The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

63040140109 ทรัพย์สิน ผ่านชมภู เรื่อง การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ ทักษะการแก้ปัญหา และการทำงานเป็นทีมโดยใช้การเรียนแบบร่วมมือแบบแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by ทรัพย์สิน ผ่านชมภู, 2024-01-25 23:03:26

วิจัย

63040140109 ทรัพย์สิน ผ่านชมภู เรื่อง การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ ทักษะการแก้ปัญหา และการทำงานเป็นทีมโดยใช้การเรียนแบบร่วมมือแบบแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

40 4. การตอบ 2 คะแนน สำหรับการตอบคำถามได้ถูกต้องสมบูรณ์ 1 คะแนน สำหรับการตอบที่ไม่สมบูรณ์หรือใช้สัญลักษณ์ผิด 0 คะแนน เมื่อไม่ได้ระบุคำตอบ อัมพร ม้าคนอง (2554: 173-174) กล่าวว่าการประเมินความสามารถในการ แก้ปัญหา ดังนี้ 1. การแก้ปัญหาได้ เป็นความสามารถในการหาคำตอบและแนวทาง การ แก้ปัญหา 2. การสร้างโจทย์หรือประเด็นปัญหา เป็นความสามารถในการหา ความสัมพันธ์ ของข้อมูล เพื่อนำไปสู่การสร้างโจทย์ปัญหาต่าง ๆ 3. การใช้วิธีการแก้ปัญหาที่หลากหลาย เป็นความสามารถในการแก้ปัญหา โดย ใช้วิธีการที่แตกต่างกันหลายวิธี 4. การตรวจสอบความสมเหตุสมผลของคำตอบ เป็นความสามารถ ในการ พิจารณา คำตอบหรือการแก้ปัญหาที่ได้ว่าถูกต้อง เหมาะสมเพียงใด 5. การขยายความคิดจากผลการแก้ปัญหา เป็นความสามารถในการนำผล จาก การแก้ปัญหาไปคิดต่อ เช่น การมองเห็นรูปทั่วไป การเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นเมื่อเงื่อนไขของ ปัญหา เปลี่ยนไป ชรินทร์ สงสกุล (2559: 40) เกณฑ์ในการวัดความสามารถในการแก้ปัญหาทาง คณิตศาสตร์สามารถแบ่งขั้นตอนการให้คะแนนออกเป็น 4 ขั้นตอน ได้ดังนี้ ขั้นที่ 1 การทำความเข้าใจปัญหา (2 คะแนน) 2 หมายถึง ระบุสิ่งที่โจทย์กำหนดให้และสิ่งที่โจทย์ต้องการได้ต้อง ถูกต้อง ครบถ้วน 1 หมายถึง ระบุสิ่งที่โจทย์กำหนดให้และสิ่งที่โจทย์ต้องการได้บางส่วน 0 หมายถึง ไม่แสดงระบุสิ่งที่โจทย์กำหนดให้และสิ่งที่โจทย์ต้องการ ขั้นที่ 2 การวางแผนแก้ปัญหา (2 คะแนน) 2 หมายถึง เลือกวิธีการแก้ปัญหาได้เหมาะสม และเขียนสูตรที่ใช้ใน การ คำนวณได้ถูกต้อง 1 หมายถึง เลือกวิธีการแก้ปัญหาที่นำไปสู่คำตอบได้ แต่อาจจะเขียน สูตรที่ ใช้ได้ไม่ถูกต้องหรือเขียนสูตรที่ใช้ในการคำนวณได้ถูกต้องแต่เลือกวิธีการแก้ปัญหาที่นำไปสู่คำตอบได้ ไม่ ถูกต้อง 0 หมายถึง เลือกวิธีการแก้ปัญหาไม่ถูกต้องเขียนสูตรที่ใช้ได้ไม่ ถูกต้อง ขั้นที่ 3 การดำเนินการแก้ปัญหา (2 คะแนน) 2 หมายถึง แทนค่าในสูตรที่ใช้ได้ถูกต้องสมบูรณ์ แสดงการคำนวณ ตาม ยุทธวิธีที่เลือกได้ถูกต้องและชัดเจนครบถ้วน 1 หมายถึง แทนค่าในสูตรที่ใช้ได้ถูกต้อง แสดงการคำนวณตาม ยุทธวิธีที่ เลือกได้ถูกต้องเป็นบางส่วน


41 0 หมายถึง ไม่แสดงการคำนวณหรือแสดงแต่ไม่ถูก ขั้นที่ 4 การสรุปคำตอบ (2 คะแนน) 2 หมายถึง สรุปคำตอบได้ถูกต้องสมบูรณ์ และสามารถตรวจคำตอบได้ 1 หมายถึง สรุปคำตอบได้ถูกต้องเพียงบางส่วนหรือคำนวณผิดพลาด ตอบ ได้ถูกต้องบางส่วน 0 หมายถึง สรุปคำตอบได้ไม่ถูกต้องหรือไม่มีคำตอบ จากการศึกษาเกณฑ์การให้คะแนนแบบรูบริค สรุปได้ว่า การให้คะแนนแบบ รูบริคมี2 แบบ 1. การให้คะแนนเป็นภาพรวม เป็นการให้คะแนนผลงาน โดยพิจารณาจาก ความคิด ความเข้าใจรวบยอด โดยอาจแบ่งคุณภาพของชิ้นงานเป็น งานที่มีคุณภาพดีเป็นพิเศษ งานที่ ยอมรับได้หรือพอใช้ได้ และงานที่ยอมรับได้น้อยหรือยังใช้ไม่ได้ 2. การให้คะแนนแบบแยกองค์ประกอบ เป็นการพิจารณาคุณภาพของงาน ที่ ละเอียดมากยิ่งขึ้น เป็นการให้คะแนนในแต่ละขั้นตอน โดยมีเกณฑ์การให้คะแนนที่ชัดเจน


42 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเป็นส่วนที่มีความสำคัญในกระบวนการเรียนการสอน เพราะเป็นตัว บ่งชี้ให้เห็นว่า การเรียนการสอนที่ผ่านมาประสบผลสำเร็จมากน้อยเพียงใด ซึ่งทั้งครูและนักเรียน จะต้องปรับปรุงแก้ไขในส่วนใดบ้าง ซึ่งผู้วิจัยได้ศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ซึ่ง ประกอบด้วย ความหมายของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการวัดและประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาคณิตศาสตร์ โดยมีรายละเอียด ดังนี้ 1. ความหมายของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน นักการศึกษาหลายท่านได้ให้ความหมายของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไว้ดังนี้ บุญชม ศรีสะอาด (2540: 68) ได้ให้ความหมายไว้ว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นจากการค้นคว้า การอบรม การสั่งสอน หรือประสบการณ์ต่าง ๆ รวมทั้ง ความรู้สึก ค่านิยม จริยธรรมต่าง ๆ ที่เป็นผลมาจากการฝึกสอน พวงรัตน์ ทวีรัตน์ (2540: 29) ได้ให้ความหมายไว้ว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หมายถึง คุณลักษณะ รวมถึงความรู้ความสามารถของบุคคลอันเป็นผลมาจากการเรียนการสอนหรือมวล ประสบการณ์ทั้งปวงที่บุคคลได้รับจากการเรียนการสอน ทำให้บุคคลเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ในด้านต่าง ๆ ของสมรรถภาพสมอง อัญชนา โพธิพลากร (2545) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ หมายถึง ความสามารถในการเรียนรู้ของนักเรียนจากการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ซึ่งประเมินได้จากการทำ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ซึ่งแบบทดสอบนั้นสอดคล้องกับพฤติกรรม ด้านความรู้ความคิด (Cognitive Domain) ความสามารถ หรือความสำเร็จในด้านต่าง ๆ เช่น ความรู้ ทักษะในการแก้ปัญหา ความสามารถในการนำไปใช้ และการวิเคราะห์ออเป็นต้น รวมถึงประสิทธิภาพ ที่ได้จากการเรียนรู้ซึ่งได้รับมาจากการสอน การฝึกฝน หรือประสบการณ์ต่าง ๆ ซึ่งวัดได้จากการตอบ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่สร้างขึ้น เยาวดี วิบูลย์ศรี (2546: 7) ได้สรุปความหมายของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนว่า เป็นการ วัดผลการเรียนรู้ด้านเนื้อหาวิชาและทักษะต่าง ๆ ของแต่ละสาขาวิชา โดยเฉพาะอย่างยิ่งสาขาวิชา ทั้งหลายที่ได้จัดสอบในระดับขั้นต่าง ๆ ของโรงเรียน ลักษณะของแบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ มีทั้งเป็น ข้อเขียนและเป็นภาคปฏิบัติจริง จากความหมายของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่กล่าวมา ผู้วิจัยสรุปได้ว่า ผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียน หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นจากการค้นคว้า การอบรม การสั่งสอน หรือประสบการณ์ต่าง ๆ ทำให้บุคคลเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในด้านต่าง ๆ ของสมรรถภาพสมองซึ่งประเมินได้จากการ ทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ซึ่งแบบทดสอบนั้นสอดคล้องกับ พฤติกรรมด้านความรู้ความคิด (Cognitive Domain) ความสามารถ หรือความสำเร็จในด้านต่าง ๆ ซี่งลักษณะของแบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ มีทั้งเป็นข้อเขียนและเป็นภาคปฏิบัติจริง 2. การวัดและประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ วิลสัน (Wilson, 1971: 643-696) ได้จำแนกพฤติกรรมที่พึงประสงค์ด้านพุทธิพิสัย ตามกรอบแนวคิดของบลูม (Bloom‘s Taxonomy) ออกเป็น 4 ระดับ ดังนี้


43 1. ความรู้ความจำด้านการคิดคำนวณ (Computation) พฤติกรรมในระดับนี้ เป็นพฤติกรรมที่อยู่ในระดับต่ำที่สุด แบ่งออกเป็น 3 ข้อ ดังนี้ 1.1 ความรู้ความจำเกี่ยวกับข้อเท็จจริง (Knowledge of Specific) เป็น ความสามารถที่จะระลึกถึงข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่นักเรียนเคยได้รับจากการเรียนการสอนมาแล้วคำถามที่ วัดความสามารถในระดับนี้จะเกี่ยวกับข้อเท็จจริง ตลอดจนความรู้พื้นฐานซึ่งนักเรียนได้สั่งสมมาเป็น ระยะเวลานาน 1.2 ความรู้ความจำเกี่ยวกับคำศัพท์และคำนิยาม (Knowledge of Terminology) เป็นความสามารถในการระลึกหรือจำศัพท์และนิยามต่าง ๆ ได้ ซึ่งอาจจะถามโดยตรง หรือโดยอ้อมก็ได้แต่ไม่ต้องอาศัยการคิดคำนวณ 1.3 ความสามารถในการใช้กระบวนคิดคำนวณ (Ability of Carry out Algorithms) เป็นความสามารถในการใช้ข้อเท็จจริงหรือนิยาม และกระบวนการที่ได้เรียนมาแล้วมา คิดคำนวณตามลำดับขั้นตอนที่เคยเรียนรู้มา ข้อสอบที่วัดความสามารถด้านนี้ต้องเป็นโจทย์ง่าย ๆ คล้ายคลึงกับตัวอย่าง นักเรียนไม่ต้องพบกับความยุ่งยากในการตัดสินใจเลือกใช้กระบวนการ 2. ความเข้าใจ (Comprehension) เป็นพฤติกรรมที่ใกล้เคียงกับพฤติกรรม ระดับความรู้ความจำเกี่ยวกับการคิดคำนวณ แต่ซับซ้อนกว่า แบ่งออกเป็น 6 ข้อ ดังนี้ 2.1 ความเข้าใจเกี่ยวกับมโนมติ (Knowledge of Concepts) เป็น ความสามารถที่ซับซ้อนกว่าความรู้ความจำเกี่ยวกับข้อเท็จจริง เพราะมโนมติเป็นนามธรรม ซึ่ง ประมวล จากข้อเท็จจริงต่าง ๆ ต้องอาศัยการตัดสินใจในการตีความหรือยกตัวอย่างของมโนมตินั้น โดยใช้คำพูดของตนหรือเลือกความหมายที่กำหนดให้ ซึ่งเขียนในรูปใหม่หรือยกตัวอย่างใหม่ที่แตกต่าง ไปจากที่เคยเรียนในชั้นเรียน มิฉะนั้นจะเป็นการวัดความจำ 2.2 ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการ กฎทางคณิตศาสตร์ การสรุปอ้างอิงเป็น กรณีทั่วไป (Knowledge of Principle, Rules and Generalization) เป็นความสามารถในการ นำเอาหลักการ กฎและความเข้าใจเกี่ยวกับมโนมติไปสัมพันธ์กับโจทย์ปัญหาจนได้แนวทางในการ แก้ปัญหา ถ้าคำถามนั้นเป็นคำถามเกี่ยวกับหลักการและกฎที่นักเรียนเพิ่งเคยพบเป็นครั้งแรก อาจ จัดเป็นพฤติกรรมในระดับการวิเคราะห์ก็ได้ 2.3 ความ เข้าใจใน โครงสร้างท างคณิ ตศาสตร์ (Knowledge of Mathematical Structure) คำถามที่วัดพฤติกรรมระดับนี้เป็นคำถามที่วัดเกี่ยวกับคุณสมบัติของ ระบบจำนวนและโครงสร้างทางพีชคณิต 2.4 ความสามารถในการเปลี่ยนปัญหาขั้นพื้นฐาน จากแบบหนึ่งไปเป็นอีก แบ บ ห นึ่ ง (Ability of Transform Problem Elements from One Mode to Another) เป็น ความสามารถในการแปลข้อความที่กำหนดให้เป็นข้อความใหม่หรือภาษาใหม่ เช่น แปลจากภาษาพูด ให้เป็นสมการซึ่งมีความหมายคงเดิม โดยไม่รวมถึงกระบวนการแก้ปัญหา (Algorithms) หลังจากแป แล้วอาจกล่าวได้ว่า เป็นพฤติกรรมที่ง่ายที่สุดของพฤติกรรมระดับความเข้าใจ 2.5 ความสามารถในการติดตามแนวของเหตุผล (Ability to Follow a line of Reasoning) เป็นความสามารถในการอ่านและเข้าใจข้อความทางคณิตศาสตร์ซึ่งแตกต่างไป จากความสามารถในการอ่านทั่ว ๆ ไป


44 2.6 ความสามารถในการอ่านและตีความโจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ (Ability to Read and Interpret a Problem) ข้อสอบที่วัดความสามารถในขั้นนี้ อาจดัดแปลงมาจาก ข้อสอบ ที่วัดความสามารถในชั้นอื่น ๆ โดยให้นักเรียนอ่านและตีความโจทย์ปัญหา ซึ่งอาจจะอยู่ในรูป ของข้อความตัวเลข ข้อมูลทางสถิติหรือกราฟ. 3. การนำไปใช้(Application) เป็นความสามารถในการตัดสินใจแก้ปัญหาที่ นักเรียนคุ้นเคยเพราะคล้ายกับปัญหาที่นักเรียนประสบอยู่ในระหว่างเรียนหรือแบบฝึกหัดที่นักเรียน ต้องเลือกกระบวนการแก้ปัญหาและดำเนินการแก้ปัญหาได้โดยไม่ยาก พฤติกรรมในระดับนี้แบ่ง ออกเป็น 4 ข้อ คือ 3.1 ความสามารถในการแก้ปัญหาที่คล้ายกับปัญหาที่ประสบอยู่ในระหว่าง เรียน(Ability to Solve Routine Problems) นักเรียนต้องอาศัยความสามารถในระดับความเข้าใจ และเลือกกระบวนการแก้ปัญหาจนได้คำตอบออกมา 3.2 ความสามารถในการเปรียบเทียบ (Ability to Make Comparisons) เป็นความสามารถในการค้นหาความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูล 2 ชุด เพื่อสรุปการตัดสินใจ ซึ่งในการ แก้ปัญหาขั้นนี้ อาจต้องใช้วิธีการคิดคำนวณและจำเป็นต้องอาศัยความรู้ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้ง ความสามารถในการคิดอย่างมีเหตุผล 3.3 ความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูล (Ability to Analyze Data) เป็น ความสามารถในการตัดสินใจอย่างต่อเนื่องในการหาคำตอบจากข้อมูลที่กำหนดให้ ซึ่งอาจต้องอาศัย การแยกข้อมูลที่เกี่ยวข้องออกจากข้อมูลที่ไม่เกี่ยวข้อง พิจารณาว่าอะไรคือ ข้อมูลที่ต้องการเพิ่มเติม มี ปัญหาอื่นใดบ้างที่อาจเป็นตัวอย่างในการหาคำตอบของปัญหาที่กำลังประสบอยู่หรือต้องแยกโจทย์ ปัญหาออกพิจารณาเป็นส่วน ๆ มีการตัดสินใจหลายครั้งอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ต้นจนได้คำตอบหรือ ผลลัพธ์ที่ต้องการ. 3.4 ความสามารถในการมองเห็นแบบลักษณะโครงสร้างที่เหมือนกันและการ สมมาตร (Ability to Recognize Patterns Isomorphism and Symmetries) เป็นความสามารถที่ ต้องอาศัยพฤติกรรมอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่การระลึกถึงข้อมูลที่กำหนดให้ การเปลี่ยนรูปปัญหาการจัด กระทำกับข้อมูล และการระลึกถึงความสัมพันธ์นักเรียนต้องสำรวจหาสิ่งที่คุ้นเคยกันจากข้อมูลหรือ สิ่งที่กำหนดจากโจทย์ปัญหาให้พบ. 4. การวิเคราะห์ (Analysis) เป็นความสามารถในการแก้ปัญหาที่นักเรียนไม่เคย เห็นหรือไม่เคยทำแบบฝึกหัดมาก่อน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นโจทย์พลิกแพลง แต่อยู่ในขอบเขตของ เนื้อหาวิชา ที่เรียนการแก้โจทย์ปัญหาดังกล่าวต้องอาศัยความรู้ที่ได้เรียนมารวมกับความคิดสร้างสรรค์ ผสมผสานกันเพื่อแก้ปัญหา พฤติกรรมในระดับนี้ถือว่าเป็นพฤติกรรมขั้นสูงสุดของการเรียนการสอน คณิตศาสตร์ซึ่งต้องใช้สมรรถภาพระดับสูง แบ่งออกเป็น 5 ข้อ ดังนี้ 4.1 ความสามารถในการแก้ปัญหาที่ไม่เคยประสบมาก่อน (Ability to Solve No Routine Problems) คำถามในขั้นนี้เป็นคำถามที่ซับซ้อน ไม่มีในแบบฝึกหัดหรือตัวอย่าง นักเรียนต้องอาศัยความคิดสร้างสรรค์ผสมผสานกับความเข้าใจมโนมติ นิยาม ตลอดจนทฤษฎีต่าง ๆ ที่เรียนมาแล้วเป็นอย่างดี. 4.2 ความสามารถในการค้นหาความสัมพันธ์ (Ability to Discover


45 Relationships) เป็นความสามารถในการจัดส่วนต่าง ๆ ที่โจทย์กำหนดให้ใหม่ แล้วสร้างความสัมพันธ์ ขึ้นใหม่เพื่อใช้ในการแก้ปัญหา แทนการจำความสัมพันธ์เดิมที่เคยพบมาแล้ว มาใช้กับข้อมูลชุดใหม่ เท่านั้น. 4.3 ความสามารถในการสร้างข้อพิสูจน์ (Ability to Construct Proof) เป็นความสามารถในการสร้างภาษา เพื่อยืนยันข้อความทางคณิตศาสตร์อย่างสมเหตุสมผล โดยอาศัย นิยาม สัจพจน์และทฤษฎีต่าง ๆ ที่เรียนมาแล้วพิสูจน์โจทย์ปัญหาที่ไม่เคยพบมาก่อน. 4.4 ความสามารถในการวิพากษ์วิจารณ์ ข้อพิสูจน์ (Ability to Criticize Proofs) ความสามารถในขั้นนี้ เป็นการใช้เหตุผลที่ควบคู่กับความสามารถในการเขียนข้อพิสูจน์แต่ ความสามารถในการวิจารณ์เป็นพฤติกรรมที่ยุ่งยากซับซ้อนกว่า อาจเป็นพฤติกรรมที่มีความซับซ้อน น้อยกว่าพฤติกรรมในการสร้างข้อพิสูจน์พฤติกรรมในขั้นนี้ต้องการให้นักเรียนสามารถตรวจสอบ ข้อ พิสูจน์ว่าถูกต้องหรือไม่ มีขั้นตอนใดถูกบ้าง มีขั้นตอนใดผิดพลาดไปจากมโนมติ หลักการ กฎ นิยาม หรือวิธีการทางคณิตศาสตร์. 4.5 ความสามารถในการสร้างสูตรและทดสอบความถูกต้องให้มีผลใช้ได้ เป็นกรณีทั่วไป (Ability to Formulate and Validate Generalization) นักเรียนต้องสามารถสร้าง สูตรขึ้นมาใหม่ โดยให้สัมพันธ์กับเรื่องเดิมและต้องสมเหตุสมผลด้วย คือ การถามให้หาและพิสูจน์ ประโยคทางคณิตศาสตร์หรืออาจถามให้นักเรียนสร้างกระบวนการคำนวณใหม่ พร้อมทั้งแสดงการใช้ กระบวนการนั้นเป็นความสามารถในการค้นพบสูตร หรือกระบวนการแก้ปัญหาและพิสูจน์ว่าใช้เป็น กรณีทั่วไปได้. 3. องค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การที่ผู้เรียนจะมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ดีหรือไม่นั้นขึ้นกับองค์ประกอบ หลายประการ ดังที่มีนักการศึกษากล่าวไว้ดังนี้ ชูศักดิ์ เพรสคอทท์(2540: 117) ได้ศึกษาเกี่ยวกับการเรียนของนักเรียน และสรุปผล การศึกษาว่าองค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนทั้งในและนอกห้องเรียน ดังนี้ 1. องค์ประกอบทางด้านร่างกาย ได้แก่ อัตราการเจริญเติบโตของร่างกาย สุขภาพทางด้านร่างกาย ข้อบกพร่องทางกาย และบุคลิกท่าทาง 2. องค์ประกอบทางความรัก ได้แก่ ความสัมพันธ์ของบิดามารดากับลูก ความสัมพันธ์ระหว่างลูก ๆ ด้วยกัน และความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกทั้งหมดในครอบครัว 3. องค์ประกอบทางวัฒนธรรมและสังคม ได้แก่ ขนบธรรมเนียมประเพณี ความ เป็นอยู่ของครอบครัว สภาพแวดล้อมทางบ้าน การอบรมทางบ้าน และฐานะทางบ้าน 4. องค์ประกอบทางความสัมพันธ์ในเพื่อนวัยเดียวกัน ได้แก่ ความสัมพันธ์ของ นักเรียนกับเพื่อนวัยเดียวกันทั้งที่บ้านและที่โรงเรียน 5. องค์ประกอบทางพัฒนาแห่งตน ได้แก่ สติปัญญา ความสนใจ เจตคติของ นักเรียนต่อการเรียน


46 6. องค์ประกอบทางการปรับตน ได้แก่ ปัญหาการปรับตน การแสดงออกทาง อารมณ์ แมดดอกซ์(Maddox: 1963) ได้ทำการศึกษา พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 50 – 60 ขึ้นอยู่กับความพยายามและวิธีการเรียนที่มีประสิทธิภาพร้อยละ 30 – 40 และขึ้นอยู่กับโอกาส และสิ่งแวดล้อมร้อยละ 10 – 15 อารีย์ คงสวัสดิ์ (2544) กล่าวว่า องค์ประกอบที่มีอิทธิพลกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน นั้นมีองค์ประกอบมากมายหลายอย่าง ดังนี้ 1. ด้านคุณลักษณะการจัดระบบในโรงเรียน ตัวแปรด้านนี้จะประกอบด้วยขนาด ของโรงเรียน อัตราส่วนนักเรียนต่อครู อัตราส่วนของนักเรียนต่อห้องซึ่งตัวแปรเหล่านี้มีความสัมพันธ์ กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน 2. ด้านคุณลักษณะของครู ตัวแปรทางด้านคุณลักษณะของครูประกอบด้วยอายุ วุฒิครู ประสบการณ์ของครู การฝึกอบรมของครู จำนวนวันลาของครู จำนวนคาบที่สอนในหนึ่ง สัปดาห์ของครู ความเอาใจใส่ในหน้าที่ซึ่งตัวแปรเหล่านี้มีความสัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทั้งสิ้น 3. ด้านลักษณะของนักเรียน ประกอบด้วยตัวแปรเกี่ยวกับตัวนักเรียน เช่น เพศ อายุ สติปัญญา การเรียนพิเศษ การได้รับความช่วยเหลือเกี่ยวกับการเรียน สมาชิกในครอบครัว ระดับ การศึกษาของบิดามารดา อาชีพของผู้ปกครอง ความพร้อมในเรื่องอุปกรณ์การเรียน ระยะทางไป เรียน การมีอาหารกลางวันรับประทาน ความเอาใจใส่ในการเรียน ทัศนคติเกี่ยวกับการเรียนการสอน ฐานะทางครอบครัว การขาดเรียน การเข้าร่วมกิจกรรมที่ทางโรงเรียนจัดขึ้น ตัวแปรเหล่านี้มี ความสัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 4. ด้านภูมิหลังทางเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมของนักเรียน การศึกษา เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างสภาพทางเศรษฐกิจ สังคมกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ส่วนใหญ่เป็น การศึกษาในต่างประเทศซึ่งประกอบด้วย ขนาดครอบครัว ภาษาที่พูดในบ้าน ถิ่นที่ตั้งบ้าน การที่มีสื่อ ทางการศึกษาต่าง ๆ ระดับการศึกษาของบิดามารดา ฯลฯ ผลการศึกษาค้นคว้าที่ผ่านมาพบว่ามี ความสัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน อัญชนา โพธิพลากร (2545) กล่าวว่า มีองค์ประกอบหลายประการที่ทำให้เกิดผล กระทบต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน คือ ด้านตัวนักเรียน เช่น สติปัญญา อารมณ์ ความสนใจ เจตคติต่อ การเรียน ด้านตัวครู เช่น คุณภาพของครู การจัดระบบ การบริหารของผู้บริหาร ด้านสังคม เช่น สภาพเศรษฐกิจและสังคมของครอบครัวของนักเรียน เป็นต้น แต่ปัจจัยที่มีผลโดยตรงต่อผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนของนักเรียนก็คือ การสอนของครูนั่นเอง จากองค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่กล่าวมา ผู้วิจัยสรุปได้ว่า มี องค์ประกอบหลายประการที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทั้งทางตรงและทางอ้อม เช่น ความสนใจ สติปัญญา เจตคติต่อการเรียน ตัวครูสังคม สิ่งแวดล้อมของนักเรียนและองค์ประกอบที่สำคัญที่ทำให้ นักเรียน มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดีโดยตรง คือ วิธีการสอนของครู


47 4. สาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ สาเหตุที่นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ต่ำอาจเกิดจากสาเหตุหลาย ประการ ดังที่นักการศึกษากล่าวไว้ว่า ดังนี้ วัชรี บูรณสิงห์ (2540) ได้กล่าวว่า สำหรับนักเรียนที่เรียนอ่อนวิชาคณิตศาสตร์ จะมี ลักษณะดังนี้ 1. ระดับสติปัญญา (I.Q.) อยู่ระหว่าง 75 ถึง 90 และคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการ เรียนคณิตศาสตร์จะต่ำกว่าเปอร์เซ็นไทล์ที่ 30 2. อัตราการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์จะต่ำกว่านักเรียนคนอื่น ๆ 3. มีความสามารถทางการเรียนต่ำ 4. จำหลักเกณฑ์หรือความคิดรวบยอดเบื้องต้นทางคณิตศาสตร์ที่เรียนไปแล้ว ไม่ได้ 5. มีปัญหาในการใช้ถ้อยคำ 6. มีปัญหาในการหาความสัมพันธ์ของสิ่งต่าง ๆ และการสรุปเป็นหลักเกณฑ์ ทั่วไป 7. มีพื้นความรู้ทางคณิตศาสตร์น้อย สังเกตจากการสอบตกทางคณิตศาสตร์ บ่อยครั้ง 8. มีเจตคติที่ไม่ดีต่อโรงเรียน โดยเฉพาะวิชาคณิตศาสตร์ 9. มีความกดดันและสับสนต่อความล้มเหลวทางด้านทางการเรียนของตนเอง และบางครั้งรู้สึกดูถูกตัวเอง 10. ขาดความเชื่อมั่นในตนเอง 11.อาจมาจากสภาพครอบครัวที่มีสภาพแวดล้อมแตกต่างจากนักเรียนคนอื่น ๆ ซึ่งมีผลทำให้ขาดประสบการณ์ที่จำเป็นต่อความสำเร็จในการเรียน 12. ขาดทักษะในการฟัง และไม่มีความตั้งใจเรียน หรือมีความตั้งใจเรียนเพียง ช่วงระยะเวลาสั้น 13. มีข้อบกพร่องด้านสุขภาพ เช่น สายตาไม่ปกติ มีปัญหาทางด้านการฟัง และ ข้อบกพร่องทางทักษะการใช้มือ 14. ไม่ประสบผลสำเร็จในด้านการเรียนทั่ว ๆ ไป 15. ขาดความสามารถในการแสดงออกทางการพูด ซึ่งทำให้ไม่สามารถใช้คำถาม ที่แสดงให้เห็นว่าตนเองยังไม่เข้าใจในการเรียนนั้น ๆ 16. มีวุฒิภาวะค่อนข้างต่ำทั้งทางด้านอารมณ์ และสังคม จากสาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ที่กล่าวมา ผู้วิจัย สรุปได้ว่า สาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาต่อการเรียนคณิตศาสตร์และมีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของ นักเรียน คือ การจัดการเรียนการสอน และการสร้างให้เกิดทัศนคติ ความรู้สึกของความรับผิดชอบต่อ การมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ ซึ่งเป็นหน้าที่ของครูที่จะจัดหาวิธีที่เหมาะสม มาใช้ในการจัดกิจกรรม การเรียนการสอน เพื่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลที่ดี


48 5. ชนิดของแบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ ชนิดของแบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนมีหลากหลายชนิด แล้วแต่วิธีการแบ่งดังที่นัก การศึกษาได้กล่าวไว้ดังนี้ ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ (2553) กล่าวว่า แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการ เรียนเป็นแบบทดสอบที่วัดความรู้ของนักเรียนที่ได้เรียนไปแล้วซึ่ง มักจะเป็นคำถามให้นักเรียนตอบ ด้วยกระดาษและดินสอ (Paper and Pencil Test) กับให้นักเรียนปฏิบัติจริง (Performance Test) แบบทดสอบประเภทนี้แบ่งได้เป็น 2 พวก คือแบบทดสอบของครูที่สร้างขึ้นกับแบบทดสอบมาตรฐาน 1. แบบทดสอบของครู หมายถึง ชุดของคำถามที่ครูเป็นผู้สร้างขึ้นซึ่งจะเป็นข้อ คำถามที่ถามเกี่ยวกับความรู้ที่นักเรียนได้เรียนในห้องเรียนว่านักเรียนมีความรู้มากแค่ไหน บกพร่องที่ ตรงไหนจะได้สอนซ่อมเสริมหรือดูความพร้อมที่จะขึ้นบทเรียนใหม่ ฯลฯ ตามแต่ที่ครูปรารถนา 2. แบบทดสอบมาตรฐาน แบบทดสอบประเภทนี้สร้างขึ้นจากผู้เชี่ยวชาญใน แต่ ละสาขาวิชาหรือจากครูที่สอนวิชานั้นแต่ผ่านการทดลองหาคุณภาพหลายครั้งจนกระทั่งมีคุณภาพดี พอจึงสร้างเกณฑ์ปกติ (Norm) ของแบบทดสอบนั้นสามารถใช้เป็นหลักและเปรียบเทียบ ผลเพื่อ ประเมินค่าของการเรียนการสอนในเรื่องใด ๆ ก็ได้จะใช้อัตราความงอกงามของเด็กแต่ละวัยในแต่ละ กลุ่มแต่ละภาคก็ได้จะใช้สำหรับให้ครูวินิจฉัยผลสัมฤทธิ์ระหว่างวิชาต่าง ๆ ในเด็กแต่ละคนก็ได้ ข้อสอบมาตรฐาน นอกจากจะมีคุณภาพของแบบทดสอบสูงแล้วยังมีมาตรฐานในด้านวิธีดำเนินการสอบ คือ ไม่ว่าโรงเรียนใดหรือส่วนราชการใดจะนำไปใช้ต้องดำเนินการสอบเป็นแบบเดียวกัน แบบทดสอบ มาตรฐานจะมีคู่ดำเนินการสอบบอกถึงวิธีการสอบว่าทำอย่างไรและยังมีมาตรฐานในด้านการแปล คะแนนด้วย ทั้งแบบทดสอบที่ครูสร้างขึ้น และแบบทดสอบมาตรฐานมีวิธีการในการสร้างข้อคำถาม เหมือนกันคือจะเป็นคำถามที่วัดเนื้อหาและพฤติกรรมที่ได้สอนนักเรียนไปแล้ว สำหรับพฤติกรรมที่ใช้ วัดจะเป็นพฤติกรรมที่สามารถตั้งคำถามวัดได้ มักนิยมใช้ตามหลักที่ได้จากการประชุมของนักวัดผล ซึ่งบลูม (Bloom) ได้เขียนรวมไว้ในหนังสือ Texonomy of Educational Objectives สรุปได้ว่าการ วัดผลด้านสติปัญญาควรวัดพฤติกรรม ดังนี้ 1. วัดด้านความรู้ – ความจำ (Knowledge) 2. วัดด้านความเข้าใจ (Comprehension) 3. วัดด้านการนำไปใช้ (Application) 4. วัดด้านการวิเคราะห์(Analysis) 5. วัดด้านการสังเคราะห์ (Synthesis) 6. วัดด้านการประเมินค่า (Evaluation) สมนึก ภัททิยธณี(2560) กล่าวว่าแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หมายถึง แบบทดสอบวัดสมรรถภาพทางสมองด้านต่าง ๆ ที่นักเรียนได้รับการเรียนรู้ผ่านมาแล้ว แบบทดสอบ วัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน อาจแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ แบบทดสอบที่ครูสร้างกับแบบทดสอบ มาตรฐานซึ่งแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนประเภทที่ครูสร้างมีหลายแบบ แต่ที่นิยมใช้มี 6 แบบ ดังนี้ 1. ข้อสอบแบบความเรียงหรืออัตนัย (Subjective or Essay Test)


49 2. ข้อสอบกาถูก – ผิด (True – False Test) 3. ข้อสอบแบบเติมคำ (Completion Test) 4. ข้อสอบแบบตอบสั้น (Short Answer Test) 5. ข้อสอบแบบจับคู่ (Matching Test) 6. ข้อสอบแบบเลือกตอบ (Multiple Choice Test จากชนิดของแบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ที่กล่าวมา ผู้วิจัยสรุปได้ว่า ชนิดของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์มีการแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือแบบทดสอบมาตรฐานและ แบบทดสอบที่ครูสร้างขึ้น ซึ่งผู้สร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ต้องเลือกชนิดของแบบทดสอบให้ เหมาะสมกับเนื้อหา ลักษณะที่ต้องการวัดนักเรียนและเวลาในการออกแบบทดสอบและการ ประเมินผล และในทำวิจัยครั้งนี้ได้ใช้แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ที่ครูสร้างขึ้น โดยสร้างเป็นข้อสอบแบบเลือกตอบ (Multiple Choice Test) 4 ตัวเลือก 6. ขั้นตอนการสร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ การสร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ ผู้สร้างจะต้องศึกษา วิธีการสร้างและหลักการสร้าง เพื่อให้แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ที่มีคุณภาพ เหมาะสมกับเนื้อหาตรงกับหลักสูตรและจุดมุ่งหมายที่ต้องการวัดกับนักเรียน มีนักการศึกษาศึกษา เกี่ยวกับวิธีการสร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไว้ดังนี้ ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ (2553) ได้สรุปขั้นตอนการสร้างแบบทดสอบไว้ดังนี้ 1. การพิจารณาจุดประสงค์ของการสอบ ว่าการสอบครั้งนี้มีจุดประสงค์อะไร 2. สร้างตารางกำหนดรายละเอียด 3. เลือกแบบของข้อสอบให้เหมาะสม 4. รวมข้อสอบทำเป็นแบบทดสอบ 5. กำหนดวิธีการดำเนินการสอบ 6. การประเมินคุณภาพของแบบทดสอบ 7. การนำผลไปใช้ปรับปรุงเป้าประสงค์ของการเรียนรู้ จากขั้นตอนการสร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ที่กล่าวมา ผู้วิจัยสรุปได้ว่า วิธีการสร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ที่กล่าวมาจะเห็นว่าในการสร้างแบบทดสอบ จะต้องแปลจุดมุ่งหมายทั่วไปให้เป็นจุดมุ่งหมายเฉพาะหรือจุดมุ่งหมายเชิงพฤติกรรม และจะต้อง คำนึงถึงเนื้อหาซึ่งจะเป็นสื่อที่จะให้นักเรียนบรรลุตามจุดมุ่งหมายนั้น ๆ ควบคู่กันไปในการทำ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ ข้อดีของแบบทดสอบแบบเลือกตอบและวัดได้ ครอบคลุมพฤติกรรมด้านสติปัญญา คือ วัดด้านความรู้ ความจำ ด้านการคิดคำนวณ (Computation) วัดด้านความเข้าใจ (Comprehension) วัดด้านการนำไปใช้ (Application) และวัดด้านการวิเคราะห์ (Analysis)


50 การทำงานเป็นทีม 1. ความหมายของการทำงานเป็นทีม นักวิชาการได้ให้ความหมายหลายลักษณะ โดยความสำคัญอยู่ที่ทีมของบุคคลที่จะต้อง เกี่ยวข้องกัน มีการวางแผนร่วมกันเพื่อให้บรรลุผล ตังต่อไปนี้ Woodcock (1989, p. 8) การทำงานเป็นทีม หมายถึง การที่แต่ละบุคคลมาร่วมกัน ทำงาน เพื่อนำไปสู่ผลสำเร็จที่มากกว่าการที่พวกเขาจะทำงานเพียงลำพัง และยังทำให้เกิดการ กระตือรือร้น เกิดความพึงทอใจและมีความสุขสนุกสนานในการทำงาน Parker (1990, P. 16) การทำงานเป็นทีม หมายถึง กลุ่มบุคคลที่มีความสัมพันธ์กัน เพื่อปฏิบัติงานให้เสร็จสมบูรณ์ และคนกลุ่มนี้ยอมรับในวิธีการทำงานร่วมกันมีวิธีเดียวกัน คือ การ ทำงานร่วมกัน มัลลิกา วิชชุกรอิงครัต (2553, น. 25) สรุปได้ว่าการทำงานเป็นทีม หมายถึง การที่ บุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปมาร่วมทำกิจกรรมโดยมีวัตถุประสงค์ร่วมกัน ใช้ทักษะและความรอบรู้อย่าง เต็มความสามารถเพื่อแก้ไขปัญหาและพัฒนาองค์กรให้บรรลุตามเป้าหมาย ลัคพงษ์ โกษาแสง (2553, น. 14) ได้สรุปการทำงานเป็นทีม หมายถึง การทำงาน ร่วมกันของบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไป โดยมีวัตถุประสงค์และเป้าหมายเดียวกัน ร่วมแรงร่วมใจใช้ ทักษะความรอบรู้ที่มีร่วมกันทำงานอย่างเต็มความสามารถเพื่อพัฒนาองค์การให้บรรลุวัตถุประสงค์ สุภาวดี แก้วสำราญ (2553, น. 13) สรุปได้ว่า การทำงานเป็นทีม หมายถึง การ รวมกลุ่มของบุคคลเพื่อร่วมกันทำงานอย่างมีหลักการ สมาชิกในทีมทุกคนปฏิบัติได้ถูกต้องเหมาะสม โดยมีการประสานความสัมพันธ์ การสื่อสารกันในกลุ่ม รวมทั้งการตัดสินใจร่วมกัน อำนวย มีสมทรัพย์(2553. น. 12) สรุปได้ว่าการทำงานเป็นทีม หมายถึง การร่มมกัน ทำงานของสมาชิกตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปโดยที่สมาชิกทุกคนนั้นจะต้องมีเป้าหมายเดียวกันจะทำอะไรแล้ว ทุกคนต้องยอมรับร่วมกัน มีการวางแผนการทำงานร่วมกัน ซึ่งจำเป็นสำหรับการบริหารงานในทุก องค์กร ผู้วิจัยสรุปได้ว่า การทำงานเป็นทีม หมายถึง การที่แต่ละบุคคลมาร่วมกันทำงานให้ เสร็จสมบูรณ์โดยมีวัตถุประสงค์ร่วมกัน ร่วมแรงร่วมใจใช้ทักษะความรอบรู้ที่มีร่วมกันทำงานอย่างเต็ม ความสามารถ มีการวางแผนการทำงานร่วมกัน ซึ่งจำเป็นสำหรับการบริหารงานในทุกองค์กร 2. ความสำคัญของการทำงานเป็นทีม กาญจนา มังคละศิรี (2552. น. 28) ได้สรุปความสำคัญของการทำงานเป็นทีม ดังนี้ 1. มนุษย์ทุกตนมีความจำกัดของพลัง การทำแต่เพียงคนเดียวให้สำเร็จนั้นย่อม เป็นการยากโดยเฉพราะในงานใหญ่ ๆ 2. มนุษย์ทุกคนมีความจำกัดและความแตกต่างในเรื่องสติปัญญา ความคิด การ ทำงานใด ๆ หัวเดียวย่อมสู้หลายหัวไม่ได้เพราะหลายหัวสามารถช่วยกันคิด ช่วยกันดูให้กว้างและ รอบคอบ 3. มนุษย์เป็นสัตว์สังคมอยู่อย่างโดดเดี่ยวลำพังไม่ได้ จำเป็นต้องพึ่งพาอาศัยให้ การช่วยเหลือกัน การที่มนุษย์เป็นสัตว์สังคมเพราะว่า มนุษย์มีความต้องการที่จะมีปฏิสัมพันธ์ทาง สังคมกับผู้อื่นเพื่อตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐานที่จำเป็นของมนุษย์


51 4. สังคมปัจจุบันคนต้องทำงานร่วมกันทุกระดับและทุกองค์กร หากเราไม่ สามารถทำงานเป็นทีมแล้วจะเกิดปัญหาไปทุกระดับและทุกองค์กร 5. ผลงานของทีมดีกว่าการทำงานเดี่ยว เนื่องจากการรวมตัวกันเป็นทีมนั้นมี ความหมายมากกว่าการนำบุคคลมารวมกัน 6. บุคคลได้มีโอกาสรวมกลุ่มกันทำงานช่วยให้บุคคลได้เรียนรู้จากผู้อื่น เกิด ความคิดความเจริญงอกงามแห่งตนขึ้น และส่งผลให้ทีมด้วย ชยพล บุตรศาสตร์(2554, น. 15) สรุปได้ว่า ความสำคัญของการทำงานเป็นทีมมี บทบาทสำคัญในการแก้ไขปัญหา และสร้างปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อองค์กร อำนวย มีสมทรัพย์ (2553 น. 19) สรุปได้ว่า ความสำคัญของทีมมีประโยชน์อีกทั้งยังมี บทบาทสำคัญในการพัฒนาเปลี่ยนแปลงลักษณะรูปแบบของวัฒนธรรมในการทำงาน ทำให้งาน ตอบสนองการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ช่วยให้งานที่ชับช้อนต่าง ๆ สำเร็จลุล่วงได้ และจะ เห็นได้ว่า ในปัจจุบันนี้มีผู้เห็นประโชชน์และได้นำความรู้เกี่ยวกับการทำงานเป็นทีมไปใช้ปฏิบัติงานกัน อย่างแพร่หลาย เป็นที่ขอมรับและนำมาปรับใช้ในองค์กรต่างๆ ทั้งภาคราชการและเอกชน เทพินทร์ จารุศุกร (2554, น. 15) สรุปได้ว่า การทำงานเป็นทีม มีความสำคัญมากใน องค์กรไม่เพียงแต่จะช่วยทำให้วัตถุประสงค์ขององค์กรบรรลุเป้าหมายเท่านั้น แต่ยังมีอิทธิพลต่อ บรรยากาศการทำงานขององค์กรนั้นอีกด้วย เพราะเป็นการดึงเอาความสามารถของแต่ละบุคคลที่มี อยู่ออกมาการสร้างสรรค์สิ่งใหม่า และเตรียมพร้อมสำหรับเหตุการณ์ที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา และ งานที่ต้องอาศัยการทุ่มเทอย่างเต็มที่ เพื่อแก้ปัญหาและสร้างความสัมพันธ์สามารถหาทางออกได้ หลายวิธี โดยตั้งอยู่บนผลประโยชน์ร่วมกัน เป็นการพัฒนาสมาชิกในทีมให้เปิดใจกว้างมากขึ้น พิมพ์ลภัส ถ้วยอิ่ม (2553, น. 33) ได้สรุปไว้ว่า การทำงานเป็นทีมมีความสำคัญและ เป็นประโยชน์ต่อสมาชิกและองค์กรเป็นอย่างมาก ทำให้สมาชิกเกิดความสามัคคี มีการยอมรับซึ่งกัน และกัน มีความสัมพันธ์อันดี และมีความคิดสร้างสรรค์ ช่วยลดความขัดแย้งในองค์กร ลดต้นทุนและ เพิ่มสมรรถภาพการทำงาน ผู้วิจัยสรุปได้ว่า ความสำคัญของการทำงานเป็นทีมมีบทบาทสำคัญในการแก้ไขปัญหา และสร้างปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อองค์กรพัฒนาเปลี่ยนแปลงลักษณะรูปแบบของวัฒนธรรมในการทำงาน ทำ ให้งานตอบสนองการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ช่วยให้งานที่ชับช้อนต่าง ๆ สำเร็จลุล่วงได้ และไม่เพียงแต่จะช่วยทำให้วัตถุประสงค์ขององค์กรบรรลุเป้าหมายเท่านั้น แต่ยังมีอิทธิพลต่อ บรรยากาศการทำงานขององค์กรนั้นอีกด้วย


52 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ผู้วิจัยได้ศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการสร้างและพัฒนาแบบฝึกทักษะแบบฝึกทักษะเสริม ด้วยการเรียนรู้แบบร่วมมือรูปแบบ เอส.ที.เอ.ดี (STAD) ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้ 1. งานวิจัยในประเทศ พรพรรณ เสาร์คำเมืองดี(2562) ได้ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD เรื่อง บท ประยุกต์ ของ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดไผ่หูช้าง อ.บางเลน จ.นครปฐม ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 วัตถุประสงค์ 3 ประการ เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง บท ประยุกต์ ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ระหว่างก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง บทประยุกต์ ของ นักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กับเกณฑ์ร้อยละ 70 เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD ผลการวิจัยพบว่า ผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง บทประยุกต์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 6 โดยการจัดการ เรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .05 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง บทประยุกต์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 6 โดย การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD หลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 หรือ 17.50 คะแนน จากคะแนนเต็ม 25 คะแนน ( = 19.04 ) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 6 มีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD อยู่ในระดับพึง พอใจมากที่สุด ( = 4.56, = 0.74) วัลยา บุญอากาศ (2556) ได้ศึกษาผลการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิคSTAD ที่มี ต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และทักษะการคิดวิเคราะห์วิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปี ที่ 6 ภาคเรียนที่ 2 ปี การศึกษา 2555 ตําบลหนองตาคง อําเภอโป่งน้าร้อน จังหวัดจันทบุรี สังกัด สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 2 ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการ เรียนของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD สูงกว่านักเรียนที่ได้รับการ จัดการเรียนรู้แบบปกติอย่างมีนัยสําคัญ ทางสถิติที่ระดับ .01 และ 2) ทักษะการคิดวิเคราะห์ของ นักเรียนหลังได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD สูงกว่านักเรียนที่ได้รับการจัดการ เรียนรู้แบบปกติอย่างมีนัยสําคัญ ทางสถิติที่ระดับ .01 สุนารี นวลจันทร์ (2562) ได้ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์และ ความสามารถในการทำงานกลุ่ม เรื่อง ระบบจำนวนจริง ดายการเรียนแบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับเกมคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 โรงเรียน ตรังวิทยา จังหวัดตรัง ผลการวิจัยพบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนคณิตศาสตร์ โดยการเรียนแบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับเกมคณิตศาสตร์ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ความสามารถในการทำงานกลุ่มนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนคณิตศาสตร์ โดยการเรียนแบบ


53 ร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับเกมคณิตศาสตร์มีความสามารถในการทำงานกลุ่มอยู่ในระดับมากที่สุด และความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนคณิตศาสตร์ โดยการเรียนแบบร่วมมือ เทคนิค STAD ร่วมกับเกมคณิตศาสตร์อยู่ในระดับมาก อัสราพร ทองเจริญ (2560) ได้ศึกษาผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STADประกอบแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง อัตราส่วนและร้อยละ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนโคกโพธิ์ไชยศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD ประกอบแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง อัตราส่วนและร้อยละ กลุ่มสาระการเรียนรู้ คณิตศาสตร์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มีประสิทธิภาพ ตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อหาดัชนีประสิทธิผลของ กิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD ประกอบแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง อัตราส่วน และร้อยละ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนก่อนเรียนกับหลังเรียนของ นักเรียนที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD ประกอบแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง อัตราส่วนและร้อยละ กลุ่มสาระการเรียนรู้ คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และ 4) เพื่อ ศึกษาความพึงพอใจในการเรียนรู้ของนักเรียนที่เรียน ด้วยกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD ประกอบแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง อัตราส่วนและร้อยละ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ผลการศึกษาพบว่า กิจกรรมการเรียนรู้แบบ ร่วมมือ เทคนิค STAD ประกอบแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์เรื่อง อัตราส่วนและร้อยละ กลุ่มสาระการ เรียนรู้คณิตศาสตร์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 82.27/80.67 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ ประสิทธิภาพ 80/80 ที่กำหนดไว้กิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD ประกอบแบบฝึก ทักษะคณิตศาสตร์เรื่อง อัตราส่วนและร้อยละ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีดัชนีประสิทธิผล เท่ากับ ซึ่งแสดงว่า นักเรียนมีความก้าวหน้าทางการเรียนเพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 64.77 นักเรียนที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD ประกอบแบบฝึก ทักษะ คณิตศาสตร์ เรื่อง อัตราส่วนและร้อยละ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 2 มี ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนรู้ด้วยกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD ประกอบแบบฝึกทักษะ คณิตศาสตร์ เรื่อง อัตราส่วนและร้อยละ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์มีความพึงพอใจ โดยรวม อยู่ในระดับมากที่สุด (̅ = 4.62, .. = 0.49) 2. งานวิจัยต่างประเทศ สลาวัน (Slavin, 1980) ได้ทำการวิจัย เรื่อง ผลของการเรียนรู้แบบร่วมมือ ที่มีต่อ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสัมพันธ์ระหว่างเชื้อชาติ ปรากฏว่าการเรียนแบบร่วมมือที่ให้ นักเรียนเรียนเป็นกลุ่มเล็กได้ช่วยพัฒนาและส่งเสริมให้ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนสูงขึ้นทั้ง นักเรียนที่มีผลการเรียนอยู่ในระดับสูงและนักเรียนที่มีผลการเรียนอยู่ในระดับต่ำ อีกทั้งยังทำให้ ความสัมพันธ์ระหว่างเชื้อชาติและความผูกพันในชั้นเรียนเป็นไปในทางที่ดี วิลเลียมส์ (Williams, 1988) ได้ศึกษาถึงผลของการเรียนแบบให้ความร่วมมือต่อกลุ่ม ที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติของนักศึกษา โดยทดลองสอนในวิชาพีชคณิต 1 กับ นักศึกษา ในรัฐอลาบานา สหรัฐอเมริกา กำหนดให้กลุ่มทดลองเรียนแบบกลุ่มช่วยเรียนรายบุคคล


54 รอส (Ross, 1995: 125-140) ได้ศึกษาผลย้อนกลับของนักเรียน ที่เรียนรู้แบบร่วมมือ แบบแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์กับการเรียนแบบปกติในวิชาคณิตศาสตร์ โดยกลุ่มทดลองเป็นนักเรียนระดับ จำนวน 18 คน ที่ได้รับการเรียนแบบร่วมมือกันแบบแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ในวิชาคณิตศาสตร์ ทำการ ทดลองเป็นเวลา 4 เดือน ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มที่เรียนแบบร่วมมือกันแบบแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ มีผล ย้อนกลับในด้านการให้ความช่วยเหลือกันในกลุ่มเกิดทักษะกระบวนการคิดเพื่อแก้ปัญหาให้ตนเอง และเพื่อนเพิ่มขึ้น ส่งเสริมให้นักเรียนประสบความสำเร็จในตนเองอีกด้วย ซูยานโต (Suyanto, 1999: 3766-A) ได้ศึกษาผลการเรียนรู้แบบร่วมมือ โดยใช้ เทคนิค STAD ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาในเขตยอก ยาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนเกรด 3 เกรด 4 เกรด 5 จำนวน 664 คน จาก 30 ห้องเรียนใน 10 โรงเรียน ผู้วิจัยแบ่งนักเรียนออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม โดยกลุ่มทดลอง จำนวน 5 โรงเรียน ได้รับการสอนโดยใช้เทคนิค STAD และกลุ่มควบคุม จำนวน 5 โรงเรียน ได้รับการสอนแบบปกติ สถิติที่ใช้ในการทดสอบคือ ANOVA ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนที่ ได้รับการสอนโดยใช้เทคนิค STAD มีผลสัมฤทธิ์ทางเรียนสูงกว่านักเรียนที่ได้รับการสอนแบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อเปรียบเทียบระหว่างชั้นเรียน พบว่า นักเรียนเกรด 3 และ เกรด 5 ของกลุ่มนักเรียนที่ได้รับการสอน โดยใช้เทคนิค STAD มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สูงกว่า นักเรียนเกรด 3 และเกรด 5 ที่ได้รับการสอนแบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 บาบาโต (Barbato, 2000) ได้เปรียบเทียบผลกระทบของการใช้วิธีการเรียนแบบปกติ กับวิธีการเรียนแบบร่วมมือที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ทัศนคติและการวางแผน การเรียนในหลักสูตรของนักเรียนเกรด 10 โดยทางานทดลองศึกษากับนักเรียนโรงเรียนมัธยมจำนวน 208 คน ผลการศึกษาพบว่า ชั้นเรียนที่จัดการเรียนการสอนแบบร่วมมือ มีระดับผลสัมฤทธิ์ทาง การ เรียนคณิตศาสตร์สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และยังพบว่า นักเรียนมีทัศนคติในด้าน บวกต่อวิชาคณิตศาสตร์มากกว่านักเรียนที่ได้รับการเรียนการสอนแบบปกติ สรุปได้ว่า การจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนแบบร่วมมือรูปแบบ เอส.ที.เอ.ดี เป็นการจัดการเรียนการสอน ที่ช่วยพัฒนาผลการเรียนของนักเรียนให้ดีขึ้น และส่งผลให้นักเรียนมี ความรับผิดชอบ ในการทำงาน นักเรียนมีความเข้าใจในเนื้อหาที่ตนกำลังศึกษา มีความกระตือรือร้นที่ จะเรียน มีความรักความสามัคคียอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น ทำงานเป็นกลุ่ม และส่งผลให้ นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น ผู้วิจัยจึงได้นำความรู้ที่ได้จากการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่ เกี่ยวข้องดังกล่าว มาใช้เป็นแนวทางในการพัฒนา


55 กรอบแนวคิดในการวิจัย จากการที่ผู้วิจัยได้ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง โดยตัวแปรต้น คือ การจัดการ เรียนรู้โดยใช้การเรียนแบบร่วมมือแบบแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) และศึกษาตัวแปรตาม คือ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง สมการกำลังสองตัวแปรเดียว สามารถแสดงดังภาพที่ 1 ภาพที่1 กรอบแนวคิดวิจัย การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือแบบ แบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) ตัวแปรต้น ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ ทักษะการแก้ปัญหา การทำงานเป็นทีม ตัวแปรตาม


56 บทที่3 วิธีดำเนินการวิจัย การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์หลังใช้ การเรียนแบบร่วมมือแบบแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) กับเกณฑ์ ร้อยละ 70 เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนคณิตศาสตร์ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนศึกษาทักษะการแก้ปัญหา และ ศึกษาการ ทำงานเป็นทีม โดยใช้การเรียนแบบร่วมมือแบบแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) ของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1ทั้งนี้ผู้วิจัยได้ดำเนินตามขั้นตอนดังต่อไปนี้คือ 1. ขอบเขตในการวิจัย 2. แบบแผนการวิจัย 3. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 4. การเก็บรวบรวมข้อมูล 5. การวิเคราะห์ข้อมูล 6. สถิติที่ใช้ในการวิจัย ขอบเขตในการวิจัย ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ประชากร ประชากรในการศึกษาค้นคว้าเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนกุงเจริญ วิทยา องค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี ๘ สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี ตำบลหัวนา คำ อำเภอศรีธาตุ จังหวัดอุดรธานี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 ทั้งหมด 2 ห้อง จำนวน 43 คน กลุ่มตัวอย่าง กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/4 ภาค เรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนกุงเจริญวิทยา องค์การบริหารส่วนจังหวุดอุดรธานี ๘ สังกัด องค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) 1 ห้องเรียน จำนวนนักเรียน 20 คน


57 ตัวแปรที่ศึกษา 1. ตัวแปรต้น คือ กิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ใช้การเรียนแบบร่วมมือแบบแบ่งกลุ่ม ผลสัมฤทธิ์ (STAD) 2. ตัวแปรตาม ได้แก่ 1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ 2. ทักษะการแก้ปัญหา 3. การทำงานเป็นทีม เนื้อหาที่ใช้ในการวิจัย เนื้อหาที่ผู้วิจัยนำมาใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในครั้งนี้คือวิชาคณิตศาสตร์เรื่อง สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 15 ชั่วโมง ประกอบด้วย 1. ทดสอบก่อนเรียน จำนวน 1 ชั่วโมง 2. การเตรียมตัวก่อนรู้จักสมการ จำนวน 2 ชั่วโมง 3. สมการและคำตอบของสมการ จำนวน 3 ชั่วโมง 4. การแก้สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว จำนวน 4 ชั่วโมง 5. โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว จำนวน 4 ชั่วโมง 6. ทดสอบหลังเรียน จำนวน 1 ชั่วโมง ระยะเวลาที่ใช้ในการวิจัย ผู้วิจัยดำเนินการทดลองในปีการศึกษา 2566 วิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน 1 เรื่อง สมการ เชิงเส้นตัวแปรเดียว ตามแผนการจัดการเรียนรู้ 3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์จำนวน 13 แผน โดยไม่รวมเวลา ทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ก่อนเรียนและหลังเรียน รูปแบบในการทดลอง ในการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้ใช้รูปแบบในการทดลองแบบกลุ่มเดียว (One Group Pretest – Posttest Design) โดยมีการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน ดังนี้ (พวงรัตน์ ทวีรัตน์, 2540 : 60) T1 X T2 T1 แทน การทดสอบก่อนเรียน (Pretest) X แทน จัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้การเรียนแบบร่วมมือแบบแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ T2 แทน การทดสอบหลังเรียน (Posttest)


58 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1. ประเภทของเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ ประกอบด้วย 1.1แผนการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ที่ใช้กิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้การเรียน แบบร่วมมือแบบแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) 1.2 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ 1.3 แบบทดสอบทักษะการแก้ปัญหา 1.4 แบบสอบถามการทำงานเป็นทีม 2. การสร้างและการหาคุณภาพเครื่องมือ การสร้างและหาคุณภาพเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย มีรายละเอียด ดังนี้ 2.1 แผนการจัดการเรียนรู้ แผนการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ที่จัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมการ เรียนรู้โดยใช้การเรียนแบบร่วมมือแบบแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) มีขั้นตอนการดำเนินการ ดังนี้ 2.1.1 ศึกษาทฤษฎี หลักการ และแนวคิดที่เกี่ยวกับการจัดกิจกรรมการ เรียนรู้โดยใช้การเรียนแบบร่วมมือแบบแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) 2.1.2 ศึกษา วิเคราะห์ตัวชี้วัดและหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 หลักสูตรสถานศึกษา คู่มือครู หนังสือเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ของ กระทรวงศึกษาธิการและเอกสารที่เกี่ยวข้อง 2.1.3 สร้างตารางวิเคราะห์จุดประสงค์การเรียนรู้และเนื้อหา บทที่ 1 สมการ เชิงเส้นตัวแปรเดียว 2.1.4 สร้างแผนการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ที่จัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้การเรียนแบบร่วมมือแบบแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) เรื่อง สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว 3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ จำนวน 15 แผน ใช้เวลา 15 ชั่วโมง ซึ่งมีสาระการเรียนรู้ ดังนี้ 1. ทดสอบก่อนเรียน จำนวน 1 ชั่วโมง 2. การเตรียมตัวก่อนรู้จักสมการ จำนวน 2 ชั่วโมง 3. สมการและคำตอบของสมการ จำนวน 3 ชั่วโมง 4. การแก้สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว จำนวน 4 ชั่วโมง 5. โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว จำนวน 4 ชั่วโมง 6. ทดสอบหลังเรียน จำนวน 1 ชั่วโมง ซึ่งแต่ละแผนการจัดการเรียนรู้ ประกอบด้วย สาระสำคัญ จุดประสงค์การ เรียนรู้(รายชั่วโมง) สาระการเรียนรู้ กิจกรรมการเรียนรู้ สื่อการเรียนรู้ และการวัดและประเมินผล 2.1.5 นำแผนการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ที่สร้างขึ้นเสนอต่อหัวหน้า กลุ่มสาระที่ปรึกษาแล้วนำเสนอต่อผู้เชี่ยวชาญด้านการสอนวิชาคณิตศาสตร์ เพื่อตรวจสอบความ เหมาะของสาระการเรียนรู้ กิจกรรมการเรียนรู้ และการวัดและประเมินผล โดยใช้ผู้เชี่ยวชาญแต่ละ ท่านพิจารณาลงความคิดเห็นแล้วให้คะแนน ดังนี้


59 ให้คะแนน 5 หมายถึง มีความเหมาะสมมากที่สุด 4 หมายถึง มีความเหมาะสมมาก 3 หมายถึง มีความเหมาะสมปานกลาง 2 หมายถึง มีความเหมาะสมน้อย 1 หมายถึง มีความเหมาะสมน้อยที่สุด จากนั้นนำไปหาคะแนนเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานแล้วประเมินผล โดยมีเกณฑ์การประเมินดังนี้ เกณฑ์การประเมินความเหมาะสมของแผนการจัดการเรียนรู้ 4.50 – 5.00 ระดับความเหมาะสมมากที่สุด 3.50 – 4.49 ระดับความเหมาะสมมาก 2.50 – 3.49 ระดับความเหมาะสมปานกลาง 1.50 – 2.49 ระดับความเหมาะสมน้อย 1.00 – 1.49 ระดับความเหมาะสมน้อยที่สุด คะแนนระหว่า 3.50-5.00 สามารถนำแผนไปใช้ในการจัดการเรียนการ สอนได้ แต่หากน้อยกว่า 3.50 แก้ไขตามข้อเสนอแนะ 2.1.6 ปรับปรุงแก้ไขแผนการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ตามข้อเสนอแนะ 2.1.7 นำแผนการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ที่จัดกิจกรรมการเรียนรู้โดย ใช้กิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้การเรียนแบบร่วมมือแบบแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) ไปใช้กับกลุ่ม ตัวอย่าง 2.2 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เรื่อง สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีลักษณะเป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบมี 4 ตัวเลือก ในการสร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ผู้วิจัยได้ดำเนินการสร้าง ตามลำดับขั้นตอน ดังนี้ 2.2.1 ศึกษาเอกสารหลักสูตร ได้แก่ คู่มือครู คู่มือวัดและประเมินผลวิชา คณิตศาสตร์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 การสร้างตารางวิเคราะห์หลักสูตรเอกสารที่เกี่ยวข้องเทคนิค การเขียนข้อสอบ การสร้างแบบทดสอบแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 2.2.2 วิเคราะห์เนื้อหา เรื่อง สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว เพื่อแบ่งเนื้อหา ออกเป็นเนื้อหาย่อย ๆ แล้วเขียนจุดประสงค์การเรียนรู้ 2.2.3 สร้างตารางวิเคราะห์มาตรฐาน/ตัวชี้วัด จุดประสงค์การเรียนรู้และ เนื้อหาสาระ 2.2.4 สร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ แบบ ปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ แต่ใช้จริง 20 ข้อ ให้ครอบคลุมเนื้อหาและ จุดประสงค์การเรียนรู้ตามตารางวิเคราะห์หลักสูตร


60 2.2.5 นำแบบทดสอบที่สร้างขึ้นเสนอต่ออาจารย์ที่ปรึกษาและครูพี่เลี้ยง เพื่อ พิจารณา 2.2.6 ให้ผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน ตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา โดยใช้ค่า ดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ซึ่งให้พิจารณา ตรวจสอบ โดยมีเกณฑ์การให้คะแนนดังนี้ ให้คะแนน +1 เมื่อ แน่ใจว่าข้อสอบสอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้ หรือวัดได้ตรงตามจุดประสงค์การเรียนรู้ ให้คะแนน 0 เมื่อ ไม่แน่ใจว่าข้อสอบสอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้ หรือวัดได้ตรงตามจุดประสงค์การเรียนรู้ ให้คะแนน -1 เมื่อ แน่ใจว่าข้อสอบไม่สอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้ หรือวัดได้ตรงตามจุดประสงค์การเรียนรู้ จากนั้นนำผลที่ได้มาคำนวณหาค่าดัชนีความสอดคล้อง (Index of item objective congruence : IOC) แบบทดสอบวัดความสามารถด้านกระบวนการแก้ปัญ หา คณิตศาสตร์โดยค่า IOC จะต้องมากกว่า 0.50 ขึ้นไป 2.2.7 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ชั้น ประถมศึกษาปีที่ 1 เรื่อง สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ปรับปรุงตามข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญ แล้ว นำเสนอต่ออาจารย์ที่ปรึกษาและครูพี่เลี้ยง เพื่อพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง 2.2.8 ทดลองใช้แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ที่ ปรับปรุงแก้ไขแล้วกับนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 60 คน เพื่อหาคุณภาพด้านความเชื่อมั่น ความยาก และอำนาจจำแนก 2.2.9 นำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ที่นักเรียน ทำแล้วมาตรวจ ให้คะแนน โดยเกณฑ์การให้คะแนนแต่ละข้อ คือ - ตอบถูกต้อง ให้ 1 คะแนน - ตอบผิด/ไม่ตอบ/ตอบเกิน 1 ตัวเลือก ให้ 0 คะแนน 2.2.10 นำคะแนนที่ได้จากการสอบมาวิเคราะห์หาคุณภาพของแบบทดสอบ วัดผลสัมฤทธิ์ทาง การเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ซึ่งเป็นแบบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก เป็นรายข้อ คำนวณหาค่าความยากง่าย ( p ) มีค่าความยากง่ายที่ยอมรับ ตั้งแต่ 0.20 – 0.80 และคำนวณหาค่า อำนาจจำแนก ( r ) มีค่า อำนาจจำแนกที่ยอมรับ ตั้งแต่ 0.20 – 1.00 แล้วทำการคัดเลือกข้อสอบที่ เข้าเกณฑ์ไว้ จำนวน 25 ข้อ ซึ่งข้อสอบที่ผู้วิจัยได้คัดเลือกไว้มีค่าความยากง่ายอยู่ระหว่าง 0.30 – 0.75 และมีค่าอำนาจจำแนกอยู่ ระหว่าง 0.20 – 0.80 2.2.11 ทำการคำนวณค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการ เรียน วิช า คณิตศาสตร์ทั้ งฉบั บ โดยใช้สูตร KR-20 ของ Kuder – Richardson (Kuder – Richardson Method) (เกียรติสุดา ศรีสุข, 2552: 152) ค่าความเชื่อมั่นที่ยอมรับ คือ ตั้งแต่ 0.70 ขึ้นไป ซึ่งได้ค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบทั้งฉบับ 2.2.12 นำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ที่ปรับปรุง แล้วไปทดลองใช้กับนักเรียนกลุ่มตัวอย่างต่อไปต่อไป


61 2.3 แบบทดสอบวัดความสามารถด้านกระบวนการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ 2.3.1 ศึกษาเอกสารหลักสูตร ได้แก่ คู่มือครู คู่มือวัดและประเมินผลวิชา คณิตศาสตร์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 การสร้างตารางวิเคราะห์หลักสูตรเอกสารที่เกี่ยวข้องเทคนิค การเขียนข้อสอบ การสร้างแบบทดสอบแบบอัตนัย 2.3.2 ศึกษาเอกสาร แนวคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับความสามารถในการแก้ปัญหา ของนักเรียน 2.3.3 สร้างแบบทดสอบวัดความสามารถด้านกระบวนการแก้ปัญหา โดยใช้ แบบทดสอบแบบอัตนัยเขียนแสดงวิธีการหาคำตอบ จำนวน 2 ข้อ รวม 10 คะแนน กำาหนดเกณฑ์การให้คะแนนแบบรูบริค (rubrics scoring) มีเกณฑ์ การให้คะแนน 3 ระดับ ได้แก่ 1 2 และ 3 แบ่งเป็น 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นที่ 1 การค้นหาปัญหา เป็นขั้นของการน าเสนอปัญหาและหาสาเหตุ ที่แท้จริงของปัญหา โดยการสืบค้นข้อมูลอย่างรอบด้านก่อนตัดสินใจว่าอะไรคือปัญหาที่แท้จริง ขั้นที่ 2 การหาวิธีการแก้ปัญหา เป็นขั้นของการศึกษา รวบรวมข้อมูลที่ เกี่ยวข้องกับปัญหา และคิดหาแนวทางการแก้ปัญหาที่เป็นไปได้ อย่างหลากหลายวิธีโดยที่ยังไม่ ตัดสินใจเลือกโดยทันที ขั้นที่ 3 การเลือกแนวทางการแก้ปัญหา เป็นขั้นของการตัดสินใจเลือก แนวทางที่คิดว่าดีที่สุด เหมาะสมที่สุดในการแก้ปัญหา ขั้นที่ 4 การอธิบายการแก้ปัญหาเป็นขั้นการเขียนอธิบายขั้นตอน วิธีการแก้ปัญหาจาก การตัดสินใจเลือกแนวทางการแก้ปัญหาที่ดีที่สุด 2.3.4 นำแบบทดสอบวัดความสามารถด้านกระบวนการแก้ปัญหาที่สร้างขึ้น เสนอต่อต่ออาจารย์ที่ปรึกษาและครูพี่เลี้ยง เพื่อตรวจสอบการใช้ภาษาและความถูกต้องของข้อคำถาม จากนั้นปรับปรุงและแก้ไข ตามคำแนะนำของอาจารย์ที่ปรึกษาและครูพี่เลี้ยง 2.3.5 นำแบบทดสอบที่สร้างขึ้นเสนอต่ออาจารย์ที่ปรึกษา หัวหน้ากลุ่มสาระ ครูพี่เลี้ยง เพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน ตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา โดยใช้ค่าดัชนีความ สอดคล้อง (IOC) ซึ่งให้พิจารณา ตรวจสอบ โดยมีเกณฑ์การให้คะแนนดังนี้ ให้คะแนน +1 เมื่อ แน่ใจว่าข้อสอบสอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้ หรือวัดได้ตรงตามจุดประสงค์การเรียนรู้ ให้คะแนน 0 เมื่อ ไม่แน่ใจว่าข้อสอบสอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้ หรือวัดได้ตรงตามจุดประสงค์การเรียนรู้ ให้คะแนน -1 เมื่อ แน่ใจว่าข้อสอบไม่สอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้ หรือวัดได้ตรงตามจุดประสงค์การเรียนรู้ จากนั้นนำผลที่ได้มาคำนวณหาค่าดัชนีความสอดคล้อง (Index of item objective congruence : IOC) แบบทดสอบวัดความสามารถด้านกระบวนการแก้ปัญ หา คณิตศาสตร์โดยค่า IOC จะต้องมากกว่า 0.50 ขึ้นไป


62 2.3.6 นำแบบทดสอบแบบทดสอบวัดความสามารถด้านกระบวนการ แก้ปัญหาคณิตศาสตร์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เรื่อง สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ปรับปรุงตาม ข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญ แล้วนำเสนอต่ออาจารย์ที่ปรึกษาและครูพี่เลี้ยง เพื่อพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง 2.3.7 นำแบบทดสอบแบบทดสอบวัดความสามารถด้านกระบวนการ แก้ปัญหาคณิตศาสตร์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เรื่อง สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ไปทดลองใช้กับ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 30 คน เพื่อหาคุณภาพด้านความเชื่อมั่น ความยาก และอำนาจ จำแนก 2.3.8 นำผลการทดสอบที่ได้จากการสอบมาวิเคราะห์หาคุณภาพของ แบบทดสอบแบบทดสอบวัดความสามารถด้านกระบวนการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์เพื่อคำนวณหาค่า ความยากง่าย ( p ) มีค่าความยากง่ายที่ยอมรับ ตั้งแต่ 0.20 – 0.80 และคำนวณหาค่าอำนาจจำแนก ( r ) มีค่า อำนาจจำแนกที่ยอมรับ ตั้งแต่ 0.20 – 1.00 แล้วทำการคัดเลือกข้อสอบที่เข้าเกณฑ์ไว้ จำนวน 2 ข้อ 2.3.9 นำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ที่ปรับปรุง แล้วไปทดลองใช้กับนักเรียนกลุ่มตัวอย่างต่อไปต่อไป 2.4 แบบสอบถามการทำงานเป็นทีม แบบสอบถามการทำงานเป็นทีมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีลักษณะ เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ แบ่งออกเป็น 4 ด้าน ได้แก่ ด้าน กระบวนการทำงาน ด้านสมาชิกมีความพอใจในทีม ด้านสื่อสารที่ดี ด้านแก้ปัญหาอุปสรรคได้อย่างมี ประสิทธิภาพ 2.4.1 ศึกษาตำรา หนังสือ เอกสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการทำงานเป็น 2.4.2 ศึกษาตำรา หนังสือ และเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการสร้างแบบสอบถาม การทำงานเป็นทีม 2.4.3 สร้างแบบสอบถามการทำงานเป็นทีม จำนวน 20 ข้อ เป็นแบบมาตรา ส่วน ประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ คือ มากที่สุด ให้คะแนน 5 คะแนน มาก ให้คะแนน 4 คะแนน ปานกลาง ให้คะแนน 3 คะแนน น้อย ให้คะแนน 2 คะแนน น้อยที่สุด ให้คะแนน 1 คะแนน 2.4.3 นำแบบสอบถามที่สร้างขึ้นเสนอต่ออาจารย์ที่ปรึกษาและครูพี่เลี้ยง เพื่อตรวจสอบและให้ข้อเสนอแนะในด้านความเหมาะสมแล้วนำมาปรับปรุงแก้ไขตามข้อเสนอแนะ 2.4.4 นำแบบสอบถามมาปรับปรุงตามคำแนะนำของอาจารย์ที่ปรึกษา และ ครูพี่เลี้ยงแล้วเสนอต่อผู้เชี่ยวชาญเพื่อประเมินความสอดคล้องระหว่างความพึงพอใจในแต่ละด้าน กับ ข้อคำถาม จำนวน 3 ท่าน 2.4.5 แล้วนำมาหาค่าดัชนีความสอดคล้อง เกณฑ์การยอมรับ คือ IOC 0.5


63 2.4.6 นำแบบสอบถามการทำงานเป็นทีม จำนวน 20 ข้อ ไปทดลองใช้กับ นักเรียนระดับ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 30 คน ซึ่งเป็นกลุ่มเดียวกันกับการทดลองแผนการ จัดการเรียนรู้ เพื่อหาค่าอำนาจจำแนก ปรากฏว่า แบบสอบถามความพึงพอใจทุกข้อ มีค่าอำนาจ จำแนกตามเกณฑ์ คือ มีค่าอำนาจจำแนกมากกว่า 2.4.7 นำแบบสอบถามการทำงานเป็นทีมมาคำนวณหาค่าความเชื่อมั่น โดยใช้ สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟา ( ) ของครอนบาค (Cronbach) เกณฑ์ในการพิจารณาความเชื่อมั่น คือ 0.71 – 1.00 แสดงว่า มีความเชื่อมั่นสูง 0.41 – 0.70 แสดงว่า มีความเชื่อมั่นปานกลาง 0.21 – 0.40 แสดงว่า มีความเชื่อมั่นต่ำ 0.00 – 0.20 แสดงว่า มีความเชื่อมั่นต่ำมาก 2.4.6 นำแบบสอบถามการทำงานเป็นทีมไปใช้กับกลุ่มตัวอย่าง โดยกำหนดเกณฑ์การประเมินดังนี้ ระดับคุณภาพ ช่วงคะแนน มากที่สุด 4.51-5.00 มาก 3.51-4.50 ปานกลาง 2.51-3.50 น้อย 1.51-2.50 น้อยที่สุด 0.00-1.50 การเก็บรวบรวมข้อมูล การดำเนินการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยดำเนินการทดลองและเก็บข้อมูลกับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 1 โรงเรียนโรงเรียนกุงเจริญวิทยา องค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี ๘ อำเภอศรีธาตุจังหวัด อุดรธานีการดำเนินการทดลองและเก็บข้อมูลในแต่ละขั้น มีดังนี้ 1. เตรียมนักเรียนก่อนดำเนินการสอน โดยแนะนำวิธีการเรียนโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้การเรียนแบบร่วมมือแบบแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) ให้นักเรียนมีความรู้การสร้างข้อตกลง เบื้องต้นเกี่ยวกับการเรียน ขั้นตอนการเรียนและบทบาทวิธีการปฏิบัติตนในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ใช้เวลา 1 ชั่วโมงในสัปดาห์แรกก่อนทำการทดลอง 2. ทำการทดสอบก่อนเรียน (Pretest) โดยใช้แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชา คณิตศาสตร์ใช้เวลา 1 ชั่วโมงในสัปดาห์แรกก่อนทำการทดลอง 3. ดำเนินการทดลองการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์ โดยใช้กิจกรรม การเรียนรู้โดยใช้การเรียนแบบร่วมมือแบบแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) เรื่อง สมการเชิงเส้นตัวแปร เดียว กับนักเรียนตามแผนการจัดการเรียนรู้ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น จำนวน 16 แผน ใช้เวลา 16 ชั่วโมง 4. ทำการทดสอบหลังเรียน (Posttest) หลังจากการทดลองสอนสิ้นสุดลง โดยใช้การเรียน แบบร่วมมือแบบแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ฉบับเดียวกันกับที่ใช้ทดสอบก่อนการทดลอง โดยใช้เวลา 1 ชั่วโมง 5. นำคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและคะแนนจากแบบทด โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ ที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้การเรียนแบบร่วมมือแบบแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) วิเคราะห์


64 ทางสถิติโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปทางสถิติสำหรับวิเคราะห์ข้อมูลทางสังคมศาสตร์(SPSS for Windows) การวิเคราะห์ข้อมูล ผู้วิจัยได้นำคะแนนจากแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและจากแบบวัดทักษะการ แก้ปัญหา มาวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการทางสถิติ ดังนี้ 1. สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ใช้ในการหาค่าร้อย ละของผลสัมฤทธิ์ทางคณิตศาสตร์โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปทางสถิติสำหรับวิเคราะห์ ข้อมูลทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์ (SPSS for window) 2. การทดสอบสมมติฐาน นำคะแนนที่ได้จากการทำแบบทดสอบมาเปรียบเทียบ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน และเปรียบเทียกับเกณฑ์ ร้อยละ 70 หลังจากที่ได้รับกิจกรรมการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ การเรียนแบบร่วมมือแบบแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) โดยใช้การทดสอบทีแบบไม่อิสระ (Dependent Sample t-test) ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปทางสถิติสำหรับวิเคราะห์ข้อมูล ทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์ (SPSS for Windows) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ในการวิเคราะห์ข้อมูลผู้วิจัยเลือกใช้สถิติ ดังนี้ 1. สถิติพื้นฐาน ใช้ค่าเฉลี่ย ( X ) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) โดยใช้โปรแกรม สำเร็จรูป ทางสถิติสำหรับข้อมูลทางสังคมศาสตร์(PSPP for Windows) 2. สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์คุณภาพของเครื่องมือโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป Test Analysis Program (TAP) 2.1 ค่าความยากง่าย (P) ของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน H L P +P P= 2n เมื่อ P แทน ค่าความยากง่าย H P แทน จำนวนผู้ตอบถูกในกลุ่มสูง L P แทน จำนวนผู้ตอบถูกในกลุ่มต่ำ n แทน จำนวนผู้ตอบทั้งหมดในกลุ่มสูงหรือต่ำ 2.2 ค่าอำนาจจำแนก (r) ของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน H L P +P r= n เมื่อ r แทน ค่าความยากง่าย H P แทน จำนวนผู้ตอบถูกในกลุ่มสูง L P แทน จำนวนผู้ตอบถูกในกลุ่มต่ำ n แทน จำนวนผู้ตอบทั้งหมดในกลุ่มสูงหรือต่ำ


65 2.3 การหาความเชื่อมั่น (Measure) ของแบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน คำนวณได้จากสูตร 2 t p q K i i KR-20= 1- K-1 s เมื่อ KR – 20 แทน สัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่นของคูเดอร์ - ริชาร์ดสัน 20 p i แทน สัดส่วนของผู้ตอบถูกในข้อ i q i แทน สัดส่วนของผู้ตอบผิดในข้อ i = 1-p 2 st แทน ความแปรปรวนของคะแนนรวม K แทน จำนวนข้อสอบ 2.4 การหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา (α = Coefficient) ของแบบสอบถามการ ทำงานเป็นทีม 2 i 2 t n S = 1- n-1 S เมื่อ 2 i S แทน ความแปรปรวนของแต่ละข้อ 2 t S แทน ความแปรปรวนของทั้งฉบับ 2.5 หาความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดย ใช้ค่า ดัชนีความสอดคล้อง (IOC) R IOC= N เมื่อ IOC แทน ดัชนีความสอดคล้อง R แทน ผลรวมคะแนนความคิดเห็นผู้เชี่ยวชาญ N แทน จำนวนผู้เชี่ยวชาญ 3. สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน เปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ย ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์คะแนน ก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้สถิติ t - test for dependent sample ( ) D t= 2 2 N - D D N-1 เมื่อ t แทน ค่าสถิติที่ใช้เปรียบเทียบค่าวิกฤตเพื่อทราบความมีนัยสำคัญ D แทน ความแตกต่างระหว่างคะแนนแต่ละคู่ D แทน ผลูรวมค่าผลต่างระหว่างคู่คะแนน N แทน จำนวนคู่ของคะแนน


66 ซึ่งในการคำนวณเปรียบเทียบหาความแตกต่างของค่าเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนวิชา คณิตศาสตร์ คะแนนก่อนเรียนและหลังเรียน คำนวณโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทาง สถิติสำหรับข้อมูล ทางสังคมศาสตร์ (PSPP for Windows) ด้วยการทดสอบทีแบบไม่อิสระ (t – test for Dependent Sample) 3.2 เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์กับเกณฑ์ร้อยละ 70 โดยคำนวณ จากสูตรการทดสอบค่าที (One sample t-test) (ชูศรี วงศ์รัตนะ, 2553: 224) 0 t ;df n 1 / n เมื่อ t แทน ค่าสถิติที่มีการแจกแจงแบบที n แทน จำนวนกลุ่มเป้าหมาย σ แทน ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0 แทน ค่าจากเกณฑ์ที่กำหนดร้อยละ 70 μ แทน ค่าเฉลี่ยของกลุ่มเป้าหมายที่ได้


67 บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุ1.เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์หลังใช้การ เรียนแบบร่วมมือแบบแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กับเกณฑ์ ร้อย ละ 70 2. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์หลังใช้การเรียนแบบร่วมมือแบบ แบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน 3. เพื่อศึกษาทักษะการแก้ปัญหา หลังใช้การเรียนแบบร่วมมือแบบแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) ของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และ 4. เพื่อศึกษาการทำงานเป็นทีม หลังเรียนโดยใช้การเรียนแบบ ร่วมมือแบบแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้การเรียนแบบร่วมมือแบบแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) เรื่อง สมการ เชิงเส้นตัวแปรเดียว ผู้วิจัยได้ทดลองกับกลุ่มตัวอย่าง เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/4 โรงเรียนกุง เจริญวิทยาองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรานี ๘ ที่ได้จากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) ตอนที่ 1 ผลวิเคราะห์การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาคณิตศาสตร์ที่เรียนด้วย แผนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือแบบแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) เรื่อง สมการกําลังสองตัวแปร เดียว ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ผู้วิจัยได้วิเคราะห์ข้อมูลคะแนนของผู้เรียนที่ได้จากการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนที่ เรียนด้วยแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้การเรียนแบบร่วมมือแบบแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) เรื่อง สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เป็นรายบุคคล และภาพรวม ดังแสดงผลการวิเคราะห์ในตารางที่ 1 มีรายละเอียดดังแสดงในตาราง ตาราง 1 ผลการศึกษาการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน เรื่อง สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/4 เลขที่ ก่อนเรียน หลังเรียน คะแนน ร้อยละ คะแนน ร้อยละ 1 9 45 16 80 2 11 55 18 90 3 7 35 17 85 4 3 15 14 70 6 7 35 14 70 7 6 30 14 70 8 6 30 16 80 9 5 25 16 80 10 7 35 14 70 11 5 25 18 90 14 7 35 18 90 15 10 50 17 85


68 16 7 35 14 70 17 9 45 16 80 18 14 70 18 90 19 5 25 14 70 20 5 25 15 75 21 5 25 15 75 23 7 35 17 85 24 8 40 16 80 คะแนนเฉลี่ย 7.15 35.75 15.85 79.25 ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน 2.52 1.53 จากตารางที่ 1 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของ นักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้การเรียนแบบร่วมมือแบบแบ่งกลุ่ม ผลสัมฤทธิ์ (STAD) เรื่อง .สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว มีคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนเท่ากับ 7.15 คิดเป็น ร้อยละ 35.75 และหลังเรียนมีคะแนนเฉลี่ย 15.85 คิดเป็นร้อยละ 79.25 จากการวิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียน ก่อนเรียนหลังเรียน โดยใช้ กิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้การเรียนแบบร่วมมือแบบแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) ซึ่งมีคะแนนเต็มก่อน เรียนและหลังเรียน 20 คะแนน และเปรียบเทียบคะแนนของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน คณิตศาสตร์ก่อนเรียนและหลังเรียน ดังแสดงรายละเอียดในตารางที่ 2 ตาราง 2 การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน การทดสอบ N คะแนนเฉลี่ย ร้อยละ S.D. t Sig. ก่อนเรียน หลังเรียน 20 20 7.15 15.85 35.75 79.25 2.52 1.53 18.267 .000** ** มีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .01 จากตารางที่ 2 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อศึกษาและเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน คณิตศาสตร์ของนักเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือแบบแบ่งกลุ่ม ผลสัมฤทธิ์ (STAD) เรื่อง สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว มีคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนเท่ากับ 7.15 คิดเป็น ร้อยละ 35.75 และหลังเรียนมีคะแนนเฉลี่ย 15.85 คิดเป็นร้อยละ 79.25 และเมื่อเปรียบเทียบ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .01


69 ตอนที่ 2 ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ที่เรียนโดยใช้ กิจกรรมการเรียนรู้การเรียนแบบร่วมมือแบบแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) เรื่อง สมการเชิงเส้นตัวแปร เดียว ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ระหว่างหลังเรียนกับเกณฑ์ร้อยละ 70 ผู้วิจัยได้นําคะแนนของผู้เรียนที่ได้จากการทดสอบหลังเรียนเปรียบเทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 70 ด้วยการทดสอบทีแบบกลุ่มเดียว (t-test for One Sample) ดังแสดงผลการวิเคราะห์ในตารางที่ 3 ตาราง 3 คะแนนเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละ และการทดสอบทีแบบกลุ่มเดียวโดย เปรียบเทียบกับคะแนนเฉลี่ยกับเกณฑ์ร้อยละ 70 การทดสอบ N คะแนน เฉลี่ย ร้อยละ S.D. t-test หลังเรียน 20 15.85 79.25 1.53 5.403 ** มีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .01 จากตารางที่ 3 พบว่า นักเรียนที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้การ เรียนแบบร่วมมือแบบแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) เรื่อง สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1 มีค่าเฉลี่ยคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนเท่ากับ 15.85 คิดเป็นร้อยละ 79.25 เมื่อนํามาเปรียบเทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 70 พบว่า คะแนนหลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ตอนที่ 3 ผลการศึกษาทักษะการแก้ปัญหาหลังเรียนโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ แบบแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) เรื่อง สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ผู้วิจัยได้วิเคราะห์ข้อมูลคะแนนจากแบบทดสอบทักษะการแก้ปัญหา ที่เรียนโดยใช้กิจกรรม การเรียนรู้แบบร่วมมือแบบแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) เรื่อง สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ดังตารางต่อไปนี้ ตาราง 4 คะแนนของแบบทดสอบทักษะการแก้ปัญหา เลข ที่ คะแนนทดสอบทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ข้อที่1 ข้อที่2 รวม (20) ระดับ ปฏิบัติ ขั้นที่ 1 (2) ขั้นที่ 2 (3) ขั้นที่ 3 (3) ขั้นที่ 4 (2) รวม (10) ขั้นที่ 1 (2) ขั้นที่ 2 (3) ขั้นที่ 3 (3) ขั้นที่ 4 (2) รวม (10) 1 2 0 3 2 7 2 1 3 2 8 15 มาก 2 2 1 3 0 6 2 3 3 0 8 14 มาก 3 2 1 3 2 8 2 1 3 2 8 16 มาก 4 2 1 3 0 6 2 1 1 0 4 10 ปานกลาง 6 3 0 3 2 8 0 0 0 0 0 8 ปานกลาง 7 2 1 0 0 3 2 1 3 0 6 9 ปานกลาง 8 2 0 0 1 3 2 0 0 0 2 5 น้อย 9 2 0 3 2 7 0 0 0 0 0 7 ปานกลาง


70 10 2 1 3 0 6 2 1 1 0 4 10 ปานกลาง 11 2 3 3 0 8 2 1 3 0 6 14 มาก 14 2 1 3 2 8 2 0 0 0 2 10 ปานกลาง 15 2 1 3 2 8 2 1 3 2 8 16 มาก 16 2 1 3 2 8 2 1 3 2 8 16 มาก 17 2 1 3 0 6 2 1 3 0 6 12 มาก 18 2 1 3 2 8 2 1 3 2 8 16 มาก 19 2 1 3 2 8 3 1 3 0 7 15 มาก 20 2 1 3 0 6 2 1 3 0 6 12 มาก 21 2 1 3 0 6 2 1 3 0 6 12 มาก 23 2 1 3 2 8 2 1 3 0 6 14 มาก 24 2 1 3 0 6 2 1 3 0 6 12 มาก เฉลี่ย 12.15 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 3.28 ระดับปฏิบัติ มาก *** หมายเหตุ คะแนนตั้งแต่ 0 - 3 มีทักษะแก้ปัญหาในระดับ น้อยที่สุด คะแนนตั้งแต่ 4 - 7 มีทักษะแก้ปัญหาในระดับ น้อย คะแนนตั้งแต่ 8 - 10 มีทักษะแก้ปัญหาในระดับ ปานกลาง คะแนนตั้งแต่ 11 - 15 มีทักษะแก้ปัญหาในระดับ มาก คะแนนตั้งแต่ 16 - 20 มีทักษะแก้ปัญหาในระดับ มากที่สุด จากตารางที่ 4 พบว่านักเรียนมีความสามารถในการใช้ทักษะการการแก้ปัญหาทาง คณิตศาสตร์คิดเป็นคะแนนเฉลี่ย 12.15 ส่วนเบี่ยงเบนมตารฐาน 3.28 ซึ่งสามารถมารถวัดทักษะการ แก้ปัญหาได้ในระดับ ปานกลาง


71 ตอนที่ 4 ผลการศึกษาทักษะการทำงานเป็นทีมหลังเรียนโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้การเรียน แบบร่วมมือแบบแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) เรื่อง สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1 ผู้วิจัยได้วิเคราะห์ทักษะการทำงานเป็นทีม จากคะแนนที่ได้จากแบบสอบถาม หลังเรียนโดย ใช้กิจกรรมการเรียนรู้การเรียนแบบร่วมมือแบบแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) เรื่อง สมการเชิงเส้นตัว แปรเดียว ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยนำผลแบบวัดการทำงานเป็นทีมของนักเรียนมาทำ การวิเคราะห์แบ่งออกเป็น 5 ระดับ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ซึ่งมีรายละเอียดดังตารางที่ 5 ดังนี้ ตาราง 5 ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเกี่ยวกับการศึกษาการทำงานเป็นทีมของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือแบบแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ ด้าน ที่ การทำงานเป็นทีม ระดับปฏิบัติการ อันดับ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน แปลผล 1 ด้านสมาชิกมีความพอใจในทีม 3.90 0.86 มาก 1 2 ด้านสื่อสารที่ดี 3.66 0.72 มาก 2 3 ด้านกระบวนการ 3.61 0.73 มาก 3 4 ด้านแก้ปัญหาอุปสรรค์ได้อย่างมี ประสิทธิภาพ 3.59 0.92 มาก 4 รวมเฉลี่ย 3.69 0.70 มาก - จากตารางที่ 5 พบว่านักเรียนที่เรียนโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือแบบแบ่งกลุ่ม ผลสัมฤทธิ์ (STAD) เรื่อง สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีการทำงาน เป็นทีมอยู่ในระดับมาก ( x = 3.69 , S.D. = 0.70) เมื่อพิจารณารายด้านซึ่งสามารถเรียงลำดับจาก คะแนนเฉลี่ยสูงไปหาต่ำได้ดังนี้ ด้านสมาชิกมีความพอใจในทีม มีคะแนนเฉลี่ย ( x = 3.90 , S.D. = 0.86) ด้านสื่อสารที่ดีมีคะแนนเฉลี่ย ( x = 3.66 , S.D. = 0.72) ด้านกระบวนการมีคะแนนเป็น อันดับ3 2 ( x = 3.61 , S.D. = 0.73) ด้านแก้ปัญหาอุปสรรค์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ( x = 3.59 , S.D. = 0.92) ตามลำดับ


72 บทที่ 5 สรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ การวิจัยเรื่อง การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ ทักษะการแก้ปัญหา และการ ทำงานเป็นทีมโดยใช้การเรียนแบบร่วมมือแบบแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) ของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนกุงเจริญวิทยาองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี ๘ อำเภอศรีธาตุจังหวัด อุดรธานีเป็นการวิจัยเชิงทดลอง สรุปได้ดังนี้ วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์หลังใช้การเรียนแบบร่วมมือแบบ แบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กับเกณฑ์ ร้อยละ 70 2. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์หลังใช้การเรียนแบบร่วมมือแบบ แบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน 3. เพื่อศึกษาทักษะการแก้ปัญหา หลังใช้การเรียนแบบร่วมมือแบบแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 4. เพื่อศึกษาการทำงานเป็นทีม หลังเรียนโดยใช้การเรียนแบบร่วมมือแบบแบ่งกลุ่ม ผลสัมฤทธิ์ (STAD) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 สมมติฐานการวิจัย 1. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนโดยใช้การเรียนแบบร่วมมือแบบแบ่งกลุ่ม ผลสัมฤทธิ์ (STAD) มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 2. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนโดยใช้การเรียนแบบร่วมมือแบบแบ่งกลุ่ม ผลสัมฤทธิ์ (STAD) มีมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน วิธีดำเนินการวิจัย 1. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ประชากรในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนโรงเรียนกุงเจริญ วิทยาองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี ๘ จังหวัดอุดรธานีปีการศึกษา 2564 จำนวน 4 ห้องเรียน จำนวน 94 คน ซึ่งกลุ่มตัวอย่างได้จากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวน 20 คนเพื่อเป็นกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ 2. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ ประกอบด้วย


73 2.1 แผนการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ที่จัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้กิจกรรม การเรียนรู้โดยใช้การเรียนแบบร่วมมือแบบแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นประกอบ จำนวนทั้งสิ้น 15 แผน รวม 15 ชั่วโมง 2.2 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์เรื่อง สมการเชิงเส้นตัวแปร เดียว ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเป็นแบบทดสอบปรนัยมี4 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ แต่ละข้อมีค่าดัชนีความ สอดคล้อง (IOC) เท่ากับ 1.00 มีความยากง่ายระหว่าง 0.43 - 0.73 ค่าอำนาจจำแนกของข้อสอบราย ข้อ มีค่าตั้งแต่ 0.25 - 0.50 และค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบทั้งฉบับมีค่า 0.73 2.3 แบบทดสอบทักษะการแก้ปัญหา เรื่อง สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น เป็นแบบทดสอบอัตนัยจำนวน 2 ข้อ แต่ละข้อมีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) เท่ากับ 1.00 มีความ ยากง่ายระหว่าง 0.50 - 0.64 ค่าอำนาจจำแนกของข้อสอบรายข้อ มีค่าตั้งแต่ 0.42 - 0.49 และค่า ความเชื่อมั่นของแบบทดสอบทั้งฉบับมีค่า 0.95 2.4 แบบสอบถามการทำงานเป็นทีม ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเป็นแบบสอบถาม 20 ข้อ แต่ละข้อ มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) เท่ากับ 1.00 มีค่าอำนาจจำแนกของข้อสอบรายข้อ มีค่าตั้งแต่0.22 - 0.68 และค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบทั้งฉบับมีค่า 0.94 3. การเก็บรวบรวมข้อมูล การดำเนินการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยดำเนินการทดลองและเก็บข้อมูลกับนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1/4 โรงเรียนกุงเจริญวิทยา องค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรานี ๘ อำเภอศรีธาตุ จังหวัดอุดรธานีการดำเนินการทดลองและเก็บข้อมูลในแต่ละขั้น มีดังนี้ 3.1 เตรียมนักเรียนก่อนดำเนินการสอน โดยแนะนำวิธีการเรียนโดยใช้กิจกรรมการ เรียนรู้โดยใช้การเรียนแบบร่วมมือแบบแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) ให้นักเรียนมีความรู้การสร้าง ข้อตกลงเบื้องต้นเกี่ยวกับการเรียน ขั้นตอนการเรียนและบทบาทวิธีการปฏิบัติตนในการเรียนวิชา คณิตศาสตร์ใช้เวลา 1 ชั่วโมงในสัปดาห์แรกก่อนทำการทดลอง 3.2 ทำการทดสอบก่อนเรียน (Pretest) โดยใช้แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาคณิตศาสตร์ใช้เวลา 2 ชั่วโมงในสัปดาห์แรกก่อนทำการทดลอง 3.3 ดำเนินการทดลองการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์โดยใช้กิจกรรม การเรียนรู้โดยใช้การเรียนแบบร่วมมือแบบแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) เรื่อง สมการเชิงเส้นตัวแปร เดียว กับนักเรียนกลุ่มตัวอย่างตามแผนการจัดการเรียนรู้ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น จำนวน 15 แผน ใช้เวลา 15 ชั่วโมง 3.4 ทำการทดสอบหลังเรียน (Posttest) หลังจากการทดลองสอนสิ้นสุดลง โดยใช้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ฉบับเดียวกันกับที่ใช้ทดสอบก่อนการทดลอง โดยใช้เวลา 2 ชั่วโมง และใช้แบบวัดทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น สรุปผลการวิจัย จากการวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อตรวจสอบสมมติฐานการวิจัยพบว่า 1. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนโดยใช้การเรียนแบบร่วมมือแบบแบ่งกลุ่ม ผลสัมฤทธิ์ (STAD) มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70


74 2. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนโดยใช้การเรียนแบบร่วมมือแบบแบ่งกลุ่ม ผลสัมฤทธิ์ (STAD) มีมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน การอภิปรายผล ผลการศึกษาการใช้กิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้การเรียนแบบร่วมมือแบบแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มี ประเด็นในการนำมาอภิปรายผลตามลำดับ ดังนี้ 1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ หลังใช้การเรียนแบบร่วมมือแบบแบ่งกลุ่ม ผลสัมฤทธิ์ (STAD) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 15.85 คิดเป็นร้อยละ 79.25 และเมื่อเปรียบเทียบระหว่างคะแนนสอบหลังเรียนกับเกณฑ์พบว่า คะแนนสอบหลังเรียนของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนโดยใช้การเรียนแบบร่วมมือแบบแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) เรื่อง สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว หลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ซึ่ง เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ ทั้งนี้อาจเป็นเพราะ การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือแบบแบ่งกลุ่ม ผลสัมฤทธิ์ (STAD) เรื่อง สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ผู้วิจัยสร้าง ขึ้นมานั้นเป็นกิจกรรมที่น่าสนใจ จึงทำให้คะแนนเฉลี่ยของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่า ก่อนเรียนร้อยละ 70 สอดคล้องกับงานวิจัยของ พรพรรณ เสาร์คำเมืองดี(2562) ได้ศึกษาผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD เรื่อง บทประยุกต์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดไผ่หูช้าง อ.บางเลน จ.นครปฐม ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ 1. เพื่อเปรียบเทียบ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง บทประยุกต์ ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ระหว่างก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD 2. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง บทประยุกต์ ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กับเกณฑ์ร้อยละ 70 เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD ผลการวิจัยพบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง บทประยุกต์ ของ นักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 6 โดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD หลังเรียนสูงกว่า ก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .05 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง บทประยุกต์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 6 โดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD หลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 หรือ 17.50 คะแนน จากคะแนนเต็ม 25 คะแนน ( = 19.04 ) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีความพึงพอใจต่อการ จัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD อยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด ( = 4.56, = 0.74) 2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ หลังใช้การเรียนแบบร่วมมือแบบแบ่งกลุ่ม ผลสัมฤทธิ์ (STAD) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียน 7.15 คิดเป็นร้อยละ 35.75 และคะแนนเฉลี่หลังเรียน 15.85 คิดเป็นร้อยละ 79.25 ซึ่งการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการ เรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนพบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ ทั้งนี้อาจเป็นเพราะ การจัดการเรียนรู้ แบบร่วมมือแบบแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) เรื่อง สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ของนักเรียนชั้น


75 มัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมานั้นเป็นกิจกรรมที่น่าสนใจ ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ อัสราพร ทองเจริญ (2560) ได้ศึกษา ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD ประกอบแบบฝึก ทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง อัตราส่วนและร้อยละ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนโคกโพธิ์ไชยศึกษามี วัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD ประกอบแบบฝึก ทักษะคณิตศาสตร์เรื่อง อัตราส่วนและร้อยละ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มีประสิทธิภาพ ตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อหาดัชนีประสิทธิผลของกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD ประกอบแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง อัตราส่วนและร้อยละ กลุ่มสาระการเรียนรู้ คณิตศาสตร์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนกับหลังเรียน ของ นักเรียนที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD ประกอบแบบฝึกทักษะ คณิตศาสตร์เรื่อง อัตราส่วนและร้อยละ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และ 4) เพื่อ ศึกษาความพึงพอใจในการเรียนรู้ของนักเรียนที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD ประกอบแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง อัตราส่วนและร้อยละ กลุ่มสาระการเรียนรู้ คณิตศาสตร์ผลการศึกษาพบว่า กิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD ประกอบแบบฝึก ทักษะคณิตศาสตร์เรื่อง อัตราส่วนและร้อยละ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 82.27/80.67 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ประสิทธิภาพ 80/80 ที่กำหนดไว้กิจกรรม การเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD ประกอบแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์เรื่อง อัตราส่วนและร้อยละ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีดัชนีประสิทธิผล เท่ากับ ซึ่งแสดงว่า นักเรียน มีความก้าวหน้าทางการเรียนเพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 64.77 นักเรียนที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้แบบ ร่วมมือ เทคนิค STAD ประกอบแบบฝึก ทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง อัตราส่วนและร้อยละ กลุ่มสาระ การเรียนรู้คณิตศาสตร์ชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 2 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนรู้ด้วยกิจกรรมการเรียนรู้แบบ ร่วมมือ เทคนิค STAD ประกอบแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง อัตราส่วนและร้อยละ กลุ่มสาระการ เรียนรู้คณิตศาสตร์มีความพึงพอใจ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (̅ = 4.62, .. = 0.49) 3. การศึกษาทักษะการแก้ปัญหา หลังใช้การเรียนแบบร่วมมือแบบแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 พบว่านักเรียนมีความสามารถในการใช้ทักษะการการ แก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์คิดเป็นคะแนนเฉลี่ย 12.15 ส่วนเบี่ยงเบนมตารฐาน 3.28 ซึ่งสามารถมารถวัด ทักษะการแก้ปัญหาได้ในระดับ ปานกลาง ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของธีรวัฒน์ แสงศรี (2560) ได้ ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและ ทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ตามแนวคิดของโพลยา ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD สําหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับ การเรียนโดยใช้ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดพื้นฐานความรู้ทางคณิตศาสตร์ แบบทดสอบ วัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อน เรียนและ หลังเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจ อย่างมี นัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. การศึกษาการทำงานเป็นทีม หลังเรียนโดยใช้การเรียนแบบร่วมมือแบบแบ่งกลุ่ม ผลสัมฤทธิ์ (STAD) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 พบว่านักเรียนที่เรียนโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ การเรียนแบบร่วมมือแบบแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) เรื่อง สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีคะแนนในด้านสมาชิกมีความพอใจในทีม มีคะแนนเฉลี่ย ( x = 3.90 , S.D. =


76 0.86) ด้านสื่อสารที่ดีมีคะแนนเฉลี่ย ( x = 3.66 , S.D. = 0.72) ด้านกระบวนการมีคะแนนเป็น อันดับ3 2 ( x = 3.61 , S.D. = 0.73) ด้านแก้ปัญหาอุปสรรค์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ( x = 3.59 , S.D. = 0.92) ซึ่งภาพรวมทั้ง 4 ด้าน มีการทำงานเป็นทีมอยู่ในระดับมาก ( x = 3.69 , S.D. = 0.70) ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของสุนารี นวลจันทร์ (2562) ได้ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชา คณิตศาสตร์และความสามารถในการทำงานกลุ่ม เรื่อง ระบบจำนวนจริง ด้วยการเรียนแบบร่วมมือ เทคนิค STAD ร่วมกับเกมคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนตรังวิทยา จังหวัดตรัง ผลการวิจัยพบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนคณิตศาสตร์ โดยการเรียนแบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับเกม คณิตศาสตร์ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ความสามารถในการทำงานกลุ่มนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนคณิตศาสตร์ โดยการเรียนแบบ ร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับเกมคณิตศาสตร์มีความสามารถในการทำงานกลุ่มอยู่ในระดับมากที่สุด และความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนคณิตศาสตร์ โดยการเรียนแบบร่วมมือ เทคนิค STAD ร่วมกับเกมคณิตศาสตร์อยู่ในระดับมาก


77 ข้อเสนอแนะ จากผลการใช้กิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือแบบแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) วิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เรื่อง สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ผู้วิจัยให้ ข้อเสนอแนะในการวิจัย และข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป ดังนี้ 1. ข้อเสนอแนะในการนำผลการวิจัยไปใช้ 1.1 ครูผู้สอนควรศึกษาการจัดการเรียนเรียนรู้แบบร่วมมือแบบแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) ให้เข้าใจก่อนนำไปปรับใช้ในแผนการจัดการเรียนรู้และบทเรียนที่นำไปสอนนักเรียน 1.2 ครูผู้สอนควรจะอธิบายวิธีการ และขั้นตอนการทำกิจกรรมต่าง ๆ แก่นักเรียนเพื่อให้ นักเรียนได้เข้าใจก่อนปฏิบัติจะช่วยให้ครูผู้สอนได้รับความร่วมมือจากนักเรียนมากยิ่งขึ้น 1.3 ครูผู้สอนควรที่จะสังเกตพฤติกรรมของนักเรียนที่จะใช้จัดการเรียนเรียนรู้แบบร่วมมือ แบบแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) เนื่องจากการจัดการเรียนรู้ลักษณะการทำงานเป็นกลุ่มหากครูผู้สอน ไม่สังเกตพฤติกรรมนักเรียนในแต่ละกลุ่มจะทำให้ไม่สามารถควบคุมการเรียนการสอนในแต่ละชั่วโมง ได้ ดังนั้นครูผู้สอนจึงจำเป็นต้องสังเกตพฤติกรรมของนักเรียนในแต่ละกลุ่มเพื่อที่จะให้ความช่วยเหลือ ชี้แนะได้ทันจะทำให้การจัดกิจกรรมราบรื่นไปได้ด้วยดี 1.4 ครูผู้สอนควรที่จะคำนึกถึงเวลาที่ใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เนื่องจากการเรียนรู้ แบบร่วมมือแบบแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์นั้น เป็นการเรียนแบบกลุ่มดดยคละความสามารถดังนั้นนักเรียน ที่อ่อนในแต่ละกลุ่มจะตามนักเรียนที่เก่งไม่ค่อยทันครูจึงจำเป็นต้องจัดการเวลาให้ดีเพื่อที่จะให้การ เรียนเกิดประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น 2. ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป 2.1 ควรมีการพัฒนาการออกแบบการจัดกิจกรรมและสอนเนื้อหาที่สามารถบูรณากากับ วิชาอื่น ๆ ได้ เพื่อนักเรียนจะได้มีความรู้ไปต่อยอด 2.2 ควรมีการสอบถามนักเรียน และสังเกตความสนใจของนักเรียนว่า ชอบอะไร สนใจใน เรื่องไหน ครูผู้สอนจะได้นํามาออกแบบกิจกรรม เพื่อให้กิจกรรมมีความสนุกสนาน นักเรียนชอบและมี ความสุขในการเรียน


78 บรรณานุกรม กรมวิชาการกระทรวงศึกษาธิการ. ( 2545 ). ค่มืูอการพัฒนาสื่ออการเรียนรู้. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุ สภาลาดพร้าว. กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้ คณิตศาสตร์(ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศ ไทย. เกรียงศักดิ์ เจริญวงศศักดิ์. (2541, มีนาคม–พฤษภาคม). “สอนอยางไรใหคิดเปน” , วิทยาจารย์. 97(3-5) :77– 79. แคทรียา ใจมูล. (2550). ผลการจัดการเรียนร้โดยใช้เทคนิค STAD ในกลู่มสาระการเรียนรู้ คณิตศาสตร์ เรื่องอัตราส่วนและร้อยละ ชั้นมัธยมศึกษาปี่ที่2 โรงเรียนห้วยส้านยาว วิทยา สํานักงานเขตพื้นทีการศึกษาเชียงราย เขต 2. วิทยานิพนธ์ ค.ม. (หลักสูตรและการ สอน). เชียงราย : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิยาลัยราชภัฎเชียงราย. จุลพงษ พันอินากูล. (2542). พฤติกรรมการสอนวิชาคณิตศาสตรในระดับประถมศึกษา. อุดรธานี : สถาบันราชภัฏอุดรธานี บุญชม ศรีสะอาด. (2540). การวิจัยทางการวัดผลและประเมินผล. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น. ประสิทธิ์ พลศรีพิมพ์. (2542). คณิตศาสตร์ สำหรับครูประถม. โครงการตำราวิชาการราชภัฏเฉลิม พระเกียรติเนื่องในวโรกาสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูหัวทรงเจริญพระชนมพรรษา 6 รอบ . มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. ปรีชา เนาว์เย็นผล. (2537). หน่วยที่ 12 การแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์. ในประมวลสาระชุด วิชา สารัตถะและวิทยวิธีทางวิชาคณิตศาสตร์. นนทบุรี: สาขาวิชาคณิตศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. ปิยะภรณ์ สาริบูรณ์. (2553). การเปรียบเทียบผลการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์เรื่อง การหารชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ระหว่างการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค STAD กับการ จัดการเรียนรู้โดยวิธีปกติ. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. มหาสารคาม: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. พรพรหม อัตตวัฒนากุล .(2547). ผลการใช้แบบฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ เรื่อง การ ประยุกต์ของสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. (การมัธยมศึกษา). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ. พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2540). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ: สำนัก ทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร พิมพันธ์ เดชะคุปต์. (2544). การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ: แนวคิดวิธีและเทคนิคการสอน 1. กรุงเทพฯ: เดอะมาสเตอร์กรุ๊ฟแมนเนจเม้นท์. ยุพิน พิพิธกุล. (2545). การเรียนการสอนคณิตศาสตร์ในยุคปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพฯ: บพิธการ พิมพ์.


79 ยุรพงษ์ ฉัตรศุภสิริ. (2553). การเปรียบเทียบผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้กลุมสาระการเรียนรู คณิตศาสตร์เรื่อง ความน่าจะเป็นชั้นมัธยมศึกษาปที่ 5 ด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ STAD กับ การเรียนรู้แบบปกติ. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. มหาสารคาม: บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยมหาสารคาม. เยาวดี วิบูลย์ศรี. (2546). การประเมินโครงการแนวคิดและแนวปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย. รุ่ง แก้วแดง. (2541). การน าภูมิปัญญาไทยเข้าระบบสู่การศึกษา. กรุงเทพฯ: ส านักงาน คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2551). ตัวอย่างการประเมินผลวิทยาศาสตร์ นานาชาติ: PISA และ TIMSS. กรุงเทพฯ: อรุณการพิมพ์. สมเดช บุญประจักษ์. (2543) .การแก้ปัญหา. เอกสารประกอบการอบรม: สถาบันราชภัฏพระนคร. สมทรง สุวพานิช. (2539). เอกสารประกอบการสอนรายวิชา 1023623 พฤติกรรมการสอน คณิตศาสตร์ระดับประถมศึกษา. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2547). เอกสารการนิเทศการใช้แหล่งเรียนรู้ใน โรงเรียนและชุมชน. กรุงเทพฯ : คุรุสภาลาดพร้าว. สิริพร ทิพย์คง. (2545). หลักสูตรและการสอนคณิตศาสตร์. กรุงเทพฯ: บริษัทพัฒนาคุณภาพ วิชาการ(พว.) จำกัด. สุวร กาญจนมยูร. (2547). “กระบวนการคิดคณิตศาสตร์ระดับประถมศึกษา ตอนที่8,” สถาบัน ส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 32 (131) : 38. สุวิทย์ มูลคํา และอรทัย มูลคํา. (2546). 19 วิธีจัดการเรียนร้ : เพื่อพัฒนาความรู้และทักษะ . กรุงเทพฯ : ภาพพิมพ์ อัมพร ม้าคะนอง. (2546). คณิตศาสตร์: การสอนและการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: ศูนย์ตำราและเอกสาร ทางวิชาการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. อารีย์ คงสวัสดิ์. (2544). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อมั่นในการเรียน คณิตศาสตร์กับ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ กศ.ม., มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ. Nerboving, M. H. & Klausmeier, H. J. (1974). Teaching in The Elementary School. 4th ed. New York : Harper & Row. Polya G. How To Solve It: A. New York: New Aspect of Mathematical Method, 1985 Slavin, R. E. (1987). "Ability grouping and student achievement in elementary schools: A best-evidence synthesis." Review of educational research, 57, 3: 293- 336. Wilson, Jame W.(1971). Evaluation of Learning in Secondary School Mathematics, Handbook on Formative and Summative Evaluation of Student Learning. ed. by Benjamin S.Bloom, pp. 685-689. U.S.A. : McGraw-Hill.


80 ภาคผนวก


81 ภาคผนวก ก รายชื่อผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย


82 รายชื่อผู้เชี่ยวชาญตรวจเครื่องมือวิจัย ผู้เชี่ยวชาญด้านการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ ที่ประเมินแผนการจัดการเรียนรู้ และ แบบทดสอบก่อนเรียน - หลังเรียน มีรายนามดังต่อไปนี้ 1. นายเดชา แสนโยธา ครูเชี่ยวชาญ โรงเรียนกุงเจริญวิทยาองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี ๘ อำเภอศรีธาตุจังหวัดอุดรธานี 2. นายกฤษณะ อิ่มเจือ ครูชํานาญการพิเศษ โรงเรียนกุงเจริญวิทยาองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี ๘ อำเภอศรีธาตุจังหวัดอุดรธานี 3. นางสาวปริษา ไร่ไสว ครูชํานาญการพิเศษ โรงเรียนกุงเจริญวิทยาองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี ๘ อำเภอศรีธาตุจังหวัดอุดรธานี


83 ภาคผนวก ข ตัวอย่างแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือรูปแบบ เอส.ที.เอ.ดี เรื่อง สมการกําลังสองตัวแปรเดียว ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1


84 แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ วิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน2 ค21102 เรื่อง ปฐมนิเทศภาคเรียนที่ 2/2566 จำนวน 1 ชั่วโมง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2/2566 โรงเรียนกุงเจริญวิทยา อบจ.อด.๘ วันที่..........เดือน................... พ.ศ. 2566 ครูผู้สอน นายทรัพย์สิน ผ่านชมภู 1. มาตรฐานการเรียนรู้ / ตัวชี้วัด - 2. สาระสำคัญ การจัดการเรียนการสอน วิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน2 รหัสวิชา ค 21102 เป็นการจัดการ เรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ การสร้างความเข้าใจอันดีต่อกันระหว่างครูและนักเรียน การสร้างข้อตกลงเบื้องต้น กฎหรือกติกาเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอน จุดประสงค์ การเรียนรู้ การวัดผลประเมินผล เพื่อให้นักเรียนได้เตรียมพร้อมและเข้าใจถึงกระบวน การจัดการเรียนรู้ ตระหนักถึงความสำคัญที่ต้องเรียนรู้ 3. จุดประสงค์การเรียนรู้ 1. นักเรียนสามารถอธิบายกฎและกติกาที่ใช้ในการเรียนในภาคเรียนที่2 (K) 2. นักเรียนสามารถสรุปเนื้อหาในชั้วโมงโดยใช้เครื่องมือ Diagram (P) 3. นักเรียนใฝ่เรียนรู้ในการทำงาน (A) 4. สาระการเรียนรู้ 1. แนวทางการเรียนรู้ในวิชา คณิตศาสตร์พื้นฐาน2 ค21102 2. แจ้งเนื้อหาทั้งหมดที่จะเรียนในภาคเรียนที่ 2 ในวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน2 ค21102 3. ข้อตกลงในการวัดและประเมินผลวิชา คณิตศาสตร์พื้นฐาน2 ค21102 4. เกณฑ์การประเมินผลและวัดผลการเรียนวิชา คณิตศาสตร์พื้นฐาน2 ค21102 5. จุดประสงค์การเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 6. รู้จักเครื่องมือคิด KWL และ Diagram 7. ทำแบบทดสอบก่อนเรียน 5. ชิ้นงาน/ภาระงาน 1. แบบทดสอบก่อนเรียน 6. สมรรถนะที่สำคัญของผู้เรียน -


85 7. เครื่องมือการสอนคิด - KWL - Diagram 8. การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ Do Now (ขั้นนำ) ครูให้นักเรียนทำแบทดสอบก่อนเรียน Purpose (ขั้นชี้แจงจุดประสงค์) ในชั่วโมงนี้เป็นการปฐมนิเทศในชั้นเรียน เพื่อให้นักเรียนสามารถอธิบายกฎและกติกา ที่ใช้ในการเรียนในภาคเรียนที่2 และสามารถสรุปเนื้อหาในชั้วโมงโดยใช้เครื่องมือ Diagram Work Mode (ขั้นสอน) 1. ครูอธิบายคะแนนเก็บที่ใช้ในการเก็บคะแนนในภาคเรียนที่ 2 2. ครูบอกกฎกติกา และแนวทางปฏิบัติในภาคเรียนที่ 2 3. ครูอธิบายเครื่องมือคิด KWL ซึ่ง K:หมายถึงสิ่งที่นักเรียนได้รู้ W:หมายถึงสิ่งที่ นักเรียนอยากรู้ L:หมายถึงสิ่งที่ได้เรียนรู้ ยกตัวอย่างเช่น ในการเรียนเรื่อง เตะฟุตบอล ครูอธิบายหรือ นักเรียนได้ศึกษาเรื่องของการเตะฟุตบอลมาก่อนหน้านี้ K: นักเรียนรู้เรื่องอะไร W: นักเรียนอยากรู้อะไร L: นักเรียนได้เรียนรู้อะไร -ฟุตบอลเล่นฝั่งละ 11 คน - กฏกติกาในการเล่นฟุตบอล - อยากได้เทคนิคการเตะ ฟุตบอลให้เก่ง - ในการเตะฟุตบอลให้เก่งนั้น จำเป็นต้องมีความขยันอดทน มุ่งมานะในการฝึกซ้อม 4. ครูอธิบายเครื่องมือคิด Diagram เป็นเครื่องมือที่ช่วยจัดลำดับความคิดของตัวเอง ซึ่ง Diagram จะจัดการเรียนรู้อย่างเป็นหมวดหมู่ เป็นลำดับขั้นตอน เช่นให้นักเรียนสรุปเรื่อง ฟุตบอล 5. นักเรียนทำการสรุปความรู้ในชั่วโมงนี้โดยใช้เครื่องมือ Diagram ขั้นสรุป 1. นักเรียนนำเสนองานสรุป 9. สื่อ/แหล่งการเรียนรู้ 9.1 สื่อการเรียนรู้ 1. หนังสือเรียนคณิตศาสตร์พื้นฐาน สสวท. ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 1 2. ใบงาน Diagram ฟุตบอล กฎกติกา 1……… 2…………. 2. เทคนิคการเล่น ฟุตบอล 1……… 2…………. 2.


86 10. กระบวนการวัดและประเมินผล จุดประสงค์ เครื่องมือ วิธีการวัด เกณฑ์ความสำเร็จ 1.นักเรียนสามารถ อธิบายกฎและกติกาที่ ใช้ในการเรียนในภาค เรียนที่2 (K) การซักถาม การตอบคำถาม ผ่านเกณฑ์ตอบถูกต้อง ร้อยละ 80 2. นักเรียนสามารถสรุป เนื้อหาในชั้วโมงโดยใช้ เครื่องมือ Diagram (P) ใบงาน Diagram ตรวจใบงาน Diagram ผ่านเกณฑ์ถูกต้องร้อย ละ 60 ขึ้นไป 3. นักเรียนใฝ่เรียนรู้ใน การทำงาน (A) แบบสังเกตพฤติกรรม/ สังเกตพฤติกรรมระหว่า ทำกิจกรรม สังเกตพฤติกรรม ผ่านเกณฑ์ระดับพอใช้ ขึ้นไป


87 บันทึกหลังการสอน ผลการจัดการเรียนการสอน ด้านความรู้(K) ............................................................................................................................. ......... ......................................................................................................................................... ด้านทักษะ/กระบวนการ (P) ............................................................................................................................. ......... ....................................................................................................................................... ด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ...................................................................................................................................... ....................................................................................................................................... ปัญหาและอุปสรรค์ ...................................................................................................................................................... ..................................................................................................................................................... ..................................................................................................................................................... ข้อเสนอแนะ/แนวทางแก้ปัญหา ..................................................................................................................................................... ..................................................................................................................................................... ..................................................................................................................................................... ลงชื่อ .............................................................. (นายทรัพย์สิน ผ่านชมภู) นักศึกษาปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา วันที่.........เดือน...................... พ.ศ. ............


88 บันทึกความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ ความคิดเห็น/ข้อเสนอแนะของครูพี่เลี้ยง ................................................................................................................................................................ ................................................................................................................................................................ ................................................................................................................................................................ ความคิดเห็น/ข้อเสนอแของ หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ................................................................................................................................................................ ................................................................................................................................................................ ................................................................................................................................................................ ลงชื่อ ............................................................... (นางสาวปริษา ไร่ไสว) ตำแหน่งหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ความคิดเห็น/ข้อเสนอแของรองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ ................................................................................................................................................................ ................................................................................................................................................................ ................................................................................................................................................................ ลงชื่อ..................................................... (นางสาววรรณิษา กสิผล) รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ ลงชื่อ ............................................................... (นางสาวกรรณิการ์ บุญประกอบ) ตำแหน่ง ครูพี่เลี้ยง


89 แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 2 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ วิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน2 ค21102 หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว จำนวน 15 ชั่วโมง เรื่อง การหาค่าของนิพจน์พีชคณิต จำนวน 1 ชั่วโมง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2/2566 โรงเรียนกุงเจริญวิทยา อบจ.อด.๘ วันที่..........เดือน................... พ.ศ. 2566 ครูผู้สอน นายทรัพย์สิน ผ่านชมภู 1. มาตรฐานการเรียนรู้ / ตัวชี้วัด มาตรฐานการเรียนรู้ มาตรฐาน ค 1.3 ใช้นิพจน์ สมการ อสมการ และเมทริกซ์ อธิบายความสัมพันธ์ หรือ ช่วยแก้ปัญหาที่กำหนดให้ ตัวชี้วัด ค 1.3 ม.1/1 เข้าใจและใช้สมบัติของการเท่ากันและสมบัติของจำนวน เพื่อวิเคราะห์ และแก้ปัญหาโดยใช้สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว 2. สาระสำคัญ การหาค่าของนิพจน์พีชคณิตนั้น เราสามารถทำได้โดยแทนตัวแปรในนิพจน์พีชคณิตด้วย จำนวนที่ต้องการแล้วคำนวณหาค่าของนิพจน์พีชคณิตนั้น 3. จุดประสงค์การเรียนรู้ 1. นักเรียนมีความสามารถอธิบายเกี่ยวกับการหาค่าของนิพจน์พีชคณิตได้ถูกต้อง (K) 2. นักเรียนสามารถคำนวณหาค่านิพจน์พีชคณิตได้อย่างถูกต้อง (P) 3. ใฝ่เรียนรู้มุ่งมั่นในการทำงาน (A) 4. สาระการเรียนรู้ นิพจน์พีชคณิต 5. ชิ้นงาน/ภาระงาน 1. แบบฝึกหัดที่ 2 การหาค่าพีชคณิต 6. สมรรถนะที่สำคัญของผู้เรียน ความสามารถในการคิด 7. เครื่องมือการสอนคิด -


Click to View FlipBook Version