The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

ประวัติพระอุบาลีคุณูปมาจารย์

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by ืทีมงานกรุธรรม, 2022-05-06 22:44:56

ประวัติพระอุบาลีคุณูปมาจารย์

ประวัติพระอุบาลีคุณูปมาจารย์

Keywords: ประวัติพระอุบาลีคุณูปมาจารย์

ประวตั พิ ระอบุ าลคี ณุ ปู มาจารย์

(จนั ทร์ สริ จิ นโฺ ท )

ประวตั พิ ระอบุ าลคี ณุ ปู มาจารย์

(จนั ทร์ สริ จิ นโฺ ท  )
ISBN ๙๗๘-๖๑๖-๗๘๗๐-๑๐-๖
พิมพ์ครงั้ ท่ี ๑ : สงิ หาคม พ.ศ. ๒๕๕๗
จำ� นวน : ๔๐,๐๐๐ เลม่
จัดท�ำโดย : มลู นธิ พิ ระสงบ มนสฺสนโฺ ต
๕ หมู่ ๓ บา้ นหนองแหน ต.หนองกวาง
อ.โพธาราม จ.ราชบุรี ๗๐๑๒๐
จดั พมิ พท์ ่ี :  บรษิ ทั อมรนิ ทรพ์ รนิ้ ตงิ้ แอนดพ์ บั ลชิ ชงิ่ จำ� กดั (มหาชน)
 ๓๗๖ ถ.ชยั พฤกษ์ (บรมราชชนน)ี เขตตลง่ิ ชนั
 กรงุ เทพฯ ๑๐๑๗๐ โทรศพั ท์ ๐-๒๔๒๒-๙๐๐๐
 โทรสาร ๐-๒๔๓๓-๒๗๔๒

หนงั สอื เลม่ นจ้ี ัดพมิ พเ์ พือ่ เผยแผเ่ ปน็ ธรรมทาน หา้ มคัดลอก ตดั ตอน
หรอื น�ำไปพิมพ์จำ� หนา่ ย หากท่านใดประสงค์จะพิมพแ์ จกเปน็ ธรรมทาน

โปรดติดต่อ มูลนธิ ิพระสงบ มนสฺสนโฺ ต
www.sa-ngob.com



ค�ำ น�ำ

พระอุบาลคี ณุ ูปมาจารย์ (จันทร์ สริ ิจนโฺ ท) วดั บรมนวิ าส
หรือ ท่านเจ้าคุณอุบาลีฯ ท่านเป็นพระมหาเถระธรรมยุติกนิกาย
ชาวอีสานสำ�คัญรูปหนึ่ง เป็นพระผู้สรา้ งคุณปู การท่เี ป็นคุณประโยชน์
ต่อชาติ ศาสนา และพระมหากษตั รยิ ์ อย่างใหญห่ ลวง
ทา่ นเจา้ คณุ อบุ าลีฯ ท่านเปน็ เนติแบบฉบับอนั เลิศเลองดงาม
รูปหนึ่งของพระสงฆ์สาวกในสมยั กง่ึ พทุ ธกาล โดยท่านดำ�เนนิ ตามรอย
พระบรมศาสดา ทง้ั ปรยิ ตั ิ ปฏบิ ตั ิ ปฏิเวธ ไดอ้ ยา่ งสมบรู ณ์ครบถว้ น
ทั้งทรงธรรมวินัย ทรงธุดงควัตร บำ�เพ็ญสมถวิปัสสนาจนทรง
อริยธรรมขั้นสูงสุดในบวรพระพุทธศาสนา ท่านบันลือสีหนาทแสดง
สวากขาตธรรม จนได้รับการยกย่องอย่างกว้างขวาง ว่าเป็น
ธรรมกถกึ เอก ปราดเปร่อื งเล่ืองลอื ทั้งดา้ นคันถธุระ และ วปิ ัสสนาธรุ ะ
ทา่ นจึงมสี านุศษิ ยม์ ากมาย ทีส่ ำ�คญั คอื ด้านคนั ถธรุ ะ มี สมเด็จ
พระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสฺโส) ดา้ นวปิ สั สนาธรุ ะ มี องค์หลวงปู่เสาร์
องค์หลวงปูม่ น่ั พระบูรพาจารย์ผ้บู กุ เบกิ กอ่ ตง้ั กองทพั ธรรมพระธุดงค-
กรรมฐานสมัยปัจจุบัน และทา่ นเปน็ อุปัชฌาย์อาจารย์ขององค์หลวงปู่
แหวน และ องค์หลวงปตู่ ้อื
ท่านเจ้าคุณอุบาลีฯ เป็นพระมหาเถระที่องค์หลวงปู่มั่น
ถือเป็นครูอาจารย์และให้ความเคารพศรัทธามาก โดยองค์หลวงตา
พระมหาบัวกล่าวไว้ว่า “หลวงปู่มั่นเคารพท่านมาก เคารพเจ้าคุณ
อุบาลฯี พดู คำ�ไหนๆ แยบออกรทู้ นั ที ท่านพดู ด้วยความเคารพ

เล่อื มใส ดว้ ยความเทิดทูนจรงิ ๆ คอื ทา่ นเจ้าคณุ อบุ าลฯี ทา่ นหนัก
ทัง้ ปฏบิ ัติด้วย ปริยตั ดิ ้วย ทา่ นเปน็ แบบฉบับได้” ทง้ั องค์หลวงตา
ได้ยกย่องพ่อแม่ครูอาจารย์ทั้งสอง ด้วยความเคารพเลื่อมใสเทิดทูน
ว่าเปน็ “จอมปราชญใ์ นสมัยปัจจบุ ัน”

มูลนธิ พิ ระสงบ มนสฺสนฺโต
สิงหาคม ๒๕๕๗

“บุคคลที่ปรารถนาพ้นทุกข์ ได้สุข
หรือพระนิพพาน

ควรให้ได้เม่ือยังมีชีวิตอยู่”

พระอบุ าลีคณุ ปู มาจารย์ (จันทร์ สิรจิ นโฺ ท)

หนา้ หอ้ งหอธรรมวิจารณ์ บริเวณท่อี งคห์ ลวงป่มู ั่น
ปรกึ ษาธรรมกบั ทา่ นเจา้ คุณอบุ าลีฯ
พระธาตุและเกศาธาตุ

พระอุบาลคี ุณูปมาจารย์ (จนั ทร์ สิรจิ นโฺ ท)

พระบาทสมเดจ็ พระมงกุฎเกล้าเจา้ อยู่หวั (แถวแรกองคท์ ่ี ๓ )
ทรงผนวชเมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๗ ประทับ ณ วัดบวรนเิ วศวหิ าร

ท่านเจา้ คณุ อุบาลีฯ อยู่แถวสององคข์ วาสดุ

พระพิชิตมารมัธยมพทุ ธกาล
ประดษิ ฐาน ณ ศาลาอรุ พุ งษ์ วดั บรมนวิ าสราชวรวหิ าร
พระพทุ ธปฏิภาคมธั ยมพทุ ธกาล วัดสิรจิ ันทรนิมิตวรวิหาร จ.ลพบรุ ี

สารบญั

๑. ภาคอตั ตโนประวตั ิ 1
• ประวตั ิพระอุบาลคี ุณปู มาจารย์ (จันทร์ สริ ิจนโฺ ท)
  จากหนงั สอื อตฺตปวตตฺ ิ ๒ข๔อ๖งพ๙ร ะอบุ าลคี ุณูปมาจารย์
  พ.ศ. ๒๓๙๙ - พ.ศ. ๒
 •  เมจา้าอผยู้คปู่ รรอบั งนปครงุรวเชดั ยีเจงดใหยี มห์ ่นลมิวงน ต์ท่านเจ้าคณุ พระอุบาลฯี
5๙
•  พวดั.ศเจ. ด๒ยี ๔์ห๗ลว๐ง ทา่ นเจ้าคณุ พระอุบาลีฯ รับนิมนตจ์ �ำพรรษา ๖๑
••  ททห่่าาลนนวงเเจจป้าา้ ตู่ คคื้อณุณุ พพครรระะาวออญบุุบาาัตลลตฯีฯีเิ ปน็เเผปธย็นรแรพผมร่พยะตุรอะ ปุ พัชทุฌธาศยาห์ สลนวางทปาแู่ งหภวานคเหนือ
๖๒
• พ.ศ. ๒๔๗๒ ทา่ นเจา้ คณุ อบุ าลฯี นมิ นตห์ ลวงปมู่ น่ั ขนึ้ เชยี งใหม่ 6๕
6๖
••  หกทอลางงวภทงปาัพคมู่ธเ่ันรหรแนมกอืศค้ ษิ วยาม์หปลรวางรปถู่มนั่นาทพ�ำทุ ปธรภะมูโยขิ ชอนงอ์ทย่านา่ งเใจห้าญคณุ ห่ ลอวุบงาลฯี ๗๗๒๔
•  กนาครรบเชรู ยีณงะใหปมรับ่ ป รงุ วดั เจดีย์หลวง และจัดการศึกษา
๘๘๒๐
• ประวตั กิ ารอาพาธของท่านเจ้าคุณอุบาลีฯ
••  พโเยอ.ยี่ศวาม. ทเ๒ยทีย๔า่ น๗น เ๔จา้ หคณุลวองบุปา่มู ล่ันีฯเยกีย่ ลม่าอวาเกตาือรนอใาจพพาทุ ธธทบ่านรษิเจทั ้าทคีม่ณุ าอุบาลีฯ 8๙๙๑

• พหลระวศงปษิ ู่แยหห์ วลนวไงปปเูม่ ฝน่ัา้ พเยยีย่ ามบอาาลกทา่ารนอเาจพ้าาคธณุ ทอา่ บุนาเจล้าฯี คุณ อบุ าลีฯ ๙๙๔๖
• 9๗
 •  เทหา่ ตนกุ เจาร้าณคณุ ว์ ันอกุบอ่านลฯีมรณ ภาพถงึ วันพระราชทานเพลงิ

๒. ภาคบรู พาจารย ์ ๑๐๓
• ทตบพนู้รำ�รไพะตมอารทจุบะา่ากานรลูลยพคีก์ รุณรวะรปูัดมอมบาฐจาารจนามรา นยริวยท์ า์ัง้สย งั๓เปร็นปู กไวมี ่พนกั ักทแี่วตดั ่งบกรลมอนนิวาแสต ง่ โคลง ๑11๑๐๑๑๐๔๒๑๖



•  ทในาสยาายทภธารครมอสี นานี้คอื จุดเร่มิ ตน้ ของพระธดุ งคกรรมฐาน
11๑๑๔๕
• หลวงปู่เสาร์ฟังธรรมทา่ นเจ้าคุณอบุ าลีฯ
• ••••••••  หธจทคอหหหทรอคัรลอลล่าา่ รูบนมนรวววธมฐงางงรปเเจนจปปปาศรร้า้านมทิรู่ม่มูู่มาคควีเวชานั่่ั่นันปุณุณิชิจนญกอรน็ัยาอบัอ�ำอ์ทรทเเบุหุบเกลณ้ังรปต่ี านาสปอื่ื่องั้็น ์ลลอดมงฏแเฯีฯีมงจใจิบหสฉ ติติ้าัตง่ ทหลรอดมเิ าแา่ลบาทูรดนทวว้ือร่ามางเ้สคนงจปสาตอผเา้แวจ่มูน้งลคัดต้าโ่นัไนณุลคเเ่ดจปิพกณุอศ้คด็นพ บุึกรอียฆาษาูบุบห์ นรลาาาลา ีฯอศลวว บรฯีางวีส ร ชิมัยก บั
1๑๖
1๑๗
1111111๒๒๒๓๒๓๑๒๘๐๙๙๑๑

•••••••••••••••  หทหหกทหหหกทหหททถาาวลลลลลลลล่่่าาา่า่ารรานนนนนววววววววสอยงงงงงงงงเเเเเรจจจจจบศปปปปปปปปา้้า้้าา้า้าารู่ตููู่แแ่่เ่่ตูู่บแูู่แงคคคคคทลมหหหหือื้อ้อดุ ุณุณณุุณุณสาอนเกววววดโลกินอออออนนนนลสุราา่์กทุบบุุบุบุบงา่าพใเเลลหธววรกราาาาาสบ่าร่ารถ่ือค้ลลลลลยีบัุจกเรวยีงึงว์ฯีฯฯีีีฯีฯริณมชบัพ์ททา่ือ๕ททนืฺ่โทมร่า่างเเบบร ณ่าะนชผทบ่ีนไเ่าบั อันนคมอนมชเศเา้ อกจจดาเส้บุนิญคเเนจารา้ทใจ้าาีฟาณุส้าห์เรโพคคลา้ศลฉลันคาาห้คุณณุธใทคีนพมธกพุณหรณุล่าณุน์ยออาผธรรฝ้วนอะกอรุบุบางมะปูนงุบเรพ นคุบา าทปจมตมาลิมลรำ�าา้า่าู่แกลสะลฯีีฯนคจนหทฯี๘พอีฯ ณุาตเว่ัวจนร ักแ์เนพเ ปย้าทต(ลชทพค์ร็นระ่ายี ะอ่(ณุ.์รนปงศสองัชใคเรอริ.ปบุหจกะจิรบุ ้าา๒ามาธนูบาฏคลล ่า๔โฺาลุณฯีโิทนทศ๖ฯีม ี่อร ๔กจ๕วีุบข)นิชั า ์ ัยทล รฯี )์ 111๑11111111111๔๔๕๔๔๖๓๖๕๕๔๕๖๖๖๗๗๔๒๒๘๘๕๐๐๙๙๑๖๖
• ••  หหสแมลลละเววดหงง็จตป••••ลพา่สูวทเทนมรมิงชะิทห่าา่ปกยี นนมาาูม่รงหเเนบาใ่นัจจหบาหวั ้า้ามมเนลคคทนุจ่วมณุณุ ศังีวงสั นหออตงกศุบบุาวาาธบด์ัดาารรลลำ�มวฟรเชีฯฯีหนงัมทธาินถมหฉรแี ึงตรลงรนทามคกอัก่ามทล งนทปวมา่ เ้ังฏัดนจจีปปิเา้เอขรจคทมิยาา้ ณุ ปาพตัคทรอแิณุร่าาะบุลอนชงะาบุญาเลปจมาีฯอ์ฏ้าล บุคิบฯี ุณตัตั ิขิ อึน้ บุ าลีฯ11๑1๑11๗๗๗๗๘๗๗๒๒๓๓๘๐๖

แหทหวธิอลล่ากีนบววางงพดรปป•••ทูรนูเู่่มะา่จวแทรหอน๊ีย่ืนดส่าาาเะกเนดจจเรเขำ�งเา้าทิงจดียครใศา้นโว้นยณุ ดคนยธ์จเยณุอล์ยครวทบุา่กรวนอเม่าภาารบุ นลมภา่อืกาฯีเรษางลลุจูค้วทติฯีเ้านวชนา่ทคาานฏ่งัา่ณุธม สเโฺนรจเอมรหเ้าบุจาม็นคธ้าากนขณุคกิลถมิอณุบัคีอกึติงหุณุบเอธทอลารุบปู่ากลวรานม มงีฯลเาปแจีฯจมู่ทา้เ าคคน่ั้ๆรยณุ ยอ์ อย ุบาากลสฯีกึ 1111๘๘๘๘๗๔๓๙
1๙๓
1๙๔
• ๑1๙๙๗๕





๓. ภาคคตธิ รรมคำ� สอน 1๙๙

๔. ภาคสมณศกั ดแิ์ ละผลงานสำ� คญั ๒๐๗

๕. ภาคผนวก ๒๑๙
    กแลาระสพรร้าะงพวดัุทสธิรปจิ ฏนั ิภทารคนมมิ ธั ิตยวมรพวทุ ิหธากราล



ภาคอตั ตโนประวตั ิ

2 ประวัติพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท)

ประวตั พิ ระอบุ าลคี ณุ ปู มาจารย์ (จนั ทร์ สริ จิ นโฺ ท )

(จากหนงั สอื อตตฺ ปวตฺ ติ ของ พระอบุ าลคี ณุ ปู มาจารย)์
นมตฺถุ รตนตยฺ สสฺ , อกฺขามิ ปวตฺตํ มมํ

สสิ สฺ านํ โพธนตถฺ าย, ตํ สุณาถสสฺ สาธกุ ํ ฯ
จักกล่าวประวัติไว้เป็นที่ระลึกแก่สานุศิษย์ทั้งหลายผู้ต้องการ
อยากรู้ ดว้ ยในปีขาล พ.ศ. ๒๔๖๙ น้ี เดอื น ๔ แรม ๑๐ ค�่ำ ตาม
จนั ทรคตอิ ายขุ องอตั ตโนครบ ๗๐ ถ้วน นับเป็นวนั ได้ ๒๕,๕๕๐ วนั
ควรเปน็ ที่ยนิ ดีอย่างสูงสดุ
ถ้าจะคิดถึงชีวติ ของสตั ว์ ซึง่ เขารักเหมือนชวี ติ ของเรา แตถ่ กู
เราปล้นแย่งเอาร่างกายซึ่งเป็นของรักแห่งเขามาบ�ำรุงชีวิตอันเป็นท่ีรัก
ของเรากน็ า่ สงั เวชสลดใจ ถ้าจะนับทงั้ ไข่ทั้งตัวเอามาบำ� รุงคนๆ เดียว
ก็เห็นจะมากกวา่ ลา้ น แตจ่ ะทำ� อย่างไรได้ ถกู ธรรมดาบังคับเสียแลว้

3

ก็ตอ้ งทำ� ไมร่ ู้ ไม่เหน็ ท�ำเซอ่ ๆ ยินดวี ่าตนข้ามทางกนั ดารจวนจะถึง
ที่พักแลว้ เทา่ นั้น เปรยี บเหมอื นนายเรือน�ำเรอื ของตนขา้ มมหาสมุทร
ผ่านอุปสรรคตลอดไปได้ จนแลเห็นทิวไม้ฝั่งที่ตนประสงค์ นายเรือ
แลคนโดยสารจะมีความยินดีสักปานใด แม้ผู้น�ำเรือคืออัตภาพผ่าน
อปุ สรรคมาไดถ้ ึง ๗๐ ปีน้ี กเ็ ช่นน้นั คือแลเห็นฝั่งที่จะจอดอยแู่ ลว้
จะอยู่ไปได้อีกไม่กี่ปี คงจะรักษาคุณความดีที่ตนประพฤติมาแล้วน้ี
ตลอดวันตายได้ ไม่ใช่ยนิ ดตี ่อความแกค่ วามเฒ่า ยนิ ดตี ่อคุณความดี
ท่ีตนได้ประพฤติมาแล้วต่างหาก จะไปยินดีต่อความแก่ความเฒ่า
ทำ� อะไรกนั ฯ
ในการท�ำบุญนี้ได้ปรึกษากับพวกสัตบุรุษแลพระเณรซ่ึงเป็น
ลูกศิษย์ พระอมราภิรักขิต (ชัย) เป็นผู้หัวหน้า บอกเล่ากันให้รู้
ทวั่ ไปในพวกลกู ศิษย์ จะให้มีพระสวดมนต์ ๗๑ รูป พระเทศน์ ๑ รูป
เป็น ๗๒ รูป สว่ นนใ้ี ห้ไดอ้ ัฐบริขาร บาตร, ไตร, กระโถน, ขนั น้�ำ,
ส�ำรบั คาวหวาน, พร้อม แต่ใหไ้ ดจ้ ีวรแพรทั้งไตร แลให้มีพระมาฉนั อีก
๗๐๐ รปู ถวายของเป็นฉลาก คงจะใช้เงินไมต่ ่ำ� กวา่ ๘,๐๐๐ บาท
จะตอ้ งอาศยั สตั บุรษุ เปน็ กำ� ลังจงึ จะสำ� เร็จ
ส่วนอัตตโนเองต้องการจะแจกหนังสือเบ็ดเตล็ดที่ได้แต่งขึ้น
ไว้แล้วแก่ผู้ควรได้ ด้วยอ�ำนาจบารมีธรรมหากให้เป็นไป จ�ำเพาะ
ได้พระยาธนภารพสิ ษิ ฐ์ (เปา มิลนิ ทสตู ) เป็นผอู้ ุปภัมภ์มีศรัทธา
อนั แรงกลา้ รบั ภาระในการพมิ พห์ นงั สอื ทกุ เรอ่ื งสดุ แตจ่ ะหาได้ บรรดา
หนงั สือท่อี ตั ตโนแตง่ เกบ็ มารวมพมิ พ์จนส้ิน อยา่ งละ ๑,๐๐๐ ฉบับ
ส�ำเร็จทันความประสงค์ สิ้นทุนทรัพย์หลายพันบาท ท�ำให้อัตตโน

4 ประวัติพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท)

ปลมื้ ใจอยา่ งยิ่ง อตั ตโนขออนโุ มทนา ขอใหพ้ ระยาธนภารพิสษิ ฐภ์ ยิ โย
ยงิ่ ในสงิ่ สขุ สมบตั ทิ ง้ั สว่ นโลกยี แ์ ลโลกตุ ตระทที่ า่ นปรารถนา จงใหส้ ำ� เรจ็
ทกุ ประการ ดังอัตตโนตอ้ งการหนงั สือมากมายหลายหลวงสำ� เร็จไปได้
ตามประสงค์ฉะนัน้
การท่ีแต่งหนังสือได้มากมายอย่างน้ี ไม่ใช่แต่งด้วยหวังจะให้
เขาสรรเสริญว่าเป็นจินตกวี แต่งด้วยการสงเคราะห์ลูกศิษย์ท่ีอยู่ใน
ทิศต่างๆ ห่างๆ ไกลๆ อยากแต่จะนิมนต์ให้อัตตโนไปเทศน์ให้ฟัง
อัตตโนไม่มีความสามารถจะไปให้ทว่ั ถงึ จึงได้คิดแต่งเป็นหนังสอื เทศน์
แทนตัว แจกออกไปเป็นคราวๆ หลายปีก็เลยเกดิ เป็นหลายเรอื่ งขึน้
เท่านั้นเอง ขอท่านทั้งหลายอย่าเล็งโทษว่าเป็นคนอวดดิบอวดดีเลย
แลก็คงจะมีผิดบ้างถูกบ้างเป็นธรรมดา ต้องอาศัยความเลือกเฟ้น
อีกชั้นหนึง่ ขออภยั แกท่ ่านทงั้ หลายทว่ั ไป
นสิ ยั ของคนเราโดยมาก ถงึ หนงั สอื นน้ั เปน็ หนงั สอื ดชี ป้ี ระโยชน์
ถึงร้อยข้อ แต่พิรุธเสียข้อหนึ่ง ก็ต้องยกโทษเห็นว่าหนังสือนี้ใช้ไม่ได้
เหมือนคนไปซื้อผ้า ถึงผ้าน้ันเนื้อจะดีสีจะงามอย่างไรก็ตาม ถ้าเห็น
ขาดทะลนุ ิดหนง่ึ ก็ยอ่ มยกโทษนน้ั แหละขึ้นกลา่ วว่าผ้านใี้ ชไ้ ม่ได้ ข้อนี้
มักเป็นนิสยั ของผไู้ มฉ่ ลาด ถา้ ผู้ฉลาด การดหู นงั สอื ตรวจหนงั สอื ทา่ น
ถือเอาผู้หาแก่นไม้เป็นตัวอย่าง ถ้ารู้ว่าไม้ต้นน้ีมีแก่น ถึงเปลือกหรือ
กระพ้ีจักห่อหุ้มอยู่สักเท่าไรก็ตามไม่เกลียดไม่ชัง สู้ถากทิ้งในส่ิงท่ีตน
ไมต่ อ้ งการนน้ั เสีย ถือเอาแต่แกน่ ส่ิงทตี่ นต้องการกส็ �ำเรจ็ ประโยชน์
ได้

5

ประวตั แิ ตเ่ บอื้ งตน้

ต่อนี้ไปจะเล่าประวัติแต่เบ้ืองต้นมาให้ฟัง พอเป็นส�ำเนาเพื่อ
ลกู ศิษย์ผูต้ อ้ งการรู้ อัตตโนเกิดท่บี า้ นหนองไหล เปน็ หม่บู า้ นใหญ่มี
หลงั คาเรอื นไม่ต่ำ� กวา่ ๒๐๐ ต้งั อยทู่ ิศพายพั เฉยี งเหนือห่างจากเมอื ง
อุบลประมาณ ๔๐๐ เส้น บิดา ชื่อ สอน มารดา ช่ือ แก้ว
อตั ตโนเป็นบตุ รหัวปี บดิ ามารดาบอกไวว้ ่า เกดิ ปมี ะโรง พ.ศ.
๒๓๙๙ เดือน ๔ แรม ๑๐ คำ�่ วนั ศกุ ร์ เวลา ๑๑ ทมุ่ เศษ มีพนี่ อ้ งร่วม
บิดามารดาดว้ ยกัน ๑๑ คน ตายเสยี แต่ยังเล็ก ๔ คน ชาย ๒ หญิง ๒
ใหญ่เป็นเหย้าเป็นเรือนด้วยกัน ๗ คน ชาย ๔ หญิง ๓ ในทุกวันน้ี
หญงิ ตายไป ๒ คนแลว้ คงยงั เหลอื คนเดยี ว ส่วนชายยังคงอยดู่ ว้ ยกัน
ทัง้ ๔ คน ส่วนบดิ ามารดาเปน็ คนท�ำนาท�ำสวนเป็นอาชพี อตั ตโน
ไดอ้ ยู่ในความปกครองของบิดามารดาเพยี ง ๑๒ ปเี ทา่ นน้ั แต่รสู้ ึกว่า
มคี วามสบาย บดิ ามารดาไม่พาอัตคดั ขัดสนอะไรเลย แตเ่ ปน็ นสิ ัยของ
เด็กยอ่ มไม่รจู้ ักทกุ ข์

6 ประวัติพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท)

บวชเปน็ สามเณร

ครน้ั ย่างเขา้ ปอี ายุ ๑๓ เป็นปพี ระบาทสมเดจ็ พระจอมเกลา้ -
เจา้ อยหู่ วั สวรรคต เปน็ ธรรมเนยี มตอ้ งโกนผมไวท้ กุ ขท์ ว่ั พระราชอาณาจกั ร
ประเทศลาวทัง้ สิ้น บรรดาผู้หญงิ ไม่วา่ สาวหรอื แกไ่ ว้ผมยาวท้ังส้ิน พอ
ทราบประกาศว่าให้โกนผม พากันระงมไปด้วยเสียงร้องไห้ท่ัวบ้าน
ทั่วเมือง นา่ สลดใจเสยี ดายผมเท่านน้ั พากนั อายศีรษะโล้น ต้องคลุม
ผ้าไวเ้ สมอ ส่วนอตั ตโนชอบใจเห็นศรี ษะโลน้ เป็นงามดี บดิ าถามว่า
จะให้บวชเป็นสามเณรจะอดข้าวเยน็ ได้ไหม ? เป็นท่พี อใจรบั วา่ อดได้
เพราะเห็นสามเณรเป็นท่ีพอใจอย่กู ่อนแล้ว
บิดามารดาจัดการน�ำไปบวชที่วัดบ้านหนองไหล เจ้าอธิการ
โสดาเป็นอุปัชฌายะ เรียนหนังสืออยู่กับพระเคนเป็นญาติกัน จ�ำ
ได้แต่เพียงว่าบวชเดือนย่ี ปีมะโรง พ.ศ. ๒๔๑๑ จะเป็นขึ้นแรม
เท่าไรจ�ำไมไ่ ด้ ครั้นถงึ เดือน ๔ พระวัดสีทองในเมืองออกไปเยี่ยมโยม
ทบี่ ้าน พระองคน์ ั้นก็เป็นญาตกิ ันอีก ท่านชวนใหเ้ ข้าไปเรยี นหนังสือ
อยู่วัดสีทองด้วยกันกเ็ ตม็ ใจ โยมทงั้ สองกย็ นิ ดีด้วย เพราะทา่ นเทวธมมฺ ี
(ม้าว) เจ้าอธิการวัดสีทอง เป็นสัทธิงวิหาริกในพระบาทสมเด็จ
พระจอมเกลา้ เจ้าอยูห่ วั เปน็ ทเี่ คารพนบั ถือของประชาชนในสมยั น้นั
แลเป็นญาติกับอัตตโนด้วย คือ มารดาของท่านเทวธมฺมีเป็นพี่สาว
มารดาของโยมผู้ชายของอตั ตโนเปน็ น้องสาว

7

สกึ จากสามเณรไปตามโยมบดิ า

ครั้นอัตตโนเข้าไปอยู่วัดสีทอง ถืออุปัชฌายะในส�ำนักท่าน
เทวธมฺมี อยู่ศึกษาเล่าเรียนท่องสวดมนต์จบตามหลักสูตรของวัด
หนังสือทเ่ี ปน็ สกภาษาช�ำนาญเรียนหนงั สือไทยอ่านออก เลขบวกลบ
คูณหารได้ เรียนบทมาลาคือไวยากรณ์ทุกวันน้ีแต่ย่อๆ ไม่สู้ได้ความ
นัก เรยี นล�ำบากมากเพราะไม่เข้าใจความ เรียนไปอย่างนั้นเอง
อาศัยแต่ท่องให้ข้ึนปากข้ึนใจไว้เท่าน้ัน แล้วท่านอุปัชฌายะให้เรียน
แปลปาฏิโมกข์ เรียนจบแล้วไม่เข้าใจ กลับเรียนต้ังต้นไปใหม่เป็น
๒ จบ แตเ่ ปน็ สามเณรเล่าเรียนอยู่ได้ ๗ ปี อายุย่างเข้า ๑๙ ก�ำลัง
เร่ิมเรียนมูลกจั จายน์ แตเ่ ผอญิ ตอ้ งสึกไปตามโยม
ดว้ ยโยมผชู้ ายถกู เกณฑไ์ ปทพั ฮอ่ ไปทนั กองทพั ทเ่ี มอื งกาฬสนิ ธ์ุ
มีผรู้ บั จ้างไปแทนโยม เสยี เงนิ ใหเ้ ขา ๒ ฮาง1 มอบลกู จา้ งแกน่ ายร้อย
นายสิบแล้ว เขาอนญุ าตใหก้ ลับบา้ น ที่จะต้องไปตามนั้นเพราะเปน็
เดือน ๘ กำ� ลงั ท�ำนา โยมไปเสยี แลว้ ไมม่ ีผู้ช่วยท�ำนา มีแต่นอ้ งเล็กๆ
ควายฝงู มีกว่า ๒๐ ตวั ถ้าโยมผ้ชู ายไมอ่ ยู่ อตั ตโนก็ต้องสึกไปช่วยโยม
ผู้หญงิ อยู่นั่นเอง
การทอี่ ตั ตโนสกึ ท่านอุปชั ฌายะเสียดายอย่างยิง่ แตจ่ ำ� เป็น
ตอ้ งยอมอนญุ าต คร้ันกลับจากไปทพั แลว้ อตั ตโนก็ช่วยบดิ ามารดา
ท�ำนา แต่ไมค่ ิดจะบวชอีกเสยี แลว้ ใหเ้ พลินไปในทางหนมุ่ โยมก็

คิดเปน็ เงินส๑ยาชมือ่ปเรงะนิ มแาทณง่ ชรนาวดิ ห๒น๕ง่ึ ขบอางทเม๒ืองสฝล่าึงยเหนอื ฮางหน่งึ น�้ำหนกั เงิน ๖ ต�ำลึง ๖ สลึง

8 ประวัติพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท)

ตามใจเสยี ด้วย อย่ใู นเพศฆราวาสอกี ๓ ปี อัตตโนเพลนิ อย่ดู ว้ ยความ
เลน่

ตงั้ ใจอปุ สมบทเพราะรบั ปากโยมมารดา

พอย่างเข้าปี ๒๒ เดือน ๖ ท่านอุปัชฌายะใช้คนมาหาโยม
เร่งเอาตวั อัตตโนไปบวช ถา้ โยมส่งไมไ่ ด้จะลงทัณฑกรรมแก่โยม แต่
ความจรงิ อัตตโนตัง้ ใจจะบวชอยู่เสมอ ด้วยได้รับปากกับโยมผู้หญงิ ไว้
คอื โยมผหู้ ญงิ บอกว่า อตั ตโนเป็นคนที่เล้ียงยากท่ีสดุ คอื เปน็ เดก็ ท่ีดอื้
ที่ซนข้ีร้องไห้ ถ้าร้องไห้แล้วต้ังชั่วโมงก็ร้องอยู่ได้ โยมได้รับความ
เดือดร้อนอย่างสาหัส ถ้าไม่บวชให้เห็นจะไม่พ้นโทษต้องบวชให้โยม
อตั ตโนก็ไดร้ ับว่าจะบวชให้เพยี ง ๓ ปจี ะพอใจหรอื ไม่ ? โยมบอกวา่
ปีเดียวสองปเี ท่าไรไมว่ า่ ขอแต่ให้บวชเป็นแล้วกนั
ท่ีรบั สัญญากับโยมผู้หญงิ ไวน้ ี้ไม่ลมื เลย พอท่านอุปัชฌายะให้
มาเรง่ เอาตวั ก็เต็มใจไปบวช แตน่ น่ั หละเรอ่ื งอนาลโยในมาตุคามบีบ
หัวใจของอตั ตโน ดูเหมอื นความเศร้าโศกทบั หวั ใจไมใ่ ช่นอ้ ย แต่ไมถ่ ึง
ร้องไห้ อัตตโนเป็นคนใจแข็ง นับแตอ่ ัตตโนจำ� ได้ ตง้ั ต้นแต่อายุได้
๑๕ ปี เปน็ ล�ำดับมาจนถึง ๗๐ น้ี อตั ตโนยังไม่เคยรอ้ งไห้เลย น�ำ้ ตา
จะได้ไหลออกด้วยการรอ้ งไหย้ งั ไม่เคยมเี ลย
คร้ันถงึ ณ วนั เดือน ๖ ข้ึน ๘ ค่�ำ ปีฉลู พ.ศ. ๒๔๒๐ ท่าน
ใหก้ ารอปุ สมบทเสร็จลงในเวลาเชา้ ๔ โมง ๑๕ นาที ท่านเทวธมมฺ ี
เป็นพระอปุ ชั ฌายะ เจ้าอธิการสีโห วดั ไชยมงคล เป็นกรรมวาจาจารย์

9

คร้ันอุปสมบทแล้ว ท่านกรรมวาจาจารย์ขอไปไว้วัดไชยมงคล เพ่ือ
จะไดช้ ว่ ยกิจวัตรในวัดนนั้ เพราะไมม่ ตี วั จะใช้ แตว่ ดั ไชยกับวดั สที อง
อยู่ใกล้กัน ห่างกันประมาณสัก ๑๐ เส้นเท่านั้น แต่ต้องมาเรียน
หนังสือท่ีอปุ ชั ฌายะ เพราะอาจารยส์ อนไมไ่ ด้

พรรษา ๑ – ๓ ทอ่ งสวดมนต์ เรยี นมลู กจั จายน์

ในพรรษาต้นต้องท่องสวดมนต์ พอท่องสวดมนต์ได้แล้ว ก็
ต้งั หนา้ ทอ่ งสูตรมูลกัจจายน์ตลอดปจี งึ จบ พอย่างเข้าปีที่ ๒ กล็ งมอื
เรียนมูลกัจจายน์ เรียนอยู่ ๒ ปีจบเพียงอาขยาต ท่านอุปัชฌายะ
บอกวา่ เรียนมลู ใหจ้ บเสียก่อนจึงเข้าไปกรงุ เทพฯ เผอญิ ในพรรษาท่ี ๔
พระอุปัชฌายะอาพาธเปน็ ไข้เรือ้ รงั ถึง ๔ เดอื น บอกหนงั สอื ไม่ได้เสยี
เวลาเปลา่ ครั้นออกพรรษาแล้ว พระอุปชั ฌายะบอกว่า อยทู่ นี่ ี่จะเสีย
เวลามากไปจะไปกรุงเทพฯ กเ็ ตรยี มเถอะ การท่ีจะเข้ามาเลา่ เรียนใน
กรุงเทพฯ ปรารภมา ๒ ปีแลว้ เม่ือท่านอปุ ชั ฌายะเปดิ โอกาสกด็ ใี จ
ฝ่ายบ้านเมืองเขาเตรียมจะเข้ามาส่งพระราชทรัพย์ เดือนอ้ายเขาจะ
ยกออกจากเมืองอบุ ล เพ้ยี มหาสงครามเป็นหัวหนา้ แลเป็นคนชอบ
กนั กับอตั ตโน พระอุปัชฌายะกฝ็ ากเขาดว้ ย

10 ประวัติพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท)

โอวาททา่ นอปุ ชั ฌายะกอ่ นเขา้ กรงุ เทพฯ

เวลาจะเข้ามากรุงเทพฯ ไปท�ำวัตรนมัสการท่านอุปัชฌายะ
ท่านใหโ้ อวาทน่ายินดี ๓ ประการ
ข้อ ๑ สั่งว่าเม่ือไปถึงกรุงเทพฯ แล้วให้ไปนมัสการพระแก้ว
มอบกายถวายชีวติ อธิษฐานตามประสงค์ฯ
ข้อ ๒ วา่ การเขา้ ไปอยู่บา้ นใหญเ่ มืองหลวง ใหส้ ังเกตดูวัดใด
เป็นวัดใหญ่มีพระเณรมาก เขาจะบอกว่าเป็นวัดไม่ดีไม่ควรอยู่ก็ตาม
อย่าเช่ือให้ไปอยู่วัดน้ันแหละ เขามีดีอยู่ในท่ีน้ัน เขาจึงมากให้ไป
เลอื กเอา วดั ใดมพี ระเณรน้อย เขาจะชมว่าเปน็ วัดดีควรอยู่ก็อย่าเช่อื
มนั มีชวั่ อยู่ในที่นั้นมนั จงึ น้อยฯ
ขอ้ ๓ ว่าเมอ่ื เราจะไปอยู่กับท่านผใู้ ด ซึง่ เราหวังว่าจะเปน็ ที่
พ่งึ พาอาศยั เป็นเจ้าเปน็ นาย ให้สงั เกตดู ถ้านสิ สัยไม่ถูกกนั อย่าอยู่จะ
มีความผดิ ใหส้ ังเกตดงั น้ี ถ้าทา่ นประพฤตอิ ย่างไร ท่านทำ� กิจส่ิงไร เป็น
ที่ไม่ชอบใจของเรา เราท�ำสง่ิ ไร ประพฤตอิ ย่างไร เปน็ ทีไ่ มช่ อบใจของ
ท่าน ช่ือวา่ นิสสัยไมก่ ินกนั รีบคดิ ไปอยูท่ ี่อน่ื ถา้ ทา่ นทำ� สิ่งไร ประพฤติ
ส่ิงไร ก็เป็นที่ชอบใจเรา เราท�ำสิ่งไร ประพฤติสิ่งไร ก็เป็นที่ชอบใจ
ท่าน อยา่ งนี้ช่อื วา่ นิสสยั กนิ กนั อุตสาหะตัง้ ใจปฏบิ ตั อิ ยใู่ นสำ� นักท่าน
ไป อาจจักสำ� เรจ็ ความประสงคข์ องเราทุกประการฯ

11

การเขา้ มาอยู่กรุงเทพฯ ท่านอปุ ัชฌายะให้หนังสอื ๓ ฉบับ
ถวายสมเด็จกรมพระยาปวเรศวรยิ าลงกรณ์ฉบบั ๑ ถวายสมเด็จพระ
สงั ฆราช (สา) วัดราชประดิษฐ์ ยงั อยใู่ นตำ� แหน่งพระพทุ ธโฆษาจารย์
ฉบบั ๑ ถึงพระออ่ น วัดบรุ ณสิริมาตยาราม ซ่ึงเปน็ สทั ธิงฯ ของทา่ น
ภายหลังไดเ้ ปน็ พระอรยิ กวี เจ้าคณะเมอื งอบุ ลฉบบั ๑ ใหเ้ ปน็ ผูน้ �ำ
ถวาย ครน้ั เขา้ มาถงึ กรงุ เทพฯ แลว้ ได้พักอยูท่ ่ีวัดบรุ ณสริ ิมาตยาราม
กับท่านอ่อนช่ัวคราว ท่านอ่อนเป็นผู้จัดการ ส่วนอัตตโนกับสีโห
นอ้ งชายทา่ นเอาไปฝากปลดั ผา วดั เทพศริ นิ ทราวาส ปลดั ผากเ็ ปน็ สทั ธงิ -
วิหาริกของท่านเทวธมฺมีเหมือนกัน ถวายตัวเป็นอันเตวาสิกเจ้าคุณ
อริยมุนี (เอม) เจ้าอาวาส อีกองค์หน่ึงท่านอ่อนรับไว้ เข้ามาถึง
กรุงเทพฯ เดอื น ๓ เดือน ๔ ได้ไปอยวู่ ัดเทพศิรินทราวาส
การเขา้ มาอยกู่ รงุ เทพฯ นบั วา่ เปน็ โชคดี ประจวบกบั สมยั มงี าน
พระเมรุพระนางสุนันทากุมารรี ตั น์ ณ ทอ้ งสนามหลวง มพี ระเมรใุ หญ่
พระเมรุทอง มีเคร่ืองพระราชไทยทาน แลการละเล่นเต็มยศตาม
แบบโบราณราชประเพณี ถ้าผู้ไม่ไดเ้ หน็ กน็ า่ เสียดาย ต่อนนั้ มานบั วา่
ทรงยกเลิกงานใหญ่ในท้องสนามหลวงก็ว่าได้ คงไม่ได้เห็นงานใหญ่
เชน่ นั้นต่อไปอกี ฯ

12 ประวัติพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท)

พรรษา ๔ - ๖
จำ� พรรษาวดั เทพศริ นิ ทราวาส เรยี นธรรมบท

เมือ่ อัตตโนได้อาศยั วัดเทพศิรินทราวาสอย่เู ปน็ สขุ ในเวลาน้นั
ยังเป็นวัดใหม่ พระสงฆ์พ่ึงยกมาอยู่ได้ ๔ พรรษาเท่ากับพรรษา
ของอัตตโน ตกลงอัตตโนอุปสมบทปีพระสงฆ์ยกมาอยู่วัดเทพศิริน-
ทราวาสนั้นเอง ในเวลานน้ั ปจั จัยทั้ง ๔ บรบิ ูรณ์ ไมไ่ ด้รับความอัตคดั
ขัดสนเลย ได้ตั้งหน้าเล่าเรียนโดยส่วนเดียว เจ้าอาวาสก็มีเมตตา
สงเคราะห์โดยฐานะแห่งลูกศิษย์กับอาจารย์ สัตบุรุษจ้างอาจารย์ให้
มาสอนธรรมบททีปนีอยู่ ๒ คน ตอนเช้าช่ืออาจารย์บุตรมาสอน
ตอนเพลแล้วมหาดดิ มาสอน
มหาดดิ องคน์ ้ที ราบวา่ เป็นเปรียญอยู่วัดบวรนิเวศ ในเวลาน้ัน
ประมาณอายุอยู่ในระหว่าง ๖๐ เปน็ ผูใ้ หญ่แลว้ หนังสือดี เขาว่าทา่ น
เสียจริต จึงต้องมาปลูกกุฏิอยู่ที่ใกล้บ้านน้องชายหลังวัดเทพศิริน-
ทราวาสใกล้วดั จางวางพว่ ง ดูเหมอื นว่าเป็นเปรียญ ๕ ประโยค เป็น
พระอยู่บา้ น อะไรทา่ นก็ดที กุ อยา่ ง เปน็ แต่ทา่ นชอบเลน่ หมากรุก
เทา่ น้ัน ส่วนอาจารย์บุตรน้ันชอบเลน่ หวย เงินเดอื นทีบ่ อกหนงั สอื ได้
ไมพ่ อใชห้ วยกินงอม ไดเ้ รยี นธรรมบทอยใู่ นส�ำนักท่านท้ัง ๒ นี้ ปหี นึ่ง
ได้ความรพู้ อเปน็ สะพาน
มีผู้บอกเล่าว่าอาจารย์บุญบอกหนังสืออยู่ท่ีวัดกันมาตุยาราม
ดมี าก จึงไปขอเรยี นในส�ำนกั อาจารยบ์ ุญ ไปพกั แรมอยู่วดั กันมาตุยา-
รามบา้ งเป็นคราวๆ ยังไมเ่ ตม็ ปเี ผอญิ อาจารยถ์ กู เลอื กให้เข้าไปสอนใน

13

พทุ ธปรางคว์ ัดพระศรรี ตั นศาสดาราม พระเจา้ บรมวงศ์เธอ กรมพระยา
ด�ำรงราชานุภาพ ยังทรงว่าการทหารมหาดเลก็ ทรงจดั การบ�ำรงุ การ
ศกึ ษาที่วัดพระแกว้ ใหม้ ีอาจารยบ์ อกหนงั สอื ๔ อาจารย์ ตามศาลา
รายชั้นนอก ๓ อาจารย์ อาจารยบ์ ุญบอกอยใู่ นพทุ ธปรางค์ ทรงจดั
ให้มสี �ำรบั คาวหวานถวายพระนกั เรยี นเชา้ เพลเปน็ นติ ย์ ทว่ี ัดเทพศริ ิน-
ทราวาส อัตตโนกับมหาสิทธิท์ เ่ี ปน็ พระญาณวิจิตรรบั ราชการอยู่ ณ
หอพระสมดุ ทุกวันน้ี พากนั เขา้ ไปเรียนในพุทธปรางค์ทุกวนั สู้ทนความ
ล�ำบากอย่ไู ด้ปหี นึง่

พรรษา ๗ – ๙
เรยี นมลู กจั จายนท์ ว่ี ดั บบุ ผาราม

อยู่วัดเทพศริ นิ ทราวาสได้ ๓ พรรษา อาจารยเ์ หน็ ความลำ� บาก
แนะน�ำให้ไปอยู่กบั พระสาสนโสภณ (ออ่ น) เมื่อทา่ นยงั เปน็ เปรยี ญอยู่
วดั บุบผาราม พอปวารณาแลว้ ไมช่ ้านัก พระอริยมุนี (เอม) เจา้ อาวาส
วัดเทพศริ นิ ทราวาสเป็นอหวิ าตกโรคถึงมรณภาพ พอจัดการทางวดั
เรยี บรอ้ ยแล้วเรยี นท่านปลัดผาอาจารย์ขอลาไปอย่วู ัดบบุ ผาราม ท่าน
ก็เหน็ ชอบด้วย
พระปลดั ผานนั้ เปน็ ผ้คู วรเคารพอย่างย่งิ ความเมตตาของทา่ น
อุตสาหะน�ำอัตตโนไปฝากเจ้าคุณวเิ ชียรมนุ ี (เมตฺตค)ู เจา้ อาวาสแล
มหาอ่อนด้วยตนเอง อัตตโนเปน็ พระผใู้ หญไ่ ด้ ๗ พรรษาแล้ว ไปอยู่
วัดบบุ ผารามเรยี นหนงั สอื ในส�ำนกั มหาอ่อน ท่านบอกวา่ แปลหนงั สือ

14 ประวัติพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท)

กพ็ อสมควรแล้วเรียนมูลอกี เถอะ กต็ ง้ั หนา้ ท่องสูตรมูลอกี ทท่ี ่องไว้
แต่กอ่ นลืมหมดแล้ว กวา่ จะไดล้ งมือเรียนตง้ั ๓ เดือน
สูตรมูลเป็นของจ�ำยาก ชอบลืม ชอบสงสัย เว้นไม่ท่องสัก
๓ วนั จบั ทอ่ งเข้าเกิดสงสยั บางแห่งขนึ้ แล้ว เรยี นมูลตัง้ ตน้ แต่สนธไิ ป
ตลอดปีไดส้ นธิกบั นามผูกหนงึ่ เทา่ น้นั ส่วนคมั ภรี น์ ัน้ อาศยั ฟงั ผู้อื่นทา่ น
มาเรียนไดร้ ู้สึกวา่ มีความรูข้ ้ึนพอควร เข้าปีที่ ๒ กระทรวงธรรมการ
ประกาศว่า แล้งหน้าจะมีการสอบพระปริยตั ิธรรมให้ส่งบญั ชนี กั เรียน
อาจารย์ให้เลิกเรียนมูล ให้ซ้อมประโยคธรรมบทก่อนแต่เข้าพรรษา
ตลอดออกพรรษากไ็ มไ่ ดก้ ีป่ ระโยค แต่ลูกศิษยข์ องท่านทีอ่ ยวู่ ัดบบุ ผา-
ราม ทา่ นให้เข้าบญั ชี ๓ องค์ เม่ือเขา้ สอบได้ ๒ ตก ๑ ทีไ่ ดค้ อื อตั ตโน
กบั พระราชเมธี (ท้วม) ยงั เป็นสามเณร การแปลปริยัตธิ รรมคราวน้ี
แปลแต่ประโยค ๓ เท่าน้ัน จวนงานฉลองวัดราชประดิษฐ์ต้องเลิก
งดการแปลประโยคสงู ต่อไป

พรรษา ๙
เรยี นจบเปรยี ญ ๓ ประโยคดงั คำ� อธษิ ฐาน

เมื่อได้เปน็ เปรยี ญ ๓ ประโยค อัตตโนได้ ๙ พรรษาแล้ว อายุ
เข้า ๓๐ แล้ว การเล่าเรียนของอัตตโนนับว่าส�ำเร็จลงเพียงนี้ ใน
ระหว่าง ๕ ปีท่ีอัตตโนก�ำลังเล่าเรียนอยู่ น่ายินดีสมกับค�ำท่ีอัตตโน
อธิษฐานไว้จ�ำเพาะพระพักตร์พระแก้ว คือได้ต้ังสัตยาธิษฐานว่า
“ข้าพเจ้าตั้งใจจะเข้ามาเล่าเรียนเพื่อประโยชน์แก่พระพุทธศาสนา

15

ถ้าวาสนาสามารถจะเป็นคุณเป็นประโยชน์แก่พระพุทธศาสนาได้
ตอ่ ไป การเลา่ เรยี นของขา้ พเจ้าขอใหส้ ะดวก อย่าใหม้ อี าพาธป่วยไข้
จนถึงปว่ ยการการเล่าเรยี น แลขอใหข้ า้ พเจา้ ประสบพบเหน็ แต่ท่าน
ท่ีเป็นนกั ปราชญ์ อาจจกั แนะนำ� ข้าพเจา้ ให้มีความรูค้ วามฉลาด ถ้า
ไมม่ ีวาสนาในทางบ�ำรงุ ศาสนาแลว้ ความปรารถนาอธษิ ฐานนี้อย่าให้
ส�ำเร็จเลย”

พรรษา ๑๐
ตง้ั ใจศกึ ษาทางวปิ สั สนาธรุ ะ

ข้อที่ตั้งอธิษฐานไว้นี้นับว่าส�ำเร็จบริบูรณ์ แต่ความรู้จะให้
เช่ียวชาญไม่ได้อยู่เอง ด้วยมาจับเรียนหนังสืออายุย่างเข้า ๒๖ แล้ว
รูไ้ ด้เพียงนกี้ ็นับว่าเป็นลาภอันสำ� คญั แต่ท่ีจะเรยี นต่อไปอกี หมดความ
อตุ สาหะ คดิ ถงึ ตัวมากเห็นว่าการแปลหนังสอื พอรผู้ ิดรูถ้ ูกไดแ้ ล้ว
ตกลงเอาเปน็ พอ ตงั้ ใจวา่ ตอ่ แต่ ๑๐ พรรษานไ้ี ปจะศกึ ษาทางวปิ สั สนา-
ธรุ ะ เข้ามาเลา่ เรยี นอยู่กรงุ เทพฯ ๖ พรรษา อยูว่ ัดเทพศริ ินทราวาส
๓ พรรษา อยวู่ ัดบบุ ผาราม ๓ พรรษา คดิ จะไม่รับราชการตอ่ ไป
ด้วยคิดเห็นว่าความสามารถของตนจะไม่ทนั แกส่ มัย จึงได้ทลู ลาออก
ไปเมอื งอุบล พระอุปัชฌายะเทวธมฺมียงั อยู่

16 ประวัติพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท)

พรรษา ๑๑
ไดค้ วามสวา่ งในธรรมปฏบิ ตั ิ พอเปน็ ทางดำ� เนนิ

ได้ไปอุปัฏฐากพระอุปัชฌายะอยู่วัดสีทองพรรษาหนึ่ง เป็น
พรรษาที่ ๑๑ พ.ศ. ๒๔๓๐ ปีกุน การท่ีไปอยู่ปฏิบัติอุปัชฌายะมี
ประโยชน์ส�ำคัญ อยู่กับท่านแต่ก่อนท่านก็พูดธรรมสู่ฟังบ่อยๆ แต่
ไมเ่ ข้าใจเลย คร้ันกลบั ไปจากกรุงเทพฯ ทา่ นแสดงอะไรใหฟ้ ังเปน็ ท่ี
จบั ใจทุกอยา่ ง จึงได้รสู้ ึกความลกึ ซึ้งของครบู าอาจารย์ เมือ่ ท่านเห็น
วา่ เรามคี วามรู้พอรับรองได้ ทา่ นก็ตง้ั อกตงั้ ใจสอนจริงๆ คืนหนึ่งๆ
แนะน�ำอยไู่ ด้ต้งั ๔ - ๕ ช่วั โมง แทบทกุ คนื เวน้ แตม่ ีกิจไปท่อี ่นื ได้
ความสวา่ งในธรรมปฏบิ ัตใิ นส�ำนกั อปุ ัชฌายะพอเปน็ ทางดำ� เนิน

พรรษา ๑๒
จำ� พรรษาบา้ นหนองไหล รบั ภาระอปุ ชั ฌายะ

พรรษาท่ี ๑๒ ออกไปจำ� พรรษาท่บี า้ นหนองไหล ให้ปลูกกฏุ ิ
อยู่ท่ีปา่ มีพระเณรไปอยเู่ รยี นหนงั สือด้วย ๗ – ๘ องค์ ถงึ วันพระ
๘ – ๑๔ – ๑๕ ค่ำ� ใหพ้ วกญาตมิ าประชมุ ฟังเทศน์รับอุโบสถเสมอ
ในแล้งน้ีเจ้านครจ�ำปาศักด์ิแต่งกรมการมาขอพระธรรมยุติกาในส�ำนัก
อุปัชฌายะ ขอให้ไปต้ังคณะธรรมยุตท่ีเมืองนครจ�ำปาศักดิ์ พระ

17

อุปัชฌายะสั่งให้เข้าไปหารือเร่ืองจะให้ใครไปต้ังคณะธรรมยุตท่ีนคร
จำ� ปาศักด์ิ ตกลงหาตวั ไมไ่ ด้ อตั ตโนต้องรบั ภาระของอุปัชฌายะ
ปลายปี พ.ศ. ๒๔๓๑ นั่นเอง ตอ้ งลงไปอยเู่ มอื งนครจำ� ปาศกั ด์ิ

พรรษา ๑๓
จำ� พรรษาวดั มหามาตยาราม นครจำ� ปาศกั ดิ์

ในเวลานนั้ พระยามหาอ�ำมาตย์ (หรนุ่ ) เปน็ ขา้ หลวงประจำ� อยู่
ทีน่ นั่ พร้อมด้วยเจ้านครจ�ำปาศักด์ิสรา้ งวดั ใหใ้ หม่ ให้ช่ือว่า วดั มหา-
มาตยาราม มีพระเณรไปเรยี นหนงั สือดว้ ย ๑๑ – ๑๒ องค์ จำ� พรรษา
ทวี่ ดั มหามาตยาราม เปน็ พรรษาที่ ๑๓ ส่วนพระยามหาอ�ำมาตยก์ บั
เจ้านครจ�ำปาศักด์ิพร้อมใจกันมีหนังสือเข้ามากราบบังคมทูล ขอให้
อัตตโนเปน็ เจา้ คณะสังฆปาโมกข์เมืองนครจ�ำปาศกั ดิ์ อัตตโนไม่ทราบ
เลย ตอ่ ออกพรรษาแลว้ เดือนยไ่ี ดร้ ับทอ้ งตราใหห้ าตัวอตั ตโนเข้ามารับ
สัญญาบตั ร ณ กรงุ เทพฯ เมอื่ ได้รบั ทอ้ งตราแล้ว ก็เป็นอันหมดปญั หา
สว่ นลาภ ยศ อตั ตโนไมร่ งั เกยี จ ไม่เบื่อไม่หน่าย ไดอ้ ะไรเปน็ อะไรก็
ยินดีทง้ั นน้ั อตั ตโนรังเกียจเบื่อหน่ายแตค่ วามรคู้ วามฉลาดของอตั ตโน
ไมเ่ พียงพอเทา่ นัน้

18 ประวัติพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท)

พรรษา ๑๔
จำ� พรรษา วดั พชิ ยญาตกิ าราม กรงุ เทพฯ

เดอื น ๓ ปี พ.ศ. ๒๔๓๒ ออกจากเมืองนครจำ� ปาศกั ดิ์
เดอื น ๖ พ.ศ. ๒๔๓๓ จงึ ถึงกรุงเทพฯ พกั จ�ำพรรษาอย่วู ดั พชิ ยญาติ-
การามกับเจ้าคุณสาสนโสภณ (อ่อน) อาจารย์ เวลานั้นยังเป็น
พระเมธาธรรมรส เปน็ พรรษาที่ ๑๔ การเข้ามากรงุ เทพฯ ครั้งท่ี ๒
นี้ได้พาลูกศิษย์เข้ามาเล่าเรียน ภายหลังได้เป็นก�ำลังแก่การงาน
หลายคน นบั วา่ เป็นประโยชน์มาก

พรรษา ๑๕ – ๑๖
จ�ำพรรษาที่นครจ�ำปาศักดิ์

ครั้นถึง ณ วนั ท่ี ๑๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๓๓ ไดร้ บั พระราชทาน
สัญญาบัตรเป็นที่พระครูวิจิตรธรรมภาณี เจ้าคณะใหญ่เมืองนคร
จ�ำปาศกั ดิ์ ตาลปิ ดั แฉกทองแผ่ลวด มนี ิตยภัตร์ ๘ บาท ถงึ เดอื น ๖
พ.ศ. ๒๔๓๔ กลับออกไปเมืองนครจ�ำปาศกั ด์ิ เดอื น ๘ จงึ ถึง เป็น
พรรษาที่ ๑๕ จ�ำพรรษาท่นี ครจ�ำปาศกั ดิ์ พรรษาที่ ๑๖ ก็จ�ำพรรษา
ทนี่ ครจำ� ปาศักดิ์

19

พรรษา ๑๗ จำ� พรรษาทวี่ ดั สปุ ฏั นฯ์

พรรษาที่ ๑๗ พ.ศ. ๒๔๓๖ ตรงกับ ร.ศ. ๑๑๒ ยกฝั่ง
แม่น�้ำโขงตะวันออกให้แก่ฝร่ังเศส อัตตโนทูลลากลับมาจ�ำพรรษาที่
วัดสปุ ัฏนฯ์ เมืองอบุ ล

พรรษา ๑๘ จำ� พรรษาวดั พชิ ยญาตกิ าราม
ไดเ้ ปรยี ญ ๔ ประโยค

พรรษาท่ี ๑๘ พ.ศ. ๒๔๓๗ อตั ตโนเขา้ มาจำ� พรรษาทีว่ ัด
พชิ ยญาตกิ าราม กรงุ เทพฯ เขา้ มาคราวนพี้ าลกู ศษิ ยเ์ ขา้ มาเลา่ เรยี นมาก
การขนึ้ ล่องในสมัยน้ันเปน็ การล�ำบากมาก เดินทางเกวยี นตัง้ ๒ เดือน
๓ เดือนจึงถึง เสียเงินรัฐบาลมากตอ้ งเกณฑจ์ ้าง
การเข้ามาอยู่กรุงเทพฯ คราวน้ี ถูกสมัยท่ีทรงต้ังมหามกุฏ-
ราชวิทยาลัย อัตตโนได้เป็นกรรมการในมหามกุฏราชวิทยาลัยด้วย
ออกพรรษาแลว้ สมเด็จพระมหาสมณเจา้ กรมพระยาวชริ ญาณวโรรส
โปรดให้อัตตโนไปอยู่วัดเทพศิรินทราวาส เป็นผู้ช่วยหม่อมเจ้าพระ-
ศรีสุคตขัตตยิ านุวัตร ท่านเป็นสมภาร พรรษายงั ไมถ่ ึง ๑๐ รบั นิสสยั
พระสงฆย์ งั ไมไ่ ด้ ใหอ้ ตั ตโนไปเปน็ ผรู้ บั นสิ สยั พระสงฆ์ แลเปน็ ครใู หญใ่ น
โรงเรยี นภาคมคธดว้ ย ในแลง้ นม้ี แี ปลพระปรยิ ตั ธิ รรมในทอ้ งสนามหลวง

20 ประวัติพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท)

ดว้ ย สมเด็จพระมหาสมณะเจา้ กรมพระยาวชริ ญาณวโรรส รบั สงั่
ให้อัตตโนเข้าแปลประโยค ๔ กับเขาด้วย อัตตโนก็จ�ำใจเข้าแปล
กับเขา เผอญิ ถูกประโยคทีง่ า่ ยไดด้ ูไวบ้ ้างแลว้ ถกู ทปี นีผูก ๙ ขนึ้ ตน้
“วงคฺ ีสตเฺ ถโรบี ฯ” แปลไดอ้ ย่างดี อตั ตโนได้เปน็ เปรยี ญ ๔ ประโยค
ในปี พ.ศ. ๒๔๓๗ ได้ ๑๘ พรรษาแล้ว

พรรษา ๑๙ จำ� พรรษาวดั เทพศริ นิ ทราวาส
ถวายพรหมจรรยต์ ลอดชวี ติ

ในพรรษาที่ ๑๙ นี้ได้ช่วยหม่อมเจ้าพระศรีสุคตฯ อยู่วัด
เทพศิรินทราวาสตลอดพรรษา พอออกพรรษาแลว้ อัตตโนเห็นวา่ ก�ำลัง
รา่ งกายไมพ่ อแก่การงาน ถา้ ขืนอยู่ไปคงเกดิ โรค เพราะอาหารไม่มี
รสเสียแล้ว อัตตโนไมม่ ที างจะออกตัวไดอ้ ย่างไร เห็นแตท่ างลาสกึ เปน็
ดกี ว่าอยา่ งอน่ื จึงไดท้ ูลลาสึก
เดือน ๑๒ ออกไปเรียนวิปัสสนาอยู่กับเจ้าคุณปัญญา-
พิศาลเถร (สงิ ) วดั ปทุมวนาราม ถงึ เดอื นอา้ ยออกไปเขาคอกตงั้ หนา้
เจรญิ วปิ สั สนา ในระหวา่ งเดอื นอา้ ยนนั้ นบั วา่ สมประสงค์ ตดั สนิ ตน
ได้ คอื ยอมถวายตวั เปน็ ขา้ พระรตั นตรยั อยใู่ นพระศาสนาตลอดชวี ติ
ได้มีลิขิตเข้ามาถวายพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากรว่า
ถวายพรหมจรรย์แลว้ ด้วยพระองค์ทา่ นคอยฟงั ขา่ วอยู่ คือไดท้ ลู ไวว้ ่า
จะออกไปหาวิเวกตรกึ ตรองก่อน เพราะพระองค์ท่านทรงพระเมตตา
มาก คอยจะทรงอุปการะอยู่

21

พรรษา ๒๐ จำ� พรรษาวดั ปทมุ วนาราม

ครน้ั ตัดสินตนได้แล้ว กเ็ ดินรุกขมูลตอ่ ไป ไดอ้ อกไปเท่ียวอยู่
ในแขวงเมืองนครราชสีมาตลอดแล้ง ยังเป็นห่วงพระโพธิวงศาจารย์
(อว้ น) ซึ่งยงั เปน็ เปรยี ญ เปน็ ครูโรงเรยี นวดั เทพศริ นิ ทราวาส แทน
ตัวอัตตโนอยู่ เดือน ๖ พ.ศ. ๒๔๓๙ ได้กลับเข้ามาจ�ำพรรษาอยู่
ท่ีวัดปทุมวนาราม เป็นปีพรรษาที่ ๒๐ ในพรรษาน้ีในงานเฉลิม
พระชนมพรรษา เดอื น ๑๐ กลบั ได้รับพดั เปรยี ญ ๔ ประโยค แลพดั
พระครูคืนอีก คราวนเ้ี ป็นพดั พดุ ตาน ตกลงเปน็ อนั ไมม่ ีทางจะแก้ตวั
คร้ันออกพรรษาแล้ว คิดการจะออกไปตัง้ การศึกษาเลา่ เรียน
ทีเ่ มอื งอุบล ท้งั ภาคหนังสอื ไทยแลภาคมคธ เตรียมแบบแผนบรบิ รู ณ์
ไดเ้ ปรียญ ๔ องคเ์ ป็นก�ำลัง คือ พระมหาทา เปรียญเอก ๗ ประโยค
มหาอว้ น เปรียญโทเทียบ ๕ ประโยค มหารัต เปรยี ญ ๔ ประโยค
มหาลอ้ ม เปรียญ ๔ ประโยค แลได้รบั พระราชทานพระบรมราชา-
นุญาตให้ออกไปต้งั ตามความประสงค์
ครั้นไปถึงเมืองอุบล ก็จัดการตั้งโรงเรียนหนังสือไทยแลภาค
มคธขน้ึ ท่วี ัดสุปฏั นฯ์ เมืองอบุ ล ในปี พ.ศ. ๒๔๔๐ ไดร้ ับราชปู ถมั ภ์
๘๐๐ บาท ในเวลาน้ันพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพสิทธิ-
ประสงค์ ขา้ หลวงต่างพระองค์ เปน็ ผ้ทู รงช่วยอปุ ถัมภ์ แลทรงตั้งโยม
ผ้ชู ายของอัตตโนใหเ้ ป็นหลวงสุโภรสปุ ระการฝา่ ยสังฆการี ณ เมอื ง
อุบลใน พ.ศ. ๒๔๔๐ ส่วนการศกึ ษาเล่าเรียนได้จัดตั้งวธิ ีสอบไล่จดั ให้
มีรางวัลตามสมควร ไปตัง้ ในระหว่างปีเดียว มนี กั เรียนหนังสือไทย

22 ประวัติพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท)

มากกว่า ๑๐๐ พระเณรท่เี รยี นมคธไม่ต�่ำกว่า ๕๐ นับวา่ คิดการ
สำ� เร็จกอ่ นมณฑลท้ังปวง

พรรษา ๒๑ – ๒๒ จำ� พรรษาวดั สปุ ฏั นฯ์

ในพรรษาที่ ๒๑ แลพรรษาท่ี ๒๒ จ�ำพรรษาอยู่ท่วี ดั สปุ ัฏนฯ์
เมืองอุบล ครั้นออกพรรษาแล้ว ย่างเข้าปี พ.ศ. ๒๔๔๒ ได้รับ
พระหัตถเลขาสมเดจ็ พระมหาสมณะเจา้ กรมพระยาวชริ ญาณวโรรส
ดำ� เนินกระแสพระบรมราชโองการ ใหอ้ ตั ตโนเขา้ มากรงุ เทพฯ

พรรษา ๒๓ จำ� พรรษาวดั บวรนเิ วศวหิ าร
เขา้ เฝา้ รชั กาลที่ ๕ และเปน็ พระราชาคณะ

อัตตโนไดเ้ ขา้ มากรุงเทพฯ ตามกระแสพระบรมราชโองการ
พกั จำ� พรรษาอยทู่ ่ีวัดบวรนเิ วศวิหาร พอมาถงึ สัก ๑๐ วนั สมเดจ็
พระมหาสมณะเจา้ นำ� อตั ตโนเขา้ เฝ้าไปรเวท ทพี่ ระท่นี ั่งจกั รมี หา-
ปราสาท มุขกระสันดา้ นตะวนั ออก ทรงพระราชปรารภถงึ การศกึ ษา
เล่าเรยี นท่ีออกไปจดั การตงั้ โรงเรยี นขนึ้ ไดน้ ัน้ เป็นท่พี อพระราชหฤทยั
สมด้วยพระราชประสงค์ แล้วพระราชทานตรามณฑลอีสานให้เป็น
ผู้อำ� นวยการคณะมณฑล แต่ยังเป็นพระครวู ิจิตรธรรมภาณี

23

ออกพรรษาแล้วในงานฉัตรมงคล ณ วนั ที่ ๑๐ พฤศจิกายน
พ.ศ. ๒๔๔๒ อตั ตโนได้รบั พระราชทานสัญญาบตั ร เลอื่ นตำ� แหนง่ ยศ
เปน็ พระราชาคณะท่ี พระญาณรักขติ เปน็ ปพี รรษาท่ี ๒๓

พรรษา ๒๔ – ๒๕ จำ� พรรษาวดั สปุ ฏั นฯ์
จดั การวางระเบยี บการคณะแลการศกึ ษา

เสร็จราชการแลว้ เดือนยีอ่ ัตตโนรบี ออกไปเมอื งอบุ ล จดั การ
วางระเบียบการคณะแลการศึกษา พระมหาทา พระมหาอ้วน
พระปลดั อ่ำ� ๓ องคน์ ี้เปน็ แม่แรงชว่ ยแยกกันไป เพราะมณฑลนใ้ี หญ่
มากมจี �ำนวนวดั ๒,๐๐๐ เศษ มจี ำ� นวนพระแลสามเณร ๓๐,๐๐๐
เศษ จัดการคราวแรกล�ำบาก เพราะยังไมม่ ีหลักฐาน สดุ แตเ่ จา้ คณะ
มณฑลจะเหน็ สมควรอยา่ งไร
การจัดคณะให้เป็นหมวดเป็นแขวง ไม่ใช่จัดได้ด้วยง่าย
เพราะประเทศนั้นยังไม่เคยมีแบบมีแผน ต้องอาศัยทางราชการเป็น
ก�ำลังช่วยให้มีอ�ำนาจ ส่วนการศึกษาให้ตั้งการศึกษาข้ึนทุกหัวเมือง
บางแห่งขัดด้วยหานักเรียนไม่ได้ บางแห่งขัดด้วยหาครูผู้จะบอก
หนงั สอื ไทยไมไ่ ด้ ถงึ ตอ้ งจำ� หนา่ ยนกั เรยี นเมอื งอบุ ลไปสอนตามหวั เมอื ง
น้ันๆ หลายต�ำบล การที่มีเจ้าคณะมณฑลทรงต้ังคราวเดียวกันทุก
มณฑล ตา่ งองคต์ า่ งออกไปจดั วางระเบยี บการตามมณฑลของตนๆ แลว้
ทำ� รายงานส่งกระทรวง

24 ประวัติพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท)

ต่อมาภายหลงั จงึ ไดท้ รงต้งั พระราชบัญญัตปิ กครองคณะสงฆ์
วางแบบได้เปน็ การสบายแลว้ ฯ อัตตโนไดช้ ่วยกนั จดั การคณะมณฑล
แต่ปลายปี พ.ศ. ๒๔๔๒ ตลอดต้นปี พ.ศ. ๒๔๔๓ จ�ำพรรษาทีว่ ัด
สปุ ฏั นฯ์ อบุ ล เป็นปีพรรษาท่ี ๒๔ กับพรรษา ๒๕ ตกแล้งในปีนั้นก็
ช่วยกันออกตรวจตลอดมณฑล ได้ไปตรวจแตจ่ ำ� เพาะเมือง จะไปตาม
อ�ำเภอเวลาไม่พอ

พรรษา ๒๖ จำ� พรรษา วดั เทพศริ นิ ทราวาส

ย่างเข้า พ.ศ. ๒๔๔๕ อตั ตโนตอ้ งกลับเข้ามากรงุ เทพฯ พกั
จำ� พรรษาทวี่ ัดเทพศิรินทราวาส เป็นปพี รรษาที่ ๒๖ ดว้ ยในแลง้ น้ี
มงี านพระเมรุท้องสนามหลวง ตัง้ ท่ีโบสถพ์ ระแกว้ วังหนา้ พระศพ
กรมพระยาปวเรศวรยิ าลงกรณ์ เป็นต้น หลายพระศพด้วยกนั

25

พรรษา ๒๗ จำ� พรรษาวดั สปุ ฏั นฯ์
ทลู ลาพกั ราชการ ออกเจรญิ สมถะวปิ สั สนา

เสร็จราชการแล้ว ย่างเข้าปี พ.ศ. ๒๔๔๖ เดือน ๖ กลับ
ออกไปจดั การ แลจ�ำพรรษาที่วดั สุปัฏน์ฯ เมืองอบุ ล เปน็ ปพี รรษาที่
๒๗ นับแต่ได้ ๔ พรรษามาถงึ ๒๗ พรรษานี้ การข้ึนลอ่ งกรุงเทพฯ
กบั อุบล เวลาข้นึ นับเป็น ๑ ลอ่ งนบั เปน็ ๒ เปน็ ล�ำดับไปได้ ๑๐ เทยี่ ว
แลก�ำหนดในใจไว้ว่า ในปี พ.ศ. ๒๔๔๖ นี้ออกพรรษาแล้วจะกลับ
เข้ามากรุงเทพฯ ทูลลาพักราชการมณฑลเพราะเหน็ดเหน่ือยมาก
ส่วนการงานก็ตง้ั ฐานได้แล้ว แลเห็นว่าลูกศษิ ย์ผูจ้ ะรับมรดก กค็ งจะ
บ�ำรงุ การใหเ้ ป็นไปได้
เพราะเหตุน้อี อกพรรษาแล้ว ทูลลาเสดจ็ ขา้ หลวงตา่ งพระองค์
เขา้ มากรงุ เทพฯ เป็นเทย่ี วท่ี ๑๑ พกั ท่วี ัดเทพศิรนิ ทราวาส แลได้
ทลู ลาออกจากตำ� แหนง่ เจา้ คณะมณฑล แลทลู ลาไปเทยี่ วประเทศพมา่
พกั รา่ งกายใหส้ บายสกั คราว กไ็ ดร้ บั พระราชทานพระบรมราชานญุ าต
ตามประสงค์ ได้ตราเดินทางถึงกงสุลประเทศพม่า ตรากรมท่า
ตรามหาดไทย ตราธรรมการ เป็น ๓ ฉบับ เตรียมการจะไปประเทศ
พม่า แต่ยังเป็นห่วงพระมหาอ้วนท่ีรั้งคอยอยู่ทางอุบล จึงได้จัดหา
หนงั สอื แบบเลา่ เรยี น สงิ่ ไรยงั บกพรอ่ งไดแ้ ลว้ บรรทุกรถไฟออกไป
โคราช จัดจ้างเกวียนส่งสิ่งของออกไปให้มหาอ้วนเสร็จแล้ว เบาใจ
สนิ้ ห่วง

26 ประวัติพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท)

นับแต่อัตตโนออกไปจัดการศึกษาเล่าเรียนอยู่ท่ีเมืองอุบลแต่
พ.ศ. ๒๔๔๐ มาถงึ พ.ศ. ๒๔๔๖ เปน็ ๖ ปี อายุอตั ตโนได้ ๔๘ ปี
พรรษาได้ ๒๗ พรรษา อัตตโนได้ทูลลาพักราชการคิดจะไปเท่ียว
ตากอากาศ แลหาวิเวกเจริญสมถะวิปัสสนา มุ่งกิจส่วนตนเป็นใหญ่
แต่ก็หาส�ำเร็จตามประสงค์ไม่จะไปเที่ยวประเทศพม่าในแล้งนี้เกิด
ขดั ข้อง เผอิญปว่ ยเท้าเดินไกลไมไ่ ด้ อย่างพยายามทนลำ� บากวันหนง่ึ
ก็เดินได้เพียง ๕๐ เส้น จึงปรึกษากับพระครูอุดมธีรคุณ (เงิน)
ซ่ึงยังเป็นพระอันดับเป็นปัจฉาสมณะ ในพรรษาน้ีควรจะเข้าไปพัก
จ�ำพรรษาที่เขาใหญ่เสียก่อน เมื่อเท้าหายออกพรรษาแล้วจึงไปพม่า
กเ็ ปน็ อันตกลงกนั

อาพาธไขป้ า่ จนพดู เพอ้

พยายามเดินแต่นครราชสีมาไปเขาใหญ่เกือบเดือนจึงถึงบน
เขาใหญ่ ไปพกั อยู่บา้ นสองพ่นี อ้ ง แตเ่ ดือน ๔ ถงึ เดอื น ๖ อากาศ
ไม่สบาย ลาพวกบ้านเขาเลอื่ นลงมาอยู่บา้ นทา่ ช้าง ในต้นเดอื น ๗
ให้ชาวบ้านเขาปลูกกุฏิให้บนเขาน้อยใกล้บ้านท่าช้าง คิดว่าจะเป็นที่
สบาย ปลูกกฏุ แิ ล้วได้อยู่ประมาณสกั ๑๐ วัน อัตตโนเปน็ ไข้ปา่ จบั
อยา่ งสำ� คญั ได้ ๓ วัน พูดเพอ้ คิดจะพูดอย่างหนึง่ กลายเป็นพดู อย่าง
อน่ื ไป ยาควนิ นิ ก็หมดไม่มยี าพอแกไ้ ข้ จึงใช้ใหพ้ ระครูอดุ มฯ รบี ไป
ขนึ้ รถไฟไปนครราชสมี าซอื้ ยาควินิน เธอก็รบี ไป ๒ คืนจึงกลบั มาถงึ
หลวงประสิทธ์ิ บา้ นอยู่ใกลว้ ดั เลียบคลองปลูเปน็ คนชอบกัน ทราบว่า

27

อัตตโนอาพาธ กร็ ีบจา้ งคน ๔ คนมาพรอ้ มด้วยพระครอู ุดมฯ ใหม้ า
หามเอาอัตตโนออกไปรักษาท่ีบ้าน
คร้ันได้ยาควินินมาแล้วก็ฉัน หายจับในวันนั้น รุ่งขึ้น
เป็นเดือน ๗ แรม ๕ ค�่ำ ชาวบ้านท่าช้างนั้นเอง ช่วยกันท�ำแคร่ป่า
หามออกมาส่งรถไฟสถานีปากชอ่ ง วนั ยังค�ำ่ จึงถงึ รุง่ ขน้ึ แรม ๖ ค�่ำ
ข้ึนรถไฟไปลงภูเขาลาด ไปพักบ้านหลวงประสิทธ์ิ แกยกเรือนให้
หลังหนงึ่ รกั ษาตัวอยู่ทน่ี ั้นพอสบายหายโรค

รบั พระบรมราชโองการเปน็ เจา้ อาวาสวดั บรมนวิ าส

เดอื น ๘ ข้ึน ๒ คำ�่ ไดร้ ับท้องตราเสมาธรรมจกั ร ดำ� เนนิ
กระแสพระบรมราชโองการ ให้นมิ นตอ์ ตั ตโนเข้าไปเปน็ เจ้าอาวาสวดั
บรมนวิ าส กรงุ เทพฯ โดยเรว็ ใหท้ ันพระราชประสงค์ อัตตโนก็ไม่มี
ปัญหา เดือน ๘ ข้ึน ๕ ค่�ำ อัตตโนเข้ามากรงุ เทพฯ พักวดั เทพศริ นิ -
ทราวาส เดือน ๘ ขน้ึ ๘ ค�ำ่ ยกมาอยู่วัดบรมนิวาส มกี ระบวนรถหลวง
๒ คัน เทยี มด้วยม้าเทศเปน็ เกยี รติยศ ขนึ้ แตห่ น้าวดั เทพศริ นิ ทราวาส
มาถงึ ทางรถไฟข้างสะพานยศเส หมดทางกนั เพยี งนัน้
พระเถระที่มาส่ง มีแตส่ มเด็จพระมหาสมณะเจา้ กรมพระยา
วชิรญาณวโรรสพระองคเ์ ดยี ว เวลาบา่ ย ๓ โมงมาถงึ วดั ทรงสั่งเสีย
เสร็จแล้วก็เสดจ็ กลบั พระสงฆ์ในวดั บรมนิวาสเวลานัน้ มอี ยู่ ๑๓ รูป
วนิ ยั ธร ชือ่ เพ็ชร์ เป็นผ้รู งั้ ทา่ นท้งั หลายกพ็ ากันแสดงความยนิ ดี พวก

28 ประวัติพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท)

ทายกทายกิ ากพ็ ากนั มาถวายดอกไมธ้ ูปเทียน แต่มีน้อยไม่ถงึ ๑๐ คน
ไดส้ มเด็จพระเจ้าบรมวงศเ์ ธอ กรมพระสวัสดิว์ ดั นวิศษิ ฏ์ เป็นผทู้ รง
รบั รองเกื้อหนุน ทรงปวารณาดว้ ยปัจจัย ๔ แลทรงรับสั่งใหน้ ายเวร
เผือกข้าหลวงเก่าในพระองค์เป็นผู้ท�ำส�ำรับเช้าเพลถวายกว่าจะมีก�ำลัง
ข้นึ ได้ เป็นพระเดชพระคุณอยา่ งลกึ ซึ้ง ไมม่ ีความรอ้ นใจเลย

พรรษา ๒๘ เปน็ เจา้ อาวาสวดั บรมนวิ าส
ดำ� เนนิ ตามหลกั พทุ ธจรยิ า ๓ ประการ

ครั้นใน พ.ศ. ๒๔๔๖ เป็นปีพรรษา ๒๗ ได้ทลู ลาออกจาก
ตำ� แหน่งเจา้ คณะมณฑลอสี าน ถงึ พ.ศ. ๒๔๔๗ ปมี ะโรง อายุ ๔๙
พรรษาท่ี ๒๘ ได้มาเป็นเจา้ อาวาสวัดบรมนวิ าสน้ี นับแต่น้ันมาถงึ
พ.ศ. ๒๔๖๙ น้ี ได้ ๒๓ ปี อายุของอตั ตโนย่างเขา้ ๗๑ ปี แตพ่ รรษา
คงได้ ๕๐ ถว้ น จะวา่ อายไุ ด้ ๗๐ ถว้ นกไ็ ด้ฯ บัดนจ้ี ะเลา่ กิจการงาน
แลสขุ ทุกขใ์ นเวลาทีไ่ ด้มาอย่เู ปน็ เจา้ อาวาสในวัดนี้แลว้ ใหฟ้ งั ตอ่ ไป
เมื่อได้เป็นสมภารโดยจ�ำใจจ�ำเป็นแล้วอัตตโนตั้งเจตนา
ใหม่ คิดจะด�ำเนินตามหลักพุทธจริยา ๓ ประการ คือ อตตฺ ตฺถจริยา
าตตถฺ จริยา โลกตฺถจรยิ าฯ
สว่ น อตฺตตฺถจริยา นน้ั ต้ังใจจะบำ� เพญ็ ไตรสิกขา ศลี สมาธิ
ปญั ญา ให้เตม็ รอบ ใหส้ มบรู ณด์ ้วยลาภ, ยศ, สรรเสรญิ แลความสุขฯ

29

าตตถฺ จริยา นัน้ คดิ ต้ังใจจะบำ� รุงพระสงฆ์ สามเณร อุบาสก
อบุ าสกิ า แลผูท้ ่ีรูก้ นั เห็นกัน อัตตโนถือว่าเปน็ ญาติ จะใหไ้ ดร้ ับความ
รู้ความฉลาดดว้ ยธรรมิกอบุ าย พอเปน็ ทอ่ี นุ่ ใจแกต่ นไดท้ ั่วไปฯ
โลกตฺถจริยา นั้น คิดตั้งใจจะบ�ำรุงก่อสร้างถาวรวัตถุทั้ง
ภายนอกแลภายในใหโ้ ลกไดร้ ับความสุขต่อไปฯ

บรู ณะปฏสิ งั ขรณว์ ดั บรมนวิ าส

ในการประพฤติจรรยา ๓ นัน้ จะเล่าให้ฟังแต่อยา่ งท่สี ำ� คญั
ถา้ จะเลา่ ใหล้ ะเอยี ดตลอดไปเหน็ ไมส่ มู้ ปี ระโยชนน์ กั จะเลา่ เรอ่ื งสถานท่ี
ในวัดนีไ้ ว้ให้ฟังสกั นิดหน่อย นา่ สลดใจคราวหายนะ เมือ่ อัตตโนมา
อย่กู �ำลังวัดโทรม คณะหอเขยี วมีกุฏิ ๕ หลัง พออาศัยอยูไ่ ดแ้ ต่ช�ำรุด
ทกุ หลงั กุฏิใหญ่พืน้ ชน้ั ล่างทรดุ กระดานโกง่ อาศัยไม่ได้ พื้นชั้นบนดี
แตอ่ ับหน้าตา่ งเล็กซบุ ซู่ พระเณรอยู่ไมไ่ ด้เป็นไข้ อตั ตโนก็ออกอยู่ท่ี
ระเบียงพอตลอดพรรษา ออกพรรษาอัตตโนไปปลูกกุฏิเล็กอยตู่ า่ งหาก
คณะกลางท่ีรื้อสรา้ งโรงธรรมสวนะทุกวนั นี้ มกี ุฏอิ ยู่ ๖ หลงั
พอพระเณรอาศัยอยูไ่ ดห้ ลังเดยี ว ยังพออาศัยได้มากแต่คณะกุฏิ แต่
ก็ช�ำรุดหลายหลัง หน้าวัดมีศาลาระเบียงรอบ ๓ หลังช�ำรุดทุกหลัง
ใชก้ ารไม่ได้ คณะสวนมศี าลา ๒ หลังแตช่ ำ� รุดอาศัยไมไ่ ด้เหมือนกัน
พระอุโบสถเชิงกลอนแลช่อฟ้าตกลงมาหลายอัน ในพ้ืนพระอุโบสถ
ทรุดเป็นแอ่งสองสามแห่ง ชุกชีพระประธานก็ทรุดเป็นแอ่งๆ

30 ประวัติพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท)

เหมือนกนั ต้องปรับใหม่ทง้ั นั้น ทป่ี หู นิ หยาบโดยรอบในก�ำแพง หญา้
แห้วหมูขึ้นรอบแผ่นหินยาวกว่าฝ่ามือ ต้องร้ือปรับใหม่ยาปูนซีเมนต์
โดยรอบท่วี ดั ดา้ นตะวนั ออกแลดา้ นใต้ ด้านตะวนั ตกรกเปน็ ดง ไมม่ ี
ทางเดินไปมาหากันได้ ดเู ป็นท่ีรำ� คาญใจเสียน่ีกระไร แต่อัตตโนสบาย
ไม่ร�ำคาญเห็นว่าเป็นคราวของธรรมดา

เพยี รพยายามอยู่ ๓ ปี จงึ สรา้ งถนนหลงั วดั สำ� เรจ็

ยังมีข้อร�ำคาญอยู่อย่างหน่ึง ที่วัดไม่มีทางออกต้องอาศัยเดิน
ทางรถไฟล�ำบากมาก แต่อัตตโนพยายามพูดขอทางออกหลังวัดท่ีใช้
อย่ทู ุกวันน้ี ๓ ปจี งึ สำ� เรจ็ เสยี เงินมากท่ีของหลวงยศเส ๒ เสน้ เศษ
แตถ่ นนหลวงเขา้ ไปเขาเรียกเอาราคาวาละ ๒๐ บาท ในนั้นเข้าไปถงึ
วดั วาละ ๖ บาท แต่อย่างน้ันเขาก็ไมย่ อมให้ตดั ตรงๆ คดไปคดมา
เพราะเจ้าของเขาหวงท่ี คดิ เสยี ว่าพอเดนิ สะดวกไดเ้ ป็นแลว้ กัน
สัตบุรุษช่วยกันบริจาคทรัพย์ ท้ังค่าซื้อท่ีแลค่าก่อสร้างเสร็จ
เป็นถนนรถเดินได้ ส้ินเงิน ๑๐,๕๐๐ บาท ได้ถวายพระราชกุศล
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานนามให้
เรยี กว่า ถนนวัดนอก เขยี นป้ายติดไว้ที่ปากตรอก มพี ระราชประสงค์
จะให้รักษาชื่อเดิมไว้ ด้วยวัดนี้เรียกว่า “วัดนอก” วัดบวรนิเวศ
เรียกวา่ “วัดใน” เป็นคู่กันแต่เดิม แต่ไม่ส�ำเร็จไม่มีใครเขายอมเรียก
เขาเรียกแต่ “ถนนวัดบรมนวิ าส”

31

อัตตโนมาอยูว่ ดั น้ไี ด้ ๓ ปีแลว้ จึงไดม้ ถี นนหลังวดั เขา้ ออกได้
ถนนสายนีเ้ ป็นเหตใุ หค้ วามเจรญิ แก่วดั ขน้ึ โดยลำ� ดบั ฯ

เจา้ จอมมารดาทบั ทมิ จดั ผา้ ปา่ บรู ณะวดั

ในปีมะเมยี พ.ศ. ๒๔๔๙ ไดส้ ร้างถนนหลงั วัดเสรจ็ แลว้ ปรารภ
จะปฏสิ งั ขรณ์พระอุโบสถแลวหิ าร ซุม้ ประตู ศาลาน�้ำ ซ่ึงเปน็ ของสำ� คัญ
ก่อน พอประจวบกบั สมัยท่ีเจา้ จอมมารดาทับทิมมีประสงค์จะบำ� เพ็ญ
กุศลในคราวอายุ ๕๐ ปีบรบิ รู ณ์ อาศยั เหตนุ ีท้ ่านจึงได้ชักชวนบรรดา
ประยูรญาติช่วยจัดเป็นผ้าป่า รับกันคนละองค์ ต้องการเงินมาก
ส่วนข้าวของถวายพระทถ่ี กู ฉลาก สว่ นเงนิ รวมไว้ชว่ ยในการปฏสิ ังขรณ์
โบสถ์ สว่ นพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำ� รงราชานุภาพทรงชว่ ย
ไม้ขอนสกั ๘ ตน้ ยาวขนาด ๔ วา สว่ นโตแต่ ๙ กำ� ขึ้นไปถงึ ๑๒
ก�ำ มาในขบวนผา้ ปา่ ดว้ ย ช่างครกึ คร้ืนเสียนก่ี ระไร ในคลองหนา้ วดั
ยดั เยียดหาทางเรอื ไปมาไม่ได้ เตม็ ไปด้วยเรือผ้าปา่ เวลาขนข้ึนหนา้
วดั กเ็ ตม็ หน้าวดั ไปหมด ทั้งการละเล่นเตน้ ร�ำดกู ็น่าสนุกอยู่
ในงานผ้าป่าคราวน้ี ได้ค่าปฏิสังขรณ์ ๕,๐๐๐ บาทเศษ
ได้ขอนสกั ๘ ตน้ นบั ว่ามีกำ� ลงั พอจะลงมือปฏิสังขรณ์โบสถไ์ ดแ้ ล้ว
อัตตโนได้เข้าไปทูลเร่ียไรพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
เม่ือยังทรงด�ำรงต�ำแหน่งเป็นพระยุพราช ได้ทรงพระราชทานเงิน
๕,๐๐๐ บาท อัตตโนนบั วา่ เปน็ ผ้มู ่งั มี คือมเี งินตั้ง ๑๐,๐๐๐ บาท

32 ประวัติพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท)

ไดล้ งมอื ปฏิสงั ขรณ์พระอุโบสถแลปรับพนื้ ทัง้ ภายในแลภายนอก แล
ซ้มุ ประตู ศาลาน้ำ� ส่วนพระระเบียงได้แกไ้ ขแตเ่ พียงไมใ่ ห้ร่วั แลซ่อม
พระพุทธรูปทช่ี �ำรดุ บ้าง สนิ้ เงิน ๑๕,๐๐๐ บาท ส่วนโบสถว์ หิ าร
เปน็ ท่สี �ำราญตาข้ึนแล้ว มาอยไู่ ด้ ๔ ปี ไดข้ องสำ� คัญ คือ ถนนกับ
โบสถฯ์

ออกพรรษา ออกรกุ ขมลู เสมอ

การทไ่ี ด้มาอยเู่ ปน็ เจา้ อาวาสได้อยูส่ บายเพยี ง ๓ ปี ออก
พรรษาแล้วก็ออกรุกขมูลเสมอฯ ส่วนการในวัดก็จัดให้มีโรงเรียน
หนงั สอื ไทย ให้พระในวัดสอนทห่ี อเขียวในระหวา่ ง ๓ ปี มีนกั เรยี น
ขน้ึ ประมาณ ๔๐ คนเศษ ภายหลงั ขอครูจากกระทรวงธรรมการมา
สอน หมดธรุ ะไป มแี ต่โรงเรยี นทางมคธอยา่ งเดียว การก่อสรา้ งกม็ ี
ข้นึ บา้ งในปีที่ ๔ พ.ศ. ๒๔๕๐ เจา้ จอมมารดาทับทมิ ท่านเหน็ อัตตโน
ไม่มีท่ีอยู่ ท่านร�ำคาญมีศรัทธาขอสร้างกุฏิสมภารให้ คือสร้างกุฏิ
ปทั มราชน้ใี ห้ สิ้นเงิน ๙,๐๐๐ บาท

33

จดั งานศพโยมบดิ ามารดา

ในพรรษานีเ้ ดือน ๑๑ ข้นึ ๕ คำ่� โยมผหู้ ญิงถึงแก่กรรม เดอื น
๑๑ ข้ึน ๙ ค�่ำ โยมผชู้ ายถงึ แกก่ รรม โยมผหู้ ญงิ อายไุ ด้ ๗๓ โยม
ผู้ชายอายุได้ ๗๗ นบั ว่าถึงแกก่ รรมพรอ้ มกนั กว็ ่าได้ พระครศู ีลวรคุณ
สมภาร วัดสิรจิ นั ทรนมิ ิตร เขาพระงาม ลพบรุ ี เม่อื ยังเป็นปลดั อยู่
ช่วยการมณฑล พระโพธิวงศาจารย์เม่ือยังเป็นพระศาสนดิลก เป็น
ผู้พยาบาลโยม เธอเป็นบุตรสุดท้อง เธอได้มีโทรเลขมาแจ้งความ
อัตตโนได้ตอบไปว่าให้เก็บศพไว้คอย ออกพรรษาแล้วจะไป คร้ัน
ออกพรรษาเสร็จการฉตั รมงคลแลว้ ก็ออกไป เดือน ๔ ทำ� ศพโยมเสรจ็
เดอื น ๖ พ.ศ. ๒๔๕๑ กลบั เข้ามากรุงเทพฯ

รชั กาลที่ ๕ พระราชทานสญั ญาบตั ร
เปน็ เจา้ คณะมณฑล ๓ มณฑล ภายใน ๓ ปี

ในพรรษานี้ พระญาณวราภรณ์ เจ้าคณะมณฑลจันทบุรี
ลาออก รบั ส่ังให้อัตตโนเป็นเจ้าคณะมณฑลจันทบุรแี ทน วันท่ี ๑๐
ธนั วาคม พ.ศ. ๒๔๕๑ รับสญั ญาบัตรตำ� แหนง่ เป็นเจ้าคณะมณฑล
จันทบุรี ตกแล้งไดอ้ อกไปตรวจตลอดมณฑล แตไ่ ม่มกี ารลำ� บากอะไร
เพราะพระญาณวราภรณ์ได้ไปจัดการวางระเบียบไว้เรียบร้อยแล้ว

34 ประวัติพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท)

คดีอะไรก็ไม่มีเรียบร้อยดี เดือน ๗ กลับเข้ามากรุงเทพฯ เป็น
ปี พ.ศ. ๒๔๕๒ เผอญิ พระราชมนุ ี (ชม) เจา้ คณะมณฑลราชบรุ ถี งึ
มรณภาพ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงรับสั่งว่า
มณฑลราชบรุ เี ปน็ มณฑลส�ำคญั เหน็ สมควรแตพ่ ระญาณรกั ขติ เทา่ นนั้
ในปนี วี้ ันที่ ๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๕๒ ได้รบั พระราชทาน
สญั ญาบัตร เลื่อนต�ำแหนง่ เป็นพระราชกระวี ถึงวนั ท่ี ๑ กรกฎาคม
พ.ศ. ๒๔๕๒ ได้รับพระราชทานสญั ญาบตั รตำ� แหน่งเจ้าคณะมณฑล
ราชบรุ ี ออกพรรษาฉัตรมงคลแลว้ ออกไปตรวจมณฑลราชบุรตี ลอด
มณฑล ในมณฑลน้เี จ้าคณะมณฑลเก่าจดั การไวย้ ังไมส่ เู้ รียบร้อย ออก
จะมีขลุกขลกั หลายเรอ่ื ง อธิกรณ์กม็ หี ลายคดี พระตามบงึ บางยังมี
อาการกระดา้ งกระเดอ่ื งไม่เรยี บร้อยเหมือนจันทบุรี
ครั้นกลับเข้ามาในปี พ.ศ. ๒๔๕๓ เผอิญพระสาสนโสภณ
(ออ่ น) เจา้ คณะมณฑลหัวเมอื งกรุงเทพฯ ถงึ มรณภาพลงอีก คราวนี้
พระบาทสมเดจ็ พระจลุ จอมเกลา้ เจา้ อยหู่ วั กท็ รงเหน็ อกี วา่ พระราชกระวี
พอจะรับจัดการกับพระรามัญนิกายให้เรียบร้อยได้ ณ วันท่ี ๒๒
มถิ นุ ายน ๒๔๕๓ ไดร้ บั พระราชทานสัญญาบตั รเป็นเจา้ คณะมณฑล
หัวเมืองกรุงเทพฯ ตกแล้งฉัตรมงคลแล้ว ออกตรวจตามหัวเมือง
กรงุ เทพฯ ยิ่งยุง่ หนกั กวา่ มณฑลราชบรุ ี ออกไปตรวจคราวน้มี ีอธกิ รณ์
มากกว่า ๕ เรื่อง ออกจะเปน็ พวกพระรามัญโดยมาก ไดช้ ำ� ระเสร็จ
ไปทุกเรื่อง ได้ออกไปตรวจใน ๓ มณฑลน้ี มณฑลละคราวเท่านั้น
ทง้ั ๓ มณฑล


Click to View FlipBook Version