The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

โครงการศึกษาวิจัยว่าด้วยการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารงานและการอำนวยความยุติธรรมทางอาญาของสำนักงานอัยการสูงสุด

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by TU Law, 2023-04-04 10:24:54

รายงานการศึกษาฉบับสมบูรณ์ (Final Report)

โครงการศึกษาวิจัยว่าด้วยการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารงานและการอำนวยความยุติธรรมทางอาญาของสำนักงานอัยการสูงสุด

183 การมีส่วนร่วมของประชาชนในชั้นสืบสวนสอบสวน 1. คณะกรรมการตรวจสอบการสอบสวน (ชั้นตำรวจ) (Investigation Review Committee) ซึ่งมีอำนาจตรวจสอบและลงความเห็นว่าการสืบสวนสอบสวนของตำรวจเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมาย หรือไม่ 2. สำนักงานอัยการสูงสุดก็มีคณะกรรมการตรวจสอบการสอบสวนและสั่งฟ้อง (ชั้นอัยการ) (Investigation Review Committee) ทำหน้าที่ต่างกันกับคณะกรรมการตรวจสอบการสืบสวนในชั้น ตำรวจ โดยทำหน้าที่ให้คำแนะนำแก่อัยการในเรื่องต่าง ๆ เช่น 1) ความเหมาะสมและความชอบด้วย กฎหมายของคำสั่งฟ้องหรือไม่ฟ้องของอัยการ 2) ให้ความเห็นต่ออัยการว่าควรส่งฟ้องคดีหรือไม่หาก อัยการร้องขอ 3) ให้คำแนะนำอัยการในเรื่องความเหมาะสมของการขอออกหมายจับ 4) ให้คำปรึกษา หรือคำแนะนำในเรื่องอื่นที่อัยการร้องขอ 3. สำนักงานสอบสวนการทุจริตในข้าราชการระดับสูง (Corruption Investigation Office for High-Ranking Officials)ก็มีคณะกรรมการตรวจสอบการสอบสวน (Investigation Review Committee) ซึ่งตรวจสอบคำสั่งของเจ้าหน้าที่เช่นกัน โดยคำตัดสินของคณะกรรมการฯ มีผลเพียง “คำแนะนำ” เหมือนคณะกรรมการตรวจสอบฯ ในชั้นตำรวจและอัยการ 4. ในชั้นตำรวจและอัยการ อาจมีคณะกรรมการการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล (Personal Information Disclosure Committee) ในคดีเกี่ยวกับความผิดอาญาร้ายแรง คณะกรรมการชุดนี้ จัดตั้งขึ้นภายใต้ Article 8-2 of Act on Special Cases Concerning the Punishment of Specific Violent Crimes มีอำนาจพิจารณาเกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลในคดีอาญาร้ายแรง โดยหากคณะกรรมการมี ความเห็นว่าคดีดังกล่าวเป็นคดีร้ายแรงและเป็นที่สนใจของประชาชนว่าผู้ก่อเหตุเป็นใคร คณะกรรมการ ก็อาจลงความเห็นให้เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับผู้ต้องสงสัยหรืออาชญากรในคดีนั้นก็ได้ 5. คณะกรรมการตรวจสอบคำสั่งออกหมาย (Warrant Review Committee) ทำหน้าที่ ตรวจสอบความเหมาะสมและความชอบด้วยกฎหมายของคำสั่งปฏิเสธการขอออกหมายของพนักงาน ตำรวจโดยพนักงานอัยการ เนื่องจากอัยการเป็นองค์กรเดียวที่มีอำนาจขอออกหมายได้ตามกฎหมาย เกาหลี (ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 221-5) กรณีที่อัยการปฏิเสธคำขอออกหมายจากตำรวจ ตำรวจ อาจร้องขอให้คณะกรรมการพิจารณาว่าคำสั่งของอัยการเหมาะสมหรือชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ อย่างไรก็ดีคำตัดสินของคณะกรรมการฯ มีผลเพียง “คำแนะนำ” ไม่เป็นการบังคับให้อัยการ ต้องปฏิบัติตาม เนื่องจากตามรัฐธรรมนูญสาธารณรัฐเกาหลีบัญญัติให้อำนาจในการขอออกหมายเป็น ของพนักงานอัยการเท่านั้น หากให้คำสั่งของคณะกรรมการฯ มีผลบังคับเปลี่ยนคำสั่งของอัยการได้ก็จะ เกิดการตีความว่าคณะกรรมการฯ มีอำนาจตัดสินในเรื่องการขอออกหมายเช่นเดียวกับอัยการ ซึ่งขัดกับ รัฐธรรมนูญ การมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการคุมประพฤติ คณะกรรมการตรวจสอบคำสั่งปล่อยตัวที่มีการคุมประพฤติ (Parole Review Board) จัดตั้ง โดย Parole Review Board Operational Guidelines กระทรวงยุติธรรม


184 การมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ กระทรวงยุติธรรมจัดตั้ง Korea Rehabilitation Agency เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาค ประชาชนในกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ อย่างไรก็ตาม การมีส่วนร่วมในกระบวนการคุมประพฤติและกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ ในสาธารณรัฐเกาหลียังมีอยู่น้อยมาก จึงอาจไม่ค่อยถูกกล่าวถึงในแง่กลไกการมีส่วนร่วมของประชาชน มากนัก กลไกการตรวจสอบต่าง ๆ ข้างต้นนั้น ล้วนมิได้เป็นกลไกที่เปิดให้ประชาชนโดยทั่วไปเข้ามา ร่วมได้โดยแท้ แต่เป็นการคัดเลือกนักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญในสาขานั้น ๆ เข้ามาปฏิบัติหน้าที่ทั้งหมด และกลไกที่รองรับอำนาจมีทั้งในระดับกฎหมายและในระดับนโยบายขององค์กรที่จัดตั้งคณะกรรมการ ดังกล่าวขึ้นมาเอง นอกจากนี้มีข้อสังเกตอีกประการ คือคำตัดสินของคณะกรรมการข้างต้นจะไม่มี ผลผูกพันทางกฎหมายต่อองค์กรที่ตนตรวจสอบหรือให้คำแนะนำ แต่มีผลเป็นเพียงคำแนะนำหรือ ข้อเสนอแนะ (Advisory Effect) ซึ่งไม่มีผลบังคับทางกฎหมาย (Legal Effect) ให้องค์กรรัฐต้องปฏิบัติ ตาม กลไกการมีส่วนร่วมของประชาชนทั่วไป (Lay Participation) โดยแท้ การมีส่วนร่วมของประชาชนในชั้นศาล สาธารณรัฐเกาหลี มี Act on Citizen Participation in Criminal Trials ที่จัดตั้งระบบคณะลูกขุน (Advisory Jury System) อันถือเป็นกลไกที่ให้ประชาชนทั่วไป (Lay Participation) โดยแท้ที่มีกฎหมาย ให้อำนาจอย่างเป็นทางการเพียงกลไกเดียวของสาธารณรัฐเกาหลี โดยระบบคณะลูกขุน (Advisory Jury System) มีลักษณะที่แตกต่างกับคณะลูกขุนของประเทศญี่ปุ่นหรือสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี แต่มี ลักษณะคล้ายระบบคณะลูกขุนของสหรัฐอเมริกา ซึ่งสาธารณรัฐเกาหลีเริ่มใช้ระบบคณะลูกขุนตั้งแต่ ปี ค.ศ. 2008 2) เหตุผลหรือปัจจัยเบื้องหลังในการสร้างกลไกประชาชนให้เข้าร่วมในกระบวนการ ยุติธรรมทางอาญา เหตุผลหลักของการนำระบบการมีส่วนร่วมของประชาชนมาใช้ในสาธารณรัฐเกาหลี คือในอดีต สาธารณรัฐเกาหลีไม่มีกลไกใด ๆ ในการให้ประชาชนเข้ามีส่วนร่วมในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาทำให้ ประชาชนมีความไม่เชื่อถือในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา นำไปสู่สภาวะที่เรียกว่า Distrust of Justice ดังนั้น จึงมีการสร้างกลไกให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการยุติธรรมเพื่อเรียกความเชื่อใจของ ประชาชนกลับคืนมา โดยเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงในช่วงปี ค.ศ. 2008 ที่ได้เริ่มนำระบบคณะลูกขุนมาใช้ Prof. Dr. Yong Chul Park ได้ให้ข้อมูลว่าจากการสำรวจความเห็นประชาชนเกี่ยวกับทัศนคติ ต่อคำพิพากษาของศาลยุติธรรมพบว่ามีถึงร้อยละ 63.9 ที่ไม่เชื่อถือคำพิพากษาของศาล ซึ่ง Prof. Dr. Yong Chul Park ให้ข้อสังเกตว่าผลสำรวจดังกล่าวอาจไม่ได้สะท้อนความจริงว่ากระบวนการยุติธรรม ทางอาญามีปัญหา แต่เกิดจากทัศนคติของประชาชนที่ได้รับอิทธิพลจากการนำเสนอข้อมูลของสื่อต่าง ๆ ที่ทำให้ประชาชนเชื่อเช่นนั้น จึงเป็นแรงผลักดันอีกอย่างหนึ่งที่รัฐต้องการสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง


185 เกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรมในแก่ประชาชน และจากการนำระบบคณะลูกขุนมาใช้ก็ประสบ ความสำเร็จในแง่การเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจของประชาชนมาก เพราะประชาชนได้มาเห็นขั้นตอน ในการพิจารณาและตัดสินคดีจริง ๆ ว่าเป็นอย่างไร 3) กฎหมายรองรับการสร้างกลไกหรือจัดทำโครงการการส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมใน กระบวนการยุติธรรม กรณีคณะลูกขุน มี Act on Citizen Participation in Criminal Trials จัดตั้งและให้อำนาจไว้ แต่ก็ไม่ได้กำหนดหลักเกณฑ์ที่ชัดเจนในการเลือกบุคคลมาเป็นคณะลูกขุนนอกจากการกำหนดอายุ ว่าต้องมีอายุ 20 ปีบริบูรณ์ขึ้นไปและข้อกำหนดเกี่ยวกับการห้ามผู้ประกอบวิชาชีพด้านกฎหมายบางประเภท เป็นคณะลูกขุน เช่น ทนายความ เป็นต้น 4) การมีส่วนร่วมของประชาชนในระดับท้องถิ่น (จังหวัด/เมือง/ท้องถิ่น) ของสาธารณรัฐ เกาหลี ปัจจุบันระบบกฎหมายและนโยบายของรัฐในสาธารณรัฐเกาหลียังไม่ได้เปิดโอกาสให้ประชาชน เข้าไปมีส่วนร่วมในการปฏิบัติงาน ในระดับท้องถิ่นแต่ละพื้นที่นั้น นอกจากการรายงานหรือให้ความ ร่วมมือเกี่ยวกับอาชญากรรมที่เกิดขึ้นในท้องที่กับตำรวจหรืออัยการแล้ว ประชาชนในท้องถิ่นก็ไม่ได้มี บทบาทเชิงรุกในการเข้ามีส่วนร่วมในกระบวนการยุติธรรมทางอาญามากนัก 5) ผลตอบรับของการนำกลไกการมีส่วนร่วมของประชาชนแต่ละประเภทมาใช้ รวมถึง ปัญหาและอุปสรรค การมีส่วนร่วมของประชาชนในรูปแบบคณะกรรมการต่าง ๆ ในสาธารณรัฐเกาหลีซึ่งส่วนใหญ่ ไม่ได้มีผลบังคับตามกฎหมายให้รัฐต้องปฏิบัติตามนั้นมีทั้งข้อดีและข้อเสีย ข้อดีคือบุคคลที่เข้ามาทำหน้าที่กรรมการมีอิสระในการพิจารณามาก อย่างไรก็ตาม การพิจารณา อาจไม่ได้เป็นอิสระทั้งหมด เช่น ผู้พิพากษามีบทบาทสำคัญมากต่อคณะลูกขุนไม่ว่าจะเป็นการอธิบาย รายละเอียดของระบบและรายละเอียดของคดี และคณะลูกขุนก็อาจจะขอคำแนะนำจากผู้พิพากษา ในการพิจารณาคดี เป็นต้น ข้อดีต่อมา คือสามารถเปลี่ยนทัศนคติของประชาชนได้ กล่าวคือ ประชาชนส่วนมากจะมี ทัศนคติต่อกระบวนการยุติธรรมในทางลบและไม่เชื่อถือเนื่องจากได้รับอิทธิพลจากการนำเสนอของ สื่อต่าง ๆ แต่ทัศนคติของประชาชนต่อกระบวนการยุติธรรมทางอาญาเปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้นมาก หลังจากได้เข้าร่วมเป็นคณะลูกขุนและได้เรียนรู้การทำงานของกระบวนการยุติธรรมจริง ๆ ซึ่งถือเป็น ข้อดีที่สำคัญของระบบนี้ ข้อดีของการใช้ระบบคณะลูกขุนอีกประการหนึ่ง คือ ลดระยะเวลาของกระบวนการพิจารณาคดี จากหลายเดือนหรือเป็นปีในคดีที่พิจารณาโดยผู้พิพากษาอาชีพ แต่คดีที่มีคณะลูกขุนสามารถพิจารณา ให้เสร็จได้ภายในวันเดียว ซึ่งระบบนี้เป็นไปได้เนื่องจากในทางปฏิบัติก่อนวันพิจารณาจริงจะมี กระบวนการเตรียมการและทำความเข้าใจคดีกับคณะลูกขุน (Preparatory Days) และมีการกำหนด


186 ประเด็นแห่งคดีให้ชัดและน้อยลงกว่าการพิจารณาคดีทั่วไป ทำให้ในวันพิจารณาจริงคณะลูกขุนสามารถ เข้าใจประเด็นและมีมติในการตัดสินคดีได้อย่างรวดเร็ว ข้อเสีย คือมีแนวคิดที่เห็นว่าระบบการมีส่วนร่วมของประชาชนที่เป็นเพียงคำแนะนำแต่ไม่มี ผลบังคับตามกฎหมายไม่มีประโยชน์ เพราะไม่ว่าจะมีกลไกให้ประชาชนเข้าร่วมแต่การตัดสินใจสุดท้าย ยังคงอยู่ที่รัฐ อย่างไรก็ดี หากดูจากผลในทางปฏิบัติจะเห็นว่ารัฐพยายามรับฟังความเห็นของประชาชน เสมอ อย่างเช่นในกรณีของศาลและคณะลูกขุนที่มีคดีที่ศาลตัดสินตามมติของคณะลูกขุนมากกว่าร้อยละ 90 ของจำนวนคดีที่คณะลูกขุนร่วมพิจารณาทั้งหมด เพราะเจ้าหน้าที่รัฐตระหนักดีว่าหากพวกเขา เพิกเฉยต่อความเห็นหรือคำตัดสินของคณะกรรมการฯ หรือคณะลูกขุนการนำระบบนี้มาใช้ก็ไม่เกิด ประโยชน์ และคดีที่ศาลชั้นต้นพิพากษาไปในทางเดียวกันกับคณะลูกขุนก็ทำให้คำพิพากษานั้นมีน้ำหนัก มากขึ้นและถูกกลับได้ยากในชั้นศาลอุทธรณ์ จึงถือได้ว่าแม้จะไม่มีผลบังคับโดยกฎหมายแต่ก็มีผลบังคับ ในทางปฏิบัติมาก อย่างไรก็ดี ในทางกลับกันก็มีกรณีที่รัฐไม่ได้ปฏิบัติตามความคิดเห็นหรือมติของประชาชน เช่น กรณีคณะกรรมการตรวจสอบการสอบสวน (ชั้นอัยการ) ซึ่งในทางปฏิบัติมีคดีที่พิจารณาต่อปีน้อยมาก ทำให้บางคดีอัยการก็ไม่ได้ให้ความสำคัญกับมติคณะกรรมการฯ และแม้คณะกรรมการจะมีความเห็นว่า อัยการไม่ควรดำเนินการสืบสวนต่อ แต่อัยการก็ยังคงดำเนินการสืบสวนและส่งฟ้องต่อไป นอกจากนี้ ในส่วนของระบบคณะลูกขุนยังพบความกังวลในช่วงแรกว่าการนำระบบคณะลูกขุน มาใช้จะทำให้ผลคำพิพากษาคดีที่มีคณะลูกขุนเข้าร่วมจะส่งอิทธิพลต่อการพิพากษาคดีอื่นหรือไม่ แต่ความจริงแล้วจนถึงปัจจุบันจำนวนคดีที่มีคณะลูกขุนก็น้อยมากเมื่อเทียบกับจำนวนคดีทั้งหมดที่เข้าสู่ การพิจารณาของศาล สาเหตุประการหนึ่ง คือการที่ผลคำตัดสินของคณะลูกขุนมีสถานะเป็นเพียง “คำแนะนำหรือข้อเสนอแนะ” (Advisory Effect) และไม่ได้เป็นที่สุด ไม่ได้มีผลผูกพันตามกฎหมาย (Legal Binding Effect) ให้ศาลต้องพิพากษาตาม เพราะบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญสาธารณรัฐเกาหลี ให้อำนาจการพิจารณาตัดสินอรรถคดีเป็นของผู้พิพากษาเท่านั้น ซึ่งมีความคิดเห็นว่าผู้พิพากษาตาม บทบัญญัติรัฐธรรมนูญไม่สามารถตีความครอบคลุมถึงคณะลูกขุนได้ แต่ถึงแม้จะไม่มีผลบังคับทาง กฎหมาย จากสถิติก็พบว่าศาลพิพากษาไปในทางเดียวกับคำตัดสินของคณะลูกขุนถึงร้อยละ 99 จึงถือว่า การใช้ระบบคณะลูกขุนในสาธารณรัฐเกาหลีถือว่าประสบความสำเร็จมาก แต่ปัญหาตามที่กล่าวไป ข้างต้นคือ ยังมีปริมาณคดีที่ใช้คณะลูกขุนน้อยเกินไป ปัญหาอุปสรรคอื่น ๆ ของกลไกการมีส่วนร่วมของประชาชนในสาธารณรัฐเกาหลี 1. กลไกการมีส่วนร่วมของประชาชนยังไม่มีกฎหมายรองรับที่เพียงพอ นอกจากระบบคณะลูกขุนแล้ว ระบบการมีส่วนร่วมของประชาชนส่วนใหญ่ในสาธารณรัฐเกาหลี ไม่ได้จัดตั้งโดยกฎหมาย คือไม่มีกฎหมายรองรับการปฏิบัติหน้าที่หรือใช้อำนาจ ส่งผลให้ไม่มีผลบังคับ ทางกฎหมายต่อหน่วยงานรัฐที่คณะกรรมการมีคำสั่งหรือคำแนะนำไป


187 2. ระบบไม่ถูกใช้มากเท่าที่ควร แม้ระบบคณะลูกขุนจะประสบความสำเร็จในแง่การเสริมสร้างความเข้าใจต่อประชาชน แต่มี หลายปัจจัยที่ทำให้คณะลูกขุนไม่ถูกใช้เท่าที่ควร เช่น ฝ่ายจำเลยก็ไม่ได้ต้องการให้คนทั่วไปมาตัดสินคดี ของตัวเอง หรือศาลมักจะใช้ดุลพินิจปฏิเสธคำขอของจำเลยที่ขอให้คณะลูกขุนร่วมพิจารณาในคดี ความผิดเกี่ยวกับเพศ เนื่องจากคำนึงถึงสภาพจิตใจเหยื่อที่อาจไม่พร้อมให้การต่อหน้าคณะลูกขุน เป็นต้น นอกจากนี้ปัจจัยเรื่องการไม่มีผลบังคับทางกฎหมายของคำตัดสินก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลให้ กลไกการมีส่วนร่วมของประชาชนในสาธารณรัฐเกาหลีแต่ละกลไกไม่ถูกใช้มากเท่าที่ควร 6) การรับรู้ ตื่นตัว และความสนใจของประชาชนที่จะเข้าร่วมในกระบวนการยุติธรรมทาง อาญา ประชาชนที่เคยเข้าร่วมเป็นคณะลูกขุนมีทัศนคติที่ดีต่อระบบคณะลูกขุนมาก ๆ และได้ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับทางปฏิบัติในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาเพิ่มขึ้นมาก ๆ และในส่วนของคณะกรรมการฯ ที่ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญด้านต่าง ๆ แม้ประชาชนจะไม่ได้มี ส่วนเข้าร่วมโดยตรง แต่ประชาชนส่วนใหญ่ก็มีความไว้วางใจคณะกรรมการฯ ดังกล่าวและมีความเห็นว่า ศาล อัยการ หรือตำรวจควรรับฟังความเห็นคณะกรรมการฯ 7) ความกังวลในเรื่องการมีส่วนได้เสียหรือผลประโยชน์ทับซ้อนจากการให้ประชาชนเข้ามา มีส่วนร่วมในกระบวนการยุติธรรม ปัญหาเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อนไม่เป็นประเด็นข้อกังวลในระบบการมีส่วนร่วมของประชาชนใน กระบวนการยุติธรรมทางอาญาของสาธารณรัฐเกาหลี เพราะประชาชนไม่ได้มีผลประโยชน์ส่วนตัวใน การเข้าร่วมทำหน้าที่ดังกล่าว แต่อาจมีประเด็นกังวลในเรื่องความเป็นกลางของผู้ปฏิบัติหน้าที่ เช่น กรณีคณะลูกขุน เนื่องจาก คณะลูกขุนควรตัดสินคดีโดยปราศจากอคติใด ๆ ต่อคดีนั้น ในความเป็นจริงก่อนจะเข้ามาทำหน้าที่ ลูกขุน ประชาชนอาจได้รับข้อมูลเกี่ยวกับคดีนั้นผ่านสื่อต่าง ๆ โดยเฉพาะคดีที่เป็นที่สนใจของสังคมและ อาจเกิดอคติกับคดีได้ และคณะลูกขุนซึ่งโดยทั่วไปไม่ได้มีความรู้ด้านกฎหมายหรือคณะกรรมการต่าง ๆ ที่ไม่ได้เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายก็อาจมีพิจารณาเรื่องที่ตัวเองรับผิดชอบบนพื้นฐานของอคติหรือ ความคิดเห็นส่วนตัวที่มีอยู่แต่เดิมซึ่งไม่มีเหตุผลทางกฎหมายรองรับ และไม่ได้ตัดสินบนพื้นฐานของ การรับฟังข้อเท็จจริงในคดีแต่ตัดสินจากสิ่งที่ตนเชื่อเอาเองว่าควรเป็นเช่นนั้น 8) ความเห็นและข้อเสนอแนะอื่น ๆ การมีส่วนร่วมของประชาชนเป็นทางเลือกที่ดีอย่างหนึ่งในการสร้างความไว้วางใจของประชาชน ต่อกระบวนการยุติธรรม เพราะปัจจุบันประชาชนมองกระบวนการยุติธรรมไปในทางลบและแตกต่าง จากความเป็นจริงอย่างมาก การให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการยุติธรรมจะช่วยให้ประชาชน ได้เห็นการทำงานที่แท้จริง เข้าใจกระบวนการทำงานมากขึ้น และลดอคติของประชาชนต่อกระบวนการ ยุติธรรมและต่อเจ้าหน้าที่รัฐได้


188 อย่างไรก็ตาม มีข้อควรระวัง คือรัฐอาจใช้กลไกการมีส่วนร่วมของประชาชนเป็นเครื่องมือในการ ปัดความรับผิดชอบหรืออ้างความชอบธรรมในการกระทำของตนได้ เช่น ตำรวจหรืออัยการอาจเห็นว่า คำสั่งของตนอาจถูกวิจารณ์เรื่องความเหมาะสม จึงได้ส่งเรื่องดังกล่าวให้คณะกรรมการพิจารณาและเมื่อ คณะกรรมการพิจารณาตามที่ตนจะสั่งก็อ้างว่าสั่งตามคำแนะนำของคณะกรรมการ เป็นต้น 2. สรุปผลการประชุมระดับนานาชาติ คณะที่ปรึกษาได้จัดให้มีการประชุมระดับนานาชาติ โดยมีผู้ร่วมอภิปรายบนเวที (Panelists) ซึ่งเป็นนักวิชาการหรือบุคลากรในกระบวนการยุติธรรมหรือจากองค์กรระหว่างประเทศ อย่างน้อย 4 คน จากอย่างน้อย 3 ประเทศ เพื่อรับฟังความคิดเห็น เรื่อง “การมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารงาน และการอำนวยความยุติธรรม” (International Conference on Public Participation in Criminal Justice Administration: International Aspect) เมื่อวันที่6 ธันวาคม 2565 เวลา 15.00–18.00 น. ผ่านระบบออนไลน์ (Zoom) โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมจำนวน 36 คน3 สรุปรายละเอียดได้ดังนี้ 1) Mr. Henning Glaser ผู้อำนวยการศูนย์ CPG (German – Southeast Asian Center of Excellence for Public Policy and Good Governance) ประเทศเยอรมนี นำเสนอแนวคิดทั่วไปเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมร่วมของประชาชนในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา ซึ่งสามารถสรุปได้ ดังนี้ เหตุผลสำคัญที่จะต้องให้ประชาชนมีส่วนร่วมในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา เพื่อสร้างความ เชื่อใจ (Trust) ในการอำนวยความยุติธรรมในทางอาญาของรัฐ ย่อมทำให้กระบวนการยุติธรรมทางอาญา นั้นมีความชอบธรรม (Legitimacy) และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นในการป้องกันและปราบปราม อาชญากรรม มิติเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา พิจารณาได้ใน 2 มิติ คือ มิติแรก การมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาตามรัฐธรรมนูญ เช่น หลักนิติรัฐ หลักประชาธิปไตย ในมิตินี้ ศาลจะเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการใช้หรือตีความกฎหมายในทาง ที่เป็นคุณเพื่อเพิ่มโอกาสให้ประชาชนสามารถเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาได้ ตามที่มีกฎหมายกำหนดเอาไว้ มิติที่สอง การส่งเสริมการส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาโดยรัฐ ในมิตินี้ รัฐรวมไปถึงหน่วยงานหรือภาคส่วนต่าง ๆ อาจเข้ามามีบทบาทในการส่งเสริมการมีสวนร่วมของ ประชาชนในทางอาญาได้ในหลายรูปแบบ ดังนี้ -กำหนดนโยบายในระดับชาติอย่างชัดเจนในการให้ส่งเสริมให้ประชาชนเข้ามามีส่วนรวม ในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา เช่น การออกกฎหมายให้ประชาชนเข้ามาทำหน้าที่เป็นลูกขุน (Jury) หรือผู้พิพากษาสมทบ (Lay Judge) การทำหน้าที่เป็น Friend of the Court (Amicus Curiae) ใน 3 โปรดดูรายละเอียดในภาคผนวก 1


189 สหรัฐอเมริกา ซึ่งทำหน้าที่ในการช่วยเหลือศาลในการให้ข้อมูลหรือข้อคิดเห็นทั้งในเชิงข้อเท็จจริงและ ข้อกฎหมาย ในคดีที่เกี่ยวกับคนเข้าเมือง (Immigration Case)4 -การให้ชุมชนซึ่งได้รับผลกระทบจากการประกอบอาชญากรรม เข้ามามีส่วนร่วมในการเข้ามา ดูแลเหยื่ออาชญากรรม และผู้กระทำความผิด เพื่อค้นหาสาเหตุในการกระทำความผิดของผู้กระทำผิด และป้องกันการกระทำความผิด ตลอดจนช่วยให้ผู้กระทำผิดสามารถกลับคืนสู่สังคมได้ -การจัดตั้ง Citizens Crime Commission ในสหรัฐอเมริกา เพื่อช่วยในการสอดส่องดูแลความ ปลอดภัยของแต่ละรัฐ -การจัดตั้งองค์กรอิสระภาคเอกชน ทำหน้าที่สอดส่องดูแลการดำเนินคดีทุจริต -การให้มีอาสาสมัครในการช่วยสอดส่องดูแลและเฝ้าระวังอาชญากรรม -การอนุญาตให้ NGOs เข้ามามีบทบาทในการสืบสวนสอบสวนคดีบางประเภท เช่น คดีเด็กและ เยาวชน คดีสิ่งแวดล้อม -การให้อาสาสมัครภาคประชาชนเข้ามามีส่วนช่วยในการแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำผิด -การให้ NGOs สื่อมวลชน องค์กรภาคเอกชน เข้ามามีบทบาทในการให้คำแนะนำ ดูแล หรือ ช่วยเหลือประชาชนในการเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา มีข้อสังเกตว่า ในทางปฏิบัติรัฐอาจจะเข้ามามีบทบาททั้งในแง่ของการส่งเสริม หรืออาจจะ เข้ามาขัดขวางการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการยุติธรรมได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความเข้มแข็งของรัฐ ในการคุ้มครองสิทธิในทางแพ่งและสิทธิในทางการเมือง (Civil and Political Rights) ตัวอย่างหนึ่งที่อาจจะเห็นได้อย่างชัดเจน คือ มุมมองของรัฐที่มีต่อ NGOs ในบางรัฐที่ไม่ได้ ให้การคุ้มครองสิทธิดังกล่าวอย่างเต็มที่ ก็จะมีปัญหาในเรื่องการดำเนินคดีเชิงยุทธศาสตร์เพื่อระงับการมี ส่วนร่วมของประชาชน (Strategic Lawsuit Against Public Participation–SLAPP) ซึ่งเป็นการดำเนินคดี แก่บุคคลที่แสดงความคิดเห็นในประเด็นสาธารณะต่าง ๆ โดยมิได้มีความมุ่งหวังให้เกิดความเป็นธรรม แต่เป็นการดำเนินคดีแก่บุคคลดังกล่าว เพื่อเป็นการข่มขู่ และทำให้เสียเวลา เสียค่าใช้จ่ายในการต่อสู้คดี เพื่อป้องปรามมิให้มีการแสดงความคิดเห็นในทางที่เป็นผลร้ายแก่ผู้ฟ้องคดี รัฐจึงควรมีหน้าที่ในการป้องกันมิให้มี SLAPP เกิดขึ้น ซึ่งในส่วนของประเทศไทยมีการออก กฎหมายที่เกี่ยวข้องในเรื่องนี้ คือ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 161/1 และมาตรา 165 อย่างไรก็ตาม กฎหมายทั้งสองมาตรานี้ถูกวิพากษ์วิจารณ์จากกลุ่ม NGOs ว่าไม่ประสบความสำเร็จ ในการบังคับใช้เท่าไหร่นัก เนื่องจากศาลไม่กล้าที่จะใช้ดุลพินิจในการดำเนินการตามมาตราดังกล่าว ในการสั่งไม่ฟ้องกรณีที่เป็น SLAPP 4U.S. Department of Justice, <https://www.justice.gov/sites/default/files/pages/attachments/2016/12/21/friendofcourtguidancememo091014.pdf> accessed 6 January 2023.


190 ในกรณีที่รัฐได้ทำหน้าที่ในการคุ้มครองสิทธิทางแพ่งและสิทธิในการเมืองของประชาชนอย่าง เต็มที่ ย่อมส่งผลให้ประชาชนมีสิทธิในการรวมกลุ่ม และแสดงความคิดเห็นในทางวิชาการได้ อย่างเต็มที่ ซึ่งเอื้ออำนวยต่อการที่ประชาชนจะเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการยุติธรรมได้ง่ายขึ้น รูปแบบการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการยุติธรรม อาจจะปรากฏในรูปแบบของ กระบวนการยุติธรรมในลักษณะที่ไม่เป็นทางการก็ได้เช่น กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ในชุมชน ซึ่งมีปรากฏในประเทศไทยเช่นกัน และอาจช่วยให้ข้อพิพาทที่เกิดขึ้นในชุมชนสามารถยุติได้เช่นกัน ดังนั้น รัฐอาจจะเข้ามามีบทบาทในการส่งเสริมในเรื่องนี้ เพื่อเพิ่มการมีส่วนร่วมของประชาชนใน กระบวนการยุติธรรมทางอาญาได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในคดีอาญาเล็กน้อย เช่น คดีลหุโทษ 2) Mr. Morinaga Taro ผู้อำนวยการสถาบัน UNAFEI ประเทศญี่ปุ่น นำเสนอเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการยุติธรรมของญี่ปุ่น สามารถสรุปได้ ดังนี้ รูปแบบที่สำคัญของการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาของญี่ปุ่น มีด้วยกัน 2 รูปแบบ คือ การเข้ามาปฏิบัติหน้าที่ในคณะลูกขุนไซบังอิน (Saiban-in) และการทำหน้าที่ เป็นคณะกรรมการตรวจสอบฟ้อง 1) การเข้ามาเป็นลูกขุนในคณะลูกขุนไซบังอิน ระบบไซบังอิน จัดตั้งโดย Act on Criminal Trials with the Participation of Saiban-in 2004 โดยรูปแบบของลูกขุนไซบังอินนี้จะมีลักษณะที่แตกต่างจากรูปแบบลูกขุนในประเทศภาคพื้นทวีปและ แองโกล-อเมริกา เนื่องจากมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบของลูกขุนให้เหมาะสมกับประเทศญี่ปุ่น โดย วัตถุประสงค์ของการนำระบบไซบังอินมาใช้ในประเทศญี่ปุ่น เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจและความ ไว้วางใจของประชาชนต่อกระบวนการยุติธรรม คณะลูกขุนไซบังอินจะมีอำนาจพิจารณาเฉพาะคดีที่อยู่ในศาลชั้นต้น (ศาลท้องถิ่น) เท่านั้น ไม่มี อำนาจพิจารณาคดีเยาวชน และไม่มีอำนาจพิจารณาคดีในชั้นอุทธรณ์หรือฎีกา ไซบังอิน มีที่มาจากการสุ่มเลือกประชาชนทั่วไปที่มีสิทธิเลือกตั้งจำนวน 6 คน เข้ามาปฏิบัติ หน้าที่เป็นไซบังอินเพื่อร่วมพิจารณาคดีเป็นองค์คณะเดียวกันกับผู้พิพากษาอาชีพ (ไซบังคัง) ซึ่งองค์คณะ หนึ่งจะประกอบด้วย ผู้พิพากษาอาชีพ 3 คน และไซบังอิน 6 คน บุคคลที่ได้รับการเรียกให้ไปปฏิบัติหน้าที่ไซบังอินไม่อาจปฏิเสธการเข้ารับได้เว้นแต่มีเหตุปฏิเสธ ตามที่กฎหมายกำหนด เช่น บุคคลที่มีอายุเกิน 70 ปี บุคคลที่เคยปฏิบัติหน้าที่ไซบังอินภายใน 5 ปีที่ผ่านมา เป็นต้น สิทธิและหน้าที่ของไซบังอิน -ไซบังอิน แต่ละคนต้องมีความเป็นอิสระในการปฏิบัติหน้าที่ของตน


191 -ไซบังอิน โดยไซบังอินมีอำนาจร่วมกับผู้พิพากษาอาชีพ ทั้งในการตัดสินว่าจำเลยมีความผิด ตามฟ้องหรือไม่ และกรณีที่ตัดสินว่าจำเลยมีความผิดควรกำหนดโทษที่จำเลยอย่างไร โดยมีสิทธิในการ ออกเสียงชี้ขาดคดีเช่นเดียวกับผู้พิพากษาอาชีพ แต่ไม่มีอำนาจในการชี้ขาดปัญหาข้อกฎหมาย -ไซบังอิน มีสิทธิในการในรับค่าเดินทาง เบี้ยเลี้ยง และค่าที่พัก -ไซบังอิน จะต้องปฏิบัติหน้าที่ของตนเองตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง และต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความสุจริต ปราศจากอคติ -ไซบังอิน ต้องไม่เปิดเผยความลับเกี่ยวแก่คดี และต้องไม่รับผลประโยชน์ตอบแทนอย่างใด ๆ เพื่อปฏิบัติหน้าที่ -ไซบังอิน ต้องไม่กระทำการอย่างใด ๆ อันมีผลกระทบต่อความเป็นกลางในการตัดสินคดีหรือ กระทบต่อความเชื่อถือหรือไว้วางใจต่อกระบวนการยุติธรรม ลักษณะพิเศษบางประการของระบบไซบังอิน -มีการพิจารณาคดีแบบติดต่อกันหลายวันอย่างต่อเนื่อง (โดยทั่วไปคือ 3-5 วัน) -จะต้องมีการประชุมก่อนพิจารณา (Pre-trial Conference) เพื่อจำกัดประเด็นของคดีที่อาจจะ มีข้อโต้แย้งระหว่างคู่ความให้แคบลง และเพื่อหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้ากันระหว่างคู่ความโดยไม่จำเป็น -ศาลอาจขอให้คู่ความเพื่อให้การเกี่ยวกับคดีอย่างชัดเจน เข้าใจง่าย (ไม่ใช้ภาษากฎหมาย หาก ไม่จำเป็น) และมีการนำเสนอพยานหลักฐานประกอบการพิจารณาที่ตรงประเด็น การให้การและ นำเสนอพยานหลักฐาน สามารถใช้แผนภูมิ แผนภาพ และรูปภาพประกอบได้ -ศาลอาจขอให้คู่ความไม่นำเสนอพยานหลักฐานซึ่งอาจมีผลกระทบต่อสภาพจิตใจของไซบังอิน (เช่น ภาพของคนที่ถูกแทง) 2) การทำหน้าที่เป็นคณะกรรมการตรวจสอบฟ้อง ระบบคณะกรรมการตรวจสอบฟ้อง เป็นระบบการตรวจสอบดุลพินิจการสั่ง “ไม่ฟ้อง” ของ พนักงานอัยการ โดยประชาชนทั่วไปซึ่งมีอำนาจตาม The Act on Committee for Inquest of Prosecution 1948 ลักษณะเฉพาะของอัยการญี่ปุ่น คือการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานอัยการมิได้เป็นการปฏิบัติ ในฐานะตัวแทนของรัฐ แต่ถือเป็นตัวแทนประชาชน อำนาจในการดำเนินคดี (Prosecution) ผูกขาดโดย อัยการ5 บุคคลอื่นนอกจากพนักงานอัยการไม่สามารถฟ้องคดีอาญาได้ พนักงานอัยการมีอำนาจในการ ใช้ดุลพินิจอย่างกว้างขวางในการพิจารณาว่าจะสั่งฟ้องใครและฟ้องข้อหาอะไร รวมถึงอำนาจในการ สืบสวนคดีอาญาทุกประเภท เนื่องจากดุลพินิจการสั่งฟ้องหรือไม่ฟ้องของอัยการที่กว้างขวาง ทำให้มีความกังวลว่าจะมีการใช้ อำนาจไปในทางที่ไม่เหมาะสม ด้วยเหตุดังกล่าว กฎหมายญี่ปุ่นจึงได้จัดตั้งกลไกการตรวจสอบการ 5 Japanese Criminal Procedure Code, มาตรา 247.


192 สั่งฟ้องของพนักงานอัยการจากองค์กรภายนอกขึ้น ซึ่งในกลไกที่ให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการ ตรวจสอบคือ “คณะกรรมการตรวจสอบฟ้อง” กรณีที่พนักงานอัยการสั่งไม่ฟ้อง อาจแบ่งออกได้เป็น 2 กรณี กรณีมีเหตุผลอันสมควร เช่น การกระทำที่กล่าวหาผู้ต้องหามาเข้าองค์ประกอบของความผิด ไม่มีพยานหลักฐานพอที่จะพิสูจน์ความผิดของผู้ต้องหาได้อย่างแน่นอน ผู้ต้องหาวิกลจริต ไม่รู้ผิดชอบ หรือผู้ต้องหาถึงแก่ความตาย เป็นต้น กรณีที่มีเหตุในการฟ้องคดีได้ แต่ไม่จำเป็นที่จะต้องฟ้องร้องดำเนินคดีแก่ผู้ต้องหา เมื่อพิจารณา ถึงลักษณะ อายุ สภาพแวดล้อมของผู้ต้องหา ความร้ายแรงแห่งคดี หรือเหตุการณ์หรือสถานการณ์ ที่เกิดขึ้นภายหลังกระทำความผิด6 -คณะกรรมการตรวจฟ้องจะตั้งประจำอยู่ในศาลชั้นต้น (District Court) ทุกศาลอย่างน้อยศาลละ 1 คณะ -คณะกรรมการตรวจฟ้อง 1 คณะ จะประกอบไปด้วยประชาชนจำนวน 11 คน จากการคัดเลือก โดยระบบสุ่ม ซึ่งคัดเลือกจากบุคคลที่มีสิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และไม่เป็นบุคคลที่ กฎหมายกำหนดห้ามมิให้เป็นคณะกรรมการตรวจฟ้อง เช่น บุคคลที่เป็นสมาชิกราชวงศ์ รัฐมนตรี ผู้พิพากษา อัยการ ตำรวจ พนักงานศาล ตำรวจ กองกำลังป้องกันตนเอง เป็นต้น หรือบุคคลที่เคย ต้องโทษจำคุกเกินกว่า 1 ปี ระบบและขั้นตอนการคัดเลือกคณะกรรมการตรวจฟ้อง ในการคัดเลือกคณะกรรมการตรวจสอบฟ้อง เลขาธิการคณะกรรมการตรวจสอบฟ้อง ซึ่งโดย ปกติจะเป็นเจ้าหน้าที่ศาลระดับอาวุโส โดยเลขาธิการฯ จะดำเนินการแจ้งให้ทางจังหวัด เมือง และ หมู่บ้านที่อยู่ในเขตอำนาจศาลชั้นต้นในท้องที่นั้นส่งรายชื่อผู้มีคุณสมบัติให้แก่ศาลชั้นต้น ภายในวันที่ 1 กันยายนของทุกปี เมื่อทางจังหวัด เมือง หรือหมู่บ้านได้รับแจ้งแล้ว ก็จะทำการรวบรวมรายชื่อส่งให้แก่ เลขาธิการฯ ภายในวันที่ 15 ตุลาคมของปีนั้น ๆ จากนั้นทางเลขาธิการฯ จะทำการรวมรวมรายชื่อและ ตรวจสอบว่าผู้มีรายชื่อดังกล่าวมีคุณสมบัติต้องห้ามดำรงตำแหน่งคณะกรรมการตรวจฟ้องหรือไม่ และ ดำเนินการคัดเลือกผู้มาทำหน้าที่คณะกรรมการตรวจฟ้องจากรายชื่อดังกล่าว โดยการจับฉลากต่อหน้า ผู้พิพากษาศาลชั้นต้น 1 คนและพนักงานอัยการท้องถิ่น 1 คน คณะกรรมการตรวจฟ้อง จะมีวาระการ ดำรงตำแหน่งคราวละ 6 เดือน ผู้ที่ได้รับเลือกให้เป็นคณะกรรมการตรวจสอบฟ้องไม่มีสิทธิปฏิเสธการ เข้ารับหน้าที่ เว้นแต่มีเหตุจำเป็นหรือสมควรตามที่กฎหมายกำหนด เช่น ป่วยหนัก เดินทางท่องเที่ยว ต่างประเทศ หรือ “เหตุอย่างอื่นไม่อาจหลีกเลี่ยงได้” มิฉะนั้นอาจต้องจ่ายค่าปรับไม่เกิน 100,000 เยน อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการตรวจฟ้อง คณะกรรมการตรวจฟ้อง มีหน้าที่หลักด้วยกัน 2 ประการ คือ (1) การตรวจสอบคำสั่งไม่ฟ้องของพนักงานอัยการ 6 เพิ่งอ้าง, มาตรา 248.


193 -คณะกรรมการตรวจสอบฟ้องมีอำนาจตรวจสอบดุลพินิจในการ สั่งไม่ฟ้องของพนักงานอัยการ ในคดีอาญาได้เกือบทุกประเภทความผิด ยกเว้นความผิดเกี่ยวกับการก่อจลาจลภายในประเทศและ ความผิดเกี่ยวกับการฝ่าฝืนกฎหมายเกี่ยวกับการผูกขาดทางการค้าบางประเภท ทั้งนี้ คณะกรรมการ ตรวจฟ้องสามารถริเริ่มการตรวจสอบการใช้ดุลพินิจในการสั่งไม่ฟ้องของอัยการได้ แม้ไม่มีผู้เสียหาย มายื่นคำร้อง -ผู้มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้คณะกรรมการตรวจสอบคำสั่งไม่ฟ้องของพนักงานอัยการ ได้แก่ ผู้เสียหาย หรือบุคคลที่เป็นผู้ร้องทุกข์กล่าวโทษในคดีอาญา -มติคณะกรรมการตรวจสอบฟ้อง คณะกรรมการตรวจฟ้องเมื่อตรวจสอบคำสั่งไม่ฟ้องของอัยการแล้ว อาจมีมติได้ใน 3 ลักษณะ คือ เห็นควรสั่งฟ้อง (Prosecution is Appropriate) เห็นว่าคำสั่งไม่ฟ้องไม่สมควร (Non-rosecution is Inappropriate ซึ่งจำเป็นที่จะต้องให้อัยการไปพิจารณาการสั่งไม่ฟ้องอีกครั้งหนึ่ง และ เห็นควรสั่ง ไม่ฟ้อง (Non-prosecution is Appropriate) -การลงมติของคณะกรรมการ จะอาศัยหลักเสียงข้างมาก คือ 6 เสียงขึ้นไปจาก 11 เสียง แต่หาก เป็นกรณีมติ “เห็นควรสั่งฟ้อง” ต้องอาศัยเสียงข้างมาก 8 เสียงขึ้นไปจาก 11 เสียง และคณะกรรมการ ตรวจฟ้องจะส่งมติดังกล่าวไปยังอัยการเพื่อพิจารณา (2) การจัดทำข้อเสนอหรือคำแนะนำเพื่อพัฒนาปรับปรุงการทำงานของสำนักงานอัยการ คณะกรรมการตรวจฟ้อง อาจจัดทำข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการพัฒนางานอัยการโดยทั่วไป ที่มิได้ เฉพาะเจาะจงคดีใดคดีหนึ่ง โดยอัยการที่ได้รับข้อเสนอแนะหรือคำแนะนำจากคณะกรรมการตรวจฟ้อง เกี่ยวกับรูปแบบการดำเนินคดีของพนักงานอัยการที่ควรจะเป็น มีหน้าที่ต้องแจ้งรายงานว่าสำนักงาน อัยการได้มีมาตรการเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวอยู่แล้วหรือไม่ และมีเนื้อหาอย่างไรให้คณะกรรมการตรวจ ฟ้องทราบ 3) Prof. Dr. Yong Chul Park ศาสตราจารย์จาก Sogang University Law School สาธารณรัฐเกาหลี นำเสนอเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการยุติธรรมของเกาหลีใต้ สามารถ สรุปได้ ดังนี้ กลไกการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาของเกาหลีใต้เพิ่งเริ่ม มีปรากฏอย่างชัดเจน ในปี ค.ศ. 2008 โดยเริ่มมีการนำระบบคณะลูกขุนมาใช้ เพื่อให้ประชาชนเกิด ความเชื่อใจ (Trust) ในกระบวนการยุติธรรมทางอาญามากยิ่งขึ้น เนื่องจาก ในช่วงเวลาก่อนหน้านั้นได้ มีการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับทัศนคติต่อคำพิพากษาของศาลยุติธรรม พบว่ามีถึง ร้อยละ 63.9 ที่ไม่เชื่อถือคำพิพากษาของศาล ผลสำรวจดังกล่าวสะท้อนถึงทัศนคติของประชาชนที่ได้รับ อิทธิพลจากการนำเสนอข้อมูลของสื่อต่าง ๆ เกี่ยวกับการตัดสินคดีของศาล อันเป็นแรงผลักดันให้รัฐ จะต้องการดำเนินการในการสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรมในแก่ประชาชนด้วย


194 การนำระบบคณะลูกขุนมาใช้ซึ่งก็ประสบความสำเร็จในแง่การเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจของ ประชาชนมาก เพราะประชาชนได้มาเห็นขั้นตอนในการพิจารณาและตัดสินคดีจริง ๆ ว่าเป็นอย่างไร รูปแบบการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการยุติธรรมของเกาหลีใต้อาจมีได้ในสอง รูปแบบ คือ การมีส่วนร่วมของประชาชนผ่านคณะกรรมการตรวจสอบชุดต่าง ๆ ในชั้นสอบสวนและ ชั้นของการคุมประพฤติ ซึ่งอาจมิใช่กลไกที่เปิดให้ประชาชนโดยทั่วไปเข้ามาร่วมได้โดยแท้ แต่เป็นการ คัดเลือกนักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญในสาขานั้น ๆ เข้ามาปฏิบัติหน้าที่ทั้งหมด นอกจากนี้ คือคำตัดสิน ของคณะกรรมการตรวจสอบต่าง ๆ ไม่มีผลผูกพันทางกฎหมายต่อองค์กรที่ตนตรวจสอบหรือ ให้คำแนะนำ แต่มีผลเป็นเพียงคำแนะนำหรือข้อเสนอแนะเท่านั้น และการมีส่วนร่วมของประชาชน ในกระบวนการยุติธรรมอย่างแท้จริง ในการปฏิบัติหน้าที่เป็นลูกขุนในชั้นการพิจารณาคดีของศาล การมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา ตามขั้นตอนในการดำเนินคดี อาญาอาจสรุปได้ ดังนี้ การมีส่วนร่วมของประชาชนในชั้นสอบสวน (Investigation Process) -ในชั้นตำรวจ มีคณะกรรมการตรวจสอบการสอบสวน (Investigation Review Committee) ซึ่งมีอำนาจตรวจสอบและลงความเห็นว่าการสืบสวนสอบสวนของตำรวจเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมาย หรือไม่ -ในชั้นอัยการ มีคณะกรรมการตรวจสอบการสอบสวนและสั่งฟ้อง (Investigation Review Committee) ซึ่งทำหน้าที่ต่างกันกับคณะกรรมการตรวจสอบการสืบสวนในชั้นตำรวจ โดยทำหน้าที่ ให้คำแนะนำแก่อัยการในเรื่องต่าง ๆ เช่น เรื่องความเหมาะสมและความชอบด้วยกฎหมายของคำสั่ง ฟ้องหรือไม่ฟ้องของอัยการ การให้ความเห็นต่ออัยการว่าควรสั่งฟ้องคดีหรือไม่ หรือให้คำแนะนำอัยการ ในเรื่องความเหมาะสมของการขอออกหมายจับ -สำนักงานสอบสวนการทุจริตในข้าราชการระดับสูง (Corruption Investigation Office for High Ranking Officials)ก็มีคณะกรรมการตรวจสอบการสอบสวน (Investigation Review Committee) ซึ่งตรวจสอบคำสั่งของเจ้าหน้าที่เช่นกัน -ในชั้นตำรวจและอัยการ อาจมีคณะกรรมการการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล (Personal Information Disclosure Committee) ในคดีเกี่ยวกับความผิดอาญาร้ายแรง คณะกรรมการชุดนี้ จัดตั้งขึ้นภายใต้ Article 8-2 of Act on Special Cases Concerning the Punishment of Specific Violent Crimes มีอำนาจพิจารณาเกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลในคดีอาญาร้ายแรง โดยหากคณะกรรมการ มีความเห็นว่าคดีดังกล่าวเป็นคดีร้ายแรงและเป็นที่สนใจของประชาชนว่าผู้ก่อเหตุเป็นใคร คณะกรรมการก็อาจลงความเห็นให้เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับผู้ต้องสงสัยหรืออาชญากรในคดีนั้นก็ได้ -คณะกรรมการตรวจสอบคำสั่งออกหมาย (Warrant Review Committee) ทำหน้าที่ ตรวจสอบความเหมาะสมและความชอบด้วยกฎหมายของคำสั่งปฏิเสธการขอออกหมายของพนักงาน ตำรวจโดยพนักงานอัยการ เนื่องจากอัยการเป็นองค์กรเดียวที่มีอำนาจขอออกหมายได้ตามกฎหมาย


195 เกาหลี (ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 221-5) กรณีที่อัยการปฏิเสธคำขอออกหมายจากตำรวจ ตำรวจ อาจร้องขอให้คณะกรรมการพิจารณาว่าคำสั่งของอัยการชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ -นอกจากนี้ ประชาชนอาจเข้ามามีส่วนร่วมในชั้นสอบสวน ในรูปแบบของการให้ข้อมูลหรือแจ้ง เบาะแสเกี่ยวกับการกระทำความผิดอาญาหรืออาชญากรรมที่เกิดขึ้นในท้องที่ การมีส่วนร่วมของประชาชนในชั้นการดำเนินคดีในศาล ประเทศเกาหลีใต้ได้มีการตรากฎหมายเพื่อจัดตั้งระบบคณะลูกขุนขึ้น ได้แก่ Act on Citizen Participation in Criminal Trials อย่างไรก็ตาม กฎหมายฉบับนี้มิได้กำหนดหลักเกณฑ์ที่ชัดเจนในการ เลือกบุคคลมาเป็นคณะลูกขุน โดยกำหนดแต่เฉพาะอายุของผู้ที่จะเป็นลูกขุนว่าจะต้องมีอายุ 20 ปี บริบูรณ์ขึ้นไป และห้ามผู้ประกอบวิชาชีพด้านกฎหมายบางประเภทเป็นคณะลูกขุน เช่น ทนายความ เป็นต้น การมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการคุมประพฤติ มีการจัดตั้งคณะกรรมการตรวจสอบคำสั่งปล่อยตัวที่มีการคุมประพฤติ (Parole Review Board) จัดตั้งตาม Parole Review Board Operational Guidelines ของกระทรวงยุติธรรม การมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ กระทรวงยุติธรรมของเกาหลีใต้ มีการจัดตั้ง Korea Rehabilitation Agency เพื่อส่งเสริมการมี ส่วนร่วมของภาคประชาชนในกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ ปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับกลไกในการให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการ ยุติธรรมทางอาญา กลไกการมีส่วนร่วมของประชาชนในรูปแบบต่าง ๆ ยังไม่มีกฎหมายรองรับอย่างเพียงพอนอกจากระบบคณะลูกขุนแล้ว ระบบการมีส่วนร่วมของ ประชาชนส่วนใหญ่ในเกาหลีใต้ไม่ได้จัดตั้งโดยกฎหมาย คือไม่มีกฎหมายรองรับการปฏิบัติหน้าที่หรือใช้ อำนาจ ส่งผลให้ไม่มีผลบังคับทางกฎหมายต่อหน่วยงานรัฐที่คณะกรรมการมีคำสั่งหรือคำแนะนำไป ระบบลูกขุนไม่ถูกใช้มากเท่าที่ควร แม้ระบบคณะลูกขุนจะประสบความสำเร็จในแง่การเสริมสร้างความเข้าใจต่อประชาชน แต่มีหลายปัจจัยที่ทำให้คณะลูกขุนไม่ถูกใช้เท่าที่ควร เช่น ฝ่ายจำเลยก็ไม่ได้ต้องการให้คนทั่วไปมาตัดสิน คดีของตัวเอง หรือศาลมักจะใช้ดุลพินิจในการปฏิเสธคำขอของจำเลยที่ขอให้คณะลูกขุนร่วมพิจารณา ในคดีความผิดเกี่ยวกับเพศ เนื่องจากคำนึงถึงสภาพจิตใจเหยื่อที่อาจไม่พร้อมให้การต่อหน้าคณะลูกขุน เป็นต้น -การมีส่วนได้เสียหรือผลประโยชน์ทับซ้อนจากการให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการ ยุติธรรม


196 -ข้อกังวลเกี่ยวกับปัญหาเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อนจากการเข้ามามีส่วนร่วมของประชาชนใน กระบวนการยุติธรรมทางอาญาของเกาหลีใต้อาจมีไม่มากนัก เนื่องจากประชาชนไม่ได้มีผลประโยชน์ ส่วนตัวในการเข้าร่วมทำหน้าที่ดังกล่าว อย่างไรก็ตาม มีประเด็นในเรื่องของความกังวลเกี่ยวกับความเป็นกลางของผู้ปฏิบัติหน้าที่ ในคณะลูกขุน เนื่องจากคณะลูกขุนควรตัดสินคดีโดยปราศจากอคติใด ๆ ต่อคดีนั้น แต่ในความเป็นจริง ก่อนจะเข้ามาทำหน้าที่ลูกขุน ประชาชนอาจได้รับข้อมูลเกี่ยวกับคดีนั้นผ่านสื่อต่าง ๆ โดยเฉพาะคดีที่ เป็นสนใจของสังคมและอาจเกิดอคติกับคดีได้ อีกทั้งคณะลูกขุนซึ่งโดยทั่วไปไม่ได้มีความรู้ด้านกฎหมาย ก็อาจพิจารณาเรื่องที่ตัวเองรับผิดชอบบนพื้นฐานของอคติหรือความคิดเห็นส่วนตัวที่มีอยู่แต่เดิม โดยไม่มีเหตุผลทางกฎหมายรองรับ 4) Dr. Lasse Schuldt ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย ประเทศเยอรมนี นำเสนอเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาของเยอรมนี สามารถสรุปได้ ดังนี้ กระบวนการดำเนินคดีอาญาของเยอรมนีแบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอนสำคัญ คือ 1. ขั้นตอนการสอบสวน (Investigation) ซึ่งดำเนินการร่วมกันระหว่างตำรวจและพนักงาน อัยการ 2. ขั้นตอนระหว่างกลางก่อนเริ่มพิจารณาคดี (Intermediate Stage) เป็นขั้นตอนหลังจาก ที่พนักงานอัยการเห็นว่ามีพยานหลักฐานเพียงพอ สมควรสั่งฟ้อง จึงส่งสำนวนมายังศาลที่มีอำนาจ ในการพิจารณาคดี (Trial Court) ซึ่งศาลจะพิจารณาว่า สมควรที่จะเริ่มต้นเปิดการพิจารณาแล้วหรือยัง 3. ขั้นตอนพิจารณาคดี (Main Hearing) เมื่อศาลเห็นว่าสมควรเริ่มต้นเปิดการพิจารณาคดี ศาลจะทำการนั่งพิจารณาคดีในห้องพิจารณา 4. ขั้นตอนการบังคับโทษตามคำพิพากษา (Enforcement) หากศาลเห็นว่าจำเลยมีความผิด จริง ศาลก็จะพิพากษาลงโทษจำเลย และหากจำเลยต้องรับโทษจำคุก ก็จะให้หน่วยงานราชทัณฑ์เป็น ผู้ดำเนินการ อย่างไรก็ตาม การมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาของเยอรมนีก็มิได้ ปรากฏชัดแจ้งในทุกขั้นตอน โดยในชั้นของการสอบสวน ประชาชนอาจเข้ามามีส่วนร่วมได้ในลักษณะ ของการแจ้งเบาะแสหรือข้อมูลเกี่ยวกับอาชญากรรม หรืออาจจะมีอำนาจในการจับผู้ซึ่งกระทำความผิด ซึ่งหน้าได้ ในกรณีที่ผู้นั้นจะหลบหนีหรือไม่อาจยืนยันตัวบุคคลผู้นั้นได้ในทันที7 ส่วนในขั้นตอนระหว่าง กลางก่อนเริ่มพิจารณาคดีไม่ปรากฏว่ามีรูปแบบการมีส่วนร่วมของประชาชนในขั้นตอนนี้ ส่วนขั้นตอนที่ประชาชนสามารถเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการดำเนินคดีอาญาได้อย่าง แน่นอนคือขั้นตอนพิจารณาคดี 7German Code of Criminal Procedure (Strafprozessordnung, StPO), มาตรา 127.


197 ประชาชนในเยอรมนีสามารถเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาในชั้นของการ พิจารณาคดีมีสองรูปแบบ คือ รูปแบบแรก การเข้าฟังการพิจารณาคดี โดยตามพระธรรมนูญศาลของประเทศเยอรมนีกำหนด หลักการสำคัญประการหนึ่งไว้คือ การพิจารณาคดีต้องกระทำโดยเปิดเผยในห้องพิจารณาคดี การพิจารณาคดีผ่านระบบภาพและเสียงไม่อาจกระทำได้8 ซึ่งสอดคล้องกับหลักการในอนุสัญญาว่าด้วย สิทธิมนุษยชนยุโรป9 ซึ่งหากพบว่าการพิจารณาคดีมิได้กระทำด้วยวาจาในห้องพิจารณาคดี ย่อมเป็น กระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ และศาลจะต้องทำการพิจารณาคดีใหม่10 รูปแบบที่สอง การเข้ามาทำหน้าที่เป็นผู้พิพากษาสมทบ (Lay Judge) เคียงข้างผู้พิพากษา อาชีพ (Professional Judge) ในองค์คณะผู้พิพากษา -ตามกฎหมายของประเทศเยอรมนี อนุญาตให้มีผู้พิพากษาสมทบในศาลชั้นต้น (Local Court และ Regional Court) และศาลอุทธรณ์เท่านั้น ไม่มีในศาลสูง องค์คณะผู้พิพากษาในส่วนของผู้พิพากษาสมทบทั้งในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ จะมีจำนวน 2 คนเสมอ ในขณะที่องค์คณะในส่วนที่เป็นผู้พิพากษาอาชีพอาจะมีจำนวนแตกต่างกันออกไปตั้งแต่ 1-3 คน ผู้พิพากษาสมทบย่อมมีอำนาจในการลงมติเพื่อตัดสินคดีเช่นเดียวกับผู้พิพากษาอาชีพ11 และใน คดีใดหากผู้พิพากษาสมทบ 2 คน ไม่เห็นด้วยว่าจำเลยมีความผิดก็จะตัดสินว่าจำเลยมีความผิดไม่ได้ เนื่องจากในการตัดสินว่าจำเลยมีความผิดต้องใช้เสียง 2 ใน 3 ขององค์คณะ ดังนั้น หากสมมติว่ามี ผู้พิพากษาอาชีพ 3 คนในองค์คณะเห็นว่าจำเลยมีความผิด แต่ผู้พิพากษาสมทบ 2 คนเห็นว่าไม่มี ความผิดก็ไม่สามารถพิพากษาลงโทษได้เพราะมีเสียงไม่ถึง 2 ใน 3 12 ผู้พิพากษาสมทบสามารถถามคู่ความและพยานได้เช่นเดียวกับผู้พิพากษาอาชีพ อย่างไรก็ตาม ในทางปฏิบัติผู้พิพากษาอาชีพอาจจะปฏิเสธการถามคำถามของผู้พิพากษาสมทบได้ หากเห็นว่าคำถาม นั้นไม่เหมาะสมหรือไม่เกี่ยวกับประเด็นแห่งคดี ผู้พิพากษาสมทบไม่สามารถเข้าถึงสำนวนสอบสวนได้เช่นเดียวกับผู้พิพากษาอาชีพเพื่อป้องกัน อคติที่เกิดขึ้น ดังนั้น ผู้พิพากษาสมทบจึงทำได้เพียงการซักถามคู่ความและพยานด้วยวาจาในห้อง พิจารณาเท่านั้น อย่างไรก็ตาม หลักการดังกล่าวมีข้อยกเว้น หากการพิจารณาคดีนั้นมีการนำสืบพยานหลักฐาน ที่บันทึกไว้ในรูปแบบของไฟล์ (เช่น เทปเสียง) อาจจะอนุญาตให้มีการถอดบันทึกไฟล์ดังกล่าวเป็น ลายลักษณ์อักษรแบบคำต่อคำ เพื่อทำความเข้าใจพยานหลักฐานนั้น ๆ ได้13 8Courts Constitution Act (Gerichtsverfassungsgesetz, GVG), มาตรา 169. 9European Convention on Human Rights, มาตรา 6 (1). 10StPO, มาตรา 338. 11GVG, มาตรา 30. 12StPO, มาตรา 263. 13Federal Court of Justice, Judgment of 26 March 1997, 3 StR 421/96.


198 คุณสมบัติของผู้ที่จะเป็นผู้พิพากษาสมทบ จะต้องเป็นบุคคลสัญชาติเยอรมันเท่านั้น โดยมีอายุ ระหว่าง 25-69 ปี มีภูมิลำเนาอยู่ในท้องถิ่นที่มีการคัดเลือกผู้พิพากษาสมทบ ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย และเป็นผู้ที่ไม่กระทำการละเมิดต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญของเยอรมนี14 นอกจากนี้ หากเป็น ผู้พิพากษาสมทบในคดีเด็กและเยาวชน จะต้องเป็นผู้มีความรู้และประสบการณ์และได้รับการฝึกอบรม เกี่ยวกับการศึกษาและการดูแลเด็กและเยาวชน ลักษณะต้องห้ามของผู้พิพากษาสมทบ ผู้พิพากษาสมทบจะต้องไม่ใช่สมาชิกของรัฐบาลทั้งใน ระดับท้องถิ่นและระดับสหพันธรัฐ ไม่ใช่ข้าราชการการเมือง ผู้พิพากษา พนักงานอัยการ ทนายความ เจ้าหน้าที่ตำรวจ เจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ พนักงานคุมประพฤติ เจ้าหน้าที่ศาล ผู้นำทางศาสนา ไม่เป็นผู้ที่ ต้องคำพิพากษาให้รับโทษจำคุกเกินกว่า 6 เดือนหรืออยู่ในระหว่างถูกสอบสวนในความผิด ซึ่งอาจมีผล ทำให้บุคคลนั้นไม่อาจมีคุณสมบัติในการรับราชการได้ การคัดเลือกผู้พิพากษาสมทบ จะให้ท้องถิ่น (Municipalities) จะจัดทำรายชื่อผู้มีสิทธิในการ ได้รับคัดเลือกเป็นผู้พิพากษา ซึ่งคละกลุ่มกันไปทุกกลุ่มอายุ และอาชีพ จากนั้นจะส่งให้คณะกรรมการ คัดเลือกที่ตั้งโดยศาลท้องถิ่นเป็นผู้ทำการคัดเลือก โดยมีวาระในการดำรงตำแหน่งคราวละ 5 ปี นอกจากจะปรากฏการมีส่วนร่วมของประชาชนในขั้นการพิจารณาคดีแล้ว ยังมีการมีส่วนร่วม ของประชาชนในชั้นการบังคับโทษ ทั้งนี้ สอดคล้องกับหลักเกณฑ์ว่าด้วยเรือนจำของยุโรป (European Prison Rules) ซึ่งกำหนดให้หน่วยงานราชทัณฑ์มีหน้าที่ในการแจ้งต่อสาธารณชนเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ ของระบบเรือนจำ เพื่อให้สาธารณชนเข้าใจบทบาทของเรือนจำได้ดียิ่งขึ้น15 อีกทั้งยังกำหนดให้ หน่วยงานราชทัณฑ์จะต้องส่งเสริมให้ประชาชนเข้ามาเป็นอาสาสมัครในการปฏิบัติหน้าที่ในเรือนจำ เท่าที่ทำได้16 นอกจากนี้ ยังได้กำหนดให้เรือนจำจะต้องอนุญาตให้หน่วยงานอิสระเข้าทำการตรวจสอบ สภาพของเรือนจำและความเป็นอยู่ของผู้ต้องขังได้ โดยผลการตรวจสอบดังกล่าวจะต้องเปิดเผยต่อ สาธารณชน17 องค์กรหรือภาคส่วนต่าง ๆ สามารถเข้าไปมีส่วนร่วมในการดำเนินการในระบบเรือนจำได้ ดังนี้ -Honorary Advisory Councils (Anstaltsbeiräte) เป็นองค์กรที่ทำหน้าที่ในการตรวจสอบ การปฏิบัติงานของเรือนจำ -อาสาสมัคร เข้าไปเยี่ยมผู้ต้องขังที่ไม่มีญาติ -หน่วยงานภาคเอกชน เข้ามาช่วยดูแลผู้ต้องขังหลังพ้นโทษ -คณะกรรมาธิการยุโรปเพื่อการป้องกันการทรมานและการปฏิบัติหรือการลงโทษที่ไร้มนุษยธรรม (European Committee for the Prevention of Torture & Inhuman/Degrading Treatment/Punishment - 14Federal Constitutional Court, Order of 6 May 2008, 2 BvR 337/07. 15European Prison Rules - Council of Europe Recommendation Rec (2006)2-rev (2006/2020), ข้อ 90.1 16เพิ่งอ้าง, ข้อ 90.2. 17เพิ่งอ้าง, ข้อ 93.1.


199 CPT) ทำหน้าที่ในการเข้าไปตรวจตราสภาพของเรือนจำและการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังของประเทศต่าง ๆ ในยุโรป 3. สรุปผลการประชุมร่วมกับผู้แทนในกระบวนการยุติธรรมของประเทศไทย คณะที่ปรึกษาได้จัดประชุมร่วมกับผู้แทนในกระบวนการยุติธรรมของประเทศไทย โดยมีผู้ร่วม อภิปรายบนเวที (Panelists) ซึ่งเป็นนักวิชาการไทยและบุคลากรในกระบวนการยุติธรรมไทย อย่างน้อย 4 คน เพื่อรับฟังความคิดเห็น เรื่อง “การมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารงานและการอำนวย ความยุติธรรม” เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2565 เวลา 13.00–16.30 น. โดยมีผู้ร่วมประชุมจำนวน 30 คน18 สรุปรายละเอียดได้ดังนี้ 1) หม่อมหลวงศุภกิตต์ จรูญโรจน์ เลขาธิการสถาบันนิติวัชร์ การบริหารงานของอัยการมี 2 ส่วนใหญ่คือ 1. การบริหารองค์กร 2. การอำนวยความยุติธรรมซึ่งเป็นส่วนงานคดี เดิมการบริหารองค์กรอัยการจะดูแลควบคุมกันเอง จึงมีการแก้ไขโครงสร้างคณะกรรมการ อัยการให้มีกรรมการผู้ทรงวุฒิจากหน่วยงานภายนอกเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารองค์กร ล่าสุดตาม รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 จึงได้เลือกบุคคลภายนอกมาเป็นคณะกรรมการอัยการ ผู้ทรงคุณวุฒิ 2 คน ซึ่งเป็นกรรมการที่มาจากการเลือกตั้งตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการ ฝ่ายอัยการ พ.ศ. 2553 มาตรา 18 กระบวนการยุติธรรมในประเทศไทยยังรวมไปถึงการคุ้มครองสิทธิของประชาชนที่ให้ประชาชน เข้ามามีส่วนร่วม เช่น ในการปล่อยชั่วคราวซึ่งประชาชนและมีความเห็นประกอบในการพิจารณาปล่อย ชั่วคราว เพราะภาคประชาชนมีส่วนสำคัญในการดูแลเป็นอย่างมากหากมีการปล่อยชั่วคราวไป เพราะ คนในชุมชนรู้จักผู้ต้องหาและดูแลผู้ต้องหาได้ดีที่สุด นอกจากนี้ ประชาชนจะเข้ามามีส่วนร่วมมากที่สุด ในขั้นตอนไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในขั้นตอนตามอำนาจของอัยการ (ไม่เกี่ยวกับพระราชบัญญัติการไกล่เกลี่ย ข้อพิพาทฯ) ส่วนใหญ่เป็นความผิดยอมความได้หรือความผิดต่อส่วนตัวที่มีประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม ซึ่งมีผู้นำในชุมชนและอัยการเป็นหลักในการไกล่เกลี่ยจนยุติคดี (ส่วนใหญ่เป็นเรื่องศักดิ์ศรี หรือค่าเสียหายเป็นสองปัญหาหลักที่ทำให้คดีจบลงได้) ส่วนคดีอาญาแผ่นดินยังทำไม่ได้เว้นแต่เป็นส่วน ค่าสินไหมทดแทนทางแพ่ง รวมทั้งเป็นส่วนประกอบให้ศาลใช้เป็นดุลพินิจในการลงโทษ อย่างไรก็ดี มีกรณีที่ผู้ว่าราชการจังหวัดได้ข้อมูลจากชุมชน/ภาคประชาชนและได้มีความเห็นแย้งและอัยการสูงสุด ได้ทำความเห็นชี้ขาดตามความเห็นสั่งฟ้องและพิพากษาลงโทษ เป็นสิ่งที่อัยการยอมรับและเป็น สิ่งที่ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมโดยทางตรงไม่ใช่ทางอ้อม 18โปรดดูรายละเอียดในภาคผนวก 2


200 ส่วนการบริหารองค์กร สำนักงานอัยการสูงสุดเคยมีนโยบายในสำนักงานอัยการในแต่ละจังหวัด ในส่วนภูมิภาคให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนากระบวนการยุติธรรมในการงานบริหารงาน การอำนวยความยุติธรรม ในรูปแบบของคณะกรรมการการมีส่วนร่วมของประชาชน หรือคณะที่ปรึกษา สำนักงานอัยการ/ที่ปรึกษาอัยการจังหวัด แล้วแต่กรณี ซึ่งมาจากข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ในท้องที่จังหวัด อดีตข้าราชการตำรวจ ผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอ ผู้นำชุมชน/ท้องถิ่น นักธุรกิจ คหบดีในชุมชนนั้น ที่มีจิตสาธารณะที่เข้ามามีส่วนร่วมบริหารงานที่ไม่เกี่ยวกับเนื้อหาคดี ซึ่งเป็นการดำเนินคดีให้มี ความรวดเร็ว การให้ความเป็นธรรมหากมีการร้องขอ การบริหารคดีที่ไม่เนิ่นช้าหรือเสียเวลา การฟ้องคดี อย่างรวดเร็วต่อเนื่อง การเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับกฎหมายหรือระเบียบปฏิบัติในการอำนวย ความยุติธรรมของอัยการให้กับประชาชน การมีระบบทนายความอาสาซึ่งอยู่ในส่วนของอัยการ สคช. เพราะมีประเด็นว่าอัยการเป็นผู้ฟ้องคดีไม่สมควรจัดให้มีทนายความให้ผู้ถูกฟ้องจะเป็นการขัดกัน จึงควร เป็นเรื่องของศาลจัดให้มีทนายความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา แม้ว่าปัจจุบันได้เพิ่มให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมเพราะมุมมองของรัฐเป็นผู้บังคับใช้ กฎหมายและต้องการให้เกิดเป็นผลสัมฤทธิ์และมีหน่วยงานชี้วัด การเข้ามามีส่วนร่วมของประชาชน จะเป็นการตอบสนองว่าการอำนวยความยุติธรรมคืออะไร เกิดความเป็นธรรมให้กับประชาชนได้มาก น้อยอย่างไรและเข้ามาในจุดใด ซึ่งในองค์กรอัยการจะให้ประชาชนเข้ามาในคณะกรรมการอัยการ ในส่วนผู้ทรงคุณวุฒิ แต่คณะกรรมการอัยการในส่วนผู้ทรงคุณวุฒิยังมาจากภาครัฐซึ่งเป็นเพราะ คุณสมบัติที่กำหนดให้เป็นผู้ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญการบริหารงาน รวมทั้งส่วนประธานคณะกรรมการ อัยการ ดังนั้น ภาครัฐยังเป็นตัวตั้งตลอด ส่วนการอำนวยความเป็นธรรมจะยอมรับได้เพียงใดว่าภาคประชาชนที่เข้ามาทำให้เกิดความ เป็นธรรมในคดีอย่างแท้จริง เดิมมีการหลีกเลี่ยงไม่ให้ประชาชนเข้ามาเกี่ยวข้องกับการใช้ดุลพินิจของ อัยการจึงกำหนดให้คุ้มครองดุลพินิจอิสระของอัยการ ต่อมามีกระแสควรให้ประชาชนได้เข้ามาอำนวย ความยุติธรรมด้วยจึงได้แก้ไขระเบียบฯ ในส่วนร้องขอความเป็นธรรม ในอดีตจะเป็นผู้เสียหายหรือคู่กรณี ในคดี ปัจจุบันใช้คำว่า “บุคคลอื่นใดเพื่อประโยชน์ของผู้เสียหายหรือผู้ต้องหา” ภาคประชาชนที่เห็นว่า คดีนี้ไม่ได้รับความเป็นธรรมหรือไม่ถูกต้องตามข้อเท็จจริงหรือพยานหลักฐานก็สามารถเข้ามาได้ อย่างไรก็ตาม การให้ประชาชนเข้ามีส่วนร่วมของอัยการไม่มีผลต่อการดำเนินคดีหรือการสั่งคดี แต่เมื่อมีผู้นำชุมชน/ท้องถิ่น นักธุรกิจเข้ามาเป็นกรรมการจะรู้จักตัวความไม่ว่าผู้เสียหายหรือผู้ต้องหา อาจทำให้ดุลพินิจในการสั่งคดีของพนักงานอัยการเบี่ยงเบนไป และทำให้การเข้ามามีส่วนร่วมในการ อำนวยความยุติธรรมของประชาชนจึงไม่สัมฤทธิ์ผลเป็นรูปธรรมอย่างแท้จริง ซึ่งขัดต่อธรรมชาติของ มนุษย์ (ความเป็นเพื่อนหรือญาติพี่น้อง) จึงควรมีการออกแบบการเข้ามามีส่วนร่วมควรอยู่ในรูปแบบใด ส่วนการใช้ประชามติของประชาชนในการมีส่วนร่วมในขั้นตอนใด ๆ จะยังมีผลต่อการ ดำเนินคดี/การสั่งคดี/การพิพากษาลงโทษ ปัจจุบันมีการให้ประชาชนเข้ามาใช้ในการฟื้นฟูเด็กและ เยาวชน แต่ในต่างประเทศประชาชนมีส่วนร่วมในการวางมาตรการอื่นแทนการฟ้องคดีซึ่งยังไม่มี ในประเทศไทย


201 แม้ว่าสำนักงานอัยการสูงสุดมีนโยบายการมีส่วนร่วมของประชาชนมาหลายปี แต่การตอบสนอง ของแต่ละสำนักงานอัยการในความเป็นจริงยังมีน้อยมาก (ประมาณ 4-5 สำนักงาน/ภาค) ทั้งนี้จะมีการ ยอมรับได้เพียงใด 2) พ.ต.อ. ศิริพล กุศลศิลป์วุฒิรองผู้บังคับการสถาบันส่งเสริมงานสอบสวน ปี 2542 มีระเบียบสำนักนายกฯ ให้มีการดำเนินการเข้ามามีส่วนร่วมของประชาชน ซึ่งเป็น ความพยายามของตำรวจในการนำทฤษฎีชุมชน/มวลชนสัมพันธ์/ตำรวจชุมชนที่มีอยู่ ประเทศไทยมีการ ใช้ชุมชนสัมพันธ์ในปี 2535 ในปี 2542 มีระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ปี 2549 และปี 2554 มีระเบียบ ว่าด้วย กต.ตร. ในระดับสถานีตำรวจและจังหวัด แต่ไม่มีในระดับกองบัญชาการภาค ในพระราชบัญญัติ ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2565 มาตรา 12 วรรคท้าย ยังให้ตำรวจทำแผนหรือนโยบายบูรณาการในการ ทำงานร่วมกันกับส่วนท้องถิ่นตามแผนของคณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ(ก.ต.ช.) และ สำนักงบประมาณ และสำนักงานตำรวจแห่งชาติพิจารณางบประมาณสนับสนุน ซึ่งเป็นความเชื่อว่าเป็น การดีถ้ามี กต.ตร. ในทุกระดับ แต่ยังพบข้อเท็จจริงว่าการมี กต.ตร. ในระดับสถานีตำรวจเป็นกลุ่ม ผลประโยชน์ทางการเมืองของคนในท้องถิ่นที่เข้าไปสร้างอำนาจบารมีซึ่งอาจเป็นสิ่งที่ดีหรือไม่ดีก็ได้ นอกจากนี้ ยังมีการโยกย้ายทุก ๆ 4 ปี เพราะกลัวว่าถ้าอยู่นานจะเป็นการสร้างบารมีซึ่งขัดต่อหลักชุมชน สัมพันธ์ เพราะตำรวจที่อยู่ในพื้นที่นานและได้รับการดูแลโดยชุมชนน่าจะเป็นผลดีต่อชุมชนนั้น นอกจากนี้ ยังมีความพยายามของสำนักงานตำรวจแห่งชาติในการสร้างการมีส่วนร่วมในการบริหาร ทั่วไป รวมทั้งในพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2565 มาตรา 12 กำหนดให้มีการจัดสรร งบประมาณไว้ ในอดีตเคยให้เอกชนเข้ามามีส่วนร่วมผ่านการช่วยเหลือด้านงบประมาณในการ บริหารงาน เช่น เอกชนได้สร้างป้อมตำรวจ ฯลฯ แต่ยังไม่มีกระบวนการตรวจสอบเพื่อส่งเสริมตำรวจ ที่ทำงานดี ปัจจุบันมีคณะกรรมการหลายส่วน เช่น คณะกรรมการพิทักษ์คุณธรรมตำรวจ (ก.พ.ค.ตร.) ซึ่งคล้ายกับคณะกรรมการ ก.พ. ซึ่งการมีส่วนร่วมทางอ้อมโดยให้หน่วยงานอื่นเข้ามาดูแลทุกข์สุขของ ตำรวจ แม้ว่ากรรมการนั้นยังไม่มีความเป็นอิสระเท่าที่ควร เพราะเป็นการเลือกมาจากผู้ที่มีตำแหน่งสูง ส่วนคณะกรรมการพิจารณาเรื่องร้องเรียนตำรวจ (ก.ร.ตร.) มีหน้าที่รับเรื่องร้องเรียนของ ประชาชนเกี่ยวกับความเดือดร้อนจากตำรวจ ซึ่งเป็นกรรมการอิสระแยกออกมาจากคณะกรรมการ พิทักษ์คุณธรรมตำรวจ ซึ่งกรรมการดังกล่าวจะมีบทบาทเมื่อประชาชนมีความเดือดร้อนจากการกระทำ ของตำรวจที่มีการร้องเรียน (ตำรวจกระทำต่อประชาชน) เป็นการตรวจสอบทางอ้อม เมื่อกรรมการมี มติออกมาจะต้องทำตามและเป็นมติที่ผูกขาดโดยผลของกฎหมาย จึงเป็นความพยายามแก้ไขปัญหา หากประชาชนมีความเดือดร้อนและได้ร้องเรียนผ่านกรรมการชุดนี้ ซึ่งกรรมการยังต้องทำงานเต็มเวลา และมีความรับผิดตามกฎหมาย ทั้งหมดเป็นการเพิ่มการมีส่วนร่วมของประชาชนเข้ามา อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีมาตรการการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารงานการตรวจสอบของ ตำรวจ เพราะตำรวจยังไม่ได้ตอบความต้องการหรือรับผิดชอบต่อประชาชน และประชาชนยังไม่มีผล ในความเจริญก้าวหน้าของตำรวจ ควรต้องมีตัวชี้วัด/ตัวสัมฤทธิ์ผลที่แน่นอน


202 3) ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ ทนายความเป็นอาชีพอิสระ ไม่ใช่หน่วยงานรัฐตามพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. 2528 การเข้ามามีส่วนร่วมของประชาชนจึงแตกต่างกัน แต่ยังมีสำนักระงับข้อพิพาทในสภาทนายความที่มีมา ตั้งแต่ปี 2529 ส่วนใหญ่การไกล่เกลี่ยระงับข้อพิพาทจะกระทำโดยทนายความ จึงมีการดำเนินการ ปรับเปลี่ยนในขณะนี้ให้มีบุคคลภายนอกเข้ามาร่วมไม่ว่าผู้นำชุมชนหรือผู้ที่คนในชุมชนนั้นให้ความนับถือ เข้ามามีส่วนร่วมในการเจรจาระงับข้อพิพาท ส่วนการมีส่วนร่วมของประชาชนซึ่งเป็นบุคคลภายนอก ในการบริหารองค์กรยังมีน้อย การให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการกระบวนการยุติธรรมตามพระราชบัญญัติการไกล่เกลี่ย ข้อพิพาท พ.ศ. 2562 ซึ่งเอื้อให้เอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการไกล่เกลี่ย รวมทั้งสภาทนายความ มีประสบการณ์เรื่องกาไกล่เกลี่ยตั้งแต่ปี 2529 และมีคดีให้ทำการไกล่เกลี่ยโดยไม่ขาดตอนเป็นระยะ ทำให้เห็นว่าการไกล่เกลี่ยระงับข้อพิพาทเป็นประโยชน์ต่อตัวความ หน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม หรือหน่วยงานอื่นในสังคม ซึ่งได้ไกล่เกลี่ยจนได้ข้อยุติโดยไม่ต้องฟ้องศาล ซึ่งทำให้ผู้คนเกิดความรู้สึกที่ดี ต่อกัน แม้ว่าพระราชบัญญัติการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ. 2562 ให้มีการไกล่เกลี่ยในคดีอาญาที่มีโทษ ไม่สูงมากก็ตาม จึงเป็นกรณีที่ทำให้สังคมมีโอกาสประนีประนอมกันมากกว่าไปจบคดีที่ศาล ผู้ที่สามารถไกล่เกลี่ยและทำข้อบันทึกหรือสัญญาต่าง ๆ ตามเงื่อนไขของกฎหมายจึงเป็น ทนายความที่มีความชำนาญและประสบการณ์ในการว่าคดีและทำสัญญาประนีประนอมยอมความ ต่อศาล และยังเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ที่ผ่านอบรมและขึ้นทะเบียนผู้ไกล่เกลี่ยสามารถเปิดศูนย์ไก่ลเกลี่ย ภาคประชาชนโดยใช้สำนักงานทนายความทำเป็นศูนย์ไกล่เกลี่ยได้ อันเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่ประชาชน จะเลือกใช้บริการได้ ทนายความเป็นหน่วยงานหนึ่งที่อำนวยความยุติธรรมให้ประชาชนตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และ ปลายน้ำ เช่น ส่งทนายความอาสาซึ่งเป็นทนายความที่ผ่านการอบรมจากสภาทนายความและมีหนังสือ รับรองให้แก่ทนายความที่ผ่านการอบรมตามหลักสูตรที่ได้มีการเพิ่มเติมความรู้และศักยภาพในการ อำนวยความยุติธรรมของประชาชน ไปนั่งฟังการสอบสวนในชั้นสอบสวนกับพนักงานสอบสวน เมื่อคดีขึ้นสู่ศาลแล้วก่อนพิจารณาคดี ศาลต้องถามจำเลยว่ามีทนายความหรือไม่ถ้าไม่มีศาลต้อง จัดให้มีทนายความซึ่งเป็นทนายความขอแรง รวมทั้งในคดีอาญาเมื่อถึงที่สุดและจำเลยถูกคุมขังหากมี พยานหลักฐานใหม่ที่สำคัญในคดีขึ้นมา ทนายความจะเข้าไปรื้อฟื้นคดีโดยทนายความอาสาจนนำไปสู่ การพิพากษาตามประมวลกฎหมายยาเสพติดฉบับใหม่ จึงเป็นการอำนวยความเป็นธรรมปลายน้ำ อย่างไรก็ตาม ควรมีการอำนวยความยุติธรรมในระดับการป้องกันโดยให้ความรู้ด้านกฎหมายแก่ ประชาชน โดยเฉพาะกฎหมายที่สำคัญ โดยดูจากการดำเนินคดีในข้อหาใดมากที่สุดหรือมีจำเลยในคดีใด มากที่สุดจึงควรเน้นให้ความรู้ในเรื่องนั้นมากที่สุด ควรมีการเผยแพร่กฎหมายอย่างแพร่หลายมากขึ้นให้ ประชาชนได้รับรู้หลายช่องทาง เช่น การร่วมมือกับมหาวิทยาลัยต่าง ๆ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัด ให้มีการอบรมให้ความรู้ทางกฎหมายซึ่งเป็นในเชิงป้องกัน


203 4) ดร.สุนทรียา เหมือนพะวงศ์ รองอธิบดีผู้พิพากษาภาค 5 มีมุมมองความหมายคำว่า “People” เพียงใด มีปัญหาคนต่างชาติ/ต่างประเทศเดือดร้อนจาก กระบวนการยุติธรรมของประเทศไทย ปัญหาการส่งตัวคนต่างชาติกลับประเทศของตรวจคนเข้าเมือง ล่ามในต่างจังหวัดไม่มีคุณภาพเท่าที่ควร มีการ Live/Online กับล่ามในกรุงเทพฯ กระบวนการยุติธรรม เป็นเรื่องปลายน้ำจึงต้องดูไปที่ขั้นตอนก่อนละเมิดสิทธิทั้งประชาชนละเมิดกันเองรวมทั้งรัฐไปละเมิด ประชาชน การมีส่วนร่วมในกระบวนการยุติธรรมจึงมีการดูว่าระบบยุติธรรมเป็นอย่างไร เพราะปัญหา ความยุติธรรมในเบื้องต้นมีทั้งปัญหารายกลุ่ม/รายบุคคล/รายครอบครัว การหล่อหลอมความไม่เป็นธรรม ในแบบต่าง ๆ ทั้งระดับบุคคล ครอบครัว ชุมชน สังคม หรือระดับโลก ประชาชนเป็นทั้งผู้ก่อการละเมิด สิทธิและผู้ถูกละเมิดสิทธิ ประชาชนจึงต้องดูแลแก้ไขปัญหาตัวเอง เพราะประชาชนใช้สิทธิ ในกระบวนการยุติธรรมได้ยากขึ้นและโลกเปลี่ยนแปลงซับซ้อนมากกว่าเดิม ควรเพิ่มให้ประชาชนมีที่ยืน ให้มากที่สุด จึงควรมีความชัดเจนในการสร้าง/ฟื้นฟู ควรสร้างความร่วมมือที่ให้ประชาชนเป็นเจ้าของ ได้ร่วมกันออกแบบหรือตัดสินใจได้ ข้อเสนอการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการยุติธรรมฝ่ายรัฐเพื่อขับเคลื่อนนโยบาย ในการพัฒนาเชิงเนื้อหาในระบบคดีเช่น ขั้นตอนป้องกันสิทธิให้ชุมชน NGOs เป็นผู้กระทำ ขั้นตอนการ นำคดีขึ้นสู่กระบวนการยุติธรรม ขั้นตอนการแสวงหาความจริงและการวางมาตรการ ขั้นตอนปฏิบัติการ เรื่องการแก้ไขฟื้นฟูเยียวยา ฯลฯ ซึ่งเป็นการทำงานทางจิตวิทยาและความรู้ที่ต้องรับฟัง เป็นทำงานของ ผู้ที่ไม่ใช่นักกฎหมายที่เข้ามาทำงานกับศาลหรือตำรวจซึ่งยังไม่มีในไทย แต่ยังสามารถเข้ามาร่วมได้ ในทุกขั้นตอน แม้ว่าเป็นการเข้ามาขับเคลื่อนเชิงนโยบาย พัฒนาองค์กร ระบบงาน ด้วยการระบบเก็บ ข้อมูล การวิจัยวิพากษ์วิจารณ์ต่าง ๆ ในบางประเทศให้ชุมชนเก็บข้อมูลอาชญากรรมโดยไม่ต้องรอ เจ้าหน้าที่ และมีระบบ Justice Watch แต่สิ่งควรระวังในเรื่องอัตภาวะวิสัยของผู้ที่อยู่ในกระบวนการ ยุติธรรมที่ยังตัดสินด้วยความเชื่อ/ทัศนคติบางอย่าง การใช้ตรรกะวิบัติที่มีอยู่บ่อย ๆ ตัวอย่าง ในไอร์แลนด์เหนือมีปัญหาเรื่องการแบ่งแยกดินแดนและมีความขัดแย้งในชุมชนอย่างรุนแรงทำให้ตำรวจ มีการจับกุมผิดตัวบ่อย ๆ จึงได้เสนอให้มี กต.ตร. มาจากตัวแทนอดีตนักโทษเพื่อจะได้บอกว่าถูกจับ ถูกกระทำจากกระบวนการยุติธรรมและได้รับความเดือดร้อนในเรือนจำอย่างใด หรือคณะกรรมการตุลาการ ในนิวยอร์กยังประกอบไปด้วย New York State Commission onJudicial Conduct11 คน ให้ผู้ว่าการ รัฐเลือกมา 4 คน (1 คนจากทนายความ อีก 1 คนจากผู้พิพากษา และ 2 คนจาก Non-lawyer) ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเลือก 3 คน (เลือกมาจากผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ และตัวแทนจากยุติธรรมชุมชน) สภาของรัฐเลือก 4 คนตามความเหมาะสม นอกจากนี้ ผู้นำในกระบวนการยุติธรรมยังมีทัศนคติความคิดเปิดกว้างเพียงใด ควรมีสถาบันวิจัย เป็นของตัวเอง/การสนับสนุนงานวิจัยซึ่งยังมีงบวิจัยที่จำกัด จึงควรมีกระบวนการให้ประชาชน/ตัวแทน ชุมชน/กลุ่มผลประโยชน์หรือปัญหาได้เข้ามาร่วมมีปากเสียง


204 5) ข้อเสนอแนะและความคิดเห็นจากผู้เข้าร่วมการประชุม -ปัญหาที่ยังอยู่จุดเดิมซึ่งเป็นโครงสร้างของเชิงระบบ เห็นได้จากสัดส่วนคนนอกที่ยังไม่ได้เข้า มาร่วมเท่าที่ควร ส่วนใหญ่ยังเป็นคนในระบบหรือเป็นคนภายนอกองค์กรที่เข้ามาไม่ใช่ประชาชน จึงเป็น ความต้องการให้ประชาชนเข้ามาสะท้อนการอำนวยความยุติธรรมที่ถูกต้องหรือไม่ ทั้งยังเป็นทาง โครงสร้างที่ยังไม่สามารถเอาความคิดของประชาชนเข้ามาเป็นหลักได้ -ระบบลูกขุนในประเทศสหรัฐเมริกายังมีจุดอ่อนที่ได้รับผลกระทบตามกระแสสังคมจำนวนมาก และระบบแต่งตั้งก็มีจุดอ่อน แต่เกิดจุดอ่อนในการใช้อำนาจรัฐผ่านกระบวนการยุติธรรม เพราะยังเปิดให้ ใช้กลไกประชาธิปไตยดีกว่าให้กระบวนการยุติธรรมเป็นระบบปิด 4. สรุปผลการประชุมการรับฟังความคิดเห็นต่อร่างรายงานฉบับสมบูรณ์ คณะที่ปรึกษาได้จัดการประชุมการรับฟังความคิดเห็นต่อร่างรายงานฉบับสมบูรณ์ เรื่อง “การมี ส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารงานและการอำนวยความยุติธรรม” เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2566 เวลา 13.00–16.00 น. ผ่านระบบออนไลน์ (Zoom) มีผู้เข้าร่วมประชุมจำนวน 40 คน19 โดยมี รายละเอียดดังต่อไปนี้ 1. การนำเสนอร่างรายงานฉบับสมบูรณ์เรื่อง “การมีส่วนร่วมของประชาชนในการ บริหารงานและการอำนวยความยุติธรรม” โดย ศาสตราจารย์ ณรงค์ ใจหาญ และคณะ โดยแบ่งเป็น 3 ส่วน ดังต่อไปนี้ ส่วนที่ 1 การศึกษาเปรียบเทียบกฎหมาย นโยบาย และแนวปฏิบัติของต่างประเทศเพื่อ ถอดบทเรียนเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา ➢อาจารย์ ดร.ภาคภูมิ โลหวริตานนท์ ประเทศที่ศึกษาเปรียบเทียบเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการยุติธรรม ทางอาญา ได้แก่ ประเทศญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลีสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีสาธารณรัฐฝรั่งเศส ราชอาณาจักรนอร์เวย์ ประเทศสกอตแลนด์ ประเทศอังกฤษ และสหรัฐอเมริกา การมีส่วนร่วมของ ประชาชนในกระบวนการยุติธรรมทางอาญามีใน 3 ชั้น ได้แก่ ชั้นตำรวจ ชั้นอัยการ และชั้นศาล การมีส่วนร่วมของประชาชนในชั้นตำรวจ จากการศึกษาพบว่าการมีส่วนร่วมของประชาชนในชั้นตำรวจจะมีมากกว่าในชั้นอัยการและศาล เนื่องจากภารกิจของตำรวจมีความใกล้ชิดกับประชาชนมากกว่า หากมีปัญหาต่าง ๆ ขึ้นมาประชาชนจะ นึกถึงตำรวจก่อนหน่วยงานอื่น ทำให้การมีส่วนร่วมของประชาชนเป็นรูปธรรมมากกว่าชั้นอัยการหรือ ชั้นศาล ซึ่งประชาชนบางส่วนยังไม่ทราบถึงภารกิจและการเข้ามามีส่วนร่วมของจะอยู่ในรูปแบบใด 19โปรดดูรายละเอียดภาคผนวก 3


205 จากการศึกษาของต่างประเทศพบว่ารูปแบบที่เป็นการปฏิบัติที่ดี (Best Practice) ในการ ดำเนินกิจกรรมของตำรวจได้แก่ Community Policing (ตำรวจชุมชน) โดย Community Policing เป็นหลักการทำงานของตำรวจในรูปแบบใหม่ ซึ่งมีลักษณะที่สำคัญ 2 ประการ คือ 1) การมีส่วนร่วมระหว่างชุมชนกับเจ้าหน้าที่ตำรวจในลักษณะเคียงบ่าเคียงไหล่กับตำรวจ (Partnership) เป็นการร่วมมือกันกับชุมชนในการร่วมมือเพื่อป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม เช่น การแสวงหาปัญหาการเกิดอาชญากรรม การวิเคราะห์ปัญหาร่วมกัน การแก้ไขหรือการประเมินผล ซึ่งเป็นการร่วมกันคิดร่วมการทำ 2) การวางแนวทางในการแก้ไขปัญหาอาชญากรรมร่วมกันในชุมชน (Problem-oriented Policing) เป็นการพิจารณาลักษณะชุมชนและปัญหาของแต่ละชุมชนเป็นหลัก ซึ่งแต่ละชุมชนมีปัญหา ไม่เหมือนกัน ทำให้คนในชุมชนร่วมกันแสวงหาหรือแก้ไขปัญหาร่วมกันกับตำรวจ โดยประเทศ สหรัฐอเมริกาเป็นต้นแบบของ Community Policing เพื่อแก้ไขปัญหาในตัวเมืองหรือชุมชนแออัดและ เริ่มขยายไปใช้ในประเทศพัฒนาแล้วอื่น ๆ เช่น อังกฤษ ญี่ปุ่น นอร์เวย์ เป็นต้น จึงทำให้เกิดผลความรู้สึก หรือความหวาดกลัวต่อการเกิดอาชญากรรมในพื้นที่ลดลง ตัวอย่างของ Community Policing คณะที่ปรึกษาป้อมตำรวจชุมชน (Koban/Chuzaisho Renraku Kyogikai) ของญี่ปุ่นมาจาก แนวคิดเดิมที่ให้อำนาจตำรวจในการปราบปรามรักษาความสงบเรียบร้อยอันเป็นการมุ่งใช้อำนาจรัฐ เหนือประชาชนซึ่งอาจจะไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร จึงมีการเปลี่ยนแนวคิดให้ตำรวจมีความใกล้ชิด หรืออยู่เคียงข้างประชาชนมากขึ้น และมีประโยชน์ในด้านป้องกันปราบปราบอาชญากรรม จากเดิม จะเน้นในการปราบปรามเป็นหลัก เมื่อมีแนวคิดดังกล่าวจะเน้นการป้องกัน โดยการจัดตั้งคณะที่ปรึกษา ป้อมตำรวจชุมชนให้ประชาชนในท้องที่เข้ามามีส่วนร่วม สนับสนุนการดำเนินการของตำรวจในการ ให้คำปรึกษา การร่วมกันในการวางแผนป้องกันอาชญากรรม เป็นต้น องค์ประกอบคณะที่ปรึกษาป้อมตำรวจชุมชนประกอบด้วย ประธานคณะที่ปรึกษา รองประธาน คณะที่ปรึกษาและกรรมการ รวมประมาณ 5 ถึง 10 คน ที่ได้รับการแต่งตั้งจากผู้บัญชาการตำรวจท้องที่ โดยคัดเลือกจากผู้นำชุมชนและผู้ที่อยู่อาศัย หรือทำงานในชุมชนที่อยู่ในเขตพื้นที่รับผิดชอบของป้อม ตำรวจนั้น ๆ โดยในการคัดเลือกจะคำนึงถึงความหลากหลายทางอาชีพ เพศ และอายุประกอบด้วย หน้าที่ของคณะที่ปรึกษาป้อมตำรวจชุมชน คือเข้าร่วมประชุมเพื่อหารือ ให้คำปรึกษา แจ้งความ หรือต้องการของชุมชน ร่วมพิจารณาเสนอทางแก้เกี่ยวกับปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชน และร่วมวางแผนคิด มาตรการป้องกันอาชญากรรมและอุบัติเหตุร่วมกันกับเจ้าหน้าที่ตำรวจชุมชน เหตุผลเบื้องหลังของระบบ Community Policing 1) เป็นการเปลี่ยนกระบวนทัศน์(Paradigm) จากเดิมให้ตำรวจมีหน้าที่ในการรักษาความสงบ เรียบร้อย และปราบปรามอาชญากรรมเพียงอย่างเดียว โดยไม่ได้เปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามี ส่วนร่วมในการป้องกันอาชญากรรม กลายเป็นการสร้างความร่วมมือระหว่างตำรวจกับประชาชน ในภารกิจการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมในชุมชน เนื่องจากประชาชนย่อมรู้จักชุมชนนั้น


206 ตลอดจนปัญหาเป็นอย่างดี ทำให้มีประสิทธิภาพในการป้องกันและปราบปราบปรามอาชญากรรม ในชุมชน ซึ่งเป็นไปตามหลักการ “The Police are the Public and the Public are the Police.” 2) เป็นการมุ่งแก้ไขปัญหาความไม่เข้าใจระหว่างตำรวจกับประชาชน เสริมสร้างความเชื่อถือ และความเข้าใจอันดีระหว่างตำรวจและประชาชนในการแก้ไขปัญหา 3) เป็นการริเริ่มในแก้ไขปัญหาอาชญากรรมหรือปัญหาอื่น ๆ เช่น ปัญหาการจราจร เป็นต้น ที่มีอยู่ในชุมชนซึ่งเกิดขึ้นจากประชาชนในท้องที่ โดยมีตำรวจเป็นพี่เลี้ยงในการให้คำแนะนำหรือ ช่วยเหลือ อันเป็นการยกระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการยุติธรรม ➢ศาสตราจารย์ณรงค์ ใจหาญ การมีส่วนร่วมของประชาชนในชั้นอัยการ การมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาของต่างประเทศในชั้นอัยการ มีดังนี้ 1) ญี่ปุ่น เป็นการฟ้องคดีโดยรัฐเป็นหลัก หากพนักงานอัยการไม่มีคำสั่งฟ้องคดี(ประมวล กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 22) ผู้เสียหายสามารถทบทวนคำสั่งไม่ฟ้องคดีของพนักงาน อัยการ โดยยื่นคำร้องไปยังศาลและขอให้ศาลรับคดีที่พนักงานอัยการสั่งไม่ฟ้องได้ในคดีบางประเภท เท่านั้น เมื่อศาลอนุญาตแล้วศาลจะแต่งทนายความให้ดำเนินคดีและพนักงานอัยการต้องให้ความร่วมมือ กับทนายความ นอกจากนี้ ยังมีคณะกรรมการตรวจสอบฟ้องของพนักงานอัยการ (ประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 247) โดยคณะกรรมการดังกล่าวเป็นประชาชนจำนวน 11 คน ทำหน้าที่ ตรวจสอบฟ้องของพนักงานอัยการว่ามีเหตุอันควรฟ้องหรือไม่ ถ้าไม่มีเหตุอันควรจะมีการทบทวนคำสั่ง นั้น เนื่องจากพนักงานอัยการฟ้องคดีน้อยกว่าไม่ฟ้องจึงมีกระบวนการตรวจสอบคำสั่งไม่ฟ้อง นอกจาก ตรวจสอบคำสั่งไม่ฟ้องแล้วยังมีสิทธิเสนอแนะในการปรับปรุงการทำงานของพนักงานอัยการและ สำนักงานอัยการด้วย ทั้งนี้ คณะกรรมการตรวจสอบฟ้องของพนักงานอัยการได้กำหนดไว้ในประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความอาญา 2) เกาหลีใต้ มีคณะกรรมการตรวจสอบคำสั่งไม่ฟ้องเช่นเดียวกับญี่ปุ่น แต่ไม่ได้จัดตั้งภายใต้ กฎหมายเหมือนญี่ปุ่น แต่เป็นนโยบายการปฏิรูปการทำงานของพนักงานอัยการให้มีการตรวจสอบได้ จึงมีข้อจำกัดในการตรวจสอบและผลของการตรวจสอบไม่ได้ผูกพันพนักงานอัยการเหมือนกับของญี่ปุ่น 3) สหพันธสาธารณรัฐเยอรมนีเป็นการฟ้องคดีโดยรัฐเป็นหลักเว้นแต่เป็นคดีที่มีผลกระทบ ต่อสิทธิส่วนตัวซึ่งประชาชนสามารถฟ้องคดีเองได้ แต่ประชาชนมีสิทธิร้องขอให้ศาลนำคดีอาญาของ พนักงานอัยการที่สั่งไม่ฟ้องขึ้นพิจารณาได้โดยผู้เสียหายต้องคัดค้านคำสั่งไม่ฟ้องอย่างเป็นทางการ ต่ออัยการสูงสุดประจำมลรัฐภายใน 2 สัปดาห์ หากอัยการสูงสุดประจำมลรัฐยืนยันคำสั่งไม่ฟ้อง


207 ผู้เสียหายมีสิทธิยื่นคำร้องต่อศาลอุทธรณ์ภายใน 1 เดือน ถ้าศาลอุทธรณ์อนุญาตพนักงานอัยการจะต้อง ฟ้อง 4) ฝรั่งเศส พนักงานอัยการมีดุลพินิจที่จะไกล่เกลี่ยคดีอาญาและคู่ความยินยอมก็จะเข้าสู่ กระบวนการไกล่เกลี่ยได้แต่การไกล่เกลี่ยทำโดยอัยการหรือพนักงานสอบสวน 5) นอร์เวย์ มีกระบวนการไกล่เกลี่ยในชั้นพนักงานอัยการ โดยประชาชนมีบทบาทในการ ไกล่เกลี่ย 6) สกอตแลนด์ พนักงานอัยการของสกอตแลนด์มีหน้าที่หลักในการฟ้องคดีอาญา ถ้ามี กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ เช่น การไกล่เกลี่ย การประชุมกลุ่มจะให้ประชาชนเข้ามาร่วมได้ รวมทั้งกระบวนการเข้ามาช่วยเหลือผู้เสียหายในคดีอาญาด้วย 7) อังกฤษ ประชาชนโดยทั่วไปมีสิทธิในการฟ้องคดีอาญาตามหลัก People Prosecution แต่มีการตั้งหน่วยงาน Crown Prosecution Service เข้ามาดูแลเพื่อให้การฟ้องคดีเป็นไปอย่างเป็น เอกภาพ 8) สหรัฐอเมริกา พนักงานอัยการเป็นผู้ฟ้องคดีซึ่งประชาชนทั่วไปไม่มีสิทธิฟ้องคดี หาก ประชาชนได้รับความเสียหายก็จะฟ้องคดีได้ตามหลัก Private Prosecution เป็นการฟ้องแยกเป็น เอกเทศต่างหากไม่ได้มีส่วนร่วมกับพนักงานอัยการ ภาพรวมของการมีส่วนร่วมของประชาชนในชั้นพนักงานอัยการ 1) การมีส่วนร่วมของประชาชนในชั้นอัยการของต่างประเทศจะแตกต่างจากการการมีส่วนร่วม ของประชาชนในชั้นตำรวจซึ่งเป็นการป้องกันอาชญากรรม การฟ้องคดีอาญามีลักษณะเป็น Professional ที่ต้องอาศัยนักกฎหมาย แต่ยังมีการฟ้องคดีโดยเอกชนหรือประชาชนในนามของตนเอง เช่น อังกฤษ หรือสหรัฐอเมริกา 2) กรณีญี่ปุ่นหรือเกาหลีใต้เป็นการให้สิทธิประชาชนที่เป็นองค์กรภาคประชาชนได้ตรวจสอบ คำสั่งไม่ฟ้องของพนักงานอัยการและขอให้ศาลอนุญาตให้นำคดีมาสู่ศาลการตรวจสอบคำสั่งฟ้องของ พนักงานว่าควรฟ้องหรือไม่นั้น จะมีคณะกรรมการภาคประชาชนและมีบทบาทเสนอการพัฒนา ระบบงานของพนักงานอัยการด้วย 3) การมีบทบาทในการเข้ามาไกล่เกลี่ยหรือร่วมในกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ในหลาย ประเทศ 4) มีบทบาทในการเป็นอาสาสมัครช่วยเหลือผู้เสียหายในคดีอาญา เช่น ญี่ปุ่น อังกฤษ เป็นต้น 5) การมี Best Practice ควรพิจารณาการเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการสนับสนุน งานในด้านการไกล่เกลี่ยคดีในกรณีที่จะไม่ฟ้องคดี 6) ส่วนการตรวจสอบคำสั่งไม่ฟ้องนั้น หากพิจารณาหลักการฟ้องคดีโดยผู้เสียหายของไทยแล้ว สิทธิในการฟ้องคดีของไทยมีสิทธิเป็นเอกเทศและไม่ผูกมัดการสั่งไม่ฟ้องของพนักงานอัยการ


208 ➢นางสาวกนกพรรณ ชลชวลิต การมีส่วนร่วมของประชาชนในชั้นศาล 1) ในแต่ละประเทศมีกลไกให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพิจารณาคดีในฐานะผู้พิพากษา สมทบ (Lay Judge) เข้าร่วมตัดสินคดีกับเป็นองค์คณะเดียวกับผู้พิพากษาอาชีพ หรือร่วมเป็นคณะลูกขุน (Jury) เป็นองค์คณะแยกต่างหากจากผู้พิพากษาอาชีพ เช่น ประเทศญี่ปุ่นมีไซบังอิน Act on Criminal Trials with the Participation of Saiban-in (Act No.63 of May 28, 2004) สาธารณรัฐเกาหลี มีคณะลูกขุน Act on Citizen Participation in Criminal Trials นอร์เวย์มีผู้พิพากษาสมทบ Court of Justice Act (Lov om Domstolene) สาธารณรัฐฝรั่งเศสมีศาลลูกขุน Code de Procédure Pénale (Code of Criminal Procedure) เป็นต้น 2) แต่ละประเทศมีกฎหมายระดับพระราชบัญญัติรองรับการให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม ในการพิจารณาคดีโดยชัดแจ้ง และไม่ได้เป็นนโยบายในแต่ละองค์กรเท่านั้น แม้ว่ากลไกการคัดเลือกบุคคลหรืออำนาจต่าง ๆ จะแตกต่างกันไปตามแต่ละประเทศ แต่ทุกประเทศมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อให้ประชาชนเกิดความไว้วางใจและความเข้าใจที่ถูกต้อง ในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา และให้มีการดำเนินกระบวนการยุติธรรมเป็นไปในทางสะท้อน เจตจำนงของประชาชนทั่วไปมากขึ้น 3) มีการกำหนดกฎเกณฑ์และรายละเอียดทั่วไปในการกำหนดคุณสมบัติของผู้ที่เข้ามามี ส่วนร่วมของประชาชนในชั้นศาล ซึ่งมีการบัญญัติไว้ในกฎหมายชัดเจน เช่น -คำนึงถึงคุณสมบัติและข้อห้ามของประชาชนผู้เข้ามาปฏิบัติหน้าที่ -การกำหนดวิธีการและกระบวนการคัดเลือกที่แน่นอน โดยอาจคำนึงถึงความหลากหลาย ทางเพศ อายุอาชีพ สถานะทางสังคม ฯลฯ -ระยะเวลาการดำรงตำแหน่ง เช่น เป็นรายคดีหรือเป็นวาระตามระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด -การกำหนดกรอบอำนาจหน้าที่ที่ให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วม เช่น ประเภทคดีที่ประชาชน เข้าร่วมพิจารณาตัดสินได้ คดีในชั้นศาลใดที่ประชาชนจะเข้าร่วมได้อำนาจในการตัดสินความผิดของ จำเลยหรือกำหนดระวางโทษ ส่วนมติของประชาชนในฐานะผู้พิพากษาสมทบหรือคณะลูกขุนมีผลผูกพัน ศาลหรือไม่เพียงใดนั้น ขึ้นอยู่กับการกำหนดของแต่ละประเทศ ตัวอย่าง ระบบคณะลูกขุนแบบผสม/ไซบังอินในประเทศญี่ปุ่นยังมีบทบัญญัติอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง นอกจากกฎเกณฑ์การคัดเลือกและกรอบอำนาจทั่วไป เช่น การคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของประชาชน ที่ต้องเข้ามาปฏิบัติหน้าที่ เช่น ห้ามนายจ้างไล่ลูกจ้างออกจากงานหรือกระทำการใดให้เสียประโยชน์ แก่ลูกจ้างโดยอาศัยเหตุจากการที่ลูกจ้างต้องหยุดงานเพื่อมาปฏิบัติหน้าที่ (พ.ร.บ. ไซบังอิน มาตรา 100) บทลงโทษบุคคลที่ข่มขู่ ผู้ปฏิบัติหน้าที่ไซบังอินหรือบุคคลในครอบครัวโดยวิธีใด ๆ (พ.ร.บ. ไซบังอิน มาตรา 107) กำหนดค่าตอบแทน ค่ายานพาหนะ และค่าป่วยการต่าง ๆ ให้ผู้ปฏิบัติหน้าที่ ๆ (พ.ร.บ. ไซบังอิน มาตรา 11) กำหนดบทลงโทษกรณีปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เช่น กรณีไซบังอินทำให้ความลับ ของคดีรั่วไหล (พ.ร.บ. ไซบังอิน มาตรา 108) เป็นต้น


209 แต่การมีส่วนร่วมของประชาชนในชั้นศาลยังมีข้อจำกัดบางประการที่พบในบางประเทศ เช่น ประเทศญี่ปุ่นหรือประเทศเกาหลีใต้แม้ว่าจะมีกลไกให้ประชาชนเข้ามามีส่วนในการพิจารณาคดี แต่ปริมาณคดีที่ใช้ระบบการมีส่วนร่วมของประชาชนยังมีสัดส่วนที่น้อยมากเมื่อเทียบกับปริมาณคดีที่ เข้าสู่ระบบทั้งหมด ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากการจำกัดประเภทคดีที่ประชาชนสามารถเข้าร่วมพิจารณาได้ นอกจากนี้ การพิจารณาว่าคดีใดจะใช้ระบบผู้พิพากษาสมทบหรือคณะลูกขุนเข้ามาร่วมหรือไม่ โดยทั่วไปยังอยู่ในอำนาจดุลพินิจของศาลหรือผู้พิพากษาอาชีพ ซึ่งศาลอาจพิจารณาไม่นำระบบดังกล่าว มาใช้กับคดีด้วยหลายสาเหตุ เช่น การคำนึงถึงสภาพจิตใจของผู้เสียหายในคดีเป็นต้น รวมทั้งประชาชน บางส่วนยังมีความเข้าใจหรือความลังเลใจในการให้ความร่วมมือเนื่องจากเห็นว่าการพิจารณาคดีควรเป็น อำนาจรัฐ แต่ในปัจจุบันก็มีแนวโน้มในการเต็มใจให้ความร่วมมือเพิ่มขึ้น รวมทั้งมีการประชาสัมพันธ์ผ่าน สื่อต่าง ๆ อย่างไรก็ตาม การกำหนดรายละเอียดและกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ชัดเจนไว้ในกฎหมายยังมีข้อดี เช่น 1) มีความโปร่งใสในกระบวนการคัดเลือกและการแต่งตั้งประชาชนผู้ปฏิบัติหน้าที่ 2) มีระยะเวลาการดำรงตำแหน่งที่แน่นอน โดยขึ้นอยู่กับคดีที่รับผิดชอบหรือระยะเวลาที่ เข้าดำรงตำแหน่ง ไม่ได้ขึ้นอยู่กับนโยบายของศาลใดศาลหนึ่งเป็นพิเศษ 3) มีกรอบอำนาจหน้าที่ที่ทำได้โดยชัดเจนรวมถึงการกำหนดบทลงโทษ ทำให้ลดปัญหา การตีความขอบเขตอำนาจในการปฏิบัติหน้าที่ที่สามารถทำได้และลดความเสี่ยงในการกระทำการ เกินหน้าที่ซึ่งนำไปสู่การแสวงหาผลประโยชน์โดยมิชอบจากการดำรงตำแหน่ง 4) การกำหนดบทคุ้มครองและค่าตอบแทนต่าง ๆ ช่วยให้ประชาชนมีความเต็มใจให้ความร่วมมือ ในการเข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้น เป็นต้น ส่วนที่ 2 สรุปผลการลงพื้นที่เก็บข้อมูลเพื่อแสวงหาข้อมูล และข้อเท็จจริงด้านกลไกการ มีส่วนร่วมของภาคประชาชนในหน่วยงานกระบวนการยุติธรรม 4 ภูมิภาค และสรุปการประชุม การรับฟังความคิดเห็นเรื่อง “การมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารงานและการอำนวยความ ยุติธรรม” จากผู้ทรงคุณวุฒิไทย ➢อาจารย์ ดร.ผ่องศรี เวสารัช คณะที่ปรึกษาได้ลงพื้นที่สัมภาษณ์เก็บข้อมูลหน่วยงานเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของประชาชน ในกระบวนการยุติธรรม ได้แก่ สำนักงานอัยการสูงสุด สำนักงานศาลยุติธรรม และสำนักงานตำรวจ แห่งชาติทั้ง 4 ภูมิภาค รวมทั้งสิ้น 41 แห่ง ในระหว่างวันที่ 26 กันยายน ถึงวันที่ 12 ตุลาคม 2565 ในจังหวัดขนาดเล็กและขนาดใหญ่ของ 4 ภูมิภาค ดังนี้ -ภาคใต้ได้แก่จังหวัดตรัง จังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดสงขลา และจังหวัดสุราษฎร์ธานี -ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ จังหวัดกาฬสินธุ์จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดร้อยเอ็ด และ จังหวัดอุดรธานี


210 -ภาคกลาง ได้แก่ จังหวัดชลบุรีจังหวัดชัยนาท จังหวัดนนทบุรีและจังหวัดสุพรรณบุรี -ภาคเหนือ ได้แก่จังหวัดกำแพงเพชร จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดพิษณุโลก และจังหวัดสุโขทัย ➢อาจารย์ดร.ศุภวัฒน์ สุขะปรเมษฐ สรุปผลการลงพื้นที่เก็บข้อมูลด้านกลไกการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในหน่วยงาน กระบวนการยุติธรรม 4 ภูมิภาค แบ่งเป็น 3 ประเด็น ดังนี้ 1. สรุปรูปแบบการมีส่วนร่วมของประชาชนและกฎหมายของหน่วยงานกระบวนการ ยุติธรรม โครงการที่ประชาชนมีส่วนร่วมในหน่วยงานกระบวนการยุติธรรม แบ่งเป็น 2 รูปแบบคือ โครงการที่จัดขึ้นแบบเป็นทางการและโครงการที่จัดขึ้นในรูปแบบที่ไม่เป็นทางการ โดยโครงการที่จัดขึ้น แบบเป็นทางการจะมีกฎระเบียบกำหนดให้ดำเนินการ มีการดำเนินการตามคำสั่งหรือนโยบายจาก ส่วนกลางอย่างชัดเจน เช่น การมีคณะกรรมการการมีส่วนร่วมภาคประชาชนในชั้นอัยการ ผู้กำกับดูแล ผู้ถูกปล่อยตัวชั่วคราวของศาล การมี กต.ตร. โครงการตำรวจอาสาในชั้นตำรวจ หรือโครงการ ทนายความอาสา ล่ามอาสา โครงการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท การแสดงความคิดต่อเห็นร่างกฎหมาย ฯลฯ ส่วนโครงการที่จัดขึ้นในรูปแบบที่ไม่เป็นทางการ จะไม่มีกฎระเบียบให้ดำเนินการที่ชัดเจน เป็นการกำหนดโดยหน่วยงานในพื้นที่นั้น ๆ เช่น การแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการให้บริการของศาล และการร้องเรียนการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ศาล การอนุญาตให้นักเรียนนักศึกษาฝึกงานในสำนักงาน อัยการจังหวัด การจัดกิจกรรมต้นกล้าตุลาการให้ความรู้แก่นักเรียน ฯลฯ รูปแบบหลักของการมีส่วนร่วมของประชาชนและกฎหมายในหน่วยงานกระบวนการยุติธรรม โดยหน่วยงานอัยการมีการแต่งตั้งคณะกรรมการการมีส่วนร่วมภาคประชาชนหรือคณะที่ปรึกษา สำนักงานอัยการจังหวัดเป็นกลไกการมีส่วนร่วมของประชาชน ซึ่งเป็นนโยบายของสำนักงานอัยการ สูงสุดให้มีการดำเนินการในหน่วยงานที่อยู่ในส่วนภูมิภาค และยังสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ขององค์กร อัยการที่กำหนดให้เป็น “องค์กรนำในการใช้กฎหมายเพื่อรักษาความยุติธรรมให้กับประชาชนและสังคม" และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560-2564 ยุทธศาสตร์ที่ 2 การสร้าง ความเป็นธรรมและลดความเหลื่อมล้ำในสังคม ตลอดจนกลยุทธ์ที่ 4.2 ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของ ประชาชน ยุทธศาสตร์ที่ 4 สร้างความเชื่อมั่นแก่ประชาชน และหน่วยงานที่มีส่วนได้เสียตาม แผนยุทธศาสตร์สำนักงานอัยการสูงสุด ปี2559-2562 ที่สอดคล้องกับพระราชกฤษฎีกาว่าด้วย หลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีพ.ศ. 2546 หน่วยงานศาลมีการแต่งตั้งผู้กำกับดูแลผู้ถูกปล่อยชั่วคราวของหน่วยงานศาลเป็นการดำเนินการ ตามนโยบายการสร้างดุลยภาพแห่งสิทธิของประธานศาลฎีกาและพระราชบัญญัติมาตรการกำกับและ ติดตามจับกุมผู้หลบหนีการปล่อยชั่วคราวโดยศาล พ.ศ. 2560 เช่นเดียวกับหน่วยงานตำรวจที่มีการ จัดตั้งคณะกรรมการตรวจสอบและติดตามการบริหารงานตำรวจ (กต.ตร.) ซึ่งเป็นการดำเนินการตาม นโยบายสำนักงานตำรวจแห่งชาติและพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติพ.ศ. 2565 ระเบียบ ก.ต.ช.


211 ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการส่งเสริมให้ท้องถิ่นและชุมชนมีส่วนร่วมในกิจการตำรวจ พ.ศ. 2549 และ ระเบียบสำนักงานตำรวจแห่งชาติว่าด้วยการส่งเสริมให้ประชาชน ชุมชน ท้องถิ่น และองค์กรมีส่วนร่วม ในกิจการตำรวจ พ.ศ. 2551 2. การแต่งตั้ง “คณะกรรมการการมีส่วนร่วมภาคประชาชน” ของหน่วยงานอัยการ คณะกรรมการการมีส่วนร่วมภาคประชาชนเป็นกลไกการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน ในหน่วยงานอัยการส่วนใหญ่จะแต่งตั้งจังหวัดละ 1 ชุดตามนโยบายของสำนักงานอัยการสูงสุดแต่อาจ เรียกชื่อต่างกัน เช่น สำนักงานอัยการจังหวัดชัยนาทแต่งตั้งคณะกรรมการการมีส่วนร่วมภาคประชาชน ส่วนสำนักงานอัยการจังหวัดพัทยาแต่งตั้งคณะที่ปรึกษาสำนักงานอัยการจังหวัด สำหรับในจังหวัดใหญ่ จะมีการแต่งตั้งมากกว่า 1 ชุด เช่น ในจังหวัดสงขลาตั้งที่สำนักงานอัยการจังหวัดสงขลา และสำนักงาน อัยการจังหวัดนาทวีแห่งละ 1 ชุด ส่วนสำนักงานอัยการจังหวัดกำแพงเพชรแห่งเดียวได้มีการแต่งตั้ง คณะกรรมการ 2 ชุด คือ คณะกรรมการการมีส่วนร่วมภาคประชาชนและคณะที่ปรึกษาอัยการจังหวัด กำแพงเพชร ในขณะที่หน่วยงานอัยการอีกหลายแห่งไม่มีการแต่งตั้งคณะกรรมการการมีส่วนร่วมของ ประชาชนในกระบวนการยุติธรรม เช่น สำนักงานอัยการจังหวัดนนทบุรีสำนักงานอัยการจังหวัด นครราชสีมา สำนักงานอัยการจังหวัดสุโขทัย สำนักงานอัยการจังหวัดสุพรรณบุรีสำนักงานอัยการคดี เยาวชนและครอบครัวจังหวัดนครปฐม สำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดแพร่ ฯลฯ 3. ข้อจำกัดในการแต่งตั้งคณะกรรมการการมีส่วนร่วมภาคประชาชนของหน่วยงานอัยการ การแต่งตั้งคณะกรรมการการมีส่วนร่วมภาคประชาชนหรือคณะที่ปรึกษาสำนักงานอัยการ จังหวัดไม่ได้มีการแต่งตั้งในสำนักงานอัยการจังหวัดทุกแห่ง ซึ่งสาเหตุหลายประการดังนี้ 1) ไม่มีกฎระเบียบที่ชัดเจน การแต่งตั้งคณะกรรมการการมีส่วนร่วมภาคประชาชนของหน่วยงานอัยการเป็นเพียงนโยบาย ไม่มีกฎระเบียบ เป็นความไม่ชัดเจนและไม่มีผลบังคับ ซึ่งเป็นดุลพินิจอิสระของอัยการจังหวัดที่จะแต่งตั้ง บุคคลตามที่เห็นเหมาะสม อัยการจังหวัดที่แต่งตั้งคณะกรรมการฯ จะกำหนดบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการฯ ให้เป็น ผู้อำนวยความสะดวก โดยไม่ให้มีส่วนร่วมในการพิจารณาสำนวนคดี เป็นเพียงช่วยเหลือสนับสนุนการ บริหารงานเชิงกายภาพของอัยการ เช่น การปรับปรุงภูมิทัศน์การสนับสนุนการจัดกิจกรรมเชิงสังคม ส่วนอัยการจังหวัดที่ไม่ได้แต่งตั้งคณะกรรมการฯ นั้น เพราะไม่ต้องการให้เป็นที่จับตามองว่าการแต่งตั้ง คณะกรรมการฯ จะมีความเกี่ยวพันกับคดีจะมีเรื่องของส่วนได้เสียอาจจะมีข้อครหา อาจจะเป็น จุดโจมตีซึ่งไม่สามารถแก้ข่าวหรือไม่มีโอกาสชี้แจงได้จึงแก้ปัญหาโดยไม่แต่งตั้งเลย หากตั้งผิดคนจะเกิด ความผิดพลาดได้จึงต้องระมัดระวัง เพราะจังหวัดขนาดใหญ่ที่มีผู้คนจำนวนมากรู้จักคนไม่ทั่วถึงอาจเกิด ความไม่เหมาะสม หรือบางคนประสงค์จะเป็นจิตอาสาที่ไม่อยากให้แต่งตั้งรวมทั้งมีปัญหารอบด้าน


212 2) วาระการโยกย้ายอัยการจังหวัดทำให้งานไม่ต่อเนื่อง การโยกย้ายอัยการจังหวัดตามวาระที่เกิดขึ้นทุกปีทำให้ขาดความต่อเนื่องในการทำงานของ คณะกรรมการการมีส่วนร่วมภาคประชาชน เพราะการเกิดขึ้นของกลไกการมีส่วนร่วมของประชาชน ในหน่วยงานอัยการขึ้นอยู่กับแนวทางการบริหารของอัยการจังหวัดแต่ละคน ไม่สามารถกำหนด ตายตัวได้ซึ่งเป็นดุลพินิจที่จะแต่งตั้งหรือไม่ก็ได้ นอกจากนี้ การกำหนดบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการ หรือคณะที่ปรึกษาของแต่ละแห่งมีความแตกต่างกัน และขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของอัยการจังหวัด แต่ละแห่ง อย่างไรก็ตาม การแต่งตั้งคณะกรรมการการมีส่วนร่วมภาคประชาชนยังไม่มีวาระที่ชัดเจน อัยการจังหวัดคนใหม่อาจจะยกเลิกการตั้งคณะกรรมการการมีส่วนร่วมภาคประชาชนที่มีอยู่เดิมได้ หรือจะจัดตั้งชุดใหม่ก็ได้ 3) ลักษณะงานของสำนักงานอัยการจังหวัดที่ใช้กฎหมายและเป็นความลับ เนื่องจากภาระงานหลักของสำนักงานอัยการจังหวัดคือ มุ่งทำคดีเป็นงานสั่งสำนวนที่รับจาก พนักงานสอบสวน รวบรวมเอกสารที่เป็นความลับ ดำเนินการตามข้อกฎหมาย ไม่ได้ใช้ดุลพินิจ จำเป็นต้องรักษาความเป็นอิสระ เที่ยงตรง ทำให้ประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วมกับหน่วยงานอัยการได้ยาก กว่าตำรวจ โดยเฉพาะสำนักงานอัยการภาคที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับประชาชนโดยตรง เพราะเป็นหน่วยงาน บริหารดูแลกำกับอัยการจังหวัดและการตรวจสำนวนของอัยการจังหวัดเท่านั้น แต่ได้เข้าร่วมลงพื้นที่กับ สำนักงานคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน (สคช.) ในการไปให้ความรู้กับประชาชน อย่างไรก็ดี สำนักงานอัยการแห่งหนึ่งเคยมีแนวคิดให้คณะกรรมการการมีส่วนร่วมภาค ประชาชนมีบทบาทในกระบวนการยุติธรรมมากขึ้น โดยทดลองให้กรรมการในคณะกรรมการฯ บางคน ปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทใน สคช. ซึ่งสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ด้วยดีแต่ยังมีคู่กรณีไม่สบายใจ ในการเข้าร่วมไกล่เกลี่ยของกรรมการ เพราะกรรมการอาจจะรู้จักกับคู่กรณีซึ่งอาจจะทำให้การไกล่เกลี่ย เกิดความไม่โปร่งใสขึ้นได้สำนักงานอัยการจังหวัดจึงได้ยุติบทบาทของคณะกรรมการการมีส่วนร่วม ภาคประชาชนในการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทไป 4) ปัญหาการรับรู้ของประชาชนต่อการมีส่วนร่วมในหน่วยงานอัยการ เนื่องจากภาระงานของหน่วยงานอัยการเป็นงานด้านกฎหมาย การทำคดียังมีเอกสารที่เป็น ความลับ จึงทำให้ประชาชนเข้าไม่ถึง ไม่สนใจ หรือมีการรับรู้บ้างและเข้ามามีส่วนร่วมอยู่ในวงที่ค่อนข้าง จำกัด ประชาชนที่เข้าร่วมต้องเป็นจิตอาสา มีความพร้อมด้านเวลาและฐานะ จึงทำให้เข้ามามีส่วนร่วม ได้น้อย นอกจากนี้ ยังมีผลกระทบจากประชาชนที่แต่งตั้งเข้ามา บางคนอาจมีความขัดแย้งกัน มีพรรคพวก อาจมีประโยชน์แอบแฝงหรือมีส่วนได้เสีย มีการใช้ตำแหน่งโอ้อวดหรือแอบอ้างในการเรียกรับ ผลประโยชน์หรือสิ่งตอบแทนหรือนำไปใช้ทางที่ผิด อย่างไรก็ตาม ขนาดของเมืองหรือขนาดของจังหวัดไม่ได้มีความเกี่ยวพันต่อความสนใจ ของประชาชนในการมีส่วนร่วมกับหน่วยงานอัยการ ในกรณีของจังหวัดใหญ่และเมืองใหญ่ซึ่งมีประชากร เป็นจำนวนมากและเป็นสังคมเมือง ประชาชนไม่รู้จักกันแม้บ้านอยู่ติดกัน หรืออาจขัดแย้งมาก่อน และ ยังมีประชากรแฝง เช่น แรงงานข้ามจังหวัด แรงงานต่างชาติและชาวต่างชาติซึ่งมาอาศัยอยู่ประจำ


213 ในพื้นที่ไม่นาน จึงไม่ได้รู้บริบทของคนในพื้นที่จริงทำให้แต่งตั้งประชาชนที่จะเข้าร่วมในหน่วยงานอัยการ ได้ยาก ส่วนกรณีจังหวัดขนาดเล็ก มีจำนวนประชากรในพื้นที่มีจำนวนไม่มากจึงเป็นปัญหาต่อ หน่วยงานอัยการในการแต่งตั้งประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมได้น้อยเช่นกัน เพราะจำเป็นต้องพิจารณา คุณสมบัติให้เป็นไปตามที่กำหนด นอกจากนี้ คณะที่ปรึกษาได้จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นเรื่องการมีส่วนร่วมของประชาชน ในการบริหารงานและการอำนวยความยุติธรรมจากผู้ทรงคุณวุฒิไทยจากหน่วยงานอัยการ ศาล ตำรวจ และทนายความ จำนวน 4 คน ได้แก่ หม่อมหลวงศุภกิตต์ จรูญโรจน์ เลขาธิการสถาบันนิติวัชร์ พ.ต.อ. ศิริพล กุศลศิลป์วุฒิ รองผู้บังคับการสถาบันส่งเสริมงานสอบสวน ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ และ ดร.สุนทรียา เหมือนพะวงศ์ รองอธิบดีผู้พิพากษาภาค 5 ผ่านระบบการ ประชุมออนไลน์ (Zoom) เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2565 ซึ่งสรุปได้ดังนี้ หน่วยงานอัยการ การบริหารงานของอัยการมี2 ส่วนคือ การบริหารองค์กร และการอำนวยความยุติธรรมซึ่งเป็น ส่วนงานคดี ในการบริหารองค์กรอัยการ เดิมภาครัฐจะเป็นหลักในการดูแลควบคุมกันเอง ต่อมาจึงมีการ แก้ไขโครงสร้างให้เลือกบุคคลภายนอกมาเป็นคณะกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิ2 คน ซึ่งเป็นกรรมการ ที่มาจากการเลือกตั้ง (มาตรา 18 พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการฯ) แต่ผู้ทรงคุณวุฒิ ยังมาจากภาครัฐ เพราะมีข้อกำหนดคุณสมบัติให้เป็นผู้ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญการบริหารงาน ส่วนการอำนวยความยุติธรรมได้มีการแก้ไขระเบียบฯ ในส่วนร้องขอความเป็นธรรม อย่างไรก็ตาม การให้ประชาชนเข้ามีส่วนร่วมของอัยการไม่มีผลต่อการดำเนินคดีหรือการสั่งคดี แต่เมื่อมีผู้นำชุมชน/ ท้องถิ่น นักธุรกิจเข้ามาเป็นกรรมการ อาจทำให้ดุลพินิจในการสั่งคดีของพนักงานอัยการเบี่ยงเบนไป จึงควรมีการออกแบบการเข้ามามีส่วนร่วมควรอยู่ในรูปแบบใด ส่วนการใช้ประชามติของประชาชนในการมีส่วนร่วมในขั้นตอนใด ๆ จะยังมีผลต่อการดำเนินคดี การสั่งคดี การพิพากษาลงโทษ ปัจจุบันมีการให้ประชาชนเข้ามาใช้ในการฟื้นฟูเด็กและเยาวชน แต่ในต่างประเทศประชาชนมีส่วนร่วมในการวางมาตรการอื่นแทนการฟ้องคดีซึ่งยังไม่มีในประเทศไทย แม้ว่าสำนักงานอัยการสูงสุดมีนโยบายการมีส่วนร่วมของประชาชนมาหลายปีแต่การตอบสนองของ แต่ละสำนักงานอัยการในความเป็นจริงยังมีน้อยมากประมาณ 4-5 สำนักงาน/ภาค หน่วยงานตำรวจ มีความชัดเจนในการมีส่วนร่วมของประชาชนมากที่สุดซึ่งยังมีคณะกรรมการหลายส่วน ได้แก่ -คณะกรรมการตรวจสอบและติดตามการบริหารงานตำรวจ (กต.ตร.) ตามระเบียบว่าด้วย กต.ตร. ในระดับสถานีตำรวจและจังหวัด และทำแผนหรือนโยบายบูรณาการในการทำงานร่วมกันกับ ส่วนท้องถิ่นตามแผนของ ก.ต.ช. เพื่อสนับสนุนงบประมาณ แต่ข้อเท็จจริงพบว่าการมี กต.ตร. ในระดับ สถานีตำรวจยังเป็นกลุ่มผลประโยชน์ทางการเมืองของคนในท้องถิ่นที่เข้าไปสร้างอำนาจบารมีซึ่งอาจเป็น


214 สิ่งที่ดีหรือไม่ดีก็ได้ นอกจากนี้ ยังมีการโยกย้ายทุก ๆ 4 ปี เพราะกลัวว่าถ้าอยู่นานจะเป็นการสร้างบารมี ซึ่งขัดต่อหลักชุมชนสัมพันธ์ -คณะกรรมการพิทักษ์คุณธรรมตำรวจ (ก.พ.ค.ตร.) มีลักษณะคล้ายคณะกรรมการ ก.พ. และ เป็นการมีส่วนร่วมของประชาชนทางอ้อมโดยให้หน่วยงานอื่นเข้ามาดูแลทุกข์สุขของตำรวจ แต่กรรมการ นั้นยังไม่มีความเป็นอิสระเท่าที่ควร เพราะเป็นการเลือกมาจากผู้ที่มีตำแหน่งสูง -คณะกรรมการพิจารณาเรื่องร้องเรียนตำรวจ (ก.ร.ตร.) เป็นคณะกรรมการอิสระที่แยกออกมา จากคณะกรรมการพิทักษ์คุณธรรมตำรวจ มีหน้าที่รับเรื่องร้องเรียนของประชาชนเกี่ยวกับความเดือดร้อน จากตำรวจที่กระทำต่อประชาชน เมื่อคณะกรรมการมีมติออกมาจะต้องทำตามและเป็นมติที่ผูกขาดโดย ผลของกฎหมาย ส่วนบทบาทของเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมโดยผ่านการช่วยเหลือด้านงบประมาณในการ บริหารงาน เช่น เอกชนสร้างป้อมตำรวจ ฯลฯ อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีกระบวนการตรวจสอบเพื่อส่งเสริม ตำรวจที่ทำงานดีเพราะตำรวจยังไม่ได้ตอบความต้องการหรือรับผิดชอบต่อประชาชน และประชาชน ยังไม่มีผลในความเจริญก้าวหน้าของตำรวจ ควรต้องมีตัวชี้วัด/ตัวสัมฤทธิ์ผลที่แน่นอน หน่วยงานทนายความ มีสำนักระงับข้อพิพาทในสภาทนายความตั้งแต่ปี 2529 ซึ่งมีการปรับเปลี่ยนให้มีบุคคลภายนอก เข้ามาร่วมไม่ว่าผู้นำชุมชนหรือผู้ที่คนในชุมชนนั้นให้ความนับถือเข้ามามีส่วนร่วมในการเจรจาระงับ ข้อพิพาทจากเดิมการไกล่เกลี่ยระงับข้อพิพาทจะกระทำโดยทนายความ ส่วนการมีส่วนร่วมของ ประชาชนซึ่งเป็นบุคคลภายนอกในการบริหารองค์กรยังมีน้อย ตามพระราชบัญญัติการไกล่เกลี่ย ข้อพิพาท พ.ศ. 2562 ให้เอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการไกล่เกลี่ย แต่ผู้ที่สามารถไกล่เกลี่ยและ ทำข้อบันทึกหรือสัญญาต่าง ๆ ตามเงื่อนไขของกฎหมายยังเป็นทนายความที่มีความชำนาญและ ประสบการณ์ในการว่าคดีและทำสัญญาประนีประนอมยอมความต่อศาล โดยใช้สำนักงานทนายความ ทำเป็นศูนย์ไกล่เกลี่ยภาคประชาชน จึงมีข้อเสนอแนะในเชิงรุกหากยังมีการมีส่วนร่วมของประชาชนด้วยการให้ความรู้ด้านกฎหมาย แก่ประชาชนโดยเฉพาะกฎหมายที่สำคัญ ควรมีการเผยแพร่กฎหมายอย่างแพร่หลายมากขึ้น ให้ประชาชนได้รับรู้หลายช่องทาง เช่น การร่วมมือกับมหาวิทยาลัยต่าง ๆ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จัดให้มีการอบรมให้ความรู้ทางกฎหมายซึ่งเป็นในเชิงป้องกัน หน่วยงานศาล ปัญหาเบื้องต้นของความไม่เป็นธรรมในรูปแบบต่าง ๆ ทำให้ประชาชนใช้สิทธิเข้าถึง กระบวนการยุติธรรมได้ยากขึ้นประกอบกับโลกเปลี่ยนแปลงซับซ้อนมากกว่าเดิม ประชาชนต้องดูแล แก้ไขปัญหาตัวเอง จึงควรมีความชัดเจนในการสร้าง/ฟื้นฟูควรสร้างความร่วมมือที่ให้ประชาชน เป็นเจ้าของได้ร่วมกันออกแบบหรือตัดสินใจได้


215 ข้อเสนอการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการยุติธรรม 1) เพื่อให้ฝ่ายรัฐขับเคลื่อนนโยบายในการพัฒนาเชิงเนื้อหาในระบบคดีเช่น ขั้นตอนป้องกัน สิทธิให้ชุมชน NGOs เป็นผู้กระทำ ขั้นตอนการนำคดีขึ้นสู่กระบวนการยุติธรรม ขั้นตอนการแสวงหา ความจริงและการวางมาตรการ ขั้นตอนปฏิบัติการเรื่องการแก้ไขฟื้นฟูเยียวยา ฯลฯ 2) เป็นการทำงานทางจิตวิทยาและความรู้ที่ต้องรับฟัง และเป็นการทำงานของผู้ที่ไม่ใช่ นักกฎหมายที่เข้ามาทำงานกับศาลหรือตำรวจซึ่งยังไม่มีในไทย 3) ประชาชนสามารถเข้ามาร่วมได้ในทุกขั้นตอน ทั้งการเข้ามาขับเคลื่อนเชิงนโยบาย พัฒนา องค์กร ระบบงาน ระบบการเก็บข้อมูล การวิจัยวิพากษ์วิจารณ์ต่าง ๆ ในบางประเทศให้ชุมชนเก็บข้อมูล อาชญากรรมโดยไม่ต้องรอเจ้าหน้าที่ และมีระบบ Justice Watch แต่ควรระวังในเรื่องอัตภาวะวิสัยของ ผู้ที่อยู่ในกระบวนการยุติธรรมที่ยังตัดสินด้วยความเชื่อหรือทัศนคติบางอย่าง 4) ควรมีสถาบันวิจัย (R&D) เป็นของตัวเอง หรือการสนับสนุนงานวิจัยซึ่งยังมีงบวิจัยที่จำกัด สรุป “ปัญหาที่ยังอยู่จุดเดิมซึ่งเป็นโครงสร้างของเชิงระบบ เห็นได้จากสัดส่วนคนนอกที่ยังไม่ได้ เข้ามาร่วมเท่าที่ควร ส่วนใหญ่ยังเป็นคนในระบบหรือเป็นคนภายนอกองค์กรที่เข้ามาไม่ใช่ประชาชน ยังไม่สามารถเอาความคิดของประชาชนเข้ามาเป็นหลักได้” ส่วนที่ 3 ข้อเสนอแนะการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการยุติธรรมในหน่วยงาน อัยการ ➢รองศาสตราจารย์ ดร. ณภัทร สรอัฑฒ์ จากการศึกษาการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการยุติธรรมในหน่วยงานอัยการทั้ง 8 ประเทศ มีรูปแบบที่หลากหลายไม่ว่าการทำหน้าที่เป็นผู้ไกล่เกลี่ยในประเทศฝรั่งเศส นอร์เวย์ การทำ หน้าที่เป็นผู้ประนีประนอมข้อพิพาทในสกอตแลนด์ การฟ้องคดีโดยประชาชนในประเทศอังกฤษ กรณีที่ ประชาชนจะฟ้องคดีได้เองหากเป็นผู้เสียหายในสหรัฐอเมริกา ในประเทศญี่ปุ่นการมีคณะกรรมการตรวจ การฟ้องของอัยการมีอำนาจในการตรวจสอบคำสั่งไม่ฟ้องของอัยการและมีมติให้มีการนำคดีขึ้นสู่การ พิจารณาคดีของศาลได้ หรือในประเทศเกาหลีใต้มีคณะกรรมการตรวจฟ้องของอัยการซึ่งมีอำนาจเพียง การเสนอความเห็น รวมทั้งการให้สิทธิผู้เสียหายร้องขอต่อศาลให้นำคดีที่อัยการสั่งไม่ฟ้องขึ้นสู่ การพิจารณาในประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี สำหรับประเทศไทยยังเปิดให้การมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการยุติธรรมได้สูง เช่น ประชาชนฟ้องคดีได้เองควบคู่กับการฟ้องคดีของพนักงานอัยการ ซึ่งการฟ้องคดีได้เองของประชาชน ยังเป็นการตรวจสอบดุลพินิจคำสั่งฟ้องหรือไม่ฟ้องของอัยการไปในตัวตามประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 28 และยังเป็นการเข้ามามีส่วนร่วมของประชาชนมากกว่าประเทศญี่ปุ่น รวมทั้งเมื่อพนักงานอัยการมีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องแล้ว ผู้เสียหาย ผู้ต้องหา หรือผู้มีส่วนได้เสียมีสิทธิร้อง ขอต่อพนักงานอัยการเพื่อขอทราบสรุปพยานหลักฐานพร้อมความเห็นของพนักงานอัยการในการสั่งคดีได้


216 ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 146 วรรคสอง จึงเป็นที่มาของการพัฒนาการ มีส่วนร่วมของประชาชนในชั้นอัยการสำหรับประเทศไทยอย่างไร ปัจจุบันรูปแบบของคณะกรรมการการมีส่วนร่วมภาคประชาชนหรือคณะที่ปรึกษาสำนักงาน อัยการจังหวัดเป็นระบบไม่เป็นทางการ ยังไม่มีแนวทางการปฏิบัติงานที่แน่นอน เพราะเป็นระบบจาก การสั่งการของอัยการสูงสุด ความชัดเจนแน่นอนในการปฏิบัติงานขึ้นอยู่กับนโยบายของอัยการจังหวัด ในแต่ละจังหวัดในแต่ละช่วง คณะที่ปรึกษาจึงมีข้อเสนอแนะการมีส่วนร่วมภาคประชาชนในชั้นอัยการ ดังนี้ 1. เพิ่มการมีส่วนร่วมในการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานอัยการ จึงเสนอให้อัยการสูงสุดซึ่งเป็น ผู้มีอำนาจในการกำหนดนโยบายและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของสำนักงานอัยการสูงสุดให้ออก “ระเบียบว่าด้วยคณะกรรมการการมีส่วนร่วมภาคประชาชน” อาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติองค์กร อัยการและพนักงานอัยการ พ.ศ. 2553 มาตรา 27 วรรคหนึ่ง (1) และวรรคสาม เพื่อ 1) กำหนดบทบาท อำนาจหน้าที่ และสถานะในทางกฎหมายของคณะกรรมการการมีส่วนร่วม ภาคประชาชนในระดับจังหวัด ให้เป็นหน่วยงานที่มีขึ้นในทุกจังหวัด อาจจะเริ่มต้นในจังหวัดขนาดใหญ่ มีการกำหนดคุณสมบัติผู้ที่เป็นคณะกรรมการการมีส่วนร่วมภาคประชาชนให้มีความสอดคล้องกับ อำนาจหน้าที่ 2) เพิ่มบทบาทและอำนาจหน้าที่ในการสนับสนุนการปฏิบัติหน้าที่ของอัยการให้ คณะกรรมการการมีส่วนร่วมภาคประชาชนในระดับจังหวัดมีอำนาจหน้าที่เพิ่มเติม ดังนี้ 2.1) ประสานงานกับผู้เสียหาย ผู้ต้องหา และพยานเพื่อดำเนินการไกล่เกลี่ยทั้งในคดี ที่ยอมความได้และยอมความไม่ได้ 2.2) รวบรวมข้อมูลและเสนอความคิดเห็นในเรื่องที่เกี่ยวกับการพัฒนาการมีส่วนร่วม ของประชาชนในกระบวนการยุติธรรมในชั้นอัยการในจังหวัดของตน 2. การมีส่วนร่วมของประชาชนในคณะกรรมการอัยการ (ก.อ.) ตามพระราชบัญญัติระเบียบ ข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. 2553 มาตรา 18 วรรคหนึ่ง (5) กำหนดให้มีกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิ ที่มาจากบุคคลภายนอก (มิใช่พนักงานอัยการหรืออดีตพนักงานอัยการ) 2 คน ซึ่งมีความเชี่ยวชาญด้าน งบประมาณ การพัฒนาองค์กร หรือการบริหารจัดการนั้นมีความเหมาะสมแล้วต่อการปฏิบัติหน้าที่ ในปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม คณะที่ปรึกษามีข้อเสนอเพิ่มเติมเพื่อให้ประชาชนมีโอกาสในการมีส่วนร่วมในการ ดำเนินงานของคณะกรรมการอัยการ 2 ระยะ คือ ระยะแรก -เสนอให้มีช่องทางในการรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนที่ชัดเจน โดยให้มีฝ่ายเลขานุการหรือ สำนักงานที่ทำหน้าที่รวบรวมข้อมูล ข้อเสนอ หรือข้อร้องเรียนต่าง ๆ จากประชาชนและนำเสนอต่อ ที่ประชุมคณะกรรมการอัยการตามรอบระยะเวลาที่กำหนด และมีการรายงานหรือเผยแพร่ผลการ พิจารณาข้อเสนอที่รับฟังจากประชาชน


217 ระยะที่สอง -แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. 2553 มาตรา 18 วรรคหนึ่ง (5) โดยเพิ่มสัดส่วนกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิจาก 2 คนเป็น 4 คน โดยเพิ่มผู้ทรงคุณวุฒิด้านการมีส่วนร่วม ของประชาชนและกระบวนการยุติธรรม -แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. 2553 มาตรา 30 โดยเพิ่มเติม อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการอัยการให้มีอำนาจเสนอความเห็นหรือเสนอข้อเสนอแนะต่ออัยการ สูงสุดในเรื่องใด ๆ เกี่ยวกับการปฏิบัติราชการของสำนักงานอัยการสูงสุด ➢ศาสตราจารย์ ณรงค์ ใจหาญ จากข้อเสนอดังกล่าว พบว่ายังมีข้อห่วงใยของการมีส่วนร่วมของประชาชนทั้งในหน่วยงาน อัยการ ศาล หรือตำรวจเกี่ยวกับความลับในคดี หากมีส่วนร่วมในสำนวนการสอบสวน การสั่งคดี รวมทั้ง ในชั้นศาลอาจจะมีความลับที่รั่วไหลซึ่งจะมีผลกระทบต่อคดีได้จึงควรมีความระมัดระวัง แต่การมีส่วน ร่วมของประชาชนเพื่อเข้ามาสั่งหรือตัดสินชี้ขาดคดียังต้องมีคุณวุฒิ องค์ความรู้ และประสบการณ์ต่าง ๆ การมีส่วนร่วมของประชาชนควรเป็นในลักษณะการสนับสนุนช่วยเหลือ เช่น สนับสนุนการติดตามพยาน หรือคณะกรรมการได้พบข้อเท็จจริงบางประการ ฯลฯ การขาดระเบียบที่ชัดเจนสำหรับคณะกรรมการการมีส่วนร่วมภาคประชาชน จึงควรมีการ กำหนดระเบียบที่เป็นกิจจะลักษณะหากอัยการจังหวัดต้องโยกย้ายไป คณะกรรมการฯ จะเป็น ผู้สนับสนุนการพัฒนาสำนักงานอัยการจังหวัดได้ เพราะคณะกรรมการฯ มีระยะเวลาอยู่ตำแหน่งได้ นานกว่าอัยการจังหวัดทำให้ได้เห็นกระบวนการพัฒนาสำนักงานอัยการจังหวัดได้ ซึ่งเป็นการสร้างเสริม งานในระดับจังหวัดได้ หากมีผู้ทรงคุณวุฒิด้านการมีส่วนร่วมของประชาชนในระดับคณะกรรมการอัยการจะมีส่วน เชื่อมโยงข้อมูลกับคณะกรรมการการมีส่วนร่วมภาคประชาชนระดับจังหวัดเกี่ยวกับการวางกรอบ นโยบาย การอำนวยความยุติธรรม การพัฒนาระบบงานของอัยการ การมีส่วนร่วมของประชาชน ซึ่งเป็นส่วนเสริมบทบาทของอัยการในการอำนวยความเป็นธรรมได้มากขึ้น 2. ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของผู้เข้าร่วมประชุม ⬧การมีส่วนร่วมภาคประชาชนในประเทศที่พัฒนามีความเกี่ยวข้องสอดคล้องกับบริบทระบบ ประชาธิปไตยหรือไม่อย่างไร ความเห็นของคณะที่ปรึกษา พื้นฐานของกฎหมายอังกฤษให้ประชาชนมีส่วนร่วมและมีส่วนในการอำนวยความยุติธรรม แต่ในอังกฤษประชาชนจะฟ้องคดีโดย Magistrate Court แต่ในช่วงหนึ่งมีการฟ้องคดีไม่ถูกต้อง รัฐจึง เข้ามาดูแลโดยอัยการโดยเฉพาะการทบทวนคดีที่ร้ายแรง ในสหรัฐอเมริกามีหลักการเป็น Civil Society โดยประชาชนทุกคนมีส่วนร่วมในสาธารณะ การมีCommunity Policing การไกล่เกลี่ย การอำนวย


218 ความเป็นธรรม การช่วยเหลือเหยื่อในคดีอาญามาจากการเริ่มตันการมีส่วนร่วมของประชาชนและวิธีคิด ที่ให้ประชาชนเป็นหลัก ซึ่งเป็นส่วนเสริมของหลักการประชาธิปไตยและการอำนวยความเป็นธรรม ประเทศในยุโรปที่ใช้ระบบลูกขุนหรือ Lay Judge มาจากรากฐานในระบบประชาธิปไตย เพราะ อยากให้การมีส่วนร่วมของประชาชนได้เกิดขึ้นอย่างเต็มที่เป็นรูปธรรม ในบางประเทศ เช่น นอร์เวย์ ให้ Lay Judge เข้ามาพิจารณาคดีควบคู่กับผู้พิพากษาอาชีพ ส่วน Community Policing มาจาก รากฐานประชาธิปไตยให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมจากเดิมที่เห็นว่าการรักษาความปลอดภัยเป็นของรัฐ จึงมีการปรับเปลี่ยนให้มีการร่วมกันคิดแก้ปัญหาในปัญหาของชุมชนในรูปแบบ Best Practice นอกจากนี้ ยังมีเรื่องชุมชนในท้องถิ่นที่ช่วยดูแล เช่น ในสกอตแลนด์ประชาชนจะช่วยกันดูแลเรื่อง การคุมประพฤติเป็นต้น ⬧ประเทศญี่ปุ่นมีคณะกรรมการตรวจคำสั่งไม่ฟ้องของอัยการและสามารถปฏิบัติงานได้อย่าง ตั้งใจและลงลึกในรายละเอียดได้จริงจัง จากที่เคยคาดว่าเป็นเรื่องทางเทคนิคซึ่งประชาชนอาจจะ เข้าไม่ถึงหรือเป็นเรื่องที่เกินกำลัง จึงไม่ควรอนุมานคิดว่าเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ ความเห็นของคณะที่ปรึกษา เป็นความตระหนัก ความรับผิดชอบของประชาชนในสังคมนั้นได้เข้ามาอำนวยความยุติธรรม เพียงใด ไม่ว่าในรูปแบบลูกขุน ศาลลูกขุน Grand Jury หรือไซบังอินในต่างประเทศ การที่มีประชาชน เข้ามาวิเคราะห์คดีในส่วนที่ไม่ใช่ข้อกฎหมายจะช่วยทำให้เติมเต็มในส่วนกฎหมายเป็นพัฒนาการขั้นตอน แรกที่ต้องวางพื้นฐานทางศึกษาตั้งแต่ระดับนักเรียนให้มีความตระหนัก ⬧มีตัวอย่างอาสาสมัครช่วยเหลือผู้เสียหายในคดีอาญาชั้นอัยการอย่างไรบ้าง ทุกวันนี้สื่อลงข่าว ละเอียด การมี NGOs ปัญหาความลับทางคดีน่าจะไม่รุนแรงเท่าการแทรกแซงคดีอาญา ความเห็นของคณะที่ปรึกษา รูปแบบการอำนวยความยุติธรรมของอัยการยังมีการช่วยเหลือทางกฎหมายหรือความเป็นธรรม ต่าง ๆ ไม่ว่าขั้นตอนการสืบสวนสอบสวนหรือการดำเนินคดีของจำเลย สำหรับผู้เสียหายที่ได้รับ ผลกระทบเช่น ผู้เสียหายทางเพศ ในญี่ปุ่นจะมีอาสาสมัครในชมรมผู้เสียหายหรือผู้ที่ได้รับผลกระทบ เข้ามาดูแลช่วยเหลือ หรือช่วยประสานงานตั้งแต่ชั้นตำรวจ ซึ่งเป็นกลไกในการดูแลเหยื่อหรือผู้เสียหาย ก่อนฟ้องคดี ส่วนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทหรือระงับข้อพิพาทตามกฎหมายยังเปิดโอกาสในชั้นสอบสวน หรือในชั้นที่มีประชาชนเข้ามา หากคณะกรรมการการมีส่วนร่วมภาคประชาชนระดับจังหวัดมีกลไกนี้ จะทำให้การไกล่เกลี่ยหรือการระงับข้อพิพาทในชั้นอัยการเป็นผลดีขึ้น ทำให้มองเห็นปัญหาความไม่เป็นธรรม การเลือกปฏิบัติ หรือการแทรกแซงที่ไม่ชอบก่อนมีคำสั่งได้ชัดเจนขึ้น ⬧การมีส่วนร่วมของประชาชนในหน่วยงานของกระบวนการยุติธรรมตามบริบทในแต่ละภูมิภาค เช่นภาคเหนือ ภาคอีสาน ภาคใต้ มีความแตกต่างกันหรือไม่ และเห็นด้วยอย่างยิ่งว่าควรให้ความรู้แก่ ประชาชนตั้งแต่เป็นนักเรียน เพื่อสร้างความตระหนักเรื่องการมีส่วนร่วม


219 ความเห็นของคณะที่ปรึกษา เนื่องจากเป็นนโยบายที่มีบริบทและการดำเนินการแตกต่างกันไปตามแต่ละภูมิภาคหรือ ในสำนักงานอัยการนั้นที่จะแต่งตั้งคณะกรรมการการมีส่วนร่วมฯ หรือไม่ก็ได้ และเมื่อเปรียบเทียบกัน ระหว่างภาคอีสานและภาคใต้ภาคอีสานมีความซับซ้อนทางสังคมน้อยกว่าภาคใต้รวมทั้งลักษณะของ ผู้คนแต่ละจังหวัดก็แตกต่างกันต่อความสนใจในการเข้ามามีส่วนร่วมในคณะกรรมการการฯ แต่ทั้งนี้ การเริ่มต้นแต่งตั้งคณะกรรมการของหน่วยงานไม่ว่าอัยการ ศาล ตำรวจจะเป็นสิ่งสำคัญ ⬧เป้าหมายในการมีส่วนร่วมของประชาชนในคดีอาญาและไม่ใช่คดีอาญาจะแก้ไขและ/หรือ ให้เป็นแนวทางอย่างไร อยากให้ได้ข้อมูลที่เป็นจริงในทุกขั้นตอน และการพบความจริงและการค้นหา ความจริงเกิดขึ้นได้แท้จริง ความเห็นของคณะที่ปรึกษา การมีส่วนร่วมของประชาชนในคดีอาญาในส่วนที่เข้าถึงเนื้อหาคดี ยังต้องมีความระมัดระวัง เพราะประชาชนทำงานร่วมกับอัยการที่สั่งคดีจะเป็นเรื่องยาก ในต่างประเทศจะไม่มีประชาชน เข้ามาร่วมในส่วนนี้เพราะ 1) รูปแบบการรวบรวมพยานหลักฐานที่เสนอในชั้นศาลอาจจะมีปัญหาเรื่อง ความปลอดภัยของพยาน ซึ่งมีการให้ความสำคัญในประเด็นนี้ 2) การสั่งฟ้องคดียังต้องอาศัยความรู้ทาง กฎหมายมาปรับกับข้อเท็จจริงที่พนักงานสอบสวนเสนอมา ซึ่งจะยังทำควบคู่ด้วยกันไม่ได้ แต่ประเทศไทย ยังให้สิทธิผู้เสียหายฟ้องคดีอาญาได้เอง และมีการตรวจสอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา ความอาญา มาตรา 145 มาตรา 145/1 กรณีที่อัยการสั่งไม่ฟ้อง คณะกรรมการการมีส่วนร่วมฯ ระดับ จังหวัดจะมีส่วนสนับสนุนช่วยเหลือในงานบริหารโดยเฉพาะการสะท้อนข้อร้องเรียนหรือข้อแนะนำ ต่าง ๆ ในการอำนวยความเป็นธรรมในหน่วยงานอัยการในพื้นที่หรือระดับประเทศให้มีประสิทธิภาพ รวดเร็ว ซึ่งเป็นเป้าหมายหลัก โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลข้อร้องเรียนต่าง ๆ เป็นข้อมูลอ้างอิงเพื่อให้มี การวางแผนงานต่อไป ⬧การที่อัยการสูงสุดกำลังจะทำคดีใหญ่ (ทุนจีนเทา) ในขณะนี้ว่าจะได้รับการยอมรับเชื่อถือ ในการอำนวยความยุติธรรมทางอาญาของไทยได้หรือไม่ โดยที่มีประชาชนคือนายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ เป็นผู้ให้ข้อมูลทางสื่อถือว่าเป็นการมีส่วนร่วมภาคประชาชนใช่หรือไม่ ความเห็นของคณะที่ปรึกษา กรณีของทุนจีนเทา นายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ ถือว่าเป็นผู้ที่ให้ข้อมูลได้ลึกและเอาไปขยายความ ต่อไปได้ ทำให้เจ้าหน้าที่ดำเนินการได้ดีขึ้น จึงเป็นส่วนหนึ่งของการมีส่วนร่วมภาคประชาชน ⬧กรณีนายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ หากเกิดในประเทศเกาหลีใต้ ญี่ปุ่นหรือประเทศที่คุ้นเคยต่อการมี ส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการยุติธรรมอยู่ก่อนแล้ว อาจจะทำให้ปฏิกิริยาของหน่วยงาน ในกระบวนการยุติธรรมของรัฐแตกต่างจากหน่วยงานของประเทศไทยอย่างสิ้นเชิง เพราะเป็นปฏิกิริยา ที่เป็นกลไกคู่ขนานไปกับนายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ ทำให้ตื่นตัวมากขึ้นเพราะมีความคุ้นเคยมาก่อนแล้ว


220 ⬧ความลับในคดีอุกฉกรรจ์ในชั้นอัยการที่ประชาชนไม่อาจก้าวล่วงได้ ในประเทศไทยประชาชน สามารถฟ้องคดีได้เอง หากมีการดำเนินคดีนั้นไปแล้วปรากฏว่าเป็นคดีที่ไม่มีสารประโยชน์ เป็นคดี ความผิดต่อส่วนตัว ผู้เสียหายที่ไม่สุจริตหรือมีลักษณะค้าความ หรือความผิดลหุโทษ ควรให้ คณะกรรมการการมีส่วนร่วมภาคประชาชนได้เข้ามาแบ่งเบาภาระพนักงานสอบสวนหรืออัยการในการ สั่งยุติคดีก่อนเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมกระแสหลัก ซึ่งอาจจะเริ่มต้นจากคดีที่ได้กล่าวข้างต้น ควรใช้ “ไซบังอิน”ของญี่ปุ่นในยุติธรรมชุมชนของไทยได้ในกรณีที่ผู้เสียหายที่ไม่สุจริตหรือ มีลักษณะค้าความ เช่น การหมิ่นประมาทใน Facebook รับเงินสดแทนคำขอโทษ ไม่ประสงค์ไกล่เกลี่ย แม้ว่าผู้กระทำผิดประสงค์จะยุติคดี ฯลฯ หากมีการใช้ยุติธรรมชุมชนซึ่งคล้ายกับไซบังอินเป็นจุดเริ่มต้น ในคดียอมความหรือความผิดลหุโทษ มีรูปแบบของออสเตรเลียหากมีผู้เสียหายจากกรณีดังกล่าว จะมีการนำเงินไปวางที่สำนักงานวางทรัพย์และนำเอกสารจากสำนักงานวางทรัพย์มาให้พนักงาน สอบสวนร่วมกับพนักงานอัยการสั่งยุติคดี ความเห็นของคณะที่ปรึกษา 1) เป็นการเสริมการอำนวยความเป็นธรรมในชั้นพนักงานสอบสวนก่อนส่งฟ้องในชั้นอัยการ ซึ่งใช้ระยะเวลานาน 2) เป็นการแก้ไขตาม ป.วิอาญา มาตรา 166/1 การไต่สวนมูลฟ้องในส่วนอัยการที่มีช่องว่าง 3) กระบวนการไกล่เกลี่ยให้ยุติข้อพิพาทโดยมีคู่กรณี ผู้ไกล่เกลี่ยมาดำเนินการโดยชุมชน ยังมี กลไกตามพระราชบัญญัติการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ. 2562 สำหรับกรณีที่มีผู้เสียหายและผู้กระทำผิด จริงสำหรับความผิดลหุโทษ ความผิดที่ยอมความได้ หรือความผิดที่ยอมความไม่ได้ตามบัญชี ท้ายพระราชบัญญัตินี้ฯ หากเป็นการร้องทุกข์หรือการฟ้องคดีกลั่นแกล้งจนก่อให้เกิดความได้เปรียบ เสียเปรียบหรือความไม่เป็นธรรมนั้น หากมีการไกล่เกลี่ยในชั้นอัยการที่ไม่ได้เป็นการบังคับให้ทำตาม แต่จะเป็นข้อมูลที่สะท้อนให้พนักงานอัยการใช้ดุลพินิจสั่งฟ้องหรือไม่หลังจากไกล่เกลี่ยไม่สำเร็จ ส่วนการ สั่งไม่ฟ้องคดีที่ไม่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะในประเทศไทยยังเป็นอำนาจของอัยการสูงสุด ต่างจาก อัยการในประเทศญี่ปุ่นหรืออังกฤษถ้าเห็นว่าการดำเนินคดีไม่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะแม้ว่า มีข้อเท็จจริงครบถ้วนอัยการจะสั่งไม่ฟ้องได้ต่างจากประเทศไทยหากมีหลักฐานว่ากระทำผิดจริงจะต้อง ฟ้องเว้นแต่ตกลงกันได้หรือคดีที่ยอมความได้ ⬧การฟ้องคดีตามระบบดุลพินิจได้ให้อำนาจพนักงานอัยการทั่วไป แต่การส่งเรื่องมาให้ ส่วนกลางของประเทศไทยทำให้ใช้งานยากขึ้น ทำให้มีความพยายามร่างกฎหมายชะลอฟ้องอีกครั้งซึ่งอยู่ ในวาระของคณะรัฐมนตรี ซึ่งการไกล่เกลี่ยหรือการชะลอฟ้องยังเป็นเรื่องความสมัครใจ ในประเทศ อังกฤษตำรวจสามารถออกคำสั่งยุติคดีได้แต่ยังไม่มีในประเทศไทย ถ้าให้อัยการเข้ามาคัดกรองคำสั่ง อาจจะมีความเหมาะสมหากเป็นคดีความผิดที่ร้ายแรง


221 แม้ว่าประเทศไทยได้เปิดช่องให้ผู้เสียหายสามารถฟ้องคดีอาญาได้เอง แต่ในทางปฏิบัติจะเป็น คดีอาญาที่อ่อนแอ เช่น พยานหลักฐานที่รวบรวมได้มาไม่ครบถ้วน ไม่มีน้ำหนัก เป็นต้น จึงต้องมองลึก ลงไปว่าในทางปฏิบัติยังใช้ได้ผลมากพอหรือไม่ เพราะยังเป็นภาระของเอกชนหลายอย่างที่ต้องทำเอง การให้อัยการร่วมตรวจสอบด้วยเป็นสิ่งที่ดีแต่ต้องดูระดับคดีความผิดด้วย ส่วนพระราชบัญญัติ การไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ. 2562 ในขณะนี้ยังใช้ได้ไม่เต็มที่ยังต้องเก็บข้อมูลมาพิจารณาทบทวนต่อไป ถ้ามีกฎหมายชะลอฟ้องอาจจะกระทำการได้มากขึ้นซึ่งเป็นอำนาจของอัยการ ⬧การมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการยุติธรรมในโครงสร้างของไทยไม่เหมือนกับ ต่างประเทศ ดูจากบุคคลภายนอกที่เข้ามาเป็นคณะกรรมการทั้ง ก.อ. ก.ต. หรือ ก.ตร. แต่ในเชิง โครงสร้างจะเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในเชิงงบประมาณหรือการพัฒนาบุคลากรซึ่งไม่เกี่ยวกับ กระบวนการบริหารยุติธรรมโดยตรง ในประเทศญี่ปุ่นมีกระบวนการไต่สวนกล่าวหาจนมี Lay Judge 6 คน ร่วมกันนั่งพิจารณาคดีกับผู้พิพากษาอาชีพอีก 3 คน จึงเป็นการเข้ามามีส่วนร่วมจริง การที่ประชาชนสามารถฟ้องคดีอาญาได้เองไม่ใช่เป็นการตรวจสอบการดำเนินการของอัยการ เป็นเพียงการไม่ตัดสิทธิการดำเนินคดี กระบวนการที่อัยการฟ้องได้ผ่านกระบวนการสอบสวน การสั่ง สำนวนโดยพนักงานอัยการและอีกหลายกระบวนการจนฟ้องคดีศาลจึงทำได้เร็วขึ้น กระบวนการที่ อัยการร่วมกันทำกับพนักงานสอบสวนในกรณีที่มีการพิจารณาสั่งสำนวนทำให้เห็นสถิติคดี แต่ใน ประเทศไทยได้มีการเก็บสถิติหรือไม่ว่าการที่ประชาชนฟ้องเองและมีประสิทธิภาพตามที่ประชาชนฟ้อง คดีเองหรือไม่ ศาลลงโทษตามที่ประชาชนฟ้องหรือไม่เพียงใด เพราะไม่มีเครื่องมือใดช่วยเหลือในทาง ปฏิบัติ ด้วยโครงสร้างดังกล่าวนั้นการมีส่วนร่วมของประชาชนโดยการให้อำนาจประชาชนร่วมกับ เจ้าหน้าที่รัฐ มีเครื่องมือเหมือนเจ้าหน้าที่รัฐมี ควรมีกระบวนการก้าวข้ามขั้นตอนหรือมายาคติที่มีอยู่ ว่าเป็นการมีส่วนร่วมของประชาชนรวมทั้งที่มีอยู่ในผู้บริหารระดับสูง มีการใช้ประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 166/1 ยังถูกใช้ได้ประมาณหนึ่ง ยังไม่ถูกให้ประชาชนได้ใช้วิพากษ์หรือ เป็นผลว่าประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมจริง จึงควรมีการศึกษาเรื่องนี้อย่างจริงจัง เช่น ประเทศญี่ปุ่น เพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมของประชาชนอย่างจริงจัง การมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการยุติธรรมของไทยค่อนข้างน่าเป็นห่วง ซึ่งเป็นเรื่อง ที่จำเป็นและต้องมีศักยภาพให้เป็นไปได้มากที่สุด ⬧เห็นด้วยกับในเรื่องการเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมทางอาญาในทุกชั้นทุกขั้นตอนในภาคปฏิบัติ (มายาคติเดิมในทางวิชาการ) ซึ่งไม่ส่งผลตรงตามที่ได้ก่อเกิดกฎหมายที่ให้อำนาจของพนักงานอัยการ ขึ้นใหม่ๆ ได้อีก แต่อย่างน้อยควรกระจายอำนาจหน้าที่ให้อัยการซึ่งเห็นด้วยกับแนวทางนี้ ⬧การมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในชั้นสั่งคดี ขอให้ระลึกถึงความปลอดภัยของเจ้าหน้าที่ ผู้ทำหน้าที่พิจารณาสั่งฟ้องหรือไม่ฟ้องคดีด้วย เพราะคดีร้ายแรงมากมายมีผลประโยชน์มากมาย


222 ความเห็นของคณะที่ปรึกษา ขั้นตอนแรก กระบวนการต้นทางของกระบวนการยุติธรรมในชั้นปราบปราม สอบสวน และ สั่งคดีเป็นขั้นแรกที่ได้ประเมินความน่าเชื่อถือในขั้นตอนรวบรวมพยานยังไม่เป็นไปตามครรลองที่ควร เป็นอยู่จำนวนมาก ควรดูในขั้นตอนดังกล่าวถ้ามีเวลาไม่นานพร้อมรูปแบบที่ให้ประชาชนเข้ามา มีส่วนระงับข้อพิพาทหรือการสนับสนุนการสั่งฟ้องคดีคู่ขนานกับตำรวจหรืออัยการจะมีรูปแบบใด ขั้นตอนที่สอง การมีส่วนร่วมระหว่างของศาลกับประชาชนในการตัดสินชี้ขาดซึ่งเป็นขั้นตอน สำคัญในกระบวนการทางอาญา หากมีการมีส่วนร่วมของประชาชนตลอดสายจะเป็นสิ่งที่ท้าทาย เคยมี การเสนอเรื่องระบบลูกขุนแต่ไม่ผ่านเพราะเรื่อง Professional และไม่เห็นระบบไซบังอินของญี่ปุ่นหรือ องค์คณะผู้พิพากษาของศาลเยอรมนีที่มีประชาชนร่วมนั่งพิจารณา ซึ่งเป็นความสำเร็จของระบบ ไต่สวนในคดีสำคัญ หากขั้นตอนแรกประสบความสำเร็จและไม่กระทบต่อความเป็นธรรมหรือเสริมความเป็นธรรม มากขึ้น มีผู้คนเข้ามาร่วมในการรวบรวมพยานหลักฐานมากขึ้น ซึ่งอาจจะเป็นประโยชน์ แต่ผู้ที่เข้า มาร่วมอาจจะต้องมีการพัฒนาเรื่องการรวบรวมพยานหลักฐานและเก็บรักษาความลับได้ดีซึ่งเป็น ส่วนสำคัญทางตำรวจไม่ต้องการให้มีส่วนร่วมในประเด็นนี้ ในชั้นอัยการหากได้ข้อมูลหรือข้อเท็จจริงว่า ไม่เป็นความผิดเป็นการใช้ดุลพินิจในการสั่งไม่ฟ้องคดีเพราะมีพยานหลักฐานไม่เพียงพอที่ยังมี ในประเทศไทย อังกฤษ หรือออสเตรเลียยังมีบทบาทการมีส่วนร่วมของประชาชนที่เห็นว่ายังไม่ชัดเจน ไม่มีประโยชน์ต่อสาธารณะ หรือเป็นพยานเท็จ/ไม่ถูกต้อง การมีส่วนร่วมฯ ดังกล่าวจึงมีประโยชน์และ ช่วยสนับสนุนข้อเท็จจริง เช่น การพิสูจน์สัญชาติไทยซึ่งได้ข้อมูลจากผู้คนในชุมชนพื้นที่บอกว่าเป็น ผู้ที่เกิดในประเทศไทยหรือไม่ ดังนั้น หากอยู่ในรูปแบบหน่วยสืบเสาะหรือช่วยเหลือจะทำให้ตำรวจหรือ อัยการมีความมั่นใจมากขึ้น ในขั้นตอนที่สองนั้น ยังมีความกังวลในประเด็นความเป็นเครือข่ายหรือการเอื้อเฟื้อกัน ซึ่งยังต้องมีความระมัดระวังและยังต้องมีการพัฒนาและให้ไปจนสุดสายทั้งทางศาลและราชทัณฑ์ที่มี การคุมประพฤติในชุมชนในขณะนี้ จึงควรสร้างกลไกขึ้นมาและภาครัฐต้องมีกลไกสนับสนุนการเข้ามา มีส่วนร่วมของประชาชน ⬧จะให้แก้ไขได้โดยการมีส่วนร่วมแบบโปร่งใสได้ การรับฟังข้อเท็จจริงทุกฝ่ายที่จะเกิดขึ้นใน ชั้นสืบสวน ชั้นปราบปราม และหรือการสอบสวน การรวบรวมพยานหลักฐาน เพื่อให้ถือเป็นทางเลือก ของพนักงานอัยการได้ สามารถนำความจริงขึ้นสู่กระบวนการได้ในขั้นต่อไป ซึ่งถือว่ามีความสำคัญและ เป็นขั้นตอนเบื้องต้นที่สำคัญมาก ๆ ในชั้นอื่นด้วย แต่ถ้ารวมขั้นตอนในชั้นอัยการและชั้นศาลอีกจะ ยาวมาก ดังนั้น กระบวนการให้มีคณะลูกขุนในคดีสำคัญที่มีความซับซ้อนมาก ๆ สามารถสร้างความยุติธรรม ทางอาญาให้เกิดขึ้นได้ ทำให้ประชาชนยอมรับในทางปฏิบัติ


223 ⬧มีประเด็นที่น่าเป็นห่วง คือ 1. การนำคดีตั้งแต่ต้นน้ำที่ไม่ทำให้คดีมาถึงอัยการหรือศาล และไม่ต้องการให้เป็นการคัดง้าง ระหว่างอำนาจสอบสวนกับอัยการที่ยังไม่มีการมีส่วนร่วมจนอาจจะทำให้เกิดการกินรวบ หากมีการสร้าง เครือข่ายในรูปแบบคณะกรรมการที่มีประชาชนเข้ามาหรือในบางประเทศที่มีอดีตนักโทษเข้ามาเป็น คณะกรรมการในกระบวนการรับคดีจะมีข้อดีที่จะตรวจสอบได้ หากกระบวนการต้นน้ำที่มีประชาชน เข้ามาตรวจสอบด้วยจะทำให้มีความโปร่งใสมากขึ้น 2. บุคคลที่เข้ามาเป็นคณะกรรมการการมีส่วนร่วมของประชาชนตั้งแต่ตอนต้นจะมีการป้องกัน ระบบที่มีศักดินาหรือผู้มีอิทธิพลได้อย่างไร เช่น การมีผู้พิพากษาสมทบในศาลเยาวชนฯ ยังเป็นคหบดี ในพื้นที่ 3. การร่วมกันระหว่างศาลกับประชาชน ยังต้องมีการให้องค์ความรู้หรือการทำลายมายาคติเดิม เพราะประเทศไทยมีระบบผู้พิพากษาสมทบ (Lay Judge) ระบบผู้พิพากษาสมทบในศาลเยาวชน ศาล แรงงาน หรือศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ ซึ่งจำเป็นที่ประชาชนจะต้องมีทักษะพิเศษของคดีประเภทนั้น แต่ Lay Judge ในคดีความผิดทั่วไปต้องใช้ความเข้าใจของคนปกติทั่วไปในการตัดสินการกระทำนั้น ว่าผิดหรือไม่ จึงมีความแตกต่างกัน ถ้ายังไม่มีการทำลายมายาคติเดิมว่าโครงสร้างแบบนี้ยังไม่ใช่หลักการ ของการมีส่วนร่วมของประชาชน ซึ่งจะอ้างว่าประชาชนได้มีส่วนร่วมอยู่ในกระบวนการยุติธรรมของ ประเทศไทยแล้ว จะทำให้ไม่เกิดภาพกว้างในคดีอาญาทุกประเภท ตลอดจนไม่มีการปรับเปลี่ยนเพราะ ถือว่ามีระบบนี้อยู่แล้ว แต่ถ้าหากมีการขับเคลื่อนทางวิชาการเช่นนี้แล้วศาลอาจจะรับฟัง


224 บทที่ 6 การวิเคราะห์ผลการศึกษาและข้อเสนอแนะแนวทางการมีส่วนร่วมของประชาชน ในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา คณะที่ปรึกษาได้วิเคราะห์และสังเคราะห์ผลการศึกษาจากข้อมูล ข้อเท็จจริง ที่ได้มาทั้งหมดของ โครงการ ทั้งการศึกษา การค้นคว้าข้อมูล การเก็บข้อมูลจากการลงพื้นที่สี่ภูมิภาค การสัมภาษณ์ ผู้ทรงคุณวุฒิชาวต่างประเทศ การจัดประชุมระดับนานาชาติ การรับฟังความคิดเห็นจากผู้ทรงคุณวุฒิไทย และการประชุมนำเสนอร่างรายงานฉบับสมบูรณ์ รวมถึงได้มีข้อเสนอแนะแก่หน่วยงานอัยการในการ ปรับปรุงแนวทางการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้ 1. ภาพรวมการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา 1.1 การวิเคราะห์ระบบการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการยุติธรรม จาก การลงพื้นที่สี่ภูมิภาค ผลการศึกษาจากการลงพื้นที่สี่ภูมิภาคเพื่อสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่ในกระบวนการยุติธรรม พบว่า มีรูปแบบการมีส่วนร่วมของประชาชนในหน่วยงานกระบวนการยุติธรรม ทั้งสำนักงานอัยการจังหวัด ศาลจังหวัด และสถานีตำรวจภูธร รวม 34 โครงการ ดังสรุปไว้ในตารางต่อไปนี้ ตารางที่ 1 โครงการที่ผู้ให้สัมภาษณ์เห็นว่าเข้าข่ายเป็นกลไกการมีส่วนร่วมของประชาชน ของหน่วยงานกระบวนการยุติธรรม อัยการ (10 โครงการ) ศาล (15 โครงการ) ตำรวจ (9 โครงการ) 1. คณะกรรมการการมีส่วนร่วม ภาคประชาชน 2. คณะที่ปรึกษาสำนักงานอัยการ จังหวัด 3. ทนายความอาสา 4. การแสดงความคิดต่อเห็นร่าง กฎหมาย 5. การร้องขอความเป็นธรรมเกี่ยวกับ คดี 6. การร้องทุกข์เกี่ยวกับการปฏิบัติ หน้าที่ของเจ้าหน้าที่ 1. ผู้กำกับดูแลผู้ถูกปล่อยชั่วคราว 2. ผู้ประนีประนอมประจำศาล 3. คลินิกจิตสังคมในระบบศาล 4. ผู้พิพากษาสมทบ 5. ทนายความอาสา 6. ล่ามอาสาสมัคร 7. นายประกันอาชีพ 8. ผู้ควบคุมดูแลให้ปฏิบัติตามเงื่อนไข ในกรณีที่พิพากษาให้รอการลงโทษ จำเลย 9. การเข้าร่วมฟังการพิจารณาคดี ของศาล 1. คณะกรรมการตรวจสอบ และติดตามการบริหารงาน ตำรวจ (กต.ตร.) 2. โครงการตำรวจอาสา 3. ทนายความอาสา 4. ล่ามอาสาสมัคร 5. โครงการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท 6. โครงการยุติความรุนแรง 7. โครงการปักกลด 8. การแจ้งเบาะแส การแจ้ง ข่าวสาร การเป็นพยาน


225 อัยการ (10 โครงการ) ศาล (15 โครงการ) ตำรวจ (9 โครงการ) 7. การเข้าถึงข้อมูลหรือข่าวสาร สาธารณะในครอบครองของหน่วยงาน อัยการ 8. การให้ความรู้ทางกฎหมายแก่ ประชาชน 9 . การจัดทำแผนแก้ไขบำบัดฟื้นฟู เด็กหรือเยาวชนที่กระทำผิด 10. การฝึกงานของนักเรียน นักศึกษาในสำนักงานอัยการจังหวัด 10. การมีส่วนร่วมในกระบวนการ ยุติธรรมของคู่ความ 11. การแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับ การให้บริการของศาล และการร้องเรียน การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่รัฐ 12. ศูนย์กลางผู้เสียหายในคดีอาญา 13. การให้ความรู้ทางกฎหมายที่ ศาลเป็นผู้ดำเนินการ 14. การอำนวยความสะดวกทางคดี ให้กับประชาชน ผ่านทางระบบเทคโนโลยี สารสนเทศ 15. การจัดกิจกรรมต้นกล้าตุลาการ ให้กับนักเรียน 9. การให้ญาติหรือบุคคลสำคัญ ในพื้นที่ที่ประชาชนให้ความ เคารพนับถือเข้าร่วมในการ สอบปากคำผู้ต้องหาและพยาน รวมทั้งเข้าร่วมในการนำชี้ที่เกิด เหตุในคดีที่สำคัญ จากตารางข้างต้นจะเห็นได้ว่าหน่วยงานอัยการ หน่วยงานศาล และหน่วยงานตำรวจ ต่างก็มี โครงการที่เป็นกลไกการมีส่วนร่วมของประชาชนของหน่วยงานกระบวนการยุติธรรม แต่คณะที่ปรึกษา มีข้อสังเกตว่าโครงการหลักของศาลและตำรวจที่สามารถนำมาปรับใช้กับ “คณะกรรมการการมีส่วนร่วม ภาคประชาชน” ในหน่วยงานอัยการได้ คือ โครงการ “ผู้กำกับดูแลผู้ถูกปล่อยชั่วคราว” ของหน่วยงานศาล และ “คณะกรรมการตรวจสอบและติดตามการบริหารงานตำรวจ (กต.ตร.)” ของหน่วยงานตำรวจ ซึ่งมี กลไกการจัดตั้งดังสรุปไว้ในตารางที่ 2 ตารางที่ 2 นโยบายและกฎหมายที่กำกับการจัดทำกลไกประชาชนมีส่วนร่วม ในกระบวนการยุติธรรม หน่วยงาน กลไกประชาชนมีส่วนร่วม นโยบาย/กฎหมาย อัยการ -คณะกรรมการการมีส่วนร่วมภาคประชาชน -คณะที่ปรึกษาสำนักงานอัยการจังหวัด -วิสัยทัศน์ขององค์กรอัยการที่กำหนดให้เป็น “องค์กรนำในการใช้กฎหมาย เพื่อรักษาความ ยุติธรรมให้กับประชาชนและสังคม" และแผนพัฒนา เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560- 2564 ยุทธศาสตร์ที่ 2 การสร้างความเป็นธรรมและ ลดความเหลื่อมล้ำในสังคม -กลยุทธฺที่ 4.2 ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของ ประชาชน ยุทธศาสตร์ที่ 4 สร้างความเชื่อมั่นแก่ ประชาชน และหน่วยงานที่มีส่วนได้เสีย ตามแผน ยุทธศาสตร์สำนักงานอัยการสูงสุด ปี 2559-2562


226 หน่วยงาน กลไกประชาชนมีส่วนร่วม นโยบาย/กฎหมาย ที่สอดคล้องกับพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์ และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 ศาล ผู้กำกับดูแลผู้ถูกปล่อยชั่วคราว -นโยบายการสร้างดุลยภาพแห่งสิทธิของประธาน ศาลฎีกา -พระราชบัญญัติมาตรการกำกับและติดตามจับกุม ผู้หลบหนีการปล่อยชั่วคราวโดยศาล พ.ศ. 2560 ตำรวจ คณะกรรมการตรวจสอบและติดตามการ บริหารงานตำรวจ (กต.ตร.) -นโยบายสำนักงานตำรวจแห่งชาติ -พระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2565 -ระเบียบ ก.ต.ช. ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการ ส่งเสริมให้ท้องถิ่นและชุมชนมีส่วนร่วมในกิจการ ตำรวจ พ.ศ. 2549 -ระเบียบสำนักงานตำรวจแห่งชาติว่าด้วยการ ส่งเสริมให้ประชาชน ชุมชน ท้องถิ่นและองค์กรมี ส่วนร่วมในกิจการตำรวจ พ.ศ. 2551 จากตารางที่ 2 จะเห็นว่าโครงการ “ผู้กำกับดูแลผู้ถูกปล่อยชั่วคราว” ของหน่วยงานศาล และ “คณะกรรมการตรวจสอบและติดตามการบริหารงานตำรวจ (กต.ตร.)” ของหน่วยงานตำรวจเป็นกลไก ที่สร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนที่กำหนดโดยนโยบายและกฎระเบียบที่ชัดเจนเป็นลายลักษณ์อักษร มีการกำหนดหน้าที่อำนาจ วาระการแต่งตั้ง และการให้ค่าตอบแทน นอกจากมีนโยบายและกฎระเบียบที่กำหนดกลไกการจัดให้ประชาชนมีส่วนร่วมในหน่วยงาน ของศาลตามโครงการ “ผู้กำกับดูแลผู้ถูกปล่อยชั่วคราว” แล้ว ศาลยังได้จัดทำระบบเทคโนโลยี สารสนเทศโดยจัดทำฐานข้อมูล CIOS ส่วนกลางเพื่อรวบรวมรายชื่อที่มีรายชื่อ “ผู้กำกับดูแลผู้ถูกปล่อย ชั่วคราว” ที่ได้ขึ้นทะเบียนโดยศาลจังหวัดแต่ละแห่งเพื่อให้ศาลจังหวัดทุกแห่งสามารถใช้ประโยชน์ได้ โดยที่ศาลจะใช้“ผู้กำกับดูแลผู้ถูกปล่อยชั่วคราว” ที่ศาลแต่งตั้งขึ้นเอง หรือจะใช้ผู้ที่ศาลอื่นแต่งตั้งก็ได้ หากเป็นผู้ที่อยู่ในภูมิลำเนาเดียวกันกับผู้ถูกปล่อยชั่วคราวหรือเป็นเพราะศาลจังหวัดมีผู้กำกับดูแลฯ ไม่เพียงพอ ซึ่งมีความสะดวกรวดเร็วมีประสิทธิภาพมาก และตอบสนองต่อมาตรการการส่งเสริมการ มีส่วนร่วมของประชาชนได้อย่างแท้จริง ประชาชนได้รับทราบถึงวิธีคิดหรือมุมมองของศาล กระบวนการ ทางศาล การใช้ดุลพินิจของศาล ทำให้เกิดความไว้วางใจ เกิดการขยายความร่วมมือกับศาล ช่วยสอดส่องดูแล ทำให้ชุมชนปลอดภัย เช่นเดียวกับผู้กำกับดูแลผู้ถูกปล่อยชั่วคราวของหน่วยงานศาล กต.ตร. ที่มีการแต่งตั้งในสถานี ตำรวจภูธรทุกแห่ง เป็นกลไกการมีส่วนร่วมของประชาชนที่เป็นนโยบายและมีกฎระเบียบกำหนดหน้าที่ อำนาจที่ชัดเจนใช้เหมือนกันทุกแห่ง กรรมการที่มาจากตัวแทนภาคประชาชนของ กต.ตร. จึงมีบทบาทสำคัญ ในการช่วยสะท้อนปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในชุมชนหรือในพื้นที่ให้ตำรวจท้องที่ทราบ เป็นความร่วมมือ ระหว่างประชาชนกับเจ้าหน้าที่ตำรวจอย่างแท้จริง


227 ส่วนกรณีของ “คณะกรรมการการมีส่วนร่วมภาคประชาชน” จะมีความแตกต่างจาก “ผู้กำกับ ดูแลผู้ถูกปล่อยชั่วคราว” ของหน่วยงานศาล และ “คณะกรรมการตรวจสอบและติดตามการบริหารงาน ตำรวจ (กต.ตร.)” เนื่องจากคณะกรรมการดังกล่าวเป็นกลไกเกิดจากวิสัยทัศน์และนโยบายของ สำนักงานอัยการสูงสุดที่ต้องการให้สำนักงานอัยการเป็น “องค์กรนำในการใช้กฎหมาย เพื่อรักษาความ ยุติธรรมให้กับประชาชนและสังคม” สร้างความเป็นธรรมและลดความเหลื่อมล้ำในสังคม ส่งเสริมให้ ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการยุติธรรม ช่วยในการสะท้อนหรือให้ข้อมูลเกี่ยวกับปัญหาเรื่อง ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในท้องที่ รวมถึงปัญหาเกี่ยวกับเรื่องการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมหรือการดำเนินคดีให้ หน่วยงานอัยการทราบ โดยสามารถทำหน้าที่เป็นสื่อกลางระหว่างประชาชนในพื้นที่และองค์กรอัยการ อย่างไรก็ตาม “คณะกรรมการการมีส่วนร่วมภาคประชาชน” ก็ไม่ได้เป็นการแต่งตั้งตาม กฎหมายแต่มีการแต่งตั้งตามนโยบาย เมื่อเป็นเพียงนโยบายไม่มีกฎระเบียบในการบังคับใช้จึงเป็น ดุลพินิจของอัยการจังหวัดที่จะแต่งตั้งตามที่เห็นเหมาะสม ทำให้มีวัตถุประสงค์ในการแต่งตั้งของแต่ละ จังหวัดไม่เหมือนกัน และการโยกย้ายอัยการจังหวัดตามวาระที่เกิดขึ้นทุกปีจะเป็นปัญหาหนึ่งที่สำคัญ ที่ทำให้ขาดความต่อเนื่องในการทำงานของคณะกรรมการการมีส่วนร่วมภาคประชาชน โดยอัยการจังหวัด ที่โยกย้ายมาใหม่อาจจะยกเลิกคณะกรรมการการมีส่วนร่วมภาคประชาชนที่อัยการคนเดิมแต่งตั้งก็ได้ หรือแต่งตั้งขึ้นเพื่อกำหนดบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการฯ ให้เป็นผู้อำนวยความสะดวกแก่สำนักงาน อัยการ หรือเป็นตัวแทนในการประชาสัมพันธ์งานของอัยการเท่านั้น เมื่อหน่วยงานอัยการไม่ได้ เปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างเต็มที่ จึงทำให้ประชาชนไม่ได้รับทราบถึงบทบาทหน้าที่ของ อัยการ และเข้ามามีส่วนร่วมน้อย ข้อเสนอแนะกลไกการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในหน่วยงานอัยการที่ได้จากการลงพื้นที่ เก็บข้อมูลในสี่ภูมิภาค คือ หน่วยงานอัยการควรออกเป็นกฎระเบียบเกี่ยวกับคณะกรรมการการ มีส่วนร่วมภาคประชาชนที่ชัดเจน มีรายละเอียดเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ของการแต่งตั้ง คุณสมบัติของ บุคคลที่เข้ามาเป็นกรรมการ กลไกการคัดเลือก จำนวนคณะกรรมการ วาระการดำรงตำแหน่ง อำนาจ หน้าที่ของคณะกรรมการ ค่าตอบแทน เบี้ยประชุม หรือค่าพาหนะ มาตรการ กลไก และแนวทาง ที่จำเป็นแก่การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน เมื่อเกิดความชัดเจนในการแต่งตั้งคณะกรรมการ ตามกฎระเบียบดังกล่าวแล้ว จะทำให้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการฯ ในทุกจังหวัด คณะกรรมการฯ ปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างเต็มที่ถูกต้องตรงกันทุกแห่ง มีความต่อเนื่องเป็นไปตามวาระ ไม่ถูกยกเลิกจากการ ใช้ดุลพินิจของอัยการจังหวัดที่ย้ายเข้ามาใหม่ การมีตัวแทนภาคประชาชนในคณะกรรมการดังกล่าว จะทำให้ประชาชนรู้จักอัยการมากขึ้น ประชาชนจะมีความตื่นตัว เริ่มมีส่วนร่วมเพิ่มมากขึ้น ช่วยเป็น ตัวแทนของอัยการในการเผยแพร่ความรู้และเป็นกระบอกเสียงให้กับอัยการได้ด้วย โดยอาจเปรียบเทียบ ดูแนวทางเพิ่มเติมจาก กต.ตร. ของหน่วยงานตำรวจ สำหรับ “ผู้กำกับดูแลการปล่อยตัวชั่วคราว” เป็นมาตรการการมีส่วนร่วมของประชาชนของ หน่วยงานศาลรูปแบบหนึ่งที่น่าสนใจ หน่วยงานอัยการสามารถนำไปใช้เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนเข้ามา มีส่วนร่วมในกระบวนการยุติธรรมของอัยการได้ เพราะทั้งศาลและอัยการต่างก็มีกระบวนการของ


228 การประกันตัวผู้ต้องหาเพื่อปล่อยผู้ต้องหาเหมือนกันทั้งการประกันตัวในชั้นอัยการกับการประกันตัว ในชั้นศาล และทั้งกรณีการประกันตัวที่มีหลักทรัพย์กับไม่มีหลักทรัพย์ เพื่อให้ผู้กำกับดูแลผู้ถูกปล่อยตัว จะได้ช่วยเหลืองานของเจ้าหน้าที่ของสำนักงานอัยการจังหวัดในการรายงานตัวในพื้นที่และนอกพื้นที่ได้ เป็นการลดภาระงานของอัยการ ลดค่าใช้จ่ายของผู้ต้องหาและสามารถยุติคดีได้เร็ว รวมถึงประชาชน จะได้รับมีความเข้าใจที่ถูกต้องว่าภาระงานของอัยการว่าไม่ได้มีแต่ทำให้ประชาชนเข้าคุกเท่านั้น แต่เป็น งานที่อำนวยความยุติธรรมแก่ทุกฝ่าย ถ้าไม่ผิดก็สั่งไม่ฟ้อง จะทำให้ประชาชนมีส่วนร่วมช่วยเหลืออัยการ ในการดูแลผู้ต้องหาหรือผู้เสียหายมากขึ้น นอกจากนี้ หน่วยงานอัยการสามารถออกกฎหมายเพื่อกำหนดมาตรการเชิงรุกในกลไกการ ส่งเสริมให้เกิดการมีส่วนร่วมของประชาชนรูปแบบอื่นเพิ่มเติมได้ เช่น -การเปิดโอกาสให้ประชาชนช่วยติดตามพยาน เพราะมีความสัมพันธ์สามารถเชื่อมโยงกับ พยานได้ -การช่วยเหลือให้ความคุ้มครองพยาน ประชาชนอาจช่วยรับพยานไปอยู่ในที่ปลอดภัย -การเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้าร่วมออกแบบระบบกฎหมายการชะลอฟ้องที่อัยการสามารถ ใช้ดุลพินิจได้เพราะไม่ใช่โทษหนัก เป้าหมายสูงสุดของมาตรการการมีส่วนร่วมของประชาชนคือความสงบสุขของสังคม ตัวแปร ความสำเร็จหรือล้มเหลวของกลไกการมีส่วนร่วมของประชาชน คือการทำงานเชิงรุกเข้าถึงประชาชนก่อน การเปิดโอกาสที่ส่งเสริมให้ประชาชนช่วยระดมความคิดเห็นร่วมกันเพื่อสร้างมาตรการหรือกลไกการมี ส่วนร่วมประชาชนใหม่ ๆ เพิ่มเติม และการเปิดกว้างให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการอำนวยความยุติธรรม โดยที่กระบวนการยุติธรรมยังคงความเป็นกลาง โปร่งใส ยุติธรรม ตรวจสอบได้ ผลกระทบเชิงบวก จะเกิดขึ้นตามมามากมาย เช่น เสริมสร้างให้เกิดความรวดเร็วในกระบวนการยุติธรรม ช่วยแบ่งเบาภาระ งานของพนักงานเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานกระบวนการยุติธรรม ไม่ต้องเพิ่มอัตรากำลังคนใหม่ในหน่วยงาน กระบวนการยุติธรรม เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานในกระบวนการยุติธรรมที่ตอบรับนโยบายหรือ กฎหมาย ช่วยประหยัดงบประมาณและทรัพยากรต่าง ๆ ประชาชนให้ความไว้ใจและเชื่อมั่น ในกระบวนการยุติธรรมของไทย 1.2 การวิเคราะห์ระบบการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการยุติธรรมต่างประเทศ ข้อมูลที่ได้รับจากการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิของประเทศญี่ปุ่นและสาธารณรัฐเกาหลีเกี่ยวกับ ระบบการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการยุติธรรมของประเทศญี่ปุ่นและสาธารณรัฐเกาหลี คณะที่ปรึกษามีข้อสังเกตโดยได้นำข้อมูลดังกล่าวเปรียบเทียบกับระบบการมีส่วนร่วมของประชาชน ในกระบวนการยุติธรรมของประเทศไทยที่เป็นข้อมูลจากการสัมภาษณ์หน่วยงานกระบวนการยุติธรรมไทย ทั้ง 4 ภาค ในภาพรวมพบว่าการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการยุติธรรมของทั้งสามประเทศ มีความคล้ายคลึงที่ใกล้เคียงกัน โดยสามารถสรุปเป็นข้อ ๆ ดังนี้


229 1. รัฐบาลของประเทศญี่ปุ่นและสาธารณรัฐเกาหลีสามารถนำระบบการมีส่วนร่วมของ ประชาชนในกระบวนการยุติธรรมมาใช้เพื่อเป็นกลไกหนึ่งในการเสริมสร้างความเป็นระบอบ ประชาธิปไตย (Democratization) ได้ จากการศึกษาข้อมูลของคณะที่ปรึกษาและการสัมภาษณ์พบว่า ประเทศไทยได้ตระหนักในความสำคัญของการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการยุติธรรมเช่นกัน โดยได้กำหนดเป็นแผนยุทธศาสตร์หน่วยงาน แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รวมถึงรัฐธรรมนูญ การตรากฎหมายลูกที่เกี่ยวข้อง และกฎระเบียบของหน่วยงานเพื่อส่งเสริมให้เกิดการมีส่วนร่วมของ ประชาชนในกระบวนการยุติธรรมของไทย 2. ระบบการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการยุติธรรมของประเทศญี่ปุ่นและสาธารณรัฐ เกาหลีได้ช่วยเสริมสร้างความไว้วางใจของประชาชนต่อกระบวนการยุติธรรมและหน่วยงาน ในกระบวนการยุติธรรม ดังจะเห็นได้จากผู้ที่เคยเข้าร่วมเป็นคณะกรรมการฯ หรือคณะลูกขุนจะมี ความเข้าใจในกระบวนการยุติธรรมมากขึ้น รวมถึงการสร้างกลไกและเครื่องมือในการสร้างความรู้ ความเข้าใจต่อกระบวนการยุติธรรมที่ถูกต้องแก่ประชาชน ทำให้ประชาชนมีทัศนคติต่อกระบวนการ และหน่วยงานทางกระบวนการยุติธรรมทางอาญาที่ดีขึ้นได้ อันจะนำไปสู่ความร่วมมือของ ภาคประชาชนกับหน่วยงานรัฐในการดำเนินกระบวนการยุติธรรมมากขึ้นในท้ายที่สุด ซึ่งไม่แตกต่างจาก ประเทศไทยที่มีความตระหนักในประเด็นดังกล่าวเช่นกัน โดยหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมของไทย ได้ทำงานเชิงรุก การลงพื้นที่เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนสามารถเข้าถึง รู้จัก และเข้าใจในหน้าที่และ การปฏิบัติงานของหน่วยงานกระบวนการยุติธรรมมากขึ้น 3. การมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการยุติธรรมของประเทศญี่ปุ่นและสาธารณรัฐ เกาหลีมีกระบวนการยุติธรรมเปลี่ยนไป โดยกำหนดประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีที่ชัดเจนขึ้นและแคบลง ตั้งแต่ชั้นก่อนพิจารณาคดี มีการใช้คำศัพท์ในการอธิบายคดีที่เข้าใจง่ายขึ้น ช่วยให้กระบวนการพิจารณา สามารถเสร็จสิ้นได้ในระยะเวลาอันสั้นเช่นเดียวกับประเทศไทย จากการลงพื้นที่เก็บข้อมูลในสี่ภาค พบว่าหน่วยงานกระบวนการยุติธรรมของไทยทั้งสำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทาง กฎหมายและการบังคับคดี (สคช.) ศาล และตำรวจได้ลงพื้นที่ให้ความรู้ทางกฎหมาย การกำหนด มาตรการการมีส่วนร่วมของประชาชนในรูปแบบที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ เช่น คณะกรรมการ การมีส่วนร่วมภาคประชาชนหรือคณะที่ปรึกษาสำนักงานอัยการ การแต่งตั้งผู้กำกับดูแลผู้ถูกปล่อยชั่วคราว การแต่งตั้ง กต.ตร. และโครงการตำรวจอาสา ฯลฯ โครงการต่าง ๆ ดังกล่าวได้ส่งเสริมให้ประชาชนเข้ามา มีส่วนร่วมในการปฏิบัติงานร่วมกับหน่วยงานกระบวนการยุติธรรมในการปรับเปลี่ยนขั้นตอนของ กระบวนการยุติธรรมที่สั้นลง คณะกรรมการการมีส่วนร่วมภาคประชาชนและ กต.ตร. ช่วยจัดสถานที่ อำนวยความสะดวกในการติดต่อของประชาชน ผู้ถูกปล่อยชั่วคราวไม่ต้องมารายงานตัวที่ศาล ตำรวจ อาสาช่วยเหลือสอดส่องดูแลความปลอดภัยในพื้นที่ เกิดความสะดวกในการปฏิบัติงานสามารถแก้ไข ปัญหารวดเร็วและมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ ประชาชนสามารถให้ความเห็นในการบริหารจัดการงาน ของกระบวนการยุติธรรมไทย แม้จะไม่ได้กระทบกับสำนวนคดี แต่ได้ช่วยสะท้อนภาพการปฏิบัติงานของ


230 หน่วยงานกระบวนการยุติธรรม ทำให้การดำเนินกระบวนการยุติธรรมรวดเร็วขึ้นได้ และทำให้ประชาชน เข้าถึงได้ง่ายขึ้นด้วย 4. กลไกการมีส่วนร่วมของประชาชนในประเทศญี่ปุ่นและสาธารณรัฐเกาหลีเป็นการตรวจสอบ หรือสังเกตการณ์การทำงานของเจ้าหน้าที่รัฐจากประชาชน ช่วยกระตุ้นให้เจ้าหน้าที่รัฐทำงานด้วย ความระมัดระวังและละเอียดรอบคอบมากขึ้น ซึ่งคล้ายคลึงกับกรณีของประเทศไทย ข้อมูลและ ความเห็นจากการสัมภาษณ์พบว่าการที่ประชาชนรับทราบถึงบทบาทหน้าที่ของหน่วยงานกระบวนการ ยุติธรรมมากขึ้นจากการลงพื้นที่ให้ความรู้ด้านกฎหมายและการประชาสัมพันธ์หน่วยงานกระบวนการ ยุติธรรม การเปิดโอกาสให้ประชาชนเป็นกรรมการเข้ามามีส่วนร่วมในหน่วยงานกระบวนการยุติธรรม รวมถึงการที่ประชาชนใช้ประโยชน์ของโซเชียลมีเดีย เป็นช่องทางหนึ่งที่ทำให้ประชาชนสามารถใช้ ในการสอดส่องและตรวจสอบการทำงานของเจ้าหน้าที่ได้ จะทำให้พนักงานเจ้าหน้าที่ระมัดระวังในการ ปฏิบัติหน้าที่มากขึ้นด้วย 5. การประชาสัมพันธ์กลไกการมีส่วนร่วมของประชาชนผ่านทางภาครัฐและเอกชนในประเทศ ญี่ปุ่นและสาธารณรัฐเกาหลีได้ช่วยให้ประชาชนมีความเข้าใจและความสนใจในกระบวนการยุติธรรม หรือการเรียนรู้ระบบการพิจารณาคดีแบบคณะลูกขุนผ่านทางสื่อละครต่าง ๆ หรือการสร้างความเข้าใจ พื้นฐานทางกฎหมายโดยการปรับปรุงแบบเรียนเกี่ยวกับกฎหมายในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ให้น่าสนใจและเข้าใจง่ายให้แก่ประชาชนตั้งแต่เด็ก ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ได้ให้ข้อเสนอแนะ ในประเด็นเดียวกัน โดยแนะนำให้หน่วยงานยุติธรรมทำงานเชิงรุกมากขึ้น การลงพื้นที่ใกล้ชิดกับ ประชาชนหรือการจัดทำสื่ออิเล็กทรอนิกส์และป้ายประชาสัมพันธ์เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจจะช่วย ส่งเสริมให้ประชาชนจากหลากหลายอาชีพมีความเข้าใจและมีความสนใจที่จะเข้าร่วมในกระบวนการ ยุติธรรมเพิ่มมากขึ้น รวมถึงสื่อละครภาพยนตร์ไทยที่มีเนื้อเรื่องเกี่ยวข้องกับการสืบสวนสอบสวนหรือ การขึ้นศาล สามารถกระตุ้นความสนใจในการสร้างความเข้าใจพื้นฐานทางกฎหมายให้กับประชาชน รวมถึงมาตรการในรูปแบบไม่เป็นทางการ เช่น การอนุญาตให้นักเรียนนักศึกษาฝึกงานในสำนักงาน อัยการจังหวัด และการจัดกิจกรรมต้นกล้าตุลาการของศาลให้กับนักเรียนเป็นกลไกสำคัญในการสร้าง ความเข้าใจพื้นฐานทางกฎหมายให้แก่ประชาชนตั้งแต่เด็กด้วย 6. การสร้างกลไกให้ประชาชนมีส่วนร่วมในประเทศญี่ปุ่นและสาธารณรัฐเกาหลีสามารถมีได้ ในหลายรูปแบบทั้งในระดับการตรากฎหมาย หรือข้อบังคับ หรือระดับนโยบายของหน่วยงานรัฐ หรือ แม้แต่ในทางปฏิบัติ อย่างไรก็ดี การที่ไม่มีกฎหมายจัดตั้งหรือให้อำนาจโดยชัดแจ้งเกี่ยวกับกลไกดังกล่าว อาจทำให้มีข้อกังวลในเรื่องประสิทธิภาพและความโปร่งใสของระบบได้ รวมทั้งปัญหาเกี่ยวกับการ กำหนดรายละเอียดต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นในแง่กฎเกณฑ์ที่คุ้มครองผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการ มาปฏิบัติหน้าที่ เช่น เรื่องค่าตอบแทน ค่าใช้จ่าย การคุ้มครองเรื่องนายจ้างลูกจ้าง หรือกำหนดหน้าที่ และบทลงโทษ เพื่อป้องกันการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ และช่วยป้องกันข้อมูลในคดีรั่วไหล เป็นต้น ซึ่งตรงกับข้อเสนอแนะจากการสัมภาษณ์ในสี่ภาค โดยเฉพาะมาตรการของหน่วยงานอัยการในการ แต่งตั้งคณะกรรมการการมีส่วนร่วมภาคประชาชน หรือคณะที่ปรึกษาสำนักงานอัยการที่ไม่ใช่เป็นเพียง


231 นโยบายจากสำนักงานอัยการสูงสุดเท่านั้น ควรกำหนดกฎระเบียบเป็นลายลักษณ์อักษรให้ชัดเจน ทั้งการกำหนดคุณสมบัติ การแต่งตั้ง อำนาจและหน้าที่ ค่าตอบแทน ฯลฯ เพื่อทำให้การดำเนินการของ คณะกรรมการหรือคณะที่ปรึกษาดังกล่าวในทุกจังหวัดเป็นไปในมาตรฐานแนวทางเดียวกัน มีความโปร่งใสชัดเจนตลอดทั้งประเทศ อันจะช่วยส่งเสริมความเข้าใจที่ตรงกันของผู้ปฏิบัติงาน คืออัยการและประชาชน และทำให้บรรลุตรงตามวัตถุประสงค์ตรงตามเจตนารมณ์ที่กำหนด 7. สถานะทางกฎหมายหรือความผูกพันทางกฎหมายของคำตัดสินของคณะกรรมการหรือ คณะลูกขุนในประเทศญี่ปุ่นและสาธารณรัฐเกาหลีอาจส่งผลในแง่ความน่าเชื่อถือและความมีประสิทธิผล ของกลไกการมีส่วนร่วมของประชาชน เพราะอำนาจสุดท้ายในการตัดสินใจยังคงอยู่ที่เจ้าหน้าที่รัฐ ซึ่งข้อมูลจากการสัมภาษณ์ไม่ได้กล่าวถึงประเด็นนี้โดยตรง แต่ได้ให้ความเห็นถึงกลไกการมีส่วนร่วมของ ประชาชนในหน่วยงานกระบวนการยุติธรรมที่แม้จะไม่ได้ก้าวล่วงไปถึงสำนวนคดี ไม่มีผลผูกพันทาง กฎหมาย แต่การที่ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการยุติธรรมแล้วจะส่งผลกระทบต่อ การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่รัฐได้ โดยการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่รัฐจะถูกจับตา สังเกต และตรวจสอบ จากประชาชน ทำให้เจ้าหน้าที่รัฐต้องปฏิบัติงานอย่างระมัดระวังรอบคอบและถูกต้อง (ตามข้อ 4) จึงสามารถกล่าวได้ว่าแม้เจ้าหน้าที่รัฐจะมีอำนาจตัดสินใจ แต่กลไกดังกล่าวเป็นระบบที่มีประสิทธิภาพ ในการตรวจสอบการทำงานของเจ้าหน้าที่รัฐได้ 8. ในการกำหนดกรอบอำนาจของประชาชนที่เข้ามามีส่วนร่วมและสถานะความผูกพันของ คำพิจารณาในประเทศญี่ปุ่นและสาธารณรัฐเกาหลีนั้น อาจต้องดูกฎหมายอื่น ๆ ที่มีอยู่ในปัจจุบันด้วยว่า กฎหมายปัจจุบันเปิดช่องให้ทำได้เพียงใด หากจะตรากฎหมายหรือข้อบังคับให้อำนาจประชาชนเข้า มามีส่วนร่วมในกระบวนการยุติธรรมแล้วจะติดข้อปัญหาอุปสรรคในกฎหมายใด ๆ หรือไม่ อย่างเช่น กรณีของสาธารณรัฐเกาหลีซึ่งมีบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญกำหนดให้อำนาจการพิจารณาตัดสินอรรถคดี เป็นของผู้พิพากษาเท่านั้น ทำให้ไม่สามารถตรากฎหมายให้คำตัดสินของคณะลูกขุนมีผลผูกพันทาง กฎหมายได้หากยังไม่ได้แก้รัฐธรรมนูญ ซึ่งข้อมูลจากการสัมภาษณ์ก็ไม่ได้กล่าวถึงประเด็นนี้โดยตรง คณะที่ปรึกษามีความเห็นว่าเป็นเรื่องทางปฏิบัติที่หน่วยงานกระบวนการยุติธรรมไทยต้องปฏิบัติตาม กฎหมายอยู่แล้ว ทราบถึงการมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องจำเป็นที่จะต้องพิจารณาประกอบร่วมด้วย ไม่ว่าจะ เป็นกฎหมายหรือแผนงานต่าง ๆ เช่นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พระราชกฤษฎีกาว่าด้วย หลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แผนยุทธศาสตร์หน่วยงาน กฎระเบียบหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำมาตรการการมีส่วนร่วมของ ประชาชนนในหน่วยงานยุติธรรมที่จะได้ไม่ขัดหรือแย้งกับกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนกฎระเบียบของ การโยกย้ายอัยการจังหวัด อัยการสังกัด สคช. ที่อาจจะต้องพิจารณาทบทวนเพื่อปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติม ตามที่เห็นสมควรเพื่อให้การปฏิบัติงานด้านการมีส่วนร่วมของประชาชนในหน่วยงานอัยการจังหวัดนั้น ๆ สามารถดำเนินงานได้จริงอย่างต่อเนื่องมีประสิทธิภาพ


232 2. การมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการยุติธรรมชั้นตำรวจ จากการที่ได้ศึกษาแนวคิดการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการยุติธรรมของต่างประเทศ ในบทที่ 2 จะเห็นได้ว่า กฎหมาย นโยบาย ตลอดจนแนวปฏิบัติของต่างประเทศของทุกประเทศที่ได้ศึกษา ในรายงานวิจัยฉบับนี้ต่างก็มีการกำหนดกลไกการมีส่วนร่วมของประชาชนในชั้นตำรวจเอาไว้ทั้งสิ้น ซึ่งเหตุผลประการหนึ่งที่เป็นเช่นนั้นก็คือ โดยสภาพแล้วภารกิจของเจ้าหน้าที่ตำรวจย่อมมีความใกล้ชิด กับประชาชนมากกว่าอัยการหรือศาล อีกทั้งเมื่อมีอาชญากรรมหรือการกระทำความผิดเกิดขึ้น ประชาชนส่วนใหญ่มักจะต้องมาติดต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจเพื่อแจ้งความหรือร้องทุกข์กล่าวโทษ จึงทำให้ ประชาชนโดยทั่วไปสามารถเข้าใจถึงภารกิจของตำรวจได้ดีกว่าภารกิจของพนักงานอัยการ และด้วย ความใกล้ชิดกับประชาชนและเข้าถึงประชาชนได้ง่ายกว่าก็อาจจะส่งผลให้การเข้ามามีส่วนร่วมของ ประชาชนในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาในชั้นตำรวจมีมากกว่าในชั้นอัยการหรือศาล สำหรับรูปแบบการมีส่วนร่วมของประชาชนที่ปรากฏในประเทศต่าง ๆ ที่ทำการศึกษา เปรียบเทียบในรายงานวิจัยฉบับนี้ ซึ่งอาจเรียกได้ว่าเป็นแนวทางปฏิบัติที่ดีในการมีส่วนรวมของ ประชาชนในชั้นตำรวจก็คือ Community Policing หรือตำรวจชุมชน เป็นแนวทางในการบริหารกิจการ ตำรวจโดยมุ่งส่งเสริมการสร้างความร่วมมือ (Partnership) และใช้เทคนิคในการแก้ไขปัญหา (Problem-solving Techniques) เพื่อจัดการกับสภาพปัจจัยหรือเงื่อนไขซึ่งอาจก่อให้เกิดปัญหา เกี่ยวกับความปลอดภัยสาธารณะ (Public Safety) เช่น อาชญากรรม การก่อความวุ่นวายในสังคม หรือ ความหวาดกลัวอาชญากรรม เป็นต้น1 ซึ่งแนวคิดเกี่ยวกับตำรวจชุมชนนี้มีความแตกต่างจากการทำงาน ของตำรวจในรูปแบบเดิม ซึ่งมีเพียงการใช้ตำรวจสายตรวจทำหน้าที่ในการป้องกันเหตุร้ายและตำรวจ ที่ทำหน้าที่ในการจับกุมและสืบสวนสอบสวนผู้กระทำความผิด จากการพิจารณาคำจำกัดความของ Community Policing ดังกล่าว สามารถสรุปลักษณะของ Community Policing ได้ 3 ประการ ดังนี้2 1. การร่วมมือกันของชุมชนและเจ้าหน้าที่ตำรวจ (Community Partnerships) แนวคิดเกี่ยวกับตำรวจชุมชนมุ่งเน้นในการสร้างความร่วมมือกันระหว่างเจ้าหน้าที่ตำรวจ ซึ่งเป็น ผู้บังคับใช้กฎหมายกับบุคคลและองค์กรต่าง ๆ เพื่อแสวงหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ในชุมชน ร่วมกัน และทำให้ประชาชนมีความเชื่อถือ (trust) มากยิ่งขึ้นต่อการปฏิบัติหน้าที่ของตำรวจ ทั้งนี้ บุคคล หรือองค์กรต่าง ๆ ที่เข้ามาร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ตำรวจในการป้องกันปราบปรามอาชญากรรมนั้น มีได้หลากหลาย โดยอาจจะเป็นบุคคลทั่วไปที่อาศัยอยู่ในชุมชน ผู้นำชุมชน NGOs เจ้าของธุรกิจ หรือ สื่อมวลชน และรูปแบบในการเข้ามามีส่วนร่วมอาจมีได้หลายรูปแบบ เช่น การประชุมร่วมกันในศาลากลาง 1U.S. Department of Justice, Community Policing Defined (The Office of Community Oriented Policing Services, 2014), p.1. 2 ibid p.2.


Click to View FlipBook Version