34 ในคดีดังกล่าว คณะลูกขุนลงมติตัดสินว่าจำเลยมีความผิดตามฟ้องจริงแต่เห็นควรชะลอการลงโทษ ไว้ก่อน เนื่องจากเห็นว่าจำเลยได้พยายามนำตัวผู้เสียหายส่งโรงพยาบาลเมื่อพบว่าผู้เสียหายมีเลือดออก จากการถูกทำร้าย และศาลก็ได้พิพากษาคดีไปตามมติคณะลูกขุน75 ลักษณะระบบคณะลูกขุนของสาธารณรัฐเกาหลีได้รับอิทธิพลมาจากระบบลูกขุนแบบ คอมมอนลอว์ (All-Citizen Jury) ค่อนข้างมาก แต่ก็มีลักษณะของระบบคณะลูกขุนแบบผสม (Mixed Tribunals) บางประการอยู่ด้วย76 พระราชบัญญัติการมีส่วนร่วมฯ กำหนดคุณสมบัติบุคคลที่สามารถสมัครเข้ารับหน้าที่ลูกขุน คือ ประชาชนชาวเกาหลีอายุ 20 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง และข้อกำหนดเกี่ยวกับการห้าม ผู้ประกอบวิชาชีพด้านกฎหมายบางประเภทเป็นคณะลูกขุน เช่น ทนายความ เป็นต้น การคัดเลือกคณะลูกขุนใช้ระบบสุ่มจากประชาชนทั่วไปที่สมัครเข้ามา ทั้งนี้ คณะลูกขุน 1 คณะ จะประกอบด้วย ลูกขุนจำนวน 5 คน 7 คน หรือ 9 คน แล้วแต่ความหนักเบาของโทษในแต่ละประเภทคดี ซึ่งโดยปกติศาลมักใช้คณะลูกขุน 7 คน แต่หากเป็นคดีที่มีโทษประหารชีวิตหรือจำคุกตลอดชีวิต เช่น คดีฆาตกรรม จะใช้คณะลูกขุน 9 คน และหากเป็นคดีที่ไม่มีประเด็นพิพาทเนื่องจากจำเลยให้การ สารภาพ ศาลอาจใช้คณะลูกขุน 5 คนได้77 โดยคณะลูกขุนจะมีอำนาจเข้าพิจารณาคดีในศาลได้ในคดีอาญาที่มีความผิดร้ายแรง ซึ่งกำหนด ให้มีองค์คณะผู้พิพากษา 3 คนขึ้นไปในศาลชั้นต้น78 และคดีเกี่ยวกับการรับสินบน และจะได้รับการ แต่งตั้งให้เข้าร่วมพิจารณาเป็น “รายคดี” ไปเหมือนกับของประเทศญี่ปุ่น แต่มีข้อแตกต่างกับไซบังอิน ของญี่ปุ่นคือคณะลูกขุนจะแยกเป็นคณะต่างหากกับองค์คณะผู้พิพากษา มิได้ร่วมพิจารณาในองค์คณะ เดียวกัน กล่าวคือหลังจากได้รับฟังการพิจารณาและสืบพยานหลักฐานทั้งหมดแล้ว คณะลูกขุนจะร่วม หารือเกี่ยวกับการพิจารณาคดีและลงมติกันเอง โดยไม่มีผู้พิพากษาอาชีพเข้าร่วมพิจารณาหารือด้วย แต่อาจมีกรณีที่ขอคำแนะนำจากศาลหากคณะลูกขุนไม่สามารถลงมติเป็นเอกฉันท์ได้ คณะลูกขุนมีอำนาจในการตัดสินว่าจำเลยมีความผิดตามฟ้องหรือไม่และอาจให้ความเห็น เกี่ยวกับโทษที่จำเลยควรได้รับหากศาลพิพากษาให้จำเลยมีความผิด79 ซึ่งการจะตัดสินว่าจำเลยมีความผิด ตามฟ้องจะต้องอาศัยมติเอกฉันท์ของคณะลูกขุน 75Jaihyun Park, The Korean Jury System: The First Decade, in Juries, Lay Judges, and Mixed Courts: A Global Perspective 88, 88 (Sanja Kutnjak Ivković et al. eds., Cambridge University Press 2021). 76 ibid., p. 88. 77Jaihyun Park, supra note 75, p. 94. 78ibid., p. 93. 79ibid., p. 96.
35 อย่างไรก็ตาม หากคณะลูกขุนไม่สามารถมีมติเอกฉันท์ได้ กฎหมายได้กำหนดให้คณะลูกขุน ขอคำปรึกษาจากผู้พิพากษาหัวหน้าศาลก่อนจะลงมติใหม่โดยอาศัยมติเสียงข้างมาก80 อนึ่ง มติคณะ ลูกขุนดังกล่าวก็ไม่มีผลผูกพันให้ผู้พิพากษาต้องพิพากษาตาม81 คำตัดสินของคณะลูกขุนจึงมีผลเป็นเพียง “คำแนะนำหรือความเห็น” (Advisory Effect) ประกอบการพิจารณาพิพากษาคดีของผู้พิพากษาอาชีพ เท่านั้น ในระบบคณะลูกขุนของสาธารณรัฐเกาหลี จำเลยในคดีอาญาสามารถร้องขอให้ศาลตั้งคณะลูกขุน เข้ามาพิจารณาคดีของตนได้ แต่ศาลก็มีดุลพินิจในการพิจารณาไม่อนุญาตตามคำขอของจำเลยได้หาก คำนึงถึงพฤติการณ์ต่าง ๆ แล้วเห็นว่าการใช้คณะลูกขุนพิจารณาคดีดังกล่าวไม่เหมาะสม เช่น สภาพจิตใจ ของผู้เสียหายไม่พร้อมจะให้การต่อหน้าคณะลูกขุน เป็นต้น ลักษณะเด่นอย่างหนึ่งของกระบวนการพิจารณาคดีโดยคณะลูกขุนของสาธารณรัฐเกาหลี คือ คดีที่มีการพิจารณาโดยคณะลูกขุนจะใช้เวลาสั้นมากโดยส่วนใหญ่จะใช้เวลาพิจารณาคดีเพียงวันเดียว ขณะที่การพิจารณาคดีโดยศาล (Bench Trials) โดยทั่วไปจะใช้ระยะเวลาหลายเดือน82 ซึ่งกลไกที่ทำให้ คดีที่มีคณะลูกขุนเข้าร่วมพิจารณาสามารถดำเนินการเสร็จสิ้นในเวลาอันรวดเร็วคือ ในทางปฏิบัติก่อนวัน พิจารณาจริงจะมีกระบวนการเตรียมการและทำความเข้าใจคดีกับคณะลูกขุน (Preparatory Days) และมีการกำหนดประเด็นแห่งคดีให้ชัดและน้อยลงกว่าการพิจารณาคดีทั่วไป ทำให้ในวันพิจารณาจริง คณะลูกขุนสามารถเข้าใจประเด็นและมีมติในการตัดสินคดีได้อย่างรวดเร็ว 3. สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี 3.1 การมีส่วนร่วมของประชาชนในชั้นตำรวจ 1) การมีส่วนร่วมในการป้องกันอาชญากรรมในชุมชน (Crime Prevention) ภายใต้ แนวคิดตำรวจชุมชนสัมพันธ์ (Bürgernahe Polizeiarbeit- Citizen-Oriented Policing) สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีได้มีความพยายามในการสร้างความร่วมมือระหว่างตำรวจกับ ประชาชนในท้องถิ่นในหลายรูปแบบ บนพื้นฐานแนวคิดที่ว่าอาชญากรรมจำเป็นต้องได้รับการแก้ไขตาม บริบทของท้องถิ่นนั้น ๆ ทำให้ภารกิจด้านตำรวจชุมชนสัมพันธ์(Community Policing) และภารกิจ ด้านการป้องกันอาชญากรรมในชุมชน (Community Crime Prevention) เป็นสิ่งที่มีความสัมพันธ์กัน อย่างใกล้ชิด83 80ibid., p. 95. 81พระราชบัญญัติการมีส่วนร่วมฯ มาตรา 46 82Jaihyun Park, supra note 75, p. 93. 83Thomas Feltes, ‘Community Policing in Germany’ IFSH (ed.), OSCE Yearbook 2013, Baden-Baden 2014, p. 219-230. <https://ifsh.de/file-CORE/documents/yearbook/english/13/Feltes_Thomas-en.pdf> accessed 15 October 2022.
36 สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีมีการปกครองแบบสหพันธ์สาธารณรัฐ ประกอบด้วย มลรัฐ (Länder) 16 แห่ง แต่ละมลรัฐมีสภาและฝ่ายบริหารเป็นของตนเอง ทำให้แต่ละรัฐอาจมีลักษณะการมี ส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันอาชญากรรมในระดับท้องถิ่นที่ต่างกัน ซึ่งในระดับท้องถิ่นประชาชน อาจเข้ามามีส่วนร่วมในการป้องกันอาชญากรรมในชุมชนได้ในรูปแบบคณะกรรมการป้องกันอาชญากรรม (Crime Prevention Committee) ซึ่งอาจมีชื่อเรียกแตกต่างกันไปในแต่ละรัฐ84 หรือในฐานะ อาสาสมัครป้องกันอาชญากรรมในชุมชนในรูปแบบต่าง ๆ เช่น อาสาสมัครพลเมืองตรวจตราความปลอดภัย ในชุมชน (Sicherheitswacht: Citizen Patrols) อาสาสมัครตำรวจ (Volunteer Police) ซึ่งทำหน้าที่ เดินลาดตระเวนสำรวจความปลอดภัยในชุมชน เช่น บริเวณใกล้โรงเรียนหรือศูนย์เด็กเล็ก และยังมีหน้าที่ ในการติดต่อปฏิสัมพันธ์กับผู้ที่มีความเสี่ยงในการตกเป็นเหยื่ออาชญากรรม หรือเป็นผู้กระทำความผิด ที่เป็นเด็กหรือเยาวชน85 3.2 การมีส่วนร่วมของประชาชนในชั้นอัยการ 1) การให้สิทธิผู้เสียหายร้องขอต่อศาลให้นำคดีอาญาที่พนักงานอัยการมีคำสั่งไม่ฟ้องขึ้นสู่ การพิจารณา86 ในสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีมีหลักการบังคับให้ฟ้องคดี(Compulsory Institution of Prosecution/Klageerzwingungs-Verfahren) ในกรณีที่พนักงานอัยการมีคำสั่งไม่ฟ้องได้เช่นเดียวกับ ประเทศญี่ปุ่น โดยภายใต้กฎหมายสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ก่อนที่ผู้เสียหายจะร้องขอให้ศาลนำคดีที่ พนักงานอัยการสั่งฟ้องขึ้นสู่การพิจารณา ผู้เสียหายจะต้องยื่นคำร้องคัดค้านการสั่งไม่ฟ้องอย่างเป็นทางการ ต่ออัยการสูงสุดประจำมลรัฐที่เป็นผู้บังคับบัญชาอัยการเจ้าของเรื่องภายใน 2 สัปดาห์นับจากได้รับคำสั่ง ไม่ฟ้องคดีของอัยการเจ้าของเรื่อง เพื่อให้มีการตรวจสอบกันภายในองค์กรก่อน หากอัยการสูงสุดยืนยัน คำสั่งไม่ฟ้องคดีผู้เสียหายจึงมีสิทธิยื่นคำร้องต่อศาลอุทธรณ์แห่งรัฐมีเขตอำนาจเหนือพื้นที่ที่สำนักงาน อัยการนั้นตั้งอยู่ (State Court of Appeals) ภายใน 1 เดือน โดยหากศาลอนุญาตตามคำร้องของ ผู้เสียหาย อัยการก็จะต้องถูกบังคับโดยปริยายให้ต้องทำหน้าที่เป็นโจทก์ในคดี87 84Wolfgang Kahl, Crime Prevention Networking and Community-based Prevention Management in Germany, German Forum for Crime Prevention (DFK) (Bonn 2014), p.2 <https://www.kriminalpraevention.de/files/DFK/sprachen/en/crime_prev_in_germany_2014.pdf> accessed 15 October 2022. 85Rabindra K Mohanty & Satyajit Mohanty, Community Policing as a Public Policy: Challenges and Recommendations (Cambridge Scholars Publishing, 2014) 88-89. 86กรณัท สร้อยทอง, ‘การตรวจสอบดุลพินิจในการสั่งคดีอาญาของพนักงานอัยการของประเทศไทยเปรียบเทียบกับต่างประเทศ’ (2564) ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 วารสารวิชาการ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์170, 177. 87เพิ่งอ้าง
37 มีข้อสังเกตว่า สิทธิผู้เสียหายในการร้องขอให้ศาลนำคดีอาญาขึ้นสู่การพิจารณาตามกฎหมาย สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีมีความแตกต่างกับของญี่ปุ่นบางประการ กล่าวคือตามกฎหมายสหพันธ์ สาธารณรัฐเยอรมนีผู้เสียหายจะต้องร้องไปที่อัยการสูงสุดก่อน ถ้าอัยการสูงสุดยืนยันคำสั่งไม่ฟ้อง จึงมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งนั้นไปยังศาล แต่ของประเทศญี่ปุ่นผู้เสียหายสามารถร้องไปที่ศาลท้องถิ่นในเขตที่ สำนักงานอัยการตั้งอยู่ได้เลย นอกจากนี้ ในกรณีที่ศาลมีคำสั่งให้นำคดีขึ้นสู่การพิจารณานั้น ตามระบบของประเทศญี่ปุ่น ทนายความที่ศาลแต่งตั้งจะเป็นผู้มีหน้าที่ดำเนินคดีแทนอัยการ แต่ภายใต้กฎหมายสหพันธ์สาธารณรัฐ เยอรมนีคืออัยการจะต้องดำเนินการในคดีที่ตนสั่งไม่ฟ้องไปในตอนแรกเอง ข้อแตกต่างอีกประการของระบบการให้สิทธิผู้เสียหายในการร้องขอให้ศาลนำคดีขึ้นสู่การ พิจารณา คือระบบดังกล่าวตามกฎหมายญี่ปุ่นจะใช้ได้กับความผิดบางประเภทตามที่กฎหมายกำหนด เท่านั้น แต่ของเยอรมันใช้ได้กับความผิดทุกประเภท 2) การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในคดีอาญา88 มาตรการแทนการฟ้องคดีอาญาที่สำคัญในสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีคือ การไกล่เกลี่ย ข้อพิพาทระหว่างผู้เสียหายและผู้กระทำความผิด (Täter-Opfer-Ausgleich: TOA or VictimOffender Mediation: VOM) ซึ่งเริ่มมีการนำมาใช้ตั้งแต่ปี ค.ศ. 198489 และมีการตรากฎหมายรองรับ กลไกดังกล่าวเป็นครั้งแรกในช่วงปี ค.ศ. 1990 โดยเริ่มจากคดีที่ผู้กระทำความผิดเป็นเยาวชน90 และมี การบัญญัติเกี่ยวกับมาตรการไกล่เกลี่ยในประมวลกฎหมายอาญาในเวลาต่อมา91 มาตรการดังกล่าวมีขึ้น เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้กระทำความผิดคดีอาญามีโอกาสเจรจากับผู้เสียหายเพื่อยุติคดีโดยให้ผู้เสียหายได้รับ ความเป็นธรรมผ่านการเยียวยาที่เหมาะสมจากผู้กระทำความผิดผ่านการไกล่เกลี่ยดังกล่าวและเพื่อให้ ผู้กระทำความผิดสามารถกลับคืนสู่สังคมได้92 โดยการไกล่เกลี่ยสามารถดำเนินการในชั้นใดในระหว่าง กระบวนการยุติธรรมทางอาญาก็ได้และการดำเนินการไกล่เกลี่ยส่งผลให้พนักงานอัยการหรือศาล ผู้มีอำนาจรับผิดชอบในชั้นนั้นแล้วแต่กรณีสามารถยุติการฟ้องคดี ถอนฟ้องคดี บรรเทาโทษหรือละเว้น การกำหนดโทษได้93 88Jörg-Martin Jehle, Criminal Justice in Germany (Federal Ministry of Justice and Consumer Protection 7th ed., 2019) 45-47. 89Britta Bannenberg, ‘Chapter 11 Victim-Offender Mediation in Germany’, in Victim-Offender Mediation in Europe: Making Restorative Justice Work (The European Forum for Victim-Offender Mediation and Restorative Justice ed., 2000) 253. 90JGG, s.47 subsection 1 no. 3. 91StGB, s.46a. 92Markus Löffelmann, ‘The Victim in Criminal Proceedings: A Systematic Portrayal of Victim Protection under German Criminal Procedure Law’ (2006) 70 Resource Material Series 41, 44-45. 93Jehle, supra note 88, p. 45. See StPO, s.153a para. 1 sentence 2 no. 5; JGG, s.47 para. 1 no. 3; StGB, s.46a.
38 ทั้งนี้ ในปีค.ศ. 1999 ได้มีการแก้ไขประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาเพื่อให้กลไกการ ไกล่เกลี่ยคดีเป็นไปโดยง่ายและถูกใช้อย่างแพร่หลายมากขึ้น โดยบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 155a และ 155b 94 ให้อัยการและศาลมีหน้าที่พิจารณาในแต่ละขั้นตอนของกระบวนพิจารณาว่ามีความเป็นไปได้ ในการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทระหว่างผู้ต้องหาและผู้เสียหายหรือไม่ และหากศาลหรือพนักงานอัยการเห็นว่า เป็นกรณีที่สมควรไกล่เกลี่ยได้ก็ต้องดำเนินการไกล่เกลี่ยดังกล่าว ทั้งนี้ การไกล่เกลี่ยจะกระทำโดย ปราศจากความยินยอมโดยชัดแจ้งจากผู้เสียหายไม่ได้95 การไกล่เกลี่ยส่วนใหญ่จะริเริ่มตั้งแต่ในชั้นก่อนพิจารณาคดีโดยกฎหมายมิได้บังคับให้ต้องมี ผู้ไกล่เกลี่ย (Mediator) เข้าร่วมกระบวนการไกล่เกลี่ย แต่ในทางปฏิบัติมักมีผู้ไกล่เกลี่ยเข้าร่วมใน กระบวนการไกล่เกลี่ยเสมอ96 อย่างไรก็ดี มาตรการการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในคดีอาญาตามกฎหมาย สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีอาจไม่ถือเป็นกลไกในการให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในคดีอาญาตาม ความหมายของการวิจัยฉบับนี้ เนื่องจากกระบวนการไกล่เกลี่ยจะดำเนินการโดยหน่วยงานไกล่เกลี่ย มืออาชีพซึ่งได้รับมอบหมายจากสำนักงานอัยการหรือศาลให้ดำเนินการไกล่เกลี่ย97 ซึ่งอาจเป็น หน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา เช่น ศูนย์คุมประพฤติ (Probation Service) หรือ หน่วยงานอื่นนอกเหนือกระบวนการยุติธรรมทางอาญาซึ่งจัดตั้งขึ้นเพื่อทำหน้าที่ไกล่เกลี่ยโดยเฉพาะ ก็ได้98และผู้ปฏิบัติหน้าที่ผู้ไกล่เกลี่ยจะต้องเป็นบุคคลที่สามซึ่งเป็นคนกลางที่ไม่มีความเกี่ยวข้องกับคดี และมีบทบาทในการดูแลกระบวนการไกล่เกลี่ยให้เป็นไปตามหลักนิติธรรม99 โดยในเบื้องต้น ผู้ไกล่เกลี่ยมีหน้าที่ตรวจสอบว่าผู้เสียหายและผู้กระทำความผิดมีความสมัครใจ และเต็มใจเข้าร่วมกระบวนการไกล่เกลี่ยจริง ให้ข้อมูลที่จำเป็นแก่ผู้เข้าร่วมกระบวนการไกล่เกลี่ย ดูแลให้ การไกล่เกลี่ยดำเนินไปอย่างยุติธรรม และประเมินว่าค่าสินไหมทดแทนกับความเสียหายที่ได้รับมี ความสมเหตุสมผลกันหรือไม่ รวมทั้งดูแลให้มีการปฏิบัติตามข้อตกลงในการไกล่เกลี่ย และแจ้งผลการ ไกล่เกลี่ยแก่อัยการหรือศาล100 อย่างไรก็ดี ผู้ไกล่เกลี่ยไม่มีหน้าที่ต้องดูแลหรือสั่งสอนผู้กระทำผิดหรือ ผู้เสียหายและไม่มีหน้าที่สืบสวนข้อเท็จจริงในคดี และอำนาจการตัดสินใจขั้นสุดท้ายเกี่ยวกับกระบวน พิจารณาคดีอาญาในคดีดังกล่าวยังคงเป็นของอัยการหรือศาลซึ่งเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบคดีนั้น101 94ibid., p. 45. 95StPO, s.155a. 96See Bannenberg, supra note 89, p. 255-256. 97StPO, s.155b. See Löffelmann, supra note 92, p. 45. 98Thomas Trenczek, ‘Victim-Offender Mediation in Germany – ADR Under the Shadow of the Criminal Law?’ (2001) 13(2) Art. 6 Bond Law Review (i), 4. StPO, s.155b. 99 Löffelmann, supra note 92, p. 45. 100ibid. 101ibid.
39 3.3 การมีส่วนร่วมของประชาชนในชั้นศาล 1) ระบบผู้พิพากษาสมทบ (Schöffen: Lay Judges or Lay Assessors) 102 เหตุผลเบื้องหลังในการนำระบบผู้พิพากษาสมทบมาใช้ในสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี มีหลาย ประการ เช่น103 1. ต้องการให้การพิจารณาตัดสินคดีสะท้อนความคิดของประชาชนทั่วไปที่มีประสบการณ์และ ความคิดเห็นกว้างกว่าแค่ความเชี่ยวชาญทางด้านกฎหมาย 2. มีความคาดหวังว่าการให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพิจารณาคดีจะทำให้ผู้พิพากษา อาชีพพิจารณาคดีด้วยความระมัดระวังมากขึ้นและให้เหตุผลประกอบการพิจารณาที่มีน้ำหนักฟังได้มากขึ้น 3. เชื่อว่าการนำระบบผู้พิพากษาสมทบมาใช้จะช่วยบรรเทาปัญหาปริมาณผู้พิพากษาอาชีพที่ ไม่เพียงพอได้ 4. คู่ความในคดีจะมีความเชื่อถือในคำพิพากษาของศาลมากขึ้น หากเห็นว่ามีประชาชนทั่วไป เข้าเป็นผู้ตัดสินคดีร่วมกับผู้พิพากษาอาชีพ 5. การนำเสนอคดีของทนายความหรือคู่ความจะใช้ภาษาที่เข้าใจง่ายขึ้นเพื่อให้ผู้พิพากษาสมทบ เข้าใจประเด็นแห่งคดี โครงสร้างระบบผู้พิพากษาสมทบของสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีเป็นแบบ The GermanStyle Mixed Court Model กล่าวคือไม่ได้มีการแยกองค์คณะระหว่างศาลกับคณะลูกขุน (Schöffen) องค์คณะจะประกอบด้วย ผู้พิพากษาอาชีพ 1-3 คน แล้วแต่ความหนักเบาของโทษตามประเภทความผิด ในคดี และผู้พิพากษาสมทบ 2 คน (Mixed Tribunal) วิธีการคัดเลือกผู้พิพากษาสมทบอาจมีรายละเอียดแตกต่างกันไปตามกฎหมายในแต่ละรัฐ แต่โดยทั่วไปศาลจะเลือกจบุคคลจากรายชื่อที่หน่วยงานท้องถิ่นจัดทำขึ้นทุก ๆ 5 ปี104 ซึ่งเป็นบุคคลที่ได้รับ การเสนอชื่อโดยพรรคการเมืองหรือองค์กรต่าง ๆ เพื่อให้มั่นใจว่าคณะผู้พิพากษาสมทบจะเป็นตัวแทน ของชุมชนซึ่งมีความหลากหลายทั้งด้านเพศ อายุ อาชีพ และสถานะทางสังคม อนึ่ง คุณสมบัติพื้นฐานของบุคคลที่จะเป็นผู้พิพากษาสมทบคือ ต้องเป็นบุคคลสัญชาติเยอรมัน ที่มีอายุอย่างน้อย 25 ปีและไม่เกิน 69 ปี ทั้งนี้ผู้ดำรงตำแหน่งหรือประกอบอาชีพที่เกี่ยวข้องกับด้าน กฎหมาย ผู้กระทำความผิดอาญา และบุคคลที่ถูกสั่งเป็นบุคคลล้มละลาย จะไม่สามารถดำรงตำแหน่ง เป็นผู้พิพากษาสมทบได้โดยผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้พิพากษาสมทบมีหน้าที่ต้องรับปฏิบัติหน้าที่ 102Deutsche Vereinigung der Schöffinnen und Schöffen (DVS), ‘Lay Judges in Germany’ <https://www.schoeffen.de/ehrenamtliche-richter/lay-judges-in-germany.html > accessed 15 October 2022. See also, 裁判員ネット「【シリーズ・海外の司法参加】第3部:ドイツ編(上)―参審制度の導入の背景と概要」(2010) <http://saibanin.net/updatearea/staffcolumn/archives/1447> accessed 15 October 2022. 103Deutsche Vereinigung der Schöffinnen und Schöffen (DVS), supra note 102. See also, Stefan Machura & Christoph Rennig, “In the Name of the People – Lay Assessors in Germany”, in Juries, Lay Judges, and Mixed Courts: A Global Perspective 152, 152 (Sanja Kutnjak Ivković et al. eds., Cambridge University Press 2021). 104Gerichtsverfassungsgesetz (Courts Constitution Act, hereinafter called ‘GVG’), s.33, s.36.
40 ดังกล่าว105 อนึ่ง บุคคลจะได้รับค่าตอบแทนในการเข้าปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้พิพากษาสมทบตามที่กำหนดไว้ แต่ไม่ได้เป็นค่าตอบแทนที่มากนัก106 และบุคคลอาจได้รับเลือกให้เป็นผู้พิพากษาสมทบซ้ำหลายวาระได้ และอาจเป็นผู้พิพากษาสมทบในศาลเดิมหรือศาลอื่นก็ได้107 ทั้งนี้ ผู้พิพากษาสมทบอาจถูกคู่ความ คัดค้านได้เช่นเดียวกับผู้พิพากษาอาชีพหากมีเหตุอันควรสงสัยเรื่องความเป็นกลางในการพิจารณาคดี108 ขอบเขตคดีที่อยู่ในอำนาจการพิจารณาของผู้พิพากษาสมทบไม่ได้จำกัดเฉพาะการมีส่วนร่วมใน คดีอาญาเท่านั้น แต่ครอบคลุมไปถึงการมีส่วนร่วมในการพิจารณาคดีประเภทอื่นด้วย เช่น คดีความผิด เกี่ยวกับเยาวชน คดีแรงงาน คดีทางปกครอง เป็นต้น ซึ่งถือว่ามีขอบเขตประเภทคดีที่กว้างกว่าระบบ คณะลูกขุนส่วนใหญ่ในประเทศอื่น ๆ109 โดยในส่วนของคดีอาญานั้น ผู้พิพากษาสมทบจะมีอำนาจร่วมพิจารณาคดีอาญาที่อยู่ในศาลชั้นต้น เป็นการมีส่วนร่วมในกระบวนพิจารณาคดีในศาลชั้นต้น คือศาล Amtsgericht (Local Courts) และ ศาล Landgericht (District Court) และในกระบวนพิจารณาอุทธรณ์ของศาล Landgericht (District Court)110 ผู้พิพากษาสมทบจะมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 5 ปี และปฏิบัติหน้าที่พิจารณาคดีร่วมกับ ศาลประมาณเดือนละ 1 คดี ซึ่งผู้พิพากษาสมทบจะมีอำนาจตัดสินความผิดของจำเลยและอำนาจในการ กำหนดโทษที่จำเลยควรได้รับเช่นเดียวกับผู้พิพากษาอาชีพ แต่ไม่มีอำนาจในการเขียนเหตุผลประกอบ คำพิพากษาและอำนาจในการตรวจดูเอกสารสำนวนการสอบสวนคดีที่องค์กรในชั้นสอบสวนได้ทำขึ้น ก่อนที่คดีจะขึ้นสู่ชั้นพิจารณาของศาล ทำให้ผู้พิพากษาสมทบไม่อาจทราบรายละเอียดคดีในชั้นสอบสวนได้ เว้นแต่ข้อมูลเกี่ยวกับเอกสารในชั้นสอบสวนคดีจะถูกเปิดเผยในชั้นพิจารณาคดี อย่างไรก็ตาม ในประเด็นดังกล่าวศาลสูงสุดของสหพันธรัฐ (Bundesgerichtshof) ให้วางหลักว่า ผู้พิพากษาอาชีพอาจให้ข้อมูลเกี่ยวกับสำนวนการสอบสวนคดีบางส่วนแก่ผู้พิพากษาสมทบได้ในกรณีที่ สำนวนนั้นมีส่วนที่เป็นบันทึกเสียงคำให้การของจำเลยในชั้นสอบสวน และบันทึกดังกล่าวถูกใช้เป็น พยานหลักฐานในชั้นพิจารณา ซึ่งการเปิดช่องให้ผู้พิพากษาสมทบเข้าถึงสำนวนการสอบสวนในส่วนนี้ ได้ช่วยให้ผู้พิพากษาสมทบเข้าใจบันทึกคำให้การของจำเลยมากขึ้น และศาลสูงสุดของสหพันธรัฐ (Bundesgerichtshof) ยังให้ความเห็นเพิ่มเติมว่าการที่ผู้พิพากษาสมทบเข้าถึงเอกสารดังกล่าวไม่ได้ทำให้ ผู้พิพากษาสมทบเกิดอคติแก่คดีและมิได้เป็นการฝ่าฝืนหลักกระบวนการพิจารณาคดีอาญาแต่อย่างใด111 105GVG, s.33, s.34. 106Stefan Machura & Christoph Rennig, supra note 103. 107ibid., at 160. 108ibid., at 160. 109ibid., at 152-153. 110GVG, s.28. 111Stefan Machura & Christoph Rennig, supra note 103, at 160-161.
41 การตัดสินคดีอาญาที่มีผู้พิพากษาสมทบเข้าร่วมพิจารณาจะต้องใช้คะแนนเสียงข้างมากของ องค์คณะ คือทั้งผู้พิพากษาอาชีพและผู้พิพากษาสมทบรวมกัน ในการตัดสินความผิดและกำหนดโทษ จำเลย112 โดยในเสียงข้างมากไม่จำเป็นต้องมีคะแนนเสียงของผู้พิพากษาอาชีพรวมอยู่ด้วยก็ได้ ซึ่งจุดนี้ จะแตกต่างกับระบบไซบังอินของญี่ปุ่นที่การจะตัดสินว่าจะเลยมีความผิดจะต้องใช้เสียงข้างมากของ องค์คณะซึ่งต้องมีผู้พิพากษาอาชีพอย่างน้อย 1 เสียงรวมอยู่ด้วยเสมอ 4. สาธารณรัฐฝรั่งเศส กระบวนการยุติธรรมทางอาญาของฝรั่งเศสให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ ของบุคคลในการดำเนินคดี อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากการปฏิวัติฝรั่งเศสในปี ค.ศ. 1789 ที่ล้มล้างระบอบ สมบูรณาญาสิทธิราชย์ และสถาปนาอุดมการณ์ประชาธิปไตยขึ้นในประเทศ โดยยึดหลักการสำคัญ 3 ประการในการปฏิวัติ คือ เสรีภาพ เสมอภาค และภราดรภาพ (Liberté, Égalité, Fraternité) ซึ่ง หลักการดังกล่าวกลายเป็นส่วนหนึ่งของหลักพื้นฐานของกฎหมายรัฐธรรมนูญฝรั่งเศส113 ทั้งนี้ รูปแบบ การมีส่วนร่วมของประชาชนในคดีอาญารูปแบบหนึ่งที่โดดเด่นในฝรั่งเศสและมีความเป็นมาที่ยาวนาน คือการนำลูกขุนมาช่วยพิจารณาคดี โดยได้รับอิทธิพลจากระบบลูกขุนของอังกฤษ โดยมีการนำระบบ ลูกขุนมาใช้พร้อมกับการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการพิจารณาคดีจากระบบไต่สวน (Inquisition System) เป็นระบบกล่าวหา (Adversarial System) ที่ใช้วิธีการพิจารณาแบบเปิดเผย114 ซึ่งเกิดขึ้นจากการ ไม่ไว้วางใจอำนาจรัฐและการตัดสินคดีผู้พิพากษาภายใต้ระบบการดำเนินคดีภายใต้ระบบไต่สวนที่มีอยู่ก่อน การปฏิวัติดังนั้น การมีลูกขุนจึงเป็นการลดอำนาจเด็ดขาดของผู้พิพากษาลง และอาจมองได้ว่าเป็น สัญลักษณ์ของประชาธิปไตยที่อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน ประชาชนจึงควรมีสิทธิในการร่วม พิจารณาคดี115 4.1 การมีของส่วนร่วมประชาชนในชั้นตำรวจ ระบบการบริหารจัดการกิจการตำรวจของสาธารณรัฐฝรั่งเศสโดยทั่วไปเป็นระบบแบบรวมศูนย์ (Centralized Approach) มีภารกิจหลักในการรักษากฎหมายและความสงบเรียบร้อย (Maintaining Public Order and Enforcing the Law) โดยภายใต้ระบบการบริหารงานระบบตำรวจของสาธารณรัฐ ฝรั่งเศสในระดับชาติ มีการแบ่งประเภทของตำรวจออกเป็นสองประเภทใหญ่ ๆ คือ Police Nationale (National Police) ซึ่งคอยดูแลความสงบเรียบร้อยภายในเขตเมืองใหญ่ Gendarmerie Nationale (National Gendarmerie) ซึ่งคอยดูแลความสงบเรียบร้อยในเมืองขนาดเล็กที่มีประชากรต่ำกว่า 20,000 คน นอกจากนั้นแล้ว สาธารณรัฐฝรั่งเศสยังมี Municipal Police หรือตำรวจท้องถิ่นซึ่งขึ้นตรง 112GVG, s.33, s.196. 113Jacqueline Hodgson, French Criminal Justice: A Comparative Account of the Investigation and Prosecution of Crime in French (London: Hart Publishing, 2005) 15. 114Valerie Hans and Claire Germain, ‘The French Jury at a Crossroads’ (2011) 2 Chicago-Kent Review 740. 115Hans and Germain, supra note 114, p.740.
42 ต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น116 แต่อำนาจหน้าที่ของ Municipal Police มีจำกัด โดยมีฐานะเป็น เพียงผู้ช่วยตำรวจฝ่ายคดี (Deputy Judicial Police Officer)117 เท่านั้น โดยมีหน้าที่ในการจัดการตรวจ ตราและควบคุมการปฏิบัติตามกฎหมายจราจร การเหยียดหยามทางเพศตามประมวลกฎหมายอาญา การ สืบสวนเบื้องต้น เพื่อหาตัวผู้กระทำความผิดและรายงานการกระทำผิดหรืออาชญากรรมให้National Police หรือ Gendarmerie Nationale ทราบ แต่ไม่มีอำนาจในการสอบสวนผู้กระทำความผิด118 อย่างไรก็ตาม ระบบการบริหารกิจการตำรวจแบบรวมศูนย์ดังกล่าวถูกวิจารณ์ว่ามีความมุ่งหมาย หลักในการรักษาความมั่นคงของรัฐเป็นหลัก โดยละเลยการสร้างความสัมพันธ์กับประชาชนเพื่อป้องกัน อาชญากรรมพื้นฐานในท้องถิ่น119 ด้วยเหตุนี้ในปี พ.ศ. 2561 รัฐบาลฝรั่งเศสภายใต้การนำของประธานาธิบดี Emmanuel Macron จึงมีนโยบายในการปฏิรูปกิจการตำรวจที่เรียกว่า Police de Sécurité du Quotidien (PSQ) (ซึ่งแปลเป็นภาษาอังกฤษว่า “Dairy Security Police”) โดยมีความมุ่งหมายเพื่อส่งเสริม ความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างเจ้าหน้าที่ตำรวจกับประชาชน120 ด้วยการกำหนดยุทธศาสตร์ในการส่งเสริมการ แก้ไขอาชญากรรมที่เกิดขึ้นด้วยการสร้างความร่วมมือกับประชาชนในท้องถิ่นเพื่อกำหนดแนวทางที่ เหมาะสมในการรับมือกับปัญหาการกระทำผิดที่เกิดขึ้นในแต่ละท้องที่ซึ่งอาจมีลักษณะที่แตกต่างกัน ออกไป121 ทั้งนี้ ตามแนวนโยบายในเรื่อง PSQ ประชาชนสามารถเข้ามามีส่วนร่วมในการปฏิบัติงานของ ตำรวจในรูปแบบของการรายงานอาชญากรรมผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ เช่น การฉ้อโกงเกี่ยวกับการ ชำระเงินผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ รายงานเกี่ยวกับความรุนแรงทางเพศ เป็นต้น122 นอกจากนี้ ยังอาจเข้ามา มีส่วนร่วมใน Groupes de Partenariat Opérationnels (GPO) (แปลเป็นภาษาอังกฤษว่า “Operational Partnership Groups”) ซึ่งเป็นคณะทำงานที่ถูกตั้งขึ้นเพื่อร่วมกันในการแก้ไขปัญหาอาชญากรรมหรือ ปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยในท้องถิ่น123 เช่น ปัญหาการค้ายาเสพติดและธุรกิจผิดกฎหมาย 116Organization for Security and Co-operation in Europe, ‘COUNTRY PROFILE: France’ (2010) <https://polis.osce.org/index.php/country-profiles/france> accessed 14 July 2022. 117ตำรวจในสาธารณรัฐฝรั่งเศส แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท (ตามอำนาจหน้าที่) คือ ตำรวจฝ่ายปกครอง (Administrative police) ซึ่งมี อำนาจในการจัดการและควบคุมการจราจร ตรวจตราลาดตระเวนรักษาความสงบ และทำหน้าที่ควบคุมฝูงชนกรณีที่เกิดการประท้วงหรือ จลาจล แต่ไม่มีอำนาจสอบสวน และตำรวจฝ่ายคดี (Judicial police) ซึ่งทำหน้าที่ช่วยสืบสวนหาตัวผู้กระทำผิด สอบสวน รวบรวม พยานหลักฐาน และทำการจับกุมผู้ต้องสงสัย 118Code de Procédure Pénale (Code of Criminal Procedure), art 21. 119Jacques de Maillard and Mathieu Zagrodzki, ‘Community Policing Initiatives in France’ in Jacques de Maillard, Wesley G. Skogan (eds), Policing in France (Routledge 2020) 294. 120Ministère de L'intérieur, ‘Police de sécurité du quotidien: Construire Une Relation De Confiance!’ (Dairy Security Police: Building A Trusting Relationship!) (2018) <http://www.ain.gouv.fr/IMG/pdf/flyer_com_4_pages_psq.pdf> accessed 18 July 2022. 121Ministère de L'intérieur, supra note 120. 122ibid. 123Institut des hautes études du ministère de l'Intérieur (IHEMI), ‘Police de sécurité du quotidien et approche de résolution de problème : quelques résultats de l’étude CoPPOSQ’ (Dairy Security Police and the Problem-Solving Approach: Some Results of the CoPPOSQ Study) (2021) <https://www.ihemi.fr/articles/police-de-securite-duquotidien-approche-resolution-probleme-etude-copposq> accessed 19 July 2022.
43 ซึ่งกระทบต่อความสงบของชุมชน การกระทำความผิดจราจรที่อาจจะก่อให้เกิดอุบัติเหตุและทำให้คน ได้รับบาดเจ็บ มลภาวะทางเสียงและความเดือดร้อนรำคาญจากจักรยานยนต์ การกลั่นแกล้งและความรุนแรง ในโรงเรียน เป็นต้น124 ซึ่งคณะทำงานนี้โดยปกติจะประกอบไปด้วย หัวหน้าของตำรวจประจำท้องถิ่น สมาชิกของสภาท้องถิ่น ผู้แทนสถาบันการศึกษาภายในท้องถิ่น ผู้ให้บริการขนส่งสาธารณะ ผู้ให้บริการ ที่พักอาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อย (Social Landlords) หรือผู้แทนจากภาคประชาสังคมที่มีความเกี่ยวข้อง กับการแก้ไขสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นในท้องถิ่น125 ซึ่ง GPO ที่ตั้งขึ้นจะร่วมกันในการกำหนดและจัดลำดับ ความสำคัญของปัญหา กำหนดแนวทางในการแก้ไขปัญหาในระยะสั้นอย่างเป็นรูปธรรม กำหนด แนวทางในการกำกับดูแลและแก้ไขปัญหา และกำหนดกลยุทธ์เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นต่อไป ในอนาคต126 4.2 การมีส่วนร่วมของประชาชนในชั้นอัยการ ระบบการดำเนินคดีอาญาของฝรั่งเศสนั้นไม่ได้แบ่งแยกการสอบสวนและการฟ้องคดีออกจากกัน โดยผู้ที่มีอำนาจสอบสวนและฟ้องคดีอาญาคือพนักงานอัยการ127 ซึ่งเป็นไปตามหลักการดำเนินคดีอาญา โดยรัฐ (Public Prosecution) อัยการในฝรั่งเศสจึงเป็นผู้รับผิดชอบในการสอบสวนโดยอาจทำการ สอบสวนด้วยตนเองหรือมอบหมายให้ตำรวจฝ่ายคดีดำเนินการแทนก็ได้แต่โดยทั่วไปแล้วพนักงานอัยการ จะมอบให้ตำรวจฝ่ายคดีดำเนินการสอบสวนแทน โดยอัยการเป็นผู้กำหนดทิศทางและกำกับดูแลทำงาน ของตำรวจฝ่ายคดี128 เมื่อทำการสอบสวนเสร็จแล้วอัยการก็จะเป็นผู้สั่งคดี ซึ่งกฎหมายกำหนดให้อัยการ สามารถใช้ดุลพินิจในการสั่งคดีอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้ คือ -สั่งฟ้องคดีอาญา -สั่งให้ใช้มาตรการอื่นแทนการฟ้องคดี -สั่งไม่ฟ้องคดีอาญา129 มาตรการอื่นแทนการฟ้องคดีที่อัยการสามารถเลือกใช้มีด้วยกันหลายมาตรการ แต่หนึ่งใน มาตรการสำคัญที่มีการยอมรับและใช้กันอย่างแพร่หลายเพื่อเบี่ยงเบนคดีออกจากระบวนการยุติธรรม เพื่อลดปริมาณคดีที่ขึ้นศาลและแก้ไขปัญหาความล่าช้าในการดำเนินกระบวนการยุติธรรม คือการไกล่เกลี่ย 124Ministère de L'intérieur, ‘POLICE DE SÉCURITÉ DU QUOTIDIEN, la mise en œuvre des groups de partenariat opérationnel (GPO)’ (DAILY SECURITY POLICE, the Implementation of the Operational Partnership Groups) <http://www.maine-et-loire.gouv.fr/IMG/pdf/bilan_de_la_police_de_securite_du_quotidien_en_zone_police.pdf> accessed 19 July 2022. 125ibid. 126ibid. 127Code de Procédure Pénale (Code of Criminal Procedure), art 41. 128อุทัย อาทิเวช, “อัยการฝรั่งเศส” ใน อุทัย อาทิเวช, รวมบทความกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาฝรั่งเศส, พิมพ์ครั้งที่ 2 (กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนจำกัด วี.เจ.พริ้นติ้ง 2557),น.193. 129Code de Procédure Pénale (Code of Criminal Procedure), art 40-1.
44 ข้อพิพาทในคดีอาญา (Médiation Pénale)130 ซึ่งประชาชนอาจเข้ามามีส่วนร่วมได้ในฐานะผู้ไกล่เกลี่ย ที่ได้รับมอบหมายจากพนักงานอัยการ ประเภทของคดีที่เข้าสู่การไกล่เกลี่ยในคดีอาญาได้จะต้องเป็นคดีไม่ร้ายแรง เช่น ทำร้ายร่างกาย ที่ไม่รุนแรง การก่อความเดือดร้อนรำคาญระหว่างเพื่อนบ้าน ลักทรัพย์ธรรมดา ทำให้เสียทรัพย์ เป็นต้น131 นอกจากนี้ ผู้ต้องหาที่จะเข้าสู่กระบวนการไกล่เกลี่ยได้จะต้องไม่เคยต้องคำพิพากษาว่าเป็น ผู้กระทำความผิดอาญามาก่อนหรือเป็นผู้ที่มีแนวโน้มในการกระทำความผิดซ้ำ เช่น มีความพยาบาทหรือ โกรธแค้นผู้เสียหาย132 อย่างไรก็ตาม ในการดุลยพินิจสั่งให้มีการไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางอาญาในคดีใด ๆ จะต้องเป็น กรณีที่พนักงานอัยการพิจารณาแล้วเห็นว่าการเข้าสู่กระบวนการไกล่เกลี่ย จะทำให้ผู้เสียหายได้รับ ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากความผิดนั้น หรือจะเป็นการยุติปัญหาที่เกิดขึ้นจากการ กระทำผิด หรือทำให้ผู้กระทำผิดได้กลับตัวเป็นคนดีและกลับคืนสู่สังคมได้133และเมื่อพนักงานอัยการ เห็นควรให้มีการไกล่เกลี่ยแล้ว และคู่ความยินยอมเข้าสู่กระบวนการไกล่เกลี่ยก็จะมีการแต่งตั้งผู้ไกล่เกลี่ย ขึ้น ซึ่งพนักงานอัยการอาจจะเป็นผู้ดำเนินการด้วยตนเอง หรืออาจมอบหมายให้ตำรวจฝ่ายคดี หรือ แต่งตั้งบุคคลธรรมดาหรือสมาคมที่มีหน้าที่ในการช่วยเหลือผู้กระทำความผิดและผู้เสียหายในการหา ทางออกในการแก้ไขปัญหาข้อพิพาทร่วมกันโดยสมานฉันท์มาเป็นผู้ไกล่เกลี่ย134 โดยบุคคลธรรมดาหรือ สมาคมที่จะเข้ามาทำหน้าที่จะต้องยื่นคำร้องต่อพนักงานอัยการเพื่อเข้ามาทำหน้าที่ดังกล่าว บุคคลที่มา ทำหน้าที่เป็นผู้ไกล่เกลี่ยจะต้องเป็นผู้มีอายุไม่เกิน 75 ปีบริบูรณ์ และต้องไม่มีความสัมพันธ์ทางครอบครัว กับผู้พิพากษาที่เป็นองค์คณะและเจ้าหน้าที่ของศาล นอกจากนี้ยังต้องแสดงให้เห็นถึงความรู้ความสามารถ ในการทำหน้าที่ เช่น ผู้เชี่ยวชาญทางกฎหมาย135 ผลของการที่พนักงานอัยการมีคำสั่งให้คู่ความเข้าสู่กระบวนการไกล่เกลี่ย ย่อมทำให้อายุความ สะดุดหยุดอยู่136 โดยหากผู้กระทำความผิดได้ปฏิบัติครบถ้วนตามเงื่อนไขในข้อตกลงที่ทำขึ้นระหว่าง ผู้กระทำผิดและผู้เสียหายอันเป็นผลมาจากเข้าร่วมในกระบวนการไกล่เกลี่ยแล้ว พนักงานอัยการก็จะสั่ง 130ณรงค์ ใจหาญ และคณะ, “รายงานผลการศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัยเรื่อง กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ในศาล ยุติธรรม” เสนอต่อ สถาบันวิจัยรพีพัฒนศักดิ์ สำนักงานศาลยุติธรรม, 2553, น.112. 131The French Civil Service, ‘Criminal Mediation’ (2020) <https://www.servicepublic.fr/telechargerPdf?location=/particuliers/vosdroits/F1824&audience=particuliers&lang=en> accessed 19 July 2022. 132ibid. 133Code de Procédure Pénale (Code of Criminal Procedure), art 41-1 para 1. 134Ibid. 135The French Civil Service, ‘Criminal Ombudsman’ (2020) <https://www.servicepublic.fr/telechargerPdf?location=/particuliers/vosdroits/F1739&audience=particuliers&lang=en> accessed 19 July 2022. 136Code de Procédure Pénale (Code of Criminal Procedure), art 41-1 para 2.
45 ไม่ฟ้องคดีอาญา แต่หากผู้กระทำผิดฝ่าฝืนข้อตกลง พนักงานอัยการอาจจะใช้ดุลพินิจในการสั่งฟ้องคดี หรือสั่งให้ใช้วิธีการเบี่ยงเบนคดีในรูปแบบอื่น ๆ ก็ได้137 นอกจากการไกล่เกลี่ยแล้ว พนักงานอัยการของฝรั่งเศสในการสั่งไม่ฟ้องคดีอาญาที่มีมูลโดยมี เงื่อนไขหรือการชะลอฟ้อง ซึ่งก็เป็นมาตรการแทนการฟ้องคดีในอีกรูปหนึ่งเช่นเดียวกับการไกล่เกลี่ย สำหรับความผิดที่มีโทษสูงสุดเป็นโทษปรับหรือโทษจำคุกไม่เกินห้าปี พนักงานอัยการสามารถที่จะยื่น ข้อเสนอต่อผู้ต้องหาในการทำ “ความตกลงอาญาทางอาญา” (La Composition Pénale)138 โดยให้ ผู้ต้องหาปฏิบัติตามมาตรการอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่พนักงานอัยการเสนอ ซึ่งหากผู้ต้องหายินยอมตาม ข้อเสนอของพนักงานอัยการ ก็จะมีการเสนอให้ศาลพิจารณาข้อเสนอดังกล่าว โดยหากศาลไม่เห็นชอบ กับข้อเสนอดังกล่าว ความตกลงที่กระทำมาแล้วย่อมสิ้นผลไป139 ในกรณีที่ศาลเห็นชอบกับข้อเสนอ ดังกล่าว และผู้ต้องหาปฏิบัติตามเงื่อนไขตามที่กำหนดไว้ในความตกลงอย่างถูกต้องครบถ้วน คดีอาญา นั้นย่อมเป็นอันระงับไป โดยทะเบียนประวัติอาชญากรจะไม่มีการบันทึกถึงเรื่องความตกลงทางอาญา เนื่องจากไม่มีการฟ้องคดีอาญาและไม่มีการพิพากษาลงโทษผู้ต้องหาแต่อย่างใด แต่ถ้าผู้ต้องหาไม่ปฏิบัติ ตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในข้อเสนอ พนักงานอัยการก็จะทำการฟ้องคดีต่อไป140 สำหรับรูปแบบของ มาตรการที่กำหนดให้ผู้ต้องหาปฏิบัตินั้นมีหลายรูปแบบ141 ซึ่งมีบางรูปแบบที่ประชาชนในชุมชนอาจเข้ามา มีส่วนร่วมในกำหนดรายละเอียดในการปฏิบัติ รวมถึงช่วยกำกับดูแลให้ผู้ต้องหาปฏิบัติตาม เช่น ทำงาน เพื่อประโยชน์ของชุมชนโดยไม่ได้รับค่าตอบแทนในนิติบุคคลตามกฎหมายมหาชน นิติบุคคลตาม กฎหมายเอกชนที่ได้รับมอบหมายในการจัดทำบริการสาธารณะหรือสมาคมที่ได้จดทะเบียนถูกต้องตาม กฎหมาย เป็นระยะเวลาสูงสุด 100 ชั่วโมง ภายในช่วงเวลา 6 เดือน142 หรือฝึกอบรมหรือปฏิบัติงาน เกี่ยวกับบริการสาธารณสุข บริการสังคม หรือบริการทางวิชาชีพหรือองค์กร เป็นระยะเวลาไม่เกิน 3 เดือน ภายในช่วงเวลา 18 เดือน143 เป็นต้น การมีส่วนร่วมของประชาชนในการปฏิบัติงานของอัยการในประเทศฝรั่งเศส อาจจะปรากฏในรูป ของการเป็นกรรมการที่เป็นบุคคลภายนอกในคณะกรรมการตุลาการฝ่ายอัยการ144 โดยคณะกรรมการ ชุดนี้จะมีอธิบดีอัยการประจำศาลฎีกา (Le Procureur Général Près la Cour de Cassation) เป็น 137ibid art 41-1 para 3. 138ibid art 41-2, para 1. 139ibid para 6. 140อุทัย อาทิเวช, “การใช้ดุลพินิจของพนักงานอัยการกับการลดปริมาณคดีขึ้นสู่ศาลในประเทศฝรั่งเศส” ใน อุทัย อาทิเวช, รวมบทความ กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาฝรั่งเศส, พิมพ์ครั้งที่ 2 (กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนจำกัด วี.เจ.พริ้นติ้ง 2557), น.235. 141สำหรับมาตรการต่าง ๆ ที่พนักงานอัยการสามารถกำหนดให้ผู้ต้องหาปฏิบัติตามข้อตกลงทางอาญา มีด้วยกันทั้งหมด 21 มาตรการ โดยกำหนดไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาฝรั่งเศส มาตรา 41-1 วรรคแรก 142Code de Procédure Pénale (Code of Criminal Procedure), art 41-1 para 1, no.6. 143 Code de Procédure Pénale (Code of Criminal Procedure), art 41-1 para 1, no.7. 144 ในประเทศฝรั่งเศส อัยการถือเป็นส่วนหนึ่งของฝ่ายตุลาการ ดังนั้นเมื่อกล่าวถึงชื่อ“คณะกรรมการตุลาการ” (Le Conseil Supérieur de la Magistrature – CSM) จึงหมายความรวมถึงอัยการด้วย โดยในคณะกรรมการตุลาการจะมีการแบ่งออกเป็น 2 ชุดย่อย คือ คณะกรรมการตุลาการฝ่ายผู้พิพากษา และคณะกรรมการตุลาการฝ่ายอัยการ
46 ประธาน และมีกรรมการซึ่งเป็นองค์ประกอบทั้งบุคคลในฝ่ายตุลาการ ได้แก่ พนักงานอัยการจำนวน 5 คน ผู้พิพากษาจำนวน 1 คน และบุคคลภายนอก ได้แก่ ที่ปรึกษากฤษฎีกา (Le Conseiller d’État) ซึ่ง ได้รับเลือกจากที่ประชุมใหญ่ของคณะกรรมการกฤษฎีกา (Conseil d’État) ทนายความซึ่งได้รับแต่งตั้ง จากประธานสภาทนายความแห่งชาติ(Le Conseil National des Barreaux) ตามที่ได้รับความ เห็นชอบของที่ประชุมใหญ่สภาทนายความแห่งชาติ และบุคลภายนอกหกคน ซึ่งมีคุณสมบัติครบถ้วน และจะต้องเป็นผู้ที่ไม่ได้เป็นสมาชิกรัฐสภา ฝ่ายตุลาการหรือ ฝ่ายบริหารโดยประธานาธิบดี ประธานสภา ผู้แทนราษฎร และประธานวุฒิสภาแต่ละท่าน จะเป็นผู้มีอำนาจแต่งตั้งบุคลภายนอกซึ่งมีคุณสมบัติ ครบถ้วนได้ท่านละสองคน การแต่งตั้งดังกล่าวจะต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการรัฐสภา (Approuvées Par des Commissions Parlementaires)145 ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วกรรมการซึ่งเป็น บุคคลภายนอกที่ไม่ใช่ทนายความที่ได้รับแต่งตั้งมักจะเป็นศาสตราจารย์ด้านกฎหมาย146 สำหรับอำนาจ หน้าที่ของคณะกรรมการตุลาการฝ่ายอัยการจะเกี่ยวข้องกับการบริหารงานบุคคลขององค์กรอัยการ เป็นหลักในเรื่องของการแต่งตั้งและโยกย้าย และการดำเนินการทางวินัย147 4.3 การมีส่วนร่วมของประชาชนในชั้นศาล ในชั้นการพิจารณาคดีของศาล ประชาชนสามารถเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา ได้ในฐานะลูกขุน อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่คดีอาญาทุกประเภทที่จะต้องได้รับการพิจารณาโดยมีลูกขุนเป็น องค์คณะ แต่เฉพาะคดีความผิดอุกฤษฏ์โทษ (Les Crimes)148 ที่อยู่ในอำนาจการพิจารณาของศาลลูกขุน (Cour d’assises) โดยเป็นคดีที่มีโทษจำคุกตั้งแต่ 10 ปี ถึง 15 ปี และคดีที่มีโทษจำคุกตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป149 ทั้งนี้ในศาลลูกขุนจะมีทั้งผู้พิพากษาอาชีพและคณะลูกขุนร่วมในการพิจารณาคดีด้วยกัน150 โดยองค์คณะ 145 Constitution de la Ve République (Constitution of France), section 65, para 3. 146 Le CSM, ‘Compostion&Organisation’, <http://www.conseil-superieur-magistrature.fr/le-csm/composition-etorganisation> accessed 1 December 2022. 147 Constitution de la Ve République (Constitution of France), section 65, para 5,7. 148ตามประมวลกฎหมายอาญาของสาธารณรัฐฝรั่งเศสมีการแบ่งประเภทของความผิดอาญาออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้ 1. ความผิดอุกฤษฏ์โทษ (Les Crimes) ซึ่งอยู่ในอำนาจการพิจารณาของศาล Court ’Assises 2. ความผิดมัชฌิมโทษ (Les Délits) ซึ่งอยู่ในอำนาจการพิจารณาของศาล Tribunal Correctionnel 3. ความผิดลหุโทษ (Les Contraventions) ซึ่งอยู่ในอำนาจการพิจารณาของศาล Tribunal de Police สำหรับรายละเอียดเกี่ยวกับความผิดอาญาแต่ละประเภท โปรดดูเพิ่มเติมใน ณรงค์ ใจหาญ และคณะ, “รายงานผลการศึกษาวิจัย เรื่อง การกำหนดชั้นโทษและการนำไปปรับใช้ในประมวลกฎหมายอาญา” เสนอต่อ สถาบันวิจัยและพัฒนากระบวนการยุติธรรม สำนักงานกิจการยุติธรรม, 2551, น.163–179. 149ก่อนปี พ.ศ. 2564 ศาลลูกขุนหรือ Court d’Assises มีอำนาจในการพิจารณาคดีความผิดอุกฤษฏ์โทษทั้งหมด คือ คดีที่มีโทษจำคุกตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไปจนถึงจำคุกตลอดชีวิต แต่ในปี 2564 มีการแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาของฝรั่งเศสเพื่อตั้งศาลใหม่ ขึ้นมา คือ Cour Criminelle Départementale (Departmental Criminal Court) โดยให้มีอำนาจในการพิจารณาคดีที่มีโทษจำคุก 15 ถึง 20 ปี โดยองค์คณะในการพิจารณาคดี จะประกอบไปด้วย ผู้พิพากษาอาชีพจำนวน 5 คน และจะไม่มีลูกขุนเข้าร่วมเป็นองค์คณะในการ พิจารณาด้วย เพื่อลดภาระการพิจารณาคดีของศาลลูกขุนและทำให้การพิจารณาคดีเกิดความรวดเร็วมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้คดีที่มีโทษจำคุกเกิน กว่า 20 ปีขึ้นไป ยังคงอยู่ในอำนาจการพิจารณาของศาลลูกขุนตามเดิม 150Code de Procédure Pénale (Code of Criminal Procedure), art 240.
47 ในศาลลูกขุนจะประกอบไปด้วย ผู้พิพากษาอาชีพ 3 คน ลูกขุน 6 คน แต่หากเป็นศาลลูกขุนชั้นอุทธรณ์ จะมีการเพิ่มจำนวนลูกขุนเป็น 9 คน151 คุณสมบัติของผู้ที่ทำหน้าที่เป็นลูกขุน จะต้องเป็นพลเมือง ฝรั่งเศสอายุ 23 ปีขึ้นไป สามารถอ่านและเขียนภาษาฝรั่งเศสได้ ไม่เป็นคนไร้ความสามารถ ไม่เป็นผู้ที่ เคยต้องคำพิพากษาจำคุกตั้งแต่หกเดือนขึ้นไป สำหรับความผิดอุกฤษฏ์โทษหรือมัชฌิมโทษ รวมถึงผู้ต้อง คำพิพากษาตัดสิทธิทางแพ่ง สิทธิพลเมือง และสิทธิในครอบครัวหรือถูกลงโทษทางวินัยไม่เป็นสมาชิก ของคณะรัฐบาล สมาชิกรัฐสภา ตุลาการ ตำรวจ152 การคัดเลือกลูกขุนจะดำเนินการโดยการสุ่มจาก บัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งประจำปีของแต่ละ Commune ซึ่งนายกเทศมนตรี (Maire) จะทำหน้าที่ ในการจับฉลากรายชื่อของประชาชนขึ้นมาจำนวนหนึ่ง โดยตัดรายชื่อของผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่มีอายุน้อยกว่า 23 ปีออกแล้วแจ้งผลให้ผู้ที่มีรายชื่อทราบ และส่งรายชื่อให้ที่ทำการของศาลลูกขุนที่มีเขตอำนาจ ใน Commune นั้น ๆ เมื่อศาลได้รับบัญชีแล้วจะมีการตั้งคณะกรรมการเพื่อพิจารณาว่าผู้มีรายชื่อในบัญชี เป็นผู้มีคุณสมบัติเหมาะสมหรือไม่153 ในการทำหน้าที่ของลูกขุน คณะลูกขุนจะนั่งพิจารณาคดีเคียงข้างผู้พิพากษาอาชีพ ลูกขุน สามารถถามคำถามพยานและจำเลยได้โดยตรง หลังจากร้องขออนุญาตจากประธานศาลลูกขุนแล้ว โดยจะต้องไม่แสดงความเห็นของตนเองในระหว่างการพิจารณาคดี154 เมื่อการพิจารณาสืบพยาน เสร็จสิ้นแล้วประธานศาลลูกขุนจะทำการประกาศปิดการพิจารณาคดี155 เพื่อความสะดวกในการวินิจฉัย ความผิดของจำเลย โดยเฉพาะสำหรับลูกขุนซึ่งมิใช่ผู้พิพากษาอาชีพ ประธานศาลอาจกำหนดประเด็น ปัญหาที่ให้องค์คณะร่วมกันวินิจฉัยชี้ขาดก็ได้156 หลังจากนั้นผู้พิพากษาและคณะลูกขุนซึ่งเป็นองค์คณะ จะประชุมร่วมกันเพื่อวินิจฉัยความผิดของจำเลย โดยในการพิพากษาลงโทษจำเลยจะต้องอาศัยเสียงข้างมาก อย่างน้อย 7 ใน 9 เสียงในศาลลูกขุนชั้นต้น แต่ถ้าหากเป็นศาลลูกขุนชั้นอุทธรณ์ต้องอาศัยเสียงข้างมาก อย่างน้อย 8 เสียง157 5. ราชอาณาจักรนอร์เวย์ นอร์เวย์ยึดถือหลักสิทธิมนุษยชน (Human Right) เป็นพื้นฐานสำคัญในการดำเนินกระบวนการ ยุติธรรมทางอาญา ดังจะเห็นได้จากบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญของนอร์เวย์ซึ่งรับรองสิทธิในการมีชีวิตของ มนุษย์ทุกคน จึงไม่อนุญาตให้มีการใช้โทษประหารชีวิตในประเทศ158 รับรองสิทธิของบุคคลที่จะไม่ถูก 151ibid art 296. 152Code de Procédure Pénale (Code of Criminal Procedure), art 255-257. 153อุทัย อาทิเวช, “การมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา: ตัวอย่างของระบบลูกขุนฝรั่งเศส” ใน อุทัย อาทิเวช, รวมบทความกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาฝรั่งเศส, พิมพ์ครั้งที่ 2 (กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนจำกัด วี.เจ.พริ้นติ้ง 2557),น.285. 154เพิ่งอ้าง, น.294. 155Code de Procédure Pénale (Code of Criminal Procedure), art 347. 156ibid art. 348. 157Code de Procédure Pénale (Code of Criminal Procedure), art. 359. 158The Constitution of the Kingdom of Norway, art 93
48 ลงโทษด้วยการทรมานหรือโหดร้าย159สิทธิไม่ถูกคุมขังโดยไม่จำเป็น160สิทธิในการได้รับการพิจารณา โดยเปิดเผยและเป็นธรรม โดยได้รับการสันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นผู้บริสุทธิ์จนกว่าจะพิสูจน์ว่าได้กระทำ ผิดจริง161 ดังนั้น นโยบายด้านกระบวนการยุติธรรมทางอาญาของนอร์เวย์จึงมิได้มุ่งเน้นการลงโทษ ผู้กระทำผิดเพื่อแก้แค้นทดแทน (Retribution) แต่จะให้ความสำคัญกับการยุติข้อพิพาทด้วย กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ (Restorative Justice) และการแก้ไขหรือฟื้นฟูตัวผู้กระผิด (Rehabilitation)162 นอกจากนั้นแล้ว รัฐบาลนอร์เวย์ยังให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของประชาชนใน การบริหารงานภาครัฐซึ่งเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของบุคคลในสังคมประชาธิปไตย163 ซึ่งอาจรวมไปถึงสิทธิใน การมีส่วนร่วมในการบริหารงานและการอำนวยความยุติธรรมทางอาญาในรูปแบบต่าง ๆ ด้วย 5.1 การมีส่วนร่วมของประชาชนในชั้นตำรวจ ประชาชนนอร์เวย์อาจเข้ามีส่วนร่วมในการดำเนินงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจในท้องถิ่นได้ อย่างไร ก็ตาม ด้วยผลของนโยบายในการปฏิรูปตำรวจของนอร์เวย์ในปี พ.ศ. 2559 ที่ต้องการรวมอำนาจในการ บริหารจัดการตำรวจเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจในการเผชิญหน้า กับปัญหาการก่อการร้ายและอาชญากรรมในรูปแบบใหม่ ๆ 164 ส่งผลให้มีการลดจำนวนเขตการบริหารงาน ตำรวจ (Police Districts) จาก 27 เขต เหลือ 12 เขต และลดจำนวนหน่วยบริการตำรวจท้องถิ่น (Local Police Entities) จาก 354 แห่งเหลือ 225 แห่ง ซึ่งทำให้ในบางท้องถิ่นไม่มีหน่วยบริการ ตำรวจ165 รัฐบาลนอร์เวย์ได้แก้ไขปัญหาเรื่องนี้โดยกำหนดนโยบายเกี่ยวกับตำรวจชุมชนขึ้น (Community Police) ด้วยการกำหนดให้แต่ละเทศบาล (Municipality) จะต้องมีเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ ติดต่อได้ (Police Contact) อย่างน้อยหนึ่งคนมาปฏิบัติหน้าที่ ณ สำนักงานท้องถิ่นในการป้องกัน อาชญากรรมร่วมกับผู้คนในท้องถิ่น เช่น โรงเรียน องค์กรธุรกิจภายในท้องถิ่น หรือองค์กรอาสาสมัคร ต่าง ๆ 166 โดยประชาชนในท้องถิ่นสามารถมีส่วนร่วมกับ Police Contact ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลหรือ แจ้งเหตุต้องสงสัยเกี่ยวกับการก่ออาชญากรรม167 นอกจากนี้ ประชาชนยังอาจเข้ามามีส่วนร่วมกับตำรวจ 159ibid. 160ibid art 94. 161ibid art 95-96. 162David J. Cornwell and others, Civilising Criminal Justice: an International Restorative Agenda for Penal Reform (Waterside Press 2013) 479. 163Norwegian Ministry of Foreign Affairs, ‘Opportunities for All: Human Rights in Norway’s Foreign Policy and Development Cooperation (2014) 9. 164Paul Larsson, ‘From Integration to Contact: A Community Policing Reform?’ (2017) 2 Nordisk Politiforskning 170,171. 165ibid. 166The Royal Ministry of Justice and Emergency Management, ‘Changes in the Police Act, etc. (Security in everyday life-local police reform)’ (2015) 78. 167ibid 24.
49 ผ่านองค์กรอาสาสมัคร (Voluntary Emergency Organizations) ที่ช่วยในการเฝ้าระวังและระงับภัย ในกรณีที่มีเหตุฉุกเฉินที่เกิดขึ้นในท้องที่168 5.2 การมีส่วนร่วมของประชาชนในชั้นอัยการ การมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาของประเทศนอร์เวย์ อาจเห็นได้ อย่างชัดเจนในการทำหน้าที่เป็นผู้ไกล่เกลี่ย (Mediator) ในกระบวนการไกล่เกลี่ยระหว่างผู้เสียหายกับ ผู้กระทำผิด (Victim-Offender Mediation) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของทางเลือกในการระงับข้อพิพาท นอกเหนือจากการดำเนินคดีในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาแบบเดิม169 และหากการไกล่เกลี่ยประสบ ความสำเร็จเนื่องจากสามารถยุติข้อพิพาทลงระหว่างคู่ความได้ ก็จะไม่มีการบันทึกคดีไว้ในประวัติ อาชญากรรม170 โดยทั่วไป เมื่อคดีมาสู่การดำเนินการของเจ้าหน้าที่ตำรวจ จะมีการสอบถามคู่กรณีว่าประสงค์ หรือยินยอมที่จะเข้าสู่กระบวนการไกล่เกลี่ยแทนการดำเนินคดีหรือไม่ ในกรณีที่ทั้งผู้กระทำผิดและ ผู้เสียหายยินยอมเข้าสู่กระบวนการไกล่เกลี่ย พนักงานอัยการจะเป็นผู้พิจารณาต่อไปว่าคดีนี้เหมาะสม ที่จะให้ทำการไกล่เกลี่ยหรือไม่171 ตัวอย่างของคดีซึ่งเหมาะสมที่ไกล่เกลี่ยโดยทั่วไป เช่น ลักทรัพย์ทำให้ เสียทรัพย์ หรือทำร้ายร่างกายเนื่องจากมีความขัดแย้งกันมาก่อน เป็นต้น172 อย่างไรก็ตาม ไม่มีการจำกัด ประเภทของคดีที่จะไกล่เกลี่ยได้เอาไว้ในกฎหมาย แต่อาจมีการกำหนดแนวทางพิเศษรวมถึงการฝึกอบรม เพื่อทำการไกล่เกลี่ยคดีที่มีความอ่อนไหวเป็นพิเศษ173 หากอัยการเห็นว่าคดีสมควรเข้าสู่การไกล่เกลี่ย ก็จะส่งเรื่องให้ศูนย์บริการไกล่เกลี่ยแห่งชาติ (National Mediation Service (NMS)) ซึ่งเป็นองค์กรของรัฐ เพื่อดำเนินการต่อไป174 ในปัจจุบัน NMS มีศูนย์บริการไกล่เกลี่ยระดับภูมิภาคกระจายอยู่ทั่วประเทศทั้งหมด 22 แห่ง โดยมีจำนวนอาสาสมัครที่ทำหน้าที่เป็นผู้ไกล่เกลี่ยประมาณ 650 คน175 บุคคลที่มาทำหน้าที่เป็นผู้ไกล่เกลี่ย มักจะเป็นอาสาสมัครที่ได้รับการฝึกอบรมโดย NMS และได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้ไกล่เกลี่ยประจำในแต่ละ ท้องถิ่น (Municipality)176 ทั้งนี้ ในกรณีที่พนักงานอัยการโอนคดีอาญามาให้ NMS ดำเนินการไกล่เกลี่ย 168ibid 93. 169Jenny Maria Lundgaard, ‘Norway’ in Frieder Dünkel and others (eds), Restorative Justice and Mediation in Penal Matters: A stock-taking of legal issues, implementation strategies and outcomes in 36 European countries Vol.2 (Mönchengladbach 2015) 619. 170The Central Administration of the National Mediation Service, The Mediator’s Handbook (2021) 40. 171Criminal Procedure Act (Straffeprosessloven), s 71a. 172Jenny Maria Lundgaard , supra note 169, p.619. 173The Scottish Government, ‘Rapid Evidence Review: Uses of Restorative Justice’ (2019) 11. 174Mediation Service Act (Lov om konfliktrådsbehandling), s 20. 175The National Mediation Service (Konfliktrådet), ‘About us’ (2020) <https://konfliktraadet.no/en/about-us> accessed 16 July 2022. 176ibid.
50 พนักงานอัยการจะเป็นผู้กำหนดว่าการไกล่เกลี่ยนั้นจะถูกดำเนินการโดยศูนย์บริการไกล่เกลี่ยของท้องที่ใด ซึ่งโดยทั่วไปมักจะเป็นท้องที่ที่คู่ความอาศัยอยู่ เว้นแต่คู่ความจะตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่น177 นอกเหนือจาก NMS แล้ว ยังมีองค์กรอื่น ๆ ที่ทำหน้าที่ไกล่เกลี่ยหรือประนอมข้อพิพาท โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อพิพาทที่เกิดขึ้นระหว่างเยาวชน เช่น Red Cross, Minhajul Quran International เป็นต้น178 การมีส่วนร่วมของประชาชนในการปฏิบัติงานของอัยการในประเทศนอร์เวย์ อาจจะปรากฏ ในรูปของการเป็นกรรมการที่เป็นบุคคลภายนอกจากภาคประชาชนในคณะกรรมการกำกับดูแลอัยการ (Supervisory Committee for Public Prosecutors) คณะกรรมการดังกล่าวประกอบด้วยผู้แทนของ พนักงานอัยการสองคน ทนายความหนึ่งคน และผู้แทนจากภาคประชาชนจำนวนสองคน โดยคณะกรรมการ ชุดนี้มีหน้าที่หลักในการพิจารณาเรื่องเรียนและการดำเนินการทางวินัยกับพนักงานอัยการ179 5.3 การมีส่วนร่วมของประชาชนในชั้นศาล สิ่งที่น่าสนใจประการหนึ่งเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการยุติธรรมของ นอร์เวย์ ก็คือประชาชนสามารถเข้ามามีส่วนร่วมในการพิจารณาคดีในศาลได้ในฐานะของผู้พิพากษา สมทบ (Lay Judge) โดยมีแนวคิดว่าประชาชนที่เข้ามาทำหน้าที่ดังกล่าวสามารถใช้สามัญสำนึกและ วิจารณญาณที่ดีในการพิจารณาว่าผู้ถูกกล่าวหาเป็นผู้มีความผิดหรือบริสุทธิ์ เพื่อตรวจสอบถ่วงดุลการ ทำหน้าที่ของผู้พิพากษาอาชีพ (Professional Judge)180 ทั้งนี้ คุณสมบัติของผู้มีสิทธิได้รับเลือกเป็น ผู้พิพากษาสมทบจะต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์และเป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้งท้องถิ่น (Local Council)181 ไม่เป็นผู้มีตำแหน่งหน้าที่ในรัฐบาล นักบวช นักกฎหมาย182 หรือผู้ที่เคยต้องโทษจำคุกและพ้นโทษมา ไม่เกิน 10 ปี183 การคัดเลือกผู้พิพากษาสมทบจะดำเนินการโดยคณะกรรมการซึ่งได้รับการแต่งตั้งจาก องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยพิจารณาจากบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งท้องถิ่น184การคัดเลือก ผู้พิพากษาสมบทของท้องถิ่นจะดำเนินการทุก ๆ 4 ปี185 ภายหลังจากการเลือกตั้งท้องถิ่นเสร็จสิ้น ดังนั้น ตามปกติผู้พิพากษาสมทบจึงมีวาระในการดำรงตำแหน่งตามปกติ คราวละ 4 ปี 177Mediation Service Act (Lov om konfliktrådsbehandling), s 13. 178Jenny Maria Lundgaard, supra note 169, p.620. 179Lov om rettergangsmåten i straffesaker (Straffeprosessloven) (Act on the Procedure in Criminal Cases (Criminal Procedures Act), section 56. 180Anna Offit, ‘Dismissing the Jury: Mixed Courts and Lay Participation in Norway’ in Shari Diamond and others (eds), Juries, Lay Judges, and Mixed Courts: A Global Perspective (Oxford University Press 2021) p.199. 181Court of Justice Act (Lov om domstolene), s 65. 182ibid s 66. 183ibid s 66a. 184Court of justice Act (Lov om domstolene), s 73. 185ibid s 64.
51 คดีอาญาซึ่งพิจารณาในศาลชั้นต้น ใน City Court หรือ District Court ทั่วไปจะมีองค์คณะ ประกอบด้วย ผู้พิพากษาอาชีพ 1 คน ผู้พิพากษาสมทบ 2 คน อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่คดีนั้นเป็นคดีที่ ต้องพิพากษาจำคุกเกินกว่าหกปีซึ่งมีความซับซ้อน หรือมีเหตุผลพิเศษประการอื่น ๆ อธิบดีผู้พิพากษาศาล อาจสั่งให้มีการนั่งพิจารณาโดยผู้พิพากษาอาชีพ 2 คน และผู้พิพากษาสมทบ 3 คนก็ได้186 ในศาล อุทธรณ์ องค์คณะจะประกอบไปด้วย ผู้พิพากษาอาชีพ 2 คน และผู้พิพากษาสมทบ 5 คน 187 ส่วนศาลฎีกา จะไม่มีผู้พิพากษาสมทบ ทั้งนี้ ผู้พิพากษาสมทบย่อมมีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับผู้พิพากษาอาชีพ โดยจะ ร่วมกับผู้พิพากษาอาชีพในการชี้ขาดปัญหาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย188 อย่างไรก็ตาม ผู้พิพากษาอาชีพจะเป็นผู้ทำหน้าที่หลักในการพิจารณาคดีและรับฟังพยานหลักฐาน ที่มีการนำสืบในการพิจารณา ทั้งนี้ ผู้พิพากษาสมทบมีสิทธิในการถามจำเลยและพยานเพิ่มเติมได้ ภายหลังจากที่ผู้พิพากษาอาชีพได้สอบถามคู่ความแล้ว189 นอกจากนี้ ในชั้นของการพิจารณาคดีเพื่อ ชี้ขาดว่าจำเลยกระทำผิดจริงหรือไม่ ผู้พิพากษาอาชีพจะเป็นผู้ทำหน้าที่ในการอธิบายข้อกฎหมายให้แก่ ผู้พิพากษาสมทบฟัง ก่อนที่จะทำการชี้ขาดคดี ซึ่งทั้งผู้พิพากษาอาชีพและผู้พิพากษาสมทบต่างก็มีสิทธิ ในการออกเสียงเพื่อชี้ขาดคดี แต่ผู้พิพากษาอาชีพจะเป็นผู้ทำหน้าที่ในการจัดทำคำพิพากษาเพื่ออ่าน ให้คู่ความฟังในการพิพากษาคดี190 6. ประเทศสกอตแลนด์ นโยบายด้านการยุติธรรมของสกอตแลนด์ให้ความสำคัญกับแนวคิดในการอำนวยความยุติธรรม ที่ยึดถือประชาชนเป็นศูนย์กลาง (People-Centered Justice) โดยรัฐต้องจัดให้ประชาชนสามารถ เข้าถึงมาตรการหรือความช่วยเหลือต่าง ๆ ที่เหมาะสม เพื่อเข้าถึงและมีส่วนร่วมในกระบวนการยุติธรรม หรือการดำเนินคดีได้โดยผู้เสียหายหรือเหยื่อย่อมมีสิทธิในการได้รับการเยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้น แก่ตน191 เช่น การระงับข้อพิพาทด้วยกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ (Restorative Justice)192 ในขณะที่ผู้ต้องหาก็ควรได้รับการพิจารณาคดีอย่างเป็นธรรม (Fair Trial)193 และควรลดการตีตรา (Stigma) การเป็นอาชญากรต่อตัวผู้ต้องโทษ เพื่อเปิดโอกาสให้บุคคลดังกล่าวสามารถกลับคืนสู่ สังคมได้194 186Criminal Procedure Act (Straffeprosessloven), s 276. 187ibid s 332. 188AsbjØrn Strandbakken, ‘Lay Participation in Norway’ (2001) 72 International Review of Penal Law, p.230. 189ibid p.231. 190Strandbakken, supra note 188, p.232. 191The Scottish Government, The Vision for Justice in Scotland (2022), p.23. 192ibid 20 193ibid 19 194The Scottish Government, supra note 191, p.25
52 6.1 การมีส่วนร่วมของประชาชนในชั้นตำรวจ การปฏิบัติหน้าที่ของตำรวจสกอตแลนด์ตั้งอยู่บนแนวคิดพื้นฐานที่สำคัญที่เรียกกันว่า “Policing by Consent” ที่มองว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจย่อมไม่อาจใช้อำนาจหน้าที่ของตนได้ หากปราศจาก ความยินยอมของสาธารณชน (The Consent of the Public) โดยจะต้องไม่ใช้อำนาจของตนเพื่อบังคับ หรือข่มขู่ประชาชนให้เกิดความหวาดกลัว แต่จะต้องบังคับใช้กฎหมายอย่างเป็นธรรมและเสมอภาค และใช้กำลังให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้195 เพื่อให้เกิดความโปร่งใสและตรวจสอบได้ อันจะมีผลทำให้ สาธารณชนเกิดความเชื่อมั่นในการปฏิบัติหน้าที่ของตำรวจ196 องค์การตำรวจแห่งสกอตแลนด์ (Police Scotland Authority) ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักที่ทำหน้าที่ในการกำกับดูแลกิจการตำรวจในสกอตแลนด์ จึงมีนโยบายที่จะเปิดโอกาสให้ประชาชนในสกอตแลนด์เข้ามามีส่วนร่วมในการปฏิบัติหน้าที่ของ ตำรวจ197 เช่น การแจ้งหรือรายงานการเกิดอาชญากรรมที่เกิดขึ้นในพื้นที่ หรือแจ้งเกี่ยวกับเหตุต้อง สงสัยว่าจะมีการกระทำผิดเกิดขึ้นเพื่อเฝ้าระวังและป้องกันอาชญากรรม198 อีกทั้ง ประชาชนยังมีส่วนร่วม ในการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับในหัวข้อต่าง ๆ เกี่ยวกับการบริหารจัดการงานตำรวจผ่านแพลตฟอร์ม ออนไลน์ Citizen Space เพื่อประโยชน์ในการพัฒนากิจการตำรวจให้มีประสิทธิภาพขึ้นและสร้างความ เชื่อมั่นของประชาชนที่มีต่อองค์กรตำรวจ199 นอกจากนี้ องค์การตำรวจแห่งสกอตแลนด์ ยังเปิดโอกาส ให้ประชาชนทั่วไปที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป สามารถเข้ามาเป็นอาสาสมัครตำรวจพิเศษ (Special Constables)200 โดยทำงานแบบไม่เต็มเวลา (Part-Time) เพื่อช่วยเหลือและสนับสนุนการปฏิบัติงาน ของตำรวจประจำท้องที่ (Local Police) ในการปกป้องชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ป้องกัน อาชญากรรม และสืบหาตัวผู้กระทำความผิด201 เช่น ช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ตำรวจในการรักษาความปลอดภัย ใน event พิเศษต่าง ๆ หรือช่วยเหลืองานอื่น ๆ ตามที่เจ้าหน้าที่ตำรวจประจำท้องที่มอบหมาย นอกจากนี้ ยังทำหน้าที่เป็นตัวกลางเพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันระหว่างชุมชนกับตำรวจภายในท้องที่อีกด้วย202 6.2 การมีส่วนร่วมของประชาชนในชั้นอัยการ ในส่วนของกระบวนการยุติธรรมในชั้นอัยการ ประชาชนสามารถเข้ามามีส่วนร่วมในชั้นนี้ได้ เช่นเดียวกันกับชั้นของตำรวจ แต่อาจจะมิได้เข้ามีส่วนร่วมในการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานอัยการ โดยตรงในเรื่องการดำเนินคดี เนื่องจากพนักงานอัยการของสกอตแลนด์มีหน้าที่หลักในการฟ้อง 195Jennifer Brown, Policing in the UK (The House of Commons Library 2021, p.8. 196The Scottish Government, ‘Strategic Police Priorities for Scotland’ (2016), p.9. 197Scottish Police Authority, ‘Annual Police Plan 2022/23’ (2022), p.13. 198Scottish Police Authority, ‘Public Contact and Engagement Strategy 2020’ (2020), p.18. 199Delib, ‘Customer story: Police Scotland’ (2020) <https://www.delib.net/citizen_space/customer_stories/police_scotland> accessed 19 July 2022. 200Police and Fire Reform (Scotland) Act 2012, s 9. 201Police Scotland, ‘Job Specification for Special Constables’ (2021) <https://www.scotland.police.uk/spamedia/w1nmm5ez/job-spec-special-constable.pdf> accessed 19 July 2022. 202ibid.
53 คดีอาญา203 ไต่สวนการตายที่ผิดธรรมชาติและไต่สวนกรณีที่มีการกล่าวหาเจ้าหน้าที่ตำรวจว่ากระทำ ความผิดอาญาอันเนื่องมาจากการปฏิบัติการตามหน้าที่204 อย่างไรก็ตาม ในส่วนหน้าที่ของพนักงานอัยการ ในการฟ้องคดี พนักงานอัยการอาจใช้ดุลพินิจในการเบี่ยงเบนการฟ้องคดี ( Diversion from Prosecution) ด้วยการให้ผู้ถูกฟ้องคดีทำงานตามโปรแกรมที่เจ้าหน้าที่สังคมสงเคราะห์ด้าน กระบวนการยุติธรรมอาญา (Criminal Justice Social Work (CJSW) กำหนดแทนการดำเนินคดี โดยมี ความมุ่งหมายเพื่อให้เข้าใจถึงเหตุผลในการกระทำผิด และป้องกันการกระทำผิดซ้ำ หากความผิดนั้น เป็นความผิดเล็กน้อย205 ในการออกคำสั่งให้เบี่ยงเบนคดี พนักงานอัยการจะพิจารณาจากรายงานคดีของเจ้าหน้าที่ ตำรวจ (Standard Police Report (SPR)) ซึ่งระบุข้อมูลที่จำเป็นเกี่ยวกับตัวผู้ถูกกล่าวหาเพื่อพิจารณา ใช้ดุลพินิจในการเบี่ยงเบนคดี เช่น สุขภาพจิต การติดยาเสพติดหรือแอลกอฮอล์ ความเปราะบางทาง กายหรือจิตใจ ความพิการ เจตนาในการกระทำความผิด สภาพครอบครัว การศึกษาและอาชีพการงาน เป็นต้น206 เมื่อพิจารณารายงานคดีดังกล่าวแล้ว หากพนักงานอัยการเห็นว่าประโยชน์สาธารณะจะไม่ ถูกกระทบหากอนุญาตให้มีการประเมินในขั้นต่อไปถึงความเหมาะสมของการเบี่ยงเบนคดี ก็ให้แจ้งเป็น ลายลักษณ์อักษรไปยังผู้ถูกฟ้องคดีเพื่อขอความยินยอมในการส่งเรื่องให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (Local Authorities) พิจารณาถึงความเหมาะสมของการเบี่ยงเบนคดี207 ถ้าหากผู้ถูกฟ้องคดียินยอม เข้าสู่กระบวนการประเมิน เจ้าหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้แก่ เจ้าหน้าที่ในส่วนงานสังคม สงเคราะห์ด้านกระบวนการยุติธรรมอาญา (CJSW) จะเป็นผู้พิจารณาเรื่องที่พนักงานอัยการส่งมาและ ประเมินว่า สมควรจะให้เบี่ยงเบนคดีให้ผู้ถูกฟ้องคดีหรือไม่ โดยพิจารณาจากรายงานคดีของเจ้าหน้าที่ ตำรวจและเหตุผลประกอบของพนักงานอัยการในการส่งเรื่องมายังองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประเมิน ซึ่งถ้าหากเจ้าหน้าที่ดังกล่าวเห็นว่ามีความเหมาะสมที่จะเบี่ยงเบนคดี ก็จะแจ้งผลการประเมินให้ พนักงานอัยการทราบ พร้อมทั้งกำหนดโปรแกรมการทำงานที่ผู้ถูกฟ้องคดีต้องทำเพื่อทดแทนการฟ้องคดี รวมถึงผลที่คาดว่าจะได้รับจากโปรแกรมการทำงานดังกล่าว208ซึ่งเมื่อผู้ถูกฟ้องคดีทำงานครบถ้วนตาม 203ในสกอตแลนด์ แม้กฎหมายจะเปิดโอกาสให้มีการฟ้องคดีโดยประชาชน แต่ในทางปฏิบัติแล้ว แทบไม่เคยเกิดขึ้น เนื่องจากประชาชน ที่ประสงค์จะฟ้องคดีเองจะต้องได้รับอนุญาตจากศาลสูง (The High Court of Justiciary) โดยต้องแสดงเห็นว่ามีเหตุจำเป็นอย่างยิ่ง (Exceptional circumstance) ที่สมควรจะอนุญาตให้ประชาชนฟ้องคดีได้ เช่น อธิบดีอัยการ (Lord Advocate) สั่งไม่ฟ้องคดี และ ผู้ฟ้องคดีเป็นผู้มีส่วนได้เสียเป็นการเฉพาะและเป็นพิเศษ (A Particular and Special Interest) ที่จะเป็นผู้ฟ้องคดีโดยประชาชน รายละเอียดเพิ่มเติม โปรดดู Law Society of Scotland, ‘Petition PE 1633: Private Criminal Prosecution in Scotland’ (2018), pp.6-7. 204Frazer McCallum, ‘The Scottish Criminal Justice System: The Public Prosecution System’ (The Scottish Parliament Information Centre 2016), p.2. 205Shetland Community Justice Partnership, ‘A Summary of Community Options: Alternatives to Prosecution, Alternatives to Remand Alternatives to Custody (2017), p.16. 206Community Justice Scotland, ‘National Guidelines on Diversion from Prosecution in Scotland’ (2020), p.5. 207Ibid p.5. 208Community Justice Scotland, supra note 206, p.8.
54 โปรแกรมที่กำหนดไว้ก็ให้ CJSW แจ้งให้พนักงานอัยการทราบเพื่อยุติการฟ้องคดีต่อไป209 ทั้งนี้ CJSW อาจจะกำหนดมาตรการอื่นให้ผู้ถูกฟ้องคดีเข้าร่วมเพื่อเบี่ยงเบนคดีด้วยก็ได้ เช่น เข้าร่วมในกระบวนการ ยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ (Restorative Justice (RJ))210 ในรูปแบบของการประนอมข้อพิพาทระหว่าง ผู้เสียหายและผู้กระทำความผิด (Victim-Offender Mediation)211 ในกรณีที่ผู้ถูกฟ้องคดียินยอมในการเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ ประชาชนก็อาจ เข้ามามีส่วนร่วมเป็นผู้นำในกระบวนการประนอมข้อพิพาท (Facilitator) ขององค์กรพัฒนาเอกชน (NGOs) ที่เป็นผู้ให้บริการกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ (Restorative Justice Service Providers)212 อย่างไรก็ตาม มีข้อสังเกตว่า ประชาชนที่จะมาทำหน้าที่เป็น Facilitator มิใช่อาสาสมัคร โดยทั่วไป แต่จะต้องได้รับการฝึกอบรมจาก RJ Service providers และต้องเป็นผู้ที่มีคุณสมบัติและ ความสามารถตามที่กำหนดไว้ใน Guidance for the Delivery of Restorative Justice in Scotland ซึ่งจัดทำโดยรัฐบาลสกอตแลนด์213 นอกจากการมีส่วนร่วมในกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์แล้ว ประชาชนอาจเข้ามาเป็น อาสาสมัครในการช่วยดูแลเหยื่อหรือผู้เสียหายจากการกระทำผิดได้ ผ่านองค์กรที่ทำหน้าที่ในเรื่องดังกล่าว (Victim Support Organizations) เช่น Visit Support Scotland ซึ่งเป็นองค์กรการกุศลรายสำคัญ ที่ทำหน้าที่ในการช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากอาชญากรรมในสกอตแลนด์214 ทั้งนี้ ในส่วนขององค์กร อัยการมีการตั้งศูนย์บริการข้อมูลและคำแนะนำสำหรับผู้เสียหายในคดีอาญา (Victim Information and Advice (VIA) Service) ประจำในศาล เพื่อช่วยเหลือผู้เสียหายเกี่ยวกับการดำเนินกระบวนพิจารณาในศาล โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้เสียหายที่เป็นผู้เปราะบาง (Vulnerable Victim) หรือผู้ที่ต้องได้รับการช่วยเหลือ เป็นพิเศษ เช่น เด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี ผู้สูงอายุ เหยื่อจากการถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว หรือความผิดเกี่ยวกับเพศ เป็นต้น215 บริการของ VIA โดยหลักแล้วจะเกี่ยวกับการให้ข้อมูลและความรู้ ความเข้าใจแก่เหยื่อหรือผู้เสียหายเกี่ยวกับการดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลในแต่ละขั้นตอน และ ช่วยเหลือหรืออำนวยความสะดวกแก่ผู้เสียหายและพยานในการจัดมาตรการพิเศษสำหรับพิจารณาคดี 209ibid p.10. 210ibid p.8. 211The Scottish Government, Guidance for the Delivery of Restorative Justice in Scotland (2017), p.6. 212Restorative Justice Service Providers (RJ Service Providers) มีหน้าที่หลักในการฝึกอบรมผู้ที่ทำหน้าที่เป็น facilitator และ จัดทำบันทึกการประชุมระหว่างผู้เข้าร่วมประนอมข้อพิพาท (participants) แจ้งให้ผู้เข้าร่วมประนอมข้อพิพาททราบถึงผลการประนอม ข้อพิพาท และรายงานความคืบหน้าการดำเนินการตามข้อตกลงที่เกิดขึ้นจากการประนอมข้อพิพาทให้ผู้เข้าร่วมทราบ ทั้งนี้ RJ Service Providers ในสกอตแลนด์จะมีทั้งส่วนที่ให้บริการโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และ NGOs โดย NGOs รายสำคัญที่ทำหน้าที่ RJ Service Providers ได้แก่ Safeguarding Communities Reducing Offending (SACRO) 213Victims and Witnesses (Scotland) Act 2014, s 5. 214Victim Support Scotland, ‘Empowering people affected by crime’ (2022) <https://victimsupport.scot> accessed 17 July 2022. 215Crown Office & Procurator Fiscal Service, ‘Victim Information and Advice (VIA) Service’ (2022) <https://www.copfs.gov.uk/services/victim-services/victim-information-and-advice-via-service/> accessed 18 July 2022.
55 เช่น การสืบพยานทางจอภาพ เพื่อไม่ให้ผู้เสียหายเห็นตัวผู้ถูกกล่าวหาในขณะให้การในศาล การพิจารณาคดีโดยอนุญาตเฉพาะคนใกล้ชิดกับผู้เสียหายในการเข้ามาฟังการพิจารณาเพื่อลด ความเครียดหรือกังวลของผู้เสียหายที่เป็นผู้เปราะบาง เป็นต้น216 และหากเหยื่อหรือผู้เสียหายต้องการ การช่วยเหลือเยียวยาด้านจิตใจหรือเรื่องอื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวกับคดีโดยตรง ก็จะมีการประสานงานส่งเรื่องให้ องค์กรภาคเอกชนที่ทำหน้าที่ในการดูแลเหยื่อหรือผู้เสียหายจากการกระทำผิดเข้ามาดูแลต่อไป217 การมีส่วนร่วมของประชาชนในการปฏิบัติงานของอัยการในสกอตแลนด์อาจจะปรากฏ ในรูปของการเป็นกรรมการจากภาคประชาชนในคณะกรรมการบริหารองค์กรอัยการ (An Executive Board of Crown Office & Procurator Fiscal Service) ทำหน้าที่ในการกำกับดูแลการบริหารจัดการ องค์กรอัยการแห่งสกอตแลนด์ในภาพรวม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการกำหนดนโยบายและการบริหารงาน บุคคลขององค์กร ซึ่งคณะกรรมการดังกล่าวมี Crown Agent เป็นประธานกรรมการ Deputy Crown Agent 3 คน (ด้านกิจการศาลท้องถิ่น ด้านสังคม และด้านสนับสนุนการปฏิบัติงาน อย่างละ 1 คน) Deputy Chief Executive 1 คน และกรรมการภายนอกที่ไม่ได้เป็นผู้บริหาร (Non-executive Director) 5 คนซึ่งมาจากภาคประชาชน218 6.3 การมีส่วนร่วมของประชาชนในชั้นศาล ในชั้นการพิจารณาของศาล ประชาชนในสกอตแลนด์สามารถเข้ามามีส่วนร่วมในการพิจารณา คดีอาญาได้ในฐานะลูกขุน (Juries) ในส่วนของการพิจารณาชี้ขาดปัญหาข้อเท็จจริง โดยมองว่าการนำ คณะลูกขุนมาร่วมพิจารณาคดีเป็นการช่วยคุ้มครองสิทธิของผู้ถูกกล่าวหามากยิ่งขึ้นและทำให้ กระบวนการยุติธรรมทางอาญามีความชอบธรรม เพื่อเข้ามาทดแทนการพิจารณาคดีแก่ผู้ถูกกล่าวหา แบบเดิม ซึ่งใช้วิธีการทรมาน (Trial by Ordeal) หรือการท้าสาบาน (Trial by Compurgation) เป็นหลัก219 อย่างไรก็ตาม คดีอาญาในสกอตแลนด์ที่ต้องมีคณะลูกขุนร่วมพิจารณาด้วย จะมีแต่เฉพาะคดีร้ายแรง (Serious Offenses) ซึ่งอยู่ในอำนาจการพิจารณาคดีของ Sheriff Court และ High Court of Justiciary220 216Crown Office & Procurator Fiscal Service, ‘Vulnerable victims and witnesses (special measures)’ (2022) <https://www.copfs.gov.uk/services/support-at-court/vulnerable-victims-and-witnesses/> accessed 18 July 2022. 217Crown Office & Procurator Fiscal Service, supra note 215. 218Crown Office & Procurator Fiscal Service, ‘Our leadership and structure’ (2022) <https://www.copfs.gov.uk/aboutcopfs/our-structure/> accessed 1 December 2022. 219Peter Duff, ‘The Scottish Criminal Jury: A Very Peculiar Institution’ (1999) 62 (2) Law and Contemporary Problems, p.173. 220ศาลในสกอตแลนด์ที่มีอำนาจในการพิจารณาคดีอาญา มีด้วยกัน 3 ศาล ดังนี้ 1. Justice of the Peace Court มีอำนาจในการพิจารณาคดีที่ไม่ร้ายแรง เช่น คดีทำร้ายร่างกายเล็กน้อย (minor assaults) คดีความผิดจราจร (Road Traffic Offense) คดีลักทรัพย์ธรรมดา (Petty Theft) โดยรูปแบบการพิจารณาคดีในศาลนี้ จะใช้การพิจารณา คดีแบบรวบรัด (Summary Procedure) ซึ่งไม่ต้องมีคณะลูกขุนร่วมพิจารณาคดีด้วย แต่ให้ผู้พิพากษาอาชีพพิจารณาคดีได้โดยลำพัง โดย ศาลนี้มีอำนาจในการพิพากษาลงโทษจำคุกได้สูงสุด ไม่เกิน 60 วัน หรือปรับไม่เกิน 2,500 ปอนด์ 2. Sheriff Court มีอำนาจในการพิจารณาคดีที่มีความร้ายแรงยิ่งขึ้นกว่าที่พิจารณาใน Justice of the Peace Court แต่ยังไม่ ร้ายแรงที่สุด (The most Serious Crimes) ซึ่งอยู่ในเขตอำนาจของ High Court of Justiciary รูปแบบการพิจารณาคดีในศาลนี้ จะมีทั้ง การพิจารณาคดีแบบรวบรัด ซึ่งไม่ต้องมีคณะลูกขุนร่วมพิจารณา แต่ให้ผู้พิพากษาอาชีพพิจารณาพิพากษาได้ โดยมีอำนาจในการพิพากษา
56 ที่จะต้องใช้การพิจารณาคดีในรูปแบบเคร่งครัด (Solemn Procedure) ซึ่งต้องให้ผู้พิพากษาอาชีพ พิจารณาคดีร่วมกับคณะลูกขุน จำนวน 15 คน โดยคณะลูกขุนที่จะเข้ามาร่วมในการพิจารณาคดีนั้นจะ ทำหน้าที่จะมาจากการสุ่มจากรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ซึ่งมีอายุระหว่าง 18 ปี ถึง 65 ปีโดยผู้ได้รับเลือก เป็นลูกขุนจะต้องเป็นผู้ที่ไม่รู้จักกับคู่ความมาก่อน โดยลูกขุนจะเป็นผู้ทำหน้าที่ชี้ขาดข้อเท็จจริงจาก ที่รับฟังพยานโจทก์และจำเลยว่าจำเลยได้กระทำผิดตามที่ถูกกล่าวหาหรือไม่ (Reach a Verdict) หลังจากที่คณะลูกขุนได้พิจารณาข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานในคดีจนครบถ้วน และได้ฟังคำอธิบาย จากผู้พิพากษาเจ้าของคดีแล้วในประเด็นข้อกฎหมายก่อนที่คณะลูกขุนจะลงมติว่าเชื่อว่าจำเลยกระทำ ผิดตามที่กล่าวหาหรือไม่221 นอกเหนือจากการมีส่วนร่วมในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาในรูปแบบต่าง ๆ ดังที่ได้กล่าว ไปแล้วข้างต้น ประชาชนในสกอตแลนด์อาจเข้ามามีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นในการจัดทำ แผนพัฒนาผลที่เกิดขึ้นจากงานด้านยุติธรรมชุมชน222 (Community Justice Outcomes Improvement plan) 223 ซึ่งถูกจัดทำขึ้นในแต่ละองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น224ซึ่งโดยทั่วไปจะบังคับใช้เป็นเวลา 3 ปี เพื่อประเมินผลว่าท้องถิ่นได้ดำเนินการเพื่อให้บรรลุผลตามที่กำหนดไว้ในกรอบการดำเนินการระดับชาติ ลงโทษจำคุกสูงสุดไม่เกิน 12 เดือนหรือปรับไม่เกิน 10,000 ปอนด์ และการพิจารณาคดีแบบเคร่งครัด (Solemn Procedure) สำหรับ ความผิดที่ร้ายแรงมากขึ้น ซึ่งต้องให้ผู้พิพากษาอาชีพร่วมพิจารณาคดีกับคณะลูกขุนจำนวน 15 คน ด้วย โดยในกรณีนี้ศาลมีอำนาจ พิพากษาลงโทษจำคุกได้สูงสุด ไม่เกิน 5 ปี แต่สามารถพิพากษาปรับได้โดยไม่จำกัด ทั้งนี้ พนักงานอัยการจะเป็นผู้ทำหน้าที่ในการพิจารณาเลือกใช้รูปแบบการพิจารณาคดีในศาลอาญา โดยพิจารณาจากความร้ายแรง ของความผิด (Seriousness of the Crime) 3. High Court of Justiciary มีอำนาจในการพิจารณาคดีที่มีความร้ายแรงสูงสุด (The Most Serious Crimes) เช่น ความผิดฐาน กบฏ ฆ่าผู้อื่น ข่มขืน ค้ายาเสพติด ความผิดเกี่ยวกับเพศที่เกี่ยวข้องกับเด็ก เป็นต้น รูปแบบการดำเนินคดีในศาลนี้ ต้องใช้การพิจารณาคดี แบบเคร่งครัด เท่านั้น จึงต้องมีคณะลูกขุนเข้ามาร่วมในการพิจารณาคดีทุกคดี สำหรับอำนาจในการพิพากษาลงโทษของศาลนี้มีไม่จำกัด 221Scottish Courts and Tribunals, ‘Participating in Jury Trials in Scotland’ (2022) <https://www.scotcourts.gov.uk/coming-to-court/jurors> accessed 18 July 2022. 222 งานด้านยุติธรรมชุมชน (Community Justice) ในที่นี้ หมายถึง งานที่เกิดจากการร่วมมือกันเพื่อทำหน้าที่ในการส่งเสริมและกำกับ ดูแลผู้กระทำความผิดในการกลับคืนสู่ชุมชน โดยให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรวมถึงภาคส่วนที่เกี่ยวข้องเป็นแกนกลางในการทำหน้าที่ ดังกล่าว เพื่อประโยชน์ในการป้องกันและลดการกระทำความผิดซ้ำ หรือระงับยับยั้งการกระทำผิด และสร้างความยอมรับของสังคมต่อตัว ผู้กระทำผิดที่ต้องการกลับคืนสู่สังคม ตัวอย่างของมาตรการทางกฎหมายที่ให้ท้องถิ่นมีส่วนในงานด้านยุติธรรมชุมชน เช่น การกำกับดูแล ผู้กระทำผิดซึ่งศาลมีคำสั่งให้ทำงานบริการชุมชน (Community Payback Order - CPO) โดยศาลอาจใช้ดุลพินิจในการออกคำสั่งดังกล่าว แทนการพิพากษาให้ผู้กระทำผิดรับโทษจำคุกได้ โดยพิจารณาจากรายงานการสืบเสาะข้อมูลเกี่ยวกับผู้กระทำผิดซึ่งประกอบไปด้วย ลักษณะของการกระทำผิด ประวัติการกระทำผิด ความเสี่ยงในการกระทำผิดซ้ำ ความต้องการที่จะแก้ไขการกระทำผิดของตน สุขภาพและ ความเป็นอยู่ของผู้กระทำผิด รายงานดังกล่าวจัดทำขึ้นโดยนักสังคมสงเคราะห์ซึ่งได้รับมอบหมายจากองค์ปกครองส่วนท้องถิ่น หากศาล พิจารณาแล้วเห็นว่า ไม่สมควรให้ผู้กระทำผิดต้องรับโทษจำคุก เช่น เป็นผู้ที่กระทำผิดครั้งแรกหรือกระทำผิดเพราะอาการทางจิต ศาลอาจ มีคำสั่งให้ผู้นั้นทำงานบริการชุมชนแทนก็ได้ โดยอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของนักสังคมสงเคราะห์ ทั้งนี้ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอาจ เสนอความเห็นเกี่ยวกับงานที่ผู้กระทำผิดต้องทำให้ชุมชนด้วยก็ได้ นอกจากนี้ ศาลยังมีอำนาจในการออกคำสั่งให้ผู้กระทำผิดชดใช้ค่า สินไหมทดแทนให้แก่ผู้เสียหาย หรือกำหนดวิธีการเพื่อความปลอดภัยอย่างใดอย่างหนึ่งแก่ผู้กระทำผิด เช่น การห้ามเขตที่กำหนด รวมถึง การเข้ารับการบำบัด หากผู้กระผิดมีอาการทางจิตเวชหรือติดยาเสพติด 223Community Justice (Scotland) Act 2016, s 20 (6). 224ในปัจจุบันสกอตแลนด์มีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (หรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า Council) ทั้งหมด 32 แห่ง
57 เกี่ยวกับงานด้านยุติธรรมชุมชน (National Performance Framework in Relation to Community Justice) ที่จัดทำขึ้นโดย Community Justice Scotland225 หรือไม่ 226 ตามตัวชี้วัดที่ถูกกำหนดไว้ เช่น ผลในป้องกันและลดความเสี่ยงในการกระทำความผิดซ้ำในชุมชน อาจมีการกำหนดตัวชี้วัดโดย ทำการสำรวจทัศนคติตัวผู้กระทำผิดที่ต้องทำงานบริการชุมชนว่ามีทัศนคติเกี่ยวกับการกระทำผิด ที่เปลี่ยนแปลงไปหรือไม่ หรือจำนวนคดีที่ศาลมีคำสั่งให้ใช้มาตรการยุติธรรมชุมชนแทนโทษจำคุก ในท้องถิ่นนั้น ๆ 227 ทั้งนี้ตาม Community Justice (Scotland) Act 2016 ได้กำหนดให้กลุ่มบุคคลองค์กรที่ เรียกว่า Community Justice partners ซึ่งประกอบด้วยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับแต่ละท้องถิ่น ได้แก่ ตำรวจ คณะกรรมการสาธารณสุข คณะกรรมการบูรณาการด้านสาธารณสุขและการดูแลสังคม องค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น ศาล หน่วยงานดับเพลิงและกู้ภัย หน่วยงานพัฒนาทักษะด้านแรงงาน หน่วยงาน ของ Scottish Ministers เช่น องค์กรอัยการ หน่วยงานราชทัณฑ์228 เป็นผู้มีหน้าที่ในการจัดทำแผน ดังกล่าว (แผน 3 ปี) โดยต้องเปิดโอกาสให้ประชาชนและหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องในท้องถิ่นเข้ามามี ส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นเพื่อจัดทำแผนด้วย229 นอกจากนั้นแล้ว Community Justice Partners ยังต้องจัดทำรายงานประจำปีในการ ดำเนินการให้เป็นไปตาม Community Justice Outcomes Improvement Plan เสนอ Community Justice Scotland เพื่อพิจารณาด้วย ซึ่งก็ต้องมีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องในท้องถิ่นเช่นกัน230 เมื่อ Community Justice Scotland พิจารณาแล้วเห็นว่า มีข้อเสนอแนะแก่ท้องถิ่นเพื่อให้ดำเนินการเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ในกรอบการดำเนินการ ระดับชาติเกี่ยวกับงานด้านยุติธรรมชุมชน หรือแผน Community Justice Outcomes Improvement Plan ของแต่ละท้องถิ่น Community Justice Scotland ก็จะจัดทำข้อแนะนำเป็นลายลักษณ์อักษร (Local Improvement Recommendations) เพื่อให้ท้องถิ่นดำเนินการ231 โดยผลลัพธ์ที่คาดว่า จะได้รับจากการดำเนินงานด้านยุติธรรมชุมชนที่ดำเนินการโดยท้องถิ่นอาจปรากฏได้ในหลายลักษณะ เช่น ผลดีต่อชุมชนในแง่ของการป้องกันและลดความเสี่ยงในการกระทำความผิดในชุมชน 225Community Justice Scotland จัดตั้งขึ้นโดย Community Justice (Scotland) Act 2016 มีภารกิจสำคัญในการกำหนดยุทธศาสตร์ ระดับประเทศเพื่อพัฒนางานยุติธรรมชุมชน กำกับดูแลและส่งเสริมสนับสนุนการดำเนินงานด้านยุติธรรมชุมชนในแต่ละท้องถิ่น ตลอดจน สร้างความตระหนักแก่ประชาชนถึงประโยชน์ที่ได้รับ หากมีการนำมาตรการด้านยุติธรรมชุมชนมาใช้แทนการลงโทษจำคุก หรือการ ช่วยเหลือหรือดูแลผู้กระทำผิดมิให้กระผิดซ้ำ 226Community Justice (Scotland) Act 2016, s 19 (2). 227The Scottish Government, ‘Community Justice Outcomes, Performance and Improvement Framework’ (2016), pp.35-36. 228Community Justice (Scotland) Act 2016, s 13 (1). 229Community Justice (Scotland) Act 2016, s 20. 230ibid s 23. 231Community Justice (Scotland) Act 2016, s 29.
58 ผลดีต่อหน่วยงานในท้องถิ่นที่จะสามารถสร้างความร่วมมือกับประชาชนในท้องถิ่นเพื่อประโยชน์ในการ จัดทำบริการสาธารณะต่าง ๆ หรือผลดีต่อประเทศในภาพรวมที่มีชุมชนเข้มแข็งและสามารถจัดการ กับปัญหาต่าง ๆ ที่มีผลกระทบต่อชุมชนได้ด้วยตัวเอง เป็นต้น232 232ตัวอย่างของผลลัพธ์อื่น ๆ ที่คาดว่าจะได้รับจากการดำเนินงานด้านยุติธรรมชุมชนที่ดำเนินการโดยท้องถิ่น ซึ่งถูกกำหนดไว้ใน Community Justice Outcomes, Performance and Improvement Framework โปรดดู The Scottish Government, supra note 227, p.65.
59 ตัวอย่าง Community Justice Outcomes Improvement Plan 2017-2020 ของ Angus Council ในสกอตแลนด์ ANGUS COMMUNITY JUSTICE OUTCOMES IMPROVEMENT DELIVERY PLAN National Outcome: Effective interventions are delivered to prevent and reduce the risk of further offending 233 What Needs To Change (Outcomes) How Will Change be Delivered (Outputs) Lead Agency /Partner Involvement Indicators/Measures 12. Tailored interventions will be further developed for and with individuals to reduce re-offending 12.1 Review integrated needs assessment tool for offenders and their families 12.2 Develop the capacity of the community and third sector to increase the range and quality of interventions 12.3 Focus resource allocation on evidencebased early intervention and targeted prevention 12.4 Further develop and raise awareness of diversion from prosecution options 12.5 Reduce the use of custodial sentences and remand 12.6 Use “problem-solving courts” to develop innovative practice 12.7 Apply the good information sharing practices developed through MAPPA to lower tariff cases Community Justice Partnership Angus Council (CJSW) COPFS SCTS The Judiciary Police Scotland Examples of quality needs assessments leading to effective disposals Number and type of programmes dealing with offenders Evidence of improved CJ Outcomes Number of police/fiscal diversion measures Number of community disposals Number of people held on remand Number of short-term prison sentences under one year 233Angus Council, ‘ANGUS COMMUNITY JUSTICE OUTCOMES IMPROVEMENT PLAN 2017 -2020’ (2017), p.36.
60 7. ประเทศอังกฤษ การมีส่วนร่วมของประชาชนในอังกฤษ ถือเป็นแนวคิดในเรื่องของประชาชนมีส่วนร่วม ในกระบวนการยุติธรรมตั้งแต่ในอดีต ดังนั้นประชาชนจึงมีส่วนร่วมตั้งแต่การฟ้องคดี234 รวมถึงมีอำนาจ ในการรักษาความสงบเรียบร้อยให้กับสังคม เช่นเดียวกับตำรวจ (Constable) อำนาจในการเป็นศาล magistrate ที่เรียกว่า “Lay Magistrate” และในส่วนของคดีร้ายแรง เช่น คดีที่ต้องพิจารณาโดยคณะ ลูกขุน (Trial on Indictment)235 ประชาชนมีส่วนในการเป็นคณะลูกขุน (Jury) ทั้งนี้ ในกระบวนการ บังคับโทษ ที่ไม่ใช้เรือนจำ (Community Punishment) ประชาชนมีส่วนในการร่วมในมาตรการคุม ประพฤติบุคคลที่ศาลสั่งให้ต้องคุมประพฤติในชุมชนด้วย 7.1 การมีส่วนร่วมของประชาชนในชั้นตำรวจ ในอังกฤษ การบังคับคดีเพื่อจะนำมาฟ้องต่อศาลนั้นมีความแตกต่างจากระบบในยุโรปที่ให้ พนักงานอัยการทำหน้าที่สอบสวนและฟ้องคดี แต่ในอังกฤษนั้นเจ้าพนักงานตำรวจและเจ้าหน้าที่ ที่บังคับให้เป็นไปตามกฎหมายแต่ละฉบับจะเป็นผู้จับกุม ปราบปราม และฟ้องคดีต่อศาล เพื่อดำเนินคดี แก่ผู้กระทำความผิดแต่จะมี Director of Public Prosecution เป็นผู้ให้ความเห็นทางกฎหมายว่าจะ ฟ้องในข้อหาใด และต้องเตรียมคดีอย่างไร ในส่วนของประชาชนที่จะมีส่วนร่วมกับตำรวจอังกฤษในการป้องกันและปราบปรามการกระทำ ความผิด เป็นหลักที่เรียกว่า “ตำรวจชุมชน” (Community Police) โดยองค์กรตำรวจจะร่วมมือกับ ประชาชนในการเฝ้าระวังอาชญากรรม ซึ่งในปัจจุบันอังกฤษและสกอตแลนด์ได้จัดทำโครงการเพื่อส่งเสริม ให้เยาวชน (อายุตั้งแต่ 8-18 ปี) สามารถเข้าเป็นอาสาสมัครร่วมกับตำรวจในการป้องกันอาชญากรรมได้ ในโครงการชื่อว่า Police Scotland Youth Volunteers236 ซึ่งสนับสนุนให้ตำรวจในท้องถิ่นร่วมกับ ประชาชนที่เป็นอาสาสมัครร่วมกันแลกเปลี่ยนประสบการณ์เพื่อจะดำเนินการให้ขยายไปในระดับชาติ โครงการดังกล่าวเป็นการเตรียมความพร้อมให้แก่เยาวชนเพื่อจะมีส่วนร่วมกับตำรวจโดยการฝึกอบรม อาสาสมัครร่วมกันระหว่างตำรวจกับประชาชนที่มีประสบการณ์ในการป้องกันและปราบปราม แต่เยาวชนที่เข้ามาร่วมโครงการไม่จำเป็นต้องมาประกอบอาชีพตำรวจ เพียงแต่ต้องการสร้างความ ตระหนักของประชาชนในการมีส่วนร่วมในการรักษาความสงบเรียบร้อย การประสานงานระหว่าง ตำรวจกับประชาชนต่อไป เป้าหมายของโครงการดังกล่าวมีสี่ประการ คือ ประการแรก เป็นการสร้างความเข้มแข็งของชุมชนให้มีความน่าเชื่อถือผ่านทางผู้นำเยาวชนและ กระบวนการทางสังคม ประการที่สอง เป็นการป้องกันเยาวชนไม่ให้ถูกชักนำพฤติกรรมเชิงต่อต้านสังคม ประการที่สาม สร้างความเชื่อมั่นศรัทธาระหว่างเยาวชน สังคม และตำรวจ 234See J.R Spencer, Jackson’s Machinary of Justice, (Cambridge: Cambridge University Press, 1989), pp.20-21. 235See John Sprack, Emmins on Criminal Procedure, 9 th edn (Oxford: Oxford University Press, 2002), pp.56-63. 236<https://vpc.police.uk/about-us> accessed 31 July 2022
61 ประการสุดท้าย รับฟังความเห็นของเยาวชนที่จะมีต่อสังคมที่กำลังจะเปลี่ยนแปลงไป ส่วนการทำงานของตำรวจในอังกฤษ มีตำรวจอาชีพและมีอาสาสมัครของชุมชนเข้ามาร่วมในการ ป้องกันอาชญากรรมและการรักษาความสงบเรียบร้อย 237 จากสถิติในปี ค.ศ. 2021 ตำรวจในอังกฤษมี 135,301 คน ในเขตทั้งหมด 43 เขต ทั้งนี้ มีหน่วยต่าง ๆ ประกอบด้วย police officers, police staff, Police Community Support Officers (PCSOs), designated officers, special constables and Police Support Volunteers (PSVs) ซึ่งมีอาสาสมัครที่เข้ามาช่วยงานตำรวจถึงปีละ 8,000 คนทั่วประเทศ การคัดเลือกผู้ที่จะทำหน้าที่ Police Community Support officer (PCSOs)238 ไม่ได้มีหลักเกณฑ์ เข้มงวดแต่อย่างใด เพราะถือเป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนหรือเยาวชนที่สนใจเข้ามาร่วมเป็นเจ้าหน้าที่ ช่วยเหลืองานของตำรวจซึ่งใช้การสมัครเข้ามาทำงาน โดยจะต้องได้รับการฝึกอบรมแล้วจึงเข้าทำหน้าที่ได้ อาสาสมัครเหล่านี้จะได้รับค่าตอบแทนในการทำงานด้วย ผู้ที่ทำหน้าที่ เป็น PCSOs ทำหน้าที่ช่วยเหลือตำรวจในการพูดคุยกับประชาชน ให้การสนับสนุน พนักงานเจ้าหน้าที่ ป้องกันอาชญากรรม ช่วยเหลือในการจราจร หรือควบคุมคนที่มีพฤติกรรมที่เป็น อันตรายต่อสังคม ทั้งนี้เพื่อทำให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างตำรวจและประชาชน แต่ไม่มีอำนาจจับ หรือค้นบุคคล การทำงานอาจเป็นการทำงานเต็มเวลาหรือ บางเวลาก็ได้ แต่อย่างน้อยก็ต้องทำเป็นเวลา 36 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ แต่บางตำแหน่งต้องทำงานตลอดยี่สิบสี่ชั่วโมง239 7.2 การมีส่วนร่วมของประชาชนในชั้นอัยการ หลักการฟ้องคดีของอังกฤษ เป็นการฟ้องคดีอาญาโดยประชาชน (Popular Prosecution) ดังนั้น แม้ประชาชนคนนั้นจะไม่ได้เป็นผู้เสียหายก็สามารถที่จะฟ้องคดีได้ โดยไม่มีเงื่อนไขว่าต้องเป็น เรื่องที่พนักงานอัยการหรือตำรวจไม่ฟ้องก่อน ทั้งนี้ เพราะอังกฤษถือหลักว่าประชาชนมีส่วนในการฟ้อง คดีเพื่อนำคำฟ้องมาสู่ศาลให้ศาลดำเนินกระบวนพิจารณาหาผู้กระทำความผิด 240 การดำเนินคดีของ ประชาชนจึงเป็นเอกเทศต่างหากจากตำรวจหรือพนักงานอัยการ 237<https://www.gov.uk/government/statistics/police-workforce-england-and-wales-31-march-2021> accessed 31 July 2022 238พัฒนาการของการมีอาสาสมัครช่วยเหลือตำรวจ ตามโครงการนี้เกิดจากการศึกษาและปฏิรูปตำรวจจนมีกฎหมาย The Police Reform Act 2002 ซึ่งเดิมเห็นว่าอาสาสมัครดังกล่าวไม่เหมาะสม แต่ต่อมาเห็นว่าเป็นโครงการที่ดี และช่วยเหลือตำรวจในการรักษาความ สงบเรียบร้อยเป็นผลดีโดยเฉพาะการลดการก่อการไม่สงบคนในสังคมและการพัฒนาคุณภาพชีวิต การลดความกลัวว่าจะเกิดอาชญากรรม และเพิ่มความมั่นใจว่าสังคมมีความปลอดภัย เพิ่มความเชื่อมั่นของประชาชนที่มีต่อตำรวจ และพัฒนาสังคม See Tuffin R, Morri J and Poole A, An Evaluation of the Impact of the National Reassurance Policing Programme, (London: Home Office, UK Government, 2006), p.13. 239<https://www.met.police.uk/car/careers/met/pcso/pcso-overview> accessed 27 October 2022 240หลัก Popular Prosecution ซึ่งให้ประชาชนมีหน้าที่อำนวยความยุติธรรมโดยสามารถนำคดีอาญาฟ้องต่อศาลได้
62 อย่างไรก็ดี ในปี ค.ศ. 1985 อังกฤษเห็นว่าการฟ้องคดีอาญาเป็นเรื่องสำคัญ ควรต้องมีหน่วยงาน ของรัฐเข้ามาดูแลเพื่อให้การฟ้องคดีเป็นไปอย่างเป็นเอกภาพ จึงจัดตั้งหน่วยงานเข้ามารับผิดชอบ คดีอาญาที่สำคัญคือ Crown Prosecution Service และกำหนดให้มีอำนาจในการฟ้องคดีอาญาที่สำคัญ บางคดีตามที่กฎหมายกำหนด241 7.3 การมีส่วนร่วมของประชาชนในชั้นศาล แยกเป็นศาลสองระดับ คือศาล Magistrate Court และศาล Crown Court หากเป็นการดำเนิน กระบวนพิจารณารวบรัด ซึ่งใช้กับคดีที่มีโทษจำคุกไม่เกินสามปี เป็นการดำเนินคดี Summary trial ผู้พิพากษาจะมีได้สองกรณี คือ Lay Magistrate เป็นองค์คณะผู้พิพากษาที่เป็นคนธรรมดาชี้ขาดทั้ง ข้อเท็จจริงและการลงโทษ องค์คณะของ Justice of the Peace มีจำนวนสามคน เป็นประชาชนที่ อาสาสมัครที่เข้ามาและได้รับการฝึกอบรมให้สามารถพิจารณาและพิพากษาได้ และมีนักกฎหมายที่ให้ คำปรึกษาแนะนำ อีกกรณีหนึ่งเป็นผู้พิพากษาอาชีพคนเดียวชี้ขาดทั้งข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย และ กำหนดโทษ ส่วนการดำเนินคดีของกระบวนพิจารณาที่เรียกว่า Trial on Indictment ซี่งเป็นคดีที่มีอัตรา โทษสูง (เกินกว่าอัตราโทษจำคุกสามปี) การวินิจฉัยข้อเท็จจริงเพื่อจะชี้ขาดว่าจำเลยกระทำความผิดตาม ฟ้องหรือไม่ เป็นบทบาทของคณะลูกขุน (Jury) โดยคณะลูกขุนซึ่งจะได้รับเลือกมาจากประชาชนในพื้นที่นั้น จำนวน 12 คน242 เพื่อรับฟังพยานหลักฐานทั้งโจทก์และจำเลย และประชุมลงมติว่าจำเลยกระทำ ความผิดหรือไม่ ซึ่งมติดังกล่าวจะต้องเอกฉันท์ แต่ถ้าไม่สามารถหามติที่เอกฉันท์ได้ก็จะต้องเป็นเสียงข้างมาก คือ 10 ใน 12 จึงจะถือว่าเป็นมติว่าจำเลยกระทำความผิด หากมีมติไม่ถึงจำนวนดังกล่าวก็ต้องถือว่า จำเลยไม่ได้กระทำความผิด จากนั้นศาลจะเป็นผู้กำหนดโทษจำเลยตามหลัก Sentencing Process243 แต่เนื่องจากการกำหนดโทษของฐานความผิดแต่ละฐานกำหนดโทษไว้กว้างมากไม่ได้กำหนดโทษจำคุก ขั้นต่ำไว้ ดังนั้นเพื่อให้เกิดลงโทษไว้เป็น Sentencing Guideline ไว้เพื่อเป็นแนวทางการลงโทษ ทั้งในศาล Magistrate Court และศาล Crown Court ส่วนการดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลสูงจะไม่มีการมีส่วนร่วมของประชาชน เป็นการพิจารณา โดยองค์คณะผู้พิพากษาเท่านั้น กระบวนการได้มาซึ่งคณะลูกขุน มีการดำเนินการดังนี้244 1) เป็นบุคคลที่มีสิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้ โดยมีอายุไม่ต่ำกว่าสิบแปดปีและไม่ เกินเจ็ดสิบปี มีภูมิลำเนาในสหราชอาณาจักร และไม่มีลักษณะต้องห้ามตามส่วน 1 และส่วน 2 ของ 241See John Sprack, Emmins on Criminal Procedure, 9 thedn (Oxford: Oxford University Press, 2002), pp.56-63, Steve Uglow, Criminal Justice, 2 nd edn (London: Sweet and Maxwell, 2002), pp.190-195 242Juries Act 1974, section 1 243 See Stephen Seabrooke, And John Sprack, Criminal Evidence and Procedure: The Essential Framework, 2 nd edn (Blackstone Press,1999), pp. 341-412 244ibid.
63 Schedule 1 ซึ่งลักษณะต้องห้ามตาม ส่วนที่ 1 เป็นกรณีเป็นผู้เกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรม เช่น พิพากษารวมทั้ง magistrate หรือเป็นบุคลากรในกระบวนการยุติธรรม Law Clerk หรือเป็นบุคคล วิกลจริต ส่วนที่ 2 คือเป็นผู้มีประวัติอาชญากรรม เคยต้องคำพิพากษาให้จำคุก หรือกักและอบรม 2) Lord Chancellor จะเป็นผู้ออกหมายเรียกผ่านทางเจ้าหน้าที่ของศาล Crown Court โดย การสุ่มรายชื่อ และศาลก็ไม่ทราบว่าผู้ถูกเรียกนั้นจะมีคุณสมบัติต้องห้ามหรือไม่ และจะพิจารณาจาก ระยะทางที่ผู้นั้นจะมาทำหน้าที่เป็นลูกขุน 3) คณะลูกขุนจะมาเตรียมพร้อมที่จะปฏิบัติหน้าที่ ครั้งละ 30 คน แต่จะได้รับเป็นคณะลูกขุน เพียง 12 คน ทั้งนี้เพราะคู่ความอาจโต้แย้งคัดค้านลูกขุนเพราะมีเหตุตั้งรังเกียจได้ 4) การพิจารณาของคณะลูกขุนจะทำหน้าที่จนจบ และพิจารณาว่าจะออก verdict หรือไม่ โดย มติของคณะลูกขุนต้องเอกฉันท์ หากไม่เอกฉันท์ก็จะต้องเป็นเสียง 10 ใน 12 จึงจะถือว่าจำเลยผิด งานวิจัยเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในศาล คณะที่ปรึกษาจะขอยกตัวอย่างการประเมินผลเกี่ยวกับการที่ประชาชนเข้ามามีบทบาท ในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา โดยมีหนังสือ ชื่อ Participation in Courts and Tribunals: Concepts Realities and Aspirations, Editors Jessica Jacopson and Penny Cooper, ได้วิเคราะห์ขอบเขต ของการมีส่วนร่วมและข้อดี ข้อด้อยของการมีส่วนร่วมในกระบวนพิจารณาของศาล พอสรุปได้ดังนี้ 1) ขอบเขตของการมีส่วนร่วมในศาลเป็นนโยบายที่อังกฤษพยายามจะปฏิรูปศาลในโครงการ สร้าง “ระบบการบริหารกระบวนการยุติธรรมใหม่ที่ทำให้ผู้รับบริการได้รับประโยชน์ถ้วนหน้า” ทั้งนี้ มิได้แต่เพียงมุ่งอำนวยความยุติธรรมให้ทุกคนเข้าถึงได้ แต่รวมถึงการพัฒนาศักยภาพที่ให้ประชาชน มีส่วนร่วมอย่างมีประสิทธิภาพ ให้การพิจารณาเป็นไปโดยเปิดเผยและสามารถใช้ระบบเทคโนโลยี สารสนเทศได้ รวมถึงการให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายที่สามารถขอใช้บริการได้อย่างรวดเร็ว 2) จากการสัมภาษณ์ผู้ปฏิบัติงานด้านกฎหมายได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับการมีส่วนร่วม ในกระบวนการยุติธรรม ได้ข้อสรุปว่าหมายความถึงการให้ข้อมูลหรือข้อเท็จจริงแก่ศาล การได้รับข้อมูล ความคืบหน้าของการดำเนินคดี การมีทนายความช่วยเหลือ การได้รับการคุ้มครอง และไม่ต้องกลัวว่าจะ ถูกข่มขู่ในระหว่างการดำเนินคดี การบริหารจัดการมิให้เกิดความขัดข้องในการดำเนินกระบวนพิจารณา และการได้มาเบิกความในศาล 3) หน้าที่ของผู้รับบริการที่ศาลสามารถมีได้หลายลักษณะ ได้แก่ การมีส่วนร่วมในการใช้สิทธิ ของบุคคล การที่ศาลจะพิพากษาตัดสินควรขึ้นอยู่กับข้อมูลที่ผุ้รับบริการนำเสนอหรือชี้แจงต่อศาล ควรเปิดโอกาสให้ผู้รับบริการแสดงความเห็นร่วมและผลของการตัดสิน การมีส่วนร่วมในศาลทำให้เกิด ความรู้สึกที่ดีและความศรัทธาต่อการปฏิบัติหน้าที่ของศาล 4) อย่างไรก็ดี การมีส่วนร่วมของประชาชนที่มารับบริการนั้นย่อมจะมีความแตกต่างกัน เนื่องจากฐานะทางคดีมีต่างกัน เช่น จำเลยย่อมมีบทบาทในการมีส่วนร่วมแตกต่างจากพยานหรือ ผู้เสียหายในคดีอาญา เพราะมีผลประโยชน์หรือได้รับผลกระทบจากคำวินิจฉัยของศาลต่างกัน ซึ่งการมี ส่วนร่วมของแต่ละคนจะมีส่วนได้หรือส่วนเสียที่แตกต่างกัน
64 งานวิจัยอีกเรื่องหนึ่งของ Adam Crawford (2002) , Public Participation in Criminal Justice, ชี้ให้เห็นถึงแนวโน้มของการมีส่วนร่วมของประชาชนในอังกฤษ เริ่มลดลงเพราะในช่วงสอง ศตวรรษที่ผ่านมาระบบการดำเนินคดีอาญาได้พัฒนาไปในทางที่ต้องการใช้เจ้าพนักงานในกระบวนการ ยุติธรรมที่มาจากนักกฎหมายอาชีพ เพื่อทำให้งานด้านกระบวนการยุติธรรมมีความน่าเชื่อถือ เป็นธรรม มีความเป็นระบบราชการ และเน้นการบริหารกระบวนการยุติธรรมที่เน้นการควบคุมปราบปรามและ ป้องกันอาชญากรรม ซึ่งกลับเข้ามาสู่หลักการว่าต้องมีความเป็นมืออาชีพ (Professional) การมีส่วนร่วม ของประชาชนในการเฝ้าระวังอาชญากรรมกลับมีผลดีและประหยัดกว่าการติดตามปราบปรามผู้กระทำ ความผิด แต่ในทางตรงข้ามกับความเชื่อของสังคมหรือประชาชนทั่วไปกลับเห็นว่า การมีส่วนร่วมของ ประชาชนไม่ได้ทำให้เกิดค่าใช้จ่ายที่สูง การมีอาสาสมัครมิได้ทำให้เกิดค่าใช้จ่ายที่สูงกว่าการพัฒนา นักกฎหมายมืออาชีพแต่กลับได้ความยุติธรรมมาในสังคม อย่างไรก็ดี มีข้อสังเกตว่าการมีส่วนร่วมของ ประชาชนจะมีประสิทธิภาพและประชาชนมีส่วนร่วมมากในกรณีทีเป็นความผิดที่ไม่ร้ายแรงหากเป็น การกระทำโดยองค์กรอาชญากรรมหรือผู้มีอิทธิพล การมีส่วนร่วมของประชาชนจะมีน้อยเพราะเกิดจาก ความกลัวว่าจะเกิดภยันตรายแก่ตนหากเข้าไปมีส่วนร่วม จะเห็นว่าเดิมการมีส่วนร่วมของประชาชนมีมาตั้งแต่ในอดีต แต่ในปัจจุบันการดำเนินคดีอาญา เป็นหน้าที่ของเจ้าพนักงานและศาลในกระบวนการยุติธรรม โดยมีนักกฎหมายและผู้ประกอบวิชาชีพ กฎหมายเป็นหลัก แต่การมีส่วนของประชาชนในอังกฤษยังคงอยู่ในทุกขั้นตอนของกระบวนการยุติธรรม ทางอาญา 8. สหรัฐอเมริกา 8.1 การมีส่วนร่วมของประชาชนในชั้นตำรวจ ในสหรัฐอเมริกาได้มี Community Policing ซึ่งมีแนวคิดที่ว่าให้ประชาชนดูแลรักษาความสงบ สุขในสังคมด้วยกันเอง ซี่งแนวคิดในการปรับเปลี่ยนไปจากบทบาทของตำรวจสหรัฐอเมริกาที่ทำหน้าที่ รักษาความสงบเรียบร้อยและป้องกันอาชญากรรมในลักษณะที่หน่วยงานเดียวที่รับผิดชอบในการ ป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดไม่ได้เปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม แต่ต่อมาได้มี แนวคิดที่พัฒนาระบบตำรวจชุมชน ที่ให้ประชาชนในแต่ละชุมชนร่วมกับตำรวจในการแก้ไขปัญหา ในพื้นที่ของตนในชั้นแรกก่อน หากไม่สามารถดำเนินการได้จะต้องถึงกลไกของตำรวจ อันเป็นการสร้าง ความตระหนักและรับผิดชอบของประชาชนในชุมชนในการป้องกันอาชญากรรมด้วย245 245โปรดดูพัฒนาการและการเปรียบเทียบระบบตำรวจเดิมกับตำรวจชุมชนของสหรัฐอเมริกาใน See Jack R. Greene, “Community Policing in America, : Changing the Nature, Structure, and Function of the Police” in Winnie R and Laura W, Policies Processes and Decisions of Criminal Justice System, Vol 3 ,2000 <https://www.ncjrs.gov/criminal_justice2000/vol_3/03g.pdf> accessed 28 October 2022.
65 อย่างไรก็ดี ในทางปฏิบัติจะเห็นได้ว่าการดำเนินงานของตำรวจไม่ได้เป็นไปดังหลักการ ดังกล่าว246 เพราะความรู้สึกของตำรวจมีความแตกต่างกับตำรวจอังกฤษซึ่งมีความเห็นใจประชาชน แต่ในสหรัฐอเมริกาส่วนใหญ่ตำรวจจะมีการทำร้ายหรือทุบตีประชาชน247 จนเกิดข้อร้องเรียนในเรื่องการ ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบต่อผู้ว่าการมลรัฐ และผู้ว่าการมลรัฐต้องตั้งคณะกรรมการขึ้นมาตรวจสอบการ ทำงานของตำรวจ หากได้ความว่ามีมูลจะตัดเงินเดือนตำรวจคนนั้น หรือไม่ต่อสัญญาจ้าง ทั้งนี้ เพราะ ตำรวจในสหรัฐอเมริกามิได้เป็นข้าราชการแต่เป็นบุคลากรที่ท้องถิ่นจ้างมาเพื่อดูแลรักษาความสงบ เรียบร้อย การมีส่วนร่วมของประชาชนในชั้นตำรวจ มีอีกโครงการหนึ่งซึ่งมีลักษณะคล้ายกับอังกฤษ คือการมีอาสาสมัครร่วมป้องกันอาชญากรรม ที่เรียกว่า Neighbourhood Policing248 ซึ่งช่วยงานด้าน การป้องกันอาชญากรรมให้สามารถกระจายไปในทุกพื้นที่ของสหรัฐอเมริกาทั้งนี้ โครงการดังกล่าวได้รับ การประเมินว่าก่อให้เกิดประสิทธิภาพในการป้องกันอาชญากรรมและเสริมสร้างความรับรู้ของสังคม ในด้านการมีส่วนร่วมของประชาชนที่จะแก้ไขปัญหาให้แก่สังคมส่วนรวม ตัวอย่างที่มีโครงการ Neighourhood Policing ได้แก่ในนิวยอร์ค ซึ่งได้รับการประเมินว่า ประสบความสำเร็จในการเข้าถึงชุมชนและให้ประชาชนที่เข้ามาเป็นอาสาสมัครเข้ามาร่วมในการแก้ไข ปัญหาชุมชนและป้องกันอาชญากรรมร่วมกับตำรวจ แจ้งเบาะแส จัดการจราจร เป็นต้น อันเป็นการ สร้างความเชื่อมั่นและความไว้ใจของประชาชนที่มีต่อตำรวจ249 8.2 การมีส่วนร่วมของประชาชนในชั้นอัยการ ถึงแม้ว่าสหรัฐอเมริกาจะมีระบบคอมมอนลอว์ตามแนวทางอังกฤษ แต่การฟ้องคดีอาญานั้น มีพัฒนาการที่แตกต่างกันเพราะอังกฤษเปิดโอกาสให้ประชาชนฟ้องคดีอาญาได้ แต่ในสหรัฐอเมริกา ถือว่าการฟ้องคดีอาญาต้องเป็นหน้าที่ของพนักงานอัยการและเป็นพนักงานอัยการในแต่ละมลรัฐ เนื่องจากเป็นเรื่องที่รัฐจะต้องเข้ามาดูแลเพราะความผิดอาญามีผลกระทบต่อความสงบเรียบร้อย ของสังคม จึงไม่อาจที่ให้ประชาชนมาฟ้องร้องกันเอง เหมือนข้อพิพาททางแพ่ง พนักงานอัยการในสหรัฐอเมริกามีอำนาจหน้าที่คล้ายกับเยอรมันและญี่ปุ่น คือมีอำนาจในการ สอบสวนด้วยตนเอง และยังมีอำนาจในการฟ้องคดีอาญาที่เกิดขึ้นในต่างประเทศด้วย 246<https://www.americanbar.org/groups/crsj/publications/human_rights_magazine_home/2016-17-vol-42/vol-42-no1/legitimate-community-policing--how-citizen-participation-creates> accessed 31 July 2022. 247Gove, Tracey G. “Implicit Bias and Law Enforcement,” The Police Chief. October 2011: (78) 44–56. <http://www.policechiefmagazine.org/magazine/index.cfm?fuseaction=display_arch&article_id=2499& issue id=102011-37Gove> accessed 31 July 2022. 248See James Q Wilson, Geoge L Kelling, “Broken Window: The Police and Neighborhood Safety”, in Geoge F. Cole, Marc G. Gertz, Amy Bunger, The Criminal Justice System: Politics and Policies, 8 thedn (Belmont: Wadworth/Thomson learning, 2001), pp.128-139. 249Through neighborhood policing, officers perform their law enforcement duties while also embedding themselves into their communities as part of a team that works together to improve the safety and quality of life for everyone see <https://www1.nyc.gov/site/nypd/bureaus/patrol/patrol-landing.page> accessed 31 July 2022.
66 ส่วนเอกชนจะฟ้องคดีนั้นมาจากหลัก Private Prosecution หากเอกชนได้รับความเสียหาย ก็จะฟ้องคดีได้ อย่างไรก็ดี แนวทางของสหรัฐอเมริกาในคดีสิ่งแวดล้อมประชาชนอาจใช้สิทธิฟ้องแทนรัฐ ซึ่งเป็นพนักงานอัยการได้หากได้แจ้งให้พนักงานอัยการดำเนินคดีแล้ว พนักงานอัยการละเลยไม่ฟ้องคดี 8.3 การมีส่วนร่วมของประชาชนในชั้นศาล ในสหรัฐอเมริกา ประชาชนเข้ามาร่วมในกระบวนการชี้ขาดข้อเท็จจริงอยู่สองระดับ คือในชั้น ไต่สวนมูลฟ้อง เป็นองค์คณะ ที่เรียกว่า Grand Jury ส่วนอีกระดับหนึ่งคือ ในชั้นพิจารณาโดยคณะลูกขุน คือ Jury ในชั้นไต่สวนมูลฟ้องหาก Grand Jury เห็นว่าไม่มีมูลก็จะยกฟ้อง แล้วยุติคดี ไม่ส่งไปพิจารณา ที่ศาลต่อไป ส่วนในกรณีที่เห็นว่ามีมูล การพิจารณาข้อเท็จจริงจะเป็นหน้าที่ของ Petit Jury และเมื่อ คณะลูกขุนซึ่งคัดเลือกมาจากประชาชนได้มีมติว่ากระทำผิดจริงแล้วก็จะเป็นหน้าที่ศาลที่จะพิจารณา ปรับบทลงโทษ และกำหนดโทษต่อไป การได้มาซึ่งคณะลูกขุนใหญ่ (Grand Jury) ได้มาจากการลุ่มเลือกจากประชาชน และเมื่อเลือก มาแล้วจะต้องมีทำหน้าที่เป็น grand jury ตามเวลาที่กำหนดประมาณหนึ่งเดือน แต่โดยปกติการ พิจารณาแต่ละคดีจะใช้เวลาประมาณ 2-3 วันในแต่ละเดือน คณะลูกขุนใหญ่ที่จะประกอบด้วย คณะบุคคลหกถึงสิบสองคน แต่ในคณะลูกขุนใหญ่ระดับสหรัฐจะมีจำนวนสิบหกถึงยี่สิบสามคน เพื่อทำหน้าที่ไต่สวนข้อเท็จจริงก่อนนำคดีขึ้นสู่ศาลเพื่อพิจารณาคดีต่อไป คณะลูกขุนใหญ่จะพิจารณาพยานหลักฐานว่ามีหลักฐานถึงระดับน่าเชื่อโดยมีเหตุอันควรหรือไม่ (Probable Cause) ว่าจำเลยน่าจะเป็นผู้กระทำความผิด หากมีความน่าเชื่อดังกล่าวก็จะส่งเรื่องเข้าสู่ การพิจารณาคดีของศาลต่อไป ในกระบวนพิจารณาคดีแบบใช้ลูกขุน Indictment Trial ด้วยเหตุนี้ บทบาทของคณะลูกขุนใหญ่จึงเป็นบทบาทการมีส่วนร่วมของประชาชนในระบบประชาธิปไตยของรัฐ ที่จะให้หลักประกันต่อประชาชนทุกคนว่า หากจะต้องถูกดำเนินคดีในศาลแล้วต้องมีหลักฐานตามสมควร และผู้ที่จะกลั่นกรองข้อเท็จจริงเบื้องต้นคือองค์คณะของประชาชนได้แก่ Grand Jury ในการพิจารณา คดีของคณะลูกขุนใหญ่ สามารถเรียกบุคคลมาให้ถ้อยคำได้ และการลงมติให้มติเสียงข้างมากพิเศษ เช่น สองในสามหรือสามในสี่ขึ้นอยู่กับประเภทของคดี250 ส่วนคณะลูกขุนในการพิจารณาคดีTrial by Indictment ซึ่งมีที่มาจากระบบกฎหมายอังกฤษ ที่เป็นต้นแบบของระบบคอมมอนลอว์ คณะลูกขุนจะทำหน้าที่พิจารณาข้อเท็จจริงว่าคำฟ้องที่พนักงาน อัยการโจทก์ฟ้องมานั้นมีเหตุอันควรเชื่อว่าจำเลยกระทำความผิดหรือไม่ หากพิจารณาแล้วเห็นว่ากระทำ ความผิดก็จะลงมติว่าผิด และให้ผู้พิพากษาเป็นผู้พิจารณากำหนดโทษต่อไป การเป็นคณะลูกขน ในสหรัฐอเมริกาจึงถือเป็นการที่ประชาชนมีส่วนร่วมในการพิจารณาคดีในชั้นศาลรูปแบบหนึ่ง การได้มาของ Grand Jury จะคัดเลือกมาจากประชาชนที่มีคุณสมบัติที่จะมาเป็น jury จำนวน 12-16 คน โดยปกติจะขึ้นบัญชีไว้ไม่เกิน 120 วัน Grand Jury ทำหน้าที่หาข้อเท็จจริงในคดีอาญา 250See <https://www.thoughtco.com/grand-jury-in-the-united-states-3368320#> accessed 28 January 2023.
67 รวมถึงการประพฤติมิชอบหรือทุจริตของเจ้าหน้าที่ของรัฐด้วย การไต่สวนจะนำเสนอหลักฐานโดย พนักงานอัยการต่อ Grand Jury เพื่อให้ Grand Jury พิจารณาว่าจะส่งไปพิจารณาต่อหรือไม่ ส่วน State Grand Jury มีอำนาจเช่นเดียวกัน และศาลสูงสหรัฐอเมริกาจะเป็นผู้ออก กฎข้อบังคับในการพิจารณาของ Grand Jury251 สำหรับ Petit jury (หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Trial Jury) คือ คณะลูกขุนที่ชี้ขาดการกระทำ ความผิดของจำเลย โดยคณะลูกขุนจะร่วมการพิจารณากับผู้พิพากษาในห้องพิจารณาคดีที่กระทำ โดยเปิดเผยและพิจารณาพยานหลักฐานที่ฝ่ายโจทก์และจำเลยนำสืบต่อคณะลูกขุน จากนั้นคณะลูกขุน จะประชุมกัน เพื่อลงมติว่าจำเลยกระทำความผิดหรือไม่ ในห้องประชุมซึ่งกระทำเป็นการลับ กระบวนการในการพิจารณาคดีจะเริ่มด้วยการให้คณะลูกขุนต้องสาบานว่าจะพิจารณาคดีอย่าง เป็นธรรม หลังจากนั้นพนักงานอัยการและทนายความของจำเลยจะแถลงเปิดคดี ต่อมาพนักงานอัยการ โจทก์จะนำพยานโจทก์เข้านำสืบ และให้จำเลยนำพยานเข้าสืบและซักค้านพยานโจทก์ได้ ซึ่งพนักงาน อัยการโจทก์ก็สามารถซักค้านพยานจำเลยได้เช่นกัน หลังจากนั้นโจทก์และจำเลยจะแถลงปิดคดี เมื่อสืบพยานเสร็จ ผู้พิพากษาจะอธิบายองค์ประกอบของความผิดที่ฟ้องให้ Petit Jury ฟังเพื่อจะให้ Petit jury นำไปพิจารณาร่วมกัน หลังจากนั้น Petit Jury จะออกจากห้องพิจารณาและไปประชุมใน อีกห้องหนึ่ง เพื่อลงมติว่าจำเลยได้กระทำผิดตามที่ถูกกล่าวหาหรือไม่ (Verdict)252 การลงมติของ Petit Jury โดยหลักแล้วต้องมีมติเอกฉันท์ โดยคณะลูกขุนแต่ละคนจะต้องแสดง ความเห็นของตนและไม่อาจงดเว้นออกเสียงได้ ทุกคนต้องมีหน้าที่ออกความเห็นในเรื่องที่จะลงมติ โดยต้องพิจารณาจากข้อเท็จจริงที่ได้ในการพิจารณา อีกทั้งต้องมีความระมัดระวังที่จะไม่ได้รับอิทธิพล จากสื่อมวลชนหรือข้อมูลที่ได้จาก Internet ที่ตนได้รับรู้เรื่องดังกล่าว และเมื่อได้แจ้งมติในการวินิจฉัย ต่อผู้พิพากษาแล้ว คณะลูกขุนจะหมดภาระในการดำเนินคดีในเรื่องนั้น แต่มีข้อห้ามที่จะต้องไม่เปิดเผย เรื่องที่ตนทำการพิจารณาแก่ผู้ใด และต้องปฏิเสธไม่ให้สัมภาษณ์หรือแสดงความเห็นในเรื่องนั้น ๆ253 แนวคิดในการมีลูกขุนมาพิจารณาคดี ถือเป็นหลักประกันสิทธิและเสรีภาพของจำเลยที่จะได้รับ การพิจารณาจากคณะลูกขุนตามหลักประชาธิปไตย เพราะการอำนวยความยุติธรรมต้องมาจาก ประชาชน มิใช่จากเจ้าพนักงานของรัฐแต่ฝ่ายเดียว ดังนั้น ศาลสูงสหรัฐอเมริกาจึงให้วางแนววินิจฉัยเพื่อ เป็นหลักประกันไว้ว่าหากเป็นคดีร้ายแรงจำเลยมีสิทธิได้รับการพิจารณาจากคณะลูกขุน254 ซึ่งใช้กับคดี ที่มีโทษจำคุกเกินกว่าหกเดือน 251<https://www.azcourts.gov/guidetoazcourts/The-Players-in-a-Trial-Courtroom> accessed 31 July 2022. 252see Handbook For Trial Jurors service in UNITED STATES District Courts, p.7 <www.us.courts.gov> accessed 27 February 2023. 253ibid, p.14 254The Supreme Court has ruled that if imprisonment is for six months or less, trial by jury is not required, meaning a state may choose whether or not to permit trial by jury in such cases.
68 ในเบื้องต้นจะเห็นได้ว่า แนวคิดในการที่ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในกระบวนการยุติธรรม ทางอาญา ถือว่าเป็นแนวคิดที่ได้รับการยอมรับในแต่ละประเทศ ตามที่คณะที่ปรึกษาได้ review มา เพียงแต่การมีส่วนร่วมดังกล่าวจะมีมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับบริบทและเหตุผลอันเป็นที่มาของหลักการ มีส่วนร่วมของประชาชน และพื้นฐานของแนวคิดว่าประชาชนควรเข้ามามีส่วนในกระบวนพิจารณา คดีอาญาในระดับใด
69 บทที่ 3 แนวคิดและหลักเกณฑ์การมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาของไทย คณะที่ปรึกษาได้ศึกษาแนวคิดและหลักเกณฑ์การมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการ ยุติธรรมทางอาญาของไทย ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้ 1. การมีส่วนร่วมของประชาชนในชั้นตำรวจ 1.1 นโยบายเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในชั้นตำรวจ ในยุทธศาสตร์สำนักงานตำรวจแห่งชาติฉบับปัจจุบัน ได้มีกำหนดยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวกับการ มีส่วนร่วมของประชาชนในกิจการตำรวจเอาไว้อย่างชัดเจน ดังนี้1 “ยุทธศาสตร์ที่ 3 การมีส่วนร่วมของประชาชนในการรักษาความสงบเรียบร้อยของสังคม อย่างยั่งยืน เป้าหมาย 1. มีการบูรณาการและร่วมมือกันของภาคีเครือข่าย ซึ่งประกอบด้วย ประชาชน ชุมชน ท้องถิ่น ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม ในการรักษาความสงบเรียบร้อยของชุมชนและสังคม 2. ประชาชนมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน สังคมมีความสงบเรียบร้อย ตัวชี้วัดเป้าหมาย 1. จำนวนภาคีเครือข่ายที่เข้ามามีส่วนร่วมในกิจการตำรวจเพิ่มขึ้น 2. ระดับความพึงพอใจของภาคีเครือข่ายต่อการเข้ามามีส่วนร่วมในกิจการของตำรวจเพิ่มขึ้น ประเด็นยุทธศาสตร์ที่3.1 การพัฒนารูปแบบและวิธีการทำงานที่เน้นการมีส่วนร่วมของภาคี เครือข่าย 3.1.1 ปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ของบุคลากรทุกระดับให้ยึดถือประชาชน เป็นศูนย์กลางตาม แนวคิด Community Policing 3.1.2 สร้างความเป็นหุ้นส่วน (Partnership) ระหว่างตำรวจกับทุกภาคส่วน ในการดูแลชุมชน และสังคม โดยเน้นการแก้ไขปัญหาอาชญากรรมที่ต้นเหตุ (Problem Oriented Policing) 3.1.3 เปิดโอกาสให้ภาคีเครือข่าย ประชาชน ชุมชน ท้องถิ่น ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม มีส่วนร่วมในการรับรู้ ร่วมแสดงความคิดเห็น ตัดสินใจ การดำเนินการ ติดตามตรวจสอบประเมินผล การบริหารจัดการ สอดส่อง เฝ้าระวัง ให้ข้อมูลและตรวจสอบการปฏิบัติงานของตำรวจอย่างเหมาะสม 3.1.4 ส่งเสริมและสนับสนุนให้ภาคีเครือข่ายรับรู้เข้าใจวิธีการรักษาความสงบเรียบร้อยภายใน ชุมชนของตนเอง และนำไปใช้เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนอย่างยั่งยืน 1 สำนักงานตำรวจแห่งชาติ, ยุทธศาสตร์สำนักงานตำรวจแห่งชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580), หน้า 12-13.
70 ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3.2 การพัฒนากลไกหรือเครื่องมือในการสนับสนุนการมีส่วนร่วม ของภาคีเครือข่าย กลยุทธ์ 3.2.1 เสนอให้มีการยกร่าง ปรับปรุงระเบียบ คำสั่งที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการส่งเสริมให้ ภาคีเครือข่ายเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ และปฏิบัติงานให้มีความยืดหยุ่นและทันสมัย 3.2.2 จัดทำระบบและเชื่อมโยงฐานข้อมูลด้านการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย และเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสาร ให้เข้าถึงได้โดยสะดวก รวดเร็ว และง่ายต่อการใช้ประโยชน์ร่วมกัน 3.2.3 เสริมสร้างแรงจูงใจและความตระหนักในการมีส่วนร่วมของประชาชน เพื่อประโยชน์ ส่วนรวมตามแนวทางจิตอาสา 3.2.4 เสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจ และทักษะเกี่ยวกับการมีส่วนร่วม ให้แก่ตำรวจผู้ปฏิบัติงาน และภาคีเครือข่าย 3.2.5 พัฒนาหลักสูตรการอบรมที่เกี่ยวข้องให้ทันสมัยและสอดรับกับสถานการณ์ปัจจุบัน 3.2.6 ผลักดันให้ภาคีเครือข่ายเข้ามาสนับสนุนกิจการตำรวจ เพื่อความสงบสุขของชุมชนและ สังคมในทุกด้าน 3.2.7 ติดตามประเมินผลการดำเนินงานในทุกขั้นตอน เพื่อนำไปสู่การพัฒนาที่มีประสิทธิภาพ เพิ่มขึ้น” 1.2 กฎหมายเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในชั้นตำรวจ 1.2.1 หลักการเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในกิจการตำรวจตามกฎหมาย ตำรวจแห่งชาติ กฎหมายเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในกิจการตำรวจของประเทศไทย เริ่มปรากฏ อย่างชัดเจนภายหลังจากที่ประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 โดยได้มีการบัญญัติ ถึงหลักการเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในกิจการตำรวจเอาไว้อย่างชัดแจ้งครั้งแรกในพระราชบัญญัติ ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2547 ดังนี้ “มาตรา 7 ให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติจัดระบบการบริหาร การปฏิบัติงานด้านการป้องกัน และปราบปรามการกระทำความผิดทางอาญา การรักษาความสงบเรียบร้อย และการรักษาความปลอดภัย ของประชาชนให้เหมาะสมกับความต้องการของแต่ละท้องถิ่นและชุมชน โดยต้องให้องค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นและองค์กรภาคเอกชนมีส่วนร่วม ทั้งในส่วนที่เกี่ยวกับนโยบาย งบประมาณ และอาสาสมัคร ตลอดจนการติดตามตรวจสอบการปฏิบัติงานตำรวจ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ต.ช. กำหนด การมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือองค์กรภาคเอกชนตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามข้อตกลงระหว่างสำนักงานตำรวจแห่งชาติกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือองค์กร ภาคเอกชนนั้น”
71 แม้ต่อในปี พ.ศ. 2565 จะได้มีการตราพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2565 ขึ้นใหม่ ซึ่งยกเลิกพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2547 และที่แก้ไขเพิ่มเติมไปทั้งหมด แต่ในพระราชบัญญัติ ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2565 ก็ยังคงหลักการในเรื่องการมีส่วนร่วมของประชาชนในกิจการตำรวจเอาไว้อยู่ โดยบัญญัติเอาไว้ว่า “มาตรา 7 ให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติจัดระบบการบริหาร การปฏิบัติงานด้านการป้องกัน และปราบปรามการกระทำความผิดทางอาญา การรักษาความสงบเรียบร้อย และการรักษาความปลอดภัย ของประชาชนให้เหมาะสมกับความจำเป็นของแต่ละท้องถิ่นและชุมชน โดยต้องให้องค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น องค์กรภาคเอกชน และชุมชนมีส่วนร่วม ทั้งในส่วนที่เกี่ยวกับนโยบาย งบประมาณ และ อาสาสมัคร ตลอดจนการติดตามตรวจสอบการปฏิบัติงานตำรวจ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ต.ช. กำหนด ในกรณีที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดสรรเงินอุดหนุนให้แก่สถานีตำรวจใด ให้ใช้เพื่อ ประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการตำรวจและกิจการในสถานีตำรวจนั้น โดยไม่ต้องนำส่งคลัง เป็นรายได้แผ่นดิน การมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรภาคเอกชนหรือชุมชนตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามข้อตกลงระหว่างสำนักงานตำรวจแห่งชาติกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กร ภาคเอกชน หรือชุมชนนั้น” จากการพิจารณาบทบัญญัติในมาตรา 7 ของพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2565 จะเห็นได้ว่าหลักการในการมีส่วนร่วมของประชาชนในกิจการตำรวจยังคงอยู่ดังเช่นที่กำหนดไว้ใน พระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2565 โดยกำหนดให้ประชาชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สามารถเข้ามามีส่วนร่วมในกิจการตำรวจในส่วนที่เกี่ยวกับนโยบาย งบประมาณ และอาสาสมัคร ตลอดจนการติดตามตรวจสอบการปฏิบัติงานตำรวจ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการนโยบาย ตำรวจแห่งชาติ (ก.ต.ช.) กำหนด อย่างไรก็ตาม มาตรา 7 ของพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2565 มีการกำหนด หลักเกณฑ์ใหม่ซึ่งไม่ปรากฏในพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2547 ในเรื่องของการให้องค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถจัดสรรเงินอุดหนุนให้แก่สถานีตำรวจเพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่ของ ข้าราชการตำรวจในสถานีตำรวจได้ โดยไม่ต้องนำส่งเป็นรายได้แผ่นดิน ซึ่งสอดคล้องกับมาตรา 12 วรรคสามของพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2565 ที่กำหนดว่า “เพื่อประโยชน์ในการป้องกันและ ปราบปรามการกระทำความผิดทางอาญา และการรักษาความสงบเรียบร้อยในท้องถิ่นหรือชุมชนให้มี ประสิทธิภาพยิ่งขึ้น กองบัญชาการตำรวจนครบาลหรือตำรวจภูธรจังหวัดจะจัดให้มีแผนหรือมาตรการ การรักษาความสงบเรียบร้อยและความปลอดภัยของประชาชนภายในพื้นที่ให้สอดคล้องกับความต้องการ ของแต่ละท้องถิ่นหรือชุมชนก็ได้ ในกรณีเช่นนั้น เมื่อ ก.ต.ช. และคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบแผนหรือ มาตรการดังกล่าวแล้ว ให้สำนักงบประมาณและสำนักงานตำรวจแห่งชาติพิจารณาจัดสรรงบประมาณ ให้เป็นไปตามแผนหรือมาตรการดังกล่าว” ซึ่งแสดงให้เห็นว่ากฎหมายตำรวจแห่งชาติฉบับใหม่
72 ให้ความสำคัญกับการกำหนดความสัมพันธ์ของกิจการตำรวจกับการดำเนินการขององค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น โดยให้องค์ปกครองส่วนท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมในกิจการตำรวจเพิ่มมากขึ้น โดยให้ ความสำคัญกับสถานีตำรวจซึ่งเป็นส่วนราชการที่มีความใกล้ชิดกับประชาชนมากที่สุด2 การกำหนด องค์ปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถให้เงินอุดหนุนแก่สถานีตำรวจของท้องถิ่นจึงเป็นแนวทางที่เหมาะสม เพราะงบประมาณในแต่ละท้องที่ก็สมควรจะถูกนำมาใช้ในการพัฒนาหรือสร้างประโยชน์ให้กับท้องที่ ของตัวเองเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด 1.2.2 รูปแบบการมีส่วนร่วมของประชาชนในกิจการตำรวจ การมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายการบริหารราชการตำรวจ พระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติพ.ศ. 2565 กำหนดให้มีการตั้งคณะกรรมการนโยบาย ตำรวจแห่งชาติ (ก.ต.ช.) ขึ้น เพื่อทำหน้าที่ในการกำหนดนโยบายและยุทธศาสตร์การบริหารราชการตำรวจ3 โดยองค์ประกอบของคณะกรรมการชุดนี้มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานกรรมการ รองนายกรัฐมนตรี คนหนึ่งซึ่งนายกรัฐมนตรีมอบหมาย เป็นรองประธานกรรมการ มีปลัดกระทรวงกลาโหม ปลัดกระทรวง มหาดไทย ปลัดกระทรวงยุติธรรม อัยการสูงสุด เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม และผู้อำนวยการ สำนักงบประมาณ เป็นกรรมการ มีกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งได้รับการสรรหาและคัดเลือกจากผู้มี ความเชี่ยวชาญหรือประสบการณ์ในด้านยุทธศาสตร์ด้านกฎหมาย ด้านพัฒนาองค์กร ด้านสื่อสารมวลชนหรือด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารด้านละหนึ่งคน และผู้แทนภาค ประชาชนจำนวนหนึ่งคนเป็นกรรมการ โดยมีผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติเป็นกรรมการและเลขานุการ4 ดังนั้น การแต่งตั้งกรรมการ ก.ต.ช. ในส่วนของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิก็ดีหรือในส่วนผู้แทนภาค ประชาชนก็ดี ย่อมเป็นช่องทางในการที่ประชาชนที่จะเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบาย การบริหารงานของสำนักงานตำรวจแห่งชาติให้สอดคล้องกับความต้องการของประชาชนได้ ทั้งนี้ ก.ต.ช. ได้ออกระเบียบเพื่อกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการสรรหาและคัดเลือก กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ โดยกำหนดให้ผู้บัญชาการตำรวจ แห่งชาติเสนอรายชื่อผู้เชี่ยวชาญในด้านยุทธศาสตร์ ด้านกฎหมาย ด้านพัฒนาองค์กร ด้านสื่อสารมวลชน หรือด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร อย่างน้อยด้านละสองคน และเสนอรายชื่อผู้แทนภาค ประชาชนอย่างน้อยสองคนซึ่งมีความเหมาะสมสมควรได้รับการพิจารณาคัดเลือก เสนอต่อประธาน ก.ต.ช. จากนั้นประธาน ก.ต.ช. พิจารณาให้ความเห็นชอบให้เหลือรายชื่อกรรมการผู้เชี่ยวชาญด้านละ สองคนและผู้แทนภาคประชาชนสองคน และให้ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ นำรายชื่อดังกล่าวเสนอต่อ 2 สำนักวิชาการ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, เอกสารประกอบการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. …. , (2564), หน้า 2-4. 3พระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2565, มาตรา 15 4 เพิ่งอ้าง, มาตรา 14
73 ที่ประชุม ก.ต.ช. เพื่อพิจารณาคัดเลือกให้เหลือกรรมการผู้เชี่ยวชาญด้านละหนึ่งคน และกรรมการผู้แทน ภาคประชาชนหนึ่งคน5 การมีส่วนร่วมของประชาชนในการตรวจสอบการปฏิบัติตามนโยบายการบริหาร ราชการตำรวจ นอกจาก ก.ต.ช. จะมีอำนาจในการกำหนดนโยบายการบริหารราชการตำรวจแล้ว พระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติพ.ศ. 2565 ยังได้กำหนดให้ ก.ต.ช. มีอำนาจในการกำกับดูแลสำนักงาน ตำรวจแห่งชาติให้ปฏิบัติตามกฎหมาย ยุทธศาสตร์ชาติ นโยบาย มติคณะรัฐมนตรี และระเบียบแบบแผน ด้วย6 โดยในการทำหน้าที่ดังกล่าว พระราชบัญญัติฉบับนี้กำหนดได้กำหนดให้มีคณะกรรมการตรวจสอบ และติดตามการบริหารงานตำรวจของกรุงเทพมหานคร (กต.ตร.กทม.) จังหวัด (กต.ตร.จังหวัด) และ สถานีตำรวจต่าง ๆ (กต.ตร.สน. และ กต.ตร.สภ.) เพื่อตรวจสอบ ติดตาม และประเมินผลการปฏิบัติงาน ของข้าราชการตำรวจในเขตพื้นที่ดังกล่าว แล้วรายงาน ก.ต.ช. เพื่อพิจารณาดำเนินการตามควรแก่กรณี ต่อไป7 สำหรับรายละเอียดเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ องค์ประกอบ และการคัดเลือกกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ และกรรมการที่เป็นผู้แทนภาคประชาชนใน กต.ตร.กทม., กต.ตร.จังหวัด, กต.ตร.สน. และกต.ตร.สภ. มีการกำหนดไว้ในระเบียบ ก.ต.ช. ว่าด้วยคณะกรรมการตรวจสอบและติดตามการบริหารงานตำรวจ พ.ศ. 25498 สามารถสรุปได้ ดังนี้ คณะกรรมการตรวจสอบและติดตามการบริหารงานตำรวจของกรุงเทพมหานคร (กต.ตร.กทม.) อำนาจหน้าที่ของ กต.ตร.กทม. กต.ตร.กทม. มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้9 (1) รับแนวทางและนโยบายการพัฒนาและการบริหารงานตำรวจจาก ก.ต.ช. ไปปฏิบัติ เพื่อให้เกิดผลตามนโยบาย (2) ให้คำปรึกษาและข้อเสนอแนะการปฏิบัติงานของกองบัญชาการตำรวจนครบาลและ กต.ตร.สน. ให้เป็นไปตามนโยบายของ ก.ต.ช. 5 ระเบียบ ก.ต.ช. ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการสรรหาและคัดเลือกกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2565, ข้อ 4 6 เพิ่งอ้าง, มาตรา 15 7พระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2565, มาตรา 15 (4) 8 ระเบียบฉบับนี้ออกโดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2547อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันมีการตราพระราชบัญญัติ ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2565 ขึ้น โดยมีผลบังคับใช้ในวันที่ 17 ตุลาคม 2565 ซึ่งมาตรา 179 ได้กำหนดว่า ในระหว่างที่ยังมิได้ตราพระราช กฤษฎีกา กฎกระทรวง กฎ ก.ตร. ข้อบังคับ ระเบียบ หรือมติ ก.ตร. เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ ให้นำพระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง กฎ ก.ตร. ข้อบังคับ ระเบียบ หรือมติ ก.ตร. ซึ่งใช้อยู่เดิมมาใช้บังคับเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับพระราชบัญญัตินี้ ดังนั้น ระเบียบ ฉบับนี้จึงยังคงมีผลใช้บังคับอยู่จนกว่าจะได้มีการออกระเบียบใหม่ในเรื่องเดียวกัน เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2565 9 ระเบียบ ก.ต.ช. ว่าด้วยคณะกรรมการตรวจสอบและติดตามการบริหารงานตำรวจ พ.ศ. 2549, ข้อ 8
74 (3) ส่งเสริมให้มีการพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจและการบริหารงาน ตำรวจ (4) ตรวจสอบ ติดตาม และประเมินผลการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจในสังกัด กองบัญชาการตำรวจนครบาล ให้เป็นไปตามนโยบายของ ก.ต.ช. (5) รับคําร้องเรียนของประชาชนเกี่ยวกับการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจในสังกัด กองบัญชาการตำรวจนครบาล และดำเนินการให้เป็นไปตามระเบียบ ก.ต.ช. ว่าด้วยการรับคําร้องเรียน ของประชาชนเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการตำรวจ (6) ให้ข้อมูลข่าวสารและเสนอปัญหาความเดือดร้อนและความต้องการของประชาชน ในเขตพื้นที่ (7) ให้คำแนะนําและช่วยเหลือสนับสนุนการประชาสัมพันธ์งานของกองบัญชาการตำรวจ นครบาล (8) เสริมสร้างความเข้าใจและความสัมพันธ์อันดีระหว่างกต.ตร.กทม. กับข้าราชการตำรวจ ผู้ปฏิบัติหน้าที่และประชาชนในพื้นที่ (9) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ คณะทำงาน หรือที่ปรึกษา เพื่อดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่ง ตามที่ กต.ตร.กทม. มอบหมาย (10) รายงานผลการปฏิบัติงานให้ก.ต.ช. ทราบ ตามที่ ก.ต.ช. กำหนด (11) อำนาจหน้าที่อื่นตามที่ ก.ต.ช. มอบหมาย องค์ประกอบของ กต.ตร.กทม. กต.ตร. กทม. ประกอบด้วย10 (1) ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เป็นประธานกรรมการ (2) ปลัดกรุงเทพมหานคร เป็นรองประธานกรรมการคนที่ 1 (3) อธิบดีอัยการฝ่ายคดีอาญา เป็นรองประธานกรรมการคนที่ 2 (4) ผู้บัญชาการกองบัญชาการตำรวจนครบาล เป็นรองประธานกรรมการคนที่ 3 (5) รองผู้บัญชาการตำนวจนครบาล จำนวนสามคน เป็นกรรมการ ที่ผู้บัญชาการกองบัญชาการตำรวจนครบาลมอบหมาย (6) ผู้อํานวยการสำนักป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้า เป็นกรรมการ หญิงและเด็ก กระทรวงการพัฒนาสังคมและ ความมั่นคงของมนุษย์ (7) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่ประธาน กต.ตร. กทม. แต่งตั้งจากผู้แทนด้านต่าง ๆ ดังนี้ (ก) ด้านธรรมาภิบาล จำนวนหนึ่งคน (ข) ด้านความมั่นคง จำนวนหนึ่งคน 10ระเบียบ ก.ต.ช. ว่าด้วยคณะกรรมการตรวจสอบและติดตามการบริหารงานตำรวจ พ.ศ. 2549, ข้อ 4
75 (ค) ด้านการจราจรและอุบัติภัย จำนวนหนึ่งคน (ง) ด้านการพัฒนา จำนวนหนึ่งคน (จ) ด้านเศรษฐกิจ จำนวนหนึ่งคน (ฉ) ด้านสังคม จำนวนหนึ่งคน (ช) ด้านการมีส่วนร่วมของประชาชนและชุมชน จำนวนหนึ่งคน (8) ประชาชนโดยพิจารณาแต่งตั้งจากผู้ที่เคยเป็น กต.ตร. สถานีตำรวจ และมีประสบการณ์ ด้านใดด้านหนึ่งตาม (7) โดยอนุโลม จำนวนสามคน เป็นกรรมการ ให้ผู้บังคับการกองบังคับการอํานวยการกองบัญชาการตำรวจนครบาล เป็นเลขานุการ รองผู้บังคับการกองบังคับการอํานวยการ กองบัญชาการตำรวจนครบาล จำนวนหนึ่งคน และ ข้าราชการตำรวจระดับผู้กำกับการขึ้นไปในสังกัดกองบัญชาการตำรวจนครบาล จำนวนหนึ่งคน ที่ประธาน กต.ตร. กทม. แต่งตั้งเป็นผู้ช่วยเลขานุการ การคัดเลือกกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิและกรรมการที่เป็นผู้แทนภาคประชาชน การคัดเลือกกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ11 ให้กรรมการที่เป็นองค์ประกอบของ กต.ตร.กทม. ตาม (1) ถึง (6) ข้างต้น พิจารณาสรรหา และคัดเลือกกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านละหนึ่งคนเสนอประธาน กต.ตร.กทม. มีคำสั่งแต่งตั้ง โดยให้ กำหนดขั้นตอนและวิธีการสรรหาและคัดเลือกได้ตามความเหมาะสม การคัดเลือกกรรมการที่เป็นผู้แทนภาคประชาชน12 (1) กต.ตร.สน.พิจารณาคัดเลือกประชาชนผู้ที่เคยเป็นกรรมการใน กต.ตร.สน. จำนวนหนึ่งคน นำเสนอต่อผู้บังคับการกองบังคับการตำรวจนครบาลต้นสังกัด (2) ให้กองบังคับการตำรวจนครบาล 1 ถึง 9 แต่ละกองบังคับการ โดยผู้บังคับการและ รองผู้บังคับการพิจารณาคัดเลือกผู้แทนประชาชนที่ กต.ตร.สน. ในเขตพื้นที่รับผิดชอบเสนอให้ได้ กองบังคับการละหนึ่งคน แล้วนำเสนอต่อ กต.ตร.กทม. (3) กรรมการที่เป็นองค์ประกอบของ กต.ตร.กทม. ตาม (1) ถึง (6) ข้างต้น พิจารณา คัดเลือกประชาชนที่กองบังคับการตำรวจนครบาล 1 ถึง 9 เสนอมา ให้ได้จำนวนสามคน แล้วเสนอ ประธาน กต.ตร.กทม. มีคำสั่งแต่งตั้ง คณะกรรมการตรวจสอบและติดตามการบริหารงานตำรวจจังหวัด (กต.ตร.จังหวัด) อำนาจหน้าที่ของ กต.ตร.จังหวัด กต.ตร. จังหวัด มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้13 11ระเบียบ ก.ต.ช. ว่าด้วยคณะกรรมการตรวจสอบและติดตามการบริหารงานตำรวจ พ.ศ. 2549, ข้อ 21 12เพิ่งอ้าง, ข้อ 22 13ระเบียบ ก.ต.ช. ว่าด้วยคณะกรรมการตรวจสอบและติดตามการบริหารงานตำรวจ พ.ศ. 2549, ข้อ 11
76 (1) รับแนวทางและนโยบายการพัฒนาและการบริหารงานตำรวจจาก ก.ต.ช. ไปปฏิบัติ เพื่อให้เกิดผลตามนโยบาย (2) ให้คำปรึกษาและให้ข้อเสนอแนะการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจในเขตพื้นที่ จังหวัดนั้น และ กต.ตร.สภ. ให้เป็นไปตามนโยบายของ ก.ต.ช. (3) ส่งเสริมให้มีการพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจและการ บริหารงานตำรวจ (4) ตรวจสอบติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจในเขตพื้นที่ จังหวัดนั้นให้เป็นไปตามนโยบายของ ก.ต.ช. (5) รับคําร้องเรียนของประชาชนเกี่ยวกับการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจในสังกัด ตำรวจภูธรจังหวัด และดำเนินการใหเป็นไปตามระเบียบ ก.ต.ช. ว่าด้วยการรับคําร้องเรียนของประชาชน เกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการตำรวจ (6) ใหข้อมูลข่าวสารและเสนอปัญหาความเดือดร้อนและความต้องการของประชาชน ในเขตพื้นที่ (7) ให้คำแนะนําและช่วยเหลือเหลือสนับสนุนการประชาสัมพันธ์งานของตำรวจภูธร จังหวัด (8) เสริมสร้างความเข้าใจและความสัมพันธ์อันดีระหว่าง กต.ตร.จังหวัด กับข้าราชการตำรวจ ผู้ปฏิบัติหน้าที่และประชาชนในพื้นที่ (9) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ คณะทำงาน หรือที่ปรึกษา เพื่อดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่ง ตามที่ กต.ตร. จังหวัด มอบหมาย (10) รายงานผลการปฏิบัติงานให้ก.ต.ช. ทราบ ตามที่ ก.ต.ช. กำหนด (11) อำนาจหน้าที่อื่นตามที่ ก.ต.ช. มอบหมาย องค์ประกอบของ กต.ตร.จังหวัด กต.ตร.จังหวัด ประกอบด้วย14 (1) ผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นประธานกรรมการ (2) ผู้บังคับการตำรวจจังหวัด เป็นรองประธานกรรมการคนที่ 1 (3) อัยการจังหวัด เป็นรองประธานกรรมการคนที่ 2 (4) พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด เป็นกรรมการ (5) นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด เป็นกรรมการ (6) ผู้บังคับการกองบังคับการอํานวยการตำรวจภูธรภาค เป็นกรรมการ หรือผู้แทน 14เพิ่งอ้าง, ข้อ 9
77 (7) รองผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัด เป็นกรรมการ (8) ข้าราชการตำรวจซึ่งเป็นหัวหน้าหน่วยงานในสังกัดสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง กองบังคับการ ตำรวจท่องเที่ยว กองบังคับการตำรวจทางหลวง กองบังคับการตำรวจน้ำ ซึ่งปฏิบัติราชการประจำอยู่ใน จังหวัดนั้น เป็นกรรมการ กรณีมีหัวหน้าหน่วยงานหลายระดับในสังกัดเดียวกัน ให้ผู้บังคับการหรือรองผู้บังคับการ ที่ทำหน้าที่หัวหน้าหน่วยงานมอบหมายหัวหน้าหน่วยงานดังกล่าวจำนวนหนึ่งคน เป็นกรรมการ (9) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่ประธาน กต.ตร.จังหวัด แต่งตั้งจากผู้แทนด้านต่าง ๆ ดังนี้ (ก) การศาสนา หรือวัฒนธรรมซึ่งดำเนินกิจกรรมอยู่ในจังหวัดนั้น จำนวนหนึ่งคน (ข) การศึกษาซึ่งปฏิบัติหน้าที่หรือประกอบการในจังหวัดนั้น จำนวนหนึ่งคน (ค) การแพทย์หรือการสาธารณสุขซึ่งปฏิบัติหน้าที่หรือประกอบการในจังหวัดนั้น จำนวนหนึ่งคน (ง) การท่องเที่ยว ธุรกิจโรงแรม หรือธุรกิจบริการซึ่งประกอบการในจังหวัดนั้น จำนวนหนึ่งคน (จ) พาณิชยกรรมอุตสาหกรรม หัตถกรรม หรือธุรกิจการเงินซึ่งประกอบการใน จังหวัดนั้น จำนวนหนึ่งคน (ฉ) องค์กรเอกชนสาธารณประโยชน์ซึ่งจัดตั้งขึ้นโดยไม่แสวงกำไร และมีวัตถุประสงค์ ส่วนใดส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดในการดำเนินกิจกรรม เพื่อสาธารณประโยชน์ในจังหวัดนั้น จำนวนหนึ่งคน (ช) เกษตรกรรมซึ่งประกอบการในจังหวัดนั้น จำนวนหนึ่งคน (10) ประชาชน จำนวนสามคน เป็นกรรมการ ให้ผู้กำกับการซึ่งทำหน้าที่ด้านอำนวยการของตำรวจภูธรจังหวัด เป็นเลขานุการ รองผู้กำกับการซึ่งทำหน้าที่ด้านอำนวยการของตำรวจภูธรจังหวัดจำนวนหนึ่งคน และข้าราชการตำรวจ ระดับสารวัตรขึ้นไปในสังกัดตำรวจภูธรจังหวัดจำนวนหนึ่งคนที่ประธาน กต.ตร. จังหวัดแต่งตั้งเป็น ผู้ช่วยเลขานุการ การคัดเลือกกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิและกรรมการที่เป็นผู้แทนภาคประชาชน การคัดเลือกกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ15 ให้กรรมการที่เป็นองค์ประกอบของ กต.ตร.จังหวัด ตาม (1) ถึง (8) ข้างต้น พิจารณาสรร หาและคัดเลือกกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ด้านละหนึ่งคน เสนอประธาน กต.ตร.จังหวัด มีคำสั่งแต่งตั้งโดย ให้กำหนดขั้นตอนและวิธีการสรรหาและคัดเลือกได้ตามความเหมาะสม การคัดเลือกกรรมการที่เป็นผู้แทนภาคประชาชน16 (1) กต.ตร.สภ.พิจารณาคัดเลือกประชาชนผู้ที่เคยเป็นกรรมการใน กต.ตร.สภ. จำนวนหนึ่งคน แล้วนำเสนอ กต.ตร.จังหวัด 15ระเบียบ ก.ต.ช. ว่าด้วยคณะกรรมการตรวจสอบและติดตามการบริหารงานตำรวจ พ.ศ. 2549, ข้อ 24 16ระเบียบ ก.ต.ช. วาด้วยคณะกรรมการตรวจสอบและติดตามการบริหารงานตำรวจ พ.ศ. 2549, ข้อ 25
78 (2) กรรมการที่เป็นองค์ประกอบของ กต.ตร.จังหวัด ตาม (1) ถึง (8) ข้างต้น พิจารณา คัดเลือกประชาชนที่กต.ตร.สภ. เสนอมา ให้ได้จำนวนสามคนแล้วเสนอประธาน กต.ตร.จังหวัด มีคำสั่งแต่งตั้ง คณะกรรมการตรวจสอบและติดตามการบริหารงานตำรวจสถานีตำรวจนครบาล (กก.ตร.สน.) และคณะกรรมการตรวจสอบและติดตามการบริหารงานตำรวจสถานีตำรวจภูธร (กก.ตร.สภ.) อำนาจหน้าที่ของ กก.ตร.สน. และ กก.ตร.สภ. 17 (1) รับแนวทางและนโยบายการพัฒนาและการบริหารงานตำรวจจาก ก.ต.ช. ไปปฏิบัติ เพื่อให้เกิดผลตามนโยบาย (2) ให้คำปรึกษาและข้อเสนอแนะการปฏิบัติงานของสถานีตำรวจให้เป็นไปตามนโยบาย ก.ต.ช. (3) ส่งเสริมให้มีการพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจและการ บริหารงานตำรวจ (4) ตรวจสอบ ติดตาม และประเมินผลการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจในสถานีตำรวจ ให้เป็นไปตามนโยบายของ ก.ต.ช. (5) รับคําร้องเรียนของประชาชนเกี่ยวกับการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจในสถานี ตำรวจ และดำเนินการให้เป็นไปตามระเบียบ ก.ต.ช. ว่าด้วยการรับคำร้องเรียนของประชาชนเกี่ยวกับ การปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการตำรวจ (6) ให้ข้อมูลข่าวสารและและเสนอปัญหาความเดือดร้อนและความต้องการของประชาชน ในเขตพื้นที่ (7) ให้คำแนะนําและช่วยเหลือเหลือสนับสนุนการประชาสัมพันธ์งานของสถานีตำรวจ (8) เสริมสร้างความเข้าใจและความสัมพันธ์อันดีระหว่าง กต.ตร.สน. หรือ กต.ตร.สภ. กับ ข้าราชการตำรวจผู้ปฏิบัติหน้าที่และประชาชนในพื้นที่ (9) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ คณะทำงาน หรือที่ปรึกษา เพื่อดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่ง ตามที่ กต.ตร.สน. หรือ กต.ตร.สภ. มอบหมาย (10) รายงานผลการปฏิบัติงานให้ก.ต.ช. ทราบ ตามที่ ก.ต.ช. กำหนด (11) อำนาจหน้าที่อื่นตามที่ ก.ต.ช. มอบหมาย องค์ประกอบของ กก.ตร.สน. และ กก.ตร.สภ. กก.ตร.สน. ประกอบด้วย18 17เพิ่งอ้าง, ข้อ 20 18ระเบียบ ก.ต.ช. ว่าด้วยคณะกรรมการตรวจสอบและติดตามการบริหารงานตำรวจ พ.ศ. 2549, ข้อ 12
79 (1) หัวหน้าสถานีตำรวจนครบาล เป็นกรรมการ (2) ผู้อํานวยการเขต หรือผู้ช่วยผู้อำนวยการเขตที่ผู้อํานวยการเขตมอบหมายซึ่งมีพื้นที่ รับผิดชอบส่วนใดส่วนหนึ่งอยู่ในเขตพื้นที่ของสถานีตำรวจนั้นจำนวนเขตละหนึ่งคน เป็นกรรมการ (3) ข้าราชการตำรวจซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในแต่ละงานของสถานีตำรวจตามที่หัวหน้าสถานี ตำรวจมอบหมาย จำนวนไม่เกินสี่คน เป็นกรรมการ (4) ข้าราชการตำรวจชั้นประทวนซึ่งดำรงตำแหน่งและปฏิบัติหน้าที่ในสถานีตำรวจนั้น ที่ได้รับการเลือกจากข้าราชการตำรวจชั้นประทวนด้วยกันเอง จำนวนหนึ่งคน เป็นกรรมการ (5) ข้าราชการประจำอื่นนอกจากข้าราชการตำรวจหรือพนักงาน หรือลูกจ้างของหน่วยงาน ของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจที่ปฏิบัติหน้าที่ประจำในเขตพื้นที่สถานีตำรวจนั้น จำนวนไม่เกินสามคน เป็นกรรมการ (6) ประชาชน จำนวนไม่น้อยกว่าหกคน แต่ไม่เกินเก้าคน เป็นรรมการ ให้ข้าราชการตำรวจชั้นสัญญาบัตรที่ทำหน้าที่หัวหน้างานธุรการของสถานีตำรวจนั้น เป็นเลขานุการ และข้าราชการตำรวจของสถานีตำรวจนั้นที่หัวหน้าสถานีตำรวจมอบหมาย จำนวน สองคน เป็นผู้ช่วยเลขานุการ กก.ตร.สภ. ประกอบด้วย19 (1) หัวหน้าสถานีตำรวจภูธร เป็นกรรมการ (2) นายอำเภอหรือปลัดอำเภอที่นายอำเภอมอบหมาย จำนวนหนึ่งคน เป็นกรรมการ ยกเว้นสถานีตำรวจภูธรตำบลพัทยา ให้ปลัดเมืองพัทยาหรือรองปลัดเมืองพัทยาที่ปลัดเมืองพัทยา มอบหมาย จำนวนหนึ่งคน เป็นกรรมการ (3) ข้าราชการตำรวจซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในแต่ละงานของสถานีตำรวจตามที่หัวหน้าสถานี ตำรวจมอบหมาย จำนวนไม่เกินสี่คน เป็นกรรมการ (4) นายกเทศมนตรี ที่มีเขตพื้นที่ส่วนใดส่วนหนึ่งอยู่ในเขตพื้นที่สถานีตำรวจนั้น เป็นกรรมการ หากในเขตพื้นที่สถานีตำรวจนั้นมีนายกเทศมนตรีหลายคน ให้นายกเทศมนตรีเลือกกันเอง ให้ได้จำนวนหนึ่งคน เป็นกรรมการ (5) นายกองค์การบริหารส่วนตำบล ที่มีเขตพื้นที่ส่วนใดส่วนหนึ่งอยู่ในเขตพื้นที่สถานี ตำรวจนั้น เป็นกรรมการ หากในเขตพื้นที่สถานีตำรวจนั้นมีนายกองค์การบริหารส่วนตำบลหลายคน ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเลือกกันเองให้ได้จำนวนหนึ่งคน เป็นกรรมการ (6) กํานันที่มีเขตพื้นที่ส่วนใดส่วนหนึ่งอยู่ในเขตพื้นที่สถานีตำรวจ เป็นกรรมการ หากใน เขตพื้นที่สถานีตำรวจนั้นมีกํานันหลายคน ให้กํานันเลือกกันเองให้ได้จำนวนหนึ่งคน เป็นกรรมการ 19เพิ่งอ้าง, ข้อ 13
80 (7) ข้าราชการตำรวจชั้นประทวนซึ่งดำารงตำแหน่งและปฏิบัติหน้าที่ในสถานีตำรวจนั้น ได้รับการเลือกจากข้าราชการตำรวจชั้นประทวนด้วยกันเองจำนวนหนึ่งคน เป็นกรรมการ (8) ข้าราชการประจำอื่นนอกจากข้าราชการตำรวจ หรือพนักงาน หรือลูกจ้างของหน่วยงาน ของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจที่ปฏิบัติหน้าที่ประจำในเขตพื้นที่สถานีตำรวจนั้น จำนวนไม่เกินสามคน เป็นกรรมการ (9) ประชาชนจำนวนไม่น้อยกว่าหกคนแต่ไม่เกินเก้าคน เป็นกรรมการ ให้ข้าราชการตำรวจชั้นสัญญาบัตรที่ทำหน้าที่หัวหน้างานธุรการของสถานีตำรวจนั้น เป็นเลขานุการ และข้าราชการตำรวจของสถานีตำรวจนั้นที่หัวหน้าสถานีตำรวจมอบหมาย จำนวนสองคน เป็นผู้ช่วยเลขานุการ ในกรณีสถานีตำรวจภูธรใดไม่มีข้าราชการตำรวจชั้นสัญญาบัตรทำหน้าที่หัวหน้า งานธุรการ ให้หัวหน้าสถานีตำรวจมอบหมายข้าราชการตำรวจชั้นสัญญาบัตรของสถานีตำรวจนั้น คนหนึ่ง เป็นเลขานุการ การคัดเลือกกรรมการผู้แทนที่เป็นข้าราชการประจำหรือพนักงานหรือลูกจ้างของ หน่วยงานรัฐและรัฐวิสาหกิจ และกรรมการที่เป็นผู้แทนภาคประชาชน การคัดเลือกกรรมการผู้แทนที่เป็นข้าราชการประจำหรือพนักงานหรือลูกจ้างของ หน่วยงานรัฐและรัฐวิสาหกิจ กก.ตร.สน. 20 ให้กรรมการที่เป็นองค์ประกอบของ กต.ตร.สน. ตาม (1) ถึง (3) ข้างต้นพิจารณาสรรหา และคัดเลือกกรรมการผู้แทนที่เป็นข้าราชการประจำหรือพนักงานหรือลูกจ้างของหน่วยงานรัฐและ รัฐวิสาหกิจ จำนวนไม่เกินสามคน เสนอประธาน กต.ตร.กทม. มีคำสั่งแต่งตั้งตั้ง โดยใหกำหนดขั้นตอน และวิธีการสรรหาและคัดเลือกได้ตามความเหมาะสม กก.ตร.สภ. 21 ให้กรรมการที่เป็นองค์ประกอบของ กต.ตร.สภ. ตาม (1) ถึง (3) ข้างต้นพิจารณาสรรหา และคัดเลือกกรรมการผู้แทนที่เป็นข้าราชการประจำหรือพนักงานหรือลูกจ้างของหน่วยงานรัฐและ รัฐวิสาหกิจ จำนวนไม่เกินสามคน เสนอประธาน กต.ตร.จังหวัด มีคำสั่งแต่งตั้งโดยให้กำหนดขั้นตอน และวิธีการสรรหาและคัดเลือกได้ตามความเหมาะสม การคัดเลือกกรรมการที่เป็นผู้แทนภาคประชาชน กก.ตร.สน. 22 (1) คัดเลือกจากประชาชนผู้ที่มีความรู้ความสามารถ จำนวนไม่เกินสามคน 20ระเบียบ ก.ต.ช. ว่าด้วยคณะกรรมการตรวจสอบและติดตามการบริหารงานตำรวจ พ.ศ. 2549, ข้อ 27, 29 21เพิ่งอ้าง, ข้อ 30 22เพิ่งอ้าง, ข้อ 28
81 (2) เลือกโดยเปิดรับสมัครจากประชาชนทั่วไป แล้วให้ข้าราชการตำรวจที่ปฏิบัติหน้าที่ ประจำสถานีตำรวจนั้น ลงคะแนนเสียงเลือกให้ได้จำนวนำไม่น้อยกว่าสามคน แต่ไม่เกินหกคน สำหรับ วิธีการเลือกให้เป็นไปตามที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติกำหนด23 กก.ตร.สภ24 ใช้กระบวนการคัดเลือกเช่นเดียวกับการคัดเลือกกรรมการที่เป็นผู้แทนภาคประชาชนใน กก.ตร.สน. จากการพิจารณาองค์ประกอบของ กต.ตร.กทม. กต.ตร.จังหวัด กต.ตร.สน. และ กต.ตร.สภ. จะเห็นได้ว่ากรรมการดังกล่าวทุกชุด ต่างก็มีกรรมการซึ่งมาจากตัวแทนของประชาชนทั้งสิ้น อย่างไรก็ตาม มีข้อสังเกตเกี่ยวกับรูปแบบการมีส่วนร่วมของประชาชนในกรรมการชุดต่าง ๆ ดังนี้ 1. ประชาชนอาจจะเข้ามาเป็นกรรมการได้ผ่านช่องทางต่าง ๆ ดังนี้ -กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในด้านต่าง ๆ (ใน กต.ตร.กทม. กต.ตร.จังหวัด) -ตัวแทนภาคประชาชน ซึ่งอาจจะเป็นผู้นำชุมชน ผู้นำหมู้บาน หรือประชาชนทั่วไป ในชุมชนหรือหมู่บ้านก็ได้25 (ใน กต.ตร.กทม. กต.ตร.จังหวัด กต.ตร.สน. และ กต.ตร.สภ.) 2. รูปแบบในการได้มาซึ่งกรรมการที่มาจากประชาชน -การได้มาซึ่งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านต่างๆ (ใน กต.ตร.กทม. และ กต.ตร.จังหวัด) จะใช้ วิธีการคัดเลือก โดยจะให้ กต.ตร.กทม. หรือ กต.ตร.จังหวัด ซึ่งเป็นกรรมการโดยตำแหน่งเป็นผู้คัดเลือก ทั้งนี้ การคัดเลือกประชาชนที่จะมาเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิใน กต.ตร.กทม. หรือ กต.ตร.จังหวัด ระเบียบ ก.ต.ช. ว่าด้วยคณะกรรมการตรวจสอบและติดตามการบริหารงานตำรวจ พ.ศ. 2549 ได้ให้ อำนาจกรรมการที่ทำหน้าที่ในการสรรหาสามารถกำหนดขั้นตอนและวิธีการสรรหาและคัดเลือก กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิได้ตามความเหมาะสม26 จึงอาจมีการกำหนดหลักเกณฑ์ในการคัดเลือกไว้ว่า จะต้องเป็นประชาชนมีคุณสมบัติเป็นผู้มีความรู้ความสามารถในด้านต่าง ๆ ตามที่กฎหมายกำหนด จึงจะสามารถได้รับการคัดเลือกให้เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิได้ โดยที่มิได้เปิดกว้างให้ประชาชนทั่วไป สามารถสมัครเพื่อเข้ารับการคัดเลือกได้อย่างกว้างขวาง -การได้มาซึ่งกรรมการที่เป็นตัวแทนภาคประชาชน ตัวแทนภาคประชาชนใน กต.ตร.สน. และ กต.ตร.สภ. ซึ่งกรรมการทั้งสองชุดดังกล่าวจะมี กรรมการที่เป็นตัวแทนภาคประชาชนจำนวนเก้าคน จะมีวิธีการได้มา 2 วิธีด้วยกัน27 คือ วิธีการคัดเลือก จากประชาชนที่มีความรู้ความสามารถจำนวนไม่เกินสามคน โดยให้ กต.ตร.สน. หรือ กต.ตร.สภ. ซึ่งเป็น 23รายละเอียดเกี่ยวกับวิธีการเลือกกรรมการที่เป็นผู้แทนภาคประชาชน โปรดดูเพิ่มเติมใน สำนักงานคณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ, คู่มือการดำเนินการตามระเบียบ ก.ต.ช. ว่าด้วยคณะกรรมการตรวจสอบและติดตามการบริหารงานตำรวจ พ.ศ. 2549, น.17-19 24ระเบียบ ก.ต.ช. ว่าด้วยคณะกรรมการตรวจสอบและติดตามการบริหารงานตำรวจ พ.ศ. 2549, ข้อ 28 25สำนักงานคณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ, อ้างแล้ว เชิงอรรถที่ 23, น.3. 26ระเบียบ ก.ต.ช. ว่าด้วยคณะกรรมการตรวจสอบและติดตามการบริหารงานตำรวจ พ.ศ. 2549, ข้อ 21, 24 27เพิ่งอ้าง, ข้อ 28
82 กรรมการโดยตำแหน่งเป็นผู้คัดเลือก และวิธีการเลือกตั้งจำนวนไม่เกินหกคน โดยเปิดรับสมัครจาก บุคคลทั่วไป และให้ข้าราชการตำรวจที่ประจำอยู่ที่สถานีตำรวจนั้นลงคะแนนเลือก สำหรับการได้มาของตัวแทนภาคประชาชนใน กต.ตร.กทม. และ กต.ตร.จังหวัด จะมี ความแตกต่างจากการได้มาของตัวแทนภาคประชาชนใน กต.ตร.สน. และ กต.ตร.สภ. เนื่องจากจะใช้ วิธีการในการคัดเลือกเพียงอย่างเดียว โดยให้กรรมการโดยตำแหน่งใน กต.ตร.กทม. และ กต.ตร.จังหวัด เป็นผู้คัดเลือก ทั้งนี้ กรรมการดังกล่าวจะทำการคัดเลือกจากผู้ที่เคยมีประสบการณ์เป็นกรรมการใน กต.ตร.สน. (กรณีของกรรมการภาคประชาชนใน กต.ตร.กทม.) หรือจากผู้ที่เคยมีประสบการณ์เป็น กรรมการใน กต.ตร.สภ. (กรณีของกรรมการภาคประชาชนใน กต.ตร.จังหวัด)28 มีข้อสังเกตว่า แนวคิดในการกำหนดองค์ประกอบของ กต.ตร.กทม. กต.ตร.จังหวัด กต.ตร. สน. และ กต.ตร.สภ. ให้มีองค์ประกอบของกรรมการที่มาจากประชาชน เป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชน ในชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในกิจการตำรวจ อีกทั้งยังมีความเชื่อมโยงกับบทบาทขององค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น ทั้งนี้เพื่อให้สอดรับกับพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 ซึ่งกำหนดให้กรุงเทพมหานคร องค์การบริการส่วนจังหวัด เทศบาล เมืองพัทยาและองค์การบริการส่วนตำบลมีอำนาจหน้าที่ในการจัดระบบบริการสาธารณะ เพื่อประโยชน์ในท้องถิ่นในการเรื่องการรักษาความสงบเรียบร้อย ดังนั้น กฎหมายจึงได้มีการกำหนด องค์ประกอบของ กต.ตร. ในทุกระดับให้มีสัดส่วนของประชาชนในชุมชนมากขึ้น ตลอดจนประชน ในกลุ่มอาชีพต่าง ๆ (ในกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ) ที่เป็นผู้รับบริการของหน่วยงานตำรวจ และผู้บริการ ท้องถิ่นเข้ามาร่วมเป็นกรรมการด้วย29 28ระเบียบ ก.ต.ช. ว่าด้วยคณะกรรมการตรวจสอบและติดตามการบริหารงานตำรวจ พ.ศ. 2549, ข้อ22,25 29สำนักงานคณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ, อ้างแล้ว เชิงอรรถที่ 23, น.3.
8 ความสัมพันธ์ระหว่าง ก.ต.ช. กต.ตร. ตำรวจ ฝ่ายปก 30สำนักงานคณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ, อ้างแล้ว เชิงอรรถที่ 23, น.3.