้ วบนพน้ื แผน่ ทอง อนั ทา้ วจตโุ ลกบาลถอื รองรบั แลว้
หยุดยนื บนทพิ ยปทุมชาติมกี ลบี ได้ ๑๐๐ กลีบ...”

พทุ ธประวัติ ตอน ประสตู ิ 35
จิตรกรรมสมุดภาพไตรภมู ฉิ บบั อักษรธรรมล้านนา

การเกดิ ดอกบวั เม่อื มีเหตุอัศจรรย์
คมั ภรี พ์ ทุ ธศาสนาในลา้ นนา ยงั มเี นอื้ หากลา่ วถงึ การเกดิ ของดอกบวั ไวห้ ลายประเภท อาทิ
ดอกบัวที่เกิดในน้ำ เกิดบนบกตามต้นไม้เถาวัลย์ และเกิดในอากาศ โดยเฉพาะดอกบัวท่ีเกิดใน
พทุ ธประวตั เิ มอ่ื มเี หตอุ ศั จรรยต์ า่ ง ๆ เชน่ เมอื่ พระโพธสิ ตั วเ์ สดจ็ ลงสพู่ ระครรภพ์ ระมารดา ประสตู ิ และ
ตรสั รู้ เปน็ ตน้ โดยมรี ายละเอยี ด ดงั นี้
๑. ขนั ธปทมุ หมายถงึ ดอกบวั ทเ่ี กดิ กบั ตน้ ไม้
๒. สาขปทมุ หมายถงึ ดอกบวั ทเี่ กดิ กบั กงิ่ ไม้
๓. ลดาปทมุ หมายถงึ ดอกบวั ทเี่ กดิ กบั เถาวลั ยต์ า่ ง ๆ
๔. ทณั ฑปทมุ หมายถงึ ดอกบวั ทม่ี กี า้ นประเภทตา่ ง ๆ เกดิ ในโคลนตมโผลพ่ น้ นำ้ ออกมา
๕. โอลมั พติ ปทมุ า หมายถงึ ดอกบวั ทหี่ อ้ ยยอ้ ยอยใู่ นอากาศ

สญั ลักษณด์ อกบวั ในพทุ ธประวัติ ตอน ประสูติ
36 จิตรกรรมสมุดภาพไตรภูมฉิ บบั อกั ษรธรรมล้านนา

37

ตรสั รู้

เมอื่ พระพทุ ธองคต์ รสั ร้อู นุตตรสมั มาสัมโพธิญาณ ทรงพจิ ารณาเหน็ ว่าธรรมท่ีไดต้ รสั รู้มี
ความลกึ ซง้ึ ยากทส่ี รรพสตั วผ์ ยู้ นิ ดใี นกามคณุ จะรตู้ ามได้ แตด่ ว้ ยพระมหากรณุ าธคิ ณุ ทรงพจิ ารณา
อธั ยาศยั ของเวไนยสตั วท์ ม่ี กี เิ ลสเบาบางทพี่ บจะรธู้ รรมตามพระองคไ์ ด้ ทรงเปรยี บเทยี บกบั บวั ๓ เหลา่
ไดแ้ ก่ บวั เกดิ ในนำ้ บวั เสมอนำ้ และบวั พน้ นำ้ ปรากฏเนอ้ื หาในพระไตรปฎิ ก๑๐ ความวา่

“...ครงั้ นน้ั พระผมู้ พี ระภาคทรงรบั ค�ำทลู อาราธนาของพรหม และเพราะอาศยั พระกรณุ าในหมสู่ ตั ว์
ทรงตรวจดโู ลกดว้ ยพทุ ธจกั ษุ เมอื่ ทรงตรวจดโู ลกดว้ ยพทุ ธจกั ษุ ไดเ้ หน็ สตั วท์ ง้ั หลายผมู้ ธี ลุ ใี นตานอ้ ย
มธี ลุ ใี นตามาก มอี นิ ทรยี แ์ กก่ ลา้ มอี นิ ทรยี อ์ อ่ น มอี าการดี มอี าการทราม สอนใหร้ ไู้ ดง้ า่ ย สอนใหร้ ไู้ ดย้ าก
บางพวกมกั เหน็ ปรโลกและโทษวา่ นา่ กลวั กม็ ี บางพวกมกั ไมเ่ หน็ ปรโลกและโทษวา่ นา่ กลวั กม็ ี มอี ปุ มา
เหมอื นในกออบุ ล ในกอปทมุ หรอื ในกอบณุ ฑรกิ ดอกอบุ ล ดอกปทมุ ดอกบณุ ฑรกิ บางดอกทเี่ กดิ
ในนำ้ เจรญิ ในนำ้ ยงั ไมพ่ น้ นำ้ จมอยใู่ นนำ้ ดอกอบุ ล ดอกปทมุ ดอกบณุ ฑรกิ บางดอกทเี่ กดิ ในนำ้
เจรญิ ในนำ้ อยเู่ สมอนำ้ ดอกอบุ ล ดอกปทมุ ดอกบณุ ฑรกิ บางดอกทเ่ี กดิ ในนำ้ เจรญิ ในนำ้ ขนึ้ พน้ นำ้
ไมแ่ ตะนำ้ ฉนั ใด พระผมู้ พี ระภาคทรงตรวจดโู ลกดว้ ยพทุ ธจกั ษุ ไดเ้ หน็ สตั วท์ งั้ หลาย ผมู้ ธี ลุ ใี นตานอ้ ย
มธี ลุ ใี นตามาก มอี นิ ทรยี แ์ กก่ ลา้ มอี นิ ทรยี อ์ อ่ น มอี าการดี มอี าการทราม สอนใหร้ ไู้ ดง้ า่ ย สอนใหร้ ไู้ ดย้ าก
บางพวกมกั เหน็ ปรโลกและโทษวา่ เปน็ ส่ิงนา่ กลัวก็มี บางพวกมักไมเ่ หน็ ปรโลกและโทษว่าเป็นสง่ิ
นา่ กลวั กม็ .ี ..”

ต้นพระศรีมหาโพธิ์
ลายคำ�บนผนังด้านหลงั พระพุทธรูปประธาน
38 วิหารวดั ไหล่หิน อำ�เภอเกาะคา จงั หวัดล�ำ ปาง

39

40

สัญลักษณ์บัวส่ีเหลา่
นอกจากนี้ เนอ้ื หาในคมั ภรี ท์ างพทุ ธศาสนาเถรวาท พระอรรถกถาจารยย์ งั มคี ำ� เปรยี บบคุ คล
เสมอื นดอกบวั ๔ เหลา่ ๑๑ ไดแ้ ก่
๑. อคุ ฆฏติ ญั ญู ผมู้ กี เิ ลสนอ้ ยเบาบาง มอี นิ ทรแี กก่ ลา้ สอนใหร้ ไู้ ดโ้ ดยงา่ ย เมอื่ ไดฟ้ งั ธรรมก็
สามารถรแู้ ละเขา้ ใจไดอ้ ยา่ งรวดเรว็ เปรยี บเสมอื นดอกบวั ทโ่ี ผลพ่ น้ พน้ื นำ้ แลว้ เมอ่ื สมั ผสั แสงอาทติ ย์
กจ็ ะบานในวนั น้ี
๒. วปิ จติ ญั ญู ผมู้ กี เิ ลสคอ่ นขา้ งนอ้ ย เมอื่ ไดฟ้ งั ธรรมแลว้ พจิ ารณาตาม และไดร้ บั การอบรม
ฝกึ ฝน จนมอี ปุ นสิ ยั แกก่ ลา้ กจ็ ะสามารถรแู้ ละเขา้ ใจในเวลาอนั ไมช่ า้ เปรยี บเสมอื นดอกบวั ทอ่ี ยเู่ สมอ
พนื้ นำ้ จะบานในวนั ถดั ไป
๓. เนยยะ ผมู้ กี เิ ลสเบาบาง เมอ่ื ไดฟ้ งั ธรรมแลว้ พจิ ารณาตาม และไดร้ บั การอบรมฝกึ ฝนอยเู่ สมอ
เพอื่ บำ� รงุ อปุ นสิ ยั จนกวา่ จะแกก่ ลา้ อาศยั ความเพยี รไมย่ อ่ ทอ้ กจ็ ะสามารถรแู้ ละเขา้ ใจไดใ้ นวนั หนง่ึ
ขา้ งหนา้ เปรยี บเสมอื นดอกบวั ทอี่ ยใู่ ตน้ ำ้ คอยเวลาทจ่ี ะบานในวนั ตอ่ ๆ ไป
๔. ปทปรมะ ผู้มีกิเลสหนา ปัญญาทราม เมื่อได้ฟังธรรมก็ไม่สามารถรู้ตามหรือเข้าใจ
ความหมายได้ เปรยี บเสมอื นดอกบวั ทจ่ี มอยใู่ นโคลนตม มแี ตจ่ ะตกเปน็ อาหารของปลาและเตา่ ไมม่ ี
โอกาสไดโ้ ผลพ่ น้ นำ้ และเบง่ บานได้
บคุ คล ๓ จำ� พวกแรก เรยี กวา่ เวไนยสตั ว์ หมายถงึ ผแู้ นะนำ� สง่ั สอนได้ สว่ นพวกสดุ ทา้ ย เปน็
อเวไนยสตั ว์ หมายถงึ ผไู้ มส่ ามารถแนะนำ� สง่ั สอนได้

ดอกบวั ในสระนำ�้ 41
จิตรกรรมกรรมฝาผนงั พระทีน่ ่งั พุทไธสวรรย์
พิพิธภณั ฑสถานแห่งชาติ พระนคร

โปรดโทณพราหมณ์
พทุ ธประวตั คิ รงั้ เมอ่ื ทรงตรสั ตอบคำ� ถามของโทณพราหมณ์ แลว้ เปรยี บพระองคก์ บั ดอกบวั
กลา่ วคอื สมยั หนง่ึ พระผมู้ พี ระภาคเสดจ็ ดำ� เนนิ ทางไกลในระหวา่ งเมอื งอกุ กฏั ฐะและเมอื งเสตพั ยะ
โทณพราหมณ์เดินทางตามมาดว้ ยเส้นทางเดียวกัน จงึ ไดม้ องเห็นรอยกงจักรในรอยพระบาทของ
พระผู้มีพระภาคมีซ่ีต้ังพัน ประกอบด้วยกงและดุม บริบูรณ์ด้วยอาการท้ังปวง แล้วคิดว่าเป็น
สงิ่ อัศจรรย์และนา่ จะไมใ่ ชร่ อยเท้ามนษุ ย์ จึงไดต้ ิดตามมาถึงโคนไม้ที่พระพุทธเจา้ ทรงประทบั อยู่
เมอื่ ไดเ้ หน็ พระพทุ ธองคก์ เ็ กดิ ความเลอ่ื มใสเขา้ ไปเฝา้ แลว้ ทลู ถามวา่ พระพทุ ธเจา้ เปน็ ใคร ตง้ั แตเ่ ทวดา
คนธรรพ์ ยกั ษ์ และมนษุ ย์ แตพ่ ระพทุ ธองคท์ รงปฏเิ สธทงั้ หมด แลว้ ทรงตรสั ตอบโทณพราหมณว์ า่
ทรงละอาสวะกเิ ลสหมดสน้ิ แลว้ ตรสั บอกใหโ้ ทณพราหมณเ์ รยี กพระองคว์ า่ พระพทุ ธเจา้ ตอ่ มาเมอื่
พระพทุ ธองคเ์ สดจ็ ดบั ขนั ธปรนิ พิ พานทเ่ี มอื งกสุ นิ ารา หลงั ถวายพระเพลงิ เสรจ็ สน้ิ แลว้ บรรดากษตั รยิ ์
และผู้ครองเมืองทั้ง ๗ เช่น ราชคฤห์ มคธ และกบิลพัสดุ์ เป็นต้น ได้ส่งราชทูตมาขอแบ่งส่วน
พระบรมสารีริกธาตุ โทณพราหมณเ์ ปน็ ผ้เู สนอให้แบ่งออกเปน็ ๘ สว่ น ให้แก่บรรดากษัตริยแ์ ละ
ผู้ครองนครท้งั ๗ อกี สว่ นหน่งึ เปน็ ของนครกสุ ินารา ส่วนโทณพราหมณเ์ องไดท้ ลู ขอทะนานตวง
พระบรมธาตคุ อื ตมุ พะ ไปสกั การบชู า

42

รอยพระพุทธบาทหนิ สลกั 43
ศลิ ปะอินเดยี สถูปสาญจี
รัฐมธั ยประเทศ ประเทศอนิ เดยี

พระพุทธเจ้าทรงเปรียบพระองคก์ บั ดอกบัว
ครงั้ เมอื่ ทรงตรสั ตอบคำ� ถามโทณพราหมณแ์ ลว้ เปรยี บพระองคก์ บั ดอกบวั มเี นอ้ื หาปรากฏ
ในพระไตรปฎิ ก เลม่ ท่ี ๒๑ พระสตุ ตนั ตปฎิ ก เลม่ ท่ี ๑๓ องั คตุ ตรนกิ าย จตกุ กนบิ าต๑๒ ความวา่
“...ดกู รพราหมณ์ เราพงึ เปน็ เทวดา เพราะยงั ละอาสวะเหลา่ ใดไมไ่ ด้ อาสวะเหลา่ นน้ั เราละไดแ้ ลว้
ตัดรากขาดแล้ว กระท�ำให้เป็นดุจตาลยอดด้วนกระท�ำให้ไม่มี ไม่ให้เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา
ดกู รพราหมณ์ เราพงึ เปน็ คนธรรพ์ ... เราพงึ เปน็ ยกั ษ์ ... เราพงึ เปน็ มนษุ ย์ เพราะยงั ละอาสวะเหลา่ ใด
ไมไ่ ด้อาสวะเหล่านั้น เราละได้แลว้ ตดั รากขาดแลว้ กระท�ำใหเ้ ป็นดจุ ตาลยอดด้วนกระท�ำใหไ้ ม่มี
ไมใ่ หเ้ กดิ ขนึ้ อกี ตอ่ ไปเปน็ ธรรมดา ดกู รพราหมณ์ เปรยี บเหมอื นดอกอบุ ล ดอกปทมุ หรอื ดอกบวั ขาว
เกดิ ในนำ้� เจรญิ ในนำ้� ตง้ั อยพู่ น้ นำ�้ แตน่ ำ้� มไิ ดแ้ ปดเปอ้ื นแมฉ้ นั ใด ดกู รพราหมณ์ เรากฉ็ นั นน้ั เหมอื นกนั
เกดิ ในโลกเตบิ โตขนึ้ ในโลก อยคู่ รอบง�ำโลกอนั โลกมไิ ดแ้ ปดเปอ้ื น ดกู รพราหมณ์ ทา่ นจงทรงจ�ำเราไวว้ า่
เปน็ พระพทุ ธเจา้ ฯ ความบงั เกดิ เปน็ เทวดา หรอื คนธรรพ์ ผเู้ ทยี่ วไปในเวหา พงึ มแี กเ่ ราดว้ ยอาสวะใด
เราพงึ ถงึ ความเปน็ ยกั ษ์ และเขา้ ถงึ ความเปน็ มนษุ ยด์ ว้ ยอาสวะใด อาสวะเหลา่ นน้ั ของเรา สนิ้ ไปแลว้
เราก�ำจดั เสยี แลว้ กระท�ำใหป้ ราศจาก เครอ่ื งผกู พนั ดอกบวั ตงั้ อยพู่ น้ นำ้ ยอ่ มไมแ่ ปดเปอ้ื นดว้ ยนำ้
ฉนั ใดเรากย็ อ่ มไมแ่ ปดเปอ้ื นดว้ ยโลก ฉนั นนั้ ดกู รพราหมณ์ เพราะฉะนน้ั เราจงึ เปน็ พระพทุ ธเจา้ ฯ...”

44

สญั ลักษณ์สระอโนดาต 45
จิตรกรรมสมดุ ภาพไตรภูมฉิ บบั อกั ษรธรรมล้านนา

แสดงปาฏิหาริย์โปรดครหทนิ
พทุ ธประวตั โิ ดยพระอรรถกถาจารย์ กลา่ วถงึ เรอื่ งราวของดอกบวั ทผี่ ดุ ขน้ึ มารองรบั พระบาท
ของพระพทุ ธเจา้ กลา่ วคอื ในสมยั พทุ ธกาล มสี หาย ๒ คน ชอื่ ครหทนิ และสริ คิ ตุ ครหทนิ ผเู้ ปน็ สาวก
ของนคิ รนถน์ กั บวชนอกศาสนา ไดพ้ ยายามชกั ชวนใหส้ ริ คิ ตุ ซงึ่ เลอื่ มใสในพระพทุ ธศาสนาหนั ไปนบั ถอื
ลทั ธคิ วามเชอ่ื ของตน โดยอา้ งวา่ เจา้ ลทั ธขิ องตนมคี วามรทู้ งั้ อดตี ปจั จบุ นั และอนาคต เมอ่ื ไดฟ้ งั ดงั นน้ั
สริ คิ ตุ จงึ คดิ อบุ ายเพอื่ ทดสอบเหลา่ นคิ รนถด์ ว้ ยวธิ กี ารขดุ หลมุ ใสอ่ จุ จาระไวเ้ ตม็ หลมุ แลว้ นำ� เสอื่ มา
คลมุ ปดิ ปากหลมุ ไวบ้ รเิ วณหนา้ บา้ นของตน จากนน้ั ไดน้ มิ นตส์ าวกของนคิ รนถม์ าเลย้ี งอาหารทบี่ า้ น
เหลา่ สาวกไมล่ ว่ งรกู้ ลอบุ ายจงึ ตกไปในหลมุ อจุ จาระนน้ั ฝา่ ยครหทนิ เกดิ ความโกรธแคน้ และคดิ จะ
ทดสอบบ้าง จึงวางอุบายขุดหลุมใส่ถ่านเพลิงเอาไว้หน้าบ้าน โดยใช้เส่ือคลุมปิดปากหลุมไว้
แลว้ อาราธนาพระพทุ ธเจา้ พรอ้ มดว้ ยพระสาวกไปฉนั อาหารทบี่ า้ นของตนบา้ ง ครนั้ เมอื่ พระพทุ ธองค์
ทรงด�ำเนินเหยียบบนเสื่อ ถ่านเพลิงในหลุมกลับกลายเป็นดอกบัวผุดข้ึนมารองรับพระบาทไว้ได้
อย่างนา่ อศั จรรย์

ภาพปรศิ นาธรรม ดอกบัวใหญบ่ านเต็มท่ีอยกู ลางสระน�ำ้
ฝีมือขรัวอินโข่ง จติ รกรเอกในสมยั พระบาทสมเดจ็ พระจอมเกล้าเจา้ อยหู่ วั รชั กาลท่ี ๔
46 จติ รกรรมฝาผนงั พระอุโบสถ วัดบวรนเิ วศวหิ าร กรงุ เทพฯ

47

ดอกบัวเป็นสญั ลกั ษณข์ องการสักการบชู าพระพุทธเจา้

การสกั การบชู าพระพทุ ธเจา้ ดว้ ยดอกบวั ของพระโพธสิ ตั วใ์ นพระไตรปฎิ ก อรรถกถา พบวา่ มเี นอ้ื หา
เกย่ี วกบั การสกั การบชู าพระอดตี พทุ ธเจา้ ทปี งั กรดว้ ยดอกไมข้ องพระโพธสิ ตั วท์ ม่ี นี ามวา่ สเุ มธดาบส ซงึ่ เปน็ ผู้
มีจิตเล่ือมใส นอนทอดกายให้พระพุทธเจ้าทีปังกร และเหล่าพระอรหันตสาวกเหยียบด�ำเนินข้ามเลนตม
โดยตงั้ ความปรารถนาวา่ ขอใหไ้ ดส้ รา้ งบารมี จนตรสั รเู้ ปน็ พระพทุ ธเจา้ พระองคห์ นง่ึ ในอนาคตกาล พระทปี งั กร
พทุ ธเจา้ ไดท้ รงมพี ทุ ธพยากรณว์ า่ ภายภาคหนา้ เปน็ เวลา ๔ อสงไขย แสนมหากปั สเุ มธดาบสจกั ไดต้ รสั รเู้ ปน็
พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่า พระโคตมสัมมาสัมพุทธเจ้า ส่วนนางสุมิตตากุมารี เม่ือได้สดับฟัง
พทุ ธพยากรณด์ งั นนั้ จงึ ไดน้ ำ� ดอกบวั ๘ ดอกทต่ี นนำ� มา แบง่ ใหก้ บั สเุ มธดาบส ๕ ดอก เพอื่ บชู าพระพทุ ธเจา้
แลว้ ตงั้ จติ อธษิ ฐานใหไ้ ดเ้ ปน็ ผสู้ รา้ งบารมรี ว่ มกบั สเุ มธดาบสทปี่ รารถนาสรา้ งบารมเี พอื่ ไปสพู่ ทุ ธภมู ิ ภายหลงั
นางสมุ ติ ตากมุ ารไี ดม้ าบงั เกดิ เปน็ พระนางยโสธราพมิ พา ซง่ึ เปน็ พระอคั รมเหสขี องเจา้ ชายสทิ ธตั ถะในชาตทิ ี่
ทรงจะไดต้ รสั รเู้ ปน็ พระสมั มาสมั พทุ ธเจา้

48


Click to View FlipBook Version