233 ของเมือง การให้ความร่วมมือกับหน่วยงานของรัฐในการให้ข้อมูลหรือความรู้เกี่ยวกับการป้องกัน อาชญากรรมในชุมชน เป็นต้น3 2. การปรับเปลี่ยนรูปแบบการจัดการองค์กร (Organizational Transformation) แนวคิดในเรื่องตำรวจชุมชนแตกต่างจากการบริหารจัดการองค์กรตำรวจในรูปแบบเดิม เนื่องจากในการจัดการองค์กรตำรวจในรูปแบบเดิมจะเน้นที่การปกครองกันตามสายบังคับบัญชา และการตัดสินใจจาก “เบื้องบนลงล่าง” (Top-down Approach) ซึ่งเจ้าหน้าที่ตำรวจจะเป็นคนที่ มอบหมายงานและตัดสินใจในการให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการปฏิบัติงานของตำรวจในรูปแบบใด รูปแบบหนึ่งเป็นสำคัญ4 ประชาชนจึงไม่อาจเข้ามาริเริ่มในการเสนอความคิดเห็นและมีส่วนร่วม ในเรื่องดังกล่าวได้อย่างเต็มที่ ดังนั้น ในการนำแนวคิดเกี่ยวกับตำรวจชุมชนมาใช้ จึงมีความจำเป็น ที่จะต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบการจัดการองค์กรตำรวจเสียใหม่ โดยกระจายอำนาจในการตัดสินใจ (Decentralized Decision Making) ให้แก่เจ้าหน้าที่ตำรวจที่เข้ามาปฏิบัติงานตำรวจชุมชนให้มากยิ่งขึ้น เพื่อเปิดโอกาสให้ตำรวจชุมชนสามารถที่จะสร้างความร่วมมือในแก้ไขปัญหาอาชญากรรมและสร้าง ความสัมพันธ์ที่ดีกับประชาชนได้มากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ในการคัดเลือกบุคคลเข้ามาทำหน้าที่ตำรวจชุมชนจะต้องเป็นผู้ที่มีความเข้าใจถึง แนวคิดตำรวจชุมชน มีความสามารถในการแก้ไขปัญหา และต้องเป็นผู้มีจิตวิญญาณในการบริการ ประชาชน (Spirit of Service) โดยจำเป็นต้องมีการฝึกอบรมเพื่อส่งเสริมให้ผู้ที่มาปฏิบัติงานตำรวจ ชุมชนมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีทักษะในการคิดวิเคราะห์เพื่อรับมือกับปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชน อีกทั้ง จะต้องมีการจัดสรรงบประมาณและบุคลากรเพื่อสนับสนุนกิจการตำรวจชุมชนอย่างเพียงพอ ตลอดจน การประเมินการปฏิบัติงานของตำรวจชุมชนโดยยึดโยงกับประสิทธิภาพในการแก้ไขปัญหาของชุมชน และความพึงพอใจของประชาชนต่อการปฏิบัติงานของตำรวจชุมชน5 3. การแก้ไขปัญหา (Problem Solving) ตำรวจชุมชนจะต้องทำหน้าที่ร่วมกับประชาชนในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในชุมชน โดยอาศัยหลักการ S A R A กล่าวคือ S – Scanning : กำหนดปัญหาและจัดลำดับความสำคัญของปัญหา A – Analysis : ทำความเข้าใจเกี่ยวกับที่มาและสาเหตุของปัญหา R – Response : เสนอแนวทางในการป้องกันหรือแก้ไขปัญหา A – Assessment : ประเมินความสำเร็จในการป้องกันหรือแก้ไขปัญหา6 3U.S. Department of Justice, supra note 1, p.3. 4 ชาญคณิต กฤติยา สุริยะมณี และอุนิษา เลิศโตมรสกุล, “การนำกลยุทธ์แบบ Community Policing มาประยุกต์ใช้ในการป้องกัน อาชญากรรมในเขตเมือง: กรณีศึกษา ชุมชนในเขตลาดพร้าว บางนา และบางพลัด กรุงเทพมหานคร”, วารสารกระบวนการยุติธรรม, 5 (3) (2555), หน้า 56. 5U.S. Department of Justice, supra note 1, p.8. 6 ibid p.10.
234 สำหรับประเทศแรกที่มีการนำแนวคิด Community Policing มาปรับใช้กับกิจการตำรวจคือ สหรัฐอเมริกาเพื่อเป็นการป้องกันและแก้ไขปัญหาอาชญากรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาอาชญากรรม ในเขตเมืองและชุมชนแออัดตั้งแต่ช่วงปีค.ศ. 1970 เป็นต้นมา และได้กลายมาเป็นวิธีการที่สำคัญในการ ป้องกันปัญหาอาชญากรรมของสหรัฐอเมริกาจนถึงปัจจุบัน7 ลักษณะสำคัญของแนวคิดตำรวจชุมชนของสหรัฐอเมริกา คือ การที่ภาครัฐให้การสนับสนุน ประชาชนหรือชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมกับหน่วยงานของรัฐ เช่น หน่วยงาน ตำรวจ หรือเทศบาล ในการ เป็นส่วนหนึ่งในการหาแนวทางการป้องกันแก้ไขการเกิดปัญหาอาชญากรรม และสร้างความปลอดภัย ให้เกิดขึ้นแก่ชีวิตและทรัพย์สินและชุมชนของตนในสหรัฐอเมริกา การนำกลยุทธ์แบบ Community Policing มาใช้เพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาอาชญากรรมนั้นจะอาศัยเทคนิคและรูปแบบของ โครงการต่าง ๆ ซึ่งจะแตกต่างกันออกไปตามแต่ละพื้นที่ หรือตามลักษณะของความเป็นอยู่ของ ประชาชน เช่น ทีมตำรวจ (Team Policing) กลุ่มเพื่อนบ้านเตือนภัย (Neighborhood Watch) การตรวจ และหยุดหาข่าว (Walk and Talk) แต่อย่างไรก็ตาม ถึงแม้จะมีความแตกต่างกันในรายละเอียดปลีกย่อย ในรูปแบบของกลยุทธ์ หรือกระบวนการดำเนินโครงการต่าง ๆ แต่องค์ประกอบหลักของตำรวจชุมชน สัมพันธ์ก็จะเป็นเช่นเดียวกัน นอกจากนี้หน่วยงานตำรวจที่นำโครงการนี้มาใช้จะเน้นให้มีการบริหาร จัดการแบบกระจายอำนาจให้แก่ตัวตำรวจชุมชนในการเข้าไปดำเนินกิจกรรมชุมชนอย่างแท้จริง8 Community Policing เริ่มมีการใช้อย่างแพร่หลายในประเทศประชาธิปไตยต่าง ๆ เช่น ประเทศอังกฤษ แคนาดา ญี่ปุ่น ประเทศในกลุ่มสแกนดิเนเวีย เช่น นอร์เวย์ สวีเดน เดนมาร์ก เป็นต้น โดยประเทศเหล่านี้เริ่มมีการนำระบบ Community Policing ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2000 เป็นต้นมา9 ในประเทศที่ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยรัฐบาลจะให้ความสำคัญกับประชาชนที่เป็นเจ้าของ อำนาจอธิปไตย ดังนั้น การดำเนินกิจการต่าง ๆ ของรัฐรวมถึงการอำนวยความยุติธรรมทางอาญา จึง ควรจะให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมด้วย ซึ่งการเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการ ยุติธรรมโดยเปิดโอกาสให้ประชาชนแสดงความคิดเห็นและมีส่วนร่วมในการตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆ เช่น การป้องกันอาชญากรรมที่มีผลต่อชีวิตความเป็นอยู่ของตนเอง นอกจากจะสอดรับกับปัญหาของชุมชน และความต้องการของประชาชนในพื้นที่แล้ว ยังมีผลเป็นการควบคุมการปฏิบัติงานของตำรวจให้มี ความโปร่งใส (Transparency) ตอบสนองต่อปัญหาและความต้องการของประชาชน (Responsiveness) และมีความรับผิดชอบต่อประชาชน (Accountability) ซึ่งเป็นการส่งเสริมการปกครองระบอบ ประชาธิปไตยให้สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น10 จึงเห็นว่าในหลาย ๆ ประเทศที่มีการนำหลักการตำรวจชุมชน 7 ชาญคณิต กฤติยา สุริยะมณี และอุนิษา เลิศโตมรสกุล, เชิงอรรถที่ 4, หน้า 52. 8 สุนีย์ กัลปยะจิตร และณัฏฐาภรณ์โสกัณฑัต, โครงการประเมินผลการปฏิบัติงานชุมชนและมวลชนสัมพันธ์ประจำงบประมาณ พ.ศ. 2559, (กรุงเทพมหานคร : กองแผนอาชญากรรม สำนักยุทธศาสตร์ตำรวจ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ, 2559), หน้า 31. 9 ชาญคณิต กฤติยา สุริยะมณี และอุนิษา เลิศโตมรสกุล, เชิงอรรถที่ 4, หน้า 52. 10บวรศักดิ์ อุวรรณโณ และ ถวิลวดี บุรีกุล, ประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม (Participatory Democracy), (กรุงเทพมหานคร: สถาบันพระปกเกล้า, 2548), หน้า 27.
235 มาปรับใช้ เจ้าหน้าที่ตำรวจจะแสวงหาความร่วมมือจากประชาชนผ่านการประชุมคณะกรรมการของ ชุมชน ซึ่งประกอบไปด้วยตำรวจและประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ในการป้องกันและแก้ไขปัญหา อาชญากรรมหรือปัญหาอื่น ๆ ในชุมชน (Problem-oriented Policing)11 โดยแนวคิดเกี่ยวกับตำรวจ ชุมชนนั้นมีจุดมุ่งหมายที่สำคัญ 3 ประการ12 ประการแรก องค์กรตำรวจต้องสร้างความเชื่อถือและเสริมสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างตำรวจ และประชาชน ประการที่สอง องค์กรตำรวจต้องให้ความรู้ด้านการป้องกันตนเองแก่ประชาชน และให้ ประชาชนมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาอาชญากรรม ยาเสพติด อุบัติภัย รวมทั้งปัญหาอื่น ๆ ในชุมชน ประการที่สาม องค์กรตำรวจต้องมุ่งสร้างความร่วมมือด้านความปลอดภัย ความมั่นคงในชีวิต และทรัพย์สินของประชาชน ซึ่งลักษณะดังกล่าวตรงกับหลักการกระจายอำนาจของตำรวจ (Decentralized) ที่เน้นให้ตำรวจปฏิบัติงานโดยมีเครือข่ายภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม มีข้อสังเกตว่า สิ่งสำคัญที่จะทำให้แนวคิดเกี่ยวกับตำรวจชุมชนสามารถบังคับใช้ได้อย่างเป็น รูปธรรมจะต้องเกิดจากการกำหนดนโยบายที่ชัดเจนของผู้กำหนดนโยบาย เนื่องจากแนวคิดเกี่ยวกับ ตำรวจชุมชนมีความแตกต่างจากรูปแบบการปฏิบัติหน้าที่ของตำรวจแบบเดิม ซึ่งมุ่งเน้นในเรื่องการ ปราบปรามอาชญากรรมเป็นหลัก โดยไม่ได้ให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการป้องกันหรือปราบปราม อาชญากรรม ดังนั้น หากไม่มีการกำหนดนโยบายในเรื่องนี้ให้ชัดเจนจากผู้กำหนดนโยบายก็ยากที่จะมี การขับเคลื่อนกลยุทธ์ตำรวจชุมชนในทางปฏิบัติได้13 ตัวอย่างของการกำหนดนโยบายเกี่ยวกับตำรวจชุมชนในต่างประเทศที่มีความชัดเจน เช่น นโยบายเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในคณะกรรมการป้อมตำรวจชุมชน (หรือที่เรียกว่า Koban) ของประเทศญี่ปุ่น ซึ่งถูกกำหนดขึ้นบนแนวคิดของตำรวจชุมชนสัมพันธ์ เนื่องจากมองว่า การปฏิบัติหน้าที่ของตำรวจนั้นจะต้องมิใช่เป็นเพียงเครื่องมือในการใช้อำนาจรัฐเพื่อป้องกันปราบปราม อาชญากรรมเท่านั้น แต่จะต้องมีความใกล้ชิดและอยู่เคียงข้างประชาชนด้วย ซึ่งนำไปสู่การจัดตั้งระบบ คณะที่ปรึกษาป้อมตำรวจชุมชนเพื่อทำหน้าที่ในการหารือ ให้คำปรึกษา แจ้งความต้องการของชุมชน ร่วมพิจารณาเสนอทางแก้เกี่ยวกับปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชน และร่วมวางแผนคิดมาตรการป้องกัน อาชญากรรมและอุบัติเหตุร่วมกันกับเจ้าหน้าที่ตำรวจชุมชน หรือนโยบายในการปฏิรูปกิจการตำรวจของ ฝรั่งเศส ที่เรียกว่า Police de Sécurité du Quotidien (PSQ) (“Dairy Security Police”) ซึ่งมี ความมุ่งหมายเพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างเจ้าหน้าที่ตำรวจกับประชาชน ด้วยการกำหนด ยุทธศาสตร์ในการส่งเสริมการแก้ไขอาชญากรรมที่เกิดขึ้นด้วยการสร้างความร่วมมือกับประชาชน 11อริย์ธัช แก้วเกาะสะบ้า, “ตำรวจชุมชน” (2562) <https://dl.parliament.go.th/bitstream/handle/20.500.13072/543863/t216_2562_3_2.pdf?sequence=1> สืบค้นเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2565. 12ชาญคณิต กฤติยา สุริยะมณี และอุนิษา เลิศโตมรสกุล, เชิงอรรถที่ 4, หน้า 55-57. 13U.S. Department of Justice, supra note 1, p.6.
236 ในท้องถิ่นเพื่อกำหนดแนวทางที่เหมาะสมในการรับมือกับปัญหาการกระทำผิดที่เกิดขึ้นในแต่ละท้องที่ ซึ่งอาจมีลักษณะที่แตกต่างกันออกไป เช่น ประชาชนสามารถเข้ามามีส่วนร่วมใน Groupes de Partenariat Opérationnels (GPO) (“Operational Partnership Groups”) ซึ่งเป็นคณะทำงานที่ ถูกตั้งขึ้นเพื่อร่วมกันในการแก้ไขปัญหาอาชญากรรมหรือปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยในท้องถิ่น ซึ่ง GPO ที่ตั้งขึ้นจะร่วมกันในการกำหนดและจัดลำดับความสำคัญของปัญหา กำหนดแนวทางในการ แก้ไขปัญหาในระยะสั้นอย่างเป็นรูปธรรม กำหนดแนวทางในการกำกับดูแลและแก้ไขปัญหา และกำหนด กลยุทธ์เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นต่อไปในอนาคต เป็นต้น14 เมื่อเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของประชาชนในชั้นตำรวจของต่างประเทศดังที่ได้กล่าวไป ในบทที่ 2 กับการมีส่วนร่วมของประชาชนในชั้นตำรวจของประเทศไทยดังที่ได้กล่าวไปในบทที่ 3 คณะที่ปรึกษาเห็นว่าประเทศไทยก็มีการนำแนวคิด Community Policing มาปรับใช้กับกิจการตำรวจ เช่นเดียวกัน ดังจะเห็นได้ชัดเจนจากยุทธศาสตร์ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580) ในยุทธศาสตร์ที่ 3 การมีส่วนร่วมของประชาชนในการรักษาความสงบเรียบร้อยของสังคมอย่างยั่งยืน ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3.1 การพัฒนารูปแบบและวิธีการทำงานที่เน้นการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย ซึ่งกำหนดว่าจะต้องปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ของบุคลากรตำรวจทุกระดับให้ยึดถือประชาชนเป็น ศูนย์กลางตามแนวคิด Community Policing โดยสร้างความเป็นหุ้นส่วน (Partnership) ระหว่าง ตำรวจกับทุกภาคส่วนในการดูแลชุมชนและสังคม โดยเน้นการแก้ไขปัญหาอาชญากรรมที่ต้นเหตุ (Problem-oriented Policing) อีกทั้งจะต้องเปิดโอกาสให้ภาคีเครือข่าย ประชาชน ชุมชน ท้องถิ่น ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม มีส่วนร่วมในการรับรู้และร่วมแสดงความคิดเห็น ตัดสินใจ ติดตาม ตรวจสอบประเมินผลการปฏิบัติงานของตำรวจอย่างเหมาะสม สนับสนุนให้ภาคีเครือข่ายรับรู้เข้าใจ วิธีการรักษาความสงบเรียบร้อยภายในชุมชนของตนเอง และนำไปใช้เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน อย่างยั่งยืน15 ซึ่งยุทธศาสตร์ดังกล่าวก็สอดคล้องกับบทบัญญัติเกี่ยวกับการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของ ประชาชนในกิจการตำรวจตามกฎหมายตำรวจแห่งชาติ16 ในทางปฏิบัติสำนักงานตำรวจแห่งชาติได้นำแนวคิด Community Policing ซึ่งปฏิบัติได้ผลดี ในต่างประเทศ เช่น ระบบ Koban ของญี่ปุ่น และระบบตำรวจชุมชนของประเทศต่างๆ ในแถบยุโรป และสหรัฐอเมริกามาใช้กับประเทศไทย โดยนำมาปรับใช้ให้เหมาะสมกับสภาพสังคมและวัฒนธรรมของ ประเทศไทยในรูปแบบของตำรวจชุมชนสัมพันธ์หรือตำรวจมวลชนสัมพันธ์17 ซึ่งเป็นการจัดให้มี เจ้าหน้าที่ตำรวจปฏิบัติหน้าที่ในชุมชนเพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์และความร่วมมือกันระหว่าง ประชาชนกับตำรวจในการป้องกันแก้ไขปัญหาอาชญากรรมและปัญหาต่าง ๆ อันเกี่ยวกับความสงบ 14โปรดดูรายละเอียดเพิ่มเติม ในบทที่ 2 15สำนักงานตำรวจแห่งชาติ, ยุทธศาสตร์สำนักงานตำรวจแห่งชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580), หน้า 12-13. 16พระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2565, มาตรา 7 17สุพิศาล ภักดีนฤนาถ, แนวทางการปฏิบัติงานตามหลักการและทฤษฎีตำรวจสมัยใหม่, พิมพ์ครั้งที่ 2 (นนทบุรี : กรีนแอปเปิ้ล กราฟฟิคปริ้นติ้ง, 2556), หน้า 115.
237 เรียบร้อยของสังคม18 ซึ่งในแนวปฏิบัติสำนักงานตำรวจแห่งชาติก็ได้มีการออกระเบียบมาเพื่อรองรับ การนำแนวคิดตำรวจชุมชนสัมพันธ์หรือตำรวจมวลชนสัมพันธ์มาใช้ตามหลักการของ Community Policing ได้แก่ ระเบียบสำนักงานตำรวจแห่งชาติว่าด้วยการส่งเสริมให้ประชาชน ชุมชน ท้องถิ่น และ องค์กรมีส่วนร่วมในกิจการตำรวจ พ.ศ. 255119 ในเรื่องของการเข้ามาเป็นอาสาสมัครตำรวจบ้าน ที่กำหนดให้สถานีตำรวจร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กํานัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำชุมชน คัดเลือก บุคคลที่สมัครใจเป็นสมาชิกอาสาสมัครตำรวจบ้าน หมู่บ้านละ 5-10 คน มาทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยเจ้าหน้าที่ ตำรวจในการรักษาความสงบเรียบร้อย และบริการและอำนวยความสะดวกด้านการจราจร20 หรือเข้ามา เป็นอาสาสมัครแนวร่วมในการประชาสัมพันธ์ขอความร่วมมือจากชุมชนหรือท้องถิ่นในด้านต่าง ๆ ให้ ข้อมูลเบื้องต้นของชุมชนหรือท้องถิ่นเกี่ยวกับพฤติการณ์ของบุคคลในพื้นที่เพื่อใช้ประกอบการปฏิบัติงาน ร่วมกับกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ ตลอดจนแจ้งข้อมูลเบาะแสข่าวสารกับอาชญากรรมยาเสพติดและอุบัติภัย เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจ21 อย่างไรก็ตาม แนวคิดตำรวจชุมชนสัมพันธ์หรือตำรวจชุมชนมวลชนสัมพันธ์ของไทยกับแนวคิด Community Policing ในทางสากลก็อาจจะมีความแตกต่างกันอยู่บ้าง เนื่องจากตามแนวคิด Community Policing ประชาชนในชุมชนจะทำงานร่วมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจในลักษณะเคียงบ่าเคียงไหล่ กับเจ้าหน้าที่ตำรวจในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในชุมชน โดยที่จะต้องไม่ใช่เป็นการทำงานของ ตำรวจแต่เพียงฝ่ายเดียว แต่เจ้าหน้าที่ตำรวจจะมีการปรับเปลี่ยนบทบาทของตนเสียใหม่ในการทำหน้าที่ เป็นผู้ให้คำแนะนำหรือปรึกษามากกว่าที่จะลงไปทำเองในทุก ๆ เรื่อง22 จะให้ประชาชนเป็นผู้มีบทบาทสำคัญ ในการวิเคราะห์ปัญหา และให้ความร่วมมือกับตำรวจในกระบวนการวางนโยบายเกี่ยวกับการป้องกัน หรือปราบปราบอาชญากรรมในชุมชน23 ในขณะที่ระบบตำรวจชุมชนสัมพันธ์หรือตำรวจมวลชนชุมชน สัมพันธ์ของไทยในปัจจุบันยังไม่เปิดโอกาสให้ประชาชนในชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในลักษณะเคียงบ่าเคียงไหล่ อย่างเต็มรูปแบบในการป้องกันหรือแก้ไขปัญหาอาชญากรรม เพียงแต่พยายามที่จะให้ประชาชนเข้ามา มีส่วนร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ ตามที่เจ้าหน้าที่ตำรวจกำหนดไว้ หรือตามที่เจ้าหน้าที่ตำรวจเป็นผู้กำหนด เค้าโครงการบริหารจัดการเอาไว้ เช่น ตามแผนแม่บทของสำนักงานตำรวจแห่งชาติที่กำหนดให้ อาสาสมัครจากประชาชนในชุมชนนั้น ๆ เข้ามาฝึกอบรมงานตำรวจเกี่ยวกับการป้องกันอาชญากรรม พื้นฐาน การแจ้งข่าว และการประสานงานระหว่างตำรวจกับสมาชิกในชุมชน และมีการเพิ่มเติมส่วนที่ เกี่ยวกับตำรวจบ้านเข้ามาช่วยสนับสนุนการทำงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจชุมชนสัมพันธ์ในชุมชนอีกส่วนหนึ่ง 18สุนีย์ กัลปยะจิตร และณัฏฐาภรณ์ โสกัณฑัต, เชิงอรรถที่ 1, หน้า 5. 19เพิ่งอ้าง, หน้า 11. 20ระเบียบสำนักงานตำรวจแห่งชาติว่าด้วยการส่งเสริมให้ประชาชน ชุมชน ท้องถิ่นและองค์กรมีส่วนร่วมในกิจการตำรวจ พ.ศ. 2551, ข้อ 8 (2) 21เพิ่งอ้าง, ข้อ 9 (3) 22ชาญคณิต กฤติยา สุริยะมณี และอุนิษา เลิศโตมรสกุล, เชิงอรรถที่ 4, หน้า 50. 23สุพิศาล ภักดีนฤนาถ, อ้างแล้ว เชิงอรรถที่ 16, หน้า 182.
238 ด้วย24 ดังนั้น หากจะมีการนำแนวคิด Community Policing มาปรับใช้ในไทยอย่างเป็นกิจลักษณะ จำเป็นที่จะต้องพยายามขับเคลื่อนให้ประชาชนในชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม เข้ามารับผิดชอบในการเข้ามา เป็นหุ้นส่วนในการวิเคราะห์ปัญหา แสวงหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาอาชญากรรมอย่างเคียงบ่าเคียงไหล่ กับเจ้าหน้าที่ตำรวจให้มากยิ่งขึ้น ด้วยการให้บุคคลหรือหน่วยงานต่าง ๆ ในทุกภาคส่วนในชุมชน เช่น ผู้นำชุมชน นักบวช ครู อาจารย์รวมถึงเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ปฏิบัติงานด้านชุมชนสัมพันธ์อยู่แล้ว ในชุมชนแสวงหาเทคนิคและวิธีการต่าง ๆ ในการกระตุ้น โน้มน้าว หรือชักจูงหรือปลูกจิตสำนึกของ ประชาชนให้มีจิตสำนึก หรือจิตสาธารณะเกี่ยวกับการป้องกันและแก้ไขปัญหาอาชญากรรมในชุมชนให้ ได้ ซึ่งเรื่องของการปลูกจิตสำนึกนี้ก็นับว่าเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่งต่อการขับเคลื่อนกลยุทธ์ในเรื่อง Community Policing ในประเทศอื่น ๆ เช่นกัน25 นอกจากเรื่องของตำรวจชุมชนสัมพันธ์แล้ว แนวคิดเกี่ยวกับ Community policing ยังถูกนำมา ปรับใช้ในประเทศไทยในรูปแบบของคณะกรรมการตรวจสอบและติดตามการบริหารงานตำรวจ (กต.ตร.)26 โดยเฉพาะอย่างยิ่งคณะกรรมการตรวจสอบและติดตามการบริหารงานตำรวจสถานีตำรวจนครบาล (กต.ตร.สน.) และคณะกรรมการตรวจสอบและติดตามการบริหารงานตำรวจสถานีตำรวจภูธร (กต.ตร.สภ.) ซึ่งมีผู้แทนภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการเข้ามาเป็นกรรมการและทำหน้าที่ในการให้ข้อมูล ข่าวสาร และเสนอปัญหาความเดือดร้อนและความต้องการของประชาชนในเขตพื้นที่หรือชุมชน เสริมสร้างความเข้าใจ และความสัมพันธ์อันดีระหว่างข้าราชการตำรวจผู้ปฏิบัติหน้าที่และประชาชน ในพื้นที่หรือชุมชน27 อีกทั้ง กต.ตร.สน.หรือ กต.ตร.สภ. ยังมีหน้าที่ในการกำหนดรูปแบบหรือวิธีการ ในการให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการปฏิบัติงานของสถานีตำรวจนครบาลและสถานีตำรวจภูธร โดยคำนึงถึงปัจจัยทางด้านอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย สภาพทางภูมิศาสตร์ เศรษฐกิจ สังคม ประเพณี วัฒนธรรม และวิถีการดำรงชีวิตของแต่ละท้องถิ่นและชุมชนเป็นสำคัญ28 การถอดบทเรียนการมีส่วนร่วมของประชาชนในขั้นตำรวจเพื่อปรับปรุงกรอบแนวทาง ในการส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาชั้นอัยการ29 จากการพิจารณาถึงแนวคิดและหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในชั้นตำรวจทั้ง ของต่างประเทศและของไทย คณะที่ปรึกษาเห็นว่าสามารถที่จะนำมาใช้ในการสังเคราะห์เพื่อประโยชน์ 24ชาญคณิต กฤติยา สุริยะมณี และอุนิษา เลิศโตมรสกุล, เชิงอรรถที่ 4, หน้า 55 25เพิ่งอ้าง, หน้า 69 26สุพิศาล ภักดีนฤนาถ, อ้างแล้ว เชิงอรรถที่ 16, หน้า 113. 27ระเบียบ ก.ต.ช. ว่าด้วยคณะกรรมการตรวจสอบและติดตามการบริหารงานตำรวจ พ.ศ. 2549, ข้อ 20 28ระเบียบ ก.ต.ช. ว่าด้วย หลักเกณฑ์และวิธีการส่งเสริมให้ท้องถิ่นและชุมชนมีส่วนร่วมในกิจการตำรวจ พ.ศ. 2549, ข้อ 8 29เนื้อหาในส่วนนี้จะเป็นการนำบทเรียนที่ได้รับจากการศึกษาเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในชั้นตำรวจมาเพื่อกำหนดกรอบว่าจะ สามารถนำหลักเกณฑ์และวิธีการในการมีส่วนร่วมของประชาชนในชั้นตำรวจมาปรับใช้เพื่อเสนอแนวทางในการส่งเสริมให้ประชาชนมี ส่วนร่วมในกระบวนการยุติธรรมชั้นอัยการเท่านั้น ส่วนรายละเอียดเกี่ยวกับในการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายหรือระเบียบข้อบังคับขององค์กร อัยการเพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการบริหารงานและการอำนวยความยุติธรรมของสำนักงานอัยการสูงสุด จะได้กล่าวถึงใน หัวข้อที่ 5.
239 ในการจัดทำข้อเสนอเพื่อปรับปรุงแนวทางในการส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการบริหารงานและ การอำนวยความยุติธรรมของสำนักงานอัยการสูงสุด ได้ดังนี้ 1. การกำหนดนโยบายที่ชัดเจนแน่นอนเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการ ยุติธรรมชั้นอัยการ สิ่งสำคัญประการแรกในการส่งเสริมให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการยุติธรรมคือ การกำหนดนโยบายของรัฐที่ชัดเจนเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการยุติธรรมในเรื่อง ต่าง ๆ เพื่อส่งสัญญาณให้ประชาชนทั่วไปทราบถึงทิศทางของรัฐในการดำเนินการจัดให้ประชาชนเข้ามา มีส่วนร่วม และให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องตระหนักถึงหน้าที่ของตนในการดำเนินการเพื่อให้เป็นไปตาม นโยบายดังกล่าว ดังเช่นนโยบายเกี่ยวกับการจัดตั้งคณะกรรมการป้อมตำรวจชุมชน หรือ Koban ในประเทศญี่ปุ่น หรือการตั้งคณะทำงาน Groupes de Partenariat Opérationnels (GPO) ในประเทศฝรั่งเศส เพื่อร่วมกันในการแก้ไขปัญหาอาชญากรรมหรือปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ในแต่ละท้องถิ่น หรือนโยบายเกี่ยวกับตำรวจชุมชนมวลชนสัมพันธ์มาใช้ในประเทศไทย ดังที่ปรากฏ ในยุทธศาสตร์ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ มีข้อสังเกตว่า นโยบายดังกล่าวนี้อาจจะมีการบัญญัติอย่างชัดแจ้งในลักษณะที่เป็นหลักการ เกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของประชาชนเอาไว้ในกฎหมายหลักที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของหน่วยงาน ในกระบวนการยุติธรรมก็ได้ ดังเช่นที่พระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2565 ซึ่งเป็นกฎหมายหลัก ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการหน่วยงานตำรวจได้กำหนดให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติมีหน้าที่ในการ จัดระบบการบริหารการปฏิบัติงานด้านการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดทางอาญา การรักษาความสงบเรียบร้อย และการรักษาความปลอดภัยของประชาชนให้เหมาะสมกับความต้องการ ของแต่ละท้องถิ่นและชุมชน โดยต้องให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและองค์กรภาคเอกชนมีส่วนร่วมทั้ง ในส่วนที่เกี่ยวกับนโยบาย งบประมาณ และอาสาสมัคร ตลอดจนการติดตามตรวจสอบการปฏิบัติงาน ตำรวจ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ (ก.ต.ช.) กำหนด ทั้งนี้ การบัญญัติเอาไว้อย่างชัดแจ้งเกี่ยวกับหลักการการมีส่วนร่วมของประชาชนเอาไว้ใน กฎหมายดังเช่นที่กำหนดเอาไว้ย่อมส่งผลดีต่อประชาชน เนื่องจากการบัญญัติกฎหมายในลักษณะ ดังกล่าว หน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมมีหน้าที่ที่จะต้องดำเนินการเพื่อจัดให้ประชาชนเข้ามามี ส่วนร่วมในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งตามหลักการที่กำหนดไว้ในกฎหมาย ซึ่งต่างจากการกำหนดไว้ใน รูปแบบของนโยบายเพียงอย่างเดียว เพราะอาจจะขาดสภาพบังคับในการบังคับการให้เป็นไปตาม นโยบาย อีกทั้งนโยบายก็อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงได้โดยง่าย โดยขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของรัฐบาล ที่ปกครองประเทศอยู่ในขณะนั้น เมื่อพิจารณาถึงนโยบายเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการยุติธรรม ในชั้นอัยการในปัจจุบันแล้ว จะเห็นได้ว่ามีการกล่าวถึงกลยุทธ์เกี่ยวกับการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของ ประชาชนเอาไว้ในยุทธศาสตร์สำนักงานอัยการสูงสุด อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาถึงกฎหมายหลัก
240 ในการบริหารจัดการองค์กรอัยการ คือพระราชบัญญัติองค์กรอัยการและพนักงานอัยการ พ.ศ. 2553 พบว่าไม่มีบทบัญญัติเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการยุติธรรมในชั้นอัยการไว้อย่าง ชัดแจ้ง ดังเช่นที่บัญญัติเอาไว้ในพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2565 จะมีเพียงบทบัญญัติ ที่กำหนดอำนาจหน้าที่ของอัยการสูงสุดในการกำหนดนโยบายเกี่ยวกับการปฏิบัติราชการของสำนักงาน อัยการสูงสุดให้เกิดผลสัมฤทธิ์และเป็นไปตามเป้าหมาย แนวทาง และแผนการปฏิบัติราชการของ สำนักงานอัยการสูงสุด30 ซึ่งอาจส่งผลให้นโยบายเกี่ยวกับการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน ในกระบวนการยุติธรรมในชั้นอัยการขาดความต่อเนื่อง เนื่องจากในทางปฏิบัติอัยการสูงสุดแต่ละคน ที่ได้รับการแต่งตั้งมักจะเป็นผู้ที่มีอาวุโสสูง จึงทำให้มีวาระการดำรงตำแหน่งในระยะเวลาที่ไม่ยาวมากนัก ก่อนที่จะเกษียณอายุราชการ คณะที่ปรึกษาจึงเห็นว่าเพื่อให้การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน ในกระบวนการยุติธรรมในชั้นอัยการมีความชัดเจนและต่อเนื่อง สมควรที่จะแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายเพื่อ รับรองสิทธิของประชาชนในการเข้ามามีส่วนร่วมในการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานอัยการ ในลักษณะ เดียวกับที่พระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2565 กำหนดเอาไว้ นอกจากนี้ หากเปรียบเทียบกับการกำหนดนโยบายของหน่วยงานของศาลยุติธรรม จะเห็นได้ว่า ศาลยุติธรรมกำหนดนโยบายชัดเจนว่าให้ประชาชนมีส่วนร่วมในกระบวนการยุติธรรม ดังนั้นจึงมี โครงการต่าง ๆ นำเสนอเข้ามาในแผนยุทธศาสตร์และนโยบายของประธานศาลฎีกาที่เปิดโอกาสให้ ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมกับกระบวนการชั้นศาลยุติธรรม เช่น ผู้ประนีประนอม ผู้พิพากษาสมทบ ผู้กำกับดูแลผู้ถูกปล่อยชั่วคราว เป็นต้น 2. การมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการยุติธรรมชั้นอัยการ 2.1 การมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายการบริหารงานของอัยการ ประชาชนสามารถมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายการบริหารของตำรวจได้ผ่านช่องทางการ เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่เป็นผู้เชี่ยวชาญในด้านต่าง ๆ และกรรมการที่เป็นผู้แทนภาคประชาชน คณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ (ก.ต.ช.) ซึ่งเพื่อทำหน้าที่ในการกำหนดนโยบายและยุทธศาสตร์ การบริหารราชการตำรวจ ดังนั้น การแต่งตั้งกรรมการ ก.ต.ช. ในส่วนของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิก็ดีหรือ ในส่วนผู้แทนภาคประชาชนก็ดี ย่อมเป็นช่องทางในการที่ประชาชนที่จะเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนด นโยบายการบริหารงานของสำนักงานตำรวจแห่งชาติให้สอดคล้องกับความต้องการของประชาชนได้ ทั้งนี้ มีข้อสังเกตว่า ก.ต.ช. มีอำนาจในการออกระเบียบเพื่อกำหนดรายละเอียดและรูปแบบการมีส่วนร่วม ของประชาชนในกิจการตำรวจได้31 เมื่อเปรียบเทียบกับกฎหมายองค์กรอัยการ ทั้งพระราชบัญญัติองค์กรอัยการและพนักงาน อัยการ พ.ศ. 2553 และพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. 2553 แล้วพบว่าไม่ได้มีการ บัญญัติหลักการในการให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายการบริหารงานของอัยการ 30พระราชบัญญัติองค์กรอัยการและพนักงานอัยการ พ.ศ. 2553, มาตรา 27 (1) 31พระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2565, มาตรา 15 (1) ประกอบมาตรา 7
241 เอาไว้ โดยอำนาจในการกำหนดนโยบายบริหารงานขององค์กรอัยการโดยหลักแล้วจะเป็นอำนาจของ อัยการสูงสุด32 ในขณะที่คณะกรรมการอัยการ (ก.อ.) มีอำนาจหน้าที่สำคัญเกี่ยวกับการบริหารงาน บุคคลภายในองค์กรอัยการเท่านั้น33คณะที่ปรึกษาจึงเห็นว่าเพื่อให้ประชาชนสามารถเข้ามามีส่วนร่วม ในการกำหนดนโยบายการบริหารงานขององค์กรอัยการในภาพรวม จึงสมควรที่จะแก้ไขเพิ่มเติม กฎหมายเพื่ออนุญาตให้ประชาชนสามารถเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายการบริหารงาน ขององค์กรอัยการได้ในลักษณะเดียวกับอำนาจหน้าที่ของ ก.ต.ช. ในพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2565 ซึ่งรวมไปถึงนโยบายการดำเนินการเพื่อส่งเสริมให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการ ยุติธรรมในชั้นอัยการด้วย อย่างไรก็ตาม ในการแก้ไขกฎหมายในเรื่องดังกล่าวอาจจะต้องคำนึงถึงความแตกต่างของ การจัดโครงสร้างองค์กรขององค์กรตำรวจและองค์กรอัยการด้วย เนื่องจากการกำหนดนโยบายของ ตำรวจในภาพรวมจะเป็นหน้าที่ของ ก.ต.ช. ซึ่งเป็นการดำเนินการโดยองค์กรกลุ่ม ในขณะที่การกำหนด นโยบายขององค์กรอัยการในภาพรวมเป็นหน้าที่ของอัยการสูงสุดซึ่งเป็นองค์กรเดี่ยว จึงมีประเด็น อาจจะต้องพิจารณาว่าการเข้ามีส่วนร่วมของประชาชนในกำหนดนโยบายขององค์กรอัยการของรูปแบบ ของคณะกรรมการจะทำได้หรือไม่ อย่างไร 2.2 การมีส่วนร่วมของประชาชนในเรื่องอื่น ๆ ที่ไม่ใช่การกำหนดนโยบาย นอกจากการมีส่วนร่วมของประชาชนในรูปแบบการเข้ามาเป็นกรรมการในระดับชาติ เพื่อให้มีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายเกี่ยวกับการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการ ยุติธรรมแล้ว มีประเด็นที่จะต้องพิจารณาว่า ประชาชนจะสามารถเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการ ยุติธรรมทางอาญาในรูปแบบอื่น ๆ ได้หรือไม่ ซึ่งเมื่อพิจารณาถึงรูปแบบการมีส่วนร่วมของประชาชน ในชั้นตำรวจดังที่ได้กล่าวไปในบทที่ 3 แล้ว จะเห็นว่าประชาชนอาจเข้ามามีส่วนร่วมในรูปแบบของ การติดตามการปฏิบัติตามนโยบาย เช่น การเป็นกรรมการในคณะกรรมการตรวจสอบและติดตาม การบริหารงานตำรวจ (กต.ตร.) และการมีส่วนร่วมในการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม ในรูปแบบของอาสาสมัครตำรวจบ้านและอาสาสมัครแนวร่วม ซึ่งการมีส่วนร่วมของประชาชนในรูปแบบ หลังนี้อาจจะไม่สอดคล้องกับภารกิจของพนักงานอัยการ เนื่องจากหน้าที่ในการป้องกันและปรามปราม การกระทำความผิดอาญาเป็นหน้าที่หลักของตำรวจ34 ในขณะที่พนักงานอัยการมีหน้าที่หลักในการฟ้อง ผู้ต้องหาต่อศาล35 และมีอำนาจและหน้าที่ในเรื่องอื่น ๆ ตามที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และกฎหมายอื่นซึ่งบัญญัติว่าเป็นอำนาจและหน้าที่ของสำนักงานอัยการสูงสุดหรือพนักงานอัยการ36 โดยมิได้มีหน้าที่โดยตรงในการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมเช่นเดียวกับตำรวจ ดังนั้น รูปแบบ 32พระราชบัญญัติองค์กรอัยการและพนักงานอัยการ พ.ศ. 2553, มาตรา 27 (1) 33พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ.2553, มาตรา 30 34พระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2565, มาตรา 15 (1) ประกอบมาตรา 7 35ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา, มาตรา 2 (5) 36พระราชบัญญัติองค์กรอัยการและพนักงานอัยการ พ.ศ. 2553, มาตรา 14
242 การมีส่วนร่วมของประชาชนในชั้นตำรวจที่อาจจะนำมาปรับใช้กับชั้นอัยการได้ น่าจะเป็นในรูปแบบของ การติดตามการปฏิบัติตามนโยบายซึ่งอาจเทียบเคียงจากรูปแบบของคณะกรรมการตรวจสอบและติดตาม การบริหารงานตำรวจ (กต.ตร.) ในทางปฏิบัติสำนักงานอัยการสูงสุดได้มีการกำหนดนโยบายให้มีการจัดตั้ง “คณะกรรมการ การมีส่วนร่วมภาคประชาชนในการพัฒนาสำนักงานอัยการจังหวัด” ในแต่ละจังหวัดเพื่อเป็นกลไก ในการส่งเสริมให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการปฏิบัติงานของอัยการที่ประจำอยู่ในพื้นที่ของแต่ละ จังหวัด อย่างไรก็ตาม จากการลงพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูลจากหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมซึ่งรวมถึง สำนักงานอัยการจังหวัดและสำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดี ได้ให้ข้อมูลว่าอุปสรรคหรือปัญหาที่สำคัญเกี่ยวกับการจัดตั้งคณะกรรมการการมีส่วนร่วมภาคประชาชน ในการพัฒนาสำนักงานอัยการจังหวัดก็คือ การขาดระเบียบที่ชัดเจนเกี่ยวกับองค์ประกอบและอำนาจ หน้าที่ของคณะกรรมการดังกล่าว อีกทั้งยังขาดกลไกในการกำกับดูแลการปฏิบัติหน้าที่ของ คณะกรรมการชุดนี้ด้วย ซึ่งส่งผลให้ในบางจังหวัดมิได้มีการตั้งคณะกรรมการชุดนี้ขึ้นมา ขึ้นอยู่กับ นโยบายในการกำกับดูแลของอัยการจังหวัดว่าจะให้ความสำคัญกับเรื่องนี้หรือไม่ นอกจากนั้น การโยกย้ายอัยการจังหวัดตามวาระที่เกิดขึ้นทุกปีก็เป็นปัญหาหนึ่งที่สำคัญที่ทำให้ขาดความต่อเนื่อง ในการทำงานของคณะกรรมการชุดนี้เนื่องจากอัยการจังหวัดที่ถูกแต่งตั้งเข้ามาเพื่อปฏิบัติหน้าที่ใหม่ ก็อาจจะยกเลิกคณะกรรมการชุดเดิมที่อัยการจังหวัดคนก่อนแต่งตั้งก็ได้ คณะที่ปรึกษาจึงเห็นว่า ควรมี การออกระเบียบเกี่ยวกับการปฏิบัติงานของคณะกรรมการการมีส่วนร่วมภาคประชาชนในการพัฒนา สำนักงานอัยการจังหวัดขึ้น โดยอย่างน้อยจะต้องมีการกำหนดเรื่ององค์ประกอบของคณะกรรมการ และ อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการชุดนี้ไว้ให้ชัดเจน ซึ่งสอดคล้องกับความเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิ ชาวต่างประเทศซึ่งให้ความเห็นไว้ว่า การขาดกฎหมายหรือระเบียบโดยชัดแจ้งเกี่ยวกับระบบเกี่ยวกับ การมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการยุติธรรม อาจทำให้มีข้อกังวลในเรื่องประสิทธิภาพและ ความโปร่งใสของระบบ รวมทั้งอาจก่อให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติให้เป็นไปตามนโยบายการมี ส่วนร่วมของประชาชนตามที่ได้มีการกำหนดเอาไว้ ทั้งนี้ การกำหนดระเบียบในเรื่องดังกล่าวไว้ อย่างชัดเจน นอกจากจะทำให้เกิดความต่อเนื่องในการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการการมีส่วนร่วม ภาคประชาชนในการพัฒนาสำนักงานอัยการจังหวัดแล้ว ยังส่งผลดีในแง่ที่ว่าการมีตัวแทน ภาคประชาชนในคณะกรรมการดังกล่าวที่มีการจัดตั้งตามระเบียบที่ชัดเจนจะทำให้ประชาชนรู้จัก บทบาทและหน้าที่ของอัยการมากขึ้น ซึ่งมีส่วนช่วยในการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการเข้ามามีส่วนร่วมของ ประชาชนที่ได้รับการสะท้อนจากเจ้าหน้าที่ในกระบวนการยุติธรรมคือ ปัญหาที่ประชาชนขาดความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ของอัยการ เนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่ของอัยการโดยสภาพไม่มี ความใกล้ชิดกับประชาชนดังเช่นการปฏิบัติหน้าที่ของตำรวจ ประชาชนทั่วไปจึงไม่ทราบว่าอัยการ ทำหน้าที่อะไรในกระบวนการยุติธรรม ซึ่งแตกต่างจากกรณีของ กต.ตร. ที่ประชาชนในพื้นที่ให้ ความร่วมมือในการทำงานเป็นอย่างดี ตอบสนองต่อสิ่งต่าง ๆ ที่ กต.ตร. จัดทำขึ้นเป็นอย่างดี เพราะมี
243 ประชาสัมพันธ์ผ่านโครงการตำรวจชุมชนมวลชนสัมพันธ์มีการสร้างมวลชนหาแนวร่วม เมื่อชุมชน เข้มแข็งขึ้นก็ทำให้อาชญากรรมลดลง งานของตำรวจก็จะลดลง ทั้งนี้ ในการกำหนดองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการการมีส่วนร่วม ภาคประชาชนในการพัฒนาสำนักงานอัยการจังหวัดคณะที่ปรึกษาเห็นว่าอาจจะเทียบเคียงกับรูปแบบ ของคณะกรรมการตรวจสอบและติดตามการบริหารงานตำรวจ (กต.ตร.) ได้ เนื่องจากองค์ประกอบและ อำนาจหน้าที่ของ กต.ตร. มีการกำหนดไว้ในระเบียบอย่างชัดเจน อย่างไรก็ตาม ในการกำหนดหน้าที่ ของคณะกรรมการชุดนี้ก็อาจจะมีการกำหนดเพิ่มเติมขึ้นได้ นอกเหนือจากอำนาจหน้าที่ของ กต.ตร. โดยทั่วไป เช่น การประสานงานกับคู่ความในการไกล่เกลี่ย หรือการติดตามพยาน เป็นต้น จากการ ลงพื้นที่เพื่อสัมภาษณ์หน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมได้ให้ข้อมูลว่าหน้าที่ของคณะกรรมการชุดนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรรมการที่เป็นผู้แทนภาคประชาชนสามารถทำได้ ก็คือช่วยในการสะท้อนและ ให้ข้อมูลเกี่ยวกับปัญหาในเรื่องต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในท้องที่ รวมถึงปัญหาในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม หรือการดำเนินคดีให้หน่วยงานอัยการทราบเพื่อให้ความช่วยเหลือแก่ประชาชนในการแก้ไขปัญหา ดังกล่าว ซึ่งคณะที่ปรึกษาเห็นว่าหากจะมีการกำหนดหน้าที่ของคณะกรรมการชุดนี้ก็ควรกำหนดหน้าที่ ในเรื่องดังกล่าวไปด้วย เพื่อให้ผู้แทนภาคประชาชนในคณะกรรมการชุดนี้ทำหน้าที่เป็นสื่อกลางระหว่าง ประชาชนในพื้นที่และองค์กรอัยการ นอกจากนี้การกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการได้มาของกรรมการซึ่งเป็นผู้ทรงคุณวุฒิหรือ ผู้แทนภาคประชาชนในคณะกรรมการการมีส่วนร่วมภาคประชาชนในการพัฒนาสำนักงานอัยการ จังหวัด ควรกำหนดหลักเกณฑ์หรือวิธีการคัดเลือกให้แตกต่างจาก กต.ตร. เพื่อให้เกิดความโปร่งใส มากขึ้น เช่น อาจจะใช้วิธีการเลือกตั้งแทนการแต่งตั้ง เนื่องจากเมื่อพิจารณาถึงการได้มาของ กต.ตร. ในส่วนของผู้ทรงคุณวุฒิ จะเห็นได้ว่ามาจากการแต่งตั้งโดยกรรมการโดยตำแหน่งใน กต.ตร. ที่เป็น ผู้ดำรงตำแหน่งที่เป็นข้าราชการประจำ ซึ่งก็อาจจะถูกมองได้ว่าเป็นการเอื้อประโยชน์แก่พวกพ้อง ของบุคคลที่เป็นกรรมการโดยตำแหน่งใน กต.ตร. ได้ 3. การมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการยุติธรรมชั้นพนักงานอัยการในต่างประเทศ ที่จะนำมาใช้ในกฎหมายไทย จากการศึกษาการมีส่วนร่วมของประชาชนในชั้นพนักงานอัยการ พิจารณาได้เป็นสองแนวทาง ดังนี้ แนวทางที่หนึ่ง กลุ่มประเทศที่ใช้หลักการดำเนินคดีอาญาโดยรัฐ ได้แก่ สาธารณรัฐฝรั่งเศส สหพันธสาธารณรัฐเยอรมนี ประเทศญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี และสหรัฐอเมริกา เป็นต้น แนวทางที่สอง กลุ่มประเทศที่ใช้ระบบการดำเนินคดีอาญาโดยประชาชน ได้แก่ ประเทศ อังกฤษ
244 ปัจจุบันประเทศที่ใช้แนวทางทั้งสองได้เปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนในการฟ้องคดีอาญาต่อ ศาล เพียงแต่ว่าจะเป็นหลักหรือเป็นข้อยกเว้น หรือเสริมการดำเนินคดีอาญาโดยพนักงานอัยการ หรือไม่เท่านั้น ซึ่งคณะที่ปรึกษาขอสรุป ดังนี้ 1) ญี่ปุ่น เป็นระบบที่พนักงานอัยการเป็นผู้รับผิดชอบในการฟ้องคดีเป็นหลัก อย่างไรก็ดี หากพนักงานอัยการมีคำสั่งไม่ฟ้องคดี ผู้เสียหายมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ศาลรับคดีที่พนักงานอัยการ สั่งไม่ฟ้องเข้าสู่การพิจารณาของศาล ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 262 แต่สิทธิ ดังกล่าวจำกัดเฉพาะความผิดบางประเภท เช่น ความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการตามประมวล กฎหมายอาญา มาตรา 193-196 เป็นต้น และเมื่อศาลเห็นว่าคำร้องของผู้เสียหายมีเหตุผล ศาลจะมี คำสั่งแต่งตั้งทนายความให้ดำเนินคดีดังกล่าวแทนต่อไป และพนักงานอัยการจะต้องให้ความร่วมมือกับ ทนายความในการสอบสวน แต่จะบังคับให้พนักงานอัยการฟ้องคดีตามคำสั่งของศาลไม่ได้ ส่วนอีกกรณี หนึ่งที่ถือเป็นการมีส่วนร่วมของประชาชนในการตรวจสอบคำสั่งไม่ฟ้องของพนักงานอัยการ คือ คณะกรรมการตรวจสอบการฟ้องของพนักงานอัยการ ที่เรียกว่า Kensatsu-shinsakai เป็นกลไกภาค ประชาชนที่เข้ามาตรวจสอบคำสั่งไม่ฟ้องของพนักงานอัยการโดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติ คณะกรรมการตรวจสอบฟ้อง ค.ศ. 1948 ซี่งถือว่าเป็นองค์กรภายนอกที่เข้ามาตรวจสอบแม้ว่าพนักงาน อัยการจะมีการตรวจสอบภายในองค์กรแล้วก็ตาม จึงถือว่าเป็นการตรวจสอบโดยองค์กรภายนอกและ เป็นองค์กรที่ได้มาจากการคัดเลือกจากผู้มีสิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ประกอบด้วยประชาชน จำนวน 11 คน โดยคัดเลือกจากรายชื่อของผู้มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม โดยการจับสลาก จากรายชื่อต่อหน้าผู้พิพากษาและพนักงานอัยการท้องถิ่น เมื่อคณะกรรมการดังกล่าวตรวจสอบฟ้องและ มีมติโดยเสียงข้างมากจะส่งความเห็นให้พนักงานอัยการเพื่อพิจารณา หากพนักงานอัยการเห็นว่า ควรฟ้องก็จะสั่งฟ้อง แต่ถ้าไม่เห็นด้วยและไม่ดำเนินการใด ๆ ภายในเวลา 30 วัน และคณะกรรมการ ตรวจสอบมีมติโดยอาศัย เสียง 8 ต่อ 11 ก็จะฟ้องคดีโดยทนายความที่ได้รับแต่งตั้งแทนพนักงานอัยการ ต่อไป 2) สาธารณรัฐเกาหลี มีการฟ้องคดีอาญาโดยรัฐ พนักงานอัยการจึงเป็นองค์กรหลักในการฟ้อง คดีอาญา และมีการจัดตั้งคณะกรรมการภาคประชนชนในแนวทางของญี่ปุ่น แต่มิได้กำหนดไว้ใน กฎหมาย เป็นเพียงนโยบายการปฏิรูประบบการทำงานของอัยการให้มีตวามโปร่งใสและรับฟังความเห็น ของประชาชนมากขึ้น คณะกรรมการดังกล่าวมีประจำในสำนักงานอัยการสาขาย่อย 41 แห่งทั่วประเทศ แต่อำนาจของคณะกรรมการตรวจสอบภาคประชาชนดังกล่าวไม่ได้มีอำนาจกว้างเท่าของญี่ปุ่น นอกจากนี้ยังมีคณะกรรมการตรวจสอบการสอบสวนและสั่งฟ้องในชั้นอัยการ ซึ่งประกอบด้วย ผู้เชี่ยวชาญในแต่ละสาขา โดยมีหน้าที่ให้คำแนะนำแก่อัยการในเรื่องควรสอบสวนต่อไป ควรส่งฟ้อง หรือ ออกหมายจับ รวมถึงความชอบด้วยกฎหมายของคำสั่งไม่ฟ้องและการให้คำปรึกษาแก่พนักงานอัยการ ตามที่ได้รับการร้องขอ แต่มีลักษณะของการให้คำแนะนำไม่ได้เป็นคณะกรรมการที่ตรวจสอบและสั่งการ ให้ต้องกระทำตามแต่อย่างไร
245 3) สหพันธสาธารณรัฐเยอรมนี มีหลักการฟ้องคดีอาญาโดยรัฐและหากพนักงานอัยการไม่ฟ้อง คดีอาญา ผู้เสียหายต้องยื่นคำร้องคัดค้านการสั่งไม่ฟ้องอย่างเป็นทางการต่ออัยการสูงสุดประจำมลรัฐ เพื่อให้ตรวจสอบภายในองค์กร หากอัยการสูงสุดมีคำสั่งไม่ฟ้อง จึงสามารถยื่นต่อศาลอุทธรณ์เพื่อให้ศาล พิจารณาตรวจสอบ หากศาลเห็นควรอนุญาตพนักงานอัยการต้องฟ้องตามคำสั่งของศาลอุทธรณ์ดังกล่าว นอกจากนี้กฎหมายเยอรมันได้ให้ประชาชนไกล่เกลี่ยคดีอาญาได้โดยมีการกำหนดไว้ในกฎหมายในคดี เยาวชนและคดีอาญา และกำหนดไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา 4) สาธารณรัฐฝรั่งเศส มีหลักการฟ้องคดีอาญาโดยรัฐ และไม่เปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามา ตรวจสอบได้ แต่ให้ประชาชนเป็นผู้ไกล่เกลี่ยในคดีอาญาได้โดยการมอบหมายจากพนักงานอัยการ รวมถึงการเปิดโอกาสให้ประชาชนมาเป็นกรรมการในองค์กรอัยการได้ 5) ราชอาณาจักรนอร์เวย์ ไม่เปิดโอกาสให้ประชาชนฟ้องคดีอาญา แต่มีกระบวนการไกล่เกลี่ย ในชั้นพนักงานอัยการ และประชาชนสามารถเข้ามาร่วมในการไกล่เกลี่ยได้เช่นเดียวกับสาธารณรัฐ ฝรั่งเศส 6) ประเทศสกอตแลนด์ ให้ความสำคัญของประชาชนเป็นศูนย์กลางและให้บริการแก่ประชาชน ที่จะเข้าถึงความยุติธรรมได้ โดยการเข้าร่วมในกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ และเบี่ยงเบนคดี ก่อนฟ้อง รวมถึงการเป็นอาสาสมัครในการดูแลผู้เสียหายในคดีอาญา และการเป็นกรรมการ ภาคประชาชนในคณะกรรมการบริหารองค์กรอัยการที่มีหน้าที่กำกับดูแลการบริหารจัดการองค์กร อัยการในภาพรวม แต่มิได้มีบทบาทในการตรวจสอบคำสั่งไม่ฟ้องของพนักงานอัยการ 7) ประเทศอังกฤษ การฟ้องคดีอาญาของอังกฤษเป็นหลักการฟ้องคดีอาญาโดยประชาชน ดังนั้นประชาชนสามารถฟ้องคดีอาญาต่อศาลโดยไม่จำเป็นต้องเป็นผู้เสียหาย อันเป็นหลักการ ประชาธิปไตยที่ประชาชนมีหน้าที่อำนวยความยุติธรรม อย่างไรก็ดี เพื่อเป็นการควบคุมอาชญากรรม ที่ร้ายแรง เช่น คดีก่อการร้าย คดีความผิดเกี่ยวกับการเงิน หรือคดีที่กระทำด้วยความรุนแรงจึงให้ พนักงานอัยการเข้ามารับผิดชอบเป็นหลัก ดังนั้น เมื่อพนักงานอัยการมีคำสังไม่ฟ้องแล้วโดยคำนึงถึง หลักฐานที่รวบรวมได้และประโยชน์สาธารณะแล้ว และมีความเห็นว่าไม่ฟ้องคดีจึงไม่จำเป็นต้องให้ ประชาชนไปตรวจสอบคำสั่งไม่ฟ้องของพนักงานอัยการแต่อย่างไร 8) สหรัฐอเมริกา พนักงานอัยการเป็นผู้ฟ้องคดีอาญาประชาชนไม่มีสิทธิฟ้อง แต่ในบางคดี เอกชนสามารถฟ้องคดีเองได้ตามหลัก Private Prosecution จากแนวทางการเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในชั้นพนักงานอัยการนั้น ทั้งแปด ประเทศเปิดโอกาสให้แก่ประชาชนน้อยมากเพราะเป็นหลักการฟ้องคดีอาญาโดยรัฐ ส่วนใหญ่จะเป็น เรื่องกระบวนการเบี่ยงเบนคดีก่อนฟ้อง เช่น การไกล่เกลี่ยคดีอาญา และการเข้ามาสนับสนุน หรือ ให้ความเห็นเกี่ยวกับการสั่งคดีมากกว่าการเข้ามาตรวจสอบโดยองค์กรภายนอก จะมีแต่ระบบ คณะกรรมการภาคประชาชนของญี่ปุ่น และบทบาทของผู้เสียหายที่จะยื่นคำร้องต่อศาลของญี่ปุ่น และสาธารณรัฐเกาหลีเท่านั้นที่จะตรวจสอบทบทวนคำสั่งไม่ฟ้องของพนักงานอัยการ อีกทั้งหากเป็น ระบบกฎหมายอังกฤษประชาชนมีอำนาจในการนำคดีอาญามาฟ้องด้วยตนเอง โดยไม่จำเป็นต้องให้
246 พนักงานอัยการสั่งไม่ฟ้อง ซึ่งแตกต่างจากการเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในชั้นตำรวจ ซึ่งเน้นการป้องกันอาชญากรรมและแจ้งเบาะแสในการกระทำความผิด อย่างไรก็ดี หากจะพิจารณาว่าควรให้ผู้เสียหายเข้ามาตรวจสอบคำสั่งไม่ฟ้องของพนักงาน อัยการไทยหรือไม่ คณะที่ปรึกษาเห็นว่ามีความจำเป็นน้อยเพราะประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา ความอาญา มาตรา 28 ให้ผู้เสียหายในคดีอาญาฟ้องคดีได้เป็นเอกเทศจากพนักงานอัยการ และ ผู้เสียหายมีสิทธิขอทราบเหตุผลในการสั่งไม่ฟ้องคดีตลอดถึงสรุปพยานหลักฐานในชั้นสอบสวน มาพิจารณาเพื่อจะฟ้องคดีเองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 146 และมาตรา 34 ซึ่งไม่ตัดสิทธิผู้เสียหายจะฟ้องคดีหากพนักงานอัยการมีคำสั่งไม่ฟ้อง ดังนั้น หลักการร้องขอให้ศาล ตรวจสอบคำสั่งไม่ฟ้องของพนักงานอัยการตามหลักเกณฑ์ที่ประเทศญี่ปุ่นกำหนด จึงไม่จำเป็นต้อง นำมาปรับใช้กับกฎหมายไทย เพราะผู้เสียหายมีสิทธิฟ้องได้เอง ซึ่งต่างจากการฟ้องคดีของญี่ปุ่นที่ให้ พนักงานอัยการฟ้องเป็นหลัก ทั้งนี้ ข้อจำกัดของผู้เสียหายในการรวบรวมพยานหลักฐานและการนำ พยานบุคคลหรือการตรวจพิสูจน์ทางนิติวิทยาศาสตร์หรือนิติเวชต่างหาก ที่เป็นปัญหาต่อการฟ้อง คดีอาญาโดยผู้เสียหายของไทย เพราะอำนาจในการรวบรวมพยานหลักฐานตลอดจนการตรวจพิสูจน์ มีความแตกต่างกันระหว่างพนักงานสอบสวน พนักงานอัยการซี่งทำหน้าที่แทนรัฐกับผู้เสียหายซึ่งเป็น ราษฎร เพราะประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามิได้ให้อำนาจตรวจ ค้น หรือยึด ได้เหมือนกับ พนักงานสอบสวน จึงเห็นว่าหากจะเพิ่มศักยภาพให้ผู้เสียหายสามารถฟ้องคดีด้วยตนเองตามหลักการ ที่กำหนดไว้ในมาตรา 28 แล้ว ควรมีกฎหมายกำหนดให้ผู้เสียหายร้องขอให้พนักงานสอบสวนหรือ พนักงานอัยการที่จะนำพยานหลักฐานที่รวบรวมได้หรือเรียกพยานหลักฐานที่รวบรวมได้ในสำนวน การสอบสวนเพื่อนำมาประกอบในการฟ้องคดีหรือเสนอคดีของตนต่อศาล อีกทั้งควรให้การสนับสนุน ค่าใช้จ่ายในการรวบรวมพยานหลักฐานของผู้เสียหายด้วย ส่วนการตรวจสอบคำสั่งไม่ฟ้องคดีในกรณีที่ไม่ใช่ผู้เสียหายในคดีอาญา คณะที่ปรึกษาเห็นว่า ในปัจจุบันมีกระบวนการตรวจสอบโดยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ผู้บัญชาการตำรวจภาค ผู้ว่าราชการ จังหวัด เมื่อพนักงานอัยการมีคำสั่งไม่ฟ้อง และหากมีความเห็นแย้งกับพนักงานอัยการจะต้องส่งให้ อัยการสูงสุดชี้ขาดตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 145 และมาตรา 145/1 ซึ่งถือเป็นกลไกที่ตรวจสอบโดยองค์กรที่ทำหน้าที่สอบสวนแล้ว อีกทั้งในคดีสำคัญ สำนักงานอัยการสูงสุดได้มีกลไกการตรวจสอบภายในองค์กรที่จะทบทวนคำสั่งไม่ฟ้องอยู่ระดับหนึ่ง ตามระเบียบว่าด้วยการดำเนินคดีอาญาของพนักงานอัยการ พ.ศ. 2563 ดังนั้น จึงเห็นว่ายังไม่มี ความจำเป็นต้องมีคณะกรรมการภาคประชาชนมาตรวจสอบ เพียงแต่ในกรณีที่อัยการสูงสุดมีคำสั่ง ไม่ฟ้องคดีซึ่งไม่ได้รับการตรวจสอบจากองค์กรใดและถือเป็นเด็ดขาดนั้น ควรมีองค์กรภาคประชาชน เข้ามาตรวจสอบได้ถึงความเหมาะสมในการสั่ง ซึ่งในกรณีนี้คณะที่ปรึกษาเห็นว่าหากจะมีการตรวจสอบ ถึงความชอบธรรมและเหมาะสมดังกล่าว ควรใช้กลไกคณะกรรมการภาคประชาชนในแนวทางเดียวกับ คณะกรรมการตรวจสอบภาคประชาชนของญี่ปุ่นมาตรวจสอบ ทั้งนี้เพื่อเป็นหลักประกันความเชื่อมั่น ของประชาชนที่จะได้รับการพิจารณาคดีและสั่งคดีด้วยความเป็นธรรมและโปร่งใส
247 อย่างไรก็ดี การนำเสนอหลักการตรวจสอบคำสั่งไม่ฟ้องของอัยการสูงสุดนี้ต้องมีการศึกษา ความเหมาะสม และความพร้อมของการคัดเลือกตัวแทนของประชาชนที่จะมาเป็นคณะกรรมการว่า ควรมาจากประชาชนกลุ่มใด เพราะการตรวจสอบคำสั่งไม่ฟ้องดังกล่าวจำเป็นต้องมีผู้ที่มีความรู้และ เข้าใจเนื้อหาของการดำเนินคดีด้วย ไม่สามารถที่จะใช้ประชาชนทั่วไปมาตรวจสอบความถูกต้อง เหมาะสมของคำสั่งไม่ฟ้องได้ คณะที่ปรึกษาจึงเห็นว่าควรมีการศึกษาเพิ่มเติมในงานวิจัยต่อไป และศึกษาเปรียบเทียบกับระบบต่างประเทศและมาตรฐานสากล ส่วนการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการยุติธรรมชั้นพนักงานอัยการนี้ คณะที่ปรึกษา เห็นด้วยว่าการไกล่เกลี่ยคดีอาญา การติดตามพยานเพื่อให้มาให้การ รวมถึงการช่วยเหลือผู้เสียหาย ในคดีอาญาในชั้นสอบสวนเพื่อให้มีศักยภาพและความมั่นใจในการนำคดีมาสู่ศาล หรือแจ้งข้อมูลที่สำคัญ ให้แก่พนักงานอัยการ ถือเป็นหน้าที่ของประชาชนที่จะร่วมมือหรือดำเนินการเพื่อให้เกิดความเป็นธรรม และสามารถนำผู้กระทำความผิดมาลงโทษได้ ดังนั้น จากประสบการณ์ของต่างประเทศและหลักเกณฑ์ การไกล่เกลี่ยในชั้นสอบสวน หรือการไกล่เกลี่ยภาคประชาชน เป็นช่องทางที่จะให้ประชาชนมีส่วนร่วม ในการดำเนินคดีได้หลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นผู้ไกล่เกลี่ย ผู้ร่วมประชุมกลุ่มครอบครัวหรือเป็นตัวแทน ชุมชนในกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ (Restorative Justice) ซึ่งสามารถยุติข้อขัดแย้งและ ยุติการดำเนินคดีอาญาแก่ผู้ต้องหาได้ก่อนที่จะฟ้องคดี รวมถึงการนำมาซึ่งความเข้าใจที่ดีในระหว่าง ผู้เสียหาย ผู้ต้องหา สังคม หลังจากการเข้ากระบวนการและประสบความสำเร็จในการตกลง ซึ่งบทบาท เหล่านี้มีกฎหมายไทยกำหนดหลักเกณฑ์ไว้แล้ว เพียงแต่รัฐจะต้องฝีกอบรมและส่งเสริมศักยภาพของ ประชาชนที่เข้าร่วมโครงการดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง สำหรับเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้าร่วมในระดับคณะกรรมการอัยการนั้น คณะที่ปรึกษาเห็นด้วย ในหลักการและเห็นว่าการจะให้ตัวแทนประชาชนที่หลากหลายเข้าไปในคณะกรรมการอัยการนั้น กระทำได้ยาก จึงควรเพิ่มสัดส่วนของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมากขึ้น แต่ควรเพิ่มและพัฒนา คณะกรรมการภาคประชาชนในระดับจังหวัดให้เป็นหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดไว้ในกฎหมาย และให้มีหน้าที่และอำนาจในการแนะนำ สนับสนุนงานด้านคดีของพนักงานอัยการ ไม่เฉพาะแต่ การสั่งฟ้องเท่านั้น แต่รวมถึงการติดตามพยาน การเสนอแนะแนวทางการพัฒนากระบวนการยุติธรรม ให้เป็นที่น่าเชื่อถือแก่ประชาชนตามวิสัยทัศน์ของสำนักงานอัยการสูงสุด 4. การมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการยุติธรรมชั้นศาล จากการศึกษากลไกการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการยุติธรรมในชั้นศาลของ ต่างประเทศในบทที่ 2 สามารถสรุปลักษณะการมีส่วนร่วมของประชาชนในชั้นศาลของแต่ละประเทศ ได้ดังนี้ 1) ประเทศญี่ปุ่น ประชาชนสามารถเข้ามามีส่วนร่วมในการพิจารณาพิพากษาคดีได้ในฐานะ “ไซบังอิน” ซึ่งระบบ ไซบังอินจัดตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติไซบังอิน (Act on Criminal Trials with the Participation of
248 Saiban-in (Act No.63 of May 28, 2004)) กำหนดให้ประชาชนทั่วไปเข้ามามีส่วนร่วมในชั้นพิจารณา พิพากษาคดีได้ ทั้งนี้จำกัดเฉพาะคดีอาญาในศาลชั้นต้นและจำกัดเฉพาะคดีอาญาประเภทร้ายแรงตามที่ กฎหมายกำหนด โดยคดีที่มีคณะลูกขุนไซบังอินเข้าร่วมพิจารณาจะประกอบด้วยผู้พิพากษาอาชีพ 3 คน และ ไซบังอิน 6 คน ร่วมพิจารณาคดีเป็นองค์คณะเดียวกัน ทั้งนี้ไซบังอินมีอำนาจพิจารณาตัดสินความผิดและ กำหนดโทษของจำเลยได้เช่นเดียวกับผู้พิพากษาอาชีพ 2) สาธารณรัฐเกาหลี สาธารณรัฐเกาหลีมีกลไกให้ประชาชนมีส่วนร่วมในชั้นศาลในรูปแบบคณะลูกขุน (Advisory Jury) ซึ่งจัดตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติการมีส่วนร่วมของพลเมืองในกระบวนพิจารณาคดีอาญา (Act on Citizen Participation in Criminal Trials) โดยคณะลูกขุนจะมีอำนาจเข้าพิจารณาคดีในศาลได้ ในคดีอาญาที่มีความผิดร้ายแรงซึ่งกำหนดให้มีองค์คณะผู้พิพากษา 3 คนขึ้นไปในศาลชั้นต้นและ คดีเกี่ยวกับการรับสินบน ในการพิจารณาคดี คณะลูกขุนจะแยกเป็นคณะต่างหากจากองค์คณะผู้พิพากษาและหารือ รวมถึงลงมติเกี่ยวกับความผิดจำเลยกันเองโดยไม่มีผู้พิพากษาอาชีพเข้าร่วมด้วย แต่อาจขอคำปรึกษา จากผู้พิพากษาอาชีพได้ ซึ่งคณะลูกขุนมีอำนาจในการตัดสินความผิดจำเลยและให้ความเห็นเกี่ยวกับโทษ ที่จำเลยควรได้รับ อย่างไรก็ดี มติของคณะลูกขุนตามระบบกฎหมายเกาหลีจะไม่มีผลผูกพันให้ผู้พิพากษา ต้องพิพากษาตาม 3) สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ประชาชนสามารถมีส่วนร่วมในชั้นศาลได้ในรูปแบบ “ผู้พิพากษาสมทบ (Schöffen)” ซึ่งมี บทบัญญัติรองรับกลไกดังกล่าวไว้โดยชัดแจ้งในพระธรรมนูญศาลยุติธรรมเยอรมัน (Courts Constitution Act, ‘GVG’) และมีการกำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับหลักเกณฑ์การคัดเลือกผู้พิพากษาสมทบไว้ใน กฎหมายของแต่ละมลรัฐ ผู้พิพากษาสมทบจะร่วมพิจารณาคดีเป็นองค์คณะเดียวกับผู้พิพากษาอาชีพและมีอำนาจ พิจารณาตัดสินทั้งความผิดและการกำหนดโทษจำเลยเช่นเดียวกับผู้พิพากษาอาชีพ โดยขอบเขตคดีที่อยู่ ในอำนาจการพิจารณาของผู้พิพากษาสมทบตามกฎหมายเยอรมันไม่ได้จำกัดเฉพาะคดีอาญา แต่ครอบคลุมไปถึงคดีประเภทอื่นด้วย เช่น คดีความผิดเกี่ยวกับเยาวชน คดีแรงงาน คดีทางปกครอง เป็นต้น 4) สาธารณรัฐฝรั่งเศส ภายใต้กฎหมายฝรั่งเศส ประชาชนสามารถเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา ได้ในฐานะลูกขุน ทั้งนี้ คณะลูกขุนมีอำนาจพิจารณาเฉพาะคดีความผิดอุกฤษฏ์โทษ (Les Crimes) ที่อยู่ ในอำนาจการพิจารณาของศาลลูกขุน โดยคณะลูกขุนจะพิจารณาคดีร่วมเป็นองค์คณะเดียวกันกับ ผู้พิพากษาอาชีพ มีอำนาจถามคำถามพยานและจำเลยได้โดยตรง หลังร้องขอและได้รับอนุญาตจาก
249 ประธานศาลลูกขุนแล้ว และเมื่อปิดการพิจารณาคดีผู้พิพากษาและคณะลูกขุนซึ่งเป็นองค์คณะ จะประชุมร่วมกันเพื่อวินิจฉัยและตัดสินความผิดของจำเลย 5) ราชอาณาจักรนอร์เวย์ ประชาชนสามารถเข้ามามีส่วนร่วมในการพิจารณาคดีในศาลได้ในฐานะของผู้พิพากษาสมทบ (Lay Judge) ซึ่งเป็นกลไกที่จัดตั้งขึ้นตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม (Court of justice Act (Lov om Domstolene))และมีการบัญญัติเกี่ยวกับองค์คณะผู้พิพากษาสมทบไว้ในประมวลวิธีพิจารณาความอาญา (Criminal Procedure Act (Straffeprosessloven)) โดยผู้พิพากษาสมทบมีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับผู้พิพากษาอาชีพและร่วมเป็นองค์คณะเดียวกับ ผู้พิพากษาอาชีพในการพิจารณาชี้ขาดปัญหาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย ข้อสังเกตคือ ระบบผู้พิพากษาสมทบของราชอาณาจักรนอร์เวย์กำหนดให้มีผู้พิพากษาสมทบ ในคดีอาญาทั่วไปซึ่งอยู่ในเขตอำนาจศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ โดยจะมีจำนวนผู้พิพากษาสมทบ ที่เข้าร่วมพิจารณาในองค์คณะต่างกันไปตามแต่ประเภทคดีและชั้นศาล 6) ประเทศสกอตแลนด์ ประชาชนในสกอตแลนด์สามารถเข้ามามีส่วนร่วมในการพิจารณาคดีอาญาได้ในฐานะลูกขุน (Juries) โดยคดีอาญาที่ต้องมีคณะลูกขุนร่วมพิจารณาด้วยจำกัดเฉพาะคดีร้ายแรง (Serious Offenses) ซึ่งอยู่ในอำนาจการพิจารณาคดีของ Sheriff Court และ High Court of Justiciary ที่จะต้องใช้การพิจารณา คดีในรูปแบบเคร่งครัด (Solemn Procedure) ซึ่งต้องให้ผู้พิพากษาอาชีพพิจารณาคดีร่วมกับคณะลูกขุน จำนวน 15 คน ทั้งนี้ คณะลูกขุนจะมีหน้าที่พิจารณาชี้ขาดเฉพาะในส่วนของปัญหาข้อเท็จจริง โดยจะพิจารณา หลังจากรับฟังข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานในคดีจนครบถ้วน และได้ฟังคำอธิบายในประเด็น ข้อกฎหมายจากผู้พิพากษาเจ้าของคดีแล้ว 7) ประเทศอังกฤษ ประเทศอังกฤษมีกลไกการให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพิจารณาคดีในศาลด้วยกัน 2 รูปแบบ คือ 1) รูปแบบผู้พิพากษา (Lay Magistrate) ในการดำเนินคดีSummary Trial ซึ่งเป็น องค์คณะผู้พิพากษาที่เป็นบุคคลธรรมดาทำหน้าที่ชี้ขาดทั้งข้อเท็จจริงและการกำหนดโทษ องค์คณะ มีจำนวนสามคนเป็นประชาชนที่อาสาสมัครที่เข้ามาและได้รับการฝึกอบรมให้สามารถพิจารณาและ พิพากษาได้และมีนักกฎหมายที่ให้คำปรึกษาแนะนำ และ 2) รูปแบบคณะลูกขุน (Jury) ซึ่งบัญญัติไว้ใน พระราชบัญญัติคณะลูกขุน (Juries Act 1974) ให้ประชาชนทั่วไปมีส่วนร่วมในการดำเนินคดีของ กระบวนพิจารณาที่เรียกว่า Trial on Indictment ซี่งเป็นคดีที่มีอัตราโทษสูง (เกินกว่าอัตราโทษจำคุก สามปี) โดยคณะลูกขุนมีหน้าที่วินิจฉัยข้อเท็จจริงเพื่อจะชี้ขาดว่าจำเลยกระทำความผิดตามฟ้องหรือไม่ และศาลจะเป็นผู้กำหนดโทษที่จำเลยควรได้รับ
250 8) สหรัฐอเมริกา สำหรับกลไกการให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการยุติธรรมชั้นศาลของสหรัฐอเมริกา สามารถแบ่งได้เป็น 2 ระดับ คือ 1) ในชั้นไต่สวนมูลฟ้องในรูปแบบ Grand Jury ซึ่งมีหน้าที่พิจารณาว่า คดีมีมูลสมควรส่งไปพิจารณาที่ศาลต่อไปหรือไม่ และ 2) ในชั้นพิจารณาในรูปแบบของ Jury ซึ่งมีหน้าที่ ในการพิจารณาข้อเท็จจริงและตัดสินว่าจำเลยมีความผิดจริงหรือไม่ เพื่อให้ศาลปรับบทลงโทษตาม กฎหมายต่อไป จากบทสรุปการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการยุติธรรมในชั้นศาลข้างต้นจะเห็นได้ว่า แนวทางปฏิบัติของประเทศที่เป็นเป้าหมายในการศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นไปในทิศทางเดียวกันคือ ทุกประเทศล้วนมีกลไกการให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในชั้นศาลในรูปแบบการมีส่วนร่วมในการ พิจารณาคดี ทั้งนี้ โดยอาจมีชื่อเรียกและรายละเอียดเกี่ยวกับการคัดเลือกและกรอบอำนาจหน้าที่ในการ เข้าร่วมพิจารณาคดีที่แตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบผู้พิพากษาสมทบ (Lay Judge) ที่ร่วมตัดสินคดี เป็นองค์คณะเดียวกับผู้พิพากษาอาชีพหรือคณะลูกขุน (jury) ซึ่งมีทั้งที่ร่วมพิจารณากับผู้พิพากษาและ แยกเป็นองค์คณะพิจารณาต่างหากจากผู้พิพากษาอาชีพหรือระบบที่มีลักษณะเฉพาะอย่างคณะลูกขุน แบบผสมหรือไซบังอินของประเทศญี่ปุ่น ทั้งนี้ขอบเขตอำนาจของประชาชนในการเข้าร่วมพิจารณาคดีในศาลอาจแตกต่างกันไป แบ่งเป็นการให้อำนาจประชาชนวินิจฉัยเฉพาะปัญหาข้อเท็จจริงและตัดสินว่าจำเลยมีความผิดหรือไม่ และรูปแบบที่ให้อำนาจประชาชนในการพิจารณาตัดสินทั้งความผิดและโทษที่จำเลยควรได้รับ ข้อสังเกตเพิ่มเติม คือในหลายประเทศจะมีการกำหนดประเภทคดีที่ประชาชนจะเข้าร่วม พิจารณาได้ในลักษณะที่จำกัด กล่าวคือเฉพาะคดีความผิดอาญาร้ายแรง แต่ก็มีประเทศที่กำหนด ขอบเขตประเภทคดีที่ประชาชนเข้าร่วมพิจารณาไว้ค่อนข้างกว้าง เช่น สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีที่ไม่ได้ จำกัดเฉพาะคดีอาญา หรือราชอาณาจักรนอร์เวย์ที่กำหนดให้มีผู้พิพากษาสมทบเข้าร่วมพิจารณา คดีอาญาได้เป็นการทั่วไปและอาจมีการเพิ่มจำนวนองค์คณะผู้พิพากษาสมทบได้ในกรณีที่มีเหตุพิเศษ อย่างไรก็ดีอำนาจหน้าที่ของประชาชนที่เข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการยุติธรรมชั้นศาลในแต่ละ รูปแบบของแต่ละประเทศอาจไม่ได้จำกัดตามนี้เสมอไป อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นการเข้ามามีส่วนร่วมในรูปแบบไหน ทุกประเทศจะมีบทบัญญัติ กฎหมายรองรับกลไกการให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพิจารณาคดีไว้อย่างชัดแจ้ง และมีกฎเกณฑ์ การคัดเลือกและวาระในการปฏิบัติหน้าที่ที่แน่นอน ไม่ได้เป็นเพียงนโยบายของผู้บริหารหรือกลไก เชิงนโยบายองค์กร เหตุผลประการหนึ่งอาจเนื่องมาจากอำนาจในการพิจารณาตัดสินคดีนั้นเป็นการใช้ อำนาจอธิปไตยที่กฎหมายกำหนดให้ศาลเป็นผู้ใช้อำนาจตุลาการแทนประชาชนและหากไม่มีกฎหมาย ให้อำนาจกระทำการดังกล่าวไว้ประชาชนทั่วไปย่อมมิอาจพิจารณาพิพากษาชี้ขาดความผิดและกำหนด โทษต่อผู้อื่นได้
251 การมีส่วนร่วมของประชาชนในชั้นศาลในลักษณะอื่นนอกเหนือจากการพิจารณาคดี นอกจากนี้ยังพบว่ามีการสร้างกลไกการมีส่วนร่วมของประชาชนในชั้นศาลในลักษณะอื่น นอกเหนือจากการร่วมพิจารณาคดีด้วย เช่น ระบบคณะกรรมการศาลท้องถิ่นในประเทศญี่ปุ่นซึ่งจัดตั้ง ขึ้นตามข้อบังคับว่าด้วยคณะกรรมการศาลท้องถิ่นที่ออกตามระเบียบศาลฎีกา เพื่อเป็นกลไกการให้ ประชาชนเข้ามามีบทบาทในการบริหารงานยุติธรรมในชั้นศาล โดยคณะกรรมการศาลมีหน้าที่ให้ ความเห็นต่อข้อปรึกษาหารือเกี่ยวกับการบริหารงานยุติธรรมของศาลท้องถิ่น อย่างไรก็ดี มีข้อสังเกตว่า ระบบดังกล่าวมีหลักเกณฑ์การคัดเลือกบุคคลที่แตกต่างจากระบบไซบังอินคือ มิได้มาจากการสุ่มเลือก ประชาชนทั่วไป แต่มีการกำหนดคุณสมบัติเฉพาะที่อาศัยความรู้ ความสามารถ หรือประสบการณ์ของ ผู้เป็นคณะกรรมการไว้และเป็นระบบที่ได้มาจากการแต่งตั้งโดยศาล ซึ่งคณะที่ปรึกษาตั้งข้อสังเกตว่า การแต่งตั้งประชาชนเข้ามาในลักษณะนี้หากนำมาปรับใช้กับบริบทของประเทศไทยอาจมีข้อสงสัย เกี่ยวกับความโปร่งใสในกระบวนการแต่งตั้งได้ การกำหนดกฎเกณฑ์ในการคัดเลือกบุคคลที่จะเข้ามาปฏิบัติหน้าที่ในกระบวนการพิจารณา คดีในชั้นศาล จากการศึกษาการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการยุติธรรมชั้นศาลในต่างประเทศอาจ กล่าวได้ว่าแนวทางปฏิบัติที่ดีในการมีส่วนรวมของประชาชนในชั้นศาล คือการให้ประชาชนเข้ามามี ส่วนร่วมในการพิจารณาคดี อันเป็นแนวทางที่ให้ประชาชนได้เข้ามาใช้และตรวจสอบถ่วงดุลอำนาจ ตุลาการโดยตรง ทั้งนี้ การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพิจารณาคดีในแต่ละประเทศอาจมีการกำหนด รายละเอียดในการคัดเลือกบุคคล การกำหนดกรอบอำนาจต่าง ๆ ในลักษณะที่แตกต่างกันไปบ้าง แต่สามารถกล่าวได้ว่ามีวัตถุประสงค์เบื้องหลังอย่างเดียวกันคือ เพื่อให้ประชาชนเกิดความไว้วางใจและ ความเข้าใจที่ถูกต้องในกระบวนการยุติธรรมทางอาญามากขึ้น และเพื่อให้การดำเนินกระบวนการ ยุติธรรมเป็นไปในทางสะท้อนเจตจำนงของประชาชนทั่วไปมากขึ้นอันจะนำไปสู่เป้าหมายสูงสุดในการ เสริมสร้างระบอบประชาธิปไตยนั่นเอง โดยภาพรวมโครงสร้างของกลไกการมีส่วนร่วมของประชาชน ในการพิจารณาคดีในชั้นศาลของทุกประเทศจะมีการกำหนดกฎเกณฑ์พื้นฐานทั่วไปที่คล้ายคลึงกัน เช่น ➢คุณสมบัติของประชาชนผู้เข้ามาปฏิบัติหน้าที่ เช่น บุคคลทั่วไปที่มีสิทธิเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร มีภูมิลำเนาอยู่ในท้องที่เขตอำนาจศาลนั้น และมีอายุไม่เกินเกณฑ์ที่กฎหมาย กำหนด เป็นต้น ➢บุคคลที่ต้องห้ามเข้ามาปฏิบัติหน้าที่ เช่น บุคคลที่ประกอบวิชาชีพด้านกฎหมาย ผู้ดำรงตำแหน่ง ทางการเมือง หรือผู้มีส่วนได้เสียในคดีนั้น ๆ เป็นต้น ➢การกำหนดวิธีการและกระบวนการคัดเลือกที่แน่นอน โดยอาจคำนึงถึงความหลากหลายทาง เพศ อายุ อาชีพ สถานะทางสังคม ฯลฯ ประกอบการคัดเลือกด้วย ➢ระยะเวลาการปฏิบัติหน้าที่เป็นรายคดี หรือเป็นวาระกี่ปีตามที่กฎหมายกำหนด
252 ➢กรอบอำนาจหน้าที่ของการมีส่วนร่วมในการพิจารณาคดีของประชาชน เช่น -ประเภทคดีที่ประชาชนทั่วไปสามารถเข้าร่วมพิจารณาตัดสินได้ -คดีในชั้นศาลใดที่ประชาชนจะเข้าร่วมได้ เช่น ระบบไซบังอินของประเทศญี่ปุ่นจะถูกนำมาใช้ เฉพาะในคดีอาญาที่อยู่ในศาลชั้นต้นเท่านั้น ในขณะที่สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี หรือราชอาณาจักร นอร์เวย์มีกรณีที่ประชาชนเข้าร่วมเป็นองค์คณะผู้พิพากษาสมทบในชั้นศาลอุทธรณ์ได้ด้วย -การกำหนดอำนาจในการชี้ขาดว่าประชาชนผู้เข้าร่วมการพิจารณาคดีมีอำนาจในการชี้ขาด ปัญหาข้อเท็จจริงเท่านั้น หรือมีอำนาจในการชี้ขาดปัญหาข้อกฎหมายด้วย -มติของประชาชนในฐานะผู้พิพากษาสมทบหรือคณะลูกขุนมีผลผูกพันศาลหรือไม่เพียงใด นอกเหนือจากกฎเกณฑ์ทั่วไปข้างต้น ก็อาจมีการกำหนดกฎเกณฑ์ในด้านอื่น ๆ ด้วย ตัวอย่างเช่น พระราชบัญญัติไซบังอินของประเทศญี่ปุ่น ได้บัญญัติกฎเกณฑ์เพื่อคุ้มครองสิทธิของประชาชนผู้ปฏิบัติ หน้าที่ไซบังอินและสิทธิของผู้เกี่ยวข้องในคดีไว้ด้วย เช่น ➢การคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของประชาชนที่ต้องเข้ามาปฏิบัติหน้าที่ เช่น ห้ามนายจ้างไล่ ลูกจ้างออกหรือกระทำการใดให้เสียประโยชน์แก่ลูกจ้างโดยอาศัยเหตุจากการที่ลูกจ้างต้องหยุดงาน เพื่อมาปฏิบัติหน้าที่ (ม. 100 พ.ร.บ. ไซบังอิน) บทลงโทษบุคคลที่ข่มขู่โดยวิธีการใด ๆ ต่อผู้ปฏิบัติหน้าที่ ไซบังอินหรือบุคคลในครอบครัวของไซบังอิน (ม. 107 พ.ร.บ. ไซบังอิน) ➢กำหนดค่าตอบแทน ค่ายานพาหนะ และค่าป่วยการต่าง ๆ ให้ผู้ปฏิบัติหน้าที่ (ม. 11 พ.ร.บ. ไซบังอิน) ➢กำหนดบทลงโทษกรณีปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เช่น กรณีไซบังอินทำให้ความลับของ คดีรั่วไหล (ม. 108 พ.ร.บ. ไซบังอิน) ทั้งนี้ ในพระราชบัญญัติการมีส่วนร่วมฯ ของสาธารณรัฐเกาหลีก็ได้มีการกำหนดกฎเกณฑ์ไว้ใน ลักษณะเดียวกัน เนื่องจากได้รับอิทธิพลจากระบบไซบังอินของประเทศญี่ปุ่น ข้อสังเกต/ข้อจำกัดบางประการที่พบในการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการ ยุติธรรมชั้นศาลในต่างประเทศ อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันยังพบว่าในบางประเทศ เช่น ประเทศญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี แม้จะมี กลไกให้ประชาชนเข้ามามีส่วนในการพิจารณาคดี แต่ยังมีปริมาณคดีที่ใช้กลไกการมีส่วนร่วมของ ประชาชนในสัดส่วนที่น้อยมากเมื่อเทียบกับปริมาณคดีที่เข้าสู่ระบบทั้งหมด ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากการ จำกัดประเภทคดีที่ประชาชนสามารถเข้าร่วมพิจารณาได้ และโดยทั่วไปอำนาจสุดท้ายในการพิจารณา ว่าจะนำระบบผู้พิพากษาสมทบหรือคณะลูกขุนเข้ามาใช้ในคดีนั้น ๆ หรือไม่ยังเป็นดุลพินิจของศาล ซึ่งศาลอาจพิจารณาไม่นำระบบดังกล่าวมาใช้กับคดีด้วยหลายสาเหตุ เช่น การคำนึงถึงสภาพจิตใจของ ผู้เสียหายในคดี เป็นต้น
253 ข้อจำกัดอีกประการที่พบในการนำระบบการมีส่วนร่วมในการพิจารณาคดีของประชาชนมาใช้ คือ ประชาชนบางส่วนยังมีความเข้าใจในระบบและกรอบอำนาจหน้าที่ไม่เพียงพอ ทำให้เกิดความลังเล ใจในการให้ความร่วมมือ เนื่องจากมองว่าการพิจารณาคดีควรเป็นอำนาจรัฐ แต่ในปัจจุบันก็มีแนวโน้ม ในการเต็มใจให้ความร่วมมือเพิ่มขึ้น วิเคราะห์เปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการยุติธรรมชั้นศาล ในประเทศไทย คณะที่ปรึกษาได้ลงพื้นที่สำรวจกลไกการมีส่วนร่วมของประชาชนในชั้นศาลของประเทศไทย ในสี่ภูมิภาค พบว่ามีกลไกการให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในหลายรูปแบบ เช่น ผู้กำกับดูแลผู้ถูกปล่อย ชั่วคราว ผู้ประนีประนอมประจำศาล ล่ามอาสาสมัคร เป็นต้น แต่มีเพียงบางกลไกเท่านั้นที่มีการกำหนด นโยบายและกฎระเบียบที่ชัดเจนเป็นลายลักษณ์อักษร มีการกำหนดหน้าที่อำนาจ วาระการแต่งตั้ง และการให้ค่าตอบแทน คือกลไกการกำกับดูแลผู้ถูกปล่อยชั่วคราว เมื่อเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของประชาชนในชั้นศาลในต่างประเทศกับการมีส่วนร่วม ในชั้นศาลในประเทศไทย จะเห็นได้ว่าการมีส่วนร่วมของประชาชนทั่วไปในกระบวนการยุติธรรมชั้นศาล ของประเทศไทยยังมีลักษณะที่มุ่งเน้นไปในแง่การมีส่วนร่วมในเชิงสนับสนุนการทำงานของศาลมากกว่า การเข้ามามีส่วนร่วมในการพิจารณาตัดสินคดีและถ่วงดุลอำนาจศาล นอกจากนี้ แม้ประเทศไทยจะมีกลไกการให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพิจารณาคดี ในชั้นศาลในรูปแบบผู้พิพากษาสมทบในศาลชำนัญพิเศษ เช่น ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้า ระหว่างประเทศกลาง ศาลเยาวชนและครอบครัว ศาลแรงงาน เป็นต้น แต่ระบบผู้พิพากษาสมทบ ในศาลชำนัญพิเศษของประเทศไทยจะมีลักษณะต่างกับระบบผู้พิพากษาสมทบ (Lay Judge) หรือระบบ คณะลูกขุน (Jury) ในต่างประเทศ เนื่องจากจะเป็นการกำหนดคุณสมบัติของผู้พิพากษาสมทบเป็น ผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญหรือประสบการณ์ในสาขาที่เกี่ยวข้องกับประเภทคดีดังกล่าว ไม่ใช่การสุ่มเลือก จากประชาชนทั่วไป จึงไม่อาจกล่าวได้ว่าเป็นการมีส่วนร่วมของประชาชนตามความหมายและ จุดประสงค์ของการวิจัยฉบับนี้ ซึ่งหมายความถึงการมีส่วนร่วมของประชาชนทั่วไปโดยแท้ คณะที่ปรึกษาเห็นว่า การให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการยุติธรรมไม่ว่าในรูปแบบใด ล้วนมีส่วนส่งเสริมให้กระบวนการยุติธรรมพัฒนาไปในทางที่ดีขึ้นได้ แต่อย่างไรก็ดี การให้ประชาชน ทั่วไปได้เข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการยุติธรรมในการพิจารณาคดีในรูปแบบผู้พิพากษาสมทบหรือ คณะลูกขุนย่อมถือเป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนซึ่งเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยที่แท้จริงได้เข้ามาใช้ และตรวจสอบอำนาจอธิปไตยในส่วนของอำนาจตุลาการได้โดยตรง และทำให้ประชาชนมีความเข้าใจ ในกระบวนการทำงานของศาลและกระบวนพิจารณาคดีโดยภาพรวมมากยิ่งขึ้น อันเป็นการส่งเสริม ให้ประชาชนมีความไว้วางใจในกระบวนการยุติธรรมมากขึ้นอีกทางหนึ่งด้วย จึงเห็นว่าประเทศไทยควร นำกลไกดังกล่าวมาใช้ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนเช่นกัน
254 ข้อเสนอแนะจากการถอดบทเรียนการมีส่วนร่วมของประชาชนในชั้นศาลของต่างประเทศ ที่อาจนำมาปรับใช้ในการส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา ชั้นอัยการ จากการศึกษาการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการยุติธรรมในชั้นศาลแต่ละประเทศ รวมทั้งการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิชาวต่างประเทศ คณะที่ปรึกษาพบว่าการมีบทบัญญัติรับรองการมี ส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการยุติธรรมรวมถึงการกำหนดรายละเอียด และกฎเกณฑ์ต่าง ๆ เกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาไว้อย่างชัดเจนในกฎหมาย สามารถลดข้อกังวลเกี่ยวกับความโปร่งใสในกระบวนการคัดเลือกและการแต่งตั้งประชาชนผู้ปฏิบัติ หน้าที่ได้ และการกำหนดให้มีระยะเวลาการดำรงตำแหน่งที่แน่นอนโดยขึ้นอยู่กับคดีที่รับผิดชอบ หรือวาระที่เข้าดำรงตำแหน่งตามกฎหมาย โดยไม่ได้ขึ้นอยู่กับนโยบายของศาลหรือองค์กรใดองค์กรหนึ่ง ส่งผลให้กลไกการมีส่วนร่วมของประชาชนนี้สามารถดำรงอยู่อย่างต่อเนื่อง ยั่งยืน และมีเสถียรภาพ อีกทั้งการกำหนดกรอบอำนาจหน้าที่ที่ทำได้โดยชัดเจน รวมถึงการกำหนดบทลงโทษยังช่วยลดปัญหา การตีความขอบเขตอำนาจในการปฏิบัติหน้าที่ และลดความเสี่ยงในการกระทำการเกินหน้าที่ซึ่งนำไปสู่ การแสวงหาผลประโยชน์โดยมิชอบจากการดำรงตำแหน่งได้ด้วย นอกจากนี้ หากเทียบกับกลไกการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา ของไทยแล้ว การมีส่วนร่วมของประชาชนในประเทศไทยยังมีหลายกลไกที่มีลักษณะเป็นจิตอาสา ไม่มีค่าตอบแทน ซึ่งอาจทำให้ประชาชนทั่วไปมีความกังวลที่จะต้องสละเวลาทำมาหาเลี้ยงชีพมาปฏิบัติ หน้าที่และการมีปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวจะกระทบกับงานที่ตนเองทำอยู่ ส่งผลให้ในทางปฏิบัติบุคคล ที่มีศักยภาพและมีความพร้อมในการเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการยุติธรรมจริง ๆ นั้นมีอยู่ในวงจำกัด เช่น นักธุรกิจหรือนักการเมืองในท้องถิ่น นำไปสู่ข้อกังขาในเรื่องความโปร่งใสของกระบวนการการเข้ามา มีส่วนร่วมและผลประโยชน์ทับซ้อนได้ การกำหนดบทคุ้มครองประโยชน์ของประชาชนผู้เข้ามาปฏิบัติ หน้าที่ในกระบวนการยุติธรรมและกำหนดค่าตอบแทนต่าง ๆ ตามสมควรไว้จึงเป็นการเปิดโอกาสให้ ประชาชนซึ่งเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยได้เข้ามาใช้และตรวจสอบอำนาจได้โดยตรง เพื่อสร้างความเข้าใจ เสริมสร้างระบอบประชาธิปไตยมากขึ้น และช่วยลดความกังวลในแง่ความปลอดภัย ความมั่นคงในการ ทำงานและการขาดรายได้จากการทำงานได้ทำให้สามารถคาดหวังได้ว่าประชาชนทั่วไปจะมีความเต็มใจ ให้ความร่วมมือในการเข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้น อีกทั้งรัฐยังสามารถใช้การตรากฎหมายรับรองการมีส่วนร่วมของประชาชนดังกล่าว เป็นช่องทางเพื่อแสดงเจตจำนงที่แท้จริงของรัฐในการให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการ ยุติธรรมเป็นการทั่วไปได้ด้วย ตัวอย่างเช่น ในประเทศญี่ปุ่นที่มีการบัญญัติเจตจำนงไว้ชัดเจน ในพระราชบัญญัติไซบังอินว่าเป็นไปเพื่อเสริมสร้างความเข้าใจและความไว้วางใจของประชาชนต่อ กระบวนการยุติธรรม (To Promote the Citizens' Understanding of and Enhance Trust in the judicial System) ซึ่งเป็นการสร้างความตระหนักต่อทั้งประชาชนและเจ้าหน้าที่รัฐผู้ปฏิบัติหน้าที่
255 ว่าการเข้ามามีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการยุติธรรมนั้น มิใช่เป็นเพียงเพื่อให้ประชาชนเข้ามา ตรวจสอบหรือแทรกแซงการทำงานของเจ้าหน้าที่รัฐ แต่เป็นไปเพื่อความเข้าใจที่ดีขึ้นร่วมกัน จากข้อวิเคราะห์ข้างต้น คณะที่ปรึกษาจึงมีความเห็นว่าประเทศไทยอาจนำรูปแบบการสร้าง กลไกการมีส่วนร่วมของประชาชนไว้ในกฎหมายในลักษณะนี้มาเป็นต้นแบบในการสร้างกลไกการมี ส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา รวมถึงกระบวนการยุติธรรมในชั้นอัยการได้ โดยการบัญญัติเป็นข้อบังคับหรือกฎหมายไว้เป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์พื้นฐานและ เป็นการกำหนดแนวทางในการปฏิบัติที่ชัดเจนให้แก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง อนึ่ง ในการตราบทบัญญัติกฎหมายรับรองการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการยุติธรรม มีทั้งในรูปแบบการตรากฎหมายพิเศษแยกออกมาเฉพาะในเรื่องการมีส่วนร่วมของประชาชน หรือ การแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายที่เกี่ยวข้องที่มีอยู่ ทั้งนี้ ในกรณีของประเทศไทยคณะที่ปรึกษาเห็นว่าสามารถ บัญญัติเพิ่มเติมเรื่องดังกล่าวในตัวบทกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของหน่วยงาน ในกระบวนการยุติธรรมก็ได้ ซึ่งในกรณีขององค์กรอัยการก็สามารถแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติองค์กร อัยการและพนักงานอัยการ พ.ศ. 2553 โดยเพิ่มบทบัญญัติเพื่อรับรองสิทธิของประชาชนในการเข้ามา มีส่วนร่วมในการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานอัยการได้ ตามที่ได้นำเสนอไปในหัวข้อที่ 2 ของบทนี้ในส่วน การถอดบทเรียนการมีส่วนร่วมของประชาชนในชั้นตำรวจเพื่อปรับปรุงกรอบแนวทางในการส่งเสริม ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาชั้นอัยการ 5. ข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงแก้ไขกฎหมายหรือระเบียบข้อบังคับเพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วม ในการบริหารงานและการอำนวยความยุติธรรมของสำนักงานอัยการสูงสุด จากการศึกษาเปรียบเทียบรูปแบบบการมีส่วนร่วมของประชาชนในชั้นอัยการของประเทศ ต่าง ๆ เปรียบเทียบกับกรณีของประเทศไทยในปัจจุบัน คณะที่ปรึกษามีข้อเสนอแนะในการมีส่วนร่วม ของประชาชนในกระบวนการยุติธรรมในชั้นอัยการ ออกเป็น 2 ส่วน ดังนี้ 1. การมีส่วนร่วมในการสนับสนุนการกำหนดนโยบายของสำนักงานอัยการสูงสุด เมื่อพิจารณาจากอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการอัยการตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการ ฝ่ายอัยการ พ.ศ. 2553 มาตรา 30 จะเห็นได้ว่าอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการอัยการนั้นจะเป็นอำนาจ ในส่วนของการบริหารงานบุคคลที่เกี่ยวกับการกำหนดอัตรากำลัง การโยกย้ายและการดำเนินการ ทางวินัย และตามพระราชบัญญัติองค์กรอัยการและพนักงานอัยการ พ.ศ. 2553 มาตรา 27 วรรคสาม ให้อำนาจคณะกรรมการอัยการในการเห็นชอบการออกระเบียบเกี่ยวกับงบประมาณของสำนักงาน อัยการสูงสุดเท่านั้น ส่วนการกำหนดนโยบายของสำนักงานอัยการสูงสุดเป็นอำนาจหน้าที่ของอัยการสูงสุด ตามพระราชบัญญัติองค์กรอัยการและพนักงานอัยการ พ.ศ. 2553 มาตรา 27 วรรคหนึ่ง (1) คณะที่ปรึกษา เห็นว่า
256 1.1 เพิ่มอำนาจและหน้าที่ของคณะกรรมการอัยการ ในส่วนนี้คณะที่ปรึกษาเห็นว่าตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. 2553 มาตรา 18 วรรคหนึ่ง (2) แม้อัยการสูงสุดจะเป็นรองประธานคณะกรรมการอัยการโดย ตำแหน่ง แต่เพื่อให้การเสนอข้อเสนอแนะเกี่ยวกับเรื่องการพัฒนากระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน มีรูปแบบที่ชัดเจนและเป็นทางการ ควรเพิ่มเติมอำนาจหน้าที่ให้กับคณะกรรมการอัยการในการเสนอ นโยบายในการบริหารราชการของสำนักงานอัยการสูงสุดต่ออัยการสูงสุด โดยการเพิ่มเติมในบทบัญญัติ ในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. 2553 มาตรา 30(12) และเพิ่มหน้าที่ของอัยการสูงสุด ในการนำข้อเสนอของคณะกรรมการอัยการมาพิจารณาเพื่อกำหนดเป็นนโยบายในการบริหารราชการ ของสำนักอัยการสูงสุดในพระราชบัญญัติองค์กรอัยการและพนักงานอัยการ พ.ศ. 2553 มาตรา 27 วรรคหนึ่ง (1) ด้วย 1.2 เพิ่มองค์ประกอบของคณะกรรมการอัยการ ในส่วนนี้คณะที่ปรึกษาเห็นว่าในปัจจุบันองค์ประกอบของคณะกรรมการอัยการในปัจจุบัน ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. 2553 มาตรา 18 วรรคหนึ่ง (5) ที่กำหนดให้มี กรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิที่มาจากภายนอก (มิใช่พนักงานอัยการหรืออดีตพนักงานอัยการ) 2 คน ซึ่งมีความเชี่ยวชาญด้านงบประมาณ การพัฒนาองค์กร หรือการบริหารจัดการนั้นมีความเหมาะสมแล้ว ต่อการปฏิบัติหน้าที่ในปัจจุบันของคณะกรรมการอัยการตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่าย อัยการ พ.ศ. 2553 และพระราชบัญญัติองค์กรอัยการและพนักงานอัยการ พ.ศ. 2553 การกำหนด เพิ่มเติมองค์ประกอบคณะกรรมการอัยการโดยการนำประชาชนโดยทั่วไปเข้าไปเป็นคณะกรรมการ อัยการโดยตรงนั้น อาจจะยังไม่ส่งผลต่อการเพิ่มบทบาทในการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการ ยุติธรรมในชั้นอัยการที่มีประสิทธิภาพ แต่อย่างไรก็ดี ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับคณะกรรมการอัยการคณะที่ปรึกษามีข้อเสนอเพิ่มเติม เพื่อให้ประชาชนมีโอกาสในการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานของคณะกรรมการอัยการใน 2 ระยะ คือ ระยะแรก เพื่อให้คณะกรรมการอัยการได้รับทราบความคิดเห็นหรือข้อมูลที่จำเป็นต่อ การปฏิบัติหน้าที่ทั้งในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานบุคคลและงบประมาณ คณะที่ปรึกษาจึงเห็น ควรเสนอให้มีช่องทางในการรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนที่ชัดเจน โดยให้มีฝ่ายเลขานุการหรือ สำนักงานที่ทำหน้าที่รวบรวมข้อมูล ข้อเสนอหรือข้อร้องเรียนต่าง ๆ จากประชาชน และนำเสนอต่อ ที่ประชุมคณะกรรมการอัยการตามรอบระยะเวลาที่กำหนด เช่น ทุก ๆ 3 หรือ 6 เดือน พร้อมทั้งมีการ รายงานผลของการพิจารณาข้อมูล ข้อเสนอ หรือข้อร้องเรียนต่าง ๆ ดังกล่าวต่อสาธารณะ (เช่น การเผยแพร่ รายงานประชุมในส่วนที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้) ระยะที่สอง เพื่อให้คณะกรรมการอัยการสามารถมีส่วนร่วมในการผลักดันการมีส่วนร่วม ของประชาชนในกระบวนการยุติธรรมในชั้นอัยการได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถสะท้อนปัญหา ของการปฏิบัติงานของสำนักงานอัยการสูงสุดได้อย่างชัดเจนและถูกต้อง คณะที่ปรึกษาเสนอให้มีการ
257 แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. 2553 มาตรา 18 วรรคหนึ่ง (5) โดย เพิ่มสัดส่วนกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิจาก 2 คน เป็น 4 คน โดยเพิ่มผู้ทรงคุณวุฒิด้านการมีส่วนร่วม ของประชาชนและกระบวนการยุติธรรม โดยคัดเลือกจากคณะกรรมการการมีส่วนร่วมภาคประชาชน ในระดับจังหวัดทั้ง 77 จังหวัด (จะกล่าวรายละเอียดในหัวข้อถัดไป) จำนวน 2 คน และให้เลขานุการ กรรมการอัยการเป็นผู้ทำหน้าที่ประสานงานในการคัดเลือกดังกล่าว 2. การมีส่วนร่วมของประชาชนในการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานอัยการ การมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการยุติธรรมในขั้นอัยการของประเทศต่าง ๆ ที่คณะที่ปรึกษา ได้ทำการศึกษามานั้นมีรูปแบบที่หลากหลายทั้งในรูปแบบของการมีคณะกรรมการตรวจการฟ้องของ อัยการที่มีอำนาจในการตรวจสอบคำสั่งไม่ฟ้องของอัยการและมีมติในทางที่สามารถให้มีการนำคดีขึ้นสู่ การพิจารณาของศาลได้แบบประเทศญี่ปุ่น หรือมีอำนาจเพียงการเสนอความเห็นแบบประเทศเกาหลีใต้ การให้สิทธิผู้เสียหายร้องขอต่อศาลให้นำคดีที่อัยการสั่งไม่ฟ้องขึ้นสู่การพิจารณาของสหพันธ์สาธารณรัฐ เยอรมนี การทำหน้าที่เป็นผู้ไกล่เกลี่ยในประเทศฝรั่งเศสและราชอาณาจักรนอร์เวย์ การทำหน้าที่ ผู้ประนอมข้อพิพาทในประเทศสก๊อตแลนด์ การฟ้องคดีโดยประชาชนของประเทศอังกฤษ และการที่ ประชาชนจะฟ้องคดีได้ในกรณีที่เป็นผู้เสียหายในประเทศสหรัฐอเมริกา สำหรับประเทศไทยนั้น หากพิจารณาถึงหลักเกณฑ์ในการดำเนินคดีอาญาของไทยแล้วจะพบว่า ระบบการดำเนินคดีอาญาของเราเป็นระบบที่เปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการ ยุติธรรมอย่างมาก โดยเฉพาะในชั้นการฟ้องคดีต่อศาลนั้น แม้อัยการจะมีคำสั่งไม่ฟ้องประชาชนซึ่งเป็น ผู้เสียหายสามารถที่จะฟ้องคดีต่อศาลได้ด้วยตนเองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 28 ทั้งประชาชนซึ่งเป็นผู้เสียหายยังสามารถขอสรุปพยานหลักฐานพร้อมความเห็นของอัยการในการ สั่งไม่ฟ้องคดีได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 146 วรรคสอง ทั้งหากพิจารณา จากข้อมูลที่ได้จากการรวบรวมพบว่าคดีที่มาสู่การพิจารณาของอัยการนั้นมีจำนวนไม่มากนักที่อัยการ จะมีคำสั่งไม่ฟ้อง ดังนั้น คณะที่ปรึกษาจึงมีความเห็นว่าการนำรูปแบบการเข้ามามีส่วนร่วมในการ ตรวจสอบการใช้อำนาจสั่งไม่ฟ้องของอัยการในปัจจุบันจึงอาจจะยังมิใช่สิ่งจำเป็นในปัจจุบัน อย่างไรก็ดี แม้ในปัจจุบันประเทศไทยจะมีคณะกรรมการการมีส่วนร่วมภาคประชาชนในระดับ จังหวัดตามนโยบายของอัยการสูงสุด และมีคณะที่ปรึกษาอัยการจังหวัดในบางจังหวัดซึ่งทั้ง 2 กรณีเป็น รูปแบบของการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการยุติธรรมในชั้นอัยการในระดับจังหวัดที่เป็นไป ตามความพร้อมและนโยบายของอัยการจังหวัดในแต่ละช่วงเวลามีลักษณะไม่เป็นทางการของบทบาท อำนาจหน้าที่ และสถานะในทางกฎหมาย คณะที่ปรึกษามีความเห็นว่าการเพิ่มบทบาทของประชาชน ในการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการยุติธรรมในชั้นอัยการสำหรับประเทศไทยยังเป็น สิ่งที่จำเป็นและมีความสำคัญต่อการพัฒนาบทบาทการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการยุติธรรม ในชั้นอัยการ คณะที่ปรึกษาจึงเสนอให้อัยการสูงสุดซึ่งเป็นผู้มีอำนาจในการกำหนดนโยบายและ รับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของสำนักงานอัยการสูงสุดออกระเบียบตามพระราชบัญญัติองค์กร
258 อัยการและพนักงานอัยการ พ.ศ. 2553 มาตรา 27 วรรคหนึ่ง (1) และวรรคสาม ออกระเบียบว่าด้วย คณะกรรมการการมีส่วนร่วมภาคประชาชนเพื่อ 1) กำหนดบทบาท อำนาจหน้าที่ และสถานะในทางกฎหมายของคณะกรรมการการมีส่วนร่วม ภาคประชาชนในระดับจังหวัด ให้เป็นหน่วยงานที่มีขึ้นในทุกจังหวัด โดยออกเป็นระเบียบของสำนักงาน อัยการสูงสุดกำหนดคุณสมบัติของบุคคลที่จะเข้ามาเป็นคณะกรรมการ มีวาระ อำนาจหน้าที่ที่ชัดเจน เน้นการเลือกประชาชนที่สามารถสนับสนุนการปฏิบัติหน้าที่ของอัยการได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยใช้ แนวทางตามองค์ประกอบของคณะกรรมการตรวจสอบและติดตามการบริหารงานตำรวจ (กต.ตร.) ของ สำนักงานตำรวจแห่งชาติมาใช้ 2) เพิ่มบทบาทและอำนาจหน้าที่ในการสนับสนุนการปฏิบัติหน้าที่ของอัยการ ให้คณะกรรมการ การมีส่วนร่วมภาคประชาชนในระดับจังหวัดมีอำนาจหน้าที่เพิ่มเติม ดังนี้ 2.1) เพื่อการสนับสนุนการกำหนดนโยบายในการปฏิบัติราชการของสำนักงานอัยการสูงสุด -รวบรวมข้อมูล และเสนอนโยบายเกี่ยวกับการพัฒนาการมีส่วนร่วมของประชาชน ในกระบวนการยุติธรรมในชั้นอัยการในจังหวัดของตนและในภาพรวมของประเทศ -รวบรวมข้อมูล และเสนอนโยบายเกี่ยวกับการพัฒนาการปฏิบัติงานของสำนักงานอัยการ ในจังหวัดของตนและในภาพรวมของประเทศ โดยเสนอผ่านอัยการจังหวัดเพื่อเสนอต่อคณะกรรมการอัยการและอัยการสูงสุดต่อไป 2.2) เพื่อสนับสนุนการสอบสวนและการฟ้องคดี -ในการประสานงานกับผู้เสียหาย ผู้ต้องหา และพยานเพื่อมาทำการไกล่เกลี่ยทั้งในคดี ที่ยอมความได้และยอมความไม่ได้ อัยการจะต้องเสนอฟ้องต่อศาลเพื่อเป็นการลดปริมาณคดีที่จะมีการ เสนอฟ้องต่อศาลในกรณีที่คู่กรณีสามารถยอมความกันได้ และอาจทำให้คดีที่ยอมความไม่ได้นั้น เสร็จสิ้นได้เร็วยิ่งขึ้นในชั้นศาล ทั้งยังเป็นการลดปัญหาในทางปฏิบัติที่ผู้เกี่ยวข้องที่ถูกเชิญมาไกล่เกลี่ย ในชั้นอัยการนั้นมักจะไม่มาร่วมกระบวนการ -ประสานงานกับสำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดี ในการดูแลและให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายผู้เสียหาย -ประสานงานกับคณะกรรมการตรวจสอบและติดตามการบริหารงานตำรวจ (กต.ตร.) ระดับจังหวัด และระดับสถานีตำรวจของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติงานของ อัยการในด้านต่าง ๆ เช่น การติดตามพยาน การขอข้อมูลพยานหลักฐาน เป็นต้น -ประสานงานและติดตาม กรณีที่มีการร้องเรียนการปฏิบัติหน้าที่ไม่เป็นธรรม หรือการใช้ ดุลพินิจไม่ชอบในการสั่งไม่ฟ้องของอัยการ -สนับสนุนข้อมูลที่เป็นประโยชน์ ติดตามพยานอันเป็นประโยชน์ต่อการสอบสวนและ การพิจารณาสั่งฟ้องของอัยการ
259 -สนับสนุนข้อมูลที่เป็นประโยชน์ ติดตามพยานอันเป็นประโยชน์ต่อการฟ้องคดีด้วยตนเอง ของผู้เสียหาย ทั้งสนับสนุนการประสานงานหรือขอความร่วมมือจากหน่วยงาน องค์กรต่าง ๆ เกี่ยวกับ ความรู้ทางกฎหมายให้แก่ผู้เสียหาย
260 บรรณานุกรม ภาษาไทย หนังสือ คณิต ณ นคร,กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เล่ม 1,กรุงเทพฯ : วิญญูชน, 2564. ณรงค์ ใจหาญ, หลักกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เล่ม 1,กรุงเทพฯ : วิญญูชน 2565. บวรศักดิ์ อุวรรณโณ และ ถวิลวดี บุรีกุล, ประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม (Participatory Democracy) กรุงเทพมหานคร: สถาบันพระปกเกล้า, 2548. สุนีย์ กัลปยะจิตร และณัฏฐาภรณ์ โสกัณฑัต, โครงการประเมินผลการปฏิบัติงานชุมชนและมวลชน สัมพันธ์ประจำงบประมาณ พ.ศ. 2559, กรุงเทพมหานคร : กองแผนอาชญากรรม สำนักยุทธศาสตร์ ตำรวจ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ, 2559. สุพิศาล ภักดีนฤนาถ, แนวทางการปฏิบัติงานตามหลักการและทฤษฎีตำรวจสมัยใหม่, พิมพ์ครั้งที่ 2, นนทบุรี :กราฟฟิคปริ้นติ้ง, 2556. สำนักงานคณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ, คู่มือการดำเนินการตามระเบียบ ก.ต.ช. ว่าด้วย คณะกรรมการตรวจสอบและติดตามการบริหารงานตำรวจ พ.ศ. 2549. สำนักงานตำรวจแห่งชาติ, ยุทธศาสตร์สำนักงานตำรวจแห่งชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580). สำนักวิชาการ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, เอกสารประกอบการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. …., 2564. บทความ กรณัท สร้อยทอง, การตรวจสอบดุลพินิจในการสั่งคดีอาญาของพนักงานอัยการของประเทศไทย เปรียบเทียบกับต่างประเทศ, วารสารวิชาการ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัย ราชภัฏนครสวรรค์ปีที่ 8 ฉบับที่ 1, 2564. ชาญคณิต กฤติยา สุริยะมณี และอุนิษา เลิศโตมรสกุล, การนำกลยุทธ์แบบ Community Policing มาประยุกต์ใช้ในการป้องกันอาชญากรรมในเขตเมือง: กรณีศึกษาชุมชนในเขตลาดพร้าว บางนา และบางพลัด กรุงเทพมหานคร, วารสารกระบวนการยุติธรรม, 5 (3), 2555. อุทัย อาทิเวช, การใช้ดุลพินิจของพนักงานอัยการกับการลดปริมาณคดีขึ้นสู่ศาลในประเทศฝรั่งเศส ใน อุทัย อาทิเวช, รวมบทความกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาฝรั่งเศส, พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนจำกัด วี.เจ.พริ้นติ้ง, 2557. อุทัย อาทิเวช, การมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา: ตัวอย่างของระบบ ลูกขุนฝรั่งเศส ใน อุทัย อาทิเวช, รวมบทความกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาฝรั่งเศส, พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนจำกัด วี.เจ.พริ้นติ้ง, 2557.
261 อุทัย อาทิเวช,อัยการฝรั่งเศสใน อุทัย อาทิเวช, รวมบทความกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาฝรั่งเศส, พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนจำกัด วี.เจ.พริ้นติ้ง, 2557. รายงานวิจัย ณรงค์ ใจหาญ และคณะ, รายงานผลการศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัยเรื่อง กระบวนการ ยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ในศาลยุติธรรม, รายงานวิจัยเสนอต่อสถาบันวิจัยรพีพัฒนศักดิ์ สำนักงาน ศาลยุติธรรม, 2553. ณรงค์ ใจหาญ และคณะ, รายงานผลการศึกษาวิจัย เรื่อง การกำหนดชั้นโทษและการนำไปปรับใช้ใน ประมวลกฎหมายอาญา, รายงานวิจัยเสนอต่อสถาบันวิจัยและพัฒนากระบวนการยุติธรรม สำนักงานกิจการยุติธรรม, 2551. เอกสารอิเล็กทรอนิกส์ นโยบายการบริหารของสำนักงานอัยการสูงสุด, www.ago.go.th, สืบค้นเมื่อ 6 มีนาคม 2566. แผนยุทธศาสตร์ศาลยุติธรรม พ.ศ. 2565-2568, www.http/coj.go.th, สืบค้นเมื่อ 6 มีนาคม 2566. วิสัยทัศน์และพันธกิจของสำนักงานอัยการสูงสุด, www.ago.go.th, สืบค้นเมื่อ 6 มีนาคม 2566. สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ สำนักงานศาลยุติธรรม, ข้อกำหนดของประธานศาลฎีกาว่าด้วยการไกล่เกลี่ย พ.ศ. 2565, www.http/coj.go.th, สืบค้นเมื่อ 6 มีนาคม 2566. อริยธัช์ แก้วเกาะสะบ้า, “ตำรวจชุมชน,” 2562, https://dl.parliament.go.th/bitstream/handle/20.500.13072/543863/t216_2562_3_2. pdf?sequence=1, สืบค้นเมื่อ 1 ธันวาคม 2565. เอกสารอื่น รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา พระราชบัญญัติการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ. 2562 พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. 2550 พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553 พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สิน ทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 พระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2547 พระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2565 พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2551
262 พระราชบัญญัติมาตรการกำกับและติดตามจับกุมผู้หลบหนีการปล่อยชั่วคราวโดยศาล พ.ศ. 2560 พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. 2543 พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. 2553 พระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553 พระราชบัญญัติองค์กรอัยการและพนักงานอัยการ พ.ศ. 2553 พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 ระเบียบ ก.ต.ช. ว่าด้วยคณะกรรมการตรวจสอบและติดตามการบริหารงานตำรวจ พ.ศ. 2549 ระเบียบ ก.ต.ช. ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการสรรหาและคัดเลือกกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิใ น คณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2565 ระเบียบ ก.ต.ช. ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการส่งเสริมให้ท้องถิ่นและชุมชนมีส่วนร่วมในกิจการตำรวจ พ.ศ 2549 ระเบียบคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรมว่าด้วยคุณสมบัติ ลักษณะต้องห้าม การแต่งตั้งและการปฏิบัติ หน้าที่ของผู้กำกับดูแลผู้ถูกปล่อยชั่วคราว การจ่ายค่าตอบแทนและค่าใช้จ่ายของผู้กำกับดูแล ผู้ถูกปล่อยชั่วคราว ค่าพาหนะแก่ผู้ถูกปล่อยชั่วคราวที่ยากไร้ เงินสินบนแก่ผู้แจ้งความนำจับ และ เงินรางวัลแก่เจ้าหน้าที่ผู้จับผู้ถูกปล่อยชั่วคราวโดยศาลที่หลบหนี พ.ศ. 2561 ระเบียบคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรมว่าด้วยคุณสมบัติลักษณะต้องห้าม การแต่งตั้งและการปฏิบัติ หน้าที่ของผู้กำกับดูแลผู้ถูกปล่อยชั่วคราว การจ่ายค่าตอบแทนและค่าใช้จ่ายของผู้กำกับดูแล ผู้ถูกปล่อยชั่วคราว ค่าพาหนะแก่ผู้ถูกปล่อยชั่วคราวที่ยากไร้ เงินสินบนแก่ผู้แจ้งความนำจับ และ เงินรางวัลแก่เจ้าหน้าที่ผู้จับผู้ถูกปล่อยชั่วคราวโดยศาลที่หลบหนี (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2564 ระเบียบสำนักงานตำรวจแห่งชาติว่าด้วยการส่งเสริมให้ประชาชน ชุมชน ท้องถิ่น และองค์กรมีส่วนร่วม ในกิจการตำรวจ พ.ศ. 2551 ระเบียบสำนักงานอัยการสูงสุดว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน พ.ศ. 2560 ระเบียบสำนักงานอัยการสูงสุดว่าด้วยการดำเนินคดีของพนักงานอัยการ พ.ศ. 2563 ระเบียบสำนักงานอัยการสูงสุดว่าด้วยข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2541 ข้อกำหนดของประธานศาลฎีกาว่าด้วยการไกล่เกลี่ย พ.ศ. 2554 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2565 ข้อบังคับของประธานศาลฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการออกคำสั่งหรือหมายอาญา (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2565 คำแนะนำของประธานศาลฎีกา เกี่ยวกับวิธีการรอการกำหนดโทษ การรอการลงโทษ และการกำหนด เงื่อนไขเพื่อคุมความประพฤติ พ.ศ.2559 แผนการปฏิรูปประเทศ ด้านกระบวนการยุติธรรม แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560-2564 แผนยุทธศาสตร์ศาลยุติธรรม พ.ศ. 2565-2568 แผนยุทธศาสตร์สำนักงานอัยการสูงสุด พ.ศ. 2559-2562
263 ภาษาอังกฤษ Books Angus Council, ‘Angus CommunityJustice Outcomes ImprovementPlan2017 -2020’,2017. Community Justice Scotland, ‘ National Guidelines on Diversion from Prosecution in Scotland’, 2020. David J. Cornwell and others, ‘ Civilising Criminal Justice: an International Restorative Agenda for Penal Reform’, Waterside Press, 2013. Frazer McCallum, ‘ The Scottish Criminal Justice System: The Public Prosecution System’, The Scottish Parliament Information Centre, 2016. Jacqueline Hodgson, ‘French Criminal Justice: A Comparative Account of the Investigation and Prosecution of Crime in French’, London: Hart Publishing, 2005. Jennifer Brown, ‘Policing in the UK,’ The House of Commons Library, 2021. Jessica Jacopson and Penny Cooper, ‘Participation in Courts and Tribunals: Concepts Realities and Aspirations’, Bristol University Press, 2020. John Sprack, ‘Emmins on Criminal Procedure’, 9 th Edition, Oxford: Oxford University Press, 2002. Jörg-Martin Jehle, ‘Criminal Justice in Germany’, Federal Ministry of Justice and Consumer Protection, 7 th Edition, 2019. J.R Spencer, ‘Jackson’s Machinary of Justice,’ Cambridge: Cambridge University Press, 1989. Law Society of Scotland, ‘Petition PE 1633: Private Criminal Prosecution in Scotland’,2018. Markus Löffelmann, ‘The Victim in Criminal Proceedings: A Systematic Portrayal of Victim Protection under German Criminal Procedure Law’, 70 Resource Material Series 41, 2006. Norwegian Ministry of Foreign Affairs, ‘Opportunities for All: Human Rights in Norway’s Foreign Policy and Development Cooperation’, 2014. Paul Larsson, ‘From Integration to Contact: A Community Policing Reform?’, 2 Nordisk Politiforskning, 2017. Rabindra K Mohanty & Satyajit Mohanty, ‘Community Policing as a Public Policy: Challenges and Recommendations’, Cambridge Scholars Publishing, 2014. Scottish Police Authority, ‘Annual Police Plan 2022/23’, 2022. Scottish Police Authority, ‘Public Contact and Engagement Strategy 2020’, 2020. Shetland Community Justice Partnership, ‘A Summary of Community Options’: Alternatives to Prosecution, Alternatives to Remand, Alternatives to Custody’, 2017.
264 Stephen Seabrooke and John Sprack, ‘Criminal Evidence and Procedure: The Essential Framework’, 2 nd Edition, Blackstone Press, 1999. Steve Uglow, ‘Criminal Justice’, 2 nd Ediciton, London: Sweet and Maxwell, 2002. The Mediator’s Handbook, ‘The Central Administration of the National Mediation Service’, 2021. The Royal Ministry of Justice and Emergency Management, ‘Changes in the Police Act, etc. (Security in Everyday Life-local Police Reform)’, 2015. The Scottish Government, ‘Community Justice Outcomes, Performance and Improvement Framework’, 2016. The Scottish Government, ‘Guidance for the Delivery of Restorative Justice in Scotland’,2017. The Scottish Government, ‘Rapid Evidence Review: Uses of Restorative Justice’, 2019. The Scottish Government, ‘Strategic Police Priorities for Scotland’, 2016. The Scottish Government, ‘The Vision for Justice in Scotland’, 2022. Tuffin R, Morri J and Poole A, ‘An Evaluation of the Impact of the National Reassurance Policing Programme’, London: Home Office, UK Government, 2006. U.S. Department of Justice, ‘ Community Policing Defined’, The Office of Community Oriented Policing Services, 2014. Journals Adam Crawford, ‘Public Participation in Criminal Justice’, in Criminal Justice Review 1999- 2001, Centre for Criminal Justice Studies, University of Leeds, 2002. Anna Offit, ‘Dismissing the Jury: Mixed Courts and Lay Participation in Norway’, in Shari Diamond and others (eds), Juries, Lay Judges, and Mixed Courts: A Global Perspective, Oxford University Press, 2021. AsbjØrn Strandbakken, ‘Lay Participation in Norway’, 72, International Review of Penal Law, 2001. Britta Bannenberg, ‘Chapter 11 Victim-Offender Mediation in Germany’, in Victim-Offender Mediation in Europe: Making Restorative Justice Work, The European Forum for Victim-Offender Mediation and Restorative Justice ed., 2000. Jacques de Maillard and Mathieu Zagrodzki, ‘Community Policing Initiatives in France’, in Jacques de Maillard, Wesley G. Skogan (eds), Policing in France,Routledge, 2020.
265 Jaihyun Park, ‘The Korean Jury System: The First Decade’, in Juries, Lay Judges, and Mixed Courts: A Global Perspective, Sanja Kutnjak Ivković et al. (eds), Cambridge University Press, 2021. James Q Wilson, Geoge L Kelling, ‘Broken Window: The Police and Neighborhood Safety’, in Geoge F. Cole, Marc G. Gertz, Amy Bunger, The Criminal Justice System: Politics and Policies, 8th Edition, Belmont: Wadworth/Thomson learning, 2001. Jenny Maria Lundgaard, ‘Norway’ in Frieder Dünkel and Others (eds), Restorative Justice and Mediation’, in Penal Matters: A Stock-taking of Legal Issues, Implementation Strategies and Outcomes” in 36 European countries Vol.2, Mönchengladbach, 2015. Peter Duff, ‘The Scottish Criminal Jury: A Very Peculiar Institution,’ 62 (2), Law and Contemporary Problems, 1999. Stefan Machura & Christoph Rennig, ‘In the Name of the People – Lay Assessors in Germany’, in Juries, Lay Judges, and Mixed Courts: A Global Perspective, Sanja Kutnjak Ivković et al. eds., Cambridge University Press, 2021. Thomas Trenczek, ‘Victim-Offender Mediation in Germany – ADR Under the Shadow of the Criminal Law?’, 13(2) Art. 6 Bond Law Review (i), 4. StPO, s.155b., 2001. Valerie Hans and Claire Germain, ‘The French Jury at a Crossroads’, 2 Chicago-Kent Review, 2011. Wook Kang & Mahesh K. Nalla & Yongtae Chun, ‘Community policing in South Korea: an Analysis of Organizational Determinants’, 62(5), Crime Law Soc Change, 2014. Electronic Materials Choi, Kwan, ‘Citizen Participation in Community Safety: a Comparative Study of Community Policing in South Korea and the United Kingdom’, Monash University. Thesis. 2017. <https://doi.org/10.4225/03/58b4f88d6a8b0>, accessed 15 October 2022. Crown Office & Procurator Fiscal Service, ‘ Our Leadership and Structure”, 2022. <https://www.copfs.gov.uk/about-copfs/our-structure/>, accessed 1 December 2022. Crown Office & Procurator Fiscal Service, ‘Victim Information and Advice (VIA) Service’, 2022. <https://www.copfs.gov.uk/services/victim-services/victim-information-and-advicevia-service/>, accessed 18 July 2022. Crown Office & Procurator Fiscal Service, ‘Vulnerable Victims and Witnesses (Special Measures)’, 2022.<https://www.copfs.gov.uk/services/support-at-court/vulnerablevictims-and-witnesses/>, accessed 18 July 2022.
266 Delib, ‘Customer Story: Police Scotland’, 2020. <https://www.delib.net/citizen_space/customer_stories/police_scotland>, accessed 19 July 2022. Gove, Tracey G. ‘Implicit Bias and Law Enforcement’, The Police Chief. October 2011: http://www.policechiefmagazine.org/magazine/index.cfm?fuseaction=display_arch &article_id=2499& issue id=102011-37Gove, accessed 31 July 2022. Hiroshi Fukurai, ‘Lay Judge and Victim Participation in Japan: Japan’s Saiban’in Trial, the Prosecution Review Commission, and the Public Prosecution of White-Collar Crimes’, 1 Hastings J. Crime & Punish, 2020. https://repository.uchastings.edu/hastings_journal_crime_punishment/vol1/iss3/7, accessed 15 October 2022. Jack R. Greene, ‘ Community Policing in America: Changing the Nature, Structure, and Function of the Police’, in Winnie R and Laura W, Policies Processes and Decisions of Criminal Justice System, Vol 3, 2000 <https://www.ncjrs.gov/criminal_justice2000/vol_3/03g.pdf> accessed 28 October 2022. Korean Institute of Criminology and Justice, ‘ Asia-Pacific Networks against Crimes (APNAC) - Judicial Reform: Exploring Current Policy Tasks and Its Issues’, 2017. <https://www.kicj.re.kr/board.es?mid=a20601010300&bid=0029&tag=&act=view&list_ no=12430> accessed 15 October 2022. Organization for Security and Co-operation in Europe, ‘Country Profile: France’, 2010. <https://polis.osce.org/index.php/country-profiles/france>, accessed 14 July 2022. Police Scotland, ‘Job Specification for Special Constables’, 2021. <https://www.scotland.police.uk/spa-media/w1nmm5ez/job-spec-specialconstable.pdf> accessed 19 July 2022. Scottish Courts and Tribunals, ‘Participating in Jury Trials in Scotland’, 2022. <https://www.scotcourts.gov.uk/coming-to-court/jurors>, accessed 18 July 2022. Supreme Court of Japan, ‘Outline of Criminal Justice in JAPAN 2021’ https://www.courts.go.jp/english/vcfiles/courtsen/Material/Outline_of_Criminal_Ju stice_in_Japan_2021.pdf>, accessed 15 October 2022. Supreme Prosecutors’ Office Republic of Korea, ‘Institutional Reforms-Pursuing Investigations in a Trustworthy, Impartial and Refined Manner’, https://www.spo.go.kr/site/eng/03/10304000000002018120607.jsp, accessed 15 October 2022.
267 The National Mediation Service (Konfliktrådet), ‘About Us’, 2020. https://konfliktraadet.no/en/about-us, accessed 16 July 2022. Thomas Feltes, ‘Community Policing in Germany’, IFSH (ed.), OSCE Yearbook 2013, Baden-Baden, 2014. <https://ifsh.de/file-CORE/documents/yearbook/english/13/Feltes_Thomasen.pdf>, accessed 15 October 2022. Wolfgang Kahl, ‘Crime Prevention Networking and Community-based Prevention Management in Germany’, German Forum for Crime Prevention (DFK) (Bonn 2014), <https://www.kriminalpraevention.de/files/DFK/sprachen/en/crime_prev_in_germ any_2014.pdf>, accessed 15 October 2022. The French Civil Service, ‘Criminal Mediation’, 2020. <https://www.service public.fr/telechargerPdf?location=/particuliers/vosdroits/ F1824&audience=particuliers&lang=en>, accessed 19 July 2022. The French Civil Service, ‘Criminal Ombudsman’, 2020. <https://www.service-public.fr/ telechargerPdf?location=/particuliers/vosdroits/ F1739&audience=particuliers&lang=en>, accessed 19 July 2022. U.S. Department of Justice, <https://www.justice.gov/sites/default/files/pages/attachments/2016/12/21/friend ofcourtguidancememo091014.pdf>, accessed 6 January 2023. Victim Support Scotland, ‘Empowering People Affected by Crime’, 2022. <https://victimsupport.scot>, accessed 17 July 2022. Handbook For Trial Jurors Service in United States District Courts, <www.us.courts.gov>, accessed 27 February 2023. <https://www.americanbar.org/groups/crsj/publications/human_rights_magazine_ home/2016-17-vol-42/vol-42-no1/legitimate-community-policing--how-citizenparticipation-creates>, accessed 31 July 2022. <https://www.azcourts.gov/guidetoazcourts/The-Players-in-a-Trial-Courtroom>, accessed 31 July 2022. <https://elaw.klri.re.kr/eng_mobile/viewer.do?hseq=46745&type=part&key=9>, accessed 15 October 2022. <https://www.gov.uk/government/statistics/police-workforce-england-and-wales31-march-2021>, accessed 31 July 2022.
268 <https://www.met.police.uk/car/careers/met/pcso/pcso-overview>, accessed 27 October 2022/ <https://www.thoughtco.com/grand-jury-in-the-united-states-3368320#>, accessed 28 January 2023. <https://www1.nyc.gov/site/nypd/bureaus/patrol/patrol-landing.page>, accessed 31 July 2022. <https://vpc.police.uk/about-us>, accessed 31 July 2022. ภาษาฝรั่งเศส Electronic Materials Institut des Hautes Etudes du Ministère de L'Intérieur (IHEMI), ‘Police de sécurité du quotidien et approche de résolution de problème : quelques résultats de l’étude CoPPOSQ’ (Dairy Security Police and the Problem-solving Approach: Some Results of the CoPPOSQ Study), 2021.<https://www.ihemi.fr/articles/police-de-securite-duquotidien-approche-resolution-probleme-etude-copposq>, accessed 19 July 2022. Le CSM, “Compostion & Organisation”, <http://www.conseil-superieurmagistrature.fr/le-csm/composition-et-organisation>, accessed 1 December 2022. Ministère de L'intérieur, ‘Police de sécurité du quotidien: Construire Une Relation de Confiance!,’ (Dairy Security Police: Building A Trusting Relationship!), 2018. <http://www.ain.gouv.fr/IMG/pdf/flyer_com_4_pages_psq.pdf>, accessed 18 July 2022. Ministère de L'intérieur, ‘POLICE DE SÉCURITÉ DU QUOTIDIEN, la mise en œuvre des groups de partenariat opérationnel (GPO).' (DAILY SECURITY POLICE, the Implementation of the Operational Partnership Groups), <http://www.maine-etloire.gouv.fr/IMG/pdf/bilan_de_la_police_de_securite_du_quotidien_en_zone_poli ce.pdf>, accessed 19 July 2022. ภาษาเยอรมัน Electronic Material Deutsche Vereinigung der Schöffinnen und Schöffen (DVS), ‘Lay judges in Germany,’ <https://schoeffen.de/ehrenamtliche-richter/lay-judges-in-germany.html>, accessed 15 October 2022.
269 ภาษาญี่ปุ่น Journal 李 東熹「 韓国・刑事司法における国民参加とその実践的な意義」関西大学法学研究所ノモス 第 31 号 13-22 頁 (2012)(Lee Donghee, ‘Citizen Participation in Criminal Justice and its Actual Meaning in Korea’, Kansai University Institute of Legal Studies NOMOS no.31) (2012) 13-22. Electronic Material 「警察庁「特集:変容する捜査環境と警察の取組」 (National Police Agency, ‘Special Feature : Transforming Investigative Environment and Police Efforts’), <https://www.npa.go.jp/hakusyo/h26/honbun/html/qf310000.html>, accessed 15 October 2022. 「特殊詐欺被疑者の一斉公開捜査について」(National Police Agency, ‘Public Investigation of Special Fraud Suspects’) <https://www.npa.go.jp/bureau/sosikihanzai/bouryokudan/kokaisosa.html>, accessed 20 January 2023. 「平成 30 年警察白書」(National Police Agency, THE WHITE PAPER on POLICE 2018) <https://www.npa.go.jp/hakusyo/h30/pdf/pdfindex.html>, accessed 15 October 2022. 「警視庁「交番・パトカーの活動」(Metropolitan Police Department, ‘Police box and patrol car activities’), <https://www.keishicho.metro.tokyo.lg.jp/about_mpd/shokai/katsudo/koban/index.ht ml>, accessed 15 October 2022. 「公開捜査一覧(発生年)」(Metropolitan Police Department, ‘List of Public Investigations (Year of Occurrence)’, <https://www.keishicho.metro.tokyo.lg.jp/jiken_jiko/ichiran/index.html>, accessed 20 January 2023. 「警視庁刑事部『公開捜査」 (Metropolitan Police Department Criminal Department, Public Investigation), <https://twitter.com/MPD_keiji?s=20&t=VwvVMFmpLRUooQasxGYSwA>, accessed 20 January 2023.
270 「検察統計調査/検察統計」 (Prosecutorial Statistics Survey / Prosecutorial Statistics), <https://www.estat.go.jp/statsearch/files?page=1&layout=datalist&toukei=00250003&tstat=000 001012929&cycle=7&year=20210&month=0 >,accessed 15 October 2022. 「最高裁判所「検察審査員・補充員とは」 (Supreme Court of Japan, ‘What is the Committee for Inquest of Prosecution and Supplementary Committee’), <https://www.courts.go.jp/links/kensin/seido_sinsain/index.html >, accessed 15 October 2022. 「検察審査会」 Supreme Court of Japan, ‘The Committee for Inquest of Prosecution’, <https://www.courts.go.jp/links/kensin/index.html>, accessed 15 October 2022. 「検察審査会での審査の流れ, 」 Supreme Court of Japan, ‘The inquest procedures of the Committee for Inquest of Prosecution’, <https://www.courts.go.jp/links/kensin/shinsanonagare/index.html>, accessed 15 October 2022. 「裁判員制度の運用に関する意識調査」(1)」(Supreme Court of Japan, ‘Research on Citizen’s Perception of Saiban-in System (1)), <https://www.saibanin.courts.go.jp/vcfiles/saibanin/2022/1.pdf>, accessed 12 October 2022. 「裁判員制度の運用に関する意識調査」(2)」(Supreme Courtof Japan, ‘Research on Citizen’s Perception of Saiban-in System (2)), <https://www.saibanin.courts.go.jp/vc-files/saibanin/2022/2.pdf>, accessed 13 October 2022. 「地方裁判所委員会規則」 (Supreme Court of Japan, ‘Regulations on the District Court Commission’), <https://www.courts.go.jp/toukei_siryou/kisokusyu/sonota_kisoku/sonota_ kisoku_11/index.html >, accessed 15 October 2022. 「令和3年における裁判員裁判の実施状況等に関する資料」(Supreme Court of Japan, ‘Materials Related to the State of Implementation of Saiban-in Trials in 2021’), 2021, <https://www.saibanin.courts.go.jp/vc-files/saibanin/2022/R3-103-1.pdf>, accessed 12 October 2022. 最高裁判所事務総局「裁判員制度10年の総括報告書」(General Secretariat of Supreme Court , ‘Report on 10 Years since the Introduction of the Saiban-in System’), <https://www.saibanin.courts.go.jp/vc-iles/saibanin/file/r1_hyousi_honbun.pdf>, accessed 13 October 2022.
271 裁判員ネット「【シリーズ・海外の司法参加】第 1 部:韓国編(中)-国民参与裁判制度の運 用状況と特徴-」, 2010, <http://saibanin.net/updatearea/staffcolumn/archives/1044>, accessed 15 October 2022. 「【シリーズ・海外の司法参加】第3部:ドイツ編(上)―参審制度の導入の背景と概要」, 2010, <http://saibanin.net/updatearea/staffcolumn/archives/1447>, accessed 15 October 2022 総務省「Web サイト等による行政情報の提供・利用促進に関する基本的指針」 (Ministry of International Affairs and Communications, Basic Guidelines for Providing and Promoting the Use of Administrative Information through Websites, etc.), 2015, <https://www.soumu.go.jp/main_content/000348841.pdf>,accessed 15 October 2022. 福島県警察本部「行政サービスの向上のための取組の継続的な推進について」 (Fukushima Prefecture Police, ‘About Continuous Promotion of Approach for Improvement of Administrative Service’), 2017, <https://www.police.pref.fukushima.jp/03.tetuduki/jyouhoukoukai/reiki_int/reiki_h onbun/244RG00001286.html>, accessed 15 October 2022. 法務省「4.公判段階での被害者支援」(Ministry of Justice, ‘Victim Participation Support in Criminal Trials’), <https://www.moj.go.jp/keiji1/keiji_keiji11-4.html#:~:text=4%20 被害者参加制度,人」と呼ばれます。>,accessed 15 October 2022. 「裁判員制度の概要」(Ministry of Justice, ‘Overview of Saiban-in System’), <https://www.moj.go.jp/keiji1/saibanin_seido_gaiyou02.html>, accessed 13 October 2022. ภาษาเกาหลี Electronic Materials Act on Citizen Participation in Criminal Trials, <https://elaw.klri.re.kr/eng_mobile/viewer.do?hseq=46745&type=part&key=9>, accessed 15 October 2022. Operational Rules of Professional Investigation Advisory Committee [Enforcement 2018. 3. 21.] [Ministry of Justice Ordinance No. 920, 2018. 3. 21., Partially Amended], <https://www.law.go.kr/법령/전문수사자문위원운영규칙>, accessed 15 October 2022. Prosecution Citizenship Committee Operation Guidelines [Enforcement 2018. 9. 20.] [Supreme Prosecutor’s Office Regulation No. 965, 2018. 9. 20., Partially Amended], <https://www.law.go.kr/정규칙/검찰시민위원운영지침>, accessed 15 October 2022.
272 Supreme Prosecutors’ Office Republic of Korea, ‘검찰시민위원 (The Prosecutor's Citizenship Committee)’, <https://www.spo.go.kr/site/museum/03/10304000000002018120612.jsp>, accessed 15 October 2022. Other Materials Act on Citizen Participation in Criminal Trials, Republic of Korea Act on Committee for Inquest of Prosecution(Act no.147 of 1948), Japan Act on Criminal Trials with the Participation of Saiban-in (Act No.63 of May 28, 2004), Japan Act on Special Cases Concerning the Punishment of Specific Violent Crimes, Republic of Korea Act on the Procedure in Criminal Cases (Criminal Procedures Act) (Lov om rettergangsmåten i straffesaker (Straffeprosessloven)), Kingdom of Norway Code of Criminal Procedure, Japan Code of Criminal Procedure (Code de Procédure Pénale), French Republic Community Justice (Scotland) Act 2016, Kingdom of Scotland Constitution of France, (Constitution de la Ve République), French Republic Constitution of the Kingdom of Norway Courts Act (Act No. 59 of 1947), Japan Courts Constitution Act (Gerichtsverfassungsgesetz,GVG), Federal Republic of Germany Court of justice Act (Lov om Domstolene), Kingdom of Norway Criminal Procedure Act (Straffeprosessloven), Kingdom of Norway Criminal Procedure Code, Japan European Convention on Human Rights European Prison Rules - Council of Europe Recommendation Rec (2006)2-rev (2006/2020) Federal Constitutional Court, Order of 6 May 2008, 2 BvR 337/07, Federal Republic of Germany Federal Court of Justice, Judgment of 26 March 1997, 3 StR 421/96, Federal Republic Of Germany German Code of Criminal Procedure (Strafprozessordnung, StPO), Federal Republic Of Germany
273 German Criminal Code (Strafgesetzbuch, StGB), Federal Republic of Germany Juries Act 1974, England Mediation Service Act (Lov om konfliktrådsbehandling), Kingdom of Norway Police and Fire Reform (Scotland) Act, Kingdom of Scotland Victims and Witnesses (Scotland) Act, Kingdom of Scotland Youth Courts Law (Jugendgerichtsgesetz, JGG), Federal Republic of Germany
274 ภาคผนวก 1 รายชื่อผู้เข้าร่วมประชุมระดับนานาชาติ
275 รายชื่อผู้เข้าร่วมการประชุมระดับนานาชาติ เรื่อง “การมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารงานและการอำนวยความยุติธรรม” วันอังคารที่ 6 ธันวาคม 2565 เวลา 15.00 – 18.00 น. โดยผ่านระบบออนไลน์ (Zoom) จัดโดย สถาบันนิติวัชร์ สำนักงานอัยการสูงสุด ร่วมกับ สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ลำดับ ชื่อ - สกุล ตำแหน่ง/หน่วยงาน เบอร์โทร/อีเมล 1 Professor Dr. Henning Glaser Director of GermanSoutheast Asian Center of Excellence for Public Policy and Good Governance, Thammasat University 2 Mr. Taro Morinaga Director & Government Attorney, UNAFEI +81-(0)90-6920-1692 [email protected] 3 Professor Yong Chul Park Lecturer /Sogang University Law School 4 Assistant Professor Dr.Lasse Schuldt Lecturer /Faculty of Law, Thammasat University 5 Mr. Chum Sovankunthearos Lecturer/ National Meanchey University,Cambodia +855 95 95 69 94 Sothearoscambodia @gmail.com 6 Dr. Go Lisanawati University of Surabaya, Indonesia +62312981120 lisanawatigo @gmail.com 7 นายวิพล กิติทัศนาสรชัย ผู้อำนวยการสำนักงานวิจัย กฎหมายอาญาและพัฒนา กระบวนการยุติธรรม สถาบันนิติวัชร์ สำนักงานอัยการสูงสุด 8 นางสาวณัฐวสา ฉัตรไพฑูรย์ รองอธิบดีสำนักงานวิชาการ สำนักงานอัยการสูงสุด 086-523-2774 [email protected] 9 ดร.มาร์ค เจริญวงศ์ อัยการจังหวัดประจำ สำนักงานอัยการสูงสุด 097-0078031 [email protected] 10 นางสาวเกสรสิริลีลาลัย นิติกร สถาบันนิติวัชร์ สำนักงานอัยการสูงสุด 098-2627629 [email protected]
276 ลำดับ ชื่อ - สกุล ตำแหน่ง/หน่วยงาน เบอร์โทร/อีเมล 11 ดร.สุนทรียา เหมือนพะวงศ์ รองอธิบดีผู้พิพากษาภาค 5 084-3600633 [email protected] 12 ดร.ศุภกิจ แย้มประชา ผู้พิพากษาศาลชั้นต้น ประจำสำนักประธานศาลฎีกา 090-9803348 [email protected] 13 นายถามวัติ สีเขียว ผู้อำนวยการสำนักงาน ประจำศาลแขวงเชียงราย 089-3595536 [email protected] 14 ดร.ระดาภัทร จงธรรมคุณ ผู้อำนวยการ สำนักบริหารยุทธศาสตร์ สำนักงานศาลปกครอง 0959240219 [email protected] 15 นายรณกร ปิยะชาติ ผู้อำนวยการ กลุ่มนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักบริหารยุทธศาสตร์ 089-1355115 [email protected] 16 นายทศพนธ์ นรทัศน์ เจ้าหน้าที่ศาลปกครอง ชำนาญการพิเศษ สำนักงานศาลปกครอง 021-4100741 [email protected] 17 นางสาวนวรัตน์ วงศ์เบญจรัตน์ เจ้าหน้าที่ศาลปกครอง ชำนาญการพิเศษ สำนักงานศาลปกครอง 087-9964956 [email protected] 18 นางสาวเกศราวรรณ์ คำลือ เจ้าหน้าที่ศาลปกครอง ชำนาญการ สำนักงานศาลปกครอง 080-0568342 [email protected] 19 ว่าที่ ร.ต. ก้องกิจ จารุมณีรัตน์ เจ้าหน้าที่ศาลปกครอง ชำนาญการ สำนักงานศาลปกครอง 021420059 [email protected] 20 นางสาวนันท์นภัส วงศ์สุธารส เจ้าหน้าที่ศาลปกครอง ชำนาญการ สำนักงานศาลปกครอง 080-5548989 [email protected] 21 นายธนกันต์ มีทอง เจ้าหน้าที่บริหารทรัพยากร บุคคลอาวุโส สำนักงาน คณะกรรมการป้องกันและ ปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ 02-5284800 [email protected] 22 ผศ.ดร.นงลักษณ์ อาณี คณบดีคณะมนุษย์ศาสตร์และ สังคมศาสตร์มหาวิทยาลัย ราชภัฏเพชรบูรณ์ 064-419-8995 [email protected] 23 นางสาวมนัสนันท์ ปิ่นพิทักษ์ อาจารย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ เพชรบูรณ์ 082-6592624 [email protected]
277 24 นางสาวเบญจวรรณ แม้นทอง ผู้ช่วยนักวิจัย ศูนย์นโยบายด้านเศรษฐกิจ สีเขียว (PRO-Green) 080-5841986 [email protected] 25 นางสาวพิชญาพร บุนนาค ผู้ช่วยนักวิจัย ศูนย์นโยบายด้านเศรษฐกิจ สีเขียว (PRO-Green) 087-7982719 [email protected] 26 นางปิยะมาศ กิจวีรวุฒิ เจ้าหน้าที่โครงการ 089-0076726 [email protected] 27 นางสาวอภิญญา พาทีไพเราะ ผู้ช่วยนักวิจัย มหาวิทยาลัยมหิดล 0906424514 [email protected] 28 นางสาวนิธินาถ คงเคว็จ นักศึกษาปริญญาโท มหาวิทยาลัยมหิดล 083-9216456 [email protected] 29 อาจารย์ ดร.ญาดา เธียรประสิทธิ์ อาจารย์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 097-0979574 [email protected] 30 ศาสตราจารย์ ณรงค์ ใจหาญ หัวหน้าโครงการ 095-3650104 [email protected] 31 รศ.ดร.ณภัทร สรอัฑฒ์ นักวิจัย 064-6546446 [email protected] 32 อ.ดร.ผ่องศรี เวสารัช นักวิจัย 089-4544984 [email protected] 33 อ.ดร.ภาคภูมิโลหวริตานนท์ ผู้ช่วยนักวิจัย 099-3103006 [email protected] 34 อ.ดร.ศุภวัฒน์ สุขะปรเมษฐ ผู้ช่วยนักวิจัย 084-5350680 [email protected] 35 นางสาวกนกพรรณ ชลชวลิต ผู้ช่วยนักวิจัย +81-08-8912-1350 [email protected] 36 นางสาวกนกวรรณ ชาติสุวรรณ ผู้ประสานงาน 081-979-2211 [email protected]
278 ภาคผนวก 2 รายชื่อผู้เข้าร่วมประชุมการรับฟังความคิดเห็น
279 รายชื่อผู้เข้าร่วมประชุมการรับฟังความคิดเห็น “การมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารงานและการอำนวยความยุติธรรม” วันศุกร์ที่23 ธันวาคม 2565 เวลา 13.00 – 16.30 น. โดยผ่านระบบออนไลน์ (Zoom) ลำดับ ชื่อ - สกุล ตำแหน่ง/หน่วยงาน เบอร์โทร/อีเมล 1 หม่อมหลวงศุภกิตต์ จรูญโรจน์ เลขาธิการสถาบันนิติวัชร์ สำนักงานอัยการสูงสุด 2 ดร.สุนทรียา เหมือนพะวงศ์ รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลภาค 5 สำนักงานศาลยุติธรรม 3 พ.ต.อ.ศิริพล กุศลศิลป์วุฒิ รองผู้บังคับการสถาบันส่งเสริม งานสอบสวน สำนักงานตำรวจแห่งชาติ 4 ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ สภาทนายความฯ 081-9165025 [email protected] 5 นายวิพล กิติทัศนาสรชัย ผู้อำนวยการสำนักวิจัยกฎหมาย อาญาและพัฒนากระบวนการ ยุติธรรม สถาบันนิติวัชร์ 062-6021075 [email protected] 6 นางสันทนี ดิษยบุตร ผู้อำนวยการสำนักเลขาธิการ สถาบันนิติวัชร์ 064-4714519 [email protected] 7 นายวศิน อุบลแก้ว นิติกรปฏิบัติการ สถาบันนิติวัชร์ 095-6205497/ [email protected] 8 นายภูษิต ตีระวนิชพงศ์ อัยการผู้เชี่ยวชาญพิเศษ สำนักงานอัยการสูงสุด 063-2030736 [email protected] 9 นายมาร์ค เจริญวงศ์ อัยการจังหวัดประจำสำนักงาน อัยการสูงสุด สำนักงานอัยการ คดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัด เชียงราย 097-0078031 [email protected] 10 นางสาวพรพิมล สวัสดิผล อัยการจังหวัดประจำสำนักงาน อัยการสูงสุด สคช.จังหวัดนนทบุรี 099-5034445 [email protected] 11 นางสาววรญาณี วุฒิธรเนติรักษ์ อัยการจังหวัดประจำสำนักงาน อัยการสูงสุด 062-6047090 [email protected] 12 ร.ต.อ. ดุษฎี กลิ่นเกษร อัยการจังหวัดผู้ช่วย สำนักงานอัยการจังหวัดชลบุรี 065-6695040 [email protected] 13 นางสาวเกสรสิริ ลีลาลัย นิติกร สำนักงานอัยการสูงสุด 02-1422164 [email protected]
280 ลำดับ ชื่อ - สกุล ตำแหน่ง/หน่วยงาน เบอร์โทร/อีเมล 14 นางสาวพจนีย์ อรุณประชารัตน์ นักจัดการงานทั่วไปชำนาญการ สำนักเลขาธิการ สำนักงาน อัยการสูงสุด (สนผ.) 092-6616361 [email protected] 15 นายอานนท์ จำปาดะ เจ้าพนักงานคดีปฏิบัติการ ศาลจังหวัดสงขลา [email protected] 16 นายธัชพงษ์ เสาธง ทนายความ สภาทนายความ ประจำศาลจังหวัดหล่มสัก 094-9818137 [email protected] 17 ดร. มุทิตา มากวิจิตร์ นักวิชาการ มหาวิทยาลัยมหิดล 082-8741563 [email protected] 18 นางสาวเบญจวรรณ แม้นทอง ผู้ช่วยนักวิจัย Pro-green คณะเศรษฐศาสตร์ มธ. 080-5841986 [email protected] 19 นางสาวพิชญาพร บุนนาค ผู้ช่วยนักวิจัย Pro-green คณะเศรษฐศาสตร์ มธ. 087-7982719 [email protected] 20 นางสาวญาณิศา เนื่องจำนงค์ นักศึกษาปริญญาโท มธ. 082-2130066 [email protected] 21 นายสมบูรณ์ จงลีรุจสิริสกุล เครือข่ายก่อการต้านเศร้า ป้าหนู รัชนี แมนเมธี 089-4896741 [email protected] 22 นางปิยะมาศ กิจวีรวุฒิ เจ้าหน้าที่โครงการ 089-0076726 [email protected] 23 อาจารย์ญาดา เธียรประสิทธิ์ อาจารย์ประจำ คณะนิติศาสตร์ มธ. 097-0979574 [email protected] 24 ศาสตราจารย์ ณรงค์ ใจหาญ หัวหน้าโครงการ 095-3650104 [email protected] 25 รศ.ดร.ณภัทร สรอัฑฒ์ นักวิจัย 064-6546446 [email protected] 26 อ.ดร.ผ่องศรี เวสารัช นักวิจัย 089-4544984 [email protected] 27 อ.ดร.ภาคภูมิ โลหวริตานนท์ ผู้ช่วยนักวิจัย 099-3103006 [email protected] 28 อ.ดร.ศุภวัฒน์ สุขะปรเมษฐ ผู้ช่วยนักวิจัย 084-5350680 [email protected] 29 นางสาวกนกพรรณ ชลชวลิต ผู้ช่วยนักวิจัย +81-08-8912-1350 [email protected] 30 นางสาวกนกวรรณ ชาติสุวรรณ ผู้ประสานงาน 081-979-2211 [email protected]
281 ภาคผนวก 3 รายชื่อผู้เข้าร่วมประชุมการรับฟังความคิดเห็นต่อร่างรายงานฉบับสมบูรณ์
282 รายชื่อผู้เข้าร่วมประชุมการรับฟังความคิดเห็นต่อร่างรายงานฉบับสมบูรณ์ เรื่อง “การมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารงานและการอำนวยความยุติธรรม” วันจันทร์ที่ 16 มกราคม 2566 เวลา 13.00 – 16.00 น. โดยผ่านระบบออนไลน์ (Zoom) จัดโดย สถาบันนิติวัชร์ สำนักงานอัยการสูงสุด ร่วมกับ สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ลำดับ ชื่อ - สกุล ตำแหน่ง/หน่วยงาน เบอร์โทร/อีเมล 1 นายวิพล กิติทัศนาสรชัย ผู้อำนวยการสำนักงานวิจัยกฎหมาย อาญาและพัฒนากระบวนการยุติธรรม สถาบันนิติวัชร์ สำนักงานอัยการ สูงสุด 2 นางสาวณัฐวสา ฉัตรไพฑูรย์ รองอธิบดีอัยการ สำนักงานวิชาการ 086-5232774 [email protected] 3 ดร.มาร์ค เจริญวงศ์ อัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการ สูงสุด สำนักงานอัยการคดีเยาวชน และครอบครัวจังหวัดเชียงราย 097-0078031 [email protected] 4 นายศราวุธ สุขแก้ว อัยการจังหวัด สำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิฯ จังหวัดภูเก็ต 099-3953999 [email protected] 5 นางวีณา อินทับ อัยการพิเศษฝ่ายคุ้มครองสิทธิและ ช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับ คดี ภาค 8 081-1703819 [email protected] 6 นายเอกนัย พันธ์นิล นิติกรชำนาญการ สำนักงานคดีศาลสูงภาค 9 098-8318987 [email protected] 7 เรืออากาศโท สงวน สวัสดิ์วงค์ อัยการผู้เชี่ยวชาญพิเศษ สำนักงานคดี ปกครอง 084-3615142 [email protected] 8 นายอำนวย ศาลา นักวิชาการคอมพิวเตอร์ชำนาญการ พิเศษ สำนักศาลยุติธรรมประจำภาค 2 086-5253559 [email protected] 9 นายอภิวัฒน์ จิตวิลัย นิติกรชำนาญการ สำนักงานคดีศาลสูงภาค 3 086-0451459 [email protected] 10 นางสาวกษมา ชัยชนะสุวรรณ เจ้าหน้าที่ศาลยุติธรรมปฏิบัติงาน ศาลจังหวัดทุ่งสง 089-5915067 kasamachaichanasuwan@ gmail.com 11 นางสาวจิรนันต์ ขาวหมดจด เจ้าหน้าที่ศาลยุติธรรมปฏิบัติงาน ศาลจังหวัดทุ่งสง 086-0354421 [email protected]