The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

โครงการศึกษาวิจัยว่าด้วยการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารงานและการอำนวยความยุติธรรมทางอาญาของสำนักงานอัยการสูงสุด

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by TU Law, 2023-04-04 10:24:54

รายงานการศึกษาฉบับสมบูรณ์ (Final Report)

โครงการศึกษาวิจัยว่าด้วยการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารงานและการอำนวยความยุติธรรมทางอาญาของสำนักงานอัยการสูงสุด

133 ที่ หน่วยงาน ชื่อ-สกุล / ตำแหน่ง วันที่ 10 ตุลาคม 2565 10. สำนักงานอัยการจังหวัดสุพรรณบุรี -นายธนานนท์ รัตนาเดชาชัย อัยการจังหวัด 11. ศาลจังหวัดสุพรรณบุรี -นายชัชวาลย์ กันฉาย ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดสุพรรณบุรี วันที่ 11 ตุลาคม 2565 12. สำนักงานอัยการจังหวัดชัยนาท -นายอิทธิพัฒน์ เพชรกวินกุล อัยการจังหวัดชัยนาท 13. สถานีตำรวจภูธรจังหวัดชัยนาท -พ.ต.อ. ออมสิน สุขการค้า ผู้กำกับสอบสวน กลุ่มงานสอบสวน หมายเหตุ : ลำดับที่ 2 , 3 , 10 ให้ข้อมูลโดยการตอบแบบสอบถามกลับมายังคณะที่ปรึกษา 3.1 การมีส่วนร่วมของประชาชนในสำนักงานอัยการจังหวัด ก. รูปแบบการมีส่วนร่วมของประชาชน/องค์ประกอบ/ผลสำเร็จ คณะที่ปรึกษาได้สัมภาษณ์สำนักงานอัยการภาค ซึ่งเป็นหน่วยงานบริหาร กำหนดนโยบาย และสั่งการมีภารกิจหลักในการตรวจความถูกต้องในสำนวนของอัยการจังหวัด หรือรับคำร้องขอความ เป็นธรรมจากประชาชนที่สามารถร้องขอต่อสำนักงานอัยการทุกแห่งทุกชั้นได้ตราบใดที่ยังไม่มี คำพิพากษา อัยการภาคก็สามารถเรียกตรวจสอบได้ แต่ด้วยเหตุที่สำนวนการสอบสวนเป็นความลับ จึงไม่มีขั้นตอนใดที่ประชาชนจะมีส่วนร่วมได้ ประกอบกับเป็นเรื่องของระบบและนโยบายของอธิบดี อัยการภาคแต่ละคน และอธิบดีอัยการภาคทำงานประจำเพียงปีเดียว จึงมีความไม่ต่อเนื่องแต่สามารถที่ จะมอบนโยบายหรือสั่งการพิเศษนอกเหนือจากงานประจำเพิ่มเติมได้ สำหรับสำนักงานอัยการจังหวัด มีหน้าที่อำนวยความยุติธรรมในการพิจารณาสั่งคดี รับสำนวนจากพนักงานสอบสวน ตรวจสอบพยานหลักฐานและข้อเท็จจริง ในกรณีที่ประชาชน ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดทางอาญาและไม่ได้รับความเป็นธรรมในการสอบสวน ก็สามารถยื่นหนังสือร้องขอ ความเป็นธรรมต่อพนักงานอัยการจังหวัดได้ โดยการลงพื้นที่สัมภาษณ์สำนักงานอัยการจังหวัด และ สำนักงานอัยการภาคทั้งหมด 5 แห่ง นั้นมีเพียง 2 แห่ง คือสำนักงานอัยการชัยนาท และสำนักงาน อัยการจังหวัดพัทยาที่มีโครงการเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการยุติธรรมของ สำนักงานอัยการจังหวัดตามนโยบายของสำนักงานอัยการสูงสุด ได้แก่ 1) คณะกรรมการการมีส่วนร่วมภาคประชาชน สำนักงานอัยการจังหวัดชัยนาทได้ประกาศรับสมัครคณะกรรมการการมีส่วนร่วมภาค ประชาชนผ่านสื่อออนไลน์ ผู้สนใจเป็นคนในพื้นสามารถยื่นใบสมัครให้สำนักงานอัยการจังหวัดคัดเลือก


134 แต่งตั้งจำนวน 8 คน มีนักการเมืองท้องถิ่น ข้าราชการเกษียณ พ่อค้า ประชาชน สามารถแต่งตั้งเพิ่มได้ อีก ไม่มีการจำกัดจำนวนคน มีวาระ 2 ปี ไม่มีเบี้ยเลี้ยง เป็นการเข้ามาด้วยความสมัครใจ ส่วนอำนาจ หน้าที่ไม่ได้กำหนด เพียงแต่ให้ประชาชนมีส่วนร่วม มีการประชุมปีละ 2-3 ครั้ง เพื่อให้เป็นตัวแทนของ สำนักงานอัยการจังหวัดในการประชาสัมพันธ์การทำงานของอัยการจังหวัด และส่งข้อมูลสะท้อนกลับ เข้ามาให้อัยการจังหวัดทราบ มีการทำกิจกรรมมุทิตาจิตเพื่อประโยชน์ราชการและบุคลากรสำนักงาน สนับสนุน การจัดกิจกรรมเผยแพร่งานของอัยการ ประสานกับเอกชนทำกิจกรรมสาธารณะ และเป็น สื่อกลางให้ประชาชนรับรู้ถึงงานของอัยการจังหวัด ทำให้ประชาชนเข้าถึงอัยการจังหวัดได้ 2) คณะที่ปรึกษาสำนักงานอัยการจังหวัด สำนักงานอัยการจังหวัดพัทยา มีคณะที่ปรึกษาสำนักงานอัยการจังหวัดแต่งตั้งโดย สำนักงานอัยการภาค 2 และสำนักงานอัยการจังหวัดพัทยา โดยมีภาคประชาชนเป็นที่ปรึกษา ประกอบด้วยนักธุรกิจ เจ้าของกิจการบ้านจัดสรร โรงแรม เครือญาติของนักการเมืองท้องถิ่น สมาชิก องค์การบริหารการปกครองส่วนตำบล (อบต.) หรือเทศบาล บุคคลที่น่าเชื่อถือ ผู้มีความรู้ความสามารถ เป็นบุคคลที่อยู่ในพื้นที่ยาวนานและมีประวัติคุณงามความดี จำนวน 30-50 คน มีวาระ 1 ปี ประชุม 3 เดือนครั้ง ไม่มีค่าตอบแทนเป็นการทำงานดัวยความเสียสละ โดยช่วยงานเชิงการบริหาร ดังนี้ -ให้คำชี้แนะการบังคับใช้กฎหมายในเขตอำนาจศาล สภาพปัญหาในท้องที่ หากลูกบ้านมี ปัญหาเดือดร้อนไม่ได้รับความเป็นธรรมความคืบหน้าในคดี คณะที่ปรึกษาสำนักงานอัยการจังหวัด จะแนะนำให้ไปขอความช่วยเหลือจากอัยการ -ช่วยปรับปรุงทัศนียภาพ ติดตั้งป้ายสำนักงาน ติดตั้งเครื่องปรับอากาศและโทรทัศน์เพราะ อัยการต้องให้บริการช่วยประชาชน -การเชิญอัยการไปบรรยายเสนอแนะการใช้กฎหมาย เช่น คดีอาวุธปืน คดีช่วยเหลือ ชาวบ้าน ตั้งผู้จัดการมรดก การตั้งผู้อนุบาลคนไร้ความสามารถ หรือสั่งให้เป็นคนสาบสูญ ผลสำเร็จที่เกิดขึ้นจากคณะที่ปรึกษาสำนักงานอัยการจังหวัดที่ชัดเจนคือ ทำให้ภาพลักษณ์ ของอัยการดีขึ้น ประชาชนรับทราบ รู้จัก และคำนึงถึงบทบาทของอัยการมากขึ้น เพราะอัยการจังหวัด ให้ความช่วยเหลือแก่ประชาชนโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย มีแต่การชำระค่าธรรมเนียมศาล และประชาชนจะ เป็นเกราะให้กับอัยการจังหวัดทำให้งานของอัยการดำเนินการไปได้ เป็นขวัญกำลังใจแก่อัยการท้องถิ่น ในการปฏิบัติงานที่ต้องรับผิดชอบงานทุกด้านทั้งคดีแพ่ง คดีอาญา ยาเสพติด ศุลกากร การค้าไม้ ฯลฯ ทำให้ผลักดันงานได้เต็มที่ 3) การฝึกงานของนักเรียนนักศึกษาในสำนักงานอัยการจังหวัด สำนักงานอัยการจังหวัดได้เปิดโอกาสและอนุญาตให้นักเรียนนักศึกษาเข้ามาฝึกงาน ช่วยเหลืองานธุรการ การเรียนรู้วิธีการทำงานของอัยการในสำนักงานอัยการจังหวัดได้


135 ก. ปัญหาหรืออุปสรรคจากการที่ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม สำนักงานอัยการจังหวัดที่มีการแต่งตั้งคณะกรรมการการมีส่วนร่วมภาคประชาชนกับ คณะที่ปรึกษาสำนักงานอัยการจังหวัดให้ข้อมูลว่าไม่มีปัญหาอุปสรรค เพราะประชาชนให้ความร่วมมือดี เนื่องจากเป็นคนในพื้นที่ที่รู้เรื่อง มีความเข้าใจ จึงช่วยอำนวยความสะดวกให้กับอัยการได้เป็นอย่างดี และทำให้สังคมมีความสุข ส่วนสำนักงานอัยการจังหวัดอีก 3 แห่ง คือ สำนักงานอัยการจังหวัดชลบุรี สำนักงาน อัยการจังหวัดนนทบุรี และสำนักงานอัยการจังหวัดสุพรรณบุรี ไม่มีโครงการหรือกิจกรรมที่ให้ประชาชน เข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการยุติธรรม โดยสำนักงานอัยการจังหวัดแห่งแรกได้ระบุว่าเมื่อ 2-3 ปีก่อน เคยมีคณะกรรมการจากภาคประชาชนที่อัยการจังหวัดก่อนหน้านี้ได้แต่งตั้งขึ้นเพื่อช่วยปรับปรุงภูมิทัศน์ ของสำนักงานอัยการจังหวัด ประกอบด้วยคหบดี นักธุรกิจ จิตอาสาคนในพื้นที่ที่มีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จัก ซึ่งเป็นการแต่งตั้งตามหนังสือเวียนจากสำนักงานอัยการสูงสุดที่ขอให้สำนักงานอัยการจังหวัดดำเนินการ แต่งตั้งตามแผนยุทธศาสตร์สำนักงานอัยการสูงสุด ปีพ.ศ. 2559-2562 ในยุทธศาสตร์ที่ 4 สร้างความเชื่อมั่น แก่ประชาชนและหน่วยงานที่มีส่วนได้เสีย กลยุทธฺที่ 4.2 ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนให้บรรลุ เป้าหมายตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 แต่ ปัจจุบัน (ตั้งแต่เดือนเมษายน 2565) ไม่มีคณะกรรมการจากภาคประชาชน เพราะไม่ต้องการให้ เป็นที่จับตามองว่าการแต่งตั้งคณะกรรมการจากภาคประชาชนจะมีความเกี่ยวพันกับคดี จะมีเรื่องของ การมีส่วนได้เสียหรือจะมีข้อครหา ให้เป็นจุดโจมตี ซึ่งไม่สามารถแก้ข่าวได้ทั้งที่ความจริงไม่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะสื่อ หากแก้ข่าวจะยิ่งขยายวงกว้าง ไม่มีโอกาสชี้แจง จึงแก้ปัญหาโดยไม่แต่งตั้งเลย หากตั้งผิด คนจะเกิดความผิดพลาดได้ จึงต้องระมัดระวัง เพราะจังหวัดที่มีขนาดใหญ่มีประชากรจำนวนคนมากทำ ให้รู้จักผู้คนไม่ทั่วถึง อาจเกิดความไม่เหมาะสม บางคนประสงค์จะเป็นจิตอาสาที่ไม่อยากให้แต่งตั้ง บาง คนอาจขัดแย้งกับบุคคลอื่นมาก่อนหน้านี้หรือมีพรรคพวก หรือมีปัญหารอบด้าน แต่ก็พร้อมจะแต่งตั้ง เพราะเป็นการทำเพื่อสังคมและองค์กร หากนโยบายนั้นเป็นคำสั่งให้แต่งตั้งกำหนดข้อปฏิบัติหลักเกณฑ์ การคัดเลือกผู้ไม่มีประวัติเสื่อมเสียหรือพ้นมลทิน สำนักงานอัยการจังหวัดอีกแห่งหนึ่งอยู่ระหว่างการพิจารณาการแต่งตั้งให้ประชาชนมี ส่วนร่วม แต่ขึ้นอยู่กับปัจจัยแวดล้อม ภาพลักษณ์องค์กรในการดึงประชาชนเข้ามา ซึ่งขึ้นอยู่กับ แนวทางการบริหารของอัยการจังหวัดแต่ละคน และแต่ละแห่งไม่สามารถกำหนดตายตัวได้ จึงทำให้มี ความแตกต่างกัน เหตุผลหลักที่ยังไม่มีการแต่งตั้งเนื่องจากงานหลักของสำนักงานอัยการจังหวัดเป็น ความลับ ไม่ควรแตะเรื่องการสอบสวน สำนักงานอัยการจังหวัดแห่งสุดท้ายที่ไม่ได้แต่งตั้งให้ประชาชนมีส่วนร่วมนั้น ให้เหตุผลว่า งานของอัยการคือการสั่งสำนวนที่รับจากพนักงานสอบสวน เป็นการใช้กฎหมาย การดำเนินการตาม ข้อกฎหมาย ไม่ได้เป็นการใช้ดุลพินิจ จำเป็นต้องรักษาความเป็นอิสระ เที่ยงตรง ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดในการ สั่งคดีของอัยการและเป็นการปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา จึงไม่อาจเปิดโอกาส ให้บุคคลภายนอกเข้าร่วมงานกับอัยการจังหวัดได้ เพราะสำนวนอาจหลุดลอดไปที่จำเลยได้ รวมถึง


136 อัยการจังหวัดมีการโยกย้ายเป็นประจำ อาจเกิดความไม่ต่อเนื่องในการส่งเสริมให้ประชาชนเข้ามา มีส่วนร่วม ค. การรับรู้ ตื่นตัว และสนใจของประชาชนในพื้นที่มีที่จะเข้ามามีส่วนร่วม การรับรู้ ตื่นตัว และสนใจของประชาชนในพื้นที่มีที่จะเข้ามามีส่วนร่วมกับสำนักงานอัยการ จังหวัดนั้นส่วนใหญ่ประชาชนยังไม่รู้จักและเข้าไม่ถึงอัยการ ประชาชนบางกลุ่มไม่ทราบ ไม่มีความตื่นตัว ในการเข้าร่วมเป็นคณะที่ปรึกษาสำนักงานอัยการจังหวัด เพราะอาจไม่สนใจหรือต้องทำมาหากิน ประชาชนที่จะเข้ามามีส่วนร่วมในงานของสำนักงานอัยการจังหวัด จำเป็นต้องเป็นผู้ที่สนใจ มีความพร้อม ต้องมีเวลา และไม่ใช่ผู้ที่ทำงานประจำ นอกจากนี้ หน้าที่ของสำนักงานอัยการจังหวัดไม่เปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วม แต่สำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดี (สคช.) จะมีบทบาท เกี่ยวข้องกับประชาชนมากกว่า เพราะได้ลงพื้นที่ออกไปบรรยายให้คำแนะนำกฎหมายเบื้องต้น ทำให้ ประชาชนรู้จักอัยการมากขึ้น ประชาชนเริ่มมีส่วนร่วม เป็นตัวแทนของอัยการเพื่อช่วยเผยแพร่ความรู้ มีการสร้างไลน์กลุ่มกับประชาชน การใช้โทรศัพท์ติดต่อประสานงาน อย่างไรก็ตาม ถ้าประชาชนในพื้นที่มีส่วนได้เสียในประเด็นใด ก็จะมีความสนใจที่จะ เข้าร่วมกระบวนการยุติธรรมที่เกี่ยวเนื่องกับประเด็นนั้น และอาจจะมีผลกระทบความเป็นอิสระในการ พิจารณาสั่งคดีได้ ง. การมีส่วนได้เสีย/ผลประโยชน์ทับซ้อนกับหน่วยงานจากการเข้ามามีส่วนร่วมของ ประชาชน -การแต่งตั้งคณะที่ปรึกษาสำนักงานอัยการจังหวัดเป็นดุลพินิจของแต่ละจังหวัดในการ แต่งตั้ง แต่การที่ประชาชนได้เข้ามาเป็นคณะกรรมการแล้ว ประชาชนอาจแอบอ้างความใกล้ชิดกับ อัยการจังหวัดเพื่อหวังผลทางคดี หรือนำสำนวนไปเผยแพร่ เช่น เอาไปลงสื่อโซเชียลมีเดียที่ไม่สามารถ ควบคุมได้ การที่ได้รู้จักกับอัยการอาจรู้สึกมีความภาคภูมิใจหรืออาจนำไปสร้างอิทธิพลในพื้นที่ได้ รวมทั้งต้องการเป็นสื่อเชื่อมต่อกับผู้มีปัญหาทางคดีกรณีซึ่งดังกล่าวอาจจะเกิดขึ้นเป็นจำนวนไม่มาก สำนักงานอัยการจังหวัดต้องคัดเลือกผู้ที่ต้องการเข้ามาร่วมงานอย่างจริงจัง และเชื่อมั่นในคุณงามความดี ของประชาชนที่เข้ามาร่วมเป็นคณะที่ปรึกษาฯ -บุคลากรของสำนักงานอัยการจังหวัดเป็นผู้ที่มีศักยภาพ มีความรู้สูง เมื่อมีสถานที่ ให้พูดคุยจึงสามารถดำเนินกิจกรรมคล้ายกับคณะกรรมการตรวจสอบและติดตามการบริหารงานตำรวจ (กต.ตร.) ได้ แต่อาจต้องดำเนินกิจกรรมได้แคบและจำกัดมากกว่า ทั้งนี้ เพื่อป้องกันการเข้าหวังผล ทางคดี จึงต้องคัดเลือกผู้ที่เข้ามาช่วยงานจริง ไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน ไม่เป็นการเข้ามาเพื่อต้องการ เชื่อมต่อช่วยเหลือผู้มีปัญหาทางคดี


137 จ. ความเห็นและข้อเสนอแนะอื่น ๆ -สำนักงานอัยการจังหวัดสามารถดำเนินงานเชิงรุกเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมได้ ในกรณีดังต่อไปนี้ -ปัญหาการสืบพยานในชั้นอัยการในคดีที่เกิดขึ้นมาหลายปีจนทำให้ตามตัวพยานลำบาก เพราะพยานได้ย้ายที่อยู่ ในส่วนนี้อาจเปิดโอกาสให้ประชาชนช่วยติดตามพยานได้เพราะมีความสัมพันธ์ เชื่อมโยง จากเดิมพนักงานสอบสวนจะส่งหมายตามไปที่บ้านเลขที่ อัยการโทรศัพท์หรือตามไปที่ ทะเบียนราษฎร์ -ความปลอดภัยพยานในการให้ความคุ้มครองพยาน เพราะพยานเกรงกลัวจำเลย ไม่กล้า เบิกความซึ่งอาจจะทำให้ศาลยกฟ้องได้ ประชาชนอาจช่วยในการรับพยานไปอยู่ในที่ปลอดภัย -กฎหมายเกี่ยวกับการชะลอฟ้องที่อัยการสามารถใช้ดุลพินิจได้เพราะไม่ใช่โทษหนัก อาจเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้าร่วมออกแบบระบบได้ -ตำรวจและอำเภอดูแลคนในพื้นที่และใกล้ชิดประชาชนมากกว่า สามารถเป็นกระบอกเสียง ให้ได้ แต่บทบาทหน้าที่ที่ประชาชนจะเข้ามามีส่วนร่วมจะถูกจำกัดและแคบกว่า เพราะงานของอัยการ เป็นงานด้านสำนวนคดี เน้นงานอาญา สั่งสำนวนตามพยานหลักฐาน และมีอำนาจอิสระในการพิจารณา คดีตามกฎหมาย จึงไม่ต้องการให้ประชาชนข้องเกี่ยวกับคดี -การให้ประชาชนมีส่วนร่วม อาจเป็นงานของ สคช. มากกว่าอัยการจังหวัด แต่สามารถ บูรณาการทำงานร่วมกัน การใช้สถานที่ร่วมพูดคุยกันได้ -หากอัยการนำเรื่อง “ผู้กำกับดูแลการปล่อยตัวชั่วคราว” ของศาลมาใช้ในงานของอัยการ เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการยุติธรรมของอัยการได้มากยิ่งขึ้น ทั้งกรณี การประกันตัวที่มีหลักทรัพย์และไม่มีหลักทรัพย์ เพื่อจะได้ช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ของสำนักงานอัยการ จังหวัดในการรายงานตัวในพื้นที่ ช่วยลดภาระให้ทั้งอัยการและผู้ต้องหา ลดการเดินทางของผู้ต้องหา และยุติคดีได้ รวมถึงประชาชนจะได้รับทราบภาระงานของอัยการว่าไม่ได้ทำให้เข้าคุกเท่านั้น แต่เป็นงาน ที่อำนวยความยุติธรรมแก่ทุกฝ่าย ถ้าไม่ผิดก็สั่งไม่ฟ้อง ซึ่งจะทำให้ประชาชนเข้าหาอัยการมากขึ้น -พนักงานสอบสวนและอัยการจังหวัดควรมีบทบาทในการทำงานมาตรฐานเดียวกัน ตรวจสอบดูสำนวนได้ตั้งแต่เริ่มต้นเพราะอัยการก้าวก่ายไม่ได้ อาจทำให้ประชาชนเดือดร้อน หรือ ถูกดำเนินคดีเพราะเข้าไม่ถึงสำนวน ถ้าประชาชนได้ทราบเรื่องก่อนก็จะได้ร้องขอความเป็นธรรมได้ -การแบ่งส่วนราชการใหม่ของสำนักงานอัยการจังหวัดที่จะพิจารณาเพิ่มจำนวนบุคลากร จากปริมาณของสำนวนเพียงอย่างเดียวนั้นไม่เหมาะสม ควรพิจารณาถึงความยากง่าย ความแตกต่าง ของแต่ละพื้นที่ เช่น เป็นเมืองเล็กหรือเมืองเศรษฐกิจ หรือการให้แยกกองคดีแพ่งออกจากสำนักงาน อัยการจังหวัด หากมีความชัดเจนในงานมากขึ้นก็จะเป็นส่วนหนึ่งที่จะทำให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมกับ งานของสำนักงานอัยการจังหวัดได้ -ให้ความสำคัญต่ออัยการพื้นที่ โดยเฉพาะ สคช. ควรให้ทำงานในพื้นที่ได้เกิน 4 ปี หรือ สามารถสลับหมุนเวียนการทำหน้าที่ในพื้นที่ได้เพื่อให้เกิดความต่อเนื่อง เพราะเป็นผู้ที่รู้และเข้าใจปัญหา


138 สามารถช่วยชาวบ้าน รวมถึง สคช. ไม่มีเงินประจำตำแหน่ง ไม่มีค่าเดินทาง ไม่มีอิทธิพล ไม่กระทบต่อการ ปฏิบัติงานอันจะช่วยให้กำลังใจแก่อัยการชั้นผู้น้อยในการทำงานที่เข้าถึงประชาชนในพื้นที่ได้อย่างเต็มที่ 3.2 การมีส่วนร่วมของประชาชนในศาลยุติธรรม ศาลจังหวัดภาคกลางที่คณะที่ปรึกษาลงพื้นที่เก็บข้อมูลทั้งหมด 4 แห่ง ได้แก่ ศาลจังหวัด ชลบุรี ศาลจังหวัดนนทบุรี ศาลจังหวัดพัทยา และศาลจังหวัดสุพรรณบุรีนั้น ทุกแห่งมีโครงการเกี่ยวกับ การมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการยุติธรรมของศาลจังหวัดตามนโยบายของประธานศาลฎีกา เดิมศาลยุติธรรมจะเปิดให้ประชาชนเข้ามามีส่วนกำหนดทิศทางใช้ดุลพินิจค่อนข้างน้อย ใช้แต่กฎหมาย วิธีพิจารณาความอาญา ไม่ยืดหยุ่น ในขณะที่ศาลเยาวชนและครอบครัวกลางสามารถใช้หลักความ ยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ (Restorative Justice - RJ) ได้เต็มที่ 1) ผู้กำกับดูแลผู้ถูกปล่อยชั่วคราว มาตรา 108 วรรคสาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาได้กำหนดให้ศาลสามารถ ปล่อยตัวโดยกำหนดเงื่อนไขได้ มีการใช้เครื่องมือเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นโปรแกรมระบบแบบประเมิน ความเสี่ยงรวม 14 ปัจจัยเพื่อคำนวณความเสี่ยงเป็นเปอร์เซ็นต์สำหรับประกอบดุลพินิจของศาลในการ ปล่อยตัวชั่วคราว และพระราชบัญญัติมาตรการกำกับและติดตามจับกุมผู้หลบหนีการปล่อยชั่วคราว โดยศาล พ.ศ. 2560 ผู้เสียหายจะไม่ถูกปรับหรือไม่ถูกจำคุก สามารถใช้วิธีการให้บริการสังคมหรือการใช้ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ติดตามตัว (Electronic Monitoring - EM) แต่ควบคุมได้เฉพาะตามพื้นที่ทาง ภูมิศาสตร์ ทำให้จำกัดพื้นที่ได้ สามารถทราบว่าอยู่ที่ไหน แต่ไม่อาจทราบถึงพฤติกรรมว่าทำดีหรือไม่ หรือเข้ารับการคุมประพฤติก่อนศาลมีคำพิพากษา เป็นการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ “การสร้างดุลยภาพแห่งสิทธิ” ตามนโยบายของประธานศาลฎีกาได้มุ่งเน้นเรื่องความเสมอ ภาค ยกระดับความเป็นศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของผู้ต้องหาหรือจำเลยระหว่างการต่อสู้คดี และ ยกระดับการคุ้มครองสิทธิแก่ผู้เสียหาย เหยื่ออาชญากรรม และพยาน และลดการคุมขังที่ไม่จำเป็นลง จึงเป็นที่มาของการกำหนดกลไกมาตรการรูปแบบการออกหมายจับและการปล่อยชั่วคราวระหว่าง สอบสวนเป็นมาตรการตามข้อบังคับของประธานศาลฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเดียวกับการออก คำสั่งหรือหมายอาญา (ฉบับที่ 5) มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2565 โดยจะมีพิจารณาที่ ความสำคัญในคดีมีการรับฟังความเห็นของผู้เสียหายกับพยานว่ามีการคัดค้านกรณีผู้ต้องหาขอให้ปล่อย ชั่วคราวหรือไม่ เนื่องจากสำนักงานศาลยุติธรรมต้องการเพิ่มมาตรการในการปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหา ให้มากขึ้น โดยใช้ตัวบุคคลเป็นผู้กำกับดูแลนอกเหนือไปจากการใช้หลักทรัพย์วางศาลหรือเงินสดในการ ปล่อยชั่วคราว เพื่อประชาชนทั่วไป หรือผู้ต้องหา หรือจำเลย สามารถเข้าถึงสิทธิในการปล่อยชั่วคราว ได้อย่างเท่าเทียม โดยเป็นโทษที่ต่ำกว่า 10 ปี และประเมินความเสี่ยงโดยไม่เรียกหลักประกัน ผู้ต้องหา หรือจำเลยจะได้รับการปล่อยชั่วคราวโดยไม่ต้องใช้หลักประกัน หวังช่วยให้เกิดการปรับเปลี่ยนทัศนคติ และพฤติกรรมของผู้ต้องหาหรือจำเลย เพื่อป้องกันการหลบหนีและก่ออันตรายอย่างอื่นและสามารถ กลับตัวเป็นคนดีของสังคมต่อไปได้ในภายหน้า ซึ่งหัวหน้าศาลรับนโยบาย ศาลทุกแห่งรับทราบมาตรการ


139 ดังกล่าว ศาลต้องปรับตัว เข้ารับอบรม โดยศาลจังหวัดมีการทำบันทึกข้อตกลง (Memorandum of Understanding– MOU) กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สถานีตำรวจ สำนักงานที่ดิน และสำนักงานคุม ประพฤติ ในขณะที่สำนักงานศาลยุติธรรมได้ทำ MOU กับกระทรวงมหาดไทยแล้ว เพื่อให้หน่วยงานที่ ร่วมทำ MOU เสนอชื่อพร้อมเบอร์โทรศัพท์ติดต่อในการแต่งตั้งเป็นผู้กำกับดูแลผู้ถูกปล่อยชั่วคราว กรณีที่มีหลักฐานตามสมควรว่าเป็นคดีที่ไม่มีความร้ายแรง ไม่มีความเสี่ยงสูง พฤติกรรม ของผู้ถูกปล่อยชั่วคราวจะไม่ก่ออันตราย ไม่มีเหตุหลบหนี ไม่เกิดความเสียหาย หรือไม่เกิดอุปสรรค ในการดำเนินคดีที่อาจเกิดขึ้นจากการปล่อยชั่วคราว ศาลจะสั่งปล่อยตัวระหว่างสอบสวนและระหว่าง การพิจารณาคดี และให้ตั้งผู้กำกับดูแลผู้ถูกปล่อยชั่วคราว ผู้ต้องหาหรือจำเลย เป็นกระบวนการก่อน ศาลพิพากษาซึ่งเป็นดุลพินิจของศาลโดยแท้ และเป็นการอำนวยความสะดวกของศาลแก่ประชาชน ศาลจะมีคำสั่งแต่งตั้งผู้กำกับดูแลผู้ถูกปล่อยชั่วคราว โดยพิจารณาจากคุณสมบัติว่ามี ความเหมาะสมแก่การปฏิบัติหน้าที่ตามที่ศาลกำหนดได้ 2 รูปแบบ ได้แก่ 1. การรวบรวมรายชื่อจากผู้นำชุมชน กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้เกษียณอายุราชการ อาสาสมัคร คุมประพฤติตลอดจนคนในชุมชนที่สมัครใจ 2. ผู้ต้องหาหรือจำเลยเสนอชื่อขอให้แต่งตั้งผู้ที่ผู้ต้องหาหรือจำเลยเคารพเชื่อฟังหรือไว้ใจ เมื่อศาลมีคำสั่งให้ใช้ “ผู้กำกับดูแลผู้ถูกปล่อยชั่วคราว” ที่ไม่ได้ระบุชื่อบุคคลแล้ว เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ศาลจะคัดเลือกจากรายชื่อผู้กำกับดูแลผู้ถูกปล่อยชั่วคราว ที่บันทึกในระบบ บริการข้อมูลคดีศาลยุติธรรม (CIOS) ที่ศาลทุกแห่งสามารถเข้าถึงได้ เนื่องจากผู้ต้องหาหรือจำเลยอาจเป็น คนจากถิ่นอื่นซึ่งจะเป็นผู้ที่รู้จักผู้ต้องหาหรือจำเลยที่เป็นลูกบ้านของตนเองได้ดี สามารถกลับไปรายงาน ตัวกับผู้กำกับดูแลผู้ถูกปล่อยชั่วคราวที่หมู่บ้านตนเองได้โดยไม่ต้องมาที่ศาลในจังหวัดที่กระทำผิดอีก ผู้ต้องหาหรือจำเลยขอแถลงเปลี่ยนแปลงผู้กำกับดูแลผู้ถูกปล่อยชั่วคราวได้ เจ้าหน้าที่ ประชาสัมพันธ์ศาลจะเปลี่ยนตัวผู้กำกับดูแลผู้ถูกปล่อยชั่วคราวให้ หรือจะติดต่อผู้อื่นที่ยังไม่ได้แต่งตั้ง แต่มีคุณสมบัติครบถ้วนด้วยวาจาก่อนได้ เมื่อได้รับความยินยอม คำสั่งแต่งตั้งผู้กำกับดูแลผู้ถูกปล่อย ชั่วคราวจากศาลคนใหม่จะออกภายหลัง พร้อมรับแบบรายงานตัว ผู้กำกับดูแลผู้ถูกปล่อยชั่วคราว มีหน้าที่ความรับผิดชอบดังต่อไปนี้ ซึ่งอาจทำหน้าที่เดียว หรืออาจทำครบทุกหน้าที่ก็ได้ 1. สอดส่องดูแลตักเตือน (ไม่ต้องอบรม แต่ทำความเข้าใจ โดยมีเจ้าหน้าที่ศาลเป็นพี่เลี้ยง) 2. รับรายงานตัว (ไม่ต้องอบรม แต่ทำความเข้าใจ โดยมีเจ้าหน้าที่ศาลเป็นพี่เลี้ยง) 3. ให้คำปรึกษา (โดยนักจิตวิทยา แพทย์ นักสังคมสงเคราะห์ ผู้เชี่ยวชาญ นักวิชาชีพ หรือ ผู้ที่ผ่านการอบรมการให้คำปรึกษาทางจิตสังคมที่สำนักงานศาลยุติธรรมกำหนด) เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ศาลจะตั้งไลน์กลุ่มกับผู้กำกับดูแลผู้ถูกปล่อยชั่วคราวเพื่อการ ประสานงานติดต่อแจ้งวันกำหนดการรายงานตัว การส่งรูปถ่ายการรายงานตัวของผู้ต้องหา ตลอดจน มีการแบ่งปันข้อมูลเทคนิคของการเป็นผู้กำกับดูแลผู้ถูกปล่อยชั่วคราวด้วย


140 เมื่อเสร็จสิ้นการปฏิบัติหน้าที่ของผู้กำกับดูแลผู้ถูกปล่อยชั่วคราวแล้ว จะได้รับค่าตอบแทน จากสำนักงานศาลยุติธรรมในอัตราที่กำหนด ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับความยากง่ายของงาน ผู้กำกับดูแล ผู้ถูกปล่อยชั่วคราวหนึ่งคนสามารถเป็นผู้กำกับดูแลฯ ได้หลายคดี และไม่มีวาระ หากผู้ต้องหาหลบหนี ไม่รายงานตัวตามที่กำหนดผู้กำกับดูแลผู้ถูกปล่อยชั่วคราวก็ไม่มีความผิด ไม่ถือว่าบกพร่องในหน้าที่ และ ยังได้รับค่าตอบแทน ศาลจะติดตามผู้ต้องหาเอง ผู้กำกับดูแลผู้ถูกปล่อยชั่วคราวได้เสียสละที่ช่วยเหลือศาล และเป็นการขยายโอกาส แก่ผู้ต้องหาให้ได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว เพราะถ้าคดีไม่มีความเสี่ยง ศาลไม่ต้องการให้คุมขังเพราะ ผู้ต้องหาจะได้เตรียมพยานหลักฐานในการต่อสู้คดีต่อไปหรือสามารถยุติคดีได้ ตัวอย่างที่ดีของศาลที่ใช้ มาตรการผู้กำกับดูแลผู้ถูกปล่อยชั่วคราวได้ดี คือศาลจังหวัดนครศรีธรรมราชและศาลจังหวัดนครราชสีมา ซึ่งได้เป็นต้นแบบรับเชิญมาบรรยายเล่าประสบการณ์ให้กับศาลจังหวัดต่าง ๆ มาตรการผู้กำกับดูแลผู้ถูกปล่อยชั่วคราว ทำให้สามารถดำเนินกระบวนการต่อด้วยการคุม ประพฤติผู้ต้องหาหรือจำเลยก่อนศาลตัดสิน เพียงแต่มีความบกพร่อง ปรับทัศนคติวิธีคิด กลับตัวเป็นคนดี ทำให้ชุมชนเข้มแข็ง นอกจากนี้ ผลสำเร็จที่เกิดขึ้นจากการที่ประชาชนมีส่วนร่วมในกระบวนการยุติธรรม ของศาลจังหวัดที่เห็นได้ชัด คือศาลเรียกหลักประกันลดลงและใช้วิธีอื่นเพิ่มขึ้น มีการตั้งผู้กำกับดูแล ผู้ถูกปล่อยชั่วคราวเพิ่มมากขึ้น บางจังหวัดศาลยังได้ตั้งถึง 400-500 คน ในขณะที่จังหวัดขนาดใหญ่หรือ พื้นที่ทางเศรษฐกิจ ศาลจังหวัดจะแต่งตั้งผู้กำกับดูแลผู้ถูกปล่อยชั่วคราวได้น้อย เพราะส่วนใหญ่เป็นคนต่างถิ่น ที่เข้ามาประกอบอาชีพในพื้นที่ เป็นแรงงานโยกย้ายถิ่น และนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ การที่จะตั้งกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำชุมชน ข้าราชการ ฯลฯ เป็นผู้กำกับดูแลผู้ถูกปล่อยชั่วคราว อาจไม่คุ้นเคยหรือไม่รู้จักกับ ผู้ต้องหาหรือจำเลยกลุ่มดังกล่าวมากพอ ทำให้ไม่ประสงค์จะรับเป็นผู้กำกับดูแลผู้ถูกปล่อยชั่วคราว เนื่องจากอาจเกรงว่าจะไม่สามารถควบคุมพฤติกรรมของผู้ต้องหาหรือจำเลยได้ต้องใช้วิธีอื่นแทน เช่น การใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ติดตามตัว (EM) และบางคดีศาลจังหวัดได้แต่งตั้งนายจ้าง ผู้บังคับบัญชา ครู ฯลฯ ที่ผู้ต้องหาหรือจำเลยรู้จักและชุมชนไว้ใจให้ทำหน้าที่เป็นผู้กำกับดูแลผู้ถูกปล่อยชั่วคราวแทน โดยจะต้องมีคุณสมบัติครบ ไม่มีลักษณะต้องห้าม และให้ความยินยอมซึ่งศาลสามารถแต่งตั้งผู้กำกับดูแล ผู้ถูกปล่อยชั่วคราวได้ตลอด โดยพิจารณาถึงความเหมาะสมเป็นรายกรณี และผู้ที่ศาลแต่งตั้งให้ทำหน้าที่ ผู้กำกับดูแลผู้ถูกปล่อยชั่วคราวก็จะต้องให้ความยินยอมด้วยเช่นกัน ประโยชน์ของผู้กำกับดูแลผู้ถูกปล่อยชั่วคราว นอกจากประชาชนทั่วไป ผู้ต้องหาหรือ จำเลย สามารถเข้าถึงสิทธิในการปล่อยชั่วคราวได้อย่างเท่าเทียมแล้ว ยังช่วยเป็นปากเสียงให้ศาลกับ ผู้ต้องหาด้วย ซึ่งดีกว่าการตีราคาหลักประกัน ช่วยทำให้ชุมชนปลอดภัย เพราะได้เป็นหูเป็นตา เป็นกระบอกเสียงให้กับศาล รวมถึงการได้เข้ามาฟังวิธีคิดของศาล มุมมองของศาลและกระบวนการของ ศาล ที่ศาลใช้ดุลพินิจเพราะอะไร เนื่องจากงานศาลเป็นระบบปิด หากเข้าใจแต่ไม่เห็นด้วยก็สามารถ อุทธรณ์ต่อไปได้ เพื่อให้รับรู้ถูกต้อง ทำให้ประชาชนไว้วางใจ และให้ความจะร่วมมือได้ดีที่สุด จึงเป็นการ ขยายความร่วมมือของศาลไปที่ประชาชนให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการสอดส่องดูแล รวมทั้งเป็นการสื่อสาร ระดับชุมชน


141 2) คลินิกจิตสังคมในระบบศาล เป็นโครงการที่ศาลจัดตั้งด้วยงบประมาณกองทุนสนับสนุนของสำนักงานคณะกรรมการ ป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ปปส.) เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้กระทำผิดและบุคคลที่เกี่ยวข้องได้เข้ารับ คำปรึกษาด้านจิตสังคม วิธีการดำรงชีวิต เฝ้าดูพฤติกรรม ไม่ให้กลับไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติดอีก เป็นการ ให้คำปรึกษาด้านจิตสังคมคดียาเสพติด โดยบุคคลที่ทำหน้าที่รับรายงานตัวและเป็นที่ปรึกษาจะต้องผ่าน การอบรมจากสำนักงานศาลยุติธรรม ซึ่งส่วนมากจะเป็นข้าราชการครู ข้าราชการเกษียณ หรือ นักจิตวิทยาที่จ้างเป็นรายปีหรือได้รับเงินเดือน 15,000 บาท เป็นไปตามพระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพ ผู้ติดยาเสพติด พ.ศ. 2545 ที่กำหนดให้ผู้เสพยาเสพติดคือผู้ป่วยต้องนำตัวไปบำบัด หากฟื้นฟูไม่สำเร็จ หรือไม่มารายงานตัวจะแจ้งตำรวจขอศาลออกหมายจับ ซึ่งผู้ต้องหาสามารถเลือกที่จะขอรายงานตัว รับการควบคุมจากที่ปรึกษาหรือจะมาศาลตามกำหนดก็ได้ แต่จะใช้มาตรการดังกล่าวกับคดีเล็กน้อย แต่ปัญหาคือจะเป็นคดียาเสพติดที่ไม่ควรให้ประกันตัวหรือปล่อยตัว จึงไม่สามารถใช้มาตรการดังกล่าวได้ 3) ศูนย์กลางผู้เสียหายในคดีอาญา เป็นอีกโครงการหนึ่งของศาลจังหวัดในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมในกระบวนการยุติธรรมของ ในระบบบริการข้อมูลคดีศาลยุติธรรม (CIOS) เป็นภารกิจของศาลยุติธรรมเพื่อการปฏิบัติเท่ากันเพื่อการ ยกระดับคุ้มครองสิทธิผู้เสียหายในคดีอาญา เป็นการสร้างดุลยภาพเพื่อให้ผู้เสียหายสามารถขอความ ช่วยเหลือ ขอข้อมูล ขอค่าเสียหาย ขอการรักษาพยาบาล ขอให้ลงโทษสถานหนัก แสดงความกังวลใจ ขอให้คัดค้านการปล่อยตัว รวมทั้งสามารถอยู่ในคำเบิกความได้โดยไม่ต้องรอฟ้อง ทำให้เปิดช่องทางให้มี ตัวตนมากขึ้น กระบวนการดังกล่าวผู้เสียหายสามารถดำเนินการได้ทั้งการติดต่อขอศาลโดยตรง หรือผ่าน เว็บไซต์ จดหมาย โทรศัพท์ หรือสื่อสารสนเทศต่าง ๆ ของศาล 4) การเข้าร่วมฟังการพิจารณาคดีของศาล การพิจารณาของศาลดำเนินการอย่างเปิดเผย คนทั่วไปสามารถเข้าถึงได้เข้าฟังได้แม้จะ ไม่ใช่คู่ความ ยกเว้นบางคดีต้องพิจารณาลับ คดีเด็ก หรือคดีความมั่นคง ซึ่งศาลจังหวัดจะเปิดห้อง พิจารณาหากมีคดีนัดจะพิจารณาทีละเรื่อง สามารถนั่งฟังได้ทุกเรื่อง เพียงแต่สถานการณ์โควิด-19 ได้ จำกัดคนเข้าบริเวณศาล และมีนักศึกษามาศึกษาดูงานศาลด้วย เพื่อมาเห็นการพิจารณาคดีของศาล รับทราบเหตุผลในการวินิจฉัย รู้วิธีพิจารณาความของศาล อัยการถาม และทนายความถามติง การบันทึก การเบิกความ คำพิพากษาที่อ่าน หากผู้ต้องหาไม่เห็นด้วยก็สามารถอุทธรณ์ฎีกาได้ เพราะทั้งตำรวจ อัยการ และศาลไม่ได้รู้เห็นด้วย มีเพียงแต่คู่ความเป็นฝ่ายเสนอข้อเท็จจริงที่จะเล่าเฉพาะที่เป็นประโยชน์ ข. ปัญหาหรืออุปสรรคจากการที่ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม ปัญหาของการดำเนินการมาตรการผู้กำกับดูแลผู้ถูกปล่อยชั่วคราว ในเบื้องต้นเป็นเรื่อง ของความรู้ความเข้าใจในการเป็นผู้กำกับดูแลผู้ถูกปล่อยชั่วคราวของประชาชนยังไม่แพร่หลาย ศาลจึง ต้องปรับตัว ไม่ทำงานเชิงตั้งรับ


142 เดิมการติดต่อหาผู้กำกับดูแลผู้ถูกปล่อยชั่วคราวได้เพิ่มงานให้กับเจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ ศาลเป็นอย่างมาก ทำให้เกิดการต่อต้าน จึงจำเป็นต้องผลักดันให้บุคลากรในศาลเห็นประโยชน์ก่อน จากนั้นให้สังคมได้รับรู้กระจายความรู้และเผยแพร่ให้มากกว่านี้ ทุกภาคส่วนควรมีการประชาสัมพันธ์ให้ ผู้เสียหาย เหยื่ออาชญากรรม และพยาน รวมทั้งบุคคลที่เกี่ยวข้องได้ตระหนักรับรู้ถึงการทำดุลยภาพแห่ง สิทธิให้มากขึ้น นอกจากนี้ ยังมีปัญหาเกี่ยวกับวิธีการรายงานการกำกับดูแลผู้ถูกปล่อยชั่วคราว และคดี ส่วนใหญ่ในศาลเป็นคดียาเสพติดที่มีโทษสูงจึงไม่สามารถใช้มาตรการดังกล่าวได้ ค. การรับรู้ ตื่นตัว และสนใจของประชาชนในพื้นที่มีที่จะเข้ามามีส่วนร่วม -ศาลได้ออกไปให้ความรู้แก่ประชาชนในพื้นที่ภาคกลาง มีการประชาสัมพันธ์ ทั้งทางสื่อ อิเล็กทรอนิกส์ ป้ายประชาสัมพันธ์ ขยายไปทุกอำเภอ ทำให้ประชาชนทั่วไปได้รับรู้ถึงการมีอยู่และ บทบาทหน้าที่ของผู้กำกับดูแลผู้ถูกปล่อยชั่วคราว และการขอปล่อยชั่วคราวของผู้ต้องหาหรือจำเลย เจ้าหน้าที่ศาลจะให้คำแนะนำในการใช้มาตรการกำกับดูแลดังกล่าวอยู่เสมอ ทำให้ประชาชนเข้าถึง มาตรการดังกล่าวของศาลได้ เมื่อประชาชนรับรู้ได้รู้จักผู้กำกับดูแลผู้ถูกปล่อยชั่วคราวแล้วจะสนใจ ให้ความร่วมมือช่วยเหลือเอง หรือสามารถติดต่อสอบถามเจ้าหน้าที่ศาลได้เสมอ -ประชาชนในจังหวัดใหญ่มักจะมีประชากรแฝงจำนวนมาก ทั้งคนต่างชาติและคนไทย ที่โยกย้ายถิ่นมาทำงาน การแต่งตั้งผู้กำกับดูแลผู้ถูกปล่อยชั่วคราวของศาลในจังหวัดเหล่านี้จึงดำเนินการ ยากศาลต้องเข้าถึงคนในพื้นที่ให้มากขึ้น หรือแต่งตั้งนายจ้างหรือผู้อื่นเป็นผู้กำกับดูแลฯ ที่ขึ้นทะเบียน ภายหลังแทน ง. การมีส่วนได้เสีย/ผลประโยชน์ทับซ้อนกับหน่วยงานจากการเข้ามามีส่วนร่วมของ ประชาชน มาตรการผู้กำกับดูแลผู้ถูกปล่อยชั่วคราว ถือว่าเป็นโครงการที่มีประชาชนมีส่วนร่วม ในกระบวนการยุติธรรมของศาลซึ่งยังไม่มีรายงานในประเด็นของการมีส่วนได้เสียหรือผลประโยชน์ ทับซ้อน และยากแก่การเกิดประโยชน์ทับซ้อน เพราะมีการตรวจสอบคุณสมบัติและเป็นที่ยอมรับของ ทุกฝ่าย อย่างไรก็ตาม ต้องระมัดระวังไม่ให้เกิดเรื่องทุจริต ไม่ให้มีการเรียกผลประโยชน์หรือเรียก สิ่งตอบแทน เพื่อให้มีการปล่อยชั่วคราวจนกลายเป็นนายประกันอาชีพเข้าไปเกี่ยวข้องกับพยานหลักฐาน หรือทำหน้าที่ไม่ตรงไปตรงมา หากเกิดกรณีดังกล่าวศาลจะต้องให้ถอนตัว หรือหากมีการปล่อยปละ ละเลยไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามสมควรจะไม่เบิกค่าตอบแทนให้ แต่จะไม่มีความผิด จ. ความเห็นและข้อเสนอแนะอื่น ๆ -ศาลเป็นหน่วยงานอิสระ มีกระบวนการเฉพาะ เป็นงานเชิงคดีและตัวบทกฎหมาย สถานที่ในศาลมีจำกัด มีประเด็นเรื่องความปลอดภัย การทำสำนวนเป็นเรื่องความลับ การให้ประชาชน มีส่วนร่วมในรูปแบบอื่น ๆ ในศาลอาจจะมีความลำบาก อีกทั้งศาลได้ทำหน้าที่แทนประชาชนและชุมชน รวมทั้งศาลได้คิดให้แทนสังคมแล้ว


143 -ศาลต้องวางตัว การขยายเครือข่ายเป็นการรู้จักกันในหน้าที่ ไม่ใช่ความสนิทสนมที่ จะขอเรื่องคดีจึงต้องตัดสินคดีกันตามปกติ หากมีการฝากคดีศาลจะตัดสินลงโทษหนัก ศาลจึงยังมี ความเกี่ยวโยงกับประชาชนไม่มาก นอกจากนี้ ศาลยังไม่รู้จักผู้คนในท้องถิ่นโดยเฉพาะศาล ในกรุงเทพมหานครทำให้ตั้งผู้กำกับดูแลผู้ถูกปล่อยชั่วคราวได้ยาก -ปัจจุบันกระบวนการคุมประพฤติ การบังคับคดี และสถานพินิจอยู่ในสังกัดกระทรวง ยุติธรรมการตัดสินคดีจำเป็นต้องกำหนดมาตรฐานกลาง เพื่อเป็นแนวทางการตัดสินของผู้พิพากษา ทุกคนให้ใกล้เคียงกัน โดยศาลสามารถปรึกษาหัวหน้าศาลและหัวหน้าศาลจะช่วยตรวจสำนวนให้ การดำเนินการตามแนวทางดังกล่าวทำให้จำเลยและผู้ต้องโทษทราบแนวทางในการตัดสิน จำเลย สามารถทักท้วงได้ว่าโทษที่ได้รับนั้นสูงเกินไป รวมทั้งทนายความและตำรวจที่รับทราบแนวทางดังกล่าว จะใช้เป็นช่องทางต่อรองกับผู้ต้องหาที่คิดไม่สุจริตได้ -นโยบายใหม่ในการดำเนินคดีอาญาเพื่อสร้างความมั่นใจให้จำเลยมาศาล โดยที่มีการเรียก ประกันตัว ใช้เงินสด โฉนดที่ดิน บัญชีเงินฝาก พันธบัตร หรือใช้ตำแหน่งหน้าที่ในการประกัน หากคนที่ ไม่มีหลักทรัพย์ก็ต้องไปเช่านายประกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาในการปล่อยตัว ชั่วคราว จะทำให้จำเลยที่ยากจนขาดโอกาส จึงต้องผ่อนคลายด้วยมาตรการผู้กำกับดูแลในการปล่อย ชั่วคราว แต่ไม่ต้องการให้ผู้กำกับดูแลฯ กลายเป็นนายประกันอาชีพ 3.3 การมีส่วนร่วมของประชาชนในตำรวจภูธร ก. รูปแบบการมีส่วนร่วมของประชาชน/องค์ประกอบ/ผลสำเร็จ สถานีตำรวจภูธรจังหวัดในพื้นที่ภาคกลางที่คณะที่ปรึกษาเก็บข้อมูลทั้งหมด 3 แห่ง ได้แก่ สถานีตำรวจภูธรจังหวัดชัยนาท สถานีตำรวจภูธรจังหวัดนนทบุรี และสถานีตำรวจภูธรเมืองพัทยา มีโครงการเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของประชาชน ดังนี้ 1) คณะกรรมการตรวจสอบและติดตามการบริหารงานตรวจ (กต.ตร.) สำนักงานตำรวจแห่งชาติได้กำหนดนโยบายให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการ ยุติธรรมในรูปแบบของการแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบและติดตามการบริหารงานตำรวจ (กต.ตร.) ทั้งในระดับชาติ ระดับจังหวัด และระดับสถานีตำรวจ เพื่อตรวจสอบการทำงานของตำรวจรวมถึง จัดกิจกรรมการกุศลช่วยเหลือประชาชนในด้านต่าง ๆ เช่น ทุนการศึกษา สิ่งของช่วยเหลือเมื่อมี เหตุการณ์ภัยพิบัติ มีทุกโรงพัก ส่วนการประชุม กต.ตร. ยังไม่ได้กำหนดไว้แน่นอน บางแห่งประชุมเดือนละ 1 ครั้ง บางแห่งประชุมตามที่มีวาระ แต่มีการทำงานกันอย่างเต็มที่เพื่อประชาชนเป็นสำคัญ กต.ตร. ประกอบด้วย ประชาชนที่มีคุณสมบัติภายใต้ระเบียบ ก.ต.ช. ว่าด้วยคณะกรรมการ ตรวจสอบและติดตามการบริหารงานตำรวจ พ.ศ. 2549 ส่วนมากจะเป็นภาคประชาชนที่ประกอบธุรกิจ ส่วนตัว รวมถึงประชาชน อดีตข้าราชการ นักการเมืองท้องถิ่น ทนายความ นักวิชาการ ผู้ประกอบกิจการ นายทุน และอาจตั้งผู้ที่ร้องเรียนตำรวจเป็นประจำให้มาร่วมใน กต.ตร. เพื่อเป็นเครือข่าย ทำให้เข้าใจ และช่วยเหลือตำรวจมากขึ้น เป็นการเลือกเชิงจิตวิทยาและปฏิบัติงานโดยไม่มีค่าตอบแทนเพราะเป็น


144 ผู้ที่มีฐานะมั่นคงอยู่แล้ว เพียงต้องการเข้ามามีส่วนร่วมเป็นตัวแทนของประชาชน โดยมีประธานซึ่งเป็น บุคคลใน กต.ตร. เลือกขึ้น โดยมีผู้กำกับการตำรวจเป็นรองประธาน และสารวัตรธุรการเป็นเลขานุการ โดยตำแหน่ง หน้าที่ของ กต.ตร. มีดังต่อไปนี้ 1. ให้คำปรึกษาและข้อเสนอแนะการการปฏิบัติงานของกองบัญชาการตำรวจภูธร ให้เป็นไปตามนโยบายการพัฒนาและการบริหารงานตำรวจ 2. ประสานการตรวจสอบและติดตามการปฏิบัติงานของกองบัญชาการตำรวจภูธร 3. รับคำร้องเรียนของประชาชนที่เกี่ยวกับการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจในสังกัด ตำรวจภูธรจังหวัด 4. แต่งตั้งคณะกรรมการระดับสถานีตำรวจ 5. แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ หรือคณะทำงาน เพื่อดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่ง ตามที่ กต.ตร.จังหวัดมอบหมาย 6. รายงานผลการปฏิบัติงานให้ กต.ตร. ทราบตามที่ กต.ตร.กำหนด 7. อำนาจหน้าที่อื่นตามที่ กต.ตร. มอบหมาย อำนาจหน้าที่ดังกล่าวเป็นการกำหนดโดยกฎหมายที่ กต.ตร. ของสถานีตำรวจทุกแห่ง ดำเนินการเหมือนกัน นอกจากนี้ ในทางปฏิบัติ กต.ตร. ยังให้ความร่วมมือกับตำรวจในเรื่องการตรวจสอบ การทำงาน การให้ความเห็นเกี่ยวกับการทำงานของตำรวจ การทำงานการกุศล การร่วมกันลงพื้นที่ ช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนในกรณีต่าง ๆ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของสถานีตำรวจ แต่ละแห่ง ตลอดจนการให้ความช่วยเหลือในกิจการและความเดือดร้อนของตำรวจ เช่น สนับสนุน เครื่องมืออุปกรณ์ จัดหาเงินกองทุนให้ตำรวจเป็นเงินออกตรวจ จัดตั้งกองทุนกู้ยืมให้ตำรวจโดยไม่เสีย ดอกเบี้ย ซึ่งเป็นกิจกรรมขอความร่วมมือเพื่อทำให้มีการขับเคลื่อนกิจกรรมของตำรวจที่ทำเองไม่ได้ กต.ตร. จะดำเนินการแทนได้โดยไม่ขัดต่อระเบียบทำให้ช่วยเหลืองานของตำรวจได้มาก แต่จะไม่แสดง ความคิดเห็นทางด้านกฎหมาย 2) โครงการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทเบื้องต้น เป็นไปตามพระราชบัญญัติการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ. 2562 หากเป็นข้อพิพาทที่สามารถ ใช้ดุลพินิจได้เพื่อให้ทั้งสองฝ่ายตกลงกันได้จะใช้กระบวนการไกล่เกลี่ย หากเจ้าหน้าที่ไกล่เกลี่ยมีจำนวน ไม่เพียงพอจึงต้องมีการอบรมขึ้นทะเบียนเป็นผู้ไกล่เกลี่ย ส่วนใหญ่จะเป็นคนผู้ที่มีความรู้เรื่องกฎหมาย และเคยมีประสบการณ์ในการทำงานไกล่เกลี่ยมาบ้างแล้ว เช่น อดีตข้าราชการตำรวจ หรือผู้ที่ผ่านการ อบรม หากเป็นกรณีความรุนแรงในครอบครัวตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วย ความรุนแรงในครอบครัว. พ.ศ. 2550 ผู้ไกล่เกลี่ยส่วนใหญ่จะเป็นเครือญาติของคู่กรณีทั้งสองฝ่ายและ นักสังคมสงเคราะห์เพราะจะต้องมีการดูแลผู้ต้องหาและผู้เสียหาย การปรับปรุงจิตพิสัย การคุมประพฤติ รวมทั้งให้คำแนะนำต่อกระบวนการยุติธรรมหากทั้งสองฝ่ายต้องกลับมาอยู่ด้วยกัน เพื่อไม่ให้มีการกระทำ


145 ความผิดซ้ำซึ่งเรื่องความรุนแรงในครอบครัวเจ้าหน้าที่ตำรวจและพนักงานสอบสวนจะไม่มีความรู้ ความเข้าใจในบทบาทในการทำหน้าที่และไม่มีประสบการณ์เท่าที่ควร รวมทั้งเจ้าหน้าที่ตำรวจยังมีภารกิจ อีกหลายด้าน สำหรับพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2551 จะมีความร่วมมือ ทั้งฝ่ายพนักงานสอบสวน เจ้าหน้าที่ตำรวจ นักสงคมสงเคราะห์ อัยการ และ NGOs จนมีการแก้ไขกฎหมาย เพิ่มเติม 2 ฉบับ เช่น การครอบครองภาพลามกเด็ก และการขยายความคุ้มครองไปยังเด็กพิการหรือ มีความบกพร่องทางสติปัญญา และเด็กที่ไม่รู้ตัวว่าตนเองเป็นผู้เสียหาย การแก้ไขคดีค้ามนุษย์ครั้งที่ 3 3) โครงการยุติความรุนแรง เป็นโครงการที่ช่วยเหลือผู้เสียหาย คุ้มครองสิทธิของประชาชน โดยมีนักสังคมสงเคราะห์ ดูแล และประชาชนจะช่วยสอดส่องดูแลให้ตำรวจเพราะตำรวจดูแลประชาชน 4) โครงการตำรวจอาสา โครงการตำรวจอาสามีหลายโครงการที่ประชาชนสามารถให้ความช่วยเหลือผ่อนเบา งานของตำรวจ เช่น การที่ประชาชนเข้าร่วมเป็นอาสาจราจร การช่วยเหลือในงานป้องกัน สืบและ รายงานตำรวจ การร่วมออกตรวจเพื่อป้องกันเหตุหรือขับรถลงพื้นที่ การช่วยสอดส่องดูแลพื้นที่ หรือผู้ขับขี่ รถจักรยานยนต์รับจ้างสาธารณะช่วยปิดซอยกันพื้นที่ตอนรับเสด็จ ฯลฯ ประชาชนที่เป็นตำรวจอาสา ต้องผ่านการอบรมได้รับความรู้กฎหมายเบื้องต้นตามหน้าที่ที่ ได้รับมาด้วยใจ มีเครื่องแบบที่ทำให้เห็นแตกต่างจากตำรวจ มีการตรวจสอบความประพฤติ ด้วยความที่ ตำรวจเป็นมิตร สร้างมวลชน ทำให้ตำรวจหาแนวร่วมกับประชาชนได้ง่ายขึ้น 5) โครงการปักกลด เป็นโครงการที่ขอความช่วยเหลือจากประชาชนที่ร่วมโครงการที่จะเข้าไปแฝงอยู่ในชุมชน เพื่อตรวจสอบโดยเฉพาะคดียาเสพติด 6) โครงการทนายความอาสา สำนักงานตำรวจแห่งชาติร่วมทำ MOU กับสภาทนายความเพื่อให้สถานีตำรวจในแต่ละ จังหวัดจะมีทนายความประสานช่วยเหลือคัดกรองงานให้กับประชาชน แต่จะไม่มีทนายความประจำ ทุกสถานีตำรวจซึ่งพิจารณาจากจำนวนคดี ซึ่งสามารถประสานกับสภาทนายความได้ โดยสภา ทนายความจ่ายค่าตอบแทนให้แก่ทนายความอาสา ข. ปัญหาหรืออุปสรรคจากการที่ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม -ปัญหาอุปสรรคของ กต.ตร. เป็นเรื่องเวลาทำงานของประชาชน เพราะประชาชนที่ ยังต้องการช่วยเหลือตำรวจยังต้องทำงานประจำในเวลากลางวัน -โครงการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทเบื้องต้น หากเจ้าหน้าที่ตำรวจมีความเห็นว่าขั้นตอนการ ปฏิบัติยุ่งยากมากขึ้นกว่าเดิม เป็นการเพิ่มขั้นตอนหรือเพิ่มเงื่อนไข ทำให้การไกล่เกลี่ยยากขึ้นหรือไม่ได้


146 ช่วยให้คดีลดลง ควรจะปรับให้การดำเนินการจบได้เร็วที่สุด ซึ่งพนักงานสอบสวนและฝ่ายปกครอง ทำอยู่แล้ว ค. การรับรู้ ตื่นตัว และสนใจของประชาชนในพื้นที่มีที่จะเข้ามามีส่วนร่วม กต.ตร. ถือว่าได้รับการตอบรับในเชิงบวก เพราะประชาชนในพื้นที่ให้ความร่วมมือในการ ทำงานเป็นอย่างดี ตอบสนองต่อสิ่งต่าง ๆ ที่ กต.ตร. จัดทำขึ้นอย่างดี เพราะมีประชาสัมพันธ์ผ่าน โครงการตำรวจมวลชนสัมพันธ์ การสร้างมวลชนหาแนวร่วม ตำรวจไม่ต้องออกแรงมาก เมื่อชุมชน เข้มแข็งทำให้อาชญากรรมลดลง เมื่อชุมชนเข้มแข็งงานตำรวจจะลดลง อย่างไรก็ตาม ในความเป็นชุมชนเมืองขนาดใหญ่หรือเป็นเมืองเศรษฐกิจของบางพื้นที่จะมี อาสาสมัครช่วยเหลือที่หลากหลาย มีทั้งประชาชนที่เป็นคนในพื้นที่ แรงงานข้ามถิ่น และชาวต่างชาติ มีประชากรแฝงจำนวนมากจึงจำเป็นต้องมีการคัดกรอง ซึ่งประชาชนกลุ่มนี้มีความสนใจที่จะเข้ามา มีส่วนร่วมใน กต.ตร. น้อย มีแต่เพียงคนในพื้นที่ที่รับรู้ หากจะมีการสำรวจความสนใจของผู้คนในพื้นที่ สามารถตรวจสอบข้อมูลจากสำนักงาน ยุติธรรมจังหวัดและศูนย์ดำรงธรรมเพิ่มเติม ง. การมีส่วนได้เสีย/ผลประโยชน์ทับซ้อนกับหน่วยงานจากการเข้ามามีส่วนร่วมของ ประชาชน ในประเด็นของการมีส่วนได้เสียอาจเกิดขึ้นกับ กต.ตร. ได้เพราะสังคมไทยเป็นระบบ อุปถัมภ์ จึงต้องมีการตรวจสอบประวัติ แต่อาจเกิดได้น้อยเพราะยึดกฎหมายเป็นหลัก ไม่ใช่เป็นปัจจัย ที่จะทำให้คดีเปลี่ยนแปลงได้ ไม่ทำให้ประชาชนเสียเปรียบหรือไม่ทำให้ผิดเป็นถูก ซึ่งต้องทำให้อยู่ในกรอบ ตำรวจอาจเพียงช่วยอำนวยความสะดวกรวดเร็วขึ้น ลดขั้นตอนมากขึ้น สามารถทำให้ได้เท่าที่ไม่เกิด ความเสียหาย และไม่ทำให้คดีพลิกเปลี่ยน เพราะหากมีความผิดปกติจะมีความเสี่ยงต่อพนักงาน สอบสวนที่จะถูกตั้งกรรมการสอบสวนเสียเอง ในการปฏิบัติหน้าที่ของประชาชนใน กต.ตร. อาจเข้ามาแฝงเพื่อหาผลประโยชน์จากการ ทำงานของตำรวจได้ หรือเป็นตำรวจอาสาแต่ออกตรวจพื้นที่เองเพื่อเรียกรับผลประโยชน์ ซึ่งตำรวจ อาสาเป็นเพียงผู้ช่วยเหลือเจ้าพนักงานจะต้องออกตรวจพร้อมกับตำรวจ จึงได้ปรับเครื่องแบบของ ตำรวจอาสาให้ชัดเจนเพื่อไม่ให้คล้ายตำรวจ ส่วนอาวุธปืนที่ให้ยืมใช้ขณะออกตรวจก็ต้องคืนหลังเสร็จสิ้น ภาระงาน จ. ความเห็นและข้อเสนอแนะอื่น ๆ -ขอบเขตของการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการยุติธรรมของตำรวจไม่สามารถ ทำได้ทุกเรื่อง ซึ่งพนักงานสอบสวนจะพิจารณาจากข้อกฎหมายได้ให้อำนาจไว้หรือไม่ เช่น มีกรณีที่ ผู้ต้องหาซึ่งเป็นพี่ชายของผู้เสียหายได้ข่มขืนผู้เสียหายแล้วถูกดำเนินคดี หลังจากพ้นโทษมาแล้วได้ กลับมาอยู่ที่บ้านทำให้ผู้เสียหายไม่สามารถอยู่ที่บ้านของตนเองได้ และกฎหมายก็ไม่ได้คุ้มครอง ผู้เสียหายแล้ว เนื่องจากคดีเสร็จสิ้นแล้ว หรือกรณีคดีที่ผู้ต้องหามีการอาการคลุ้มคลั่งและไม่มีญาติดูแล จะมีผู้ใดรับไปดูแลแทน


147 -ประชาชนอาจช่วยเหลืองานธุรการของตำรวจ การเดินเอกสาร การให้คำแนะนำเบื้องต้น เพราะสถานีตำรวจมีเจ้าหน้าที่ตำรวจหญิงเป็นจำนวนน้อยมาก แต่ด้านการเงินและคดีไม่สามารถให้ เข้ามาช่วยเหลือได้เพราะเป็นความลับ -ตำรวจมีความเห็นว่าอัยการมีความห่างกับประชาชนมาก เข้าถึงได้ยาก มีลักษณะงานเป็น ทางการ แม้กระทั่งตำรวจและอัยการยังไม่ได้มีการพูดคุยกัน ควรต้องมีการพบปะสังสรรค์ประสาน สัมพันธ์ระหว่างกันและกับประชาชนให้มากขึ้น เพื่อลดความเหลื่อมล้ำและสร้างแนวร่วมช่วยเหลือโดย ประชาชนได้ 4. สรุปผลการลงพื้นที่สัมภาษณ์เก็บข้อมูลหน่วยงานภาคเหนือ คณะที่ปรึกษาได้ลงพื้นที่สัมภาษณ์เก็บข้อมูลหน่วยงานภาคเหนือ ได้แก่ จังหวัดกำแพงเพชร จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดพิษณุโลก และจังหวัดสุโขทัย ซึ่งมีหน่วยงาน 10 แห่ง ประกอบด้วย สำนักงาน อัยการภาค 1 แห่ง สำนักงานอัยการจังหวัด 3 แห่ง สำนักงานอธิบดีผู้พิพากษาภาค 1 แห่ง ศาลจังหวัด 1 แห่ง และสถานีตำรวจภูธรจังหวัด 4 แห่ง ดังนี้ ตารางที่ 4 การลงพื้นที่สัมภาษณ์เก็บข้อมูลหน่วยงานภาคเหนือ (ระหว่างวันที่3-12 ตุลาคม 2565) ที่ หน่วยงาน ชื่อ-สกุล / ตำแหน่ง วันที่ 3 ตุลาคม 2565 1. สำนักงานอัยการภาค 5 -ดร.สนธยา เครือเวทย์ อัยการพิเศษฝ่ายคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือ ทางกฎหมายภาค 5 2. สำนักงานอธิบดีผู้พิพากษาภาค 5 นางสาวสุนทรียา เหมือนพะวงศ์ รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลภาค 5 3. สถานีตำรวจภูธรจังหวัดเชียงใหม่ -พ.ต.อ.ดำเนิน กันอ่อง รอง ผบก.ภ.จว.เชียงใหม่ -พ.ต.ท.กฤตภาส นารานิธิธนกุล รอง ผกก. (สอบสวน) สภ.ช้างเผือก -พ.ต.ท.อดุลย์ สวยสม รอง ผกก.(สอบสวน) หน.สอบสวน สภ.ภูพิงค์พระราชนิเวศน์ วันที่ 10 ตุลาคม 2565 4. สำนักงานอัยการจังหวัดพิษณุโลก -นายสุเมธ คูหเพ็ญแสง อัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุด


148 ที่ หน่วยงาน ชื่อ-สกุล / ตำแหน่ง -นายคงศักดิ์ มาตังครัตน์ อัยการจังหวัดคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือ ทางกฎหมาย 5. สถานีตำรวจภูธรวังทอง จังหวัดพิษณุโลก -พ.ต.อ. เจษฎา ท่าโพธิ์ ผกก. สภ.วังทอง -ร.ต.อ.ชณุภากร นิ่มเพ็ง รอง สว.(สอบสวน) สภ.วังทอง วันที่ 11 ตุลาคม 2565 6. สำนักงานอัยการจังหวัดสุโขทัย -นายทวี อยู่จันทร์ อัยการจังหวัดสุโขทัย 7. ศาลจังหวัดสุโขทัย -นายไวฑูรย์ มีมงคล เจ้าพนักงานศาลยุติธรรมชำนาญการพิเศษ 8. สถานีตำรวจภูธรจังหวัดสุโขทัย -พ.ต.อ.สุขเกษม สุนทรวิภาต รอง ผบก.สภ.จว.สุโขทัย วันที่ 12 ตุลาคม 2565 9. สำนักงานอัยการจังหวัดกำแพงเพชร -นายสมโชค ศรีนิรัตน์ อัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุด 10. สถานีตำรวจภูธรจังหวัดกำแพงเพชร -พ.ต.ท. เสกสรรค์ ศักดิ์บูรณาเพชร รอง ผกก. (สอบสวน) สภ.เมืองกำแพงเพชร -พ.ต.ท. สุวิช พิศอ่อน สว. (สอบสวน) สภ.เมืองกำแพงเพชร -ร.ต.ท. วสันต์ ทองวิจิตร รอง สว. (สอบสวน) สภ.ขาณุวรลักษบุรี -พ.ต.ท. เอกรินทร์ รักพ่วง สว. (สอบสวน) สภ.ทรงธรรม 4.1 การมีส่วนร่วมของประชาชนในสำนักงานอัยการจังหวัด ก. รูปแบบการมีส่วนร่วมของประชาชน/องค์ประกอบ/ผลสำเร็จ 1) คณะกรรมการการมีส่วนร่วมภาคประชาชน การแต่งตั้งคณะกรรมการการมีส่วนร่วมภาคประชาชน เป็นนโยบายของแต่ละจังหวัด ที่ไม่มีกฎหมายรองรับอย่างเป็นทางการ เป็นไปตามนโยบายของสำนักงานอัยการสูงสุดที่อัยการสูงสุด มีคำสั่งให้มีการตั้งตามความพร้อมของแต่ละจังหวัด


149 สำนักงานอัยการจังหวัดสุโขทัย ไม่มีการแต่งตั้งคณะกรรมการการมีส่วนร่วมของภาค ประชาชน เนื่องจากประชาชนไม่ให้ความสนใจ แต่สำนักงานอัยการจังหวัดเชียงใหม่ สำนักงานอัยการ จังหวัดพิษณุโลก และสำนักงานอัยการจังหวัดกำแพงเพชร ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการการมีส่วนร่วม ของภาคประชาชน ประกอบด้วย ประชาชนทั่วไปที่มาจากหลากหลายสาขาอาชีพ เช่น จังหวัด กำแพงเพชรพิจารณาตั้งจากผู้รับเหมาก่อสร้าง ผู้ประกอบธุรกิจ เกษตรกร ข้าราชการบำนาญ ผู้บริหาร โรงสีข้าว ที่มีศักยภาพในการประสานงานและให้ความร่วมมือสนับสนุนการจัดกิจกรรม โดยจะต้องไม่มี ประโยชน์ทับซ้อนกับการอำนวยความยุติธรรม ทั้งนี้ ไม่มีการกำหนดคุณสมบัติ วาระการดำรงตำแหน่ง และจำนวนคณะกรรมการแต่อย่างใด จำนวนกรรมการของคณะกรรมการดังกล่าวในแต่ละแห่งมีจำนวนไม่เท่ากัน สำนักงาน อัยการจังหวัดกำแพงเพชรมีคณะกรรมการ 2 ชุด คือ คณะกรรมการการมีส่วนร่วมภาคประชาชน 5 คน และมีการตั้งคณะที่ปรึกษาอัยการจังหวัดกำแพงเพชรอีก 21 คน ตามคำสั่งตั้งของอัยการจังหวัด กำแพงเพชรซึ่งที่มาจากหลากหลายสาขาอาชีพ เช่น ผู้ประกอบธุรกิจ ผู้บริหารโรงสีข้าว ผู้บริหารร้าน เกษตร เกษตรกร ผู้นำท้องถิ่น (นายกองค์การบริหารส่วนตำบล นายกเทศมนตรี) อดีตผู้อำนวยการ โรงเรียน ผู้บริหารโรงงาน พ่อค้า โดยใช้การกลั่นกรองร่วมกันของอัยการจังหวัด อดีตอัยการจังหวัด คณะอัยการและคณะกรรมการการมีส่วนร่วมภาคประชาชน ทำหน้าที่เช่นเดียวกับคณะกรรมการการ มีส่วนร่วมภาคประชาชน และทำงานร่วมกัน หน้าที่ของคณะกรรมการการมีส่วนร่วมภาคประชาชนของสำนักงานอัยการจังหวัด คือ -การประชุมร่วมกับสำนักงานอัยการอย่างน้อย 1 เดือน หรือ 3 เดือนต่อ 1 ครั้ง แล้วแต่ละ จังหวัด และหากมีกิจกรรมพิเศษสามารถนัดประชุมเพิ่มเติมได้ -การสนับสนุน/อำนวยความสะดวกให้กับสำนักงานอัยการตามโอกาสอันสมควร เช่น การ สนับสนุนงบประมาณในการจัดกิจกรรมเผยแพร่ความรู้ทางกฎหมาย -เสนอแนะเกี่ยวกับความต้องการของประชาชนในชุมชนหรือท้องถิ่น เช่น เสนอให้ สคช. ไปเผยแพร่ความรู้ทางกฎหมายแก่ประชาชนในพื้นที่ -ช่วยในการไกล่เกลี่ยประนอมข้อพิพาทของประชาชน แต่คณะกรรมการฯ ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระบวนการพิจารณาสำนวนแต่อย่างใด การเข้ามามีส่วนร่วมของคณะกรรมการการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนนั้นเป็นไปด้วยความสมัครใจ และความยินดีที่จะช่วยเหลือโดยไม่มีค่าตอบแทน โดยจะเป็นผู้รับฟังปัญหาและสะท้อนปัญหาจาก ประชาชนในชุมชน ควบคู่กับการเป็นกระบอกเสียงให้กับสำนักงานอัยการจังหวัด ข. ปัญหาหรืออุปสรรคจากการที่ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม -คุณสมบัติของผู้ที่เข้ามามีส่วนร่วมในคณะกรรมการการมีส่วนร่วมภาคประชาชน ซึ่งใน ปัจจุบันยังไม่มีการกำหนดคุณสมบัติของคณะกรรมการฯ ว่าจะต้องมีคุณสมบัติหรือลักษณะต้องห้าม


150 อย่างไรบ้าง ขึ้นกับดุลพินิจของแต่ละสำนักงานอัยการจังหวัดที่เป็นผู้กำหนดและคัดเลือกบุคคล ซึ่งอาจ ส่งผลกระทบต่อมาตรฐานของการทำงาน -ไม่มีกฎหมายรับรองอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน ทำให้ไม่มีความชัดเจนในขอบเขตอำนาจหน้าที่ของตนเอง การทำหน้าที่จึงไม่สามารถทำได้อย่างเต็มที่ -ข้อจำกัดด้านงบประมาณเพื่อเป็นค่าตอบแทนให้กับประชาชนที่ประสงค์จะเข้ามามีส่วนร่วม ในกระบวนการยุติธรรม ซึ่งหากมีการกำหนดระเบียบและการกำหนดค่าตอบแทนอย่างชัดเจน จะเป็น อีกหนึ่งแรงจูงใจให้ประชาชนเข้ามามีส่วนช่วยเหลือกิจการของสำนักงานอัยการได้มากขึ้น ค. การรับรู้ ตื่นตัว และสนใจของประชาชนในพื้นที่มีที่จะเข้ามามีส่วนร่วม -ประชาชนให้ความสนใจในการเข้าร่วมเป็นอย่างดีโดยเฉพาะในจังหวัดกำแพงเพชร ตรงกัน ข้ามกับจังหวัดสุโขทัยที่ประชาชนให้ความสนใจน้อยมาก ง. การมีส่วนได้เสีย/ผลประโยชน์ทับซ้อนกับหน่วยงานจากการเข้ามามีส่วนร่วมของ ประชาชน -ไม่ปรากฎปัญหาการมีผลประโยชน์ทับซ้อน จ. ความเห็นและข้อเสนอแนะอื่น ๆ -การเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในกระบวนการยุติธรรมนับว่าเป็นเรื่องที่ดีมาก เป็นประโยชน์ต่อทางสำนักงานอัยการจังหวัด ในอนาคตควรเปลี่ยนแปลงกระบวนการการได้มาของ คณะกรรมการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนให้มีความชัดเจนขึ้นโดยตราเป็นกฎหมายเช่นเดียวกับ ผู้พิพากษาสมทบ -ภาคประชาชนมีศักยภาพ มีความรู้ความสามารถในการรับฟังข้อเท็จจริงได้ดีมาก ไม่แตกต่างจากพนักงานอัยการ ควรให้ประชาชนมามีส่วนร่วมในการใช้ดุลพินิจในเรื่องข้อเท็จจริงตาม ความรู้ความเชี่ยวชาญของประชาชนเช่นเดียวกับลูกขุนในชั้นศาลในต่างประเทศ 4.2 การมีส่วนร่วมของประชาชนในศาลจังหวัด จากการสัมภาษณ์ผู้แทนจากศาลยุติธรรมของภาคเหนือทั้ง 3 จังหวัด ประกอบด้วย ผู้แทน อธิบดีผู้พิพากษาศาลภาค 5 (จังหวัดเชียงใหม่) และผู้แทนศาลจังหวัดสุโขทัย ได้ให้ข้อมูลสำคัญที่ เกี่ยวข้องกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการยุติธรรม สรุปได้ดังนี้ ก. รูปแบบการมีส่วนร่วมของประชาชน/องค์ประกอบ/ผลสำเร็จ 1) ผู้กำกับดูแลผู้ถูกปล่อยชั่วคราว เป็นการแต่งตั้งตามพระราชบัญญัติมาตรการกำกับและติดตามจับกุมผู้หลบหนีการปล่อย ชั่วคราวโดยศาล พ.ศ. 2560 ซึ่งกำหนดให้ศาลสามารถแต่งตั้งผู้กำกับดูแลผู้ถูกปล่อยชั่วคราวได้ทั้งกรณี ที่ศาลอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวโดยไม่มีหลักประกันหรือมีหลักประกันก็ได้ และกำหนดเงื่อนไขให้ ผู้ถูกปล่อยตัวชั่วคราวปฏิบัติ คุณสมบัติของผู้กำกับดูแลนั้นจะคัดเลือกจากกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน หรือผู้นำชุมชน ในพื้นที่ที่ผู้ถูกปล่อยชั่วคราวมีภูมิลำเนา และต้องมีความสมัครใจให้ความร่วมมือกับทางศาลเป็นอย่างดี


151 โดยทำหน้าที่รับรายงานตัว และไม่มีการนัดประชุม แต่จะมีการทำรายงานเสนอศาลเกี่ยวกับผู้ถูกปล่อยตัว ชั่วคราว ซึ่งร้อยละ 90 ของผู้รับทำหน้าที่นี้สามารถดำเนินงานได้ประสบผลสำเร็จ คือปฏิบัติหน้าที่ได้โดย เรียบร้อยจนครบกำหนดระยะเวลาในการปล่อยชั่วคราว 2) ผู้พิพากษาสมทบ ศาลยุติธรรมมีการแต่งตั้งผู้พิพากษาสมทบ ทำหน้าที่ทั้งการตรวจสำนวนและพิจารณา ตัดสินคดี โดยมีที่มาจากทั้งกรณีของประชาชนทั่วไป (ศาลเยาวชนและครอบครัว) ผู้เชี่ยวชาญ (ศาล ทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง) และผู้แทนกลุ่มองค์กร (ศาลแรงงาน) ทำหน้าที่ ทั้งการตรวจสำนวนและพิจารณาตัดสินคดีและให้การสนับสนุน/อำนวยความสะดวกให้กับสำนักงาน อัยการตามโอกาสอันสมควร เช่น การสนับสนุนงบประมาณในการจัดกิจกรรมของศาล 3) ผู้ประนีประนอม ผู้ประนีประนอมคัดเลือกจากประชาชนทั่วไป ทำหน้าที่เป็นผู้ไกล่เกลี่ยและดำเนินการเพื่อ ช่วยเหลือให้คำแนะนำศาลในการไกล่เกลี่ยคดี แต่ไม่ได้มีหน้าที่ตัดสินชี้ขาด พิจารณาแต่งตั้งจาก ประสบการณ์หรือคุณวุฒิที่มี เพื่อให้เป็นประโยชน์ต่อการไกล่เกลี่ยคดี ข. ปัญหาหรืออุปสรรคจากการที่ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม -ต้องการความชัดเจนและความเชื่อมั่นต่อสถานะความเป็นผู้พิพากษาของผู้พิพากษาสมทบ ที่เป็นบุคคลภายนอกต่อการทำหน้าที่ของบุคลากรในศาล -ผู้สนใจเป็นผู้ไกล่เกลี่ยส่วนมากจะเป็นผู้มีความพร้อมทางฐานะ แต่ยังมีผู้มีความรู้ เชี่ยวชาญในหลายภาคส่วน เช่น NGOs ไม่ได้เข้ามามีส่วนร่วม -กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน หรือผู้นำชุมชนในพื้นที่ที่เป็นผู้กำกับดูแลผู้ถูกปล่อยชั่วคราวปฏิเสธการ เข้าทำหน้าที่ เนื่องจากผู้ถูกปล่อยชั่วคราวเป็นผู้กระทำความผิดซ้ำซาก หรือไม่สามารถดูแลให้อยู่ภายใต้ การกำกับดูแลได้ ค. การรับรู้ ตื่นตัว และสนใจของประชาชนในพื้นที่มีที่จะเข้ามามีส่วนร่วม -ประชาชนให้ความสนใจในการเข้าร่วมเป็นอย่างดี ง. การมีส่วนได้เสีย/ผลประโยชน์ทับซ้อนกับหน่วยงานจากการเข้ามามีส่วนร่วมของ ประชาชน -ไม่ปรากฎปัญหาการมีผลประโยชน์ทับซ้อน จ. ความเห็นและข้อเสนอแนะอื่น ๆ ---ไม่มี---


152 4.3 การมีส่วนร่วมของประชาชนในตำรวจภูธร ก. รูปแบบการมีส่วนร่วมของประชาชน/องค์ประกอบ/ผลสำเร็จ จากการสัมภาษณ์ผู้แทนจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติของภาคเหนือทั้ง 4 จังหวัด ประกอบด้วย จังหวัดกำแพงเพชร จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดพิษณุโลก และจังหวัดสุโขทัย ได้ให้ข้อมูล สำคัญที่เกี่ยวข้องกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการยุติธรรมของตำรวจภูธรมี 2 รูปแบบ การมีส่วนร่วมแบบเป็นทางการ ประกอบด้วย -คณะกรรมการตรวจสอบและติดตามการบริหารงานตำรวจ (กต.ตร.) สถานีตำรวจภูธรที่ได้เก็บข้อมูลสัมภาษณ์ทุกแห่งมีการแต่งตั้ง กต.ตร. โดยองค์ประกอบ ของกรรมการส่วนใหญ่จะเป็นบุคคลภายนอกที่มีทั้งประชาชนที่ได้รับการยอมรับ เป็นนักธุรกิจ เป็นผู้นำ ท้องถิ่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และอดีตข้าราชการ ฯลฯ เป็นการแต่งตั้งตามกฎหมาย โดยบทบาทหน้าที่ของ กต.ตร. จะเป็นงานเชิงสนับสนุนการปฏิบัติงานของตำรวจ เป็นการช่วยเหลือทางกายภาพที่ไม่เกี่ยวข้อง กับสำนวนคดี มีหน้าที่ช่วยสร้างความเข้าใจ ช่วยประชาสัมพันธ์ และช่วยเป็นกระบอกเสียงในการ ดำเนินงานของสถานีตำรวจ มีวาระการดำรงตำแหน่ง และมีการจัดประชุมเป็นประจำสม่ำเสมอ การมีส่วนร่วมแบบไม่เป็นทางการ ประกอบด้วย -การแจ้งเบาะแส และการแจ้งข่าวสาร ประชาชนได้มีส่วนร่วมช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ตำรวจโดยการแจ้งเบาะแส แจ้งข่าวสารผ่าน ช่องทางต่าง ๆ ทั้งโทรศัพท์ สายด่วน 191 แอปพลิเคชัน line@อินทนนท์(มีสมาชิกประมาณ 20,000 คน) รวมถึงการให้ความร่วมมือในการให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ ปัจจัยที่ทำให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมคือ การที่ประชาชนสามารถรับรู้ข่าวสาร รวมถึงแจ้งข่าวสารที่เป็นประโยชน์ต่อสถานีตำรวจได้อย่างสะดวก ใช้งานง่าย เสียค่าใช้จ่ายน้อย และประชาชนที่ใช้โซเชียลมีเดียมีความคุ้นเคยกับการใช้แอปพลิเคชันอยู่แล้ว และประชาชนสามารถส่วนช่วยเหลือตำรวจได้ตลอด 24 ชั่วโมง ข. ปัญหาหรืออุปสรรคจากการที่ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม กต.ตร. ของตำรวจภูธรต่าง ๆ ยังไม่พบปัญหาหรืออุปสรรคใด ๆ ค. การรับรู้ ตื่นตัว และสนใจของประชาชนในพื้นที่มีที่จะเข้ามามีส่วนร่วม จากการดำเนินงานของ กต.ตร. นอกจากจะทำให้เจ้าหน้าที่ตำรวจทราบปัญหาของ ประชาชนได้อีกช่องทางแล้ว กต.ตร. ยังเป็นกระบอกเสียงของตำรวจ ส่งผลโดยอ้อมต่อความตื่นตัว และ การรับรู้ของประชาชนถึงภาระหน้าที่ของตำรวจมากขึ้น และให้ความร่วมมือกับตำรวจดีขึ้น ง. การมีส่วนได้เสีย/ผลประโยชน์ทับซ้อนกับหน่วยงานจากการเข้ามามีส่วนร่วมของ ประชาชน กต.ตร. ของตำรวจภูธรต่าง ๆ ไม่มีประเด็นผลประโยชน์ทับซ้อน เนื่องจาก กต.ตร. มีหน้าที่ ติดตามและตรวจสอบการทำงานของตำรวจ ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องทางกระบวนยุติธรรมหรือกระบวนการ สอบสวนของตำรวจแต่อย่างใด


153 จ. ความเห็นและข้อเสนอแนะอื่น ๆ ---ไม่มี--- 5. สรุปข้อมูลจากแบบสอบถามทางออนไลน์ คณะที่ปรึกษาได้จัดทำ QR Code สำหรับแบบสอบถามออนไลน์ “การมีส่วนร่วมของประชาชน ในกระบวนการยุติธรรม” ในรูปแบบ Google Form โดยได้จัดทำแผ่นประชาสัมพันธ์พร้อม QR Code ไปวางบนเว็บไซต์ https://www3.ago.go.th/nitivajra/civic-participation/ ซึ่งเป็นหน้าเว็บไซต์ข่าว ประชาสัมพันธ์ของสถาบันนิติวัชร์ สำนักงานอัยการสูงสุด เป็นเวลาประมาณ 20 วัน ปิดรับข้อมูลวันที่ 20 ตุลาคม 2565 รวมถึงช่องทางอื่น ๆที่สถาบันนิติวัชร์ได้อนุเคราะห์นำแผ่นประชาสัมพันธ์แบบสอบถาม ออนไลน์ “การมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการยุติธรรม” ไปเผยแพร่ในสื่อสารสนเทศต่าง ๆ ของสำนักงานอัยการสูงสุดด้วย เช่น Facebook และกลุ่มไลน์ (LINE) ซึ่งข้อมูลที่ได้รับจากแบบสอบถาม ออนไลน์ สามารถสรุปได้ดังต่อไปนี้ มีผู้ตอบแบบสอบถามรวมทั้งหมด จำนวน 8 ราย ประกอบด้วย 1. หน่วยงานสำนักงานอัยการ 4 หน่วยงาน ได้แก่ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายพัฒนากฎหมาย สำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดนครปฐม สำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัว จังหวัดแพร่ และสำนักงานอัยการจังหวัดสุพรรณบุรี (ซึ่งได้ให้ข้อมูลโดยการตอบแบบสอบถามกลับมายัง คณะที่ปรึกษาโดยตรงแล้ว และได้ตอบแบบสอบถามออนไลน์ให้อีกครั้ง) 2. หน่วยงานสำนักงานตำรวจ 4 หน่วยงาน ได้แก่ สถานีตำรวจภูธรจังหวัดพิษณุโลก (2 ราย) สถานีตำรวจภูธรลอง จังหวัดแพร่ และสถานีตำรวจภูธรเมืองตรัง จังหวัดตรัง 3. หน่วยงานในสำนักงานศาลยุติธรรม ไม่มีการตอบแบบสอบถาม หน่วยงานที่ได้ตอบแบบสอบถามนั้นส่วนใหญ่ได้เปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมใน กระบวนการยุติธรรมคิดเป็นร้อยละ 62.5 ไม่เปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามาคิดเป็นร้อยละ 37.5 โดยมี รายละเอียดดังนี้ ก. รูปแบบการมีส่วนร่วมของประชาชน/องค์ประกอบ/ผลสำเร็จ ในกลุ่มของหน่วยงานที่ตอบแบบสอบถามร้อยละ 62.5 จำนวน 5 แห่ง ได้แก่ สำนักงานอัยการ พิเศษฝ่ายพัฒนากฎหมาย สถานีตำรวจภูธรจังหวัดพิษณุโลก (2 ราย) สถานีตำรวจภูธรลอง จังหวัดแพร่ และสถานีตำรวจภูธรเมืองตรัง จังหวัดตรัง มีรูปแบบที่ได้เปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมใน กระบวนการยุติธรรม จำนวน 4 รูปแบบ คือ 1) คณะกรรมการตรวจสอบและติดตามการบริหารงานตำรวจ (กก.ตร.) จัดตั้งขึ้นเพื่อตรวจสอบ และติดตามการบริหารงานตำรวจ การรับคำร้องทุกข์จากประชาชนเพื่อนำเสนอหน่วยงานในการแก้ไขปัญหา การดูแลผู้ต้องหาและผู้เสียหาย และให้คำแนะนำต่อกระบวนการยุติธรรม โดยดำเนินการสัปดาห์ละ 1 ครั้ง (4 ครั้งต่อเดือน) ผลที่ได้รับคือได้รับความร่วมมือและเสียงตอบรับจากประชาชนในพื้นที่ได้เป็น อย่างดี


154 2) การให้ผู้นำชุมชนเข้ามามีบทบาทในการไกล่เกลี่ย เป็นการให้ผู้นำชุมชนในท้องที่ให้รายละเอียด เกี่ยวกับประชาชนในพื้นที่รวมทั้งข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ช่วยให้ข้อมูลที่แท้จริงเกี่ยวกับคดี การช่วยดูแลบุคคล ผู้พ้นโทษ การช่วยควบคุมบุคคลกลุ่มเสี่ยง ช่วยให้ได้ข้อมูลที่แท้จริงเพื่ออำนวยความยุติธรรมได้ถูกต้อง 3) การแสดงความคิดต่อเห็นร่างกฎหมาย เป็นการดำเนินการตามที่กฎหมายกำหนดให้รับฟัง ความคิดเห็นของประชาชน ต่อร่างกฎหมายเมื่อมีการประกาศรับฟังความคิดเห็นร่างกฎหมาย 4) การให้มีตัวแทนประชาชนตรวจสอบการทำงานของตำรวจ จัดทำสรุปงานรายเดือนและ สามารถแจ้งปัญหาอุปสรรคการทำงานได้ เป็นการดำเนินการตามข้อกำหนดของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เป็นการปฏิบัติหน้าที่ด้านการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน ดำเนินการเดือนละ 1 ครั้ง เป็นประโยชน์ต่อ ประชาชนให้สามารถตรวจสอบและเข้าถึงการทำงานได้ ผู้เข้าร่วมการมีส่วนร่วมในกระบวนการยุติธรรม ประกอบไปด้วย หัวหน้าหน่วยงานในจังหวัด นายอำเภอ ปลัดอำเภอ ข้าราชการ นายกเทศมนตรี สมาชิกสภาจังหวัด กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ตัวแทน ทนายความ บุคคลที่เกี่ยวข้อง ตัวแทนประชาชน รวมไปถึงประชาชนทั่วไป ข. ปัญหาหรืออุปสรรคจากการที่ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม ปัญหาหรืออุปสรรคจากการที่ประชาชนมีส่วนร่วมในกระบวนการยุติธรรมของหน่วยงานทั้ง ระดับจังหวัดหรือในระดับท้องที่ ได้แก่ การปัญหาเรื่องงบประมาณในการจ่ายค่าตอบแทนให้กับ ประชาชนที่เข้ามามีส่วนร่วม ปัญหาเรื่องทัศนคติ รวมทั้งปัญหาที่ประชาชนยังให้ความสำคัญน้อย อย่างไรก็ตาม มีบางหน่วยงานไม่มีปัญหาหรืออุปสรรคจากการที่ประชาชนมีส่วนร่วม ค. การรับรู้ ตื่นตัว และสนใจของประชาชนในพื้นที่มีที่จะเข้ามามีส่วนร่วม แม้ว่าประชาชนสามารถติดตามการทำงานของหน่วยงานยุติธรรมได้ตามสื่อสังคมออนไลน์ ในพื้นที่ประชาชนอาศัย เช่น สถานีตำรวจ แต่ส่วนใหญ่มีการรับรู้ ตื่นตัว และสนใจในระดับปานกลาง ไปจนถึงระดับน้อย เนื่องจากไม่มีค่าตอบแทน ง. การมีส่วนได้เสีย/ผลประโยชน์ทับซ้อนกับหน่วยงานจากการเข้ามามีส่วนร่วมของ ประชาชน ผู้ตอบแบบสอบถามมีทั้งเห็นว่าไม่น่าจะมีผลประโยชน์ทับซ้อนเกิดขึ้นเพราะประชาชนเข้ามามี ส่วนร่วมด้วยใจและจิตอาสา ไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนแต่อย่างใด ทำให้มีผลดีเกิดการบูรณาการร่วมกัน เช่น สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ในจังหวัดได้สนับสนุนนักจิตวิทยาในการ สอบปากคำ และยังมีความเห็นว่าอาจจะมีผลประโยชน์ทับซ้อนได้ในส่วนของความเป็นเครือญาติ จ. ความเห็นและข้อเสนอแนะอื่น ๆ -พนักงานอัยการไม่เคยลงพื้นที่เกิดเหตุ ประชาชนยังต้องมาหาพนักงานอัยการเอง การแสวงหา พยานมอบให้ตำรวจดำเนินการหน่วยเดียว พนักงานอัยการไม่ได้อำนวยความยุติธรรมหรือแสวงหา ข้อเท็จจริงเชิงรุกเลย


155 สำหรับกลุ่มของหน่วยงานที่ตอบแบบสอบถามร้อยละ 37.5 จำนวน 3 แห่ง ได้แก่ สำนักงาน อัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดนครปฐม สำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดแพร่ และสำนักงานอัยการจังหวัดสุพรรณบุรี5 ให้ข้อมูลว่าไม่มีกลไกให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการ ยุติธรรม เนื่องจากหน่วยงานสำนักงานอัยการจังหวัดเป็นหน่วยงานที่พิจารณาในด้านการอำนวยความ ยุติธรรมในการพิจารณาสั่งคดี เพื่อรักษาความเป็นอิสระในการสั่งคดีของพนักงานอัยการและปฏิบัติตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ที่กำหนดไว้ว่าห้ามมิให้พนักงานอัยการยื่นฟ้องคดีใดต่อศาล โดยมิได้ผ่านการสอบสวนโดยพนักงานสอบสวนมาก่อน ดังนั้น จึงไม่มีกลไกให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม ในกระบวนการยุติธรรม การที่ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในกระบวนการยุติธรรม อาจให้ช่วยเหลือเรื่องเยียวยา/ผลกระทบ ที่เกิดขึ้น/ความต้องการของทั้งสองฝ่าย ในกรณีที่ประชาชนคนใดที่ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดทางอาญา และไม่ได้รับความเป็นธรรมในการสอบสวนก็สามารถยื่นหนังสือร้องขอความเป็นธรรมต่อพนักงาน อัยการ เพื่อให้พิจารณาในประเด็นที่ตนไม่ได้รับความเป็นธรรมได้ และควรสนับสนุนให้ประชาชนได้มี ส่วนร่วมในการบังคับโทษตามคำสั่งศาล หรือมาตรการตามกฎหมายในการพิจารณาลดโทษ ในประเด็นของความสนใจของประชาชนที่จะเข้าร่วมในกระบวนการยุติธรรมประจำจังหวัดหรือ ระดับท้องที่นั้น ผู้ตอบแบบสอบถามมีความเห็นแตกต่างกัน มีทั้งเห็นว่าประชาชนอาจจะสนใจ เห็นว่า ไม่ตื่นตัวหากรบกวนการทำมาหากิน และเห็นว่าหากประชาชนในพื้นที่เป็นผู้มีส่วนได้เสียในประเด็นใด ก็อาจจะมีความสนใจที่จะเข้าร่วมในกระบวนการยุติธรรมที่เกี่ยวเนื่องในประเด็นดังกล่าว ผู้ตอบแบบสอบถามมีความเห็นต่อประเด็นของผลประโยชน์ทับซ้อนกับหน่วยงานยุติธรรมหาก ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมว่าไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนเกิดขึ้นอย่างแน่นอน ประชาชนทั่วไปอาจจะมอง ว่าผู้ที่แสดงความคิดเห็นจะมีส่วนได้เสีย แต่ผู้ที่มีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นย่อมทราบว่าความคิดเห็นนั้น ไม่ผูกมัดหน่วยงานที่จะนำมาใช้ในทางคดี เนื่องจากความเป็นกลางของหน่วยงานในกระบวนการ ยุติธรรม อีกหนึ่งความเห็นระบุว่าไม่แน่ใจ เพราะไม่ทราบขั้นตอนการมีส่วนร่วมของประชาชนมากน้อย เพียงใด และความเห็นสุดท้ายคืออาจจะมีผลกระทบต่อความเป็นอิสระ มีฝักฝ่ายมีความไม่เที่ยงตรง ในการพิจารณาสั่งคดี ผู้ตอบแบบสอบถามได้ให้ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมว่า การมีส่วนร่วมของประชาชนควรมีขอบเขต ไม่ก้าวล่วงการพิจารณาความเห็นในเนื้อหาของคดี 5คำตอบของสำนักงานอัยการจังหวัดสุพรรณบุรีที่ตอบแบบสอบถามส่งให้คณะที่ปรึกษาโดยตรง แจ้งว่ามีกลไกการมีส่วนร่วมของประชาชน ในหน่วยงาน แต่ผู้ตอบแบบสอบถามออนไลน์ให้ข้อมูลว่าไม่มีกลไกให้ประชาชนมีส่วนร่วมตามเหตุผลข้างต้น


156 6. สรุปผลการลงพื้นที่สัมภาษณ์เก็บข้อมูลหน่วยงาน 4 ภาค และแบบสอบถาม คณะที่ปรึกษาได้ลงพื้นที่สัมภาษณ์เพื่อเก็บข้อมูลเกี่ยวกับกลไกการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน ในหน่วยงานกระบวนการยุติธรรมทั้ง 4 ภาค ในระหว่างวันที่26 กันยายน ถึงวันที่ 12 ตุลาคม 2565 ดังนี้ -ภาคใต้ ได้แก่ จังหวัดตรัง จังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดสงขลา และจังหวัดสุราษฎร์ธานี -ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ จังหวัดกาฬสินธุ์ จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดร้อยเอ็ด และ จังหวัดอุดรธานี -ภาคกลาง ได้แก่ จังหวัดชลบุรี จังหวัดชัยนาท จังหวัดนนทบุรี และจังหวัดสุพรรณบุรี -ภาคเหนือ ได้แก่ จังหวัดกำแพงเพชร จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดพิษณุโลก และจังหวัดสุโขทัย ตารางที่ 5 สรุปจำนวนการสัมภาษณ์ รายการ ภาคใต้ ภาคอีสาน ภาคกลาง ภาคเหนือ รวม อัยการภาค 2 1 1 1 5 อัยการจังหวัด 2 3 5 3 13 ผู้พิพากษาภาค - - - 1 1 ศาลจังหวัด 1 2 4 1 8 ตำรวจภูธร 3 4 3 4 14 รวม 8 10 13 10 41 ในแต่ละภาค มีหน่วยงานกระบวนการยุติธรรมที่คณะที่ปรึกษาลงพื้นที่เพื่อสัมภาษณ์เก็บข้อมูล จำนวน 3 กลุ่มหลัก รวม 41 แห่ง ประกอบด้วย หน่วยงานอัยการ (รวม 18 แห่ง) -สำนักงานอัยการภาค จำนวน 5 แห่ง แบ่งเป็นภาคใต้ 2 แห่ง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคเหนืออีกภาคละ 1 แห่ง -สำนักงานอัยการจังหวัด จำนวน 13 แห่ง แบ่งเป็นภาคใต้ 2 แห่ง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3 แห่ง ภาคกลาง 5 แห่ง และภาคเหนือ 3 แห่ง หน่วยงานศาล (รวม 9 แห่ง) -สำนักงานอธิบดีผู้พิพากษาภาค 1 แห่งที่ภาคเหนือ ส่วนภาคใต้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ ภาคกลางไม่มีสัมภาษณ์หน่วยงานดังกล่าว -ศาลจังหวัด 8 แห่ง แบ่งเป็นภาคใต้ 1 แห่ง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2 แห่ง ภาคกลาง 4 แห่ง และภาคเหนือ 1 แห่ง


157 หน่วยงานตำรวจ (รวม 14 แห่ง) -สำนักงานตำรวจภูธร 14 แห่ง แบ่งเป็นภาคใต้และภาคกลาง ภาคละ 3 แห่ง กับภาค ตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือ อีกภาคละ 4 แห่ง ตารางที่ 6 สรุปจำนวนการตอบแบบสอบถาม รายการ ภาคใต้ ภาคอีสาน ภาคกลาง ภาคเหนือ รวม อัยการ - - 3 1 4 ศาล - - - - - ตำรวจ 1 - - 3 4 รวม 1 - 3 4 8 สำหรับแบบสอบถาม มีผู้ตอบแบบสอบถามรวมทั้งหมดจำนวน 8 แห่งราย ประกอบด้วย 1. หน่วยงานอัยการ รวม 4 หน่วยงาน แบ่งเป็นหน่วยงานอัยการจากภาคกลางจำนวน 3 แห่ง คือ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายพัฒนากฎหมาย กรุงเทพฯ สำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัว จังหวัดนครปฐม และสำนักงานอัยการจังหวัดสุพรรณบุรี และหน่วยงานอัยการจากภาคเหนือจำนวน 1 แห่ง คือ สำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดแพร่ 2. หน่วยงานศาล ไม่มีการตอบแบบสอบถาม 3. หน่วยงานตำรวจ รวม 4 หน่วยงาน แบ่งเป็น ตำรวจภูธรจากภาคเหนือ 3 แห่ง คือ สถานี ตำรวจภูธรจังหวัดพิษณุโลกจำนวน 2 แห่ง และสถานีตำรวจภูธรลอง จังหวัดแพร่ จำนวน 1 แห่ง นอกจากนี้ สถานีตำรวจภูธรเมืองตรัง จังหวัดตรัง เป็นหน่วยงานตำรวจจากภาคใต้ที่ตอบแบบสอบถาม อีกจำนวน 1 แห่ง ตารางที่7 สรุปจำนวนการสัมภาษณ์และการตอบแบบสอบถาม รายการ ภาคใต้ ภาคอีสาน ภาคกลาง ภาคเหนือ รวม สัมภาษณ์ แบบสอบถาม สัมภาษณ์ แบบสอบถาม สัมภาษณ์ แบบสอบถาม สัมภาษณ์ แบบสอบถาม อัยการ 4 - 4 - 6 3 4 1 22 ศาล 1 - 2 - 4 - 2 - 9 ตำรวจ 3 1 4 - 3 - 4 3 18 รวม 8 1 10 - 13 3 10 4 49 ในภาพรวม จำนวนข้อมูลที่ได้รับจากการลงพื้นที่สัมภาษณ์เก็บข้อมูลหน่วยงานในแต่ละภาค และจากผู้ตอบแบบสอบถามออนไลน์ รวมทั้งหมด 49 ชุด แบ่งเป็นข้อมูลที่ได้รับจากหน่วยงานสำนักงาน อัยการจำนวนมากที่สุด รวม 22 ชุด รองลงมาเป็นข้อมูลที่ได้รับจากหน่วยงานสำนักงานตำรวจ รวม 18 ชุด และเป็นข้อมูลที่ได้รับจากหน่วยงานในสำนักงานศาลยุติธรรมน้อยที่สุด รวม 9 ชุด


158 จากผลการลงพื้นที่สัมภาษณ์เก็บข้อมูลหน่วยงานในแต่ละภาคและข้อมูลจากแบบสอบถาม ออนไลน์ตามหัวข้อที่ 1-5 ของบทนี้ หน่วยงานกระบวนการยุติธรรม 3 กลุ่มหลัก คือ หน่วยงานอัยการ หน่วยงานศาล และหน่วยงานตำรวจ ข้อมูลที่ทุกแห่งตอบเหมือนกันส่วนหนึ่ง และมีบางส่วนที่มีความ แตกต่างกันในแต่ละแห่ง คณะที่ปรึกษาจึงได้รวบรวมและสรุปข้อมูลในภาพรวมตามการประมวลผล ข้างต้นใน 5 ประเด็น โดยจะเน้นการนำเสนอกลไกที่หน่วยงานกระบวนการยุติธรรมทุกแห่งมีเหมือนกัน และสรุปกลไกอื่น ๆ ของแต่ละกลุ่มหลัก ดังต่อไปนี้ 1. หน่วยงานอัยการ หน่วยงานอัยการที่ให้ข้อมูลสัมภาษณ์(18 แห่ง) และตอบแบบสอบถาม (4 แห่ง) รวมจำนวน 22 แห่ง แต่มี 1 แห่ง คือสำนักงานอัยการจังหวัดสุพรรณบุรีได้ตอบแบบสอบถามให้คณะที่ปรึกษา โดยตรงและตอบแบบสอบถามออนไลน์ด้วย มีดังนี้ 1) สำนักงานอัยการภาค 2 2) สำนักงานอัยการภาค 3 3) สำนักงานอัยการภาค 5 4) สำนักงานอัยการภาค 8 5) สำนักงานอัยการภาค 9 6) สำนักงานอัยการจังหวัดกาฬสินธุ์ 7) สำนักงานอัยการจังหวัดกำแพงเพชร 8) สำนักงานอัยการจังหวัดตรัง 9) สำนักงานอัยการจังหวัดชลบุรี 10) สำนักงานอัยการจังหวัดชัยนาท 11) สำนักงานอัยการจังหวัดนครศรีธรรมราช 12) สำนักงานอัยการจังหวัดนนทบุรี 13) สำนักงานอัยการจังหวัดพัทยา 14) สำนักงานอัยการจังหวัดพิษณุโลก 15) สำนักงานอัยการจังหวัดร้อยเอ็ด 16) สำนักงานอัยการจังหวัดสุโขทัย 17) สำนักงานอัยการจังหวัดสุพรรณบุรี (ตอบแบบสอบถามให้คณะที่ปรึกษาและตอบแบบสอบถาม ออนไลน์) 18) สำนักงานอัยการจังหวัดอุดรธานี 19) สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายพัฒนากฎหมาย (ตอบแบบสอบถามออนไลน์) 20) สำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดนครปฐม (ตอบแบบสอบถามออนไลน์) 21) สำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดแพร่ (ตอบแบบสอบถามออนไลน์)


159 ก. รูปแบบการมีส่วนร่วมของประชาชน/องค์ประกอบ/ผลสำเร็จ หน่วยงานอัยการมีกลไกให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาสำนักงานอัยการจังหวัดและ สำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดี (สคช.) ดังนี้ 1) คณะกรรมการการมีส่วนร่วมภาคประชาชน และคณะที่ปรึกษาสำนักงานอัยการจังหวัด สำนักงานอัยการจังหวัดในพื้นที่ทั้ง 4 ภาคได้ให้ข้อมูลสัมภาษณ์เหมือนกันทุกแห่งว่ามีกลไกให้ ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาสำนักงานอัยการจังหวัด โดยมีชื่อเรียก 2 อย่าง คือ -คณะกรรมการการมีส่วนร่วมภาคประชาชน -คณะที่ปรึกษาสำนักงานอัยการจังหวัด ในจังหวัดใหญ่จะมีคณะกรรมการการมีส่วนร่วมภาคประชาชนมากกว่า 1 ชุด เช่น ภาคใต้ จังหวัดสงขลา สำนักงานอัยการจังหวัดสงขลาแต่งตั้ง 1 ชุด และมีที่สำนักงานอัยการจังหวัดนาทวีอีก 1 ชุด สำหรับภาคเหนือ สำนักงานอัยการจังหวัดกำแพงเพชรแห่งเดียวมีการแต่งตั้งคณะกรรมการ 2 ชุด คือ คณะกรรมการการมีส่วนร่วมภาคประชาชน และคณะที่ปรึกษาอัยการจังหวัดกำแพงเพชร ส่วนภาค ตะวันออกเฉียงเหนือและภาคกลาง สำนักงานอัยการจังหวัดแต่ละจังหวัดมีคณะกรรมการการมีส่วนร่วม ภาคประชาชนจังหวัดละ 1 ชุด แต่ที่ภาคกลางเรียกชื่อต่างกัน โดยสำนักงานอัยการจังหวัดชัยนาทแต่งตั้ง คณะกรรมการการมีส่วนร่วมภาคประชาชน และที่สำนักงานอัยการจังหวัดพัทยาแต่งตั้งคณะที่ปรึกษา สำนักงานอัยการจังหวัด สำหรับสำนักงานอัยการจังหวัดที่ให้ข้อมูลจากการสัมภาษณ์และจากแบบสอบถามออนไลน์ พบว่าบางจังหวัดไม่มีการจัดตั้งคณะกรรมการการมีส่วนร่วมภาคประชาชน ได้แก่ สำนักงานอัยการ จังหวัดนนทบุรี สำนักงานอัยการจังหวัดนครราชสีมา สำนักงานอัยการจังหวัดสุโขทัย (รวม 3 หน่วยงาน อัยการจากการสัมภาษณ์) และสำนักงานอัยการจังหวัดสุพรรณบุรี สำนักงานอัยการคดีเยาวชนและ ครอบครัวจังหวัดนครปฐม สำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดแพร่ (รวม 3 หน่วยงาน อัยการที่ตอบแบบสอบถามออนไลน์) เนื่องจากหลายเหตุผล เช่น ลักษณะงานของสำนักงานอัยการ จังหวัดต้องรักษาความเป็นอิสระในการสั่งคดีของพนักงานอัยการ การที่ประชาชนไม่ให้ความสนใจ และ กลัวข้อครหาที่จะไม่มีโอกาสชี้แจง คุณสมบัติของกรรมการ องค์ประกอบของคณะกรรมการ วาระของคณะกรรมการ บทบาท หน้าที่ของกรรมการ งบประมาณของคณะกรรมการการมีส่วนร่วมภาคประชาชน และคณะที่ปรึกษา สำนักงานอัยการจังหวัดไม่มีกำหนดชัดเจน ขึ้นอยู่อัยการจังหวัดแต่ละจังหวัดจะพิจารณา เนื่องจากเป็น นโยบายจากอัยการสูงสุด แต่ไม่ได้เป็นกฎระเบียบ จึงไม่ได้มีคณะกรรมการดังกล่าวในสำนักงานอัยการ จังหวัดทุกจังหวัด กรรมการหรือที่ปรึกษาจึงเป็นจิตอาสา เป็นผู้ที่มีจิตสาธารณะในการปฏิบัติงานด้วย ความสมัครใจโดยไม่มีค่าตอบแทน กลุ่มประชาชนที่เข้ามามีส่วนร่วมในการเป็นกรรมการของคณะกรรมการการมีส่วนร่วมภาค ประชาชน และที่ปรึกษาของคณะที่ปรึกษาสำนักงานอัยการจังหวัด ประกอบด้วย 4 กลุ่ม ได้แก่


160 1. อดีตข้าราชการ เช่น อดีตผู้ว่าราชการจังหวัด อดีตอัยการ อดีตผู้กำกับการสถานีตำรวจ อดีต ผู้อำนวยการโรงเรียน ข้าราชการเกษียณ 2.ผู้นำท้องถิ่น เช่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน นายกองค์การบริหารส่วนตำบล นายกเทศมนตรีเทศบาล เครือญาติของนักการเมืองท้องถิ่น 3.ผู้ประกอบธุรกิจ เช่น พ่อค้า คหบดี เจ้าของโรงงาน ผู้บริหารโรงสีข้าวเจ้าของกิจการบ้านจัดสรร โรงแรม รับเหมาก่อสร้าง นักธุรกิจที่มีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จัก 4. เกษตรกร บุคคลที่น่าเชื่อถือ ผู้มีความรู้ความสามารถ เป็นบุคคลที่อยู่ในพื้นที่ยาวนานและ มีประวัติคุณงามความดี 2) กลไกให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาสำนักงานอัยการจังหวัดรูปแบบอื่น สำนักงานอัยการจังหวัดมีกลไกให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาสำนักงานอัยการ จังหวัดรูปแบบอื่น ๆ อีก เป็นการดำเนินการตามที่กฎหมายกำหนดเป็นนโยบายจากสำนักงานอัยการสูงสุด หรือเกิดจากปัจจัยแวดล้อม ภาพลักษณ์องค์กรในการให้ประชาชนเข้าร่วม และขึ้นอยู่กับแนวทางการบริหาร ของอัยการจังหวัดแต่ละท่าน เช่น -การแสดงความคิดต่อเห็นร่างกฎหมาย -การร้องขอความเป็นธรรมเกี่ยวกับคดี -การร้องทุกข์เกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ -การเข้าถึงข้อมูลหรือข่าวสารสาธารณะในครอบครองของหน่วยงานอัยการ -การให้ความรู้ทางกฎหมายแก่ประชาชน -การจัดทำแผนแก้ไขบำบัดฟื้นฟูเด็กหรือเยาวชนที่กระทำผิด -ทนายความอาสา -การฝึกงานของนักเรียนนักศึกษาในสำนักงานอัยการจังหวัด ข. ปัญหาหรืออุปสรรคจากการที่ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมของหน่วยงานอัยการ ความเห็นต่อปัญหาหรืออุปสรรคจากการที่ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมของสำนักงานอัยการ จังหวัดจากการสัมภาษณ์และแบบสอบถามที่มีต่อการจัดตั้งคณะกรรมการการมีส่วนร่วมภาคประชาชน และกลไกในรูปแบบอื่น ๆ ของหน่วยงานอัยการ มีดังต่อไปนี้ -ไม่มีกฎหมายหรือระเบียบที่ชัดเจนในการจัดตั้งคณะกรรมการการมีส่วนร่วมภาคประชาชน ในการพัฒนาสำนักงานอัยการจังหวัด เป็นเพียงนโยบายจึงทำให้ขาดความชัดเจนในเรื่องวัตถุประสงค์ คุณสมบัติของคณะกรรมการ อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ และข้อจำกัดด้านงบประมาณเพื่อเป็น ค่าตอบแทนให้กับประชาชนที่ประสงค์จะเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการยุติธรรม จึงทำให้การ ดำเนินงานของคณะกรรมการฯ ในสำนักงานอัยการจังหวัดแต่ละจังหวัดขึ้นอยู่กับดุลพินิจของอัยการ จังหวัด ซึ่งมักจะต้องโยกย้ายเปลี่ยนตำแหน่งทุกปี อาจเกิดความไม่ต่อเนื่องในการส่งเสริมให้ประชาชน เข้ามามีส่วนร่วม ประกอบกับอัยการจังหวัดรู้จักคนในพื้นที่ไม่มาก จึงส่งผลให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม


161 ค่อนข้างจำกัด รวมถึงไม่มีความชัดเจนในขอบเขตอำนาจหน้าที่ของตนเอง การทำหน้าที่ของกรรมการ จึงทำได้ไม่เต็มที่อาจส่งผลกระทบต่อมาตรฐานของการทำงาน -คณะกรรมการการมีส่วนร่วมภาคประชาชนเป็นนโยบายตามหนังสือเวียนจากสำนักงานอัยการ สูงสุด ไม่ได้เป็นกฎหมายบังคับ สำนักงานอัยการจังหวัดบางแห่งจึงไม่มีการแต่งตั้งคณะกรรมการ ดังกล่าว เพราะกลัวกระทบภาพลักษณ์องค์กร ไม่ต้องการให้เป็นที่จับตามองว่าการแต่งตั้งคณะกรรมการ จากภาคประชาชนจะมีความเกี่ยวพันกับคดี จะมีเรื่องของส่วนได้เสียหรือมีข้อครหา เป็นจุดโจมตี ซึ่งไม่ สามารถแก้ข่าวได้ทั้งที่ความจริงไม่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะสื่อหากแก้ข่าวจะยิ่งขยายวงกว้างไม่มีโอกาส ชี้แจง จึงแก้ปัญหาโดยไม่แต่งตั้งเลย หากตั้งผิดคนจะเกิดความผิดพลาดได้จึงต้องระมัดระวัง โดยเฉพาะ ในจังหวัดใหญ่ที่มีประชากรจำนวนมากแต่รู้จักผู้คนไม่ทั่วถึง อาจเกิดความไม่เหมาะสมในการแต่งตั้ง หรือบางคนประสงค์จะเป็นจิตอาสาที่แต่ไม่อยากให้แต่งตั้ง หรือบางคนอาจไม่ถูกกับบุคคลอื่นมาก่อน หน้านี้หรือมีพรรคพวก หรือมีปัญหารอบด้าน แต่สำนักงานอัยการจังหวัดก็พร้อมจะแต่งตั้งเพราะเป็น การทำเพื่อสังคมและองค์กร หากนโยบายนั้นเป็นคำสั่งให้แต่งตั้งกำหนดข้อปฏิบัติหลักเกณฑ์ที่ชัดเจน -ความสนใจของประชาชนต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการยุติธรรม อาจจะมีอยู่ อย่างจำกัด เนื่องจากเป็นงานอาสาสมัคร ไม่มีค่าตอบแทน ประชาชนอาจจะไม่ได้สนใจ เพราะยังต้องให้ ความสำคัญกับการทำงานหาเลี้ยงชีพของตนเองเป็นอันดับแรก อีกทั้งยังเป็นงานที่ต้องอาศัยการมี จิตสาธารณะ หรือเป็นเพราะประชาชนไม่ทราบว่ามีการตั้งคณะกรรมการการมีส่วนร่วมของประชาชน ในการพัฒนาสำนักงานอัยการจังหวัด เนื่องจากไม่ค่อยมีการประชาสัมพันธ์และปัญหาเรื่องทัศนคติ ต่อการมีส่วนร่วมในหน่วยงานกระบวนการยุติธรรม ประชาชนจึงยังให้ความสำคัญน้อย -ข้อจำกัดด้านสถานที่ของสำนักงานอัยการจังหวัดที่ไม่สามารถรองรับการเข้ามาทำหน้าที่ของ ภาคประชาชนได้อย่างเต็มที่ หากประชาชนมีความสนใจเข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้น เช่น อาจจะเข้ามา ช่วยเหลืองานด้านธุรการและให้คำแนะนำด้านเอกสารของ สคช. จะไม่มีที่นั่งทำงานได้ -งานหลักของสำนักงานอัยการจังหวัดเป็นความลับ สั่งสำนวนที่รับจากพนักงานสอบสวนเป็น การใช้กฎหมาย ดำเนินการตามข้อกฎหมาย ไม่ได้เป็นการใช้ดุลพินิจ จำเป็นต้องรักษาความเป็นอิสระ เที่ยงตรง ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดในการสั่งคดีของอัยการ ต้องไม่ให้สำนวนอาจหลุดลอดไปที่จำเลยได้จึงไม่อาจ เปิดโอกาสให้บุคคลภายนอกเข้าร่วมงานกับอัยการจังหวัด ค. การรับรู้ ตื่นตัว และสนใจของประชาชนในพื้นที่มีที่จะเข้ามามีส่วนร่วม ความเห็นต่อการรับรู้ ตื่นตัว และความสนใจของประชาชนในพื้นที่ต่อการเข้ามามีส่วนร่วมใน หน่วยงานอัยการจากการสัมภาษณ์และแบบสอบถามที่มีต่อการจัดตั้งคณะกรรมการการมีส่วนร่วมภาค ประชาชน และกลไกในรูปแบบอื่น ๆ ของหน่วยงานอัยการ มีหลายระดับดังต่อไปนี้ -ส่วนใหญ่ประชาชนยังไม่รู้จักและเข้าไม่ถึงอัยการ ประชาชนบางกลุ่มไม่ทราบ ไม่มีความตื่นตัว ในการเข้าร่วมเป็นคณะที่ปรึกษาสำนักงานอัยการจังหวัด เพราะอาจไม่สนใจ หรือต้องทำมาหากิน ประชาชนที่จะเข้ามามีส่วนร่วมในงานของสำนักงานอัยการจังหวัดจำเป็นต้องเป็นผู้ที่สนใจ มีความพร้อม ต้องมีเวลาและไม่ใช่ผู้ที่ทำงานประจำ


162 -ประชาชนรับรู้ถึงคณะกรรมการมีส่วนร่วมภาคประชาชนและทนายความอาสาของสำนักงาน อัยการจังหวัดบ้าง แต่เข้ามามีส่วนร่วมอยู่ในวงที่ค่อนข้างจำกัด -ถ้าประชาชนในพื้นที่มีส่วนได้เสียในประเด็นใด ก็จะมีความสนใจที่จะเข้าร่วมกระบวนการ ยุติธรรมที่เกี่ยวเนื่อง แต่อาจจะมีผลกระทบความเป็นอิสระในการพิจารณาสั่งคดีได้ -ประชาชนเริ่มมีส่วนร่วม รู้จักอัยการมากขึ้น เพราะสำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือ ทางกฎหมายและการบังคับคดี (สคช.) ได้ลงพื้นที่ออกไปบรรยายให้คำแนะนำกฎหมายเบื้องต้น ช่วยเป็น ตัวแทนของอัยการเพื่อช่วยเผยแพร่ความรู้ต่อ -การรับรู้ตื่นตัวของประชาชนต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนขึ้นอยู่กับอัตลักษณ์ของคน ในแต่ละจังหวัด เช่น ในจังหวัดสงขลาการมีส่วนร่วมของประชาชนค่อนข้างน้อยอาจจะมีอยู่อย่างจำกัด หรือในจังหวัดนครศรีธรรมราชโดยรวมค่อนข้างตื่นตัว เนื่องจากมีประชาชนเรียนกฎหมายเป็นจำนวน มากทำให้รู้ถึงสิทธิหน้าที่ของตนเอง และประสงค์จะเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการยุติธรรม ส่วนจังหวัดตรังประชาชนตื่นตัวในระดับปานกลาง เพราะประชาชนบางส่วนยังขาดความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับภารกิจงานในหน้าที่ของสำนักงานอัยการ หรือไม่มีความรู้เกี่ยวกับสิทธิตามกฎหมายในการ มีส่วนร่วมหรือเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมของหน่วยงาน และจังหวัดสุราษฎร์ธานีมีประชาชนในพื้นที่ ตื่นตัวมากขึ้นกว่าแต่ก่อน มีการสอดส่องและตรวจสอบการทำงานของเจ้าหน้าที่มากขึ้น ผ่านทาง โซเชียลมีเดีย ง. การมีส่วนได้เสีย/ผลประโยชน์ทับซ้อนกับหน่วยงานอัยการจากการเข้ามามีส่วนร่วมของ ประชาชน ความเห็นในเรื่องของการมีส่วนได้เสียหรือผลประโยชน์ทับซ้อนของประชาชนในการที่ ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในหน่วยงานอัยการ จากการสัมภาษณ์และแบบสอบถามที่มีต่อการจัดตั้ง คณะกรรมการการมีส่วนร่วมภาคประชาชน และกลไกในรูปแบบอื่น ๆ ของหน่วยงานอัยการ ได้ยกตัวอย่างที่อาจเกิดขึ้นได้ ดังต่อไปนี้ -อาจจะสร้างปัญหาในเรื่องความลับในการสอบสวน ประชาชนผู้มีส่วนร่วมที่มาแจ้งข้อมูลหรือ พยานอาจจะนำข้อมูลทางคดีไปเปิดเผย ทำให้เกิดความเสียหายแก่รูปคดีหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องกับคดีได้ -อาจมีกรณีของประชาชนที่เข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการยุติธรรมช่วยเหลือเกี่ยวกับ การจัดการมรดก เกิดการเรียกรับทรัพย์สินหรือฉวยโอกาสเข้ามาหาประโยชน์จากการดำเนินการในเรื่อง ดังกล่าวได้ -อาจเกิดการนำตำแหน่งไปอวดอ้าง หรือแอบอ้างความใกล้ชิดกับอัยการจังหวัด หวังผลทางคดี ต้องการเป็นสื่อเชื่อมต่อกับผู้มีปัญหาทางคดี -ส่วนกรณีทนายความอาสาประจำ สคช. อาจจะเป็นช่องทางในการนำเอาสถานะความเป็น ทนายความอาสาของ สคช. แอบอ้างหรือนำไปใช้ทางที่ผิด เป็นการนำเอาตำแหน่งทนายความอาสา ไปใช้ในทางมิชอบ


163 จ. ความเห็นและข้อเสนอแนะอื่น ๆ ข้อมูลที่ได้รับจากการสัมภาษณ์และแบบสอบถามที่มีต่อการจัดตั้งคณะกรรมการการมีส่วนร่วม ภาคประชาชน และกลไกในรูปแบบอื่น ๆ ของหน่วยงานอัยการ ได้มีความเห็นและข้อเสนอแนะอื่น ๆ เพิ่มเติมในประเด็นดังต่อไปนี้ -การเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในกระบวนการยุติธรรมนับว่าเป็นเรื่องที่ดี เป็นประโยชน์ ต่อสำนักงานอัยการจังหวัด ซึ่งควรให้กระบวนการการได้มาของคณะกรรมการมีส่วนร่วมของภาค ประชาชนให้มีความชัดเจนขึ้นโดยจะต้องกำหนดเป็นระเบียบของสำนักงานอัยการสูงสุดในประเด็นของ คุณสมบัติ ที่ควรจะต้องกำหนดคุณสมบัติของผู้ที่จะสมัครเข้าดำรงตำแหน่งในคณะกรรมการฯ โดย อาจจะเป็นให้มีความหลากหลายของสาขาอาชีพ เช่น นักธุรกิจ ข้าราชการฝ่ายปกครอง ข้าราชการตำรวจ หรือควรกำหนดให้มีแต่ประชาชนทั่วไปเท่านั้นที่สามารถเข้ามาเป็นคณะกรรมการฯ ได้ นอกจากนี้ ควรมี กำหนดวาระการดำรงตำแหน่งให้ชัดเจน เช่น วาระละ 2 ปี และควรกำหนดจำนวนคณะกรรมการฯ ให้ชัดเจน ซึ่งอาจจะมีจำนวน 5-7 คน รวมถึงควรมีการกำหนดค่าตอบแทน เช่น เบี้ยประชุม เป็นต้น หรือจะตรา เป็นกฎหมายเช่นเดียวกับผู้พิพากษาสมทบก็ได้ -ภาคประชาชนมีศักยภาพ มีความรู้ความสามารถในการรับฟังข้อเท็จจริงได้ดีมาก ไม่แตกต่าง จากพนักงานอัยการ ควรให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการใช้ดุลพินิจในเรื่องข้อเท็จจริงตามความรู้ ความเชี่ยวชาญของประชาชนเช่นเดียวกับลูกขุนในชั้นศาลในต่างประเทศ -สำนักงานอัยการจังหวัดสามารถดำเนินงานเชิงรุกเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมได้ ในกรณี ดังต่อไปนี้ -ปัญหาของอัยการเรื่องของการสืบพยานในคดีที่เกิดหลายปีคือการตามตัวพยานลำบากเพราะ ได้ย้ายที่อยู่ ในส่วนนี้อาจเปิดโอกาสให้ประชาชนช่วยติดตามพยานได้เพราะมีความสัมพันธ์เชื่อมโยง ฃเดิมพนักงานสอบสวนจะส่งหมายตามไปที่บ้านเลขที่ อัยการโทรศัพท์หรือตามไปที่ทะเบียนราษฎร์ -เรื่องของความปลอดภัยพยานในการให้ความคุ้มครองพยาน เพราะพยานเกรงกลัวจำเลย ไม่กล้าเบิกความที่อาจทำให้ศาลยกฟ้องได้ ประชาชนอาจช่วยได้ในการรับพยานไปอยู่ในที่ปลอดภัย -กฎหมายการชะลอฟ้องที่อัยการสามารถใช้ดุลพินิจได้เพราะไม่ใช่โทษหนัก อาจเปิดโอกาส ให้ประชาชนเข้าร่วมออกแบบระบบได้ -ตำรวจและอำเภอดูแลคนในพื้นที่และใกล้ชิดประชาชนมากกว่าอัยการ เป็นกระบอกเสียงให้ได้ แต่บทบาทหน้าที่ที่ประชาชนจะเข้ามามีส่วนร่วมกับอัยการจะถูกจำกัดและแคบกว่า เพราะงานของ อัยการเป็นงานด้านสำนวนคดี เน้นงานอาญา สั่งสำนวนตามพยานหลักฐาน และมีอำนาจอิสระในการ พิจารณาคดีตามกฎหมาย จึงไม่ต้องการให้ประชาชนยุ่งเกี่ยวกับคดี -การให้ประชาชนมีส่วนร่วมกับหน่วยงานอัยการ อาจเป็นงานของ สคช. มากกว่าของอัยการ จังหวัด แต่สามารถบูรณาการทำงานร่วมกัน ใช้สถานที่ร่วมพูดคุยกันได้ -เห็นด้วยหากอัยการนำเรื่อง “ผู้กำกับดูแลการปล่อยตัวชั่วคราว” ของศาลมาใช้ในงานของ อัยการเพื่อส่งเสริมให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการยุติธรรมของอัยการได้มากยิ่งขึ้น


164 ทั้งกรณีการประกันตัวที่มีหลักทรัพย์และไม่มีหลักทรัพย์ เพื่อจะได้ช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ของสำนักงาน อัยการจังหวัดในการรายงานตัวในพื้นที่ ช่วยลดภาระให้ทั้งอัยการและผู้ต้องหา ลดการเดินทางของ ผู้ต้องหาและยุติคดีได้ รวมถึงประชาชนจะได้รับทราบภาระงานของอัยการว่าไม่ได้ทำให้เข้าคุกเท่านั้น แต่เป็นงานที่อำนวยความยุติธรรมแก่ทุกฝ่าย ถ้าไม่ผิดก็สั่งไม่ฟ้อง ก็จะทำให้ประชาชนเข้าหาอัยการมากขึ้น -พนักงานสอบสวนและอัยการจังหวัดควรมีบทบาทในการทำงานมาตรฐานเดียวกัน ตรวจสอบดู สำนวนได้ตั้งแต่เริ่มต้นเพราะอัยการก้าวก่ายไม่ได้ อาจทำให้ประชาชนเดือดร้อนถูกดำเนินคดีเพราะ เข้าไม่ถึงสำนวน ถ้าประชาชนได้ทราบก่อนก็จะได้ร้องขอความเป็นธรรมได้ -การแบ่งส่วนราชการใหม่ของสำนักงานอัยการจังหวัดที่จะพิจารณาเพิ่มจำนวนบุคลากรจาก ปริมาณของสำนวนเพียงอย่างเดียวนั้นไม่เหมาะสม ควรพิจารณาถึงความยากความแตกต่างของแต่ละ พื้นที่ เช่น เป็นเมืองขนาดเล็กหรือเมืองเศรษฐกิจ หรือการให้แยกกองคดีแพ่งออกจากสำนักงานอัยการ จังหวัด หากมีความชัดเจนในงานมากขึ้นก็จะเป็นส่วนหนึ่งที่จะทำให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมกับงาน ของสำนักงานอัยการจังหวัดได้ -ขอให้ความสำคัญต่ออัยการพื้นที่ โดยเฉพาะ สคช. ควรให้ทำงานในพื้นที่ได้เกิน 4 ปี หรือ สามารถสลับหมุนเวียนการทำหน้าที่ในพื้นที่ได้เพื่อให้เกิดความต่อเนื่อง เพราะเป็นผู้ที่รู้และเข้าใจปัญหา สามารถช่วยชาวบ้าน รวมถึง สคช. ไม่มีเงินประจำตำแหน่ง ไม่มีค่าเดินทาง ไม่มีอิทธิพล ไม่กระทบต่อ การปฏิบัติงาน อันจะช่วยให้กำลังใจแก่อัยการชั้นผู้น้อยในการทำงานที่เข้าถึงประชาชนในพื้นที่ได้ อย่างเต็มที่ 2. หน่วยงานศาล หน่วยงานศาลที่ให้ข้อมูลสัมภาษณ์(ไม่ได้ตอบแบบสอบถาม) รวมจำนวน 9 แห่ง มีดังนี้ 1) สำนักงานอธิบดีผู้พิพากษาภาค 5 2) ศาลจังหวัดกาฬสินธุ์ 3) ศาลจังหวัดตรัง 4) ศาลจังหวัดชลบุรี 5) ศาลจังหวัดนนทบุรี 6) ศาลจังหวัดพัทยา 7) ศาลจังหวัดร้อยเอ็ด 8) ศาลจังหวัดสุโขทัย 9) ศาลจังหวัดสุพรรณบุรี ก. รูปแบบการมีส่วนร่วมของประชาชน/องค์ประกอบ/ผลสำเร็จ สำนักงานศาลยุติธรรมในพื้นที่ทั้ง 4 ภาคมีกลไกให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนา องค์กร ดังนี้


165 1) ผู้กำกับดูแลผู้ถูกปล่อยชั่วคราว ศาลจังหวัดของทั้ง 4 ภาคที่คณะที่ปรึกษาได้ลงพื้นที่เก็บข้อมูลมีการจัดตั้งและขึ้นทะเบียน ผู้กำกับดูแลผู้ถูกปล่อยชั่วคราวทุกแห่ง ทำหน้าที่ช่วยกำกับ สอดส่อง ดูแล และให้คำปรึกษาแก่ผู้ต้องหา หรือจำเลยที่ได้รับโอกาสเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมในการปล่อยตัวชั่วคราว ทั้งกรณีที่ศาลอนุญาตให้ ปล่อยชั่วคราวโดยไม่มีหลักประกันหรือมีหลักประกันก็ได้ และกำหนดเงื่อนไขให้ผู้ถูกปล่อยตัวชั่วคราว นำไปปฏิบัติ เป็น “การสร้างดุลยภาพแห่งสิทธิ” ตามนโยบายของประธานศาลฎีกา และเป็นไปตาม พระราชบัญญัติมาตรการกำกับและติดตามจับกุมผู้หลบหนีการปล่อยชั่วคราวโดยศาล พ.ศ. 2560 จึงมี ความชัดเจนให้ศาลจังหวัดดำเนินการทุกแห่ง มีแนวทางการดำเนินงานของทั้งศาลและผู้กำกับดูแล ผู้ถูกปล่อยชั่วคราวที่ชัดเจน รวมถึงมีการกำหนดค่าตอบแทนแก่ผู้กำกับดูแลผู้ถูกปล่อยชั่วคราวด้วย และ เป็นระบบที่ศาลจังหวัดจะขึ้นทะเบียนในพื้นที่ตนเอง แต่ได้นำไปวางในระบบบริการข้อมูลคดีศาลยุติธรรม (CIOS) จึงทำให้บุคคลดังกล่าวต้องขึ้นทะเบียนเป็นผู้กำกับดูแลฯ ของศาล มีสิทธิได้รับค่าตอบแทนตาม กฎหมายและประกาศในระบบ CIOS ทุกศาลในประเทศสามารถนำไปใช้ได้ ศาลจังหวัดแต่ละแห่งจะขึ้นทะเบียนผู้กำกับดูแลผู้ถูกปล่อยชั่วคราวในจำนวนที่ไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่ กับการติดต่อ ความสนใจ การให้ความยินยอมของทั้งตัวผู้กำกับดูแลผู้ถูกปล่อยชั่วคราวและผู้ถูกปล่อย ชั่วคราว โดยผู้กำกับดูแลผู้ถูกปล่อยชั่วคราวมีหน้าที่สอดส่องดูแล รับรายงานตัว หรือให้คำปรึกษา ที่อาจ ทำเพียงหน้าที่เดียว หรืออาจทำครบทุกหน้าที่ก็ได้ กลุ่มประชาชนที่เข้ามามีส่วนร่วมในการ “ผู้กำกับดูแลผู้ถูกปล่อยชั่วคราว” ให้กับศาลจังหวัด ประกอบด้วย 3 กลุ่มที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้ หรือบุคคลที่รู้จักผู้ถูกปล่อยชั่วคราวเป็นอย่างดี หรือผู้ถูกปล่อย ชั่วคราวให้ความเคารพหรือไว้วางใจ ได้แก่ 1. ผู้เกษียณอายุราชการ 2. ผู้นำท้องถิ่น เช่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน คณะกรรมการชุมชน ผู้นำชุมชน ซึ่งเป็นผู้นำท้องถิ่น ในพื้นที่ของศาลจังหวัด หรือในพื้นที่ที่ผู้ถูกปล่อยชั่วคราวมีภูมิลำเนาอยู่ 3. อาสาสมัครคุมประพฤติ ทั้งนี้ ศาลจังหวัดแต่ละแห่งจะแต่งตั้งคนในพื้นที่ หรือรวบรวมรายชื่อจากผู้นำชุมชน กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้เกษียณอายุราชการ อาสาสมัครคุมประพฤติ ตลอดจนคนในชุมชนที่สมัครใจ หรือเป็น บุคคลที่ผู้ต้องหาหรือจำเลยเสนอชื่อขอให้แต่งตั้งผู้ที่ตนเคารพเชื่อฟังหรือไว้ใจ 2) กลไกให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาศาลจังหวัดในรูปแบบอื่น ศาลจังหวัดมีกลไกให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาศาลจังหวัดรูปแบบอื่น ๆ อีก โดยเป็น การดำเนินการตามที่กฎหมายกำหนด เป็นนโยบายของศาล หรือตามเหตุปัจจัยที่จำเป็นที่เกี่ยวข้องกับ ภารกิจของศาล เช่น -ผู้ประนีประนอมประจำศาล -คลินิกจิตสังคมในระบบศาล -ผู้พิพากษาสมทบ


166 -ทนายความอาสา -ล่ามอาสาสมัคร -นายประกันอาชีพ -ผู้ควบคุมดูแลให้ปฏิบัติตามเงื่อนไขในกรณีที่พิพากษาให้รอการลงโทษจำเลย -การเข้าร่วมฟังการพิจารณาคดีของศาล -การมีส่วนร่วมในกระบวนการยุติธรรมของคู่ความ -การแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการให้บริการของศาล และการร้องเรียนการปฏิบัติงานของ เจ้าหน้าที่รัฐ -ศูนย์กลางผู้เสียหายในคดีอาญา -การให้ความรู้ทางกฎหมายที่ศาลเป็นผู้ดำเนินการ -การอำนวยความสะดวกทางคดีให้กับประชาชน ผ่านทางระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ เช่น ระบบยื่นคำฟ้องอิเล็กทรอนิกส์สำหรับประชาชน (e-Filing) ระบบบันทึกคำพยานด้วยภาพและเสียง ในห้องพิจารณาคดี (e-Hearing) -การจัดกิจกรรมต้นกล้าตุลาการให้กับนักเรียน ข. ปัญหาหรืออุปสรรคจากการที่ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมของหน่วยงานศาล ความเห็นต่อปัญหาหรืออุปสรรคจากการที่ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมของศาลจังหวัดจากการ สัมภาษณ์และแบบสอบถามที่มีต่อการแต่งตั้งของผู้กำกับดูแลผู้ถูกปล่อยชั่วคราว และกลไกในรูปแบบ อื่น ๆ ของหน่วยงานศาล มีดังต่อไปนี้ -ไม่มีปัญหาอุปสรรค เพราะศาลจะไม่ตั้งบุคคลที่มีส่วนได้เสียเข้ามาเป็นผู้กำกับดูแลผู้ถูกปล่อย ชั่วคราว และมีการประเมินการปฏิบัติงานจากผู้พิพากษาเมื่อเบิกเงินค่าตอบแทน -ปัญหาของผู้กำกับดูแลผู้ถูกปล่อยชั่วคราว เช่น มีจำนวนน้อย เพราะต้องเป็นผู้สมัครใจ มีความ พร้อมและเหมาะสมที่จะปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้กำกับดูแลผู้ถูกปล่อยชั่วคราวเท่านั้น หรือเป็นผู้ที่ศาลแต่ง ตั้งแต่ผู้ต้องหาหรือจำเลยไม่ต้องการให้เป็นผู้กำกับดูแลฯ หรือเป็นคดียาเสพติดที่เกินศักยภาพของ ผู้กำกับดูแลฯ หรือผู้กำกับดูแลผู้ถูกปล่อยชั่วคราวปฏิเสธไม่รับทำหน้าที่เนื่องจากผู้ถูกปล่อยชั่วคราวเป็น ผู้กระทำความผิดซ้ำซาก หรือไม่สามารถดูแลให้อยู่ภายใต้การกำกับดูแลได้ -ปัญหาของความรู้ความเข้าใจในมาตรการผู้กำกับดูแลผู้ถูกปล่อยชั่วคราวยังไม่แพร่หลาย ประชาชนไม่รู้จัก และเป็นการเพิ่มงานให้กับเจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ศาลเป็นอย่างมาก เกิดการต่อต้าน รวมถึงปัญหาเกี่ยวกับวิธีการรายงานการกำกับดูแลผู้ถูกปล่อยชั่วคราว และคดีส่วนใหญ่ในศาลเป็นคดี ยาเสพติดที่มีโทษสูงไม่สามารถใช้มาตรการดังกล่าวได้ -กรณีของผู้พิพากษาสมทบ มีปัญหาของความชัดเจนและความเชื่อมั่นต่อสถานะความเป็น ผู้พิพากษาและการทำหน้าที่ของผู้พิพากษาสมทบในศาลที่เป็นบุคคลภายนอก -กรณีของผู้สนใจเป็นผู้ไกล่เกลี่ยส่วนมากจะต้องเป็นผู้มีความพร้อมทางฐานะ แต่ยังไม่มี ผู้มีความรู้เชี่ยวชาญที่อยู่ในอีกหลายภาคส่วน เช่น NGOs เข้ามามีส่วนร่วม


167 ค. การรับรู้ ตื่นตัว และสนใจของประชาชนในพื้นที่มีที่จะเข้ามามีส่วนร่วม ความเห็นต่อการรับรู้ ตื่นตัว และความสนใจของประชาชนในพื้นที่ต่อการเข้ามามีส่วนร่วม ในหน่วยงานศาลจากการสัมภาษณ์และแบบสอบถามที่มีต่อการแต่งตั้งผู้กำกับดูแลผู้ถูกปล่อยชั่วคราว และกลไกในรูปแบบอื่น ๆ ของหน่วยงานศาล มีหลายระดับดังต่อไปนี้ -ศาลได้ออกไปให้ความรู้แก่ประชาชนในพื้นที่ภาคกลาง มีการประชาสัมพันธ์ ทั้งทางสื่อ อิเล็กทรอนิกส์ ป้ายประชาสัมพันธ์ ขยายไปทุกอำเภอ ทำให้ประชาชนทั่วไปได้รับรู้ถึงการมีอยู่และ บทบาทหน้าที่ของผู้กำกับดูแลผู้ถูกปล่อยชั่วคราว ประชาชนให้การยอมรับและรู้สึกได้ถึงประโยชน์ของ ผู้กำกับดูแลฯ เมื่อประชาชนรับรู้ได้รู้จักผู้กำกับดูแลฯ แล้ว ประชาชนจะสนใจติดต่อสอบถามเจ้าหน้าที่ ศาลให้ความร่วมมือช่วยเหลือเอง และมีการนำเสนออาชีพอื่น ๆ มาเพิ่มเติมเป็นผู้กำกับดูแลฯ มากขึ้น -ประชาชนในจังหวัดใหญ่มักจะมีประชากรแฝงจำนวนมาก ทั้งคนต่างชาติและคนไทยที่โยกย้าย ถิ่นมาทำงาน การแต่งตั้งผู้กำกับดูแลผู้ถูกปล่อยชั่วคราวของศาลในจังหวัดเหล่านี้จึงดำเนินการยาก ศาลต้องเข้าถึงผู้คนในพื้นที่ให้มากขึ้น หรือแต่งตั้งนายจ้างหรือผู้อื่นเป็นผู้กำกับดูแลฯ ที่ขึ้นทะเบียน ภายหลังแทน ศาลจังหวัดบางแห่งก็มีการแต่งตั้งผู้กำกับดูแลฯ จำนวนไม่มากนักเมื่อเทียบกับจำนวนคดี และจำนวนผู้ถูกปล่อยตัวชั่วคราว ทำให้เมื่อมีผู้ร้องขอไม่สามารถแต่งตั้งได้ทันที ง. การมีส่วนได้เสีย/ผลประโยชน์ทับซ้อนกับหน่วยงานศาลจากการเข้ามามีส่วนร่วมของ ประชาชน ความเห็นในเรื่องของการมีส่วนได้เสียหรือผลประโยชน์ทับซ้อนของประชาชนในการที่ ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในหน่วยงานศาล จากการสัมภาษณ์และแบบสอบถามที่มีต่อการแต่งตั้ง ผู้กำกับดูแลผู้ถูกปล่อยชั่วคราว และกลไกในรูปแบบอื่น ๆ ของหน่วยงานศาล ได้ยกตัวอย่างที่อาจเกิดขึ้นได้ ดังต่อไปนี้ -ไม่มี เพราะศาลจะไม่ตั้งบุคคลที่มีส่วนได้เสียเข้ามาเป็นผู้กำกับดูแลผู้ถูกปล่อยชั่วคราว และ มีการประเมินการปฏิบัติงานจากผู้พิพากษาเมื่อเบิกเงินค่าตอบแทน -ไม่มี เพราะยังไม่มีรายงานในประเด็นของการมีส่วนได้เสีย และยากที่จะเกิดผลประโยชน์ทับซ้อน เพราะมีการตรวจสอบคุณสมบัติและเป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย -อาจเกิดเรื่องของการทุจริต มีการเรียกผลประโยชน์เพื่อให้มีการปล่อยชั่วคราว เรียกสิ่งตอบแทน กลายเป็นนายประกันอาชีพ ไปเกี่ยวข้องกับพยานหลักฐาน หรือทำหน้าที่ไม่ตรงไปตรงมา -กรณีของผู้ประนีประนอมในศาลยุติธรรมที่สามารถรับทราบถึงรายละเอียดของสำนวนคดี อาจจะให้คุณให้โทษแก่คู่ความได้ จ. ความเห็นและข้อเสนอแนะอื่น ๆ ข้อมูลที่ได้รับจากการสัมภาษณ์และแบบสอบถามที่มีต่อการแต่งตั้งผู้กำกับดูแลผู้ถูกปล่อย ชั่วคราว และกลไกในรูปแบบอื่น ๆ ของหน่วยงานศาล ได้มีความเห็นและข้อเสนอแนะอื่น ๆ เพิ่มเติม ในประเด็นดังต่อไปนี้


168 -ศาลเป็นหน่วยงานอิสระ มีกระบวนการเฉพาะ เป็นงานเชิงคดี ตัวบทกฎหมาย สถานที่ในศาล มีจำกัด มีเรื่องความปลอดภัย สำนวนเป็นความลับ การให้ประชาชนมีส่วนร่วมในรูปแบบอื่น ๆ ในศาล อาจลำบาก อีกทั้งศาลได้ทำหน้าที่แทนประชาชนอยู่แล้ว และศาลได้คิดแทนสังคมแล้ว -ศาลต้องวางตัว การขยายเครือข่ายเป็นการรู้จักกันในหน้าที่ไม่ใช่ความสนิทสนมที่จะขอเรื่องคดีได้ จึงต้องตัดสินคดีกันตามปกติ หากมีการฝากคดีศาลจะตัดสินลงโทษหนัก ศาลจึงยังมีความเกี่ยวโยงกับ ประชาชนไม่มาก นอกจากนี้ ศาลยังไม่รู้จักผู้คนในท้องถิ่น โดยเฉพาะศาลในกรุงเทพมหานครทำให้ตั้ง ผู้กำกับดูแลผู้ถูกปล่อยชั่วคราวได้ยาก -ในกระบวนการที่ไม่เกี่ยวข้องกับดุลพินิจในการพิจารณาพิพากษาคดี ควรเปิดโอกาสให้ภาค ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม เพื่อพัฒนาบริการให้ดีขึ้น เป็นต้นว่าในส่วนที่เกี่ยวกับการดูแลผู้ต้องหาหรือ ผู้เสียหาย การปรับปรุงจิตพิสัย การคุมประพฤติ การฟื้นฟู และการป้องกันการกระทำความผิด -ปัจจุบันกระบวนการคุมประพฤติ การบังคับคดี และสถานพินิจอยู่ในสังกัดกระทรวงยุติธรรม การตัดสินคดีจำเป็นต้องกำหนดมาตรฐานกลางเพื่อคุมแนวทางการตัดสินของผู้พิพากษาทุกคนให้ ใกล้เคียงกัน โดยศาลสามารถปรึกษาหัวหน้าศาลและหัวหน้าศาลจะช่วยตรวจสำนวนให้การดำเนินการ ตามแนวทางดังกล่าวได้ทำให้จำเลย และผู้ต้องโทษทราบแนวทางในการตัดสิน จำเลยสามารถทักท้วง ได้ว่าโทษที่ได้รับนั้นสูงเกิน หรือทนายความและตำรวจที่รับทราบแนวทางดังกล่าวจะใช้เป็นช่องทาง ต่อรองกับผู้ต้องหาที่คิดไม่สุจริตได้ -นโยบายใหม่กำหนดให้คดีอาญาต้องมีจำเลยในกระบวนการพิจารณาเพื่อสร้างความมั่นใจ ให้จำเลยมาศาล มีการเรียกประกันตัว ใช้เงินสด โฉนดที่ดิน บัญชีเงินฝาก พันธบัตร หรือใช้ตำแหน่งหน้าที่ ในการประกัน หากผู้ที่ไม่มีหลักทรัพย์ก็ต้องไปเช่าหลักทรัพย์จากนายประกัน ตามประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความอาญาในการปล่อยตัวชั่วคราวจึงทำให้จำเลยที่ยากจนขาดโอกาส จึงต้องผ่อนคลายด้วย มาตรการผู้กำกับดูแลในการปล่อยชั่วคราว แต่ไม่อยากให้ผู้กำกับดูแลฯ กลายเป็นนายประกันอาชีพ -ควรเพิ่มกลุ่มบุคคลที่หลากหลาย มาเป็นผู้กำกับดูแลผู้ถูกปล่อยชั่วคราวจากทุกภาคส่วน เช่น สหภาพแรงงานหรือองค์กรด้านที่มีความน่าเชื่อถือ 3. หน่วยงานตำรวจ หน่วยงานตำรวจที่ให้ข้อมูลสัมภาษณ์ (14 แห่ง) และตอบแบบสอบถาม (4 แห่ง) รวมจำนวน 18 แห่ง โดยสถานีตำรวจภูธรจังหวัดพิษณุโลกได้ตอบแบบสอบถามออนไลน์ 2 ราย มีดังนี้ 1) สถานีตำรวจภูธรจังหวัดกาฬสินธุ์ 2) สถานีตำรวจภูธรจังหวัดกำแพงเพชร 3) สถานีตำรวจภูธรเมืองตรัง จังหวัดตรัง (ตอบแบบสอบถามออนไลน์) 4) สถานีตำรวจภูธรจังหวัดชัยนาท 5) สถานีตำรวจภูธรจังหวัดเชียงใหม่ 6) สถานีตำรวจภูธรจังหวัดนครศรีธรรมราช 7) สถานีตำรวจภูธรจังหวัดนนทบุรี


169 8) สถานีตำรวจภูธรโนนไทย จังหวัดนครราชสีมา 9) สถานีตำรวจภูธรเมืองพัทยา 10) สถานีตำรวจภูธรจังหวัดพิษณุโลก (ตอบแบบสอบถามออนไลน์2 ราย) 11) สถานีตำรวจภูธรจังหวัดร้อยเอ็ด 12) สถานีตำรวจภูธรลอง จังหวัดแพร่ (ตอบแบบสอบถามออนไลน์) 13) สถานีตำรวจภูธรวังทอง จังหวัดพิษณุโลก 14) สถานีตำรวจภูธรจังหวัดสงขลา 15) สถานีตำรวจภูธรจังหวัดสุโขทัย 16) สถานีตำรวจภูธรจังหวัดสุราษฎร์ธานี 17) สถานีตำรวจภูธรจังหวัดอุดรธานี ก. รูปแบบการมีส่วนร่วมของประชาชน/องค์ประกอบ/ผลสำเร็จ สถานีตำรวจภูธรในพื้นที่ทั้ง 4 ภาคมีกลไกให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาองค์กร ดังนี้ 1) คณะกรรมการตรวจสอบและติดตามการบริหารงานตำรวจ (กต.ตร.) สถานีตำรวจภูธรของทั้ง 4 ภาคที่คณะที่ปรึกษาได้ลงพื้นที่เก็บข้อมูลมีการแต่งตั้งคณะกรรมการ ตรวจสอบและติดตามการบริหารงานตำรวจ (กต.ตร.) ทุกแห่ง เป็นการแต่งตั้งเพื่อเป็นการส่งเสริมการมี ส่วนร่วมของประชาชนกับตำรวจ ช่วยติดตาม ตรวจสอบ และให้คำแนะนำในกิจการของตำรวจ รวมถึง จัดกิจกรรมการกุศลช่วยเหลือประชาชนในด้านต่าง ๆ เช่น ทุนการศึกษา สิ่งของช่วยเหลือเมื่อมีเหตุการณ์ ภัยพิบัติ ช่วยเป็นกระบอกเสียงให้กับตำรวจ เป็นการดำเนินการตามนโยบาย และตามพระราชบัญญัติ ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2565 กลุ่มประชาชนที่เข้ามามีส่วนร่วมในการเป็น กต.ตร. เป็นงานจิตอาสาที่ปฏิบัติงานด้วยความสมัครใจ ไม่มีค่าตอบแทน ประกอบด้วย 5 กลุ่ม ได้แก่ 1. นายอำเภอ ปลัดอำเภอ ข้าราชการจากหน่วยงานต่าง ๆ ข้าราชการตำรวจชั้นประทวน อดีต ข้าราชการ 2. นักการเมืองท้องถิ่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน นายกเทศมนตรี สมาชิกสภาจังหวัด สมาชิกสภา องค์การบริหารส่วนจังหวัด ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นำชุมชน 3. ผู้ประกอบธุรกิจส่วนตัว ผู้ประกอบกิจการ นายทุน 4. ทนายความ นักวิชาการ ผู้ทรงคุณวุฒิ 5. ประชาชน/ผู้ทรงคุณวุฒิที่ได้รับการคัดเลือก เป็นบุคคลที่ได้รับการยอมรับจากสังคม หรือเป็น ผู้ที่ร้องเรียนตำรวจบ่อย จึงเชิญให้มาร่วมใน กต.ตร. เป็นเครือข่ายจะเข้าใจและช่วยเหลือตำรวจมากขึ้น ทั้งนี้ประชาชนที่เป็นกรรมการใน กต.ตร. จะมีการตรวจสอบคุณสมบัติ และมีการออกเสียง ลงคะแนน การปฏิบัติงาน กต.ตร. จะไม่มีค่าตอบแทน เพราะเป็นผู้ที่มีฐานะดีอยู่แล้ว แต่เข้ามีส่วนร่วม เป็นตัวแทนประชาชน


170 2) กลไกให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาตำรวจภูธรในรูปแบบอื่น สถานีตำรวจภูธรมีกลไกให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนางานของสถานีตำรวจภูธร รูปแบบอื่น ๆ อีก โดยเป็นการดำเนินการตามที่กฎหมายกำหนด เป็นนโยบายของสำนักงานตำรวจ แห่งชาติ และตามวัตถุประสงค์ของสถานีตำรวจแต่ละแห่ง เช่น -โครงการตำรวจอาสา -โครงการทนายความอาสา -โครงการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท -โครงการยุติความรุนแรง -โครงการปักกลด -ล่ามอาสาสมัคร -การแจ้งเบาะแส การแจ้งข่าวสาร การเป็นพยาน -การให้ญาติหรือบุคคลสำคัญในพื้นที่ที่ประชาชนให้ความเคารพนับถือ เช่น ผู้นำทางศาสนาเข้าร่วม ในการสอบปากคำผู้ต้องหาและพยาน รวมทั้งเข้าร่วมในการนำชี้ที่เกิดเหตุในคดีที่สำคัญ เช่น คดีเกี่ยวกับ ความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อให้ประชาชนผ่อนคลายความตึงเครียดที่เกิดขึ้นจากการ ปฏิบัติงานของฝ่ายความมั่นคง ข. ปัญหาหรืออุปสรรคจากการที่ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมของหน่วยงานตำรวจ ความเห็นต่อปัญหาหรืออุปสรรคจากการที่ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมของสถานีตำรวจภูธร จากการสัมภาษณ์และแบบสอบถามที่มีต่อการแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบและติดตามการ บริหารงานตำรวจ (กต.ตร.) และกลไกในรูปแบบอื่น ๆ ของหน่วยงานตำรวจ มีดังต่อไปนี้ -ไม่พบปัญหาหรืออุปสรรคใด ๆ ใน กต.ตร. ของตำรวจภูธรต่าง ๆ -ปัญหาของการเข้ามามีส่วนร่วมของประชาชนใน กต.ตร. เพราะไม่มีค่าตอบแทน จึงต้องอาศัย เรื่องการมีจิตสาธารณะของประชาชน ต้องสร้างจิตสำนึกในการมีส่วนร่วมของประชาชน ซึ่งยังอาจจะ ต้องอาศัยเวลา รวมถึงปัญหาอุปสรรคเรื่องเวลาของประชาชน เพราะต้องทำงานประจำตอนกลางวัน แต่ก็ยังอยากช่วยเหลือตำรวจ -ปัญหาของโครงการทนายความอาสา ไม่ได้มีประจำครบทุกสถานีตำรวจ โดยจะมีประจำใน สถานีตำรวจขนาดใหญ่ที่มีคดีจำนวนมากเท่านั้น -ปัญหาของโครงการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท เจ้าหน้าที่ตำรวจมีความเห็นว่าเป็นขั้นตอนการปฏิบัติที่ ยุ่งยากมากขึ้นกว่าเดิม เป็นการเพิ่มขั้นตอน เพิ่มเงื่อนไขทำให้การไกล่เกลี่ยยากขึ้น ไม่ได้ช่วยให้คดีลดลง ควรจะปรับให้การดำเนินการจบได้เร็วที่สุด และเป็นงานที่พนักงานสอบสวนและฝ่ายปกครองดำเนินการ อยู่แล้ว -ปัญหาของการแจ้งเบาะแสหรือการเป็นพยานของประชาชนที่ไม่ต้องการเปิดเผยตัวตน มีความ ลำบากใจหากต้องมาเป็นพยาน ซึ่งอาจจะมีผลกระทบความสัมพันธ์กับคู่กรณีในภายหลัง ประชาชน บางส่วนจึงไม่เป็นพยานให้กับตำรวจ แต่ให้ความร่วมมือในเรื่องการแจ้งข้อมูลหรือให้เบาะแสในคดี


171 แต่เพียงอย่างเดียวดังนั้น จึงจำเป็นต้องมีแนวทางเพื่อจูงใจให้ประชาชนให้ข้อมูลกับประชาชนให้มากขึ้น เช่น ในอนาคตอาจจะมีการลดหย่อนภาษีให้กับร้านค้า ภาคธุรกิจ หรือประชาชนที่ให้ความร่วมมือติดตั้ง กล้องวงจรปิดที่สามารถมองเห็นภาพพื้นที่สาธารณะ เป็นต้น ค. การรับรู้ ตื่นตัว และสนใจของประชาชนในพื้นที่มีที่จะเข้ามามีส่วนร่วม ความเห็นต่อการรับรู้ ตื่นตัว และความสนใจของประชาชนในพื้นที่ต่อการเข้ามามีส่วนร่วมใน หน่วยงานตำรวจจากการสัมภาษณ์และแบบสอบถามที่มีต่อการแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบและ ติดตามการบริหารงานตำรวจ (กต.ตร.) และกลไกในรูปแบบอื่น ๆ ของหน่วยงานตำรวจ มีหลายระดับ ดังต่อไปนี้ -กต.ตร.ถือว่าได้รับการตอบรับในเชิงบวก ประชาชนในพื้นที่ให้ความร่วมมือในการทำงานเป็น อย่างดี ตอบสนองต่อสิ่งต่าง ๆ ที่ กต.ตร. จัดทำขึ้นอย่างดีเพราะมีการประชาสัมพันธ์ผ่านโครงการตำรวจ มวลชนสัมพันธ์ สร้างมวลชน หาแนวร่วม เมื่อชุมชนเข้มแข็งทำให้อาชญากรรมลดลง งานตำรวจลดลง -กต.ตร. ได้ช่วยเป็นกระบอกเสียงให้กับตำรวจ ส่งผลโดยอ้อมต่อความตื่นตัว และการรับรู้ของ ประชาชนถึงภาระหน้าที่ของตำรวจมากขึ้น และให้ความร่วมมือกับตำรวจดีขึ้น -เมื่อประชาชนได้รับรู้ถึงภาระหน้าที่ของตำรวจมากขึ้น ก็ส่งผลให้ความร่วมมือกับตำรวจดีขึ้น -การมีส่วนร่วมในแจ้งข้อมูลหรือให้เบาะแสอาชญากรรมจากประชาชนในพื้นที่ค่อนข้างดี เนื่องจากต้องการให้ชุมชนหรือท้องที่เกิดความสงบสุข โดยประชาชนใช้โซเชียลมีเดียให้ความช่วยเหลือ ตำรวจได้ตลอด 24 ชั่วโมง ซึ่งมีหลายกรณีที่ประชาชนแจ้งเบาะแสทันทีที่เหตุเกิดขึ้น นำไปสู่การติดตาม และสามารถการจับกุมตัวผู้ต้องหาได้อย่างรวดเร็วภายในไม่กี่ชั่วโมง รวมถึงการนำภาพวิดีโอจากกล้อง มาให้กับทางตำรวจได้ใช้เป็นหลักฐานในกระบวนการยุติธรรมได้และเป็นการลดโอกาสในการเกิด อาชญากรรมได้ -จังหวัดขนาดใหญ่และเมืองเศรษฐกิจ จะมีอาสาสมัครช่วยเหลือที่หลากหลาย มีทั้งประชาชน ที่เป็นคนพื้นที่แรงงานข้ามถิ่น และชาวต่างชาติซึ่งเป็นประชากรแฝงจำนวนมาก จำเป็นต้องมีการคัดกรอง ซึ่งประชาชนกลุ่มนี้มีความสนใจที่จะเข้ามามีส่วนร่วมใน กต.ตร. น้อย มีเพียงผู้คนในพื้นที่ที่รับรู้ -แม้ว่าประชาชนสามารถติดตามการทำงานของหน่วยงานยุติธรรมได้ตามสื่อสังคมออนไลน์ ในพื้นที่ประชาชนอาศัย เช่น สถานีตำรวจ แต่ส่วนใหญ่ประชาชนมีการรับรู้ ตื่นตัว และสนใจในระดับ ปานกลางไปจนถึงระดับน้อย เนื่องจากไม่มีค่าตอบแทน -ความเห็นจากผู้ตอบแบบสอบถามในประเด็นของความสนใจของประชาชนที่จะเข้าร่วม ในกระบวนการยุติธรรมประจำจังหวัดหรือระดับท้องที่นั้น มีความเห็นแตกต่างกัน มีทั้งเห็นว่าประชาชน อาจจะสนใจ และเห็นว่าไม่ตื่นตัวหากรบกวนการทำมาหากิน กับเห็นว่าหากประชาชนในพื้นที่เป็น ผู้มีส่วนได้เสียในประเด็นใด ก็อาจจะมีความสนใจที่จะเข้าร่วมในกระบวนการยุติธรรมที่เกี่ยวเนื่อง ในประเด็นดังกล่าว -หากจะสำรวจความสนใจของคนในพื้นที่สามารถตรวจสอบข้อมูลจากสำนักงานยุติธรรมจังหวัด และศูนย์ดำรงธรรมเพิ่มเติม


172 ง. การมีส่วนได้เสีย/ผลประโยชน์ทับซ้อนกับหน่วยงานตำรวจจากการเข้ามามีส่วนร่วมของ ประชาชน ความเห็นในเรื่องของการมีส่วนได้เสียหรือผลประโยชน์ทับซ้อนของประชาชนในการที่ ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในหน่วยงานอัยการ จากการสัมภาษณ์และแบบสอบถามที่มีต่อการจัดตั้ง คณะกรรมการการมีส่วนร่วมภาคประชาชน และกลไกในรูปแบบอื่น ๆ ของหน่วยงานอัยการ ได้ยกตัวอย่าง ที่อาจเกิดขึ้นได้ ดังต่อไปนี้ -กต.ตร. ของตำรวจภูธรต่าง ๆ ไม่มีประเด็นผลประโยชน์ทับซ้อน เนื่องจาก กต.ตร. มีหน้าที่ ติดตามและตรวจสอบการทำงานของตำรวจ ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องทางกระบวนยุติธรรมหรือกระบวนการ สอบสวนของตำรวจแต่อย่างใด -อาจจะสร้างปัญหาในเรื่องความลับในการสอบสวน ประชาชนผู้มีส่วนร่วมที่มาแจ้งข้อมูลหรือ พยาน อาจจะนำข้อมูลทางคดีไปเปิดเผย ทำให้เกิดความเสียหายแก่รูปคดีหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องกับคดีได้ -ในการปฏิบัติหน้าที่ของประชาชนใน กต.ตร. อาจเข้ามาแฝงเพื่อหาผลประโยชน์จากการทำงาน ของตำรวจได้หรือเป็นตำรวจอาสา แต่ออกตรวจพื้นที่เองเพื่อเรียกรับผลประโยชน์ ซึ่งตำรวจอาสาเป็น ผู้ช่วยเหลือเจ้าพนักงาน จะต้องออกตรวจพร้อมกับตำรวจ จึงได้ปรับเครื่องแบบของตำรวจอาสาให้ ชัดเจนไม่ให้คล้ายตำรวจ และอาวุธปืนที่ให้ยืมใช้ขณะออกตรวจก็ต้องคืนหลังเสร็จสิ้นภาระงานแล้ว -ในประเด็นของการมีส่วนได้เสีย อาจเกิดขึ้นกับ กต.ตร. ได้ เพราะสังคมไทยเป็นระบบอุปถัมภ์ ต้องมีการตรวจสอบประวัติ แต่อาจเกิดได้น้อยเพราะยึดกฎหมายเป็นหลัก จะไม่ใช่ปัจจัยที่จะทำให้ คดีเปลี่ยนแปลงได้ ไม่ทำให้ประชาชนเสียเปรียบ ไม่ทำให้ผิดเป็นถูก ต้องทำให้อยู่ในกรอบ ตำรวจอาจ เพียงช่วยอำนวยความสะดวกรวดเร็วและลดขั้นตอนมากขึ้น ทำให้ได้เท่าที่ไม่เกิดความเสียหาย ไม่ทำให้คดี พลิกเปลี่ยน เพราะหากมีความผิดปกติจะมีความเสี่ยงต่อพนักงานสอบสวนที่จะถูกตั้งกรรมการสอบสวนเอง -ผู้ตอบแบบสอบถามมีความเห็นต่อประเด็นการมีส่วนได้เสียและผลประโยชน์ทับซ้อนกรณีที่ ประชาชนมีส่วนร่วมในกระบวนการยุติธรรมตำรวจ ดังนี้ -ไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนเกิดขึ้นอย่างแน่นอน เพราะประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมด้วยใจ และจิตอาสา ไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนแต่อย่างใด และความคิดเห็นของ กต.ตร. ไม่ผูกมัดหน่วยงาน ไม่นำมาใช้ในทางคดี เนื่องจากความเป็นกลางของหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม -ความเห็นว่าไม่แน่ใจ เพราะไม่ทราบขั้นตอนการมีส่วนร่วมของประชาชนมากน้อยเพียงใด -ความเห็นว่าอาจจะมีผลกระทบต่อความเป็นอิสระ มีฝักฝ่าย มีความเป็นเครือญาติ มีความไม่เที่ยงตรงในการพิจารณาสั่งคดี จ. ความเห็นและข้อเสนอแนะอื่น ๆ ข้อมูลที่ได้รับจากการสัมภาษณ์และแบบสอบถามที่มีต่อการจัดตั้งคณะกรรมการการมีส่วนร่วม ภาคประชาชน และกลไกในรูปแบบอื่น ๆ ของหน่วยงานอัยการ ได้มีความเห็นและข้อเสนอแนะอื่น ๆ เพิ่มเติมในประเด็นดังต่อไปนี้


173 -เนื่องจากตำรวจมีภารกิจหลักในการบังคับใช้กฎหมายอาญา เป็นกระบวนการในชั้นก่อนฟ้องคดี ซึ่งจำเป็นต้องปฏิบัติตามกรอบกฎหมายที่มีอยู่อย่างเคร่งครัด การเข้ามามีส่วนร่วมของประชาชนจึงอาจ ต้องแยกพิจารณา ดังนี้ -หากเป็นกรณีความผิดอาญาแผ่นดิน การเข้ามามีส่วนร่วมของประชาชนอาจจะมีจำกัด โดยเข้า มามีส่วนร่วมผ่านสิทธิของคู่กรณี เช่น มาเป็นพยาน หรือให้ความเห็น หรือผู้ที่ผู้ต้องหาไว้วางใจ ตามที่ กฎหมายกำหนด และเนื่องจากการดำเนินคดีอาญาของรัฐ เจ้าหน้าที่ตำรวจได้กระทำการแทนรัฐในการ รักษาความสงบเรียบร้อย จึงต้องดำเนินการให้รอบคอบ ป้องกันมิให้บุคคลภายนอกคดีเข้ามากระทำการ อันเป็นเหตุให้รูปคดีเสียหายได้ -หากเป็นกรณีที่กฎหมายเปิดช่อง เช่น ความผิดเล็กน้อย หรือเข้าเกณฑ์ตามพระราชบัญญัติการ ไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ. 2562 พนักงานสอบสวนสามารถดำเนินการให้ผู้ไกล่เกลี่ยที่เป็นประชาชนทั่วไป สามารถเข้ามามีส่วนร่วมในคดีได้ ซึ่งเป็นมาตรการทางเลือกที่สำคัญที่ช่วยลดปริมาณคดีที่จะเข้ามาสู่ พนักงานสอบสวน อย่างไรก็ตาม การนำมาตรการดังกล่าวมาใช้ควรมีการบันทึกเป็นฐานข้อมูลหรือสถิติ เอาไว้ว่า การดำเนินการไกล่เกลี่ยในชั้นพนักงานสอบสวนมีจำนวนกี่เรื่องต่อเดือน ต่อปี เป็นผลสำเร็จ หรือไม่เพียงใด เพราะเหตุใด -ขอบเขตของการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการยุติธรรมของตำรวจไม่สามารถทำได้ ทุกเรื่อง ซึ่งพนักงานสอบสวนจะพิจารณาจากข้อกฎหมายได้ให้อำนาจไว้หรือไม่ เช่น มีกรณีที่ผู้ต้องหา ซึ่งเป็นพี่ชายของผู้เสียหายได้ข่มขืนผู้เสียหายแล้วถูกดำเนินคดี หลังจากพ้นโทษมาแล้ว ได้กลับมาอยู่ ที่บ้านทำให้ผู้เสียหายไม่สามารถอยู่ที่บ้านของตนเองได้ และกฎหมายก็ไม่ได้คุ้มครองผู้เสียหายแล้ว เนื่องจากคดีเสร็จสิ้นแล้ว หรือกรณีคดีที่ผู้ต้องหามีการอาการคลุ้มคลั่งและไม่มีญาติดูแลจะมีผู้ใดรับไป ดูแลแทน -ในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการยุติธรรม จำเป็นที่จะต้องมีการให้ ความรู้แก่ประชาชนเพื่อให้เห็นถึงความสำคัญของการเข้ามามีส่วนร่วม -การจะให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการยุติธรรมในชั้นตำรวจ อาจจะต้องทำให้ ประชาชนตระหนักถึงความจำเป็นที่จะต้องร่วมมือกับหน่วยงานตำรวจเพื่อคุ้มครองหรือรักษาความสงบ เรียบร้อยของท้องที่ -ในส่วนของการมีทนายความอาสามานั่งเป็นเวรประจำสถานีตำรวจแต่ละแห่งนั้นถือเป็นเรื่องที่ดี ที่จะช่วยให้ประชาชนสามารถมาปรึกษาอรรถคดีได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย โดยควรเปิดให้ทนายความอาสา มานั่งเวรทนายอาสามาประจำสถานีตำรวจให้ครอบคลุมทุกแห่งให้มากที่สุด -ประชาชนอาจช่วยเหลืองานธุรการของตำรวจ การเดินเอกสาร การให้คำแนะนำเบื้องต้น เพราะสถานีตำรวจมีเจ้าหน้าที่ตำรวจหญิงจำนวนน้อยมาก แต่ภาระงานด้านการเงินและคดีไม่สามารถ ให้ช่วยเหลือได้เพราะเป็นความลับ -ตำรวจมีความเห็นว่า อัยการมีความห่างกับประชาชนและเข้าถึงได้ยาก มีลักษณะงานเป็น ทางการ แม้กระทั่งตำรวจและอัยการยังไม่ได้พูดคุยกัน จึงต้องมีการพบปะสังสรรค์ประสานสัมพันธ์


174 ระหว่างกันและกับประชาชนให้มากขึ้น เพื่อลดความเหลื่อมล้ำและสร้างแนวร่วมช่วยเหลือโดย ประชาชนได้ อีกทั้ง พนักงานอัยการไม่เคยลงพื้นที่เกิดเหตุ ประชาชนต้องมาหาพนักงานอัยการเอง การแสวงหาพยานมอบให้ตำรวจดำเนินการหน่วยเดียว พนักงานอัยการไม่ได้อำนวยความยุติธรรมหรือ แสวงหาข้อเท็จจริงเชิงรุกเลย -ผู้ตอบแบบสอบถามได้ให้ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมว่า การมีส่วนร่วมของประชาชนควรมีขอบเขต ไม่ก้าวล่วงการพิจารณาความเห็นในเนื้อหาของคดี


175 บทที่ 5 ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารงาน และการอำนวยความยุติธรรม คณะที่ปรึกษาได้สัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิชาวต่างประเทศในกระบวนการยุติธรรมของประเทศ ญี่ปุ่นและสาธารณรัฐเกาหลีและได้ดำเนินการจัดประชุมระดับนานาชาติโดยมีผู้ร่วมอภิปรายบนเวทีซึ่ง เป็นนักวิชาการหรือบุคลากรในกระบวนการยุติธรรมหรือจากองค์กรระหว่างประเทศ รวมถึงการประชุม ร่วมกับผู้แทนในกระบวนการยุติธรรมของไทยที่มีผู้ร่วมอภิปรายบนเวทีซึ่งเป็นนักวิชาการไทยและ บุคลากรในกระบวนการยุติธรรมไทย และการประชุมการรับฟังความคิดเห็นต่อร่างรายงานฉบับสมบูรณ์ เรื่อง “การมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารงานและการอำนวยความยุติธรรม” ซึ่งการสัมภาษณ์ และการจัดประชุมดังกล่าวเป็นการจัดผ่านระบบออนไลน์ (Zoom) โดยเฉพาะการประชุมทั้ง 3 ครั้ง ได้เปิดให้ผู้สนใจสามารถแสดงความคิดเห็นได้ด้วย คณะที่ปรึกษาจะนำความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ ของผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เข้าร่วมประชุมมาปรับปรุงร่างรายงานฉบับสมบูรณ์ โดยมีรายละเอียดสรุปได้ ดังต่อไปนี้ 1. สรุปผลการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิชาวต่างประเทศ 2. สรุปผลการประชุมระดับนานาชาติ 3. สรุปผลการประชุมร่วมกับผู้แทนในกระบวนการยุติธรรมของประเทศไทย 4. สรุปผลการประชุมการรับฟังความคิดเห็นต่อร่างรายงานฉบับสมบูรณ์ 1. สรุปผลการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิชาวต่างประเทศ คณะที่ปรึกษาได้ดำเนินการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิจากประเทศญี่ปุ่นและประเทศสาธารณรัฐ เกาหลี ผ่านระบบทางไกล (Online Interview) เพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของ ประชาชนในหน่วยงานกระบวนการยุติธรรมของทั้งสองประเทศ พร้อมความคิดเห็นจากผู้ทรงคุณวุฒิ ดังกล่าว โดยมีรายละเอียดดังนี้ วันที่1 กันยายน 2565 สัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิจากประเทศญี่ปุ่น -Mr. Morinaga Taro (ผู้อำนวยการสถาบัน UNAFEI) -Ms. IRIE Junko (รองผู้อำนวยการสถาบัน UNAFEI) วันที่5 ตุลาคม 2565 สัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิจากสาธารณรัฐเกาหลี -Prof. Dr. Yong Chul Park (ศาสตราจารย์จาก Sogang University Law School) 1.1 ประเทศญี่ปุ่น เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 1 กันยายน 2565 คณะที่ปรึกษาได้รับเกียรติจาก Mr. Morinaga Taro (ผู้อำนวยการสถาบันการป้องกันอาชญากรรมและการปฏิบัติต่อผู้กระทำผิดของสหประชาชาติ ภาคพื้น เอเชียและตะวันออกไกล หรือ The United Nations Asia and Far East Institute for the Prevention


176 of Crime and the Treatment of Offenders - UNAFEI) และ Ms. IRIE Junko รองผู้อำนวยการ สถาบัน UNAFEI มาบรรยายและให้สัมภาษณ์ในหัวข้อ “การมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการยุติธรรม ทางอาญาในประเทศญี่ปุ่น” ผู้ทรงคุณวุฒิทั้งสองได้กล่าวเน้นในส่วนระบบที่สำคัญ 2 ระบบ คือ 1) ระบบคณะกรรมการตรวจสอบฟ้องอัยการ และ 2) ระบบไซบังอิน ซึ่งเป็นกลไกการมีส่วนร่วมของ ประชาชนทั่วไปในกระบวนการยุติธรรมโดยแท้ในประเทศญี่ปุ่น สามารถสรุปได้ดังนี้ 1) กลไกที่เปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในหน่วยงานกระบวนการยุติธรรมในประเทศ ญี่ปุ่น ประเทศญี่ปุ่นมีกลไกที่เปิดให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาได้ หลายทางซึ่งกลไกที่สำคัญ 2 ระบบ ซึ่งเป็นการสร้างกลไกโดยมีกฎหมายเฉพาะให้อำนาจ คือ 1) การมี ส่วนร่วมของประชาชนในการตรวจสอบชั้นอัยการในรูปแบบ “คณะกรรมการตรวจสอบฟ้อง” และ 2) การมีส่วนร่วมของประชาชนในชั้นศาลในรูปแบบ “คณะลูกขุนไซบังอิน” เมื่อได้สอบถามเกี่ยวกับกลไกอื่น ๆ ที่ให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในชั้นฟ้องคดีของอัยการ Mr. Morinaga Taro ผู้อำนวยการสถาบัน UNAFEI ได้กล่าวว่าหากเป็นกลไกทางกฎหมายก็จะมีเพียง เรื่อง “คณะกรรมการตรวจฟ้อง” เท่านั้น แต่อย่างไรก็ดี และได้ให้ความเห็นเพิ่มเติมว่าในความเป็นจริง ประชาชนยังอาจเข้ามามีส่วนร่วมในทางอื่นได้อีก (De Facto) เพราะไม่ได้ถูกจำกัดว่าเข้าร่วมได้แค่ทาง กลไกที่กฎหมายจัดตั้งไว้เท่านั้น เช่น การวิพากษ์วิจารณ์หรือประณามการปฏิบัติหน้าที่ที่ไม่เหมาะสม หรือการให้ความร่วมมือกับอัยการหรือตำรวจในชั้นสืบสวนสอบสวน 2) เหตุผลหรือปัจจัยเบื้องหลังในการสร้างกลไกประชาชนให้เข้าร่วมในกระบวนการยุติธรรม ทางอาญา แนวคิดการนำระบบการมีส่วนร่วมของประชาชนมาใช้ในประเทศญี่ปุ่นเป็นแนวคิดที่มีมายาวนาน และมีความเกี่ยวข้องกับภูมิหลังทางประวัติศาสตร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงแพ้สงครามโลก ครั้งที่ 2 ประเทศญี่ปุ่นต้องตกอยู่ภายใต้สนธิสัญญาข้อตกลงที่ไม่เป็นธรรมกับฝ่ายสัมพันธมิตร ทำให้ประเทศญี่ปุ่น ต้องพัฒนาตัวเอง รวมถึงพัฒนากระบวนการยุติธรรมและระบบกฎหมายให้ทันสมัยเพื่อพัฒนาชาติ ให้ทัดเทียมระดับสากล จึงมีการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมขนานใหญ่ทั้งระบบ ซึ่งระบบการมีส่วนร่วม ของประชาชนในกระบวนการยุติธรรมก็ถูกนำมาใช้เพื่อเป็นกลไกหนึ่งในการเสริมสร้างความเป็นระบอบ ประชาธิปไตย (Democratization) อย่างไรก็ดีการปฏิรูปดังกล่าวต้องใช้เวลาพอสมควรกว่าจะเป็นรูปร่างและใช้บังคับได้ รวมถึง ต้องอาศัยระยะเวลาที่เหมาะสมในการบังคับใช้ และต้องสร้างแรงจูงใจให้ประชาชนมีความสนใจ ในกระบวนการมีส่วนร่วมดังกล่าว ทั้งนี้ แนวคิดพื้นฐานในการนำระบบการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการยุติธรรม ทางอาญามาใช้ของประเทศญี่ปุ่นนั้นเกิดจากแนวคิดที่ต้องการให้การทำงานของหน่วยงานใน กระบวนการยุติธรรมสะท้อนเจตจำนงของประชาชนมากขึ้น (Reflect Public Will) ซึ่งจะแตกต่าง


177 จากแนวคิดพื้นฐานในประเทศอื่น เช่น สหรัฐอเมริกา สาธารณรัฐเกาหลี ที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของ ความไม่ไว้วางใจในการใช้อำนาจรัฐ (Distrust of Authority) อีกปัจจัยหนึ่งที่นำไปสู่แนวคิดการมีส่วนร่วมของประชาชน คือในการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม ข้างต้น ซึ่งเป็นการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมทั้งทางแพ่งและทางอาญานั้นในเวลานั้น การพิจารณา พิพากษาคดีทางแพ่งของศาลถูกวิพากษ์วิจารณ์โดยภาคธุรกิจเอกชนที่เป็นผู้ปฏิบัติจริงเป็นอย่างมาก ว่าเป็นการพิพากษาคดีแบบนั่งอยู่บนหอคอยงาช้าง กล่าวคือ เป็นการพิพากษาคดีโดยไม่คำนึงถึง ทางปฏิบัติจริงทำให้คำพิพากษาที่ออกมาไม่สมเหตุสมผลและเกิดปัญหา โดยเฉพาะคดีเกี่ยวกับการ ลงทุนหรือทรัพย์สินทางปัญญา การวิจารณ์นี้เริ่มขยายวงกว้างขึ้นเรื่อย ๆ และมีการเรียกร้องให้รัฐจัดการ กับปัญหานี้ศาลมีความพยายามตอบสนองต่อข้อวิจารณ์เรื่องนี้เช่นกัน ปัจจัยเหล่านี้จึงเป็นสิ่งขับเคลื่อน ให้เกิดการปฏิรูประบบยุติธรรมทั้งระบบในประเทศญี่ปุ่น 3) กฎหมายรองรับการสร้างกลไกหรือจัดทำโครงการการส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วม ในกระบวนการยุติธรรม ระบบคณะกรรมการตรวจสอบฟ้องและระบบคณะลูกขุนไซบังอิน จัดตั้งโดยกฎหมายเฉพาะคือ พระราชบัญญัติคณะกรรมการตรวจสอบฟ้องและพระราชบัญญัติไซบังอินตามลำดับ ซึ่งเป็นกฎหมายที่ ให้อำนาจและกำหนดกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ไว้โดยละเอียด ตั้งแต่ขั้นตอนและวิธีการคัดเลือกบุคคลเข้ามา ปฏิบัติหน้าที่ คุณสมบัติและข้อห้ามในการปฏิบัติหน้าที่ ระยะเวลาการดำรงตำแหน่ง ค่าตอบแทน ความคุ้มครองผู้ปฏิบัติหน้าที่ และบทลงโทษกรณีปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เป็นต้น 4) ลักษณะการเข้าร่วมในกระบวนการยุติธรรมของประชาชน คณะกรรมการตรวจฟ้องของอัยการ มีบทบาททั้งในแง่การตรวจสอบและการให้คำแนะนำในการบริหารจัดการคดีโดยทั่วไป ในแง่การตรวจสอบ คือตรวจสอบความเหมาะสมของคำสั่งไม่ฟ้องของพนักงานอัยการ ในคดีอาญาประเภทต่าง ๆ ทั้งในเชิงรุก คือการริเริ่มตรวจสอบเองจากพยานหลักฐานและข้อมูลที่ตนได้ รับรู้มา และในเชิงรับ คือโดยการรับคำร้องจากผู้มีสิทธิร้องขอตามที่กฎหมายกำหนด โดยการตรวจสอบ คำสั่งฟ้องของอัยการ หากคณะกรรมการมีมติเห็นควรสั่งฟ้อง จะเป็นการบังคับ (Mandatory Order) ให้อัยการต้องพิจารณาคำสั่งของตนใหม่ และหากอัยการพิจารณาคำสั่งแล้วยังคงสั่งไม่ฟ้อง คณะกรรมการต้องทำการตรวจสอบหารือเกี่ยวกับคำสั่งนั้นอีกครั้ง หากคณะกรรมการยืนยันมติ เห็นสมควรสั่งฟ้องตามเดิม มติดังกล่าวจะมีผลบังคับตามกฎหมาย (Legally Binding) ให้ต้องยื่นฟ้องคดี นั้นต่อศาลต่อไป ในแง่การให้คำแนะนำในการบริหารจัดการคดีโดยทั่วไป คือคณะกรรมการตรวจฟ้องอาจให้ คำแนะนำในการบริหารจัดการคดีโดยทั่วไปไม่ได้เจาะจงคดีใดคดีหนึ่งแก่องค์กรอัยการได้ โดยทำ ข้อเสนอยื่นต่ออัยการ ทั้งนี้คำแนะนำในการบริหารจัดการอรรถคดีโดยทั่วไปของคณะกรรมการตรวจ ฟ้องไม่ได้มีผลบังคับตามกฎหมายให้อัยการต้องปฏิบัติตาม แต่กฎหมายได้กำหนดให้อัยการทำการชี้แจง


178 เกี่ยวกับนโยบายขององค์กรในเรื่องดังกล่าว หรือรับข้อเสนอของคณะกรรมการตรวจฟ้องไปพิจารณา เพื่อพัฒนาปรับปรุงการบริหารงานขององค์กรต่อไป ซึ่งตัวอย่างของกรณีที่คณะกรรมการตรวจฟ้องอาจให้คำแนะนำอัยการได้ เช่น คณะกรรมการ ตรวจฟ้องสามารถริเริ่มในตรวจสอบคำสั่งฟ้องคดีได้เอง (Ex Officio) ซึ่งในระหว่างการตรวจสอบคณะกรรมการ ก็อาจพบว่ามีบางขั้นตอนที่อัยการปฏิบัติไม่เหมาะสม เช่น การสอบสวนโดยไม่ได้คำนึงถึงสภาพจิตใจ พยานหรือเหยื่อ คณะกรรมการตรวจฟ้องก็สามารถทำข้อเสนอแนะส่งไปยังหัวหน้าอัยการจังหวัด (District Chief Public Prosecutor) ในเขตท้องที่ที่ตนมีอำนาจอยู่ได้ อย่างไรก็ตาม ในทางปฏิบัติพบว่าคณะกรรมการตรวจฟ้องแทบจะไม่ได้ใช้อำนาจในส่วนการให้ ข้อเสนอแนะในการทำงานนี้ ส่วนหนึ่งอาจสันนิษฐานได้ว่าการปฏิบัติหน้าที่ของอัยการมีปัญหาน้อยด้วย คณะลูกขุนไซบังอิน มีส่วนร่วมในการพิจารณาตัดสินคดีอาญาร้ายแรงในศาลชั้นต้นตามประเภทที่กฎหมายกำหนด โดยร่วมพิจารณาเป็นองค์คณะเดียวกันกับผู้พิพากษาและมีอำนาจพิจารณาตัดสินคดีและกำหนดโทษ เช่นเดียวกับผู้พิพากษา ซึ่งโดยส่วนมากการพิจารณาคดีอาญาที่ใช้ระบบลูกขุนจะใช้ระยะเวลาไม่นาน เช่น ประมาณ 1 สัปดาห์ในคดีทั่วไป หรือ 1-3เดือนในคดีที่มีความซับซ้อนหรือต้องสืบพยานมาก 5) ผลตอบรับของการนำกลไกการมีส่วนร่วมของประชาชนแต่ละประเภทมาใช้ รวมถึง ปัญหาและอุปสรรค คณะกรรมการตรวจฟ้อง Mr. Morinaga Taro ได้ให้ข้อมูลว่าจากสถิติปริมาณคดีที่คณะกรรมการตรวจฟ้องพิจารณา พบว่าปริมาณคดีที่คณะกรรมการมีมติ “เห็นควรสั่งฟ้อง” กล่าวคือ กลับคำสั่งไม่ฟ้องของอัยการนั้น มีปริมาณน้อยมาก เช่น ในช่วง 5 ปีหลัง (ตั้งแต่ พ.ศ. 2560 ถึง พ.ศ. 2564) มีปริมาณคดีที่เข้าสู่การ พิจารณาตรวจสอบของคณะกรรมการทั้งหมด 184,004 คดี แต่คดีที่คณะกรรมการมีมติเห็นควรสั่งฟ้อง มีเพียง 2,573 คดี ผลลัพธ์ตามสถิตินี้มีการตีความเป็น 2 แง่ กล่าวคือในแง่หนึ่งถือเป็นเครื่องยืนยันว่าการทำงาน ของอัยการญี่ปุ่นมีประสิทธิภาพและเป็นที่น่าเชื่อถือ การกลับคำสั่งของอัยการจึงมีน้อย แต่ในทางกลับกันก็อาจมีมุมมองที่คิดว่ากลไกการตรวจสอบไม่ได้ผลเท่าที่ควร อาจเพราะ คณะกรรมการตรวจฟ้องไม่ได้ตื่นตัวในการปฏิบัติหน้าที่ หรือไม่ได้รู้เกี่ยวกับข้อกฎหมายหรือการสืบสวน สอบสวนจึงทำให้ลังเลที่จะกลับคำสั่งของพนักงานอัยการ อย่างไรก็ดี จากประสบการณ์การเป็นพนักงานอัยการของผู้ทรงคุณวุฒิที่เคยถูกเรียกให้ไป ให้ความเห็นเกี่ยวกับการสั่งคดีต่อหน้าคณะกรรมการตรวจฟ้อง กล่าวว่าคณะกรรมการตรวจฟ้องปฏิบัติ หน้าที่อย่างจริงจังและมีประสิทธิภาพมาก พนักงานอัยการที่ต้องไปชี้แจงต่อคณะกรรมการจะต้องเตรียม ตัวอย่างดีในการอธิบายเหตุผลในการสั่งไม่ฟ้องของตนและต้องตอบคำถามคณะกรรมการให้ได้อย่าง ละเอียดไม่ใช่แค่เหตุผลในการสั่งไม่ฟ้อง แต่รวมไปถึงขั้นตอนการสืบสวนสอบสวนต่าง ๆ ด้วย


179 คณะลูกขุนไซบังอิน การนำระบบคณะลูกขุนไซบังอินมาใช้ส่งผลให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทั้งในทางกระบวนการ พิจารณาคดีและในทางสังคม ความเปลี่ยนแปลงในทางกระบวนการยุติธรรมมีทั้งในแง่ของกระบวนการดำเนินคดีและในแง่ ความเปลี่ยนแปลงของการกำหนดโทษ ในแง่ของกระบวนการดำเนินคดีได้แก่ -มีการกำหนดประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีให้ชัดเจนขึ้นและแคบลงตั้งแต่ชั้นก่อนพิจารณาคดี -มีการพิจารณาคดีอย่างละเอียดเข้มข้นในระยะเวลาอันสั้น -มีการใช้ศัพท์เฉพาะทางในกระบวนการพิจารณาน้อยลง ใช้ศัพท์ทั่วไปให้มากขึ้นเพื่อให้ ไซบังอินซึ่งเป็นประชาชนทั่วไปเข้าใจพฤติการณ์ของคดีได้ง่ายขึ้น ในแง่ความเปลี่ยนแปลงของการกำหนดโทษ ได้แก่ -มีแนวโน้มการกำหนดโทษที่รุนแรงขึ้นในคดีความผิดเกี่ยวกับเพศและคดีทำร้ายร่างกายจนถึง แก่ความตาย -มีการสั่งรอการลงโทษมากขึ้นในคดีความผิดฐานวางเพลิงที่อยู่อาศัย -มีแนวโน้มการลงโทษที่เบาลงสำหรับคดีที่จำเลยมีเหตุผลที่ควรได้รับความเห็นใจในการกระทำ ความผิดอาญา -มีการใช้คำสั่งคุมประพฤติในระหว่างระยะเวลาชะลอการลงโทษมากขึ้น -ขอบเขตความต่างของโทษที่ถูกกำหนดกว้างขึ้น อาจจะเป็นโทษเบากว่าหรือหนักกว่าคดีใน ความผิดประเภทเดียวกันที่ศาลตัดสินขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่น ๆ ในคดีนั้น ๆ ส่วนความเปลี่ยนแปลงทางสังคม คือประชาชนมีความเข้าใจและความสนใจในกระบวนการ ยุติธรรมทางอาญามากขึ้น โดยจากผลการสำรวจจากผู้เคยปฏิบัติหน้าที่ไซบังอินในช่วงปี ค.ศ. 2009 ถึง ปี ค.ศ. 2019 พบว่ามากกว่าร้อยละ 95 มีความเห็นว่าตนได้รับประสบการณ์ที่ดีจากการทำหน้าที่ ดังกล่าว นอกจากนี้ภาครัฐและเอกชนยังมีความตื่นตัวในการส่งเสริมความรู้ความเข้าใจด้านกฎหมาย ผ่านสื่อต่าง ๆ อย่างกว้างขวาง เช่น การปรับปรุงแบบเรียนเกี่ยวกับกฎหมายสำหรับระดับประถมศึกษา และมัธยมศึกษา การถ่ายทอดละครทีวีที่ให้ความรู้ด้านกฎหมาย ในด้านของปัญหาอุปสรรคที่พบเกี่ยวกับการนำระบบการมีส่วนร่วมของประชาชนมาใช้ คือความเต็มใจในการเข้ารับหน้าที่ ซึ่งอย่างกรณีไซบังอินจากสถิติก็พบว่ามีคนมารายงานตัวลดน้อยลง ทุกปี แม้จะได้รับจดหมายเรียกแต่ก็ไม่มารายงานตัวต่อศาล หรือปฏิเสธไม่รับหน้าที่ เหตุผลส่วนหนึ่งมา จากความคิดว่าการเป็นไซบังอินคือการต้องเข้าไปตัดสินชีวิตจำเลย ซึ่งประชาชนมองว่าการปฏิบัติหน้าที่ คณะกรรมการตรวจฟ้องหรือคณะลูกขุนไซบังอินเป็นหน้าที่ที่สำคัญและต้องปฏิบัติหน้าที่อย่างจริงจัง และมีความรับผิดชอบซึ่งถือเป็นภาระที่ใหญ่หลวง


180 ปัญหาอีกอย่างที่พบในการนำระบบไซบังอินมาใช้ คือปัญหาเกี่ยวกับสภาพจิตใจของประชาชน ผู้ปฏิบัติหน้าที่ ซึ่งพบว่าผู้ปฏิบัติหน้าที่ไซบังอินหลายคนประสบภาวะเครียด จึงมีการจัดมาตรการการ เยียวยาด้านจิตใจของไซบังอิน และมีการกำหนดห้ามการนำเสนอพยานหลักฐานที่อาจกระทบกระเทือน จิตใจ (Stimulating Evidence) ในการพิจารณาคดี เช่น ภาพศพ ภาพสถานที่เกิดเหตุหรือหลักฐานที่ เปื้อนเลือดต่าง ๆ หรือภาพบันทึกเหตุการณ์อาชญากรรมจากกล้องวงจรปิด ซึ่งส่งผลให้พนักงานอัยการ นำเสนอพยานหลักฐานในการพิสูจน์ความผิดจำเลยได้ยากขึ้น 6) การรับรู้ ตื่นตัว และความสนใจของประชาชนที่จะเข้าร่วมในกระบวนการยุติธรรมทาง อาญา ประชาชนส่วนใหญ่ในประเทศญี่ปุ่นรับรู้ว่ามีระบบคณะกรรมการตรวจสอบฟ้อง คณะลูกขุนไซบัง อิน และเข้าใจหลักการปฏิบัติหน้าที่ในเบื้องต้น แต่ความตื่นตัวและความสนใจในการเข้าร่วมอาจแตกต่างกันไปในแต่ละยุคสมัยและช่วงวัยของ ประชาชน และตามที่ได้กล่าวไปข้างต้นว่าประชาชนอาจไม่เต็มใจเข้าร่วมในกระบวนการยุติธรรมทาง อาญาเพราะคิดว่ามองว่าการปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวเป็นภาระที่ใหญ่หลวง ตัวอย่างที่เห็นว่าประเทศญี่ปุ่นยังประสบปัญหาความร่วมมือของประชาชนในการเข้าร่วม กระบวนการยุติธรรมทางอาญา เห็นได้จาก (1) สถิติการมารายงานตัวต่อศาลเพื่อรับเลือกเป็นไซบังอิน และสถิติการปฏิเสธไม่รับหน้าที่ไซบังอินในช่วงระยะเวลา 10 ปีนับแต่ใช้ระบบนี้พบว่าอัตราของผู้มา รายงานตัวเป็นไซบังอินต่อศาลลดลง ขณะที่อัตราการปฏิเสธหน้าที่ไซบังอินเพิ่มขึ้น1 และ (2) ผลสำรวจ ความเต็มใจในการเข้ารับหน้าที่ไซบังอินของประชาชนพบว่ามีประชาชนมากกว่าร้อยละ 75 ที่ให้ ความเห็นว่าตนไม่เต็มใจเข้ารับหน้าที่ ซึ่งเหตุผลที่ไม่เต็มใจหรือลังเลที่จะรับตำแหน่งไซบังอินมีหลาย ประการ เช่น2 -รู้สึกว่าการตัดสินคดีที่มีผลกระทบต่อจำเลยเป็นภาระความรับผิดชอบที่หนัก -ไม่มีความมั่นใจว่าคณะลูกขุนจะสามารถตัดสินคดีไปในทางที่ถูกต้องเพราะการพิจารณา พิพากษาคดีเป็นเรื่องยาก -รู้สึกไม่สบายใจที่จะต้องดูพยานหลักฐาน เช่น ภาพศพ -กลัวการเผชิญหน้ากับจำเลยและผู้เกี่ยวข้องฝ่ายจำเลย -มีภาระหน้าที่ในการเลี้ยงบุตรหรือดูแลผู้ป่วยทำให้ไม่สะดวกในการมาเข้าฟังการพิจารณาคดี ที่ศาล 1最高裁判所事務総局、「裁判員制度10年の総括報告書」(Supreme Court, Report on 10 Years since the Introduction of the Saiban-in System) <https://www.saibanin.courts.go.jp/vc-iles/saibanin/file/r1_hyousi_honbun.pdf> accessed 13 October 2022. 2最高裁判所、「裁判員制度の運用に関する意識調査」<Supreme Court, 2022 Research on Citizen’s perception of Saiban-in System] <https://www.saibanin.courts.go.jp/vc-files/saibanin/2022/2.pdf> accessed 13 October 2022.


181 นอกจากนี้ สาเหตุอีกประการที่ประชาชนไม่อยากเข้าร่วมในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา ยังอาจมาจากบริบททางศาสนาหรือวัฒนธรรมที่ส่งผลต่อทัศนคติของประชาชนต่อคดีอาญาด้วย เช่น ในบริบทของประเทศญี่ปุ่นหรือประเทศแถบเอเชียหลายประเทศ ยังคงมีประชาชนที่มีทัศนคติ ในแง่ลบต่อคดีอาญาว่าเป็นสิ่งสกปรกชั่วร้าย งานเกี่ยวกับคดีอาญาจึงเป็นงานที่คนทั่วไปไม่ควรทำเพราะ เป็นการยุ่งเกี่ยวกับเรื่องสกปรกชั่วร้าย และในอดีตญี่ปุ่นยังมีกฎห้ามอัยการมองจักรพรรดิเนื่องจาก เชื่อว่างานของอัยการเป็นไม่ว่าจะเป็นการฟ้องหรือการบังคับโทษผู้กระทำผิด เป็นงานที่ต้องแปดเปื้อน ด้วยอาชญากรรมและความรุนแรงต่าง ๆ (เช่น การลงโทษจำเลยด้วยการเฆี่ยนตี) เชื่อว่าทัศนคติแบบนี้อาจ ได้รับอิทธิพลส่วนหนึ่งจากแนวคิดศาสนาพุทธในอดีตที่จะไม่ทำเรื่องชั่วร้ายหรือรุนแรงต่อหน้า องค์พระพุทธรูป และทัศนคติเช่นนี้แม้จะลดน้อยลงแต่ยังคงหลงเหลืออยู่ในปัจจุบัน จึงมีประชาชนที่ คิดว่าจะไม่เข้าร่วมเป็นคณะลูกขุนหรือคณะกรรมการตรวจฟ้องเด็ดขาด เพราะเป็นงานที่ต้องลงโทษผู้คน ไม่ใช่งานที่ช่วยเหลือผู้คน แนวคิดนี้ค่อนข้างฝังรากลึกในบริบทของประเทศญี่ปุ่น อย่างไรก็ดี ผู้ทรงคุณวุฒิทั้งสองให้ความเห็นว่าแม้ในปัจจุบันจากผลสำรวจจะพบว่าในประเทศ ญี่ปุ่นยังมีประชาชนที่ไม่เต็มใจเข้าเป็นไซบังอินหรือคณะกรรมการอยู่มาก แต่ผู้เชี่ยวชาญทั้งสองต่างมอง ว่าทัศนคติของคนรุ่นใหม่เริ่มเปลี่ยนไปทีละน้อย โดยมีแนวโน้มที่ดีขึ้น เริ่มมีความสนใจและตื่นตัวในการ เข้ามีส่วนร่วมในกระบวนการยุติธรรมมากขึ้น และในทางปฏิบัติยังพบว่าหลังจากได้เข้าร่วมเป็นไซบังอิน หรือกรรมการตรวจฟ้องจริง ๆ แล้ว ประชาชนส่วนใหญ่มีความเข้าใจที่ถูกต้องและมีทัศนคติที่ดีต่อ กระบวนการยุติธรรมมากขึ้น รวมทั้งอคติที่มีต่อการเข้าไปมีส่วนร่วมในกระบวนการยุติธรรมก็ลดน้อยลง 7) ความกังวลในเรื่องการมีส่วนได้เสียหรือผลประโยชน์ทับซ้อนจากการให้ประชาชนเข้ามา มีส่วนร่วมในกระบวนการยุติธรรม เนื่องจากกลไกการให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในประเทศญี่ปุ่นนั้น ไม่ได้ทำให้บุคคลนั้น มีอำนาจหรือได้รับผลประโยชน์อะไรจากการปฏิบัติหน้าที่ถึงขนาดที่จะเอาไปหาประโยชน์ได้ เพราะในการ พิจารณาหรือตัดสินแต่ละเรื่องนั้นบุคคลจะไม่สามารถทำได้คนเดียว ต้องอาศัยมติของคณะกรรมการ หรือคณะลูกขุนคนอื่นร่วมด้วย และหากมีการกระทำดังกล่าวก็มีบทบัญญัติกำหนดโทษกรณีปฏิบัติ หน้าที่โดยมิชอบรองรับอยู่แล้ว นอกจากนี้ ในแง่ผลประโยชน์หรือส่วนได้เสียเกี่ยวกับคดี หากมีข้อสงสัยว่าบุคคลดังกล่าวอาจมี ผลประโยชน์หรือส่วนได้เสียเกี่ยวกับคดีที่ตนจะรับผิดชอบ หรืออาจไม่เป็นกลาง บุคคลนั้นก็จะ ถูกคัดออกจากบัญชีรายชื่อผู้เป็นไซบังอินสำหรับคดีนั้น ๆ หรือถูกคู่ความคัดค้านได้อยู่แล้ว หรือในกรณี ของคณะกรรมการตรวจฟ้องก็อาจถูกคัดชื่อออกตั้งแต่ขั้นตอนการพิจารณาคุณสมบัติบุคคลทั่วไปแล้ว 8) ความเห็นและข้อเสนอแนะอื่น ๆ ผู้ทรงคุณวุฒิทั้งสองให้ความเห็นตรงกันว่า ไม่สามารถตัดสินได้ว่าระบบการมีส่วนร่วมของ ประชาชนรูปแบบไหนหรือของประเทศไหนดีที่สุดหรือมีประสิทธิภาพที่สุด (Best Practice) เพราะ บริบททั้งทางกฎหมาย วัฒนธรรม รวมทั้งทัศนคติของประชาชนที่มีต่อกระบวนการยุติธรรมในแต่ละ ประเทศแตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นทัศนคติต่อหน่วยงานรัฐหรือทัศนคติต่อการเข้ามีส่วนร่วมในกระบวนการ


182 ยุติธรรมทางอาญา อย่างเช่นที่กล่าวไปข้างต้นว่า ในบริบทของประเทศญี่ปุ่นยังคงมีประชาชนที่มีทัศนคติ ต่อระบบไซบังอินหรือคณะกรรมการตรวจฟ้องว่าเป็นการให้บุคคลทั่วไปเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับคดีอาญา อันเป็นเรื่องไม่ดี เป็นเรื่องที่ไม่อยากยุ่งเกี่ยว ซึ่งตรงข้ามกับบริบทของสหรัฐอเมริกาที่ประชาชนมีทัศนคติ ต่อการเข้าเป็นคณะลูกขุนว่าเป็นเรื่องดี เป็นการปฏิบัติหน้าที่พลเมืองที่ดี และประชาชนส่วนใหญ่เต็มใจ เข้าร่วมเป็นคณะลูกขุน ดังนั้น จึงต้องพิจารณาถึงบริบทให้รอบด้านเพื่อสร้างรูปแบบการมีส่วนร่วมของ ประชาชนที่เหมาะสมกับประเทศให้ได้มากที่สุด Mr. Morinaga Taro ให้ความเห็นเพิ่มเติมจากประสบการณ์การเป็นอัยการว่าการมีกลไกการ ตรวจสอบคำสั่งฟ้องของอัยการ โดยคณะกรรมการตรวจฟ้องนั้นมีอิทธิพลต่อการปฏิบัติหน้าที่ของ อัยการเป็นอย่างมาก เนื่องจากในการสั่งฟ้องหรือไม่ฟ้องคดีนั้นอัยการจะต้องเขียนเหตุผลประกอบคำสั่ง ซึ่งเหตุผลประกอบคำสั่งนี้แม้ไม่ได้เปิดเผยต่อสาธารณะแต่คณะกรรมการตรวจฟ้องสามารถตรวจสอบ เอกสารการสั่งไม่ฟ้องได้ทั้งหมด อัยการจึงต้องตระหนักอยู่ตลอดเวลาว่าหากเหตุผลการสั่งไม่ฟ้องของตน ไม่มีน้ำหนักหรือไม่ชัดเจนเพียงพอ ก็จะถูกคณะกรรมการตรวจฟ้องตรวจสอบและคัดค้านได้ ส่งผลให้ อัยการจะต้องเขียนเหตุผลโดยละเอียด ชัดเจน และมีน้ำหนักมากพออยู่เสมอโดยเฉพาะในกรณีที่จะมี คำสั่งไม่ฟ้อง ซึ่งทางปฏิบัติแบบนี้ถือเป็นประโยชน์ต่อการทำงานของพนักงานอัยการเองอย่างมาก เช่นกัน โดยเฉพาะพนักงานอัยการที่มีประสบการณ์น้อย และด้วยทางปฏิบัติดังกล่าวจึงส่งผลในภาพรวม ให้ระบบการทำงานของอัยการในประเทศญี่ปุ่นมีประสิทธิภาพและได้รับความไว้วางใจสูงมาก จึงเห็นว่า เป็นระบบที่ดีที่ควรนำมาใช้ เพราะจะทำให้อัยการตื่นตัวตลอดเวลาและในการปฏิบัติหน้าที่ก็จะคำนึงถึง ผลที่อาจตามมาทุกครั้ง 1.2 สาธารณรัฐเกาหลี คณะที่ปรึกษาได้ดำเนินการสัมภาษณ์เกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการ ยุติธรรมทางอาญาของสาธารณรัฐเกาหลี ณ วันพุธที่ 5 ตุลาคม 2565 เวลา 17.00 น.-18.30 น. โดย Prof. Dr. Yong Chul Park ศาสตราจารย์จาก Sogang University Law School ซึ่งสามารถสรุป ประเด็นได้ดังนี้ 1) กลไกที่เปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในหน่วยงานกระบวนการยุติธรรมของ สาธารณรัฐเกาหลี ในปัจจุบันสาธารณรัฐเกาหลีได้เปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการยุติธรรม ในหลายรูปแบบ เช่น การเป็นคณะกรรมการที่ปรึกษาต่าง ๆ เกี่ยวกับการตรวจสอบการทำงานของ หน่วยงานรัฐในกระบวนการยุติธรรม อย่างไรก็ดี กลไกคณะกรรมการส่วนใหญ่จะเป็นการคัดเลือกบุคคลที่อยู่ในตำแหน่งนักวิชาการ อาจารย์มหาวิทยาลัย หรือผู้เชี่ยวชาญในสาขานั้น ๆ (Expert) ไม่ได้ให้บุคคลทั่วไป (Lay Person) ทุกคน เข้าร่วมได้ จึงไม่ได้เป็นกลไกที่เปิดโอกาสให้ประชาชนทั่วไปมีส่วนร่วม (Lay Participation) โดยแท้ แต่ก็ถือเป็นช่องทางหนึ่งที่กฎหมายเปิดโอกาสในบุคคลในวงวิชาการหรือผู้เชี่ยวชาญต่าง ๆ เป็นตัวแทน ประชาชนเข้ามาแสดงความคิดเห็นได้ ตัวอย่างคณะกรรมการดังกล่าว เช่น


Click to View FlipBook Version