The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

โครงการศึกษาวิจัยว่าด้วยการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารงานและการอำนวยความยุติธรรมทางอาญาของสำนักงานอัยการสูงสุด

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by TU Law, 2023-04-04 10:24:54

รายงานการศึกษาฉบับสมบูรณ์ (Final Report)

โครงการศึกษาวิจัยว่าด้วยการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารงานและการอำนวยความยุติธรรมทางอาญาของสำนักงานอัยการสูงสุด

รายงานการศึกษาฉบับสมบูรณ์(Final Report) โครงการศึกษาวิจัยว่าด้วยการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารงาน และการอำนวยความยุติธรรมทางอาญาของสำนักงานอัยการสูงสุด (Research Project : Public Participation in the Administration of Criminal Justice by Office of the Attorney General) โดย สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เสนอต่อ สถาบันนิติวัชร์ สำนักงานอัยการสูงสุด มีนาคม 2566


ก กิตติกรรมประกาศ รายงานฉบับสมบูรณ์ “โครงการศึกษาวิจัยว่าด้วยการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารงาน และการอำนวยความยุติธรรมทางอาญาของสำนักงานอัยการสูงสุด (Research Project: Public Participation in the Administration of Criminal Justice by Office of the Attorney General)” ซึ่งสถาบันนิติวัชร์ สำนักงานอัยการสูงสุด ได้มอบหมายให้สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่ง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ดำเนินการศึกษาจนสำเร็จได้ในครั้งนี้เป็นการดำเนินการโดยคณะที่ปรึกษา ได้แก่ ศาสตราจารย์ ณรงค์ ใจหาญ รองศาสตราจารย์ ดร.ณภัทร สรอัฑฒ์อาจารย์ ดร.ผ่องศรี เวสารัช อาจารย์ดร.ภาคภูมิ โลหวริตานนท์อาจารย์ ดร.ศุภวัฒน์ สุขะปรเมษฐ นางสาวกนกพรรณ ชลชวลิต และนางสาวกนกวรรณ ชาติสุวรรณ โครงการดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อทำการศึกษา ต่อยอด ทบทวน และประเมินประสิทธิภาพของ “คณะกรรมการมีส่วนร่วมภาคประชาชนในการพัฒนาสำนักงานอัยการ จังหวัด...” ศึกษาและวิเคราะห์กฎหมายและรูปแบบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารงานและ อำนวยความยุติธรรมทางอาญา หน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม รวมทั้งสำนักงานอัยการทั้งในและ ต่างประเทศเพื่อให้ได้บทเรียน ให้ได้แบบอย่าง และแนวทางที่เหมาะสม การเสนอแนะรูปแบบกลไก ที่เหมาะสมในการให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารงานและการอำนวยความยุติธรรม ทางอาญาของสำนักงานอัยการทั่วประเทศที่ดำเนินคดีอาญา เพื่อให้ได้แนวทางในการปรับปรุง แก้ไข กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ ที่เกี่ยวข้องเพื่อให้สำนักงานอัยการสูงสุดสามารถดำเนินการให้ประชาชน เข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารงานและอำนวยความยุติธรรมทางอาญาได้ตลอดจนเพื่อให้ได้ ข้อเสนอแนะเชิงยุทธศาสตร์สำหรับสำนักงานอัยการสูงสุดในการดำเนินการปรับปรุง กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และแนวปฏิบัติ ให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการอำนวยความยุติธรรมทางอาญาของ สำนักงานอัยการสูงสุดได้อย่างมีประสิทธิภาพตามหลักเสรีประชาธิปไตย โดยมีระยะเวลาดำเนินการ ศึกษาระหว่างวันที่5 กรกฎาคม 2565 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2566 ความสำเร็จที่เกิดขึ้นจากการศึกษาในครั้งนี้คณะที่ปรึกษาต้องขอขอบพระคุณหม่อมหลวง ศุภกิตต์ จรูญโรจน์ เลขาธิการสถาบันนิติวัชร์ สำนักงานอัยการสูงสุด ซึ่งสนับสนุนให้คณะที่ปรึกษา ดำเนินโครงการศึกษาวิจัย นางสันทนีดิษยบุตร ผู้อำนวยการสำนักงานเลขาธิการ สถาบันนิติวัชร์ สำนักงานอัยการสูงสุด นายวิพล กิติทัศนาสรชัย ผู้อำนวยการสำนักงานวิจัยกฎหมายอาญาและพัฒนา กระบวนการยุติธรรม สถาบันนิติวัชร์ สำนักงานอัยการสูงสุด คณะกรรมการตรวจรับพัสดุในงานจ้าง ที่ปรึกษาทุกท่าน ที่กรุณาให้ข้อเสนอแนะแก่คณะที่ปรึกษาในการปรับปรุงงานวิจัยเป็นอย่างดียิ่ง และ นายภานุ ไทยพิทักษ์ นักวิเคราะห์นโยบายและแผนปฏิบัติการ รวมถึงเจ้าหน้าที่ของสถาบันนิติวัชร์ ทุกท่านที่ช่วยประสานงานและให้ข้อมูลอันเป็นประโยชน์แก่คณะที่ปรึกษาจนทำให้งานครั้งนี้สำเร็จลุล่วง ไปด้วยดี


ข นอกจากนี้คณะที่ปรึกษาต้องขอขอบพระคุณต่อผู้ทรงคุณวุฒิทั้งไทยและต่างประเทศที่เป็น วิทยากรให้ข้อมูลในการประชุมรับฟังความคิดเห็นทั้ง 2 ครั้ง บุคลากรในกระบวนการยุติธรรม ทั้งหน่วยงานตำรวจ อัยการ และศาลใน 4 ภูมิภาค ที่กรุณาให้ความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ และข้อมูล อันเป็นประโยชน์แก่คณะที่ปรึกษาในการลงพื้นที่เก็บข้อมูล และผู้เข้าร่วมการประชุมรับฟังความคิดเห็น ทุกท่านต่อร่างรายงานฉบับสมบูรณ์จนทำให้การศึกษาครั้งนี้มีความครบถ้วนสมบูรณ์เป็นอย่างยิ่ง ผู้ที่มีส่วนสำคัญในการทำให้รายงานฉบับนี้สมบูรณ์และไม่อาจก้าวล่วงเสียได้คือ คณะที่ปรึกษา และเจ้าหน้าที่ของสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ที่ได้ทุ่มเทเวลา กำลังกาย และกำลังใจในการศึกษา ค้นคว้า ลงพื้นที่เก็บข้อมูล จัดการประชุมระดมความคิดเห็น และสรุปผลรายงานวิจัยฉบับนี้จนทำให้เกิดความสมบูรณ์ครบถ้วน ประกอบด้วย รองศาสตราจารย์ ดร.ณภัทร สรอัฑฒ์ อาจารย์ ดร.ผ่องศรี เวสารัช อาจารย์ ดร.ภาคภูมิ โลหวริตานนท์ อาจารย์ ดร. ศุภวัฒน์ สุขะปรเมษฐ นางสาวกนกพรรณ ชลชวลิต นางสาวกนกวรรณ ชาติสุวรรณ และ นางปิยะมาศ กิจวีรวุฒิคณะที่ปรึกษาต้องขอขอบคุณในความทุ่มเทจนทำให้งานสำเร็จอย่างดียิ่ง ส่วนความผิดพลาดใด ๆ ในรายงานฉบับนี้คณะที่ปรึกษาขอรับผิดชอบในความผิดพลาด ที่เกิดขึ้น ต้องขออภัยมา ณ ที่นี้และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าผลของการศึกษาจะทำให้บรรลุผลตาม วัตถุประสงค์ของโครงการศึกษาทุกประการ หากผลดีอันเนื่องมาจากผลการศึกษาในรายงานการศึกษา ฉบับนี้ขอมอบให้แก่ผู้มีส่วนสร้างสรรค์งานวิจัยฉบับนี้ดังที่ได้กล่าวนามมาข้างต้นทั้งหมดทุกคน ณรงค์ ใจหาญ หัวหน้าโครงการ มีนาคม 2566


สารบัญ หน้า กิตติกรรมประกาศ บทสรุปผู้บริหาร I Executive Summary V บทที่ 1 ข้อกำหนดการศึกษาและแผนการดำเนินงาน 1 1. หลักการและเหตุผล 1 2. วัตถุประสงค์ของโครงการ 2 3. เป้าหมายของการจัดการจ้างที่ปรึกษา 2 4. กรอบแนวคิดในการดำเนินการศึกษาและงานที่ที่ปรึกษาจะต้องรับผิดชอบ 3 5. วิธีการดำเนินการศึกษา 6 6. ระยะเวลาดำเนินการ 9 7. แผนการดำเนินงาน 10 8. การดำเนินงานและการส่งมอบงาน 12 9. คณะที่ปรึกษา สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 13 บทที่ 2 แนวคิดและหลักเกณฑ์การมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการยุติธรรมของ กฎหมายต่างประเทศ 14 1. ประเทศญี่ปุ่น 14 1.1 การมีส่วนร่วมของประชาชนในชั้นตำรวจ 14 1.2 การมีส่วนร่วมของประชาชนในชั้นอัยการ 17 1.3 การมีส่วนร่วมของประชาชนในชั้นศาล 25 2. สาธารณรัฐเกาหลี 30 2.1 การมีส่วนร่วมของประชาชนในชั้นตำรวจ 30 2.2 การมีส่วนร่วมของประชาชนในชั้นอัยการ 31 2.3 การมีส่วนร่วมของประชาชนในชั้นศาล 33 3. สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี 35 3.1 การมีส่วนร่วมของประชาชนในชั้นตำรวจ 35 3.2 การมีส่วนร่วมของประชาชนในชั้นอัยการ 36 3.3 การมีส่วนร่วมของประชาชนในชั้นศาล 39 4. สาธารณรัฐฝรั่งเศส 41 4.1 การมีของส่วนร่วมประชาชนในชั้นตำรวจ 41


สารบัญ หน้า 4.2 การมีส่วนร่วมของประชาชนในชั้นอัยการ 43 4.3 การมีส่วนร่วมของประชาชนในชั้นศาล 46 5. ราชอาณาจักรนอร์เวย์ 47 5.1 การมีส่วนร่วมของประชาชนในชั้นตำรวจ 48 5.2 การมีส่วนร่วมของประชาชนในชั้นอัยการ 49 5.3 การมีส่วนร่วมของประชาชนในชั้นศาล 50 6. ประเทศสกอตแลนด์ 51 6.1 การมีส่วนร่วมของประชาชนในชั้นตำรวจ 52 6.2 การมีส่วนร่วมของประชาชนในชั้นอัยการ 52 6.3 การมีส่วนร่วมของประชาชนในชั้นศาล 55 7. ประเทศอังกฤษ 60 7.1 การมีส่วนร่วมของประชาชนในชั้นตำรวจ 60 7.2 การมีส่วนร่วมของประชาชนในชั้นอัยการ 61 7.3 การมีส่วนร่วมของประชาชนในชั้นศาล 62 8. สหรัฐอเมริกา 64 8.1 การมีส่วนร่วมของประชาชนในชั้นตำรวจ 64 8.2 การมีส่วนร่วมของประชาชนในชั้นอัยการ 65 8.3 การมีส่วนร่วมของประชาชนในชั้นศาล 66 บทที่ 3 แนวคิดและหลักเกณฑ์การมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการยุติธรรมของ กฎหมายไทย 69 1. การมีส่วนร่วมของประชาชนในชั้นตำรวจ 69 1.1 นโยบายเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในชั้นตำรวจ 69 1.2 กฎหมายเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในชั้นตำรวจ 70 1.3 การมีส่วนร่วมของประชาชนในเรื่องอื่น ๆ ที่มิใช่การกำหนดนโยบายและ การตรวจสอบการปฏิบัติตามนโยบาย 84 2. การมีส่วนร่วมของประชาชนในชั้นอัยการ 89 2.1 นโยบายเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในชั้นอัยการ 89 2.2 กฎหมายเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในชั้นอัยการ 91 2.3 การมีส่วนร่วมของประชาชนในเรื่องอื่น ๆ ที่มิใช่การกำหนดนโยบายและ 96 การตรวจสอบการปฏิบัติตามนโยบาย


สารบัญ หน้า 3. การมีส่วนร่วมของประชาชนในชั้นศาล 98 3.1 นโยบายเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในชั้นศาล 98 3.2 กฎหมายเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในชั้นศาล 100 3.3 การมีส่วนร่วมของประชาชนในเรื่องอื่น ๆ ที่มิใช่การกำหนดนโยบายและ 107 การตรวจสอบการปฏิบัติตามนโยบาย บทที่ 4 สรุปผลการลงพื้นที่สัมภาษณ์เก็บข้อมูลหน่วยงานเกี่ยวกับการมีส่วนร่วม ของประชาชนในกระบวนการยุติธรรม 109 1. สรุปผลการลงพื้นที่สัมภาษณ์เก็บข้อมูลหน่วยงานภาคใต้ 110 2. สรุปผลการลงพื้นที่สัมภาษณ์เก็บข้อมูลหน่วยงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 123 3. สรุปผลการลงพื้นที่สัมภาษณ์เก็บข้อมูลหน่วยงานภาคกลาง 132 4. สรุปผลการลงพื้นที่สัมภาษณ์เก็บข้อมูลหน่วยงานภาคเหนือ 147 5. สรุปข้อมูลจากแบบสอบถามทางออนไลน์ 153 6. สรุปผลการลงพื้นที่สัมภาษณ์เก็บข้อมูลหน่วยงาน 4 ภาค และแบบสอบถาม 156 บทที่ 5 ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารงาน และการอำนวยความยุติธรรม 175 1. สรุปผลการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิชาวต่างประเทศ 175 1.1 ประเทศญี่ปุ่น 175 1.2 สาธารณรัฐเกาหลี 182 2. สรุปผลการประชุมระดับนานาชาติ 188 3. สรุปผลการประชุมร่วมกับผู้แทนในกระบวนการยุติธรรมของประเทศไทย 199 4. สรุปผลการประชุมการรับฟังความคิดเห็นต่อร่างรายงานฉบับสมบูรณ์ 204 บทที่ 6 การวิเคราะห์ผลการศึกษาและข้อเสนอแนะแนวทางการมีส่วนร่วมของประชาชน ในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา 224 1. ภาพรวมการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา 224 2. การมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการยุติธรรมชั้นตำรวจ 232 3. การมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการยุติธรรมชั้นพนักงานอัยการ ในต่างประเทศที่จะนำมาใช้ในกฎหมายไทย 243


สารบัญ หน้า 4. การมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการยุติธรรมชั้นศาล 247 5. ข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงแก้ไขกฎหมายหรือระเบียบข้อบังคับเพื่อส่งเสริม ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการบริหารงานและการอำนวยความยุติธรรม ของสำนักงานอัยการสูงสุด 255 บรรณานุกรม 260 ภาคผนวก 1 รายชื่อผู้เข้าร่วมการประชุมระดับนานาชาติ 274 ภาคผนวก 2 รายชื่อผู้เข้าร่วมประชุมการรับฟังความคิดเห็น 278 ภาคผนวก 3 รายชื่อผู้เข้าร่วมประชุมการรับฟังความคิดเห็นต่อร่างรายงานฉบับสมบูรณ์ 281


สารบัญตาราง หน้า บทที่ 4 ตารางที่ 1 การลงพื้นที่สัมภาษณ์เก็บข้อมูลหน่วยงานภาคใต้ 111 ตารางที่ 2 การลงพื้นที่สัมภาษณ์เก็บข้อมูลหน่วยงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 123 ตารางที่ 3 การลงพื้นที่สัมภาษณ์เก็บข้อมูลหน่วยงานภาคกลาง 132 ตารางที่ 4 การลงพื้นที่สัมภาษณ์เก็บข้อมูลหน่วยงานภาคเหนือ 147 ตารางที่ 5 สรุปจำนวนการสัมภาษณ์ 156 ตารางที่ 6 สรุปจำนวนการตอบแบบสอบถาม 157 ตารางที่ 7 สรุปจำนวนการสัมภาษณ์และการตอบแบบสอบถาม 157 บทที่6 ตารางที่ 1 โครงการที่ผู้ให้สัมภาษณ์เห็นว่าเข้าข่ายเป็นกลไกการมีส่วนร่วมของ ประชาชนของหน่วยงานกระบวนการยุติธรรม 224 ตารางที่ 2 นโยบายและกฎหมายที่กำกับการจัดทำกลไกประชาชนมีส่วนร่วม ในกระบวนการยุติธรรม 225


I บทสรุปผู้บริหาร โครงการศึกษาวิจัยว่าด้วยการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารงานและ การอำนวยความยุติธรรมทางอาญาของสำนักงานอัยการสูงสุด 1. วัตถุประสงค์ 1.1 เพื่อทำการศึกษา ต่อยอด ทบทวน และประเมินประสิทธิภาพของ “คณะกรรมการมีส่วนร่วม ภาคประชาชนในการพัฒนาสำนักงานอัยการจังหวัด...” 1.2 เพื่อศึกษาและวิเคราะห์กฎหมายและรูปแบบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารงาน และอำนวยความยุติธรรมทางอาญา หน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม รวมทั้งสำนักงานอัยการทั้งใน และต่างประเทศเพื่อให้ได้บทเรียน (Lesson Learned) และให้ได้แบบอย่างและแนวทางที่เหมาะสม (Benchmark/Good Practice) 1.3 เพื่อเสนอแนะรูปแบบและกลไกที่เหมาะสมในการให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการ บริหารงานและการอำนวยความยุติธรรมทางอาญาของสำนักงานอัยการทั่วประเทศที่ดำเนินคดีอาญา 1.4 เพื่อให้ได้แนวทางในการปรับปรุง แก้ไข กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ ที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ สำนักงานอัยการสูงสุดสามารถดำเนินการให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารงานและอำนวย ความยุติธรรมทางอาญาได้ 1.5 เพื่อให้ได้ข้อเสนอแนะเชิงยุทธศาสตร์สำหรับสำนักงานอัยการสูงสุดในการดำเนินการ ปรับปรุง กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และแนวปฏิบัติ เพื่อให้สามารถดำเนินการให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม ในการอำนวยความยุติธรรมทางอาญาของสำนักงานอัยการสูงสุดได้อย่างมีประสิทธิภาพตามหลัก เสรีประชาธิปไตย 2. วิธีการศึกษา โครงการนี้ดำเนินการด้วยวิธีการศึกษาวิจัยด้านเอกสาร สัมภาษณ์เชิงลึก และสัมมนารับฟัง ความคิดเห็น โดยแบ่งการดำเนินการออกเป็น 3 ส่วน ดังนี้ 2.1 ประเมินประสิทธิภาพมาตรการและกลไกของหน่วยงานในกระบวนยุติธรรมของไทยซึ่งมี กลไกการมีส่วนร่วมของประชาชนในสามระดับคือ ตำรวจ ศาล และอัยการ รวมทั้งกลไกการมีส่วนร่วม ผ่าน “คณะกรรมการมีส่วนร่วมภาคประชาชนในการพัฒนาสำนักงานอัยการจังหวัด...” โดยพิเคราะห์ ทั้งในแง่กฎหมาย นโยบาย แนวปฏิบัติ ทั้งนี้คณะที่ปรึกษาได้สัมภาษณ์โดยใช้แบบสอบถาม ซึ่งคณะที่ปรึกษาจัดทำขึ้น และใช้ในการสัมภาษณ์บุคลากรจากสามหน่วยงานดังกล่าวใน 4 ภูมิภาค รวมทั้งหมด16 จังหวัด 2.2 ศึกษากลไกและถอดบทเรียนของต่างประเทศเกี่ยวกับมาตรการและกลไกต่าง ๆ ของ กระบวนการยุติธรรมทางอาญา 8 ประเทศ ได้แก่ ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี สาธารณรัฐฝรั่งเศส ราชอาณาจักรนอร์เวย์ สกอตแลนด์ อังกฤษ สหรัฐอเมริกา โดยศึกษาวิเคราะห์ การมีส่วนร่วมของประชาชนในสามระดับคือ ตำรวจ อัยการ และศาล ทั้งในแง่กฎหมาย นโยบาย


II แนวปฏิบัติ และในแง่การดำเนินงานจริงในระดับปฏิบัติการ รวมทั้งสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิของ ต่างประเทศคือ ญี่ปุ่น และ สาธารณรัฐเกาหลี 2.3 ศึกษาวิเคราะห์และสังเคราะห์ผลการศึกษาในข้อ 2.1 และ ข้อ 2.2 โดยนำแนวปฏิบัติที่ดี ของต่างประเทศมาปรับใช้กับการมีส่วนร่วมของประชาชนของไทย และนำเสนอผลการศึกษาต่อ สาธารณะ เป็นร่างรายงาน เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2566 เวลา 13.00–16.00 น. โดยผ่านระบบออนไลน์ (Zoom) แล้วนำข้อเสนอแนะมาปรับปรุงเป็นรายงานฉบับสมบูรณ์ 3. ผลการศึกษา 3.1 การมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการยุติธรรมชั้นตำรวจ จากการศึกษาตัวอย่างในต่างประเทศ พบว่ามีแนวทางให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมโดยสร้าง ความร่วมมือและใช้เทคนิคในการแก้ไขปัญหาในเรื่องที่เกี่ยวกับความปลอดภัยสาธารณะ (Public Safety) ได้แก่ ตำรวจชุมชน และอาสาสมัครร่วมงานกับตำรวจ โดยคัดเลือกผู้ที่มีความเข้าใจถึงแนวคิด ตำรวจชุมชน มีความสามารถในการแก้ไขปัญหา จัดฝึกอบรม และสนับสนุนงบประมาณในการ ดำเนินการตำรวจชุมชน และมีการประเมินประสิทธิภาพในการดำเนินการ ในขณะที่การมีส่วนร่วม ของไทยในชั้นตำรวจ มีคณะกรรมการภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมตามที่กำหนดไว้ในระเบียบของ สำนักงานตำรวจแห่งชาติที่เรียกว่า “คณะกรรมการตรวจสอบและติดตามการบริหารงานตำรวจ” โดยระเบียบดังกล่าว ได้กำหนดเรื่องคุณสมบัติ กระบวนการคัดเลือก หน้าที่และอำนาจของ คณะกรรมการดังกล่าวในการให้คำปรึกษา เสนอแนะ สนับสนุนงานของสถานีตำรวจทั้งใน กรุงเทพมหานครและต่างจังหวัด ซึ่งถือเป็นแนวทางที่จะนำมาปรับใช้กับการมีส่วนร่วมของประชาชน ของอัยการต่อไป นอกจากนี้ ประชาชนยังอาจเข้ามาเป็นอาสาสมัครในการแจ้งเบาะแสการกระทำ ความผิดและช่วยเหลืองานของตำรวจ 3.2 การมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการยุติธรรมชั้นอัยการ จากการศึกษาตัวอย่างของต่างประเทศ พบว่ามีการเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม น้อยมาก เนื่องจากมีหลักการฟ้องคดีอาญาโดยรัฐเป็นหลัก ส่วนใหญ่ที่ให้ประชาชนมีส่วนร่วมเป็นเรื่อง กระบวนการเบี่ยงเบนคดีก่อนฟ้อง เช่น การไกล่เกลี่ยคดีอาญา ส่วนการเข้ามาสนับสนุนหรือให้ความเห็น เกี่ยวกับการสั่งคดีนั้นแทบจะไม่ปรากฏการเข้ามาตรวจสอบโดยองค์กรภายนอก จะมีแต่ระบบ คณะกรรมการภาคประชาชนของญี่ปุ่น และบทบาทของผู้เสียหายที่จะยื่นคำร้องต่อศาลของญี่ปุ่นและ สาธารณรัฐเกาหลีเท่านั้นที่จะตรวจสอบคำสั่งไม่ฟ้องของพนักงานอัยการ ส่วนระบบกฎหมายอังกฤษ ประชาชนมีอำนาจในการนำคดีอาญามาฟ้องด้วยตนเอง โดยไม่จำเป็นต้องให้พนักงานอัยการสั่งคดี ในประเทศไทยได้มีกฎหมายกำหนดให้ประชาชนฟ้องคดีได้เอง หรือขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับ พนักงานอัยการ หรือขอทราบเหตุผลในการไม่ฟ้องของอัยการ นอกจากนี้ยังมีนโยบายของอัยการสูงสุด ให้มีคณะกรรมการมีส่วนร่วมภาคประชาชนในการพัฒนาสำนักงานอัยการจังหวัด แต่ยังไม่กำหนดไว้ใน


III ระเบียบของสำนักงานอัยการเหมือนในชั้นตำรวจ จึงเกิดความไม่แน่นอนในเรื่องคุณสมบัติของผู้เข้ามา เป็นคณะกรรมการและอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการดังกล่าว 3.3 การมีส่วนร่วมของประชาชนในชั้นศาล จากการศึกษาตัวอย่างของต่างประเทศพบว่า ในต่างประเทศมีรูปแบบการมีส่วนร่วมของ ประชาชนในหลายรูปแบบ ในระบบกฎหมายอังกฤษ สหรัฐอเมริกา มีการใช้ระบบลูกขุน โดยให้ คณะลูกขุนทำหน้าที่ตรวจสอบข้อเท็จจริงในคดีอาญาร้ายแรง ส่วนในสาธารณรัฐฝรั่งเศส สหพันธ์ สาธารณรัฐเยอรมนี ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี เป็นองค์คณะร่วมกันระหว่างผู้พิพากษาอาชีพกับประชาชน ที่ได้รับเลือกมาเรียกว่า “ศาลลูกขุน” หรือ “ศาลไซบังอิน” นอกจากนี้ยังมีผู้เชี่ยวชาญที่มาเบิกความต่อ ศาล โดยถือหลักว่าการที่ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในกระบวนการยุติธรรมนั้น เป็นการพัฒนาในระบบ ประชาธิปไตยที่ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการอำนวยความยุติธรรมและคุ้มครองสิทธิของประชาชน ในคดีอาญา ส่วนประเทศไทยนั้นไม่มีระบบศาลลูกขุนหรือคณะลูกขุน แต่มีผู้พิพากษาสมทบ พยาน ผู้เชี่ยวชาญ และผู้กำกับดูแลผู้ต้องหาหรือจำเลยที่ได้รับการปล่อยชั่วคราว โดยสรุป การมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาในต่างประเทศ มีการ กำหนดชัดเจนในเชิงนโยบายและวิธีการได้มาของประชาชนที่เข้ามามีส่วนร่วมกำหนดไว้ชัดเจน ส่วนประเทศไทยไม่ได้มีนโยบายเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของประชาชนอย่างชัดเจนในภาพรวม แต่มีเพียง รูปแบบของคณะกรรมการภาคประชาชนในชั้นตำรวจเท่านั้นที่ชัดเจน 4. ข้อเสนอแนะในการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการยุติธรรมในชั้นอัยการ คณะที่ปรึกษามีข้อเสนอแนะในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการ ยุติธรรมในชั้นพนักงานอัยการ โดยแยกเป็น 2 ส่วน ดังนี้ 4.1 เพิ่มเติมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการสนับสนุนการกำหนดนโยบายของสำนักงาน อัยการสูงสุด โดยเพิ่มจำนวนกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่มาจากภายนอกจำนวนสองคน ในคณะกรรมการอัยการ เพื่อให้นำเสนอข้อมูลที่ได้มาจากประชาชนเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการอัยการในการกำหนด นโยบายการดำเนินงาน เพื่อให้สอดคล้องกับงานบริการเพื่อประโยชน์ของประชาชน และอำนวย ความยุติธรรม และเพิ่มหน้าที่และอำนาจของคณะกรรมการอัยการ เพื่อให้เสนอนโยบายในการบริหาร ราชการของสำนักงานอัยการสูงสุดต่ออัยการสูงสุด และให้อัยการสูงสุดนำไปพัฒนาเป็นนโยบายของ สำนักงานอัยการสูงสุดต่อไป โดยเสนอให้ปรับปรุงพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. 2553 ดังนี้ 1) เพิ่มเติมมาตรา 30 (12) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. 2553 และเพิ่ม หน้าที่ของอัยการสูงสุดในการนำข้อเสนอของคณะกรรมการอัยการมาพิจารณา เพื่อกำหนดเป็นนโยบาย


IV ในการบริหารราชการของสำนักอัยการสูงสุดในพระราชบัญญัติองค์กรอัยการและพนักงานอัยการ พ.ศ. 2553 มาตรา 27 วรรคหนึ่ง (1) ด้วย 2) แก้ไขพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. 2553 มาตรา 18 วรรคหนึ่ง (5) กำหนดการเพิ่มเติมองค์ประกอบคณะกรรมการอัยการโดยการนำประชาชนโดยทั่วไปเข้าไปเป็น คณะกรรมการอัยการ โดยดำเนินการเป็น 2 ระยะ คือ ระยะแรก เสนอฝ่ายเลขานุการหรือสำนักงานที่ทำหน้าที่รวบรวมข้อมูล ข้อเสนอหรือ ข้อร้องเรียนต่าง ๆ จากประชาชน และนำเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการอัยการตามรอบระยะเวลา ที่กำหนด และเสนอข้อมูลดังกล่าวต่อสาธารณะ ระยะที่สอง แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. 2553 มาตรา 18 วรรคหนึ่ง (5) โดยกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิอีก 2 คน เป็นผู้ทรงคุณวุฒิด้านการมีส่วนร่วมของ ประชาชน และด้านกระบวนการยุติธรรม โดยคัดเลือกจากคณะกรรมการมีส่วนร่วมภาคประชาชน ในการพัฒนาสำนักงานอัยการจังหวัดทั้ง 77 จังหวัด โดยเลขานุการกรรมการอัยการเป็นผู้ทำหน้าที่ ประสานงานในการคัดเลือกกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิดังกล่าว 4.2 กำหนดบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการการมีส่วนร่วมของประชาชนให้มีความชัดเจน และกำหนดหน้าที่และอำนาจในการสนับสนุนการปฏิบัติงานของอัยการจังหวัด 1) กำหนดให้มีคณะกรรมการการมีส่วนร่วมภาคประชาชนในระดับจังหวัด โดยออกระเบียบ โดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติองค์กรอัยการและพนักงานอัยการ พ.ศ. 2553 มาตรา 27 วรรคหนึ่ง (1) และวรรคสาม โดยมีรูปแบบของคณะกรรมการตรวจสอบติดตามการบริหารงานของ ตำรวจมาเป็นแนวทางในการออกระเบียบ โดยกำหนดคุณสมบัติวาระการดำรงตำแหน่ง อำนาจหน้าที่ โดยการเลือกประชาชนที่เข้ามาเป็นคณะกรรมการ จะต้องมีความสามารถสนับสนุนการปฏิบัติหน้าที่ ของอัยการได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2) เพิ่มบทบาทและอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการดังกล่าวในการสนับสนุนการปฏิบัติหน้าที่ ของอัยการ ดังนี้ 2.1) รวบรวมข้อมูล และเสนอนโยบายเกี่ยวกับการพัฒนาการมีส่วนร่วมของประชาชน ในกระบวนการยุติธรรมในชั้นอัยการ รวมถึงการพัฒนาการปฏิบัติงานของสำนักงานอัยการจังหวัด ของตนและการปฏิบัติงานของอัยการในภาพรวม ในระดับประเทศ โดยเสนอผ่านอัยการจังหวัด 2.2) ช่วยประสานงานด้านงานสอบสวนและการฟ้องคดีโดยประสานงานกับผู้เสียหาย ผู้ต้องหาหรือพยาน ให้มาไกล่เกลี่ยในชั้นอัยการ ประสานงานด้านการให้ความช่วยเหลือทางกฎหมาย และประสานงานกับคณะกรรมการตรวจสอบและติดตามการบริหารงานตำรวจ (กต.ตร.) ระดับจังหวัด และ ระดับสถานีตำรวจของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติงานของอัยการในด้านต่าง ๆ ทั้งในเรื่องข้อร้องเรียนความไม่เป็นธรรม และการใช้ดุลพินิจที่ไม่ชอบในการสั่งฟ้องคดี


V Executive Summary Research Project: Public Participation in the Administration of Criminal Justice by Office of the Attorney General 1. Purpose 1.1 To study, further, revise, and evaluate the effectiveness of “The Committee on Public Participation in the Development of the Provincial Public Prosecutor Office…”. 1.2 To study and analyze laws and the model of public participation in the administration of criminal justice, justice agencies including the office of the public prosecutor in Thailand and foreign countries to capture the lessons learned and benchmark/good practice. 1.3 To propose the appropriate models and mechanisms for enabling people to participate in the administration of criminal justice led by the office of the public prosecutors, throughout the country, conducting the criminal proceedings. 1.4 To obtain the models for amending the relevant laws, regulations, and rules that can be beneficial to the Office of the Attorney General enabling people to participate in the administration of criminal justice. 1.5 To obtain strategic recommendations for the Office of the Attorney General to amend the rules, regulations, and practices enabling people to participate in the administration of criminal justice by the Office of the Attorney General effectively under the principles of liberal democracy. 2. Methodologies This project is conducted through documentary research, in-depth interview, and seminars for the public hearing. It can be divided into 3 parts as follows; 2.1 Evaluating the effectiveness of measures and mechanisms of Thai justice agencies having citizen participation mechanisms in three main stages; police, judicial, and public prosecution domain including the participation mechanism of “The Committee on Public Participation in the Development of the Provincial Public Prosecutor Office…”, by considering the laws, policies, and guidelines. The team of consultants conducts the interview by using a questionnaire made by themselves. They conduct interviews with personnel in such three justice agencies in 4 regions with a total of 16 provinces.


VI 2.2 Studying mechanisms and capturing lessons learned from any measures and mechanisms of criminal justice in 8 countries; Japan, the Federal Republic of Germany, the French Republic, the Kingdom of Norway, Scotland, England, and the United State of America, by analyzing the public participation in three domains; police, public prosecution, and judiciary through those laws, policies, practices and actual operation at the operational level, including conduct interview with foreign experts; Japan and Republic of Korea. 2.3 Analyzing and synthesizing the results of the study in 2.1 and 2.2 to adapt the good practices in foreign countries to public participation in Thailand, and then presenting the draft report of the results of the study to the public, which was held on 16 January 2023, from 1 pm to 4 pm via Zoom. Following that, bringing some recommendations to edit and develop the final report. 3. Results of the Study 3.1 Public Participation in the Police Domain The results of the study of the models adopted in foreign countries reveal that the approaches for enabling people to participate are building collaboration and using techniques to solve the problems concerning public safety called community police officers and volunteers working with them by selecting the persons who understand the conceptof community policing, are able to deal with the problems, providing the training programs, and supporting the budget for carrying out the community policing, and also evaluate the effectiveness of it. Compared to public participation in policing in Thailand, there is a committee that citizens can be a composition of, as provided by the Royal Thai Police’s regulation called “The Committee on Auditing and Monitoring of Police Administration”. Such regulation stipulates qualifications and the selection process of the Committee. It has duties and powers to provide consultations or suggestions, supporting the operation of the police stations in Bangkok and other provinces. This model can be adapted to public participation in the public prosecution domain. In addition, citizens can be volunteers in whistleblowing and supporting the police officers’ tasks. 3.2 Public Participation in the Public Prosecution Domain According to the study of the models adopted in foreign countries, it is found that public participation in the public prosecution domain in them is very limited because they generally adopt the model of public prosecution in criminal cases. People


VII may participate in diversion programs at the pre-trial stage such as mediation in criminal cases. Concerning support or providing opinions regarding making the order of prosecution, it hardly ever appears the inspection of that from external organizations. Only a system of committees that citizens can be composed of in Japan, as well as the roles of injured persons that can file a claim to the court in Japan and the Republic of Korea to review an order of non-prosecution. In the England legal system, people can bring the criminal to court, and public prosecutors may be not required to make the order of prosecution. In Thailand, there are legal provisions allowing citizens to file criminal cases by themselves or to associate themselves as joint prosecutors and let them know the reasons for the order of non-prosecution made by prosecutors. In addition, there is a policy of the Office of the Attorney General for setting up a committee that citizens can be a composition of, called the Committee on Public Participation in the Development of the Provincial Public Prosecutor Office. However, it is not provided by any Office of the Attorney General’s regulations like that in the police domain resulting in unclear qualifications as well as powers and duties of such committee. 3.3 Public Participation in the Judiciary Domain According to the study of the models adopted in foreign countries, there are several forms of public participation. In England and US legal systems, they adopt the jury system by allowing jury panels to decide the facts in serious cases. In the French Republic, the Federal Republic of Germany, Japan, Republic of Korea, juries selected from people will be part of the panel of judges called “Jury Court” or “Saiban-in”. Furthermore, there are experts who give their testimonies to the court. Rationales for participating in the judicial process result from the development of democracy which enable citizens to participate in the administration of criminal justice and protect their rights in criminal cases. In Thailand, neither Jury Court nor a jury system is adopted. However, there are lay judges, expert witnesses, and supervisors of accused or defendants who are provisional released. To sum up, the policies and methods for enabling how people to participate in criminal justice are definitively provided in those foreign countries, while the overall policy regarding it is not explicit in Thailand and the provision of the committee that citizens can be a composition of appears only in the police domain.


VIII 4. The Recommendations for Promoting Public Participation in the Public Prosecution Domain A team of consultants has proposed two recommendations for promoting public participation in the Public Prosecution domain as follows; 4.1 Improving the Public Participation Mechanism for Supporting the Formulation of the Policy of the Office of the Attorney General It can be arranged by increasing the number of external qualified committees for two persons in Public Prosecutor Commission, to offer the information derived from people for consideration in the commission that can be used to set certain policies to offer the services for the sake of citizens and execute justice. Additionally, it should add the duties and powers of the Public Prosecutor Commission to suggest any policy for the administration of the Office of the Attorney General, to the Attorney General and the Attorney General brings it to develop the Office of the Attorney General’s policy. Thus, a team of consultants proposes recommendations for amending Public Prosecution Official Regulation Act B.E.2553 as follows, Amending section 30 (12) of Public Prosecution Official Regulation Act B.E.2553, and amending the duty of the Attorney General brings the recommendation of the Public Prosecutor Commission, to develop the Office of the Attorney General’s policy as provided in section 27 paragraph 1 (1) of Public Prosecution Institution and Public Prosecutors Act B.E.2553 Amending section 18 paragraph 1 (5) of Public Prosecution Official Regulation Act B.E.2553 to add the composition of the Public Prosecutor Commission by allowing citizens to participate in two phases; The first phase, offering to the Secretary Department or the agencies having a duty to gather data, proposals, or complaints from people and introduce them to the meeting of the Public Prosecutor Commission according to the provided timeframe and present them to the public. The second phase, amending section 18 paragraph 1 (5) by adding two more qualified committees, as qualified committees in public participation and judicial process. They are selected by the Committee on Public Participation in the Development of the Provincial Public Prosecutor Office of 77 provinces and the Secretary of the Public Prosecutor Commissionis responsible for coordinating the selection of such committees.


IX 4.2 Providing the Clear Roles of the Committee on Public Participation and Prescribing Duties and Dowers to Support the Operation of the Provincial Chief Public Prosecutor 1) Prescribing the Committee on Public Participation at the provincial level by issuing regulation by virtue of section 27 paragraph 1 (1) and paragraph 3 of Public Prosecution Institution and Public Prosecutors Act B.E.2553. It can adopt the model of the Committee on Auditing and Monitoring of Police Administration to develop such regulation by stipulating qualifications, the term of office, powers, and duties. It needs to select citizens who can provide efficient support to the operation of public prosecutors, to be the committees. 2) Enhancing the roles, powers, and duties of such committee to support the performance of the public prosecutor’s duty as follows; 2.1) Gathering data and proposing policies concerning the development of public participation in the public prosecution domain, including the improvement of the operation of the Provincial Public Prosecutor Office and the overall performance of public prosecutors at the national level. They can be proposed through Provincial Chief Public Prosecutor. 2.2) Assisting with coordinating investigation and prosecution by liaising with the injured person, accused, or witness to enter the mediation process at the public prosecution stage, liaising legal aids, and liaising with the Committee on Auditing and Monitoring of Police Administration (CAMP) at the provincial level and at the police station level arranged by the Royal Thai Police, for the sake of the performance of public prosecutor in various areas, lodging a complaint against unfair proceedings, and abuse of discretion to make the order of prosecution.


1 บทที่ 1 ข้อกำหนดการศึกษาและแผนการดำเนินงาน ในบทนี้ คณะที่ปรึกษาได้จัดทำกรอบการศึกษา วิธีการศึกษา และแผนการดำเนินงานตามโครงการ ศึกษาวิจัยว่าด้วยการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารงานและการอำนวยความยุติธรรมทางอาญา ของสำนักงานอัยการสูงสุด ดังนี้ 1. หลักการและเหตุผล กระบวนการยุติธรรมในระบอบประชาธิปไตยเน้นความโปร่งใสและการตรวจสอบได้ โดยการ มีส่วนร่วมของประชาชนในระดับต่าง ๆ เป็นสิ่งที่รัฐส่งเสริมและสนับสนุน หลักการดังกล่าวสอดคล้องกับ หลักในการอำนวยความยุติธรรมแก่ประชาชนในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 68 ซึ่งกำหนดให้รัฐพึงจัดระบบการบริหารงานในกระบวนการยุติธรรมทุกด้านให้มีประสิทธิภาพ เป็นธรรม และไม่เลือกปฏิบัติ และให้ประชาชนเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้โดยสะดวก รวดเร็ว และ ไม่เสียค่าใช้จ่ายสูงเกินสมควร และแผนปฏิรูปประเทศด้านกระบวนการยุติธรรมในการพัฒนากลไก ช่วยเหลือและเพิ่มศักยภาพ เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ที่ผ่านมา สำนักงานอัยการจังหวัดบางแห่งได้ริเริ่มเปิดช่องทางให้ประชาชน/ภาคเอกชนเข้ามา มีส่วนร่วมในการพัฒนาบริหารงานในสำนักงานอัยการด้วยการจัดตั้ง “คณะกรรมการมีส่วนร่วม ภาคประชาชนในการพัฒนาสำนักงานอัยการจังหวัด...” ขึ้นทั่วประเทศ แต่ในปัจจุบันยังไม่ปรากฏเป็นที่ แน่ชัดว่ามีสำนักงานอัยการแห่งใดบ้างที่เริ่มเปิดช่องทางให้ภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการอำนวย ความยุติธรรม หรือแม้ว่าอาจมีสำนักงานอัยการจังหวัดใดที่ได้เริ่มต้นโครงการที่ให้ภาคประชาสังคมเข้ามา มีส่วนร่วมดังกล่าวแล้ว ก็ยังไม่มีหลักฐานปรากฏชัดเจนเป็นรูปธรรมว่าการให้ภาคประชาสังคมเข้ามา มีส่วนร่วมนั้นบรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้หรือไม่ โดยที่หลักการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในการบริหาร กิจการภาครัฐนั้นเป็นทั้งหลักการและแนวคิดที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล อีกทั้งยังเป็นหลักการ ที่ถูกกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ และสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติและแผนปฏิรูปประเทศด้านกระบวนการ ยุติธรรม จึงสมควรที่จะมีการส่งเสริมช่องทางการมีส่วนร่วมของประชาชนให้เพิ่มมากขึ้น ดังนั้น จึงมี ความจำเป็นอย่างยิ่งที่การจะบรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าวจะต้องอาศัยการศึกษาวิจัยเพื่อทบทวน ผลสัมฤทธิ์ของช่องทางการมีส่วนร่วมของประชาชนในช่องทางต่าง ๆ ที่อยู่ในกระบวนการยุติธรรม และ ศึกษาจากแนวปฏิบัติที่ดี (Good Practice) ของหน่วยงานราชการต่าง ๆ ที่มีลักษณะงานทำนอง เดียวกันทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ รวมถึงการศึกษาและวิเคราะห์ว่าประชาชนน่าจะมีส่วนร่วม ในกระบวนการยุติธรรมในระดับ ช่องทาง และรูปแบบอื่นใดได้อีก เพื่อก่อให้เกิดผลประโยชน์ต่อทั้ง ภาครัฐและภาคประชาชน เพื่อให้ประชาชนมีความรู้สึกเป็นเจ้าของกระบวนการยุติธรรม อันอาจนำไปสู่ ความหวังในการที่จะมีกระบวนการยุติธรรมที่โปร่งใส ตรวจสอบได้ และน่าเชื่อถืออย่างแท้จริง


2 2. วัตถุประสงค์ของโครงการ 2.1 เพื่อทำการศึกษา ต่อยอด ทบทวน และประเมินประสิทธิภาพของ “คณะกรรมการมีส่วนร่วม ภาคประชาชนในการพัฒนาสำนักงานอัยการจังหวัด...” 2.2 เพื่อศึกษาและวิเคราะห์กฎหมายและรูปแบบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารงาน และอำนวยความยุติธรรมทางอาญา หน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม รวมทั้งสำนักงานอัยการทั้งใน และต่างประเทศเพื่อให้ได้บทเรียน (Lesson Learned) และให้ได้แบบอย่างและแนวทางที่เหมาะสม (Benchmark/Good Practice) 2.3 เพื่อเสนอแนะรูปแบบและกลไกที่เหมาะสมในการให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการ บริหารงานและการอำนวยความยุติธรรมทางอาญาของสำนักงานอัยการทั่วประเทศที่ดำเนินคดีอาญา 2.4 เพื่อให้ได้แนวทางในการปรับปรุง แก้ไข กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ ที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ สำนักงานอัยการสูงสุดสามารถดำเนินการให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารงานและอำนวย ความยุติธรรมทางอาญาได้ 2.5 เพื่อให้ได้ข้อเสนอแนะเชิงยุทธศาสตร์สำหรับสำนักงานอัยการสูงสุดในการดำเนินการ ปรับปรุง กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และแนวปฏิบัติ เพื่อให้สามารถดำเนินการให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม ในการอำนวยความยุติธรรมทางอาญาของสำนักงานอัยการสูงสุดได้อย่างมีประสิทธิภาพตามหลัก เสรีประชาธิปไตย 3. เป้าหมายของการจัดการจ้างที่ปรึกษา 3.1 ได้ผลการประเมินและบทเรียนเกี่ยวกับรูปแบบ กลไก วิธีการ และประสิทธิภาพของ “คณะกรรมการมีส่วนร่วมภาคประชาชนในการพัฒนาสำนักงานอัยการจังหวัด” และสรุปบทเรียน มาตรการ และกลไกการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนของหน่วยงานอื่นในกระบวนการยุติธรรม ได้แก่ หน่วยงานด้านการสืบสวนสอบสวน เช่น สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และหน่วยงานตุลาการ เช่น สำนักงานศาลยุติธรรม 3.2 ได้แบบอย่างและแนวทางที่เหมาะสม (Benchmark/Good Practice) จากการถอด บทเรียนและประสบการณ์ของหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมของไทยและต่างประเทศในการให้ ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารสำนักงานและการอำนวยความยุติธรรมทางอาญาของสำนักงาน อัยการทั่วประเทศที่ดำเนินคดีอาญา 3.3 ได้รายงานผลการศึกษาที่ครบถ้วน ครอบคลุม สามารถนำมาใช้สนับสนุนการพัฒนาระบบ การดำเนินงานของสำนักงานอัยการสูงสุดในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการ อำนวยความยุติธรรมทางอาญาได้ 3.4 ได้ผลการถอดบทเรียนและประสบการณ์ของหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมของไทย และต่างประเทศที่มีเนื้อหาที่ชัดเจน สามารถนำไปใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อหน่วยงานอื่นในกระบวนการ ยุติธรรมของไทยได้ด้วย


3 4. กรอบแนวคิดในการดำเนินการศึกษาและงานที่ที่ปรึกษาจะต้องรับผิดชอบ 4.1 หน้าที่ของรัฐในการบริหารกระบวนการยุติธรรม ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 68 ซึ่งกำหนดให้รัฐพึง จัดระบบการบริหารงานในกระบวนการยุติธรรมทุกด้านให้มีประสิทธิภาพ เป็นธรรม และไม่เลือกปฏิบัติ และให้ประชาชนเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้โดยสะดวก รวดเร็ว และไม่เสียค่าใช้จ่ายสูงเกินสมควร จากบทบัญญัติดังกล่าวทำให้รัฐมีหน้าที่ต้องดำเนินการจัดระบบการยุติธรรมให้มีประสิทธิภาพ เป็นธรรมและไม่เลือกปฏิบัติ ทั้งนี้เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และไม่เสียค่าใช้จ่ายสูงเกินสมควร แต่ถ้าพิจารณาการบริหารจัดการกระบวนการยุติธรรมพบว่าเป็นการ ดำเนินงานโดยใช้องค์กรของรัฐเป็นหลัก และมีการดำเนินงานตามเป้าหมาย และตัวชี้วัดของแต่ละ หน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม ในลักษณะแยกส่วน ขาดการบูรณาการ และมีการดำเนินการอย่าง เป็นเอกเทศ จึงเกิดการบูรณาการน้อยกว่าที่ควรจะเป็น อีกทั้งการดำเนินงานไม่ได้เปิดให้ประชาชนเข้า มามีส่วนร่วมในการบริหารงานยุติธรรมเท่าที่ควร แผนการปฏิรูปประเทศด้านกระบวนการยุติธรรม มีเป้าประสงค์เพื่ออำนวยความยุติธรรม ในแต่ละขั้นตอนให้เป็นไปอย่างโปร่งใสแล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด ประชาชนสามารถเข้าถึง กระบวนการยุติธรรมได้โดยง่าย สร้างความเสมอภาค ลดความเหลื่อมล้ำ พัฒนาระบบการบริหารงาน ยุติธรรมให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ไม่เลือกปฏิบัติและเป็นธรรม โดยกำหนดกิจกรรมปฏิรูปประเทศ ที่จะส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อประชาชนอย่างมีนัยสำคัญ จำนวน 5 กิจกรรม ประกอบด้วย 1) การให้ประชาชนสามารถติดตามความคืบหน้า ขั้นตอนการดำเนินงานด้านต่าง ๆ ในกระบวนการ ยุติธรรม 2) การรับแจ้งความร้องทุกข์ต่างท้องที่ 3) การจัดหาทนายความประจำสถานีตำรวจให้ครบ ทุกสถานีทั่วประเทศ 4) ปฏิรูประบบการปล่อยชั่วคราว 5) การบันทึกภาพและเสียงในการตรวจค้น จับกุม และการสอบปากคำในการสอบสวน ทั้งนี้ในการดำเนินการดังกล่าวจะทำให้ประชาชนทราบถึง ระยะเวลาดำเนินงานในทุกขั้นตอนของกระบวนการยุติธรรมได้ชัดเจน มีมาตรการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ ของผู้เสียหาย ผู้ต้องหา และจำเลย ทำให้เข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสะดวก รวดเร็ว ลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงสิทธิที่จะได้รับการปล่อยชั่วคราว ในแผนการปฏิรูปประเทศด้านกระบวนการยุติธรรมดังกล่าวได้กำหนดส่วนที่ 2 กิจกรรมปฏิรูป ที่จะส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อประชาชนอย่างมีนัยสำคัญ คือ 2.1 กิจกรรมปฏิรูปที่ 1 การให้ ประชาชนสามารถติดตามความคืบหน้า ขั้นตอนการดำเนินงานต่าง ๆ ในกระบวนการยุติธรรม เพื่อกำหนด ระยะเวลาดำเนินงานในทุกขั้นตอนของกระบวนการยุติธรรมที่ชัดเจน เพื่อให้ประชาชนได้รับความ ยุติธรรมโดยไม่ล่าช้า สร้างระบบการตรวจสอบ ติดตาม และแจ้งความคืบหน้าให้แก่ประชาชนทราบ จากการที่สำนักงานอัยการสูงสุดซึ่งทำหน้าที่ในการอำนวยความยุติธรรมทั้งทางแพ่ง ปกครอง และทางอาญา แม้ว่าในบางเรื่องจะไม่เป็นกิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผนปฏิรูปประเทศด้านกระบวนการ ยุติธรรมโดยเฉพาะเจาะจงก็ตาม แต่หากพิจารณาบทบาทหน้าที่ที่กำหนดไว้ในกฎหมายแล้วจะเห็นได้ว่า สำนักงานอัยการสูงสุดมีส่วนที่จะอำนวยความยุติธรรม เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงความเป็นธรรมตาม


4 แนวทางที่แผนปฏิรูปประเทศกำหนด ทั้งนี้เพราะสำนักงานอัยการสูงสุดมีบทบาทในกระบวนการ ยุติธรรมตามกฎหมายในข้อ 2 ดังนี้ 4.2 บทบาทของพนักงานอัยการในกระบวนการยุติธรรม แยกออกเป็นสามด้าน คือ 4.2.1 การอำนวยความยุติธรรม ได้แก่ การบริหารงานยุติธรรมในส่วนฝ่ายบริหารของรัฐ เพื่อให้เกิดความสงบ เรียบร้อยและปลอดภัยในชีวิตร่างกายและทรัพย์สินโดยอัยการจะเป็นผู้พิจารณา พยานหลักฐานในสำนวนการสอบสวนที่พนักงานสอบสวนเสนอมาแล้ววินิจฉัยสั่งคดี ตลอดทั้งดำเนิน คดีอาญาทางศาลในฐานะทนายแผ่นดินตามที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาและกฎหมายอื่น ๆ บัญญัติไว้ว่าเป็นอำนาจหน้าที่ของอัยการ 4.2.2 การรักษาผลประโยชน์ของรัฐ ได้แก่ การพิจารณาให้คำปรึกษาทางด้านกฎหมายแก่ ส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐ ตรวจร่างสัญญา ตอบข้อหารือตลอดจนทั้งการดำเนินคดีในศาล ในฐานะทนายความของแผ่นดินแทนรัฐบาล หน่วยงานของรัฐที่เป็นนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติ หรือพระราชกฤษฎีกา 4.2.3 การคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมาย ได้แก่ การคุ้มครองสิทธิและรักษา ผลประโยชน์ของประชาชน ที่กฎหมายกำหนดไว้ให้เป็นอำนาจหน้าที่ของอัยการ เช่น ในคดีแพ่ง ให้อำนาจอัยการเข้าไปคุ้มครองสิทธิของบุคคลไร้ความสามารถ คนเสมือนไร้ความสามารถ คนสาบสูญ การร้องขอให้ศาลตั้งผู้จัดการมรดก การให้ความช่วยเหลือทางอรรถคดี โดยจัดการทนายอาสาให้ตลอด ทั้งการเผยแพร่ความรู้ทางกฎหมายแก่ประชาชนทั่วไป 4.3 แนวคิดในการให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการยุติธรรม (Public Participation) แนวคิดในการที่ประชาชนมีส่วนร่วมในการบริหารกิจการสาธารณะนั้น เป็นแนวคิดที่ได้รับการ ยอมรับในหลาย ๆ ประเทศ เพราะถือว่า เป็นบทบาทของประชาชนในการมีส่วนร่วมกับรัฐ และทำให้ การให้บริการสาธารณะเป็นผลดีและมีประสิทธิภาพ โปร่งใสและเป็นธรรม ซึ่งในรัฐธรรมนูญแห่ง ราชอาณาจักรไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2540 จนถึงปัจจุบันก็ได้รับรองสิทธิดังกล่าว โดยเฉพาะอย่างยิ่งสิทธิใน การมีส่วนร่วมในการใช้ การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม1 สำหรับการบริหารกระบวนการยุติธรรมโดยเฉพาะในกระบวนยุติธรรมทางอาญา ในประเทศที่มี ความก้าวหน้าในระบบการบริหารงานยุติธรรม ได้ให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการ ดำเนินคดีในหลายๆ รูปแบบ เช่น เป็นผู้ฟ้องคดีอาญาได้แม้จะไม่เป็นผู้เสียหาย ซึ่งเป็นหลักการฟ้อง คดีอาญาโดยประชาชน (Popular Prosecution)2 หรือฟ้องคดีอาญา เพราะได้รับความเสียหายตาม 1 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 46,56 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 66,67 และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 43 2หลักนี้เป็นหลักของกฎหมายอังกฤษ see John Sprack, Emmins on Criminal Procedure, ninth edition, (Oxford: Oxford University Press, 2002),pp. 56-63 และศาสตราจารย์ ดร.คณิต ณ นคร, กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เล่ม 1, (กรุงเทพฯ : วิญญูชน, 2564) น. 59-62


5 หลักการฟ้องคดีอาญาโดยเอกชน (Private Prosecution)3 ซึ่งเป็นหลักที่คู่ขนานกับหลักการดำเนินคดี อาญาโดยรัฐ (Public Prosecution)4 นอกจากการฟ้องคดีโดยประชาชนแล้ว กฎหมายยังให้ประชาชนเข้ามามีส่วนในการป้องกัน อาชญากรรม เช่น เป็นตำรวจ (Constable) ในกฎหมายอังกฤษหรือในสหรัฐอเมริกาให้ตำรวจอยู่ใน ความรับผิดชอบของฝ่ายปกครอง มีลักษณะการบริหารงานเหมือนกับการบริหารงานส่วนท้องถิ่น แต่ใน ประเทศภาคพื้นยุโรปไม่ได้ให้ตำรวจอยู่กับท้องถิ่น แต่ขึ้นอยู่กับราชการส่วนกลาง ในอีกด้านหนึ่ง ซึ่งให้ประชาชนเข้ามามีส่วนในกระบวนการยุติธรรม คือการเป็นองค์คณะในการ ตัดสินคดี ในรูปแบบขององค์คณะตัดสินคดีที่มีอัตราโทษจำคุกไม่เกินสามปี ในฐานะ Magistrate Court หรือเป็นองค์คณะลูกขุน Jury ซึ่งส่วนใหญ่เป็นประเทศในระบบ Common Law อย่างไรก็ดี ในปัจจุบัน มีหลายประเทศในระบบที่ใช้ประมวลกฎหมาย เช่น เยอรมัน ญี่ปุ่น เป็นต้น ได้มีศาลลูกขุนที่มีทั้ง ผู้พิพากษาอาชีพ และผู้พิพากษาที่มาจากประชาชนร่วมองค์คณะในการพิจารณาและตัดสินคดี ซึ่งถือว่า เป็นแนวทางในการให้ประชาชนมีส่วนร่วมในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา สำหรับแนวทางการมีส่วนร่วมของประชาชนในคดีอาญาของไทยนั้นยังไม่ก้าวไปจนถึงขั้นให้ ประชาชนมีส่วนในการตัดสินชี้ขาดคดีเหมือนในประเทศที่กล่าวมาข้างต้น คงให้ประชาชนที่ได้รับความ เสียหายฟ้องคดีได้ แต่ไม่อาจเป็นองค์คณะในการพิจารณาหรือตัดสินคดี แต่มีแนวทางที่จะเปิดโอกาสให้ ประชาชนเข้าร่วมเป็นผู้ไกล่เกลี่ย หรือร่วมกำหนดมาตรการในการลงโทษแก่ผู้กระทำผิดในกระบวนการ ไกล่เกลี่ยคดีอาญา ตามพระราชบัญญัติการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ. 2562 หรือในคดีเด็กและเยาวชน ตามพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553 เป็นต้น นอกจากนี้ การมีส่วนร่วมของประชาชนในรูปแบบที่ไม่ได้ทำหน้าที่เป็นผู้รวบรวมพยานหลักฐาน หรือเป็นผู้พิจารณาคดี แต่ดำเนินการในการเป็นอาสาสมัครร่วมมือกับเจ้าพนักงานตำรวจในการแจ้ง เบาะแสการกระทำความผิด ซึ่งเป็นแนวทางที่สำนักงานตำรวจนำมาใช้โดยมีพื้นฐานแนวคิดจาก Community Policing ของอังกฤษ เพื่อให้อาสาสมัครเหล่านี้ช่วยเฝ้าระวัง สืบสวนการกระทำผิดแล้ว แจ้งข้อมูลให้กับตำรวจในท้องที่นั้น ๆ เพื่อป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิด แต่การดำเนินการ ดังกล่าวยังมีการดำเนินงานที่ไม่กว้างขวางเท่าที่ควร ซึ่งควรจะได้ศึกษาถึงปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้นเพื่อ นำมาปรับปรุงและส่งเสริมต่อไป ในการมีส่วนร่วมในด้านการเฝ้าระวังติดตามการดำเนินงานของเจ้าพนักงานในกระบวนการ ยุติธรรมโดยเฉพาะกระบวนการในชั้นก่อนฟ้องคดี ประเทศสหรัฐอเมริกามีคณะกรรมการตำรวจที่ ผู้ว่าการมลรัฐจัดตั้งขึ้นมาเพื่อพิจารณาข้อร้องเรียนที่ประชาชนกล่าวหาว่าตำรวจประพฤติมิชอบ ซึ่งคณะกรรมการดังกล่าวเป็นประชาชนที่ได้รับการแต่งตั้ง และสามารถสอบถามและเสนอแนะให้ 3หลักนี้มีใช้ในกฎหมายเยอรมัน กฎหมายไทย เป็นต้น ศาสตราจารย์ ดร.คณิต ณ นคร, กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เล่ม 1 , (กรุงเทพฯ : วิญญูชน, 2564) น. 59-62 4หลักนี้มีใช้ในกฎหมายฝรั่งเศส กฎหมายเยอรมัน กฎหมายญี่ปุ่น เป็นต้น, เพิ่งอ้าง


6 ผู้ว่าการมลรัฐสั่งลงโทษทางวินัยได้ หรือเลิกจ้างได้ ส่วนในประเทศไทยก็มีแนวคิดใกล้เคียงกัน แต่ในทาง ปฏิบัติคณะกรรมการดังกล่าวระดับจังหวัดมักจะทำหน้าที่สนับสนุนการทำงานของสถานีตำรวจในด้าน การส่งเสริมสาธารณูปโภค อุปกรณ์ที่จำเป็นในงานตำรวจมากกว่าการตรวจสอบ การกำกับการทำงาน ของตำรวจ สำหรับสำนักงานอัยการสูงสุดในภูมิภาคก็มีแนวคิดในการให้ประชาชนมีส่วนร่วมที่เรียกว่า “คณะกรรมการมีส่วนร่วมภาคประชาชนในการพัฒนาสำนักงานอัยการจังหวัด...” ขึ้นทั่วประเทศ แต่ใน ปัจจุบันยังไม่ปรากฏเป็นที่แน่ชัดว่ามีสำนักงานอัยการแห่งใดบ้างที่เริ่มเปิดช่องทางให้ภาคประชาสังคม เข้ามามีส่วนร่วมในการอำนวยความยุติธรรม ซึ่งในงานวิจัยเรื่องนี้ได้กำหนดให้มีแนวทางในการ ประเมินผลการดำเนินงาน และศึกษาพัฒนาเพื่อให้โครงการดังกล่าวสามารถดำเนินการได้ โดยมี แนวทางที่ทำให้เกิดรูปธรรมและก่อให้เกิดประสิทธิภาพในการบริหารงานยุติธรรมต่อไป การเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการบริหารงานยุติธรรมนั้น ถือเป็นแนวคิดที่ได้รับการ ยอมรับในระดับสากล และประสบความสำเร็จในหลาย ๆ ประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา เป็นต้น คณะที่ปรึกษา เห็นควรที่ดำเนินการศึกษาโดยศึกษาวิจัยด้านเอกสารในแนวทาง รูปแบบ ปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้น รวมถึงหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในประเทศที่ศึกษา ได้แก่ สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี เป็นต้น เพื่อใช้เป็นแบบอย่างในการนำมาปรับใช้กับการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน ของไทย ทั้งนี้ จะศึกษาปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้นในด้านกฎหมาย ระเบียบ เพื่อเป็นกลไกในการดำเนินงาน 5. วิธีการดำเนินการศึกษา จะเป็นลำดับขั้นตอนตามข้อกำหนดการศึกษา ดังนี้ 5.1 ภาพรวมของแนวทางและขอบเขตการดำเนินงานด้านเนื้อหาอย่างน้อยต้องครอบคลุม ดังนี้ 5.1.1 ศึกษา ทบทวน และถอดบทเรียนเพื่อประเมินประสิทธิภาพของมาตรการและกลไก ต่าง ๆ ของกระบวนการยุติธรรมไทยที่เปิดให้มีส่วนร่วมของภาคประชาชนในระดับ มิติ และแง่มุมใดก็ตาม โดยอย่างน้อยต้องมีการถอดบทเรียนในเรื่องนี้ของ (1) หน่วยงานด้านการสืบสวนสอบสวน ได้แก่ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (2) หน่วยงานตุลาการ ได้แก่ สำนักงานศาลยุติธรรม และ (3) สำนักงาน อัยการสูงสุด ซึ่งรวมทั้งกลไกการมีส่วนร่วมผ่าน “คณะกรรมการมีส่วนร่วมภาคประชาชนในการพัฒนา สำนักงานอัยการจังหวัด...” โดยศึกษาและวิเคราะห์ทั้งในแง่กฎหมาย นโยบาย แนวปฏิบัติ และในแง่การ ดำเนินงานจริงในระดับปฏิบัติการ เพื่อพิสูจน์ทราบว่าที่ผ่านมามาตรการและกลไกการมีส่วนร่วมของ ประชาชนในกระบวนการยุติธรรมไทยมีปัจจัยและองค์ประกอบใดบ้างที่เป็นตัวแปรความสำเร็จหรือ ล้มเหลว มีองค์ประกอบใดบ้างที่เป็นจุดแข็งและจุดอ่อน และมีปัญหาหรืออุปสรรคที่มาจากสาเหตุและ ปัจจัยใดเป็นสำคัญ 5.1.2 ศึกษา ทบทวน และถอดบทเรียนเพื่อประเมินประสิทธิภาพของมาตรการและกลไก ต่างๆ ของกระบวนการยุติธรรมไทยที่เปิดให้มีส่วนร่วมของภาคประชาชนในระดับ มิติ และแง่มุมใดก็ตาม ของกระบวนการยุติธรรมทางอาญาของประเทศประชาธิปไตยที่พัฒนาแล้ว โดยศึกษาวิเคราะห์ทั้งใน แง่กฎหมาย นโยบาย แนวปฏิบัติ และในแง่การดำเนินงานจริงในระดับปฏิบัติการ เพื่อให้ได้บทเรียน


7 (Lesson Learned) ได้แบบอย่างที่ดี (Good Practice) และนำมาเป็นแนวทางในการหาเกณฑ์ มาตรฐาน 5.1.3 ศึกษาวิเคราะห์และสังเคราะห์ผลการศึกษาในข้อ 5.1.1 และ 5.1.2 แล้วเสนอแนะอย่างมี ยุทธศาสตร์และเป็นรูปธรรม เพื่อให้กระบวนการยุติธรรมทางอาญาของไทยและสำนักงานอัยการสูงสุด เปิดกว้างต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารและอำนวยความยุติธรรมทางอาญา 5.1.4 รายงานผลการศึกษาที่เสร็จสมบูรณ์ด้วยเนื้อหาที่ครอบคลุมและชัดเจนตาม วัตถุประสงค์ของโครงการที่ระบุไว้ในข้อ 2 และเป้าหมายของการจัดจ้างที่ปรึกษาที่ระบุไว้ในข้อ 3 ข้างต้น 5.2 ขอบเขตการศึกษาวิจัย และแนวทางการดำเนินงาน 5.2.1 กลุ่มกิจกรรมที่ 1 Diagnosis เพื่อตรวจอาการและประเมินสภาพที่เป็นอยู่ (ก) แสวงหาข้อมูลและข้อเท็จจริงจากประสบการณ์ด้วยการสำรวจ สังเกตการณ์ สัมภาษณ์ หรือสืบทราบผ่านผู้มีประสบการณ์ด้วยวิธีการอื่นใด เพื่อทบทวนประสิทธิภาพและคุณภาพในภาคปฏิบัติ จากประสบการณ์ของผู้ที่เกี่ยวข้องกับการเปิดและเข้าไปมีส่วนร่วมในรูปแบบ ช่องทาง และวิธีการต่าง ๆ ที่มีและเคยมีในหน่วยงานทั้งหลายในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาของไทยว่ามีปัจจัยและ องค์ประกอบใดบ้างที่เป็นตัวแปรความสำเร็จหรือล้มเหลวของกลไกการมีส่วนร่วม เหตุและปัจจัยที่ทำให้ เกิดจุดแข็งและจุดอ่อน และที่ผ่านมามักมีปัญหาหรืออุปสรรคที่มาจากสาเหตุและปัจจัยใดเป็นสำคัญ (ข) แสวงหาข้อมูลและข้อเท็จจริงจากเอกสาร (Literature Review) ศึกษา วิเคราะห์ กฎหมาย ระเบียบ นโยบาย และแนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้องของไทยอย่างกระชับ ตรงประเด็นและเท่าที่ จำเป็นแก่การประเมินสภาพในปัจจุบันว่าประเทศไทยมีสภาพแวดล้อมทางกฎหมายในระดับต่างๆ ที่เอื้อ หรือไม่เอื้อต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนหรือไม่ เพียงใด เพื่อเป็นการปูพื้นฐานไปสู่การวิเคราะห์และ จัดทำข้อเสนอแนะเพื่อการแก้ไข ปรับปรุง กฎหมายที่เกี่ยวข้อง 5.2.2 กลุ่มกิจกรรมที่ 2 Identifying & Establishing Benchmark เพื่อวางหลักการและ เกณฑ์มาตรฐาน (ก) แสวงหาข้อมูลและข้อเท็จจริงจากเอกสาร (Literature Review) โดยศึกษาวิเคราะห์ หลักและแนวปฏิบัติสากลหรือของต่างประเทศ รวมทั้งตัวอย่างจากประเทศประชาธิปไตยที่พัฒนาแล้ว ในยุโรปอย่างน้อย ได้แก่ อังกฤษ สกอตแลนด์ เยอรมัน ฝรั่งเศส นอร์เวย์ รวมทั้งญี่ปุ่น เกาหลีใต้ สหรัฐอเมริกา ว่าการบริหารงานและการอำนวยความยุติธรรมทางอาญาของตำรวจ อัยการ และตุลาการ ของประเทศประชาธิปไตยที่พัฒนาแล้วสามารถเปิดให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในขั้นตอนใดบ้างที่เป็น ประโยชน์ต่อส่วนรวมโดยไม่กระทบกับความเป็นกลางและอิสระในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ในทาง อรรถคดี (ข) แสวงหาข้อมูลและข้อเท็จจริงจากประสบการณ์ ด้วยการสัมภาษณ์ผู้มีประสบการณ์ ชาวต่างประเทศที่เป็นนักวิชาการในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นอาจารย์ในคณะนิติศาสตร์หรือสาขาอื่น ที่เกี่ยวข้องที่ปฏิบัติงานอยู่ในสถาบันการศึกษาของรัฐหรือเอกชนในประเทศไทย รวมทั้งสัมภาษณ์


8 เจ้าหน้าที่ในกระบวนการยุติธรรมหรือนักวิชาการในประเทศที่พัฒนาแล้วผ่านระบบทางไกล (Online Interview) ทั้งนี้ โดยนำความรู้ความเข้าใจที่ได้จากผลการดำเนินงานในข้อ 5.2.2 (ก) มาเป็นพื้นฐาน และหลักการในการกำหนดกลุ่มเป้าหมายในการสัมภาษณ์ และออกแบบคำถาม/ทิศทางการสนทนา (ภายในเดือนกันยายน 2565) โดยการสัมภาษณ์โดยใช้แบบสอบถามของคณะที่ปรึกษาที่นำเสนอในบทที่ 3 ทั้งการ สอบถามแบบ Online แก่บุคคลที่เกี่ยวข้อง เช่น พนักงานอัยการ พนักงานสอบสวน นักวิชาการ และ ทนายความ รวมถึงประชาชนทั่วไปที่สนใจ คณะที่ปรึกษาจะลงพื้นที่เพื่อสัมภาษณ์เชิงลึก ในแต่ละภูมิภาค ภาคละ 4 จังหวัด โดยแยก เป็นจังหวัดใหญ่ 2 จังหวัด และจังหวัดเล็ก 2 จังหวัด ดังนี้ ภาคเหนือ ได้แก่ เชียงใหม่ พิษณุโลก กำแพงเพชร สุโขทัย ภาคกลาง ได้แก่ สุพรรณบุรี นนทบุรี ชัยนาท ชลบุรี/พัทยา ภาคใต้ ได้แก่ สงขลา นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานีตรัง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ นครราชสีมา อุดรธานีร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ โดยสัมภาษณ์ตำรวจ พนักงานอัยการ ศาล หมายเหตุ : พื้นที่แต่ละจังหวัดปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสมของคณะตรวจรับงาน ทั้งนี้ โดยใช้วิธีการตาม (ก) และ (ข) ใน 5.2.2 นี้เสริมสร้างกันและกันจนได้ความรู้ความเข้าใจ เพียงพอสำหรับการวางหลักและเกณฑ์มาตรฐานขึ้นมาเพื่อใช้ในโครงการวิจัยนี้ 5.2.3 กลุ่มกิจกรรมที่ 3 Identifying & Analyzing Gap and Formulating Recommendation ที่ปรึกษาดำเนินการศึกษาวิจัยชั้นปลาย โดยวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูล/ข้อเท็จจริงที่ได้มาทั้งหมดว่า 1) กระบวนการยุติธรรมทางอาญาของไทยในภาพรวม ยังขาดหลักการ กฎหมาย แนวปฏิบัติ มาตรการหรือกลไกที่จำเป็นแก่การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนอย่างไรบ้าง เมื่อเทียบกับหลักการ และเกณฑ์มาตรฐานที่เป็นผลจากการดำเนินการในข้อ 5.2.2 2) สำนักงานอัยการสูงสุดยังขาดหลักการ กฎหมาย แนวปฏิบัติ มาตรการหรือกลไกที่จำเป็น แก่การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนอย่างไรบ้าง เมื่อเทียบกับหลักการและเกณฑ์มาตรฐานที่เป็น ผลจากการดำเนินการในข้อ 5.2.2 3) สำนักงานอัยการสูงสุดควรดำเนินการเพื่อให้มีการออกกฎหมายใหม่ หรือแก้ไขปรับปรุง กฎหมาย แนวปฏิบัติ มาตรการหรือกลไก ที่จำเป็นแก่การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนอย่างไรบ้าง เมื่อเทียบกับหลักการและเกณฑ์มาตรฐานที่เป็นผลจากการดำเนินการในข้อ 5.2.2 4) หน่วยงานทั้งหลายในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาของไทย ไม่ว่าจะเป็นสำนักงานตำรวจ แห่งชาติ ศาลยุติธรรม และสำนักงานอัยการสูงสุดต้องดำเนินการอย่างไรจึงจะสามารถจัดการให้เกิดผลใน ทางบวกกับปัจจัยและองค์ประกอบที่เป็นตัวแปรความสำเร็จหรือล้มเหลวของกลไกการมีส่วนร่วม และที่ผ่าน มามักมีปัญหาหรืออุปสรรคที่มาจากสาเหตุและปัจจัยใดเป็นสำคัญ ตามบทเรียนที่ตรวจพบตามข้อ 5.1.1 และจากการดำเนินงานในข้อ 5.2.1 (ก)


9 5.2.4 กลุ่มกิจกรรมที่ 4 Presenting & Testing the Result of Gap Analysis and the Recommendation นำร่างรายงานผลการศึกษาฉบับสมบูรณ์ มานำเสนอเพื่อให้มีการอภิปรายในการ ประชุม ดังนี้ (ก) การประชุมระดับนานาชาติ (ออนไลน์) 1 ครั้ง มีเวลาสำหรับการนำเสนอและอภิปราย บนเวทีไม่น้อยกว่าสองชั่วโมงครึ่ง โดยมีผู้ร่วมอภิปรายบนเวที (Panelists) ซึ่งเป็นนักวิชาการหรือ บุคลากรในกระบวนการยุติธรรมหรือจากองค์กรระหว่างประเทศ อย่างน้อย 4 คน จากอย่างน้อย 3 ประเทศ โดยเปิดให้ผู้สนใจสามารถลงทะเบียนเข้าร่วมรับฟังและแสดงความคิดเห็นได้ด้วย โดยจัดขึ้น เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2565 เวลา 15.00–18.00 น. โดยผ่านระบบออนไลน์ (Zoom) (ข) ประชุมร่วมกับผู้แทนในกระบวนการยุติธรรมของไทย 1 ครั้ง (ออนไลน์หรือในห้อง ประชุมสัมมนา แล้วแต่ความเหมาะสม) ใช้เวลาไม่น้อยกว่าสามชั่วโมง โดยมีผู้ร่วมอภิปรายบนเวที (Panelists) ซึ่งเป็นนักวิชาการไทย และบุคลากรในกระบวนการยุติธรรมไทย อย่างน้อย 4 คน โดยเปิดให้ ผู้สนใจสามารถแสดงความคิดเห็นได้ด้วย โดยจัดขึ้นเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2565 เวลา 13.00–16.30 น. โดยผ่านระบบออนไลน์ (Zoom) (ค) นำข้อคิดเห็นที่ได้มาปรับปรุงร่างรายงานฉบับสมบูรณ์ แล้วนำเสนอรายงานฉบับ สมบูรณ์ (ปรับปรุง) ในที่ประชุมสัมมนาแบบวงกว้าง (ออนไลน์หรือในห้องประชุมสัมมนา แล้วแต่ความ เหมาะสม) โดยเชิญผู้ที่เคยเข้าร่วมประชุมในข้อ (ข) และเปิดให้ผู้สนใจจากประชาชนในวงกว้างสามารถ ลงทะเบียนเข้าร่วมรับฟังและแสดงความคิดเห็นได้ด้วย หลังจากนั้นจัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์และ บทสรุปผู้บริหารที่ครอบคลุม และสรุปเนื้อหาตามขอบเขตการดำเนินการทั้งหมด โดยจัดขึ้นเมื่อวันที่ 16 มกราคม 2566 เวลา 13.00–16.00 น. โดยผ่านระบบออนไลน์ (Zoom) 6. ระยะเวลาดำเนินการ ระยะเวลาดำเนินการ 270 วันนับถัดจากวันลงนามในสัญญา(5 กรกฎาคม 2565–31 มีนาคม 2566)


10 7. แผนการดำเนินงาน รายการ ระยะเวลา 270 วัน (5 กรกฎาคม 2565 – 31 มีนาคม 2566) 30 3 ส.ค.65 60 2 ก.ย.65 90 2 ต.ค.65 120 1 พ.ย..65 150 1 ธ.ค.65 180 31 ธ.ค.65 210 30 ม.ค.66 240 1 มี.ค.66 270 31 มี.ค.66 1. เตรียมข้อมูล วางแผน การดำเนินงาน และส่งรายงานเบื้องต้น (ส่งงานงวดที่ 1 วันที่ 3 สิงหาคม 2565) 2.ศึกษา ทบทวน และถอดบทเรียนเพื่อประเมินประสิทธิภาพของมาตรการและกลไกต่างๆ ของกระบวนการยุติธรรมไทยที่เปิดให้มีส่วนร่วมของภาคประชาชนในระดับ มิติ และแง่มุม ใดก็ตาม โดยอย่างน้อยต้องมีการถอดบทเรียน ตามข้อ 5.1.1 (3 สิงหาคม-2 กันยายน 2565) 3. ศึกษา ทบทวน และถอดบทเรียนเพื่อประเมินประสิทธิภาพของมาตรการและกลไกต่าง ๆ ของกระบวนการยุติธรรมไทยที่เปิดให้มีส่วนร่วมของภาคประชาชนในระดับ มิติ และแง่มุม ใดก็ตามของกระบวนการยุติธรรมทางอาญาของประเทศประชาธิปไตยที่พัฒนาแล้ว โดย ศึกษาวิเคราะห์ทั้งในแง่กฎหมาย นโยบาย แนวปฏิบัติ และในแง่การดำเนินงานจริงในระดับ ปฏิบัติการ เพื่อให้ได้บทเรียน (Lesson Learned) ได้เยี่ยงอย่างที่ดี (Good Practice) และ นำมาเป็นแนวทางในการหาเกณฑ์มาตรฐาน ตามข้อ 5.1.2 (3 สิงหาคม-2 ตุลาคม 2565) 4. ดำเนินการตามกิจกรรมที่ 5.2.1, 5.2.2 จัดทำรายงานฉบับกลาง (ส่งงานงวดที่ 2 วันที่ 1 พฤศจิกายน 2565) 5. ก ล ุ ่ ม ก ิ จก รรม ที ่ 4 Presenting & Testing the Result of Gap Analysis and the Recommendation นำร่างรายงานผลการศึกษาฉบับสมบูรณ์ มานำเสนอเพื่อให้มีการ อภิปรายในการประชุม ตามข้อ 5.2.4 1. การประชุมระดับนานาชาติ (ออนไลน์) 1 ครั้ง (วันที่ 6 ธันวาคม 2565)


รายการ ระยะเวลา 270 วัน (4 กรกฎาคม 2565 – 30 มีนาคม 2566) 30 3 ส.ค.65 60 2 ก.ย.65 90 2 ต.ค.65 120 1 พ.ย.65 150 1 ธ.ค.65 180 31 ธ.ค.65 210 30 ม.ค.66 240 1 มี.ค.66 270 31 มี.ค.66 2. ประชุมร่วมกับผู้แทนในกระบวนการยุติธรรมของไทย 1 ครั้ง (ออนไลน์หรือในห้อง ประชุมสัมมนาแล้วแต่ความเหมาะสม) ใช้เวลาไม่น้อยกว่าสามชั่วโมง โดยมีผู้ร่วมอภิปราย บนเวที (Panelists) ซึ่งเป็นนักวิชาการไทยและบุคลากรในกระบวนการยุติธรรมไทย อย่างน้อย 4 คน โดยเปิดให้ผู้สนใจสามารถ (วันที่ 23 ธันวาคม 2565) 6. จัดทำร่างรายงานฉบับสมบูรณ์ แล้วนำเสนอรายงานฉบับสมบูรณ์ (ปรับปรุง) ในที่ ประชุมสัมมนาแบบวงกว้าง (ออนไลน์หรือในห้องประชุมสัมมนา แล้วแต่ความเหมาะสม) โดยเชิญผู้ที่เคยเข้าร่วมประชุมในข้อ (ข) และเปิดให้ผู้สนใจจากประชาชนในวงกว้างสามารถ ลงทะเบียนเข้าร่วมรับฟังและแสดงความคิดเห็นได้ด้วย (วันที่ 16 มกราคม 2566) และ เสนอรายงานต่อสำนักงานอัยการสูงสุด (ส่งงานงวดที่ 3 วันที่ 30 มกราคม 2566) 7.รายงานผลการศึกษาที่เสร็จสมบูรณ์ เสนอต่อสำนักงานอัยการสูงสุด (ส่งงานงวดที่4 วันที่ 31 มีนาคม 2566) 11


12 8. การดำเนินงานและการส่งมอบงาน กำหนดระยะเวลาการรายงานผลการดำเนินงานและส่งมอบงาน แบ่งเป็น 4 งวด ดังนี้ 8.1 งานงวดที่ 1 ภายใน 30 วันนับถัดจากวันที่ลงนามในสัญญาจ้าง (3 สิงหาคม 2565) ประกอบด้วย งานที่ส่งมอบดังนี้ 8.1.1 รายงานผลการศึกษาขั้นต้น (Inception Report) ประกอบด้วย แนวคิดในการศึกษา (Conceptual Framework) หัวข้อและประเด็นคำถาม (Key Issues and The Right Questions) ระเบียบ วิธีการศึกษาวิจัย ขอบเขต และวิธีการขั้นตอนการดำเนินการ (Methodology) แหล่งข้อมูล (Information and Data Source) และเค้าโครงพร้อมทิศทางของการศึกษาของการศึกษาวิจัยที่วางแผนจะดำเนินการที่ สามารถแสดงให้เห็นได้อย่างชัดเจนว่าผู้รับจ้างเข้าใจข้อกำหนดและขอบเขตของโครงการศึกษาวิจัยนี้อย่างถ่องแท้ ทั้งนี้ ให้ส่งรายงานผลการศึกษาขั้นต่ำ จำนวน 10 ชุด และ USB Flash Drive ที่บันทึกข้อมูล จำนวน 1 อัน 8.1.2 ทิศทาง แผน และแนวทางการดำเนินงานที่กำหนดปฏิทินการทำงานและผลผลิตของการ ดำเนินงานอย่างชัดเจนนับตั้งแต่เริ่มจนสิ้นสุดโครงการ 8.2 งานงวดที่ 2 ภายใน 120 วันนับถัดจากวันที่ลงนามในสัญญาจ้าง (1 พฤศจิกายน 2565) ประกอบด้วยงานที่ส่งมอบ คือ รายงานฉบับกลาง (Interim Report) ซึ่งได้แก่ผลการดำเนินงานตามข้อ 5.1 และ 5.2 ทั้งนี้ ให้ส่งรายงานฉบับกลาง จำนวน 10 ชุด และ USB Flash Drive ที่บันทึกข้อมูล จำนวน 1อัน 8.3 งานงวดที่ 3 ภายใน 210 วันนับถัดจากวันที่ลงนามในสัญญาจ้าง (30 มกราคม 2566) ประกอบด้วยงานที่ส่งมอบ คือ ร่างรายงานฉบับสมบูรณ์ (Draft Final Report) ซึ่งได้แก่ ผลการดำเนินงานตาม ข้อ 5.2.3 อันประกอบด้วย ผลการวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูล/ข้อเท็จจริงที่ได้มาทั้งหมด ทั้งนี้ ให้ส่งร่าง รายงานฉบับสมบูรณ์ จำนวน 10 ชุด และ USB Flash Drive ที่บันทึกข้อมูล จำนวน 1 อัน ดังนี้ 1) กระบวนการยุติธรรมทางอาญาของไทยในภาพรวม ยังขาดหลักการ กฎหมาย แนวปฏิบัติ มาตรการ หรือกลไกที่จำเป็นแก่การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนอย่างไรบ้าง เมื่อเทียบกับหลักการและเกณฑ์ มาตรฐานที่เป็นผลจากการดำเนินการในข้อ 5.2.2 2) สำนักงานอัยการสูงสุดยังขาดหลักการ กฎหมาย แนวปฏิบัติ มาตรการหรือกลไก ที่จำเป็นแก่ การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนอย่างไรบ้าง เมื่อเทียบกับหลักการและเกณฑ์มาตรฐานที่เป็นผลจาก การดำเนินการในข้อ 5.2.2 3) สำนักงานอัยการสูงสุดควรดำเนินการเพื่อให้มีการออกกฎหมายใหม่ หรือแก้ไขปรับปรุงกฎหมาย แนวปฏิบัติ มาตรการหรือกลไกที่จำเป็นแก่การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนอย่างไรบ้าง เมื่อเทียบกับ หลักการและเกณฑ์มาตรฐานที่เป็นผลจากการดำเนินการในข้อ 5.2.2 4) หน่วยงานทั้งหลายในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาของไทย ไม่ว่าจะเป็นสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ศาลยุติธรรม และสำนักงานอัยการสูงสุดต้องดำเนินการอย่างไรจึงจะสามารถจัดการให้เกิดผลในทางบวกกับ ปัจจัยและองค์ประกอบที่เป็นตัวแปรความสำเร็จหรือล้มเหลวของกลไกการมีส่วนร่วม และที่ผ่านมามักมีปัญหา หรืออุปสรรคที่มาจากสาเหตุและปัจจัยใดเป็นสำคัญ ตามบทเรียนที่ตรวจพบตามข้อ 4.1.1 และจากการ ดำเนินงานในข้อ 5.2.1 (ก)


13 8.4 งานงวดที่ 4 ภายใน 270 วันนับถัดจากวันที่ลงนามในสัญญาจ้าง (31 มีนาคม 2566) ประกอบด้วย งานที่ส่งมอบ ดังนี้ 8.4.1 ผลการดำเนินงานตามข้อ 5.2.4 อันได้แก่ (ก) สรุปผลการประชุมระดับนานาชาติ (ออนไลน์) 1 ครั้ง (ข) สรุปผลการประชุมร่วมกับผู้แทนในกระบวนการยุติธรรมของไทย 1 ครั้ง (ค) ผลการประชุมสัมมนาวงกว้าง ทั้งนี้ รายงานการศึกษาฉบับสมบูรณ์ (Final Report) พร้อมบทสรุปผู้บริหารฉบับภาษาไทยและ อังกฤษ รวมทั้งรายงานการศึกษาฉบับย่อกระชับและเข้าใจง่าย พร้อมภาพประกอบ info-graphic เพื่อการ เผยแพร่สู่สาธารณะ จำนวนอย่างละ 15 ชุด และ USB Flash Drive ที่บันทึกข้อมูลเอกสาร พร้อมรูป และ ตารางในรูปแบบไฟล์ Word และ Excel และ Adobe InDesign และ E-book พร้อมไฟล์ PDF จำนวน 3 ชุด 9. คณะที่ปรึกษา สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ประกอบด้วย 1. ศาสตราจารย์ ณรงค์ ใจหาญ หัวหน้าโครงการ 2. รองศาสตราจารย์ ดร.ณภัทร สรอัฑฒ์ นักวิจัย 3. อาจารย์ ดร.ผ่องศรี เวสารัช นักวิจัย 4. อาจารย์ดร.ภาคภูมิ โลหวริตานนท์ ผู้ช่วยนักวิจัย 5. อาจารย์ ดร.ศุภวัฒน์ สุขะปรเมษฐ ผู้ช่วยนักวิจัย 6. นางสาวกนกพรรณ ชลชวลิต ผู้ช่วยนักวิจัย 7. นางสาวกนกวรรณ ชาติสุวรรณ ผู้ประสานงาน


14 บทที่2 แนวคิดและหลักเกณฑ์การมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการยุติธรรม ของกฎหมายต่างประเทศ ในบทนี้คณะที่ปรึกษาได้ศึกษาแนวคิดและหลักเกณฑ์การมีส่วนร่วมของประชาชน ในกระบวนการยุติธรรมของกฎหมายต่างประเทศ ได้แก่ ประเทศญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลีสหพันธ์ สาธารณรัฐเยอรมนีสาธารณรัฐฝรั่งเศส ราชอาณาจักรนอร์เวย์ ประเทศสกอตแลนด์ ประเทศอังกฤษ และสหรัฐอเมริกา มีรายละเอียดดังนี้ 1. ประเทศญี่ปุ่น ประเทศญี่ปุ่นมีการส่งเสริมให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา ในหลายระดับทั้งก่อนและหลังเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม โดยภาคประชาชนมีบทบาททั้งในด้านการ ตรวจสอบ และการส่งเสริมการพัฒนาและปรับปรุงกระบวนการยุติธรรมทางอาญา ไม่ว่าจะเป็นในแง่ การป้องกันอาชญากรรม การให้ความร่วมมือในการแจ้งข้อมูลที่เป็นประโยชน์ การตรวจสอบดุลพินิจ การสั่งฟ้อง รวมไปถึงการมีส่วนร่วมในกระบวนพิจารณาหรือตัดสินคดีอาญาบางประเภท 1.1 การมีส่วนร่วมของประชาชนในชั้นตำรวจ 1) ระบบป้อมตำรวจชุมชน (โคบัง-Koban1 และ จูไซโชะ-Chuzaisho) ระบบป้อมตำรวจชุมชนเป็นระบบการทำงานขององค์กรตำรวจญี่ปุ่นแบบกระจายอำนาจ โดยจะ มีการจัดตั้งป้อมตำรวจกระจายพื้นที่รับผิดชอบไปตามชุมชนทั้งในเมืองใหญ่และตามท้องถิ่นต่าง ๆ ซึ่ง แบ่งออกเป็น ป้อมตำรวจชุมชนเมือง (โคบัง) และ ป้อมตำรวจท้องถิ่น (จูไซโชะ) โดยป้อมตำรวจ ทั้ง 2 ประเภท จะมีข้อแตกต่างกันในรายละเอียด เช่น จำนวนเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ประจำป้อม หรือเวลา เปิดทำการ แต่ลักษณะงานในภาพรวมมีความใกล้เคียงกัน คือการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม ดูแล ความปลอดภัยของผู้อยู่อาศัยในชุมชนและสร้างความสัมพันธ์อันดีกับคนในชุมชน ระบบป้อมตำรวจชุมชนนั้นถูกสร้างขึ้นบนพื้นฐานแนวคิด “ตำรวจชุมชนสัมพันธ์” กล่าวคือ องค์กรตำรวจมีหน้าที่บริการประชาชนมิใช่เป็นเพียงเครื่องมือหนึ่งในการใช้อำนาจรัฐ (Instrument of State Power) จึงต้องมีความใกล้ชิดและอยู่เคียงข้างประชาชนให้มากที่สุด ด้วยเหตุนี้ การปฏิบัติงานของ ตำรวจภายใต้แนวคิดตำรวจชุมชนสัมพันธ์จึงมุ่งเน้นภารกิจด้านชุมชนสัมพันธ์ควบคู่ไปกับการป้องกัน ปราบปรามอาชญากรรมทั่วไป ทำให้ประชาชนเข้าถึงและมีส่วนร่วมในกระบวนการยุติธรรมหลากหลาย ช่องทาง โดยการสร้างความสัมพันธ์ของตำรวจกับชุมชนนั้นจะมีทั้งในระดับกลุ่มคน ร้านค้า วัด โรงเรียน ฯลฯ เพื่อให้ประชาชนเกิดความรู้สึกใกล้ชิดและไว้วางใจตำรวจ อันจะนำมาสู่การให้ความร่วมมือกับตำรวจ ในการป้องกันปราบปรามอาชญากรรมและการพัฒนาการทำงานขององค์กรตำรวจในอนาคต 1警視庁「交番・パトカーの活動」(Metropolitan Police Department, ‘Police box and patrol car activities’) <https://www.keishicho.metro.tokyo.lg.jp/about_mpd/shokai/katsudo/koban/index.html> accessed 15 October 2022.


15 ระบบป้อมตำรวจชุมชนเป็นระบบที่มีต้นกำเนิดจากประเทศญี่ปุ่นที่มีชื่อเสียงและมีมาตรฐาน เป็นที่ยอมรับทั่วโลกในแง่ระบบที่มีความสำเร็จในการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมและในแง่ การเสริมสร้างความมั่นใจของประชาชนต่อการทำงานของตำรวจ หลายประเทศได้ศึกษาและนำแนวคิด ระบบป้อมตำรวจชุมชนนี้ไปเป็นต้นแบบในการประยุกต์ปรับปรุงพัฒนาระบบการป้องกันอาชญากรรม ในประเทศตนเอง เช่น NPP (Neighborhood Police Post) ในสิงคโปร์ เป็นต้น ทั้งนี้ทางสำนักงาน ตำรวจแห่งชาติของไทยก็มีนโยบายในการรับเอาแนวคิดนี้มาเป็นต้นแบบในการพัฒนาระบบการทำงาน ขององค์กรตำรวจและป้องกันปัญหาอาชญากรรมในชุมชนด้วยเช่นกัน •ลักษณะการมีส่วนร่วมของประชาชนในระบบป้อมตำรวจชุมชน (1) การเสนอความเห็นหรือความต้องการต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ตระเวนตรวจความปลอดภัย ในชุมชน “การตระเวนตรวจความปลอดภัยในชุมชน” (Junkai Renraku: Patrol Communication) เป็นหนึ่งในภารกิจชุมชนสัมพันธ์ของตำรวจท้องที่ โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจจะตระเวนตรวจความสงบ เรียบร้อยภายในพื้นที่และแวะเยี่ยมตามบ้านหรือสถานประกอบกิจการในชุมชนในท้องที่ที่ตนรับผิดชอบ (Door-to-Door Visits) เพื่อให้มั่นใจว่าผู้อยู่อาศัยในชุมชนดำเนินชีวิตอย่างสงบสุขและปลอดภัย และเพื่อ เป็นการสร้างความเข้าใจในงานของตำรวจ ในขณะเดียวกันก็จะมีการให้ข้อมูลที่จำเป็นแก่ประชาชน เกี่ยวกับมาตรการป้องกันอุบัติเหตุหรืออาชญากรรมต่าง ๆ พร้อมทั้งสอบถามความคิดเห็นหรือความต้องการ ของคนในชุมชนที่มีต่อองค์กรตำรวจด้วย ทำให้เจ้าหน้าที่ตำรวจได้รับทราบสภาพปัญหาที่แท้จริงและ สามารถนำข้อมูลตรงนี้มาอ้างอิงเพื่อพัฒนาและปรับปรุงระบบการทำงานต่อไป (2) คณะที่ปรึกษาป้อมตำรวจชุมชน (Koban/Chuzaisho Renraku Kyogikai) “คณะที่ปรึกษาป้อมตำรวจชุมชน” เป็นกลไกที่ให้ประชาชนในท้องที่เข้ามามีส่วนร่วมสนับสนุน การทำงานของตำรวจในด้านการให้คำปรึกษาและร่วมตัดสินใจวางแผนเกี่ยวกับมาตรการป้องกัน อาชญากรรมและอุบัติเหตุในชุมชน เพื่อให้ตำรวจสามารถเข้าใจถึงปัญหาและความต้องการของ ประชาชนมากขึ้น และสามารถสะท้อนความเข้าใจประชาชนผ่านการปฏิบัติงานของตำรวจได้ และตำรวจ ยังสามารถใช้ช่องทางนี้ในการเผยแพร่ข้อมูลที่จำเป็นเพื่อความปลอดภัยแก่ประชาชนได้ด้วย คณะที่ปรึกษาป้อมตำรวจชุมชน ประกอบด้วย ประธานคณะที่ปรึกษา รองประธานคณะที่ปรึกษา และกรรมการ รวมประมาณ 5 ถึง 10 คน ที่ได้รับการแต่งตั้งจากผู้บัญชาการตำรวจท้องที่ โดยคัดเลือก จากผู้นำชุมชนและผู้ที่อยู่อาศัยหรือทำงานในชุมชนที่อยู่ในเขตพื้นที่รับผิดชอบของป้อมตำรวจนั้น ๆ ซึ่งมี ความเข้าใจเกี่ยวกับสภาพความเป็นไปในชุมชนนั้นเป็นอย่างดีและได้รับความไว้วางใจจากคนในชุมชน โดยการคัดเลือกจะคำนึงถึงความหลากหลายทางอาชีพ เพศ และอายุประกอบด้วย ทั้งนี้ ผู้ได้รับการแต่งตั้ง จะมีวาระการดำรงตำแหน่ง 2 ปี และไม่มีข้อห้ามในการดำรงตำแหน่งซ้ำ


16 หน้าที่ของคณะที่ปรึกษาป้อมตำรวจชุมชน คือเข้าร่วมประชุมเพื่อหารือ ให้คำปรึกษา แจ้งความ ต้องการของชุมชน ร่วมพิจารณาเสนอทางแก้เกี่ยวกับปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชน และร่วมวางแผนคิด มาตรการป้องกันอาชญากรรมและอุบัติเหตุร่วมกันกับเจ้าหน้าที่ตำรวจชุมชน โดยการประชุมคณะที่ปรึกษา ป้อมตำรวจชุมชนจะจัดขึ้นอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง และอาจมีการประชุมวิสามัญได้หากเห็นสมควรว่า มีความจำเป็นเพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในพื้นที่ ในปัจจุบันมีการจัดตั้ง “คณะที่ปรึกษาป้อมตำรวจชุมชน” ประจำป้อมตำรวจชุมชนประมาณ 12,000 แห่งทั่วประเทศญี่ปุ่น (ข้อมูล ณ วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2561)2 2) การมีส่วนร่วมของประชาชนในชั้นสอบสวน สำหรับในชั้นสอบสวนคดี นอกจากจะมีการส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือจากประชาชนในการให้ ข้อมูลที่เป็นประโยชน์แก่เจ้าหน้าที่ผ่านการประชาสัมพันธ์และให้ข้อมูลเพื่อสร้างความเข้าใจและ ขอความร่วมมือจากประชาชนทางเว็บไซต์ของสำนักงานตำรวจแต่ละจังหวัดแล้ว ยังมีการขอความร่วมมือ จากประชาชนในเรื่องการสอบสวนและการให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์แก่คดีผ่านการใช้สื่อกลางอื่น ๆ เช่น โซเชียลมีเดีย3 การปิดแผ่นป้ายประชาสัมพันธ์หรือให้ข้อมูลตามสถานที่ต่าง ๆ การทำแผ่นพับ และการ โฆษณา4 เป็นต้น และหากมีความจำเป็นเพื่อสืบหาตัวหรือจับกุมผู้ต้องหาหรือเพื่อป้องกันการก่อ อาชญากรรมซ้ำ ทางตำรวจก็อาจมีการเผยแพร่ชื่อสกุลหรือข้อมูลอื่น ๆ ของผู้ต้องสงสัยเป็นการทั่วไป และดำเนินการสอบสวนโดยเปิดเผยได้ด้วย (公開捜査-Koukaisousa) 5 โดยการเผยแพร่ข้อมูลของ ผู้ต้องสงสัยนั้นสามารถทำได้หลายรูปแบบเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นการปิดป้ายประกาศ แจกใบปลิว ประกาศ ผ่านหนังสือพิมพ์ สื่อโทรทัศน์ หรือทางอินเทอร์เน็ต ผ่านเว็บไซต์ทางการของสำนักงานตำรวจหรือ โซเชียลมีเดีย เช่น ทางทวิตเตอร์ของสำนักงานตำรวจ เป็นต้น6 ซึ่งหากสามารถระบุตัวและทราบชื่อสกุล ผู้ต้องสงสัยก็จะมีการระบุชื่อสกุล รูปถ่าย รูปพรรณสัณฐาน ความผิดที่กระทำ และวันเวลาที่ก่อเหตุ 2警察庁「平成 30 年警察白書」 (National Police Agency, THE WHITE PAPER on POLICE 2018) (hereinafter ‘White Paper Police 2018’) <https://www.npa.go.jp/hakusyo/h30/pdf/pdfindex.html> accessed 15 October 2022. 3総務省「Web サイト等による行政情報の提供・利用促進に関する基本的指針」 (Ministry of International Affairs and Communications, Basic guidelines for providing and promoting the use of administrative information through websites, etc.) (2015) <https://www.soumu.go.jp/main_content/000348841.pdf> accessed 15 October 2022. 4福島県警察本部「行政サービスの向上のための取組の継続的な推進について」 (Fukushima Prefecture Police, ‘About continuous promotion of approach for improvement of administrative service’) (2017) <https://www.police.pref.fukushima.jp/03.tetuduki/-jyouhoukoukai/reiki_int/reiki_honbun/u244RG00001286.html> accessed 15 October 2022, 警察庁「特集:変容する捜査環境と警察の取組」 (National Police Agency, ‘Special Feature: Transforming Investigative Environment and Police Efforts’) <https://www.npa.go.jp/hakusyo/h26/honbun/html/qf310000.html> accessed 15 October 2022. 5White Paper Police 2018, supra note 2, p. 107. 6ทั้งนี้ สามารถดูตัวอย่างการเผยแพร่ข้อมูลผู้ต้องสงสัยในคดีอาญาผ่านทางเว็บไซต์ทวิตเตอร์ของกองบังคับการตำรวจนครบาล แผนกคดีอาญาได้ตาม URL ต่อไปนี้ 警視庁刑事部『公開捜査』(Metropolitan Police Department Criminal Department, Public Investigation)<https://twitter.com/MPD_keiji?s=20&t=VwvVMFmpLRUooQasxGYSwA> accessed 20 January 2023.


17 รวมถึงข้อมูลเกี่ยวกับหน่วยงานตำรวจที่รับผิดชอบคดีเพื่อให้พลเมืองดีติดต่อกลับหากพบเบาะแสด้วย7 นอกจากนี้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 เป็นต้นมา ทางสำนักงานตำรวจก็ได้นำระบบรางวัลนำจับมาใช้เพื่อ กระตุ้นความร่วมมือของประชาชนในการให้ข้อมูลในคดีที่เป็นความผิดอาญาร้ายแรงอีกด้วย8 1.2 การมีส่วนร่วมของประชาชนในชั้นอัยการ การมีส่วนร่วมของประชาชนในชั้นพนักงานอัยการ จะมุ่งเน้นไปในทางระบบตรวจสอบและ อุทธรณ์การใช้สิทธิในการสั่งฟ้องคดีของพนักงานอัยการ โดยในระบบกฎหมายของประเทศญี่ปุ่นมีการนำ หลักการบังคับฟ้องคดี(Kyosei Kiso Seido-Compulsory Institution of Prosecution) มาใช้ผ่าน 2 ช่องทาง คือ 1) ทางศาล โดยผู้เสียหายร้องต่อศาลให้รับพิจารณาคดีที่อัยการมีคำสั่งไม่ฟ้อง และ 2) ทางคณะกรรมการตรวจสอบการฟ้องของอัยการ โดยช่องทางนี้เป็นช่องทางที่ภาคประชาชนทั่วไป สามารถเข้ามาตรวจสอบการใช้ดุลพินิจในการสั่งไม่ฟ้องของพนักงานอัยการและกลับดุลพินิจของพนักงาน อัยการได้ ซึ่งหลักการบังคับฟ้องคดีถือเป็นข้อยกเว้นหลักอำนาจการฟ้องคดีโดยรัฐซึ่งกำหนดให้บุคคลอื่น นอกจากพนักงานอัยการไม่สามารถฟ้องคดีอาญาได้เพื่อมาถ่วงดุลการใช้ดุลพินิจในการสั่งฟ้องคดีของ อัยการซึ่งมีอยู่อย่างกว้างขวาง อันจะได้กล่าวในรายละเอียดตามลำดับดังต่อไปนี้ 1) สิทธิผู้เสียหายในการร้องขอให้ศาลรับคดีที่อัยการสั่งไม่ฟ้องเข้าสู่การพิจารณาของศาล เนื่องจากหลักการดำเนินคดีอาญาของประเทศญี่ปุ่นเป็นรูปแบบการดำเนินคดีอาญาโดยรัฐ (Public Prosecution) ซึ่งอัยการเป็นผู้มีอำนาจในการฟ้องคดีอาญาทุกประเภท9 ผู้เสียหายไม่มีอำนาจ ฟ้องคดีอาญาด้วยตนเองได้ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาญี่ปุ่น มาตรา 262 จึงเปิดโอกาสให้ ผู้เสียหายในคดีที่พนักงานอัยการมีคำสั่งไม่ฟ้องสามารถร้องขอต่อศาลท้องถิ่นที่มีเขตอำนาจเหนือพื้นที่ ที่สำนักงานอัยการนั้นตั้งอยู่ให้นำคดีขึ้นสู่การพิจารณาของศาลได้ อย่างไรก็ดี สิทธิในการร้องขอต่อศาลตามมาตรา 262 นั้น จำกัดเพียงความผิดบางประเภทที่ กฎหมายกำหนด เช่น ความผิดในการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบของข้าราชการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 193-196 เป็นต้น ซึ่งหากศาลเห็นว่าคำร้องของผู้เสียหายมีเหตุผลจะมีคำสั่งให้พิจารณาคดีนั้น โดยถือว่ามีการยื่นฟ้องคดีต่อศาลแล้ว10ศาลก็จะมีคำสั่งแต่งตั้งทนายความให้ดำเนินคดีอาญาดังกล่าว แทนพนักงานอัยการต่อไป โดยอัยการจะต้องให้ความร่วมมือกับทนายความในการสอบสวนต่าง ๆ ด้วย 7ทั้งนี้ สามารถดูตัวอย่างการเผยแพร่ข้อมูลผู้ต้องสงสัยในคดีอาญาได้ตาม URL ต่อไปนี้ เว็บไซต์ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ(警察庁)「特殊詐欺被疑者の一斉公開捜査について」(National Police Agency, ‘Public Investigation of Special Fraud Suspects’) <https://www.npa.go.jp/bureau/sosikihanzai/bouryokudan/kokaisosa.html> accessed 20 January 2023. เว็บไซต์กองบังคับการตำรวจนครบาล (警視庁)「公開捜査一覧(発生年)」(Metropolitan Police Department, ‘List of public investigations (year of occurrence)’) <https://www.keishicho.metro.tokyo.lg.jp/jiken_jiko/ichiran/index.html> accessed 20 January 2023. 8White Paper Police 2018, supra note 2, p. 107. 9ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาญี่ปุ่น มาตรา 247 10ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาญี่ปุ่น มาตรา 267


18 2) คณะกรรมการตรวจสอบการฟ้องของอัยการ (Kensatsu-shinsakai: The Committee for Inquest of Prosecution or The Prosecution Review Commission-PRC)11 ระบบ “คณะกรรมการตรวจสอบการฟ้อง” เป็นระบบการตรวจสอบดุลพินิจการสั่ง “ไม่ฟ้อง” ของพนักงานอัยการโดยประชาชนทั่วไป ซึ่งมีอำนาจตามพระราชบัญญัติคณะกรรมการตรวจสอบฟ้อง พ.ศ. 2491 (แก้ไขล่าสุด พ.ศ. 2559) (Kensatsu Shinsakai Hou: The Act on Committee for Inquest of Prosecution Act no.147 of 1948 (ACIP)) (ต่อไปนี้จะเรียกว่า “พระราชบัญญัติ คณะกรรมการตรวจสอบการฟ้อง”)12 ในช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 กระบวนการยุติธรรมทางอาญาของประเทศญี่ปุ่นใช้ระบบไต่สวน (Inquisitorial System) และอำนาจในการดำเนินคดีอาญาส่วนใหญ่อยู่ที่ฝ่ายตุลาการเป็นหลัก ส่วนอัยการ ทำหน้าที่เสมือนเป็นที่ปรึกษาและคอยสังเกตการณ์การทำงานของศาล แต่ในเวลาต่อมาภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ประเทศญี่ปุ่นได้รับ อิทธิพลเกี่ยวกับแนวคิดด้านกระบวนการยุติธรรมทางอาญาจากสหรัฐอเมริกาเป็นอย่างมาก และมีการ ปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมโดยให้อัยการแยกเป็นอิสระจากศาลและนำรูปแบบการดำเนินคดีอาญาเป็น ระบบกล่าวหา (Advisory System) มาใช้13ส่งผลให้พนักงานอัยการจะมีอำนาจมากขึ้นและสามารถใช้ ดุลพินิจได้อย่างอิสระ การทำงานของอัยการจะเป็นลักษณะ “One Man Officer” คือพนักงานอัยการ แต่ละคนมีอิสระในการใช้ดุลพินิจ และมีอำนาจตัดสินใจในการดำเนินการสืบสวนสอบสวนหรือสั่งฟ้อง เองโดยไม่ขึ้นกับพนักงานอัยการคนอื่นและไม่มีการตรวจสอบจากภายนอก ลักษณะเฉพาะของอัยการญี่ปุ่น คือการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานอัยการมิได้เป็นการปฏิบัติ ในฐานะตัวแทนของรัฐแต่ถือเป็นตัวแทนประชาชน อำนาจในการดำเนินคดี (Prosecution) ผูกขาดโดย อัยการ โดยหลักบุคคลอื่นนอกจากพนักงานอัยการไม่สามารถฟ้องคดีอาญาได้ พนักงานอัยการมีอำนาจ ในการใช้ดุลพินิจอย่างกว้างขวางในการพิจารณาว่าจะสั่งฟ้องใครและฟ้องข้อหาอะไร รวมถึงอำนาจ ในการสืบสวนคดีอาญาทุกประเภท อย่างไรก็ดี ในทางปฏิบัติพนักงานอัยการอาจไม่ได้ใช้อำนาจสืบสวน ในเชิงรุกมากนักเนื่องจากให้ความไว้วางใจในการทำงานของตำรวจ 11最高裁判所「検察審査会」 (Supreme Court of Japan, ‘The Committee for Inquest of Prosecution’ <https://www.courts.go.jp/links/kensin/index.html> accessed 15 October 2022. 12The Act on Committee for Inquest of Prosecution (Act no.147 of 1948 (ACIP) (Japanese Version) <https://elaws.e-gov.go.jp/document?lawid=323AC0000000147 > accessed 15 October 2022. 13Supreme Court of Japan, Outline of Criminal Justice in JAPAN 2021 <https://www.courts.go.jp/english/vcfiles/courts-en/Material/Outline_of_Criminal_Justice_in_Japan_2021.pdf> accessed 15 October 2022.


19 ทั้งนี้ จากสถิติรายงานปริมาณการสั่งคดีของพนักงานอัยการนั้น14 แต่ละปีจะมีคดีที่พนักงาน อัยการสั่งฟ้องเทียบเป็นประมาณเพียงร้อยละ 30 ของคดีทั้งหมดที่เข้าสู่การพิจารณาของพนักงาน อัยการ จะเห็นได้ว่าสถิติการสั่งฟ้องคดีของพนักงานอัยการมีปริมาณน้อยมาก เนื่องจากในทางปฏิบัติ ของอัยการในประเทศญี่ปุ่นนั้น อัยการจะสั่งฟ้องต่อเมื่อมีหลักฐานเพียงพอให้มั่นใจได้ว่าจำเลยได้ กระทำผิดตามฟ้องจริง ซึ่งมาตรฐานในการพิจารณาพยานหลักฐานเพื่อสั่งฟ้องของอัยการประเทศญี่ปุ่น จะสูงมาก คืออัยการจะสั่งฟ้องต่อเมื่อมั่นใจเกือบร้อยเปอร์เซ็นต์ว่าฟ้องแล้วจะชนะคดี (คือจำเลยกระทำ ผิดตามฟ้องจริง) ไม่เช่นนั้นอัยการจะสั่งไม่ฟ้อง หรือแม้ในกรณีที่มีพยานหลักฐานเพียงพอเชื่อได้ว่าจำเลย ได้กระทำผิดจริง แต่หากอัยการพิจารณาจากพฤติการณ์ต่าง ๆ แล้วเห็นว่าไม่สมควรสั่งฟ้องหรือไม่จำเป็น ต้องสั่งฟ้องอัยการก็ใช้ดุลพินิจสั่งไม่ฟ้องได้15 เนื่องจากดุลพินิจการสั่งฟ้องหรือไม่ฟ้องของอัยการที่กว้างขวาง ทำให้มีความกังวลว่าจะมีการใช้ อำนาจไปในทางที่ไม่เหมาะสม ดังนั้นนอกจากการตรวจสอบภายในองค์กรอัยการเองแล้ว การตรวจสอบ จากภายนอกก็เป็นสิ่งที่สำคัญเช่นกัน กฎหมายญี่ปุ่นจึงได้จัดตั้งกลไกการตรวจสอบการสั่งฟ้องของ พนักงานอัยการจากองค์กรภายนอกขึ้น ซึ่งในกลไกที่ให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการตรวจสอบคือ “คณะกรรมการตรวจสอบการฟ้อง” และได้ตราพระราชบัญญัติคณะกรรมการตรวจสอบการฟ้องขึ้น ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อให้การทำงานของอัยการเป็นไปในทางที่สะท้อนเจตจำนงและความคิดเห็นของ ประชาชนทั่วไป (民意, The Will of the People, Public Opinion)16 คณะกรรมการตรวจสอบการฟ้องจะตั้งประจำอยู่ในศาลชั้นต้น (Chiho-Saibansho: District Court) ทุกศาลอย่างน้อยศาลละ 1 คณะ (ศาลชั้นต้นของญี่ปุ่นมีด้วยกัน 50 ศาลและมีสาขา 203 แห่ง) หากศาลที่มีคดีในเขตอำนาจเป็นจำนวนมาก เช่น ศาลชั้นต้นกรุงโตเกียว (Tokyo Chiho-Saibansho) มี คณะกรรมการตรวจฟ้องตั้งอยู่ถึง 5 คณะ ปัจจุบันมีคณะกรรมการตรวจสอบการฟ้องประจำอยู่ในศาล ชั้นต้นทั่วประเทศญี่ปุ่นรวม 165 คณะ แม้คณะกรรมการตรวจสอบการฟ้องจะปฏิบัติหน้าที่โดยได้รับ งบประมาณจากศาลยุติธรรมแต่คณะกรรมการตรวจสอบฟ้องมีสถานะเป็น “องค์กรอิสระ” ไม่ได้ถือเป็น ส่วนหนึ่งของศาล17 •ระบบและขั้นตอนการคัดเลือกคณะกรรมการตรวจสอบการฟ้อง คณะกรรมการตรวจสอบการฟ้อง 1 คณะ ประกอบด้วย ประชาชนจำนวน 11 คน จากการคัดเลือก โดยระบบสุ่ม โดยคัดเลือกจากบุคคลที่มีสิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร18 และไม่เป็นบุคคลที่ 14検察統計調査/検察統計 (Prosecutorial Statistics Survey / Prosecutorial Statistics) <https://www.e-stat.go.jp/statsearch/files?page=1&layout=datalist&toukei=00250003&tstat=000001012929&cycle=7&year=20210&month=0 > accessed 15 October 2022. 15ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาญี่ปุ่น มาตรา 248 16พระราชบัญญัติคณะกรรมการตรวจสอบการฟ้อง มาตรา 1 17พระราชบัญญัติคณะกรรมการตรวจสอบการฟ้อง มาตรา 3 18ทั้งนี้ บุคคลที่มีสิทธิเลือกตั้งภายใต้กฎหมายญี่ปุ่นปัจจุบัน (มีผลบังคับตั้งแต่เมษายน พ.ศ. 2565) คือ บุคคลที่มีอายุ 18 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป (พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร มาตรา 9)


20 กฎหมายกำหนดห้ามปฏิบัติหน้าที่คณะกรรมการตรวจสอบการฟ้อง เช่น บุคคลที่ดำรงตำแหน่งหรือประกอบ อาชีพบางประเภท (เช่น ราชวงศ์ รัฐมนตรี ผู้พิพากษา อัยการ ตำรวจ พนักงานศาล ตำรวจกองกำลังป้องกัน ตนเอง เป็นต้น)19 หรือบุคคลที่ไม่มีคุณสมบัติตามที่กฎหมายกำหนด ได้แก่ บุคคลที่ไม่สำเร็จการศึกษา ภาคบังคับตามกฎหมาย20 และบุคคลที่เคยต้องโทษจำคุกเกินกว่า 1 ปี21 ในการคัดเลือกคณะกรรมการตรวจสอบการฟ้อง เลขาธิการคณะกรรมการตรวจสอบฟ้อง ซึ่งโดยปกติจะเป็นเจ้าหน้าที่ศาลระดับอาวุโสจะต้องแจ้งให้ทางจังหวัด เมือง และหมู่บ้านที่อยู่ในเขตอำนาจ ศาลนั้นส่งรายชื่อผู้มีคุณสมบัติให้แก่ศาลภายในวันที่ 1 กันยายนของทุกปีโดยแบ่งรายชื่อผู้มีคุณสมบัติ เป็น 4 กลุ่ม ๆ ละ 100 คน รวม 400 คน22 เมื่อทางจังหวัด เมือง หรือหมู่บ้านได้รับแจ้งแล้วก็ให้ทำการ รวบรวมรายชื่อและจัดทำเป็น 4 กลุ่มดังกล่าวส่งให้แก่เลขาธิการคณะกรรมการตรวจสอบการฟ้อง ภายในวันที่ 15 ตุลาคมของปีนั้น ๆ23 จากนั้นทางเลขาธิการฯ จะทำการรวมรวมรายชื่อและตรวจสอบว่า ผู้มีรายชื่อดังกล่าวมีคุณสมบัติต้องห้ามดำรงตำแหน่งคณะกรรมการตรวจสอบการฟ้องหรือไม่ และ ดำเนินการคัดเลือกผู้มาทำหน้าที่คณะกรรมการตรวจสอบการฟ้องจากรายชื่อดังกล่าว โดยการจับฉลาก (Kuji) ต่อหน้าผู้พิพากษาศาลชั้นต้น 1 คนและพนักงานอัยการท้องถิ่น 1 คน การคัดเลือกและแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบการฟ้องจะจัดขึ้นปีละ 4 ครั้ง โดยแต่ละครั้ง จะคัดเลือกคณะกรรมการตรวจสอบการฟ้องและคณะกรรมการสำรองครั้งละ 1 กลุ่ม หมุนเวียนไป ตามลำดับ ดังนี้24 กลุ่มที่ 1 –คัดเลือกคณะกรรมการตรวจสอบการฟ้อง 5 คน และคณะกรรมการสำรอง 5 คน จาก รายชื่อที่เสนอมา 100 คน ภายในวันที่ 28 ธันวาคมของทุกปี กลุ่มที่ 2 – คัดเลือกคณะกรรมการตรวจสอบการฟ้อง 6 คน และคณะกรรมการสำรอง 6 คน จากรายชื่อที่เสนอมา 100 คน ภายในวันที่ 31 มีนาคมของทุกปี กลุ่มที่ 3 – คัดเลือกคณะกรรมการตรวจสอบการฟ้อง 5 คน และคณะกรรมการสำรอง 5 คน จากรายชื่อที่เสนอมา 100 คน ภายในวันที่ 30 มิถุนายนของทุกปี กลุ่มที่ 4 – คัดเลือกคณะกรรมการตรวจสอบการฟ้อง 6 คน และคณะกรรมการสำรอง 6 คน จากรายชื่อที่เสนอมา 100 คน ภายในวันที่ 30 กันยายนของทุกปี ทั้งนี้ คณะกรรมการตรวจสอบการฟ้องและคณะกรรมการสำรองแต่ละกลุ่มจะมีวาระการดำรง 19พระราชบัญญัติคณะกรรมการตรวจสอบการฟ้อง มาตรา 6 20การศึกษาภาคบังคับของประเทศญี่ปุ่น คือ การศึกษาขั้นพื้นฐานในโรงเรียนสายสามัญเป็นระยะเวลา 9 ปี ในช่วงอายุตั้งแต่ 6 ถึง 15 ปี (ตั้งแต่ระดับประถมศึกษาปีที่ 1 จนถึง มัธยมศึกษาปีที่ 3) (พระราชบัญญัติคณะกรรมการตรวจสอบการฟ้อง มาตรา 5 วรรค 1 ประกอบ พระราชบัญญัติการศึกษาในสถานศึกษา มาตรา 4, 16, 17) 21พระราชบัญญัติคณะกรรมการตรวจสอบการฟ้อง มาตรา 5 22พระราชบัญญัติคณะกรรมการตรวจสอบการฟ้อง มาตรา 9 23พระราชบัญญัติคณะกรรมการตรวจสอบการฟ้อง มาตรา 10 และ มาตรา 11 24พระราชบัญญัติคณะกรรมการตรวจสอบการฟ้อง มาตรา 1. 最高裁判所「検察審査員・補充員とは」 (Supreme Court of Japan, ‘What is the Committee for Inquest of Prosecution and Supplementary Committee’) <https://www.courts.go.jp/links/kensin/seido_sinsain/index.html > accessed 15 October 2022.


21 ตำแหน่งคราวละ 6 เดือน โดยมีช่วงเวลาการดำรงตำแหน่งที่ต่างกัน ดังนี้25 กลุ่มที่ 1 – ประกอบด้วยคณะกรรมการตรวจสอบการฟ้อง 5 คน และคณะกรรมการสำรอง 5 คน ดำรงตำแหน่งตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ ถึง 31 กรกฎาคม กลุ่มที่ 2 – ประกอบด้วยคณะกรรมการตรวจสอบการฟ้อง 6 คน และคณะกรรมการสำรอง 6 คน ดำรงตำแหน่งตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม ถึง 31 ตุลาคม กลุ่มที่ 3 – ประกอบด้วยคณะกรรมการตรวจสอบการฟ้อง 5 คน และคณะกรรมการสำรอง 5 คน ดำรงตำแหน่งตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม ถึง 31 มกราคมของปีถัดไป กลุ่มที่ 4 – ประกอบด้วยคณะกรรมการตรวจสอบการฟ้อง 6 คน และคณะกรรมการสำรอง 6 คน ดำรงตำแหน่งตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน ถึง 30 เมษายนของปีถัดไป การหมุนเวียนดำรงตำแหน่งข้างต้นส่งผลให้แต่ละกลุ่มจะมีช่วงเวลาดำรงตำแหน่งที่คาบเกี่ยวกัน อยู่ 3 เดือน ทำให้มีคณะกรรมการตรวจสอบการฟ้องและคณะกรรมการสำรองอยู่ในตำแหน่งครบ 11 คน เสมอ โดยหลักผู้ที่ได้รับเลือกให้เป็นคณะกรรมการตรวจสอบการฟ้องไม่มีสิทธิปฏิเสธการเข้ารับหน้าที่ เว้นแต่มีเหตุจำเป็นหรือสมควรตามที่กฎหมายกำหนด มิฉะนั้นอาจต้องจ่ายค่าปรับไม่เกิน 100,000 เยน26 อย่างไรก็ตาม ในทางปฏิบัติเกณฑ์การใช้เหตุผลในการปฏิเสธค่อนข้างยืดหยุ่นเนื่องจากคำนึงถึงความสะดวก ของประชาชนในการเข้าร่วมเป็นหลัก ซึ่งมาตรา 8 พระราชบัญญัติคณะกรรมการตรวจสอบการฟ้อง ได้กำหนดเหตุอันอาจปฏิเสธไม่เข้ารับหน้าที่คณะกรรมการตรวจฟ้องไว้หลายสาเหตุ โดยเฉพาะในวรรคเก้า ได้กำหนดเหตุปฏิเสธไว้เช่น ป่วยหนัก เดินทางไปท่องเที่ยวต่างประเทศ หรือ “เหตุอย่างอื่นไม่อาจ 25พระราชบัญญัติคณะกรรมการตรวจสอบการฟ้อง มาตรา 14 26พระราชบัญญัติคณะกรรมการตรวจสอบการฟ้อง มาตรา 43 ตาราง 1 การหมุนเวียนดำรงตำแหน่งของคณะกรรมการตรวจสอบการฟ้อง 1 คณะ (4 กลุ่ม) อ้างอิงจาก https://www.courts.go.jp/links/kensin/seido_sinsain/index.html


22 หลีกเลี่ยงได้” ซึ่งจะเห็นได้ว่ามีการกำหนดเหตุปฏิเสธไว้กว้างและยืดหยุ่นมากเนื่องจากในสภาพ ความเป็นจริงประชาชนอาจไม่สะดวกเข้าร่วมได้ด้วยหลายสาเหตุ เช่น ในเขตพื้นที่ต่างจังหวัดห่างไกล ที่ประชาชนส่วนใหญ่อาศัยอยู่ไกลจากศาลมากและเป็นผู้สูงอายุที่เดินทางมาไม่สะดวก ขั้นตอนการคัดเลือกคณะกรรมการตรวจสอบการฟ้องเป็นระบบสุ่มจับฉลาก ซึ่งมีความยืดหยุ่น กว่าการจับฉลากเลือกคณะลูกขุนไซบังอินและไม่ได้มีการเปิดโอกาสให้ฝ่ายใดมาคัดค้านการแต่งตั้ง •ค่าตอบแทน ในการปฏิบัติหน้าที่คณะกรรมการตรวจสอบการฟ้องจะได้รับค่าตอบแทนรายวัน รวมทั้ง ค่าเดินทางและค่าที่พักตามอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง27 •อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการตรวจสอบการฟ้อง บทบาทหน้าที่หลักของคณะกรรมการตรวจสอบการฟ้อง มีด้วยกัน 2 ประการ คือ28 (1) การตรวจสอบคำสั่งไม่ฟ้องของพนักงานอัยการ (พระราชบัญญัติคณะกรรมการตรวจสอบ การฟ้อง มาตรา 2 วรรคหนึ่ง) โดยหลักคณะกรรมการตรวจสอบการฟ้องมีอำนาจตรวจสอบดุลพินิจในการสั่งไม่ฟ้องของ พนักงานอัยการในคดีอาญาได้เกือบทุกประเภทความผิด ยกเว้นความผิดเกี่ยวกับการก่อจลาจล ภายในประเทศและความผิดเกี่ยวกับการฝ่าฝืนกฎหมายเกี่ยวกับการผูกขาดทางการค้าบางประเภท ทั้งนี้ คณะกรรมการตรวจสอบการฟ้องสามารถริเริ่มการตรวจสอบการใช้ดุลพินิจในการสั่งไม่ฟ้องของ อัยการได้แม้ไม่มีผู้เสียหายมายื่นคำร้องซึ่งถือเป็นกลไกที่เป็นประโยชน์ในการตรวจสอบดุลพินิจอัยการ ที่มีคำสั่งไม่ฟ้องในคดีที่อยู่ในความสนใจของสาธารณชนหรือเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ในสังคม เช่น การดำเนินคดีกับอาชญากรคอปกขาว (White-Collar Crime) หรือเหล่าบรรดาผู้มีอำนาจในสังคม เช่น นักการเมืองหรือข้าราชการระดับสูง เป็นต้น29 ในกรณีผู้มีส่วนได้เสียในคดี เช่น ผู้เสียหาย หรือคู่สมรสหรือครอบครัวของผู้เสียหายในกรณี ที่ผู้เสียหายเสียชีวิต ยื่นคำร้องขอให้ตรวจสอบคำสั่งไม่ฟ้องของพนักงานอัยการ คณะกรรมการตรวจสอบ การฟ้องจะต้องดำเนินการพิจารณาตรวจสอบคำสั่งไม่ฟ้องของอัยการในคดีดังกล่าว อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่มีมติเสียงข้างมาก คณะกรรมการตรวจสอบการฟ้องอาจริเริ่มพิจารณาตรวจสอบคำสั่งไม่ฟ้อง ของพนักงานอัยการโดยอาศัยข้อมูลที่ตนได้รับรู้มาได้เอง (Ex Officio) ก็ได้ 27พระราชบัญญัติคณะกรรมการตรวจสอบการฟ้อง มาตรา 19 28พระราชบัญญัติคณะกรรมการตรวจสอบการฟ้อง มาตรา 2 29Hiroshi Fukurai, ‘Lay Judge and Victim Participation in Japan: Japan’s Saiban’in Trial, the Prosecution Review Commission, and the Public Prosecution of White-Collar Crimes’ (2020) 1 Hastings J. Crime & Punish 395, 395-438. <https://repository.uchastings.edu/hastings_journal_crime_punishment/vol1/iss3/7> accessed 15 October 2022.


23 นอกจากนี้ ในการปฏิบัติหน้าที่คณะกรรมการตรวจสอบการฟ้องสามารถใช้อำนาจต่อไปนี้ได้ 1. เรียกให้พนักงานอัยการส่งเอกสารที่จำเป็นหรือมาแสดงความเห็นต่อหน้าคณะกรรมการ30 2. สั่งให้หน่วยงานหรือองค์กรรัฐหรือเอกชนรายงานข้อมูลที่จำเป็นต่อคณะกรรมการ31 3. เรียกผู้ร้องหรือพยานบุคคลมาสอบปากคำ32 4. เรียกผู้เชี่ยวชาญที่เห็นว่าเหมาะสมมาให้ความเห็น33 5. คณะกรรมการอาจจ้างทนายเป็นรายคดีไป ในกรณีที่เห็นจำเป็นเพื่อให้คำปรึกษาด้านกฎหมาย ได้34 (2) การจัดทำข้อเสนอหรือคำแนะนำเพื่อพัฒนาปรับปรุงการทำงานของสำนักงานอัยการ (พระราชบัญญัติคณะกรรมการตรวจสอบการฟ้อง มาตรา 2 วรรคสอง) คณะกรรมการตรวจสอบการฟ้อง มิได้มีเพียงบทบาทในการตรวจสอบแต่ยังมีบทบาทในการ ให้คำแนะนำในการพัฒนาปรับปรุงของพนักงานอัยการได้ด้วย ซึ่งเป็นการจัดทำข้อเสนอแนะเกี่ยวกับ การพัฒนางานอัยการโดยทั่วไป มิได้เฉพาะเจาะจงคดีใดคดีหนึ่ง โดยอัยการที่ได้รับข้อเสนอแนะหรือ คำแนะนำจากคณะกรรมการตรวจสอบการฟ้องเกี่ยวกับรูปแบบการดำเนินคดีของพนักงานอัยการที่ควร จะเป็น มีหน้าที่ต้องแจ้งรายงานว่าทางสำนักงานอัยการได้มีมาตรการเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวอยู่แล้ว หรือไม่และมีเนื้อหาอย่างไรให้คณะกรรมการตรวจฟ้องทราบ •ผู้มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้คณะกรรมการตรวจสอบคำสั่งไม่ฟ้องของพนักงานอัยการ35 1. ผู้เสียหายที่ได้ยื่นคำร้องขอให้ฟ้องคดีอาญา 2. บุคคลอื่นใดนอกจากผู้เสียหายที่เป็นผู้แจ้งข้อกล่าวหาในคดีอาญา 3. บุคคลที่ได้ร้องทุกข์กล่าวโทษคดีอาญา ในคดีอาญาที่จำเป็นต้องมีการร้องทุกข์กล่าวโทษจึงจะ ดำเนินคดีอาญาได้ เช่น คดีการทำลายธงชาติต่างประเทศ อันถือเป็นความผิดอาญาตามมาตรา 92 ประมวลกฎหมายอาญาญี่ปุ่น ซึ่งต้องอาศัยคำร้องทุกข์กล่าวโทษของรัฐบาลประเทศนั้น ๆ จึงจะฟ้อง คดีอาญาได้ 4. ผู้เสียหายจากการกระทำความผิดอาญา (ในกรณีผู้เสียหายเสียชีวิต ผู้สมรสหรือญาติพี่น้องที่มี ความสัมพันธ์ทางสายโลหิต) 30พระราชบัญญัติคณะกรรมการตรวจสอบการฟ้อง มาตรา 35 31พระราชบัญญัติคณะกรรมการตรวจสอบการฟ้อง มาตรา 36 32พระราชบัญญัติคณะกรรมการตรวจสอบการฟ้อง มาตรา 37 33พระราชบัญญัติคณะกรรมการตรวจสอบการฟ้อง มาตรา 38 34พระราชบัญญัติคณะกรรมการตรวจสอบการฟ้อง มาตรา 39/2 35พระราชบัญญัติคณะกรรมการตรวจสอบการฟ้อง มาตรา 30 ประกอบมาตรา 2 วรรคสอง


24 •มติคณะกรรมการตรวจสอบฟ้อง36 คณะกรรมการตรวจสอบการฟ้อง เมื่อตรวจสอบคำสั่งไม่ฟ้องของอัยการแล้ว อาจมีมติได้ 3 ลักษณะ คือ 1. เห็นควรสั่งฟ้อง 2. เห็นว่าคำสั่งไม่ฟ้องไม่สมควร 3. เห็นควรสั่งไม่ฟ้อง37 โดยการลงมติจะอาศัยหลักเสียงข้างมาก คือ 6 เสียงขึ้นไปจาก 11 เสียง แต่หากเป็นกรณีมติ “เห็นควรสั่งฟ้อง” ต้องอาศัยเสียงข้างมาก 8 เสียงขึ้นไปจาก 11 เสียง38 และคณะกรรมการตรวจสอบ การฟ้องจะส่งมติดังกล่าวไปยังอัยการเพื่อพิจารณา โดยการพิจารณาของอัยการและผลของคำสั่ง สามารถแยกตามลักษณะมติของกรรมการตรวจสอบการฟ้อง ดังนี้ 1. กรณีมติเห็นควรสั่งฟ้อง39 หากอัยการพิจารณาแล้วเห็นควรสั่งฟ้องตามที่คณะกรรมการตรวจสอบการฟ้องมีมติ ก็ดำเนินการยื่นฟ้องต่อไป แต่หากอัยการยังคงมีคำสั่งไม่ฟ้อง หรือไม่ดำเนินการใด ๆ ภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด (โดยหลักคือ ภายในระยะเวลา 3 เดือน) ให้คณะกรรมการดำเนินการประชุมตรวจสอบคำสั่งไม่ฟ้องของ อัยการเป็นครั้งที่ 240 และหากคณะกรรมการยังคงมีมติเห็นควรให้สั่งฟ้อง (มติ 8 เสียงขึ้นไปจาก 11 เสียง)41 ให้ทนายความที่ได้รับการแต่งตั้งดำเนินการยื่นฟ้องแทนอัยการต่อไป42 2. กรณีมติเห็นว่าคำสั่งไม่ฟ้องไม่สมควร43 หากคณะกรรมการตรวจสอบการฟ้อง มีมติเห็นว่า คำสั่งไม่ฟ้องของอัยการไม่มีเหตุผลสมควร กล่าวคือ เห็นควรให้อัยการทำการสืบสวนสอบสวนรายละเอียดเพิ่มเติมแล้วพิจารณาคำสั่งฟ้องใหม่ ให้อัยการพิจารณาคำสั่งไม่ฟ้องของตนเองอีกครั้งและดำเนินการสั่งฟ้องหรือไม่ฟ้องตามที่อัยการ เห็นสมควร กรณีนี้แม้อัยการยังคงมีคำสั่งไม่ฟ้องเช่นเดิม คณะกรรมการตรวจสอบการฟ้องก็จะไม่ประชุม พิจารณาคำสั่งไม่ฟ้องของอัยการเป็นครั้งที่ 2 อีก 36最高裁判所「検察審査会での審査の流れ」 (Supreme Court of Japan, ‘The Inquest Procedures of the Committee for Inquest of Prosecution’) <https://www.courts.go.jp/links/kensin/shinsanonagare/index.html > accessed 15 October 2022. 37พระราชบัญญัติคณะกรรมการตรวจสอบการฟ้อง มาตรา 39/5 38พระราชบัญญัติคณะกรรมการตรวจสอบการฟ้อง มาตรา 39/5 วรรคสอง 39พระราชบัญญัติคณะกรรมการตรวจสอบการฟ้อง มาตรา 41 40พระราชบัญญัติคณะกรรมการตรวจสอบการฟ้อง มาตรา 41/2 41พระราชบัญญัติคณะกรรมการตรวจสอบการฟ้อง มาตรา 41/6 42พระราชบัญญัติคณะกรรมการตรวจสอบการฟ้อง มาตรา 41/9 ถึง 41/12 43พระราชบัญญัติคณะกรรมการตรวจสอบการฟ้อง มาตรา 41 วรรคสอง และ วรรคสาม


25 3. กรณีมติเห็นควรสั่งไม่ฟ้อง หากคณะกรรมการตรวจสอบการฟ้องมีมติเห็นว่าการสั่งไม่ฟ้องของอัยการเป็นการสมควรแล้ว ก็ให้แจ้งมติดังกล่าวให้อัยการทราบต่อไป •บทบัญญัติอื่น ๆ ในพระราชบัญญัติคณะกรรมการตรวจสอบการฟ้องยังได้กำหนดรายละเอียดในเรื่องอื่น ๆ เช่น มาตรการคุ้มครองคณะกรรมการตรวจสอบฟ้อง44 การกำหนดให้ศาลต้องอธิบายสิทธิหน้าที่และ รายละเอียดอื่น ๆ ที่จำเป็นให้แก่ผู้จะเข้ารับตำแหน่งคณะกรรมการตรวจสอบการฟ้องฟังและให้สาบานตน ก่อนเริ่มประชุมคณะกรรมการตรวจสอบการฟ้อง45 และบทลงโทษกรณีคณะกรรมการตรวจสอบการฟ้อง ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ46 เป็นต้น 1.3 การมีส่วนร่วมของประชาชนในชั้นศาล 1) ระบบคณะลูกขุนไซบังอิน (Saiban-in Seido: Quasi-Jury System) ระบบไซบังอิน เป็นระบบการให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพิจารณาพิพากษาคดีของศาล ซึ่งเป็นระบบที่มีลักษณะเฉพาะของประเทศญี่ปุ่น แตกต่างจากระบบคณะลูกขุน (Jury) ของประเทศ สหรัฐอเมริกาและระบบผู้พิพากษาสมทบ (Lay Judge) ก่อนมีระบบไซบังอิน ประเทศญี่ปุ่นมีระบบลูกขุนในรูปแบบอื่นมาก่อน โดยเป็นระบบคณะลูกขุน ที่ประกอบด้วยลูกขุน 12 คน ซึ่งในระบบคณะลูกขุนแบบเก่าจำเลยมีสิทธิปฏิเสธไม่ให้นำคณะลูกขุนเข้ามา พิจารณาคดี(Jury Trial) และให้มีเพียงผู้พิพากษาอาชีพพิจารณาตัดสินคดีของตนได้(Bench Trial) ในระบบ คณะลูกขุนแบบเก่านั้นคำตัดสินของคณะลูกขุนไม่มีผลผูกพันผู้พิพากษาให้ต้องปฏิบัติตาม ผู้พิพากษา ยังสามารถปฏิเสธไม่รับคำตัดสินคณะลูกขุนและโอนคดีไปให้ไซบังอินชุดอื่นพิจารณาได้ด้วย หรือหากเป็น กรณีที่ผู้พิพากษาเห็นด้วยและพิพากษาตามมติของคณะลูกขุน จำเลยก็ไม่มีสิทธิอุทธรณ์คำพิพากษา ดังกล่าวอีก นอกจากนี้จำเลยยังต้องเสียค่าธรรมเนียมการใช้คณะลูกขุนด้วยหากจำเลยถูกตัดสินว่า มีความผิดตามฟ้องจริง จะเห็นได้ว่าระบบคณะลูกขุนแบบเก่าเป็นระบบที่ไม่เป็นมิตรแก่จำเลยและอาจ ทำให้การดำเนินกระบวนพิจารณาคดีล่าช้ากว่าเดิม ส่งผลให้ระบบนี้ไม่ถูกใช้ในทางปฏิบัติมากนัก ในเวลาต่อมาจึงมีการยกเลิกระบบคณะลูกขุนแบบเก่า และนำระบบไซบังอินมาใช้แทนซึ่งเป็นระบบ ที่ผสมผสานระหว่างระบบลูกขุนของสหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส และเยอรมันที่ใช้อยู่ ณ เวลานั้น ระบบไซบังอิน จัดตั้งโดย Act on Criminal Trials with the Participation of Saiban-in (Act No.63 of May 28, 2004) (ต่อไปนี้จะเรียกว่า “พระราชบัญญัติไซบังอิน”) 47 โดยมีรากฐานมาจาก พระราชบัญญัติศาลยุติธรรม (Courts Act (Act No. 59 of 1947)) มาตรา 3 ซึ่งกำหนดเกี่ยวกับเขตอำนาจ 44พระราชบัญญัติคณะกรรมการตรวจสอบการฟ้อง มาตรา 42/2 บัญญัติห้ามนายจ้างไล่ลูกจ้างออกหรือกระทำการใดให้เสียประโยชน์ แก่ลูกจ้างโดยอาศัยเหตุจากการที่ลูกจ้างต้องหยุดงานเพื่อมาปฏิบัติหน้าที่คณะกรรมการตรวจสอบฟ้อง หรือคณะกรรมการสำรอง 45พระราชบัญญัติคณะกรรมการตรวจสอบการฟ้อง มาตรา 16 46พระราชบัญญัติคณะกรรมการตรวจสอบการฟ้อง มาตรา 44 มาตรา 44/2 และ มาตรา 45 47Saiban-in no sanka suru keiji saiban ni kansuru horitsu, Law No. 63 of 2004.


26 ในการพิจารณาคดีของศาลยุติธรรมและได้บัญญัติไว้ในวรรคสาม ว่า “บทบัญญัติตามพระราชบัญญัตินี้ ไม่เป็นการต้องห้ามใช้ระบบคณะลูกขุนที่แต่งตั้งขึ้นตามกฎหมายอื่นในการพิจารณาคดีอาญา” วัตถุประสงค์ของการนำระบบไซบังอินมาใช้ในประเทศญี่ปุ่น คือเพื่อเสริมสร้างความเข้าใจและ ความไว้วางใจของประชาชนต่อกระบวนการยุติธรรม (To promote the citizens' understanding of and enhance trust in the judicial system.) 48 คณะลูกขุนไซบังอินจะมีอำนาจพิจารณาเฉพาะคดีที่อยู่ในศาลชั้นต้น (ศาลท้องถิ่น) เท่านั้น ไม่มี อำนาจพิจารณาคดีอาญาที่เยาวชนเป็นผู้กระทำความผิด และไม่มีอำนาจพิจารณาคดีในชั้นอุทธรณ์ หรือฎีกา อนึ่ง ประเทศญี่ปุ่นซึ่งมีศาลชั้นต้น (Chiho-Saibansho) ทั่วประเทศจำนวน 50 ศาล และสาขาอีก 203 แห่งนั้น มีเพียงศาลขนาดใหญ่ 10 ศาลเท่านั้นที่มีการพิจารณาคดีโดยไซบังอิน ทั้งนี้จากการสำรวจ ปริมาณคดีอาญาที่เข้าสู่การพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นในปี พ.ศ. 2564 พบว่ามีคดีที่มีการพิจารณาโดย คณะลูกขุนเพียง 793 คดี จากคดีอาญาในศาลชั้นต้นทั้งหมด 65,151 คดี คิดเป็นร้อยละ 1.249 ซึ่งถือ เป็นสัดส่วนที่น้อยมาก ภายใต้ระบบไซบังอินในปัจจุบัน การกำหนดว่าจะใช้คณะลูกขุนในคดีใด ๆ หรือไม่เป็นดุลพินิจ ของศาล จำเลยในคดีอาญาไม่มีสิทธิเลือกหรือปฏิเสธการพิจารณาคดีโดยไซบังอิน อย่างไรก็ดีจำเลยยังมี สิทธิอุทธรณ์ฎีกาคำพิพากษาชั้นต้นได้ซึ่งในชั้นอุทธรณ์ฎีกาจะเป็นการพิจารณาคดีโดยผู้พิพากษาทั้งหมด •ระบบและขั้นตอนการคัดเลือกไซบังอิน ระบบไซบังอินเป็นระบบที่สุ่มเลือกประชาชนทั่วไปจำนวน 6 คน เข้ามาปฏิบัติหน้าที่เป็นไซบังอิน เพื่อร่วมพิจารณาคดีเป็นองค์คณะเดียวกันกับผู้พิพากษาอาชีพ (ไซบังคัง) ซึ่งองค์คณะหนึ่งจะประกอบด้วย ผู้พิพากษา 3 คน และไซบังอิน 6 คน โดยไซบังอินมีอำนาจร่วมกับผู้พิพากษาทั้งในการตัดสินว่าจำเลย มีความผิดตามฟ้องหรือไม่และกรณีที่ตัดสินว่าจำเลยมีความผิดควรกำหนดโทษที่จำเลยอย่างไร โดยการคัดเลือกบุคคลที่จะมาทำหน้าที่ไซบังอินจะคัดเลือกจากบุคคลที่มีสิทธิเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร50 และไม่เป็นบุคคลที่กฎหมายกำหนดห้ามปฏิบัติหน้าที่ไซบังอิน เช่น บุคคลที่ ดำรงตำแหน่งหรือประกอบอาชีพบางประเภท (เช่น รัฐมนตรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ผู้พิพากษา อัยการ ทนายความ เจ้าหน้าที่กระทรวงยุติธรรม เป็นต้น) และบุคคลที่ถูกจับหรือกักขัง หรือถูกฟ้องเป็น 48พระราชบัญญัติไซบังอิน มาตรา 1 49最高裁判所「令和3年における裁判員裁判の実施状況等に関する資料」2 頁 (Supreme Court of Japan, ‘Materials related to the state of implementation of Saiban-in trials in 2021’) (2021) <https://www.saibanin.courts.go.jp/vc-files/saibanin/2022/R3-103-1.pdf> accessed 12 October 2022, 最高裁判所「裁判員制度の運用に関する意識調査(1)」(Supreme Courtof Japan, ‘Research on Citizen’s Perceptionof Saiban-in System (1)’) (2022) <https://www.saibanin.courts.go.jp/vc-files/saibanin/2022/1.pdf> accessed 12 October 2022. 50พระราชบัญญัติไซบังอิน มาตรา 13. ทั้งนี้ บุคคลที่มีสิทธิเลือกตั้งภายใต้กฎหมายญี่ปุ่นปัจจุบัน (มีผลบังคับตั้งแต่เมษายน พ.ศ. 2565) คือบุคคลที่มีอายุ 18 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป (พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร มาตรา 9)


27 จำเลยในคดีอาญาที่มีโทษจำคุกหรือหนักกว่าซึ่งคดียังไม่ถึงที่สุด51 ทั้งนี้มีข้อสังเกตว่าบุคคลที่ถูกจับหรือ กักขัง หรือถูกฟ้องเป็นจำเลยในคดีอาญาที่มีโทษจำคุกหรือหนักกว่า ซึ่งคดียังไม่ถึงที่สุดนั้นยังได้รับการ สันนิษฐานว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ตามกฎหมายอยู่ แต่กฎหมายกำหนดห้ามให้บุคคลดังกล่าวเข้าทำหน้าที่ไซบังอิน เนื่องจากมีเหตุเชื่อได้ว่าบุคคลดังกล่าวอาจมีอคติต่อกระบวนการพิจารณาคดีอาญาทำให้ไม่สามารถ ปฏิบัติหน้าที่อย่างเป็นกลางได้ นอกจากนี้บุคคลที่จะเป็นไซบังอินต้องไม่ใช่บุคคลที่ไม่มีคุณสมบัติต้องห้ามตามที่กฎหมาย กำหนด เช่น บุคคลที่ไม่สำเร็จการศึกษาภาคบังคับตามกฎหมาย52 หรือบุคคลที่เคยต้องโทษจำคุก บุคคล ที่มีความบกพร่องทางจิตและไม่สามารถทำหน้าที่ไซบังอินได้53 โดยหลักบุคคลที่ได้รับการเรียกให้ไปปฏิบัติหน้าที่ไซบังอินไม่อาจปฏิเสธการเข้ารับได้เว้นแต่มี เหตุปฏิเสธตามที่กฎหมายกำหนด เช่น บุคคลที่มีอายุเกิน 70 ปี บุคคลที่เคยปฏิบัติหน้าที่ไซบังอินภายใน 5 ปีที่ผ่านมา บุคคลที่ป่วยหรือบาดเจ็บร้ายแรงจนไม่อาจมาศาลได้ เป็นต้น54 คุณสมบัติที่กล่าวไปข้างต้นเป็นคุณสมบัติและข้อห้ามทั่วไปสำหรับบุคคลที่ปฏิบัติหน้าที่ไซบังอิน ในทุกคดี นอกจากนี้ยังมีบทบัญญัติที่ห้ามบุคคลเข้าเป็นไซบังอินเฉพาะในคดีที่ตนมีส่วนเกี่ยวข้องด้วย เช่น ผู้เสียหาย หรือพยานในคดีนั้น ๆ55 หรือบุคคลที่ศาลเห็นว่าอาจตัดสินคดีนั้นโดยไม่เป็นธรรมได้56 อนึ่ง กระบวนการคัดเลือกไซบังอินจะมีการดำเนินการคัดเลือกตามลำดับดังนี้57 ขั้นตอนแรก คือในช่วงประมาณก่อนเดือนกันยายนของแต่ละปีศาลจะแจ้งไปยังคณะกรรมการ การเลือกตั้งในท้องถิ่นที่อยู่ในเขตอำนาจศาลให้สุ่มเลือกบุคคลจากบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งตาม จำนวนที่ศาลกำหนด58 เพื่อนำมาจัดทำบัญชีรายชื่อ “ผู้ที่อาจถูกเรียกให้ปฏิบัติหน้าที่ไซบังอิน” ของปีถัดไป เมื่อสุ่มเลือกแล้วจะมีการส่งจดหมายแจ้งให้บุคคลที่มีรายชื่อทราบ พร้อมแบบสอบถามเพื่อให้บุคคลนั้น ตอบรับหรือแจ้งเหตุที่อาจปฏิเสธการเข้ารับหน้าที่ไซบังอินได้59 51พระราชบัญญัติไซบังอิน มาตรา 15 52การศึกษาภาคบังคับของประเทศญี่ปุ่น คือ การศึกษาขั้นพื้นฐานในโรงเรียนสายสามัญเป็นระยะเวลา 9 ปี ในช่วงอายุตั้งแต่ 6 ถึง 15 ปี (ตั้งแต่ระดับประถมศึกษาปีที่ 1 จนถึง มัธยมศึกษาปีที่ 3) (พระราชบัญญัติคณะกรรมการตรวจสอบฟ้อง มาตรา 5 วรรคหนึ่ง ประกอบ พระราชบัญญัติการศึกษาในสถานศึกษา มาตรา 4, 16, 17) 53พระราชบัญญัติไซบังอิน มาตรา 14 54พระราชบัญญัติไซบังอิน มาตรา 16 55พระราชบัญญัติไซบังอิน มาตรา 17 56พระราชบัญญัติไซบังอิน มาตรา 18 57法務省「裁判員制度の概要」(Ministry of Justice, ‘Overview of Saiban-in System’) <https://www.moj.go.jp/keiji1/saibanin_seido_gaiyou02.html> accessed 13 October 2022. 58ทั้งนี้ แต่ละศาลจะกำหนดจำนวนบุคคลที่จะได้รับเลือกขึ้นทะเบียนเป็นไซบังอินไม่เท่ากัน เช่น ศาลโตเกียว จะขึ้นทะเบียนไว้ประมาณ 23,000 คนต่อปี 59พระราชบัญญัติไซบังอิน มาตรา 25


28 ขั้นตอนที่สอง เมื่อศาลมีความเห็นว่าคดีใดมีความจำเป็นต้องใช้คณะลูกขุนไซบังอิน ศาลจะทำการ จับฉลากอีกครั้งเพื่อเลือกบุคคลจำนวนหนึ่ง (มากน้อยแล้วแต่คดี) จากรายชื่อที่ทำไว้ในขั้นตอนแรก ภายในเวลา 6 สัปดาห์ก่อนคดีดังกล่าวจะเริ่ม เพื่อให้ได้รายชื่อ “ผู้ที่อาจถูกเรียกให้เป็นไซบังอินสำหรับ คดีนั้น ๆ” เมื่อได้รายชื่อแล้วศาลจะส่งจดหมายเรียกไปยังบุคคลดังกล่าวเพื่อให้มารายงานตัวที่ศาลในวัน คัดเลือกตามที่ศาลกำหนด ขั้นตอนที่สาม ในวันคัดเลือกไซบังอินสำหรับแต่ละคดี ผู้ที่ได้รับจดหมายเรียกตามขั้นตอนที่สอง จะต้องมารายงานตัวต่อศาล และศาลจะทำการอธิบายและตอบคำถามเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ไซบังอิน และเปิดโอกาสให้อัยการ (ฝ่ายโจทก์) และทนายจำเลยคัดค้านบุคคลที่ศาลเลือกให้เป็นไซบังอินในคดีของ ตนได้ และศาลก็จะทำการจับฉลากอีกครั้งเป็นครั้งที่ 3 จากบัญชีรายชื่อในขั้นตอนที่สองเพื่อเลือกบุคคล จำนวน 6 คน ที่จะได้รับแต่งตั้งให้ทำหน้าที่ไซบังอินในคดีนั้น และอาจเลือกคณะลูกขุนสำรองได้หากศาล เห็นว่ามีความจำเป็น ทั้งนี้ ผู้ได้รับการแต่งตั้งเป็นไซบังอินจะปฏิบัติหน้าที่เฉพาะคดีที่ตนได้รับการแต่งตั้งเป็นรายคดีไป ไม่ได้มีวาระการดำรงตำแหน่งเป็นระยะเวลาใดระยะเวลาหนึ่ง •ประเภทคดีอาญาที่อยู่ในอำนาจพิจารณาคดีของไซบังอิน60 1. คดีที่มีระวางโทษประหารชีวิตหรือโทษจำคุกตลอดชีวิต 2. คดีอาญาที่เกิดจากการกระทำความผิดโดยเจตนาอันเป็นเหตุให้เหยื่อถึงแก่ความตายซึ่งมี ระวางโทษจำคุกอย่างน้อย 1 ปีขึ้นไป ตัวอย่างประเภทคดีที่อยู่ในอำนาจการพิจารณาของไซบังอิน เช่น คดีฆาตกรรม คดีลักทรัพย์ อันเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายหรือได้รับบาดเจ็บ คดีทำร้ายร่างกายอันเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย คดีขับรถขณะเมาสุราและชนผู้อื่นถึงแก่ความตาย คดีลอบวางเพลิงเคหสถานอันเป็นที่อยู่อาศัย คดีลักพาตัว เพื่อเรียกค่าไถ่ คดีเกี่ยวกับความผิดฐานทอดทิ้งเด็กไม่ดูแลความเป็นอยู่และอาหารการกินแก่เด็กที่อยู่ใน ปกครองของตนเป็นเหตุให้เด็กถึงแก่ความตาย คดีลักลอบขนยาเสพติดเพื่อการค้า เป็นต้น •การตัดสินคดีที่มีคณะลูกขุนไซบังอินเข้าร่วมพิจารณา คดีที่มีคณะลูกขุนไซบังอินเข้าร่วมพิจารณา องค์คณะผู้พิจารณาจะประกอบด้วย ผู้พิพากษา 3 คน และไซบังอิน 6 คน โดยไซบังอินมีอำนาจพิจารณาคดีร่วมกับผู้พิพากษาทั้งในการตัดสินว่าจําเลยมีความผิด ตามฟ้องหรือไม่และกรณีที่ตัดสินว่าจําเลยมีความผิดควรกำหนดโทษจําเลยอย่างไร การตัดสินคดีและกำหนดโทษจะใช้หลัก “เสียงข้างมาก” ของทั้งผู้พิพากษาและไซบังอินรวมกัน ซึ่งโดยส่วนใหญ่องค์คณะจะมีมติเอกฉันท์ แต่หากไม่สามารถมีมติเอกฉันท์ได้จึงค่อยลงมติเพื่อหาเสียง ข้างมาก ซึ่งกรณีที่จะพิพากษาให้จำเลยมีความผิดในเสียงข้างมากจะต้องมีผู้พิพากษาอย่างน้อย 1 คน ที่ลงความเห็นให้จำเลยมีความผิดตามฟ้อง หากไม่มีผู้พิพากษาในองค์คณะตัดสินให้จำเลยมีความผิดตาม ฟ้องเลยก็จะพิพากษาให้จำเลยมีความผิดไม่ได้ เช่น ผู้พิพากษา 3 คน ลงความเห็นว่าจำเลยไม่มีความผิด 60พระราชบัญญัติไซบังอิน มาตรา 2


29 แต่ไซบังอินทั้ง 6 คน ลงความเห็นว่าจำเลยมีความผิด เช่นนี้แม้จะเป็นเสียงข้างมากในองค์คณะแต่ก็มิอาจ พิพากษาลงโทษจำเลยได้61 ในส่วนของการกำหนดโทษ หากองค์คณะมีความเห็นต่างกันและไม่อาจหาเสียงข้างมากได้ ให้คำนวณหาเสียงข้างมากโดยการนำคะแนนเสียงที่เป็นโทษหนักต่อจำเลยมากที่สุดไปรวมเข้าเป็น คะแนนเสียงที่เป็นโทษกับจำเลยในลำดับถัดมาจนกว่าจะได้มติที่มีเสียงข้างมาก เช่น มีมติ 3 เสียง เห็นควรลงโทษจำคุกจำเลย 7 ปี มติ 2 เสียง เห็นควรลงโทษจำคุกจำเลย 6 ปี และมติ 4 เสียงเห็นควร ลงโทษจำคุกจำเลย 5 ปี กรณีนี้จะเห็นว่าไม่มีโทษจำคุกไหนที่ได้มติเสียงข้างมากขององค์คณะ คือ 5 เสียง จึงต้องนำคะแนนเสียงที่เป็นโทษหนักต่อจำเลยมากที่สุดไปรวมเข้ากับคะแนนเสียงที่เป็นโทษกับจำเลย ในลำดับถัดมา คือมติจำคุกจำเลย 7 ปี ไปรวมกับมติจำคุก 6 ปี รวมเป็น 5 เสียง ซึ่งเป็นเสียงข้างมาก ขององค์คณะ (มติจำคุก 6-7 ปี 5 เสียง ต่อมติจำคุก 5 ปี 4 เสียง) ให้พิพากษากำหนดโทษจำเลยตามโทษ ที่เป็นคุณแก่จำเลยมากที่สุดในฝั่งเสียงข้างมาก ซึ่งตามตัวอย่างนี้คือลงโทษจำคุกจำเลย 6 ปี62 2) สิทธิผู้เสียหายในการขอเข้าร่วมกระบวนพิจารณาคดีอาญา (Higaisha Sanka SeidoVictim Participation) 63 ตามที่ได้กล่าวไปข้างต้นว่า หลักการดำเนินคดีอาญาของประเทศญี่ปุ่นเป็นรูปแบบการดำเนิน คดีอาญาโดยรัฐ (Public Prosecution) ซึ่งอัยการเป็นผู้มีอำนาจในการฟ้องคดีอาญาทุกประเภท ผู้เสียหายไม่มีอำนาจฟ้องคดีอาญาหรือดำเนินคดีอาญาด้วยตนเอง ดังนั้น กฎหมายญี่ปุ่นจึงเปิดช่องให้ บุคคลที่เป็นผู้เสียหายหรือทายาทของผู้เสียหายในประเภทคดีอาญาที่กฎหมายกำหนด เช่น คดีกักขัง หน่วงเหนี่ยว คดีข่มขืนหรืออนาจาร คดีฆาตกรรม เป็นต้น สามารถยื่นคำร้องขอเข้าดำเนินคดีอาญา ร่วมกับอัยการที่รับผิดชอบสำนวนคดีนั้นได้ เมื่ออัยการได้รับคำร้องแล้วก็จะพิจารณาให้ความเห็นต่อคำร้องดังกล่าว แล้วส่งความเห็นแนบกับ คำร้องนั้นให้ศาลพิจารณาอนุญาตหรือไม่อนุญาตอีกครั้งหนึ่ง โดยศาลจะพิจารณาคำร้องโดยการรับฟังความเห็นของจำเลยหรือทนายความจำเลย ลักษณะ ความผิดอาญาตามฟ้อง ความสัมพันธ์ของผู้ร้องกับจำเลย รวมถึงปัจจัยอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องประกอบกัน หากศาลเห็นว่าสมควรให้ผู้เสียหายเข้าร่วมได้ก็จะมีคำสั่งอนุญาตตามคำร้อง ผู้เสียหายที่ได้รับอนุญาตให้เข้าร่วมการพิจารณาคดี สามารถดำเนินการพิจารณาคดีในขั้นตอน ต่าง ๆ ร่วมกับอัยการได้ เช่น ในวันพิจารณาคดี ผู้เสียหายสามารถเข้าร่วมการพิจารณาในห้องพิจารณา คดีได้โดยนั่งพิจารณาข้าง ๆ พนักงานอัยการ ผู้เสียหายสามารถให้ความเห็นหรือร้องขอให้พนักงานอัยการ อธิบายเกี่ยวกับการดำเนินคดีของพนักงานอัยการในขั้นตอนต่าง ๆ เช่น การขอตรวจพยานหลักฐาน 61พระราชบัญญัติไซบังอิน มาตรา 67 วรรคหนึ่ง 62พระราชบัญญัติไซบังอิน มาตรา 67 วรรคสอง 63法務省「4.公判段階での被害者支援」(Ministry of Justice, ‘Victim Participation Support in Criminal Trials’) <https://www.moj.go.jp/keiji1/keiji_keiji11-4.html#:~:text=4%20 被害者参加制度,人」と呼ばれます。> accessed 15 October 2022.


30 การแถลงปิดคดี การเสนอระวางโทษต่อศาล (求刑 -Kyukei) สามารถซักถามพยานในประเด็นที่จำเป็น เพื่อโต้แย้งพฤติการณ์เกี่ยวกับพยานหลักฐานที่พยานปากนั้นนำสืบ เป็นต้น อย่างไรก็ดี แม้จะได้รับ อนุญาตจากศาลให้เป็น “ผู้เสียหายที่เข้าร่วมการพิจารณา” แล้ว แต่อาจมีบางกรณีหรือบางขั้นตอนการ พิจารณาที่ศาลไม่อนุญาตให้เข้าร่วมก็ได้ ทั้งนี้ ในการเข้าร่วมการดำเนินคดีอาญานั้น ผู้เสียหายที่ขอเข้าร่วมสามารถแต่งตั้งให้ทนายความ กระทำการแทนได้ ซึ่งถ้าไม่มีกำลังทรัพย์เพียงพอในการว่าจ้างทนายความก็มีระบบทนายความของรัฐ (国選弁護制度 – Kokusen Bengo Seido) รองรับด้วย 3) คณะกรรมการศาลท้องถิ่น (Chiho Saibansho Iinkai)64 คณะกรรมการศาลท้องถิ่น จัดตั้งขึ้นตาม ข้อบังคับว่าด้วยคณะกรรมการศาลท้องถิ่น (Chiho Saibansho Iinkai Kisoku) ที่ออกตามระเบียบศาลฎีกาฉบับที่ 9 (ลงวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2546) โดยมี วัตถุประสงค์เพื่อให้การบริหารงานยุติธรรมของศาลท้องถิ่นเป็นไปในทางที่สะท้อนความคิดเห็นของ ประชาชนมากขึ้น ซึ่งคณะกรรมการศาลท้องถิ่นมีหน้าที่ให้ความเห็นต่อข้อปรึกษาหารือเกี่ยวกับการ บริหารงานยุติธรรมของศาลที่ศาลท้องถิ่น (Chiho Saibansho) รวมถึงศาลคดีไม่มีข้อยุ่งยาก (Kan-i Saibansho) ที่อยู่ในเขตอำนาจเดียวกับศาลท้องถิ่นที่ตนเป็นคณะกรรมการอยู่ร้องขอ คณะกรรมการศาลท้องถิ่นจะประกอบด้วยกลุ่มบุคคลไม่เกิน 15 คน หรือกรณีที่ศาลฎีกา เห็นสมควรอาจมีการแต่งตั้งคณะกรรมการศาลท้องถิ่นเพิ่มได้แต่รวมแล้วไม่เกิน 25 คน โดยคัดเลือกจาก บุคคลที่มีคุณสมบัติอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่ข้อบังคับฯ กำหนด เช่น บุคคลที่มีประสบการณ์ทำงานทางด้าน วิชาการซึ่งอาศัยหรือทำงานอยู่ในพื้นที่เขตอำนาจศาลท้องถิ่นนั้น ทนายความที่สังกัดสภาทนายความ ที่จัดตั้งขึ้นในเขตอำนาจศาลท้องถิ่นนั้น เป็นต้น โดยมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 2 ปี และสามารถ ดำรงตำแหน่งซ้ำได้ 2. สาธารณรัฐเกาหลี สาธารณรัฐเกาหลีได้มีการปฏิรูปการบริหารงานในกระบวนการยุติธรรมโดยให้ความสำคัญกับ การมีส่วนร่วมของประชาชนมากขึ้นในแต่ละขั้นตอนของกระบวนการยุติธรรมทางอาญา 2.1 การมีส่วนร่วมของประชาชนในชั้นตำรวจ 1) กลุ่มอาสาสมัครป้องกันอาชญากรรม (Police Crime Prevention Volunteers) ภายใต้แนวคิดตำรวจชุมชนสัมพันธ์ (Community Policing) สาธารณรัฐเกาหลีได้นำระบบตำรวจชุมชนสัมพันธ์มาใช้ตั้งแต่ช่วงปี ค.ศ. 1999 ในช่วงปฏิรูป ระบบตำรวจให้สอดคล้องกับระบอบประชาธิปไตยมากขึ้น ซึ่งเป็นระบบที่เน้นความเข้าใจความต้องการ ของประชาชน เพื่อเสริมสร้างความไว้วางใจของประชาชนที่มีต่อตำรวจ ซึ่งการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน 64最高裁判所「地方裁判所委員会規則」 (Supreme Courtof Japan, ‘Regulations on the District Court Commission’) <https://www.courts.go.jp/toukei_siryou/kisokusyu/sonota_kisoku/sonota_kisoku_11/index.html > accessed 15 October 2022.


31 ถือเป็นปัจจัยสำคัญในการทำให้ระบบตำรวจชุมชนสัมพันธ์บรรลุเป้าหมาย65 โดยหนึ่งในกลไกการมีส่วนร่วม ของประชาชน คือการจัดตั้งโครงการอาสาสมัครป้องกันอาชญากรรมตำรวจ (Police Crime Prevention Volunteer Scheme) เพื่อป้องกันอาชญากรรมในชุมชน ประกอบไปด้วยกลุ่มประชาชนในพื้นที่ที่ทำงาน ร่วมกันกับสถานีตำรวจท้องถิ่น โดยทั่วไปกลุ่มอาสาสมัครป้องกันอาชญากรรมในชุมชนจะประกอบด้วย กลุ่มประชาชนในพื้นที่ประมาณ 3-5 คน ทำหน้าที่ร่วมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจในการลาดตระเวนและ รายงานการเกิดอาชญากรรมทั้งในพื้นที่และในจุดสุ่มเสี่ยงเกิดอาชญากรรมในเวลากลางคืน ซึ่งระบบ อาสาสมัครป้องกันอาชญากรรมนี้เป็นระบบอาสาสมัครเต็มรูปแบบคืออาสาสมัครไม่ได้รับค่าตอบแทนใด ๆ ในรูปแบบเงินตราหรือของอย่างอื่นจากการปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว66 2) คณะกรรมการตรวจสอบการสอบสวน (ชั้นตำรวจ) (Investigation Review Committee) สถานีตำรวจนครบาลแต่ละแห่งจะมี คณะกรรมการตรวจสอบการสอบสวน (ชั้นตำรวจ) (Investigation Review Committee) ที่เพิ่งเริ่มมีการจัดตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 2021 ซึ่งมีอำนาจตรวจสอบ ว่าการสืบสวนสอบสวนของตำรวจเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ตัวอย่างการใช้อำนาจตรวจสอบ ของคณะกรรมการฯ เช่น หากตำรวจเร่งทำการสืบสวนเพื่อรีบปิดสำนวนคดีแล้วมีเหยื่อในคดีอาญานั้น ร้องเรียนคณะกรรมการฯ ก็จะเป็นเครื่องมือสุดท้ายที่ประชาชนจะสามารถตรวจสอบได้ว่าการสืบสวน สอบสวนของตำรวจได้กระทำอย่างถูกต้องหรือไม่ โดยคณะกรรมการฯ จะประชุมกันทุกเดือนเพื่อหารือ เกี่ยวกับคดีประมาณ 10-12 คดีที่มีการร้องเรียนเข้ามาแล้วทำความเห็นเสนอต่อตำรวจ ซึ่งความเห็น ของคณะกรรมการฯ มีสถานะเป็น “คำแนะนำ” (Advisory) กล่าวคือ ตำรวจไม่จำเป็นต้องปฏิบัติตาม คำแนะนำก็ได้ทั้งนี้คณะกรรมการตรวจสอบการสอบสวน (ชั้นตำรวจ) จะประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญ ในแต่ละสาขา (Experts) จึงอาจไม่ใช่กลไกที่ให้ประชาชนทั่วไป (Lay Person) เข้ามีส่วนร่วมได้ 2.2 การมีส่วนร่วมของประชาชนในชั้นอัยการ 1) คณะกรรมการตรวจสอบฟ้องภาคประชาชน (검찰시민위원 Committee of Prosecution Service and Citizens) 67 65Wook Kang & Mahesh K. Nalla & Yongtae Chun, Community policing in South Korea: an analysis of organizational determinants, Crime Law Soc Change (2014) 62(5), 549–570. 66Choi, Kwan, Citizen participation in community safety: a comparative study of community policing in South Korea and the United Kingdom. Monash University. Thesis. (2017) <https://doi.org/10.4225/03/58b4f88d6a8b0> accessed 15 October 2022. 67李東熹「韓国・刑事司法における国民参加とその実践的な意義」関西大学法学研究所ノモス 第 31 号 13 頁、19 頁(2012) (Lee Donghee, ‘Citizen Participation in Criminal Justice and its Actual Meaning in Korea’ Kansai University Institute of Legal Studies NOMOS no.31) (2012) 13, 19. See also, Supreme Prosecutors’ Office Republic of Korea, ‘Institutional Reforms-Pursuing Investigations in a Trustworthy, Impartial and Refined Manner’ <https://www.spo.go.kr/site/eng/03/10304000000002018120607.jsp> accessed 15 October 2022, Supreme Prosecutors’ Office Republic of Korea, ‘검찰시민위원 (The Prosecutor's Citizenship Committee)’<https://www.spo.go.kr/site/museum/03/10304000000002018120612.jsp> accessed 15 October 2022.


32 การดำเนินคดีอาญาในสาธารณรัฐเกาหลีเป็นระบบดำเนินคดีอาญาโดยรัฐ คืออัยการมีสิทธิ แต่ผู้เดียวในการฟ้องคดีเช่นเดียวกับประเทศญี่ปุ่น68 และแนวคิดการจัดตั้งคณะกรรมการตรวจสอบฟ้อง ภาคประชาชนในชั้นการสั่งฟ้องของพนักงานอัยการของสาธารณรัฐเกาหลีก็ได้รับอิทธิพลจากแนวคิด คณะกรรมการตรวจสอบฟ้องของอัยการของประเทศญี่ปุ่น อย่างไรก็ดี คณะกรรมการตรวจสอบฟ้อง ภาคประชาชนนี้ เป็นเพียงองค์กรที่จัดตั้งขึ้นเป็นพิเศษตามนโยบายการปฏิรูประบบการทำงานของ อัยการให้มีความโปร่งใสและมีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนมากขึ้นภายใต้คู่มือการปฏิบัติหน้าที่ ของคณะกรรมการตรวจฟ้องภาคประชาชน (Operational Guidelines)69 ไม่ได้เป็นองค์กรที่จัดตั้งขึ้น ตามกฎหมายแบบคณะกรรมการตรวจฟ้องของประเทศญี่ปุ่น วัตถุประสงค์ของการจัดตั้งคณะกรรมการตรวจสอบฟ้องภาคประชาชน คือเพื่อตอบสนอง ข้อเรียกร้องของสังคมที่ต้องการให้มีการพัฒนาปรับปรุงระบบการดำเนินคดีอาญาของอัยการ โดยมี วัตถุประสงค์เพื่อให้การทำงานของอัยการเป็นไปโดยสะท้อนเจตจำนงและความเห็นของภาคประชาชน มากขึ้นทั้งในขั้นตอนการสอบสวนและการพิจารณาฟ้อง โดยระบบนี้เริ่มนำมาใช้ในช่วงเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2553 โดยแรกเริ่มมีการจัดตั้งคณะกรรมการดังกล่าวอยู่ประจำสำนักงานอัยการท้องถิ่นและ สำนักงานอัยการสาขาย่อยรวม 41 แห่งทั่วประเทศ ซึ่งคณะกรรมการตรวจสอบฟ้องภาคประชาชน 1 คณะ จะประกอบด้วย ประธานกรรมการ 1 คน กรรมการ 8 คน และกรรมการสำรองอีก 9 คน ทำหน้าที่ในการ พิจารณาความเหมาะสมเกี่ยวกับการสั่งฟ้องหรือการขอออกหมายต่าง ๆ ของพนักงานอัยการในคดีอาญา70 และตั้งแต่ปี ค.ศ. 2012 เป็นต้นมาได้มีการเพิ่มจำนวนคณะกรรมการประจำสำนักงานอัยการท้องถิ่น เป็น 64 แห่งทั่วประเทศ อย่างไรก็ดี คณะกรรมการตรวจสอบฟ้องภาคประชาชนของสำนักงานอัยการแห่งสาธารณรัฐ เกาหลีไม่ได้มีอำนาจกว้างขวางเท่าคณะกรรมการตรวจฟ้องของประเทศญี่ปุ่น เนื่องจากมีอำนาจ ตรวจสอบจำกัดเฉพาะคดีที่สำนักงานอัยการกำหนดและมติของคณะกรรมการดังกล่าวก็ไม่มีผลผูกพันให้ พนักงานอัยการต้องปฏิบัติตามแต่อย่างใด อีกทั้ง การคัดเลือกบุคคลเข้ามาดำรงตำแหน่งคณะกรรมการ ก็ทำโดยองค์กรอัยการเอง ทำให้มีการตั้งคำถามว่าคณะกรรมการดังกล่าวจะมีประสิทธิภาพในการ ตรวจสอบและควบคุมความเป็นกลางในการทำงานของอัยการได้เพียงใด71 68Lee Donghee, supra note 67. 69Prosecution Citizenship Committee Operation Guidelines [Enforcement 2018. 9. 20.] [Supreme Prosecutor’s Office Regulation No. 965, 2018. 9. 20., partially amended] <https://www.law.go.kr/정규칙/검찰시민위원운영지침> accessed 15 October 2022. 70Korean Institute of Criminology and Justice, ‘Asia-Pacific Networks against Crimes (APNAC) - Judicial Reform: Exploring Current Policy Tasks and Its Issues’ (2017) <https://www.kicj.re.kr/board.es?mid=a20601010300&bid=0029&tag=&act=view&list_no=12430> accessed 15 October 2022. 71Supreme Prosecutors’ Office Republic of Korea, supra note 67.


33 2) คณะกรรมการตรวจสอบการสอบสวนและสั่งฟ้อง (ชั้นอัยการ) (수사자문위원Investigation Review Committee) สำนักงานอัยการสูงสุดมีคณะกรรมการตรวจสอบการสอบสวนและสั่งฟ้องในชั้นอัยการซึ่งมีชื่อ เรียกว่า ‘Investigation Review Committee’ ซึ่งประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญในแต่ละสาขา (Experts) เช่นเดียวกับคณะกรรมการตรวจสอบการสั่งฟ้องในชั้นตำรวจ แต่จัดตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 2018 และทำหน้าที่ ต่างกันกับคณะกรรมการตรวจสอบการสืบสวนในชั้นตำรวจ พนักงานอัยการภายใต้ระบบกฎหมาย เกาหลีมีอำนาจสืบสวนสอบสวนคดีด้วย โดยคณะกรรมการฯ ในชั้นอัยการจะทำหน้าที่ให้คำแนะนำแก่ อัยการในเรื่องต่อไปนี้ 1) อัยการควรดำเนินการสืบสวนต่อไปหรือไม่ 2) หลังการสืบสวนสอบสวนคดีแล้ว หากอัยการยังไม่มั่นใจว่าควรส่งฟ้องคดีนั้นหรือไม่ ก็อาจขอความเห็นจากคณะกรรมการฯ ได้ 3) อัยการ เป็นองค์กรเดียวที่มีอำนาจขอหมายจับภายใต้กฎหมายเกาหลี คณะกรรมการฯ ก็สามารถแนะนำอัยการ ได้ว่าควรขอหมายจับหรือขอหมายจับใหม่อีกครั้งหรือไม่ 4) ความเหมาะสมและความชอบด้วยกฎหมาย ของคำสั่งฟ้องหรือไม่ฟ้องของอัยการ 5) ให้คำปรึกษาหรือคำแนะนำในเรื่องอื่นที่อัยการร้องขอ อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการตรวจสอบการสอบสวน (ชั้นอัยการ) ถูกกำหนดไว้ในคู่มือการ ปฏิบัติงาน (Operational Guidelines) ของคณะกรรมการตรวจสอบการสอบสวน (ชั้นอัยการ) ที่จัดทำขึ้น โดยสำนักงานอัยการสูงสุด ไม่ได้เป็นองค์กรที่จัดตั้งขึ้นโดยกฎหมาย72 ความเห็นของคณะกรรมการฯ ก็มี สถานะเป็น “คำแนะนำ” (Advisory) ไม่ได้ผูกพันให้อัยการต้องปฏิบัติตาม 2.3 การมีส่วนร่วมของประชาชนในชั้นศาล 1) ระบบคณะลูกขุน (Advisory Jury System)73 การมีส่วนร่วมของพลเมืองเกาหลีในกระบวนการพิจารณาคดีอาญาของศาลเป็นการมีส่วนร่วม ในรูปแบบคณะลูกขุน ซึ่งจัดตั้งขึ้นภายใต้พระราชบัญญัติการมีส่วนร่วมของพลเมืองในกระบวนพิจารณา คดีอาญา (Act on Citizen Participation in Criminal Trials (แก้ไขล่าสุดปี ค.ศ. 2017) (ต่อไปนี้ จะเรียกว่า “พระราชบัญญัติการมีส่วนร่วมฯ”)74 สาธารณรัฐเกาหลีได้ริเริ่มนำระบบคณะลูกขุนเข้ามาใช้ในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาตั้งแต่ ปี ค.ศ. 2008 ในช่วงปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมครั้งเพื่อใหญ่ให้สอดคล้องกับระบอบประชาธิปไตย มากขึ้น โดยคดีแรกที่มีการให้คณะลูกขุนเข้าร่วมพิจารณาเป็นคดีลักทรัพย์และทำร้ายร่างกาย ซึ่งในคดี ดังกล่าวคณะลูกขุน 9 คน ได้เข้าร่วมรับฟังการพิจารณาทั้งในชั้นไต่สวนและสืบพยานและได้ร่วมตรวจ พยานหลักฐานทั้งหมด หลังจากนั้นคณะลูกขุนจะออกจากห้องพิจารณาเพื่อไปประชุมหารือเกี่ยวกับคดี 72Operational Rules of Professional Investigation Advisory Committee [Enforcement 2018. 3. 21.] [Ministry of Justice Ordinance No. 920, 2018. 3. 21., partially amended] <https://www.law.go.kr/법령/전문수사자문위원운영규칙> accessed 15 October 2022. 73裁判員ネット「【シリーズ・海外の司法参加】第 1 部:韓国編(中)-国民参与裁判制度の運用状況と特徴-」 (2010) <http://saibanin.net/updatearea/staffcolumn/archives/1044> accessed 15 October 2022. 74Act on Citizen Participation in Criminal Trials <https://elaw.klri.re.kr/eng_mobile/viewer.do?hseq=46745&type=part&key=9> accessed 15 October 2022.


Click to View FlipBook Version