3 กครอง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และประชาชน30
84 1.3 การมีส่วนร่วมของประชาชนในเรื่องอื่น ๆ ที่มิใช่การกำหนดนโยบายและการตรวจสอบ การปฏิบัติตามนโยบาย นอกเหนือจากการมีส่วนร่วมของประชาชนในรูปแบบของการเข้ามาเป็นกรรมการในกรรมการ ชุดต่าง ๆ ตามที่ได้กล่าวไป แล้วข้างต้น ซึ่งเป็นการมีส่วนร่วมในเรื่องการกำหนดนโยบายและ การตรวจสอบการปฏิบัติตามนโยบายแล้ว ประชาชนก็อาจเข้ามามีส่วนร่วมกับตำรวจในเรื่องอื่น ๆ ที่มิใช่การกำหนดนโยบายและการตรวจสอบการปฏิบัติตามนโยบายได้ ทั้งนี้เป็นไปตามระเบียบ ก.ต.ช. ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการส่งเสริมให้ท้องถิ่นและชุมชนมีส่วนร่วมในกิจการตำรวจ พ.ศ. 2549 และ ระเบียบสำนักงานตำรวจแห่งชาติว่าด้วยการส่งเสริมให้ประชาชน ชุมชน ท้องถิ่นและองค์กรมีส่วนร่วมใน กิจการตำรวจ พ.ศ. 255131 ซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้ 1.3.1 ระเบียบ ก.ต.ช. ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการส่งเสริมให้ท้องถิ่นและชุมชน มีส่วนร่วมในกิจการตำรวจ พ.ศ. 2549 1) ลักษณะของการมีส่วนร่วมในกิจการตำรวจ ระเบียบฉบับนี้ได้กำหนดลักษณะของการมีส่วนร่วมในกิจการตำรวจเอาไว้ว่า ลักษณะของการมีส่วนร่วมในกิจการตำรวจ ได้แก่32 (1) การมีส่วนในการคิด ศึกษา และค้นคว้าหาสภาพและสาเหตุของปัญหา ตลอดจน ความต้องการของท้องถิ่นและชุมชน (2) การมีส่วนร่วมในการริเริ่มและตัดสินใจกำหนดกิจกรรมเพื่อลดและแก้ไขปัญหาของ ท้องถิ่นและชุมชน (3) การมีส่วนร่วมในการปฏิบัติ และ/หรือ การให้ความร่วมมือในการปฏิบัติ และ/หรือ การสนับสนุนทรัพยากรต่าง ๆ เพื่อใช้ในการปฏิบัติตามกิจกรรมเพื่อลดและแก้ไขปัญหาของท้องถิ่นและ ชุมชน (4) การมีส่วนร่วมในการรตรวจสอบและติดตามการดำเนินกิจกรรม (5) การมีส่วนร่วมในการเสนอแนะและปรับปรุง 31ระเบียบ ก.ต.ช. ว่าด้วย หลักเกณฑ์และวิธีการส่งเสริมให้ท้องถิ่นและชุมชนมีส่วนร่วมในกิจการตำรวจ พ.ศ. 2549 และ ระเบียบสำนักงาน ตำรวจแห่งชาติว่าด้วยการส่งเสริมให้ประชาชน ชุมชน ท้องถิ่นและองค์กรมีส่วนร่วมในกิจการตำรวจ พ.ศ. 2551 นี้ออกโดยอาศัยอำนาจตาม พระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2547 อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบัน แม้จะมีการตราพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2565 ขึ้น แต่ก็ยังมิได้มีการออกระเบียบเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ในเรื่องทีเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของท้องถิ่นและชุมชนมนกิจการตำรวจ ดังนั้น ระเบียบทั้งสองระเบียบดังกล่าวจึงยังคงมีผลใช้บังคับอยู่จนกว่าจะได้มีการออกระเบียบใหม่ในเรื่องเดียวกัน เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับ พระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2565 32ระเบียบ ก.ต.ช. ว่าด้วย หลักเกณฑ์และวิธีการส่งเสริมให้ท้องถิ่นและชุมชนมีส่วนร่วมในกิจการตำรวจ พ.ศ. 2549, ข้อ 5
85 2) การมีส่วนร่วมของท้องถิ่นและชุมชนในกิจการตำรวจ33 ระเบียบฉบับนี้ได้กำหนดเอาไว้ว่า ท้องถิ่นและชุมชนสามารถมีส่วนร่วมในกิจการตำรวจ ด้านต่าง ๆ ดังต่อไปนี้34 (1) ด้านการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม (2) ด้านการรักษาความสงบเรียบร้อยและรักษาความปลอดภัยของประชาชน (3) ด้านการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (4) ด้านการจราจร (5) ด้านการดูแลสาธารณสมบัติ (6) ด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในท้องถิ่น มีข้อสังเกตว่า การมีส่วนร่วมของประชาชนในกิจการตำรวจตามระเบียบนี้เป็นการมี ส่วนร่วมที่ไม่ได้จำกัดเพียงแค่การมีส่วนร่วมในการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมหรือการรักษา ความสงบเรียบร้อยซึ่งเป็นภารกิจพื้นฐานของตำรวจในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาเท่านั้น35แต่ยัง รวมไปถึงการมีส่วนร่วมในด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับประโยชน์สาธารณะหรือท้องถิ่นด้วย เช่น การจราจร การดูแลสาธารณสมบัติ เป็นต้น ทั้งนี้ ให้สถานีตำรวจนครบาลและสถานีตำรวจภูธรเป็นหน่วยงานที่ให้ท้องถิ่นและ ประชาชนในชุมชนสามารถเข้ามีส่วนร่วมในกิจการตำรวจได้ตามที่ กต.ตร.สน. หรือ กต.ตร.สภ. กำหนด36 โดยคำนึงถึงปัจจัยทางด้านอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย สภาพทางภูมิศาสตร์เศรษฐกิจ สังคม ประเพณี วัฒนธรรมและวิถีการดำรงชีวิตของแต่ละท้องถิ่นและชุมชนเป็นสำคัญ 1.3.2 ระเบียบสำนักงานตำรวจแห่งชาติว่าด้วยการส่งเสริมให้ประชาชน ชุมชน ท้องถิ่นและองค์กรมีส่วนร่วมในกิจการตำรวจ พ.ศ. 2551 เนื่องจากระเบียบ ก.ต.ช. ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการส่งเสริมให้ท้องถิ่นและชุมชน มีส่วนร่วมในกิจการตำรวจ พ.ศ. 2549 ได้กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการส่งเสริมให้ท้องถิ่นและชุมชน มีส่วนร่วมในกิจการตำรวจ พ.ศ. 2549 เอาไว้กว้าง ๆ โดยมิได้มีการกำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับการมี ส่วนร่วมของประชาชนในด้านต่าง ๆ อย่างเป็นรูปธรรม สำนักงานตำรวจแห่งชาติจึงได้มีการออก ระเบียบสำนักงานตำรวจแห่งชาติว่าด้วยการส่งเสริมให้ประชาชน ชุมชน ท้องถิ่นและองค์กรมีส่วนร่วม 33ข้อ 4 ของระเบียบ ก.ต.ช. ว่าด้วย หลักเกณฑ์และวิธีการส่งเสริมให้ท้องถิ่นและชุมชนมีส่วนร่วมในกิจการตำรวจ พ.ศ. 2549 ได้ให้นิยาม ของ “ท้องถิ่น”และ “ชุมชน” เอาไว้ว่า “ท้องถิ่น” หมายความว่า องค์กรปกครองสวนทองถิ่นตามที่กฎหมายบัญญัติซึ่งอยู่ในเขตพื้นที่ความรับผิดชอบของสถานีตำรวจ นครบาลหรือสถานีตำรวจภูธรนั้น “ชุมชน” หมายความว่า กลุ่มประชาชนที่มีภูมิลำเนา พักอาศัย หรือประกอบกิจการที่อยู่ในเขต พื้นที่ความรับผิดชอบของ สถานีตำรวจนครบาลหรือสถานีตำรวจภูธรนั้น 34ระเบียบ ก.ต.ช. ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการส่งเสริมให้ท้องถิ่นและชุมชนมีส่วนร่วมในกิจการตำรวจ พ.ศ. 2549, ข้อ 6 35พระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2565, มาตรา 6 36ระเบียบ ก.ต.ช. ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการส่งเสริมให้ท้องถิ่นและชุมชนมีส่วนร่วมในกิจการตำรวจ พ.ศ. 2549, ข้อ 8
86 ในกิจการตำรวจ พ.ศ. 2551 เพื่อให้การส่งเสริมให้ประชาชน ชุมชนและท้องถิ่นมีส่วนร่วมในกิจการ ตำรวจเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพ ซึ่งสามารถสรุปสาระสำคัญของระเบียบ ฉบับดังกล่าวได้ ดังนี้ 1) รูปแบบการมีส่วนร่วมของประชาชนทั่วไปในกิจการตำรวจ ตามระเบียบฉบับนี้ได้กำหนดรูปแบบการมีส่วนร่วมในกิจการตำรวจไว้ 3 รูปแบบ ที่สำคัญ ด้วยกัน คือ การมีส่วนร่วมของประชาชนทั่วไป การมีส่วนร่วมขององค์กร และการมีส่วนร่วมของ พนักงานรักษาความปลอดภัยเอกชน37อย่างไรก็ตาม ในรายงานการศึกษาฉบับนี้จะได้กล่าวถึงเฉพาะ ในส่วนของการมีส่วนร่วมของประชาชนทั่วไปเท่านั้น การมีส่วนร่วมของประชาชนทั่วไปตามระเบียบนี้ แบ่งออกได้เป็น 2 ลักษณะ คือ ลักษณะ ของเครือข่ายชุมชนลักษณะปฏิบัติการ ซึ่งเป็นการเข้ามามีส่วนร่วมในกิจการตำรวจของประชาชน ในลักษณะของการเปิดเผยแสดงตัว มีการกำหนดให้แต่งเครื่องแบบชัดเจน มีบัตรประจําตัวสมาชิก และ รหัสสมาชิก38และลักษณะของเครือข่ายชุมชน ลักษณะแนวร่วม ซึ่งเป็นการเข้ามามีส่วนร่วมในกิจการ ตำรวจของประชาชน ทั้งในลักษณะของการเปิดเผยแสดงตัว หรือในลักษณะที่ไม่ต้องการเปิดเผยตัว โดยที่ไม่ต้องกำหนดให้แต่งเครื่องแบบ และอาจมีหรือไม่มีบัตรประจําตัวสมาชิก และรหัสสมาชิก39 2) หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของประชาชนทั่วไปในกิจการตำรวจ การมีส่วนร่วมของประชาชนทั่วไป เป็นการแสวงหาความร่วมมือจากประชาชนของสถานี ตำรวจ ใน 2 ลักษณะ ได้แก่40 2.1) เครือข่ายชุมชนลักษณะปฏิบัติการ เป็นการเข้ามามีส่วนร่วมของประชาชนในการร่วมปฏิบัติกับตำรวจเพื่อป้องกัน ปราบปรามอาชญากรรม รักษาความสงบเรียบร้อยและรักษาความปลอดภัยให้แก่ชุมชนและท้องถิ่น ช่วยเหลือและสนับสนุนการจัดการจราจร รวมถึงการเข้าร่วมในการป้องกันภัย ระงับเหตุและช่วยเหลือ หรือกู้ภัยจากอุบัติภัยต่าง ๆ ในลักษณะดังต่อไปนี้41 อาสาสมัครตำรวจบ้าน เป็นการแสวงหาความร่วมมือจากประชาชนให้เข้ามาร่วมปฏิบัติกับเจ้าพนักงาน ตำรวจในการป้องกันปราบปรามอาชญากรรม ยาเสพติด และอุบัติภัยต่าง ๆ รวมทั้งการตรวจตราของ ตำรวจสายตรวจ 37ระเบียบสำนักงานตำรวจแห่งชาติว่าด้วยการส่งเสริมให้ประชาชน ชุมชน ท้องถิ่นและองค์กรมีส่วนร่วมในกิจการตำรวจ พ.ศ. 2551, ข้อ 5 38เพิ่งอ้าง, ข้อ 4 39เพิ่งอ้าง 40เพิ่งอ้าง, ข้อ 7 41เพิ่งอ้าง, ข้อ 8 (2)
87 บทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบของอาสาสมัครตำรวจบ้าน (1) เป็นผู้ช่วยเหลือเจ้าพนักงานตำรวจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (2) เป็นผู้ช่วยเหลือเจ้าพนักงานตำรวจในการรักษาความสงบเรียบร้อย การบริการ และอํานวยความสะดวกด้านการจราจร (3) แจ้งเหตุด่วนเหตุร้าย ข้อมูลอาชญากรรม เบาะแสคนร้าย คดีอาญาทั่วไปและคดี ยาเสพติด (4) ร่วมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจตั้งจุดตรวจจุดสกัดในพื้นที่ (5) ประสานงานระหว่างเจ้าหน้าที่ตำรวจกับผู้นําชุมชนในหมู่บ้าน รวมทั้งเป็นเครือข่าย ของฝ่ายเจ้าหน้าที่ตำรวจและเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองในพื้นที่ (6) นอกเหนือจาก (1) ถึง (5) อำนาจในการจับกุมผู้กระทำความผิดให้เป็นไปตาม บทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา การปฏิบัติหน้าที่อาสาสมัครตำรวจบ้าน (1) ให้สถานีตำรวจร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กํานัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำชุมชน คัดเลือกบุคคลที่สมัครใจเป็นสมาชิกอาสาสมัครตำรวจบ้าน โดยใช้หลักเกณฑ์การคัดเลือกสมาชิก หมู่บ้านละ 5-10 คน (2) ให้สถานีตำรวจจัดทำโครงการฝึกอบรมให้มีความรู้ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ (3) อาสาสมัครตำรวจบ้านที่ผ่านการฝึกอบรมทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ ให้หัวหน้าสถานีตำรวจมอบวุฒิบัตรและบัตรประจำตัวอาสาสมัครตำรวจบ้าน พร้อมทั้งออกคำสั่งแต่งตั้ง เป็นผู้ช่วยเหลือเจ้าพนักงานตำรวจ (4) ให้สถานีตำรวจจัดฝึกทบทวนในเชิงปฏิบัติการแก่สมาชิกอาสาสมัครตำรวจบ้าน ปีละ 1 ครั้ง และซักซ้อมการปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นผู้ช่วยเหลือเจ้าพนักงานตำรวจ (5) ให้สถานีตำรวจจัดทำรายงานผลการปฏิบัติงาน อุปสรรคปัญหา และข้อขัดข้อง ทุก 6 เดือน อาสาจราจร เป็นการดำเนินการจัดกลุ่มเยาวชน ราษฎรอาสาสมัคร ผู้แทนชุมชน หน่วยงานเอกชน เป็นต้น โดยผ่านการฝึกอบรมอาสาจราจรให้มีความรู้เกี่ยวกับระเบียบ กฎหมาย ด้านการจราจร ทักษะ และการใช้รถใช้ถนนที่ถูกต้อง เพื่อร่วมแก้ไขปัญหาจราจร โดยให้เป็นผู้ช่วยเหลือเจ้าพนักงานตำรวจ บทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบของอาสาจราจร บุคคลที่จะเป็นอาสาจราจร จะต้องผ่านการฝึกอบรมและทดสอบความรู้ของหลักสูตร อาสาจราจร และได้รับการแต่งตั้งเป็นอาสาจราจร โดยใหหน่วยงานหรือสถานีตำรวจเป็นผู้จัดการ ฝึกอบรม จัดทำทะเบียนประวัติ กำหนดหมายเลขประจําตัว และทำหน้าที่ดังนี้
88 (1) การตรวจ ควบคุม และการจัดการจราจรบริเวณที่มีการจราจร ติดขัด คับคั่ง ในกรณีที่เกิดเหตุฉุกเฉิน หรือกรณีพนักงานเจ้าหน้าที่ร้องขอ เว้นแต่กรณีไม่มีพนักงานเจ้าหน้าที่อยู่ในที่นั้น ก็สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้โดยลำพัง (2) ดูแล การหยุดรถ จอดรถ การข้ามทาง ในบริเวณที่มีการฝ่าฝืนกฎหมายจนทำให้ การจราจรไม่สะดวก เพื่อให้การจราจรมีความสะดวกและปลอดภัย (3) ชี้แจง ตักเตือน แนะนํา ตลอดจนประชาสัมพันธ์ให้ผู้ใช้รถใช้ถนนทราบถึงระเบียบ วิธีการที่ถูกต้องและปฏิบัติตามวินัยจราจร (4) รายงานการกระทำผิดของผู้ขับรถ การชํารุดเสียหาย ข้อขัดข้องของเครื่องหมาย และสัญญาณจราจรให้เจ้าหน้าที่ตำรวจทราบเพื่อดำเนินการในขั้นตอนต่อไป (5) แจ้งอุบัติเหตุการจราจรให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทราบโดยมิชักช้า การปฏิบัติหน้าที่อาสาจราจร (1) ให้สถานีตำรวจแต่งตั้งคณะทำงานดำเนินการอาสาจราจร ประกอบด้วย -ที่ปรึกษา แบ่งเป็น 2ส่วน คือ ส่วนกลางกรุงเทพมหานครได้แก่ ผู้แทนสถาบันการศึกษา ผู้แทนสำนักงานเขต ผู้แทนผู้ประกอบธุรกิจ กต.ตร.สน. ส่วนภูมิภาค ได้แก่ ผู้แทนนายอำเภอ นายกเทศมนตรี เทศบาล นายกองค์การบริหารส่วนตำบล ผู้อำนวยการสถานศึกษา ภาคเอกชน กต.ตร.สภ. -คณะทำงาน ได้แก่ เจ้าหน้าที่ตำรวจผู้ปฏิบัติงานจราจรประชาชนในพื้นที่ และอาสา จราจร (2) ให้สถานีตำรวจศึกษาข้อมูล จัดประชุมคณะทำงานเพื่อวางแผนกำหนดแนวทาง ดำเนินการ ระยะเวลาการดำเนินการ และการประเมินผล (3) ให้สถานีตำรวจฝึกอบรมอาสาจราจร (4) ให้สถานีตำรวจจัดทำบัตรประจําตัวอาสาจราจรตามแบบท้ายระเบียบ (5) ให้สถานีตำรวจจัดทำรายงานผลการปฏิบัติงาน อุปสรรคปัญหา และข้อขัดข้อง ทุก 6 เดือน เครือข่ายชุมชนลักษณะแนวร่วม42 เป็นการแสวงหาความร่วมมือจากประชาชนในพื้นที่ที่รับผิดชอบ เช่น ตั้งเครือข่าย เพื่อติดต่อสื่อสารระหว่างสมาชิกเพื่อแจ้งข่าวอาชญากรรม การสร้างชุมชนเข้มแข็ง และความร่วมมือ ในลักษณะเพื่อนบ้านเตือนภัย เป็นต้น บทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบของอาสาสมัครแนวร่วม (1) ผู้ผ่านการอบรมเป็นแกนนำให้คำปรึกษา ให้ความรู้ด้านต่าง ๆแก่ประชาชนในพื้นที่ ที่พักอาศัยหรือประกอบอาชีพ 42ระเบียบสำนักงานตำรวจแห่งชาติว่าด้วยการส่งเสริมให้ประชาชน ชุมชน ท้องถิ่นและองค์กรมีส่วนร่วมในกิจการตำรวจ พ.ศ. 2551, ข้อ 9 (2)
89 (2) เป็นตัวแทนในการประชาสัมพันธ์ขอความร่วมมือจากชุมชน/ท้องถิ่น (3) จัดข้อมูลเบื้องต้นของชุมชน/ท้องถิ่นเกี่ยวกับพฤติการณ์ของบุคคลในพื้นที่ เพื่อใช้ ประกอบการปฏิบัติงานร่วมกับกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ (4) แจ้งข้อมูลเบาะแสข่าวสารกับอาชญากรรมยาเสพติดและอุบัติภัย การปฏิบัติหน้าที่ของอาสาสมัครแนวร่วม (1) กต.ตร.สน./กต.ตร.สภ. พิจารณาคัดเลือกผู้เข้ารับการฝึกอบรม โดยมีที่ปรึกษา แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนกลาง กรุงเทพมหานคร ได้แก่ ผู้แทนสำนักงานเขต ผู้แทนสถาบันการศึกษา หัวหน้าสถานีตำรวจ กต.ตร.สน. ส่วนภูมิภาค ได้แก่ ผู้แทนฝ่ายปกครอง หัวหน้าสถานีตำรวจ ผู้บริหาร องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้แทนภาครัฐ กต.ตร.สภ. และเอกชน (2) ให้สถานีตำรวจประชุมวางแผนร่วมกับผู้นำชุมชน/ท้องถิ่น ประชาชน และ กลุ่มเป้าหมายเครือข่ายชุมชนลักษณะแนวร่วม (3) ให้สถานีตำรวจจัดให้มีการฝึกอบรมสมาชิกอาสาสมัครแนวร่วม (4) ให้สถานีตำรวจจัดทำประวัติสมาชิกอาสาสมัครแนวร่วม ออกบัตรหมายเลข สมาชิก บันทึกผลงาน ควบคุมการต่ออายุ การเปลี่ยนแปลงบัตร (5) ให้สถานีตำรวจกำหนดระบบและแนวทางการประสานงานระหว่างสมาชิก อาสาสมัครแนวร่วมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ (6) ให้สถานีตำรวจควบคุม และติดตามผลการปฏิบัติงานของสมาชิกอาสาสมัครแนวร่วม ทั้งในและนอกพื้นที่รับผิดชอบของสถานีตำรวจ 2. การมีส่วนร่วมของประชาชนในชั้นอัยการ 2.1 นโยบายเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในชั้นอัยการ เนื่องจากหน้าที่ของพนักงานอัยการในการดำเนินคดีอาญาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา ความอาญา ในชั้นก่อนฟ้องมีเพียงการพิจารณาสำนวนการสอบสวนจากพนักงานสอบสวนเพื่อสั่งสำนวน การสอบสวนตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 143 และ มาตรา 144 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ดังนั้น ในกระบวนการเกี่ยวกับการสั่งคดีจึงเป็นอำนาจหน้าที่ของพนักงานอัยการเป็นหลัก มิได้ให้ ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพิจารณาสั่งคดื จากบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 248 บัญญัติให้ องค์กรอัยการเป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญมีหน้าที่อำนาจตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญและกฎหมาย โดยพนักงานอัยการมีอิสระในการพิจารณาสั่งคดี และปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปโดยความรวดเร็ว เที่ยงธรรม และปราศจากอคติทั้งปวง และไม่ให้ถือว่าเป็นคำสั่งทางปกครอง ซึ่งจากบทบัญญัตินี้เองแสดงให้เห็นว่า พนักงานอัยการมีอิสระในการพิจารณาสั่งคดี และปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรวดเร็ว เที่ยงธรรม และ ปราศจากอคติ ซึ่งถือเป็นหลักการสำคัญในการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีอาญาในระดับสากล
90 สำหรับ วิสัยทัศน์ของสำนักงานอัยการสูงสุด กำหนดไว้ว่า “องค์กรนำในการใช้กฎหมายเพื่อ รักษาความยุติธรรมให้กับประชาชนและสังคม” และได้กำหนดพันธกิจไว้สี่ประการ43 ดังนี้ 1. ยกระดับคุณภาพมาตรฐานงานตามภารกิจด้านการอำนวยความยุติธรรม การรักษา ผลประโยชน์ของรัฐและประชาชน และการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพและช่วยเหลือทางกฎหมาย แก่ประชาชนให้มีคุณภาพ โปร่งใส ตรวจสอบได้ เพื่อให้ประชาชนเชื่อมั่นและศรัทธา 2. พัฒนาความร่วมมือ บูรณาการเครือข่ายองค์กรหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งในประเทศและ ต่างประเทศ ด้านการพัฒนากระบวนการยุติธรรมให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปและ ตอบสนองต่อนโยบายรัฐบาลเพื่อประโยชน์ต่อส่วนรวมของประเทศ 3. เพิ่มศักยภาพมาตรฐานกลไกการบริหารจัดการระบบงานและกระบวนการทำงานที่สำคัญ รวมทั้งการพัฒนาระบบติดตามประเมินผลและระบบจัดการองค์ความรู้เพื่อมุ่งสู่การสร้างนวัตกรรมโดยมี เทคโนโลยีดิจิทัลเป็นพื้นฐาน 4. พัฒนาองค์กรให้มีคุณภาพคู่คุณธรรมตามหลักธรรมาภิบาล บุคลากรมีสมรรถนะสูง มีคุณธรรม จริยธรรม และมีคุณภาพชีวิตที่ดี นโยบายการบริหารชองผู้บริหารองค์กรอัยการ กำหนดไว้ว่า “ยกระดับ ปรับเปลี่ยน วางรากฐาน สานต่ออนาคต” โดยมีนโยบายหลัก 4 ประการ44 คือ 1. ยกระดับ การอำนวยความยุติธรรม รักษาประโยชน์ของรัฐ คุ้มครองสิทธิและเสรีภาพและ ช่วยเหลือประชาชนด้านกฎหมายบนพื้นฐานของความร่วมมือและเทคโนโลยี 2. ปรับเปลี่ยน และพัฒนาระบบงานขององค์กรอัยการให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกและ ความหลากหลายทางสังคม เพื่อให้เกิดความยุติธรรมสำหรับทุกฝ่ายอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล 3. วางรากฐาน เพื่อสร้างระบบและกลไกในการเข้าถึงความยุติธรรมสำหรับทุกคน วางระบบ นิเวศองค์กร (Eco-system) ที่เหมาะสมกับการทำงาน และสร้างความเชี่ยวชาญเฉพาะทางวิชาชีพ 4. สานต่อ อนาคตโดยสร้างกลไก เครื่องมือ และแนวทางการพัฒนาบนพื้นฐานการบริหาร อย่างต่อเนื่อง เพื่อส่งต่อองค์ความรู้ที่จะนำสำนักงานอัยการสุงสุดสู่การเป็นองค์กรของนักกฎหมาย เพื่อสังคม และสร้างความยุติธรรมที่ดีขึ้นอย่างยั่งยืน (Better Justice) จากวิสัยทัศน์ พันธกิจและนโยบายการบริหารงานของสำนักงานอัยการสูงสุดที่กล่าวมาข้างต้น เห็นได้ว่าสำนักงานอัยการสูงสุดที่นโยบายที่ชัดเจนในการให้บริการเกี่ยวกับการอำนวยความยุติธรรม และมีเป้าหมายที่จะยกระดับการดำเนินงานที่ได้มาตรฐาน เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ประชาชน และแก่ส่วนรวม อีกทั้งมีเป้าหมายให้เกิดความยุติธรรมในทุกฝ่ายอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล การดำเนินงานจะต้องมีความโปร่งใส และเป็นธรรม ซึ่งเห็นได้ว่าเป็นนโยบายที่ต้องการให้บริการด้าน กระบวนการยุติธรรมอย่างมีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ดี จากนโยบายดังกล่าวเป็นการกำหนดให้ ด้านภารกิจของสำนักงานอัยการสูงสุดว่าจะทำหน้าที่นั้นอย่างไร แต่มิได้กล่าวถึงบทบาทของประชาชน 43โปรดดู วิสัยทัศน์และพันธกิจของสำนักงานอัยการสูงสุด www.ago.go.th, retrived 6/03/2023 44โปรดดู นโยบายการบริหารของสำนักงานอัยการสูงสุด www.ago.go.th, retrived 6/03/2023
91 ที่จะมีส่วนร่วมในภารกิจของสำนักงานอัยการสูงสุดที่จะอำนวยความยุติธรรมให้แก่ประชาชนนั้น จะมีส่วนในการประสานงานหรือร่วมในการดำเนินงานตามภารกิจขององค์กรอัยการอย่างไร จึงเป็นการ กำหนดนโยบายในเชิงการให้บริการโดยองค์กร แต่ยังไม่ได้กำหนดกลไกว่าประชาชนจะมีส่วนร่วมกับ การดำเนินงานของสำนักงานอัยการสูงสุดได้อย่างไร อย่างไรก็ดี อัยการสูงสุดได้มีนโยบายที่จะให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาสำนักงานอัยการ จังหวัด ตามนโยบายของการบริหารงานยุติธรรมที่ให้เป็น “องค์กรนำในการใช้กฎหมายเพื่อรักษา ความยุติธรรมให้กับประชาชนและสังคม” และตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560-2564 ยุทธศาสตร์ที่ 2 การสร้างความเป็นธรรมและลดความเหลื่อมล้ำในสังคม ส่งเสริมให้ ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการยุติธรรม ช่วยในการสะท้อนหรือให้ข้อมูลเกี่ยวกับปัญหาเรื่อง ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในท้องที่ รวมถึงปัญหาเกี่ยวกับเรื่องการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม หรือการดำเนินคดี ให้หน่วยงานอัยการสูงสุดทราบ จึงได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการการมีส่วนร่วมภาคประชาชน ในสำนักงานอัยการจังหวัดขึ้น โดยอัยการจังหวัดจะแต่งตั้งบุคคลจากประชาชนทั่วไปที่มาจาก หลากหลายอาชีพ และบรรลุนิติภาวะแล้วมาเป็นคณะกรรมการดังกล่าวจำนวนไม่เกินห้าคน มีวาระ การดำรงตำแหน่งคราวละสองปี และจัดให้มีการประชุมเดือนละหนึ่งครั้ง และให้คำปรึกษาแก่อัยการ จังหวัด และมีกิจกรรมที่ร่วมกับอัยการจังหวัด โดยการร่วมประชุมและร่วมกิจกรรมต่าง ๆ สนับสนุนและ อำนวยความสะดวกให้กับสำนักงานอัยการจังหวัด เช่น การสนับสนุนอาหารกลางวันในกรณีที่มี การอบรมกฎหมายแก่ประชาชน หรือสนับสนุนด้านครุภัณฑ์แก่สำนักงานอัยการ เป็นต้น แต่ไม่ได้มี บทบาทในการเสนอแนะหรือตรวจสอบการสั่งคดีของพนักงานอัยการแต่อย่างใด การแต่งตั้งคณะกรรมการการมีส่วนร่วมภาคประชาชนในการพัฒนาสำนักงานอัยการจังหวัด ยังไม่มีหลักเกณฑ์การคัดเลือกที่ชัดเจนเหมือนแนวทางของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพราะถือเป็น การเริ่มต้นของการเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมกับสำนักงานอัยการ คณะที่ปรึกษาได้เก็บ ข้อมูลภาคสนาม ซึ่งจะนำเสนอต่อไปในบทที่ 4 2.2 กฎหมายเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในชั้นอัยการ 2.2.1 การมีส่วนร่วมในระดับคณะกรรมการบริหารงานอัยการ พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. 255345 ลักษณะ 2 ว่าด้วย คณะกรรมการอัยการ (ก.อ.) มาตรา 1846 กำหนดให้คณะกรรมการ ก.อ. ดังนี้ (1) ประธาน ก.อ. ซึ่งข้าราชการอัยการเว้นแต่ผู้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วยเป็นผู้เลือกจาก ผู้รับบำเหน็จหรือบำนาญตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ หรือกฎหมายว่าด้วยกองทุน บำเหน็จบำนาญข้าราชการ และเคยรับราชการเป็นข้าราชการอัยการมาแล้วในตำแหน่งไม่ต่ำกว่าอธิบดี 45ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 127 ตอนที่ 75 ก. ลงวันที่ 7 ธันวาคม 2553 46มาตรา 18 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2561
92 อัยการ หรืออธิบดีอัยการภาค หรือเคยรับราชการในตำแหน่งไม่ต่ำกว่าอธิบดีหรือหัวหน้าส่วนราชการ ที่เทียบเท่า ทั้งนี้ต้องไม่เป็นสมาชิกหรือเจ้าหน้าที่พรรคการเมืองในระยะสิบปีก่อนได้รับเลือก (2) อัยการสูงสุดเป็นรองประธาน ก.อ. (3) รองอัยการสูงสุดตามลำดับอาวุโส จำนวนห้าคนเป็นกรรมการอัยการ (4) กรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนหกคน ซึ่งข้าราขการอัยการเว้นแต่ผู้ดำรงตำแหน่ง อัยการผู้ช่วยเป็นผู้เลือกจาก (ก) ข้าราชการอัยการชั้น 5 ขึ้นไป ซึ่งมิได้เป็นกรรมการอัยการโดยตำแหน่งอยู่แล้ว จำนวนสี่คน (ข) ผู้รับบำเหน็จหรือบำนาญตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการหรือ กฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ซึ่งเคยรับราชการเป็นข้าราขการอัยการมาแล้ว จำนวนสองคน (5) กรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนสองคน ซึ่งข้าราชการอัยการ เว้นแต่ผู้ดำรง ตำแหน่งอัยการผู้ช่วยเป็นผู้เลือกจากผู้ซึ่งไม่เป็นหรือเคยเป็นข้าราชการอัยการมาก่อนและเป็น ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการงบประมาณ ด้านการพัฒนาองค์กร หรือด้านการบริหารจัดการ ให้อธิบดีอัยการ สำนักงานคณะกรรมการอัยการ เป็นเลขานุการ ก.อ. ส่วนคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามของ ประธาน ก.อ. และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ตามมาตรา 18 (4) (ข) และ (5) กำหนดไว้ในมาตรา 1947 ดังนี้ ก. คุณสมบัติทั่วไป (1) เป็นผู้มีสัญชาติไทยโดยการเกิด (2) มีอายุไม่ต่ำกว่าสี่สิบปี (3) สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ข. ลักษณะต้องห้าม (1) มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 49 ข. (1) (2) (3) (4) หรือ (5) (2) เป็นสมาชิกรัฐสภา ข้าราชการการเมือง สมาชิกสภาท้องถิ่น ผู้บริหารท้องถิ่น กรรมการ พรรคการเมือง สมาชิกพรรคการเมือง หรือผู้ดำรงตำแหน่งอื่นของพรรคการเมือง (3) เป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ตุลาการศาลปกครอง กรรมการการเลือกตั้ง กรรมการ ตรวจเงินแผ่นดิน ผู้ตรวจการแผ่นดิน กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติกรรมการ สิทธิมนุษยชนแห่งชาติ หรือกรรมการในคณะกรรมการตุลาการศาลปกครองหรือศาลอื่น (4) เป็นข้าราชการอัยการ ข้าราขการตำรวจ ข้าราชการตุลาการศาลยุติธรรม ตุลาการศาล ทหาร หรือทนายความ 47มาตรา 19 แก้ไขเพิ่มเติมโดย พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2561
93 (5) เป็นคนไร้ความสามารถ คนเสมือนไร้ความสามารถ หรือคนวิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือน ไม่สมประกอบ (6) เป็นพนักงานหรือลูกจ้างของรัฐวิสาหกิจ (7) ประกอบอาชีพหรือวิชาชีพอื่นใดอันเป็นการกระทบกระเทือนถึงการปฏิบัติหน้าที่ ในตำแหน่งประธาน ก.อ. หรือกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิ (8) เคยเป็นประธาน ก.อ. หรือกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิ เว้นแต่เป็นกรณีตามมาตรา 23 วรรคสาม ซึ่งไม่ให้นับเป็นวาระการดำรงตำแหน่ง วาระการดำรงตำแหน่งของประธาน ก.อ. มีวาระสองปีนับแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง ส่วนกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิมีวาระสองปีนับแต่วันที่อัยการสูงสุดประกาศรายชื่อผู้ได้รับเลือก และให้ดำรงตำแหน่งเพียงวาระเดียว (มาตรา 23) อำนาจของคณะกรรมการ ก.อ. กำหนดไว้ในมาตรา 30 แห่งพระราชบัญญัติข้าราชการ ฝ่ายอัยการ พ.ศ. 2553 ซึ่งมี11 อนุมาตรา เป็นการพิจารณาเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลและด้านวินัย ข้าราชการอัยการ จากบทบัญญัติในมาตรา 18 มาตรา 19 และ มาตรา 30 จะเห็นได้ว่าองค์ประกอบของ คณะกรรมการอัยการเป็นบุคคลที่อยู่ในสำนักงานอัยการสูงสุด หรือเคยเป็นข้าราชการอัยการเป็นส่วนใหญ่ แม้ว่าประธาน ก.อ. อาจเป็นบุคคลอื่นที่เคยดำรงตำแหน่งอธิบดีมาแล้วก็ตาม แต่ในทางปฏิบัติอดีต อัยการสูงสุดจะได้เป็นประธาน ก.อ.นอกจากนี้ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ที่มิใช่ข้าราชการอัยการตาม มาตรา 18 (5) มีจำนวนเพียงสองคน จึงเป็นองค์ประกอบที่ให้ตัวแทนของประชาชนมาเป็นกรรมการ ใน ก.อ. จำนวนน้อย ทั้งนี้คงเป็นเพราะเห็นว่าคณะกรรมการ ก.อ. มีหน้าที่และอำนาจในเรื่องงาน บริหารบุคคลของข้าราขการอัยการเป็นหลัก มิได้มีหน้าที่ในการวางนโยบายหรือการบริหารงานยุติธรรม ตามอำนาจหน้าที่ของอัยการสูงสุด ซึ่งตามกฎหมายเป็นอำนาจของอัยการสูงสุดที่จะรับผิดชอบ จึงให้ผู้ทรงคุณวุฒิที่เกี่ยวข้องมาร่วมเป็นกรรมการเท่านั้น ส่วนกรรมการส่วนใหญ่เป็นข้าราขการอัยการ 2.2.2 การมีส่วนร่วมในการดำเนินคดีอาญา 1) การฟ้องคดี และการขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ การดำเนินคดีอาญาของพนักงานอัยการกับการดำเนินคดีอาญาในฐานะของผู้เสียหาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 28 มีลักษณะของการดำเนินการเป็นเอกเทศ ต่อกัน เพราะพนักงานอัยการทำหน้าที่ฟ้องคดีในนามของรัฐ ตามหลักการดำเนินคดีอาญาโดยรัฐ (public prosecution)48 ส่วนผู้เสียหายมีสิทธินำคดีอาญามาฟ้องต่อศาลในฐานะที่ตนได้รับ ความเสียหายจากการกระทำความผิดทางอาญาในฐานนั้น จึงเป็นหลักการดำเนินคดีโดยเอกชน (private prosecution) ซึ่งต่างจากการฟ้องคดีอาญาโดยประชาชนที่ระบบกฎหมายอังกฤษ ให้ประชาชนทุกคนสามารถนำคดีอาญามาฟ้องต่อศาลได้แม้ว่าจะไม่ได้รับความเสียหายก็ตาม ซึ่งเป็น 48โปรดดู ศาสตราจารย์ ดร.คณิต ณ นคร กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เล่ม 1 พิมพ์ครั้งที่ 10 (กรุงเทพฯ : วิญญูชน , 2564) หน้า 93-95
94 หลักการฟ้องคดีโดยประชาชน (people prosecution)49 อย่างไรก็ดี ผู้เสียหายสามารถขอเข้าร่วมเป็น โจทก์กับพนักงานอัยการได้ ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในมาตรา 30 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา ความอาญา และเมื่อศาลอนุญาตให้เข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการแล้ว ผู้เสียหายมีฐานะเป็น โจทก์ร่วม สามารถซักถามพยาน ซักค้านพยานฝ่ายจำเลยและอุทธรณ์ฎีกาได้เช่นเดียวกับพนักงาน อัยการผู้เป็นโจทก์ เว้นแต่ผู้เสียหายจะกระทำการหรือละเว้นกระทำการอันจะก่อให้เกิดความเสียหาย แก่คดีของพนักงานอัยการผู้เป็นโจทก์ พนักงานอัยการผู้นั้นอาจร้องขอให้ศาลสั่งให้ผู้เสียหายระงับ การกระทำดังกล่าวได้ตามมาตรา 32 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ในชั้นตอนก่อนฟ้องคดีต่อศาล ซึ่งพนักงานอัยการต้องพิจารณาและสั่งสำนวนคดีอาญา ซึ่งรับมาจากพนักงานสอบสวนนั้น ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามิได้กำหนดให้ผู้เสียหาย หรือประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพิจารณาสั่งคดีของพนักงานอัยการ จึงเป็นกระบวนการที่ ไม่เปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนในขั้นตอนนี้ โดยถือเป็นหน้าที่และอำนาจของพนักงานอัยการ แต่ผู้เดียวที่จะใช้ดุลพินิจพิจารณาพยานหลักฐานจากสำนวนการสอบสวน แต่หากพนักงานอัยการเห็นว่า พยานหรือผู้เสียหายที่ได้ให้การไปแล้วยังเป็นที่สงสัยว่าให้การในความหมายเช่นใด สามารถเรียกพยาน หรือผู้เสียหายนั้นมาซักถามได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 143 2) การร้องขอความเป็นธรรมเกี่ยวกับคดีอาญา ในขั้นตอนที่พนักงานอัยการจะสั่งสอบสวนเพิ่มเติมโดยพิจารณาจากสำนวนการสอบสวน ของพนักงานสอบสวนนั้น ประชาชนหรือผู้ต้องหาสามารถร้องขอความเป็นธรรมในการสอบสวน ต่อพนักงานอัยการได้ ตามระเบียบสำนักงานอัยการสูงสุดว่าด้วยการดำเนินคดีของพนักงานอัยการ พ.ศ. 2563 ข้อ 65 ซึ่งกำหนดให้ผู้เสียหายหรือผู้ต้องหาหรือบุคคลอื่นใด เพื่อประโยชน์ของผู้เสียหาย หรือผู้ต้องหาใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญ หรือกฎหมายอื่น หรือระเบียบที่เกี่ยวข้องยื่นหนังสือร้องขอ ความเป็นธรรมกับพนักงานอัยการ โดยกล่าวอ้างว่าผู้เสียหายหรือผู้ต้องหาไม่ได้รับความเป็นธรรมจาก พนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการ ทั้งนี้ให้พนักงานอัยการรับคำร้องขอความเป็นธรรมไว้พิจารณา ซึ่งเห็นได้ว่า คำว่า “บุคคลอื่นใด” เป็นการให้ประชาชนสามารถร้องขอความเป็นธรรมแก่พนักงานอัยการ กรณีได้รับการสอบสวนที่ไม่เป็นธรรมได้ 3) การขอสรุปสำนวนการสอบสวนและสรุปคำสั่งไม่ฟ้องคดีของพนักงานอัยการ ในคดีที่พนักงานอัยการมีคำสังไม่ฟ้องคดี ในกรณีที่พนักงานอัยการมีคำสั่งไม่ฟ้องคดี ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 34 บัญญัติว่า “คำสั่งไม่ฟ้องคดีหาตัดสิทธิผู้เสียหายในการฟ้องคดีโดยตนเองไม่” แสดงให้เห็น ว่าสิทธิในการฟ้องคดีของพนักงานอัยการกับสิทธิฟ้องคดีของผู้เสียหายแยกต่างหากจากกัน จึงไม่ตัดสิทธิ แม้ว่าจะมีการสั่งไม่ฟ้องของพนักงานอัยการแล้ว อย่างไรก็ดี เพื่อให้ผู้เสียหายหรือผู้ต้องหาทราบเหตุผล ของการสั่งไม่ฟ้องคดีเด็ดขาด ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 146 วรรคสอง บัญญัติ 49เพิ่งอ้าง และดู ศาสตราจารย์ ณรงค์ ใจหาญ หลักกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เล่ม 1 พิมพ์ครั้งที่ 14 (กรุงเทพฯ : วิญญูชน, 2565, หน้า 32-33
95 ให้ “ผู้เสียหาย ผู้ต้องหา หรือผู้มีส่วนได้เสียมีสิทธิร้องขอต่อพนักงานอัยการเพื่อขอทราบสรุป พยานหลักฐานพร้อมความเห็นของพนักงานสอบสวนและพนักงานอัยการในการสั่งคดี ทั้งนี้ภายใน กำหนดอายุความฟ้องร้อง” การแจ้งของพนักงานอัยการตามมาตรา 146 ข้างต้น มีระเบียบสำนักงานอัยการสูงสุด ว่าด้วยการดำเนินคดีของพนักงานอัยการ พ.ศ. 2563 ข้อ 84 กำหนดไว้ดังนี้ “ข้อ 84 การแจ้งคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องคดี คำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องคดีที่ต้องแจ้งให้ผู้ต้องหาและผู้ร้องทุกข์ทราบตามมาตรา 146 แห่ง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา หมายถึงคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องคดีทุกฐานความผิดสำหรับ ผู้ต้องหาแต่ละคน ให้พนักงานอัยการแจ้งคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องคดีแก่พนักงานสอบสวน เพื่อแจ้งให้ ผู้ต้องหาและผู้ร้องทุกข์ทราบโดยเร็ว พร้อมทั้งสรุปพยานหลักฐานพร้อมความเห็นของพนักงานสอบสวน และพนักงานอัยการในการสั่งคดี กรณีที่ผู้ต้องหาที่ยังจับตัวไม่ได้ หากมีความเห็นควรสั่งฟ้องบางความผิดและมีคำสั่ง เด็ดขาดไม่ฟ้องบางฐานความผิด การแจ้งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติหรือผู้ว่าราชการจังหวัดจัดการให้ได้ ตัวผู้ต้องหามา ให้แจ้งให้พนักงานสอบสวนทราบด้วยว่าพนักงานอัยการได้มีความเห็นควรสั่งฟ้อง ความผิดฐานใด และมีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องในความผิดฐานใด และให้พนักงานอัยการระบุอายุความ ในความผิดที่เป็นกระทงหรือบทหนักที่สุดที่ได้มีความเห็นควรสั่งฟ้องผู้ต้องหาแต่ละคนไว้ให้ชัดเจนด้วย” บทบัญญัติตามมาตรา 146 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญานี้มีความแตกต่าง จากการตรวจสอบโดยองค์กรภาคประชาชนของต่างประเทศ เช่น ญี่ปุ่น50 สาธารณรัฐเกาหลี51 ซึ่งมี คณะกรรมการที่ตรวจสอบการสั่งไม่ฟ้องคดีของพนักงานอัยการ แต่เป็นการให้สิทธิผู้เสียหาย ผู้ต้องหา หรือผู้มีประโยชน์ได้เสียแห่งคดีสามารถทราบสรุปพยานหลักฐานและความเห็นของพนักงานสอบสวน และพนักงานอัยการในการสั่งไม่ฟ้องคดีเท่านั้น อีกทั้งยังตรวจสอบได้เฉพาะกรณีสั่งไม่ฟ้องเด็ดขาด เท่านั้น หากเป็นกรณีที่พนักงานอัยการมีคำสั่งฟ้องคดีก็ไม่อาจขอได้ตามมาตรา 146 นี้ สิทธิตามมาตรานี้ จึงยังไม่ถือว่าผู้เสียหาย ผู้ต้องหา หรือผู้มีส่วนได้เสียมีสิทธิในการตรวจสอบคำสั่งไม่ฟ้องของพนักงาน อัยการ เพียงแต่หากได้ข้อมูลของพยานหลักฐานและเหตุผลของการสั่งไม่ฟ้องแล้ว ผู้เสียหายอาจ ตัดสินใจว่าจะยื่นฟ้องเป็นคดีอาญาเองหรือไม่ อย่างไรก็ดี คำสั่งไม่ฟ้องของพนักงานอัยการ จะได้รับการพิจารณาตรวจสอบโดย กระบวนการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 145 และ มาตรา 145/1 หากคำสั่ง ไม่ฟ้องนั้นมิใช่ของอัยการสูงสุด ต้องส่งคำสั่งไม่ฟ้องไปที่ผู้ว่าราชการจังหวัด ในกรณีที่คดีนั้นมิได้อยู่ใน อำนาจของตำรวจ หรือผู้บัญชาการตำรวจภาค ในกรณีที่เป็นคดีอยู่ในอำนาจของตำรวจ หรือส่งให้ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ในกรณีที่คดีอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร หากบุคคลดังกล่าวเห็นชอบกับคำสั่ง ไม่ฟ้องคดีของพนักงานอัยการถือเป็นคำสั่งไม่ฟ้องเด็ดขาด แต่ถ้าไม่เห็นชอบด้วยต้องส่งความเห็นแย้ง 50โปรดดู รายละเอียดในบทที่ 2 51โปรดดู รายละเอียดในบทที่ 2
96 ให้อัยการสูงสุดชี้ขาด หากอัยการสูงสุดชี้ขาดให้ฟ้องพนักงานอัยการต้องยื่นฟ้อง แต่ถ้าชี้ขาดว่าไม่ฟ้อง ถือเป็นคำสั่งไม่ฟ้องเด็ดขาด มาตรการในการทบทวนคำสั่งไม่ฟ้องของพนักงานอัยการนี้ ถือเป็น การทบทวนโดยองค์กรภายนอกก็จริงแต่เป็นองค์กรที่ทำหน้าที่สอบสวนซึ่งเป็นผู้บริหารระดับสูง ที่ทำหน้าที่สอบสวน และหากมีความเห็นต่างกับความเห็นของพนักงานอัยการก็ต้องส่งเรื่องให้ อัยการสูงสุดเป็นผู้ชี้ขาด ซึ่งกรณีดังกล่าวไม่ได้ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการกระบวนการตรวจสอบ แต่อย่างใด 2.3 การมีส่วนร่วมของประชาชนในเรื่องอื่น ๆ ที่มิใช่การกำหนดนโยบายและการตรวจสอบ การปฏิบัติตามนโยบาย 1) การเป็นผู้ไกล่เกลี่ยคดีอาญาในชั้นสอบสวน ตามพระราชบัญญัติการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ. 2562 กำหนดนิยามของ “การไกล่เกลี่ยข้อพิพาท” หมายความว่า การดำเนินการเพื่อให้คู่กรณีมีโอกาสเจรจา ตกลงกัน ระงับข้อพิพาททางแพ่งและทางอาญาโดยสันติวิธี และปราศจากการวินิจฉัยข้อพิพาท ทั้งนี้ ไม่รวมถึงการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทที่ดำเนินการในชั้นศาลหรือการบังคับคดี52 และผู้ไกล่เกลี่ย หมายความว่า บุคคลซึ่งได้รับการขึ้นทะเบียนและได้รับการแต่งตั้งให้ทำหน้าที่ไกล่เกลี่ยข้อพิพาท มาตรา 10 กำหนดคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามของผู้ไกล่เกลี่ยไว้ ดังนี้ ก. คุณสมบัติ (1) ผ่านการอบรมการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทตามหลักสูตรที่คณะกรรมการพัฒนาการบริหารงาน ยุติธรรมแห่งชาติตามกฎหมายว่าด้วยการพัฒนาการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติรับรอง (2) เป็นผู้มีประสบการณ์ด้านต่าง ๆ อันจะเป็นประโยชน์แก่การไกล่เกลี่ยข้อพิพาท ข. ลักษณะต้องห้าม (1) เคยได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้ กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ (2) เป็นคนไร้ความสามารถ คนเสมือนไร้ความสามารถ หรือคนวิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือน ไม่สมประกอบ (3) เคยถูกเพิกถอนการเป็นผู้ไกล่เกลี่ยตามพระราชบัญญัตินี้ และยังไม่พ้นห้าปีนับถึงวันยื่น คำขอรับหนังสือรับรองการขึ้นทะเบียนเป็นผู้ไกล่เกลี่ย ประเภทคดีอาญาที่สามารถไกล่เกลี่ยได้ กำหนดไว้ในหมวด 3 ของพระราชบัญญัติการไกล่เกลี่ย ข้อพิพาท พ.ศ. 2562 มาตรา 35 ได้แก่ ความผิดอันยอมความได้ ความผิดลหุโทษตามมาตรา 390 มาตรา 391 มาตรา 392 มาตรา 394 มาตรา 395 และ มาตรา 397 แห่งประมวลกฎหมายอาญา และ ความผิดลหุโทษอื่นที่ไม่กระทบต่อส่วนรวมตามที่กำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกา และเมื่อดำเนินการ ไกล่เกลี่ยแล้ว หากคู่กรณีข้อตกลงระงับข้อพิพาททางอาญากันแล้วให้ถือว่าสิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับ เฉพาะคู่กรณีที่ทำข้อตกลงดังกล่าว 52มาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ. 2562
97 ส่วนในมาตรา 36 บัญญัติว่า “ในการดำเนินการไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางอาญา หากคดีอยู่ใน ระหว่างการสอบสวนหรือพิจารณาคดีของพนักงานสอบสวน พนักงานอัยการ หรือศาลแล้ว ให้หน่วยงาน ซึ่งดำเนินการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท หรือกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ ซึ่งมีหน้าที่และอำนาจกำกับดูแล การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทของศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน แจ้งให้พนักงานสอบสวน พนักงาน อัยการหรือศาลแล้วแต่กรณีทราบ พนักงานสอบสวน พนักงานอัยการหรือศาล อาจรอการสอบสวน การสั่งคดี การพิจารณาคดีหรือการพิพากษาคดีแล้วแต่กรณีไว้ก่อน จนกว่าจะรู้ผลการไกล่เกลี่ย ข้อพิพาทก็ได้ เมื่อการไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางอาญาสิ้นสุดลงแล้ว ให้หน่วยงานซึ่งดำเนินการไกล่เกลี่ย ข้อพิพาทหรือกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพแจ้งผลการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทให้แก่พนักงานสอบสวน พนักงานอัยการหรือศาลทราบ ในกรณีที่คู่กรณีตกลงระงับข้อพิพาททางอาญากันได้ ให้ส่งสำเนาบันทึก ข้อตกลงดังกล่าวไปด้วย ในกรณีที่การไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางอาญาไม่เป็นผล ให้พนักงานสอบสวน พนักงานอัยการ หรือ ศาล สอบสวน สั่งคดี หรือพิจารณาพิพากษาคดีต่อไป” อย่างไรก็ดี ในการไกล่เกลี่ยในชั้นสอบสวนได้กำหนดไว้ในหมวด 4 การไกล่เกลี่ยข้อพิพาท ทางอาญาในชั้นสอบสวน มาตรา 39-47 โดยให้ผู้ที่จะขอไกล่เกลี่ยต่อพนักงานสอบสวนต้องเป็น ผู้เสียหายหรือผู้ต้องหา และกำหนดความผิดที่สามารถไกล่เกลี่ยได้เพิ่มจากที่กำหนดไว้ในหมวด 3 คือ ความผิดที่มีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงไม่เกินสามปี ตามบัญชีท้ายพระราชบัญญัตินี้ (มาตรา 41 (1)-(3)) และมีเงื่อนไขเพิ่มเติมสำหรับคดีที่มีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงไม่เกินสามปี โดยผู้ต้องหาไม่เคยได้รับ การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทตามพระราชบัญญัติการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ. 2562 เว้นแต่เป็นคดีความผิด ที่ได้กระทำโดยประมาท คดีความผิดลหุโทษ ซึ่งพ้นระยะเวลาเกินสามปีนับแต่มีคำสั่งยุติคดีและ ผู้ต้องหาต้องไม่อยู่ในระหว่างต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก หรือพ้นโทษมาแล้วเกินกว่าห้าปี เว้นแต่ เป็นคดีความผิดได้กระทำโดยประมาท คดีความผิดลหุโทษ หรือความผิดที่ผู้ต้องหาได้กระทำในขณะที่มี อายุต่ำกว่าสิบแปดปี (มาตรา 42) การไกล่เกลี่ยในชั้นสอบสวนนี้ พนักงานสอบสวนจะรับคำขอไกล่เกลี่ยจากคู่กรณีที่สมัครใจ เข้าไกล่เกลี่ย และหากพนักงานสอบสวนที่รับคำร้องยื่นเสนอต่อพนักงานสอบสวนที่มีอำนาจออกคำสั่ง และผู้มีอำนาจดังกล่าวเห็นว่าพฤติการณ์ของการกระทำความผิดไม่ร้ายแรง และไม่ส่งผลกระทบต่อ สังคมโดยรวม ให้พิจารณามีคำสั่งให้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางอาญาได้ การยื่นขอไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางอาญา การพิจารณา และระยะเวลาในการสั่งคำร้อง และกระบวนนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางอาญาตามความในหมวดนี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขตามระเบียบของผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ปลัดกระทรวงกลาโหม ปลัดกระทรวง มหาดไทย หรือปลัดกระทรวงยุติธรรม และข้อบังคับที่อัยการสูงสุดกำหนดแล้วแต่กรณี (มาตรา 44)
98 จากบทบัญญัติข้างต้น ถือว่าประชาชนที่ทำหน้าที่ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในคดีอาญาตามที่ พระราชบัญญัติการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ. 2562 กำหนดไว้ สามารถทำหน้าที่ไกล่เกลี่ข้อพิพาท ในคดีอาญาได้ และหากการไกล่เกลี่ยสำเร็จผลทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับไป 2) เป็นล่าม ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 13 ซึ่งสามารถเป็นล่ามภาษา หรือล่ามภาษาถิ่น หรือภาษาไทยท้องถิ่น หรือเป็นล่ามภาษามือ ทั้งในชั้นสอบสวน ไต่สวนมูลฟ้อง หรือ พิจารณา 3) เป็นผู้เชี่ยวชาญในคดีอาญา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 243 และ มาตรา 244 ทั้งนี้ ผู้เชี่ยวชาญตามมาตรา 243 วรรคหนึ่ง อาจไม่ได้เป็นผู้ประกอบวิชาชีพหรือไม่ใช่ก็ได้ แต่มีความเชี่ยวขาญในทางวิทยาศาสตร์ ศิลปะ ฝีมือ พาณิชยการ การแพทย์ หรือกฎหมายต่างประเทศ และซึ่งความเห็นของผู้นั้นจะมีประโยชน์ต่อการวินิจฉัยคดี การสอบสวน การไต่สวนมูลฟ้อง หรือการ พิจารณา อาจเป็นพยานต่าง ๆ เป็นต้นว่าการตรวจร่างกายหรือจิตของผู้เสียหาย ผู้ต้องหา หรือจำเลย ตรวจลายมือ ทำการทดลองหรือกิจการอย่างอื่น ๆ ส่วนในมาตรา 244 จะต้องมีความเชี่ยวชาญด้าน นิติเวชศาสตร์เพราะเป็นการตรวจศพ 4) เป็นพยานบุคคลที่รู้เห็นเหตุการณ์ ซึ่งจะมาเบิกความต่อพนักงานสอบสวน หรือให้ข้อเท็จจริง ต่อพนักงานอัยการเมื่อพนักงานอัยการเรียกมาซักถาม 3. การมีส่วนร่วมของประชาชนในชั้นศาล 3.1 นโยบายเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในชั้นศาล ตามแผนยุทธศาสตร์ศาลยุติธรรม พ.ศ. 2565-2568 กำหนดยุทธศาสตร์ TRUST ไว้ 5 ประการ และกำหนดเป้าประสงค์53 ไว้ดังนี้ 53โปรดดู www.http//coj.go.th retrived 6/03/2023
99 ยุทธศาสตร์ เป้าประสงค์ T Trust Justice เชื่อมั่นศรัทธาการอำนวยความยุติธรรม ประชาชนมีความเชื่อมั่นศรัทธาในการ อำนวยความยุติธรรมของศาลยุติธรรมเพื่อ เสริมสร้างความสงบเรียบร้อยและสันติสุข ที่เกิดขึ้นกับสังคม R Reliability เชื่อถือในระดับสากล การคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของ ประชาชนของศาลยุติธรรมเป็นที่ไว้วางใจและ การปฏิบัติงานเป็นไปตามมาตรฐานสากล U Uniformity การดำเนินงานอันเป็นมาตรฐานไปใน ทิศทางเดียวกัน ยกระดับการดำเนินงานให้เป็นมาตรฐาน เดียวกันและตอบสนองความต้องการของ ประชาชนได้อย่างสะดวก รวดเร็ว S Sustainable พัฒนาอย่างยั่งยืน ศาลยุติธรรมมีระบบงานที่มุ่งผลสัมฤทธิ์ และผลประโยชน์ส่วนรวมอย่างยั่งยืน T Transformation เปลี่ยนผ่านสู่อนาคต นวัตกรรมของศาลยุติธรรมเสริมสร้างการ อำนวยความยุติธรรม และการคุ้มครองสิทธิ ของประชาชนที่สะดวก รวดเร็ว ประหยัดและ เป็นธรรม ส่วนวิสัยทัศน์กำหนดไว้ว่า ศาลยุติธรรมยึดมั่นในหลักนิติธรรมด้วยความเชื่อมั่นและศรัทธา จากประชาชน พันธกิจ กำหนดไว้ 4 ประการ ดังนี้ 1) อำนวยความยุติธรรมให้เป็นที่ประจักษ์ในความบริสุทธิ์ ยุติธรรม 2) คุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ และลดความเหลื่อมล้ำของประชาชนให้ได้รับความเป็นธรรม อย่างทั่วถึงและเสมอภาค 3) พัฒนาระบบอำนวยความยุติธรรมให้เกิดสังคมสันติสุข และการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน 4) เสริมสร้างความเข้มแข็งความเชื่อมั่นศรัทธา และการมีส่วนร่วมของประชาชนในระบบงาน ศาลยุติธรรมให้เป็นที่ประจักษ์ในนานาประเทศ ส่วนนโยบายของประธานศาลฎีกา คนที่ 48 นายโชติวัฒน์ เหลืองประเสริฐ มี3 ประการ54 คือ 1) รักศาล เสริมสร้างจิตสำนึกให้บุคคลากรในองค์กรศาลยุติธรรม ทั้งข้าราชการตุลาการ ข้าราชการศาลยุติธรรม พนักงานราชการ เจ้าหน้าที่ ผู้พิพากษาสมทบ ผู้ประนีประนอม ตลอดจน บุคคลภายนอกที่เข้าร่วมงานกับศาลยุติธรรมมีความรักความผูกพันในองค์กรโดยมุ่งเน้นการสร้าง ความสามัคคี การทำงานเป็นทีม การสร้างทัศนคติและสภาวะแวดล้อมที่ดีในการทำงาน รวมทั้ง 54เพิ่งอ้าง
100 มุ่งพัฒนาคุณภาพชีวิตของบุคคลากรทุกฝ่ายเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของศาลยุติธรรมในการ ให้บริการประชาชน 2) ร่วมใจ มุ่งเน้นบุคคลากรในองค์กรศาลยุติธรรมร่วมมือร่วมใจปฏิบัติหน้าที่อย่างมุ่งมั่น ตั้งใจ โปร่งใส มีความรับผิดชอบ มีจิตใจบริการ พร้อมอำนวยความยุติธรรมแก่ประชาชนด้วยความรวดเร็ว เป็นธรรมอย่างทั่วถึง และมีมาตรฐานเดียวกันบนระบบการทำงานที่เน้นผลสัมฤทธิ์และประโยชน์ ส่วนรวม 3) รับใช้ประชาชน ยกระดับการอำนวยความยุติธรรมและการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของ ประชาชน มุ่งให้บุคคลากรมีจิตสำนึกในการปฏิบัติหน้าที่ร่วมกันให้บริการประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพ และเต็มกำลังความสามารถ โดยถือความต้องการของประชาชนผู้รับบริการเป็นศูนย์กลาง เน้นการนำ เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรมใหม่มาใช้สนับสนุนการปฏิบัติงาน เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงบริการ ศาลยุติธรรม โดยง่าย สะดวก ประหยัด รวดเร็ว เสมอภาคและเท่าเทียม เพื่อธำรงความเชื่อมั่นศรัทธา ของประชาชนต่อองค์กรศาลยุติธรรม จากวิสัยทัศน์และแผนยุทธศาสตร์ของศาลยุติธรรม เห็นได้ว่า ศาลยุติธรรมมีนโยบายที่มุ่ง การให้บริการอำนวยความยุติธรรมโดยเน้นประชาชนเป็นศูนย์กลาง และมีหลักการให้ประชาชน มีส่วนร่วมในกระบวนการยุติธรรม และมีกลยุทธในการดำเนินการตามแผนยุทธศาสตร์ ด้านการสร้าง ความเชื่อมั่น Trust Justice โดยให้มีประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการติดตามผู้ที่ได้รับการปล่อย ชั่วคราว เป็นต้น ซึ่งคณะที่ปรึกษาจะนำเสนอผลการเก็บข้อมูลภาคสนามในบทที่ 4 ต่อไป 3.2 กฎหมายเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในชั้นศาล 3.2.1 การมีส่วนร่วมในระดับคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม (ก.ต.) “มาตรา 36 ให้มีคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมคณะหนึ่งเรียกโดยย่อว่า “ก.ต.” ประกอบด้วย (1) ประธานศาลฎีกา เป็นประธานกรรมการ (2) กรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวนสิบสองคน ซึ่งข้าราชการตุลาการ ในแต่ละชั้นศาล เว้นแต่ผู้ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ผู้ช่วยผู้พิพากษาเป็นผู้เลือกจากข้าราชการตุลาการชั้นศาล ของตนเอง ดังนี้ (ก) ศาลฎีกา ให้เลือกจากข้าราชการตุลาการที่ดำรงตำแหน่งในศาลฎีกาในตำแหน่งที่ ไม่ต่ำกว่าผู้พิพากษาศาลฎีกา จำนวนหกคน (ข) ศาลอุทธรณ์ ให้เลือกจากข้าราชการตุลาการที่ดำรงตำแหน่งในศาลอุทธรณ์และ ศาลอุทธรณ์ภาคในตำแหน่งที่ไม่ต่ำกว่าผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์หรือผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค จำนวน สี่คน (ค) ศาลชั้นต้น ให้เลือกจากข้าราชการตุลาการที่ดำรงตำแหน่งในศาลชั้นต้นในตำแหน่ง ที่ไม่ต่ำกว่าผู้พิพากษาหัวหน้าศาล จำนวนสองคน
101 (3) กรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนสองคน ซึ่งข้าราชการตุลาการ ทุกชั้นศาลเว้นแต่ผู้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา เป็นผู้เลือกจากบุคคลซึ่งไม่เป็นหรือเคยเป็นข้าราชการ ฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม และมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 39” คุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามของตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิ ตามมาตรา 36 (3) มีดังนี้ (1) เป็นผู้มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 26 (1) (5) (6) (7) (8) หรือ (9) (2) ไม่เป็นบุคคลตามมาตรา 59 (5) หรือ (6) (3) อายุไม่ต่ำกว่าสี่สิบปีบริบูรณ์ (4) สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า (5) ไม่เป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ตุลาการศาลปกครอง ตุลาการศาลทหาร ผู้ดำรงตำแหน่ง ในองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ หรือกรรมการในตุลาการศาลปกครอง หรือศาลอื่น หรือคณะกรรมการ อัยการ (6) ไม่เป็นทนายความ ข้าราชตำรวจ หรือข้าราชการอัยการ (7) ไม่เป็นคนไร้ความสามารถ คนเสมือนไร้ความสามารถ หรือคนวิกลจริต หรือจิตฟั่นเฟือน ไม่สมประกอบ (8) ไม่เป็นกรรมการ ที่ปรึกษา พนักงาน ลูกจ้าง หรือดำรงตำแหน่งใดในรัฐวิสาหกิจ (9) ไม่ประกอบอาชีพ หรือวิชาชีพอื่นใดอันเป็นการกระทบกระเทือนถึงการปฏิบัติหน้าที่ ในตำแหน่งกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิ กรรมการตุลาการผู้ทรงคุณวุฒิมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละสองปี แต่อาจได้รับ เลือกใหม่ได้ แต่จะดำรงตำแหน่งติดต่อกันเกินสองวาระติดต่อกันไม่ได้ (มาตรา 40) ดังนั้น การที่ประชาชนจะเข้ามามีส่วนร่วมคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม มีเพียงการเป็น กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา 36 (3) และต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 40 ซึ่งผู้ทรงคุณวุฒิดังกล่าวมีจำนวน 2 คนเท่านั้น อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการตุลาการ เป็นการพิจารณาในเรื่องงานบริหารงานบุคคล เห็นชอบในการแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่ง โยกย้าย เลื่อนตำแหน่งข้าราชการตุลาการ ตามที่ เลขานุการ ก.ต. เสนอ (มาตรา 50) และพิจารณาเกี่ยวกับวินัย การรักษาวินัย การลงโทษ และการร้องทุกข์ ตามหมวด 5 (มาตรา 55-84) ของพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. 2543 และที่แก้ไขเพิ่มเติม 3.2.2 การมีส่วนร่วมในฐานะผู้พิพากษาสมทบ 1) ผู้พิพากษาสมทบในคดีเยาวชนและครอบครัว มาตรา 23 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้ง ศาลและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553 กำหนดให้ศาลเยาวชนและครอบครัวต้องมี
102 ผู้พิพากษาไม่น้อยกว่าสองคน และผู้พิพากษาสมทบอีกสองคน ซึ่งอย่างน้อยต้องเป็นสตรีหนึ่งคน จึงเป็นองค์คณะได้ มาตรา 25 กำหนดคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามสำหรับผู้พิพากษาสมทบ ไว้ดังนี้ (1) มีอายุไม่ต่ำกว่าสามสิบปีบริบูรณ์ (2) มีหรือเคยมีบุตร หรือเคยอบรมเลี้ยงดูเด็ก หรือเคยทำงานเกี่ยวกับการสงเคราะห์ หรือ การคุ้มครองสวัสดิภาพเด็ก เยาวชนหรือครอบครัว มาไม่น้อยกว่าสามปี (3) มีคุณสมบัติที่จะเป็นข้าราชการตุลาการศาลยุติธรรมได้ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบ ข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม เว้นแต่พื้นฐานความรู้ซึ่งต้องไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า หรือเคยเป็นผู้พิพากษาสมทบ (4) มีความสุขุมรอบคอบ ทัศนคติ อัธยาศัย และความประพฤติเหมาะสมแก่การพิจารณาคดี ที่อยู่ในอำนาจของศาลเยาวชนและครอบครัว (5) ไม่เป็นข้าราชการหรือผู้ปฏิบัติงานในหน่วยงานของรัฐ ข้าราชการการเมือง สมาชิก รัฐสภา หรือทนายความ ผู้พิพากษาสมทบต้องได้รับการอบรมก่อน และมีวาระการดำรงตำแหน่ง สามปี 2) ผู้พิพากษาสมทบในคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ และ วิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 ซึ่งมีเขตอำนาจพิจารณาคดีแพ่ง และคดีอาญาที่เกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ ได้กำหนดให้มีผู้พิพากษาสมทบ ตามมาตรา 15 ซึ่งจะได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าจากผู้ทรงคุณวุฒิทางทรัพย์สินทางปัญญาหรือการค้า หว่างประเทศ ซึ่งคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมคัดเลือกตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่กำหนดไว้ใน ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม และต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้ (1) มีสัญชาติไทย (2) มีอายุไม่ต่ำกว่าสามสิบปีบริบูรณ์ (3) ได้รับการอบรมในเรื่องความมุ่งหมายของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่าง ประเทศและหน้าที่ตุลาการมาแล้วตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในระเบียบคณะกรรมการตุลาการ ศาลยุติธรรม (4) มีความรู้ความชำนาญทางทรัพย์สินทางปัญญาหรือการค้าระหว่างประเทศ (5) ไม่เป็นผู้มีความประพฤติเสื่อมเสีย หรือบกพร่องให้ศีลธรรมอันดี (6) ไม่เป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว (7) ไม่เคยรับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่โทษสำหรับความผิดที่ได้ กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
103 (8) ไม่เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ หรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ หรือมีกายหรือจิตไม่เหมาะสมที่จะเป็นผู้พิพากษาสมทบ หรือเป็นโรคที่ระบุไว้ในระเบียบคณะกรรมการ ตุลาการศาลยุติธรรม (9) ไม่เป็นข้าราชการการเมือง กรรมการพรรคการเมือง หรือเจ้าหน้าที่ในพรรคการเมือง สมาชิกรัฐสภา ผู้บริหารหรือสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร ผู้บริหารราชการส่วนท้องถิ่น หรือสมาชิก สภาท้องถิ่น ข้าราชการอัยการ ข้าราชการตำรวจหรือทนายความ ผู้พิพากษาสมทบให้ดำรงตำแหน่งคราวละห้าปี แต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าแต่งตั้ง ผู้ซี่งพ้นจากตำแหน่งต่อไปอีกก็ได้ 3.2.3 การมีส่วนร่วมในฐานะผู้ไกล่เกลี่ยคดีผู้ประสานการประชุมทำแผนฟื้นฟู ผู้ประนีประนอมประจำศาล 1) คดีเยาวชนและครอบครัว 1.1) เข้าร่วมในการประชุมกลุ่มครอบครัว ตามมาตรา 86 ในกรณีที่เป็นความผิดที่มี อัตราโทษจำคุกอย่างสูงไม่เกินห้าปี และเด็กหรือเยาวชนไม่เคยได้รับโทษจำคุกมากก่อน เพื่อจัดทำแผน แก้ไขบำบัดฟื้นฟูให้เด็กหรือเยาวชนปฏิบัติดังนี้ “มาตรา 86 ในคดีที่เด็กหรือเยาวชนต้องหาว่ากระทำความผิดอาญาซึ่งมีอัตราโทษ อย่างสูงตามที่กฎหมายกำหนดไว้ให้จำคุกไม่เกินห้าปี ไม่ว่าจะมีโทษปรับด้วยหรือไม่ก็ตาม ถ้าปรากฏว่า เด็กหรือเยาวชนไม่เคยได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิด ที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ หากเด็กหรือเยาวชนสำนึกในการกระทำก่อนฟ้องคดี เมื่อคำนึงถึงอายุ ประวัติ ความประพฤติ สติปัญญา การศึกษาอบรม สภาพร่างกาย สภาพจิต อาชีพ ฐานะ และเหตุแห่งการกระทำความผิดแล้ว หากผู้อำนวยการสถานพินิจพิจารณาเห็นว่าเด็กหรือเยาวชน นั้นอาจกลับตนเป็นคนดีได้โดยไม่ต้องฟ้อง ให้จัดทำแผนแก้ไขบำบัดฟื้นฟูให้เด็กหรือเยาวชนปฏิบัติ และหากจำเป็นเพื่อประโยชน์ในการคุ้มครองเด็กหรือเยาวชนอาจกำหนดให้บิดา มารดา ผู้ปกครอง หรือบุคคล หรือผู้แทนองค์การซึ่งเด็กหรือเยาวชนอาศัยอยู่ด้วยปฏิบัติด้วยก็ได้ ทั้งนี้ เพื่อแก้ไข ปรับเปลี่ยนความประพฤติของเด็กหรือเยาวชน บรรเทา ทดแทน หรือชดเชยความเสียหายแก่ผู้เสียหาย หรือเพื่อให้เกิดความปลอดภัยแก่ชุมชนและสังคม แล้วเสนอความเห็นประกอบแผนแก้ไขบำบัดฟื้นฟูต่อ พนักงานอัยการเพื่อพิจารณา โดยการจัดทำแผนแก้ไขบำบัดฟื้นฟูดังกล่าวต้องได้รับความ ยินยอม จากเด็กหรือเยาวชนและผู้เสียหายด้วยหากคดีนั้นเป็นคดีที่มีผู้เสียหาย ในการจัดทำแผนแก้ไขบำบัดฟื้นฟูตามมาตรา 86 ให้ผู้อำนวยการสถานพินิจเชิญ ฝ่ายเด็กหรือเยาวชนซึ่งต้องหาว่ากระทำความผิด ฝ่ายผู้เสียหายและนักจิตวิทยา หรือนักสังคมสงเคราะห์ เข้าร่วมประชุม และหากเห็นสมควรอาจเชิญผู้แทนชุมชนหรือหน่วยงานที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องหรือได้รับ ผลกระทบจากการกระทำความผิด หรือพนักงานอัยการด้วยก็ได้ ทั้งนี้ จะต้องจัดทำแผนแก้ไขบำบัด
104 ฟื้นฟูให้แล้วเสร็จและเสนอให้พนักงานอัยการพิจารณาภายในสามสิบวันนับแต่วันที่เด็กหรือเยาวชน สำนึกในการกระทำ แผนแก้ไขบำบัดฟื้นฟูต้องไม่มีลักษณะเป็นการจำกัดสิทธิหรือเสรีภาพของเด็กหรือ เยาวชน เว้นแต่เป็นการกำหนดขึ้นเพื่อประโยชน์ของเด็กหรือเยาวชนนั้นหรือเพื่อคุ้มครองประโยชน์ สาธารณะและไม่มีลักษณะเป็นการละเมิดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของเด็กหรือเยาวชน” 1.2) เป็นผู้ประสานการประชุมตามมาตรา 91 เพื่อจัดทำแผนฟื้นฟูเด็กหรือเยาวชน ก่อนพิพากษา ดังนี้ “มาตรา 91 การประชุมผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อจัดทำแผนแก้ไขบำบัดฟื้นฟูตามมาตรา 90 ให้ผู้อำนวยการสถานพินิจ หรือบุคคลที่ศาลเห็นสมควรเป็นผู้ประสานการประชุม โดยให้มีผู้เข้าร่วม ประชุมตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 87 ทั้งนี้ พนักงานอัยการจะเข้าร่วมประชุมด้วยก็ได้ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจัดทำแผนแก้ไขบำบัดฟื้นฟูตามมาตรา 90 ให้เป็นไปตามข้อบังคับของประธานศาลฎีกา 2) คดีความรุนแรงในครอบครัว ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. 2550 กำหนดให้การกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว เป็นความผิดตามมาตรา 4 และหากกระทำดังกล่าว เข้าลักษณะความผิดฐานทำร้ายร่างกายแต่ไม่ถึงเป็นอันตรายแก่กายหรือจิตใจถึงบาดเจ็บสาหัส ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 297 เป็นความผิดอันยอมความได้ เพื่อให้คู่กรณีที่เป็นบุคคล ในครอบครัวสามารถใช้มาตรการในการไกล่เกลี่ยประนอมข้อพิพาทเพื่อยุติการดำเนินคดีและกลับคืน ความสัมพันธ์กันได้ ซึ่งศาลหรือเจ้าพนักงานจะตั้งบุคคลใดเป็นผู้ประนีประนอมได้ ตามาตรา 15 และ มาตรา 16 ดังนี้ “มาตรา 15 ไม่ว่าการพิจารณาคดีการกระทำความรุนแรงในครอบครัวจะได้ดำเนินไปแล้ว เพียงใด ให้ศาลพยายามเปรียบเทียบให้คู่ความได้ยอมความกัน โดยมุ่งถึงความสงบสุขและการอยู่ร่วมกัน ในครอบครัวเป็นสำคัญ ทั้งนี้ ให้คำนึงถึงหลักการดังต่อไปนี้ ประกอบด้วย (1) การคุ้มครองสิทธิของผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว (2) การสงวนและคุ้มครองสถานภาพของการสมรสในฐานะที่เป็นศูนย์รวมของชายและ หญิงที่สมัครใจเข้ามาอยู่กินฉันสามีภริยา หากไม่อาจรักษาสถานภาพของการสมรสได้ก็ให้การหย่า เป็นไปด้วยความเป็นธรรมและเสียหายน้อยที่สุด โดยคํานึงถึงสวัสดิภาพและอนาคตของบุตรเป็นสำคัญ (3) การคุ้มครองและช่วยเหลือครอบครัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในขณะที่ครอบครัวนั้นต้อง รับผิดชอบในการดูแลให้การศึกษาแก่สมาชิกที่เป็นผู้เยาว์ (4) มาตรการต่าง ๆ เพื่อช่วยเหลือสามีภริยาและบุคคลในครอบครัวปรองดองกันและ ปรับปรุงความสัมพันธ์ระหว่างกันเองและกับบุตร
105 มาตรา 16 เพื่อประโยชน์ในการยอมความในคดีการกระทำความรุนแรงในครอบครัว พนักงานเจ้าหน้าที่หรือศาล แล้วแต่กรณี อาจตั้งผู้ประนีประนอมประกอบด้วยบุคคลหรือคณะบุคคล ซึ่งเป็นบิดามารดา ผู้ปกครอง ญาติของคู่ความหรือบุคคลที่พนักงานเจ้าหน้าที่หรือศาลเห็นสมควร เพื่อให้คำปรึกษา หรือช่วยเหลือในการไกล่เกลี่ยให้คู่ความได้ยอมความกัน หรืออาจมอบหมายให้ นักสังคมสงเคราะห์ หน่วยงานสังคมสงเคราะห์ หรือบุคคลใดช่วยเหลือไกลเกลี่ยให้คู่ความได้ยอมความ กันก็ได้เมื่อผู้ประนีประนอมหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายตามวรรคหนึ่งได้ดำเนินการไกล่เกลี่ยตามคำสั่ง พนักงานเจ้าหน้าที่หรือศาลแล้ว ให้รายงานผลการไกล่เกลี่ยต่อพนักงานเจ้าหน้าที่หรือศาล แล้วแต่กรณี ด้วย ในกรณีที่การไกล่เกลี่ยเป็นผลสำเร็จ บุคคลดังกล่าวจะจัดให้มีการทำสัญญายอมความขึ้น หรือจะขอให้เรียกคู่ความมาทำสัญญายอมความกันต่อหน้าพนักงานเจ้าหน้าที่หรือศาลก็ได้” 3.2.4 ผู้ไกล่เกลี่ยคดีประจำศาล ผู้รับผิดชอบราชการศาลหรือองค์คณะผู้พิพากษา สามารถแต่งตั้งผู้ประนีประนอมประจำ ศาลจากประชาชนทั่วไปได้โดยผู้ประนีประนอมจะทำหน้าที่เป็นผู้ไกล่เกลี่ยและดำเนินการช่วยเหลือ ให้คำแนะนำในการไกล่เกลี่ย แต่ไม่ได้มีหน้าที่ตัดสินชี้ขาดข้อพิพาท โดยข้อกำหนดของประธานศาลฎีกา ว่าด้วยการไกล่เกลี่ย พ.ศ. 2554 ซี่งแก้ไขเพิ่มเติมในปี 2565 โดยกำหนดการไกล่เกลี่ยโดย ผู้ประนีประนอมไว้ในหมวด 4 ข้อ 12 ผู้ที่จะได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้ประนีประนอม กำหนดไว้ในข้อ 13 ได้แก่ ข้าราชการฝ่ายตุลาการ ศาลยุติธรรม พนักงานราชการ หรือลูกจ้างของสำนักงานศาลยุติธรรมคนหนึ่งหรือหลายคนในศาลนั้น แต่ถ้าเป็นข้าราชการหรือลูกจ้างในศาลอื่นจะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับความยินยอมจากผู้นั้น และได้รับ ความเห็นชอบจากผู้รับผิดชอบราชการศาลที่ผู้นั้นรับราชการอยู่ นอกจากนี้ ยังสามารถแต่งตั้งจาก ผู้มิได้ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประนีประนอมในหมวดที่ 7 สามารถทำได้โดยความยินยอมจากคู่ความก่อน ผู้ที่จะขึ้นทะเบียนผู้ประนีประนอม ต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ตามข้อ 51 ดังต่อไปนี้55 (1) มีอายุไม่ต่ำกว่าสามสิบปีบริบูรณ์ (2) เป็นผู้สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีและมีประสบการณ์ในการทำงานมาไม่น้อยกว่า ห้าปี หรือเป็นผู้มีประสบการณ์ในการทำงานสาขาต่างๆ อันจะเป็นประโยชน์แก่การไกล่เกลี่ยไม่น้อยกว่า สิบปี (3) เป็นผู้ผ่านการอบรมหลักสูตรเทคนิคหรือวิธีการไกล่เกลี่ยที่สำนักงานศาลยุติธรรม จังหวัดจัดหรือรับรอง (4) มีประสบการณ์ปฏิบัติงานด้านการไกล่เกลี่ยในศาลหรือในสำนักงานส่งเสริมงาน ตุลาการ สำนักงานศาลยุติธรรมไม่น้อยกว่าสิบคดี 55โปรดดู สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ สำนักงานศาลยุติธรรม ข้อกำหนดของประธานศาลฎีกาว่าด้วยการไกล่เกลี่ย ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2565 หน้า 13 retrived www//http.oja.coj.go.th, 6/03/2023
106 (5) เป็นผู้มีความพร้อมที่จะอุทิศเวลาการปฏิบัติหน้าที่ผู้ประนีประนอมประจำศาล (6) ไม่เป็นผู้มีความประพฤติเสื่อมเสียหรือบกพร่องในศีลธรรมอันดี (7) ไม่เป็นผู้ประกอบอาชีพหรือวิชาชีพหรือกระทำกิจการใดอันอาจกระทบกระเทือนถึง การปฏิบัติหน้าที่ผู้ประนีประนอมประจำศาล หรืออาจเสื่อมเสียถึงเกียรติศักดิ์แห่งสถาบันศาลยุติธรรม (8) ไม่เป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว (9) ไม่เป็นบุคคลที่ศาลมีคำสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ หรือคนเสมือนไร้ความสามารถ หรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ (10) ไม่เป็นผู้เคยรับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่ความผิดอันได้กระทำ โดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ (11) ไม่เป็นข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรมตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการ ฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม (12) ไม่เป็นผู้พิพากษาสมทบตามพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัว และ วิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553 พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและ การค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 และพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 3.2.5 การมีส่วนร่วมในฐานะผู้กำกับดูแลผู้ถูกปล่อยชั่วคราวและผู้แจ้งความนำจับ ตามพระราชบัญญัติมาตรการกำกับและติดตามจับกุมผู้หลบหนีการปล่อยชั่วคราวโดยศาล พ.ศ. 256056 มาตรา 3 กำหนดนิยาม คำว่า “ผู้กำกับดูแลผู้ถูกปล่อยชั่วคราว” หมายความว่า บุคคลซึ่ง ได้รับแต่งตั้งจากศาลให้เป็นผู้สอดส่องดูแล รับรายงานตัว หรือให้คำปรึกษาผู้ถูกปล่อยชั่วคราว เพื่อ ป้องกันการหลบหนี หรือภัยอันตรายหรือความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างที่ได้รับการปล่อยชั่วคราว ส่วนอีกคำหนึ่ง คือ “ผู้แจ้งความนำจับ” หมายความว่า บุคคลเดียวหรือหลายคนซึ่งชี้ช่อง หรือแจ้งเบาะแสแก่ทางราชการ จนทางราชการสามารถจับกุมผู้ต้องหาหรือจำเลยที่ได้รับการปล่อย ชั่วคราวโดยศาลซึ่งหลบหนีได้ แต่ต้องมิใช่เจ้าหน้าที่ผู้จับ ผู้ประกัน บุคคลซี่งเป็นหลักประกัน หรือบุคคล ซึ่งเป็นเจ้าของหลักประกันในการปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหาหรือจำเลย การเป็นผู้กำกับดูแลผู้ถูกปล่อยชั่วคราว มาตรา 4 กำหนดให้ศาลที่มีคำสั่งปล่อยชั่วคราว เป็นผู้มีอำนาจแต่งตั้งได้ และบุคคลที่ได้รับแต่งตั้งต้องไม่ใช่เจ้าพนักงานซึ่งมีอำนาจหน้าที่โดยตรงในการ ดูแลผู้ถูกปล่อยชั่วคราวตามที่ ก.บ.ศ. กำหนด ผู้ประกัน บุคคลซึ่งเป็นหลักประกัน หรือบุคคลที่เป็น เจ้าของหลักประกันในการปล่อยชั่วคราว ส่วนคุณสมบัติและลักษณะต้องห้าม การแต่งตั้งและการปฏิบัติหน้าที่ของผู้กำกับดูแล ผู้ถูกปล่อยชั่วคราว เป็นไปตามระเบียบที่ ก.บ.ศ. กำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา (มาตรา 4 วรรคสอง และวรรคสาม) 56ราชกิจจานุเษกษา เล่มที่ 134 ตอนที่ 98 ก. ลงวันที่ 26 กันยายน 2560
107 ผู้กำกับดูแลผู้ถูกปล่อยชั่วคราวมีสิทธิได้รับค่าตอบแทนและค่าใช้จ่ายตามมาตรา 5 วรรคหนึ่ง สำหรับบุคคลอีกคนหนึ่งซึ่งถือว่าเป็นการมีส่วนร่วมของประชาชนในการแจ้งต่อพนักงาน เจ้าหน้าที่ในการชี้ช่องให้ทราบว่าผู้ต้องหาหรือจำเลยที่หลบหนีอยู่ที่ใด คือ ผู้แจ้งความนำจับ และเมื่อ แจ้งแล้วพนักงานเจ้าหน้าที่สามารถจับผู้ต้องหาหรือจำเลยที่หลบหนีได้ ผู้แจ้งความนำจับมีสิทธิได้รับเงิน สินบน และเจ้าหน้าที่ผู้จับมีสิทธิได้รับรางวัลตามมาตรา 7 โดยผู้แจ้งความนำจับหรือเจ้าหน้าที่ผู้จับ สามารถยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นที่ได้ออกหมายปล่อยภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ส่งตัวผู้ต้องหา หรือจำเลยต่อศาล โดยต้องแสดงพยานหลักฐานที่น่าเชื่อว่าตนเองเป็นผู้มีสิทธิได้รับเงินดังกล่าว หากศาล เห็นว่าคำร้องนั้นฟังได้ก็มีอำนาจสั่งจ่ายเงินสินบนแก่ผู้แจ้งความนำจับหริอเงินรางวัลแก่เจ้าหน้าที่ ผู้จับนั้นตามที่เห็นสมควร โดยคำนึงถึงความยากง่ายในการติดตามจับกุมตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยนั้นเป็น สำคัญ (มาตรา 8 วรรคหนึ่ง) หลักเกณฑ์ อัตราในการจ่ายเงินสินบน และเงินรางวัลตามมาตรา 8 ให้เป็นไปตามระเบียบ ที่ ก.บ.ศ. กำหนดโดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง และประกาศในราชกิจจานุเบกษา (มาตรา 8 วรรคสี่) เหตุผลที่กำหนดให้มีผู้กำกับดูแลผู้ถูกปล่อยชั่วคราวนี้ เพราะในกรณีที่มีการปล่อยชั่วคราว ผู้ต้องหาหรือจำเลยโดยคำสั่งของศาล เมื่อผู้ต้องหาหรือจำเลยหลบหนี ทำให้การพิจารณาพิพากษาคดี ต้องล่าช้า ส่งผลกระทบต่อนโยบายในการป้องกันและปราบปรามอาชญกรรม สาเหตุที่สำคัญคือการไม่มี เจ้าพนักงานกำกับดูแลผู้ถูกปล่อยชั่วคราวให้ปฏิบัติตามเงื่อนไขต่าง ๆ ที่ศาลกำหนดเพื่อป้องกัน การหลบหนีหรือภัยอันตรายหรือความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นได้ นอกจากนี้ เมื่อเกิดการหลบหนีก็ไม่มี เจ้าพนักงานที่มีอำนาจหน้าที่โดยตรงติดตามจับกุมผู้ต้องหาหรือจำเลยเหล่านี้กลับมาดำเนินคดี จึงมี การกำหนดให้มีผู้กำกับดูแลผู้ถูกปล่อยชั่วคราวและการติดตามจับกุมผู้ต้องหาหรือจำเลยที่หลบหนี เพื่อให้การพิจารณาคดีเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ จากเหตุผลดังกล่าวเห็นได้ว่า เป็นกลไกหนึ่งที่ศาลได้ให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการ กำกับดูแลผู้ถูกปล่อยชั่วคราวเพื่อให้มีตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยอยู่ในการพิจารณาและพิพากษาและ ให้ประชาชนร่วมกับแจ้งความนำจับเพื่อให้เจ้าพนักงานได้จับผู้ต้องหาหรือจำเลยที่หลบหนีไป 3.3 การมีส่วนร่วมของประชาชนในเรื่องอื่น ๆ ที่มิใช่การกำหนดนโยบายและการตรวจสอบ การปฏิบัติตามนโยบาย ในศาลยุติธรรมไม่ได้กำหนดให้มีคณะกรรมการพัฒนางานศาลยุติธรรมในแต่ละจังหวัด เหมือนของสำนักงานตำรวจแห่งชาติหรือสำนักงานอัยการสุงสุด แต่ประชาชนอาจมีส่วนร่วมในการเป็น พยานบุคคลในศาลหรือได้รับการเชิญมาเพื่อให้ถ้อยคำแก่ศาลในฐานะพยาน หรือเป็นล่ามได้เช่นเดียวกับ ในชั้นพนักงานอัยการ
108 อย่างไรก็ดี รูปแบบของการมีส่วนร่วมของประชาชนที่จะเข้าร่วมในขั้นตอนของศาลยุติธรรม จะมีแนวทางที่เป็นพยานผู้เชี่ยวชาญ ผู้พิพากษาสมทบ ผู้ไกล่เกลี่ย หรือผู้ประนีประนอม เป็นหลัก แต่จะไม่มีลักษณะที่เป็นคณะลูกขุนเหมือนในต่างประเทศ เช่น สหพันธสาธารณรัฐเยอรมนี ญี่ปุ่น อังกฤษ
109 บทที่ 4 สรุปผลการลงพื้นที่สัมภาษณ์เก็บข้อมูลหน่วยงานเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของประชาชน ในกระบวนการยุติธรรม ในบทนี้ คณะที่ปรึกษาได้ลงพื้นที่สัมภาษณ์เก็บข้อมูลหน่วยงานเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของ ประชาชนในกระบวนการยุติธรรม ได้แก่ สำนักงานอัยการสูงสุด สำนักงานศาลยุติธรรม และสำนักงาน ตำรวจแห่งชาติ ใน 4 ภาค ได้แก่ ภาคใต้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคเหนือ เพื่อแสวงหา ข้อมูลและข้อเท็จจริงจากประสบการณ์ด้วยการสำรวจ สังเกตการณ์ สัมภาษณ์ หรือสืบทราบผ่านผู้มี ประสบการณ์ด้วยวิธีการอื่นใด เพื่อทบทวนประสิทธิภาพและคุณภาพในภาคปฏิบัติจากประสบการณ์ของ ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการเปิดและเข้าไปมีส่วนร่วมในรูปแบบ ช่องทาง และวิธีการต่าง ๆ ที่มีและเคยมีในหน่วยงาน ทั้งหลายในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาของไทยว่ามีปัจจัยและองค์ประกอบใดบ้างที่เป็นตัวแปร ความสำเร็จหรือล้มเหลวของกลไกการมีส่วนร่วม เหตุและปัจจัยที่ทำให้เกิดจุดแข็งและจุดอ่อน และ ที่ผ่านมามักมีปัญหาหรืออุปสรรคที่มาจากสาเหตุและปัจจัยใดเป็นสำคัญ ทั้งนี้ ข้อคำถามการสัมภาษณ์และแบบสอบถามมีคำถามเดียวกัน ซึ่งคณะที่ปรึกษาได้ติดต่อ ขอเข้าสัมภาษณ์หน่วยงานบางแห่งเป็นการเฉพาะเจาะจง และได้เปิดกว้างสำหรับหน่วยงานกระบวนการ ยุติธรรมทุกแห่งในการตอบแบบสอบถามออนไลน์ โดยได้แจ้งทุกครั้งที่สัมภาษณ์และได้ระบุใน แบบสอบถามอย่างชัดเจนว่าข้อมูลของผู้ตอบแบบสอบถามและผู้ให้สัมภาษณ์นั้นจะใช้ในโครงการ ศึกษาวิจัยและที่เกี่ยวข้องเท่านั้น ในการสัมภาษณ์และในแบบสอบถาม มีคำสำคัญจำนวน 3 คำที่ได้อธิบายแก่ผู้ให้สัมภาษณ์และ ผู้ตอบแบบสอบถามเพื่อให้รับทราบความหมายที่ตรงกัน ได้แก่ “การมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการยุติธรรม” หมายถึง กลไก/มาตรการ/โครงการ/ กิจกรรม/คณะกรรมการ/หรือรูปแบบอื่น ๆ ของสำนักงานอัยการสูงสุด สำนักงานศาลยุติธรรม หรือ สำนักงานตำรวจแห่งชาติที่กำหนดให้มีผู้แทนจากภาคประชาชนร่วมดำเนินการ (เช่น ตรวจสำนวน ร่วมใช้ ดุลพินิจ ดำเนินคดีผู้กระทำผิด ดูแลผู้ต้องหาและผู้เสียหาย ปรับปรุงจิตพิสัย คุมประพฤติ ฟื้นฟูนักโทษ ก่อนปล่อยตัว ป้องกันการกระทำผิด หรือให้คำแนะนำต่อกระบวนการยุติธรรม ฯลฯ) เพื่อส่งเสริมให้ ประชาชนได้มีส่วนร่วมในกระบวนการยุติธรรมของหน่วยงานทั้งระดับจังหวัดหรือในระดับท้องที่ “หน่วยงาน” หมายถึง สำนักงานอัยการสูงสุด สำนักงานศาลยุติธรรม หรือสำนักงานตำรวจ แห่งชาติในระดับจังหวัดหรือในระดับท้องที่ “ประชาชน” หมายถึง ประชาชนทั่วไปในพื้นที่ของหน่วยงาน พื้นที่ที่คณะที่ปรึกษาเก็บข้อมูล ประกอบด้วย สำนักงานอัยการภาคกับสำนักงานอัยการจังหวัด ศาลจังหวัด และสถานีตำรวจภูธร ระหว่างวันที่26 กันยายน ถึงวันที่ 12 ตุลาคม 2565 ในจังหวัดขนาดเล็ก และขนาดใหญ่ของ 4 ภาค ดังนี้
110 -ภาคใต้ ได้แก่ จังหวัดตรัง จังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดสงขลา และจังหวัดสุราษฎร์ธานี -ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ จังหวัดกาฬสินธุ์ จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดร้อยเอ็ด และ จังหวัดอุดรธานี -ภาคกลาง ได้แก่ จังหวัดชลบุรี จังหวัดชัยนาท จังหวัดนนทบุรี และจังหวัดสุพรรณบุรี -ภาคเหนือ ได้แก่ จังหวัดกำแพงเพชร จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดพิษณุโลก และจังหวัดสุโขทัย รายละเอียดของการเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์และแบบสอบถามเพื่อแสวงหาข้อมูลและ ข้อเท็จจริงด้านกลไกการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในหน่วยงานกระบวนการยุติธรรมของสำนักงาน อัยการภาคกับสำนักงานอัยการจังหวัด ศาลจังหวัด และสถานีตำรวจภูธร คณะที่ปรึกษาดำเนินการ สรุปผลการลงพื้นที่สัมภาษณ์เก็บข้อมูลหน่วยงานเป็น 4 ภาค และสรุปข้อมูลจากแบบสอบถามทาง ออนไลน์โดยมีรายละเอียดดังนี้ 1. สรุปผลการลงพื้นที่สัมภาษณ์เก็บข้อมูลหน่วยงานภาคใต้ 2. สรุปผลการลงพื้นที่สัมภาษณ์เก็บข้อมูลหน่วยงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3. สรุปผลการลงพื้นที่สัมภาษณ์เก็บข้อมูลหน่วยงานภาคกลาง 4. สรุปผลการลงพื้นที่สัมภาษณ์เก็บข้อมูลหน่วยงานภาคเหนือ 5. สรุปข้อมูลจากแบบสอบถามทางออนไลน์ ข้อมูลที่ได้จากการสรุปผลการลงพื้นที่สัมภาษณ์เก็บข้อมูลหน่วยงานในแต่ละภาค ได้สรุปโดย แบ่งเป็น 5 ประเด็น ได้แก่ ก. รูปแบบการมีส่วนร่วมของประชาชน/องค์ประกอบ/ผลสำเร็จ ข. ปัญหาหรืออุปสรรคจากการที่ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม ค. การรับรู้ ตื่นตัว และสนใจของประชาชนในพื้นที่มีที่จะเข้ามามีส่วนร่วม ง. การมีส่วนได้เสีย/ผลประโยชน์ทับซ้อนกับหน่วยงานจากการเข้ามามีส่วนร่วมของประชาชน จ. ความเห็นและข้อเสนอแนะอื่น ๆ ข้อมูลที่ได้รับจากการสัมภาษณ์พื้นที่ 4 ภาคและแบบสอบถามออนไลน์ดังกล่าว สามารถสรุป รายละเอียดได้ดังต่อไปนี้ 1. สรุปผลการลงพื้นที่สัมภาษณ์เก็บข้อมูลหน่วยงานภาคใต้ คณะที่ปรึกษาได้ลงพื้นที่สัมภาษณ์เก็บข้อมูลหน่วยงานภาคใต้ ได้แก่ จังหวัดตรัง จังหวัด นครศรีธรรมราช จังหวัดสงขลา และจังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งมีหน่วยงาน 8 แห่ง ประกอบด้วย สำนักงาน อัยการภาค 2 แห่ง สำนักงานอัยการจังหวัด 2 แห่ง ศาลจังหวัด 1 แห่ง สถานีตำรวจภูธรจังหวัด 3 แห่ง ดังนี้
111 ตารางที่ 1 การลงพื้นที่สัมภาษณ์เก็บข้อมูลหน่วยงานภาคใต้ (ระหว่างวันที่26-29 กันยายน 2565) ที่ หน่วยงาน ชื่อ-สกุล / ตำแหน่ง วันที่ 26 กันยายน 2565 1. สำนักงานอัยการภาค 9 -นายสมยศ เสรีอภินันท์ อัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญา 1 -นายโสภณ สมานเดชา อัยการผู้เชี่ยวชาญพิเศษ 2. สถานีตำรวจภูธรจังหวัดสงขลา -พ.ต.อ.ภูวรา แก้วพารัตน์ ผกก.สภ.เมืองสงขลา วันที่ 27 กันยายน 2565 3. สำนักงานอัยการจังหวัดนครศรีธรรมราช -นายนฤชา วชิระพงษ์ อัยการจังหวัด ประจำสำนักงานอัยการสูงสุด 4. สถานีตำรวจภูธรจังหวัดนครศรีธรรมราช -พ.ต.อ.อภิชาติ คชเวช ผกก.(สอบสวน) กลุ่มงานสอบสวน ภ.จว.นครศรีธรรมราช วันที่ 28 กันยายน 2565 5. สำนักงานอัยการจังหวัดตรัง -นางสาวจุฑามาศ พฤติวิญญู รองอัยการจังหวัด -นายชัยพร แดงบรรจง รองอัยการจังหวัดคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือ ทางกฎหมายและบังคับคดีจังหวัดตรัง วันที่ 29 กันยายน 2565 6. ศาลจังหวัดตรัง -นายปภณ ปริพนธ์พจนพิสุทธิ์ ผู้พิพากษาศาลจังหวัดตรัง 7. สำนักงานอัยการภาค 8 -นายวินัย ทิพย์สุวรรณ อัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญา 1 8. สถานีตำรวจภูธรจังหวัดสุราษฎร์ธานี -พ.ต.ท. ธวัชชัย พรหมเทพ รอง ผกก. (สอบสวน) กลุ่มงานสอบสวน ภ.จว.สุราษฎร์ธานี -พ.ต.ต อะเดียว มะต่อม สารวัตรชุมชนมวลชน สัมพันธ์ (ตชส.) ภ.จว.สุราษฎร์ธานี
112 1.1 การมีส่วนร่วมของประชาชนในสำนักงานอัยการจังหวัด การให้ประชาชนมีส่วนร่วมในสำนักงานอัยการเป็นการดำเนินการตามวิสัยทัศน์ขององค์กร อัยการที่กำหนดให้เป็น “องค์กรนำในการใช้กฎหมาย เพื่อรักษาความยุติธรรมให้กับประชาชนและ สังคม” และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560 - 2564 ยุทธศาสตร์ที่ 2 การสร้างความเป็นธรรมและลดความเหลื่อมล้ำในสังคม ส่งเสริมให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมใน กระบวนการยุติธรรม ช่วยในการสะท้อนหรือให้ข้อมูลเกี่ยวกับปัญหาเรื่องต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในท้องที่ รวมถึงปัญหาเกี่ยวกับเรื่องการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม หรือการดำเนินคดีให้หน่วยงานอัยการทราบ โดยสามารถทำหน้าที่เป็นสื่อกลางระหว่างประชาชนในพื้นที่และองค์กรอัยการ เนื่องจากองค์กรอัยการ อาจจะไม่ได้ใกล้ชิดกับประชาชนเหมือนตำรวจ ก. รูปแบบการมีส่วนร่วมของประชาชน/องค์ประกอบ/ผลสำเร็จ 1) คณะกรรมการการมีส่วนร่วมภาคประชาชนในการพัฒนาสำนักงานอัยการจังหวัด คณะกรรมการการมีส่วนร่วมภาคประชาชนในการพัฒนาสำนักงานอัยการจังหวัด เป็นไปตามแนวนโยบายของสำนักงานอัยการสูงสุด โดยสำนักงานอัยการจังหวัดของจังหวัด นครศรีธรรมราช จังหวัดตรัง และจังหวัดสุราษฎร์ธานี มีการตั้งคณะกรรมการการมีส่วนร่วมภาค ประชาชนในการพัฒนาสำนักงานอัยการจังหวัด จังหวัดละ 1 ชุด ส่วนจังหวัดสงขลามีการตั้งกรรมการ 2 ชุด คือ คณะกรรมการการมีส่วนร่วมภาคประชาชนในการพัฒนาสำนักงานอัยการจังหวัดสงขลา และ คณะกรรมการการมีส่วนร่วมภาคประชาชนในการพัฒนาสำนักงานอัยการจังหวัดนาทวี คณะกรรมการการมีส่วนร่วมภาคประชาชนในการพัฒนาสำนักงานอัยการจังหวัด ประกอบด้วยผู้แทนประชาชนโดยทางสำนักงานอัยการจังหวัดจะเป็นผู้คัดเลือกตัวแทนประชาชนที่มี ความเหมาะสมและมีความพร้อมในการปฏิบัติหน้าที่ และบรรลุนิติภาวะแล้ว จำนวนไม่เกิน 5 คน เช่น อดีตนายกเทศมนตรี อดีตผู้ว่าราชการจังหวัด กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน มีวาระดำรงตำแหน่ง 2 ปีและจัดให้มี การประชุมเดือนละครั้งหรือสองเดือนต่อครั้ง อำนาจหน้าที่ของกรรมการชุดนี้เป็นไปตามคำสั่งของสำนักงานอัยการสูงสุด โดยมีหน้าที่ ในการให้คำปรึกษาแก่สำนักงานอัยการจังหวัดในการอำนวยความยุติธรรมให้แก่ประชาชนในจังหวัด เช่น ให้คำแนะนำหรือสะท้อนปัญหาทางสังคมเกี่ยวกับอาชญากรรมในพื้นที่ รับฟังความคิดเห็นหรือ คำแนะนำจากภาคประชาชน รับเรื่องร้องเรียนในเรื่องต่าง ๆ จากประชาชนในท้องที่ และเป็นสื่อกลาง ระหว่างประชาชนกับหน่วยงานอัยการในการสื่อสารหรือช่วยเหลือประชาชน เพื่อเข้าถึงกระบวนการ ยุติธรรม สนับสนุนการจัดกิจกรรม/โครงการจากภาคประชาชนที่เป็นประโยชน์ต่อท้องถิ่น ผลสำเร็จที่เกิดขึ้นจากกรรมการชุดนี้เช่น -การแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบที่ชาวบ้านไปกู้ยืมมา ซึ่งมีการสะท้อนปัญหามาให้ทางอัยการ ทราบผ่านกรรมการชุดนี้ ซึ่งสำนักงานคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชนก็เข้าไปช่วย ไกล่เกลี่ยระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้
113 -การให้คำแนะนำเรื่องการจอดรถในการติดต่อราชการ เนื่องจากที่จอดรถของสำนักงาน อัยการมีอยู่ค่อนข้างจำกัด ทำให้ประชาชนที่มาติดต่อหน่วยงานไม่ได้รับความสะดวก นำไปสู่การจัดระบบ การจอดรถ การจัดรูปแบบสถานที่ใหม่ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชน เป็นต้น -การเสนอแนะจากตัวแทนประชาชน ในคดีพรากผู้เยาว์ซึ่งเป็นพ่อแม่วัยรุ่น และแยกทางกัน แต่มีบุตรด้วยกันหนึ่งคน จึงเสนอแนะว่าไม่ควรฟ้องคดีนี้ เพราะอาจจะกระทบต่อครอบครัวของเด็ก ซึ่งอัยการเห็นว่าสามารถใช้ดุลพินิจในการสั่งไม่ฟ้องคดีได้ โดยอาศัยระเบียบสำนักงานอัยการสูงสุดว่าด้วย การสั่งคดีอาญาที่จะไม่เป็นประโยชน์แก่สาธารณชน 2) การร้องขอความเป็นธรรมเกี่ยวกับคดี การร้องขอความเป็นธรรมเกี่ยวกับคดี เป็นการดำเนินการตามระเบียบสำนักงานอัยการสูงสุด ว่าด้วยการดำเนินคดีอาญาของพนักงานอัยการ พ.ศ. 2563 ข้อ 65 กำหนดไว้ว่ากรณีผู้เสียหายหรือ ผู้ต้องหา หรือ “บุคคลอื่นใด” เพื่อประโยชน์ของผู้เสียหายหรือผู้ต้องหาใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญหรือ กฎหมายอื่น หรือระเบียบที่เกี่ยวข้องยื่นหนังสือร้องขอความเป็นธรรมต่อพนักงานอัยการ โดยกล่าวอ้าง ว่าผู้เสียหายหรือผู้ต้องหาไม่ได้รับความเป็นธรรมจากพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการ ให้พนักงาน อัยการพิจารณารับคำร้องขอความเป็นธรรมดังกล่าวไว้พิจารณา ซึ่งคำว่า “บุคคลอื่นใด” ตามระเบียบฯ ในข้อดังกล่าวมีความหมายกว้าง โดยอาจจะมิใช่ตัวผู้เสียหายหรือผู้ต้องหา แต่อาจจะเป็นญาติของ ผู้เสียหายหรือผู้ต้องหา ทนายความ ฯลฯ เมื่ออัยการจังหวัดรับเรื่องแล้ว อาจจะสั่งให้พนักงานสอบสวนทำการสอบสวนเพิ่มเติมตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาได้เพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงที่ถูกต้องครบถ้วนมากยิ่งขึ้น และเพื่อ ประโยชน์ในการอำนวยความยุติธรรมในคดี โดยการปฏิบัติงานของอัยการจังหวัดจะพิจารณาให้ความ เป็นธรรม โดยคำนึงถึงข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานอันสำคัญแก่คดีที่จะนำไปสู่การพิสูจน์ความผิดหรือ ความบริสุทธิ์ของผู้ต้องหาได้ ซึ่งประชาชนที่เข้าร่วมอาจจะมีหน้าที่ที่จะต้องไปให้การในฐานะพยาน 3) การร้องทุกข์เกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ ประชาชนสามารถเสนอเรื่อง ตั้งเรื่อง หรือแนะนำ หากพบว่ามีปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติ หน้าที่ของพนักงานอัยการหรือเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานที่ประสงค์ร้องทุกข์ โดยหลักจะมีการร้องเรียน ไปยังผู้บังคับบัญชาของเจ้าหน้าที่ผู้นั้นเพื่อไม่ให้มีปัญหาเรื่องประโยชน์ทับซ้อน เช่น ร้องเรียนไปยัง สำนักงานอัยการภาค 9 ซึ่งกำกับดูแลอัยการจังหวัด 4) การเข้าถึงข้อมูลหรือข่าวสารสาธารณะในครอบครองของหน่วยงานอัยการ ประชาชนสามารถยื่นคำร้องขอข้อมูลข่าวสารของสำนักงานอัยการ เช่น เอกสารเกี่ยวกับ สำนวนคดีโดยให้เหตุผลที่ต้องขอข้อมูลข่าวสารเพื่อประโยชน์ในการพิจารณา เช่น เพื่อประโยชน์ในการ ดำเนินการฟ้องคดีส่วนแพ่ง หรือเพื่อประโยชน์ในการมีส่วนร่วมในการดูแลผู้ต้องหาหรือผู้เสียหาย ส่วนใหญ่ผู้ยื่นคำร้องมักเป็นผู้ต้องหา หรือผู้มีส่วนได้เสียในคดี แต่บุคคลอื่น ๆ ก็สามารถยื่นคำร้อง ได้เช่นกันหากมีเหตุอันสมควร
114 เมื่อสำนักงานอัยการได้รับคำร้องแล้วจะพิจารณาว่าทำให้การบังคับใช้กฎหมายเสื่อม ประสิทธิภาพหรือไม่ อาจสำเร็จตามวัตถุประสงค์ หรือน่าจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่ราชการและผู้อื่น หรือไม่ ตามระเบียบสำนักงานอัยการสูงสุดว่าด้วยข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2541 และพระราชบัญญัติ ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 มาตรา 15 หากไม่มีข้อขัดข้องในเรื่องการบังคับใช้กฎหมายหรือ ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ราชการ ก็จะอนุญาตให้มีการคัดถ่ายเอกสารได้ กรณีการร้องขอข้อมูลข่าวสาร มีตัวอย่างที่น่าสนใจกรณีหนึ่ง ผู้ขอข้อมูลไม่ได้มีส่วนได้เสีย แต่ได้ร้องขอข้อมูลเพื่อประโยชน์สาธารณะ เช่น มูลนิธิสายเด็ก 1387 ซึ่งเป็นองค์กรสาธารณประโยชน์ ที่ได้รับการรับรองตามกฎหมายประสงค์จะขอทราบผลการพิจารณาคดี โดยขอทราบความคืบหน้า ผลการดำเนินคดีพร้อมรายละเอียดข้อกล่าวหาเพื่อวางแผนหาแนวทางการช่วยเหลือคุ้มครองสวัสดิภาพ ของเด็กก็สามารถดำเนินการได้ 5) การให้ความรู้ทางกฎหมายแก่ประชาชน สำนักงานอัยการจังหวัดได้ดำเนินการร่วมกับสำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือ ทางกฎหมาย โดยประชาชนทั่วไปในพื้นที่สามารถเข้ามามีส่วนร่วมในภารกิจของสำนักงานอัยการได้ โดยทางอัยการจะเชิญตัวแทนภาคประชาชนมาเป็นวิทยากร บรรยายให้ความรู้กฎหมายเฉพาะด้าน เช่น หลักกฎหมายอิสลามว่าด้วยครอบครัวและมรดก เป็นต้น 6) การจัดทำแผนแก้ไขบำบัดฟื้นฟูเด็กหรือเยาวชนที่กระทำผิด พระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553 มาตรา 86 และมาตรา 87 กำหนดว่าในคดีที่เด็กหรือเยาวชนต้องหาว่ากระทำความผิดอาญา ซึ่งมีอัตราโทษอย่างสูงตามที่กฎหมายกำหนดไว้ให้จำคุกไม่เกิน 5 ปี ไม่ว่าจะมีโทษปรับด้วยหรือไม่ก็ตาม ถ้าปรากฏว่าเด็กหรือเยาวชนไม่เคยได้รับโทษจำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดย ประมาทหรือความผิดลหุโทษ หากเด็กหรือเยาวชนสำนึกในการกระทำก่อนฟ้องคดีและผู้อำนวยการ สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนพิจารณาเห็นว่าเด็กหรือเยาวชนนั้นอาจกลับตนเป็นคนดีได้ โดยไม่ต้องฟ้อง ก็ให้จัดทำแผนแก้ไขบำบัดฟื้นฟูให้เด็กหรือเยาวชนปฏิบัติได้ ในการจัดทำแผนแก้ไขบำบัดฟื้นฟู ให้ผู้อำนวยการสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน เชิญฝ่ายเด็กหรือเยาวชนซึ่งต้องหาว่ากระทำความผิด ฝ่ายผู้เสียหาย และนักจิตวิทยาหรือนักสังคม สงเคราะห์เข้าร่วมประชุม และหากเห็นสมควรอาจเชิญ “ผู้แทนชุมชน” หรือหน่วยงานที่มีหน้าที่เกี่ยวข้อง หรือได้รับผลกระทบจากการกระทำความผิด หรือพนักงานอัยการด้วยก็ได้ ทั้งนี้ จะต้องจัดทำแผนแก้ไข บำบัดฟื้นฟูให้แล้วเสร็จและเสนอให้พนักงานอัยการพิจารณาภายใน 30 วันนับแต่วันที่เด็กหรือเยาวชน สำนึกในการกระทำ ข. ปัญหาหรืออุปสรรคจากการที่ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม -เนื่องจากยังไม่มีกฎหมายหรือระเบียบที่ชัดเจนในการจัดตั้งคณะกรรมการการมีส่วนร่วม ภาคประชาชนในการพัฒนาสำนักงานอัยการจังหวัด เพราะเป็นเพียงนโยบายจึงทำให้ขาดความชัดเจน
115 ในเรื่องวัตถุประสงค์ และอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการชุดนี้ ทั้งนี้ ความตื่นตัวในการดำเนินงานของ คณะกรรมการฯ ในสำนักงานอัยการจังหวัดแต่ละจังหวัดอาจจะขึ้นอยู่กับความชัดเจนในเชิงนโยบาย ของอัยการจังหวัด ซึ่งมักจะต้องโยกย้ายอยู่บ่อยครั้ง ทำให้ขาดความต่อเนื่องของนโยบาย -การมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการยุติธรรมอาจจะมีอยู่อย่างจำกัด เนื่องจากเป็น งานอาสาสมัคร ชาวบ้านหรือประชาชนอาจจะไม่ได้สนใจเพราะต้องให้ความสำคัญกับการทำงาน หาเลี้ยงชีพของตนเองเป็นอันดับแรก อีกทั้งยังเป็นงานที่ต้องอาศัยการมีจิตสาธารณะ ซึ่งเป็นปัญหาว่าจะ ทำอย่างไรให้คนมีจิตสาธารณะเพิ่มมากขึ้น -ประชาชนไม่ทราบว่ามีการตั้งคณะกรรมการการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนา สำนักงานอัยการจังหวัด เนื่องจากไม่ค่อยมีการประชาสัมพันธ์ ค. การรับรู้ ตื่นตัว และสนใจของประชาชนในพื้นที่มีที่จะเข้ามามีส่วนร่วม การตื่นตัวในการเข้ามามีส่วนร่วม ในมุมมองของอัยการแต่ละจังหวัดมีความแตกต่างกัน ในจังหวัดสงขลาการมีส่วนร่วมของประชาชนค่อนข้างน้อย อาจจะมีอยู่อย่างจำกัด เช่น การร้องขอความ เป็นธรรมของผู้เสียหายหรือผู้ต้องหาหรือ NGOs ที่เข้ามาช่วยเหลือประชาชนในการดำเนินคดีจังหวัด นครศรีธรรมราชโดยรวมค่อนข้างตื่นตัว เนื่องจากมีประชาชนเรียนกฎหมายเป็นจำนวนมากทำให้รู้ถึง สิทธิหน้าที่ของตนเอง และประสงค์จะเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการยุติธรรม เช่น การส่งหรือแจ้ง ข้อร้องเรียนต่าง ๆ ซึ่งเป็นอัตลักษณ์ของคนจังหวัดนี้ ส่วนจังหวัดตรังประชาชนตื่นตัวในระดับปานกลาง เพราะประชาชนบางส่วนยังขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับภารกิจงานในหน้าที่ของสำนักงานอัยการ หรือไม่มีความรู้เกี่ยวกับสิทธิตามกฎหมายในการมีส่วนร่วม หรือเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมของ หน่วยงาน และจังหวัดสุราษฎร์ธานีมีประชาชนในพื้นที่ตื่นตัวมากขึ้นกว่าแต่ก่อน มีการสอดส่องและ ตรวจสอบการทำงานของเจ้าหน้าที่มากขึ้น ผ่านโซเชียลมีเดีย หรือทำหนังสือร้องขอความเป็นธรรม ง. การมีส่วนได้เสีย/ผลประโยชน์ทับซ้อนกับหน่วยงานจากการเข้ามามีส่วนร่วมของ ประชาชน ในการมีส่วนร่วมของประชาชนกับสำนักงานอัยการ อาจจะสร้างปัญหาในเรื่องความลับ ในการสอบสวน ประชาชนผู้มีส่วนร่วมที่มาแจ้งข้อมูลหรือเป็นพยานอาจจะนำข้อมูลทางคดีไปเปิดเผย ทำให้เกิดความเสียหายแก่รูปคดีหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องกับคดีได้ นอกจากนี้ ยังเคยมีกรณีที่ประชาชน เข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการยุติธรรมเข้ามาช่วยเหลือประชาชนในเรื่องเกี่ยวกับการจัดการมรดกมี การเรียกรับทรัพย์สินฉวยโอกาสเข้ามาหาประโยชน์จากการดำเนินการในเรื่องดังกล่าว จ. ความเห็นและข้อเสนอแนะอื่น ๆ ผู้ให้สัมภาษณ์มีความเห็นเพิ่มเติมว่า ควรมีการออกกฎหมายหรือระเบียบที่ชัดเจน กำหนด คุณสมบัติของบุคคลหรือประชาชนที่เข้ามาเป็นกรรมการในคณะกรรมการการมีส่วนร่วมภาคประชาชน ในการพัฒนาสำนักงานอัยการจังหวัด รวมถึงกำหนดอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการชุดนี้ให้ชัดเจน และ
116 ควรมีการกำหนดค่าตอบแทนหรือค่าพาหนะให้แก่ผู้ที่มาทำหน้าที่เป็นกรรมการในคณะกรรมการการ มีส่วนร่วมภาคประชาชนในการพัฒนาสำนักงานอัยการจังหวัด 1.2 การมีส่วนร่วมของประชาชนในศาลจังหวัด ก. รูปแบบการมีส่วนร่วมของประชาชน/องค์ประกอบ/ผลสำเร็จ 1) ผู้กำกับดูแลผู้ถูกปล่อยชั่วคราว การตั้งผู้กำกับดูแลผู้ถูกปล่อยชั่วคราว เป็นแนวนโยบายเพื่อลดความเหลื่อมล้ำสำหรับ ผู้ด้อยโอกาส และเป็นการคุ้มครองสิทธิของประชาชนให้สามารถได้รับการปล่อยชั่วคราว โดยผู้กำกับดูแล ช่วยกำกับ สอดส่อง ให้คำปรึกษาแทนการเรียกหลักทรัพย์ ทำให้ผู้ด้อยโอกาสสามารถเข้าถึงกระบวนการ ยุติธรรมมากขึ้น ประชาชนสามารถเข้ามาทำหน้าที่เป็นผู้กำกับดูแลผู้ที่ศาลอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราว ผู้ที่เข้ามาทำหน้าที่ดังกล่าวต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามพระราชบัญญัติมาตรการกำกับ และติดตามจับกุมผู้หลบหนีการปล่อยชั่วคราวโดยศาล พ.ศ. 2560 ศาลอาจแต่งตั้งผู้นำท้องถิ่น คณะกรรมการชุมชน อาสาสมัครคุมประพฤติ ในการกำกับดูแลและให้คำปรึกษาในการปล่อยชั่วคราว ระหว่างพิจารณา เพื่อให้สามารถปล่อยชั่วคราวโดยไม่ต้องใช้หลักประกันหรือลดหลักประกัน และจ่าย ค่าตอบแทนให้ผู้กำกับดูแลฯ ตามระเบียบคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรมฯ โดยบุคคลดังกล่าวต้องขึ้น ทะเบียนเป็นผู้กำกับดูแลฯ ของศาล มีสิทธิได้รับค่าตอบแทนตามกฎหมายและประกาศในระบบ CIOS (ระบบบริการข้อมูลคดีศาลยุติธรรม - Case Information Online Service) ในเว็บไซต์ https://cios.coj.go.th ทุกศาลในประเทศสามารถนำไปใช้ได้ ผู้กำกับดูแลผู้ถูกปล่อยชั่วคราวมีหน้าที่ในการสอดส่อง ดูแล กำชับ ตักเตือนให้ผู้ถูกปล่อย ชั่วคราวปฏิบัติตามเงื่อนไขของศาลอย่างเคร่งครัด อีกทั้งยังทำหน้าที่สอดส่องไม่ให้ผู้ต้องหาหรือจำเลย ไปคุกคามผู้เสียหาย หากพบพฤติกรรมอันควรสงสัยว่าเป็นการผิดเงื่อนไขต้องรายงานศาลทราบโดยเร็ว ผลสำเร็จที่ได้รับจากการดำเนินการในเรื่องนี้คือสังคมได้รับความปลอดภัยมากขึ้น ลดความ จำเป็นในการเรียกหลักประกัน ผู้ต้องหาหรือจำเลยที่ยากจนมีโอกาสที่จะได้รับการปล่อยชั่วคราว เช่นเดียวกับผู้ต้องหาหรือจำเลยอื่น เป็นการลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม 2) ผู้ควบคุมดูแลให้ปฏิบัติตามเงื่อนไขในกรณีที่พิพากษาให้รอการลงโทษจำเลย ศาลอาจแต่งตั้งบุคคลในครอบครัวของจำเลยหรือบุคคลที่ศาลเห็นสมควรซึ่งยอมรับดูแล จำเลยนอกจากพนักงานคุมประพฤติหรือเจ้าพนักงานศาล เป็นผู้ควบคุม ดูแล ให้คำแนะนำ ช่วยเหลือ หรือ ตักเตือน รวมถึงติดตามการปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ศาลกำหนด โดยระบุถึงระยะเวลาและวิธีการ รายงาน ผลการปฏิบัติตามเงื่อนไขดังกล่าวให้ศาลทราบ เป็นไปตามคำแนะนำของประธานศาลฎีกาเกี่ยวกับวิธีการ รอการกำหนดโทษ การรอการลงโทษ และการกำหนดเงื่อนไขเพื่อคุมความประพฤติ พ.ศ. 2559
117 3) นายประกันอาชีพ เป็นบุคคลที่ได้รับการขึ้นทะเบียนจากศาลเพื่อแสดงความจำนงยื่นคำร้องขอปล่อยชั่วคราว ผู้ต้องหาหรือจำเลย ด้วยการวางหลักทรัพย์ของตนเองเป็นประกัน โดยคิดค่าตอบแทนจากการนั้น ซึ่งนายประกันอาชีพจะต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามระเบียบของศาลจังหวัดว่าด้วย การขอปล่อยชั่วคราว 4) ทนายความอาสา เป็นทนายความที่ขึ้นทะเบียนกับศาลยุติธรรมอยู่ประจำตามศาลเพื่อให้คำแนะนำด้าน กฎหมายและช่วยเหลือประชาชนเกี่ยวกับคดีความ 5) ล่ามอาสาสมัคร เป็นประชาชนที่มีความรู้ในภาษาต่างประเทศหรือภาษามือที่ขึ้นทะเบียนไว้กับศาลยุติธรรม ทำหน้าที่เป็นล่ามในการพิจารณาคดี เมื่อมีการร้องขอหรือศาลเห็นเอง 6) การมีส่วนร่วมในกระบวนการยุติธรรมของคู่ความ เป็นการดำเนินการในลักษณะของการยื่นคำร้องต่อศาลจากตัวญาติของผู้ต้องหาหรือจำเลย หรือคู่ความเพื่อร้องขอต่อศาลในเรื่องต่าง ๆ เกี่ยวกับการดำเนินคดี เช่น ยื่นคำแถลงต่อศาลว่าได้มีการ เยียวยาความเสียหายแก่ผู้เสียหายไปแล้ว เพื่อประกอบการใช้ดุลพินิจของศาลตามมาตรา 44/1 ประมวล กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา 7) การแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการให้บริการของศาล และการร้องเรียนการปฏิบัติงาน ของเจ้าหน้าที่รัฐ ประชาชนที่มาใช้บริการที่ศาลสามารถแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการให้บริการของศาล ผ่านทาง QR Code ที่ให้ไว้ขณะรับบริการจากศาล และสามารถร้องเรียนเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของ เจ้าหน้าที่รัฐต่อหน่วยงานส่วนกลางของสำนักงานศาลยุติธรรมได้ 8) การเข้าฟังการพิจารณาคดี ประชาชนสามารถเข้ามาฟังการพิจารณาคดีได้ เว้นแต่คดีที่ต้องพิจารณาโดยลับ 9) รูปแบบอื่น ๆ ประชาชนที่เข้าร่วมในโครงการหรือกิจกรรมการให้ความรู้ทางกฎหมายที่ศาลเป็น ผู้ดำเนินการ (บรรยายโดยหัวหน้าศาลหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย เช่น นิติกรศาล) ซึ่งมีการจัดที่โรงเรียน หรือเรือนจำการให้ความรู้ด้านกฎหมายทางวิทยุการอบรมให้ความรู้กับผู้ประนีประนอมประจำศาล ข. ปัญหาหรืออุปสรรคจากการที่ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม ส่วนใหญ่เป็นปัญหาของผู้กำกับดูแลผู้ถูกปล่อยชั่วคราว เพราะต้องเป็นผู้สมัครใจมีความพร้อม และเหมาะสมที่จะปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้กำกับดูแลผู้ถูกปล่อยชั่วคราวยังมีจำนวนน้อย ปัญหาความแตกแยก ในสังคมที่เกิดจากการเลือกตั้งกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ทำให้ผู้ต้องหาหรือจำเลยที่เป็นฝ่ายแพ้การเลือกตั้ง
118 ไม่ยอมให้กำนัน ผู้ใหญ่บ้านที่ชนะการเลือกตั้งเป็นผู้กำกับดูแลฯ แต่ศาลแก้ปัญหาโดยตั้งบุคคลอื่นเป็น ผู้กำกับดูแลฯ แทน รวมทั้งมีคดียาเสพติดจำนวนมากเกินศักยภาพของผู้กำกับดูแลฯ จะรับไปดำเนินการ ค. การรับรู้ ตื่นตัว และสนใจของประชาชนในพื้นที่มีที่จะเข้ามามีส่วนร่วม ประชาชนให้การยอมรับและรู้สึกได้ถึงประโยชน์ของผู้กำกับดูแลผู้ถูกปล่อยชั่วคราว และมี การนำเสนออาชีพอื่น ๆ มาเพิ่มเติมเพื่อเป็นผู้กำกับดูแลฯ มากขึ้น ง. การมีส่วนได้เสีย/ผลประโยชน์ทับซ้อนกับหน่วยงานจากการเข้ามามีส่วนร่วมของ ประชาชน ไม่มี เพราะศาลจะไม่ตั้งบุคคลที่มีส่วนได้เสียเข้ามาเป็นผู้กำกับดูแลผู้ถูกปล่อยชั่วคราว และ มีการประเมินการปฏิบัติงานจากผู้พิพากษาเมื่อเบิกเงินค่าตอบแทน จ. ความเห็นและข้อเสนอแนะอื่น ๆ -ควรเพิ่มกลุ่มบุคคลที่หลากหลาย มาเป็นผู้กำกับดูแลผู้ถูกปล่อยชั่วคราวจากทุกภาคส่วน เช่น สหภาพแรงงานหรือองค์กรด้านที่มีความน่าเชื่อถือ -ในกระบวนการที่ไม่เกี่ยวข้องกับดุลพินิจในการพิจารณาพิพากษาคดี ควรเปิดโอกาสให้ ภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม เพื่อพัฒนาบริการให้ดีขึ้น เป็นต้นว่าในส่วนที่เกี่ยวกับการดูแลผู้ต้องหา หรือผู้เสียหาย การปรับปรุงจิตพิสัย การคุมประพฤติ การฟื้นฟู และการป้องกันการกระทำความผิด 1.3 การมีส่วนร่วมของประชาชนในตำรวจภูธร ก. รูปแบบการมีส่วนร่วมของประชาชน1 /องค์ประกอบ/ผลสำเร็จ 1) คณะกรรมการตรวจสอบและติดตามการบริหารงานตำรวจ (กต.ตร) คณะกรรมการตรวจสอบและติดตามการบริหารงานตำรวจ แบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือ กต.ตร.ระดับชาติ กต.ตร.ระดับจังหวัด และ กต.ตร. ระดับสถานีตำรวจ การแต่งตั้ง กต.ตร. ทุกระดับ เป็นเรื่องเชิงนโยบายและเป็นการดำเนินการตามพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2565 ตามมาตรา 7 และมาตรา 15 “มาตรา 7 ให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติจัดระบบการบริหาร การปฏิบัติงานด้านการป้องกัน และปราบปรามการกระทำความผิดทางอาญา การรักษาความสงบเรียบร้อย และการรักษาความปลอดภัย ของประชาชนให้เหมาะสมกับความต้องการของแต่ละท้องถิ่นและชุมชน โดยต้องให้องค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น องค์กรภาคเอกชน และชุมชนมีส่วนร่วม ทั้งในส่วนที่เกี่ยวกับนโยบาย งบประมาณ และ อาสาสมัคร ตลอดจนการติดตามตรวจสอบการปฏิบัติงานตำรวจ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ต.ช. (คณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ) กำหนด 1 รูปแบบการมีส่วนร่วมของประชาชนในรูปแบบต่าง ๆ ในกิจการตำรวจ สามารถดูเพิ่มเติมได้ในระเบียบสำนักงานตำรวจแห่งชาติว่าด้วย การส่งเสริมให้ประชาชน ชุมชน ท้องถิ่น และองค์กรมีส่วนร่วมในกิจการตำรวจ พ.ศ. 2551
119 ในกรณีที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดสรรเงินอุดหนุนให้แก่สถานีตำรวจใด ให้ใช้เพื่อ ประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการตำรวจและกิจการในสถานีตำรวจนั้น โดยไม่ต้องนำส่งคลัง เป็นรายได้แผ่นดิน การมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรภาคเอกชน หรือชุมชนตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามข้อตกลงระหว่างสำนักงานตำรวจแห่งชาติกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือองค์กร ภาคเอกชน หรือชุมชนนั้น มาตรา 15 ให้ ก.ต.ช. มีหน้าที่และอำนาจกำหนดนโยบายและยุทธศาสตร์การบริหาร ราชการ ตำรวจ และกำกับดูแลสำนักงานตำรวจแห่งชาติให้ปฏิบัติตามกฎหมาย ยุทธศาสตร์ชาติ นโยบาย มติคณะรัฐมนตรี และระเบียบแบบแผน รวมทั้งให้มีหน้าที่และอำนาจดังต่อไปนี้ด้วย (4) ตรวจสอบการปฏิบัติตามนโยบายการบริหารราชการตำรวจให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติ นี้และกฎหมายอื่น ในการนี้ให้มีคณะกรรมการตรวจสอบและติดตามการบริหารงานตำรวจของ กรุงเทพมหานคร จังหวัด และสถานีตำรวจต่าง ๆ เพื่อตรวจสอบ ติดตาม และประเมินผลการปฏิบัติงาน ของข้าราชการตำรวจ ในเขตพื้นที่ดังกล่าว แล้วรายงาน ก.ต.ช. เพื่อพิจารณาดำเนินการตามควรแก่กรณี ต่อไป องค์ประกอบ การดำรงตำแหน่ง การพ้นจากตำแหน่ง หลักเกณฑ์และวิธีการสรรหา และ อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการตรวจสอบและติดตามการบริหารงานตำรวจ ให้เป็นไปตามระเบียบที่ ก.ต.ช. กำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา” ระเบียบ ก.ต.ช. ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการส่งเสริมให้ท้องถิ่นและชุมชนมีส่วนร่วม ในกิจการตำรวจ พ.ศ. 2549 ระเบียบสำนักงานตำรวจแห่งชาติว่าด้วยการส่งเสริมให้ประชาชน ชุมชน ท้องถิ่นและองค์กร มีส่วนร่วมในกิจการตำรวจ พ.ศ. 25512 สำหรับ กต.ตร. ระดับจังหวัดในภาคใต้ มีกรรมการผู้แทนภาคประชาชน คัดเลือกจากผู้ที่ เคยเป็น กต.ตร. ระดับสถานีตำรวจภูธร (กต.ตร.สภ.) แล้ว โดย กต.ตร. จังหวัด มีการประชุม 3 เดือน/ครั้ง มีอำนาจหน้าที่ในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน ช่วยติดตาม ตรวจสอบ และให้คำแนะนำ เกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในกิจการตำรวจของสถานีตำรวจภูธรต่าง ๆ ในพื้นที่ความรับผิดชอบ ช่วยกำกับดูแล กต.ตร.สภ. อีกทีหนึ่ง 2 ระเบียบ ก.ต.ช. ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการส่งเสริมให้ท้องถิ่นและชุมชนมีส่วนร่วมในกิจการตำรวจ พ.ศ. 2549 และ ระเบียบสำนักงาน ตำรวจแห่งชาติว่าด้วยการส่งเสริมให้ประชาชน ชุมชน ท้องถิ่นและองค์กรมีส่วนร่วมในกิจการตำรวจ พ.ศ. 2551 นี้ออกโดยอาศัยอำนาจ ตามพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2547อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันมีการตราพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2565 ขึ้น โดยมีผล บังคับใช้ในวันที่ 17 ตุลาคม 2565 ซึ่งมาตรา 179 ได้กำหนดว่าในระหว่างที่ยังมิได้ตราพระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง กฎ ก.ตร. ข้อบังคับ ระเบียบ หรือมติ ก.ตร. เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ ให้นำพระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง กฎ ก.ตร. ข้อบังคับ ระเบียบ หรือมติ ก.ตร. ซึ่งใช้อยู่เดิมมาใช้บังคับเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับพระราชบัญญัตินี้ ดังนั้น ระเบียบทั้งสองระเบียบดังกล่าวจึงยังคงมีผลใช้บังคับอยู่ จนกว่าจะได้มีการออกระเบียบใหม่ในเรื่องเดียวกัน เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2565
120 สำหรับคณะกรรมการตรวจสอบและติดตามการบริหารงานตำรวจระดับสถานีตำรวจภูธร (กต.ตร.สภ.) มีตัวแทนจากภาคประชาชนไม่เกิน 3 คน เป็นผู้นำชุมชน กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน (จังหวัดสงขลา มีประจำ สภ. จำนวน 31 แห่ง จังหวัดนครศรีธรรมราช มีประจำ สภ. จำนวน 32 แห่ง จังหวัดตรังมีประจำ สภ. จำนวน 16 แห่ง และจังหวัดสุราษฎร์ธานีมีประจำ สภ. จำนวน 28 แห่ง) โดย กต.ตร.สภ. มีการประชุม 2 เดือน/ครั้ง อำนาจหน้าที่ของ กต.ตร.สภ. จะมีหน้าที่หรือภารกิจในการส่งเสริมให้ประชาชนในท้องถิ่น เข้ามามีส่วนร่วมในการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม3 ทั้งนี้ กรรมการที่มาจากภาคประชาชน มีบทบาทสำคัญในการช่วยสะท้อนปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในชุมชนหรือในพื้นที่ให้ตำรวจท้องที่ทราบ โดยอาจจะเป็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดอาญาหรือไม่เกี่ยวข้องก็ได้ เช่น ปัญหาในเรื่อง การจราจรหรือการเกิดอุบัติเหตุ และร่วมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจหรือเจ้าหน้าที่รัฐในหน่วยงานอื่น ๆ เพื่อแก้ไข ปัญหาดังกล่าวร่วมกัน ผลสำเร็จที่เกิดขึ้นจากการจัดตั้ง กต.ตร. คือการช่วยสะท้อนปัญหาที่เกิดขึ้นในท้องถิ่น ทำให้ การแก้ไขปัญหาในท้องถิ่นทำได้รวดเร็วขึ้น เนื่องจากสามารถเห็นปัญหาได้อย่างรวดเร็วและชัดเจนมาก ยิ่งขึ้น เช่น ปัญหาในเรื่องยาเสพติดที่เกิดขึ้นในชุมชน การแก้ไขปัญหาในการลักขโมยผลผลิตทางการเกษตร ของชาวบ้านในพื้นที่ เป็นต้น 2) อาสาสมัครตำรวจ อาสาสมัครตำรวจทำหน้าที่ในการลาดตระเวน ออกตรวจพื้นที่ร่วมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ หรือ รักษาความปลอดภัยในงานเทศกาลต่าง ๆ หรือเป็นสายลับในการสืบคดีโดยมีที่มาจากบุคคลหลากหลาย อาชีพ เช่น พ่อค้า ชาวสวน ฯลฯ เป็นประโยชน์ต่อการคุ้มครองหรือรักษาความสงบเรียบร้อยของท้องที่ ในภาพรวม 3) ทนายความอาสาประจำสถานีตำรวจ ทนายความอาสาทำหน้าที่ให้คำปรึกษาด้านกฎหมายและด้านคดีความแก่ประชาชน แต่ไม่ได้มีการจัดให้มีทนายความอาสาประจำอยู่ทุกสถานีตำรวจ จะมีเฉพาะสถานีตำรวจขนาดใหญ่ที่มีคดี จำนวนมากเท่านั้นโดยทนายความอาสาจะต้องมีใบอนุญาตประกอบอาชีพทนายความ ไม่ใช่ประชาชน ทั่วไป 3 ระเบียบ ก.ต.ช. ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการส่งเสริมให้ท้องถิ่นและชุมชนมีส่วนร่วมในกิจการตำรวจ พ.ศ. 2549 ข้อ 6 ท้องถิ่นและชุมชนสามารถมีส่วนร่วมในกิจการตำรวจด้านต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ (1) ด้านการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม (2) ด้านการรักษาความสงบเรียบร้อยและรักษาความปลอดภัยของประชาชน (3) ด้านการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (4) ด้านการจราจร (5) ด้านการดูแลสาธารณสมบัติ (6) ด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในท้องถิ่น
121 4) ผู้ไกล่เกลี่ย ผู้ไกล่เกลี่ยทำหน้าที่ในการไกล่เกลี่ยคดีอาญาที่ไม่ร้ายแรง ตามพระราชบัญญัติการไกล่เกลี่ย ข้อพิพาท พ.ศ. 2562 ซึ่งในการไกล่เกลี่ยนี้ประชาชนทั่วไปสามารถเข้ามาทำหน้าที่เป็นผู้ไกล่เกลี่ยได้ นอกจากนี้ ยังมีการให้ผู้นำชุมชน เช่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เข้ามามีบทบาทในการไกล่เกลี่ยด้วย แต่ต้อง ผ่านการอบรมและขึ้นทะเบียนเป็นผู้ไกล่เกลี่ยกับกระทรวงยุติธรรม โดยผู้ไกล่เกลี่ยไม่ได้อยู่ประจำตาม สถานีตำรวจเหมือนทนายความอาสา การมีผู้ไกล่เกลี่ยจะเป็นประโยชน์ในการอำนวยความยุติธรรม โดยหากคู่กรณีตกลงกันได้ก็ไม่จำเป็นต้องนำคดีเข้าสู่กระบวนพิจารณา และผู้เสียหายย่อมได้รับการ เยียวยาความเสียหายจากผู้กระทำความผิด 5) ล่ามอาสาสมัคร ล่ามอาสาสมัครทำหน้าที่ในการช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ตำรวจในการแปลภาษา แปลคำให้การ ของผู้ต้องหา ผู้เสียหาย พยานที่เป็นคนต่างชาติ หรือผู้พิการทางการได้ยินเป็นล่ามภาษามือ 6) ประชาชนที่แจ้งข้อมูลหรือเบาะแสอาชญากรรม/ร้องเรียนขอความเป็นธรรม ประชาชนทั่วไปหรือพลเมืองดีจะช่วยแจ้งเบาะแสหรือข้อมูลเกี่ยวกับการกระทำความผิด หรืออาชญากรรมให้ตำรวจท้องที่ทราบ เมื่อพบเห็นเหตุการณ์ที่ผิดปกติหรือเหตุต้องสงสัยว่าจะมีการ กระทำความผิดเกิดขึ้น โดยรูปแบบการแจ้งเหตุนี้ในปัจจุบันมีหลายช่องทาง ทั้งมาแจ้งด้วยตนเอง ที่สถานีตำรวจ ทางโทรศัพท์ หรือแจ้งผ่าน Facebook Line Official ของสภ. ตู้ Police4.0 ที่ตั้งอยู่ในชุมชน การที่ประชาชนในท้องที่ได้ช่วยเป็นหูเป็นตาคอยสอดส่องและแจ้งข้อมูลเกี่ยวกับอาชญากรรมในพื้นที่ ให้ทางตำรวจท้องที่รับทราบ โดยอาจจะสะท้อนปัญหาผ่าน กต.ตร. ที่เป็นตัวแทนจากภาคประชาชน หรือแจ้งข้อมูลโดยตรงแก่เจ้าหน้าที่ตำรวจ ได้ทำให้การป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เนื่องจากเจ้าหน้าที่ตำรวจมีไม่เพียงพอและอาจดูแลความปลอดภัยในพื้นที่ ได้ไม่ทั่วถึง สำหรับการรับเรื่องร้องเรียน ประชาชนทั่วไปที่ได้รับความเดือนร้อนหรือได้รับความ ไม่เป็นธรรมจากการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจ สามารถร้องเรียนหรือร้องขอความเป็นธรรมเพื่อ ต้องการให้มีการตรวจสอบการทำงานของเจ้าหน้าที่ได้ โดยอาจจะให้ข้อมูลต่อผู้บังคับบัญชาของ หน่วยงาน หรือทำหนังสือร้องเรียนขอความเป็นธรรม เป็นการเปิดช่องทางให้ประชาชนร้องเรียน หรือ ร้องขอความเป็นธรรมเกี่ยวกับการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ทำให้ผู้บังคับบัญชาสามารถนำไป วิเคราะห์หาสาเหตุและพิจารณาหาแนวทางแก้ไข เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการประชาชนให้มากยิ่งขึ้น และยังช่วยให้เกิดความโปร่งใสในการดำเนินคดีและสร้างความน่าเชื่อถือแก่ผู้คนทั่วไปในการดำเนินคดี อีกด้วย 7) รูปแบบอื่น ๆ การให้ญาติหรือบุคคลสำคัญในพื้นที่ที่ประชาชนให้ความเคารพนับถือ เช่น ผู้นำทาง ศาสนาเข้าร่วมในการสอบปากคำผู้ต้องหาและพยาน รวมทั้งเข้าร่วมในการนำชี้ที่เกิดเหตุในคดีที่สำคัญ
122 เช่น คดีเกี่ยวกับการก่อความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อให้ประชาชนผ่อนคลาย ความตึงเครียดที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติงานของฝ่ายความมั่นคง ข. ปัญหาหรืออุปสรรคจากการที่ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม -ประชาชนที่เข้ามามีส่วนร่วมไม่ประสงค์จะเข้ามาเกี่ยวข้องในคดีความ เช่น การเข้ามาเป็น พยานในชั้นศาล จึงอาจจะให้ความร่วมมือในเรื่องการแจ้งข้อมูล หรือให้เบาะแสในคดีแต่เพียงอย่างเดียว -การเข้ามามีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา ยังต้องอาศัยเรื่อง การมีจิตสาธารณะของประชาชน เพราะส่วนใหญ่การเข้ามามีส่วนร่วมของประชาชนมักจะเป็นเรื่องที่ กระทำการโดยไม่ได้มีค่าตอบแทน ดังนั้น จึงต้องอาศัยการสร้างจิตสำนึกในการมีส่วนร่วม ซึ่งยังอาจจะ ต้องอาศัยเวลา -ทนายความอาสาไม่ได้มีประจำครบทุกสถานีตำรวจ โดยจะมีประจำที่สถานีตำรวจขนาดใหญ่ ที่มีคดีจำนวนมากเท่านั้น ค. การรับรู้ ตื่นตัว และสนใจของประชาชนในพื้นที่มีที่จะเข้ามามีส่วนร่วม การมีส่วนร่วมในแจ้งข้อมูลหรือให้เบาะแสอาชญากรรมจากประชาชนในพื้นที่ค่อนข้างดี เนื่องจากต้องการให้ชุมชนหรือท้องที่เกิดความสงบสุข ง. การมีส่วนได้เสีย/ผลประโยชน์ทับซ้อนกับหน่วยงานจากการเข้ามามีส่วนร่วมของ ประชาชน อาจจะสร้างปัญหาในเรื่องความลับในการสอบสวน ประชาชนผู้มีส่วนร่วมที่มาแจ้งข้อมูล หรือพยาน อาจจะนำข้อมูลทางคดีไปเปิดเผย ทำให้เกิดความเสียหายแก่รูปคดีหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องกับ คดีได้ จ. ความเห็นและข้อเสนอแนะอื่น ๆ เนื่องจากตำรวจมีภารกิจหลักในการบังคับใช้กฎหมายอาญา เป็นกระบวนการในชั้นก่อน ฟ้องคดี ซึ่งจำเป็นต้องปฏิบัติตามกรอบกฎหมายที่มีอยู่อย่างเคร่งครัด การเข้ามามีส่วนร่วมของ ประชาชนจึงอาจต้องแยกพิจารณา ดังนี้ -หากเป็นกรณีที่กฎหมายเปิดช่อง เช่น ความผิดเล็กน้อย หรือเข้าเกณฑ์ตามพระราชบัญญัติ การไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ. 2562 พนักงานสอบสวนสามารถดำเนินการให้ผู้ไกล่เกลี่ยที่เป็นประชาชน ทั่วไปสามารถเข้ามามีส่วนร่วมในคดีได้ ซึ่งเป็นมาตรการทางเลือกที่สำคัญที่ช่วยลดปริมาณคดีที่จะเข้ามา สู่พนักงานสอบสวน อย่างไรก็ตาม การนำมาตรการดังกล่าวมาใช้ ควรมีการบันทึกเป็นฐานข้อมูลหรือ สถิติเอาไว้ว่าการดำเนินการไกล่เกลี่ยในชั้นพนักงานสอบสวนมีจำนวนกี่เรื่องต่อเดือน ต่อปี เป็นผลสำเร็จ หรือไม่สำเร็จเพียงใด เพราะเหตุใด -หากเป็นกรณีความผิดอาญาแผ่นดิน การเข้ามามีส่วนร่วมของประชาชนอาจจะมีจำกัด โดยเข้ามามีส่วนร่วมผ่านสิทธิของคู่กรณี เช่น การเป็นพยานหรือให้ความเห็น หรือบุคคลที่ผู้ต้องหา ไว้วางใจ ตามที่กฎหมายกำหนด และเนื่องจากการดำเนินคดีอาญาของรัฐเจ้าหน้าที่ตำรวจได้กระทำการ
123 แทนรัฐในการรักษาความสงบเรียบร้อย จึงต้องดำเนินการให้รอบคอบ ป้องกันมิให้บุคคลภายนอกคดี เข้ามากระทำการอันเป็นเหตุให้รูปคดีเสียหายได้ -ในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการยุติธรรม จำเป็นที่จะต้องมีการ ให้ความรู้แก่ประชาชนเพื่อให้เห็นถึงความสำคัญของการเข้ามามีส่วนร่วม -การจะให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการยุติธรรมในชั้นตำรวจ อาจจะต้องทำ ให้ประชาชนตระหนักถึงความจำเป็นที่จะต้องร่วมมือกับหน่วยงานตำรวจ เพื่อคุ้มครองหรือรักษาความ สงบเรียบร้อยของท้องที่ -ในส่วนของการมีทนายความอาสามานั่งเป็นเวรประจำสถานีตำรวจแต่ละแห่งนั้น ถือเป็น เรื่องดีที่จะช่วยให้ประชาชนสามารถมาปรึกษาอรรถคดีได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย โดยควรเปิดให้ ทนายความอาสามานั่งเวรทนายความอาสามาประจำสถานีตำรวจให้ครอบคลุมทุกแห่งให้มากที่สุด 2. สรุปผลการลงพื้นที่สัมภาษณ์เก็บข้อมูลหน่วยงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คณะที่ปรึกษาได้ลงพื้นที่สัมภาษณ์เก็บข้อมูลหน่วยงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ จังหวัด กาฬสินธุ์ จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดร้อยเอ็ด และจังหวัดอุดรธานี ซึ่งมีหน่วยงาน 10 แห่ง ประกอบด้วย สำนักงานอัยการภาค 1 แห่ง สำนักงานอัยการจังหวัด 3 แห่ง ศาลจังหวัด 2 แห่ง สถานีตำรวจภูธรจังหวัด 4 แห่ง ดังนี้ ตารางที่ 2 การลงพื้นที่สัมภาษณ์เก็บข้อมูลหน่วยงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ระหว่างวันที่26 กันยายน – 5 ตุลาคม 2565) ที่ หน่วยงาน ชื่อ-สกุล / ตำแหน่ง วันที่ 26 กันยายน 2565 1. สำนักงานอัยการภาค 3 -นายสุวิทย์ เภาภู่ นิติกรชำนาญการพิเศษ สำนักงานอัยการ คุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมาย และการบังคับคดีจังหวัดนครราชสีมา 2. สถานีตำรวจภูธรโนนไทย จังหวัดนครราชสีมา -พ.ต.อ. อิษฏ์ บุญญะฤทธิ์ ผกก.สภ.โนนไทย -พ.ต.ท. ธวัช บุญเคหา รอง ผกก. (สอบสวน) สภ.โนนไทย วันที่ 3 ตุลาคม 2565 3. สำนักงานอัยการจังหวัดอุดรธานี -นายวุฒิชัย วุฒิศาสตร์กุล อัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุด 4. สถานีตำรวจภูธรจังหวัดอุดรธานี -พล.ต.ต. พิษณุ อุณหเสรี ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดอุดรธานี
124 ที่ หน่วยงาน ชื่อ-สกุล / ตำแหน่ง วันที่ 4 ตุลาคม 2565 5. สำนักงานอัยการจังหวัดกาฬสินธุ์ -นายราชันย์ เติมผล อัยการจังหวัดกาฬสินธุ์ 6. ศาลจังหวัดกาฬสินธุ์ -นางสาวโกมลลดา ไกรสิงห์ ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดกาฬสินธุ์ 7. สถานีตำรวจภูธรจังหวัดกาฬสินธุ์ -พ.ต.อ.สุธน สีหามาตย์ ผกก.(สอบสวน) กลุ่มงานสอบสวน วันที่ 5 ตุลาคม 2565 8. สำนักงานอัยการจังหวัดร้อยเอ็ด -พ.ต.ท.อธิวัฒน์ พรรณนาสุระ อัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุด วันที่ 5 ตุลาคม 2565 9. สำนักงานศาลจังหวัดร้อยเอ็ด -นายรุ่งโรจน์ ดีพร้อม ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดร้อยเอ็ด 10. สถานีตำรวจภูธรจังหวัดร้อยเอ็ด -พ.ต.อ.วันชัย วินทะสมบัติ รอง ผบก.ภจว.ร้อยเอ็ด 2.1 การมีส่วนร่วมของประชาชนในสำนักงานอัยการจังหวัด จากการสัมภาษณ์ผู้แทนจากองค์กรอัยการของภาคตะวันออกเฉียงเหนือทั้ง 4 จังหวัด ประกอบด้วย จังหวัดกาฬสินธุ์ จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดร้อยเอ็ด และจังหวัดอุดรธานี ได้ให้ข้อมูล สำคัญเรื่องการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการยุติธรรมว่ามีความเกี่ยวข้องกับสำนักงานอัยการ คุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดี มากกว่าสำนักงานอัยการจังหวัด ซึ่ง สคช. มีอยู่ในทุกจังหวัดเป็นหน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่ในการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน สิทธิเสรีภาพและ ผลประโยชน์ของประชาชน ให้ความช่วยเหลือด้านกฎหมาย รวมถึงการเผยแพร่ความรู้ด้านสิทธิมนุษยชน และความรู้ทางกฎหมายให้แก่ประชาชน ดังนั้น ประเด็นการมีส่วนร่วมของประชาชนจึงเป็นการมุ่งให้ ประชาชนได้มีความรู้ความเข้าใจ และการดำเนินการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรม โดยที่ สคช. เป็นเสมือนด่านหน้าในการรับเรื่องร้องเรียน และการให้ความรู้แก่ประชาชน การเป็นผู้ไกล่เกลี่ย เพื่อช่วยเหลือประชาชนในกรณีที่มีข้อพิพาทเกิดขึ้น รวมถึงการตั้งทนายความอาสาให้กับประชาชน ที่ยากจนเมื่อเกิดคดี และประชาชนสามารถมีส่วนร่วมกับ สคช. ได้ ก. รูปแบบการมีส่วนร่วมของประชาชน/องค์ประกอบ/ผลสำเร็จ 1) คณะกรรมการการมีส่วนร่วมภาคประชาชน ในการสัมภาษณ์ผู้แทนจากองค์กรอัยการของภาคตะวันออกเฉียงเหนือทั้ง 4 จังหวัด ข้อมูลที่ได้พบว่าที่จังหวัดนครราชสีมาไม่มีคณะกรรมการการมีส่วนร่วมภาคประชาชน แต่สำนักงาน
125 อัยการในเขตสำนักงานอัยการภาค 4 ทั้งที่ได้ไปสัมภาษณ์ คือจังหวัดกาฬสินธุ์ จังหวัดร้อยเอ็ด จังหวัด อุดรธานี รวมไปถึงสำนักงานอัยการจังหวัดอื่น ๆ ที่ไม่ได้ลงพื้นที่เก็บข้อมูล เช่น สำนักงานอัยการจังหวัด เลย สำนักงานอัยการจังหวัดชุมแพ มีการแต่งตั้งคณะกรรมการการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน คณะกรรมการการมีส่วนร่วมภาคประชาชนประกอบด้วย ประชาชนทั่วไปที่มาจาก หลากหลายสาขาอาชีพ เช่น ธุรกิจส่วนตัว ค้าขาย รับเหมาก่อสร้าง ในบางพื้นที่ เช่น สำนักงานอัยการ จังหวัดเลยได้แต่งตั้งข้าราชการและข้าราชการบำนาญที่มีความรู้ในกระบวนการยุติธรรม เช่น อดีต ผู้กำกับการสถานีตำรวจ ร่วมเป็นคณะกรรมการการมีส่วนร่วมภาคประชาชนด้วย ทั้งนี้ ไม่มีการกำหนด คุณสมบัติ วาระการดำรงตำแหน่ง และจำนวนคณะกรรมการแต่อย่างใด บางจังหวัดมีกรรมการ 5-7 คน และมีที่ปรึกษาคณะกรรมการ 5 คน โดยหน้าที่ของคณะกรรมการการมีส่วนร่วมภาคประชาชนของ สำนักงานอัยการ คือ -การประชุมร่วมกับสำนักงานอัยการจังหวัดอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง -การเข้าร่วมกิจกรรมในวันสำคัญต่าง ๆ เช่น วันเฉลิมพระชนมพรรษา -การสนับสนุนและอำนวยความสะดวกให้กับสำนักงานอัยการจังหวัดตามโอกาสอันสมควร เช่น การสนับสนุนอาหารและของว่างในกิจกรรมการบรรยายความรู้ทางกฎหมายให้กับประชาชน การสนับสนุนครุภัณฑ์ต่าง ๆ แต่คณะกรรมการฯ ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระบวนการพิจารณาสำนวนแต่อย่างใด การเข้ามามีส่วนร่วมของคณะกรรมการภาคประชาชนนั้นเป็นไปด้วยความสมัครใจ และความยินดีที่จะ ช่วยเหลือโดยไม่มีค่าตอบแทน และเป็นกระบอกเสียงให้กับสำนักงานอัยการจังหวัด ในกรณีของคณะกรรมการการมีส่วนร่วมภาคประชาชนของสำนักงานอัยการจังหวัด ร้อยเอ็ดอาจจะถือได้ว่าเป็นคณะกรรมการฯ ที่มีความโดดเด่นและประสบความสำเร็จในการดำเนินงาน โดยเริ่มจากแนวคิดที่ต้องการให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมรู้จักและเข้าใจกระบวนการทำงานของ สำนักงานอัยการจังหวัด จึงได้มีการคัดเลือกบุคคลจากประชาชนทั่วไปที่มีอาชีพ ประวัติที่เหมาะสม และ ทาบทามเป็นคณะกรรมการฯ โดยตรง ไม่ได้เปิดรับสมัครแต่อย่างใด ซึ่งคณะกรรมการฯ ชุดแรก มีกรรมการ จำนวน 5 คน และที่ปรึกษาคณะกรรมการฯ อีก 3 คนจากหลายอาชีพ เช่น ประกอบอาชีพ ธุรกิจส่วนตัว สื่อสารมวลชน เป็นต้น เมื่อมีการตั้งคณะกรรมการฯ ชุดต่อมาได้มีการปรับเปลี่ยนตัวบุคคล เพื่อให้คณะกรรมการฯ มีความเหมาะสม แต่ยังคงจำนวนคณะกรรมการฯ ไว้ที่ 5 คน โดยหน้าที่ของ คณะกรรมการฯ นั้นมีความเหมือนกับคณะกรรมการฯ ของสำนักงานอัยการจังหวัดอื่น ๆ คือการมีส่วนร่วม ในกิจกรรมวันสำคัญต่าง ๆ และการสนับสนุนสำนักงานอัยการจังหวัด และมีการประชุมร่วมกับ สำนักงานอัยการจังหวัดร้อยเอ็ดมากกว่าปีละ 2 ครั้ง รวมถึงมีการติดต่อพูดคุยกันอย่างไม่เป็นทางการ บ่อยครั้ง อนึ่ง สำนักงานอัยการจังหวัดร้อยเอ็ดเคยมีแนวคิดให้กรรมการการมีส่วนร่วมภาค ประชาชนมีบทบาทในกระบวนการยุติธรรมมากขึ้น โดยทดลองให้กรรมการในคณะกรรมการฯ บางคน ปฏิบัติหน้าที่ผู้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทใน สคช. ซึ่งแม้ว่าจะสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ด้วยดี แต่จากการสังเกต
126 กิริยาของคู่กรณีแม้จะไม่ได้แสดงความคิดเห็นออกมาอย่างชัดเจน คู่กรณีอาจจะเกิดความไม่สบายใจ ในการเข้าร่วมไกล่เกลี่ยของกรรมการ เนื่องจากกรรมการบางท่านอาจจะมีความรู้จักกับคู่กรณีฝ่าย ตรงข้ามซึ่งอาจจะทำให้การไกล่เกลี่ยเกิดความไม่โปร่งใสขึ้นได้ สำนักงานอัยการจังหวัดร้อยเอ็ดจึงได้ ยุติบทบาทของกรรมการการมีส่วนร่วมภาคประชาชนในการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทไป จากการมีบทบาทที่โดดเด่นของคณะกรรมการมีส่วนร่วมภาคประชาชนของสำนักงาน อัยการจังหวัดร้อยเอ็ด สำนักงานอัยการจังหวัดจึงได้จัดทำเสื้อและมอบเกียรติบัตรแสดงว่าเป็นกรรมการ ในคณะกรรมการการมีส่วนร่วมภาคประชาชน เพื่อเป็นเป็นเกียรติและถือว่าเป็นการตอบแทนในรูปแบบ ที่ไม่ใช่ตัวเงิน 2) ทนายความอาสา ทนายความอาสาทำหน้าที่ช่วยเหลือและให้ข้อแนะนำทางกฎหมาย รวมถึงว่าความให้ ในกรณีที่ประชาชนไม่ได้รับความเป็นธรรมและมีฐานะยากจน เป็นไปตามระเบียบสำนักงานอัยการ สูงสุดว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน พ.ศ. 2560 ซึ่งได้กำหนดให้มี ทนายความอาสา จะต้องเป็นทนายความที่ได้อาสาสมัครเป็นผู้ทำหน้าที่ให้ความช่วยเหลือทางกฎหมาย แก่ประชาชน และได้รับแต่งตั้งเป็นทนายความอาสาหรือทนายความอาสาอาวุโส และให้ทนายความ อาสาดังกล่าวได้รับค่าตอบแทนตามระเบียบที่สำนักงานอัยการสูงสุดกำหนด ข. ปัญหาหรืออุปสรรคจากการที่ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม -ปัญหาอุปสรรคเรื่องคุณสมบัติของผู้ที่เข้ามามีส่วนร่วมในคณะกรรมการการมีส่วนร่วม ภาคประชาชนเป็นปัญหาหนึ่งที่ในปัจจุบันยังไม่มีการกำหนดคุณสมบัติของคณะกรรมการฯ ว่าจะต้องมี คุณสมบัติหรือลักษณะต้องห้ามอย่างไรบ้าง ขึ้นกับดุลพินิจของแต่ละสำนักงานอัยการจังหวัดที่เป็น ผู้กำหนดและคัดเลือกบุคคล และเนื่องจากสำนักงานอัยการจังหวัดมีการเปลี่ยนตำแหน่งทุกปีทำให้ต้อง อาศัยข้อมูลจากข้าราชการในสำนักงานในพื้นที่ ซึ่งอาจจะทราบข้อมูลหรือรู้จักตัวบุคคลจำนวนไม่มากนัก จึงส่งผลให้ผู้เข้ามามีส่วนร่วมอยู่ในวงที่ค่อนข้างจำกัด -ข้อจำกัดด้านสถานที่ของสำนักงานอัยการจังหวัดที่ไม่สามารถรองรับการเข้ามาทำหน้าที่ ของภาคประชาชนได้อย่างเต็มที่ หากประชาชนมีความสนใจเข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้น เช่น อาจจะเข้ามา ช่วยเหลืองานด้านธุรการและให้คำแนะนำด้านเอกสารของ สคช. จะไม่มีที่นั่งทำงานได้ -ข้อจำกัดด้านงบประมาณเพื่อเป็นค่าตอบแทนให้กับประชาชนที่ประสงค์จะเข้ามามีส่วนร่วม ในกระบวนการยุติธรรม ซึ่งหากมีการกำหนดระเบียบและการกำหนดค่าตอบแทนอย่างชัดเจน จะเป็น อีกหนึ่งแรงจูงใจให้ประชาชนเข้ามามีส่วนช่วยเหลือกิจการของสำนักงานอัยการจังหวัดได้มากขึ้น ค. การรับรู้ ตื่นตัว และสนใจของประชาชนในพื้นที่มีที่จะเข้ามามีส่วนร่วม ประชาชนรับรู้ถึงคณะกรรมการมีส่วนร่วมภาคประชาชนและทนายความอาสาของ สำนักงานอัยการจังหวัดบ้าง แต่เข้ามามีส่วนร่วมอยู่ในวงที่ค่อนข้างจำกัด
127 ง. การมีส่วนได้เสีย/ผลประโยชน์ทับซ้อนกับหน่วยงานจากการเข้ามามีส่วนร่วมของ ประชาชน การดำเนินงานของคณะกรรมการการมีส่วนร่วมภาคประชาชน อาจเกิดการนำเอา ตำแหน่งไปอวดอ้าง สำนักงานอัยการจังหวัดได้ตระหนักถึงประเด็นนี้ค่อนข้างมาก จึงได้มีการกำหนด บทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการฯ ให้เป็นการอำนวยความสะดวกแก่สำนักงาน และไม่ได้ให้มีส่วนร่วม ในการพิจารณาสำนวน รวมถึงมีการคัดเลือกผู้ที่เข้ามาดำรงตำแหน่งอย่างระมัดระวัง ส่วนกรณี ทนายความอาสาประจำ สคช. อาจจะเป็นช่องทางในการนำเอาสถานะความเป็นทนายความอาสาของ สคช. แอบอ้างหรือนำไปใช้ทางที่ผิดได้ ซึ่งทางสำนักงานอัยการสูงสุดเคยมีหนังสือตักเตือนหรือกวดขัน การนำเอาตำแหน่งทนายความอาสาไปใช้ในทางมิชอบ จ. ความเห็นและข้อเสนอแนะอื่น ๆ การเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในกระบวนการยุติธรรมนับว่าเป็นเรื่องที่ดี เป็นประโยชน์ต่อสำนักงานอัยการจังหวัด ซึ่งควรให้กระบวนการการได้มาของคณะกรรมการมีส่วนร่วม ของภาคประชาชนให้มีความชัดเจนขึ้น โดยจะต้องกำหนดเป็นระเบียบของสำนักงานอัยการสูงสุด ในประเด็นของคุณสมบัติ ที่ควรจะต้องกำหนดคุณสมบัติของผู้ที่จะสมัครเข้าดำรงตำแหน่ง ในคณะกรรมการฯ อาจจะเป็นให้มีความหลากหลายของสาขาอาชีพ เช่น นักธุรกิจ ข้าราชการฝ่ายปกครอง ข้าราชการตำรวจ หรือควรกำหนดให้มีแต่ประชาชนทั่วไปเท่านั้นที่สามารถเข้ามาเป็นคณะกรรมการฯ ได้ นอกจากนี้ ควรมีกำหนดวาระการดำรงตำแหน่งให้ชัดเจน เช่น วาระละ 2 ปี และควร กำหนดจำนวนคณะกรรมการฯ ให้ชัดเจน ซึ่งอาจจะมีจำนวน 5-7 คน รวมถึงควรมีการกำหนด ค่าตอบแทน เช่น เบี้ยประชุม เป็นต้น 2.2 การมีส่วนร่วมของประชาชนในศาลจังหวัด ในภาพรวมภารกิจของศาลยุติธรรมที่สำคัญประการหนึ่ง คือการให้บริการ อำนวยความ สะดวก และให้ความรู้ด้านกฎหมายแก่ประชาชน ดังนั้น การทำให้ประชาชนมีส่วนร่วมกับกระบวนการ ยุติธรรมของสำนักงานศาลยุติธรรม จึงเป็นการอำนวยความสะดวกทางคดีให้กับประชาชน ผ่านทาง ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ เช่น ระบบยื่นคำฟ้องอิเล็กทรอนิกส์สำหรับประชาชน (e-Filing) ระบบบันทึก คำพยานด้วยภาพและเสียงในห้องพิจารณาคดี (e-Hearing) รวมถึงการที่ศาลมีกิจกรรมให้ความรู้กับ ประชาชนและนักเรียน เพื่อให้เข้าใจการทำงานของศาลมากขึ้น ก. รูปแบบการมีส่วนร่วมของประชาชน/องค์ประกอบ/ผลสำเร็จ 1) ผู้กำกับดูแลผู้ถูกปล่อยชั่วคราว บทบาทของประชาชนในการเป็นผู้กำกับดูแลผู้ถูกปล่อยชั่วคราว เป็นการแต่งตั้งตาม พระราชบัญญัติมาตรการกำกับและติดตามจับกุมผู้หลบหนีการปล่อยชั่วคราวโดยศาล พ.ศ. 2560 ซึ่ง กำหนดให้ศาลสามารถแต่งตั้งผู้กำกับดูแลผู้ถูกปล่อยชั่วคราวได้ทั้งกรณีที่ศาลอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว โดยไม่มีหลักประกันหรือมีหลักประกันก็ได้ และกำหนดเงื่อนไขให้ผู้ถูกปล่อยตัวชั่วคราวได้ปฏิบัติ
128 คุณสมบัติของผู้กำกับดูแลผู้ถูกปล่อยชั่วคราวนั้นจากเดิมเป็นกำนันหรือผู้ใหญ่บ้านเป็น ผู้ที่มีบทบาทหลัก ปัจจุบันได้เพิ่มให้เป็นมีบุคคลที่มีชื่อเสียงหรือบุคคลที่ผู้คนในสังคมนั้นให้ความเคารพ หรือเกรงใจ เช่น ข้าราชการครูหรือข้าราชการตำรวจที่เกษียณอายุราชการ สมาชิกองค์การบริหาร ส่วนตำบล (อบต.) อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) เป็นต้น โดยจะคัดเลือกจากบุคคลที่ รู้จักผู้ถูกปล่อยชั่วคราวเป็นอย่างดีและผู้ถูกปล่อยตัวชั่วคราวให้ความเคารพเชื่อฟัง หรือได้รับความไว้วางใจ จากชุมชนที่ผู้ถูกปล่อยชั่วคราวมีที่อยู่อาศัยให้ดูแลรักษาความสงบเรียบร้อย และเป็นผู้สมัครใจมีความพร้อม และเหมาะสมที่จะปฏิบัติหน้าที่ตามที่ศาลมอบหมาย อาจจะเป็นกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน หรือผู้นำชุมชน และ ต้องมีความสมัครใจให้ความร่วมมือกับทางศาล เพราะเคยมีกรณีที่ผู้กำกับดูแลฯ ขอยุติการดูแล ผู้ถูกปล่อยตัวชั่วคราวเช่นกัน จึงต้องถามความสมัครใจของทั้งสองฝ่าย ผู้กำกับดูแลผู้ถูกปล่อยชั่วคราว ที่ศาลแต่งตั้งอาจมีคนเดียวหรือหลายคนก็ได้โดยคำนึงถึงความจำเป็นและความเหมาะสม เมื่อผู้กำกับ ดูแลปฏิบัติหน้าที่เสร็จแล้วมีสิทธิได้รับค่าตอบแทนและค่าใช้จ่ายตามที่ระเบียบกำหนด4 2) ระบบคลินิกให้คำปรึกษาด้านจิตสังคมคดียาเสพติดในระบบศาล ระบบคลินิกให้คำปรึกษาด้านจิตสังคมคดียาเสพติดในระบบศาล เป็นความร่วมมือของศาล ยุติธรรมกับหน่วยงานอื่น เช่น สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.) กรม สุขภาพจิต และกรมการแพทย์ เป็นต้น จัดตั้งขึ้นเพื่อเปิดโอกาสให้ผู้กระทำผิดและบุคคลที่เกี่ยวข้อง ได้เข้ารับคำปรึกษาด้านจิตสังคม การนำผู้ต้องโทษคดีลหุโทษ การใช้ยาเสพติดและความรุนแรง มาปรับ ทัศนคติดูแลสุขภาพจิตใจ เพื่อลดทอนความตึงเครียด ผู้ให้คำปรึกษาจะต้องผ่านหลักสูตรการให้คำปรึกษาที่ออกแบบโดยสถาบันกัลยาณ์ราช นครินทร์ ได้แก่ การจัดการภาวะเสพติด การให้คำปรึกษาครอบครัว และการให้คำปรึกษาแบบกลุ่ม พร้อมมีอาสาสมัครที่รับบทบาทเป็นผู้เอื้ออำนวยและกระตุ้นให้ผู้ต้องหาสำรวจแรงจูงใจในการก่อคดี ตลอดจนเป็นผู้แนะแนวทางชีวิตโดยการถามถึงเป้าหมายและเส้นทางการดำเนินชีวิตของผู้ต้องหา 3) ผู้ประนีประนอมประจำศาล ศาลแต่งตั้งผู้ประนีประนอมประจำศาลจากประชาชนทั่วไป ซึ่งทำหน้าที่เป็นผู้ไกล่เกลี่ย และดำเนินการเพื่อช่วยเหลือให้คำแนะนำศาลในการไกล่เกลี่ยคดี แต่ไม่ได้มีหน้าที่ตัดสินชี้ขาด โดยคุณสมบัติของผู้ประนีประนอมเป็นไปตามข้อกำหนดของประธานศาลฎีกาว่าด้วยการไกล่เกลี่ย พ.ศ. 2554 และในทางปฏิบัติจะพิจารณาจากผู้ที่มีความประพฤติดี เป็นบุคคลที่ไม่ใช่ข้าราชการประจำ 4 ระเบียบคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม ว่าด้วยคุณสมบัติ ลักษณะต้องห้าม การแต่งตั้งและการปฏิบัติหน้าที่ของผู้กำกับดูแลผู้ถูกปล่อย ชั่วคราว การจ่ายค่าตอบแทนและค่าใช้จ่ายของผู้กำกับดูแลผู้ถูกปล่อยชั่วคราว ค่าพาหนะแก่ผู้ถูกปล่อยชั่วคราวที่ยากไร้ เงินสินบนแก่ผู้แจ้ง ความนำจับ และเงินรางวัลแก่เจ้าหน้าที่ผู้จับผู้ถูกปล่อยชั่วคราวโดยศาลที่หลบหนี พ.ศ. 2561 และ ระเบียบคณะกรรมการบริหารศาล ยุติธรรมว่าด้วยคุณสมบัติ ลักษณะต้องห้าม การแต่งตั้งและการปฏิบัติหน้าที่ของผู้กำกับดูแลผู้ถูกปล่อยชั่วคราว การจ่ายค่าตอบแทนและ ค่าใช้จ่ายของผู้กำกับดูแลผู้ถูกปล่อยชั่วคราว ค่าพาหนะแก่ผู้ถูกปล่อยชั่วคราวที่ยากไร้ เงินสินบนแก่ผู้แจ้งความนำจับ และเงินรางวัลแก่ เจ้าหน้าที่ผู้จับผู้ถูกปล่อยชั่วคราวโดยศาลที่หลบหนี(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2564
129 ไม่เป็นผู้ดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาศาลสมทบในศาลอื่น ๆ โดยส่วนใหญ่ประกอบอาชีพธุรกิจส่วนตัว นักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ เป็นผู้ที่มีความพร้อมทางการเงิน หรือเป็นข้าราชการที่เกษียณอายุ ราชการ เป็นต้น ทั้งนี้ศาลอาจจะพิจารณาแต่งตั้งจากประสบการณ์หรือคุณวุฒิที่มี เพื่อให้เป็นประโยชน์ ต่อการไกล่เกลี่ยคดีได้เช่น ผู้ประนีประนอมเป็นผู้ประกอบการด้านอู่ซ่อมรถ มีความรู้เรื่องราคาอะไหล่ รถยนต์ ก็จะให้ไกล่เกลี่ยคดีพิพาทด้านสินไหมทดแทนประกันรถ หรือผู้ประนีประนอมเคยเป็น เจ้าพนักงานที่ดินมาก่อนและมีประสบการณ์เกี่ยวกับการรังวัดที่ดินจะเป็นผู้ไกล่เกลี่ยในคดีที่มีข้อพิพาท เกี่ยวกับเขตที่ดิน เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีการตรวจสอบคุณสมบัติผู้ประนีประนอมประจำศาลทั้งทาง แพ่งและอาญา ถือได้ว่าผู้ประนีประนอมประจำศาลเป็นผู้ที่ได้เข้าถึงการพิจารณาคดีอีกส่วนหนึ่ง ข. ปัญหาหรืออุปสรรคจากการที่ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม ที่ผ่านมาการดำเนินการของศาลประสบปัญหาเรื่องจำนวนผู้กำกับดูแลผู้ถูกปล่อยตัว ชั่วคราวที่ยังมีจำนวนไม่มากนักเมื่อเทียบกับจำนวนคดีและจำนวนผู้ถูกปล่อยตัวชั่วคราว ทำให้เมื่อมี ผู้ร้องขอไม่สามารถแต่งตั้งได้ทันที อาจจะมีการสร้างเครือข่าย หรือเพิ่มค่าตอบแทนเพื่อเป็นแนวทาง จูงใจให้มีผู้กำกับดูแลมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม การเป็นผู้กำกับดูแลผู้ถูกปล่อยตัวชั่วคราวเป็นเรื่องของ ความสมัครใจ ดังนั้นจึงน่าจะต้องมีการพูดคุยหรือสร้างทัศนคติที่ดีให้กับผู้ที่มีความสามารถในการเป็น ผู้กำกับดูแลผู้ถูกปล่อยตัวชั่วคราว ค. การรับรู้ ตื่นตัว และสนใจของประชาชนในพื้นที่มีที่จะเข้ามามีส่วนร่วม ประชาชนมีความสนใจและรับรู้การดำเนินงานของศาล และรับทราบช่องทางในการติดต่อ ศาลมากขึ้น รวมถึงการเสนอตัวเพื่อเป็นผู้ประนีประนอมมากขึ้น ซึ่งเกิดจากการที่ศาลพัฒนาช่องทาง ในการติดต่อกับประชาชน รวมถึงการประชาสัมพันธ์ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น โซเชียลมีเดีย การติดตั้งป้าย อิเล็กทรอนิกส์เพื่อแจ้งข้อมูลเกี่ยวกับการพิพากษาคดี การจัดกิจกรรมต้นกล้าตุลาการให้กับนักเรียน รวมทั้งช่องทางการแจ้งความปัญหาหรือเหตุขัดข้องในสำนักงานศาลโดยตรงต่อผู้พิพากษาหัวหน้าศาล ซึ่งทั้งหมดสะท้อนถึงการพัฒนาและแนวทางที่จะทำให้ประชาชนมีส่วนร่วมกับการดำเนินงานของศาล มากขึ้น ง. การมีส่วนได้เสีย/ผลประโยชน์ทับซ้อนกับหน่วยงานจากการเข้ามามีส่วนร่วมของ ประชาชน การมีบทบาทของผู้ประนีประนอมในศาลยุติธรรมนับว่ามีส่วนในกระบวนการยุติธรรม ค่อนข้างมากกว่าส่วนอื่น ๆ เนื่องจากสามารถรับทราบถึงรายละเอียดของสำนวนคดี จึงจำเป็นจะต้องมี การคัดเลือกบุคคลที่เข้ามาดำรงตำแหน่งด้วยความรอบคอบ โดยทางศาลมีการสอบสวนและ ค้นประวัติอาชญากร การสัมภาษณ์ รวมถึงการกำหนดแนวทางปฏิบัติเพื่อป้องกันการเกิดผลประโยชน์ ทับซ้อนซึ่งเป็นประเด็นที่น่ากังวลของศาล เนื่องจากผู้ประนีประนอมเป็นผู้ที่อาจจะให้คุณให้โทษแก่ คู่ความได้จึงควรมีหลักการ กรอบการปฏิบัติหน้าที่ให้ถูกต้องเหมาะสมและไม่ควรละเลยนิติประเพณีด้วย
130 จ. ความเห็นและข้อเสนอแนะอื่น ๆ ---ไม่มี--- 2.3 การมีส่วนร่วมของประชาชนในตำรวจภูธร ก. รูปแบบการมีส่วนร่วมของประชาชน/องค์ประกอบ/ผลสำเร็จ การมีส่วนร่วมแบบเป็นทางการ ประกอบด้วย -คณะกรรมการตรวจสอบและติดตามการบริหารงานตำรวจ (กต.ตร.) เป็นการคัดเลือกผู้ทรงคุณวุฒิจากหลากหลายสาขาอาชีพตามระเบียบ สตช. ว่าด้วย คณะกรรมการตรวจสอบและติดตามการบริหารงานตำรวจ พ.ศ. 2549 ซึ่งจำนวนจะแตกต่างกันไป ตามแต่ละสถานีตำรวจ 10-22 คน ประกอบด้วย นายอำเภอ สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กำนัน ข้าราชการจากหน่วยงานต่าง ๆ ข้าราชการตำรวจชั้น ประทวน และประชาชน/ผู้ทรงคุณวุฒิที่ได้รับการคัดเลือก ทั้งนี้ประชาชนที่ต้องการเป็นกรรมการ ใน กต.ตร. จะต้องแจ้งความประสงค์สมัครและตรวจสอบคุณสมบัติ ก่อนที่จะดำรงตำแหน่งใน คณะกรรมการฯ โดยจะต้องเป็นบุคคลที่ได้รับการยอมรับจากสังคม และมีการออกเสียงลงคะแนนเพื่อ เลือกประชาชนเป็นคณะกรรมการ กต.ตร. จากนั้นเมื่อได้บุคคลทั้งหมดตามจำนวนแล้ว จะมีการประชุม เพื่อเลือกประธาน กต.ตร. ซึ่งจะเลือกจากประชาชน/ผู้ทรงคุณวุฒิ ทั้งนี้ กต.ตร.มีวาระการดำรงตำแหน่ง คราวละ 2 ปี แต่จะดำรงตำแหน่งติดต่อกันเกิน 2 วาระไม่ได้ กต.ตร. มีหน้าที่ (1) ตรวจสอบ ติดตาม และประเมินผลการปฏิบัติงานของตำรวจในด้าน ต่าง ๆ (2) ให้ข้อมูลข่าวสารและการเสนอปัญหาและความเดือดร้อนของประชาชนในพื้นที่ (3) ประชาสัมพันธ์กิจกรรม/สร้างความเข้าใจ และเป็นกระบอกเสียงในการดำเนินงานของสถานีตำรวจโดยมี การประชุมเดือนละ 1 ครั้ง จากการดำเนินงานของ กต.ตร. นอกจากจะทำให้เจ้าหน้าที่ตำรวจทราบปัญหาของ ประชาชนได้อีกช่องทางแล้ว กต.ตร. ยังเป็นกระบอกเสียงของตำรวจ -ผู้ไกล่เกลี่ยในชั้นสอบสวน พระราชบัญญัติการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ. 2562 กำหนดให้ประชาชนที่จะเข้ามาเป็น ผู้ไกล่เกลี่ยจะต้องเป็นผู้ที่ได้รับการอบรมตามหลักสูตรการอบรมการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทตามหลักสูตร ที่คณะกรรมการพัฒนาการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติตามกฎหมายว่าด้วยการพัฒนาการบริหารงาน ยุติธรรมแห่งชาติรับรอง โดยไม่ได้จำกัดอาชีพ แต่มักจะเป็นข้าราชการบำนาญที่มีความรู้ด้านกฎระเบียบ อยู่แล้ว หรืออาจจะเป็นข้าราชการตำรวจ/พนักงานสอบสวนก็ได้ ผู้ไกล่เกลี่ยมีหน้าที่ต้องกำหนดแนวทาง จัดให้มีการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท รวมถึงให้ความช่วยเหลือ อำนวยความสะดวก และเสนอแนะคู่กรณี ในการหาแนวทางยุติข้อพิพาท จากนั้นดำเนินการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท สุดท้ายคือการจัดทำข้อตกลงระงับ ข้อพิพาทตามผลของการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท โดยสถานีตำรวจภูธรกาฬสินธุ์มีการขึ้นทะเบียนและจัดทำ
131 บัญชีผู้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทไว้แล้ว แต่ที่ผ่านมายังไม่มีคดีใดที่ใช้ผู้ไกล่เกลี่ยในชั้นสอบสวนเลย ซึ่งคาดว่า ในอนาคตอาจจะต้องมีบางคดีที่ผู้ไกล่เกลี่ยจะต้องเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการยุติธรรมตามกฎหมาย การมีส่วนร่วมแบบไม่เป็นทางการ ประกอบด้วย -การแจ้งเบาะแส การแจ้งข่าวสาร การเป็นพยาน ประชาชนได้มีส่วนร่วมช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ตำรวจโดยการแจ้งเบาะแส แจ้งข่าวสารผ่าน ช่องทางต่าง ๆ ทั้งโทรศัพท์ สายด่วน 191 แอปพลิเคชัน Facebook รวมถึงการให้ความร่วมมือในการ ให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ เช่น ภาพหรือวิดีโอจากกล้องวงจรปิด การเป็นพยาน ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการ ปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ข. ปัญหาหรืออุปสรรคจากการที่ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม จากการดำเนินงาน กต.ตร. ของตำรวจภูธรต่าง ๆ ที่ผ่านมายังไม่พบปัญหาหรืออุปสรรค ใด ๆ แต่ปัญหาสำคัญของการมีส่วนร่วมในการแจ้งเบาะแสหรือการเป็นพยานของประชาชนที่ไม่ต้องการ เปิดเผยตัวตน และลำบากใจหากต้องมาเป็นพยานซึ่งอาจจะมีผลกระทบความสัมพันธ์กับคู่กรณี ในภายหลัง ประชาชนบางส่วนจึงไม่ต้องการให้ความร่วมมือกับทางเจ้าหน้าที่ตำรวจ ดังนั้นจึงจำเป็นต้อง มีแนวทางเพื่อจูงใจให้ประชาชนให้ข้อมูลกับประชาชนให้มากขึ้น เช่น ในอนาคตอาจจะมีการลดหย่อน ภาษีให้กับร้านค้า ธุรกิจ หรือประชาชนที่ให้ความร่วมมือติดตั้งกล้องวงจรปิดที่สามารถมองเห็นภาพ พื้นที่สาธารณะ เป็นต้น ค. การรับรู้ ตื่นตัว และสนใจของประชาชนในพื้นที่มีที่จะเข้ามามีส่วนร่วม เมื่อประชาชนได้รับรู้ถึงภาระหน้าที่ของตำรวจมากขึ้น ก็ส่งผลให้ความร่วมมือกับตำรวจดี ขึ้น และการที่ประชาชนสามารถรับรู้ข่าวสาร รวมถึงแจ้งข่าวสารที่เป็นประโยชน์ต่อสถานีตำรวจได้อย่าง สะดวก ใช้งานง่าย เสียค่าใช้จ่ายน้อย รวมถึงประชาชนที่ใช้โซเชียลมีเดียมีความคุ้นเคยกับการใช้ แอปพลิเคชันอยู่แล้ว ทำให้สามารถช่วยเหลือได้ตลอด 24 ชั่วโมง ซึ่งมีหลายกรณีที่ประชาชนแจ้ง เบาะแสทันทีที่เหตุเกิดขึ้น นำไปสู่การติดตามและสามารถการจับกุมตัวผู้ต้องหาได้อย่างรวดเร็วภายใน ไม่กี่ชั่วโมง รวมถึงการนำภาพวิดีโอจากกล้องมาให้กับทางตำรวจสามารถนำมาเป็นหลักฐานใน กระบวนการยุติธรรมได้และเป็นการลดโอกาสในการเกิดอาชญากรรมได้ ง. การมีส่วนได้เสีย/ผลประโยชน์ทับซ้อนกับหน่วยงานจากการเข้ามามีส่วนร่วมของ ประชาชน กรณีของ กต.ตร. ไม่มีประเด็นผลประโยชน์ทับซ้อน เนื่องจาก กต.ตร. มีเพียงหน้าที่ติดตาม และตรวจสอบการทำงานของตำรวจ ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องทางกระบวนยุติธรรมหรือกระบวนการ สอบสวนของตำรวจแต่อย่างใด จ. ความเห็นและข้อเสนอแนะอื่น ๆ ---ไม่มี---
132 3. สรุปผลการลงพื้นที่สัมภาษณ์เก็บข้อมูลหน่วยงานภาคกลาง คณะที่ปรึกษาได้ลงพื้นที่สัมภาษณ์เก็บข้อมูลหน่วยงานภาคกลาง ได้แก่ จังหวัดชลบุรี จังหวัด ชัยนาท จังหวัดนนทบุรี และจังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งมีหน่วยงาน 13 แห่ง ประกอบด้วย สำนักงานอัยการภาค 1 แห่ง สำนักงานอัยการจังหวัด 5 แห่ง ศาลจังหวัด 4 แห่ง และสถานีตำรวจภูธรจังหวัด 3 แห่ง ดังนี้ ตารางที่ 3 การลงพื้นที่สัมภาษณ์เก็บข้อมูลหน่วยงานภาคกลาง (ระหว่างวันที่28 กันยายน – 11ตุลาคม 2565) ที่ หน่วยงาน ชื่อ-สกุล / ตำแหน่ง วันที่ 28 กันยายน 2565 1. สำนักงานอัยการจังหวัดนนทบุรี -นางสาวสุภาภรณ์ นิปวณิชย์ อัยการผู้เชี่ยวชาญ 2. ศาลจังหวัดนนทบุรี -นายสมบัติ พฤฒิพงศภัค ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดนนทบุรี 3. สถานีตำรวจภูธรจังหวัดนนทบุรี -พ.ต.ท. ถนอม ชุมแสง สว.ฝอ.ภ.จว.นนทบุรี วันที่ 3 ตุลาคม 2565 4. สำนักงานอัยการจังหวัดชลบุรี -นายอนุชล สัญชยานุกูล รองอัยการจังหวัดชลบุรี 5. ศาลจังหวัดชลบุรี -นายอติรุจ ตันบุญเจริญ ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะชั้นต้น วันที่ 4 ตุลาคม 2565 6. ศาลจังหวัดพัทยา -นางสาริศา พชรจิโรภาส เจ้าพนักงานศาลยุติธรรมชำนาญการพิเศษ 7. สถานีตำรวจภูธรเมืองพัทยา -พ.ต.ท. ณัฐวรรธน์ เพลินจิตร สารวัตร (สอบสวน) สภ.เมืองพัทยา วันที่ 5 ตุลาคม 2565 8. สำนักงานอัยการภาค 2 จังหวัดชลบุรี -นางรัตนภรณ์ โพธิ์ทอง จันทร์อินทร์ อัยการผู้เชี่ยวชาญพิเศษ -สิบโทสมศักดิ์ อุดมศักดิ์ นิติกรชำนาญการพิเศษ 9. สำนักงานอัยการจังหวัดพัทยา -นายกีรติกิติ์ หนูเกื้อ รองอัยการจังหวัด